พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103
[อธิบายเหตุให้เกิดความฝัน ๔ อย่าง]
ในคำว่า อญฺญตรฺ สุปินนฺตา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-
สุปินะนั่นแหละ ชื่อสุปินันตะ มีคำอธิบายว่า ยกเว้น คือ
นำความฝันนั้นออกไปเสีย. ก็แล บุคคลเมื่อจะฝันนั้น ย่อมฝันเพราะเหตุ
๔ ประการคือ เพราะธาตุกำเริบ ๑ เพราะเคยทราบมาก่อน ๑ เพราะ
เทวดาสังหรณ์ ๑ เพราะบุพนิมิต ๑.
บรรดาเหตุ ๔ อย่างนั้น คนผู้มีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วย
ปัจจัยอันทำให้ดีเป็นต้นกำเริบ ชื่อว่า ย่อมฝัน เพราะธาตุกำเริบ. และ
เมื่อฝัน ย่อมฝันต่าง ๆ เช่นเป็นเหมือนตกจากภูเขา เหมือนเหาะไป
ทางอากาศ และเหมือนถูกเนื้อร้าย ช้างร้าย และโจรเป็นต้น ไล่ติดตาม.
เมื่อฝันเพราะเคยทราบมาก่อน ชื่อว่า ย่อมฝันถึงอารมณ์ที่ตนเคยเสวยมา
แล้วในกาลก่อน . พวกเทวดาย่อมนำอารมณ์มีอย่างต่าง ๆเข้าไป เพื่อ
ความเจริญบ้าง เพื่อความเสื่อมบ้าง เพราะเป็นผู้มุ่งความเจริญบ้าง
เพราะเป็นผู้มุ่งความเสื่อมบ้าง แก่บุคคลผู้ฝัน เพราะเทวดาสังหรณ์ ผู้นั้น
ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้นด้วยอนุภาพของพวกเทวดานั้น. เมื่อบุคคล
ฝันเพราะบุพนิมิต ชื่อว่า ย่อมฝันที่เป็นบุพนิมิตแห่งความเจริญบ้าง แห่ง
ความเสื่อมบ้าง ซึ่งต้องการจะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งบุญและบาป
เหมือนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงพระสุบินนิมิตในการที่จะได้
พระโอรสฉะนั้น, เหมือนพระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ๕ และเหมือน
พระเจ้าโกศลทรงพระสุบิน ๑๖ ประการฉะนั้นแล.
บรรดาความฝัน ๔ อย่างนั้น ความฝันที่คนฝัน เพราะธาตุกำเริบ
และเพราะเคยทราบมาก่อนไม่เป็นจริง. ความฝันที่ฝันเพราะเทวดา
สังหรณ์ จริงก็มี เหลวไหลก็มี, เพราะว่าพวกเทวดาโกรธแล้ว ประสงค์
จะให้พินาศโดยอุบาย จึงแสดงให้เห็นวิปริตไปบ้าง. ส่วนความฝันที่คนฝัน
เพราะบุพนิมิต เป็นความจริงโดยส่วนเดียวแล. ความแตกต่างแห่ง
ความฝัน แม้เพราะความแตกต่างแห่งมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้คละกันก็มี
ได้เหมือนกัน. ก็แลความฝันทั้ง ๔ อย่างนี้นั้น พระเสขะและปุถุชน
เท่านั้น ย่อมฝันเพราะยังละวิปลาสไม่ได้. พระอเสขะทั้งหลาย ย่อมไม่ฝัน
เพราะท่านละวิปลาสได้แล้ว.
ถามว่า ก็บุคคลเมื่อฝันนั้น หลับ ฝัน หรือตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับ
ไม่ตื่นฝัน.
แก้ว่า ในเรื่องความฝันนี้ ท่านควรกล่าวเพิ่มอีกสักเล็กน้อย.
ชั้นแรก ถ้าคนหลับฝันก็จะต้องขัดแย้งกับพระอภิธรรม. เพราะว่า คน
หลับด้วยภวังคจิต. ภวังคจิตนั้น หามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์หรือ
สัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่. ก็เมื่อบุคคลฝัน จิตทั้งหลายเช่นนี้ ย่อม
เกิดขึ้นได้. ถ้าบุคคล ตื่นฝัน ก็จะต้องขัดแย้งกับพระวินัย. เพราะว่า
คนตื่นฝันเห็นสิ่งใด, เขาเห็นสิ่งนั้น ด้วยสัพโพหาริกจิต* (ด้วยจิตตามปกติ).
ก็ชื่อว่า อนาบัติ ย่อมไม่มีในเพราะความล่วงละเมิด-ที่ภิกษุทำด้วยสัพโพ-
*. วิมติวโนทนีฏีกา, สพฺโพหาริกจิตฺเตนาติ ปฏิพุทฺธสฺส ปกติวีถิจิตฺเตน แปลว่า บทว่า
ด้วยสัพโพหาริกจิต นั้น คือ ด้วยวิถีจิตตามปกติของคนผู้ตื่นอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 104
หาริกจิต แต่เมื่อผู้กำลังฝันทำการล่วงละเมิด เป็นอนาบัติโดยส่วนเดียว
แท้. ถ้าบุคคลไม่หลับไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าใคร ๆ จะฝันไม่ได้ และเมื่อ
เป็นอย่างนั้น ความฝันก็จะต้องไม่มีแน่. จะไม่มีได้. เพราะเหตุไร ?
เพราะคนผู้ถูกความหลับดุจลิงครอบงำ จึงฝัน. สมจริงดังคำที่พระ-
นาคเสนเถระกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร ! คนถูกความหลับดุจลิงหลับครอบงำ
จึงฝันแล.
บทว่า กปิมิทฺธปเรโต แปลว่า ประกอบด้วยความหลับดุจลิง
หลับ. เหมือนอย่างว่า ความหลับของลิงเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ฉันใด,
ความหลับใดเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะเกลื่อนกล่นด้วยจิตเป็นกุศลเป็นต้น
บ่อย ๆ ก็ฉันนั้น คือ มีการตื่นขึ้นจากภวังค์บ่อย ๆ ในเวลาความ
หลับใดเป็นไป บุคคลผู้นั้นประกอบด้วยความหลับนั้น ย่อมฝันได้
เพราะเหตุนั้น ความฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็น
อัพยากฤตบ้าง. บรรดาความฝัน ๓ อย่างนั้น ความฝันของผู้ที่ฝันว่า
กำลังทำการไหว้พระเจดีย์ ฟังธรรมและแสดงธรรมเป็นต้น พึงทราบ
ว่าเป็นกุศล, ของผู้ที่ฝันว่า กำลังทำบาป มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น
พึงทราบว่า เป็นอกุศล, ความฝันที่พ้นไปจากองค์สอง พึงทราบว่า
เป็นอัพยากฤต ในขณะแห่งอาวัชชนจิตและตทารัมมณจิต. ความฝันนี้
นั้นไม่สามารถเพื่อจะชักปฏิสนธิมาได้ เพราะเจตนามีวัตถุอ่อนกำลัง แต่
ในปวัตติกาล อันกุศลและอกุศลเหล่าอื่นสนับสนุนแล้ว ย่อมให้วิบากได้
จะให้วิบากได้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในความฝัน ก็จัดเป็น
อัพโพหาริกทีเดียว เพราะบังเกิดในฐานะอันมิใช่วิสัย. เพราะเหตุนั้น
ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เว้นไว้แต่ฝัน.__