ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

เวทนานุปัสสนา

[๑๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ด้วยวิธี ๑๔ อย่างดังพรรณนามานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา

ด้วยวิธี ๙ อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.

ความรู้ที่ไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ เวทนํ มีอธิบายว่า พระโยคาวจร

เมื่อเสวยสุขเวทนาที่เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต ย่อมรู้ชัดว่า

เรากำลังเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนั้น แม้เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่

เมื่อเสวยความสุขในเวลาดื่มน้ำมันเป็นต้น ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขก็จริง

ถึงกระนั้น คำนี้ พระองค์ก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้อย่างนี้ เพราะว่า

ความรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิไม่ได้ ถอนสัตตสัญญาไม่ได้ ไม่เป็น

กัมมัฏฐาน หรือไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา.

ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา

ส่วนการรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนสัตตสัญญาได้

เป็นทั้งกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสติปัฏฐานภาวนา. ก็ความรู้นี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ตรัสหมายเอาการเสวยโดยการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเสวย การ

เสวยของใคร เพราะเหตุไรจึงเสวย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก เวทยติ (ใครเสวย) ความว่า

ไม่ใช่ใคร คือสัตว์หรือบุคคลเสวย.

บทว่า กสฺส เวทนา (การเสวยของใคร) ความว่า ไม่ใช่การ

เสวยของใคร คือของสัตว์หรือบุคคล.

บทว่า กึ การณา เวทนา (เพราะเหตุไรจึงเสวย) ความว่า

ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ เขาจึงมีการเสวย.

เพราะเหตุนั้น เขารู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ

วัตถุแห่งความสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็นอารมณ์. แต่เพราะหมายเอาความ

เป็นไปแห่งเวทนานั้น. คำว่า อหํ เวทยามิ ( เราเสวยเวทนา) จึงเป็น

เพียงโวหารเท่านั้น.

พระโยคาวจรนั้น เมื่อกำหนดอยู่ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ

วัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า เธอรู้ชัดว่า เรากำลัง

เสวยสุขเวทนา. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ที่จิตตลดาบรรพตฉะนั้น

เรื่องพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง

ได้ยินว่า พระเถระในเวลาที่ท่านไม่สบาย ถอนหายใจพลาง นอน

กลิ้งไปมาอยู่.

ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งถามท่านว่า ท่านขอรับ ที่ตรงไหนของท่านที่

โรคเสียดแทง ?

พระเถระตอบว่า คุณ ชื่อว่าที่ซึ่งโรคเสียดเฉพาะแห่งไม่มี เวทนา

ต่างหากเสวย โดยกระทำวัตถุให้เป็นอารมณ์.

ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านควรจะยับยั้งไว้ดังแต่เวลา

ที่รู้ มิใช่หรือ ท่านขอรับ ?

พระเถระตอบว่า ผมกำลังยับยั้ง คุณ.

ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ การยับยั้งไว้เป็นของประเสริฐ.

พระเถระได้ยับยั้งไว้แล้ว.

ลำดับนั้นลมเสียดแทงถึงหัวใจ. ไส้ใหญ่ได้ออกมากองอยู่บนเตียง

พระเถระได้ชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูว่า ยับยั้งไว้ขนาดนี้ สมควรหรือยัง คุณ.

ภิกษุหนุ่มนิ่ง. พระเถระประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วได้บรรลุพระ

อรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นพระอรหันต์ (ประเภท) ชีวิต-

สมสีสี ปรินิพพานแล้ว.

ก็เมื่อพระโยคาวจร รู้ชัด (ว่า) สุขอย่างไร ทุกข์อย่างนั้น ฯลฯ

เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่อิงอามิส ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยอทุกขม-

สุขเวทนา ไม่อิงอามิส.


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส

แม้ในเวทนานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วใน

หนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็ในข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทยมาโน

เป็นต้น คำว่า สุขํ เวทนํ อธิบายว่า เมื่อเสวยสุขเวทนาอันเป็นไปทางกาย

หรือทางจิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนี้เปรียบเหมือน

ทารกทั้งหลาย แม้ยังนอนหงายอยู่ในเวลาที่ดื่มน้ำนมเป็นต้น เมื่อเสวยสุขเวทนา

ก็ย่อมรู้ว่า เราเสวยสุขเวทนา ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้

ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. ด้วยว่า ความรู้เช่นนั้น ย่อมไม่ละสัตตูปลัทธิ

(คือ ความเห็นว่าเป็นสัตว์) ย่อมไม่เพิกถอนสัตตสัญญา (คือความสำคัญ

ว่าเป็นสัตว์) ทั้งมิใช่กรรมฐาน หรือมิใช่การเจริญสติปัฏฐาน. แต่ความรู้ของ

ภิกษุนี้ ย่อมละสัตตูปลัทธิ ย่อมเพิกถอนสัตตสัญญา ทั้งเป็นกรรมฐานด้วย

เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วย. เพราะว่า ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเสวย

คือ ความรู้สึกอย่างนี้ว่า ใครเสวยเวทนา เวทนาของใคร เวทนามี

อะไรเป็นเหตุ ดังนี้.

ในปัญหาเหล่านั้น ข้อว่า ใครเสวยเวทนา ความว่าใคร ๆ คือ สัตว์

หรือว่าบุคคลย่อมเสวยเวทนาหามิได้. ข้อว่า เวทนาของใคร ความว่า มิใช่

เวทนาของใคร ๆ ไม่ว่าเป็นสัตว์ หรือบุคคล. ข้อว่า เวทนามีอะไรเป็น

เหตุ ความว่า ก็เวทนานั้นแล มีวัตถุเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น

ทราบชัดอย่างนี้ว่า เวทนาเทียว อันเขาย่อมเสวย เพราะทำวัตถุแห่งสุขเป็น

ต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ แต่เพราะถือเอาความเป็นไปแห่งเวทนานั้น ก็ย่อมเป็น

เพียงโวหารว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ ครั้นทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว

เมื่อกำหนดว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ พึงทราบว่าเขาผู้นั้นย่อมทราบชัดว่า

เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ดังนี้. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ในจิตตลบรรพต.

ได้ยินว่า พระเถระ ในเวลาที่ท่านไม่สบาย นอนร้องครวญครางอยู่

เพราะเวทนากล้า พลิกกลับไปมา ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งมาถามท่านว่า ท่าน

ขอรับ ท่านเจ็บปวดตรงไหน . พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า

ที่เป็นที่เจ็บปวดอันเป็นส่วนตรงไหน ไม่มี เราเสวยเวทนา เพราะทำ

วัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ . ภิกษุหนุ่มจึงเรียนท่านว่า จำเดิมแต่กาลที่ท่าน

ทราบอย่างนี้ การอดกลั้นไม่ควรหรือขอรับ . พระเถระกล่าวว่า เราจะอด

กลั้น . ภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า การอดกลั้นเป็นการดี. พระเถระอดกลั้นแล้ว

ลมแผ่ไปจนถึงหัวใจ ได้ทำลำไส้ให้เป็นก้อนแก่ท่านบนเตียงนอน. พระเถระให้

ภิกษุหนุ่มดู แล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ อดกลั้นขนาดนี้ ควรหรือยัง. ภิกษุ

หนุ่มได้เป็นผู้นิ่ง. พระเถระประกอบวิริยสมาธิแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา เป็นพระอรหันต์ผู้สมสีสี (ผู้มีที่สุดเสมอกัน คือการสิ้นชีวิตพร้อม

กับการบรรลุพระอรหัต) ปรินิพพานแล้ว.

ก็ สุขเวทนา ฉันใด ทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา

ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ฉันนั้น. พระผู้

มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานแล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐานอย่างนี้

จึงตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนา.

จริงอยู่ กรรมฐานมี ๒ คือ รูปกรรมฐาน และ อรูปกรรมฐาน.

กรรมฐานนั้นนั่นแหละ ตรัสว่า รูปปริคฺคโห (คือ การกำหนดรูป) บ้าง

อรูปปริคฺคโห (คือ การกำหนดอรูป) บ้าง. ในกรรมฐาน ๒ นั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐานจึง ตรัสการกำหนดธาตุ ๔ ด้วยสามารถ

แห่งมนสิการโดยสังเขปบ้าง โดยพิสดารบ้าง. การมนสิการแม้ทั้ง ๒ นั้น ข้าพ-

เจ้าก็แสดงไว้โดยอาการทั้งปวง ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อตรัสอรูปกรรมฐาน ย่อมตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนาโดยมาก.

อนึ่งความถือมั่นในอรูปกรรมฐาน มี ๓ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่ง

ผัสสะ ๑ ด้วยสามารถแห่งเวทนา ๑ และด้วยสามารถแห่งจิต ๑ คือ

อย่างไร ? คือว่า ก็เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรูปกรรมฐานโดยสังเขป หรือ

โดยพิสดาร การที่จิตและเจตสิกตกไปในอารมณ์ครั้งแรกนั้น ผัสสะอันกระทบ

ซึ่งอารมณ์นั้นก็เกิดขึ้น ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป. พระโยคาวจรทั้งหลาย

ย่อมเสวยอารมณ์นั้น เวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป.

วิญญาณ อันเกิดขึ้นกำหนดรู้อารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร

บางรูป.

ในความถือมั่น ๓ อย่างนั้น ผัสสะย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุ

นั้น ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นทีเดียวว่า มิใช่ผัสสะอย่างเดียว

เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั่นแหละ ก็เกิดขึ้นพร้อมด้วย

ผัสสะนั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้

วิญญาณ อันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยผัสสะนั้น ดังนี้ เวทนาย่อม

ปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้น ก็ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น

นั่นแหละว่า มิใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่ง

อารมณ์นั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้นกับเวทนานั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์

นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้วิญญาณอันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อม

เกิดขึ้นกับเวทนานั้น ดังนี้. วิญญาณย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้นก็

ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นนั่นแหละว่า มิใช่วิญญาณอย่างเดียว

เท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมเกิดขึ้นกับ

วิญญาณนั้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์

นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นกับวิญญาณนั้น ดังนี้.

เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้

อาศัยอะไร ดังนี้ เธอย่อมทราบชัดว่า อาศัยวัตถุ ขึ้นชื่อว่า วัตถุ ก็คือ

กรชกาย ท่านกล่าวหมายเอาวัตถุคือกรชกายในที่นี้ไว้ว่า ก็แล วิญาณของเรานี้

อาศัยในกรชกายนี้เกี่ยวเนื่องในกรชกายนี้ ดังนี้ เมื่อว่าโดยอรรถ กรชกายนั้นคือ

มหาภูตรูป และอุปาทารูปทั้งหลาย. ในข้อนี้ พระโยคาวจร ย่อมเห็นนามรูปนั่น

แหละอย่างนี้ว่า วัตถุเป็นรูปธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น เป็นนามดังนี้.

รูปในที่นี้ก็คือรูปขันธ์ นามก็คืออรูปขันธ์ ๔ เพราะฉะนั้น นามรูป จึงเป็น

เพียงขันธ์ ๕ เพราะว่า ขันธ์ ๕ นอกจากนามรูป หรือว่า นามรูป นอกจาก

ขันธ์ ๕ ย่อมไม่มี. ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น มีอะไร

เป็นเหตุ ดังนี้ ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้น เป็นเหตุ ในลำดับนั้น จึงยก

ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยสามารถแห่งนามรูป พร้อมด้วยปัจจัยว่า นี้เป็นปัจจัย

นี้เป็นปัจจยุปบัน (คือ ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย) สัตว์หรือว่าบุคคลอื่นไม่

มี มีแต่เพียงกองแห่งสังขารล้วน ๆ เท่านั้น ดังนี้ พิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง

อนัตตา โดยลำดับแห่งวิปัสสนา เที่ยวไปอยู่. หวังอยู่ซึ่งการแทงตลอดว่า

ในวันนี้ ในวันนี้ ดังนี้ ก็หรือว่า เธอได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชน-

สัปปายะ และธัมมัสสวนสัปปายะ ในวันเช่นนั้นแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวนั่น

แหละ ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุดแล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกรรมฐานแก่ชนแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น จนถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

ก็แล ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งเวทนา. จริงอยู่ อรูปกรรมฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ ด้วย

สามารถแห่งผัสสะหรือด้วยสามารถแห่งวิญญาณ ย่อมไม่ปรากฏ คล้ายกับความ

มืด เพราะกรรมฐานนั้น ย่อมปรากฏด้วยสามารถแห่งเวทนา. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลาย ย่อมปรากฏ เพราะว่า

ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาทั้งหลายปรากฏอยู่ คือในกาลใด สุข

เวทนาเกิดขึ้น ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบซ่านแผ่ไปอยู่

เป็นราวกะให้เคี้ยวกินเนยใสอันชำระแล้วตั้งร้อยครั้ง ราวกะให้ดับอยู่ซึ่งความ

เร่าร้อนด้วยน้ำตั้งพันหม้อ ย่อมให้เปล่งวาจาว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้. ใน

กาลใด ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบ

ซ่านแผ่ไปอยู่ เป็นราวกะเข้าไปสู่กระเบื้องที่ร้อน ราวกะราดอยู่ด้วยน้ำทองแดง

ที่ละลายแล้ว ราวกะกำคบเพลิงไม้ที่ใส่เข้าไปในหญ้าและต้นไม้ใหญ่ที่แห้งใน

ป่า ทำให้บ่นเพ้อรำพันอยู่ว่า ทุกข์จริง ทุกข์จริง ดังนี้. ความเกิดขึ้นแห่ง

สุขเวทนา และทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ส่วนอทุกขมสุขเวทนา ชี้แจงให้เห็นได้โดยยาก ไม่แจ่มแจ้งดังความ

มืด. แต่ย่อมปรากฏแก่ผู้เอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นอาการ

ปานกลาง ด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธความยินดีและยินร้าย เพราะความสุข

และความทุกข์ปราศจากไป. เปรียบเหมือน นายพรานเนื้อ ตามรอยเท้าเนื้อตัว

ที่หนีขึ้นไปบนระหว่างแผ่นหิน ในเวลาอื่นพบรอยเท้าเนื้อที่ฝั่งนี้ของแผ่นหิน

แม้ไม่เห็นรอยเท้าในท่ามกลาง ก็จะทราบได้โดยนัยว่า เนื้อนี้ ขึ้นไปจากที่ตรงนี้

ลงมาจากที่ตรงโน้น ในท่ามกลาง มันจักไปบนแผ่นหินโดยประเทศตรงนี้

ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะว่า ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาย่อมปรากฏ เป็น

ราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ

เป็นราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ก้าวลง อทุกขมสุขเวทนานี้ ย่อมปรากฏ

แก่ผู้ถือเอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา เป็นอาการปานกลาง ด้วยสามารถแห่ง

การปฏิเสธความยินดีและยินร้าย ในเพราะการปราศจากสุขและทุกขเวทนา

ราวกะการถือเอาโดยนัยว่า เนื้อที่ขึ้นไปบนแผ่นหินตรงนี้ ลงไปตรงโน้น ใน

ท่ามกลางมันจะเดินไปตรงนี้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานก่อนแล้ว เมื่อจะตรัสอรูป

กรรมฐานในภายหลังอย่างนี้ จึงทรงยักย้ายเปลี่ยนไปแสดงด้วยสามารถแห่งเวทนา

ก็พระองค์ทรงแสดงอย่างนี้ ในสติปัฏฐานวิภังค์นี้อย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ ทรง

แสดงรูปกรรมฐานก่อนแล้ว ทรงแสดงอรูปกรรมฐานยักย้ายไปด้วยสามารถแห่ง

เวทนาในภายหลัง ในสูตรทั้งหลายเป็นเอนก คือ ในทีฆนิกาย มีมหานิทาน

สูตร สักกปัญหสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย มีสติปัฏฐานสูตร

จุลลตัณหาสังขยสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร

มาคันทิยสูตร ธาตุวิภังค์ อาเนญชสัปปายสูตร ในสังยุตตนิกาย มีจุลลนิทานสูตร

รุกโขปมสูตร ปริวิมังสนสูตร สกลเวทนาสังยุตตสูตรทั้งหลาย. ก็ในสติปัฏฐาน

วิภังค์แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานก่อน แล้วทรงยักย้ายแสดง

อรูปกรรมฐาน ด้วยสามารถแห่งเวทนาในภายหลังเช่นในสูตรเหล่านั้น ๆ แล.

ในคำว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา เป็นต้นนั้น พึงทราบปริยายแห่งการ

รู้อีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้. ข้อว่า ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา อธิบายว่า

ภิกษุนั้นเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา เพราะ

ความไม่มีทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา ด้วยเหตุนั้น ในข้อนั้น เขาผู้นั้น

ย่อมทราบในที่นี้ว่า เพราะทุกขเวทนาอันใดเคยมีมาก่อน บัดนี้ ทุกขเวทนา

อันนั้นมิได้มี และเพราะไม่มีเวทนาอื่นจากสุขเวทนานี้ ขึ้นชื่อว่าเวทนา

จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด

เสวยสุขเวทนา สมัยนั้น ไม่เสวยทุกขเวทนา ไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา

สมัยนั้นย่อมเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด

เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น ไม่เสวยสุขเวทนา ไม่

เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้น ย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ

แม้สุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันเกิดขึ้น มีความ

สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาแล ฯลฯ ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้

อทุกขมสุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ มีความดับไปเป็น

ธรรมดา ดูก่อนอัคคิเวสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ

หน่ายในเวทนาอันเป็นสุขบ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นทุกข์บ้าง ย่อม

เบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นอทุกขมสุขบ้าง เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า เราหลุดพ้น

แล้ว เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.

ในคำว่า หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิสเป็นต้น พึงทราบว่า

เคหสิตโสมนัสเวทนา ๖ ที่อาศัยอามิส คือ กามคุณ ๕ ชื่อว่า สุขเวทนามี

อามิส. เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ ชื่อว่า สุขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตโทมนัส.

เวทนา ๖ ชื่อว่า ทุกขเวทนามีอามิส. เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา ๖ ชื่อว่า

ทุกขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขสุขเวทนามี

อามิส. เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.

การจำแนกเวทนาเหล่านั้นมาแล้วในบาลีอุปริปัณณาสก์ แล.

คำว่า โส ตํ นิมิตฺตํ ได้แก่ ภิกษุนั้น ...ซึ่งนิมิตแห่งเวทนานั้น.

คำว่า พหิทฺธา เวทนาสุ (ในเวทนาภายนอก) คือ ในเวทนา

ทั้งหลายของบุคคลอื่น.

คำว่า สุขํ เวทนํ เวทยมานํ คือ รู้บุคคลอื่นกำลังเสวยสุขเวทนา.

คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา (ทั้งภายในและภายนอก) คือ ย่อมน้อม

จิตเข้าไปในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาลสมควร ของผู้อื่นตามกาลสมควร

เพราะในวาระนี้ มิได้กำหนดตน มิได้กำหนดผู้อื่น ฉะนั้น เพื่อทรงแสดง

เพียงการกำหนดเวทนาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนา

นี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ฯลฯ ข้อความที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น. ในข้อ

นี้ ท่านกล่าววิปัสสนาไว้ล้วน ๆ แล.

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส จบ