ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

. เมตตาสูตร

พรหมวิหาร ๔

[๕๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาว

โกลิยะ ชื่อ หลิททวสนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปด้วยกัน

เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ครั้ง

นั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคมก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกเถิด.

[๕๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกได้พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า

[๕๗๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคคมแสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป

ตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น

มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ใน

ที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๖] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยกรุณาอัน ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๗] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยมุทิตาอัน ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๘] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด

ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้ง

หลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อัน เป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด

ทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ

[๕๘๐] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๘๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้

อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน

ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม

เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-

สมณโคดม.

[๕๘๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า

เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๕๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททว

สนนิคม เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๕๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้

ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ยังหลิททวสนนิคมก่อน ก็ยังเช้าอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.

[๕๘๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า

[๕๘๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมโคดมแสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป

ตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น

มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก

ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด

[๕๘๗] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา...

[๕๘๘] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา...

[๕๘๙] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๙๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ

[๕๙๑] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา. . .

[๕๙๒] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา. . .

[๕๙๓] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิดทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๙๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้

อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน

ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม

เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-

สมณโคดม.

[๕๙๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูด

ของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจ

ว่าเราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

เมตตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มีอะไรเป็นคติ

[๕๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญ

เดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร มี

อะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด กรุณา

เจโตวิมุตติ . . . มุทิตาเจโตวิมุตติ . . . อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว จักแก้ไม่ได้เลย

และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะเป็นปัญหา

ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจาก

ตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต.

[๕๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญ

แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร

เป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

เมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ถ้าเธอ

หวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่า

ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฎิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฎิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็

ย่อมมีความสำคัญว่าปฎิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลและสิ่งปฎิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความ

สำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึง

แยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เธอย่อม

เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่า มี

สุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่งใน

ธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๕๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญ

แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร

เป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโวิมุตติ ว่ามีอากาสานัญจายตนะ เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่. เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่.

ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว

วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ก็ย่อมวางเฉย ที่สติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่

หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เธอ

คำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง

เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของ

เธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๖๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุตติอันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา อาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความ

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่

ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความ

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลใน

สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล

ในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและ

ในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสอง

นั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ

ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดย

ประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญาย-

ตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่า มีอากิญจัญญาย

ตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรม

วินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

จบเมตตาสูตรที่ ๔

อรรถกถาเมตตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ ๔.

บทว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น ทั้งหมดท่านให้พิสดาร

ไว้ในวิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวงแล้ว. พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ฟัง

ธรรมเทศนาของพระศาสดาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงกล่าวบทแม้นี้ว่า มยมฺปิ

โข อาวุโส สาวกานํ เอวํ ธมฺมํ เทสม ดังนี้.

ความจริง ในลัทธิของพวกเดียรถีย์ การละนิวรณ์ ๕ หรือการเจริญ

พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น ย่อมไม่มี. บทว่า กึ คติกา โหติ คือมีอะไร

สำเร็จ. บทว่า กิมฺปรมา คืออะไรสูงสุด. บทว่า กิมฺผลา คือมีอะไรเป็น

อานิสงส์. บทว่า กิมฺปริโยสานา คือมีอะไรจบลง. บทว่า เมตฺตาสหคตํ

ได้แก่ สติสัมโพชฌคงค์อันประกอบเกี่ยวข้องสัมยุตด้วยเมตตา. ในบททั้งปวงก็

นัยนี้แล. บทว่า วิเวกนิสฺสิตา เป็นต้น มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.

บทว่า อปฺปฏิกูลํ ความว่า สิ่งไม่ปฏิกูลมี ๒ อย่าง คือไม่ปฏิกูล

ในสัตว์ และไม่ปฏิกูลในสังขาร. อธิบายว่า ในสิงอันน่าปรารถนาอันไม่ปฏิกูล

นั้น. บทว่า ปฏิกูลสญฺญี คือมีความสำคัญว่า ไม่น่าปรารถนา. ถามว่า

ข้อที่เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้น อย่างไร จึงอยู่อย่างนี้ได้

ตอบว่าเธอทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไปหรือว่าไม่เทียง จึงอยู่อย่างนี้ได้. ข้อนั้น

จริง ตามที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่

ปฏิกูลอย่างไร เธอย่อมแผ่ไปในสิ่งอันน่าปรารถนา โดยความเป็นของไม่งาม

หรือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. แต่เมื่อเธอทำการแผ่เมตตา หรือทำ

ในใจถึงโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งอันเป็นปฏิกูล ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า มี

ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีความสำคัญว่า ไม่

ปฏิกูลอยู่อย่างไร เธอแผ่ไปในสิ่งอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตา หรือพิจารณา

โดยความเป็นธาตุ ดังนี้. แม้ในบทที่คลุกเคล้ากันทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็เธอเมื่อทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไป หรือว่าไม่เที่ยง นั้นนั่นแล ทั้งในสิ่งไม่

ปฏิกูล และปฏิกูล มีความสำคัญว่า ปฏิกูลอยู่. ก็เธอทำการแผ่เมตตา หรือ

ทำในใจถึงโดยความเป็นธาตุนั้นนั่นแลทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ชื่อว่า มี

ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่. แต่เมื่อปรารถนา ฉฬังคุเปกขาอันท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้น ว่า ตาเห็นรูป ไม่ดีใจเลยดังนี้ พึงทราบว่า เธอแยกสิ่งทั้ง

สองนั้น ในสิ่งไม่ปฏิกูล หรือสิ่งปฏิกูลออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น.

ก็เทศนา พึงแยกออกจากกัน เพราะมรรคโพชฌงค์ และอริยิทธิกับ

วิปัสสนา ทรงแสดงแก่ภิกษุนี้ ผู้ยังฌานหมวด ๓ หรือฌานหมวด ๔ ให้เกิด

แล้วด้วยเมตตา ทำฌานนั้นแลให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ส่วนภิกษุใดทำเมตตาฌานนี้ให้เป็นบาทแล้ว แม้

พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ยังไม่สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้ เพราะเมตตา

มีพระอรหัตเป็นอย่างยิ่งไม่มีแก่ภิกษุนั้น. แต่พึงแสดงข้อที่เมตตามีพระอรหัต

เป็นอย่างยิ่งนั้น. ฉะนั้น ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อแสดงข้อนั้น. แม้ในบทเป็น

ต้นว่า สพฺพโส วา ปน รูปสญฺญานํ สมติกฺกมฺมา พึงทราบถึงประโยชน์

ในการเริ่มต้นของเทศนา โดยนัยนี้อีกต่อไป.

บทว่า สุภปรมํ ความว่า มีความงามเป็นที่สุด มีความงามเป็น

ส่วนสุด มีความงามสำเร็จ. บทว่า อิธ ปญฺญสฺส ความว่า ปัญญาของเธอ

ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาในที่นี้ ยังล่วงโลกนี้ไม่ได้. อธิบายว่า ปัญญานั้นเป็น

โลกิยปัญญา. บทว่า อุตฺตริวิมุตฺตึ อปฺปฏิวิชฺฌโต ความว่า แทงตลอด

โลกุตรธรรมยังไม่ได้. อธิบายว่า ส่วนภิกษุใด ย่อมสามารถเพื่อแทงตลอด

ได้ ภิกษุนั้น ได้เมตตา มีอรหัตเป็นอย่างยิ่ง. แม้ในบทว่า กรุณาเป็นต้น

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสธรรมมีความงาม

เป็นอย่างยิ่งเป็นต้น แห่งธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านั้น. ตอบว่า เพราะธรรม

นั้น เป็นอุปนิสัยของภิกษุนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน.

ความจริง พวกสัตว์ ไม่เป็นสิ่งปฏิกูลสำหรับภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา. ลำดับนั้น

เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในสีเขียวเป็นต้น อันเป็นสีบริสุทธิ์ ไม่ปฏิกูล จิตย่อม

แล่นไปในสิ่งอันไม่เป็นปฏิกูลนั้น โดยไม่ยาก เมตตาเป็นอุปนิสสัยปัจจัยแห่ง

สุภวิโมกข์ ด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

สุภปรมา ดังนี้แล.

ภิกษุผู้อยู่ด้วยกรุณา พิจารณาเห็นทุกข์ของสัตว์ มีความเดือดร้อน

เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแห่งรูป. โทษในรูป จึงย่อมเป็นอันแสดง เพราะ

ความเป็นไปและความเกิดแห่งกรุณา. ลำดับนั้น เธอเมื่อเพิกซึ่งในบรรดา

กสิณ ๔ มีปฐวีกสิณเป็นต้น กสิณอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว เพราะโทษแห่ง

รูปได้รู้หมดแล้ว นำจิตเข้าไปในอากาศเป็นที่สลัดรูปออก จิตย่อมแล่นไปใน

กสิณนั้นโดยไม่ยาก. กรุณาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะด้วย

อาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า อากาสานญฺจายตนปรมา ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยมุทิตา พิจารณาเห็นความรู้สึกของพวกสัตว์ผู้มีปราโมทย์ที่เกิดขึ้น ด้วยทำปราโมทย์นั้น จะมีความรู้สึกได้เพราะความเป็นไปและความเกิดแห่งมุทิตา. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในวิญญาณ ล่วงอากาสานัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ แต่ยังมีอากาศนิมิตเป็นอารมณ์จิตย่อมแล่นไปในอากาศนิมิตนั้น โดยไม่ยาก มุทิตาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า วิญฺญาณญิจายตนปรมา ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยเบกขา มีจิตลำบากด้วยยึดสิ่งที่ไม่มี เพราะไม่มี

ความห่วงใยว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงมีสุขเถิด หรือจงพ้นทุกข์เถิด หรือว่า จง

อย่าพลัดพรากจากสุขที่ถึงแล้วเถิด ดังนี้ เพราะมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์ จากสุข

และทุกข์เป็นต้น. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในความไม่มีแห่งวิญญาณ

เป็นปรมัตถ์ ซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเกิดล่วงวิญญาณัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ

ของจิต ซึ่งลำบากเพราะยึดสิ่งที่มีอยู่ โดยปรมัตถ์ของจิตซึ่งมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์

จิตย่อมแล่นไปในวิญญาณัญจายตนะนั้นโดยไม่ยาก อุเบกขาเป็นอุปนิสสยปัจจัย

แก่อากิญจัญญายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัส

ว่า อากิญฺจญฺญายตนปรมา ดังว่ามาด้วยประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งเทศนา พวกภิกษุ ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัต.

จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๔