พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 515
๗ . สัญญาสูตร
ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่าง ๆ กัน
[๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
อาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุว่าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่า
เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสา-
นัญจายตะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญานัญจายตนะว่าเป็น
วิญญานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่า
เป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานา-
สัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ครองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์...
ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้
ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่
พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากา-
สานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี
ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมี
ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
แสวงหาแล้ว ที่ครองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัย
กับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อน
ท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประ-
การที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรม
ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้
การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า
เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ. . . ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตาม
แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
สา. ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความ
สงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้น
กำหนด ความดับ นิพพาน ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การ
ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก
เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูก่อนท่านสารีบุตร
ผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลถามเนื้อความ
อันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้
ด้วยพยัญชนะเหล่านี้แก่กระผม เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์
ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
กันอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก
เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้.
จบสัญญาสูตรที่ ๗__
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 356
๑๐ . สัญญาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
[๒๖๓] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ครอบงำ
ภวราคะ ทั้งปวงได้ ครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ จะถอน อัสมิมานะ
ทั้งปวงขึ้นได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนา เมื่อจะใช้ไถไหญ่
ไถนา ก็จะไถดะรากไม้ ที่แตกยื่นออกไป ทั้งหมดเสีย แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา ทุก อย่าง
จะถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้น.
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายเกี่ยวหญ้า
มุงกระต่ายแล้ว จะดาย จะฟาด จะสลัดทิ้ง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดตรงขั้ว มะม่วง
ทั้งหลายที่ติดอยู่กับขั้ว ก็จะหลุดออกไปตามขั้วนั้น แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย อนิจจสัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ฯลฯ.
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนของเรือนยอดทั้งหมด
ที่ชี้ตรงไปที่ยอด ชอนไปที่ยอด ไปรวมกันอยู่ที่ยอด ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้น
เหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นกะลำพัก ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ากลิ่นที่เกิดจากรากทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดง ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นที่แก่นทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดอกมะลิ ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าดอกไม้ที่มีกลิ่นที่ดอกทั้งหลาย แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าประเทศราชทั้งหมดย่อมตาม
เสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเลิศ
กว่าเจ้าประเทศราชเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทุกดวง
ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของ
ดวงจันทร์ ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกันแล
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ฯลฯ.
[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย เมื่อท้องฟ้าบริสุทธิ์
แจ่มจำรัส ปราศจากเมฆหมอก พระอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องงาจะส่องแสง
แผดแสงผ่านอากาศ ผ่านความมืดทั้งหมดแล้วเจิดจ้าอยู่ แม้ฉันใด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะครอบงำ กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชา
ทุกอย่าง จะถอนอัสมิมานะทั้งมวลได้.
[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะครอบงำกามราคะทั้งหมดได้
ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งหมดขึ้นได้ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้...
สัญญา อย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ อย่างนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนิจจสัญญา ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จะครอบงำ
กามราคะ รูปราคะ ภวราคะ (และ) อวิชชาทุกอย่างได้ จะถอนอัสมิมานะ
ทั้งหมดขึ้นได้.
จบ สัญญาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนิจฺจสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ภาวนา
อยู่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง.
บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ จักทำให้ (กามราคะ) ทั้งหมดสิ้นไป
บทว่า สพฺพํ อสฺมิมานํ ได้แก่ อัสมิมานะทั้ง ๙ อย่าง.
บทว่า มูลสนฺตานกานิ ได้แก่ รากไม้ที่แตกยื่นออกไป.
ก็ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนไถใหญ่.
กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนรากไม้ที่แตกออกไปทั้งเล็กทั้งใหญ่
พระโยคีผู้เจริญอนิจจสัญญาทำลายกิเลสได้ด้วยญาณอันเกิดจาก
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนชาวนาไถนาทำลายรากไม้เหล่านั้นได้ด้วยไถ.
บทว่า โอธุนาติ แปลว่า ดาย (กำจัดข้างล่าง)
บทว่า นิธุนาติ แปลว่า ฟาด.
บทว่า นิปฺโผเฏติ แปลว่า สลัดทิ้ง.
แม้ในที่นี้ พึงอุปมาเปรียบเทียบด้วยอรรถนี้ว่า อาลัยคือกิเลส
เปรียบเหมือนหญ้าปล้อง ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา เปรียบเหมือน
การสลัดทิ้ง.
บทว่า วณฺฑจฺฉินฺนาย ความว่า (พวงมะม่วง) ขั้วขาดเพราะ
ลูกธนูอันคม.
บทว่า ตนฺวยานิ ภวนฺติ ความว่า (มะม่วงลูกอื่น ๆ) ย่อมตก
ตามพวงมะม่วงพวงนั้น. เมื่อมะม่วงพวงนั้นตก มะม่วง (ลูกอื่น) ก็พลอย
ตกลงพื้นดินด้วย.
แม้ในที่นี้ มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-
กิเลสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวงมะม่วง
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนลูกธนูอันคม
เมื่ออวิชชาที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วย
ญาณอันเกิดจากอนิจจสัญญา กิเลสทั้งหมดก็พลอยถูกถอน (ถูกตัด)
ไปด้วย เปรียบเหมือนเมื่อพวงมะม่วงถูกตัดไปด้วยคมธนู มะม่วงทั้งหมด
(ในก้านเดียวกัน) ก็พลอยหล่นลงพื้นไปด้วย.
บทว่า กูฏงฺคมา แปลว่า (กลอนทั้งหลาย) ไปถึงยอดเรือน.
บทว่า กูฏนินฺนา แปลว่า ชอนเข้าไปในยอดเรือน โดยสอดเข้าไป
สู่ยอดเรือน.
บทว่า กูฏสโมสรณา แปลว่า รวมลงอยู่ที่ยอดเรือน.
ในที่นี้มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ว่า :-
อนิจจสัญญา เปรียบเหมือนยอดเรือน.
กุศลธรรมที่เป็นไปภูมิ ๔ เปรียบเหมือนกลอนเรือน.
อนิจจสัญญา เป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือน
ยอดแห่งกลอนทั้งหมด เป็นยอดของกูฏาคาร.
ถามว่า ก็อนิจจสัญญาเป็นยอดของกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะ ( เท่านั้น )
มิใช่หรือ ? ( แล้ว ) กลับมาเป็นยอดของโลกุตตรธรรมได้อย่างไร ?
ตอบว่า อนิจจสัญญา พึงทราบว่า เป็นยอด (ของโลกุตตรธรรม
ทั้งหลาย) เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ไดโลกุตตรธรรมแม้เหล่านั้น.
พึงทราบข้ออุปมาเปรียบเทียบในอุปมาทั้งหมดโดยอุบายนี้
ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกิจของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา
๓ ข้อแรก ตรัสพลังของอนิจจสัญญาด้วยอุปมา ๓ ข้อหลังแล.
จบ อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๑๐