พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 27
๓ . สังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งเหล่า สังโยชน์ ๑๐ (เครื่องผูกพัน) ประการนี้ ๑๐ ประการ
เป็นไฉน คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็น
ไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ
สักกายทิฏฐิ ๑ (ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา)
วิจิกิจฉา ๑ (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม)
สีลพัตตปรามาส ๑ (ความลูบคลำศีลพรตซึ่งเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด)
กามฉันทะ ๑ (ความพอใจในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(ความสัมผัส))
พยาบาท ๑ (ความโกรธ ขุ่นเคืองใจ ปองร้าย)
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้.
สังโยชน์เป็น
ไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ
รูปราคะ ๑ (โลภะที่ติดข้องในรูปฌาน ติดข้องในรูปภพ)
อรูปราคะ ๑ (โลภะที่ติดข้องในอรูปฌาน ติดข้องในอรูปภพ)
มานะ ๑ (ความสำคัญตน)
อุทธัจจะ ๑ (ความฟุ้งซ่าน)
อวิชชา ๑ (ความไม่รู้)
สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน
๕ ประการนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล.
จบสังโยชนสูตรที่ ๓