ไปหน้าแรก

สติสัมปชัญญะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

. ปฐมเคลัญญสูตร

ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา

สั่งสอนพวกเธอ.

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นกายใน

กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นจิตในจิต

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็น

ผู้มีสติอย่างนี้แล.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะ

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำ

ความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความ

รู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการ

คู้เข้า เหยียดออก ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ

บาตรและจีวร ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม

ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้มี

ปกติทำความรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา

สั่งสอนพวกเธอ.

[๓๗๗] ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า

สุขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น

ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาอาศัยกายจึงไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง

อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณา

เห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืน

ในกายและสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป

ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ ย่อมละ

ราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาเสียได้.

[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม

บังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร

อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็

ทุกข์เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึง

บังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกข-

เวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป

ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ ย่อมละปฏิฆานุสัย

ในกายและในทุกขเวทนาเสียได้.

[๓๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดียวอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนา

ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ก็แต่ว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น

อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

กันเกิดขึ้น ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

กันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็น

ความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกาย

และในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความ

เสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุข-

เวทนาอยู่ ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้.

[๓๘๐] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่

เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯ ล ฯ

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่

น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก

กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก

กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศ

จากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นสุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อตายไป เวทนา

ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย

น้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อ

พึงดับไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนั้น ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่ดี

ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนา

ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินจักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

จบ ปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗ __

. ทุติเคลัญญสูตร

ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลาป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลานี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ.

[๓๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่าง

นี้แล.

[๓๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึก

ว่าในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ

[๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า

สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย

ไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อม

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา

เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน

เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา

เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน

ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนา

เสียนี้.

[๓๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม

เกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขม-

ขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น

ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แล

ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุข-

เวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า

เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา

เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า

เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนา

นั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุข-

เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย

เวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย

เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่า

เพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

[๓๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย

น้ำมันและไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึง

ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวย

เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย

เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้

ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น

ในโลกนี้ทีเดียว.

จบ ทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘ __

๑๐ . ผัสสมูลกสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล

[๓๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะ

เป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓

คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ความเสวย

อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอัน

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ อันเกิด

แต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

นั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า

อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-

เวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-

เวทนานั้นแลดับไป.

[๓๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะ

การเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ

ออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด

ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ

มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่

ปัจจัยนั้นดับไป.

จบ ผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐