พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ
ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ
กรรม
กรรมนิมิต
คตินิมิต.
บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว
ชื่อว่า กรรม กรรมย่อมประกอบวัตถุใด ทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่า
กรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต
เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต
ในขณะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้
เรื่องนายโคปกสีวลี
ได้ยินว่า บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร
ชื่อว่า ตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว
เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.
เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำ
กาละของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคม
กล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะ
ก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรม-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.
วินิจฉัยเรื่องตายทันที
ยังมีการตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลหุกมรณะ (ตายเร็ว) จริงอยู่
บุคคลเอาค้อนทุบขยี้แมลงวันที่หลบซ่อนอยู่บนด้ามสิ่ว ในเวลาแม้เห็นปานนี้
กรรมหรือกรรมนิมิต ก็ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อแมลงวนถูกค้อนบดขยี้อยู่
อย่างนี้ ภวังค์ยังไม่เปลี่ยน (หมุน) มาเป็นอวัชชนะทางกายทวารก่อน
ย่อมเปลี่ยน (หมุน) มาสู่เฉพาะมโนทวาราวัชชนะ ทันทีนั้นชวนะก็แล่น
ไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงเปลี่ยน (หมุน) มาสู่
อาวัชชนะทากายทวาร ต่อแต่นั้นวิถีจิตทั้งหลาย คือ กายวิญญาณ สัมปฏิจ
ฉันนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ จึงเป็นไป ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ ๓ ภวังค์เปลี่ยน (หมุน) มายังมโนทวาราวัชชนะ ลำดับนั้น
ชวนะก็แล่นไปหยั่งลงสู่ภวังค์ แมลงวันย่อมทำกาละ (ตาย) ในฐานะนี้*
เนื้อความนี้ท่านนำมาเพื่ออะไร เพื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า อารมณ์ของอรูปธรรม
ทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้.
ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะ
บังเกิดขึ้น ชื่อว่า คตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏ
เป็นภาพเช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง) เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ
* คำว่าในฐานะนี้ หมายถึงมรณาสันนวิถี (วิถีใกล้ความตาย) ประเภทใดประเภทหนึ่งใน ๔t
อย่าง เหล่านี้คือ
ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ
ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ
ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วมีภวังค์...แล้วจุติ
ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์...แล้วจุติ
ในฐานะนี้ แมลงวันตายในประเภทที่ ๔
เป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน. เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ
เป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอนเป็นต้น ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง
โดยสังเขป คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ
อารมณ์อดีต
อารมณ์ปัจจุบัน
อารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพะ.*
อสัญญีปฏิสนธิไม่มีอารมณ์ บรรดาปฏิสนธิเหล่านั้น วิญญาณัญจายตน
ปฏิสนธิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว
กามาวจรวิบาก ๑๐ มีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง ปฏิสนธิที่เหลือมี
อารมณ์เป็นนวัตตัพพะ (อารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้). ก็ปฏิสนธิที่กำลังเป็นไป
ในอารมณ์ ๓ อย่าง ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติที่มีอดีตเป็นอารมณ์ หรือ
มีนวัตตัพพารมณ์ แต่ชื่อว่า จุติจิตที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันมิได้มี เพราะฉะนั้น
พึงทราบอาการที่เป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๓
อย่าง ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๒ อย่าง ด้วย
อำนาจสุคติและทุคติ. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
คือ ในเบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนสั่งสมไว้ หรือกรรมนิมิต ย่อม
มาสู่คลองมโนทวารแก่บุคคลผู้นอนในเตียงมรณะ เพราะพระบาลีว่า "ก็บาป
* อารมณ์นี้เห็นตรงกับอารมณ์บัญญัติ คือ บัญญัติกรรมนิมิต และบัญญัติมหัคคตกรรมนิมิตของผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก
กรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาพจร
สุคติในสมัยนั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็น
อารมณ์ เกิดขึ้นในที่สุดแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนะถ้วน ๆ เกิดขึ้น
ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับแล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิต
อันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปในบาปกรรม
ต่าง ๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ
นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก นิมิตในทุคติภูมิมีภาพเปลวเพลิงเป็น
ต้นในนรกเป็นต้น มาสู่คลองมโนทวาร ด้วยอำนาจแห่งกรรมตามที่กล่าวแล้ว
เมื่อภวังค์ของบุคคลนั้นเกิดดับสิ้นสองครั้งแล้วเกิดวิถีจิตทั้ง ๓ คือ อาวัชชนะ
ซึ่งปรารภอารมณ์นั้น ๑ ชวนะ ๕ ดวง เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ๑
และตทารัมมณะ ๒ ดวง ๑. ต่อจากนั้น จุติจิต ๑ ดวง กระทำภวังควิสัย
ให้เป็นอารมณ์ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ขณะจิตย่อมล่วงไป ๑๑ ดวง
ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุแห่งขณะจิตที่ยังเหลืออยู่
๕ ขณะนั้นนั่นแล. นี้ ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก หีนารมณ์ (อารมณ์เลว) มีราคะเป็นต้น
เป็นเหตุ ย่อมพาสู่คลองทวารในทวาร ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดแห่งโวฏฐัพ
พนะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ชวนะ ๕ ดวง เเละตทารัมมณะ ๒ ดวง ของบุคคลนั้น
ย่อมเกิด เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ต่อจากนั้น จุติจิตหน่วงก็ทำ
ภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ขณะแห่งจิตย่อมเป็นอัน
ล่วงไป ๑๕ ขณะ คือ ภวังค์ ๒ ดวง อาวัชชนะ ๑ ดวง ทัศนะ ๑ ดวง
สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันตีรณะ ๑ ดวง โวฏฐัพพนะ ๑ ดวง ชวนะ ๑ ดวง
ตทารัมมณะ ๒ ดวง และจุติจิต ๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นใน
อารมณ์ที่มีอายุขณะจิต ๑ ขณะที่ยังเหลืออยู่นั้นนั่นแหละ ปฏิสนธิแม้นี้ก็มีอารมณ์
ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต
พึงทราบอาการความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในทุคติภูมิที่มีอารมณ์อดีตและ
ปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติในสุคติภูมิซึ่งมีอารมณ์อดีตนี้ก่อน. ส่วนกรรมอัน
ปราศจากโทษนั้น หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรง
อยู่ในทุคติภูมิมีกรรมอันปราศจากโทษที่สั่งสมไว้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงเว้นธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (บริสุทธิ์) ไว้ในธรรม
ที่เป็นฝ่ายดำแล้ว พึงทราบคำทั้งหมดโดยนัยก่อนนั่นแหละ. นี้เป็นอาการแห่ง
ความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในสุคติภูมิ ซึ่งมีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ต่อจากจุติ
ในทุคติภูมิอันมีอารมณ์เป็นอดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต
อนึ่ง กรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลอง
มโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิ ผู้มีกรรมปราศจากโทษซึ่งสั่งสม
ไว้แล้ว ผู้นอนบนเตียงมรณะ โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า ตานิ จสฺส ตสฺมี
สมเย โอลมฺพนฺติ ก็กรรมอันงามคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
เหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลนั้นผู้นอนบนเตียงในสมัยนั้น เป็นต้น*
ก็แลกรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของ
บุคคลผู้มีกรรมปราศจากโทษอันเป็นกามาพจรที่สั่งสมไว้แล้วนั่นแหละ ส่วน
กรรมนิมิตอย่างเดียว ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีมหัคคตกรรมที่
สั่งสมไว้แล้ว จุติจิตทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ในลำดับแห่งตทา-
รัมมณะ หรือในชวนวิถีล้วน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นปรารภกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิต
นั้นดับ ปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยสุคติภูมิ ซึ่งถูกกำลังกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้
น้อมไป เกิดขึ้นปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตอันมาสู่คลองนั้นนั่นแหละ. นี้
เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรืออารมณ์นวัตตัพพะต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก สุคตินิมิตกล่าวคือภาพท้องมารดาใน
มนุษยโลก หรือภาพอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ในเทวโลก ย่อมมาสู่คลองมโน-
ทวารด้วยอำนาจกรรมที่ปราศจากโทษอันเป็นกามาพจร ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้น
แก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจิติจิต โดยลำดับที่แสดงไว้ในทุคตินิมิตนั้น แหละ.
นี้เป็นปฏิสนธิมีปัจจุบันอารมณ์ในลำดับแห่งจิตมีอดีตอารมณ์.
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก พวกญาติพากันแสดงอารมณ์ กล่าวว่า
ดูก่อนพ่อ นี้เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า พ่อจงทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวพ่อ พ่อจง
ยังจิต ให้เลื่อมใสแล้วแสดงรูปารมณ์ ด้วยสามารถแห่งพวงดอกไม้ ธงชัย และ
* ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๘๗/๓๒๓
ธงแผ่นผ้าเป็นต้น หรือแสดงสัททารมณ์ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรม และ
ดุริยบูชาเป็นต้น หรือแสดงคันธารมณ์ด้วยสามารถกลิ่นธูป กลิ่นเครื่องอบที่
หอมเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงลิ้มไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อ
ประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงรสารมณ์ ด้วยสามารถแห่งน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น
หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงสัมผัสไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อ
แล้วแสดงโผฏฐัพพารมณ์ด้วยอำนาจแห่งผ้าจีนและผ้าโสมาระเป็นต้นน้อมเข้า
ในทวาร ๕. ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้
ต่อความตาย ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็น
ต้นที่มาสู่คลองนั้น และย่อมเกิดตทารัมมณะ ๒ ดวง ลำดับนั้น จุติจิตหนึ่ง
ดวงการทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ปฏิสนธิจิตก็เกิด
ขึ้นในอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในขณะแห่งจิตหนึ่งดวงนั้นแหละ. ปฏิสนธิแม้นี้ ก็มี
อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจิตมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ
อนึ่ง ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก ผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิผู้ได้เฉพาะ
มหัคคตะด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐวีกสิณเป็นต้น บรรดากุศลกรรม กรรมนิมิต
คตินิมิตที่เป็นกามาพจรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนิมิตมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือ
มหัคคตจิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวาร หรืออารมณ์อันประณีต อันมีการเกิดขึ้น
แห่งกุศลเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองในจักษุ หรือโสตทวารอย่างใดอย่างหนึ่ง ชวนะ
๕ ดวง ย่อมเกิดแก่บุกคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ในที่สุดแห่ง
โวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นโดยลำดับ แต่ว่า ตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ผู้มี
มหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็น
อารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิต
มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาพจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์
อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัต-
ตัพพะ.
พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็น
อาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน
ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีต และอารมณ์นวัตตัพพะ.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิตหรือ
คตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั้นแหละ แต่อารมณ์ที่
เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคล
นั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมินี้
ที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์
อดีต และปัจจุบันในลำดับต่อจากจิตในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีต ฉะนี้แล ด้วย
ลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ ๑๙ ดวง
ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ ๑๙ ดวงทั้งหมดนี้นั้น
เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไป
ด้วยธรรม ๒ อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน
เป็นไป ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกัน
แห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.
จริงอยู่ วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนี้ เมื่อจะเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็น
ไปด้วยกรรม ๒ อย่าง ด้วยว่า กรรมอัน ให้กำเนิดวิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนั้น
ย่อมเป็นปัจจัยโดยนานาขณิกกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยตามควรแก่ตน
ข้อนี้สมกับคำที่ตรัสว่า กุสลากุสลํ กมฺมวิปากสฺส อุปนิสฺสยปจฺจเยน
ปจฺจโย กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กรรมวิบาก ด้วยอุปนิสสยปัจจัย๑ ก็เมื่อ
วิญญาณนี้เป็นไปอย่างนี้ ก็พึงทราบความแตกต่างกันแม้มี ๒ อย่าง เป็นต้น
โดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น อย่างไร ? คือ วิญญาณนี้
แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่ามี ๒ อย่าง โดยความต่างกัน
แห่งธรรมที่ระคนกันและไม่ระคนกันกับรูป มี ๓ อย่าง เพราะความต่างกัน
แห่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ มี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกำเนิดอัณฑชะ
ชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ มี ๕ อย่าง ด้วยสามารถคติ (มีทาง
ไปสู่นรกเป็นต้น)๒ มี ๗ อย่าง ด้วยอำนาจวิญญาณฐิติ มี ๙ อย่าง ด้วย
อำนาจ สัตตาวาส.
บรรดาวิญญาณเหล่านั้น
วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง
เพราะความต่างกันแห่งภาวะ และในวิญญาณ
ทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง มี ๒
ทสกะบ้าง ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิด
พร้อมกับวิญญาณที่ระคนกันกับรูปเบื้องต้น.
คำว่า วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง เพราะความแตกต่าง
กันแห่งภาวะ นั้น ความว่า จริงอยู่ บรรดาวิญญาณเหล่านั้น ปฏิสนธิ-
๑. อภิ. ป. เล่มที่ ๔๐ ๑๓๗๘/๔๖๐
๒. ดูคติ ๕ ที่เชิงอรรถ หน้า ๔๕๖
วิญญาณนั้นระคนด้วยรูปเกิดขึ้นเว้นอรูปภพ. ปฏิสนธิวิญญาณนั้น มี ๒ อย่าง
คือ มีภาวะ ๑ ไม่มีภาวะ ๑ เพราะในรูปภพเกิดขึ้นเว้นจากภาวะ คือ อิตถิ-
นทรีย์ และปุริสินทรีย์ เพราะในกามภพเกิดพร้อมกับภาวะ เว้นแต่ปฏิสนธิ
ของบัณเฑาะก์โดยกำเนิด.
คำว่า และในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง
นั้น ความว่า ในวิญญาณแม้เหล่านั้น วิญญาณมีภาวะ ๒ อย่าง โดยการเกิด
พร้อมกันแห่งอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะอย่างใดนั่นแหละ.
คำว่า มี ๒ ทสกะบ้าง มี ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ
เกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกับรูปเบื้องต้น ความว่า ในวิญญาณ
เหล่านั้น วิญญาณ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูป และไม่ระคนกับรูป
ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูปอันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน ๒ ทสกะ
คือ กายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ ๓ ทสกะ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ
ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลงกว่านั้น.
ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงา
ใสที่ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง ๒ อันมีชื่อว่า อัณฑชะ
และชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดขึ้นกำเนิดเหล่านั้น ด้วย
สามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย.
จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น
นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ เทเวสุ จ น โยนิโย
ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ จตสฺโสปิ คติตฺตเย
กำเนิด ๓ ข้างต้น* ย่อมไม่มีในนรก
และไม่มีในพวกเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา
กำเนิด ๔ ย่อมมีในคติ ๓.
ในคาถานั้น ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด ๓
ข้างต้น พึงทราบว่า ไม่มี ในนิชฌามตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและใน
เทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่าง
เดียว แต่กำเนิด ๔ มีในคติ ๓ ที่เหลือกล่าวคือสัตว์เดรัจฉาน ปีตติวิสัยและ
มนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น.
บรรดากำเนิดเหล่านั้น
ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป ๓๙ กลาป
ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด
ย่อมเกิดรูป ๗๐ กลาป โดยกำหนดอย่างสูง
หรืออย่างต่ำมี ๓๐ กลาป.
ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป ๓๙ กลาป ย่อมเกิด
พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณด้วยสามารถแห่งกลาป ๔ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ
วัตถุทสกะ และชีวิตนวกะ. ส่วนในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด
เหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป ๗๐ กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่ง
วัตถุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และ
วัตถุทสกะ และรูป ๗๐ กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูป
ที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป ๑๐ เหล่านั้น คือ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑
* ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ
โอชา ๑ และธาตุ ๔ (คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) จักขุประสาท ๑
ชีวิตินทรีย์ ๑ ชื่อว่า จักขุทสกะ โสตทสกะเป็นต้น ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.
อนึ่ง กำหนดอย่างต่ำ รูป ๓๐ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิ-
วิญญาณ ด้วยสามารถแห่งชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ แก่บุคคลผู้บอด
หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานประสาท และผู้เป็นนปุงสกะมาแต่กำเนิด. บัณฑิต
พึงทราบการกำหนด โดยสมควรในระหว่างรูปที่กำหนดอย่างสูง และอย่างต่ำ
ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว
พึงกำหนดรู้ธรรมพิเศษ แห่งความ
ต่างกันและไม่ต่างกันของจุติ และปฏิสนธิ
โดยขันธ์ โดยอารมณ์ โดยคติ โดยเหตุ
โดยเวทนา โดยปีติ โดยวิตก และโดยวิจาร
ต่อไป.
อธิบายว่า ก็ปฏิสนธิจิต ๒ อย่าง โดยระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย
รูปอันใดนี้ และจุติในลำดับแห่งอดีตแห่งปฏิสนธินั้นอันใด บัณฑิตพึงทราบ
ธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกัน แห่งจิตและปฏิสนธิเหล่านั้น โดย
ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อย่างไร คือ บางคราว ขันธ์ เท่านั้น เป็นปฏิสนธิโดย
ไม่ต่างกันแม้โดยอารมณ์ ในลำดับแห่งจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ บางคราว
เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและอารมณ์ภายใน ต่อจากจุติที่มี
อารมณ์มิใช่มหัคคตะและมีอารมณ์ภายนอก. นี้เป็นนัยในอรูปภูมิอย่างเดียวก่อน.
อนึ่ง ในบางคราว อรูปขันธ์ ๔ เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิ ต่อจากจุติ
ในกามาพจร หรือจุติในรูปาพจรที่มีขันธ์ ๕ ด้วยอาการอย่างนี้ ปฏิสนธิก็มี
อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต. ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติใน
สุคติภูมิบางอย่าง ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิ
ที่เป็นติเหตุกะ ต่อจากจิตที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะ ต่อจาก
จุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ ปฏิสนธิที่มีปีติ ต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ ปฏิสนธิที่มี
วิตก ต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก ปฏิสนธิที่เป็นสวิจาร ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร
ปฏิสนธิที่เป็นสวิตักกะและสวิจารต่อจากจุติที่เป็นอวิตักกะอวิจา เพราะฉะนั้น
บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้น ๆ เถิด.
ลทฺธปฺปจิจยมิติ ธมฺม มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ
นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุํ วินา โหติ
วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย
อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก
ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา
ปรากฏไม่.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ
อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต
แล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ
แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.
ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ
ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ
โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา
อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง
ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด
เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น
ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภ
อารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป
วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-
หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ
อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย
ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่
ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม
เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น ทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่
ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.
อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ
เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น
เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.
สิยุํ นิสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ
สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา
เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น
พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน
นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง
ต่างกัน ( กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย
ความสืบต่อ.
ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และ
เงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ในการที่วิญญาณนี้ ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน
และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า
เสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และเงา มีเหตุมาแต่เสียงเป็น
เบื้องต้น มิได้แยกกันไปในที่ใด ฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ในฐานะนี้
จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน ทั้งมิใช่ต่างกัน เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ
จริงอยู่ ถ้าว่า เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ ความเป็นอย่างเดียวกัน
พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้ม ก็ไม่พึงเกิดแต่นม ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมี
โดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่. ในเหตุที่เกิดขึ้น
แห่งเหตุทั้งหมดก็นัยนี้. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะพึงเป็นการตัดโวหารแห่งโลก
ทั้งหมดไปเสีย และการตัดโวหารของโลกทั้งหมดนั้น ไม่น่าปรารถนา เพราะ
ฉะนั้น ในเรื่องนี้ ไม่ควรเข้าใกล้ความเป็นอันเดียวกัน หรือความต่างกันโดย
ส่วนเดียวกัน ฉะนี้แล.
ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อน ความปรากฏมีอยู่
อย่างนี้ เหตุทีขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัย
แก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่น
มิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้น พึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น
วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า
สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺญสฺส น จ อญฺญโต
วีชานํ อภิสํขาโร เอตสฺสถสฺส สาธโก
ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่
ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพ-
ปรุงแต่งพืชทั้งหลาย เป็นเครื่องสาธกเนื้อ-
ความนี้.
จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่
เป็นอันเดียวกัน และความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น
จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย
เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษ
ในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้น ๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น
ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่ง
นั้น ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบ
เนื้อความนี้ ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็ก
อำนวยผลให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้า
ไปเสวย ผลนี้ พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น
สมมติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้
ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกย่อมเรียกว่า ย่อมผลิผล หรือออกผล
แล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียก
ว่าต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย
หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่
เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและ
มนุษย์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไร ๆ ด้วยบุคคล
อื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.
แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม
ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผิว่าสังขารที่มีอยู่ วิบากก็พึงมีแก่สังขาร
เหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่ง
ผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้
สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น
ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อ
นั้นพึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็น
อุทาหรณ์.
จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้
กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุ
วิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็น
กามาพจร เป็นต้น และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้
ซ้ำซาก เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้
พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อรับมอบ
ประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้น
ซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่น เองเป็นปัจจัยในการรับมอบ
หมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้
เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความมอบ
หมายเป็นต้น ตนการทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็
ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของนี้ เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้
เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณ
ที่กำลังเป็นไปทั้ง ๒ อย่าง ด้วยสามารถธรรมที่ระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย
รูป เพราะสังขารเป็นปัจจัย.
บัดนี้ เพื่อป้องกันความหลงลืมในวิญญาณ ๓๒ ดวง เหล่านั้นทั้งหมด
นั้นแหละ
พึงทราบสังขารเหล่านั้นว่าเป็นปัจจัย
แล้ววิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยใด ประ-
การใด ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และ
ปวัตติกาล ในที่ทั้งหลายมีภพเป็นต้น.
ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕
วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ชื่อว่า ภพเป็นต้น ในภพเป็นต้นเหล่านั้น สังขาร
เหล่านี้เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด และสังขารเหล่านั้น เป็นปัจจัย ใน
ปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยประการใด บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น.
ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย
บรรดาสังขารเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสังขารก่อน
ว่าโดยไม่ต่างกัน ปุญญาภิสังขารจำแนกด้วยเจตนา ๘ ดวง นี้
กามาพจรได้ปัจจัย ๒ อย่าง คือ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน และด้วย
อุปนิสสยปัจจัยในปฏิสนธิ แก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในปฏิสนธิกามภพสุคติภูมิ
ปุญญาภิสังขารที่จำแนกด้วยกุศลเจตนา ๕ ดวง ในรูปาวจรก็เป็นปัจจัยแก่
วิปากวิญาณ ๕ ดวง ในปฏิสนธิกาลรูปภพเหมือนกัน แต่กามาพรประเภท
ตามที่กล่าวเป็นปัจจัย ๒ อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ปฏิสนธิกาลแก่ปริตตวิปาก-
วิญญาณ ๗ ดวง เว้นมโนวิญญาณธาตุอเหตุกะที่สหรคด้วยอุเบกขา ในกาม
ภพสุคติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล. แก่วิปากวิญญาณ ๕ ดวง ในรูปภพ อย่าง
นั้น เหมือนกัน.
ก็ในกามภพทุคติภูมิ ก็เป็นปัจจัยแก่ปริตตวิปากวิญญาณทั้ง ๘ ใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นเหมือนกัน ในกามภพทุคติภูมินั้น
ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นปัจจัย ด้วยการประสบอิฏฐารมณ์ในนรก ในคราวเที่ยว
ไปในนรกเป็นต้นของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แต่อิฏฐารมร์ย่อมได้ในพวก
สัตว์เดรัจฉาน และในพวกนาค สุบรรณ และเปรตผู้มีฤทธิ์มากทีเดียว
ปุญญาภิสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาล แก่กุศล
วิปากวิญญาณทั้ง ๑๖ ดวง ในกามภพสุคติภูมิ ว่าโดยไม่แปลกกัน ปุญญา-
ภิสังขาร เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวง
ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.
ว่าด้วยอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย
อปุญญาภิสังขาร จำแนกโดยอกุศลเจตนา ๑๒ ดวง เป็นปัจจัยใน
ปฏิสนธิกาล ไม่เป็นปัจจัยในปวัตติกาล แก่วิญญาณ ๑ ดวง ในกามภพทุคติ-
ภูมิเหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติ ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล แก่
วิญญาณ ๖ ดวง เป็นปัจจัยทั้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้น
แหละแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวง แต่ในกามภพสุคติภูมิ เป็นปัจจัยในปวัต-
ติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวงเหล่านั้น
เหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล อย่าง
นั้นแหละแก่วิญญาณ ๔ ดวง ในรูปภพ. ก็อปุญญาภิสังขารนั้นแล เป็นปัจจัย
แก่วิญญาณในกามาพจร ด้วยอำนาจการเห็นรูป ฟังเสียงอันไม่น่าปรารถนา
เป็นต้น แต่ในพรหมโลก ชื่อว่า รูปเป็นต้นที่ไม่น่าปารถนา มิได้มี.
แม้ในเทวโลกกามาพจรก็ไม่มีรูปเป็นต้น ที่ไม่น่าปรารถนาเหมือนกัน.
ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย
ก็อาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัยเหมือนกันนั่นแหละแก่วิปากวิญญาณ ๔
ดวงทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล ในอรูปภพ.
ว่าด้วยกายสังขาร ๒๐ ดวงเป็นปัจจัย*
อนึ่ง ว่าโดยกุศลและอกุศลในกามาพจร กายสังขารจำแนกโดยเจตนา
ทั้ง ๒๐ ดวง โดยสัพพังคาหิกนัย เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือด้วยกรรมปัจจัยที่
* ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง
เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐
ดวง ในกามภพ กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกันใน
ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ แก่
วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยเหมือน
อย่างนั้นทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ใน
กามภพ. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ว่าด้วยจิตตสังขาร ๑๙ ดวง เป็นปัจจัย
ส่วนจิตตสังขารที่จำแนกด้วยเจตนา ๑๙ ดวง เป็นปัจจัยเหมือนอย่าง
นั้น แหละในปฏิสนธิกาล มิใช่ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงในภพ
ทั้ง ๓ จิตตสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาลมิใช่ปฏิสนธิกาล แก่วิปาก
วิญญาณ ๒๒ ดวง คือ แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ และแก่วิปาก-
วิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ ตามที่กล่าวมาแล้วในภพทั้งสอง อนึ่ง จิตตสังขาร
นั้น เป็นปัจจัยอย่างนั้นแหละทิ้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปาก
วิญญาณ ๓๒ ดวง ในภพ ๓
บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารเหล่านั้นว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใดและ
เป็นปัจจัยโดยประการใดนั้น ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลใน
ภพทั้งหลายอย่างนี้ก่อน. แม้ในกำเนิด เป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน
ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
ในนิเทศแห่งสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น คำที่ประกาศพอเป็นหัว
ข้อตั้งแต่ต้น มีดังนี้ ก็บรรดาสังขารเหล่านี้ ปุญญาภิสังขาร อำนวยปฏิสนธิ
ให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในภพทั้ง ๒ ก่อน ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบาก
ทั้งหมดของตนเหมือนกันในกำเนิด ๔ มีอัณฑชะเป็นต้น ในคติ ๒ กล่าวคือ
เทวคติและมนุษยคติ ในวิญญาณฐิติ ๔ กล่าวคือผู้มีกายต่างกันมีสัญญาต่าง
กัน ๑ มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่าง
กัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์
ทั้งหลาย และในปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ แต่ในอสัญญ-
สัตตาวาส ปุญญาภิสังขารนี้ย่อมปรุงแต่งเพียงแต่รูปเท่านั้น ฉะนั้น จึงอำนวย
ปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในสัตตาวาส ๔ (เหมือนวิญญาณฐิติ) นั้น
แหละ. เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ
ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาน ๒๑ ดวง ตามควรแก่การเกิดขึ้นในภพ ๒
กำเนิด คติ ๒ วิญญาณฐิติ ๔ และสัตตาวาส ๔ เหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าว
นั่นแล.
อนึ่ง อปุญญาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในกาม-
ภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๔ ในคติ ๓ ที่เหลือ ในวิญญาณฐิติ ๑ คือที่มีกาย
ต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน และในสัตตาวาส ๑ เช่นเดียวกับวิญญาณฐิตินั้น
แหละ เพราะฉะนั้น อปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ
ในปวัตติกาลแก่วิปากวิญญาน ๗ ในภพ ๑ กำเนิด คติ ๓ วิญญาณฐิติ ๑
และในสัตตาวาส ๑ โดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ.
แต่ อาเนญชาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในอรูป
ภพ ๑ ในโอปปาติกะกำเนิด ๑ ในเทวคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ มี อากาสานัญจาย
ตนะเป็นต้น๑ ในสัตตาวาส ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น๒ เพราะฉะนั้น
๑. ต่อสัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ อากิญจัญญายตนะ ๑
๒. ผู้เข้าถึงอรูปภพ ๔
อาเนญชาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัย ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่
วิญญาณ ๔ ดวง ในภพ ๑ เหล่านั้น ในกำเนิด ๑ ในคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓
ในสัตตาวาส ๔ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
แม้กายสังขาร ก็ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้วิบากของตนทั้งหมดเกิดขึ้น
ในกามภพ ๑ ในกำเนิด ๑ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒
เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้น จึงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละทั้งใน
ปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ในภพ ๑ ในกำเนิด
๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ส่วนจิตตสังขาร เว้นสัตตาวาส (อสัญญีสัตว์) อย่างเดียว จะไม่
ให้ผลในที่ไหน ๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จิตตสังขารนี้จึงเป็นเหมือนกันนั่น
แหละทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณทั้ง ๓๒ ดวง
ตามควรในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และในสัตตาวาส ๘ อนึ่ง
ในสัตตาวาสที่ไม่มีวิญญาณ วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.
อีกอย่างหนึ่ง ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายในพวก
อสัญญีสัตว์ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยประการฉะนี้แล
บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นโดยประ
การใด ด้วยอำนาจปฏิสนธิสนธิกาล และปวัตติ-
กาล ในฐานะทั้งหลาย มีภพเป็นต้น.
นิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จบ