พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
๕ . ปฐมโนอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
[ ๑๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์
ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์
ทั้งหลายจึงกำหนัดในจักษุ ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์
ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ ถ้าความสลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ แต่เพราะความสลัดออกแห่งจักษุ
มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย
ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ แต่
เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ ถ้าโทษแห่ง
ใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะโทษ
แห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในใจ ถ้าความสลัดออก
แห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากใจ แต่เพราะ
ความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากใจ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะ
ภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัด
ออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป
พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจถูกครอบงำอยู่
เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง
อายตนะภายใน ๖ เหล่านั้น โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และ
ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้
ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มี
ใจได้ถูกครอบงำอยู่.
จบ ปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕
อรรถกถาปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสฏ แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า วิสญฺญุตฺตา แปลว่า
ไม่ประกอบ. บทว่า วิปฺปมุตฺตา แปลว่า ไม่พ้นแล้ว. บทว่า วิปฺปริยา-
ทิกเตน เจตสา ได้แก่ มีใจที่ไม่มีอะไรยึดไว้เป็นต้น. บทว่า ยํ ได้แก่
กิเลสชาตหรือวัฏฏะที่ยังละไม่ได้. จิตของพระเสขะทั้งหลาย เป็นอันชื่อว่า
อันกิเลสชาตหรือวัฏฏะยังยึดมั่นอยู่เป็นต้น แต่ในที่นี้ จิตที่อันกิเลสชาต
หรือวัฏฏะชื่อว่าไม่ยึดมั่นเป็นต้น เพราะกิเลสและวัฏฏะท่านละได้แล้วโดย
ประการทั้งปวง อธิบายว่า พระอริยเจ้ามีจิตปราศจากความยึดมั่น คือ
ก้าวล่วงการยึดมั่นของกิเลสวัฏฏะ.
จบ อรรถกถาปฐมในอัสสาทสูตรที่ ๕
๖ . ทุติยโนอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ
[ ๑๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์
ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนดในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์
ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
จึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าความสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ถ้าคุณแห่ง
ธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์
แต่เพราะคุณแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดใน
ธรรมารมณ์ ถ้าโทษแห่งธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะ
ไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ แต่เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์
จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากธรรมารมณ์ แต่เพราะ
ความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจาก
ธรรมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง
ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็น
โทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยัง
ไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจ
ถูกครอบงำอยู่เพียงนั้น เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่ง
คุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ
และซึ่งความสลัดออก็โดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็น
ผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
มิใจมิได้ถูกครอบงำอยู่.
จบ ทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖
อรรถกถาทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖
แม้ในสูตรที่ ๖ ก็นัยนี้ แต่ใน ๖ สูตรนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าว
เฉพาะสัจจะ ๔ เท่านั้น.
จบ อรรถกถาทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖
๗ . ปฐมอภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้ที่เพลิดเพลินอยู่ในอายตนะภายในย่อมไม่พ้นทุกข์
[ ๑๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่า
ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไป
จากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใด
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิด-
เพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์เรา
กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าไม่
เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์.
จบ ปฐมอภินันทสูตรที่ ๗
๘ . ทุติยอภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอยู่ในอายตนะภายนอกย่อมไม่พ้นทุกข์
[ ๒๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่า
ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้น
ไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด-
เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ . เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์
ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิด-
เพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน
ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์.
จบ ทุติยอภินันทสูตรที่ ๘
๙ . ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ
[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่
แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความ
ตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งใจ เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความ
ตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความ
สงบ ความไม่มีแห่งจักษุ เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค
เป็นความไม่มีแห่ชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มี
แห่งใจ เป็นความขับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มี
แห่งชราและมรณะ.
จบ ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๙
๑๐ . ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ
[ ๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่
แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความ
ตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ เป็นความเกิดแห่งทุกข์
เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.
[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มี
แห่งรูป เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มี
แห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชรา
และมรณะ.
จบ ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๑๐
ยมกวรรคที่ ๒
อรรถกถาปฐมอภินันทสูตรที่ ๗ เป็นต้น
ในสูตรที่ ๗ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ
ไว้ใน ๔ สูตร แต่อนุปุพพิกกาพึงทราบโดยนัยที่ตรัสแล้วนั่นแหล่ะ ใน
หนหลังแก่ภิกษุเหล่านั้น.
จบ อรรถกถาปฐมอภินันทสูตรที่ ๗ เป็นต้น