ไปหน้าแรก >

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ก็การรู้ชัดอย่างนี้ ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ก็อสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้ พึงทราบด้วยการ

กำหนดรู้เหตุตัวเดิมและเหตุจรมา และเหตุเกิดชั่วขณะ. พึงทราบโดย

กำหนดรู้เหตุตัวเดิมก่อน.

ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สัมปฏิจฉันนกิจ

สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ และชวนกิจ เป็นที่ ๗

ย่อมเกิด .

ในวิถีจิตเหล่านั้น ภวังคจิตยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุปปัตติกภพให้

สำเร็จเกิดขึ้น. กิริยามโนธาตุรำพึงถึงภวังคจิตนั้นยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ

เกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนธาตุดับ จักขุวิญญาณยังทัสสนกิจให้สำเร็จเกิด

ขึ้น. ถัดจากจักขุวิญญาณดับ วิบากมโนธาตุยังสัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จ

เกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนธาตุดับ วิบากมโนวิญญาณธาตุยังสันตีรณกิจ

ให้สำเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนวิญญาณธาตุดับ กิริยามโนวิญญาณ-

ธาตุยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนวิญญาณธาตุดับ

ชวนจิตย่อมแล่นไป ๗ ครั้ง. ในวิถีจิตเหล่านั้นแม้ในชวนจิตที่ ๑ ย่อม

ไม่มี. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศด้วยอำนาจความกำหนัด

ขัดเคืองและความหลงว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย. . .แม้ในทุติยชวนะ. . .

แม้ในสัตตมชวนะก็อย่างนั้น ก็เมื่อวิถีจิตเหล่านั้นแตกดับตั้งแต่ต้นจนถึง

ที่สุด เหมือนเหล่าทหารในสนามรบ ชื่อว่าการแลและการเหลียว ด้วย

อำนาจความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย จึงมีขึ้น.

อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการแลและการเหลียวนี้ด้วยอำนาจการ

กำหนดรู้เหตุตัวเดิม พึงทราบเพียงเท่านี้ก่อน.

พึงทราบวินิจฉัยในจักษุทวาร ก็เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏ ถัดจาก

ภวังคจิตไหว เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้นดับไป ด้วยอำนาจทำ

กิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุดชวนจิตย่อมเกิด. ชวนจิตนั้นเป็นดุจบุรุษผู้จร

มาในจักษุทวาร อันเป็นเพียงดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้นที่เกิดขึ้น

ก่อน. เมื่อบุรุษผู้จรมานั้นเข้าไปในเรือนของผู้อื่นเพื่อจะขอสิ่งของอะไร ๆ

แม้เมื่อพวกเจ้าของเรือนนิ่งอยู่ ก็ไม่ควรใช้อำนาจ ฉันใด แม้เมื่ออาวัช-

ชนจิตเป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในจักษุทวารอันเป็นเพียง

ดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ก็ไม่ควรกำหนัดขัดเคืองและหลง ฉันนั้น.

พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอำนาจความเป็นเสมือนผู้จรมาอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้.

ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดเหล่านี้ใด ย่อมเกิดขึ้นใน

จักษุทวาร จิตเหล่านั้น ย่อมดับไปในที่นั้น ๆ นั่งเอง พร้อมกับสัมป-

ยุตตธรรม ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน ฉะนั้น จิตนอกนี้จึงเป็นจิตที่มีอยู่

ชั่วขณะ.

ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ในเรือนหลังหนึ่งเมื่อคนทั้งหลายตายกัน

หมดแล้ว เหลืออยู่คนเดียวซึ่งจะต้องตายในขณะนั้นเอง ย่อมไม่อภิรมย์

ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นอันเป็นตัว

สัมปยุตในทวารหนึ่งดับไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง ชื่อว่าการอภิรมย์ด้วยอำนาจ

กำหนัดขัดเคืองและหลงนั่นแล ก็ไม่ควรแม้แก่ชวนจิตที่ยังเหลือ ซึ่งจะ

ต้องดับในขณะนั้นเองฉันนั้น พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอำนาจ

ความเป็นไปชั่วขณะอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง อสัมโมหสัมปชัญญะนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณา

เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย.

ก็ในอธิการนี้ จักษุและรูปจัดเป็นรูปขันธ์ ทัสสนะเป็นวิญญาณขันธ์

เวทนาที่สัมปยุตด้วยวิญาณขันธ์นั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญา.

ขันธ์ สัมปยุตตธรรมมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแลและการ

เหลียว ย่อมปรากฏในเพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ในการแลและการเหลียวนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่ง

เหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักขวายตนะ รูปเป็นรูปาย-

ตนะ ทัสสนะเป็นมนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเป็น

ธรรมายตนะ. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะ

อายตนะ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้า

และการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียว

ไปข้างหลัง จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักษุธาตุ รูปเป็นรูปธาตุ ทัสสนะ

เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักขุ-

วิญญาณธาตุนั้นเป็นธรรมธาตุ. การแลไปข้างหน้า และการแลไปตามทิศ

ย่อมปรากฏเพราะธาตุ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการ

แลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใคร

คนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็น

อารัมมณปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสย-

ปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย อาโลกะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนา

เป็นต้นเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ

ย่อมปรากฏเพราะปัจจัยเหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไป

ข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่ง

เหลียวไปข้างหลัง อสัมโมหสัมปชัญญะในการแลไปข้างหน้าและการแล

ไปตามทิศนี้ พึงทราบด้วยอำนาจพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และ

ปัจจัย อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.__

บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ความว่า คู้เข้าหรือเหยียดออกแห่ง

อิริยาปถปัพพะทั้งหลาย.

การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เพราะการคู้เข้าหรือ

เหยียดออกของมือเท้าเป็นปัจจัย แล้วใคร่ครวญแต่ประโยชน์ โดยมิได้

คู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยอำนาจจิตเลย ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะในการ

คู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น. ทุก ๆ ขณะที่ภิกษุยืนคู้หรือเหยียดมือและเท้า

นานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้นในการคู้หรือเหยียดนั้น จิตย่อมไม่ได้

อารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมจะเลียไป. ภิกษุนั้นย่อมจะไม่บรรลุคุณ-

วิเศษ. แต่เมื่อเวลาภิกษุคู้เข้าพอดี เหยียดออกพอดี เวทนานั้น ๆ ย่อม

ไม่เกิดขึ้น. จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมถึงความสำเร็จ.

เธอย่อมบรรลุคุณวิเศษได้. การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

พึงทราบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.