พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์
[๑๓๘๐] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔
ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้
บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.
[๑๓๘๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ...
ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้
บริบูรณ์ เป็นไฉน.
พ. ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา
ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้
บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗
ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
[๑๓๘๒] ดูก่อนอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน
ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้
บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติ
หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละ
คืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ใน
สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกาย
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ในสมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าว
กายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๓๘๓] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จักเป็นผู้
กำหนดรู้ปีติหายใจออก หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
หายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจ
ออก . . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก . . . หายใจ
เข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมป-
ชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้
ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ใน
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๓๘๔] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็น
ผู้กำหนดจิตหายใจออก. . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิง
หายใจออก .. . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก . . หาย
ใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก . . หายใจเข้า ในสมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌา เละโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวซึ่ง
การเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมป-
ชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้.
[๑๓๘๕] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จัก
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก... หายใจเข้าย่อมสำเหนียก
ว่าจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก . . . หายใจเข้า ใน
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ
อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.
[๑๓๘๖] ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ
เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.
[๑๓๘๗] ดูก่อนอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ในสมัยใด ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัม-
โพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมค้นคว้า พิจารณา สอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[๑๓๘๘] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้น
คว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ในสมัย
นั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่าปรารภความเพียรไม่ย่อ
หย่อน.
[๑๓๘๙] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่าปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัย
นั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพช-
ฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติอันหาอามิสมิได้
ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[๑๓๙๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิด
แก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิต
ก็ย่อมสงบ.
[๑๓๙๑] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม
ด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความ-
สุข ย่อมตั้งมั่น.
[๑๓๙๒] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มี
ความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.
[๑๓๙๓] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่น
อย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
[๑๓๙๔] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนา... เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอ
ย่อมตั้งมั่นไม่หลงลืม.
[๑๓๙๕] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลง
ลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ (พึงขยาย
เนื้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น) เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่าง
นั้นอยู่ด้วยดี.
[๑๓๙๖] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่น
อย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความ
เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
[๑๓๙๗] ดูก่อนอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
[๑๓๙๘] ดูก่อนอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
การทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์...
ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
จบปฐมอานันทสูตรที่ ๓
อรรถกถาปฐมอานันทสูตร
ปฐมอานันทสูตรที่ ๓. คำว่า ย่อมค้นคว้า คือ ย่อมเลือกเฟ้น
ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีก ๒ บทนอกนี้ เป็นคำใช้แทน
คำว่า ย่อมค้นคว้า นี้เอง. คำว่า อันหาอามิสมิได้ คือไม่มีกิเลส ได้แก่
ทั้งกายทั้งจิต ย่อมสงบระงับ. ด้วยความสงบระงับความกระวนกระวายทางกาย
และทางใจ. คำว่า ย่อมตั้งมั่น ได้แก่ ถูกตั้งไว้โดยชอบ คือ เป็นเหมือน
อัปปนาจิต. คำว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง คือย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่าง
ยิ่ง ด้วยความวางเฉยอย่างยิ่งคือธรรมที่เกิดร่วมด้วย.
สติในกายนั้น ของภิกษุผู้กำหนดกายด้วยวิธี ๑๔ อย่าง ดังที่ว่ามานี้
ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ณาณที่ประกอบกับสตินั้น เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ความเพียรที่เป็นไปในทางกาย และทางจิตที่ประกอบกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
นั่นแหละ เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ ปีติ ปัสสัทธิ และจิตเตกัคคตา เป็นปีติ
สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และสมาธิสัมโพชฌงค์ อาการที่เป็นกลางๆ
คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้ เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกม้า วิ่งไปสม่ำเสมอ การทิ่มแทงว่า ตัวนี้ชักช้า
หรือการรั้งว่า ตัวนี้วิ่งเร็วเกินไป ย่อมไม่มีแก่สารถี มีเพียงอาการตั้งอยู่ของม้า
ที่วิ่งอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว ฉันใดเทียว อาการที่เป็นกลาง ๆ คือไม่หย่อนไม่
ตึงเกินไป ของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้ ก็ชื่อว่าเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ฉันนั้นแล.
ด้วยถ้อยคำเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอะไรไว้ ได้ตรัสชื่อว่า วิปัสสนา
โพชฌงค์พร้อมทั้งลักษณะ ที่ประกอบด้วยขณะจิตเดียวไว้แล้ว.
คำเป็นต้น ว่า อันอาศัยวิเวก มีใจความที่กล่าวไว้เสร็จแล้ว. ถามว่า
ก็ในสูตรนี้ ทรงแสดงสติกำหนดลมหายใจออกและหายใจเข้า สิบหกครั้ง เป็น
แบบเจือกันไปอย่างไร. ตอบว่า การตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ที่มีลมหายใจออกและ
หายใจเข้าเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้น ความระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้า
ซึ่งเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้นของการตั้งสติเหล่านั้น การตั้งสติที่ยังโพชฌงค์
ให้บริบูรณ์ ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แม้โพชฌงค์เหล่านั้น ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แต่
โพชฌงค์ที่ทำให้ความรู้แจ้ง และความหลุดพ้นบริบูรณ์ เป็นโลกุตระที่ให้เกิด
ขึ้นแล้ว ความรู้แจ้งและความหลุดพ้น เป็นสิ่งที่ประกอบกับอริยผล หรือความ
รู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ประกอบกับมรรคที่ ๔ ความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ประกอบกับผล
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปฐมอานันทสูตรที่ ๓