ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ทุติยกามภูสูตร

ว่าด้วยสังขาร ๓

[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า

มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่

ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูก่อน

คฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.

[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่า

กายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่า จิตตสังขาร.

[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้า

และลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญา

และเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิด

ที่กาย ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าาและลมหายใจออก

จงชื่อว่ากายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง

ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร. สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต

ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยจิต. ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.

[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิด

มีได้อย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญา

เวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูก ก่อนแต่

จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิต-

นิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือ

จิตตสังขารดับก่อน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขาร

ดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ.

[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว

กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขาร

ดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไปไออุ่นสงบ

อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโร กายสังขารดับสงบ

วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ ( แต่ ) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่น ยังไม่สงบ

อินทรีย์ผ่องใส ดูก่อนคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาลแล้ว กับภิกษุผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้.

ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

[๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้

ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิต-

นิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลัง

ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร

หรือจิตตสังขารเกิดก่อน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขาร

จึงเกิด.

[๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุ

ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่างคือ สุญญผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑

อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

[๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญา-

เวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร

เงื้อมไปสู่อะไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดีจิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่วิเวก.

[๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติ.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย

แต่ว่าอาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ

สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

จบ ทุติยกามภูสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกามภูสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กติ นุโข ภนฺเต สงฺขารา ความว่า ได้ยินว่า คฤหบดี

ย่อมค้นหานิโรธ เพราะฉะนั้น จึงคิดว่าเราจักถามสังขารทั้งหลายอันเป็น

บาทแห่งนิโรธ จึงได้กล่าวอย่างนี้. แม้พระเถระก็รู้ความประสงค์ของ

คฤหบดีนั้นแล้ว เมื่อสังขารหลายอย่างมีบุญญาภิสังขารเป็นต้น แม้มีอยู่

เมื่อจะบอกกายสังขารเป็นต้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตโย โข คหปติ.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า อันกาย

ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยกาย. ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะอรรถว่า

ปรุงแต่งวาจา กระทำให้เกิด. ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะอรรถว่าอันจิต

ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยจิต. ในบทว่า กตโม ปน ภนฺเต นี้

คฤหบดีได้ถามอย่างไร ได้ถามว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คลุกเคล้ากัน

และกัน มัว ไม่ปรากฏชัด แสดงยาก.

จริงอย่างนั้น เจตนา ๒๐ ที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างนี้ คือกามาวจร-

กุศลเจตนา ๘ ดวง อันเกิดขึ้นแล้วให้ถึงการยึด การถือ การปล่อย การไหว

ในกายทวาร, อกุศลเจตนา ๑๒ ดวงก็ดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดี

ท่านเรียกว่า กายสังขาร. เจตนา ๒๐ ดวงก็ดี วิตกวิจารก็ดี ซึ่งมีประการ

ดังกล่าวอันเกิดขึ้นให้ถึงคางไหวเปล่งวาจาในวจีทวาร ท่านเรียกว่า วจี-

สังขาร. แม้ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือแม้เจตนา ๒๙ ดวงที่เป็นกุศลและ

อกุศลอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นิ่งคิดอยู่ในที่ลับยังไม่ถึงการไหวในกายทวารและ

วจีทวาร และธรรม ๒ อย่างเหล่านี้คือ สัญญาและเวทนา ท่านเรียกว่า

จิตตสังขาร. สังขารเหล่านี้ คลุกเคล้ากันและกัน มัว ไม่ปรากฏชัด

แสดงยาก. เราจักกล่าวสังขารเหล่านั้นให้ปรากฏแจ่มแจ้งด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า กสฺมา ปน ภนฺเต นี้ คฤหบดี ย่อมถามเนื้อความ

แห่งบทของชื่อมีกายสังขารเป็นต้น. ในการตอบเนื้อความบทนั้น บทว่า

กายปฏิพทฺธา คือธรรมเหล่านี้ อาศัยกาย เมื่อกายมี ธรรมเหล่านี้ ก็มี

เมื่อกายไม่มี ธรรมเหล่านี้ก็ไม่มี. บทว่า จิตตปฏิพทฺธา คือ ธรรมเหล่านี้

อาศัยจิต เมื่อจิตมี ธรรมเหล่านี้ก็มี เมื่อจิตไม่มี ธรรมเหล่านี้ก็ไม่มี

บัดนี้ เมื่อถามเพื่อจะรู้ว่า ท่านกามภูนั้น ย่อมค้นหาซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธ

หรือไม่ค้นหา เป็นผู้ชำนาญหรือไม่ชำนาญในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น จึง

ถามว่า กถมฺปน ภนฺเต สญฺญาเวทยิตนิโรธสมาปตฺติ โหติ. ในการ

ตอบสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น. ด้วยสองบทว่า สมาปชฺชิสฺสนฺติ วา

สมาปชฺชามีติ วา เป็นอันท่านกล่าวถึงเวลาเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ.

ด้วยบทว่า สมาปนฺโน คือท่านกล่าวถึงภายในนิโรธ. ด้วยสองบทก่อนนั้น

ท่านกล่าวถึงเวลามีวิตก. ด้วยบทหลังท่านกล่าวถึงเวลาไม่มีวิตก

บทว่า ปุพฺเพว ตถา จิตฺตํ ภาวตํ โหติ ความว่า การกำหนด

เวลาว่า เราไม่มีจิต จักอยู่ได้ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ในเวลาก่อนแต่จะ

ออกจากนิโรธสมาบัติ ก็กำหนดเวลาได้เหมือนกัน. บทว่า จิตฺตํ ภาวิตํ

โหติ ยนฺตํ ตถตฺตาย อุปเนติ ความว่า ส่วนจิตที่ท่านอบรมอย่างนี้แล้ว

ย่อมนำบุคคลนั้นเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความไม่มีจิต.

บทว่า วจีสงฺขาโร ปฐมํ นิรุชฺณติ ความว่า วจีสังขาร ย่อมดับในทุติยฌาน

ก่อนกว่าสังขารที่เหลือ. บทว่า ตโต กายสงฺขาโร คือต่อจากนั้น

กายสังขารจึงดับในจตุตถฌาน. บทว่า ตโต ปรํ จิตฺตสงฺขาโร คือ

ต่อจากนั้น จิตตสังขาร จึงดับในภายในนิโรธสมาบัติ.

บทว่า อายุ คือรูปชีวิตินทรีย์. บทว่า วิปริภินฺนานิ คือ ถูกกำจัด

พินาศไปแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น อาจารย์บางพวก ย่อมกล่าวว่า เมื่อเข้า

นิโรธแล้ว จิตย่อมไม่ดับ เพราะบาลีว่า จิตตสังขารดับ เพราะฉะนั้น

ก็สมาบัตินี้ ก็ยังมีจิตอยู่. อาจารย์บางพวกเหล่านั้น พึงถูกท้วงว่า วาจา

ก็ไม่ดับ เพราะบาลีว่า วจีสังขารของเขาต่างหากดับ เพราะฉะนั้น ผู้เข้า

นิโรธแล้ว พึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็มี พึงนั่งสาธยายอยู่ก็มี. จิตก็ไม่ดับ

เพราะบาลีว่า คนนี้ตายแล้ว ทำกาละแล้ว จิตตสังขารของเขาต่างหากดับ

เพราะฉะนั้น เมื่อเผามารดาบิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ที่ตายแล้ว จึงเป็น

อนันตริยกรรม ไม่พึงยึดพยัญชนะจนเกินไป ดำรงอยู่ในข้อแนะนำของ

อาจารย์ทั้งหลาย พิจารณาถึงเนื้อความด้วยประการฉะนี้. ด้วยว่า เนื้อความ

เป็นที่พึ่งได้ พยัญชนะไม่ได้.

บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสนฺนานิ ความว่า ก็เมื่อความประพฤติ

สำเร็จด้วยกิริยาเป็นไปอยู่ อารมณ์ทั้งหลาย ในภายนอก กระทบอยู่ที่

ประสาททั้งหลาย อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเหน็ดเหนื่อย. อินทรีย์ทั้งหลาย

อันถูกกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเปื้อน, เหมือนกระจก อันเขาตั้งไว้

ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อมเปื้อนด้วยธุลีเกิดแต่ลมเป็นต้นฉะนั้น. เปรียบ

เหมือนกระจก อันเขาใส่ไว้ในถุงเก็บไว้ในหีบเป็นต้น ย่อมใสแจ๋วอยู่

ภายในเท่านั้นฉันใด เมื่อภิกษุเข้านิโรธแล้ว ประสาท ๕ ย่อมรุ่งเรือง

ยิ่งนักในภายในนิโรธฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินฺทฺริยานิ

วิปฺปสนฺนานิ อินทรีย์ผ่องใส.

ท่านกล่าวถึงเวลาอยู่ภายในนิโรธ ด้วยสองบทว่า วุฏฺฐหิสฺสนฺติ

วา วุฏฐหามิ วา ท่านกล่าวถึงเวลาผลสมาบัติเกิด ด้วยบทว่า วุฏฺฐิโต.

ท่านกล่าวถึงเวลาไม่มีจิตด้วยสองบทก่อนนั้น. ด้วยบทหลังท่านกล่าวถึงเวลา

มีจิต. บทว่า ปุพฺเพ จ ตถา จิตฺตํ โหติ ความว่าท่านได้อบรมจิต

อันกำหนดเวลาได้ว่า เราเป็นผู้ไม่มีจิต จักอยู่ได้ตลอดเวลาประมาณเท่านี้

ต่อแต่นั้น จักเป็นผู้มีจิต ในเวลาก่อนแต่จะออกจากนิโรธสมาบัติ ก็กำหนด

เวลาได้. บทว่า ยนฺตํ ตถตฺตาย อุปเนติ ความว่า จิตที่ท่านอบรม

อย่างนี้แล้ว ย่อมนำบุคคลนั้นเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น คือความเป็น

ผู้มีจิต. ท่านกล่าวเวลาเข้านิโรธไว้ในหนหลังแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน

ที่นี้ ท่านกล่าวเวลาออกจากนิโรธ.

บัดนี้ ท่านพึงกล่าวนิโรธกถาว่าวาทะ เพื่อจะกล่าวนิโรธกถา. ก็

นิโรธกถานี้นั้น ท่านตั้งเป็นหัวข้อว่า ปัญญาที่อบรมจนชำนาญ ด้วยการ

สงบระงบสังขาร ๓ เพราะประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความประพฤติใน

ญาณ ( ญาณจริยา ) ๑๖ ด้วยความประพฤติในสมาธิ ( สมาธิจริยา ) ๙

เป็นญาณในนิโรธสมาบัติ ซึ่งกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวง

แล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค

นั้นนั่นแล.

ถามว่า ชื่อว่านิโรธนี้ อย่างไร.

ตอบว่าการพิจารณาขันธ์ ๔ แล้ว ไม่เป็นไป. ถามว่า เมื่อเป็น

เช่นนั้น พวกภิกษุ ย่อมเข้านิโรธนั้น เพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า

ย่อมเข้าเพื่อประโยชน์นี้ว่า พวกเรา ( เคย ) เป็นผู้กระสันในความเป็นไป

แห่งสังขารทั้งหลาย ( บัดนี้ ) จักเป็นผู้ไม่มีจิตอยู่เป็นสุขตลอด ๗ วัน

นิโรธนี้ ชื่อว่า ทิฎฐธรรมนิพพาน-นิพพานในปัจจุบัน.

บทว่า จิตฺตสงฺขาโร ปฐมํ อุปฺปชฺชติ ความว่า ก็เมื่อภิกษุ

ออกจากนิโรธ จิตคือผลสมาบัติ ย่อมเกิดขึ้นก่อน. ท่านกามภูหมายถึง

สัญญาแลเวทนา อันสัมปยุตด้วยจิตคือผลสมาบัตินั้นแล้ว จึงกล่าวว่า

จิตฺตสงฺขาโร ปฐมํ อุปฺปชฺชติ บทว่า ตโต กายสงฺขาโร ความว่า

ต่อจากนั้น กายสังขาร ย่อมเกิดขึ้นในภวังคสมัย.

ถามว่า ก็ผลสมาบัติ ย่อมไม่ยังลมหายใจเข้าและหายใจออกให้ตั้ง

ขึ้นหรือ ตอบว่า ให้ตั้งขึ้น. แต่ว่าผลสมาบัติ ของภิกษุประกอบด้วย

จตุตถฌาน ผลสมาบัตินั้น จึงไม่ยังลมอัสสาสปัสสาสะให้ตั้งขึ้น ประโยชน์

อะไรด้วยลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ผลสมาบัติถึงจะมีในปฐมฌานก็ตาม จะมี

ในทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌานก็ตาม จงยกไว้. เมื่อภิกษุออกจาก

สมาบัติแล้ว ลมอัสสาสปัสสาสะ. ย่อมเป็นอัพโพหาริก ( มีเหมือนไม่มี ).

ความที่ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริก พึงทราบได้ด้วยเรื่อง

ของพระสัญชีวเถระ

เมื่อพระสัญชีวเถระ ออกจากสมาบัติแล้ว เหยียบย่ำ เดินไปบน

ถ่านเพลิงปราศเปลวไฟเช่นดอกทองกวาว แม้สักว่าเปลวไฟก็ไม่ไหม้จีวร

แม้สักว่าอาการแห่งไออุ่น ก็ไม่มี. เกจิอาจารย์ ย่อมกล่าวว่า นั้นชื่อว่า

ผลของสมาบัติ. ท่านหมายอย่างนี้แล จึงกล่าวว่า เมื่อภิกษุออกจากผลสมาบัติ

ลมอัสสาสปัสสาสะ ก็เป็นอัพโพหาริก เพราะเหตุนั้นนั่นพึงทราบว่า ท่าน

กล่าวด้วยภวังคสมัยเท่านั้น.

บทว่า ตโต วจีสงฺขาโร ความว่า ต่อจากนั้น วจีสังขาร ย่อม

เกิดขึ้นในเวลาค้นหาความประพฤติที่สำเร็จด้วยกิริยา. ถามว่าภวังค์ ย่อม

ไม่ยังวิตกวิจารให้เกิดขึ้นหรือ ตอบว่า ให้เกิดขึ้น. แต่วิตกวิจารอันมีภวังค์

นั้นเป็นสมุฏฐาน ย่อมไม่สามารถเพื่อจะปรุงแต่งวาจาได้ ดังนั้น คำนั้น

ท่านกล่าวด้วยเวลาค้นหาความประพฤติสำเร็จด้วยกิริยา.

ผัสสะ ๓ มีเป็นอาทิว่า สุญฺญโต ผสฺโส พึงกล่าวโดยมีคุณบ้าง

โดยอารมณ์บ้าง ผลสมาบัติ ชื่อว่า สุญฺญตา โดยมีคุณก่อน ท่านกล่าวว่า

สุญญผัสสะหมายถึง ผัสสะที่เกิดพร้อมด้วยผลสมาบัตินั้น แม้ในอนิมิตต-

ผัสสะ และอัปปณิหิตผัสสะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วน นิพพาน ชื่อว่า สุญญะเพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น

โดยอารมณ์ ชื่อว่าอนิมิต เพราะไม่มีราคนิมิต เป็นต้น ชื่อว่า อัปปณิ-

หตะ เพราะไม่มัที่ตั้งแห่งราคะ โทสะและโมหะ. การถูกต้องในผลสมาบัติ

อันเกิดขึ้น ชื่อว่าสุญญตะ เพราะทำสุญญตนิพพานให้เป็นอารมณ์. ใน

อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ชื่อว่ากถาเป็นที่มา มีอีกอย่างหนึ่ง. ส่วนแม้วิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า

สุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ. บรรดาบทเหล่านั้น ภิกษุใด กำหนด

สังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมออก

จากความไม่เที่ยง วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า

อนิมิตะ ภิกษุใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม

ออกจากความทุกข์ วิปัสสนาของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอัปปณิหิตะ ภิกษุใด

กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตาย่อมออกจากความ

เป็นอนัตตา วิปัสสนาของภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าสุญญตะ บรรดาบทเหล่านั้น

มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิต, ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อว่า

อนิมิต, เมื่อผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติถูกต้องอยู่ ท่านเรียกว่า

อนิมิตตผัสสะ ย่อมถูกต้อง. แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. เมื่อท่านกล่าว โดยเป็นที่มา พึงถึงความกำหนดว่า สุญญต-

ผัสสะ อนิมิตตผัสสะ หรืออัปปณิหิตผัสสะ เพราะฉะนั้น ผู้ดำรงอยู่

โดยที่เป็นที่มา พึงกล่าวโดยมีคุณ และโดยอารมณ์. ก็ผัสสะทั้งหลาย ๓

ย่อมถูกต้องอย่างนี้ดังนั้น จึงเหมาะสม.

นิพพานชื่อว่าวิเวกในบทเป็นอาทิว่า วิเวกนินฺนํ ชี่อว่า วิเวก

นินนะ เพราะอรรถว่า น้อมไป คือ โน้มไปในวิเวกนั้น. บทว่า วิเวก

โปณํ ชื่อว่า วิเวกโปณะ เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่ดุจความคดด้วยเหตุ

แห่งวิเวกซึ่งมาจากอื่น. ชื่อว่า วิเวกปพฺภารํ เพราะอรรถว่าดำรงอยู่เป็น

ดุจตกไปด้วยเหตุแห่งวิเวก.

จบ อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖