พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 621
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
[ ๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ?
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่
เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพลากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดอยู่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชาติ.
ก็ชราเป็นไฉน ?
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความ
เสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชรา.
ก็มรณะเป็นไฉน ?
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อนความแตกทำลาย ความหายไป
มฤตยูความตาย การทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ
ไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อัน
นี้เรียกว่ามรณะ.
ก็โสกะเป็นไฉน ?
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก
ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายในของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ.
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ?
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไร
รำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพันของ
บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่าง
ใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ.
ก็ทุกข์เป็นไฉน ?
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อัน
เป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์.
ก็โทมนัสเป็นไฉน ?
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส.
ก็อุปายาสเป็นไฉน ?
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของ
บุคคลผู้คับแค้นของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูก
ธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส.
ก็ความประจวบกับสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ?
ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคนด้วยรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย
บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนา
ความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้
เรียกว่า ความประจวบกับสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์.
ก็ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน.
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือ
ด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก
ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย
น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้
เรียกว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารเป็นที่รักก็เป็นทุกข์.
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ?
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่
ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์.
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความ
ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา . . .
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้
ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์.
ก็โดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน ?
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยย่อ เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.