ไปหน้าแรก

กรรมสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 470

. ปฐมกรรมสูตร

ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้น

สุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึง

ได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชช-

เวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ

กระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย

๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็น

อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษ

๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๗.

แห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็น

กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งกรรงานทางกาย

๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้

หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความ

เอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็น

อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือ

อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม

คือเป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชาย

รักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญา

โดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความ

ตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา

๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ คือ

เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือใน

ท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษ

ผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้

ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น

เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะ

เหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ

ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมา

บอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน

หรือส่งเสริมคนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอนความแยกกัน ยินดีความแยก

กัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูด

คำหยาบ คือกล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น

ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือกล่าว

ไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย

กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ โดยกาลอัน ไม่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็น

โทษ แห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมี

ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓

อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของ

ผู้อื่น คืออยากได้วัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง

ผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุอัน เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น พึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีจิตคิด

ปองร้าย คือมีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จง

ถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็นผู้มี

ความเห็นผิด คือมีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่น

สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีที่ชั่วไม่มี

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ

ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และ

ปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มี

ในโลก ดังนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน

ทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน

ทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล

หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อัน

มีความตั้งใจเป็นอกุศล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยน

ขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้น

นั้นเอง ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการ

งานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่ง

ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น

อกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง

กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน

ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้

แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มี

ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการ

งานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุข

เป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล

ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ

ฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความ

กรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ๑ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด

จากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง

ผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วย

จิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิด

ในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชาย

น้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มี

อาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น

กุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ

พูดเท็จ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์

หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษ

ผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือ

เมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น

ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง

หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาก

คำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือ

ฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคน

ที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน

ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าว

วาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ

กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง

คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูด

ถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำ

ที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาล

อันควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่างอันมีความ

ตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้

วัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉน

หนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น

พึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจ

อันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มี

ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็น

ไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบาก

แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่

บิดามีอยู่ . สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป

โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน

ยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตังใจเป็นกุศล

ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความ

ตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยม ที่บุคคล

โยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมา

นั้นเอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาบ ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔

อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน

ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบปฐมกรรมสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่

ปฐมกรรมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สญฺเจตนิกานํ ได้แก่ ที่จงใจ หมายใจ กระทำแล้ว. บทว่า

อุปจิตานํ ได้แก่ ที่ก่อสร้าง ให้ขยายตัวขึ้น. บทว่า อปฺปฏิสํวิทิตฺวา

ได้แก่ ยังไม่เสวยวิบากแห่งความแก่นั้น . บทว่า พยนฺตีภาวํ ได้แก่ ความ

ที่กรรมยังไม่หมดไป คือเหตุรอบทางที่กรรมเหล่านั้นกำหนดไว้. บทว่า

ตญฺจ โข ทิฏฺเฐว ธมฺเม ความว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมย่อมให้ผล

นั้นแลในปัจจุบัน. บทว่า อุปปชฺเช ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรม

ย่อมให้ผลในภพต่อไป. บทว่า อปเร วา ปริยาเย ความว่า ส่วนอปรา-

ปรเวทนียกรรม เมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏ ย่อมให้ผลถึงแสน

อัตภาพทีเดียว ด้วยบทนี้ ทรงแสดงความดังนี้ว่า ในกรรมที่เหมาะสม

แก่วิบากที่ได้แล้ว ในเมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏ ไม่มีประเทศ

แห่งแผ่นดินที่สัตว์ดำรงอยู่แล้วจะพึงพ้นจากบาปกรรมไปได้. บทว่า ติวิธํ

แปลว่า ๓ ประการ. บทว่า กายกมฺมนฺตสนฺโทสพฺยาปตฺติ แปลว่า

วิบัติ กล่าวคือโทษแห่งกายกรรม. พึงทราบบททุกบท โดยนัยนี้.

จบอรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่ ๗

๑. อรรถกถาแก้บาลีข้อ ๑๙๔ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ ๖ ในวรรคนี้.

อรรถกถาสูตรที่

สูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ ลูกบาศก์สี่เหลี่ยมโดยรอบ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘

. ทุติยกรรมสูตร

ว่าด้วยกรรมที่สัตว์ตั้งใจสะสมขึ้น

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้น

สุดกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้

เสวยในปัจจุบันในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ

กระทำสั่งสมขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษ

แห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็น

กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔

อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น

อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย

๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น

วิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่า

สัตว์ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง

๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๘ แต่แก้บาลีข้อ ๑๙๔ ซึ่งเป็นสูตรที่ ๖ ในวรรคนี้.

๒. สูตรนี้ไม่มีอรรถกถาแก้.

กาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา

วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น

วิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูด

เท็จ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง

วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓

อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อยากได้ของ

ผู้อื่น ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน

ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน

ทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล

หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อัน

มีความตั้งใจเป็นอกุศล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง

กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้น อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยใน

ปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่ง

สมขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่ง

การงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร

มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น

กุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ

ฆ่าสัตว์ ฯ ลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นจากการ

พูดเท็จ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ

เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมี

ความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ

๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล.

จบทุติยกรรมสูตรที่ ๗

. ตติยกรรมสูตร

ว่าด้วยการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำ

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความ

สิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำ

พึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์

ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา

ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบ

ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน

โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่ว

สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็น

มหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวก

นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิต

ไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็น

จิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อม

ไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญ

เมตตาเจโตวิมุตติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมแลหรือ.

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์

จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้ที่ไหน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ

พึงเจริญแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึง

พาเอาไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็น

ผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไร ๆ ของเรา อัน

กรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเรา

พึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตา

เจโตวิมุตติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรม

วินัยนี้อมรมแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น

พระอนาคามี.

พระอริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไป

ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้ง

ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้

อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้

อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรม

ดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่

ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน คือ หากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญ

อุเบกาขาเจโตวิมุตติไซร้ พึงกระทำบาปกรรมบ้างหรือ.

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมแลหรือ.

ภิ. มิใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์

จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ

พึงเจริญแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษ

จะพึงพาเอาไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้

เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไร ๆ ของเรา

อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด อันเราจะพึงเสวย

ในอัตภาพ จักไม่ติดตามไปดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโต-

วิมุตติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้

เจริญแล้วด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

จบตติยกรรมสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่

สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นวิบาก หรือทุกข์ในวัฎฏะ ใน

สูตรนี้ ไม่มีข้ออุปหาด้วยลูกบาศก์. คำว่า เอวํ ในบทว่า เอวํ วิคตา-

ภิชฺโณ นี้เป็นเพียงนิบาต. อีกนัยหนึ่งชนทั้งหลายเจริญเมตตา ย่อมเป็น

ผู้ปราศจากอภิชฌาฉันใด พระอริยสาวกก็เป็นผู้ปราศจากอภิชฌาฉันนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการที่พระอริยสาวกนั้น ข่มนิวรณ์ได้

ด้วยความเป็นผู้ปราศจากอภิชฌาเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะตรัสนิสสรณะ

การแล่นออกไปจากอกุศล จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น. บทว่า

อปฺปมาณํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีประมาณ เพราะเป็นผู้มีสัตว์ไม่มีประ-

มาณเป็นอารมณ์ หรือเพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสมแล้ว กามาวจร-

กรรม ชื่อว่ากรรมที่ทำโดยประมาณ. บทว่า น ตํ ตตฺราวติฏฺฐติ ความว่า

กามาวจรกรรมนั้นไม่อาจถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้ เหมือนน้ำเล็กน้อย

ในห้วงน้ำใหญ่ ที่แท้กรรมที่ไม่มีประมาณนี้เท่านั้น ครอบงำกามาวจร-

กรรมนั้นเหมือนน้ำเล็กน้อยในห้วงน้ำ ย่อมทำวิบากของตนให้บังเกิด.

บทว่า ทหรตคฺเค แปลว่า ตั้งแต่เป็นเด็ก. บทว่า นายํ กาโย

อาพาย คมนีโย ความว่า ไม่อาจพากายนี้ไปยังปรโลกได้. บทว่า

จิตฺตนฺตโร แปลว่า มีจิตเป็นเหตุ. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า เป็นไปในลำดับ

โดยจิตนั้นแล. อธิบายว่า จริงอยู่ จะชื่อว่า เทวะ ชื่อว่าสัตว์นรก ชื่อว่า

สัตว์เดียรัจฉาน ก็เพราะปฏิสนธิจิตดวงที่ ๒ ในลำดับแห่งจุติจิตดวงที่ ๑

นั่นแล. แต่ในนัยต้น จะเป็นเทวะ หรือสัตว์นรก ก็ด้วยทั้งจิตที่เป็น

๑. อรรถกถาแก้บาลีข้อ ๑๙๖ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ ๘ ในวรรคนี้.

ตัวเหตุ. บทว่า สพฺพนฺตํ อิธ เวทนียํ นี้ ตรัสด้วยอำนาจส่วนแห่ง

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. บทว่า น ตํ อนุภิสฺสติ ความว่า จักเป็นกรรม

ที่ไม่ดำเนินตามด้วยอำนาจอุปปัชชเวทนียกรรม เพราะความเป็นอุปปัชช-

เวทนียกรรมถูกเมตตาตัดขาดแล้ว. แต่ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นปัจจเวกขณ-

ญาณของพระอริยบุคคล คือพระโสดาบันและพระสกทาคามี. บทว่า

อนาคามิตาย ได้แก่ เพื่อความเป็นพระอนาคามีโดยฌาน. บทว่า อิธ

ปญฺญสฺส ความว่า ชื่อว่า ปัญญา ในพระศาสนานี้ เป็นของสำหรับ

พระอริยสาวก ผู้ตั้งอยู่ในอริยปัญญา ซึ่งเป็นศาสนจารีต. บทว่า อนุตฺตรึ

วิมุตฺตึ ได้แก่พระอรหัต.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

จบอรรถกถาวรรคที่ ๑