ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๒

ทุติยปัณณาสก์

วรรคที่ ๖

นิยามกถา

[๑๐๗๗] สกวาที นิยาม คือ ทางอันแน่นอน เป็นสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น

ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗๘] ส. นิยามเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็

เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

ก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและประณีต มีความอุกฤษฏ์

และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่างขั้นแห่งนิพพาน

๒ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗๙] ส. นิยามเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ยังนิยามให้

เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง

ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีบุคคลบางพวก ก้าวลงสู่อสังขตะ ได้อสังขตะ ยังอสังขตะ

ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง

ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๐] ส. นิยามเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ส. มรรคเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิยามเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตนิยาม

เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. อรหัตมรรคเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตตนิยาม เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๑] ส. โสดาปัตตินิยาม เป็นอสังขตะ ฯลฯ อรหัตนิยาม เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

อสังขตะ นิพพาน เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๕ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน

๕ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๒] ส. นิยาม เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มิจฉัตตนิยาม คือทางอันแน่นอนข้างผิด เป็นอสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัจฉัตตนิยามเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัตตนิยาม คือ ทางอันแน่นอนข้างถูก เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่านิยามเป็นอสังขตะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลยังเป็นผู้ไม่แน่นอน

อยู่หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

ป. ถ้าอย่างนั้น นิยามก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

ส. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลเป็นไม่แน่นอน

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น มิจฉัตตนิยาม ก็จะเป็นอสังขตะไปน่ะสิ.

นิยามกถา จบ

อรรถกถานิยามกถา

ว่าด้วย นิยาม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยาม นิยามเป็นอสังขตะ. ในปัญหานั้น ท่านเรียก

อริยมรรคว่า นิยาม เพราะพระบาลีว่า บุคคลผู้สามารถเพื่อก้าวลงสู่นิยาม

อันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลายดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ

นิกายอันธกะทั้งหลายว่า เมื่อนิยามนั้นเกิดขึ้นและดับไปแล้วก็ดี บุคคลนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นไม่เที่ยงก็หาไม่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น นิยามที่เกิดขึ้นแก่บุคคล

นั้น จึงชื่อว่าเป็นอสังขตะ คือ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะอรรถว่าเป็นของเที่ยง

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ต่อจากนั้นเมื่อสกวาที่จะแสดงว่า ผิว่า นิยามนั้นเป็นอสังขตะไซร้ นิยามนั้น

ก็พึงมีอย่างนี้ จึงกล่าวคำว่า เป็นนิพพาน เป็นต้น. คำถามเปรียบเทียบมี

อรรถง่ายทั้งนั้น. คำว่า บุคคลบางพวกก้าวล่วงสู่นิยาม เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อแสดงความเป็นสังขตะของนิยาม ฯ ในปัญหาว่า มรรคป็นอสังขตะหรือ

เป็นต้น ปรวาทีย่อมปฏิเสธ เพราะมรรคนั้นยังมีการเกิดและการดับ. ในปัญหา

ว่า นิยามเป็นสังขตะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอานิยามในมรรคแม้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

ดับไปแล้วก็เป็นของมีอยู่. ในคำทั้งหลายมีคำว่า โสดาปัตตินิยาม เป็นต้น

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอนุโลมและปฏิโลมโดยนัยนั้น.

ถูกสกวาทีถามว่า อสังขตะเป็น ๕ อย่างหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็น

สถานที่มาของอสังขตะ ๕ อย่าง จึงปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง

เพราะคำว่า นิยามแห่งสัมมัตตนิยาม ๔ อย่าง และเพราะความเป็นอสังขตะ

ของพระนิพพาน ๑. ปัญหาว่าด้วย มิจฉัตตนิยาม สกวาทีกล่าวแล้ว เพื่อแสดง

ความไม่ถูกต้องแห่งความเป็นอสังขตะ ด้วยเหตุสักแต่คำว่านิยามนั้นนั่นแหละ

ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานิยามกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ปฏิจจสมุปปาทกถา

[๑๐๘๔] สกวาที ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น

ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่างหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่งก็

เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง อมตะ

ก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานก็เป็น ๒ อย่างหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและความประณีต มีความ

อุกฤษฏ์และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่างขั้น

แห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

[๑๐๘๕] ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชาก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชาเป็นสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นเลย

ส. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นสังขตะหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ก็เป็นอสังขตะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัยก็เป็นอสังขตะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชราและมรณะที่มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ก็เป็นสังขตะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นสังขตะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

[๑๐๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นอสังขตะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชรา มรณะ มีเพราะชาติเป็นปัจจัย โดยพระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติ

ขึ้นหรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วเทียว เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรม

นิยาม คือความที่ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้

ด้วยปัญญาอันยิ่ง ค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้ด้วยปัญญา

อันยิ่งแล้ว ครั้นค้นพบด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว จึงบอก แสดง ประกาศ เผย

แพร่ ขยาย ทำให้ง่าย และได้ชี้แจงว่า ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ มีสังขารมีเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย โดยตถาคตทั้งหลายจะอุบัติขึ้น หรือมิอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นได้

ตั้งอยู่แล้วเทียว ฯลฯ และได้ชี้แจงว่าสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ภิกษุ

ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นโดยประการอื่น

คือความที่ธรรมเกิดขึ้นเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย สภาวธรรมนั้น ดังกล่าวนี้

อันใด นี้เรากล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

[๑๐๘๗] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น

เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

๑. ส. นิ. ๑๖/๖๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ หรือมีระหว่างขึ้นแห่ง

นิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๘] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น

เป็นอสังขตะ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย

ดังนี้ สภาวะใดเป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น สภาวะนั้น

ก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๓ อย่างหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๓ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน

๓ อย่างนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๘๙] ส. ปัจจยาการบท ๑ ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น

สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า วิญญาณมีเพราะสังขาร

เป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการนั้น

สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ ฯลฯ ปัจจยาการอีกบท ๑ ว่า ชรามรณะมีเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใด เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ในปัจจยาการ

นั้น สภาวะนั้นก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๑๒ อย่างหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๑๒ อย่างหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน ก็เป็น ๑๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๑๒ อย่าง ฯลฯ

มีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน ๒ อย่างนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

อรรถาปฏิจจสมุปปาทกถา

ว่าด้วย ปฏิจจสมุปบาท

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาท. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และมหิสาสกะทั้งหลายว่า ปฏิจจสมุปบาท

เป็นอสังขตะ เพราะพระบาลีในนิทานวรรคว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคต

เจ้าก็ดี การไม่อุบัติก็ดี ชื่อว่าธัมมัฏฐิตตา คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรม มีอยู่ ดังนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ปัญหา

ว่า อวิชชาเป็นสังขตะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงสภาวะปฏิจจสมุปบาท

แห่งธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นนั่นแหละ. ก็องค์หนึ่ง ๆ ในธรรมเหล่านั้น

ท่านเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ด้วยอรรถอันใด อรรถอันนั้นนั่นแหละท่าน

ได้กล่าวไว้แล้วในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์.

คำว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ สภาวะใดเป็นธัมมฐิติ

เป็นอาทิ สกวาทีกล่าวเพื่อทำลายอรรถแห่งลัทธิที่ปรวาทีนำมาตั้งไว้แล้ว

ด้วยพระสูตรนั้นนั่นแหละ.

ก็ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความว่า ธาตุใดเป็นสภาวะตั้งอยู่แล้วในก่อน

ธาตุนั้นเทียว ท่านเรียกว่าเป็นธัมมฐิติ ธัมมนิยาม ธาตุนั้นเว้นจากอวิชชา

เป็นตนมีอยู่ส่วนหนึ่งก็หาไม่ และคำว่า ธัมมฐิติ และธัมมนิยามนี้เป็นชื่อแห่ง

ปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นนั่นแหละ. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติ

แล้วก็ดี ยังมิได้ทรงอุบัติก็ดี สังขารทั้งหลายก็ย่อมเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

ทั้งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้นย่อมเกิดแต่ธรรมทั้งหลายมีสังขารเป็นต้น

เพราะฉะนั้น ความตั้งอยู่อันใดเพราะอรรถว่าเป็นเหตุแห่งสังขารธรรมทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

ในบทนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า

ธัมมฐิติ อนึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นนิยามเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ

ฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ธัมมนิยาม เพราะฉะนั้นธัมมฐิติก็ดี ธัมมนิยาม

ก็ดี ท่านจึงเรียกว่าอวิชชา สกวาทีถามว่า สภาวะนั้น คืออวิชชา เป็นอสังขตะ

นิพพานก็เป็นสังขตะหรือ ? ปรวาทีตอบรับรองด้วยความสามารถแห่งลัทธิ

ถูกถามอีกว่า อสังขตะเป็น ๒ อย่างหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มี

ในพระสูตร แต่ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย

ก็นัยนี้นั่นแหละ. อนึ่ง ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบเช่นกับคำที่กล่าวไว้แล้วใน

หนหลังโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

สัจจกถา

[๑๐๙๐] สกวาที สัจจะ ๔ เป็นอสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานก็เป็น ๔ ที่เร้นก็เป็น ๔ ที่พึ่งเป็น ๔ ที่หมาย

ก็เป็น ๔ ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๔ อมตะก็เป็น ๔ นิพพานก็เป็น ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพาน ก็เป็น ๔ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีความสูงและต่ำ มีความเลวและประณีต มีความ

อุกฤษฏ์และทราม มีเขตแดน หรือความแตกต่าง หรือร่อง หรือระหว่าง

ขั้นแห่งนิพพาน ๔ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๑] ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวณหา เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๒] ส. ทุกข์เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส เป็นสังขตะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทัยเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๓] ส. นิโรธสัจเป็นสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ สมุทัยเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ มรรคเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๔] ส. ทุกขสัจเป็นอสังขตะ ทุกข์เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมุทัยสัจเป็นอสังขตะ สมุทัยเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นอสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคสัจเป็นอสังขตะ มรรคเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจเป็นสังขตะ นิโรธเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๕ ] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัจจะ ๔ เป็นอสังขตะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ อย่างนี้ แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๔ อย่าง เป็นไฉน คำว่า นี้ทุกข์ นี้แท้

นี้ไม่ผิด นี้ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขนิโรธ

ฯลฯ คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้แท้ นี้ไม่ผิด นี้ไม่เป็นอย่างอื่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ อย่างนี้แล แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สัจจะ ๔ ก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

สัจจกถา จบ

อรรถกถาสัจจกถา

ว่าด้วย สัจจะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัจจะ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า สัจจะทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทย

สัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ เป็นอสังขตะ เพราะอาศัยพระสูตรว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้แท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น เป็นต้น

ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ก็พึงทราบคำอธิบายปัญหานั้นว่า บรรดาทุกข์ สมุทัย และมรรคทั้งหลาย

ชื่อว่าวัตถุสัจจะ เป็นสังขตะ ลักขณสัจจะ คือนิพพาน เป็นอสังขตะ ชื่อว่า

วัตถุสัจจะย่อมไม่มีในนิโรธ นิโรธนั้นเป็นอสังขตะอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น

๑. ขุ. ป. ๓๑/๕๔๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

ปรวาทีจึงตอบรับรองว่าใช่ แต่การตอบรับรองนั้นสักแต่ว่าเป็นลัทธิของ

ท่านเท่านั้น. จริงอยู่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาทุกข์ว่าเป็นวัตถุสัจจะ ทั้ง

ปรารถนาสมุทัยและมรรคก็เช่นนั้น. ส่วนธรรมเหล่าใดมีการนำออกจาก

ทุกข์อันเป็นเครื่องเบียดเบียน และเหตุให้เกิดทุกข์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็น

ลักษณะ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ลักขณสัจจะ. อนึ่งชื่อว่าธรรมมีทุกข์ เป็นต้น

เว้นจากพาธนลักษณะ เป็นต้น ย่อมไม่มี. บรรดาคำทั้งหลายว่า ตาณะ

คือที่ต้านทาน เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบอธิบายโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในปัญหาว่า ทุกขสัจจะ ปรวาทีตอบรับรอง เพราะหมายเอา

ลักขณสัจจะ ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ในปัญหาว่า ทุกข์ ปรวาทีตอบ

ปฏิเสธ หมายเอาวัตถุสัจจะ. เบื้องหน้าแต่นี้สุทธิกปัญหาก็ดี ปัญหาว่าด้วย

การเปรียบเทียบก็ดีทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลี

นั่นแหละ. ในอวสาน พระสูตรที่ปรวาทีนำมา เพื่อตั้งไว้เป็นลัทธิ พระสูตร

นั้นไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ เพราะความที่อรรถนั้นท่านถือเอาผิด

ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสัจจกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

อารุปปกถา

[๑๐๙๖] สกวาที อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น

ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่งนิพ-

พาน ๒ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนะเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส

เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

เป็นกำเนิด เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอสังขตะ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงอสังขตะ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๗] ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิด แก่ ตาย จุติ อุบัติ ในอากาสานัญ-

จายตนะ ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิด แก่ ตาย จุติ อุบัติ ในอสังขตะ

ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๘] ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอากาสานัญ-

จายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อากาสานัญจายตนะ เป็นจตุโวการภพ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็นจตุโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อรูป ๔ เป็นอสังขตะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อรูป ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสภาพไม่

หวั่นไหว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอรูป ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสภาพ

ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อรูป ๔ เป็นอสังขตะ

อรุปปกถา จบ

อรรถกถาอรุปปกถา

ว่าด้วย ภพไม่มีรูป

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อารุปปะ คือภพไม่มีรูป ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดว่า ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งปวง เป็นอสังขตะ เพราะอาศัย

พระบาลีว่า ภพไม่มีรูปทั้ง ๔ เป็นสภาพไม่หวั่นไหว ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นโดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น. แม้พระสูตร

ที่สาธกนั้น ก็ไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ เพราะไม่รู้อรรถแล้วนำมา

ดังนี้แล.

อรรถกถาอารุปปกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

นิโรธสมาปัตติกถา

[๑๑๐๐] สกวาที นิโรธสมาบัติ เป็นอสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น

ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่จุติ เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่างและมีระหว่างขั้นแห่งนิพพาน

๒ อย่างนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีคนบางพวก เข้านิโรธ ได้นิโรธ ยังนิโรธให้เกิดขึ้น

ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นอย่างยิ่ง

ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

ส. มีคนบางพวก เข้าอสังขตะ ได้อสังขตะ ยังอสังขตะ

ให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด

ขึ้นอย่างยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดพร้อมได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ ปรากฏได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะ ปรากฏได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้านิโรธ มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกายสังขาร

ดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าอสังขตะก็มีวจีสังขารดับไปก่อน แต่นั้นกาย

สังขารดับ แต่นั้นจิตตสังขารดับ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ออกจากนิโรธมีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้นกาย

สังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ออกจากอสังขตะ ก็มีจิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน แต่นั้น

กายสังขารเกิดขึ้น แต่นั้นวจีสังขารเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๑] ส. ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต

ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้ว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต

ผัสสะ ย่อมถูกต้อง ผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๒] ส. จิตของผู้ที่ออกจากนิโรธแล้ว เป็นธรรมชาติโน้มไป

สู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตของผู้ที่ออกจากอสังขตะแล้ว ก็เป็นธรรมชาติโน้ม

ไปสู่วิเวก เอียงไปสู่วิเวก น้อมไปสู่วิเวก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธสมาบัติเป็นอสังขตะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น นิโรธสมาบัติก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

นิโรธสมาปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา

ว่าด้วย นิโรธสมาบัติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิโรธสมาบัติ. ในเรื่องนั้น ความไม่เป็นไปแห่ง

นามขันธ์ ๔ ชื่อว่านิโรธสมาบัติ. ก็นิโรธสมาบัตินั้นอันบุคคลเมื่อจะทำ

ชื่อว่าย่อมทำได้ คือ เมื่อเข้านิโรธสมาบัติ เขาย่อมเข้าได้ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงเรียกนามขันธ์ ๔ นั้นว่า เป็นสมาบัติที่ดับไปแล้ว. แต่ใคร ๆ

ไม่พึงกล่าวว่าเป็นสังขตธรรม หรือเป็นอสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะ

แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรม.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ

และอุตตราปถกะทั้งหลายว่า นิโรธสมาบัติไม่เป็นสังขตะ เพราะเป็น

อสังขตะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า นิโรธสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำเป็นต้นว่า ยังนิโรธให้

เกิดขึ้น สกวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะซึ่งการเข้าสมาบัติ

เท่านั้น. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายย่อมยังสังขตธรรมทั้งหลาย

มีรูปเป็นต้นให้เกิดขึ้นได้โดยวิธีใด แต่ใคร ๆ ชื่อว่ายังอสังขตะให้เกิดขึ้น

ได้โดยวิธีนั้นหาได้ไม่. คำว่า ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธ บัณฑิต

พึงทราบว่าเป็นผลสมาบัติ. แต่ความผ่องแผ้ว ความออกจากอสังขตะนั้น

ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า ลัทธิว่า นิโรธสมาบัติ เมื่อไม่เป็น

สังขตะก็ต้องเป็นอสังขตะ ดังนี้ แต่คำนี้ไม่เป็นเหตุในความเป็นอสังขตะ

เพราะฉะนั้น แม้ปรวาทีกล่าวแล้ว คำนั้นก็หาเป็นเช่นกับคำที่กล่าวนั้นไม่

ดังนี้แล.

อรรถกถานิโรธสมาปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

อากาสกถา

[๑๑๐๔] สกาวาที อากาศเป็นอสังขตะหรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น

ที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๕] ส. อากาศเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะ เป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทาน เป็น ๒ อย่าง ฯลฯ มีระหว่างขั้นแห่ง

นิพพาน ๒ อย่างนั้น หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๖] ส. อากาศเป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำอนากาศให้เป็นอากาศได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำสังขตะให้เป็นอสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

[๑๑๐๗] ส. มีชนบางพวก ทำอากาศให้เป็นอนากาศได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีชนบางพวกทำอสังขตะให้เป็นสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๘] ส. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ พระจันทร์และพระ

อาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์แสดงฤทธิ์ได้

ชนทั้งหลายไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้

แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ในอสังขตะ นกทั้งหลายก็บินไปได้ พระจันทร์และ

พระอาทิตย์ก็โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายก็โคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ก็แสดง

ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายก็ไกวแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้าง

ลูกขลุบได้ แผลงฤทธิ์ไปได้ แผลงศรไปได้หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๐๙] ส. ชนทั้งหลายล้อมอากาศ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น

ฉางได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ชนทั้งหลายล้อมอสังขตะ ทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็น

ฉางได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๐] ส. เมื่อขุดบ่ออยู่ อนากาศ คือที่มิใช่อากาศ กลายเป็น

อากาศได้หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขตะ ก็กลายเป็นอสังขตะได้ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๑] ส. เมื่อถมบ่อเปล่าอยู่ ยังฉางเปล่าให้เต็มอยู่ ยังหม้อเปล่า

ให้เต็มอยู่ อากาศอันตรธานไปได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะ ก็อันตรธานไปได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นอสังขตะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อากาศเป็นสังขตะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อากาศก็เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

อากาสกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

อรรถกถาอากาสกถา

ว่าด้วย อากาศ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศ. ในเรื่องนั้น อากาศมี ๓ อย่าง คือ ปริจเฉ-

ทากาส คือช่องว่างอันเป็นที่กำหนด กสิณุคฆาฏิมากาส คือช่องว่างที่

เพิกขึ้นของกสิณ และอชฏากาส คือช่องว่างของท้องฟ้า แม้คำว่า ดุจฉากาส

คือช่องว่างอันว่างเปล่า ก็เป็นชื่อของอชฏากาสนั้นนั่นแหละ. บรรดา

อากาศเหล่านั้น ปริจเฉทากาส คือของว่างที่คั่นอยู่ระหว่างรูปกับรูป เป็น

สังขตะ ส่วนอากาศที่เหลือแม้ทั้ง ๒ นี้สักว่าเป็นบัญญัติ.

ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ และ

มหิสาสกะทั้งหลายว่า อากาศแม้ทั้ง ๒ คือกสิณุคฆาฏิมากาส และอชฎากาส

ไม่ใช่สังขตะ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอสังขตะ ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า อากาศ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอากาสกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

อากาโสสนิทัสสโนติกถา

[๑๑๑๓] สกาวาที อากาศเป็นสนิทัสสนะ คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น

สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ

มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๔] ส. อากาศเป็นสนิทัสสนะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๕] ส. อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและอากาศจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ

๑. ม.อุ. ๑๔/๘๑๔.,ส.นิ.๑๖/๑๖๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและอากาศ จึง

เกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๑๑๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อากาศเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ ช่องในระหว่าง

เสาทั้ง ๒ ช่องดาล ช่องหน้าต่าง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ ช่องใน

ระหว่างเสาทั้ง ๒ ช่องดาล ช่องหน้าต่าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่าอากาศเป็นสนิทัสสนะ.

อากาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

อรรถกถาอากาโสสนิทัสสโนติกถา

ว่าด้วย อากาศเป็นของเห็นได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอากาศเป็นของเห็นได้ด้วยจักษุ. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า อชฏากาส

ทั้งปวงเป็นของเห็นได้ เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งความรู้ ในที่ทั้งหลาย

มีช่องลูกดาลเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อากาศเป็นสนิททัสสนะ

คือเห็นได้ด้วยจักษุ หรือ โดยหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงปรวาที

นั้นว่า ถ้าอากาศเป็นของเห็นได้ไซร้ อากาศก็พึงเป็นอย่างนี้ ๆ. ในปัญหา

ทั้งหลายว่า อาศัยจักษุและอากาศ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ความไม่มีพระสูตรเห็นปานนั้น ย่อมตอบรับรองเพราะอาศัยการเข้าไป

เห็นที่ทั้งหลาย มีภายในห้อง มีช่องอันหยาบเป็นต้น. ในข้อว่า ท่านเห็น

ช่องในระหว่างต้นไม้ทั้ง ๒ นี้ อธิบายว่า มโนวิญญาณที่เกิดทางมโนทวาร

ย่อมเกิดว่านี้ คือ อากาศ มิใช่จักขุวิญญาณเห็น เพราะไม่มีรูปารมณ์

ในระหว่างช่องที่เห็นรูปต้นไม้ด้วยจักษุ. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้

เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ถ้อยคำที่ปรวาทีนำมากล่าวแล้วนั้น จึงไม่สำเร็จ

ประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาอากาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา

[๑๑๑๗] สกวาที ปฐวีธาตุเป็นสนิททัสสนะ หรือ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นไป เป็นรูปายตนะ เป็นไปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น

สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ

มาสู่คลองแห่งจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๘] ส. ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและปฐมวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๑๙] ส. อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. คำว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หาก คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิด

จักขุวิญญาณขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

[๑๑๒๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาโปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นน้ำ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นน้ำ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

อาโปธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ มิใช่หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

ป. หากว่า ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า วาโยธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ

อรรถกถาปฐมวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา

ว่าด้วย ปฐวีธาตุเป็นต้นเป็นสนิทัสสนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ คือเป็นของเห็นได้ด้วย

มังสจักขุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ

ทั้งหลายว่า ปฐวีธาตุ เป็นต้น คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

เป็นของเห็นได้ด้วยตา เพราะเห็นวัณณายตนะ คือสี แห่งการไหวของ

แผ่นหิน น้ำ เปลวไฟ ต้นไม้ นั่นเทียวด้วย คือเรื่องปฐวีธาตุ ฯลฯ แห่งโอกาส

อันตั้งอยู่เฉพาะแห่งอินทรีย์ ๕ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ด้วย

คือเรื่องจักขุนทรีย์ ฯลฯ เห็นรูปมีมือและเท้าเป็นต้น ในเวลาเคลื่อนไหว

กายด้วย คือเรื่องกายกรรม ฯลฯ บรรดาเรื่องทั้งหมด ทั้ง ๓ เรื่อง คำถาม

ต้นของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ

ในที่ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลี และพึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เรื่องสุดท้ายว่า กายกรรมไม่เป็นสนิทัสสนะ

คือไม่เป็นของเห็นได้ด้วยตา ท่านทำเรื่อง ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ

ไว้เป็นข้อแรก.

อรรถกถาปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา

[๑๑๒๑] สกวาที จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลอง

แห่งจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๒๒] ส. จักขุนทรีย์เป็นสนิทัสสนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๒๓] ส. อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและจักขุนทรีย์

จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

[๑๑๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ

จักขุนทริยสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

กายกัมมสนิทัสสนันติกถา

[๑๑๒๕] สกวาที กายกรรมเป็นสนิทัสสนะหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็น

สีเหลือง เป็นสีแดง เป็นสีขาว เป็นวินัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ

มาสู่ครองแห่งจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรม เป็นสนิทัสสนะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า อาศัยจักขุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ

ขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและกายกรรม

จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๑๒๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นสนิทัสสนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านเห็นอาการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว

คู้แขน เหยียดแขน มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านเห็นอาการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ

แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กายกรรม

เป็นสนิทัสสนะ.

กายกัมมสนิทัสสนันติกถา จบ

ปริโยสานกถาบัณฑิตพึงทราบว่า ตั้งแต่ปฐวีธาตุสนิทัสสนะ จนถึงกาย

กัมมสนิทัสสนะ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิยามกถา ๒. ปฏิจจสมุปาทกถา ๓.สัจจกถา ๔. อารุปปกถา

๕. นิโรธสมาปัตติกถา ๖. อากาสกถา ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา

๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา

๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา.

วรรคที่ ๖ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

วรรคที่ ๗

สังคหิตกถา

[๑๑๒๗] สกวาที ธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยธรรม

บางเหล่า ไม่มีหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่นับเข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง

แล้ว ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่นับเข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้

นับเนื่องแล้ว ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า

ที่ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยธรรมบางเหล่าไม่มี.

[๑๑๒๘] ส. จักขายตนะนับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ป. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ส. หากว่า จักขายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น

นะท่าน จึงต้องกล่าวว่า จักขายตนะท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยรูปขันธ์.

ป. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ

กายายตนะ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ส. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ป. หากว่า กายายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น

นะท่าน จึงต้องกล่าวว่า กายายตนะท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยรูปขันธ์.

[๑๑๒๙] ส. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ

รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

ป. นับเข้าได้ในรูปขันธ์.

ส. หากว่า โผฏฐัพพายตนะนับเข้าได้ในรูปขันธ์ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า โผฏฐัพพายตนะ ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วย

รูปขันธ์.

[๑๑๓๐] ส. สุขเวทนานับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ป. นับเข้าได้ในเวทนาขันธ์.

ส. หากว่า สุขเวทนานับเข้าได้ในเวทนาขันธ์ ด้วยเหตุนั้น

นะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า สุขเวทนาท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยเวทนาขันธ์.

ป. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา นับเข้าได้ในขันธ์

ไหน ?

ส. นับเข้าได้ในเวทนาขันธ์.

ป. หากว่า อทุกขมสุขเวทนานับเข้าได้ในเวทนาขันธ์

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อทุกขมสุขเวทนาท่านสงเคราะห์เข้าไว้

ด้วยเวทนาขันธ์.

[๑๑๓๑] ส. สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ป. นับเข้าได้ในสัญญาขันธ์.

ส. หากว่า สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส นับเข้าได้ใน

สัญญาขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สัญญาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส

ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสัญญาขันธ์.

ป. สัญญาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาอันเกิดแต่

มโนสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ส. นับเข้าได้ในสัญญาขันธ์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

ป. หากว่า สัญญาอันเกิดแต่มโนสัมผัส นับเข้าได้ใน

สัญญาขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สัญญาอันเกิดแต่มโนสัมผัส

ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสัญญาขันธ์.

[๑๑๓๒] ส. เจตนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาอันเกิดแต่

มโนสัมผัส นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ป. นับเข้าได้ในสังขารขันธ์.

ส. หากว่า เจตนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส นับเข้าได้ใน

สังขารขันธ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เจตนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส

ท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วยสังขารขันธ์.

[๑๑๓๓] ส. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นับเข้าได้ในขันธ์ไหน ?

ป. นับเข้าได้ในวิญญาณขันธ์.

ส. หากว่า มโนวิญญาณนับเข้าได้ในวิญญาณขันธ์ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า มโนวิญญาณท่านสงเคราะห์เข้าไว้ด้วย

วิญญาณขันธ์.

ป. ธรรมเหล่านั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยธรรมเหล่านั้น

ก็เหมือนอย่างโคพลิพัทท์คู่ ๑ ที่เขาสงเคราะห์ คือล่าม ไว้ด้วยทามหรือ

เชือก บิณฑบาตที่เขาสงเคราะห์ คือแขวน ไว้ด้วยสาแหรก สุนัขที่เขา

สงเคราะห์ คือผูก ไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข.

ส. หากว่า โคพลิพัทท์คู่หนึ่ง เขาสงเคราะห์ คือล่าม ไว้

ด้วยทามหรือเชือก บิณฑบาตสงเคราะห์ คือแขวน ไว้ได้ด้วยสาแหรก

สุนัขเขาสงเคราะห์ คือผูก ไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า ที่ท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่.

สังคหิตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

อรรถกถาสังคหิตกถา

ว่าด้วย ธรรมที่สงเคราะห์กันได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรมที่สงเคราะห์กันได้. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า

ธรรมบางเหล่าชื่อว่า สงเคราะห์กันได้กับธรรมบางเหล่า ดุจโคคู่หนึ่ง

มีโคพลิพัทเป็นต้น ที่เขาผูกไว้ด้วยเชือกเป็นต้น ย่อมไม่มี เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายบางอย่างที่สงเคราะห์กับธรรมทั้งหลายบางอย่าง

จึงไม่มี ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่คำเป็นต้นว่า การสงเคราะห์รูปโดย

ความเป็นอันเดียวกันได้ ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมาย

ถึงชนเหล่านั้น เพื่อจะแสดงความที่ธรรมสงเคราะห์กันได้ด้วยอรรถ

อย่างหนึ่ง คำตอบรับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน.

บัดนี้การสงเคราะห์ธรรม อันบัณฑิตย่อมหาได้ด้วยอรรถอันใด เพื่อแสดง

อรรถอันนั้น พระสกวาทีจึงเริ่มคำว่า ธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์

เข้าไว้ด้วยธรรมบางเหล่าไม่มีหรือ. คำทั้งหมดนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น

เหมือนอย่างโคพลิพัทคู่ ๑ ที่เขาล่ามไว้ด้วยทามหรือเชือก นี้เพื่อตั้ง

ลัทธิของตน บัณฑิตพึงทราบว่า ลัทธิของปรวาทีนั้นถูกสกวาทีผู้ไม่ยินดี

คำอุปมานั้น ไม่คัดค้านคำอุปมานั้นทำลายเสียแล้ว ด้วยคำว่า หากว่าโค

พลิพัทคู่ ๑ เขาล่ามไว้ด้วยทามหรือเชือก... ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้อง

กล่าวว่าธรรมบางเหล่าที่ท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยธรรมบางเหล่ามีอยู่ ดังนี้.

ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความว่า ถ้าว่า ชื่อว่าโคพลิพัทเป็นต้นที่เขาสงเคราะห์

กัน คือผูกไว้คู่หนึ่งสำหรับเทียมแอก ด้วยเชือกเป็นต้น ตามลัทธิของท่าน

ไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลายบางอย่างที่สงเคราะห์กันได้ก็ไม่มี ดังนี้.

อรรถกถาสังคหิตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

สัมปยุตตกถา

[๑๑๓๔] สกวาที ธรรมบางเหล่า ที่สัมปยุตด้วยธรรมบางเหล่า

ไม่มีหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดกับดับ

พร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันกับด้วยธรรมบางเหล่า

มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน

เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันกับด้วยธรรม

บางเหล่า มีอยู่ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมบางเหล่า ที่สัมปยุตด้วยธรรมบางเหล่า

ไม่มี.

[๑๑๓๕] ส. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ ด้วยเหตุ

นั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์.

ส. เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ กับวิญญาณขันธ์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เวทนาขันธ์ เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เวทนาขันธ์ สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์.

ส. สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

เวทนาขันธ์ กับสัญญาขันธ์ กับสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณขันธ์ สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์.

ป. น้ำมัน ซับอยู่ ซึมอยู่ ในงา รส ซับอยู่ ซึมอยู่ ในอ้อย

ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ก็แทรกอยู่ ซึมอยู่ กับธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สัมปยุตตกถา จบ

อรรถกถาสัมปยุตตกถา

ว่าด้วย สัมปยุตธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัมปยุตตธรรม คือประกอบทั่วพร้อมโดยอาการ

๔ มี เอกุปปาทตา เป็นต้น. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิ

ของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายมีเวทนา

เป็นต้น ไม่เข้าไปตามแล้ว คือไม่เกิดร่วม ในสัญญาเป็นต้น เหมือนน้ำมัน

ซับอยู่ซึมอยู่ในงา เพราะธรรมไร ๆ ไม่สัมปยุตกับธรรมไร ๆ ครั้นเมื่อ

ความเป็นเช่นนี้มีอยู่ คำว่า สัมปยุตแล้วด้วยญาณเป็นต้นนี้ก็หาประโยชน์

มิได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น เพื่อแสดงสัมปยุตตธรรม

ด้วยอรรถอัน ๑ ที่สัมปยุตกันได้นั่นแหละ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที

ด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมี

นัยเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

อนึ่ง อุปมาปัญหาใดว่า น้ำมันซับอยู่ซึมอยู่ในงา เป็นต้น ที่ปรวาที

นำมาแล้ว อุปมาปัญหานั้นไม่มีความกำหนดความต่างกันจากลักษณะ

ของงาและน้ำมัน เหมือนเวทนาและสัญญา จริงอยู่ คำว่า งาจะเป็นเมล็ดงา

หรือเปลือกงาแม้ทั้งปวง สักว่าเป็นโวหาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ บุคคล

ทั้งหลายทำให้งาเกิดแล้ว ก็ถือเอาด้วยโวหารนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า งา ย่อม

ไม่ปรากฏโดยสัณฐานตั้งแต่ต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น อุปมาปัญหานี้ก็

เช่นกับไม่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัมปยุตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

เจตสิกกถา

[๑๑๓๖] สกวาที เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต

เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิตมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน

สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิต

มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตสิกธรรมไม่มี.

[๑๑๓๗] ส. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า ผัสสะเป็นเจตสิก.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ฯลฯ สัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า อโนตตัปปะ เป็นเจตสิก.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับผัสสะ ก็ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

ผัสสสิกหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ กับ

สัญญา ฯลฯ กับเจตนา ฯลฯ กับสัทธา กับวิริยะ กับสติ กับสมาธิ กับ

ปัญญา กับราคะ กับโทสะ กับโมหะ ฯลฯ กับอโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า อโนต-

ตัปปสิก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า จิตนี้และบรรดา

เขตสิก ธรรมย่อมปรากฏแก่ผู้ทราบชัดโดยความเป็นอนัตตา ครั้นทราบ

ชัดธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีตแล้ว ก็เป็นผู้มีความเห็นโดย

ชอบ ทราบชัดว่ามีอันแตกดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่น่ะสิ.

[๑๑๓๘] ส. เจตสิกธรรมไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ ภิกษุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้

ซึ่งการที่ตรอง ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่าใจของเป็นอย่างนี้

บ้าง ใจของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ.

เจตสิกกถา จบ

อรรถกถาเจตสิกกถา

ว่าด้วย เจตสิก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเจตสิก คือสภาวธรรมที่ประกอบจิต. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ

ทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ผัสสิกะ คือธรรมที่ประกอบกับผัสสเจตสิก

เป็นต้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้เจตสิกก็ไม่พึงมี เจตสิกธรรมก็ไม่มี

ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ที่สกวาทีกล่าวแล้ว หมายเอาการเกิดพร้อม

กันของสัมปยุตตธรรม. คำถามว่า ชื่อว่าผัสสิก ย่อมมีแก่สกวาทีผู้ไม่เห็น

อยู่ซึ่งโวหารเช่นนั้น. เมื่อปรวาทีกล่าวคำว่า ชื่อว่า เจตสิก เพราะอรรถว่า

อาศัยจิตโดยโวหารมีอยู่ ฉันใด เจตสิก แม้นั้นชื่อว่า ผัสสิก เพราะอรรถ

ว่า อาศัยผัสสะฉันนั้นหรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาทีเพราะคำนั้น

ไม่ผิด. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาเจตสิกกถา จบ

๑. ที. สี. ๙/๓๔๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

ทานกถา

[๑๑๓๙] สกวาที ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ก็ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือเจตสิกธรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ทาน มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่

เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ

มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผล

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

เป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา

และ ทานก็คือจีวร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ

มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา

และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล

น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ

ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศล ไปตามสัตบุรุษ ธรรม ๓ ประการนี้แล

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่า เป็นทางไปสู่เทวโลก เพราะบุคคลไปสู่เทวโลก

ได้ด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. องฺ. อฏฺก ๒๓/๑๒๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.

[๑๑๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ เจตสิกธรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทาน ๕ ประการนี้ เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ

ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง

ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ทาน ๕ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้น

ขาดแล้วจากปาณาติบาต อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ชื่อว่า

ให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณ

มิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความเป็นผู้ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์

หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร

ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้นี้เป็นทานข้อแรก ซึ่งเป็นทานใหญ่

ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อัน

สมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายมิได้ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จัก

ไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยสาวก

ละอทินนาทาน ฯลฯ ละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละฐานะ

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือดื่มสุราเมรัย เป็นผู้เว้นขาดแล้วจาก

อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ชื่อว่า ให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความไม่มีเวณ ให้

ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง

ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ นี้เป็น

ทานข้อคำรบ ๕ ซึ่งเป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ

ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์และผู้รู้ทั้งหลาย มิได้

ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทาน ๕ ประการนี้แล เป็นทานใหญ่ ปรากฏว่าเลิศ ปรากฏโดยราตรี ปรากฏ

ว่าเป็นวงศ์ เป็นธรรมเก่าแก่ อันสมณพราหมณ์ทั้งหลาย มิได้ลบล้าง ไม่

เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ ไม่คัดค้านแล้ว ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทาน ก็คือ เจตสิกธรรม น่ะสิ.

[๑๑๔๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ย่อมให้ข้าว ให้น้ำ ให้ผ้า ให้ยาน ให้ดอกไม้ ให้ของหอม ให้เครื่อง

ลูบไล้ ให้ที่นอน ให้ที่พัก ให้เครื่องประทีป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ทาน คือ ไทยธรรม น่ะสิ.

๑. องฺ. อฏฺก ๒๓/๑๒๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

[๑๑๔๔] ป. ทาน คือ ไทยธรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไทยธรรม มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น

ที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา

และ ทาน ก็คือ จีวร หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จีวร มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ

มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ทานมีผลน่าปรารถนา

และ ทานก็คือ บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีผลน่าปรารถนา มีผล

น่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทาน คือ ไทยธรรม

ทานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

อรรถกถาทานกถา

ว่าด้วย ทาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทาน. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าทานมี ๓ อย่าง คือ

จาคเจตนา วิรติ ไทยธรรม. ทานชื่อว่า จาคเจตนา มีที่มาในคำว่า ศรัทธา

หิริ และทานที่เป็นกุศล. ทานชื่อว่า วิรติ มีที่มาในคำว่า พระอริยสาวก

ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณ

มิได้ วิรติทาน คือ วิรตีเจตสิก ๓ อันเป็นเหตุงดเว้นจากอกุศลทุจริตนั้น

ในอัฏฐกนิบาตอังคุตตรนิกายเรียกทานนี้ว่า มหาทานที่ ๑. ทานชื่อว่า

ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ มีที่มาในคำว่า บุคคลย่อมให้ทาน คือ

ข้าวน้ำ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในทานเหล่านี้ต่อไป บุคคลย่อมให้วัตถุ

อันควรให้เพราะจาคเจตนา ฉะนั้นจาคเจตนาจึงชื่อว่า ทาน อีกอย่างหนึ่ง

ชนทั้งหลายย่อมให้วัตถุที่พึงให้ด้วยจาคเจตนานี้ เพราะเหตุนั้น จาคเจตนานี้

จึงชื่อว่าทาน. วิรติ ชื่อว่าทาน เพราะอรรถว่าการตัดหรือเพราะอรรถ

ว่าการทำลาย ซึ่งอกุศลจิต จริงอยู่วิรติทานนั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมตัดหรือ

ทำลายเจตนาอันเป็นเหตุทุศีลที่บัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าเป็นผู้มีความกลัวภัย

เป็นต้น. ไทยธรรมอันใด อันเขาย่อมให้เพราะเหตุนั้น ไทยธรรมนั้น จึง

ชื่อว่า ทาน ได้แก่ไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ ทานแม้ทั้ง ๓ อย่างมี

ประการยังกล่าวมานี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็มีอยู่เพียง ๒ อย่าง คือ เจตสิกธรรม

และไทยธรรม.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ

และสิทธัตถิกะทั้งหลายว่า เจตสิกธรรมเท่านั้นเป็นทานไทยธรรม คือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

วัตถุอันบุคคลพึงให้ ไม่ใช่ทาน ดังนี้ คำถามสกวาทีว่า ทานคือเจตสิก

เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

คำถามของสกวาทีว่า จะให้เจตสิกธรรมแก่คนอื่น ๆ ก็ได้หรือ ดังนี้

เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยสามารถแห่งไทยธรรม คำตอบปฏิเสธเป็นของ

ปรวาที เพราะบุคคลนั้นไม่อาจเพื่อให้เจตสิกธรรม เหมือนการให้ข้าวน้ำ

เป็นต้นได้. เมื่อสกวาทีถามปัญหานั้นซ้ำอีก ปรวาทีนั้นนั่นแหละก็ตอบ

รับรองด้วยสามารถแห่งพระสูตรว่า พระอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณา

ติบาตแล้ว ย่อมให้อภัยแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้. แต่ในปัญหา

ทั้งหลาย มีปัญหาว่าด้วย ผัสสะ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นโวหารว่า

บุคคลจะให้ผัสสะได้ เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ทานมีผลไม่น่าปรารถนา เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ

แสดงซึ่งความที่ธรรมอันมิใช่เจตสิกเป็นทานมีอยู่. จริงอยู่ อเจตสิกทาน

คือ การให้ข้าวน้ำเป็นต้น ย่อมไม่ให้วิบากอันน่าปรารถนาต่อไป แต่คำนี้

บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว เพื่อนิยามในความเป็นอิฏฐผล ได้แก่

นิยาม คือมรรค.

ก็ในคำแม้นี้ อธิบายว่า ผิว่า อเจตสิกทาน คือ การให้ข้าวเป็นต้น

พึงเป็นทานไซร้ ก็เมื่อบุคคลให้เภสัชอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ

ด้วยจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์ ผลอันไม่น่าปรารถนานั้นนั่นแหละพึงเกิดขึ้น

ดุจไม้สะเดาเป็นต้นยังผลสะเดาเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่ แต่ในที่นี้ การให้ด้วย

เจตนาอันเป็นเหตุบริจาคย่อมให้ซึ่งผลอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลเหตุใด

เพราะเหตุนั้น ครั้นเมื่อไทยธรรม คือวัตถุอันบุคคลพึงให้ แม้ไม่น่าปรารถนา

ก็ย่อมชื่อว่าเป็นทานมีผลอันน่าชอบใจทั้งสิ้น ดังนี้. เมื่อปรวาทีตั้งเจตสิกธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

เป็นทานอย่างนี้แล้ว สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ทานมีผลน่าปรารถนา ดังนี้ เพื่อจะยังไทยธรรมโดยปริยายนี้

ให้สำเร็จความเป็นทาน. แต่ปรวาที เมื่อไม่เห็นความที่จีวรทานเป็นต้น

มีผลอันน่าปรารถนา จึงปฏิเสธ. การชำระพระสูตรย่อมถูกต้องทั้งใน

วาทะของปรวาทีและทั้งในวาทะของสกวาที แต่ย่อมไม่ถูกโดยเนื้อความ

อย่างเดียวกัน.

คำว่า ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา นี้ สกวาทีตอบปฏิเสธสักว่า

ความเป็นอิฏฐผลเท่านั้น เพราะฉะนั้นในคำว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าว

ว่าทานคือไทยธรรม นี้ ย่อมไม่ถูก เพราะความที่ไทยธรรมนั้น บุคคล

พึงกล่าวว่าเป็นอิฏฐผลทีเดียว. อนึ่ง ไทยธรรมชื่อว่า ทานนั่นแหละ เพราะ

อรรถว่าอันบุคคลพึงให้. สำหรับเรื่องทานนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะปลดเปลื้อง

ความปะปนกันแห่งทานทั้ง ๒ เท่านั้น ดังนี้ แล.

อรรถกถาทานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ปริโภคมยปุญญกถา

[๑๑๔๕] สกวาที บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา สำเร็จ

แต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๖] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจริญได้ดุจเครือเถา ดุจเครือเถาย่างทราย ดุจต้นไม้

ดุจหญ้า ดุจแพแห่งหญ้าปล้อง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๔๗] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นได้แก่ผู้ไม่กังวล เป็นได้แก่ผู้ไม่

สนใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่จงใจ เป็นได้แก่ผู้ไม่

ปรารถนา เป็นได้แก่ผู้ไม่ตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็นได้แก่

ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุญเป็นได้แก่ผู้นึกถึง เป็นได้แก่ผู้กังวล เป็น

ได้แก่ผู้สนใจ เป็นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจ เป็นได้แก่ผู้จงใจ เป็นได้แก่ผู้ปรารถนา

เป็นได้แก่ผู้ตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้

[๑๑๔๘] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกถวายทาน ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึกพยาบาทวิตก

อยู่ ตรึกวิหิงสาวิตกอยู่ ก็เป็นบุญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ

ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ

ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มารวมกันได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้นแห่งสมุทร

นี้ประการที่ ๒ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก แดนอาทิตย์อุทัย และด้าวอัสดงคต

นี้ประการที่ ๓ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของ

อสัตบุรุษ นี้ประการที่ ๔ ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้แล ไกลกัน ไกลกันนัก.

ท้องฟ้ากับแผ่นดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทรเขาก็ว่าไกลกัน แดนอาทิตย์

อุทัย และด้าวอัสดงคต ก็ไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัตบุรุษ

กล่าวได้ว่า ไกลกันกว่านั้นอีก.

สมาคมของพวกสัตบุรุษ ยั่งยืน คงที่ อยู่ได้แม้ตลอดกาล ที่ดำรง

ชีพอยู่ แต่สมาคมของพวกอสัตบุรุษ ย่อมเสื่อมไปเร็วแท้เพราะฉะนั้น

ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ

อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว

มารวมกันได้

[๑๑๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูก

สร้างสวน ปลูกสร้างป่า สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างที่พักอาศัย

ให้เป็นทาน บุญย่อมเจริญมากแก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ ทั้งกลางวันกลางคืน

๑. จตุกฺก ๒๑/๕๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมจะไปสู่สวรรค์ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.

[๑๑๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์

งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผล

อันน่าปรารถนา เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์

เพื่อความสุข ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อบริโภค

จีวรของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำ

คืออกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม

มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ เป็นไปพร้อมเพื่อผลอันน่า

เมื่อบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของบุคคลใด เข้าเจโตสมาธิหาประมาณ

มิได้อยู่ ห้วงน้ำคือบุญ ห้วงน้ำคือกุศล ของบุคคลนั้น ก็หาประมาณมิได้

นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุขเป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์

ย่อมเป็นไปเพื่อพร้อมเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ

ห้วงน้ำคือกุศล ๔ ประการนี้แล นำมาซึ่งความสุข มีอารมณ์งาม มีสุข

๑. ส.ส. ๑๕/๑๔๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

เป็นวิบาก ยังสัตว์ให้เป็นไปในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา

เพื่อผลอันน่าใคร่ เพื่อผลอันน่าพึงใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุญก็สำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้น่ะสิ.

[๑๑๕๑] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่ทิ้งเสีย

สละเสีย เป็นบุญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทายกให้ทาน ปฏิคาหกรับแล้วไม่บริโภค แต่

ทิ้งเสีย สละเสีย เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค

เจริญได้

[๑๑๕๒] ส. บุญสำเร็จแต่การบริโภคเจริญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทายากให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระราชา

ริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย หรือ

ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย เป็นบุญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทายกให้ทาน ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว พระ

๑. องฺ จตุกฺก ๒๑/๕๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ราชาริบไปเสีย หรือโจรลักไปเสีย หรือไฟไหม้เสีย หรือน้ำพัดไปเสีย

หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักนำไปเสีย ก็เป็นบุญได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุญ

สำเร็จแต่การบริโภค ย่อมเจริญได้

ปริโภคมยปุญญกถา จบ

อรรถกถาปริโภคสมปุญญกถา

ว่าด้วย บุญสำเร็จแต่การบริโภค

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภค คือการใช้สอย. ในปัญหา

นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะ

ทั้งหลายว่า บุญชื่อว่า สำเร็จแต่การบริโภคมีอยู่แก่ชนทั้งหลาย เพราะ

ถือเอาพระสูตรทั้งหลายว่า บุญย่อมเจริญมากแก่ทายกเหล่านั้นทุกเมื่อ

ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน และพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ

บริโภคจีวรของบุคคลใดเป็นต้น ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาที

ว่า บุญสำเร็จแต่การบริโภค เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. ลำดับนั้นสกวาที จึงเริ่มกล่าวคำว่า ผัสสะสำเร็จแต่การ

บริโภค เป็นต้น เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า กุศลธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น.

ชื่อว่าบุญ นอกจากนี้ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ท่านพึงยังผัสสะเป็นต้นให้เจริญ

ได้หรือ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะไม่ใช่เจริญบุญให้

ทายกเหล่านั้น. คำทั้งหลายมีคำว่า เจริญได้ดุจเครือเถา เป็นต้น สกวาที

กล่าว เพื่อท้วงด้วยคำว่า เครือเถาเป็นต้น แม้เว้นจากการบำรุงหรือการ

ทำให้เจริญ ย่อมเจริญเองได้นั่นแหละ ฉันใด ตามลัทธิของท่าน บุญทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ย่อมเจริญ ฉันนั้นหรือ ? แต่คำนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว

อย่างนั้น เพราะบุญนั้นเจริญเช่นนั้นหาได้ไม่.

ในปัญหาว่า ทายกให้ทานแล้วไม่สนใจก็เป็นบุญได้หรือ ปรวาที

ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า ปุริมเจตนาของทายกนั้นย่อมเจริญ

ได้ด้วยการบริโภคของปฏิคาหกทั้งหลาย บุญนั้นย่อมเจริญอย่างนี้. ลำดับ

นั้น จึงถูกสกวาทีซักถามด้วยคำเป็นต้นว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่นึก เป็นต้น

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาจาคเจตนาของทายก. ในคำเหล่านั้น

คำว่า ผู้ไม่นึก ได้แก่ ภวังค์ของทายกผู้ไม่นึกไม่สละด้วยการพิจารณา

อันเป็นปุเรจาริกในทานเจตนา. คำว่า ผู้ไม่กังวล ได้แก่ หาความคำนึง

ถึงทานเจตนามิได้. คำว่า เป็นได้แก่ผู้ไม่สนใจ ได้แก่ ไม่มีความสนใจ

ทานเจตนา จริงอยู่ อาวัชชนจิตของทายกนั้นเมื่อตัดกระแสภวังค์ขาดแล้ว

ก็เกิดในวิถีของตนจึงชื่อว่าสนใจทานเจตนา สกวาทีย่อมถามว่า บุญของ

ทายกเป็นได้แก่ผู้ไม่มีความสนใจย่อมมีด้วยจิตนี้ ด้วยกิจอย่างนี้. คำว่า

ผู้ไม่กระทำไว้ในใจ ได้แก่ ผู้ไม่ทำซึ่งใจจริงอยู่ อาวัชชนจิตที่กำลังมี

ทานเป็นอารมณ์เกิดติดต่อกันนั้น ชื่อว่า ย่อมทำไว้ซึ่งใจ อธิบายว่า เขา

ไม่ทำอย่างนี้. อนึ่งคำว่า ซึ่งใจนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ท่านใช้เป็นสัตตมีวิภัตติ

แปลว่า ในใจ. คำว่า ผู้ไม่จงใจ ได้แก่ ทายกนั้นไม่ให้เจตนาในทานเกิด

ขึ้น. คำว่า ผู้ไม่ปรารถนา ได้แก่ ทายกนั้นไม่ทำฉันทะในกุศลอันบัณฑิต

นับพร้อมแล้วว่าความต้องการ. คำว่า ผู้ไม่ตั้งใจ อธิบายว่า ไม่ให้จิต

ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งทานเจตนา. คำว่า ผู้กังวล ในข้อว่า บุญเป็น

ได้แก่ผู้นึกถึงมิใช่หรือ นั้นได้แก่ เพราะคำนึงถึงทานเป็นอารมณ์. อีก

อย่างหนึ่ง อธิบายว่า ความคำนึงถึงทานพึงมีแก่ทายก หรือว่า บุญของ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

ทายกผู้คำนึงถึงทานนั้นย่อมเกิดติดต่อกันไป. แม้ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า

แห่งผัสสะ ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มี

ผัสสะทั้ง ๒ เป็นต้น ในขณะเดียวกันของทายก ย่อมตอบรับรอง หมาย

เอาผัสสะเป็นต้นอย่างละ ๒ คือผัสสะของทายกและผู้บริโภค. อีกอย่างหนึ่ง

ลัทธิของปรวาทีนั้นว่า การประชุมพร้อมกันแห่งปัญจวิญญาณมีอยู่แก่

ทายก ดังนี้ จึงตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธินั้น. ลำดับนั้น สกวาที

จึงถามปัญหามีคำว่า กุศล เป็นต้น กะปรวาทีนั้น เพื่อปิดทวารแห่ง

การบรรยาย คือมิให้มีการพูดอ้อมค้อม แล้วก็ท้วงด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก

แก่กันและกันโดยตรง. แม้ในปัญหาว่า กุศล เป็นต้นนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาความไม่มีการประกอบซึ่งกันและกัน แห่งกุศลและอกุศลใน

ขณะเดียวกัน แต่ตอบรับรองเพราะลัทธิว่า จิตอันสำเร็จด้วยการบริโภค

เป็นจิตที่ไม่ประกอบกัน. ทีนั้น สกวาทีจึงตำหนิปรวาทีนั้นด้วยพระสูตร.

ในการนำพระสูตรมาอ้างนั้น ปรวาทีกล่าวแล้วว่า บุญย่อมเจริญมาก

แก่ชนเหล่านั้นทุกเมื่อ หมายเอาบุญที่เกิดติดต่อกันไปด้วยสามารถแห่ง

การสร้างสถานที่ทั้งหลายมีการสร้างสวน เป็นต้น และด้วยสามารถแห่ง

การตามระลึกถึงกุศลทั้งหลาย อันมีการปฏิสังขรณ์เป็นต้น. คำว่า ห้วงน้ำ

คือบุญของบุคคลนั้นหาประมาณมิได้ แม้นี้ ปรวาทีกล่าวกำหนดเอาคำ

แห่งพระสูตรว่า ภิกษุเห็นปานนี้ ใช้สอยจีวรของเรา เพราะความที่เป็น

ปัจจัยอันเราถวายแก่ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความ

สามารถแห่งการแสดงความชื่นชม. ปรวาทีนั้นย่อมกำหนดบุญนั้นว่า

สำเร็จด้วยการบริโภค คือใช้สอย ดังนี้.

อันที่จริง ไทยธรรมที่ปฏิคาหกรับแล้วยังไม่บริโภคก็ตามที บุญ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

นั้นย่อมเกิดแก่ทายกนั้นทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาทะของสกวาที

จึงนับว่ามีกำลังกว่า ในปัญหานั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ไทยธรรม

อันปฏิคาหกรับแล้ว ของบทว่า ครั้นเมื่อปฏิคาหกรับแล้ว ดังนี้ คำ

ที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาปริโภคมยปุญญกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

อิโตทินนกถา

[๑๑๕๓] สกวาที บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้

ในปรโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อให้จีวรแก่โลกนี้ ก็บริโภคจีวรนั้นในปรโลกหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อให้บิณฑบาตแต่โลกนี้... เมื่อให้เสนาสนะแต่โลกนี้

... เมื่อให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขารแต่โลกนี้... เมื่อให้ของขบเคี้ยวแต่

โลกนี้... เมื่อให้ของกินแต่โลกนี้... เมื่อให้น้ำดื่มแต่โลกนี้ ก็บริโภคน้ำดื่ม

นั้นในปรโลกหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๕๔] ส. บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลก

ด้วยทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้

ผู้อื่นกระทำผู้อื่นให้เสวยผลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๕๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น

ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแก่โลกนี้หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พวกเปรต เห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน ย่อม

อนุโมทนา ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ย่อมได้โสมนัส มิใช่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เปรตเห็นเขาให้ทานเพื่อประโยชน์แก่ตน

ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ย่อมยังปีติให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกยังอัตภาพให้เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอัน

บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้.

[๑๑๕๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้เป็น

ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า น้ำฝนตกในที่ดอน

ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จ

แก่บุคคลผู้ละไปแล้ว ฉันนั้นแล.

ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมไหลหลากยังสมุทรสาครให้เต็มรอบได้ฉันใด

ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมเข้าไปสำเร็จแก่บุคคลผู้ละไปแล้ว

ฉันนั้นแล.

กสิกรรมไม่มีในเปตโลกนั้นเลย โครักขกรรมก็ไม่มี ณ ที่นั้น

พาณิชกรรมก็เช่นกัน การซื้อขายด้วยเงินก็ไม่มี บุคคลผู้ละไปแล้ว คือ

ผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคล

ให้แล้วแต่โลกนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. ขุ.ขุ. ๒๕/๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลกก็ยังอัตภาพให้เป็น

ไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.

[๑๑๕๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ยังอัตภาพให้

เป็นไปได้ในปรโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล

ฐานะ ๕ เป็นไฉน ? เราเลี้ยงเขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำ

กิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรงอยู่นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือ

เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เขาจักทำบุญส่งไปให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา

บิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรซึ่งจะเกิดในสกุล.

บัณฑิตเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร คือ เราเลี้ยง

เขามาแล้ว เขาจักเลี้ยงเราตอบ เขาจักช่วยทำกิจของเรา สกุลวงศ์จักดำรง

อยู่ได้นาน เขาจักดูแลทรัพย์มฤดกสืบไป ก็หรือเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว

เขาจักทำบุญส่งไปให้ บัณฑิตทั้งหลายเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึง

ปรารถนาบุตร.

เพราะฉะนั้น สัปปุริสชน คนเรียบร้อย จึงเป็นคนกตัญญูกตเวที

เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านได้ทำก่อน ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจของ

ท่านตามฐานะที่ท่านเป็นบุพพการี บุตรผู้อยู่ในโอวาท บิดามารดาเลี้ยง

มาแล้ว เลี้ยงตอบ ไม่ทำวงศ์สกุลให้เสื่อม มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น

บุตรที่ควรสรรเสริญ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. องฺ.ปฺจก ๒๒/๓๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไปสู่ปรโลก ก็ยังอัตภาพให้เป็น

ไปได้ในปรโลก ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ น่ะสิ.

อิโตทินนกถา จบ

อรรถกถาอิโตทินนกถา

ว่าด้วย ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะ และสิทธัตถิกะทั้งหลาย

ว่า วัตถุอันใดมีจีวรทานเป็นต้นที่บุคคลให้แล้วจากโลกนี้มีอยู่ เปรต

ทั้งหลายย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยวัตถุอันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ เพราะ

อาศัยพระบาลีว่า ชนทั้งหลายผู้ละไปแล้ว คือผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมยัง

อัตภาพให้เป็นไปในเปตโลกนั้น ด้วยทานอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ ดังนี้

คำถามของสกวาทีว่า ทานที่บุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ เป็นต้น โดยหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกสกวาทีซักถามปัญหา

ด้วยการให้จีวรเป็นต้นอีก ก็ตอบปฏิเสธ.

ข้อว่า ผู้อื่นเป็นผู้กระทำแก่ผู้อื่น ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ผู้อื่น

เป็นผู้ทำกรรมทั้งหลายเพื่อให้วิบากเกิดแก่ผู้อื่น มิใช่ตนเองทำให้แก่ตน.

ก็ปรวาทีนั้นถูกถามปัญหาอย่างนี้ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร.

คำว่า พวกเปรตเห็นเขาให้ทาน อธิบายว่า เห็นบุคคลผู้ให้ทาน.

ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ก็โภคะทั้งหลาย ย่อม

เกิดขึ้นแก่เปรตทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น เพราะการอนุโมทนาของตน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ลัทธิของปรวาทีนั้น แม้ตั้งอยู่ด้วยเหตุนี้ ก็นับว่าไม่

เป็นอันตั้งอยู่ได้ เพราะว่า เปรตทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปได้ด้วยวัตถุอันบุคคลให้แล้วแต่โลกนี้ก็หาไม่. ในการนำพระสูตรมา

อ้างแม้ที่เหลือก็มีนัยนี้นั่นแหละ.

อรรถกถาอิโตทินนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา

[๑๑๕๘] สกวาที แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา

ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขม

สุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา

ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ

ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของ

แผ่นดินนั้นมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขม

สุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยทุกขเวทนา ไม่

ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ไม่ประกอบด้วยผัสสะ ไม่ประกอบด้วย

เวทนา ไม่ประกอบด้วยสัญญา ไม่ประกอบด้วยเจตนา ไม่ประกอบด้วย

จิต ไม่มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความ

จงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดินนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดินนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าว

ว่าแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.

[๑๑๕๙] ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มี

ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ

ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก และแผ่นดินมีสุขเวทนา มี

ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วย

ทุกขเวทนา ประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบ

ด้วยเวทนา ประกอบด้วยสัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต

มีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ

ความปรารถนา ความตั้งใจของแผ่นดิน มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๐] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แต่แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา

ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของแผ่นดิน

นั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก แต่ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มี

ทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๑] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินเชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบาก เชิดชูได้ เหยียบย่ำได้ ตัดได้ ทำลายได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๒] ส. แผ่นดิน บุคคล จะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ จะเสริม

ก็ทำได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบาก บุคคลจะพูน จะเพิ่ม จะถม จะก่อ

จะเสริม ก็ทำได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๓] ส. แผ่นดินทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๔] ส. กรรมวิบาก ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า นิธิ คือ บุญ ไม่

ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ โจรลักไม่ได้ ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาวะควรทำบุญ

ผู้นั้นพึงประพฤติสุจริต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่

ชนอื่น ๆ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

[๑๑๖๕] ส. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แผ่นดินตั้งอยู่ด้วยดีก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดขึ้น

ในภายหลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากบังเกิดขึ้นก่อน ต่อภายหลังสัตว์ทั้งหลายจึงทำ

กรรมเพื่อได้วิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๖] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ทั้งปวงหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดิน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งปวง บริโภคแผ่นดินหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางพวกบริโภคแผ่นดิน แล้วปรินิพพานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางพวก ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไปแล้วปรินิพพาน

มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๗] ส. แผ่นดินเป็นวิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภคแผ่นดิน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น

จักรพรรดิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภควิบากแห่งกรรมของสัตว์ผู้จะเป็น

จักรพรรดิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์อื่น ๆ บริโภคผัสสะ เวทนา เจตนา จิต สัทธา

วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของสัตว์ผู้จะเป็นจักรพรรดิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมที่ยังสัตว์ให้ไปพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ กรรม

ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น

ใหญ่ กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่มีอยู่ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก.

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกถา

ว่าด้วย แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก คือเป็นผลของกรรม.

ในเรื่องนั้น คำว่า ความเป็นแห่งชนทั้งหลายผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ.

คือความเป็นใหญ่ ความเป็นแห่งอธิปติชนทั้งหลายชื่อว่า อาธิปัจจะ คือ

ความเป็นอธิบดี หรือความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ และกรรมมีความเกี่ยวข้อง

ด้วยความเป็นอิสระและความเป็นอธิบดีในแผ่นดินมีอยู่ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้

ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นใหญ่ กรรมที่ยัง

สัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่ ดังนี้ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า

แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า แผ่นดิน เป็นต้น

โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า แผ่นดิน

มีสุขเวทนา เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถการแสดงสภาพ

แห่งกรรมวิบาก. ผัสสะอันต่างด้วยสุขเวทนาเป็นต้นมีอยู่ในวิบากทั้งหลาย

ที่ท่านแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก ก็ผัสสะนั้นด้วย

ธรรมทั้งหลายมีสัญญาเป็นต้นด้วย สัมปยุตกันกับธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนา

เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตกับธรรมทั้งหลาย

มีสัญญาเป็นต้น ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นไปกับด้วยอารมณ์ คือรับ

อารมณ์ได้ ก็อาวัชชนจิต กล่าวคือ การรับอารมณ์อันเป็นปุเรจาริก

เป็นต้นแห่งธรรมเหล่านั้น และเจตนา อันเป็นกัมมปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น

ก็มีอยู่ในธรรมเหล่านั้น ธรรมใดมีวิบากที่น่าปรารถนา การปรารถนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

ธรรมนั้นมีตัณหาเป็นมูลเป็นไปทั่วแล้วด้วยสามารถแห่งความตั้งใจมีอยู่

ดังนั้นสกวาทีจึงถามว่า ตามลัทธิของท่านแผ่นดินเป็นอย่างนี้ ๆ หรือ

ปรวาทีตอบปฏิเสธ. ปฏิโลมปุจฉาเป็นต้น มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

ในปัญหาว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ เป็นต้น ปรวาที

ตอบปฏิเสธ หมายเอาธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมตอบรับรอง

หมายเอารูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน และหมายเอาความที่แผ่นดินเป็นต้น

เป็นของทั่วไป. พระสูตรว่า นิธิคือบุญ ไม่ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ เป็นคำที่

สกวาทีนำพระสูตรจากลัทธิของปรวาทีมาแสดง.

ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงบริโภคแผ่นดินหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาสัตว์ผู้ไม่อาศัยแผ่นดิน แต่ตอบรับรองหมายเอาสัตว์ผู้อาศัย

แผ่นดิน. ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงไม่บริโภคแผ่นดินย่อมปรินิพพาน

หรือ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาสัตว์ทั้งหลายผู้ปรินิพพานในอรูปภพ.

คำว่า ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไป นี้ สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่ง

ลัทธิของปรวาที เพราะลัทธิของปรวาทีนั้นว่า สัตว์ทั้งหลายยังกรรม

วิบากให้สิ้นไปแล้วจึงจะปรินิพพานได้ แต่ในลัทธิของสกวาที การไม่ยัง

วิบากที่เกิดขึ้นจากกรรมที่ทำแล้วให้ปราศจากไปให้สิ้นไปแล้วนิพพาน

ไม่มี. อนึ่ง ว่าโดยลัทธิแห่งท่านเหล่านั้น ปฐวีธาตุ ชื่อว่าเป็นวิบากที่เกิด

ขึ้นแล้ว เพราะเป็นสาธารณวิบาก ก็การท้วงว่า การไม่ให้ปฐวีธาตุ

ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นวิบากนั้นให้สิ้นไปแล้วปรินิพพานนั้น ย่อมไม่ถูก

ดังนี้ ย่อมควร. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ในปัญหาว่า

บริโภควิบากแห่งกรรมของพระเจ้าจักรพรรดิหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาธรรมที่มีผัสสะเป็นต้นที่ไม่ทั่วไป ย่อมตอบรับรอง หมายเอา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

ธรรมที่เป็นสาธารณะ. ลัทธิแห่งท่านเหล่านั้นว่า แผ่นดิน สมุทร พระจันทร์

และพระอาทิตย์ เป็นต้น เป็นกรรมวิบากทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวง. ในคำว่า

กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ นี้ ความว่า ชื่อว่า

ความเป็นอิสระ เพราะความเป็นผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า อธิปไตย คือ ความ

เป็นใหญ่ยิ่ง ความเป็นอธิบดี เพราะยังชนทั้งหมดให้เป็นไปในอำนาจ

ของตน อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นอธิบดีเพราะอรรถว่าควรแก่การ

ยกย่องจากชนเหล่านั้น. ในปัญหานั้น กรรมชื่อว่ายังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม

เพื่อความเป็นอิสสริยะและความเป็นอธิบดีด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ

ซึ่งแผ่นดิน ไม่ใช่ด้วยสามารถแห่งการให้เกิดแผ่นดิน เพราะฉะนั้น คำว่า

ปฐวี คือแผ่นดินนั้น จึงไม่สำเร็จในความเป็นกรรมวิบาก ด้วยประการ

ฉะนี้.

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ชรามรณวิปาโกติกถา

[๑๑๖๙] สกวาที ชรามรณะ เป็นวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะ มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข

เวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วย

อทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วย

สัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความ

ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ

ตั้งใจ ของชรามรณะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มี

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา

ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้นไม่มี ก็

ต้องไม่กล่าวว่า ชรามรณะ เป็นวิบาก.

[๑๑๗๐] ส. ผัสสะ เป็นวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา

ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะ เป็นวิบาก และชรามรณะมีสุขเวทนา มี

ทุกขเวทนา ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของชรามรณะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๑] ส. ชรามรณะ เป็นวิบาก แต่ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา

ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งชรามรณะ

นั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกข

เวทนา ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของชรามรณะนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๒] ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๓] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก

แห่งกุศลธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก

แห่งอกุศลธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

[๑๑๗๔] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๕] ส. ชรามรณะแห่งอกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก

แห่งกุศลธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรม ไม่พึงกล่าวว่าเป็นวิบาก

แห่งอกุศลธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๖] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นวิบาก

แห่งอกุศลธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นวิบาก

แห่งกุศลธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๗] ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่พึง

กล่าวว่า เป็นวิบากแห่งกุศลธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่พึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

กล่าวว่าเป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มี

ผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุน้อย

มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น

ผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุน้อย

น้อย มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบาก.

ชรามรณวิปาโกติกถา จบ

อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา

ว่าด้วย ชรามรณะเป็นวิบาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชรามรณะเป็นวิบาก คือความแก่ความตายเป็น

วิบาก. ในปัญหานั้น ชื่อว่าชรา เพราะความที่เป็นผู้มีผิวพรรณทราม

ชื่อว่า มรณะ เพราะความเป็นผู้มีอายุน้อย อนึ่ง กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็น

ไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทราม และให้มีอายุน้อยนั้นมีอยู่ ในคำว่า

กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทราม และให้มี

อายุน้อยนั้นมีอยู่ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็น

ผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

น้อยมีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย

อันธกะทั้งหลายว่า ชรามรณะเป็นวิบาก คือเป็นผล ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาปฏิโลม

คำว่า ชรามรณะไม่มีอารมณ์ อธิบายว่า รูปธรรมทั้งหลายไม่มีอารมณ์

ส่วนชรามรณะแห่งอรูปทั้งหลาย คือนามธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มี

อารมณ์เพราะความไม่มีลักษณะแห่งสัมปโยคะ.

ในปัญหาว่า ชรามรณะแห่งอกุศลธรรมเป็นวิบากแห่งอกุศลธรรม

หรือ ปรวาทีตอบรับรองตามลัทธิว่า ขึ้นชื่อว่าชราและมรณะพึงเป็น

วิบากที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ย่อมตอบปฏิเสธซึ่งความ

ที่ชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากของกุศลธรรม. และย่อมตอบ

รับรองชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากของอกุศลธรรมนั่นแหละ

ข้างหน้า. อนึ่ง สกวาทีท่านรวมปัญหาให้เป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถ

แห่งคำถามว่า ชรามรณะแห่งกุศลและอกุศลธรรม แต่ชราและมรณะ

แห่งกุศลและอกุศลนั้นมีในขณะเดียวกันหามิได้. ชื่อว่าคำปริยาย คือ

พูดอ้อมค้อม เพราะคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบากของ

อัพยากตะ อันมิใช่วิบากทั้งหลาย ดังนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่

อธิบายปัญหาว่าด้วยอัพยากตะ.

ในข้อว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณ

ขี้ริ้ว นี้ อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มีผิวพรรณไม่ดีเพราะมีผิวพรรณ

ไม่บริสุทธิ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีอายุน้อยเพราะไม่สามารถให้อายุเป็น

ไปได้ยั่งยืน. ในปัญหานั้น อกุศลธรรมเป็นกัมมปัจจัยแก่รูปที่มีผิวพรรณ

ไม่งามซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน. แต่วิบากแห่งอกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าย่อม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ไม่มีแก่รูปนั้นเพราะเป็นสภาวธรรมไม่เหมือนกัน. อนึ่ง วิบากแห่งอกุศล

ธรรมนั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่สมุฏฐานทั้งหลายมีอุตุสมุฏฐานเป็นต้น ด้วย

สามารถแห่งการให้ได้รูปที่มีผิวพรรณทรามนั้น และด้วยสามารถแห่ง

การเข้าไปตัดซึ่งอายุ. อกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าเกี่ยวข้องด้วยความเป็นผู้มี

ผิวพรรณไม่ดี และเป็นผู้มีอายุน้อยด้วยประการฉะนี้. ธรรมนั้น ชื่อว่า

ไม่ให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะ โดยตรง

เหมือนผัสสะอันเป็นวิบากเป็นต้น เพราะฉะนั้น ชราและมรณะนั้นจึงไม่

สำเร็จในความเป็นวิบาก. คำที่เหลือในที่นี้ เช่นกับด้วยคำที่ข้าพเจ้ากล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

อริยธัมมวิปากกถา

[๑๑๗๙] สกวาที วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สามัญญะ มีผลมาก พรหมัญญะ มีผลมาก มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สามัญญะมีผลมาก พรหมัญญะ มีผลมากก็

ต้องไม่กล่าวว่าวิบากแห่งอริยธรรมไม่มี.

[๑๑๘๐] ส. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าโสดาปัตติผลมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิบาก

แห่งอริยธรรมไม่มี.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล อรหัตผล มีอยู่มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อรหัตผลมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิบากแห่ง

อริยธรรมไม่มี.

๑. สามัญญะ - คุณเครื่องความเป็นสมณะ, พรหมัญญะ - คุณเครื่องความเป็นพรหมทั้ง ๒ นี้ หมายถึง

อริยมรรค.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

[๑๑๘๑] ส. โสดาปัตติผล ไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งทาน ไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติผล ไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล ไม่

เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตผลไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๒] ส. ผลแห่งทานเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งทานเป็นวิบาก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ป. ถูกแล้ว.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผลเป็น

วิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนาเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผลแห่งภาวนาเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อานาคามิผล อรหัตผลเป็นวิบาก

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๓] ส. กามาวจรกุศลมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรกุศลมีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศลมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรกุศลมีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๔] ส. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบาก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามาวจรกุศลไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศลไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๕] ป. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นอาจยคามี คือก่อวิปากวัฏไป

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก เป็นอาจยคามี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก

เป็นอาจยคามี หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก เป็นอาจยคามี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๖] ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี

คือหลีกวิปากวัฏไป หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กามาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. โลกุตตรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก แต่เป็นอปจยคามี

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล เป็นธรรมมีวิบาก

แต่เป็นอปจยคามี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อริยธัมมวิปากกถา จบ

อรรถกถาอริยัมมวิปากกถา

ว่าด้วย วิบากแห่งอริยธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากแห่งอริยธรรม. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สามัญญผล คือ

ผลแห่งความเป็นสมณะ สักว่าการละกิเลสเท่านั้นหาใช่จิตและเจตสิกธรรม

ไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีหรือ โดย

หมายถึงชนเหล่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิบากแห่งอริยธรรม ได้แก่

ผลของอริยมรรค คำตอบรับรองของปรวาทีโดยลัทธิว่า อริยผล สักว่า

เป็นการสิ้นไปแห่งกิเลส. คำว่า สามัญญะ ได้แก่ คุณเครื่องความ

เป็นสมณะ คำนี้เป็นชื่อของอริยมรรค สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเป็นสมณะ และผลแห่ง

ความเป็นสมณะแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้. แม้ในคุณเครื่องความเป็นพรหม

คือพรหมัญญะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ในปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากหรือ เป็นต้น

ปรวาทีตอบรับรองซึ่งความที่อริยผลทั้งหลายไม่เป็นวิบาก เพราะหมาย

เอาความที่โสดาปัตติมรรคเป็นต้นไม่มีการสั่งสมวัฏฏะ ย่อมตอบปฏิเสธ

ผลแห่งทานเป็นต้น คือหมายเอาเป็นวิปากวัฏ. จริงอยู่ ท่านห้ามอรรถแห่ง

อาจยคามีติกะ ด้วยคำอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใดย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม

อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าวิบาก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า

อาจยคามี อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดเมื่อสั่งสมย่อมไปสู่ที่มีการสั่งสม

เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาจยคามี ธรรมเหล่าใดเมื่อไม่มี

การสั่งสมวิบากย่อมไป เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี

เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธด้วย อย่างนี้.

คำถามว่า กามาวจรกุศลมีวิบากเป็นอาจยคามี คือเป็นธรรม

สั่งสมวิปากวัฏ ดังนี้ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองและปฏิเสธเป็น

ของสกวาที. จริงอยู่ โลกิยกุศลวิบาก ชื่อว่า อาจยคามี เพราะอรรถว่า

มีปกติ ไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะเป็นไป โลกุตตรกุศลนี้ย่อมเป็น

ธรรมมีวิบากทั้งนั้น มิใช่ไม่มีวิบากด้วยเหตุสักแต่คำว่า เป็นอปจยคามี

คือเป็นธรรมไม่สั่งสมจุติ ปฏิสนธิ และวัฏฏะ. พึงทราบคำตอบรับรอง

และปฏิเสธของสกวาทีในที่นี้ เพราะหมายเอาเนื้อความนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

อรรถกถาอริยธัมมวิปากกถา จบ

๑. คำว่า อาจยคามีติกะได้แก่หมวด ๓ แห่งอาจายคามีในติกมติกา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา

[๑๑๘๗] สกวาที วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิบากของวิบากนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเป็นอย่างนั้น วิบากนั้น ๆ ก็ไม่มีการทำที่สุดทุกข์

ไม่มีความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๘] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า วิบาก หรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากก็ดี

คำว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือว่าวิบากก็ดี คำทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียว

กัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๘๙] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบาก กับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ธรรมที่เป็นเหตุ

แห่งวิบาก กับวิบาก สหรคตกัน เกิดร่วมกัน ระคนกัน สัมปยุตกัน เกิด-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๐] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลอันนั้น วิบากแห่งอกุศลก็อันนั้นแล กุศลอันนั้น

วิบากแห่งกุศลก็อันนั้นแล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๑] ส. วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฆ่าสัตว์ด้วยจิตใด ก็ไหม้ในนรกด้วยจิตนั้น

แหละ บุคคลให้ทานด้วยจิตใด ก็บันเทิงในสวรรค์โดยจิตนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิบาก เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิบาก คือ ขันธ์ ๔ ส่วนนามธรรม เป็นอัญญมัญญ-

ปัจจัย มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า วิบาก คือ ขันธ์ ๔ ส่วนนามธรรมเป็นอัญญ-

มัญญปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุ

แห่งวิบาก.

วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา

ว่าด้วย วิปากะเป็นวิปากธัมมธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิบากเป็นวิปากธัมมธรรม คือวิบากเป็นธรรม

ที่เป็นเหตุให้วิปากะเกิดขึ้น. ในปัญหานั้น วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบากด้วย

อำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้นมีอยู่ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้วิบากก็เป็นวิปากธัมมธรรม คือ

เป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า วิบากของวิบากนั้น

ก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า วิบากใด

มีอยู่ วิบากแม้นั้นเป็นวิปากธัมมธรรมแก่วิบากที่เป็นวิปากธัมมธรรม

นั้นหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาภาวะแห่งการให้ผลต่อไป. ถูกถาม

ครั้งที่ ๒ ตอบปฏิเสธ โดยผิดไปจากลัทธิ แต่ท่านก็ย่อมตอบรับรอง

หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิบากอื่นเพราะเป็นปัจจัยแก่วิบากแม้นั้น. ก็

ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การไม่ตัดวัฏฏะย่อมปรากฏว่า วิบาก

แห่งวิบากแม้นั้นก็เป็นวิบากแห่งวิบากแม้นั้นต่อไป ราวกะกุศลและ

อกุศลหรือ ? ปรวาทีถูกถามปัญหานี้ ก็ตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากลัทธิ.

ก็ในการพิสูจน์ถ้อยคำว่า คำว่าวิบากหรือว่าธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก

ก็ดี เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะว่า ถ้าว่า ความที่วิบากเป็นอรรถ

อันเดียวกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบากไซร้ คำว่ากุศล อกุศลและอัพยากตะ

ก็จะพึงมีอรรถอันเดียวกันได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ในคำว่า วิบากกับธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก นี้ มีคำอธิบายว่า

เมื่อปรวาทีกำหนดอยู่ซึ่งวิบากในนามขันธ์ทั้ง ๔ ขันธ์ ๑ ๆ ชื่อว่าเป็น

วิปากธัมมธรรม คือเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้วิบากเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า

เป็นปัจจัยในปัจจัยทั้งหลายมีอัญญมัญญปัจจัยเป็นต้น และเพราะอรรถว่า

เป็นปัจจยุบบัน ดังนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า วิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุ

แห่งวิปากะหรือ จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาที

นั้น จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า วิบากในนามขันธ์ ๔ ในขณะเดียวกันก็ดี ธรรม

ที่เป็นเหตุแห่งวิบากในนามขันธ์ ๔ ก็ดี เป็นธรรมที่ท่านรับรองแล้ว

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความที่วิบากและธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากเหล่านั้น

ย่อมปรากฏว่าเป็นธรรมสหรคตกันหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอา

ธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก คือ กุศล. คำว่า อกุศลอันนั้น ความว่า

ถ้าวิบากเป็นธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะตามลัทธิของท่านไซร้ วิบากใด

เป็นอกุศลวิบาก วิบากนั้นก็ถึงความเป็นอกุศล. ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่าเพราะความที่ท่านกล่าวว่าอกุศลวิบากเป็นสภาวะอย่างเดียวกันกับ

ด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิปากะ. แม้ในคำว่า กุศลอันนั้น เป็นต้น ก็นัยนี้

นั่นแหละ.

คำว่า อัญญมัญญปัจจัย นี้ ปรวาทีกล่าวแล้วด้วยสามารถสัก

แต่ว่าเป็นปัจจัยแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น คำว่า อัญญ-

มัญญปัจจัย นี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์. แม้การกล่าวถึงความที่มหาภูตรูป

ทั้งหลายเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันนั้นก็หาใช่เป็นวิบากไม่ ทั้งไม่เป็นธรรม

ที่เป็นเหตุแห่งวิบากด้วย ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาวิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา ๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา

๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา

๘. ชรามรณวิปาโกติกถา ๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปาก-

ธัมมธัมโมติกถา.

วรรคที่ ๗ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

วรรคที่ ๘

ฉคติกถา

[๑๑๙๓] สกวาที คติมี ๖ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคติไว้ ๕ คือ นรก กำเนิด

ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคติไว้ ๕ คือ นรก

กำเนิด ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๔] ส. คติมี ๖ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสูรพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสวย

อารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน อายุเท่ากัน กับพวกเปรต

ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยเปรต มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อสูรพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน

มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากันกับ

เปรต ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเปรต ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๕] ส. คติมี ๖ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

การเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากัน กับ

พวกเทวดา ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเทวดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือน

กัน มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน มีอาหารอย่างเดียวกัน มีอายุเท่ากัน

กับพวกเทวดา ทำอาวาหะวิวาหะกับด้วยพวกเทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า

คติมี ๖.

[๑๑๙๖] ส. คติมี ๖ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ เคยเป็นเทวดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าพวกอสูรบริษัทท้าวเวปจิตติ เคยเป็นเทวดา

ก็ต้องไม่กล่าวว่า คติมี ๖.

[๑๑๙๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า คติมี ๖ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีอสูรกาย มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่ามีอสูรกาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

คติมี ๖.

ฉคติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

อรรถกถาฉคติกถา

ว่าด้วย คติ ๖

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องคติ ๖. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายอันธกะ และอุตตราปถกะทั้งหลายว่า คติมี ๖ รวมทั้ง

อสุรกาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งคติทั้งหลาย

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ในเรื่องโลมหังสนสูตรว่า ดูก่อน

สารีบุตร คติ ๕ เหล่านี้แลมีอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสคติไว้ ๕ มิใช่หรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจาก

พระสูตร. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สกวาทีจึงไม่รับรองคติ ๖ แม้อสุรกาย

ท่านก็สงเคราะห์เข้าในอบายภูมิ ดังคำนี้ว่า พระอริยเจ้าพ้นแล้วจาก

อบายทั้ง ๔ ดังนี้ มิใช่หรือ ? แก้ว่า ท่านสงเคราะห์อสุรกายไว้ในข้อนั้น

ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่จัดเป็นคติ. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะ

ไม่มีคติส่วนหนึ่งต่างหาก. จริงอยู่ พวกอสูรชื่อว่ากาลกัญชิกาในจำพวก

อสุรกาย ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งเปรต. บริษัทของท้าวเวปจิตติ

ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งพวกเทพ. คำว่า อสุรกาย นี้ ชื่อว่าเป็นส่วน

หนึ่งต่างหากย่อมไม่มี.

บัดนี้ สกวาทีจึงเริ่มคำว่า อสูรพวกกาลกัญชิกา เป็นต้น เพื่อจะ

แสดงอรรถอย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า สมานวณฺณา

ได้แก่ มีรูปร่างสัณฐานอย่างเดียวกัน. คำว่า มีรูปร่างน่าเกลียด ได้แก่

มีรูปพิการ มีลักษณะชั่ว. คำว่า มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

มีการประพฤติในเมถุนธรรมเช่นเดียวกัน. คำว่า มี อาหารอย่างเดียวกัน

ได้แก่ มีอาหาร มีน้ำลาย น้ำมูก น้ำเหลืองและเลือดเป็นต้นอย่างเดียวกัน.

คำว่า มีอายุเท่ากัน ได้แก่ มีการกำหนดอายุเหมือนกัน. คำว่า อาวาหะ

และวิวาหะ ได้แก่ การรับหญิงสาว และการให้หญิงสาว.

ในฝ่ายเทพเจ้า สุกฺกปกฺเข ในพวกคุณงามความดี คำว่า มี

รูปร่างเหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามเช่นเดียวกัน ถึงพร้อม

ด้วยรัศมี อันนำมาซึ่งความเลื่อมใสน่าทัศนา คือน่ารักน่าดู. คำว่า มีการ

เสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่ มีการบริโภคกามคุณ ๕ เหมือนกัน. คำว่า

มีอาหารอย่างเดียวกัน ได้แก่ อาหารมีสุธาโภชน์เป็นต้นเหมือนกัน.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น. คำว่า มีอสุรกายมิใช่หรือ นี้ เป็น

การสำเร็จประโยชน์แต่เพียงว่าอสูรกายมีอยู่เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จว่าเป็น

คติของอสุรกายนั้น เพราะไม่มีการกำหนดคติของอสุรกายไว้ส่วนหนึ่ง

ดังนี้แล.

อรรถกถาฉคติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

อันตราภวกถา

[๑๑๙๘] สกวาที อันตราภพ มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอรูปภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๑๙๙] ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ในระหว่างกามภพและรูปภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ในระหว่างรูปภพและอรูปภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๐] ส. อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างกามภพและรูปภพหรือ ?

๑. ภพในระหว่าง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างกามภพและ

รูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

ป. อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ

ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๑] ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพนั้น เป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็น

วิญญาณฐิติที่ ๘ เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ ใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

อันตราภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีในอันตราภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพเป็นปัญจโวการภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๒] ส. กามภพมีอยู่ กามภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส

เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น

สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามภพมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในกามภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในอันตราภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามภพ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามภพ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๓] ส. รูปภพมีอยู่ รูปภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส

เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น

สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

อยู่ ในรูปภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในอันตราภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูปภพ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปภพเป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพเป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๔] ส. อรูปภพ มีอยู่ อรูปภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส

เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพ มีอยู่ อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็น

สัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอรูปภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ

อยู่ ในอรูปภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

อยู่ ในอันตราภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอรูปภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอันตราภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปภพเป็นจตุโวการภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพเป็นจตุโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๕] ส. อันตราภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่

[๑๒๐๖] ส. อันตราภพมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้กระทำอนันตริยกรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริย

กรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๗] ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลเข้าถึงนรก ฯลฯ สำหรับ

บุคคลผู้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ฯลฯ สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึง

อรูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.

[๑๒๐๘] ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพมีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันตราภพไม่มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๐๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อันตราภพมีอยู่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้อันตราปรินิพพายี มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้อันตราปรินิพพายีมีอยู่ ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า อันตราภพมีอยู่

ส. อันตราภพ ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้

อันตราปรินิพพายีมีอยู่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้อุปหัจจปรินิพพายีมีอยู่

อุปหัจจภพ ก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อันตราภพ ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า บุคคล

ผู้อันตราปรินิพพายีมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า บุคคลผู้อสังขารปรินิพพายีมีอยู่

ฯลฯ บุคคลผู้สสังขารปรินิพพายีมีอยู่ สสังขารภพก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อันตราภวกถา จบ

อรรถกถา อันตรา ภวกถา

ว่าด้วย อันตราภพ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอันตราภพ คือ ภพที่คั่นในระหว่าง. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และสมิติยะทั้งหลาย

ว่า สัตว์ หมายถึงผู้จะปฏิสนธิ ผู้ไม่มีทิพพจักขุย่อมเป็นผู้ราวกะมี

ทิพพจักขุ ผู้ไม่มีฤทธิ์ย่อมเป็นผู้ราวกะผู้มีฤทธิ์เล็งแลดูอยู่ซึ่งการอยู่ร่วม

ของบิดามารดา และการมีระดู เขาดำรงอยู่ประมาณ ๗ วัน หรือเกิน

กว่านั้นในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า อันตราภพ เพราะถือเอาบทพระสูตรว่า

บุคคลชื่อว่าอันตราปรินิพพายี คือ ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

ถึงท่ามกลางแห่งอายุขัย โดยไม่พิจารณาดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า

อันตราภพมีอยู่หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงปรวาทีนั้น

ด้วยสามารถแห่งภพทั้ง ๓ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้น

จึงกล่าวคำว่า เป็นกามภพ เป็นต้น.

ในปัญหานั้น อธิบายว่า ผิว่า ภพไร ๆ ชื่อว่าอันตราภพมีอยู่ตาม

ลัทธิของท่านไซร้ ภพนั้นก็พึงเป็นดุจปัญจโวการภพ ภพใดภพหนึ่งแห่ง

กามภพทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า

เป็นกามภพ หรือรูปภพ หรืออรูปภพ ชื่อว่า อันตราภพ ตามลัทธิของ

ท่าน. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงปฏิเสธทั้งหมด. คำว่า มีอยู่

ในระหว่างกามภพ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าอันตราภพมี

อยู่ไซร้ อันตราภพนั้นก็จะพึงเป็นเหมือนกับเขตแดนแห่งเขตแดนทั้ง ๒

ปริวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงปฏิเสธปัญหาทั้งปวง ย่อมปฏิเสธไป

เพราะลัทธิอย่างเดียว แต่ย่อมไม่ปฏิเสธตามความเป็นจริง โดยคำนั้น

นั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวปฏิเสธกะปรวาทีว่า ท่านก็ต้องไม่กล่าวว่า

อันตราภพมีอยู่ แม้คำว่า อันตราภพเป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นต้น สกวาที

ถามเพื่อท้วงว่า อันตราภพนั้นไม่รวมอยู่ในกำเนิดเป็นต้นตามที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้แล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ อันตราภพนั้นก็จะพึงเป็น

ภพที่เกินจากกำเนิดจากคติเป็นต้นนั้น ๆ. คำว่า กรรมอันยังสัตว์ให้

เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ สกวาทีถามเพื่อท้วงว่า ถ้าอันตราภพแม้นั้น

พึงเป็นภพหนึ่งต่างหากไซร้ กรรมที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งอันตราภพนั้น

ก็พึงมี ดุจกรรมที่ยังสัตว์ให้เข้าถึงกามภพเป็นต้น ดังคำที่พระศาสดา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ทรงจำแนกไว้แล้วและแสดงแล้วว่าเป็นกรรมมีอยู่จริง อย่างนี้ ดังนี้.

อนึ่ง ลัทธิเหล่านั้นในลัทธิของปรวาทีว่า กรรมโดยเฉพาะที่ชื่อว่าอันยัง

สัตว์ให้เข้าถึงซึ่งอันตราภพไม่มี สัตว์ใดจักเข้าถึงซึ่งภพใด ๆ ย่อมเกิด

ในอันตราภพได้ด้วยกรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งภพนั้นนั่นแหละ เหตุใด

เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. แม้ถูกสกวาทีถาม

ว่า สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธตามลัทธิว่า

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้เกิดในกามภพนั่นแหละ. แม้ถูกถามว่า สัตว์ทั้งหลาย

เกิดอยู่...ในอันตราภพหรือ ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความเกิด ความ

แก่ ความตาย และจุติอุปบัติในอันตราภพนั้น จึงตอบปฏิเสธ แม้ถูกถาม

ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้น ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะลัทธิแห่งชนเหล่านั้น

ว่า รูปของสัตว์ในอันตราภพเห็นไม่ได้ แม้ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น

ก็ไม่หยาบเหมือนสัตว์เหล่าอื่น. ด้วยเหตุนี้นั่นแหละ พึงทราบการปฏิเสธ

แม้ในความเป็นแห่งปัญจโวการภพ.

บัดนี้ คำว่า กามภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นการ

เปรียบเทียบภพ. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าภพไร ๆ ชื่อว่าอันตราภพพึงมี

ตามลัทธิของท่านไซร้ ก็บรรดาภพทั้งหลาย มีกามภพเป็นต้นมีอยู่ การ

แตกต่างกันแห่งภพและคติเป็นต้น พึงหยั่งเห็นได้ ฉันใด แม้ในอันตราภพ

นั้น ก็จะพึงเห็นได้ ฉันนั้น ในอันตราภพหยั่งเห็นไม่ได้ ฉันใด แม้ใน

กามภพเป็นต้นเหล่านี้ก็หยั่งเห็นไม่ได้ ฉันนั้น เพราะว่า การจำแนกด้วยดี

แห่งภพและคตินั่นแหละมีอยู่ในความเป็นแห่งภพที่มีอยู่ มิใช่ในภพนอกจาก

นี้ก็อะไรเล่า เป็นเหตุแปลกกันระหว่างกามภพเป็นต้นเหล่านั้นกับอันตราภพ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

ในที่นี้. ปรวาที ย่อมตอบรับรองและตอบปฏิเสธซึ่งปัญหานั้น ๆ ด้วย

สามารถสักแต่ว่าลัทธิ.

ถูกสกวาทีถามว่า อันตราภพมีอยู่สำหรับสัตว์ทั้งปวงทีเดียวหรือ

ปรวาที นั้นไม่ต้องการอันตราภพมีแก่สัตว์ผู้เกิดในนรก อสัญญีสัตว์

และอรูปพรหม เพราะฉะนั้นจึงปฏิเสธ. ย่อมตอบรับรองโดยปฏิโลม

ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ. คำว่า อนันตราภพ มีอยู่สำหรับบุคคลผู้ทำ

อนันตริยกรรม. เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อจำแนกแสดงภพทั้งหลาย

โดยนัยที่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาอันตราภพของสัตว์เหล่าใดเหล่านั้น.

คำนั้นทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองแห่งพระบาลีพร้อมกับการ

อ้างพระสูตร แล.

อันตราภวกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

กามคุณกถา

[๑๒๑๐] สกวาที กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้นมีอยู่ ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ.

ส. ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความดำริเกี่ยวด้วย

กามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วย

อำนาจความดำริเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ปีติเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น

โสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้น มีอยู่

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ก็

ต้องไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ.

[๑๒๑๑] ส. กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักษุของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ของมนุษย์ทั้งหลาย

ไม่เป็นกามธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่เป็นกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า กามคุณ ๕ ในโลก

มีมโนเป็นที่ ๖ พระพุทธเจ้าทั้งหลายประกาศแล้ว บุคคลสำรอกความพอใจ

ในกามคุณ ๕ และมโนนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า มโนของมนุษย์ทั้งหลาย

ไม่เป็นกามธาตุ.

[๑๒๑๒] ส. กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ-

อยู่ ในกามคุณ หรือ?

๑. ขุ.สุ. ๒๕/๓๐๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามคุณ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติขึ้น พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้นในกามคุณ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามธาตุ มีอยู่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงกามคุณ มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ-

อยู่ ในกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติ-

อยู่ ในกามคุณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามคุณ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามคุณ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้น ในกามธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติขึ้น คู่พระสาวกย่อมอุบัติขึ้น ในกามคุณ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน ? รูปซึ่งเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด เสียงซึ่งเป็นวิสัยแห่งโสตวิญญาณ กลิ่นซึ่งเป็นวิสัยแห่งฆาน

วิญญาณ รสซึ่งเป็นวิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ โผฏฐัพพะซึ่งเป็นวิสัยแห่ง

กายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง

แห่งความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุน่ะสิ.

กามคุณกถา จบ

๑. ส.สฬา ๑๘/๔๑๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

อรรถกถากามคุณกถา

ว่าด้วย กามคุณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกามคุณ. ในเรื่องนั้น ในลัทธิของสกวาทีก่อน

วัตถุกามก็ดี กิเลสกามก็ดี กามภพก็ดี ท่านเรียกว่า กามธาตุ. จริงอยู่

่ในบรรดากามเหล่านั้น วัตถุกามชื่อว่ากามเพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่า

ปรารถนา ชื่อว่าธาตุเพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ เป็นนิสสัตตะ และเป็น

สุญญตะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามธาตุ กิเลสกามชื่อว่ากามเพราะอรรถว่า

เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาด้วยเพราะอรรถว่าเป็นการชอบใจด้วย ชื่อว่าธาตุ

เพราะอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ฉะนั้นจึงชื่อว่า กามธาตุ กามภพ

ชื่อว่ากามเพราะเหตุ ๓ คือ เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่าใคร่ ๑ เพราะ

อรรถว่าเป็นเครื่องก้าวไป ๑ เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่เป็นไปแห่ง

วัตถุกาม ๑ ชื่อว่าธาตุเพราะอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ฉะนั้นจึง

ชื่อว่า กามธาตุ. ก็ในลัทธิของผู้อื่นถือเอากามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ

เพราะอาศัยสักแต่บาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้ ๕ อย่าง

ดังนี้. เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดนี้ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ

ทั้งหลาย สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นต้น

เพื่อท้วงซึ่งความที่กามคุณนั้นเป็นสภาพที่แตกต่างไปจากกามธาตุ คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า มีอยู่มิใช่หรือ

เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงถึงกิเลสกาม.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้น ได้แก่

เกี่ยวพร้อมเฉพาะแล้วด้วยกามคุณ คือมีกามคุณเป็นอารมณ์. ในคำ

ทั้งหลายว่า ก็ต้องไม่กล่าวว่า กามคุณ ๕ เท่านั้น นี้ความว่า บรรดา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

ธรรมทั้งหลาย มีความพอใจเกี่ยวด้วยกามคุณนั้น เป็นต้นมีอยู่ ท่านก็

ไม่ควรกล่าวว่ากามคุณ ๕ เท่านั้น เป็นกามธาตุ. อธิบายว่า ก็ธรรม

ทั้งหลายมีความพอใจ เป็นต้นแม้เหล่านี้ ชื่อว่ากามด้วย ชื่อว่าธาตุด้วย

เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา แม้เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่ากามธาตุ

ฉันทะเป็นต้นชื่อว่าธาตุ อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากามเพราะอรรถว่า

เป็นการชอบใจ แม้เพราะเหตุนี้ก็ชื่อว่า กามธาตุ. คำว่า จักขุของมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงถึงวัตถุกาม.

ในปัญหาเหล่านั้น ปรวาทีถูกถามว่า มโนของมนุษย์ทั้งหลาย

ไม่เป็นกามธาตุหรือ ? อีก เพราะปฏิเสธซึ่งความที่อายตนะแม้ทั้ง ๖ ว่า

ไม่เป็นกามธาตุเป็นแต่วัตถุกาม ทั้งไม่ตอบรับรองซึ่งความที่ใจนั้นว่า

เป็นกามธาตุ เพราะหมายเอามหัคคตและโลกุตตรจิต. อันที่จริง มโนที่

เป็นไปในภูมิ ๒ แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่ากามธาตุทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น

สกวาทีจึงตำหนิปรวาทีนั้นด้วยการอ้างพระสูตร. คำว่า กามคุณเป็นภพ

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่ภพเป็นกามธาตุ. แต่โวหารว่า

ภพ ในคำสักว่ากามคุณย่อมไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึง

ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. คำทั้งปวงว่า กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึง

กามคุณ เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงซึ่งความที่โวหารสักว่า

กามคุณเป็นกามธาตุก็หาไม่. จริงอยู่ กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงซึ่งกามภพ

อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากามธาตุมีอยู่ และสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในกามภพ

นั้นแหละก็มีอยู่ ฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้

ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติในกามภพ

นั้น มิใช่ในกามคุณทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถากามคุณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

กามกถา

[๑๒๑๔] สกวาที อายนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความพอใจที่เกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะนั้นมีอยู่ ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม.

ส. ความกำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความดำริเกี่ยวด้วย

อายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ความกำหนัดด้วย

อำนาจความยินดีเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ปีติเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น

โสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น ปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น

มีอยู่ มิใช่หรือ.

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าปีติโสมนัสเกี่ยวด้วยอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่ ก็

ต้องไม่กล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม.

[๑๒๑๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน ? รูปที่เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ

โผฏฐัพพะที่เป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ จำเริญใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นการ น่ะสิ.

[๑๒๑๖] ส. อายตนะ ๕ เท่านั้น เป็นกาม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณนี้ ๕ อย่าง ๕ อย่างเป็นไฉน ? รูปอันเป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ

ฯลฯ โผฏฐัพพะอันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่

จำเริญใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณ ๕ อย่าง ฉะนี้แล อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๕ อย่างนี้มิใช่กาม แต่

ทั้ง ๕ อย่างนี้ เรียกในวินัยของพระอริยะว่า กามคุณ

ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริเป็นกามคุณของบุรุษ สิ่งที่สวยงาม

ในโลกไม่ใช่กาม ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ เป็นกามของบุรุษ

สิ่งที่สวยงามย่อมตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้นแล แต่ว่านักปราชญ์ย่อมกำจัด

ความพอใจในสิ่งที่สวยงามนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น

เป็นกาม.

กามกถา จบ

๑. อัง. ฉกฺก ๒๒/๓๓๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

อรรถกามกถา

ว่าด้วย กาม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกาม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า อายตนะทั้ง ๕ มีรูปายตนะเป็นต้น

เท่านั้นเป็นกาม เพราะอาศัยสักแต่พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณนี้ ๕ อย่าง ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อายตนะ ๕ เท่านั้น

เพื่อแสดงซึ่งความที่กิเลสกามนั่นแหละเป็นกามโดยแท้ ดังนี้ โดยหมายเอา

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถกถาตื้น

ทั้งนั้นแล.

อรรถกถากามกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

รูปธาตุกถา

[๑๒๑๗] สกวาที รูปธรรม รูปเป็นธาตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็น

กำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๑๘] ส. รูปธาตุ เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในรูปธาตุ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปธาตุ เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูป เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ส. รูปธรรมเป็นไปธาตุ รูปมีอยู่ในกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุวันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ

สอง คือ กามภพ และรูปภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

รูปธาตุกถา จบ

อรรถกถารูปธาตุกถา

ว่าด้วย รูปธาตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า รูปธรรมเท่านั้น ชื่อว่า รูปธาตุ

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูป ดังนี้ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ทีนั้น สกวาทีเพื่อจะโต้แย้งด้วยอรรถว่า รูปภพ

ก็ชื่อว่า รูปธาตุ มิใช่เพียงสักแต่รูปอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอรรถนั้น จึง

กล่าวว่า รูปธาตุ เป็นต้น. คำทั้งหมดนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ

โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในเรื่องกามคุณนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

ถูกสกวาทีถามว่า กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละหรือ

ปรวาทีเมื่อเห็นผิดจากการกำหนดภูมิ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามซ้ำอีก

ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน ก็เมื่อความเป็นเช่นนั้น

มีอยู่ รูปนั้นก็ย่อมปรากฏเพราะการประชุมกันด้วยภพทั้ง ๒ คือ กามภพ

รูปภพ ด้วยเหตุนั้น สกวาที จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า บุคคลประกอบ

ด้วยกามภพ เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปเพียงรูป

เดียวทั้ง ๒ ภพ ดังนี้แล.

อรรถกถารูปธาตุกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

อรูปธาตุกถา

[๑๒๑๙] สกวาที อรูปธรรม เป็นอูปธาตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เวทนา เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร

เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนาเป็นจตุโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๐] ส. อรูปธาตุ เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา เป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอยู่

ในเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในอรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปธาตุเป็นจตุโวการภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นจตุโวการภพ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปธรรม เป็นอรูปธาตุ เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ มีอยู่ในกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุอันนั้น อรูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น อรูปธาตุก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ

๒ คือกามภพ และอรูปภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปธรรม เป็นรูปธาตุ อรูปธรรม เป็นอรูปธาตุ

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ในกามธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ อรูปธาตุก็

อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามธาตุอันนั้น รูปธาตุก็อันนั้นแหละ อรูปธาตุก็

อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ เป็นผู้ประกอบด้วยภพ

๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูปธาตุกถา จบ

อรรถกถารูปธาตุกถา

ว่าด้วย อรูปธาตุ

แม้ในเรื่องอรูปธาตุ ในบัดนี้ บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบาย

นี้นั่นแหละ คือตามที่กล่าวแล้ว. แต่ในอรูปธรรมทั้งหลาย คือนามขันธ์

๔ ท่านทำการแสดงไว้ในที่นี้โดยนัยว่า เวทนาเป็นภพ เป็นต้น เพราะถือ

เอาเวทนาขันธ์นั่นแหละ. ในปัญหานั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้

ว่า สกวาทีถามว่า เวทนา อันถึงซึ่งการนับว่าเป็น อรูปธรรมทั้งหลาย

เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งมีภพเป็นต้น ตามลัทธิของท่านหรือ. คำที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาอรูปธาตุกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

รูปธาตุยา อายตนกถา

[๑๒๒๑] สกวาที อัตภาพมีอายตนะ ๖ อยู่ในรูปธาตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ในอรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๒] ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุ นั้นไม่มีชิวหายตนะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๓] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ และรูปายตนะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตะ และรูปายตนะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๔] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ และสัททายตนะด้วย ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้นมีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ และคันธายตนะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ และธัมมายตนะด้วย หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ และรสายตนะด้วย ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ และมีโผฏฐัพพายตนะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๕] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๖] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ ฯลฯ

ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ แต่ไม่มีธัมมายตนะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๗] ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป

นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และ สูด

กลิ่น นั้นด้วยฆานะนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ และเห็นรูป

นั้น ได้ด้วยจักษุนั้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส

นั้นได้ด้วยชิวหานั้น ฯลฯ ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ

และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๘] ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน

รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้งธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด

กลิ่น นั้นได้ด้วยฆานะนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ส. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ และรู้แจ้ง

ธรรมนั้นได้ด้วยมโนนั้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน

รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้

ด้วยกายนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๒๙] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น

นั้นด้วยฆานะนั้นไม่ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป

นั้น ด้วยจักษุนั้นไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ แต่สูดกลิ่น

นั้น ด้วยฆานะนั้นไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ในรูป

ธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งธรรมนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๐] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ ฯลฯ ใน

รูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

กายนั้นไม่ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ มีรูปายตนะ แต่เห็นรูป

นั้นด้วยจักษุนั้นไม่ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ แต่

ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นด้วยกายนั้นไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ มีสัททายตนะ ฯลฯ ใน

รูปธาตุนั้น มีมนายตนะ มีธัมมายตนะ แต่รู้แจ้งนั้นด้วยมโนนั้นไม่ได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๑] ส. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูด

กลิ่นนั้นไว้ด้วยฆานะนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นเกิดแต่รากไม้ กลิ่นเกิดแต่แก่น

กลิ่นเกิดแต่เปลือก กลิ่นเกิดแต่ใบ กลิ่นเกิดแต่ดอก กลิ่นเกิดแต่ผล กลิ่นสด

กลิ่นเป็นพิษ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๒] ส. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ มีรสายตนะ และลิ้มรส

นั้น ได้ด้วยชิวหานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

ส. ในรูปธาตุนั้น มีรสเกิดแต่รากไม้ รสเกิดแต่ลำต้น

รสเกิดแต่เปลือก รสเกิดแต่ใบ รสเกิดแต่ดอก รสเกิดแต่ผล รสเปรี้ยว

หวาน ขม เผ็ด เค็ม ปร่า เฝื่อน ฝาด ดี ไม่ดี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๓] ส. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ มีโผฏฐัพพายตนะ และ

บุคคลผู้ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นได้ด้วยกายนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสแข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สุข-

สัมผัส ทุกขสัมผัส หนัก เบา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กายนิมิต มิใช่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต กาย-

นิมิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัตภาพอันมีอายตนะ ๖ มีอยู่ใน

รูปธาตุ.

รูปธาตุยา อายตนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

อรรถกถารูปธาตุยา อายตนกถา

ว่าด้วย อายตนะในรูปธาตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอายตะในรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า อัตภาพ

ของหมู่พรหมเหล่านั้นมีอายตนะครบทั้ง ๖ เพราะอาศัยพระสูตรว่า

พวกพรหมที่มีรูป มีความสำเร็จได้ด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง มี

อินทรีย์อันไม่บกพร่อง คือมีอัตภาพสมบูรณ์ ดังนี้ จึงสำคัญว่า แม้ฆานนิมิต

คือรูปร่างของจมูก ของพวกพรหมเหล่านั้นว่า เป็นอายตนะเทียว คือ

หมายความว่าเป็นฆานายตนะนั่นแหละ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า

อัตภาพ ของพวกพรหม มีอายตนะทั้ง ๖ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาทีด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ทีนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วง

ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่ไม่มีอยู่ในพวกพรหมนั้น จึงเริ่มกล่าวกะ

ปรวาทีนั้นว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะหรือ เป็นต้น ลำดับนั้น

ปรวาทีก็ตอบรับรองด้วยลัทธิว่า สัณฐานนิมิตของอายตนะทั้ง ๓ คือ

ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ ที่เป็นภายใน มีฆานายตนะเป็นต้น

อันใดมีอยู่ในรูปธาตุนั้น สัณฐานนิมิตนั้นนั่นแหละเป็นอายตนะ ดังนี้.

ถูกถามด้วยสามารถแห่งคันธายตนะเป็นต้นซึ่งเป็นของภายนอก ปรวาที

เมื่อเสพคุ้นอยู่ซึ่งอารมณ์แห่งฆานายตนะเป็นต้นนั้นจึงไม่ปรารถนา

ฆานปสาทเป็นต้นในรูปธาตุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหา

ปฏิโลมและปัญหาว่าด้วยการเปรียบเทียบทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบเนื้อ

ความโดยอุบายนี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

คำว่า ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ มีคันธายตนะ และสูดกลิ่น

นั้นด้วย ฆานะนั้นหรือ ดังนี้ สกวาทีกล่าวหมายถึงอาจารย์บางพวกใน

ลัทธิอื่นเท่านั้น. ได้ยินว่า อาจารย์บางพวกเหล่านั้นมีความสำคัญว่า ใน

รูปธาตุนั้นมีอายตนะภายในครบทั้ง ๖ บริบูรณ์ แต่ชื่อว่าอายตนะก็พึง

ทำกิจของตน คือรับอารมณ์ได้ตามหน้าที่ เพราะฉะนั้น อายตนะเหล่านั้น

จึงสูดกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องซึ่งกลิ่นเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยฆานะเป็นต้น

เหล่านั้น ดังนี้. ปรวาทีอาศัยลัทธินั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็ถูกถาม

คำว่า ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นเกิดแต่รากไม้ ดังนี้ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่

อาจยังความเป็นอายตนะภายนอกให้ปรากฏได้ จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า

ในรูปธาตุนั้นมีฆานนิมิตมิใช่หรือ เป็นต้น คำนั้นสำเร็จแต่เพียงเป็น

รูปร่างสัณฐานเท่านั้น หาได้สำเร็จเป็นอายตนะไม่ เพราะฉะนั้น คำนั้น

แม้ท่านปรวาทีนำมาตั้งเป็นลัทธิไว้แล้วก็เหมือนมิได้นำมา ดังนี้แล.

อรรถกถารูปธาตุยา อายตนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

อรูเป รูปกถา

[๑๒๓๕] สกวาที รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ป. เป็นรูปภพ เป็นรูปคติ เป็นไปสัตตาวาส เป็นรูป

สงสาร เป็นกำเนิดแห่งรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อรูปภพ เป็นอรูปคติ อรูปสัตตาวาส อรูปสงสาร

เป็นกำเนิดแห่งอรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งอรูปสัตว์ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นอรูปภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่ง

อรูปสัตว์ ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย.

[๑๒๓๖] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นภพ คติ สัตตาวาส สงสาร กำเนิด วิญญาณฐิติ

การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นภพ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มี

ขันธ์ ๔ ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย.

[๑๒๓๗] ส. รูปมีอยู่ในรูปธาตุ และรูปธาตุนั้น เป็นรูปภพ เป็น

รูปคติ เป็นรูปสัตตาวาส เป็นรูปสงสาร เป็นกำเนิดแห่งรูปสัตว์ เป็นการ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

ได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น

รูปภพ เป็นรูปคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่งรูปสัตว์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปมีอยู่ในรูปธาตุ และรูปธาตุนั้น เป็นปัญจโวการภพ

เป็นคติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น

ปัญจโวการภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๘] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น

อรูปภพ เป็นอรูปคติ เป็นอรูปสัตตาวาส เป็นอรูปสงสาร เป็นกำเนิดแห่ง

อรูปสัตว์ เป็นการได้อัตภาพแห่งอุปสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปธาตุ และอรูปธาตุนั้น เป็นอรูปภพ

เป็นอรูปคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพแห่งอรูปสัตว์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๓๙] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย และอรูปสัตว์นั้น เป็น

จตุโวการภพ คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปมีอยู่ในอรูปธาตุ และอรูปธาตุนั้น เป็นจตุโวการภพ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

คติ ฯลฯ การได้อัตภาพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๐] ส. รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งรูปทั้งหลาย

ว่า อรูป มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่ง

รูปทั้งหลายว่า อรูป ก็ต้องไม่กล่าวว่า อรูปมีอยู่ในรูปสัตว์ทั้งหลาย

[๑๒๔๑] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งรูปทั้งหลาย

ว่า อรูป แต่รูปก็ยังมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสการออกไปแห่งกาม

ทั้งหลายว่า เนกขัมมะ แต่กามทั้งหลายก็ยังมีอยู่ในหมู่เนกขัมมะ อาสวะ

ทั้งหลายก็ยังมีอยู่ในหมู่ผู้หาอาสวะมิได้ โลกิยธรรมก็ยังมีอยู่ในโลกุตรธรรม

ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูเป รูปกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

อรรถกถาอารุปเปรูปกถา

ว่าด้วย รูปในอรูปสัตว์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปในอรูปสัตว์ คือ สัตว์ผู้ไม่มีรูป ได้แก่ อรูปพรหม.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สุขุม

รูปอาศัยโอฬาริกรูปมีอยู่แม้ในอรูปภพ เพราะพระบาลีว่า วิฺาณปจฺจยา

นามรูป แปลว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า รูปมีอยู่ในอรูปสัตว์ทั้งหลายหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอารุปเปรูปกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

รูปังกัมมันติกถา

[๑๒๔๒] สกวาที กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ

ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรม

นั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความ

ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ

จงใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรม

ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล.

[๑๒๔๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล เป็น

ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้นมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น

ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๔] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของธรรมนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล แต่

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น ไม่มี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ

ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๕] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น

กุศลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๖] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศลหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นกุศลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นอัพยากฤตหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศลที่

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศลที่

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นกุศลที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๔๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่

วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่วิปปยุตด้วย

ผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่

วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นกุศลที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่

วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๒] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศลที่ทั้งวิปปยุต

ด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล ที่

ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

เป็นกุศลที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๓] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้ง

วิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

วจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรม เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจ ของวจีกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้น

ด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล.

[๑๒๕๕] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมี

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น

ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ

ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล เป็น

ธรรม มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล แต่

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นไป เป็นกุศล แต่

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ

ฯลฯ ปัญญา ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของปัญญานั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๕๗] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นรูป เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น

กุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วจีกรรมพึงให้พิสดารอย่างเดียวกับกายกรรม.

[๑๒๕๘] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ

ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจของกายกรรม

นั้น มีอยู่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ความ

ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ

ตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา

ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา

ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายกรรมที่ตั้งขึ้น

ด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล.

[๑๒๕๙] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมี

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย

อกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

อโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นไป เป็นอกุศล

เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของกายกรรมนั้น มีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๐] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายกรรมนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย

อกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

[๑๒๖๑] ส. กายกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น

อกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

วจีกรรมนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าวจีกรรมนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า วจีกรรมที่ตั้งขึ้น

ด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล.

[๑๒๖๓] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรม

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่ตั้งขึ้นด้วย

อกุศลจิต เป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

อโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๔] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นไป เป็นอกุศล

แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของวจีกรรมนั้น

ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะที่ตั้งขึ้นด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

อกุศลจิต เป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๕] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต ไม่ว่าอย่างใดทั้งหมด เป็น

อกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๖] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๗] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๘] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา

โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่ไม่มีอารมณ์หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๖๙] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศล เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ

ที่เกิดขึ้นด้วยอกุศล เป็นอัพยากฤตที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๐] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้ง ขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุต

ด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่วิปปยุตด้วยผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๑] ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่

ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ เหงื่อ

ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตด้วยผัสสะไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๒] ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศล

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศลที่ทั้งวิปปยุต

ด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอกุศลที่

ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอกุศล ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๓] ป. รูปายตนะที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นอัพยากฤต ที่

ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททายตนะ ฯลฯ คันธาย รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต เป็นอัพยากฤตที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วจีกรรมที่ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต เป็นรูป เป็นอัพยากฤต

ที่ทั้งวิปปยุตด้วยผัสสะ ทั้งไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

[๑๒๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศล

บ้าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศล

บ้าง.

[๑๒๗๕] ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ น้ำอสุจิ น้ำตา โลหิต ฯลฯ

เหงื่อ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๖] ส. กายเป็นรูป กายกรรมเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโน เป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๗] ส. มโน เป็นอรูป คือนาม มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๘] ส. กาย เป็นรูป แต่กายกรรมเป็นอรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโน. เป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นอรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๗๙] ส. มโน เป็นอรูป มโนกรรมก็เป็นอรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กาย เป็นอรูป กายกรรมก็เป็นอรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๐] ส. เพราะกายเป็นไป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นไปหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะจักขายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น จักขุวิญญาณ จึง

เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นไป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะโสตายตนะ เป็นรูป ฉะนั้น โสตวิญญาณ จึง

เป็นรูป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะฆานายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ฆานวิญญาณ จึง

เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะชิวหายตนะเป็นรูป ฉะนั้น ชิวหาวิญญาณ จึง

เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายเป็นรูป ฉะนั้น กายกรรมจึงเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะกายายตนะเป็นรูป ฉะนั้น กายวิญญาณ จึง

เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๑] ส. รูป เป็นกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๓๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นกรรม

[๑๒๘๒] ส. รูป เป็นกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อ

กายมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ

หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะวจีสัญเจตนา

เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้นเพราะ

มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม

[๑๒๘๓] ส. รูป เป็นกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร

มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มี

ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓

อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก วจีสัญเจตนา

๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มโนสัญเจตนา

๑. ส.นิ. ๑๖/๘๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม

[๑๒๘๔] ส. รูป เป็นกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

ถ้าสมิทธิ ผู้โมฆบุรุษนี้ ถูกปาตลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ ควรพยากรณ์

อย่างนี้ว่า อาวุโส ปาตลิบุตร บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนา

ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรมที่จะให้ได้เสวยความสุขแล้ว เขาย่อมจะได้

เสวยความสุข บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ

เป็นกรรมที่จะให้ได้เสวยความทุกข์แล้ว เขาย่อมจะได้เสวยความทุกข์

บุคคลทำกรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ เป็นกรรม

ที่จะให้ได้เสวยเวทนาอันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขแล้ว เขาย่อมจะได้เสวยเวทนา

อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ดูก่อนอานนท์ สมิทธิ ผู้โมฆบุรุษ เมื่อพยากรณ์

อย่างนี้แล้ว ชื่อว่า พึงพยากรณ์โดยชอบแก่ปาตลิบุตรปริพาชก ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า รูป เป็นกรรม.

รูปังกัมมันติกถา จบ

๑. ม.อุ. ๑๔/๖๐๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

อรรถกถารูปังกัมมันติกถา

ว่าด้วยคำว่า รูปเป็นกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นกรรม (กรรมคือการกระทำ). ในเรื่องนั้น

ชนเหล่านั้นมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะและสมิติยะทั้งหลาย

ว่า กายวิญญัติรูปและรูปและวจีวิญญัตติรูปนั่นเทียว ชื่อว่ากายกรรมและ

วจีกรรม ก็รูปนั้นมีกุศลเป็นสมุฏฐานย่อมเป็นกุศล รูปนั้นมีอกุศลเป็น

สมุฏฐานก็ย่อมเป็นอกุศล ดังนั้น คำถามของสกวาทีว่า กายกรรมที่

ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นรูป เป็นกุศลหรือ ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยคำว่า

ถ้ารูปนั้นเป็นกุศลไซร้ รูปนั้นก็พึงมีอารมณ์ได้ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า รูป

เป็นธรรมมีอารมณ์หรือ เป็นต้น.

ในปัญหานั้น คำว่า ความปรารถนา คือปตฺถนา ความตั้งใจ คือปณิธิ

นี้ เป็นไวพจน์ คือเป็นคำแทนชื่อกัน ของความจงใจ คือเจตนา นั่นแหละ.

จริงอยู่เมื่อนึกถึงกุศล เจตนานั่นแหละ ท่านเรียกว่า ความปรารถนา

และเรียกว่า ความตั้งใจ เพราะตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความนึกถึง. อนึ่ง

ในข้อว่า เวทนา สัญญา เจตนา สัทธา เป็นต้น ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต

ข้างหน้า คำว่า เจตนาคือความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ย่อม

มีแก่เวทนาเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่เจตนา. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า

เพราะความไม่มีเจตนาทั้ง ๒ ดวงรวมเป็นดวงเดียวกัน. อนึ่ง บัณฑิต

พึงทราบแบบแผนอย่างนี้ เพราะความที่เจตนานั้นเป็นธรรมชาติตกไป

สู่กระแส.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

คำว่า รูปายตนะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงประเภทแห่ง

ธรรมที่ย่อไว้ในวาระแรกว่า รูปที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตไม่ว่าอย่างใด

ทั้งหมด เป็นกุศลจิตหรือ. นัยแห่งการเปรียบเทียบคำที่เหลือ เป็น

ถ้อยคำว่าด้วยวจีกรรม และคำว่า ตั้งขึ้นด้วยอกุศลจิต บัณฑิตพึงทราบ

คำทั้งปวงตามพิธีการเบื้องต้นโดยทำนองแห่งบาลีนั่นแหละ. ก็ในคำว่า

อสุจิ ท่านประสงค์เอาน้ำสุกกะ. การชำระพระสูตรมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถารูปังกัมมันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

ชีวิตินทริยกถา

[๑๒๘๕] สกวาที รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป

อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่

ไม่มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป

อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่

มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่

เป็นไปอยู่ ความที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยง

อยู่ มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี.

[๑๒๘๖] ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป

อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่

มีแก่นามธรรมทั้งหลาย และอรูปชีวิตินทรีย์ มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป

อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่

มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย และรูปชีวิตินทรีย์ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

[๑๒๘๗] ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไป

อยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่

มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย แต่รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี หรือ ?

ส. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นอยู่

อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ มี

อยู่แก่นามธรรมทั้งหลาย แต่อรูปชีวิตินทรีย์ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๘] ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย เป็นรูปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๘๙] ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๐] ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย เป็นไปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

[๑๒๙๑] ส. อายุของนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๒] ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย เป็นอรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย เป็นรูป

ชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๓] ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึง

กล่าวว่า เป็นไปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายุของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ไม่พึง

กล่าวว่า เป็นอรูปชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๔] ส. รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้านิโรธ ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

[๑๒๙๕] ส. ผู้เข้านิโรธ มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ผู้เข้านิโรธมีชีวิตินทรีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มี.

[๑๒๙๖] ส. ผู้เข้านิโรธมีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนื่องในขันธ์ไหน ?

ป. เนื่องในสังขารขันธ์

ส. ผู้เข้านิโรธมีสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้านิโรธมีสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้านิโรธมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๗] ส. ผู้เข้านิโรธ มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มิใช่ผู้เข้านิโรธ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๒๙๘] ส. รูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ส. อสัญญสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี.

[๑๒๙๙] ส. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนื่องด้วยขันธ์ไหน ?

ป. เนื่องด้วยสังขารขันธ์.

ส. อสัญญสัตว์มีสังขาร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปัญจโวการภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

[๑๓๐๐] ส. ชีวิตินทรีย์ที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไป

ส่วนหนึ่ง ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไปส่วน

หนึ่ง ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๑] ส. ผัสสะที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไปหมด

ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีวิตินทรีย์ที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแสวงหาอุบัติ ดับไป

หมด ในเมื่อจิตดวงแสวงหาอุบัติดับ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๒] ป. ชีวิตินทรีย์เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นอยู่ด้วยชีวิต ๒ อย่าง ตายด้วยมรณะ ๒

อย่าง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ชีวิตินทริยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

อรรถกถาชีวิตินทริยกถา

ว่าด้วย ชีวิตินทรีย์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชีวิตินทรีย์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดว่า ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์เป็นธรรมไม่มีรูปไม่ประกอบกับจิต ฉะนั้นจึงว่า

รูปชีวิตินทรีย์ไม่มี ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะและสมิติยะ

ทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที.

ในปัญหาว่า อายุ...ไม่มีแก่รูปธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ปรวาที

นั้น ย่อมปรารถนาคำว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็น

ไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยง

อยู่ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งความสืบต่อแห่งอุปาทินนรูปบ้าง แห่ง

อนุปาทินนรูปมีต้นหญ้าและหมู่ไม้เป็นต้นบ้าง ฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ. แม้

ในปัญหาว่า มีอยู่ ก็ตอบรับรองด้วยเหตุนี้. ในปัญหาว่า อรูปชีวิตินทรีย์

มีอยู่หรือ ปรวาที ปรารถนาว่า ชื่อว่าความสืบต่อของชีวิตินทรีย์ที่ไม่

ประกอบกับจิตแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น จึงตอบรับรอง. ในปัญหา

ว่า อายุของรูปธรรมทั้งหลายเป็นอรูปชีวิตินทรีย์หรือ อธิบายว่า

ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปธรรมก็ดี ที่เป็นอรูปธรรมก็ดี มีอยู่ในสันดานแห่ง

สัตว์ แต่ปรวาทีปรารถนาซึ่งอรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปุตแห่งสัตว์

ทั้งปวงนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. แม้ในปัญหาว่าด้วย ผู้เข้า

นิโรธสมบัติ ปรวาทีหมายเอาอรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปยุตนั่นแหละ

จึงตอบปฏิเสธบ้าง ตอบรับรองบ้าง. ฝ่ายสกวาที เมื่อไม่รับรองคำนั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

จึงกล่าวว่า หากว่า เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่ออรูปไม่เป็นไปอยู่

รูปก็พึงมีอยู่ได้.

ในปัญหาว่าด้วย สังขารขันธ์ ปรวาทีหมายเอาสังขารขันธ์มี

ผัสสะ เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ แต่ตอบรับรองหมายเอาสังขารขันธ์มี

กายกรรมเป็นต้น. ลัทธิของปรวาทีว่า ธรรมทั้งหลาย มีกายวิญญัติ

วจีวิญญัติ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และชีวิตินทรีย์ เป็นต้นว่าเป็นธรรม

เนื่องด้วยสังขารขันธ์ ดังนี้. แต่สกวาทีเมื่อไม่ตอบรับรองคำนั้น จึง

กล่าวว่า ผู้เข้านิโรธมีเวทนาขันธ์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่าความเป็น

ไปแห่งอรูป แม้ดับไปแล้วสังขารขันธ์ยังมีอยู่ไซร้ นามขันธ์ ๔ ก็ต้องมีอยู่

ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาภายในสมาบัติ ย่อมตอบ

รับรองหมายเอาเบื้องต้นและเบื้องปลายของผู้เข้าสมาบัติและผู้ออกจาก

สมาบัติ. แม้ในวาระว่าด้วย อสัญญสัตว์ ก็นัยนี้นั่นแหละ. จริงอยู่ เพราะ

ลัทธินั้นว่า ในกาลปฏิสนธิแห่งอสัญญสัตว์ทั้งหลาย จิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับ

ไป อรูปชีวิตินทรีย์ที่เป็นจิตตวิปปยุตกับจิตนั้นเกิดขึ้นแล้วก็เป็นไป

ตลอดจนสิ้นอายุ เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า อสัญญสัตว์ทั้งหลาย

ไม่มีชีวิตินทรีย์หรือ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามว่า มีชีวิตตินทรีย์หรือ

ก็ตอบรับรอง. ย่อมปฏิเสธแม้ซึ่งเวทนาขันธ์ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง

ปวัตติกาลของอสัญญสัตว์เหล่านั้น ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่ง

ปฏิสนธิกาลของอสัญญสัตว์เหล่านั้น. ก็สกวาที เมื่อไม่ต้องการคำนั้น

จึงกล่าวว่า เป็นปัญจโวการภพ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่าในอสัญญสัตว์

เหล่านั้นมีเวทนาเป็นต้นแม้แต่เพียงขณะหนึ่งไซร้ อสัญญสัตว์นั้นก็นับ

ว่าเป็นปัญจโวการภพ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตร.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

ในปัญหาว่า จิตดวงแสวงหาอุบัติดับไปส่วนหนึ่ง อธิบายว่า

ลัทธิของปรวาทีนั้นว่า ธรรมที่สัมปยุตกันย่อมแตกดับไป แต่ธรรมที่

วิปปยุตกันย่อมตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. คำถามของปรวาที

ว่า ชีวิตินทรีย์เป็น ๒ หรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. จริงอยู่

รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์มีอยู่ ท่านจึงกล่าวว่าสัตว์ย่อมเป็นอยู่

ด้วยชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้นนั่นแหละ ย่อมตายเพราะการแตกดับแห่งชีวิตินทรีย์

ทั้ง ๒ นั้น. ก็ในขณะจุติ ชีวิตินทรีย์แม้ทั้ง ๒ ย่อมแตกดับพร้อมกัน

นั่นเทียว ดังนี้.

อรรถกถาชีวิตินทริยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

กรรมเหตุกถา

[๑๓๐๓] สกวาที พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เพราะเหตุ

แห่งกรรมหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ เพราะเหตุ

แห่งกรรมหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ เพราะเหตุแห่ง

กรรมหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคา-

มิผลได้ เพราะเหตุแห่งกรรมหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๔] ส. โสดาบัน ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่ง

กรรมหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ไม่เสื่อมจากอรหัตผล เพราะเหตุแห่ง

กรรมหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ไม่เสื่อมจาก

อนาคามิผล เพราะเหตุแห่งกรรมหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตผล เพราะเหตุแห่ง

กรรมหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๐๕] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ เพราะเหตุแห่ง

กรรมหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมคือปาณาติบาตหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมคืออทินนาทาน ฯลฯ เพราะเหตุ

แห่งกรรมคือกาเมสุมิจฉาจาร เพราะเหตุแห่งกรรมคือมุสาวาท เพราะ

เหตุแห่งกรรมคือปิสุณาวาจา เพราะเหตุแห่งกรรมคือผรุสวาจา เพราะ

เหตุแห่งกรรมคือสัมผัปปลาปะ เพราะเหตุแห่งกรรมคือมาตุฆาต เพราะ

เหตุแห่งกรรมคือปิตุฆาต เพราะเหตุแห่งกรรมคืออรหันตฆาต เพราะ

เหตุแห่งกรรมคือโลหิตุปบาท เพราะเหตุแห่งกรรมคือสังฆเภท หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะเหตุแห่งกรรมไหน ?

ป. เพราะกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย.

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ เพราะเหตุแห่ง

กรรม คือกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่ว่าใครที่กล่าวตู่พระอรหันต์ ย่อมทำให้แจ้ง

อรหัตผลได้ทุกคน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กรรมเหตุกถา จบ

วรรคที่ ๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

อรรถกถากัมมเหตุกถา

ว่าด้วยเหตุแห่งกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเหตุแห่งกรรม หรือกรรมเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น

ลัทธิแห่งชนเหล่าใดว่า พระอรหันต์รูปใดผู้เคยกล่าวตู่พระอรหันต์

ในภพก่อนด้วยกรรมอันใด พระอรหันต์รูปนั้นย่อมเสื่อมจากความเป็น

พระอรหันต์เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ

และสมิติยะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีว่า เพราะเหตุแห่งกรรม ดังนี้

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือมีนัยเหมือน

คำที่กล่าวไว้ในปริหานิกถานั่นแหละ.

ข้อว่า เพราะกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย ความว่า ความเป็น

พระอรหันต์นี้ย่อมเสื่อมเพราะเหตุแห่งกรรมใด ปรวาทีกล่าวเพื่อให้

รับรองซึ่งกรรมนั้น. ทีนั้น สกวาที ยังปรวาทีนั้นให้รับรองซึ่งฝักฝ่าย

นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ไม่ว่าใครที่กล่าวตู่พระอรหันต์ เป็นต้น เพื่อท้วง

ด้วยคำว่า ถ้าว่าชนเหล่าใดพึงเป็นผู้กล่าวตู่พระอรหัตด้วยกรรม

เหล่าใดอย่างนี้ไซร้ ชนเหล่านั้นทั้งหมดพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้หรือ

ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนิยามในการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ด้วย

กรรมนั้น. จึงตอบปฏิเสธ.

อรรถกถากรรมเหตุกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ฉคติกถา ๒. อันตราภวกถา ๓. กามคุณกถา ๔. กามกถา

๕. รูปธาตุกถา ๖. อรูปธาตุกถา ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา ๘. อรูเปรูปกถา

๙. รูปังกัมมันติกา ๑๐.ชีวิตินทริยกถา ๑๑. กัมมเหตุกถา.

วรรคที่ ๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

วรรคที่ ๙

อานิสังสกถา

[๑๓๐๖] สกวาที ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์ได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดย

ความเป็นของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์

ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้ ฯลฯ บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย

โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค โดยความเป็นหัวฝี โดย

ความเป็นลูกศร โดยความเป็นของลำเค็ญ โดยความเป็นอาพาธ โดย

ความเป็นดังคนอื่น โดยความเป็นของหลอกลวง โดยความเป็น

เสนียด โดยความเป็นเครื่องเบียดเบียน โดยความเป็นภัย โดยความ

เป็นอุปสรรค โดยความเป็นของหวั่นไหว โดยความเป็นของเปื่อยพัง

โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน โดยความไม่เป็นที่ต้านทาน โดยความไม่

เป็นที่หลีกเร้น โดยความไม่เป็นที่พึ่ง โดยความไม่เป็นที่ขจัดภัย โดย

ความเป็นของว่าง โดยความเป็นของเปล่า โดยความเป็นของสูญ โดย

ความเป็นอนัตตา โดยความเป็นโทษ ฯลฯ โดยความเป็นของมีความ

แปรไปเป็นธรรมดา ละสัญโญชน์ได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ส. หากว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดย

ความเป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา ละสัญโญชน์ได้ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ละสัญโญชน์ได้.

ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น

ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น

ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒

ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น

ทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ โดยความเป็นของมีความแปรไปเป็น

ธรรมดาด้วยเห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็น

ของแปรไปเป็นธรรมดาด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒

ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

[๑๓๐๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน และ

สัญโญชน์ได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข มี

ความรู้สึกว่าเป็นสุข น้อมใจไปเนืองนิตย์สม่ำเสมอ ไม่สับสน หยั่ง

ปัญญาลงในพระนิพพานอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เห็นอานิสงส์ ในนิพพาน ก็ละสัญโญชน์

ได้ น่ะสิ.

อานิสังสกถา จบ

อรรถกถาอานิสังสกถา

ว่าด้วย อานิสงส์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอานิสงส์. ในเรื่องนั้น การแก้ปัญหา คือการ

ชี้ขาด ในลัทธิของสกวาทีว่า การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นสังขาร

ทั้งหลายโดยความเป็นโทษ และเห็นพระนิพพานโดยความเป็นอานิสงส์

ดังนี้ ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า

การละสังโยชน์ย่อมมีแก่ผู้เห็นพระนิพพาน โดยความเป็นอานิสงส์

เท่านั้น เพราะถือเอาวาทะของสกวาทีเพียงข้อเดียวในวาทะ ๒ ข้อนั้น

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย

เป็นต้น แก่ปรวาทีนั้นเพื่อแสดงการจำแนกว่า วาทะของสกวาทีนั้น

ท่านถือเอาแล้ว แม้ความเป็นโทษในสังขารทั้งหลาย ท่านก็พึงเห็นด้วย

ทีเดียว.

ในปัญหาว่า บุคคลมนสิการซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็น

ของไม่เที่ยงด้วย เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพานด้วย พึงทราบ

อธิบายดังต่อไปนี้ว่า ลัทธิของปรวาทีเหล่านั้นว่า การละสังโยชน์ย่อม

มีแก่ผู้เห็นอานิสงส์ในพระนิพพาน ดังนี้ จึงถูกสกวาทีถามว่า บุคคล

มนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสัญโญชน์

ได้มิใช่หรือ ปรวาทีตอบรับรองว่าใช่ ด้วยคำนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า

บุคคลมนสิการอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย

เป็นผู้เห็นอานิสงส์ในนิพพานด้วย ดังนี้ คำนี้ท่านรับรองหรือ ลำดับนั้น

ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาเพียงขณะจิตเดียว ถูกถามครั้งที่

๒ ท่านก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่าง ๆ. ก็สกวาทีย่ำยีความ

ประสงค์ของปรวาทีนั้นแล้ว จึงถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒

อย่าง แห่งจิต ๒ อย่างหรือ เพราะความที่บุคคลผู้มนสิการสังขาร

โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์พระนิพพานด้วย

เพราะความที่ปรวาทีตอบรับรองโดยความรวมเป็นอันเดียวกันด้วย ดังนี้

ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่างเป็นต้น จึงตอบ

ปฏิเสธ. แม้ในปัญหามีคำว่า โดยความเป็นทุกข์ เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.

ก็ในข้อนี้มีการสันนิษฐานอย่างไร ? คือย่อมละสังโยชน์ทั้งหลาย

เพราะมนสิการสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

ย่อมละสังโยชน์ของผู้เห็นพระนิพพาน หรือย่อมละสังโยชน์ของผู้ทำ

แม้ทั้ง ๒ รวมกัน. ผิว่า การละสังโยชน์เพราะมนสิการสังขารโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อนไซร้ การละนี้ก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตเท่านั้น

ถ้าการละสังโยชน์ด้วยสามารถแห่งการตามระลึกของผู้มีปกติเห็น

อานิสงส์ไซร้ การละนั้นก็พึงมีด้วยวิปัสสนาจิตของผู้เห็นอยู่ซึ่งอานิสงส์

ในพระนิพพานนั่นแหละ ก็ถ้าว่าการละสังโยชน์พึงมีแก่ผู้ทำแม้ทั้ง ๒

รวมกันไซร้ การประชุมแห่งผัสสะ ๒ ดวงเป็นต้น ก็พึงมี ถึงอย่างไรก็ดี

กิจของผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมถึง

ความสำเร็จในขณะแห่งมรรค เพราะสกวาทีย่อมต้องการเห็นอานิสงส์

ในพระนิพพานโดยสภาพแห่งธรรมที่เกิดขึ้นของผู้ยึดถือสังขารทั้งหลาย

โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้นโดยประจักษ์นั่นแหละอีก เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า การละสังโยชน์ทั้งหลายของผู้เห็นอานิสงส์

ในพระนิพพานด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จกิจในอริยมรรคด้วย ด้วย

สามารถแห่งความเป็นไปเพราะทำให้เป็นอารมณ์โดยมนสิการสังขาร

ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. พระสูตรว่า เป็นผู้

พิจารณาจึงว่าเป็นสุข...ในพระนิพพานอยู่่ ดังนี้ เป็นต้น ย่อมให้สำเร็จ

ในสภาพแห่งธรรมมีการตามเห็นซึ่งความสุขในพระนิพพานมิใช่ให้

สำเร็จกิจในการละสังโยชน์ทั้งหลายโดยสักว่า การเห็นอานิสงส์ใน

พระนิพพานเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ แม้ปรวาทีนำมาอ้างแล้ว

ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังนี้แล.

อรรถกถาอานิสังสกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

อมตารัมมณกถา

[๑๓๐๘] สกวาที สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อมตะเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของ

คันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์

ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่

เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์.

[๑๓๐๙] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึง

มัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึง

ใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ อันจิตไม่พึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึงสยบอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.

[๑๓๑๐] ส. โทสะปรารภอมตะ เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ

เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ

โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน ก็ต้องไม่กล่าวว่า

โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้.

[๑๓๑๑] ส. โมหะ ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่

เห็น เกื้อกูลแก่ความดับสูญแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความไม่รู้

เกื้อกูลแก่ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็น

ไปเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำความ

ไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า โมหะปรารภอมตะ เกิด

ขึ้นได้.

[๑๓๑๒] ส. สัญโญชน์ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นอารมณ์

ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ

กิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๓] ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ

อันจิตพึงยินดี พึงใคร่ พึงมัวเมา พึงผูกพัน พึงสยบอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้ง

แห่งราคะ อันจิตพึงยินดี ฯลฯ พึงสยบอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๔] ส. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๕] ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ และรูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะเป็นที่ตั้งแห่ง

โมหะ กระทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๖] ส. สัญโญชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ

ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของ

ปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเสส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญโญชน์ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นอารมณ์

ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๗] ส. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ไม่พึงใคร่ ไม่พึงมัวเมา ไม่พึงผูกพัน ไม่พึง

สยบอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ราคะ อันจิตไม่พึงยินดี ฯลฯ ไม่พึงสยบอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๘] ส. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ และอมตะไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะ ปรารภรูปเกิดขึ้นได้ แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

โทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๑๙] ส. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นได้ แต่อมตะไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ

ไม่กระทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญโญชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปุถุชน... หมายรู้

นิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็น

นิพพานแล้ว ย่อมสำคัญนิพพาน ย่อมสำคัญในนิพพาน ย่อมสำคัญโดย

ความเป็นนิพพาน ย่อมสำคัญนิพพานว่าของเรา ย่อมชื่นชมนิพพาน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สัญโญชน์ก็มีอมตะเป็นอารมณ์ น่ะสิ

อมตารัมมณกถา จบ

อรรถกถาอมตารัมมณกถา

ว่าด้วย สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ ได้แก่ อมตะคือพระ-

นิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ

ทั้งหลายว่า สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่ใคร่ครวญ

แห่งบททั้งหลายว่า ปุถุชนรู้พระนิพพาน เป็นต้น คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึง

กล่าวกะปรวาทีว่า อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า

ถ้าว่าสังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ได้ไซร้ อมตะก็ต้องปรากฏว่าเป็น

อารมณ์ของสังโยชน์ได้ ปรวาทีปฏิเสธคำทั้งปวงเพราะกลัวผิดจาก

พระสูตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็พระสูตร

ที่ปรวาทียกมาว่า ปุถุชน... หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ

นิพพาน นี้ ท่านกล่าวหมายเอานิพพานในทิฏฐธรรม คือในภพนี้

เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาอมตารัมมณากถา จบ

๑. ม.มู. ๑๓/๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

รูปังสารัมมณันติกถา

[๑๓๒๑] สกวาที รูปเป็นธรรมมีอารมณ์หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ.

ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น

ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของ

รูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์.

[๑๓๒๒] ส. ผัสสะเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ

ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ

ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๓] ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ ปัญญา ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ

ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความ

ตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ

ความตั้งใจ ของรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๔] ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความ ใจ ฯลฯ

ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความผูกใจ

ฯลฯ ความตั้งใจ ของผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๕] ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ

ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา สัญญา ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีอารมณ์

แต่ความนึก ความผูกใจ ฯลฯ ความตั้งใจ ของอโนตตัปปะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นธรรมมีปัจจัย มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า รูปเป็นธรรมมีปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึง

ต้องกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์.

รูปังสารัมมณันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

อรรถกถารูปังสารัมมณันติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นธรรมมีอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง รูปเป็นธรรมมีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ว่าโดย

อำนาจอารัมมณปัจจัยว่า รูป ชื่อว่ามีอารมณ์ เพราะอรรถว่ามีปัจจัย

แต่รูปนั้นกระทำธรรมอื่นให้เป็นอารมณ์ไม่ได้ คือหมายความว่ารู้อารมณ์

ไม่ได้. ก็ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า

รูปมีอารมณ์ได้โดยไม่แปลกกัน ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น เพื่อแสดงวิภาคอารมณ์ ๒ อย่าง คือ โอลุพฺภารมฺมณ ได้แก่

อารมณ์ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และ ปจฺจยารมฺมณ ได้แก่ อารมณ์คือเป็น

ปัจจัย คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบ

โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ.

ในปัญหาว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของสกวาที

หมายเอาโอลุพภารมณ์ คือ อารมณ์ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว. แม้ในปัญหา

ที่ ๒ สกวาทีนั้นนั่นแหละตอบรับรองหมายเอาอารมณ์คือเป็นปัจจัย

เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ความที่รูปนั้นเป็นธรรมชาติมีอารมณ์สำเร็จแล้ว

เพราะอรรถว่ามีปัจจัยเท่านั้น มิใช่มีอารมณ์อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ด้วย

ประการฉะนี้แล.

อรรถกถารูปังสารัมมณันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

อนุสยา อนารัมมณาติกถา

[๑๓๒๗] สกวาที อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ปรวาวี ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น

โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๘] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์

กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์

กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๙] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๐] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็น

สารัมมณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๑] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ส่วนกามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

หนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก

ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่ง

เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๒] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชา-

ปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์

เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๓] ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๔] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรม

มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๕] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ส่วนอวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก

ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็น

ธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่

พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อารมณ์ของอนุสัยเหล่านั้น มีอยู่หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.

[๑๓๓๗] ส. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่

พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ส. อารมณ์ของราคะนั้นมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.

อนุสยา อนารัมมณาติกถา จบ

อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา

ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายเอกัจจะ และนิกาย

อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า อนุสัยทั้งหลาย คือกิเลสที่นอนเนื่อง

อยู่ในสันดาน ไม่ประกอบกับจิตเป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากตะ ด้วยเหตุ

นั้นแหละ คือด้วยเหตุที่ไม่ประกอบกับจิตเป็นต้น จึงเป็นอนารัมมณะ

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อนุสัย เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า

อนุสัย เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ธรรมดาอนุสัยไม่มีอารมณ์ อนุสัย

นั้นก็จะพึงเป็นอย่างนี้ คือพึงเป็นอย่างรูปเป็นต้น. คำว่า กามราคะ

เป็นต้น ท่านแสดงโดยความเป็นกาม ราคานุสัยมิใช่เป็นอย่างอื่น. ใน

ปัญหาว่า สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะหมายเอาสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต ย่อมตอบรับรองหมายเอา

อนุสัย ชีวิตินทรีย์ และรูปมีกายกรรมเป็นต้น ว่าเป็นธรรมนับเนื่องด้วย

สังขารขันธ์. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

อนึ่ง ในปัญหาว่า เป็นผู้มีอนุสัยหรือ อธิบายว่า ปุถุชนชื่อว่า

ยังเป็นผู้มีอนุสัย เพราะความที่เขายังมิได้ละ แต่สภาพความเป็นไปของ

อนุสัยทั้งหลาย คือความเกิดดับ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้

จริงอยู่ อนุสัยใดอันบุคคลใดยังละไม่ได้ อนุสัยนั้นไม่นับว่าเป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน ก็แต่ว่าอนุสัยนั้นชื่อว่าเป็นกิเลสที่พึงละด้วยมรรค

เพราะความเป็นผู้ยังละไม่ได้นั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นของมีอยู่ ดังนี้.

อนึ่ง ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมชื่อนี้เป็นอารมณ์ของอนุสัยเห็นปานนี้

คือท่านหมายเอาเฉพาะขณะจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากตะซึ่งอนุสัยมิได้เกิด

สัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น อารมณ์ของอนุสัยนั้นท่านจึงปฏิเสธแล้ว.

อันที่จริง อารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่อนุสัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่

อารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่กิเลสทั้งหลายแม้มีราคะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน

ตรงนี้ท่านหมายเอาขณะที่กิเลสเหล่านั้นยังไม่เกิดสัมปยุตกับจิต เพราะ

ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จซึ่งความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอารมณ์

ดังนี้แล.

อรรถกถาอนุสยาอนารัมมณาติกถา จบ

หมายเหตุ

การวินิจฉัยอนุสัยกถาในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ ท่านหมายเอากิเลส

๗ อย่าง มีกามราคานุสัยเป็นต้นที่ยังมิได้ละด้วยอริยมรรค อนุสัยกิเลส

นี้แหละขณะที่จิตเป็นกุศลก็ดี เป็นอัพยากตะก็ดี ท่านเรียกว่าเป็นจิตตวิปปยุต

เพราะไม่ประกอบจิตในขณะนั้น เรียกว่าอเหตุกะเพราะไม่มีเหตุประกอบ

ในขณะนั้น เรียกว่าเป็นอัพยากตะเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

พยากรณ์ว่าเป็นบุญหรือเป็นบาปในขณะนั้น ด้วยเหตุทั้ง ๓ นี้แหละ

ท่านจึงว่าเป็นอนารัมมณะ คือเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ดังนี้.

ส่วนนัยแห่งอรรถกถาอนุสัยยมก หน้า.......... ท่านแสดง ดังนี้ :-

อนุสยาติ เกนฏฺเน อนุสยา ฯ อนุสยนฏฺเน ฯลฯ

ถามว่า อนุสัยทั้งหลายชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ากระไร ?

ตอบว่า เพราะอรรถว่านอนเนื่อง.

ถามว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ชื่อว่า อรรถว่าการนอนเนื่องนี้มีการละไม่ได้เป็นอรรถ

อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมนอนเนื่องในสันดานแห่งสัตว์ เพราะ

อรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อนุสัย.

คำว่า ย่อมนอนเนื่อง อธิบายว่า อนุสัยเหล่านั้นได้เหตุอันสมควร

แล้วจึงเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่งอธิบายว่า ถ้าว่า อาการคือการละยังไม่ได้

พึงชื่อว่าเป็นอรรถแห่งการนอนเนื่องไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า อาการคือ

การละไม่ได้ย่อมเกิดขึ้น เพราะอนุสัยทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ใน

ที่นี้ท่านรับรองว่า อนุสัย คืออาการที่ละไม่ได้. อนึ่ง คำว่า อนุสัย ท่าน

เรียกกิเลสที่มีกำลังเพราะอรรถว่าละไม่ได้. อธิบายว่า อนุสัยนั้นเป็น

จิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ เป็นสเหตุกะเพราะอรรถว่ามีปัจจัยเป็น

อกุศลอย่างเดียว ทั้งเป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง เพราะ

ฉะนั้น การกล่าวว่าอนุสัยย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ ย่อมควร. ในที่นี้ ท่านถือเอา

คำที่กล่าวมานี้เป็นประมาณ. ในคัมภีร์ยมกนี้มีการท้าวความถึงคัมภีร์

กถาวัตถุและคัมภีร์อื่น ๆ ด้วย เช่นกล่าวว่า :-

ในอภิธรรมกถาวัตถุก่อน ท่านปฏิเสธวาทะทั้งปวงว่า อนุสัย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ทั้งหลายเป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต หมายถึง

ขณะนั้นจิตกำลังเป็นกุศลหรืออัพยากตะ.

ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านทำคำถามว่า บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลาย

แม้อันเป็นปัจจุบันหรือ ดังนี้ แล้วตอบว่า บุคคลชื่อว่าย่อมละอนุสัยอันมี

กำลังเพราะความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอยู่แก่ความเป็นปัจจุบัน.

ในธรรมสังคหะ ในการจำแนกบทโมหะ ท่านกล่าวความเกิดขึ้น

แห่งอวิชชานุสัยกับอกสลจิตว่า อวิชชานุสัย ได้แก่ อนุสัยคืออวิชชา อวิชชา-

ปริยุฏฐาน ได้แก่ ปริยุฏฐานคืออวิชชา อวิชชาลังคิ ได้แก่ ลิ่มคืออวิชชา

อกุสลมูล คือโมหะนี้มี ณ สมัยใด สมัยนั้น โมหะย่อมมี ดังนี้.

ในอนุสัยยมกนี้นั่นแหละ ในอุปปัชชวาระ คือวาระว่าด้วยการเกิดขึ้น

วาระใดวาระหนึ่งแห่งมหาวาระ ๗ ท่านกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า กามราคา-

นุสัยย่อมเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ดังนี้

เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวแล้วว่า ย่อมนอนเนื่อง คำนั้น อธิบายว่า

อนุสัยทั้งหลายเหล่านั้นได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ บัณฑิต

พึงทราบว่า คำนั้นท่านกล่าวดีแล้วโดยแบบแผนนี้เป็นประมาณ. คำแม้ใด

ที่ท่านกล่าวไว้เป็นต้นว่า อนุสัยเป็นจิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ ดังนี้

แม้คำนั้นก็ชื่อว่าท่านกล่าวดีแล้วนั่นแหละ. คำว่า ก็ชื่อว่า อนุสัยเป็น

ของสำเร็จแล้ว เป็นจิตตสัมปุต เป็นอกุสลธรรม ดังนี้ พึงถึงความสิ้นสุด

กันในที่นี้แล.

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีกามราคานุสัย เป็นต้นว่า

กามราคะนั้นแหละชื่อว่าอนุสัยเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ต่อไป

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ท่านยังได้บ่งชัดลงไปอีกว่า อนุสัยเกิดที่ไหนบ้าง ดังคำว่า.

บัดนี้ เพื่อประการซึ่งที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอนุสัยทั้งหลายนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตตฺถ กามราคานุสโย อนุเสติ เป็นต้น

แปลว่า กามราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในกามธาตุนั้น ขอท่านผู้รู้ค้นคว้า

ในอนุสัยยมกนั้นเถิด.

สรุปความว่า คำว่า อนุสัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์กถาวัตถุนั้นมีความ

มุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง ที่กล่าวในคัมภีร์อนุสัยยมกนั้นมุ่งหมายเอาอย่างหนึ่ง

นัยทั้ง ๒ นี้เมื่อพิจารณาแล้วก็ถูกต้องด้วยกัน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

ญาณัง อนารัมมณันติกถา

[๑๓๓๘] สกวาที ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น

โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๓๙] ส. ญาณเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔๐] ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นธรรมมีอารมณ์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔๑] ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ ส่วนปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วน

หนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก

ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็น

ธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงกล่าว

ว่ามีญาณ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อารมณ์ของญาณนั้น มีหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.

ส. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงกล่าวว่า

มีปัญญา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อารมณ์ของปัญญานั้น มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.

ญาณัง อนารัมมณันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

อรรถกถาญานังอนารัมมณันติกถา

ว่าด้วย ญาณไม่มีอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น พระอรหันต์ผู้

พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ คือจักขุวิญญาณจิตของท่านกำลังเกิด เขา

เรียกว่ามีญาณ คือมีปัญญา แต่อารมณ์ของญาณในขณะที่จักขุวิญญาณจิต

กำลังเกิดนั้นไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดดุจลัทธิของ

นิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณ ของพระอรหันต์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาที.

คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องอนุสัยนั่นแหละ

ดังนี้แล.

อรรถกถาญานังอนารัมมณันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

อตีตารัมมณกถา

[๑๓๔๓] สกวาที จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มีอดีตเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มีอดีตเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มี

อดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่าจิตที่มี

อดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ จึงผิด ก็หรือหากว่า จิตเป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า มีอดีตเป็นอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่า

จิตที่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นธรรมมีอดีตเป็นอารมณ์ จึงผิด.

[๑๓๔๔] ส. จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่

ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์.

อตีตารัมมณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

อนาคตารัมมณกถา

[๑๓๔๕] สกวาที จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มีอนาคตเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มีอนาคตเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิต

ที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และดังนั้น การกล่าวว่า

จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ จึงผิด ก็หรือหากว่า

จิตเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตมีอนาคตเป็นอารมณ์ และ

ดังนั้น การกล่าวว่า จิตที่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นธรรมมีอนาคตป็น

อารมณ์จึงผิด.

[๑๓๔๖] ส. จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต

มีอยู่ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

[๑๓๔๗] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ และ

จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่ และจิต

ที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔๘] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ และ

จิตที่ปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต มีอยู่ และ

จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๔๙] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่ แต่จิต

ที่มีอดีตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ แต่

จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๕๐] ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคต มีอยู่ แต่

จิตที่มีอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบัน มีอยู่ แต่

จิตที่มีปัจจุบันเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๕๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตและอนาคตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อดีตและอนาคตไม่มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ฯลฯ

อนาคตารัมมณกถา จบ

อรรถกถาอตีตานาคตารัมมณกถา

ว่าด้วย จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตที่มีอดีต และอนาคตเป็นอารมณ์. ในเรื่องนั้น

อดีตและอนาคต ชื่อว่าไม่มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ตทารัมมณจิตนั้นไม่

พึงมีอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์ไม่มี ด้วยเหตุนั้น จึงว่า จิตที่มีอดีต

และอนาคตเป็นอารมณ์นั้นว่า เป็นจิตที่ไม่มีอารมณ์ ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า จิตที่มีอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ เป็นต้น โดยหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้พึงถือเอาตาม

พระบาลีนั่นแหละ.

อรรถกถาอตีตานาคตารัมณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

วิตักกานุปติตกถา

[๑๓๕๒] สกวาที จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิจาร เนื่องด้วยปีติ เนื่องด้วยสุข

เนื่องด้วยทุกข์ เนื่องด้วยโสมนัส เนื่องด้วยโทมนัส เนื่องด้วยอุเบกขา เนื่อง

ด้วยศรัทธา เนื่องด้วยวิริยะ เนื่องด้วยสติ เนื่องด้วยสมาธิ เนื่องด้วยปัญญา

เนื่องด้วยราคะ เนื่องด้วยโทสะ ฯลฯ เนื่องด้วยอโนตตัปปะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๕๓] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร อยู่ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก

[๑๓๕๔] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก.

[๑๓๕๕] ส. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิ ๓ อย่าง คือ สมาธิ

มีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิ ๓ อย่าง

คือ สมาธิมีวิตกมีวิจาร สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร สมาธิไม่มีวิตกไม่มี

วิจาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก.

วิตักกานุปติตกถา จบ

อรรกถาวิตักกานุปติตกถา

ว่าด้วย จิตเนื่องด้วยวิตก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตเนื่องด้วยวิตก คือหมายความว่าจิตตกไปตาม

วิตก หรือเรียกว่าเกิดขึ้นตามวิตก. ในเรื่องนั้น ชื่อว่า จิตที่เนื่องด้วยวิตก

มี ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์อย่างหนึ่ง โดยสัมปโยคะอย่างหนึ่ง ใน ๒

อย่างนั้น จิตทั้งหมดชื่อว่าเป็นธรรมเนื่องด้วยวิตกพึงมี เพราะความไม่มี

การกำหนดแน่ว่า ชื่อว่าจิตดวงโน้น มีอารมณ์เป็นไปกับวิตก ดังนี้ แต่

จิตทั้งปวงนั้น ชื่อว่า ไม่เนื่องด้วยวิตกเพราะสภาพแห่งจิตที่วิปปยุตกับ

วิตกมีอยู่ ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย

ว่า จิตทั้งปวงเนื่องด้วยวิตก โดยไม่แปลกกันเลย เพราะไม่ทำการวิภาค

เนื้อความนี้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ จึงถือเอาตามพระบาลี

นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาวิตักกนุปติตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

วิตักกวิปผารสัททกถา

[๑๓๕๖] สกวาที ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตก

เกิดเป็นเสียง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ทุกครั้งที่ถูกต้องอยู่ ความแผ่ไปแห่งผัสสะก็เกิดเป็น

เสียง ทุกครั้งที่เสวยอารมณ์อยู่ ทุกครั้งที่จำอารมณ์อยู่ ทุกครั้งที่จงใจอยู่

ทุกครั้งที่คิดอยู่ ทุกครั้งที่ระลึกอยู่ ทุกครั้งที่รู้ชัดอยู่ ความแผ่ไปแห่งเวทนา

สัญญา เจตนา จิต สติ ปัญญา ก็เกิดเป็นเสียง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๕๗] ส. ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเกิด

เป็นเสียง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความแผ่ไปแห่งวิตก เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ

กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความแผ่ไปแห่งวิตก ไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสต

วิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความแผ่ไปแห่งวิตก ไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้

ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเกิดเป็นเสียง.

วิตักกวิปผารสัททกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

อรรถกถาวิตักกวิปผารสัททกถา

ว่าด้วย ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ความแผ่ออกไป

แห่งวิตกนั่นแหละเป็นเสียง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิตก

วิจารเป็นวจีสังขาร ดังนี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ทุกครั้งเมื่อบุคคลตรึกอยู่

ตรองอยู่ โดยที่สุดแม้ในเวลาเป็นไปแห่งมโนธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาที

ว่า ทุกครั้งที่ตรึกอยู่ เป็นต้น หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ทุกครั้งที่ถูกต้องอยู่

เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ผิว่า เหตุสักว่าการแผ่ออกไปแห่งวิตกเป็นเสียงไซร้

แม้การแผ่ออกไปแห่งผัสสะเป็นต้น ก็พึงเป็นเสียง ดังนี้ ปรวาที เมื่อไม่

เห็นเลศนัยของพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ความแผ่ออกไป

แห่งวิตกเป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ ความว่า สกวาทีทำ

ปัญหาถามว่า เหตุสักว่าการแผ่ออกไปแห่งวิตกนั่นแหละเป็นเสียง ไม่ทำ

ปัญหาถามถึงเสียงอันเกิดขึ้นเพราะความแผ่ออกไปแห่งวิตกของบุคคล

ผู้หลับหรือผู้เผลอสติ ดังนี้ ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ. เพราะลัทธินั้นนั่นแหละ

สกวาทีจึงแสดงคำนี้ว่า ความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ได้ด้วย

โสตวิญญาณ...มิใช่หรือ ดังนี้ จริงอยู่เขากล่าวซึ่งเหตุสักว่าการแผ่ออก

ไปแห่งวิตกเท่านั้น ว่าเป็นเสียง แต่เสียงนั้นบุคคลไม่พึงรู้ได้ด้วยโสต

วิญญาณ แต่ปรวาทีกล่าวว่า เสียงนั้นพึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณนั่นแหละ

เพราะพระบาลีว่า บุคคลฟังเสียงอันแผ่ออกไปแห่งวิตกแล้ว เขาย่อม

ทายใจ คือย่อมรู้ถึงใจของผู้อื่นได้ ดังนี้.

อรรถกถาวิตักกวิปผารสัททกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

นยถาจิตตัสสวาจาติกถา

[๑๓๕๘] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มี

เจตนา ไม่มีจิต ก็มีวาจาได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลมีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต จึง

มีวาจาได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.

[๑๓๕๙] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มี

วาจาได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีวาจาได้

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ จึงมีวาจาได้ ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร มีวาจาได้.

[๑๓๖๐] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ป. ถูกแล้ว.

ส. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียว

กับจิต มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิด

ขณะเดียวกับจิต ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้.

[๑๓๖๑] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ปรารถนา

จะแสดงก็แสดงได้ ไม่ปรารถนาจะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ปรารถนา

จะพูดก็พูดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนาจะ

แสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนาจะ

พูดจึงพูดได้ มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนา

จะแสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนา

จะพูดจึงพูดได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้.

[๑๓๖๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี

วาจาได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ป. บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีก

อย่างหนึ่ง คิดว่าจะแสดงอย่างหนึ่ง ก็แสดงเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะ

ร้องเรียกอย่างหนึ่ง ก็ร้องเรียกเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง

ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าว

เสียอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่

ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี

วาจาได้.

นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

อรรถกถานยถาจิตตัสส วาจาติกถา

ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีวาจาได้ คือหมายความ

ว่า วาจาไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของ

นิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า บุคคลบางคนคิดว่า เราจักกล่าวอย่างหนึ่ง

แต่ย่อมกล่าวอย่างหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น วาจา จึงชื่อว่าไม่เป็นไป

ตามจิต ไม่คล้อยไปตามจิต แม้เว้นจิตเสียแล้ว วาจาก็ย่อมเป็นไปได้ดังนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ เป็นต้น เพื่อท้วง

๑. อีกอย่างหนึ่งแปลว่า เรื่องวาจาไม่เป็นไปตามจิต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ปรวาทีนั้นว่า ถ้าว่า จิตที่เป็นเหตุให้วาจาเกิดขึ้นไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลาย

แม้มีผัสสะเป็นต้นก็ไม่พึงมีขณะนั้น ดังนี้.

ในคำทั้งหลายมีคำว่า บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าว เป็นต้น

อธิบายว่า บุคคลคิดว่าเราจะกล่าวคำอย่างหนึ่งแม้กล่าวอยู่ซึ่งคำอีก

อย่างหนึ่ง เขาย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาจะกล่าวนั่นแหละ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. ในคำทั้งหลายมี

คำว่า บางคนที่คิดว่าจักกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง ... มี

อยู่มิใช่หรือ เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลใดปรารถนาจะกล่าวคำใดคำหนึ่ง

ในกาลก่อน เขาก็พึงกล่าวคำนั้น คือคำที่คิดไว้แต่เดิมนั้น ในที่นี้ ท่าน

หมายเอาจิตของผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวเป็นอย่างหนึ่ง จิตที่เป็นเหตุให้กล่าว

ก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต เพราะไม่

เหมือนกับจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง

แต่จิตใดอันมีในกาลก่อนจิตนั้นไม่เป็นเหตุให้คำพูดเกิดขึ้นก็หาไม่ ท่าน

ปฏิเสธหมายเอาเนื้อความว่า วาจานั้นไม่เป็นไปตามจิตเพียงเท่านี้. ด้วย

อุทาหรณ์นี้ ลัทธิ แม้อันปรวาทีตั้งไว้แล้วว่า ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มี

วาจาได้ คือหมายความว่าวาจาไม่เป็นไปตามจิต ดังนี้ ย่อมเป็นลัทธิตั้ง

อยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

อรรถกถานยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา

[๒๓๖๓] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ฯลฯ ผู้ไม่มีจิต ก็มีกายกรรมได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีกายกรรมได้

ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.

[๑๓๖๔] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มีกายกรรมได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้ มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้นึกอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีกายกรรมได้

ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.

[๑๓๖๕] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดใน

ขณะเดียวกับจิต มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต

เกิดในขณะเดียวกับจิต ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร

ก็มีกายกรรมได้.

[๑๓๖๖] ส. บุคคลไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า ก็ก้าวไป

ข้างหน้าได้ ไม่ปรารถนาจะถอยไปข้างหลัง ก็ถอยไปข้างหลังได้ ไม่

ปรารถนาจะแลดูก็แลดูได้ ไม่ปรารถนาจะเหลียวดูก็เหลียวดูได้ ไม่

ปรารถนาจะคู้แขนก็คู้แขนได้ ไม่ปรารถนาจะเหยียดแขนก็เหยียดแขน

ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า จึงก้าวไปข้างหน้า

ได้ ปรารถนาจะถอยหลัง จึงถอยไปข้างหลังได้ ปรารถนาจะแลดู จึง

แลดูได้ ปรารถนาจะเหลียวดู จึงเหลียวดูได้ ปรารถนาจะคู้แขน จึงคู้แขน

ได้ ปรารถนาจะเหยียดแขน จึงเหยียดแขนได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะก้าวไปข้างหน้า จึงก้าว

ไปข้างหน้าได้ ฯลฯ ปรารถนาจะเหยียดแขน จึงเหยียดแขนได้ ก็ต้อง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

ไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีกายกรรมได้.

[๑๓๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี

กายกรรมได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บางคนที่คิดว่าจะไปในที่แห่งหนึ่ง ก็ไปเสียในที่อีก

แห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะเหยียดแขนข้างหนึ่ง ก็เหยียดอีกเสียข้างหนึ่ง มีอยู่

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะไปในที่แห่งหนึ่ง ก็ไปเสีย

ในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะเหยียดแขนข้างหนึ่ง ก็เหยียดเสียอีกข้างหนึ่ง

มีอยู่ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มี

กายกรรมได้.

นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

อรรถกถานยถาจิตตัสส กายกัมมันติกถา

ว่าด้วย ผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีกายกรรมได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้ไม่มีความคิดอย่างไรก็มีกายกรรมได้ คือหมาย

ความว่า กายกรรมไม่เป็นไปตามจิต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า คนบางคนที่คิดว่า จักไป

ในที่แห่งหนึ่ง แต่ก็ไปในที่แห่งหนึ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึง

ไม่เป็นไปตามจิต ไม่อนุรูปแก่จิต ไม่คล้อยตามจิต แม้เว้นจิตเสียก็เป็น

ไปได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง

นั่นแล.

อรรถกถานยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา

[๑๓๖๘] สกวาที บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอีก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคต

แล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตดับไปแล้วปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว

อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบ

ด้วยอดีต.

[๑๓๖๙] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่

บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคต ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม

ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเป็น

ผู้ประกอบด้วยอนาคต.

[๑๓๗๐] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอดีต เป็น

ผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๓ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นผู้

ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยขันธ์ ๑๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๑] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอดีต เป็น

ผู้ประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะ

ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขายตนะ ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต

เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ

๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยอายตนะ ๓๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๒๗] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอดีต เป็น

ผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุธาตุ ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็น

ผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยธาตุ ๕๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๓] ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต เป็น

ผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่

เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยจักขุนทรีย์ ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต

เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์

๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์ ๖๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลประกอบด้วยอดีตและอนาคต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ คือสมาบัติ ๘ ผู้ได้ตาม

ปรารถนาซึ่งฌาน ๔ ผู้มีปกติได้อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ ผู้ได้ตามปรารถนา

ซึ่งฌาน ๔ ผู้มีปกติได้อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ จึง

ต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต.

อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา จบ

อรรถกถาอตตีตานาคเตหิ สมันนาคตกถา

ว่าด้วย บุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต. ในเรื่องนั้น

บัณฑิตพึงทราบบัญญัติ ๒ อย่าง คือ สมันนาคตบัญญัติ ได้แก่ บัญญัติคำว่า

ประกอบ และปฏิลาภบัญญัติ ได้แก่ บัญญัติคำว่า การได้เฉพาะ ในบัญญัติ

๒ อย่างนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยปัจจุบันธรรม ท่านเรียกว่า สมันนาคตะ ส่วน

สมาบัติทั้งหลายของผู้ได้ฌาน ๘ ไม่เป็นไปในขณะเดียวกัน คือส่วนหนึ่ง

เป็นอดีต ส่วนหนึ่งเป็นอนาคต ส่วนหนึ่งเป็นปัจจุบัน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ท่านก็เรียก ปฏิลาภะ ผู้มีปกติได้ เพราะความเป็นผู้แทงตลอดแล้ว เป็น

สภาพไม่เสื่อมไป.

๑. ในอภิธรรมใช้อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนกถา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด ไม่ถือเอาการวิภาค อย่างนี้ มีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ฌานทั้งหลายแม้เป็นอดีตและ

อนาคตมีอยู่แก่ผู้ได้ฌาน เหตุใด เพราะเหตุนั้น ฌานลาภีบุคคลเหล่านั้น

ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอดีตบ้าง ด้วยอนาคตบ้าง ดังนี้ คำถามของ

สกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือใน

ที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น. อนึ่ง คำว่า บุคคลผู้มีปกติเพ่งวิโมกข์ ๘ เป็นต้น

เป็นข้อพิสูจน์แห่งความเป็นผู้ได้ คือได้สมาบัติ ๘ มิใช่พิสูจน์ความเป็น

ผู้ประกอบด้วยอดีตและอนาคต ดังนี้แล.

อรรถกถาอตีตานาคเตหิสมันตาคตกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. อานิสังสกถา ๒. อมตารัมมณกถา ๓. รูปังสารัมมตันติกถา

๔. อนุสยาอนารัมมณาติกถา ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา ๖. อตีตา-

รัมมณกถา ๗. อนาคตารัมมณกถา ๘. วิตักกานุปติตกถา ๙. วิตักก-

วิปผารสัททกถา ๑๐. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา ๑๑. นยถาจิตตัสสกาย-

กัมมันติกกถา ๑๒. อตีตานาคตปัจจุปันนกถา.

วรรคที่ ๙ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

วรรคที่ ๑๐

นิโรธกถา

[๑๓๗๕] สกวาที เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ ๕

ที่เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มาพบกันได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มาพบกันได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๖] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติยังไม่ทันดับ ขันธ์ ๕ ที่

เป็นกิริยาก็เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มาพบกันได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มาพบกันได้

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๗] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติยังไม่ทันดับ ญาณอัน

เป็นกิริยาก็เกิด ขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มาพบกันได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นความประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มาพบกันได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๗๘] ส. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติ ดับไปแล้ว มรรคก็

เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ตายแล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ บุคคลผู้ทำกาละ

แล้ว ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นิโรธกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

อรรถกถานิโรธกถา

ว่าด้วย ความดับ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความดับ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด ดุจ

ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ขันธ์ ๕ คือ นามขันธ์ ๔ อันถึงซึ่งการ

นับว่าเป็นกิริยา หรือเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับภังคขณะ คือ ขณะแห่งการดับ ของภวังคจิตอันถึง

ซึ่งการนับว่า ขันธ์ที่แสวงหาการเกิด เพราะว่า เมื่อขันธ์เหล่านั้นยังไม่เกิด

ครั้นเมื่อภวังคจิตดับแล้ว ความขาดตอนของสันตติพึงมี ดังนี้ คำถาม

ของสกวาทีว่าเมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบททั้งหลายแม้ทั้ง ๔ ว่า อุปปตฺเตสิเย

แปลว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาอุปบัติ นั้น เป็นสัตตมีเอกพจน์ลงในอรรถ

แห่งสัตตมีพหูพจน์ ก็ในคำนี้ ท่านอธิบายว่า เมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาซึ่ง

การเกิดยังไม่ทันดับ. คำว่า ขันธ์ ๑๐ ท่านสกวาทีกล่าวด้วยสามารถ

แห่งขันธ์ ๕ ที่แสวงหาการเกิด และขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยา หมายถึงขันธ์

ของพระอรหันต์ที่ไม่ต้องแสวงหาการเกิด.

ในปัญหาแรกนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า ขันธ์

เหล่านั้น ชื่อว่ามี ๕ เท่านั้น ด้วยสามารถแห่งลักษณะของขันธ์ และด้วย

สามารถแห่งกิริยา. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาความ

ต่างกันแห่งขันธ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่เกิดก่อนและเกิดทีหลัง และ

ด้วยสามารถแห่งขันธ์ที่แสวงหาการเกิดและขันธ์ที่เป็นกิริยา คือขันธ์

ที่ไม่แสวงหาการเกิด. ถูกสกวาทีถามว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีข้ออ้างในพระสูตร.

คำว่า ขันธ์ ๔ ที่เป็นกิริยา ความว่า สกวาทีถือเอานามขันธ์ ๔ ที่เป็น

กุศล หรือเป็นอกุศลโดยเว้นจากรูป. คำว่า ญาณอันเป็นกิริยา ได้แก่

ญาณที่ไม่มีอารมณ์ของพระอรหันต์ในขณะที่ท่านถึงพร้อมด้วยจักขุ-

วิญญาณจิตที่ปรวาทีรับรองแล้ว. คำถามว่า มีขันธ์ ๕ ที่แสวงหา

อุปบัติดับไปแล้ว มรรคก็เกิดขึ้นได้หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรอง

เป็นของสกวาที เพราะเมื่อขันธ์ ๕ อันแสวงหาการเกิดยังไม่ดับแล้ว

มรรคก็ไม่เกิดขึ้น. คำถามโดยเลศนัยของปรวาทีว่า ผู้ตายแล้วยังมรรค

ให้เกิดได้...หรือ สกวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ก็เพราะว่า

จำเดิมแต่ปฏิสนธิจนถึงจุติจิตสัตว์ชื่อว่ามีชีวิตอยู่นั่นแหละ ดังนี้.

อรรถกถานิโรธกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

รูปังมัคโคติกถา

[๑๓๗๙] สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค

เป็นมรรค หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ

ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ

ของรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจของรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจของรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความ

พร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.

[๑๓๘๐] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรคหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ส. หากว่า สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาวาจา

เป็นมรรค.

[๑๓๘๑] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า

สัมมาอาชีวะเป็นมรรค.

[๑๓๘๒] ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้น มีอยู่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ

สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

สัมมาอาชีวะนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ

[๑๓๘๓] ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น

ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม

มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็น

ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ

สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

สัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๔] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๕] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และ

สัมมาอาชีวะนั้นเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ

สัมมาอาชีวะนั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มี

อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง

ด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

เป็นมรรค ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อม

เพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค.

รูปังมัคโคติกถา จบ

อรรถกถารูปังมัคโคติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นมรรค

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่อง รูปเป็นมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีลัทธิ

ดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลาย

ว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นรูป ดังนี้ คำถามของ

สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค โดยหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว

คำว่า รูปนั้นเป็นธรรมมีอารมณ์ เป็นต้น เพื่อจะท้วงปรวาทีนั้นด้วย

คำว่า ถ้าว่า สัมมาวาจา เป็นต้น เป็นรูป ไม่เป็นวิรตีตามลัทธิของท่าน

ไซร้ มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นสภาพที่มีอารมณ์เป็นต้น ฉันใด รูป

แม้นั้นก็พึงเป็นฉันนั้น ดังนี้. ในปัญหานั้น พึงทราบคำปฏิเสธ และคำ

ตอบรับรองโดยสมควรด้วยสามารถแห่งลัทธิของปรวาที. คำที่เหลือใน

ที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถารูปังมัคโคติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

ปัญจวิญญาณสมังคิมัคคภาวนากถา

[๑๓๘๗] สกวาที บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕

ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ คือที่อาศัย

มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ

มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อม

เพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้.

[๑๓๘๘] ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่

่เกิดขึ้นก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็น

อารมณ์ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์

มีวัตถุต่าง ๆ มีอารมณ์ต่าง ๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแก่กันและกัน เกิดขึ้น

โดยไม่มีการสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้น

โดยไม่เจือด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน

ไม่ได้ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกันและกันก็ไม่ได้ มิใช่หรือ ? ฯลฯ

วิญญาณ ไม่มีความผูกใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ก็ต้องไม่กล่าว

ว่าบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดขึ้นได้.

[๑๓๘๙] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรค

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุและความเป็นของว่างเปล่า จึงเกิด

จักขุวิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด

จักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึง

เกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า เพราะ

อาศัยจักษุและความว่างเปล่าจึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๓๙๐] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

มรรคให้เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ปรารภ

สัญญา ปรารภเจตนา ปรารภจิต ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ปรารภ

เสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และมโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ

เกิดขึ้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ยัง

มรรคให้เกิดได้ และจักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ

เกิดขึ้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๑] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

วิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต ไม่ถือโดย

อนุพยัญชนะ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว

ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว เป็นผู้

ไม่ถือนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ

๕ ก็ยังมรรคให้เกิดได้ น่ะสิ.

ปัญจวิญญาณสมังคิมัคคภาวนากถา จบ

๑. ม.ม. ๑๒/๓๘๗, องฺ. จตุกฺก ๒๑/๓๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

อรรถกถาปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคกถา

ว่าด้วย ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณเจริญมรรค

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณเจริญมรรค.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลาย

ว่า การเจริญมรรคมีอยู่แก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณ เพราะ

อาศัยพระสูตรว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต เป็นต้น

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ทีนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น เพื่อ

ท้วงด้วยคำว่า ถ้าการเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕

นั้นไซร้ มรรคก็พึงมีคติอย่างวิญญาณ ๕ หรือวิญญาณ ๕ ก็พึงมีคติอย่าง

มรรค แต่ปัญจวิญญาณเหล่านั้นไม่มีคติเช่นกับมรรค เพราะไม่มีพระนิพพาน

เป็นอารมณ์ ทั้งมิใช่โลกุตตระ ถึงมรรคก็ไม่มีคติเช่นกับปัญจวิญญาณ

เพราะสงเคราะห์กันโดยลักษณะแห่งปัญจวิญญาณเหล่านั้นไม่ได้ ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายว่า ถ้าว่ามรรคภาวนาพึงมีแก่ผู้พร้อมเพรียง

ด้วยปัญจวิญญาณไซร้ มรรคอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณใด มโนวิญญาณ

แม้นั้นก็พึงมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยปัญจวิญญาณได้ ครั้นเมื่อความเป็น

เช่นนี้มีอยู่ คำอันเป็นลักษณะนี้ใดท่านกล่าวว่า ปัญจวิญญาณมีธรรมที่

เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ เป็นต้น ท่านไม่พึงกล่าวคำนั้นอย่างนี้ ควรจะกล่าว

ว่าวิญญาณ ๖ แต่ท่านไม่กล่าวอย่างนั้น กล่าวแต่เพียงคำว่า ปัญจวิญญาณ

ดังนี้ เพราะฉะนั้น ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่ามรรคภาวนามีอยู่แก่ผู้พร้อมเพรียง

ด้วยปัญจวิญญาณ ดังนี้. สำหรับในข้อนี้มีอธิบายเพียงเท่านี้เท่านั้น เพราะ

ฉะนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีรับรองลักษณะนั้น แล้วกล่าวว่า เพราะเหตุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

นั้นแล ท่านไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕

ยังมรรคให้เกิดได้ ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ ส่วนมรรค

แม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์

มรรคมีอารมณ์อันใครไม่พึงกล่าว มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อันใคร ๆ

ไม่พึงกล่าวว่าพระนิพพานเกิด ว่าเกิดขึ้น วิญญาณ ๕ มีวัตถุอันเกิดก่อน

มรรคแม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้น มีอารมณ์เกิดก่อน มรรค

ไม่มีอารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมภายในเป็นวัตถุ มรรค

แม้ไม่มีวัตถุก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์

ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้น มรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิญญาณ

๕ มีวัตถุธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ เพราะทำวัตถุอันยังไม่แตกดับให้

เป็นที่อาศัยแล้วเป็นไป มรรคแม้ไม่มีวัตถุก็เป็นไปได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้น

มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ เพราะปรารภรูปเป็นต้นอันยังไม่แตกดับ

นั่นแหละเป็นไป มรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นมี

วัตถุต่าง ๆ มรรคไม่มีวัตถุ หรือมีวัตถุหนึ่ง วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่เสวย

อารมณ์ของกันและกัน เพราะเป็นไปในอารมณ์ของตน ๆ มีรูปารมณ์

เป็นต้น มรรคย่อมไม่กระทำรูปารมณ์เป็นต้นแม้สักอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์

วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่รวมกันเพราะทำกิริยามโนธาตุให้เป็นปุเรจาริก

แล้วจึงเกิดทั้งไม่มีมนสิการก็ไม่เกิดขึ้น มรรคไม่มีอาวัชชนะเลย วิญญาณ

๕ เหล่านั้นเกลื่อนกล่นด้วยการรับอารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น มรรคไม่ลามก

คือไม่มีความตกต่ำ เลย วิญญาณ ๕ เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยความสับสน

ซึ่งกันและกัน คือหมายความว่าเกิดก่อนบ้าง เกิดทีหลังกันบ้าง ไม่มีระเบียบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ว่าอันไหนเกิดก่อนหรือเกิดทีหลัง ความเกิดก่อนเกิดทีหลังของมรรคร่วม

กับวิญญาณ ๕ เหล่านั้นหามีไม่ เพราะมรรคเกิดในกาลที่วิญญาณ ๕

เหล่านั้นไม่เกิด ในสมัยที่วิปัสสนาญาณแก่กล้า ในอรูปภพอันเป็นถิ่นที่

วิญญาณ ๕ ไม่เกิดก็ดี มรรคก็เกิดได้ วิญญาณ ๕ เหล่านั้นไม่เกิดติดต่อ

ซึ่งกันและกัน เพราะมีสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นคั่นในระหว่าง ความคั่นใน

ระหว่างด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นของมรรคไม่มีเลย กิจแม้สักว่าการ

เสพอารมณ์เพราะการตกไปแห่งวิญญาณ ๕ ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

ไม่มี กิจของมรรคมีการเพิกถอนกิเลส ในข้อนี้มีอธิบายเพียงเท่านี้ เพราะ

ฉะนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีรับรองซึ่งความที่มรรคไม่มีคติอย่างวิญญาณ

๕ เหล่านั้น ด้วยอาการเหล่านี้ แล้วจึงกล่าวว่า ก็ต้องไม่พึงกล่าวว่า บุคคล

ผู้พร้อมเพรียงด้วยวิญญาณ ๕ ยังมรรคให้เกิดได้ ดังนี้.

คำว่า ปรารภความว่างเปล่า ความว่า สกวาทีถามว่า โลกุตตรมรรค

ย่อมเกิดเพราะปรารภสุญญตนิพพาน โลกียมรรคย่อมเกิดเพราะปรารภ

บุญที่เป็นสุทธสังขารเกิดขึ้น ฉันใด จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะปรารภ

ฉันนั้นหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะพระบาลีว่า จักขุวิญญาณเกิด

พระอาศัยจักขุด้วยรูปด้วย. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมายเอา

ด้วยคำว่า สิ่งใดไม่มีนิมิตในที่นั้น สิ่งนั้นชื่อว่าความว่างเปล่า เพราะบาลีว่า

ไม่ถือเอาโดยนิมิต ในปัญหาอีก ๒ ข้อว่า อาศัยจักขุ เป็นต้น ก็นัยนี้.

ในข้อว่า จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต นั้น อธิบายว่า

การเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ และมโนวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้นเพราะปรารภธรรมอันเป็นอดีตและอนาคตฉันใด แม้จักขุ

วิญญาณก็ฉันนั้นหรือ ? ในคำทั้งหลายว่า มโนวิญญาณปรารภผัสสะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

เป็นต้น ก็นัยนี้. ในข้อว่า เห็นรูปด้วยจักขุแล้วเป็นผู้ไม่ถือนิมิต นี้ อธิบาย

ว่า ท่านกล่าวว่าไม่ถือเอานิมิตในขณะแห่งชวนะ ไม่ใช่ไม่ถือเอานิมิตใน

ขณะแห่งจักขุวิญญาณ เพราะฉะนั้น คำว่าจักขุวิญญาณนี้หมายเอาสักว่า

เป็นโลกีย์ซึ่งมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า การเจริญมรรคมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วย

วิญญาณ ๕ ดังนี้แล.

อรรถกถาปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ปัญจวิญญาณกุสลาปีติกถา

[๑๓๙๒] สกวาที วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ

มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ เป็นกุศล

ก็มี เป็นอกุศลก็มี.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิด

ก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์

มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ มีวัตถุ

ต่าง ๆ มีอารมณ์ต่าง ๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแก่กันและกัน เกิดขึ้นโดยไม่

มีความสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มี

ีเจือด้วยสัมปฏิฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกันไม่ได้ เกิดขึ้น

ในลำดับอันชิดแห่งกันและกันไม่ได้ มิใช่หรือ ? ฯลฯ วิญญาณ ๕ ไม่มี

ความผูกใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ก็ต้องไม่กล่าว

ว่าวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนี้.

[๑๓๙๓] ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภความว่างเปล่าเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภความว่างเปล่าเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด

จักขุวิญญาณ ดงนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย จึง

เกิดจักษุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า เพราะ

อาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น.

[๑๓๙๔] ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ

ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ

เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และมโน-

วิญญาณ ปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และจักขุ

วิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี และมโน-

วิญญาณ ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณ

ปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณ

ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ปรารภจัก ฯลฯ ปรารภกาย ปรารภ

เสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณ

ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศล

ก็มี หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นผู้ยึดถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้

ยึดถือนิมิต ฯลฯ ฟังเสียงด้วยโสต ฯลฯ ถูกต้องด้วยโผฏฐัพพะด้วยกาย

เป็นผู้ยึดถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือนิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ๕ ก็เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศล

ก็มี น่ะสิ

ปัญจวิญญาณกุสลาปีติกถา จบ

อรรถกถาปัญจวิญญาณา กุสลาปีติกถา

ว่าด้วย ปัญจวิญญาณเป็นกุศลก็มี

บัดนี้ ชื่อว่า ปัญจวิญญาณเป็นกุศลก็มี และเป็นอกุศลก็มี. เรื่องนี้

บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อรรถกถาปัญจวิญญาณ กุสลาปีติกถา จบ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา

[๑๓๙๖] สกวาที วิญญาณ ๕ มีความผูกใจหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ มีธรรมที่

เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นวัตถุ

มีธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความ

ผูกใจ.

ส. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิด

ก่อนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายในเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกเป็นอารมณ์

มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นวัตถุ มีธรรมที่ยังไม่ทำลายเป็นอารมณ์ มีวัตถุ

ต่าง ๆ มีอารมณ์ต่าง ๆ ไม่เสวยโคจรวิสัยแห่งกันและกัน เกิดขึ้นโดยไม่

มีความสนใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการทำไว้ในใจไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่

เจือด้วยสัมปฏิจฉันนจิตเป็นต้นไม่ได้ เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังไม่ได้ มิใช่หรือ ?

วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกันและกันไม่ได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับอันชิดแห่งกัน

และกันไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ.

[๑๓๙๗] ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเปล่า เกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจักษุ และความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุ

วิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยจักษุ และความว่างเปล่า จึงเกิดจักษุ

วิญญาณขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและความว่างเปล่า จึงเกิด

จักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายจึงเกิดจักขุ-

วิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายจึง

เกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าว เพราะอาศัย

จักษุและความว่างเปล่า จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น

[๑๓๙๘] ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคต เกิดขึ้นได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ

เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณมีความผูกใจ และมโนวิญญาณปรารภ

ความว่างเปล่าเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ และจักขุวิญญาณปรารภ

ความว่างเปล่าเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภอดีต

และอนาคตเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ และจักขุวิญญาณปรารภ

อดีตและอนาคตเกิดขึ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนวิญญาณ มีความผูกใจ มโนวิญญาณ ปรารภ

ผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภ

ผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๓๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ เป็นผู้ไม่ถือ

นิมิต ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ เป็นผู้ไม่ถือ

นิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ๕ ก็มีความผูกใจ น่ะสิ.

ปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา จบ

อรรถกถาปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา

ว่าด้วย ปัญจวิญญาณมีความผูกใจ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ปัญจวิญญาณมีความผูกใจ. ในเรื่องนั้น ชื่อว่า

ความคิดคำนึงย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งกุศล และอกุศล. ก็ข้อนี้ พระศาสดา

ทรงตรัสไว้ว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วถือเอาโดยนิมิต... ไม่ถือเอาโดย

นิมิต ดังนี้เป็นต้น. ชนเหล่าใดถือเอาพระพุทธพจน์นั้นโดยไม่พิจารณา

จึงมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า วิญญาณ ๕

มีความผูกใจ คิดคำนึงได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้เช่นกับเรื่องก่อนนั่นแล.

อรรถกถาปัญจวิญญาณา สาโภคาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา

[๑๔๐๐] สกวาที บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้

ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยผัสสะ ๒ อย่าง ด้วยเวทนา ๒ อย่าง ด้วยสัญญา ๒ อย่าง ด้วยเจตนา

๒ อย่าง ด้วยจิต ๒ อย่าง ด้วยศรัทธา ๒ อย่าง ด้วยวิริยะ ๒ อย่าง ด้วย

สติ ๒ อย่าง ด้วยสมาธิ ๒ อย่าง ด้วยปัญญา ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๑] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยศีลอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยผัสสะอันเป็นโลกิยะ ด้วยเวทนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยสัญญาอันเป็น

โลกิยะ ด้วยเจตนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยจิตอันเป็นโลกิยะ ด้วยศรัทธาอัน

เป็นโลกิยะ ด้วยวิริยะอันเป็นโลกิยะ ด้วยสติอันเป็นโลกิยะ ด้วยสมาธิ

อันเป็นโลกิยะ ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๒] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยศีล ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ด้วยผัสสะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา

ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ประกอบด้วย

ศีลอันเป็นโลกิยะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคเป็นปุถุชน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๓] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาวาจาอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาวาจาอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะอันเป็นโลกิยะ

ฯลฯ ด้วยสัมมาสติอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นโลกิยะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๔] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาวาจาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาวาจาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาสังกัปปะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะ

ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสติทั้งที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมากัมมันตะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ? ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

[๑๔๐๕] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาอาชีวะ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาอาชีวะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาสังกัปปะทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิ

ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค

เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว มรรคจึงเกิดขึ้นหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลขาด มีศีลทะลุ ยังมรรคให้เกิดได้

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค

เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง น่ะสิ.

ทวีหิสีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา

ว่าด้วย ผู้ประกอบด้วยศีล ๒

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายนั่นแหละว่า บุคคล

ผู้มีศีลย่อมให้โลกุตตรมรรคเกิดด้วยโลกียศีลได้ พระบาลีว่า นรชน

ผู้มีศีล ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในศีล ดังนี้เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคล

นั้นจึงชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง คือ ด้วยโลกียศีลที่เกิดก่อน และ

โลกุตตรศีลที่ในขณะแห่งมรรค ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้มี

ความพร้อมเพรียงด้วยมรรค หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๒ อย่าง

เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าบุคคลนั้นประกอบด้วยศีล ๒ คือ โลกียศีล

และโลกุตตรศีลในขณะเดียวกันได้ไซร้ เขาผู้นั้นก็พึงเป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมอย่างละ ๒ มีผัสสะ ๒ เป็นต้นได้ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนัยอันมี

อย่างนั้นเป็นรูป จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาว่า เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งที่

เป็นโลกียะ และโลกุตตระ ปรวาทีจึงตอบรับรองหมายเอาโลกียศีลที่

สมาทานแล้วในกาลก่อน และโลกุตตรศีลอันมีสัมมาวาจาเป็นต้น ที่เกิด

ขึ้นในขณะแห่งมรรค. คำถามว่า เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว เป็น

ของปรวาที คำตอบรับรองของสกวาทีหมายเอาความดับ คือ การดับ

ในขณะ คือภังคขณะ ปรวาทีนั้น เมื่อกำหนดคำว่าศีลดับนั้นคล้ายกับมี

การล่วงศีลอีก จึงถามว่า บุคคลผู้ทุศีล เป็นต้น อนึ่งการตั้งลัทธิของ

ปรวาทีนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้มีศีลไม่ขาดมาก่อนเท่านั้น

ไม่ได้แสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น

ลัทธินั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้แล.

อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

สีลัง อเจตสิกันติกถา

[๑๔๐๗] สกวาที ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ

ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ

วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่เป็นเจตสิกหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๘] ส. ผัสสะเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ

วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

ส. ศีลเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๐๙] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลไม่น่าปรารถนา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ศีลมีผลน่าปรารถนา ก็ต้องไม่กล่าวว่าศีล

ไม่เป็นเจตสิก.

[๑๔๑๐] ส. ศรัทธามีผลน่าปรารถนา และศรัทธาเป็นเจตสิก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา และศีลเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา มีผลน่าปรารถนา และ

ปัญญา เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา และศีลเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๑] ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา แต่ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ส. ศรัทธามีผลน่าปรารถนา แต่ศรัทธาเป็นเจตนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผลน่าปรารถนา แต่ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิริยะ ฯลฯ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลน่าปรารถนา

แต่งปัญญา ไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๒] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่มีผล ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลมีผล มีวิบาก มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ศีลมีผล มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า ศีลไม่เป็น

เจตสิก ฯลฯ

[๑๔๑๓] ส. จักขายตนะ ไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ

โผฏฐัพพายตนะ ไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก และไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๔] ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ ไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ

โผฏฐัพพายตนะ ไม่เป็นเจตสิก แต่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๕] ส. สัมมาวาจา ไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจา ไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

ส. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๖] ส. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯลฯ

สัมมาสมาธิเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้น

เป็นคนทุศีล หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีลก็ไม่เป็นเจตสิกน่ะสิ.

สีลัง อเจตสิกันติกถา จบ

อรรถกถาสีลัง อเจตสิกันติกถา

ว่าด้วย ศีลไม่เป็นเจตสิก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ศีลไม่เป็นเจตสิก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่อศีลเกิดขึ้นแม้ดับไปแล้ว

บุคคลนั้นชื่อว่ามีการสั่งสมศีลอันมีสมาทานเป็นเหตุ เขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีล

เหตุใด เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ศีลจึงมิใช่เจตสิก ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของคำว่าทานมิใช่เจตสิกนั่นแหละ แม้

ปรวาทีให้ลัทธิตั้งไว้แล้วก็ไม่สามารตั้งไว้ได้เลย เพราะถือเอาพระสูตร

โดยมิได้พิจารณา ดังนี้แล.

อรรถกถาสีลัง อเจตสิกันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา

[๑๔๑๘] สกวาที ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น

โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๑๙] ส. ผัสสะ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีลเกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ศรัทธา สติ สมาธิ ฯลฯ

ปัญญา เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

ส. ศีล เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๐] ส. สัมมาวาจา ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาวาจาไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่เกิดคล้อยตาม

จิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาอาชีวะ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ ไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๑] ส. สัมมาทิฏฐิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เกิดคล้อยตามจิต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๒] ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา เกิดคล้อยตามจิต หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสมาธิ เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เกิดคล้อยตามจิต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลไม่เกิดคล้อยตามจิต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับแล้วนั้นเป็น

คนทุศีล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีล ก็ไม่เกิดคล้อยตามจิต น่ะสิ

สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา จบ

อรรถกถา สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา

ว่าด้วย ศีลไม่คล้อยตามจิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศีลไม่คล้อยตามจิต. ในเรื่องนั้น คำว่า ศีลไม่เกิด

คล้อยตามจิต นี้ เป็นคำต่างกันระหว่างภาษาเท่านั้น. คำที่เหลือเช่นกับ

เรื่องก่อนนั่นแหละ.

อรรถกถา สีลัง น จิตตานุปริวัตตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

สมาทานเหตุกกถา

[๑๔๒๔] สกวาที ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ ปัญญา ที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๕] ส. ศีลมีสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจริญได้ดุจเถาวัลย์ เจริญได้ดุจเถาย่างทราย เจริญ

ได้ดุจต้นไม้ เจริญได้ดุจหญ้า เจริญได้ดุจแพหญ้าปล้อง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๖] ส. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึก

พยาบาทวิตกอยู่ ตรึกวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลก็เจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่

เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลว

และประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน

นี้ ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะเหตุฉะนั้น ธรรมของ

สัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และ

อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึก

กัน มาพบกันได้

[๑๔๒๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูก

สร้างสวน ปลูกสร้างป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วย

ศีล ย่อมจะปลูกไปสู่สวรรค์ ดังนี้ เป็นสูตรมีจริงอยู่ มิใช่หรือ ?

๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๔๗.

๒. ส. สคา. ๑๕/๑๔๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ ก็เจริญได้

น่ะสิ

สมาทานเหตุกกถา จบ

อรรถกถาสมาทานเหตุกกถา

ว่าด้วย ศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายนั่นแหละว่า ศีลมี

การสมาทานเป็นเหตุย่อมเจริญ เพราะอาศัยพระบาลีว่า บุญย่อมเจริญ

ทุกเมื่อ เพราะถือเอาอรรถโดยไม่พิจารณาในเรื่องการสร้างอาราม ดังนี้

คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที

หมายเอาการสั่งสมศีลที่ไม่ประกอบด้วยจิต. คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อน

นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถา สมาทานเหตุกกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

วิญญัตติสีลันติกถา

[๑๔๒๘] สกวาที วิญญัตติเป็นศีล หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากอทินนาทาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากมุสาวาท หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การกราบไหว้เป็นศีล การลุกรับเป็นศีล การทำ

อัญชลีเป็นศีล สามีจิกรรมเป็นศีล การให้อาสนะเป็นศีล การให้ที่นอน

เป็นศีล การให้น้ำล้างเท้าเป็นศีล การให้รองเท้าเป็นศีล การนวดหลังใน

เวลาอาบน้ำเป็นศีล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเจตนาเครื่องเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญัตติเป็นศีล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นความทุศีล หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น วิญญัตติก็เป็นศีลน่ะสิ.

วิญญัตติสีลันติกถา จบ

อรรถกถาวิญญัตติ สีลันติกถา

ว่าด้วย วิญญัตติเป็นศีล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องวิญญัตติเป็นศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็น

ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ และสมิติยะทั้งหลายว่า วิญญัตติ คือการ

เคลื่อนไหวกายและวาจา ว่าเป็นศีล เพราะถือเอาเนื้อความพระสูตรว่า

กายวิญญัตติเป็นกายกรรม วจีวิญญัตติเป็นวจีกรรม ดังนี้ คำถามของสกวาที

ว่า วิญญัตติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยอรรถว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้น

ชื่อว่า ศีล รูปธรรมไม่ใช่ศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวคำว่า ปาณา

ติปาตา เวรมณี เป็นต้น. คำว่า การกราบไหว้เป็นศีล เป็นต้น ท่านกล่าว

เพื่อจะยกแสดงคำเปรียบเทียบว่า วิญญัติเป็นรูปฉันใด คำว่าศีลเป็นบัญญัติ

ฉันนั้นหามิได้ ก็แลวิญญัตตินั้นมิใช่เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเหตุใด เพราะ

เหตุนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ อีก.

ก็ลัทธิของปรวาทีนั้น ชื่อว่าตั้งอยู่มิได้ เพราะตั้งอยู่เฉพาะแล้วด้วยเลศนัย

ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถา วิญญัตติสีลันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

อวิญญัตติ ทุสสีลยันตติกถา

[๑๔๓๐] สกวาที อวิญญัตติเป็นความทุศีล หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นปาณาติบาต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นอทินนาทาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นกาเมสุมิจฉาจาร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นมุสาวาท หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลสมาทานบาปกรรมแล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป

ทั้งสองอย่าง เจริญได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุญและบาปทั้งสองอย่างเจริญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่

เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่

เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน

นี้ประการแรก ซึ่งไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ

จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีจริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ

อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึก

กัน มาพบกันได้

ส. เมื่อบุคคลสมาทานบาปกรรมแล้ว ถวายจีวรอยู่ ถวาย

บิณฑบาตอยู่ ถวายเสนาสนะอยู่ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารอยู่

กราบไหว้แก่ผู้ที่ควรกราบไหว้อยู่ ต้อนรับผู้ที่ควรต้อนรับอยู่ กระทำ

อัญชลีกรรมแก่ผู้ที่ควรอัญชลีกรรมอยู่ กระทำสามีจิกรรมแก่ที่ควร

สามีจิกรรมอยู่ ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะอยู่ ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง

อยู่ บุญและบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. และบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต

๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่

เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่

เลวและประณีต ที่ดำและขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ๔

ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดิน

นี้ประการแรก ซึ่งไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ

จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ

อกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว อันเป็นข้าศึก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

กัน มาพบกันได้

[๑๔๓๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่าอวิญญัตติ เป็นความทุศีล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปธรรมไว้แล้วมิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นผู้สมาทานบาปกรรมไว้แล้ว ด้วย

เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า อวิญญัตติ เป็นความทุศีล ดังนี้

อวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา จบ

อรรถกถาอวิญญัตติ ทุสสีลยันติกถา

ว่าด้วย อวิญญัตติเป็นความทุศีล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอวิญญัตติ คือการไม่แสดงกายวาจาให้รู้ ว่าเป็น

ความทุศีล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะ

ทั้งหลายว่า อวิญญัตติเป็นการทุศีล เพราะหมายเอาการสั่งสมสิ่งที่มิใช่

บุญอันไม่ประกอบด้วยจิต และหมายเอาความสมบูรณ์ขององค์ข้อบังคับ

ในปาณาติบาตเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาที หลายชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น

ปาณาติบาต เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าอวิญญัตตินั้นพึงเป็นการ

ทุศีลอย่างไรอย่างหนึ่งในปาณาติบาตเป็นต้นไซร้ ดังนี้. คำว่า บุคคล

สมาทานบาปกรรม อธิบายว่า ทำสมาทานบาปอย่างนี้ว่า เราจักฆ่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

บุคคลชื่อโน้น เราจักขโมยภัณฑะโน้น เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า

บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอา

ความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปในขณะให้ทาน. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง

หมายเอาการสั่งสมบาปที่ไม่ประกอบกับจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องบุญสำเร็จแต่การบริโภคนั่นแหละ. แม้การตั้ง

ลัทธิของปรวาทีนั้น ย่อมสำเร็จในส่วนเบื้องต้น คือ ในการสมาทานบาป

แต่ไม่ใช่ความเป็นผู้ทุศีลเพราะอวิญญัตติ ดังนี้แล.

อรรถกถา อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิโรธกถา ๒. รูปัง มัคโคติกถา ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิส-

สมัคคภาวนากถา ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปีติกถา ๕. ปัญจวิญญา-

ณาสาโภคาติกถา ๖. ทวีหิสีเลหิสมันนาคิตติกถา ๗. สีลัง อเจตสิกกันติกถา

๘. สีลัง นจิตตานุปริวัตติกถา ๙. สมาทานเหตุกถา ๑๐. วิญญัตติสีลันติ-

กถา ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา.

วรรคที่ ๑๐ จบ

ทุติยปัณณาสก์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

วรรคที่ ๑๑

ติสโสปิ อนุสยกถา

[๑๔๓๒] สกวาที อนุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นอัพยากฤตคือวิบาก เป็นอัพยากฤตคือกิริยา เป็น

รูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๓] ส. กามราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์

กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์

เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๔] ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอกุศล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๕] ส. มานานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานานุสัย เป็นกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๖] ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ

สัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ

สัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๗] ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์

วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์

วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๓๘] ส. ภวราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น

อัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น

อกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

[๑๔๓๙] ส. อวิชชานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่

พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศล มาพบกัน หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ

ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป

อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลมาพบกัน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ

[๑๔๔๑] ส. อนุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น

โผฏฐัพพายตนะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์

ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์

เป็นสเหตุกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย

ภวราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอเหตุกะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นบุคคลและเป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่

พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ

ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต เป็น

ไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ

[๑๔๔๓] ส. อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ไม่ประกอบกับจิต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏ-

ฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์

กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์

สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๔] ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๕] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น

จิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วย

จิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุต

ด้วยจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๖] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น

จิตตวิปปยุต ส่วนกามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก

ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๗] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์

สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต

ส่วนอวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก

ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๔๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป

อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต

เป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ติสโสปิ อนุสยกถา จบ

อรรถกถาติสโสปิ อนุสยกถา

ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรม ๓ อย่าง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมแม้ทั้ง ๓ คือ เป็นอัพยากตะ เป็น

อเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

ลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะและสมิติยะทั้งหลายว่า ปุถุชนเมื่อจิตที่เป็น

กุศล และอัพยากตะซึ่งกำลังเป็นไป พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย อนึ่ง

เหตุอันใดพึงมีในขณะนั้น อนุสัยทั้งหลายไม่เป็นกับด้วยเหตุอันนั้นด้วย

ไม่สัมปยุตกับจิตดวงนั้นด้วย เหตุใด เพราะเหตุนั้น อนุสัยเหล่านั้น จึง

เป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ เป็นจิตตวิปปยุต ดังนี้ คำถามของสกวาที

ในกถาแม้ทั้ง ๓ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำที่เหลือในที่นี้ อาจรู้ได้ตามแนวแห่งพระบาลีนั่นแหละ เพราะเป็นนัย

ที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ให้พิสดารแล้ว ดังนี้แล.

อรรถกถาติสโสปิอนุสยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

ญาณกถา

[๑๔๔๙] สกวาที ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ

วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจาก

ราคะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถึงความไม่รู้จะปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่เป็นญาณ

วิปปยุตเป็นไปอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว

ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๐] ส. เมื่อราคะปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากราคะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว พึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต

จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อโทสะปราศไปแล้ว ฯลฯ เมื่อโมหะปราศไปแล้ว

ฯลฯ เมื่อกิเลสปราศไปแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้หมดกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปด้วย ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต

จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว ถึงจิตที่เป็นญาณวิปปยุต

จะเป็นไปอยู่ ก็พึงกล่าวว่า ผู้มีความรู้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า ผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต ชื่อว่าผู้มี

ความรู้ ด้วยความรู้ที่ดับแล้ว ที่ปราศไปแล้ว ที่สงบระงับแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ แม้

ปราศจากไปแล้วด้วยมรรคญาณ ครั้นเมื่อจิตที่ไม่ประกอบด้วยญาณกำลัง

เป็นไป จักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นไปอีก มรรคจิตนั้นก็มิใช่กำลังเป็นไป

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ไม่ควรกล่าวว่า มีญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

จึงกล่าวคำว่า เมื่อราคะปราศไปแล้ว เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า

เมื่ออัญญาณ คือ โมหะ ปราศจากไปแล้ว บัญญัติว่า ผู้มีญาณ ดังนี้

ไม่พึงมีไซร้ ครั้นเมื่อราคะเป็นต้นปราศจากไปแล้ว แม้บัญญัติว่ามีราคะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

เป็นต้นปราศจากไปแล้วก็ไม่พึงมี ด้วยเหตุนั้น บุคคลผู้ไม่มีความโกรธ

พึงเป็นผู้มีความโกรธในบัญญัติว่าด้วยบุคคลนั้นพึงมีหรือ. ปรวาทีเมื่อไม่

เห็นควรในความเป็นผู้มีราคะเป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น ซึ่งมีราคะเป็นต้น

ที่ปราศจากไปแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. ในที่สุดปัญหา ปรวาทีถามปัญหาที่

ควรถามว่า ชื่อว่าผู้มีความรู้ ด้วยความรู้ที่เป็นอดีต เป็นต้น เพราะฉะนั้น

สกวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา

[๑๔๕๑] ปรวาที ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น

โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๒] ส. ญาณ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์แต่เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์แต่เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต ส่วน

ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง

เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก

ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ พึง

กล่าวว่า ผู้มีญาณ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ส. พระอรหันต์ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักจุวิญญาณ พึง

กล่าวว่า ผู้มีปัญญา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.

ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

อรรถกถาญาณัง จิตตวิปปยุตตันติกถา

ว่าด้วย ญาณเป็นจิตตวิปปยุต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณที่ไม่ประกอบด้วยจิต คือไม่ประกอบกับจิต.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย

ว่า พระอรหันต์ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้น คือหมายความ

ว่าจักขุวิญญาณจิตเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านเรียกว่า ผู้มีญาณ เพราะหมาย

เอามัคคญาณที่ท่านได้แล้ว แต่ว่าญาณของพระอรหันต์นั้นไม่สัมปยุตด้วย

จักขุวิญญาณจิตนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ญาณจึงไม่ประกอบกับจิต

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย

คำว่า ถ้าว่า ญาณไม่ประกอบกับจิตไซร้ ญาณของพระอรหันต์นั้นก็จะ

พึงเป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมีรูปเป็นต้นที่ไม่ประกอบกับจิต ดังนี้.

ปรวาทีตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ก็ในปริโยสาน ถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์ผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุ-

วิญญาณ หมายความว่าจักขุวิญญาณกำลังเป็นไป พึงกล่าวว่า ผู้มีปัญญา

หรือ ปรวาทีย่อมปรารถนาซึ่งคำบัญญัตินั้นด้วยสามารถแห่งการได้

เฉพาะแล้วซึ่งปัญญา เพราะฉะนั้นจึงตอบรับรอง.

อรรถกถาญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

อิทังทุกขันติกถา

[๑๔๕๔] สกวาที เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็

เป็นไป หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้สมุทัย ญาณว่า นี้สมุทัย ก็เป็น

ไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้นิโรธ ญาณว่า นี้นิโรธ ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้มรรค ญาณว่า นี้มรรค ก็เป็นไป

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

[๑๔๕๕] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้สมุทัย แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

สมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้นิโรธ ฯลฯ นี้มรรค แต่ญาณไม่

เป็นไปว่า นี้นิโรธ ฯลฯ นี้มรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๖] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง ญาณว่า รูปไม่เที่ยง

ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา สังขาร ฯลฯ

วิญญาณ ไม่เที่ยง ญาณว่า วิญญาณไม่เที่ยงก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๗] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปเป็นอนัตตา ญาณว่า รูปเป็น

อนัตตา ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ ญาณว่า นี้ทุกข์ ก็เป็นไป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร

ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ญาณว่า วิญญาณ เป็นอนัตตา ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๘] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง แต่ญาณไม่เป็นไปว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

รูปไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่านี้ทุกข์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร

ฯลฯ วิญญาณ ไม่เที่ยง แต่ญาณไม่เป็นไปว่า วิญญาณไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า รูปเป็นอนัตตา แต่ญาณไม่เป็นไป

ว่า รูปเป็นอนัตตา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร

ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา แต่ญาณไม่เป็นไปว่า วิญญาณ เป็นอนัตตา

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อกล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ แต่ญาณไม่เป็นไปว่า นี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๕๙] ส. เมื่อกล่าววาจาว่า อิท ทุกฺข (นี้ทุกข์) ญาณว่า

อิท ทุกฺข ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณว่า อิ ญาณว่า ท ญาณว่า ทุ และญาณว่า ข

ก็เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อิทังทุกขันติกถา จบ

อรรถกถาอิทัง ทุกขันติกถา

พรรณนากถาว่าด้วย การเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเปล่งวาจานี้ทุกข์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค

เกิด พระโยคาวจรย่อมเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์ ฉันใด ญาณว่านี้ทุกข์ย่อม

เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้กล่าววาจาว่า นี้ทุกข์ฉันนั้น ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองของปรวาทีหมายเอาการ

กล่าววาจาเช่นนั้น และความเป็นไปแห่งญาณในขณะแห่งมรรค. อนึ่ง

ปรวาทีนั้นปรารถนาว่า ปุถุชนย่อมกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ

ที่เหลือ แต่ว่าญาณเช่นนั้นย่อมไม่เป็นไปแก่เขา เหตุใด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงปฏิเสธในปัญหามี สมุทัย เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

คำว่า เมื่อกล่าววาจาว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวด้วย

สามารถแห่งการแสดงปริยายแห่งทุกข์. ก็เมื่อปรวาทีไม่เห็นโวหารเช่นนั้น

ในลัทธิของตน จึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า ญาณว่า อิ ญาณว่า ท เป็นต้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดง

คำว่า ถ้าว่าญาณในทุกข์ของปุถุชนย่อมเป็นไปได้ไซร้ ก็ย่อมจะเป็นไป

ด้วยญาณ ๔ โดยลำดับในอักษร อิ. อักษร ท อักษร ทุ. อักษร ข (อิท ทุกฺข)

แต่ปรวาทีไม่ปรารถนาเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธ.

อรรถกถาอิทังทุกขันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

อิทธิพลกถา

[๑๔๖๐] สกวาที ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอด

กัลป์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อายุนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ คตินั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ การ

ได้อัตภาพนั้น สำเร็จด้วยฤทธิ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่

เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ที่ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ พึงตั้งอยู่ตลอด ๓ กัลป์ พึง

ตั้งอยู่ตลอด ๔ กัลป์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่ หรือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

ว่าตั้งอยู่ในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.

ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมีอยู่.

ส. หากว่า พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ยังมี

อยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

ดังนี้ ฯลฯ

ป. พึงตั้งอยู่ในเมื่อชีวิต คือชีวิตส่วนที่เหลือ ไม่มีอยู่.

ส. ผู้ที่ตายแล้ว พึงตั้งอยู่ ผู้ที่กระทำกาละแล้ว พึงตั้งอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๑] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะ เกิด

ขึ้นแล้ว อย่าดับไป ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนาเกิดขึ้น

แล้ว ฯลฯ สัญญาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จึงเกิดขึ้นแล้ว

ศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว วิริยะเกิดขึ้นแล้ว สติเกิดขึ้นแล้ว สมาธิเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

ปัญญาเกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๒] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า รูปจงเป็นของ

เที่ยง ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า เวทนา ฯลฯ

สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๓] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้เกิดเลย ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความเจ็บ

เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายที่มีความตายเป็นธรรมดา

อย่าได้ตายเลย ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยฤทธิ์ พึงตั้งอยู่

ตลอดกัลป์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

อิทธิบาท ๔ อันผู้หนึ่งผู้ใดอบรม ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็น

ที่พึ่งแน่วแน่ ช่ำชอง คล่องแคล่วดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อหวังอยู่ พึงตั้งอยู่ได้

ตลอดกัลป์หรือตลอดกัลป์ส่วนที่เหลือ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ก็พึงตั้งอยู่

ตลอดกัลป์ น่ะสิ.

[๑๔๖๕] ส. ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๔ อย่าง ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม

มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ธรรม

๔ อย่าง เป็นไฉน ? คือ (๑) ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้

ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหม

ก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ (๒) ผู้มีความเจ็บเป็น

ธรรมดา อย่าเจ็บเลย ฯลฯ (๓) ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลย

ฯลฯ (๔) กรรมทั้งหลายนั้นใด เป็นบาปข้องอยู่ในสังกิเลส เป็นเหตุให้

เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อชาติ ชรา

มรณะ ต่อไป อันบุคคลทำแม้ในกาลก่อน วิบากแห่งกรรมทั้งหลายนี้ อย่า

ได้เกิดเลย ดังนี้ ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เทวดาก็ตาม

๑. ขุ. อุ. ๒๕/๑๒๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็นผู้รับรองได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่างนี้แล ไม่มีใคร ๆ สมณะก็ตาม พราหมณ์

ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ใคร ๆ ในโลกก็ตาม จะเป็น

ผู้รับรองได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง

แห่งฤทธิ์ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์ น่ะสิ.

อิทธิพลกถา จบ

อรรถกถาอิทธิพลกถา

ว่าด้วย กำลังแห่งฤทธิ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกำลังแห่งฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ประกอบด้วยกำลัง

แห่งฤทธิ์พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ เพราะถือเอาเนื้อความแห่งอานิสงส์

ของอิทธิบาทภาวนาโดยไม่พิจารณา คำถามของสกวาทีว่า ผู้ประกอบ

ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น.

ในปัญหานั้น ชื่อว่ากัลป์มี ๓ อย่าง คือ มหากัลป์ กัลปเอกเทส

อายุกัลป์. จริงอยู่ มหากัลป์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่ากัลป์

ซึ่งมาในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัลป์ ๔ เหล่านี้

ดังนี้. ในพระบาลีว่า กัลป์อันเป็นการประมาณอายุเทพชั้นพรหมทั้งหลาย

๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๑๘๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

นี้ ท่านเรียกว่ากัลปเอกเทส. พระบาลีว่า ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์

ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัลป์ นี้ ท่านเรียกว่า อายุกัลป์ อธิบายว่า

การดำรงอยู่แห่งอายุอันสมควรแก่อายุ ชื่อว่า การกำหนดอายุด้วยอำนาจ

ผลแห่งกรรม หรือด้วยการนับปี. ในปัญหาเหล่านั้น สกวาทีย่อมถาม

หมายเอามหากัลป์ ปรวาทีก็ตอบรับรอง. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะ

ปรวาทีว่า อายุนั้นสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า

ผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งฤทธิ์พึงเป็นอยู่ตลอดมหากัลป์หนึ่ง หรือตลอด

ส่วนหนึ่งแห่งมหากัลป์ซึ่งเกินกว่าอายุกัลป์ที่ท่านกำหนดไว้อย่างนี้ว่า

ผู้ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็พึงเป็นผู้มีอายุอยู่ตลอดร้อยปี หรือเกินกว่า

เล็กน้อย ดังนี้ ก็อายุของผู้นั้น พึงสำเร็จด้วยฤทธิ์หรือ ? ดังนี้. ปรวาที

ตอบปฏิเสธ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ชื่อว่าอินทรีย์

คือชีวิตที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ย่อมไม่มี มีแต่การเกิดขึ้นด้วยกรรมเท่านั้น

มีคำถามว่า ก็ในข้อนี้มีอะไรแปลกจากผู้มีฤทธิ์ เพราะแม้ผู้ไม่มีฤทธิ์ก็

พึงดำรงอยู่ตลอดอายุกัลป์ มิใช่หรือ? ตอบว่า พึงทราบข้อแปลกกันแห่ง

ชนเหล่านั้นดังนี้ ผู้มีฤทธิ์นั้นสามารถห้ามอันตรายิกธรรมทั้งหลายมิให้

เกิดเป็นไปแก่ชีวิตตลอดชีวิต ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ และย่อมอาจเพื่อจะห้าม

อกาลมรณะ คือการตายในเวลาอันไม่สมควรที่จะมี ในระหว่าง แต่กำลัง

เช่นนี้ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฤทธิ์ ข้อนี้ เป็นการแตกต่างกันระหว่างผู้มีฤทธิ์กับ

ผู้ไม่มีฤทธิ์เหล่านั้น. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์ที่เป็นอดีต... อนาคต นี้

ความว่า สกวาทีย่อมท้วงเพราะการตอบรับรองของปรวาที หมายเอาว่า

พึงตั้งอยู่ตลอดกัลป์โดยไม่แปลกกัน. คำว่า พึงตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์

เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ผิว่าผู้มีฤทธิ์ย่อมสามารถ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

ก้าวล่วงการกำหนดชีวิตได้ไซร้ ก็ไม่อาจก้าวล่วงการกำหนดชีวิตเพียง

กัลป์เดียวเท่านั้น เขาพึงก้าวล่วงแล้วดำรงอยู่ตลอดกัลป์แม้มิใช่น้อยเลย.

คำว่า บุคคลพึงได้เพื่อประคองไว้ด้วยฤทธิ์ว่า ผัสสะเกิดขึ้นแล้ว

อย่าดับไป ดังนี้หรือ ท่านสกวาทีกล่าว เพื่อแสดงว่า สิ่งทั้งปวงไม่พึง

ได้ด้วยฤทธิ์ แม้สิ่งที่เหนืออำนาจฤทธิ์ก็ยังมีอยู่ ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้

มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอิทธิพลกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

สมาธกถา

[๑๔๖๖] สกวาที จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ

[๑๔๖๗] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้า

สมาบัติหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อม

เพรียงด้วยฆานวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

ผู้พร้อมเพรียงด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ฯลฯ

ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคต

ด้วยโทสะ ฯลฯ พร้อมเพรียงด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง

ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ชื่อว่า ผู้เข้าสมาบัติ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๘] ส. จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสืบต่อแห่งอกุศลจิต เป็นสมาธิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตตสันตติที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วย

โทสะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะเป็นสมาธิ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส นิครณฐ์

ทั้งหลาย เรานี่แหละพอที่จะไม่หวั่นไหวด้วยกาย ไม่กล่าววาจา เป็นผู้

เสวยสุขโดยส่วนเดียว อยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น จิตตสันตติ ก็เป็นสมาธิ น่ะสิ.

สมาธิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรรถกถาสมาธิกถา

ว่าด้วยสมาธิ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาธิ. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ

นิกายสัพพัตถิกวาทะและอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ความสืบต่อแห่งจิต

เป็นสมาธิ เพราะอาศัยพุทธพจน์ว่า พระตถาคตย่อมอาจเพื่ออยู่เป็นสุข

ในคำว่า เราเป็นผู้เสวยพร้อมเฉพาะซึ่งความสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๗ คืน

๗ วัน ดังนี้เป็นต้น โดยไม่ถือเอาคำว่า เอกัคคตาเจตสิกแม้เกิดขึ้นแล้วใน

ขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าการตั้งใจ ดังนี้ คำถาม

ของสกวาทีว่า ความสืบต่อแห่งจิต เป็นต้น หมายชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า

ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีต เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า การ

สืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิไซร้ ชื่อว่าความสืบต่อแห่งจิตเป็นอดีตบ้าง ที่

เป็นอนาคตบ้างมีอยู่ ส่วนการสืบต่อแห่งจิตที่เป็นปัจจุบันนั่นแหละไม่มี

ธรรมดาว่าการสืบต่อแห่งจิตนั้นย่อมเป็นของมีอยู่ ความสืบต่อแห่งจิต

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นสมาธิตามลัทธิของท่านหรือ ? ปรวาทีนั้น

เมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า อดีตก็ดับไปแล้ว เป็นต้น

สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า จิตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นแหละทำอยู่ซึ่งกิจ

ในการสืบต่อแห่งจิต จิตที่เป็นอดีตและอนาคตชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเป็น

จิตที่ดับไปแล้ว และเพราะเป็นจิตที่ยังมิได้เกิดขึ้น ฉะนั้นจิตนั้นจะชื่อว่า

เป็นสมาธิได้อย่างไร ? คำถามว่า สมาธิเป็นไปขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง

เป็นของปรวาที. ต่อจากนั้นก็เป็นคำตอบรับรองของสกวาทีในลัทธิของตน

โดยหมายเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สมาธิคือเอกัคคตา ที่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

สัมปยุตด้วยกุศลจิตอันเกิดขึ้นแล้ว ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงเจริญสมาธินั้น ดังนี้. คำว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วย

จักขุวิญญาณ เป็นต้น ปรวาทีกล่าวโดยการลวง เพราะถือเอาเหตุสักว่า

คำว่า ผู้มีขณะแห่งจิตดวงเดียว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละสกวาทีจึงตอบ

ปฏิเสธ. พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...

มิใช่หรือ ข้อนี้ย่อมสำเร็จซึ่งความที่จิตนั้นเป็นสภาพไม่ปะปนแก่สมาธิ

ที่กำลังเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเกิดก่อนและเกิดหลัง แต่ไม่สำเร็จ

ซึ่งความสืบต่อแห่งจิตว่าเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการพิสูจน์ว่า

การสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ ฉะนี้แล.

อรรถกถาสมาธิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

ธัมมัฏฐิตตากถา

[๑๔๗๐] สกวาที ธรรมฐิติ คือความตั้งอยู่แห่งธรรม เป็นภาวะที่

สำเร็จแล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๑] ส. ความตั้งอยู่ของรูป เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่

สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของรูปนั้น ก็เป็นภาวะที่

สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่ของเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสัญญา

ฯลฯ ความตั้งอยู่ของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ความตั้งอยู่ของวิญญาณ เป็น

ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น ก็เป็น

ภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่ของวิญญาณนั้น เป็นภาวะ

ที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความตั้งอยู่นั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมัฏฐิตตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา

ว่าด้วย ความตั้งอยู่แห่งธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความตั้งอยู่แห่งธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่

แห่งธรรมกล่าวคือปฏิจจสมุปบาทหนึ่ง มีอยู่ ธรรมนั้นเป็นของสำเร็จแล้ว

เพราะอาศัยบาลีว่า ธาตุนั้นดำรงอยู่แล้วเทียว ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

จึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความตั้งอยู่แห่งธรรมฐิตินั้น ก็เป็นภาวะสำเร็จ

แล้วหรือ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า ชื่อว่าความตั้งอยู่อันอื่นสำเร็จแล้วแก่

ธรรมทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ไซร้ ความตั้งอยู่อันอื่น

สำเร็จแล้ว ก็ความตั้งอยู่แม้นั้น ย่อมปรากฏตามลัทธิของท่านหรือ ดังนี้

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีลัทธิอย่างนั้น. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ

รับรอง หมายเอาความเป็นอนันตรปัจจัย และความเป็นอัญญมัญญปัจจัย.

คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง

นั่นแล.

อรรถกถาธัมมัฏฐิตตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

อนิจจตากถา

[๑๔๗๒] สกวาที อนิจจตา คือความไม่เที่ยง เป็นภาวะที่สำเร็จ

แล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงแห่งอนิจจตานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จ

แล้วหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่เที่ยงแห่งอนิจจตานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จ

แล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงนั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์

ไม่มีความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทานิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๓] ส. ชรา เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความชราแห่งชรานั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความชราแห่งชรานั้น เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความชรานั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มี

ความขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

[๑๔๗๔] ส. มรณะ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะของมรณะนั้น ก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรณะของมรณะนั้นก็เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะนั้น ๆ แล ไม่มีการทำที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีความ

ขาดตอนแห่งวัฏฏะ ไม่มีอนุปาทาปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๕] ส. รูป เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของรูป

ก็มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่เที่ยงเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยง

ของความไม่เที่ยง ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราของรูปก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราของชราก็

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความอันตรธาน

ของรูปก็มีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ

อันตรธานของมรณะนั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกลาวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็น

ภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของวิญญาณมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนิจจตาเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงของ

อนิจจตาก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราแห่ง

วิญญาณก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรา เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความชราแห่งชรา

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณ เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ

อันตรธานแห่งวิญญาณนั้น ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรณะเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว แต่ความแตก ความ

อันตรธานแห่งมรณะ ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อนิจจตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

อรรถกถาอนิจจตากถา

ว่าด้วย ความไม่เที่ยง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความไม่เที่ยง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้ความไม่เที่ยงแห่งรูป

เป็นต้นที่ไม่เที่ยง ก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือหมายความว่าเกิดขึ้นแล้ว

ดุจรูปเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความ

ไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว หรือ ?

เพื่อท้วงว่า ความไม่เที่ยงเป็นของสำเร็จแล้วราวกะรูปเป็นต้น ตามลัทธิ

ของท่านมีอยู่ไซร้ อันความไม่เที่ยงที่สำเร็จแล้วอย่างอื่นก็พึงมีแก่ความ

ไม่เที่ยงแม้นั้น ดังนี้. ปรวาทีนั้นปฏิเสธโดยความไม่มีความไม่เที่ยง ๒

อย่างรวมกัน แต่ตอบรับรองเพราะความไม่เที่ยงนั้นย่อมไม่เป็นความ

ไม่เที่ยงอีก หมายความว่าความไม่เที่ยงนั้นย่อมอันตรธานไปกับความ

ไม่เที่ยงนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยแก่ปรวาที

นั้นจึงยกโทษ คือการไม่เข้าไปตัดวัฏฏะด้วยสามารถแห่งธรรมอื่น ๆ

ว่าความไม่เที่ยงที่ ๒ ท่านไม่รับรองตามลัทธิของท่านโดยความเป็นภาวะ

ไม่เที่ยงนั้น ๆ บ้าง โดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงอื่นจากนั้นบ้าง จึงกล่าว

คำว่า ความไม่เที่ยงนั้น ๆ แลไม่มีการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เป็นต้น.

คำว่า ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าว

ด้วยความสามารถแห่งการประกอบเนือง ๆ ซึ่งการจำแนกความไม่เที่ยง

เพราะขึ้นชื่อว่าความไม่เที่ยงอื่นจากชราและมรณะแห่งธรรมที่เกิดขึ้น

แล้วย่อมไม่มี. บัณฑิตพึงทราบคำตอบรับรองและคำปฏิเสธของปรวาที

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ในปัญหาแม้นั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั่นแหละ. คำว่า รูปเป็น

ภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อเทียบเคียง

ความไม่เที่ยงแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นกับความไม่เที่ยงเหล่านั้น.

ในข้อนั้น ปรวาทีเมื่อสำคัญว่า ความไม่เที่ยง ความชรา และมรณะแห่ง

ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ไม่มี

อยู่แก่ธรรมทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นที่สำเร็จแล้ว ฉันนั้น จึงตอบ

ปฏิเสธโดยส่วนเดียว ดังนี้.

อรรกกถาอนิจจตากถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ติสโสปิอนุสยกถา ๒. ญาณกถา ๓. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา

๔. อิทังทุกขันติกถา ๕. อิทธิพลกถา ๖. สมาธิกถา ๗. ธัมมัฏฐตตากถา

๘. อนิจจตากถา.

วรรคที่ ๑๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

วรรคที่ ๑๒

สังวโรกัมมันติกถา

[๑๔๗๖] สกวาที ความสำรวมเป็นกรรม หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน

ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในกายินทรีย์

เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน

ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน

ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในกายินทรีย์

เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๗] ส. ความไม่สำรวม เป็นกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม

ในฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม

ในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม

ในฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมใน

ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมใน

กายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี

เป็นกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็น

ผู้ถือนิมิต ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ผู้ถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือนิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี

ก็เป็นกรรม น่ะสิ.

สังวโรกัมมันติกถา จบ

อรรถกถาสังวโร กัมมันติกถา

ว่าด้วย ความสำรวมเป็นกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสำรวมเป็นกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ความสำรวมก็ดี

ความไม่สำรวมก็ดี เป็นกรรม เพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักขุแล้วเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต... ไม่ถือเอา

โดยนิมิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ความสำรวมในจักขุนทรีย์

เป็นจักขุกรรมหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า การกล่าวคำอันใดที่

สกวาทีกล่าวไว้ในลัทธิของตนว่า เจตนาเป็นกรรม การกล่าวนั้นเป็น

ไปในกายวจีและมโนทวาร ย่อมได้ชื่อว่าเป็นกายกรรมเป็นต้น ฉันใด

ถ้าความสำรวมเป็นกรรมตามลัทธิของท่านไซร้ ความสำรวมแม้นั้น

เมื่อเป็นไปในจักขุนทรีย์เป็นต้น ก็พึงได้ชื่อว่า จักขุกรรมเป็นต้น ดังนี้.

ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่เห็นบทพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธในทวารทั้ง ๔

และย่อมปฏิเสธโดยหมายเอาประสาทกายในกายทวารที่ ๕ แต่ตอบรับรอง

หมายเอาวิญญัตติกาย. จริงอยู่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาประสาทกาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

บ้าง วิญญัตติกายบ้าง ว่าเป็นกายินทรีย์นั่นแหละ. ย่อมตอบปฏิเสธ

หมายเอาวิปากทวาร แม้เป็นมโนทวาร. ย่อมตอบรับรอง หมายเอา

กรรมทวาร. แม้ในความไม่สำรวมก็นัยนี้.

พระสูตรว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นต้น

นี้ย่อมแสดงเฉพาะความสำรวมกับความไม่สำรวมในทวารทั้งหลายเท่านั้น

ไมใช่แสดงซึ่งความที่ความสำรวมและความไม่สำรวมเป็นกรรม เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรที่ยกมานั้น จึงไม่ใช่ข้ออ้างในที่นี้ ดังนี้แล.

อรรถกถาสังวโรกัมมันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

กัมมกถา

[๑๔๗๙] สกวาที กรรมทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ก็มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ก็มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายกามาพจร ก็มี

วิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายรูปาวจร ฝ่าย

อรูปาวจร ฝ่ายโลกุตตระ ก็มีวิบาก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ก็มี

วิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายรูปาวจร ฝ่าย

อรูปาวจร ก็มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๘๐] ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ไม่มีวิบากก็

ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก

[๑๔๘๑] ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ไม่มี วิบาก ก็

ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก

[๑๔๘๒] ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ฝ่าย

รูปาวจร ฝ่ายอรูปาวจร ฝ่ายโลกุตตระ ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ส. หากว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายโลกุตตระ

ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก

[๑๔๘๓] ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ฝ่าย

รูปาวจร ฝ่ายอรูปาวจร ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายอรูปาวจร

ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก

[๑๔๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กรรมทั้งปวงมีวิบาก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่กล่าวว่า กรรมทั้งหลายที่ทำด้วยความจงใจ อันบุคคลกระทำแล้ว

สั่งสมแล้ว หรือในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพสืบ ๆ ไป ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น กรรมทั้งปวงก็มีวิบาก น่ะสิ.

กัมมกถา จบ

อรรถกถากัมมกถา

ว่าด้วย กรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า กรรมทั้งปวงเป็นสวิบาก คือ

๑. อง. ทสก. ๒๔/๑๙๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

มีวิบาก เพราะอาศัยบทพระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าว

ความสิ้นไปแห่งวิบากเพราะไม่เสวยกรรมอันประกอบด้วยสัญเจตนา

คือความจงใจ อันตนทำแล้วสั่งสมแล้ว เป็นต้น คำถามของสกวาทีว่า

กรรมทั้งปวง เป็นต้น เพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า เจตนา

พระศาสดาทรงตรัสเรียกว่า กรรม โดยไม่แปลกกันในคำว่า ภิกษุ

ทั้งหลายเราเรียกเจตนาว่าเป็นกรรม ดังนี้ เจตนาแม้นั้นเป็นกุศลก็ดี เป็น

อกุศลก็ดีมีวิบาก ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากตะไม่มีวิบาก ดังนี้ คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า เจตนาทั้งปวง อีก ปรวาที

ตอบปฏิเสธ หมายเอาเจตนาที่เป็นอัพยากตะ และพึงทราบการตอบ

รับรองโดยหมายเอาเจตนาที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล. คำว่า เจตนาที่

เป็นวิบากอัพยากตะ เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อแสดงเจตนาที่มีวิบาก

และไม่มีวิบากโดยย่อ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

พระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งวิบาก

เป็นต้น ที่ปรวาทีนำมากล่าวนั้นหมายถึงการเสวยวิบากในภพทั้งหลาย

มีภพอันสัตว์พึงเห็นได้เป็นต้น ได้แก่ ภพปัจจุบัน ในเมื่อปัจจุบันยังมีอยู่ เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนั้น จึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถากัมมกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

สัทโทวิปาโกติกถา

[๑๔๘๕] สกวาที เสียงเป็นวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลที่บุคคลเสวย

เป็นทุกข์ เป็นผลที่บุคคลเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ

สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วย

จิต มีอารมณ์ มีความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ

ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เสียง ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ไม่เป็นผลที่

บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ

ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เสียงเป็น

วิบาก

[๑๔๘๖] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข

ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เสียงเป็นวิบาก เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ

มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๘๗] ส. เสียงเป็นวิบาก. แต่เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็น

สุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย

เป็นสุข ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เสียงเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตนั้น เป็นผู้

มีเสียงดุจเสียงพรหม กล่าวคำด้วยน้ำเสียงอันไพเราะดุจเสียงนกการะเวก

เพราะกรรมนั้นอันได้ทำไว้แล้ว ได้สะสมแล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรม

ไพบูลย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น เสียงก็เป็นวิบาก น่ะสิ.

สัทโทวิปาโกติกถา จบ

๑. ที. ปา. ๑๑/๑๖๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

อรรถกถาสัทโท วิปาโกติกถา

ว่าด้วย เสียงเป็นวิบาก

ชื่อว่า เรื่องเสียงเป็นวิบาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เสียงเป็นวิบาก เพราะไม่

พิจารณาความถือเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้น

เป็นผู้มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหม... เพราะทำกรรม อันได้ทำแล้ว ได้

สะสมไว้แล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรมไพบูลย์ ดังนี้ คำถามของสกวาที

กล่าวเพื่อแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า อรูปธรรมทั้งหลาย คือนามขันธ์ ๔ มี

กรรมเป็นสมุฏฐาน ย่อมได้ชื่อว่า วิบาก แต่โวหารนี้ไม่มีในรูปธรรม

ทั้งหลาย. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เสียงเป็นผลที่บุคคล

เสวยเป็นสุข เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่าขึ้นชื่อว่าวิบากแล้วย่อม

เป็นอย่างนี้.

พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้นเป็นผู้

มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหมเพราะกรรมนั้นได้ทำไว้แล้ว เป็นต้น ที่ปรวาที

นำมากล่าวนั้นก็เพื่อจะแสดงให้ทราบถึงการได้ลักษณะ คือภาวะที่ดี

อันที่จริง พระมหาบุรุษแม้เป็นผู้มีบริวารที่ดีก็เพราะทำกรรมไว้ใน

กาลก่อน และทั้งบริวารนั้นก็ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้นพระสูตรนี้ จึงมิใช่

ข้อพิสูจน์ว่าเสียงเป็นวิบาก ดังนี้แล.

อรรถกถาสัทโทวิปาโกติกถา จบ

๑. คำว่าวิปากะ ได้แก่วิปากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ วิบากนี้เรียกว่าผลด้วย แต่คำว่าผลมี ๒ คือ มุขยผล และ

สามัญญผล สำหรับสามัญญผล ได้แก่ กัมมชรูป คือรูปที่เกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน ไม่จัดเป็นวิบาก.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

สฬายตนกถา

[๑๔๘๙] สกวาที จักขายตนะเป็นวิบาก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลอัน

บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะ ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่

มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จักขายตนะไม่เป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข

ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

จักขายตนะเป็นวิบาก ฯลฯ

ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข

ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะ เป็นวิบาก จักขายตนะเป็นผลที่บุคคล

เสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะเป็นวิบาก แต่จักขายตนะไม่เป็นผลที่

บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

เป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ

ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ

[๑๔๙๐] ส. กายายตนะเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายายตนะ เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มี

อารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายายตนะ ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มี

อารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายายตนะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข

ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

กายายตนะเป็นวิบาก ฯลฯ

ส. ผัสสะ เป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข

ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายายตนะ เป็นวิบาก กายายตนะ เป็นผลที่บุคคล

เสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายายตนะเป็นวิบาก แต่กายายตนะไม่เป็นผลที่

บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย

เป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๙๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สฬายตนะเป็นวิบาก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะได้ทำกรรมไว้ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะได้ทำกรรมไว้ ด้วย

เหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า สฬายตนะเป็นวิบาก

สฬายตนะกถา จบ

อรรถกถาสฬายตนกถา

ว่าด้วย สฬายตนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสฬายตนะ คืออายตนะภายใน ๖. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า สฬายตนะ

เกิดขึ้นเพราะทำกรรมไว้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สฬายตนะจึงเป็นวิบาก

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า จักขวายตนะเป็นวิบากหรือ เป็นต้น หมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

ก็แต่ มนายตนะพึงเป็นวิบากได้ในคำว่า สฬายตนะเป็นวิบาก

นี้ ส่วนอายตนะที่เหลือนอกนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ไม่เป็น

วิบาก เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า สฬายตนะเป็นวิบาก (ไปทั้งหมด)

ดังนี้แล.

อรรถกถาสฬายตนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

สัตตักขัตตุปรมกถา

[๑๔๙๒] สกวาที บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด

๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลง

ชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้าย ยังพระโลหิตของ

พระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๙๓] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗

ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้

ธรรมในระหว่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้

ธรรมในระหว่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น ได้ปลงชีวิตมารดา ได้

ปลงชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิต

ของพระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๙๔] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ

เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ

โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง

เป็นอย่างยิ่ง มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๒๕] ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ

เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้

ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้

สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง

[๑๔๙๖] ส. สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตัก-

ขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โพชฌงค์ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ

ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้

สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง

[๑๔๙๗] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด

๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ส. ด้วยสกทาคามีนิยม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยอนาคามีนิยม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยอรหัตนิยม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยนิยมอะไร ?

ป. ด้วยโสตาปัตตินิยม.

[๑๔๙๘] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด

๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ก้าวลงสู่โสตปัตตินิยม ชน

เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๙๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยง

ต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลนั้น เป็นสัตตักขัตตุปรมะ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗

ครั้งเป็นอย่างยิ่ง.

สัตตักขัตตุปรมกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

โกลังโกลเอกพีชีกถา

[๑๕๐๐] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อ

ความเกิดอีก ๒ - ๓ ครั้ง หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ป. บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีก ๒-๓

ครั้ง.

[๑๕๐๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความ

เกิดอีกครั้งเดียว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีกครั้งเดียว

โกลังโกลเอกพีชีกถา จบ

อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา

ว่าด้วย บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ คือบุคคลผู้มีการเกิด

อีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

นิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัตตัก-

ขัตตุปรมบุคคลมีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้นั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ

จึงชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงโดยความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง

ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า ยกเว้น

อริยมรรคแล้วการกำหนดแน่นอนอย่างอื่นไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้น

พึงเป็นผู้เที่ยงเพราะความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุ

อันใด ดังนี้. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ในคำทั้งหลาย คำว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ได้ปลงชีวิตมารดา

เป็นต้น พึงทราบคำอธิบายอย่างนี้ว่า นิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอน

มี ๒ อย่าง คือ สัมมัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ถูก ๑

มิจฉัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ผิด ๑ อริยมรรค ชื่อว่า

สัมมัตตนิยาม ก็อริยมรรคนั้นย่อมกำหนดซึ่งความเป็นอวิปากธรรมและ

ความเกิดขึ้นแห่งผลธรรม ส่วนมิจฉัตตนิยามย่อมกำหนดแน่นอนซึ่ง

อนันตริยกรรม คือความเกิดขึ้นในนรกอันไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่าง ใน

ปัญหานั้น สัตตักขัตตุปรมบุคคลย่อมเป็นผู้อันโสดาปัตติมรรคกำหนด

แล้วโดยความเป็นสภาพธรรมที่ไม่ตกไปสู่อบาย และโดยความเกิดขึ้น

แห่งผลธรรม ส่วนนิยามแห่งมรรคที่เหลืออยู่ย่อมไม่มีแก่สัตตักขัตตุปรมบุคคล

นั้น เพราะมิใช่เป็นธรรมที่ท่านบรรลุแล้ว แม้สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น

ก็ไม่อาจทำอนันตริยกรรม ก็แต่ว่าท่าน คือปรวาที ปรารถนานิยามแห่ง

สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า สัตตัก-

๑. บาลีพระอภิธรรมใช้คำว่า นิยาโม แต่อรรถกถาใช้คำว่า นิยโม แปลว่า ความแน่นอน คือความกำหนด

แน่นอนเหมือนกัน หรือจะแปลทับศัพท์ว่า นิยาม, นิยาม ก็ได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ขัตตุปรมบุคคลนั้นเป็นผู้อันมิจฉัตตนิยามนี้กำหนดแล้วตามลัทธิของท่าน

หรือ. ในปัญหาทั้งหลายว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อตรัสรู้ธรรมในระหว่างหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มี

ธรรมอื่นคั่นในระหว่าง ย่อมตอบรับรองหมายเอาการเกิดอีก ๗ ชาติ

เป็นอย่างยิ่ง.

ในปัญหาทั้งหลายว่า นิยามที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ

ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็น

นิยามของความเป็นสัตตักขัตตุปรมบุคคล จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สติปัฏฐาน

ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่ง

มรรคธรรมทั้งหลายที่ท่านเรียกว่านิยาม. อนึ่ง ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น

นั้นย่อมไม่มีเพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งปฐมมรรคของสัตตักขัตตุปรมบุคคล

นั้นอีก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น

ทั้งนั้น.

ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ ที่ปรวาทีนำมา

นี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพยากรณ์บุคคลเหล่านั้นด้วย

กำลังแห่งพระญาณของพระองค์ว่า บุคคลนี้ท่องเที่ยวไปสิ้นภพมี

ประมาณเท่านี้ ๆ แล้วจักปรินิพพาน ดังนี้เป็นต้น ก็คำอะไร ๆ ที่

พระองค์ตรัสว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล โกลังโกละบุคคลและเอกพีชีบุคคล

ดังนี้ ชื่อว่าเป็นนิยามแห่งภพหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จ

ประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา จบ

แม้การพรรณนากถาว่าด้วย บุคคลผู้โกลังโกละ และ บุคคลผู้

เอกพีชี บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ชีวิตาโวโรปนกถา

[๑๕๐๒] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตมารดา ฯลฯ

พึงแกล้งปลงชีวิตบิดา ฯลฯ พึงแกล้งปลงชีวิตพระอรหันต์ ฯลฯ พึงมีจิต

คิดประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ฯลฯ พึงทำลายสงฆ์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๐๓] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระ-

ศาสดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ เป็นผู้ไม่มี

ความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในสิกขา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๐๔] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพใน

พระศาสดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ฯลฯ ในพระสงค์ ฯลฯ ในสิกขา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพใน

สิกขา ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์

[๑๕๐๕] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระ-

ศาสดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงถ่ายอุจจาระรด พึงถ่ายปัสสาวะ

รด พึงถ่มเขฬะรด ที่พระพุทธสถูป พึงทำพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๐๖] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาสมุทรดำรงสภาวะไว้ ย่อมไม่ล่วงขอบเขต ฉันใด สาวกของเราย่อม

ไม่ล่วงสิกขาบทนั้น ที่เราบัญญัติไว้แก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่ง

ชีวิต ฉันนั้นแล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ

พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์

ชีวิตาโวโรปนกถา จบ

๑. ขุ.อุ. ๒๕/๑๑๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา

ว่าด้วย การแกล้งปลงชีวิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง การแกล้งปลงชีวิต คือเจตนาให้ตาย. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ปาณาติบาต

ย่อมมีด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยโทสะ ก็พระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

คือพระโสดาบัน ละโทสะยังไม่ได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคล

ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นพึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า

บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที.

ในปัญหาทั้งหลายมีคำว่า บุคคลสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิพึงแกล้งปลง

ชีวิตมารดา เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตรที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็คำว่าพระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

แกล้งปลงชีวิตมารดานี้เป็นอฐานะ คือเป็นไปไม่ได้. คำว่า บุคคลผู้มี

ทิฏฐิสมบัติเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าว

เพื่อแสดงความไม่ก้าวล่วงสิกขาบทของผู้มีความเคารพในพระศาสดา

เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยคำว่า ชื่อว่า ความไม่เคารพของพระอริยะ

ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งอกุศลจิต และตอบรับรอง

ซึ่งความที่ท่านเป็นผู้มีความเคารพ. ถูกถามอีกว่า เป็นผู้ไม่มีความเคารพ

เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่มีการทำอภิวาทและ

การปทักษิณพระเจดีย์ โดยไม่ได้มนสิการด้วยสติของผู้มีจิตฟุ้งซ่านเพราะ

มัวแต่ขวนขวาย ในกิจทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. ถูกถามโดยนัยว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิก็พึงถ่ายอุจจาระ เป็นต้นอีก ปรวาที

ตอบปฏิเสธเพราะไม่กระทำการแกล้งด้วยกิริยาเช่นนั้น. คำที่เหลือมี

อรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ทุคคติกถา

[๑๕๐๗] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิด

ในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์

ที่เกิดในอบาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้.

[๑๕๐๘] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น

ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดในอบาย ฯลฯ พึงเสพ

เมถุนธรรมกับนางอมนุษย์ กับนางดิรัจฉาน กับนางนาค พึงรับแพะ

พึงรับไก่ และสุกร พึงรับช้าง โค ม้า และลา ฯลฯ พึงรับนกกระทา

นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงรับนกกระทา นก-

กระจาบ และนกยูง ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละทุคคติ

ได้.

๑. คำว่า ทุคคติในที่นี้หมายถึง (๑) ทุคคติ (๒) ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นของสัตว์ที่เกิดในทุคคติเป็นอารมณ์

คำถามนี้ เท่าตั้งหมาย คนบางพวก เช่น พวกอุตตราปถก ที่อ้างว่า พระโสดาบันละทุคคติทั้งสองอย่าง

นั้นได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

[๑๕๐๙] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ แต่บุคคลผู้มีทิฏฐิ-

สมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่พระอรหันต์พึงยินดีในรูป

ของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ แต่บุคคลผู้มีทิฏฐิ-

สมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ

ของสัตว์ที่เกิดในอบาย ฯลฯ พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่พระอรหันต์พึงรับนกกระทา

นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๑๐] ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี

ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี

ในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ และบุคคลผู้มีทิฏฐิ-

สมบัติ ไม่พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี

ในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดใน

อบาย ฯลฯ ไม่พึงเสพเมถุนธรรมกับนางอมนุษย์ กับนางดิรัจฉาน กับ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

นางนาค ไม่พึงรับแพะ ไม่พึงรับไก่และสุกร ไม่พึงรับช้าง โค ม้า

และลา ฯลฯ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ และบุคคลผู้มีทิฏฐิ-

สมบัติ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๑๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงเข้าถึงนรก ฯลฯ พึงเข้าถึง

กำเนิดดิรัจฉาน ฯลฯ พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.

ทุคคติกถา จบ

อรรถกถาทุคคติกถา

ว่าด้วย ทุคคติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทุคคติ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดถือเอาทุคคติแม้

ทั้ง ๒ คือ ทุคคติ ๑ ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ของทุคคติสัตว์ ๑

เพราะไม่จำแนกประเภทอย่างนั้น จึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติละ

๑. คำว่า ทุคคติมี ๒ คือ ทุคคติ และตัณหาที่มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ คือหมายความว่า ตัณหานั้นมี

ชื่อว่า ทุคคติ ด้วย.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ทุคคติได้โดยไม่เหลือเลย ดังนี้ ดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย คำถาม

ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ หมายถึงพระโสดาบัน พึงยินดีในรูปอัน

ยังสัตว์ให้เกิดในอบาย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยอำนาจลัทธิ

ของปรวาทีว่า พระโสดาบันละทุคคติไม่ได้. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น

ทั้งนั้นแล.

คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติพึงเข้าถึงนรก เป็นต้น อธิบายว่า

ท่านย่อมแสดงการละทุคคติ คือ อบายภูมิ ๔ หรือย่อมแสดงการละตัณหา

ที่เป็นเหตุนำไปสู่ทุคคติ มิใช่แสดงถึงการละตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็น

อารมณ์ของทุคคติสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาทุคคติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

สัตตมภวิกกถา

[๑๕๑๒] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีภพที่ ๗ เป็นอย่างยิ่ง

ละทุคคติได้ หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีภพที่ ๗ เป็นอย่างยิ่ง พึงเข้าถึงนรก พึง

เข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลเกิดในภพที่ ๗ ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.

สัตตมภวิกกถา จบ

อรรถกถาสัตตมภวิกกถาวัณณนายปิ เอเสว นโยติ

แม้ในการพรรณนากถาว่าด้วย พระโสดาบันผู้มีภพที่ ๗ ก็นัยนี้

นั่นแหละ คือเช่นเดียวกับเรื่องบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัตตมภวิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สังวโรกัมมันติกถา ๒. กัมมกถา ๓. สัทโทวิปาโกติกถา

๔. สฬายตนกถา ๕. สัตตักขัตตุปรมกถา ๖. โกลังโกลเอกพีธีกถา

๗. ชีวิตาโวโรปนกถา ๘. ทุคคติกถา ๙. สัตตมภวิกกถา.

วรรคที่ ๑๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

วรรคที่ ๑๓

กัปปัฏฐกถา

[๑๕๑๓] สกวาที บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กัลป์ ดำรงอยู่ได้ด้วย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก

ได้ด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กัลป์ ดำรงอยู่ได้ด้วย สงฆ์แตกกันได้ด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย บุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกรรมอัน

เป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์ได้ด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย บุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกาละได้

ด้วย หรือ ?

ป ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอดีต พึงดำรงอยู่

ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงดำรงอยู่ตลอด ๒ กัลป์ พึงดำรงอยู่ตลอด ๓ กัลป์

พึงดำรงอยู่ตลอด ๔ กัลป์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เมื่อกัลป์ถูกไฟไหม้อยู่ ไปไหน ?

ป. ไปสู่โลกธาตุอื่น.

ส. เป็นผู้ตายแล้วไปหรือว่าไปสู่เวหาสได้ ?

ป. เป็นผู้ตายแล้วไป.

ส. กรรมอันเป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์ เป็นกรรมให้ผล

ในภพต่อ ๆ ไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ไปสู่เวหาสได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เป็นผู้มีฤทธิ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เป็นผู้มีฤทธิ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ ได้เจริญฉันทอิทธิบาท ได้เจริญ

วิริยอิทธิบาท ได้เจริญจิตตอิทธิบาท ได้เจริญวิมังสาอิทธิบาท หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๑๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ได้ตลอด

กัลป์หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะ

คือ ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ผู้ยินดี

ในการแยกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมคลาดจากธรรมเป็นแดนเกษม

จากโยคะ เขายังสงฆ์ซึ่งพร้อมเพรียงกันให้แตกกันแล้วจะหมกไหม้อยู่

ในนรกตลอดกัลป์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กัปปัฏฐะก็พึงดำรงอยู่ได้ตลอด

กัลป์ น่ะสิ.

อรรถกถากัปปัฏฐกถา จบ

๑. วิ. จุ. ๗/๔๐๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

อรรถกถากัปปัฏฐกถา

ว่าด้วย ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้กัปปัฏฐะ คือผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะทั้งหลายว่า ผู้

ทำสังฆเภทย่อมตั้งอยู่ในนรกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ดังนี้ เพราะถือเอา

พระสูตรว่า ผู้ทำสังฆเภทนั้นย่อมไหม้อยู่ในนรกตลอดกัลป์เพราะทำลาย

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน คำถามของสกวาทีว่า ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ดังนี้

โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำนี้ว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกด้วย

สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงความไม่มีสังฆเภท โดยเว้นจากการอุบัติขึ้น

ของพระพุทธเจ้า. คำว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย สงฆ์แตกกันได้ด้วย เป็นต้น

สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้นย่อมตั้งอยู่

ตลอดกัลป์ทั้งสิ้นไซร้ เขาก็ต้องทำกรรมนั้นตั้งแต่กัลป์ที่กำลังสร้างขึ้น

มาแล้วก็เกิดในนรกนั้น. คำว่า พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอดีต

เป็นต้น มีอธิบายดุจคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ในปัญหาว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์เป็นผู้มีฤทธิ์หรือ ปรวาที

ตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. แต่ยอม

ตอบรับรองในลัทธิของปรวาที หมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเกิดของ

ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น. คำว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ได้เจริญฉันทิทธิบาท

เป็นต้น คำนี้สักว่าเป็นลัทธิว่า ชื่อว่าผู้มีฤทธิ์เพราะฤทธิ์อันสำเร็จด้วย

การเกิด ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์อันสำเร็จ

ด้วยการเกิดมีไซร้ บุคคลเหล่านี้ก็พึงเจริญอิทธิบาทได้ ดังนี้. พระสูตร

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ท่าน

กล่าวหมายเอาอายุกัลป์ คือว่า ท่านแบ่งกัลป์หนึ่งออกเป็น ๘๐ ส่วน

สัตว์นรกนั้น พึงตั้งอยู่สิ้นกาลประมาณส่วนหนึ่งจาก ๘๐ ส่วนนั้น เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในเรื่องนี้ ดังนี้แล.

อรรถกถากัปปัฏฐกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

กุสลจิตตปฏิลาภกถา

[๑๕๑๕] สกวาที บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า

บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต.

[๑๕๑๖] ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้บิณฑบาต ฯลฯ

พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร พึงให้ของขบเคี้ยว

พึงให้ของกิน พึงให้น้ำดื่ม พึงไหว้พระเจดีย์ พึงยกขึ้นซึ่งดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ที่พระเจดีย์ ฯลฯ พึงทำการประทักษิณพระเจดีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงทำการประทักษิณพระ-

เจดีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต ดังนี้ ฯลฯ

[๑๕๑๗] ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต อันเป็นการออก

จากอกุศลจิต เป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พึงกลับได้กุศลจิตที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ที่เป็นอรูปาวจร

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ฯลฯ ที่เป็นโลกุตตร หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กุศลจิตตปฏิลาภกถา จบ

อรรถกถากุสลจิตตัปปฏิลาภกถา

ว่าด้วย การกลับได้กุสลจิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการกลับได้กุสลจิต ของผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์. ใน

เรื่องนั้น บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ได้แก่ ผู้เกิดในนรก ในลัทธิของสกวาที

ย่อมได้เฉพาะกามาวจรจิตเท่านั้น ก็บุคคลใดไม่พึงปิดกั้นการเกิดในนรก

นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ได้เฉพาะมหัคคตกุศล หรือโลกุตตรกุศล อนึ่ง ชน

เหล่าใดไม่ทำการวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย

ว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น คือผู้เกิดในนรก ย่อมไม่ได้กุศลจิตโดย

ไม่แปลกกันเลย ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อทำลายลัทธินั้นด้วยการ

แสดงวิภาค คือการแยกประเภทกุศลแต่ละอย่าง แห่งกุสลจิตเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถากุสลจิตตัปปฏิลาภกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

อนันตราปยุตตกถา

[๑๕๑๘] ปรวาที บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่

สัมมัตตนิยามได้ หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ป. พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม และสัมมัตตนิยามได้ทั้ง

สองอย่าง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตต-

นิยามได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมนั้น ได้ใช้ให้ทำแล้ว ก่อความรำคาญใจให้แล้ว

ให้เกิดความวิปฏิสารขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. หากว่า กรรมนั้นได้ใช้ให้ทำแล้ว ก่อความรำคาญ

ใจให้แล้ว ให้เกิดความวิปฏิสารขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ใช้ให้

ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้.

[๑๕๑๙] ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ

ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลงชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิต

พระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตแห่งพระตถาคตให้ห้อ ได้

ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว

บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ได้ยัง

สงฆ์ให้แตกจากกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกาาร ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว

บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็ได้บรรเทา

แล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว มิใช่หรือ ?

ป.ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็

ได้บรรเทาแล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้

ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ

ได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม

[๑๕๒๐] ป. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตต-

นิยาม หรือ ?

ส.ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

ป. เขาได้ใช้ให้ทำกรรมนั้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ใช้ให้ทำกรรมนั้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว

ว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้.

อนันตราปยุตตกถา จบ

อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา

ว่าด้วย บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม คือผู้สั่งให้ทำ

อนันตริยกรรม. ในเรื่องนั้น บุคคลใดสั่งให้ทำอนันตริยกรรมมีการฆ่า

มารดาเป็นต้นอันให้ผลโดยไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่างโดยประเภทแห่งขันธ์

บุคคลนั้นชื่อว่าผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ในเรื่องนี้ สกวาทีทำการสันนิษฐาน

คือลงความเห็นในลัทธิของตนว่า บุคคลใดจักกระทำกรรมนั้นที่เขาสั่ง

ด้วยคำสั่งที่แน่นอน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็นผู้

ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะความที่เจตนาที่ยังประโยชน์ให้

สำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าบุคคลใดจักกระทำซึ่งกรรมที่เขาสั่งนั้นด้วย

คำสั่งที่ไม่แน่นอน บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็น

ผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามเพราะความที่เจตนาอันให้สำเร็จประโยชน์

นั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้.

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า

บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามทั้งนั้น แม้คำสั่ง

แน่นอนก็ตาม ไม่แน่นอนก็ตาม ดังนี้ เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

สกวาทีจึงให้ปรวาทีถามตนก่อนว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม

เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น คำถามแรกในปัญหานี้จึงเป็นของปรวาที คำตอบ

รับรองหมายเอาความไม่มีเจตนาที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นของสกวาที.

จากนั้นปรวาทีสำคัญอยู่ว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิดเพราะการ

สั่งให้ทำกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้นนั่นเทียว เพราะฉะนั้น จึงถาม

ปัญหาว่า (เขา) พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม เป็นต้น สกวาทีตอบปฏิเสธ

ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น โดยหมายเอาการไม่ก้าวลงสู่นิยามทั้ง ๒ ของ

บุคคลผู้เดียว คำว่า กรรมนั้น ได้แก่ อนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดา

เป็นต้น. ในปัญหานั้น สกวาทีตอบรับรองว่า ใช่ หมายเอาคำสั่งที่ไม่

แน่นอน. เพราะว่าความรำคาญใจ และความเดือดร้อน ย่อมเกิดขึ้นแก่

ผู้ชักนำทำคำสั่งอันไม่แน่นอนว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรแล้วทีเดียว

ดังนี้. คำว่า หากว่า เป็นต้น ที่ปรวาทีกล่าวก็เพื่อจะให้ลัทธิตั้งไว้ด้วย

การถือเอาซึ่งเหตุสักว่าความเกิดขึ้นแห่งความรำคาญใจ.

บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะถือเอาบุคคลนั้นนั่นแหละ

ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธถึงการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามของผู้ชักนำในการ

ทำอนันตริยกรรมแม้ด้วยคำสั่งอันไม่แน่นอน. คำตอบรับรองของปรวาที

ย่อมมีด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาที

นั้นว่า บุคคลผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามเป็นทำกรรมมีการฆ่ามารดา

เป็นต้น ก็กรรมเหล่านั้นอันบุคคลนั้นทำแล้วหรือ จึงกล่าวคำว่า เขาได้

ปลงชีวิตมารดา เป็นต้น. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำเช่นนั้น เพราะ

ความไม่เบียดเบียนชนเหล่านั้น จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

คำว่า ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว ท่านกล่าวหมายเอากรรมอันเป็น

คำสั่งที่ไม่แน่นอน อธิบายว่า บุคคลผู้ห้ามคำสั่งอยู่ว่า ก็กรรมนั้นแล.

เราสั่งแล้ว ขอท่านอย่าทำ ดังนี้ ชื่อว่า คำสั่งนั้นอันตนล้มเลิกเสียแล้ว

เพราะความที่คำสั่งนั้นอันตนถอนเสียแล้วนั่นแหละ จึงชื่อว่าตนกำจัด

ความรำคาญใจ และความเดือดร้อนใจได้ในปัญหานี้ แม้ครั้นเมื่อความ

เป็นอย่างนี้มีอยู่ ปรวาทีสำคัญอยู่ซึ่งความที่คำสั่งแรกเท่านั้นเป็นคำสั่ง

แน่นอน ในปัญหานั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาที

รับคำซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรมอันถอนแล้ว จึงกล่าวคำว่า หากว่า

เป็นต้น เพื่ออันยังลัทธิของตนให้ตั้งไว้. ในปัญหาที่สุดว่า บุคคลผู้ใช้ให้

ทำอนันตริยกรรม อีกเป็นคำถามของปรวาทีซึ่งเหมือนปัญหาแรก คำ

ตอบรับรองเป็นของสกวาที. คำซักถามว่า เขาได้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม

นั้นแล้วมิใช่หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองสกวาทีหมายเอา

การชักนำแล้วในกาลก่อนแต่การถอนคำ. การตั้งลัทธิของปรวาทีด้วย

คำว่า หากว่า เป็นต้น ได้แก่ ด้วยอำนาจคำสั่งที่ไม่แน่นอนเพราะถือ

เอาเหตุสักว่าความเป็นผู้สั่งก่อนของผู้ชักนำ. ก็ลัทธินี้ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่พิจารณา ดังนี้.

อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

นิยตัสสนิยามกถา

[๑๕๒๑] สกวาที บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน

(นิยาม) หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม

ได้ บุคคลผู้แน่นอนแล้วในสัมมัตตะ ก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลแน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอน (นิยาม)

ในภายหลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่โสดา-

ปัตตินิยามในภายหลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยังสกทาคามิมรรค ฯลฯ ยังอนาคามิมรรค ฯลฯ ยัง

อรหัตมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่อรหัตตนิยาม ในภายหลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลยังสติปัฏฐาน ฯลฯ ยังสัมมัปปธาน ฯลฯ ยัง

อิทธิบาท ฯลฯ ยังอินทรีย์ ฯลฯ ยังพละ ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดก่อนแล้ว

จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอนในภายหลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

[๑๕๒๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทาง

แน่นอน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระโพธิสัตว์ ไม่เป็นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมใน

ชาตินั้นหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ก็ย่อมก้าวลงสู่ทาง

แน่นอน น่ะสิ.

นิยตัสสนิยามกถา จบ

อรรถกถานิยตัสส นิยามกถา

ว่าด้วย นิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว. ในเรื่องนั้น นิยาม

คือความแน่นอน มี ๒ คือ อนันตริยกรรม ชื่อว่า มิจฉัตตนิยาม และอริย-

มรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เว้นนิยาม ๒ นี้แล้ว ธรรมอื่นชื่อว่านิยาม

ย่อมไม่มี. จริงอยู่ เตภูมิกธรรม คือธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือแม้

ทั้งปวงชื่อว่า อนิยตธรรม คือธรรมอันไม่แน่นอน แม้แต่ธรรมที่ประกอบ

ด้วยเตภูมิกธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นอนิยตธรรมทั้งสิ้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่พยากรณ์การก้าวลงสู่นิยามธรรมด้วยคำว่า สัตว์นี้จักบรรลุ

โพธิญาณในอนาคตกาล ด้วยกำลังแห่งพระองค์ แต่พระโพธิสัตว์ท่าน

เรียกว่า นิยตบุคคล เพราะความเป็นผู้มีบุญมาก. ชนเหล่าใด มีความ

เห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะและอปรเสลิยะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

ย่อมก้าวลงสู่นิยาม ดังนี้ เพราะประสงค์เอาคำว่า พระโพธิสัตว์ผู้เกิด

ในภพสุดท้ายเป็นผู้สามารถเพื่อจะตรัสรู้ในชาตินั้น โดยถือเอาโวหาร

นี้ด้วยประการฉะนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที.

คำว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อแสดงความเป็นนิยามอย่างหนึ่งของผู้เที่ยงแล้วโดยนิยามอย่างหนึ่ง.

คำว่า ยังมรรคให้เกิดก่อน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงประเภท

แห่งนิยาม. คำว่า บุคคลยังสติปัฏฐาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดง

ประเภทแห่งธรรมในนิยามแม้อย่างเดียว. คำว่า พระโพธิสัตว์ไม่เป็น

ผู้ควร เป็นต้น ท่านแสดงความที่พระโพธิสัตว์เป็นสามารถตรัสรู้

อย่างเดียว มิใช่แสดงการก้าวลงสู่นิยามของนิยตบุคคล เพราะฉะนั้น

คำนี้จึงมิได้สำเร็จประโยชน์. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้ไม่แน่นอน

ด้วยนิยตธรรมอย่างหนึ่งในปางก่อนมาแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ก้าว

ลงสู่สัมมัตตนิยามแล้วด้วยการเห็นสัจจะที่โคนไม้โพธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานิยตัสสนิยามกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

นีวุตตกถา

[๑๕๒๓] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้มีจิต

อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็นผู้

มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลสหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ

ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะ เป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ

ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอัน

เป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอัน

เป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้

ประการแรกที่ไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษจึง

ไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ

ธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน น่ะสิ.

[๑๕๒๔] ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อ

จิตตั้งมั่นแล้ว เป็นจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน มีอุปกิเลส

ปราศไปแล้ว เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ ถึงความเป็นธรรมชาติ

ไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีจิตอัน

นิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์

๑. องฺ.จตุกฺก ๒๑/๒๗.

๒. ม.อุ. ๑๔/๒๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

[๑๕๒๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำ

แล้วละนิวรณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่

อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม

หลุดพ้นแม้จากอวิชชาสวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว

ละนิวรณ์ น่ะสิ.

นีวุตกถา จบ

อรรถกถานีวุตกถา

ว่าด้วย ผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า บุคคล

ผู้ถูกนิวรณ์ทั้งหลายครอบงำแล้ว ปกปิดแล้ว หุ้มห่อแล้วย่อมละนิวรณ์

เพราะความที่บุคคลบริสุทธิ์แล้วไม่มีสิ่งที่ควรทำให้บริสุทธิ์ ดังนี้ คำถาม

ของสกวาทีว่า บุคคลผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว เป็นต้น หมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลเป็นผู้มีจิต

อันราคะย้อมแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโทษในการละนิวรณ์

๑. อภิ. ก. ๓๗/ ๗๖๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. คำว่า บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงสมุจเฉทวิสุทธิแห่งผู้บริสุทธิ์แล้วนอกจาก

วิขัมภนวิสุทธิ. คำว่า เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เป็นต้น

ท่านย่อมแสดงความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ มิใช่แสดง

ถึงการละนิวรณ์ของผู้มีจิตอันนิวรณ์กำลังครอบงำ เพราะฉะนั้น ข้อนี้

จึงไม่สำเร็จประโยชน์ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานีวุตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

สัมมุขีภูตกถา

[๑๕๒๖] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ

สัญโญชน์ได้หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้

มีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็น

ผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ

ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มี

โทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและ

ธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว

อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดิน

นี้ประการแรก ที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ

จึงไกลกันจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และ

ธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน

[๑๕๒๗] ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อ

จิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลมีจิตพร้อมพรั่ง

ด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์.

[๑๕๒๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ

สัญโญชน์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่

อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม

หลุดพ้น แม้จากอวิชชาสวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์

ละสัญโญชน์ น่ะสิ.

สัมมุขีภูตกถา จบ

อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา

ว่าด้วย ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์. ในเรื่องนั้น

บุคคลผู้มีสัญโญชน์ย่อมเป็นเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตพรั่งพร้อมต่อ

สัญโญชน์ทั้งหลาย คือเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัญโญชน์เหล่านั้น. คำที่เหลือ

ในที่นี้เช่นกันเรื่องผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

สมาปันโน อัสสาเทติกถา

[๑๕๒๙] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีรักใคร่ในฌาน

มีฌานเป็นอารมณ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้น

ด้วยเวทนานั้น จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ตั้งเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น

คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจาร

นั้น ดื่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้แจ้งปัญญานั้นด้วย

ปัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความยินดีรักใคร่ในฌาน ก็สัมปยุตด้วยจิต ฌานก็

สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความยินดีรักใคร่ในฌานเป็นอกุศล ฌานป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว

อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ

และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว

อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๔ ประการนี้ ไกลกันไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้

เป็นประการแรก ที่ไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของ

สัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ

ธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและ

ธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน.

[๑๕๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดี

รักใคร่ในฌาน มีฌานเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

อยู่ เธอยินดีในฌานนั้น รักใคร่ฌานนั้น และประสบความปลื้มใจด้วย

ฌานนั้น บรรลุทุติยฌาน ภายในผ่องใส เพราะวิตกและวิจารสงบ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

บรรลุถึงตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ เธอยินดีฌานนั้น

รักใคร่ฌานนั้น และประสบความปลื้มใจด้วยฌานนั้น ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เข้าสมาบัติก็ยินดี ความยินดีรักใคร่

ในฌาน ก็มีฌานเป็นอารมณ์ น่ะสิ.

สมาปันโน อัสสาเทติกถา จบ

อรรถกถาสมาปันโน อัสสาเทติกถา

ว่าด้วย ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผู้เข้าฌานย่อมยินดี และ

ความยินดีในฌานนั้นของผู้นั้นเป็นอารมณ์ของฌาน เพราะอาศัยพระบาลี

ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้... บรรลุปฐมฌานอยู่ เธอยินดีในฌานนั้น ดังนี้

คำถามของสกวาทีว่า ผู้เข้าสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า ฌานนั้นเป็นอารมณ์

ของฌานนั้นหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความฌานนั้นนั่นแหละเป็น

อารมณ์ของฌานนั้น จึงตอบปฏิเสธโดยกลัวผิดจากพระสูตร ย่อมตอบ

รับรองด้วยคำในพระสูตรว่า บรรลุปฐมฌาน เธอยินดีในฌานนั้น ดังนี้.

พระสูตรว่า เธอยินดีในฌานนั้น ความว่า ออกจากฌานแล้วจึงยังความ

ยินดีในฌานให้สำเร็จได้ มิใช่หมายถึงความยินดีในฌานในขณะที่กำลัง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

เข้าฌานมีฌานเป็นอารมณ์อยู่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า

ผู้กำลังเข้าฌานซึ่งมีฌานนั้นเป็นอารมณ์มีความยินดีในฌานนั้นได้ เพราะ

กำลังเข้าฌานก็มีอารมณ์ของฌานนั้นแล้ว จะมีอารมณ์เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ

กันอีกไม่ได้ ดังนี้แล.

อรรถกถาสมาปันโนอัสสาเทติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

อสาตราคกถา

[๑๕๓๑] สกวาที ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ มีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในทุกข์ มีอยู่บางพวก

ที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาทุกข์ หมกมุ่นทุกข์ ตั้งอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บางพวกที่

ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุขตั้งอยู่

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บาง

พวกที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุขตั้งอยู่

ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ ดังนี้

[๑๕๓๒] ส. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย

นอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอน

เนื่องอยู่ในทุกขเวทนา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

ส. หากว่า ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย

นอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ

มีอยู่ ดังนี้.

[๑๕๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น ประสบ

ความยินดีหรือความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลินบ่นถึง

หมกมุ่นเวทนานั้น ตั้งอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็มีอยู่ น่ะสิ

อสาตราคกถา จบ

อรรถกถาอสาตราคกถา

ว่าด้วย ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ คือความยินดีใน

ทุกขเวทนา. ในเรื่องนั้น พระสูตรว่า บุคคล ... เสวยเวทนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลิน

บ่นถึง หมกมุ่นเวทนานั้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถ

แห่งความเพลิดเพลินในสิ่งที่บุคคลประสบมาแล้ว.

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า

๑. ม.มู. ๑๒/๔๕๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

ความยินดีเพลิดเพลินแม้ในทุกขเวทนา ด้วยอำนาจแห่งความชอบใจใน

ราคะ เพราะอาศัยคำในพระสูตรว่า บุคคลนั้นประสบความยินดียิ่ง

มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ต้องมีอยู่ ดังนี้

คำถามของสกวาทีว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ โดยหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า

ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ความว่า ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่ ด้วย

สามารถแห่งลัทธิ เพราะกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองในข้อว่า โอหนอ

ความยินดีนั้นนั่นแหละพึงมีแก่เราในการเสวยทุกข์อันไม่ชอบใจ. คำที่เหลือ

ในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อนึ่ง ในพระสูตรว่า เขาเพลิดเพลินบ่นถึงหมกมุ่นเวทนานั้น

อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดขึ้นแห่งราคะย่อมหมุนกลับมาปรารภ

ทุกขเวทนานั่นแหละย่อมไม่มี แต่เมื่อถือเอาโดยส่วนรวมแล้ว บุคคลเมื่อ

พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมอันมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ หรือซึ่ง

ทุกขเวทนานั่นเทียวโดยความเป็นอัตตา เขาย่อมยินดีเวทนานั้นด้วยความ

ยินดีต่อสิ่งที่ตนประสบแล้ว กล่าวคือในความรู้ต่อสิ่งที่ตนทราบแล้ว

มิใช่ยินดีในความเปลี่ยนแปลงมาเป็นทุกขเวทนา บุคคลผู้ถูกทุกขเวทนา

ครอบงำแล้วแม้ปรารถนาซึ่งกามสุขอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับทุกขเวทนา

นั้น ก็ชื่อว่า ย่อมยินดีต่อทุกขเวทนา. ความยินดีในทุกขเวทนาแห่งปัญหานี้

ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์

ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรกถาอสาตราคกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา

[๑๕๓๔] สกวาที ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป

เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ

[๑๕๓๕] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา รสตัณหา ฯลฯ โผฏ-

ฐัพพตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๓๖] ส. รูปตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๓๗] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นกุศล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ตัณหาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอกุศล

ก็ต้องไม่กล่าวว่าธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๓๘] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอกุศล และ

ธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น

อกุศล และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ ก็ต้องไม่กล่าวว่าธัมมตัณหาเป็น

อัพยากฤต.

[๑๕๓๙] ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหาเป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

อัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔๐] ส. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหาเป็น

อกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔๑] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตัณหานี้ใด ทำ

ความเกิดอีก เป็นไปกับด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน

เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาดังกล่าวนี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๖๖๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

ป. มันเป็นตัณหาในธรรม มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มันเป็นตัณหาในธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

ึจึงต้องกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.

ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา จบ

อรรถกถาธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา

ว่าด้วย ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต. ในปัญหาเหล่านั้น

บรรดาตัณหาทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา ตัณหาอัน

เป็นข้อสุดท้ายแห่งตัณหาทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ธัมมตัณหา เหตุใด

เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย

ว่า ธัมมตัณหาพึงเป็นอัพยากฤต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. เนื้อความปัญหาที่เหลือทั้งหลาย

พึงทราบตามพระบาลี. ตัณหาแม้ทั้ง ๖ ท่านแสดงย่อไว้เป็น ๓ ประเภท

มีกามตัณหาเป็นต้น. ตัณหาที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ แม้มีรูปเป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งความยินดีในกามชื่อว่า กามตัณหา. ตัณหาที่เกิดพร้อม

กับสัสสตทิฏฐิในความเห็นว่า "อัตตา และโลกจักมี" ดังนี้ชื่อว่า ภวตัณหา.

ตัณหาที่เกิดพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิในความเห็นว่า อัตตา และโลกจักไม่มี

ดังนี้ชื่อว่า วิภวตัณหา. บทว่า มันเป็นตัณหาในธรรมมิใช่หรือ นี้ย่อม

แสดงถึงความเป็นไปของตัณหาโดยปรารภธัมมารมณ์ มิใช่แสดงถึงความ

ที่ธัมมตัณหานั้นเป็นอัพยากฤต เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า

ตัณหาเป็นอัพยากฤต ดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา

[๑๕๔๓] สกวาที ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธัมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา รสตัณหา ฯลฯ โผฏ-

ฐัพพตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔๔] ส. รูปตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ

โผฏฐัพพตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ตัณหาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์

สมุทัย ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย

[๑๕๔๕] ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย

และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความโลภ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

ทุกขสมุทัย และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธัมมตัณหา

ไม่เป็นทุกขสมุทัย.

[๑๕๔๖] ส. โลภะคือธัมมตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือรูปตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลภะคือธัมมตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือคันธตัณหา ฯลฯ คือ

รสตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔๗] ส. โลภะคือรูปตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือธัมมตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหา เป็น

ทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะคือธัมมตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๔๘] ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตัณหานี้ใด กระทำ

ความเกิดอีก เป็นไปกับด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน

เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาดังกล่าวนี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็น

ทุกขสมุทัย ดังนี้.

[๑๕๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มันเป็นตัณหาในธรรม มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มันเป็นตัณหาในธรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย ดังนี้.

ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ

อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา

ว่าด้วย ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมตัณหามิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. แม้ในเรื่องนี้

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหา เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ตัณหานั้นจึงมิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือเช่นกับ

เรื่องก่อนนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. กัปปัฏฐกถา ๒. กุสลจิตตปฏิลาภกถา ๓. อันตราปยุตตกถา

๔. นิยตัสสนิยามกถา ๕. นีวุตกถา ๖. สัมมุขีภูตกถา ๗. สมาปันโน-

อัสสาเทติกถา ๘. อาสาตราคกถา ๙. ธัมมตัณพาอัพยากตาติกถา

๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา.

วรรคที่ ๑๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

วรรคที่ ๑๔

กุสลากุสลปฏิสันทหนากถา

[๑๕๕๐] สกวาที กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใดเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

อกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ตั้งใจอยู่ ก็

ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูล.

[๑๕๕๑ ] ส. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ก็ต้องไม่กล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ ดังนี้.

[๑๕๕๒] ส. กุศลมูลย่อมสืบต่ออกุศลมูลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกามสัญญา

อัพยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา

เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสาสัญญา เมตตาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง

พยาบาท กรุณาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้นได้ในลำดับ

แห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งปฏิฆะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๓] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

กุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลมูล

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

อันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลมูลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่

ตั้งใจอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่

ก็ต้องไม่กล่าวว่าอกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้.

[๑๕๕๔] ส. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อกุศลเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

ส. หากว่า อกุศลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า อกุศลมูล ย่อมสืบต่อกุศลมูลได้ ดังนี้.

[๑๕๕๕] ส. อกุศลมูล สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. กามสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา

พยาปาทสัญญาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา

เกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอวิหิงสาสัญญา พยาบาทเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง

เมตตา วิหิงสาเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้นได้ในลำดับ

แห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งอุเบกขา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล

สืบต่อกุศลมูลได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จิตกำหนัดในวัตถุนั้นเทียว ก็คลายกำหนัดในวัตถุ

นั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า จิตกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็คลายกำหนัด

ในวัตถุนั้นเทียว คลายกำหนัดในวัตถุใดเทียว ก็กำหนัดในวัตถุนั้นเทียว

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูล

สืบต่อกุศลมูลได้.

กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

อรรถกถากุสลากุสลปฏิสันทหนกถา

ว่าด้วย การสืบต่อของกุศลและอกุศล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการสืบต่อกุศลและอกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลชื่อว่า

เกิดขึ้นในลำดับแห่งอกุศล หรือว่าอกุศลชื่อว่าเกิดขึ้นในลำดับแห่งกุศล

ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น การสืบต่อของกุศลและอกุศลเหล่านั้นจึงไม่

ประกอบซึ่งกันและกัน คือไม่ปนกัน.

อนึ่ง ชนเหล่าใดถือลัทธิดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ความ

กำหนัดและความคลายกำหนัดมีในวัตถุเดียวกันนั่นแหละ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่าสืบต่อซึ่งกันและกัน ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำทั้ง ๒ คือ อาวชฺชนา คือความนึก ปณิธิ คือความตั้งใจ เป็น

ชื่อของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ ชื่อว่า อาวัชชา เพราะอรรถว่า

ยังภวังคจิตนั้นให้เคลื่อนไป. ชื่อว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่า ย่อมดำรง คือ

ตั้งจิตไว้ในอารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของภวังค์. คำว่า กุศลเกิดขึ้น

ได้แก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ความว่า สกวาทีย่อมถามด้วยคำว่า กุศลที่เกิดสืบต่อ

ในลำดับแห่งอกุศลนั้นใด กุศลนั้นย่อมเกิดแก่ผู้ไม่นึกหรือ ฝ่ายปรวาที

เมื่อไม่เห็นความเกิดขึ้นแห่งกุศลโดยเว้นจากการนึก จึงตอบปฏิเสธ.

คำว่า กุศลเกิดขึ้นได้แก่ผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายหรือ ดังนี้ ท่าน

กล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า กุศลพึงเกิดในลำดับแห่งอกุศลไซร้ กุศลนั้นก็พึง

เกิดเพราะมนสิการโดยอุบายอันไม่แยบคายด้วยอาวัชชนะของอกุศล

ทีเดียว ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ. คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

ความกำหนัดในวัตถุใด ความคลายกำหนัดในวัตถุนั้น เป็นต้นนั้น ย่อม

แสดงซึ่งความเกิดขึ้นแห่งจิตมีราคะ และจิตที่ปราศจากราคะในอารมณ์

อันเดียวกัน มิใช่แสดงซึ่งความที่กุศลและอกุศลมีในลำดับซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น คำนี้ จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่ากุศลมีในลำดับอกุศล หรือว่าอกุศล

มีในลำดับกุศล ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถากุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

สฬายตนุปปัตติกถา

[๑๕๕๗] สกวาที อายตนะ ๖ เกิดขึ้นในครรภ์มารดา ไม่ก่อน

ไม่หลังกัน หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบครัน มีอินทรีย์อัน

ไม่พร่อง หยั่งลงในครรภ์มารดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๘] ส. จักขายตนะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงแสวงหาอุบัติ

คือปฏิสนธิจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน ก็เกิดขึ้นพร้อมกับ

จิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิด

ขึ้นพร้อมกับจิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน ก็ตั้งขึ้นพร้อมกับ

จิตดวงแสวงหาอุบัติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๕๙] ป. จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาใน

ภายหลังหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา กระทำกรรมเพื่อได้จักษุ

ในท้องมารดา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิด

แก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น กระทำกรรมเพื่อได้

ชิวหาในครรภ์มารดา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์

มารดาในภายหลัง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา กระทำกรรมเพื่อได้กระดูก

ในครรภ์มารดา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดแก่สัตว์

ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สัตว์ผู้เกิดในครรภ์

เกิดเป็นกลละขึ้นก่อน จากกลละเกิด เป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะ เกิดเป็น

เปสิ จากเปสิ เกิดเป็นฆนะ จากฆนะ เกิดเป็นปัญจสาขา ผม ขน และ

เล็บ ก็มารดาบริโภคสิ่งใด คือ ข้าว น้ำ และ โภชนะ และทารกผู้อยู่ใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

ครรภ์มารดานั้น เติบโตขึ้นในครรภ์มารดานั้น ด้วยอาหาร คือ ข้าว น้ำ

และโภชนะ ที่มารดาของตนบริโภค ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก ก็เกิดแก่สัตว์

ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ในภายหลังน่ะสิ.

สฬายตนุปปัตติกถา จบ

อรรถกถาสฬายตนุปปัตติกถา

ว่าด้วย ความเกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเกิดขึ้นสฬายตนะ คืออายตนะภายใน

๖. ในเรื่องนั้น อายตนะภายใน ๖ ของโอปปาติกะกำเนิดทั้งหลายย่อม

เกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิตดวงที่แสวงหาการเกิดนั่นแหละ. ในบรรดา

อายตนะภายในทั้ง ๖ สำหรับของคัพภเสยยกะทั้งหลาย มีมนายตนะกับ

กายายตนะเท่านั้นเกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิต ส่วนอายตนะ ๔ ที่เหลือ

ย่อมเกิดขึ้นในราตรี ๗ และ ๗ หมายความว่าทุก ๆ หนึ่งสัปดาห์. ลัทธิ

ของสกวาทีว่า อายตนะเหล่านั้นแลถือกำเนิดใหม่ด้วยกรรมอันใดเพราะ

ความที่กรรมอันนั้นนั่นแหละ หรือว่ากรรมอันอื่นเป็นกรรมอันตนทำแล้ว

ดังนี้.

อนึ่ง ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ และ

อปรเสลิยะทั้งหลายว่า อายตนะภายใน ๖ อันเป็นพืช ย่อมเกิดในท้อง

ของมารดาในขณะแห่งปฏิสนธินั่นแหละ เพราะความเกิดจากรรมอัน

๑. ส. ส. ๑๕/๘๐๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

เดียวกัน ดุจหน่อแห่งต้นไม้เป็นต้นที่มีกิ่งก้านคาคบอันสมบูรณ์แล้ว ดังนี้

คำถามของสกวาทีว่า อายตนะ ๖ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบครัน

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่อสฬายตนะมีอยู่ สัตว์ผู้จะเกิด

ในครรภ์ก็พึงเป็นเช่นนี้ ๆ แล้วจึงก้าวลงสู่ท้องมารดา. คำถามว่า

จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลัง เป็นของ

ปรวาที. คำถามข้างหน้าว่า ไม่พึงกล่าววา ผม ขนเป็นต้นเกิดแก่สัตว์

ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลังหรือ เป็นของปรวาที คำที่เหลือในที่นี้

มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาสฬายตนุปปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

อนันตรปัจจยกถา

[๑๕๖๑] สกวาที โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

จักขุวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

โสตวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะโสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ ในลำดับแห่งจักขุ-

วิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อ

ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ไม่ตั้งใจ

อยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ แก่ผู้

ตั้งใจอยู่ มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าโสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ

ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ.

[๑๕๖๒] ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิต

คือรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตคือ

รูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๓] ส. จักขุวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มี

อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น

เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่าโสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูป

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ

และรูป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้น

เพราะอาศัยจักขุและรูป.

ส. โสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุวิญญาณอันนั้น โสตวิญญาณก็อันนั้นแหล่ะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๔] ส. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งโสตวิญญาณ

ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นลำดับแห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ

[๑๕๖๕] ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ชิวหาวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ เพื่อความเกิดขึ้น

แห่งกายวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับ แห่งชิวหา-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

วิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อ

ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแหละ

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ

ผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ

ผู้ตั้งใจอยู่มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กายวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่

ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่ง

ชิวหาวิญญาณ.

[๑๕๖๖] ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจซึ่ง

นิมิตคือรส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิต

คือรส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

ส. ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์อย่างเดียว มิได้มี

อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์อย่างเดียว มิได้มี

อย่างอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่ากายวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและรส

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยลิ้นและ

รส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้น

และรส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายวิญญาณเกิดขึ้น

เพราะอาศัยลิ้นและรส.

ส. กายวิญญาณเกิดขึ้นได้ในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชิวหาวิญญาณอันนั้น กายวิญญาณก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นในลำดับแห่งกัน

และกัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคน ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีเห็นรูป

ด้วย ฟังเสียงด้วย สูดกลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย ใน

ขณะเดียวกัน มีอยู่ มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคน ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี

เห็นรูปด้วย ฟังเสียงด้วย กลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย

ในขณะเดียวกัน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณ ๕

เกิดขึ้นในลำดับแห่งกันและกันแล.

อนันตรปัจจยกถา จบ

อรรถกถาอนันตรปัจจยกถา

ว่าด้วย อนันตรปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนันตรปัจจัย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า วิญญาณเหล่านี้เกิด

ติดต่อกันและกันไม่มีอะไรคั่น เพราะเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยรวดเร็ว

ในการเห็นรูป และการฟังเสียงเป็นต้น ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

คำถามของสกวาทีว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ

หรือ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

สกวาทีกล่าวคำว่า โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว

(อันที่จริงโสตวิญญาณนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์) เพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า

โสตวิญญาณพึงเกิดในลำดับแห่งจักขุวิญญาณไซร้ โสตวิญญาณนั้นก็

พึงมีรูปเป็นอารมณ์เหมือนวิปากมโนธาตุ คือสัมปฏิจฉนจิตที่เกิดในลำดับ

แห่งจักขุวิญญาณ. ในปัญหาทั้งหลายว่า โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยจักขุและรูปหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มีในพระสูตร แต่

เมื่อปรวาทีนั้นกำหนดถึงความเกิดขึ้นแห่งอนันตรปัจจัย จึงตอบรับรอง

ด้วยสามารถแห่งลัทธิ.

ข้อว่า จักขุวิญญาณอันนั้น โสตวิญญาณก็อันนั้นแหละหรือ

ความว่า สกวาทีย่อมถามเปรียบเทียบการเกิดติดต่อกันของปฐมชวนะ

กับทุติยชวนะนั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นไปเพราะเป็นมโนวิญญาณฉันใด

จักขุวิญญาณนั้นนั่นแหละเกิดติดต่อกับโสตวิญญาณ ฉันนั้นหรือ. พึงทราบ

เนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้.

คำว่า บุคคลบางคนฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น ย่อมแสดงถึงความ

เกิดสับสนกันแห่งวิญญาณ เพราะความเปลี่ยนไปโดยรวดเร็วในเพราะ

การประชุมแห่งอารมณ์ แต่มิใช่แสดงถึงความที่วิญญาณเหล่านั้นเป็น

อนันตรปัจจัย คือเกิดติดต่อกัน หรือเกิดในลำดับซึ่งกันและกัน เพราะ

ฉะนั้น ปัญหานี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ถึงความที่จักขุวิญญาณเป็นอนันตรปัจจัย

กับโสตวิญญาณ ดังนี้แล.

อรรถกถาอนันตรปัจจยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

อริยรูปกถา

[๑๕๖๘] สกวาที อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มหาภูตรูปเป็นกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มหาภูตรูปเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูปเป็นอนาสวะ เป็นอสัญโญชนียะ เป็น

อคันถนียะ เป็นอโนฆนียะ เป็นอโยคนียะ เป็นอนีวรณียะ เป็นอปรามัฏฐะ

เป็นอนุปาทานิยะ เป็นอสังกิเลสิกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มหาภูตรูป เป็นอนาสวะ ฯลฯ เป็นอสังกิเลสสิกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

๑. อนาสวะ แปลว่า ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้คำต่อ ๆ ไปก็แปลอย่างเดียวกัน เช่น อสัญโญชนียะ

แปลว่า ไม่มีอารมณ์ของสังโยชน์ ดูนิทเทสในธรรมสังคณีปกรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

ส. มหาภูตรูป เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนียะ ฯลฯ เป็น

สังกิเลสิกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยรูป เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนียะ ฯลฯ เป็น

สังกิเลสิกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น อริยรูปก็อาศัยมหาภูตรูป น่ะสิ.

อริยรูปกถา จบ

อรรถกถาอริยรูปกถา

ว่าด้วย อริยรูป

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอริยรูป คือรูปของพระอริยะ หรือรูปเป็นอริย.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย

ว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเป็นอุปาทารูป คือรูปอาศัย เพราะ

พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือมหาภูตรูป ๔

๑. สาสวะ แปลว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้คำต่อ ๆ ไป ก็แปลโดยนัยเดียวกัน เช่น สัญโญชนียะ

แปลว่า เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ดูนิทเทสในธรรมสังคณีปกรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ คืออุปาทารูป ๒๔ ดังนี้ คำถามของสกวาที

ว่า อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบ

วิเคราะห์คำว่า อริยรูป ในปัญหานั้น ดังนี้ว่า รูปแห่งพระอริยะทั้งหลาย

ชื่อว่า อริยรูป หรือว่า รูป คือ อริยะ ชื่อว่า อริยรูป. ในปัญหานั้น ปรวาที

ตอบรับรองว่า ใช่ เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ถูกถามว่า อริยรูปเป็นกุศลหรือ

ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นเหละ. แม้ในคำถามว่า อริยรูป

เป็นอนาสวะ เป็นอาสวะ เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระสูตรว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น อธิบายว่า ยกเว้น

มหาภูตรูปเสียแล้ว ย่อมแสดงถึงความที่รูปทั้งหลายที่เหลือเป็นอุปาทารูป

มิใช่แสดงถึงความที่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเหล่านั้นเป็นรูป จริงอยู่

ความที่สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะเหล่านั้นไม่สำเร็จเป็นไปสักอย่าง

ความเป็นอุปาทารูปของสัมมาวาจาเป็นต้นนั้นจะมีมาแต่ที่ไหน เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จดังคำที่อ้างนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาอริยรูปกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

อัญโญ อนุสโยติกถา

[๑๕๗๐] สกวาที กามราคานุสัยอย่างหนึ่ง กามราคปริยุฏฐาน

ก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กามราคะอย่างหนึ่ง กามราคปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะอันนั้น กามราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคานุสัยอันนั้น กามราคปริยุฏฐานก็อันนั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๑] ส. ปฏิฆานุสัยอย่างหนึ่ง ปฏิฆปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆะอย่างหนึ่ง ปฏิฆปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิฆะอันนั้น ปฏิฆปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฏิฆานุสัยอันนั้น ปฏิฆปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๒] ส. มานานุสัยอย่างหนึ่ง มานปริยุฏฐาน ก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานะอย่างหนึ่ง มานปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มานะอันนั้น มานปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มานานุสัยอันนั้น มานปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๓] ส. ทิฏฐานุสัยอย่างหนึ่ง ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิอย่างหนึ่ง ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิอันนั้น ทิฏฐิปยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐานุสัยอันนั้น ทิฏฐิปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๔] ส. วิจิกิจฉานุสัยอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อย่าง

หนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉาอย่างหนึ่ง วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอันนั้น วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉานุสัยอันนั้น วิจิกิจฉาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๕] ส. ภวราคานุสัยอย่างหนึ่ง ภวราคปริยุฏฐานก็อย่าง

หนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคะอย่างหนึ่ง ภวราคปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ภวราคะอันนั้น ภวราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ภวราคานุสัยอันนั้น ภวราคปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๖] ส. อวิชชานุสัยอย่างหนึ่ง อวิชชาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชาอย่างหนึ่ง อวิชชาปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อวิชชาอันนั้น อวิชชาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อวิชชานุสัยอันนั้น อวิชชาปริยุฏฐานก็อันนั้นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๗๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยอย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากฤต เป็นไป

อยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พึงกล่าวว่า ผู้มีจิตอันปริยุฏฐานกลุ้มรุม หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็อย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

น่ะสิ.

ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลหรืออัพยากฤต เป็นไป

อยู่ พึงกล่าวว่า ผู้มีราคะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงกล่าวว่า มีจิตอันปริยุฏฐานกลุ้มรุม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็อย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็อย่างหนึ่ง

น่ะสิ.

อัญโญ อนุสโยติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

อรรถกถาอัญโญ อนุสโยติกถา

ว่าด้วย อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง คืออย่างอื่นจากปริยุฏฐาน.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า

ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตเป็นกุศล หรืออัพยากตะกำลังเป็นไป พึงกล่าวได้ว่า

เขามีอนุสัย แต่ไม่พึงกล่าวว่าเป็นผู้มีปริยุฏฐาน เพราะฉะนั้น อนุสัยก็

เป็นอย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า

กามราคานุสัยอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่อง

อนุสัยกถา ในหนหลังนั้นนั่นแหละ.

อนึ่ง คำว่า ผู้มีอนุสัย เป็นต้น ท่านย่อมแสดงซึ่งความที่คำอัน

บุคคลพึงกล่าวว่า ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัยเพราะความที่ผู้นั้นยังมิได้

ละอนุสัยในขณะนั้น และย่อมแสดงซึ่งความที่คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า

บุคคลเป็นผู้มีปริยุฏฐานเพราะกิเลสอนุสัยนั้นยังมิได้เกิดขึ้น มิใช่แสดง

ถึงความที่อนุสัยกิเลสเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐานกิเลส เพราะฉะนั้น

คำที่ยกมาอ้างนั้น จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าอนุสัยเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐาน

ดังนี้แล.

อรรถกถาอัญโญอนุสโยติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา

[๑๕๗๘] สกวาที ปริยุฏฐานไม่ประกอบกับจิต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ

โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปริยุฏฐาน วิปปยุตจากจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล

จิตเศร้าหมอง ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล

จิตเศร้าหมอง มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิต

เป็นอกุศล จิตเศร้าหมอง มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปริยุฏฐานไม่ประกอบ

กับจิต ดังนี้.

ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

อรรถกถาปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา

ว่าด้วย ปริยุฏฐานกิเลสไม่ประกอบจิต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปริยุฏฐานกิเลสไม่ประกอบจิต. ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะ

เป็นต้นย่อมเกิดขึ้น แม้มนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังคำที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะผู้เจริญในกาลบางคราวแล บุคคล

ย่อมมนสิการโดยความเป็นของสวยงามด้วยคิดว่า เราจักมนสิการโดย

ความเป็นของไม่งาม ดังนี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปริยุฏฐานกิเลสจึงไม่

ประกอบกับจิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้นเพราะมีนัย

ดังที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

ปริยาปันนกถา

[๑๕๗๙] สกวาที รูปราคะ นอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องใน

รูปธาตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวง

หาอุปบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน

สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น

อันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กามราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น

ธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะ

สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน จะมีวัตถุเป็น

อันเดียวกัน จะมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ ก็หา

มิได้. กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ ก็หามิได้ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กามราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่

เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯลฯ

จะมีอารมณ์อันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ก็หามิได้ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปราคะ นอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องอยู่

ในรูปธาตุ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

[๑๕๘๐] ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ นับเนื่องในสัทท-

ธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน

เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๑] ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

นับเนื่องในสัททธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับ

เนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ นอน

เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปราคะ นอนเนื่องในรูปธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับ

เนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

[๑๕๘๒] ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรูปราคะ เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวง

หาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน

สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น

อันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปราคะ จะเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ จะเป็นธรรม

แสวงหาอุบัติ จะเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯลฯ จะมี

อารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ก็หามิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อรูปราคะ ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่

เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ฯลฯ จะมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิต

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อรูปราคะ

นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ.

[๑๕๘๓] ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ นับเนื่องในสัททธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน

เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๔] ส. สัททราคะ นอนเนื่องในสัททธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

นับเนื่องในสัททธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส .อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอน

เนื่องในโผฏฐัพพธาตุ แต่ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรูปราคะ นอนเนื่องในอรูปธาตุ ไม่พึงกล่าวว่า

นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปราคะนอนเนื่องในรูปธาตุ นับเนื่อง

ในรูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

ส. ถูกแล้ว.

ป. กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องใน

กามธาตุ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปราคะนอนเนื่องในรูปธาตุ

นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ

ปริยาปันนกถา จบ

อรรกถาปริยาปันนกถา

ว่าด้วย ธรรมที่นับเนื่องกัน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรมที่นับเนื่องกัน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี

ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า กามราคะ คือ

ความยินดีในกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นอนเนื่องในกามธาตุ นับ

เนื่องในกามธาตุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้รูปราคะ คือความยินดีในรูป

ก็ชื่อว่า นอนเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุ นับเนื่องกันด้วยรูปธาตุและ

อรูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูปราคะ เป็นต้น โดยหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในคำเหล่านั้น คำว่า นอนเนื่อง

อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า กามราคะย่อมนอนเนื่องด้วยสามารถแห่ง

การเกิดพร้อมกับกามธาตุ กล่าวคือกามวิตก ฉันใด แม้รูปราคะก็เป็น

รูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ. คำว่า นับเนื่อง อธิบายว่า สกวาที

ย่อมถามว่าเหมือนอย่างว่า การนับเนื่องนั้นชื่อว่านับเนื่องกันด้วยกามธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

เพราะนับเนื่องกันด้วยอำนาจกิเลสกามของกามธาตุ ๓ อย่าง ฉันใด แม้

รูปราคะก็เป็นสภาพที่นับเนื่องด้วยรูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ

ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่กำหนดความประสงค์ของสกวาทีนั้น จึงตอบรับรองว่า

ใช่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิอย่างเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว

คำว่า เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นต้น เพื่อจะให้ปรวาทีกำหนด

เนื้อความนั้น และเพื่อถามเทียบเคียงกับจิตที่แสวงหาสมาบัติอันบัณฑิต

นับพร้อมแล้วว่ากุศล วิปากและกิริยาจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ

เนื้อความตามพระบาลีนั่นแหละ. แม้คำว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ

นับเนื่องด้วยกามธาตุมิใช่หรือ นี้ ย่อมแสดงถึงความที่กามราคะนั่นแหละ

เป็นธรรมชาติที่นอนเนื่องในกามธาตุด้วย เป็นสภาพที่นับเนื่องในกามธาตุ

ด้วย มิใช่แสดงถึงความที่ธาตุนอกนี้นอนเนื่องและนับเนื่องในธาตุนอกนี้

ดังนี้แล.

อรรถกถวปริยาปันนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

อัพยากตกถา

[๑๕๘๖] สกวาที ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป

เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกเเล้ว.

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่สัมปยุต

ด้วยทิฏฐิ เป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๗] ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ

เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ส. ทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๘๘] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐิไม่มีผล ไม่มีวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทิฏฐิมีผล มีวิบาก มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทิฏฐิมีผล มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทิฏฐิ

เป็นอัพยากฤต.

[๑๕๘๙] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทษทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีมิจฉาทิฏฐิ

เป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โทษทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี

มิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๙๐] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ มิจฉา-

ทิฏฐิแลเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิป็นกุศล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. ม. ม. ๑๓/๒๕๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต.

[๑๕๙๑] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ เรา

กล่าวคตของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒

อย่าง คือ นรก หรือ กำเนิดดิรัจฉาน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต

ดังนี้.

[๑๕๙๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ คำว่า

โลกเที่ยงนี้ เรามิได้พยากรณ์ คำว่า โลกขาดสูญนี้ เราก็มิได้พยากรณ์

คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า โลกไม่มีที่สุด คำว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น

คำว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ

คำว่า สัตว์เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่

ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะ คำว่า สัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่

เบื้องหน้าแต่มรณะนี้ เราก็มิได้พยากรณ์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

๑. ม. ม. ๑๓/๘๕.

๒. ม.มู. ๑๓/๒๔๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐิก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ.

[๑๕๙๓] ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กายกรรมใดก็ดี อันบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ

ฯลฯ วจีกรรมใดก็ดี ฯลฯ มโนกรรมใดก็ดี อันบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ

สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ เจตนาใดก็ดี ความปรารถนาใดก็ดี ความ

ตั้งใจใดก็ดี สังขารเหล่าใดก็ดี ของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อผลอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า

ชอบใจ เพื่อสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ดังนี้ เป็นสูตรมี

อยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตน่ะสิ.

อัพยากตกถา จบ

อรรถกถาอัพยากตกถา

ว่าด้วย อัพยากตะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเป็นอัพยากตะ คือทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์. ในเรื่องนั้น อัพยากตะมี ๔ คือ วิปาก กิริยา รูป และ

๑. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๘๙.

๒. คำว่า อพฺยากต แปลว่า ไม่ทรงพยากรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

พระนิพพาน ทิฏฐิท่านเรียกว่า เป็นอัพยากตะ เพราะความเป็นธรรมไม่

ให้ผล คือไม่ให้ประโยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวัจฉะ

ทิฏฐิคือความเห็นว่า โลกเที่ยง เป็นต้นนี้แล เราไม่พยากรณ์แล้ว เพราะ

ความที่โลกนั้นเป็นของอันเราไม่กล่าวโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น.

แต่ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะ

ทั้งหลายว่า ทิฏฐิเป็นอัพยกตะ เป็นราวกะอัพยากตะแรก คือวิปาก-

อัพยากตะ เพราะไม่ถือเอาวิภาคนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ทิฏฐิ

เป็นอัพยากตะหรือ เป็นต้น ก็เพื่อจะจำแนกเนื้อความนั้นแก่ชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้พึงทราบตามพระบาลี

นั่นแล.

อรรถกถาอัพยากตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

อปริยาปันนกถา

[๑๕๙๔] สกวาที ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค

เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล เป็นอนาคา-

มิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอรหัตผล เป็นสติปัฏฐาน

เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๙๕] ป. ไม่พึงกล่าว ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากกำหนัดในกามทั้งหลาย

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ปราศจากทิฏฐิ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐิเป็นอปริยาปันนะ น่ะสิ.

อปริยาปันนกถา จบ

อรรถกถาอปริยาปันนกถา

ว่าด้วย โลกุตตรธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอปริยาปันนะ คือโลกุตตระ. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ปุถุชนผู้ได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

ฌานพึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้

กล่าวว่าเป็นผู้มีทิฏฐิไปปราศแล้ว เหตุใด เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิจึงเป็น

อปริยาปันนะ คือ โลกุตตรธรรม ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตาม

พระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอปริยาปันนก จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา ๒. สฬายตนุปปัตติกถา ๓. อนันตร-

ปัจจยกถา ๔. อริยรูปกถา ๕. อัญโญอนุสโยติกถา ๖. ปริยุฏฐานัง

จิตตวิปปยุตตันติกถา ๗. ปริยาปันนกถา ๘. อัพยากตกถา ๙. อปริยา-

ปันนกถา.

วรรคที่ ๑๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

วรรคที่ ๑๕

ปัจจยตากถา

[๑๕๙๖] สกวาที ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย ด้วยเหตุ

นั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย และ เป็นปัจจัย

โดยอธิปติปัจจัย

[๑๕๙๗] ส. ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น

ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย

[๑๕๙๘] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น

ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็น

อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ

เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย

อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทรีย์ปัจจัย.

[๑๕๙๙] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์

แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น

องค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย

อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัย โดยมรรคปัจจัย.

[๑๖๐๐] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ เป็น

ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย.

[๑๖๐๑] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น

อาหารด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ

เป็นอาหารด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติ-

ปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย.

[๑๖๐๒] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น

อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ

เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดย

อธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.

[๑๖๐๓] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และ

เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย

[๑๖๐๔] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น

อินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ

เป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย

และ เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย.

[๑๖๐๕] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็น

องค์แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและ

เป็นองค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัย

โดยอธิปติปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย.

[๑๖๐๖] ส. ปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้นและ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

ทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้น

และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

(อริยธรรม) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย.

[๑๖๐๗] ส. กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง

กุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-

ปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย

อาเสวนปัจจัย.

[๑๖๐๘] ส. อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง

อกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อกุศลธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-

ปัจจัย แห่งอกุศลธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็นปัจจัยโดย

อาเสวนปัจจัย.

[๑๖๐๙] ส. กิริยาพยากตธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตร-

ปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

ส. หากว่า กิริยาพยากตธรรมก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดย

อนันตรปัจจัย แห่งกิริยาพยากตธรรมหลัง ๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และ เป็น

ปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย.

[๑๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมณ-

ปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย

ก็ได้ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นปัจจัยท่านก็จำกัดไว้ น่ะสิ.

ปัจจยตากถา จบ

อรรถกถาปัจจยตากถา

ว่าด้วย ความเป็นปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเป็นปัจจัย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยด้วย

เหตุปัจจัยแล้ว ธรรมนั้นก็เป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดเหล่านั้น

เท่านั้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยด้วยอารัมมณะ อนันตระ สมนันตรปัจจัย หรือ

ว่าธรรมใดเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดด้วยอารัมมณปัจจัยแล้ว ธรรมนั้น

ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละด้วย อนันตระและสมนันตร-

ปัจจัย เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความเป็นปัจจัยท่านจำกัดไว้แล้ว ดังนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาปัจจยตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

อัญญมัญญปัจจยกถา

[๑๖๑๑] สกวาที สังขารเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่

พึงกล่าวว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า แม้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยก็เกิดสังขารได้ แม้เพราะ

สังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้.

[๑๖๑๒] ส. อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่พึง

กล่าวว่า แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหาได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงต้องกล่าวว่า แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยก็เกิดอุปาทานได้ แม้เพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหาได้.

[๑๖๑๓] ป. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชราและมรณะเป็น

ปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

หรือ ?

ส. ไม่มี.

ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารก็เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

เท่านั้น ไม่พึงกล่าวว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ อุปาทาน

เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยเท่านั้น ไม่พึงกล่าวว่า แม้เพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัยก็เกิดตัณหาได้.

[๑๖๑๔] ส. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

จึงเกิดเป็นนามรูป แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็เกิดวิญญาณได้ ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น สังขารก็เกิดแม้เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาก็เกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อุปาทานก็เกิดแม้เพราะตัณหา

เป็นปัจจัย ตัณหาก็เกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย น่ะสิ.

อัญญมัญญปัจจยกถา จบ

อรรถกถาอัญญมัญญปัจจยกถา

ว่าด้วย อัญญมัญญปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอัญญมัญญปัจจัย. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายย่อมเกิด

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นี้เท่านั้นเป็นแบบแผน คำว่าอวิชชาย่อมเกิดแม้

เพราะสังขารเป็นปัจจัยไม่มีในลัทธิ เพราะฉะนั้น อวิชชาเท่านั้นจึงเป็น

ปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย แต่สังขารทั้งหลายหาได้เป็นปัจจัยแก่อวิชชาไม่

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น เพื่อแสดงเนื้อความว่า แม้

ความเป็นปัจจัยแก่กันและกันของปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาและสังขาร

เป็นต้นมีอยู่ ดังนี้ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในคำว่า อวิชชาเกิด

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

พร้อมกับสังขารมิใช่หรือ นี้ท่านถือเอาอปุญญาภิสังขารอย่างเดียว

เพราะฉะนั้น ในคำว่า แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัยก็เกิดอวิชชาได้ นี้

บัณฑิตพึงทราบความเป็นปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะ อัญญมัญญะ อัตถิ

อวิคตะสัมปยุตตปัจจัย.

ในคำว่า แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยก็เกิดตัณหา นี้ อธิบายว่า

ยกเว้นกามุปาทานเสียแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า อุปาทานที่เหลือ ๓ ย่อม

เป็นปัจจัยแก่ตัณหา ดุจสังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่อวิชชา. คำที่เหลือ

พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ. คำถามว่า เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย

เป็นต้น เป็นของปรวาที. คำถามว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิด

นามรูป เป็นต้น เป็นของสกวาที ดังนี้แล.

อรรถกถาอัญญมัญญปัจจยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

อัทธากถา

[๑๖๑๕] สกวาที อัทธา คือ ระยะกาล เป็นปรินิปผันนะ ได้แก่

สภาวะที่สำเร็จแล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อัทธาส่วนอดีต เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อัทธาส่วนอนาคต เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อัทธาส่วนปัจจุบัน เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต

เป็นอัทธาส่วนอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธาส่วนอดีต เป็น ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอนาคต

เป็นอัทธาส่วนอนาคต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. อัทธาส่วนอนาคต เป็น ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน

เป็นอัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธาส่วนปัจจุบัน เป็น ๕ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นอัทธาส่วนอดีต ขันธ์ ๕ ที่

เป็นอนาคต เป็นอัทธาส่วนอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอัทธาส่วน

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธา เป็น ๑๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อายตนะ

๑๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น

อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธา เป็น ๓๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต ธาตุ ๑๘ ที่

เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบันเป็นอัทธาส่วน

ปัจุจบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธา เป็น ๕๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตเป็นอัทธาส่วนอดีต อินทรีย์

๒๒ ที่เป็นอนาคตเป็นอัทธาส่วนอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบันเป็น

อัทธาส่วนปัจจุบัน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัทธาเป็น ๖๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๑๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อัทธา เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กถาวัตถุมี ๓ อย่าง. ๓ อย่างเป็นไฉน ? บุคคลพึงกล่าวกถาปรารภระยะ

กาลส่วนอดีตว่า ระยะกาลที่ล่วงแล้วได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึง

กล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนอนาคตว่า ระยะกาลส่วนอนาคตจักเป็น

อย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนปัจจุบัน ณ บัดนี้ว่า

ปัจจุบันเป็นอยู่ในบัดนี้อย่างนี้ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ

มี ๓ อย่าง ฉะนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น อัทธาก็เป็นปรินิปผันนะ น่ะสิ.

อัทธากถา จบ

อรรถกถาอัทธากถา

ว่าด้วย ระยะกาล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องระยะกาล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดว่า ชื่อว่า กาลกล่าวคือ เวลาเป็นสภาพสำเร็จแล้วมีอยู่ เพราะอาศัย

๑. องฺ. ติก. ๒๐/๕๐๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุเหล่านี้มี ๓ คือเรื่องที่กล่าว

ปรารภอดีต อนาคต และปัจจุบัน ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อัทธา คือ

อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล เป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดง

วิภาค คือการจำแนก แก่ชนเหล่านั้นว่า ชื่อว่ากาลอะไร ๆ เป็นสภาวะ

สำเร็จแล้วไม่มี แต่ขันธ์ทั้งหลายขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมีรูปเป็นต้นที่สักว่า

บัญญัติไว้เพราะกาล เป็นของสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว มีอยู่ ดังนี้ คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจงกล่าวคำว่า เป็นรูป เป็นต้น

เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า กาลนั้นเป็นของสำเร็จแล้วมีอยู่ไซร้ กาลนั้นก็พึงเป็น

เช่นขันธ์ใดขันธ์หนึ่งมีรูปขันธ์เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือ

พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาอัทธากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ขณลยมุหุตตกถา

[๑๖๑๗] สกวาที ขณะเป็นปรินิปผันนะ ลยะ เป็นปรินิปผันนะ

มุหุตตะ เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ?

ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า มุหุตตะเป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กถาวัตถุนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ? บุคคลพึงกล่าวกถาปรารภ

ระยะกาลส่วนอดีตว่า ระยะที่ล่วงแล้วได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้บ้าง

พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลส่วนอนาคตว่า ระยะกาลส่วนอนาคตจักเป็น

อย่างนี้ ดังนี้บ้าง พึงกล่าวกถาปรารภระยะกาลปัจจุบัน ณ บัดนี้ว่า

ปัจจุบันมีอยู่ ณ บัดนี้ อย่างนี้ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓

อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น มุหุตตะ ก็เป็นปรินิปผันนะ น่ะสิ.

ขณลยมุหุตตกถา จบ

๑. ระยะเวลา ๑๐ นิ้วเป็นขณะหนึ่ง, ๑๐ ขณะเป็นลยะหนึ่ง, ๑๐ ลยะเป็นขณลยะหนึ่ง, ๑๐ ขณลยะเป็น

มุหุตตะหนึ่ง, ๑๐ มุหุตตะเป็นขณมุหุตตะหนึ่ง. อภิธานัปปทีปิกา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

อรรถกถาขณลยมุหุตตกถา

ว่าด้วย ขณะ ลยะ มุหุตตะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องขณะ คือครั้งหนึ่ง หรือคราวหนึ่ง ลยะ คือ

ประเดี๋ยวหนึ่ง มุหุตตะ คือ ครู่หนึ่ง. แม้ในเรื่อง ขณะลยะและมุหุตตะก็

นัยนี้นั่นแหละ คือนัยเดียวกับอัทธา เพราะขณะลยะมุหุตตะเหล่านี้แม้

ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของเวลานั่นแหละ.

อรรถกถาขณลยมุหุตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

อาสวกถา

[๑๖๑๙] สกวาที อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค

เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อาสวะเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวะ

เหล่าใด อาสวะเหล่านั้น มีอยู่พวกหนึ่ง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อาสวะ ๔ ก็ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

น่ะสิ.

อาสวกถา จบ

อรรถกถาอาสวกถา

ว่าด้วย อาสวะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอาสวะ ๔. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทว่า ชื่อว่า อาสวะอื่นยิ่งกว่าอาสวะ ๔ ไม่มี

อาสวะ ๔ จะพึงเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ด้วยอาสวะใดเล่า เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

อาสวะ ๔ เหล่านั้นไม่เป็นอาสวะ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า

เป็นมรรค เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า อาสวะเหล่านั้นไม่เป็น

อาสวะไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อาสวะเหล่านั้นก็พึงบรรลุ

เป็นภาวะแห่งมรรคเป็นต้น. คำที่เหลือในทีนี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาสวกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

ชรามรณกถา

[๑๖๒๐] สกวาที ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค

เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคก็เป็นโสดาปัตติมรรค

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคก็เป็นโสดาปัตติมรรค

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติผลก็เป็นโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ แห่งสกทาคามิผล

ฯลฯ แห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ แห่งอนาคามิผล ฯลฯ แห่งอรหัตมรรคก็

เป็นอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งอรหัตมรรคก็เป็นอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งอรหัตผลก็เป็นอรหัตผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชรามรณะแห่งสติปัฏฐาน แห่งสัมมัปปธาน แห่ง

อิทธิบาท แห่งอินทรีย์ แห่งพละ ฯลฯ ชรามรณะแห่งโพชฌงค์ ก็เป็น

โพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมก็เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นโลกิยะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้นก็เป็นโลกุตตระ น่ะสิ.

ชรามรณกถา จบ

อรรถกาชรามรณกถา

ว่าด้วย ชราและมรณะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชราและมรณะ. ในเรื่องนั้น ธรรมดาว่า ชรา

และมรณะไม่ควรกล่าวว่าเป็นโลกีย์หรือโลกุตตระ เพราะมิใช่เป็นสภาวะ

ที่สำเร็จแล้ว คือมิใช่เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเหมือนธรรมทั้งหลายมีรูป

เป็นต้น. จริงอยู่ในทุกมาติกาว่า โลกิยา ธมฺมา โลกุตฺตรา ธมฺมา ดังนี้

ชราและมรณะไม่สำเร็จในโลกิยบท ได้แก่ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘

และโลกุตตรบท ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน. ในปัญหานั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ชรา

และมรณะของโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระ เพราะไม่ถือเอาสภาวะนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาชรามรณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

สัญญาเวทยิตกถา

[๑๖๒๒] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดาปัตติมรรค

เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นโลกิยะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าเช่นนั้นก็เป็นโลกุตตระ น่ะสิ.

สัญญาเวทยิตกถา จบ

อรรถกถาสัญญาเวทยิตถา

ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือสมาบัติที่ดับ

สัญญาเวทนา. ในเรื่องนั้น ธรรมอะไร ๆ ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

หามีไม่ มีแต่ความดับขันธ์ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

นั้น จึงไม่ใช่โลกีย์ ไม่ใช่โลกุตตระ ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ

นิกายเหตุวาทนั่นแหละว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่เป็นโลกีย์

เพราะเป็นโลกุตตระ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อนนั่นแหละ.

อรรถกถาสัญญาเวทยิตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๒

[๑๖๒๓] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นกามาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นอรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นโลกุตตระ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นโลกิยะ น่ะสิ.

สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

อรรถกถาทุติยสัญญาเวทยิตกถา

ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธที่ ๒

บัดนี้ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ไม่เป็นโลกุตตระ เพราะเป็นโลกียะ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทะ

ทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที คำที่เหลือเช่นกับเรื่องก่อนนั่นแล.

อรรถกถาทุติยสัญญาเวทยิตนิโรธกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๓

[๑๖๒๕] สกวาที บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงกระทำกาละ

คือตาย หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด เวทนาอัน

เกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด สัญญาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด

เจตนาอันเกิดในสมัยมีความตายเป็นที่สุด จิตอันเกิดในสมัยมีความตาย

เป็นที่สุดของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อันเกิดในสมัยมี

ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ผัสสะ สัญญา เจตนา จิตอันเกิดในสมัยมี

ความตายเป็นที่สุด ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มี ก็ต้องไม่

กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ ดังนี้.

[๑๖๒๖] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ มีการทำกาละ บุคคลไม่มีเวทนา

มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้ไม่มีจิต มีการทำกาละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้มีจิต

มีการทำกาละ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะ มีการทำกาละ ฯลฯ บุคคลผู้

มีจิต มีการทำกาละ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

พึงทำกาละ ดังนี้.

[๑๖๒๗] ส. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน

กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟไม่พึง

เข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ยาพิษไม่พึงเข้าไป ศาตราไม่พึงเข้าไป ไฟ

ไม่พึงเข้าไป ในกายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ.

[๑๖๒๘] ส. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงทำกาละ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศาตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน

กายของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มิได้เข้านิโรธ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

ไม่พึงทำกาละ หรือ ?

ส. ไม่มี.

ป. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลเข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเข้าสัญญาเวท-

ยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละ.

[๑๖๒๙] ส. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุ-

วิญญาณ ไม่พึงทำกาละ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า นิยามอันเป็นเหตุนิยมว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม

ด้วยจักขุวิญญาณไม่พึงทำกาละ ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ด้วยจักขุวิญญาณ ไม่พึงทำกาละ.

สัญญาเวทยิตกถา ที่ ๓ จบ

อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตกถา

ว่าด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธที่ ๓

บัดนี้ ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะทั้งหลาย

ว่า แม้ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติพึงทำกาละได้ โดยถือหลักว่า

ชื่อว่าความแน่นอนไม่มีเพราะความที่สัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นธรรมดา

ดังเช่นคำว่า ผู้โน้นตาย ผู้โน้นยังไม่ตาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อ

แสดงถึงเวลาตายและมิใช่เวลาตาย เพราะความที่บุคคลแม้เข้าสมาบัติ

ก็มีความตายเป็นธรรมดา คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ผัสสะอันเกิดในสมัยมีความตายเป็น

ที่สุด เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอาการที่ว่าผัสสะอันเกิดในเวลาที่มีความตาย

เป็นธรรมดา ชื่อว่าพึงมีแก่ผู้กระทำกาละโดยอาการนั้นหรือ.

ถูกถามว่า บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการกระทำกาละ เป็นต้น ปรวาที

ตอบปฏิเสธโดยหมายเอาสัตว์ที่เหลือ คือนอกจากผู้เข้าสมาบัตินั้น.

ถูกถามคำว่า ยาพิษพึงเข้าไป เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธโดยหมาย

เอาอานุภาพแห่งสมาบัติ. แต่ตอบรับรองในครั้งที่ ๒ โดยหมายเอาสรีระ

ปกติ. ก็ถ้าเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ ชื่อว่าอานุภาพแห่งสมาบัติก็ไม่มี

ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงซักปรวาทีว่า มิได้เข้านิโรธหรือ.

คำถามว่า บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่พึงทำกาละหรือ

เป็นของปรวาที. ในปัญหาของปรวาทีว่า นิยามอันเป็นเหตุกำหนด

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

โดยแน่นอนมีอยู่ แต่ชื่อว่า นิยามอย่างนี้ไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น

สกวาทีจึงตอบปฏิเสธ. คำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ เป็นต้น

ที่สกวาทีกล่าวก็เพื่อแสดงว่า ครั้นเมื่อนิยามเช่นนี้แม้ไม่มีอยู่ สัตว์ก็ต้อง

ตายตามเวลาเท่านั้น ย่อมไม่ตายโดยมิใช่เวลา ดังนี้.

ในปัญหานั้น มีคำอธิบายว่า ถ้าว่า การทำกาละพึงมีเพราะความ

ไม่มีนิยามไซร้ การทำกาละนั้นก็จะพึงมีแม้แก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ

เพราะสัตว์ย่อมไม่ตายย่อมไม่เกิดด้วยวิญญาณ ๕ ดังนี้ เพราะฉะนั้น

ความผิดพลาดในพระสูตรพึงมี เหมือนการทำกาละย่อมไม่มีแก่ผู้พรั่งพร้อม

ด้วยจักขุวิญญาณ ฉันใด การทำกาละก็ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ

ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาตติยสัญญาเวทยิตนิโรธ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

อสัญญสัตตูปิกากถา

[๑๖๓๐] สกวาที สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพ

แห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูลคือ

อโมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิต-

นิโรธมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ ฯลฯ ปัญญาของ

บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กุศลมูลคืออโลภะ กุศลมูลคืออโทสะ กุศลมูล

คือ โมหะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของบุคคลผู้เข้าสัญญาเวท-

ยิตนิโรธไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้

เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.

[๑๖๓๑] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพ

แห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ของบุคคลผู้เข้า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะก็มีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคล

ผู้ไม่มีจิตก็มีการเจริญมรรคได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ บุคคลผู้มี

จิตมีการเจริญมรรคได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรคได้ ฯลฯ

บุคคลผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ-

สมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.

[๑๖๓๒] ส. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง

อสัญญสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ชน

เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ

ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้ในภพ

แห่งอสัญญสัตว์นั้น ผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา แม้

ในแห่งอสัญญสัตว์นั้นผู้เข้าถึงก็ไม่มีสัญญา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์.

อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา

ว่าด้วย สมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสมาบัติที่ให้เข้าถึงภพอสัญญสัตว์. ในเรื่องนั้น

ภาวนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ เป็นอสัญญาสมาบัติบ้าง

เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงมี ๒ คือ เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ. บรรดา

สมาบัติเหล่านั้น สมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงอสัญญสัตว์ของปุถุชนเป็น

โลกิยะ ที่เป็นของพระอริยะทั้งหลายเป็นโลกุตตระ แต่สมาบัติที่เป็นของ

พระอริยะนั้นย่อมไม่เป็นสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์

ก็ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาททั้งหลาย

ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นสมาบัติที่ให้เข้าถึงความเป็นอสัญญสัตว์

โดยไม่แปลกกัน เพราะไม่ทำวิภาคอย่างนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง

ด้วยอำนาจแห่งกุสลมูล คืออโลภะ เป็นต้น ว่ามีอยู่แก่ผู้เข้าอสัญญสมาบัติ

แต่ไม่มีแก่ผู้เข้านิโรธสมาบัติ จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ กุสลมูล...มีอยู่หรือ

เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

ในปัญหาว่า แม้ในนิโรธสมาบัตินี้ผู้เข้าก็ไม่มีสัญญา ได้แก่

ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เพราะการ

เข้าสมาบัติในธรรมวินัยนี้ด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคะ. คำว่า แม้ใน

ภพแห่งอสัญญสัตว์นั้น ก็ตรัสด้วยความเป็นอสัญญสัตว์นั่นแหละ เพราะ

ฉะนั้น ปรวาทีผู้ถือเอาปฏิญญานี้แล้วจึงให้ลัทธิตั้งไว้ แต่ก็ตั้งไว้โดย

อุบายลวง. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ความเป็นผู้ไม่มีสัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตหมายเอานิโรธสมาบัติในพระธรรมวินัยนี้ คำว่า แม้ในภพ

อสัญญสัตว์นั้น ได้แก่นิโรธสมาบัติของพระอนาคามีผู้เคลื่อนจากโลกนี้

ทีเดียว แม้เพราะเหตุนั้น ลัทธิที่ปรวาทีปฏิญญาตั้งไว้นี้ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้

เลย ดังนี้แล.

อรรถกถาอสัญญสัตตูปิกากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

กัมมูปจยกถา

[๑๖๓๔] สกวาที กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรม ก็

เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งผัสสะก็เป็น

อย่างหนึ่ง เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง

สัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง เจตนาเป็น

อย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งเจตนาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตเป็นอย่างหนึ่ง ความ

สั่งสมแห่งจิตก็เป็นอย่างหนึ่ง ศรัทธาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งศรัทธา

ก็เป็นอย่างหนึ่ง วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งวิริยะก็เป็นอย่างหนึ่ง

สติเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งสติก็เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง

ความสั่งสมแห่งสมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง ปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสม

แห่งปัญญาก็เป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งราคะก็

เป็นอย่างหนึ่ง ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งอโนตตัปปะ

ก็เป็นอย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓๕] ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น

อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม

ที่เป็นกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม

ที่เป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด

พร้อมกับกรรมที่สัมปุตด้วยสุขเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ที่

สัมปยุตด้วยอทุกขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ

กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ

กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด

พร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ

ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-

สุขเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓๖] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และกรรมที่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต และความสั่งสม

แห่งกรรมมีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่ความสั่งสม

แห่งกรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่กรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓๗] ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ กรรมก็ทำลาย

ไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับจิต และเมื่อจิตดับ

การสั่งสมแห่งกรรม ก็ทำลายไป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๓๘] ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ

ความสั่งสมแห่งกรรมไม่ทำลายไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมเกิดพร้อมกับจิต แต่เมื่อจิตดับ กรรมไม่ทำลาย

ไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกรรมมี การสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็เกิด

จากความสั่งสมแห่งกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมอันนั้น ความสั่งสมแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ

วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี และวิบากก็

เกิดจากความสั่งสมแห่งกรรม ทั้งวิบากก็มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

ส. ความสั่งสมแห่งกรรม ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบาก ไม่มีอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมเป็นอย่างหนึ่ง ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็น

อย่างหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ บุคคล

บางคนในโลกนี้ สร้างสมกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ

เบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียน

บ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง บุคคลนั้น ครั้นสร้างสมกายสังขารที่มี

ความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง สร้างสมวจีสังขาร ฯลฯ

มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อม

เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะ

ทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้อง

บุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง

บุคคลนั้นเป็นผู้อันผัสสะทั้งหลาย ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ที่ไม่มีความ

เบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง

ที่ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ เกลือกกลั้วดังที่มีมนุษย์ เทวดา

บางจำพวก และวินิปาติกะบางจำพวกเป็นอยู่ ดูก่อนปุณณะ ความเข้าถึง

แห่งสัตว์น้อยใหญ่เป็นอย่างนี้แล เขาทำกรรมใด ย่อมเข้าถึงด้วยกรรมนั้น

ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงแล้วนี้ ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับมรดกแห่งกรรม แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง

ความสั่งสมแห่งกรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง.

กัมมูปจยกถา จบ

วรรคที่ ๑๕ จบ

ตติยปัณณาสก์ จบ

อรรถกถากัมมูปจยกถา

ว่าด้วย ความสั่งสมกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสั่งสมกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี

ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า ความสั่งสมกรรม

เป็นอย่างหนึ่งนอกจากกรรม ทั้งเป็นจิตตวิปปยุต เป็นอัพยากตะ เป็น

อนารัมมณะ. คำถามของสกวาทีว่า กรรมเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดย

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

เพื่อจะท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า ความสั่งสมกรรมนอกไปจากกรรมไซร้

ความสั่งสมผัสสะเป็นต้นก็จะพึงมีนอกจากผัสสะเป็นต้น ดังนี้ จึงกล่าว

คำว่า ผัสสะเป็นอย่างหนึ่ง เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความ

ไม่มีในลัทธิ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรมเกิดพร้อมกับกรรม

๑. ม.ม. ๑๓/๘๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาการไม่ประกอบกับจิต แต่ตอบรับรอง

หมายเอาการสัมปยุตกับจิต. ในปัญหาว่า ความสั่งสมแห่งกรรม...เป็น

กุศลหรือ ก็ตอบปฏิเสธหมายเอาวิปปยุต และตอบรับรองหมายเอา

สัมปยุต แม้ในปัญหาทั้งหลายว่า ความสั่งสมกรรม ... เป็นอกุศล ข้างหน้า

ก็นัยนี้. ถูกถามว่า ความสั่งสมกรรม...มีอารมณ์หรือ ปรวาทีปรารถนา

ความไม่มีอารมณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. คำว่า

เมื่อจิตดับ ความว่า เมื่อจิตกำลังดับในกาลใด กรรมก็กำลังแตกดับใน

กาลนั้น อนึ่ง คำว่า จิตนี้ท่านประกอบปฐมาวิภัติแต่ลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ครั้นเมื่อจิตกำลังแตกดับ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบพระบาลีนี้เท่านั้น ว่า.-

ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตกับจิตย่อมแตกดับ ที่วิปปยุตย่อมไม่

แตกดับ ในปัญหานั้น เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองด้วย ปฏิเสธ

ด้วย. คำว่า เมื่อกรรมมี ความสั่งสมแห่งกรรมก็มี ความว่า ครั้นเมื่อ

กรรมมีอยู่ ความสั่งสมกรรมก็มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ความสั่งสมกรรมตั้งอยู่

เฉพาะในกรรม วิบากย่อมเกิดเพราะความสั่งสมกรรมนั่นแหละ. ลัทธิ

ของปรวาทีว่า ก็ครั้นเมื่อกรรมนั้นดับแล้ว ความสั่งสมกรรมย่อมตั้งอยู่

จนถึงการเกิดขึ้นแห่งวิบาก ดุจพืชย่อมตั้งอยู่เพราะการเกิดขึ้นแห่งหน่อ

ของพืช เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง. คำว่า กรรมอันนั้น ความสั่งสม

กรรมก็อันนั้นแหละ วิบากแห่งกรรมก็อันนั้นแหละ ความว่า ลัทธิของ

ปรวาทีนั้นว่า ความสั่งสมกรรมมีอยู่ในกรรม ความสั่งสมกรรมนั้นย่อม

ตั้งอยู่เพียงใดแต่การเกิดขึ้นแห่งวิบาก เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึง

ถามถึงธรรมแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นว่าเป็นสภาพเดียวกันหรือ. สกวาทีย่อม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

ถามเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า แม้วิปากธัมมธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้วิบาก

เกิดขึ้น เป็นธรรมเนื่องด้วยอารมณ์นั่นเทียว เหมือนวิบากในบทว่า ทั้ง

วิบากก็มีอารมณ์หรือ. ส่วนปรวาทีตอบรับรองข้อหนึ่ง ปฏิเสธข้อหนึ่ง

ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. แม้ในปฏิโลมปัญหาก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ

ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถากัมมูปจยกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา ๓. อัทธากถา

๔. ขณลยมุหุตตกถา ๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา ๗. สัญญาเวทยิตกถา

๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตู-

ปิกกถา ๑๑. กัมมูปจยกถา

วรรคที่ ๑๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

วรรคที่ ๑๖

นิคคหกาถา

[๑๖๓๙] สกวาที บุคคลอื่น ข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด อย่า

ประทุษร้าย อย่าหลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น

อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สัญญา

ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ศรัทธาที่เกิดแล้ว

วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว สติที่เกิดขึ้นแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิด

ขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๐] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ เพื่อ

ประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๑] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นเจริญมรรค เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ

โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๒] ส. บุคคลอื่นย่อมข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ

ยังมรรคให้เกิดเพื่อประโยชน์ แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๓] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่น

ทำให้ คนหนึ่งทำอีกคนหนึ่งเสวยผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๔] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลทำบาปด้วย

ตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเทียว ไม่ทำบาปด้วยตน ย่อมหมดจดด้วย

ตนเทียว ความหมดจด ความไม่หมดจดเป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะยัง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

คนอื่นให้หมดจดไม่ได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตเพื่อบุคคล

อื่นได้ดังนี้.

[๑๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความ

ชำนาญมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็น

มีความชำนาญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลอื่นข่มจิต

ของบุคคลอื่นได้.

นิคคหกถา จบ

อรรถกถานิคคหกถา

ว่าด้วย การข่ม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการข่ม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ผู้ใดมีกำลัง มีอำนาจในโลก ถ้าว่า

เขาไม่พึงอาจเพื่อข่มจิตของผู้อื่นได้ไซร้ ความมีกำลัง หรือความมีอำนาจ

จะมีประโยชน์อะไรแก่ชนเหล่านั้น ก็เพราะความเป็นผู้มีกำลังและมีอำนาจ

๑. ขุ.ธ. ๒๕/๒๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

บุคคลเหล่านั้น จึงข่มจิตของบุคคลเหล่าอื่นได้ ดังนี้ คำถามของสกวาที

ว่า บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่น เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ข่ม ได้แก่

การห้ามจิตมิให้ตกไปสู่สังกิเลส. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี

นั่นแล.

อรรถกถานิคคหกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

ปัคคหกถา

[๑๖๔๖] สกวาที บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นประคองได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด

อย่าประทุษร้าย อย่าหลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๗] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นยังกุศลมูลคืออโลภะให้เกิด ยังกุศลมูลคือ

อโทสะให้เกิด ยังกุศลมูลคืออโมหะให้เกิด ยังศรัทธาให้เกิด ยังวิริยะให้

เกิด ยังสติให้เกิด ยังสมาธิให้เกิด ยังปัญญาให้เกิด แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๘] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นประคองไว้ได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่

บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นประคองไว้ได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๔๙] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ละโมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ

เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๕๐] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นเจริญมรรค เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ

โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๕๑] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่น ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดเพื่อ

ประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๕๒] ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่น

ทำให้ คนหนึ่งทำคนหนึ่งเสวยผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลทำบาปด้วย

ตน ฯลฯ คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดไม่ได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้นก็พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นประคองจิต

ของบุคคลอื่นได้.

[๑๖๕๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นประคองจิตของบุคคลได้

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่งเป็นผู้มีความ

ชำนาญมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ชนผู้บรรลุความเป็นผู้มีกำลังมีอยู่ ชนซึ่ง

เป็นผู้มีความชำนาญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่าบุคคลอื่น

ประคองจิตของบุคคลอื่นได้.

ปัคคหกถา จบ

อรรถกถาปัคคหกถา

แม้ในกถาว่าด้วย การประคองจิต ก็นัยนี้นั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

สุขานุปปทานกถา

[๑๖๕๔] สกวาที บุคคลอื่นส่งความสุขให้บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นส่งความทุกข์ให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่นหรือ ส่ง

ความสุขของคนอื่น ๆ หรือ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่นก็ไม่ใช่

ส่งความสุขของคนอื่น ๆ ก็ไม่ใช่ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้นก็ไม่ใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลอื่นส่งความสุขของตนให้บุคคลอื่นก็

ไม่ใช่ ส่งความสุขของคนอื่น ๆ ก็ไม่ใช่ ส่งความสุขของบุคคลผู้รับนั้นก็

ไม่ใช่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

[๑๖๕๕] ส. บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแก่บุคคลอื่น สุขและทุกข์คนอื่นทำ

ให้คนหนึ่งทำ อีกคนหนึ่งเสวยผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๕๖] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่คนอื่นได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทรงขจัดทุกขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าของเรา ทรงขจัดอกุศลธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงประทานกุศลธรรม ทั้งหลายแก่ชนเป็น

อันมากหนอ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลอื่นก็ส่งความสุขแก่บุคคลอื่นได้

น่ะสิ.

สุขานุปปทานกถา จบ

๑. ม.ม. ๑๓/๑๗๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

อรรถกถาสุขานุปปทานกถา

ว่าด้วย การส่งความสุข

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการส่งความสุข. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเหตุวาทว่า บุคคลอื่นส่งความสุขให้แก่บุคคล

อื่นได้ เพราะอาศัยพระสูตรที่พระอุทายีเถระกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายแก่ชนเป็นอันมากหนอ เป็นต้น

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ถูกสกวาทีถามว่า บุคคลอื่นส่งความทุกข์ให้แก่บุคคลอื่นได้หรือ ปรวาที

เมื่อไม่เห็นบทพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาว่า บุคคลอื่น

ส่งความสุขของตน เป็นต้น ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธ ด้วยถ้อยคำ

ว่า ใคร ๆ ไม่อาจมอบความสุขของตนหรือของผู้อื่นให้แก่ใคร ๆ ได้ ก็

ชื่อว่าการส่งความสุขในที่นี้จะพึงมีได้อย่างไร. ส่วนในปัญหาว่า บุคคล

อื่นส่งความสุขของตนให้แก่บุคคลอื่น ก็ไม่ใช่ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรอง

ตามลัทธิว่า ขึ้นชื่อว่าการส่งความสุขเช่นนี้ไม่อาจมีได้. คำว่า ก็ไม่ต้อง

กล่าว สกวาทีกล่าวแล้วเพราะไม่มีความสุขเช่นนั้น. พระบาลีว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าของเราทรงประทานสุขธรรมทั้งหลายให้ เป็นต้น ย่อม

แสดงซึ่งความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นปัจจัยเพื่อให้เกิดความสุข

แก่ชนทั้งหลาย ไม่ใช่แสดงการส่งความสุขให้แก่ชนทั้งหลายเหมือนการ

ให้พัสดุต่าง ๆ มีอาหารเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้าง

ดังที่ยกมานั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสุขานุปปทานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

อธิคคัยหมนสิการกถา

[๑๖๕๗] สกวาที มนสิการรวบยอดได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า จิต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น ฯลฯ ด้วยเวทนานั้น

ฯลฯ ด้วยสัญญานั้น ฯลฯ ด้วยเจตนานั้น ฯลฯ ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ด้วยวิตกนั้น

ฯลฯ ด้วยวิจารนั้น ฯลฯ ด้วยปีตินั้น ฯลฯ ด้วยสติ ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้น

ด้วยปัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต

ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต

ว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน

ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการปัจจุบัน

ว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีต ว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต

ว่า อนาคตดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอดีตว่า อดีต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการอนาคต

ว่าอนาคต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

ปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบันดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตว่า อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังมนสิการปัจจุบันว่า ปัจจุบัน ดังนี้อยู่ ก็มนสิการ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

อดีตว่า อดีต ดังนี้ได้ มนสิการอนาคตได้ อนาคต ดังนี้ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๓ ฯลฯ แห่งจิต ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๕๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่ามนสิการรวบยอดได้ หรือ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดเห็นด้วย

ปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทาง

แห่งวิสุทธิ เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น

ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นี่ทางแห่งวิสุทธิ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. ถ้าอย่างนั้นก็มนสิการรวบยอดได้น่ะสิ.

อธิคคัยหมนสิการกถา จบ

อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา

ว่าด้วย มนสิการรวบยอด

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนสิการรวบยอด คือ การรวบรวมสังขารมา

พิจารณา. ในเรื่องนั้น มนสิการ มี ๒ คือ นยโตมนสิการ และ อารัมมณโต-

๑. ขุ.ธ. ๒๕/๓๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

มนสิการ. ในมนสิการ ๒ นั้น เมื่อบุคคลเห็นแม้สังขารอันหนึ่งโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงแล้ว เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามนสิการในสังขารทั้งหลายที่เหลือ

ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า นยโตมนสิการ ก็เมื่อผู้ใดมนสิการ

สังขารทั้งหลายอันเป็นอดีต เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการสังขารทั้งหลาย

อันเป็นอนาคตได้ เพราะมนสิการสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งในสังขารที่

เป็นอดีตเป็นต้น จึงชื่อว่า อารัมมณโตมนสิการ. บรรดามนสิการเหล่านั้น

เมื่อบุคคลมนสิการในปัจจุบัน ย่อมมนสิการสังขารทั้งหลายด้วยจิตใด

แต่จิตนั้นย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการในปัจจุบันขณะได้.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ

ทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่ามนสิการสังขารทั้งหลาย โดยการยึดถือเอา

รวบยอด คือรวบรวมแล้วจึงมนสิการสังขารทั้งปวงโดยเป็นอันเดียวกัน

ดังนี้ เพราะอาศัยคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นสภาวะไม่เที่ยง

เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงโดยความที่บุคคลย่อมมนสิการสังขาร

ทั้งปวงเหล่านั้น โดยมนสิการรวมกันด้วยจิตใจ พึงมนสิการซึ่งจิตนั้นด้วย

มนสิการนั้นหรือ ? จึงกล่าวคำว่า รู้ชัดซึ่งจิตนั้นด้วยจิตนั้นได้หรือ

เป็นต้น. คำตอบปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้เพราะ

กระทำให้เป็นอารมณ์. แต่ตอบรับรองโดยหมายเอาว่า จิตแม้นั้น ย่อมรู้

นั่นแหละเพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติรู้ว่า จิตมีลักษณะอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธด้วยคำว่า จิตนั้นนั่นแหละ

ไม่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น แต่ย่อมตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิที่เกิด

ขึ้นแล้ว เพราะอาศัยพระบาลีว่า เมื่อใดย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น. แม้อีก ๒ ปัญหาที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนในคำ

ทั้งหลายว่า ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็น

พระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในปัญหาทั้งหลาย

มีอดีตกาลเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบการปฏิเสธ และคำตอบรับรองโดยนัย

ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. คำที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแหละ. พระบาลี

ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยหมายถึง

การเห็นโดยนัย มิใช่การเห็นโดยอารมณ์ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น

คำนั้น จึงมิใช่ข้ออ้างที่ยกมาพิสูจน์ว่า เป็นการมนสิการโดยอารมณ์ ดังนี้.

อรรถกถาอธิคคัยหมนสิการกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

รูปังเหตูติกา

[๑๖๕๙] สกวาที รูปเป็นเหตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นเหตุ คือ อโลภะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นเหตุ คือ อโทสะ ฯลฯ เป็นเหตุ คือ อโมหะ เป็น

เหตุ คือ โลภะ เป็นเหตุ คือ โทสะ เป็นเหตุ คือ โมหะ หรือ ?

ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นเหตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.

[๑๖๖๐] ป. อโลภะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ

เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งโมหะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจแห่งรูป นั้นมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๖๑] ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโลภะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโทสะเป็นเหตุ อโมหะเป็นเหตุ โลภะเป็นเหตุ โทสะ

เป็นเหตุ โมหะเป็นเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจแห่งโมหะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

[๑๖๖๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่ง

อุปาทายรูปทั้งหลาย มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มหาภูตเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป

ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นเหตุ.

รูปังเหตูติกถา จบ

อรรถกถารูปัง เหตูติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นเหตุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นเหตุ. ในเรื่องนั้น คำว่า เหตุ ได้แก่

เหตุที่เป็นชื่อของเหตุมีกุสลมูลเป็นต้นบ้าง ที่เป็นชื่อของปัจจัยอย่างใด

อย่างหนึ่งบ้าง. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ

ทั้งหลายว่า รูปเป็นเหตุโดยไม่แปลกกันเลย โดยอาศัยพระบาลีว่า

มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุของอุปาทารูป ดังนี้ เพราะไม่แยกเนื้อความอย่างนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า เป็นเหตุคือโลภะ ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า รูปเป็นอโลภเหตุ

หรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ. แม้ในปัญหาที่เหลือก็นัยนี้.

ในคำว่า มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทารูป

ทั้งหลาย นี้ ท่านกล่าวถึงความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มิได้

กล่าวความเป็นเหตุเพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะฉะนั้น พระบาลีนั้น จึง

มิใช่ข้อพิสูจน์รับรองในปัญหาข้อนี้ ดังนี้แล.

อรรถกถารูปังเหตูติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

รูปังสเหตุกันติกถา

[๑๖๖๓ ] สกวาที รูปเป็นธรรมที่มีเหตุหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ โดยเหตุคืออโลภะหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ โดยเหตุคืออโทสะ ฯลฯ โดยเหตุ

คืออโมหะ ฯลฯ โดยเหตุคือโลภะ ฯลฯ โดยเหตุคือโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคือ

โมหะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๖๔] ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง

รูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ.

[๑๖๖๕] ส. อโลภะเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโทสะเป็นธรรมมีเหตุ ฯลฯ อโมหะ ศรัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ ปัญญา โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๖๖] ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโลภะเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมมีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโทสะเป็นธรรมมีเหตุ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นธรรม

มีเหตุ แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

นั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นธรรมมีปัจจัย มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า รูปเป็นธรรมมีปัจจัย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ.

รูปังสเหตุกันติกถา จบ

อรรถกถารูปังสเหตุกันติกถา

ในการพรรณนากถาว่า รูปเป็นธรรมมีเหตุ บัณฑิตพึงทราบเนื้อ

ความโดยนัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถารูปังสเหตุกันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

รูปังกุสลากุสลันติกถา

[๑๖๖๘] สกวาที รูปเป็นกุศล หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นกุศล.

[๑๖๖๙] ส. อโลภะเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะเป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา

วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งปัญญานั้นมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๐] ส. รูปเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโลภะเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้นไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล แต่เป็นธรรม

ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้นไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๑] ส. รูปเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้นไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นอกุศล ฯลฯ

[๑๖๗๒] ส. โลภะเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

ความตั้งใจแห่งโลภะนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศลเป็น

ธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๓] ส. รูปเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลภะเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งโลภะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นอกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล แต่

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโนตตัปปะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้างหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุคลบ้าง เป็นอกุศล

บ้าง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง.

รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ

อรรถกถารูปังกุสลากุสลันติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นกุศลและอกุศล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นกุศลและอกุศล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายมหิสาสกะและสมิติยะทั้งหลายว่า กายวิญญัติ

และวจีวิญญัติรูป กล่าวคือกายกรรมและวจีกรรมว่าเป็นกุศลบ้างเป็น

อกุศลบ้าง โดยหมายเอาพระบาลีว่า กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี

เป็นอกุศลก็มี ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูปเป็นกุศลหรือ เป็นต้น

โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

สกวาทีเพื่อท้วงว่า ผิว่า รูปเป็นกุศลไซร้ รูปนั้นก็จะพึงเป็นสภาพต่าง ๆ

เช่นนี้ จึงกล่าวคำว่า รูปเป็นธรรมมีอารมณ์ เป็นต้น แม้ในปัญหาว่าด้วย

อกุศล ข้างหน้าก็นัยนี้. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถารูปังกุสลากุสลันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

รูปังวิปาโกติกถา

[๑๖๗๕] สกวาที รูปเป็นวิบากหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกข-

เวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ สัมปยุต

ด้วยจิต เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น มีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งทุกข-

เวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งรูปนั้น

ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งรูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นวิบาก.

[๑๖๗๖] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็น

ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ

แห่งผัสสะนั้น มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นวิบาก รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เป็นที่ตั้ง

แห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

รูปนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๗] ส. รูปเป็นวิบาก แต่รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ไม่

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ

ตั้งใจแห่งรูปนั้นไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา

ไม่เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งผัสสะนั้น ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นวิบากหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมคือจิตและเจตสิก ที่บังเกิดขึ้นเพราะความที่

บุคคลได้ทำกรรมไว้ เป็นวิบาก มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก ที่บังเกิดขึ้นเพราะ

บุคคลได้ทำกรรมไว้ เป็นวิบาก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปที่

บังเกิดขึ้นเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมไว้เป็นวิบาก.

รูปังวิปาโกติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

อรรถกถารูปัง วิปาโกติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นวิบาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นวิบาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า รูปใดที่เกิดขึ้นเพราะ

ทำกรรมไว้ แม้รูปนั้นก็เป็นวิบาก ดุจจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะทำ

กรรมไว้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปเป็นที่ตั้งแห่งสุข-

เวทนา เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า รูปเป็นวิบากไซร้ รูปนั้นก็พึงเป็น

สภาพต่าง ๆ เช่นที่กล่าวนี้. คำที่เหลือในทีนี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถารูปังวิปาโกติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

รูปัง รูปาวจรรูปาวจรันติกถา

[๑๖๗๙] สกวาที รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวงหา

อุปบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน

สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์อัน

เดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต

เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวง

หาอุปบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็นสหรคต

เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน

มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ ก็หามิได้ กับจิต

ดวงแสวงหาอุบัติ ก็หามิได้ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หา

มิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น

ธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็น

ธรรมสหรคต ฯลฯ มีอารมณ์อันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่.

[๑๖๘๐] ส. รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ส. รูปเป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นธรรมแสวงหา

อุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐิธรรม สหรคต เกิดร่วม ระคน

สัมปยุต เกิดขึ้นด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็น

อันเดียวกันกับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหาอุบัติ กับจิต

เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

ส. รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวง

หาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต

ฯลฯ มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ก็หามิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็น

ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม จะเป็น

ธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ

กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็น

อรูปาวจรมีอยู่.

[๑๖๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นรูปาวจรมีอยู่ รูปเป็นอรูปาวจร

มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปที่บังเกิด เพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วน

กามาวจรไว้เป็นกามาวจร มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

ป. หากว่า รูปที่บังเกิด เพราะความที่บุคคลได้ทำกรรม

ส่วนกามาวจรไว้เป็นกามาวจร ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปที่

เกิดขึ้นเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วนรูปาวจรไว้ เป็นรูปาวจร

รูปที่บังเกิดเพราะความที่บุคคลได้ทำกรรมส่วนอรูปาวจรไว้เป็นอรูปาวจร.

รูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ

อรรถกถารูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา

ว่าด้วย รูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า รูปใดเกิดขึ้น

เพราะทำกรรมอันส่วนกามาวจร รูปนั้นเป็นกามาวจร เหตุใด

เพราะเหตุนั้น รูปใดที่เกิดขึ้นแม้เพราะทำกรรมอันเป็นส่วนรูปาวจรและ

อรูปาวจร รูปนั้นก็พึงเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า รูปเป็นทั้งรูปาวจรและอรูปาวจรอยู่หรือ โดยหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีนัยตามที่กล่าว

ในหนหลังนั่นแหละ.

อรรถกถารูปัง รูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา

[๑๖๘๒] สกวาที ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในรูป เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็น

ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต

เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน

มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหา

อุบัติ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ

ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

จะเป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน

ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหา

สมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกันมีอารมณ์

เป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็

ต้องไม่กล่าวว่า ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ.

[๑๖๘๓] ส. ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในเสียงนับเนื่องในสัททธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ

ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ นับเนื่องในทิฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๘๔] ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน

สัททธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอยางนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ

ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในรูปธาตุ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๘๕] ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูปธาตุ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกาหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในอรูป เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็น

ธรรมแสวงหาอุบัติ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม สหรคต

เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน

มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวงแสวงหาสมาบัติ กับจิตดวงแสวงหา

อุบัติ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ

ไม่เป็นธรรมแสวงหาอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

เป็นธรรมสหรคต ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน

ฯลฯ กับจิตเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความกำหนัดในรูป ไม่เป็นธรรมแสวงหา

สมาบัติ ไม่เป็นธรรมแสวงอุบัติ ไม่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรม จะเป็นธรรมสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดด้วยกัน

ดับด้วยกัน มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน กับจิตดวง

แสวงหาสมาบัติ ก็หามิได้ กับจิตดวงแสวงหาอุปบัติ ก็หามิได้ กับจิต

เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ก็หามิได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความกำหนัด

ในรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ.

[๑๖๘๖] ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในเสียงนับเนื่องในสัททธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรส ฯลฯ

ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกลาวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๘๗] ส. ความกำหนัดในเสียง ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน

สัททธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูป-

ธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความกำหนัดในกลิ่น ฯลฯ ความกำหนัดในรูป ฯลฯ

ความกำหนัดในโผฏฐัพพะ ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความกำหนัดในอรูป ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในอรูป-

ธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่าความกำหนัดในรูปนับเนื่องในรูปธาตุ

ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

ส. ถูกแล้ว.

ป. ความกำหนัดในกาม นับเนื่องในกามธาตุ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ความกำหนัดในกาม นับเนื่องในกามธาตุ

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงต้องกล่าวว่า ความกำหนัดในรูป นับเนื่องในรูปธาตุ

ความกำหนัดในอรูปนับเนื่องในอรูปธาตุ.

รูปราโค รูปธาตุปริยาปันโน อรูปธาตุปริยาปันโนติกถา จบ

อรรถกถารูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา

ว่าด้วย รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุเป็นต้น

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง

ในอรูปธาตุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะ

ทั้งหลายว่า กามราคะ ความยินดีในกาม นับเนื่องในกามธาตุ เหตุใด

เพราะเหตุนั้น แม้รูปราคะทั้งหลาย คือความยินดีในรูป ก็พึงนับเนื่อง

ในรูปธาตุและอรูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหนหลัง

นั่นแหละ. ด้วยว่า ในปัญหานี้ บัณฑิตพึงทราบบทที่ต่างกันว่า รูปราคะ

ย่อมนอนเนื่องในรูปธาตุ และอรูปราคะย่อมนอนเนื่องในอรูปธาตุอย่าง

เดียว. ก็ลัทธินั้นมีอยู่ก็นิกายอันธกะทั้งหลายด้วย แก่นิกายสมิติยะ

ทั้งหลายด้วย แต่ปัญหานี้เป็นของนิกายอันธกะทั้งหลายเท่านั้น.

อรรถกถารูปราโค รูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา ๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคคัย-

หมนสิการกถา ๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังเหตุกันติกถา ๗. รูปังกุสลา-

กุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา

๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา.

วรรคที่ ๑๖ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

วรรคที่ ๑๗

อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา

[๑๖๘๙] สกวาที พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์มีการสะสมบาป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ไม่มีการสะสมบาป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ไม่มีการสะสมบุญ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๙๐] ส. พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังสร้างสมบุญญาภิสังขาร ยังสร้างสม

อาเนญชาภิสังขาร ยังทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความเป็นใหญ่

เพื่อความเป็นอธิบดี เพื่อสมบัติใหญ่ เพื่อบริวารมาก เพื่อความงามในเทพ

เพื่อความงามในมนุษย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๙๑] ส. พระอรหันต์มีการสะสมบุญ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

ส. พระอรหันต์เลิกสะสมอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์ยังถือมั่น

อยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์ชำระล้างอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์หมักหมม

อยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์กำจัดอยู่หรือ ฯลฯ พระอรหันต์อบอวลอยู่หรือ ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่

แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้ว ดำรงอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสั่งสมอยู่ก็

ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มี

การสะสมบุญ.

[๑๖๙๒] ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่ก็ไม่ใช่ ถือมั่นอยู่ก็ไม่ใช่ แต่

เป็นผู้ละขาดแล้วดำรงอยู่ ชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่

เป็นผู้ชำระล้างแล้วดำรงอยู่ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็น

ผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็

ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีการ

สะสมบุญ.

[๑๖๙๓] ป. พระอรหันต์มีมีการสะสมบุญ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

ป. พระอรหันต์พึงให้ทาน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าพระอรหันต์พึงให้ทาน ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระอรหันต์

ไม่มีการสะสมบุญ.

[๑๖๔๔] ป. พระอรหันต์ให้จีวร ฯลฯ พึงให้บิณฑบาต พึงให้

เสนาสนะ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชบริขาร พึงให้ของเคี้ยว พึงให้ของ

บริโภค พึงให้น้ำดื่ม พึงไหว้พระเจดีย์ พึงยกขึ้นซึ่งมาลา พึงยกขึ้นซึ่ง

ของหอม พึงยกขึ้นซึ่งเครื่องลูบไล้ ที่พระเจดีย์ พึงทำประทักษิณพระเจดีย์

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์พึงทำประทักษิณพระเจดีย์ ก็

ต้องไม่กล่าวว่าพระอรหันต์ไม่มีการสะสมบุญ.

อัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา จบ

อรรถกถาอัตถิ อรหโต ปุญญูปจโยติกถา

ว่าด้วย พระอรหันต์มีการสะสมบุญ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระอรหันต์มีการสะสมบุญ. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า การสะสม

บุญของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะอาศัยกรรมมีการแจกจ่ายทานและ

การไหว้พระเจดีย์เป็นต้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงว่า ชื่อว่า

พระอรหันต์เป็นผู้มีบุญอันละบาปอันได้แล้ว ถ้าว่า พระอรหันต์พึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

ทำบุญบ้าง พึงทำบาปบ้างไซร้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า พระอรหันต์มีการ

สะสมบาปหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น

จึงตอบปฏิเสธ. ในคำว่า พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร เป็นต้น

ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกรรมอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพของพระอรหันต์

ไม่มี.

ในคำว่า พระอรหันต์พึงให้ทาน เป็นต้น สกวาทีตอบรับรอง

เพราะสภาพความเป็นไปแห่งทานเป็นต้นของพระอรหันต์มีอยู่ด้วยกิริยาจิต

แต่ปรวาทีไม่ถือเอาจิตจึงให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ด้วยการแสดงสักว่าเป็น

เรื่องของการกระทำ. ถึงอย่างนั้น ลัทธินั้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้เพราะตั้งไว้โดย

อุบายอันไม่แยบคาย ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาอัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา

[๑๖๙๕] สกวาที พระอรหันต์ ไม่มีอกาลมรณะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหันตฆาตมีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์มีอกาลมรณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

[๑๖๙๖] ส. ผู้ที่ปลงชีวิตพระอรหันต์นั้น ปลงในเมื่อมีชีวิตคือ ชีวิต

ส่วนที่เหลือยังมีอยู่ หรือว่า ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือไม่มีอยู่.

ป. ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือไม่มีอยู่.

ส. หากว่า ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือยังมีก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ไม่มีกาลมรณะ.

ป. ปลงในเมื่อชีวิตคือชีวิตส่วนที่เหลือยังมีอยู่.

ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๙๖] ส. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยาพิษ ศาสตรา ไฟ ไม่พึงเข้าไปในกายของพระ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

อรหันต์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ยาพิษ ศาสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของพระอรหันต์

ได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของ

พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ.

[๑๖๙๗] ส. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงเข้าไปในกายของพระ-

อรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหันตฆาตไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๖๙๘] ป. พระอรหันต์มีอกาลมรณะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่กล่าวความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนา ที่บุคคลทำแล้ว สะสม

แล้วจะสิ้นสุดไป เพราะมิได้เสวยผล แต่กรรมนั้นแล จะให้ผลในทิฏฐธรรม

เทียว หรือในภพถัดไป หรือในภพอื่นสืบ ๆ ไป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น พระอรหันต์ก็ไม่มีอกาลมรณะน่ะสิ.

นัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

อรรถกถานัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา

ว่าด้วย พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ คือการตายใน

เวลาอันไม่สมควรของพระอรหันต์ไม่มี. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะและสมิติยะทั้งหลายว่า ชื่อว่า

พระอรหันต์ต้องเสวยกัมมวิบากทั้งปวงแล้วจึงจะปรินิพพาน ดังนี้

เพราะถือเอาเนื้อความแห่งพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว

ความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาที่บุคคลทำแล้วสะสมแล้วจะสิ้นสุด

ไป เพราะมิได้เสวยผล แต่กรรมนั้นจะให้ผลในทิฏฐธรรมเทียว หรือ

ในภพที่ถัดไป หรือในภพอื่นสืบ ๆ ไป ดังนี้ โดยไม่พิจารณา คำถาม

ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

สกวาทีเพื่อจะท้วงว่า ผิว่า อกาลมรณะของพระอรหันต์ไม่มีไซร้ชื่อว่า

ผู้ฆ่าพระอรหันต์ก็ไม่พึงมี ดังนี้ จึงกล่าวว่า อรหันตฆาต คือผู้ฆ่า

พระอรหันต์ ไม่มีหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความที่อนันตริยกรรม

และบุคคลผู้เป็นเช่นนั้นนั่นแหละมีอยู่พร้อม. ในปัญหาว่า ยาพิษ... ไม่

พึงเข้าไปในกาย ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะลัทธิว่า กรรมที่ท่านทำไว้

ในกาลก่อนยังไม่สิ้นไปตราบใดยาพิษก็ไม่ทำอันตรายตราบนั้น ดังนี้.

คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ.

พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว เป็นต้น ที่ปรวาที

กล่าวแล้วหมายเนื้อความนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่กล่าว

ความที่กรรมอันเป็นไปด้วยสัญเจตนาที่บุคคลทำแล้วสะสมแล้วจะสิ้นสุด

ไป เพราะมิได้รับมิได้ประสบมิได้เสวยผล คือหมายความว่า ไม่ทรง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

กล่าวซึ่งความที่กรรมเหล่านั้นเป็นของสิ้นสุดโดยวิถีทั้งหมด ก็แลเมื่อ

กรรมที่ให้ผลในทิฏฐธรรมมีอยู่กรรมนั้นนั่นแหละพึงให้ผลในทิฏฐธรรม

มิใช่ให้ผลในภพอื่น ๆ เมื่อกรรมทีให้ผลในภพหน้า คือภพที่ ๒ มีอยู่

กรรมนั้นย่อมให้ผลในภพนั้นไม่ให้ผลในภพอื่น เมื่อกรรมที่จะให้ผลในภพ

อื่น ๆ มีอยู่ในกาลใด กรรมนั้นได้ให้โอกาสให้ผลในกาลนั้นย่อมให้ผล ด้วย

ประการฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ในปริยายอื่นอีกที่มีสภาพอย่างนี้ มีอธิบายว่า

ครั้นเมื่อความเป็นไปแห่งสังขาร คือการท่องเที่ยวไป แม้ในที่ทั้งปวง

มีอยู่ ประเทศของโลกนั้นย่อมไม่เว้นจากวาระของการให้ผลของกรรม

ด้วยประการฉะนี้ บุคคลอยู่ในที่ใด ๆ จึงไม่พ้นจากบาปกรรม ครั้น

เมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยังเหลืออยู่แม้อย่างหนึ่ง

ยังไม่มีโอกาสให้ผลในกาลก่อน พระอรหันต์ก็พึงเสวยผลแห่งกรรมนั้น

เพราะฉะนั้น ว่าโดยกาลเหมาะสมแล้ว การตั้งลัทธิว่า พระอรหันต์ไม่มี

อกาลมรณะ ดังนี้ ที่ปรวาทีทำแล้ว จึงชื่อว่าทำไว้ไม่ดี ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

อรรถกถานัตถิ อรหโต อกาลมัจจูติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

สัพพมิทัง กัมมโตติกถา

[๑๖๙๙] สกวาที สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. แม้กรรมก็เป็นเพราะกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งทั้งปวงเป็นเพราะกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะเหตุที่ทำไว้ในกาลก่อน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะวิบากแห่งกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะวิบากแห่งกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เพราะวิบากแห่งกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปาณาติบาตมีผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากแห่งกรรมมีผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิบากแห่งกรรมไม่มีผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปาณาติบาตไม่มีผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลพึงลักทรัพย์ ฯลฯ พึงกล่าวเท็จ พึงกล่าวคำ

ส่อเสียด พึงกล่าวคำหยาบ พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดช่องย่องเบา พึงปล้นใหญ่

พึงปล้นเฉพาะหลังคาเรือน พึงดักที่ทางเปลี่ยว พึงผิดเมียท่าน พึงฆ่า

ชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม เพราะกรรมวิบาก หรือ ?

พึงให้ทาน พึงให้จีวร พึงให้บิณฑบาต พึงให้เสนาสนะ

พึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เพราะกรรมวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารมีผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมวิบากมีผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมวิบากไม่มีผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารไม่มีผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๐๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า โลกเป็นไปเพราะ

กรรม หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกระชับ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

เหมือนลิ่มสลักแห่งรถ ที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคลได้เกียรติ ความ

สรรเสริญ เพราะกรรม และได้ความเสื่อม การถูกฆ่า การถูกจองจำก็

เพราะกรรม บุคคลรู้ชัดซึ่งกรรมนั้นว่า เป็นเครื่องทำให้ต่างกันฉะนี้แล้ว

ไฉนจะพึงกล่าวว่า กรรมไม่มีในโลกเล่า ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สิ่งทั้งปวงนี้ ก็เป็นเพราะกรรม น่ะสิ.

สัพพมิทัง กัมมโตติกถา จบ

อรรถกถาสัพพมิทัง กัมมโตติกถา

ว่าด้วย สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสิ่งทั้งปวงนี้เป็น คือเกิด เพราะกรรม. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายราชคิริกะและสิทธัตถิกะทั้งหลาย

ว่า สิ่งทั้งปวงนี้กล่าวคือ กัมมวัฏฏะ กิเลสวัฏฏะ วิปากวัฏฏะเกิดมา

เพราะกรรมเทียว เพราะอาศัยพระสูตรว่า โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า สิ่งทั้งปวง เป็นต้นหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำว่า

ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้กรรมก็ย่อมเกิดแต่กรรม ดังนี้ จึง

กล่าวว่า แม้กรรมก็เป็น คือเกิด เพราะกรรมหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ

ด้วยคำว่า ผิว่า แม้กรรมชื่อว่าเกิดแต่กรรมจริงไซร้ กรรมนั้นก็พึงเป็น

วิบากเท่านั้น ดังนี้. คำว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะเหตุที่ทำไว้ในกาล

๑. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

ก่อนหรือ สกวาทีถามเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า สิ่งทั้งปวงเกิดแต่กรรม สิ่งนั้น

ก็พึงมีเหตุที่ทำไว้แล้วในกาลก่อน. ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวเป็น

ลัทธิปุพเพกตเหตุวาทะ. คำว่า เป็นพระวิบากแห่งกรรมหรือ สกวาที

ถามเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า สิ่งทั้งปวงย่อมเกิดเพราะกรรม กรรมใดที่เป็นเหตุ

แห่งความเป็นไปในอดีตภพ กรรมแม้นั้นก็เกิดจากกรรมในภพก่อน

เพราะฉะนั้น กัมมวิบากย่อมสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏ

เพราะกัมมวิบากตามลัทธิของท่านด้วยเหตุนั้นหรือ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะหมายเอาความเกิดแต่กรรมของความเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น

เหมือนหน่อแห่งพืชย่อมเกิดมาจากพืช. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านก็ตอบรับรอง

เพราะความที่กรรมแม้นั้นเป็นไป เพราะกรรมในก่อนเหมือนหน่อแห่งพืช

ย่อมเกิดจากพืชต้นก่อน. คำว่า บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เป็นต้น สกวาที

กล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า สิ่งทั้งปวงเกิดแต่กัมมวิบากไซร้ บุคคลก็พึงทำ

ปาณาติบาตเป็นต้นด้วยกัมมวิบากนั้นนั่นแหละ. ปรวาทีตอบรับรองตาม

ลัทธิว่า แม้เจตนาในความเป็นผู้ทุศีลที่เกิดขึ้นในกรรมก่อนก็เป็นวิบาก

โดยปริยายหนึ่งทีเดียว. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ปาณาติบาตมี

ผลหรือ เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ปาณาติบาตย่อมสำเร็จจากกัมมวิบากตาม

ลัทธิของท่านไซร้ แม้วิบากก็มีผลปรากฏเหมือนปาณาติบาต ดังนี้ ปรวาที

เมื่อเห็นซึ่งความที่ปาณาติบาตมีผล เพราะความเป็นผลให้เกิดในนรก

เป็นต้น จึงตอบรับรอง. แต่เมื่อไม่เห็นฐานะที่สกวาทีกล่าวว่า สิ่งชื่อนี้

เป็นผลของกัมมวิบาก จึงตอบปฏิเสธ. แม้ใน อทินนาทาน เป็นต้น ก็นัยนี้.

คำว่า คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร มีผลหรือ ความว่า สกวาที

ย่อมถามว่า ผลแห่งการให้ทานมีอยู่ด้วยสามารถแห่งไทยธรรมหรือ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

พระสูตรว่า โลกคือสัตว์โลก เป็นไปเพราะกรรม ย่อมแสดงซึ่งความที่

บุคคลนับถือกรรมว่าเป็นของตน ของกัมมวาทีบุคคลว่า กรรมมีอยู่

เพราะปฏิเสธอกัมมวาทีบุคคล ที่กล่าวว่า กรรมไม่มีอยู่ ดังนี้ มิใช่แสดง

ซึ่งความที่สิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะกรรมเลย เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้

จึงไม่สำเร็จดังลัทธินั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาสัพพมิทัง กัมมโตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

อินทริยพัทธกถา

[๑๗๐๑] ปรวาที สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์ หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความ

แปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไป

เป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ก็ไม่เที่ยง เป็น

สังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป

เป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

มีความแปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์

เท่านั้นเป็นทุกข์.

[๑๗๐๒] ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา แต่มันไม่เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

ความแปรไปเป็นธรรมดา แต่มันไม่เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มี

ความแปรไปเป็นธรรมดา และมันเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ

มีความแปรไปเป็นธรรมดา และมันเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๐๓] ส. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า

สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์.

[๑๗๐๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ฉันใด ก็อยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ฉันนั้นหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ทุกข์เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนดรู้แล้ว

ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก ฉันใด ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ อันพระอริยะกำหนด

รู้แล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นอีกฉันนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น เป็นทุกข์

น่ะสิ.

อินทริยพัทธกถา จบ

อรรถกถาอินทริยพัทธกถา

ว่าด้วย สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์. ในปัญหานั้น

ทุกข์มี ๒ คือ อินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ และ

อนินทริยพัทธทุกข์ คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นทุกข์ ก็อินทริยพัทธะ

ชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ อนินทริยพัทธะชื่อว่าเป็น

ทุกข์ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ไว้ในคำว่า สิ่งใด

ไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและความดับ

บีบคั้น ดังนี้. ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย

เหตุวาทะทั้งหลายว่า การประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันใด ทุกข์อันนั้นเป็นอินทริยพัทธทุกข์นี้

เท่านั้น มิใช่ทุกข์อื่นนอกจากนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า สิ่งที่เนื่อง

ด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์หรือ เพื่อแสดงซึ่งความที่อนินทริยพัทธะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

คือสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้นอกนี้ก็เป็นทุกข์ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ดังนี้ เพื่อท้วงด้วยคำว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น

อินทริยพัทธทุกข์เท่านั้นพึงเป็นสภาพไม่เที่ยงหรือ ดังนี้. คำว่า สิ่งที่ไม่

เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง....มิใช่หรือ อธิบายว่า แม้อนินทริยพัทธะ

เช่น แผ่นดิน ภูเขา แผ่นหิน เป็นต้น ก็ไม่เที่ยงมิใช่หรือ.

ในปัญหาว่า ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็น

ทุกข์หรือ คำตอบรับรองว่า ใช่ เป็นของสกวาที. จริงอยู่ อินทริยพัทธทุกข์

ย่อมเป็นอารมณ์ของทุกขโทมนัสทั้งหลาย. อันที่จริง ไฟในฤดูร้อนก็ดี

ลมในฤดูหนาวก็ดีก็เป็นอารมณ์ของทุกข์ ความฉิบหายแห่งโภคะเป็นต้น

ก็เป็นอารมณ์ของโทมนัสเสมอไป เพราะฉะนั้น แม้เว้นจากอินทริยพัทธทุกข์

เสียแล้ว ก็พึงกล่าวได้ว่า อนินทริยพัทธะเป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็น

สภาพไม่เที่ยง แต่ไม่ควรกล่าวว่า เป็นทุกขอริยสัจ เพราะความเป็นทุกข์

ไม่เกิดจากกรรมและกิเลสทั้งหลาย และเพราะความที่บุคคลไม่พึงกำหนด

รู้ได้ด้วยมรรค. อนึ่ง ความดับสลายไปแห่งหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือ

ความดับสลายไปแห่งพืชที่เกิดตามฤดูกาลเป็นต้นย่อมไม่ชื่อว่าเป็น

ทุกขนิโรธอริยสัจ เหตุใด เพราะเหตุนั้น อินทริยพัทธะเท่านั้นเป็นทุกข์

ด้วย เป็นอริยสัจจะด้วย แต่อนินทริยพัทธะนี้เป็นแต่เพียงทุกข์เท่านั้นไม่

เป็นอริยสัจ ดังนั้น สกวาทีเพื่อจะแสดงทุกข์ทั้ง ๒ ที่ต่างกันนี้ จึงตอบ

รับรองว่า ใช่ พระบาลีว่า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์อันเนื่องด้วยอินทรีย์

เป็นต้น ย่อมแสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการกำหนดรู้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

อินทริยพัทธทุกข์โดยการทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกของผู้ที่กำหนดรู้แล้ว. ด้วย

เหตุนั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงปฏิเสธในปัญหานั้น. อันที่จริง ใคร ๆ ไม่อาจ

เพื่อปฏิเสธความที่อนินทริยพัทธทุกข์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์

ไว้ด้วยคำว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น

คำนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ว่าไม่เป็นทุกข์ ดังนี้แล.

อรรถกถาอินทริยพัทธกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา

[๑๗๐๕] สกวาที เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยสัจมี ๓ เท่านั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อริยสัจมี ๓ เท่านั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอริยสัจไว้ ๔ คือ ทุกข์

ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อริยสัจ

มี ๓ เท่านั้น

[๑๗๐๖] ส. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โดยอรรถว่าอย่างไร.

ป. โดยอรรถว่า ไม่เที่ยง.

ส. อริยมรรคไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยมรรคเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

ส. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่ทุกขสมุทัยนั้นไม่เป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง และทุกขสมุทัยนั้นเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยมรรคไม่เที่ยง และอริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๐๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อริยมรรคนั้น เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์.

ฐเปตวา อริยมัคคันติกถา จบ

อรรถกถาฐเปตวา อริยมัคคันติกถา

ว่าด้วย เว้นอริยมรรค

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเว้นอริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะทั้งหลายว่า อริยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น ยกเว้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

อริยมรรคสังขารที่เหลือชื่อว่า เป็นทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีกล่าวว่า

แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์หรือ เพื่อท้วงว่า ก็ถ้าว่าครั้นเมื่อความเป็น

อย่างนั้นมีอยู่ไซร้ สภาพแม้แห่งสมุทัยก็ต้องเป็นทุกข์. ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาสมุทัยนั้นเป็นเหตุลักขณะ คือ สภาวะเป็นเหตุ เมื่อถูกถามอีก

ก็ตอบรับรองหมายเอาสมุทัยนั้นเป็นโลกียธรรมมีความเกิดดับ. ในปัญหา

ทั้งหลายว่า อริยสัจมี ๓ เท่านั้นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิด

จากพระสูตร ดังนี้แล.

อรรถกถาฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา

[๑๗๐๘] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของ

ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยม

ของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.

[๑๗๐๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล

๘ ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔

บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระสงฆ์รับของทำบุญได้.

[๑๗๑๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์มีอยู่ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.

ส. คนบางคนที่ถวายจีวร ฯลฯ ที่ถวายบิณฑบาต ที่ถวาย

เสนาสนะ ที่ถวายคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่ถวายของขบเคี้ยว ที่ถวาย

ของบริโภค ฯลฯ ที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คนบางพวก ที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์มีอยู่

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้.

[๑๗๑๑] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อม

ด้วยสมาธิ ย่อมรับของทำบุญ ดุจไฟรับการบูชา ดุจแผ่นดินรับน้ำฝนจาก

มหาเมฆ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น พระสงฆ์ก็รับของทำบุญได้น่ะสิ.

[๑๗๑๒] ป. พระสงฆ์รับของทำบุญได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มรรครับได้หรือ ผลรับได้หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

อรรถกถานวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา

ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์รับของทำบุญ. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะกล่าวคือมหาปุญญวาที

ในขณะนี้ว่า เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้วพระสงฆ์ก็คือมรรคและผลเท่านั้น

ชื่อว่าพระสงฆ์อื่นนอกจากมรรคผลย่อมไม่มี ก็มรรค ละผลจะรับอะไรได้

ฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าพระสงฆ์รับทักขิณาทาน คือของทำบุญ ดังนี้

คำถามของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

พระสงฆ์เป็น อาหุเนยยบุคคล ผู้ควรของบูชามิใช่หรือ เพื่อท้วงว่า ผิว่า

ตามลัทธิของท่าน พระสงฆ์ไม่พึงรับทักขิณาทานไซร้ พระศาสดาก็จะ

ไม่พึงยกย่องพระสงฆ์ว่า เป็นผู้ควรแก่บูชา เป็นต้น.

ข้อว่า คนบางคนถวายทานแก่พระสงฆ์ สกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วง

ว่า บุคคลเหล่าใดย่อมถวายทานแก่พระสงฆ์ ครั้นเมื่อผู้รับทานไม่มี บุคคล

เหล่านั้นจะพึงถวายทานแก่ใครเล่า ดังนี้. พระสูตรว่า ดุจไฟรับการบูชา

ดังนี้ ท่านนำมาจากลัทธิอื่น. ในคำเหล่านั้นคำว่า มหาเมฆ ท่านกล่าว

หมายเอาเมฆคือฝน จริงอยู่แผ่นดินย่อมรองรับน้ำฝนมิใช่รองรับเมฆเลย.

คำว่า มรรครับ ทักขิณาทาน ได้หรือ ปรวาทีย่อมกล่าวตามลัทธิว่า

มรรคและผลเป็นพระสงฆ์ ดังนี้ อันที่จริงมรรคและผลนั้นมิใช่พระสงฆ์

แต่บุคคล ๘ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะ

ท่านอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่บริสุทธิ์โดยความปรากฏเกิดขึ้นแห่งมรรคและผล

เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ใช่ข้อพิสูจน์ว่า มรรคผลเป็นพระสงฆ์ ดังนี้แล.

อรรถกถานวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคันหาตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา

[๑๗๑๓] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์

คือให้ผลมาก ได้หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระสงฆ์ เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา ฯลฯ เป็นเนื้อ-

นาบุญชั้นเยี่ยมของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยัง

ของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้.

[๑๗๑๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังทักษิณาให้บริสุทธิ์ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘

ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแห่งบุรุษ ๔

บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้.

[๑๗๑๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ส. คนบางพวกถวายทานแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญ

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้ว

ชื่นชมบุญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญ

ให้บริสุทธิ์ได้.

[๑๗๑๖] ส. คนบางคนถวายจีวร ฯลฯ ถวายบิณฑบาต ถวาย

เสนาสนะ ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ถวายของเคี้ยว ถวายของ

บริโภค ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์แล้ว ชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คนบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแก่พระสงฆ์แล้ว

ชื่นชมบุญมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญ

ให้บริสุทธิ์ได้.

[๑๗๑๗] ป. พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มรรคยังของทำบุญให้บริสุทธิ์หรือ ผลยังของทำบุญ

ให้บริสุทธิ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพัง สังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

อรรถกถาวัตตัพพังสังโฆ ทักขิณัง วิโสเธตีติกถา

ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ไม่พึงกล่าวว่าพระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์

คือทำให้มีผลมาก. ในปัญหานั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย

เวตุลลกะนั้นนั่นแหละว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่า พระสงฆ์ ก็มรรค

และผลเหล่านั้นย่อมไม่อาจเพื่อทำทักษิณาให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น

จึงไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ยังของทำบุญให้บริสุทธิ์ ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า เป็นผู้ควรของบูชา เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า

ถ้าว่า พระสงฆ์ไม่อาจเพื่อให้ทักษิณา คือของทำบุญ บริสุทธิ์ไซร้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าก็คงไม่กล่าวยกย่องพระสงฆ์นั้นอย่างนี้. คำว่าให้บริสุทธิ์

ได้แก่ ทำให้มีผลมาก จริงอยู่ ทานมีปริมาณน้อยที่เขาถวายแล้วในสงฆ์

ย่อมเป็นทานมีผลมาก ทานที่มีปริมาณมากที่เขาถวายแล้วในสงฆ์ก็ย่อม

มีผลมากกว่า. คำว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ (ทกฺขิเณยฺย) ได้แก่ ผู้ควร

แก่ทักษิณา คือสมควรแก่ทานที่เขาให้ด้วยความเคารพ อธิบายว่า ผู้

สามารถเพื่อทำทักษิณานั้นให้บริสุทธิ์. คำว่า ชื่นชมบุญ คือทักษิณา

ได้แก่ ให้บุญ คือทักษิณา นั้นถึงพร้อม อธิบายว่า ย่อมให้บรรลุผลอันใหญ่

ด้วยทักษิณาแม้มีปริมาณน้อย. คำที่เหลือในที่นี้มีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

นวัตตัพพังสังโห ภุญชตีติกถา

[๑๗๑๘] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. คนบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคูและปานะ

มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คนบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และ

ปานะ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว

ลิ้ม ได้.

[๑๗๑๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคณะโภชนะ ปรัมปรโภชนะ

อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ ไว้มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคณะโภชนะ

ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะไว้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้.

[๑๗๒๐] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปานะ ๘ คือ น้ำมะม่วง

น้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางไว้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปานะ ๘ คือ น้ำมะม่วง

น้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์

น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางไว้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสงฆ์

ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้.

[๑๗๒๑] ป. พระสงฆ์ ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มรรค ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้หรือ ผล ฉัน ดื่ม เคี้ยว

ลิ้ม ได้หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆ ภุญชตีติกถา จบ

อรรถกถานวัตตัพพัง สังโฆ ภุญชตีติกถา

ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร. แม้ในปัญหา

นั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละว่า

มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่า พระสงฆ์ ก็มรรคและผลเหล่านั้นจะบริโภค

อะไรได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่พึงกล่าวว่า พระสงฆ์ย่อมฉันอาหาร ย่อมดื่ม

ย่อมเคี้ยว ย่อมลิ้มรส ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงว่า ผิว่า พระสงฆ์

ไม่พึงฉันอาหารไซร้ การทำสังฆภัตเป็นต้นก็ไม่มีประโยชน์ ดังนี้ จึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

กล่าวคำเป็นต้นว่า คนบางพวกที่ทำสังฆภัต...มีอยู่มิใช่หรือ.

คำว่า คณโภชนะ เป็นต้น คือการฉันอาหารเป็นหมู่ สกวาที

กล่าวแล้วเพื่อท้วงว่า ผิว่า พระสงฆ์ไม่พึงฉันอาหารไซร้ การฉันอาหาร

เป็นหมู่คณะจะพึงมีแก่ใครเล่า. คำว่า ปานะ ๘ ได้แก่ อัฏฐปานะ นี้สกวาที

กล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า พระสงฆ์ไม่ได้ดื่มน้ำปานะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตน้ำปานะ ๘ อย่างเหล่านั้นเพื่อใคร. แม้คำที่เหลือในที่นี้

บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อรรถกถานวัตตัพพังสังโฆภุญตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

นวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา

[๑๗๒๒] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควรของ

ต้อนรับ ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์ มีผลมาก.

[๑๗๒๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘

ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔

บุคคล ๘ ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์ มีผลมาก.

[๑๗๒๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนโคตมี ท่าน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

จงให้ในพระสงฆ์ เมื่อท่านให้ในพระสงฆ์แล้ว จักได้ชื่อว่า บูชาเราด้วย

บูชาพระสงฆ์ด้วย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายแก่สงฆ์ ก็มีผลมากน่ะสิ.

[๑๗๒๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ได้กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดังนี้ มนุษย์ทั้งหลาย ผู้จะบูชา เป็นผู้แสวงบุญ

เมื่อจะทำบุญส่วนวัฏฏคามี ให้ทานในที่ไหน จึงจะมีผลมาก พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสตอบว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่

ในผล ๔ จำพวก นี้ชื่อว่าพระสงฆ์ เป็นผู้ตรง ดำรงอยู่ในศีล สมาธิ

ปัญญา มนุษย์ทั้งหลาย ผู้จะบูชา เป็นผู้แสวงบุญ เมื่อจะทำบุญส่วน

วัฏฏคามีให้ทานในพระสงฆ์นี้ จึงจะมีผลมาก ดังนี้

แท้จริง พระสงฆ์นี้ กว้างขวาง ใหญ่โต หาประมาณมิได้ดุจมหาสมุทร

ท่านเหล่านี้ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นวีระ

แห่งนระ เป็นผู้ทำแสงสว่าง ประกาศธรรมอยู่ ชนเหล่าใดให้ทานอุทิศ

สงฆ์ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ให้ดีแล้ว บูชาดีแล้ว บวงสรวงดีแล้ว ทักษิณา

ที่ตั้งไว้แล้วในสงฆ์นั้น มีผลมาก อันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ชน

เหล่าใดตามระลึกถึงการบูชาเช่นนี้ เป็นผู้มีความยินดี เที่ยวไปในโลก

กำจัดมลทิน คือความตระหนี่พร้อมทั้งรากเง่าเสียแล้ว เป็นผู้อันบัณฑิต

ติเตียนไม่ได้เข้าถึงฐานะ คือ สวรรค์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. ม.อุ.๑๔/๗๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายในพระสงฆ์ก็มีผลมากน่ะสิ.

นวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา จบ

อรรถกถานวัตตัพพัง สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา

ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มีผลมาก.

แม้ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละ

ว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าพระสงฆ์ ก็ใคร ๆ ไม่อาจให้อะไร ๆ แก่

มรรคและผลเหล่านั้นได้ ทั้งมรรคและผลเหล่านั้นก็ไม่อาจรับอะไร ๆ ได้

อนึ่ง ความอุปการะอะไร ๆ เพราะการให้แก่มรรคและผลเหล่านั้นก็ย่อม

ไม่สมปรารถนา ฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์มี

ผลมาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. คำว่า พระสงฆ์เป็นผู้ควรบูชา อาหุเนยฺโย

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า ทานถวายแก่สงฆ์ไม่พึงมีผล

มากไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงสรรเสริญพระสงฆ์นั้นเช่นนี้.

คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถานวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

๑. ส.ส. ๑๕/๙๒๓-๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

นวัตตัพพัง พุทธังสส ทินนัง มหัปผลันติกถา

[๑๗๒๖] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี

ผลมากหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดาทวิบท มี

เทวดาและมนุษย์เป็นต้น เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม

เป็นผู้บวรแห่งบรรดาทวิบท ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีใคร

เปรียบ ไม่มีใครเทียบ ไม่มีใครเทียม มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดา

ทวิบท เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นอุดม เป็นบวรแห่งบรรดา

ทวิบท ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเทียบ

ไม่มีใครเทียมด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้า

มีผลมาก.

[๑๗๒๗] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล โดยสมาธิ

โดยปัญญา มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า ใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้า โดยศีล

โดยสมาธิ โดยปัญญา ไม่มี ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ทานที่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก.

[๑๗๒๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในโลกนี้ก็ตาม

ในโลกอื่นก็ตาม ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า หรือจะทัดเทียมกับพระพุทธเจ้า

ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นยอดแห่งอาหุเนยยบุคคล ของหมู่ชนผู้มีความต้องการ

บุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ทานที่ถวายแก่พระพุทธเจ้าก็มีผลมาก

น่ะสิ.

นวัตตัพพัง พุทธัสส ทินนังมหัปผลันติกถา จบ

อรรถกถานวัตตัพพัง พุทธัสสะ ทินนัง มหัปผลันติกถา

ว่าด้วย ไม่พึงกล่าวว่า ท่านที่ถวายพระพุทธเจ้ามีผลมาก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายพระพุทธเจ้ามีผลมาก.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั้นนั่นแหละ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอะไร ๆ แต่ย่อม

แสดงพระองค์ดุจบริโภคอยู่เพื่อต้องการคล้อยตามชาวโลก เพราะฉะนั้น

จึงไม่พึงกล่าวว่า ทานที่ถวายแก่พระพุทธเจ้านั้นมีผลมากเพราะไม่มี

อุปการคุณ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นยอดแห่งบรรดาทวิบท คือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

เลิศกว่าเทวดาและมนุษย์เป็นต้น เป็นอาทิ สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า

ทานที่ให้แม้ในมนุษย์ผู้ทุศีล ยังมีคุณถึงพันหนึ่ง จะป่วยกล่าวไปใยถึง

ทานที่ถวายในบุคคลผู้เลิศเห็นปานนี้เล่า. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบความ

พระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถานวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

ทักขิณาวิสุทธิกถา

[๑๗๒๙] สกวาที ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์

ได้โดยปฏิคคาหกหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา เป็นผู้ควร

ของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ

ชั้นเยี่ยมของโลกมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปฏิคคาหกบางพวก ที่เป็นผู้ควรของบูชา

เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็น

เนื้อนาบุญชั้นเยี่ยมของโลก มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ท่านบริสุทธิ์ได้โดย

ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.

[๑๗๓๐] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้

โดยปฏิคคาหก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔ บุคคล ๘

ว่าเป็นผู้ควรของทำบุญ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคู่แห่งบุรุษ ๔

บุคคล ๘ ว่า เป็นผู้ควรของทำบุญ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์

ได้โยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.

[๑๗๓๑] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

โดยปฏิคคาหก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบัน แล้วชื่นชมบุญ

มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานในพระโสดาบันแล้วชื่นชม

บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์

ได้โดยปฏิคคาหก.

ส. ชนบางพวกให้ทานแก่พระสกทาคามี ฯลฯ แก่พระ-

อนาคามี ฯลฯ แก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชมบุญ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ชนบางพวกให้ทานแก่พระอรหันต์ แล้วชื่นชม

บุญมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์

ได้โดยปฏิคคาหก

[๑๗๓๒] ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์

ได้โดยทายกหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้ ผู้หนึ่ง

ทำ แต่อีกผู้หนึ่งรับผลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทานบริสุทธิ์ได้โดยทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดย

ปฏิคคาหกหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

ทักษิณาวิสุทธิมี ๔ อย่าง. ๔ อย่าง เป็นไฉน ? ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายก

แต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกมีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่

ไม่บริสุทธิ์ทางทายก มีอยู่ ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทาง

ปฏิคคาหก มีอยู่ ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกมีอยู่

ก็ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายก

ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคคาหก เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม

ทักษิณาบริสุทธิ์ทางทายกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางปฏิคคาหก อย่างนี้แล ก็

ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายกอย่างไร ทายกใน

โลกนี้ เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม แต่ปฏิคคาหกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม

ทักษิณาบริสุทธิ์ทางปฏิคคาหกแต่ไม่บริสุทธิ์ทางทายก อย่างนี้แล ก็

ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้

เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ปฏิคคาหก ก็เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ทักษิณา

ไม่บริสุทธิ์ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ก็ทักษิณาบริสุทธิ์

ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างไร ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีลมี

กัลยาณธรรม ปฏิคคาหกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ทักษิณาบริสุทธิ์

ทั้งทางทายกทั้งทางปฏิคคาหกอย่างนี้แล ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาวิสุทธิ

มี ๔ อย่าง ฉะนี้แล ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ทานบริสุทธิ์ได้โดย

๑. ม.อุ.๑๔/๗๑๔-๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

ทายกฝ่ายเดียว ไม่บริสุทธิ์ได้โดยปฏิคคาหก.

ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ

อรรกถาทักขิณาวิสุทธิกถา

ว่าด้วย ทักขิณาวิสุทธิ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทักขิณา (ทาน) วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์แห่ง

ทักขิณาคือทาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกาย

อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ถ้าว่า ทักขิณาพึงบริสุทธิ์คือพึงมีผลมากเพราะ

ปฏิคคาหกไซร้ ทานที่ทายกให้แล้ว ย่อมเป็นวิบากอันสำเร็จแล้วด้วย

ปฏิคคาหก ด้วยประการฉะนี้ บุคคลอื่นก็พึงทำบุคคลอื่นได้ คือว่าบุคคล

พึงถึงสุขและทุกข์ อันบุคคลอื่นกระทำให้ ผู้ทำคนหนึ่ง ผู้รับผลคนหนึ่ง

เพราะฉะนั้น ทานย่อมบริสุทธิ์เพราะทายกเท่านั้นย่อมไม่บริสุทธิ์เพราะ

ปฏิคคาหก จิตตวิสุทธิ์ของทายกเหล่านั้นย่อมให้ซึ่งวิบาก ดังนี้ คำถาม

ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า ปฏิคคาหกบางพวกที่เป็นผู้ควรบูชา อาหุเนยฺโย เป็นต้น

สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าทานไม่พึงบริสุทธิ์เพราะปฏิคคาทกไซร้

ความที่พระอริยบุคคลผู้ควรแก่การบูชาเป็นต้นจะพึงทำประโยชน์อะไร.

คำว่า ผู้อื่นเป็นผู้ทำแก่ผู้อื่น อธิบายว่า ถ้าว่า ทานเจตนาของทายกที่

ปฏิคคาหกทำเหมาะสมแล้วไซร้ ก็ทานเจตนาอันบริสุทธิ์ของทายกนั้น

ก็ต้องอาศัยวัตถุ กล่าวคือปฏิคคาหกแล้วจึงบริสุทธิ์เพราะอรรถว่ามีผล

มาก เพราะฉะนั้น ปัญหานั้นจึงไม่มีการท้วงในคำว่า ทานย่อมบริสุทธิ์

คือมีผลมาก เพราะปฏิคคาหก ด้วยประกการฉะนี้.

อรรถกถาทักขิณาวิสุทธิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา

๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา

๖. นวัตตัพพังสังโฆ ทักขิณัง ปฏิคคัณหาตีติกถา ๗. นวตตัพพัง สังโฆ

ทักขิณวิโสเธตีติกถา ๘. นวัตตัพพัง สังโฆภุญชตีติกถา ๙. นวัตวัพพัง

สังฆัสส ทินนัง มหัปผลันติกถา ๑๐. นวัตตัพพัง พุทธัสสทินนัง มหัปผลันติกถา

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา.

วรรคที่ ๑๗ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

วรรคที่ ๑๘

มนุสสโลกกถา

[๑๗๓๓] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่

แล้วในมนุษยโลก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้า

เคยประทับอยู่ อันเป็นเจดีย์ มีอยู่มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบท

ที่พระพุทธเจ้า เคยประทับอยู่ อันเป็นเจดีย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เคยดำรงอยู่ในมนุษยโลก.

[๑๗๓๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยดำรงอยู่ใน

มนุษยโลก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูตทีป่าลุมพินี ตรัสรู้ที่

ควงไม้โพธิ ประกาศธรรมจักรที่เมืองพาราณสี ปลงอายุสังขารที่

ปาวาลเจดีย์ ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติที่ป่าลุมพินี ฯลฯ

ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้าได้ดำรงอยู่แล้วในมนุษยโลก.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

[๑๗๓๕] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้ว

ในมนุษยโลก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมัยหนึ่งเราพักอยู่ ณ ควงไม้สาละใหญ่ ในสุภควัน ใกล้เมืองอุกกัฏฐะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราแรกได้ตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธ

ตำบลอุรุเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน ใกล้นครราชคฤห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง

เราพักอยู่ ณ เชตวันอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้นครสาวัตถี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ใกล้นครเวสาลี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ดำรงอยู่แล้วใน

มนุษยโลก น่ะสิ.

[๑๗๓๖] ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้วในมนุษยโลก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญใน

โลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกเสด็จอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำเนิดในโลก ทรง

เจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกเสด็จอยู่ ก็

ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดำรงอยู่แล้ว ในมนุษยโลก.

มนุสสโลกกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

อรรถกถามนุสสโลกกถา

ว่าด้วย มนุสสโลก

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมนุสสโลก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ดุจลัทธินิกายเวตุลลกะทั้งหลายนั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต และอยู่ในดุสิตเทวโลกนั้นนั่นแหละย่อมไม่เสด็จ

มาสู่มนุสสโลก แต่ทรงแสดงรูปนิมิตไว้ในมนุสสโลกนี้ เพราะไม่พิจารณา

ถือเอาพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบังเกิดในโลก

ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ทรงครอบงำโลก

เสด็จอยู่ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะให้ปรวาทีนั้นรับด้วยโอกาสที่ถาม

และทั้งด้วยการพิสูจน์ด้วย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อาราม วิหาร...มีอยู่

มิใช่หรือ.

คำว่า "ทรงบังเกิดในโลก" ปรวาทีกล่าวหมายเอาสวรรค์ชั้นดุสิต.

แต่คำนี้พระศาสดาทรงตรัสหมายเอามนุสสโลกนี้เท่านั้น. คำว่า ทรง

ครอบงำโลก ปรวาทีกล่าวเพราะความเห็นว่า ทรงครอบงำแล้วซึ่ง

มนุสสโลก แต่ในคำนี้พระคาสดาทรงครอบงำโลก คือ อารมณ์. คำว่า

เป็นผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน ปรวาทีกล่าวหมายเอาความไม่แปดเปื้อน

ด้วยมนุสสโลก อันที่จริงพระศาสดาไม่ทรงแปดเปื้อนกิเลสทั้งหลายใน

โลกธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในดุสิตเทวโลกนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถามนุสสโลกกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

ธัมมเทสนากถา

[๑๗๓๗] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อันใครแสดงไว้.

ป. อันพระพุทธนฤมิตรแสดงไว้.

ส. พระพุทธนฤมิตร เป็นพระชินะเป็นพระศาสดา เป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็น

พระธัมมสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อันใครแสดงไว้.

ป. อันท่านพระอานนท์แสดงไว้.

ส. ท่านพระอานนท์ เป็นพระชิน เป็นพระศาสดา เป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็น

พระธัมมสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๓๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร

บ้าง พระผู้รู้ทั่วถึง หาได้ยาก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้วน่ะสิ.

[๑๗๓๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรม

เป็นไปกับด้วยเหตุ ไม่แสดงไร้เหตุ เราแสดงธรรมเป็นไปกับด้วย

ปาฏิหาริย์ ไม่แสดงไร้ปาฏิหาริย์ และโดยที่เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง

ไม่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุ ไม่แสดงธรรมไร้เหตุ

แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงไร้ปาฏิหาริย์ โอวาทานุศาสนีของเรา

จึงควรทำตาม ก็และพวกเธอควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะ

โสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ก็แหละเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณพจน์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว

แล้ว ดังนี้เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. องฺ ติก. ๒๐/๔๗๒.

๒. องฺ ติก. ๒๐/๕๖๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแล้ว น่ะสิ.

ธัมมเทสนากถา จบ

อรรถกถาธัมมเทสนากถา

ว่าด้วย พระธรรมเทศนา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพระธรรมเทศนา คือการแสดงธรรม. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเวตุลลกะนั่นแหละว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต และทรงส่งรูปนิมิตไปเพื่อ

ต้องการแสดงธรรม ทั้งรูปนิมิต และทั้งท่านพระอานนท์รับพระธรรม

เทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วจึงแสดง มิใช่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว

ทรงแสดง ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ผิว่า รูปนิมิตนั้น

แสดงธรรม รูปนิมิตนั้นก็พึงเป็นพระศาสดา ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระพุทธ-

นฤมิตเป็นพระชินะ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ยอมรับเช่นนั้น จึงตอบ

ปฏิเสธ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมเทศนากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

กรุณากถา

[๑๗๔๐] สกวาที กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๑] ส. เมตตา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๒] ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่ประกอบด้วยพระกรุณา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณา

ทรงเกื้อกูลโลก ทรงอนุเคราะห์โลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่โลก มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระ-

กรุณา ทรงเกื้อกูลโลก ทรงอนุเคราะห์โลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่

โลก ก็ต้องไม่กล่าวว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี.

[๑๗๔๓] ส. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติแล้ว

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ

แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี.

[๑๗๔๔] ป. กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีราคะ. หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่มี

น่ะสิ.

กรุณากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

อรรถกถากรุณากถา

ว่าด้วย ความกรุณา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความกรุณา. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า ธรรมดาว่าความกรุณาก็คือ

ราคะนั่นแหละ ราคะนั้นย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น

ความกรุณาของพระพุทธเจ้าไม่มี เพราะเห็นความเป็นไปแห่งธรรมมี

ราคะทั้งหลายซึ่งเป็นกรุณาปฏิรูป ด้วยอำนาจแห่งความยินดีอันเป็นพืช

แห่งวัตถุทั้งหลายอันน่ารักใคร่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เมตตา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ความกรุณา

นั้นมีชาติเสมอกับธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น เพราะความเป็นธรรม

มิใช่กิเลส เพราะความมีสัตว์เป็นอารมณ์ เพราะความเป็นเจโตวิมุติและ

เพราะความเป็นธรรมมีอานิสงส์ ๑๑ ประการ เพราะฉะนั้น ถ้าความ

กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีเมตตาเป็นต้น

ก็ไม่พึงมีแก่พระพุทธเจ้า ดังนี้. ในปัญหาว่า กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่มีหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นโวหารเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือ

ในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถากรุณากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

คันธชาติกถา

[๑๗๔๕] สกวาที อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า หอม

เกินคันธชาติอื่น ๆ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคของหอม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบริโภคข้าวสุกและขนม

กุมมาส มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคข้าวสุกและ

ขนมกุมมาส ก็ต้องไม่กล่าวว่า อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

หอมเกินคันธชาติอื่น ๆ.

[๑๗๔๖] ส. อุจจาระปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้า หอมเกิน

คันธชาติอื่น ๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนบางพวกที่อาบ ทา เจิม อุจจาระปัสสาวะของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เก็บไว้ในลุ้ง บรรจุไว้ในขวด แผ่ขายที่ตลาด กระทำ

กิจด้วยของหอม ด้วยกลิ่นนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

คันธชาติกถา จบ

๑. ลุ้ง-ภาชนะสำหรับใส่ของ, ดูนิยามคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

อรรถกถาคันธชาติกถา

ว่าด้วย คันธชาติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องคันธชาติ คือของหอม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกว่า อุจจาระ

ปัสสาวะของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีกลิ่นหอมยิ่งกว่าคันธชาติอื่น ๆ ด้วย

อำนาจความรักในพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่พิจารณา

ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละจึงว่า คันธชาติอันหอมยิ่งกว่าอุจจาระปัสสาวะของ

พระพุทธเจ้าไม่มี ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้

แล.

อรรถกถาคันธชาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

เอกมัคคกถา

[๑๗๔๗] สกวาที สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคอัน

เดียว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๔ ฯลฯ แห่งปัญญา ๔

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคอันเดียว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยมรรคไหน?

ป. ด้วยอรหัตมรรค.

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ด้วย

อรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย

อรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสัญโญชน์ ๓ ว่า

โสดาปัตติผล มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสัญโญชน์

๓ ว่า โสดาปัตติผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-

ปรามาสได้ด้วยอรหัตมรรค.

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วย

อรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วย

อรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่งกามราคะ

และพยาบาทว่า สกทาคามิผล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่ง

กามราคะและพยาบาทว่า สกทาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกามราคะ

อย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตมรรค.

ส. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้

ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละกามราคะและพยาบาท

โดยไม่มีส่วนเหลือว่า อนาคามิผล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละกามราคะ

พยาบาทโดยไม่มีส่วนเหลือว่า อนาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกามราคะ

อย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตมรรค.

[๑๗๔๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สามัญญผล ๔ ทำให้แจ้งได้ด้วยอริย-

มรรคอันเดียว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดแล้ว

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบัน หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. สกทาคามิมรรค ฯล อนาคามิมรรค พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงให้เกิดแล้ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอนาคามี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๔๙] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้แจ้งซึ่งสามัญญผล ๔

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

ด้วยอริยมรรคอันเดียว แต่พระสาวกทั้งหลายทำให้แจ้งสามัญญผล ๔

ด้วยอริยมรรค ๔ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวกเห็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เห็น

บรรลุธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้บรรลุ ทำให้แจ้งธรรมที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิได้ทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกมัคคกถา จบ

อรรถกถาเอกมัคคกถา

ว่าด้วย อริยมรรคอันเดียว

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอริยมรรคอันเดียว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจสัทธินิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้น

นั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี

เป็นพระอนาคามีและทำให้แจ้งซึ่งพระอรหันต์ แล้วก็ทำให้แจ้งซึ่งผล ๔

ด้วยอริยมรรคเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจความรักในพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่พิจารณา ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว

คำว่า เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๔ เป็นต้นเพื่อท้วงด้วยความสามารถ

แห่งธรรมทั้งหลายอย่างละ ๔ มีผัสสะ ๔ เป็นต้นที่เกิดขึ้นกับผลทั้ง ๔

โดยรวมเป็นอันเดียวกัน.

คำว่า ด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

ย่อมทำให้แจ้ง ด้วยมรรคไหน ? ครั้นปรวาทีตอบว่า ด้วยอรหัตมรรค

สกวาทีจึงท้วงด้วยอำนาจภาวะแห่งการละกิเลสทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิ

เป็นต้น.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโสดาบันหรือ สกวาทีตอบ

ปฏิเสธเพราะว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงพระโสดาบันย่อมไม่มี. แม้ใน ๒

ปัญหาข้างหน้าก็นัยนี้ คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลีนั่นแหละ

ดังนี้แล.

อรรถกถาเอกมัคคกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

ฌานสังกันติกถา

[๑๗๕๐] สกวาที โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานหนึ่ง จากฌานหนึ่ง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เลื่อนสู่ตติยฌาน จากปฐมฌานได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานหนึ่ง จากฌานหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เลื่อนสู่จตุตถฌาน จากทุติยฌานได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๑] ส. เลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น

แห่งปฐมฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ทุติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเคลื่อนทุติยฌาน จากปฐมฌานแล แต่

ไม่พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ปฐมฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ทุติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน เกิดขึ้นได้แก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ

เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึก ฯลฯ ย่อม

เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผูตั้งใจ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ทุติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่

ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคลเลื่อน

สู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคล ผู้กระทำไว้ในใจ

ซึ่งกามทั้งหลายโดยความเป็นของมีโทษ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน ก็เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ทำไว้ในใจซึ่งกาม

ทั้งหลาย โดยความเป็นของมีโทษ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌานก็มีวิตก มีวิจาร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ทุติยฌาน จากปฐมฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปฐมฌานอันนั้น ทุติยฌานก็อันนั้นแล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๒] ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น

แห่งทุติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ตติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌานแล แต่ไม่

พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ทุติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแกโยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ

เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ตติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ

ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ตติยฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึง

อยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคล

เลื่อนสู่ตติยฌาน จากทุติยฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ

ซึ่งวิตก และวิจารโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ

ซึ่งวิตก และวิจารโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทุติยฌาน ยังมีปีติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ก็ยังมีปีติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่ตติยฌานจากทุติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุติยฌานอันนั้น ตติยฌานก็อันนั้นแล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๓] ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ อันใด เพื่อความเกิดขึ้น

แห่งตติยฌาน ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

จตุตถฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌานแล แต่ไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

พึงกล่าวว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌาน

ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจอันนั้นแล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จตุตถฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่

ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่ตั้งใจอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จตุตถฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ

ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จตุตถฌานย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึง

อยู่ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ตั้งใจอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า โยคีบุคคล

เลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน.

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌาน ย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ

ซึ่งปีติ โดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จตุตถฌาน ก็เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้กระทำไว้ในใจ

ซึ่งปีติโดยความเป็นธรรมมีโทษ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ตติยฌาน สหรคตด้วยสุข หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

ส. จตุตถฌาน ก็สหรคตด้วยสุข หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โยคีบุคคลเลื่อนสู่จตุตถฌานจากตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตติยฌานอันนั้น จตุตถฌานก็อันนั้นแล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า โยคีบุคคลเลื่อนสู่ฌานอันหนึ่งจาก

ฌานอันหนึ่ง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามเทียว ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น โยคีบุคคลก็เลื่อนสู่ฌานหนึ่งจากฌาน

หนึ่ง น่ะสิ.

ฌานสังกันติกถา จบ

อรรถกถาฌานสังกันติกถา

ว่าด้วย การเลื่อนฌาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเลื่อนฌาน คือการเปลี่ยนจากฌานหนึ่งไปสู่

ฌานหนึ่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจจลัทธินิกายมหิสสาสกะ

และนิกายอันธกะบางพวกว่า โยคีบุคคลย่อมเลื่อนจากฌานมาสู่ฌาน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

โดยเว้นจากความเป็นไปแห่งอุปจาระของฌานนั้น ๆ เพราะอาศัยการ

แสดงฌานโดยลำดับว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด

แล้วจากกามทั้งหลายเทียว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่ เพราะวิตกวิจาร

สงบ ฯลฯ เข้าถึงทุติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงตติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌาน

อยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เลื่อนสู่ตติยฌานจากปฐมฌาน

เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า บุคคลไม่บรรลุอุปจาระแห่งทุติยฌานย่อม

เลื่อนจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌานโดยผิดระเบียบไซร้ บุคคลก็พึง

เลื่อนจากปฐมฌานเข้าตติยฌาน จากทุติยฌานเข้าแม้จตุตถฌานได้

ดังนี้.

คำว่า ความนึก...ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌาน

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลย่อมเข้าทุติยฌานถัดจาก

ปฐมฌาน หรือเข้าตติยฌานเป็นต้นซึ่งต่อจากทุติยฌานเป็นต้นได้ไซร้

บุคคลก็พึงเข้าฌานได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว คือหมายความว่า ความนึก

ครั้งเดียวเข้าฌานได้ทุกฌาน ได้. คำว่า ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งกามทั้งหลาย

โดยความเป็นของมีโทษ อธิบายว่า เมื่อพระโยคีมนสิการกามทั้งหลาย

โดยความเป็นโทษอยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ในขณะแห่ง

ฌาน นิมิตนั้นนั่นแหละย่อมเป็นการกระทำไว้ในใจ.

คำว่า ปฐมฌานอันนั้น เป็นต้น สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วย

คำว่า ถ้าว่าฌานนั้นนั่นแหละเว้นเบื้องต้นและเบื้องปลายพึงมีได้โดย

ลักษณะไซร้ ฌานนั้น ก็พึงเกิดได้ตามลำดับ ดุจชวนจิตดวงสุดท้ายเกิด

เพราะอาศัยชวนจิตดวงก่อน. พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

พระสูตรนี้ย่อมแสดงความที่ฌานทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ไว้โดยลำดับด้วยคำว่า สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว เป็นต้น มิใช่

แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งฌานอันติดต่อกันไป โดยเว้นมนสิการ เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าอุปจารฌานไม่มี ดังนี้แล.

อรรถกถาฌานสังกันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

ฌานันตริกกถา

[๑๗๕๕] สกวาที ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผัสสะคั่นมีอยู่ หรือ ฯลฯ ปัญญาคั่นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๖] ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน

ก็ต้องไม่กล่าวว่าฌานคั่นมีอยู่.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ฌานคั่นไม่ มีในระหว่างตติยฌาน และจตุตถฌาน

ก็ต้องไม่กล่าวว่า ฌานคั่นมีอยู่.

[๑๗๕๗] ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานสละตติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างตติยฌานและจตุตถฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๘] ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างตติยฌานละจตุตถฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฌานคั่นไม่มีในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๕๙] ส. สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิมีวิตกมีวิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๐] ส. สมาธิที่มีวิตกมีวิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๑] ส. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารมีในระหว่างฌานทั้งสอง

ที่บังเกิดเป็นแผ่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌาน

ดับไปแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่บังเกิดขึ้น มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เมื่อสมาธิทีไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌาน

ปฐมฌานดับไปแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่บังเกิดขึ้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า สมาธิ

ที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น มีอยู่ในระหว่านฌานทั้งสองที่บังเกิด

เป็นแผ่น.

[๑๗๖๒] ป. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารไม่เป็นฌานคั่น หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นปฐมฌาน ฯลฯ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

ทุติยฌาน ฯลฯ เป็นตติยฌาน ฯลฯ เป็นจตุตถฌาน หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ก็เป็นฌานคั่น

น่ะสิ.

[๑๗๖๓] ส. สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง คือ

สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร, สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร, สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มี

วิจาร มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง

คือสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารเป็นฌานคั่น.

ฌานันตริกกถา จบ

อรรถกถาฌานันตริกกถา

ว่าด้วย ฌานคั่น

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องฌานคั่น. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธินิกายสมิติยะและอันธกะทั้งหลายบางพวกว่า ผู้ไม่รู้โอกาส คือ

การปรากฏ แห่งสมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารในลัทธิปัญจกนัยที่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงจำแนกฌาน ๕ อย่าง สมาธิทั้งสิ้นทรงยกขึ้นแสดงไว้

๓ อย่าง ข้อนี้ชื่อว่าฌานคั่นในระหว่างฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า ผัสสะคั่นมีอยู่หรือ เป็นต้น เพื่อท้วง

ด้วยคำว่า ฌานก็ดี เจตสิกธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นก็ดีมีอยู่ เพราะ

ฉะนั้นถ้าว่าฌานคั่นพึงมีไซร้ ผัสสะคั่นเป็นต้นก็ต้องมี ดังนี้.

ข้อว่า ฌานคั่นมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานและตติยฌาน สกวาที

กล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ฌานคั่นพึงมีไซร้ ฌานทั้งหลายมีทุติยฌานและ

ตติยฌานเป็นต้นนั่นแหละมีอยู่ อันฌานคั่นแห่งฌานเหล่านั้นก็พึงมีด้วย.

ปรวาที ตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย เพราะความไม่มีในลัทธิทั้งหมด.

ถูกถามว่า ฌานคั่นในระหว่างปฐมฌานและทุติยฌาน ปรวาทีตอบ

รับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า วิตกวิจาร เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อท้วงด้วยคำว่า เมื่อความเป็นสมาธิแห่งสมาธิแม้ทั้ง ๓ มีอยู่ สมาธิ

ที่ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจารเท่านั้นเป็นฌานคั่น สมาธินอกจากนี้ไม่ใช่ไซร้

ก็เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรเป็นเหตุแปลกกันในที่นี้. คำว่า ในระหว่างฌาน

ทั้ง ๒ เกิดคล่องแคล่ว สกวาทีถามหมายถึงปฐมฌานและทุติยฌาน. ปรวาที

ตอบรับรองด้วยลัทธิว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจารในระหว่างแห่งฌาน

ทั้ง ๒ เกิดคล่องแคล่วเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นฌานคั่น.

ถูกถามว่า ปฐมฌานดับแล้ว ทุติยฌานก็ยังไม่เกิดขึ้น ปรวาที

ตอบรับรอง เพราะความเป็นไปในขณะหนึ่งแห่งฌานทั้ง ๓ ไม่ประกอบ

กัน.

ปรวาทีถามด้วยความสามารถแห่งจตุกกนัยว่า สมาธิไม่มี

วิตกมีแต่วิจารเป็นปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุติยฌาน ฯลฯ สกวาทีตอบ

ปฏิเสธเพราะความไม่มีแห่งฌานนั้น ในนัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

ในคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิไว้ ๓ อย่าง มิใช่หรือ

อธิบายว่า บรรดาสมาธิ ๓ นั้น ๆ สมาธิ ๒ เป็นฌานอย่างเดียวไม่เป็น

ฌานคั่นฉันใด อันฌานแม้นี้นั่นแหละก็ไม่พึงเป็นฌานคั่นฉันนั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

อรรถกถาฌานันตริกกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

สมาปันโน สัททัง สุณาตีติกถา

[๑๗๖๔] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติ เห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วย

โสตะ ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ

ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้.

[๑๗๖๕] ส. สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ผู้ที่

พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฟังเสียงได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สมาธิมีแก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ

ผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฟังเสียงได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

ฟังเสียงได้.

ส. สมาธิมีแก่ผู้พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณ ผู้ที่

พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณฟังเสียงได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ ฟังเสียงได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึกต่อปฐม-

ฌาน มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก

ต่อปฐมฌาน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้.

ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก

ต่อปฐมฌาน ฉะนั้นผู้ที่เข้าสมาบัติจึงฟังเสียงได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิตก วิจารว่า เป็นข้าศึก

ต่อทุติยฌาน วิตกวิจารจึงมีอยู่แก่ทุติยฌานนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสียงว่า เป็นข้าศึก

ต่อปฐมฌาน ฉะนั้นผู้ที่เข้าสมาบัติจึงฟังเสียงได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปีติว่าเป็นข้าศึกต่อตติยฌาน

ตรัสลมอัสสาสะปัสสาสะว่าเป็นข้าศึกต่อจตุตถฌาน ตรัสรูปสัญญาว่า

เป็นข้าศึกต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ตรัสอากาสานัญจายตน-

สัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ทีเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ตรัสวิญญา-

ณัญจายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ตรัส

อากิญจัญญายตนสัญญาว่า เป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าเนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติ ตรัสสัญญาและเวทนาว่าเป็นข้าศึกต่อผู้ที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-

สมาบัติ สัญญาและเวทนาจึงมีอยู่แก่ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมาปันโน สัททังสุณาตีติกถา จบ

อรรถกถาสมาปันโน สัททังสุณาตีติกถา

ว่าด้วย ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัส เสียงว่าเป็นหนาม คือเป็นข้าศึก ต่อปฐมฌาน ก็ถ้าว่า ผู้เข้าฌาน

ไม่ได้ยินเสียงไซร้ เสียงนั้นจะพึงเป็นหนาม คือเป็นข้าศึก ได้อย่างไร

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ผู้เข้าฌานย่อมได้ยินเสียง ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

คำว่า ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ

ท้วงด้วยคำว่า ตราบใดที่บุคคลยังเข้าฌานอยู่ อารมณ์ทางปัญจทวาร

ย่อมไม่มี ก็ครั้นเมื่ออารมณ์ทางปัญจทวารนั้นไม่มี ก็ถ้าเขาพึงได้ยินเสียง

ไซร้ เขาก็พึงเห็นแม้ซึ่งรูปได้ ดังนี้. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เสียงว่าเป็นข้าศึก ท่านกล่าวแล้วเพราะความที่เสียงนั้นกระทำความ

รบกวน. จริงอยู่ ครั้นเมื่อเสียงอันโอฬารกระทบโสตะแล้ว การออก

จากฌานย่อมมีได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า ผู้เข้าสมาบัติฟังเสียงได้ ดังนี้.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิตกวิจารว่าเป็นข้าศึกต่อทุติยฌาน

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อให้รู้ว่าหนาม คือข้าศึก แม้อื่น ๆ ไม่มีอยู่ใน

ภายในแห่งสมาบัติ ฉันใด แม้การฟังซึ่งเสียงเป็นต้นก็ย่อมไม่มีอยู่ใน

สมาบัติฉันนั้น. คำทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ

๑. คำบาลี โอฬาริเกน หิ สทฺเทน โสเต ฆฏฺฏิเต ปมชฺฌานโต วุฏฺาน โหติ เตเนต วุตฺต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา

[๑๗๖๗] สกวาที บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เห็นรูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เห็นรูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รับรู้ไปด้วยรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นมโนวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของจักษุไม่มี ก็

ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ.

[๑๗๖๘] ส. บุคคลฟังเสียงด้วยโสตะ ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

ลิ้มรสด้วยชิวหา หรือ ?

[๑๗๖๙] ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถูกต้องรูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถูกต้องรูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รับรู้รูปด้วยรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นมโนวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกาย ไม่มี มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของกายไม่มี ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ

[๑๗๗๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ถูกต้อง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เห็นรูปด้วยจัก ฯลฯ ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย น่ะสิ.

จักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา จบ

วรรคที่ ๑๘ จบ

อรรถกถาจักขุนา รูปัง ปัสสตีติกถา

ว่าด้วย เห็นรูปด้วยจักษุ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเห็นรูปด้วยจักษุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า จักขุประสาทเท่านั้นย่อม

เห็นรูป เพราะอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า

เห็นรูปด้วยรูปหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า บุคคลพึงเห็นรูป

ด้วยจักษุไซร้ บุคคลก็พึงเห็นรูปด้วยรูป ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมาย

เอารูปายตนะ คือมีรูปเป็นอารมณ์ ถูกถามซ้ำอีกก็ตอบรับรองหมายเอา

จักขุนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

คำว่า เห็น ในคำว่า รับรู้รูป นี้ อธิบายว่า พวกเราย่อมถาม

โดยหมายถึงการรู้เฉพาะ มิใช่ถามซึ่งสักว่าการเข้าไปอาศัยจักษุเห็น

เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงถามว่า ผู้มีจักษุย่อมเห็นรูปด้วยรูปตามลัทธิ

ของท่านหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย โดยนัยก่อน

นั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า รูปเป็นมโนวิญญาณหรือ

ดังนี้ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ รูปก็เป็นมโนวิญญาณ

เพราะว่า มโนวิญญาณนั้นชื่อว่าย่อมรับ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่ได้เลสนัย

คือข้ออ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงตอบปฏิเสธทั้งสิ้น. คำว่า ความนึก...ของ

จักษุมีอยู่หรือ เป็นต้น ความว่า สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วยคำว่า

ถ้าว่า จักษุย่อมเห็นเพราะอรรถว่าการรู้ไซร้ ความนึก คืออาวัชชนะ

ของจักษุนั้นก็พึงเป็นดุจอาวัชชนะของจักษุวิญญาณ ดังนี้. ปรวาทีตอบ

ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวเช่นนั้น เพราะว่า จักขวายตนะไม่นับเนื่องด้วย

การนึก แต่ว่าย่อมเกิดขึ้นในระหว่างแห่งการนึก. แม้ในคำว่า บุคคล

ฟังเสียงด้วยโสตะ เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็น

รูปด้วยจักษุ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยนัยแห่งสสัมภารกถา

คือโดยนัยแห่งถ้อยคำเป็นเครื่องกำหนด. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า แม้

บุคคลยิงด้วยลูกธนู เขาก็เรียกกันว่า ยิงด้วยธนู ฉันใด บุคคลแม้เมื่อเห็น

ด้วยจักขุวิญญาณ เขาก็เรียกว่าเห็นด้วยจักษุ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าเห็นรูปด้วยตา. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย

ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาจักขุนารูปังปัสสตีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. มนุสโลกกถา ๒. ธัมมเทสนากถา ๓. กรุณากถา ๔. คันธชาติกถา

๕. เอกมัคคกถา ๖. ฌานสังกันติกถา ๗. ฌานันตริกกถา ๘. สมาปันโน

สัททัง สุณาตีติกถา ๙. จักขุนารูปัง ปัสสตีติกถา.

วรรคที่ ๑๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

วรรคที่ ๑๙

กิเลสชหนกถา

[๑๗๗๑] สกวาที บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ยังธรรมที่ดับแล้วให้ดับไป ยังธรรมที่ปราศไปแล้วให้

ปราศไป ยังธรรมที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไป ยังธรรมที่อัสดงคตแล้ว ให้

อัสดงคตไป ยังธรรมที่อัสดงคตลับไปแล้ว ให้อัสดงคตลับไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลละกิเลสเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตดับไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตดับไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ

กิเลสที่เป็นอดีต.

ส. ละกิเลสที่เป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตไม่มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ

กิเลสที่เป็นอดีต.

[๑๗๗๒] ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

ส. ยังธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด ยังธรรมที่ยังไม่เกิด

พร้อมไม่ให้เกิดพร้อม ยังธรรมที่ยังไม่บังเกิดไม่ให้บังเกิด ยังธรรมที่ยัง

ไม่ปรากฏไม่ให้ปรากฏ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ก็ต้องไม่กล่าว

ว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต.

ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตไม่มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคตไม่มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลละ

กิเลสที่เป็นอนาคต.

[๑๗๗๓] ส. บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นผู้กำหนัดแล้วละราคะ เป็นผู้อันโทสะ

ประทุษร้ายแล้วละโทสะ เป็นผู้หลงแล้วละโมหะ เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว

ละกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ

ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ

ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว อัน

เป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ ธรรมดำ

และธรรมขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ฐานะ ๔ ประการนี้ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ท้องฟ้ากับ

แผ่นดิน นี้ประการแรกที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรม

ของสัตบุรุษจึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมเป็นกุศลและ

ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน น่ะสิ.

[๑๗๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต ละกิเลสที่

เป็นอนาคต ละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลที่ละกิเลสได้ ไม่มี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสที่เป็นอดีต ละกิเลสที่

เป็นอนาคต ละกิเลสที่เป็นปัจจุบัน น่ะสิ.

กิเลสชหนกถา จบ

อรรถกถากิเลสัปปชหนกถา

ว่าด้วย การละกิเลส

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการละกิเลส. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวกว่า ชื่อว่าการละกิเลส

ของผู้มีกิเลสอันละได้แล้วมีอยู่ ด้วยว่ากิเลสทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดี เป็น

อนาคตก็ดี และปัจจุบันก็ดี เป็นสภาพที่ต้องละทั้งนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น

บุคคลจึงต้องละกิเลสที่เป็นอดีตด้วย ที่เป็นอนาคตด้วย ที่เป็นปัจจุบันด้วย

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลละกิเลสแม้ที่เป็นอดีต เป็นต้น

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ พึงทราบ

ตามพระบาลีนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

อนึ่ง ในปัญหาของปรวาทีว่า บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีหรือ นี้

อธิบายว่า เมื่อบุคคลละกิเลสทั้งหลายอยู่ หาได้มีความพยายามละกิเลส

อันต่างด้วยอดีต เป็นต้น เหมือนความพยายามที่จะทิ้งหยากเยื่อของผู้ทิ้ง

อยู่ซึ่งหยากเยื่อไม่ ก็แต่ว่า ครั้นเมื่ออริยมรรคอันมีพระนิพพานเป็น

อารมณ์เป็นไปแล้ว กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดนั่นแหละ หมายถึงกิเลส

ที่เป็นอนุสัย ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าการละกิเลสมีอยู่

เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า ก็ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสที่เป็นอดีต เป็นต้น ปรวาทีกล่าว

โดยการฉ้อฉล คือลวงโดยอุบายแห่งคำพูด ด้วยคำว่า ก็ถ้าอย่างนั้น ไม่

พึงกล่าวว่า การละกิเลสไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลย่อมละกิเลส

ทั้งหลายอันต่างด้วยกิเลสที่เป็นอดีตเป็นต้น ดังนี้แล.

อรรถกถากิเลสัปปชหนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

สุญญตากถา

[๑๗๗๕] สกวาที ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมหานิมิตมิได้ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมหาที่ตั้งมิได้ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมหานิมิตได้ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขาร-

ขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างก็ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมหาที่ตั้งมิได้ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขาร-

ขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างก็ไม่พึงกล่าวว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

ส. สังขารขันธ์ มิใช่ธรรมไม่เที่ยง มิใช่ธรรมอันปัจจัย

ปรุงแต่งแล้ว มิใช่ธรรมอิงอาศัยเกิดขึ้น มิใช่ธรรมที่มีความสิ้นไปเป็น

ธรรม มิใช่ธรรมที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความคลายไป

เป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความดับไปเป็นธรรม มิใช่ธรรมที่มีความแปรไป

เป็นธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่เที่ยง เป็นธรรมอันปัจจัย

ปรุงแต่ง เป็นธรรมอิงอาศัยเกิดขึ้น เป็นธรรมมีความสิ้นไปเป็นธรรม

เป็นธรรมมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความคลายไปเป็นธรรม

เป็นธรรมมีความดับไปเป็นธรรม เป็นธรรมมีความแปรไปเป็นธรรม

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรไป

เป็นธรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์.

[๑๗๗๖] ส. ความว่างแห่งรูปขันธ์ นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ นับเนื่องในรูปขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ ความว่างแห่งสัญญา-

ขันธ์ ฯลฯ ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๗๗] ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่อง

ในรูปขันธ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องใน

สังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่อง

ในเวทนาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สังขารนี้ว่างจากตน หรือจากความเป็นตน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นความว่าง ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ น่ะสิ.

สุญญตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

อรรถกถาสุญญตากถา

ว่าด้วย สุญญตา

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสุญญตา คือความว่าง. ในเรื่องนั้น คำว่า สุญญตา

ได้แก่สุญญตา ๒ คือ อนัตตลักขณะของขันธ์ทั้งหลาย และพระนิพพาน.

ในสุญญตาเหล่านั้น อนัตตลักขณะอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่นับเนื่องด้วย

สังขารขันธ์ โดยปริยายหนึ่ง พระนิพพานเป็นปริยาปันนะ คือเป็นธรรม

ที่นับเนื่องด้วยสุญญตา โดยปริยายหนึ่ง ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้

มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า สุญญตาเป็นธรรมนับ

เนื่องด้วยสังขาร ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า ธรรมหานิมิตมิได้ ได้แก่ พระนิพพานอันเว้นจากนิมิต

ทั้งปวง แม้คำว่า ธรรมอันหาที่ตั้งมิได้ คืออัปปณิหิตะ ก็เป็นชื่อของ

พระนิพพานนั้นนั่นแหละ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงนำพระนิพพาน

นี้มากล่าว ตอบว่า เพื่อจะยกโทษของลัทธิอันไม่กล่าวจำแนกธรรม.

ด้วยว่า ลัทธิของผู้ใดว่า สุญญตาเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์

โดยส่วนเดียว ดังนี้ เพราะไม่จำแนกออกไป ลัทธิแห่งชนนั้นก็ย่อม

ปรากฏว่า แม้แต่พระนิพพานก็เป็นธรรมที่นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ ดังนี้.

เพื่อจะยกขึ้นซึ่งโทษของลัทธินี้ สกวาทีจึงนำคำว่า อนิมิต และอัปปณิหิตะ

มากล่าว. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่พระนิพพานนั้นเป็นธรรม

นับเนื่องด้วยสังขารนั้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สังขารขันธ์มิใช่ธรรม

ไม่เที่ยง เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงความผิดอันถึงความเป็นของ

ไม่เที่ยงแห่งสุญญตาอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าพระนิพพาน. คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์หรือ สกวาทีกล่าว

เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าสุญญตาของขันธ์อื่นนับเนื่องด้วยขันธ์อื่นไซร้

แม้สุญญตาของสังขารขันธ์ ก็พึงนับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือได้ ดังนี้. ข้อว่า

ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในรูปขันธ์หรือ เป็นต้น

สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโดยปฏิโลมว่า ถ้าว่าสุญญตาของสังขารขันธ์ไม่

นับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือไซร้ แม้สุญญตาของขันธ์ที่เหลือก็ชื่อว่านับเนื่อง

ในสังขารขันธ์หรือ ดังนี้. พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร

เหล่านี้ว่างจากตนหรือจากความเป็นตน ปรวาทีนำมาจากลัทธิอื่น. ใน

คำเหล่านั้น คำว่า สังขารเหล่านี้ อธิบายว่า การหยั่งลงในพระศาสนา

ว่า ปัญจขันธ์เหล่านั้นเทียวชื่อว่าเป็นสภาพว่าง เพราะว่างจากตน และ

ของที่เนื่องด้วยตน ดังนี้ ย่อมไม่ผิด ดุจอาคตสถานว่า สพฺเพ สงฺขารา

อนิจจา ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตไว้. แต่

พระสูตรนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่แห่งสุญญตาเป็นธรรมที่นับเนื่องด้วย

สังขารขันธ์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตรนี้ จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า

พระนิพานมิใช่สุญญตา คือความว่าง ดังนี้แล.

อรรถกถาสุญญตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

สามัญญผลกถา

[๑๗๗๙] สกวาที สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง

เป็นที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง

ที่พึ่งก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒

อย่าง อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๐] ส. สามัญญผล เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สามัญญะ เป็นอสังขตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สามัญญะ เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

ส. สามัญญผล เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผล เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล เป็น

อสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตมรรค เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตมรรค เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตผล เป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติผล เป็นอสังขตะ สกทาคามิผล ฯลฯ

อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตผล เป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๕ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๕ อย่าง ที่พึ่ง

ก็เป็น ๕ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๕ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๕ อย่าง

อมตะก็เป็น ๕ อย่าง นิพพานก็เป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สามัญญาผลกถา จบ

อรรถกถาสามัญญผลกถา

ว่าด้วย สามัญญผล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสามัญญผล คือผลแห่งความเป็นสมณะ. ในเรื่อง

นั้น การสันนิษฐาน คือการลงความเห็น ในลัทธิของสกวาทีว่า วิปากจิต

ของอริยมรรคในมัคควิถีก็ดี ในผลสมาบัติก็ดี ชื่อว่าสามัญญาผล ดังนี้.

อนึ่ง ชนเหล่าใดไม่ถือเอาอย่างนั้น มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ

ทั้งหลายว่า การละกิเลสด้วย การเกิดขึ้นแห่งผลด้วยเป็นสามัญญผล

เหตุใด เพราะเหตุนั้น สามัญญผลนั้นจึงเป็นอสังขตะ คือพระนิพพาน.

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยตามที่กล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาสามัญญผลกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 608

ปัตติกถา

[๑๗๘๑] สกวาที การได้ เป็นอสังขตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง

เป็นที่หมาย เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การได้ เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่ง

ก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง

อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๒] ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การได้จีวร เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 609

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ที่เร้นก็เป็น ๒ อย่าง ที่พึ่ง

ก็เป็น ๒ อย่าง ที่หมายก็เป็น ๒ อย่าง ฐานะอันไม่เคลื่อนก็เป็น ๒ อย่าง

อมตะก็เป็น ๒ อย่าง นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การได้บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชช-

บริขาร เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส การได้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เป็นอสังขตะ นิพพาน

ก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 610

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การได้จีวรเป็นอสังขตะ การได้บิณฑบาต ฯลฯ

เสนาสนะ การได้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ก็เป็นอสังขตะ นิพพานก็

เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๕ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๕ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๕ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๓] ส. การได้ปฐมฌานเป็นอสังขตะ หรือ พึงให้พิสดาร

เหมือนกันทุกอย่าง การได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญ-

จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌาน ฯลฯ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค

สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อรหัตผล เป็น

อสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นฐานะอันไม่เคลื่อน เป็นอมตะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 611

ส. การได้อรหัตผล เป็นอสังขตะ นิพพานก็เป็นอสังขตะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การได้โสดาปัตติมรรค เป็นอสังขตะ การได้โสดา-

ปัตติผล เป็นอสังขตะ ฯลฯ การได้อรหัตมรรค เป็นอสังขตะ การได้

อรหัตผลเป็นอสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๙ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๙ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๙ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การได้เป็นอสังขตะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

ส. ถูกแล้ว.

ป. การได้ เป็นไป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร

เป็นวิญญาณ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น การได้เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

ปัตติกถา จบ

อรรถกถาปัตติกถา

ว่าด้วย ปัตติ คือการได้

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการได้. ในเรื่องนั้น บุคคลย่อมได้ซึ่งสิ่งใด ๆ

การได้ซึ่งสิ่งนั้น ๆ ชื่อว่า ปัตติ. ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า การได้

เป็นอสังขตะ ดังนี้ ดุจจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละ คำถาม

ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือ

ในที่นี้ พึงทราบตามพระบาลี เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง

นั่นแหละ.

คำว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น ปรวาทีกล่าวคำบัญญัติว่า ปัตติคือ

การได้จัดเป็นอสังขตะของลัทธิใดเพื่อประกาศลัทธินั้น. ในปัญหานั้น

สกวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คือไม่รับรองซึ่งความที่การได้

ทั้งสิ้นว่าเป็นสภาวธรรมมีรูปเป็นต้น จริงอยู่ ธรรมอะไร ๆ ชื่อว่า ปัตติ

คือการได้หามีไม่ ทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิทรงบัญญัติซึ่งความที่การ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

ได้นั้นเป็นอสังขตะ. แต่ว่าปรวาทีได้ให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ว่า ปัตติ คือการ

ได้นั้นเป็นอสังขตะด้วยเพียงการปฏิเสธสภาพธรรมดังกล่าวนั่นแหละ.

ลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะความเป็นลัทธิอันตั้งอยู่แล้วโดยไม่

พิจารณา ดังนี้แล.

อรรถกถาปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

ตถตากถา

[๑๗๘๕] สกวาที ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นอสังขตะ

นิพพานก็เป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๖] ส. รูปมีความเป็นรูป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็น อมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปมีความเป็นไป ความเป็นไปก็เป็นอสังขตะ นิพพาน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 615

ก็เป็นอสังขตะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อสังขตะเป็น ๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๒ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๒ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนามีความเป็นเวทนา ความเป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา

มีความเป็นสัญญา ความเป็นสัญญา ฯลฯ สังขารมีความเป็นสังขาร ความ

เป็นสังขาร ฯลฯ วิญญาณมีความเป็นวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็น

อสังขตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปมีความเป็นไป ความเป็นไปเป็นอสังขตะ ฯลฯ

วิญญาณมีความเป็นวิญญาณ ความเป็นวิญญาณ เป็นอสังขตะ ฯลฯ.

นิพพานก็เป็นอสังขตะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อสังขตะเป็น ๖ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 616

ส. อสังขตะเป็น ๖ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ที่ต้านทานเป็น ๖ อย่าง ฯลฯ นิพพานก็เป็น ๖ อย่าง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๘๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง

เป็นอสังขตะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง เป็นรูป เป็น

เวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมทั้งปวง ก็

เป็นอสังขตะ น่ะสิ.

ตถตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 617

อรรถกถาตถตากถา

ว่าด้วย ตถตา คือความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง ตถตา คือความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรม หรือ

ความเป็นจริงแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสัจจธรรม. ในเรื่องนั้นชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า ชื่อว่าตถตา

คือความเป็นอย่างนั้นอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าความเป็นสภาวะแห่งรูป

เป็นต้นแห่งธรรมทั้งปวงมีรูปเป็นต้น อันใด มีอยู่อันตถตานั้นเป็นอสังขตะ

เพราะความเป็นธรรมไม่นับเนื่องในรูปเป็นต้นที่เป็นอสังขตะ ดังนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำที่เหลือแม้ในที่นี้ชัดเจนแล้วนั่นแหละ เพราะมีลักษณะตามที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาตถตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 618

กุสลกถา

[๑๗๘๘] สกวาที นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งนิพพานนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า นิพพานธาตุ

เป็นกุศล.

[๑๗๘๓] ส. อโลภะ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ

ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา

วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 619

ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโลภะ. เป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งอโลภะนั้น ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิพพานธาตุ เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความ

นึก ฯลฯ ความตั้งใจแห่งนิพพานธาตุนั้น ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโทสะ เป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ เป็นกุศล ฯลฯ ศรัทธา

วิริย สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก

ฯลฯ ความตั้งใจแห่งปัญญานั้น ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๗๙๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า นิพพานธาตุ เป็นธรรมไม่มีโทษ ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า นิพพานธาตุ เป็นกุศล.

กุลสกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 620

อรรถกถากุสลกถา

ว่าด้วย กุสล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกุศล. ในเรื่องนั้น กุศลเป็นธรรมไม่มีโทษด้วย

เป็นธรรมมีผลที่น่าปรารถนาด้วย ทั้งเป็นธรรมที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส

จึงชื่อว่าเป็นธรรมหาโทษมิได้ โดยนัยนี้ บุคคลเว้นอกุศลเสียแล้วชื่อว่า

ย่อมเสพธรรมทั้งปวงอันไม่มีโทษ. กุศลชื่อว่าผลที่น่าปรารถนา คือเป็น

บุญอันให้ความสำเร็จซึ่งอิฏฐผลในความเป็นไปแห่งความเกิดขึ้นในภพ

ต่อไป โดยนัยนี้ บุคคลย่อมเสพธรรมอันเป็นบทต้นนั่นแหละในกุศลติกะ.

ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลาย

ว่า พระนิพพานเป็นกุศล ด้วยเหตุเพียงความเป็นธรรมไม่มีโทษเท่านั้น

ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงซึ่งความที่พระนิพพานไม่เป็นกุศล

ด้วยอรรถว่าเป็นอิฏฐวิบาก. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยอำนาจ

ลัทธิของตน. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะความมีนัยเช่นกับ

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ดังนี้แล.

อรรถกถากุสลกถา จบ

๑. บทต้นแห่งกุสลติกะ ได้แก่ กุสลา ธัมมา แปลว่าสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลมีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 621

อัจจันตนิยามกถา

[๑๗๙๒] สกวาที ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำมาตุฆาตเป็นแน่นอนโดยส่วนเดียว บุคคล

ผู้ทำปิตุฆาต ฯลฯ บุคคลผู้ทำอรหันตฆาต ฯลฯ บุคคลทำโลหิตุปบาท

บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน

เดียว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.

[๑๗๙๓] ส. วิจิกิจฉา ไม่พึงเกิดแก่บุคคลแน่นอนโดยส่วนเดียว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 622

ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ละได้ด้วยอนาคา-

มิมรรค ฯลฯ ละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละได้ด้วยมรรคไหน.

ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

ส. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นธรรมนำออก ให้ถึงความสิ้น

ทุกข์ ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ

ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ

เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิจิกิจฉา อันบุคคลผู้แน่นอน

โดยส่วนเดียวละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

[๑๗๙๔] ส. อุจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อุจจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดย

สัสสตทิฏฐิ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.

[๑๗๙๕] ส. อุจจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค

ฯลฯ ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละได้ด้วยมรรคไหน.

ป. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อุจเฉททิฏฐิ

อันบุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

[๑๗๙๖] ส. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจ-

เฉททิฏฐิ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว.

[๑๗๙๗] ส. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 624

ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตมรรค

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ด้วยมรรคไหน ?

ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัสสตทิฏฐิ

อันบุคคลผู้แน่นอนโดยอุจจเฉททิฏฐิ ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล.

[๑๗๙๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสได้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ

โดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมลงอยู่นั่นเอง

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. อง. สัตตก. ๒๓/๑๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 625

ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็มีความแน่นอนโดยส่วนเดียว

น่ะสิ.

[๑๗๙๙] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ

โดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะ

ทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความ

แน่นอนโดยส่วนเดีว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ผุดขึ้นแล้ว กลับจมลง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว กลับจมลงทุกครั้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๐] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำ

โดยส่วนเดียว เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำโดย

ส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะ

ทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านจึงสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความ

แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 626

บุคคลบางคนในโลกนี้ ผุดขึ้นแล้วทรงตัวอยู่ ผุดขึ้นแล้วเห็นแจ้งเหลียวแล

ดูว่ายข้ามไป ผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ทุกครั้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อัจจันตนิยามกถา จบ

อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา

ว่าด้วย ความแน่นอนโดยส่วนเดียว

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความแน่นอนโดยส่วนเดียว คือนิยามอันเป็นที่สุด

มีอย่างเดียว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะ

บางพวกว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว เพราะอาศัยพระสูตร

ว่า บุคคลนั้น คือผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศลเป็นธรรมดำโดยส่วน

เดียว เป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายชนเหล่านั้น คำตอบเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลผู้ทำมาตุฆาต

เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า เมื่อมิจฉัตตนิยามแห่งนิยตมิจฉาทิฏฐิ

บุคคลด้วย บุคคลผู้ทำกรรมทั้งหลายมีฆ่ามารดาเป็นต้นด้วย มีอยู่ แม้

บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นต้นเหล่านั้นก็พึงเป็นผู้แน่นอนที่สุดมิใช่หรือ ดังนี้.

ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะลัทธิว่า บุคคลผู้เป็น

นิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นผู้มั่นคงในสังสารวัฏ เป็นผู้เที่ยงแท้แม้ในภพที่สอง

แต่ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้เที่ยงแท้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 627

คำว่า วิจิกิจฉาพึงเกิดแล้วแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ความว่า

สกวาทีย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้เป็นเที่ยงก็ตามไม่เที่ยงก็ตาม วิจิกิจฉา

ก็พึงเกิดอย่างนี้ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นเหตุอันไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉา

จึงตอบรับรอง. ถูกถามว่า วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว

หรือ ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่เกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่

บุคคลซ่องเสพทิฏฐิใดแล้วก้าวลงสู่นิยามในนิยามนั้น. แต่นั้นถูกถามว่า

ผู้นั้น ละวิจิกิจฉาได้หรือ ก็ตอบปฏิเสธเพราะความที่วิจิกิจฉานั้นละ

ไม่ได้ด้วยมรรค คือมิจฉามรรค แต่ก็ตอบรับรองว่าละได้ เพราะความ

ที่บุคคลปรารภทิฏฐินั้นแล้ว หมายเอาทิฏฐิเป็นประธาน มิได้หมายเอา

โมหะที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาก็ไม่เกิดขึ้น. ลำดับนั้น สกวาที

กล่าวคำว่า ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยอำนาจ

แห่งโสดาปัตติมรรคนั้น เพราะขึ้นชื่อว่าการละวิจิกิจฉานั้นถ้าเว้นจาก

อริยมรรคแล้วย่อมละไม่ได้ ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่

วิจิกิจฉานั้นละไม่ได้ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง และถูกถามอีกว่า ละได้ด้วย

มรรคไหน ปรวาทีหมายเอามิจฉามรรค จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วย

มรรคฝ่ายอกุศล ดังนี้.

คำว่า อุจเฉททิฏฐิเกิดแก่ผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิหรือ ความว่า

สกวาทีย่อมถามซึ่งความเกิดขึ้นแห่งนิยามที่ ๒. ปรวาทีตอบรับรอง

เพราะพระบาลีว่า นัตถิกวาทะ อกิริยวาทะ อเหตุกวาทะเหล่านี้มีอยู่แก่

บุคคลผู้มีหูชัน คือหูชันหมายถึงการไม่รับรู้เหตุผลอะไรทั้งนั้น แม้เหล่าใด

เหล่านั้น นิยตมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้ง ๓ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดียวได้. ลำดับ

นั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ก็ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 628

บุคคลผู้หนึ่งผู้มีความเห็นผิดนั้นย่อมไม่ใช่ผู้เที่ยงที่สุดหรือ. จริงอยู่

นิยามที่ ๒ มิใช่จุดหมายของผู้มีความเห็นว่าเที่ยงแท้. ในปัญหาว่า

อุทเฉททิฏฐิไม่พึงเกิด เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความ

ไม่เกิดขึ้นแห่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความเห็นว่า ความเที่ยงของ

สัสสตทิฏฐิอันใดมีอยู่ (อุจเฉท) ทิฏฐิอันนั้นแหละอันเขาขจัดเสียแล้ว.

ถูกถามว่า ละอุจเฉททิฏฐิได้หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอุจเฉททิฏฐิ

นั้นยังไม่ได้ละด้วยมรรค และตอบรับรองว่าละได้เพราะความไม่เกิดขึ้น

โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิด

เป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในวาระว่าด้วย

วิจิกิจฉานั่นแหละ.

คำถามว่า ไม่พึงกล่าว เป็นต้น เป็นของปรวาที. คำตอบรับรอง

ว่า ใช่ เพราะความที่พระสูตรเช่นนั้นมีอยู่ เป็นของสกวาที. ในอธิการ

นี้มีอธิบายว่า ก็บุคคลผู้ไม่จมลงแม้ในภพถัดไปนั่นแหละ มีอยู่ เพราะว่า

เขาเป็นอภัพพบุคคลไม่อาจเพื่อละทิฏฐินั้นในภพนี้เท่านั้น ดังนี้. เพราะ

ฉะนั้น พระสูตรนี้ไม่สำเร็จว่าความแน่นอนมีอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง

นั้นหมายถึงอริยมรรค. คำว่าข้อกำหนดที่สุดมีอย่างเดียวนี้ ท่านกล่าว

เพื่อแสดงว่า ปรวาทีพึงแสวงหาอรรถกระทำซึ่งสักแต่คำว่า บุคคล

นั้นโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงตลอดกาล ดังนี้ ให้เป็นที่อาศัยตั้งลัทธิ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

อรรถกถาอัจจันตนิยามกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 629

อินทริยกถา

[๑๘๐๑] สกวาที สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยินทรีย์ สัทธินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญ-

ญินทรีย์ ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๒] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัทธินทรีย์เป็นโลกิยะมี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ

มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๓] ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 630

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๔] ส. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ ฯลฯ ชีวตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๕] ส. ครัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 631

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่โสมนัสสินทรีย์ที่เป็น

โลกิยะไม่มี หรือ ฯลฯ ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีวิตะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 632

ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๖] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระ

มีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๗] ส. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ แต่สัทธินทรีย์ที่เป็น

โลกุตตระไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ

มีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 633

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ แต่ปัญญินทรีย์ที่เป็น

โลกุตตระไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๐๘] ส. อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะ ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นแล้วแลซึ่งสัตว์ทั้งหลาย บางพวก

เป็นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย บางพวกเป็นผู้มีธุลีในดวงตามาก บางพวก

เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บางพวกเป็นผู้มี

อาการดี บางพวกเป็นผู้มีอาการทราม บางพวกเป็นผู้ที่จะให้รู้แจ้งได้ง่าย

บางพวกเป็นผู้ที่จะให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยใน

ปรโลกอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นอินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ น่ะสิ.

อินทริยกถา จบ

อรรถกถาอินทริยกถา

ว่าด้วย อินทรีย์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอินทรีย์ คือธรรมที่เป็นใหญ่. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะและมหิสาสกะทั้งหลายว่า

๑. ม.มู. ๑๒/๓๒๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 634

ศรัทธาที่เป็นโลกียะชื่อว่าเป็นศรัทธาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์

วิริยะที่เป็นโลกียะสติที่เป็นโลกียะสมาธิที่เป็นโลกียะปัญญาที่เป็นโลกียะ ฯลฯ

ชื่อว่าเป็นปัญญาเท่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นปัญญินทรีย์ ดังนี้ คำถามของ

สกวาทหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า ศรัทธาที่เป็นโลกีย์ไม่มีหรือ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดง

ซึ่งความที่ธรรมทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น แม้เป็นโลกีย์ก็ชื่อว่าเป็นอินทรีย์

ด้วยเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ยิ่ง มิใช่ธรรมอื่นนอกจากศรัทธาเป็นต้น

ชื่อว่าสัทธินทรีย์เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลายมีศรัทธา

เป็นต้นนั่นแหละ แม้เป็นโลกิยะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์ เป็นต้น. คำว่า

มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่ออธิบายเนื้อความนั้น

ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นมีมโนเป็นต้นเป็นโลกียะ

ก็ชื่อว่ามนินทรีย์เป็นต้น ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้มีศรัทธาเป็นต้น ที่เป็น

โลกียะก็ชื่อว่าเป็นสัทธินทรีย์เป็นต้น ฉันนั้นดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ

ตามพระบาลีนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอินทริยกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑.กิเลสชหนกถา ๒. สุญญตากถา ๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา

๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา ๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา.

วรรคที่ ๑๙ จบ

๑. อรรถกถาว่า "กิเลสัปปชหนกถา."

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 635

วรรคที่ ๒๐

อสัญจิจจกถา

[๑๘๐๙] สกวาที บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง โดยไม่ได้

เจตนา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำปาณาติบาต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำ

อนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว

คำเท็จโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๐] ส. บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำ

ปาณาติบาต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า

ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ ฯลฯ กล่าว

คำเท็จโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า กล่าวมุสาวาท หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 636

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง ไม่เป็นผู้ชื่อว่า

ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๑] ส. บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า

ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้

ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. คำว่า บุคคลแกล้งปลงชีวิตมารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำ

อนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า บุคคลแกล้งปลงชีวิตมารดา เป็นผู้

ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคล

ปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

[๑๘๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำ

อนันตริยกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 637

ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลฆ่ามารดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา เป็นชื่อว่า ทำอนัน-

ตริยกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตมาดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตบิดาแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ ท่าน

จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่า

ทำอนันตริยกรรม หรือ.

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลฆ่าพระอรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น เป็นผู้

ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เขาได้ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อแล้ว มิใช่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เขาได้ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 638

แล้ว ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น

เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม.

ส. บุคคลทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม

ทั้งหมด หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม

ทั้งหมด หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรมอันยังสงฆ์ให้

แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรมอันยังสงฆ์ให้

แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี บุคคล

ผู้ทำสังฆเภท ที่จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ แก้ไข

ไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำสังฆเภท ที่ไม่ต้องไปสู่อบาย ไม่ต้องไปนรก ไม่

ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ มิใช่ผู้แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. วิ. จุ. ๗/๔๑๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 639

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีความ

สำคัญว่า ถูกธรรมยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม.

[๑๘๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความสำคัญว่า ถูกธรรม

ยังสงฆ์ให้แตกกัน เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท

เป็นผู้จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ เขาเป็นผู้ยินดี

ในการแยก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมคลาดจากธรรมเป็นแดนเกษมจาก

โยคะ เขาทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัลป์

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ทำสังฆเภท ก็เป็นผู้ชื่อว่า ทำ

อนันตริยกรรม น่ะสิ.

อสัญจิจจกถา จบ

อรรถกถาอสัญจิจจกถา

ว่าด้วย อสัญจิจจะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอสัญจิจจะไม่แกล้ง คือไม่เจตนา. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า " ขึ้นชื่อ

ว่าอนันตริยวัตถุเป็นของหนักเป็นของใหญ่ เพราะฉะนั้น แม้ในวัตถุ

๑. วิ.จุ ๗/๔๑๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 640

ทั้งหลายเหล่านั้น อันผู้ใดทำให้เกิดแล้ว แม้โดยไม่ตั้งใจก็ย่อมเป็นอนันตริกรรม

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลปลงชีวิตมารดาโดยมิได้แกล้ง เป็นต้น

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง ด้วยสามารถแห่งลัทธิเป็นของปรวาที.

ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า บุคคลฆ่าสัตว์โดยมิได้แกล้ง เป็นต้น

เพื่อท้วงว่า ขึ้นชื่อว่าอนันตริยกรรมเป็นกัมมบถ ถ้าว่าบุคคลไม่จงใจ

ฆ่าสัตว์พึงเป็นประเภทกัมมบถไซร้ กรรมทั้งหลายที่เหลือแม้มีปาณาติบาต

เป็นต้น ก็พึงเป็นกรรมไม่จงใจ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มี

ในลัทธิเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบตามพระบาลี.

คำถามว่า ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้ชื่อว่าทำ

อนันตริยธรรมหรือ เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองของสกวาทีหมาย

เอาการฆ่าโดยไม่มีเจตนาในกาลที่ทำการเยียวยารักษาโรคเป็นต้น.

แม้ในปัญหาว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ คำตอบรับรอง

สกวาทีนั้นนั่นแหละ โดยหมายเอาการปลงชีวิตลงโดยไม่มีเจตนา. ก็

ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายอย่างนี้ จึงให้ลัทธิของตนตั้งอยู่ด้วยคำว่า

หากว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนี้ แต่การตั้งลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่

ไม่ได้ เพราะไม่ตั้งไว้โดยอุบายอันแยบคาย. แม้ปิตุฆาตเป็นต้น ก็นัยนี้

นั่นแล.

คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภท เป็นผู้ชื่อว่าทำ

๑. คำว่า "สังฆเภท" แปลว่าการแยกสงฆ์ เพราะมีคำว่า ผู้มีความสำคัญในธรรมอันนี้ จัดเป็นประเภท

ก็ดีก็ได้ เช่นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระปราบเดียรถีย์ทั้งหลายที่มาปลอมบวชในพระศาสนา หรือจะ

เรียกว่า เป็นธรรมวาทีนี้เป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรม แต่ไม่ตกอุบาย ส่วนสังฆเภท คือการ

แยกสงฆ์ของพระเทวทัตต์นั้น เป็นอธัมมาวาทีจัดเป็นสังฆเภทด้วย เป็นอนันตริยกรรมด้วย ตกนรกด้วย.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 641

อนันตริยกรรมหรือ โดยหมายเอาผู้มีความสำคัญในธรรมในการแยก

สงฆ์. คำตอบรับรองของปรวาทีเพราะถือเอาพระบาลีว่า บุคคลย่อมไหม้

อยู่ในนรกตลอดกัลป์ เพราะทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ โดยไม่

พิจารณา. ถูกถามอีกว่า บุคคลผู้ทำสังฆเภทเป็นผู้ชื่อว่าทำอนันตริยกรรม

ทั้งหมดหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธโดยหมายเอาบุคคลผู้มีความสำคัญ

ในธรรมอันเป็นฝ่ายของตน. ย่อมตอบรับรองโดยหมายเอาบุคคลผู้มี

ความสำคัญในธรรมอันเป็นฝ่ายอื่น. แม้ใน ๒ ปัญหาว่า ธัมมสัญญี คือ

บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญว่าถูกธรรม ก็นัยนี้นั่นแหละ.

พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี

บุคคลผู้ทำสังฆเภท...มิใช่หรือ ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งความที่

บุคคลผู้เป็นธัมมวาทีเป็นผู้ชื่อว่า ทำอนันตริยกรรมโดยส่วนเดียวเท่านั้น

ไม่ตกอบาย. อนึ่ง อธัมมวาทีนั่นแหละพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ

ประสงค์เอาในคาถาว่า จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรกตั้งอยู่ตลอดกัลป์

ดังนี้. แต่ปรวาทีไม่ถือเอาคำอธิบายนี้ จึงให้ลัทธิตั้งไว้. ลัทธินั้นชื่อว่า

ตั้งอยู่ไม่ได้เลยเพราะไม่ตั้งอยู่โดยอุบายอันแยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอสัญจิจจกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 642

ญาณกถา

[๑๘๑๔] สกวาที ญาณไม่มีแก่ปุถุชนหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความ

วิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด

เฉพาะ ไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไป

กำหนดรู้เฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความ

เข้าไปกำหนดเฉพาะ ของปุถุชน มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่

ปุถุชน.

[๑๘๑๕] ส. ญาณไม่มีแก่ปุถุชน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.

[๑๘๑๖] ส. ปุถุชนพึงเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน

ฯลฯ พึงเข้าอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ

เนวสัญญาสัญายตนะ ปุถุชนพึงให้ทาน ฯลฯ พึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 643

บิณฑบาต พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปุถุชนพึงให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า ญาณไม่มีแก่ปุถุชน.

[๑๘๑๗] ป. ญาณของปุถุชนมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปุถุชน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำให้แจ้งซึ่ง

นิโรธ ยังมรรคให้เกิดด้วยญาณนั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ญาณ ๒ คือ โลกิยญาณ

และโลกุตตรญาณ ญาณในสมาบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปด้วย

สามารถแห่งการให้ทานเป็นต้นก็ดี เรียกว่า โลกิยญาณ มัคคญาณอัน

กำหนดสัจจะก็ดี ผลญาณก็ดี เรียกว่า โลกุตตรญาณ. ก็ชนเหล่าใดไม่

ทำวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายเหตุวาทะว่า ญาณที่กำหนด

๑. ไวพจน์ของญาณ คือ ปัญญา ความเข้าใจ ความวิจัย ความสอบสวน ความใคร่ครวญ ธัมมวิจยะ

คือความพิจารณาธรรม ความกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 644

สัจจะเท่านั้นมีอยู่ ญาณนอกจากนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น ญาณของปุถุชน

จึงไม่มี ดังนี้. คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที.

คำว่า ปัญญา เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงไวพจน์ของญาณ.

อธิบายว่า สกวาทีย่อมแสดงซึ่งญาณนั้นด้วยปัญญานั้นว่า ถ้าว่า ญาณ

ของบุคคลนั้นไม่มี มีปัญญาเป็นต้นก็ย่อมไม่มี ก็หรือปัญญาเป็นต้นมีอยู่

แม้ญาณก็มีอยู่ เพราะเหตุไร ? เพราะความที่ปัญญาเป็นต้นมิใช่เป็นธรรม

นอกจากญาณ. คำว่า ปุถุชนพึงเข้าปฐมฌาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ

แสดงญาณในสมาบัติ. คำว่า ปุถุชนพึงให้ทาน เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อแสดงถึงกัมมัสสกตาญาณ คือญาณในความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน.

ข้อว่า ปุถุชนกำหนดรู้ทั่วถึงทุกข์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

แสดงโลกุตตมัคคญาณนั่นแหละ แต่มิได้ทรงแสดงโลกุตตรญาณเท่านั้น

หมายความว่าแสดงโลกิยญาณด้วย ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 645

นิรยปาลกถา

[๑๘๑๘] สกวาที นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การทำกรรมกรณ์ไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๑๙] ส. การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในมนุษย์ และคนผู้ทำกรรมกรณ์

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย และคนผู้ทำกรรมกรณ์

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในนรกทั้งหลาย แต่คนผู้ทำกรรมกรณ์

ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมกรณ์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่คนผู้ทำกรรมกรณ์

ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๐] ป. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลาย หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 646

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ท้าวเวสสภู ก็มิได้ฆ่า

ท้าวเปตติราช ก็มิได้ฆ่า ท้าวโสม ท้าวยม และท้าวเวสสวัณ ก็มิได้ฆ่า

กรรมของตนต่างหาก ฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้และเข้าถึงปรโลก

ในนรกนั้น ๆ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. อย่างนั้น นายนิรยบาลก็ไม่มีในนรกทั้งหลาย น่ะสิ.

[๑๘๒๑] ส. นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกนายนิรยบาล ย่อมยังสัตว์นรกนั้นให้รับกรรมกรณ์ อันชื่อว่าเครื่องจำ

๕ ประการ คือ ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่มือข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอัน

ร้อนที่มืออีกข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่เท้าข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็ก

อันร้อนที่เท้าอีกข้างหนึ่ง ตรึงตาปูเหล็กอันร้อนที่กลางอก สัตว์นรกนั้น

เสวยทุกขเวทนา เผ็ดร้อนอยู่ในนรกนั้น และจะยังไม่ตายตลอดเวลาที่

บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นนายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรกทั้งหลาย น่ะสิ.

[๑๘๒๒] ส. นายนิรยบาลไม่มีในนรกทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๑. องฺ ติก. ๒๐/๔๗๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 647

พวกนายนิรยบาล ยังสัตว์นรกนั้นให้นอนแผ่ลงแล้ว พากันถากด้วยผึ่ง

ฯลฯ พวกนายนิรยบาลตั้งสัตว์นรกนั้น ให้มีเท้าไปในเบื้องบน มีศีรษะ

ในเบื้องต่ำ แล้วถากด้วยพร้า ฯลฯ พวกนายนิรยบาลเทียมสัตว์นรกนั้น

เข้าในรถ แล้วให้แล่นกลับไปกลับมาเหนือแผ่นดินอันไฟติดทั่วแล้ว

มีเปลวเป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง ฯลฯ พวกนายนิรยบาล ยังสัตว์

นรกนั้นให้ขึ้นไต่ลง ซึ่งภูเขาถ่านเพลิงใหญ่ อันไฟติดทั่วแล้ว มีเปลว

เป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นรกนั้น

ให้มีเท้าในเบื้องบน ให้มีศีรษะในเบื้องต่ำ ใส่เข้าในหม้อทองแดงอันร้อน

อันไฟติดทั่วแล้ว มีเปลวเป็นอันเดียวกัน มีแสงโชติช่วง เขาหมกไหม้

มีร่างกายเป็นฟองในหม้อทองแดงนั้น และทั้งที่หมกไหม้มีร่างกายเป็น

ฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น บางครั้งโผล่ขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างใต้

บางครั้งพุ่งขวางไป เขาเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ ฯลฯ นายนิรยบาลทั้งหลาย

ย่อมใส่เข้าซึ่งสัตว์นรกนั้นในมหานรก ก็มหานรกนั้นแล ๔ มุม ๔ ประตู

จำแนกกำหนดไว้เป็นส่วน ๆ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยเหล็ก

พื้นแห่งมหานรกนั้นก็แล้วไปด้วยเหล็ก ประกอบด้วยความร้อนลุกเป็น

เปลวแผ่ไปร้อยโยชน์โดยรองตั้งอยู่ ในกาลทุกเมื่อ ดังนี้ เป็นสูตรมี

อยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น นายนิรยบาล ก็มีอยู่ในนรกทั้งหลาย

น่ะสิ.

นิรยปาลกถา จบ

๑. อง. ติก. ๒๐/๔๗๕., ม.อุ.๑๔/๕๑๒

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 648

อรรถกถานิรยปาลกถา

ว่าด้วย นายนิรยบาล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนายนิรยบาล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในนรก กรรมของสัตว์นรกนั่นแหละ

ย่อมฆ่าสัตว์นรกทั้งหลายโดยเป็นรูปนายนิรยบาล สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็น

นายนิรยบาลหามีไม่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า การทำ

กรรมกรณ์ คือการลงโทษ ไม่มีในนรกทั้งหลายหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย

คำว่า ถ้าว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่พึงมีในนรกไซร้ แม้กรรมกรณ์

ทั้งหลายก็ไม่พึงมี แต่เมื่อกรรมกรณ์ทั้งหลายมีอยู่ การกระทำกรรมกรณ์

ก็พึงมี มิใช่หรือ ดังนี้.

คำว่า การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในมนุษย์ สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อ

ให้ทราบโดยแจ่มแจ้ง. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า เมื่ออุปกรณ์

เครื่องลงโทษมีในพวกมนุษย์ทั้งหลาย การกระทำก็ย่อมมี ฉันใด แม้ใน

นรกนั้น ก็ฉันนั้นนั่นแหละ.

คำถามว่า นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลายหรือ ? เป็นของ

ปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. ปรวาทีนำพระสูตรมาโดยลัทธิ

ของตนว่า ท้าวเวสสภูก็มิได้ฆ่า แม้ท้าวเปตติราช คือพญาเปรต ก็

มิได้ฆ่า ฯลฯ กรรมของสัตว์นั้นเองย่อมฆ่าเขาผู้สิ้นบุญจากโลกนี้และ

เข้าถึงโลกหน้าในนรกนั้น ๆ ดังนี้ พระสูตรนั้นสกวาทียอมรับแล้วว่า

นั่นเป็นถ้อยคำที่หยั่งลงในพระศาสนา มีอยู่ ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ท้าวเวสสภู ได้แก่ เทพองค์หนึ่ง. คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 649

ท้าวเปตติราช ได้แก่ เปรตผู้มีฤทธิมากในปิตติวิสัย. ท้าวโสม เป็นต้น

ปรากฏชัดเจนแล้วทั้งนั้น. ข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ท้าวเวสสภู เป็นต้น

ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ผู้ละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้าตามกรรมทั้งหลายของตน

อนึ่ง สัตว์นั้นละที่นั้นไปด้วยกรรมเหล่าใด กรรมทั้งหลายอันเป็นของตน

เหล่านั้นนั่นแหละ ย่อมฆ่าสัตว์ในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน มิใช่ทรง

แสดงความไม่มีนายนิรยบาลทั้งหลาย. อนึ่ง บทแห่งพระสูตรทั้งหลาย

ที่สกวาทีนำมากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาลย่อมยัง

สัตว์นรกนั้นให้รับกรรมกรณ์ ๕ ประการ เป็นต้น มีอรรถที่ท่านแนะนำไว้

แล้วทั้งนั้นแล.

อรรถกถานิรยปาลกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 650

ติรัจฉานกถา

[๑๘๒๓] สกวาที สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เทวดามีอยู่ในหมู่ดิรัจฉาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เทวโลกเป็นกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แมลง ตั๊กแตน ยุง แมลงวัน งู แมลงป่อง ตะเข็บ

ไส้เดือน มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๔] ป. สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ช้างตัวประเสริฐ ชื่อ เอราวัณ ยานทิพย์อันเทียม

ด้วยม้าหนึ่งพัน มีอยู่ในหมู่เทวดา มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ช้างตัวประเสริฐ ชื่อเอราวัณ ยานทิพย์อัน

เทียมด้วยม้าหนึ่งพัน มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าว

ว่า สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 651

[๑๘๒๕] ส. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พวกผูกช้าง พวกผูกม้า พวกตะพุ่นหญ้า พวกหัวหน้า

งาน พวกทำอาหารสัตว์ มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น สัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา น่ะสิ.

ติรัจฉานกถา จบ

อรรถกถาดิรัจฉาน

ว่าด้วย สัตว์ดิรัจฉาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัตว์ดิรัจฉาน. ในเทพทั้งหลายเหล่านั้น เทพบุตร

ทั้งหลาย ชื่อว่าเอราวัณ เป็นต้น ย่อมแปลงเพศเป็นช้าง เป็นม้า สัตว์

ดิรัจฉานทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น ก็ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ

ของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายมีอยู่ในหมู่เทพ เพราะ

เห็นเทพบุตรทั้งหลายผู้นิรมิตเพศเป็นเพศสัตว์ดิรัจฉาน ดังนี้ คำถาม

ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานหรือ เป็นต้น

เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายพึงมีในเทวกำเนิดได้ไซร้

เทพทั้งหลายก็พึงมีในกำเนิดของสัตว์ดิรัจฉานได ้ ดังนี้.

คำว่า แมลง เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงถึงสัตว์ทั้งหลาย

ที่ปรวาทีไม่ปรารถนาเหล่าใดเหล่านั้น.

ในปัญหาว่า ช้างตัวประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ สกวาทีกล่าวตอบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 652

รับรอง เพราะความที่ช้างชื่อว่าเอราวัณนั้นมีอยู่แต่หาใช่สัตว์ดิรัจฉาน

ไม่. คำว่า พวกผูกช้าง เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า

ช้างเป็นต้นพึงมีในที่นั้นไซร้ แม้พวกผูกช้างเป็นต้นก็พึงมีในที่นั้น ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า พวกตะพุ่นหญ้า ได้แก่ ผู้ให้หญ้าที่สัตว์กิน.

คำว่า พวกหัวหน้างาน ได้แก่ นายหัตถาจารย์เป็นต้น อธิบายว่า

นายหัตถาจารย์เหล่านั้นพึงทำวิธีการฝึกโดยวิธีต่าง ๆ. คำว่า พวกทำ

อาหารให้สัตว์ ได้แก่ ผู้หุงต้มอาหารให้สัตว์ทั้งหลายมีช้างเป็นต้น.

คำว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ความว่าปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น

จึงตอบปฏิเสธ ดังนี้แล.

อรรถกถาติรัจฉานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 653

มัคคกถา

[๑๘๒๖] สกวาที มรรคมีองค์ ๕ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมา-

ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิไว้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมรรคมีองค์ ๘

คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิไว้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า มรรคมีองค์ ๕.

ส. มรรคมีองค์ ๕ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บรรดาทาง ทาง

มีองค์ ๗ ประเสริฐที่สุด บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด บรรดา

ธรรม วิราคธรรม ประเสริฐที่สุด บรรดาวิบท พระตถาคตผู้มีจักษุ

ประเสริฐที่สุด ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น มรรคก็มีองค์ ๘ น่ะสิ.

[๑๘๒๗] ส. สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้น

ไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่

เป็นมรรค หรือ ?

๑. ขุ.ธ. ๒๕/๓๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 654

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สัมมาวาจาเป็นของแห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้น

ไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมากัมมันตะ ฯ ล ฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์แห่งมรรค

แต่สัมมาอาชีวะนั้น ไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นองค์แห่งมรรค แต่

สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๘] ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น

เป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาวาจานั้น

เป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็น

มรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 655

ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นองค์แห่งมรรค

และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ

ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ

เป็นองค์แห่งมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๒๙] ป. อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ก็กายกรรม วจีกรรม

อาชีวะของบุคคลนั้น เป็นอาการบริสุทธิ์ ในกาลก่อนเทียวแล อริยมรรค

มีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา แก่บุคคลนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นมรรคก็มีองค์ ๕ น่ะสิ.

[๑๘๓๐] ส. มรรคมีองค์ ๕ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ

๑. ที.มหา. ๑๐/๑๓๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 656

อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็หามิได้ใน

ธรรมวินัย แม้สมณะที่ ๒ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น แม้สมณะที่ ๓

ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น แม้สมณะที่ ๔ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น ก็

อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็หาได้ในธรรม

วินัยนั้น แม้สมณะที่ ๒ ฯลฯ แม้สมณะที่ ๓ ฯลฯ แม้สมณะที่ ๔ ก็หาได้

ในธรรมวินัยนั้น ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมหาได้ในธรรม

วินัยนี้แล สมณะย่อมหาได้ในธรรมวินัยนี้แล สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓

สมณะที่ ๔ ย่อมหาได้ในธรรมวินัยนี้ ปรับปวาทโดยเจ้าลัทธิอื่น ๆ ว่าง

จากสมณะทั้งหลาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น มรรคก็มีองค์ ๘ น่ะสิ.

มัคคกถา จบ

อรรถกถามัคคกถา

ว่าด้วย มรรค

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องมรรค. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธินิกายมหิสาสกะทั้งหลายว่า ว่าโดยแน่นอน มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้น

เพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็กายกรรม วจีกรรม

อาชีวะของผู้นั้นเป็นอาการหมดจดดีแล้วในกาลก่อนเทียวแล ฯลฯ ดังนี้

นั่นแหละจึงกล่าวว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ว่าเป็น

ธรรมไม่ประกอบกับจิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า มรรคมีองค์ ๕ หรือ

๑. ที.มหา.๑๐/๑๓๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 657

โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ข้อว่า สัมมาวาจาเป็นองค์แห่งมรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็น

มรรคหรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าว ด้วยสามารถแห่งลัทธิของชนเหล่าอื่น.

จริงอยู่ ในลัทธินั้นว่า สัมมาวาจาเป็นต้นเป็นองค์แห่งมรรคแต่ไม่ใช่มรรค

เพราะความเป็นรูป ดังนี้. คำว่า สัมมาทิฏฐิเป็นองค์แห่งมรรค เป็นต้น

สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ความที่องค์แห่งมรรคไม่เป็นมรรคหามีไม่

ดังนี้. ในพระสูตรว่า กายกรรม ฯลฯ ของบุคคลนั้นบริสุทธิ์แล้วในกาล

ก่อนเทียวแล คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม

อาชีวะ เป็นอาการบริสุทธิ์แล้ว ดังนี้ ก็เพื่อแสดงซึ่งความที่ปฏิปทาอัน

กุลบุตรพึงบรรลุเป็นภาวะบริสุทธิ์แล้วว่า ชื่อว่ามัคคภาวนาย่อมมีแก่

ผู้บริสุทธิ์แล้ว มิใช่มีแก่บุคคลนอกจากนี้ ดังนี้ มิใช่ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง

ความที่มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ โดยเว้นจากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

และสัมมาอาชีวะเหล่านี้. ด้วยสูตรนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาแก่บุคคลด้วย

ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ ส่วนพระสูตรที่สกวาทีนำมาแล้ว มีอรรถตามที่

ท่านแนะนำไว้แล้วนั่นแล.

อรรถกถามัคคกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 658

ญาณกถา

[๑๘๓๑] สกวาที ญาณโกุตตระมีวัตถุ ๒ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรญาณเป็น ๑๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โลกุตตรญาณเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สกทาคามิมรรคเป็น ๑๒ อย่าง ฯลฯ อนาคามิมรรค

ฯลฯ อรหัตมรรคเป็น ๒ อย่าง หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อรหัตมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรหัตมรรคเป็น ๑๒ อย่าง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 659

[๑๘๓๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณโลกุตตระมีวัตถุ ๑๒ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินในกาลก่อนว่า นี้ทุกข์ เป็น

ของจริงอย่างประเสริฐดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินในกาล

ก่อนว่า ก็ทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราพึงกำหนด

รู้ ดังนี้ ฯลฯ ก็ทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเรากำหนด

รู้แล้ว ดังนี้ ฯลฯ ว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นของจริงอย่างประเสริฐ

ดังนี้ ฯลฯ ว่า เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล

อันเราพึงละเสีย ดังนี้ ฯลฯ ว่า เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์อันเป็นของจริงอย่าง

ประเสริฐนี้นั้นแล อันเราละแล้ว ฯลฯ ว่า นี้ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ เป็น

ของจริงอย่างประเสริฐ ดังนี้ ฯลฯ ว่าธรรมเป็นที่ดับทุกข์อันเป็นของจริง

อย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราพึงทำให้แจ้ง ดังนี้ ฯลฯ ว่า ธรรมเป็นที่

ดับทุกข์อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้น อันเราทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้

ฯลฯ ว่า นี้ปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ เป็นของจริงอย่างประเสริฐ

ดังนี้ ฯลฯ ว่า ปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันเป็นของจริง

อย่างประเสริฐนี้นั้น อันเราพึงให้เกิด ดังนี้ ฯลฯ ว่า ปฏิปทาอันให้ถึง

ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันเป็นของจริงอย่างประเสริฐนี้นั้นแล อันเราให้

เกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 660

ป. ถ้าอย่างนั้น ญาณโลกุตตระ ก็มีวัตถุ ๑๒ น่ะสิ.

ญาณกถา จบ

อรรถกถาญาณกถา

ว่าด้วย ญาณ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องญาณ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะทั้งหลายว่า ญาณมีวัตถุ ๑๒

โดยหมายเอาญาณมีอาการ ๑๒ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่าเป็น

โลกุตตรญาณ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า ญาณโลกุตตระ

วัตถุ ๑๒ หรือ เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าโลกุตตรญาณนั้นมีวัตถุ ๑๒ ไซร้

มรรคญาณทั้งหลายก็พึงมี ๑๒ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาโลกุตตรญาณ

นั้นเป็นสภาพเดียวกันกับมรรคญาณ. และตอบปฏิเสธหมายเอาความ

ต่างกันแห่งญาณในแต่ละสัจจะด้วยสามารถเเห่งสัจจญาณ กิจจญาณ

และกตญาณทั้งหลาย. ในคำว่า โสดาปัตติมรรคเป็น ๑๒ หรือ ก็นัยนี้

นั่นแหละ. พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มิใช่หรือ ดังนี้ ย่อม

แสดงถึงความแตกต่างกันแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย

ที่ได้บรรลุ มิใช่แสดงซึ่งความที่อริยมรรคว่ามี ๑๒ ฉะนั้น พระสูตรนี้

จึงมิใช่ข้ออ้างว่าญาณโลกกุตตระมีวัตถุ ๑๒ ดังนี้แล.

อรรถกถาญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 661

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. อสัญจิจจกถา ๒. ญาณกถา ๓. นิรยปาลกถา ๔. ติรัจฉานกถา

๕. มัคคกถา ๖. ญาณกถา.

วรรคที่ ๒๐ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 662

วรรคที่ ๒๑

สาสนกถา

[๑๘๓๓] สกวาที ศาสนาได้แปลงใหม่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานได้แปลงใหม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาได้แปลงใหม่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ

ฯลฯ โพชฌงค์ ได้แปลงใหม่ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาเป็นอกุศลในกาลก่อน ได้แปลงให้เป็นกุศล

ในภายหลังหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาเป็นสาสวะ ฯลฯ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถ-

นิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็น

อุปาทานิยะ ฯลฯ เป็นสังกิเลสิกะในกาลก่อน ได้แปลงให้เป็นอสังกิเลสิกะ

ในภายหลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๔] ส. บุคคลไร ที่แปลงศาสนาของพระตถาคตใหม่ได้ มี

อยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 663

ส. บุคคลไร ที่แปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ

อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงคาสนาอันเป็นอกุศลในกาลก่อน

ให้เป็นกุศลในภายหลังได้มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลไร ที่แปลงศาสนาอันเป็นสาสวะ ฯลฯ อันเป็น

สังกิเลสิกะในกาลก่อน ให้เป็นอสังกิเลสิกะในภายหลังได้ มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๕] ส. ศาสนาของพระตถาคตจะแปลงใหม่อีกได้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานจะแปลงใหม่อีกได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ ฯลฯ โพชฌงค์

จะแปลงใหม่อีกได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

ส. ศาสนาอันเป็นอกุศลในกาลก่อน จะแปลงให้เป็นกุศล

ในภายหลังได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศาสนาอันเป็นสาวะ ฯลฯ อันเป็นสังกิเลสิกะใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 664

กาลก่อน จะแปลงให้เป็นอสังกิเลสิกะในภายหลังได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สาสนากถา จบ

อรรถกถาสาสนกถา

ว่าด้วย ศาสนา

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องศาสนา คือคำสั่งสอน หรือพระธรรมวินัย. ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า ศาสนา

แต่งขึ้นใหม่ด้วย ว่าบุคคลบางคนย่อมแปลงศาสนาของพระตถาคตขึ้นใหม่

ด้วย ว่า ศาสนาของพระตถาคตบุคคลสามารถแต่งใหม่ได้ด้วย ทั้งนี้ โดย

หมายเอาการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีในกถาแม้ทั้ง

๓ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า สติปัฏฐานได้แปลงใหม่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ

ติเตียนปัญหาแม้ทั้ง ๓ ด้วยคำว่า อริยธรรมทั้งหลายมีสติปัฏฐานเป็นต้น

ก็ดี เทศนาแห่งกุศลธรรมเป็นต้นก็ดี ชื่อว่าศาสนา ในศาสนานั้น เว้น

ธรรมทั้งหลายมีสติปัฏฐานเป็นต้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ชน

เหล่าใดแล้ว ศาสนาชื่อว่าอันบุคคลนั้นทำขึ้นใหม่โดยการกระทำธรรม

เหล่าอื่นให้เป็นสติปัฏฐานเป็นต้น หรือกระทำอกุศลธรรมเป็นต้นให้เป็น

กุศลธรรมเป็นต้น หรือว่าศาสนาอันใคร ๆ กระทำแล้วอย่างนั้นมีอยู่

หรือพึงอาจเพื่อทำอย่างนั้นได้มีอยู่หรือ ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงพึงทราบ

ตามพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาสาสนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 665

อวิวิตตกถา

[๑๘๓๖] สกวาที ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากผัสสะมีธาตุ ๓ ฯลฯ จากเวทนา

จากสัญญา จากเจตนา จากจิต จากศรัทธา จากวิริยะ จากสติ จากสมาธิ

จากปัญญา มีธาตุ ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในขณะใดปุถุชนใดจีวร ในขณะนั้นก็เข้าถึงปฐมฌาน

อยู่ ฯลฯ เข้าถึงอากาสานัญจายตนสมาบัติอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในขณะใดปุถุชนให้บิณฑบาต ฯลฯ ให้เสนาสนะ ฯลฯ

ให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร ในขณะนั้นก็เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ ก็เข้าถึง

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กรรมอันจะให้เข้าถึงรูปธาตุ และอรูปธาตุ อันปุถุชน

กำหนดรู้แล้ว หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 666

ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ไม่สงัดแล้วจากธรรมมีธาตุ ๓

น่ะสิ.

อวิวิตตกถา จบ

อรรถกถาอวิวิตตกถา

ว่าด้วย ปุถุชนผู้ไม่สงัด

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปุถุชนผู้ไม่สงัด ในเรื่องนั้น การสันนิษฐาน ใน

ลัทธิของสกวาทีนี้ว่า ธรรมใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือเป็นปัจจุบัน ด้วย

บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่าไม่สงัดจากธรรมนั้น ดังนี้. ก็ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะบางพวกนั้นนั่นแหละว่า ปุถุชน

ไม่กำหนดรู้ธรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ในขณะ

เดียวกันนั่นแหละเขาย่อมไม่สงัดจากธรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓ แม้

ทั้งปวง ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที.

คำว่า ไม่สงัดจากผัสสะ ๓ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโทษ

อันเป็นไปในขณะหนึ่งแห่งธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้

มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอวิวิตตกถา จบ

๑. ธาตุ ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 667

สัญโญชนกถา

[๑๘๓๘] สกวาที การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่าง แล้ว

บรรลุอรหัตตผล มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การที่พระโยคียังไม่ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ยังไม่ละ

วิจิกิจฉา ฯลฯ ยังไม่ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ยังไม่ละราคะ ยังไม่ละโทสะ

ยังไม่ละโมหะ ฯลฯ ยังไม่ละอโนตตัปปะบางอย่าง แล้วบรรลุอรหัตผล

มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๓๙] ส. การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้วบรรลุ

อรหัตผล มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมี

มานะ ยังมีมักขะ ยังมีอุปายาส ยังมีกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ หมดราคะแล้ว หมดโทสะแล้ว หมดโมหะ

แล้ว หมดมานะแล้ว หมดมักขะแล้ว หมดปฬาสะแล้ว หมดอุปายาสแล้ว

หมดกิเลสแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลส

แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว

บรรลุอรหัตผล มีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 668

[๑๘๔๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์

บางอย่างแล้วบรรลุอรหัตผล มีอยู่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์บาง

อย่างแล้วบรรลุอรหัตผล ก็มีอยู่ น่ะสิ.

สัญโญชนกถา จบ

อรรถกถาสัญโญชนกถา

ว่าด้วย สัญโญชน์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสัญโญชน์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า การบรรลุพระอรหันต์ไม่ละ

สัญโญชน์บางอย่างมีอยู่ โดยมีความสำคัญว่า พระอรหันต์ย่อมไม่รู้

พุทธวิสัยทั้งปวง เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงว่าพระอรหันต์ละอวิชชาและ

วิจิกิจฉาไม่ได้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า การที่พระโยคียังไม่ละสักกายทิฏฐิ เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อแสดงว่าพระอรหันต์ต้องละสัญโญชน์ได้ทั้งหมด.

ใน ๒ ปัญหาว่า พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวงหรือ สกวาที

ทำการปฏิเสธ เพราะพระอรหันต์ไม่มีสัพพัญญุตญาณ แต่ไม่ปฏิเสธว่า

พระอรหันต์ไม่ละวิชชาสละวิจิกิจฉา. แต่ปรวาทีหมายเอาความที่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 669

พระอรหันต์ไม่รู้พุทธวิสัยว่าเป็นการไม่ละอวิชชาและวิจิกิจจาทั้งหลาย

จึงได้ให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยคำว่า ถ้าอย่างนั้น การที่พระโยคียังไม่ละสัญโญชน์

บางอย่างแล้วบรรลุอรหัตผลก็มีอยู่นะสิ ดังนี้ แต่ว่า ลัทธินั้นย่อมตั้งอยู่

ไม่ได้เลยเพราะตั้งอยู่โดยไม่แยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาสัญโญชนกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 670

อิทธิกถา

[๑๘๔๑] สกวาที ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า

หรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ต้นไม้จงมีใบ

เป็นนิตย์ ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ต้นไม้จงมีดอก

เป็นนิตย์ ฯลฯ ต้นไม้จงมีผลเป็นนิตย์ สถานที่นี้จงมีความสว่างเป็นนิตย์

จงมีความปลอดโปร่งเป็นนิตย์ จงมีภิกษาหาได้ง่ายเป็นนิตย์ จงมีฝน

งามเป็นนิตย์ ดังนี้ ของพรพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า

หรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า ผัสสะเกิดขึ้น

แล้วอย่าดับไป ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า เวทนา ฯลฯ

สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา

เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 671

[๑๘๔๒] ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ของพระพุทธเจ้า

หรือของพระสาวกอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า รูปจงเป็นของ

เที่ยง เวทนา สัญญา สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง ดังนี้ ของ

พระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๘๔๓] ส. ฤทธิเป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้า

หรือของพระสาวกมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ซึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าเกิดเลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมี

ความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมีความ

เจ็บเป็นธรรมดา อย่าเจ็บเลย ดังนี้ ฯลฯ ว่าสัตว์ทั้งหลายซึ่งมีความตาย

เป็นธรรมดา อย่าตายเลย ดังนี้ ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๔๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์

ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวก มีอยู่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระ-

เจ้าแผ่นดินมคธ ผู้จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสาร ว่าจงเป็นทอง ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 672

และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริงมิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้อธิษฐานปราสาท

ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสาร ว่าจงเป็นทอง

ดังนี้ และปราสาทนั้นก็ได้เป็นทองไปจริง ๆ ด้วยเหตุนั้นและท่านจึงต้อง

กล่าวว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของ

พระสาวก มีอยู่.

อิทธิกถา จบ

อรรถกถาอิทธิกถา

ว่าด้วย ฤทธิ์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องฤทธิ์. ในเรื่องนั้น ชื่อว่าฤทธิ์นี้ย่อมให้สำเร็จใน

บางอย่าง ย่อมไม่ให้สำเร็จในบางอย่าง. การสันนิษฐานในลัทธิของ

สกวาทีว่า ฤทธิ์ย่อมไม่สำเร็จในการทำซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่เที่ยงเป็นต้น

ให้เป็นของเที่ยงเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น ก็แต่ว่าฤทธิ์นั้นบุคคลย่อมทำ

เพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าใด โดยเปลี่ยนแปลงความสืบต่อคืออายุที่เสมอกัน

ทำให้ไม่เสมอกัน หรือทำให้ความเป็นไปได้นานกว่ากัน ด้วยสามารถ

แห่งความสืบต่ออายุที่มีส่วนเสมอกันได้ และย่อมให้สำเร็จได้บางอย่าง

เพราะอาศัยเหตุทั้งหลายมีบุญเป็นต้นของบุคคลเหล่านั้น ดุจการทำน้ำ

ที่ควรดื่มให้เป็นเนยใสเป็นน้ำนมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย

และดุจในการสืบต่อตั้งอยู่สิ้นกาลนานของประทีปเป็นต้น ณ ที่เป็นที่

ฝังไว้ซึ่งมหาธาตุด้วย ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 673

ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ฤทธิ์

ให้ความสำเร็จตามความประสงค์ หมายความว่าสำเร็จทุกอย่าง เพราะ

อาศัยพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาท

ของพระเจ้าแผ่นดินมคธ...จงเป็นปราสาททอง ดังนี้ คำถามของสกวาที

ว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์...มีอยู่หรือ หมายถึงชนเหล่านั้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ฤทธิ์เป็นเหตุสำเร็จความประสงค์ ได้แก่ ฤทธิ์ที่

ทำให้สมความปรารถนา หมายความว่าให้สำเร็จตามที่ต้องการ. คำว่า

อามันตา เป็นคำปฏิญญาของปรวาทีเพื่อตั้งลัทธิไว้. ลำดับนั้น สกวาที

จึงกล่าวคำว่า ต้นไม้จงมีใบเป็นนิตย์ เพื่อประกอบความที่ธรรม

ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้

มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

แม้ในการให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยพระสูตรว่า ปราสาทนั้นก็ได้เป็นทอง

แล้ว ดังนี้ อธิบายว่า ปราสาทนั้นได้เป็นทองด้วยอุปนิสัยแห่งบุญของ

พระราชา มิใช่ด้วยความปรารถนาของพระเถระอย่างเดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อนำมาพิสูจน์ว่า ฤทธิ์ให้ความสำเร็จได้

ทั้งหมด ดังนี้แล.

อรรถกถาอิทธิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 674

พุทธกถา

[๑๘๔๕] สกวาที พระพุทธกับพระพุทธด้วยกัน ยังมียิ่งหย่อน

กว่ากัน หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. โดยสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท โดยอินทรีย์ โดย

พละ โดยโพชฌงค์ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตตญาณทัสสนะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พุทธกถา จบ

อรรถกถาพุทธกถา

ว่าด้วย พระพุทธเจ้า

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระพุทธเจ้า. ในเรื่องนั้น ยกเว้นความต่างกัน

แห่งสรีระ ความต่างกันแห่งอายุ และความต่างกันแห่งรัศมี ที่มีในกาล

นั้น ๆ แล้ว ชื่อว่าความหย่อนและความยิ่งของพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยการตรัสรู้ธรรมทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.

แต่ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่แปลกกันเลย ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า พระพุทธะกับ

พระพุทธะด้วยกันยังมียิ่งหย่อนกว่ากันหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า โดยสติปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 675

เป็นต้น เพื่อซักถามถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว. ปรวาทีเมื่อไม่เห็น

ความที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่เลวไม่ประณีตกว่ากัน ด้วยสามารถ

แห่งธรรมที่ท่านตรัสรู้แล้ว จึงตอบปฏิเสธทั้งสิ้นแล.

อรรถกถาพุทธกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 676

สัพพทิสากถา

[๑๘๔๖] สกวาที พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวงหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่ากระไร ชาติ

อะไร โคตรอะไร พระมารดา พระบิดา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น มีนามว่ากระไร คู่แห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนาม

ว่ากระไร อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่ากระไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงจีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร เสด็จ

อยู่บ้านไหน หรือในนิคมไหน หรือในนครไหน หรือในรัฐไหน หรือใน

ชนบทไหน ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทักษิณทิศ ฯลฯ ในปัจฉิมทิศ

ฯลฯ ในอุตตรทิศ ฯลฯ ในเหฏฐิมทิศ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในเหฏฐิมทิศ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่ากระไร

ฯลฯ เสด็จอยู่ในชนบทไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 677

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในอุปริมทิศ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในอุปริมทิศ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สถิตอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชหรือ ฯลฯ สถิตอยู่ในชั้น

ดาวดึงส์หรือ ฯลฯ สถิตอยู่ในชั้นยามาหรือ สถิตอยู่ในชั้นดุสิตหรือ สถิต

อยู่ในชั้นนิมานรดีหรือ สถิตอยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัสดีหรือ ฯลฯ สถิต

อยู่ในพรหมโลกหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สัพพทิสากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 678

อรรถกถาสัพพทิสากถา

ว่าด้วย พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวง

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องพระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในทิศทั้งปวง. ในปัญหานั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า

โลกธาตุสันนิวาสโดยรอบ คือในทิศทั้ง ๔ ทั้งในทิศเบื้องต่ำ และในทิศ

เบื้องบน พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่ในโลกธาตุทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

สำเร็จการศึกษาที่สมควรแก่พระองค์แล้ว ก็ดำรงอยู่ในทิศทั้งปวง

ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที.

ถูกถามว่า พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในปุรัตถิมทิศหรือ ปรวาทีตอบ

ปฏิเสธ เพราะหมายเอาพระสักยมุนี. ถูกถามซ้ำอีกก็ตอบรับรอง เพราะ

หมายเอาพระพุทธเจ้าผู้ดำรงอยู่ในโลกธาตุอื่นด้วยสามารถแห่งลัทธิ

ของตน. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่ากระไร

เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้ว เพื่อท้วงว่า ผิว่า ท่านไม่ทราบ ท่านก็ไม่ควร

กล่าวถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยสามารถแห่งพระนามเป็นต้น. บัณฑิต

พึงทราบ เนื้อความในที่ทั้งปวง โดยอุบายนี้.

อรรถกถาสัพพทิสากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 679

ธรรมกถา

[๑๘๔๗] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิบตะ ได้แก่ แน่นอนโดยความผิด หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ ได้แก่ แน่นอนโดยความถูก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะ คือไม่แน่นอน ไม่มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

[๑๘๔๘] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ คือ กองอันเป็น

มิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็นอนิยตะ ๑ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ อย่าง คือ

กองอันเป็นมิจฉัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ ๑ กองอันเป็น

อนิยตะ ๑ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 680

[๑๘๔๙] ส. รูป เป็นนิยตะ โดยอรรถว่ารูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็น

นิยตะ โดยอรรถว่าวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นนิยตะโดยอรรถว่ารูป ฯลฯ

เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นนิยตะโดยอรรถว่า

วิญญาณ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ

เวทนา สัญญา สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา

เป็นสังขาร หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น รูปก็เป็นนิยตะโดยอรรถว่ารูป เวทนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 681

ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นนิยตะโดยอรรถว่าวิญญาณ

น่ะสิ.

ธรรมกถา จบ

อรรถกถาธัมมกถา

ว่าด้วย ธรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด

ดุจลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกว่า ธรรมทั้งหลาย

มีรูปเป็นต้น เป็นนิยตะ คือเป็นสภาพเที่ยง เพราะสภาพแห่งรูปเป็นต้น

ย่อมไม่ละซึ่งสภาพนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นนิยตะ

ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ธรรมทั้งปวง เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น

มิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น

เหล่านั้น พึงเป็นสภาพแน่นอน คือพึงเป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือพึงเป็น

สัมมัตตนิยตะไซร้ เพราะชื่อว่า นิยามอื่นจากนี้ไม่มี ดังนี้. ในปัญหานั้น

คำปฏิเสธและคำรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า รูปเป็นนิยตะโดยอรรถว่าเป็นรูป เป็นต้น สกวาทีกล่าว

เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งรูปที่บุคคลกล่าวว่า เป็นนิยตะโดยอรรถ

อันใดนั้น ในข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลพึงกล่าวโดยความประสงค์ว่า

ก็รูปชื่อว่าเป็นของเที่ยง ด้วยอรรถว่าเป็นรูป เพราะฉะนั้น รูปจึงเป็น

รูปเท่านั้น ไม่ใช่เป็นภาวธรรมมีเวทนาเป็นต้น ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวโดย

ประการอื่นจากนี้ ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะไม่มีรูปอื่น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 682

นอกจากอรรถว่าเป็นรูป จริงอยู่ สภาพแห่งรูปมีรูปเป็นอรรถด้วย สภาพ

แห่งรูปเป็นรูปนั่นแหละด้วย มิใช่เป็นธรรมอื่นนอกจากรูป แต่ว่า โวหาร

นี้ย่อมมีเพื่อให้รู้ถึงความต่างกันของรูปกับธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น

ดังนี้. เพราะฉะนั้น คำว่า รูปเป็นนิยตะ โดยอรรถเป็นรูป ดังนี้ ย่อม

เป็นคำอันสกวาทีกล่าวว่า รูปเป็นนิยตะหรือ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิยตะ

พึงเป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือเป็นสัมมัตตนิยตะ เพราะนอกจากนิยตะนี้แล้ว

นิยาม คือข้อกำหนดที่แน่นอนอย่างอื่นไม่มี. ถามว่า ครั้นเมื่อเป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุไร ? ท่านจึงตอบรับรอง. ว่า เพราะอำนาจ

ความแตกต่างกันแห่งอรรถมีอยู่. จริงอยู่ ในคำว่า รูปเป็นนิยตะ โดย

อรรถว่าเป็นรูป นี้ท่านอธิบายว่า รูปก็เป็นรูปเท่านั้น ไม่เป็นสภาพธรรม

มีเวทนาเป็นต้น ดังนี้. เพราะฉะนั้นท่านจึงตอบรับรอง.

อนึ่ง ความที่รูปนั้นเป็นนิยตะคือเที่ยงแท้โดยประการอื่นจาก

ประการที่กล่าวมานี้ ย่อมไม่มี ดังนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เป็น

มิจฉัตตนิยตะ เป็นต้น เพื่อจะกล่าวท้วงโดยนัยนั้นแหละ. คำเหล่านั้นทั้งหมด

มีอรรถตื้นทั้งนั้น. แม้ลัทธิว่า ถ้าอย่างนั้น รูปก็เป็นนิยตะ ดังนี้ ลัทธินี้

ย่อมตั้งไว้ไม่ได้เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่แยบคาย ดังนี้แล.

อรรถกถาธัมมกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 683

กรรมกถา

[๑๘๕๑] สกวาที กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า กองอันเป็นอนิยตะมีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

กรรมทั้งปวง เป็นนิยตะ.

[๑๘๕๒] ส. กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกอง ๓ คือ กองอันเป็น

มิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ กองอันเป็นอนิยตะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกอง ๓ คือ กองอัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 684

เป็นมิจฉัตตนิยตะ กองอันเป็นสัมมัตตนิยตะ กองอันเป็นอนิยตะ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า กรรมทั้งปวงเป็นนิยตะ.

[๑๘๕๓] ส. ทิฏฐิธรรมเวทนิยกรรม เป็นนิยตะโดยอรรถว่า

ทิฏฐธรรมเวทนิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนิยกรรม

เป็นนิยตะโดยอรรถว่า อปราปริยเวทนิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมิจฉัตตนิยตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นสัมมัตตนิยตะ หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม เป็นนิยตะ

โดยอรรถว่าทิฏฐธรรมเวทนิยะ อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวท-

นิยกรรม เป็นนิยตะโดยอรรถว่าอปราปริยเวทนิยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมเป็นอุปัชชเวทนิยกรรม เป็น

อปราปริยเวทนิยกรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนิยกรรมเป็นทิฏฐิธรรมเวท-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 685

นิยกรรม เป็นอปรปริยเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนิยกรรม เป็น

ทิฏฐิธรรมเวทนิยกรรม เป็นอุปปัชชเวทนิยกรรม หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมก็เป็นนิยตะ

โดยอรรถว่าทิฏฐธรรมเวทนิยะ อุปปัชชเวทนิยกรรม ฯลฯ อปราปริยเวท-

นิยกรรมก็เป็นนิยตะ โดยอรรถว่า อปราปริยเวทนิยะ น่ะสิ.

กรรมกถา จบ

อรรถกถากัมมกถา

ว่าด้วย กรรม

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้นนั่นแหละว่า

ที่ตั้งแห่งทิฏฐธัมมเวทนียะเป็นต้น เป็นนิยตะ คือเที่ยงแท้แน่นอน โดย

อรรถว่าเป็นทิฏฐัมมเวทนียะ เพราะฉะนั้น กรรมทั้งปวง จึงเป็นนิยตะ

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที.

ในคำว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นนิยตะ เพราะอรรถว่าให้ผล

ในภพปัจจุบัน นี้เป็น คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอาเนื้อความนี้ว่า

ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ก็เป็นทิฏฐัมมิกเวทนียะ คือ เป็นกรรมที่ให้ผล

ในภพปัจจุบันนี้เท่านั้น ถ้าว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมอาจให้ผลใน

ภพปัจจุบันได้ก็ย่อมให้ผิด ถ้าไม่อาจไซร้ ย่อมชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมไป ดังนี้.

อนึ่ง ทิฏฐัมมเวทนียกรรมนี้ ย่อมไม่เป็นนิยตะด้วยสามารถแห่งนิยาม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 686

มิจฉัตตะเทียว ดังนี้. พึงทราบคำที่เหลือโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง

นั้นแล.

อรรถกถากัมมกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สาสกถา ๒. อวิวิตตกถา ๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา

๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา ๗. กัมมกถา.

วรรคที่ ๒๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 687

วรรคที่ ๒๒

ปรินิพพานกถา

[๑๘๕๕] สกวาที การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่าง

แล้วปรินิพพาน มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ยังไม่ละ

อโนตตัปปะบางอย่างแล้วปรินิพพาน มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๖] ส. การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว

ปรินิพพาน มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลสแล้ว มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์หมดราคะแล้ว ฯลฯ หมดกิเลส

แล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์บางอย่างแล้ว

ปรินิพพานมีอยู่.

[๑๘๕๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์

บางอย่าง แล้วปรินิพพานมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 688

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยทั้งปวง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น การที่พระอรหันต์ยังไม่ละสัญโญชน์

บางอย่าง แล้วปรินิพพานก็มีอยู่ น่ะสิ.

ปรินิพพานกถา จบ

อรรถกถาปรินิพพานกถา

ว่าด้วย ปรินิพพาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องปรินิพพาน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระอรหันต์ มีสัญโญชน์ที่ยัง

ไม่ละในวิสัยของพระสัพพญญูพุทธะย่อมปรินิพพานฉะนั้นการปรินิพพาน

โดยไม่ละซึ่งสัญโญชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจึงมีอยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาที

มุ่งถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ มีนัยดัง

ที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปรินิพพานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 689

กุสลจิตตกถา

[๑๘๕๘] สกวาที พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์สร้างสมอยู่ซึ่งบุญญาภิสังขาร สร้างสม

อยู่ซึ่งอเนญชาภิสังขาร ทำอยู่ซึ่งกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความ

เป็นใหญ่ เพื่อความเป็นอธิบดี เพื่อสมบัติใหญ่ เพื่อบริวารมาก เพื่อความ

งามในเทพ เพื่อความงามในมนุษย์ ปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๕๙] ส. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ เลิกสะสมอยู่ ละขาดอยู่ ถือมั่น

อยู่ ชำระล้างอยู่ หมักหมมอยู่ กำจัดอยู่ ฯลฯ อบอวลอยู่ ปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่ก็มิใช่ แต่

เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่

ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์

มีจิตเป็นกุศล ปรินิพพาน.

ส. พระอรหันต์ละขาดอยู่ก็ไม่ใช่ ถือมั่นอยู่ก็ไม่ใช่ แต่

เป็นผู้ละขาดแล้วดำรงอยู่ ชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่

เป็นผู้ชำระล้างแล้วดำรงอยู่ กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 690

ผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์กำจัดอยู่ก็ไม่ใช่ อบอวลอยู่ก็

ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์มีจิต

เป็นกุศลปรินิพพาน.

[๑๘๖๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ ปรินิพพาน

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ

ปรินิพพานด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศล

ปรินิพพาน.

กุศลจิตตกถา จบ

อรรถกถากุสลจิตตกถา

ว่าด้วย จิตเป็นกุศล

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องจิตเป็นกุศล. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติไพบูลย์

แม้แต่เมื่อปรินิพพานก็มีสติสัมปชัญญะเทียว ย่อมปรินิพพาน เพราะฉะนั้น

พระอรหันต์จึงมีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 691

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว

คำว่า พระอรหันต์สร้างสมอยู่ซึ่งปุญญาภิสังขาร เป็นต้น เพื่อท้วงด้วย

อรรถว่า ชื่อว่า กุสลจิต ย่อมมีด้วยอำนาจการสร้างสมปุญญาภิสังขาร

เป็นต้นนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้นพึงทราบตามพระบาลีนั่นแล.

คำว่า พระอรหันต์...มีสติสัมปชัญญะ นี้ ปรวาทีกล่าว เพื่อ

แสดงการมรณะของผู้ไม่หลงลืมด้วยสามารถแห่งสติสัมปชัญญะอันเป็น

กิริยา ในขณะแห่งชวนะไม่ใช่แสดงว่า พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลในขณะ

ที่ปรินิพพาน เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าพระอรหันต์มีจิตเป็น

กุศลปรินิพพาน ดังนี้แล.

อรรถกถากุสลสจิตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 692

อาเนญชกถา

[๑๘๖๑] สกวาที พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิต เป็นปกติ

ปรินิพพาน มิใช่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิตเป็นปกติ ปริ-

นิพพาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีจิตเป็น

ปกติปรินิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่

หวั่นไหวปรินิพพาน.

[๑๘๖๒] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวปรินิพพาน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในกิริยมยจิต ได้แก่ จิตคือกิริยา

ปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในวิปากจิตปรินิพพาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในวิปากจิตปรินิพพาน ก็

ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 693

[๑๘๖๓] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวปรินิพพาน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา

ปรินิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก

ปรินิพพาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในจิตที่เป็นอัพยากฤตฝ่าย

วิบาก ปรินิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่

หวั่นไหวปรินิพพาน.

[๑๘๖๔] ส. พระอรหันต์ตั้งอยู่ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้วจึงปริ-

นิพพาน ในลำดับอันกระชั้นชิด มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้ว

จึงปรินิพพาน ในลำดับอันกระชั้นชิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ตั้งอยู่

ในความเป็นไม่หวั่นไหวปรินิพพาน.

อาเนญชกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 694

อรรถกถาอาเนญชกถา

ว่าด้วย อาเนญชะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอาเนญชะ คือความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า

พระอรหันต์ตั้งอยู่ในอาเนญชะแล้วจึงปรินิพพาน เพราะกำหนดเอา

พระสูตรว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรงอยู่ในจตุตถฌานแล้วจึงปรินิพพาน

ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที.

คำว่า ในความเป็นผู้มีจิตเป็นปกติ คือปกติจิต ได้แก่ ภวังคจิต.

อธิบายว่า สัตว์ทั้งปวงผู้มีสัญญา ดำรงอยู่ในภวังคจิตแล้วย่อมทำกาละ

ด้วยจุติจิตอันมีภวังค์เป็นที่สุด. สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นอย่างนี้

เพื่อจะท้วงด้วยอรรถนี้ด้วยประการฉะนี้. ในปัญหานั้น แม้ปกติจิตอัน

ไม่หวั่นไหวของพระอรหันต์ในจตุโวการภพมีอยู่แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ปัญหานี้ท่านก็ยกขึ้นแสดงแล้วด้วยปัญจโวการภพ เพราะฉะนั้น สกวาที

จึงกล่าวคำว่า ...ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถตื้น

ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาเนญชกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 695

ธัมมาภิสมยกถา

[๑๘๖๕] สกวาที การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม

การสอบถาม การสมาทานศีล ความสังวรระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย ความ

รู้จักประมาณในโภชนะ การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ในปฐมยาม

และปัจฉิมยามแห่งราตรี มีแก่สัตว์อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การแสดงธรรม ฯลฯ การประกอบความเพียรเครื่อง

ตื่นอยู่ในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี ไม่มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การ

ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี

ไม่มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้

อยู่ในครรภ์

[๑๘๖๖] ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง

คือ เสียงจากผู้อื่น และโยนิโสมนสิการ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 696

อย่าง คือ เสียงจากผู้อื่นและโยนิโสมนสิการ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การตรัสรู้

ธรรม มีแก่สัตว์อยู่ในครรภ์.

[๑๘๖๗] ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การตรัสรู้ธรรม มีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาท

แล้ว มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมาภิสมยกถา จบ

อรรถกถาธัมมาภิสมยกถา

ว่าด้วย ธัมมาภิสมัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมาภิสมัย คือ การตรัสรู้ธรรม. ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกว่า การตรัสรู้

ธรรมของสัตว์ผู้นอนอยู่ในครรภ์มีอยู่ เพราะถือเอาพระโสดาบันในภพ

อดีต ผู้อยู่ในท้องมารดาแล้วออกจากครรภ์ ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

จึงกล่าวคำว่า การแสดงธรรมเป็นต้น มีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์หรือ

เพื่อท้วงว่า ผิว่า การตรัสรู้ธรรมมีอยู่ในที่นั้นไซร้ เหตุแห่งการตรัสรู้

ธรรมทั้งหลาย มีการแสดงธรรมเป็นต้น ก็พึงมีในที่นั้นได้ ดังนี้.

คำว่า การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว เป็นต้น สกวาที

กล่าวหมายเอาภวังควาระ. จริงอยู่ ภวังค์ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ย่อมเป็น

ไปมากมาย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น ชื่อว่าหลับแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 697

เพราะความไม่มีความเป็นไปแห่งเวลาที่จะพึงกระทำกิจ ชื่อว่าประมาท

แล้ว เพราะความไม่มีภาวนานุโยค ชื่อว่าผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ

เพราะความไม่มีสติสัมปัญญะของกำหนดกรรมฐาน เมื่อเป็นเช่นนี้

การตรัสรู้ธรรมของสัตว์ผู้เห็นปานนั้นจักมีแต่ที่ไหน.

อรรถกถาธัมมาภิสมยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 698

กถาทั้ง ๓

[๑๘๖๘] สกวาที การบรรลุอรหัตผลมีแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การบรรลุอรหัตผล มีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาท

ผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้ฝัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การตรัสรู้ธรรมมีแก่บุคคลผู้หลับแล้ว ผู้ประมาทแล้ว

ผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีสัมปัญญะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การบรรลุอรหัตผลมีแก่บุคคลผู้ฝัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การบรรลุอรหัตผล มีแก่บุคคลหลับแล้ว ผู้ประมาท

แล้ว ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กถาทั้ง ๓ จบ

อรรถกถาติสสันนัมปิ กถานัง

ว่าด้วย กถาทั้ง ๓

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกถาทั้ง ๓. กถาทั้ง ๓ คือ ธัมมาภิสมัย ที่ไม่มีแก่

บุคคล ๓ ประเภท คือ แก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ แก่บุคคลผู้หลับแล้วเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 699

แก่บุคคลผู้ฝัน. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย

อุตตราปถกะบางพวกเหล่านั้นนั่นแหละ แม้ในที่นี้ว่า การบรรลุพระ-

อรหันต์มีอยู่แก่สัตว์อยู่ในครรภ์ เพราะยึดถือเอาการบรรลุพระอรหันต์

ของพระโสดาบันเกิดแล้วไม่นาน และเห็นครรภ์ตั้งอยู่ ๗ ปี ของนาง

สุปปวาสา อุบาสิกา ดังนี้ด้วย ว่า ธัมมาภิสมัยมีอยู่ เพราะถือเอาความฝัน

อันเป็นที่ไปสู่ความว่างเป็นต้น ดังนี้ด้วย ว่า การบรรลุพระอรหันต์มีอยู่

ในที่นั้น ดังนี้ด้วย คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้เช่นกับเรื่องก่อนนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาติสสันนัมปิกถานัง จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 700

อัพยากตกถา

[๑๘๖๙] สกวาที จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็นอัพยากฤต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลพึงฝันฆ่าสัตว์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลพึงฝันฆ่าสัตว์ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่าจิต

ของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็นอัพยากฤต.

[๑๘๗๐] ส. บุคคลพึงฝันลักทรัพย์ ฯลฯ พึงฝันพูดเท็จ พึงฝันพูด

ส่อเสียด พึงฝันพูดคำหยาบ พึงฝันพูดเพ้อเจ้อ พึงฝันตัดที่ต่อ พึงฝัน

ปล้นใหญ่ พึงฝันปล้นเฉพาะเรือนหลังหนึ่ง พึงฝันดักที่ทางเปลี่ยว พึงฝัน

ผิดเมียท่าน พึงฝันทำการฆ่าชาวบ้าน พึงฝันทำการฆ่าชาวนิคม พึงฝัน

เสพเมถุนธรรม อสุจิของบุคคลผู้ฝันพึงเคลื่อนได้ บุคคลพึงฝันให้ทาน

พึงฝันให้จีวร พึงฝันให้บิณฑบาต พึงฝันให้เสนาสนะ พึงฝันให้คิลาน-

ปัจจยเภสัชชบริขาร พึงฝันให้ของเคี้ยว พึงฝันให้ของกิน พึงฝันให้น้ำดื่ม

พึงฝันไหว้พระเจดีย์ พึงฝันยกขึ้นซึ่งมาลา พึงฝันยกขึ้นซึ่งของหอม พึงฝัน

ยกขึ้นซึ่งเครื่องลูบไล้ ที่พระเจดีย์ ฯลฯ พึงฝันทำประทักษิณพระเจดีย์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลพึงฝันทำประทักษิณพระเจดีย์ ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่าง เป็นอัพยากฤต.

[๑๘๗๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝันทุกอย่างเป็น

อัพยากฤต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 701

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจิตของบุคคลผู้ฝันว่า เป็น

อัพโพหาริก มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจิตของบุคคลผู้ฝันว่า

เป็นอัพโพหาริก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า จิตของบุคคลผู้ฝัน

ทุกอย่าง เป็นอัพยากฤต.

อัพยากตกถา จบ

อรรถกถาอัพยากตกถา

ว่าด้วย เรื่องเป็นอัพยากฤต

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเป็นอัพยากฤต. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะบางพวกนั่นแหละว่า จิตของบุคคล

ผู้ฝันทั้งปวงเป็นอัพยากฤต เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนาของ

ผู้ฝันนั้นมีอยู่แต่เจตนานั้นแล เป็นอัพโพหาริก (อัพโพหาริก แปลว่า

ไม่มีโวหาร คือหมายความว่า ไม่มีคำบัญญัติที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้

ในพระวินัยว่าจะต้องเป็นอาบัติอย่างไร) ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ

ตามบาลีนั่นแล.

คำว่า จิตของบุคคลผู้ฝันว่า เป็นอัพโพหาริก นี้ สกวาทีกล่าว

หมายถึงอาบัติ คือ การต้องโทษทางวินัย. จริงอยู่ อกุศลจิตของผู้ฝัน

ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งปาณาติบาตเป็นต้นแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น การ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 702

ทำร้ายด้วยวัตถุหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่อาจเพื่อ

บัญญัติอาบัติในที่นั้นได้. ด้วยเหตุนี้ จิตที่เป็นอัพโพหาริกนั้น จึงไม่ใช่

อัพยากฤต ดังนี้แล.

อรรถกถาอัพยากตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 703

อาเสวนปัจจยตากถา

[๑๘๗๒] สกวาที ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาณาติบาต อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น

ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ

วิสัยแห่งเปรต วิบากของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ

ความเป็นผู้มีอายุน้อยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มี

อยู่น่ะสิ.

[๑๘๗๓] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อทินนานทาน อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น

ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ

วิสัยแห่งเปรต วิบากของอทินนาทานอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ

ความฉิบหายแห่งโภคะเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร

อย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีศัตรู มีเวรเมื่อเกิดเป็น

มนุษย์ ฯลฯ วิบากของมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความ

๑. องฺ. อฏก. ๒๓/๑๓๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 704

กล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งวาจาส่อเสียด

อย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความแตกจากมิตร เมื่อเกิดเป็นมนุษย์

ฯลฯ วิบากแห่งวาจาหยาบอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อเสียงอัน

ไม่เป็นที่พอใจ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งการพูดเพ้อเจ้ออย่าง

เบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีวาจาอันไม่น่าเชื่อถือเมื่อเกิด

เป็นมนุษย์ ฯลฯ การดื่มสุราเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว ฯลฯ วิบากแห่งการ

ดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นคนบ้าเมื่อเกิด

เป็นมนุษย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างก็มีอยู่

น่ะสิ.

[๑๘๗๔] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเห็นผิดอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อนรกเป็นที่ไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อวิสัยแห่ง

เปรต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่

น่ะสิ.

[๑๘๗๕] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?

๑,๒.องฺ. อฏฺก. ๒๓/๑๓๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 705

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความดำริผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด อันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้

มากแล้ว ฯลฯ เป็นไปพร้อมเพื่อวิสัยแห่งเปรต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่

น่ะสิ.

[๑๘๗๖] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเห็นชอบอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง

สู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าเช่นนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่

น่ะสิ.

[๑๘๗๗] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๑. องฺอฏฺก. ๒๓/๑๓๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 706

ความดำริชอบอันบุคคลเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ความ

ตั้งใจชอบ อันบุคคลเสพแล้วโดยมาก อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะที่เป็นไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มีอยู่

น่ะสิ.

อาเสวนปัจจยตากถา จบ

อรรถกถาอาเสวนปัจจยตากถา

ว่าด้วย ความเป็นอาเสวนปัจจัย

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความเป็นอาเสวนปัจจัย คือ ความเป็นปัจจัย

เพราะการซ่องเสพ. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของ

นิกายอุตตราปถกะบางพวกนั้นนั่นแหละว่า ธรรมทั้งปวงเป็นชั่วขณะ

ธรรมอะไร ๆ ตั้งอยู่แม้ครู่หนึ่งแล้ว ชื่อว่า ซ่องเสพซึ่งอาเสวนปัจจัย

หามีไม่ เพราะฉะนั้นความเป็นอาเสวนปัจจัยไม่มีอยู่โดยแท้ อนึ่ง ธรรม

อะไร ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วหาความเป็นอาเสวนปัจจัย ก็ไม่ได้ ดังนี้ คำถาม

ของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น

สกวาทีเพื่อจะให้ปรวาทีนั้นรู้ด้วยพระสูตรนั่นแหละ จึงนำพระสูตรมาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคล

ซ่องเสพแล้ว ดังนี้เป็นต้น มิใช่หรือ ? พระสูตรทั้งปวงนั้น มีอรรถตื้น

ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาเสวนปัจจยตากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 707

ขณิกกถา

[๑๘๗๘] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะจิตหนึ่ง หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มหาปฐพี มหาสมุทร ขุนเขาสิเนรุ น้ำ ไฟ ลม หญ้า

ไม้ และไม้เจ้าป่า ล้วนดำรงอยู่ในจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๗๙] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะแห่งจิตหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า อาวุโส จักขุ

อันเป็นธรรมภายใน ยังมิได้แตกไป แต่รูปอันเป็นธรรมภายนอกยังมิได้

มาสู่คลอง และการประมวลที่สมกันก็ยังไม่มี ความปรากฏแห่งความ

เป็นวิญญาณที่สมกันก็ยังไม่มีก่อน จักขุอันเป็นธรรมภายในยังมิได้แตก

ไปด้วย รูปอันเป็นธรรมภายนอกมาสู่คลองด้วย แต่การประมวลที่สมกัน

ยังไม่มี ความปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกันก็ยังไม่มีก่อน ก็ใน

กาลใดแล จักขุอันเป็นธรรมภายในยังมิได้แตกไปด้วย รูปอันเป็นธรรม

ภายนอกก็มาสู่คลองด้วย การประมวลที่สมกันก็มีด้วย อย่างนี้ความ

ปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกันจึงมี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

๑. ม.มู.๑๒/๓๔๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 708

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักขายตนะเกิดพร้อม

กับจักขุวิญญาณ.

[๑๘๘๐] ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ

กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า อาวุโส กายอัน

เป็นธรรมภายในยังมิได้แตกไป แต่โผฏฐัพพะอันเป็นธรรมภายนอก

ยังไม่มาสู่คลอง และการประมวลที่สมกันก็ยังไม่มี ฯลฯ กายอันเป็นธรรม

ภายในยังมิได้แตกไปด้วย โผฏฐัพพะอันเป็นธรรมภายนอกก็มาสู่คลอง

ด้วย แต่การประมวลที่สมกันยังไม่มี ฯลฯ ก็ในกาลใดแล กายอันเป็น

ธรรมภายในยังมิได้แตกไปด้วย โผฏฐัพพะก็มาสู่คลองด้วย การประมวล

ที่สมกันก็มีด้วย อย่างนี้ ความปรากฏแห่งความเป็นวิญญาณที่สมกัน

จึงมี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กายายตนะเกิดพร้อม

กับกายวิญญาณ.

[๑๘๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะจิตหนึ่ง

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 709

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมทั้งปวง เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีอันไม่แปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปในขณะจิตหนึ่ง

น่ะสิ.

ขณิกกถา จบ

อรรถกถาขณิกกถา

ว่าด้วย ธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ

บัดนี้ ชื่อว่าธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะ คือหมายถึงขณะจิต. ใน

ปัญหานั้น สังขตธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น สังขตธรรม

เหล่านั้น จึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งเท่านั้น. ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะ และอปรเสลิยะทั้งหลายว่า ก็เมื่อความไม่เที่ยง

มีอยู่ ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปเร็ว ธรรมอย่างหนึ่งแตกดับไปช้า ดังนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อะไรเล่าเป็นสภาพแตกต่างกันในที่นี้ ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีว่า ธรรมทั้งปวงเป็นไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่งหรือ ดังนี้ หมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ในคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า มหาปฐพี.....ล้วนดำรงอยู่ในจิตหรือ

ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการดำรงอยู่แห่งมหาปฐพีเป็นต้นเหล่านั้น ฉะนั้น จึง

ตอบปฏิเสธ. คำว่า จักขวายตนะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ผิว่า

ธรรมทั้งปวงพึงมีชั่วขณะจิตเดียวไซร้ อายตนะทั้งหลายมีจักขวายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 710

เป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็พึงดับไปพร้อมกับวิญญาณทั้งหลาย มีจักขุวิญญาณ

เป็นต้นได้นะสิ. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ

ของสัตว์เกิดในท้องมารดา. ย่อมตอบรับรองหมายเอาความเป็นไป คือ

ปวัตติกาล ด้วยสามารถแห่งลัทธินั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น

ทั้งนั้นแล. คำว่า ถ้าอย่างนั้น ธรรมทั้งปวงก็เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง

ดังนี้ อธิบายว่า ปรวาทีย่อมกล่าวการกระทำตามความชอบใจของตนว่า

ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มี ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงเป็น

ไปในขณะแห่งจิตอันหนึ่ง ดังนี้. คำนั้นไม่เป็นเช่นกับคำที่ปรวาทีนั้น

กล่าวแล้วแล.

อรรถกถาขณิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปรินิพพานกถา ๒. กุสลจิตตกถา ๓. อาเนญชกถา ๔. ธัมมาภิ-

สมยกถา ๕. ติสโสปิกถา ๖. อัพยากตกถา ๗. อาเสวนปัจจัยตากถา

๘. ขณิกกถา.

วรรคที่ ๒๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 711

วรรคที่ ๒๓

เอกาธิปปายกถา

[๑๘๘๒] สกวาที บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์

อย่างเดียวกันหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พึงเป็นผู้มิใช่สมณะ พึงเป็นผู้มิใช่ภิกษุ พึงเป็นผู้มี

รากอันขาดแล้ว พึงเป็นปาราชิก ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๓] ส. บุคคลพึงเสพเมถุนธรรมด้วยความประสงค์อย่าง

เดียวกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียด

พึงพูดคำหยาบ พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดที่ต่อ พึงปล้นใหญ่ พึงปล้นเฉพาะ

เรือนหลังหนึ่ง พึงดักที่ทางเปลี่ยว พึงผิดเมียท่าน พึงทำการฆ่าชาวบ้าน

พึงทำการฆ่าชาวนิคม ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกาธิปปายกถา จบ

อรรถกถาเอกาธิปปายกถา

ว่าด้วย ความประสงค์อย่างเดียวกัน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความประสงค์อย่างเดียวกัน. ในปัญหานั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นดุจลัทธิของนิกายอันธกะและเวตุลละทั้งหลายว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 712

ความประสงค์อย่างหนึ่งของบุคคลมีอยู่ เพราะทำกิจทั้งหลายมีการบูชา

พระพุทธเจ้าเป็นต้น พร้อมกับหญิง ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาว่า

ขอความประสงค์อย่างเดียวกันจงมีด้วยความกรุณา หรือด้วยความ

ปรารถนาอย่างเดียวกัน หรือพวกเราจักร่วมกันในสังสารวัฏ ดังนี้ ชื่อว่า

มีความประสงค์อย่างเดียวกัน เมถุนธรรมอันความประสงค์อย่างเดียว

กันเห็นปานนี้ ชนทั้ง ๒ นั้น พึงเสพ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงพิจารณาดูใน

บาลีนั้น แล.

อรรถกถาเอกาธิปปายกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 713

อรหันตวัณณกถา

[๑๘๘๔] สกวาที อมนุษย์ทั้งหลาย เสพเมถุนธรรมโดยเพศแห่ง

พระอรหันต์ทั้งหลายได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อมนุษย์ทั้งหลาย ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ลักทรัพย์ พูดเท็จ

พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นใหญ่ ปล้นเฉพาะเรือน

หลังหนึ่ง ดักทางเปลี่ยว ผิดเมียท่าน ทำการฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ทำการ

ฆ่าชาวนิคม โดยเพศแห่งพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรหันตวัณณกถา จบ

อรรถกถาอรหันตวัณณกถา

ว่าด้วย เพศของพระอรหันต์

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเพศของพระอรหันต์ คือ การเสพเมถุนโดยเพศ

ของพระอรหันต์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกาย

อุตตราปถกะทั้งหลายว่า อมนุษย์ทั้งหลายเสพเมถุนธรรมด้วยเพศของ

พระอรหันต์ เพราะเห็นภิกษุผู้ลามก ผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ ผู้สมบูรณ์

ด้วยกิริยา ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถา อรหันตวัณณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 714

อิสสริยกามการิกากถา

[๑๘๘๕] สกวาที พระโพธิสัตว์ ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำความใคร่

ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ ไปสู่นรก คือ ไปสู่สัญชีวนรก ไปสู่

กาลสุตตนรก ไปสู่ตาปนนรก ไปสู่มหาตาปนนรก ไปสู่สังฆาฏกนรก ไปสู่

โรรุวนรก ฯลฯ ไปสู่อวีจินรก เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๖] ส. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาตเหตุกระทำความใคร่ใน

ความเป็นใหญ่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต กระทำความใคร่ใน

ความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำ

ความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

[๑๘๘๗] ส. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ พึงเข้าถึงนรก พึงเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน

เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 715

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๘๘] ส. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์ หรือ?

ป. ถูกเเล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ได้อบรมอิทธิบาทคือฉันทะหรือ ฯลฯ

ได้อบรมอิทธิบาทคือวิริยะ ฯลฯ อิทธิบาทคือจิตตะ ฯลฯ อิทธิบาทคือ

วิมังสา หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์ หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์

เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์

ในครรภ์ เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่

จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์

เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 716

[๑๘๘๙] ส. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่

ในความเป็นใหญ่ หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า โลกเที่ยง กลับ

มาสู่ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง ว่าโลกมีที่สุด ฯ ล ฯ ว่าโลกไม่มีที่สุด ว่าชีพ

อันนั้นสรีระก็อันนั้น ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่

มรณะย่อมเกิดอีก ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะย่อมไม่เกิดอีก ว่าสัตว์

เบื้องหน้าแต่มรณะเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ฯลฯ ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่

มรณะเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ เหตุกระทำความใคร่ใน

ความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๘๙๐] ส. พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความ

ใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำ

ความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์ ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่.

[๑๘๙๑] ส. พระโพธิสัตว์ได้ความเพียรอย่างอื่นอีก อุทิศศาสดา

อื่น เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 717

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ

ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโพธิสัตว์ อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่

ในความเป็นใหญ่ หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความ

ใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงหรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คำว่า พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เหตุ

กระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่ ดังนี้ ไม่เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่

กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ อุทิศศาสดาอื่น เหตุกระทำความใคร่ในความ

เป็นใหญ่.

อิสสริยกามการิกากถา จบ

อรรถกถา อิสสริยกามการิกากถา

ว่าด้วย เหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่. ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์

ย่อมไปสู่วินิบาต พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ความเป็นผู้นอนในครรภ์ พระ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 718

โพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา พระโพธิสัตว์ได้ทำความเพียรอย่างอื่นอีก

พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่

โดยหมายเอาฉัททันตชาดกเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในกถาแรกมี

อรรถตื้นทั้งนั้น.

ในกถาที่ ๒ ว่า พระโพธิสัตว์มีฤทธิ์หรือ สกวาทีถามเพื่อท้วง

ว่า ผิว่า พระโพธิสัตว์ พึงบรรลุเหตุกระทำความใคร่ในความเป็นใหญ่

ไซร้ ก็พึงบรรลุด้วยฤทธิ์มิใช่ด้วยอำนาจกรรม ดังนี้ ก็ในปัญหาแรก

ปรวาทีหมายเอาฤทธิ์อันสำเร็จด้วยภาวนา คืออิทธิบาท จึงตอบปฏิเสธ

ในปัญหาที่ ๒ หมายเอาบุญฤทธิ์ จึงตอบรับรอง.

ในกถาที่ ๓ สกวาทีกล่าวคำว่า โลกเที่ยง เป็นต้น เพื่อท้วงว่า

ผิว่า ชื่อว่า เหตุที่ทำความใคร่ในความเป็นใหญ่คือการกระทำทุกกรกิริยา

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทำด้วยมิจฉาทิฏฐิไซร้ พระองค์ก็พึงทำทุกกร-

กิริยานั้นอย่างเดียว พึงถือเอาซึ่งทิฏฐิทั้งหลายมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น. แม้

ในกถาที่ ๔ ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอิสสริยกามการิกากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 719

ราคปฏิรูปกาทิกถา

[๑๘๙๒] สกวาที ธรรมมิใช่ราคะ แต่เทียบด้วยราคะ มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมมิใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะ มีอยู่หรือ ธรรม

มิใช่เวทนา แต่เทียบด้วยเวทนา มีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สัญญา แต่เทียบด้วย

สัญญามีอยู่หรือ ธรรมมิใช่เจตนา แต่เทียบด้วยเจตนามีอยู่หรือ ธรรม

มิใช่จิต แต่เทียบด้วยจิตมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่ศรัทธา แต่เทียบด้วยศรัทธา

มีอยู่หรือ ธรรมมิใช่วิริยะ แต่เทียบด้วยวิริยะมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สติ

แต่เทียบด้วยสติมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่สมาธิ แต่เทียบด้วยสมาธิมีอยู่หรือ

ธรรมมิใช่ปัญญา แต่เทียบด้วยปัญญา มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมมิใช่โทสะแต่เทียบด้วยโทสะมีอยู่หรือ ธรรม

มิใช่โมหะเทียบด้วยโมหะมีอยู่หรือ ธรรมมิใช่กิเลส แต่เทียบด้วย

กิเลสมีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมมิใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะ มีอยู่หรือ ฯลฯ

ธรรมมิใช่ปัญญา แต่เทียบด้วยปัญญา มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ราคปฏิรูปกาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 720

อรรถกถาราคปฏิรูปกาทิกถา

ว่าด้วย ราคปฏิรูปกะเป็นต้น

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องราคปฏิรูปกะ คือธรรมที่เทียบด้วยราคะเป็นต้น.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า

ธรรมที่มิใช่ราคะเป็นราคะเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาเมตตา กรุณา

และมุทิตาธรรมเป็นต้น ดังนี้ด้วยว่า ธรรมที่มิใช่โทสะเป็นโทสะเทียม

มีอยู่ เพราะหมายเอาอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ ดังนี้ด้วย ว่า ธรรม

ที่มิใช่โมหะเป็นโมหะเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาหสิตุปปาทะดังนี้ด้วย

ว่า ธรรมที่มิใช่กิเลสเป็นกิเลสเทียมมีอยู่ เพราะหมายเอาวาทะอันกระด้าง

ที่ตำหนิบุคคลผู้เก้ออยากทั้งหลาย และอนุเคราะห์ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

ทั้งหลาย อันเป็นถ้อยคำที่ตำหนิบาป สรรเสริญความดี ของท่านพระ-

ปิลินทวัจฉะ และถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า โมฆบุรุษ อันเป็น

ถ้อยคำเช่นกับเขฬะ ดังนี้ด้วย คำถามในกถาทั้งปวงของสกวาที หมายถึง

ชนผู้เห็นผิดเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

จึงกล่าวคำว่า ธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะ แต่เทียบด้วยผัสสะมีอยู่หรือ เป็นต้น

กะปรวาทีนั้น เพื่อท้วงว่า ชื่อว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ของ

ธรรมเทียมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้ราคะธรรม

เป็นต้นของธรรมเทียมมีราคะเป็นต้นก็ย่อมไม่มี ดังนี้. ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะความไม่มีแห่งสภาพธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มี

อรรถตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาราคปฏิรูปกาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 721

อปรินิปผันนกถา

[๑๘๙๓] สกวาที รูปเป็นอปรินิปผันนะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. รูปมิใช่ของไม่เที่ยง มิใช่สังขตะ มิใช่ธรรมชาติที่

อิงอาศัยเกิดขึ้น มิใช่ธรรมชาติมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติ

ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความคลายไปเป็น

ธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มีความดับไปเป็นธรรมดา มิใช่ธรรมชาติที่มี

ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อิงอาศัยเกิดขึ้น มี

ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป

เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา

มิใช่หรือ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นสังขตะ ฯลฯ มีความ

แปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ดังนี้.

[๑๘๙๔] ส. ทุกข์เท่านั้น เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นทุกข์ และ รูปก็ไม่เที่ยง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 722

ตรัสว่าเป็นทุกข์ และ รูปก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทุกข์เท่านั้นเป็น

ปรินิปผันนะ.

[๑๘๙๕] ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ

จักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ

จักขุนทรีย์ ฯลฯ.

[๑๘๙๖] ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัญญาตาวินทรีย์ มิใช่ธรรมชาติที่ไม่เที่ยง ฯลฯ มิใช่

ธรรมชาติที่มีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง เป็นสังขตะ

ฯลฯ มีความแปรไปเป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง

เป็นสังขตะอิงอาศัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป

เป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

มีความแปรไปเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ เป็น

อปรินิปผันนะ.

[๑๘๙๗] ส. ทุกข์เท่านั้น เป็นปรินิปผันนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นทุกข์ และ อัญญาตาวินทรีย์ก็ไม่เที่ยง มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 723

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่าเป็นทุกข์ และ อัญญาตาวินทรีย์ก็ไม่เที่ยง ก็ต้องไม่กล่าวว่า ทุกข์

เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ.

อปรินิปผันนกถา จบ

อรรถกถาอปรินิปผันนกถา

ว่าด้วย อปรินิปผันนะ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อปรินิปผันนะ คือธรรมที่ไม่สำเร็จแล้ว หมายถึง

ธรรมที่ไม่เกิดขึ้นมาเพราะปัจจัยปรุงแต่ง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวก และเหตุวาทะ

ว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ คือเป็นธรรมที่สำเร็จแล้วหรือเกิดขึ้น

แล้ว ส่วนธรรมที่เหลือ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะ

คือไม่สำเร็จแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ก็ทุกข์เท่านั้น

ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมดับไปด้วย นอกจากทุกข์

ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า

รูปเป็นอปรินิปผันนะหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปมิใช่ของไม่เที่ยง

เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้ารูปเป็นอปรินิปผันนะไซร้ รูปนั้นก็พึงมิใช่เป็น

ของไม่เที่ยงเป็นต้น. ปรวาที เมื่อไม่เห็นรูปเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 724

สกวาที ปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของ

ไม่เที่ยง...มิใช่หรือ ? เมื่อจะถามปัญหาที่ ๒ จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้น

เป็นปรินิปผันนะหรือ ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของ

ปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์...มิใช่หรือ.

ในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่

ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูป

ก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปแม้นั้น จึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้น

จึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ

ดังนี้. การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. อนึ่ง

ในธัมมายตนะ และธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึง

ทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง. อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจัง

ทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอปรินิปผันนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. เอกาธิปปายกถา ๒. อรหันตวัณณกถา ๓. อิสสริยกาม-

การิกากถา ๔. ราคปฏิรูปกาทิกถา ๕. อปรินิปผันนกถา.

วรรคที่ ๒๓ จบ

ขุททกปัณณาสก์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 725

อุทาน

มหา นิยาโม อนุสยา นิคฺคโห ขุทฺทกปญฺจมา

ปรปฺปวาทมทฺทนา สุตฺตมูลสมาหิตา

อุชโชตนา สตฺถุสมเย กถาวตฺถุปปกรเณ

กถาวัตถุปกรณ์ มี ๕ ปัณณาสก์ คือ :-

(๑) มหาปัณณาสก์

(๒) นิยามปัณณาสก์

(๓) อนุสยปัณณาสก์

(๔) นิคคหปัณณาสก์

(๕) ขุททกปัณณาสก์

อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระทำพระสูตรให้เป็นมูลตั้งไว้ ให้เป็นเครื่อง

ย่ำยีปรับปวาท รุ่งเรืองอยู่ในพระพุทธศาสนา.

กถาวัตถุปกรณ์ ๓๕ ภาณวาร จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 726

นิคมคาถา

ก็ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้

รวบรวมกถาทั้งปวง จากปัณณาสก์ทั้ง ๔ และวรรคทั้ง ๓ เท่านั้น แล้ว

จำแนกเป็นประเภทออกไปได้จำนวน ๓๐๐ หย่อน.

พระชินพุทธเจ้าผู้ฉลาดในกถามรรคทั้งหลาย ทรงแสดงแล้วซึ่ง

กถาวัตถุปกรณ์ใด การพรรณนาเนื้อความแห่งกถาวัตถุปกรณ์นั้นสำเร็จ

แล้ว.

ข้าพเจ้าร้อยกรองคัมภีร์นี้ไว้ มีประมาณ ๑๓ ภาณวาร จากจำนวน ๓๕

ภาณวาร เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม เพื่อเป็นแบบแผน ฉะนี้แล.

กุศลใด ที่ข้าพเจ้าบรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้วมีอยู่ ด้วยอำนาจแห่ง

กุศลนั้นขอสัตว์โลก คือ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย จงรับรสแห่ง

พระสัทธรรมของพระธรรมราชานั้น เทอญ.

อรรถกถาแห่งกถาวัตถุปกรณ์ จบบริบูรณ์

๑. ในโยชนาว่าได้จำนวน ๒๓๐ ประเภท คือในปัณณาสก์ทั้ง ๔ ปัณณาสก์ละ ๕๐ เป็น ๒๐๐ และใน

วรรคทั้ง ๓ เป็นกถาอีก ๓๐ รวม ๒๓๐ ประเภท.