ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๒

วิภังค์ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๗. สติปัฏฐานวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๔๓๑] สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ

อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายใน

กายทั้งภายในและภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาใน

เวทนาทั้งภายในและภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

๑. บาลีเล่มที่ ๓๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็น

จิตในจิตภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและ

ภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสเสียได้ในโลก.

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนือง ๆ อยู่ พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมภายนอกเนือง ๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ทั้งภายในและภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

กายานุปัสสนานิทเทส

พิจารณาเห็นกานในกายภายใน

[๔๓๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็น

อย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน

แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด

มีประการต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก

เยื้อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน

น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร.

๑. บาลีในทุกแห่งไม่มี มตฺถลุงค = มันสมอง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในกายภายนอก.

พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก

[๔๓๓] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนือง ๆ อยู่ เป็น

อย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้อง

บน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่

สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในกายของเขาผู้นั้น มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่

ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร.

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ

นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อม

จิตเข้าไปในกายทั้งภายในและภายนอก.

พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก

[๔๓๔] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก

เนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอก แต่พื้นเท้า

ขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มโดยรอบเต็มไปด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่

ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร.

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและ

ภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสเสียได้ในโลก.

[๔๓๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศ

ว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไป

ถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว

ด้วยการพิจารณาเห็นเนือง ๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ.

[๔๓๖] บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไป

อยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า อยู่.

[๔๓๗] บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว

เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความ

เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

[๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า มีสัมปชัญญะ. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้ว

ด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี

ประกอบแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัมปชัญญะ.

[๔๓๙] บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้

เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้า

ถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

มีสติ.

[๔๔๐] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศ

ว่าโลก เป็นไฉน ?

กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้

เรียกว่าโลก.

อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

ใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.

โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิด

แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบระงับ

เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ

ไปด้วยดี ลูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไป

แล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

กายานุปัสสนานิทเทส จบ

เวทนานุปัสสนานิทเทส

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายใน

[๔๔๑] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนือง ๆ อยู่

เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา

เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา

เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย

สุขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา

มีอามิส หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่

มีอามิส เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา

มีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขม-

สุขเวทนาไม่มีอามิส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในเวทนาภายนอก.

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอก

[๔๔๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกเนือง ๆ อยู่

เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้น

กำลังเสวยสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลัง

เสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขาผู้นั้นกำลัง

เสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้น

กำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส

ว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยทุกข-

เวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้

กำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส

รู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวย

อทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลอื่นผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี

อามิสว่า เขาผู้นั้นกำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอก

[๔๔๓] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภาย

นอกเนือง ๆอยู่เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนา

ว่า เป็นทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัด

สุขเวทนามีอามิสว่า เป็นสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็น

สุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส รู้ชัด

ทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิส

ว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็น

อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน

และภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสเสียได้ในโลก.

[๔๔๔] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศ

ว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น

เนือง ๆ.

บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

อยู่.

บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่ามีความเพียร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.

บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ.

บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศว่าโลก

เป็นไฉน ?

เวทนานั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ก็ชื่อว่า ๕ ก็ชื่อว่า โลก

นี้เรียกว่าโลก.

อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

ใดนี้เรียกว่า อภิชฌา.

โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิด

แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ

ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำ

ให้พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำไห้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไป

แล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

จิตตานุปัสสนานิทเทส

พิจารณาเห็นจิตในจิตภายใน

[๔๔๕] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ เป็น

อย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีราคะ หรือ

เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ.

เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศ

จากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ.

เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจาก

โมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ.

เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้

ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน.

เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นมหัคคตะ หรือเมื่อ

จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ.

เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือเมื่อ

จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราเป็นอนุตตระ.

เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น

ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น.

เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่

หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก.

พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอก

[๔๔๖] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนือง ๆ อยู่ เป็น

อย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขา

ผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขา

ผู้นั้นปราศจากราคะ.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือ

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจาโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือ

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อ

จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็น

มหัคคตะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้

นั้นไม่เป็นมหัคคตะ.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นเป็น

สอุตตระ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นเป็นอนุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น

เป็นอนุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อ

จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น.

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือ

เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้น ยังไม่หลุดพ้น

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายในและภายนอก.

พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก

[๔๔๗] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก

เนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ เมื่อจิตปราศ

จากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ.

เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้

ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็

รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ.

เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน

เมื่อจิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ เมื่อจิตไม่เป็น

มหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ.

เมื่อจิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระ

ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า

จิตไม่ตั้งมั่น.

เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็

รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น.

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและ

ภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสเสียได้ในโลก.

[๔๔๘] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศ

ว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า พิจารณาเห็น

เนือง ๆ

บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก

ว่า อยู่.

บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความ

เพียร. บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.

บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ

บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทศว่า โลก

เป็นไฉน ?

จิตนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า

โลก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

นี้เรียกว่า อภิชฌา.

โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ

ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำ

ให้พินาศไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูก

ทำให้มีที่สุดปราศจากไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสเสียได้ในโลก.

จบจิตตานุปัสสนานิทเทส

ธัมมานุปัสสนานิทเทส

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน

[๔๔๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนือง ๆ อยู่ เป็น

อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

นีวรณปัพพะ

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ

ภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อกามฉันทะภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ

ภายในจิตของเราไม่มี อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด

รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด รู้

ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุ

ใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

เมื่อพยาบาทภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ

เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัด

ว่า วิจิกิจฉาภายในจิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า

วิจิกิจฉาภายในจิตของเราไม่มี อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นด้วยเหตุ

ใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด

รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด

รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

โพชฌังคปัพพะ

เมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายใน

จิตของเรามีอยู่ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพช-

ฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้น

ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์

ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์

ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

สัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ

เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายใน

จิตของเรามีอยู่ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น

จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขา

สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในธรรมภายนอก.

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอก

[๔๕๐] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกเนือง ๆ อยู่

เป็นอย่างไร ?

นีวรณปัพพะ

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กาม-

ฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า กาม-

ฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด

รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะมีได้ด้วยเหตุใด รู้

ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้

ชัดเหตุนั้นด้วย เมื่อพยาบาทของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะของเขา

ผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉาของ

เขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่

เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่

เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว

จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

โพชฌังคปัพพะ

เมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของ

เขาผู้นั้นมีอยู่ หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพช-

ฌงค์ของเขานั้นไม่มี อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุ

ใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น

แล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์

ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อ

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้

นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้

ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์

แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อม

น้อมจิตเข้าไปในธรรมทั้งภายในและภายนอก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอก

[๔๕๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภาย

นอกเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

นีวรณปัพพะ

ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ หรือ

เมื่อกามฉันทะไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มี อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด

ขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้น

แล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะ

ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

เมื่อพยาบาทมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจะกุก-

กุจจะมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉา

ไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วย

เหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วย

เหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด

รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

โพชฌังคปัพพะ

เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือเมื่อ

สติสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มี อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญ

บริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ

เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิ

สัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์มีอยู่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี

อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้น

ด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมี

ได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.

ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน

และภายนอกเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสเสียได้ในโลก ?

[๔๕๒] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ มีนิเทศว่า

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้า

ไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว

ด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยการพิจารณาเห็นเนือง ๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก

ว่า พิจารณาเห็นเนือง ๆ.

[๔๕๓] บทว่า อยู่ มีนิเทศว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไป

อยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

[๔๕๔] บทว่า มีความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร. ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียร

นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร.

[๔๕๕] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทศว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึง

แล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี

ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ.

[๔๕๖] บทว่า มีสติ มีนิเทศว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุ

เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี

เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

มีสติ.

[๔๕๗] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มี

นิเทศว่า โลก เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่านั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก

นี้เรียกว่าโลก.

อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

ใด นี้เรียกว่า อภิชฌา.

โทมนัส เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิด

แต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ

ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำ

ให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้งแล้ว ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้

มีที่สุดปราศไปแล้วในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

เสียได้ในโลก.

ธัมมานุปัสสนานิทเทส จบ

สุตตันตภาชนีย์ จบ

อภิธรรมภาชนีย์

[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่

พิจารณาเห็นกายในกาย

[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายใน

กายเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่

ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ

สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัย

นั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประทานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาใน

เวทนาเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติ-

สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นจิตในจิต

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิต

เนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัม-

โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้

เรียกว่าสติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

เนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติ-

ปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติ-

ปัฏฐาน.

ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกไห้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติ-

ปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

[๔๖๐] สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆอยู่

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่.

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่.

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่.

[๔๖๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน. ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิเขปะ มีในสมัยใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขา-

ปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ. อยู่ ใน

สมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้

แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ

อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติ-

ปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นจิตในจิต

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้น

แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้

แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขา-

ปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่

ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญแล้วนั้นแล

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทัน-

ธาภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ ในสมัยใด

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน. ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน.

จบอภิธรรมภาชนีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ปัญหาปุจฉกะ

[๔๖๒] สติปัฏฐาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้

ในโลก.

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัม-

ปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐานไหนเป็นกุศล สติปัฏฐานไหนเป็น

อกุศล สติปัฏฐานไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ สติปัฏฐานไหนเป็นสรณะ สติ-

ปัฏฐานไหนเป็นอรณะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

ติกมาติกาวิสัชนา

[๔๖๓] สติปัฏฐาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัม-

ปยุตก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น

อวิตักกาวิจาระก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา-

สหคตะก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นปณีตะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคารัมมณะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

สติปัฏฐาน ๔ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้

เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๔๖๔] สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสเหตุกะ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ

แต่เป็นสเหตุกนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต

แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนเหตุสเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสังขตะ สติปัฏฐาน

๔ เป็นอนิทัสสนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

สติปัฏฐาน ๔ เป็นโลกุตตระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจิ-

นวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนาสวะ สติปัฏฐาน

๔ เป็นอาสววิปปยุต สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้

เป็นสาสวโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต

แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ.

๔,๕,๖,๗,๘,๙,๑๐ สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนคันถะ

ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสารัมมณะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนจิตตะ สติปัฏฐาน ๔

เป็นเจตสิกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสัง-

สัฏฐะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสหภู

สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สติปัฏฐาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานานุปริวัตติ สติปัฏฐาน ๔ เป็นพาหิระ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอุปาทา

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุปาทินนะ.

๑๑,๑๒,๑๓, อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโนกิเลสะ

ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนภาวนา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

ปหาตัพพะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็น

นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี

เป็นอัปปีติกะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนปีติสหคตะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี

สติปัฏฐาน ๔ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นนกามาวจร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ เป็นนอรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔

เป็นอปริยาปันนะ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นอนุตตระ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

จบปัญหาปุจฉกะ

สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

สัมโมหวิโนทนี

อรรถกถาวิภังค์

สติปัฏฐานวิภังคนิทเทส

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสติปัฏฐานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นั้น ต่อไป

คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม

ทรงแสดงกำหนดสติปัฏฐานไว้ว่า มีจำนวนไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น

ดังนี้.

คำว่า สติปัฏฐาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือ สติโคจร ๑

ความที่พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ ๓

อย่าง ๑ ตัวสติ ๑.

จริงอยู่ สติโคจร (อารมณ์ของสติ ) ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ใน

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุให้เกิด และความดับไป

แห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟังคำนั้น จงมนสิการให้ดี ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดกาย ความเกิดขึ้น

แห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร เป็นต้น. โดยทำนอง

นั้น กายย่อมเป็นอารมณ์ปรากฏ มิใช่สติปรากฏ.

๑. บาลีอรรถกถาหน้า ๒๗๙ เป็นต้นไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติอุปัฏฐาน และ สติ เป็นต้น. เนื้อ

ความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งมั่น.

ถามว่า อะไร ย่อมตั้งมั่น

ตอบว่า สติ. ที่เป็นที่ตั้งมั่นแห่งสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกอย่าง

หนึ่ง ที่ตั้งมั่นอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปัฏฐาน ที่ตั้งอันเป็นประธานแห่งสติ

จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน เหมือนคำว่า ที่อันเป็นที่ตั้งอยู่ของช้าง และของม้า

เป็นต้นฉะนั้น.

การที่พระศาสดาเป็นผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่สาวกผู้

ปฏิบัติ ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำนี้ว่า พระศาสดาผู้อริยะ

เสพธรรมใด ธรรมนั้นคือ สติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่ จึง

ควรเพื่อตามสอนหมู่คณะ ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อ

ว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นธรรมควรให้ตั้งไว้. อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป.

ถามว่า ควรให้ตั้งไว้ด้วยธรรมอะไร.

ตอบว่า ด้วยสติ การให้ตั้งไว้ด้วยสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.

ก็ตัวสตินั่นแหละ ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำเป็นต้นว่า สติ-

ปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์

๗ ให้บริบูรณ์ ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน

เพราะอรรถว่า ย่อมดำรงอยู่. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ คือ ก้าวลงแล้วย่อม

แล่นไป ย่อมเป็นไป. สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่

(หรือการตั้งมั่น). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติเพราะอรรถว่า การระลึก. ชื่อว่า

ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งมั่น. ด้วยประการฉะนี้ สตินั้นด้วย ปัฏ-

๑. คำว่า สติอุปัฏฐาน แปลว่า การเข้าไปตั้งสติ.

๒. จาก สฬายตนวิภังคสูตร มัช.อุ. ข้อ ๖๓๓-๖๓๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ฐานนั้นด้วย จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน. สติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประสงค์เอาไว้ที่นี้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงทำคำว่า สติปัฏฐาน

ให้เป็นพหูพจน์เล่า.

ตอบว่า เพราะความที่สติมีมาก. จริงอยู่ ท่านทำสติไว้มาก ก็เพราะ

ความต่างกันแห่งอารมณ์.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔

เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.

ตอบว่า เพราะจะให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่เวไนยสัตว์. จริงอยู่

บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ประเภทตัณหาจริต และทิฏฐิจริต หรือสมถยานิก และ

วิปัสสนายานิกเป็นไป ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งมันทะและติกขบุคคล (คือ

จริตอ่อนและแก่กล้า) กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอันโอฬาร เป็นทางแห่งความ

หมดจดของบุคคลผู้ตัณหาจริตอย่างอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอันสุขุม

เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีตัณหาจริตอย่างแก่กล้า. จิตตานุปัสสนา

สติปัฏฐานซึ่งมีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทางแห่งความหมดจดของ

บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งมีอารมณ์อันแยก

ออกมาก เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตอย่างแก่กล้า.

อนึ่ง สติปัฏฐานที่ ๑ ซึ่งมีนิมิตอันบุคคลพึงบรรลุได้โดยไม่ลำบาก

เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ ๒

เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้สมถยานิกอย่างแก่กล้า เพราะไม่เกิดใน

อารมณ์อันหยาบ สติปัฏฐานที่ ๓ มีอารมณ์อันแยกออกไม่มากนัก เป็นทาง

แห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิกอย่างอ่อน. สติปัฏฐานที่ ๔ มี

อารมณ์อันแยกออกมากยิ่ง เป็นทางแห่งความหมดจดของบุคคลผู้วิปัสสนายานิก

อย่างแก่กล้า.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔

โดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล.

สติปัฏฐานตามนัยแห่งปกรณ์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละวิปัลลาส ๔

เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อละสุภวิปัลลาส สุข-

วิปัลลาส นิจจวิปัลลาส อัตตวิปัลลาส คือเข้าใจว่า เป็นสุภะ เป็นสุขะ เป็น

ของเที่ยง เป็นอัตตา. จริงอยู่ กายเป็น อสุภะ แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิด

ด้วยสุภวิปัลลาสในกายนั้น มีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสติปัฏฐานที่ ๑ ไว้

เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาสนั้น โดยการแสดงถึงความเป็นอสุภะในกาย.

อนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น แม้อันสัตว์ถือเอาแล้วว่า เป็น

สุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา ที่จริงเวทนาเป็นทุกข์ จิตก็ไม่เที่ยง ธรรมทั้ง

หลายก็เป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าใจผิดมีความเห็นคลาดเคลื่อนในธรรม

ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา. พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือไว้ก็เพื่อจะให้สัตว์เหล่านั้นละวิปัลลาส

นั้นโดยการแสดงถึงความเป็นทุกข์ เป็นต้น ในธรรมมีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น

พึงทราบว่าได้ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่งดังนี้ เพื่อ

ละวิปัลลาสในความเห็นว่าเป็นสุภะ เป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นอัตตา อย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้. ก็เพื่อการละวิปัลลาสเท่านั้นก็หาไม่ โดยที่แท้ พึงทราบว่า

พระองค์ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ เพื่อละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔

อุปาทาน ๔ อคติ ๔ และเพื่อให้กำหนดรู้อาหาร ๔ ด้วย.

นัยแห่งปกรณ์ มีเพียงเท่านี้

๑. นัยนี้รจนาขึ้นโดยภาษาของชาวเกาะลังกา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

นัยแห่งอรรถกถา

ก็ในอรรถกถา ท่านกล่าวคำไว้เพียงเท่านี้ว่า สติปัฏฐานมีอย่าง

เดียวเท่านั้น ด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการ

ประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ว่าเป็น ๔ ได้ด้วย

สามารถแห่งอารมณ์. ดังนี้. เหมือนอย่างว่าในนครหนึ่งมี ๔ ประตู ชน

ทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็

เข้าไปสู่นครทางประตูทิศตะวันออกนั้นนั่นแหละ. ผู้มาจากทิศใต้ ผู้มาจากทิศ

ตะวันตก ผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศเหนือแล้วก็เข้าไปสู่

นครทางประตูทิศเหนือนั่นแหละ ฉันใด คำอุปมาเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้

บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด. จริงอยู่ พระนิพพาน เปรียบเหมือน นคร.

โลกุตตรมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือน ประตู. กายเป็น

ต้นเปรียบ เหมือนทิศตะวันออก เป็นต้น. ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันออก

ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วก็เข้าไปสู่นครโดยประตูทิศตะวันออก

นั่นแหละ ฉันใดพระโยคาวจรทั้งหลาย ผู้มาด้วยกายานุปัสสนาเป็นประธาน

ก็ฉันนั้น เจริญกายานุปัสสนาโดย ๑๔ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่ง

เทียว ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการเจริญกายานุปัสสนา.

ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศใต้ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศใต้แล้วก็เข้าไป

สู่นคร โดยประตูด้านใต้นั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มาด้วย

เวทนานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญเวทนานุปัสสนาโดย ๘ ปัพพะ

แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคเกิดขึ้นด้วยอานุภาพ

แห่งการเจริญเวทนานุปัสสนา.

ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศตะวันตก ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศตะวันตก

แล้วเข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านตะวันตกนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

ทั้งหลาย ผู้มาด้วยจิตตานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้นเจริญจิตตานุปัสสนา

๑๖ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้น

ด้วยอานุภาพแห่งจิตตานุปัสสนา.

ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศเหนือแล้ว

เข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านเหนือนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มา

ด้วยธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน

ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาโดย ๕ ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่ง

นั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมานุปัสสนา.

ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน

ไว้ ๑ เท่านั้นด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการ

ประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔

ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ดังนี้.

กายานุปัสสนานิทเทส

อุทเทสวารกถา

อธิบายคำว่า อิธ ภิกฺขุ (ภิกษุในพระศาสนานี้)

ในคำว่า อิธ ภิกฺขุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในเทวโลกตรัส

สติปัฏฐานวิภังค์นี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่านั่งอยู่ในสำนักของพระองค์ใน

เทวโลกนั้นไม่มีก็จริง เมื่อความเป็นอย่างนั้น (เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสคำ

ว่า อิธ ภิกฺขุ นี้) ก็เพราะสติปัฏฐานเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของภิกษุ ทั้ง

ภิกษุทั้งหลายก็เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า อิธ

ภิกฺขุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

ถามว่า ก็พวกภิกษุเท่านั้นหรือ ย่อมเจริญสติปัฏฐานเหล่านี้ ภิกษุณี

เป็นต้นไม่เจริญหรือ ?

ตอบว่า ชนเหล่าอื่นแม้มีภิกษุณีเป็นต้นก็เจริญ แต่ภิกษุทั้งหลาย

เป็นบริษัทชั้นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขุ เพราะความเป็น

บริษัทชั้นเลิศ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้นก็เพราะ

จะแสดงความเป็นภิกษุด้วยการปฏิบัติ จริงอยู่ บุคคลใดดำเนินไปสู่การปฏิบัติ

นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ภิกษุ ด้วยว่าบุคคลผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงการนับว่าเป็น ภิกษุ ทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสพระ-

คาถา ว่า

แม้ถ้าว่า ผู้ใด มีธรรมอันประดับ

แล้ว ผู้สงบแล้ว ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้เที่ยง ผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ สละอาชญาในสัตว์

ทั้งปวง ประพฤติธรรมอันสงบ ผู้นั้น

เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

อธิบายคำ อชฺฌตฺต กาเย (ในกายภายใน)

คำว่า อชฺฌตฺต ท่านประสงค์เอากายภายในอันเป็นของตน.

เพราะฉะนั้น คำว่า อชฺฌตฺต กาเย จึงได้แก่ ในกายของตน. บรรดาคำ

เหล่านั้น คำว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูปกาย ประสงค์เอาว่า กาย

ในที่นี้ ดุจกายช้าง กายม้า และกายรถ เป็นต้น เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม

แห่งธรรม คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย และโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น.

ก็รูปกาย ท่านประสงค์เอาว่า กายเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม ฉันใด รูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

กาย ท่านก็ประสงค์เอาว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งเลวทราม

ฉันนั้น. จริงอยู่ ที่ชื่อว่ากาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็น

ต้นอันเลวทราม คือ อันน่ารังเกียจอย่างยิ่ง. ประเทศอันเป็นบ่อเกิด ชื่อว่า

อายะ. พึงทราบวจนัตถะในคำว่า อายะ นั้น ดังนี้

กายชื่อว่า อายะ (บ่อเกิด) เพราะอรรถว่า เป็นแดนเกิดแห่งธรรมทั้ง

หลาย (หรือว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่กายนี้ ฉะนั้น กายนี้จึงชื่อว่า อายะ)

ถามว่าธรรมเหล่าไหนย่อมเกิด. ตอบว่า โกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันน่า

รังเกียจ ย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น กาย ก็คือ บ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย

มีผมเป็นต้นอันน่ารังเกียจ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายคำว่า กายานุปสฺสี (มีปกติตามเห็นกาย)

คำว่า กายานุปสฺสี ได้แก่ มีปกติตามเห็นกาย หรือว่า เห็นกาย

อยู่เนือง ๆ ก็คำนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสคำว่า กาเย

ดังนี้แล้วทรงทำศัพท์กายที่ ๒ ว่า กายานุปสฺสี ดังนี้อีก เพื่อจะแสดงการ

กำหนดและการแยกฆนะเป็นต้น ไม่ให้ปะปนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงมิได้ตรัสว่า

มีปกติตามเห็นเวทนาในกาย หรือว่า มีปกติตามเห็นจิต มีปกติตาม

เห็นธรรมในกายเลย โดยที่แท้ ทรงแสดงการกำหนดมิให้ปะปนกัน โดย

การแสดงอาการ คือ การตามเห็นกายในวัตถุกล่าวคือกาย ในคำว่า กาเย

กายานุปสฺสีเยว (มีปกติตามเห็นกายในกายเท่านั้น) ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน

ก็ไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งนอกจากอวัยวะน้อยใหญ่ใน

กาย ทั้งไม่ตรัสว่า มีปกติตามเห็นผู้หญิง ผู้ชาย นอกจากผมขนเป็นต้น.

ก็กายแม้ใดกล่าวคือที่ประชุมแห่งภูตรูป และอุปาทารูปมีผมขนเป็นต้น มีอยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

ในกายนี้ จึงมิได้ตรัสว่า มีปกติตามเห็นธรรมสักอย่างหนึ่งนอกจากภูตรูป และ

อุปาทารูปในกายแม้นั้น. อันที่จริง ทรงแสดงการแยกฆนะ โดยการแสดง

วัตถุกล่าวคือกาย ด้วยอำนาจแห่งกายคือที่ประชุมนั่นแหละ โดยประการต่างๆ

ว่า เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประชุมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนบุคคลผู้ตรวจดูส่วนประกอบแห่งรถด้วย เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประ-

ชุมแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมขนเป็นต้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตรวจดูส่วน

ประกอบน้อยใหญ่ของเมืองด้วย เป็นผู้มีปกติตามเห็นการประชุมของภูตรูป

อุปาทารูปทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลแยกใบกล้วยหยวกกล้วยออกจากลำต้น

กล้วย เเละเปรียบเหมือนผู้แบกำมืออันเปล่าด้วย ฉะนั้น. จริงอยู่ ในอธิการนี้

จะเป็นกายที่นอกจากกายคือที่ประชุมตามที่กล่าวแล้วก็ตาม จะเป็นหญิง เป็น

ชาย หรือว่าเป็นธรรมอะไร ๆ อื่นก็ตาม ย่อมไม่ปรากฏ. แต่ว่าสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมกระทำการยึดมั่นเพราะความเห็นผิด ในเหตุสักว่าการประชุมแห่งธรรม

ตามที่กล่าวแล้วโดยประการนั้น ๆ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึง

กล่าวว่า

ย ปสฺสติ น ต ทิฏฺฐ ย ทิฏฺฐ ต น ปสฺสติ

อปสฺส พชฺฌเต มุฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ.

แปลว่า

บุคคลเห็นอยู่ซึ่งสิ่งใด สิ่งนั้น ชื่อ

ว่า อันเขาเห็นแล้วก็หาไม่ สิ่งใด อันเขา

เห็นแล้ว เขาชื่อว่าย่อมไม่เห็นซึ่งสิ่งนั้น

บุคคลผู้หลง เมื่อไม่เห็นย่อมติด เมื่อติด ก็

ย่อมไม่หลุดพ้น.

๑. คือเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชาย ๒. ๓. หมายถึงรูปายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

คำว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย ท่านกล่าวแล้ว เพื่อการแสดง

การแยกฆนะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบ

เนื้อความแม้นี้ ด้วยอาทิศัพท์. จริงอยู่ พระโยคาวจรนี้มีปกติตามเห็นกายใน

กายนี้เท่านั้น มิใช่มีปกติตามเห็นธรรมอื่น. ถามว่า ข้อนี้ ท่านอธิบายไว้

อย่างไร. ตอบว่า ท่านอธิบายว่าชนทั้งหลาย ผู้มีปกติตามเห็นพยับแดดแม้อัน

ไม่มีน้ำ ว่าเป็นน้ำ ฉันใด พระโยคาวจรมีปกติตามเห็นกายนี้ อันเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะนั่นแหละว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข

เป็นอัตตา เป็นสุภะ ฉันนั้นหามิได้ โดยที่แท้ มีปกติตามเห็นกายก็คือ มี

ปกติตามเห็นการประชุมแห่งอาการของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เป็นอสุภะเท่านั้น ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า กายนี้ใด มีลม

อัสสาสะปัสสาสะเป็นเบื้องต้น และมีกระดูกอันแตกเป็นจุณไปเป็นที่สุด ที่

พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานโดยนัยว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในศาสนานี้ ไปที่ป่าก็ตาม ฯลฯ เธอย่อมมีสติเทียวหายใจเข้า"

เป็นต้น. และกายใดที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า

ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ ย่อมตามเห็นกาย คือปฐวี โดยความ

เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยทำนองเดียวกัน ย่อมตามเห็นกาย คืออาโป

กายคือเตโช กายคือวาโย กายคือผม กายคือขน กายคือผิว

กายคือหนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก

กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ก็เพราะ

การตามเห็นอยู่ในกายนี้นั่นแหละแห่งกายทั้งปวง จึงชื่อว่า มีปกติตามเห็น

กายในกาย (กาเย กายานุปสฺสี) ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีปกติตามเห็น

กาย กล่าวคือ ที่ประชุมแห่งธรรม มีผมเป็นต้นในกาย โดยการ

ไม่ตามเห็นอะไร ๆ อันพึงถือเอาในกายอย่างนี้ว่า เป็นเรา หรือว่า

เป็นของเรา ดังนี้ แต่เพราะการตามเห็นที่ประชุมแห่งธรรมต่าง ๆ มีผมขน

เป็นต้นนั้น นั่นแหละ จึงชื่อว่า กาเย กายานุปสฺสี ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า มีปกติตามเห็น

กายในกาย แม้เพราะการตามเห็นกาย กล่าวคือที่ประชุมแห่งอาการอันมี

อนิจจลักษณะเป็นต้นทั้งปวงเทียวซึ่งมีนัยอันมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรคโดยลำดับ

ว่าภิกษุย่อมตามเห็นในกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิใช่โดยความเป็นของ

เที่ยงเป็นต้น ดังนี้. จริงอย่างนั้นภิกษุนี้ดำเนินไปสู่การปฏิบัติคือ การตาม

เห็นกายในกาย* ย่อมตามเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยอำนาจ

อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นของ

เที่ยง ย่อมตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นสุข,

ย่อมตามเห็นโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ตามเห็นโดยความเป็นอัตตา, ย่อม

เบื่อหน่าย มิใช่ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมคลายความกำหนัด มิใช่ย่อมกำหนัด.

ย่อมให้ดับ มิใช่ย่อมให้เกิด, ย่อมสละคืน มิใช่ย่อมยึดถือ. ภิกษุนั้น เมื่อตาม

เห็นกายนั้นโดยความเป็นของไม่เทียง ย่อมละนิจจสัญญา, เมื่อตามเห็นโดย

ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา, เมื่อตามเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ

อัตตสัญญา, เมื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลิน, เมื่อคลายความกำหนัด

ย่อมละราคะ, เมื่อดับ ย่อมละสมุทัย และเมื่อสละคืน ย่อมละการยึดถือ ดังนี้.

๑. หรือใช้คำว่า พิจารณากายในกายเนือง ๆ ก็ได้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

อธิบายคำว่า วิหรติ (อยู่)

คำว่า วิหรติ นั้น เป็นคำแสดงการประกอบการอยู่ด้วยอิริยาบถ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการอยู่ด้วยอิริยาบถ ๔. อธิบายว่า ตัดขาดการ

เบียดเบียนอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถนั้น แล้วจึงนำอัตภาพอันยังไม่ตกไป ให้

เป็นไปอยู่.

อธิบายคำว่า พหิทฺธา กาเย เป็นอาทิ (ในกายภายนอกเป็นต้น)

คำว่า พหิทฺธา กาเย ได้แก่ ในกายของผู้อื่น.

คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา กาเย ความว่า ในกายของตนตามกาล

สมควร ในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร. ก็โดยนัยแรก ท่านกล่าวการกำหนด

กายในกายของตน. โดยนัยที่ ๒ ท่านกล่าวกำหนดกายในกายของผู้อื่น. โดย

นัยที่ ๓ ท่านกล่าวการกำหนดกายในกายของตนตามกาลสมควร ในกายของ

ผู้อื่นตามกาลสมควร. ก็ชื่อว่า อารมณ์ที่กระทบทั้งภายในทั้งภายนอก (พร้อม

กัน) ย่อมไม่มี. แต่ว่า ท่านกล่าวกาลเป็นที่สัญจรของกรรมฐานอันคล่องแคล่ว

แล้ว ๆ เล่า ๆ ไว้ในคำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา นี้.

อธิบายคำว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา

คำว่า อาตาปี (มีความเพียร) นั้น เป็นคำแสดงการประกอบความ

เพียรของผู้กำหนดกาย (เป็นอารมณ์). ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนั้น ประกอบความ

เพียรที่ท่านให้ชื่อว่า อาตาปะ เพราะเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสทั้งหลายในภพ

ทั้ง ๓ ในสมัยนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาตาปี.

คำว่า สมฺปชาโน (มีสัมปชัญญะ) คือผู้ประกอบด้วยญาณ กล่าว

คือ สัมปชัญญะ อันกำหนดเอาซึ่งกาย (เป็นอารมณ์).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

คำว่า สติมา (มีสติ) คือผู้ประกอบด้วยสติอันกำหนดกาย. ก็เพราะ

เหตุที่ภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติ แล้วก็ตามเห็นอยู่ด้วยปัญญา. จริงอยู่

ขึ้นชื่อว่า การตามเห็นของภิกษุเว้นจากสติ ก็ไม่มี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลว่าเป็นธรรม

มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ฉะนั้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน ใน

คำว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรตินี้ ย่อมเป็นคำอธิบายอันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะความหดหู่ภายในเป็นธรรม ทำ

อันตรายแก่ภิกษุผู้ไม่มีอาตาปี ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงใหลในการกำหนด

ธรรมอันเป็นอุบาย และในการเว้นจากสิ่งที่มิใช่อุบาย. ผู้มีสติหลงลืม ก็ย่อม

เป็นผู้ไม่สามารถในการไม่สละอุบายและในการกำหนดสิ่งที่มิใช่อุบาย. เพราะ

ฉะนั้น กรรมฐานของเขาจึงไม่รุ่งเรือง ด้วยเหตุนั้นกรรมฐานนั้นย่อมรุ่งเรือง

ด้วยอานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด เพื่อการแสดงธรรมเหล่านั้นพระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา ดังนี้. ครั้งทรงแสดงกายานุ-

ปัสสนาสติปัฏฐาน และสัมปโยคะ (การประกอบพร้อม) ด้วยประการฉะนี้

แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก

อภิชฺฌาโทมนสฺส ดังนี้.

อธิบายคำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิเนยฺย ได้แก่ นำออกแล้ว ด้วยตทังค-

วินัย หรือด้วยวิกขัมภนวินัย. กายนี้ใด อันต่างด้วยกายภายในเป็นต้น ที่ทรง

กำหนดในคำว่า โลเก นี้ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าโลก ในที่นี้. อธิบายว่า

๑. แปลว่า " พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก "

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

นำอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้ออก. แต่เพราะในที่นี้ กามฉันทะ ย่อมถึงการ

สงเคราะห์ด้วย อภิชฌา ศัพท์ พยาปาทะย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วยโทมนัส

ศัพท์ ฉะนั้น พึงทราบว่า การละนิวรณ์ เป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วโดยการแสดงธรรม ๒ อย่าง ที่มีกำลังอันนับเนื่องในนิวรณ์ดังนี้.

อนึ่ง ว่าโดยพิเศษ ในที่นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

การละความยินดีอันมีกายสมบัติเป็นมูล ด้วยการนำอภิชฌาออก ละการยิน

ร้ายอันมีกายวิบัติเป็นมูล ด้วยการนำโทมนัสออก. ตรัสการละความยินดียิ่งใน

กาย ด้วยการนำอภิชฌาออก ละการไม่ยินดียิ่ง ในกายภาวนา (การเจริญกาย)

ด้วยการนำโทมนัสออก. และตรัสการละซึ่งการเพิ่มใส่ในสิ่งอันไม่มีในกายอันมี

ความงามความสุขเป็นต้น ด้วยการนำอภิชฌาออก ละการนำออกซึ่งสิ่งอันไม่มี

ในกายอันมีความไม่งาม ความสุขเป็นต้น ด้วยการนำโทมนัสออก ด้วยคำ

นั้น อานุภาพแห่งความเพียรและความเป็นผู้สามารถในความเพียร ย่อมเป็น

คำอันเพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้ว. จริงอยู่ อานุภาพแห่งความเพียรนั้น ย่อม

หลุดพ้นจากความยินดี ยินร้าย อดทนต่อความไม่ยินดีแสะความยินดี ทั้ง

เว้นจากการเพิ่มใส่ในสิ่งที่ไม่มี และเว้นจากการนำสิ่งที่มีออกไป. ก็พระโยคา-

วจรนั้น เว้นจากความยินดียินร้าย อดทนต่อความไม่ยินดีและยินดี เมื่อไม่

เพิ่มใส่ในสิ่งอันไม่มี และไม่นำสิ่งที่มีออกไป จึงชื่อว่า ผู้มีความสามารถใน

ความเพียรฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง พึงทราบ ในคำว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานไว้ ด้วยอนุปัสสนา (การตามเห็น). ในคำว่า

วิหรติ นี้ ตรัสการบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยการอยู่ตามที่กล่าว

แล้ว. ในคำว่า อาตาปี เป็นต้น ตรัสสัมมัปปธานไว้ ด้วยอาตาปะ. ตรัส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

กรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งปวง หรืออุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐานไว้

ด้วยสติสัมปชัญญะ. ตรัสการได้สมถะ ด้วยสติหรือว่าด้วยอำนาจ

กายานุปัสสนา. ตรัสวิปัสสนาไว้ ด้วยสัมปชัญญะ. และตรัสผล

แห่งภาวนาไว้ ด้วยการนำอภิชฌาโทมนัสออก ดังนี้.

พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จบ

พรรณนาเนื้อความอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาเป็นต้น

วินิจฉัย ในอุทเทสแห่งเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้น.

พึงทราบ เวทนาภายใน เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็บรรดา

เวทนาเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดไว้ ๓ อย่าง คือ ใน

เวทนาเป็นต้น ของตน ๑ ในเวทนาเป็นต้น ของผู้อื่น ๑ ในเวทนาเป็นต้น

ของตนตามกาลสมควร และของผู้อื่นตามกาลสมควร ๑. ก็ประโยชน์ในการ

กล่าวซ้ำซึ่งธรรมมีเวทนาเป็นต้น ในคำทั้งหลาย มีคำว่า เวทนาสุ เวทนา-

นุปสฺสี เป็นต้น พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นแหละ.

ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี, จิตฺเต จิตฺ ตานุปสฺสี, ธมฺเมสุ

ธมฺมานุปสฺสี นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่ เวทนา ๓ และเวทนาเหล่านั้น

ก็เป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น. แม้จิตก็เป็นโลกีย์. แม้ธรรมทั้งหลาย ก็อย่างนั้น.

การจำแนกธรรมเหล่านั้น จักปรากฏในนิทเทสวาระ แต่ในที่นี้ เวทนาอันภิกษุ

พึงตามเห็นได้โดยประการใด เมื่อตามเห็นโดยประการนั้น ก็พึงทราบว่า เป็น

ผู้มีปกติตามเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลาย ดังนี้. ในจิตและธรรมทั้งหลาย

ก็นัยนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ถามว่า เวทนา พระโยคาวจรจะพึงตามเห็นอย่างไร ?

ตอบว่า สุขเวทนาก่อน พึงตามเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนา

พึงตามเห็นโดยความเป็นดังลูกศร อทุกขมสุขเวทนา พึงตามเห็นโดยความ

เป็นสภาพไม่เที่ยง เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์

เห็นทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร เห็นอทุกข-

มสุข อันสงบแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่

เที่ยง ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ จักเป็น

ผู้สงบ เที่ยวไป ดังนี้.

อนึ่ง เวทนาเหล่านั้นทั้งหมดเทียว พึงตามเห็นว่า เป็นทุกข์เท่านั้น

ก็ได้ ข้อนี้สมกับคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

เวทนาทั้งหมดนั้นเรากล่าวว่า เป็นทุกข์ ดังนี้. สุขเวทนา พึงตามเห็น

โดยความเป็นทุกข์ก็ได้ เหมือนคำที่ตรัสว่า สุขเวทนายังตั้งอยู่ก็เป็นสุข เมื่อ

แปรไปก็เป็นทุกข์ ดังนี้ บัณฑิตควรยังคำทั้งหมดให้พิสดาร.

อีกอย่างหนึ่ง พึงตามเห็นเวทนา ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มี

อนิจจานุปัสสนา เป็นต้นบ้างก็ได้. คำที่เหลือจักมีแจ้งในนิทเทสวาระ. แม้

ในจิตและธรรมทั้งหลาย เฉพาะจิต พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗

มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น อันมีประเภทต่าง ๆ กัน โดยเป็น อารมณ์ อธิปติ

สหชาต ภูมิ กรรม วิบาก และกิริยา เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งการ

แตกต่างกันแห่งจิตมีราคะเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. ธรรมทั้งหลาย

พึงตามเห็นด้วยสามารถแห่งสลักษณะ และ สามัญญลักษณะ สุญญตา-

ธรรม อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

อันต่างด้วยธรรมอันสงบและไม่สงบเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. คำที่

เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในอธิการนี้ อภิชฌาโทมนัสในโลกกล่าว

คือกาย อันบุคคลใดละได้แล้ว อภิชฌาโทมนัสนั้น แม้ในโลกกล่าวคือเวทนา

เป็นต้น ก็ชื่อว่า บุคคลนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริง ถึงอย่างนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในสติปัฏฐานทั้งหมด ด้วยสามารถแห่งบุคคลต่าง ๆ และ

ด้วยสามารถแห่งการเจริญสติปัฏฐาน อันเกิดขึ้นในขณะแห่งจิตที่แตกต่างกัน.

จริงอยู่ การละอภิชฌาโทมนัสในโลกหนึ่งได้แล้ว ก็ชื่อว่า ละอภิชฌาโทมนัส

ในโลกที่เหลือได้. ด้วยเหตุนั้นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

คำนั้นไว้ ก็เพื่อแสดงการละอภิชฌาโทมนัสในโลกเหล่านั้น ของบุคคลนั้น แล.

อุทเทสวารกถา จบ

นิทเทสวารกถา

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะกระทำสัตว์ทั้งหลาย ให้

บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ มีประการมิใช่น้อย ด้วยสติปัฏฐานเทศนา จึงทรงแบ่ง

สัมมาสติข้อหนึ่งนั่นแหละ ออกเป็น ๔ ส่วน เป็นสติปัฏฐาน ๔ ด้วยสามารถ

แห่งอารมณ์ โดยนัยว่า ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกาย

ภายในเนือง ๆ อยู่ เป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงถือเอาสติปัฏฐานหนึ่ง ๆ จาก

สติปัฏฐาน ๔ นั้นจำแนกออกไป จึงเริ่มตรัสนิทเทสวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ดังนี้

เปรียบเหมือนช่างสานผู้ฉลาด ต้องการจะทำอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเสื่อลำแพน

ชนิดหยาบละเอียด เตียบ ข้อง และชะลอมเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำ

หนึ่งแล้วตัดออกเป็น ๔ ท่อน ถือเอาท่อนหนึ่ง ๆ จาก ๔ ท่อนนั้นผ่าออกแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

จึงทำอุปกรณ์นั้น ๆ ก็หรือว่าเปรียบเหมือนช่างทองผู้ฉลาด ต้องการจะทำ

เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ ได้แท่งทองคำอันบริสุทธิ์อย่างดี ตัดออกเป็น ๔

ส่วน แล้วถือเอาส่วนหนึ่งๆ จาก ๔ ส่วนนั้น ทำเครื่องประดับนั้น ๆ ฉันนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กถญฺจ (แปลว่าเป็นอย่างไร) เป็นต้น

เป็นคำถามโดยประสงค์จะกล่าวให้พิสดาร. ก็ในอธิการนี้ มีเนื้อความโดย

สังเขป ดังนี้ว่า โดยอาการอย่างไร โดยประการอย่างไร ภิกษุ ชื่อว่า

พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ ดังนี้. แม้ในวาระแห่งคำถามที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

คำว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้ ศัพท์ว่า อิธ ในที่นี้ เป็นคำ

แสดงถึงศาสนาอันเป็นที่อาศัยของบุคคล ผู้ทำกายานุปัสสนาโดยประการทั้งปวง

ด้วยสามารถแห่งกายภายในเป็นต้น ให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่านั้น

ของศาสนาอื่น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนา

นี้เท่านั้น ฯลฯ ศาสนาอื่นว่างจากสมณะ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนานี้ ดังนี้.

คำว่า อชฺฌตฺต กาย คือ กายของตน

คำว่า อุทฺธ ปาทตลา คือ แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน

คำว่า อโธ เกสมตฺถกา คือ แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ.

คำว่า ตจปริยนฺต คือ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ

คำว่า ปูรนฺนานปฺปการสฺส อสุจิโน ปจฺจเวกฺขติ ความว่า

พระโยคาวจรย่อมเห็นว่า กายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีเกสาเป็นต้น ซึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

มีประการต่าง ๆ. คืออย่างไร คือ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ

มุตฺต ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. คำว่า อิมสฺมึ ได้แก่

ในกายที่ท่านกล่าวว่าเบื้องบน ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่ปลายผม

ลงมา มีหนังห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ นี้.

คำว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ. จริงอยู่ ท่านเรียกว่า กาย เพราะสั่งสมของ

ไม่สะอาด เป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันน่ารังเกียจ ทั้ง

เป็นบ่อเกิดแห่งโรคหลายร้อยอย่าง มีโรคตา เป็นต้น. คำว่า เกสา โลมา

เป็นต้นนี้ คือ อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น.

พึงทราบความสัมพันธ์ (คือ การเกี่ยวเนื่องกัน ) ในโกฏฐาสเหล่านั้น

อย่างนี้ว่า ผมมีอยู่ในกายนี้ ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น จริงอยู่ ในกเฬวระ

คือ อัตภาพประมาณวาหนึ่งนี้ เบื้องบน ตั้งแต่เท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่

ปลายผมลงมา โดยที่สุดรอบ ๆ ตั้งแต่หนังเข้าไป เมื่อค้นหาอยู่แม้โดยอาการ

ทุกอย่าง ใคร ๆ ย่อมไม่พบอะไร ๆ คือ จะเป็นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว

ไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์แดง การบูร หรือจุณสำหรับอบเป็นต้น หรือว่า

สิ่งที่เป็นของสะอาดแม้สักนิดหนึ่ง โดยที่แท้ ย่อมพบแต่สิ่งที่ไม่สะอาดทั้งสิ้น

อันต่างด้วยผม ขน เป็นต้น มีประการต่าง ๆ อันมีกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจ

อย่างยิ่ง ทั้งการดูก็ไม่เป็นสิริ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ มุตฺต ดังนี้. นี้เป็นการพรรณนา

บทสัมพันธ์ในอธิการนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

กรรมฐานกถาว่าด้วยอำนาจสมถะ

อุคคหโกศล

ก็กุลบุตรผู้ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ เพื่อบรรลุพระอรหัต เบื้องต้น

ต้องชำระศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ดีแล้ว ตัดปลิโพธที่มีอยู่

ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ด้วยการเจริญปฏิกูลมนสิการกรรมฐาน ทำฌานให้เป็น

บาทเริ่มตั้งวิปัสสนา ก็พึงเรียนเอาในสำนักของกัลยาณมิตรผู้บรรลุพระอรหัต

หรือในพระอนาคามิผล เป็นต้น รูปใดรูปหนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด

แม้ผู้เป็นตันติอาจารย์ (อาจารย์ผู้สอนพระพุทธพจน์) ซึ่งชำนาญในพระบาลี

พร้อมทั้งอรรถกถา แต่เมื่อไม่ได้กัลยาณมิตรเช่นนั้น ในวิหารเดียวกัน พึง

ไปยังที่อยู่ของท่านแล้วเรียนเอาเถิด. บรรดาวิธีการเหล่านั้น การชำระศีล ๔

ให้หมดจด ปลิโพธ การตัดปลิโพธ และวิธีการเข้าไปสู่สำนักของอาจารย์แม้

ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยพิศดารแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรค เพราะฉะนั้น

พึงทราบกิจนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ.

วจสา บอกโดยวาจา

ก็อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกโดยวิธีการ ๓ อย่าง คือ สำหรับ

ภิกษุ ที่เรียนกรรมฐานตามปกติ ในวาระที่เธอมานั่งแล้ว อาจารย์พึงให้เธอ

ทำการสาธยายครั้งหนึ่งหรือ ๒ ครั้ง แล้วจึงบอก. สำหรับภิกษุ ผู้ต้องการจะ

อยู่ในสำนักเรียนเอากรรมฐาน อาจารย์พึงบอกในเวลาที่เธอมาแล้ว ๆ. สำหรับ

ภิกษุ ผู้ต้องการจะเรียนแล้วไปในที่อื่น อาจารย์พึงบอกกรรมฐาน อย่าให้

ยุ่งยาก อย่าให้สงสัย โดยไม่ทำให้พิสดารเกินไป และไม่ย่อเกินไป.

ถามว่า เมื่อจะบอก อาจารย์พึงบอกอย่างไร ?

ตอบว่า พึงบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง และมนสิการโกศล ๑๐ อย่าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ในสองอย่างนั้น อาจารย์พึงบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้คือ วจสา (โดย

วาจา) มนสา (โดยใจ) วณฺณโต (โดยสี) สณฺฐานโต (โดยสัณฐาน)

ทิสโต (โดยทิศ) โอกาสโต (โดยโอกาส) ปริจเฉทโต (โดยปริจเฉท).

พึงสาธยายด้วยวาจา

ก็ในปฏิกูลมนสิการกรรมฐานนี้ แม้ภิกษุนั้น จะทรงพระไตรปิฎกก็พึง

ทำการสาธยายด้วยวาจาก่อนในเวลาที่มนสิการ. เพราะเมื่อเธอผู้เดียวทำการ

สาธยายอยู่ กรรมฐานย่อมปรากฏ เหมือนพระเถระ ๒ รูปผู้เรียนกรรมฐาน

ในสำนักของพระมหาเทวเถระผู้อยู่ในมลยะประเทศ.

ได้ยินว่า พระมหาเทวเถระ อันพระเถระ ๒ รูปนั้นขอกรรมฐานแล้ว

ได้ให้ทวัตติงสาการบาลี โดยสั่งว่า ท่านทั้งหลาย จงทำการสาธยายนี้

อย่างนี้ ตลอด ๔ เดือน พระเถระทั้ง ๒ นั้นแม้มีนิกาย ๒-๓ นิกายเหล่า

นั้นคล่องแคล่วแล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะความที่ตนมีปกติรับโอวาทโดย

ความเคารพ จึงได้สาธยายทวัตติงสาการตลอด ๔ เดือน ได้เป็นพระโสดาบัน

แล้ว.

เพราะฉะนั้น อาจารย์เมื่อจะบอกกรรมฐาน พึงบอกอันเตวาสิกว่า

ครั้งแรกเธอจงสาธยายด้วยวาจาก่อน ดังนี้ ก็เมื่อจะกระทำการสาธยาย

พึงกำหนดตจปัญจกกรรมฐานเป็นต้น แล้วกระทำการสาธยายด้วยสามารถแห่ง

อนุโลมและปฏิโลม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

วจสา (วิธีการสาธยายด้วยวาจา)

จริงอยู่ ภิกษุนั้นครั้นกล่าวว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ

แล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา ดังนี้.

ครั้นว่า มส นหารู อฏฺฐี อฏฺฐิมิญฺช วกฺก ในวักกปัญจกะ อัน

เป็นลำดับแห่งตจปัญจกะนั้นแล้ว พึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า วกฺก อฏฺฐิมิญฺช

อฏฺี นหารู มส, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา ดังนี้.

ลำดับนั้น ครั้นว่าในปัปผาสปัญจกะว่า หทย ยกน กิโลมก ปิหก

ปปฺผาส แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า ปปฺผาส ปีหก กิโลมก ยกน หทย,

วกฺก อฏฺิมิญฺช อฏฺี นหารู มส, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา ดังนี้.

ลำดับนั้น พึงยก มตฺถลุงฺค อันมาในปฏิสัมภิทามรรค แม้ไม่ได้ยก

ขึ้นสู่บาลีนี้ ให้ขึ้นสู่บาลีในที่สุดแห่งกรีสะ แล้วว่าในมัตถลุงคปัญจกะนี้ ว่า

อนฺต อนฺตคุณ อุทริย กรีส มตฺถลุงฺค แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า

มตฺถลุงฺค กรีส อุทริย อนฺตคุณ อนฺต, ปปฺผาส ปีหก กิโลมก ยกน

หทย, วกฺก อฏฺิมิญฺช อฏฺี นหารู มส, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา

ดังนี้.

ลำดับนั้น พึงว่าในเมทฉักกะว่า ปิตฺต เสมฺห ปุพฺโพ โลหิต

เสโท เมโท แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า เมโท เสโท โลหิต ปุพฺโพ

เสมฺห ปิตฺต, มตฺถลุงฺค กรีส อุทริย อนฺตคุณ อนฺต, ปปฺผาส ปิหก

กิโลมก ยกน หทย, วกฺก อฏฺฐิมิญฺช อฏฺี นหารู มส, ตโจ ทนฺตา

นขา โลมา เกสา ดังนี้.

ลำดับนั้น พึงว่าในมุตตฉักกะว่า อสฺสุ วสา เขโฬ สึฆานิกา

ลสิกา มุตฺต แล้วพึงว่าโดยปฏิโลมอีกว่า มุตฺต ลสิกา สึฆานิกา เขโฬ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

วสา อสฺสุ, เมโท เสโท โลหิต ปุพฺโพ เสมฺห ปิตฺต, มตฺถลุงฺค

กรีส อุทริย อนฺตคุณ อนฺต, ปปฺผาส ปิหก กิโลมก ยกน หทย,

วกก อฏฺฐิมิญฺช อฏฺฐี นหารู มส, ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา

ดังนี้.

พึงทำการสาธยายร้อยครั้งบ้าง พันครั้งบ้าง แสนครั้งบ้าง ด้วยวาจา

ดังพรรณนามาฉะนี้. จริงอยู่ ระบบแห่งกรรมฐาน ย่อมเป็นอันคล่องแคล่ว

โดยการสาธยายด้วยวาจา จิตย่อมไม่แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ โกฏฐาสทั้งหลาย

ย่อมปรากฏเหมือนสายสร้อยข้อมือ เหมือนแถวหลักรั้ว ฉะนั้น.

มนสา (วิธีการสาธยายด้วยใจ)

ก็พระโยคาวจร พึงทำการสาธยายด้วยวาจา ฉันใด แม้การสาธยาย

ด้วยใจก็ฉันนั้นนั่นแหละ เพราะการสาธยายด้วยวาจาเป็นปัจจัยแก่การสาธยาย

ด้วยใจ. การสาธยายด้วยใจเป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดซึ่งลักษณะ. การแทง

ตลอดลักษณะ เป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดมรรคและผล.

วณฺณโตทิ (กำหนดโดยสี เป็นต้น)

ข้อว่า วณฺณโต ความว่า พึงกำหนดสีแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผม

เป็นต้น. คำว่า. สณฺฐานโต คือ พึงกำหนดสัณฐานแห่งโกฏฐาสทั้งหลาย

มีผมเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า ทิสโต ความว่า ในสรีระนี้ ทิศเบื้อง

บนตั้งแต่นาภีขึ้นไปทิศเบื้องต่ำจากนาภีลงมา ฉะนั้น พึงกำหนดทิศว่า โกฏ-

ฐาสนี้อยู่ในทิศชื่อนี้. คำว่า โอกาสโต ความว่า พึงกำหนดโอกาสแห่งโกฏ-

ฐาสนั้น ๆ อย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ตั้งอยู่ในโอกาสชื่อนี้. คำว่า ปริจฺเฉทโต ได้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

แก่การกำหนด ๒ อย่าง คือ สภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่เสมอกัน) และ

วิสภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่ไม่เสมอกัน). ในการกำหนด ๒ อย่างนั้น พึง

ทราบสภาคปริจเฉท อย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ กำหนดตัดตอนด้วยโกฏฐาสชื่อนี้

ทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน เบื้องขวางโดยรอบ. พึงทราบ วิสภาคปริจเฉทด้วย

อำนาจความไม่ปะปนกันแห่งโกฏฐาส อย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน แม้ขนก็ไม่

ใช่ผม เป็นต้น.

ข้อที่ควรทราบก่อนจะบอกอุคคหโกศล

ก็พระอาจารย์ เมื่อจะบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้ ควรจะ

ทราบว่า " กรรมฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรโน้น ด้วย

อำนาจแห่งปฏิกูล กรรมฐานนี้ตรัสไว้ในพระสูตรโน้น ด้วยอำนาจแห่งธาตุ "

ดังนี้ แล้วจึงบอก.

จริงอยู่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ในมหาสติปัฏฐานด้วยอำนาจแห่งปฏิกูลเท่านั้น แต่ในมหาหัตถิป-

โทปมสูตร มหาราหุโลวาทสูตร และธาตุวิภังค์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

แห่งธาตุ. ก็ในกายคตาสติสูตร ตรัสจำแนกฌาน ๔ หมายเอาฌาน

ที่ปรากฏโดยสีแห่งโกฏฐาส.

บรรดากรรมฐานสองอย่างนั้น วิปัสสนากรรมฐานตรัสด้วย

อำนาจแห่งธาตุ สมถกรรมฐานตรัสด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล. อาจารย์

บางพวก กล่าวว่า สมถกรรมฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-

ปัฏฐานวิภังค์นี้ ด้วยสามารถแห่งสาธารณกรรมฐานทั้งปวง โดยไม่แปลกกัน

แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

มนสิการโกศล ๑๐

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบอกอุคคหโกศล ๗ อย่าง อย่างนี้แล้ว

จึงบอกมนสิการโกศล ๑๐ อย่าง อย่างนี้คือ

๑. อนุปุพฺพโต (โดยลำดับ)

๒. นาติสีฆโต (โดยไม่รีบด่วน)

๓. นาติสณิกโต (โดยไม่ช้าเกินไป)

๔. วิกฺเขปปฏิพาหนโต (โดยการห้ามความฟุ้งซ่าน)

๕. ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต (โดยการก้าวล่วงบัญญัติ )

๖. อนุปุพฺพมุญฺจนโต (โดยการปล่อยลำดับ)

๗. อปฺปนาโต (โดยอัปปนา)

๘. ๙. ๑๐. ตโย จ สุตฺตนฺตา (โดยสุตตันตะ ๓)

มนสิการโดยลำดับ

บรรดาโกศล ๑๐ เหล่านั้น ข้อว่า อนุปุพฺพโต ความว่า พระ-

โยคาวจรพึงทำกรรมฐานนั้นไว้ในใจโดยลำดับ คือ ตั้งแต่การสาธยาย ไม่พึง

เว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ในระหว่าง เพราะเมื่อมนสิการเว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ใน

ระหว่าง จิตก็จะเหน็ดเหนื่อย ย่อมตกไปจากอารมณ์ เพราะความไม่บรรลุตาม

ใจชอบที่จะพึงได้ด้วยสามารถแห่งภาวนาสมบัติ ย่อมไม่ทำภาวนาให้สำเร็จ

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาด ก้าวขึ้นบันได ๓๒ ชั้น โดยข้ามไปขั้นหนึ่ง ใน

ระหว่าง ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

มนสิการโดยไม่รีบด่วน

อนึ่ง แม้เมื่อมนสิการไปโดยลำดับ ก็ไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วน

เพราะว่าเมื่อมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป กรรมฐานย่อมถึงที่สุดอย่างเดียว แต่

ไม่แจ่มแจ้ง ทั้งไม่นำมาซึ่งคุณวิเศษ เปรียบเหมือนเมื่อบุรุษเดินทาง ๓ โยชน์

ไม่ได้กำหนดทางเบี่ยง และทางแยกไว้ เดินไปเดินมา โดยรวดเร็วแม้ทั้ง ๗

ครั้ง ทางย่อมจะสิ้นไปเร็วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ต้องถามคนอื่นทุกครั้งจึง

จะเดินทางไปได้ เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรไม่พึงมนสิการโดยรีบด่วนเกินไป.

มนสิการโดยไม่ช้าเกินไป

ก็พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่รีบด่วน ฉันใด พึงมนสิการโดยไม่

ชักช้าเกินไป ฉันนั้น. เพราะว่า เมื่อมนสิการโดยชักช้าเกินไป กรรมฐาน

ย่อมจะไม่ถึงที่สุด ทังไม่เป็นปัจจัยแก่การบรรลุคุณวิเศษ เปรียบเหมือนบุรุษ

ผู้ต้องการเดินทางไกล ๓ โยชน์นั่นแหละ มัวแต่ชักช้าหยุดพักตามโคนไม้

เชิงเขา เป็นต้นในระหว่างทาง ทางก็ย่อมไม่ถึงการสิ้นไป ต้องเดินไป ๒ - ๓วัน

จึงจะถึงสุดทางได้.

มนสิการโดยห้ามความฟุ้งซ่าน

ข้อว่า วิกฺเขปปฏิพาหนโต ความว่า พึงห้ามจิตที่สละกรรมฐาน

ฟุ้งไปในอารมณ์ภายนอกมากมายเสีย เพราะเมื่อไม่ห้ามจิตไว้ เมื่อจิตฟุ้งไป

ภายนอก กรรมฐานย่อมเสื่อมสลายไป เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลเดินทางข้าม

เหว อันเป็นทางเดินได้คนเดียว ไม่กำหนดทางที่เหยียบ มัวเหลียวดูทางโน้น

ทางนี้ย่อมก้าวพลาด ทีนั้นเขาจะตกลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะฉะนั้น

พึงมนสิการ โดยการห้ามความฟุ้งซ่านเสีย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

มนสิการโดยการก้าวล่วงบัญญัติ

ข้อว่า ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต ความว่า พระโยคาวจร พึงก้าว

ล่วงบัญญัติว่า ผม ขน เป็นต้น และพึงตั้งจิตว่า นั่นเป็นของปฏิกูล. คือ

ในครั้งแรก ความเป็นปฏิกูลย่อมปรากฏ ลำดับนั้น พึงก้าวล่วงบัญญัติว่า

เกสา โลมา แล้วตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูลเท่านั้น เปรียบเหมือน ในเวลา

ที่น้ำหาได้ยาก พวกมนุษย์เห็นที่มีน้ำในป่า จึงผูกอะไร ๆ มีใบตาลเป็นต้น

ไว้เป็นสัญญาณ (เครื่องหมาย) ในที่นั้น พวกเขาย่อมมาอาบและดื่ม ด้วย

สัญญาณนั้น. ก็แล ในกาลใด รอยเท้าของพวกเขาที่สัญจรมาบ่อย ๆ ปรากฏ

แล้ว ในกาลนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นด้วยสัญญาณนั้นอีก เขาย่อมไปอาบและ

ดื่มได้ในขณะที่ต้องการ ๆ.

มนสิการโดยการปล่อยลำดับ

ข้อว่า อนุปุพฺพมุญฺจนโต ความว่า โกฏฐาสใด ๆ ไม่ปรากฏ เมื่อ

ปล่อยโกฏฐาสนั้น ๆ ก็พึงมนสิการไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือว่า พระโยคา-

วจรผู้อาทิกัมมิกะ (ผู้เริ่มทำครั้งแรก) เมื่อมนสิการว่า เกสา ก็มนสิการไป

จนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺต นี้ และเมื่อมนสิการว่า มุตฺต ก็มนสิการไป

จนจดโกฏฐาสต้นว่า เกสา นี้ นั่นแหละ ทีนั้นเมื่อมนสิการโกฏฐาสนั้นอยู่

โกฏฐาสบางอย่างย่อมปรากฏ บางอย่างก็ไม่ปรากฏ โกฏฐาสใดๆ ปรากฏด้วย

มนสิการนั้น พึงทำกรรมฐานนั้น ๆ ก่อน บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น เมื่อ

ปรากฏ ๒ โกฏฐาส โกฏฐาสหนึ่งปรากฏดีกว่า มนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ

บ่อย ๆ อยู่ ก็พึงให้อัปปนาเกิดได้. ในข้อนี้มีอุปมาดังนี้.

เหมือนอย่างว่า นายพรานต้องการจะจับลิงที่อยู่ในดงตาล

ซึ่งมีต้นตาล ๓๒ ต้น เอาลูกศรยิงไปยังใบตาลต้นแรกแล้วตะเพิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ทีนั้นแล ลิงตัวนั้น พึงกระโดดไปที่ต้นตาลนั้น ๆ โดยลำดับ จนถึง

ต้นตาลต้นสุดท้าย เมื่อนายพรานไปที่ต้นตาลแม้นั้นแล้วก็ทำอย่างนั้น

นั่นแหละ ลิงนั้นก็พึงมายังต้นตาลต้นแรก โดยนัยนั้นนั่นแหละอีก

ลิงนั้น เมื่อไปโดยลำดับแล้ว ๆ เล่า ๆ อย่างนี้ก็จะปรากฏตัวออกไป

ในที่ที่นายพรานตะเพิดเท่านั้น แล้วจะหมอบลงที่ต้นตาลต้นหนึ่ง

โดยลำดับอีก แล้วจับยอดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั่นแหละไว้มั่น

แม้จะถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉันใด คำอุปมัยนี้ ก็พึงทราบ

ฉันนั้น. ในข้อนั้น มีคำเปรียบเทียบอุปมาและอุปมัยดังต่อไปนี้.

การอุปมาและอุปมัย

โกฏฐาส ๓๒ ในกายนี้ เปรียบเหมือนต้นตาล ๓๒ ต้น ในดงตาล.

จิตเปรียบเหมือนลิง. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนายพราน. การที่จิตของ

พระโยคาวจรแล่นไปเนือง ๆ ในกายอันมีโกฏฐาส ๓๒ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์

เปรียบเหมือนการที่ลิงอยู่ในดงตาล อันมีต้นตาล ๓๒ ต้น. การทที่เมื่อพระ-

โยคาวจร. เริ่มมนสิการว่า เกสา เป็นต้น จิตก็จะดำเนินไปตามลำดับแล้ว

หยุดอยู่ที่โกฏฐาสสุดท้าย เปรียบเหมือนเมื่อนายพรานเอาลูกศรยิงไปยังใบตาล

ต้นแรกแล้วตะเพิด ลิงจะกระโดดไปที่ต้นตาลต้นนั้น ๆ แล้วไปยังต้นสุดท้าย.

แม้ในการที่ลิงกลับมาอีก ก็นัยนี้เหมือนกัน. การที่เมื่อพระโยคาวจร มนสิการ

บ่อย ๆ ครั้นเมื่อโกฏฐาสบางอย่างปรากฏแล้ว ละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏทำ

บริกรรมในโกฏฐาสที่ปรากฏ เปรียบเหมือนการปรากฏของลิงผู้ไปอยู่โดยลำดับ

แล้ว ๆ เล่า ๆ ในที่ที่นายพรานตะเพิดแล้ว ๆ. การที่เมื่อโกฏฐาส ๒ โกฏฐาส

ปรากฏ โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

บ่อย ๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในกาลที่สุด เปรียบเหมือนการที่ลิงหมอบลง

ที่ตาลต้นหนึ่งโดยลำดับ แล้วยึดใบตาลอ่อนกลางต้นตาลนั้นนั่นแหละไว้มั่น

แม้ถูกนายพรานยิงก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. พึงทราบคำอุปมาแม้อื่นอีก.

เปรียบเหมือน ภิกษุผู้มีบิณฑบาตเป็นวัตร* อาศัยบ้าน ๓๒

สกุลอยู่ ได้ภิกษา ๒ ที่ในบ้านหลังหนึ่งแล้ว พึ่งเว้นบ้านหลังหนึ่ง

ข้างหน้า ในวันรุ่งขึ้นได้ภิกษา ๓ ที่ พึงเว้นบ้าน ๒ หลังข้างหน้า

ในวันที่ ๓ ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปยัง

อาสนศาลาฉันภิกษา ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ พึงทราบ ฉันนั้น. จริงอยู่

อาการ ๓๒ เปรียบเหมือนบ้าน ๓๒ สกุล. พระโยคาวจรเปรียบเหมือนภิกษุผู้

มีบิณฑบาตเป็นวัตร. การที่พระโยคาวจร ทำบริกรรมในอาการ ๓๒ เปรียบ

เหมือน ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยหมู่บ้านนั้นอยู่. การที่พระโยคาวจรมนสิการไปๆ

ละทิ้งโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏ กระทำบริกรรมในโกฏฐาสทั้ง ๒ ที่ปรากฏ

เปรียบเหมือน ภิกษุนั้นได้ภิกษา ๒ ที่ ในบ้านหลังแรกแล้วเว้นบ้านหลังหนึ่ง

ข้างหน้า และเปรียบเหมือน ในวันที่ ๒ ได้ภิกษา ๓ ที่ แล้วเว้นบ้าน ๒ หลัง

ข้างหน้า. การที่เมื่อสองโกฏฐาสปรากฏแล้ว โกฏฐาสใดดีกว่า ก็มนสิการ

โกฎฐาสนั้น ๆ นั่นแหละบ่อย ๆ แล้วยังอัปปนาให้เกิดได้ เปรียบเหมือน ใน

วันที่ ๓ ได้ภิกษาเต็มบาตรในบ้านหลังแรกนั่นแหละ แล้วไปนั่งฉันในอาสน-

ศาลา.

โดยอัปปนา

ข้อว่า อปฺปนาโต ได้แก่ โกฏฐาสที่เป็นอัปปนา ในข้อนี้ มีอธิบาย

ว่า พึงทราบว่า บรรดาโกฏฐาสทั้งหลายมีเกสาเป็นต้น ทุก ๆ โกฏฐาสเป็น

อัปปนาได้.

* ระเบียบการถือบิณฑบาตเป็นวัตรของท่านในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้รู้สึกว่าเข้าใจยาก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

โดยสุตตันตะ ๓

ในข้อว่า ตโย จ สุตฺตนฺตา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า พึงทราบสุตตันตะ

๓ อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วิริยะและสมาธิ คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร

โพชฌังคโกสลสูตร.

อธิจิตตสูตร

บรรดาพระสูตรเหล่านั้น พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการนิมิต ๓ โดยกาลอันสมควร คือ พึง

มนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอัน

สมควร พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า

ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น

ไซร้ ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า

ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้

ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุ

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะ

นั้น จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในกาลใดแล ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต

มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร จิตนั้น ย่อม

เป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน เป็นปภัสสร ไม่เปราะ (คือ ไม่ย่อยยับ)

ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ประกอบเบ้า (คือ

ทำเตาสำหรับหลอมทอง) ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า ครั้นสุมไฟ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

แล้วก็เอาคีมคีบทองใส่เข้าไปในปากเบ้า ย่อมสูบลมเข้าไปตามกาลอันควร ย่อม

เอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ย่อมวางเฉยโดยกาลอันควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเป่าลมเข้าไปโดยส่วนเดียวไซร้

ฐานะนั้น ทองก็พึงละลายไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือ

ลูกมือของนายช่างทอง พึงเอาน้ำประพรมโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทอง

ก็จะพึงเย็นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง

พึงดูทองนั้นเฉย ๆ อยู่อย่างเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็ไม่พึงสุกปลั่ง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง ย่อมเป่าลม

เข้าไปโดยกาลอันควร ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ดูเฉย ๆ อยู่ตาม

กาลอันควร ทองนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน สุกปลั่ง ไม่

เปราะ ย่อมใช้งานได้ดี. นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง จำนงอยู่ด้วย

เครื่องประดับชนิดใด ๆ ผิว่าจะทำเข็มขัด จะทำตุ้มหู จะทำสร้อยคอ จะทำ

มาลัยทอง แท่งทองคำนั้น ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต ฯลฯ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อ

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อธรรมที่ควรทำให้

แจ้งด้วยอภิญญาใด ๆ เมื่อสติอายตนะ มีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถ

เพื่อทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญาในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า

อธิจิตตสูตร.

สีติภาวสูตร

พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ เป็น

ผู้ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความเป็นผู้สงบ) อันยอดเยี่ยม. ธรรม๖

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

ที่ควรข่ม ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ย่อมทำไห้จิตร่าเริงในสมัยที่

ควรทำให้ร่าเริง ย่อมวางจิตเฉย ๆ ในสมัยที่ควรวางจิตเฉย ๆ ย่อมเป็นผู้

น้อมจิตไปในธรรมอันประณีต และเป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ เหล่านี้แล เป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีติภาวสูตร.

โพชฌังคโกสัลลสูตร

ก็ โพชฌังคโกสัลลสูตร มาแล้วในโพชฌังคสังยุตนั่นแหละ ใน

สังยุต มหาวารวรรคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ในสมัยใด จิต

หดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ เป็นต้น.

พระโยคาวจรนั้น ครั้นทำการเรียนอุคคหโกศล ๗ อย่างนี้ได้ดีแล้ว

และกำหนดมนสิการโกศล ๑๐ อย่างนี้ให้ดีแล้ว พึงเรียนกรรมฐานด้วยสามารถ

แห่งโกศลทั้งสองให้แม่นยำ. ก็แล ถ้าเธอมีความผาสุกอยู่ในวิหารเดียวกันกับ

อาจารย์ไซร้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้อาจารย์บอกกรรมฐานโดยพิสดารอย่างนั้น พึง

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานไป เมื่อไม่ได้คุณวิเศษแล้ว จึงให้ท่านบอก

ให้ยิ่งต่อไป.

พระโยคาวจร ผู้ปรารถนาจะไปอยู่ที่อื่น พึงให้อาจารย์บอกโดยพิสดาร

โดยวิธีตามที่กล่าวแล้ว ทบทวนอยู่บ่อย ๆ ทำลายบทอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

สงสัยทั้งปวง และเสนาสนะอันไม่สมควรแก่การเจริญกรรมฐานเสีย อยู่ในวิหาร

อันสมควร เว้นจากวิหารอันเป็นโทษ ๑๘ ประการ มีความเป็นอาวาสใหญ่เป็นต้น

ตัดปลิโพธเล็กน้อย ภิกษุใดเป็นผู้มีราคจริตน้อย เพราะจะต้องละราคะก่อน

ฉะนั้น พึงทำบริกรรมไปในปฏิกูลมนสิการ. ก็เมื่อจะทำ พึงถือเอานิมิตใน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ผมทั้งหลายก่อน. คือ พึงถอนผมเส้นหนึ่งหรือสองเส้น วางไว้บนฝ่ามือแล้ว

พึงกำหนดสีก่อน. จะดูผมทั้งหลายในที่เป็นที่ปลงผมก็ได้. จะดูผมในบาตร

ใส่น้ำ หรือในบาตรใส่ยาคู ก็ได้เหมือนกัน. เห็นในเวลาที่ผมมีสีดำ ก็พึง

มนสิการว่า ดำ เห็นในเวลาที่มีสีขาว ก็มนสิการว่า ขาว แต่ในเวลาที่ผม

มีสีปนกัน (เหมือนดอกเลา) ก็พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งสีที่มาก. ก็ในผม

ทั้งหลาย ฉันใด ในตจปัญจกะแม้ทั้งสิ้นก็ฉันนั้น เห็นแล้ว ก็พึงถือเอานิมิต

ทีเดียว. ครั้นถือเอานิมิตอย่างนี้เเล้ว พึงกำหนดในโกฏฐาสด้วยสามารถแห่งสี

สัณฐาน ทิศ โอกาสและปริจเฉทแล้ว พึงกำหนดโดยความเป็นปฏิกูล ๕

อย่าง ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน กลิ่น ที่อยู่ และโอกาส. ต่อไปนี้เป็น

อนุปุพพิกถา (การกล่าวตามลำดับ) ในโกฏฐาสทั้งปวงเหล่านั้น.

๑. เกสา (ผมทั้งหลาย)

ผมทั้งหลายก่อน ว่าโดยสีตามปกติมีสีดำ เหมือนสีลูกมะคำดีควาย

สด ๆ ว่าโดยสัณฐาน ยาวกลม มีสัณฐานคล้ายคันชั่ง ว่าโดยทิศ เกิดใน

ทิศเบื้องบน ว่าโดยโอกาส ที่ข้างทั้งสองกำหนดด้วยจอนหู ข้างหน้ากำหนด

ด้วยหน้าผาก ข้างหลังกำหนดด้วยกกคอ หนังสดที่หุ้มกระโหลกศีรษะ เป็น

โอกาส (คือ ที่ตั้ง) แห่งผมทั้งหลาย ว่าโดยปริจเฉท ผมทั้งหลายเบื้องต่ำ

กำหนดด้วยพื้นรากของผม ที่หยั่งลึกลงไปในหนังหุ้มศีรษะประมาณปลายเมล็ด

ข้าวเปลือก เบื้องบน กำหนดด้วยอากาศ (ที่ว่าง) โดยรอบ กำหนดด้วย

เส้นผมด้วยกัน. การกำหนดว่า ผมสองเส้น มิได้รวมเป็นเส้นเดียวกันนี้

ชื่อว่า สภาคปริจเฉท. การกำหนดว่า ผมไม่ปะปนกันด้วยโกฏฐาส ๓๑

ที่เหลืออย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน ขนมิใช่ผม ธรรมดาว่าผม ย่อมเป็นโกฏฐาส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

แผนกหนึ่ง นี้ ชื่อว่า วิสภาคปริจเฉท. นี้เป็นการกำหนดผมทั้งหลาย โดย

สีเป็นต้น.

ก็พึงทราบการกำหนดผมเหล่านั้น โดยความเป็นปฏิกูล ๕ อย่าง ด้วย

สามารถแห่งสีเป็นต้น ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ชื่อว่าผมทั้งหลายเหล่านี้ แม้โดย

สีก็เป็นปฏิกูล แม้โดยสัณฐาน แม้โดยกลิ่น แม้โดยอาสยะ (อาศัย)

และแม้โดยโอกาส ก็เป็นของปฏิกูล ด้วยว่า ชนทั้งหลายเห็นอะไร ๆ ที่มี

สีคล้ายผม ในภาชนะที่ใส่ข้าวยาคู หรือภาชนะที่ใส่ภัต แม้อันเป็นที่ชอบใจ

ก็ย่อมจะรังเกียจโดยกล่าวว่า นี้มันปนผม จงนำมันออกไปเสีย. ผมเป็น

ของปฏิกูลโดยสีอย่างนี้.

แม้ชนทั้งหลายบริโภคอาหาร ในเวลากลางคืน ถูกต้องเส้นป่าน หรือ

เส้นปอ ซึ่งมีสัณฐานเหมือนผมทั้งหลาย ก็รังเกียจ ฉันนั้นนั่นแหละ. ผม

เป็นของปฏิกูล โดยสัณฐานอย่างนี้.

อนึ่ง กลิ่นของผมเว้นจากการตกแต่งด้วยสิ่งของมีการทาด้วยน้ำมัน

และอบด้วยดอกไม้เป็นต้น ย่อมเป็นกลิ่นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง กลิ่นของผมที่ใส่

เข้าไปในไฟ ย่อมมีกลิ่นน่ารังเกียจมากกว่านั้น. แท้จริง เมื่อว่าโดยสี และ

สัณฐาน จะไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่นแล้ว ย่อมเป็น

ของปฏิกูลทีเดียว. เปรียบเหมือนก้อนอุจจาระของเด็กเล็ก เมื่อว่าโดยสี ก็มีสี

เหมือนขมิ้น แม้ว่าโดยสัณฐาน ก็มีสัณฐานเหมือนแง่งขมิ้น และซากสุนัขดำ

ที่พองขึ้น อันเขาทิ้งไว้ในที่ที่ทิ้งขยะ โดยสี ก็มีสีเหมือนผลตาลสุก โดยสัณฐาน

ก็มีสัณฐานเหมือนตะโพนที่เขาปล่อยกลิ้งไป แม้เขี้ยวของมัน ก็เช่นกับดอก

มะลิตูม เพราะเหตุนั้น อุจจาระเด็กเล็ก และซากสุนัขดำ แม้ทั้งสอง เมื่อ

ว่าโดยสี และสัณฐานไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

แล้ว ย่อมเป็นของปฏิกูลนั่นแหละ ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เมื่อ

ว่าโดยสี และสัณฐาน ไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่นแล้ว ย่อม

เป็นของปฏิกูลแท้.

ก็ผักสำหรับแกงอันเกิดขึ้นในที่อันไม่สะอาด ด้วยการหลั่งไหลไปแห่ง

น้ำคร่ำจากหมู่บ้าน ย่อมเป็นของน่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคสำหรับชนชาวนคร

ทั้งหลาย ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ชื่อว่า น่ารังเกียจยิ่งนัก เพราะ

เกิดขึ้นด้วยน้ำที่ไหลซึมออกมาจากน้ำเหลือง เลือด น้ำอุจจาระ น้ำ

ปัสสาวะ น้ำดี และเสมหะเป็นต้น นี้เป็นปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้น โดย

อาสยะ (โดยอาศัย).

อนึ่ง ผมเหล่านี้ เกิดขึ้นที่กองแห่งโกฏฐาส ๓๑ (อันไม่สะอาด) ดุจ

ผักหญ้าเกิดขึ้นที่กองแห่งคูถ ผมเหล่านั้น ชื่อว่า น่ารังเกียจอย่างยิ่ง เพราะ

เกิดในที่อันไม่สะอาด ดุจผักที่เกิดขึ้นในที่ป่าช้าและกองขยะเป็นต้น และดุจ

ดอกไม้มีบัวหลวงบัวสายเป็นต้น ที่เกิดขึ้นในที่ไม่สะอาดมีคูเมืองเป็นต้น นี้

เป็นความปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้นโดยโอกาส (คือ ที่ตั้งอยู่). ก็ความเป็นปฏิกูล

แห่งผมทั้งหลาย ฉันใด พึงกำหนดความเป็นปฏิกูลแห่งโกฏฐาสทังปวง ๕ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งความปฏิกูล โดยสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ และโอกาส

ฉันนั้นเถิด. แต่ว่า เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท แม้

ในโกฏฐาสทั้งปวง พึงกำหนดแต่ละแผนก.

๒. โลมา (ขนทั้งหลาย)

บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น พึงกำหนดขนทั้งหลายก่อน ว่าโดยสีตาม

ปกติ ไม่ดำสนิทเหมือนผม แต่เป็นสีดำปนเหลือง โดยสัณฐาน มีสัณฐาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

ปลายโค้ง เหมือนรากต้นตาล โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส เว้น

โอกาสที่ผมทั้งหลายตั้งอยู่ และพื้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าแล้ว โดยมากเกิดตามหนังหุ้ม

สรีระที่เหลือ โดยปริจเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นรากของขนที่หยั่งลึกเข้า

ไปในหนังหุ้มสรีระประมาณลิกขา หนึ่ง เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ โดยรอบ

กำหนดเส้นขนด้วยกัน การกำหนด ขนสองเส้นมิได้รวมเป็นเส้นเดียว นี้เป็น

สภาคปริจเฉทแห่งขนเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.

๓. นขา (เล็บทั้งหลาย)

คำว่า นขา เป็นชื่อของใบเล็บ ๒๐ อัน เล็บทั้งปวงนั้น ว่าโดยสี

เป็นสีขาว ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังเกล็ดปลา. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง

๒ คือ เล็บเท้าเกิดในทิศเบื้องต่ำ เล็บมือเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส

ตั้งอยู่เฉพาะที่หลังตอนปลายนิ้วทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท ในทิศทั้ง ๒ กำหนด

ด้วยเนื้อปลายนิ้ว ข้างในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ข้างนอกและปลายกำหนด

ด้วยอากาศ เบื้องขวางกำหนดเล็บด้วยกัน. การกำหนดว่า เล็บ ๒ อัน มิได้

รวมเป็นอันเดียวกัน นี้ เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับ

เส้นผมนั่นแหละ.

๑. คำว่า ลิกขา นี้ เป็นชื่อมาตราวัดระยะความยาว ในอภิธานัปปทีปิกา กล่าวดังนี้

๓๖ ปรมาณู เท่ากับ ๑ อณู

๓๖ อณู " ๑ ตัชชารี

๓๖ ตัชชารี " ๑ รถเรณู

๓๖ รถเรณู " ๑ ลิกขา

๗ ลิกขา " ๑ อูกา

๗ อูกา " ๑ ธัญญมาส

ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

๔. ทนฺตา (ฟันทั้งหลาย)

คำว่า ทนฺตา คือ กระดูกฟัน ๓๒ ซี่ สำหรับผู้มีฟันบริบูรณ์. แม้

ฟันเหล่านั้น ว่าโดยสี ก็มีสีขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานมิใช่น้อย จริงอยู่

บรรดาฟันเหล่านั้น ฟัน ๔ ซี่ ตรงกลางฟันแถวล่างก่อน มีสัณฐานดุจเมล็ด

น้ำเต้าที่เขาปักเรียงกันไว้ที่ก้อนดินเหนียว. สองข้างฟันกลาง ๔ ซี่นั้น ฟัน

ข้างละซี่ มีรากเดียว มีปลายเดียว มีสัณฐานดังดอกมะลิตูม. ถัดจากนั้น

ฟันข้างละซี่ มีราก ๒ มีปลาย ๒ มีสัณฐานดังไม้ค้ำยานน้อย (เกวียน).

ถัดไป ฟันข้างละ ๒ ซี่ มีราก ๓ มีปลายก็ ๓. ถัดไป ฟันข้างละ ๒ มีราก

๔ มีปลาย ๔. แม้ฟันแถวข้างบน ก็นัยนี้นั่นแหละ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ

เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่กระดูกกรามทั้ง ๒. ว่าโดยปริจเฉท ข้าง

ล่างกำหนดด้วยพื้นรากของฟันอันตั้งอยู่ที่กระดูกกราม เบื้องบนกำหนดด้วย

อากาศ เบื้องขวางกำหนดฟันด้วยกัน. การกำหนดว่า ฟัน ๒ ซี่ มิได้รวม

เป็นซี่เดียวกัน นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผม

นั่นแหละ.

๕. ตโจ (หนัง)

คำว่า ตโจ คือ หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น เหนือหนังนั้น มีผิวสีดำ

คล้ำ เหลือง เป็นต้น ผิวหนังนั้นเมื่อดึงออกจากสรีระทั้งสิ้น ก็จะมีประมาณ

เท่าเมล็ดในพุทรา. หนังนั้น ว่าโดยสี มีสีขาวเท่านั้น ก็ความที่หนังเป็นสี

ขาวนั้น ย่อมปรากฏเมื่อผิวถลอกออกไป เพราะเปลวไฟลวก หรือถูกประหาร

ด้วยเครื่องประหารเป็นต้น. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนร่างกายนั่นแหละ

นี้ เป็นความสังเขปในข้อว่า ว่าโดยสัณฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

ก็ว่าโดยความพิศดาร หนังนิ้วเท้า มีสัณฐานดังรังของตัวไหม. หนัง

หลังเท้า มีสัณฐานดังรองเท้าหุ้มส้น. หนังแข้ง มีสัณฐานดังใบตาลห่อข้าว.

หนังขา มีสัณฐานดังถุงยาวบรรจุข้าวสาร. หนังตะโพก มีสัณฐานดังผืนผ้า

กรองน้ำอันเต็มด้วยน้ำ. หนังหลัง มีสัณฐานดังหนังหุ้มโล่. หนังท้อง มี

สัณฐานดังหนังหุ้มรางพิณ. หนังอก โดยมากมีสัณฐาน ๔ เหลี่ยม. หนังแขน

ทั้ง ๒ มีสัณฐานดังหนังหุ้มแล่งธนู. หนังหลังมือ มีสัณฐานดังฝักมีด หรือ

ดังถุงโล่. หนังนิ้วมือ มีสัณฐานดังฝักกุญแจ. หนังคอ มีสัณฐานดังเสื้อ

ปิดคอ. หนังหน้าซึ่งมีช่องน้อยช่องใหญ่ มีสัณฐานดังรังตั๊กแตน. หนังศีรษะ

มีสัณฐานดังถลกบาตร.

วิธีการกำหนดหนัง พระโยคาวจร ผู้จะกำหนดหนังเป็นอารมณ์

พึงส่งญานไปบนหน้า ตั้งแต่ริมฝีปากบนขึ้นไป แล้วกำหนดหนังหุ้มหน้าก่อน.

แต่นั้น พึงกำหนดหนังหน้าผาก. จากนั้น ก็พึงส่งญาณไประหว่างกระโหลก

ศีรษะ และหนังศีรษะ ดุจสอดมือไประหว่างบาตรกับถลกบาตรที่สวมไว้ฉะนั้น

โดยแยกความที่หนังติดกันกับกระโหลกศีรษะออก กำหนดแต่หนังศีรษะ. ต่อไป

ก็กำหนดหนังคอ. ต่อไปกำหนดหนังมือขวา ทั้งโดยอนุโลม (จากหัวไหล่ลง

ไปทางแขน) ทั้งโดยปฏิโลม (จากข้อมือขึ้นไปถึงหัวไหล่). ลำดับนั้น ก็พึง

กำหนดหนังมือซ้าย โดยนัยนั้นนั่นแหละ. ต่อไปก็กำหนดหนังหลัง. ครั้น

กำหนดหนังนั้น ๆ แล้ว พึงกำหนดหนังเท้าขวาทั้งโดยอนุโลม ทั้งโดยปฏิโลม.

ลำดับนั้น พึงกำหนดหนังเท้าซ้าย โดยนัยนั้นนั่นแหละ. จากนั้นพึงกำหนด

หนังท้องน้อย หนังหน้าท้อง หนังอก หนังคอ โดยลำดับทีเดียว. ลำดับนั้น

พึงกำหนดหนังใต้คาง ถัดจากหนังคอขึ้นไปจนถึงริมฝีปากล่างเป็นที่สุดจึงเสร็จ.

เมื่อพระโยคาวจรกำหนดหนังใหญ่ ๆ อยู่อย่างนี้ แม้หนังเล็ก ๆ ก็ย่อมปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ ว่าโดยโอกาส ตั้งคลุมสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดย

ปริจเฉทเบื้องล่าง กำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่เบื้องบน กำหนดด้วยอากาศ. นี้

เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.

๖. มส (เนื้อ)

คำว่า มส คือ ชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น. ชิ้นเนื้อแม้ทั้งปวงนั้น ว่าโดยสี

มีสีแดงเช่นกับดอกทองกวาว. ว่าโดยสัณฐาน เนื้อปลีแข้ง มีสัณฐานดังข้าว

ห่อด้วยใบตาล. เนื้อหลัง มีสัณฐานดังแผ่นตาลงบ. เนื้อสีข้างทั้ง ๒ มีสัณฐาน

ดังการฉาบทาด้วยดินเหนียวบาง ๆ ในท้องยุ้งข้าว. เนื้อถันทั้ง ๒ มีสัณฐาน

ดังก้อนดินเหนียวที่เขาแขวนห้อยไว้. เนื้อแขนทั้ง ๒ มีสัณฐานดังหนูตัวใหญ่

ที่เขาถลกหนังทำไว้เป็นสองส่วน. เมื่อพระโยคาวจร กำหนดเนื้อชิ้นใหญ่ ๆ

อยู่อย่างนี้ แม้เนื้อชิ้นเล็ก ๆ ก็ย่อมปรากฏ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒

ว่าโดยโอกาส ตั้งฉาบติดกระดูก ๓๑๐ ท่อน. ว่าโดยปริจเฉท เบื้องล่าง

กำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่ร่างกระดูก เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง เบื้องขวาง

กำหนดเนื้อด้วยกัน. นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เป็นเช่นกับ

เส้นผมนั่นแหละ.

๗. นหารู (เอ็นทั้งหลาย)

คำว่า นหารู คือ เอ็น ๙๐๐ เส้น ว่าโดยสี เอ็นทั้งหมดมีสีขาว.

ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานต่าง ๆ จริงอยู่ เอ็นเหล่านั้น เอ็นใหญ่ ที่รึงรัด

สรีระตั้งแต่เบื้องบน แห่งคอหยั่งลงไปข้างหน้าหทัย ๕ เส้น ข้างหลัง ๕ เส้น

ข้างขวา ๕ เส้น ข้างซ้าย ๕ เส้น แม้รึงรัดมือขวา ข้างหน้ามือก็ ๕ เส้น

๑. พม่า - ๓๐๐ ท่อนเศษ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

ข้างหลังมือก็ ๕ เส้น แม้ที่รึงรัดมือซ้ายก็อย่างนั้น ที่รึงรัดเท้าขวา ข้างหน้า

เท้าก็ ๕ เส้น ข้างหลังก็ ๕ เส้น แท้ที่รึงรัดเท้าซ้ายก็อย่างนั้น เอ็นใหญ่ ๖๐

เส้น รึงรัดหยั่งลงตลอดกายอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า สรีรธารกา

(ทรงไว้ซึ่งสรีระ) ท่านเรียกว่า กัณฑรา ดังนี้บ้าง เอ็นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

มีสัณฐานดังต้นคล้าอ่อน ๆ ส่วนเอ็นเหล่าอื่นที่รึงรัดส่วนนั้น ๆ อยู่ คือที่เล็ก

กว่า (สรีรธารกา) นั้น มีสัณฐานดังเชือกด้าย. เอ็นเหล่าอื่นที่เล็กกว่านั้น

มีสัณฐานดังเถากระพังโหม. เอ็นเหล่าอื่นที่เล็กกว่านั้น มีสัณฐานดังสายพิณ

ใหญ่ เอ็นเหล่าอื่นอีกมีสัณฐานดังเส้นด้ายใหญ่. เอ็นที่หลังมือ และเท้า มี

สัณฐานดังตีนนก. เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานดังตาข่ายคลุมหัวเด็ก. เอ็นที่หลังมี

สัณฐานดังอวนเปียกที่เขาแผ่ผึ่งแดด. เอ็นที่เหลือซึ่งไปตามอวัยวะน้อยใหญ่

นั้น ๆ มีสัณฐานดังเสื้อร่างแหที่คลุมสรีระ. ว่าโดยทิศ เอ็นเกิดในทิศทั้ง ๒.

ว่าโดยโอกาสตั้งยึดกระดูกทั้งหลาย ในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดยปริจเฉท เบื้องต่ำ

กำหนดด้วยพื้นอันตั้งอยู่บนกระดูก ๓๐๐ ท่อน เบื้องบนกำหนดด้วยประเทศที่

ตั้งอยู่จดเนื้อและหนัง เบื้องขวางกำหนดซึ่งกันและกัน. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของเอ็นเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.

๘. อฏฺี (กระดูกทั้งหลาย)

คำว่า อฏฺี ความว่า เว้นกระดูกฟัน ๓๒ ซี่ กระดูกที่เหลือมี

ประมาณ ๓๐๐ ท่อน คือ.

กระดูกมือ ๖๔ ท่อน

กระดูกเท้า ๖๔ ท่อน

กระดูกอ่อนติดเนื้อ ๖๔ ท่อน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

กระดูกส้นเท้า ๒ ท่อน

กระดูกข้อเท้าสองข้าง ๒ ท่อน

กระดูก แข้งสองข้าง ๒ ท่อน

กระดูกเข่าสองข้าง ๒ ท่อน

กระดูกขา ๒ ท่อน

กระดูกสะเอว ๒ ท่อน

กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน

กระดูกซี่โครง ๒๔ ท่อน

กระดูกหน้าอก ๑๔ ท่อน

กระดูกใกล้หัวใจ ๑ ท่อน

กระดูกไหปลาร้า ๒ ท่อน

กระดูกสะบัก ๒ ท่อน

กระดูกแขนท่อนบน ๒ ท่อน

กระดูกแขนท่อนล่างสองข้าง ๔ ท่อน

กระดูกคอ ๗ ท่อน

กระดูกคาง ๒ ท่อน

กระดูกดั้งจมูก ๑ ท่อน

กระดูกเบ้าตา ๒ ท่อน

กระดูกหู ๒ ท่อน

กระดูกหน้าผาก ๑ ท่อน

กระดูกกระหม่อม ๑ ท่อน

กระดูก (กระโหลก) ศีรษะ ๙ ท่อน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

กระดูกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ว่าโดยสี มีสีขาว. ว่าโดยสัณฐาน มี

สัณฐานต่าง ๆ จริงอยู่ บรรดากระดูกเหล่านั้น กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย มี

สัณฐานดังเมล็ดบัว กระดูกท่อนกลางถัดจากท่อนปลาย มีสัณฐานดังเมล็ดขนุน

กระดูกท่อนโคน มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์. กระดูกหลังเท้า มีสัณฐานดังหมู่

ต่นคล้าที่ถูกทุบ. กระดูกส้นเท้า มีสัณฐานดังจาวตาลลอนเดียว. กระดูก

ข้อเท้า มีสัณฐานดังลูกสะบ้าคู่. กระดูกแข้งในที่เป็นที่ตั้งจดข้อเท้า มีสัณฐาน

ดังหน่อไม้อ่อนที่ปอกเปลือก กระดูกแข้งท่อนเล็ก มีสัณฐานดังคันธนู ท่อน

ใหญ่ มีสัณฐานดังหลังงูทีแห้งแล้ว. กระดูกเข่า มีสัณฐานดังต่อมน้ำทีแหว่ง

ไปข้างหนึ่ง ตรงที่เป็นกระดูกแข้งจดกระดูกเข่านั้น มีสัณฐานดังเขาโคปลายทู่.

กระดูกขาอ่อน มีสัณฐานดังด้ามพร้า หรือด้ามขวานที่เขาทำหยาบ ๆ ที่ตรง

กระดูกขาอ่อนจดอยู่ที่กระดูกสะเอวนั้น มีสัณฐานดังลูกสะบ้ากีฬา ตรงที่กระดูก

สะเอวจดกระดูกขานั้น มีสัณฐานดังผลมะงั่วใหญ่ปลายปาด. กระดูกสะเอวแม้

๒ อัน มีสัณฐานดังเตาของนายช่างหม้อ แยกแต่ละอันมีสัณฐานดังคีมของ

นายช่างทอง. กระดูกตะโพกตอนปลาย มีสัณฐานดังพังพานงูที่เขาจับคว่ำหน้า

มีช่องน้อยช่องใหญ่ ๗ แห่ง. กระดูกสันหลังข้างหน้า มีสัณฐานดังห่วงแผ่น

ตะกั่วที่วางซ้อน ๆ กันไว้ ข้างนอกมีสัณฐานดังลูกประคำ ในระหว่าง ๆ แห่ง

กระดูกเหล่านั้น มีเดือยสองสามอันเช่นกับฟันเลื่อย. บรรดากระดูกซี่โครง

๒๔ ซี่ ซี่ที่ไม่เต็มมีสัณฐานดังเคียวที่ไม่เต็มเล่ม ซี่ที่เต็มมีสัณฐานดังเคียว

เต็มเล่ม กระดูกซี่โครงแม้ทั้งหมดมีสัณฐานดังปีกกางของไก่ขาว. กระดูกอก

๑๔ ชิ้น มีสัณฐานดังลูกกรงคานหามเก่า. กระดูกใกล้หัวใจ มีสัณฐานดัง

จวัก. กระดูกไหปลาร้า มีสัณฐานดังด้ามมีดโลหะเล่มเล็ก. กระดูกสะบัก มี

สัณฐานดังจอบชาวสีหฬที่เหี้ยนไปข้างหนึ่ง. กระดูกต้นแขน มีสัณฐานดังด้าม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

แว่น ท่อนปลายมีสัณฐานดังรากตาลคู่. กระดูกข้อมือ มีสัณฐานดังห่วงแผ่น

ตะกั่วที่เขาเชื่อมติดกันตั้งไว้. กระดูกหลังมือ มีสัณฐานดังกองต้นคล้าที่ทุบ

แล้ว. กระดูกข้อโคนนิ้วมือ มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ ท่อนกลางมีสัณฐานดัง

เมล็ดขนุนไม่เต็มเม็ด ท่อนปลายมีสัณฐานดังเมล็ดตุมกา. กระดูกคอ ๗ ชิ้น

มีสัณฐานดังแว่นหน่อไม้ไผ่ที่เขาใช้ไม้เสียบตั้งไว้โดยลำดับ. กระดูกคางล่าง มี

สัณฐานดังคีมเหล็กของนายช่างโลหะ. ท่อนบนมีสัณฐานดังเหล็กขูด กระดูก-

เบ้าตาและกระดูกหลุมจมูก มีสัณฐานดังเต้าของลูกตาลอ่อนที่ควักจาวออกแล้ว.

กระดูกหน้าผาก มีสัณฐานดังเปลือกสังข์ที่ตั้งคว่ำหน้า. กระดูกกกหู มีสัณฐาน

ดังฝักมีดโกนของช่างกัลบก. กระดูกที่ตั้งติดกันเป็นแผ่นตอนบนของกระดูก

หน้าผากและกระดูกกกหู มีสัณฐานดังท่อนแผ่นผ้าเต็มหม้อที่ยับยู่ยี่. กระดูก

กระหม่อม มีสัณฐานดังกระโหลกมะพร้าวเปี้ยวที่ปาดหน้าแล้ว. กระดูกศีรษะ

มีสัณฐานดังกระโหลกน้ำเต้าเก่าที่เขาเย็บติดกันตั้งไว้.

ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้น

โดยไม่แปลกกัน. แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันในที่นี้ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บน

กระดูกคอ. กระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง. กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูก

สะเอว. กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขาอ่อน กระดูกขาอ่อนตั้งอยู่บนกระดูก

เข่า. กระดูกเข่าตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง. กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า.

กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกหลังเท้า. ว่าโดยปริจเฉท ภายในกำหนดด้วยเยื่อ

ในกระดูก ข้างบนกำหนดด้วยเนื้อ ที่ปลายและโคนกำหนดกระดูกด้วยกัน.

นี้เป็นสภาคปริจเฉทของกระดูกเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั้น

แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

๙. อฏฺิมิญฺช (เยื่อในกระดูก)

คำว่า อฏฺิมิญฺช คือ เยื่อที่อยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ เยื่อใน

กระดูกนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว. ว่าโดยสัณฐานเยื่อที่อยู่ภายในแห่งกระดูกท่อน

ใหญ่ ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายใหญ่ที่เขาลนไฟยัดไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เยื่อที่

อยู่ภายในกระดูกท่อนเล็ก ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายเล็กที่เขาลนไฟยัดไว้ในปล้อง

แห่งข้อไม้ไผ่ (บางแห่งว่า ในปล้องไม้อ้อ) ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง.

ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระดูกทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้น

ภายในแห่งกระดูกทั้งหลาย. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเยื่อในกระดูก ส่วนวิสภาค-

ปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๐. วกฺก (ไต โบราณว่า ม้าม)

คำว่า วกฺก คือ ไต เป็นก้อนเนื้อ ๒ ก้อน มีขั้วเดียวกัน ไตนั้น

ว่าโดยสี มีสีแดงอ่อนดังสีเม็ดไม้ทองหลาง. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง

สะบ้าคู่สำหรับเล่นของเด็ก ๆ หรือมีสัณฐานดังผลมะม่วงคู่มีขั้วเดียวกัน. ว่า

โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่โดยเป็นขั้วเดียวกับด้วย

เอ็นใหญ่ มีรากเดียวกัน ออกจากหลุมคอไปหน่อยหนึ่งแล้วก็แยกออกเป็น ๒

เส้น โอบเนื้อหัวใจ. ว่าโดยปริจเฉท ไตกำหนดได้ด้วยส่วนที่เป็นไต. นี้เป็น

สภาคปริจเฉทของไต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๑. หทย (เนื้อหัวใจ)

คำว่า หทย คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี

หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ

ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา

เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ. ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้น เป็นหลุมมีประมาณจุ

เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ

และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ของ

คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-

จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม

ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอดกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-

จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่

ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย

โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท

กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน

วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒. ยกน (ตับ)

คำว่า ยกน คือ เเผ่นเนื้อคู่ ตับนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงพื้นเหลือง

ไม่แดงจัดดังสีหลังกลีบกุมุท (ดอกบัวแดง). ว่าโดยสัณฐาน ที่โคนเป็นแผ่น

เดียวกัน ที่ปลายเป็น ๒ แฉก มีสัณฐานดังใบทองหลาง. อนึ่ง ตับนั้น

สำหรับของคนไม่มีปัญญา เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียวเท่านั้น ของคน

มีปัญญา เป็นแผ่นเล็ก ๆ ๒ หรือ ๓ แผ่น. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้อง

บน. ว่าโดยโอกาส อาศัยอยู่ข้างขวาภายในระหว่างถันทั้งคู่ตั้งอยู่. ว่าโดย

ปริจเฉท ตับก็กำหนดโดยส่วนที่เป็นตับ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาค-

ปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

๑๓. กิโลมก (พังผืด)

คำว่า กิโลมก คือ พังผืด เป็นเนื้อสำหรับหุ้มมี ๒ ชนิด โดย

แยกเป็นพังผืดชนิดปกปิด และพังผืดชนิดที่ไม่ปกปิด พังผืดแม้ทั้งสองนั้น

ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีผ้าทุกูล (ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) เก่า. ว่าโดยสัณฐาน

มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ของตน. ว่าโดยทิศ พังผืดชนิดที่ปกติ เกิดในทิศเบื้องบน

พังพืดนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส พังผืดชนิดที่ปิด ตั้งหุ้มหัวใจ

และไตอยู่ พังผืดชนิดที่ไม่ปกติ ตั้งยึดเนื้อใต้หนังในสรีระทั้งสิ้น. ว่าโดย

ปริเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง และเบื้องขวาง

กำหนดโดยส่วนที่เป็นพังผืด. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของพังผืด ส่วนวิสภาค-

ปริเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๔. ปิหก (ม้าม โบราณว่า ไต)

คำว่า ปิหก คือ เนื้อเป็นดังลิ้นอยู่ในท้อง ม้ามนั้น ว่าโดยสี มี

สีนิล (คือ สีน้ำเงินแก่) ดุจดอกคนทิสอ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังลิ้น

ลูกโคดำ ยื่นออกไปประมาณ ๗ นิ้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่า

โดยโอกาส อาศัยตั้งอยู่ข้างบนพื้นท้องทางซ้ายของหัวใจ เมื่อมันออกมาข้าง

นอกเพราะถูกประหารด้วยเครื่องประหาร สัตว์ทั้งหลายก็จะสิ้นชีวิต. ว่า

โดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นม้าม. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของม้าม ส่วน

วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๕. ปปฺผาส (ปอด)

คำว่า ปปฺผาส คือ ปอด แยกออกจะเป็นชิ้นเนื้อ ๓๒ ชิ้น ปอด

นั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังผลมะเดื่อไม่สุกจัด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ขนมชิ้นหนา ๆ ที่ตัดไม่เสมอกัน ส่วนภายในมันซีดเผือด เพราะถูกไอร้อนที่

เกิดแต่กรรมเผาผลาญโดยไม่มีสิ่งที่กินและดื่มเข้าไป เหมือนก้อนใบไม้ที่เขา

เคี้ยวกินแล้ว (เหลือแต่กาก) หารสและโอชะมิได้. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ

เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งห้อยปกคลุมหัวใจและตับ อยู่ระหว่างถันทั้ง ๒

ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยส่วนที่เป็นปอด. นี้เป็นสภาค-

ปริจเฉทของปอด ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๖. อนฺต (ไส้ใหญ่)

คำว่า อนฺต ได้แก่ ไส้ใหญ่ สำหรับของผู้ชายยาวประมาณ ๓๒ ศอก

ของผู้หญิงยาวประมาณ ๒๘ ศอก เป็นไส้ทบ เพราะขดไปมาในที่ ๒๑ แห่ง.

ไส้ใหญ่นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังสีก้อนกรวดขาว. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน

ดังงู (ปลาไหลเผือก) ที่เขาตัดหัวขดไว้ในรางเลือด. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ

ทั้ง ๒. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในสรีระ มีคอและทวารหนักเป็นเขตแดน

โดยเนื่องเป็นอันเดียวกัน คือ เบื้องบนตั้งอยู่ที่หลุมคอ เบื้องล่างตั้งอยู่ที่

ทวารหนัก. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นไส้ใหญ่. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของไส้ใหญ่ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๗. อนฺตคุณ (ไส้น้อย)

คำว่า อนฺตคุณ คือ ไส้ที่เป็นสายพันอยู่ในที่ขนดไส้ใหญ่ ไส้น้อย

นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังรากจงกลนี. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังรากจงกลนี

นั่นแหละ. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ไส้น้อยนั้นตั้งยึด

ขนดไส้ใหญ่ไว้เป็นมัดเดียวกัน ดุจสายเชือกเครื่องยนต์ที่ยึดแท่นยนต์ไว้ในเวลา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

ที่เครื่องยนต์ดึง ของนายช่างผู้ทำการงานทั้งหลาย มีการเจาะและการถาก

เป็นต้น ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างขนดไส้ใหญ่ในที่ ๒๑ แห่ง เหมือนเชือกที่เย็บ

ร้อยในระหว่างมณฑลเชือกสำหรับเช็ดเท้า ฉะนั้น. ว่าโดยปริจเฉท กำหนด

โดยส่วนที่เป็นไส้น้อย. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของไส้น้อย ส่วนวิสภาคปริจเฉท

เช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๘. อุทริย (อาหารใหม่)

คำว่า อุทริย ได้เเก่ ของที่กิน (ข้าว) ที่ดื่ม (น้ำ) ที่เคี้ยว (ผลไม้

เป็นต้น ) ที่ลิ้ม (น้ำผึ้งเป็นต้น ) เข้าไปอยู่ในท้อง. อาหารใหม่นั้น ว่าโดยสี มี

สีดังอาหารที่กลืนเข้าไป. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังถุงบาง ๆ ที่บรรจุข้าว

สาร. ว่าโดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในอุทร (กระเพาะ

อาหาร) อวัยวะเยื่อลำไส้ เช่นกับโป่งผ้าที่เกิดขึ้นตรงกลางแห่งผ้าเปียกที่เขา

รวบชายไว้ เรียกว่า อุทร. อุทรนั้นข้างนอกเกลี้ยง ข้างในเช่นกับผ้าที่ห่อ

เศษเนื้อหรือผ้าห่อประจำเดือนที่เปื้อนแล้ว แม้จะกล่าวว่า เช่นกับภายในแห่ง

ลูกขนุนละมุด ก็ควร. ในอุทรเล่า ก็มีหมู่หมอนทั้งหลายแยกออกได้ถึง ๓๒

ตระกูล คือ มีพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม พยาธิเสี้ยนตาล พยาธิปาก

เข็ม (ตัวจิ๊ด) พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น เป็นตระกูลต่าง ๆ

เกลื่อนกล่นอาศัยอยู่เที่ยวไปเป็นหมู่ ๆ ครั้นเมื่อน้ำและข้าวเป็นต้นไม่มีอยู่ มัน

ก็จะพลุ่งพล่านกัดกินเนื้อที่มันอาศัยอยู่ ในเวลาที่กลืนอาหารมีน้ำและข้าวเป็น

ต้นลงไป มันก็จะพากันชูปากขึ้นรับ ตะลีตะลานยื้อแย่งคำข้าวที่กลืนลงไปครั้ง

แรก ๒-๓ คำ. ที่อุทรนั้นแล เป็นดุจเรือนคลอด วัจจกุฏี (เรือนถ่าย)

โรงพยาบาล และสุสาน (ป่าช้า) ของหนอนเหล่านั้น. อาหารทั้งหลายมีน้ำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

และข้าว เป็นต้น มีประการต่าง ๆ ที่แหลกด้วยสาก คือฟัน พลิกกลับไปมา

ด้วยมือ คือ ลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ขณะนั้นแหละก็จะเป็นสิ่งที่ปราศจาก

คุณสมบัติของสี กลิ่น รส เป็นต้น เป็นเช่นกับข้าวย้อมด้ายของนายช่างหูก

หรือเป็นเช่นสุนัขกับรากสุนัข ครั้นตกลงไปในคอก็จะคลุกเคล้าด้วยน้ำดี น้ำ

เสลดเดือดขึ้นแล้วด้วยกำลังแห่งความเผาของไฟในท้อง (ธาตุไฟย่อยอาหาร)

อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยพองขึ้นข้างบนโดยลำดับ ถึงซึ่งความเป็นสิ่ง

สกปรก มีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ตั้งอยู่ในอุทรนั้น เปรียบเหมือน เมื่อฝนเมล็ด

หนา ตกลงมาในฤดูแล้ง ซากสัตว์ต่าง ๆ จำเดิมแต่มูตร คูถ ท่อนหนัง

กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือด เป็นต้น ที่น้ำพาไปตกลงที่แอ่ง

น้ำโสโครกใกล้ประตูบ้านของคนจัณฑาล และผสมเข้ากับโคลนตมสองสามวัน

ก็มีหมู่หนอนเกิดขึ้นแล้ว แอ่งน้ำนั้นเดือดขึ้นแล้วด้วยความร้อนด้วยกำลังแห่ง

แสงแดด ปล่อยฟองขึ้นข้างบนบ่อย ๆ เป็นของมีสีเขียวคล้ำ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ

ด้วยกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง ถึงซึ่งความเป็นรูปไม่น่าเข้าไปใกล้ ไม่น่าเห็น จะป่วย

กล่าวไปไยถึงการเป็นสิ่งน่าดม น่าลิ้มเส่า แม้ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นมี

ประการต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้น

ตวัดพลิกกลับไปมา แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความถึงพร้อมด้วยสี

กลิ่นและรส เป็นต้นในทันที เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้า

ด้วยน้ำดีและเสลด เดือดด้วยแรงไฟและความร้อนในท้อง หนอนตระกูลใหญ่

น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นข้างบนถึงความเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง

ตั้งอยู่ แม้เพราะฟังเรื่องอุทรไรเล่า ความไม่ชอบใจในน้ำและข้าว เป็นต้น

ก็เกิดขึ้นได้ จะกล่าวไปไยถึงความไม่ชอบใจในน้ำและข้าวเป็นต้น เพราะ

การแลดูด้วยปัญญาจักษุเล่า.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

อนึ่ง ในอุทรใด ในอุทรนั้น ที่มีของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้น

ตกลงไปแล้ว ย่อมถึงซึ่งการแยกเป็นส่วน ๆ ๕ ส่วน คือสัตว์

(พยาธิ) ทั้งหลายย่อมเคี้ยวกินเสียส่วนหนึ่ง ไฟธาตุย่อมเผาผลาญ

เสียส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เป็นมูตร ส่วนหนึ่งก็เป็นคูถ ส่วนหนึ่งถึง

ความเป็นอาหารไปเพิ่มพูนโกฏฐาสมีเลือดและเนื้อเป็นต้นให้เจริญ.

ว่าโดยปริเฉทกำหนดด้วยเยื่ออุทร และส่วนที่เป็นอุทริยะ (คืออาหารใหม่).

นี้เป็นสภาคปริเฉทของอาหารใหม่ ส่วนวิสภาคปริจเฉทเช่นกับผมนั่นแหละ.

๑๙. กรีส (อาหารเก่า)

ค่าว่า กรีส คือ อุจจาระ อุจจาระนั้น ว่าโดยสี มีสีดังอาหารที่กลืน

เข้าไปนั่นแหละโดยมาก. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ

เกิดในทิศเบื้องต่ำ. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่กระเพาะอุจจาระ (ปกฺกาสเย ที่

พักอาหารสุก). ชื่อว่า กระเพาะอุจจาระ เป็นเช่นกับกระบอกไม้ไผ่ สูง

ประมาณ ๘ องคุลี อยู่ตอนสุดของลำไส้ใหญ่ ในระหว่างนาภี (สะดือ) ตอน

ล่างกับโครงกระดูกสันหลัง. อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมีน้ำและข้าวเป็นต้น ตก

ไปแล้วในกระเพาะอาหาร (อามาสเย ที่พักอาหารดิบ) เดือดเป็นฟองด้วยไฟ

ในอุทร (ไฟธาตุ) สุกไป ๆ แหลกละเอียดแล้ว ราวกะบดด้วยลูกหินบด แล้ว

เคลื่อนไป ๆ ตามโพรงแห่งลำไส้ใหญ่ ตกไปทับถมกันอยู่ราวกับดินสีเหลืองที่

เขาขยำใส่ไว้ในปล้องไม้ไผ่ เปรียบเหมือนน้ำฝนอันตกลงข้างบน ๆ ไหลลงมา

ทาให้ภาคพื้นเบื้องต่ำขังอยู่เต็ม ฉะนั้น.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยเยื่อกระเพาะอุจจาระ และโดยส่วนที่เป็น

อุจจาระ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของกรีสะ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่น

แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

๒๐. มตฺถลุงฺค (มันสมอง)

คำว่า มตฺถลุงฺค คือ กองเยื่อที่ตั้งอยู่ภายในกระโหลกศีรษะ. มัน

สมองนั้นว่าโดยสี มีสีขาวดังดอกเห็ด แม้จะกล่าวว่า มีสีดังนมสดที่ยังไม่เปลี่ยน

เป็นนมส้มก็ควร. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ

เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส อาศัยแนวประสาน ๔ แห่ง ตั้งรวมกันอยู่ภายใน

กระโหลกศีรษะ ดุจก้อนแป้ง ๔ ก้อนที่เขาตั้งไว้รวมกัน. ว่าโดยปริจเฉท

กำหนดด้วยพื้นภายในกระโหลกศีรษะ และโดยส่วนที่เป็นมันสมอง. นี้เป็น

สภาคปริจเฉทของมัตถลุงคัง ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๑. ปิตฺต (น้ำดี)

คำว่า ปิตฺต ได้แก่ น้ำดี ๒ ชนิด คือ น้ำดีที่อยู่ในถุงน้ำดี (พทฺธ-

ปิตฺต) และน้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง (อพทฺธปิตฺต). ในน้ำดีทั้ง ๒ นั้น น้ำดีที่อยู่

ในถุง ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันมะซางข้น ๆ น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง มีสีดังดอกพิกุล

แห้ง ว่าโดยสัณฐาน น้ำดีแม้ทั้ง ๒ มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ น้ำดี

ในถุงเกิดในทิศเบื้องบน น้ำดีนอกนี้เกิดในทิศทั้ง ๒. ว่าโดยโอกาส เว้นผม.

ขน เล็บ ฟัน และหนังที่แห้งกระด้างแล้ว ตั้งอยู่เอิบอาบซึมซาบ ในสรีระที่

เหลือ ดุจหยาดน้ำมันในน้ำเอิบอาบซึมซาบแผ่ไปฉะนั้น เมื่อน้ำดีนี้กำเริบ

นัยน์ตาของสัตว์ย่อมเหลือง ย่อมวิงเวียนศีรษะ ร่างกายย่อมหวั่นไหว

ย่อมคัน. น้ำดีที่ขังอยู่ในถุงน้ำดี ตั้งอยู่ในฝัก (ถุง) ของน้ำดี เช่นกับ

ฝักของบวบใหญ่ มันติดอยู่ที่เนื้อตับในระหว่างหัวใจกับปอด. เมื่อน้ำดีนี้

กำเริบ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นบ้า มีจิตวิปลาส ละทิ้งหิริโอตตัปปะ

ย่อมกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่ควรกล่าว ย่อมคิด

สิ่งที่ไม่ควรคิด.

๑. บาลีกล่าวรวมไว้ใน อฏฺ ฐิมิญฺช เยื่อในกระดูก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำดี. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของ

น้ำดี ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๒. เสมฺห (เสมหะ หรือ เสลด)

คำว่า เสมฺห คือ เสลด มีประมาณเต็มกอบหนึ่ง อยู่ภายในร่างกาย.

เสมหะนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว ดังสีน้ำใบแตงหนู ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน

ตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่เยื่ออุทร

ในเวลาที่กลืนน้ำและข้าวเป็นต้น ก็เมื่อน้ำและข้าวเป็นต้นตกลงไป มัน (เสมหะ)

ก็จะแยกออกจากกันแล้วก็กลับหุ้มปกปิดตามเดิม เปรียบเหมือนแหนในน้ำ

ครั้นเมื่อไม้หรือกระเบื้องตกลงไป มันก็จะแยกออกจากกันแล้วก็กลับหุ้มเข้าตาม

เดิม ฉะนั้น อนึ่ง เมื่อเสมหะมีน้อยไป อุทรจะส่งกลิ่นเหม็นซากสัตว์อันน่า

รังเกียจอย่างยิ่ง ดุจหัวฝี หรือไข่เน่าที่แตก ฉะนั้น. และเพราะกลิ่นอันฟุ้ง

ขึ้นจากอุทรนั้น ลมเรอก็ดี ปากก็ดี ย่อมมีกลิ่นเหม็นเช่นกับซากสัตว์เน่า ทั้ง

เขาผู้นั้น ย่อมจะถูกขับไล่ว่า ออกไป เจ้าตัวส่งกลิ่นเหม็น. อนึ่ง เสมหะนั้นมี

มากแล้ว มันก็จะปิดกั้นกลิ่นสัตว์ไว้ภายในอวัยวะอุทรนั่นแหละเหมือนแผ่น

กระดานที่ปิดวัจจกุฏี ฉะนั้น.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นเสมหะ. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของ

เสมหะ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๓. ปุพฺโพ (น้ำเหลือง น้ำหนอง)

คำว่า ปุพฺโพ ว่าโดยสี มีสีดังใบไม้เหลือง. แต่ในร่างกายของผู้

ตาย มีสีดังน้ำข้าวข้นที่บูด. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ

เกิดในทิศทั้งสอง. ว่าโดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของปุพโพมิได้ขังอยู่เป็นนิตย์ ก็

แต่เมื่อส่วนแห่งร่างกายใด ถูกกระทบด้วยตอไม้ หนามแหลม เครื่องประหาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

และเปลวไฟเป็นต้นโลหิตก็จะห้อขึ้น หรือว่าต่อมมีฝีเป็นต้นเกิดขึ้นในที่ใด ๆ

ปุพโพนั้นก็พึงก่อตัวขึ้นในที่นั้น ๆ

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นปุพโพ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของปุพโพ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๔. โลหิต (โลหิต เลือด)

คำว่า โลหิต ได้แก่ โลหิต ๒ ชนิด คือ สันนิจิตโลหิต (โลหิตที่

ขัง) และสังสรณโลหิต (โลหิตที่ไหลเวียนไป). ใน ๒ อย่างนั้น สันนิจิต-

โลหิต ว่าโดยสี มีสีดังน้ำครั่งข้นที่แก่ไฟ. สังสรณโลหิต มีสีดังน้ำครั่งใส ๆ

ว่าโดยสัณฐาน แม้ทั้งสองมีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ สันนิจิตโลหิต

เกิดในทิศเบื้องบน โลหิตนอกนี้เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส สังสรณโลหิต

ตั้งแผ่ไปสู่อุปาทินนกสรีระทั้งสิ้นตามเส้นโลหิต เส้นผม ขน เล็บ ฟัน และ

หนังที่แห้งกระด้าง. สันนิจิตโลหิต มีประมาณบาตรหนึ่ง (ขนาดใบเล็ก) ตั้งอยู่

เต็มส่วนใต้ของที่ตั้งของตับ ค่อย ๆ ไหลไปบนไต หัวใจ ตับ ปอด ทำให้

ไต หัวใจ ตับ ปอดชุ่มอยู่เสมอ เพราะว่าเมื่อโลหิตนี้ไม่ทำให้ไต หัวใจเป็น

ต้นชุ่มอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมกระหาย.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดส่วนที่เป็นโลหิต. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของ

โลหิต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๕. เสโท (เหงื่อ)

คำว่า เสโท คือ อาโปธาตุที่ไหลออกตามรูขนเป็นต้น. เหงื่อนั้น

ว่าโดยสี มีสีดังน้ำมันงาใส. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดย

ทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสของเหงื่อมิได้มีอยู่เป็นนิตย์

เหมือนโลหิต แต่เมื่อใด ร่างกายย่อมร้อนด้วยความร้อนของไฟ ของแสงแดด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

และความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นต้น เมื่อนั้น เหงื่อก็จะไหลออกจากรูผมและ

ขนทั้งปวง ราวกะกำสายบัวพอถอนขึ้นพ้นจากน้ำซึ่งมีรากเหง้าขาดไม่เสมอกัน

น้ำก็จะไหลออกไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น แม้สัณฐานของเสโทนั้น ก็พึงทราบ

ด้วยสามารถแห่งช่องรูผมและขนนั่นแหละ. พระโยคีผู้กำหนดเสโทเป็นอารมณ์

พึงมนสิการเสโทตามที่ขังอยู่เต็มในช่องรูผมและขนนั่นแล.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นเสโท. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของเสโท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๖. เมโท (มันข้น)

คำว่า เมโท คือ มันข้น. มันข้นนั้น ว่าโดยสี มีสีดังขมิ้นที่ผ่า

ออกแล้ว. ว่าโดยสัณฐาน สำหรับบุคคลผู้มีร่างกายอ้วนก่อน มีสัณฐานดังผ้า

ทุกูลเก่ามีสีขมิ้นตั้งอยู่ในระหว่างหนังกับเนื้อ. ส่วนบุคคลผู้มีร่างกายผอม มี

สัณฐานดังผ้าทุกูลเก่ามีสีขมิ้นที่ทำเป็น ๒-๓ ชั้น อาศัยเนื้อเหล่านี้คือ เนื้อ

แข้ง เนื้อขา เนื้อหลังติดอยู่กับกระดูกสันหลัง และเนื้อท้องน้อย. ว่าโดยทิศ

เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส สำหรับคนอ้วน มันแผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น

สำหรับคนผอมอาศัยเนื้อแข้งเป็นต้นตั้งอยู่ มันข้นนี้ แม้ถึงการนับว่าเป็นน้ำมัน

ได้ แต่เพราะเป็นของน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ชนทั้งหลาย จึงมิได้ถือเอาเพื่อใช้

ทาศีรษะและใช้เป็นน้ำมันหยอดจมูกเป็นต้น.

ว่าโดยปริจเฉท เบื้องต่ำกำหนดด้วยเนื้อ เบื้องบนกำหนดด้วยหนัง

เบื้องขวางกำหนดโดยส่วนที่เป็นมันข้น. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของมันข้น ส่วน

วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๗. อสฺสุ (น้ำตา)

คำว่า อสฺสุ คือ อาโปธาตุอันไหลออกจากนัยน์ตา. ว่าโดยสี มีสี

ดังน้ำมันงาใส. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

เบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่เบ้าตา แต่ว่าน้ำตานั้นมิได้ขังอยู่ในเบ้าตา

ทุกเมื่อ เหมือนน้ำดีในถุงน้ำดี ก็เมื่อใดสัตว์ทั้งหลาย เกิดโสมนัสหัวเราะใหญ่

เกิดโทมนัสร้องให้คร่ำครวญ กินอาหารอันเป็นวิสภาคมีอย่างนั้นเป็นรูป

(หมายความว่า กินอาหารชนิดที่ทำให้น้ำตาไหลได้) และเมื่อใด ดวงตาของ

สัตว์ทั้งหลายกระทบกับควันละอองธุลีเป็นต้น มัน (น้ำตา) ย่อมมาตั้งอยู่ที่

เบ้าตา หรือย่อมไหลออก เพราะการเกิดขึ้นด้วยโสมนัส, โทมนัส, อาหาร

อันเป็นวิสภาค, และอุตุเหล่านั้น.

ก็พระโยคีผู้กำหนดน้ำตาเป็นอารมณ์ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่งน้ำตา

ที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตานั่นแหละ. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำตา.

นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำตา ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๒๘. วสา (มันเหลว)

คำว่า วสา คือ น้ำมันเหลว. น้ำมันเหลวนั้น ว่าโดยสี มีสีดัง

น้ำมันมะพร้าว แม้จะกล่าวว่า มีสีดังน้ำมันที่ลาดลงในข้าวตัง ก็ควร. ว่า

โดยสัณฐาน มีสัณฐานแผ่ไปดังหยาดน้ำมันที่ลอยคว้างอยู่เหนือน้ำอันใสในเวลา

ที่ทำการชำระล้าง. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส โดยมากตั้ง

อยู่ที่ฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ปลายจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า

ก็แต่มันเหลวนั้นมิได้ละลายอยู่ในที่เหล่านั้นทุกเมื่อ เมื่อใด ส่วนของร่างกาย

เหล่านั้นเกิดความร้อนขึ้นด้วยไฟ, แสงแดด อุตุวิสภาคะ, และธาตุวิสภาคะ

เมื่อนั้น จึงซ่านไปข้างโน้นข้างนี้ ราวกะการแผ่ไปของหยาดน้ำมันเหมือนน้ำใส

ในเวลาทำความสะอาดนั้น ฉะนั้น. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็น

มันเหลว. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของมันเหลว ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับ

ผมนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

๒๙. เขโฬ (น้ำลาย)

คำว่า เขโฬ คือ อาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายในปาก. เขฬะ

นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังฟองน้ำ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ แม้

จะกล่าวว่า มีสัณฐานดังฟองน้ำ ก็ควร. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่า

โดยโอกาส ออกจากกระพุ้งแก้มทั้งสองมาตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้น

ทุกเมื่อ แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหารเห็นปานนั้น (หมายถึง

อาหารที่ทำให้น้ำลายออกได้) หรือว่า วางสิ่งอะไร ๆ มีรสร้อน ขม เผ็ด

เค็ม และเปรี้ยวลงไปในปาก หรือว่าเมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้นอ่อนเพลีย

หรือเกิดความหิวกระหายในอะไร ๆ ขึ้น เมื่อนั้น น้ำลายเกิดขึ้นแล้วก็หยั่งลง

ที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ที่ลิ้น. อนึ่ง น้ำลายนั้น ที่ปลายลิ้นมีน้อย ที่

โคนลิ้นมีมาก มิรู้จักหมดสิ้นไป ทั้งสามารถเพื่อจะยังอะไร ๆ มีข้าวเม่า หรือ

ข้าวสาร หรือของที่ควรเคี้ยว ที่ใส่เข้าไปในปากให้ชุ่มอยู่ ดุจบ่อน้ำที่เขาขุด

ไว้ใกล้หาดทราย ฉะนั้น.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำลาย. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของน้ำลาย ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๓๐. สิงฺฆานิกา (น้ำมูก)

คำว่า สิงฺฆานิกา ได้แก่ น้ำไม่สะอาด อันไหลออกจากมันสมอง.

น้ำมูกนั้น ว่าโดยสี มีสีดังเยื่อในจาวตาลอ่อน. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน

ตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่เต็มโพรง

จมูก แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้นทุกเมื่อ ก็แลเมื่อใด สัตว์ทั้งหลายร้องให้ หรือ

เป็นผู้มีธาตุกำเริบอันเกิดขึ้นด้วยอาหารอันแสลงหรือฤดูเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้น

มันสมองที่ถึงความเป็นเสมหะเสีย จึงเคลื่อนหยั่งลงตามช่องเพดานข้างบนมา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ตั้งอยู่เต็มโพรงจมูก หรือย่อมไหลออกไป เปรียบเหมือน คนห่อนมส้มด้วย

ใบบัว แล้วเอาหนามแทงข้างล่าง ทีนั้น น้ำเหลวของนมส้มก็จะไหลออกตาม

ช่องนั้น แล้วพึงตกไปภายนอก ฉะนั้น.

ก็พระโยคีผู้กำหนดน้ำมูกเป็นอารมณ์ พึงกำหนดด้วยสามารถแห่ง

น้ำมูกที่ตั้งอยู่เต็มจมูก แล. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำมูก. นี้

เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำมูก ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๓๑. ลสิกา (ไขข้อ)

คำว่า ลสิกา ได้แก่ ไขลื่นเป็นมัน ที่มีกลิ่นเหม็นสางภายในข้อ

ต่อของร่างกาย. ไขข้อนั้น ว่าโดยสี มีสีดังยางดอกกรรณิการ์. ว่าโดยสัณฐาน

มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ที่

ข้อต่อ ๑๐๘ แห่ง ซึ่งทำกิจ คือ การหยอดทาข้อต่อกระดูกทั้งหลายให้สำเร็จ

อยู่ ก็ไขข้อนั้น ของผู้ใดมีน้อยไป เมื่อผู้นั้นลุกขึ้น นั่งลง ก้าวไปข้างหน้า

ถอยมาข้างหลัง คู้ เหยียด กระดูกทั้งหลายจะลั่นดังกฏะ ๆ เหมือนคนที่เที่ยว

ดีดนิ้วมือ เมื่อเดินทางไกล แม้ประมาณโยชน์หนึ่งหรือสองโยชน์ วาโยธาตุ

ก็จะกำเริบ ร่างกายย่อมเป็นทุกข์ แต่ของผู้ใดมีมาก กระดูกทั้งหลายย่อมไม่

ส่งเสียงดังกฏะ ๆ ในเวลาลุกขึ้นและนั่งลงเป็นต้น เมื่อเดินทางไกล วาโยธาตุ

ก็ไม่กำเริบ ร่างกายก็ไม่เป็นทุกข์.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นไขข้อ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท

ของไขข้อ ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

๓๒. มุตฺต (น้ำมูตร)

คำว่า มุตฺต ได้แก่ น้ำมูตร ว่าโดยสี มีสีดังน้ำด่างถั่วเหลือง.

ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังน้ำอยู่ในหม้อน้ำที่เขาตั้งปิดปาก. ว่าโดยทิศ เกิด

ในทิศเบื้องต่ำ. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระเพาะปัสสาวะ, ถุงแห่งกระเพาะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ปัสสาวะ ท่านเรียกว่า กระเพาะปัสสาวะ. ในกระเพาะนั้นเล่า น้ำมูตรย่อม

ไหลออกจากสรีระ แต่ทางที่เข้าไปของน้ำปัสสาวะมิได้ปรากฏ ส่วนทางที่ออก

ไปย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนน้ำครำที่ซึมเข้าไปในหม้อน้ำเกลือ (หม้อเนื้อ

หยาบ) ที่ปิดปากอันเขาทิ้งไว้ในแอ่งน้ำครำ ทางเข้าของมันมิได้ปรากฏ ฉะนั้น.

อนึ่ง ในกระเพาะไรเล่า เต็มแล้วด้วยน้ำมูตร ความขวนขวายของสัตว์ทั้งหลาย

จึงเกิดว่า เราจักถ่ายปัสสาวะ ดังนี้.

ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยภายในแห่งกระเพาะ และโดยสิ่งที่เป็น

น้ำมูตร. นี้เป็นสภาคปริจเฉทของน้ำมูตร ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผม

นั่นแหละ.

ก็แล พระโยคาวจร ครั้นกำหนดโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น โดย

สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท อย่างนี้แล้ว เมื่อจะมนสิการ

ด้วยสามารถแห่งการก้าวล่วงบัญญัติ โดยใส่ใจว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ๕ อย่าง

ด้วยสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ และโอกาส โดยนัย อนุปุพฺพโต (โดยลำดับ)

นาติสีฆโต (โดยไม่เร็วเกินไป) นาติสณิกโต (โดยไม่ช้าเกินไป) เป็นต้น โดย

พิจารณากายนี้ว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา ในกายนี้มีผม เป็นต้น

ธรรมทั้งปวงเหล่านั้น (โกฏฐาสทั้งหมด) ก็ย่อมปรากฏ ดุจไม่ก่อนไม่หลังกัน

เปรียบเหมือน บุคคลผู้มีตาดี แลดูพวงดอกไม้ ๓๒ สี ที่เขาร้อยไว้ด้วยด้าย

เส้นเดียว ดอกไม้ทั้งหลายย่อมปรากฏ ดุจไม่ก่อนไม่หลัง ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ในกถาแห่งมนสิการโกศลว่า ก็เมื่อพระโยคาวจร มนสิการ

ว่า เกสา มนสิการไปจนจดโกฏฐาสสุดท้ายว่า มุตฺต นี้นั่นแหละ.

ก็ถ้าว่า จิตจะพิจารณามนสิการไปในภายนอกบ้างไซร้ เมื่อโกฏฐาสทั้งปวง

ปรากฏแล้ว ในลำดับนั้น มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายผู้เดินไปมา ก็จะละอาการ

ว่าเป็นสัตว์ ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นโดยเป็นกองแห่งโกฏฐาสเท่านั้น และ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

อาหารมีน้ำและข้าวเป็นต้น อันสัตว์เหล่านั้นกลืนเข้าไปอยู่ ก็ย่อมปรากฏ

ราวกะของที่เขาใส่เข้าไปในกองแห่งโกฏฐาส. ในลำดับนั้น เมื่อพระโยคาวจร

มนสิการเนือง ๆ ว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ด้วยการมนสิการโกศล โดยอนุปุพฺพมุญฺจ-

นโต (การปล่อยลำดับ) เป็นต้น อัปปนาก็ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ. ในการเกิด

ขึ้นแห่งอัปปนานั้น การปรากฏด้วยอำนาจแห่ง สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และ

ปริจเฉท เป็นอุคคหนิมิต. การปรากฏแห่งโกฏฐาสด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล

โดยอาการทั้งปวง เป็นปฏิภาคนิมิต. เมื่อพระโยคาวจรรับอารมณ์ปฏิภาค-

นิมิตนั้นมามนสิการอยู่ ตรึกอยู่บ่อย ๆ นามขันธ์ ๔ ก็จะมีปฏิกูลเป็นอารมณ์

อัปปนาก็จะดำรงอยู่ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน. ในปุพภาค จิตมีบริกรรมและ

อุปจารเป็นไปกับด้วยวิตก วิจาร มีปีติสหรคตด้วยโสมนัส มีปฏิกูลเป็น

นิมิต แม้อัปปนา ก็มีวิตก วิจาร ปีติสหรคตด้วยโสมนัสเทียว. แต่ว่า

โดยลำดับแห่งภูมิ อัปปนานั้นเป็นมหัคคตะ เป็นรูปาวจร. ก็โสมนัสย่อมเกิด

ขึ้นเพราะความเป็นผู้มีปกติเห็นอานิสงส์ในอารมณ์แม้ปฏิกูลนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

โสมนัสนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งอารมณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. ส่วน

ทุติยฌานเป็นต้นมิได้เกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิกูลนั้น. ถามว่า เพราะอะไร. ตอบว่า

เพราะความเป็นอารมณ์อันหยาบ. จริงอยู่ ปฏิกูลนี้ เป็นอารมณ์หยาบ ทุติย-

ฌานเป็นต้นจึงมิได้เกิดขึ้น. ในอธิการนี้ ความเป็นเอกัคคตาแห่งจิต ย่อม

เกิดได้ด้วยกำลังแห่งวิตกเท่านั้น มิได้เกิดขึ้นด้วยการก้าวล่วงวิตกเลย. นี้เป็น

กรรมฐานกถาด้วยอำนาจแห่งสมถะก่อน.

กรรมฐานกถา ว่าด้วยอำนาจสาธารณะ

ก็พึงทราบกรรมฐานดังพรรณนามานี้ ด้วยอำนาจสาธารณะโดยไม่

แปลกกัน. จริงอยู่ พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ เรียนเอากรรมฐาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

นี้ เรียนเอากรรมฐานแล้ว พึงท่องแล้ว ๆ ซึ่ง นิมิตแห่งสี นิมิตแห่ง

สัณฐาน นิมิตแห่งทิศ นิมิตแห่งโอกาส และนิมิตแห่งปริจเฉท

แห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น ด้วยวาจาในเวลาที่สาธยายนั่นแหละ แล้ว

มนสิการในแต่ละโกฏฐาสว่า โกฏฐาสนี้ คล้ายกับสิ่งนั้น ดังนี้ แล้วทำการ

สาธยายโดย ๓ วิธี. ถามว่า พึงทำการสาธยายอย่างไร. ตอบว่าในตจ-

ปัญจกะก่อน พึงทำการสาธยายโกฏฐาสเหล่านั้นตลอดกึ่งเดือนเทียว คือโดย

อนุโลมตลอด ๕ วัน โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ โดยปฏิโลม

ตลอด ๕ วัน และทั้งโดยอนุโลมทั้งโดยปฏิโลมอีกตลอด ๕ วัน. ต่อจากนั้น

พึงไปสู่สำนักของอาจารย์เรียนเอาวักกปัญจกะ แล้วก็พึงทำการสาธยายตลอด

กึ่งเดือน โดยทำนองนั้นนั่นแหละ. ต่อจากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้

ทั้ง ๑๐ เหล่านั้นรวมกันตลอดกึ่งเดือน. พึงเรียนเอาโกฏฐาสหนึ่งและหนึ่ง แม้

ในปัปผาสปัญจกะเป็นต้นอีก แล้วทำการสาธยายตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น

พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ทั้ง ๑๕ เหล่านั้น ตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการ

สาธยายมัตถลุงคปัญจกะตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาส

แม้ ๒๐ เหล่านั้น ตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการสาธยายเมทฉักกะตลอดกึ่งเดือน.

จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาสแม้ ๒๖ เหล่านั้น รวมกันตลอดกึ่งเดือน

พึงทำการสาธยายมุตตฉักกะตลอดกึ่งเดือน. จากนั้น พึงทำการสาธยายโกฏฐาส

๓๒ แม้ทั้งหมด รวมกันตลอดกึ่งเดือน. พึงทำการสาธยาย ๖ เดือนอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้.

ในกรรมฐานนั้น ภิกษุผู้มีอุปนิสัยอันถึงพร้อมแล้ว ผู้มีปัญญา เรียน

กรรมฐานอยู่นั่นแหละ โกฏฐาสทั้งหลายย่อมปรากฏ. ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุ

บางรูป. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่พึงสละความเพียร ด้วยคิดว่า โกฏฐาส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ทั้งหลาย ไม่ปรากฏแก่เรา ดังนี้. โกฏฐาสทั้งหลายมีประมาณเท่าไร ยัง

มิได้ปรากฏ พึงถือเอาโกฏฐาสเหล่านั้น ทำการสาธยายไปเถิด.

อนึ่ง อาจารย์ผู้บอก ก็ไม่พึงบอกกรรมฐานอย่างนี้ แก่ผู้มีปัญญา

มาก และผู้มีปัญญาน้อย ควรบอกแก่ผู้มีปัญญาปานกลาง เพราะว่า อาจารย์

ทั้งหลายกำหนดวางแบบแผนไว้ ๖ เดือนสำหรับผู้มีปัญญาปานกลาง ส่วน

โกฏฐาสทั้งหลายของภิกษุใดแม้มีประมาณเท่านี้ยังมิได้ปรากฏ ภิกษุนั้น ก็พึง

ทำการสาธยายต่อไปนั่นแหละ จะไม่กำหนดต่อจากนั้นไปหาควรไม่ พึงกำหนด

ตลอดทุก ๆ ๖ เดือน. เมื่อเธอทำการสาธยายอยู่ ไม่พึงพิจารณาสี ไม่

พึงมนสิการลักษณะ พึงทำการสาธยายด้วยอำนาจแห่งโกฏฐาสเท่านั้น. แม้

อาจารย์เล่า ก็ไม่พึงบอกกำหนดจำกัดลงไปว่า เธอจงทำการสาธยายด้วย

อำนาจแห่งสี ดังนี้.

เมื่อบอกกำหนดจำกัดจะเป็นโทษอย่างไร

เมื่อบอกกำหนดจำกัด การผิดพลาดด้วยการสำคัญผิด (จะพึงมี) แม้

ในสิ่งที่เขาจะพึงถึงพร้อม เพราะถ้า อาจารย์บอกว่า เธอจงทำการสาธยาย

ด้วยอำนาจแห่งสี ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนี้ ทำอยู่อย่างนั้น กรรมฐานไม่ปรากฏ

โดยสี หรือว่าโดยอำนาจปฏิกูล หรือโดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น ภิกษุนั้นก็

จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน ทั้งมิใช่กรรมฐาน เธอจะกำหนด

ถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์ แม้บอกว่า เธอจง

ทำการสาธยายกรรมฐานนี้ ด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุนั้นทำ

อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยปฏิกูล หรือว่าโดยอำนาจแห่งสี หรือว่า

โดยอำนาจแห่งธาตุ ทีนั้น เธอก็จะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะของกรรมฐาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำที่อาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. ถ้าอาจารย์

บอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งธาตุ ไซร้ เมื่อภิกษุนั้น ทำ

อย่างนั้นอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏโดยธาตุ หรือว่าโดยสามารถแห่งสี หรือว่า

โดยสามารถแห่งปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้น ย่อมจะสำคัญว่า นี้มิใช่ลักษณะ

มิใช่กรรมฐาน จะกำหนดถือเอาเฉพาะคำอันอาจารย์บอกแล้วเท่านั้น. นี้เป็น

โทษในถ้อยคำที่อาจารย์กล่าวกำหนดจำกัด.

อาจารย์พึงบอกอย่างไร

อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกว่า เธอจงทำการสาธยาย ด้วย

สามารถแห่งโกฏฐาส ดังนี้. คือ อย่างไร ? คือ อาจารย์พึงบอกว่า

เธอจงทำการสาธยายโกฏฐาสว่า เกสา โลมา เป็นต้น ก็ถ้าภิกษุนั้นทำการ

สาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอย่างนี้ กรรมฐานปรากฏอยู่โดยสี ทีนั้น

ภิกษุนั้นก็จะพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาทว่า กระผมทำการสาธยายอาการ ๓๒

ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส แต่กรรมฐานนั้น (โกฏฐาส) ปรากฏแก่กระผมโดยสี

ดังนี้ อาจารย์ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)

มิใช่กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน ดังนี้. แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดี

แล้ว ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำบริกรรมในวัณณกสิณมา

กรรมฐานนี้นั่นแหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วย

สามารถแห่งสีทีเดียว. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งสี

นั่นแหละ.

การปรากฏแห่งโกฏฐาส

เมื่อภิกษุนั้น ทำอยู่อย่างนี้ ย่อมจะได้วัณณกสิณ ๔ คือ นีลกกสิณ

(กสิณสีเขียว) ปีตกกสิณ (กสิณสีเหลือง) โลหิตกกสิณ (กสิณสีแดง)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

โอทาตกกสิณ (กสิณสีขาว). คือ อย่างไร ? คือ เมื่อภิกษุนั้น มนสิการ

สีที่ผม ขน น้ำดี และในสีดำแห่งลูกตาว่า นีล นีล (เขียว ๆ) อยู่ ฌาน

อันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท

เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหันต์. ก็เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสีมันข้น

และในที่สีเหลืองแห่งลูกตาว่า ปีตก ปีตก (เหลือง ๆ) อยู่ ฌานอันเป็น

จตุกกนัยหรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้ง

วิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ก็เมื่อภิกษุนั้น มนสิการสีเนื้อ

เลือด และในที่สีแดงแห่งลูกตาว่า โลหิตก โลหิตก (แดง ๆ) อยู่ ฌาน

อันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้น ทำฌานให้เป็นบาท

เริ่มตั้งวิปัสสนาไว้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ก็เมื่อภิกษุนั้น มนสิการสีเล็บ

ฟัน หนัง กระดูก และในที่สีขาวแห่งลูกตาว่า โอทาต โอทาต (ขาว ๆ)

อยู่ ฌานอันเป็นจตุกกนัย หรือปัญจกนัย ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นทำฌานให้

เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต. ข้อนี้ เป็นการ

ออกไป ของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งสี จนถึงพระอรหัต

ภิกษุอื่นอีก เมื่อทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสอยู่ กรรม-

ฐานย่อมปรากฏโดยปฏิกูล ทีนั้น ภิกษุนั้นพึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้โอวาท

อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน) มิใช่

กรรมฐาน เป็นดุจกรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงบอกว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว ในปางก่อน

เธอจัดเคยประกอบความเพียรในปฏิกูลมนสิการมา กรรมฐานนี้นั่นแหละเป็น

สัปปายะของเธอ เธอจงการทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลนั่นแหละ.

แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูล. เมื่อภิกษุนั้นทำการ

สาธยายด้วยสามารถแห่งปฏิกูลอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผมทั้งหลายเป็นของ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ไม่งาม ไม่น่าชอบใจ มีกลิ่นเหม็น น่ารังเกียจ เป็นของปฏิกูล

ดังนี้อยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิกูลได้. ภิกษุนั้น ทำฌาน

ให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนาได้แล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต ข้อนี้เป็นการ

ออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล จนถึงพระอรหัต.

ภิกษุอื่นอีก กระทำการสาธยาย ด้วยสามารถแห่งโกฏฐาส กรรมฐาน

ย่อมปรากฏโดยธาตุ. ถามว่า กรรมฐานเมื่อปรากฏโดยธาตุ ย่อมปรากฏเป็น

เช่นไร ? ตอบว่า ผมทั้งหลายก่อน เมื่อปรากฏ ย่อมปรากฏเป็นราวกะ

ต้นหญ้าปนคลุมบนจอมปลวก. ขนทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าหญ้า-

แพรกทั้งหลายเกิดในที่ของบ้านเก่า. เล็บทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่า

ปลอกเม็ดในผลมะซางที่เขาติดไว้ปลายท่อนไม้. ฟันทั้งหลาย ย่อมปรากฏ

เป็นราวกะว่าเม็ดน้ำเต้าที่เขาปักไว้ที่ก้อนดินเหนียว. หนัง ย่อมปรากฏเป็น

ราวกะว่าหนังโคสดหุ้มไม้เล็กน้อย (หรือหุ้มข้อต่อของพิณ). เนื้อ ย่อมปรากฏ

เป็นราวกะว่าดินเหนียวที่เขาฉาบทาไว้ข้างฝาเรือน. เอ็นทั้งหลาย ย่อมปรากฏ

เป็นราวกะว่าเถาวัลย์พันทัพพสัมภาระ. กระดูก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่า

ทัพพสัมภาระของฝาเรือนที่ยกขึ้นตั้งไว้. เยื่อในกระดูก ย่อมปรากฏเป็นราว

กะว่ายอดหวายลนไฟที่ใส่ไว้ในไม้ไผ่ลำใหญ่. โกฏฐาสทั้ง ๖ คือ ไต หัวใจ

ตับ พังผืด ม้าม และปอด ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าโรงฆ่าสัตว์. ไส้ใหญ่

ยาว ๓๒ ศอก ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่างูเรือนที่เขาฆ่าแล้วใส่ไว้ในรางเลือด.

ไส้น้อย ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าเส้นเชือกเล็กที่เขาเย็บไว้ที่ผ้าสำหรับเช็ดเท้า.

อาหารใหม่ ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าข้าวสารในถุงผ้าบางหย่อน ๆ. อาหาร

เก่า (อุจจาระ) ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนดินเหลืองที่เขายัดไว้ในกระบอก

ไม้ไผ่. มันสมอง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าก้อนแป้งข้าวสาร ๔ ก้อน ที่เขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ขยำแล้วตั้งไว้. อาโปธาตุ ๑๒ อย่าง ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าน้ำเต็มถ้วย

น้ำ ๑๒ ถ้วย ที่เขาตั้งเรียงกันไว้. ทีนั้น ภิกษุนั้น พึงบอกแก่อาจารย์ผู้ให้

โอวาท อาจารย์ก็ไม่พึงกล่าวขัดแย้งว่า นั่นมิใช่ลักษณะ (ของกรรมฐาน)

มิใช่กรรมฐาน เป็นราวกะว่ากรรมฐาน ดังนี้ แต่พึงกล่าวว่า สัปบุรุษ ดีแล้ว

ในกาลก่อน เธอจักเคยกระทำความเพียรในธาตุมนสิการมา กรรมฐานนั้นนั่น

แหละ เป็นสัปปายะของเธอ เธอจงทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุเถิด.

แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งธาตุ แล.

ในข้อนั้นพึงทราบวิธีการสาธยายโดยหัวข้อมนสิการ ดังนี้

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการ (คือกระทำไว้ในใจ) ว่า ผม

ทั้งหลายเกิดที่หนังหุ้มศีรษะ ผมเหล่านั้นย่อมไม่รู้ตัวเองว่า เราเกิดที่หนัง

หุ้มศีรษะ แม้หนังหุ้มศีรษะเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลายเกิดในเรา

สิ่งเหล่านั้น ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็นสภาพ

แข็ง กระด้าง นี้เป็นปฐวีธาตุ. ย่อมมนสิการว่า ขนทั้งหลายเกิดที่หนัง

หุ้มสรีระ ขนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่หนังหุ้มสรีระ แม้หนังหุ้ม

สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด.

เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เล็บเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เราเกิดที่ปลาย

นิ้วทั้งหลาย แม้ปลายนิ้วทั้งหลายเล่า ก็ไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดในเรา

แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ฟันเหล่านี้ย่อมไม่

รู้ว่า เราเกิดที่กระดูกคาง แม้กระดูกคางเล่า ก็ไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลาย

เกิดในเรา แม้สิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีการคิด. หนังย่อมไม่รู้ว่า เราหุ้มสรีระ

แม้สรีระเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด. เนื้อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ย่อมไม่รู้ว่า เราฉาบทาสรีระ แม้สรีระเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูกเนื้อฉาบทาไว้

แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการคิด. เอ็นย่อมไม่รู้ว่า เราผูกกองกระดูกไว้ แม้กอง

กระดูกเล่า ก็ไม่รู้ว่า เราถูกตาข่ายแห่งเอ็นผูกไว้ แม้สิ่งนี้ ก็ไม่มีการ

คิด. กระดูกศีรษะ ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกคอ แม้กระดูกคอเล่า

ก็ไม่รู้ว่า กระดูกศีรษะตั้งอยู่ในเรา กระดูกคอ ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่

กระดูกสันหลัง แม้กระดูกสันหลัง กระดูกสะเอว กระดูกขาอ่อน กระดูก

แข้ง กระดูกข้อเท้า ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ที่กระดูกส้นเท้า แม้กระดูก

ส้นเท้าเล่า ก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ ฯลฯ กระดูกคอ ย่อม

ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกทั้งหลายตั้งอยู่โดยที่สุดกันตาม

ลำดับ. จากนี้ไปในที่ต่อมิใช่น้อย เอ็นอะไร ๆ มิได้ผูกไว้. กองกระดูกนี้

ก็ไม่มีการคิดเป็นดังท่อนไม้ เป็นสภาวะอันชราเตือนแล้ว. เยื่อในกระดูก แม้นี้

ก็ไม่มีการคิด. ไต ฯลฯ มันสมอง ก็ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของ

ว่างเปล่า แข็งกระด้าง เป็นปฐวีธาตุ ดังนี้. ย่อมกระทำไว้ในใจว่า น้ำดี

เสลด ฯ ลฯ น้ำมูตร ไม่มีการคิด เป็นอัพยากตะ เป็นของว่างเปล่า เป็น

เครื่องเกาะกุม เป็นอาโปธาตุเอิบอาบซึมซาบไป. เมื่อพระโยคาวจรกำหนด

มหาภูตรูป ๒ เหล่านี้อยู่ เตโชธาตุอันมาก ย่อมปรากฏที่อุทร. วาโยธาตุ

อันมาก ย่อมปรากฏที่จมูก. เมื้อกำหนดมหาภูตรูป ๔ เหล่านั้นอยู่ อุปาทารูป

ย่อมปรากฏ. ชื่อว่ามหาภูตรูปย่อมกำหนดได้ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนด

ได้ด้วยมหาภูตรูป. เปรียบเหมือน ชื่อว่า แสงแดดกำหนดได้ด้วยเงา เงาก็

กำหนดได้ด้วยเเสงแดด ฉันใด มหาภูตรูป ก็ฉันนั้นนั่นแหละ กำหนดได้

ด้วยอุปาทารูป อุปาทารูปก็กำหนดได้ด้วยมหาภูตรูป. ครั้นเมื่อความเป็นอย่าง

นั้น เมื่อภิกษุนั้นกำหนดรูปขันธ์ว่า มหาภูตรูป ๔ อุปาทารูป ๒๓ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

รูปขันธ์ อย่างนี้ อยู่ อรูปขันธ์ก็ย่อมปรากฏตัวด้วยอำนาจแห่งอายตนะและ

ทวาร. การกำหนดรูปและอรูปขันธ์ คือขันธ์ ๕ ย่อมปรากฏด้วยประการ

ฉะนี้. ขันธ์ ๕ คือ อายตนะ ๑๒ และอายตนะ ๑๒ ก็คือ ธาตุ ๑๘ เพราะ

ฉะนั้น ภิกษุพึงกำหนด นาม และ รูป กระทำให้เป็น ๒ ส่วน ด้วยสามารถ

แห่งขันธ์ อายตนะและธาตุ ให้เป็นราวกะว่าผ่าอยู่ซึ่งเง่าตาลคู่ ฉะนั้น.

ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า นามรูปนี้ เกิดขึ้นเพราะไม่มีเหตุ

ไม่มีปัจจัยหามิได้ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ มีปัจจัย ก็อะไรเล่า เป็น

เหตุ เป็นปัจจัยของนามรูปนั้น จึงกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า นาม

รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เพราะ

กรรมเป็นปัจจัย เพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความ

สงสัยในกาลทั้ง ๓ ว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ในกาลบัดนี้

(คือปัจจุบัน) ก็ดี ปัจจัยทั้งหลาย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย

ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้ว หามีสัตว์หรือบุคคลไม่ มี

แต่กองสังขารล้วน ๆ เท่านั้น ดังนี้. ก็วิปัสสนานี้ มีสังขารเป็นเครื่อง

กำหนด จึงชื่อว่า ญาตปริญญา. เมื่อภิกษุกำหนดสังขารแล้วดำรงอยู่อย่างนี้

รากฐานในศาสนาแห่งพระทศพลของเธอ ชื่อว่าหยั่งลงแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งแล้ว

ภิกษุนั้น เป็นผู้ชื่อว่า พระจุลโสดาบันผู้มีคติแน่นอน.

ก็ภิกษุนั้นได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ และธัมม-

สัปปายะเช่นนั้นแล้ว อาศัยอยู่ด้วยเอกบัลลังก์อันประเสริฐในอาสนะเดียว

พิจารณาสังขารทั้งหลายยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์โดยลำดับแห่งวิปัสสนา ย่อมถือ

เอาพระอรหัตได้ ฉะนี้แล. ข้อนี้ เป็นการออกไปของภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นด้วย

สามารถแห่งธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

ส่วนภิกษุใด กรรมฐานไม่ปรากฏโดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ

ภิกษุนั้น ก็ไม่พึงนั่งสละกรรมฐานเสีย โดยคิดว่า กรรมฐานไม่ปรากฏ

แก่เรา แต่พึงกระทำความเพียรมนสิการในโกฏฐาสต่อไปโดยแท้. ได้ยินว่า

พระเถระในปางก่อนกล่าวว่า ภิกษุ ผู้มนสิการโกฏฐาส แล มีอยู่เป็นนิจเสมอ

ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นทำการสาธยายด้วยสามารถแห่งโกฏฐาสเนือง ๆ อยู่อย่างนี้

โกฏฐาสทั้งหลายย่อมคล่องแคล่ว. ก็ในกาลใดเล่า โกฏฐาสทั้งหลาย จึงจะ

ชื่อว่าคล่องแคล่ว. เมื่อไร สักว่าเธอรำพึงไปว่า เกสา มนสิการไปจนตั้งอยู่

ที่โกฏฐาสสุดท้าย คือ มตฺถลุงฺค และพอรำพึงว่า มตฺถลุงฺค มนสิการ

มาจนตั้งอยู่ที่โกฏฐาสต้น คือ เกสา ทีนั้น โกฏฐาส ๓๒ ย่อมปรากฏแก่ภิกษุ

นั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุมองดูพวงดอกไม้ ๓๒ สี ที่ร้อยไว้ด้วยด้าย

เส้นเดียว ก็หรือว่า มองดูเสารั้ว ๓๒ ต้น ที่ฝังไว้โดยลำดับ ดอกไม้ ๓๒ สี

หรือว่า เสารั้ว ๓๒ ต้น ย่อมปรากฏตามลำดับ ฉันนั้น. สัตว์เดรัจฉาน

ทั้งหลายก็ดี มนุษย์ทั้งหลายก็ดี ซึ่งเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรากฏ (แก่พระ-

โยคาวจรนั้น) ว่าเป็นสัตว์ ย่อมปรากฏเป็นโกฏฐาสทั้งหลาย ขาทนียะโภชนียะ

ก็ย่อมปรากฏเป็นราวกะว่าสิ่งของที่เขาใส่เข้าไปในระหว่างโกฏฐาส. จำเดิมแต่

โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่วแล้ว ภิกษุนั้น จักหลุดพ้นได้ โดยหัวข้อหนึ่งใน

หัวข้อทั้ง ๓ (คือ โดยสี โดยปฏิกูล โดยสุญญตะ). กรรมฐานย่อมปรากฏ

โดยสี หรือโดยปฏิกูล หรือโดยสุญญตะ จำเดิมแต่โกฏฐาสทั้งหลายคล่องแคล่ว

แล้วก็จักหลุดพ้นโดยหัวข้อหนึ่งในหัวข้อทั้ง ๓ เปรียบเหมือนสตรีที่ต้องการจะ

ทอดขนม ปรารถนาซึ่งขนมชิ้นใด ๆ ก็ย่อมจะทอดขนมชิ้นนั้น ๆได้จากแป้ง

ที่ตนขยำตั้งไว้แล้ว ก็หรือว่า เปรียบเหมือนบุคคลหมุนหม้อเต็มด้วยน้ำที่เขา

ตั้งไว้ในภูมิประเทศเสมอกันไป แต่ที่ใด ๆ น้ำก็จะไหลออกไปแต่ที่นั้นนั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

ฉันนั้น . เมื่อภิกษุหวังอยู่โดยสี หวังอยู่โดยปฏิกูล หวังอยู่โดยสุญญตะ

กรรมฐานก็จักปรากฏได้โดยแท้. นี้ชื่อว่า อุคคหสนธิมีประมาณเท่านี้. ภิกษุ

ผู้ตั้งอยู่ในอุคคหสนธิแล้วบรรลุพระอรหัตมีประมาณมากมาย.

อนึ่ง กรรมฐานของภิกษุใด ไม่ปรากฏในอุคคหสนธิ ภิกษุนั้นเรียน

เอากรรมฐานแล้ว ถ้าอาจารย์อยู่ในอาวาสใด อาวาสนั้นเป็นสัปปายะแก่เธอ

ไซร้ นั่นเป็นการดี แต่ถ้าไม่ได้เช่นนั้น พึงอยู่ในที่อันเป็นสัปปายะ. เมื่อ

อาศัยอยู่ พึงเว้นวิหารโทษ ๑๘* แห่ง แล้วอยู่ในเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์

แม้ภิกษุเอง ก็พึงประกอบด้วยองค์ ๕. จากนั้น ภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต

หลังจากฉันภัตแล้ว ก็พึงไปสู่ที่พักในเวลาราตรี หรือที่พักในเวลากลางวัน

แล้วมนสิการกรรมฐาน. พึงมนสิการอย่างไร ? คือ พึงมนสิการกรรมฐาน

โดยลำดับแต่ต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วก่อน. ไม่พึงมนสิการเว้นกรรมฐานไว้

หนึ่งในระหว่าง. ก็เมื่อเธอมนสิการกรรมฐานโดยลำดับอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจาก

กรรมฐาน และย่อมเสวยโลกุตตรธรรม ๙ ประการ อันเช่นกับอานิสงส์แห่ง

ปราสาท เปรียบเหมือน บุรุษผู้ก้าวขึ้นบันได ๓๒ ขั้น โดยลำดับขั้น ขึ้นสู่

ปราสาทและเสวยอานิสงส์ของปราสาท ฉะนั้น.

(๑) วิหารที่ควรเว้น ๑๘ แห่ง คือ

๑. วิหารใหญ่ ๗. วิหารใกล้บ่อน้ำ ๑๓. วิหารอยู่ชายแดน

๒. วิหารเก่าคร่ำ ๘. วิหารที่มีคนชอบอยู่ ๑๔. วิหารอยู่ระหว่างพรมแดน

๓. วิหารสร้างใหม่ ๙. วิหารมีผักมาก ๑๕. วิหารใกล้เมือง

๔. วิหารใกล้ป่าไม้ฟืน ๑๐. วิหารมีดอกไม้ ๑๖. วิหารที่มีวิสภาคบุคคล

๕. วิหารใกล้ทาง ๑๑. วิหารมีผลไม้ ๑๗. วิหารที่อยู่แล้วไม่สบาย

๖. วิหารใกล้ที่นา ๑๒. วิหารใกล้ท่า ๑๘. วิหารที่ไม่มีกัลยาณมิตร

(๒) วิหารประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. วิหารที่ไม่ใกล้นักไม่ไกลนักไปมาสะดวก ๒. กลางวัน

ไม่พลุกพล่านกลางคืนเงียบสงัด ๓. ปราศจากสัมผัสเหลือบและยุง ๔. มีปัจจัยสี่ไม่ฝืดเคือง

๕. มีผู้เป็นพหูสูตอยู่ด้วย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

เมื่อมนสิการโดยลำดับ ไม่พึงมนสิการโดยเร็วนัก ไม่มนสิการโดย

ช้านักด้วย. เพราะว่า เมื่อมนสิการเร็วเกินไป กรรมฐานย่อมคล่องแคล่วแม้

ก็จริง ถึงอย่างนั้นกรรมฐานก็ไม่แจ่มแจ้ง. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาโดย

นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. เมื่อมนสิการช้าเกินไป กรรมฐานย่อมไม่

ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว. เปรียบเหมือน คนเดินทาง ๓ โยชน์

เพราะสนใจในร่มเงาอันร่มเย็นจำเดิมแต่ที่เป็นที่ออกไปแล้ว พบร่มเงาอันเย็น

สบายก็พักเสีย พบพื้นทรายอันเป็นที่รื่นรมย์ก็เหยียดหลังเสีย พบสระโบกขรณี

ในป่าย่อมดื่มย่อมอาบ พบภูเขาก็ขึ้นไปชมทิวทัศน์อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งภูเขา

สีหะ หรือเสือโคร่ง หรือเสือเหลือง ย่อมฆ่าเขาเสียในระหว่างนั่นแหละ. ก็

หรือว่า พวกโจรย่อมปล้น ย่อมฆ่า ฉันใด เมื่อมนสิการช้าเกินไป ก็ฉันนั้น

นั่นแหละ กรรมฐานย่อมไม่ถึงที่สุด ย่อมเสื่อมไปในระหว่างเทียว เพราะ

ฉะนั้น ในวันหนึ่ง ภิกษุพึงมนสิการสิ้น ๓๐ ครั้ง โดยไม่เร็วเกินไป

ไม่ช้าเกินไป แล.

ในเวลาเช้าพึงทำการสาธยาย ๑๐ ครั้ง กลางวัน ๑๐ ครั้ง เย็น

๑๐ ครั้ง การไม่ทำย่อมไม่ควร เหมือนการตื่นนอนเช้า การไม่ล้างหน้าก็ไม่

ควร การไม่เคี้ยวกินขาทนียะและโภชนียะก็ไม่ควร ควรยังกิจนี้ให้เป็นไป

กิจนี้นั่นแหละ ไม่ทำเลยสักส่วนหนึ่งหาควรไม่ เมื่อกระทำจึงจะถือเอาประ-

โยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือน บุคคลมีนา ๓ แปลง นาแปลงหนึ่ง

ให้ข้าว ๘ กุมภะ (๔๐๐ ถัง) นาแปลงหนึ่งให้ข้าว ๑๖ กุมภะ (๘๐๐ ถัง)

และนาแปลงหนึ่งให้ข้าว ๓๒ กุมภะ (๑,๖๐๐ ถัง) บุคคลนั้นไม่อาจทำนาแม้

ทั้ง ๓ แปลงได้ พึงทิ้งเสีย ๒ แปลง แล้วทำนาแปลงหนึ่งอันให้ข้าว ๓๒ กุมภะ

เท่านั้น คือพึงทำการไถ การหว่าน การเก็บเกี่ยวเป็นต้นในนาแปลงที่ ๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

นั่นแล นาแปลงที่ ๓ นั้นนั่นแหละ ย่อมแสดงการให้เกิดความอุตสาหะของ

เขาในนา ๒ แปลง นอกนี้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุแม้ละการ

งานที่เหลือมีการล้างหน้าเป็นต้นแล้ว พึงทำกรรมในที่นี้โดยแท้ การไม่ทำหา

ควรไม่ เมื่อทำจึงถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ ฉะนี้แล. ชื่อว่ามัชฌิมา-

ปฏิปทา ท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงป้องกันความฟุ้งซ่านได้. เพราะว่า เมื่อ

สละกรรมฐาน จิตก็จะถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน

ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัย เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่ง (พ่อค้า) ยังบุคคล

ให้ชำระหนี้พันหนึ่ง ได้กำไรแล้วเดินทางมา ในระหว่างทางก้าวขึ้นสะพาน

ท่อนไม้อันเดินได้คนเดียวที่พาดข้ามลำธารซอกเขาอันลึกมีจระเข้ มังกร และ

รากษส (ผีเสื้อน้ำ) เขาเดินปล่อยเท้าก้าวไป เพราะแลดุข้างโน้นข้างนี้ เลย

พลัดตกลงไปเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้ ก็เหมือนกัน

นั่นแหละ ครั้นเมื่อจิตของตนสละกรรมฐานถึงความฟุ้งไปในภายนอก ย่อม

เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมา ดังนี้

ก็กาลที่ภิกษุนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของอาจารย์ เปรียบเหมือน

กาลทีบุรุษยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้ว. สังสารวัฏ เปรียบเหมือน

ซอกเขาอันลึกในระหว่างทาง. ทุกข์ใหญ่มีวัฏฏะเป็นมูล เปรียบเหมือน กาล

ที่บุรุษนั้นถูกจระเข้เป็นต้นเห็นแล้ว. วิถีแห่งการสาธยายของภิกษุนี้ เปรียบ

เหมือน สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว. พึงทราบว่า ความที่ภิกษุนี้ สละ

กรรมฐาน มีจิตฟุ้งไปในภายนอก เสื่อมจากกรรมฐาน ไม่สามารถก้าวล่วง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

วัฏฏภัยได้ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้น ก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้เดินได้

คนเดียว แล้วปล่อยเท้าสำหรับเหยียบ มัวแลดูข้างโน้นข้างนี้พลัดตกลงไป ถึง

ความเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงมนสิการ

เกสาทั้งหลาย ครั้นมนสิการเกสาทั้งหลายแล้ว ก็จะห้ามมิให้จิตตุปบาทฟุ้ง

ไปภายนอก โดยจิตอันหมดจดอยู่นั่นแหละ พึงมนสิการต่อไปว่า โลมา นขา

ทนฺตา ตโจ เมื่อมนสิการอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมก้าว

ล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมานั้นนั่นแหละ

ให้เป็นไปโดยสิ้นเชิง

พึงทราบว่า การที่ภิกษุผู้ฉลาด มนสิการผมทั้งหลาย ห้ามมิให้

จิตตุปบาทฟุ้งไปในภายนอกแล้ว ด้วยจิตอันหมดจดนั่นแหละ พึงมนสิการอยู่

ซึ่งคำว่า โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ดังนี้ ไม่ให้เสื่อมจากกรรมฐาน จึง

ก้าวล่วงวัฏฏะภัยได้ เปรียบเหมือน การที่บุรุษผู้ฉลาด ยังบุคคลให้ชำระหนี้

หนึ่งพันได้กำไรแล้วก้าวขึ้นสู่สะพานท่อนไม้ ระมัดระวังเครื่องนุ่งห่ม กระทำ

ธาตุ คือ กายให้ทะมัดทะแมงไปจนถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี. แม้เมื่อเธอ

ห้ามความฟุ้งซ่านไปในภายนอกอย่างนี้แล้ว พึงมนสิการ โดยการก้าวล่วง

บัญญัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. คือ พึงปล่อยบัญญัติว่า

เกสา โลมา เสีย แล้วตั้งสติว่า ปฏิกูล ปฏิกูล ดังนี้. ก็กรรมฐานแรกนั้น

แหละยังมิได้ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล ตราบใดกรรมฐานยังมิได้ปรากฏโดย

ความเป็นปฏิกูล ก็ไม่พึงสละบัญญัติก่อน. กาลใด กรรมฐานปรากฏโดยความ

เป็นปฏิกูล กาลนั้น พึงสละบัญญัติ มนสิการซึ่งคำว่า ปฏิกูล ดังนี้. ก็ภิกษุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

เมื่อกระทำ พึงมนสิการกรรมฐาน โดยความเป็นปฏิกูลโดยอาการ ๕ อย่าง โดย

นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ เพราะว่าในตจปัญจกะ ย่อมได้ความเป็น

ปฏิกูลแม้ทั้ง ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ (ที่อาศัย)

และโอกาส (ที่ตั้ง) นั่นแหละ. แม้ในกรรมฐานที่เหลือ ภิกษุได้ปฏิกูลใด ๆ

ก็พึงให้มนสิการเป็นไปด้วยสามารถแห่งส่วนนั้น ๆ. บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น

โกฏฐาส ๕ มีผมเป็นต้น ถึงการนับว่า เป็นสุภนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งราคะ

เป็นอิฏฐารมณ์ ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้ยังยินดีเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่า

นั้นทั้งหมดย่อมยินดีในโกฏฐาส ๕ เหล่านี้. แต่ว่า ภิกษุนี้ย่อมบรรลุ

อัปปนาในโกฏฐาสอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีของมหาชนว่า เป็นของปฏิกูลได้

จำเดิมแต่การบรรลุอัปปนาในโกฏฐาส ๕ เหล่านั้น ต่อจากโกฏฐาสนั้นไป เธอ

เป็นผู้ไม่ลำบากเลยที่จะบรรลุอัปปนาเทียว. ในข้อนั้น พึงทราบความอุปมา

ดังนี้.

เปรียบเหมือน นายขมังธนูผู้ฉลาด ให้พระราชาโปรดปรานแล้ว

ได้บ้านส่วยซึ่งมีรายได้แสนหนึ่ง ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง ไปในบ้านนั้น ใน

ระหว่างทางพบพวกโจร ๓๒ คน บรรดาโจรเหล่านั้น เขาพึงฆ่าหัวหน้าโจร

ทั้ง ๕ คน จำเดิมแต่โจรเหล่านั้นถูกฆ่าแล้ว ในโจรเหล่านั้น โจร ๒ คน

ชื่อว่าเดินไปทางเดียวกันย่อมไม่มี ฉันใด อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น. กาล

ที่ภิกษุนี้ เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ ดำรงอยู่ เปรียบเหมือน กาลที่

นายขมังธนู ให้พระราชาโปรดปรานแล้วได้บ้านส่วย. โกฏฐาส ๓๒ เปรียบ

เหมือนโจร ๓๒ คน โกฏฐาส ๕ มีเกสา เป็นต้น เปรียบเหมือนหัวหน้าโจร

๕ คน. กาลที่ภิกษุนี้ บรรลุอัปปนาในตจปัญจกะอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี

ของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นของปฏิกูล ดังนี้ เปรียบเหมือน กาลที่หัวหน้าโจร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ทั้ง ๕ ถูกฆ่าตายแล้ว. พึงทราบว่า การบรรลุอัปปนาของภิกษุผู้ไม่ลำบากอยู่

ในโกฏฐาสที่เหลือนั่นแหละ เปรียบเหมือน กาลที่พวกโจรที่เหลือหนีไปโดย

เพียงการปรบมือของนายขมังธนูเท่านั้น. ภิกษุผู้ก้าวล่วงบัญญัติอยู่อย่างนี้ พึงให้

มนสิการเป็นไปโดยการปล่อยตามลำดับ คือ เมื่อมนสิการผมทั้งหลายซ้ำ ๆ

อยู่นั่นแหละ ครั้นฝักใฝ่ในผมทั้งหลายแล้ว พึงส่งสติไปในโลมาทั้งหลาย

ตราบใดโลมายังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า เกสา เกสา ไปก่อน แต่

เมื่อใดโลมาทั้งหลายปรากฏอยู่ ในกาลนั้น พึงเว้นเกสาทั้งหลายแล้วให้สติเข้า

ไปตั้งไว้ในโลมาทั้งหลาย. ในโกฏฐาสทั้งหลาย แม้มีนขาเป็นต้น ก็พึงให้

มนสิการเป็นไปอย่างนี้. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาต่อไป.

เหมือนอย่างว่า ปลิงเมื่อจะไป ยังไม่ได้ที่พึ่งข้างหน้าก็ยังไม่ปล่อยที่ที่

หางเกาะไว้ข้างหลัง แต่เมื่อใดได้ที่พึ่งข้างหน้า เวลานั้นก็จะยกหางขึ้นไปเกาะ

อยู่ในที่ใกล้ปากจับไว้ ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อมนสิการเกสา

ซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหละ ฝักใฝ่ในเกสาแล้ว ก็พึงส่งสติไปในโลมา ตราบใดโลมา

ยังมิได้ปรากฏ ก็พึงมนสิการว่า เกสา เกสา ก่อน เวลาใดโลมาปรากฏ

เวลานั้น พึงปล่อยเกสาแล้วจึงให้สติตั้งไว้ในโลมา. แม้ในนขา (เล็บ) เป็นต้น

ก็พึงให้มนสิการเป็นไปอย่างนี้ อัปปนาย่อมเกิดโดยนัยอันเป็นไปแล้วอย่างนี้

เพราะฉะนั้น พึงยังมนสิการโกศลตามที่กล่าวแล้วให้ถึงพร้อม. คืออย่างไร ?

คือว่า เมื่อมนสิการอัปปนากรรมฐานนี้อยู่ ก็ย่อมบรรลุอัปปนาได้ ครั้งแรก

ทีเดียวอัปปนายังไม่ปรากฏก่อน จริงอยู่ จิตที่เคยเจริญกรรมฐานมาแล้วใน

สังสารวัฏอันหาที่สุดมิได้ ซึ่งเป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ มีอยู่ ครั้นเมื่อเธอรำพึง

ว่า เกสา โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่ มตฺถลุงค

และสักว่ารำพึงว่า มตฺถลุงค โดยกระแสแห่งการสาธยายดำเนินไปตั้งอยู่ที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

เกสา ก็เมื่อมนสิการซ้ำ ๆ อยู่ โกฏฐาสนั้น ๆ ย่อมปรากฏ สติก็ตั้งมั่น

ดำรงอยู่เป็นไป. ด้วยเหตุนั้น โกฏฐาสใด ๆ ปรากฏยิ่งกว่า พึงทำความเพียร

ในโกฎฐาสนั้น ๆ โดยทวีคูณแล้วจะพึงบรรลุอัปปนา. จำเดิมแต่กาลที่บรรลุ

อัปปนาแล้วอย่างนี้ เธอย่อมบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบาก

เลย. ในข้อนี้ พึงทราบความอุปมาเหมือนลิงในป่าตาล แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบการประกอบความแม้อย่างนี้ว่า

ลิงอาศัยอยู่ในป่าตาล ๓๒ ต้น. นายพรานต้องการจะจับลิงนั้น จึงยืนอยู่ใกล้

ต้นตาล ฯลฯ ในที่สุดได้กระทำเสียงขับไล่. ลิงผู้มีมานชาติ (มีชาติแห่งสัตว์

มีมานะ คือการถือตัว) โลดไปสู่ตาลต้นนั้น ๆ แล้วหยุดอยู่ทีตาลต้นสุดท้าย.

นายพรานไปในที่แม้นั้นแล้วได้ทำเสียงขับไล่. ลิงจึงไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นแรกนั้น

นั่นแหละ. ลิงนั้นถูกนายพรานติดตามขับอยู่บ่อย ๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ ก็หยุด

อยู่ที่ตาลต้นนั้น ๆ นั่นแหละ ในกาลที่นายพรานทำเสียงขับไล่ ๆ มันจึงจะลุก

ขึ้นไป. เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยมากก็จะยึดยอดใบตาลของต้นตาลต้นหนึ่งไว้แน่น

แม้ถูกนายพรานยิงด้วยธนูจับมาก็ไม่หนีไป. ในข้อนั้น โกฏฐาส ๓๒ เปรียบ

เหมือนตาล ๓๒ ต้น. จิต (ของพระโยคาวจร) เปรียบเหมือนลิง.

พระโยคาวจร เปรียบเหมือนนายพราน. การที่พระโยคาวจรมีจิตเคย

อบรมแล้วในสังสารวัฏอันหาที่สุดมิได้ และในอารมณ์ต่าง ๆ พอเธอรำพึงว่า

เกสา โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายไปตั้งอยู่ที่ มตฺถลุงค เปรียบ-

เหมือน กาลที่ลิงผู้มีมานชาติในขณะที่ถูกนายพรานยืนอยู่ใกล้ต้นตาลทำเสียง

ขับไล่ จึงหนีไปหยุดอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย. การที่พระโยคาวจรเพียงรำพึงว่า

มตฺถลุงค โดยทำนองแห่งกระแสการสาธยายมาหยุดอยู่ที่ เกสา เปรียบเหมือน

กาลที่ลิงอยู่ที่ตาลต้นสุดท้าย เมื่อถูกนายพรานทำเสียงขับไล่ ก็กลับมาในที่สุด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

แห่งตาลข้างนี้. การที่พระโยคาวจรมนสิการซ้ำ ๆ อยู่ เมื่อโกฏฐาสนั้น ๆ

ปรากฏอยู่ สติก็จะตั้งมั่น ดำรงอยู่เป็นไป เปรียบเหมือน กาลที่ลิงนั้นถูกนาย

พรานติดตามอยู่บ่อย ๆ เหน็ดเหนื่อยอยู่ จึงลุกขึ้นไปในขณะที่ถูกนายพรานขับ

ไล่ ๆ. การที่โกฏฐาสใดปรากฏยิ่งกว่า (ชัดกว่า) แล้วจึงทำมนสิการในโกฏฐาส

นั้นให้ทวีคูณไปจนบรรลุอัปปนา เปรียบเหมือน กาลที่ลิงแม้ถูกนายพรานยิง

ด้วยธนูจับตัวมาก็ไม่หนีไป ฉะนั้น. ในโกฏฐาสเหล่านั้น จำเดิมแต่บรรลุ

อัปปนาแล้ว จักบรรลุอัปปนาในโกฏฐาสที่เหลือได้โดยไม่ลำบากเลย. เพราะ

ฉะนั้น พระโยคาวจรพึงรำพึงว่า ปฏิกูล ปฏิกูล บ่อย ๆ พึงนำปฏิกูลมาตรึก

บ่อย ๆ เมื่อทำอยู่อย่างนี้ นามขันธ์ ๔ ย่อมมีอารมณ์ปฏิกูลก็จะบรรลุอัปปนา

ได้. คำทั้งปวงที่ว่า ปุพภาคจิตทั้งหลาย มีวิตก วิจาร กล่าวคือ บริกรรม

และอุปจาระ เป็นต้น เช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. แต่ว่าเมื่อ

มนสิการโกฏฐาสหนึ่ง ปฐมฌานหนึ่งเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดย

เฉพาะแต่ละโกฏฐาส ปฐมฌาน ๓๒ ย่อมเกิดขึ้น.

คำว่า โส ต นิมิตฺต ได้แก่ ภิกษุนั้น. . . ซึ่งนิมิตแห่งกรรมฐาน

นั้น. คำว่า อาเสวติ คือ ย่อมเสพ ย่อมคบ. คำว่า ภาเวติ คือ ย่อม

เจริญ. คำว่า พหุลีกโร คือ กระทำบ่อย ๆ. คำว่า สฺวาวตฺถิต ววตฺถเปติ

คือ กระทำกำหนดให้ดี. ข้อว่า พหิทฺธา กาเย จิตฺต อุปสหรติ (แปลว่า

ย่อมน้อมจิตไปในกายภายนอก) อธิบายว่า ครั้นกระทำอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อม

คือย่อมให้จิตไป ย่อมส่งจิตของตนไปในกายของผู้อื่นอันเป็นไปภายนอก

คำว่า อตฺถิสฺส กาเย คือ มีอยู่ในกายของผู้นั้น. ข้อว่า อชฺฌตฺต-

ทหิทฺธา กาเย จิตฺต อุปสหรติ (แปลว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายทั้งภายใน

และภายนอก) อธิบายว่า ย่อมน้อมจิตไปในกายของตนตามกาลสมควร

น้อมจิตไปในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

คำว่า อตฺถิ กาเย (มีอยู่ในกาย) นี้ ท่านไม่ประสงค์เอากาย

ของตนและกายของผู้อื่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า มีอยู่ในกายนี้. ก็ในข้ออื่น เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมว่า ปฏิกูล

ในสรีระอันมีอยู่ของตน อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำบริกรรม

ว่า ปฏิกูล ในสรีระอันมีอยู่ของผู้อื่น อัปปนาย่อมไม่เกิด อุปจาระก็ไม่เกิด.

ถามว่า ก็ปฏิกูลแม้ทั้งสองย่อมเกิดในอสุภ ๑๐ มิใช่หรือ ? ตอบว่า ใช่

เพราะอสุภ ๑๐ เหล่านั้นดำรงอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร ฉะนั้น อัปปนาก็ดี

อุปจาระก็ดี จึงเกิดขึ้นได้ในอสุภ ๑๐ เหล่านั้น ส่วนปฏิกูลในสรีระของผู้อื่นนี้

ตั้งอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกสังขาร ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อัปปนาและอุปจาระแม้

ทั้งสอง จึงไม่เกิดในที่นั้น. ก็วิปัสสนา กล่าวคือ การตามเห็นอสุภ พึงทราบ

ว่า เป็นภาวนา. ถามว่า ในข้อนี้ ท่านเรียกว่าอะไร. ตอบว่า ท่านเรียก

ว่า สมถวิปัสสนา. บัดนี้ พึงทราบปกิณณกะที่ทั่วไปแก่การมนสิการทั้งปวง

ในที่นี้ ต่อไป.

ว่าโดยนิมิตเป็นต้น

จริงอยู่ การวินิจฉัยผมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบ โดยนิมิต โดย

ลักษณะ โดยธาตุ โดยสุญญตะ และ โดยขันธ์ เป็นต้น.

ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า โดยนิมิต คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนด

อาการ ๓๒ โดยโกฏฐาส ด้วยสามารถแห่งนิมิต ๑๖๐ มีอยู่ในอาการ ๒๓ คือ

ผม มีนิมิต ๕ ได้แก่ วัณณนิมิต สัณฐานนิมิต ทิสานิมิต โอกาสนิมิต และ

ปริเฉทนิมิต. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๕ = ๑๖๐).

ข้อว่า โดยลักษณะ คือ พระโยคาวจร ย่อมมนสิการอาการ ๓๒

โดยลักษณะด้วยสามารถแห่งลักษณะ ๑๒๘ ในอาการ ๓๒ คือ ผม มีลักษณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

๔ ได้แก่ ถทฺธตฺตลกฺขณ (มีความแข็งเป็นลักษณะ) อาพนฺธนลกฺขณ

(มีการเกาะกุมเป็นลักษณะ) อุณฺหตฺตลกฺขณ (มีความร้อนเป็นลักษณะ)

วิตฺถมฺภนลกฺขณ (มีการขยายตัวเป็นลักษณะ) แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่น

แหละ (๓๒ * ๔ = ๑๒๘).

ข้อว่า โดยธาตุ คือ พระโยคาวจร ย่อมกำหนดอาการ ๓๒ โดย

ธาตุ ด้วยสามารถแห่งธาตุ ๑๒๘ ในอาการ ๓๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๔ ดังนี้ ผมมีธาตุ ๔ คือ ความแข็ง

เป็นปฐวีธาตุ ความเกาะกุมเป็นอาโปธาตุ ความร้อนเป็นเตโชธาตุ ความขยาย

ตัวเป็นวาโยธาตุ. แม้ในขนเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๔ = ๑๒๘).

ข้อว่า โดยสุญญตะ คือ พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นอาการ

๓๒ ด้วยสามารถแห่งสุญญตะ ๙๖ ในอาการ ๓๒ คือ ผม มีสุญญตะ ๓ ก่อน

คือ อตฺตสุสญฺตา (ว่างจากตน) อตฺตนิยสุญฺตา (ว่างจากสิ่งที่เป็นของ

ตน) นิจฺจภาวสุญฺตา (ว่างจากความเป็นของเที่ยง) เพราะอรรถว่า ผม

ทั้งหลาย ว่างจากตน หรือจากสิ่งที่เป็นของตน ...จากความแน่นอน...จาก

ความมั่นคง ... จากความเที่ยง... จากธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง. แม้ในขนเป็น

ต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ (๓๒ * ๓ = ๙๖).

ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ โดยนัยว่า เมื่อ

พระโยคาวจรกำหนดอาการ ๓๒ ด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นอาทิ ในโกฏฐาสทั้ง

หลายมีผมเป็นต้น คือว่า ผมทั้งหลายเป็นขันธ์เท่าไร เป็นอายตนะเท่าไร เป็น

ธาตุเท่าไร เป็นสัจจะเท่าไร และเป็นสติปัฏฐานเท่าไร เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกายานุปัสสนาโดยพิสดาร ๓ อย่าง

โดยแยกเป็นกายภายในเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภคำว่า อนุปสฺสี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

เป็นต้น เพื่อจะแจกบทว่า กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน เป็น

ต้น ออกไป.

ในข้อนั้น เพื่อแสดงอนุปัสสนา ที่ชื่อว่า กายานุปสฺสี นั้น

จึงตรัสว่า "ในบทเหล่านั้น การพิจารณาเนือง ๆ (อนุปัสสนา) เป็นไฉน

ปัญญาใด ปชานนา" เป็นอาทิ แม้ในคำทั้งหลายมี อาตาปี เป็นต้นก็นัยนี้

นั่นแหละ. คำว่า ปัญญา ปชานนา พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถา

แห่งจิตตุปปาทกัณฑ์ แล.

คำทั้งปวงว่า อุเปโต (ผู้เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ

กันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุเปโต ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ (การ

ซ่องเสพ) ชื่อว่า สมุเปโต (เข้าไปถึงแล้วด้วยดี) เพราะเข้าถึงด้วยดี ด้วย

สามารถแห่งภาวนา. แม้คำเป็นคู่ ๆ กันว่า อุปาคโต (ผู้เข้ามาถึงแล้ว) สมุ-

ปาคโต (ผู้เข้ามาถึงแล้วด้วยดี) อุปปนฺโน (ผู้เข้าถึงแล้ว ) สมฺปนฺโน

(ผู้เข้าถึงแล้วด้วยดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ พึงทราบการเชื่อมความ

อย่างนี้ว่า ก็ชื่อว่า ผู้ประกอบแล้ว เพราะสามารถกระทำให้มาก. แม้

คำว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้วด้วยความเพียรเป็นต้น ก็นัยนี้.

ในบทว่า วิหรติ (อยู่) พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อแสดงโดย

เทศนาปุคคลาธิษฐาน จึงตรัสคำว่า อิริยติ (พระพฤติเป็นไปอยู่) เป็นต้น

โดยไม่ทำคำถามว่า บรรดาคำเหล่านั้น วิหารเป็นไฉน. เนื้อความแห่งคำนั้น

ชื่อว่า อิริยติ เพราะความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในอิริยาบถ ๔. ชื่อว่า วตฺตติ (เป็นไปอยู่) เพราะเป็นไปด้วยเกวียน คือ

กาย ซึ่งเป็นไปด้วยอิริยาบถ ๔ เหล่านั้น. ชื่อว่า ปาเลติ (รักษาอยู่) เพราะ

การกำจัดอิริยาบถหนึ่งอันเป็นทุกข์ ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วรักษาสรีระไว้โดยความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

เป็นผู้ดำรงอยู่ยั่งยืน. ชื่อว่า ยาเปติ (ให้เป็นไปอยู่) เพราะไม่ดำรงอยู่ใน

อิริยาบถเดียว คือเป็นไปด้วยอิริยาบถทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยาเปติ

เพราะยังกายนั้น ๆ ให้เป็นไปด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. ชื่อว่า จรติ (เที่ยวไปอยู่)

เพราะให้ร่างกายเป็นไปได้ตลอดกาลนาน. ชื่อว่า วิหรติ (อยู่) เพราะเปลี่ยน

อิริยาบถด้วยอิริยาบถแล้วนำชีวิตไป.

ข้อว่า กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก ความว่า ภิกษุมีปรกติตามเห็น

กายในกายใดอยู่ กายนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าเสื่อม

สลายไป แต่เพราะอภิชฌาโทมนัส อันบุคคลใดละได้ในกาย บุคคลนั้น

ชื่อว่า ย่อมละได้แม้ในเวทนาเป็นต้นนั่นแหละ ฉะนั้น แม้อุปาทานขันธ์ ๕

ก็ชื่อว่า โลก.

พึงทราบวินิจฉัย แม้ในคำว่า สนฺตา เป็นต้น (อภิชฌาโทมนัสดัง

กล่าวนี้) ชื่อว่า สนฺตา (สงบ) เพราะความสงบแล้วด้วยสามารถแห่งนิโรธ.

ชื่อว่า สมิตา (ระงับ) เพราะระงับแล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า วูปสนฺตา (เข้า

ไปสงบ) เพราะความสงบโดยความไม่มีต่อไปแห่งการกำหนดรู้ซึ่งวัตถุ (วัตถุ

สัจจะ). ชื่อว่า อัสดงคต (ดับไป) เพราะถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ กล่าว

คือ นิโรธ. ชื่อว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ดับไปอย่างราบคาบ) เพราะถึงการดับ

อย่างยวดยิ่ง เหตุที่กำจัดความเกิดบ่อย ๆ เสียได้. คำว่า อปฺปิตา คือ ถูก

ทำให้พินาศไป คือ ไม่ให้มีต่อไป. คำว่า พฺยปฺปิตา คือ ถูกทำให้พินาศไป

ด้วยดี คือไม่มีเลย. ชื่อว่าโสสิตา (ถูกทำให้เหือดแห้ง) เพราะความให้เหือด

แห้งแล้วอย่างนี้ คือ มิให้มีอาสวะเกิดขึ้นอีกในภายหลัง. ชื่อว่า วิโสสิตา

(ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี) เพราะเหือดแห้งด้วยดี คือถูกทำให้แห้งแล้ว. ชื่อ

ว่า พฺยนฺติกตา (ถูกทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว) เพราะทำให้ปราศจากไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

อนึ่ง ในอธิการนี้ การบริหารกายของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน โดยการอยู่ด้วยกรรม

ฐาน พึงทราบด้วย อนุปัสสนา. สัมมัปปธาน พึงทราบด้วยอาตาปะ (ความ

เพียรเผากิเลส). อุบายเป็นเครื่องบริหารกรรมฐาน พึงทราบด้วยสติสัมปชัญญะ

ผู้มีสมถะอันได้แล้ว พึงทราบด้วยสติ หรือด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนา.

วิปัสสนา พึงทราบ ด้วยสัมปชัญญะ. และพึงทราบว่า ผลแห่งภาวนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยการกำจัดอภิชฌาโทมนัส ฉะนี้แล.

อรรถกถากายานุปัสสนานิทเทส จบ

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส

แม้ในเวทนานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วใน

หนหลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ก็ในข้อว่า สุข เวทน เวทยมาโน

เป็นต้น คำว่า สุข เวทน อธิบายว่า เมื่อเสวยสุขเวทนาอันเป็นไปทางกาย

หรือทางจิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนี้เปรียบเหมือน

ทารกทั้งหลาย แม้ยังนอนหงายอยู่ในเวลาที่ดื่มน้ำนมเป็นต้น เมื่อเสวยสุขเวทนา

ก็ย่อมรู้ว่า เราเสวยสุขเวทนา ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้

ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. ด้วยว่า ความรู้เช่นนั้น ย่อมไม่ละสัตตูปลัทธิ

(คือ ความเห็นว่าเป็นสัตว์) ย่อมไม่เพิกถอนสัตตสัญญา (คือความสำคัญ

ว่าเป็นสัตว์) ทั้งมิใช่กรรมฐาน หรือมิใช่การเจริญสติปัฏฐาน. แต่ความรู้ของ

ภิกษุนี้ ย่อมละสัตตูปลัทธิ ย่อมเพิกถอนสัตตสัญญา ทั้งเป็นกรรมฐานด้วย

เป็นการเจริญสติปัฏฐานด้วย. เพราะว่า ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเสวย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

คือ ความรู้สึกอย่างนี้ว่า ใครเสวยเวทนา เวทนาของใคร เวทนามี

อะไรเป็นเหตุ ดังนี้.

ในปัญหาเหล่านั้น ข้อว่า ใครเสวยเวทนา ความว่าใคร ๆ คือ สัตว์

หรือว่าบุคคลย่อมเสวยเวทนาหามิได้. ข้อว่า เวทนาของใคร ความว่า มิใช่

เวทนาของใคร ๆ ไม่ว่าเป็นสัตว์ หรือบุคคล. ข้อว่า เวทนามีอะไรเป็น

เหตุ ความว่า ก็เวทนานั้นแล มีวัตถุเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น

ทราบชัดอย่างนี้ว่า เวทนาเทียว อันเขาย่อมเสวย เพราะทำวัตถุแห่งสุขเป็น

ต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ แต่เพราะถือเอาความเป็นไปแห่งเวทนานั้น ก็ย่อมเป็น

เพียงโวหารว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ ครั้นทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว

เมื่อกำหนดว่า เราเสวยเวทนา ดังนี้ พึงทราบว่าเขาผู้นั้นย่อมทราบชัดว่า

เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ดังนี้. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ในจิตตลบรรพต.

ได้ยินว่า พระเถระ ในเวลาที่ท่านไม่สบาย นอนร้องครวญครางอยู่

เพราะเวทนากล้า พลิกกลับไปมา ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งมาถามท่านว่า ท่าน

ขอรับ ท่านเจ็บปวดตรงไหน. พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ ขึ้นชื่อว่า

ที่เป็นที่เจ็บปวดอันเป็นส่วนตรงไหน ไม่มี เราเสวยเวทนา เพราะทำ

วัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้. ภิกษุหนุ่มจึงเรียนท่านว่า จำเดิมแต่กาลที่ท่าน

ทราบอย่างนี้ การอดกลั้นไม่ควรหรือขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เราจะอด

กลั้น. ภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า การอดกลั้นเป็นการดี. พระเถระอดกลั้นแล้ว

ลมแผ่ไปจนถึงหัวใจ ได้ทำลำไส้ให้เป็นก้อนแก่ท่านบนเตียงนอน. พระเถระให้

ภิกษุหนุ่มดู แล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ อดกลั้นขนาดนี้ ควรหรือยัง. ภิกษุ

หนุ่มได้เป็นผู้นิ่ง. พระเถระประกอบวิริยสมาธิแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา เป็นพระอรหันต์ผู้สมสีสี (ผู้มีที่สุดเสมอกัน คือการสิ้นชีวิตพร้อม

กับการบรรลุพระอรหัต) ปรินิพพานแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

ก็ สุขเวทนา ฉันใด ทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา

ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ฉันนั้น. พระผู้

มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานแล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐานอย่างนี้

จึงตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนา.

จริงอยู่ กรรมฐานมี ๒ คือ รูปกรรมฐาน และ อรูปกรรมฐาน.

กรรมฐานนั้นนั่นแหละ ตรัสว่า รูปปริคฺคโห (คือ การกาหนดรูป) บ้าง

อรูปปริคฺคโห (คือ การกำหนดอรูป) บ้าง. ในกรรมฐาน ๒ นั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐานจึง ตรัสการกำหนดธาตุ ๔ ด้วยสามารถ

แห่งมนสิการโดยสังเขปบ้าง โดยพิสดารบ้าง. การมนสิการแม้ทั้ง ๒ นั้น ข้าพ-

เจ้าก็แสดงไว้โดยอาการทั้งปวง ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อตรัสอรูปกรรมฐาน ย่อมตรัสด้วยสามารถแห่งเวทนาโดยมาก.

อนึ่งความถือมั่นในอรูปกรรมฐาน มี ๓ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่ง

ผัสสะ ๑ ด้วยสามารถแห่งเวทนา ๑ และด้วยสามารถแห่งจิต ๑ คือ

อย่างไร ? คือว่า ก็เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรูปกรรมฐานโดยสังเขป หรือ

โดยพิสดาร การที่จิตและเจตสิกตกไปในอารมณ์ครั้งแรกนั้น ผัสสะอันกระทบ

ซึ่งอารมณ์นั้นก็เกิดขึ้น ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป. พระโยคาวจรทั้งหลาย

ย่อมเสวยอารมณ์นั้น เวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป.

วิญญาณ อันเกิดขึ้นกำหนดรู้อารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร

บางรูป.

ในความถือมั่น ๓ อย่างนั้น ผัสสะย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุ

นั้น ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นทีเดียวว่า มิใช่ผัสสะอย่างเดียว

เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั่นแหละ ก็เกิดขึ้นพร้อมด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

ผัสสะนั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้

วิญญาณอันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยผัสสะนั้น ดังนี้ เวทนาย่อม

ปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้น ก็ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น

นั่นแหละว่า มิใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่ง

อารมณ์นั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้นกับเวทนานั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์

นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น แม้วิญญาณอันรู้แจ้งซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อม

เกิดขึ้นกับเวทนานั้น ดังนี้. วิญญาณย่อมปรากฏแก่ภิกษุใด แม้ภิกษุนั้นก็

ย่อมกำหนดธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นนั่นแหละว่า มิใช่วิญญาณอย่างเดียว

เท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะอันกระทบอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมเกิดขึ้นกับ

วิญญาณนั้น แม้เวทนาอันเสวยอยู่ซึ่งอารมณ์นั้น แม้สัญญาอันจำซึ่งอารมณ์

นั้น แม้เจตนาอันคิดซึ่งอารมณ์นั้น ก็ย่อมเกิดขึ้นกับวิญญาณนั้น ดังนี้.

เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้

อาศัยอะไร ดังนี้ เธอย่อมทราบชัดว่า อาศัยวัตถุ ขึ้นชื่อว่า วัตถุ ก็คือ

กรชกาย ท่านกล่าวหมายเอาวัตถุคือกรชกายในที่นี้ไว้ว่า ก็แล วิญาณของเรานี้

อาศัยในกรชกายนี้เกี่ยวเนื่องในกรชกายนี้ ดังนี้ เมื่อว่าโดยอรรถ กรชกายนั้นคือ

มหาภูตรูป และอุปาทารูปทั้งหลาย. ในข้อนี้ พระโยคาวจร ย่อมเห็นนามรูปนั่น

แหละอย่างนี้ว่า วัตถุเป็นรูปธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น เป็นนามดังนี้.

รูปในที่นี้ก็คือรูปขันธ์ นามก็คืออรูปขันธ์ ๔ เพราะฉะนั้น นามรูป จึงเป็น

เพียงขันธ์ ๕ เพราะว่า ขันธ์ ๕ นอกจากนามรูป หรือว่า นามรูป นอกจาก

ขันธ์ ๕ ย่อมไม่มี. ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น มีอะไร

เป็นเหตุ ดังนี้ ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้น เป็นเหตุ ในลำดับนั้น จึงยก

ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยสามารถแห่งนามรูป พร้อมด้วยปัจจัยว่า นี้เป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

นี้เป็นปัจจยุปบัน (คือ ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย) สัตว์หรือว่าบุคคลอื่นไม่

มี มีแต่เพียงกองแห่งสังขารล้วน ๆ เท่านั้น ดังนี้ พิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง

อนัตตา โดยลำดับแห่งวิปัสสนา เที่ยวไปอยู่. หวังอยู่ซึ่งการแทงตลอดว่า

ในวันนี้ ในวันนี้ ดังนี้ ก็หรือว่า เธอได้อุตุสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชน-

สัปปายะ และธัมมัสสวนสัปปายะ ในวันเช่นนั้นแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวนั่น

แหละ ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุดแล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกรรมฐานแก่ชนแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น จนถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

ก็แล ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งเวทนา. จริงอยู่ อรูปกรรมฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ ด้วย

สามารถแห่งผัสสะหรือด้วยสามารถแห่งวิญญาณ ย่อมไม่ปรากฏ คล้ายกับความ

มืด เพราะกรรมฐานนั้น ย่อมปรากฏด้วยสามารถแห่งเวทนา. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลาย ย่อมปรากฏ เพราะว่า

ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาทั้งหลายปรากฏอยู่ คือในกาลใด สุข

เวทนาเกิดขึ้น ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบซ่านแผ่ไปอยู่

เป็นราวกะให้เคี้ยวกินเนยใสอันชำระแล้วตั้งร้อยครั้ง ราวกะให้ดับอยู่ซึ่งความ

เร่าร้อนด้วยน้ำตั้งพันหม้อ ย่อมให้เปล่งวาจาว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้. ใน

กาลใด ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ทำให้สรีระทั้งสิ้นกระเพื่อมอยู่ สั่นไหวอยู่ ซาบ

ซ่านแผ่ไปอยู่ เป็นราวกะเข้าไปสู่กระเบื้องที่ร้อน ราวกะราดอยู่ด้วยน้ำทองแดง

ที่ละลายแล้ว ราวกะกำคบเพลิงไม้ที่ใส่เข้าไปในหญ้าและต้นไม้ใหญ่ที่แห้งใน

ป่า ทำให้บ่นเพ้อรำพันอยู่ว่า ทุกข์จริง ทุกข์จริง ดังนี้. ความเกิดขึ้นแห่ง

สุขเวทนา และทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ส่วนอทุกขมสุขเวทนา ชี้แจงให้เห็นได้โดยยาก ไม่แจ่มแจ้งดังความ

มืด. แต่ย่อมปรากฏแก่ผู้เอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นอาการ

ปานกลาง ด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธความยินดีและยินร้าย เพราะความสุข

และความทุกข์ปราศจากไป. เปรียบเหมือน นายพรานเนื้อ ตามรอยเท้าเนื้อตัว

ที่หนีขึ้นไปบนระหว่างแผ่นหิน ในเวลาอื่นพบรอยเท้าเนื้อที่ฝั่งนี้ของแผ่นหิน

แม้ไม่เห็นรอยเท้าในท่ามกลาง ก็จะทราบได้โดยนัยว่า เนื้อนี้ ขึ้นไปจากที่ตรงนี้

ลงมาจากที่ตรงโน้น ในท่ามกลาง มันจักไปบนแผ่นหินโดยประเทศตรงนี้

ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะว่า ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาย่อมปรากฏ เป็น

ราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ย่อมปรากฏ

เป็นราวกะว่า รอยเท้าในที่เป็นที่ก้าวลง อทุกขมสุขเวทนานี้ ย่อมปรากฏ

แก่ผู้ถือเอาโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา เป็นอาการปานกลาง ด้วยสามารถแห่ง

การปฏิเสธความยินดีและยินร้าย ในเพราะการปราศจากสุขและทุกขเวทนา

ราวกะการถือเอาโดยนัยว่า เนื้อที่ขึ้นไปบนแผ่นหินตรงนี้ ลงไปตรงโน้น ใน

ท่ามกลางมันจะเดินไปตรงนี้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกรรมฐานก่อนแล้ว เมื่อจะตรัสอรูป

กรรมฐานในภายหลังอย่างนี้ จึงทรงยักย้ายเปลี่ยนไปแสดงด้วยสามารถแห่งเวทนา

ก็พระองค์ทรงแสดงอย่างนี้ ในสติปัฏฐานวิภังค์นี้อย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ ทรง

แสดงรูปกรรมฐานก่อนแล้ว ทรงแสดงอรูปกรรมฐานยักย้ายไปด้วยสามารถแห่ง

เวทนาในภายหลัง ในสูตรทั้งหลายเป็นเอนก คือ ในทีฆนิกาย มีมหานิทาน

สูตร สักกปัญหสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย มีสติปัฏฐานสูตร

จุลลตัณหาสังขยสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

มาคันทิยสูตร ธาตุวิภังค์ อาเนญชสัปปายสูตร ในสังยุตตนิกาย มีจุลลนิทานสูตร

รุกโขปมสูตร ปริวิมังสนสูตร สกลเวทนาสังยุตตสูตรทั้งหลาย. ก็ในสติปัฏฐาน

วิภังค์แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานก่อน แล้วทรงยักย้ายแสดง

อรูปกรรมฐาน ด้วยสามารถแห่งเวทนาในภายหลังเช่นในสูตรเหล่านั้น ๆ แล.

ในคำว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา เป็นต้นนั้น พึงทราบปริยายแห่งการ

รู้อีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้. ข้อว่า ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา อธิบายว่า

ภิกษุนั้นเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยอยู่ซึ่งสุขเวทนา เพราะ

ความไม่มีทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา ด้วยเหตุนั้น ในข้อนั้น เขาผู้นั้น

ย่อมทราบในที่นี้ว่า เพราะทุกขเวทนาอันใดเคยมีมาก่อน บัดนี้ ทุกขเวทนา

อันนั้นมิได้มี และเพราะไม่มีเวทนาอื่นจากสุขเวทนานี้ ขึ้นชื่อว่าเวทนา

จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด

เสวยสุขเวทนา สมัยนั้น ไม่เสวยทุกขเวทนา ไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา

สมัยนั้นย่อมเสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด

เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น ไม่เสวยสุขเวทนา ไม่

เสวยทุกขเวทนา สมัยนั้น ย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อนอัคคิเวสนะ

แม้สุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันเกิดขึ้น มีความ

สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาแล ฯลฯ ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้

อทุกขมสุขเวทนาแล ก็ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ มีความดับไปเป็น

ธรรมดา ดูก่อนอัคคิเวสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ

หน่ายในเวทนาอันเป็นสุขบ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นทุกข์บ้าง ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

เบื่อหน่ายในเวทนาอันเป็นอทุกขมสุขบ้าง เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า เราหลุดพ้น

แล้ว เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.

ในคำว่า หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิสเป็นต้น พึงทราบว่า

เคหสิตโสมนัสเวทนา ๖ ที่อาศัยอามิส คือ กามคุณ ๕ ชื่อว่า สุขเวทนามี

อามิส. เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ ชื่อว่า สุขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตโทมนัส.

เวทนา ๖ ชื่อว่า ทุกขเวทนามีอามิส. เนกขัมมสิตโทมนัสเวทนา ๖ ชื่อว่า

ทุกขเวทนาไม่มีอามิส. เคหสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขสุขเวทนามี

อามิส. เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา ๖ ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส.

การจำแนกเวทนาเหล่านั้นมาแล้วในบาลีอุปริปัณณาสก์ แล.

คำว่า โส ต นิมิตฺต ได้แก่ ภิกษุนั้น ...ซึ่งนิมิตแห่งเวทนานั้น.

คำว่า พหิทฺธา เวทนาสุ (ในเวทนาภายนอก) คือ ในเวทนา

ทั้งหลายของบุคคลอื่น.

คำว่า สุข เวทน เวทยมาน คือ รู้บุคคลอื่นกำลังเสวยสุขเวทนา.

คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา (ทั้งภายในและภายนอก) คือ ย่อมน้อม

จิตเข้าไปในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาลสมควร ของผู้อื่นตามกาลสมควร

เพราะในวาระนี้ มิได้กำหนดตน มิได้กำหนดผู้อื่น ฉะนั้น เพื่อทรงแสดง

เพียงการกำหนดเวทนาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนา

นี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ฯลฯ ข้อความที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น. ในข้อ

นี้ ท่านกล่าววิปัสสนาไว้ล้วน ๆ แล.

อรรถกถาเวทนานุปัสสนานิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

อรรถกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส

แม้ในจิตตานุปัสสนานิทเทส พึงทราบเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในหน

หลัง โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในข้อว่า สราค วา จิตฺต เป็นต้น

บทว่า สราค คือ จิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ อย่าง. บทว่า วีตราค คือจิต

เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. แต่เพราะการพิจารณานี้ ไม่ใช่ธรรมสโมธาน

ฉะนั้น จึงไม่ได้โลกุตรจิตแม้สักบทเดียวในที่นี้. อกุศลจิตเหล่าใด เป็นไป

กับด้วยราคะเป็นต้น อันพระโยคาวจรย่อมละได้ ด้วยสามารถแห่งอรรถอัน

หนึ่ง คือ ปหานะ อกุศลจิตเหล่านั้น ท่านก็ไม่ถือเอา เพราะไม่ได้ในบท

ทั้งสองนี้โดยตรง. อกุศลจิต ๔ ที่เหลือไม่เกี่ยวกับบทหน้าและบทหลัง.

บทว่า สโทส คือ จิตสหรคตด้วยโทมนัส ๒ อย่าง. บทว่า วีตโทส

คือ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากตะฝ่ายโลกีย์. อกุศลจิต ๑๐ ที่เหลือ ไม่เกี่ยวกับ

บทหน้าและบทหลัง.

บทว่า สโมห ได้แก่ จิต ๒ อย่าง คือ จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

และจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทั้งปวง

ฉะนั้น อกุศลจิต แม้ที่เหลือย่อมเป็นไปในที่นี้ทั้งหมด เพราะว่า อกุศลจิต ๑๒

ท่านถือเอาแล้วในทุกะนี้เหมือนกัน. บทว่า วีตโมห คือ จิตที่เป็นกุศลและ

อัพยากตะฝ่ายโลกีย์.

บทว่า สขิตฺต คือ จิตที่ตกไปในถีนมิทธะ (คือ ความซบเซา)

จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า หดหู่แล้ว. บทว่า วิกฺขิตฺต คือ จิตที่สหรคตด้วย

อุทธัจจะ. จริงอยู่ จิตนั้น ชื่อว่า จิตซ่านไปแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

บทว่า มหคฺคต คือ รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต. บทว่า

อมหคฺคต คือ กามาวจรจิต.

บทว่า สอุตฺตร คือ กามาวจรจิต. บทว่า อนุตฺตร คือ รูปาวจรจิต

และอรูปาวจรจิต. อีกอย่างหนึ่งในจิตทั้งสองนี้ สอุตตรจิต ได้แก่ รูปาวจรจิต

และอนุตตรจิต ได้แก่ อรูปาวจรจิต นั่นแหละ.

บทว่า สมาหิต ได้แก่ จิตของผู้มีอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.

บทว่า อสมาหิต คือ จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง.

บทว่า วิมุตฺต คือ จิตที่หลุดพ้นแล้ว ด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัม-

ภนวิมุตติ. บทว่า อวิมุตฺต คือ จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในที่นี้.

ข้อว่า สราคมสฺส จิตฺต ได้แก่ จิตของเขาผู้นั้น มีราคะ. คำที่

เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ในข้อแม้นี้

ท่านก็กล่าววิปัสสนาล้วน ๆ ฉะนี้แล.

อรรถกกถาจิตตานุปัสสนานิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

อรรถกถาธัมมานุปัสสนานิทเทส

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกำหนดรูปขันธ์ ด้วยกายานุปัสสนา

ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ ด้วยเวทนานุปัสสนา และตรัสการกำหนด

วิญญาณขันธ์ ด้วยจิตตานุปัสสนานั่นแหละ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพราะ

ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกำหนดสัญญาขันธ์แสะสังขารขันธ์ โดยถือเอาหัว

ข้อแห่งสัมปยุตตธรรม แสดงธัมมานุปัสสนา จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขุ เป็น

อาทิ.

อรรถกถานีวรณปัพพะ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต คือ (เมื่อกามฉันทะภายในจิต)

มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งการปรากฏเนือง ๆ. บทว่า อสนฺต คือ ไม่มีอยู่

ด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ หรือว่าเพราะละได้แล้ว. คำว่า ยถา จ คือ

กามฉันทะจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุใด. คำว่า ตญฺจ ปชานาติ ได้แก่ ย่อม

ทราบชัดซึ่งเหตุนั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้แล.

ในบทเหล่านั้น กามฉันทะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิต.

ขึ้นชื่อว่า สุภนิมิต แม้สิ่งที่งาม ก็เป็นสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่งาม ก็เป็น

สุภนิมิต. ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ คือ ไม่มนสิการในอุบาย (วิธีที่ควร)

มนสิการผิดทาง คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์

ว่าเป็นสุข หรือในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม

ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรมทั้ง ๔ เหล่านั้น กามฉันทะ

ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

สุภนินิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น

นี้เป็นอาหาร เพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อ

ให้กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดังนี้.

อนึ่ง กามฉันทะนั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต. ขึ้นชื่อว่า

อสุภนิมิต แม้สิ่งที่ไม่งาม ก็เป็นอสุภนิมิต แม้อารมณ์ในสิ่งที่ไม่งาม ก็เป็น

อสุภนิมิต. ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ คือ มนสิการในอุบาย มนสิการถูกทาง

คือ มนสิการ ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง หรือในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็น

ทุกข์ หรือในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา ว่าเป็นอนัตตา หรือในสิ่งที่ไม่งาม ว่าไม่งาม

ดังนี้. เมื่อยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มากในธรรม ๔ เหล่านั้นอยู่ ย่อมละกาม-

ฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อสุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น

นี้เป็นอาหารเพื่อให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า

เพื่อการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ

๑. การเรียนอสุภนิมิต

๒. การประกอบเนือง ๆ ในอสุภภาวนา

๓. ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. สัปปายกถา

จริงอยู่ เมือพระโยคาวจรเรียนเอาอสุภนิมิ ๑๐ อย่างก็ดี ย่อมละกาม-

ฉันทะได้ เมื่อเจริญอสุภะก็ดี เมื่อมีทวารอันเขาปิดแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

เมื่อเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เพราะเมื่อโอกาสแห่งคำข้าว ๔- ๕

คำ มีอยู่ ก็ดื่มน้ำแทนแล้วให้ชีวิตเป็นไปโดยปกติก็ดี ย่อมละกามฉันทะได้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

ไม่บริโภคอาหารอีก ๔-๕ คำ แล้ว

พึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่ออยู่เป็น

สุขของภิกษุผู้มีความเพียร.

แม้เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระติสสเถระ

ผู้เจริญอสุภกรรมฐาน ก็ย่อมละกามฉันทะได้. ย่อมละกามฉันทะได้ แม้ด้วย

สัปปายกถาอันอาศัยอสุภะ ๑๐ ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมทั้ง ๖ ประการย่อมเป็นไป

เพื่อการละกามฉันทะ ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า กามฉันทะอันละแล้ว

ด้วยธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

ก็พยาบาทเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ในคำเหล่า

นั้นแม้ปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้อารมณ์ในปฏิฆะ ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต.

อโยนิโสมนสิการมีลักษณะอย่างเดียวกันในที่ทั้งปวงนั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการ

นิมิตนั้นให้เป็นไปมากในนิมิตนั้น พยาบาทย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่

การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร

เพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อให้พยาบาทที่

เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์มากขึ้น ดังนี้.

อนึ่ง พยาบาทนั้นละได้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ ในคำเหล่านั้น อัปปนา

ก็ดี อุปจาระก็ดี ย่อมควรในคำที่ท่านกล่าวว่า เมตตา. แต่คำว่า เจโต-

วิมุตติ ได้แก่ อัปปนาเท่านั้น. โยนิโสมนสิการ มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

นั่นแหละ. เมื่อยังมนสิการให้เป็นไป มากในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละ

พยาบาทได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมน-

สิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด

ไม่ให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาท คือ

๑. การเรียนเมตตานิมิต

๒. การประกอบเนือง ๆ ในเมตตาภาวนา

๓. การพิจารณากัมมัสสกตา

๔. การกระทำการใคร่ครวญให้มาก

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. สัปปายกถา

จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนเมตตา ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศโดยเจาะ

จงและไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. แม้เมื่อเจริยเมตตา

ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปสู่ทิศเจาะจงและไม่เจาะจง ก็ย่อมละพยาบาทได้. แม้

เมื่อพิจารณากัมมัสสกตา ของตนและของผู้อื่น อย่างนี้ว่า ท่านโกรธ

เขาแล้วจักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมีศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศ

ไปได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน ท่านก็จักไปด้วยกรรมของตน

นั่นแหละ มิใช่หรือ. ขึ้นชื่อว่า ความโกรธผู้อื่น ย่อมเป็นเช่นกับผู้ต้อง

การจับถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว จับซี่เหล็กอันร้อนและคูถเป็นต้นแล้วประ-

หารผู้อื่น แม่ความโกรธของท่านนี้จักทำอะไร จักอาจเพื่อยังคุณมี

ศีลเป็นต้นของเราไห้พินาศไปได้หรือ เรามาด้วยกรรมของตนแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

จักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนี้จักตกไปเบื้องบนของเขา

แน่นอน เหมือนกับของขวัญที่บุคคลไม่ยอมรับ และเหมือนกับกำธุลีซัดไป

ทวนลม ดังนี้ ก็ย่อมละความโกรธได้. เมื่อตั้งอยู่ในความใคร่ครวญพิจารณา

กัมมัสสกตาของตนและของคนอื่นอย่างนี้ครั้นใคร่ครวญพิจารณาแล้วซึ่ง

กัมมัสสกตาทั้งสองแล้วตั้งอยู่ในการใคร่ครวญพิจารณาก็ดี, เมื่อเสพกัลยาณมิตร

ผู้ยินดีในเมตตาภาวนา เช่นกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี, ย่อมละพยาบาทได้.

ย่อมละพยาบาทได้แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลายมี

การยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรม

๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละพยาบาทดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า

พยาบาทอันละด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ไม่เกิดต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค

ดังนี้.

ความเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะในธรรมทั้งหลายมีอรติเป็นต้น ย่อมมีด้วย

อโยนิโสมนสิการ. ความไม่พอใจ ชื่อว่า อรติ. ความเกียจคร้านทางกาย

(หรือความเฉื่อยชาทางกาย) ชื่อว่า ตันที. ความบิดกาย (หรือความบิด

ขี้เกียจ) ชื่อว่า วิชัมภิตา. ความซบเซาเพราะภัต ความกระวนกระวายเพราะภัต

(ความเมาภัต) ชื่อว่า ภัตตสัมมทะ. อาการหดหู่แห่งจิต ชื่อว่า เจตโส ลีนัตตัง.

เมื่อให้อโยนิโสมนสิการเป็นไปให้มากในธรรมมีอรติเป็นต้นเหล่านี้ ถีนมิทธะย่อม

เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อรติ (ความไม่พอไจ) ตันที (ความเกียจคร้านทางกาย) วิชัมภิตา

(ความน้อมกายหรือบิดกาย) ภัตตสัมมทะ (ความเมาภัต) และความ

ที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น

นี้เป็นอาหารเพื่อให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อความ

ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

อนึ่ง การละถีนมิทธะ ย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในอารัพภธาตุ

เป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มครั้งแรก ชื่อว่า อารัพภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลัง

มากกว่าอารัพภธาตุนั้นเพราะขจัดความเกียจคร้านได้แล้ว ชื่อว่า นิกกมธาตุ.

ความเพียรที่มีกำลังกว่าแม้นิกกมธาตุนั้น เพราะย่ำยีฐานะอื่น ๆ ชื่อว่า ปรัก-

กมธาตุ. เมื่อยังมนสิการในความเพียร ๓ ประเภทนี้เป็นไปให้มาก ย่อมละ

ถีนมิทธะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโส-

มนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด

ขึ้นมิให้เกิดขึ้น หรือว่า เพื่อการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว " ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะคือ

๑. การถือเอานิมิตในอติโภชนะ (บริโภคมากเกินไป)

๒. การเปลี่ยนอิริยาบถ

๓. มนสิการในอาโลกสัญญา

๔. การอยู่กลางแจ้ง

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. สัปปายกถา

จริงอยู่ เมื่อบริโภคอาหารอันควรแก่การนำมาซึ่งประโยชน์เพียงพอ

แก่ความต้องการแล้ว นุ่งห่มผ้าสาฎกอันมีค่าน้อยนั่งอยู่ในทีพักอันเป็นเวลากลาง-

คืนหรือกลางวัน กระทำสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมาท่วมทับ เป็นราวกะ

ว่าถูกช้างใหญ่ทับอยู่. ถือเอานิมิตในโภชนะอันเกินว่า " ก็โภชนะอันเกินนี้

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นโอกาส (ช่องว่าง) แห่งคำข้าวอีก ๔-๕ คำ

แล้วดื่มน้ำยังอัตภาพให้เป็นไปตามปกติ " ดังนี้ย่อมละถีนมิทธะได้. ถีน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

มิทธะย่อมครอบงำในอิริยาบถใด เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอื่นจากนั้นก็ดี มนสิการ

แสงสว่างแห่งพระจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่งดวงไฟในเวลา

ราตรี และแสงสว่างแห่งอาทิตย์ในเวลากลางวัน ก็ดี เมื่ออยู่ที่กลางแจ้ง ก็ดี

เมื่อเสพกัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะเช่นกับพระมหากัสสปเถระ ก็ดี ย่อม

ละถีนมิทธะได้. ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยซึ่งธุดงค์ ใน

อิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละถีนมิทธะ

ดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็ถีนมิทธะอันละแล้วด้วยธรรม ๖ ประการ

เหล่านั้นไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยอรหัตมรรค " ดังนี้.

อุทธัจจกุกกุจจะเกิดขึ้น เพราะอโยนิโสมนสิการ ในเพราะความไม่เข้า

ไปสงบแห่งจิต. อาการแห่งจิตอันไม่เข้าไปสงบ ชื่อว่า อวูปสมะ แต่เมื่อว่าโดย

อรรถ คำว่าอวูปสมะนี้ก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะนั่นแหละ. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการ

ในอุทธัจจกุกกุจจะนั้นให้เป็นไปมากอยู่ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่เข้าไป

สงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น

นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า

เพื่อความไพบูลย์มากขึ้น แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.

อนึ่ง การละอุทธัจจกุกกุจจะย่อมมีด้วยโยนิโสมนสิการ ในเพราะ

ความสงบแห่งจิต กล่าวคือ สมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเข้าไปสงบแห่งจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง

โยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้อุทธัจจกุกกุจจะ

ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อการละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้น

แล้ว" ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละ

อุทธัจจกุกกุจจะ คือ

๑. ความเป็นพหูสูตร (การสดับตรับฟังมาก)

๒. ปริปุจฉกถา (การสอบถาม)

๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย

๔. การคบบุคคลผู้เจริญ

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. สัปปายกถา

จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ ๑ นิกาย หรือว่า ๒-๓-๔-๕

นิกาย แม้ด้วยการสดับมาก ก็ย่อมละอุทธัจกุกกุจจะได้. เมื่อเป็นผู้มากด้วยการ

สอบถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี เมื่อเป็นผู้รู้ชำนาญในพระวินัยบัญญัติ

เพราะความเป็นผู้ชำนาญอันตนประพฤติแล้วก็ดี เมื่อเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่

ผู้เจริญ เช่นกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจะ

กุกกุจจะได้ แม้ด้วยสัปปายกถาอันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร. ด้วยเหตุนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละอุทธัจจ-

กุกกุจจะดังนี้. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า " ก็อุทธัจจะอันละด้วยธรรม ๖ ประการ

เหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตมรรค และกุกกุจจะอันละได้ด้วยธรรม ๖

ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอนาคามิมรรค " ดังนี้.

วิจิกิจฉาเกิดขึ้นเพราะอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้ง

แห่งความสงสัย. วิจิกิจฉานั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย เพราะ

ความเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อย ๆ. เมื่อให้อโยนิโสมนสิการในธรรมอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้นเป็นไปให้มาก วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งเเห่งความสงสัยมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรม

เหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า

เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อนึ่ง วิจิกิจฉานั้นละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในกุศลธรรมเป็นต้น. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย

อันเป็นกุศลและอกุศล อันเป็นโทษและไม่เป็นโทษ อันควรเสพ

และไม่ควรเสพ อันเลวและประณีต อันเปรียบด้วยมรรคดำและ

ธรรมขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น

นี้เป็นอาหารเพื่อมิให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น หรือว่าเพื่อ

การละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา คือ

๑. ความเป็นพหูสูต

๒. ความเป็นผู้สอบถาม

๓. ความเป็นผู้ชำนาญในพระวินัย

๔. ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. สัปปายกถา

จริงอยู่ แม้เมื่อเรียนพุทธพจน์และอรรถ ๑ นิกาย หรือว่า ๒-๓-๔-๕

นิกาย แม้ด้วยความเป็นผู้สดับฟังมาก ก็ย่อมละวิจิกิจฉาได้. เมื่อปรารภพระรัตน-

ตรัยมากด้วยการสอบถามก็ดี เป็นผู้ชำนาญในการประพฤติวินัยก็ดี เมื่อมากด้วย

อธิโมกข์ กล่าวคือความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยก็ดี เมื่อเสพกัลยาณมิตร เช่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

กับพระเถระชื่อว่าวักกลิ ผู้น้อมไปด้วยศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้. และย่อม

ละวิจิกิจฉาได้แม้ด้วยสัปปายกถา อันอาศัยคุณของพระรัตนตรัยในอิริยาบถ

ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการละวิจิกิจฉา ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมทราบ

ชัดว่า ก็วิจิกิจฉาอันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย

โสดาปัตติมรรคดังนี้.

อรรถกถานีวรณปัพพะ จบ

อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ

สติสัมโพชฌงค์

ในโพชฌังคปัพพะ คำว่า "สนฺต" ได้แก่ มีอยู่ด้วยสามารถแห่งการ

ได้เฉพาะ. คำว่า "อสนฺต" ได้แก่ ไม่มีด้วยสามารถแห่งการไม่ได้. ก็ใน

คำว่า "ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส" เป็นต้น พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งสติสัม-

โพชฌงค์ก่อน อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่

ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการใน

ธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่

เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสติ

สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

สติสัมโพชฌงค์. โยนิโสมนสิการมีลักษณะตามที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ. เมื่อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ยังมนสิการนั้นเป็นไปให้มาก ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์นั้น

สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

สติสัมโพชฌงค์ คือ

๑. สติสัมปชัญญะ

๒. ความเว้นจากบุคคลผู้หลงลืมสติ

๓. การเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น

๔. ความเป็นผู้น้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น

จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานะทั้ง

๗ มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ด้วยการเว้นบุคคลผู้หลงลืมสติเช่นกับในเรื่อง

พนักงานคลังแห่งภัต ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นกับด้วยพระติสสทัตต-

เถระ และพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อ

ให้สติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่ง เป็นต้น. ภิกษุนั้น

ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ อย่างนี้ย่อมบริบูรณ์ด้วย

อรหัตมรรค ดังนี้.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ อันเปรียบด้วยธรรมดำ

และธรรมขาวมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น นี้

เป็นอาหารเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น

หรือว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่ง

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การสอบถาม

๒. การทำวัตถุให้สะอาด

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

๔. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม

๕. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี

๖. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง

๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น

บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้

มากด้วยการสอบถามอันอาศัยอรรถ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ

โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา.

ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด ได้แก่ การทำวัตถุทั้งภายในและ

ภายนอกให้สะอาด. เพราะว่าเมื่อใด ผม เล็บ ขนทั้งหลายของเธอยาว หรือ

ว่า ร่างกายของเธอมีโทษมาก เปื้อนด้วยเหงื่อไคล เมื่อนั้น ชื่อว่าวัตถุภาย

ในไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์. ก็เมื่อใด จีวรของเธอเก่าคร่ำคร่ามีกลิ่นเหม็น

หรือว่า เสนาสนะสกปรกรกรุงรัง เมื่อนั้น ชื่อว่าวัตถุภายนอกไม่สะอาด.

ไม่บริสุทธิ์. ฉะนั้น เธอพึงทำวัตถุภายในให้สะอาด โดยการโกนผมเป็นต้น

ด้วย โดยการทำสรีระให้เบาด้วยการชำระเบื้องบน (สระศีรษะ) ชำระเบื้องต่ำ

(การถ่ายท้อง) เป็นต้นด้วย โดยการอาบน้ำลูบไล้ร่างกายด้วย. พึงทำวัตถุ

ภายนอกมีการเย็บ การซัก การย้อม และของใช้เป็นต้นให้สะอาด เพราะว่า

เมื่อวัตถุภายในและภายนอกอย่างหนึ่งไม่สะอาด แม้ญาณอันดี ในจิตและ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

เจตสิกอันดี ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแสงสว่างของเปลวประทีป

อันเกิดขึ้น เพราะอาศัย ไส้ และน้ำมันแห่งโคมประทีป ฉะนั้น. แต่เมื่อวัตถุ

ภายในและภายนอกสะอาด ญาณอันดีในจิตเจตสิกอันดี ก็แจ่มแจ้งบริสุทธิ์

เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเปลวประทีปอันเกิดขึ้น เพราะอาศัย ไส้ และน้ำ

มันแห่งประทีปฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การทำ

วัตถุให้สะอาด ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจย-

สัมโพชฌงค์ ดังนี้.

การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่า การปรับ

อินทรีย์ให้เสมอกัน. ก็ถ้าว่า สัทธินทรีย์ของเธอกล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน

ไซร้ ทีนั้น วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ เพียรประคอง (ปคฺคหกิจฺจ),

สตินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การตั้งมั่น (อุปฏฺฐานกิจฺจ), สมาธินทรีย์ ก็

ไม่อาจทำหน้าที่ คือ การไม่ฟุ้งซ่าน (อวิกฺเขปนกิจฺจ), ปัญญินทรีย์ ก็ไม่อาจ

ทำหน้าที่ คือ การเห็น (ทสฺสนกิจฺจ), เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์มีกำลัง

กล้า ก็พึงให้ลดลงด้วยการพิจารณาสภาวธรรม หรือว่า เมื่อมนสิการ

โดยประการใด สัทธินทรีย์มีกำลัง ก็พึงให้ลดลงโดยไม่มนสิการ โดยประการ

นั้น. ในข้อนี้มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นอุทาหรณ์. ก็ถ้าว่า วิริยินทรีย์มี

กำลังไซร้ ทีนั้น สัทธินทรีย์ก็ไม่อาจทำหน้าที่ คือ น้อมใจเชื่อ (อธิโมกฺข-

กิจฺจ) อินทรีย์นอกนั้น ก็ไม่อาจทำหน้าที่อันต่างด้วยหน้าที่นอกนี้ (คือไม่ทำ

หน้าที่ของตน ๆ) เพราะฉะนั้น พึงให้วิริยินทรีย์นั้นลดลง โดยการเจริญ

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. แม้ในข้อนี้ ก็พึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระ

เป็นนิทัสสนะ. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ก็ฉันนั้น คือ เมื่ออินทรีย์หนึ่งมีกำลัง

ก็พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ ไม่สามารถในหน้าที่ควรทำของตน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ก็ว่าโดยพิเศษในที่นี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความเสมอกันแห่ง

ศรัทธากับปัญญา และแห่งสมาธิกับวิริยะ เพราะว่า บุคคลมีศรัทธากล้าแต่

ปัญญาอ่อน ย่อมเป็นผู้เลื่อมใสอันเปล่า คือ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

(วัตถุคือพระรัตนตรัย). บุคคลมีปัญญากล้าแต่ศรัทธาอ่อน ย่อมซ่องเสพพวก

คนคดโกง ย่อมเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ เป็นราวกะว่าโรคที่กล้าอันเกิดแต่ยารักษา

ไม่ได้ฉะนั้น คือมีสักว่าจิตตุปบาทนั่นแหละแล่นไปว่าเป็นกุศล แต่ไม่ทำบุญ

ทั้งหลายมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. แต่เพราะความที่อินทรีย์ทั้งสองเสมอ

กัน เขาจึงเลื่อมใสในวัตถุ (คือพระรัตนตรัย) ทีเดียว. อนึ่ง โกสัชชะย่อม

ครอบงำบุคคลผู้มีสมาธิกล้ามีวิริยะอ่อน เพราะความที่สมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง

โกสัชชะ. อุทธัจจะย่อมครอบงำบุคคลผู้มีวิริยะกล้ามีสมาธิอ่อน เพราะความที่

วิริยะเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ. แต่สมาธิอันวิริยะประกอบดีแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อ

อันตกไปในโกสัชชะ. วิริยะอันสมาธิประกอบดีแล้ว ก็ย่อมไม่ได้เพื่ออันตกไป

ในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงทำอินทรีย์แม้ทั้งสองนั้น ให้

เสมอกัน ด้วยว่าอัปปนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งสอง.

อีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาแม้มีกำลัง ก็ย่อมควรสำหรับสมาธิกัมมิกบุคคล

(ผู้บำเพ็ญสมาธิ) คือ เมื่อบุคคลนั้นเชื่อมั่นอยู่อย่างนั้นจักบรรลุอัปปนาได้. แต่

ในสมาธิและปัญญา เอกัคคตามีกำลังจึงควรแก่สมาธิกัมมิกบุคคล เพราะเขา

จักบรรลุอัปปนาได้ด้วยอาการอย่างนั้น. ก็สำหรับวิปัสสนากัมมิกบุคคล (ผู้

บำเพ็ญวิปัสสนา) ปัญญามีกำลังจึงควร เพราะเขาจะถึงการแทงตลอด

ลักษณะได้ด้วยอาการอย่างนั้น. แต่เพราะสมาธิและปัญญาทั้งสองเสมอกัน อัปปนา

จึงมีได้โดยแท้. ส่วนสติมีกำลังในที่ทั้งปวงจึงควร เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตมี

ให้ตกไปสู่อุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งศรัทธา วิริยะและปัญญาเป็นฝักฝ่ายแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

อุทธัจจะ และรักษาจิตมิให้ตกไปสู่โกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่ง

โกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้นพระโยคาวจรพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือน

การปรุงรสด้วยเกลือในกับข้าวทั้งปวง และเหมือนอำมาตย์ผู้ทำงานทั้งปวงใน

ราชกิจทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เป็นคุณธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. เพราะเหตุไร เพราะ

จิตมีสติเป็นที่พึ่ง และมีสติเป็นเครื่องบำรุงรักษา เว้นจากสติแล้วการยกและการ

ข่มจิตก็หามีไม่ แล.

การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาไม่ดี คือไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภท

แห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การคบบุคคลผู้

ประกอบด้วยอุทยัพพยปัญญาอันกำหนดเอาซึ่งลักษณะแห่งปัญญาดี ชื่อว่า การ

เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งธรรมอันลึกซึ้งเป็นไปในขันธ์

ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ชื่อว่า การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง. ความ

เป็นผู้มีจิตน้อมไปโอนไปเอียงไป เพื่อยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นใน

อิริยาบถทั้งหลาย ชื่อว่า ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุนั้น

ย่อมทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์

ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ มีอยู่ การทำให้มากซึ่ง

โยนิโสมนสิการในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อให้วิริยสัมโพช-

ฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญ

ไพบูลย์ยิ่งขึ้นของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว" ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น

แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การพิจารณาภัยในอบาย

๒. ความเป็นผู้เห็นอานิสงส์ของความเพียร

๓. การพิจารณาวิถีเป็นที่ดำเนินไป

๔. การประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต

๕. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความเป็นทายาท

๖. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งพระศาสดา

๗. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติ

๘. การพิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งสพรหมจารี

๙. การเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน

๑๐. การเสวนากับบุคคลผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้ว

๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยะนั้น

ในข้อเหล่านั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาอยู่

ซึ่งภัยในอบายอย่างนี้ ว่า "ในคราวที่เสวยทุกข์ใหญ่จำเดิมแต่กรรมกรณ์ด้วย

เครื่องจองจำ ๕ อย่างในนรกทั้งหลายก็ตาม ในคราวที่ถูกจับด้วยแหเครื่องซัด

ไปและไซเป็นต้น ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานก็ตาม ในคราวที่เป็นสัตว์นำเกวียน

ไปถูกเขาทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักและหนามแหลมเป็นต้นก็ตาม ใน

คราวที่เป็นผู้อาดูรด้วยความหิวระหายตลอดพันปีเป็นอเนกบ้าง ตลอด

พุทธันดรหนึ่งบ้างก็ตาม ในคราวที่เสวยทุกข์มีลมแดดเป็นต้น ด้วยอัตภาพ

มีเพียงกระดูกและหนัง มีอัตภาพสูงใหญ่ประมาณ ๑๐ ศอก ๘๐ ศอก ในพวก

อสูรชื่อกาฬกัญชิกาก็ตาม ไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดได้ ดูก่อนภิกษุ

กาลนี้นั่นแหละเป็นกาลสมควรของเธอ เพื่อกระทำความเพียร" ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์อย่างนี้ ว่า

"ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้โลกุตรธรรม ๙ ผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วเท่า

นั้นอาจเพื่อได้ นี้เป็นอานิสงส์ของความเพียร" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาวิถีแห่งการดำเนินไป

อย่างนี้ ว่า "พระโยคาวจรนั้น พึงดำเนินไปตามทางที่พระสัมพุทธะ พระ-

ปัจเจกพุทธะ และพระมหาสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าดำเนินไปแล้วนั่น

แหละ เพราะทางนี้ผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อดำเนินไปได้" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความประพฤติเอื้อเฟื้อต่อ

บิณฑบาตอย่างนี้ ว่า "ชนเหล่าใดย่อมบำรุงท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์

เหล่านั้น มิใช่ญาติมิใช่ทาสกรรมกรของท่าน ทั้งมิได้ให้บิณฑบาตเป็นต้น

อันประณีตแก่ท่านด้วยการคิดว่า พวกเราอาศัยท่านเป็นอยู่ ดังนี้ ที่แท้เขาหวัง

ซึ่งผลอันใหญ่แห่งการกระทำของตนอยู่จึงให้ แม้พระศาสดา ก็ไม่ทรงอนุญาต

ปัจจัยทั้งหลายแก่ท่านเพราะพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้

แล้วจักเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นสุข ดังนี้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัย

ทั้งหลายแก่ท่าน ด้วยทรงประสงค์ว่า ภิกษุนี้ บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้ว กระ

ทำสมณธรรม แล้วจักพ้นจากวัฏฏทุกข์ ดังนี้ บัดนี้ ท่านนั้นเกียจคร้านอยู่

ไม่ประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาตนั้น เพราะภิกษุผู้มีความเพียรอันเริ่มแล้วเท่า

นั้น ชื่อว่า มีการประพฤติเอื้อเฟื้อต่อบิณฑบาต" ดังนี้. ในข้อนี้มีเรื่องพระ-

เถระชื่อว่ามหามิตตะเป็นนิทัสสนะ.

ได้ยินว่า พระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำ (ที่กำบัง) ของชาวนา ก็ในบ้าน

เป็นที่โคจรของท่าน อุบาสิกาคนหนึ่งปฏิบัติบำรุงพระเถระเสมือนบุตร วัน

หนึ่งอุบาสิกานั้นเมื่อจะไปป่า จึงสั่งธิดาว่า " ลูกแม่ ข้าวสารเก่าอยู่ในที่โน้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่ที่ตรงโน้น เจ้าจงหุงภัตพร้อมด้วยน้ำนมเนยใส

และน้ำอ้อยถวายในเวลาที่พระผู้เป็นเจ้ามิตตะพี่ชายของเจ้ามา แล้วเจ้าจง

บริโภค " ดังนี้. ธิดากล่าวว่า " ก็แม่เล่า จะบริโภคอะไร. " อุบาสิกากล่าวว่า

" เมื่อวานนี้ ปาริวาสิกภัต ( ข้าวที่หุงสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส) เหลืออยู่ แม่

จะบริโภคภัตนั้นกับน้ำผักดอง." ธิดากล่าวว่า "กลางวันแม่จะบริโภคอะไร."

มารดากล่าวว่า " เจ้าจงเอาใบผักใส่เข้าไปแล้วหุงข้าวต้มมีรสเปรี้ยวด้วยข้าว

ปลายเกรียน (ข้าวสารแหลก ๆ) แล้วตั้งไว้เถิดแม่" ดังนี้. พระเถระห่มจีวร

นำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้น จึงโอวาทตนเองว่า "ได้ยินว่า มหาอุบาสิกา

จะกินปาริวาสิกภัตด้วยน้ำผักดอง แม้กลางวันก็จะกินข้าวต้มรสเปรี้ยวด้วยใบผัก

แต่ว่าอุบาสิกาบอกข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ก็มหาอุบาสิกานั้น

แล มิได้หวังนา สวน ข้าวและวัตถุ เพราะอาศัยท่านเลย แต่เขาปรารถนาอยู่

ซึ่งสมบัติ ๓ (คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงให้ ท่าน

จักอาจเพื่อให้สมบัติเหล่านั้นแก่เขาหรือไม่ ก็แลบิณฑบาตนี้ ท่านยังมีราคะ

โทสะ โมหะ ไม่ควรจะกิน" ครั้นโอวาทตนแล้ว ก็เก็บถุงบาตรปลดลูกดุม

(ที่จีวร) กลับเข้าไปสู่ถ้ำชาวนานนั้นแหละ แล้ววางบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวร

ไว้ที่ราวจีวรแล้วนั่งอธิษฐานความเพียรว่า "เรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว

จักไม่ออกไป" ดังนี้เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลนาน เป็นภิกษุผู้มั่นคงแล้ว

เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในเวลาก่อนภัตทีเดียว เป็นพระขีณาสพผู้

เบิกบานนั่งอยู่ ราวกะดอกปทุมแย้มบานอยู่ฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้

ประตูถ้ำชาวนา เปล่งอุทานว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ข้าพเจ้าขอ

นอบน้อมท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมท่าน ข่าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใด

หมดอาสวะแล้ว ผู้นั้นเป็นทักขิเณยยบุคคล

ดังนี้.

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์ผู้เช่นกับท่าน

ผู้เข้าไปเพื่อบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้. พระเถระลุกขึ้นแล้วเปิดประตู

ออกไปตรวจดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้าน. แม้

ทาริกาเตรียมอาหารเสร็จแล้ว ก็เปิดประตูนั่งแลดูอยู่ด้วยคิดว่า "บัดนี้ พี่ชาย

ของเราจักมา". เมื่อพระเถระมาถึงประตูบ้าน ทาริกานั้น จึงรับบาตรแล้วทำ

ให้เต็มด้วยข้าวเจือด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย แล้วจึงวางไว้บนมือ

ของพระเถระ พระเถระกระทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นสุขเถิด" แล้วหลีกไป

แม้ทาริกานั้น ก็ยืนแลดูพระเถระอยู่ ในเวลานั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์

งามยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายผุดผ่องไพโรจน์ยิ่ง เป็นราวกะว่าผลตาลสุกที่หลุด

จากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า จึงถามธิดาว่า "ลูกแม่ พี่ชายของ

เจ้ามาแล้วหรือ" ธิดานั้นได้บอกความเป็นไปทั้งปวงนั้น มหาอุบาสิกาทราบว่า

วันนี้กิจแห่งบรรพชิตแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า "ลูกแม่ พี่ชาย

ของเจ้าจะไม่เดือนร้อนในพระพุทธศาสนา" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งความ

เป็นทายาท (คือผู้รับมรดก) ว่า ชื่อว่า มรดกของพระศาสดา คืออริย-

ทรัพย์นั้นยิ่งใหญ่แล มรดกนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจเพื่อได้ เหมือนอย่าง

ว่า บิดามารดา ทำบุตรผู้ปฏิบัติผิดให้มีในภายนอกว่า "ผู้นี้มิใช่บุตรของ

เรา" บุตรนั้นย่อมไม่ได้มรดกโดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดามารดา ฉันใด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

แม้ผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้มีความเพียรอัน

ปรารภแล้วนั่นแหละ จึงจะได้" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่ของ

พระศาสดาอย่างนี้ "ก็พระศาสดาของท่านยิ่งใหญ่ยิ่งนัก แม้หมื่นโลกธาตุก็

หวั่นไหว ในเวลาที่พระศาสดาของท่านทรงถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาแม้

ในเวลาออกทรงผนวช แม้ในเวลาตรัสรู้ ในเวลาทรงแสดงธรรมจักร ในเวลา

ทำยมกปาฏิหาริย์ ในการเสด็จลงจากเทวโลก ในการปลงพระชนนายุสังขาร แม้

ในการปรินิพพานเล่า หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว การที่ท่านบวชในพระศาสนา

ของพระศาสดาเห็นปานนี้แล้วเป็นผู้เกียจคร้าน ควรแล้วหรือ ดังนี้.

วิริยสัมโพฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่งชาติอย่าง

นี้ ว่า "แม้ว่าโดยชาติ บัดนี้ท่านไม่เป็นผู้มีชาติลามก คือประสูติในราชวงศ์ของ-

พระเจ้าโอกากราชซึ่งเป็นมาโดยมหาสมมตวงศ์ อันไม่แตกแยกกัน (ตัวท่านก็

นับว่า) เป็นราชนัดดาของพระเจ้าสิริสุทโธทนมหาราช และพระมหามายาเทวี

เป็นน้องของพระราหุลผู้เจริญ การที่ท่านเป็นราชบุตรเห็นปานนั้นแล้ว เป็น

ผู้เกียจคร้านอยู่ สมควรแล้วหรือ" ดังนี้.

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้พิจารณาความยิ่งใหญ่แห่ง

สพรหมจารี (เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์) อย่างนี้ว่า "พระสารีบุตร พระ-

โมคคัลลานะ และพระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย แทงตลอดโลกุตตรธรรมได้ด้วย

ความเพียรเท่านั้น ตัวท่านจะดำเนินไปตามทางของสพรหมจารีเหล่านั้น หรือ

ไม่" ดังนี้.

เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน คือสละความเพียรทางกายและทางใจ เช่น

กับงูเหลือมกินแล้วก็นอนก็ดี เมื่อเสพบุคคลผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีตน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ส่งไปแล้วก็ดี มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้วิริยะเกิดขึ้นในอิริยาบถ

ทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้นก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. ภิกษุนั้น ย่อม

ทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธอย่อมเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัต-

มรรค ดังนี้.

ปีติสัมโพชฌงค์

ปีติสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง

หลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ

ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด

ขึ้นแล้ว" ดังนี้.

ในข้อนั้น ปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรนเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์

การทำไว้ในใจเพื่อให้ปีตินั้นเกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น

แห่งปีติสัมโพชฌงค์ คือ

๑. พุทธานุสสติ

๒. ธัมมานุสสติ

๓. สังฆานุสสติ

๔. ลีลานุสสติ

๕. จาคานุสสติ

๖. เทวตานุสสติ

๗. อุปสมานุสสติ

๘. การเว้นบุคคลผู้ (มีจิต) เศร้าหมอง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

๙. การคบบุคคลผู้ (มีจิต) ผ่องแผ้ว

๑๐. การพิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

๑๑. การน้อมจิตไปในปีตินั้น

จริงอยู่ แม้เมื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ปีติสัมโพชฌงค์ ก็จะ

เกิดแผ่ไปตลอดสรีระทั้งสิ้นจนถึงอุปจารสมาธิ. แม้เมื่อระลึกถึงคุณของพระ-

ธรรม และพระสงฆ์ก็เหมือนกัน. เมื่อบรรพชิตพิจารณาจตุปาริสุทธิศีล ซึ่ง

รักษาไว้ไม่ให้ด่างพร้อยสิ้นกาลนาน ก็ดี เมื่อคฤหัสถ์พิจารณาศีล ๕ ศีล ๑๐

ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบรรพชิตพิจารณาถึงจาคะว่า เราได้

ให้โภชนะ อันประณีตแก่เพื่อนพรหมจรรย์ ก็ดี แม้คฤหัสถ์เมื่อพิจารณาถึง

ทานอันถวายแล้วแก่ท่านผู้มีศีลในกาลเห็นปานนั้น ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อม

เกิดขึ้น. เทวดาประกอบด้วยคุณเหล่าใดย่อมถึงความเป็นเทวดา แม้เมื่อ

พิจารณาซึ่งความที่คุณทั้งหลายเห็นปานนั้นมีอยู่ในตน ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด

ขึ้น. เมื่อกิเลสอันข่มไว้ด้วยสมาบัติมีอยู่ แม้เมื่อพิจารณาว่า กิเลสทั้งหลาย

ไม่เกิดขึ้นตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง ดังนี้ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อ

เว้นบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง คือมีความเศร้าหมองอันสะสมไว้แล้ว โดยไม่กระ

ทำความเคารพในการดูพระเจดีย์ ดูต้นโพธและดูพรเถระ เพราะไม่มีความเลื่อม

ใสเสน่หาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น เช่น กับธุลีบนหลังลา ก็ดี เมื่อเสพบุคคลผู้

ผ่องแผ้ว มีจิตอ่อน มากไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ดี ปีติ-

สัมโพชฌงค์ก็เกิดขึ้นได้. เมื่อพิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

อันแสดงถึงคุณของพระรัตนตรัย ก็ดี เมื่อมีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไปเพื่อให้

ปีติเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ก็

เกิดขึ้น. ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการ

อย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-

ปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนาสิการในธรรมเหล่า

นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือว่า ย่อม

เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปัสสัทชิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว

ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การเสพโภชนะอันประณีต

๒. การเสพอุตุอันสบาย

๓. การเสพอิริยาบถอันสบาย

๔. การประกอบความเพียรปานกลาง

๕. การเว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่าย

๖. การเสพบุคคลผู้มีจิตอันสงบ

๗. ความน้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น

จริงอยู่ เมื่อบริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะอันประณีต อันเป็นที่ชอบ

ใจก็ดี เสพอุตุอันเป็นสัปปายะในฤดูทั้งหลายอันหนาวและร้อน และเสพ

อิริยาบถอันเป็นสัปปายะในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. แต่ว่า บุคคลใดผู้เป็นชาติแห่งมหาบุรุษ ย่อม

เป็นผู้อดทนในอุตุและอิริยาบถทั้งปวงเทียว ท่านมิได้กล่าวหมายเอาบุคคลผู้

เป็นมหาบุรุษชาตินั้น. ความที่บุคคลใดเป็นผู้มีสภาคะและวิสภาคะมีอยู่ เมื่อ

บุคคลนั้นนั่นแหละเว้นอุตุและอิริยาบถอันเป็นวิสภาคะ แล้วเสพอยู่ซึ่งสภาคะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้น. การพิจารณากัมมัสสกตาทั้งของตนเองและ

ของผู้อื่น ท่านเรียกว่า การประกอบความเพียรปานกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ย่อมเกิดด้วยความเพียรอันปานกลางนั้น. บุคคลใดเบียดเบียนผู้อื่นด้วยท่อนไม้

เป็นต้นเที่ยวไป แม้เว้นบุคคลผู้มีกายอันกระสับกระส่ายเห็นปานนี้ ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น. แม้เสพบุคคลผู้มีกายอันสงบแล้ว ผู้มีมือและเท้าอัน

สำรวมแล้ว ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น

แม้แก่ผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้ปัสสัทธิเกิดในอิริยาบถทั้งหลาย

มีการยืนและการนั่งเป็นต้น. ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิด

ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต

อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น นี้

เป็นอาหารเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็น

ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ใน

ข้อนั้น สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าสมถนิมิต และชื่อว่า อัพยัคคนิมิต เพราะอรรถ

ว่า ไม่ฟุ้งซ่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น

แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การทำวัตถุให้สะอาด

๒. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

๓. ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต

๔. ความยกจิตในสมัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

๕. ความข่มจิตในสมัย

๖. ความให้จิตร่าเริงในสมัย

๗. ความวางจิตเฉยในสมัย

๘. ความเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น

๙. การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น

๑๐. การพิจารณาฌานวิโมกข์

๑๑. ความน้อมจิตไปในสมาธินั้น

ในธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การทำวัตถุให้สะอาด และการปรับ

อินทรีย์ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ความเป็นผู้ฉลาด

ในการเรียนกสิณนิมิตชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในนิมิต. ข้อว่าความยกจิตในสมัย

ใด จิตหดหู่ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น สมัยนั้น ต้องยกจิตนั้น

ให้ตั้งขึ้นด้วยธัมมวิจยะ วิริยะ และปีติสัมโพชฌงค์. ข้อว่า การข่มจิตในสมัย

คือ ในสมัยใด จิตฟุ้งซ่านด้วยความปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัย

นั้นต้องข่มจิตนั้นให้ตั้งขึ้นด้วยปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อว่า

ความให้จิตร่าเริงในสมัย คือ ในสมัยใด ไม่มีอัสสาทะ (คือไม่มีความชอบใจ)

เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันอ่อน หรือเพราะไม่บรรลุความสุขอัน

เกิดแต่ความเข้าไปสงบ สมัยนั้น ต้องให้จิตสังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ

๘ ประการ. ชื่อว่า สังเวควัตถุ ๘ คือ ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ รวมเป็น

๔ อปายทุกข์เป็นที่ ๕ วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีตเป็นที่ ๖ วัฏฏมูลกทุกข์ในอนาคต

เป็นที่ ๗ อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์ในปัจจุบันเป็นที่ ๘. และยังความเลื่อมใสให้

เกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย นี้ท่านเรียกว่า การยังจิตให้ร่าเริงในสมัย.

ชื่อว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย คือ ในสมัยใด จิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

อัสสาทะ ดำเนินไปสู่สมถวิถี เป็นไปโดยชอบในอารมณ์ เพราะอาศัยการปฏิบัติ

โดยชอบ สมัยนั้น มิต้องขวนขวายในการยก การข่มและในการยังจิตให้ร่าเริง

เปรียบเหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในม้าทั้งหลายที่เป็นไปดีแล้ว ฉะนั้น ท่าน

จึงเรียกว่า การวางจิตเฉย ๆ ในสมัย. ชื่อว่า การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น

คือ การเว้นไกลจากบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา.

ชื่อว่า การเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น คือการเสพ การคบ การเข้าไปซ่องเสพ

บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาระหรืออัปปนา. ชื่อว่า การน้อมจิตไปในสมาธินั้น

คือความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในอิริยาบถ

ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น

แก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้. ภิกษุนั้น จึงทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้ว

อย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์

อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่ได้เกิด

ให้เกิดขึ้น หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งอุเปกขา

สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. ในข้อนั้น อุเปกขานั่นแหละ ชื่อว่า ธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ ประการ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

อุเปกขาสัมโพชฌงค์ คือ

๑. ความวางเฉยในสัตว์

๒. ความวางเฉยในสังขาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

๓. ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร

๔. ความเสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร

๕. ความน้อมจิตไปในอุเปกขานั้น

บรรดาธรรมเหล่านั้น ความวางเฉยในสัตว์ ย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ ๒

อย่าง คือ ด้วยการพิจารณากัมมัสสกตาอย่างนี้ว่า ตัวท่านมาด้วยกรรมของตน

แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้บุคคลอื่นนั้น ก็มาด้วยกรรมของตน

แล้วก็จักไปด้วยกรรมของตนเหมือนกัน ท่านรักใครกันเล่า ดังนี้ และด้วยการ

พิจารณานิสสัตตะอย่างนี้ว่า ว่าโดยปรมัตถ์ สัตว์ย่อมไม่มีเลย ท่านนั้นรักใคร

หนอ ดังนี้.

ความวางเฉยในสังขาร ย่อมตั้งขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการ

พิจารณาความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงไป

แห่งสีโดยลำดับ และเข้าถึงความเป็นของคร่ำคร่าแล้วจะเป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ด

เท้า แล้วก็จักเป็นสิ่งที่เขาพึงเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ก็ถ้าว่า เจ้าของจีวรนั้นพึง

มีไซร้ เจ้าของนั้นก็จะไม่พึงให้จีวรนั้นพินาศไปอย่างนี้ ดังนี้ และด้วยการ

พิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของ

ชั่วคราว ดังนี้. อนึ่ง ในจีวร ฉันใด พึงกระทำการประกอบแม้ในบริขาร

ทั้งหลาย มีบาตรเป็นต้น ฉันนั้นเถิด.

ในข้อว่า ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร นี้ อธิบายว่า บุคคล

ใดเป็นคฤหัสถ์ ย่อมยึดถือบุตรธิดาเป็นต้นของตนนั่นแหละว่าเป็นของเรา หรือ

ว่าเป็นบรรพชิต ย่อมยึดถืออันเตวาสิกและอุปัชฌาย์เป็นต้นว่าเป็นของเรา

บุคคลนั้นย่อมกระทำกิจทั้งหลายมีการโกนผม การเย็บจีวร การซัก การย้อม

การรมบาตรเป็นต้นให้แด่ผู้นั้น เมื่อไม่เห็นชนเป็นที่รักนั้นแม้สักครู่หนึ่งก็คิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ว่า สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน จะแลดูข้างโน้นข้างนี้

ราวกะว่าเนื้อสมันหันไปข้างโน้นข้างนี้ แลดูอยู่ (ระวังภัย) แม้ถูกผู้อื่นขอว่า

ขอท่านส่งผู้นี้ไปเพื่อช่วยประโยชน์ในการตัดผมเป็นต้นสักครู่ ดังนี้ ก็ย่อมไม่

ให้ด้วยกล่าวว่า พวกเรายังไม่ให้เขาทำการงานแม้ของพวกเราเพื่อตน ท่านพา

เขาไปจักให้เขาลำบาก ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสัตว์.

ส่วนบุคคลใด ย่อมยึดถือสิ่งของทั้งหลายมีจีวร บาตร ถุงบาตรและ

ไม้เท้าคนแก่เป็นต้นว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมไม่ให้บุคคลอื่นแตะต้องแม้

ด้วยมือ แม้เมื่อคนอื่นขอยืมชั่วคราว ก็กล่าวว่า แม้เราก็ถนอมสิ่งนี้อยู่ไม่ใช้สอย

เราจักให้ท่านทำไมกัน ดังนี้ นี้ชื่อว่า การยึดถือสังขาร.

แต่ว่าบุคคลใดวางตนเป็นกลาง คือ วางเฉยในวัตถุแม้ทั้งสอง (คือสัตว์

และสังขาร) เหล่านั้น นี้ชื่อว่าความวางเฉยในสัตว์และสังขาร. อุเปกขา-

สัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เว้นไกลจากบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร

เห็นปานนี้บ้าง ย่อมเกิดแก่ผู้เสพบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขารบ้าง ย่อมเกิด

แก่ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้อุเบกขานั้นเกิดขึ้น ใน

อิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นบ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้. ภิกษุ

นั้นย่อมทราบชัดว่า ภาวนาของเธออันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วย

อรหัตมรรค ดังนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาโพชฌังคปัพพะ จบ

ในข้อทั้งสอง (คือ นีวรณบรรพ และโพชฌงคบรรพ) แม้นี้ ท่าน

ก็กล่าวว่าเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ เทียว. โดยประการที่พรรณนามา สติปัฏฐาน

๔ เหล่านี้ ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะว่าพระโยคาวจรกำหนด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ายด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนาด้วยจิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดจิตด้วย

จิตอย่างหนึ่ง ย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่ง

โลกุตตรมรรค ย่อมได้จิตอย่างเดียวกันโดยแท้. จริงอยู่ สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา

ของพระโยคาวจรผู้กำหนดกายมาตั้งแต่ต้น ชื่อว่า กายานุปัสสนา บุคคลผู้

ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่ง

มรรคของพระโยคาวจร ผู้ขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า

กายานุปัสสนา บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติอันสัมปยุต

ด้วยวิปัสสนาของพระโยคาวจรผู้กำหนดเวทนา ผู้กำหนดจิต ผู้กำหนดธรรม

ทั้งหลายมาแล้ว ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา

บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี.

สติอันสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายวิปัสสนา

แล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา.

บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธัมมานุปัสสี.

เทศนาปุคคลาธิษฐาน จบเพียงเท่านี้

ก็สติอันกำหนดกาย ละวิปัลลาสในกายว่าเป็นของงาม ย่อมสำเร็จด้วย

มรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า กายานุปัสสนา. สติกำหนดเวทนา

ละวิปลาสในเวทนาว่าเป็นสุข ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น

จึงชื่อว่า เวทนานุปัสสนา. สติกำหนดจิต ละวิปลาสในจิตว่าเป็นสภาพเที่ยง

ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา. สติ

กำหนดธรรม ละวิปลาสในธรรมทั้งหลายว่าเป็นอัตตา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค

เพราะเหตุนั้น สตินั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา. ด้วยประการฉะนี้ สติอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง เพราะอรรถว่ายังกิจ

๔ อย่างให้สำเร็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ในขณะแห่ง

มรรค สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

สติปัฏฐานมีกายานุปัสสนาเป็นต้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงเพียงหัวข้อนัยแห่งเทศนา อันจำแนกแล้วในธัมมสังคณี แต่มิได้

ทรงตั้งไว้เป็นแบบแผน เหมือนในโลกิยสติปัฏฐานทั้งหลายมีกายเป็นต้น

เป็นอารมณ์ เพราะในอภิธรรมภาชนีย์ ทรงปรารภเทศนาด้วยสามารถแห่ง

โลกุตตรสติปัฏฐาน. พึงทราบประเภทแห่งนัย ในอภิธรรมภาชนีย์. คือ

อย่างไร ? คือในการตั้งมั่นด้วยฌานในโสดาปัตติมรรคแห่งกายานุปัสสนา

ก่อน มี ๑๐ นัย ด้วยสามารถแห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ ๒ ในฐานะ ๕

เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตะ

อัปปณิหิตปฏิปทา (รวมเป็นจตุกกะ ๕ นัย และปัญจกะ ๕ นัย). ในนัยทั้ง

หลายแม้ที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในการตั้งมั่น* ๒๐ มี ๒๐๐ นัย. ๒๐๐ นัยนั้น

คูณด้วยอธิบดี ๔ ก็เป็น ๘๐๐นัย. นัยแม้ทั้งปวงจึงมี ๑,๐๐๐ นัย คือ สุทธิกนัย

๒๐๐นัยและ สาธิปติ ๗๐๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. ก็ในสุทธิกสติปัฏฐาน ใน

* ในการตั้งมั่น คือ มหานัย ๒๐ คือ ฌาน, มรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิปาท,

อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะวิปัสสนา, ธรรม, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ,

อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิตตาภินิเวส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

เวทนานุปัสสนาเป็นต้น ก็เหมือนกัน คือ ในโสดาปัตติมรรคมี ๕,๐๐๐นัย.

อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรค ฉันใด แม้ในมรรคที่เหลือ ก็ฉันนั้นคือ ในกุศล

มี ๒๐,๐๐๐นัย. แต่ว่าโดยประเภทสุญญตะและอัปปณิหิตนิมิต ในวิบากเป็น

ตรีคูณจากนัยแห่งกุศลนั้น จึงเป็น ๖๐,๐๐๐ นัย นิทเทสแห่งอภิธรรมภาชนีย์มี

๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งนิทเทสแห่งสติปัฏฐานที่เป็นกุศลและวิบาก คือ เป็น

การยังกิจของตนให้สำเร็จอย่างหนึ่ง เป็นกิจที่สำเร็จด้วยดีอย่างหนึ่งมี ๑๐

ประเภท ด้วยสามารถแห่งนิทเทสวาระ ๑๐ คือ ฝ่ายกุศล ๕ ฝ่ายวิบาก ๕ ด้วย

สามารถแห่งกายานุปัสสนาเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งสุทธิกะซึ่งประดับแล้ว

ด้วยนัย ๘๐,๐๐๐ นัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ พึงทราบความที่สติปัฏฐานเป็นกุศลเป็นต้น

โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะ สติปัฏฐานเหล่า

นั้นแม้ทั้งหมดเป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระนิพพานอันเป็น

อัปปมาณธรรม ไม่เป็นมัคคารัมมณะ แต่เป็นมัคคเหตุกะด้วยสามารถแห่ง

สหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรค เพราะทำวิริยะ หรือวิมังสาให้เป็น

ประธาน ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติเพราะเจริญมรรคอันกระทำฉันทะหรือ

จิตตะให้เป็นประธาน แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเหมือนกัน. ในอตีตะเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็นเอการัมมณะ. แต่เพราะความที่พระนิพพาน

เป็นพหิทธาธรรม จึงชื่อว่า พหิทธารัมมณะฉะนี้. สติปัฏฐาน พระผู้มีพระ-

ภาคตรัสว่าเป็นโลกุตตระอันสำเร็จแล้วนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. จริงอยู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะและ

โลกุตตระปะปนกันไว้ในสุตตันตภาชนีย์ทั้งนั้น แต่ในอภิธรรมภาชนีย์และปัญหา

ปุจฉกะนี้ ตรัสว่าเป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้สติปัฏฐานวิภังค์นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็นำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวรรต (คือ ๓ ตอน คือ สุตตันต-

ภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ) ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

วรรณนาปัญหาปัตฉกะ จบ

อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังคนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

๘. สัมมัปปธานวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๔๖๕] สัมมัปปธาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล

ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว.

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

[๔๖๖] ก็ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

เป็นอย่างไร ?

ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท

เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียก

ว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น.

ภิกษุทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

ด้วยประการฉะนี้.

[๔๖๗] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด

ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด

ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.

[๔๖๘] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความพยายาม ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว

เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความ

พยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

[๔๖๙] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น

ไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ความเพียร ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร.

[๔๗๐] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมถ์ ค้ำชู ซึ่งจิตนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

[๔๗๑] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ. อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

[๔๗๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น

อย่างไร ?

ในบทเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในจิตตุปบาท

เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะนั้น กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม ที่มีโลภะ โทสะ โมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า

บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้

[๔๗๓] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ

เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด

ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ. ภิกษุย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้

เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.

[๔๗๔] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความพยายาม. ภิกษุ เป็นผู้เขาไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายาม

นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

[๔๗๕] บทว่า. ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น

ไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร. ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร.

[๔๗๖] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต. มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต. ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

[๔๗๗] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ อันใด นี้

เรียกว่า ความเพียร. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความ

เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

[๔๗๘] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นไห้เกิดขึ้น เป็น

อย่างไร ?

ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?

กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะนั้น กาย-

กรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน

สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น.

ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมเหล่านี้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

[๔๗๙] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ

ฉันทะให้เกิด.

บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ

ความเพียร.

บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ความเพียร. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม

[๔๘๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ-

คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง

ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น

อย่างไร ?

ในบทเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?

กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น กายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอโลภะ อโทสะ อโมหะนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาว-

ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์

ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

[๔๘๑] บทว่า เพื่อความดำรงอยู่ มีนิเทศว่า ความดำรงอยู่ อัน

ใด นั้นคือความไม่สาบสูญ ความไม่สาบสูญ อันใด นั้นคือความภิญโญยิ่ง

ความภิญโญยิ่ง อันใด นั้นคือความไพบูลย์ ความไพบูลย์ อันใด นั้นคือความ

เจริญ ความเจริญ อันใด นั้นคือความบริบูรณ์.

[๔๘๒] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ

ฉันทะให้เกิด.

บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ

ความเพียร.

บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียก

ว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความ

เพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำความเพียร.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

อภิธรรมภาชนีย์

[๔๘๓] สัมมัปปธาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล

ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น

[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้

เกิดขึ้น เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

สมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

[๔๘๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่าฉันทะ

เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด

ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ. ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้

เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.

[๔๘๖] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมา-

วายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด

นี้เรียกว่า ความพยายาม. ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี

เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบ

แล้วด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

[๔๘๗] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น

ไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ภิกษุ ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร,

[๔๘๘] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มนัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เสมอกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต. ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

[๔๘๙] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ

เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ

ธรรมทั้งหลายทีเหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

[๔๙๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น

อย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

[๔๙๑] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ

ฉันทะให้เกิด.

บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ

ความเพียร.

บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้

บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

[๔๙๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญ โลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น.

[๔๙๓] ในบทเหล่านั้น บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า

ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำ

ฉันทะให้เกิด.

บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พยายาม.

บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภ

ความเพียร.

บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

[๔๙๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ-

คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง

ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น

อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง

ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

[๔๙๕] บทว่า เพื่อความดำรงอยู่ มีนิเทศว่า ความดำรงอยู่

อันใด นั้นคือ ความไม่สาบสูญ. ความไม่สาบสูญ อันใด นั้นคือ ความ

ภิญโญยิ่ง. ความภิญโญยิ่ง อันใด นั้นคือ ความไพบูลย์. ความไพบูลย์ อันใด

นั้นคือ ความเจริญ. ความเจริญ อันใด นั้นคือ ความบริบูรณ์.

[๔๙๖] บทว่า ทำฉันทะให้เกิด มีนิเทศว่า ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความฉลาด

ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ. ภิกษุ ย่อมทำฉันทะนี้ให้เกิด

ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดยิ่ง ด้วยเหตุ

นั้นจึงเรียกว่า ทำฉันทะให้เกิด.

[๔๙๗] บทว่า พยายาม มีนิเทศว่า ความพยายาม เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความพยายาม.

ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า พยายาม.

[๔๙๘] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียร เป็น

ไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร.

ภิกษุย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร.

[๔๙๙] บทว่า ประคองจิตไว้ มีนิเทศว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่าจิต. ภิกษุ ย่อมประคองไว้ ประคองไว้ด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชู ซึ่งจิตนี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ประคองจิตไว้.

[๕๐๐] บทว่า ทำความเพียร มีนิเทศว่า ความเพียรชอบ เป็น

ไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียรชอบ.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยความเพียรชอบ.

[๕๐๑] ในบทเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเป็นเครื่องนำออก

ไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจาก

กาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก

วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน

สมัยใด การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัม-

มัปปธาน. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

ปัญหาปุจฉกะ

[๕๐๒] สัมมัปปธาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศล

ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น.

๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น

๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาสัมมัปปธาน ๔ สัมมัปปธานไหน เป็นกุศล, สัมมัปปธานไหน

เป็นอกุศล, สัมมัปปธานไหน เป็นอัพยากตะ ฯลฯ สัมมัปปธานไหน เป็น

สรณะ, สัมมัปปธานไหน เป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๕๐๓] สัมมัปปธาน ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว

สัมมัปปธาน ๔ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต

ก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

สัมมัปปธาน ๔ เป็นวิปากธัมมธรรม

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี

เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา-

สหคตะก็มี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ สัมมัปปธาน

เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอปจยคามี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นเสกขะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปมาณะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปมาณารัมมณะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นปณีตะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะ

สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นมัคคเหตุกะ สัมมัปปธาน ๔ เป็นมัคคาธิปติก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นมัคคาธิปติก็มี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นอุปปาที

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้

เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๕๐๔] สัมมัปปธาน ๔ เป็นนเหตุ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นสเหตุกะ,

สัมมปปธาน ๔ เป็นเหตุสัมปยุต, กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็น

สเหตุกนเหตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตต-

นเหตุและนเหตุสเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

สัมมัปปธาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นสังขตะ, สัม-

มัปปธาน ๔ เป็นอนิทัสสนะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ, สัมมัปปธาน

๔ เป็นอรูป, สัมมัปปธาน ๔ เป็นโลกุตตระ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นเกนจิวิญ-

เญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

๓. อาสวโคจฉกวีสัชนา

สัมมัปปธาน ๔ เป็นโนอาสวะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นอนาสวะ,

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต, กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้

เป็นสาสวโนอาสวะ, สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต

แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ แต่เป็นอาสววิปปยุตตอนาสววะ.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

สัมมัปปธาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นโน-

คันถะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นโน-

โยคะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็น

โนปรามาสะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นสารัมมณะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็น

โนจิตตะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นเจตสิกะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต,

สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ,

สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสหภู, สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ, สัมมัปป-

ธาน ๔ เป็นจิตสังสัฏฐสมุฏฐานะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-

สหภู, สัมมัปปธาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ, สัมมัปปธาน ๔

เป็นพาหิระ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นอุปาทา, สัมมัปปธาน ๔ เป็นอนุปาทินนะ.

๑๑, ๑๒, ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา

สัมมัปปธาน ๔ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นโน-

กิเลสะ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็น

นภาวนายปหาตัพพะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ, สัมมัปป-

ธาน ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นสวิตักกะก็มี

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอวิตักกะก็มี สัมมัปปธาน ๔ เป็นสวิจาระก็มี สัมมัปปธาน ๔

เป็นอวิจาระก็มี สัมมัปปธาน ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปีติกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ก็มี, สัมมัปปธาน ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี สัมมัปปธาน ๔ เป็นนปีติสหคตะก็มี,

สัมมัปปธาน ๔ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี, สัมมัปปธาน ๔

เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, สัมมัปปธาน ๔ เป็นนกา

มาวจร, สัมมัปปธาน ๔ เป็นนรูปาวจร, สัมมัปปธาน ๔ เป็นนอรูปาวจร,

สัมมัปปธาน ๔ เป็นอปริยาปันนะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นนิยยานิกะ, สัม-

มัปปธาน ๔ เป็นนิยตะ, สัมมัปปธาน ๔ เป็นอนุตตระ, สัมมัปปธาน ๔

เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สัมมัปปธานวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสัมมัปปธานวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัมมัปปธานวิภังค์ อันเป็นลำดับแห่ง

สติปัฏฐานวิภังค์ นั้นต่อไป.

คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม

ทรงแสดงการกำหนดสัมมัปปธานว่า มีไม่ต่ำกว่านั้น ไม่เกินกว่านั้น ดังนี้.

คำว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ ความเพียรที่เป็นเหตุ ความเพียรที่เป็นอุบาย

ความเพียรโดยแยบคาย.

คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระศาสนานี้.

คำว่า อนุปฺปนฺนาน ได้แก่ ที่ยังไม่เกิดขึ้น.

คำว่า ปาปกาน ได้แก่ อันลามก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

คำว่า อกุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศลในอรรถ

ว่าไม่ฉลาด.

คำว่า อนุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น.

คำว่า ฉนฺท ชเนติ ได้แก่ ย่อมยังฉันทะในกุศล กล่าวคือความ

เป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำให้เกิด คือ ให้บังเกิดขึ้น

คำว่า วายมติ ได้แก่ ย่อมทำความบากบั่นประกอบความเพียร

คำว่า วิริย อารภติ ได้แก่ ทำความเพียรอันเป็นไปทางกายและ

ทางจิต.

คำว่า จิตฺต ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ย่อมยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอัน

เป็นสหชาตินั้น นั่นแหละ.

คำว่า ปทหติ ได้แก่ ย่อมทำความเพียรอันเป็นประธาน. อนึ่ง

บทแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ พึงประกอบโดยการเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก

และการกระทำให้ติดต่อกันไป โดยลำดับ.

คำว่า อุปฺปนฺนาน ปาปกาน ได้แก่ บาปธรรมอันถึงซึ่งคำอัน

บุคคลไม่ควรกล่าวว่ายังไม่เกิดขึ้น.

คำว่า ปหานาย ได้แก่ เพื่อต้องการแก่การละ.

คำว่า อนุปฺปนฺนาน กุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ กุศลธรรมทั้ง

หลายอันยังไม่เกิดขึ้น.

คำว่า อุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อต้องการให้เกิดขึ้น.

คำว่า อุปฺปนฺนาน ได้แก่ บังเกิดขึ้นแล้ว.

คำว่า ิติยา ได้แก่ เพื่อความดำรงอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

คำว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่เสื่อมไป.

คำว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อความเจริญบ่อย ๆ.

คำว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์.

คำว่า ภาวนาย ได้แก่ เพื่อความเจริญ.

คำว่า ปริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.

นี้เป็นการยกอรรถอันประกอบด้วยบทเฉพาะขึ้นไว้ ด้วยสามารถแห่ง

อุทเทสวาระแห่งสัมมัปปธาน ๔ ก่อน.

วรรณนาตามพระบาลีนิทเทสวาระ

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกบทเหล่านั้น โดยลำดับ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงทรงเริ่มนิทเทสวาระ โดยนัยว่า "กถญฺจ ภิกฺขุ อนุปฺปนฺนาน"

เป็นอาทิ. ในนิทเทสวาระนั้น บทใด เช่นกับบทที่มีมาแล้วในธัมมสังคหะ

บทนั้น พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้ว ในการวรรณนาธัมมสังคหะ

นั้นเถิด แต่ว่า บทใดไม่มาในธัมมสังคหะนั้น พึงทราบในฉันทนิทเทสใน

พระบาลีนั้น ดังต่อไปนี้

ฉันทนิทเทส

คำว่า โย ฉนฺโท ได้แก่ ฉันทะ ด้วยความสามารถแห่งการตั้ง

ไว้ ซึ่งความพอใจ อันใด.

คำว่า ฉนฺทิกตา ได้แก่ ความเป็นผู้ประกอบด้วยฉันทะ หรือ

อาการ แห่งการกระทาฉันทะ.

คำว่า "กตฺตุกมฺมยตา" ได้แก่ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อทำ.

คำว่า "กุสโล" ได้แก่ ผู้ฉลาด.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

คำว่า "ธมฺมจฺฉนฺโท" ได้แก่ ฉันทะ อันเป็นสภาวะ.

จริงอยู่ ชื่อว่า ฉันทะนี้มีประการต่างๆมากอย่าง คือ ตัณหา-

ฉันทะ ทิฏฐิฉันทะ วิริยฉันทะ ธัมมฉันทะ.

ในฉันทะเหล่านั้น คำว่า "ธมฺมฉนฺโท" ท่านประสงค์เอาฉันทะใน

ธรรมอันเป็นกุศลของผู้ใคร่เพื่อกระทำในที่นี้.

คำว่า "อิม ฉนฺท ชเนติ" ได้แก่ ผู้ทำอยู่ซึ่งฉันทะนั่นแหละ

ชื่อว่า ย่อมยังฉันทะให้เกิด.

คำว่า "สญฺชเนติ" ได้แก่ บท (ชเนติ) นั้น ท่านเพิ่มบท

อุปสรรค.

คำว่า "อุฏฺาเปติ" ได้แก่ ผู้ทำฉันทะอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อม

ให้ฉันทะตั้งขึ้น.

คำว่า "สมุฏาเปติ" ได้แก่ บท (อุฏฺาเปติ) นั้น ท่านเพิ่ม

บทอุปสรรค.

คำว่า "นิพพตฺเตติ" ได้แก่ ผู้ทำฉันทะอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ย่อม

ให้ฉันทะนั้นบังเกิด.

คำว่า "อภินิพฺพตฺเตติ" ได้แก่ บท (นิพฺพตฺเตติ) นั้น ท่าน

เพิ่มบทอุปสรรค.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้ทำฉันทะนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะ

เกิด ผู้ทำฉันทะนั้นนั่นแหละให้ติดต่อกันไป ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะ

เกิดด้วยดี ผู้ยกขึ้นอีกซึ่งฉันทะอันตกไปแล้วด้วยอันตรายอย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะตั้งขึ้น, ผู้ยังฉันทะอันตั้งมั่นติดต่อ

กันไปให้ถึงอยู่ ชื่อว่า ย่อมให้ฉันทะตั้งขึ้นด้วยดี, ผู้ทำฉันทะนั้นให้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ปรากฏ ชื่อว่า ย่อมให้บังเกิด ผู้ให้ฉันทะบังเกิดขึ้นด้วยความเป็น

ใหญ่ยิ่ง เพราะความไม่ท่อถอย เพราะความไม่หดหู่เป็นไป จึงชื่อ

ว่า ย่อมให้บังเกิดอย่างยิ่ง.

วิริยนิทเทส

ในนิทเทสแห่งวิริยะ พระโยคาวจรผู้ทำความเพียรอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า

ปรารภความเพียร. บทที่ ๒ ท่านทำให้เจริญด้วยอุปสรรค. เมื่อทำความเพียร

อยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมเสพ ย่อมเจริญ. เมื่อทำความเพียรบ่อย ๆ ชื่อว่า

ทำให้มาก. เมื่อทำตั้งแต่ต้นเทียว ชื่อว่า ย่อมปรารภ. เมื่อทำบ่อย ๆ ชื่อว่า

ปรารภด้วยดี. เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา ชื่อว่า ย่อมเสพ. เมื่อให้

เจริญอยู่ ชื่อว่า ย่อมเจริญ. เมื่อทำสิ่งนั้นนั่นแหละในกิจทั้งปวงให้มาก พึง

ทราบว่า ย่อมกระทำให้มาก ดังนี้.

จิตตปัคคหนิทเทส

ในนิทเทสแห่งการประคองจิตไว้ พระโยคาวจรผู้ประกอบโดยการ

ประคับประคองซึ่งความเพียร ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ อธิบายว่า ยกจิต

ขึ้น. เมื่อประคับประคองจิตบ่อย ๆ ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ด้วยดี. จิตอัน

บุคคลประคับประคองไว้ด้วยดี ย่อมไม่ตกไปโดยประการใด เมื่ออุปถัมภ์ฐานะ

โดยประการนั้น โดยการอุปถัมภ์ด้วยความเพียร ชื่อว่า อุปถัมภ์อยู่ เมื่อ

อุปถัมภ์จิตแม้อันท่านอุปถัมภ์แล้วบ่อย ๆ เพื่อความมั่นคง ชื่อว่า ย่อมค้ำชู

ซึ่งจิตนั้น.

ในนิทเทสแห่งบทว่า "ฐิติยา" พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดง

ซึ่งคำไวพจน์ของคำว่าฐิติ (ความดำรงอยู่) แม้แห่งธรรมทั้งหมดมีความไม่-

๑. คำไวพจน์ของ ฐิติ คือ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความเจริญ ความบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

สาบสูญเป็นต้น จึงตรัสคำว่า "ยา ิติ โส อสมฺโมโส" เป็นอาทิ (แปลว่า

ความดำรงอยู่ อันใด นั้น คือ ความไม่สาบสูญเป็นต้น). อันที่จริง ใน

ข้อนี้ แม้จะกล่าวว่า บทหลัง ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหน้า ๆ และ

บทหน้า ๆ เป็นคำอธิบายเนื้อความของบทหลัง ๆ ดังนี้ก็ควร. คำที่เหลือในที่

ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล. นี้เป็นการวรรณนาตามพระบาลีก่อน.

วินิจฉัยกถาพระบาลี

ก็พึงทราบวินิจฉัยกถาในพระบาลีต่อไป

จริงอยู่ สัมมัปปธานกถานี้ มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกียะอย่าง

หนึ่ง เป็นโลกุตตระอย่างหนึ่ง. ในสองอย่างนั้น สัมมัปปธานที่เป็นโลกิยะ

ย่อมมีในบุพภาคทั้งหมด. สัมมัปปธานนั้น พึงทราบในขณะที่เป็นโลกิยมรรค

โดยปริยายแห่ง กัสสปสังยุต.

สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ดูก่อนอาวุโส บรรดาธรรมเหล่า

นั้น สัมปปธานนี้มี ๔. สัมมัปธาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนอาวุโส ภิกษุ

ในศาสนานี้ ย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "อกุศล

ธรรมอันลามกของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดพึงเป็นไปเพื่อความ

ฉิบหาย" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยคิดว่า "อกุศล

ธรรมอันลามกของเราที่เกิดขึ้นแล้ว อันเราไม่ละเสีย ก็จะพึงเป็นไป

เพื่อความพินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียร ด้วยคิดว่า "กุศล-

ธรรมทั้งหลายของเรา ที่ยังไม่เกิด เมื่อไม่เกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความ

พินาศ" ดังนี้. เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "กุศล

ธรรมทั้งหลายของเรา ที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไป (หมายความถึงการ

เสื่อมไป) ก็จะพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ก็ในคำว่า "กุศลธรรมของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น" นี้ ได้แก่ สมถ-

วิปัสสนา และ มรรค.

สมถวิปัสสนานั่นแหละ ชื่อว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนมรรค

เกิดครั้งเดียวแล้วก็ดับไป ย่อมชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อความพินาศ เพราะว่ามรรค

นั้น ให้ความเป็นปัจจัยแก่ผลเท่านั้นแล้ว ก็ดับไป.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ว่า สมถวิปัสสนาในกุศลอันมีมาก่อนนั้น

แหละก็พึงถือเอา. แต่ข้อนั้นหาควรไม่ เพราะบรรดากุศลธรรมทั้งหลายมี

สมถวิปัสสนาและมรรคนั้น สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไปย่อม

เป็นไปเพื่อความพินาศ แล.

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความ พึงทราบเรื่องต่อไปนี้

ได้ยินว่า พระเถระผู้ขีณาสพองค์หนึ่ง กับสามเณรผู้ได้สมาบัติเป็น

ผู้ถือภัณฑะ มาสู่มหาวิหารจากชนบท ท่านคิดว่า "เราจักไหว้พระเจดีย์ และ

มหาโพธิ์" ดังนี้ แล้วได้เข้าไปสู่ปิงครบริเวณ. เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้

พระเจดีย์อยู่ในเวลาเย็น ท่านมิได้ออกไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์. ถามว่า

เพราะเหตุใด. ตอบว่า เพราะพระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้เคารพในพระรัตนตรัย

มาก ฉะนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้แล้วหลีกไปแล้ว พระเถระจึงคิดว่า "ในเวลา

ที่มนุษย์ทั้งหลายกินถั่ว (ของกินหลังอาหาร) ตอนเย็น เราจักไม่ให้ใคร ๆ รู้

แม้แต่สามเณร แล้วจักไปไหว้พระเจดีย์" ดังนี้ เป็นผู้เดียวเท่านั้นออกไปแล้ว.

สามเณรคิดว่า "เหตุอะไรหนอ พระเถระจึงเป็นผู้เดียวไปในเวลาที่

ไม่สมควร เราจักทราบเหตุนั้น" จึงติดตามอุปัชฌาย์ของตนออกไป. พระเถระ

ไม่พิจารณา จึงไม่ทราบการมาของสามเณรนั้น ท่านได้ขึ้นไปสู่ลานของพระ-

มหาเจดีย์ทางประตูด้านทิศทักษิณ. แม้สามเณรก็ขึ้นไปตามทางนั้นเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์แล้วถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ แล้วก็

ประมวลมาซึ่งพุทธคุณทั้งปวงด้วยใจ เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วไหว้พระ-

มหาเจดีย์อยู่. แม้สามเณรเห็นอาการต่อกิริยาที่ไหว้ของพระเถระแล้ว จึงคิด

ว่า "อุปัชฌาย์ของเรา มีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้อยู่ ท่านได้ดอกไม้แล้วหรือ

จึงทำการบูชา" ดังนี้. เมื่อพระเถระไหว้แล้วลุกขึ้นแล้ว ก็ตั้งอัญชลีโดยเคารพ

ยืนแลดูพระมหาเจดีย์อยู่ สามเณรจึงกระแอมไอ ให้พระเถระทราบความที่

ตนมาแล้ว.

พระเถระหันมาดูแล้วถามว่า "เธอมาเมื่อไร" สามเณรจึงเรียนว่า

"ท่านขอรับในกาลที่ท่านไหว้พระเจดีย์ ท่านมีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้พระเจดีย์

ท่านได้ดอกไม้ทั้งหลายบูชาหรือ พระเถระกล่าวว่า "เออ สามเณร ชื่อว่า

การบรรจุพระธาตุมีประมาณเท่านี้ ในที่ใดที่หนึ่งเหมือนพระเจดีย์นี้มิได้มี

มหาสถูปเห็นปานนี้ไม่เป็นเช่นกับสถูปอื่น ใคร ๆ ได้ดอกไม้ทั้งหลายแล้วจะไม่

พึงบูชาเล่า"

สามเณรจึงเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงรอ

กระผมจักนำดอกไม้มา" แล้วเข้าฌาน ในขณะนั้นนั่นแหละไปสู่หิมวันต์ด้วย

ฤทธิ์ ถือเอาดอกไม้ทั้งหลาย อันถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ให้เต็มธมกรก

(กระบอกกรองน้ำ)แล้ว เมื่อพระเถระไปจากมุขด้านทิศใต้ ยังไม่ทันถึงมุขด้าน

ทิศตะวันตก มาแล้ว เรียนท่านว่า "ท่านขอรับ ขอท่านวางธมกรกดอกไม้ที่มือ

แล้วบูชาเถิด" พระเถระกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ของเราน้อยมาก" สาม-

เณรเรียนท่านว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนึกถึงคุณทั้งหลายของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด".

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

พระเถระก้าวขึ้นไปตามบันไดที่ติดมุขทางทิศตะวันตกแล้ว เริ่มกระทา

การบูชาด้วยดอกไม่ ณ แท่นบูชา ซึ่งตั้งอยู่ภายในที่นั้นแล พื้นที่แห่งแท่น

บูชาก็เต็มไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย และตกลงไปยังพื้นชั้นล่าง ให้เต็มสูงขึ้นมี

ประมาณถึงหัวเข่า จากนั้น พระเถระก็หยั่งลงสู่ระเบียงเบื้องหลังบนฐาน

สำหรับบูชาแล้วบูชาอยู่ แม้ดอกไม้ก็เต็มรอบแล้ว พระเถระทราบความที่

ดอกไม้เหล่านั้นเต็มรอบแล้ว จึงเกลี่ยดอกไม้ไปในพื้นเบื้องต่ำแล้วจึงไป ลาน

แห่งพระเจดีย์ทั้งปวงก็มีดอกไม้เต็มรอบแล้ว เมื่อลานพระเจดีย์มีดอกไม้เต็ม

รอบแล้วจึงกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด" สามเณรเรียนท่านว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงคว่ำธมกรก พระเถระจึงคว่ำปากธมกรกแล้ว

สะบัด ดอกไม้ทั้งหลายจึงสิ้นไปในกาลนั้น.

พระเถระให้ธมกรกคืนแก่สามเณรแล้วทำปทักษิณพระเจดีย์เดินไปตาม

กำแพงประมาณ ๖๐ ศอก แล้วไหว้ในทิศทั้ง ๔ ขณะที่กำลังเดินไปสู่บริเวณ

ก็คิดว่า "สามเณรนี้มีฤทธิ์มาก จักอาจเพื่อรักษาอิทธานุภาพนี้ได้ตลอดไปหรือ

ไม่หนอ" ในลำดับนั้นก็ทราบว่า สามเณรนี้จักไม่อาจรักษาฤทธานุภาพไว้ได้

จึงได้กล่าวกะสามเณรว่า "สามเณร บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก แต่ในกาลสุดท้ายที่

ฤทธิ์เห็นปานนี้พินาศไปแล้ว เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือ

ขยำแล้ว" ดังนี้. ก็ข้อที่ฤทธิ์เสื่อมไปนี้ เป็นข้อบกพร่องของความเป็นคนหนุ่ม

สามเณรนั้นสลดจิตด้วยคำของอุปัชฌาย์ ทั้งมิได้กล่าวขอกรรมฐานว่า " ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอกกรรมฐานแก่กระผม" ดังนี้ แต่คิดว่า "อุปัชฌาย์

ของเราพูดอะไร" ได้เดินไปแล้ว เหมือนบุคคลผู้ไม่ได้ยินถ้อยคำนั้น.

พระเถระครั้นไหว้มหาเจดีย์และมหาโพธิ์แล้ว ให้สามเณรถือบาตร

และจีวร ได้ไปสู่มหาวิหารชื่อว่า กุเฏฬิติสละโดยลำดับ. สามเณรผู้ติดตาม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

อุปัชฌาย์ ไม่ปรารถนาจะเดินไปภิกขาจาร จึงถามท่านว่า ท่านขอรับ ท่าน

จะเข้าไปสู่บ้านไหน เมื่อทราบว่า บัดนี้ อุปัชฌาย์ของตนจักถึงประตูบ้านแล้ว จึง

ถือเอาบาตรและจีวรของตนและของอุปัชฌาย์มาทางอากาศ ถวายบาตรและจีวร

แก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปเพื่อบิณฑบาต. พระเถระได้กล่าวตักเตือนสามเณร

ตลอดกาลทั้งปวงว่า "สามเณร เธออย่าได้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าฤทธิ์

ของปุถุชน เป็นสภาพหวั่นไหว ไม่แน่นอน ได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น

อันเป็นอสัปปายะแล้ว ย่อมแตกไปโดยเหตุ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อ

สมาบัติอันมีอยู่เสื่อมไปแล้ว ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่อาจตั้งมั่นในการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์" ดังนี้. สามเณรคิดว่า อุปัชฌาย์ของเราพูดอะไร

มิได้ปรารถนาจะฟัง กระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ. พระเถระเมื่อทำการไหว้

พระเจดีย์โดยลำดับแล้วไปสู่วิหาร ชื่อกัมพุเปณฑวิหาร. เมื่อพระเถระแม้อยู่

ในวิหารนั้น สามเณรก็ยังกระทำอยู่อย่างนั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ซึ่งมีรูปงาม ดำรงอยู่

ในปฐมวัยออกจากบ้านที่อาศัยแล้ว ก้าวลงสู่สระบัวร้องเพลงขับเด็ดดอกบัวอยู่.

ก็ในสมัยนั้นสามเณรผู้ไปสู่สระบัวฟังเสียงแห่งเพลงขับของหญิงแล้ว

เป็นราวกะว่าแมลงตาบอดติดอยู่ในรสน้ำหวาน ในขณะนั้นทีเดียว

ฤทธิ์อันตรธานไปแล้ว ได้เป็นราวกะนกกาปีกขาดฉะนั้น แต่ด้วยกำลัง

แห่งสมาบัติยังมีอยู่ สามเณรจึงมิได้ตกไปในพื้นน้ำมัน ได้ยืนอยู่แล้วที่ฝั่งแห่ง

สระดอกบัว เป็นราวกะว่าปุยไม้งิ้วค่อย ๆ ลอยตกไป. สามเณรนั้นกลับมา

โดยเร็วแล้วถวายบาตรและจีวรแก่อุปัชฌาย์แล้วก็ไป. พระมหาเถระไม่กล่าว

คำอะไร ๆ ด้วยคิดว่า "เรื่องนั้นเราเห็นแล้ว แม้เราจะห้ามเธออยู่ก็จะไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

กลับมา" ดังนี้ จึงไปบิณฑบาต. ฝ่ายสามเณรไปยืนอยู่ที่ฝั่งแห่งสระบัว คอย

ท่าธิดาช่างหูกนั้นขึ้นมาอยู่.

แต่ธิดานั้น ก็เห็นสามเณรผู้ไปทางอากาศและกลับมาอีก ก็ทราบได้

ว่า "สามเณรนี้อาศัยเราจึงมีความกระสัน" ดังนี้ จึงกล่าวว่า "สามเณร จง

หลีกไป" สามเณรนั้นก็หลีกไป ธิดาช่างหูกขึ้นจากสระบัว นุ่งห่มผ้าแล้วเข้า

ไปหาสามเณรถามว่า "มีอะไรหรือ" สามเณรนั้นได้บอกเนื้อความนั้นแล้ว

ธิดานั้นแม้แสดงโทษในการอยู่ครองเรือนด้วยเหตุมากมาย และแสดงอานิสงส์

ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ตักเตือนอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อให้สามเณรนั้นบรรเทา

ความกระสันได้ จึงคิดว่า "สามเณรนี้เสื่อมจากฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเรา บัดนี้

เราไม่ควรจะทอดทิ้งเธอ" ดังนี้ จึงกล่าวว่า จงยืนอยู่ที่นี่ก่อน แล้วกลับไป

บ้าน ได้บอกเรื่องนั้นแก่มารดาและบิดาของเธอ.

มารดาและบิดาไปแล้วให้โอวาทแก่สามเณรมีประการต่าง ๆ ได้กล่าว

ถ้อยคำอันไม่ต้อนรับว่า "ท่านอย่าสำคัญว่าพวกเรามีตระกูลสูง เราทุกคนเป็น

ช่างหูก ท่านสามารถจะกระทำการงานของช่างหูกได้หรือ" สามเณรกล่าวว่า

"ดูก่อนอุบาสก ขึ้นชื่อว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องทำอะไร ๆ จะเป็นการงานของช่าง

หูกหรือจะเป็นการงานของคนมัดฟ่อนไม้ก็ตาม ขอท่านอย่าได้หวงผ้าสำหรับ

นุ่งด้วยเหตุนี้เลย" นายช่างหูกได้ให้ผ้าสาฎกอันพันไว้ที่เอว และนำไปสู่บ้าน

แล้วยกธิดาให้.

มาณพนั้น (สามเณรที่สึกแล้ว) เรียนการงานของช่างหูกแล้ว ก็กระ-

ทำการงานที่ศาลากับด้วยช่างหูกทั้งหลาย. หญิงทั้งหลายของครอบครัวอื่น

จัดแจงอาหารแล้วนำมาแต่เช้าตรู่ แต่ภรรยาของมาณพนั้นยังมิได้มา เมื่อชน

ทั้งหลายพักการงานบริโภคอาหารกัน มาณพนั้นยังนั่งกรอด้ายอยู่ ภริยาของ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

เขามาในภายหลัง. ลำดับนั้น มาณพนั้นจึงคุกคามภริยาด้วยคำว่า "เธอมาช้า

เกินไป".

ก็ธรรมดามาตุคามทราบจิตอันใคร ๆ มีความรักในตนแล้ว

ย่อมสำคัญบุคคลทั้งหลาย แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชว่าเป็นราว

กะทาส.

เพราะฉะนั้น หญิงนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ในเรือนของชนอื่น เขามีคน

นำวัตถุ เครื่องใช้ มีฟืน ใบไม้ เกลือเป็นต้น จากภายนอกมาเก็บเตรียม

ไว้แล้ว ก็ดิฉันเป็นผู้เดียว แม้ท่านก็ไม่รู้ว่า ในบ้านของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี

ถ้าท่านต้องการก็จงบริโภค ถ้าไม่ต้องการก็อย่าบริโภค มาณพนั้นโกรธ

แล้วโดยคิดว่า หญิงนี้ไม่ใช่แต่นำอาหารมาในเวลาสายเกินไปอย่างเดียว ยังเสียด

สีเราแม้ด้วยวาจาดังนี้ เมื่อไม่เห็นเครื่องประหารอื่น จึงถอดไม้กระสวยทอผ้า

นั้นนั่นแหละออกแล้วขว้างไป. เมื่อหญิงนั้นกำลังจะหลบอยู่ ปลายท่อนไม้

ของกระสวยก็เข้าไปกระทบที่ปลายแห่งลูกตา หญิงนั้นได้เอามือทั้งสองกุมลูกตา

โดยเร็ว โลหิตไหลออกแล้วจากที่เป็นที่แตกแล้ว.

มาณพนั้น ระลึกถึงคำของอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้น จึงเริ่มร้องไห้

คร่ำครวญด้วยเสียงอันดังว่า "อุปัชฌาย์กล่าวกะเราหมายเอาเหตุนี้ว่า ในอนาคต

เธอจักดื่มกินน้ำข้าวที่ช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำ" ดังนี้ เหตุอันนี้ จัก

เป็นอันพระเถระเห็นแล้ว โอ พระผู้เป็นเจ้าเห็นการณ์ไกลหนอ. ช่างหูกทั้ง

หลายเหล่าอื่นกล่าวตอบว่า "อย่าเลยเธอ อย่าร้องไห้ไปเลย ธรรมดาว่า

นัยน์ตาแตกแล้ว อันบุคคลผู้ร้องไห้ไม่อาจเพื่อกระทำนัยน์ตาให้เป็นปกติได้.

มาณพนั้นกล่าวว่า "กระผมมิได้ร้องไห้เพื่อเหตุนี้ แต่ว่ากระผมร้องไห้หมาย

เอาเรื่องนี้" แล้วจึงได้บอกความเป็นไปทั้งหมดโดยลำดับ แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไป ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ

ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกเรื่องหนึ่ง

ภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ไหว้พระมหาเจดีย์อันงดงามแล้วก็ก้าวไปสู่ทาง

ใหญ่ โดยหนทางอันเป็นป่าทึบ ในระหว่างทางได้พบมนุษย์คนหนึ่งผู้ทำการ

งานไร่อันไฟไหม้แล้วกำลังเดินทางมา ร่างกายของเขาแปดเปื้อนด้วยเขม่าไฟ

เมื่อใคร ๆ แลดูเขาผู้มีผ้านุ่งอันเปื้อนเขม่าไฟนั้นแหละด้วย ผ้านุ่งที่เขาหนีบ

ไว้ที่รักแร้ผืนหนึ่งด้วย ก็จะปรากฏเป็นราวกะว่าตอไม้อันไฟไหม้แล้ว. เขา

กระทำการงานในเวลากลางวันเสร็จแล้วจึงยกมัดฟืนซึ่งไฟไหม้แล้วครึ่งหนึ่งขึ้น

บนหลัง มีผมอันยุ่งเหยิงเดินมาผิดทาง ได้มาหยุดอยู่ตรงหน้าภิกษุทั้งหลาย.

พวกสามเณรเห็นแล้วก็แลดูซึ่งกันและกันแล้วพูดว่า "พ่อของเธอ

ปู่ของเธอ ลุงของเธอ." ดังนี้ หัวเราะกันอยู่แล้วถามว่า "ดูก่อนอุบาสก ท่าน

ชื่ออะไร ".

มนุษย์นั้นถูกถามถึงชื่อ ก็มีความเร่าร้อนใจ โยนมัดฟืนทิ้งแล้วจัดแจง

นุ่งห่มผ้า ไหว้พระมหาเถระแล้วเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงหยุด

ก่อน".

พระมหาเถระได้หยุดแล้ว พวกสามเณรหนุ่ม ๆ แม้มาแล้วต่อหน้า

พระมหาเถระทั้งหลายก็ยังกระทำความรื่นเริงกัน.

อุบาสกกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกท่านเห็นกระผมแล้วหัวเราะ

กันใหญ่เข้าใจว่า พวกเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ทีเดียว เมื่อ

ก่อนแม้กระผมก็ได้เป็นสมณะเช่นเดียวกับพวกท่านนั่นแหละ ก็เหตุสักว่าความ

เป็นเอกัคคตาแห่งจิตของพวกท่านก็ยังไม่มี ส่วนกระผมได้เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

อานุภาพมากในพระศาสนานี้ กระทำอากาศให้เป็นดังแผ่นดิน กระทำแผ่นดิน

ให้เป็นดังอากาศ ถือเอาระยะทางที่ไกลกระทำให้ใกล้ ทำทางที่ใกล้ให้ไกล

ไปได้สู่พันแห่งจักรวาลโดยขณะเดียว ท่านทั้งหลายจงดูมือของกระผม ก็แต่

ว่าบัดนี้เป็นเช่นกับมือลิง กระผมนั่งอยู่ในโลกนี้นั่นแหละเอามือทั้งสองลูบคลำ

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ กระผมนั่งแล้วกระทำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

ให้เป็นดุจพื้นที่สำหรับล้างเท้าก็ได้ ฤทธิ์ของกระผมเห็นปานนี้อันตรธาน

ไปแล้วด้วยความประมาท ขอท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทเลย

เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถึงความพินาศไปเช่นนี้เพราะความประมาท

ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่จะกระทำที่สุดแห่งชาติ ชรา และ

มรณะได้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายกระทำผมให้เป็นอารมณ์แล้ว จงเป็น

ผู้ไม่ประมาทเถิดขอรับ" ครั้นคุกคามแล้วได้ให้แล้วซึ่งโอวาท.

เมื่อมนุษย์นั้นกล่าวอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ ภิกษุสามเณร ๓๐ เหล่านั้น

ถึงความสังเวชแล้ว เห็นแจ้งอยู่ ก็บรรลุพระอรหัต ในที่นั้นนั่นแล.

สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับไป บัณฑิตพึงทราบว่า

ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ ดังพรรณนามาฉะนี้.

วินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถา

พึงทราบวินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถาก่อน ดังต่อไปนี้.

ก็สำหรับในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ความเพียรอย่างหนึ่ง

เท่านั้นย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งการยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อนุปฺปนฺนาน ได้แก่ (อกุศลธรรม

อันลามกทั้งหลาย) ที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการปรากฏ หรือด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

สามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพ. จริงอยู่ ในสังสารอันหาเบื้องต้นและ

ที่สุดมิได้ ขึ้นชื่อว่าอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วโดยประการ

อื่น ๆ มิได้มี. ก็อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นนั่นแหละแม้เมื่อจะเกิดก็

ย่อมเกิดขึ้นได้ แม้เมื่อละก็พึงละได้.

ในข้อว่า อนุปฺปนฺนาน นั้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วย

อำนาจแห่งวัตรของภิกษุบางรูป คือ ย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุบางรูป ด้วยสามารถ

แห่งวัตรอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งคันถะ ธุดงค์ สมาธิ วิปัสสนา นวกรรม

และภพ. กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วยสามารถแห่งวัตรเป็นอย่างไร. ก็

ภิกษุบางรูปเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรมีอยู่ เมื่อเธอการทำอยู่ซึ่งวัตรเล็กๆ น้อยๆ

๘๒ มหาวัตร ๑๔ และเจติยังคณวัตร โพธิยังคณวัตร ปานียวัตร มาฬกวัตร

อุโปสถาคารวัตร อาคันตุกวัตร และคมิกวัตรอยู่นั่นแหละ กิเลสทั้งหลาย

ย่อมไม่ได้โอกาส. ก็ในกาลอื่นอีก เมื่อเธอมีวัตรอันแตกเพราะ กิเลสทั้ง

หลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น.

กิเลสทั้งหลายอันยังไม่พึงเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏอย่างนี้ ชื่อว่า

ย่อมเกิดขึ้นได้.

ภิกษุบางรูปประกอบในการศึกษาเล่าเรียน ถือเอาพุทธพจน์ ๑ นิกาย

บ้าง ๒-๓ -๔-๕ นิกายบ้าง เมื่อภิกษุนั้นนั่นแหละถือเอา สาธยายอยู่ คิด

อยู่ บอกอยู่ ประกาศอยู่ซึ่งพระไตรปิฎก คือพุทธพจน์ ด้วยสามารถแห่งอรรถ

ด้วยสามารถแห่งบาลี ด้วยสามารถแห่งอนุสนธิ ด้วยสามารถแห่งบทต้นและ

บทปลายอยู่ กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. ก็แต่ในกาลอื่นอีก เธอละการ

ศึกษาเป็นผู้เกียจคร้านเที่ยวไปอยู่ กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ

และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วย

สามารถแห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

อนึ่ง ภิกษุบางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ สมาทานประพฤติธุดงคคุณ ๑๓

มีอยู่. เมื่อเธอบริหารธุดงคคุณทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. แต่

ในกาลอื่นอีก ภิกษุนั้นสละธุดงค์ทั้งหลายแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

เที่ยวไปอยู่ กิเลสทั้งหลาย อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติ

แล้วย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏ

แม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.

ก็ภิกษุบางรูปเป็นผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ มีอยู่. เธออาศัยอยู่ด้วย

สามารถแห่งอาวัชชนวสีเป็นต้น ในปฐมฌานเป็นต้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ได้

โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก ภิกษุนั้นเสื่อมจากฌาน หรือสละฌานเสีย หรือ

เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ในการพูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์เป็นต้นอยู่ กิเลสทั้งหลาย

อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น กิเลสทั้ง

หลายอันยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อม

เกิดขึ้นได้.

ก็ภิกษุบางรูปเป็นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา กระทำอยู่ซึ่งการงานในอนุปัสสนา

๗ หรือมหาวิปัสสนา ๑๘ เป็นไปอยู่. เมื่อเธอปฏิบัติอยู่อย่างนั้น กิเลสทั้งหลาย

ย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก เธอสละการงานแห่งวิปัสสนาเป็นผู้มาก

ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่ กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการ

และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายอันยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถ

แห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุบางรูปเป็นนวกัมมิกะ (ผู้ก่อสร้าง) ย่อมกระทำโรงอุโบสถและ

โรงฉันภัตเป็นต้น. เมื่อเธอคิดอุปกรณ์แห่งโรงอุโบสถเป็นต้นเหล่านั้น กิเลส

ทั้งหลายย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ในกาลอื่นอีก เมื่อนวกรรมของเธอเสร็จแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

หรือเป็นผู้สละนวกรรมแล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและ

การสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถ

แห่งการไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.

ก็ภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก ย่อมเป็นสัตว์บริสุทธิ์. กิเลสทั้ง

หลายย่อมไม่ได้โอกาส เพราะยังไม่มีการซ่องเสพ. แต่ว่าในกาลอื่นอีก เธอมี

การซ่องเสพอันได้แล้ว กิเลสทั้งหลายอาศัยอโยนิโสมนสิการและการ

สละสติย่อมเกิดขึ้น. กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่

ปรากฏแม้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้.

พึงทราบความที่กิเลสทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการไม่

ปรากฏ ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่ยังไม่

เคยเสพเป็นอย่างไร ?

ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ได้อารมณ์อันต่างด้วยอารมณ์มีอารมณ์

อันเป็นที่ชอบใจเป็นต้นที่ยังไม่เคยเสพ. กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อาศัย

อโยนิโสมนสิการ และการสละสติแล้ว ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอในอารมณ์นั้นได้.

กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพอย่างนี้

ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นได้. แต่ว่า ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค วิริยะหนึ่งนั่นแหละ

ย่อมยังกิจ คือ การไม่ให้กิเลสทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้น และพึงเกิดอย่างนี้

ย่อมไม่ให้เกิดขึ้น ยังกจคือการละกิเลสทั้งหลายอันเกิดขึ้นแล้วด้วย ให้สำเร็จ.

เพราะฉะนั้น ในข้อว่า "อุปฺปนฺนาน ปาปกาน" นี้ จึงได้ อุปปันนะ

(คือกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว) ๔ อย่าง คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

๑. วัตตมานุปปันนะ (เกิดขึ้นเป็นไปในขณะทั้ง ๓)

๒. ภุตวา วิคตุปปันนะ (เกิดขึ้นเสพอารมณ์แล้วดับไป)

๓. โอกาสกตุปปันนะ (เกิดขึ้นกระทำโอกาสให้แก่ตน)

๔. ภูมิลัทธุปปันนะ (เกิดขึ้นในภูมิอันตนได้แล้ว)

บรรดาอุปปันนธรรม ๔ เหล่านั้น กิเลสเหล่าใดที่มีอยู่ กิเลสเหล่านั้น

เป็นสภาพพรั่งพร้อมด้วยอุปปาทะเป็นต้น (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) นี้ ชื่อว่า

วัตตมานุปปันนะ. ก็เมื่อกิเลสนั้นเสพเพราะกรรมแล้ว เสวยรสแห่งอารมณ์

แล้ว วิบากดับไปแล้ว ชื่อว่า ภุตวา วิคตะ (เสพแล้ว ปราศไปแล้ว). กรรม

อันเกิดขึ้นแล้ว ดับไป ก็ชื่อว่า ภุตวา วิคตะ. แม้ทั้งสองนี้ ย่อมถึงซึ่งการนับ

ว่า ภุตวา วิคตุปปันนะ. กรรมอันเป็นกุศลและอกุศล ห้ามวิบากแห่ง

กรรมอื่นแล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน เมื่อกรรมกระทำโอกาสแล้วอย่างนี้

วิบากอันเกิดขึ้นตั้งแต่การกระทำโอกาส ท่านเรียกว่า อุปปันนะ (กิเลสเกิด

ขึ้นแล้ว) นี้ ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ.

อนึ่ง ปัญจขันธ์ ชื่อว่า ภูมิแห่งวิปัสสนา. ปัญจขันธ์ อันต่างด้วย

อดีตเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ ก็กิเลสอันนอนเนื่องแล้วในขันธ์เหล่านั้น ใคร ๆ

ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน. เพราะว่ากิเลสทั้งหลาย

แม้นอนเนื่องแล้วในอดีตขันธ์ทั้งหลายย่อมเป็นสภาวะที่ละไม่ได้ แม้ในอนาคต-

ขันธ์ทั้งหลายในปัจจุบันขันธ์ทั้งหลายก็เหมือนกัน นี้ ชื่อว่า ภูมิลัทธุปปันนะ.

ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อนทั้งหลาย จึงกล่าวว่า กิเลสทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมินั้น ๆ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นภูมิลัทธุปปันนะ แล.

อุปปันนธรรม ๔ อย่าง อีกอย่างหนึ่ง คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

๑. สมุทาจารุปปันนะ

๒. อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ

๓. อวิกขัมภิตุปปันนะ

๔. อสมุคฆาฏิตุปปันนะ

ใน ๔ อย่างนั้น กิเลสทั้งหลายกำลังเป็นไปอยู่ในบัดนี้นั่นแหละ ชื่อ

ว่า สมุทาจารุปปันนะ.

เมื่อบุคคลลืมตาขึ้นครั้งเดียวแล้วถือเอาอารมณ์ ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า

กิเลสทั้งหลายจักไม่เกิดขึ้น ในขณะที่ตนตามระลึกถึงแล้ว และระลึกถึงแล้ว.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะความเป็นผู้ยึดถือเอาซึ่งอารมณ์. ท่าน

กล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวเปรียบว่า ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า น้ำนมจักไม่ออก

ไปจากต้นไม้ที่มีน้ำนม ในขณะที่บุคคลเอาขวานถากแล้ว และถากแล้ว ฉัน

ใด ข้อนี้ ก็ชื่อว่า อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ ฉันนั้น.

อนึ่ง กิเลสที่ยังมิได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า กิเลส

เหล่านั้นจักไม่เกิดขึ้นในที่ชื่อโน้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมิ

ได้ข่มไว้. ท่านกล่าวไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าว่าบุคคลพึงเอาขวาน

ถากต้นไม้มีน้ำนม ใคร ๆ ก็ไม่พึงกล่าวว่า น้ำนมไม่พึงออกไปในที่ชื่อโน้น

ข้อนี้ก็ฉันนั้น จึงชื่อว่า อวิกขัมภิตุปปันนะ.

อนึ่ง บัณฑิตพึงยังคำว่า "กิเลสที่ยังมิได้ถอนขึ้นด้วยมรรคแล้ว จัก

ไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้บังเกิดในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ)" ดังนี้ ให้พิสดารโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อสมุคฆาฏิตุปปันนะ.

บรรดาอุปปันนะ (คือกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว) อุปปันนะ ๔ อย่าง ที่

มรรคไม่พึงฆ่า คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

๑. วัตตมานุปปันนะ

๒. ภุตวา วิคตุปปันนะ

๓. โอกาสกตุปปันนะ

๔. สมุทาจารุปปันนะ

อุปปันนะที่มรรคพึงฆ่า ๔ อย่าง คือ

๑. ภูมิลัทธุปปันนะ

๒. อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ

๓. อวิกขัมภิตุปปันนะ

๔. อสมุคฆาฏิตุปปันนะ

จริงอยู่ มรรคเมื่อเกิดขึ้นย่อมละกิเลสทั้งหลายเหล่านี้. ก็แต่ว่า มรรค

นั้นละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต หรือ

อนาคต หรือปัจจุบัน.

ข้อนี้ สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้ง

หลายที่เป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้นมรรคนั้นก็ยังกิเลสที่สิ้นไปแล้ว

ให้สิ้นไปได้ย่อมยังกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไปได้ ย่อมยังกิเลสที่ปราศ

ไปแล้วให้ปราศไปได้ ย่อมยังกิเลสอันถึงซึ่งความเสื่อมไปแล้ว ให้

ถึงความเสื่อมไปได้ สิ่งใดอันเป็นอดีตมิได้มีอยู่ ย่อมละสิ่งนั้นได้.

ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้งหลายอันเป็นอนาคตได้ไซร้ ถ้า

อย่างนั้นมรรคนั้นก็ย่อมละกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วได้ ย่อมละกิเลส

ที่ยังไม่บังเกิดแล้ว อันไม่เกิดขึ้นแล้ว อันไม่ปรากฏแล้วได้ สิ่งใดอัน

ยังไม่มาถึงอันมิได้มีอยู่ ย่อมละสิ่งนั้นได้.

ถ้าว่า มรรคย่อมละกิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

(ปัจจุบัน) ได้ ถ้าอย่างนั้น มรรคนั้นก็มีราคะย้อมแล้ว ย่อมละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

ราคะ มีโทสะประทุษร้ายแล้วย่อมละโทสะ มีโมหะแล้ว ย่อม

ละโมหะ มีมานะผูกพันแล้วย่อมละมานะ มีทิฏฐิยึดถือไว้แล้ว

ย่อมละทิฏฐิ มีความฟุ้งซ่านแล้วย่อมละอุทธัจจะ มีความลังเลไม่ตั้ง

มั่นแล้วย่อมละวิจิกิจฉา มีกิเลสที่มีกำลัง ย่อมละอนุสัยได้. ธรรม

อันดำและขาวกำลังติดกันเป็นไปเป็นคู่ ๆ (เช่นนี้) มรรคภาวนา ก็

ย่อมประกอบไปด้วยสังกิเลส ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี การ

ทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัย (การตรัสรู้

ธรรม) ก็ไม่มี. อันที่จริงมรรคภาวนามีอยู่ ฯลฯ ธรรมาภิสมัย

ก็มีอยู่.

ถามว่า เหมือนอะไร.

ตอบว่า เหมือนต้นไม้ที่ยังไม่เกิดผล ซึ่งมีมาในพระบาลี (สุต-

ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) ว่า

เสยฺยถาปิ ตรุโณ รุกฺโข ฯลฯ อปาตุภูตาเนว น ปาตุภวนฺติ

แปลว่า เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้น

ที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็จะไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย

ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันใด ฯลฯ

เหมือนอย่างว่า ต้นมะม่วงรุ่นที่มีผล มนุษย์ทั้งหลายพึงบริโภคผลทั้ง

หลายของต้นมะม่วงนั้น ผลทั้งหลายที่เหลือตกลงไปแล้วก็พึงยังต้นมะม่วงที่เกิด

ภายหลังให้สมบูรณ์ ในลำดับนั้น มนุษย์อื่นพึงเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น

ด้วยเหตุนั้น ผลทั้งหลายของต้นมะม่วงที่เป็นอดีตนั้น จึงมิได้พินาศ ผล

ทั้งหลายของต้นมะม่วงที่เป็นอนาคต และปัจจุบันก็ไม่พินาศไป เพราะว่า ผล

มะม่วงที่เป็นอนาคตเล่าก็ยังไม่เกิดขึ้น จึงมิอาจเพื่อพินาศไป แต่ในสมัยใด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ต้นมะม่วงนั้นถูกตัดขาดแล้ว ในกาลนั้น ผลมะม่วงเหล่านั้นย่อมไม่มี เพราะ

ฉะนั้น แม้ผลมะม่วงที่เป็นปัจจุบันก็ไม่พินาศไป ก็ถ้าว่า ต้นมะม่วงมิได้ถูก

ตัดไปแล้วไซร้ ผลมะม่วงเหล่าใดอาศัยรสแห่งปฐวี และรสแห่งอาโปแล้ว ก็

พึงเกิดอีก ผลมะม่วง (ต้นที่ถูกตัดแล้ว) เหล่านั้นเป็นของพินาศไปแล้ว. จริง

อยู่ ผลมะม่วงที่ยังไม่เกิดเหล่านั้นนั่นแหละย่อมไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่ปรากฏ ฉันใด

มรรคก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมละกิเลสทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น

ก็หาไม่ ย่อมไม่ละกิเลสทั้งหลายก็หาไม่ เพราะว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลาย

อันมรรคยังมิได้กำหนดรู้แล้ว ความเกิดขึ้นแห่งกิเลสเหล่าใดพึงมี

เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายอันมรรคกำหนดรู้แล้ว กิเลสที่ยังไม่เกิด

ขึ้นเหล่านั้นนั่นแหละย่อมไม่เกิดขึ้น ที่ยังไม่บังเกิดนั่นแหละ ย่อม

ไม่บังเกิดขึ้น ที่ยังไม่ปรากฏนั่นแหละย่อมไม่ปรากฏ.

บัณฑิตพึงชี้แจงเนื้อความนี้ ด้วยยาที่บุคคลดื่มแล้ว เพื่อการไม่เกิด

ขึ้นแห่งบุตรของหญิง หรือเพื่อความเข้าไปสงบแห่งโรคของผู้มีพยาธิก็ได้

บัณฑิตไม่พึงกล่าวว่า มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้นเป็น

อดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง มรรคย่อมไม่ละ

กิเลสทั้งหลายก็หาไม่ แต่ว่ามรรคละกิเลสเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอา

กิเลสเหล่านั้น จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนาน ปาปกาน เป็นต้น.

มรรคย่อมละกิเลสอย่างเดียวก็หาไม่ อุปาทินนขันธ์เหล่าใด

พึงเกิดขึ้นเพราะความที่กิเลสทั้งหลายยังมิได้ละ มรรคย่อมละแม้

อุปาทินนขันธ์เหล่านั้นนั่นแหละด้วย.

ข้อนี้ท่านกล่าวขยายความด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ อันดับซึ่งอภิสังขาร

และวิญญาณคือ เว้นภพทั้ง ๗ แล้ว อุปาทินนขันธ์เหล่าใด คือ นามและรูป

พึงเกิดขึ้นในสังสาร อันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ อุปาทินนขันธ์เหล่านั้น ย่อม

ดับไปในอธิการนี้ ฉะนั้น มรรคนั้นจึงมีอรรถอันกว้างขวาง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ด้วยประการฉะนี้ มรรคจึงชื่อว่า ย่อมออกไปจากอุปาทินน-

ขันธ์ และ อนุปาทินนขันธ์.

แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งภพแล้ว โสดาปัตติมรรค ย่อมออก

ไปจากอบายภูมิ. สกทาคามิมรรค ย่อมออกไปจากสุคติภพบางส่วน.

อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากรูปภพและอรูปภพ.

อาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อรหัตตมรรค ย่อมออกไปจากภพทั้ง

หมดเลย ดังนี้ก็มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในขณะแห่งมรรค ภาวนาย่อม

มี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่ง

ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร. ตอบว่า ภาวนาย่อมมี เพราะความเป็น

ไปแห่งมรรคนั่นแหละ. จริงอยู่ มรรคเมื่อกำลังเป็นไป ท่านกล่าวว่า ไม่เคย

เกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคยเกิดขึ้น เพราะความที่มรรคนั้นไม่เคย

เกิดแล้วในกาลก่อน. เหมือนชนทั้งหลายผู้ไปสู่ที่อันไม่เคยไป หรือเสวยอารมณ์

อันตนไม่เคยเสวยแล้ว เขาย่อมกล่าวว่า พวกเรามาแล้วสู่ที่อันไม่เคยมา หรือ

ว่า ย่อมเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวย ฉันนั้น. อนึ่ง ความเป็นไปแห่งมรรค

อันใด ชื่อว่าความตั้งมั่นก็อันนี้นั่นแหละ เพราะฉะนั้น การกล่าวว่า ย่อม

เจริญมรรคเพื่อความตั้งมั่น ดังนี้ ก็ควร.

ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค. ความเพียรของภิกษุนี้ ย่อมได้

ชื่อ ๔ อย่าง ซึ่งมีคำว่า อนุปฺปนฺนาน ปาปกาน อกุสลาน ธมฺ-

มาน อนุปาทาย เป็นอาทิ ดังพรรณนามาฉะนี้. นี้เป็นสัมมัปปธานกถา

ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค.

ท่านชี้แจงสัมมัปปธานอันเจือด้วยโลกียะและโลกุตตระไว้ในสัมมัปป-

ธานวิภังค์นี้ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ สัมมัปปธานแม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงไว้เพียงหัวข้อแห่งนัยแห่งเทศนาที่ทรงจำแนกแล้วในธรรมสังคณี

นั่นแหละ ซึ่งเป็นคำชี้แจงไว้แล้ว.

ในอธิการนี้ พึงทราบนัยที่ต่างกัน.

พึงทราบอย่างไร คือ พึงทราบในโสดาปัตติมรรคในสัม-

มัปปธานที่หนึ่งก่อน

ใน ฌานาภินิเวส (ในการอาศัยฌาน) มี ๑๐ นัย ด้วยสามารถ

แห่งจตุกกะและปัญจกะอย่างละ ๒ ในฐานะทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ สุทธิกปฏิปทา

สุทธิกสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิกอัปปณิหิตา อัปปณิหิตปฏิปทา. ในนัย

ทั้งหลายแม้ที่เหลือก็เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ในอภินิเวสะ ๒๐ นัย จึงได้

๒๐๐ นัย. นัย ๒๐๐ เหล่านั้น คูณด้วยอธิบดี ๔ เป็น ๘๐๐ นัย. นัยแม้ทั้งหมด

คือ สุทธิกะ ๒๐๐ กับสาธิปติ ๘๐๐ จึงเป็น ๑,๐๐๐ นัย ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในสุทธิกสัมมัปปธาน ในทุติยสัมมัปปธานเป็นต้นก็เหมือนกัน คือ

ได้ ๕,๐๐๐ นัย ในโสดาปัตติมรรค. ในโสดาปัตติมรรค ฉันใด แม้ในมรรค

ที่เหลือก็ฉันนั้น ฉะนั้น จึงเป็น ๒๐,๐๐๐ นัย ด้วยสามารถแห่งกุศล.

แต่ในวิบาก กิจที่พึงกระทำด้วยสัมมัปปธานทั้งหลายไม่มี

เพราะฉะนั้นวาระว่าด้วยวิบาก พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอา

ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ก็ในที่นี้สัมมัปปธานวิภังค์ นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

สัมมัปปธานที่เกิดขึ้นเป็นโลกุตตระเท่านั้น. ในปัจหาปุจฉกะ พึงทราบความ

ที่สัมมัปปธานทั้งหลายเป็นกุศลเป็นต้นตามแนวพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอา-

รัมมณติกะทั้งหลาย สัมมัปปธานเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นอัปปมาณารัมณะเท่านั้น

เพราะปรารภพระนิพพาน อันเป็นอัปปมาณธรรมเป็นไป ไม่เป็นมัคคารัมมณะ

แต่เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยอำนาจสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ในกาลเจริญมรรค

เพราะกระทำวีมังสาให้เป็นหัวหน้า. แต่ในมัคคภาวนาที่มีฉันทะและจิตตะเป็น

หัวหน้า ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติ หรือไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติ เพราะ

ไม่มีความเพียรอื่น จากความเพียรที่เป็นหัวหน้า หรือไม่พึงกล่าวแม้โดยความเป็น

อารมณ์อย่างหนึ่ง ในบรรดาอดีตอารมณ์เป็นต้น. สัมมัปปธานเหล่านั้น ชื่อว่า

เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะความที่พระนิพพานเป็นอารมณ์ภายนอก ด้วย

ประการฉะนี้. ในปัญหาปุจฉกะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัมมัปปธานทั้งหลาย

เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้ว เท่านั้น. จริงอยู่ในสุตตันตภาชนีย์ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าตรัสสัมมัปปธานทั้งหลายไว้ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระปนกัน

แต่ในอภิธรรมภาชนีย์และในปัญหาปุจฉกะ ตรัสว่าเป็นโลกุตตระเท่านั้น. แม้

ในสัมมัปปธานวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓

ปริวัฏ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาปัจหาปุจฉกะ จบ

อรรถกถาสัมมัปปธานวิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

๙. อิทธิปาทวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๕๐๕] อิทธบาท ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร

๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร

[๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน

สังขารเป็นอย่างไร ?

ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต

สมาธินี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่

เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง

จิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด

พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศล

ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร.

ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า

เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการ

ฉะนี้.

[๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด

ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ

อันใดนี้เรียกว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า

มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ

ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

[๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี

ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม

เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

[๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

เป็นอย่างไร ?

ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่ง

จิต สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อ

สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ

ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่

เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร.

วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น

เข้าเป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

[๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

วิริยะ.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงแห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ

และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริย-

สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี

ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

[๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-

สังขารเป็นอย่างไร ?

ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ

นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ. ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ

เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้าง

กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร.

จิตตสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น เข้า

เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จิตตสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการ

ฉะนี้.

[๕๑๓] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ปธานสังขาร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยจิต สมาธิและ

ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิ-

ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๑๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี

ความถูกต้อง ความกระทำให้เเจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม

เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

[๕๑๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน

สังขารเป็นอย่างไร ?

ถ้าภิกษุทำปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอคัคคตาแห่งจิต

สมาธินี้เรียกว่า วีมังสาสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อ

สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ

ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

วีมังสาสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น

เข้าเป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ด้วย

ประการฉะนี้.

[๕๑๖] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า วีมังสา.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียก

ว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ

และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสา.

สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๑๗] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง

ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

อภิธรรมภาชนีย์

[๕๑๘] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร

๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร

[๕๑๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-

สังขารเป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร.

[๕๒๐] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน ?

ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด

ความพอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า

มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยฉันทะ สมาธิ

และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๒๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ

ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ

บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

[๕๒๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัย

นั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

[๕๒๓] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภควานเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยะ สมาธิ และ

ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิ-

ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๒๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้ดี ความดี ความถึงด้วยดี ความ

ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ

บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-

สังขาร เป็นอย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร.

[๕๒๖] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิต สมาธิ และ

ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตสมาธิ

ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๒๗] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี

ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ

บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร

[๕๒๘] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน-

สังขาร เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร.

[๕๒๙] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด

นี้เรียกว่า วีมังสา.

สมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.

ปธานสังขาร เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า

มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสา-

สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

[๕๓๐] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ

สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความเข้าถึงด้วยดี

ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ

บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

[๕๓๑] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ฉันทิทธิบาท

๒. วิริยิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท

๔. วีมังสิทธิบาท

ฉันทิทธิบาท

[๕๓๒] ในอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัย

ใด ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ

พอใจในธรรม ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท. ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

วิริยิทธิบาท

[๕๓๓] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท.

จิตติทธิบาท

[๕๓๔] จิตติทธิบาท เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด จิต

มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท.

วีมังสิทธิบาท

[๕๓๕] วีมังสิทธิบาท เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญ โลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า วีมังสิทธิบาท. ธรรมทังหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

วีมังสิทธิบาท.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๕๓๖] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร

๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมธิปธานสังขาร

๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร

๔. เจริญอิทธิบาทอันปรกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอิทธิบาท ๔ อิทธิบาทไหนเป็นกุศล อิทธิบาทไหนเป็นอกุศล

อิทธิบาทไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ อิทธิบาทไหนเป็นสรณะ อิทธิบาทไหน

เป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๕๓๗] อิทธิบาท ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

อิทธิบาท ๔ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต

ก็มี.

อิทธิบาท ๔ เป็นวิปากธัมมธรรม.

อิทธิบาท ๔ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น

อวิตักกาวิจาระก็มี.

อิทธิบาท ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา

สหคตะก็มี.

อิทธิบาท ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ อิทธิบาท ๔

เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอปจยคามี.

อิทธิบาท ๔ เป็นเสกขะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นปณีตะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะ.

อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ ไม่เป็นมัคคาธิปติ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นอุปปาที.

อิทธิบาท ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ เป็นทั้งอนาคตา-

รัมมณะ เป็นทั้งปัจจุปปันนารัมมณะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี.

อิทธิบาท ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ.

อิทธิบาท ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๕๓๘] วีมังสิทธิบาท เป็นเหตุ อิทธิบาท ๓ เป็นเหตุ, อิทธิบาท ๔

เป็นสเหตุกะ, อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุสัมปยุต, วีมังสิทธิบาท เป็นเหตุสเหตุกะ

อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ, วีมังสิทธิ

บาท เป็นเหตุเหตุสัมปยุต, อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เหตุเป็นเหตุสัมปยุต

เป็นแต่เหตุสัมปยุตตนเหตุ, อิทธิบาท ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะ, วีมังสิทธิบาท

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ,

๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา

[๕๓๙] อิทธิบาท ๔ เป็นสัปปัจจยะ, อิทธิบาท ๔ เป็นสังขตะ อิทธิ

บาท ๔ เป็นอนิทัสสนะ, อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปฏิฆะ, อิทธิบาท ๔ เป็นอรูป,

อิทธิบาท ๔ เป็นโลกุตตระ, อิทธิบาท ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ, เป็นเกนจินวิญ-

เญยยะ, อิทธิบาท ๔ เป็นโนอาสวะ อิทธิบาท ๔ เป็นอนาสวะ, อิทธิบาท ๔

เป็นอาสววิปปยุต อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสวสาสวะ เป็นทั้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

สาสวโนอาสวะ, อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสวอาสวสัมปยุต เป็น

ทั้งอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ, อิทธิบาท ๔ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ อิทธิ-

บาท ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ อิทธิบาท ๔

เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ เป็นโนนีวรณะ

ฯลฯ อิทธิบาท ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๕๔๐] อิทธิบาท ๔ เป็นสารัมมณะ, อิทธิบาท ๓ เป็นโนจิตตะ,

จิตติทธิบาท เป็นจิตตะ, อิทธิบาท ๓ เป็นเจตสิกะ, จิตติทธิบาท เป็นอเจตสิกะ,

อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสัมปยุต, จิตติทธิบาท กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งจิตตสัมปยุต

เป็นทั้งจิตตวิปปยุต, อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐะ, จิตติทธิบาท กล่าวไม่

ได้ว่าเป็นทั้งจิตตสังสัฏฐะ เป็นทั้งจิตตวิสังสัฏฐะ, อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสมุฏ-

ฐานะ, จิตติทธิบาท เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ, อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสหภู

จิตติทธิบาท เป็นโนจิตตสหภู อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตานุปริวัตติ จิตติทธิบาท

เป็นโนจิตตานุปริวัตติ. อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ,จิตติทธิบาท

เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ, อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู,

จิตติทธิบาท เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู, อิทธิบาท ๓ เป็นจิตตสัง-

สัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ, จิตติทธิบาท เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ,

อิทธิบาท ๓ เป็นพาหิระ, จิตติทธิบาท เป็นอัชฌัตติกะ, อิทธิบาท ๔ เป็น

นอุปาทา, อิทธิบาท ๔ เป็นอนุปาทินนะ.

๑๑,๑๒,๑๓, อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา

[๕๔๑] อิทธิบาท๔ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ อิทธิบาท๔ เป็นโนกิเลสะ

ฯลฯ อิทธิบาท ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, อิทธิบาท ๔ เป็นนภาวนายปหา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

ตัพพ, อิทธิบาท ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อิทธิบาท ๔ เป็นนภาว-

นายปหาตัพพเหตุกะ, อิทธิบาท ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อิทธิ-

บาท ๔ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อิทธิบาท ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น

อัปปีติกะก็มี, อิทธิบาท ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี, อิทธิบาท

๔ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี, อิทธิบาท ๔ เป็นอุเปกขาสหคตะ

ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, อิทธิบาท ๔ เป็นนกามาวจร, อิทธิบาท ๔ เป็น

นรูปาวจร, อิทธิบาท ๔ เป็นนอรูปาวจร, อิทธิบาท ๔ เป็นอปริยาปันนะ,

อิทธิบาท ๔ เป็นนิยยานิกะ, อิทธิบาท ๔ เป็นนิยตะ, อิทธิบาท ๔ เป็น

อนุตตระ, อิทธิบาท ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาอิทธิปาทวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน อิทธิปาทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก

สัมมัปปธานวิภังค์ นั้น ต่อไป.

คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน. ในคำว่า อิทฺธิปาทา นี้ ชื่อว่า

อิทธิ (ฤทธิ์) เพราะอรรถว่า ย่อมรุ่งเรือง อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรืองด้วยดี คือ

ย่อมสำเร็จ. อีกอย่างหนึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้สำเร็จ ผู้เจริญ ย่อมสำเร็จ ย่อมถึง

ความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยสภาวะนี้ แม้เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

อิทธิ. ว่าโดยอรรถที่หนึ่ง ปาโท บาท คือ อิทธินั่นแหละ ชื่อว่า อิทธิ-

บาท อธิบายว่า เป็นส่วนหนึ่งของอิทธิ. ว่าโดยอรรถที่สอง ชื่อว่า

อิทธิบาท เพราะเป็นบาทแห่งอิทธิ. คำว่า ปาโท ได้แก่ เป็นที่อาศัย

คือ เป็นอุบายเครื่องบรรลุ. จริงอยู่ เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถึง ย่อมบรรลุซึ่ง

อิทธิ กล่าวคือคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไปด้วยอุบายเป็นเครื่องบรรลุนั้น ฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า ปาทะ (คือ เป็นบาท). บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า

จตฺตาโร อิทฺธิปาทา (อิทธิบาท ๔) นี้ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงจำแนกแสดงอิทธิบาทเหล่านั้น

จึงเริ่มคำว่า อิธ ภิกฺขุ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ

ได้แก่ ภิกษุในพระศาสนานี้. ในคำว่า ฉนฺทสมาธิปธานสขารสมนฺนาคต

นี้ ได้แก่สมาธิ มีฉันทะเป็นเหตุ มีฉันทะอันยิ่ง ชื่อว่าฉันทสมาธิ. คำว่า

ฉันทสมาธิ นี้ เป็นชื่อของสมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำกัตตุกัมมย-

ตาฉันทะให้เป็นอธิบดี. สังขารทั้งหลายอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร.

คำว่า ปธานสังขาร นี้ เป็นชื่อของความเพียรที่เป็นสัมมัปปธานซึ่ง

ยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ. คำว่า สมนฺนาคต ได้แก่ เข้าไปถึงแล้วด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขารทั้งหลาย. ค่าว่า อิทฺธิปาท อธิบายว่า กอง

แห่งจิตและเจตสิกที่เหลือชื่อว่าเป็นบาท เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่ง

ฉันทสมาธิและปธานสังขารทั้งหลาย อันสัมปยุตด้วยกุศลจิตมีอุปจาระและฌาน

เป็นต้น อันถึงซึ่งการนับว่า อิทธิโดยปริยายแห่งความสำเร็จ คือ โดยอรรถ

แห่งความสำเร็จ (อรรถที่หนึ่ง) หรือว่า โดยปริยาย (คือ อรรถที่สอง)

นี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้สำเร็จ ผู้เจริญ ย่อมสำเร็จ ย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ

ด้วยสภาวะนี้ ดังนี้. จริงอยู่คำว่า อิทฺธิปาโท ข้างหน้า ที่ท่านกล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมโดยอาการนั้น อัน

ใด คำนั้น ย่อมถูกต้องด้วยอรรถนี้. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย ก็พึงทราบเนื้อ

ความโดยนัยนี้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความทีท่านกล่าวไว้ว่า เหมือนอย่างว่า

สมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำฉันทะให้เป็นอธิบดี ชื่อว่า ฉันทสมาธิ

ฉันใดนั่นแหละ สมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

ให้เป็นอธิบดี ท่านก็เรียกว่าวิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วีมังสาสมาธิฉันนั้น เถิด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงจำแนกแสดงบททั้งหลายมี

ฉันทสมาธิเป็นต้น จึงเริ่มคำว่า กถญฺจ ภิกฺขุ เป็นอาทิ. บรรดาคำ

เหล่านั้น คำว่า ฉนฺทญฺจ ภิกฺขุ อธิปตึ กริตฺวา ความว่า ถ้าภิกษุ

ทำฉันทะให้เป็นอธิบดี ทำฉันทะให้เจริญ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะ

ให้เป็นหัวหน้าแล้วได้เฉพาะซึ่งสมาธิ คือ ย่อมให้สมาธิเกิดขึ้น. อธิบายว่า

สมาธินี้อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ฉันทสมาธิ. แม้ในคำทั้งหลาย มีคำ

ว่า วิริยญฺเจ (แปลว่า ถ้าภิกษุทำความเพียร) เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

วิริยะอันยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ กล่าวคือปธานสังขารของภิกษุผู้เจริญอยู่ซึ่ง

ฉันทิทธิบาท ท่านกล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า อิเม วุจฺจนฺติ ปธาน-

สขารา (แปลว่า สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร). คำว่า ตเทกชฺฌ

อภิสญฺญูหิตฺวา (แปลว่า ประมวลย่อ ๒ อย่างเข้าเป็นอันเดียวกัน) อธิบาย

ว่า กระทำสภาวะแม้ทั้งหมดนั้นให้เป็นกองเดียวกัน. คำว่า สขย คจฺฉติ

อธิบายว่า ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมถึงโวหารเดียว

กัน ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงจำแนกแสดงธรรมมีฉันทะ

เป็นต้น ที่ประชุมลงในบทว่าฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ จึงเริ่มคำว่า ตตฺถ

กตโม ฉนฺโท เป็นอาทิ. คำนั้น มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

คำว่า อุเปโต โหติ คือ กองแห่งธรรม กล่าวคือ อิทธิบาทเป็น

สภาวะที่เข้าไปถึงแล้ว. คำว่า เตส ธมฺมาน คือ ธรรมมีฉันทะเป็นต้น

อันสัมปยุตด้วยปธานสังขารเหล่านั้น.

คำทั้งปวงมีคำว่า อิทฺธิ สมิทฺธิ เป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของ

นิปผตฺติ (คือ ความสำเร็จ อรรถแรก) ทั้งนั้น. เมื่อความเป็นอย่างนั้น

ท่านจึงเรียกว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า ความสำเร็จ. อิทธิอันสมบูรณ์แล้ว

ท่านเรียกว่า สมิทธิ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมิทธิ นี้ เป็นบทที่เจริญแล้วด้วย

อุปสรรค. อาการแห่งความสำเร็จ ท่านเรียกว่า อิชฺฌนา ความสำเร็จ.

บทว่า สมิชฺฌนา เป็นบทที่เจริญด้วยอุปสรรค. ความได้ด้วยสามารถแห่ง

การปรากฏในสันดานของตน ท่านเรียกว่า ลาภะ. ความได้แม้ซึ่งธรรมอัน

เสื่อมไปแล้วด้วยสามารถแห่งการเริ่มความเพียรอีก ท่านเรียกว่า ปฏิลาภะ

ความได้อีก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปฏิลาภะนี้ เป็นบทที่เจริญขึ้นด้วยอุปสรรค.

บทว่า ปตฺติ (การถึง) คือ การบรรลุ. การบรรลุด้วยดีด้วยสามารถแห่งการ

ไม่เสื่อมไป ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัมปัตติ (ความถึงด้วยดี). คำว่า ผุสนา

(ความถูกต้อง) คือการถูกต้องด้วยสามารถแห่งความได้อีก (ปฏิลาภะ). คำว่า

สจฺฉิกิริยา คือความกระทำให้แจ้งด้วยปฏิลาภะนั่นแหละ. คำว่า อุปสมฺปทา

(ความเข้าถึง) บัณฑิตพึงทราบว่า ความเข้าถึงด้วยปฏิลาภะเหมือนกัน. คำว่า

ตถาภูตสฺส ได้แก่ ของบุคคลผู้ปรากฏแล้วโดยอาการนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้

ได้เฉพาะแล้วซึ่งธรรมมีฉันทะเป็นต้นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่. ขันธ์แม้ทั้ง ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยคำว่า เวทนากฺขนฺโธ เป็นต้น โดยกระทำ

ฉันทะเป็นต้นไว้ภายใน. คำว่า เต ธมฺเม ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้ง ๓ (คือ ฉันทะ สมาธิ ปธานสังขาร)

มีฉันทะเป็นต้น. คำว่า อาเสวติ เป็นต้น มีอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว

นั่นแหละ. แม้ในนิทเทสแห่งอิทธิบาทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย

นัยนี้เหมือนกัน.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร พึงทราบดังนี้.

กรรมฐานอันถึงซึ่งที่สุดของภิกษุ ๔ จำพวก

ท่านกล่าวกรรมฐานของภิกษุ ๔ จำพวก อันถึงที่สุด คือ ภิกษุพวก

หนึ่งอาศัยฉันทะ เมื่อมีความต้องการด้วยฉันทะในกุศลธรรมของผู้ใคร่เพื่อจะ

ทำมีอยู่ เธอก็กระทำฉันทะให้เป็นใหญ่ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะให้เป็น

หัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้เกิด ความหนักใจของเรา

ด้วยการเกิดขึ้นแห่งฉันทะนี้ไม่มีดังนี้ แล้วจึงยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. ภิกษุ

พวกหนึ่งอาศัยวิริยะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยจิตตะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยปัญญาอยู่

เมื่อมีความต้องการด้วยปัญญา เธอก็จะกระทำปัญญาให้เป็นใหญ่ ทำปัญญาให้

เป็นธุระ ทำปัญญาให้เป็นหัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้

เกิดขึ้น ความหนักใจด้วยการเกิดขึ้นแห่งปัญญานี้ของเราไม่มี ดังนี้แล้ว จึง

ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.

เหมือนอย่างว่า บุตรของอำมาตย์ ๔ คน ปรารถนาฐานันดรแล้วเที่ยว

ไปอยู่ คนหนึ่งอาศัยการบำรุง. คนหนึ่งอาศัยความกล้า. คนหนึ่งอาศัยชาติ

คนหนึ่งอาศัยความรู้. คือ อย่างไร. คือว่า ในบุตรอำมาตย์เหล่านั้น คนที่

หนึ่ง เมื่อมีความต้องการด้วยฐานันดร จึงคิดว่า เราจักได้ฐานันดรนั้น ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

แล้วอาศัยการบำรุง เพราะความที่ตนเป็นผู้มีปกติทำความไม่ประมาทในการบำรุง.

คนที่สอง แม้มีความไม่ประมาทในการบำรุงแล้ว ยังคิดว่า บางคน เมื่อ

สงครามเกิดขึ้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะตั้งมั่น ก็แลประเทศชายแดนของพระราชา

จักกำเริบแน่แท้ เมื่อประเทศชายแดนกำเริบแล้ว เราจักกระทำการงานในหน้า

ที่แห่งรถ (ขับรถ) จักให้พระราชาพอพระทัยแล้ว ก็จักให้นำมาซึ่งฐานันดร

นั้น ดังนี้ ชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งความเป็นผู้กล้าหาญ. คนที่สาม แม้ความเป็นผู้

กล้าหาญมีอยู่ ก็คิดว่า คนบางคนเป็นผู้มีชาติต่ำ ชนทั้งหลายเมื่อให้ฐานันดรเขา

จักให้แก่เรา เพราะชำระชาติแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งชาติ. คนที่สี่ แม้

มีชาติ ก็คิดว่า บางคนไม่มีมนต์ (ความรู้) มีอยู่ เมื่อการงานที่พึงกระทำ

ด้วยมนต์ (ความรู้) เกิดขึ้นแล้ว เราผู้มีมนต์ จักให้พระราชานำมาซึ่งฐานันดร

นั้น ดังนี้ จึงชื่อว่า อาศัยแล้วซึ่งมนต์. บุตรอำมาตย์เหล่านั้นทั้งหมดถึงแล้ว

ซึ่งฐานันดรโดยกำลังแห่งภาวะอันเป็นที่อาศัย (โดยความสามารถ) ของตน ๆ.

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้อาศัยฉันทะ เมื่อมีความต้องการ

ด้วยกุศลธรรมฉันทะของผู้ใคร่เพื่อจะทำมีอยู่ เธอจึงทำฉันทะให้

เป็นใหญ่ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะให้เป็นหัวหน้า โดยคิดว่า

เราจักยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น ความหนักใจ ด้วยการเกิดขึ้นแห่งฉันทะของ

เราไม่มี ดังนี้ แล้วจึงยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบุตร

อำมาตย์ ผู้ไม่ประมาทในการบำรุงแล้ว จึงได้ฐานันดร ราวกะพระรัฐบาล

เถระ จริงอยู่ ท่านพระรัฐบาลเถระนั้น ทำฉันทะให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตร-

ธรรมให้เกิดขึ้น.

ภิกษุผู้ทำวิริยะให้เป็นใหญ่ ทำวิริยะให้เป็นธุระ ทำวิริยะให้

เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

บุตรอำมาตย์ ผู้ยังพระราชาให้พอพระทัย โดยความเป็นผู้กล้าหาญแล้วได้

ฐานันดร ราวกะพระโสณเถระ จริงอยู่ท่านพระโสณเถระนั้น ทำวิริยะให้เป็น

ธุระแล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.

ภิกษุผู้ทำจิตตะให้เป็นใหญ่ ทำจิตตะให้เป็นธุระ ทำจิตตะ

ให้เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ

บุตรอำมาตย์ ผู้ได้ฐานันดร เพราะความถึงด้วยดีแห่งชาติ เป็นราวกะว่าพระ-

สัมภูตเถระ จริงอยู่ พระสัมภูตเถระนั้น ทำจิตตะให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตร-

ธรรมให้เกิดขึ้น.

ภิกษุผู้ทำวีมังสาให้เป็นใหญ่ ทำวีมังสาให้เป็นธุระ ทำวีมังสา

ให้เป็นหัวหน้า แล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงเห็นเช่นกับ

บุตรอำมาตย์ผู้ได้ฐานันดร เพราะอาศัยมนต์ ราวกะพระโมฆราชเถระ จริงอยู่

ท่านพระโมฆราชเถระนั้น ทำวีมังสาให้เป็นธุระแล้วยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.

อนึ่ง ในอธิการนี้ ธรรมทั้ง ๓ กล่าวคือ ฉันทะ สมาธิ และปธาน-

สังขาร เป็นอิทธิด้วย เป็นอิทธิบาทด้วย ส่วนขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกันที่เหลือ

เป็นอิทธิเท่านั้น. ธรรมทั้ง ๓ (อย่างละ ๓) แม้กล่าวคือ วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา,

สมาธิ และปธานสังขาร ย่อมเป็นอิทธิด้วย เป็นอิทธิบาทด้วย ส่วนขันธ์ ๔ อัน

สัมปยุตกันที่เหลือ เป็นอิทธิบาทเท่านั้น.

นี้เป็นกถา ว่าโดยความไม่แตกต่างกันก่อน.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยความแตกต่างกัน ฉันทะ ชื่อว่า อิทธิ. นามขันธ์ ๔

อันอบรมแล้วด้วยฉันทธุระ ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท. ธรรมทั้งสองคือ สมาธิ และ

ปธานสังขาร ย่อมเข้าไปในฉันทิทธิบาท ด้วยสามารถแห่งสังขารขันธ์ แม้จะ

กล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้น เข้าไปแล้วในบาท ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน ในธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

เหล่านั้นนั่นแหละ สมาธิ ชื่อว่า อิทธิ, ขันธ์ ๔ อันอบรมแล้วด้วยสมาธิธุระ ชื่อว่า

สมาทิทธิบาท. ธรรมทั้งสองคือ ฉันทะ และปธานสังขาร ย่อมเข้าไปในสมา-

ธิทธิบาท ด้วยสามารถแห่งสังขารขันธ์. แม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไป

แล้วในบาท ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. ในธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ปธานสังขาร

ชื่อว่า อิทธิ. ขันธ์ ๔ อันอบรมแล้วด้วยปธานสังขาร ชื่อว่า ปธานสังขาริทธิบาท.

ธรรมทั้งสองคือ ฉันทะและสมาธิ ย่อมเข้าไปในปธานสังขาริทธิบาท ด้วย

สามารถแห่งสังขารขันธ์. เเม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไปแล้วในบาท

ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน.

ในธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ วิริยะ ชื่อว่า อิทธิ, จิตตะ ชื่อว่า อิทธิ,

วีมังสา ชื่อว่า อิทธิ ฯลฯ แม้จะกล่าวว่า ธรรมทั้งสองนั้นเข้าไปแล้วในบาท

ดังนี้ ก็ควรเหมือนกัน. นี้ ชื่อกถาโดยความต่างกัน.

ก็ในอธิการที่ท่านได้กล่าวแล้วนี้ หาใช่เป็นของใหม่ไม่ เป็นคำที่ท่าน

กระทำอธิบายไว้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ถือเอาทีเดียว. คืออย่างไร คือว่า ธรรม ๓

อย่างนี้คือ ฉันทะ สมาธิ ปธานสังขาร เป็นอิทธิก็ได้ เป็นอิทธิบาท

ก็ได้ ส่วนขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกันที่เหลือ เป็นเพียงอิทธิบาทเท่านั้น.

จริงอยู่ ธรรม ๓ เหล่านี้ เมื่อสำเร็จย่อมสำเร็จพร้อมกันกับขันธ์ ๔ อันสัม-

ปยุตกันนั่นแหละ เว้นจากขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตกันแล้วหาสำเร็จได้ไม่. อนึ่ง

ขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกัน ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าเป็นบาท

เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย. คำว่า อิทฺธิ หรือว่า อิทฺธิปาโท มิใช่

เป็นชื่อของธรรมอะไร ๆ อย่างอื่น คือ เป็นชื่อของขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกันนั่น

แหละ. ธรรมทั้ง ๓ คือ วิริยะ, จิตตะ, วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ ก็

เป็นชื่อของขันธ์ ๔ เท่านั้นเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า บุพภาคชื่อว่า อิทธิบาทอันเป็นบุพภาค

ปฏิลาภะ ชื่อว่า อิทธิ อันเป็นปฏิลาภะ. พึงแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุปจาระ

หรือวิปัสสนา.

จริงอยู่บริกรรมของปฐมฌาน ชื่อว่า อิทธิบาท. ปฐมฌาน ชื่อว่า

อิทธิ.

บริกรรมแห่งทุติยะ ตติยะ จตุตถะ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-

จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า อิทธิบาท,

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า อิทธิ.

วิปัสสนาแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าอิทธิบาท, โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า

อิทธิ

วิปัสสนาแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ชื่อว่า

อิทธิบาท. อรหัตตมรรค ชื่อว่า อิทธิ.

การแสดงแม้ด้วยปฏิลาภะ ก็ควรเหมือนกัน . จริงอยู่ ปฐมฌาน

ชื่อว่า อิทธิบาท. ทุติยฌาน ชื่อว่า อิทธิ.

ทุติยฌาน ชื่อว่า อิทธิบาท. ตติยฌาน ชื่อว่า อิทธิ. ฯลฯ

อนาคามิมรรค ชื่อว่า อิทธิบาท. อรหัตตมรรค ชื่อว่า อิทธิ.

ถามว่า ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า บาท เพราะ

อรรถว่าอะไร ?

ตอบว่า ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า เป็นที่สำเร็จนั่นแหละ ชื่อว่า

บาท เพราะอรรถว่า เป็นที่อาศัยนั่นแหละ. ด้วยประการฉะนี้ คำว่า

อิทฺธิ หรือ อิทฺธิปาโท แม้ในที่นี้ จึงมิใช่เป็นชื่อของธรรมอะไรอื่น แต่เป็น

ชื่อของขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกันนั่นแล.

ก็เมื่อข้าพเจ้ากล่าวแล้วอย่างนี้ อาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำนี้ว่า ถ้าว่า

คำนี้พึงเป็นชื่อของขันธ์ ๔ นั่นแหละไซร้ พระศาสดาก็ไม่พึงทรงนำชื่ออุตตร-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

จูฬภาชนีย์มาไว้ข้างหน้า ก็ในอุตตรจูฬภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ฉันทะเท่านั้น ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท วิริยะเท่านั้น จิตตะเท่านั้น วีมังสาเท่านั้น

ชื่อว่า วีมังสิทธิบาท ดังนี้ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่าสภาวะที่ยังไม่สำเร็จแล้ว

ชื่อว่า อิทธิ สภาวะที่สำเร็จแล้ว ชื่อว่า อิทธิบาท ดังนี้. ข้าพเจ้าปฏิเสธถ้อยคำ

ของอาจารย์เหล่านั้นแล้ว จึงทำการสันนิษฐานว่า "อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี

เป็นภาวะอันกระทบแล้วด้วยไตรลักษณ์" ดังนี้ ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอิทธิบาททั้งหลายเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระดังพรรณนามา

ฉะนี้ แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ก็บัณฑิตพึงนับจำนวน

ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ จริงอยู่ ในฐานะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า

"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-

สมาธิปธานสังขาร" ดังนี้ ท่านจำแนกโลกุตตระไว้ ๔,๐๐๐นัย แม้ใน

วิริยสมาธิเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. โดยทำนองนั้น ในอุตตรจูฬภาชนีย์ ท่าน

จึงจำแนกอิทธิบาทแม้ทั้งหมดไว้ ๓๒,๐๐๐ นัย ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็น

หมวด ๔ หมวดๆละ ๘ นัย คือ ในฉันทิทธิบาท ๔,๐๐๐ นัย ใน วิริยะ จิตตะ

วีมังสา อย่างละ ๔,๐๐๐ นัย (๔ * ๘ = ๓๒). บัณฑิตพึงทราบคำนี้ว่า ท่านกล่าว

แล้วในอภิธรรมภาชนีย์ อันประดับเฉพาะแล้วด้วยนัย ๓๒,๐๐๐ นัย ด้วย

สามารถแห่งอิทธิบาททั้งหลาย อันเป็นโลกุตตระที่บังเกิดแล้วนี้นั่นแหละ ดัง

พรรณนามาฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่อิทธิบาททั้งหลายเป็นกุศล

เป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย

อิทธิบาทเหล่านี้แม้ทั้งหมด เป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะปรารภพระ-

นิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรมเป็นไปไม่เป็นมัคคารัมมณะ. แต่เป็นมัคคเหตุกะ

ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ ไม่เป็นมัคคาธิปติ. เพราะว่า อธิปติ ๔ ย่อมไม่

กระทำซึ่งกันและกันให้เป็นใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะความ

ที่ตนเองเป็นใหญ่ที่สุด.

เหมือนอย่างว่า พระราชบุตร ๔ องค์ ผู้มีพระชาติเสมอกัน มีวัย

เสมอกัน มีกำลังเสมอกัน มีศิลปะเสมอกัน ย่อมไม่ให้ความเป็นใหญ่แก่กัน

เพราะความที่พระราชบุตรทั้ง ๔ พระองค์เป็นผู้สูงสุด ฉันใด อธิปติทั้ง ๔

แม้เหล่านี้ ก็ฉันนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกันและกันให้เป็นใหญ่ เพราะความที่

ธรรมเหล่านั้น แต่ละข้อต่างก็เป็นใหญ่ที่สุดด้วยกัน เพราะฉะนั้น อธิปติเหล่านั้น

จึงไม่เป็นมัคคาธิปติ โดยส่วนเดียวเท่านั้น. ในอดีตเป็นต้นก็ไม่พึงกล่าวแม้

ในความเป็นเอการัมมณะ. ก็อธิปติเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นพหิทธารัมมณะ เพราะ

ความที่พระนิพพานเป็นธรรมภายนอก ดังนี้แล. ในปัญหาปุจฉกะนี้ ท่าน

กล่าวว่า อิทธิบาททั้งหลายเป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ทีเดียว. จริงอยู่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอิทธิบาททั้งหลายอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระปนกัน

ไว้ในสุตตันตภาชนีย์นั่นแหละ แต่ในอภิธรรมภาชนีย์ และในปัญหาปุจฉกะ

ตรัสว่าเป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้อิทธิปาทวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อรรถกถาอิทธิปาทวิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

๑๐. โพชฌังควิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑

[๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

[๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึก

ได้ ระลึกได้บ่อย ๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ นี้เรียกว่า

สติสัมโพชฌงค์.

ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น

ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.

ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา

ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว

นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.

จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้

เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.

ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า

อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒

[๕๔๔] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

[๕๔๕] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอก มีอยู่ สติในธรรม

ภายในแม้ใด สติในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด

สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

[๕๔๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอก

มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายใน

แม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัส

รู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใด ความเลือกสรรใน

ธรรมภายนอก แม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

รู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๔๗] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความเพียรทางกาย มีอยู่ ความเพียรทางใจ มีอยู่ ความเพียรทางกาย

แม้ใด ความเพียรทางกายแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียร

ทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๔๘] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ปีติที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่

มีวิตก มีวิจารแม้ใด ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์

ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่

มีวิจารแม้ใด ปีติไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ย่อม

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๔๙] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

กายปัสสัทธิ มีอยู่ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิ

แม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ตรัสรู้เพื่อนิพพาน จิตตปัสสัทธิแม้ใด จิตตปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิ

ที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์

ย่อมเป็นเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี

วิจาร แม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อม

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๕๑] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

อุเบกขาในธรรมภายใน มีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอก มีอยู่ อุเบกขา

ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขา

ในธรรมภายนอกแม้ใด อุเบกขาในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

โพชฌงค์ ๗ ในที่ ๓

[๕๕๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เจริญวิริยสัม-

โพชฌงค์ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เจริญสมาธิ-

สัมโพชฌงค์ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

อภิธรรมภาชนีย์

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๕๓] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีในสมัยนั้น.

[๕๕๔] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

สติ ความรำลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.

[๕๕๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้

เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.

[๕๕๖] วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์

[๕๕๗] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติ

สัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

[๕๕๘] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ

ระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

[๕๕๙] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.

[๕๖๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๖๑] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในโพชฌงค์ ๗ สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด สติ

ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับ

เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้ง

หลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์.

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความวางเฉย

กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๖๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมมีในสมัยนั้น.

ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

สติ ความระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่ง

จิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ ๗. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๖๓] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้น

แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมา-

สติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติ-

สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

วิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

วิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

ปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ความวางเฉย

กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๕๖๔] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์

๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

๓. วิริยสัมโพชฌงค์

๔. ปีติสัมโพชฌงค์

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. สมาธิสัมโพชฌงค์

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาโพชฌงค์ ๗ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหน

เป็นอัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๕๖๕] โพชฌงค์ ๗ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี

ปีติสัมโพชฌงค์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขเวทนา

สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี

โพชฌงค์ ๗ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี

โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น

อวิตักกาวิจาระก็มี

ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ

โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี

โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสเนน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินา-

ปจยคามีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นเสกะก็มี เป็นอเสกขะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็น

อัปปมาณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นปณีตะ,

โพชฌงค์ ๗ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็น

มัคคารัมมณะ, โพชฌงค์ ๗ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นทั้งมัคคเหตุกะ เป็นทั้งมัคคาธิปติก็มี, โพชฌงค์ ๗ เป็น

อุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอตีตะก็มี

เป็นอนาคตะก็มี เป็นปัจจุปันนะก็มี, กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอตีตารัมมณะ เป็น

ทั้งอนาคตารัมมณะ เป็นทั้งปัจจุปปันนารัมมณะ, โพชฌงค์ ๗ เป็นอัชฌัตตะก็มี

เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นพหิทธารัมมณะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๕๖๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุ, โพชฌงค์ ๖ เป็นนเหตุ

โพชฌงค์ ๗ เป็นสเหตุกะ, โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุสัมปยุต. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

เป็นเหตุสเหตุกะ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุก-

นเหตุ. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ. โพชฌงค์๖ เป็นนเหตุสเหตุกะ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งนเหตุสเหตุกะ เป็นทั้งนเหตุอเหตุกะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒ จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา

[๕๖๗] โพชฌงค์ ๗ เป็นสัปปัจจยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสังขตะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปฏิฆะ โพชฌงค์ ๗ เป็น

อรูป, โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ โพชฌงค์ ๗ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็น

เกนจินวิญเญยยะ. โพชฌงค์ ๗ เป็นโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนาสวะ,

โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุต โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสว-

สาสวะ เป็นทั้งสาสวโนอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นทั้งอาสวอาสวสัมปยุต เป็น

ทั้งอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โพชฌงค์

๗ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนคันถะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗

เป็นโนโอฆะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็น

โนนีวรณะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็น

สารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนจิตตะ โพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิกะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสัมปยุต. โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐะ โพชฌงค์ ๗

เป็นจิตตสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสหภู, โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตานุ-

ปริวัตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานสหภู โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐานานุปริวัตติ โพชฌงค์

๗ เป็นพาหิระ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทา โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๕๖๘] โพชฌงค์ ๗ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ, โพชฌงค์ ๗ เป็น

นภาวนายปหาตัพพะ. โพชฌงค์๗ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗

เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอัปปีติกะ,

โพชฌงค์ ๖ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็น

นปีติสหคตะ. โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี. ปีติสัม-

โพชฌงค์ เป็นสุขสหคตะ. โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะ

ก็มี. ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นนอุเปกขาสหคตะ. โพชฌงค์ ๖ เป็นอุเปกขาสหคตะ

ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นนกามาวจร โพชฌงค์ ๗

เป็นนรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นนอรูปาวจร. โพชฌงค์ ๗ เป็นอปริยาปันนะ

โพชฌงค์ ๗ เป็นนิยยานิกะก็มี อนิยยานิกะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นนิยตะก็มี

เป็นอนิยตะก็มี. โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุตตระ. โพชฌงค์ ๗ เป็นอรณะ ฉะนี้

แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

อรรถกถาโพชฌังควิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

โพชฌงค์ ๗ นัยที่หนึ่ง

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในโพชฌังควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก

อิทธิบาทวิภังค์นั้น ต่อไป.

คำว่า ๗ เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า โพชฺฌงฺคา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ

อรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือเป็นองค์แห่งพระ-

สาวกผู้ตรัสรู้. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรม-

สามัคคี กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อัน

เกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอันใด อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัททวะ (อันตราย)

มิใช่น้อย มีการหดหู่ ความฟุ้งซ่าน การตั้งอยู่ (แห่งทุกข์) การพอกพูน

(หรือการประมวลมาซึ่งทุกข์) อันมีการยึดมั่นในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค

อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิ เป็นต้น.

คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ย่อมตั้งขึ้นเพื่อทำลายความ

สืบต่อแห่งกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ย่อมตรัสรู้ ได้แก่ ย่อมแทงตลอด

สัจจะทั้ง ๔. อีกอย่างหนึ่ง....ได้แก่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

นั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้

กล่าวคือ ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌาน และองค์แห่งมรรคเป็นต้น ก็ได้.

พระอริยสาวกนี้ใด ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำคำอธิบายว่า ย่อม

ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี มีประการตามที่กล่าวมานั้น. แม้เพราะอรรถว่า เป็น

องค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ ก็ชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา องค์

แห่งรถ เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า หรือ

ว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้ ฉะนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ

อรรถว่ากระไร ข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์โดยนัยแห่งปฏิ-

สัมภิทานี้ว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ

ความตรัสรู้. ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า

โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถ

ว่า ย่อมรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้พร้อม

ดังนี้ ก็ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. โพชฌงค์

อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย อันดีด้วย ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์

คือ สตินั่นแหละ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. (โพชฌงค์ ที่เหลือก็เช่น

เดียวกัน) บรรดาสัมโพชฌงค์เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ มีการตั้งมั่น (อุปัฏ-

ฐานะ) เป็นลักษณะ. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณาค้นคว้า (ปวิจยะ)

เป็นลักษณะ. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบเป็นลักษณะ. สมาธิ-

สัมโพชฌงค์ มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

การเพ่งเฉย (ปฏิสังขานะ)* เป็นลักษณะ. ในสัมโพชฌงค์เหล่านั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสสติสัมโพชฌงค์ก่อน เพราะความที่สติสัมโพชฌงค์ เป็น

ธรรมมีอุปการะแก่สัมโพชฌงค์ทั้งหมด ดังพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง (สติแล

จำปรารถนาในที่ทั้งปวง) ดังนี้ เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นการประกอบบท

ทั้งที่มีมาในพระบาลีโดยลำดับอย่างนี้นั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนั้น

มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมเลือกสรรพิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา

เป็นต้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น ว่าไม่ยิ่งไม่-

หย่อนกว่านี้ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่ และ อุทธัจจะ และเพราะ

เป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

จริงอยู่ในโพชฌงค์เหล่านี้ โพชฌงค์ ๓ (ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ) เป็น

ปฏิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในสมัยใดแล จิตหดหู่ ในสมัยนั้นเป็นกาลสมควร เพื่อการ

เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้. โพชฌงค์ ๓ (ปัสสัทธิ

สมาธิ อุเบกขา) เป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสมัยใดแล จิตฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้น

เป็นกาลสมควรเพื่อการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควร

* คำว่า ปฏิสังขานะ คือการเพ่งเฉย ในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งโพชฌงค์ ๖ ที่เหลือ

โดยอาการเป็นกลาง อาจารย์บางพวก ได้กล่าวว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ปรุงแต่งศรัทธากับ

ปัญญ า วิริยะกับสมาธิ ให้สม่ำเสมอกัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญอุเบกขาสัม-

โพชฌงค์ ดังนี้. อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือ

สติ) ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึง

ปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือน

อำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมี

ประโยชน์ในที่ทั้งปวง. พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิก จะแปลว่า เป็น

ธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถก ดังนี้ก็มี. ท่าน

อธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี ๗ เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และ

อุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สติสัมโพชฌงค์

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุแห่งความต่างกันในเพราะอารมณ์หนึ่งแห่ง

โพชฌงค์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งกิจ (หน้าที่) ของตน ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ตตฺถ กตโม สติสมฺโพชฺฌงฺโค เป็นอาทิ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนา

นี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญาเพราะ

ประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะ

ประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า

ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริง

อยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

เพราะเป็นธรรมคล้อยตาม (อนุโลม) ต่อพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถสัจจะ

และมรรคสัจจะ. พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สติเนปกฺเกน ดังนี้ ปัญญา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า เนปักกะ อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยสติ

และด้วยปัญญา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงสงเคราะห์

(ถือเอา) ปัญญาในการจำแนกบทแห่งสตินี้. ตอบว่า เพื่อการแสดงซึ่งความที่

สติเป็นสภาพมีกำลัง. จริงอยู่ สติ แม้เว้นจากปัญญา ก็เกิดขึ้นได้ สตินั้น

เมื่อเกิดพร้อมกับปัญญา ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง เมื่อเว้นจากปัญญา

ย่อมทุรพล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย เพื่อ

แสดงซึ่งความที่โพชฌงค์นั้นเป็นสภาพมีกำลัง.

เหมือนอย่างว่า ราชมหาอำมาตย์ ๒ คน พึงยืนอยู่ในทิศทั้งสองบรรดา

มหาอำมาตย์สองคนนั้น คนหนึ่งอุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ คนหนึ่งเป็นผู้เดียว

เท่านั้นยืนอยู่ตามธรรมดาของตน. ในมหาอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราช

บุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มีอำนาจ ด้วยอำนาจของพระราชบุตรด้วย มหาอำมาตย์

คนที่ยืนอยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหา-

อำมาตย์คนที่อุ้มพระราชบุตรนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ สติอัน

เกิดขึ้นพร้อมกับปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้อุ้มพระราชบุตรยืน

อยู่ สติเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ยืนอยู่ตามธรรมดา

ของตน. ในอำมาตย์เหล่านั้น คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ย่อมเป็นผู้มี

อำนาจ ด้วยอำนาจของตนบ้าง ด้วยอำนาจของพระราชบุตรบ้าง ฉันใด สติ

บังเกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญา ก็ย่อมเป็นสภาพมีกำลัง ฉันนั้น. มหาอำมาตย์คน

ที่อยู่ตามธรรมดาของตน ย่อมเป็นผู้ไม่มีอำนาจเสมอด้วยอำนาจของมหาอำมาตย์

คนที่อุ้มพระราชบุตรยืนอยู่ ฉันใด สติที่บังเกิดขึ้นเว้นจากปัญญา ย่อมมี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

กำลังทราม (ทุรพล) ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่งความที่สติเป็นสภาพมีกำลัง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถือเอาปัญญาด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้.

คำว่า จิรกตมฺปิ ได้แก่ วัตรอันกระทำไว้นาน ๆ ด้วยกายของตน

หรือของผู้อื่น หรือว่าได้แก่ กสิณมณฑล หรือกสิณบริกรรม. คำว่า จิรภา-

สิตมฺปิ ได้แก่ ธรรมกถาอันตั้งอยู่ในวัตตสีสะแม้มากอันตนหรือผู้อื่นกล่าวด้วย

วาจาไว้นานๆ หรือว่าได้แก่การวินิจฉัยในกรรมฐาน หรือธรรมกถานั่นแหละ

อันตั้งอยู่ในวิมุตตายนสีสะ. คำว่า สริตา โหติ ได้แก่ ส่วนแห่งอรูปธรรม

อันยังกายวิญญัติและวจีวิญญัตินั้นให้ตั้งขึ้นพร้อม เป็นไปทั่วแล้ว ก็ระลึกได้ว่า

สิ่งนี้ เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ดับไปแล้วอย่างนี้. คำว่า อนุสริตา ได้แก่ ระลึก

ได้บ่อย ๆ. คำว่า อย วุจฺจติ สติสมฺโพชฺฌงโค ได้แก่ สตินี้ อันสัมปยุต

ด้วยวิปัสสนา ซึ่งยังโพชฌงค์ที่เหลือให้ตั้งขึ้น อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์.

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ ด้วย

สติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่. คำว่า ต ธมฺม ได้แก่ กิจที่กระทำ

ไว้นาน ๆ วาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหน.

หลังนั้น. คำว่า ปญฺาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญา

ว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญา

ให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. คำว่า

ปริวิมส อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า. คำว่า อย วุจฺจติ

นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือ เป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

วิริยสัมโพชฌงค์

คำว่า ตสฺส ต ธมฺม ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการ

ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่

บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีน ได้แก่ ชื่อว่า

ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อย วุจฺจติ นี้ เป็น

ความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติสัมโพชฌงค์

คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะ

ความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อย วุจุจติ ได้แก่

ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ. คำว่า กาโยปิ

ปสฺสมฺภติ ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร)

ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า

จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำ

ว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต

ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

สมาธิสัมโพชฌงค์

คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุข

อันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว. คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม

ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา.

คำว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรม

ยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า

สมาธิสัมโพชฌงค์.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์

คำว่า ตถา สมาหิต ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดุจการบรรลุ-

อัปปนานั้น. คำว่า สาธุก อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่น

ด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น

จึงชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น. คำว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้

เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ ๖ ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จ ซึ่ง

อาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อุเปกขาสัม-

โพชฌงค์.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไร ๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่าน

กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่าง ๆ

เป็นลักษะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง

ไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.

นัยที่หนึ่ง จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

โพชฌงค์ ๗ นัยที่สอง

บัดนี้ โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นโพชฌงค์ ๑๔ โดยปริยายใด พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงนัยที่สอง เพื่อทรงประกาศซึ่งปริยายแห่งโพชฌงค์

๑๔ นั้น จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้นอีก. ในนัยที่สองนั้น

พึงทราบการพรรณนาบทโดยลำดับดังนี้.

คำว่า อชฺฌตฺตธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายในมีอยู่) ได้แก่

สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลายอันเป็นภายใน. คำว่า พหิทฺธา

ธมฺเมสุ สติ (สติในธรรมภายนอกมีอยู่) ได้แก่ สติอันเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณา

สังขารทั้งหลายภายนอก. บทว่า ยทปิ ท่านแก้ เป็น ยาปิ (.....แม้ใด)

บทว่า ตทปิ ท่านแก้ เป็น สาปิ (....แม้นั้น). บทว่า อภิฺาย ได้แก่

เพื่อการรู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.

มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่าสัมโพธิ (ความ

ตรัสรู้) ในบทว่า สมฺโพธาย อธิบายว่า เพื่อมรรคผล.

ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า วานะ ในบทว่า

นิพฺพานาย ตัณหานั้น ไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้น จึงเรียกว่า

นิพพาน. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพานนั้น เพื่ออสังขตะ

เพื่ออมตธาตุ เพื่อการกระทำให้แจ้ง ดังนี้. แม้ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็นัยนี้

นั่นแหละ.

คำว่า กายิก วิริย ได้แก่ ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้อธิษฐาน

อยู่ซึ่งการจงกรม. คำว่า เจตสิก ได้แก่ความเพียรอันเกิดขึ้นแล้ว เว้นกายปโยค

อย่างนี้ว่า ตราบใด จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย โดยความ

ไม่ถือมั่นแล้ว เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ดังนี้. คำว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายแห่งขันธ์ทั้ง ๓. คำว่า จิตฺตปสฺสทฺธิ

ได้แก่ ความสงบระงับซึ่งความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์. พึงทราบ

วินิจฉัยในอุเปกขาสัมโพชฌงค์ เช่นเดียวกับสติสัมโพชฌงค์นั่นแหละ.

ในนัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ ๗ เจือด้วยโลกยะและ

โลกุตตระ.

ส่วนพระเถระในปางก่อนทั้งหลาย แสดงแยกไว้ว่า นัยนี้ ปรากฏได้

ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะว่าในอัชฌัตตธรรมเหล่านี้ ธรรมทั้ง ๓ คือ

สติ ปวิจยะ (ธัมมวิจยะ) อุเปกขา เป็นโลกิยะเท่านั้น เพราะความที่ตน

(ธรรมทั้ง ๓) มีขันธ์เป็นอารมณ์. ความเพียรทางกาย (วิริยะ) อันยังไม่บรรลุ

มรรคก็เช่นกัน (ยังเป็นโลกียะ) ส่วนปีติ สมาธิ อันเป็นอวิตักกอวิจาระเป็น

โลกุตตระ ธรรมที่เหลือเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. ในโพชฌงค์เหล่านั้น

ธรรมทั้งหลายอันเป็นอัชฌัตตะก่อน สติ ปวิจยะ อุเปกขา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ.

ส่วนโลกุตตระทั้งหลายเป็นพหิทธารัมมณะ เพราะฉะนั้น ความเป็นโลกุตตระ

จึงมิได้ประกอบด้วยสติ ปวิจยะ และอุเปกขาเหล่านั้น. เมื่อจะกล่าวว่า ความ

เพียร แม้อันเกิดขึ้นด้วยปโยคะในการก้าวไป ว่าเป็นโลกิยะ ดังนี้ ก็ไม่

หนักใจ. ถามว่า ก็ปีติ สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระในกาลเช่นไร เป็นโลกุตตระ

เท่านั้น. ตอบว่า ในเบื้องต้น ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมได้ในกามาวจร. ปีติอัน

เป็นอวิตักกอวิจาระย่อมไม่ได้. ปีติอันเป็นอวิตักกอวิจาระย่อมได้ในรูปาวจร.

ก็แต่ว่าไม่ได้ปีติสัมโพชฌงค์. คำที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่ได้ใน

อรูปาวจร. ก็ในอธิการนี้ ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่เคยได้ จึงปฏิเสธปีติ

ทั้งหลายอันบุคคลทั้งหลายได้อยู่. คือว่า ปีติสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระ

นี้ อย่างนี้ เป็นสภาพออกไปแล้วจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จาก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

อรูปาวจรบ้าง ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกุตตระอันเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น.

สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมได้ในกามาวจร โดยทำนองเดียวกัน. อนึ่ง

สมาธิที่เป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมไม่ได้. สมาธิอันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อมได้

ในรูปาวจรและอรูปาวจร. ส่วนสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมไม่ได้. ก็แต่ในอธิการนี้

ท่านหมายเอาสภาวะที่ยังไม่ได้ จึงปฏิเสธสมาธิแม้อันบุคคลได้อยู่ สมาธินี้

อย่างนี้ ออกไปจากกามาวจรบ้าง จากรูปาวจรบ้าง จากอรูปาวจรบ้าง ฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้วทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงถือเอาโลกิยะแล้วทำโลกุตตระ พึงถือเอา

โลกุตตระแล้วทำโลกิยะ ก็ได้. เพราะว่า แม้เวลาเจริญโลกุตตระของสติ ปวิจยะ

อุเบกขาในอัชฌัตตธรรม มีอยู่. ในอธิการนี้ มีพระสูตรเป็นอุทาหรณ์ว่า

ผู้มีอายุ เราแล ย่อมกล่าวอัชฌัตตวิโมกข์ว่า เป็นธรรนสิ้น

ไปแห่งความยึดมั่นในที่ทั้งปวง อาสวะทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่นอน

เนื่องแก่ธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น โลกุตตระทั้งหลาย

จึงชื่อว่ามีอยู่โดยพระสูตรนี้. ก็แต่ว่า ในกาลใด เมื่อความเพียรอัน

เป็นไปทางกายซึ่งเกิดขึ้นด้วยจังกมประโยค อันยังไม่สงบนั่นแหละ

วิปัสสนาย่อมสืบต่อไปสู่มรรค ในกาลนั้น ความเพียรนั้นจึงเป็น

โลกุตตระ.

อนึ่ง พระเถระเหล่าใด ย่อมกล่าวว่า โพชฌงค์ที่ยกขึ้นมิได้เว้น

กสิณฌานทั้งหลาย อานาปานฌานทั้งหลาย และพรหมวิหารฌานทั้งหลาย ใน

วาทะของพระเถระเหล่านั้น ปีติสมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นอวิตักกอวิจาระ ย่อม

เป็นโลกีย์ แล.

ทุติยนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงนัยที่ ๓ อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเจริญ

โพชฌงค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา

เป็นอาทิอีก. แม้ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบการพรรณนาบท โดยลำดับ

ดังนี้.

บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมเจริญ คือ ย่อมให้เกิด ให้บังเกิดยิ่งใน

สันดานของตนบ่อยๆ. บทว่า วิเวกนิสฺสิต ได้แก่ อันอาศัยวิเวก. บทว่า

วิเวโก ได้แก่ วิเวกคือความสงัด. อนึ่ง วิเวกนี้มี ๕ อย่าง คือ ตทังควิเวก

วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก บรรดา

วิเวกเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ตทังควิเวก. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า วิกขัม-

ภนวิเวก. มรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิเวก. ผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิวิเวก.

พระนิพพาน อันสละซึ่งนิมิตทั้งปวง ชื่อว่า นิสสรณวิเวก. บัณฑิตพึง

ทราบเนื้อความนีว่า พระโยคีย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยซึ่งตทังควิเวก

อาศัยซึ่งสมุจเฉทวิเวก อาศัยซึ่งนิสสรณวิเวก โดยหมายเอาในคำว่า วิเวก ๕

จึงชื่อว่า อาศัยซึ่งวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีนี้ ประกอบเนือง ๆ ด้วยการ

ประกอบในการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังค-

วิเวก โดยกิจในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย

(อชฺฌาสยโต) แต่ในกาลแห่งมรรค อาศัยซึ่งสมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยซึ่ง

สมุทเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์.

อาจารย์บางพวก กล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๕ อย่าง ก็มี. จริงอยู่

อาจารย์เหล่านั้น ไม่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นในขณะที่วิปัสสนา มรรคและผล

มีกำลังอย่างเดียว ยังยกขึ้นแม้ในกสิณฌาน อานาปานฌาน อสุภฌาน พรหม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

วิหารฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. อนึ่ง ข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย

ไม่ปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยมติของอาจารย์เหล่านั้น พระโยคีย่อมเจริญ

สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจในขณะที่เป็นไปของฌานเหล่า

นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก

โดยอัชฌาสัยในขณะแห่งวิปัสสนา ฉันใด แม้จะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวก ดังนี้ ก็ควร. ในคำว่า อาศัยซึ่งวิราคะเป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกเป็นอรรถนั่นแหละ. อนึ่ง โวสสัคคะ

(ความสละหรือการถอน) มีเพียง ๒ อย่าง คือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทน-

โวสสัคคะ. ในโวสสัคคะ ๒ นั้น การละกิเลสด้วยสามารถแห่งตทังควิเวก

ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิเวกในขณะ

แห่งมรรค ชื่อว่า ปริจาคโวสสัคคะ. การแล่นไปสู่พระนิพพานใน

ขณะแห่งวิปัสสนาโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่ตทงควิเวกนั้น แต่ในขณะ

แห่งมรรคโดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ.

โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในนัยแห่งการพรรณนาอันเจือด้วยโลกิยะ

และโลกุตตระนี้. จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลสทั้งหลาย

โดยประการตามที่กล่าวแล้วด้วย ย่อมแล่นไปสู่นิพพานด้วย ฉะนี้.

บัณฑิตพึงทราบว่า ก็การที่น้อมไปอยู่ น้อมไปแล้ว ถึงที่สุดอยู่ ถึง

ทีสุดแล้วด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ (น้อมไปเพื่อสละ) ซึ่งมีการ

สละเป็นอรรถ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุนี้ ประกอบเนืองๆ

ในการเจริญโพชฌงค์ฉันใด สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงผล ซึ่งมีการสละกิเลส

อันมีโวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ย่อมบรรลุผลอันมีการแล่นไปสู่พระนิพพานอันมี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

โวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ฉันใด ก็สติสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมถึงที่สุดรอบ ฉันใด

ภิกษุย่อมยังสติสัมโพชฌงค์นั้น ให้เจริญฉันนั้นเถิด. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ

ก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย เจือด้วยโลกิยะ

และโลกุตตระ แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

ในอภิธรรมภาชนีย์ มี ๒ นัย ด้วยสามารถแห่งการถาม

ตอบโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ โดยรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์

ทั้ง ๗ โดยแยกกัน พึงทราบอรรถกถาวรรณนาแห่งโพชฌงค์เหล่านั้น ด้วย

นัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัม-

โพชฌงค์ ชื่อว่า อุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา)

แห่งการวางเฉย ชื่อว่า กิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า

ย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง.

ชื่อว่า กิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่า ย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่ง

อันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่า ความ

เพ่งเล็งยิ่ง. ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่า

มัชฌัตตตา (ความเป็นกลาง) ท่านกล่าวว่า มัชฌัตตตาแห่งจิต ก็เพื่อแสดง

ว่า มัชฌัตตตานั้น เป็นของจิต มิใช่เป็นของสัตว์ ดังนี้แล. นี้เป็นการพรรณนา

บทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ก็บัณฑิตพึงนับนัยในอภิธรรมภาชนีย์นั้น ด้วยว่าอภิธรรมภาชนีย์นี้

ท่านจำแนกนัยไว้ ๔,๐๐๐ นัย คือ ในมรรคหนึ่ง มี ๑,๐๐๐ นัย (๑,๐๐๐ * ๔

= ๔,๐๐๐) สำหรับในการถามและตอบรวมโพชฌงค์แม้ทั้ง ๗. สำหรับในการ

แยกวิสัชนาทีละข้อ โพชฌงค์ทั้ง ๗ มี ๔ หมวด จัดเป็น ๒๘,๐๐๐ นัย คือ

โพชฌงค์ ๗ เป็น ๔ ด้วยสามารถแห่งโพชฌงค์แต่ละข้อ. นัยแม้ทั้งหมดนั้น

เป็น ๓๒,๐๐๐ นัย โดยนับรวมกับ ๔ นัยแรก. ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนก

กุศลทั้งหลายไว้ ๓๒,๐๐๐ นัยเหมือนกัน. แต่เพราะโพชฌงค์ทั้งหลายย่อมได้

แม้ในขณะแห่งผล คือ โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นกุศลเหตุ และเป็นสามัญผล

ฉะนั้น เพื่อแสดงโพชฌงค์แม้ในนัยเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มวิปากนัยโดยแบบ

แผนอันเป็นเบื้องต้น คือ กุศลนิทเทสนั่นแหละ. นัยแห่งวิบากแม้นั้น มี ๒

อย่างด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการ

ถามและการตอบแยกกัน. นัยที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหน

หลังนั่นแหละ. สำหรับวิปากนัย บัณฑิตพึงคูณด้วย ๓ แต่กุศล แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่โพชฌงค์ทั้งหลาย

ที่เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ส่วนในอารัมมณ-

ติกะทั้งหลาย โพชฌงค์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะ

ปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณะเป็นไป ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. ก็แต่ว่า

ในอธิการนี้ โพชฌงค์ที่เป็นกุศล เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งเหตุ.

โพชฌงค์เหล่านั้น เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญมรรคอันกระทำวิริยะ หรือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

วิมังสาให้เป็นใหญ่. ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติในการเจริญมรรคอันมีฉันทะ

หรือจิตตะเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น ในขณะแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวเช่นกัน. ใน

อตีตะเป็นต้น ก็ไม่พึงกล่าวแม้ด้วยความเป็นเอการัมมณะ. ก็แต่ ชื่อว่า เป็น

พหิทธารัมมณะ เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรม แล. แม้ใน

ปัญหาปุจฉกะนี้ ท่านก็ว่า โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นโลกุตตระซึ่งเกิดขึ้นแล้วเหมือน

กัน. แท้จริง โพชฌงค์ซึ่งเป็นโลกิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยที่หนึ่ง

แห่งสุตตันตภาชนีย์ทีเดียว ในนัยที่ ๒และที่ ๓ ตรัสว่า โพชฌงค์เจือด้วยโลกียะ

และโลกุตตระ. ในนัยที่ ๔ แห่งอภิธรรมภาชนีย์ก็ดี และในปัญหาปุจฉกะนี้ก็ดี

ตรัสว่าเป็นโลกุตตระเท่านั้น. แม้สัมโพชฌงค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนก

แสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อรรถกถาโพชฌังควิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

๑๑. มัคควิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑

[๕๖๙] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

[๕๗๐] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้

ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๕๗๑] สัมมาสังกัปปะ ป็นไฉน ?

ความดำริในอันออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริ

ในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๕๗๒] สัมมาวาจา เป็นไฉน ?

ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความ

งดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๕๗๓] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?

ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความ

งดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

[๕๗๔] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?

บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย

สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๕๗๕] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้

เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำ

ความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่

เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต

ไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงมั่น ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความ

ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า

สัมมาวายามะ.

[๕๗๖] สัมมาสติ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก พิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๕๗๗] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ผ่องใสเพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ

ผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ

โทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๒

[๕๗๘] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

[๕๗๙] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญ

สัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญ

สัมมาวายามะ ฯลฯ เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

อภิธรรมภาชนีย์

อัฏฐังคิกวาระ

[๕๘๐] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากอกุศล

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมี ในสมัยนั้น.

[๕๘๑] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความ

เห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

อันใดนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

๑. ความเต็ม พึงดูในธรรมสังคณี ๓๔/ข้อ ๒๑๖ เป็นลำดับไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

[๕๘๒] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นอยู่

ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ

ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า

สัมมาสังกัปปะ.

[๕๘๓] สัมมาวาจา เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา

ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุวจีทุจริต

๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า

สัมมาวาจา.

[๕๘๔] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต ๓ กิริยา

ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุกาย

ทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด

นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๕๘๕] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ

กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุ

มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน

ใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

[๕๘๖] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัม-

โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัม-

มาวายามะ.

[๕๘๗] สัมมาสติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๕๘๘] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘.

ปัญจังคิกวาระ

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๘๙] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกเข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรค

มีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

มีในสมัยนั้น.

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความ

เห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน

ใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัม-

โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมา-

วายามะ.

สัมมาสติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ปัญญา

กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย-

สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้

เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมา-

สังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ

ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความ

ตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้ง

หลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ.

อัฏฐังคิกวาระ

[๕๙๑] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้น

แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ มีนัยสมัยนั้น.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘.

ปัญจังคิกวาระ

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหานทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา-

สังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย

[๕๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวายามะ

๔. สัมมาสติ

๕. สัมมาสมาธิ

ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้. เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิเวก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันไดทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความ

ไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ.

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

ผัสสะ ฯ ลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต

ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

ที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ-

สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

สัมมาสมาธิ.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๕๙๔] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ

๕. สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาองค์มรรค ๘ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหน

เป็นอัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๕๙๕] องค์มรรค ๘ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต องค์มรรค ๗ เป็นสุขเวทนา.

สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

องค์มรรค ๘ เป็นวิบากก็มี เป็นวิบากธัมมธรรมก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ

องค์มรรค ๘ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

องค์มรรค ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี

เป็นอวิตกกาวิจาระก็มี

สัมมาสังกัปปะ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ ไม่เป็นอุเบกขาสหคตะ

องค์มรรค ๗ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเบกขา

สหคตะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

องค์มรรค ๘ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นปณีตะ

องค์มรรค ๘ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี

องค์มรรค ๘ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นทั้งมัคคเหตุกะ เป็นทั้งมัคคาธิปติก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

องค์มรรค ๘ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปันนา-

รัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นพหิทธารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๕๙๖] สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุ องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุ

องค์มรรค ๘ เป็นสเหตุกะ เป็นเหตุสัมปยุต

สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุสเหตุกะ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ-

สเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ

สังมาทิฏฐิ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

เหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุต

องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุสเหตุกะ สัมมาทิฏฐิ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

ทั้งนเหตุกะ เป็นทั้งนเหตุอเหตุกะ.

๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐,๑๑ , ๑๒. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา

[๕๙๗] องค์มรรค ๘ เป็นสัปปัจจยะ

องค์มรรค ๘ เป็นสังขตะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนะ

องค์มรรค ๘ เป็นอัปปฏิฆะ

องค์มรรค ๘ เป็นอรูป .

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ

องค์มรรค ๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ, เป็นเกนจินวิญเญยยะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอนาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุต

องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็น

อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ

องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุตตอนาวะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนคันถะ

ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโยคะ ฯลฯ

องค์มรรค ๘ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ องค์

มรรค ๘ เป็นสารัมมณะ

องค์มรรค ๘ เป็นโนจิตตะ

องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิกะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสัมปยุต

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสมุฏฐานะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสหภู

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตานุปริวัตติ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ

องค์มรรค ๘ เป็นพาหิระ

องค์มรรค ๘ เป็นโนอุปาทา

องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนะ เป็นโนอุปาทานา ฯลฯ องค์มรรค๘

เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๕๙๘] องค์มรรค ๘ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ

องค์มรรค ๘ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ

องค์มรรค ๘ เป็นนภาวนายปหาตัพัพเหตุกะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอวิตักกะ องค์มรรค ๗ เป็นสวิตักกะก็มี เป็น

อวิตักกะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสวิจาระ องค์มรรค ๗ เป็นสวิจาระก็มี เป็น

อวิจาระก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสัปปีติกะ องค์มรรค ๗ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น

อัปปีติกะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นปีติสหคตะก็มี

เป็นนปีติสหคตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น

นสุขสหคตะก็มี.

สัมมาสังกัปปะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นอุเปกขาสหคตะ

ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

องค์มรรค ๘ เป็นนกามาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นนรูปาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นนอรูปาวจร

องค์มรรค ๘ เป็นอปริยาปันนะ

องค์มรรค ๘ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยานิกะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี

องค์มรรค ๘ เป็นอนุตตระ

องค์มรรค ๘ เป็นอรณะ ฉะนี้แล

ปัญหาปจุฉกะจบ

มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

อรรถกถามัคควิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๓

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมัคควิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจากโพชฌังค-

วิภังค์นั้นต่อไป

คำทั้งปวง มีคำว่า อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค เป็นอาทิ (แปลว่า

อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

นิทเทสทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. ว่าด้วยอำนาจแห่ง

ภาวนา แม้ในนัยที่สองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ย่อม

ชื่อว่าเจริญสัมมาทิฏฐิ. คำทั้งปวงว่า วิเวกนิสฺสิต เป็นต้น พึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวไว้แล้วในโพชฌังควิภังค์นั่นแหละ. สุตตันตภาชนีย์ นี้ ว่าด้วยอำนาจ

แห่งนัยแม้ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะ

และโลกุตตระ แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า อริโย

ตรัสแต่คำว่า มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้. ถึงไม่ตรัสว่า อริยะ ก็ตาม มรรค

มีองค์ ๘ นี้ ก็เป็นอริยมรรคโดยแท้.

เหมือนอย่างว่า บุตรของพระราชาผู้มุรธาภิเษกแล้ว ซึ่งเกิดในครรภ์

ของพระเทวีผู้มุรธาภิเษกแล้ว แม้ใคร ๆ ไม่กล่าวว่า ราชบุตร เขาก็ย่อมเป็น

ราชบุตรนั่นแหละฉันใด แม้อริยมรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

อริยะ ก็พึงทราบว่า มรรคมีองค์ ๘ นั้นเป็นอริยมรรคโดยแท้. คำที่เหลือแม้

ในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. แม้ในปัญจังคิก-

วาระ ถึงจะไม่ตรัสว่า มรรคมีองค์ ๘ ก็พึงทราบว่า มรรคนั้น มีองค์ ๘

เหมือนกัน. เพราะว่า ธรรมดาว่าโลกุตตรมรรคประกอบเพียงองค์ ๕ มิได้มี.

ในอธิการนี้ พึงทราบอรรถกถาอันมีอยู่แห่งอาจารย์ทั้งหลาย

ต่อไป:-

ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (อาจารย์ผู้มีปกติกล่าวเคาะ) กล่าวว่า แม้

โลกุตตรมรรคชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ มิได้มี มีแต่ประกอบด้วยองค์ ๕

เท่านั้น ถูกโต้ว่า จงนำสูตรมาอ้าง อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น เมื่อไม่เห็นสูตร

อื่นจริง ๆ ก็จักนำส่วนแห่งสูตรนี้มาอ้าง เพราะเป็นมหาสฬายตนสูตร. คือว่า ทิฏฐิ

แห่งภิกษุผู้มีความเห็นอย่างนั้นใด ทิฏฐิของภิกษุนั้น จึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

สังกัปปะ วายามะ สติ สมาธิแห่งความเห็นอย่างนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นใด

สมาธิของภิกษุนั้นนี้ ก็ชื่อว่า สัมมาสมาธิ. ด้วยว่ากายกรรม วจีกรรม อาชีวะ

ของภิกษุนั้น ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์ดีแล้ว ในกาลก่อนนั่นแหละ. ลำดับนั้นเขา

พึงท้วงอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ขอจงนำบทแห่งสูตรถัดไปมา. ถ้าอาจารย์

วิตัณฑวาที่จะนำมา ก็จะนำมาซึ่งบทแห่งสูตรอันเป็นกุสลนั้นมา. ถ้าไม่นำมา

เธอพึงนำมาเองแล้วกล่าวว่า "วาทะของอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นแตกแยกออกไป

จากคำสั่งสอนของพระศาสดา ที่ตรัสว่า อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้

ย่อมถึงความเต็มรอบด้วยภาวนาแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น โลกุตตรมรรค จึง

ชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่มี คงมีแต่ประกอบด้วยองค์ ๘ เท่านั้น". ก็

องค์ ๓ เหล่านี้ (กายกรรม วจีกรรม อาชีวะ) ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์แล้ว

เป็นไปก่อน แต่ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์ยิ่งในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว เพื่อประโยชน์อะไร.

ตอบว่า เพื่อแสดงกิจอันยิ่ง (พิเศษ) จริงอยู่ ในสมัยใด ย่อมละ

มิจฉาวาจา ย่อมยังสัมมาวาจาให้บริบูรณ์ ในสมัยนั้น สัมมากัมมันตะ สัมมา-

อาชีวะชื่อว่า ย่อมไม่มี. องค์ ๕ เหล่านี้จึงเป็นองค์ที่เป็นเหตุให้ละมิจฉาวาจา.

ก็สัมมาวาจา ย่อมบริบูรณ์ (เต็ม) เอง ด้วยสามารถแห่งวิรตี. ในสมัยใด

ย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมบำเพ็ญสัมมากัมมันตะ ในสมัยนั้น สัมมาวาจา

สัมมาอาชีวะมิได้มี. องค์ ๕ อันเป็นเหตุเหล่านี้นั่นแหละ ย่อมละมิจฉา-

กัมมันตะ. ก็สัมมากัมมันตะ ย่อมบริบูรณ์เอง ด้วยอำนาจแห่งวิรตี. ในสมัยใด

ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบำเพ็ญสัมมาอาชีวะ สมัยนั้น ไม่มีสัมมาวาจา และ

สัมมากัมมันตะ. องค์ ๕ อันเป็นเหตุเหล่านี้นั่นแหละ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ.

ย่อมบริบูรณ์เองด้วยสามารถแห่งวิรตี. เพื่อแสดงซึ่งความทีธรรม ๕ เหล่านี้

เป็นองค์ที่เป็นเหตุและเป็นธรรมพิเศษโดยกิจนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง

ถือเอาศัพท์ว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ ดังนี้.

จริงอยู่ โลกุตตรมรรค ย่อมประกอบด้วยองค์ ๘ เท่านั้น มิได้

ชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๕. ถ้าเขากล่าวว่า ไม่แน่ว่ามรรคประกอบด้วยองค์ ๕.

ถ้าเขากล่าวว่า. ไม่แน่ว่ามรรคประกอบด้วยองค์ ๘ โดยรวมสัมมาวาจาเป็นต้น

เพราะความที่วิรตีนี้ มีเจตนามาก คือ สัมมาวาจามีเจตนา ๔ สัมมากัมมันตะ

๓ สัมมาอาชีวะ ๗ เหตุนั้น จึงกล่าวว่าโลกุตตรมรรค ประกอบด้วยองค์ ๕

เท่านั้น ดังนี้จะพึงแก้อย่างไร ?

ข้าพเจ้าจักเปลื้อง แม้เพราะความที่วิรตีเป็นธรรนมีเจตนามากด้วย

จักกล่าวว่าโลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วย. เบื้องต้น พึงถามเขาว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

ท่านอ่านคัมภีร์มหาจัตตารีสะหรือไม่ ถ้าเขาตอบว่าไม่ พึงกล่าวว่า ท่านไม่

ทราบเพราะมิได้ศึกษาไว้. ถ้าเขากล่าวว่า อ่าน (ท่องไว้) ก็พึงพูดว่าจงนำ

สูตรมาอ้าง. ถ้าเขานำสูตรมา ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าไม่นำมา พึงนำมาเองจาก

อุปริปัณณาสก์ ดังต่อไปนี้.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมาวาจา ๒ อย่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา

อันเป็นไปกับด้วยอาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ เป็นผลแห่งอุปธิ (เป็นผลให้เกิด

อุปธิ) มีอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นอริยะ ไม่เป็นไปกับด้วย

อาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา อันมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ

เป็นผลแห่งอุปธิ เป็นไฉน. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากมุสาสวาท จาก

ปิสุณาวาท จากผรุสวาท จากสัมผัปปลาปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจานี้

เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ เป็นผลวิเศษแล้วแห่งอุปธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ

เป็นโลกุตตระ เป็นมัคคังคะ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงด การ

เว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากวจีทุจริต ๔ อันใดแล ของ

อริยจิต ของจิตอันหาอาสวะมิได้ ของผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค ของผู้เจริญ

อริยมรรค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจานี้ เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็น

โลกุตตระ เป็นมังคังคะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมากัมมันตะ ๒ อย่าง ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน. สัมมากัมมันตะ

เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวสัมมาอาชีวะ ๒ อย่าง ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน. เป็นอริยะ ไม่มี

อาสวะ เป็นมัคคังคะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงด การเว้น การเว้นขาด

เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ อันใดแล ของอริยจิต ของจิตอัน

หาอาสวะมิได้ ของการพรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค ของผู้เจริญอริยมรรค. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะนี้ เรากล่าวว่า เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็น

โลกุตตระ เป็นมัคคังคะ ดังนี้. ในอธิการนี้ การงดเว้นแต่ละอย่าง คือ จาก

วจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ และมิจฉาอาชีวะ เรากล่าวว่า เป็นอริยะ เป็น

อนาสวะ เป็นโลกุตตระ ดังนี้. ในฐานะเช่นนี้ ความเป็นผู้มากด้วยเจตนา

จักมีแต่ที่ไหน มรรคประกอบด้วยองค์ ๕ จักมีแต่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงแสดงสูตรนี้ แก่ผู้ไม่มีความห่วงใย ว่า โลกุตตรมรรคประกอบด้วย

องค์ ๘ ดังนี้. ถ้าเขากำหนดได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี.

ถ้าเขากำหนดไม่ได้ พึงนำเหตุแม้เหล่าอื่นมาให้เข้าใจ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่มีในธรรมวินัยใดแล แม้สมณะก็ไม่มีในธรรมวินัยนั้น

ฯลฯ ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีในธรรมวินัยใดแล

ดูก่อนสุภัททะ สมณะก็ย่อมมีในธรรมวินัยนั้นนั่นแหละ ฯลฯ ลัทธิของผู้อื่น

(ปรับปวาท) ว่างจากสมณะ ดังนี้. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มาแล้วใน

สูตรแม้เหล่าอื่นก็มีเป็นอเนก นับเป็นร้อย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

มรรค ๘ ในกถาวัตถุปกรณ์

แม้ในกถาวัตถุปกรณ์ ท่านสกวาทยาจารย์ ก็ได้กล่าวอ้างพุทธพจน์

ว่า

มคฺคานฏฺงฺคิโก เสฏฺโ สจฺจาน จตุโร ปทา

วิราโค เสฏฺโ ธมฺมาน ทฺวิปทานญฺจ จกฺขุมา

บรรดามรรค (ทาง) ทั้งหลาย มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประเสริฐ

ที่สุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บทสี่ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ

ประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระตถาคต ผู้มีจักษุประเสริฐ

ที่สุด ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ.

ท่านปรวาทยาจารย์ ตอบรับรองว่า ใช่.

ท่านสกวาทยาจารย์ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น มรรคก็ประกอบด้วย

องค์ ๘ ดังนี้.

ก็ถ้าเขาไม่เข้าใจแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ไซร้ พึงส่งเธอไปด้วย

คำว่า เธอจงเข้าไปสู่วิหารดื่มข้าวยาคูเถิด (การรับประทานอาหารทำให้เกิด

ปฏิภาณได้). การที่จะกล่าวเหตุผลให้มากกว่านี้ เป็นอฐานะ แล. คำที่เหลือ

ในที่นี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ในที่นี้ บัณฑิตพึงนับนัยทั้งหลาย ดังนี้.

ก็ในมรรคทั้ง ๔ ท่านจำแนกไว้ ๔,๐๐๐นัย ในการถามรวมกัน ตอบ

รวมกัน ในมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. ในมรรคประกอบด้วยองค์ ๕ ในการ

ถามรวมกัน ตอบรวมกัน ท่านจำแนกไว้ ๔,๐๐๐ นัย แต่ในการถามแยกกัน

ตอบแยกกัน ท่านจำแนกไว้อย่างละ ๔,๐๐๐ นัย รวมในองค์ทั้ง ๕ จึงเป็น

๒๐,๐๐๐ นัย. อนึ่ง นัยทั้งหมด ท่านจำแนกไว้ในมัคควิภังค์ ๒๘,๐๐๐ นัย คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

๘,๐๐๐ นัยในก่อน รวมกับ ๒,๐๐๐ นัยหลังนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็กุศลทั้งหลาย

เหล่านั้นแล เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้ว. แต่การนับนัยในวิปากะ พึงทำนัย

ทั้งหลายแห่งกุศล แล้วคูณด้วย ๓ แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่มัคคังคะ เป็นกุศล

เป็นต้น โดยทำนองพระบาลีนั้นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ มรรคเหล่านี้ทั้ง

หมด เป็นอัปปมาณารัมมณะอย่างเดียว ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เพราะปรารภ

พระนิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรมเป็นไป. เพราะมรรค ย่อมไม่ทำผลให้

เป็นอารมณ์แต่ว่าด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุในที่นี้ กุสลทั้งหลาย เป็นมัคค-

เหตุกะ. ในกาลเจริญมรรค ชื่อว่า เป็นมัคคาธิปติ เพราะทำวิริยะ หรือ

วิมังสาให้เป็นประธาน. แม้ในกาลแห่งผลจิต ก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ. ถึงว่า

ด้วยความเป็นเอการัมมณะในอตีตะเป็นต้น ก็ไม่พึงกล่าว. แต่ย่อมชื่อว่า เป็น

พหิทธารัมมณะได้ เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรม ดังนี้. แม้

ในปัญหาปุจฉกะนี้ ท่านก็กล่าวว่า เป็นมัคคังคะ เป็นโลกุตตระ ที่เกิดขึ้น

แล้วเหมือนกัน. สำหรับมัคคังคะซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตตระ พระสัมมา-

สัมพุทธะ ตรัสไว้ในสุตตันตภาชนีย์เท่านั้น ส่วนในอภิธรรมภาชนีย์ และ

ปัญหาปุจฉกะ ตรัสว่า เป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้มัคควิภังค์นี้ พระองค์

ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฎ ฉะนี้แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อรรถกถามัคควิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

๑๒. ฌานวิภังค์

มาติกา

[๕๙๙] ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกข-

สังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษทั้งหลาย

อันมีประมาณน้อยสมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

สำรวมในอินทรีย์ ๖ รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรตลอด

ปฐมยามและปัจฉิมยาม ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ประ-

กอบปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน เจริญโพธิปักขิยธรรม.

ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและ

ถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและ

เหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้า

และเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ

บาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยว และ

ลิ้มรสเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้

ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดย

ปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูดและนิ่ง.

ภิกษุนั้น อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ดง ที่แจ้ง กองฟาง สถานที่ไม่มีเสียง

อื้ออึง สถานที่ไม่ใคร่มีคนสัญจรไปมา สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน

สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม้ก็ตาม ไปสู่เรือนว่าง

ก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน.

ภิกษุนั้น ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว อยู่ด้วยจิตที่ปราศจาก

อภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความพยาบาทและความ

ประทุษร้ายได้แล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อยู่ มีความอนุเคราะห์

แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประ-

ทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีอาโลก-

สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละ

อุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ มีจิตสงบภายใน ชำระ

จิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้าม

เสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา อยู่ ไม่มีความสงสัย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ

สงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมอง ทำ

ปัญญาให้ทรามได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

แล้วบรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น

ผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ

ว่าเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้อยู่ บรรลุจตุตถ-

ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ เพราะ

ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆ-

สัญญา เพราะไม่มีมนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญ-

จายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าว

ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญ-

จายตนฌาน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าว

ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญจัญญาย-

ตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ เพราะ

ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌานอยู่.

มาติกา จบ

สุตตันตภาชนีย์

มาติกานิทเทส

[๖๐๐] บทว่า ในศาสนานี้ มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ ในขันตินี้

ในรุจินี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ใน

พรหมจรรย์นี้ ในศาสนาของพระศาสดานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ในศาสนา

นี้.

[๖๐๑] บทว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา

ชื่อว่าภิกษุ เพราะปฏิญญา

ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ

ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร

ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงแผ่นผ้าที่ถูกทำลาย

ชื่อว่าภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย

ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสโดยจำเพาะส่วน

ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน

พระเสขะ ชื่อว่าภิกษุ

พระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ

ผู้ไม่ใช่พระเสขะและไม่ใช่พระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ

ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ ชื่อว่าภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม ชื่อว่าภิกษุ

ผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ชื่อว่าภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นสาระ ชื่อว่าภิกษุ

ผู้อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ โดยสงฆ์

ผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่อว่าภิกษุ.

[๖๐๒] บทว่า ปาติโมกข์ ได้แก่ ศีลอันเป็นที่อาศัย เป็นเบื้องต้น

เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน

เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

บทว่า สังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิด

ทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

บทว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว มีอธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้า

ไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว

ด้วยดี ประกอบแล้วด้วยปาติโมกข์สังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้

สำรวมแล้วด้วยปาติโมกข์สังวร.

[๖๐๓] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่

รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า อยู่.

[๖๐๔] บทว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร มีอธิบาย

ว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระ มีอยู่

ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน ?

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด

ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ ความเป็นผู้ทุศีล แม้ทั้งปวง

ก็เรียกว่า อนาจาระ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่

หรือด้วยการให้ใบไม้ หรือด้วยการให้ดอกไม้ หรือด้วยการให้ผลไม้ หรือ

ด้วยการให้จุณสำหรับอาบ หรือด้วยการให้ไม้ชำระฟัน หรือด้วยการพูด

ยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก หรือด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว

หรือด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก หรือด้วยการรับใช้ฆราวาส หรือด้วยมิจฉา-

อาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกร่า อนาจาระ.

อาจาระ เป็นไฉน ?

ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่

ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อาจาระ ศีลสังวร แม้ทั้งปวง

ก็เรียกว่า อาจาระ. ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

ไผ่ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ใบไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ดอกไม้

ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ผลไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้จุณสำหรับอาบ

ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ชำระฟัน ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดยกย่อง

เพื่อต้องการให้เขารัก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกง

ถั่ว ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการ

รับใช้ฆราวาส ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ

อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อาจาระ.

บทว่า โคจร มีอธิบายว่า โคจร มีอยู่ อโคจร มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา หรือ

เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อ

หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของภิกษุณี

หรือเป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์

ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่

สมควรก็หรือตระกูลนั้นใด ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นที่ควรจะไปมา

มักด่าและบริภาษ ใคร่แต่ความพินาศ ไม่ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

ไม่ใคร่ต่อความผาสุก ไม่ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูล

เห็นปานนั้นนี้เรียกว่า อโคจร.

โคจร เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ไม่เป็นผู้เทียวไปในสำนักของหญิงแพศยา

ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักสาวเทื้อ ไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์ ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของนาง

ภิกษุณี ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหา-

อำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์

อันไม่สมควร ก็หรือตระกูลนั้นใด มีศรัทธา เลื่อมใส รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ

มีโยคีผู้ปฏิบัติเข้าออกอยู่เนือง ๆ เป็นผู้ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ต่อสิ่งที่เป็น

ประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุก ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวก

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหา

บ่อย ๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่า โคจร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยอาจาระและโคจร

ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร

ด้วยประการฉะนี้.

[๖๐๕] คำว่า เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย มี

อธิบายว่า โทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย เป็นไฉน ?

โทษทั้งหลายนั้นใด มีประมาณน้อย เป็นอย่างต่ำ เป็นอย่างเบา

ที่สมมติกันว่า โทษเบา ที่พึงสำรวม ที่พึงระวัง ที่พึงกระทำด้วยจิตตุปบาท

ที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย.

ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ เห็นภัย เห็นความชั่วร้าย และเห็นการรื้อถอน

ออกเสียให้พ้น ในโทษอันมีประมาณน้อยเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าเห็น

ภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย.

[๖๐๖] คำว่า สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

มีอธิบายว่า สิกขา เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

สิกขา ๔ คือ สิกขาของภิกษุ เรียกว่าภิกษุสิกขา, สิกขาของภิกษุณี

เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา, สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุบาสกสิกขา, สิกขาของ

อุบาสิกา เรียกว่า อุบาสิกาสิกขา เหล่านี้เรียกว่า สิกขา.

ภิกษุสมาทานสิกขาทั้งหมด ด้วยสิกขาสมาทานทั้งหมด สมาทานสิกขา

ทั้งหมดมิให้เหลือ ด้วยอาการที่จะพึงประพฤติทั้งหมด แล้วประพฤติอยู่ใน

สิกขาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย.

[๖๐๗] บทว่า คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอธิบายว่า ความเป็น

ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอยู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖

เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ถือนิมิต

ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตาม

บุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ

ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ย่อมไม่

ถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะ

แล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ

รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม

คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่

เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น

ย่อมไม่รักษามนินทรีย์นั้น ย่อมไม่ถึงการสำรวมในมนินทรีย์นั้น ความไม่

คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวมซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้

อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ถือนิมิต

ไม่ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตาม

บุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์นั้น ย่อมถึงการ

สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว

ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้

ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ บาป-

อกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลนี้ ผู้ไม่สำรวม

มนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม

มนินทรีย์นั้น ย่อมรักษามนินทรีย์นั้น ย่อมถึงการสำรวมในมนินทรีย์นั้น

ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวม ซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่า

นี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยความเป็นผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ ๖ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ ๖.

[๖๐๘] บทว่า รู้ประมาณในโภชนะ มีอธิบายว่า ความเป็นผู้

รู้ประมาณในโภชนะมีอยู่ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะมีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคายบริโภคอาหาร เพื่อ

เล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อให้อ้วนพี ความเป็นผู้ไม่

สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ การไม่พิจารณา ในโภชนะนั้น อันใด

นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหาร

ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อผิวพรรณสวยงาม ไม่ใช่เพื่อให้

อ้วนพี เราบริโภคอาหาร เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์

เป็นไป เพื่อระงับความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยอุบายนี้ เราจัก

กำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่ง

ชีวิตินทรีย์ ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เรา ดังนี้ แล้วจึง

บริโภคอาหาร ความสันโดษ ความรู้ประมาณ การพิจารณาในโภชนะนั้น

อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยความเป็นผู้รู้

ประมาณในโภชนะนี้ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า รู้ประมาณในโภชนะ.

[๖๐๙] ก็ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและ

ปัจฉิมยาม เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุ

ความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้หมดจดจาก

ธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอด

ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยา โดยนอนตะแคงขวา วางเท้าซ้อนกัน

มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี

ลุกขึ้นชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดิน

จงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุ

ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

[๖๑๐] บทว่า ความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ได้แก่ การปรารภ

ความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ.

บทว่า ปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน ได้แก่ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด

ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ.

[๖๑๑] บทว่า เจริญโพธิ์ปักขิยธรรม มีอธิบายว่า โพธิปักขิย-

ธรรม เป็นไฉน ?

โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริย-

สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบก-

ขาสัมโพชฌงค์ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม. ภิกษุ ย่อมเสพ

เจริญ ทำให้มาก ซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญ

โพธิปักขิยธรรม.

[๖๑๒] ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและถอย

กลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและเหลียวดูข้างซ้าย

ข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก เป็น

ผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ

ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและ

ปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และ

นิ่ง เป็นอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะ

ถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดู

ข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออก

มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกิน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติ

สัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มีสติ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สตพละ สัมมาสติ อันใด

นี้เรียกว่า สติ.

บทว่า มีสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความไคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง

ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญา-

พละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา

แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่

หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสติและสัมปชัญญะ

นี้ ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า

มีสติสัมปชัญญะถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัม-

ปชัญญะเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะ

เหยียดอวัยวะออก มีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังมาฏิ บาตร และจีวร มีสติ

สัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ

และปัสสาวะ มีสติสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

[๖๑๓] บทว่า สงัด มีอธิบายว่า แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ในที่ใกล้

แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพชิต ด้วยเหตุนั้น เสนา-

สนะนั้น ชื่อว่า สงัด แม้หากเสนาสนะใดจะอยู่ในที่ไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่

เกลื่นกล่น ด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพชิต ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สงัด.

[๖๑๔] บทว่า เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะคือเตียงบ้าง เสนาสนะ

คือตั่งบ้าง เสนาสนะคือที่นอนบ้าง เสนาสนะคือหมอนบ้าง เสนาสนะคือวิหาร

บ้าง เสนาสนะคือเพิงบ้าง เสนาสนะคือปราสาทบ้าง เสนาสนะคือป้อมบ้าง

เสนาสนะคือโรงบ้าง เสนาสนะคือที่เร้นลับบ้าง เสนาสนะคือถ้ำบ้าง เสนาสนะ

คือโคนไม้บ้าง เสนาสนะคือพุ่มไม้ไผ่บ้าง หรือภิกษุยับยั้งอยู่ในที่ใด ที่นั้น

ทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ.

[๖๑๕] บทว่า อาศัย คือ อาศัยอยู่ อาศัยอยู่ด้วยดี เข้าอยู่ เข้า

พำนักอยู่ เข้าอาศัยอยู่ เสนาสนะอันสงัดนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อาศัย.

[๖๑๖] บทว่า ป่า ได้แก่ ป่าบริเวณนอกเสาเขื่อนทั้งหมดนั้น.

[๖๑๗] บทว่า โคนไม้ เป็นต้น มีอธิบายว่า รุกขมูล คือ โคนไม้

ปัพพตะ คือ ภูเขา กันทระ คือ ซอกเขา คิริคุหา คือ ถ้ำในเขา สุสาน คือ

ป่าช้า อัพโภกาส คือ ที่แจ้ง ปลาลปุญชะ คือ กองฟาง.

[๖๑๘] บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะราวป่า.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดกลัว.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดหวั่น.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ปลายแดน.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไม่อยู่ใกล้หมู่มนุษย์.

บทว่า ดง เป็นชื่อของเสนาสนะที่หาความเจริญได้ยาก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

[๖๑๙] บทว่า สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน มีอธิบายว่า แม้หาก

เสนาสนะใดจะอยู่ใกล้ แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์บรรพ-

ชิต ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า ไม่มีเสียงรบกวน. แม้หากเสนาสนะ

ใดจะอยู่ไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหล่าคฤหัสถ์ บรรพชิต ด้วย

เหตุนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า ไม่มีเสียงรบกวน.

[๖๒๐] บทว่า สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง มีอธิบายว่า เสนาสนะใด

ไม่มีเสียงรบกวน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึง. เสนาสนะ

ใดไม่มีเสียงอื้ออึง เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่ใคร่มีผู้คนสัญจรไปมา.

เสนาสนะใด ไม่ใคร่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สถานที่ไม่มี

คนพลุกพล่าน. เสนาสนะใด ไม่มีคนพลุกพล่าน เสนาสนะนั้น ชื่อว่า

สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.

[๖๒๑] คำว่า ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม่ก็ตาม ไปสู่เรือน

ว่างก็ตาม ได้แก่ เป็นผู้ไปสู่ป่าแล้วก็ตาม เป็นผู้ไปสู่โคนไม้แล้วก็ตาม

เป็นผู้ไปสู่เรือนว่างแล้วก็ตาม.

[๖๒๒] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ ได้แก่ เป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์.

[๖๒๓] คำว่า ตั้งให้กายตรง ได้แก่ กายที่ดำรงไว้ ที่ตั้งไว้เป็น

กายตรง.

[๖๒๔] คำว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน มีอธิบายว่า สติ เป็น

ไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ. สตินี้

อันภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว ที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือปาก

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

[๖๒๕] คำว่า ละอภิชฌาในโลก มีอธิบายว่า อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

ใดนี้เรียกว่า อภิชฌา.

โลก เป็นไฉน ?

อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก.

อภิชฌานี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ

ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้

เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า ละอภิชฌาในโลกเสียได้.

[๖๒๖] คำว่า ด้วยจิตที่ปราศจากอภิชฌา มีอธิบายว่า จิต

เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด เรียกว่า

จิต จิตนี้ปราศจากอภิชฌา ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ด้วยจิตที่ปราศจาก

อภิชฌา.

[๖๒๗] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไป

อยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๒๘] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา มีอธิบายว่า

อภิชฌา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

นี้เรียกว่า อภิชฌา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น

ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้น จากอภิชฌานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา.

[๖๒๙] คำว่า ละความพยาบาทและความประทุษร้าย มีอธิบาย

ว่า ความพยาบาท มีอยู่ ความประทุษร้าย มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน ?

จิตอาฆาต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย

ความเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคือง ความคิดประทุษร้าย การมุ่งคิด

ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษ-

ร้ายแห่งใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย

กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ควานคิดปองร้าย กิริยาที่คิด

ปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความ

ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า พยาบาท.

ความประทุษร้าย เป็นไฉน ?

ความพยาบาทอันใด ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย

ความประทุษร้ายอันใด ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท.

ความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป

ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้

เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีทีสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความประทุษร้าย ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

[๖๓๐] บทว่า มีจิตไม่พยาบาท มีอธิบายว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต จิตนี้ไม่พยาบาท ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท.

[๖๓๑] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๓๒] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ

ประทุษร้าย มีอธิบายว่า ความพยาบาท มีอยู่ ความประทุษร้าย มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน ?

จิตอาฆาต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง ความยินร้าย

ความเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคือง ความคิดประทุษร้าย การมุ่งคิด

ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาทแห่งจิต ความคิดประทุษ-

ร้ายแห่งใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดที่ประทุษร้าย

กิริยาที่ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิด

ปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย ความดุร้าย ความ

ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตอันใด นี้เรียกว่า ความพยาบาท.

ความประทุษร้าย เป็นไฉน ?

ความพยาบาทอันใด ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย

ความประทุษร้ายอันใด ความประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น

ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ชาระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษ-

ร้าย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๓] คำว่า ละถีนมิทธะ ได้แล้ว มีอธิบายว่า ถีนะ มีอยู่

มิทธะมีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความ

ท้อแท้แห่งจิต ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความหดหู่

กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

มิทธะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่งาน ความง่วงซึม ความ

เฉื่อยชา ความซบเซา ความหาวนอน ความหลับ ความโงกง่วง ความหลับ

กิริยาที่หลับ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.

ถีนะและมิทธะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่าง

ราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง

ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก

ว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๔] ค่าว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า ชื่อว่า เป็น

ผู้ปราศจากถีนมิทธะ เพราะถีนมิทธะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อย

แล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๓๕] บทว่า มีอาโลกสัญญา มีอธิบายว่า สัญญา เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันใด นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้

สว่างเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีอาโลกสัญญา.

[๖๓๖] บทว่า มีสติสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.

สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมปชัญญะ

นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๗] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า

ถีนะมีอยู่ มิทธะ มีอยู่

ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ฯลฯ ภาวะที่หดหู่แห่งจิต อันใด นี้

เรียกว่า ถีนะ.

มิทธะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบ ฯลฯ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า

มิทธะ.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น

ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากถีนมิทธะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ.

[๖๓๘] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว มีอธิบายว่า อุทธัจจะ

มีอยู่ กุกกุจจะ มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

กุกกุจจะ เป็นไฉน ?

ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร

ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่า ไม่มีโทษในของที่มีโทษ

ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ

ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.

อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไป

อย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง

ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า ละอุทธัจจะกุกกุจจะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๙] บทว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่

ฟุ้งซ่าน เพราะอุทธัจจกุกกุจจะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยเเล้ว

ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็น

ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

[๖๔๐] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๔๑] บทว่า ภายใน ได้แก่ เป็นภายในเฉพาะตน.

บทว่า มีจิตสงบ มีอธิบายว่า จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ภายใน ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

มีจิตสงบภายใน.

[๖๔๒] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ มีอธิบาย

ว่า อุทธัจจะ มีอยู่ กุกกุจจะ มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

กุกกุจจะ เป็นไฉน ?

ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ฯลฯ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะ

เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น

ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากอุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

[๖๔๓] คำว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว มีอธิบายว่า วิจิกิจฉา

เป็นไฉน ?

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความ

คิดเห็นไปต่าง ๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่

ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วน

เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอา

เป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

วิจิกิจฉานี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ

ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้

เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละ

วิจิกิจฉาได้แล้ว.

[๖๔๔] บทว่า เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา มีอธิบายว่า เป็น

ผู้ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ข้ามออกแล้วซึ่งวิจิกิจฉานี้ ถึงฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว

โดยลำดับ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา.

[๖๔๕] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๔๖] คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย มีอธิบาย

ว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจาก

ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยวิจิกิจฉานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๖๔๗] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา มีอธิบายว่า

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ฯลฯ

ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

ภิกษุ ชำระจิตนี้ให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น

ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากวิจิกิจฉานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

[๖๔๘] คำว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ได้แล้ว มีอธิบายว่า นิวรณ์

๕ เหล่านี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้

พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้ง

ด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ละนิวรณ์ ๕

เหล่านี้ได้แล้ว.

[๖๔๙] คำว่า เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ได้แก่ นิวรณ์ ๕

เหล่านี้ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต.

[๖๕๐] คำว่า ทำปัญญาให้ทราม มีอธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่

เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป เพราะนิวรณ์

๕ เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ทำปัญญาให้ทราม.

[๖๕๑] คำว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

มีอธิบายว่า กาม เป็นไฉน ?

ฉันทะ ชื่อว่า กาม. ราคะ ชื่อว่า กาม. ฉันทราคะ ชื่อว่า กาม.

สังกัปปะ ชื่อว่า กาม. ราคะ ชื่อว่า กาม. สังกัปปราคะ

ชื่อว่า กาม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กาม.

อกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นไฉน ?

กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ธรรม

เหล่านี้ เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ สงัดจากกามและอกุศลธรรมเหล่านี้แล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก

ว่า สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

[๖๕๒] คำว่า ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่

วิจาร มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมา-

สังกัปปะ อันใด นี้เรียกว่า วิตก.

วิจาร เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความทีจิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนือง ๆ อันใด นี้เรียกว่า

วิจาร.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิตกและวิจารนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิตก วิจาร ด้วยประการฉะนี้

[๖๕๓] บทว่า เกิดแต่วิเวก มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านั้น คือ

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิด

แล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ในวิเวกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

เกิดแต่วิเวก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

[๖๕๔] บทว่า มีปีติและสุข มีอธิบายว่า ปีติ มีอยู่ สุข มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชมยินดี

อันใด นี้เรียกว่า ปีติ.

สุข เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็น

สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า สุข.

สุขนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยปีตินี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า มีปีติและสุข.

[๖๕๕] บทว่า ปฐม คือ เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ฌาน

นี้ชื่อว่า ปฐมฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งแรก.

[๖๕๖] บทว่า ฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต.

[๖๕๗] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน.

[๖๕๘] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๕๙] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบ มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่

วิจาร มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้เรียก

ว่า วิตก.

วิจาร เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนือง ๆ อันใด นี้เรียกว่า

วิจาร.

วิตกและวิจารนี้ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ

ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้

เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะ

วิตกวิจารสงบ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๖๐] บทว่า เป็นไปในภายใน ได้แก่เป็นของภายในเฉพาะตน

บทว่า ผ่องใส ได้แก่ ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ

ความเลื่อมใสยิ่ง.

[๖๖๑] คำว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ได้แก่ ความตั้งอยู่

แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๖๖๒] คำว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอธิบายว่า วิตก มีอยู่

วิจาร มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันใด นี้

เรียกว่า วิตก.

วิจาร เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

อารมณ์ ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์อยู่เนือง ๆ อันใด

นี้เรียกว่า วิจาร.

วิตกและวิจารนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ

ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูก

ทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

ด้วยประการฉะนี้.

[๖๖๓] บทว่า เกิดแต่สมาธิ มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านั้น คือ

ความผ่องใส ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิด

แล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว ในสมาธินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

เกิดแต่สมาธิ.

[๖๖๔] บทว่า มีปีติและสุข มีอธิบายว่า ปีติ มีอยู่ สุข มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี อันใด

นี้เรียกว่า ปีติ.

สุข เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า สุข.

สุขนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยปีตินี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า มีปีติและสุข.

[๖๖๕] บทว่า ทุติยะ คือ เป็นที่ ๒ ตามลำดับ แห่งการนับฌานนี้.

ชื่อว่า ทุติยฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๒.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

[๖๖๖] บทว่า ฌาน ได้แก่ ความผ่องใส ปีติ สุข เอกัคคตา

แห่งจิต.

[๖๖๗] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งทุติยฌาน.

[๖๖๘] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๖๙] คำว่า เพราะคลายปีติได้อีกด้วย มีอธิบายว่า ปีติ

เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความ

ร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความปีติอย่างโลดโผน ความที่จิตชื่นชม

ยินดี อันใด นี้เรียกว่า ปีติ.

ปีตินี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูก

ทำไห้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือด-

แห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะ

คลายปีติได้อีกด้วย.

[๖๗๐] บทว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีอธิบายว่า อุเบกขา

เป็นไฉน ?

ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่ง

จิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยอุเบกขานี้ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

[๖๗๑] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๗๒] คำว่า มีสติสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า ใน ๒ อย่างนั้น

สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.

สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯ ล ฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมป-

ชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๗๓] คำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย มีอธิบายว่า สุข เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า สุข.

กาย เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย.

ภิกษุ ย่อมเสวยสุขนี้ ด้วยกายนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสวยสุข

ด้วยนามกาย.

[๖๗๔] คำว่า เป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้

บรรลุ มีอธิบายว่า พระอริยเจ้า เป็นไฉน ?

พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้า

พระอริยเจ้าเหล่านั้น ย่อมกล่าวสรรเสริญ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

จำแนก ทำให้ชัดเจน ประกาศ ซึ่งบุคคลผู้ได้บรรลุนี้ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า เป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ.

[๖๗๕] คำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข มี

อธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน ?

ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่ง

จิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.

สุข เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า สุข.

ภิกษุ ประกอบด้วยอุเบกขา สติ และสุขนี้ สืบเนื่องอยู่ ประพฤติ

เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ด้วย

ประการฉะนี้.

[๖๗๖] บทว่า ตติยะ คือ เป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการนับฌาน

นี้ ชื่อว่า ตติยฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๓.

[๖๗๗] บทว่า ฌาน ได้แก่ อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ สุข

เอกัคคตาแห่งจิต.

[๖๗๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง ซึ่งตติยฌาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

[๖๗๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๘๐] คำว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ มีอธิบายว่า สุข มีอยู่

ทุกข์ มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น สุข เป็นไฉน ?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็น

สุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า สุข.

ทุกข์ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่

สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อัน

เกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.

สุขและทุกข์นี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ

ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้

เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะ

ละสุขและทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๘๑] คำว่า เพราะโสมนัสและโทมันสดับสนิทในก่อน มี

อธิบายว่า โสมนัส มีอยู่ โทมนัส มีอยู่.

ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า โสมนัส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

โสมนัสและโทมนัสนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไป

อย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง

ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้วในก่อน ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน ด้วยประการฉะนี้.

[๖๘๒] บทว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอธิบายว่า ไม่มีความสบาย

ทางใจ ไม่มีความไม่สบายทางใจ มีแต่ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอัน

เกิดแต่เจโตสัมผัส มีแต่กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข.

[๖๘๓] บทว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา มีอธิบายว่า อุเบกขา

เป็นไฉน ?

ความวางเฉย กิริยาวางเฉย ความเพ่งเฉพาะ ความเป็นกลางแห่ง

จิต อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ.

สตินี้ เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.

[๖๘๔] บทว่า จตุตถะ คือ เป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการนับ

ฌานนี้ชื่อว่า จตุตถฌาน เพราะโยคาวจรบุคคลบรรลุเป็นครั้งที่ ๔.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

[๖๘๕] บทว่า ฌาน ได้แก่ อุเบกขา สติ เอกัคคตาแห่งจิต.

[๖๘๖] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งจตุตถฌาน.

[๖๘๗] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๘๘] ค่าว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

มีอธิบายว่า รูปสัญญา เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ของโยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ

หรือของผู้อุปบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

เหล่านี้เรียกว่า รูปสัญญา.

ภิกษุก้าวล่วงเเล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ ด้วย

เหตุนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง.

[๖๘๙] คำว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิสัญญา มีอธิบายว่า

ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน ?

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา

เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา. ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น สงบ ระงับ เข้าไประงับ

ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูก

ทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้สิ้นสุดปราศไปแล้ว ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา.

[๖๙๐] คำว่า เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา. มีอธิบาย

ว่า นานัตตสัญญา เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ พรั่งพร้อม

ด้วยมโนธาตุ หรือพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้ เรียกว่า นานัตต-

สัญญา ภิกษุย่อมไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา.

[๖๙๑] บทว่า อากาศไม่มีที่สุด มีอธิบายว่า อากาศ เป็น

ไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับ

ว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔

ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด นี้เรียกว่า อากาศ ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่

จิตไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด.

[๖๙๒] บทว่า อากาสานัญจายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้า

อากาสานัญจายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือของ

พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

[๖๙๓] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งอากาสานัญจายตนฌาน

[๖๙๔] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๖๙๕] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการ

ทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่ง

อากาสานัญจายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-

จายตนะโดยประการทั้งปวง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

[๖๙๖] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด มีอธิบายว่า ภิกษุ พิจารณา

อากาศอันวิญญาณถูกต้องแล้วนั้นแล แผ่จิตไปไม่มีที่สุด ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่าวิญญาณไม่มีที่สุด.

[๖๙๗] บทว่า วิญญาณัญจายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้า

วิญญาณัญจายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของ

พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

[๖๙๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งวิญญาณัญจายตนฌาน.

[๖๙๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯ ล ฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่/B.

[๗๐๐] คำว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการ

ทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งวิญญา-

ณัญจายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวง.

[๗๐๑] คำว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี มีอธิบายว่า ภิกษุพิจารณา

เห็นว่า วิญญาณนั้นแลไม่มี ไม่ปรากฏ อันตรธานไป น้อยหนึ่งไม่มี ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี.

[๗๐๒] บทว่า อากิญจัญญายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิกของผู้เข้า

อากิญจัญญายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระ-

อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

[๗๐๓] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งอากิญจัญญายตนฌาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

[๗๐๔] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

[๗๐๕] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ

ทั้งปวง มีอธิบายว่า ภิกษุ ก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ซึ่งอากิญ-

จัญญายตนะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดย

ประการทั้งปวง.

[๗๐๖] บทว่า มิใช่ผู้มีสัญญาและมิใช่ผู้ไม่มีสัญญา มีอธิบาย

ว่า ภิกษุพิจารณาอากิญจัญญายตนฌานนั้นแล โดยความสงบ เจริญสมาบัติ

อันมีสังขารเหลืออยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มิใช่ผู้มีสัญญาและมิใช่ผู้ไม่มี

สัญญา.

[๗๐๗] บทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่จิตและเจตสิก

ของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หรือของผู้อุปบัติในเนวสัญญานา-

สัญญายตนภูมิหรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

[๗๐๘] บทว่า บรรลุ ได้แก่ การได้ การกลับได้อีก การถึง

ความถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุ ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌาน.

[๗๐๙] บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่

รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า อยู่.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

๑. อุทเทสแห่งนิทเทสนี้ ไม่ปรากฏในมาติกา เพราะฉะนั้น นิทเทสนี้น่าจะเกินมา หรืออุทเทสนั้น

น่าจะขาดไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

อภิธรรมภาชนีย์

กุศลฌาน จตุกกนัย

[๗๑๐] ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน

๒. ทุติยฌาน

๓. ตติยฌาน

๔. จตุตถฌาน

[๗๑๑] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ฌานมี

องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียก

ว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

ฌาน.

[๗๑๒] ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานทีมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

แห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๑๓] ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกายบรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติ อยู่เป็น

สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัย

นั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายทีเหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๑๔] จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถ-

ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราละสุขและทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ใน

สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า

จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

กุศลฌาน ปัญจกนัย

[๗๑๕] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัด

จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌาน

มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอคัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

เรียกว่า ปฐมฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยฌาน.

[๗๑๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ. บรรลุ

ทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่ง

จิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๑๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ

ตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข.

เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๑๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะ

คลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวย

สุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่

พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต

มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๑๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ

ปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมันสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น

นี้เรียกว่า ปัญจมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัม-

ปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอัน

สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข

และทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะ

อุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต

มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

โลกุตตรกุศลฌาน จตุกกนัย

[๗๒๑] ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน

๒. ทุติยฌาน

๓. ตติยฌาน

๔. จตุตถฌาน

[๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัย

ใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัย

นั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน

อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรม-

เอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข

เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลาดปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มี เป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้

ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็น ทุกขา-

ปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

แห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

[๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท

ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่

ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น

นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยฌาน.

โลกุตตรกุศลฌาน ปัญจกนัย

[๗๒๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำ

ออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบ

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต

มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานกุศล ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำ

ออกไปจากโลก ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ

บรรลุทุติฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌานกุศล ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำ

ออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ

บรรลุตติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมี

องค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน-

กุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๒๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำ

ออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะ

คลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเขกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข

เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานกุศล. ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

[๗๓๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำ

ออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ

บรรลุปัญจมฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่

ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

นี้เรียกว่า ปัญจมฌานกุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยฌาน.

วิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๓๑] ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน

๒. ทุติยฌาน

๓. ตติยฌาน

๔. จตุตถฌาน

[๗๓๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมณาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯ ล ฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิมาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั่นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ

สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานวิบาก. ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯ ลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน

เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมี

องค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน-

วิบาก. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก. ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก. ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

วิปากฌานปัญจกนัย

ปฐมณาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจาก

กามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

อารมณ์ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอัน

ได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข

เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ปฐมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ปัญจมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ

ปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข

และทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

อุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มี

สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ

บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

แห่งจิตมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึง อรูปภพ เพราะก้าว

ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

กุศล.

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ

จตุตถฌาน อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้

สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน

มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา

เอกัคคตาแห่งจิตมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

โลกุตตรวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๓๓] ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน

๒. ทุติยฌาน

๓. ตติยฌาน

๔. จตุตถฌาน

[๗๓๔] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแลประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิ-

ปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ. อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก

วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌานวิบาก

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติย-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ

เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่

สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันทาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ บรรลุทุติยฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติ

ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ

อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น

เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

โลกุตตรวิปากฌาน ปัญจกนัย

ปฐมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

กุศล.

ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้

แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน

วิบาก ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานวิบาก ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานวิบาก ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ปัญจมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

จากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุปัญจม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส

ดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและ

ทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒

คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌานวิบาก

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

กิริยาฌาน จตุกกนัย

[๗๓๕] ฌาน ๔ คือ

๑. ปฐมฌาน

๒. ทุติยฌาน

๓. ตติยฌาน

๔. จตุตถฌาน

[๗๓๖] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล

ไม่ใช่อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประ-

กอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า

ปฐมฌานกริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล

ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน

เกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต

มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

กิริยาฌาน ปัญจกนัย

ปฐมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฐมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน. .

ทุติยฌาน เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ตติยฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

จตุตถฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกร่า จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ปัญจมฌาน เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุปัญจมฌานที่มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัย

ใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า

ปัญจมฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญ-

จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญา-

นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด

ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า

จตุตถฌานกิริยา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.

อภิธรรมภาชนีย์จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๓๗] ฌาน ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่.

๒. บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่.

๓. เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมป-

ชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่.

๘. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่.

ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาฌาน ๔ ฌานไหนเป็นกุศล ฌานไหนเป็นอกุศล ฌานไหน

เป็นอัพยากตะ ฯลฯ ฌานไหนเป็นสรณะ ฌานไหนเป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๓๘] ฌาน ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

ฌาน ๓ เว้นสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุเวทนาสัมปยุต

จตุตถฌาน เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอทุกขมสุขเวทนา-

สัมปยุต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

ฌาน ๔ เป็นวิปากะก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากน-

วิปากธัมมธรรมก็มี.

ฌาน ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี

เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

ฌาน ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกะก็มี.

ปฐมฌาน เว้นวิตกวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกสวิจาระ,

ฌาน ๓ เป็นอวิตักกอวิจาระ.

ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นปีติสหคตะ. ฌาน ๓

เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เว้นอุเบกขาที่เกิด

ขึ้นในฌารนี้เสีย เป็นอุเบกขาสหคตะ.

ฌาน ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นเนวทัสส-

เนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.

ฌาน ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินา-

ปจยคามีก็มี.

ฌาน ๔ เป็นเสกขะก็มิ เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี

ฌาน ๔ เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.

ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตา-

รัมมณะ, เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี,

จตุตถฌาน เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณา-

รัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะก็มี แม้เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี

แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

ฌาน ๔ เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ฌาน ๔ เป็นสัมมัตตนิยะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ฌาน ๓ ไม่เป็น

มัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

มัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี จตุตถฌาน เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็น

มัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้

เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี.

ฌาน ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี.

ฌาน ๔ เป็นอตีตะก็มี เป็นอนาคตะก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ

แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตา-

รัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ

แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี

ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี

ฌาน ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ จตุตถฌาน เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็น

พหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

ฌาน ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๗๓๙] ฌาน ๔ เป็นเหตุ ฌาน ๔ เป็นสเหตุกะ ฌาน ๔ เป็น

เหตุสัมปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ

ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ

ฌาน ๔ เป็นนเหตุสเหตุกะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

ฌาน ๔ เป็นสัปปัจจยะ ฌาน ๔ เป็นสังขตะ ฌาน ๔ เป็นอนิ-

ทัสสนะ ฌาน ๔ เป็นอัปปฏิฆะ ฌาน ๔ เป็นอรูป ฌาน ๔ เป็นโลกิยะ

ก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ฌาน ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

ฌาน ๔ เป็นโนอาสวะ ฌาน ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี

ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุต ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ ฌาน

๔ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ฌาน ๔

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ.

ฌาน ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

ฌาน ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนคันถะ ฯลฯ

ฌาน ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็น

โนนีวรณะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ ฌาน ๔ เป็นสารัมมณะ

ฌาน ๔ เป็นโนจิตตะ ฌาน ๔ เป็นเจตสิกะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสัมปยุต

ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐะ ฌาน ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ ฌาน ๔ เป็น

จิตตสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ฌาน ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานา-

นุปริวัตติ ฌาน ๔ เป็นพาหิระ ฌาน ๔ เป็นโนอุปาทา ฌาน ๔ เป็นอุปา-

ทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี ฌาน ๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ ฌาน ๔

เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๗๔๐] ฌาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาย-

ปหาตัพพะ ฌาน ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ ฌาน ๔ เป็นนภาวนาย-

ปหาตัพพเหตุกะ ปฐมฌานเว้นวิตกที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิตักกะ

ฌาน ๓ เป็นอวิตักกะ ปฐมฌานเว้นวิจารที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นสวิ-

จาระ ฌาน ๓ เป็นอวิจาระ ฌาน ๒ เว้นปีติที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสียเป็น

สัปปีติกะ ฌาน ๒ เป็นอัปปีติกะ ฌาน ๒ เว้นปีติทีเกิดขึ้นในฌานนี้เสีย

เป็นปีติสหคตะ ฌาน ๒ เป็นนปีติสหคตะ ฌาน ๓ เว้นสุขที่เกิดขึ้นในฌาน

นี้เสีย เป็นสุขสหคตะ จตุตถฌาน เป็นนสุขสหคตะ จตุตถฌานเว้นอุเบกขา

ที่เกิดขึ้นในฌานนี้เสีย เป็นอุเปกขาสหคตะ ฌาน ๓ เป็นนอุเปกขาสหคตะ

ฌาน ๔ เป็นนกามาวจร ฌาน ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี ฌาน

๓ เป็นนอรูปาวจร จตุตถฌาน เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี ฌาน ๔

เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็น

อนิยยานิกะก็มี ฌาน ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ฌาน ๔ เป็น

สอุตตระก็มี เป็นอนุตระก็มี ฌาน ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะจบ

ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

อรรถกถาฌานวิภังค์

วรรณนามาติกา

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในฌานวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจากมัคค-

วิภังค์นั้นดังต่อไปนี้.

เบื้องต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่ง

สุตตันตภาชนีย์ทั้งสิ้นก่อน. ในมาติกาเหล่านั้น คำว่า อิธ เป็นคำแสดงไข

ถึงคำสั่งสอนอันเป็นจริงโดยอิงอาศัยบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยความถึงพร้อมใน

กรณียกิจอันเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้นด้วย ทั้ง

เป็นการปฏิเสธความเป็นจริงของศาสนาอื่นด้วย. ข้อนี้ สมจริงดังที่พระองค์

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิอื่น

ว่างเปล่าจากสมณะ ดังนี้เป็นต้น.

คำว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงถึงบุคคลผู้ยังฌานเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.

คำว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต นี้ เป็นคำชี้แจงถึงความที่ภิกษุนั้น

ตั้งมั่นในปาฏิโมกขสังวร.

คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำอธิบายถึงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้พรั่งพร้อม

ด้วยการอยู่ อันสมควรแก่ความเป็นอย่างนั้น.

คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน (แปลว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระ

และโคจร) นี้ เป็นการแสดงถึงอุปการธรรมของภิกษุนั้น ซึ่งมีปาฏิโมกข-

สังวรในเบื้องต้น และมีการประกอบเนือง ๆ ในฌานเป็นที่สุด.

คำว่า อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี (แปลว่า เห็นภัยในโทษ

มีประมาณน้อย) นี้ เป็นคำไขถึงความที่ภิกษุนั้น มีความไม่เคลื่อนจากปาฏิ-

โมกข์เป็นธรรมดา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

คำว่า สมาทาย (แปลว่า สมาทานแล้ว) นี้ เป็นคำแสดงถึงการ

ถือเอาสิกขาบททั้งหลายของภิกษุนั้นโดยไม่เหลือ.

คำว่า สิกฺขติ นี้ (แปลว่า ประพฤติหรือศึกษาอยู่) เป็นคำแสดง

ถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสิกขา.

คำว่า สิกฺขาปเทสุ นี้ (แปลว่า ในสิกขาบททั้งหลาย) เป็นคำ

แสดงถึงธรรมอันภิกษุนั้น พึงศึกษา.

คำว่า อินฺทฺริเยสุ นี้ เป็นคำแสดงถึงภูมิ (ภูมิปฏิบัติ) เพราะความ

ที่ภิกษุนั้น มีทวารอันคุ้มครองแล้ว. อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า คำนี้ เป็น

คำแสดงถึงโอกาสที่บุคคลควรรักษา ดังนี้ก็มี.

คำว่า คุตฺตทฺวาโร นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้มี

อารักขาอันสำรวมดีแล้วในทวารทั้ง ๖.

คำว่า โภชเน มตฺตญฺญู (แปลว่า รู้ประมาณในโภชนะ) นี้ เป็น

คำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้นมีคุณธรรมมีความสันโดษเป็นต้น.

คำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺต ชาคริยานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า

ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความ

เป็นการณะของภิกษุนั้น.

คำว่า สาตจฺจ เนปกฺก (แปลว่า ประกอบความเพียรอันเป็นไป

ติดต่อและประกอบด้วยปัญญาอันรักษาตน) นี้ เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุ

นั้น เป็นผู้กระทำความพยายามให้ติดต่อกันไป ด้วยความเพียร ซึ่งสำรวจแล้ว

ด้วยปัญญา.

คำว่า โพธิปกฺขิกาน ธมฺมาน ภาวนานุโยคมนุยุตฺโต (แปลว่า

ประกอบความเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม) นี้ เป็นคำแสดงถึงความรู้อันเป็น

ส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยการปฏิบัติของภิกษุนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

คำว่า โส อภิกฺกนฺเต ฯ เป ฯ ตุณฺหีภาเว สมฺปชานการี โหติ

นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการก้าวไปข้างหน้า ฯลฯ เป็นผู้รู้

ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง) เป็นคำแสดงถึง

ความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ ในที่ทั้งปวง.

คำว่า โส วิวิตฺต เสนาสน ภชติ นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น อาศัย

เสนาสนะอันสงัด ) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น ถือเอาเสนาสนะอันสมควร.

คำว่า อรญฺ ฯ เป ฯ ปฏิสลฺลานสารูป นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น

อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า ฯลฯ สมควรแก่การหลีกเร้น) เป็นคำแสดง

ถึงประเภทเสนาสนะอันไม่มีโทษ และมีอานิสงส์.

คำว่า โส อรญฺคโต วา นี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม)

เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยเสนาสนะมีประการตาม

ที่กล่าวแล้วนั้น.

คำว่า นิสีทติ นี้ (แปลว่า นั่งอยู่) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น

เป็นผู้มีอิริยาบถ อันสมควรแก่การประกอบความเพียร.

คำว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา นี้ (แปลว่า ตั้งสติมุ่งต่อกรรม-

ฐาน) เป็นคำแสดงถึงความที่ภิกษุนั้น เป็นผู้เริ่มประกอบความเพียร.

ก็คำว่า โส อภิชฺฌ โลเก ปหาย เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุนั้น

ละอภิชฌาในโลก คือขันธ์ ๕ ได้แล้ว) เป็นคำแสดงถึงความทีภิกษุนั้นเป็น

ผู้ละนิวรณ์ ด้วยการประกอบความเพียรเนืองๆในกรรมฐาน.

คำว่า ตสฺเสว ปหีนนีวรณสฺส วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น (แปล

ว่า ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำให้ใจเศร้าหมอง ทำปัญญาให้ทราม

ได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นคำแสดงถึงการบรรลุฌานโดยลำดับ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้น

ในศาสนานี้. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ยังฌานให้เกิดขึ้น พึงชำระศีล ๔ ให้บริสุทธิ์

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต นี้ ว่า

เป็นศีลหมดจดวิเศษแล้วในปาฏิโมกข์สังวร ในบัดนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงอาชีวปาริสุทธิศีล ด้วยคำว่า

อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงศีลทั้งสองของภิกษุนั้น โดย

ไม่เหลือ ด้วยคำว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกขาปเทสุ นี้. ย่อมทรงแสดง

อินทรียสังวร ด้วยคำว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร นี้. ย่อมทรงแสดงปัจจย-

สันนิสสิตศีล ด้วยคำว่า โภชเน มตฺตญฺู นี้. ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลาย

อันมีอุปการะแห่งการเจริญฌาน ของภิกษุผู้ตั้งอยู่แล้วในศีล ด้วยคำว่า

ปุพฺพรตฺตาปรรตฺต เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการประกอบด้วยดีในสติสัมป-

ชัญญะโดยการไม่เสื่อมไปแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น และทั้งความไม่เสื่อมสูญ

แห่งกรรมฐาน ด้วยคำว่า โส อภิกฺกนฺเต เป็นต้น. ย่อมทรงแสดงการถือ

เอาเสนาสนะ อันสมควรแก่ภาวนา ด้วยคำว่า โส วิวิตฺต เป็นต้น. ย่อม

ทรงแสดงอิริยาบถ อันสมควรแก่ฌาน และการเริ่มเจริญฌานของภิกษุผู้เข้า

ถึงแล้วซึ่งเสนาสนะนั้น ด้วยคำว่า โส อรญฺคโต วา เป็นต้น ย่อมทรง

แสดงการละธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌาน โดยการเริ่มเจริญฌาน ด้วยคำว่า

โส อภิชฺฌ เป็นต้น. ย่อมแสดงลำดับการบรรลุฌานทั้งหมด ของภิกษุผู้มี

ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ฌานอันละแล้วอย่างนี้ ด้วยคำว่า โส อิเม ปญฺจ

นีวรเณ ปหาย เป็นต้น ฉะนี้แล.

วรรณนามาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

อธิบายมาติกาปทนิทเทส

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะแสดงจำแนกมาติกาตามที่ทรง

ตั้งไว้ จึงเริ่มคำว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นอาทิ (แปลว่า บทว่า อิธ

มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น).

ในมาติกาปทนิทเทสเหล่านั้น คำสั่งสอนของพระสัพพัญญพุทธะ

กล่าวคือ ไตรสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ๑๐ บท มีคำว่า อิมิสฺสา

ทิฏฺิยา เป็นต้น.

จริงอยู่ ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทิฏฐิ เพราะ

ความที่ไตรสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว (จึงตรัสเรียก

ชื่อว่า ทิฏฐิ) ตรัสเรียกชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถแห่งความอดทนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้านั่นแหละ, ตรัสเรียกชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, ตรัส

เรียกชื่อว่า ลัทธิ (อาทาย) ด้วยสามารถแห่งการถือเอา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรม

เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ, ตรัสเรียกชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ควรแก่การ

ศึกษา, ตรัสเรียกชื่อว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถทั้งสองนั้น, อรรถทั้งสอง

นั้นตรัสเรียกชื่อว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถแห่งคำอันพระองค์ตรัสแล้ว, ตรัส

เรียกชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะอรรถว่า การประพฤติธรรมอันประเสริฐสุด,

ตรัสเรียกชื่อว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถแห่งการให้ความพร่ำสอน. เพราะฉะนั้น

ในคำว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้น จึงได้แก่ ในทิฏฐิของพระพุทธเจ้านี้ ใน

๑. ๑๐ บท คือทิฏฐิ ขันติ รุจิ ลัทธิ ธรรม วินัย ธรรมวินัย ปาพจน์ พรหมจรรย์ สัตถุศาสน์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ขันติของพระพุทธเจ้านี้ ในรุจิของพระพุทธเจ้านี้ ในลัทธิของพระพุทธเจ้านี้

ในธรรมของพระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้.

ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่าง

นี้ว่า

ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านั้น เป็นไปเพื่อ

ความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่

เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบ เป็นไปเพื่อความก่อ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่

ก่อ เป็นไปเพื่อความยึดถือ ไม่เป็นไปเพื่อความสละ เป็นไปเพื่อความอยาก

ใหญ่ ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อ

ความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อ

ความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อการปรารภความเพียร เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ดังนี้.

ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ โดยส่วนเดียว ว่านั่นไม่

ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.

ดูก่อนโคตมี เธอทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรมเหล่านี้นั้น ย่อมเป็น

ไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก.

ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า นั้นเป็นธรรม นั่น

เป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์ ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นไปเช่นนั้น ในธรรมวินัย

ของพระพุทธเจ้า ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้า ในพรหมจรรย์ ในคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้านี้ ก็เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง คำสั่งสอนทั้งสิ้น กล่าวคือ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ

เพราะความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะความเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

แก่สัมมาทิฏฐิ และเพราะความเป็นเบื้องต้นของสัมมาทิฏฐิ, ชื่อว่า ขันติ ด้วย

สามารถแห่งการอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถแห่ง

ความพอใจ และชื่อว่า ลัทธิ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา.

สภาวะใด ย่อมทรงไว้ซึ่งการกของต้นไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย

ฉะนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า ธรรม. สภาวะนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า วินัย.

เพราะอรรถว่า ย่อมนำออกซึ่งสภาวะอันเป็นส่วนแห่งสังกิเลส. ธรรมนั้นด้วย

วินัยนั้นด้วย ชื่อว่า ธรรมวินัย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพกำจัด

อกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็ดูก่อนโคตมี เธอพึงทราบธรรมเหล่าใดแล ธรรม

เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด ฯลฯ

ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น

สัตถุศาสน์ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า การฝึกโดยธรรม

มิใช่ฝึกด้วยอาชญา มีท่อนไม้ เป็นต้น. จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ทณฺเฑเนเก ทมยนฺติ องฺกุเสหิ กสาหิ จ

อทณฺเฑน อสตฺเถน นาโค ทนฺโต มเหสินา.

แปลว่า

คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ด้วยท่อนไม้

ด้วยขอสับ และด้วยแส้ แต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงฝึกช้าง

ตัวประเสริฐ มิใช่ด้วยท่อนไม้ มิใช่ด้วย

ศาสตรา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

เมื่อสัตว์ทั้งหลายอันพระองค์ทรงแนะนำอยู่โดยธรรม ฉันนั้นแล้ว

ความริษยา จักพึงมีแก่ผู้รู้ทั้งหลายได้อย่างไร.

อีกอย่างหนึ่ง การแนะนำโดยธรรม ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่

การแนะนำ (วินัย) นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อธรรมอันหาโทษมิได้ ทั้งไม่เป็นไป

เพื่อโภคะและอามิสในภพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาอัน

กว้างขวาง จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ (ในธรรมวินัยนี้) ย่อมไม่

ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหลอกลวงชน ดังนี้. แม้พระปุณณเถระ ก็ได้

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ดับไม่เหลือ) แล.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า ย่อมนำผู้ประเสริฐไป.

วินัยโดยธรรม ก็ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ ธรรมวินัยนี้ ย่อมให้ออกจาก

สังสารธรรม หรือโสกาทิธรรมแล้วนำไปสู่พระนิพพานอันเลิศ.

อีกอย่างหนึ่ง วินัยของพระพุทธเจ้าผู้มีธรรม หาใช่ของเจ้าลัทธิทั้งหลาย

ไม่ ดังนี้จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรม จึง

ชื่อว่า วินัยของธรรมนั้นนั่นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั่นแหละ เป็นธรรมพึงรู้ยิ่ง

(อภิญฺเยยา) เป็นธรรมพึงกำหนดรู้ (ปริญฺเยฺยา) เป็นธรรมพึงละ (ปหา-

ตพฺพา) เป็นธรรมพึงเจริญ (ภาเวตพฺพา) เป็นธรรมพึงกระทำให้แจ้ง

(สจฺฉิกาตพฺพา) ฉะนั้น วินัยในธรรมทั้งหลายนี้ มิใช่วินัยในสัตว์ทั้งหลาย

มิใช่วินัยในชีวะทั้งหลาย จึงชื่อว่า ธรรมวินัย. ชื่อว่า ปวจนะ เพราะอรรถว่า

เป็นประธาน (เป็นใหญ่) กว่าถ้อยคำของชนเหล่าอื่น ด้วยถ้อยคำทั้งหลาย

มีคำอันเป็นไปกับด้วยอรรถ และพยัญชนะเป็นต้น. ปวจนะนั้นนั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาอันเลิศกว่าจริยาทั้ง

หมด. ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า คำสั่งสอน

อันเป็นศาสดา ก็ชื่อว่า สัตถุศาสน์ ได้. จริงอยู่ พระธรรมวินัยนั่นแหละ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศาสดาดังพระบาลีว่า โส โว มมจฺจเยน สตฺถา

เป็นต้น (แปลว่า ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาล

ล่วงไปแห่งเรา) พึงทราบเนื้อความทั้งหลายดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เพราะความ

ที่ภิกษุผู้ยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้น ปรากฏในศาสนานี้ มิได้ปรากฏใน

ศาสนาอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำคำนิยามในบทนั้นไว้ ด้วย

บทว่า อิมิสฺสา บ้าง อิมสฺมึ บ้าง (แปลว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น)

ข้อนี้ เป็นคำอธิบายมาติกาปทนิทเทส ในคำว่า อิธ.

ภิกขุนิทเทส

ในภิกขุนิทเทส บทว่า สมญฺาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยบัญญัติ

คือโดยโวหาร. จริงอยู่ บางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุด้วยสมัญญานั่นแหละ.

จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุทั้งหลาย ในคราวนิมนต์ เป็นต้น

ย่อมรวมแม้สามเณรด้วย แล้วกล่าวว่า มีภิกษุหนึ่งร้อย หนึ่งพัน ดังนี้.

บทว่า ปฏิญฺาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยปฏิญญาของตน. จริงอยู่

บางคนย่อมเป็นภิกษุ แม้ด้วยปฏิญญา. พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งบทว่า โก

เอตฺถ นั้น ในบรรดาคำทั้งหลาย มีคำปฏิญญาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็น

ภิกษุ เป็นต้น. ก็ปฏิญญานี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เป็นคำอันพระอานนท์

กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในเวลาราตรี ชนทั้งหลายแม้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อ

มีผู้ถามว่า ใครในที่นี้ ผู้ทุศีลนั้นย่อมกล่าวด้วยปฏิญญา อันไม่เป็นธรรม

อันไม่เป็นจริงว่า เราเป็นภิกษุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

บทว่า ภิกฺขติ แปลว่า ย่อมขอ. จริงอยู่ บางคน ย่อมขอ ย่อม

ค้นหา ย่อมแสวงหาซึ่งภิกษา ได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ

เพราะอรรถว่า ย่อมขอโดยแท้.

บทว่า ภิกฺขาจริย อชฺฌุปคโต (แปลว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร ที่

พระพุทธเจ้าเป็นต้นเข้าถึงแล้ว) จริงอยู่ บางคน ละกองโภคะน้อยบ้าง มาก

บ้าง บวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน ละการเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม และโครักข-

กรรมเป็นต้น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร

โดยการปกปิดไว้ซึ่งเพศ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด แม้บริโภคภัตที่เขาหาบมาใน

ท่ามกลางวิหาร เพราะความเป็นผู้มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น ผู้นั้น ก็ชื่อว่าภิกษุ

เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด อาศัยก้อนข้าว เพราะ

ความเป็นผู้มีอุตสาหะเกิดขึ้นแล้วในบรรพชา ผู้นั้นก็ชื่อว่า ภิกษุผู้เข้าถึง

ภิกขาจาร.

บุคคลใด ย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายโดยการทำลายซึ่งค่า (ราคา)

ผัสสะ (การถูกต้องนุ่มนวล) และสีนั้น พึงทราบการทำลายค่า โดยการตัด

ด้วยมีด. จริงอยู่ ผืนผ้า แม้มีราคาตั้งพัน เมื่อถูกตัดให้เป็นท่อนน้อย ท่อน

ใหญ่แล้ว ย่อมเป็นผ้ามีค่าอันทำลายแล้ว ย่อมไม่ได้ราคาแม้เพียงครึ่งหนึ่งของ

ราคาเดิม. พึงทราบการทำลายผัสสะ ด้วยการเย็บด้วยด้าย. จริงอยู่ ผืนผ้า

แม้มีผัสสะสบาย ย่อมเป็นผัสสะอันทำลายด้วยด้ายแล้ว ย่อมถึงซึ่งความเป็น

ผัสสะขรุขระ (กระด้าง) พึงทราบการทำลายสี โดยการเย็บเพราะสนิมแห่ง

เข็มเป็นต้น. จริงอยู่ ผืนผ้า แม้สะอาดดีแล้ว ย่อมเป็นผืนผ้าที่ถูกทำลายด้วย

มลทินแห่งเข็มจำเดิมแต่ทำการเย็บ ในที่สุดย่อมถูกทำลายไปด้วยสิ่งปฏิกูลทั้ง

หลาย มีเหงื่อแห่งมือและของปฏิกูลเป็นต้น และด้วยการย้อม การทำกัปปะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

(เครื่องหมายจุดดำเล็ก ๆ) ย่อมผิดไปจากสีเดิม. ผู้ใด ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลาย

แล้ว เพราะการทรงผืนผ้าอันถูกทำลายด้วยอาการ ๓ อย่าง อย่างนี้ ผู้นั้น

ชื่อว่า ภิกษุ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าอันถูก

ทำลายแล้ว ด้วยเหตุสักว่า การทรงผ้ากาสาวะอันเป็นวิสภาคะ (ต่าง) จาก

ผ้าของคฤหัสถ์.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๕ ด้วยโสดาปัตติมรรค.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๔ ด้วยสกทาคามิมรรค.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๔ ด้วยอนาคามิมรรค.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส ๘ ด้วยอรหัตตมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ด้วยคำมีประมาณ

เท่านี้.

ส่วนบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ พระองค์ทรงแสดงด้วยคำว่า ภินฺนตฺตา

(แปลว่า เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว) จริงอยู่ พระโสดาบันทำลายกิเลส

๕ อย่าง ด้วยโสดาปัตติมรรคแล้วดำรงอยู่. พระสกทาคามีทำลายกิเลส ๔ ด้วย

สกทาคามิมรรคแล้วดำรงอยู่. พระอนาคามีทำลายกิเลส ๔ ด้วยอนาคามิมรรค

แล้วดำรงอยู่. พระอรหันต์ทำลายกิเลส ๘ ด้วยอรหัต มรรคแล้วดำรงอยู่.

พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในข้อว่า โอธิโส กิเลสาน ปหานา (แปลว่า

เพราะละกิเลสบางส่วน) คำว่า โอธิ (ได้แก่ บางส่วน หรือเขตแดน) มี

๒ อย่าง คือ มัคโคธิ (มคฺค + โอธิ = มคฺโคธิ) แปลว่า ส่วน หรือ เขต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

แดนของมรรค กิเลโสธิ (กิเลส + โอธิ = กิเลโสธิ) แปลว่า ส่วนหรือเขต

แดนของกิเลส. เขตแดน ชื่อว่า โอธิ ในโอธิ ๒ นั้น พระโสดาบัน ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะละกิเลสบางส่วน ด้วยมัคโคธิ. จริงอยู่ มรรคทั้ง ๔ มรรคหนึ่ง

เท่านั้นละกิเลสไปบางส่วน มิใช่มรรค ๔ ละกิเลสทั้งสิ้น. แม้ในสกทาคามี

อนาคามี ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เพราะโสดาบัน ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลส

บางส่วน คือกิเลโสธิ. จริงอยู่ ในบรรดากิเลสที่ท่านควรละ ท่านละไปได้

เพียงบางส่วน หาใช่ละไปทีเดียวทั้งหมดไม่.

ก็พระอรหันต์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน. จริงอยู่

ท่านละกิเลสไปโดยไม่จำเพาะส่วนด้วยมรรค ๔ หาใช่ละไปด้วยเขตแดนแห่ง

มรรคเดียวไม่. อนึ่ง ในกิเลสที่พึงละท่านละไปโดยไม่มีส่วนเหลือเลย เพราะ

ว่า แดนแห่งกิเลสแม้สักอย่างหนึ่ง ชื่อว่าตั้งอยู่มิได้มี. แม้ในส่วนทั้งสอง นั้น

พระอรหันต์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสทั้งหลายไปโดยไม่จำเพาะส่วน ดัง

พรรณนามาฉะนี้.

พึงทราบวิเคราะห์ ในบทว่า เสกฺโข ต่อไป.

พระอริยบุคคล ๗ กับด้วยกัลยาณปุถุชน ผู้ยังศึกษาสิกขา ๓ อยู่

เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า เสกขา (ผู้กำลังศึกษาอยู่) ในบุคคล

เหล่านั้น พระเสกขะไร ๆ ก็ชื่อว่า ภิกษุ.

ชื่อว่า อเสกขา เพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ก้าวล่วงเสกข-

ธรรมแล้ว ดำรงอยู่ในผลอันเลิศ เรียกว่า อเสกขะ เพราะไม่มีเสกขธรรม

ที่ท่านพึงศึกษาไห้ยิ่งกว่านั้น.

ภิกษุปุถุชน ที่เหลือ กำลังศึกษาสิกขา ๓ อยู่ก็ไม่ใช่ ศึกษาแล้วก็

ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุปุถุชนนั้น ไม่ใช่พระเสกขะ และ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

พระอเสกขบุคคล. ผู้บรรลุธรรมอันเลิศ คือ ศีลอันเลิศ สมาธิอันเลิศ ปัญญา

อันเลิศ วิมุตติอันเลิศ นี้ดำรงอยู่ ชื่อว่า ภิกษุ.

ผู้ไม่ลามก (ผู้ไม่ตกต่ำ) ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม. จริงอยู่

ตั้งแต่กัลยาณปุถุชน จนถึงพระอรหันต์ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นภิกษุผู้ตั้ง

อยู่ในธรรมอันงาม เพราะประกอบด้วย ศีลอันงาม สมาธิอันงาม ปัญญา

อันงาม วิมุตติอันงาม วิมุตติญาณทัสสนะอันงาม.

ภิกษุผู้ไม่มัวหมอง ผ่องใส ชื่อว่า ภิกษุผู้บริสุทธิ์ผ่องใส. ความ

ไม่ขุ่นมัว มีความผ่องใสวิเศษแล้วเป็นอรรถ ดุจความผ่องใสของเนยใส ๆ.

บทว่า สาโร พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็น

สาระ เพราะประกอบด้วยสาระ ๓ มีศีลสาระเป็นต้น ดุจผืนผ้าเขียว เพราะ

ประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพเท่านั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า

ผู้มีธรรมอันเป็นสาระ เพราะปราศจากกิเลสอันไร้ประโยชน์.

อนึ่ง ในข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรม

ทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยจำเพาะส่วน และพระเสกขะ ชื่อว่า

ภิกษุ นี้. ในฐานะ ๓ ดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระเสกขะ ๗.

ข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ

ละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน (โดยไม่เหลือ) และผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ผู้ชื่อว่า ภิกษุ

ทั้งปวงเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระขีณาสพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคำว่า ภิกษุ ด้วยสัญญาเป็นต้น

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงความเป็นภิกษุ ด้วยสามารถแห่งการอุปสมบท

จึงตรัสว่า สมคฺเคน สเฆน เป็นอาทิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ในคำเหล่านั้น คำว่า สมคฺเคน สเฆน (แปลว่า โดยสงฆ์ผู้พร้อม

เพรียงกัน) ได้แก่ ภิกษุผู้ควรแก่สังฆกรรม ในการทำกรรม อย่างต่ำต้องมี

ภิกษุครบ ๕ รูป ในการทำกรรมทุกครั้ง โดยไม่กำเริบ ต้องนำฉันทะของ

ภิกษุที่มีอยู่มา เมื่อภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะ

ความที่ฉันทะอันภิกษุนำมาแล้ว.

คำว่า ตฺติจตุตฺเถน (แปลว่า มีญัตติเป็นที่ ๔) ได้แก่ กรรม

อันสงฆ์พึงทำด้วยอนุสาวนา ๓ ครั้ง และด้วยญัตติ ๑ ครั้ง

คำว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยวินัยกรรม อันถูกต้อง (อันเป็นธรรม).

คำว่า อกุปฺเปน ได้แก่ เข้าถึงแล้วซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรม

อันไม่หวั่นไหว มั่นคง เพราะถึงพร้อมด้วย วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ

อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และบริษัทสมบัติ (ถึงพร้อมด้วยหมู่คณะ).

คำว่า านารเหน (แปลว่า ควรแก่ฐานะ) ได้แก่ ควรแก่เหตุ

ควรแก่สัตถุศาสน์. คือว่าผู้เข้าถึงแล้ว บรรลุแล้วซึ่งภาวะในเบื้องบน ชื่อว่า

เป็น อุปสัมบัน (คือ ผู้บวชแล้ว) จริงอยู่ ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ภาวะใน

เบื้องบน (อุปริภาวะ) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภาวะในเบื้องบนว่า

อุปสัมบัน เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกรรม (การบวช) ตามที่กล่าวแล้ว.

นัยเหล้านี้ (หมายถึงการอุปสมบท) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการ

อุปสมบท ๘ อย่างคือ

๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา

๒. สรณคมนอุปสัมปทา

๓. โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา

๔. ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

๕. ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา

๖. ทูเตนอุปสัมปทา

๗. อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา

๘. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา

บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น อุปสัมปทา ๓ คือ ญัตติจตุตถกัมมอุป-

สัมปทา ทูเตนอุปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาเหล่านี้เท่านั้นถาวร. ส่วนที่

เหลือได้มีอยู่เพียงสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น. บรรดาอุปสัมปทา

เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอย่างเดียว.

ปาฏิโมกขสังวรนิทเทส

ในนิทเทสแห่งปาฏิโมกขสังวร คำว่า ปาฏิโมกฺข ได้แก่ สิกขาบท

คือ ศีล. จริงอยู่ สภาวะใด ย่อมคุ้มครอง ย่อมรักษา ย่อมให้หลุดพ้น ย่อม

เปลื้องจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น ฉะนั้นจึงตรัสสภาวะนี้ว่า ปาฏิ-

โมกข์ ดังนี้. คำว่า ศีล เป็นที่อาศัย เป็นต้น* เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์

นั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า ศีล นี้ เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์อัน

สำเร็จในเวลาเป็นที่สิ้นสุดลงพร้อมกับกรรมวาจาทีเดียว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นมี

อยู่ ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า

ผู้ยังวัตรและการปฏิบัติให้เต็ม พึงทราบว่า ข้อนั้นก็เป็นศีล. สมจริงตามที่กล่าว

ไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็น

ศีล ความสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล ดังนี้.

* คำว่า ศีล เป็นต้น คือ เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็น

ประธาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

ในคำเหล่านั้น เจตนาของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า

การยังวัตรปฏิบัติให้เต็ม ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล.

การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า เจตสิก

เป็นศีล. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาอันเป็นไปในกรรมบถ ๗ ของผู้ละปาณาติบาต

เป็นต้น ก็ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล. ในสังยุตตมหาวรรค ท่านกล่าวธรรมทั้ง

หลาย มีความไม่โลภไม่พยาบาทและสัมมาทิฏฐิ โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลละ

อภิชฌา อยู่ด้วยเจตนาปราศจากความโลภ ดังนี้ก็ชื่อว่า เจตสิกเป็นศีล.

ในข้อว่าความสำรวมเป็นศีล พึงทราบโดยความสำรวม ๕ คือ

๑. ปาฏิโมกขสังวร (ความสำรวมด้วยปาฏิโมกข์)

๒. สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ)

๓. ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ)

๔. ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ)

๕. วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร).

ความต่างกัน (นานากรณ) ของความสำรวมเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้

ในปกรณ์วิเศษชื่อว่า วิสุทธิมรรค.

ข้อว่า การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล อธิบายว่า การไม่ก้าวล่วงอันเป็น

ไปทางกายและวาจาของผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว.

คำว่า การสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล นี้แหละเป็น

ศีลโดยตรง (นิปปริยาย) ส่วนข้อว่า เจตนาเป็นศีล และเจตสิกเป็นศีล

นี้ พึงทราบว่า เป็นศีลโดยปริยาย (โดยอ้อม) ก็เพราะภิกษุชื่อว่า ย่อมตั้ง

มั่นในพระศาสนาด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ศีลนั้นเป็นที่อาศัย ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ถามว่า ชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะภิกษุย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้

หรือกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น ย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้.

ตอบว่า เนื้อความนี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งพระสูตรที่ว่า ก็นระ

ผู้มีปัญญาอาศัยซึ่งศีล เป็นต้น พระสูตรว่า ดูก่อนมหาราช ชนทั้งหลาย

อาศัยศีลแล้ว พึงยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น เป็นต้น และพระสูตร

ว่า ดูก่อนมหาราช เมื่อบุคคลอาศัยศีลแล้ว กุศลธรรมทั้งปวง

ย่อมไม่เสื่อมไปโดยรอบ ดังนี้เป็นต้น.

ศีลนั้น ๆ ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน. สมจริง

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงชำระธรรม

(ศีล) อันเป็นเบื้องต้นนั่นแหละให้ยิ่งขึ้นไป ก็บรรดากุศลธรรมทั้ง

หลาย อะไรเล่าชื่อว่า เป็นธรรมเบื้องต้น ก็ศีลอันหมดจดดีแล้ว

และทิฏฐิอันตรงด้วย เป็นธรรมเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.

เปรียบเหมือนนายช่างผู้สร้างเมือง มีความประสงค์จะสร้างเมือง ย่อม

ชำระพื้นที่ของเมืองก่อน ภายหลังจึงแบ่งที่สร้างเมือง โดยกำหนดเอาทาง

สามแพร่งสี่แพร่งเป็นต้น ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมชำระศีล

ตั้งแต่ต้นทีเดียว ภายหลังจากนั้นก็กระทำให้แจ้งซึ่ง สมถะ วิปัสสนา มรรค

ผล และพระนิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างย้อม ซักผ้าด้วยน้ำด่าง เมื่อผ้า

สะอาดดีแล้วจึงย้อมด้วยสีต่าง ๆ ตามปรารถนา ฉันใด ก็หรือว่า จิตรกร

(ช่างวาดเขียน) ผู้ฉลาดปรารถนาจะวาดรูป เขาย่อมกระทำการตกแต่งฝาก่อน

หลังจากนั้นจึงวาดรูป ฉันใด.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

พระโยคาวจร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชำระศีลแต่ต้นเทียว หลังจากนั้น

ก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า

ศีลเป็นเบื้องต้น ดังนี้.

ศีลนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นจรณะ เพราะความเป็นธรรมชาติเช่นกับเท้า

(เครื่องดำเนินไป) จริงอยู่ เท้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นจรณะ.

เหมือนอย่างว่า สภาพการปรุงให้ดำเนินไปสู่ทิศ ย่อมไม่เกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าขาด

แล้ว ย่อมเกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าสมบูรณ์นั้นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ศีล

ของผู้ใดแตกแล้ว ขาดแล้ว ไม่สมบูรณ์แล้ว การดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุ

พระนิพพาน ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้นั้น ส่วนผู้ใดมีศีลไม่แตก ไม่ขาด บริบูรณ์

แล้ว ผู้นั้นก็จะดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุพระนิพพาน ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นจรณะ ดังนี้.

ศีลนั้น ๆ ชื่อว่า สังยมะ (เครื่องสำรวม) ด้วยสามารถแห่งการระวัง

ชื่อว่า สังวร (เครื่องระมัดระวัง) ด้วยสามารถแห่งการปิดกั้น. แม้ด้วยเหตุ

ทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง

ดังนี้. พึงทราบวจนัตถะในที่นี้ว่า

สภาวะใด ย่อมสำรวมการดิ้นรน โดยก้าวล่วงของบุคคล หรือว่า

ย่อมสำรวมซึ่งบุคคล คือว่า ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระสับกระส่ายไปของบุคคลนั้น

ด้วยสามารถแห่งการก้าวล่วง ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า สังยมะ (เครื่อง

สำรวม).

ชื่อว่า สังวร (เครื่องระวัง) เพราะย่อมปิดกั้นทวาร อันเป็นที่ก้าว

ล่วงแห่งบุคคล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

คำว่า มุข ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด หรือเป็นหัวหน้า. เหมือนอย่าง

ว่า อาหาร ของสัตว์ทั้งหลาย เข้าไปทางปากแล้ว ย่อมแผ่ไปสู่อวัยวะน้อย

ใหญ่ ฉันใด กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ของพระโยคีก็ฉันนั้น เข้าไปทางปาก

คือ ศีลแล้ว ย่อมยังความสำเร็จแห่งประโยชน์ให้สมบูรณ์. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นหัวหน้า ดังนี้.

คำว่า ปมุเขน สาธุ อธิบายว่าเป็นประธาน เป็นธรรมอันเลิศ

เป็นธรรมชาติถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด. คำว่า กุสลาน ธมฺมาน

สมาปตฺติยา (แปลว่าเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย) บัณฑิต

พึงทราบว่า ศีลเป็นเลิศ เป็นธรรมถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด เป็น

ประธานเพื่ออันได้เฉพาะซึ่งกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ดังนี้.

คำว่า กายิโก อวีติกฺกโม (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทางกาย)

ได้แก่กายสุจริต ๓ อย่าง. คำว่า วาจสิโก (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทาง

วาจา) ได้แก่วจีสุจริต ๔ อย่าง. ทั้งสองนั้นชื่อว่า กายิกวาจสิโก (คือ การ

ไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา). ท่านย่อมถือเอาอาชีวัฏฐมกศีล (คือ ศีล

มีอาชีวะเป็นที่ ๘) ย่อมแสดงด้วยการไม่ก้าวล่วงละเมิดทางกายและวาจานี้.

คำว่า สวุโต ได้แก่ อันเขาปิดแล้ว อธิบายว่า มีอินทรีย์ อัน

สำรวมแล้วชื่อว่าปิดแล้ว. เหมือนอย่างว่า บ้านมีประตูปิดแล้ว ท่านเรียกว่า

บ้านอันเขาปิดแล้ว ระวังแล้ว ฉันใด ในข้อนี้ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ภิกษุมีอินทรีย์สำรวมแล้วระวังคุ้มครองแล้ว.

คำว่า ปาฏิโมกฺขสวเรน ได้แก่ ด้วยปาฏิโมกข์ และสังวร. อีก

อย่างหนึ่งได้แก่ ด้วยสังวร กล่าวคือ ปาฏิโมกข์. คำว่า อุเปโต (แปลว่า ผู้

เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. พระผู้มีพระ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่ด้วยอิริยาบถของภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์สังวรศีล

ด้วยบทแม้ทั้ง ๗ มีคำว่า อิริยติ เป็นต้น

อนาจารนิทเทส

ในนิทเทสแห่งอาจาระและโคจระ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านประสงค์จะกล่าวอาจาระของสมณะ โคจระของสมณะแม้โดยแท้ จึงทรงยก

ซึ่งบทว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระมีอยู่ด้วยบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวว่า

ท่านจงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา ย่อมบอกทางอันมีภัย ทางอันผิด อัน

บุคคลพึงปล่อยวางก่อน ภายหลังจึงบอกทางอันเกษม ทางอันตรงอันบุคคล

พึงถือเอา ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พระธรรมราชา เช่นกับบุรุษผู้

ฉลาดในทาง ทรงบอกอนาจาระ อันพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว อันบุคคล

พึงละก่อน เมื่อจะทรงบอกอาจาระในภายหลังจึงตรัสว่า ตตฺถ กตโม อนา-

จาโร เป็นอาทิ. จริงอยู่ หนทาง ที่บุคคลบอกแล้วพึงไปถึงหรือไม่

ถึงก็ได้ ส่วนทางที่พระตถาคตบอกแล้ว เป็นทางชอบธรรม ไม่ผิดหวัง

ย่อมให้บรรลุถึงพระนคร คือ พระนิพพาน ดุจวชิราวุธ อันพระอินทร์ทรง

ปล่อยไปแล้ว ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง

ดังนี้ คำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนี้ เป็นชื่อของพระตถาคต.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบความเพียรในกัลยาณธรรม ย่อม

เป็นธรรมอันสมบูรณ์แก่บุคคลผู้มีบาปธรรมอันละแล้ว เปรียบเหมือนการทัด

ทรงด้วยเครื่องประดับ มีระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น

๑. ทั้ง ๗ บท คือ ผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วย

ดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี และประกอบแล้ว

๒. อนาจาระ หมายถึงความประพฤติไม่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ อาจาระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ย่อมสมควรแก่บุคคลผู้มีเหงื่อไคลและมลทินอันตนชำระแล้ว ด้วยการอาบน้ำ

พร้อมทั้งสระหัว ฉะนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระประสงค์จะบอก

อนาจาระอันบุคคลพึงละก่อน เหมือนบุคคลทำความสะอาดชำระล้างเหงื่อไคล

และมลทิน ด้วยการอาบน้ำสระหัว ภายหลังบอกอาจาระซึ่งเปรียบเหมือนการ

ทัดทรงด้วยเครื่องประดับมีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น จึง

ตรัสคำว่า ตตฺถ กตโม อนาจาโร เป็นอาทิ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความล่วงละเมิดทางกาย ได้แก่ กาย

ทุจริต ๓. คำว่า ความล่วงละเมิดทางวาจา ได้แก่ วจีทุจริต ๔. คำว่า

ความล่วงละเมิดทางกายและวาจา ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ เหล่า

นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการก้าวล่วงของบุคคลผู้มีอาชีวัฏฐมกสีล

(ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) นั้นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้. ก็เพราะบุคคลไม่ประ-

พฤติอนาจารด้วยกายและวาจาเท่านั้น ย่อมประพฤติแม้ด้วยใจทีเดียว ฉะนั้น

เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความเป็นผู้ทุศีล

แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่า อนาจาระ ดังนี้.

ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอาจาระอย่างใด

อย่างหนึ่ง จึงตรัสดำว่า อิเธกจฺโจ เวฬุทาเนน เป็นต้น (แปลว่า ภิกษุ

บางรูปในพระศาสนานี้ย่อมเลี้ยงชีพ ด้วยการให้ไม้ไผ่เป็นต้น).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า การให้ไม้ไผ่ ได้แก่ การให้ไม้ไผ่อัน

เป็นเครื่องอาศัยเป็นเหตุ. อธิบายว่า ภิกษุไม่ควรให้แก่อุปัฏฐาก ด้วยอันคิด

ว่า เราจักนำไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นเอง หรือไม้ไผ่ที่มีบุคคลคุ้มครองรักษามาให้เป็น

เครื่องใช้สอย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นต้น เพราะว่า ภิกษุเมื่อสำเร็จการเลี้ยง

ชีพอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาอันไม่ชอบธรรม เป็นมิจฉา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

อาชีวะ. ภิกษุนั้นแหละ ย่อมถูกครหา ในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า ก็ชื่อว่า

เป็นผู้ขวนขวายในอบาย ภิกษุนั้น เมื่อให้ไม้ไผ่อันเป็นของเฉพาะตนย่อม

ต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ (ผู้ประทุษร้ายตระกูล) เมื่อให้ไม้ไผ่อัน

เป็นของเฉพาะของคนอื่น ย่อมต้องอาบัติ ด้วยเถยยจิต (ขโมย) สงฆ์พึง

กระทำทัณฑกรรมแก่เธอตามราคาสิ่งของนั้น. แม้การให้ไม้ไผ่อันเป็นของสงฆ์

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุย่อมให้ไม้ไผ่นั้น เพราะความที่ตนเป็นใหญ่

เธอก็จะต้องอาบัติ เพราะการสละครุภัณฑ์.

ไม้ไผ่ประเภทไหนเป็นครุภัณฑ์ ประเภทไหนไม่เป็น พึงทราบ

ความดังต่อไปนี้.

ไม้ไผ่ใด ที่ไม่ได้ปลูกไว้ เกิดขึ้นเองก่อน ไม้ไผ่นั้นเป็นครุภัณฑ์

ตามฐานะที่สงฆ์กำหนดเท่านั้น นอกนั้น ไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ไผ่ทั้งปวง

เป็นครุภัณฑ์ โดยประการทั้งปวง ในอันที่สงฆ์ปลูกไว้แล้ว. ไม้ไผ่นั้น

ท่านกำหนดแล้วโดยประมาณ. จริงอยู่ มีประมาณหนึ่งทะนานตวงน้ำมัน

จัดเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น. อนึ่ง ภิกษุใด มีความต้องการด้วย

ทะนานตวงน้ำมัน หรือต้องการไม้เท้า สงฆ์พึงถือเอาสิ่งนั้นกระทำให้เป็น

ผาติกรรม เถิด. ผาติกรรมเป็นของมีราคา หรือเป็นของมากกว่าของสงฆ์

ย่อมควร น้อยกว่า ไม่ควร. แม้หัตถกรรม ลักว่าวัตถุเป็นเครื่องนำน้ำไป

หรือว่า วัตถุเป็นเครื่องดายหญ้าอันเล็กน้อย ก็เช่นเดียวกัน สงฆ์ควรทำ

ผาติกรรมนั้นให้ถาวร. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุโกยเลนขึ้นจากสระน้ำก็ดี

ใช้ให้บุคคลปูลาดพื้นที่บันไดเพื่อทำพื้นที่ไม่เสมอให้เสมอกันก็ดี ควรอยู่ แต่ไม่

ต้องถือเอาเครื่องผาติกรรม คือ เมื่อเธออาศัยอยู่ที่นั้นนั่นแหละพึงใช้สอย เมื่อ

๑. ผาติกรรม หมายถึงสิ่งของแลกเปลี่ยน ในทางพระวินัย หมายถึง การชดเชยของสงฆ์

ด้วยสิ่งอื่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

เธอหลีกไปแล้ว พึงทำสิ่งของเหล่านั้นให้เป็นของสงฆ์ เมื่อเธอหลงลืมถือเอา

สิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เมื่อไปแล้วในที่ระลึกได้ ก็พึงนำกลับมาคืนแต่ที่นั้น ถ้า

ภัยมีในระหว่าง ก็พึงวางสิ่งนั้นไว้ในที่วิหารอันตนไปถึงแล้ว. พวกมนุษย์

ไปสู่วิหารขอไม้ไผ่ ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะให้ได้ โดยการบอกว่า นั่น

เป็นของสงฆ์ ถ้าพวกเขาขอบ่อย ๆ หรือคุกคาม ในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลาย

พึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงทำทัณฑกรรม แล้วถือเอาเถิด. ขึ้นชื่อว่า การ

ให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. ถ้าว่า พวกมนุษย์เหล่านั้นถวายสิ่งของมีมีดและขวาน

เป็นต้น หรือขาทนียะโภชนียะเพื่อกระทำให้เป็นสินไหม ไม่ควรรับ.

ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า พวกมนุษย์ถูกไฟไหม้บ้าน

ถือเอาสิ่งของไปอยู่ ภิกษุไม่ควรห้าม ถ้าขุยไผ่เกิดขึ้นที่กอไผ่ของสงฆ์ เมื่อ

ไม่ให้ใครเคาะอยู่ ไม้ไผ่นั้นย่อมพินาศไป สงฆ์จะพึงทำอย่างไร สงฆ์พึงบอก

พวกมนุษย์ในเวลาที่ไปภิกขาจาร ถ้าพวกเขาไม่ปรารถนาจะช่วยทำ ก็พึงพูดว่า

พวกท่านจะได้ส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าเขาไม่ต้องการ ก็พึงพูดว่า พวกท่านจักได้

๒ ส่วน เมื่อพวกเขาไม่ปรารถนาแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ต้องการไม้ไผ่นั้น

ก็พึงบอกว่า พวกของท่านมีอยู่ ท่านจงทำให้เป็นสินไหม จงเคาะไม้ไผ่ แล้ว

ถือเอาสิ่งนั้นเถิด. ขึ้นชื่อว่า การให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่มี. แม้กอไผ่ถูกไฟไหม้ก็ดี

แม้ถูกน้ำพัดไปก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.

กถามรรค แม้ในต้นไม้ทั้งหลาย ก็นัยนี้นั่นแหละ. สำหรับต้นไม้

มีประมาณเท่าท่อนเข็ม ก็จัดเป็นครุภัณฑ์ได้. ภิกษุทำลายต้นไม้อันเป็นของ

สงฆ์ เพื่อทำอาวาส (ที่อยู่) อันเป็นของสงฆ์ แม้ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน

ก็ทำได้ แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ พึงบอกขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วพึงทำ.

๑. ทัณฑกรรม หมายถึงสินไหม หรือราคาของที่จะแลกเปลี่ยน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ถามว่า ภิกษุทำลายต้นไม้ของสงฆ์ ไม่บอกขออนุญาตสงฆ์ก่อน

ควรเพื่อกระทำอาวาสเฉพาะบุคคล หรือไม่.

ตอบว่า ไม่ควร.

ก็ เมื่อว่าโดยหัตถกรรมอย่างสูง ภิกษุย่อมได้สักว่าที่เป็นที่ตั้งเตียง

ในบ้านหลังหนึ่งในบ้าน ๓ หลัง ภิกษุมีสิทธิได้หลังเดียว. ถ้าทัพพสัมภาระ

เป็นของเฉพาะบุคคล พื้นดินเป็นของสงฆ์ ภิกษุนั้นย่อมได้ส่วนเสมอกันกระทำ

บ้านหลังหนึ่ง คือ บรรดาบ้านที่เธอทำ ๒ หลัง เธอควรได้หลังหนึ่ง. เมื่อ

ต้นไม้อันเป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาส (ที่อยู่) ของสงฆ์ ภิกษุไม่ขออนุญาต

สงฆ์ก่อนนำออกไป ควรหรือไม่ ตอบว่า ควร แต่เพื่อตัดคลองแห่งวาทะ

ควรขออนุญาตสงฆ์ก่อนแล้วนำออกไป. ถ้าลาภใหญ่ของสงฆ์ อาศัยต้นไม้มีอยู่

ก็ไม่ควรนำออกไป.

เมื่อต้นไม้อันเป็นของเฉพาะบุคคล เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของสงฆ์

พึงบอกแก่เจ้าของต้นไม้. ถ้าว่า เขาไม่ปรารถนาจะนำออกไป พึงให้บุคคล

ตัดก่อน แล้วจึงนำออกไป. เมื่อถูกเขาท้วงว่า พวกท่านจงให้ต้นไม้แก่เรา

ดังนี้ พึงให้เขาตีราคาต้นไม้นั้น แล้วให้ทรัพย์ตามราคาทุน. เมื่อต้นไม้อัน

เป็นของสงฆ์ เบียดเบียนอาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ต้นไม้อันเป็นของเฉพาะ

บุคคลเบียดเบียน อาวาสอันเป็นของบุคคลก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน.

กถามรรค แม้ในเถาวัลย์ (ไม้เถา) ก็นัยนี้นั่นแหละ. อนึ่ง ในที่ใด

เถาวัลย์เป็นของหาได้ยาก เขาย่อมทำการซื้อขายกัน ในที่นั้น จัดเป็นครุภัณฑ์.

ก็เถาวัลย์นั้นแล มีประมาณกึ่งหนึ่งของแขน จัดเป็นครุภัณฑ์ ท่อนเถาวัลย์

ต่ำกว่านั้น ไม่เป็น.

คำทั้งปวง แม้ในคำว่า การให้ใบไม้ เป็นต้น ซึ่งมีคำว่า ด้วย

การให้ใบไม้ เป็นต้น ได้แก่ ด้วยการให้ใบไม้อันเป็นเครื่องอาศัยเป็นเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

พึงทราบวินิจฉัยว่าด้วยความเป็นครุภัณฑ์ ในอธิการนี้ต่อไป.

จริงอยู่ บุคคลย่อมซื้อขายแม้ใบไม้ในที่ใด ชนทั้งหลาย ย่อมถือเอา

เพื่อต้องการแก่ประโยชน์ทั้งหลาย มีการห่อหนังสือเป็นต้น ในที่อันหาได้ยาก

เช่นนั้น ย่อมจัดเป็นครุภัณฑ์ทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในใบไม้ทองหลาง และ

ใบตาล. แม้ใบตาลบัณฑิตก็พึงกล่าวในฐานะนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ใบตาล

ในป่าตาลที่เกิดเอง ในที่อันสงฆ์กำหนดไว้นั่นแหละ จัดเป็นครุภัณฑ์. นอก

จากนั้นไม่เป็น. ตาลที่สงฆ์ปลูกไว้ เป็นครุภัณฑ์ แม้ทั้งหมด. ใบลานเปล่า

โดยที่สุดมีประมาณ ๘ นิ้ว เป็นประมาณของครุภัณฑ์. แม้หญ้า ก็พึงอนุโลม

เข้าในข้อนี้เหมือนกัน. ก็ในที่ใด หญ้าไม่มี ในที่นั้น ชนทั้งหลายย่อมใช้

กำบัง ด้วยหญ้ามุงกระค่าย ด้วยฟาง และด้วยใบมะพร้าวเป็นต้น เพราะฉะนั้น

หญ้าทั้งหลาย แม้เหล่านั้น ท่านจึงสงเคราะห์เข้าในข้อนี้. ในหญ้ามุงกระต่าย

และฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง มีประมาณหนึ่งกำมือ เป็นครุภัณฑ์.

ในบรรดาใบมะพร้าวเป็นต้น แม้ใบหนึ่ง อันบุคคลถวายแก่สงฆ์ หรือที่เกิด

ในที่ของสงฆ์ หรือหญ้าที่เกิดเอง เป็นของอันบุคคลคุ้มครองรักษาในพื้นที่

แห่งหญ้าของสงฆ์ ภายนอกอารามก็จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมก็ดี

ทำเจดีย์ก็ดี ในการทำอันเป็นของเฉพาะบุคคลก็ดี การให้หญ้านั้นเกินไป

ก็ควร. แม้ในไม้ไผ่ที่กล่าวแล้วในหนหลัง ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ ดอกไม้ทั้งหลายที่จัดเป็นครุภัณฑ์

คือ ที่สงฆ์กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้ทั้งหลาย มี

ประมาณเท่านี้ แล้วน้อมไปในระเบียบแห่งข้าวยาคูและภัต หรือน้อมไปใน

การปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มีประมาณเท่านี้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

สามเณรทั้งหลาย เก็บดอกไม้ทั้งหลายในภายนอกกระทำให้เป็นกองไว้

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ซึ่งเป็นผู้แจกดอกไม้ นับจำนวนภิกษุสงฆ์แล้ว

แบ่งไว้เป็นส่วน ๆ เธอไม่ต้องขออนุญาตสงฆ์ก่อน ย่อมแจกแก่บริษัทที่มา

แล้วได้. อนึ่ง ภิกษุผู้แจกนั้น สงฆ์ยังมิได้สมมติ พึงขออนุญาตสงฆ์แล้ว

พึงทำการแจกเถิด.

ถามว่า ก็ภิกษุย่อมได้เพื่อจะให้ดอกไม้ทั้งหลายแก่ใคร ไม่ไห้แก่ใคร

ตอบว่า ภิกษุนำดอกไม้ไปสู่บ้านของมารดาบิดาก็ดี หรือยังบุคคลให้

เรียกมารดาบิดามาจากบ้านก็ดี เธอย่อมได้เพื่ออันให้ ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลาย

จงบูชาพระรัตนตรัย. มิใช่ให้เพื่อเป็นเครื่องประดับ. ภิกษุไม่ควรนำไป

ให้แก่หมู่ญาติเหลือทั้งหลาย ควรให้บุคคลเรียกมาแล้วให้ด้วยคำว่า พวกท่าน

ทั้งหลาย จงทำการบูชา ดังนี้. ภิกษุนั้น ไม่พึงประสงค์ให้แก่ชนที่เหลือ

ผู้มาสู่ที่เป็นที่บูชา. ชื่อว่า การให้ดอกไม้ ย่อมไม่มี. ในวิหาร มีดอกไม้

บานมาก ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต เห็นพวกมนุษย์แล้ว พึงพูดว่า ในวิหาร

มีดอกไม้มาก พวกเธอ จงบูชา ดังนี้. โทษย่อมไม่มีในเพราะสักว่าคำพูด.

ก็แต่ว่า เธอไม่ควรพูดด้วยคิดว่า พวกมนุษย์ ถือเอาขาทนียะโภชนียะแล้ว

จักมา ดังนี้ . ก็ภิกษุนั้น ไม่ควรพูดถึงขาทนียะโภชนียะ อันตนพึงบริโภค

ถ้ามนุษย์ทั้งหลาย ถามตามธรรมดาของเขาว่า ดอกไม้ทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร

หรือ และกล่าวต่อไปว่า พวกผมจักมาสู่วิหารในวันชื่อโน้น ท่านทั้งหลาย.

อย่าให้พวกสามเณรเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ดังนี้. แต่พวกภิกษุลืมบอกสามเณร

พวกสามเณรจึงเก็บดอกไม้ทั้งหลายวางไว้ เมื่อพวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุพูดว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันโน้นเทียว พวกกระผมบอกแก่ท่านแล้วว่า อย่าให้

สามเณรเก็บดอกไม้ พวกท่านไม่ได้ห้ามแล้ว. ภิกษุพึงกล่าวว่า เราหลงลืมสติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

ดอกไม้ทั้งหลาย สักว่าอันสามเณรเก็บแล้วนั่นแหละ ยังมิได้ทำการบูชา. ไม่

ควรกล่าวว่า ท่านจงถือเอา จงบูชา. ถ้าว่า เขาย่อมกล่าวถึงอามิส อันตนมิ

พึงบริโภคไซร้ ภิกษุอื่น ย่อมบอกแก่พวกสามเณรว่า มนุษย์ทั้งหลาย บอกว่า

พวกท่านอย่าเก็บดอกไม้ ดังนี้. แม้พวกมนุษย์ นำอามิสมาถวายทาน และ

กล่าวว่า พวกผมไม่ได้สั่งให้สามเณรเก็บดอกไม้พร้อมกับพวกผม. พวกภิกษุ

พึงกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก สามเณรทั้งหลายมีภิกษาแล้ว ภิกษุใด ไม่ไป

ภิกขาจาร ภิกษุนั้นจักทราบเองนั่นแหละ. ภิกษุได้นัยมีประมาณเท่านี้ โทษ

เพราะทำสามเณร หรือบุตร หรือพี่ชายน้องชายให้เก็บดอกไม้ทั้งหลาย ย่อม

ไม่มี. ชื่อว่า การให้ซึ่งดอกไม้ ก็ไม่มี.

ในการให้ผลไม้ แม้ผลไม้ ที่สงฆ์กำหนดแล้ว เหมือนดอกไม้นั้นแหละ

จัดเป็นครุภัณฑ์. เมื่อมีผลไม้น้อยใหญ่มากในวิหาร พวกมนุษย์ ไม่สบายมา

ขอ. ภิกษุทั้งหลายไม่ขวนขวายเพื่อให้ โดยคิดว่าสิ่งนั้น เป็นของสงฆ์.

พวกมนุษย์ผู้เดือดร้อน ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ในข้อนี้ ภิกษุพึงทำ

อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย พึงตั้งกฏ (กติกา) กำหนดด้วยผลไม้ทั้งหลาย หรือ

ด้วยต้นไม้ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายไม่พึงห้ามพวกมนุษย์ ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลาย

ไปมีประมาณเท่านี้ ที่ต้นโน้น ๆ หรือว่า ผู้ถือเอาผลไม้ทั้งหลาย ในต้นไม้

ทั้งหลาย มีประมาณเท่านี้.

อนึ่ง พวกโจร หรือผู้เป็นใหญ่ ถือเอาโดยพลการ ก็ไม่พึงห้าม.

เพราะว่าชนเหล่านั้นโกรธแล้ว พึงยังวิหารทั้งสิ้นให้พินาศไปก็ได้. แต่ว่า

ภิกษุพึงบอกถึงโทษอันยังทุกข์ให้เป็นไปโดยยิ่ง.

ในการให้จุณสำหรับอาบ จุณสำหรับอาบที่เขาทุบ (บดขยี้) แล้ว

ไม่เป็นครุภัณฑ์. เปลือกไม้อันเขายังไม่ทุบนั่นแหละ เป็นครุภัณฑ์. จุณสำหรับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

อาบ อันสุกแล้วด้วยเครื่องย้อม สมควรแก่ผู้ไม่เป็นไข้ จุณสำหรับอาบอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ย่อมควรแก่ผู้ป่วยทั้งนั้น. แม้ดินเหนียวก็รวมอยู่ในข้อนี้นั่นแหละ.

จริงอยู่ แม้ดินเหนียวในที่ใด เป็นของหาได้โดยยาก ในที่นั้นนั่นแหละ จัด

เป็นครุภัณฑ์ ดินเหนียวแม้นั้นอย่างต่ำที่สุดมีประมาณเท่าน้ำอ้อยงบหนัก ๓๐

ปละ (ตามมาตราชั่งน้ำหนักเท่ากับ ๔ ออนซ์) เทียว ต่ำกว่านั้นไม่เป็น.

ในการให้ไม้ชำระฟัน ไม้ชำระฟัน อันเขายังไม่ใช้ เป็นครุภัณฑ์.

วาระแห่งการให้ไม้สีฟันแต่สงฆ์ ย่อมถึงแก่สามเณรเหล่าใด สามเณรเหล่านั้น

ย่อมไม่ได้เพื่อให้แก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะ. แต่ว่า สามเณรเหล่าใด

กำหนดว่า ชนทั้งหลายพึงนำไม้ชำระฟันมีประมาณเท่านี้มา สามเณรเหล่านั้น

ย่อมได้ เพื่ออันถวายแก่อาจารย์และพระอุปัชฌายะ. ภิกษุรูปเดียว ไม่ควร

ถือเอาไม้ชำระฟันจำนวนมากมาจากโรงไม้ชำระฟัน พึงถือเอาอันเดียวเท่านั้น

ทุก ๆ วัน. แม้เมื่ออยู่แยกกัน พึงนับหมู่ภิกษุแล้วถือเอาไม้ชำระฟันตามที่ถึง

แก่ตน. เมื่ออาคันตุกภิกษุทั้งหลายมาในระหว่าง หรือเมื่อเธอหลีกไปสู่ทิศ

พึงนำไม้ชำระฟันมาตั้งไว้ในที่อันถือเอาได้นั่นแหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกคำชมเชย เพื่อต้องการให้เขารักใคร่

เพราะตั้งตนไว้ต่ำเหมือนทาสบ้าง การดำรงไว้ด้วยดีซึ่งคำอันผิดพลาดพลั้งของ

คนอื่นบ้าง ว่าเป็นคำพูดปรารถนาเพื่อต้องการให้เขารัก ในบทว่า ปาฏุกมฺย-

ตาย เป็นต้น.

คำว่า มุคฺคสูปยตา นี้ เป็นชื่อของผู้เลี้ยงชีพด้วยการพูดทีจริงทีเล่น

เสมอด้วยแกงถั่วเขียว. เปรียบเสมือนแกงถั่วเขียวกำลังเดือด ถั่วเขียวจำนวน

มากย่อมสุก จำนวนน้อยไม่สุก ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้เลี้ยงชีพ

ด้วยการพูดทีจริงทีเล่น ย่อมพูดเท็จมาก พูดจริงน้อย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ที่เป็นที่ไม่ซึมเข้าไปแห่งน้ำแกงถั่วเขียว ย่อม

ไม่มี ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า วาจา อันไม่เข้าไปของบุคคลผู้พูดทีจริง

ทีเล่น ย่อมไม่มี. วาจานั้น ย่อมผูกพันเพื่อความทรงอยู่อันตนปรารถนาแล้ว

และปรารถนาแล้วดุจตะขอเหล็กเกาะอยู่. ด้วยเหตุนั้น วาจาอันมีปกติกล่าว

มุสาของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า วาจาเสมอด้วยแกง

ถั่วเขียว ดังนี้.

ความเป็นแห่งการงานอันบุคคลเลี้ยงดูแล้ว ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา

แปลว่า ความเป็นผู้เลี้ยงดูแล้ว. จริงอยู่ การงานของเด็ก อันเขาเลี้ยงดูแล้ว

ชื่อว่า การเลี้ยงดูเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า ปาริภฏฺยตา.

คำว่า ปาริภฏฺยตา นั้น เป็นชื่อของบุคคลผู้ยังเด็กให้เล่น ด้วยการทำซึ่ง

เครื่องประดับเป็นต้น.

คำว่า ชฆเปสนิก ได้แก่ การนำข่าวสารไปและกลับของคฤหัสถ์

เหล่านั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีระหว่างบ้าน และระหว่างประเทศเป็นต้น. จริงอยู่

คำนี้ ชื่อว่า การเดินส่งข่าว ก็มารดาบิดา บำรุงซึ่งภิกษุนั้นอยู่ ภิกษุถือเอา

ข่าวสารของมารดาบิดาเหล่านั้นไป ด้วยสามารถแห่งการไปในที่ไหน ๆ ย่อม

ควร. การนำข่าวสาร แม้ของนายช่างผู้ทำการงานของเจดีย์ หรือของสงฆ์

หรือของตน ก็สมควร.

อนึ่ง พวกมนุษย์ เรียกว่า พวกกระผมจักถวายทาน จักกระทำบูชา

จักบอกแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมถวายบิณฑบาต หรือเภสัช

หรือจีวรด้วยการกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลาย จงถวายแก่พระเถระ ชื่อโน้นก็ดี

มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมมอบวัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่อง

ลูบไล้เป็นต้น หรือธงชัยและธงแผ่นผ้า โดยการเรียนว่า ท่านทั้งหลาย จง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

ทำการบูชาในวิหาร ดังนี้ก็ดี การนำข่าวสารทั้งหมดของชนเหล่านั้นไป

สมควร. ชื่อว่า การเดินส่งข่าว ย่อมไม่มี. ภิกษุถือเอาข่าวสารของชนทั้ง

หลายที่เหลือนอกนั้นไป โทษย่อมมีทุกย่างก้าว.

คำว่า อญฺตรญฺตเรน ได้แก่ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

แห่งภิกษุทั้งหลาย มีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น เหล่านั้น คือว่า ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง

แห่งการงานทั้งหลายสำหรับเลี้ยงชีพเห็นปานนี้ คือ เวชกรรม ภัณฑคาริก-

กรรม (ดูแลร้านค้า) การแลกก้อนข้าวด้วยก้อนข้าว การบำรุงสงฆ์และเจดีย์

อันผิดปรกติ หรือด้วยมิจฉาอาชีวะ.

คำว่า พุทฺธปฏิกุฏฺเน ได้แก่ อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงติเตียน

แล้ว รังเกียจแล้ว.

คำว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ ชื่อว่า อนาจารแม้ทั้งปวงนี้ พระพุทธเจ้า

ย่อมตรัสไว้.

อาจารนิทเทส บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ.

แม้ในโคจรนิทเทส บัณฑิตก็พึงทราบการกระทำ ในเพราะถ้อยคำ

แห่งอโคจร โดยในที่กล่าวแล้วในหนหลังก่อนนั่นแหละ.

ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า โคจโร ได้แก่ ที่อันควรเข้าไปเพื่อต้องการ

บิณฑบาตเป็นต้น ชื่อว่า โคจร. ที่อันไม่สมควรเพื่ออันเข้าไป ชื่อว่า อโคจร.

โคจรแห่งหญิงแพศยา มีอยู่แก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มี

โคจรแห่งหญิงแพศยา. อธิบายว่า ที่เป็นที่โคจรอันบุคคลพึงเข้าไปด้วยสามารถ

แห่งความชมเชยอย่างมิตร. หญิงทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยรูป ชื่อว่า หญิงแพศยา

ในอธิการนี้ ภิกษุเข้าไปอยู่สามารถเป็นผู้ประพฤติผิดได้ง่าย หรือด้วยความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

สนิทสิเนหาดังมิตร ชื่อว่า มีโคจรแห่งหญิงแพศยา. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

เข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมไม่ควร.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเป็นความวิบัติในการรักษา.

จริงอยู่ สมณธรรม แม้อันเธอคุ้มครองรักษาแล้วสิ้นกาลนานของ

ภิกษุผู้เข้าไปอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมถึงความพินาศไป ด้วยเหตุอันเล็กน้อย

นั่นแหละ. แม้ถ้าว่าสมณธรรมของเธอย่อมไม่พินาศไป ก็จะได้รับความติเตียน.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อเข้าไปด้วย สามารถแห่งการรับทักษิณา (รับของทำบุญ) พึง

ตั้งสติแล้วเข้าไป. หญิงสามีตาย หรือว่าหญิงอันสามีหย่าร้างแล้ว ท่านเรียกว่า

หญิงหม้าย. หญิงแก่ที่ไม่ได้แต่งงาน ชื่อว่า สาวเทื้อ.

คำว่า ปณฺฑกา ได้แก่ บัณเฑาะก์ผู้มีถ้อยคำ อาศัยโลกามิส มีกิเลส

หนามีความเร่าร้อน ไม่สงบ. โทษในเพราะการเข้าไปของภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้ในภิกษุณีทั้งหลาย ก็นัยนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาภิกษุต้องประพฤติพรหมจรรย์ให้มาก. ภิกษุณี

ทั้งหลายก็เหมือนกัน. ภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมยังสมณธรรมอันภิกษุรักษาคุ้มครอง

แล้วให้พินาศไป ด้วยสามารถแห่งความสนิทสนมซึ่งกันและกันอันเป็นเหตุเล็ก

น้อยนั่นแหละ. แต่การที่ภิกษุไปด้วยสามารถแห่งการถามความเป็นไข้ ย่อม

ควร. ภิกษุให้ดอกไม้ทั้งหลายไปเพื่อต้องการบูชาบ้าง เพื่อต้องการให้โอวาท

บ้าง ย่อมควรทีเดียว.

โรงสุราชื่อว่า ปานาคาร. โรงสุรานั้น ย่อมไม่สงัดจากนักเลงสุรา

ซึ่งจะกระทำอันตรายพรหมจรรย์. ในโรงสุรานั้น ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรเข้า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

ไปกับด้วยนักเลงสุราเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการคบนักเลง เพราะอันตราย

ของพรหมจรรย์มีอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สสฏฺโ วิหรติ ราชูหิ เป็นต้น พระราชา

เหล่าใด อภิเษกแล้วก็ตาม จงยกไว้ ชนเหล่าใด ย่อมศึกษาในความเป็น

พระราชา ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า ราชา.

คำว่า ราชมหามตฺตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ เช่น

กับความเป็นใหญ่ของพระราชา.

คำว่า ติตฺถิยา ได้แก่ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเห็น

ผิด. คือว่าเป็นผู้คลุกคลีกับชนเหล่านั้น.

คำว่า อนนุโลมิเกน คิหิสสคฺเคน บุคคลใดเกี่ยวข้องกับฝ่ายตรง

กันข้าม อันไม่คล้อยตามสิกขา ๓ ย่อมถึงความก้าวล่วงบัญญัติ เป็นอันตราย

ต่อพรหมจรรย์ ย่อมถึงซึ่งความเสื่อมรอบจากการขัดเกลา โดยสภาวะใด

สภาวะนั้น ชื่อว่า การคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร. คืออย่างไร คือว่า

เป็นผู้มีความโศก มีความสนุกสนาน มีสุขทุกข์ร่วมกับพระราชาและมหา-

อำมาตย์ของพระราชา หรือ ในเมื่อมีกรณียกิจเกิดขึ้นเป็นผู้ช่วยเหลือด้วยตน

แล และความเป็นผู้มีสมาจารเป็นเอกฉันท์ กับด้วยเดียรถีย์และสาวกของ

เดียรถีย์ทั้งหลาย หรือการนำมาซึ่งภาวะแห่งสมาจารอันชอบใจเป็นเอกฉันท์

หรือความสนิทสนม มีใจมากด้วยความสิเนหา. ในอธิการนี้ การคลุกคลีกับ

พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ย่อมกระทำอันตรายต่อพรหมจรรย์

การคลุกคลีกับเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมทำอันตราย คือการ

ถือเอาลัทธิของชนเหล่านั้น. แต่ว่า ภิกษุที่สามารถเข้าไปเพื่อทำลายวาทะ(ลัทธิ)

ของเดียรถีย์และสาวกของเดียรถีย์แล้วให้ถือเอาลัทธิของตน ย่อมควร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

บัดนี้ เพื่อแสดงอโคจร โดยปริยายแม้อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเริ่มคำว่า ยานิ วา ปน ตานิ กุลานิ เป็นอาทิ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อสทฺธานิ ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศรัทธาใน

พระพุทธเจ้าเป็นต้น คือ ไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู พระธรรม

เป็นนิยยานิกะ (เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ) พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ดังนี้.

คำว่า อปฺปสนฺนานิ ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อทำจิตให้ผ่องใส ไม่

ขุ่นมัว.

คำว่า อกฺโกสกปริภาสกานิ ได้แก่ การด่า และการบรภาษ คือ

ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า ท่านเป็นโจร เป็นคนพาล

เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นผู้เกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก

เป็นสัตว์ดิรัจฉาน สุคติของท่านไม่มี มีแต่ทุคติเท่านั้นหวังไว้ ดังนี้. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่าการด่าและการบริภาษนั้น จงยกไว้ ชื่อว่า ย่อมบริภาษ เพราะชี้

ให้เห็นภัยอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักประหารท่าน จักมัดท่าน จักฆ่าท่าน ดังนี้.

บทว่า อนตฺถกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาประโยชน์ คือ

ย่อมปรารถนาความฉิบหายนั่นแหละ.

บทว่า อหิตกามานิ ได้แก่ ย่อมปรารถนาเกื้อกูลหามิได้ คือไม่

ต้องการประโยชน์เกื้อกูล.

บทว่า อผาสุกามานิ ได้แก่ ย่อมไม่ปรารถนาแดนเกษมจากโยคะ

๔ อันไม่มีภัย คือ ย่อมปรารถนาแดนอันเป็นไปกับภัยนั่นแหละ. แม้สามเณร

ทั้งหลาย ก็ย่อมถึงความสงเคราะห์ลงในคำว่า ภิกฺขู ดังนี้. แม้สิกขมานา และ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

สามเณรทั้งหลาย ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในข้อว่า ภิกฺขุนี นี้. จริงอยู่ ตระกูล

เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่แต่ความพินาศแก่บริษัทแม้ทั้ง ๔ คือแก่ชนทั้งหลาย

ผู้บวชอุทิศต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและผู้ถึงสรณคมน์นั่นแหละ.

คำว่า ตถารูปานิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลาย มีตระกูลแห่งกษัตริย์

เป็นต้นเห็นปานนี้.

คำว่า เสวติ ได้แก่ อาศัยเลี้ยงชีพ.

คำว่า ภชติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปหา.

คำว่า ปยิรุปาสติ ได้แก่ เข้าไปหาบ่อย ๆ.

คำว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ โคจรอันไม่สมควร แม้มีประการทั้ง ๓ นี้

คือโคจรในสำนักของหญิงแพศยา โคจรในสำนักแห่งพระราชาเป็นต้น โดย

การคลุกคลีกับพระราชาเป็นต้น โคจรในตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธาเหล่านี้

บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอโคจร. ความเป็นแห่งอโคจรแห่งภิกษุนั้น พึงทราบ

โดยปริยายนี้. สำนักแห่งหญิงแพศยา พึงทราบว่าเป็น อโคจร เพราะเป็น

โคจรอาศัยเบญจกามคุณก่อน. เหมือนคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อโคจรของภิกษุเป็นวิสัยของผู้อื่นเป็นไฉน. อโคจร

เป็นวิสัยของผู้อื่นใด คือ เบญจกามคุณ ดังนี้. สำนักแห่งพระราชานั้น เป็น

อโคจร เพราะไม่เป็นอุปนิสัยแห่งความประกอบความเพียรเนือง ๆ ในฌาน

และเพราะความสั่งสมลาภสักการะอันเป็นเครื่องทำลาย และเพราะความพิบัติ

แห่งทิฏฐิเป็นเหตุ. สำนักแห่งตระกูลของผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า เป็นอโคจร

เพราะเป็นการทำลายศรัทธา คือนำจิตที่ยินดีออกไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

ในโคจรนิทเทส คำว่า น เวสิยโคจโร เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ

ด้วยสามารถแห่งคำเป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้ว.

ก็ในคำทั้งหลาย มีคำว่า โอปานภูตานิ เป็นต้น คำว่า โอปานภูตานิ

ได้แก่ เป็นดังบ่อน้ำ ดุจสระโบกขรณี อันเขาขุดแล้วในทางใหญ่ทั้ง ๔ แห่ง

เพื่อภิกษุสงฆ์ และเช่นกับบ้านของจิตตมหาอำมาตย์ ที่เขาขุดเพื่ออาบน้ำตาม

ความสบาย. ได้ยินว่า บ้านของมหาอำมาตย์นั้น เขาประกอบเสาเวลา (นาฬิกา)

ไว้ในบ้านนั่นแหละ. ชื่อว่า ความบกพร่อง ด้วยปัจจัยของภิกษุผู้มาถึงประตู

บ้านของมหาอำมาตย์นั้น มิได้มี. ในวันหนึ่งๆเขาใช้จ่ายเงินถึง ๖๐ กหาปณะ

ออกไปเพื่อความเป็นไปแห่งเภสัชนั่นแหละ.

คำว่า กาสาวปฺปชฺโชตานิ ได้เเก่ โอภาสอันหนึ่ง แห่งรัศมีของผ้า

กาสาวะทั้งหลาย อันภิกษุและภิกษุณี ผู้นุ่งห่มแล้วนั่นแหละ เช่นกับตระกูล

เศรษฐี ชื่อว่า ภูตปาละ.

คำว่า อิสิวาตปฏิวาตานิ ได้แก่ เป็นของรุ่งเรืองฟุ้งไปทวนลม

ด้วยลมแห่งจีวรของพระฤาษีทั้งหลาย กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เข้า

บ้าน และออกจากบ้าน และด้วยลมแห่งสรีระอันเคลื่อนไหวไปด้วยการเหยียด

ออกและการคู้เข้ามาเป็นต้น หรือว่าเป็นผู้มีอกุศลทั้งหลาย อันขจัดได้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัย ในความที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย

มีประมาณน้อย. คำว่า วชฺชา ได้แก่ โทษทั้งหลาย. คำว่า ยานิ ตานิ วชฺชานิ

ได้แก่ ชื่อว่า โทษทั้งหลายนั้นใด เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงติเตียน.

คำว่า อปฺปมตฺตกานิ ได้แก่ ชื่อว่า มีประมาณเล็กน้อย เพราะมีประมาณ

ต่ำสุดกว่าจำนวนน้อย. คำว่า ลหุสานิ ได้แก่ เป็นของเบา. คำว่า ลหุ ใน

คำว่า ลหุสมฺมตานิ ได้แก่ เป็นของสมมุติ. คำว่า สญฺมกรณียานิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุพึงกระทำด้วยความสำรวม. คำว่า สวรกรณียานิ

ได้แก่ พึงกระทำด้วยความสังวร คือ กระทำคืน อันภิกษุนั้นพึงทำด้วยความ

ระวัง. คำว่า จิตฺตุปฺปาทกรณียานิ ได้แก่ การทำคืน อันภิกษุนั้น พึง

ทำด้วยสักว่าจิตตุปปาท. คำว่า มนสิการปฏิพทฺธานิ ได้แก่ การทำคืน

อันภิกษุพึงทำด้วยใจสักว่าการรำพึงแล้วนั้นแหละ.

ก็การทำคืนเหล่านั้น เป็นไฉน ?

พึงทราบว่า พระสุมเถระผู้มีปกติอยู่ในทิวาวิหาร ท่านกล่าวไว้ก่อน

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยใจ คือ สักว่าการนึกแล้วนั่นแหละว่า

เราจักทำซึ่งอาบัติเหล่านั้น สักว่าจิตตุปบาท ให้ถึงซึ่งอนาปัตติ ให้มีอย่างนี้

เป็นรูปอีก ชื่อว่า การทำความเปิดเผย ด้วยการอธิษฐานนี้ เป็นอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้ว.

ก็พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่านนั้น

กล่าวว่า ก็บทนี้เป็นบทภาชนียปาฏิโมกข์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง

ทราบว่า โทษในที่นี้คือ อาบัติทุกกฏ และทุพภาสิต เบากว่าโทษทั้งปวง

ชื่อว่า การเปิดเผย คือ การออกจากโทษนั้น เป็นไปตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.

คำว่า อิติ อิเมสุ ได้แก่ เหล่านี้ มีประการอย่างนี้.

คำว่า วชฺชทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ.

คำว่า ภยทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นภัย โดยความเป็นไปแห่ง

ภัย ๔ อย่าง.

ในคำว่า อาทีนวทสฺสาวี นี้ ได้แก่ มีปกติเห็นโทษ มีประการ

ต่าง ๆ คือ โดยการนำมาซึ่งความนินทา โดยมีทุกข์เป็นผลข้างหน้า โดยกระ-

ทำอันตรายต่อคุณในเบื้องบน และเพราะให้เกิดความเดือดร้อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

คำว่า นิสฺสรณทสฺสาวี ได้แก่ มีปกติเห็นโทษของภิกษุผู้รื้อถอน

ออกจากโทษภัยนั้น.

ก็ในอธิการนี้ การรื้อถอนออกจากโทษภัยนั้น เป็นไฉน ?

ในอาจริยเถรวาทกล่าวไว้ก่อนว่า การเปิดเผยด้วยการอธิษฐานด้วยสติ

ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ถึงอนาบัติ (การไม่มีอาบัติ เรียก

ว่า อนาปัตติ).

ในเถรวาทแห่งอันเตวาสิกของท่าน กล่าวว่า การเปิดเผยโดยการ

ออกด้วยสติ ชื่อว่า การรื้อถอนออก เพราะความเป็นผู้ต้องอาบัติ. สำหรับใน

ที่นี้ ภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความ

เป็นโทษ โดยความเป็นภัย. เพื่อแสดงซึ่งโทษมีประมาณน้อย โดยความเป็น

โทษ โดยความเป็นภัยนั้น ท่านกล่าวมาตรา (ประมาณ) ดังนี้.

๑. ชื่อว่า ปรมาณู ๒. ชื่อว่า อณู

๓. ชื่อว่า ตัชชารี ๔. ชื่อว่า รถเรณู

๕. ชื่อว่า ลิกขา ๖. ชื่อว่า โอกา (อูกา)

๗. ชื่อว่า ธัญญมาส ๘. ชื่อว่า อังคุละ

๙. ชื่อว่า วิทัตถิ ๑๐. ชื่อว่า รตนะ

๑๑. ชื่อว่า ยัฏฐิ ๑๒. ชื่อว่า อุสภะ

๑๓. ชื่อว่า คาวุต ๑๔. ชื่อว่า โยชน์

แปลว่า บรรดาชื่อเหล่านั้น ชื่อว่า ปรมาณู เป็นส่วนแห่งอากาศ

(อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้ เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ) ไม่มาสู่คลอง

แห่งตาเนื้อ ย่อมมาสู่คลองแห่งทิพยจักษุเท่านั้น. ชื่อว่า อณู คือรัศมีแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

พระอาทิตย์ที่ส่องเข้าไปตามช่องฝา ช่องลูกดาล เป็นวงกลม ๆ ด้วยดี ปรากฏ

หมุนไปอยู่. ชื่อว่า ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น) เพราะเจาะที่ทางโค ทาง

มนุษย์ และทางล้อแล้วปรากฏพุ่งไปเกาะที่ข้างทั้งสอง. ชื่อว่า รถเรณู (ละออง

รถ) ย่อมติดอยู่ที่รถนั้น ๆ นั่นแหละ. ชื่อว่า ลิกขา (ไข่เหา) เป็นต้น

ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.

ก็ในคำเหล่านั้น พึงทราบประมาณดังนี้

๓๖ ปรมาณู ประมาณ ๑ อณู

๓๖ อณู " ๑ ตัชชารี (สิ่งที่เกิดจากอณูนั้น)

๓๖ ตัชชารี " ๑ รถเรณู (ละอองรถ)

๓๖ รถเรณู " ๑ ลิกขา (ไข่เหา)

๗ ลิกขา " ๑ โอกา (ตัวเหา)

๗ โอกา " ๑ ธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก)

๗ ธัญญมาส " ๑ อังคุละ (นิ้ว)

๑๒ อังคุละ " ๑ วิทัตถิ (คืบ)

๑๒ วิทัตถิ " ๑ รัตนะ (ศอก)

๗ รตนะ " ๑ ยัฏฐิ (หลักเสา)

๒๐ ยัฏฐิ " ๑ อุสภะ (ชื่อโคจ่าฝูง)

๘๐ อุสภะ " ๑ คาวุต

๔ คาวุต " ๑ โยชน์

๑๐,๐๖๘ โยชน์ (ส่วนสูง)" ๑ ภูเขาสิเนรุราช.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ภิกษุกระทำซึ่งโทษมีประมาณน้อย ให้เช่นกับภูเขาสิเนรุราช อันสูง

ประมาณ ๑๐,๐๖๘ โยชน์ ย่อมอาจเพื่อจะเห็น (คือเมื่อเห็นว่าเป็นโทษใหญ่

ก็จะปลงอาบัติ) ได้. ภิกษุใด ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย

โดยความเป็นภัย ภิกษุใดแม้กระทำซึ่งสักว่าโทษ คืออาบัติทุกกฎ ทุพภาสิต

อันเบากว่าโทษทั้งปวง ให้เช่นกับอาบัติปฐมปาราชิก ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบ

ว่า ชื่อว่า ย่อมเห็นโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย โดยความเป็นโทษ โดยความ

เป็นภัย ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งข้อว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ

ดังนี้

คำว่า ภิกฺขุสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันภิกษุทั้งหลายพึงศึกษา. ภิกษุ

สิกขานั้นทั่วไปกับนางภิกษุณีบ้าง ไม่ทั่วไปบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ชื่อว่า ภิกษุสิกขา

นั่นแหละ. คำว่า ภิกฺขุนีสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันภิกษุณีทั้งหลาย พึงศึกษา

ภิกขุนีสิกขาแม้นั้น ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งหลายก็ดี ไม่ทั่วไปก็ดี ชื่อว่า ภิกขุนี

สิกขา เหมือนกัน. แม้สิกขาของสามเณร สิกขมานา สามเณรทั้งหลายก็รวม

อยู่ในที่นี้แหละ.

คำว่า อุปาสกสิกฺขา ได้แก่ สิกขา อันอุบาสกทั้งหลาย พึงศึกษา.

สิกขาของอุบาสกนั้น ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล ๕ ศีล ๑๐. คำว่า

อุปาสิกาสิกฺขา ได้แก่ สิกขาอันอุบาสิกาทั้งหลาย พึงศึกษา สิกขาแม้นั้น

ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศีล ๕ ศีล ๑๐.

บรรดาสิกขาเหล่านั้น สิกขาของภิกษุ และภิกษุณี ย่อมเป็นไปถึง

อรหัตตมรรค. สิกขาของอุบาสก และอุบาสิกา ย่อมเป็นไปถึงอนาคามิมรรค.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

ในที่นี้ ภิกษุนี้ ย่อมศึกษาในสิกขาบทอันตนพึงรักษาเทียว. ส่วนสิกขาที่เหลือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอรรถของสิกขาบท ด้วยสามารถแห่งการ

ยกขึ้นซึ่งประโยชน์.

คำว่า อิติ อิมาสุ สิกฺขาสุ ได้แก่ ในสิกขาทั้งหลายเหล่านี้ มี

ประการอย่างนี้.

คำว่า สพฺเพน สพฺพ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยการสมาทานสิกขา

ทั้งปวง.

คำว่า สพฺพถา สพฺพ ได้แก่ สิกขาทั้งปวง โดยมีประการอัน

บุคคลทั้งปวงพึงศึกษา.

คำว่า อเสส นิสฺเสส ได้แก่ ชื่อว่า อเสส (มิให้เหลือ) เพราะ

ไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า นิสฺเสส เพราะทำสิกขาบทแม้แตกแล้วด้วยความหลง

ลืม ให้เป็นปกติอีก.

คำว่า สมาทาย วตฺตติ ได้แก่ สมาทานแล้ว ถือเอาแล้ว จึง

ประพฤติ.

คำว่า เตน วุจฺจติ ได้แก่ สมาทานสิกขาทั้งปวงนี้แล้ว ย่อมศึกษา

ย่อมให้เต็มโกยอาการอันบุคคลทั้งปวง พึงศึกษา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ แปลว่า สมาทานแล้ว

ประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายดังนี้.

ในนิทเทสหมวดสองแห่งบทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โภชเน

มตฺตญฺญู พึงทราบการประกอบถ้อยคำแรกแห่งภิกษุผู้ฝักใฝ่ในธรรมอันดำ

โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอาจารนิทเทส นั่นแหละ. ก็คำว่า ตตฺถ กตมา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา เป็นต้น คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นทั้งหมด

ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิกเขปกัณฑ์วรรณนานั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชาคริยานุโยค ต่อไป. เบื้องต้นแห่ง

ราตรี กล่าวคือ เที่ยงคืน ชื่อว่า ปุพพรัตตะ ในคำว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺต

นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมถือเอาซึ่งปฐมยาม และปัจฉาภัต ด้วยศัพท์ว่า

ปุพพรัตตะนี้. ภายหลังแห่งราตรีชื่อว่า อปรรัตตะ. ย่อมถือเอาปัจฉิมยาม

และปุเรภัต ด้วยศัพท์ว่า อปรรัตตะนี้. ส่วนมัชฌิมยาม ท่านไม่ถือเอา เพราะ

เป็นโอกาสแห่งการหลับนอน และการบรรเทาความเมื่อยของภิกษุ.

คำว่า ชาคริยานุโยค ได้แก่ การประกอบเนืองๆ ของผู้ตื่นที่ชื่อว่า

ชาคริยะ.

คำว่า อนุยุตฺโต โหติ ได้แก่ การประกอบเนือง ๆ การขวนขวาย

ซึ่งการเสพการเจริญ กล่าวคืออนุโยคนั้น. ก็ในนิทเทสแห่งคำนี้ ในข้อว่า

ภิกฺขุ ทิวส ได้แก่ท่านถือเอาวันหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เวลาเช้า เวลา

กลางวัน และเวลาเย็น.

คำว่า จงฺกเมน นิสชฺชาย ได้แก่ ภิกษุ เมื่ออยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง

สองแม้นี้ย่อมชำระจิตจากอาวรณจิต (อุปสรรคของจิต) หรือจากธรรมอันเป็น

เครื่องกั้น หรือจากนิวรณ์ทั้ง ๕ หรืออกุศลธรรมทั้งหมด คือว่า ย่อมชำระจิต

ย่อมเปลื้องจิตจากอกุศลธรรมเหล่านั้น. อนึ่งการยืน ในอธิการนี้ท่านไม่ถือ

เอาก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงถือเอาการยืนนั่นแหละด้วย เพราะอาศัยเอาระหว่าง

การเดินกับการนั่ง. คำว่า ปฐมยาม ได้แก่ ในปฐมยามแม้ทั้งสิ้น. คำว่า

มชฺฌิมยาม ได้แก่ ในมัชฌิมยาม กล่าวคือ ส่วนทั้ง ๖ ของกลางคืนและ

กลางวัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ในข้อว่า สีหเสยฺย นี้ ได้แก่ เสยยา (การนอน) ๔ อย่าง คือ

กามโภคี เสยยา (นอนอย่างผู้บริโภคกาม) เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต)

สีหเสยยา (นอนอย่างสีหะ) ตถาคตเสยยา (นอนอย่างพระตถาคต). พึง

ทราบการนอนเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้บริโภคกามโดยมาก

ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้นผู้นี้จึงชื่อว่า กามโภคีเสยยา. จริงอยู่

บรรดาผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมาก ชื่อว่า ย่อมไม่นอนตะแคงข้างขวา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากบุคคลใด ย่อมนอนหงาย เพราะฉะนั้น บุคคล

นั้น จึงชื่อว่า เปตเสยยา (นอนอย่างเปรต หรือ คนที่ตายไปแล้ว ). จริงอยู่

บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อนอนตะแคงข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือด

น้อย และเพราะกระดูกตรงที่ต่อกันไม่เป็นปกติ จึงได้แต่นอนหงายเท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย สีหะผู้มิคราช เป็นผู้มีใจเป็นของตน ย่อมสำเร็จการนอนโดย

ข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อว่า สีหเสยยา. จริงอยู่ สีหะผู้

มิคราช วางเท้าหน้าทั้งสองไว้ที่หนึ่ง วางเท้าหลังสองเท้าไว้ที่หนึ่ง และเอา

หางใส่ไว้ระหว่างขาอ่อน แล้วกำหนดโอกาส (คือ การปรากฏ) ทั้งเท้าหน้า

เท้าหลังและหาง อันตนวางไว้ แล้วจึงนอนวางศีรษะบนสองเท้าหน้า เพราะ

ความที่ตนเป็นผู้มีอำนาจมาก แม้นอนตลอดวันตื่นขึ้นมาก็ไม่สะดุ้งตื่น (ตกใจ

ตื่น) เมื่อจะลุกขึ้นก็ยกศีรษะขึ้นกำหนดดูการปรากฏของเท้าหน้าเป็นต้นตามที่

ตนวางไว้ ถ้าว่าการปรากฏของเท้าเป็นต้น เคลื่อนไปสู่ที่ไร ๆ จากที่วางไว้

แต่เดิม ย่อมจะไม่เป็นผู้มีใจเป็นของ ๆ ตน ด้วยคิดว่า ลักษณะนี้ไม่ควรแก่

ความเป็นผู้กล้าหาญโดยชาติของตน แล้วก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ. ไม่ออก

ไปหาอาหาร ก็ถ้าว่า เท้าหน้าเป็นต้น ที่ตนตั้งไว้แล้ว ไม่เคลื่อนผิดปกติไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีร่าเริง และคิดว่า อาการนี้สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ

ของตนโดยชาติ แล้วจะลุกขึ้น แสดงท่าหาวของสีหะ สะบัดสร้อยคอ และบันลือ

สีหนาทสิ้นสามครั้ง แล้วจึงออกไปแสวงหาอาหาร.

อนึ่ง การนอนประกอบด้วยญาณที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก

ว่า ตถาคตเสยยา. ในบรรดาการนอนเหล่านั้น สีหเสยยา มาในที่นี้ จริง

อยู่ ชื่อว่า สีหเสยยา เพราะความเป็นอิริยาบถ อันอุดมด้วยเดช.

คำว่า ปาเท ปาท ได้แก่ วางเท้าซ้ายเหลื่อมไปบนเท้าที่รองรับ

หน่อยหนึ่ง. เพราะว่า เมื่อข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า หรือเข่ากระทบกับเข่า

เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนือง ๆ จิตก็ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ไม่ผาสุก.

ก็การนอนนั้น เข่าและข้อเท้า ย่อมไม่เสียดสีกันโดยอาการใด เมื่อวางเท้า

เหลื่อมกันไป โดยอาการนั้นแล้ว ทุกขเวทนานั้นย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อม

มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทั้งการนอนก็ผาสุก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ตรัสว่า วางเท้าซ้อนเท้า (เหลื่อมเท้า) ดังนี้.

คำว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ และปัญญา

เป็นเครื่องรู้พร้อม. ก็สติสัมปชัญญะ อันภิกษุกำหนดถือเอาดีแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้.

คำว่า อุฏฺานสญฺ มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งสัญญาในอันที่จะ

ลุกขึ้นไว้ในจิต กำหนดเวลาที่จะลุกขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักลุกขึ้น ในเวลาชื่อ

โน้น ดังนี้. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนี้แล้วนอน ก็ควรเพื่อจะลุกขึ้นในเวลาตาม

ที่เธอกำหนดไว้.

คำว่า สาตจฺจ เนปกฺก อธิบายว่า ภิกษุประกอบแล้ว ประกอบ

เนือง ๆ แล้วยังวิริยะ กล่าวคือ ความเพียร (อันเป็นไปติดต่อกัน) ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

สาตัจจะ เพราะยังความเพียรนั้นให้เป็นไปทั่ว และยังปัญญากล่าวคือ เนปักกะ

(ปัญญาเป็นเครื่องรักษา) อันถึงความแก่รอบ ให้เป็นไปอยู่นั้นแหละ จึง

ชื่อว่า ประกอบเนือง ๆ ในชาคริยานุโยค อยู่. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสความเพียรเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. แม้ปัญญา ก็มีคติเช่นวิริยะนั่น-

แหละ. คือ เมื่อตรัสเรื่องวิริยะในโลกิยะ วิริยะนั้นก็เป็นโลกิยะ ตรัสวิริยะ

ในโลกุตตระ ก็เป็นโลกุตตระ.

คำว่า โพธิปกฺขิยาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย อันเป็นไป

ในฝ่ายแห่งมรรคญาณ กล่าวคือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. อธิบาย

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดไว้มีประมาณ ๓๗ เมื่อ

จะทรงแสดงองค์เเห่งการตรัสรู้นั่นแหละ อันสามารถเป็นไปโดยความเป็นอัน

เดียวกันในอารมณ์หนึ่งแห่งภาวนาแม้เป็นโลกีย์ จึงตรัสคำว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา

เป็นอาทิ. โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเป็นมิสสกะ คือ เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถ

ตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเหมือนที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง แล.

อธิบายอิริยาบถ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคำว่า อภิกฺกนฺเต เป็นต้น การก้าว

ไปข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ ก่อน ในคำว่า

อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้. การถอยกลับมาข้างหลัง เรียกว่า ปฏิกกันตะ.

อภิกกันตะ แสะปฏิกกันตะ แม้ทั้งสองนี้ ย่อมได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ

ในอิริยาบถเดินก่อน เมื่อน้อมกายเดินไปข้างหน้า ชื่อว่า อภิกกันตะ.

เมื่อถอยกลับมา ชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถยืน ยังยืนอยู่นั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

เมื่อน้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่า อภิกกันตะ เมื่อน้อมกายมาข้างหลัง ชื่อว่า

ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถนั่ง ยังนั่งอยู่นั่นแหละ มีหน้าเฉพาะต่อส่วน

ข้างหน้าแห่งอาสนะ และน้อมกายไปอยู่ ชื่อว่า อภิกกันตะ น้อมกายไปสู่

ประเทศส่วนเบื้องหลัง ชื่อว่า ปฏิกกันตะ. แม้ในอิริยาบถนอน ก็นัยนี้

นั่นแหละ.

คำว่า สมฺปชานการี โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติทำกิจทั้งปวง

ด้วยสัมปชัญญะ หรือเป็นผู้มีปกติทำซึ่งสัมปชัญญะ. จริงอยู่ ภิกษุนั้น ย่อม

ทำซึ่งสัมปชัญญะนั่นแหละ ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น

คือว่า ย่อมเป็นผู้ไม่เว้นจากสัมปชัญญะในอิริยาบถไหน ๆ เลย. ก็เพราะ

สัมปชัญญะนั้น สัมปยุตด้วยสตินั่นแหละ ฉะนั้น ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้

จึงตรัสว่า สโต สมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ

ดังนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้ ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยมาข้างหลัง ชื่อว่า เป็นผู้ ไม่

หลงลืมสติ มีสัมปชัญญะ. คือว่า ภิกษุประกอบด้วยสติ มีความรู้สึกตัวทั่ว

พร้อมด้วยปัญญานั่นเเหละ ย่อมก้าวไปข้างหน้าด้วย ย่อมถอยกลับมาข้างหลัง

ด้วย. เธอย่อมยังสัมปชัญญะ ๔ อย่าง ให้หยั่งลงในอิริยาบถทั้งปวงมีการก้าว

ไปข้างหน้า เป็นต้น. จริงอยู่ สัมปชัญญะนี้ มี ๔ อย่าง คือ.

๑. สาตถกสัมปชัญญะ

๒. สัปปายสัมปชัญญะ

๓. โคจรสัมปชัญญะ

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ

บรรดาสัมปชัญญะเหล่านั้น เมื่อจิตในการก้าวไปข้างหน้าเกิดขึ้นแล้ว

กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่ประโยชน์โดยใคร่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

ครวญว่า อะไรหนอแล เป็นประโยชน์ในการไป หรือการไม่ไปในที่นี้ ดังนี้

ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.

ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า ประโยชน์ ได้แก่ ความเจริญโดยธรรม

ด้วยสามารถแห่งการเห็นเจดีย์ การเห็นต้นโพธิ์ การเห็นพระสงฆ์ การเห็น

พระเถระ การเห็นอสุภะ เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุแม้เห็นเจดีย์ หรือต้นโพธิ์

ยังปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ หรือยังปีติมีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ด้วย

สามารถแห่งการเห็นพระสงฆ์ ให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาอยู่ซึ่งสิ่งนั้นนั่นแหละ

โดยความเสื่อมสิ้นไป ย่อมบรรลุพระอรหัตได้.

บุคคลเห็นพระเถระทั้งหลาย อาศัยโอวาทของท่านเหล่านั้น หรือเห็น

อสุภะแล้วยังปฐมฌานในอสุภะนั้นให้เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสิ่งนั้นนั่นแหละ โดย

ความเสื่อมสิ้นไปก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. เพราะฉะนั้น การเห็นสิ่งเหล่านั้น

จึงชื่อว่า สาตฺถ คือ มีประโยชน์. ..

อนึ่งอาจารย์บางพวก กล่าวว่า การเจริญแม้ด้วยอามิส ก็ชื่อว่า เป็น

ประโยชน์เหมือนกัน ก็เพราะความที่ตนอาศัยสิ่งนั้นแล้วปฏิบัติเพื่อเอาพรหม-

จรรย์ ดังนี้.

การที่ภิกษุกำหนดสัปปายะ และอสัปปายะ ในการเดินไปแล้วกำหนด

เอาแต่สัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ. คืออย่างไร คือว่า การเห็นพระ-

เจดีย์อันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ก่อน ก็ถ้าว่า บริษัทประชุมกันในระหว่าง

ทางสิบสองโยชน์ เพื่อทำการบูชาใหญ่พระเจดีย์. ทั้งหญิงทั้งชายย่อมมีรูป

สวยงามเป็นราวกะจิตรกรรม ประดับประดาตกแต่งตามความเหมาะสมกับ

สมบัติของตน ๆ พากันเที่ยวไป. ก็ในสถานที่เช่นนี้ ความโลภ ของบุคคล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

นั้น ๆ ย่อมเกิดในเพราะอารมณ์อันชอบใจ ปฏิฆะ ย่อมเกิดในเพราะอารมณ์

อันไม่ชอบใจ โมหะ ย่อมเกิดในเพราะความไม่เพ่งพิจารณา.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้น ย่อมต้องอาบัติกายสังสัคคะ (การสัมผัสทาง

กาย). หรือว่า มีอันตรายแห่งชีวิตพรหมจรรย์. การยืนในที่เช่นนั้น ย่อมเป็น

อสัปปายะ. เป็นสัปปายะ ในเพราะไม่มีอันตรายมีประการตามที่กล่าวแล้ว.

แม้ในการดูต้นโพธิ์ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แม้ในการดูพระสงฆ์ ก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์ คือ ถ้าว่า เมื่อพวก

มนุษย์ทำปะรำใหญ่ในระหว่างบ้าน แล้วฟังธรรมตลอดคืน การประชุมของชน

โดยมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ และทั้งอันตรายก็ย่อมมีด้วย. การยืน

ในที่เช่นนั้น โดยอาการที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอสัปปายะ. เป็นสัปปายะ เพราะ

ความไม่มีอันตราย. แม้ในการเห็นพระเถระทั้งหลาย ผู้มีบริษัทบริวารมาก

ก็นัยนี้นั่นแหละ.

แม้การเห็นอสุภะ ก็เป็นไปกับด้วยประโยชน์. เพื่อแสดงประโยชน์

ในอสุภะนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง พาสามเณรเดินทางไป เพื่อต้องการ

ไม้ชำระฟัน. สามเณรเดินไปข้างหน้าของภิกษุ เมื่อเธอก้าวลงจากทางไป ก็

เห็นอสุภะ จึงเพ่งดูแล้วยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็น

บาทแห่งวิปัสสนา พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย กระทำผลทั้งสามให้แจ้ง

แล้วก็กำหนดตั้งกรรมฐาน เพื่อต้องการมรรคเบื้องบน. ฝ่ายภิกษุหนุ่ม เมื่อ

ไม่เห็นสามเณรนั้น จึงร้องเรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้น คิดว่า จำเดิม

แต่วันที่เราบวชแล้ว ขึ้นชื่อว่า การเรียก ๒ ครั้งของภิกษุนี้มิได้มีแก่เรา ใน

วันอื่นเถิดเราจักยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงขานรับว่า อะไรขอรับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ดังนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวว่า เธอมานี่ สามเณรนั้นมาแล้วด้วยคำเพียงคำเดียว

เท่านั้น แล้วจึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงไปยืนดูข้างหน้า ในที่ๆ

กระผมยืนอยู่โดยทางนี้ก่อนสักครู่ขอรับ. ภิกษุนั้นกระทำอย่างนั้นแล้วก็บรรลุ

คุณวิเศษอันสามเณรนั้นบรรลุแล้วนั่นแหละ. อสุภะหนึ่ง เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์

แก่ชนทั้งสองด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง อสุภะของมาตุคาม ถึงจะเป็นไปกับด้วยประโยชน์ แต่ก็ย่อม

เป็นอสัปปายะแก่บุรุษ และ อสุภะของบุรุษเหล่านั้น ก็เป็นอสัปปายะแก่มาตุคาม

เช่นกัน. การกำหนดสัปปายะว่า นี้เป็นสัปปายะ เป็นสภาคะ ดังที่พรรณนา

มาฉะนี้ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ.

อนึ่ง การที่ภิกษุเรียนเอาโคจร กล่าวคือ กรรมฐานอันชอบใจแก่

จริตของตนในกรรมฐาน ๓๘ อย่าง เพื่อสัปปายะอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์

ที่กำหนดแล้วอย่างนี้ แล้วถือเอากรรมฐานนั้นในเวลาโคจรเพื่อภิกขาจาร ชื่อว่า

โคจรสัมปชัญญะ.

บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวรรณนานั้น ดัง

ต่อไปนี้.

๑. ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ย่อมนำกรรมฐานไป แต่

ไม่นำกลับมา

๒. บางรูป ย่อมนำกลับมา แต่ไม่นำไป

๓. บางรูป ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับมา

๔. บางรูป ย่อมนำไปด้วย ย่อมนำกลับมาด้วย

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใด ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมทั้งหลาย

อันเป็นเครื่องกั้นตลอดวัน ด้วยการเดิน การนั่ง ในปฐมยามแห่งราตรี ก็

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

อย่างนั้น ในมัชฌิมยามเธอสำเร็จการนอน แม้ในปัจฉิมยาม เธอก็ยังกาลให้

ล่วงไปด้วยการนั่ง การเดิน การทำวัตรคือ กวาดลานพระเจดีย์ ลานมหาโพธิ์

ก่อน แล้วรดน้ำต้นมหาโพธิ์ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ แล้วสมาทานประพฤติวัตร

ทั้งปวงเล็ก ๆ น้อย ๆ มีอาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร เป็นต้น. เมื่อเธอตกแต่งร่าง

กายแล้วก็เข้าไปสู่เสนาสนะ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๒-๓ ท่าที่บัลลังก์ ให้ไออุ่น

เกิดขึ้นแล้วประกอบกรรมฐานเนือง ๆ ลุกขึ้นในเวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา

ถือเอาบาตรและจีวร กับกรรมฐานอันเป็นสีสะนั่นแหละ (กรรมฐานที่เป็น

ประธาน) ออกไปจากเสนาสนะก็มนสิการกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปสู่ลาน

แห่งพระเจดีย์ ถ้า (กรรมฐานเดิมเป็นพุทธานุสติ) พุทธานุสติกรรมฐานยังมี

อยู่ไซร้ ไม่ต้องสละกรรมฐานนั้นเลย เข้าไปสู่ลานพระเจดีย์. ถ้าหาก (ใน

ขณะนั้น) มีกรรมฐานอื่นอยู่ พักกรรมฐานนั้นไว้ที่เชิงบันได เปรียบเหมือน

บุคคลถือสิ่งของมา แล้ววางของนั้นไว้ ครั้นพักกรรมฐานอื่นนั้นแล้ว ก็พึง

ถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ก้าวขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ ทำประทักษิณเจดีย์

ใหญ่สิ้นสามครั้ง แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๔. พึงทำประทักษิณเจดีย์น้อย ในที่นั้น

นั่นแหละ แล้วพึงไหว้ในที่ทั้ง ๘. อันภิกษุผู้ถึงลานพระเจดีย์ครั้นไหว้พระ-

เจดีย์แล้ว ก็พึงแสดงความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ดุจการอยู่ต่อหน้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไหว้ต้นมหาโพธิ์. ภิกษุนั้นไหว้พระเจดีย์และต้นมหาโพธิ์

แล้ว ก็กลับไปสู่ที่ ๆ ตนเก็บกรรมฐานถือเอากรรมฐานที่ตนวางไว้แล้ว เหมือน

บุคคลถือเอาสิ่งของที่ตนวางไว้ไปฉะนั้น ห่มจีวรด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ

ในที่ใกล้บ้าน แล้วจึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ. ในกาลนั้นพวกมนุษย์เห็นภิกษุ

นั้นแล้ว ก็พากันลุกขึ้นต้อนรับ โดยคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

ดังนี้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่งที่โรงฉัน หรือที่บ้าน ถวายข้าวยาคู ตราบเท่าที่

ภัตยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้าทาด้วยน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ใคร่จะเป็นผู้

ฟังธรรมบ้าง.

พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย กล่าวว่า แม้ถ้าว่า พวกมนุษย์ไม่ต้อง

การให้ภิกษุกล่าวธรรม ธรรดาว่า ธรรมกถา (การแสดงธรรม) เพื่อการ

สงเคราะห์ประชุมชน ภิกษุนั้นพึงกระทำทีเดียว. จริงอยู่ ธรรมดาว่า ธรรมกถา

ที่จะพ้นไปจากกรรมฐานย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุฉันอาหารด้วยกรรม-

ฐานสีสะนั่นแหละ เสร็จแล้วกล่าวอนุโมทนา ภิกษุนั้นผู้อันมนุษย์ทั้งหลายตาม

ไปส่งอยู่ ออกไปจากหมู่บ้านแล้ว ควรให้มนุษย์เหล่านั้นกลับแล้วก็เดินไป

ตามทาง. ลำดับนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลายผู้ออกไปสู่บ้านก่อนกว่า

มีภัตกิจอันกระทำแล้วภายนอกบ้านเทียว เห็นภิกษุนั้น ซึ่งกำลังเดินมา ก็

พากันไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน.

ได้ยินว่า ภิกษุในปางก่อนทั้งหลาย มิได้เลือกว่า ผู้นี้เป็นพระ-

อุปัชฌายะของเรา ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา (หรือไม่) แล้วการทำวัตร คือ

ย่อมกระทำการกำหนดถึงภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเท่านั้น.

สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ถามภิกษุนั้นว่า ท่านขอรับ พวก

มนุษย์เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นผู้เกี่ยวดองทางโยมมารดา หรือทางบิดา.

ภิกษุนั้นตอบว่า พวกเธอเห็นอะไร จึงถาม.

พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ตอบว่า พวกกระผมเห็นความรัก

ของชนเหล่านั้นมีมากมายในท่าน.

ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมใดแม้มารดาบิดาของ

เรากระทำได้ยาก แต่มนุษย์พวกนี้กระทำได้ แม้บาตรและจีวรอันเป็นของใช้อยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

ของพวกเรา ด้วยอานุภาพแห่งชนเหล่านั้น พวกเราย่อมไม่รู้ถึงภัยในเวลามีภัย

ไม่รู้ถึงความอดอยากในเวลาข้าวยากหมากแพง ชนทั้งหลายผู้เช่นกับมนุษย์ผู้มี

อุปการะเหล่านี้ ของพวกเราย่อมไม่มี ดังนี้ เมื่อกล่าวชมเชยคุณของมนุษย์

เหล่านั้น เดินไปอยู่.

ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป แต่ไม่นำกลับมา.

อนึ่ง เมื่อภิกษุใดทำวัตรปฏิบัติมีประการตามที่กล่าวแล้วแต่เช้า ความ

ร้อนเกิดแต่กรรม (กมฺมชฺชเตโช) ของท่านย่อมโพลง ปล่อยซึ่งอนุปาทินนกรูป

แล้วถือเอาอุปาทินนกรูป เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากสรีระ ย่อมไม่สามารถ

ก้าวขึ้นสู่วิถีแห่งกรรมฐานได้. ภิกษุนั้นถือเอาบาตรและจีวรแต่เช้า ไหว้พระ-

เจดีย์โดยรวดเร็ว ออกไปสู่บ้านในเวลาเป็นที่ออกไปแห่งฝูงโคนั่นแหละ ได้

ข้าวยาคูแล้วนำไปสู่อาสนศาลา ดื่มอยู่. ลำดับนั้น เตโชธาตุอันเกิดจากกรรม

ก็ปล่อยวางอุปาทินนกรูป ถือเอาอนุปาทินนกรูป. ภิกษุนั้นถึงความดับความ

เร่าร้อนอันเกิดจากเตโชธาตุเสียได้ เหมือนอาบน้ำตั้งร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูด้วย

กรรมฐานสีสะ ล้างบาตรและปากเสร็จแล้ว ก็มนสิการกรรมฐานในระหว่าง

เวลาแห่งภัต เที่ยวไปเพื่อบิณฑะในสถานที่เหลือ ฉันอาหารด้วยกรรมฐานสีสะ

จำเดิมแต่กาลนั้นมา ก็ถือปฏิบัติกรรมฐาน อันเธอถูกต้อง เอาใจใส่อยู่นั่น-

แหละกลับมาอยู่.

ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานกลับมา แต่ไม่นำไป.

ก็ภิกษุผู้เช่นนี้ ดื่มข้าวยาคูแล้วปรารภวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตใน

พุทธศาสนาเหลือที่จะนับ. ในทวีปสีหฬนั่นแหละในอาสน ศาลาแห่งหมู่บ้าน

นั้น ๆ พวกภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูในที่นั้นแล้ว ไม่บรรลุพระอรหัต มิได้มี.

ก็ภิกษุใด เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท มีธุระอันทอดทิ้งเสียแล้ว

ทำลายวัตรทั้งปวงแล้ว มีจิตพัวพันด้วยเครื่องผูกจิต ๕ อย่าง (นิวรณ์ ๕) อยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ไม่มีสัญญาในกรรมฐาน แม้เรียนมาแล้ว เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ เป็นผู้

คลุกคลีแล้ว โดยการคลุกคลีอันเป็นของคฤหัสถ์ อันไม่สมควร เที่ยวไปด้วย

ฉันอาหารด้วย (ทั้งเที่ยวทั้งกิน) ไร้ประโยชน์ก้าวไป ๆ (ทั้งไปทั้งกลับ).

ภิกษุเช่นนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมไม่นำกรรมฐานไป ย่อมไม่

นำกรรมฐานกลับมา.

ส่วนภิกษุใด ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุนี้ ย่อมนำกรรมฐานไปด้วย

ย่อมนำกับมาด้วย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบภิกษุนั้น ด้วยสามารถแห่งวัตร

ของภิกษุผู้นำไปและนำกลับมา ซึ่งเป็นนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ใคร่ประโยชน์บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว

อยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง

ย่อมกระทำกติกวัตรว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านมิได้บวชหนีหนี้ มิได้

บวชหนีภัย มิได้บวชเพื่อเลี้ยงชีพ แต่พวกท่านเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้น

จากทุกข์ จึงบวชในพระพุทธศาสนานี้ เพราะฉะนั้น ถ้ากิเลสเกิด

ขึ้นในเวลาเดิน พวกท่านจงข่มกิเลสในขณะเดินนั้นนั่นแหละ กิเลส

เกิดขึ้นในเวลายืน นั่ง นอน ก็จงข่มกิเลสในเวลายืน นั่ง นอน

นั้นนั่นแหละ ดังนี้.

ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อไปภิกขาจาร ย่อม

มนสิการกรรมฐานด้วยสัญญาแห่งแผ่นหินที่มีอนยู่ในระหว่างกึ่งอุสุภะบ้าง หนึ่ง

อุสุภะบ้าง กึ่งคาวุตบ้าง หนึ่งคาวุตบ้าง. ถ้ากิเลสของใคร ๆ เกิดขึ้นในขณะ

เดินไซร้ ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นในที่นั้นนั่นแหละ แล้วจึงไป. เมื่อไม่อาจข่ม

ได้ เธอก็จะหยุดอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ภิกษุผู้มาข้างหลังของเธอก็ต้องหยุด

ด้วย. ภิกษุ (ผู้หยุดก่อน) คิดว่า ภิกษุนี้ ย่อมรู้วิตกของเราที่เกิดขึ้น ข้อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

นี้ไม่สมควรเลย ติเตียนตนเองเช่นนี้แล้ว ยังวิปัสสนาให้เจริญก้าวลงสู่อริยภูมิ.

เมื่อกิเลสเกิดขึ้นเวลานั่ง เธอก็จะนั่งอยู่นั่นแหละ แม้ภิกษุผู้มาทีหลังของเธอก็

ย่อมนั่งด้วย . . . .เช่นนั้นนั่นแหละ. เมื่อเธอไม่สามารถก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็จะ

มนสิการกรรมฐานข่มกิเลสนั้นแล้ว จึงลุกไป. ภิกษุนั้น ย่อมไม่ยกเท้าขึ้นด้วย

จิตปราศจากกรรมฐาน. ถ้ายกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจากกรรมฐานไซร้ ท่านก็จะ

กลับไปเดินตั้งต้นมาใหม่ในสัญญาแห่งเท้าก้าวแรกทีเดียว เหมือนพระเถระชื่อ

ว่า มหาปุสสเทวะ ผู้อยู่ที่อาลินทกประเทศ.

ได้ยินว่า พระเถระนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนั่นแหละถึง ๑๙ พรรษา.

นัยว่า แม้พวกมนุษย์ผู้ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว กระทำการงานต่าง ๆ

ในระหว่างทาง เห็นพระเถระผู้ไปอยู่เช่นนั้น ก็สนทนากันอย่างสนุกว่า พระ-

เถระนี้ กลับไปกลับมา ท่านคงจะหลงทาง หรือท่านลืมอะไร ดังนี้.

พระเถระไม่อนาทรถ้อยคำนั้น กระทำสมณธรรมอยู่ด้วยจิตอันประกอบ

ด้วยกรรมฐานนั่นแหละ บรรลุพระอรหัตแล้วในระหว่างแห่งพรรษา ๒๐ นั้น

แล. ก็ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงอยู่ในที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรม

ของท่าน ได้ยืนยังประทีปให้โชติช่วงด้วยนิ้วมือทั้งหลาย แม้ท้าวมหาราชทั้ง

๔ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ไปสู่ที่บำรุง.

พระเถระชื่อว่า มหาติสสะ ผู้มีปกติอยู่ในป่า เห็นโอภาสนั้น จึงถาม

ท่านในวันที่สองว่า ในเวลาราตรี โอภาสได้มีในสำนักของท่านผู้มีอายุ นั่น

เป็นโอภาสอะไร.

พระเถระนั้น ไม่ประสงค์จะบอก จึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า โอภาส

ย่อมเป็นโอภาสแห่งประทีปก็มี เป็นโอภาสแห่งแก้วมณีก็มี เป็นต้น ต่อจากนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ท่านถูกรบเร้าว่า ขอท่านจงบอกโอภาสนั้น ดังนี้ ท่านจึงรับคำว่า ครับ จะบอก

แล้วท่านจึงบอกเนื้อความนั้นแล้ว.

ก็เรื่องของพระเถระผู้ปฏิบัติกรรมฐานเช่นนี้ เหมือนกับเรื่องของ

พระเถระชื่อว่า มหานาค ผู้มีปกติอยู่ในมณฑป ชื่อว่า กาลวัลลิ.

ได้ยินว่า พระมหานาคเถระรูปนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้

อธิษฐานอิริยาบถเพียงการยืน และการจงกรมเท่านั้น ตลอด ๗ ปี โดยคิดว่า

เบื้องต้น เราจักบูชามหาปธาน (คือความเพียรใหญ่) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก่อน ดังนี้ ต่อมาท่านก็บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีกตลอด ๑๖ ปี จึงบรรลุพระ-

อรหัต.

ก็ท่านพระมหานาคนั้น ยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐาน

นั่นแหละ ครั้นเมื่อยกขึ้นปราศจากกรรมฐาน ก็จะหวนกลับไปสู่ที่ใกล้บ้าน

ยืนอยู่ในประเทศอันเป็นที่สงสัยว่า นั่นเป็นแม่โคหรือหนอ หรือว่าเป็นบรรพ-

ชิต ห่มจีวร ล้างบาตรด้วยน้ำจากคนโทที่หนีบรักแร้มา แล้วอมน้ำคำหนึ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมาอยู่เพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ ความ

ส่ายไปแห่งกรรมฐานอย่าได้มี แม้ด้วยสักแต่คำว่า ขอพวกท่าน จงเป็นผู้มี

อายุยืน ดังนี้.

ก็ภิกษุนั้นถูกมนุษย์ทั้งหลาย ถามถึงการนับวันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

วันนี้เป็นวันอะไร หรือถามจำนวนภิกษุ หรือถามปัญหา จึงกลืนน้ำแล้วบอก.

ถ้าผู้ถามถึงวันเป็นต้นไม่มี ภิกษุนั้นก็จะบ้วนน้ำทิ้งที่ประตูแห่งบ้านนั่นแหละ

ในเวลาเป็นที่จากไป แล้วจึงไป. อนึ่ง เรื่องนี้เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้อยู่

จำพรรษาในวิหาร ชื่อว่า คลัมพุติตถะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ทำกติกวัตรในวันเพ็ญอาสาฬหะว่า พวก

เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุ

เหล่านั้น เมื่อจะเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ กระทำการอมน้ำอมหนึ่งแล้วจึงเข้า

ไป เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้ว. พวกมนุษย์

เห็นที่เป็นที่บ้วนน้ำทิ้งในที่นั้นก็จะทราบว่า วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าของเรามาองค์

เดียว หรือสององค์ ดังนี้. ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้

ย่อมไม่สนทนากับพวกเราเท่านั้นหรือหนอ หรือไม่สนทนากะกันและกัน ดังนี้

ถ้าว่าพวกท่านไม่สนทนากะกันและกันไซร้ ท่านจักต้องวิวาทกันแน่ พวกเรา

จงมา เราจักให้ภิกษุเหล่านั้นอดโทษกะกันและกัน ดังนี้. พวกมนุษย์ทั้งหมด

พากันไปสู่วิหาร ก็บรรดาภิกษุ ๕๐ รูป ภิกษุแม้สองรูปอยู่ในโอกาสเดียวกัน

มิได้มี ในมนุษย์เหล่านั้นคนที่มีปัญญา กล่าวในเวลานั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย โอกาสอันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ทะเลาะกันไม่เป็นเช่นนี้ ลานพระเจดีย์

ลานพระมหาโพธิ์ อันพระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ปัดกวาดดีแล้ว ไม่กวาดทั้งหลาย

ท่านก็เก็บไว้เรียบร้อย ทั้งน้ำฉันน้ำใช้ท่านก็จัดตั้งไว้อย่างดี ดังนี้ พวกมนุษย์

เหล่านั้น จึงพากันกลับไปจากที่นั้นทีเดียว.

ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตภายใน ๓ เดือนนั่นแหละ ปวารณา

แล้วซึ่งสุทธิปวารณา ในวันมหาปวารณา.

ภิกษุเหล่านั้น ยกเท้าขึ้นด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานนั่นแหละ

เหมือนพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ที่กาลวัลลิมณฑป และเหมือนภิกษุ ๕๐รูป

ผู้จำพรรษาในคลัมพุติตถวิหาร อย่างนี้คือ ภิกษุผู้ปฏิบัตินั้นไปสู่ที่ใกล้บ้าน

แล้วจึงทำการอมน้ำอมหนึ่ง แล้วก็กำหนดทางทั้งหลาย จะดำเนินไปสู่วิถีที่

พวกชนไม่ทะเลาะกัน ไม่มีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างร้ายม้าร้ายไม่มีอยู่ในที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

นั้น เมื่อเธอเที่ยวไปในบ้านเพื่อบิณฑะ ไม่ควรไปโดยกระตือรือร้น เหมือน

ชนทีมีธุระด่วน เพราะว่า ชื่อว่า ปิณฑปาติกธุดงค์ (องค์คุณเครื่องกำจัด

กิเลสของภิกษุผู้ถือการฉันอาหารจากการบิณฑบาตเป็นวัตร)ไรๆ เช่นนั้นไม่มี.

ย่อมเป็นผู้ไม่หวั่นไหวดำเนินไป เหมือนเกวียนบรรทุกน้ำถึงที่ไม่เสมอกัน ไป

อยู่. อันภิกษุผู้เข้าไปสู่ระหว่างบ้าน ควรรอคอยเวลาอันสมควรแก่ภัตนั้น เพื่อ

กำหนดถึงผู้ประสงค์จะถวาย หรือไม่ถวาย ถ้ารับภิกษาได้แล้วจะเป็นภายในบ้าน

หรือภายนอกบ้านก็ตาม แล้วก็จะมาสู่วิหารนั่นแหละ นั่งในโอกาสอันเหมาะสม

ตามความผาสุก มนสิการกรรมฐานอยู่ ยังปฏิกูลสัญญาในอาหารให้เกิดขึ้น

ย่อมพิจารณาอาหารนั้น ด้วยสามารถแห่งการเปรียบเทียบกับน้ำมันหยอดเพลา-

รถ เปรียบเทียบกับผ้าพันแผล และเปรียบกับเนื้อบุตร แล้วจึงฉันอาหาร

ประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นผู้มีปกติฉันอาหารโดยมนสิการว่า เนว ทฺวาย น

มทาย ฯลฯ ผาสุวิหาโร จ ดังนี้.

เนว ทวาย มิใช่เพื่อเล่น

น มทาย มิใช่เพื่อมัวเมา

น มณฺฑนาย มิใช่เพื่อประดับ

น วิภูสนาย มิใช่เพื่อตกแต่ง

ยารเทว อิมสฺส กายสฺส เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่เป็นไป

ิติยา ยาปนาย วิหึสุปรติยา เพื่อระงับเสียซึ่งความเบียดเบียน

พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์

อิติ ปุราณญฺจ เวทน

ปฏิหงฺขามิ จะกำจัดเวทนาเก่า

นวญฺจ เวทน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

น อุปฺปาเทสฺสามิ จักมิให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น

ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ ความเป็นไป ความไม่มีโทษ

อนวชฺชตา จ ผาสุ วิหาโร จ และการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา.

ครั้นทำกิจด้วยน้ำเสร็จแล้ว ก็สงบจิตพิจารณาถึงความลำบากในการ

แสวหาภัต สักครู่หนึ่ง ในเวลาปุเรภัต พิจารณาอย่างไร ในปัจฉา-

ภัตก็อย่างนั้น มนสิการอยู่ ซึ่งกรรมฐานนั่นแหละตลอดปุริมยาม และ

ปัจฉิมยาม.

ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า ย่อมนำกรรมฐานไป และย่อมนำกรรมฐาน

กลับ แล.

ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือ การนำกรรมฐานไปและนำ

กรรมฐานกลับนี้ ถ้าเธอมีอุปนิสสัยอันถึงพร้อมแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัต

ในปฐมวัยนั่นแหละ ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุ

ในมัชฌิมวัยก็จะบรรลุในปัจฉิมวัย ถ้าในปัจฉิมวัยไม่บรรลุ ก็จะบรรลุใน

มรณสมัย (เวลาใกล้ตาย) ถ้าไม่บรรลุในมรณสมัย เกิดเป็นเทพบุตรแล้ว

ย่อมบรรลุ ถ้าเป็นเทพบุตรแล้วไม่บรรลุ เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอุบัติขึ้น

เธอเกิดขึ้นแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ ถ้าไม่ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ

ย่อมจะเป็นผู้ตรัสรู้เร็วพลันเสมอต่อพระสาวกทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เหมือน

พระพาหิยทารุจิริยเถระ. หรือเป็นผู้มีปัญญามากเหมือนพระสารีบุตร หรือเป็น

ผู้มีฤทธิ์มากเหมือนพระมหาโมคคัลลานะ หรือเป็นผู้ทรงธุดงค์คุณเหมือน

พระมหากัสสปเถระ หรือเป็นผู้มีทิพยจักษุ เหมือนพระอนุรุทธเถระ หรือ

เป็นผู้ทรงพระวินัยเหมือนพระอุบาลีเถระ หรือเป็นพระธัมมกถึกเหมือนพระ-

ปุณณมันตานีบุตร หรือเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเหมือนพระเรวตเถระ หรือจะเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

พหูสูตเหมือนพระอานนทเถระ หรือเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนพระราหุล-

พุทธบุตร. ในกรรมฐานอันประกอบด้วยหมวด ๔ นี้ ภิกษุใด ย่อมนำ

กรรมฐานไปด้วย ย่อมนำกรรมฐานกลับมาด้วย โคจรสัมปชัญญะของเธอ

ชื่อว่า ถึงสุดยอด แล.

ก็การไม่หลงลืมในอิริยาบถทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น

ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงทราบข้อนั้น ดังต่อไปนี้

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้า หรือถอยมาข้างหลัง ไม่

หลงใหลอยู่ เหมือนปุถุชนผู้อันธพาลหลงใหลอยู่ว่า อัตตา ย่อมก้าวไปใน

อิริยาบถทั้งหลายมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น การก้าวไปสำเร็จได้

ด้วยอัตตา หรือว่า เราย่อมก้าวไป การก้าวไปสำเร็จได้ด้วยเรา ดังนี้

อันที่จริงครั้นเมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไป ดังนี้. วาโยธาตุอันมีจิตเป็น

สมุฏฐานเกิดขึ้น กับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังการเคลื่อนไหวให้เกิดขึ้นอยู่.

ด้วยอาการอย่างนี้ โครงกระดูกอันสมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไป ด้วยสามารถ

แห่งการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเกิดจากการทำของจิต. เมื่อการยกเท้าขึ้นข้าง

หนึ่ง อยู่อย่างนี้ ธาตุทั้งสอง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีประมาณต่ำ มีกำลัง

น้อย ธาตุทั้งสอง นอกจากนี้ (คือ วาโยธาตุ เตโชธาตุ) มีปริมาณมาก มี

กำลังมาก. การยกเท้าไป หรือไปแล้ว ก็เหมือนกัน. ในการลดเท้าลง ธาตุ

ทั้งสอง คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มีประมาณต่ำ มีกำลังน้อย ส่วนธาตุทั้งสอง

นอกนี้ มีประมาณมาก มีกำลังมาก. ในการวางเท้าลง และการยับยั้งเท้าไว้

ก็เหมือนกัน. ในการเป็นไปนี้ รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปใน

การยกเท้าขึ้นนั้น (เกิดดับไปแล้ว) ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไป. รูปธรรมและ

อรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะนำเท้าไปนั้น ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไปแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะก้าวเท้าไปแล้ว ย่อมไม่ถึงการลดเท้าลง.

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในขณะลดเท้าลง ย่อมไม่ถึงการวาง

เท้าลง. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายในขณะวางเท้าลง ย่อมไม่ถึงการยับยั้ง

เท้าไว้. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ เป็นส่วน

หนึ่ง ๆ เป็นสนธิหนึ่ง ๆ เป็นเขตหนึ่ง ๆ ย่อมแตกทำลายไป ราวกะเมล็ด

งาที่เขาใส่ในกระเบื้องร้อน ส่งเสียงดัง ตะตะ ฉะนั้น. ในการเป็นไปเช่นนี้

มีใครหรือที่ก้าวไป หรือว่า เป็นการก้าวไปของใคร. อันที่จริง เมื่อ

ว่าโดยปรมัตถ์แล้ว เป็นการไปของธาตุทั้งหลายเท่านั้น เป็นการยืนของธาตุ

ทั้งหลาย เป็นการนั่งของธาตุทั้งหลาย เป็นการนอนของธาตุทั้งหลาย (หมาย

ความว่า เป็นอาการของธาตุทั้งหลายเท่านั้น). ด้วยว่าในโกฏฐาสนั้น ๆ จิต

ดวงหนึ่งเกิดขึ้นกับด้วยรูปทั้งหลาย จิตดวงหนึ่งย่อมดับไป คุจกระแสน้ำซึ่ง

เกี่ยวเนื่องตามกันไปไม่ขาดสายเป็นไปอยู่ ฉะนั้น. การไม่หลงใหลในอิริยาบถ

ทั้งหลาย มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมห-

สัมปชัญญะ ฉะนี้แล.

จบเนื้อความแห่งบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี

โหติ เพียงนี้.

อธิบาย อาโลกิเต (การแลไปข้างหน้า) วิโลกิเต (การแลดู

ข้าง ๆ)

ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การเพ่งดูข้างหน้า ชื่อว่า อาโลกิตะ.

การเพ่งดูทิศน้อยทั้งหลาย ชื่อว่า วิโลกิตะ. แม้การเพ่งดูทิศอื่น ๆ ด้วยสามารถ

แห่งการเพ่งดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง ก็ชื่อว่า โอโลกิตะ (ดูข้างล่าง) อุล-

โลกิตะ (ดูข้างบน) อปโลกิตะ (ดูข้างหลัง). การแลดู ๓ อย่างนั้น ท่านมิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ได้ถือเอา ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ ด้วยว่า การแลดูสองอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยสามารถแห่งความเหมาะสม. อีกอย่าง

หนึ่ง เมื่อว่าโดยหัวข้อที่เป็นประธานแล้ว การแลดูเหล่านั้น แม้ทั้งหมดก็รวม

อยู่ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้แหละ.

ในบรรดาการแลดูเหล่านั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดูข้างหน้า

ดังนี้ มิได้แลดูด้วยสามารถสักแต่จิตเท่านั้น ต้องกำหนดถือเอาประโยชน์ด้วย

จึงชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.

สาตถกสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยทำท่านพระนันทะให้

เป็นองค์พยานดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะ

จะพึงแลดูทิศเบื้องหน้าไซร้ พระนันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้วแลดูทิศ

ข้างหน้า เพราะว่าเมื่อแลดูทิศข้างหน้าอยู่อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายอันเป็นอกุศล

อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตาม ด้วยอาการอย่างนี้แล

ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในธรรมอันเป็นไปกับด้วยประโยชน์ (หรือ

ชื่อว่า สาตถกสัมปชานะ).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระนันทะ จะพึงแลดูทิศเบื้องหลัง (ตะวันตก)

ไซร้. จะพึงแลดูทิศเหนือ. จะพึงแลดูทิศใต้. จะพึงแลดูเบื้องล่าง. เบื้องบน.

จะพึงแลดูทิศน้อย นันทะก็จะพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้ว จึงแลดูทิศน้อยอยู่

เพราะว่า เมื่อแลดูทิศน้อยอยู่อย่างนี้..... ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีสัมปชานะ (คือ

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในประโยชน์) ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ในคำว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ บัณฑิตพึงทราบ

โดยความเป็นไปกับด้วยประโยชน์ และความเป็นไปแห่งสัปปายะ ด้วยสามารถ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

แห่งการเห็นพระเจดีย์เป็นต้น ตามที่กล่าวไว้ในก่อนนั่นแหละ. ก็โคจรสัมป-

ชัญญะ มิได้เว้นจากกรรมฐาน. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการแลดูข้างหน้า

การแลดูข้าง ๆ ด้วยกรรมฐานสีสะนั่นแหละ โดยความสามารถแห่งกรรมฐาน

อันเป็นของตน มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นที่ตั้ง. ก็ภายในแห่งร่างกายนี้

ชื่อว่า อัตตา เป็นผู้แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้างหลัง มิได้มีเลย. ก็แต่ว่า

เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า จักแลดูข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุ อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน

กับด้วยจิตนั้นนั่นแหละ ยังความเคลื่อนไหว (วิญญัติรูป) แห่งรูปให้เกิดขึ้น

ทันทีนั้นเอง หนังตาอันเป็นส่วนเบื้องล่าง ก็จมลงข้างล่าง หนังตาอันเป็นส่วน

เบื้องบน ก็จะเลิกขึ้นไปเบื้องบน ด้วยอำนาจแห่งการแผ่ขยายไปของวาโยธาตุ

อันเป็นการกระทำของจิต. ใคร ๆ ชื่อว่า เปิด (ตา) อยู่ด้วยเครื่องยนต์ มิได้

มี. ในลำดับนั้น จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้นยังทัสสนกิจให้สำเร็จอยู่ การรู้อย่าง

นี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้.

ก็อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถ

แห่งความเป็น มูลปริญญา อาคันตุกะ และตาวกาลิกะ ต่อไป.

ว่าโดยมูลปริญญา (ความรอบรู้ถึงมูล) ก่อน

ภวงฺคมาวชฺชนฺเจว ทสฺสน สมฺปฏิจฺฉน

สนฺตีรณ โวฏฺพฺพน ชวน ภวติ สตฺตม.

แปลว่า ภวังคจิต อาวัชชนจิต จักขุวิญญาณจิต สัมปฏิจฉนจิต

สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต จากนั้นชวนจิต ย่อมเกิด ๗ ครั้ง.

บรรดาจิตเหล่านั้น ภวังคจิต ย่อมยังกิจอันเป็นส่วนแห่งอุปปัตติภพ

ให้สำเร็จเป็นไป เพราะการดับไปซึ่งภวังค์นั้น กิริยามโนธาตุ จึงยังอาวัชชน-

กิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนธาตุนั้น จักขุวิญญาณจิต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

จึงยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งจักขุวิญญาณจิต วิปาก-

มโนธาตุ จึงยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งวิปากมโน-

ธาตุนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุ จึงยังสันตีรณกิจให้สำเร็จเป็นไป เพราะ

การดับไปแห่งวิปากมโนวิญญาณธาตุนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุ จึงยังโวฏ-

ฐัพพนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนวิญญาณธาตุนั้น

ชวนจิต จึงแล่นไป ๗ ครั้ง.

ในชวนจิตเหล่านั้น การแลดูข้างหน้า ๆ หรือแลดูข้าง ๆ ว่า นี้เป็น

หญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารณแห่งความยินดี ยินร้าย และความหลงใหล

ย่อมไม่มีแม้ในชวนจิตดวงที่หนึ่ง. แม้ในชวนจิตที่ ๒ ฯลฯ แม้ในชวนจิตที่

๗. ก็ครั้นเมื่อชวนจิตเหล่านั้นแตกทำลายไป ด้วยสามารถแห่งการแตกดับตั้ง

แต่ต้นจนสุดท้าย ราวกะว่าทหารในสนามรบถูกทำลายไปอยู่ การแลดูข้างหน้า

หรือการแลดูข้าง ๆ ว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารถแห่งความยินดี

เป็นต้น จึงมี.

บัณฑิตพึงทราบอสัมโมหสัปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งมูลปริญญา

ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยความเป็นแห่งอาคันตุกะ (ด้วยสามารถแห่งความเป็นดัง

แขกผู้มาหา)

ก็ในจักขุทวาร ครั้นเมื่อรูปมาสู่คลองแล้ว โดยการเคลื่อนไปแห่ง

ภวังค์ในเบื้องบน บรรดาจิตทั้งหลาย มีอาวัชชนจิตเป็นต้น เกิดขึ้น ด้วย

สามารถแห่งการยังกิจของตน ๆ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ในที่สุดชวนจิตก็เกิดขึ้น.

วนจิตนั้น ย่อมเกิดในจักขุทวารอันเป็นเรือน ของอาวัชชนจิตเป็นต้น ซึ่ง

เกิดขึ้นก่อน เหมือนบุรุษผู้เป็นแขก (ผู้จรมา). เมื่อบุรุษผู้เป็นแขกนั้นเข้าไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

เพื่อจะขออะไร ๆ ในบ้านของผู้อื่น ไม่ควรทำร้ายแม้ในเจ้าของแห่งบ้าน ผู้

นั่งนิ่งเฉยอยู่ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้น อันไม่ยินดี ไม่ยินร้าย และ

ไม่หลง ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ความยินดี ความ

ยินร้าย ความหลงใหล ก็ไม่ควรมี ฉันนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ

ด้วยสามารถแห่งความเป็นอาคันตุกะ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยความเป็นตาวกาลิกะ (คือเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง)

ก็จิตทั้งหลาย มีโวฏฐัพพนจิตเป็นปริโยสานเหล่าใดนั้น ย่อมเกิดขึ้น

ในจักขุทวาร จิตเหล่านั้นกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย ย่อมแตกดับไปในที่นั้นๆ

นั่นแหละ ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น จิตอันใดอันหนึ่งเหล่านี้

จึงชื่อว่า เป็นตาวกาลิกะ คือ เป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบ

วินิจฉัยในข้อนั้น ดังต่อไปนี้.

เมื่อหมู่มนุษย์ทั้งปวงในบ้านหลังหนึ่งตายแล้ว เวลา (อายุ) ของชน

คนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีความตายเป็นธรรมดา เขาชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง

ในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น เป็นสิ่งไม่ควรมี ฉันใด ในทวารหนึ่ง ก็ฉัน

นั้นนั่นแหละ เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นพร้อมด้วยสัมปยุตตธรรม ตายไปแล้วใน

ที่นั้น ๆนั่นแหละ ในขณะของจิตที่ยังเหลืออยู่นั้น ซึ่งก็มีความตายเป็นธรรมดา

ชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง ด้วยสามารถแห่งความยินดียินร้ายและความหลงใหล แม้

ของชวนจิตก็หาควรจะมีไม่. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่ง

ความเป็นธรรมชั่วขณะหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะนั้น ด้วย

สามารถแห่งการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุและปัจจัย.

จริงอยู่ในการพิจารณาโดยความเป็นขันธ์นั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

จักษุ และรูปทั้งหลาย เป็น รูปขันธ์

จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็น วิญญาณขันธ์

เวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณนั้น เป็น เวทนาขันธ์

สัญญา เป็น สัญญาขันธ์

ผัสสะ เป็นต้น เป็น สังขารขันธ์

ด้วยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้าง ๆ

เป็นเพราะการประชุมกันแห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ จึงปรากฏเกิดขึ้นได้.

ในที่นี้ มีใครสักคนหนึ่งหรือ ที่แลดูไปข้างหน้า หรือย่อมแลดูข้าง ๆ.

โดยทำนองเดียวกัน ย่อมพิจารณาโดยความเป็นอายตนะ คือ

จักษุ เป็น จักขวายตนะ

รูป เป็น รูปายตนะ

จักขุวิญญาณที่ทำทัสสนกิจ เป็น มนายตนะ

ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ

มีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็น ธัมมายตนะ

โดยประการฉะนี้ การแลดูไปข้างหน้าและการแลดูข้าง ๆ

ย่อมปรากฏเกิดขึ้นได้เพราะการประชุมกันแห่งอายตนะ ๔ เหล่านั้น.

ในที่นี้ จะมีใครสักคนหรือที่แลดูข้างหน้า หรือแลดูข้าง ๆ. โดย

ความเป็นธาตุก็เหมือนกันนั่นแหละ คือ

จักษุ เป็น จักขุธาตุ

รูป เป็น รูปธาตุ

จักขุวิญญาณ เป็น จักขุวิญญาณธาตุ

ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณมีเวทนาเป็นต้นนั้น เป็น ธัมมธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

ด้วยอาการอย่างนี้ การแลดูข้างหน้า การแลดูข้าง ๆ ในเพราะการ

ประชุมกัน แห่งธาตุ ๔ เหล่านั้น จึงปรากฏขึ้น ในที่นี้ ใครเล่าที่แลดูข้างหน้า

หรือแลดูข้าง ๆ. ว่าโดยความเป็นปัจจัย ก็เช่นเดียวกัน คือ

จักษุ เป็น นิสสยปัจจัย

รูป เป็น อารัมมณปัจจัย

อาวัชชนจิต เป็น อนันตระ สมนันตระอนันตรูปนิสสยะนัตถิวิคตปัจจัย

อาโลกะ (แสงสว่าง) เป็น อุปนิสสยปัจจัย

เวทนา เป็นต้น เป็น สหชาตปัจจัย เป็นต้น

ด้วยประการฉะนี้ จึงปรากฏเป็นการแลดูข้างหน้า แลดูข้างๆ

ในเพราะการประชุมกันแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้. ในที่นี้ มีใคร

เล่าสักคนหนึ่งหรือที่แลดูข้างหน้า แลดูข้าง ๆ ดังนี้. พึงทราบ

อสัมโมหสัมปชัญญะ ในคำว่าอาโลกิเต วิโลกิเต นี้ แม้ด้วยความ

สามารถแห่งการพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และความเป็น

ปัจจัย ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

อธิบาย สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต สมฺปชานการี โหติ

(แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ ในการคู้อวัยวะเข้า และเหยียด

อวัยวะออก)

คำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ การคู้อวัยวะเข้า และการ

เหยียดอวัยวะออก แห่งข้อต่อทั้งหลาย. ในที่นี้ ภิกษุไม่ได้ทำการคู้และการ

เหยียดอวัยวะด้วยสามารถแห่งจิตเท่านั้น ต้องกำหนดถึงประโยชน์และสิ่งมิใช่

ประโยชน์ในเพราะการคู้และการเหยียดแห่งข้อมือข้อเท้าเป็นปัจจัย แล้วกำหนด

ถือเอาแต่ประโยชน์ในการคู้เข้าเหยียดออกนั้นได้ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

พึงทราบวินิจฉัย ในข้อนี้ต่อไป.

เมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะแห่งข้อมือและข้อเท้านานเกินไป หรือว่าเหยียด

ออกนานเกินไป ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้นทุก ๆ ขณะ จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา

กรรมฐานก็ย่อมตกไป ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษ.

ก็ถ้าเมื่อภิกษุนั้น คู้อวัยวะเข้าในเวลาอันควร เมื่อเหยียดอวัยวะออก

ในเวลาอันควร ทุกขเวทนาย่อมไม่เกิด จิตย่อมเป็นธรรมชาติสงบ กรรมฐาน

ย่อมถึงการแผ่ไป ย่อมบรรลุคุณวิเศษ พึงทราบกำหนดประโยชน์และสิ่ง

ที่มิใช่ประโยชน์อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ครั้นเมื่อประโยชน์แม้มีอยู่ การ

กำหนดสัปปายะ แล้วถือเอาแต่สัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ.

ในการคู้อวัยวะเข้าและการเหยียดอวัยวะออกนั้น มีนัยดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มทั้งหลาย สาธยายพุทธพจน์อยู่ที่ลานพระมหา-

เจดีย์ ภิกษุณีทั้งหลาย กำลังฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุหนุ่มนั้น. บรรดาภิกษุ

เหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เหยียดมือออกไปถูกต้องกายนางภิกษุณีสาวแล้ว

จึงเป็นเหตุให้เธอต้องลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์. อีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้าออก

ไป ก็เหยียดไปที่กองไฟ ไฟไหม้เท้าของเธอจนจดกระดูก. อีกรูปหนึ่งเหยียด

ไปที่จอมปลวก เธอได้ถูกอสรพิษกัดเอาแล้ว. อีกรูปหนึ่ง เหยียดออกไปที่

ราวจีวร ก็ถูกงูเขียวกัดแล้ว. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงเหยียดมือเหยียดเท้าใน

อสัปปายะเห็นปานนี้ ควรเหยียดออกไปในสัปปายะ. นี้ชื่อว่า สัปปาย-

สัมปชัญญะ ในข้อนี้ แล.

ว่าด้วยโคจรสัมปชัญญะ

ก็โคจรสัมปชัญญะ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ได้ยินว่า พระมหาเถระ นั่งพักในที่พักในเวลากลางวัน สนทนา

กันอยู่กับอันเตวาสิกทั้งหลาย เผลอเหยียดมือออกไปโดยเร็ว แล้วก็ชักมือกลับ

มาวางไว้ที่เดิมแล้วก็ค่อย ๆ เหยียดออกไป. พวกอันเตวาสิก ถามท่านว่า

เพราะอะไรขอรับ ท่านเหยียดมือออกไปโดยเร็ว แล้วชักมือมาวางไว้ที่เดิมอีก

แล้วค่อย ๆ เหยียดออกไป. ท่านตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จำเดิม

แต่เราเริ่มเพื่อมนสิการกรรมฐาน เราไม่เคยเหยียดมือออกไปพ้นจากกรรมฐาน

แต่บัดนี้ เรากำลังสนทนากับพวกเธออยู่ปล่อยกรรมฐานเหยียดมืออกไปแล้ว

เพราะฉะนั้นจึงชักมือกลับมาวางไว้ตามเดิมแล้วจึงเหยียดไปอีก. พวกอันเตวาสิก

เหล่านั้น พากันสาธุการว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ธรรมดาภิกษุพึงเป็น

เช่นนี้.

แม้ในคำว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต นี้ พึงทราบว่าเป็นสภาวะไม่

เว้นจากกรรมฐานนั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ คือ

ธรรมดาว่า อัตตาอะไร ๆ ในภายใน คู้อวัยวะเข้า หรือเหยียดอวัยวะ

ออก มิได้มี ก็การกำหนดว่า การคู้อวัยวะเข้า การเหยียดอวัยวะออก

ย่อมมีได้ ด้วยการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิตมี

ประการตามที่กล่าวแล้ว เป็นเหมือนหุ่นยนต์เคลื่อนไหวเท้าและมือ

ได้ ด้วยสามารถแห่งการดึงเส้นด้าย ฉะนั้น ในลักษณะอย่างนี้ จึงชื่อว่า

อสัมโมหสัมปชัญญะ.

ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ (แปลว่า เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติ

ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร) การใช้สอยสังฆาฏิและจีวรด้วยสามารถ

แห่งการนุ่งห่ม และการใช้บาตรด้วยสามารถแห่งการรับภิกษา ชื่อว่าการทรงไว้.

บัณฑิตพึงทราบการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ

นี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประโยชน์ในการทรงผ้าไว้มีประการต่างๆโดย

นัยเป็นต้นว่า การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งห่มแล้วเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ เพื่อ

ป้องกันความหนาว เป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่าประโยชน์ และพึงทราบว่า เป็น

สาตถกสัปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้น.

อนึ่ง จีวรเนื้อละเอียด เป็นสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีปกติร้อน มีกำลัง

ทราม. จีวรเนื้อหนาผ้าสองชั้น เป็นสัปปายะแก่ผู้มีปกติหนาว. นอกนี้เป็น

อสัปปายะ. ผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า ก็เป็นอสัปปายะเช่นกัน. เพราะว่า จีวรเก่า

ผืนนั้น ย่อมกระทำปลิโพธิให้แก่เธอโดยต้องดามไว้เป็นต้น. โดยทำนองเดียว

กัน จีวรอันเป็นที่ยินดีพอใจของโจรทั้งหลาย มีผ้าทุกูล (ผ้าชนิดดี ) ซึ่งทา

ด้วยไหม และขนสัตว์เป็นต้น ก็เป็นอสัปปายะ. จริงอยู่ ผ้าเช่นนั้น ย่อม

กระทำอันตรายแก่ภิกษุผู้นุ่งห่มคนเดียวอยู่ในป่าหรือย่อมทำอันตรายต่อชีวิตของ

เธอก็ได้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยนิปปริยายแล้ว จีวรใด เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

มิจฉาชีวะ มีการทายนิมิตเป็นต้น และจีวรใด เมื่อเธอเสพอยู่ อกุศลธรรม

ทั้งหลายย่อมเจริญ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป จีวรนั้น ๆ เป็น อสัปปายะ.

นอกจากนี้เป็น สัปปายะ.

ในข้อว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ ชื่อว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ

ด้วยสามารถแห่งการทรงผ้าสังฆาฏิและจีวรอันเป็นสัปปายะนั้น. ทั้งโคจรสัมป-

ชัญญะ ก็พึงทราบว่าไม่เว้นจากกรรมฐานเหมือนกัน คือ

ชื่อว่า อัตตา คือ ตัวตนอะไร ๆ ในภายในทำการห่มอยู่ซึ่ง

จีวร มิได้มี. ก็แต่ว่า การห่มจีวรย่อมมีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่ง

วาโยธาตุ อันเป็นการกระทำของจิต มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ในการ

ทรงจีวรนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. ทั้งจีวรก็ไม่รู้ว่า เรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

ห่มกายไว้ แม้กายเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกจีวรห่มไว้ ดังนี้. ว่าโดย

สภาวะ ธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปกปิดซึ่งหมู่แห่งธาตุด้วยกัน

เหมือนการห่อหนังสือ ด้วยท่อนผ้าเก่า ๆ เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุได้

จีวรชนิดดีมา ก็ไม่พึงโสมนัส ได้จีวรชนิดไม่ดีมา ก็ไม่พึงโทมนัส. เหมือน

อย่างว่า ในสถานที่ทั้งหลายมีจอมปลวก และต้นไม้ใหญ่เป็นต้น ใคร ๆ ย่อม

ทำสักการะที่นั้น ๆ ด้วยวัตถุทั้งหลายมีเครื่องประดับด้วยดอกไม้และของหอม

เป็นต้นก็ดี ไม่ทำสักการะโดยขว้างปาด้วยคูถ มูตร เปือกตม หรือประหารด้วย

ท่อนไม้และศัสตราเป็นต้นก็ดี จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่

โสมนัส ด้วยสิ่งนั้น ๆ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ ได้จีวรอย่างดีก็ไม่

ทำความพอใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ทำความเสียใจ. บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น

อสัมโมหสัมปชัญญะในการนุ่งห่มจีวรในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา

ความเป็นไป ดังพรรณามาฉะนี้.

แม้ในการทรงบาตร ภิกษุก็ไม่ถือบาตรโดยเร็วเกินไป เมื่อถือเอา

บาตรเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ โดยหวังว่า เราจักได้ภิกษา ดังนี้ เพราะการถือเอา

บาตรอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พึงทราบว่าเป็น สาตถกสัมปชัญญะ ด้วย

อำนาจประโยชน์อันตนควรได้. บาตรหนัก เป็นอสัปปายะแก่ภิกษุผู้มีร่างกาย

ผอม ไม่มีกำลัง. บาตรที่ทำความสะอาดไม่ดี มีตุ่มสนิมขึ้น ๔- ๕ ตุ่ม เป็น

อสัปปายะ เพราะว่าบาตรที่ภิกษุทำความสะอาดไม่ดี ไม่สมควรแก่ภิกษุ เพราะ

ว่าปลิโพธิ (ความกังวล) ย่อมมีแก่เธอผู้ชำระบาตรนั้นอยู่ทีเดียว. อนึ่ง บาตร

มีสีเหมือนแก้วมณี อันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ เป็นอสัปปายะ เหมือนนัยที่กล่าว

ไว้ในเรื่องของจีวรนั้นแหละ. ก็บาตรที่ได้มาด้วยสามารถแห่งการทายนิมิต

(หมอดู) เป็นต้นก็ดี เมื่อเธอเสพบาตรใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมก็ดี บาตรนี้ เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียว. บาตร

นอกจากนี้ เป็นสัปปายะ.

ในการทรงบาตรนี้ ชื่อว่า เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่ง

สัปปายะนั้น ๆ. และพึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่เว้นจากกรรม-

ฐานเหมือนกันคือ

ขึ้นชื่อว่า ตัวตน (อัตตา) อะไรในภายใน ถืออยู่ซึ่งบาตร หามีไม่.

ด้วยว่า การถือบาตรย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็น

การกระทำของจิต มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในฐานะเช่นนี้ แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา. บาตรย่อม

ไม่รู้ว่า เราถูกมือถือเอาไว้แล้ว แม้มือเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า บาตรอันเราถือไว้

แล้ว ดังนี้ (เมื่อมีผู้ถามแทรกมาว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ใครเล่าเป็นผู้ถือ และ

ถืออะไร) ก็ธาตุทั้งหลายนั่นแหละ ย่อมถือหมู่ธาตุด้วยกัน ดุจการใช้คีมเหล็ก

คีบบาตรที่ลนไฟ. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อว่า การทรงบาตร นี้

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไป ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา เห็นคนอนาถา มีมือ

และเท้าอันขาดแล้ว มีน้ำเลือดน้ำหนองไหลออกมากับหมู่หนอน ที่ศาลาคน

อนาถา อันเกลื่อนกล่นแล้วด้วยแมลงวันหัวเขียว จึงน้อมไป (ส่ง) ซึ่งวัตถุ

ทั้งหลาย มีผ้าสำหรับพันแผล และยาสำหรับรักษา ด้วยกระเบื้อง (ภาชนะ

ใส่ของ) เพื่อชนอนาถาเหล่านั้น ในสิ่งของเหล่านั้น บางคนย่อมได้ผ้าพันแผล

เนื้อละเอียด บางคนได้เนื้อหยาบ แม้กระเบื้องใส่เภสัชก็เหมือนกัน บางคน

ได้ของดี บางคนได้ของเลว เขาเหล่านั้น ย่อมไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ด้วยว่า

ความต้องการของเขาด้วยผ้าเพียงปกปิดแผลเท่านั้น และด้วยกระเบื้องก็เพียง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

เป็นเครื่องรองรับเภสัชนั่นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุใด

ย่อมกำหนด (พิจารณา) จีวร ดุจผ้าพันแผล และกำหนดพิจารณาบาตร ดุจ

กระเบื้องเพื่อใส่เภสัช และกำหนดพิจารณาภิกษาอันได้แล้วในบาตร ดุจเภสัช

ในกระเบื้อง. ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้มีปกติทำสัมปชัญญะอันอุดม

ด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร แล.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อสิเต เป็นอาทิ.

คำว่า อสิเต ได้แก่ ในการกินอาหาร คือก้อนข้าวที่ตกไปในบาตร

เป็นต้น (อาหารบิณฑบาต).

คำว่า ปีเต ได้แก่ การดื่ม มีข้าวยาคูเป็นต้น.

คำว่า ขายิเต ได้แก่ การกัดเคี้ยวอาหารแข็งอันทำด้วยแป้งเป็นต้น.

คำว่า สายิเต ได้แก่ การเลียลิ้มรสน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น.

ในการกินอาหารเป็นต้นนั้น ประโยชน์แม้ทั้ง ๘ อย่าง ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า เราจักไม่กินเพื่อเล่น เป็นต้น ชื่อว่า ประ-

โยชน์. และพึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอันเป็น

ประโยชน์นั้น.

ก็บรรดาอาหารทั้งหลาย อันเลว อันประณีต มีรสขม รสหวาน

เป็นต้น ภิกษุใด ไม่มีความผาสุก ด้วยอาหารชนิดใด อาหารนั้นจัดเป็น

อสัปปายะแก่เธอ. อนึ่ง อาหารใด ที่เธอได้มาด้วยสามารถแห่การทายนิมิต

(หมอดู) เป็นต้นก็ดี ภิกษุฉันอาหารใดอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเกิด

กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไปก็ดี อาหารนั้น ๆ เป็น อสัปปายะโดยแท้ ๆ

อาหารตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา เป็น สัปปายะ. ในที่นี้ พึงทราบว่า เป็น

สัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการกินอาหารอันเป็นสัปปายะนั้น ๆ และ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

พึงทราบว่าเป็น โคจรสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่เว้นจากกรรมฐาน

คือ

ชื่อว่า ตัวตนอะไร ๆ (อัตตา) ภายในบริโภคอาหารอยู่หามีไม่ ด้วย

ว่า ชื่อว่า การจับบาตรย่อมมีเพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นการกระทำ

ของจิต. ชื่อว่า การหยั่งมือลงในบาตร ย่อมมี เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุ

อันเป็นการกระทำของจิตนั่นแหละ. การทำคำข้าว การยกคำข้าวเข้าปาก การ

เปิดปาก ก็ย่อมมีเพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเป็นการกระทำของจิต.

มิได้มีใครเปิดขากรรไกรด้วยกุญแจ หรือด้วยเครื่องยนต์อะไร ๆ เพราะการ

แผ่ไปของวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ จึงวางคำข้าวในปากได้ จาก

นั้น ฟันเบื้องบนก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จดุจสาก ฟันเบื้องล่างก็ยังหน้าที่ให้สำเร็จ

ดุจครก ทั้งลิ้นก็ทำหน้าที่ให้สำเร็จได้ดังมือ. น้ำลายใสที่ปลายลิ้นน้ำลายข้นที่

โคนลิ้น ย่อมคลุกเคล้ากับอาหารในที่นั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้ คำข้าวนั้นจึง

เป็นไปในครก คือ ฟันเบื้องล่าง เปียกชุ่มด้วยน้ำลาย แหลกละเอียดแล้วด้วย

สากคือ ฟันเบื้องบน ชื่อว่า ใคร ๆ ใส่คำข้าวไปภายในด้วยช้อน หรือทัพพี

หามีไม่. วาโยธาตุเท่านั้น ย่อมให้อาหารเข้าไปภายใน ชื่อว่า ใครๆให้

คำข้าวที่เข้าไปแล้ว ๆ ให้ทรงอยู่ กระทำให้เคลื่อนไปสู่ความเป็นกาก ก็ไม่มี

คำข้าวนั้นย่อมตั้งอยู่ได้ ด้วยสามารถแห่งวาโยธาตุเท่านั้น ใคร ๆ ชื่อว่า

เตาก่อไฟหุงข้าวอยู่อย่างนั้นก็ไม่มี เตโชธาตุนั่นแหละย่อมยังอาหารนั้น ๆ ให้.

สุกอยู่. ชื่อว่า ใคร ๆ นำอาหารที่สุกแล้ว ๆ ออกไปด้วยท่อนไม้ หรือปลาย

ไม้เท้าก็ไม่มี. วาโยธาตุนั้นแหละ ย่อมนำออกไป ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าว

ได้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

วาโยธาตุ ย่อมนำอาหารนั้นให้เข้าไปภายใน ทั้งไม่ให้เข้าไปก็ได้

ย่อมทรงอาหารนั้นไว้ ย่อมให้เคลื่อนไหว ย่อมขยี้ ย่อมให้แห้ง และย่อม

นำออกไปภายนอก.

ปฐวีธาตุ ย่อมช่วยให้อาหารทรงอยู่ ย่อมให้เปลี่ยนแปลง ย่อมให้

แหลก ย่อมให้แห้ง ย่อมนำออก.

อาโปธาตุ ย่อมทำอาหารให้เป็นยาง ย่อมทำให้เปียกชุ่ม ย่อมรักษา

อาหารนั้น.

เตโชธาตุ ย่อมให้อาหารที่เข้าไปภายในสุก.

อากาศธาตุ ย่อมเป็นทางแห่งอาหารลงไป.

วิญญาณธาตุ อาศัยประกอบความเพียรโดยชอบในที่นั้นๆ แล้วบริ-

โภคอาหารดังนี้.

ในข้อว่า การกิน เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อสัมโมหสัมป-

ชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาความเป็นไปอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ แม้

โดยความพิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๑๐ อย่าง คือ

๑. โดยการเดินไป

๒. โดยการแสวงหา

๓. โดยการบริโภค

๔ โดยการที่อาศัย (อาหารที่เข้าไปในนั้นย่อมเปื้อนด้วยของ ๔

อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เปื้อนด้วยน้ำดีบ้าง ด้วยเสมหะบ้าง ด้วยน้ำเหลือง

บ้าง ด้วยเลือดบ้าง มิได้เว้นใครเลยสักคนเดียว)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

๕. โดยความสั่งสม (กระเพาะอาหาร คือ เมื่อเปื้อนด้วยของ ๔

อย่างแล้วก็ลงไปพักอยู่ที่กระเพาะอาหาร อันเป็นดุจหลุมมูตร คูถ)

๖. โดยความเป็นของยังไม่ย่อย

๗. โดยความเป็นของที่ย่อยแล้ว

๘. โดยความเป็นผล (หมายถึงอาหารที่ย่อยแล้ว ก็ผลิผลไปเป็น

ผม ขน เป็นต้น ส่วนที่ย่อยไม่ดีก็ก่อให้เกิดโรคนับด้วยร้อยชนิด)

๙. โดยความไหลออก

๑๐. โดยความเปรอะเปื้อน.

ส่วนถ้อยคำพิสดารในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบและศึกษาในคัมภีร์วิสุทธิ-

มรรค ซึ่งว่าโดยนิทเทสแห่งอาหารปฏิกูลสัญญา เถิด.

พึงทราบวินิจฉัยใน อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ต่อไป

คำว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ.

ในที่นี้ เมื่อบุคคลใดไม่ทำการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ. ในเวลาที่ควร

แล้ว เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากสรีระ ตาทั้งสองย่อมมืดมัว จิตย่อมไม่

ตั้งมั่น โรคต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้น. แต่เมื่อทำการถ่ายตามปกติแล้ว เหตุทั้งปวง

นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนี้. นี้ชื่อว่า เป็นประโยชน์ ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ.

พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะนั้น.

อนึ่ง เมื่อทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่อันไม่ควร ย่อมต้องโทษ

ทางพระวินัย ย่อมเลื่อมจากยศ (คือ ชื่อเสียง) ย่อมเป็นอันตรายต่อชีวิตก็ได้.

เมื่อทำการถ่ายในที่อันควร เหตุทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น

ข้อนี้ จึงชื่อว่า เป็นสัปปายะ. ในข้อว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม นี้ ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

เป็นสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้น. พึงทราบว่า เป็นโคจร

สัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการไม่เว้นจากกรรมฐานนั้นแหละ คือ

ชื่อว่า อัตตาไร ๆ ในภายในการทำการถ่ายอุจจาระปัสสสาวะอยู่หามี

ไม่. ก็เพราะการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันมีจิตเป็นสมุฏฐานนั่นแหละ การถ่าย

อุจจาระปัสสาวะ จึงมีได้. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อหัวฝีสุกงอมแล้ว เพราะ

การตกไปแห่งหัวฝีนั้น หนองและเลือดจึงไหลออก โดยที่มิต้องประสงค์จะให้

มันออก มันก็ออก ฉันใด หรือเหมือนอย่างว่า น้ำย่อมไหลออกจากภาชนะ

ของน้ำอันบุคคลเทให้ล้นแล้ว โดยมิประสงค์จะให้น้ำนั้นออกฉันใด

อุจจาระในกระเพาะอาหาร หรือปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ก็ฉัน

นั้น อุจจาระและปัสสาวะอันสะสมไว้แล้ว ถูกเบียดเบียน ด้วยกำลังแห่งลมใน

กระเพาะ ก็ย่อมออกไป แม้มิพึงประสงค์จะให้ออกก็ตามที มันย่อมออกไป

ด้วยอำนาจของวาโยธาตุ. ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น หาใช่เป็นของภิกษุนั้นไม่

ทั้งมิใช่ของใครอื่น. อุจจาระปัสสาวะนั้นเป็นของปฏิกูลที่หลั่งไหลออกจากสรีระ

ตามธรรมดาเท่านั้น. เปรียบเหมือนอะไรเล่า เหมือนบุคคลเทน้ำเก่า

จากหม้อน้ำ น้ำเก่านั้นก็มิใช่เป็นของหม้อน้ำนั้น ทั้งมิใช่เป็นของ

ใครอื่น สักว่าเป็นการดำเนินไปตามเหตุปัจจัย ฉันใด ในข้อนี้ บัณฑิต

พึงทราบว่า เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการใคร่ครวญตามความ

เป็นไปฉันนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า คเต เป็นอาทิ.

คำว่า คเต ได้แก่ ในการเดิน.

คำว่า ิเต ได้แก่ ในการยืน.

คำว่า นิสินฺเน ได้แก่ ในการนั่ง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

คำว่า สุตฺเต ได้แก่ ในการนอน. (คำว่า สุตฺเต ซึ่งแปลว่าใน

การหลับนี้ ในที่นี้ท่านอธิบายว่า ได้แก่ในการนอน ท่านใช้คำว่า สยเน).

ในการเดินเป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบการทำสัมปชัญญะ ด้วยนัยที่

กล่าวไว้ในการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น.

อีกนัยหนึ่ง พึงทราบในการเดินเป็นต้นต่อไป ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่ง เมื่อเธอเดินไป ก็คิดอย่างอื่น

ตรึกอยู่อย่างอื่น ไปอยู่ โดยทำนองเดียวกัน เมื่อยืนก็ดี เมื่อนั่งก็ดี เมื่อนอน

ก็ดี ก็คิดอย่างอื่น ตรึกถึงอย่างอื่น ย่อมยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่อย่างนั้น.

ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่สละกรรมฐานเลย ทั้งเดิน ทั้งยืน ทั้งนั่ง ทั้งนอน.

แต่อาจารย์บางพวก อธิบายว่า กรรมฐานยังมิได้ปรากฏด้วยการจงกรมมี

ประมาณเพียงเท่านี้.

จริงอยู่ ภิกษุใดก้าวลงสู่ที่จงกรม ก้าวไปจนถึงที่สุดแห่งการจงกรม

ก็กำหนดกรรมฐาน ว่า

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปในที่สุดแห่งการจงกรมทาง

ด้านทิศตะวันออก ย่อมดับไปก่อน ๆ ที่จะถึงที่อันเป็นที่สุดแห่งการจงกรมทิศ

ตะวันตกทีเดียว. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย แม้เป็นไปในที่สุดแห่งการ

จงกรมด้านทิศตะวันตก ก็ย่อมดับไปก่อน ๆ ที่จะถึงที่สุดแห่งที่เป็นที่จงกรม

ทางด้านทิศตะวันออกนั่นแหละ. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไป

ในท่ามกลางอันเป็นไปในท่ามกลางที่อันเป็นที่จงกรม ก็ย่อมดับไปก่อน ไม่ทัน

ถึงที่สุดทั้งสอง (ทั้งข้างหน้าข้างหลัง) ย่อมดับไปในท่ามกลางที่อันเป็นที่จงกรม

นั่นแหละ. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปในการก้าว ย่อมดับไป

ในการก้าวนั่นแหละ ไม่ทันถึงการยืน. รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลาย อัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

เป็นไปในการยืนเล่า ก็ดับไปในการยืนนั่นแหละไม่ทันถึงการนั่ง ฯลฯ ย่อม

ดับไปในการนั่งนั่นแหละ ไม่ทันถึงการนอน ดังนี้ เมื่อเธอกำหนดอยู่ กำหนด

อยู่ อย่างนี้นั่นแหละ จิตย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เมื่อให้กรรมฐานตั้งขึ้นแล้ว

ก็ถือเอากรรมฐานนั้นแหละให้ตั้งอยู่ต่อไป.

ภิกษุนี้ ชื่อว่า ผู้มีปกติทำสัมปชัญญะในข้อว่า ในการเดิน เป็นต้น.

ส่วนกรรมฐานในการหลับ มิได้แจ่มแจ้งอย่างนี้ กรรมฐานอันมิแจ่ม

แจ้ง ภิกษุไม่ควรกระทำ. เพราะฉะนั้น ภิกษุใด ย่อมสามารถเพียงใด ก็

กำหนดก้าวไปเพียงนั้น กำหนดยืนอยู่แล้ว นั่งแล้วเพียงนั้น เมื่อนอน กำหนด

อย่างนี้ แล้วจึงนอน คือ

กายก็ไม่มีเจตนา เตียงก็ไม่มีเจตนา กายย่อมไม่รู้ว่า เรานอนบนเตียง.

แม้เตียงเล่า ก็ย่อมไม่รู้ว่า กายอันเรานอนแล้ว ดังนี้ เมื่อกำหนดอย่างนี้ว่า

กายไม่มีเจตนา นอนแล้วบนเตียงอันไม่มีเจตนา ดังนี้ กำหนดอยู่บ่อย ๆ จิต

ย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เมื่อตื่นก็ถือเอากรรมฐานนั่นแหละ ย่อมตื่นอยู่. ภิกษุนี้

ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในการนอน (ในการหลับ) ดังนี้.

คำว่า ชาคริเต แปลว่า ในการตื่น. ในข้อนี้ เมื่อภวังคจิต (ใน

การหลับ) ยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่าการตื่นย่อมไม่มี ภิกษุกำหนดว่า เมื่อจิตควร

แก่การทำงานเป็นไปอยู่ ชื่อว่า การตื่นย่อมมี ดังนี้ ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะ

ในการตื่น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแบ่งกลางคืนและกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แม้

เอาใจใส่อยู่ ๕ ส่วน ก็ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในการตื่น.

คำว่า ภาสิเต แปลว่า ในการพูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป คือ

สัททายตนะ ไม่มีอยู่ ชื่อว่า การพูดยังไม่มี ภิกษุกำหนด สัททายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

ซึ่งเป็นไปอยู่ ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในการพูด. ภิกษุแสดงธรรม โดย

วิมุตตายตนสีสะอยู่ก็ดี กล่าวกถาอันอาศัยเรื่อง กถาวัตถุ ๑๐ อย่าง เพื่อละ

ติรัจฉานกถา ๓๒ อย่างก็ดี ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในการพูด.

คำว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ การนิ่ง การไม่พูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป

คือสัททายตนะยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า ความเป็นผู้นิ่งก็มิได้มี. ภิกษุไม่กำหนด

ความเป็นไปแห่งสัททายตนะนั้น ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในความเป็นผู้นิ่ง

ในบรรดาอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ ประการนั้น (เว้นอากาศและอาโลกกสิณ)

ภิกษุถือเอากรรมฐานตามความพอใจ นั่งอยู่ก็ดี เข้าทุติยฌานก็ดี ชื่อว่า เป็น

ผู้มีปกติทำสัมปชัญญะในความเป็นผู้นิ่ง.

อนึ่ง ในนิทเทสแห่งฌานวิภังค์นี้ อิริยาบถหนึ่ง มาแล้วในฐานทั้งสอง

(ท่านแสดงไว้ ๒ อย่าง) คือ

ในข้อว่า อภิกฺกนฺเต (การก้าวไปข้างหน้า) ปฏิกฺกนฺเต (การ

ถอยกลับมาข้างหลัง) ที่กล่าวไว้ก่อนนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมาย

เอา ภิกษุผู้เดินทางไปสู่บ้านเพื่อภิกขาจาร และทั้งการเดินกลับมา ด้วยสามารถ

แห่งการเดินทางไกล. ส่วนในข้อว่า คเต (ในการเดิน) ิเต (ในการยืน)

นิสินฺเน (ในการนั่ง) พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอิริยาบถ ๔

คือ ในการก้าวเท้าไปเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวิหาร.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กตมา สติ (แปลว่า สติเป็นไฉน) เป็น

ต้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงประโยชน์อะไร ด้วย

คำว่า โส วิวิตฺต (เเปลว่า ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะอันสงัด).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ตอบว่า ย่อมทรงแสดงเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งการ

ประกอบความเพียร อันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุนั้น.

จริงอยู่ คุณทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ของภิกษุใดมีอยู่ในภายใน ภิกษุ

นั้นสมควรอยู่ป่า. แต่ถ้าคุณเหล่านั้น ไม่มีแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่ควรอยู่ป่า.

แต่ถ้าคุณเหล่านั้น ไม่มีแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นก็ไม่ควรอยู่ป่า. เพราะว่าการอยู่

ป่าของภิกษุเห็นปานนี้ ย่อมเป็นเช่นกับการอยู่ในดงของสัตว์ร้ายทั้งหลาย มี

ลิงดำ หมี เสือดาว และเสือเหลือง เป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความที่ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยอยู่ตามความปรารถนา

ด้วยว่า ประโยชน์ไร ๆ อันมีการอยู่ป่าเป็นเหตุของภิกษุนั้นไม่มี เธอ

ย่อมประทุษร้ายการอยู่ป่าด้วย และประทุษร้ายป่าทั้งหลายด้วย ทั้งย่อมยังความ

ไม่เลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา. ส่วนภิกษุใด มีคุณมีประมาณเท่านี้

ในภายใน ภิกษุนั้นสมควรอยู่ป่า. เพราะว่าภิกษุนั้น อาศัยการอยู่ป่า เริ่มตั้ง

วิปัสสนาแล้วถือเอาพระอรหัต ย่อมปรินิพพาน ชื่อว่า ย่อมทำป่าทั้งสิ้นให้

งาม ย่อมทำศีรษะแห่งป่าทั้งหลายให้สะอาด ย่อมทำคำสั่งสอนของพระชินเจ้า

ทั้งสิ้น ให้แผ่ออกไป. เพราะฉะนั้น พระศาสดา เมื่อทรงแสดงเสนาสนะอันเป็น

สัปปายะ อันเป็นวิถีแห่งความเพียรอันเป็นที่เข้าไปนั่งของภิกษุเห็นปานนี้ จึง

ตรัสคำเป็นต้นว่า โส วิวิตฺต เสนาสน ภชติ ดังนี้ (แปลว่า ภิกษุนั้น

อาศัยเสนาสนะอันสงัด).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิวิตฺต ได้แก่ เป็นเสนาสนะว่างเปล่า

มีเสียงน้อยคือมีเสียงกึกก้องน้อย ก็เพื่อแสดงเนื้อความนั้นนั่นแหละ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ตญฺจ อนากิณฺณ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

คำว่า อนากิณฺณ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว คือไม่ถูกเบียดเบียน. ในที่นี้

การอาศัยภูเขา อาศัยป่า อาศัยแม่น้ำโดยรอบประมาณคาวุตหนึ่งก็ดี กึ่งโยชน์

ก็ดีแห่งเสนาสนะใด ทั้งใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อเข้าไปในเวลาอันไม่สมควร

เสนาสนะนี้ ชื่อว่า ไม่เกลื่อนกล่นแล้วแม้ในที่ใกล้. เสนาสนะใดห่างไกลมี

ประมาณกึ่งโยชน์ หรือประมาณหนึ่งโยชน์ เสนาสนะนี้ ชื่อว่า ไม่เกลื่อน

กล่นแล้วในที่ไกล. .

ภิกษุย่อมนอนและย่อมนั่ง ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้ จึงชื่อว่า

เสนาสนะของภิกษุ. เพื่อแสดงประเภทแห่งเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคำว่า มญฺโจ (เตียง) ปี (ตั่ง) เป็นอาทิ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า มฺโจ ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ

๑. เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา

๒. เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกับขา

๓. เตียงมีขาเหมือนก้ามปู

๔. เตียงมีขาจดแม่แคร่ซึ่งถอดออกได้

ตั่งก็เหมืนกัน. คำว่า ภิสี ได้แก่ ที่นอน ๕ ชนิด คือ

๑. ที่นอนทำด้วยขนสัตว์

๒. ที่นอนทำด้วยท่อนผ้า

๓. ที่นอนทำด้วยเปลือกไม้

๔. ที่นอนทำด้วยใบไม้

๕. ที่นอนทำด้วยหญ้า

หมอนหนุนศีรษะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสนาสนะ คือ หมอน.

หมอนนั้น ว่าโดยส่วนกว้างมีประมาณหนึ่งคืบสี่นิ้ว สมควร. โดยส่วนยาว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ประมาณสมควรแก่ความกว้างของเตียง. คำว่า วิหาโร (แปลว่า เสนาสนะ

คือ วิหาร) ได้แก่ เสนาสนะที่ท่านแสดงไว้ คือเสนาสนะที่เป็นที่พักในเวลา

กลางวันและที่พักในเวลากลางคืน อันเป็นสถานที่รอบ ๆ บริเวณ. คำว่า

อฑฺฒโยโค (แปลว่า เสนาสนะ คือ เพิง) ได้แก่ เรือนมีรูปโค้งดังครุฑ.

คำว่า ปาสาโท (แปลว่า เสนาสนะ คือ ปราสาท) ได้แก่ ปราสาทยาว ที่เขา

ทำเป็น ๒ ยอด (หรือ ๒ ช่อฟ้า). คำว่า อฏฺโฏ (เสนาสนะ คือ ป้อม) ได้

แก่ ที่พักอยู่พิเศษ มี ๔-๕ ชั้น มีฝาหนาที่เขาก่อด้วยอิฐ เพื่อป้องกันศัตรูมี

พระราชาผู้เป็นปรปักษ์กันเป็นต้น. คำว่า มาโฬ (เสนาสนะ คือ โรง) ได้

แก่ โรงมีรูปกลม เช่นกับโรงฉันอาหาร. ในอรรถกถาพระวินัย ท่านกล่าวว่า

เป็นปราสาทสี่เหลี่ยม สงเคราะห์เข้าในปราสาทมียอดเดียว คำว่า เลน

(เสนาสนะ คือ ที่เร้น) ได้แก่ เสนาสนะที่เขาขุดภูเขากระทำ หรือเสนาสนะ

ที่ทำกระท่อมในที่บางส่วนแห่งเงื้อมเขา. คำว่า คูหา (เสนาสนะ คือ ถ้ำ) ได้

แก่ในรอยแยกแห่งแผ่นดิน หรือในที่ใด สมควรตามประทีปไว้ทั้งกลางคืนและ

กลางวัน ในที่นั้น ชื่อว่า ถ้ำแห่งภูเขา หรือถ้ำแห่งแผ่นดิน. คำว่า รุกฺขมูล

(เสนาสนะคือโคนไม้) ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้ ที่เขาล้อมรั้ว. คำว่า เวฬุคุมฺโพ

(เสนาสนะคือพุ่มไม้) ได้แก่ กอไม้ไผ่. ก็หรือว่า เตียงเป็นต้นที่ตั้งไว้โดยหวัง

ว่าภิกษุจะมา หรือในที่ใดพวกภิกษุย่อมประชุมกัน หรือที่ใดเป็นที่ควรประชุม

ของภิกษุเหล่านั้น ที่ทั้งหมดนั้น ก็จัดเป็นเสนาสนะ.

คำว่า ภชติ ได้แก่ เข้าถึงอยู่. ในข้อว่า สมฺภชติ นั้น ได้แก่ เป็น

ผู้ไม่เดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่ง จึงชื่อว่า เข้าถึงอยู่ด้วยดี. บทว่า

เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพด้วยสามารถแห่งการอยู่อาศัย. บทว่า นิเสวติ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

ไม่เป็นผู้เดือนร้อน เข้าอาศัยอยู่แล้ว ชื่อว่า เสพอยู่. บทว่า สเสวติ ได้แก่

เมื่อยังเสนาสนวัตรให้ถึงพร้อม ชื่อว่า เสพอยู่โดยชอบ.

บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งบทว่า วิวิตฺต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเริ่มคำว่า อรญฺรุกฺขมูเล เป็นอาทิ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อรญฺ ดังต่อไปนี้.

ว่าโดยปริยายแห่งพระวินัยก่อน คำว่า ป่า ท่านหมายเอาสถานที่เว้น

จากบ้านและอุปจาระแห่งบ้าน ที่เหลือ เรียกว่า ป่า. โดยปริยายแห่งพระสูตร

คำว่า ป่า ได้แก่ ป่าที่ภิกษุอาศัยอยู่ คือ เป็นเสนาสนะ. อันอยู่ห่างจากบ้าน

ประมาณ ๕๐๐ ธนู ชื่อว่า ป่า. ก็พระวินัย และพระสูตรแม้ทั้งสอง ชื่อว่า

ปริยายเทศนา (คือป่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยอ้อม). ส่วนพระอภิ-

ธรรม ชื่อว่า นิปปริยายเทสนา (คือป่าที่ทรงแสดงโดยตรง). เพื่อแสดงป่าโดย

ปริยายแห่งพระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ

อินฺทขีล ดังนี้. อธิบายว่า บริเวณนอกจากเสาเขื่อน ชื่อว่า ป่า.

อนึ่ง บรรดาเสนาสนะทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้น ชื่อว่าโคนไม้ เพราะ

เป็นสิ่งที่บุคคลรู้ได้โดยง่ายตามธรรมดา (ด้วยเหตุนั้น) จึงตรัสว่า รุกฺขมูล

เป็นอาทิ. คำว่า ปพฺพต คือ ภูเขา. จริงอยู่ ในข้อนี้ เมื่อภิกษุทำกิจด้วย

น้ำในสระตระพังหินเสร็จแล้ว นั่งพักอยู่ที่เงาไม้อันเย็น กระทบลมเย็นซึ่งพัด

มาจากทิศต่าง ๆ อยู่ จิตของเธอย่อมสงบ. วินิจฉัยในคำว่า กนฺทร น้ำ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ก. ถามว่า ประเทศแห่งภูเขานั้น แยกออกไป

ด้วยอะไร ตอบว่า แยกออกไปด้วยน้ำ. อาจารย์บางพวก ย่อมกล่าวว่า ที่

นั้นเป็นที่ลาดบ้าง ว่าเป็นแอ่งน้ำบ้าง. จริงอยู่ ในที่นั้นมีเมล็ดทรายเช่น

กับแผ่นเงิน ป่าชัฏนั้นเป็นเช่นกับเพดานอันสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี. ภิกษุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

ก้าวลงสู่รอยแยกเห็นปานนี้ ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ทำตัวให้เย็นสบาย ทำกองทราย

ให้สูงขึ้น จัดแจงผ้าบังสุกุลจีวรแล้วนั่งทำสมณธรรมอยู่ จิตของเธอย่อมสงบ.

คำว่า คิริคุห (แปลว่า ถ้ำในระหว่างภูเขา) คือ ถ้ำในระหว่าง

แห่งภูเขาทั้งสอง หรือว่าในภูเขาหนึ่งมีช่องใหญ่เช่นกับอุโมงค์. ลักษณะแห่ง

สุสาน ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์ชื่อ วิสุทธิมรรค.

คำว่า วนปตฺถ (ดง) ได้แก่ สถานที่นอกจากหมู่บ้าน มิใช่ที่ใกล้

เคียงของพวกมนุษย์ คือ ในที่ ไม่มีการไถ การหว่าน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อเสนาสนะอันไกลนี้ว่า วนปตฺถ เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น พระองค์ทรงแยกแสดงเสนาสนะ

อันไม่มีเสียงรบกวนนี้ไว้ต่างหาก ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามิได้ทรงอธิบายคำนั้นตามลำดับแห่งบทที่พระองค์ทรงตั้งไว้ แต่ทรง

อธิบายไว้ในภายหลังแห่งคำทั้งปวง ดังนี้.

คำว่า อพโภกาส (แปลว่า ที่แจ้ง) คือสถานที่ไม่มีที่กำบัง. ก็ภิกษุ

ประสงค์ในที่เช่นนี้ ต้องทำให้เป็นเพิง ด้วยจีวรแล้วอยู่.

คำว่า ปลาลปุญฺช ได้แก่ กองฟาง. จริงอยู่ ภิกษุดึงฟางออก

จากกองฟางใหญ่แล้วทำให้เป็นที่อยู่ เช่นกับเงื้อมเขาและถ้ำ. แม้ภิกษุจะเอา

ฟางใส่ไว้บนพุ่มไม้เป็นต้นแล้วนั่งกายใต้กระทำสมณธรรมก็ได้. คำนี้ ท่าน

หมายเอาเสนาสนะ คือกองฟางนั้นแล.

ในวนปัตถนิทเทส (ในนิทเทสว่าด้วยดง) คำว่า สโลมหสาน ได้

แก่ ในที่ใด เมื่อเข้าไปแล้ว ขนพองสยองเกล้าย่อมเกิดขึ้น ที่เห็นปานนี้ ชื่อว่า

เสนาสนะประกอบด้วยความน่ากลัว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

คำว่า ปริยนฺตาน ได้แก่ ชื่อว่า เสนาสนะ อันตั้งอยู่ปลายแดน

เพราะเป็นเสนาสนะไกล.

คำว่า น มนุสฺสุปจาราน ได้แก่ เสนาสนะตั้งอยู่เลยป่าไป คือ ไม่มี

พวกมนุษย์ทำการไถและหว่าน.

คำว่า ทุรภิสมฺภวาน ได้แก่ เสนาสนะที่บุคคลไม่อาจเพื่ออยู่อาศัย

โดยความยินดีชอบใจในวิเวกได้.

ในนิทเทสแห่งอัปปสัททะเป็นต้น. คำว่า อปฺปสทฺท ได้แก่ มีเสียง

น้อย (สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน) โดยหมายถึงเสียงของคำพูด.

คำว่า อปฺปนิคฺโฆส ได้แก่ มีเสียงกึกก้องน้อย (ไม่มีเสียงอื้ออึง)

โดยหมายถึงเสียงกึกก้องของชาวพระนคร. ก็เพราะศัพท์ทั้งสองแม้นี้ เป็น

อย่างเดียวกันโดยอรรถแห่งศัพท์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ยเทว ต อปฺปสทฺท ตเทว ต อปฺปนิคฺโฆส ดังนี้.

คำว่า วิชนวาต ได้แก่ เว้นจากลมแห่งสรีระแห่งชนผู้สัญจรมาใน

ภายหลัง. พระบาลีว่า วิชนวาท ดังนี้ ก็มี. อธิบายว่า เว้นแล้วจากการ

กล่าวของชนผู้อยู่ภายใน. ก็เพราะ เสนาสนะนั้นมีเสียงกึกก้องน้อย อันใด

เสนาสนะนั้นนั่นแหละ เว้นแล้วจากการสัญจรของชน และจากวาทะของชน

ฉะนั้นในนิทเทสของพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยเทว ต

อปฺปนิคฺโฆส ตเทว ต วิชนวาต ดังนี้.

คำว่า มนุสฺสราหเสยฺยก ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งการทำความลับของ

พวกมนุษย์. ก็เพราะเหตุที่เสนาสนะนั้นเว้นจากการสัญจรของประชุมชน ด้วย

เหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยเทว ต

วิชนวาต ตเทว ต มนุสฺสราหเสยฺยก ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

คำว่า ปฏิสลฺลานสารูป ได้แก่ เป็นเสนาสนะสมควรแก่วิเวก.

เพราะเสนาสนะนั้น เป็นที่อาศัยทำความลับของพวกมนุษย์ โดยนิยมนั่นแหละมี

อยู่ เพราะเหตุนั้น ในนิทเทสแห่งพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ยเทว ต มนุสฺสราหเสยฺยก ตเทว ต ปฏิสลฺลานสารูป ดังนี้.

เสนาสนะ คือ ป่า ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนิทเทสแห่งคำว่า อรญฺญคตา

เป็นต้นนั่นแหละ. เสนาสนะ คือ โคนไม้ก็เหมือนกัน. ส่วนเสนาสนะแม้ทั้ง

หมดที่เหลือสงเคราะห์ด้วยสุญญาคาร.

คำว่า ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา (แปลว่า นั่งคู้บัลลังก์) ได้แก่ การนั่ง

คู้ขาโดยรอบ.

คำว่า อุชุ กาย ปณิธาย ได้แก่ ตั้งสรีระท่อนบนให้ตรง คือ ยัง

ที่ต่อแห่งที่ต่อในกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ ให้เป็นไปตามลำดับ. จริงอยู่ เมื่อ

ภิกษุนั้นนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ และเอ็นทั้งหลาย ย่อมไม่โค้งงอ. ทีนั้น

เวทนาอันใดของเธอที่พึงเกิดขึ้น เพราะการน้อมไปแห่งสิ่งเหล่านั้น ย่อมไม่

เกิดขึ้น. เมื่อทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตของเธอย่อมเป็นธรรมชาติสงบ

กรรมฐานย่อมไม่ตกไป ย่อมเจริญขึ้น คือ ย่อมเพิ่มขึ้น. ก็แม้คำว่า อุชุโก

โหติ กาโย ิโต ปณิหิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายเอาเนื้อความ

นี้เหมือนกัน.

คำว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา แปลว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรม-

ฐาน. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กระทำสติในที่ใกล้ปาก ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สตินี้ อันภิกษุ เข้าไปตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้ดี

แล้วที่ปลายจมูก หรือว่า ที่นิมิตเหนือปาก. ก็ในคำว่า มุขนิมิตฺต นี้

บัณฑิตพึงเห็นซึ่งประเทศในท่ามกลางแห่งริมฝีปากเบื้องบน คือว่า ลมแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

นาสิกย่อมกระทบในที่ใด. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปริ ได้แก่ มีการกำหนดเป็น

อรรถ. คำว่า มุข มีการนำออกไปเป็นอรรถ. คำว่า สติ มีการตั้งมั่นเป็น

อรรถ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปริมุข สตึ ดังนี้.

บัณฑิตพึงทราบในข้อนี้แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ฉะนั้น. ความ

สังเขป พึงทราบในที่นี้ว่า ภิกษุสมควรกำหนดกระทำสติ.

อภิชฌานิทเทสมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

พึงทราบการพรรณนาโดยย่อในอภิชฌานิทเทส ดังนี้

ข้อว่า อภิชฺฌ โลเก ปหาย (แปลว่า ละอภิชฌาในโลก) ได้แก่

โลก ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เพราะอรรถว่า มีการเสื่อมและสลายไปเป็น

ธรรมดา. เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า ท่านละราคะ

ข่มกามฉันทะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว. คำว่า วิคตาภิชฺเฌน (แปลว่า

จิตที่ปราศจากอภิชฌา) ได้แก่ ชื่อว่า มีอภิชฌาไปปราศแล้ว เพราะละได้แล้ว

ด้วยวิกขัมภนประหาณ. อธิบายว่ามีอภิชฌาไปปราศแล้ว เช่นกับด้วยจักขุ-

วิญญาณ หามิได้. คำว่า อภิชฺฌาย จิตต ปริโสเธติ (แปลว่า ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา) ได้แก่ ย่อมเปลื้องจิตจากอภิชฌา. อธิบายว่า อภิชฌา

นั้น ย่อมปล่อยซึ่งจิตนั้น ครั้นปล่อยแล้ว ย่อมไม่ถือเอาซึ่งจิตนั้นอีกโดย

ประการใด ภิกษุนั้น ย่อมกระทำโดยประการนั้น. ในนิทเทสบททั้งหลาย

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อเสพ ชื่อว่า ย่อมชำระซึ่งจิตนั้น เมื่อเจริญ

ชื่อว่า ย่อมยังจิตให้หมดจด เมื่อกระทำให้มาก ชื่อว่า ย่อมยังจิตให้บริสุทธิ์

แม้ในคำว่า โมเจติ (แปลว่า ให้พ้น) เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ แม้แห่งคำทั้งหลาย มีคำว่า พยาปาท-

ปโทส ปหาย (แปลว่า ละพยาบาท และประทุษร้าย) เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

จิต ย่อมพยาบาท ย่อมละปกติภาวะ ด้วยธรรมชาตินี้ เช่นกับขนม

กุมมาสบูดเป็นต้น เหตุนั้นธรรมชาตินี้ จึงชื่อว่า พยาปาทะ.

จิตใด ย่อมทำลาย หรือย่อมทำให้เสียหาย หรือย่อมพินาศไป เพราะ

ถึงการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่า ปโทสะ (คือประทุษร้าย).

คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อของความโกรธโดยแท้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โย พยาปาโท โส ปโทโส โย ปโทโส โส

พยาปาโท (แปลว่า ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย ความ

ประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท) ดังนี้ ก็เพราะศัพท์นี้ ท่านยกขึ้น

แสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น พระองค์

จึงไม่ตรัสว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี แต่ตรัสว่า อพฺยาปนฺนจิตฺโต

เพียงเท่านี้.

ความป่วยแห่งจิต ชื่อว่า ถีนะ. ความป่วยแห่งเจตสิก ชื่อว่า มิทธะ.

ถีนะด้วย มิทธะด้วย เรียกว่า ถีนมิทธะ.

สองบทว่า สนฺตา โหนฺติ (แปลว่า สงบ) ได้แก่ ธรรมทั้งสอง

คือถีนมิทธะเหล่านั้น ชื่อว่า สงบลงแล้ว เพราะความสงบลงด้วยนิโรธ. ในที่นี้

ท่านทำการแยกถ้อยคำไว้ โดยหมายเอาถีนมิทธะนี้.

คำว่า อาโลกสญฺี (แปลว่า มีอาโลกสัญญา) ได้แก่ ผู้ประกอบ

ด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีนิวรณ์ไปปราศแล้ เพื่อสามารถอันจำอาโลกะ

อันตนเห็นแล้วในเวลาราตรีบ้าง ในเวลากลางวันบ้าง.

คำว่า สโต สมฺปชาโน (แปลว่า มีสติสัมปชัญญะ) ได้แก่ ผู้

ประกอบด้วยสติ และญาณ. ก็คำว่า จตฺตตฺตา (แปลว่า เพราะความที่ถีน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

มิทธะ... อันภิกษุนั้นสละแล้ว) เป็นต้น ในนิทเทสบทแห่งอาโลกสัญญา ซึ่ง

ปราศจากถีนมิทธะนั้น เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น

ในคำว่า จตฺตตฺตา ได้แก่ เป็นเหตุของผู้สละแล้ว . แม้ในบทที่

เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในคำว่า จตฺตตฺตา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสด้วยสามารถแห่งการสละโดยภาวะของตน. คำว่า วนฺตตฺตา (แปลว่า

คายแล้ว) นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งการแสดงโดยความเป็นผู้ไม่ยึดถือ. คำว่า

มุตฺตตฺตา (แปลว่า ปล่อยแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการหลุดพ้นจากการ

สืบต่อ. คำว่า ปหีนตฺตา (แปลว่า ละแล้ว ) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งความ

เป็นผู้ไม่มีที่เป็นที่ตั้งในที่ไหน ๆ ของผู้หลุดพ้นแล้ว. คำว่า ปฏินิสฺสฏฺตฺตา

(แปลว่า สละคืนแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่งการแสดงถึงภิกษุผู้สละซึ่งเคย

ยึดถือมาในก่อน. คือ ชื่อว่า ความเป็นผู้สละคืนแล้ว เพราะหลุดพ้น หรือ

เพราะครอบงำด้วยสามารถแห่งภาวนา. คำว่า ปหีนปฏินิสฺสฏตฺตา (แปลว่า

ละแล้วสละคืนแล้ว) ได้แก่ การสละด้วยอำนาจแห่งการข่ม คือย่อมไม่ให้

การสืบต่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ฉันใด ชื่อว่า ปฏินิสฺสตฺตา ก็ฉันนั้น. คำว่า

อาโลกา โหติ (แปลว่า สว่าง) ได้แก่ มีรัศมีดี. ชื่อว่า วิวฏา (เปิดเผย)

เพราะอรรถว่าไม่มีเครื่องกั้น. ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปกิเลส.

ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ปภัสสร.

อาการอันไม่สงบ ชื่อว่า อุทธัจจะ ในบทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจ นี้.

ความประพฤติผิดในเพราะวัตถุ ชื่อว่า กุกกุจจะ เพราะความเป็นผู้ไม่ชี้ขาด

หรือตัดสินในอารมณ์. แม้ใน คำว่า สนฺตา โหนฺติ นี้ บัณฑิตพึงทราบ

ความต่างกันแห่งวาทะโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

คำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ (แปลว่า เป็นผู้ข้ามได้แล้วซึ่งวิจิกิจฉา) ได้

แก่ ข้ามแล้ว ก้าวล่วงแล้วซึ่งวิจิกิจฉา ดำรงอยู่. คำว่า ติณฺโณ แม้ใน

นิทเทสแห่งคำว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสด้วย

สามารถแห่งการแสดงถึงความไม่จมลงในวิจิกิจฉา. คาว่า อุตฺติณฺโณ (แปล

ว่า ข้ามพ้นแล้ว ) นี้ ตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งการแสดงถึงการก้าวล่วงวิจิกิจฉา

นั้น. คำว่า นิตฺติณฺโณ (แปลว่า ข้ามออกแล้ว) นี้ ตรัสด้วยอำนาจแห่ง

ภาวนา คือด้วยสามารถแห่งการแสดงความที่วิจิกิจฉานั้น อันตนข้ามแล้ว

เพราะครอบงำอุปัททวะทั้งหลายได้แล้ว. คำว่า ปารคโต (แปลว่า ถึงซึ่งฝั่ง)

ได้แก่ ถึงฝั่งวิจิกิจฉา คือความไม่มีวิจิกิจฉา. คำว่า ปารมนุปฺปตฺโต ได้แก่

ถึงฝั่งนั้นนั่นแหละ ด้วยการประกอบความเพียรภาวนาเนือง ๆ. คือ ย่อมแสดง

ซึ่งความปฏิบัติมีผล อย่างนี้แก่ภิกษุ. คำว่า อกถกถี (แปลว่า ไม่มีความสงสัย

อันเป็นไปทั่วแล้วอย่างนี้ว่า นี้อย่างไร นี้เป็นอย่างไร. คำว่า กุสเลสุ

ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมอันไม่มีโทษทั้งหลาย. คำว่า น กงฺขติ ได้แก่ ไม่

ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล หรือหนอ. คำว่า

วิจิกิจฺฉติ (แปลว่า ไม่เคลือบแคลง) ได้แก่ ไม่ยาก ไม่ลำบาก เพื่อวินิจฉัย

ธรรมเหล่านั้น โดยสภาวะ. คำว่า อกถกถี โหติ (แปลว่า ไม่สงสัย) ได้แก่

เป็นผู้เว้นจากความสงสัยว่า กุศลธรรมเหล่านี้ เป็นอย่างไรหนอ. คำว่า นิกฺ-

กถกโถ วิคตกถกโถ (แปลว่า หมดความสงสัย) เป็นไวพจน์ของคำว่า เป็น

ผู้ไม่มีความสงสัย นั่นแหละ. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวจนัตถะในพระบาลีนั้น

ดังต่อไปนี้.

ภิกษุใด ออกไปแล้วจากความสงสัย เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึง

ชื่อว่า มีความสงสัยออกแล้ว (คือ ไม่มีความสงสัย).

ความสงสัย ของภิกษุนั้นปราศไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้น จึง

ชื่อว่า มีความสงสัยไปปราศแล้ว (คือ ปราศจากความสงสัย).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

คำว่า อุปกิเลเส ได้แก่ อุปกิเลส. จริงอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเข้า

ถึงจิตแล้ว จักยังจิตนั้นให้เศร้าหมอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

อุปกิเลเส ดังนี้.

คำว่า ปญฺาย ทุพฺพลีกรเณ (แปลว่า ทำปัญญาให้ทราม) ได้แก่

เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเกิดขึ้นแห่งปัญญา

อันเป็นโลกิยะและปัญญาอันเป็นโลกุตตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ทั้งเข้าไปตัดซึ่งสมาบัติ

๘ อภิญญา ๕ อันเกิดขึ้นแล้วให้ตกไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

ว่า อุปกิเลสเหล่านี้ ทำปัญญาให้ทราม ดังนี้. แม้คำว่า อนุปฺปนฺนา

เจว ปญฺญา น อุปฺปชฺชติ อุปฺปนนา จ ปญฺญา นิรุชฺฌติ นี้ (แปลว่า

ปัญญาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาเนื้อความที่กล่าวแล้วนี้เหมือนกัน. คำทั้ง

ปวงที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีอรรถดังเช่นที่ข้าพเจ้าประกาศ

แล้วในหนหลัง ในที่นั้น ๆ แล.

คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าวในนิทเทสทั้งหลาย แม้มีคำ วิวิจฺเจว กาเมหิ

(แปลว่า สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้วในรูปาวจร

นิทเทสในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง และในที่นั้น ๆ ในนิทเทสนี้. จริงอยู่

แม้ในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ฌานประกอบด้วยองค์ ๒

ฉันใด ในนิทเทสนี้ มิได้ตรัสฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันอย่างนี้ว่า

ฌานนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้ว โดยนัยมีคำว่า สัมปสาทะ

(แปลว่า ความผ่องใส) ปีติ สุข และเอกัคคตาแห่งจิต ชื่อว่า ฌาน เพราะถือ

เอาองค์ ๓ กับสัมปสาทะ เป็นต้น โดยปริยายแห่งพระบาลีว่า อชฺฌตฺต

สมฺปสาท (แปลว่า ความผ่องใสเป็นไปในภายใน) เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

ก็ในบทนิทเทสว่า ยนฺต อริยา อาจิกฺขนฺติ คำทั้งหมดมี คำว่า

อาจิกฺขนฺติ เทเสนฺติ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกันโดยแท้. แม้เมื่อ

เป็นเช่นนั้นมีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมตรัสบอกด้วยสามารถแห่งอุทเทส (คือ หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง) มีคำว่า

อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี (แปลว่า มีจิตเป็นอุเบกขา อยู่เป็นสุข) เป็น

ต้น ย่อมทรงแสดงด้วยสามารถแห่งนิทเทส (คือ ยกขึ้นชี้แจง) ย่อมทรงบัญญัติ

ด้วยสามารถแห่งปฏินิทเทส (คือแสดงอย่างกว้างขวาง) ชื่อว่า ย่อมแต่งตั้ง

เพราะตั้งอรรถไว้โดยประการนั้น ๆ เมื่อแสดงเหตุแห่งอรรถนั้น ๆ ชื่อว่า ย่อม

เปิดเผย เมื่อแสดงซึ่งการจำแนกบทพยัญชนะ ชื่อว่า ย่อมทรงจำแนก เมื่อ

นำมาซึ่งความที่บทแห่งพยัญชนะอันยังไม่เปิดเผย และความที่บทพยัญชนะ

นั้นมีอรรถอันลึกออกแล้ว ยังบทอันเป็นที่พึ่งแก่ญาณแห่งโสตะทั้งหลายให้เกิด

ขึ้นอยู่ ชื่อว่า ย่อมกระทำให้ชัด เมื่อกำจัดความมืดในการไม่รู้ของโสตะ

ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมทรงประกาศ บัณฑิตพึงทราบ

เนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในนิทเทสแห่ง สมติกกมะ (แปลว่า เพราะการก้าวล่วง) ชื่อว่า

ก้าวล่วงแล้ว เพราะความเป็นผู้ออกแล้วจากธรรมนั้น ๆ (หมายถึง องค์ฌาน

นั้น) ในที่นั้น ๆ ชื่อว่า ข้ามแล้ว เพราะบรรลุภูมิในเบื้องบน ชื่อว่า ข้ามพ้น

แล้ว เพราะความเป็นผู้ไม่เสื่อมจากฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบความนี้ ดัง

พรรณนามาฉะนี้.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

แบบแผนในอภิธรรมภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้

โดยนัยอันมาแล้วจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ. ฉะนั้น ในอภิธรรม

ภาชนีย์นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งฌานทั้งหลาย แม้ทั้งหมดที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นกุศล วิบาก และ

กิริยา โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ เนื้อความทั้งหมด แม้

อันต่างด้วยเนื้อความมีสุทธิกนวกะเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับนัยที่กล่าวแล้วใน

จิตตุปปาทกัณฑ์เหมือนกัน แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ฌานทั้งหลายเป็น

กุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ ก็แต่ในอารัมมณติกะ (คือ

หมวด ๓ แห่งอารมณ์) ฌานเหล่านั้น พึงทราบว่า ไม่พึงกล่าวโดยความเป็น

อารมณ์มีปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะความที่ฌานทั้ง ๓ มีนิมิตเป็นอารมณ์.

ส่วนในปัญหาปุจฉกะนี้ ฌานเหล่านั้นเป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ

พึงมีในเวลาแห่งมรรค หรือในเวลาแห่งผล. ในข้อว่า จตุตฺถ ฌาน สิยา

ปริตฺตารมฺมณ นี้ (แปลว่า ฌานที่ ๔ พึงเป็นปริตตารมณ์)

ว่าโดยกุศลแล้ว จตุตถฌาน มี ๑๓ ประเภท คือ

จตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง ๑

จตุตถฌาน อันเป็นอิทธิวิธิ ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพโสตญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น เจโตปริยญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น ปุพเพนิวาสญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น ทิพพจักขุญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น ยถากัมมูปคตญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น อนาคตังสญาณ ๑

จตุตถฌาน อันเป็น อากาสานัญจายตนฌาน เป็นต้น อีก ๔

และ จตุตถฌานอันเป็นโลกุตตระ ๑

ในฌานเหล่านั้น จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง เป็น

นวัตตัพพารัมมณะอย่างเดียว (คือ มีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว).

เมื่อภิกษุน้อมกายไปสู่ฌานที่ ๔ เพื่อทำอิทธิวิธะ ด้วยอำนาจแห่งจิต

(คือ ให้กายไปพร้อมกับจิต) ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ. เพราะความที่ภิกษุ

นั้น มีกายเป็นอารมณ์ ในขณะที่ทำปาฏิหาริย์ด้วยการอันไม่ปรากฏอยู่ (คือเมื่อ

กายไปพร้อมกับจิต กายก็จะไม่ปรากฏ เรียกว่า อทิสสมานกาย).

เมื่อภิกษุน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกาย (คือ ให้จิตไปพร้อมกับกาย

ย่อมปรากฏเห็นได้) กระทำปาฏิหาริย์ด้วยกายอันปรากฏอยู่ ไปสู่พรหมโลก ชื่อว่า

เป็นมหัคคตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น มีจิตในสมาบัติเป็นอารมณ์.

ฌานที่ ๔ อัน ให้สำเร็จทิพพโสตญาณ ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ

เพราะความที่ภิกษุนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์.

ฌานที่ ๔ อันให้สำเร็จเจโตปริยญาณ เป็นปริตตารัมมณะ ใน

ขณะที่รู้จิตอันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะ ในเวลารู้จิตอันเป็นรูปาวจร

และอรูปาวจร เป็นอัปปมาณารัมมณะในเวลารู้จิตอันเป็นโลกุตตระ. ก็ปุถุชน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่รู้จิตของ

พระอริยะทั้งหลาย พระโสดาบัน ย่อมรู้จิตของพระโสดาบัน และปุถุชนทั้งหลาย

พระสกทาคามี ย่อมรู้จิตของพระสกทาคามี และบุคคลผู้มีภูมิต่ำกว่า พระขีณาสพ

ย่อมรู้จิตของชนแม้ทั้งหมด.

ฌานที่ ๔ อันเป็นปุพเพนิวาสญาณ เป็นปริตตารัมมณะในขณะที่

ระลึกถึงขันธ์อันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะในขณะที่ตามระลึกถึงขันธ์

อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร เป็นอัปปมาณารัมมณะในเวลาตามระลึกว่า ใน

อดีตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย เจริญมรรค

แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งผล ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะในเวลาที่ตามระลึกถึง

ชื่อและโคตร.

ฌานที่ ๔ อันเป็นทิพพจักขุญาณ ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะ

ความที่ภิกษุนั้นมี สี เป็นอารมณ์.

ฌานที่ ๔ อันเป็นยถากัมมูปคตญาณ เป็นปริตตารัมมณะในขณะ

ระลึกถึงกรรมอันเป็นกามาวจร เป็นมหัคคตารัมมณะในขณะระลึกถึงกรรมอัน

เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร.

ฌานที่ ๔ อันเป็นอนาคตังสญาณ เป็นปริตตารัมมณะในกาล

กำหนดรู้ถึงการเกิดขึ้นแห่งกามธาตุในอนาคตกาล เป็นมหัคคตารัมมณะในเวลา

ที่รู้การเกิดขึ้นในรูปภพและอรูปภพ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ในการรู้ว่า ใน

อนาคตกาล พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระขีณาสพทั้งหลาย จักเจริญ

มรรค จักสำเร็จผล ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะในเวลาที่ระลึกถึงชื่อและ

โคตร.

ฌานที่ ๔ อันเป็นอากาสานัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ

เป็น นวัตตัพพารัมมณะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

ฌานที่ ๔ อันเป็นวิญญานัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะ เป็นมหัคคตารัมมณะ.

โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

แม้ว่าโดยกิริยา แบบแผนอันเป็นอารมณ์ ดังกล่าวนี้นั่นแหล่ะ ย่อม

เป็นไปในฌาน ๑๒ เหล่านั้น.

คำว่า ตีณิ ฌานานิ น มคฺคารมฺมณา ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ

หรือเจโตปริยญาณเป็นต้น พึงทำมรรคให้เป็นอารมณ์ได้. ฌานทั้ง ๓ ไม่เป็น

มัคคารัมมณะ เพราะไม่เป็นไปอย่างนั้น. แต่พึงเป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถ

แห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรค อันมีวิริยะเป็นหัวหน้า

หรือมีวีมังสาเป็นหัวหน้า แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติ ในกาลที่มีฉันทะ

จิตตะเป็นหัวหน้า และในกาลแห่งผล.

แม้ในคำว่า จตุตฺถชฺฌาน นี้ ว่าโดยกุศล ในจตุตถฌาน ๑๓ ไม่

พึงกล่าวว่า ฌานที่ ๔ อันเป็นสัพพัตถปาทกะ อิทธิวิธะ ทิพพโสตะ ทิพพจักขุ-

ญาณ ยถากัมมูปคตญาณ และฌานที่ ๔ อันเป็นอรูป ๔ อย่าง ว่าเป็นมัคคา-

รัมมณะเป็นต้น. ส่วนฌานที่ ๔ อันเป็นเจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสญาณ

อนาคตังสญาณ เป็นมัคคารัมมณะ. แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคเหตุกะ หรือ

มัคคาธิปติ. โลกุตตรจตุตถฌาน ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. แต่ในกาลเเห่งมัค

เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ในกาลเจริญ

มรรคอันมีวิริยะและวีมังสาเป็นหัวหน้า ไม่พึงกล่าวว่าเป็นมัคคาธิปติ ในกาล

เจริญมรรค อันมี ฉันทะ จิตตะเป็นหัวหน้า และในกาลแห่งผล.

แม้เมื่อว่าโดยกิริยาแล้ว ในฌาน ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

คำว่า ตีณิ ฌานานิ น วตฺตพฺพา บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่พึงกล่าว

ว่า ฌาน ๓ เป็นปริตตารัมมณะ เป็นต้น เพราะไม่ปรารภธรรมแม้สักอย่าง

หนึ่งในอดีตเป็นต้นให้เป็นไป.

คำว่า จตุตฺถ ฌาน ได้แก่ เมื่อว่าโดยกุศล จตุตถฌานอันเป็น

บาทแห่งฌานทั้งหมด ในจตุตถฌาน ๑๓ เป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้น.

จตุตถฌานอันเป็นอิทธิวิธะ เป็นอตีตารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น

มีจิตในสมาบัติเป็นอารมณ์ในการน้อมจิตไปตามอำนาจกาย เป็นอนาคตารัมม-

ณะ ในกาลอธิษฐาน (ของพระเถระ) ว่า ในอนาคตกาลขอดอกไม้เหล่านั้น

จงอย่าเหี่ยวแห้งไป ประทีปทั้งหลายจงอย่าดับไป กองแห่งอัคคีหนึ่ง จงตั้งขึ้น

บรรพตจงตั้งขึ้นด้วยดี ดังนี้. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะความที่ภิกษุนั้น

มีกายเป็นอารมณ์ ในกาลน้อมกายไปด้วยอำนาจแห่งจิต (คือ ให้กายไปพร้อม

กับจิต).

จตุตถฌานอันเป็นทิพพโสตญาณ ชื่อว่า เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ

เพราะความที่ภิกษุนั้นมีเสียงเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานอันเป็นเจโตปริยญาณ เป็นอตีตารัมมณะ ในกาลที่รู้จิต

ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปภายใน ๗ วัน ที่เป็นอดีตกาล เป็นอนาคตารัมมณะ ใน

กาลรู้จิตที่จะเกิดขึ้นภายใน ๗ วัน ในอนาคตกาล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกาศเจโตปริยญาณนั่นแหละ ด้วยพระสูตรนี้ว่า พระองค์ จักทายใจ

แม้มากมาย โดยกำหนดถึงมโนสังขารของบุคคลผู้เจริญผู้นี้ เขาตั้งไว้แล้วโดย

ประการใด ในระหว่างแห่งจิตดวงนี้ เราจักตรึกไปถึงวิตกชื่อนี้โดยประการนั้น

จิตนั้น ก็ย่อมมีอย่างนั้นนั่นแหละ หามีอย่างอื่นไม่. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ

ในกาลปรารภปัจจุบันเป็นไปด้วยสามารถแห่งอัทธานปัจจุบัน (ปัจจุปันกาลอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ยืดยาว) และสันตติปัจจุบัน คือปัจจุบันอันสืบต่อกันไป. ในข้อนี้พึงทราบ

เรื่องพิศดาร โดยนัยที่กล่าวแล้วในการพรรณนาอรรถกถากัณฑ์ในหนหลังนั่น

แหละ.

จตุตถฌานอันเป็นปุพเพนิวาสญาณ เป็นอตีตารัมมณะ ในกาล

ตามระลึกถึงอดีตขันธ์ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลตามระลึกถึงชื่อและ

โคตร.

จตุตถฌานอันเป็นทิพพจักขุ ชื่อว่า เป็นปัจจุปันนารัมมณะ เพราะ

ความที่ภิกษุนั้น มีสีเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานอันเป็นยถากัมมูปคตญาณ ย่อมกระทำอดีตกรรมเท่านั้น

ให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จตุตถฌานนั้น จึงชื่อว่า เป็นอตีตารัมมณะ.

จตุตถฌานอันเป็นอนาคตังสญาณ เป็นอนาคตารัมมณะ ในกาล

ตามระลึกถึงขันธ์ อันเป็นอนาคต เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลตามระลึก

ถึงชื่อและโคตร.

อากาสานัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนจตุตถฌาน เป็น

นวัตตัพพารัมมณะ.

วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนจตุตถฌาน

เป็นอตีตารัมมณะ.

โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ แล.

แม้ว่าโดยกิริยา ในจตุตถฌาน ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ข้อว่า ตีณิ ฌานานิ พหิทฺธารมฺมณา ได้แก่ ชื่อว่า เป็นพหิทธา-

รัมมณะ เพราะปรารภนิมิตอันเป็นภายนอกให้ปรากฏอยู่ภายในเป็นไป. แม้

ในข้อว่า จตุตฺถ ฌาน นี้ เมื่อว่าโดยกุศลแล้ว ได้จตุตถฌาน ๑๓ ดังนี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

จตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง เป็นพหิทธารัมมณะ.

จตุตถฌาน อันเป็นอิทธิวิธะ ชื่อว่า เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เพราะ

ความที่แห่งภิกษุนั้น มีกายและจิตของตนนั่นแหละเป็นอารมณ์ ในกาลน้อม

จิตไปด้วยอำนาจของกายบ้าง ในกาลน้อมกายไปด้วยอำนาจของจิตบ้าง เป็น

พหิทธารัมมณะ ในกาลเป็นไปโดยนัยว่า ภิกษุนั้น ย่อมแสดงแม้ซึ่งรูปช้าง

ในภายนอก ดังนี้เป็นต้น.

จตุตถฌานอันเป็นทิพพโสตญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ ในกาลที่

ภิกษุนั้น มีเสียงอันมีในท้องของตนเป็นอารมณ์ เป็นพหิทธารัมมณะ ในกาล

ที่ภิกษุนั้น มีเสียงของผู้อื่นเป็นอารมณ์ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ด้วย

สามารถแห่งรูปทั้งของตนและของผู้อื่นเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานอันเป็นเจโตปริยญาณ เป็นพหิทธารัมมณะอย่างเดียว.

จตุตถฌานอันเป็นปุพเพนิวาสญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ ในกาล

ตามระลึกถึงขันธ์ของตน เป็นพหิทธารัมมณะในกาลตามระลึกถึงขันธ์ทั้งหลาย

ของบุคคลอื่น และในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร.

จตุตถฌานอันเป็นทิพพจักขุญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลที่มี

รูปของตนเป็นอารมณ์ เป็นพหิทธารัมมณะในกาลที่มีรูปของบุคคลอื่นเป็น

อารมณ์ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ แม้ด้วยสามารถแห่งกาลที่มีรูปของตน

และของผู้อื่นเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานอันเป็นยถากัมมูปคตญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาล

รู้กรรมของตน เป็นพหิทธารัมมณะในกาลรู้กรรมของผู้อื่น เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะ ด้วยสามารถแห่งกาลรู้กรรมของตนและของผู้อื่น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

จตุตถฌานอันเป็นอนาคตังสญาณ เป็นอัชฌัตตารัมมณะในกาลรู้

ธรรมอันเกิดขึ้นในอนาคตของตน เป็นพหิทธารัมณะในกาลตามระลึกถึงขันธ์

ของผู้อื่นและในกาลตามระลึกถึงชื่อและโคตร เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

ด้วยอำนาจแห่งกาลตามระลึกทั้งสองนั้น.

อากาสานัญจายตนจตุตถฌาน เป็นพหิทธารัมมณะ.

อากิญจัญญายตนจตุตถฌาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.

วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนจตุตถฌาน เป็นอัช-

ฌัตตารัมมณะ.

โลกุตตรจตุตถฌาน เป็นพหิทธารัมมณะ.

แม้ว่าโดยกิริยา ในฌานทั้ง ๑๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อนึ่ง ในฌานวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสฌานทั้งหลายเป็น

มิสสกะ คือเป็นโลกิยะ และเป็นโลกุตตระ สลับกันไป ในการพรรณนา

สุตตันตภาชนีย์บ้าง ในการพรรณนาอภิธรรมภาชนีย์บ้าง ในปัญหาปุจฉกะบ้าง

จริงอยู่ นัยทั้ง ๓ เหล่านั้น ชื่อว่า เอกปริจเฉทนั่นแหละ เพราะนัยทั้ง

๓ เหล่านั้นเป็นธรรมอันเจือกันในภูมิทั้ง ๓. แม้ฌานวิภังค์นี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาฌานวิภังคนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๗๔๑] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็

อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น. ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ

ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา

ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มี

จิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็

อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

เช่นเดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท. ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่.

๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็

อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

เช่นเดียวกันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่.

๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓

ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

เช่นเดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่.

เมตตาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๒] ก็ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง

ผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงรักใคร่ ฉะนั้น.

[๗๔๓] ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน ?

การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-

เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศ

เหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง หรือ

ทิศต่าง ๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่

เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒

ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศ

เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่าง ๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่

เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วน

เหลือมิได้.

คำว่า เมตตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน ?

การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-

เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิต

ใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร

จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

กรุณาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๔] ก็ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุแผ่กรุณาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง

ผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้ว พึงสงสาร ฉะนั้น.

[๗๔๕] ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน ?

การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโต-

วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า กรุณาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศ

เหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง

หรือทิศต่าง ๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษา

อยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

อยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒

ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศ

เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่าง ๆ ก็ฉันนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่

เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วน

เหลือมิได้.

คำว่า กรุณาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน ?

การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโต-

วิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า กรุณา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยกรุณานี้ ด้วยเหตุ

นั้นจึงเรียกว่า กรุณาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง

จิตใดกว้างขวาง จิตนั้น หาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มี

เวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้น ไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๖] ก็ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุแผ่มุทิตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง

ผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงพลอยยินดี ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

[๗๔๗] ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน ?

การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย

มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุ

นั้นจึงเรียกว่า มุทตาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศ

เหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง

หรือทิศต่าง ๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒

ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศ

เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่าง ๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่

เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่านั้น เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วน

เหลือมิได้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

คำว่า มุทิตาจิต มีอธิบายว่า ในบทเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน ?

การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย

มุทิตาเจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา.

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยมุทิตานี้ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า มุทิตาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง

จิตใด กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่

มีเวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

อุเบกขาอัปปมัญญานิทเทส

[๗๔๘] ก็ภิกษุแผ่อุเบกขาจิต ไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุแผ่อุเบกขาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่ง

ผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา

ฉะนั้น.

[๗๔๙] ในบทเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน ?

การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขา

เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

จิต เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต.

คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศ

เหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ หรือทิศเบื้องขวาง

หรือทิศต่างๆ.

บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า อยู่.

คำว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น มีอธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ก็

ฉันนั้น ทิศที่ ๓ ก็ฉันนั้น ทิศที่ ๔ ก็ฉันนั้น ทิศเบื้องสูงก็ฉันนั้น ทิศเบื้อง

ต่ำก็ฉันนั้น ทิศเบื้องขวางก็ฉันนั้น ทิศต่าง ๆ ก็ฉันนั้น.

คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่

เหล่า มีอธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า นั้นเป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั่วทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ หาส่วน

เหลือมิได้.

คำว่า อุเบกขาจิต มีอธิบายว่า อุเบกขา เป็นไฉน ?

การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเบกขา-

เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา.

จิต เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

จิต.

จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยอุเบกขานี้ ด้วย

เหตุนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาจิต.

บทว่า ไพบูลย์ มีอธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง

จิตใดกว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มี

เวร จิตใดไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท.

บทว่า แผ่ไป คือกระจายออกไป น้อมจิตไป.

บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า อยู่.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

อภิธรรมภาชนีย์

[๗๕๐] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

เมตตากุศลฌาน จตุกกนัย

[๗๕๑] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การ

รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรัก

ใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยนาม

กาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ

๑. ฌานโดยจตุกกนัย คือนัยของพระสูตรมี ๔ ฌาน เมตตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑

ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตากุศลฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ประ-

กอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่

กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ

ทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น

อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยเมตตา.

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ

ตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี

แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่

ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา

๑. ฌานโดยปัญจกนัย คือ นัยของพระอภิธรรมมี ๕ ฌาน เมตตาเป็นอารมณ์ของ

ฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริย-

เจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่

เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตา

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมทีสัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณากุศลฌาน จตุกกนัย

[๗๕๒] กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร

กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

๑. โดยนัยของพระสูตร กรุณาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็น

อารมณ์ของฌานที่ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น

สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณา

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณากุศลฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การ

สงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน

ที่สรหคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ใน

๑. โดยนัยของพระอภิธรรม กรุณาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็น

อารมณ์ของฌานที่ ๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน

ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโต-

วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตากุศลฌาน จตุกกนัย

[๗๕๓] มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา

ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การ

๑. โดยนัยของพระสูตร มุทิตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็น

อารมณ์ของฌานที่ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัย

นั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความ

พลอยยินดี. มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี

มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตากุศลฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบ

๑. โดยนัยของพระอภิธรรม มุทิตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ เท่านั้น ไม่เป็น

อารมณ์ของฌานที่ ๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี

กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิตก อยู่

ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต-

วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน

ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความ

พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น

สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอย

ยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

อุเบกขากุศลฌาน

[๗๕๔] อุเบกขา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถ-

ฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ใน

สมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

[๗๕๕] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๖] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

๑. โดยนัยของพระสูตร อุเบกขาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๔ เท่านั้น โดยนัยของพระ

อภิธรรมเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๕ เท่านั้น แต่ว่าโดยองค์ของฌานที่ ๔ โดยนัยของพระสูตร

และฌานที่ ๕ โดยนัยของพระอภิธรรม ต่างก็มีองค์ฌานสองคือ อุเบกขาและเอกัคคตา

เหมือนกัน ในการแสดง อุเบกขากุศลฌาน วิปากฌานและกิริยาฌาน จึงแสดงโดยนัยของ

พระสูตรเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลธรรมอันได้ทำ

ไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่

สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัย

นั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน

เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยา

ที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าเมตตา

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

อริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ที่ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาว-

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วย

เมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า

มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความ

รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

ที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้

แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโต-

วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่

วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก. อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รัก

ใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา

ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติย-

ฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่

ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัย

นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาอันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภาย

ใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การ

รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาว-

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย

เมตตาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า

เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่

กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโมวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียก

ว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๗] กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา

ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้

ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอัน

เกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้นอันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณาอันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน

เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร

กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย

ปีติอีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น

สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม

เหล่านั้น ชื่อ กุศล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ-

สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วย

กรุณาอันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า

เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร

กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา

ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-

ฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม อัน

ได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และ

สุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความ

สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา. ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติย-

ฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ

และสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภาย

ใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ในสมัยใด การสงสาร

กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่.พระอริยเจ้า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น

สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย

กรุณา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ที่ได้บรรลุว่า

เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร

กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตาวิปากฌาน จตุกกนัย

[๗๕๘] มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำ

ไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจารมีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอย

ยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาว-

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภาย

ใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การ

พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัย

นั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที

สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า กุศล.

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

มุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็น

ผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี

กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้ เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตาวิปากฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้

แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี

มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-

ฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก

อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า กุศล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี

ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ บรรลุตติย-

ฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน

เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอย

ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อัน

ใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

มุทิตา. .

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า กุศล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

เพราะคลายปีติได้อีกด้วย ภิกษุจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย

มุทิตา อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้

แล้วนั้นแล ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็น

ผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี

กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้

เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

อุเบกขาวิปากฌาน

[๗๕๙] อุเบกขา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถ-

ฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ใน

สมัยใด ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาอันเป็นวิบาก เพราะ

รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติ

บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวาง

เฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

[๗๖๐] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา

๒. กรุณา

๓. มุทิตา

๔. อุเบกขา

เมตตากิริยาฌาน จตุกกนัย

[๗๖๑] ในอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบ

ด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยา

ที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่

เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

เมตตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้

อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนาม

กาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้ง

หลายกล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตา

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใดนี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

เมตตากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ประกอบ

ด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยา

ที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่

สหรคตด้วยเมตตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ

วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่

เมตตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีก

ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณากิริยฌาน จตุกกนัย

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบ

ด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

ที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า

กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

กุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลาย

ที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมนสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีก

ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนาม

กาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้

อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

กรุณากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ประกอบ

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยา

ที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่

สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีก

ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ

ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยกรุณา.

มุทิตากิริยาฌาน จตุกกนัย

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบ

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี

กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้

เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย

มุทิตา.

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก

วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความ

พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

มุทิตา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีก

ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัย

นั้นอันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยมุทิตา.

มุทิตากิริยาฌาน ปัญจกนัย

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบ

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี

กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด

นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่

สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่

ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต-

วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุตติยฌานที่สหรคต

ด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ

เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ

อยู่ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตา-

เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะคลายปีติได้อีกด้วย

จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

บรรลุ จตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่

ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต-

วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกร่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

อุเบกขากิริยาฌาน

อุเบกขา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุจตุตถฌาน ไม่

มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท

ในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วาง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

เฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๖๒] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่าง

นั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศ

เบื้องขวางก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอใน

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๒. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็

อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่น

เดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

พยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.

๓. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็

อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็เช่น

เดียวกันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีพยาบาทไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า

อยู่.

๔. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓

ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

เช่นเดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาไหน เป็นกุศล อัปปมัญญาไหน

เป็นอกุศล อัปปมัญญาไหน เป็นอัพยากตะ ฯลฯ อัปปมัญญาไหน เป็น

สรณะ อัปปมัญญาไหน เป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๖๓] อัปปมัญญา ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี

อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต อุเบกขา เป็นอทุกขมสุขเวทนา

สัมปยุต

อัปปมัญญา ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปาก-

นวิปากธัมมธรรมก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

ก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น

อวิตักกาวิจาระก็มี, อุเบกขา เป็นอวิตักกาวิจาระ.

อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขา-

สหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นปีติสหคตะก็มี, อุเบกขา เป็นอุเปกขาสหคตะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้

เป็นอัปปมาณารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นมัชฌิมะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็น

มัคคาธิปติ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้

เป็นปัจจุปันนารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี

อัปปมัญญา ๔ เป็นพหิทธารัมมณะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาววิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๗๖๔] เมตตา เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุ อัปปมัญญา ๔

เป็นสเหตุกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเหตุสัมปยุต เมตตา เป็นเหตุสเหตุกะ

อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็นสเหตุกนเหตุ เมตตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

เป็นเหตุเหตุสัมปยุต อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่

เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อัปปมัญญา ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะ เมตตา กล่าวไม่

ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๗๖๕] อัปปมัญญา ๔ เป็นสัปปัจจยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสังขตะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิทัสสนะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอัปปฏิฆะ อัปปมัญญา ๔

เป็นอรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ อัปปมัญญา ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ

เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ เป็นโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นสาสวะ อัปปมัญญา

๔ เป็นอาสววิปปยุต อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็น

สาสวโนอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้

เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ อัปปมัญญ า ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโน-

คันถะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนโยคะ

ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนปรามาสะ

ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นสารัมมณะ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนจิตตะ อัปป-

มัญญา ๔ เป็นเจตสิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสัมปยุต อัปปมัญญา ๔ เป็น

จิตตสังสัฏฐะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสมุฏฐานะ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสหภู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู อัปปมัญญา ๔ เป็นจิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานานุปริวัตติ อัปปมัญญา ๔ เป็นพาหิระ อัปปมัญญา ๔ เป็น

โนอุปาทา อัปปมัญญา ๔ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี อัปปมัญญา

๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๗๖๖] อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ อัปปมัญญา๔ เป็น

นภาวนายปหาตัพพะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อัปป-

มัญญา ๔ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิตักกะก็มี เป็น

อวิตักกะก็มี อุเบกขา เป็นอวิตักกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสวิจาระก็มี เป็น

อวิจาระก็มี อุเบกขา เป็นอวิจาระ อัปปมัญญา ๓ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น

อัปปีติกะก็มี อุเบกขา เป็นอัปปีติกะ อัปปมัญญา ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็น

นปีติสหคตะก็มี อุเบกขา เป็นนปีติสหคตะ อัปปมัญญา ๓ เป็นสุขสหคตะ

อุเบกขา เป็นนสุขสหคตะ อุเบกขา เป็นอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๓

เป็นนอุเปกขาสหคตะ อัปปมัญญา ๔ เป็นนกามาจร อัปปมัญญา ๔ เป็น

รูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นนอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นปริยาปุนนะ

อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยยานิกะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอนิยตะ อัปปมัญญา ๔

เป็นสอุตตระ อัปปมัญญา ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะจบ

อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนินิทเทส

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบ อัปปมัญญาวิภังค์ ในลำดับแห่งฌาน

วิภังค์นั้น ต่อไป.

คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน. คำว่า อปฺปมญฺาโย ได้แก่ ชื่อว่า

อัปปมัญญาทั้งหลาย เพราะอำนาจแห่งการแผ่ไปไม่มีประมาณ. จริงอยู่ ภิกษุ

นั้น ย่อมแผ่อัปปมัญญาเหล่านั้นไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ด้วยสามารถ

แห่งอารมณ์ หรือว่าย่อมแผ่ไปด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปอันไม่มีส่วนเหลือแม้

สัตว์ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเมตตาเป็นต้นว่า

เป็นอัปปมัญญาทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปในสัตว์อันไม่มีขอบเขต

ดังนี้.

คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระศาสนานี้.

คำว่า เมตฺตาย ได้แก่ ประกอบด้วยเมตตา.

คำว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต.

คำว่า เอก ทิส ได้แก่ ทิศหนึ่ง. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอาสัตว์ที่ภิกษุกำหนดครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป อันเนื่อง

ด้วยทิศหนึ่ง.

คำว่า ผริตฺวา (แปลว่าแผ่ไป) ได้แก่ สัมผัสแล้ว กระทำให้เป็น

อารมณ์.

คำว่า วิหรติ ได้แก่ ให้วิหารธรรม ในอิริยาบถอันตนตั้งมั่นแล้ว

ด้วยพรหมวิหารเป็นไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

คำว่า ตถา ทุติย (แปลว่า ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น) อธิบายว่า บรรดา

ทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออก เป็นต้น ภิกษุนั้น ย่อมแผ่ไปยังสัตว์ ในทิศใด

ทิศหนึ่งอยู่ ในทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ในทิศที่ ๓ ในทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น.

คำว่า อุปริทิส นี้ พึงทราบคำอธิบายตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วโดยนัยแห่งคำว่า อิติ อุทฺธ นั้นนั่นแหละ (อุทฺธ แปลว่า ในทิศ

เบื้องบน).

คำว่า อโธ ติริย ได้แก่ ทิศเบื้องขวางก็ดี พึงแผ่เมตตาไป ฉัน

นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง คำว่า อโธ นี้ ได้แก่ ทิศเบื้องต่ำ. คำว่า ติริย ได้แก่

อนุทิศ (คือ ทิศน้อย) อธิบายว่า ภิกษุยังจิต อันสหรคตด้วยเมตตาให้แล่น

ออกไปบ้าง ให้แล่นกลับมาบ้าง (ให้ระลึกไปมา) ในทิศทั้งปวง ด้วยอาการ

อย่างนี้ เปรียบเหมือนม้า แล่นไปมาอยู่ในสนามแห่งม้า ฉันนั้น.

การแผ่เมตตา โดยเจาะจง (โอธิโส) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

กำหนดทิศหนึ่ง ๆ แสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้. แต่คำว่า สพฺพธิ

(แปลว่า ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งปวง) เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงการ

แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (อโนธิโส).

ในคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพธิ แปลว่า ในสัตว์โลกทั้งปวง.

คำว่า สพฺพตฺตตาย (แปลว่า เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอ

ในสัตว์ทุกหมู่เหล่า) ได้แก่ เพราะความที่เมตตาจิตนั้น เป็นไปในสัตว์

ทั้งปวงทุกหมู่เหล่า อันต่างด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ชนิดเลว ปานกลาง

อุกฤษฏ์ เป็นมิตรสหาย และสัตว์ผู้เป็นกลาง (คือมิใช่มิตร มิใช่ศัตรู) เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายคำว่า เพราะเป็นผู้มีจิต (มีตน) เสมอกัน โดย

ตรัสว่า เพราะไม่ทำการแบ่งแยกว่า นี้เป็นสัตว์อื่น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สพฺพตฺตตาย นี้ ได้แก่ โดยความเป็นจิตที่

ประกอบด้วยเมตตาทั้งปวง คือทรงอธิบายว่า เป็นผู้มีจิตเมตตา มิได้ฟุ้งไป

เป็นอย่างอื่นแม้หน่อยหนึ่ง.

คำว่า สพฺพาวนฺต (แปลว่า ทั้งปวง) อธิบายว่า ประกอบด้วย

สัตว์โลกทั้งปวง คำว่า โลก ได้แก่ สัตว์โลก. สำหรับในข้อนี้ ตรัสว่า

มีจิตอันสหรคตด้วยเมตตา อีก เพื่อแสดงปริยาย (คือ คำไวพจน์) แห่งคำว่า

วิปุเลน (แปลว่า ไพบูลย์)คือ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ นั้นนั่นแหละ เป็นต้น.

อนึ่ง ศัพท์ว่า ตถา ก็ดี (ตถาศัพท์) ศัพท์ว่า อิติ ก็ดี (อิติศัพท์) พระผู้มี-

พระภาคเจ้า มิได้ตรัสซ้ำในการแผ่ไปโดยไม่เจาะจงนี้ เหมือนการแผ่เมตตาจิต

ไปโดยเจาะจง ฉะนั้น จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ซ้ำอีก. อีก

อย่างหนึ่ง คำว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา นี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งคำ

นิคม (คือ คำที่ตรัสสรุปความ).

อนึ่ง ในคำว่า วิปุเลน นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเมตตาอันไพบูลย์

ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป. ก็เมตตาจิตนั้นเป็นจิตกว้างขวาง (คือ เป็นจิต-

มหัคคตะ) ด้วยสามารถแห่งภูมิ. เมตตาจิตนั้นเป็นจิตหาประมาณมิได้ ด้วย

สามารถเเห่งการกระทำให้คล่องแคล่ว และพึงทราบว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ

ด้วยสามารถแห่งการกระทำสัตว์ให้เป็นอารมณ์. เมตตาจิตนั้น เป็นจิตไม่มีเวร

เพราะละธรรมอันเป็นข้าศึก คือ การเบียดเบียน. เมตตาจิตนั้น เป็นจิตไม่มี

ความพยาบาท เพราะละโทมนัส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายว่า เป็นจิต

ไม่มีทุกข์ ดังนี้. เนื้อความที่ได้พรรณนามานี้ เป็นอรรถแห่งมาติกาที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้โดยนัยว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ด้วยจิตอัน

สหรคตด้วยเมตตา เพียงนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

เมตตาอัปปมัญญา

บัดนี้ พึงทราบบทภาชนีย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้น

ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น. ในบทภาชนีย์นั้น

กรรมฐานอันประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้มีโทสจริต เพราะ

เหตุนั้น เมตตานี้จึงชื่อว่าถึงอัปปนาในบุคคลตามความเหมาะสม. เพื่อแสดง

ซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งเมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ

นาม เอก ปุคฺคล เป็นต้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง

ความอุปมา อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง.

คำว่า ปิย (แปลว่า ผู้เป็นที่รักใคร่) ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.

คำว่า มนาป (แปลว่า ชอบใจ) ได้แก่ ผู้กระทำความเจริญให้

หทัย.

บรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นที่รัก เพราะอำนาจแห่งการเคยอยู่ร่วม

กันในกาลก่อน หรือว่าโดยประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน. ชื่อว่า เป็นที่

ชอบใจ เพราะการประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นทีรัก พึงทราบด้วยความ

ที่ตนเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทาน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบใจ พึงทราบด้วย

ความเป็นผู้มีวาจาไพเราะ และประพฤติประโยชน์. ก็ในที่นี้ การละพยาบาท

ของเขา ย่อมมีเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่รัก แต่นั้น เมตตา ก็ย่อมแผ่

ไปได้โดยง่าย. ความวางเฉยย่อมไม่ตั้งอยู่ในเพราะความเป็นผู้ชอบใจ อนึ่ง

บุคคลใด ย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ แต่นั้น เมตตาของเขาย่อมไม่

เสื่อม เพราะความเป็นผู้ตามรักษาซึ่งหิริโอตตัปปะ. ฉะนั้น คำว่า ปิย (แปลว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

ผู้เป็นที่รัก) มนาป (แปลว่า เป็นที่ชอบใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ

คำอธิบายว่า เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึง

ทำบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจนั้นให้เป็นอุปมา (เครื่องเปรียบเทียบ).

คำว่า เมตฺตาเยยฺย (แปลว่า พึงแผ่เมตตาไป อธิบายว่า พึง

กระทำเมตตาคือ พึงยังเมตตาให้เป็นไปในบุคคลนั้น.

คำว่า เอวเมว สพฺเพ สตฺเต (แปลว่า ในสัตว์ทั้งปวง...ฉันนั้น

นั่นแหละ) อธิบายว่า พึงแผ่เมตตาไปยังบุคคล ผู้เป็นที่รัก ฉันใด ย่อม

แผ่เมตตาอันเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในการบรรลุอัปปนาในบุคคลนั้น ไป

ยังสัตว์ทั้งปวง แม้ในบุคคลผู้ปานกลาง ผู้มีเวร โดยลำดับ ฉันนั้น.

คำว่า เมตฺติ เมตฺตายนา เป็นต้น มีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าว

แล้วนั่นแหละ.

คำว่า วิทิส วา (แปลว่า ทิศต่าง ๆ) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วเพื่อให้เนื้อความแห่งคำว่า ติริย วา (แปลว่า ทิศเบื้องวาง) นี้

แจ่มแจ้ง.

คำว่า ผริตฺวา (แปลว่า แผ่ไปแล้ว ) ได้แก่ ถูกต้องแล้ว ด้วย

สามารถกระทำให้เป็นอารมณ์.

คำว่า อธิมุญฺจิตฺวา ได้แก่ น้อมไป โดยความเป็นจิตอันยิ่ง.

อธิบายว่า น้อมไปแล้ว น้อมไปดีแล้ว ให้ระลึกดีแล้ว ให้แผ่ไปแล้วด้วยดี

ฉันใด ชื่อว่า น้อมจิตไปแล้ว ฉันนั้น.

ในนิทเทสแห่งคำว่า สพฺพธิ เป็นต้น บทเหล่านี้ทั้ง ๓ เป็นบท

สงเคราะห์ในธรรมทั้งปวง (คือ กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพราะฉะนั้น เพื่อ

แสดงอรรถแห่งบทเหล่านั้น โดยความเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสว่า สพฺเพน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

สพฺพ เป็นต้น. เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง

นั่นแหละ.

ในนิทเทสแห่งคำว่า วิปุลา (แปลว่า อันไพบูลย์) เป็นต้น ก็

เพราะเมตตาจิตใด เป็นธรรมชาติถึงอัปปนา จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไพบูลย์

จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตกว้างขวางด้วยสามารถแห่งภูมิโดยกำหนด. ก็จิตใดเป็น

จิตกว้างขวาง จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์

อันหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร ด้วย

สามารถแห่งการประหารศัตรู. จิตใดไม่มีเวร จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีความพยา-

บาท. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย วิปุล ต มหคฺคต

เป็นต้น (แปลว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น).

อนึ่ง ในข้อนี้ อเวโร อพฺยาปชฺโฌ นี้ ท่านตรัสแล้วโดยปริยาย

แห่งลิงควิปลาส (หมายความว่า จิต เป็นนปุงสกลิงค์ ตัวคุณนามเป็น

ปุงลิงค์ โดยภาษาไวยากรณ์). อีกอย่างหนึ่ง ท่านใช้ศัพท์ว่า อเวโร

อพฺยาปชฺโฌ นี้ เข้ากับ มน ศัพท์ (คือ ใจ ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน) เช่น

จิตใดหาประมาณมิได้ มนะ คือใจนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร. ใจใดไม่มีเวร ใจนั้น

ชื่อว่า ไม่มีความพยาบาท ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น

นี้บัณฑิตพึงทราบว่า บทข้างหลังๆอธิบายบทข้างหน้า ๆหรือว่า บทข้างหน้า ๆ

อธิบายบทข้างหลัง ๆ ดังนี้ ก็ได้.

กรุณาอัปปมัญญา

แม้คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เอก ปุคฺคล ทุคฺคต ทุรุเปต (แปลว่า

เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่ง ผู้ตกทุกข์ได้ยาก พึงสงสาร ฉะนั้น) นี้ พระ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อแสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง กรุณา. จริงอยู่

ความเป็นแห่งกรุณาอันมีกำลัง ย่อมเกิดในเพราะบุคคลเห็นปานนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ทุคฺคต ได้แก่ ผู้ถึงซึ่งความพรั่งพร้อม ด้วย

ทุกข์.

คำว่า ทุรุเปต ได้แก่ ผู้เข้าถึงแล้ว ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อีกอย่าง

หนึ่งพึงทราบเนื้อความในข้อนี้นั่นแหละว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืด

ด้วยสามารถแห่งคติวิบัติ ตระกูลวิบัติ และโภควิบัติ เป็นต้น ชื่อว่า ทุคคตะ

(คือ ผู้ตกทุกข์). บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืดในภพเบื้องหน้า เพราะ

ความที่ตนเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ทุรุเปโต (คือบุคคล

ผู้เข้าถึงได้ยาก).

มุทิตาอัปปมัญญา

แม้คำว่า "เอก ปุคฺคล ปิย มนาป" (แปลว่า เหมือนบุคคล

คนหนึ่ง ผู้เป็นที่รักใคร่ ชอบใจแล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อ

แสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง มุทิตา. ในข้อนี้ พึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่

ในความเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยสามารถแห่งคติสมบัติ ตระกูลสมบัติ และโภคสมบัติ

เป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่รักใคร่. และพึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความ

เป็นผู้มีความรุ่งเรืองในภพเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายสุจริตเป็น

ต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่ชอบใจ.

อุเบกขาอัปปมัญญา

แม้คำว่า "เนว มนาป น อมนาป" (แปลว่า เหมือนบุคคล

เห็นบุคคลคนหนึ่ง ผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่) นี้ พระ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา. ในข้อนี้

บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่าผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึงพร้อม

ด้วยความเป็นมิตร. ชื่อว่า ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ เพราะความที่ตนมิใช่ถึง

พร้อมด้วยความเป็นอมิตร. คำใดยังเหลืออยู่ที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมด

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.

แม้วิธีการเจริญภาวนาของกรรมฐานเหล่านี้ ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้ว

โดยพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแหละ.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในอภิธรรมภาชนีย์ นี้ ว่าโดยกุศลก็ดี โดยวิบากก็ดี พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงจำแนกแล้ว โดยนัยที่จำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ.

แม้เนื้อความแห่งอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตก็พึงทราบ โดยนัยที่ท่านกล่าว

แล้วในที่นั้น.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตา

เป็นต้น เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ

อัปปมัญญา ๔ เป็น นวัตตัพพารัมมณะ (คือ เป็นอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) ใน

ติกะทั้งสามทีเดียว. ในอัชฌัตตารัมมณติกะ อัปปมัญญา ๔ เป็น พหิทธารัมมณะ

(คือ เป็นอารมณ์ภายนอก).

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

อนึ่ง ในอัปปมัญญาวิภังค์นี้ อันพระสัมมาสัมพุทธะ ตรัสอัปมัญญา

ทั้งหลายไว้ในสุตตันตภาชนีย์ก็ดี เป็นโลกิยะอย่างเดียว. จริงอยู่ นัยทั้งสาม

(คือ สุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) เหล่านี้ กำหนดได้เป็นอย่างเดียว

กัน เพราะความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นเพียงโลกีย์. แม้อัปปมัญญาวิภังคนิทเทสนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนา

มาฉะนี้แล.

อรรถกถาอัปปมัญญาวิภังคนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

๑๔. สิกขาปทวิภังค์

อภิธรรมภาชนีย์

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่

[๗๖๗] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

[๗๖๘] ใน สิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน

สมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่

ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่

ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต การกำจัดต้นเหตุแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น

อันใดของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณี -

สิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวรจกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน

สมัยใด การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ในสมัยนั้น อันใด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาตปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต

ด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิด

ขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การ

งด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่ทำปาณาติบาต

การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลยขอบเขต

แห่งปาณาติบาต การกำจัดต้นเหตุแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด ของ

บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ในสมัยใด การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ในสมัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

นั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้น จากปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวร-

มณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี

การชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้น

จากปาณาติบาต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาเวรมณีสิกขาบท.

[๗๖๙] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ กาเมสุมิจฉาจา-

ราเวรมณีสิกขาบท ฯ ล ฯ มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ สุราเมรย-

มัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยฌาน เกิดขึ้นใน

สมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปนาทัฏฐาน การไม่

ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใด

ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชซปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมา-

ทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตต

ด้วยเวรมณี.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน

สมัยใด การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ในสมัยนั้น อันใด ของ

บุคคลผู้งดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

ทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัม-

ปยุตด้วยเจตนา.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรย-

มัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา-

เวรมณีสิกขาบท.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขาสัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต-

ด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยการชักจูง

ในสมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมา-

ทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมา-

ทัฏฐาน ก็ไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขต

แห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

ใน สมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียก

ว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ในสมัยใด การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ใน

สมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก

ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้

งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

แจกสิกขาบท ๕ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ นัยที่ ๒

[๗๗๐] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

[๗๗๑] ในสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยา-

ธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ

ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด

การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากปาณาติบาต กิริยาไม่ทำปาณาติ-

บาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่ล่วงเลย

ขอบเขตแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณา-

ติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ

วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยา-

ธิปเตยยะ อย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ

ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคลผู้

งดเว้นจากปาณาติบาท นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท ธรรม

ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ วีมังสา-

ธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิป-

เตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต มีใน

สมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส. วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต-

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ

ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ เป็น

ฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นใน

สมัยใด การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้นจากปาณาติบาต กิริยาที่ไม่

ทำปาณาติบาต การไม่ทำปาณาติบาต การไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต การไม่

ล่วงเลยขอบเขตแห่งปาณาติบาต ในสมัยนั้น อันใดของบุคคลผู้งดเว้นจาก

ปาณาติบาต นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท. ธรรมทั้งหลายที่

เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ

เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิก-

เขปะ ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปาณา-

ติปาตาเวรมณีสิกขาบท.

[๗๗๒] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ กาเมสุมิจฉา-

จาราเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท ฯลฯ สุรา-

เมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ จิตตาธิปเตยยะ

วีมังสาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นวิริยา-

ธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ

ปณีตะ เป็นวีมังสาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นในสมัยใด

การงด การเว้น การเลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การ

ไม่ล่วงละเมิดสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรย-

มัชชปมาทัฏฐาน การกำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐน ในสมัยนั้น

อันใด ของบุคคลผู้งดเว้นจากสุรุาเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเม-

รยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า

ธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล

ผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต-

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วย

ญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

ชักจูงเป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ ปณีตะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ วิริยาธิปเตยยะ

จิตตาธิปเตยยะ เป็นฉันทาธิปเตยยะ อย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็น

วิริยาธิปเตยยะอย่างหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ เป็นจิตตาธิปเตยยะอย่างหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด การงด การเว้น การ

เลิกละ การงดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน กิริยาไม่ทำสุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐาน การไม่ทำสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงละเมิดสุราเมรย-

มัชชปมาทัฏฐาน การไม่ล่วงเลยขอบเขตแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน การ

กำจัดต้นเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ในสมัยนั้น อันใด ของบุคคล

ผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏ-

ฐานาเวรมณีสิกขาบท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมป-

ยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคลผู้งดเว้น

จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมา-

ทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท.

ธรรมเป็นสิกขา

[๗๗๓] ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัย

ใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สิกขา.

ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วย

ญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สิกขา.

ธรรมเหล่าไหน เป็นสิกขา ?

ภิกษุเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคปฏิปทา

เพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สิกขา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๗๔] สิกขาบท ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท

๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท

๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

ติกมาติกาปุจฉา - ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาสิกขาบท ๕ สิกขาบทไหนเป็นกุศล สิกขาบทไหนเป็นอกุศล

สิกขาบทไหนเป็นอัพยากตะ ฯลฯ สิกขาบทไหนเป็นสรณะ สิกขาบทไหน

เป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๗๕] สิกขาบท ๕ เป็นกุศลอย่างเดียว

สิกขาบท ๕ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต

ก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นวิปากธัมมธรรม

สิกขาบท ๕ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

สิกขาบท ๕ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

สิกขาบท ๕ เป็นสวิตักกสวิจาระ

สิกขาบท ๕ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเบกขา-

สหคตะก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ

สิกขาบท ๕ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ

สิกขาบท ๕ เป็นอาจยคามี

สิกขาบท ๕ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

สิกขาบท ๕ เป็นปริตตะ

สิกขาบท ๕ เป็นปริตตารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นมัชฌิมะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

สิกขาบท ๕ เป็นอนิยตะ

สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ

แม้เป็นมัคคาธิปติ

สิกขาบท ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อุปปาที

สิกขาบท ๕ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นพหิทธารัมมณะ

สิกขาบท ๕ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๗๗๖] สิกขาบท ๕ เป็นนเหตุ สิกขาบท ๕ เป็นสเหตุกะ สิกขาบท

๕ เป็นเหตุสัมปยุต สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ แต่เป็น

สเหตุกนเหตุ สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แต่เป็นเหตุ-

สัมปยุตตนเหตุ เป็นนเหตุสเหตุกะ.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นสัปปัจจยะ สิกขาบท ๕ เป็นสังขตะ สิกขาบท ๕

เป็นอนิทัสสนะ สิกขาบท ๕ เป็นอัปปฏิฆะ สิกขาบท ๕ เป็นอรูป สิกขาบท

๕ เป็นโลกิยะ สิกขาบท ๕ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นสาสวะ สิกขาบท ๕

เป็นอาสววิปปยุต สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็น

สาสวโนอาสวะ สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้

เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ แต่เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนคันถะ

ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนโยคะ ฯลฯ

สิกขาบท ๕ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ

สิกขาบท ๕ เป็นสารัมมณะ สิกขาบท ๕ เป็นโนจิตตะ สิกขาบท ๕ เป็น

เจตสิกะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสัมปยุต สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐะ

สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสมุฏฐานะ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสหภู สิกขาบท ๕ เป็น

จิตตานุปริวัตติ สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ สิกขาบท ๕ เป็น

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู สิกขาบท ๕ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ

สิกขาบท ๕ เป็นพาหิระ สิกขาบท ๕ เป็นโนอุปาทา สิกขาบท ๕ เป็นอนุปา-

ทินนะ.

๑๑, ๑๒, ๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา

สิกขาบท ๕ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ สิกขาบท ๕ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

สิกขาบท ๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ สิกขาบท ๕ เป็นนภาวนายปหาตัพพะ

สิกขาบท ๕ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ สิกขาบท ๕ เป็นนภาวนายปหาตัพ-

พเหตุกะ สิกขาบท ๕ เป็นสวิตักกะ เป็นสวิจาระ สิกขาบท ๕ เป็นสัปปีติกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

ก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี

สิกขาบท ๕ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นอุเปก-

ขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สิกขาบท ๕ เป็นกามาวจร สิกขาบท

๕ เป็นนรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นนอรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นปริยาปันนะ

สิกขาบท ๕ เป็นอนิยยานิกะ สิกขาบท ๕ เป็นอนิยตะ สิกขาบท ๕ เป็น

สอุตตระ สิกขาบท ๕ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสิกขาปทวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยสิกขาบทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก อัปป-

มัญญาวิภังค์นั้นต่อไป.

คำว่า เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า สิกฺขาปทานิ (แปลว่า สิกขาบททั้งหลาย) ได้แก่ บทที่

กุลบุตรพึงศึกษา. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสิกขา (สิกขา

คือ ศีล สมาธิ ปัญญา). อนึ่ง กุสลธรรมแม้ทั้งหมดอันมาแล้วในเบื้องบน

ชื่อว่า สิกขา เพราะเป็นธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา. ก็บรรดาองค์แห่งศีล ๕

องค์ใดองค์หนึ่ง ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยของสิกขาเหล่านั้น

ฉะนั้น องค์แห่งศีลเหล่านั้น จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่ง

สิกขา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

คำว่า ปาณาติปาตา ได้แก่ จากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือ

การฆ่า การให้ตาย.

คำว่า เวรมณี ได้แก่ การงดเว้น.

คำว่า อทินฺนาทานา ได้แก่ จากการถือเอาสิ่งของอันบุคคลอื่นมิได้

ให้ อธิบายว่า ได้แก่ การนำสิ่งของอันบุคคลหวงแหนแล้วไป.

คำว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลาย. คำว่า มิจฺฉาจารา ได้

แก่ จากการประพฤติลามกด้วยอำนาจกิเลสกาม.

คำว่า มุสาวาทา ได้แก่ จากวาทะ อันไม่เป็นจริง.

พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สุราเมรยมัชชปมาทฏฺานา นี้ ต่อไป.

คำว่า สุรา ได้แก่ สุรา ๕ ชนิด คือ สุราทำด้วยแป้ง ๑ สุรา

ทำด้วยขนม ๑ สุราทำด้วยข้าวสุก ๑ สุราที่เอาเชื้อเหล้าใส่เข้าไป ๑ สุราที่

เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง ๑.

คำว่า เมรัย ได้แก่ เครื่องหมักดอง ๕ ชนิด คือ น้ำดอง

ด้วยดอกไม้ ๑ น้ำดองด้วยผลไม้ ๑ น้ำดองด้วยน้ำอ้อยงบ ๑ น้ำดองดอก

มะซาง ๑ น้ำดองที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง ๑.

สุราและเมรัยแม้ทั้งสองนั้น ชื่อว่า มัชชะ (น้ำเมา) เพราะอรรถว่า

เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ชนทั้งหลาย ย่อมดื่มสุรา หรือเมรัยนั้น ด้วยเจตนา

ใด เจตนานั้น ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเป็นเหตุให้หลง

งมงาย เพราะเหตุนั้น ที่ตั้งแห่งความประมาทจึงชื่อว่า มีอยู่ ในเพราะการดื่ม

น้ำเมา คือ สุราและเมรัย. เนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในมาติกา

มีเพียงเท่านี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

ภาชนียบท (การจำแนกบท)

ก็คำทั้งปวง เป็นต้นว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร ในบทภาชนีย์นี้

มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเช่นเดียวกับคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. อนึ่ง

เพราะการงดเว้นอย่างเดียวเท่านั้น เป็นสิกขาบทก็หาไม่ แม้เจตนา ก็ชื่อว่า

เป็นสิกขาบทเหมือนกัน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงแสดงนัยที่สอง เพื่อ

แสดงถึงเจตนาอันเป็นสิกขาบทนั้น. ก็ธรรมทั้งสอง (วิรัติ เจตนา) เหล่านั้น

เป็นสิกขาบทเท่านั้นก็หาไม่ แม้ธรรมอื่นอีก ๕๐ อันสัมปยุตด้วยเจตนา ก็เป็น

สิกขาบทด้วย เพราะเป็นส่วนแห่งธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงแม้นัยที่ ๓ ต่อไป. ในที่นี้ สิกขาบทมี ๒

อย่าง คือ ปริยายสิกขาบท (สิกขาบทโดยอ้อม) นิปปริยายสิกขาบท (สิกขาบท

โดยตรง).

ในสองอย่างนั้น วิรตี (การงดเว้น ) เป็นสิกขาบทโดยตรง จริงอยู่

วิรตี นั้นมาในพระบาลีว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ มิใช่เจตนา. ด้วยว่า

บุคคลเมื่องดเว้น ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น ๆ ด้วยวิรตีนั้นนั่นแหละ มิใช่

ด้วยเจตนา. แต่ท่านก็นำเจตนามาแสดงไว้. โดยทำนองเดียวกันกับที่ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงนำสัมปยุตตธรรมของเจตนาที่เหลือมาแสดงไว้อีก. จริงอยู่ใน

กาลก้าวล่วงเจตนาอันเป็นบาป ชื่อว่า ความเป็นผู้ทุศีล. ฉะนั้น แม้ในเวลาแห่ง

วิรัติพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส เจตนา นั้น ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีศีล

ดี. ธรรมทั้งหลาย ๕๐ มีผัสสะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงถือเอาแล้ว

เพราะเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อความกระตุ้นญาณในสิกขาบททั้งหลายเหล่านี้ บัณฑิต

พึงทราบวินิจฉัย ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ โดย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม โดย

สาวัชชะ โดยปโยคะ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ได้แก่ เจตนาธรรมทั้งหลาย

เหล่านั้น มีปาณาติบาตเป็นต้น.

คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ เป็นกรรมบถแม้ทั้ง ๕ ทีเดียว.

คำว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.

อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร

(การประพฤติผิด) มีหญิงและชายเป็นอารมณ์. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์

หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. การดื่มสุรา มีสังขารเป็นอารมณ์.

ว่าโดยเวทนา ปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา. อทินนาทาน เป็น

เวทนา ๓ จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เป็นสุขเวทนาแก่ผู้ยินดีร่าเริงถือเอาวัตถุ

อันเจ้าของเขามิได้ให้ เป็นทุกขเวทนาในเพราะบุคคลผู้ถือเอาสิ่งของนั้นมีความ

กลัว เป็นอทุกขมสุขเวทนาแก่บุคคลผู้เฉย ถือเอาอยู่ มิจฉาจาร เป็นสุข-

เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา. มุสาวาท เป็นเวทนา ๓ เหมือนอทินนาทาน.

การดื่มสุรา เป็นสุขเวทนาปานกลาง (สุขมชฺฌตฺตเวทนา).

ว่าโดยมูล ปาณาติบาต มีโทสะและโมหะเป็นมูล อทินนาทาน

บางครั้งมีโลภะโมหะเป็นมูล บางครั้งมีโทสะโมหะเป็นมูล. มิจฉาจาร มีโลภะ

โมหะเป็นมูล. มุสาวาท บางครั้งมีโลภะโมหะเป็นมูล บางครั้งมีโทสะโมหะ

เป็นมูล. การดื่มสุรา มีโลภะโมหะเป็นมูล.

ว่าโดยกรรม ก็มุสาวาทในที่นี้เป็น วจีกรรม. สิกขาบทที่เหลือเป็น

กายกรรมทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

ว่าโดยสาวัชชะ (โทษ) ปาณาติบาตมีโทษน้อยก็มี มีโทษมากก็มี.

สิกขาบททั้งหลาย มีอทินนาทานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน. เหตุต่าง ๆ แห่ง

สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ท่านแสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ปาณาติบาต มีโทษ ดังนี้

การฆ่าสัตว์แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นมดดำ ชื่อว่า มีโทษน้อย

ฆ่าสัตว์เช่นนั้นที่ใหญ่กว่า มีโทษมากกว่า

ฆ่าสัตว์ประเภทนับเนื่องด้วยนกใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทเลื้อยคลานใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทกระต่าย มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าสัตว์ประเภทเนื้อ มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าโค มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าม้า มีโทษมากกว่านั้น

ฆ่าช้าง มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้ทุศีล มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่ามนุษย์ผู้ถึงสรณะ (คือผู้ถึงพระไตรสรณคมน์) มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบท ๕ มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าสามเณร มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

การฆ่าพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

อทินนาทาน มีโทษ ดังนี้

การถือเอาสิ่งของ ของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษน้อย

ถือเอาสิ่งของ ของผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของสามเณร มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของภิกษุปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ถือเอาสิ่งของ ของพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษ ดังนี้

แม้ประพฤติผิดก้าวล่วงหญิงผู้ทุศีล ก็มีโทษน้อย

ประพฤติผิดในบุคคล ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในบุคคลผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในสามเณรี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น

ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

มุสาวาท มีโทษ ดังนี้

มุสาวาท (พูดเท็จ) เพื่อต้องการทรัพย์มีประมาณกากณิกหนึ่ง ( คาว่า

กากณิกเป็นชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกากลืน

กินได้) มีโทษน้อยในเพราะคำพูดอันเป็นเท็จนั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ๕ มาสก มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น

มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์มีค่านับไม่ได้ มีโทษมากกว่านั้น

แต่มุสาวาท เพื่อทำสงฆ์ให้แตกจากกัน มีโทษมากยิ่งนัก.

การดื่มสุรา มีโทษ ดังนี้

การดื่มสุราประมาณฟายมือหนึ่ง มีโทษน้อย

การดื่มสุราประมาณกอบหนึ่ง มีโทษมากกว่า

แต่การดื่มสุรามากสามารถให้กายไหว แล้วทำการปล้นบ้าน ปล้นหมู่

บ้าน มีโทษหนักมาก.

จริงอยู่ ในปาณาติบาต การฆ่าพระขีณาสพก็ดี ในอทินนาทานการ

ถือเอาวัตถุสิ่งของของพระขีณาสพไปก็ดี ในกาเมสุมิจฉาจารการประพฤติผิดใน

ภิกษุณีผู้เป็นขีณาสพก็ดี ในมุสาวาทการยังสงฆ์ให้แตกจากกันก็ดี ในการดื่ม

สุราอันสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปปล้นบ้านปล้นหมู่บ้านก็ดี จัดว่ามีโทษมาก

๑. ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท, ๔ บาท เท่ากับ ๑ กหาปณะ (บาท = เงินบาทของอินเดียโบราณ)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ทั้งนั้น แต่ว่าสังฆเภท โดยการกล่าวซึ่งมุสาวาทเท่านั้นจัดว่ามีโทษมาก

กว่าโทษเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะว่าอกุศลอันมากนั้นสามารถเพื่อจะให้

ไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

ว่าโดยปโยคะ ปาณาติบาต เป็นสาหัตถิกะ (คือทำด้วยมือของตน

เอง) ก็มี เป็นอาณัติกะ (คือ ใช้ให้คนอื่นทำ) ก็มี. อทินนาทานก็เหมือน

อย่างนั้น. กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราปานะ เป็นสาหัตถิกะเท่านั้น.

บัณฑิตครั้นทราบวินิจฉัยสิกขาบทเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งการวินิจฉัย

ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น (คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อันหมายถึงการฆ่า

สัตว์ เป็นต้น) โดยธรรมเป็นต้นอย่างนี้แล้วก็พึงทราบวินิจฉัยแม้ซึ่งคำว่า

ปาณาติปาตา เวรมณี (แปลว่า งดเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป)

เป็นต้น โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม

โดยขัณฑะ โดยสมาทาน โดยปโยคะ ด้วย.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ว่าโดยธรรม ได้แก่ สิกขาบททั้ง ๕ นั้นเป็น

ธรรมมีเจตนา ด้วยสามารถแห่งปริยายศีลเป็นไปตามลำดับนั้นนั่นแหละ.

ว่าโดยโกฏฐาส สิกขาบทแม้ทั้ง ๕ เป็นกรรมบถ.

ว่าโดยอารมณ์ การงดเว้นจากปาณาติปาต เพราะกระทำชีวิตินทรีย์

ของผู้อื่นให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ย่อมงดเว้นด้วยเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นของตน.

นัยแม้ในสิกขาบทที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ เพราะว่าสิกขาบทเหล่านี้แม้ทั้ง

หมด กระทำวัตถุอันบุคคล พึงก้าวล่วงแล้วย่อมงดเว้น ด้วยเจตนาเป็นเครื่อง

งดเว้นเช่นเดียวกัน.

ว่าโดยเวทนา สิกขาบทแม้ทั้งหมดเป็นสุขเวทนา หรือเป็นมัชฌัตต-

เวทนา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

ว่าโดยมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ย่อมเป็นอโลภะ

อโทสะและอโมหะมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตปราศจากญาณ ย่อมเป็นอโลภะและ

อโทสะมูลเท่านั้น.

ว่าโดยกรรม มุสาวาทา เวรมณี ในที่นี้เป็น วจีกรรม. ที่เหลือ

เป็น กายกรรม.

ว่าโดยขัณฑะ (ว่าโดยการขาด) คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมก้าวล่วง

สิกขาบทใด ๆ สิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้นย่อมขาด ย่อมแตก สิกขาบทที่เหลือ

ย่อมไม่ขาด ไม่แตก.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย มิใช่เป็นผู้มีศีลประจำ เขาย่อมสามารถ

เพื่อรักษาสิกขาบทใด ๆ ก็ย่อมรักษาสิกขาบทนั้น ๆ นั่นแหละ. แต่สิกขาบท

ทั้งหลายทั้งปวงของสามเณร แม้เธอก้าวล่วงเพียงข้อเดียว ชื่อว่าย่อมแตก

ทั้งหมด แม้เธอจะไม่ได้ก้าวล่วงสิกขาบททั้งหมดก็ตาม ถึงอย่างนั้นสิกขาบท

ที่เหลือเหล่านั้นก็ชื่อว่า ย่อมแตกนั่นแหละ. ก็การก้าวล่วงศีลของสามเณรนั้นมี

วัตถุเป็นทัณฑกรรม (คือ ต้องถูกลงโทษ) เมื่อสามเณรนั้นทำทัณฑกรรมว่า

กระผมจักไม่ทำอย่างนี้อีก ศีลย่อมบริบูรณ์.

ว่าโดยสมาทาน เมื่อคฤหัสถ์ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจักอธิษฐานศีล ๕

เองทีเดียว ดังนี้ก็ดี เมื่อสมาทานศีลนั้นโดยแยกแต่ละข้อก็ดี ย่อมชื่อว่า

สมาทานแล้วทีเดียว คือว่าคฤหัสถ์นั้นนั่งในสำนักแห่งผู้ใดแล้วก็ถือเอาด้วยคำ

ว่า ข้าพเจ้าจะสมาทานศีล ๕ ก็ดี ขอสมาทานโดยแต่ละข้อก็ดี ชื่อว่า ย่อม

สมาทานนั่นแหละ.

ว่าโดยปโยคะ ศีล ๕ แม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสาหัตถิก-

ปโยคะทั้งหมด (คือกระทำด้วยตนเองทั้งหมด).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

ธรรมเป็นสิกขา

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นสิกขานั้น ดังนี้.

กุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สิกขา

เพราะความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงศึกษา เหตุนั้น เพื่อแสดงซึ่ง

สิกขาทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร

เป็นอาทิ. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยยังพระบาลีให้พิสดาร

โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในสิกขาปท-

วิภังค์นี้แสดงไว้เพียงหัวข้อเท่านั้นแล.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่สิกขาบททั้งหลายเป็นกุศล

เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะทั้งหลาย

สิกขาบทเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่าเป็นสัตตารัมมณะ (คือ มีสัตว์เป็น

อารมณ์) ก็เพราะสิกขาบทเหล่านั้นย่อมกระทำสังขารอันถึงซึ่งการนับว่า เป็น

สัตว์ เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ และเพราะสิกขาบทแม้ทั้งหมดเหล่านั้นสำเร็จแล้ว

ด้วยสามารถแห่งสัมปัตตวิรัติทั้งนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็น

ปริตตารัมมณะด้วย เป็นปัจจุปันนารัมมณะด้วย. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า

ความเป็นแห่งสิกขาบทแม้ทั้งปวงเป็นพหิทธารัมมณะ ก็เพราะความที่การงด

เว้นย่อมมีแก่วัตถุใด วัตถุนั้นเป็นของภายนอกทั้งสิ้น แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ก็สิกขาปทวิภังค์นี้ ในอภิธรรมภาชนีย์ก็ดี ในปัจหาปุจฉกะก็ดี พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสิกขาบททั้งหลายว่าเป็นโลกีย์เท่านั้น เพราะว่านัยแม้ทั้ง

สองเหล่านี้ เป็นปริจเฉทเดียวกันโดยความเป็นโลกีย์นั่นแหละ. สิกขาปทวิภังค์

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๒ ปริวัฏ ดังพรรณนามา

ฉะนี้แล.

อรรถกถาสิกขาปทวิภังคนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๗๗๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน

ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทา.

ปเภทวาระ ๕

๑. สัจจวาระ

[๗๗๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสีมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน

ในทุกขสมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิ-

สัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๒. เหตุวาระ

[๗๗๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉาน

ในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม-

นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า

ปฏิภาณสัมภิทา.

๓. ธรรมวาระ

[๗๘๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะ

แล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

เหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว

ปรากฏแล้ว ด้วยธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ

ปฏิสัมภิทา แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๔. ปัจจยาการวาระ

[๗๘๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตก

ฉานในเหตุเกิดแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน

ความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทา

อันเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้

แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตก

ฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

[๗๘๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในภพ ฯลฯ ความรู้

แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉาน

ในเวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ

ฯลฯ ความรู้แตกฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ ฯลฯ

ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในเหตุ

เกิดแห่งสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในความดับแห่ง

สังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้

ถึงความดับแห่งสังขารชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในอันกล่าว

ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย.

ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๕. ปริยัตติธรรมวาระ

[๗๘๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่งธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-

กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ นี้เรียกว่า

ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้น ย่อมรู้แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆว่า นี้เป็น

อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้

แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

อภิธรรมภาชนีย์

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘

[๗๘๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้

แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่ง

ธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า

ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขาสัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานใน

วิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น

ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ-

ปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้

ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณ

ปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยรูปาวจรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถ-

ปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉาน

ในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่ง

ญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตก

ฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอรูปาวจรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญ-

ญานาสัญญายตนสัญญา และเพราะละสุขเสียได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานใน

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่า

นั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคล

รู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรม

เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมม-

ปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิ-

สัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานใน

อันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณ

เหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉาน

ในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยอกุศลจิต ๑๒

[๗๘๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้

แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบาก

แห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อม

มีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติ-

ปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้น

ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการ

ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย

โสมนัส วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิด

ขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต

สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส

สัมปยุตด้วยปฏิฆะ. เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ อกุศลจิต สหรคตด้วย

อุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วย

อุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์

ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัม-

ภิทา. ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมม-

นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น

ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ

ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

[๗๘๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีใน

สมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วย

นิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา

บุคคลร้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้

ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็น

อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา

มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว

ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข

เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย

เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรม

เหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณ

เหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร-

กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา

เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปก-

ขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคล

รู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้

ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

๑. สัมปฏิจฉนกุศลวิบากจิต ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะ

กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้ส่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีใน

สมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วย

นิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้

ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเขกขา มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะ

๑. โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากจิต ๑. ๒. อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีใน

สมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรม

เหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติ

ใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคล

รู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกามาวจรวิบากจิต ๘

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนวิญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วย

ญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชัก

จูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต

ด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย

อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต

ด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความ

รู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่า

นั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณ

เหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิ-

ภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยรูปาวจรวิบากจิต

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความ

รู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่า

นั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉาน ซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า

ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอรูปาวจรวิบากจิต

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิก-

เขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล

จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา อัน

เป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้วนั้น แล

และเพราะละสุขเสียได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความ

รู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตก

ฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความ

รู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยโลกุตตรวิบาก

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทัน-

ธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมณาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญ

ไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรม

เป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ควานรู้แตกฉานในอันกล่าว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น

ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ

ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอกุศลวิบากจิต ๗

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็น

อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มี

กลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วย

อุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคต

ด้วยทุกข์มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว

ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์

ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคล

รู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้

ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก

สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ

อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วสั่งสมไว้แล้ว ในสมัย

ใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา

แห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด

ขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ ความ

รู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติแห่งธรรมเหล่า

นั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญานใดว่า ญาณ

เหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยอเหตุกกิริยาจิต ๓

[๗๘๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

๑. สัมปฏิจฉนอกศลวิบากจิต ๑ ๒. อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิต ๑.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-

วิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า

ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว

ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น

ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านั้นส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ

ทั้งหลายนั้นชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่

กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่

กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัย

ใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา

๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๒. หสิตุปปาทจิต ๓. มโนทวาราวัชชนะจิต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

แห่งจิต วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ

นามมรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้น แม้อื่นใด มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

ธรรมเป็นอัพยากตะ ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าว

ธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น

ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณ

ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยกิริยาจิต ๓ ประเภท

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่

กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย

โสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเขกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ ย่อมเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ ย่อมเจริญ

๑. มหากิริยาจิต ๘, ๒. รูปาวจรกิริยาจิต ๕, ๓. อรูปาวจลกิริยาจิต ๔.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

อรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก

เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึง

บรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯอยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากตะ

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา บัญญัติแห่งธรรม

เหล่านั้น ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณ

เหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

[๗๘๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทา ๓ ย่อมเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกามาวจร-

กุศล ๔ ดวง ในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อัตถปฏิ-

สัมภิทา ย่อมเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นด้วย ย่อมเกิดในมรรค ๔ ผล ๔ ด้วย.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

ปัญหาปุจฉกะ

[๗๘๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ติกมาติกาปุจฉา - ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็น

อัพยากตะ ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๗๙๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม

ก็มี, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปาก-

นวิปากธัมมธรรมก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอนุปา-

ทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอสัง-

กิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิตักกสวิจาระ

ก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะ

ก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสส-

เนนนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี, อัตถ-

ปฏิสัมภิทา เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นเนวเสกขานาเสกขะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นเสกขะก็มี เป็น

อเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตะก็มี เป็น

อัปปมาณะก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารัมมณะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตารัมมณะ

ก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นมัชฌิมะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัชฌิมะก็มี เป็น

ปณีตะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยตะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็น

อนิยตะก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็น

มัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ, อัตถปฏิสัมภิทา ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็น

มัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะก็มี แม้

เป็นมัคคาธิปติก็มี, ปฏิสัมภิทา ๒ เป็นมัคคารัมมณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ

เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นอุปปาที, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทีก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ, ปฏิสัมภิทา ๒ เป็นอตีตา-

รัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี, อัตถปฏิสัมภิ-

ทา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุป-

ปันนารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธา

ก็มี.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นพหิทธารัมมณะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอัชฌัตตา-

รัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑,๒. เหตุโคจฉกวิสัชนาและจูฬันตรทุกวิสัชนา

[๗๙๑] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ เป็นสเหตุกะ เป็นเหตุสัมปยุต

เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ

แม้เป็นนเหตุกะ. ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอนิทัสสนะ

เป็นอัปปฏิฆะ เป็นอรูป, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็น

โลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจิ-

นวิญเญยยะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๗๙๒] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนอาสวะ, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสาสวะ,

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอาสววิปปยุต,

ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะ,

อัตถปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ แต่เป็นสาสวโนอาสวะก็มี,

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอาสว-

วิปปยุตตสาสวะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสว-

วิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา

[๗๙๓] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔

เป็นโนคันถะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔

เป็นโนโยคะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็น

โนปรามาสะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสารัมมณะ เป็นโนจิตตะ เป็นเจตสิกะ

เป็นจิตตสัมปยุต เป็นจิตตสังสัฏฐะ เป็นจิตตสมุฏฐานะ เป็นจิตตสหภู เป็น

จิตตานุปริวัตติ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็น

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นพาหิระ เป็นโนอุปาทา เป็นอนุปาทินนะ

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนอุปาทานะ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๗๙๔] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพะ เป็นนภาวนายปหา-

ตัพพะ เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนายปหาตัพพเหตุกะ, ปฏิ-

สัมภิทา ๓ เป็นสวิตักกะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี,

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสวิจาระ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี,

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นน-

ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็

มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทา

เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นนรูปาวจร เป็นน-

อรูปาวจร ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริยาปันนะ, อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริยาปันนะ

ก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยยานิกะ, อัตถปฏิสัมภิทา

เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอนิยตะ อัตถปฏิสัมภิ-

ทา เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี, ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นสอุตตระ, อัตถปฏิสัมภิทา

เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นอรณะ ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป

คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน. อธิบายว่า ก็เพราะ

ข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ าณ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็น

ต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

ฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์

เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔

ดังนี้ ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา)

อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถ

ชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. จริงอยู่

ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติ

ต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึง

ความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ

(คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลัน

ทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่าง ๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการ

พิจารณา ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ าณ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ

(แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา).

อธิบายคำว่า อัตถะ

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของ

เหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ). จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือ

ปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุ ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า อัตถะ. เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า

ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านั้น คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย

๒. พระนิพพาน

๓. อรรถแห่งภาษิต

๔. วิบาก

๕. กิริยา

เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้น ๆ

ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

อธิบายคำว่า ธัมมะ

คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย. จริงอยู่ เพราะ

ปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิต

พึงทราบว่าได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ

๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น

๒. อริยมรรค

๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)

๔. กุศล

๕. อกุศล

เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น

ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

อธิบายคำว่า ธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ)

พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.

สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย

ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นใน

เพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาว-

นิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการ

อย่างนี้ ชื่อว่า มีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.

จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า

นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺส ดังนี้ ก็ย่อมรู้

ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้. แม้ใน เวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.

ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่ง

พยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่น ๆ

ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ

นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า

นี้ไม่ใช่กจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า

ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่า ติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่ง

ทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือ หมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาต

ให้ภิกษุขอฟังภาษาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า ใน

บรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำ

ปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ใน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

ปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา. ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้ว ๆ

ท่านก็เรียนเอาภาษานั้น ๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่าน

จึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.

ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก

ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนกาษา ดังนี้ จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อย

นอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้น ๆ เด็กทั้งหลาย

ย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้

กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไป ๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็น

ชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำ

ของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจัก

พูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว

(พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่น

ชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตาม

ธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง

คือ

๑. ในนิรยะ (นรก)

๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน

๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)

๔. ในมนุษย์โลก

๕. ในเทวโลก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่าง นอกจากภาษาของชน

ชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่

กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ

เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง

ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรง

ยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของ

ชนชาวมคธนั่นแหละ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.

จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน

ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิศดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง

หลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว

นั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้ว ๆ

เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการ

บรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้น แม้มาก ย่อมไม่มี.

พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.

คำว่า าเณสุ ฌาณ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่

เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้

แตกฉาน ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยก

ออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน ?

ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิ และอเสกขภูมิ.

ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึง

ประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของ พระสารีบุตรเถระ ของ

พระมหาโมคคัลลานเถระ ของ พระมหากัสสปเถระ ของ พระมหา-

กัจจายนเถระ ของ พระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของ

ผู้ถึงเสกขภูมิ คือ ของ พระอานันทเถระ ของ จิตตคหบดี ของ ธัมมิก-

อุบาสก ของ อุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นต้น

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕

เป็นไฉน ?

ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วย

ปุพพโยคะ.

ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่า อธิคมะ จริงอยู่ เมื่อ

บรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. พระ-

พุทธพจน์ ชื่อว่า ปริยัติ จริงอยู่เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทา

ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. การฟังพระธรรม ชื่อว่า สวนะ จริงอยู่

เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.

อรรถกถา ชื่อว่า ปริปุจฉา จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตน

เรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์. ความเป็นพระ

โยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำ

กรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ปุพพโยคะ จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทา

ทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.

บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของ พระติสส-

เถระ ผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อ ปุนัพพสุ ได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการ

บรรลุพระอรหัต ดังนี้.

ได้ยินว่า พระติสสเถระ นั้น เรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิ-

ทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป)

แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของ พระธัมมรักขิตเถระ

ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัย

ในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์

เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภี

ผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพล มีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้า

มาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้น

ด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.

ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร ?

ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง. ได้ยินว่า อาจารย์

นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการ

้ปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว

(หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนัก

ของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่า

วาลิกะ ในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์.

พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

ที่นี้เป็นที่ปัดกวาด อันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่

เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่าง ๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอัน

ภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ดังนี้.

ปฏิสัมภิทาของ พระติสสทัตตเถระ และของ พระนาคเสนเถระ

ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อ สุธรรม ได้บริสุทธิ์

แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.

ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ใน

ตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรม

ในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตร-

ปิฎกแล้ว.

ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วย

พระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อน

บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตร คือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับ

มา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์

แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).

ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริ-

ปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน.

ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระ-

อรหัต).

ถามว่า ปุพพโยคะ เป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตก

ฉาน หรือไม่ ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติ คือ พระพุทธพจน์

สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมี

หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขาร

ทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่า หามี

ได้ไม่ อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้า

มาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์.

วรรณนาสังคหวาระ จบ

บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่ง

การสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในสังคหวาระ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัย

เป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.

ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สัจจวาระ ไว้ก็เพื่อ

แสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกัน

เกิดขึ้น ว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรค

อันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่า เป็น ธัมมะ (ธัมม-

ปฏิสัมภิทา).

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เหตุวาระ ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้ง

หลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อ

๑. สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน

๒. เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ.. ธัมม.. นิรุตติ.. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า อธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อน อัตถะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

แสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็น อัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบ

อันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.

อนึ่ง ธรรมเหล่าใด อันต่างด้วยรูปและอรูปธรรม (ขันธ์ ๕) อันเกิด

ขึ้นแล้วมีแล้วจากเหตุนั้น ๆ เพื่อแสดงซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่าเป็น อัตถะ

(อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงซึ่งความที่เหตุอันเกิดขึ้นแห่งรูปและอรูปธรรม

นั้นๆ ว่าเป็น ธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ธัมมวาระ

ไว้.

ก็เพื่อแสดงซึ่งธรรมมีชราและมรณะเป็นต้นว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิ-

สัมภิทา) และซึ่งความที่ธรรม คือ ชาติ (การเกิด) กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่ง

ชราและมรณะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส ปัจจยาการวาระ.

ลำดับนั้น เพื่อแสดงซึ่งภาษิตนั้น ๆ กล่าวคือพระปริยัติ และซึ่งความ

ที่อรรถแห่งภาษิตที่พึงบรรลุได้ด้วยปัจจัยกล่าวคือภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัส ปริยัตติวาระ ในข้อนี้ อรรถแห่งภาษิตนั้นที่จะรู้ได้ ย่อมรู้ได้ด้วย

ภาษิต ฉะนั้น พระองค์จึงทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงแสดงก่อนอัตถ-

ปฏิสัมภิทา โดยมิได้แสดงไปตามลำดับ แห่งเนื้อความภาษิตที่พระองค์ตรัสไว้.

อนึ่ง เพื่อแสดงประเภทแห่งพระปริยัติธรรมว่า ในปฏิสัมภิทา ๔

เหล่านั้นธัมมปฏิสัมภิทาเป็นไฉน. จึงตรัส ปฏิสัมภิทา (คือ วาระที่วก

กลับมาชี้แจง) เป็นคำถามเป็นประธาน. ในวาระที่วกกลับมาชี้แจงนั้น ทรง

ถือเอาแบบแผนทั้งหมดโดยไม่เหลือ ด้วยองค์ ๙ ซึ่งมีคำว่า สุตตะเป็นต้น

ว่า เป็นธัมมปฏิสัมภิทา ทรงถือเอาแบบแผนทั้งหมดสิ้นเชิง โดยการแสดง

๑. องค์ ๙ คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

มิให้เหลือ ด้วยสามารถแห่งภาษิตในที่แม้นี้ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้

นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ ว่า เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้แล.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ เหล้านั้น ปฏิสัมภทา ๓ คือ ธัมมะ,

นิรุตติ, ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นโลกียะ. อัตถปฏิสัมภิทา เป็น

มิสสกะ คือ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี. จริงอยู่ อัตถปฏิ-

สัมภิทานั้น เป็นโลกุตตระด้วยสามารถแห่งญาณในมรรคและผล อัน

มีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนกปฏิสัมภิทาเหล่านั้นโดยวาระทั้ง ๔

ด้วยสามารถแห่ง กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ในธรรมเหล่านั้น บัณฑิต

พึงทราบว่า กุศลจิตท่านจำแนกไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง มีประมาณ

เท่าไร พึงทราบปฏิสัมภิทาอย่างละ ๔ ในจิตตนิทเทสหนึ่งๆ ด้วยสามารถแห่ง

ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. แม้ในอกุศลจิตทั้งหลาย ก็นัยนี้แหละ.

ปฏิสัมภิทา ๓ (เว้นธัมมะ)

ในวาระว่าด้วยวิบากและกิริยา ท่านเว้นธัมมปฏิสัมภิทาเสีย

เพราะความที่วิบากและกิริยาทั้งหลายท่านสงเคราะห์ด้วยอัตถปฏิ-

สัมภิทา. ในวิปากจิตก็ดี ในกิริยาจิตก็ดี อย่างหนึ่ง ๆ ท่านจำแนก

ปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ ๓ เท่านั้น.

๑. ธัมมะ ได้แก่ กามาวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต โลกุตตรจิต และอกุศลจิต

๒. อัตถะ ได้แก่ อเหตุกกุศลวิปากจิต กามาวจรวิปากจิต รูปาวจรวิปากจิต อรูปาวจรวิปากจิต

โลกุตตรวิปากจิต และอกุศลวิปากจิต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

พระบาลีท่านแสดงย่อไว้เพียงแต่หัวข้อ. ปฏิสัมภิทา ๓ เหล่านั้น

บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งความพิสดารอันมาแล้วในหนหลัง แล.

ถามว่า ก็ในวาระว่าด้วยกุศลและอกุศลทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ญาณ

ในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้นว่าเป็น อัตถปฏิสัมภิทา ในวาระว่าด้วยวิบากและ

กิริยานี้ ท่านไม่กล่าวว่า ญาณในธรรมเหล่านั้นว่าเป็น ธัมมปฏิสัมภิทา เพราะ

เหตุไร ?

ตอบว่า เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

แม้อัตถปฏิสัมภิทานี้ก็ไม่พึงกล่าวในที่นี้ เพราะท่านกล่าวไว้ในหนหลัง

แล้วว่า ญาณในวิบากของธรรมเหล่านั้นว่า เป็นอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้. ที่จริง

ไม่ควรกล่าวเสียเลยก็หาไม่.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความที่ปฏิสัมภิทานี้ ท่านไม่กล่าวด้วยสามารถแห่ง

จิตตุปปาทของวิบากและกิริยา.

อนึ่ง ในวาระว่าด้วยกิริยา ท่านจำแนกปฏิสัมภิทาไว้อย่างละ ๓ เท่า

นั้น ในวาระแม้ทั้งสองเหล่านี้ คำว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกิริยาของธรรมเหล่าใด

ดังนี้ ไม่สมควร. ในวาระเหล่านั้น บัญญัติอย่างนี้ว่า ผัสสะนี้ เวทนานี้

แห่งธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยนัยว่า ยาย นิรุตฺติยา เตส

ธมฺมาน ปญฺตฺติ โหติ เป็นต้น (แปลว่า บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อม

มีด้วยนิรุตติใด) ในคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป าณ (แปลว่า

ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตติ) ได้แก่ ญาณในอันกล่าวธรรมด้วย

สภาวบัญญัติ คือธัมมนิรุตตินั้น อันเป็นไปในอรรถ และในธรรม. แม้ใน

ข้อนี้ ท่านก็กล่าวว่าญาณอันเกิดขึ้นแล้วกระทำอภิลาปสัททะ (เสียงในการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

กล่าว) ให้เป็นอารมณ์. คำว่า เยน าเฌน แปลว่า ด้วยปฏิภาณปฏิ-

สัมภิทาใด. คำว่า ตานิ าณานิ ชานาติ ได้แก่ ย่อมรู้ซึ่งญาณใน

ปฏิสัมภิทา ๓ นอกจากนี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งความเป็นไปในญาณทั้งหลาย ที่รู้ซึ่งญาณใด โดย

ประการใดเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมานิ าณานิ อิทมตฺถ-

โชตกานิ ดังนี้ (แปลว่า ญาณเหล่านี้ ส่องเนื้อความนี้). บรรดาคำเหล่านั้น

คำว่า อิทมตฺถโชตกานิ (แปลว่า ส่องเนื้อความนี้) ได้แก่ ส่อง คือประกาศ

ซึ่งเนื้อความนี้. อธิบายว่า ญาณ ๓ เหล่านี้ ย่อมส่อง ย่อมประกาศ ย่อม

กำหนดซึ่งเนื้อความ ชื่อนี้. คำว่า อิติ าเณสุ าณ (แปลว่า ความรู้

แตกฉานในญาณทั้งหลาย โดยอาการอย่างนี้) ได้แก่ ความรู้ในญาณทั้ง ๓ เป็น

ไปโดยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔

เหล่านั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ย่อมรู้ซึ่งกิจของปฏิสัมภิทาทั้งหลายเหล่านี้ว่า

นี้เป็นกิจของปฏิสัมภิทานี้ และนี้เป็นกิจของปฏิสัมภิทานี้ แม้ก็จริง ถึงอย่าง

นั้น ตัวเองก็ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำกิจ (คือทำหน้าที่) ของปฏิสัมภิทาเหล่า

นั้นได้ เปรียบเหมือน พระธรรมกถึกผู้เป็นพหูสูต ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำกิจ

ของพระธรรมกถึกผู้เป็นอัปปสูต (ผู้มีสุตะน้อย) ได้.

ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งเป็นพหูสูต รูปหนึ่งเป็นอัปปสูต.

ภิกษุทั้งสองรูปนั้นเรียนการบอกธรรมอย่างหนึ่งด้วยกัน. ในสองรูปนั้นผู้มีสุตะ

น้อยได้เป็นผู้มีเสียงไพเราะ ส่วนรูปที่เป็นพหูสูตมีเสียงเบา (ไม่ไพเราะ)ในสอง

รูปนั้น ภิกษุผู้อัปปสูตยังบริษัททั้งสิ้นให้หวั่นไหว (คือให้ติดใจ) ด้วยสมบัติคือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

เสียงของตนในสถานที่ตนไปแล้วๆ แล้วจึงแสดงธรรม. มหาชนฟังธรรมของท่าน

อยู่ต่างก็มีจิตร่าเริงยินดีกล่าวว่า รูปนั้นกล่าวธรรม เห็นจะเป็นผู้ทรงพระ

ไตรปิฎกรูปหนึ่ง. แต่ภิกษุพหูสูตกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจักทราบได้ในเวลาฟัง

ธรรมว่า ภิกษุรูปนี้ทรงพระไตรปิฎกหรือไม่. ภิกษุผู้พหูสูตนั้นถึงจะกล่าวอย่างนี้

แต่เธอก็ไม่สามารถยังบริษัททั้งสิ้นให้หงั่นไหวแล้วแสดงธรรมเช่นนั้นได้ ฉันใด

ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะความที่ภิกษุพหูสูตไม่มีความสามารถในการแสดง. บัณฑิต

พึงทราบว่าในปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ย่อมรู้ซึ่งกิจของปฏิ-

สัมภิทา ๓ นอกจากนี้ เหมือนภิกษุพหูสูตรู้อยู่ซึ่งกิจการงานของภิกษุผู้เป็นอัปป-

สูต แต่ตัวเอง (ปฏิภาณปฏิสัมภิทา) ไม่สามารถเพื่อกระทำกิจนั้นได้ ดังนี้.

ในกาลบัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้น

ของกุศลจิตเป็นต้นแล้วแสดงเขตอันเป็นฐานแห่งการเกิดขึ้นของปฏิสัมภิทา

เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า จตสฺโส ปฏิสมฺภิทา (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔)

เป็นต้นอีก. บรรดาปฏิสัมภิทาเหล่านั้น คำว่า ติสฺโส ปฏิสมฺภิทา กามาวจร-

กุสลโต จตูสุ าณสมฺปยุตฺตจิตฺเตสุ (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดในจิต

ที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว

ด้วยสามารถแห่งพระเสกขะทั้งหลาย.

จริงอยู่ ธัมมปฏิสัมภิทา กระทำธรรมมีประการ ๕ อย่าง (มีสัจจวาระ

เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ เเละปริยัตติวาระ) ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

หนหลังในเวลาพิจารณาธรรม (คือ เหตุ) แม้แห่งธรรมเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์

แล้วเกิดขึ้นในกุศลจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔. โดยทำนองเดียวกัน นิรุตติปฏิ-

สัมภิทากระทำเสียงในเวลาพิจารณานิรุตติให้เป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น. ปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทากระทำญาณ (ความรู้) ในญาณในที่ทั้งปวงในเวลาพิจารณาญาณ

ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

ส่วนคำว่า "กิริยโต จตูสุ" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วย

สามารถแห่งพระอเสกขบุคคล. จริงอยู่ ธัมมปฏิสัมภิทา กระทำธรรม ๕ ประการ

ตามที่กล่าวแล้วในหนหลังในเวลาพิจารณาธรรม (คือเหตุ) แห่งธรรมเหล่านั้น

ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกิริยาจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔. โดยทำนองเดียวกัน

นิรุตติปฏิสัมภิทา กระทำเสียงในเวลาพิจารณานิรุตติ ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้น.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา กระทำญาณในที่ทั้งปวง ในเวลาพิจารณาญาณ ให้เป็น

อารมณ์เกิดขึ้น.

แต่ข้อว่า "อตฺถปฏิสมฺภิทา เอเตสุ เจว อุปฺปชฺชติ" (แปลว่า

อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดในมรรค ๔ และ

ผล ๔ ด้วย) นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยสามารถแห่งพระเสกขะ และพระ

อเสกขะ.

จริงอย่างนั้น อัตถปฏิสัมภิทานี้ กระทำอรรถมีประเภทตามที่กล่าว

แล้วในหนหลังในเวลาพิจารณาอรรถของพระเสกขะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์แล้ว

เกิดในกุศลจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ๔ ทั้งเกิดในมรรคในผล ในเวลาแห่ง

มรรคและผลด้วย. ก็ปฏิสัมภิทานี้กระทำอรรถมีประเภทดังกล่าวแล้วในหนหลัง

ในเวลาพิจารณาอรรถของพระอเสกขะให้เป็นอารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นในกิริยาจิต

อันสัมปยุตด้วยญาณ ๔.

อนึ่ง ปฏิสัมภิทาเหล่านี้ เมื่อเกิดแก่พระเสกขะและพระอเสกขะ

ย่อมเกิดในภูมิเหล่านี้ (ภูมิ ๔) ในกาลแห่งผล คือในสามัญญผล อันตั้งอยู่

ในเบื้องบน อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงนัยนี้

ไว้ เพื่อแสดงถึงภูมิ ดังพรรณนามาฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

วรรณนาปัญหาปุจฉะ

ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นกุศล

เป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั้นแหละ. ก็แต่ ในอารัมมณติกะทั้งหลาย

นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะทำเสียงเท่านั้นให้เป็น

อารมณ์.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาซึ่งอรรถ กล่าว

คือ กามาวจรวิบากและกิริยา และสภาวะอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย.

เมื่อพิจารณาอรรถแห่งรูปาวจรและอรูปาวจร มีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั่น

แหละ เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถ์

และอรรถ คือโลกุตตรวิบาก ชื่อว่า เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาซึ่งกามาวจรกุศล

อกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย. เมื่อพิจารณากุศลธรรมอันเป็นรูปาวจร

อรูปาวจร และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่ง

ธรรมอันเป็นโลกุตตรกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งญาณ

ในกามาวจรกุศล วิบากและกิริยา. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล วิบาก

และกิริยาอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร รู้อยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายของธรรมเหล่า

นั้น เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล และวิบาก อัน

เป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ.

เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรค มีวิริยะเป็นหัวหน้า. ไม่พึงกล่าวว่า เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

มัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคอันมีฉันทะ จิตตะเป็นหัวหน้า. แม้ในกาลแห่ง

ผลก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณามรรค. เมื่อ

พิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุ) เป็นมัคคาธิปติ ด้วยสามารถแห่ง

อารัมมณาธิปติ.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณใน

มรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุ) เป็นมัคคาธิปติ. เป็น

นวัตตัพพารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณที่เหลือ.

นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะทำเสียง

อันเป็นปัจจุบันนั่นแหละให้เป็นอารมณ์.

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่ง

วิบาก อรรถแห่งกิริยา และอรรถอันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อันเป็นอดีต. เป็น

อนาคตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถเหล่านั้นในอนาคต. เมื่อพิจารณา

อรรถอันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์ คือ

พระนิพพาน เป็น นวัตตัพพารัมมณะ.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศล อกุศล

และปัจจัยธรรม อันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านั้นในอนาคต เป็น

อนาคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาในปัจจุปบันอยู่ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศลญาณ

วิปากญาณ กิริยาญาณ อันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาในอนาคต เป็นอนาคตา

รัมมณะ. เมือพิจารณาในปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะมีเสียงเป็นอารมณ์.

ในปฏิสัมภิทา ๓ นอกนี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถ

แห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยา และซึ่งอรรถอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เมื่อ

พิจารณาในภายนอก เป็นพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาทั้งในภายในทั้งใน

ภายนอก เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์คือพระนิพพาน

เป็นพหิทธารัมมณะเท่านั้น.

ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็น

ปัจจัยของกุศล และอกุศลในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรม

อันเป็นปัจจัยของกุศล อกุศลในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะในเวลา

พิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศลและอกุศลทั้งในภายในทั้งในภายนอก.

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณอัน

เป็นกุศลวิบาก กิริยาในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณใน

กุศล วิบาก กิริยาในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณา

ญาณในกุศล วิบาก กิริยาทั้งในภายในทั้งในภายนอก ดังนี้.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

ในปัญหาปุจฉกะ แม้นี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทา

เป็นโลกุตตระ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสนัย

แม้ทั้ง ๓ (คือ นัยแห่งสุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) ไว้เป็นปริจเฉทเดียว

กัน เพราะความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น เป็นมิสสกะ คือ เป็นโลกิยะและ

โลกุตตระ. ในนัยแม้ทั้ง ๓ ทั้งหมดนี้ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทา

เป็นโลกุตตระ. แม้ปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออก

จำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังคนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

๑๖. ญาณวิภังค์

มาติกา

เอกกมาติกา

[๗๙๕] ญาณวัตถุหมวดละ ๑ คือ วิญญาณ ๕ เป็นนเหตุ เป็น

อเหตุกะ เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอรูป เป็นโลกิยะ

เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ

เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากตะ

เป็นสารัมมณะ เป็นอเจตสิกะ เป็นวิบาก เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอสังกิ-

ลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ

เป็นนปีติสหคตะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนน-

นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ

เป็นโนอปริยาปันนะ เป็นอนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วย

มโนวิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ.

วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน มีวัตถุเกิด

ก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก มีวัตถุยัง

ไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ย่อมไม่

เสวยอารมณ์ของกันและกัน ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะไม่นึก ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะ

ไม่ทำไว้ในใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ จะเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังก็

หาไม่ ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับของกันและกัน.

๑. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

วิญญาณ ๕ ไม่มีความคิดนึก บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ

ด้วยวิญญาณ ๕.

วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง.

บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ต่อจากลำดับแห่ง

วิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรมไม่ประกอบวจีกรรม ด้วยวิญญาณ ๕

ย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง

วิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วยวิญญาณ ๕.

ย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม แม้ต่อจากลำดับแห่ง

วิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่เข้าสมาบัติ ไม่ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕.

ย่อมไม่เข้าสมาบัติ ไม่ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕

บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่เกิด ด้วยวิญญาณ ๕.

ย่อมไม่จุติ ไม่เกิด แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕.

ย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริงดังที่กล่าวมานี้.

ญาณวัตถุหมวดละ ๑ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

ทุกมาติกา

[๗๙๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา,

เกนจิวิญเญยยปัญญา เกนจินวิญเญยยปัญญา สาสวปัญญา อนาสวปัญญา, อาสว-

วิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปยุตตอนาสวปัญญา, สัญโญชนิยปัญญา อสัญโญ-

ชนิยปัญญา, สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา, สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญ-

ชนิยปัญญา, คันถนิยปัญญา อคันถนิยปัญญา, คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา, คัน-

ถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา, โอฆนิยปัญญา อโนฆนิยปัญญา, โอฆวิปปยุตตโอฆ-

นิยปัญญา โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา, โยคนิยปัญญา อโยคนิยปัญญา. โยค-

วิปปยุตตโยคนิยปัญญา โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา, นีวรณิยปัญญา อนีวร-

ณิยปัญญา, นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา,

ปรามัฏฐปัญญา อปรามัฏฐปัญญา,ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญาปรามาสวิปป-

ยุตตอปรามัฏฐปปัญญา, อุปาทินนปัญญา อนุปาทินนปัญญา, อุปาทานิยปัญญา

อนุปาทานิยปัญญา, อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา อุปาทานวิปปยุตตอนุ-

ปาทานิยปัญญา, สังกิเลสิกปัญญา, อสังกิเลสิกปัญญา กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิก-

ปัญญา กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา, สวิตักกปัญญา อวิตักปัญญา, สวิจาร-

ปัญญา อวิจารปัญญา, สัปปีติกปัญญา อัปปีติกปัญญา, ปีติสหคตปัญญา นปีติ-

สหคตปัญญา, สุขสหคตปัญญา นสุขสหคตปัญญา, อุเปกขาสหคตปัญญา นอุ-

เปกขาสหคตปัญญา, กามาวจรปัญญา นกามาวจรปัญญา, รูปาวจรปัญญา

นรูปาวจรปัญญา, อรูปาวจรปัญญา นอรูปาวจรปัญญา, ปริยาปันนปัญญา อปริ-

ยาปันนปัญญา, นิยยานิกปัญญา อนิยยานิกปัญญา, นิยตปัญญา อนิยตปัญญา,

สอุตตรปัญญา อนุตตรปัญญา, อัตถชาปิกปัญญา ชาปิตัตถปัญญา.

ญาณวัตถุหมวดละ ๒ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

ติกมาติกา

[๗๙๗] ฌาณวัตถุหมวดละ ๓ คือ จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา

ภาวนามยปัญญา, ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา ภาวนามยปัญญา, อธิสีลปัญญา

อธิจิตตปัญญา อธิปัญญาปัญญา, อายโกศล อปายโกศล อุปายโกศล.

วิปากปัญญา วิปากธัมมธรรมปัญญา เนววิปากนวิปากธัมมธรรมปัญญา,

อุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนานุปาทานิย-

ปัญญา สวิตักกสวิจารปัญญา อวิตักกวิจารมัตตปัญญา อวิตักกาวิจารปัญญา

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา อุเปกขาสหคตปัญญา, อาจยคามินีปัญญา

อปจยคามินีปัญญา เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา, เสกขปัญญา อเสกขปัญญา

เนวเสกขานาเสกขปัญญา, ปริตตปัญญา มหัคคตปัญญา อัปปมาณปัญญา,

ปริตตคารัมมณปัญญา มหัคคตารัมมณปัญญา อัปปมาณารัมมณปัญญา, มัคคา-

รัมมณปัญญา มัคคเหตุกปัญญา มัคคาธิปตินีปัญญา, อุปปันนปัญญา อนุป-

ปันนปัญญา อุปปาทินีปัญญา, อตีตปัญญา อนาคตปัญญา ปัจจุปปันนปัญญา,

อดีตารัมมณปัญญา อนาคตารัมมณปัญญา ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา, อัชฌัตต-

ปัญญา พหิทธาปัญญา อัชฌัตตพหิทธาปัญญา, อัชฌัตตารัมณปัญญา

พหิทธารัมมณปัญญา อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็น

เนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทิน-

นุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี

เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนว-

เสกขานาเสกขะก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะ

ก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี

เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทินีก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบัน

ก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะ

ก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

อัชฌัตตพหิทธาก็มี.

สวิตักกสวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธา-

รัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปา-

ทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

อวิตักกวิจารมัตตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี

เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.

อวิตักกวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสก-

ขานาเสกขะก็มี.

อวิตักกวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี เป็น

อุปปาทินีก็มี.

อวิตักกวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบัน

ก็มี.

อวิตักกวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

อัชฌัตตพหิทธาก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็น

เนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี

เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนว-

เสกขานาเสกขะก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะ

ก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี

เป็นมักคาธิปตินีก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทินีก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบัน

ก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะ

ก็มี เป็นปัจจุบันนารัมมณะก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

อัชฌัตตพหิทธาก็มี.

อวิตักกาวิจารปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะ

ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปาก-

ธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี

เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็น

อวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็น

อปจยคามินีก็มี เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะ

ก็มี เป็นเนวเสกขานาเสกขะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะ

ก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็น

มหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็น

มัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุ-

ปันนะก็มี เป็นอุปปาทินีก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคต

ก็มี เป็นปัจจุบันก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็ดี เป็น

อนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็น

พหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี.

ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี

เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปา-

ทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอาจยคามินีก็มี เป็นอปจยคามินีก็มี

เป็นเนวาจยคามินีนาปจยคามินีก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนว-

เสกขานาเสกขะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็น

อัปปมาณะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะ

ก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี

เป็นมัคคาธิปตินีก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทินีก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบัน

ก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะ

ก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี.

อุเปกขาสหคตปัญญา เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตา-

รัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

จตุกกมาติกา

[๗๙๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโล-

มิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิญาณ, ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ

ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ, กามาวจรปัญญา รูปาวจร-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

ปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา, ธรรมญาณ อันวยญาณ

ปริจจญาณ สัมมติญาณ, อาจยโนอปจยปัญญา อปจยโนอาจยปัญญา อาจย-

อปจยปัญญา เนวาจยโนอปจยปัญญา, นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา ปฏิเวธโน-

นิพพิทาปัญญา นิพพิทาปฏิเวธปัญญา เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา, หาน

ภาคินีปัญญา ฐิติภาคินีปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธภาคินีปัญญา,

ปฏิสัมภิทา ๔, ปฏิปทา ๔, อารมณ์ ๔, ชรามรณญาณ ชรามรณสมุทยญาณ

ชรามรณนิโรธญาณ ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ, ชาติญาณ ฯลฯ

ภวญาณ ฯลฯ อุปาทานญาณ ฯลฯ ตัณหาญาณ ฯลฯ เวทนาญาณ ฯลฯ

ผัสสญาณ ฯลฯ สฬายตนญาณ ฯลฯ นามรูปญาณ ฯลฯ วิญญาณญาณ

ฯลฯ สังขารญาณ สังขารสมุทยญาณ สังขารนิโรธญาณ สังขารนิโรธคามินี-

ปฏิปทาญาณ ญาณวัตถุ หมวดละ ๔ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

ปัญจก - ฉักก - สัตตก - อัฏฐก - นวกมาติกา

[๗๙๙] ญาณวัตถุ หมวด ๕ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมา-

สมาธิมีญาณ ๕ ญาณวัตถุ หมวดละ ๕ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๖ คือ ปัญญาในอภิญญา ๖ ญาณวัตถุ

หมวดละ ๖ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๗ คือ ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗ ละ ๗

ญาณวัตถุ หมวดละ ๗ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๘ คือ ปัญญาในมรรค ๔ ปัญญาในผล ๔

ญาณวัตถุ หมวดละ ๘ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๙ คือ ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

ญาณวัตถุ หมวดละ ๙ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

ทสกมาติกา

[๘๐๐] ญาณวัตถุ หมวดละ ๑๐ คือ พระตถาคตประกอบด้วย

กำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท

ทรงประกาศพรหมจักร กำลังเหล่านั้นชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต

กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต เป็นไฉน ?

๑. พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความ

เป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง

พระตถาคตทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่

ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของ

พระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประ-

เสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็น

กำลังของพระตถาคต.

๒. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบวิบากของกัมมสมาทาน

อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ

พระตถาคต ทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

ตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระ-

ตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ

ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของ

พระตถาคต.

๓. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตาม

ความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง

แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศ

พรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.

๔. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตทรงทราบโลกอันเป็นอเนกธาตุเป็น

นานาธาตุ ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบโลกอันเป็นอเนกธาตุเป็น

นานาธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต

พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรง

บันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของ

พระตถาคต.

๕. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมี

อัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้ง

หลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของ

พระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประ-

เสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็น

กำลังของพระตถาคต.

๖. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่

กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง

พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่น

ของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระ-

ตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ

ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลัง

ของพระตถาคต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

๗. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ

ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็น

จริง พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่ง

ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็น

กำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะ

อันประเสริฐทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็

เป็นกำลังของพระตถาคต.

๘. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความระลึกชาติหนหลัง

ได้ตามความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความระลึกชาติหนหลังได้ตามความ

เป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัย

กำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท

ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.

๙. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความจุติและอุปบัติของ

สัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้ง

หลายตามความเป็นจริง แม้ใด แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคต

ทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาท

ในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.

๑๐. ยังมีข้ออื่นอีก พระตถาคตย่อมทรงทราบความสิ้นอาสวะตาม

ความเป็นจริง พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ใด

แม้ข้อนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต พระตถาคตทรงอาศัยกำลังใดแล้ว จึง

ทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศ

พรหมจักร แม้ข้อนี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

พระตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอัน

ประเสริฐทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร กำลังเหล่าใด

ชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต. ญาณวัตถุ หมวดละ ๑๐ ย่อมมีด้วย

ประการฉะนี้.

มาติกา จบ

เอกกนิทเทส

[๘๐๑] วิญญาณ ๕ เป็นนเหตุทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น เป็นเหตุ-

วิปปยุตทั้งนั้น เป็นสัปปัจจยะทั้งนั้น เป็นสังขตะทั้งนั้น เป็นอรูปทั้งนั้น เป็น

โลกิยะทั้งนั้น เป็นสาสวะทั้งนั้น เป็นสัญโญชนิยะทั้งนั้น เป็นคันถนิยะทั้งนั้น

เป็นโอฆนิยะทั้งนั้น เป็นโยคนิยะทั้งนั้น เป็นนีวรณิยะทั้งนั้น เป็นปรามัฏฐะ

ทั้งนั้น เป็นอุปาทานิยะทั้งนั้น เป็นสังกิเลสิกะทั้งนั้น เป็นอัพยากตะทั้งนั้น เป็น

สารัมมณะทั้งนั้น เป็นอเจตสิกะทั้งนั้น เป็นวิบากทั้งนั้น เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ

ทั้งนั้น เป็นอสังกิสิฏฐสังกิเลสิกะทั้งนั้น ไม่เป็นสวิตักกสวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็น

อวิตักกวิจารมัตตะทั้งนั้น เป็นอวิตักกาวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็นปีติสหคตะทั้งนั้น

เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะทั้งนั้น เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหา-

ตัพพเหตุกะทั้งนั้น เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีทั้งนั้น เป็นเนวเสกขานาเสกขะ

ทั้งนั้น เป็นปริตตะทั้งนั้น เป็นกามาวจรทั้งนั้น ไม่เป็นรูปาวจรทั้งนั้น ไม่เป็น

อรูปาวจรทั้งนั้น เป็นปริยาปันนะทั้งนั้น ไม่เป็นอปริยาปันนะทั้งนั้น เป็น

อนิยตะทั้งนั้น เป็นอนิยยานิกะทั้งนั้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วยมโน-

วิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

[๘๐๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็น

ปัจจุบัน นั้น คือ เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น.

คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อนนั้น คือ

เมื่อวัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.

คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก

นั้น คือ วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภาย

นอก.

คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุยังไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ

นั้น คือ วิญญาณ ๕ เกิดขึ้น ในเมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ ในเมื่ออารมณ์ยัง

ไม่แตกดับ.

คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน นั้น มี

อธิบายว่า วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์

ของโสตวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นอีก

อย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์

ของกายวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน นั้น มี

อธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณ

ก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์

ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อม

ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของ

จักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ. จักขุ-

วิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวย-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

อารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหา-

วิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กาย-

วิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์

ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆาน-

วิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวย

อารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ

แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่พิจารณา นั้น คือ เมื่อ

พิจารณาอารมณ์ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด เพราะไม่ทำไว้ในใจ นั้น คือ เมื่อ

ทำอารมณ์ไว้ในใจ วิญญาณ ๕ จึงเกิดขึ้น.

คำว่า วิญญาณ ๕ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ นั้น คือ

วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั้น คือ วิญญาณ ๕ ไม่

เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นต่อจากลำดับของกันและกัน นั้น

มีอธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด

แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อม

ไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับ

ที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด

แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด กายวิญญาณย่อม

ไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับ

ที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณ

ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อ

จากลำดับที่กายวิญญาณเกิด. แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุ-

วิญญาณเกิด โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กาย

วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิด

ต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆาน-

วิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กาย

วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด.

คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความนึกคิด นั้น คือ ความนึก ความคิด

ความพิจารณา หรือความการทำไว้ในใจ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น

คือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕.

คำว่า วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอัน

หนึ่ง นั้น คือ เป็นแต่สักว่าคลองแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งเท่านั้น.

คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่ง

วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อ

จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วย

วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การ

เดิน การยืน การนั่ง การนอน ด้วยวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งแม้ต่อ

จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

อย่างหนึ่ง คือ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อ

จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม

ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม วจีกรรมด้วย

วิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม

แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม

วจีกรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วย

วิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วย

วิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมต่อ

จากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและ

อกุศลธรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ ด้วย

วิญญาณ ๕ นั้นคือบุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ ต่อจาก

ลำดับแห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติ

แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติด้วยวิญญาณ ๕ นั้น คือ

บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ ด้วยวิญญาณ ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญ-

ญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจาก

ลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ นั้น

คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕.

คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับ

แห่งวิญญาณ ๕ นั้น คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน แม้ด้วย

มโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕.

ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของ

วิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง. ญาณวัตถุ หมวดละ ๑ ย่อมมีด้วยประการ

ฉะนี้.

ทุกนิทเทส

[๘๐๓] ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่าโลกิย-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา.

ปัญญาทั้งหมด ชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และ เกนจินวิญเญยย-

ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สาสวปัญญา

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนาสวปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาสววิปป-

ยุตตสาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อาสววิปปยุตต-

อนาสวปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ นั้น ชื่อว่า สัญโญ-

ชนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อ อสัญโญชนิยปัญญา

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญ-

ชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า สัญโญ-

ชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถนิยปัญญา

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถวิปปยุตต-

คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิย-

ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆนิย-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตต-

โอฆนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิย-

ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยคนิยปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโยคนิยปปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยควิปปยุตต-

โยคนิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิย-

ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณิย-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณวิปป-

ยุตตนีวรณิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตตอนี-

วรณิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามัฏฐ-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามาสวิปป-

ยุตตปรามัฏฐปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตต-

อปรามัฏฐปัญญา.

ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา. ปัญญาใน

กุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า

อนุปาทินนปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนุปาทานิย-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทาน-

วิปปยุตตอนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อุปาทาน-

วิปปยุตตอนุปาทานิยปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังกิเลสิก-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า กิเลสวิปป-

ยุตตสังกิเลสิกปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต-

อสังกิเลสิกปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตก ชื่อว่า สวิตักกปัญญา. ปัญญาอัน

ปราศจากวิตก ชื่อว่า อวิตักกปัญญา.

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า สวิจารปัญญา. ปัญญาอัน

ปราศจาก วิจาร ชื่อว่า อวิจารปัญญา.

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า สัปปีติกปัญญา. ปัญญาอันปราศ

จากปีติ ชื่อว่า อัปปีติกปัญญา.

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาอันปราศ

จากปีติ ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา.

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาอันปราศ

จากสุข ชื่อว่า นสุขสหคตปัญญา.

ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา ชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา. ปัญญา

อันปราศจากอุเบกขา ชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา.

ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า

กามาวจรปัญญา. รูปาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา

ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา.

ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า รูปา-

วจรปัญญา. กามาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา ชื่อว่า

นรูปาวจรปัญญา.

ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า

อรูปาวจรปัญญา. กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา อปริยาปันนปัญญา

ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันน-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา. ปัญญาในกุศล

ธรรมในภูมิ ๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า

อนิยยานิกปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ

๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยต-

ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตร-

ปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา.

ในปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ของพระอรหันต์ ผู้

กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิกปัญญา

ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ของพระอรหันต์

เมื่อขณะที่อภิญญาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อขณะที่สมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถ

ปัญญา.

ญาณวัตถุหมวดละ ๒ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ติกนิทเทส

[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็น

ไฉน ?

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่

ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ

ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดัง

นี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง

ย่อมได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ

ธัมมนิชฌานขันติญาณอันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามย-

ปัญญา.

สุตมยปัญญา เป็นไฉน ?

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลาย

ที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี

บุคคลได้ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ

ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้

บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้

อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมม-

นิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา.

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.

[๘๐๕] ทานมยปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา.

สีลมยปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา.

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

[๘๐๖] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมม-

ทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีล

ปัญญา.

อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจร

สมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา.

อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา.

[๘๐๗] อายโกศล เป็นไฉน ?

บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อ

เราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

เพื่อความบริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล.

อปายโกศล เป็นไฉน ?

บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือ

เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศล-

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อ

นั้น อันใด นี้เรียกว่า อปายโกศล.

ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบายแก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้น

แล้วนั้น เรียกว่า อปายโกศล ?

[๘๐๘] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา

ในกุศลธรรมในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธรรมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพ-

ยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธรรมปัญญา.

[๘๐๙] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-

ปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า

อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปา-

ทินนานุปาทานิยปัญญา.

[๘๑๐] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจาร-

ปัญญา. ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจาร-

มัตตปัญญา. ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา.

[๘๑๑] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา. ปัญญา

อันสัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา. ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา

ชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา.

[๘๑๒] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา. ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔

ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา.

[๘๑๓] ปัญญาในมรรค ๔ ในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา. ปัญญา

ในอรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

ในภูมิ ๓ ในวิปากธรรมในภูมิ ๓ ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนว-

เสกขานาเสกขปัญญา.

[๘๑๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม

ชื่อว่า ปริตตปัญญา. ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม

อรูปาวจรกุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา.

[๘๑๕] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา.

มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา.

อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด

ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา.

[๘๑๖] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญา

ในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา.

มัคคาธิปตินรปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

[๘๑๗] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ ๔ เป็นอุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทินีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ ๔

ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ ๓ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอุปปาทินี.

[๘๑๘] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอตีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญา

ก็มี เป็นปัจจุปปันนปัญญาก็มี.

[๘๑๙] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา.

อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณ-

ปัญญา.

ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณ-

ปัญญา.

[๘๒๐] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธา-

ปัญญาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี.

[๘๒๑] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณ-

ปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ-

ปัญญา.

อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตต-

พหิทธารัมมณปัญญา.

ญาณวัตถุ หมวดละ ๓ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

จตุกกนิทเทส

[๘๒๒] ในญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็น

ไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัย

มีผล โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิ-

สนธิมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลก

นี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้

นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็น

สาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.

สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ

ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า

เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เทียงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง

ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ.

ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อ มัคคสมังคิญาณ.

ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ.

[๘๒๓] มัคคสมังคิฌาณ ได้แก่ ความรู้แม้ในทุกข์นี้ ความรู้แม้

ในทุกขสมุทัยนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทานี้.

ทุกขญาณ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขญาณ.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิอันใด ปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยญาณ ฯลฯ

ปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

[๘๒๔] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม

ชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากต-

ธรรม ชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจร-

อัพยากตธรรม ชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า

อปริยาปันนปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

[๘๒๕] ธัมมญาณ เป็นไฉน ?

ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและ

อนาคตด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรง

รู้แจ้งแล้วทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้นก็ ได้รู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ได้รู้

ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

นี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้

ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่า

นั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่

หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการส่งนัยคือปัจจเวกขณ ญาณไปนั้น

อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ.

ปริจจญาณ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วย

จิต (ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ, จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า

จิตปราศจากราคะ, จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ, จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า

จิตปราศจากโทสะ, จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ, จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า

จิตปราศจากโมหะ, จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่, จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน,

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิต

ไม่เป็นมหัคคตะ, จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ, จิตเป็นอนุตตระ

ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ, จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น, จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้

ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น, จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น, จิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้

ชัดว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัย-

ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด

นี้เรียกว่า ปริจจญาณ.

ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า

สัมมติญาณ.

[๘๒๖] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยโนอปยปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา.

ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจย-

อปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา.

[๘๒๗] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน ?

บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย ด้วยปัญญาใด แต่

ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิพพิทาในปฏิ-

เวธปัญญา.

บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายนั้นแล ได้แทงตลอด

อภิญญา ด้วยปัญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิ-

เวธโนนิพพิทาปัญญา.

ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวนิพพิทาในปฏิเวธปัญญา.

[๘๒๘] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน ?

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคล ผู้ได้

ปฐมฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยฌานที่ไม่มีวิตกซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า

วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้

ทุติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสส-

ภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้

ตติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซ่านไป ปัญญา

ชื่อว่า วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณประกอบด้วยวิราคะ ซ่าน

ไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยสุข ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้

จตุตถฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา

ชื่อว่า วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูป ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้

อากาสานัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา

ชื่อว่า วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไปยัง

โยคาวจรบุคคลผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อ

ว่า หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา

ชื่อว่า วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ยังโยคา-

วจรบุคคลผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า

หานภาคินี.

สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซ่านไป

ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ

ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

[๘๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน ?

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉาน

ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณ-

ปฏิสมภิทา. เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ๔.

[๘๓๐] ปฏิปทาปัญญา ๔ เป็นไฉน ?

ปฏิปทาปัญญา ๔ คือ

๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา

๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา

๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา

ในปฏิปทาปัญญา ๔ นั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา

เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก รู้ฐานะ

นั้นก็ช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก แต่รู้

ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก

แต่รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้

ฐานะนั้นก็เร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.

เหล่านั้นชื่อว่า ปฏิปทาปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

[๘๓๑] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน ?

อารัมมณปัญญา ๔ คือ

๑. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา

๒. ปริตตอัปมาณารัมมณปัญญา

๓. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา

๔. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา

ในอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา

เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว

แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา.

ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่-

อารมณ์ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา.

อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์

ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา.

อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์

ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔.

[๘๓๒] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชรามรณะนี้ ญาณ

แม้ในชรามรณสมุทัยนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธนี้ ญาณแม้ในชรามรณ-

นิโรธคามินีปฏิปทานี้.

ชรามรณญาณ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณญาณ.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณสมุทัยญาณ ฯลฯ

ปรารภชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภชรา-

มรณนิโรธคามีนีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชาตินี้ ฯลฯ ญาณแม้ในภพนี้

ฯลฯ ญาณแม้ในอุปาทานนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในตัณหานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในเวทนา

นี้ ฯลฯ ญาณแม้ในผัสสะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสฬายตนะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ใน

นามรูปนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในวิญญาณนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสังขารนี้ ญาณแม้

ในสังขารสมุทัยนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธคามินี-

ปฏิปทานี้.

ในญาณเหล่านั้น สังขารญาณ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารญาณ.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด ปรารภสังขารสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

สังขารนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ-

คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

ญาณวัตถุหมวดละ ๔ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ปัญจกนิทเทส

[๘๓๓] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕

เป็นไฉน ?

ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่

แสงสว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต.

ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า

ปัญญาที่แผ่สุขไป ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพจักขุ

ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจาก

สมาธินั้น ๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕.

[๘๓๔] สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน ?

ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบาก

ต่อไปด้วย ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้

ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้ ญาณเกิด

ขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุความ

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการข่มนิวรณ์ และการห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็น

สสังขาริก. ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจาก

สมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีญาณ ๕.

ญาณวัตถุหมวดละ ๕ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

ฉักกนิทเทส

[๘๓๕] ในญาณวัตถุ หมวด ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖

เป็นไฉน ?

ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ

๑. อิทธิวิธญาณ

๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ

๓. ปรจิตตญาณ

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

๕. จุตูปปาตญาณ

๖. อาสวักขยญาณ

เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในอภิญญา ๖.

ญาณวัตถุหมวด ๖ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้.

สัตตกนิทเทส

[๘๓๖] ในญาณวัตถุ หมวด ๗ นั้น ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗

ละ ๗ เป็นไฉน ?

ความรู้ว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี

ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล ชรามรณะก็เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ใน

อนาคตกาล ชรามรณะก็เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล

เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น มีความ

สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

ความรู้ว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า ภพเกิด

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ฯลฯ ความรู้ว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า เวทนา

เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ฯลฯ ความ

รู้ว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ ความรู้ว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาลสังขารก็

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความรู้ว่า แม้ในอดีตกาล เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร

ก็ไม่มี ความรู้ว่า แม้ในอนาคตกาล สังขารก็เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ความ

รู้ว่า แม้ในอนาคตกาล เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณ

ของบุคคลนั้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา.

เหล่านั้นชื่อว่า ญาณวัตถุในธรรมหมวดละ ๗ ละ ๗.

ญาณวัตถุหมวดละ ๗ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

อัฏฐกนิทเทส

[๘๓๗] ในญาณวัตถุ หมวดละ ๘ ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔

เป็นไฉน ?

ปัญญาในโสดาปัตติมรรค ปัญญาในโสดาปัตติผล ปัญญาในสกทาคามิ-

มรรค ปัญญาในสกทาคามิผล ปัญญาในอนาคามิมรรค ปัญญาในอนาคามิผล

ปัญญาในอรหัตมรรค ปัญญาในอรหัตผล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔.

ญาณวัตถุหมวดละ ๘ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

นวกนิทเทส

[๘๓๘] ในญาณวัตถุหมวดละ ๙ นั้น ปัญญาในอนุปุพพ-

วิหารสมาบัติ ๙ เป็นไฉน ?

ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ ปัญญาใน

ตติยฌานสมาบัติ ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ ปัญญาในอากาสานัญจายตน-

สมาบัติ ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ

ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคล

ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

เหล่านี้ชื่อว่า ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙.

ญาณวัตถุหมวดละ ๙ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ทสกนิทเทส

[๘๓๙] ในญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ นั้น.

๑. ญาณรู้ธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่

ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต

เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันผู้ถึงพร้อม

ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้น ไม่ใช่

เหตุไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือ

สังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็น

ฐานะที่ไม่ได้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม

ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสุขนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่

ใช่ปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขาร

อะไร ๆ โดยความเป็นสุขนั้นแล นั่นเป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึง

พร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้น

ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชน

พึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้

เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม

ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมี

ได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดานั้นแล เป็นฐานะที่หาได้

เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อม

ด้วยมัคคทิฏฐิ จะพึงฆ่าบิดา ฯลฯ จะพึงฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ จะพึงมีจิต

ประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้น ฯลฯ จะพึงยังสงฆ์ให้แตก

จากกัน ฯลฯ จะพึงนับถือศาสดาอื่น ฯลฯ จะพึงเกิดในภพที่ ๘ นั้น ไม่ใช่

เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนพึงเกิด

ในภพที่ ๘ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกัน ไม่ใช่เหตุ

ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

สัมพุทธเจ้า พึงอุบัติขึ้นแต่พระองค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะ

ที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒

องค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุอันเดียวกันนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย

ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพึงอุบัติขึ้นแต่

องค์เดียวในโลกธาตุอันหนึ่งนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้นแล

เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิได้นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบ

ว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็น

ฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่หญิงจะพึงเกิดเป็นพระ-

อินทร์ เป็นมาร เป็นมหาพรหมนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่

จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นมหา-

พรหม นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตจะพึงเกิดผล

ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะ

มีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่

ไม่น่าพอใจนั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต และมโนทุจริต

จะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่

ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริตพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่

ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่

ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่า

ใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต และมโนสุจริต

จะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่

ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริตและมโนสุจริต

พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้

เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

กายทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จึงพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เพราะกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะ

ที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบ ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริต

เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

วจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยวจีทุจริตและมโนทุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกายทุจริตและมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

กายสุจริต เบื้องหน้าแต่กายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิ-

บาต นรก เพราะกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย

ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริต

เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

วจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้น

ไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ปัจจัย ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้

พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริตและมโนสุจริต เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึง

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั้นแล

เป็นฐานะที่หาได้ เป็นฐานะที่มีได้.

พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ให้ธรรมเหล่าใด ๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็นฐานะ ธรรมเหล่าใด ๆ ไม่

เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยให้ธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ ไม่ใช่ฐานะ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในธรรม

ที่เป็นฐานะและธรรมที่ไม่ใช่ฐานะนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ธรรมที่เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

ฐานะโดยความเป็นฐานะ และธรรมที่ไม่ใช่ฐานะโดยความไม่ใช่

ฐานะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[๘๔๐] ๒. ญาณที่รู้วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต

อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ ของพระ-

ตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า กัมมสมาทานอันเป็นบาป

บางอย่างอันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้

ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันกาลสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้

ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่

ให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยคติวิบัติจึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติจึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยกาลวิบัติจึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่าง อาศัยปโยควิบัติจึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันอุปธิวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันกาลวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อันปโยควิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล

ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยคติสมบัติ จึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ จึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ จึงให้ผลก็มี.

กัมมสมาทานอันเป็นบุญบางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ จึงให้ผลก็มี.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ในกัมมสมาทานเหล่านั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้วิบากของกัมม-

สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง โดยฐานะ

โดยเหตุ ของพระตถาคต.

[๘๔๑] ๓. ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริงของ

พระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่

นรก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อม

ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่ปิตติวิสัย ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้

ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่มนุษยโลก ย่อมทรงทราบว่า ทางนี้ ให้ไปสู่เทวโลก ย่อม

ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ถึงนิพพาน.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตาม

ความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[๘๔๒] ๔. ญาณรู้โลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตาม

ความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์ ย่อม

ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่งอายตนะ ย่อมทรงทราบความเป็นต่าง ๆ แห่ง

ธาตุ ชื่อว่า ย่อมทรงทราบโลกเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 608

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิในโลกอันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้โลก

อันเป็นอเนกธาตุ เป็นนานาธาตุ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[๘๔๓] ๕. ญาณรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน

ตามความเป็นจริงของพระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยทราม

ก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ย่อม

คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัย

ประณีต ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ใน

อดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่า

สัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัทธายาศัยประณีต ก็ได้คบหา

สมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์

ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัย

ทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับเหล่า

สัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้

ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง ของ

พระตถาคต.

[๘๔๔] ๖. ญาณรู้ควานแก่กล้าและไม่แก่กล่าแห่งอินทรีย์

ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่น ตามความเป็นจริง ของพระ-

ตถาคต เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 609

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต และ

อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ที่มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลี

คือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว แนะนำ

ให้รู้ได้ง่ายและแนะนำให้รู้ได้ยาก ควรแก่การตรัสรู้และไม่ควรแก่การตรัสรู้.

ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า โลกเที่ยง หรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ความเห็นว่า

โลกมีที่สุด หรือความเห็นว่าโลกไม่มีที่สุด ความเห็นว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็

อันนั้น หรือความเห็นว่า ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น ความเห็นว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก หรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้ว ย่อมไม่เกิดอีก ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี

ย่อมไม่เกิดอีกก็มี หรือความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็

หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ

ดังกล่าวมานี้ก็มี หรือสัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุดทั้งสองนี้ ได้อนุโลมิก-

ขันติ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

ก็มี หรือญาณความรู้ตามความเป็นจริง นี้เรียกว่า อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย.

ก็อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?

อนุสัย ๗ คือ กานราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย

วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย.

ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูป สาตรูป ใน

โลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในอัปปิยรูป อสาตรูป

ในโลก อวิชชาตกไปแล้วในธรรมทั้งสองนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ

และวิจิกิจฉา พึงเห็นว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้เรียกว่า อนุสัย

ของสัตว์ทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 610

จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน ?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันเป็นกามาวจร-

ภูมิหรือรูปาวจรภูมิและอรูปาวจรภูนิ นี้ชื่อว่า จริตของสัตว์ทั้งหลาย.

อัธยาศัยของสัตว์ทั้งทลาย เป็นไฉน ?

สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต

ก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลาย

ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ย่อมคบหาสมาคมเข้าใกล้

กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต. แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัย

ทราม ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์

ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต ได้คบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายทีมี

อัธยาศัยประณีตมาแล้ว. แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม

จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มี

อัธยาศัยประณีต จักคบหาสมาคมเข้าใกล้กับสัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีต

นี้ชื่อว่า อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสมากเหล่านั้น เป็นไฉน ?

กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา

ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใด

เสพมากแล้ว ทำให้เกิดแล้ว ทำให้มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้

นั้น ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสมาก.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยเหล่านั้น เป็นไฉน ?

กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพมากแล้ว มิได้ทำให้

เกิดแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า

ผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 611

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์อ่อนเหล่านั้น ป็นไฉน ?

อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันสัตว์เหล่าใดมิได้เสพให้มากแล้ว มิได้

อบรมแล้ว มิได้ทำให้มากแล้ว มิได้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า

ผู้มีอินทรีย์อ่อน.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอินทรีย์แก่กล้าเหล่านั้น เป็นไฉน ?

อินทรีย์ ๕ เหล่านั้น อันสัตว์เหล่าใดเสพมากแล้ว อบรมแล้ว ทำให้

มากแล้ว เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่วเหล่านั้น เป็นไฉน ?

สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว

มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการชั่ว.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดีเหล่านั้น เป็นไฉน ?

สัตว์เหล่านั้นใด มีอาสยะดี มีอนุสัยดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลี

คือกิเลสน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้มีอาการดี.

สัตว์ทั้งหลายที่แนะนำให้รู้ได้ยากเท่านั้น เป็นไฉน ?

สัตว์เหล่านั้นใด มีอาการชั่ว สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้

ยาก ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแล ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้ง่าย.

สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน ?

สัตว์เหล่านั้นใด ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กรรม ประกอบด้วย

เครื่องกั้นกาง คือ กิเลส ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ วิบาก ไม่มีศรัทธา

ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่ควรเพื่อจะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม

ทั้งหลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ไม่ควรแก่การตรัสรู้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

สัตว์ทั้งหลายผู้ควรแก่การตรัสรู้เหล่านั้น เป็นไฉน ?

สัตว์เหล่านั้นใด ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กรรม ไม่ประ-

กอบด้วยเครื่องกั้นกาง คือ กิเลส ไม่ประกอบเครื่องกั้นกาง คือ วิบาก มี

ศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้ง

หลายได้ สัตว์เหล่านี้นั้น ชื่อว่า ผู้ควรแก่การตรัสรู้.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้

ชื่อว่า ญาณรู้ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่า

อื่น ของบุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง ของพระตถาคต.

[๘๔๕] ๗. ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ

ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง ของ

พระตถาคต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก ชื่อว่า ฌายี คือโยคาวจร

บุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนได้แล้วว่ายังไม่ได้ก็มี

โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญผิดซึ่งฌานที่ตนยังไม่ได้ว่าได้

แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌานที่ตนได้แล้ว

ว่า ได้แล้วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ย่อมสำคัญถูกซึ่งฌาน

ที่ตนยังไม่ได้ว่า ยังไม่ได้ก็มี เหล่านั้นชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔

จำพวก.

ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้

เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกเร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

เข้าฌานเร็วออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานช้าออกช้า

ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน เข้าฌานเร็วออกเร็วก็มี เหล่านั้นชื่อว่า

โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.

ยังมีโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้

เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติใน

สมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ

แต่ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคน ฉลาด

กำหนดสมาธิในสมาธิ และฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้

เจริญฌานบางคน ไม่ฉลาดกำหนดสมาธิในสมาธิ และไม่ฉลาดกำหนดสมาบัติ

ในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่า โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.

คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

และ จตุตถฌาน.

คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌาน

โดยทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๑.

โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายนอก ย่อมเห็น

รูปทั้งหลายในภายนอก นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๒.

โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๓.

เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง

ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากา-

สานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ นี้จัดเป็น

วิโมกข์ที่ ๔.

เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล

จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่

นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล

จึงบรรลุอากิญจัญญายตฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่

นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๖.

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญาตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคล

จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗.

เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง โยคาวจร

บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘.

คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจาร-

มัตตสมาธิ อวิตักกาวิจารสมาธิ.

คำว่า สมาบัติ ได้แก่อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ ปฐมฌานสมาบัติ

ทุติยฌานสมาบัติ ตติยฌาณสมาบัติ จตุตถฌานสมาบัติ อากาสานัญจายตน-

สมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

คำว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายเสื่อม.

คำว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ ธรรมข้างฝ่ายวิเศษ.

คำว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า ความออก แม้

ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า ความออก.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ

และสมาบัติ นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว

ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง

ของพระตถาคต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 615

[๘๔๖] ๘. ญาณรู้ความระลึกชาติหนหลังได้ตามความเป็น

จริงของพระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงระลึกชาติหนหลังได้หลาย ๆ ชาติ คือ

ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง

ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง

พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลาย

สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าข้าพเจ้าอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุ

อย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วไปเกิดในภพโน้น ข้าพเจ้าอยู่ในภพนั้น มี

ชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขและ

ทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้

พระตถาคตทรงระลึกชาตินั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติ

หนหลังได้หลาย ๆ ชาติ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส ด้วยประการฉะนี้.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ในความระลึกชาติหนหลังได้นั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความระลึก

ชาติหนหลังได้ ตามความเป็นจริงของพระตถาคต.

[๘๔๗] ๙. ญาณรู้ความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายของ

พระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ มีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญ

มนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี

ผิวพรรณทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญเหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต ประกอบวจีทุจริต ประกอบ

มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือเอามิจฉาทิฏฐิ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 616

กรรม เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบกายสุจริต ประกอบวจีสุจริต ประกอบ

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือเอาสัมมาทิฏฐิ

กรรม สัตว์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ พระตถาคตมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเลยจักษุของสามัญมนุษย์ ทรง

เห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติและอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ

ทราม ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ

ฉะนี้

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ในความจุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความ

จุติและอุปบติแห่งสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต.

[๘๔๘] ๑๐. ญาณรู้ความสิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริงของ

พระตถาคต เป็นไฉน ?

พระตถาคตในโลกนี้ ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงทำให้แจ้ง ทรง

เข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้น

ไป อยู่ ในทิฏฐธรรม.

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ญาณรู้ความ

สิ้นอาสวะ ตามความเป็นจริง ของพระตถาคต ฉะนี้แล.

ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 617

อรรถกถาญาณวิภังค์

อธิบายบทมาติกา

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) ไว้ในญาณวิภังค์

ในลำดับแห่งปฏิสัมภิทาวิภังค์นั้น ด้วยปริจเฉททั้ง ๑๐ ซึ่งมีแม่บทหมวด ๑ เป็น

ต้น มีแม่บทหมวด ๑๐ เป็นปริโยสานก่อน โดยนัยมีคำเป็นต้น ว่า เอกวเธน

าณวตฺถุ ดังนี้ (แปลว่าญาณวัตถุหมวดหนึ่ง) แล้วทำอธิบายโดยลำดับ

แห่งบททั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้งไว้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอกวิเธน ได้แก่ โดยประการหนึ่ง

หรือโดยส่วนหนึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า าณวตฺถุ นี้ ชื่อว่า ญาณวัตถุ

เพราะอรรถว่า ญาณนั้นด้วย วัตถุนั้นด้วย มีอยู่แก่สมบัติทั้งหลายมีประการ

ต่าง ๆ. แม้คำว่า ชื่อว่า วัตถุแห่งญาณ เพราะอรรถว่า เป็นการปรากฏ

(โอกาสฏฺเน) ดังนี้ก็ชื่อว่า ญาณวัตถุ. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า

ญาณวัตถุ เพราะอรรถอันมีนัยก่อนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ ในที่สุดแห่ง

การกำหนดญาณวัตถุหมวดหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยาถาวกวตฺถุ-

วิภาวนา ปญฺา เอว เอกวิเธน าณวตฺถุ ดังนี้ (แปลว่า ปัญญา

ที่แสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริงดังกล่าวมานี้ ญาณวัตถุหมวด ๑

ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้).

คำว่า ปญฺจ วิญฺาณา ได้แก่ วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็น

ต้น. บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหลาย มีคำว่า น เหตุ เป็นต้น (คำว่า น เหตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 618

แปลว่า ไม่ชื่อว่าเหตุ) โดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาธัมมสังคหะในหนหลัง

นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยสังเขป (โดยย่อ) แล้ว คำใดที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำ

นั้น จักแจ่มแจ้งในวาระแห่งนิทเทส.

อนึ่ง ในแม่บทญาณวัตถุหมวดหนึ่งนี้ ฉันใด แม้ในบทแห่งทุก-

มาติกาเป็นต้น ก็ฉันนั้น คือว่าคำใดที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าว คำนั้น ก็จักแจ่มแจ้ง

ในนิทเทสวาระนั้นนั่นแหละ. ก็บัณฑิตพึงทราบคำอย่างนี้ ในแม่บทแห่งญาณ.

วิภังค์นี้ สักว่าเป็นเครื่องกำหนดซึ่งบทตั้ง. จริงอยู่ ในญาณวิภังค์นี้ พระผู้มี

ภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งธรรมหมวดที่หนึ่ง มี ๗๘ บท โดยแยก

ออกเป็น ๒ โดยย่อ คือ ด้วยสามารถแห่งธัมมสังคหมาติกา มีคำว่า (วิญญาณ

๕) เป็น นเหตุ เป็น อเหตุกะ เป็นต้นก่อน และด้วยสามารถแห่งธรรมมิใช่

แม่บท มีคำว่า (วิญญาณ ๕) เป็น อนิจจะ เป็น ชราภิภูตะเป็นต้น.

สำหรับ ทุกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ ๒ ด้วยทุกะ มี ๓๕ หมวด

ซึ่งสมควรแก่ธรรมหมวด ๒

ติกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ ๓ มี ๘๘ หมวด คือ

พาหิรติกะ ๔ หมวด มีคำว่า จินฺตามยา ปญฺา เป็นต้น

อันสมควรแก่ธรรมหมวด ๓ มาติกาติกะ ๑๔ หมวด ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถ

แห่ง อนิยมิตปัญญา (ปัญญาอันไม่แน่นอน) มีคำว่า วิปากา ปญฺา

เป็นต้น ด้วยบท ๑๓ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง นิยมิตปัญญา (ปัญญา

อันแน่นอน) อันเป็นบทที่หนึ่งในวิตักกติกะด้วยบท ๗ บท ที่ตรัสไว้ด้วย

สามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๒ ด้วยบท ๑๒ บท ที่ตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๓ ด้วยบท ๑๓ บท ที่ตรัส

ไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่หนึ่งในปีติติกะ ด้วยบท

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 619

๑๒ บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ ๒ และที่

๓ ในปีติติกะนั้นแหละ.

ก็ จตุกกมาติกา ทรงตั้งไว้โดยหมวด ๔ มี ๒๑ บท มีคำว่า

กมฺมสฺสกตสญฺาณ เป็นต้น.

ปัญจกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๕ มี ๒ หมวด.

ฉักกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๖ มี ๑ หมวด.

สัตตกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๗ มี ๑๑ หมวด ที่ตรัสไว้โดย

ย่ออย่างนี้ว่า "สตฺตสตฺตติ าณวตฺถุ" (แปลว่า ญาณวัตถุ ๗๗) ดังนี้.

อัฏฐมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๘ มี ๑ หมวด.

นวกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ ๙ มี ๑ หมวด.

ทสกมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้หมวดละ ๑๐ มีเพียงหมวด

เดียวเท่านั้นซึ่งมีคำว่า "ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ" ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ๑๐ เป็นคำกำหนดจำนวน.

คำว่า ตถาคตสฺส (แปลว่า ของพระตถาคต) ได้แก่ พระฤาษีทั้งหลาย

ในปางก่อน มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เป็นต้น เสด็จมาแล้ว ฉัน

ใด พระตถาคตพระองค์นี้ ก็เสด็จมาแล้วฉันนั้น อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

เสด็จไปแล้วฉันใด พระตถาคตพระองค์นี้ ก็เสด็จไปแล้วฉันนั้น.

คำว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังของพระตถาคตนั้น มิได้ทั่ว

ไปแก่ชนเหล่าอื่น ๆ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กำลังทั้งหลายของพระพุทธเจ้า

ในปางก่อนผู้เสด็จมาแล้ว ด้วยอุปนิสสัยสมบัติ คือ บุญ ฉันใด แม้กำลังแห่ง

พระตถาคตพระองค์นี้ผู้เสด็จมาแล้ว ก็ฉันนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 620

กำลังของพระตถาคต ในที่นี้ มี ๒ อย่าง คือ กำลังของกาย

อย่างหนึ่ง กำลังของญาณอย่างหนึ่ง.

ในกำลัง ๒ อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบกำลังกายของพระตถาคตได้

โดยทำนองแห่งตระกูลของช้างทีเดียว.

ว่าด้วยกำลังกายของพระตถาคต

กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺย ปณฺฑร ตมฺพปิงฺคล

คนฺธ มงฺคลเหมญฺจ อุโปสถ ฉทฺทนฺติเม ทสาติ

อิมานิ หิ ทส หตฺถิกุลานิ.

แปลว่า สมจริง ดังโปราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ตระกูลแห่ง

ช้างทั้งหลาย ๑๐ ตระกูลเหล่านี้ คือ

๑. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า กาฬาวกะ (กายสีดำ)

๒. " " " " คังเคยยะ (สีน้ำไหล)

๓. " " " " ปัณฑระ (สีขาวดังเขาไกรลาส)

๔. " " " " ตัมพะ (สีทองแดง)

๕. " " " " ปิงคละ (สีเหลืองอ่อน)

๖. " " " " คันธะ (สีไม้กฤษณามีกลิ่นตัวหอม)

๗. " " " " มังคละ (สีนิลอัญชันกิริยาท่าทางงด

งาม)

๘. " " " " เหมาะ (สีเหลือง)

๙. " " " " อุโบสถ (สีทองคำ)

๑๐. " " " " ฉัททันตะ (สีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง

ปากและเท้าแดง)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 621

บรรดาตระกูลแห่งช้างเหล่านั้น คำว่า ตระกูลแห่งช้างชื่อว่า

กาฬาวกะ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นตระกูลช้างธรรมดา (ปกติหตฺถิกุล).

พึงเทียบกำลัง ดังนี้

กำลังบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกำลังช้าง ตระกูล กาฬาวกะ ๑ เชือก

กำลังช้าง กาฬาวกะ ๑๐ เชือก " " คังเคยยะ ๑ "

" คังเคยยะ ๑๐ " " " ปัณฑระ ๑ "

" ปัณฑระ ๑๐ " " " ตัมพะ ๑ "

" ตัมพะ ๑๐ " " " ปิงคละ ๑ "

" ปิงคละ ๑๐ " " " คันธะ ๑ "

" คันธะ ๑๐ " " " มังคละ ๑ "

" มังคละ ๑๐ " " " เหมาะ ๑ "

" เหมาะ ๑๐ " " " อุโบสถ ๑ "

" อุโบสถ ๑๐ " " " ฉัททันตะ ๑ "

" ฉัททันตะ ๑๐ " เท่ากับกำลังของพระตถาคตพระองค์หนึ่ง

กำลังนี้นั่นแหละ ท่านเรียกว่า "กำลังของพระโพธิสัตว์พระนามว่า

นารายณ์*" ดังนี้บ้าง. กำลังของพระตถาคตนั้น เท่ากับกำลังของช้างตระกูล

กาฬาวกะหนึ่งพันโกฏิเชือก และเท่ากับกำลังของบุรุษ ๑๐ พันโกฏิคน.

นี้เฉพาะกำลังกายของพระตถาคตพุทธเจ้าก่อน

๑. ในปรมัตถทีปนี อุทานวรรณนา กล่าวว่า กำลังกายของช้างตระกูลฉัทททันต์ ๖๐ ตัว เท่ากับ

กำลังกายของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ (พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ๑๐ องค์

คือ พระศรีอาริยเมตไตรย พระราม พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พระยามาราธิราช พระยาอสุรินท-

ราหู โสณพราหมณ์ โตไทยพราหมณ์ ช้างนาฬาคีรี ช้างปาลิไลยกะ)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 622

ว่าด้วยกำลังแห่งญาณของพระตถาคต

ก็กำลัง คือ พระญาณของพระตถาคตนี้ ทสพลญาณอันมาแล้วใน

พระบาลีนี้ก่อนนั่นแหละ ก็พันแห่งพระญาณแม้อื่นอีกมิใช่น้อย คือ

ทสพลญาณ (ญาณอันเป็นกำลัง ๑๐) ในมหาสีหนาทสูตร

เวสารัชชญาณ ๔

อกัมปนญาณ (ญาณอันไม่หวั่นไหว) ในบริษัท ๘

ญาณอันกำหนดรู้ซึ่งกำเนิด ๔

ญาณอันกำหนดรู้คติ ๕

ญาณ ๗๓ อันมาแล้วในสังยุตตกะ

ญาณทั้งหลายมี ๗๗ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

นี้ ชื่อว่า ญาณพละ (กำลังคือพระญาณ). ญาณพละ เท่านั้น

ท่านประสงค์เอาในที่นี้. จริงอยู่ ญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า

กำลัง เพราะอรรถว่าเป็นภาวะอัน ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่าเป็นการ

อุปถัมภ์ค้ำชู.

คำว่า "เยหิ พเลหิ สมนฺนาคโต" (แปลว่า พระตถาคตประ-

กอบด้วยกำลังเหล่าใด) ได้แก่ พระตถาคตนั้น ทรงเข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้ว

ด้วยดี ด้วยกำลังแห่งพระญาณ ๑๐ เหล่าใด.

คำว่า อาสภณฺาน ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะอันสูงสุด.

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนผู้ยิ่งใหญ่มีอยู่ (พระตถาคต)

ทรงเข้าถึงฐานะเหมือนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนโค

อุสภะ (โคจ่าฝูง) ตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโค ๑๐๐ ตัว โควสภะตัวที่เจริญที่สุดใน

จำนวนโค ๑,๐๐๐ ตัว หรือว่า โคอุสภะตัวที่เจริญที่สุดในจำนวนโคลาน ๑๐๐ ตัว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

หรือโควสภะตัวที่เจริญสุดในจำนวนโคลาน ๑,๐๐๐ ตัว โคนิสภะเป็นโคผู้อด

ทนต่ออันตรายทั้งปวง มีสีขาว น่ารัก นำภาระไปได้มาก ไม่หวั่นไหว แม้

ด้วยเสียงอสนีบาตตั้ง ๑๐๐ ครั้ง เป็นจ่าฝูงของโคทั้งหมด ในที่นี้ประสงค์เอา

โคอุสภะ (โคเผือก) นั้น. จริงอยู่ แม้คำว่าโคอุสภะเผือกนี้ ก็เป็นคำเปรียบ

เทียบซึ่งฐานะอันประเสริฐนั้น. ชื่อว่า อาสภะ ประเสริฐ เพราะอรรถว่า

คำนี้ เป็นชื่อของโคอุสภะนั้น. คำว่า ฐานะ ได้แก่ ฐานะอันไม่หวั่นไหว

ของโคอุสภะ ผู้ใช้เท้าทั้ง ๔ ยันแผ่นดิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสภะ สูงสุด

เพราะอรรถว่า ฐานะนี้ ราวกะว่าการดำรงอยู่ของโคผู้เป็นหัวหน้า. เหมือน

อย่างว่า โคอุสภะ คือ โคนิสภะ ประกอบด้วยกำลังของโคอุสภะ ใช้เท้าทั้ง ๔

ยันแผ่นดินไว้ ย่อมยืนมั่นคงไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้พระตถาคตก็ฉันนั้น

ประกอบด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ (ทสพลญาณ) ใช้พระบาท คือ เวสารัชช-

ญาณ ๔ (ญาณอันทำความแกล้วกล้า) ยันซึ่งแผ่นดิน คือ บริษัท ๘ ทรงเป็นผู้

ไม่หวั่นไหวด้วยปัจจามิตร อันมีประโยชน์ขัดกันไร ๆ ในโลกนี้ทั้งเทวโลก ชื่อว่า

ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนี้ จึงทรงปฏิญาณ

คือ ทรงเข้าถึงฐานะความเป็นผู้เลิศประเสริฐนั้นอยู่ ย่อมไม่กล่าวให้คลาดจาก

ความเป็นจริง และทรงยกฐานะอันเลิศประเสริฐนั้นไว้ในพระองค์. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อาสภณฺาน ปฏิชานาติ ดังนี้ (แปลว่า

ทรงปฏิญาณฐานะอันเลิศประเสริฐ).

คำว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัท ๘*.

คำว่า สีหนาท นทติ ได้แก่ ทรงบันลือ คือ ทรงเปล่งพระสุรเสียง

*. บริษัท ๘ คือ ขัตติยบริษัท, พราหมณบริษัท, คหบดีบริษัท, สมณบริษัท, จาตุ-

มหาราชิกาบริษัท, ดาวดึงสบริษัท, มารบริษัท, พรหมบริษัท (จากมหาปรินิพพานสูตร)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 624

อันองอาจ (หมายความว่า ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไม่เกรงภัย). อีกอย่าง

หนึ่ง ทรงเปล่งพระสุรเสียงเช่นกับสีหนาท (คือ เช่นกับการบันลือของสีหราช).

เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยพระสูตรชื่อว่า สีหนาทสูตร. อีกอย่างหนึ่ง

สีหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก สีหะ เพราะอดทน และเพราะการฆ่า

ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น ทรงพระนามว่า สีหะ เพราะอดทนต่อโลกธรรม

ทั้งหลายได้ และเพราะการฆ่าซึ่งลัทธิอื่น ๆ. การแผดเสียง คือการบันลือ

ของสีหะอันกล่าวแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาท. ในที่นี้

สีหะผู้ประกอบแล้วด้วยกำลังของสีหะ เป็นผู้แกล้วกล้าในที่ทั้งปวง เป็นผู้มี

ขนชูชันไปปราศแล้ว ย่อมบันลือสีหนาท ฉันใด แม้ สีหะ คือพระตถาคต

ก็ฉันนั้นประกอบแล้วด้วยกำลังของพระตถาคต เป็นผู้แกล้วกล้าในบริษัท ๘

ไม่เป็นผู้มีขนพองสยองเกล้า. ย่อนทรงบันลือซึ่งสีหนาท อันถึงพร้อมแล้วด้วย

ความงามของเทศนามีวิธีต่าง ๆ โดยนัยมีคำว่า อิติ รูป เป็นต้น. ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปริสาสุ สีหนาท นทติ (แปลว่า ทรง

บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย) ดังนี้.

คำว่า พฺรหฺม ในข้อว่า พฺรหฺมจกฺก ปวตฺเตติ นี้ ได้แก่ ประ-

เสริฐ สูงสุดคือบริสุทธิ์แล้ว.

ก็แล ศัพท์ว่า จักกะ (จักกศัพท์) นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า สมบัติ

ในลักขณะ ในส่วนแห่งรถคือล้อ ในอิริยาบถ ในทาน ในรัตนะ ใน

ธรรม ในจักรอันคมกล้า เป็นต้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบศัพท์ว่า ธรรม

จักร(ล้อรถคือพระธรรม) แล้วพึงยังคำว่า ธรรมจักรนั้นให้แจ่มแจ้ง โดยแยก

ออกเป็น (ดังนี้).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 625

จักกะ ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสมบัติ (การถึงพร้อม) อันมาแล้ว

ในคำว่าจตฺตารีมานิ ภิกฺขุเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตาน เทวมนุสฺสาน

เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมแล้ว . . . ย่อมถึงความไพบูลย์อันใหญ่ใน

โภคะ ทั้งหลาย). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ลักขณะ อันมาแล้ว

ในคำว่า เหฏฺา ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ นี้ (แปลว่า จักรทั้งหลายเกิด

ขึ้นที่พื้นฝ่าพระบาททั้งสอง). จักกะ ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถว่า ส่วนแห่ง

รถคือล้อ (ล้อรถ) อันมาในคำว่า จกฺกว วหโต ปท นี้ (แปลว่า เพียง

ดังล้อหมุนไปตามอยู่ซึ่งรอยเท้าแห่งโคพลิพัท). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏใน

อิริยาบถ อันมาแล้วในคำว่า จตุจกฺก นวทฺวาร นี้ (แปลว่า ยนต์ คือ สรีระ

อันมีล้อ ๔ มีทวาร ๙). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ทาน อันมาแล้ว

ในคำว่า ขาท ภุญฺช มา จ ปมาโท จกฺก วตฺตสฺสุ นี้ (แปลว่า ท่านจงเคี้ยว

จงบริโภค ก็จงอย่าประมาท ยังจักร (จักรคือ ทาน) ให้เป็นไป. จักกะ ศัพท์

ย่อมปรากฏในอรรถว่า จักกรัตนะ (รัตนะ คือ จักร) อันมาแล้วในคำว่า

ทิพฺพจกฺกรตน ปาตุรโหสิ นี้ (แปลว่า รัตนะ คือ จักรอันเป็นทิพย์

ปรากฏแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ธรรมจักร (จักร คือ พระ-

ธรรม)อันมาแล้วในคำว่า มยา ปวตฺติต จกฺก นี้ (แปลว่า จักร คือ พระธรรม

อันเราให้เป็นไปแล้ว). จักกะ ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่าจักรคมกล้า อันมา

แล้วในคำว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺก ภมติ มตฺถเก นี้ (แปลว่า จักร

๑. จักร ๔ คือ. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันสมควร ๒. สับปุริสูปัสสยะ

การคบสัตบุรุษ ๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้โดยชอบ ๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทา

ความดีไว้ในปางก่อน. ธรรม ๔ นี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

๒๑/๔๐)

๒. โภคะทั้งหลาย หมายถึงมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 626

ย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้ถูกความอยากนำมาแล้ว). ย่อมปรากฏในอรรถ

ว่า จักร เครื่องประหารในคำว่า ขุรปริยนฺเตน เจปิ จกฺเกน นี้ (แปลว่า

ด้วยจักรมีคมกล้าโดยรอบ) ย่อมปรากฏในอรรถว่า อสนิมณฺฑเล (บริเวณ

แห่งสายฟ้า) ในคำว่า อสนิจกฺก นี้ (แปลว่า ฟ้าผ่า).

แต่ในที่นี้ จักกะ ศัพท์บัณฑิตทราบแล้วว่าจักร คือ พระธรรม

ทั้งหลาย.

ก็จักร คือ พระธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ

๑. ปฏิเวธญาณ (ญาณในการแทงตลอด)

๒. เทสนาญาณ (ญาณในเทศนา)

ใน ๒ อย่างนั้น ปฏิเวธญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของตนอันปัญญา

อบรมแล้ว. เทสนาญาณ อันนำมาซึ่งอริยผลของพระสาวกทั้งหลายซึ่งเพิ่มพูน

แล้วด้วยกรุณา.

บรรดาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณ มี ๒ คือ

๑. อุปปัชชมานะ (ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น)

๒. อุปปันนะ (ปฏิเวธญาณอันเกิดขึ้นแล้ว)

จริงอยู่ ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น นับจำเดิมตั้งแต่การออกมหา-

ภิเนษกรมณ์ของพระพุทธเจ้า จนถึงอรหัตตมรรค. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า

ปฏิเวธญาณ อันเกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิด

นับจำเดิมแต่เสด็จอยู่ภพดุสิต จนถึงพระอรหัตตมรรค ที่มหาโพธิบัลลังก์. ใน

ขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง นับจำเดิมแต่

การทรงพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร จนถึง

พระอรหัตตมรรค ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันกำลังเกิดขึ้น. ในขณะแห่งผล

ปฏิเวธญาณ ชื่อว่า อันเกิดขึ้นแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 627

แม้เทสนาญาณก็มี ๒ คือ

๑. ปวัตตนานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)

๒. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)

จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ชื่อว่า กำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดา-

ปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ในขณะแห่งผล เทสนาญาณ ชื่อว่า

เป็นไปแล้ว.

ในเทสนาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนา-

ญาณเป็นโลกิยะ.

ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น เป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ)

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.

วรรณนากำลัง ๑๐ ของพระตถาคต

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงกำลังแห่งพระตถาคตที่ทรงตั้งไว้ว่า เยหิ ทสหิ

พเลหิ สมนฺนาคโต ตถาคโต อาสภณฺาน ปฏิชานาติ ยานิ อาทิโต

จ ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ ดังนี้ (แปลว่า พระตถาคตประกอบ

ด้วยกำลัง ๑๐ เหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ และกำลังเหล่าใด

ชื่อว่า กำลัง ๑๐ ของพระตถาคต จำเดิมแต่ต้น) โดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า

กตมานิ ทส อิธ ตถาคดต านญฺจ านโต เป็นอาทิ (แปลว่ากำลัง ๑๐

ของพระตถาคต เป็นไฉน คือ พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็น

ฐานะ โดยความเป็นฐานะ เป็นต้น)

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๑

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า านญฺจ านโต ได้แก่ ทรงทราบ

ธรรมอันเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุ. ก็ เหตุ ย่อมให้ผลตั้งขึ้นในที่นั้น คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 628

ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วย เพราะการเข้าไปอาศัย และความเป็นไปใน

กาลนั้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฐานะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบซึ่งฐานะนั้นโดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็นอฐานะ คือ

ย่อมทรงทราบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใด ๆ เพราะอาศัยซึ่งธรรมนั้น ๆ อันเป็นฐานะ

และทรงทราบว่า ธรรมเหล่าใด ๆ มิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัยของธรรม

เหล่าใด ๆ เพราะเข้าไปอาศัยซึ่งธรรมนั้น ๆ อันมิใช่ฐานะ ดังนี้.

คำว่า ยมฺปิ (แปลว่า แม้ใด) ได้แก่ ด้วยญาณใด

คำว่า อิทมฺปิ ตถาคตสฺส (แปลว่า แม้ข้อนี้ ก็เป็นกำลังของ

พระตถาคต) อธิบายว่า ฐานาฐานญาณของพระตถาคตแม้นี้ ชื่อว่า เป็น

กำลังของพระตถาคต. บัณฑิตพึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๒

คำว่า กมฺมสมาทาน ได้แก่ กรรมอันเป็นกุศล และอกุศล อัน

ตั้งใจกระทำแล้ว . อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นแหละ ชื่อว่า กรรมสมาทาน

คำว่า านโส เหตุโส แปลว่า โดยฐานะ โดยเหตุ. ได้แก่ โดยปัจจัย

และโดยเหตุ ในคำเหล่านั้น คติ อุปธิ กาล และปโยคะ ชื่อว่า ฐานะของ

วิบาก. กรรม ชื่อว่า เหตุ.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๓

คำว่า สพฺพตฺถคามินึ (แปลว่า ไปสู่ภูมิทั้งปวง) ได้แก่ ไปสู่คติ

ทั้งปวงและไปสู่อคติ. คำว่า ปฏิปท ได้แก่ ทาง (คือ มรรค). คำว่า

ยถาภิต ปชานาติ ได้แก่ ย่อมทรงทราบสภาวะการปฏิบัติ กล่าวคือเจตนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 629

อันเป็นกุศลและอกุศลโดยไม่วิปริต (ไม่ผิด) แม้ในวัตถุหนึ่ง โดยนัยนี้ว่า

ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มีจำนวนมากฆ่าอยู่ซึ่งสัตว์หนึ่งนั่นแหละ

เจตนาของเขาผู้นี้จักไปสู่นิรยะ และเจตนาของผู้นี้จักถึงกำเนิดใน

สัตว์เดียรัจฉาน ดังนี้.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๔

คำว่า อเนกธาตุ ได้แก่ ทรงทราบธาตุมากมายมีจักขุธาตุเป็นต้น

หรือกามธาตุเป็นต้น. คำว่า นานาธาตุ ได้แก่ธาตุนานัปการ (มีประการต่างๆ)

เพราะความที่ธาตุเหล่านั้นนั่นแหละมีลักษณะต่างกัน. คำว่า โลก ได้แก่ โลก

คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ. คำว่า ยถาภูต ปชานาติ ได้แก่ ทรงแทง

ตลอดซึ่งธาตุเหล่านั้น ๆ โดยไม่วิปริต.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๕

คำว่า นานาธิมุตฺติกต (แปลว่า มีอัธยาศัยต่างๆ กัน) ได้แก่

ทรงทราบซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน คือ มีอัธยาศัยอัน

เลวเป็นต้น.

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ ๖

คำว่า ปรสตฺตาน (แปลว่า ของสัตว์เหล่าอื่น) ได้แก่ ของสัตว์ผู้

เป็นใหญ่. คำว่า ปรปุคฺคลาน (แปลว่า ของบุคคลเหล่าอื่น) ได้แก่ สัตว์

ต่ำช้า. อีกอย่างหนึ่งบททั้งสองที่กล่าวมานี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน การที่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสไว้สองอย่างด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่ควรแนะนำ.

คำว่า อินฺทริยปโรปริยตฺต (แปลว่า ความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์)

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งความเป็นไปแห่งสัตว์อื่น ๆ และ

ทรงทราบความเสื่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 630

วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ ๗

คำว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีน (แปลว่า แห่งฌาน วิโมกข์

สมาธิ สมาบัติ) ได้แก่ ทรงทราบความเศร้าหมอง ควานผ่องแผ้ว ความออก

แห่งฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น. . . แห่งวิโมกข์ ๘ มีคำว่า รูปารูปานิ ปสฺสติ

เป็นต้น . . . แห่งสมาธิ ๓ อันเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเป็นต้น . . . แห่ง

อนุปุพพสมาบัติ ๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. คำว่า สงฺกิเลส (แปลว่า ความ

เศร้าหมอง) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อม. คำว่า โวทาน (แปล

ว่า ความผ่องแผ้ว ) ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนวิเศษ คือฝ่ายดี. คำว่า วุฏฺาน

(แปลว่า ความออก) ได้แก่ ย่อมออกจากฌานเป็นต้น ด้วยเหตุใด ย่อมทราบ

ซึ่งเหตุนั้น.

วรรณนากำลังพระตถาคตข้อที่ ๘, ๙, ๑๐.

คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสตึ (แปลว่า ความระลึกชาติหนหลัง)

ได้แก่ ทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยแล้วในกาลก่อน. การจุติและการอุปบัติ

ชื่อว่า จุตูปปาตะ พระองค์ทรงทราบทั้งความตายและความเกิดขึ้นแห่งสัตว์

ทั้งหลาย. คำว่า อาสวาน ขย (แปลว่า ความสิ้นอาสวะ) ได้แก่ พระนิพพาน

อันดับเสียงซึ่งอาสวะ กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งกามาสวะเป็นต้น. คำว่า

อิมานิ (แปลว่า กำลังเหล่านี้) ได้แก่ ญาณ ๑๐ เหล่าใด ที่กล่าวแล้วใน

หนหลังว่าเป็นกำลังของพระตถาคตเหล่านี้ ก็คือญาณ ๑๐ เหล่านั้น แล.

บัดนี้ บัณฑิตทราบการวรรณนาบทมาโดยลำดับในมาติกานี้อย่างนี้

แล้ว พึงทราบอีกว่า พระตถาคตย่อมทรงเห็นซึ่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มี

กิเลสาวรณ์ (คือ มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น) อันเป็นฐานะและอฐานะของสัตว์ผู้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 631

จะบรรลุและไม่บรรลุซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยฐานาฐานญาณก่อน เพราะ

ทรงเห็นฐานะคือโลกิยสัมมาทิฏฐิ และทรงเห็นซึ่งความไม่มีฐานะคือ นิยต-

มิจฉาทิฏฐิ. ต่อจากนั้น ก็ทรงเห็นซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นมีวิบาก

เป็นเครื่องกั้นมิให้บรรลุคุณวิเศษ ด้วยกัมมวิปากญาณ (คือญาณรู้ผลของ

กรรม) เพราะทรงเห็นสัตว์ผู้ปฏิสนธิมาด้วยติเหตุกะ. ย่อมทรงเห็นซึ่งความที่

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (คือ

ญาณหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง) เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม.

ทรงเห็นคุณวิเศษแห่งความประพฤติ เพื่อแสดงธรรมอนุเคราะห์แก่สัตว์ผู้ไม่มี

กรรมเป็นเครื่องกั้นอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ (ญาณ หยั่งรู้

โลกอันเป็นอเนกธาตุและนานาธาตุ) เพราะทรงเห็นความต่างกันแห่งธาตุ.

ลำดับนั้น ทรงเห็นซึ่งอธิมุตติ (คือ อัธยาศัยของสัตว์เหล่านั้น) ได้ ด้วยนานา-

ธิมุตติกตญาณ (ญาณ หยั่งรู้อัธยาศัยต่าง ๆ กัน) จึงมิได้ทรงถือเอาพิธีการ

เพื่อแสดงธรรมด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัย. ต่อจากนั้น ทรงเห็นความหย่อนและ

ความยิ่งแห่งอินทรีย์ เพื่อแสดงธรรมตามสติ ตามกำลังแห่งสัตว์ผู้มีอัธยาศัย

ที่จะรู้ได้ด้วยอินทริยปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่ศรัทธาเป็นต้น

เป็นธรรมแก่กล้าและอ่อน. ก็ถ้าว่า ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์อันสัตว์พึง

รู้ได้อย่างนี้เป็นธรรมชาติแก่กล้าไซร้ อินทรีย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงได้เร็วพลัน

ด้วยคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ เพราะความที่ตนเป็นผู้ชำนาญแล้วในฌานเป็นต้นด้วย

ญาณในฌานเป็นต้น. ก็แลครั้นเข้าถึงแล้ว จึงทรงแสดงธรรมซึ่งความที่สัตว์

เหล่านั้นเป็นผู้มีอัธยาศัยอันเกิดในกาลก่อน ด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เพราะอานุภาพแห่งทิพยจักษุ ทรงเห็นอยู่ซึ่งความวิเศษแห่งจิตที่ถึงพร้อมด้วย

เจโตปริยญาณ ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 632

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะสัตว์เหล่านั้น มีความหลงใหลไปปราศแล้ว ด้วย

ทางอันให้ถึงอาสวักขยญาณ ฉะนั้น โดยลำดับนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้-

มีพระภาคเจ้า ตรัสญาณ ๑๐ เหล่านั้นว่าเป็นกำลัง.

นี้เป็นการวรรณนาเนื้อความในมาติกาก่อน.

อรรถกถาเอกกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑

บัดนี้ เป็นการปฏิเสธการแสดงสาธารณเหตุ ในคำว่า เป็น น เหตุ

ทั้งนั้น ในนิทเทสวาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้ ในมาติกาตามที่ทรงตั้ง

ไว้ว่า ปญฺจวิญฺาณา น เหตุเมว เป็นต้น.

ในคำเหล่านั้น คำใดที่จะพึงกล่าวโดยนัยว่า จตุพฺพิโธ เหตุ เป็น

ต้น (แปลว่า เหตุมี ๔ อย่าง) คือ.

๑. เหตุเหตุ

๒. ปัจจยเหตุ

๓. อุตตมเหตุ

๔. สาธารณเหตุ

คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในการวรรณนาเนื้อความแห่งคำ

ทั้งหลายในรูปกัณฑ์ว่า สพฺพ รูป น เหตุเมว เป็นต้น (แปลว่า รูปทั้ง

หมดเป็น นเหตุทั้งนั้น) นั่นแหละ.

ในคำว่า อเหตุกเมว เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ อักษร ด้วย

สามารถแห่งพยัญชนะสนธิ. คือเป็น อเหตุกาเอว (แปลว่า เป็นอเหตุกะทั้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 633

นั้น). แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง ในหมวดแห่งธรรมมีคำ

ว่า เหตู ธมฺมา น เหตู ธมฺมา เป็นต้น วิญญาณ ๕ เป็นเหตุธรรม หรือ

ไม่เป็นดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของบททั้งปวงในที่นี้โดยส่วนเดียวว่า

ก็วิญญาณ ๕ เป็นนเหตุ ทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น ดังนี้.

บทว่า อพฺยากตเมว (แปลว่า เป็นอัพยากตะทั้งนั้น) นี้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยสามารถแห่งวิบากอัพยากตะ.

บทว่า สารมฺมณเมว นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นเครื่อง

ยึดเหนี่ยว (โอลุพฺภารมฺมณวเสน). จริงอยู่ อารมณ์ มี ๒ อย่าง คือ

ปัจจยารัมมณะ ได้แก่อารมณ์อันเป็นปัจจัย โอลุพภารัมมณะ ได้แก่

อารมณ์อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว. แต่ในที่นี้เป็นหน้าที่ของโอลุพภารัมมณะนั้น

แหละ. แม้ปัจจยารัมมณะ ก็ย่อมได้เหมือนกัน.

บท อเจตสิกเมว แปลว่า ธรรมอันไม่ประกอบจิต. ในอเจตสิก-

ธรรม (ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก) ๓ อย่าง คือ จิต รูป และพระนิพพาน พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา จิต เท่านั้น. บทว่า โน อปริยาปนฺนเมว

ได้แก่ ธรรมอันนับเนื่องแล้วโดยความเป็นธรรมอันนับเนื่องด้วยคติ จุติ

และภพ ในสังสารวัฏ ชื่อว่า โน อปริยาปันนะ. สภาวธรรมใด ย่อมไม่

นำออกจากโลก คือจากวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมนั้น จึงชื่อว่าเป็น

อนิยยานิกะ. คำว่า อุปฺปนฺน มโนวิญญาณวิเยฺยเมว นี้ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในรูปกัณฑ์ว่า ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ได้

เพราะกระทำแม้มโนวิญญาณอันเป็นวิสัยแห่งอดีตเป็นต้น เพราะปรารภรูปเป็น

ต้นอันกำลังเกิดขึ้นให้เป็นไปแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น. ก็วิญญาณ ๕ แม้กำลัง

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่เป็นอารมณ์แก่จักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเป็นไปแก่มโน-

วิญญาณเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มโนวิญฺาณ-

วิญฺเยฺย" (แปลว่า วิญญาณ ๕ เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 634

คำว่า อนิจฺจเมว ได้แก่ วิญญาณ ๕ ชื่อว่า เป็นอนิจจะทั้งนั้น

เพราะอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ (เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป)

คำว่า ชราภิภูตเมว ได้แก่ วิญญาณ ๕ ชื่อว่า ชราภิภูตะ เพราะ

อันชราครอบงำแล้ว.

คำว่า อุปฺปนฺนวตฺถุกา อุปฺปนฺนารมฺมณา (แปลว่า วิญญาณ

๕ มีวัตถุอันเกิดแล้ว มีอารมณ์อันเกิดขึ้นแล้ว) บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านปฏิเสธ

อนาคต. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นในเพราะอารมณ์และวัตถุที่เป็น

อนาคตทั้งหลาย. คำว่า ปุเรชาตวตฺถุกา ปุเรชาตารมฺมณา (แปลว่า

วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน) ได้แก่ เป็นการปฏิเสธการเกิด

ขึ้นพร้อมกัน. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้นย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ หรืออารมณ์

ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. ก็วิญญาณ ๕ นั้น เป็นธรรมชาติเกิดภายหลัง ย่อมเกิดขึ้น

ในเพราะวัตถุและอารมณ์ที่เกิดก่อน.

คำว่า อชฺฌตฺติกวตฺถุกา (แปลว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน)

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งวัตถุภายในอันเป็นของตน จริงอยู่

วิญญาณ ๕ นั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะ กระทำปสาทรูป ๕ อันเป็นภายในให้

เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. คำว่า พาหิรารมฺมณา (แปลว่า มีอารมณ์ภายนอก) ได้แก่

มีอารมณ์มีรูปเป็นต้นภายนอกเป็นอารมณ์. ในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบธรรมหมวด

๔. จริงอยู่ วิญญาณ ๕ นั้น ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุเป็นภายใน เพราะกระทำ

ปสาทะให้เป็นวัตถุ ที่อาศัยเกิด.

มโนวิญญาณ ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้น

กระทำหทัยรูปให้เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. ขันธ์ ๓ อัน สัมปยุตด้วยวิญญาณ ๕

เป็นภายนอก มีวัตถุเป็นภายใน. ขันธ์ ๓ อันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณเป็น

ภายนอก มีวัตถุเป็นภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้นกระทำหทยรูปให้เป็นที่อาศัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 635

คำว่า อสมฺภินฺนวตฺถุกา ได้แก่ มีวัตถุอันยังไม่แตกดับ. จริงอยู่ วิญญาณ

๕ เหล่านั้นย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุอันเป็นอดีตซึ่งดับไปแล้ว. แม้

เพราะความที่วิญญาณ ๕ มีอารมณ์อันยังไม่แตกดับ ก็นัยนี้.

ในคำว่า อญฺ จกฺขุวิญฺาณสฺส วตฺถุ จ อารมฺมณญฺจ เป็น

ต้น ก็วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง ของโสตวิญญาณเป็นต้น

ก็เป็นอย่างหนึ่ง. จักขุวิญญาณแม้ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมไม่เกิดต่อจากความ

สำเร็จโดยกระทำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโสตปสาท เป็นต้นให้เป็นวัตถุ

หรือทำรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเสียง เป็นต้นให้เป็นอารมณ์. แต่จักขุวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้น เพราะทำจักขุปสาทเท่านั้นให้เป็นวัตถุและทำรูปให้เป็นอารมณ์.

วัตถุก็ดี ทวารก็ดี อารมณ์ก็ดีของจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ก้าวไปสู่วัตถุอื่น หรือ

ไปสู่ทวารอื่น หรืออารมณ์อื่น อันเนื่องกันด้วยประการอย่างนี้.

จักขุวิญญาณมีวัตถุที่เนื่องกัน มีทวารที่เนื่องกัน มีอารมณ์ที่

เนื่องกันเท่านั้น จึงเกิดขึ้น. แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้

นั่นแหละ.

ในข้อว่า น อญฺมญฺสฺส โคจรวิสย ปจฺจานุโภนฺติ นี้

(แปลว่า วิญญาณ ๕ ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน) อธิบายว่า "วิญญาณ

เหล่านั้น ย่อมไม่เสวยอารมณ์ สักอย่างหนึ่งของกันและกันอย่างนี้ คือ จักขุ-

วิญญาณ ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ หรือว่าโสตวิญญาณก็ย่อมไม่

เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ" เป็นต้น. จริงอยู่ ถ้าจักขุวิญญาณประมวลมา

ซึ่งสีอันต่างด้วยสีเขียวเป็นต้นเป็นอารมณ์แล้วพึงมอบให้แก่โสตินทรีย์ว่า

" เชิญเถิด ท่านจงกำหนดสีนั้น จงชี้แจงว่า อารมณ์นั้นชื่ออะไร ดังนี้. แม้เว้น

จักขุวิญญาณเสียแล้ว พึงกล่าวตามธรรมดาของตนเฉพาะหน้าอย่างนี้ว่า "แน่ะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 636

อันธพาล ท่านค้นหาอยู่สักร้อยปีก็ตาม สักพันปีก็ตาม เว้นจากเรา (จักขุ-

วิญญาณ) ท่าน (โสตวิญญาณ) จักทราบสีนั้นได้ที่ไหน ท่านจงนำสีนั้นมา

จงน้อมไปที่จักขุปสาท เราจักรู้ซึ่งอารมณ์นั้นจะเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองก็

ตามที ก็เพราะนั่นมิใช่วิสัยของธรรมอื่น นั่นเป็นวิสัยของเราเท่านั้น. แม้

ในวิญญาณที่เหลือ ก็นัยนี้. ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณ ๕ จึงชื่อว่า ย่อมไม่

เสวยอารมณ์ของกันและกัน.

คำว่า สมนฺนาหรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อนำอาวัชชนะมาอยู่นั่นแหละ

ปัญจวิญญาณจึงเกิดขึ้น. คำว่า มนสิกโรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อทำไว้ในใจ

โดยการคำนึงถึงนั่นแหละ. ปัญจวิญญาณจึงเกิด. จริงอยู่ จิตเหล่านี้ (ปัญจ-

วิญญาณ) ย่อมเกิดขึ้นในเวลานึกถึง หรือในเวลากระทำไว้ในใจด้วยอาวัชชนะ.

คำว่า น อพฺโพกิณฺณา (แปลว่า ไม่สับสนกันก็หาไม่) ได้แก่

ไม่ถูกแทรกแซงด้วยวิญญาณอื่นย่อมเกิดติดต่อกันไปก็หาไม่. การเกิดร่วมกัน

แม้แห่งจิตทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธแล้วด้วยบทว่า น อปุพฺพ

อจริม นี้ และทรงปฏิเสธการเกิดขึ้นโดยลำดับแห่งกันและกันด้วยบทว่า

น อญฺญมญฺสฺส สมนนฺตรา นี้. ชื่อทั้งหลายของอาวัชชนะมี ๔ เท่า

นั้น ซึ่งมีคำว่า อาวัฏฏนา (แปลว่า ความสนใจ). จริงอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียก อาวัชชนะ นั้นว่า อาวัฏฏนา เพราะการหมุนเวียน

เปลี่ยนไปแห่งภวังค์ ตรัสเรียกว่า อาโภคะ (แปลว่า ความคำนึง)

เพราะความคำนึงของจิตนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า สมันนาหรณะ เพราะ

ประมวลมาซึ่งรูปเป็นต้น ตรัสเรียกว่า มนสิการ เพราะการทำไว้ในใจของ

จิตเหล่านั้นแหละ. ความสามารถเพื่อทำหน้าที่ (กิจ) แห่งอาวัฏฏนา (ความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 637

สนใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในฐานะแห่งอาวัชชนะของวิญญาณ ๕ โดย

สังเขปในที่นี้ และทรงปฏิเสธจิตแต่ละดวงเกิดร่วมกันด้วยอาการอย่างนี้.

คำว่า น กิญฺจิ ธมฺม ปฏิวิชานาติ (แปลว่า บุคคลย่อมไม่รู้

แจ้งซึ่งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕) อธิบายว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้ง ซึ่ง

กุศลหรืออกุศลแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า เป็นต้น.

คำว่า อญฺตฺร อภินิปาตมตฺตา (แปลว่า สักแต่ว่าเป็นที่ตก

ไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง) อธิบายว่า วิญญาณ ๕ สักแต่ว่าเป็นที่ตกไป

โดยเว้นรูปเป็นต้น แล้วย่อมไม่รู้อะไร ๆ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้

ว่า "บุรุษแม้เป็นผู้ฉลาดดีแล้วก็ย่อมไม่รู้ธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งในบรรดากุศล

และอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ เว้นรูปที่มาสู่คลอง. อนึ่ง จักขุวิญญาณในที่นี้ ย่อม

เป็นสักแต่ว่าการเห็นเท่านั้น . แม้โสตวิญญาณเป็นต้น ก็ย่อมสักแต่ว่า การ

ฟัง... การดม... การลิ้ม และการสัมผัสเท่านั้น. ก็การรับรู้อารมณ์โดย

สักแต่ว่าการเห็นเป็นต้น ชื่อว่า การรายงาน (หรือการบอกกล่าว) ซึ่งธรรม

เหล่านั้นอย่างอื่นมีกุศลเป็นต้น หามีไม่.

คำว่า มโนธาตุยาปิ (แปลว่า แม้ด้วยมโนธาตุ) ได้แก่ แม้

ด้วยมโนธาตุ คือ สัมปฏิจฉนจิต. อนึ่ง ในคำว่า มโนธาตุยาปิ นี้ ปิ

อักษร เป็นคำประมวลมาซึ่งเนื้อความ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ

ในที่นี้ อย่างนี้ว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งซึ่งธรรมอะไร ๆ อันเป็นกุศลได้

ด้วยวิญญาณอันเป็นไปทางทวาร ๕ แม้ทั้งหมด คือ แม้ด้วยมโนธาตุ แม้ด้วย

มโนวิญญาณธาตุซึ่งต่อจากมโนธาตุนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 638

แม้ในคำว่า "น กิญฺจิ อิริยาปถ กปฺเปติ" เป็นต้น (แปลว่า

บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญาณ ๕) ก็นัยนี้ จริง

อยู่ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ในการเดินเป็นต้นได้ด้วยวิญญาณอัน

เป็นไปทางทวาร ๕.

บุคคลย่อมไม่ตั้งกายกรรม ไม่ตั้งวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่

สมาทานธรรมอันเป็นกุศลอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่เข้าสมาธิ (สมาบัติ)

อันเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมไม่ออกจากสมาธิ อันเป็นโลกิยะ หรือโล-

กุตตระด้วยวิญญาณ ๕ ย่อมไม่จุติ (เคลื่อน) จากภพ ย่อมไม่เกิดขึ้นในภพ

ด้วยวิญญาณ ๕. จริงอยู่ กิจ (หน้าที่ของจิต) มีการรู้แจ้งซึ่งธรรมอันเป็นกุศล

และอกุศลเป็นต้น มีการจุติเป็นปริโยสาน แม้ทั้งหมดนั้น ย่อมมีได้ด้วยจิต

ทางมโนทวารเท่านั้น ย่อมไม่มีด้วยจิตอันเป็นไปทางทวาร ๕ เพราะฉะนั้น

วิถีจิตแม้ทั้งปวงอันเป็นไปกับด้วยชวนะในเพราะการทำซึ่งกิจนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงปฏิเสธแล้วในวิญญาณ ๕ นี้. อนึ่งกิจทั้งหลายที่กล่าวแล้วเหล่านั้น

ย่อมไม่มีแก่จิตอันประกอบด้วยวิญญาณ ๕ นี้ ฉันใด แม้การก้าวลงสู่นิยาม-

ธรรมก็ฉันนั้น. คือว่าบุคคลย่อมไม่ก้าวลงสู่ มิจฉัตตนิยาม หรือ สัมมัตต-

นิยาม ได้ด้วยวิญญาณ ๕.

จริงอยู่ ชวนะ (ของปัญจทวาร) ย่อมไม่แล่นไป (เสพ-

อารมณ์) เพราะปรารภนามและโคตร ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภ

บัญญัติอันมีกสิณเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา

อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา

อันมีกำลังคือวุฏฐานคามินี ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภรูปและอรูป

๑. อภิ.ส. ๓๔/ ข้อ๖๘๑ ได้แก่อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๒. ได้แก่โลกุตตรมรรค ๔.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 639

ธรรม ย่อมไม่แล่นไปสู่พระนิพพาน. อนึ่ง ปฏิสัมภิทาญาณย่อมไม่

เกิดด้วยชวนะ (ในปัญจทวาร) นั้น อภิญญาญาณ สาวกปารมีญาณ

ปัจเจกโพธิญาณ สัพพัญญุตญาณ ก็ย่อมไม่เกิดด้วยชวนะนั้น.

แต่ว่า ธรรมมีประเภทต่าง ๆ แม้ทั้งหมด ย่อมมีได้ในชวนะทาง

มโนทวารเท่านั้น.

คำว่า น สุปติ น ปฏิพุชฺฌติ น สุปิน ปสฺสติ (แปลว่า บุคคล

ย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปฏิเสธวิถีจิตพร้อมด้วยชวนะในฐานะทั้ง ๓ เหล่านั้นว่า บุคคล ย่อมไม่

ก้าวลงสู่ความหลับ ย่อมไม่หลับ ย่อมไม่ตื่น ย่อมไม่เห็นสุบิน (ฝัน) อะไร ๆ

ด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวารแม้ทั้งหมด.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ถึงจะยังไส้เทียนใหญ่ให้ติดไฟลุก

โพลงแล้วน้อมแสงสว่างนั้นเข้าไปใกล้นัยน์ตาของบุคคลนั้น ปฐมภวังค์ ย่อม

ไม่หมุนไป (ยังไม่เปลี่ยนไป) สู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางจักขุทวาร ก่อน.

ก็จิตอันประกอบด้วยมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวน-

จิตเสพอารมณ์แล้ว ก็หยั่งลงสู่ภวังค์.

ในวาระที่ ๒ ภวังคจิตย่อมหมุนไปสู่อาวัชชนจิตอันเป็นจักขุทวาร.

ต่อจากนั้นจักขุวิญญาณเป็นต้น มีชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ลำดับนั้น

ภวังคจิต จึงเป็นไปอีก.

ในวาระที่ ๓ เมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวารแล้ว

ชวนะอันเป็นมโนทวารวิถี จึงแล่นไป. ท่านกล่าวว่า เพราะรู้ด้วยจิต (ชวน-

จิตทางมโนทวาร) นั้น บุคคลจึงแลดู จึงทราบอะไร ๆ ได้ในที่นี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 640

โดยทำนองเดียวกัน เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ใครๆ ประโคมดนตรี

ที่ใกล้หูหรือน้อมดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมก็ตาม เหม็นก็ตามไปใกล้จมูก หรือใส่

เนยใส หรือใส่น้ำอ้อยเข้าไปในปาก หรือเอาฝ่ามือประหารที่หลังก็ตาม.

ปฐมภวังค์ก็ยังไม่หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางโสตทวารเป็นต้นก่อน.

จิตอันเป็นมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวนะ

เสพอารมณ์แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์.

ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงหมุนไปสู่อาวัชชนะทั้งหลายอันเป็นไปทาง

โสตทวารเป็นต้น จากนั้น โสตะ ฆานะ ชิวหา กายวิญญาณเป็นต้น มี

ชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ต่อจากนั้น ภวังค์ก็เป็นไปอีก.

ในวาระที่ ๓ ครั้นเมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวาร

แล้ว ชวนะอันเป็นมโนทวาร ก็แล่นไป. เพราะรู้ด้วยจิต (ชวนจิตอันเป็น

มโนทวารวิถี) นั้น บุคคลจึงรู้เสียงอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นเสียงสังข์ เป็นเสียง

กลอง. หรือรู้กลิ่นอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นกลิ่นเกิดแต่ราก กลิ่นเกิดแต่แก่น.

หรือรู้รสอะไร ๆ ที่เขาใส่เข้าไปในปากของตน ว่าเป็นเนยใส น้ำอ้อย หรือรู้

ว่าการประหารนี้ ใครตี ใครทุบ ใครประหารที่หลัง ดังนี้ บุคคลจึงชื่อว่า

ย่อมตื่นด้วยชวนจิตอันเป็นไปทางมโนทวารเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคล

จึงมิได้ตื่นขึ้นด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.

บุคคลย่อมเห็นแม้สุบิน (ฝัน) ด้วยชวนจิตทางมโนทวารนั้นนั่นแหละ

มิได้ฝันเห็นจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.

เหตุแห่งการฝัน ๔

ก็แล บุคคลเมื่อเห็นสุบิน (ฝัน) นั้น ๆ ย่อมฝันเห็นด้วยเหตุ ๔ ประ-

การ คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 641

โดยธาตุกำเริบ

โดยเคยประสพมา

โดยเทวดาดลใจ

โดยบุพนิมิต

ใน ๔ อย่างนั้น บุคคลมีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วยปัจจัยทำ

ให้ผิดปกติของน้ำดีเป็นต้น จึงชื่อว่าย่อมฝันไปเพราะธาตุกำเริบ. จริงอยู่ เมื่อ

ฝันไปต่าง ๆ ย่อมเป็นราวกะว่า กำลังตกลงไปจากภูเขา ราวกะว่ากำลังเดินไป

ทางอากาศ และเป็นราวกะว่าถูกเนื้อร้าย ช้างร้ายและโจรเป็นต้นติดตามแล้ว.

ว่าโดยเคยประสพมา บุคคลเมื่อฝัน ย่อมฝันเห็นอารมณ์อันตนเคย

ประสพมาแล้วในกาลก่อน.

ว่าโดยเทวดาดลใจ เทวดาย่อมน้อมอารมณ์มีอย่างต่าง ๆ เข้าไป

เพราะความเป็นผู้ใคร่จะให้ประโยชน์ หรือเพราะความประสงค์จะให้เกิดความ

เสื่อม หรือเพื่อให้เกิดความเจริญ หรือเพื่อให้เกิดความพินาศแก่บุคคลผู้ฝันนั้น.

บุคคลนั้น ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาเหล่านั้น.

ว่าโดยบุพนิมิต บุคคลเมื่อฝันเห็น ย่อมฝันเห็นสุบินอันเป็น

บุพนิมิต (ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน) แห่งความเจริญ หรือความพินาศ ด้วย

สามารถแห่งบุญและบาปย่อมเป็นดุจพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงสุบินนิมิต

ในการได้เฉพาะซึ่งพระราชบุตร ย่อมเป็นดุจพระโพธิสัตว์ ทรงมหาสุบินนิมิต

๕ ข้อ และย่อมเป็นดุจพระเจ้าโกศลทรงสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ.

ในเหตุ ๔ เหล่านั้น บุคคลย่อมฝันเห็นสิ่งใดโดยธาตุกำเริบ

และโดยการกินก่อนนอน สิ่งนั้นมิใช่ความจริง. บุคคลย่อมฝันเห็น

สิ่งใดโดยเทวดาดลใจ สิ่งนั้นเป็นจริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ เพราะว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 642

เทวดาโกรธแล้ว ใคร่เพื่อจะให้ถึงความพินาศด้วยอุบายของตน จึง

กระทำการดลใจแสดงสิ่งนั้นให้วิปริตไปก็ได้.

ได้ยินว่า ในมหาวิหารอันประเสริฐในพระนครโรหนะ พระมหาเถระ

ไม่ขออนุญาตพระภิกษุสงฆ์ สั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้น

ไม้โกรธพระเถระแล้ว ครั้งแรกนั่นแหละทำประเล้าประโลม (ชื่นชม) พระเถระ

ภายหลังบอกในสุบินนิมิตว่า "พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านจักสวรรคตภาย

ใน ๗ วัน นับแต่วันนี้" ดังนี้. พระเถระนำเรื่องนั้นไปบอกแก่นางสนมของ

พระราชา. เทวดานั้นก็แกล้งร้องเสียงดังราวกะว่าถูกประหารครั้งหนึ่ง. พระ-

ราชาทรงถามว่า "นั่นอะไรกัน". เทวดานั้นทูลว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้.

พระราชาให้ราชบุรุษนับจำนวนวัน ครั้นพระชนม์ชีพของพระองค์เกิน ๗ วัน

แล้ว ทรงกริ้วจึงให้ราชบุรุษตัดมือและเท้าของพระเถระเสีย.

ก็บุคคล ย่อมเห็นสิ่งใดโดยบุพนิมิต สิ่งนั้น ย่อมเป็นจริง

โดยส่วนเดียว. และประเภทแห่งความฝันย่อมมีแม้เพราะความแตกต่างกันไป

ตามการเกี่ยวข้องด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้นทีเดียว.

อนึ่ง พระเสกขะและปุถุชนเท่านั้น ย่อมฝันเห็นสุบินนิมิต.

แม้ทั้ง ๔ อย่าง เพราะความที่ตนยังมิได้ละวิปัลลาส ๔.

สำหรับพระอเสกขบุคคล ย่อมไม่ฝัน เพราะท่านมีวิปัลลาส ๔

อันละได้แล้ว.

ถามว่า ก็บุคคลเมื่อจะฝัน หลับแล้วย่อมฝัน หรือตื่นแล้วย่อมฝัน

หรือว่าทั้งมิใช่หลับแล้วทั้งมิใช่ตื่นแล้ว ย่อมฝัน ดังนี้.

ตอบว่า ก็ในที่นี้ ความฝันจะเป็นอย่างไร พึงทราบดังนี้

ถ้าว่า บุคคลหลับแล้วย่อมฝันไซร้ ข้อนี้ ย่อมไม่ตรงตาม

พระอภิธรรม เพราะว่า (ในพระอภิธรรม) บุคคลย่อมหลับด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 643

ภวังคจิต และภวังคจิตซึ่งมีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์นั้น มิได้

สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. ส่วนบุคคลฝันอยู่ จิตทั้งหลายเช่นนี้

(คือจิตที่สัมปยุตด้วยราคะเป็นต้น) ย่อมเกิดได้.

ถ้าบุกคลตื่นแล้วย่อมฝันได้ ข้อนี้ ก็ไม่ตรงตามพระวินัย เพราะว่า

บุคคลตื่นแล้วย่อมฝันเห็นสิ่งใดนั้นย่อมเห็นด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยอัพโพหาริก

(คือ สิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้) ด้วยว่า ชื่อว่า อนาบัติในเพราะการก้าวล่วงพระ-

บัญญัติที่ภิกษุทำแล้วด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยสิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้ มิได้มี อนึ่ง

เมื่อบุคคลทำกรรมด้วยจิตที่กำลังฝันซึ่งเป็นการล่วงพระบัญญัติ ย่อมเป็นอนาบัติ

โดยส่วนเดียว.

ถ้าบุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ย่อมฝันได้ เขาย่อมจะชื่อว่า ไม่ฝันเห็น

ซึ่งสุบิน (ในที่นี้ ) ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ความไม่มีแห่งสุบินเทียว

ย่อมปรากฏ ความมีแห่งสุบินก็ย่อมไม่ปรากฏ ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร เพราะ

บุคคลมีความง่วงเหงาไปปราศแล้วดุจลิง ย่อมฝัน. สมจริง ดังที่กล่าวไว้ว่า

ดูก่อนมหาราช บุคคลมีความง่วงเหงาซบเซาไปปราศแล้วดุจลิง

ย่อมฝัน ดังนี้. คำว่า กปิมิทฺธปเรโต ท่านประกอบไว้ ด้วยการนอน

ของวานร. เหมือนอย่างว่า การนอนหลับของลิง ย่อมเป็นไปเร็ว ฉันใด

ชื่อว่าการนอนหลับขอองบุคคล เพราะความเกลื่อนกล่นแล้วด้วยกุศลจิตเป็นต้น

ซึ่งเป็นไปรวดเร็วบ่อย ๆ อันใดก็ฉันนั้น. การข้ามไปจากภวังค์บ่อย ๆ เพราะ

ความเป็นไปของการหลับอันใด การประกอบด้วยการหลับนั้น ย่อมเห็นสุบิน

เพราะเหตุนั้นการฝันนี้ ย่อมเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง. ใน

การฝันเหล่านั้น เมื่อบุคคลฝันว่าทำการไหว้พระเจดีย์ การฟังธรรม การแสดง

ธรรมเป็นต้น ย่อมเป็นกุศล เมื่อฝันว่าทำปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมเป็นอกุศล

พ้นจากจิตทั้งสองนี้ ในขณะแห่งอาวัชชนะและตทารัมมณะ พึงทราบว่าเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 644

อัพยากตะ. แม้ในเวลาที่กล่าวว่า *สิ่งนี้เราเห็นแล้ว สิ่งนี้เราได้ยินแล้ว สิ่ง

ที่ปรากฏแล้วนั่นแหละ ก็เป็นอัพยากตะเช่นกัน.

ถามว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมที่บุคคลทำในขณะฝันเป็นธรรม

มีวิบากหรือไม่ ?

ตอบว่า มีวิบาก แต่กรรมที่ทำในเวลาฝันนั้นไม่อาจให้ปฏิ-

สนธิได้ เพราะความที่วิบากนั้นมีกำลังทราม. แต่ครั้นเมื่อปฏิสนธิ

เป็นไปแล้วด้วยกรรมอย่างอื่นให้ผลแล้ว (กรรมที่ทำในเวลาฝัน)

ย่อมให้ผล.

คำว่า เอว ยาถาวกวตฺถุวิภาวนา ปญฺา (แปลว่า ความรู้เรื่อง

วิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าปัญญา) บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการ

อธิบายถึงเหตุของวิญญาณ ๕ แต่เป็นการอธิบายความเป็นจริงของวิญญาณ ๕

เท่านั้น.

คำว่า ต ยาถาวกวตฺถุ วิภาเวติ ได้แก่ เป็นการชี้แจงถึงเรื่อง

วิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง. บัณฑิตพึงทราบคำอธิบาย ความรู้เรื่องวิญญาณ

๕ ตามความเป็นจริงอันนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง

ไว้ในมาติกาว่า ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง อันใด ชื่อว่า

ปัญญา ในหนหลัง ดังพรรณนามาฉะนี้. และพึงทราบว่า การนับญาณด้วย

สามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่ง หรือการนับญาณด้วยอาการอย่างหนึ่ง อย่างนี้

ว่า เอกวิเธน าณวตฺถุ ดังวรรณนามาฉะนี้.

ญาณวัตถุหมวดหนึ่ง จบ

* บาลีใช้ ทิฏ วิย เม สุตวิย เม เช่นเดียวกับคำว่า รูปอันเราเห็นแล้ว เสียงอัน

เราได้ยินแล้ว ซึ่งจัดเป็นอัพยากตะ เพราะเป็นรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 645

อรรถกถาทุกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๒

คำว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเล (แปลว่า ในกุศลธรรมในภูมิ ๔) ได้แก่

ปัญญาเป็นกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ของพระเสกขะ และปุถุชนทั้งหลาย พึง

ทราบวินิจฉัยในที่นี้ว่า ปัญญาใด ย่อมยังประโยชน์กล่าวคือวิบากอันนับเนื่อง

แล้วด้วยภูมิของตน. ให้เกิดขึ้น ให้ผลิตผล คือให้เป็นไปทั่วในประโยชน์ ๕*

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปฏิสัมภิทาวิภังค์ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น

จึงชื่อว่า อัตถชาปิกา. คำว่า อรหโต อภิญฺ อุปฺปาเทนฺตสฺส สมา-

ปตฺตึ อุปฺปาเทนฺตสฺส กิริยาพฺยากตา (แปลว่า ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะ)

ของพระอรหันต์ผู้กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น) ได้แก่

ปัญญาอันเป็นกิริยาในกามาวจร ในเวลาทำบริกรรมแห่งอภิญญาและสมาบัติ.

จริงอยู่ ปัญญานั้น ย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยาอันต่างด้วยอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสเรียกว่า อัตถชาปิกปัญญา.

นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะ นัยหนึ่ง

ก็ปัญญาแม้ใด เป็นกามาวจรกิริยาซึ่งเกิดขึ้นก่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่

กามาวจรกิริยาที่เกิดภายหลังด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย. ปัญญาแม้นั้น ชื่อว่า

อัตถชาปิกปัญญา เพราะย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยานั้นให้เกิดขึ้น. แม้

*. คือ ๑. สัจจวาระ ๒. เหตุวาระ ๓. ธรรมวาระ ๔. ปัจจยาการวาระ ๕. ปริยัตติ-

ธรรมวาระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 646

ปัญญาในรูปาวจรทั้งหลาย ก็นัยนี้. พึงทราบในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ มีคำว่า

จตูสุ ภูมีสุ วิปาเก (แปลว่า ในวิบากธรรมในภูมิ ๔) ได้แก่ ปัญญาใน

กามาวจรวิบาก ชื่อว่า ชาปิตัตถา เพราะยังประโยชน์ในกามาวจรวิบากให้

เกิดแล้วดำรงอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น. แม้ปัญญาใน

วิบากมีรูปาวจรปัญญา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานี้ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ชาปิตัตถา เพราะให้

เกิด ให้ผลิตผลให้เป็นไปทั่วด้วยเหตุทั้งหลายของตน ๆ และแม้ตัวเองก็เป็น

ประโยชน์ ดังนี้บ้าง. แม้ในปัญญาอันเป็นกิริยาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปัญญาของพระอรหันต์เมื่อขณะที่อภิญญาเกิดแล้ว เมื่อขณะที่สมาบัติเกิดแล้ว

ดังนี้ ก็นัยนี้แหละ.

นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะ อีกนัยหนึ่ง

ก็แม้ปัญญาในกิริยาอันเป็นกามาวจร ชื่อว่า ชาปิตัตถา เพราะยัง

ประโยชน์กล่าวคือกามาวจรกิริยาให้เกิดแล้ว ดำรงอยู่ด้วยอำนาจแห่งสหชาต-

ปัจจัยเป็นต้น. แม้ในปัญญาอันเป็นกิริยาในรูปาวจรและอรูปาวจร ก็นัยนี้

แหละ.

อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ชาปิตัตถา เพราะให้เกิด

ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่ว ด้วยเหตุทั้งหลายของตน ๆ และแม้ตัวเองก็เป็น

ประโยชน์ดังนี้บ้าง. คำที่เหลือทั้งหมดในที่นี้ ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น เพราะ

มีนัยดังที่กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะ ฉะนี้แล.

ญาณวัตถุหมวด ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 647

อรรถกถาติกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๓

จินตามยปัญญา

ปัญญา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยค-

วิหิเตสุ นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วย

ปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่า

การงานั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่งแม้แต่คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้น

ด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้

ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ ก็นัยนี้.

ในคำเหล่านั้น การงานมี ๒ อย่าง คือ หีนกรรม และ อุกกัฏฐกรรม

(ชนิดเลวและดี). ใน ๒ อย่างนั้น การงานของช่างไม้ การงานของผู้เท

ดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า หีนกรรม (ชนิดเลว). กสิกรรม วาณิชกรรม

โครักขกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อุกกัฏฐกรรม (ชนิดดี).

แม้ในศีลปะก็มี ๒ อย่าง คือ ชนิดเลว และดี.

ใน ๒ อย่างนั้น ศิลปะของช่างสาน ศิลปะของช่างหูก ศิลปะของ

ช่างหม้อ ศิลปะของช่างหนัง และศิลปะของช่างตัดผมเป็นต้น ชื่อว่าชนิดเลว.

ศิลปะที่ใช้ปัญญา (มุทฺธา) ศิลปะการคำนวณ (คณนา) ศิลปะขีดเขียน (เลข)

เป็นต้น ชื่อว่า ชนิดดี. ฐานะแห่งวิชชา ชื่อว่า วิชชาเทียว. ฐานะแห่ง

วิชชานั้นต้องประกอบโดยธรรม ท่านจึงถือเอา. ก็หมอ พ่อค้า ซึ่งมีวิชชา

เช่นกับมนต์เครื่องคุ้มครอง คือทำให้นาคงงงวย เช่นกับมนต์ของบุคคลผู้เป่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 648

ไม้เลาแม่น จักษุวิทยา ศัลยกรรม เป็นต้นท่านไม่ถือเอา เพราะความที่ศิลปะ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นไม่เข้าไปรวมอยู่ในศีลปะอันมีคำว่า ข้าแต่ท่าน

อาจารย์ กระผมปรารถนา เพื่อศึกษาศิลปะ ดังนี้.

นัยแห่งหีนกรรม

พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน

เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย

เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิด

ว่า มนุษย์เหล่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วย

บ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็

สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะ

ไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความ

ปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น

ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึง

สร้างเรือมีประการต่าง ๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้น ย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น

ทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่

ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความติดตามธรรมดาของตน.

จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน

ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลาย อันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จ

นั่นแหละ. นี้เป็นนัยในหีนกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.

นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม

แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่ง คิดว่า

เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไป ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 649

เพื่อต้องการให้อยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย จึงสร้างอุปกรณ์การ

ทำนามี แอกและไถเป็นต้น. โดยทำนองนั้น ย่อมสร้างวาณิชย-

กรรม และโครักขกรรมขึ้น. เขาย่อมไม่เห็นการงานเหล่านั้นทั้งหมด

ที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับการงานที่บุคคลอื่นเรียนมา

ทำให้สำเร็จแล้วนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในอุกกัฏฐกรรม (การงานอัน

สูง).

นัยแห่งศิลปะทั้ง ๒ อย่าง

ในบ่อเกิดแห่งศิลปะแม้ทั้งสอง บัณฑิตคนหนึ่ง ประสงค์จะ

ให้มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุก จึงจัดสร้างหีนศิลปะมีศิลปะของช่าง

สานเป็นต้นขึ้น และสร้างศิลปะอันสูงสุดกล่าวคือเพื่อให้ได้จำนวน

โดยสูงสุดแห่งหัตถกรรม สร้างอุปกรณ์คำนวณกล่าวคือเพื่อมิให้

ขาดปริมาณ สร้างเครื่องขีดเขียนอันเป็นแบบอย่างต่าง ๆ เป็นต้น.

บัณฑิตนั้น มิได้เห็นสิ่งเหล่านั้น แม้ทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ

ย่อมเป็นเช่นกับศิลปะที่บุคคลอื่นเรียนมาแล้วทำให้สำเร็จนั่นแหละ.

ข้อนี้เป็นนัยในบ่อเกิดแห่งศิลปะ.

อนึ่ง บัณฑิตบางพวก ยังฐานะแห่งวิชาทั้งหลาย มีมนต์อันยังนาค

ให้งง (ให้หมุนไป) เป็นต้น ให้เกิดขึ้น เพื่อต้องการเยียวยามนุษย์ทั้งหลายผู้

เข้าไปเล่นกับอมนุษย์มีงูเป็นต้น. บัณฑิตนั้น ย่อมไม่เห็นฐานะแห่งวิชาเหล่า

นั้นซึ่งบุคคลอื่นทำอยู่ ไม่ได้เรียนฐานะแห่งวิชาที่บุคคลอื่นเรียนแล้ว ทั้งมิได้

ฟังต่อบุคคลอื่น แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน. จริง

อยู่ ฐานะแห่งวิชานั้นอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้ทำตามธรรมดาของตน ก็ย่อม

เป็นเช่นกับบุคคลอื่นที่เรียนมากระทำอยู่ให้สำเร็จนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 650

คำว่า กมฺมสฺสกต วา (แปลว่า กัมมัสสกตาญาณ) ได้แก่ ญาณ

คือการรู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกรรมของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นกรรมของตน นี้มิใช่

กรรมของตน ดังนี้.

คำว่า สจฺจานุโลมิก วา (แปลว่า สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่

วิปัสสนาญาณ.

จริงอยู่ วิปัสสนาญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก

ว่า สัจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔.

บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งอาการ คือความเป็นไปแห่งสัจจานุโลมิกญาณ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูป อนิจฺจนฺติ วา เป็นอาทินั้น (แปลว่า รูป

ไม่เที่ยง). ก็รูปมีความไม่เที่ยงเป็นลักษณะนั่นแหละ มาแล้วในข้อว่า

รูป อนิจฺจ นี้ มิใช่มีทุกข์เป็นลักษณะ หรือมีอนัตตะเป็นลักษณะ. แต่พึง

ทราบว่า เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งอรรถ (เนื้อความ) แล้ว สภาวะเหล่านั้นพึง

เป็นอย่างเดียวกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ยญฺหิ อนิจฺจ ต ทุกฺข

ย ทกฺข ต อนตฺตา (แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา) ดังนี้.

คำว่า ย เอวรูปึ (แปลว่า อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น) ได้แก่

ญาณใด เป็นสภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้ตอนหลังอย่างนี้

ญาณนั้น ชื่อว่า อนุโลมิกญาณ.

คำว่า ขนฺตึ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่

ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คือ คล้อยตาม)

ซึ่งเหตุอันเป็นการกระทำ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้น ที่พระผู้มี-

๑. คือ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 651

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลัง โดยการเห็นซึ่งธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ดังนี้.

อนึ่ง ปัญญา ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมคล้อยตามประโยชน์

แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตามมัคคสัจจะดังนี้ด้วย ย่อมคล้อย

ตาม เพราะการคล้อยตามพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังนี้ก็ได้.

ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่

กระทำ (การณะ) แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า

ขันติ. คำว่า ปสฺสติ ได้แก่ ทิฏฐิญาณ. คำว่า โรเจติ ได้แก่ รุจิญาณ.

คำว่า มุจติ ได้แก่ มุติญาณ. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ ชื่อว่า มุติญาณ ดังนี้

ก็มี. คำว่า เปกฺขติ ชื่อว่า เปกขญาณ. ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงาน

เป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมเข้าไปประจักษ์แจ้ง แก่ญาณนั้น จึงชื่อว่า

ธัมมนิชฌานขันติญาณ. อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ ขันธ์

๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณา ย่อมให้ประจักษ์แจ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่ง

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า

ธัมมนิชฌานขันติญาณ.

คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (แปลว่า บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น

ย่อมได้...) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้...

คำว่า อย วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.

ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง

ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้รู้ยิ่งเท่านั้น.

สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้ง

สอง (ทฺวินฺนเยว โพธิสตฺตาน) เท่านั้น.

๑. การณะ คือ กัมมะ ศิลปะ วิชา กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 652

ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญา

มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.

อธิบายสุตมยปัญญา

ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญา

ทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลัง

ทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี พึงถ้อยคำของใคร ๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาใน

สำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ.

อธิบายภาวนามยปัญญา

คำว่า สมาปนฺนสฺส (แปลว่า ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญา

ในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.

อธิบายทานมยปัญญา

คำว่า ทาน อารพฺภ (แปลว่า ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน

อธิบายว่า มีเจตนาในทานเป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (แปลว่า บุคคล

ผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน.

คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (แปลว่า ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใด อันสัมปยุต

ด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็

เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณา

อยู่ซึ่งทานนั้น.

ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ

ปุพพเจตนา

มุญจนเจตนา

อปรเจตนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 653

อธิบายสีลมยปัญญา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาปัญญาอันสัมปยุตด้วยเจตนาในศีล

แม้ในคำว่า สีล อารพฺภ สีลาธิคจฺฉ นี้ว่า เป็น สีลมยปัญญา. ก็เมื่อคิดว่า

เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ แล้วก็ยังศีลนั้นให้บริบูรณ์อยู่ ครั้นยังศีลให้

บริบูรณ์แล้ว ก็พิจารณาศีลนั้นอยู่ สีลมยปัญญานี้จึงเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง

คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา. สำหรับภาวนามยปัญญา ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อธิบาย อธิสีลปัญญา เป็นต้น

ใน อธิสีลปัญญา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบศีลเป็นต้น โดยเป็น

ไปอย่างละ ๒ คือ ศีล อธิศีล, จิต อธิจิต, ปัญญา อธิปัญญา. ในคำเหล่านั้น

ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ชื่อว่า ศีล ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ลงในแบบ

แผนนี้ว่า ความอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลาย หรือไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามที

ธาตุ ธัมมฐิติ ธัมมนิยามเหล่านั้นก็ดำรงอยู่แล้วเทียว. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคต

ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ศีลนั้นก็มีอยู่.

ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมบัญญัติ

ศีล (คือย่อมประกาศให้รู้).

ตอบว่า ดาบส ปริพาชก สัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-

พรรดิราชย่อมบัญญัติศีล.

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี-

สงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา ย่อมประกาศให้รู้ซึ่งศีลนั้น. อนึ่ง

เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วนั้นแหละ ปาฏิโมกขสังวรศีลอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 654

เป็นศีลยิ่งกว่าศีลทั้งหมดจึงปรากฏขึ้น เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรง

อุบัติ ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นก็มิได้ปรากฏ ด้วยว่า พระสัพพัญญู-

พุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมบัญญัติประกาศซึ่งปาฏิโมกขสังวรศีล

นั้น หาใช่เป็นวิสัยของชนเหล่าอื่นที่จะบัญญัติว่า ชื่อว่าศีลข้อนี้ ย่อม

มีเพราะการก้าวล่วงในเรื่องนี้ ดังนี้. อันนี้เป็นวิสัยแห่งพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเท่านั้น และเป็นกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยประการ

ฉะนี้. ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้เป็น อธิศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้นเพื่อ

ทรงแสดงอธิสีลปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺข-

สวร สวรนฺตสฺส เป็นต้น (แปลว่า ปัญญา เกิดแก่ผู้สำรวมด้วย

ปาฏิโมกขสังวรศีล).

อนึ่ง สมาบัติ ๘ อันเป็นเครื่องดำเนินไปในวัฏฏะ ชื่อว่า จิต ด้วย

สามารถแห่งการสงเคราะห์ไว้ด้วยแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหน

หลัง. จริงอยู่ จิตอันเป็นไปในสมาบัติ ๘ เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติ

แล้วก็ตาม ไม่ทรงอุบัติก็ตาม จิตเช่นนั้นย่อมเกิดขึ้นได้.

ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมยังจิตอัน

เป็นไปในสมาบัติเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.

ตอบว่า ดาบส ปริพาชก พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-

พรรดิราช.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว ชนทั้งหลายผู้

ปรารถนาคุณวิเศษแม้มีภิกษุเป็นต้น ย่อมยังจิตเช่นนั้น ให้เกิดขึ้นได้.

แต่ว่า สมาบัติ ๘ อัน เป็นบาทให้วิปัสสนาอันยิ่งกว่าจิตทั้งปวงเกิดขึ้น

นั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบติแล้วเท่านั้นจึงมีได้ ยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 655

จิตเช่นนั้นหามีได้ไม่. พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมทรง

บัญญัติประกาศจิตอันเป็นไปในสมาบัติ ๘ อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา

เหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้ สมาบัติ เป็นอธิจิตได้ เหตุใด

เพราะเหตุนั้นเพื่อแสดงปัญญาอันบรรลุเป็นอธิจิตนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า รูปาวจรารูปาวจรสมาปตฺตึ สมาปชฺชนตสฺส

เป็นต้น (แปลว่า ปัญญา. . . อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้

เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ).

ก็กัมมัสสกตาญาณ ชื่อว่า ปัญญา ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์

ไว้ในแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลังนั่นแหละ. จริงอยู่ เมื่อ

พระตถาคตทรงอุบัติแล้วก็ดี ยังมิทรงอุบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณนั้น ก็มีได้

คือ เมื่อพระตถาคตยังมิทรงอุบัติขึ้น กัมมัสสกตาญาณนั้ย่อมเกิดขึ้นด้วย

อำนาจของการให้ทานของเวลามพราหมณ์และของพระเวสสันดร เป็นต้น. ครั้น

เมื่อพระตถาคต. ทรงอุบัติแล้ว ประมาณบุคคลผู้ยังมหาทานให้เป็นไปด้วย

ญาณนั้นหาได้ไม่.

ปัญญาในมรรคและผลเป็นสภาพยิ่งกว่าปัญญาทั้งหมด เมื่อ

พระตถาคตทรงอุบัติแล้วเท่านั้น จึงเป็นสภาวะแผ่ออกไป เมื่อยัง

มิได้ทรงอุบัติขึ้น หาเป็นเช่นนั้นไม่. ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา

ในมรรคและผล ชื่อว่า อธิปัญญา เหตุใด เพราะเหตุนั้น เพื่อ

แสดงซึ่งปัญญา ด้วยอธิปัญญา จึงตรัสคำว่า จตูสุ มคฺเคสุ เป็นต้น.

ถามว่า ในส่วนทั้ง ๖ เหล่านั้น คือ ศีล อธิศีล จิต อธิจิต ปัญญา

อธิปัญญา พึงมีไซร้ วิปัสสนาปัญญา อาศัยธรรมอันไหนเป็นไป.

ตอบว่า อาศัย อธิปัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 656

ในข้อนี้ เปรียบเหมือนบุคคลเรียกว่า อธิฉัตรและอธิธัชซึ่งมีปริมาณ

มาก เพราะอาศัยฉัตร (ร่ม) หรือธัช (ธง) ซึ่งมีปริมาณน้อย ฉันใด แม้ข้อนี้

ก็ฉันนั้น ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลอันเป็นอธิศีลก็เพราะอาศัยศีล ๕

และศีล ๑๐ อันเป็นเบื้องต้น

สมาบัติ ๘ อันเป็นบาทให้วิปัสสนาเกิดขึ้น ชื่อว่า อธิจิต

เพราะอาศัยสมาบัติ ๘ อันเป็นไปในวัฏฏะ.

และพึงทราบว่า วิปัสสนาปัญญา และปัญญาในมรรคในผล

ชื่อว่า อธิปัญญา ดังนี้ ก็เพราะอาศัย กัมมัสสกตาปัญญา ดังนี้.

อธิบาย อายโกศล เป็นต้น

ในนิทเทสแห่งอายโกศลเป็นต้น คำว่า อาโย ได้แก่ ความเจริญ

อายะคือ ความเจริญนั้น มี ๒ อย่าง คือ อนัตถหานิ (การละความพินาศ

คือ อกุศลธรรม) และ อัตถุปปัตติ (การยังประโยชน์คือ กุศลธรรมให้

เกิดขึ้น). คำว่า อปาโย ได้แก่ ความไม่เจริญ. ความไม่เจริญแม้นั้น ก็มี

๒ คือ อัตถหานิ (การละสิ่งเป็นประโยชน์ คือกุศลธรรม) และ อนัตถุปปัตติ

(การยังสิ่งทีไม่เป็นประโยชน์คือ อกุศลธรรม ให้เกิดขึ้น) ย่อมมี เหตุใด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อิเม ธมฺเม มนสิกโรโต

เป็นต้น.

คำว่า อิท วุจฺจติ อธิบายว่า ปัญญาอันใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกชื่อว่า อายโกศล ก็เพราะเป็นไปในการละ คือไม่ให้อกุศลธรรม

เหล่านี้เกิดขึ้น และเพราะการดำรงอยู่ในการเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

ก็แล ปัญญานี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า นี้ชื่อว่า อปายโกศล ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 657

ปัญญานั้น เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ในการยังไม่เกิดขึ้นและการดับไปแห่งกุศลธรรม

ทั้งหลาย ย่อมรู้ในการเกิดขึ้นและความตั้งอยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้.

ถามว่า ความเป็นคนฉลาดในอายะ คือ ความเจริญนั้น จงยกไว้

ก่อน ความเป็นคนฉลาดในอปายะ คือ ความไม่เจริญ ชื่อว่าปัญญานั้น เกิด

ขึ้นได้อย่างไร.

ตอบว่า พราะว่า เมื่อบุคคลพิจารณาด้วยปัญญาของตนอย่างนี้ ย่อม

รู้ชัดว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย

ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป และย่อมรู้ชัดว่า อกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น

ย่อมเกิดขึ้น อกุศลกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ ดังนี้ บุคคลนั้น ครั้น

ทราบอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด

ขึ้น ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว และย่อมยังกุศลธรรมที่ยังไม่

เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ถึงความบริบูรณ์ ด้วยการ

เจริญปัญญา. แม้ความเป็นผู้ฉลาดในอปายะด้วยอาการอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบ

ว่าเป็นปัญญา ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ในคำว่า สพฺพาปิ ตตฺรุปายา ปญฺา อุปายโกสลฺล นี้ (แปลว่า

ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายแก้ไขในกิจรีบด่วน หรือภัยที่เกิดขึ้นแล้วนั้น

ชื่อว่า อุปายโกศล) บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งการรู้ถึงเหตุในการเกิด

ขึ้นแห่งฐานะ เพื่อแก้ไขในกิจการที่รีบด่วน หรือภัยที่เกิดขึ้นนั่นแหละ. คำ

ที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ญาณวัตถุหมวด ๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 658

อรรถกถาจตุกกนิทเทส

อธิบาย ญาณวัตถุหมวด ๔

ในคำว่า อตฺถิ ทินฺน เป็นต้น (แปลว่า ทานที่ให้แล้วมีผล) บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ว่า ผลมีอยู่เพราะทานอันตนไห้แล้วเป็น

ปัจจัย ดังนี้.

คำว่า อิท วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ) อธิบายว่า

ญาณใดย่อมรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้มิใช่ของตน ดังนี้ ญาณนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.

ในบรรดากรรมทั้งสอง (คือ ทั้งของตนและมิใช่นั้น)

กรรม คือ กายทุจจริต ๓ วจีทุจจริต ๔ มโนทุจจริต ๓

เหล่านี้ ไม่ชื่อว่า เป็นกรรมของตน.

สุจริตกรรมแม้ทั้ง ๑๐ อย่างในทวารทั้ง ๓ ชื่อว่าเป็นกรรม

ของตน.

อกุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตน หรือของบุคคลอื่นก็ตาม

ไม่ชื่อว่า เป็นกรรมของตน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะทำลายซึ่งประโยชน์ และเพราะการเกิดขึ้นแห่งความ

เสื่อม.

กุศลแม้ทั้งหมดจะเป็นของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม ชื่อว่า เป็น

กรรมของตน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 659

ตอบว่า เพราะการทำลายสิ่งซึ่งมิใช่ประโยชน์ และเพราะให้ประ-

โยชน์เกิดขึ้น.

ครั้นเมื่อกุศลสามารถเพื่ออันยังประโยชน์ (ความเจริญ) ให้เกิดขึ้น

อย่างนี้ การกำหนดจำนวนบุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณนั้นว่า

กัมมัสสกตาญาณนี้ คือ ผู้ให้ทานมากแล้วยังศีลให้บริบูรณ์

สมาทานอุโบสถ แล้วเสวยความสุขด้วยความสุข เสวยสมบัติด้วย

สมบัติ แล้วบรรลุพระนิพพาน นับประมาณมิได้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษมีทรัพย์ยังบุคคลให้ยกวัตถุทั้งหลายมีเนยใส

น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น และเกลือ เมล็ดงา ข้าวสาร เป็นต้น ใส่เกวียน

๕ เล่ม ดำเนินไปสู่ทางกันดาร (ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ) ครั้นเมื่อความต้องการ

ด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เขาย่อมไม่คิด คือ ไม่สะดุ้ง ย่อมดำเนิน

ไปจนถึงที่อันเกษมนั้น เพราะความที่อุปกรณ์ทั้งปวงเป็นของอันเขาครอบครอง

แล้ว ฉันใด บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตาญาณแม้นี้ ให้ทานเป็นอันมากฯลฯ

ย่อมดำเนินไปจนถึงพระนิพพาน จะนับจะประมาณหาได้ไม่.

คำว่า เปตฺวา สจฺจานุโลมิก าณ (แปลว่า ยกเว้นสัจจานุ-

โลมิกญาณ) อธิบายว่า ยกเว้นวิปัสสนาญาณซึ่งมีชื่อว่า สัจจานุโลมิก-

ญาณ เพราะการคล้อยตามมัคคสัจจะ และปรมัตถสัจจะแล้ว กุศล

ปัญญาที่เหลือเป็นไปกับด้วยอาสวะ ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณทั้งนั้น.

อธิบาย มัคคสมังคิญาณ

ในคำว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณ ทุกฺเขเปต าณ (แปลว่า มัคค-

สมังคิญาณ คือ ความรู้แม้ในทุกข์นี้) ได้แก่ มัคคสัจจะหนึ่งเท่านั้น ที่พระ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 660

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในฐานะ ๔ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจะหนึ่ง

ในสัจจะ ๔.

อธิบาย ธัมมญาณ เป็นต้น

คำว่า ธมฺเม าณ (แปลว่า ธัมมญาณ) นี้ ปัญญาในมรรค

ชื่อว่า ธัมมญาณ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดสัจจะหนึ่งในสัจจะ ๔ จง

ยกไว้ก่อน ปัญญาในผล ชื่อว่าธัมมญาณได้อย่างไร ปัญญาในผลชื่อว่าธัมม-

ญาณได้ด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจจะ.

จริงอยู่ ปัญญาแม้ทั้งสองนั้น (คือในมรรคในผล) พึงทราบ

ว่า ชื่อว่า ธัมมญาณ เพราะความที่ญาณนั้นเป็นไปในธรรมคือ

อริยสัจ ๔ อันเป็นปัจจัยอื่นอีก ซึ่งยังอรรถให้แจ่มแจ้งโดยกิจ และ

โดยอารมณ์.

ในคำว่า โส อิมินา ธมฺเมน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า

ธรรมโดยโวหารกล่าวว่าเป็นโคจร เพราะความที่มัคคญาณทั้งหลายเป็นธัมม-

โคจร. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบาย

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ซึ่งธรรมนี้ และทรงอธิบายว่า มัคคญาณ

อันรู้ซึ่งสัจธรรม ๔ แล้วดำรงอยู่.

คำว่า ทิฏฺเน (แปลว่า ทรงเห็นแล้ว) อธิบายว่า ทรงเห็น คือ

ทรงเห็นธรรมแล้วดำรงอยู่.

คำว่า ปตฺเตน (แปลว่า ทรงบรรลุแล้ว) คือ ทรงบรรลุซึ่งธรรม

เพราะความที่พระองค์ทรงบรรลุอริยสัจ ๔ แล้วดำรงอยู่.

คำว่า วิทิเตน (แปลว่า ทรงรู้แจ้งแล้ว) ได้แก่ สัจจะ ๔ เป็น

ธรรมอันพระองค์รู้แจ้งแล้ว จึงกระทำให้ปรากฏ ด้วยมัคคญาณ. เพราะฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 661

อริยสัจ ๔ นั้น จึงชื่อว่า เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แจ้งแล้ว ด้วย

เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันทรงรู้แจ้งแล้ว.

คำว่า ปริโยคาฬฺหา (แปลว่า ทรงหยั่งถึงแล้ว ) ได้แก่ ทรงหยั่ง

ลงสู่สัจธรรมทั้ง ๔ แล้วดำรงอยู่.

คำว่า นย เนติ (แปลว่า ส่งนัยไป) ได้แก่ ทรงน้อมไป ทรง

นำไป ชื่อว่า ทรงส่งนัยไปในอดีตและอนาคต. อนึ่ง ในที่นี้เป็นกิจ (หน้าที่)

ของปัจจเวกขณญาณ หาใช่เป็นกิจของมัคคญาณไม่. ก็นัย คือ มัคคญาณ

อันพระศาสดากระทำแล้วให้เป็นเช่นกับการน้อมไปในอดีตและอนาคต. เพราะ

เหตุไร เพราะความที่เป็นปัจจเวกขณะนั้น มีมรรคเป็นเหตุ. จริงอยู่ ปัจจเวก-

ขณะนั้น ย่อมมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีมรรคอันเจริญแล้ว. เพราะฉะนั้น

พระศาสดา จึงทรงทำนัย คือ มัคคญาณนั้นให้เป็นเช่นกับการน้อมไป. อีก

นัยหนึ่ง พึงทราบอธิบายในข้อนี้ อย่างนี้ว่า

มัคคญาณนี้ใด อันมีสัจจะ ๔ เป็นโคจร อันทรงรู้แล้วมีอยู่

เพราะญาณนี้นั้นเป็นเหตุ พระองค์จึงทรงน้อมไปซึ่งนัยกล่าวคือ

ปัจจเวกขณญาณในอดีตและอนาคต.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงน้อมไปซึ่งนัยด้วยญาณนั้น โดย

ประการใด เพื่อแสดงซึ่งอาการนั้น จึงตรัสคำว่า เย หิ เกจิ อตีตมทฺธาน

เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อพฺภญฺึสุ (แปลว่า ได้รู้แล้ว) ได้แก่

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แทงตลอดแล้วในความรู้ทั้งหลาย. คำว่า อิมเยว

(แปลว่า นี้เอง) ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้รู้ทุกข์ใดในอดีต

จักไม่รู้แจ้งทุกข์นี้นั้นแหละหามิได้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้

เช่นนี้ ก็เพราะอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแม้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 662

ในอดีตว่า เว้นตัณหาสมณพราหมณ์ทั้งหลายรู้แล้วซึ่งขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓

นั่นแหละ เป็นทุกขสัจจะ รู้แล้วซึ่งสมุทัย คือ ตัณหานั่นแหละ รู้แล้วซึ่งนิโรธ

สัจจะ คือ พระนิพพานนั่นแหละ รู้แล้วซึ่งมัคคสัจจะ คือ อริยมรรคนั่นแหละ

แม้ในอนาคตก็จักแทงตลอดอย่างนี้เทียว แม้ในปัจจุบันก็จักแทงตลอดอย่างนี้

แหละ. ชื่อว่านัยทั้งหลายอื่นก็ตรัสไว้แล้วด้วยอรรถคล้ายกันทั้งนั้นแล.

คำว่า อิท วุจฺจติ อนฺวเย าณ (แปลว่า นี้เรียกว่า อันวยญาณ)

นี้ ย่อมตรัสว่า นี้เป็นญาณเครื่องนำไป นี้เป็นญาณเครื่องน้อมไป นี้ญาณ

เป็นเหตุ.

คำว่า ปริจฺเฉทาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดจิต. คำว่า

ปรสตฺตาน แปลว่า ของสัตว์อื่น) ได้แก่สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง. คำว่า

ปรสตฺตาน นี้เป็นไวพจน์ของคำว่า สัตว์ที่เหลือ. คำว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ

ปชานาติ (แปลว่า กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นด้วยจิต) อธิบายว่า กำหนด

จิตของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยจิตของตน แล้วรู้ได้โดยประการต่าง ๆ ด้วย

สามารถแห่งจิตมีจิตมีราคะเป็นต้น. คำใดที่พึงกล่าวในบรรดาคำว่า จิตมีราคะ

เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานวิภังค์ในหนหลังแล้ว แล.

ก็นัยพิเศษ ในปริจจญาณนี้ แม้โลกุตตรจิตก็ย่อมได้ในคำว่าอนุตฺตร

วา จิตฺต วิมุตฺต วา จิตฺต (แปลว่า จิตเป็นอนุตตระ หรือ จิตหลุดพ้น)

นี้. จริงอยู่จิตของผู้อื่น แม้ปัญญายังไม่เข้าไปเห็น ก็ชื่อว่าเป็นวิสัยของญาณ

นั่นแหละ.

คำว่า อวเสสา ปญฺา (แปลว่า ปัญญาที่เหลือ) ได้แก่ เว้นปัญญา

๓ อย่าง มีธัมมญาณเป็นต้น (คือเว้น ธัมมญาณ อันวยญาณ และปริจจญาณ)

ที่เหลือแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ญาณ เพราะฉะนั้น ญาณนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 663

ตรัสเรียกว่า สัมมติญาณ. อนึ่งพึงทราบวจนัตถะว่า ชื่อว่า สัมมติญาณ

เพราะอรรถว่าความรู้ในสมมติ.

คำว่า กามาวจรกุสเล ปญฺา (แปลว่า ปัญญาในกามาวจรกุศล)

อธิบายว่า ปัญญานี้ย่อมสั่งสมซึ่งจิตจุติและปฏิสนธิในวัฏฏะโดยส่วนเดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้นปัญญานั้น จึงชื่อว่า อาจยโนอาจยปัญญา เพราะสั่งสมอันหา

ความสิ้นสุดมิได้. แต่ปัญญาในโลกุตตรมรรค ไม่สั่งสมซึ่งจุติและ

ปฏิสนธิ ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าอปจยโนอาจยปัญญา. ปัญญาในรูปาวจร

ย่อมสั่งสมจุติปฏิสนธิ ย่อมทำลายซึ่งกิเลสทั้งหลาย และธรรมทั้งหลายอันมี

กิเลสเป็นมูลด้วย ด้วยสามารถแห่งการข่มไว้. ปัญญาที่เหลือย่อมสั่งสมจุติและ

ปฏิสนธิก็ไม่ใช่ ไม่สั่งสมก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า เนวาจยโน-

อปจยปัญญา ดังนี้.

คำว่า น จ อภิญฺญาโย ปฏิวิชฺฌติ (แปลว่า แต่ไม่ได้แทงตลอด

อภิญญา) นี้ ตรัสหมายเอาปัญญาในปฐมฌาน. จริงอยู่ ปัญญานั้น ย่อมเป็นไป

พร้อมเพื่อความเบื่อหน่ายต่อกิเลส เพราะความที่ปฐมฌานนั้นเป็นธรรมอันพระ

โยคาวจรพึงบรรลุด้วยความสงัดจากกาม ก็บุคคลผู้มีราคะไปปราศแล้วในกาม

ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยปัญญาในปฐมฌานนั้น. อนึ่ง บุคคลผู้ปราศจากความยินดี

เพราะปฐมฌานนั้น ย่อมไม่ชื่อว่า แทงตลอดซึ่งอภิญญาทั้ง ๕ เพราะมิได้

บรรลุฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา และชื่อว่าไม่แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย เพราะ

ความที่ปฐมฌานนั้นมีนิมิตเป็นอารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้ ปัญญานั้น จึงชื่อว่า

ย่อมมีเพื่อความเบื่อหน่ายต่อกิเลสอย่างเดียว ย่อมไม่มีเพื่อการแทงตลอดสัจจะ

ทั้งหลาย.

๑. อภิญญาทั้ง ๕ คือ ๑. อิทธิวิธญาณ ๒.ทิพโสตธาตุญาณ ๓. เจโตปริยญาณ

๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๕. จตูปปาตญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 664

คำว่า เสฺวว (แปลว่า บุคคลนั้น...นั่นแล) ได้แก่ บุคคลผู้บรรลุ

ปฐมฌานแล้วดำรงอยู่. คำว่า กาเมสุ วีตราโค สมาโน (แปลว่า ผู้ปราศ-

จากความยินดีในกามทั้งหลาย) ได้แก่ ผู้มีราคะไปปราศแล้วด้วยอำนาจกาม

ทั้งหลายอันตนข่มไว้แล้วอย่างนั้นนั่นแหละ. คำว่า อภิญฺาโย ปฏิวิชฺฌติ

(แปลว่า แทงตลอดอภิญญา) นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาปัญญาใน

จตุตถฌาน จริงอยู่ ปัญญาในจตุตถฌาน ย่อมแทงตลอดอภิญญา ๕ เพราะ

เป็นบาทแห่งอภิญญาบ้าง ย่อมแทงตลอดอย่างนั้นแหละเพราะบรรลุความเป็น

อภิญญาบ้าง ฉะนั้น ปัญญานั้น ย่อมมีเพื่อการแทงตลอด แต่ไม่มีเพื่อความ

เบื่อหน่าย ก็เพราะความที่ปัญญาในปฐมฌานเท่านั้นเป็นธรรมเพื่อความเบื่อ-

หน่ายแม้ในกิเลสทั้งหลาย.

ถามว่า ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌานนี้ใด ปัญญานี้นั้น ย่อม

เสพส่วนไหน (หมายความว่าปัญญาในฌานทั้งสองนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้

ตรัสไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้จะสงเคราะห์ในฌานที่ ๑ หรือ ที่ ๔)

ตอบว่า ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌาน ย่อมเสพ (คือ จัดเข้าใน

ประเภทปฐมฌาน) ด้วยอำนาจแห่งโสมนัสก็ได้ และย่อมเสพจตุตถฌานด้วย

อำนาจแห่งความไม่มีวิตกก็ได้ ปัญญาในทุติยฌานและตติยฌานนั้น บัณฑิต

พึงทำอธิบายให้เป็นปัญญาเพราะอาศัยปฐมฌาน หรือว่า อาศัยจตุตถฌาน

ด้วยอาการอย่างนี้.

คำว่า นิพฺพิทาย เจว ปฏิเวธาย จ (แปลว่า เพราะความเบื่อ-

หน่ายและเพราะการแทงตลอด) ได้แก่ มัคคปัญญา ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย

เพราะความเบื่อหน่าย ในวัฏฏะแม้ทั้งหมด และด้วยการแทงตลอด เพราะ

การแทงตลอดซึ่งอภิญญา ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 665

อธิบาย หานคามินีปัญญา เป็นต้น

ในคำว่า ปมสฺส ฌานสฺส ลาภึ (แปลว่า พระโยคาวจรผู้ได้

ปฐมฌาน) เป็นต้น อธิบายว่า บุคคลนี้ใดได้ปฐมฌานซึ่งมีคุณอันน้อยมีอยู่

สัญญามนสิการเป็นธรรมสหรคตด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ย่อมปรากฏ ย่อม

ท้วง ย่อมรบกวนพระโยคาวจรให้เสื่อมจากฌานนั้น เพราะฉะนั้นปัญญาใน

ปฐมฌานนั้น จึงเสื่อม เสื่อมรอบด้วยสามารถแห่งสัญญามนสิการอันเข้าไป

เพ่งกามของบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเรียกปัญญานั้น

ว่า หานภาคินี ดังนี้

คำว่า ตทนุธมฺมตา (แปลว่า สมควรแก่ธรรมนั้น) ได้แก่ เป็น

สภาพสมควรแก่ปัญญานั้น. คำว่า สติ สนฺติฏฺติ (แปลว่า สติ...ย่อมตั้งมั่น)

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามิจฉาสติ มิได้หมายเอาสัมมาสติ. จริงอยู่

สภาพอนุรูปแห่งปฐมฌานอันไม่น่ายินดี ก็ยินดีอยู่ เพราะเห็นปฐมฌานโดย

เป็นธรรมประณีตแล้ว ความใคร่ (ตัณหา) ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ปัญญา

ในปฐมฌานนั้น ของบุคคลนั้น ย่อมไม่เสื่อม และก็ย่อมไม่เจริญด้วยอำนาจ

แห่งความใคร่ (นิกันติ) ย่อมเป็นปัญญาอันมีส่วนแห่งการดำรงอยู่ ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกปัญญานั้นว่า ิติภาคินี ดังนี้.

คำว่า อวิตกฺกสหคตา (แปลว่า สหรคตด้วยฌานอันไม่มีวิตก)

ได้แก่ ชื่อว่า สหรคตด้วยฌานอันไม่มีวิตก เพราะมนสิการทุติยฌานอันไม่มี

วิตก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันสงบประณีต. คำว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่

ย่อมรบกวน ย่อมเตือนซึ่งพระโยคาวจรผู้ออกจากปฐมฌานอันคล่องแคล่วนั้น

เพื่อต้องการบรรลุทุติยฌาน. อธิบายว่า ปัญญาในปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วิเสสภาคินี เพราะความเป็นฐานะ คือ การเกิดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 666

แห่งทุติยฌานอันเป็นของวิเศษ ด้วยสามารถแห่งสัญญามนสิการทั้งหลาย อัน

เข้าไปเพ่งซึ่งทุติยฌานอันมีในเบื้องบนแห่งปฐมฌานนั้น.

คำว่า นิพฺพทาสหคตา (แปลว่า สหรคตด้วยนิพพิทาญาณ) ได้แก่

บุคคลผู้ได้ปฐมฌานนั้นออกจากฌานแล้ว สหรคตด้วยวิปัสสนาญาณกล่าวว่า

นิพพิทา จริงอยู่ครั้นเมื่อการแตกไปแห่งองค์ของฌาณกำลังเป็นไป วิปัสสนา

ญาณ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมเดือดร้อน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า นิพพิทา-

ญาณ ดังนี้. คำว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมเดือดร้อน ย่อมรบกวน

เพื่อต้องการกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. คำว่า วิราคูปสญฺหิตา (แปลว่า

ประกอบด้วยวิราคะ) ได้แก่ ประกอบด้วยพระนิพพาน กล่าวคือ วิราคะ

จริงอยู่ วิปัสสนาญาณ อันมรรคนี้สามารถทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานคือ วิราคะ

เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ประกอบด้วยวิราคะ เพราะความเป็นไป. แม้

สัญญามนสิการอันสัมปยุตด้วยวิราคะนั้น ก็ชื่อว่า ประกอบด้วยวิราคะนั่นแหละ

ว่าด้วยอำนาจแห่งสัญญามนสิการทั้งหลายของวิปัสสนานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า นิพเพธภาคินี เพราะความเป็นปทัฏฐาน (คือ เป็นเหตุเกิดขึ้น)

แห่งการแทงตลอดในฐานะทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้. แม้ปัญญาในทุติยฌาน

เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้แหละ.

อธิบายปฏิปทาปัญญา ๔

คำว่า กิจฺเฉน กสิเรน สมาธึ อุปฺปาเทนฺตสฺส (แปลว่า ผู้ยัง

สมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก) ได้แก่ ผู้ยังโลกุตตรสมาธิให้เกิดขึ้น ลำบาก

อยู่ด้วยสัมปโยคะอันเป็นไปกับสังขาร ยาก ลำบาก เป็นทุกข์ คือว่า ข่มกิเลส

ทั้งหลายแล้วมาถึงได้โดยยากลำบากเป็นทุกข์ในกาลที่เข้าถึงบุพภาค. คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 667

ทนฺธ ตณฺาน อภิชานนฺตสฺส (แปลว่า รู้ฐานะนั้นก็ช้า) อธิบายว่า ใน

การอาศัยวิปัสสนาในกิเลสทั้งหลายที่ตนข่มไว้แล้วสิ้นกาลนาน จึงรู้ จึงบรรลุ

จึงถึงฐานะ กล่าวคือโลกุตตรสมาธินั้นช้า ค่อย ๆ เป็นไป. คำว่า อย วุจฺจติ

(แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ใด ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ คือ

ปัญญานี้แม้เกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งจิคดวงหนึ่งในกาลแห่งมรรค เพราะความ

ที่ปฏิปทาซึ่งข่มกิเลสได้โดยยาก และเพราะความที่ปัญญาที่อาศัยอยู่ในวิปัสสนา

ดำเนินไปช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

(ปฏิบัติลำบากตรัสรู้ได้ช้า) ด้วยสามารถแห่งการบรรลุ ดังนี้. แม้ในบททั้ง ๓

ข้างหน้าบัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.

อธิบายอารัมมณปัญญา ๔

คำว่า สมาธิสฺส น นิกามลาภิสฺส (แปลว่า พระโยคาวจร ผู้ได้

สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว) ได้แก่ พระโยคาวจรใด ไม่ได้สมาธิตามความ

ต้องการ พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่า ได้สมาธินั้นยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. อธิบายว่า

สมาธิของบุคคลใด ไม่เป็นปัจจัยเพื่อความพยายาม คือ เพื่อประโยชน์ในการ

เข้าสมาธิในเบื้องบน ๆ สมาธิของบุคคลนั้นมีปกติในฌานอันมีคุณน้อย. คำว่า

อารมฺมณ โถก ผรนฺตสฺส (แปลว่า แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย) อธิบายว่า

อารมณ์นั้น ชื่อว่า ไม่เจริญแล้ว เพราะทำบริกรรมในปริตตารมณ์มีประมาณ

เท่ากระด้งหรือถ้วยเป็นประมาณ (หมายถึงนิมิต) แล้วบรรลุอัปปนาในอารมณ์

นั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย ดังนี้. ในบทที่เหลือทั้งหลาย

ก็นัยนี้. จริงอยู่ พระโยคาวจรผู้ได้ฌานอันคล่องแคล่ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ชื่อว่า ผู้ได้สมาธิอันชำนาญคล่องแคล่ว ดังนี้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 668

บุคคลผู้ได้สมาธิอันยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. ก็คำว่า แผ่อารมณ์ไปหาประมาณ

มิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อการแผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย.

คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อธิบาย มัคคสมังคิญาณ เป็นต้น

คำว่า ชรามรเณเปต าณ (แปลว่า ญาณแม้ในชราและมรณะ)

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดเป็นอันเดียวกัน

แห่งสัจจะทั้ง ๔ เพราะกระทำพระนิพพานนั่นแหละให้เป็นอารมณ์. ก็คำว่า

ชรามรณ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภชราและมรณะ) เป็นต้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดสัจจะในบุพภาคในเวลาที่

ปรารภวัตถุ (วัตถุสัจจะ) หนึ่ง ๆ เป็นไป. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถ

ตื้นทั้งนั้น แล.

ญาณวัตถุหมวด ๔ จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๕

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป เป็นต้น. ปัญญาใด

เกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งปีติ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้งสองนั้น จึงชื่อว่า แผ่ปีติ

ไป. ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งความสุข เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้ง ๓

นั้น จึงชื่อว่า แผ่ความสุขไป. ปัญญาใด เกิดขึ้นแผ่จิตไปสู่บุคคลอื่น

เพราะเหตุนั้น ปัญญากำหนดจิตบุคคลอื่นนั้น จึงชื่อว่า แผ่จิตไป. ปัญญา

ใด เกิดขึ้นแผ่อาโลกะ คือแสงสว่างไป เพราะเหตุนั้น ปัญญาอันเป็นทิพย-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 669

จักษุนั้น จึงชื่อว่า แผ่แสงสว่างไป. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ปัจจเวก-

ขณนิมิต. คำว่า ปญฺา ปีติผรณตา เป็นต้น ในฌาน ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ โดยคำเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ก็ในคำเหล่านั้น การแผ่ปีติไป การแผ่สุขไป เป็นดุจเท้าทั้งสอง การ

แผ่จิตไป การแผ่อาโลกะ คือแสงสว่างไปเป็นราวกะมือทั้งสอง ฌานอันเป็น

บาทแห่งอภิญญาเป็นราวกะกายในท่ามกลาง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ทรงแสดงสัมมาสมาธิมีองค์ ๕ ราวกะบุรุษผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยส่วนประกอบ

แห่งร่างกาย (คืออวัยวะน้อยใหญ่) ด้วยประการฉะนี้. คำว่า อย ปญฺจงฺคิโก

สมฺมาทิฏิ (แปลว่า นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕) อธิบายว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสสมาธิแห่งฌานอันเป็นบาทว่า พระโยคาวจรนี้ ประกอบแล้ว

ด้วยองค์ ๕ เช่นกับด้วยมือ เท้า และศีรษะ ว่าเป็น สัมมาสมาธิ ดังนี้.

อธิบายสัมมาสมาธิมีฌาน ๕

สมาธิในอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคำว่า

อย สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว เป็นต้น (เเปลว่า สมาธินี้ มีสุขในปัจจุบัน

ด้วย) ก็สมาธินั้น ชื่อว่า มีสุขในปัจจุบัน เพราะความเป็นสุขในขณะแห่งสมาธิ

นั้นแน่วแน่แล้ว ๆ สมาธิที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่สมาธิที่เกิดหลัง ๆ จึงชื่อว่า

มีสุขเป็นวิบากต่อไป เพราะความที่สุขนั้นเป็นปัจจัย. สมาธินั้น ย่อมยังผลจิต

อันสงบ อันสุขุม อันประณีต อันเป็นมธุรรูป (รูปที่ดี) ให้ตั้งขึ้น.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลออกจากผลสมาบัติแล้ว กายวิญญาณที่สหรคตด้วย

ความสุขอาศัยโผฏฐัพพะมีสัมผัสเป็นสุขอันเข้าถึงกายทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า

มีสุขเป็นวิบากต่อไปโดยปริยายแม้นี้. สมาธินี้ ชื่อว่า อริยะ (ไกล) เพราะ

ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า หาอามิสมิได้ เพราะความไม่มีนิมิต คือ กาม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 670

วัฏฏะ และ โลก. ชื่อว่า บุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ เพราะความทีมหาบุรุษ

ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เสพแล้ว. ชื่อว่า สงบแล้ว เพราะสงบจากองค์

(คือ ส่วนประกอบ หรือเหตุ) เพราะสงบจากอารมณ์ และเพราะสงบแล้วจาก

ความกระวนกระวายจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่า ไม่เดือด

ร้อน. ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความสงบระงับกิเลส หรือว่า เพราะ

ความที่ภาวะคือความสงบระงับจากกิเลสอันตนได้แล้ว. จริงอยู่ คำว่า ความ

สงบระงับ ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ นี้ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมเอกโดยอรรถ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ แม้เพราะความเป็นพระอรหันต์อันตน

ได้แล้ว และเพราะกิเลสสงบระงับไปแล้ว. ชื่อว่า บรรลุแล้วโดยความเป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น เพราะความที่ตนบรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมแน่วแน่ หรือ

เพราะความที่บรรลุแล้วซึ่งความเป็นสมาธิ. ชื่อว่า ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์

ห้ามกิเลสที่เป็นสสังขาริก เพราะความที่สมาธินั้นไม่ได้ข่มปัจจนิกธรรม (ธรรม

อันเป็นข้าศึก) แล้วห้ามกิเลสทั้งหลายด้วยจิตอันประกอบพร้อมเป็นไปกับสังขาร

แล้วจึงบรรลุ เหมือนสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอาสวะซึ่งมีคุณอันน้อย ก็เมื่อ

พระโยคาวจรเข้าสมาธินั้น (สัมมาสมาธิ) หรือว่า ออกจากสมาธินั้น ย่อม

เป็นผู้มีสติเข้าสมาธิ และมีสติออกจากสมาธิ. อีกอย่างหนึ่ง มีสติอยู่ย่อมเข้า

สมาธิ และมีสติอยู่ย่อมออกจากสมาธิด้วยสามารถแห่งกาลตามที่กำหนดไว้ได้

เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ ญาณใดอันไม่มีสิ่งอื่นเป็นของเฉพาะตนเท่านั้น ย่อม

เกิดแก่ผู้พิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า สมาธินี้ มีความสุขในปัจจุบันด้วย มีสุข

เป็นวิบากต่อไปด้วย ดังนี้ นี้เป็นองค์หนึ่ง (ในบรรดาองค์ ๕) แม้ในองค์

ที่เหลือก็นัยนี้. สมาธินี้ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้ว ด้วยปัจจเวกขณญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ญาณวัตถุหมวด ๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 671

อรรถกถาฉักกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๖

คำว่า อิทฺธิวิเธ าณ (แปลว่า อิทธิวิธญาณ) บัณฑิตพึงทราบ

ว่า ชื่อว่า ญาณในการแสดงฤทธิ์อันเป็นไปโดยนัยว่า บุคคลแม้คนเดียว

ทำให้เป็นบุคคลมากได้ ดังนี้ เป็นต้น . รูปาวจรทั้งหลายอันสหรคตด้วย

อุเบกขา อันไม่มีวิตกและวิจารเป็นปัญญาในอัปปนาซึ่งมีขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง

อันสำเร็จซึ่งความเป็นบุคคลมากนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำ

ว่า อิทฺธิวิเธ าณ นี้.

คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา าณ (แปลว่า โสตธาตุวิสุทธิญาณ)

ได้แก่ ญาณในทิพโสตธาตุ อันมีเสียงไกลและใกล้เป็นอารมณ์ อธิบายว่า

รูปาวจรอันสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตกและวิจาร จัดเป็นปัญญาเทียว ซึ่ง

มีขณะแห่งจิตดวงหนึ่งอันมีเสียงล่วงวิสัยแห่งโสตธาตุธรรมดาเป็นอารมณ์แม้นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา าณ ดังนี้.

คำว่า ปรจิตตฺเต าณ (แปลว่า ปรจิตตญาณ) ได้แก่ ญาณ

ในการกำหนดจิตของสัตว์อื่น อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว อันเป็นขณะ

แห่งจิตดวงหนึ่ง มีจิตมีราคะเป็นต้นของสัตว์อื่นเป็นอารมณ์ มีประการตามที่

กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำว่า ปรจิตฺเต าณ แม้นี้.

คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยการ

ตามระลึกถึงขันธ์อันเคยอาศัยในกาลก่อน อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว

ซึ่งเป็นขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง สัมปยุตด้วยสติเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์อันเคย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 672

อาศัยแล้วในกาลก่อน มีประการตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้

ด้วยคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณ แม้นี้.

คำว่า สตฺตาน จุตูปปาเต าณ ได้แก่ ญาณในการจุติและใน

การอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียวอันเป็นขณะแห่ง

จิคดวงหนึ่งซึ่งมีวรรณธาตุของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายและเกิดเป็นอารมณ์มีประการ

ตามที่กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า สตฺตาน จุตูปปาเต

าณ แม้นี้.

คำว่า อาสวาน ขเย าณ (แปลว่า อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณ

เป็นเครื่องกำหนดรู้สัจจะ ก็ญาณนี้เท่านั้นเป็นโลกุตตระ ญาณที่เหลือ ๕ เป็น

โลกีย์ ดังนี้แล.

าณวัตถุหมวด ๖ จบ

อรรถกถาสัตตกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๗

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสซึ่งปัจจเวกขณญาณอันต่างโดยกาล ๓ ใน

องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๑ ไว้แต่ละองค์ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปและไม่

เป็นไป โดยนัยว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณ เป็นต้น แล้วก็ตรัสญาณอันใด

นั้นโดยสังเขปอย่างนี้ว่า ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้น ดังนี้อีก โดย

ประการทั้งหลาย มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นต้น. บรรดาญาณเหล่านั้น

ญาณ ๒ หมวด คือ ชรามรณะเกิดเพราะชาติปัจจัย เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 673

ก็ไม่มี ดังนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันกาลอันยาวนาน*. ญาณ ๖ เหล่า

นี้ คือ ญาณ ๒ หมวดในอดีต และญาณ ๒ หมวดในอนาคต อย่างนี้ว่า อดีต

กาลอันยาวนานก็ดี อนาคตอันยาวนานก็ดี (รวมปัจจุบันอีก ๒) เป็น ๗ กับ

ด้วย ธัมมฐิติญาณ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ธมฺมิติาณ (แปลว่า

ปัญญาในการกำหนดปัจจัย) ได้แก่ ญาณในปัจจยาการ จริงอยู่ ปัจจยาการ

(คือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเรียกว่า ธรรมฐิติดังนี้

เพราะความที่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเหตุ (การณะ) แห่งการเป็นไปและ

ตั้งอยู่. ธัมมฐิติญาณนี้ เป็นชื่อของญาณ ๖ อย่างนั้น นั่นแหละ. เพราะทำ

ญาณเหล่านั้นในองค์หนึ่ง ๆ ให้เป็นหมวดละ ๗ ละ ๗ ในองค์ ๑ (ปัจจยาการ

๑๑) จึงรวมเป็น ๗๗ ญาณ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยธมฺม (แปลว่า มีความสิ้นไปเป็น

ธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความสิ้นไป. คำว่า วยธมฺม (แปลว่า มีความ

เสื่อมไปเป็นธรรมดา) ได้แก่สภาวะอันถึงซึ่งความเสื่อมไป. คำว่า วิราคธมฺม

(แปลว่า มีความคลายไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ ภาวะอันไม่น่ายินดี. คำว่า

นิโรธธมฺม (แปลว่า มีความดับไปเป็นธรรมดา) ได้แก่ สภาวะอันหมด

ไป.

ถามว่า มีประโยชน์อะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยคำกล่าว

มานี้.

ตอบว่า เพื่อวิปัสสนาในเวลาอื่นอีก (คือ ในอนาคตกาล) พระผู้-

มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้พิจารณาด้วยวิปัสสนาในธรรมอันมีมาก่อน.

*. ปัจจุบัน ๔ คือ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันสันตติ ปัจจุบันสมัย และปัจจุบันอัทธา อดีตและ

อนาคต ก็มีอย่างละ ๔ เช่นเดียวกัน (จากสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา หน้า ๙)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 674

ถามว่า ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งวิปัสสนาอย่างไร ?

ตอบว่า ตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนา สิ้น ๗ ครั้ง.

จริงอยู่ ญาณ (วิปัสสนา) นั้น ย่อมควรเพื่ออันเห็นด้วยญาณ

(วิปัสสนาญาณ) ที่ ๒ เพราะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใน

สังขารทั้งปวงด้วยญาณ (วิปัสสนา) ที่ ๑. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๒ ย่อม

ควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้น ด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๓. ญาณ (วิปัส-

สนาญาณ) ที่ ๓ ย่อมควรเพื่อการเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่ ๔. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๔ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วย

ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๕. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๕ ย่อมควรเพื่ออัน

เห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๖. ญาณ (วิปัสสนาญาณ)

ที่ ๖ ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ ๗ อีก.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนาไว้สิ้น

๗ ครั้ง ฉะนี้แล.

ญาณวัตถุหมวด ๗ จบ

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๘

คำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺา ได้แก่ ปัญญาในโสดาปัตติมรรค

อธิบายว่า ปัญญาอันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺา นี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัย

นี้ แล.

ญาณวัตถุหมวด ๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 675

อรรถกถานวกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๙

คำว่า อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีสุ ได้แก่ สมาบัติทั้งหลาย กล่าวคือ

ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ (อนุปุพพวิหาร). ความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า

อนุปุพพวิหาร เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรพึงเข้าอยู่ในกระบวน โดย

ลำดับ. พึงทราบความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นสมาบัติ (การเข้าฌาน)

เพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันพระโยคาวจรพึงถึงพร้อม. ในปัญญาเหล่านั้น

พึงทราบ สัมปยุตตปัญญา ๘ อย่าง มีคำว่า ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ

เป็นต้นอย่างนี้. ปัญญาในปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) เป็นปัญญาข้อที่ ๙.

จริงอยู่ ปัญญาในปัจจเวกขณะนั้น ย่อมเป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้พิจารณาอยู่

โดยสงบ โดยประณีต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปัจจ-

เวกขณญาณของพระโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ-

สมาบัติ ดังนี้.

ญาณวัตถุหมวด ๙ จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๑๐

อธิบายกำลังที่ ๑ของพระตถาคต

คำว่า อฏฺาน (แปลว่า ไม่ใช่ฐานะ) ได้แก่ ปฏิเสธ เหตุ.

คำว่า อนวกาโส (แปลว่า ไม่ใช่โอกาส) ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย. แม้

ด้วยคำทั้งสองก็ปฏิเสธ การณะ (การณะ คือ เหตุนั่นแหละ). จริงอยู่ การณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 676

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ฐานะ และ อวกาส (อวกาส คือ โอกาส)

เพราะความที่การณะนั้นเป็นที่อาศัยให้เป็นไปแก่ผลของตน. คำว่า "ย" (แปล

ว่า ใด) ได้แก่ ด้วยเหตุใด.

คำว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน

ถึงพร้อมแล้วด้วยมัคคทิฏฐิ. คำว่า กญฺจิ สงฺขาร (แปลว่า สังขารอะไรๆ)

ได้แก่ แม้สังขารอะไร ๆ สักอย่างหนึ่งในสังขารทั้งหลายอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

ซึ่งเป็นไปในภูมิ ๔. คำว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย (แปลว่า พึงถือเอา...

โดยความเป็นของเที่ยง) ได้แก่ พึงถือเอาว่าเป็นของเที่ยง. คำว่า เนต าน

วิชฺชติ (แปลว่าไม่ใช่ฐานะที่มีอยู่) ได้แก่ เหตุนั้นไม่มีอยู่ คือหยั่งเห็น

(ด้วยปัญญา) ไม่ได้. คำว่า ปุถุชฺชโน ได้แก่ ปุถุชน . . .พึงยึดถือเอา

ด้วยเหตุใด. คำว่า านเมต วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนี้มีอยู่. อธิบายว่า

ก็ปุถุชนนั้น. พึงยึดเอาสิ่งสังขารอะไร ๆ ในบรรดาสังขารทั้งหลายอันเป็นไปใน

ภูมิ ๔ ว่า เป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ. ก็* สังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔ ย่อม

ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิหรือว่าของอกุศลทั้งหลายเหล่าอื่น ราวกะก้อนเหล็ก

แดงที่ร้อนตลอดวัน ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของแมลงวันทั้งหลาย เพราะความ

เป็นของหนาแน่นด้วยไฟ ฉะนั้น. พึงทราบอธิบายแม้ในคำว่า กิญฺจิ สงฺขาร

สุขโต โดยนัยนี้. คำว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายเอาการยึดถือว่าเป็นสุขด้วยสามารถแห่งอัตตทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ตนมี

* ในที่นี้แปลตามบาลีอรรถกถาที่ว่า จตุภูมิกสังขาโร แต่โดยสภาวปรมัตถ์แล้วควรจะเป็นสังขาร

ในภูมิที่ ๔ คือโลกุตตรธรรม จึงจะถูกต้องที่ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิและอกุศลทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 677

ความสุขโดยส่วนเดียว เบื้องหน้าแต่การตาย ก็ไม่มีโรค ดังนี้เป็นต้น. ก็

พระอริยสาวกผู้ครอบงำซึ่งความเร่าร้อนแล้ว ด้วยจิตอันเป็นทิฏฐิวิปปยุต

เหมือนนายหัตถาจารย์ผู้ยังช้างตกมัน ให้สะดุ้งเพื่อต้องการให้ความเร่าร้อนสงบ

ระงับ เหมือนโปกขรพราหมณ์ผู้ใคร่ต่อความสะอาด ย่อมไม่ยึดถือสังขาร

อะไร ๆ ดุจคูถ ว่าเป็นความสุข. ในอัตตวาทะ (ในลัทธิว่าตนมีอยู่) พระผู้

มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสคำว่า สังขาร ดังนี้ เพื่อสงเคราะห์ซึ่งบัญญัติ มีกสิณ-

บัญญัติเป็นต้น จึงตรัสว่า ธรรมอะไร ๆ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบการกำหนดใน

ญาณแม้นี้ด้วยสามารถแห่งภูมิ ๔ ของพระอริยสาวก และด้วยสามารถแห่งภูมิ

๓ ของปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดในวาระทั้งปวง ด้วยสามารถแห่งภูมิ

๓ นั่นแหละ ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวก. ก็ปุถุชนย่อมยึดถือซึ่งสิ่งใดๆ

พระอริยสาวก ย่อมกำจัดซึ่งความยึดถือแต่สิ่งนั้น ๆ จริงอยู่ ปุถุชน ย่อม

ยึดถือสังขารใด ๆ ว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาดังนี้ พระอริยสาวก

เมือกำหนดสังขารนั้น ๆ ว่า เป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ชื่อว่า กำจัด

ซึ่งความยึดถือ.

ในคำว่า มาตร (แปลว่า มารดา) เป็นต้น มารดาผู้เป็นที่เกิด บิดา

ก็คือผู้ให้เกิด. พระขีณาสพ ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์

เอาในคำว่า ฆ่าพระอรหันต์. เมื่อมีคำถามว่า พระอริยสาวกพึงปลงสัตว์ลง

จากชีวิต (ฆ่าสัตว์) หรือ ก็ต้องตอบว่า แม้ข้อนี้เป็นอฐานะ. แม้ถ้าว่า ใคร ๆ

พึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่คนละภพก็ดี กะบุคคลผู้แม้ไม่รู้ความที่ตนเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 678

พระอริยสาวกก็ดีว่า ท่านจงปลงมดดำเล็ก ๆ ตัวนี้ลงจากชีวิตไซร้ แล้วก็จะ

ถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ดังนี้. พระอริยสาวก

นั้น จะไม่พึงปลงซึ่งสัตว์นั้นลงจากชีวิตแน่แท้. แม้อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลาย

พึงกล่าวกะพระอริยสาวกนั้น อย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าซึ่งสัตว์นี้ลงจาก

ชีวิตไซร้ พวกเราจักตัดศีรษะของท่าน ดังนี้ ชนเหล่านั้น ก็จะพึงตัดศีรษะ

ของพระอริยสาวกนั้นแน่ เพราะว่า ท่านไม่พึงฆ่าสัตว์นั้นเลย. ก็คำนี้กล่าวไว้

เพื่อแสดงของความเป็นปุถุชนมีโทษมาก และเพื่อแสดงซึ่งกำลังของพระอริย-

สาวก. จริงอยู่ ในญาณข้อนี้ พึงทราบอธิบาย ดังนี้

ปุถุชน จักกระทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นใดแล ชื่อ

ว่า ความเป็นปุถุชนผู้เป็นไปกับด้วยโทษ จักกระทำอนันตริยกรรมแม้นั้นได้.

พระอริยสาวกชื่อว่า ผู้มีกำลังมาก เพราะท่านไม่ทำกรรมเหล่านี้ ดังนี้.

คำว่า ทุฏเน จิตฺเตน (แปลว่า ผู้มีจิตประทุษร้าย) ได้แก่ มี

จิตฆ่าอันสัมปยุตด้วยโทสะ. คำว่า โลหิต อุปฺปาเทยฺย (แปลว่า ยังพระ-

โลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น) ได้แก่ ยังพระโลหิตในสรีระของพระพุทธเจ้า

ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แม้มีประมาณการดื่มกินของแมลงตัวเล็ก ๆ ให้ห้อขึ้น.

คำว่า สงฺฆ์ ภินฺเทยฺย (แปลว่า พึงยังสงฆ์ให้แตกจากกัน) ได้

แก่ ยังสงฆ์ผู้มีสังวาสเสมอกัน ผู้ตั้งอยู่ในสีมาเสมอกัน ให้แตกไปด้วยเหตุ ๕

ประการ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอุบาลี สงฆ์ย่อมแตกจากกัน ด้วยอาการ ๕ ประการ

คือ ด้วยกรรมอุทเทส การกล่าวขัดแย้งกัน อนุสาวนา การจับ

สลาก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 679

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ด้วยกรรม ได้แก่ ในกรรม ๔ อย่าง มี

อปโลกนกรรม เป็นต้น กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า โดยอุทเทส ได้แก่

ในการสวดพระปาฏิโมกขุทเทส ๕ อย่าง ด้วยการสวดพระปาฏิโมกขุทเทสอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง. คำว่า การกล่าว ได้แก่ การกล่าวคือแสดงอยู่ซึ่งเภทกรวัตถุ (เรื่อง

วิวาท) ๑๘ มีคำว่า อธมม ธมฺโม (แปลว่า สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า

เป็นธรรม) เป็นต้น โดยเรื่องวิวาทกันเหล่านั้น ๆ ที่เกิดขึ้น. คำว่า โดย

อนุสาวนา ได้แก่ ด้วยการกล่าวประกาศ เพราะเปล่งวาจาใกล้หู (เป่าหู) โดย

นัยว่า ท่านทั้งหลายย่อมทราบซึ่งความที่เราบวชแล้วจากตระกูลสูง และเราก็

เป็นพหูสูต บุคคลชื่อว่าผู้เช่นกับด้วยเรา พึงถือเอาซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธ-

๑. กรรม ๔ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑

๒. เภทกรวัตถุ ๑๘ คือ:-

๑. สิ่งไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า เป็นธรรม

๒. สิ่งที่เป็นธรรม กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรม

๓. สิ่งที่ไม่ใช่วินัย กล่าวว่า เป็นวินัย

๔. วินัย กล่าวว่า ไม่ใช่วินัย

๕. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้

๖. สิ่งที่ตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้

๗. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา

๘. สิ่งที่เคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา

๙. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

๑๐. สิกขาบทที่ไม่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า บัญญัติไว้

๑๑. วัตถุเป็นอาบัติ กล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ

๑๒. วัตถุไม่เป็นอาบัติ กล่าวว่า เป็นอาบัติ

๑๓. อาบัติเบา กล่าวว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๔. อาบัติหนัก กล่าวว่า เป็นอาบัติเบา

๑๕. อาบัติที่แก้ไขได้ กล่าวว่า แก้ไขไม่ได้

๑๖. อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ กล่าวว่า แก้ไขได้

๑๗. อาบัติหยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติไม่หยาบช้า

๑๘. อาบัติไม่หยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติหยาบช้า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 680

เจ้าผิดไปจากธรรมจากวินัยหรือ แม้แต่ความคิด ท่านทั้งหลายก็ไม่ควรเพื่อให้

เกิดขึ้น ประโยชน์อะไรของเรา เราย่อมไม่กลัวอะไร ๆ จากอบาย อวีจินรก

เป็นธรรมชาติสงบ ราวกะดงแห่งดอกอุบลเขียว เป็นต้น. คำว่า โดยการจับ

สลาก ชื่อว่า การจับสลาก เพราะว่าครั้นประกาศอย่างนั้นแล้ว จึงอุปถัมภ์

เจตนาของบุคคลเหล่านั้นให้กำเริบ แล้วก็กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาซึ่ง

สลากนี้ (หมายถึงเขียนสลากให้จับเพื่อให้เป็นพวกของตนมาก).

อนึ่ง ในข้อนี้ กรรม (การกระทำ) นั่นแหละเป็นอุทเทส หรือเป็น

ประมาณ (เครื่องกำหนด). ก็การถือเอาสลาก เพราะกล่าวขัดแย้งกัน และ

การประกาศ จัดเป็นบุพภาค (เบื้องต้น) จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่แตกกัน แม้

เพราะบุคคลผู้กล่าวขัดแย้งกัน ด้วยสามารถแห่งการแสดงวัตถุ (เรื่องวิวาท)

๑๘ ข้อ เพราะการประกาศความต้องการให้เกิดความเห็นชอบในที่นั้นแล้วถือ

เอาสลาก (อันนี้คงหมายถึงการนับคะแนนว่าใครมีความเห็นทางไหนเป็นเหตุ

ให้แตกแยกกัน). แต่ว่า เมื่อใด สงฆ์ถือเอาสลาก ๔ รูปหรือเกินกว่าด้วย

อาการที่กล่าวมาแล้วก็ทำกรรม หรือทำอุทเทส สงฆ์แยกออกไปเป็น ๒ พวก

ในกาลนั้น สงฆ์จึงชื่อว่า แตกกันแล้ว.

ข้อว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (มัคคทิฏฐิ) ด้วยอาการอย่างนี้ พึง

ทำลายสงฆ์นี้ มิใช่ฐานะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงอนันตริยกรรม ๕ มี

การฆ่ามารดาเป็นต้นไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า ปุถุชนย่อมทำซึ่งอนันตริย-

กรรมใด พระอริยสาวก ย่อมไม่ทำซึ่งกรรมนั้น.

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งกรรมเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยนี้คือ

โดยกรรม

โดยทวาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 681

โดยการตั้งอยู่ตลอดกัป

โดยปากะ (ผลของกรรม)

โดยสาธารณะ

วินิจฉัย ว่าโดยกรรม

ในคำเหล่านั้น ว่าโดยกรรมก่อน. จริงอยู่ในอนันตริยกรรมนี้ เมื่อ

เป็นมนุษย์นั่นแหละแกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ ผู้มีเพศไม่

เปลี่ยนแปลง (ฆ่ามารดาบิดา) อนันตริยกรรมย่อมมีแก่เขา. มนุษย์ผู้ทำกรรม

นั้น คิดว่า เราจักห้ามวิบากของอนันตริยกรรมนั้น ดังนี้ จึงยังจักรวาลทั้งสิ้น

ให้เต็มด้วยพระสถูปอันสำเร็จแล้ว ด้วยทองคำมีประมาณเท่ามหาเจดีย์ก็ดี ยัง

ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งตลอดจักรวาลแล้วถวายมหาทานก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้-

มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเที่ยวไปก็ดี ก็ย่อมเกิดในนรกนั่นแหละ เพราะกาย

แตก. แต่ว่า ผู้ใดเป็นมนุษย์แกล้งปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน

หรือว่า ตนเองเป็นสัตว์เดรัจฉานปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือ

เป็นสัตว์เดรัจฉานนั่นแหละปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉานให้ตกล่วงไป

กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม. แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก ย่อมตั้งอยู่จด

อนันตริยกรรมนั่นแหละ. ปัญหานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถ

แห่งสัตว์ผู้เกิดเป็นมนุษย์.

ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด ๔ แห่งการฆ่าแพะ หมวด ๔

แห่งสงคราม และหมวด ๔ แห่งการฆ่าโจร ดังนี้ คือ

ก็มนุษย์ผู้ยังมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้แพะให้ตาย

แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจักฆ่าแพะ ดังนี้ ย่อมได้รับอนันตริยกรรม. ก็

๑. หมายความว่าเพศของบิดามารดาตั้งอยู่โดยปกติมิได้เปลี่ยนไปเป็นสัตว์เดียรฉาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 682

มีเจตนาฆ่าแพะ แพะนั้นตายก็ดี เจตนาฆ่ามารดาบิดา แต่แพะตายก็ดี

ย่อมไม่ได้รับอนันตริยกรรม. เจตนาฆ่ามารดาบิดา ยังมารดาบิดาให้ตายอยู่

ย่อมได้รับอนันตริยกรรมแน่นอน. ในหมวดทั้งสองที่เหลือนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.

ก็ใน มารดาและบิดาเป็นต้น ฉันใด แม้การฆ่าพระอรหันต์ ก็ฉันนั้น.

บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ แห่งการฆ่าพระอรหันต์ ต่อไป.

ก็บุคคล ยังพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้นให้ตาย ย่อมได้รับอนัน-

ตริยกรรม ยังพระอรหันต์ผู้เป็นยักษ์ให้ตาย ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่

ก็เป็นกรรมอันหนัก เช่นกับอนันตริยกรรมนั่นแหละ. อนึ่ง เมื่อบุคคลประหาร

ด้วยศัสตรา หรือแม้แต่ให้ยาพิษในกาลที่ท่านยังเป็นมนุษย์ปุถุชนนั่นแหละ ถ้า

ว่า ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน (ตาย) ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ

ย่อมเป็นอรหันตฆาตทีเดียว. แต่ทานที่บุคคลถวายในกาลที่ท่านยังเป็นปุถุชน

อยู่ ครั้นท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วจึงฉันอาหารนั้น อาหารที่ถวายแล้ว

ในกาลนั้น ย่อมชื่อว่าถวายแก่ปุถุชนเท่านั้น เมื่อบุคคลฆ่าพระอริยบุคคลที่เหลือ

(มีพระอินทร์เป็นต้น ) ย่อมไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม แต่ก็เป็นกรรมอันหนัก

เช่นกับอนันตริยกรรมเหมือนกัน.

ในโลหิตตุปบาท ชื่อว่า การไหลออกแห่งพระโลหิตเพราะการตัด

ซึ่งธรรม (รูปธรรม) โดยการรุกรานของข้าศึกด้วยการทำให้กายแตกไปแห่ง

พระตถาคต ย่อมไม่มี. แต่จะมีก็เพียงโลหิตในที่หนึ่ง ประชุม (รวมกัน) ใน

ภายในแห่งพระสรีระเท่านั้น. แม้สะเก็ดอันแตกไปแล้ว จากศิลาอันพระเทวทัต

กลิ้งไปประหารที่สุดปลายพระบาทของพระตถาคต. พระบาทได้มีเพียงพระโลหิต

๑. เจตนาฆ่าแพะโดยสำคัญว่าเป็นมารดาบิดา

๒. เจตนาฆ่ามารดาบิดาโดยสำคัญว่าเป็นแพะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 683

ห้อขึ้นภายในเท่านั้น การกระทำนั้นราวกะบุคคลประหารแล้วด้วยขวาน. เมื่อ

พระเทวทัตทำอยู่เช่นนั้น อนันตริยกรรมก็ได้มีแล้วแก่เขา.

ส่วนหมอชีวก ทำการผ่าตัดพระฉวี (ตัดหนัง) ของพระตถาคต ด้วย

มีดตามชอบใจ แล้วนำพระโลหิตอันโทษประทุษร้ายออกจากที่นั้น ได้ทำให้

ผาสุก. เมื่อหมอชีวกทำอยู่อย่างนั้นบุญกรรมเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่ง เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใด ย่อมทำลายพระ-

เจดีย์ ย่อมตัดซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ย่อมเหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไร ย่อม

มีแก่ชนเหล่านั้น. กรรมอันหนักเช่นกับอนันตริยกรรม ย่อมเกิดแก่เขา. ก็แล

บุคคลย่อมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์อันเบียดเบียนพระสถูปบรรจุพระธาตุพระรูป-

ปฏิมากร (รูปจำลอง) หรือแม้ถ้าพวกนกทั้งหลายแอบแฝงที่ต้นมหาโพธิ์นั้น

ย่อมถ่ายวัจจะ (อุจจาระ) ตกลงไปที่พระเจดีย์ จึงสมควรเพื่อตัดกิ่งมหาโพธิ์

นั้นทีเดียว. เพราะว่า สรีรเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ) ใหญ่กว่าบริโภค

เจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุของใช้ของพระพุทธเจ้า) การตัดแม้ที่โคนต้นโพธิ์อัน

ทำลายวัตถุเจดีย์ นำออกไปก็ควร. ก็กิ่งแห่งต้นโพธิ์ใด ย่อมเบียดเบียนเรือน

โพธิ์ ไม่ควรตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือนโพธิ์เอาไว้ จริงอยู่ เรือน เพื่อประ-

โยชน์แก่ต้นโพธิ์มีอยู่ ไม่ควรตัดต้นโพธิ์เพื่อประโยชน์แก่เรือน. แม้ในเรือน

อาสนะ (ที่เก็บพระธาตุ) ก็นัยนี้. แต่พระธาตุอันบุคคลรักษาไว้ที่เรือนอาสนะใด

เพื่อต้องการรักษาเรือนอาสนะนั้น ควรเพื่อตัดกิ่งโพธิ์. และเพื่อต้องการรักษา

ต้นโพธิ์ไว้ สมควรตัดกิ่งที่นำโอชะออกไป หรือที่เน่า (ที่เสีย) นั่นแหละ.

แม้บุญก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เช่นการปฏิบัติต่อพระสรีระ.

ในสังฆเภท เมื่อสงฆ์อยู่ในสีมาไม่ประชุมกันแล้ว การแตกแห่ง

สงฆ์ด้วย อนันตริยกรรมด้วย ย่อมมีแก่ผู้กล่าวประกาศให้จับสลากกระทำแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 684

เพราะถือเอาบริษัทเป็นคนละพวกกระทำอยู่ซึ่งกรรม หรือสวดอยู่ซึ่งอุทเทส.

ก็เมื่อทำกรรม หรือสวดอุทเทส ด้วยความสำคัญว่ามีความพร้อมเพรียงกันจึง

ควรทำ. จริงอยู่ เมื่อทำกรรมด้วยสัญญาแห่งความพร้อมเพรียงกัน ความ

แตกแห่งสงฆ์ และอนันตริยกรรม ย่อมไม่มี. โดยทำนองเดียวกัน ทำกรรม

โดยฟื้นฟูบริษัทใหม่ ก็สมควร. บรรดาชนผู้ใหม่ กำหนดต่ำสุดกว่าทุกคน

(ผู้ยังไม่รู้) คนใดย่อมทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมก็ย่อมเกิดแก่เขา. กรรมอัน

มีโทษมาก ย่อมเกิดแก่อธรรมวาทีทั้งหลายผู้เป็นข้าศึกต่อสงฆ์. กรรมอันไม่มี

โทษ ย่อมเกิดแก่ธรรมวาที.

ในข้อนั้น สูตรในสังฆเภทของผู้ใหม่นั่นแหละ ดังนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้จับสลาก ๔ รูปพวกหนึ่ง อีก ๔ รูปพวกหนึ่ง

ภิกษุผู้ใหม่ย่อมประกาศให้ถือเอาสลากว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น

สัตถุศาสน์เป็นต้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาฉลากนี้ จงชอบใจคำนี้ ด้วยอาการ

อย่างนี้แล ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ และความแตกแห่งสงฆ์ด้วย

ย่อมมีแก่ผู้ใหม่ยิ่ง ดังนี้ ก็บรรดาอนันตริยกรรม ๕ อย่าง สังฆเภทเท่านั้น

เป็นวจีกรรม ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยว่าโดยกรรมด้วยประการ

ฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยทวาร

คำว่า ว่าโดยทวาร ก็กรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตั้งขึ้นแต่กายทวาร

บ้าง แต่วจีทวารบ้าง แต่ในอนันตริยกรรม ๕ นั้น อนันตริยกรรม ๔ ใน

ก่อน (เว้นสังฆเภท) แม้ตั้งขึ้นแล้วแต่วจีทวารด้วยสามารถแห่งปโยคะอันสำเร็จ

ด้วยวิชชาโดยใช้ให้ทำ ก็ย่อมยังกายทวารนั้นแหละให้เต็มด้วยสังฆเภท. เมื่อ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 685

บุคคลกระทำการแยกสงฆ์ด้วยการชี้แจงด้วยมือ แม้จะตั้งขึ้นแต่กายทวาร ก็

ชื่อว่ายังวจีทวารนั่นแหละให้เต็ม. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยทวาร ด้วย

ประการฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป

คำว่า ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป ก็ในอนันตริยกรรมทั้ง ๕ เหล่านี้

สังฆเภทเท่านั้นเป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัป. จริงอยู่ ครั้นเมื่อกัปกำลังเป็นไป

(ต้นกัป) หรือท่ามกลางแห่งกัปกำลังเป็นไป ผู้ทำสังฆเภทย่อมพ้นจากการให้

ผลของกรรมในเมื่อกัปนั้นพินาศไปทีเดียว. แม้ว่า กัปจักพินาศไปในวันพรุ่งนี้

ไซร้ บุคคลทำสังฆเภทในวันนี้เขาก็จักพ้นจากอบายในวันพรุ่งนี้แน่นอน. คือ

เขาย่อมถูกไหม้ในนรกสิ้นวันหนึ่งเท่านั้น. แต่ว่า การทำกรรมดังกล่าวมานี้หา

มีไม่. อนันตริยกรรม ๔ ที่เหลือ เป็นอนันตริยกรรมเหมือนกัน แต่ไม่ตั้งอยู่

ตลอดกัป พึงทราบวินิจฉัยในอนันตริยกรรมนี้ แม้ว่าโดยการตั้งอยู่ตลอดกัป

ดังพรรณนามาฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยปากะ คือ ผลของกรรม

คำว่า ว่าโดยปากะ ก็อนันตริยกรรม อันบุคคลใดทำแล้วทั้ง ๕ อย่าง

สังฆเภทเท่านั้นย่อมให้ผลแก่เขา กรรมที่เหลือ ย่อมถึงการนับว่า เป็นอโหสิ-

กรรม คือ กรรมนั้นมิได้ให้ผล. เมื่อไม่ทำสังฆเภท โลหิตุปบาทย่อมให้ผลด้วย

สามารถนำปฏิสนธิ. เพราะความไม่มีแห่งกรรมทั้งสองที่กล่าวแล้ว อรหันตฆาต

ย่อมให้ผล. ถ้าอรหันตฆาตไม่มี บิดาเป็นผู้มีศีล มารดาเป็นผู้ทุศีล หรือมี

ศีลต่ำกว่าบิดา ปิตุฆาตย่อมให้ผล ด้วยสามารถนำปฏิสนธิ. ถ้ามารดามีศีลสูง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 686

กว่า มาตุฆาตย่อมให้ผล. ถ้ามารดาและบิดามีศีลหรือไม่มีศีลเสมอกัน มาตุฆาต

เท่านั้น ย่อมให้ผล ด้วยสามารถแห่งการนำปฏิสนธิ เพราะมารดาเป็นผู้กระทำ

สิ่งที่ทำได้โดยยาก และเพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้

แม้ว่าโดยการให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

วินิจฉัย ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น

คำว่า ว่าโดยสาธารณะ เป็นต้น อนันตริยกรรม ๔ (เว้นสังฆเภท)

มีในก่อน ทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย. ส่วนสังฆเภท ย่อมเป็น

อนันตริยกรรมแก่ภิกษุ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่เป็นอนันตริยกรรม

แก่บุคคลอื่น เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณี ย่อมทำลายสงฆ์ไม่ได้

สิกขมานา . . .สามเณร . . .อุบาสกและอุบาสิกา ย่อมทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน

ไม่ได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุแลผู้มีสังวาสเสมอกันเป็นปกตัตตะ (เป็นปกติ) ตั้ง

อยู่ในสีมาเสมอกัน ย่อมทำลายสงฆ์ ดังนี้ เพราะฉะนั้น สังฆเภทนี้ จึงไม่

ทั่วไปแก่บุคคลอื่น. อนันตริยกรรมเหล่านี้ แม้ทั้งหมดสหรคตด้วยทุกขเวทนา

สัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ ท่านกล่าวสงเคราะห์ไว้ด้วยอาทิศัพท์ ฉะนี้แล

พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้แม้ว่าโดยสาธารณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า อญฺ สตฺถาร (แปลว่า ศาสดาอื่น) อธิบายว่า พระโสดาบัน

จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา เราสามารถเพื่อทำกิจ

ของศาสดาได้ ดังนี้ แม้ในระหว่างภพจะพึงยึดถือว่า ผู้นี้เป็นศาสดาของเรา

ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

คำว่า อฏฺม ภว นิพฺพตฺเตยฺย (แปลว่า พึงเกิดในภพที่ ๘)

อธิบายว่า พระโสดาบัน แม้มีปัญญาน้อยกว่าพระอริยบุคคลทั้งหมด ก้าวล่วง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 687

ภพที่ ๗ แล้วพึงเกิดในภพที่ ๘ ข้อนี้นั้น มิใช่ฐานะที่มีได้. เพราะว่าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า หมายเอาภพที่ ๗ โดยกำหนดสูงสุด จึงตรัสว่า เป็นผู้เที่ยง

ต่อการตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังนี้.

ถามว่า ก็อะไรเล่า ย่อมกำหนดภพนั้น อะไรเล่ากำหนดบุพเหตุ

มรรคที่ท่านได้เฉพาะแล้วกำหนด หรือว่ามรรค ๓ เบื้องบน ย่อมกำหนด.

ตอบว่า ข้อนั้นเป็นเพียงสักว่าชื่อ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือ

เอาแล้ว.

ก็บุคคล ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี ใครๆ เมื่อกล่าวว่า บุพเหตุย่อมกำหนด

ดังนี้ ก็เป็นอันกล่าวถึงอุปนิสสัยแห่งมรรค ๓ เบื้องบน ย่อมถึงความ

ไม่มีอุปนิสสัยแห่งปฐมมรรค เพราะเหตุนั้น ปฐมมรรคนั้นจึงไม่ใช่เหตุไม่ใช่

ปัจจัยให้ถึงการเกิด. เมื่อกล่าวว่า มรรคที่ได้แล้ว ย่อมกำหนด ดังนี้ มรรค

เบื้องบน ๓ ก็ไม่มีกิจ (คือ ไม่มีหน้าที่) ปฐมมรรคเท่านั้นมีหน้าที่ (เมื่อเป็น

เช่นนี้) ปฐมมรรคเท่านั้น พึงยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปแล้วปรินิพพาน. ถ้า

กล่าวว่า มรรคเบื้องบน ๓ ย่อมกำหนด ดังนี้ ปฐมมรรคก็ไม่มีหน้าที่ มรรค

เบื้องบน ๓ มีหน้าที่ เพราะมรรคเบื้องบน ๓ มิได้ยังปฐมมรรคให้เกิดแล้ว

จึงเกิดขึ้น. ก็กิเลสทั้งหลายพึงสิ้นไปไม่เกิดขึ้นด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เพราะ

ฉะนั้น ธรรมอะไร ๆ อื่นย่อมมิได้กำหนดภพนั้น วิปัสสนาของมรรค ๓ เบื้อง

บนนั่นแหละย่อมกำหนด. จริงอยู่ ถ้าวิปัสสนาของโสดาบันบุคคลเหล่านั้นเป็น

ธรรมมีปัญญาคมกล้านำไปอยู่ บุคคลนั้นยังภพหนึ่งเท่านั้นให้เกิดขึ้นแล้วก็

บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน. ถ้ามีปัญญาอ่อนกว่านั้น ก็ยังภพที่ ๒, ๓,

๔, ๕, ๖ ให้เกิดแล้วบรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน. ผู้มีปัญญาอ่อนกว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 688

บุคคลทั้งหมด ยังภพที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ปฏิสนธิในภพ

ที่ ๘ ของท่าน จึงไม่มี. ด้วยประการฉะนี้ การกำหนดนี้ จึงเป็นเพียงชื่อ

อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือเอาแล้ว.

จริงอยู่ พระศาสดา ทรงพิจารณาชั่งแล้วด้วยการพิจารณาของพระ-

พุทธเจ้า จึงทรงกำหนัดไว้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณว่า บุคคลผู้นี้ มีปัญญามาก

กว่าชนทั้งปวง มีวิปัสสนาคมกล้า จักยังภพที่หนึ่งเท่านั้นให้เกิดแล้วก็ถือเอา

พระอรหัต ดังนี้ จึงได้ทรงทำชื่อว่า บุคคลนี้เป็นเอกพีชี. บุคคลนี้ยังภพที่ ๒

ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ให้เกิดแล้วจักถือเอาพระอรหัต ดังนี้ และทรง

ทำชื่อว่า โกลังโกละ ดังนี้, และบุคคลนี้ยังภพที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้วจักถือเอา

พระอรหัต และได้ทรงทำชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ดังนี้. ก็บุคคลไร ๆ ชื่อว่า

เที่ยง ย่อมไม่มีแก่ภพทั้ง ๗. อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีปัญญาน้อยกว่าด้วย

อาการแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็ไม่ถึงภพที่ ๘ ย่อมปรินิพพานในระหว่างภพ

นั้นแหละ. จริงอยู่ พระโสดาบันผู้ยินดียิ่งในภพแม้เช่นกับท้าวสักกะก็ย่อมไป

สู่ภพที่ ๗ เท่านั้น. แม้ท่านมีปกติอยู่ด้วยความประมาทโดยอาการทั้งปวง วิปัส-

สนาญาณของท่านก็ย่อมถึงความสุกรอบในภพที่ ๗. เพราะเมื่อท่านเบื่อหน่ายใน

อารมณ์แม้มีประมาณน้อยแล้ว ย่อมบรรลุพระนิพพานได้. ก็แม้ถ้าว่าเมื่อท่าน

ก้าวลงสู่ความหลับ หรือว่า กำลังเดินไป มีใคร ๆ ที่จะประทุษร้ายยืนอยู่ใน

ที่ลับข้างหลัง พึงยังศีรษะของท่านให้ตกไปด้วยดาบอันคมกล้า หรือพึงจับท่าน

กดลงในน้ำให้ตาย ก็หรือว่า สายฟ้าพึงตกลงบนศีรษะ ในเวลาแม้เห็นปานนี้

ชื่อว่า การทำกาละ ปฏิสนธิในภพที่ ๘ อีก ย่อมไม่มี ย่อมจะบรรลุพระ-

อรหัตนั่นแหละแล้วปรินิพพาน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

พระโสดาบันพึงยังภพที่ ๘ ให้เกิด ดังนี้ ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 689

อธิบายโลกธาตุ พุทธเกษตร

คำว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา (แปลว่า ในโลกธาตุเดียวกัน) ได้

แก่ โลกธาตุมีจำนวนหนึ่งหมื่น. จริงอยู่ พุทธเกษตร (เขตฺตานิ) มี ๓ คือ

ชาติเกษตร (ชาติเขตฺต) อาณาเกษตร (อาณาเขตฺต) วิสัยเกษตร (วิสยกฺเขตฺต).

บรรดาเกษตรเหล่านั้น โลกธาตุมีจำนวนหนึ่งหมื่น ชื่อว่า ชาติ

เกษตร (กำหนดด้วยชาติ) จริงอยู่ หมื่นโลกธาตุนั้น ย่อมหวั่นไหวในกาล

ที่พระตถาคตเสด็จสู่คัพโภทรของพระมารดา ในกาลที่เสด็จออกมหาภิเนษ-

กรมณ์ ในกาลที่ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในกาลยังพระธรรม

จักรให้เป็นไป ในกาลปลงพระชนมายุสังขาร และในกาลปรินิพพาน.

ก็ จักรวาลจำนวนแสนโกฏิจักรวา ชื่อว่า อาณาเกษตร

(กำหนดด้วยอำนาจ) จริงอยู่ อาณา (อำนาจ) แห่งอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร

ธชัคคปริวัตร และรัตนปริตรเป็นต้น ย่อมเป็นไป (แผ่ไป) ในแสนโกฏิ

จักรวาลนี้.

ก็แต่ว่า การกำหนดซึ่งวิสัยเกษตร ย่อมไม่มี จริงอยู่ เพราะ

พระบาลีว่า ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ธรรมที่พระองค์

พึงน้อมไป (มีความประสงค์จะรู้) ก็มีประมาณเท่านั้น ธรรมที่พระองค์พึง

น้อมไปมีประมาณเท่าใด ญาณก็มีประมาณเท่านั้น ธรรมที่พึงน้อมไปมีที่สุด

ด้วยพระญาณ พระญาณก็มีที่สุดด้วยธรรมที่พึงน้อมไปดังนี้ ชื่อว่า เหลือวิสัย

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มี.

ก็พุทธเกษตรทั้ง ๓ นั้น คำว่า ยกเว้นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลอื่น ดังนี้ เป็นสูตร (เป็นคำที่

ตรัสไว้) หามีไม่. แต่คำว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 690

เป็นสูตร มีอยู่. คำว่า ปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก ดังนี้

และคำว่า สังคีติ ๓ คือ สังคีติของพระมหากัสสปเถระ ของพระยสเถระ ของ

พระโมคคลีปุตตติสสเถระ ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่. คำว่า นอกจากจักรวาลนี้

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลอื่น ดังนี้ ไม่มีสูตรในพระ-

ไตรปิฎก คือ พุทธพจน์ที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายยกขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ เหล่า

นี้. แต่คำว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่.

คำว่า อปุพฺพ อจริม ได้แก่ ไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน คือ ไม่ก่อน

ไม่หลังกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ทรงอุบัติขึ้นก่อนหรือหลังกัน (ไม่ใช่พร้อมกัน) ดังนี้มีอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ก่อน หรือคำว่า หลัง ดังนี้

นับจำเดิมแต่การถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา จนถึงเสด็จประทับนั่ง

ที่โพธิบัลลังก์ ทรงตั้งพระหฤทัยมั่นคงว่า เรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณแล้ว

จักไม่ลุกขึ้น ดังนี้ ข้อนี้ ไม่พึงทราบว่า เป็นกาลก่อน จริงอยู่ การกำหนดชาติ

เกษตรในการถือเอาปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ท่านทำอธิบายไว้ ด้วยการหวั่น

ไหวแห่งจักรวาลหมื่นหนึ่ง. ในระหว่างนี้ การบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า

องค์อื่นเป็นสภาพอันธรรมดาห้ามไว้. และจำเดิมแต่การปรินิพพาน พระธาตุ

แม้มีประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ตราบเท่าทีมีอยู่ บัณฑิตไม่พึงทราบว่า เป็น

กาลหลัง. จริงอยู่ เมื่อพระบรมธาตุยังทรงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ชื่อว่า)

ยังดำรงอยู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ยัง

ดำรงอยู่ ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ย่อมเป็นสภาวะอัน

ธรรมดาห้ามไว้แล้วเทียว. ก็ครั้นเมื่อพระธาตุปรินิพพานแล้ว ความบังเกิดขึ้น

แห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น อันอะไร ๆ มิได้ห้ามไว้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 691

จริงอยู่ ชื่อว่า อันตรธาน (ความสูญหาย) มี ๓ อย่าง คือ

ปริยัตติอันตรธาน (การสูญหายแห่งการเรียนพระไตรปิฎก)

ปฏิเวธอันตรธาน (การสูญหายแห่งมรรคผล)

ปฏิปัตติอันตรธาน (ความสูญหายแห่งการปฏิบัติ)

ในบรรดา ๓ อย่างนั้น พระไตรปิฎก ชื่อว่า ปริยัติ, การแทงตลอด

สัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ, ปฏิปทา ชื่อว่า ปฏิบัติ. ในคำเหล่านั้น ปฏิเวธและ

ปฏิบัติ มีอยู่บ้าง ไม่มีอยู่บ้าง จริงอยู่ ภิกษุผู้เป็นพหูสูตผู้ทำซึ่งปฏิเวธ มีอยู่ใน

กาลครั้งหนึ่ง ที่บัณฑิตพึงเหยียดนิ้วมือออกแสดงว่า ผู้นี้ไม่เป็นภิกษุปุถุชน

ดังนี้ ในกาลนั้นมีอยู่. ได้ยินว่า ในเกาะนี้นั่นแหละ ในครั้งหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าภิกษุ

ผู้เป็นปุถุชน มิได้มีแล้ว. แม้ภิกษุผู้บำเพ็ญปฏิบัติ ในกาลบางครั้งก็มีมาก

บางครั้งก็มีน้อย ด้วยประการฉะนี้ ปฏิเวธ และปฏิบัติ จึงชื่อว่า มีอยู่บ้าง

ก็ปริยัติ ชื่อว่าเป็นประมาณในกาลตั้งอยู่แห่งพระศาสนา. จริงอยู่ บัณฑิต ฟัง

พระไตรปิฎก แล้วก็ย่อมยังปฏิบัติและปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. เหมือนพระ-

โพธิสัตว์ของเราทั้งหลายยังอภิญญา ๕ (เว้นอาสวักขยญาณที่ ๖) และสมาบัติ

๘ ให้เกิดขึ้นในสำนัก อาฬารดาบส แล้วจึงถามบริกรรมในเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติ ดาบสนั้นทูลว่า ไม่ทราบ จึงเสด็จไปสู่สำนักของอุทก-

ดาบส รามบุตร ทรงเทียบเคียงคุณวิเศษที่พระองค์บรรลุ แล้วทรงถาม

บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ. อุทกดาบสรามบุตรนั้นบอกแล้ว. พระ-

มหาสัตว์ทรงยังสมาบัตินั้นให้ถึงพร้อมแล้วในลำดับแห่งคำของดาบสนั้นนั่น

แหละ. ภิกษุผู้มีปัญญา ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ฟังปริยัติแล้ว ย่อมยังปฏิบัติและ

ปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. ด้วยเหตุนั้น พระศาสนาจึงชื่อว่า ตั้งอยู่แล้ว เพราะ

ความตั้งมั่นแห่งปริยัติ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 692

ในกาลใด ปริยัตินั้น ย่อมอันตรธานไป ในกาลนั้น พระ-

อภิธรรมปิฎกย่อมพินาศไปก่อน ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน

ย่อมอันตรธานก่อนกว่าคัมภีร์ทั้งหมด ย่อมอันตรธานต่อมาโดยลำดับ

ธัมมสังคหะ ย่อมอันตรธานไปในภายหลัง ครั้นพระอภิธรรมปิฎกนั้น

อันตรธานไปหมดแล้ว ปิฎกทั้งสองนอกนี้ แม้ตั้งอยู่แล้ว พระศาสนา

ก็ชื่อว่า ยังดำรงอยู่นั่นแหละ.

ในบรรดา ๒ ปิฎกที่เหลือนั้น เมื่อพระสุตตันตปิฎกจะอันตรธาน

ไป อังคุตตรนิกายทั้งหลาย (พระสูตรที่แจกธรรมออกไปเป็นข้อ ๆ) ย่อม

อันตรธานตั้งแต่เอกาทสกนิบาตลงมาถึงเอกนิบาต. ในลำดับนั้น สังยุตตนิกาย

ทั้งหลาย (พระสูตรแสดงเรื่องบุคคลเป็นหมวด ๆ) ย่อมอันตรธานตั้งแต่จักก-

เปยยาล ลงมาจนถึง โอฆตรณา. ในลำดับนั้นมัชฌิมนิกายทั้งหลาย (พระสูตร

เรื่องยาวปานกลาง) ย่อมอันตรธานตั้งแต่อินทริยภาวนาสูตรลงมาจนถึงมูล

ปริยายสูตร. ลำดับนั้น ทีฆนิกาย (พระสูตรเรื่องยาว) ย่อมอันตรธานตั้งแต่

ทสุตตรสูตรลงมาจนถึงพรหมชาลสูตร. คำถาม (ปุจฉา) แห่งคาถาหนึ่งก็ดี สอง

ก็ดี ย่อมเป็นไปนาน แต่คำปุจฉานั้น ย่อมไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรง

อยู่ ราวกะสภิยปุจฉา และอาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่าคำถามเหล่านี้ระหว่างกาล

แห่งพระพุทธเจ้าพระนานว่า กัสสป ก็ไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรงอยู่.

ก็เมื่อปิฎกทั้ง ๒ แม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังดำรงอยู่

พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่. เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว

แต่อุภโตวิภังค์ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่นั่นแหละ. เมื่ออุภโตวิภังค์

อันตรธานไปแล้ว แต่มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่นั่นแหละ

เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว แต่พระปาฏิโมกข์ การบรรพชา อุปสมบทยัง

๑. ธัมมสังคณี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 693

ดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมดำรงอยู่. ลิงค์ (เพศ) ย่อมดำเนินไปสู่กาลนาน. ก็

วงศ์แห่งสมณะผู้ครองผ้าขาว (เสตวตฺถสมณวโส) ไม่อาจเพื่อทรงพระศาสนา

ไว้จำเดิมแต่การแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป. นับตั้งแต่การแทงตลอด

สัจจะของชนผู้เกิดในภายหลัง และตั้งแต่สีลเภทคือการแตกไปแห่งศีลของ

บุคคลผู้เกิดในภายหลัง (แห่งพุทธกาลแล้ว) จากนั้นมา พระศาสนา ชื่อว่า

ย่อมเสื่อมถอย. จำเดิมแต่นั้นมา ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น

อันอะไร ๆ มิได้ห้ามไว้.

ปรินิพพาน ๓

ชื่อว่า ปรินิพพาน มี ๓ คือ

กิเลสปรินิพพาน

ขันธปรินิพพาน

ธาตุปรินิพพาน

บรรดานิพพานเหล่านั้น กิเลสปรินิพพาน (การดับสนิท

เเห่งกิเลส) ได้มีแล้วที่โพธิบัลลังก์.

ขันธปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งขันธ์) ได้มีแล้ว ณ พระ-

นครกุสินารา.

ธาตุปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งพระธาตุ) จักมีในอนาคต

กาล.

ได้ยินว่า ในกาลที่พระศาสนาจะเสื่อมถอย พระธาตุทั้งหลายที่ตัมพ-

ปัณณิทวีป (ทวีปลังกา) จักประชุมกันแล้วเสด็จไปสู่มหาเจดีย์. ต่อแต่นั้นจัก

ไปสู่ต้นไม้ราชายตนะ (ต้นไม้เกด) ในนาคทีปะ จากนั้นจักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 694

พระธาตุทั้งหลายแต่นาคพิภพก็ดี แต่พรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปสู่ต้นมหาโพธิ-

บัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดจักไม่สูญหายไปในระหว่าง

ทาง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมรวมเป็นแท่งเดียวกัน ดุจแท่งทองคำ ณ

มหาโพธิบัลลังก์แล้วจักเปล่งออกซึ่งฉัพพัณณรังสี (รัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ)

ฉัพพัณณรังสีนั้นจักแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ. ในลำดับนั้น เทวดาในหมื่น

จักรวาล จักมาประชุมกัน จักกระทำซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่กว่าวันที่พระ-

ทศพลปรินิพพาน แล้วจักกล่าวว่า วันนี้ พระศาสดาจะปรินิพพาน วันนี้

พระศาสนาจะเสื่อมถอย บัดนี้ การเห็นของพวกเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย

ดังนี้. บุคคลทั้งหมดที่เหลือยกเว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพแล้ว จักไม่

อาจเพื่อทรงไว้โดยภาวะของตน. ลำดับนั้น เตโชธาตุในพระธาตุทั้งหลายจัก

ตั้งขึ้นแล้วพวยพุ่งไปถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดผักกาด

ยังมีอยู่ เปลวอัคคีหนึ่งเทียวจักมี ครั้นเมื่อพระธาตุทั้งหลายถึงกาลสิ้นสุดลงแล้ว

เปลวอัคคีนั้นก็จักดับสนิท. ครั้นพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพอันใหญ่ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว ก็อันตรธานไปสิ้น พระศาสนาย่อมชื่อว่าอันตรธานไปแล้ว.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันทั้งสองพระองค์ ข้อนี้นั้น ไม่เป็น

ฐานะที่มีได้ ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น

พร้อมกัน.

ตอบว่า เพราะไม่มีความอัศจรรย์.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกองค์ล้วนเป็นมนุษย์อัศจรรย์.

เหมือนอย่าง ที่ได้ตรัสไว้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 695

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง เมื่อบังเกิดขึ้นในโลก

ย่อมบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ผู้อัศจรรย์ บุคคลคนหนึ่ง เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง คือพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้

อนึ่ง ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ หรือ ๓, ๔, ๘ หรือ ๑๖ พระองค์

พึงบังเกิดขึ้นพร้อมกันไซร้ ความอัศจรรย์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงมี เพราะว่า ลาภ

สักการะย่อมไม่โอฬาร แม้ลาภสักการะของพระเจดีย์ทั้งสองในวิหารเดียวกันก็

ไม่โอฬาร (ใหญ่). แม้แต่ภิกษุทั้งหลาย ก็ไม่อัศจรรย์ เพราะเหตุนั้น พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกันด้วยประการฉะนี้. และเพราะ

ความที่พระธรรมเทศนาก็เป็นสภาพไม่แปลกกันเลย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่ง ย่อมแสดงธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น พระธรรมนั้นแหละ อัน

พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นก็แสดงได้ ความอัศจรรย์ก็ไม่พึงมี. แต่เมื่อพระพุทธ-

เจ้าองค์เดียวแสดงธรรมอยู่ แม้เทศนาก็ย่อมเป็นธรรมอัศจรรย์ และเพราะไม่

เกิดความขัดแย้งด้วย ด้วยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ทรงอุบัติพร้อม

กันแล้ว สาวกทั้งหลายต่างก็จะพึงกล่าวขัดแย้งกันและกันว่า พระพุทธเจ้าของ

พวกเราเป็นผู้น่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเรามีสุรเสียงเพราะ มีลาภมีบุญ

ดังนี้ ราวกะหลายอาจารย์กล่าวแก่งแย่งกันอยู่. แม้เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระนาคเสนเถระ อันพระยามิลินท์ทรง

ถามแล้ว จึงให้พิสดารแล้วทีเดียว.

ก็ในเรื่องนั้น ท่านกล่าวไว้ ดังนี้

๑. อัง.เอก. ๒๐/.ข้อ ๑๔๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 696

มิลินทปัญหา

ทวินฺน พุทฺธาน โลเก นุปฺปชฺชนปญฺหา

(ปัญหาว่าด้วย การไม่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์)

พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสน แม้พระพุทธพจน์

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบภาษิตแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ พึงบังเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกันใน

โลกธาตุอันเดียว ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร ?

พระนาคเสนเถระ ทูลว่า ขอถวายพระมหาบพิตร พระตถาคต

แม้ทั้งปวงเมื่อทรงแสดง ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลายอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญา

เครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการเท่านั้น (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ก็เมื่อจะตรัส ย่อม

ตรัสอริยสัจทั้ง ๔ ก็เมื่อจะให้ศึกษา ย่อมให้ศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ ก็เมื่อพร่ำสอน

สอน ย่อมพร่ำสอนในการปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท ดังนี้.

พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านนาคเสน ถ้าว่าเทศนาของพระ-

ตถาคตแม้ทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน กถาก็อย่างเดียวกัน สิกขาก็อย่างเดียวกัน

การพร่ำสอนก็อย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่

บังเกิดขึ้นในคราวเดียวกันเล่า อนึ่ง โลกนี้ มีแสงสว่างเกิดขึ้น ด้วยความ

บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียวก่อน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึง

บังเกิดขึ้นไซร้ โลกนี้พึงมีแสงสว่างเกิดแล้ว เกินประมาณด้วยแสงสว่างแห่ง

พระพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ มิใช่หรือ ก็พระตถาคตทั้งสอง เมื่อจะกล่าวสอน

ก็พึงกล่าวสอนง่าย (สะดวก) เมื่อจะพร่ำสอนพึงพร่ำสอนง่าย มิใช่หรือ ขอ

พระผู้เป็นเจ้า จงแสดงเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะพึงสิ้นความสงสัย

อย่างไร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 697

พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ทรง

พระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว ย่อมทรงคุณของพระตถาคตได้พระองค์

เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงบังเกิดขึ้นไซร้ หมื่นโลกธาตุ

นี้ จะพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงน้อมไป พึงทรุดลง พึง

กวัดแกว่ง พึงเรี่ยราย พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนเรือที่พาข้ามฝั่งไปได้คน

เดียว ครั้นเมื่อบุรุษคนเดียวขึ้นแล้วเรือนั้นก็พึงให้ถึงฝั่ง ถ้าว่าบุรุษคนที่ ๒

พึงมาไซร้ และเขาก็เป็นผู้เช่นเดียวกันโดยอายุ โดยวรรณะ โดยวัยเป็นประ-

มาณ และโดยอวัยวะใหญ่น้อยผอมหรืออ้วน (ขนาดเดียวกัน) บุรุษคนที่สอง

นั้น พึงขึ้นสู่เรือนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เรือนั้นพึงทรงแม้บุรุษทั้งสองไว้ได้

หรือ ดังนี้.

พระราชา ตรัสว่า หามิได้ พระคุณเจ้าผู้เจริญ เรือนั้นพึงขยับ

เขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอียงไป พึงเพียบลง พึงกวัดแกว่ง พึงส่ายไป

พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความทรงอยู่ไม่ได้ พึงจมลงในน้ำ ดังนี้

พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร เรือนั้นพึงทรงบุรุษสองคนไม่

ได้ ย่อมจมลงในน้ำ ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เพียง

พระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธ-

เจ้าองค์ที่สองพึงบังเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน พึง

หวั่นไหว พึงเอนลง ทรุดลง กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย พึงเข้า

ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนมหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษพึงบริโภคอาหาร

ตามต้องการ เขายังอาหารที่ชอบใจให้เต็มถึงคอ อิ่มแล้ว บริบูรณ์แล้ว ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 698

ช่องว่าง ถึงซึ่งความเป็นผู้เฉื่อยชา เป็นดังท่อนไม้โน้มไม่ลง แล้วพึงบริโภค

อาหารอีกเท่านั้นนั่นแหละ ข้าแต่มหาบพิตร บุรุษนั้นพึงมีความสุขบ้างหรือ

ดังนี้.

พระราชา ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า หามิได้ บุรุษนั้นพึงบริโภค

คราวเดียวนั่นแหละแล้วก็จะตาย ดังนี้.

พระเถระ. ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ ก็ฉันนั้น

นั่นแหละ ทรงพระพุทธเจ้าได้แต่เพียงพระองค์เดียว ทรงคุณของพะตถาคต

ไว้ได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง พึงบังเกิดขึ้นไซร้

หมื่นโลกธาตุนี้พึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน หวั่นไหว เอนลง ทรุดลง

กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย และพึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

พระราชา. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แผ่นดินย่อมเขยื้อน หวั่นไหว

ด้วยหนักธรรมเกินไปด้วยหรือ.

พระเถระ. ขอถวายพระพร ในข้อนี้ เกวียนสองเล่มเต็มด้วยรัตนะ

จนเสมอขอบ บุกคลพึงขนเอารัตนะแต่เกวียนเล่มหนึ่งใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง

ดูก่อนมหาบพิตร เกวียนเล่มนั้น พึงทรงรัตนะแห่งเกวียนแม้ทั้งสองได้หรือ.

พระราชา. หามิได้ พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนนั้นพึงแยกออก

ไป แม้กำของเกวียนนั้นก็พึงแตกออกไป แม้กงของเกวียนนั้นก็พึงฉีกออกไป

แม้เพลาของเกวียนนั้นก็พึงทำลายไป ดังนี้.

พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนย่อมถูกทำลายไป ด้วยหนักรัตนะ

เกินไปหรือ.

พระราชา. อย่างนั้นแหละ พระคุณเจ้า.

พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนถูกทำลายไปด้วยการหนักรัตนะ.

เกิน ฉันใด แผ่นดินก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมเขยื้อน หวั่นไหว ด้วยการหนัก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 699

ธรรมเกินไป อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร อาตมาจะชี้แจงซึ่งเหตุแม้อื่นอันเป็น

การเหมาะสมในข้อนั้นอีก ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธะทั้งสองพระ-

องค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงสดับเหตุนั้น

ดังนี้.

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึง

บังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ ความวิวาทพึงเกิดแก่บริษัท และพึงแตกแยก

ออกเป็นสองฝ่าย เพราะคำว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของ

พวกเรา ดังนี้ ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนความวิวาท ย่อมเกิดแก่บริษัท

ของอำมาตย์ผู้มีกำลังทั้งสองคน ย่อมเกิดการแตกแยกว่า นี้อำมาตย์ของพวก

ท่าน นี้อำมาตย์ของพวกเรา ฉันใด ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สองพระองค์ ถ้าว่า พึงบังเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ความ

วิวาททั้งหลาย พึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ว่า พระ-

พุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ บริษัทพึงเกิดแตกแยก

ออกเป็นสองฝ่าย นี้เป็นเหตุที่หนึ่ง.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียว

กันด้วยเหตุใด ขอบรมบพิตรจงสดับซึ่งเหตุนั้นแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไป.

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึงบังเกิด

ขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ คำที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด

คำที่ว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้า

ผู้วิเศษดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่าพระพุทธเจ้าสูงสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็น

คำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้บวรดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระ-

พุทธเจ้าไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เสมอ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 700

ด้วยบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็ผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีใคร

เปรียบดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีส่วนเปรียบดังนี้ นั้น

ก็พึงเป็นคำผิด คูก่อนมหาบพิตรพระองค์จงรับเหตุแม้นี้แล โดยความเป็นจริง.

อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร พระพุทธเจ้าสองพระองค์ไม่เกิดขึ้นใน

ขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงทราบเหตุอย่างนี้ว่า ความบังเกิดขึ้น

แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมบังเกิดขึ้นในโลกเฉพาะพระองค์เดียว นี้เป็นปกติ

โดยสภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุไร เพราะความที่คุณของ

พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เป็นสัพพัญญู เป็นของใหญ่,

ขอถวายพระพร แม้สิ่งอื่นใดที่เป็นของใหญ่ สิ่งนั้นก็เป็นของอันเดียว

เท่านั้น ดูก่อนมหาบพิตร แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั้น ก็เป็นแผ่นเดียว

เท่านั้น สาครเป็นของใหญ่ สาครนั้น ก็เป็นอันเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุเป็น

ของใหญ่ สิเนรุนั้นก็เป็นลูกเดียวเท่านั้น อากาศเป็นของใหญ่ อากาศนั้นก็

เป็นอากาศเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ ท้าวสักกะนั้นก็เป็นผู้เดียวเท่านั้น

มารผู้เป็นใหญ่ มารนั้นก็ผู้เดียวเท่านั้น พรหมผู้เป็นใหญ่ มหาพรหมนั้นก็

ผู้เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นใหญ่เพียงพระองค์

เดียวเท่านั้น แผ่นดินเป็นต้นย่อมไม่เกิดขึ้นในที่ใด การปรากฏของแผ่นดิน

เป็นต้นย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์เดียวเท่านั้น จึงบังเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.

พระราชา ข้าแต่ท่านนาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว ด้วย

เหตุทั้งหลายอันเป็นเครื่องอุปมา ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 701

อธิบายการบังเกิดขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

คำว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ จักรวาลหนึ่ง. อธิบายว่า

ท่านถือเอาหมื่นจักรวาล ด้วยบทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา นี้เช่นนี้ในหนหลัง

นั่นแหละ. การกำหนดหมื่นจักรวาลแม้เหล่านั้น ด้วยจักรวาลหนึ่งนั่นแหละ

ก็ควร. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อบังเกิด ย่อมบังเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น.

ก็เมื่อฐานะคือการบังเกิดขึ้น อันธรรมดาห้ามแล้ว ที่ชื่อว่า ห้ามไว้แล้ว เพราะ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงบังเกิดในจักรวาลอื่น ๆ นอกจากจักรวาลนั้น.

ในคำว่า อปุพฺพ อจริม (แปลว่า ไม่ก่อน ไม่หลัง) ได้แก่ ชื่อว่า

ก่อน (ปุพฺพ) เพราะก่อนแต่กาลปรากฏของจักรรัตนะ. ชื่อว่าหลัง (จริม)

เพราะหลังแต่จักรรัตนะนั้นนั่นแหละอันตรธานแล้ว. ในคำเหล่านั้น การ

อันตรธานแห่งจักรรัตนะมี ๒ คือ เพราะการสวรรคตของพระเจ้าจักรพรรดิ

หรือว่าการทรงบรรพชา อนึ่ง จักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธาน

ในวันที่ ๗ นับจากการสวรรคตหรือทรงบรรพชา. เบื้องหน้าจากนั้น ความ

ปรากฏของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์อื่นอันธรรมดามิได้ห้ามไว้ ก็เพราะเหตุไร

เพราะพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์มิได้ทรงอุบัติขึ้นร้อมกันในจักรวาลเดียว

กัน เพราะทำให้เกิดความวิวาท เพราะไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์และเพราะความมี

อานุภาพมากแห่งจักรรัตนะ. จริงอยู่ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์บังเกิด

อยู่ ความวิวาทพึงเกิดขึ้นว่า ราชาของพวกเราใหญ่ ราชาชองพวกเราใหญ่

ดังนี้ อนึ่ง ความไม่เกิดอัศจรรย์พึงเกิดขึ้นว่า ในทวีปหนึ่งมีพระเจ้าจักรพรรดิ

และในทวีปหนึ่งโน้นก็มีพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนี้ ก็ผู้ใดนี้สามารถเพิ่มให้จักร

รัตนะ เพื่อความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปสองพันเป็นบริวาร

อานุภาพใหญ่แห่งจักรรัตนะนั้น พึงเสื่อมไป เพราะเหตุนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 702

สองพระองค์จึงชื่อว่า จึงไม่เกิดขึ้นในจักรวาลเดียวกัน เพราะเข้าไปตัดความ

วิวาท เพราะความไม่อัศจรรย์ และเพราะความมีอานุภาพมาก (มีมากแห่ง)

ของจักรรัตนะ.

อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้

ในข้อว่า ย อิตฺถี อรห อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (แปลว่าหญิงจะ

พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) นี้ อธิบายว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้

สามารถข้ามโลกเพราะยังคุณคือ สัพพัญญู ให้เกิดขึ้นนั้น จงยกไว้ก่อน แม้

เหตุสักว่าการตั้งปณิธาน (การตั้งความปรารถนา) ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง.

มนุสฺสตฺต ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสน

ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺต อธิกาโร จ ฉนฺทตา

อฏฺธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ

แปลว่า

จริงอยู่ เหตุอันเป็นปณิธานสมบัติเหล่านี้ คือ อภินีหาร (ความ

ปรารถนาดังใจจริง) ย่อมสำเร็จพร้อมเพราะธรรมสโมธาน (การประชุมแห่ง

ธรรม) ๘ ประการ คือ

๑. มนุสฺสตฺต (เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์)

๒. ลิงฺคสมฺปตฺติ (ลิงคสมบัติคือเป็นเพศชาย)

๓. เหตุ (มีเหตุคือสร้างกุศลมาก สมควรจะเป็นพระอรหันต์

ได้)

๔. สตฺถารทสฺสน (พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์)

๕. ปพฺพชฺชา (บวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือฤาษีผู้เป็น

กัมมวาที)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 703

๖. คุณสมปตฺติ (บริบูรณ์ด้วยคุณ คือ ฌานสมาบัติและ

อภิญญา)

๗. อธิกาโร (การกระทำกุศลอันยิ่งใหญ่)

๘. ฉนฺทตา (พอใจในโพธิญาณ)

ความตั้งปณิธานปรารถนาเพื่อให้ถึงความเป็นพระสัมพุทธเจ้าได้ด้วย

อาการอย่างนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้าของหญิงผู้ไม่สามารถจักมีแต่ที่ไหน

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. อีกอย่าง

หนึ่ง ธรรมเครื่องอาศัยคือบุญ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ย่อมยังอัตภาพ

อันเต็มด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น บุรุษเท่านั้น

ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มิใช่หญิง.

แม้ในข้อว่า ย อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (แปลว่า ข้อที่

ว่าหญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) เป็นต้น อธิบายว่า ลักษณะทั้งหลาย

(มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ) ของหญิง ชื่อว่า ย่อมไม่บริบูรณ์ เพราะ

ความไม่มีซึ่งลักษณะทั้งหลาย มีคุยหะซ่อนลับอยู่ในฝัก ดุจคุยหะแห่งโคและ

ช้างเป็นต้นและชื่อว่าเป็นผู้ไม่พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ เพราะความไม่มีอิตถี-

รัตนะ (นางแก้ว) อนึ่ง อัตภาพอันยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวงก็ไม่มี เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ไม่

ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. แม้ความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น (พระอินทร์

พระยามาร มหาพรหม) ทั้ง ๓ เป็นตำแหน่งสูง แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ำ

เหตุใด เพราะฉะนั้น แม้ความที่หญิงนั้นจะพึงเป็นท้าวสักกะเป็นต้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงทรงปฏิเสธแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 704

ถามว่า เพศหญิง ไม่มีในพรหมโลก ฉันใด แม้เพศชาย ก็ฉัน

นั้น มิใช่หรือ เพราะฉะนั้น บุรุษพึงทำความเป็นพรหมด้วยเหตุใด เหตุนั้น

ก็ไม่พึงกล่าวว่า แม้ฐานะนั้น (คือเพศชาย) มีอยู่ ดังนี้.

ตอบว่า ไม่พึงกล่าว หามิได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความที่บุรุษในโลกนี้ บังเกิดขึ้นในพรหมโลกนั้นมี

อยู่. จริงอยู่ความบังเกิดเป็นมหาพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์

เอาในคำว่า พฺรหฺมตฺต (แปลว่า ความเป็นพรหม). ส่วนหญิง เจริญฌาน

ในโลกนี้ ทำกาละแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชาทั้งหลาย

(หมายถึงพรหมผู้เป็นบริษัทของมหาพรหม) มิใช่บังเกิดเป็นมหาพรหม แต่

บุรุษไม่พึงกล่าวว่าย่อมไม่บังเกิดในพรหมปาริสัชชานั้น. ครั้นเมื่อความเป็น

แห่งเพศทั้งสองแม้มีอยู่ในพรหมโลกนั้น หญิงนั้นก็ชื่อว่าเป็นพรหมเพราะตั้งอยู่

ในความเป็นบุรุษ มิใช่ตั้งอยู่ในความเป็นหญิง เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็น

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.

อธิบายกายทุจจริตเป็นต้น ไม่เกิดผลน่าปรารถนาเป็นต้น

พึงทราบในคำว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น พืชทั้งหลาย มีพืช

แห่งไม้สะเดา และบวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีความหวาน ย่อมให้

บังเกิดผลอันไม่ชอบใจ อันไม่มีรสหวานนั่นแหละ ฉันใด กายทุจจริตเป็น

ต้น ก็ฉันนั้น ย่อมไม่ให้บังเกิดวิบากอันน่าปรารถนา ย่อมบังเกิดวิบากอันไม่

น่าชอบใจ. เหมือนอย่างว่า พืชแห่งต้นอ้อย และพืชแห่งข้าวสาลี ย่อมยังผล

อันน่าชอบใจ อันมีรสอันดีเท่านั้น ย่อมไม่ยังผลอันไม่น่ายินดี อันขมขื่นให้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 705

เกิดขึ้น ฉันใด กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้วิบากอันน่าปรารถนา น่าชอบใจ

ให้เกิดขึ้น ย่อมไม่ยังวิบากอันไม่น่าปรารถนาให้เกิดขึ้น ฉันนั้น.

สมจริงดังที่ได้ตรัสไว้ว่า

ยาทิส วปเต พีช ตาทิส หรเต ผล

กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก

แปลว่า

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี

ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่กายทุจจริตเป็น

ต้น จะพึงให้ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่ฐานะ

ไม่ใช่โอกาส ดังนี้ เป็นต้น.

อธิบายบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริตเป็นต้น

คำว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม ในคำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริต

เป็นต้น ได้แก่ความพรั่งพร้อม ๕ อย่าง คือ

อายูหนสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรมเป็นเครื่อง

ประมวลมา)

เจตนาสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยเจตนา)

กมฺมสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรม)

วิปากสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยวิบาก)

อุปฏฺานสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยการปรากฏ)

๑. ขุ.ชา. ๒๗/ข้อ ๒๙๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 706

ในความพรั่งพร้อมเหล่านั้น ในขณะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม

และอกุศลกรรม เรียกว่า อายูหนสมังคิตา. เจตนาสมังคิตา ก็เหมือน

กัน. ก็สัตว์แม้ทั้งหมดยังไม่บรรลุพระอรหัตตราบใด ตราบนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกรรม เพราะหมายเอากรรม

อันเหมาะสมกับวิบากที่สั่งสมไว้ในก่อน ฉะนั้นข้อนี้จึงชื่อว่า กัมมสมังคิตา

แต่ วิปากสมังคิตา พึงทราบในขณะแห่งการให้ผล.

ก็ตราบใด สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตแห่งการเกิด

ขึ้น ย่อมปรากฏอย่างนี้คือ เมื่อสัตว์เหล่านั้นท่องเที่ยวไปแต่ที่นั้น ๆ เมื่อจะ

เข้าถึงนรกก่อน นรกย่อมปรากฏโดยอาการอันตั้งขึ้นมีเปลวไฟในโลหกุมภีเป็น

ต้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึงความเป็นคัพภเสยยกะ (เกิดในครรภ์) ท้อง

ของมารดาย่อมปรากฏ เมื่อจะบังเกิดในเทวโลก เทวโลกย่อมปรากฏ โดย

อาการทั้งหลายมีต้นกัลปพฤกษ์ (ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ตลอดกัป) และวิมาน เป็นต้น

ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อุปัฏฐานสมังคิตา เพราะความที่สัตว์

เหล่านั้นไม่พ้นไปจากการปรากฏแห่งนิมิตแห่งการเกิด ดังกล่าวมานี้.

อุปัฏฐานสมังคิตานั้นแล ย่อมเคลื่อน (ไม่คงที่) ที่เหลือไม่เคลื่อน

จริงอยู่ เมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกย่อมปรากฏก็ได้ เมื่อเทวโลกแม้

ปรากฏแล้ว นรกย่อมปรากฏก็ได้. เมื่อมนุษยโลกแม้ปรากฏแล้ว กำเนิดสัตว์

เดรัจฉาน ย่อมปรากฏก็ได้ และเมื่อกำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉานแม้ปรากฏแล้ว

มนุษยโลกย่อมปรากฏก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์

ดังนี้.

ได้ยินว่า ที่เชิงเขาโสณะ มีพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง ชื่อว่า โสณเถระ

อยู่ในปิปผลิวิหาร บิดาของท่านเป็นนายพราน ชื่อว่า สุนักขวาชิกะ พระเถระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 707

แม้ห้ามบิดาอยู่อย่างไร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อไห้ตั้งอยู่ในความสังวร จึงคิดว่า บิดา

ผู้น่าสงสาร จงอย่าฉิบหายเสียเลย ดังนี้ จึงให้บิดาผู้ไม่ประสงค์จะบวช ได้

บวชแล้วในเวลาเป็นคนแก่ เมื่อบิดานอนในที่นอนของคนป่วย (หมายถึงกำลัง

ป่วย) นรกได้ปรากฏแล้ว (อารมณ์ของนรก) คือ มีพวกสุนัขใหญ่ ๆ มา

แต่เชิงเขาโสณะแล้วก็แวดล้อม ราวกะต้องการจะเคี้ยวกิน บิดาของพระเถระ

กลัวต่อภัยอันใหญ่ จึงเรียกพระเถระว่า พ่อโสณะ จงห้าม พ่อโสณะ จงห้าม

ดังนี้. พระเถระ จึงถามว่า อะไรกัน, บิดาของท่านจึงกล่าวว่า พ่อไม่เห็น

หรือ แล้วบอกเหตุเป็นไปนั้น.

พระเถระดำริว่า บิดาของผู้เช่นกับเรา ขึ้นชื่อว่า จักเกิดในนรกได้

อย่างไร เราจักเป็นที่พึงให้แก่บิดา ดังนี้ แล้วให้สามเณรทั้งหลายนำดอกไม้

ต่าง ๆ มาให้แล้วกระทำซึ่งการบูชา โปรยด้วยดอกไม้ และบูชาที่บนตั่ง ที่

ลานเพระเจดีย์ และที่ลานโพธิ์ทั้งหลาย แล้วนำบิดามาสู่ลานของพระเจดีย์ด้วย

เตียง (หามมาด้วยเตียง) ให้นอนบนเตียงแล้วกล่าวกะบิดาว่า ข้าแต่มหาเถระ

การบูชาของข้าพเจ้านี้ ทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน ท่านจงกล่าวว่า ข้าแต่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นบรรณาการของข้าพเจ้าผู้ทุคคตะ ดังนี้ แล้วจงถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระเจดีย์) แล้วกล่าวว่า ขอจงยังจิตให้เสื่อมใส

ดังนี้.

มหาเถระ (บิดา) นั้นเห็นการบูชา เมื่อจะกระทำอย่างนั้น ยังจิต

ให้เลื่อมใสแล้ว ขณะนั้นนั่นแหละ เทวโลกปรากฏแล้ว (กรรมนิมิตอารมณ์)

แก่มหาเถระนั้น คือ นันทวัน จิตรลดา มิสสกวัน ปารุสกวัน วิมานและการ

ฟ้อนรำของเทพอัปสรทั้งหลาย ได้มีแล้วเป็นราวกะมายืนแวดล้อม มหาเถระ

นั้น จึงกล่าวว่า โสณะ (พระเถระลูกชาย) จงหลีกไป โสณะ จงหลีกไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 708

ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า นี้อะไร มหาเถระ. มหาเถระกล่าวว่า หญิงเหล่านี้.

จะมาเป็นมารดาของท่าน ดังนี้. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏขึ้นแก่มหาเถระ

แล้ว ดังนี้

บัณฑิต พึงทราบว่า อุปัฏฐานสมิงคิตา ย่อมไม่คงที่ด้วยประการ

ฉะนี้.

ในบรรดาความพรั่งพร้อม (สมังคิตา) เหล่านั้น คำว่า ความ

พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริตเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วในที่นี้ ด้วย

สามารถแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอายูหนะ เจตนา และกรรม ดังนี้. คำที่เหลือ

ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อธิบายกำลังที่ ๑ ของพระตถาคต จบ

อธิบายกำลังที่ ๒ ของพระตถาคต

ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นบาป

คำว่า คติสมฺปตฺติปฏิพาฬฺหานิ (แปลว่า อันคติสมบัติห้ามไว้)

อธิบายว่ากัมมสมาทานอันเป็นบาป อันคติสมบัติห้ามไว ป้องกันไว้ และ

ปฏิเสธแล้ว. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

อนึ่ง ในคำว่า คติสมบัติ* นี้ ได้แก่ คติที่สมบูรณ์ คือเทวโลก

และ มนุษยโลก.

คำว่า คติวิบัติ ได้แก่ คติชั่ว คืออบายภูมิ ๔.

ความสำเร็จด้วยดีในอัตภาพ ชื่อว่า อุปธิสมบัติ.

*. สมบัติ ๔ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ ปโยคสมบัติ, วิบัติ ๔ คือ คติวิบัติ อุปธิวิบัติ

กาลวิบัติ ปโยควิบัติ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 709

ความมีอัตภาพเลว ชื่อว่า อุปธิวิบัติ.

กาลอันสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นกาลอันเจริญของพระราชาผู้ทรงธรรม

และชนผู้มีใจดี ชื่อว่า กาลสมบัติ.

กาลอันพิบัติ กล่าวคือ กาลที่มีพระราชาชั่วและบุคคลผู้มีใจทราม

ชื่อว่า กาลวิบัติ.

การประกอบโดยชอบ ชื่อว่า ปโยคสมบัติ.

การประกอบในทางที่ผิด ชื่อว่า ปโยควิบัติ.

ในบรรดาคำเหล่านั้น บาปกรรมมีจำนวนมาก ย่อมมีแก่บุคคลบาง

คน. บาปกรรมนั้น พึงให้ผลแก่ผู้ดำรงอยู่ในคติวิบัติ. แต่บุคคลเกิดขึ้นในคติ

สมบัติ คือในเทพทั้งหลาย หรือมนุษย์ ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่งวาระของ

อกุศลย่อมไม่เกิดในฐานะเช่นนั้น วาระของกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กรรมเหล่านั้น (บาป

กรรม) อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผลแก่บุคคลนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก. บาปกรรมเหล่านั้น ก็พึงให้ผลแก่

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ. อนึ่ง บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ ซึ่งมีสัณฐาน

และอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งอยู่ดีแล้ว มีรูปงาม น่าชม เช่นกับบุตรของพรหม ด้วย

กัลยาณกรรม อย่างหนึ่ง แม้แต่เกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี อัตภาพ

อันมีอย่างนี้ เป็นสภาพไม่สมควรแก่การงานอันเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น

กัลยาณกรรมนั้นย่อมไม่ยังบุคคลนั้นให้ทำการงานต่ำ มีการผูกเท้าช้าง แพะ ม้า

และเลี้ยงโคเป็นต้น ย่อมให้นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่ง ผู้

รักษาพระคลัง (ภัณฑาคาริก) เป็นต้น ถ้าเป็นหญิง กัลยาณกรรมนั้นย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 710

ไม่ให้กระทำการงานต่ำ มีการให้อาหารช้างเป็นต้น แต่จะให้ผ้าและเครื่อง

ประดับ หรือทำหญิงนั้นให้นอนในที่นอนอันสวยงาม ย่อมตั้งไว้ในตำแหน่ง

ราชวัลลภ (ตำแหน่งคนสนิท) ราวกะ พระโสมเทวี.

ได้ยินว่า ในกาลแห่ง พระเจ้าภาติกราช พวกอำมาตย์ทั้งหลาย

จับชนทั้งหลายจำนวนมากผู้อาศัยเนื้อโคเป็นอยู่ แสดงต่อพระราชา ถูกพระ

ราชาตรัสถามว่า พวกท่านย่อมสามารถเพื่อให้ค่าปรับหรือ กราบทูลว่า พวก

ข้าพระองค์ไม่อาจ ดังนี้. ลำดับนั้นจึงให้ชนเหล่านั้น ทำความสะอาดที่พระลาน-

หลวง, ธิดาคนหนึ่งของพวกต้องหาเหล่านั้นมีรูปงาม น่าดู น่าชม. พระราชา

ทรงทอดพระเนตรเห็นธิดานั้น จึงทรงให้นำมาตั้งไว้ในตำแหน่งราชวัลลภ

ภายในพระราชมณเฑียร. แม้ญาติทั้งหลายที่เหลือ ก็มีชีวิตอยู่เป็นสุข ด้วย

อานุภาพของหญิงนั้น. จริงอยู่ ในอัตภาพเห็นปานนั้น แม้บาปกรรมทั้งหลาย

ก็ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย

อันอุปธิสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

บาปกรรมทั้งหลายจำนวนมาก ย่อมให้ผลแก่บุคคลบางคน บาปกรรม

เหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลวิบัติ. อนึ่งบุคคลนั้น เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง ในกาลแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม และมนุษย์ผู้ใจ

ดี เช่นในสมัยเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่งชนผู้เกิดอยู่ในปฐมกัป หรือพระเจ้า-

จักรพรรดิ หรือว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วใน

กาลเช่นนั้น โอกาสเพื่อให้วิบากของอกุศลย่อมไม่มี โอกาสของกุศลอย่างเดียว

เท่านั้น มีอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย

อันกาลสมบัติ ห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 711

บุคคลอื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น พึงให้ผลแก่บุคคล

ผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นดำรงอยู่ในปโยคสมบัติ ด้วยกัลยาณ-

กรรมอย่างหนึ่ง คือเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น แล้วย่อมยังกายสุจริต

วจีสุจริต และมโนสุจริตทั้งหลายให้เต็ม. ในฐานะเช่นนั้น โอกาสแห่งการให้

ผลของอกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของกุศลอย่างเดียวเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมเหล่านั้น

อันปโยคสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล

แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่บุคคลนั้น เกิดในคติวิบัติ ด้วยบาปกรรม

อย่างหนึ่งนั่นแหละ บาปกรรมเหล่านั้นพึงเข้าถึงบุคคลนั้นในที่นั้นแล้วก็ย่อม

ให้ผลทุก ๆ ครั้ง ย่อมให้เกิดในนรกตามกาลอันควร เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจ-

ฉาน... ในปิตติวิสัย ... ในอสุรกายตามกาลอันควร ย่อมไม่ให้เพื่ออันยก

ศีรษะขึ้นจากอบายแม้สิ้นกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมเหล่านั้นอันคติสมบัติ

ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยคติวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล

แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติด้วยกรรม

นึ่งนั่นแหละ ให้เป็นผู้มีผิวพรรณทราม มีรูปชั่ว มีสัณฐานไม่ดี น่าเกลียด

เช่นกับปีศาจ. ถ้าว่าเขาเกิดเป็นทาสในท้องของนางทาสี บาปกรรมเหล่านั้น

ย่อมสมควรแก่บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บาปกรรมทั้งปวง ย่อมยังบุคคลนั้น

ให้กระทำการงานอันเศร้าหมอง โดยที่สุด ย่อมให้เข้าไปอาศัยการงานของคน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 712

เทดอกไม้. ถ้าเขาเกิดเป็นหญิง บาปกรรมเหล่านั้นสมควรแก่ความเป็นหญิง

คือ ย่อมให้หญิงนั้นทำการงานอันเศร้าหมอง มีการให้อาหารช้างเป็นต้น. หญิง

นั้นแม้เกิดในบ้านมีตระกูลก็จะเหมือนหญิงเจ้าเรือนของมหากุฎุมพีในบ้าน

โกตลวาปี ที่ถูกราชบุรุษจับไปด้วยสำคัญว่าเป็นนางทาสี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะความที่บาปกรรมนั้น อันอุปธิสมบัติ

ห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยอุปธิวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมเหล่านั้น ไม่พึงให้ผล

แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้น เกิดในกาลวิบัติ ด้วย

บาปกรรมหนึ่ง คือในกาลที่มีพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม มนุษย์ชั่ว หรือ

ในกาลแห่งสัตว์มีอายุขัย ๑๐ ปี ซึ่งเป็นกาลลามก ไร้ค่า. ในกาลเช่นนั้น แม้

เบญจโครสย่อมเสื่อมไปเป็นจำนวนมาก หญ้ากับแก้นับว่าเป็นอาหารอันเลิศ.

แม้บุคคลนั้นเกิดในมนุษยโลกก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็มีการเป็นอยู่คล้ายกับ

เนื้อ หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นอาหาร ในกาลเห็นปานนี้ โอกาสของการให้ผล

ของกุศลย่อมไม่มี มีแต่โอกาสของอกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมจำนวน

มาก ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะกาลสมบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผลได้

เพราะอาศัยกาลวิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลแม้อื่นอีกที่มีบาปกรรมมาก บาปกรรมนั้น ไม่พึงให้ผลแก่

บุกคลผู้ตั้งอยู่ในปโยคสมบัติ แต่ว่า บุคคลนั้นตั้งอยู่ในกาลวิบัติแล้ว ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 713

กระทำอกุศลกรรม ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น. ราชบุรุษทั้งหลายจับผู้ทำกรรม

อันหยาบช้านั้นนั่นแหละแสดงต่อพระราชา พระราชาทรงให้กรรมกรณ์ (การ

ทรมานทางกาย) เป็นอันมากแล้วก็ให้ฆ่าเสีย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า บาปกรรมทั้งหลายมาก

ย่อมไม่อาจให้ผล เพราะความที่ปโยคสมบัติห้ามไว้ แต่ก็ย่อมให้ผล

ได้เพราะอาศัยปโยควิบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บาปกรรม อันสมบัติทั้ง ๔ (คือ คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ

ปโยคสมบัติ) ห้ามไว้จึงไม่ให้ผล แต่ย่อมให้ผลเพราะอาศัยวิบัติ ๔ (มี

คติวิบัติเป็นต้น) ด้วยประการฉะนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษบางคนนั่นแหละ พึงให้พระราชาชอบพระทัย

ด้วยการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ทีนั้น พระราชาพึงให้ฐานันดร แล้วก็ให้

ชนบทแก่เขา (บ้านส่วย). บุรุษนั้นไม่อาจเพื่อใช้สอยชนบทนั้นโดยชอบ พึงทำ

ให้พินาศไป เหมือนภาชนะใส่ภัตที่วานรวิ่งถือไปแล้ว. บุรุษนั้น เห็นสิ่งที่ชอบ

ใจอันใด คือ ยานหรือพาหนะ ทาสหรือทาสี ที่สวนหรือที่นา ของบุคคลใด

ก็พึงถือเอาสิ่งทั้งปวงนั้นโดยพละการ พวกมนุษย์ไม่อาจเพื่อจะว่ากล่าวอะไร ๆ

ด้วยสำคัญว่า ผู้นี้เป็น ราชวัลลภ ดังนี้ ทั้งเขาผู้นั้นก็พึงทำร้ายบุคคลผู้สนิทสนม

กับพระราชา หรือทำร้ายมหาอำมาตย์ของพระราชามหาอำมาตย์นั้น จับบุรุษนั้น

ให้โบยแล้ว ๆ ก็จับมัดมือให้ลากไปเฝ้าพระราชา กราบทูลให้ทรงทราบว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ บุรุษชื่อโน้น ทำลายชนบทของพระองค์ดังนี้.

พระราชารับสั่งให้จองจำในตะรางแล้ว ก็ให้ราชบุรุษตีกลองประกาศในพระนคร

ว่า บุรุษชื่อโน้น ลักของอะไรของใคร ดังนี้. พวกมนุษย์มาแล้วก็พึงยังเสียง

ตะโกนตั้งพันว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนั้นถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 714

นี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. พระราชาทรงกริ้วด้วยเหตุเพียงด้วยคำนั้น จึงทำบุรุษนั้นให้

ลำบากในเรือนจำโดยประการต่าง ๆ แล้วก็ให้ประหารเสีย แล้วตรัสว่า พวก

ท่านจงไป จงลากบุรุษนั้นไปทิ้งในป่าช้า ให้สมกับความผิด ดังนี้. คำอุปมา

เป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.

ก็ในกาลแห่งปุถุชนแม้เกิดในสวรรค์ด้วยบุญกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่ง นั่นแหละ เปรียบเหมือนกาลที่บุรุษนั้นทำการงานอย่าง

ใดอย่างหนึ่งให้พระราชาชอบพระทัย แล้วจึงได้ฐานันดร. กาลที่

อกุศลกรรมไม่ได้โอกาสให้ผล ก็เพราะบุคคลนั้นเกิดในสวรรค์แม้นี้

เปรียบเหมือนกาลที่ใคร ๆ ไม่อาจว่ากล่าวคำอะไร ๆ ในเมื่อบุรุษนั้น

ทำลายชนบทนั้น และถือเอาสิ่งของ ๆ มนุษย์ทั้งหลาย.

กาลที่บุรุษนี้เคลื่อนจากสวรรค์แล้วเกิดในนรก เปรียบเหมือนกาลที่

บุรุษนั้นทำร้ายราชวัลลภคนหนึ่ง ในวันหนึ่ง แล้วถูกราชบุรุษทุบตี แล้ว

กราบทูลแด่พระราชา เพราะทรงกริ้วจึงให้จองจำในเรือนจำ. กาลที่บุรุษนั้น

เกิดในนรกแล้วรับอกุศลกรรมทั้งปวงที่มาประชุมกันนั้น เปรียบเหมือนกาล

ตะโกนของมนุษย์ทั้งหลายว่า วัตถุนี้ของเรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว วัตถุนี้ของ

เรา อันบุรุษนี้ถือเอาแล้ว ดังนี้. กาลที่เขาถูกเผาในนรกตลอดกัปทั้งสิ้น ไม่

อาจยกศีรษะขึ้นจากนรกได้ ด้วยวิบากของกรรมนี้ ๆ จนกว่ากรรมหนึ่ง ๆ จะ

สิ้นไป เปรียบเหมือนกาลนำบุรุษนั้นมาทิ้งไว้ในป่าช้า อันเหมาะแก่กรรมของ

ตน. จริงอยู่ สัตว์ที่ถูกไหม้ในนรกสิ้นกัปหนึ่ง เพราะทำกรรมอันให้ตั้งอยู่

ตลอดกัป มิใช่คนเดียว มิใช่สองคน มิใช่ร้อยคน มิใช่พันคน. ได้ยินว่า

สัตว์ทั้งหลายที่ถูกไหม้ด้วยอาการอย่างนี้ เหลือประมาณที่จะนับ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 715

ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นกุศล

แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า กรรมสมาทานอันเป็นกุศลบางอย่าง

มีอยู่ กรรมสมาทานนั้นอันคติวิบัติห้ามไว้ ย่อมไม่ให้ผล ดังนี้ เป็นต้น

บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความ อย่างนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ กรรมนั้น

พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในคติสมบัติ. แต่ว่า เขาผู้นั้นไปเกิดในคติวิบัติ คือ ใน

นรก หรือในอสุรกาย ด้วยบาปกรรมอย่างหนึ่ง. ในฐานะเช่นนี้ กุศลย่อม

ไม่อาจเพื่อให้ผล อกุศลเท่านั้นย่อมให้ผลโดยส่วนเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กุศลกรรมเหล่านั้น

ของบุคคลนั้น อันคติวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แม้แก่บุกคลอื่นอีก กรรมนั้น พึงให้

ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. แต่ว่าเขาตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ ด้วยบาปกรรมหนึ่ง

คือ เป็นผู้มีผิวพรรณทราม เช่นกับปีศาจ แม้ว่าเขาเกิดในราชตระกูล โดย

การอันล่วงไปแห่งพระบิดาย่อมไม่ได้ราชสมบัติ เพราะว่า อะไร ๆ ด้วยราช

สมบัติของผู้นี้หาสิริมิได้. แม้เกิดในบ้านของเสนาบดีเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้

ตำแหน่งเสนาบดี หรือตำแหน่งเศรษฐี. ก็เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้

พึงทราบเรื่องพระเจ้าทีปราช.

เรื่องพระเจ้าทีปราช

ได้ยินว่า พระราชา เมื่อพระราชบุตรประสูติแล้ว ทรงเลื่อมใสใน

พระเทวี จึงได้ทรงประทานพร พระเทวีนั้นรับพรแล้ว ทรงยับยั้งอยู่. ต่อมา

พระกุมารมีชันษา ๗ พรรษา ได้ให้ราชบุรุษนำไก่มาชนกันที่พระลานหลวง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 716

ไก่ตัวหนึ่งบินขึ้นไปแล้วทำลายพระเนตรของพระกุมาร. พระเทวีผู้เป็นพระ-

มารดาทรงดำริว่า เราจักทูลขอราชสมบัติในเวลาที่โอรสมีชันษา ๑๕ หรือ ๑๖

ดังนี้ จึงเสด็จไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในเวลาที่

พระกุมารประสูติแล้ว พระองค์ทรงประทานพรแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันรับพร

นั้นแล้วรอเวลาอยู่ บัดนี้ หม่อมฉันจักถือเอาพรนั้น ดังนี้. พระราชาตรัสว่า

ดีแล้ว เทวี เธอจงถือเอา ดังนี้. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ สิ่งอะไร ๆ

ชื่อว่า หม่อมฉันไม่ได้แล้วจากสำนักของพระองค์ มิได้มี แต่บัดนี้ หม่อมฉัน

ขอทูลขอราชสมบัติเพื่อพระโอรสของหม่อมฉัน ดังนี้. พระราชาตรัสว่า ดูก่อน

เทวี บุตรของเธอมีอวัยวะไม่สมประกอบ เราไม่อาจเพื่อจะให้ราชสมบัติแก่

บุตรของเธอได้ ดังนี้. พระเทวีทูลว่า พระองค์ เมื่อไม่อาจเพื่อประทานพรอัน

พอพระทัยแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุไร จึงได้ประทานพรแก่หม่อมฉันในครั้ง

นั้นเล่า ดังนี้. พระราชา เมื่อถูกบีบคั้นอยู่อย่างยิ่ง ก็ไม่อาจเพื่อให้ราชสมบัติ

ในลังกาทวีปทั้งสิ้นแก่โอรสของพระองค์ จึงทรงส่งไปสู่นาคทีปะ (เกาะเล็ก)

ด้วยพระดำรัสว่า จงให้ราชบุรุษยกฉัตรขึ้นที่นาคทีปะแล้วอยู่เถิดดังนี้ พระราช-

บุตรนั้น จึงได้ทรงพระนามว่า พระเจ้าทีปราช. ถ้าว่า ความพิการแห่ง

จักษุจักไม่ได้มีแล้วไซร้ ก็จักได้ราชสมบัติอันแวดล้อมด้วยสมบัติทั้งปวงใน

ตัมพปัณณิทวีปทั้งสิ้นซึ่งมี ๑๕๐ โยชน์เป็นประมาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย

อันอุปธิวิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่ แก่บุคคลอื่นอีก กรรมนั้นพึงให้

ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในกาลสมบัติ. แต่ว่าบุคคลนั้นเกิดในกาลวิบัติ คือใน

กาลแห่งพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรมและมนุษย์ชั่ว เป็นกาลลามก ไร้ค่า มีอายุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 717

น้อยที่สุดแห่งการดำเนินไป. ก็ในกาลเช่นนั้น กัลยาณกรรม ย่อมไม่อาจเพื่อ

ให้ผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย

อันกาลวิบัติห้ามไว้ ย่อมไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กัลยาณกรรมทั้งหลายมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้บางคน กรรมเหล่านั้น

พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในปโยคสมบัติ. แต่ว่า บุคคลนี้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ คือ

ย่อมฆ่าสัตว์ ฯลฯ ย่อมยังความเป็นผู้ทุศีลทั้งปวงให้เต็ม. โดยทำนองนั้น ตระกูล

ทั้งหลาย แม้มีชาติเสมอกัน ก็ย่อมไม่ทำอาวาหะและวิวาหมงคลกับตระกูลผู้

ทุศีลนั้น บุรุษเช่นนี้ เป็นผู้ลามก คือ เป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลง

การพนัน ฉะนั้น ผู้หวังประโยชน์ต้องเว้นให้ไกล. เพราะกัลยาณกรรมทั้งหลาย

ย่อมไม่อาจเพื่อให้ผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้

อันปโยควิบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กัลยาณกรรม อันจะให้ซึ่งผลเพราะอาศัยสมบัติ ๔ แต่ย่อมไม่

ให้ผล เพราะกัลยาณกรรมนั้น อันวิบัติ ๔ ห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ด้วย

ประการฉะนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมนั้นไม่พึง

ให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคติวิบัติ. แต่ว่าบุคคลนั้น เกิดในคติสมบัติ ด้วย

กัลยาณกรรมหนึ่งนั่นแหละ กรรมเหล่านั้นเข้าถึงผู้นั้นแล้ว จึงให้ผลในที่นั้น ๆ

คือให้เกิดในมนุษยโลกตามกาลอันควร ให้เกิดในเทวโลกตามกาลอันควร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้

ไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะคติวิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผล เพราะอาศัย

คติสมบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 718

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมเหล่านั้น

ไม่พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในอุปธิวิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติด้วย

กัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ มีรูปงาม น่าดู เช่นกับรูปพรหม กัลยาณกรรมเหล่า

นั้นชื่อว่าย่อมให้ผล เพราะความที่บุคคลนั้นตั้งอยู่ในอุปธิสมบัติ. ถ้ากรรมนั้น

เกิดในราชสำนัก ทั้งที่พระเชษฐาทั้งหลายแม้มีอยู่ อัตภาพของผู้อันกรรมให้

เกิดขึ้นแล้วนี้ ย่อมเป็นของสำเร็จแล้วด้วยดี ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมอภิเษก

ผู้นั้นนั่นแหละในราชสมบัติโดยความหวังว่า เมื่อเรายกเศวตฉัตรขึ้นแก่ผู้นี้แล้ว

ความผาสุกจักมีแก่ชาวโลก ดังนี้. ผู้เกิดในบ้านของอุปราช เป็นต้น ย่อมได้

ความเป็นอุปราช โดยกาลอันล่วงไปแห่งบิดา ซึ่งเป็นตำแหน่งเสนาบดี ตำแหน่ง

ขุนคลัง หรือตำแหน่งเศรษฐี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมเหล่านี้

ไม่อาจให้ผล เพราะอุปธิวิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้ผล เพราะอาศัย

อุปธิสมบัติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมเหล่านั้นไม่

พึงให้ผลแก่ผู้ตั้งอยู่ในกาลวิบัติ. แต่ว่า บุคคลนั้นเกิดในกาลสมบัติด้วยกัลยาณ-

กรรมอย่างหนึ่ง คือ ในกาลแห่งพระราชาทรงธรรม และมนุษย์ผู้ใจดี. กัลยาณ-

กรรมย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้เกิดนั้น เพราะการสำเร็จแห่งกาลเช่นนั้น ในข้อนี้

พึงทราบเรื่องของพระเถระ ชื่อว่า มหาโสณะ เป็นอุทาหรณ์.

เรื่องพระเถระ ชื่อว่า มหาโสณะ

ได้ยินว่า ภิกษุมีจำนวนหนึ่งหมื่นสองพันรูป อาศัยอยู่ที่จิตตลบรรพต

ซึ่งมีภัยแต่พราหมณ์ (ผู้เป็นโจร) ชื่อว่า ติสสะ. ในติสสะมหาวิหาร ก็เหมือน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 719

กัน. ในมหาวิหารแม้ทั้งสอง พวกหนูใหญ่ทั้งหลายพากันมากัดผ้าในเวลาราตรี

สิ้นเวลาสามปี แล้วนำไปไว้ที่สักว่ากองแกลบ. ภิกษุสงฆ์ที่จิตตลบรรพต คิดว่า

เราจักอาศัยผ้าในติสสมหาวิหาร จึงออกจากวิหารด้วยประสงค์ว่า เราไปแล้ว

จักอาศัยอยู่ในที่นั้น ดังนี้. ฝ่ายภิกษุสงฆ์แม้ในติสสมหาวิหาร ก็คิดว่า เรา

จักอาศัยผ้าในจิตตลบรรพต ออกจากวิหารด้วยประสงค์ว่า เราไปแล้วจักอาศัย

อยู่ในที่นั้น ดังนี้. ภิกษุแม้ทั้งสองพวกก็มาพบกันที่ฝั่งแห่งซอกเขาลึกแห่งหนึ่ง

จึงถามกันและกันแล้ว ทราบแล้วซึ่งความที่ผ้าเป็นของหมดสิ้นไปแล้ว ภิกษุ

ทั้งหมด ๒๔,๐๐๐ ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจักทำอย่างไร ดังนี้. หมู่แห่งภิกษุ

(บางพวก) ก็เข้าไปสู่ป่าอันเป็นซอกเขาลึก นั่งแล้วก็ปรินิพพานด้วยนิพพาน

ธาตุอันเป็นอนุปาทิเสสะ โดยกิริยาที่นั่งแล้วนั่นแหละ.

ภายหลัง ครั้นเมื่อภัยสงบแล้ว ภิกษุสงฆ์อาศัยท้าวสักกเทวราช แล้ว

รวบรวมพระธาตุทังหลายทำเป็นเจดีย์. แม้โจรแต่พราหมณ์ ชื่อว่า ติสสะ

ก็ทำลายชนบทแล้ว. สงฆ์ประชุมกัน ปรึกษาแล้ว จึงส่งพระเถระ ๘ รูปไป

สู่สำนักของท้าวสักกะว่า ขอพระองค์ จงห้ามโจร ดังนี้. ท้าวสักกเทวราช

ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โจรเกิดขึ้นแล้ว โยมไม่อาจเพื่อจะห้าม

ขอสงฆ์จงไปสู่ทางทะเลข้างหน้า โยมจักกระทำอารักขาสมุทร (ทะเล). สงฆ์

ไปสู่นาคทีปะแต่ทิศทั้งปวง ให้ผูกแพใหญ่ ๓ ชั้น ที่เมืองท่าชื่อชัมพุโกละ.

แพชั้นหนึ่งจมลงในน้ำ ภิกษุสงฆ์นั่งอีกชั้นหนึ่ง ตั้งบาตรและจีวรไว้อีกชั้น

หนึ่ง. พระเถระทั้ง ๓ รูป ผู้เป็นประธานบริษัทเหล่านั้น คือ พระจูฬสิว-

เถระ ผู้ชำนาญสังยุตตนิกาย อิสิทัตตเถระ และ มหาโสณเถระ. บรรดา

พระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปกล่าวเชิญ พระมหาโสณเถระ ว่า ข้า

แต่ท่านมหาโสณะผู้มีอายุ ท่านจงก้าวขึ้นแพใหญ่เถิด ดังนี้. พระมหาโสณเถระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 720

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ท่านเล่า. พระเถระทั้งสองกล่าวว่า ผู้มีอายุ

ความตายในน้ำก็ดี ความตายบนบกก็ดี ก็เท่ากันนั่นแหละ พวกเราจักไม่ไป

แต่ท่านอาศัยแพนั้นแล้ว จักดำรงสืบต่อพระศาสนาในอนาคต ผู้มีอายุ ท่าน

จงไปเถิด ดังนี้. พระมหาโสณเถระ แม้กล่าวถึง ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

เมื่อท่านทั้งสองไม่ไป กระผมจักไม่ไป เมื่อพระเถระทั้งสอง ไม่อาจยังพระ-

เถระให้ขึ้นแพ จึงพากันกลับแล้ว.

ลำดับนั้น พระจูฬสิวเถระ กล่าวกะ พระอิสิทัตตเถระว่า ผู้

มีอายุ อิสิทัตตะ ท่านอาศัยพระมหาโสณะแล้ว การสืบต่อแห่งพระศาสนาจัก

ตั้งอยู่ในอนาคต ท่านจงอย่าปล่อยมือจากพระโสณเถระ (หมายความว่า ให้

แนะนำสั่งสอน) พระอิสิทัตตเถระกล่าวกะพระจูฬสิวเถระว่า ก็ท่านเล่าขอรับ

ดังนี้ พระจูฬสิวเถระกล่าวว่า ผมจักไปไหว้มหาเจดีย์ ดังนี้. พระจูฬสิวเถระ

กล่าวสอนพระเถระทั้งสองแล้ว ก็เที่ยวจาริกไปโดยลำดับจนถึงมหาวิหาร.

ในสมัยนั้น มหาวิหารว่างเปล่าจากภิกษุสงฆ์. ต้นไม้ละหุ่งเกิดขึ้นที่ลานของ

พระเจดีย์. พระเจดีย์มีพุ่มไม้ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว มีสาหร่ายเกี่ยวพันแล้ว.

พระเถระไหว้มหาเจดีย์ราวกะแสดงความนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยัง

ทรงพระชนม์อยู่ แล้วเข้าไปสู่ศาลาทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก) เมื่อแลดู นั่งตรึก

อยู่ว่า ที่บรรจุพระสรีรธาตุของพระศาสดาผู้ถึงแล้วซึ่งความยิ่งใหญ่ด้วยลาภ-

สักการะด้วยยศอันยิ่งใหญ่ชื่อเห็นปานนี้ ไม่มีที่พึงแล้วหนอ ดังนี้.

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้อันไม่ไกลจากที่นั้น ถือเอาทะนาน

ข้าวสารและงบน้ำอ้อย ไปสู่สำนักของพระเถระ ด้วยรูปของมนุษย์ด้วยฤทธิ์

แล้วเรียนถามพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปที่ไหน ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 721

พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก อาตมาจักไปสู่ทิศทักษิณ (ใต้)

ดังนี้.

เทวดากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้กระผมก็ประสงค์จะไปในที่

นั้นนั่นแหละ เราจักไปพร้อมกัน ดังนี้.

พระเถระกล่าวว่า อาตมามีกำลังทราม จักไม่อาจเพื่อจะไปตาม

อัชฌาสัยของท่านได้ ท่านจงไปก่อนเถิด อุบาสก ดังนี้.

เทวดากล่าวว่า แม้กระผมก็จักไปตามอัชฌาสัยของพระคุณเจ้า ดังนี้

แล้วได้รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระมาถือไว้.

ก็ในกาลเป็นที่ขึ้นไปสู่สะพานอ่างเก็บน้ำชื่อว่า ติสสะ พระเถระให้

นำบาตรมาแล้วทำน้ำดื่ม เทวดาก็ได้ทำน้ำดื่มถวายแล้ว พอพระเถระมีกำลัง

ตั้งอยู่ในเหตุสักว่า การดื่มแล้วนั่นแหละ เทวดาย่นแผ่นดินให้ถึงวิหารร้าง

หลังหนึ่ง ในที่ใกล้ เวณุนที แล้วปัดกวาดสถานที่ถวายแด่พระเถระ. วันรุ่ง

ขึ้น พอพระเถระล้างหน้าเสร็จ เทวดาก็หุงข้าวยาคูถวาย เมื่อพระเถระดื่มยาคู

แล้ว เทวดาก็หุงภัตน้อมเข้าไป. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก ท่านจงตั้งไว้เพื่อ

ท่านเถิด แล้วเอามือปิดบาตร. เทวดากล่าวว่า กระผมจักไม่ไปไกล แล้วจึง

เอาภัตใส่ในบาตรของพระเถระนั่นแหละ เมื่อพระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว

เทวดาก็ถือเอาบาตรและจีวรเพื่อดำเนินไปสู่ทางที่จะไป ย่นแผ่นดินนำไปสู่สำนัก

แห่งชัชชรนที แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นที่สำหรับอยู่ของพวก

มนุษย์ผู้อาศัยใบไม้เป็นอยู่ ต้นไม้ย่อมปรากฏ กระผมจักไปข้างหน้า ดังนี้ ไหว้

พระเถระแล้ว ไปสู่ภพของตน. พระเถระอาศัยพวกมนุษย์ผู้อาศัยใบไม้

เป็นอยู่ อยู่แล้วตลอดกาลแห่งภัยแม้ทั้งปวง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 722

แม้ พระอิสิทัตตเถระ เมื่อจาริกไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงอฬชน-

บท. พวกมนุษย์ในชนบทนั้นผ่าผลมะซางซึ่งยังไม่สุกนัก ถือเอาเมล็ดในผล

แล้วทิ้งเปลือกได้ไปแล้ว. พระเถระกล่าวกะพระมหาโสณะว่า ดูก่อนท่านมหา-

โสณะ ภิกษาหารย่อมปรากฏแก่เรา ดังนี้ แล้วให้พระมหาโสณะนำบาตรและ

จีวรมา ห่มจีวรแล้ว ได้นำบาตรออกยืนอยู่แล้ว. หญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เห็น

พระเถระผู้ยืนอยู่ จึงคิดว่า ประโยชน์อะไร ๆ จักมีด้วยผลมะซางนี้ จึงนำผล

มะซางและเปลือกมะซางมาใส่ในบาตร แล้วได้ถวายแล้ว. พระเถระทั้งสองฉัน

แล้ว อาหารนั้นนั่นแหละได้เป็นไปตลอด ๗ วัน. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายส่ง

ข่าวเรื่องโจรมาโดยลำดับ. มนุษย์ผู้กลัวภัย ถือเอาดอกโกมุททั้งหลาย (ดอก

บัวขาว) ได้ทิ้งดอกโกมุททั้งหลายแล้วหนีไป. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อน

ท่านมหาโสณะ ภิกษาหารย่อมปรากฏแก่เรา ดังนี้ แล้วให้นำบาตรและจีวรมา

ห่มจีวรแล้วก็นำบาตรออกมายืนอยู่. ทาริกา (หญิงสาว) ในบ้านคนหนึ่ง ทำ

ความสะอาดก้านโกมุทแล้วใส่ในบาตรถวาย. พระเถระทั้งสองฉันก้านโกมุท

แล้ว. อาหารนั้นได้พอยังอัตภาพให้เป็นไป ๗ วัน พระเถระเมื่อเที่ยวไปโดย

ลำดับ ได้บรรลุถึงประตูบ้านหลังหนึ่งในที่อยู่แห่งมนุษย์ผู้อาศัยใบไม้เป็นอยู่.

มารดาและบิดาของทาริกาคนหนึ่งในบ้านนั้น เมื่อจะไปป่า ได้สั่งว่า

แน่ะแม่ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไร ๆ ย่อมมาในที่นี้ เจ้าจงอย่าให้ท่านไปในที่ไหน ๆ

จงบอกที่เป็นที่อยู่แก่พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้. ทาริกานั้น เห็นพระเถระทั้งสองแล้ว

จึงรับบาตรและนิมนต์ให้นั่ง. ขึ้นชื่อว่า ธัญชาติในบ้านไม่มีอยู่ ทาริกานั้น

จึงถือเอามีดไปทุบเปลือกต้นมะกล่ำและต้นกล้วยป่าพร้อมกับเครือเถาและใบผัก

มารวมกันทำให้เป็นก้อน ๓ ก้อน วางก้อนหนึ่งลงในบาตรของพระอิสิทัตตเถระ

วางก้อนหนึ่งลงบนบาตรของพระมหาโสณเถระ เหยียดมือออกไป ด้วยประสงค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 723

ว่า เราจักวางก้อนที่เกินลงในบาตรของพระอิสิทัตตเถระ แต่มือหมุนกลับไป

ใส่ลงในบาตรของพระมหาโสณเถระ. พระอิสิทัตตเถระกล่าวว่า กรรมอันให้

ซึ่งผล ในเพราะก้อนมะกล่ำและกล้วยป่า ในสมัยมีภัยแต่พราหมณ์ ชื่อว่า

ติสสะ จักปรากฏผลมีประมาณเพียงไร เพราะการถึงพร้อมแห่งเทศกาล ดังนี้

แล้วพระเถระทั้งสองก็ฉันก้อนเหล่านั้นด้วยกัน ได้ไปสู่ที่อยู่แล้ว. แม้ทาริกานั้น

ก็บอกมารดาและบิดาผู้มาจากป่าว่า พระเถระทั้งสองมาแล้ว และที่เป็นที่อยู่

เพื่อพระเถระทั้งสองนั้น ฉันก็บอกแล้ว ดังนี้. มารดาและบิดาแม้ทั้งสองนั้น

ไปสู่สำนักของพระเถระทั้งสอง ไหว้แล้วรับปฏิญาณ (ให้สัญญา) ด้วยคำว่า

ช้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกโยมย่อมได้ซึ่งสิ่งใดมา โยมก็จักบำรุงพระคุณเจ้าทั้งสอง

ด้วยสิ่งนั้น ดังนี้. แม้พระเถระทั้งหลายก็อาศัยชนเหล่านั้นอยู่แล้วตลอดกาลมี

ภัยทั้งปวง.

ครั้นเมื่อโจรชื่อติสสะผู้เป็นพราหมณ์ตายแล้ว ปิตุมหาราชก็ยังราชบุรุษ

ให้ยกฉัตรขึ้น. ภิกษุสงฆ์จากฝั่งสมุทรโน้น ฟังว่า ภัยสงบแล้ว ชนบทสมบูรณ์

แล้ว ดังนี้ ก็ข้ามมาด้วยเรือที่ท่าเรือชื่อว่ามหาติตถะ และได้ถามหา พระ-

มหาโสณเถระ ว่า พระมหาโสณเถระอยู่ที่ไหน ดังนี้ แล้วได้ไปสู่สำนักของ

พระเถระ. พระเถระ (มหาโสณเถระ) มีภิกษุสงฆ์ห้าร้อยเป็นบริวาร บรรลุ

ถึงวิหารชื่อ มัณฑลาราม ในบ้าน กาลกะ. ในสมัยนั้น มีตระกูลอาศัย

อยู่ในบ้านกาลกะ ๗๐๐ ตระกูล ในเวลากลางคืนเทวดาทั้งหลายเที่ยวไปบอกแก่

พวกมนุษย์ทั้งหลายว่า พระมหาโสณเถระผู้มีภิกษุเป็นบริวารห้าร้อยมาถึงมัณฑ-

ลารามวิหารแล้ว ขอชนบ้านหนึ่ง ๆ จงถวายอาหารบิณฑบาตอันเป็นของมีค่า

ควรแก่กหาปณะหนึ่ง ๆ กับด้วยผ้าสาฎกใหม่ ดังนี้. ก็ในวันรุ่งขึ้น พระเถระ

ทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านกาลกะ เพื่อบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายนิมนต์ให้นั่งแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 724

ได้ถวายยาคู. พระเถระ ชื่อว่า ติสสภูตะ ผู้อยู่ในมัณฑลารามเป็นสังฆเถระ

นั่งอยู่.

มหาอุบาสกคนหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้วเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญองค์ไหน ชื่อว่า มหาโสณะ ดังนี้. สมัยนั้น พระมหาโสณะเถระเป็นภิกษุ

ใหม่กว่าจึงนั่ง ณ ที่สุด พระสังฆเถระจึงชี้มือไปแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก

นั่นชื่อว่า มหาโสณะ ดังนี้ อุบาสกไหว้พระมหาโสณเถระนั้นแล้วขอรับบาตร

จากท่าน พระมหาโสณะไม่ให้. พระติสสภูตเถระ กล่าวว่า ดูก่อนท่านโสณะ

เธอย่อมไม่ทราบโดยอาการอย่างไร แม้เราก็ไม่ทราบโดยอาการอย่างนั้นนั่น

แหละ เทวดาทั้งหลาย ย่อมให้หุงภัตเพื่อผู้มีบุญทั้งหลาย เธอจงปล่อย (ให้)

บาตร จงทำการสงเคราะห์เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดังนี้. พระโสณะเถระ

ได้ให้บาตรแล้ว. มหาอุบาสกถือเอาบาตรไปแล้วให้เต็มด้วยอาหารบิณฑบาต

อันมีราคาควรแก่หนึ่งกหาปณะ และทำผ้าสาฎกใหม่รองบาตรแล้วนำมาวางไว้ที่

มือของพระเถระ. อุบาสกแม้อื่นอีกก็ตั้งอาหารบิณฑบาตและผ้าสาฎก รวม

อาหารบิณฑบาตและผ้าสาฎกอย่างละ ๗๐๐ แก่พระมหาโสณะเถระเท่านั้นได้

ถวายแล้ว.

พระมหาโสณเถระ กระทำการจัดแบ่งสิ่งเหล่านั้น แก่ภิกษุสงฆ์เรียบ

ร้อยแล้ว ก็ไปสู่มหาวิหารโดยลำดับ ครั้นบ้วนปากล้างหน้าแล้วก็ไหว้พระมหา

โพธิ์ ไหว้พระมหาเจดีย์ยืนอยู่ที่ ถูปาราม ห่มจีวรแล้วพาภิกษุผู้เป็นบริวาร

เข้าไปสู่พระนครโดยประตูด้านทักษิณ (ใต้) ได้อาหารบิณฑบาตอันมีราคาควร

แก่ ๖๐ กหาปณะในระหว่างนั้นจนถึงทางไปสู่ศาลา. จำเดิมแต่กาลนั้นมา

ประมาณแห่งเครื่องสักการะนับไม่ได้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 725

ก็ในกาลวิบัติ ซึ่งมีภิกษาอันหาได้โดยยาก แม้ผลและเปลือกมะซาง

แม้ก้านดอกโกมุทก็หาได้โดยยาก แต่ในกาลสมบัติ มีลาภมากมายเห็นปาน

นี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

เรื่องวัตตัพพกนิโครธเถระ*

ก็ภัยแต่โจรชื่อว่า ติสสะ ผู้เป็นพราหมณ์เกิดขึ้นในกาลแม้แห่ง

วัตตัพพกนิโครธเถระยังเป็นสามเณร. สามเณรและอุปัชฌาย์ของสามเณร

ไม่ได้ไปสู่สมุทรฝังโน้นแต่ได้มุ่งหน้าไปประเทศชายแดน ด้วยคิดว่า พวก

เราจักเข้าไปอาศัยมนุษย์ ผู้มีใบไม้เป็นอยู่ ดังนี้ สามเณรเป็นผู้ไม่มี

อาหารประมาณ ๗ วัน เห็นลูกตาลที่ต้นตาลในที่ใกล้บ้านแห่งหนึ่ง จึงกราบ

เรียนกะพระเถระว่า ขอท่านจงรอสักครู่ ผมจักให้ผลตาลตกลงมา ดังนี้.

พระอุปัชฌาย์ (พระเถระ) กล่าวว่าสามเณร เธอเป็นผู้มีกำลังทราม อย่าขึ้น

เลย ดังนี้. สามเณรกราบเรียนว่า. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักขึ้น ดังนี้ แล้ว

ถือมีดเล็กปีนขึ้นต้นตาล เริ่มเพื่อจะตัดพวงแห่งลูกตาล ใบมีดหลุดตกลงมาที่

พื้นดิน.

พระเถระคิดว่า สามเณรนี้ลำบากอยู่ ขึ้นต้นตาลแล้ว ใบมีดหลุดตก

ลงมา บัดนี้เขาจักทำอย่างไร ดังนี้. สามเณร ฉีกใบตาล ฉีกแล้ว ๆ ผูกด้ามมีด

หย่อนลงมา ๆ ให้ตกลงที่พื้นดิน แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ เป็นการ

ดีหนอ ถ้าว่าท่านพึงส่งใบมีดให้กระผมในที่นี้ ดังนี้. พระเถระคิดว่า สามเณร

เป็นผู้ฉลาดในอุบาย ได้ส่งใบมีดให้แล้ว. สามเณรนั้น ก็ใช้มีดตัดลูกตาลทั้ง

หลายให้ตกลง. สามเณรโยนมีดและลูกตาลลงมา กำลังจะเฉาะผลตาล พระเถระ

*. ชนทั้งหลายเรียกท่านว่าผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 726

กล่าวว่า สามเณร เธอมีกำลังทราม จงเคี้ยวกินผลตาลนี้ก่อน ดังนี้. สามเณร

เรียนว่า ท่านขอรับ เมื่อท่านยังไม่ฉันลูกตาลนี้ กระผมก็จักไม่ฉัน ดังนี้

แล้วจับมีดเฉาะผลตาล แล้วนำบาตรออกมาใส่จาวตาลถวายแก่พระเถระแล้ว

ตัวเองจึงเคี้ยวกิน. ผลแห่งตาลยังมี ทั้งสองนั้นก็ยังอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ เมื่อ

ผลตาลสิ้นแล้ว จึงไปสู่วิหารร้างหลังหนึ่ง ในที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ผู้อาศัย

ใบไม้เป็นอยู่.

สามเณรปัดกวาดที่สำหรับเป็นที่อยู่เพื่อพระเถระ. พระเถระได้ให้

โอวาทแก่สามเณร แล้วก็เข้าไปสู่วิหาร. สามเณรคิดว่า กำหนดประมาณ

อัตภาพทั้งหลายอันฉิบหายแล้ว ในเพราะสิ่งอันไม่ควร (ความอดอยาก) นับ

ไม่ได้ เราจักกระทำการบำรุงพระพุทธเจ้า จึงไปสู่ลานพระเจดีย์แล้วกระทำการ

ถอนหญ้าออกแล้ว ๆ สามเณรนั้นหวั่นไหวอยู่ เพราะความที่ตนไม่มีอาหาร

มา ๗ วัน จึงล้มลงไป นอนอยู่นั่นแหละก็ยังถอนหญ้า.

ก็มนุษย์พวกหนึ่ง เที่ยวไปอยู่ในป่า ได้รวงผึ้งแล้วก็ถือเอาไม้ฟืนทั้ง

หลายด้วยใบผักทั้งหลายด้วย ไปในที่ใกล้แห่งสามเณร ด้วยความสำคัญว่า

เอ ! นั่นเนื้อหรือหนอ ดังนี้ ครั้นเห็นแล้ว จึงถามว่า ดูก่อนสามเณร ท่าน

ทำอะไร ดังนี้. สามเณรตอบว่า ดูก่อนอุบาสก อาตมาถอนหญ้า ดังนี้.

พวกมนุษย์กล่าวว่า สามเณร ใคร ๆ แม้อื่นมีอยู่ในที่นี้หรือ ดังนี้. สามเณร

กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย มีพระอุปัชฌาย์ของเราอยู่ในห้อง ดังนี้.

อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงถวายสิ่งนี้แก่พระมหาเถระแล้วพึง

เคี้ยวกินเถิด ดังนี้. ครั้นแล้ว ก็ถวายรวงผึ้งแก่สามเณรและบอกซึ่งที่เป็นที่อยู่

ของพวกตน แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พวกเราเมื่อทำการหักกิ่งไม้

เสร็จแล้วก็จักกลับไป ขอสามเณรจงพาพระเถระมาด้วยเครื่องหมายนั้น ดังนี้

แล้วพากันกลับไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 727

สามเณรรับรวงผึ้งแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ยืนอยู่ในภายนอก กราบ

เรียนว่า ท่านขอรับ กระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระได้เป็นผู้นิ่ง ด้วย

คิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อันความหิวเผาผลาญแล้ว จึงมา สามเณรจึงกราบเรียน

อีกว่า ท่านขอรับกระผมขอนมัสการ ดังนี้. พระเถระ กล่าวว่า ดูก่อนสามเณร

เธอไม่ให้ภิกษุแก่นอนตามสบาย เพราะเหตุไร ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า ท่าน

ควรเปิดประตูขอรับ ดังนี้. พระเถระจึงลุกขึ้นเปิดประตู แล้วถามว่า สามเณร

เธอได้อะไรมา ดังนี้. สามเณรกล่าวว่า รวงผึ้ง ท่านควรเคี้ยวกินรวงผึ้ง อัน

มนุษย์ทั้งหลายถวายนา. พระเถระกล่าวว่า สามเณร เราจักลำบากเพื่อจะ

เคี้ยวกินอย่างนี้ จักทำให้เป็นของควรดื่มแล้วจักดื่ม สามเณรกระทำให้เป็นของ

ควรดื่ม แล้วถวายแก่พระเถระ.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เธอถามถึงที่อยู่ของ

มนุษย์หรือ. สามเณรกราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกมนุษย์บอกเอง

ขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร เมื่อเราไปตอนเช้า จักลำบาก เรา

จักไปวันนี้ทีเดียว แล้วให้สามเณรถือบาตรและจีวรออกไป. ทั้งสองนั้นไป

แล้ว อาศัยอยู่ในที่อันไม่ไกลจากที่เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์. ในเวลาแห่งราตรี

สามเณรคิดว่า จำเดิมแต่เราบวชแล้ว ชื่อว่าอรุณภายในบ้าน (ในที่แห่งเดียว

กับพระเถระ) เราไม่เคยให้ขึ้นไปแล้ว จึงถือเอาบาตรออกไปสู่ป่า. พระมหา-

เถระ เมื่อไม่เห็นสามเณรในที่เป็นที่นอน จึงคิดว่า สามเณรจักเป็นผู้อัน

มนุษย์ผู้กินคนจับไปแล้ว ดังนี้. สามเณร ยังอรุณให้ตั้งขึ้นในป่าแล้ว ถือเอา

น้ำและไม้สีฟันกลับมา. พระเถระถามว่า สามเณร เธอไปไหน ทำให้เกิด

วิตกแก่ภิกษุผู้แก่ เธอจงนำมาซึ่งทัณฑกรรม (จงรับทัณฑกรรม). สามเณร

ตอบว่า กระผมจะนำทัณฑกรรมมา (หมายถึงจะประพฤติการอย่างใดอย่างหนึ่ง

เป็นการลงโทษตัวเอง). พระเถระล้างหน้าแล้ว ห่มจีวรแล้ว. แม้ท่านทั้งสอง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 728

ได้พากันไปสู่ที่เป็นที่อยู่แห่งมนุษย์ทั้งหลาย. แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ได้ถวายอาหาร

มีเผือก ผลไม้ ใบไม้อันเป็นเครื่องบริโภคของตน. พระเถระฉันเสร็จแล้ว

ไปสู่วิหาร. สามเณรนำน้ำมาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักล้าง

เท้าของท่าน (เป็นการทำทัณฑกรรม) ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนสามเณร

เธอไปไหนในเวลากลางคืน ทำให้เรามีวิตกเกิดขึ้น ดังนี้. สามเณรกราบเรียน

ว่า ท่านขอรับ กระผมไม่เคยให้อรุณตั้งขึ้นในบ้านเดียวกันกับท่าน ด้วยเหตุ

นี้ จึงได้ไปสู่ป่า เพื่อต้องการให้อรุณตั้งขึ้น ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อน

สามเณร ทัณฑกรรมไม่สมควรแก่เธอ สมควรแก่เรา ดังนี้แล้วอยู่ในที่นั้น

นั่นแหละ. อนึ่ง พระเถระได้ให้ซึ่งความหมายรู้แก่สามเณรไว้ว่า เราเป็นคน

แก่ ชื่อว่า สิ่งนี้ (ความตาย) จักมีก่อน เพราะฉะนั้น ความตายนั้น ใครๆไม่

ไม่อาจเพื่อจะรู้ เธอจงรักษาตน ดังนี้. ได้ยินว่า พระเถระเป็นพระอนาคามี.

ในกาลอื่นอีก พวกมนุษย์กินคนจับพระเถระกินเป็นอาหารแล้ว.

สามเณร รักษาตนได้ ครั้นเมื่อภัยสงบแล้ว ก็ถือเอาพระอุปัชฌาย์

ในที่เช่นนั้น อุปสมบทแล้วเรียนพระพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก มหา-

ชนจึงเรียกว่าวัตตัพพกนิโครธเถระ (แปลว่า พระเถระผู้มั่นคงดังต้นนิโครธ)

เกิดขึ้นแล้ว. ปิตุมหาราช ทรงครองราชสมบัติแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ

จากฝั่งสมุทรโน้น ถามว่า พระเถระชื่อว่า วัตตัพพกะนิโครธไปไหน ดังนี้

แล้วก็ไปสู่สำนักของวัตตัพพกนิโครธนั้น หมู่แห่งภิกษุใหญ่แวดล้อมท่านแล้ว

พระเถระนั้นผู้อันภิกษุหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้วไปสู่มหาวิหาร ไหว้มหาโพธิ์ไหว้

มหาเจดีย์ และถูปาราม โดยลำดับ แล้วเข้าไปสู่พระนคร. ไตรจีวรในที่ทั้ง

สามเกิดขึ้นแก่พระเถระผู้กำลังเป็นไปนั่นแหละ ตั้งแต่ประตูด้านทิศทักษิณ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 729

ในกาลวิบัติ มีภิกษาหาได้โดยยาก แม้แต่ผลตาล เผือกมันและ

ใบไม้ แต่ในกาลสมบัติ มหาลาภเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมทั้งหลาย

ไม่อาจเพื่อให้ผล เพราะกาลวิบัติห้ามไว้อย่างนี้ แต่ย่อมให้ผลใน

กาลสมบัติ ดังนี้.

กัลยาณกรรมจำนวนมาก มีอยู่แก่บุคคลแม้อื่นอีก กรรมนั้นไม่พึง

ให้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในปโยควิบัติ. แต่บุคคลนั้น ตั้งอยู่เฉพาะในสัมมาปโยคะ

(ความเพียรโดยชอบ) ด้วยกัลยาณกรรมอย่างหนึ่ง คือ ย่อมบำเพ็ญสุจริต ๓ ย่อม

รักษาศีล ๕ ศีล ๑๐ เมื่อบุคคลเกิดในกาลสมบัติ เป็นพระราชาทั้งหลายผู้ประ-

กอบด้วยเครื่องประดับทั้งปวง กรรมนั้นย่อมส่งราชกัญญาทั้งหลายอันสมควร

แก่พระราชานั้น ย่อมส่งซึ่งบรรณาการนั้น ๆ อันต่างด้วยสิ่งมีค่า มียานพาหนะ

แก้วมณี ทองคำ และเงิน เป็นต้น ให้. แม้เขาถึงการบรรพชา ย่อมมียศ

ใหญ่ มีอานุภาพใหญ่. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์

เรื่องพระเจ้ากูฏกัณณราช

ได้ยินว่า พระเจ้ากูฏกัณณราช ทรงรักใคร่ พระจูฬสุธัมมเถระ

ผู้อาศัยอยู่ในกัณณคาม ใกล้ภูเขา. พระราชานั้น เมื่อประทับอยู่ใกล้หนองน้ำ

มีดอกอุบล (ในอุปปลวาปี) รับส่งให้นิมนต์พระเถระมา. พระเถระมาแล้ว

อาศัยอยู่ในวิหารชื่อว่ามาลาราม. พระราชาตรัสถามมารดาของพระเถระว่า

พระเถระย่อมพอใจในอาหารประเภทไหน ดังนี้. มารดาของพระเถระ ทูลว่า

ข้าแต่มหาราช พระเถระพอใจในเผือก ดังนี้. พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษถือ

เผือกไปสู่วิหาร เมื่อถวาย ไม่อาจเพื่อจะทอดพระเนตรดูหน้าของพระเถระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 730

ครั้นเสด็จออกจากวิหารแล้ว ตรัสถามพระเทวี ณ ภายนอกบริเวณวิหารว่า

พระเถระเป็นเช่นไร ดังนี้. พระเทวีทูลว่า พระองค์เป็นชายไม่อาจเพื่อจะ

ทอดพระเนตร หม่อมฉันจักอาจอย่างไร ทั้งหม่อมฉันก็ไม่ทราบว่าท่านเป็น

เช่นไร ดังนี้. พระราชาไม่อาจเพื่อทอดพระเนตรแม้แต่บุตรของคหบดีผู้ถวาย

เครื่องสังเวยในแว่นแคว้นของพระองค์ การนับถือศาสนาของพระองค์ เป็น

เพียงดีดพระหัตถ์ ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าพระศาสนาเป็น

ของใหญ่หนอ ดังนี้. พระราชาย่อมทรงพอพระทัยแม้พระเถระ ชื่อว่า

จูฬนาคผู้ทรงพระไตรปิฎก.

ครั้งหนึ่งต่อมา ฝีตั้งขึ้นที่นิ้วของพระเถระนั้น พระราชาเสด็จไปสู่

วิหาร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักเยี่ยมพระเถระ ดังนี้. ด้วยความรักที่มีกำลัง

จึงใช้พระโอษฐ์ดูดหัวฝีที่นิ้วของพระเถระ ฝีแตกแล้วในพระโอษฐ์นั่นแหละ

ไม่ทรงบ้วนบุพโพโลหิต (น้ำเลือดน้ำหนอง) ออก ได้ทรงกลืนเข้าไปแล้ว

ราวกะว่าน้ำอมฤต ด้วยความรักในพระเถระ. ในกาลอื่นอีก พระเถระนั้น

นั่นแหละ อาพาธหนักนอนบนเตียงมรณะ พระราชาเสด็จไปแล้วทรงเอาศีรษะ

ซบลงที่เตียงมรณะอันไม่สะอาด ทรงร้องคร่ำครวญอยู่ว่า เพลาเกวียน คือ

พระธรรม ย่อมแตก ดังนี้ แล้วเสด็จไป.

ชื่อว่า การยกศีรษะซบลงที่เตียงอันไม่สะอาด แล้วร้องคร่ำครวญ

เที่ยวไปตามทาง ทางนั้นจะเป็นทางไปของใคร. ตอบว่าเป็นทางไปของผู้

ประกอบโดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า กัลยาณกรรมไม่อาจ

เพื่อให้ผล ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะปโยควิบัติห้ามไว้ แต่ย่อมให้

ผลเพราะอาศัยปโยคสมบัติ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 731

กัลยาณกรรมอันวิบัติ ๔ ห้ามไว้ไม่ให้ผล แต่ย่อมให้ผล เพราะ

อาศัยสมบัติ ๔ ประการฉะนี้ ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทำอุปมาให้แจ่มแจ้ง ใน

เรื่องต่อไปนี้.

อุปมาด้วยอำมาตย์

ได้ยินว่า มหาราชาพระองค์หนึ่ง ทรงกริ้วอำมาตย์คนหนึ่ง ด้วย

เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งมีประมาณเล็กน้อย จึงให้จองจำอำมาตย์นั้นในเรือนจำ

ญาติทั้งหลายของอำมาตย์นั้นทราบความที่พระราชาทรงพิโรธแล้ว พวกเขาไม่

กล่าวคำอะไรๆ ครั้นพระราชาทรงปราศจากความพิโรธแล้ว จึงขอให้พระราชา

ทรงทราบถึงความที่อำมาตย์นั้นไม่มีความผิด พระราชาทรงให้ปล่อยแล้ว ทั้ง

ให้พระราชทานตำแหน่งแก่อำมาตย์นั้นให้กลับเป็นปกติ. ทีนั้น ประมาณแห่ง

เครื่องบรรณาการทั้งหลายก็มาสู่อำมาตย์นั้นนับไม่ได้ จนไม่อาจเพื่อจะรับ.

ในข้อนั้น กาลที่ปุถุชนเกิดในนรก พึงทราบว่า เปรียบ

เหมือนกาลที่อำมาตย์นั้นถูกพระราชาทรงกริ้วด้วยเหตุสักว่าเล็กน้อย

แล้วให้จองจำในเรือนจำ. ต่อมา กาลที่ปุถุชนนั้นเกิดในสวรรค์ พึง

ทราบว่า เปรียบเหมือนกาลที่ญาติทั้งหลายของอำมาตย์นั้นให้พระ-

ราชาทรงทราบความที่อำมาตย์นั้น ไม่ผิด ให้ปล่อยจากเรือนจำ และ

กระทำฐานันดรให้กลับเป็นปกติ. การที่กัลยาณกรรมทั้งหลายอาศัย

สมบัติทั้ง ๔ แล้วให้ผลอันเป็นสุข แม้ตั้งแสนแห่งกัป อันนำไป

สู่ที่อันเป็นสุข แต่ที่นี้ไปสู่ที่โน้น คือ นำมาสู่มนุษยโลกจากเทวโลก

นำไปสู่เทวโลกจากมนุษยโลก แล้วให้ถึงพระนิพพาน บัณฑิตพึง

ทราบว่า เปรียบเหมือนกาลที่อำมาตย์นั้นไม่สามารถเพื่อจะรับเครื่อง

บรรณาการอันมากมาย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 732

กรรมในปฏิสัมภิทามรรค

บัณฑิต ครั้งแสดงกำลังข้อที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งพระบาลีด้วยอาการ

อย่างนี้ก่อนแล้ว พึงแสดงโดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคนี้ว่า อโหสิ กมฺม

อโหสิ กมฺมวิปาโก ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น อโหสิ กมฺม (แปลว่า

กรรมได้มีแล้ว) ได้แก่ กรรมอันสั่งสมแล้วในอดีต ก็ได้มีแล้วในอดีตนั่นแหละ

และคำว่า อโหสิ กมฺมวิปาโก (แปลว่า กัมมวิบากคือผลของกรรม

ได้มีแล้ว) นี้ ท่านกล่าวไว้หมายเอาวิบากอันให้ผลแล้วในอดีตนั้น ก็บรรดา

กรรมทั้งหลายแม้มาก มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น (กรรมให้ผลใน

ภพปัจจุบัน) กรรมอย่างหนึ่งให้ผลในภพปัจจุบันแล้ว กรรมที่เหลือย่อมไม่

ให้ผล. กรรมอย่างหนึ่งให้ผลเป็นอุปปัชชเวทนียะให้ปฏิสนธิแล้ว กรรมที่

เหลือทั้งหลายย่อมไม่ให้ผล. กรรมอย่างหนึ่งให้เกิดในนรกด้วยอนันตริยกรรม

หนึ่งแล้ว กรรมทั้งหลายที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. บรรดาสมาบัติ ๘ สมาบัติหนึ่ง

ให้ผลเกิดในพรหมโลก กรรมที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า

กัมมวิบากไม่ได้มีแล้ว ซึ่งหมายเอาคำดังกล่าวนี้.

อนึ่ง บุคคลใดทำกรรมอันเป็นกุศลและอกุศลแม้มาก อาศัยกัลยาณ-

มิตรแล้วย่อมบรรลุพระอรหัตได้ ดังนั้น กัมมวิบากนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้มี

แล้วแก่พระอรหันต์นั้น. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในอดีต ย่อมให้ผลในภพนี้

กรรมนั้นชื่อว่า ได้มีแล้ว แต่ชื่อว่า กัมมวิบาก ยังมีอยู่. กรรมใดย่อมถึงซึ่ง

ความเป็นอวิบาก (คือไม่ให้ผล) โดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นได้มีแล้ว

ชื่อว่ากัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้ว ในอดีตจักให้ผลในอนาคต

กรรมนั้นได้มีแล้ว ชื่อว่ากัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักปรากฏเป็นอวิบากโดย

นัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นได้มีแล้ว ชื่อว่ากัมมวิบาก จักไม่มี. กรรมใดอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 733

สั่งสมในภพนี้ จะให้ผลในภพนี้นั่นแหละ กรรมนั้นย่อมมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบาก

ก็มีอยู่ กรรมใดย่อมปรากฏเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่

ชื่อว่ากัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในภพนี้จักให้ผลในอนาคต

กรรนนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักถึงความเป็นอวิบากโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี. กรรมใดแม้ตัวเองเป็น

อนาคต แม้วิบากของกรรมนั้นก็เป็นอนาคต กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากก็

จักมี. กรรมใดตัวเองจักมี จักถึงความเป็นอวิบาก (ไม่ให้ผล) โดยนัยก่อน

นั่นแหละ กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี.

คำว่า อิท ตถาคตสฺส (แปลว่า นี้เป็นกำลังของพระตถาคต) นี้

บัณฑิตพึงทราบ ญาณเครื่องกำหนดรู้ความแตกต่างแห่งกรรมและวิบากของ

พระตถาคต โดยอาการแม้ทั้งปวงเหล่านั้นชื่อว่าเป็นกำลังข้อที่ ๒ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว ดังนี้.

นิทเทสแห่งกำลังที่สอง จบ

อธิบายญาณอันเป็นกำลังข้อที่ ๓

คำว่า ทาง (มรรค) หรือว่า ปฏิปทา นี้ เป็นชื่อของกรรมนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิรยคามินี (แปลว่า ไปสู่นรก) เป็นต้น ชื่อว่า

นรก เพราะอรรถว่าที่เป็นที่ไม่ชอบใจ และเพราะอรรถว่าที่เป็นที่อันหาความ

ยินดีมิได้. ชื่อว่า เดรัจฉาน เพราะอรรถว่า เคลื่อนไหวอัตภาพไปตาม

ขวาง ไม่เหยียดตรงขึ้นไป. เดรัจฉานนั่นแหละ ชื่อว่า กำเนิดสัตว์เดรัจ-

ฉาน. ชื่อว่า เปรต (ปิตติ) เพราะความเป็นผู้ละไปแล้ว อธิบายว่า เพราะ

ความที่ตนละโลกนี้ไปแล้ว. เปรตนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตติวิสัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 734

ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความเป็นผู้มีใจสูง. มนุษย์นั่นแหละ ชื่อว่า

มนุษยโลก ชื่อว่า เทวะ (เทพ) เพราะอรรถว่า ย่อมรื่นเริงมีประมาณ

มากมายด้วยเบญจกามคุณ หรือว่าด้วย สมบัติเป็นเหตุ. เทวะ (เทพ) นั่นแหละ

ชื่อว่า เทวโลก. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า วานะ

(เครื่องร้อยรัด ) วานะนั้น ย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะเหตุนั้น ที่นั้น

จึงชื่อว่า นิพพาน. ชื่อว่า (ทาง) ไปสู่นรก เพราะอรรถว่าย่อมเคลื่อน

ไปสู่นรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาทางนี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

พระตถาคต ย่อมทรงทราบปฏิปทาแม้ทั้งปวงนี้ อย่างไร. ?

ก็เมื่อชนทั้งหลายแม้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกันปลงสุกรตัวหนึ่ง หรือ

เนื้อตัวหนึ่งลงจากชีวิต (ฆ่า) เจตนาแม้ของชนทั้งหมด ย่อมมีชีวิตนทรีย์ของ

สัตว์อื่นเป็นอารมณ์ทุกคน แต่ว่ากรรมนั้น ของบุคคลเหล่านั้นย่อมแตกต่าง

กัน ในเพราะความพยายามนั่นแหละ. เพราะว่า ในชนเหล่านั้น คนหนึ่ง

มีความพอใจเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำการฆ่าด้วยความเอาใจใส่. คนหนึ่งย่อมกระ-

ทำ เพราะถูกผู้อื่นบีบคั้นด้วยคำว่า เธอจงมา เธอจงทำการฆ่า ดังนี้. คน

หนึ่งไม่ขัดขวางการฆ่าอยู่ เที่ยวไป เป็นราวกะว่า มีความพอใจด้วย (เสมอ

กัน). ในชนเหล่านั้น คนหนึ่งย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมนั้นนั่นแหละ. คนหนึ่ง

ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน. คนหนึ่งย่อมเกิดในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต).

พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดในนรก ผู้นี้จัก

เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเกิดในปิตติวิสัย เพราะความที่

บุคคลนั้น พยายามแล้วด้วยกิริยาอาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่น

แหละ ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า บรรดาบุคคลทั้งหลายแม้เมื่อจะเกิด

ในนรก ผู้นี้จักเกิดในมหานรก ๘ ขุม ผู้นี้จักเกิดในอุสสัททะ (นรก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 735

ที่เบียดเสียดยักเยียด) ๑๖ ขุม ดังนี้ ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้จะไป

เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ผู้นี้จักเป็นสัตว์ไม่มีเท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์

๒ เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์ ๔ เท้า ผู้นี้จักเป็นสัตว์มีเท้ามาก ดังนี้ ย่อม

ทรงทราบว่า แม้ผู้จะไปเกิดในปิตติวิสัย ผู้นี้จักเป็นนิชฌามตัณหิก-

เปรต (เปรตผู้ถูกความอยากเผาผลาญ) ผู้นี้จักเป็นขุปปิปาสิกเปรต

(เปรตผู้หิวกระหาย) ผู้นี้จักเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต (เปรตผู้อาศัย

ทานของผู้อื่นเลี้ยงชีวิต) ดังนี้. ย่อมทรงทราบว่า ในบรรดากรรม

เหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (คือให้ปฏิสนธิ ) กรรม

นี้มีกำลังทรามจักมีผลผูกพันเพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในบ้านทั้งสิ้น ร่วมกัน ถวายอาหาร

บิณฑบาตก็เหมือนกัน คือว่าเจตนาของชนแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีอาหาร

บิณฑบาตเป็นอารมณ์ทั้งนั้น. แต่ว่า กรรมนั้น ของบุคคลเหล่านั้น ย่อม

แตกต่างกันโดยนัยก่อนนั่นแหละ ในขณะแห่งความพยายาม. ในชนเหล่านั้น

บางคน (บางพวก) ย่อมเกิดในเทวโลก บางคนย่อมเกิดในมนุษยโลก.

พระตถาคต ย่อมทรงทราบว่า บุคคลผู้นี้จักเกิดในมนุษยโลก

ผู้นี้จักเกิดในเทวโลก เพราะความที่ผู้นั้น พยายามแล้ว ด้วยกิริยา

อาการนี้ ในขณะแห่งความเพียรนั่นแหละ ดังนี้.

ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในเทวโลก ผู้นี้จักเกิด

ในปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหลาย (ชั้น ๖) ผู้นี้จักเกิดในนิมมานรดีทั้ง-

หลาย (ชั้น ๖) ผู้นี้จักเกิดในดุสิตทั้งหลาย (ชั้น ๔) ผู้นี้จักเกิดใน

ยามาทั้งหลาย (ชั้น ๓) ผู้นี้จักเกิดในดาวดึงส์ทั้งหลาย (ชั้น ๒) ผู้

นี้จักเกิดในจาตุมหาราชิกาทั้งทลาย (ชั้น ๑) ผู้นี้จักเกิดในภุมมเทพ

ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวราชผู้ประเสริฐสุด

ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้มีตำแหน่งที่ ๒ ที่ ๓ ของเทวราชนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 736

ย่อมทรงทราบว่า แม้บรรดาผู้ที่จะเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย ผู้

นี้จักเกิดในขัตติยตระกูล ผู้นี้จักเกิดในตระกูลพราหมณ์ ...ในตระกูล

พ่อค้า (แพศย์)... ในตระกูลศูทร.

ย่อมทรงทราบว่า บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ผู้นี้จักเกิดเป็น

พระราชา ผู้นี้จักเกิดเป็นผู้รับใช้พระราชาซึ่งมีตำแหน่งที่ ๒ หรือ ๓

ดังนี้.

ย่อมทรงทราบว่า บรรดากรรมเหล่านั้น กรรมนี้จักไม่อาจ

เพื่อคร่ามาซึ่งปฏิสนธิ (ให้กำเนิด) กรรมนี้มีกำลังทราม จักให้ผล

ผูกพัน เพราะปฏิสนธิอันกรรมอื่นให้แล้ว ดังนี้.

อนึ่ง เมื่อบุคคลเหล่านั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่นั่นแหละ และมีวิปัสสนา

อันปรารภแล้วโดยกิริยาอาการอันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ผู้นี้จักบรรลุพระ-

อรหัต ผู้นี้จักไม่อาจเพื่อบรรลุพระอรหัต ผู้นี้จักเป็นพระอนาคามี

เท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระสกทาคามีเท่านั้น ผู้นี้จักเป็นพระโสดาบัน

เท่านั้น แต่บุคคลนี้จักไม่อาจเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล ผู้นี้จัก

ตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีเพียงลักษณะเป็นอารมณ์ ผู้นี้จักตั้งอยู่ใน

ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณที่กำหนดรู้ซึ่งปัจจัยเท่านั้น ) ผู้นี้จักตั้งอยู่

ในนามรูปปริตตญาณ (ญาณที่กำหนดรู้นามและรูป) เท่านั้น ผู้นี้

จักตั้งอยู่ในอรูปปริคคหญาณเท่านั้น ผู้นี้จักตั้งอยู่ในรูปปริคคหญาณ

เท่านั้น ผู้นี้จักกำหนดได้เพียงมหาภูตะเท่านั้น ผู้นี้ไม่อาจเพื่อกำหนด

อะไร ๆ ได้เลย ดังนี้.

แม้เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลาย กระทำกสิณบริกรรมอยู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ก็กสิณบริกรรมของผู้นี้ จักเป็นไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 737

เพียงบริกรรมเท่านั้น จักไม่อาจเพื่อให้นิมิตเกิดขึ้น ผู้นี้จักอาจเพื่อ

ให้นิมิตเกิดขึ้น แต่จักไม่อาจเพื่อให้อัปปนาเกิดขึ้น ผู้นี้จักบรรลุ

อัปปนาแล้วกระทำฌานให้เป็นบาท เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วจักถือเอา

พระอรหัต ดังนี้ แล.

นิทเทสแห่งกำลังที่ ๓ จบ

อธิบายกำลังข้อที่ ๔

คำว่า ขนฺธนานตฺต (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์) อธิบาย

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเหตุต่าง ๆ แห่งขันธ์ ๕ อย่างนี้ว่า นี้

ชื่อว่า รูปขันธ์ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ดังนี้. ในบรรดาขันธ์แม้

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความที่ขันธ์หนึ่ง ๆ แตกต่างกัน

อย่างนี้ คือ รูปขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ รูปขันธ์มี ๑๑ อย่าง เวทนาขันธ์มี

อย่างเดียว ฯลฯ เวทนาขันธ์มีมากอย่าง, สัญญาขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สัญญา-

ขันธ์มีมากอย่าง, สังขารขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ สังขารขันธ์มีมากอย่าง วิญญาณ

ขันธ์มีอย่างเดียว ฯลฯ วิญญาณขันธ์มีมากอย่าง ดังนี้.

คำว่า อายตนนานตฺต (แปลว่า ความเป็นต่าง ๆ แห่งอายตนะ) นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความแตกต่างกันแห่งอายตนะ อย่างนี้ว่า

นี้ ชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ในอายตนะเหล่านั้น

กามาวจรมี ๑๐ อายตนะ อายตนะอันเป็นไปในภูมิ ๔ มี ๒ อายตนะ ดังนี้.

คำว่า ธาตุนานตฺต (แปลว่า ความเป็นต่างกันแห่งธาตุ) อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบความต่างกันแห่งธาตุ อย่างนี้ว่า นี้ ชื่อว่า

จักขุธาตุ ฯลฯ นี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. ในธาตุเหล่านั้นกามาวจรธาตุมี

๑๖. ธาตุอันเป็นไปในภูมิ ๔ มี ๒ ธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 738

คำว่า อเนกธาตุ นานาธาตุ โลก (แปลว่า โลกธาตุเป็นอเนกธาตุ

เป็นนานาธาตุ) อีกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาเพื่อแสดงว่า พระตถาคต

ย่อมทรงทราบความเป็นต่างกันแห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารนี้เพียงอย่างเดียว

เท่านั้นก็หาไม่ ย่อมทรงทราบแม้ความต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร

ด้วยนั่นแหละ ดังนี้.

ก็พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย และพระอัครสาวกทั้งสองย่อมทรงทราบ

ความเป็นต่างกันแม้แห่งโลก คือ อุปาทินนกสังขารโดยเอกเทศ (โดยส่วนหนึ่ง)

เท่านั้น ย่อมไม่ทราบโดยพิศดาร (คือ โดยไม่เหลือ) และไม่ทราบความ

ต่างกันแห่งอนุปาทินนกสังขาร. ส่วนพระสัพพัญญูพุทธะ ย่อมทรงทราบความ

เป็นต่างกันแห่งโลก คือ อนุปาทินนกสังขาร อย่างนี้ว่า ลำต้นแห่งต้นไม้นี้ย่อม

มีสีขาว เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ลำต้นแห่งต้นไม้นี้มีสีดำ ... ลำต้นแห่งต้นไม้

นี้มีเปลือกเกลี้ยง... ลำต้นของต้นไม้นี้มีเปลือกหนา... ลำต้นของต้นไม้นี้มี

เปลือกบาง เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ใบของต้นไม้นี้มีรูปอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่ง

สีและสัณฐานเป็นต้น เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก ผลของต้นไม้นี้มีสีเขียว เพราะมี

ธาตุชื่อนี้มาก มีสีเหลือง.. . มีสีแดง. . . มีสีขาว . . . มีกลิ่นหอม . . . มีกลิ่น

เหม็น... มีผลเล็ก.. . มีผลใหญ่ ... มีผลยาว. .. มีผลสั้น ... มีผลกลม. ..

มีสัณฐานดี . . . มีสัณฐานทราม...มีผลเกลี้ยง...มีผลหยาบ.. .มีกลิ่นหอม .. .

มีกลิ่นเหม็น... มีรสหวาน . . . มีรสขม. .. มีรสเปรี้ยว . . . มีรสเผ็ด

มีรสฝาด เพราะมีธาตุชื่อนี้มาก และหนามของต้นไม้นี้แหลม มีหนามไม่

แหลม มีหนามตรง มีหนามคด มีสีแดง มีสีดำ มีสีเขียว มีสีขาว เพราะ

มีธาตุชื่อนี้มาก ดังนี้ เพราะว่า ญาณข้อนี้เป็นกำลังแห่งพระสัพพัญญูพุทธะ

เท่านั้น ไม่เป็นกำลังของชนทั้งหลายเหล่าอื่น ดังนี้ แล.

อธิบายกำลังข้อที่ ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 739

อธิบายกำลังข้อที่ ๕

คำว่า หีนาธิมุตฺติกา ได้แก่ อัธยาศัยอันเลวทราม. คำว่า ปณีตา-

ธิมุตฺติกา ได้แก่ มีอัธยาศัยอันดี. คำว่า เสวนฺติ ได้แก่ (ย่อมคบหา

สมาคม) ย่อมอาศัย ย่อมติดใจ. คำว่า ภชนฺติ ได้แก่ การเข้าไปใกล้.

คำว่า ปยิรุปาสนฺติ ได้แก่ การเข้าไปหาบ่อย ๆ จริงอยู่ ถ้าว่าพระอาจารย์

และอุปัชฌาย์ไม่มีศีล สัทธิวิหาริก (ผู้อยู่ร่วม) มีศีล สัทธิวิหาริกเหล่านั้น

ย่อมไม่เข้าไปใกล้แม้ในอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน ย่อมเข้าไปใกล้ในภิกษุผู้

สมควรเช่นกับคนเท่านั้น. ถ้าว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์คนใดเป็นผู้มีศีล สัทธิ-

วิหาริกไม่มีศีล ก็ย่อมไม่เข้าไปใกล้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมเข้าไปใกล้ภิกษุผู้มี

อัธยาศัยเลวเช่นกับตนเท่านั้น. ก็การเข้าไปคบทาสมาคมด้วยอาการอย่างนี้ ไม่

มีในกาลบัดนี้เท่านั้น เพื่อแสดงว่า มีแล้วแม้แต่ในอดีตกาล และจักมีใน

อนาคตกาล ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตีตมฺปิ

อทฺธาน เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ถามว่า บุคคลผู้ทุศีลคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลด้วยกัน บุคคลผู้มีศีลคบ

หาสมาคมกับผู้มีศีลด้วยกัน ผู้มีปัญญาทรามคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาทรามด้วย

กัน บุคคลผู้มีปัญญาดีคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาดีด้วยกันเท่านั้น. อะไรย่อม

กำหนด ?

ตอบว่า อัชฌาสยธาตุ (ความพอใจอันเป็นมูลเดิม) ย่อมกำหนด.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนมาก ย่อมเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง เป็น

การไปเพื่อภิกษาเป็นคณะ. พวกมนุษย์นำอาหารจำนวนมากใส่บาตรให้เต็มถวาย

แล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า ขอท่านทั้งหลายจงฉันอาหารตามส่วนของท่านทั้งหลาย

ดังนี้. แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกมนุษย์ย่อมประกอบการ

งานอันประกอบพร้อมด้วยธาตุ (ความพอใจ) ดังนี้. แม้พระเถระชื่อว่า จูฬาภัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 740

ผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไปพร้อมกับภิกษุห้าร้อย เพื่อไหว้พระเจดีย์ในนาค-

ทีปะ ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายในบ้านหนึ่งนิมนต์แล้ว ก็ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่ง

เป็นผู้ไม่เหมาะสมไปกับพระเถระมีอยู่ และในวิหารใกล้เคียงก็มีภิกษุผู้ไม่เหมาะ

สมรูปหนึ่ง ครั้นเมื่อภิกษุทั้งสองเข้ามาสู่บ้าน ชนเหล่านั้น แม้ทั้งสอง คือ ภิกษุ

ผู้อาศัยอยู่ก่อนกับอาคันตุกภิกษุ ซึ่งไม่เคยเห็นอาคันตุกภิกษุมาก่อน ทั้งอาคัน-

ตุกภิกษุก็ไม่เคยเห็นภิกษุผู้มาก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น แม้มีอยู่ ภิกษุ

ทั้งสองนั้นก็เข้ากันได้ ต่างคนก็หัวเราะแล้ว หัวเราะแล้ว ได้ยืนคุยกันอยู่ ณ

ที่สมควรส่วนข่างหนึ่ง พระเถระเห็นแล้ว จึงกล่าวว่า ธาตุสังยุค (หมายถึง

การประกอบพร้อมด้วยความพอใจอันเป็นมูลเดิม) อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ทรงทราบ ตรัสไว้แล้ว ดังนี้

ครั้นกล่าวว่า ธาตุ คือ อัธยาศัย (ความพอใจ) ย่อมกำหนดอย่างนี้

แล้ว พึงแสดงเนื้อความนี้นั่นแหละด้วยธาตุสังยุตต่อไป ว่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนที่นอนสำหรับ ผู้ป่วย ณ ที่ใกล้

ภูเขาคิชฌกูฏ ทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้เป็นหัวหน้าและรูปที่เดินจงกรมกับ

ด้วยบริษัทของตน ๆ ในภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

เป็นต้น ผู้แวดล้อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่การรักษาพระองค์ จึงตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูสารีบุตรของเรา

ผู้กำลังเดินจงกรมกับพวกภิกษุจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นอย่าง

นั้น พระพุทธเจ้าข้า. บัณฑิตพึงยังคำทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ทั้งปวงเหล่านี้แล มีปัญญามาก เป็นต้น ให้พิสดาร.

อธิบายกำลังข้อที่ ๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 741

อธิบายกำลังข้อที่ ๖

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนา ย่อมอาศัย ในสภาวะใด สภาวะนั้น

เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย คือ เป็นทิฏฐิคตะ (ความเห็นผิด) ก็ตาม เป็น

ยถาภูตญาณ (ญาณรู้ความตามเป็นจริง) ก็ตาม ชื่อว่า อาสยะ. กิเลสอัน

นอนเนื่องในขันธสันดานที่ยังละไม่ได้ ชื่อว่า อนุสัย. กุศลและอกุศล อันมี

สังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้นปรุงแต่งแล้ว ชื่อว่า จริต. อัธยาศัย ชื่อว่า อธิมุตติ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น (แปลว่า มีธุลี

คือ กิเลสน้อย) ชื่อว่า มีธุลี คือ กิเลสน้อย เพราะว่า ธุลี คือ ราคะ โทสะ

โมหะ ในนัยน์ตา คือ ปัญญาของสัตว์เหล่านั้นมีน้อยคือมีนิดหน่อย. ชื่อว่า ธุลี

คือ กิเลสมีมาก เพราะความที่บุคคลนั้นนั่นแหละมีกิเลสหนาแน่น. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสน้อยและมีกิเลสมาก

ด้วยบทแม้ทั้งสองนี้. อินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นต้น ของบุคคลใดแก่กล้า

บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า มีอินทรีย์แก่กล้า. อินทรีย์เหล่านั้นของบุคคลใดอ่อน

บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า มีอินทรีย์อ่อน. โกฏฐาส (หมวดธรรมเหล่านั้น)

มีอาสยะเป็นต้นของบุคคลใดดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า มีอาการดี. โกฏฐาส

เหล่านั้นของบุคคลใดวิปริต (ผิดไปจากความดี) บุคคลนั้น ชื่อว่า มีอาการ

ชั่ว. บุคคลเหล่าใด ย่อมกำหนดเหตุ (การณะ) อันเขากล่าวแนะนำแล้ว

สามารถเพื่อรู้ได้โดยง่าย บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้โดยง่าย.

วิปริต (ผิดไปจากนี้) ชื่อว่า แนะนำให้รู้ได้โดยยาก. บุคคลใด เป็นผู้สมควร

คือเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสสัย เพื่อแทงตลอดมรรคผล บุคคล

นั้น ชื่อว่าผู้สมควรแก่การตรัสรู้ วิปริตไปจากนี้ ชื่อว่า ผู้อภัพพะ คือ ผู้ไม่

ควรเพื่อตรัสรู้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งญาณเป็นกำลัง

ที่ ๖ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะจำแนกเนื้อความตามลำดับ จึงตรัสคำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 742

เป็นต้นว่า กตโม จ สตฺตาน อาสโย (แปลว่า ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย)

เป็นไฉน.

ก็เนื้อความแห่งคำว่า สสฺสโต โลโก (แปลว่า โลกเที่ยง) เป็นต้น

ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในนิกเขปกัณฑ์วรรณนา ในหนหลังนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง

คำว่า อิติ ภวทิฏฺิสนฺนิสฺสิตา วา (แปลว่า อาศัยภวทิฏฐิ) ได้แก่ สัตว์ทั้ง

หลายผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. จริงอยู่ สัสสตทิฏฐิ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสว่า ภวทิฏฐิ ในที่นี้. อุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวทิฏฐิ.

ด้วยว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิดทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมอาศัยทิฏฐิทั้งสองเหล่า

นี้เท่านั้น เพราะว่าทิฏฐิทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย

สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ. แม้คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

กัจจายนะ ก็แลสัตว์โลก อาศัยทิฏฐิทั้งสองนี้โดยมาก คือ เห็นว่า (สิ่งทั้งปวง)

มีอยู่ (อตฺถิต) และ (สิ่งทั้งปวง) ไม่มีอยู่ (นตฺถิต) ดังนี้. ก็ในทิฏฐิ

ทั้งสองนั้น ความเห็นว่าเที่ยง ชื่อว่า อัตถิตา (ความมีอยู่) ความเห็นว่าขาด

สูญ ชื่อว่า นัตถิตา (ความไม่มี). นี้เป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็น

ปุถุชน ซึ่งอาศัยวัฏฏะก่อน.

ว่าด้วยอาสยะของสัตว์ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อแสดงอาสยะของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่

อาศัยวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอเต วา ปน อุโภ

อนฺเต อนุปคมฺม (แปลว่า ก็หรือว่า สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุด

ทั้ง ๒ นี้)

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอเต วา ปน ได้แก่ ก็หรือว่า สัตว์

เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า อุโภ อนฺเต ได้แก่ ส่วนสุด ๒ อย่าง กล่าวคือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 743

สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า อนุปคมฺม ได้แก่ ไม่ยึดถือแล้ว. คำว่า

อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น) ได้แก่ ในธรรมทั้ง

หลาย อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันและกันเกิด

ขึ้น. คำว่า อนุโลมิกา ขนฺติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. คำว่า ยถาภูต วา

ญาณ ได้แก่ มรรคญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า วิปัสสนาอัน

พระโยคาวจรไม่อาศัยซึ่งส่วนสุด ๒ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น ใน

ปฏิจจสมุปบาท (คือในการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาเป็นต้น) และในธรรมอันอาศัย

กันและกันเกิดขึ้น อันใด และมรรคญาณอันยิ่งกว่าวิปัสสนาญาณนั้น อันใด

นี้เรียกว่า อาสยะ ของสัตว์ทั้งหลาย และข้อนี้แหละเป็นอาสยะของสัตว์ทั้ง

หลายแม้ทั้งหมดผู้อาศัยวัฏฏะและไม่อาศัยวัฏฏะ จึงชื่อว่า นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ

สัตว์ทั้งหลาย.

ถ้อยคำของอาจารทั้งหลาย

ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (ผู้มีปกติกล่าวเคาะ) กล่าวว่า ธรรมดาว่า

มรรคทำลายที่อยู่ ย่อมไป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า

มรรค คือ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงโต้อาจารย์นั้นว่า ท่านมีสูตร

อันว่าด้วยที่เป็นที่อยู่อันเป็นของพระอริยะหรือไม่ ก็ถ้าว่า อาจารย์วิตัณทวาที

กล่าวว่า มีอยู่ ก็พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านไม่รู้ เพราะสูตร

นั้นท่านไม่ท่องไว้ ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กระผมสวดอยู่ดังนี้ พึงกล่าว

ว่า ขอท่านจงนำสูตรมา ดังนี้ ถ้าว่าอาจารย์วิตัณฑวาทีนำมา นั่นเป็นการดี

ถ้าไม่นำมา ก็พึงนำมาเองว่า ทสยิเม ภิกฺขเว อริยวาสา ยทิริยา

อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาวสิสฺสนฺติ วา เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 744

ภิกษุทั้งหลาย ที่อยู่อันประเสริฐ ๑๐ เหล่านั้น คือ พระอริยะทั้งหลาย อาศัยแล้ว

หรือย่อมอาศัย หรือว่า จักอาศัย . . .ใด ดังนี้. จริงอยู่ สูตรนี้ ย่อมส่องซึ่ง

ความที่มรรคเป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น คำนั้น จึงเป็นคำอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ธรรมนี้เป็นอาสยะของ

สัตว์ทั้งหลาย และย่อมทรงทราบแม้ในขณะแห่งบุคคลผู้มีความเห็นผิดเหล่านั้น

ว่า ไม่สามารถเพื่อยังวิปัสสนาญาณและมรรคญาณให้เป็นไปด้วย. แม้คำนี้ ก็

ทรงอธิบายไว้ว่า เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกามนั่นแหละ ก็ย่อมทราบว่า บุคคลนี้

ชื่อว่า มีกามเป็นใหญ่ มีกามเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในกาม ดังนี้ เมื่อ

เสพอยู่ซึ่งเนกขัมมะนั่นแหละ ก็ทราบว่า บุคคลนี้มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ มีเนก-

ขัมมะเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในเนกขัมมะ ดังนี้ เมื่อเสพพยาบาท ฯลฯ

ความไม่พยาบาท ฯลฯ ถีนมิทธะ ฯลฯ เมื่อเสพอยู่ซึ่งอาโลกสัญญานั่นแหละ

ย่อมทราบว่า บุคคลนี้ มีอาโลกสัญญาเป็นใหญ่ มีอาโลกสัญญาเป็นอัธยาศัย

มีการน้อมไปในอาโลกสัญญา ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอนุสัย

พึงทราบในนิทเทสแห่งอนุสัย ดังนี้. ก็ชื่อว่า กามราคานุสัย เพราะ

กามราคะนั้นด้วย เป็นธรรมนอนเนื่องเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ด้วย. แม้ในบท

ที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. คำว่า ย โลเก ปิยรูป ได้แก่ รูปใด อันให้ความ

รักเกิดขึ้นในโลกนี้. คำว่า สาตรูป ได้แก่ รูปที่ยังความพอใจให้เกิดขึ้นเป็น

อารมณ์ที่น่าปรารถนา มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน. ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมนอนเนื่องในปิยรูปและสาตรูปนี้ เพราะเหตุนั้น ราคานุสัยจึงชื่อว่า ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 745

นอนเนื่องในสัตว์ทั้งหลายในอารมณ์ที่น่าปรารถนานี้เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้.

เปรียบเหมือน เมื่อสัตว์จมลงในน้ำแล้ว น้ำเท่านั้น ย่อมมีข้างล่าง ข้างบนและ

โดยรอบ ชื่อฉันใด ชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งราคะในอารมณ์ที่น่าปรารถนาก็ฉัน

นั้นนั่นแหละ ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้เคยสั่งสมมาแล้วเป็นนิตย์.

ความเกิดขึ้นแห่งปฏิฆะในเพราะอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ก็เหมือนกัน. คำว่า

อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้ง ๒ นี้ ด้วยอาการอย่าง

นี้) ได้แก่ บุคคลมีกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเหล่านั้น มีอิฏฐารมณ์และอนิฏ-

ฐารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า อวิชชา อนุปติตา (แปลว่า อวิชชาตก

ไปแล้ว) ได้แก่ อวิชชาเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะ จึงชื่อว่า

เป็นธรรมตกไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการกระทำซึ่งอารมณ์. คำว่า ตเทกฏฺโ

(แปลว่า ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน) ได้แก่ ชื่อว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับ

อวิชชานั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน โดยความเป็นธรรม

ที่ประกอบด้วยอวิชชา. คำว่า มาโน จ ทิฏฺิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ มานะ

๙ อย่าง ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง และวิจิกิจฉามีวัตถุ ๘. ก็ในคำว่า ภวราคานุสัย นี้

บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยกามราคานุสัย

นั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจริต เป็นต้น

ในนิทเทสแห่งจริต ได้แก่ เจตนาอันเป็นปุญญาภิสังขาร ๑๓

อปุญญาภิสังขาร ๑๒ อเนญชาภิสังขาร ๔. ในเจตนาเหล่านั้น กามาวจร

เป็นปริตตภูมิ (มีอารมณ์น้อย) นอกนี้เป็นมหาภูมิ (มีอารมณ์ใหญ่).

อีกอย่างหนึ่ง ในสังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น สังขารไร ๆ มีวิบากเล็ก

น้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตภูมิ มีวิบากมากพึงทราบว่าเป็นมหาภูมิ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 746

ในนิทเทสแห่งอธิมุตติ (อัธยาศัย) ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แล้วในหนหลัง

นั่นแหละ.

ถามว่า ก็อธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ใน

หนหลังแล้ว เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาอีกเล่า.

ตอบว่า เพราะอธิมุตติ (อัธยาศัย) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือ

เอาโดยแยกออกจากหนหลัง ด้วยสามารถแห่งการแสดงญาณอันเป็นกำลัง.

อัธยาศัยในที่นี้ ทรงถือเอาเพื่อแสดงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

และอินทรีย์อ่อน.

ในนิทเทสแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือกิเลสมากนั้น คำว่า อุสฺสท-

คตานิ (แปลว่า เพิ่มพูนให้มากแล้ว) ได้แก่ ถึงความไพบูลย์. เมื่อว่าด้วย

สามารถแห่งลำดับการประหาณแล้ว ในนิทเทสนี้ มิได้ทรงอธิบายไปตามลำดับ.

คำว่า อนุสฺสทคตานิ ได้แก่ ไม่ไพบูลย์.

ชื่อว่า อินทรีย์ คือธรรมอันเป็นอุปนิสสัย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า และมีอินทรีย์อ่อน. ก็การประกอบ

คำในคำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อน ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวแล้ว ในนิทเทสแห่งข้อความอันมิได้เป็นไปตามลำดับนั้นแหละ.

ในนิทเทสแห่งอาการชั่ว เป็นต้น ก็เหมือนกัน. คำว่า ปาปาสยา

(แปลว่า อาสยะชั่ว) ได้แก่ อาสยะ คือ อกุศล. คำว่า ปาปจริตา (แปลว่า

มีจริตชั่ว) ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยอปุญญาภิสังขาร. คำว่า ปาปาธิมุตฺติกา (แปล

ว่า มีอัธยาศัยชั่ว) ได้แก่ มีอัธยาศัยในวัฏฏะยินดียิ่งในสักกายะ (คืออุปาทาน

ขันธ์ ๕).

ในนิทเทสแห่งอาการดี อนุสัย ชื่อว่าเป็นความดี ย่อมไม่มี เหตุ

ใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อนุสัยดี ดังนี้ คำที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 747

ว่าด้วยนิทเทสแห่งภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล

พึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู้ และ

ไม่ควรแก่การตรัสรู้ ต่อไป คำว่า กมฺมาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่อง

กั้นคือกรรม) ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม ๕ อย่าง. คำว่า กิเลสาวรเณน

(แปลว่า ด้วยเครื่องกั้น คือกิเลส) ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. คำว่า

วิปากาวรเณน (แปลว่า ด้วยเครื่องกั้นคือ วิบาก) ได้แก่ ปฏิสนธิด้วย

อเหตุกจิต. ก็เพราะความแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแก่บุคคลแม้ผู้เป็น

ทุเหตุกบุคคล ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ทุเหตุกปฏิสนธิ ก็ชื่อว่า เป็นเครื่อง

กั้นคือวิบากเหมือนกัน. คำว่า อสทฺธา (แปลว่า ไม่มีศรัทธา) ได้แก่ เว้น

จากศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นต้น คำว่า อจฺฉนฺทิกา (แปลว่า ไม่มีฉันทะ)

ได้แก่ เว้นจากฉันทะในกุศลของบุคคลผู้ใคร่เพื่อกระทำ. มนุษย์ทั้งหลายชาว-

อุตตรกุรุทวีป เข้าไปสู่ฐานะของผู้ไม่มีฉันทะ. คำว่า ทุปฺปญฺา (แปลว่า

มีปัญญาทราม) ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมจากภวังคปัญญา. ก็เมื่อภวังคปัญญาแม้

บริบูรณ์ ภวังค์ของบุคคลใดย่อมไม่เป็นบาทแก่โลกุตตระ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่า

มีปัญญาทรามนั่นแหละ. คำว่า อภพฺพา นิยาม โอกฺกมิตุ กุสเลสุ

ธมฺเมสุ สมฺมตฺต (แปลว่า ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม

ทั้งหลายได้) ได้แก่ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามใน

กุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า น กมฺมาวรเณน เป็นต้น (แปลว่า ไม่ประกอบ

ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม) บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าว

แล้ว. ข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกออกเป็นสองญาณ คือ อินทริยปโรปริยัตติญาณ

และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ ในข้อนี้ แมอินทริยปโรปริยัตติญาณ พระผู้มี-

๑. บุคคลผู้เกิดด้วยเหตุสอง คือ อโลภเหตุและอโทสเหตุ.

๒. ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๒.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 748

พระภาคเจ้า ก็ทรงแจกไว้ด้วยอาสยานุสยญาณ เพราะเหตุนั้น ญาณทั้งสอง

เหล่านั้น จึงจัดเป็นญาณเดียวกัน ชื่อว่าญาณเป็นกำลังอย่างหนึ่งเกิดแล้ว ดังนี้.

นิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ ๖ จบ

อธิบายญาณที่กำลังข้อที่ ๗

บุคคลใด ย่อมเพ่ง (เข้าฌาน) เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า

ฌายี (ผู้เข้าฌาน). ชน ๔ จำพวกผู้เข้าฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก

ว่า ผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก.

ในชนเหล่านั้น ในบุคคล ๔ จำพวกแรก บุคคลที่หนึ่ง ก่อน ได้

สมาบัติอยู่นั่นแหละ ย่อมสำคัญว่า เราไม่ได้ฌาน คือสำคัญกรรมฐานที่มีอยู่

ว่าไม่ใช่กรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้ได้ฌานมีคุณน้อย ดังนี้.

บุคคลที่ ๒ ไม่ได้สมาบัติเทียว ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ

ไม่ใช่กรรมฐานที่มีอยู่ สำคัญว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้. บุคคลนี้ พึงทราบว่า

ชื่อว่า ผู้เข้าฌานหลับ (นิทฺทาฌายี) ครั้นหลับแล้วตื่นขึ้นมา ก็สำคัญ

อย่างนั้น.

บุคคลที่ ๓ ได้สมาบัติ ย่อมสำคัญว่า เราได้สมาบัติ คือ สำคัญ

กรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐานมีอยู่ ดังนี้ บุคคลนี้ พึงทราบว่า ได้ฌาน

อันคล่องแคล่วแล้ว.

บุคคลที่ ๔ ไม่ได้ฌานเลย สำคัญว่า เราได้กรรมฐาน คือสำคัญ

สิ่งที่มิใช่กรรมฐานนั่นแหละว่าเป็นกรรมฐาน ดังนี้.

ในที่นี้ ชนสองจำพวกไม่ได้ฌานอย่างนี้นั่นแหละ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ฌายี (ผู้เข้าฌาน) เพราะความที่ชนเหล่า

นั้นเข้าไปเพ่งภายในเช่นกับผู้ได้ฌานทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 749

ในบุคคล ๔ จำพวกที่ ๒ บุคคลเมื่อข่มอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกต่อ

สมาธิ ด้วยความพากเพียรอันเป็นไปกับด้วยสังขาร ชื่อว่า การเข้าฌานช้า.

ผู้นั้นตั้งอยู่ในฌานสิ้นวาระแห่งจิตหนึ่งหรือสองแล้วก็ออกโดยเร็ว ชื่อว่า ย่อม

ออกเร็ว. ก็บุคคลชำระธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิได้โดยง่ายเทียว ชื่อว่าเข้า

ฌานเร็ว. บุคคลไม่ออกจากฌานตามที่กำหนด ให้เวลาผ่านไปนานแล้วจึงออก

จากฌาน ชื่อว่า ย่อมออกช้า. แม้ชน ๒ จำพวกนอกนี้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้

แหละ. ชนทั้งหลายแม้ ๔ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ได้สมาบัติเทียว.

ในบุคคล ๔ จำพวกที่ ๓ บุคคลผู้ฉลาดในการกำหนดแยกองค์

ฌานอย่างนี้ว่า ฌานนี้มีองค์ ๕ ฌานนี้มีองค์ ๔ ดังนี้ ชื่อว่า ผู้ฉลาดกำหนด

สมาธิในสมาธิ. บุคคลผู้ไม่ฉลาดเพื่อจะข่มนิวรณ์ทั้งหลายแล้วให้จิตตั้งอยู่ใน

ธรรมเครื่องรักษาจิต ชื่อว่า ผู้ฉลาดกำหนดสมาบัติในสมาธิ. ชนสามจำพวก

แม้นอกนี้ พึงทราบโดยนัยนี้แหละ บุคคล ๔ จำพวกแม้เหล่านี้ เป็นผู้ได้

สมาบัติทั้งนั้น.

บัดนี้ ชื่อว่าบุคคลผู้เข้าฌานเหล่านี้ อาศัยฌานเหล่าใด เพื่อแสดง

ฌานเหล่านั้น อันเกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า จตฺตาริ ฌา-

นานิ (แปลว่า ฌาน ๔) เป็นต้น บรรดาคำเหล่านั้น ฌาน ๔ วิโมกข์ ๓

ว่าโดยอรรถ ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งธรรมสังคหะในหนหลัง

นั่นแหละ. อรรถแห่งวิโมกข์แม้แห่งบทที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

ที่นั้นเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะหลุดพ้นวิเศษ

จากธรรมอันเป็นข้าศึก ในขณะที่จิตแน่วแน่แล้ว ๆ ทั้ง ๗ ขณะโดยลำดับ

และการน้อมไปในอารมณ์. ก็วิโมกข์ที่ ๘ ชื่อว่า อปคตวิโมกข์ เพราะหลุด

พ้นวิเศษแล้ว ด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยประการทั้งปวง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 750

ว่าด้วยสมาธิ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิทั้งหลายอันเป็นจตุกกนัย และปัญจกนัย ต่อ

ไป ในจตุกกนัย สมาธิในปฐมฌาน ชื่อว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร. ใน

ปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ชื่อว่าเป็นสมาธิสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. ในจตุกก-

นัยก็ดี ในปัญจกนัยก็ดี. สมาธิในฌาน ๓ เบื้องบน ชื่อว่า สมาธิไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร. จริงอยู่ ในสมาบัติทั้งหลาย มีชื่อว่า สมาธิของผู้เข้าสมาบัติ ๘

โดยลำดับ ดังนี้บ้าง มีชื่อว่า สมาบัติ ดังนี้บ้าง.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิต.

ความพร้อมของเอกัคคตาแห่งจิตเช่นนั้น ชื่อว่า สมาธิของนิโรธ-

สมาบัติ ก็หามิได้. คำว่า หานภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า เป็นธรรมฝ่ายเสื่อม)

อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีคุณอันน้อยแล้วก็แล่นไปตามกาม

เป็นต้น ของผู้มนสิการด้วยสัญญา. คำว่า วิเสสภาคิโย ธมฺโม (แปลว่า ธรรม

ฝ่ายดี ธรรมวิเศษ) อธิบายว่า เมื่อออกจากปฐมฌานเป็นต้น. ความผ่องแผ้วของ

ฌานที่คล่องแคล่วแล้ว ชื่อว่า การออกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า

แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก นี้. จริงอยู่ ฌานอันคล่องแคล่วซึ่งเป็น

ชั้นต่ำ ๆ ย่อมเป็นปทัฏฐานแก่ฌานในเบื้องบน ๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า แม้

ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่า การออก ดังนี้. ชื่อว่า การออกจากภวังค์ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยบทว่า แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า การ

ออก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 751

จริงอยู่ การออกจากฌานทั้งหมด ย่อมมีด้วยภวังค์. แต่การ

ออกจากนิโรธ ย่อมมีด้วยผลสมาบัติอย่างเดียว.

ข้อนี้ ชื่อว่า การออก อันเป็นปาลีมุตตกะ (คือนอกจากบาลี) ดังนี้ แล.

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๗ จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘

ในนิทเทสญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘ คำว่า ปุพฺเพนิวาส (ระลึกชาติ

หนหลัง) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้เป็นอเนก ข้าพเจ้าให้พิสดาร

แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๘ จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙

แม้ในนิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙ คำทั้งปวงว่า ทิพฺเพน

จกฺขุนา เป็นต้น พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๙ จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ ๑๐

คำว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. คำว่า ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่

ผลญาณ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

นี้เป็นกถาที่เสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายในที่นี้ก่อน.

ก็ปรวาที กล่าวว่า ชื่อว่า ทศพลญาณ แยกออกเป็นส่วนหนึ่งไม่มี

นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณ ข้อนั้นมิพึงเห็นอย่างนั้น เพราะว่า ทศพล-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 752

ญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้ซึ่ง

กิจ (หน้าที่) ของตน ๆ เท่านั้น ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้แม้ซึ่งกิจอัน

ทศพลญาณรู้แล้วนั้น และย่อมรู้ซึ่งกิจแม้อันเหลือจากทศพลญาณรู้แล้วนั้น

ด้วย.

จริงอยู่ ในบรรดาทศพลญาณเหล่านั้น ญาณที่หนึ่งย่อมรูซึ่งธรรม

อันเป็นเหตุและมิใช่เหตุเท่านั้น.

ญาณที่ ๒ ย่อมรู้ซึ่งความแตกต่างกันแห่งธรรมและวิบาก

เท่านั้น.

ญาณที่ ๓ ย่อมรู้การกำหนดความเป็นไปแห่งธรรมเท่านั้น.

ญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุแห่งความเป็นต่าง ๆ กันแห่งธาตุเท่านั้น.

ญาณที่ ๕ ย่อมรู้ซึ่งอัธยาศัยและความน้อมไปแห่งจิตเท่านั้น.

ญาณที่ ๖ ย่อมรู่ซึ่งความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นธรรมแก่กล้า

และอ่อนเท่านั้น.

ญาณที่ ๗ ย่อมรู้ซึ่งความที่แห่งสัตว์ทั้งหลายมีความเศร้า

หมองเป็นต้น ด้วยฌานเป็นต้นเท่านั้น.

ญาณที่ ๘ ย่อมรู้ซึ่งความสืบต่อแห่งขันธ์อันเคยอาศัยมาแล้ว

ในกาลก่อนเท่านั้น.

ญาณที่ ๙ ย่อมรู้ซึ่งจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.

ญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้ซึ่งการกำหนดสัจจะเท่านั้น

ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมอันทศพลญาณเหล่า

นั้นพึงรู้ด้วย ซึ่งธรรมอันยิ่งกว่าทศพลญาณนั้นด้วย. ก็แต่ว่า

สัพพัญญุตญาณนั้น ย่อมไม่ทำกิจทั้งปวงของทศพลญาณเหล่านั้นได้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 753

ด้วยว่า สัพพัญญุตญาณนั้น เป็นฌานแต่ไม่อาจเพื่อแน่วแน่ (แนบ

แน่น) เป็นอิทธิแต่ไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ เป็นมรรคแต่ไม่อาจเพื่อ

ยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปรวาที พึงถามอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ทศพลญาณนี้ เป็นไป

กับด้วยวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามา-

วจร เป็นอรูปาวจร เป็นโลกิยะ หรือเป็นโลกุตตระ ดังนี้.

ตอบว่า ผู้รู้ก็จักกล่าวว่า ญาณทั้ง ๗ ตามลำดับ คือตั้งแต่ ฐานา-

ฐานญาณเป็นต้น) เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้น จักกล่าวว่า

ญาณทั้ง ๒ ข้างหน้า (คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ) ไม่มี

วิตก และวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้น ก็จักกล่าวว่า อาสวักขยญาณพึงเป็นไป

กับด้วยวิตกและวิจารก็มี ไม่มีวิตกมีแต่วิจารก็มี เป็นอวิตักกะและอวิจาระก็มี

ดังนี้ โดยทำนองเดียวกัน ญาณ ๗ โดยลำดับตั้งแต่ฐานาฐานญาณเป็นต้น

เป็นกามาวจร ญาณ ๒ จากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณสุดท้ายเป็นโลกุตตระ ดังนี้.

แต่สัพพัญญุตญาณ จักกล่าวว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเท่านั้น เป็น

กามาวจรเท่านั้น เป็นโลกิยะเท่านั้น ดังนี้.

ด้วยประการฉะนี้ ทศพลญาณจึงเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุต-

ญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

อรรถกถาญาณวิภังคนิทเทส จบ

๑. มหากิริยาญาณสัมปยุต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 754

๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์

เอกกมาติกา

[๘๔๙] ความมัวเมาในชาติ ความมัวเมาในโคตร ควานมัวเมาใน

ความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในชีวิต ความ

มัวเมาในลาภ ความมัวเมาในสักการะ ความมัวเมาในการทำความเคารพ

ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า ความมัวเมาในบริวาร ความมัวเมาในโภค-

สมบัติ ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี ความมัวเมาในการ

ศึกษา ความมัวเมาในปฏิภาณ ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู ความ

มัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ความ

มัวเมาในอิริยาบถ ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ ความมัวเมาในยศ ความมัวเมา

ในศีล ความมัวเมาในฌาน ความมัวเมาในศิลปะ ความมัวเมาในความมี

ทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมี

ทรวดทรงงาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ ความมัวเมา ความ

ประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความอยากได้เกินประมาณ ความมักมาก

ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน การชอบตกแต่ง

การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย ความ

เมาอาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดง

นิมิต การพูดติเตียน การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่า

เขา ความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา

สำคัญกว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 755

ตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตน

ว่าเสมอเขา ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่า

เลิศกว่าเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่า

เลวกว่าเขา ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น ความเย่อหยิ่ง ความดูหมิ่นตัวเอง

ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน ความถือตัว

ผิด ความคิดถึงญาติ ความคิดถึงชนบท ความคิดไม่ตายตัว ความคิดเกี่ยว

ด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง ความคิดเกี่ยว

ด้วยความไม่มีใครดูหมิ่น.

ทุกมาติกา

[๘๕๐] โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้, มักขะ

ความลบลู่คุณท่าน ปลาสะ ความตีเสมอ, อิสสา ความริษยา มัจฉริยะ

ความตระหนี่, มายา ความเจ้าเล่ห์ สาเถยยะ ความโอ้อวด, อวิชชา ความ

ไม่รู้ ภวตัณหา ความปรารถนาภพ, ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด วิภวทิฏฐิ

ความเห็นว่าไม่เกิด, สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็น

ว่าขาดสูญ, อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่า

ไม่มีที่สุด. ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต อปรันตานุทิฏฐิ

ความเห็นปรารภส่วนอนาคต, อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต โทวจัสสตา ความเป็น

ผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว, อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง

อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน, อขันติ ควานไม่อดทน อโสรัจจะ ความไม่

สงบเสงี่ยม, อสาขัลยะ ความไม่มีวาจาอ่อนหวาน อัปปฏิสันถาระ ความไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 756

การปฏิสันถาร. อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖

โภชนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร, มุฏฐสัจจะ ความ

เป็นผู้ ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ, สีลวิปัตติ ความ

วิบัติแห่งศีล ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ, อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์

ภายใน พหิทธาสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายนอก.

ติกมาติกา

[๘๕๑] อกุศลมูล ๓ อกุศลวิตก ๓ อกุศลสัญญา ๓ อกุศลธาตุ ๓

ทุจริต ๓ อาสวะ ๓ สัญโญชน์ ๓ ตัณหา ๓ ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง ตัณหา ๓

แม้อีกนัยหนึ่ง เอสนา ๓ วิธา ๓ ภัย ๓ ตมะ ๓ ติตถายตนะ ๓ กิญจนะ ๓

อังคณะ ๓ มละ ๓ วิสมะ ๓ วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง อัคคิ ๓ กสาวะ ๓ กสาวะ ๓

แม้อีกนัยหนึ่ง, อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี อัตตานุ-

ทิฏฐิ ความเห็นผิดว่ามีอัตตาตัวตน มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด, อรติ ความ

ไม่ยินดี วิเหสา ความเบียดเบียน อธัมมจริยา ความประพฤติอธรรม, โท-

วจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว นานัตตสัญญา

สัญาต่าง ๆ, อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน โกสัชชะ ความเกียจคร้าน ปมาทะ

ความประมาท, อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้

ไม่มีสัมปชัญญะ มหิจฉตา ความมักมาก, อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประ-

พฤติทุจริต อโนตตัปปะ ควานไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต ปมาทะ

ความประมาท, อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก

ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว, อัสสัทธิยะ ความไม่เชื่อ อวทัญญุตา

ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำด้วยอำนาจความตระหนี่อันกระด้าง โกสัชชะ ความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 757

เกียจคร้าน, อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อสังวร ความไม่สำรวม ทุสสีลยะ

ความทุศีล อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า สัทธัมมอโสตุ-

กัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิด

แข่งดี, มุฎฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มี

สัมปชัญญะ เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต, อโยนิโสมนสิการ ความ

ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย กุมมัคคเสวนา การเสพทางชั่ว เจตโสลีนัตตะ

ความย่อหย่อนแห่งจิต.

จตุกกมาติกา

[๘๕๒] อาสวะ ๔ คันถะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อุปาทาน ๔ ตัณ-

หุปปาทา ๕ อคติคมนะ ๔ วิปริเยสะ ๔ อนริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔ แม้

อีกนัยหนึ่ง, ทุจริต ๔ ทุจริต ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง, ภัย ๔ ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง,

ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง, ภัย ๔ แม้อีกนัยหนึ่ง, ทิฏฐิ ๔.

ปัญจกมาติกา

[๘๕๓] โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ มัจฉริยะ

๕ สังคะ ๕ สัลละ ๕ เจโตขีละ ๕ เจตโสวินิพันธะ ๕ นิวรณ์ ๕ อนันตริย-

กรรม ๕ ทิฏฐิ ๕ เวร ๕ พยสนะ ๕ ภัย ๕ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕.

ฉักกมาติกา

[๘๕๔] วิวาทมูล ๖ เคหสิตฉันทราคธรรม ๖ วิโรธวัตถุ ๖ ตัณหา-

กายะ ๖ อคารวะ ๖ ปริหานิยธรรม ๖ ปริหานิยธรรม ๖ แม้อีกนัยหนึ่ง

โสมนัสสุปวิจาร ๖ โทมนัสสุปวิจาร ๖ อุเปกขูปวิจาร ๖ เคหสิตโสมนัส ๖

เคหสิตโทมนัส ๖ เคหสิตอุเปกขา ๖ ทิฏฐิ ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 758

สัตตกมาติกา

[๘๕๕] อนุสัย ๗ ปริยุฏฐาน ๗ สัญโญชน์ ๗ อสัทธรรม ๗ ทุจริต

๗ มานะ ๗ ทิฏฐิ ๗.

อัฏฐกมาติกา

[๘๕๖] กิเลสวัตถุ ๘ กุสีตวัตถุ ๘ จิตตปฏิฆาคในโลกธรรม ๘

อนริยโวหาร ๘ มิจฉัตตะ ๘ ปุริสโทษ ๘ อสัญญีวาทะ ๘ เนวสัญญีนาสัญญี-

วาทะ ๘.

นวกมาติกา

[๘๕๗] อาฆาตวัตถุ ๙ ปุริสมละ ๙ มานะ ๙ ตัณหามูลกธรรม ๙

อิญชิตะ ๙ มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙.

ทสกมาติกา

[๘๕๘] กิเลสวัตถุ ๑๐ อาฆาควัตถุ ๑๐ อกุศลกรรมบถ ๑๐ สัญโญชน์

๑๐ มิจฉัตตะ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

[๘๕๙] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ ตัณหาวิจริตอาศัย

อายตนะภายนอก ๑๘ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖.

ตัณหาวิจริตเป็นอดีต ๓๖ ตัณหาวิจริตเป็นอนาคต ๓๖ ตัณหาวิจริต

เป็นปัจจุบัน ๓๖ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.

ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร.

มาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 759

เอกกนิทเทส

[๘๖๐] ในเอกกมาติกาเหล่านั้น ความมัวเมาในชาติ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่

ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตน

ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ความมัวเมา

ในชาติ.

[๘๖๑] ความมัวเมาในโคตร เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโคตร

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในโคตร.

ความมัวเมาในความไม่มีโรค เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความ

ไม่มีโรค นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีโรค.

ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความ

เป็นหนุ่มสาว นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว.

ความมัวเมาในชีวิต เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชีวิต

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในชีวิต.

ความมัวเมาในลาภ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยลาภ

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในลาภ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 760

ความมัวเมาในสักการะ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยสักการะ

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในสักการะ.

ความมัวเมาในการทำความเคารพ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการทา

ความเคารพ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการทำความเคารพ.

ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความ

เป็นหัวหน้า นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า.

ความมัวเมาในบริวาร เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยบริวาร

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในบริวาร.

ความมัวเมาในโภคสมบัติ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโภค

สมบัตินี้เรียกว่า ความมัวเมาในโภคสมบัติ.

ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยวรรณะ

แห่งสรีระและคุณความดี นี้เรียกว่า ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระ

และคุณความดี.

ความมัวเมาในการศึกษา เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการ

ศึกษา นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการศึกษา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 761

ความมัวเมาในปฏิภาณ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความทีจิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยปฏิภาณ

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในปฏิภาณ.

ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความ

เป็นผู้รัตตัญญู นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู.

ควานมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความ

เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความถือบิณฑบาต

เป็นวัตร.

ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความไม่

มีใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น.

ความมัวเมาในอิริยาบถ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิริยาบถ

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในอิริยาบถ.

ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิทธิฤทธิ์

นี้เรียกว่า ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์.

ความมัวเมาในยศ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยยศนี้

เรียกว่า ความมัวเมาในยศ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 762

ความมัวเมาในศีล เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศีล นี้

เรียกว่า ความมัวเมาในศีล.

ความมัวเมาในฌาน เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยฌาน นี้

เรียกว่า ความมัวเมาในฌาน.

ความมัวเมาในศิลปะ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศิลปะ นี้

เรียกว่า ความมัวเมาในศิลปะ.

ความมัวเมาในควานมีทรวดทรงสูง เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมี

ทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง.

ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด เป็นไฉน ?

ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีทรวด

ทรงสูง นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด.

ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม เป็นไฉน ?

ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมี

ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม

ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ เป็นไฉน ?

ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือ

ตัวสภาพที่ถือตัว กายยกคน การเทิดตน การเชิดชูคนดุจธง การยกตนขึ้น

ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีร่างกายบริบูรณ์ นี้เรียกว่า

ความมัวเมาในควานมีร่างกายบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 763

[๘๖๒] ความมัวเมา เป็นไฉน ? .

ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือ

ตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตน

ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความมัวเมา.

[๘๖๓] ความประมาท เป็นไฉน ?

ความปล่อยจิตไป ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป ในกายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความกระทำโดยไม่เคารพ ความ

กระทำโดยไม่ติดต่อ ความกระทำไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความ

ทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ

ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจจริง ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาท.

ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่

ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความประมาท.

[๘๖๔] ความหัวดื้อ เป็นไฉน ?

ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ สภาพที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความ

หยาบคาย ความดื้อรั้น ความไม่อ่อนโยน อันใด นี้เรียกว่า ความหัวดื้อ.

[๘๖๕] ความแข่งดี เป็นไฉน ?

ความแข่งดี ความแข่งขึ้นหน้า กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งขึ้นหน้า

สภาพที่แข่งขึ้นหน้า อันใด นี้เรียกว่า ความแข่งดี.

[๘๖๖] ความอยากได้เกินประมาณ เป็นไฉน ?

ความอยากได้มากของภิกษุผู้ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจยเภสัชบริวาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา

ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต

อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความอยากได้เกินประมาณ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 764

[๘๖๗] ความมักมาก เป็นไฉน ?

ความอยากได้มากของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา

ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต

อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความมักมาก.

[๘๖๘] ความปรารถนาลามก เป็นไฉน ?

คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจง

รู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า

เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีการศึกษาน้อย ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็น

ผู้มีการศึกษามาก เป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบสงัด เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า ขอชน

จงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีปัญญาทราม ย่อมปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า ขอ

ชนจงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความปรารถนา การปรารถนา ความปรารถนา

ลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความปรารถนาลามก.

[๘๖๙] การพูดเสียดแทง เป็นไฉน ?

การพูดเสียดแทง สภาพที่พูดเสียดแทง การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม

กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม การพูดมีเหลี่ยมมีคู สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด

นี้เรียกว่า การพูดเสียดแทง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 765

[๘๗๐] การพูดเกียดกัน เป็นไฉน ?

การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน สภาพที่พูดเกียดกัน ความละ-

โมภ กิริยาที่ละโมภ สภาพที่ละโมภ ความถ่อมตนเพื่อจะได้ ความต้องการ

สิ่งที่ประณีต อันใด นี้เรียกว่า การพูดเกียดกัน.

[๘๗๑] การชอบตกแต่ง เป็นไฉน ?

การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง

กายอันเปื่อยเน่า หรือการตกแต่งบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่น

หัว การร่าเริง ความกำหนัดยินดี สภาพที่กำหนัดยินดี ความตกแต่ง กิริยา

ที่ตกแต่ง อันใด นี้เรียกว่า การชอบตกแต่ง.

[๘๗๒] ความประพฤติไม่สมควร เป็นไฉน ?

ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพ

ที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในบุคคลใดบุคคลหนึ่งผู้ควร

เคารพ คือ บิดามารดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌายะ พระพุทธเจ้า

หรือสาวกของพระพุทธเจ้า นี้เรียกว่า ความประพฤติไม่สมควร.

[๘๗๓] ความไม่ยินดี เป็นไฉน ?

ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง

ความรำคาญ ความกระวนกระวายใจ ในเสนาสนะที่สงัด หรือในอธิกุศล-

ธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความไม่ยินดี.

[๘๗๔] ความโงกง่วง เป็นไฉน ?

ความง่วงงุน กิริยาที่ง่วงงุน สภาพที่ใจง่วงงุน ความเกียจคร้าน

กิริยาที่เกียจคร้าน สภาพที่เกียจคร้าน อันใด นี้เรียกว่า ความโงกง่วง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 766

[๘๗๕] ความบิดกาย เป็นไฉน ?

ความเหยียดกาย การเหยียดกาย ความโน้มกายไปข้างหน้า ความ

โน้มกายไปข้างหลัง ความโน้มกายไปรอบ ๆ ความตั้งตัวตรง ความไม่สบาย

กาย อันใด นี้เรียกว่า ความบิดกาย.

[๘๗๖] ความเมาอาหาร เป็นไฉน ?

ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร ความร้อนกระ-

วนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร อันใด ของผู้

บริโภคอาหารแล้ว นี้เรียกว่า ความเมาอาหาร.

[๘๗๗] ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ

ท้อแท้ ความถดถอย การย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน

การหดหู่ กิริยาที่หดหู่ สภาพที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ความ

ย่อหย่อนแห่งจิต.

[๘๗๘] การหลอกลวง เป็นไฉน ?

การหลอกลวงเกี่ยวด้วยการเสพปัจจัย การหลอกลวงด้วยการพูดเสียบ

เคียง หรือการดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี

ความสยิ้วหน้า สภาพที่สยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง สภาพที่

หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูก

ความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การหลอกลวง.

[๘๗๙] การพูดประจบ เป็นไฉน ?

การทักทายคนอื่น การแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูด

ยกย่อง การพูดเยินยอ การพูดอ้อมค้อม การพูดชมเชย การพูดสรรเสริญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 767

การพูดสรรเสริญบ่อย ๆ การพูดเอาใจให้คนรัก การพูดยกย่องเพื่อต้องการ

ให้เขารัก การพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นผู้รับเลี้ยงเด็ก ของ

ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก

ครอบงำ อันใด นี้เรียกว่า การพูดประจบ.

[๘๘๐] การแสดงนิมิต เป็นไฉน ?

การทำนิมิต ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวด้วยปัจจัย การ

พูดเป็นเลศนัย การกระซิบใกล้ ๆ การพูดเลียบเคียง แก่ชนเหล่าอื่น อันใด

ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก

ครอบงำ นี้เรียกว่า การแสดงนิมิต.

[๘๘๑] การพูดติเตียน เป็นไฉน ?

การด่า การพูดข่ม การนินทา การพูดตำหนิโทษ การกล่าวโทษ

การพูดติเตียน การพูดเหยียดหยาม การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อ

เสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน การพูดไพเราะต่อหน้านินทา

ลับหลังแก่ชนเหล่าอื่น อันใด ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความ

ปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การพูดติเตียน.

[๘๘๒] การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ เป็นไฉน ?

ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความ

อยากครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น นำอามิสที่ได้จากข้างโน้น

มาให้ข้างนี้ การปรารถนา การเสาะหา การแสวงหา กิริยาที่เที่ยวหา กิริยา

ที่แสวงหา ซึ่งอามิสด้วยอามิส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า การแลก

เปลี่ยนลาภด้วยลาภ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 768

[๘๘๓] ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย

ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์

โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการ

ศึกษาหรือโดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน

การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง

อันมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.

[๘๘๔] ความสำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย

ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์

โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการ

ศึกษา หรือ โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน

การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง

อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเสมอเขา.

[๘๘๕] ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง

คือโดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม

โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ

โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่

ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน ความเกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนยิ่ง ความดู

ถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่าความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 769

[๘๘๖] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล

โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน

โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือ

ตนว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้น แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่

ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่

จิตต้องการเป็นดุจธงอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา

สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.

[๘๘๗] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล

โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน

โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับ

คนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การ

ยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการ

เป็นดุจธงอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตน

ว่าเสมอเขา.

[๘๘๘] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล

โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 770

โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือ

ตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่น

ตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนอย่างยิ่ง ความดู

ถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.

[๘๘๙] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดย

เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ

เขาอาศัยการถือตนว่า เลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยา

ที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยก

ตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.

[๘๙๐] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือคนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล

ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว

กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง

ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้

เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญ นี้ว่าเสมอเขา.

[๘๙๑] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือคนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 771

ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดู

หมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียด

ตนยิ่ง สภาพที่ดูหมิ่นตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลน

ตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลว

กว่าเขา.

[๘๙๒] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ

โดยอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ

เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว การถือตัว กิริยาที่

ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกขึ้น

ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลว

กว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา.

[๘๙๓] ผู้เลวกว่าเขาสำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลวกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ

โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มี

สกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความ

ถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตน

ดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา.

[๘๙๔] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 772

อาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน

กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน สภาพ

ที่เกลียดตนยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด

มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา.

[๘๙๕] ความถือตัว เป็นไฉน ?

ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน

ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้อง

การเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความถือตัว.

[๘๙๖] ความดูหมิ่นผู้อื่น เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างหนึ่ง คือ โดย

ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว

สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น

ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดู

หมิ่นผู้อื่น.

[๘๙๗] ความเย่อหยิ่ง เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เบื้องต้นถือตนว่าเสมอกับคนอื่น ๆ ต่อมา

ภายหลังถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ ไม่ลดตนให้ต่ำกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว

กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง

ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นนี้ว่านี้ นี้

เรียกว่า ความเย่อหยิ่ง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 773

[๘๙๘] ความดูหมิ่นตนเอง เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นตนเอง โดยเหตุอย่างหนึ่ง คือ โดย

ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์

โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการ

ศึกษาหรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน

ความเกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อัน

ใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นตนเอง.

[๘๙๙] ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ เป็นไฉน ?

ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง ความสำคัญว่าทำแล้วใน

กิจที่ตนยังไม่ได้ทำ ความสำคัญว่าบรรลุแล้วในธรรมที่คนยังไม่บรรลุ ความ

สำคัญว่าได้ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ความถือตัว กิริยา

ที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยก

ตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความ

สำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ.

[๙๐๐] ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน ?

ความสำคัญในรูปว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในรูปว่าเป็นตัวเรา ความ

เข้าใจรูปว่าเป็นตัวเรา ความสำคัญในเวทนาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญใน

สัญญาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญในสังขารว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความ

สำคัญในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความเข้า

ใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การ

ยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการ

เป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่า มีอัตตา

ตัวตน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 774

[๙๐๑] ความถือตัวผิด เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือโดยหน้า

ที่การงานอันลามก โดยศิลปะอันลามก โดยวิทยฐานะอันลามก โดยการศึกษา

อันลามก โดยปฏิภาณอันลามก โดยศีลอันลามก โดยวัตรอันลามก โดยศีล

แล้ววัตรอันลามก หรือโดยทิฏฐิอันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพ

ที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิต

ต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวผิด.

[๙๐๒] ความคิดถึงญาติ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัย

กามคุณ ปรารภถึงหมู่ญาติ นี้เรียกว่า ความคิดถึงญาติ.

[๙๐๓] ความคิดถึงชนบท เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัย

กามคุณ ปรารภถึงชนบท นี้เรียกว่า ความคิดถึงชนบท.

[๙๐๔] ความคิดไม่ตายตัว เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัย

กามคุณ ประกอบด้วยทุกกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ความคิด

ไม่ตายตัว.

[๓๐๕] ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น เป็นไฉน ?

สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อยู่ มีความรื่นเริง

ร่วมกัน มีความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวสุข สุขด้วย ถึงคราวทุกข์ ทุกข์ด้วย

เมื่อมีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้น ก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความตรึก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 775

อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์

เหล่านั้น นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น.

[๙๐๖] ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัย

กามคุณ ปรารภลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยลาภ

สักการะและชื่อเสียง.

[๙๐๗] ความคิดเกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น เป็น

ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเรา โดย

เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดย

ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย

ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึก

อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ในความไม่อยากให้ใคร

ดูหมิ่นนั้น นี้เรียกว่า ความคิดที่เกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น.

ทุกนิทเทส

[๙๐๘] ในทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน ?

ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่

คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย

สภาพที่คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างร้าย ความดุร้าย ความ

ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ.

อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 776

ความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมา

ชื่อว่า ความผูกโกรธไว้ ความผูกโกรธไว้อย่างนี้ กิริยาที่ผูกโกรธไว้ สภาพที่

ผูกโกรธไว้ ความตั้งไว้ ความทรงไว้ ความดำรงไว้ ความสั่งสมไว้ ความ

ผูกพันไว้ ความยึดมั่นไว้ซึ่งความโกรธ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้.

[๙๐๙] มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน เป็นไฉน ?

ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน สภาพที่ลบหลู่คุณท่าน

กิริยาที่ดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ การดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้

เรียกว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน.

ปลาสะ ความตีเสมอ เป็นไฉน ?

ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ สภาพที่ตีเสมอ ความตีตัวเสมอ โดย

นำความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ลดละ

อันใด นี้เรียกว่า ปลาสะ ความตีเสมอ.

[๙๑๐] อิสสา ความริษยา เป็นไฉน ?

ความริษยา กิริยาที่ริษยา สภาพที่ริษยา ความเกียดกัน กิริยาเกียดกัน

สภาพที่เกียดกัน ในลาภ สักการะ การทำความเคารพ ความนับถือ การ

กราบไหว้ และการบูชา ของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสา ความริษยา.

มัจฉริยะ ความตระหนี่ เป็นไฉน ?

มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่

ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะและความตระหนี่ธรรม ความ

ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น

ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มัจ-

ฉริยะ ความตระหนี่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 777

[๙๑๑] มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้ง

ความปรารถนาลามกไว้ เพราะมีความต้องการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ

ปรารถนาว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ดำริว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พูดว่าใครอย่ารู้

ทันเราเลย พยายามด้วยกายว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคน

เจ้าเล่ห์ กิริยาที่ทำให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความ

หลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง ความไม่เปิด

เผย ความไม่ทำให้แจ้ง ความปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว อันใด มีลักษณะ

เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา ความเจ้าเล่ห์.

สาเถยยะ ความโอ้อวด เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดมาก การโอ้อวด

สภาพที่โอ้อวด ความโอ้อวด ความกระด้าง สภาพที่กระด้าง การพูดเป็น

เหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ของบุคคลนั้น อันใด นี้เรียกว่า

สาเถยยะ ความโอ้อวด.

[๙๑๒] อวิชชา ความไม่รู้ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้.

ภวตัณหา ความปรารถนาภพ เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความ

ปรารถนาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ

ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา ความปรารถนาภพ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 778

[๙๑๓] ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ

ความเห็นว่าเกิด.

วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตาจักไม่มีและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเป็นไป

ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด.

[๙๑๔] สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตาเที่ยงและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง

ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง.

อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตาจักขาดสูญและโลกจักขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ

เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้

เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ.

[๙๑๕] อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตามีที่สุด และโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น

ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส ความเห็นว่าไม่มีที่สุด อันใด มี

ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด.

อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 779

ความเห็นว่า อัตตาไม่มีที่สุด และโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความ

เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด.

[๙๑๖] ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด

ปรารภส่วนอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ

ส่วนอดีต.

อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด

ปรารภส่วนอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ

ส่วนอนาคต.

[๙๑๗] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็น

ไฉน ?

ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ

ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็น

ไฉน ?

ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว

ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 780

[๙๑๘] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?

กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ

ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ

ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า

โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.

ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?

บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่

มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ

ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป

ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

[๙๑๙] อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง เป็นไฉน ?

ความไม่ตรง สภาพที่ไม่ตรง ความคด ความโค้ง ความงอ อันใด

นี้เรียกว่า อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง.

อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน เป็นไฉน ?

ความไม่อ่อนน้อม สภาพที่ไม่อ่อนน้อม ความกระด้าง ความหยาบ-

คาย สภาพที่กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความถือรั้น ความไม่อ่อนน้อม

อันใด นี้เรียกว่า อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน.

[๙๒๐] อขันติ ความไม่อดทน เป็นไฉน ?

ความไม่อดทน สภาพที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย

ความปวดร้าว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อขันติ ความ

ไม่อดทน.

อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 781

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด

ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม ความ

เป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม.

[๙๒๑] อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน เป็นไฉน ?

วาจาใด เป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบผู้อื่น ยั่ว

ให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลพูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่

อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่สละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบในลักษณะ

ดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อน

หวาน.

อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร เป็นไฉน ?

ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธัมมปฏิสันถาร ๑ บุคคล

บางคนในโลกนี้ ไม่ทำการปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมม-

ปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร.

[๙๒๒] อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมใน

อินทรีย์ ๖ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้

ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึง

ครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์

ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น

ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่น

ด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

แล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ

บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 782

ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่

ปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมใน

มนินทรีย์นั้น.

การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวม

ซึ่งอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อินทริยอคุตตทวารตา ความ

เป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖.

โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็น

ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อ

เล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ

ความไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า

โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร.

[๙๒๓] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ?

ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ

ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ สภาพที่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลง

ลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.

อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

[๙๒๔] สีลวิปัตติ ควานวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน ?

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด

ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล. ความ

ความทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 783

ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ

สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา

อันยิ่งด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความ

เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็

เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ.

[๙๒๕] อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน เป็นไฉน ?

สัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ จัดเป็นอัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน

สัญโญชน์เบื้องสูง ๕ จัดเป็นพหิทธาสัญโญชนะ สญโญชน์ภายนอก.

ติกนิทเทส

[๙๒๖] ในติกมาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ.

บรรดาอกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรม-

ชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด

ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติ

เหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 784

เพื่อนสอง ปณิธิ (การตั้งความปรารถนา) ธรรมชาตินำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า

ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง

กิริยาที่หวัง สภาพที่หวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความ

หวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร

ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ

ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ สภาพที่กระซิบ การละโมภ กิริยาที่ละโมภ

สภาพที่ละโมภ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความ

กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ

ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ ราคะ

ที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์

นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือน

เถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์

แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือน

แม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

โทสะ เป็นไฉน ?

ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

แล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา

ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, ความอาฆาต

ย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 785

แล้ว, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้

เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ

เสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา, ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า

ผู้นี้ได้ทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว, ความ

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเจริญแก่ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่

ชอบพอของเรา ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเจริญแก่คน

ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะ

อันมิใช่เหตุ. ความอาฆาตแห่งจิต การกระทบกระทั่ง ความกระทบกระทั่ง

ความยินร้าย ความขุ่นเคือง การขุ่นเคือง ความขุ่นเคืองอย่างแรง ความคิด

ประทุษร้าย การมุ่งคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความพยาบาท

แห่งจิต ความคิดประทุษร้ายทางใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ

ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิด

ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย สภาพที่คิดปองร้าย การยินร้าย ความยินร้าย

ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตอันใด มีลักษณะเช่น

ว่า นี้เรียกว่า โทสะ.

โมหะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ใน

ส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในธรรม

อันเป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่

เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความ

ไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 786

ไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา

ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม

คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ.

เหล่านี้เรียกว่า อกุศลมูล ๓

[๙๒๗] อกุศลวิตก ๓ เป็นไฉน ?

กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย

กามนี้เรียกว่า กามวิตก.

พยาบาทวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย

ความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.

วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย

ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.

เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลวิตก ๓.

[๙๒๘] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน ?

กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา

บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน ?

ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กาม

สัญญา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 787

พยาบาทสัญญา เป็นไฉน ?

ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ เกี่ยวด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยา-

บาทสัญญา.

วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน ?

ความจำ กิริยาที่จำ สภาพที่จำ อันเดียวด้วยความเบียดเบียน นี้

เรียกว่า วิหิงสาสัญญา.

เหล่านั้นเรียกว่า อกุศลสัญญา ๓.

[๙๒๙] อกุศลธาตุ ๓ เป็นไฉน ?

กามธาตุ พยาบาทธาตุ วิหิงสาธาตุ

บรรดาอกุศลธาตุ ๓ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน ?

กามวิตก จัดเป็นกามธาตุ พยาบาทวิตก จัดเป็นพยาบาทธาตุ

วิหิงสาวิตก จัดเป็นวิหิงสาธาตุ.

บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด, อันเกี่ยวด้วย

กามนี้เรียกว่า กามวิตก.

พยาบาทวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย

ความพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทวิตก.

วิหิงสาวิตก เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันเกี่ยวด้วย

ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.

เหล่านี้เรียกว่า อกุศลธาตุ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 788

[๙๓๐] ทุจริต ๓ เป็นไฉน ?

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายทุจริต เป็นไฉน ?

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต.

วจีทุจริต เป็นไฉน ?

มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต

มโนทุจริต เป็นไฉน ?

อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต.

กายทุจริต เป็นไฉน ?

กายกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายทุจริต

วจีกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีทุจริต

มโนกรรมฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนทุจริต

บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายกรรมฝ่ายอกุศล เป็นไฉน ?

กายสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล

วจีสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า วจีกรรมฝ่ายอกุศล

มโนสัญเจตนาฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มโนกรรมฝ่ายอกุศล

เหล่านั้นเรียกว่า ทุจริต ๓.

[๙๓๑] อาสวะ ๓ เป็นไฉน ?

กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

บรรดาอาสวะ ๓ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า

กามาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 789

ภวาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ฯลฯ ควานหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า

ภวาสวะ.

อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ นี้เรียก

ว่า อวิชชาสวะ.

เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ ๓.

[๙๓๒] สัญโญชน์ ๓ เป็นไฉน ?

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

บรรดาสัญโญชน์ ๓ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้

เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ

สัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร

เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ

ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา

โดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา เคลือบแคลงสงสัยในพระ-

ธรรม เคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ เคลือบแคลงสงสัยในสิกขา เคลือบ-

แคลงสงสัยในส่วนอดีต เคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 790

ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต เคลือบแคลงสงสัยในธรรมอันเป็นปัจจัยของกัน

และกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง

สภาพที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด มี

ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?

สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อม

มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยทั้งศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง

ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

สีลัพพตปรามาส.

เหล่านั้นเรียกว่า สัญโญชน์ ๓.

[๙๓๓] ตัณหา ๓ เป็นไฉน?

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

สหรคตด้วยภวทิฏฐิ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.

วิภวตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา.

ตัณหาที่เหลือนอกนั้น เรียกว่า กามตัณหา.

บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 791

ความกำหนัด ความกำหนัดนักแห่งจิต ฯลฯ อันประกอบด้วยรูปธาตุ

และอรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา.

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา.

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.

[๙๓๔] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

กามตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา

บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยกามธาตุ นี้เรียกว่า กามตัณหา.

รูปตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.

อรูปตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.

[๙๓๕] ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา

บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยรูปธาตุ นี้เรียกว่า รูปตัณหา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 792

อรูปตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอัน

ประกอบด้วยอรูปธาตุ นี้เรียกว่า อรูปตัณหา.

นิโรธตัณหา เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนดนักแห่งจิตอัน

สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา.

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหา ๓.

[๙๓๖] เอสนา ๓ เป็นไฉน ?

กาเมสนา ภเวสนา พรหมจริเยสนา

บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ?

ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า

กาเมสนา.

ภเวสนา เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า

ภเวสนา.

พรหมจริเยสนา เป็นไฉน ?

ความเห็นว่าโลกเที่ยง หรือความเห็นว่าโลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตาย จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไป

ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า

พรหมจริเยสนา.

บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน ?

ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล

ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 793

ภเวสนา เป็นไฉน ?

ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล

ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความกำหนัด ในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา.

ความเห็นว่าโลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็น

อกุศลตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหม-

จริเยสนา.

เหล่านี้เรียกว่า เอสนา ๓.

[๙๓๗] วิธา ๓ เป็นไฉน ?

ความถือตัวว่าประเสริฐกว่าเขา ความถือตัวว่าเสมอเขา ความถือตัว

ว่าเลวกว่าเขา เหล่านั้นเรียกว่า วิธา ๓.

[๙๓๘] ภัย ๓ เป็นไฉน ?

ชาติภัย ชราภัย มรณภัย

บรรดาภัย ๓ นั้น ชาติภัย เป็นไฉน ?

ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ

สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย.

ชราภัย เป็นไฉน ?

ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ

สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย.

มรณภัย เป็นไฉน ?

ความกลัว ความขลาด ความหวาดเสียว ความชูชันแห่งขน ความ

สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย.

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 794

[๙๓๙] ตมะ ๓ เป็นไฉน ?

๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อไม่เลื่อมใส ปรารภอดีต

กาล ๒. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล

๓. ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล

เหล่านี้เรียกว่า ตมะ ๓.

[๙๔๐] ติตถายตนะ ๓ เป็นไฉน ?

๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี

ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะได้

ทำเหตุไว้ในปางก่อน.

๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี

ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขทุกข์ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุ

คือมีผู้เป็นให้สร้างให้.

๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มี

ความเห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมได้เสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น โดยไม่มี

เหตุไม่มีปัจจัย.

เหล่านั้นเรียกว่า ติตถายตนะ ๓.

[๙๔๑] กิญจนะ ๓ เป็นไฉน ?

กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ กิเลสเครื่องกังวลคือโทสะ กิเลสเครื่อง

กังวลคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า กิญจนะ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 795

[๙๔๒] อังคณะ ๓ เป็นไฉน ?

กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ กิเลสเพียงดัง

เนินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อังคณะ ๓.

[๙๔๓] มละ ๓ เป็นไฉน ?

มลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า

มละ ๓.

[๙๔๔] วิสมะ ๓ เป็นไฉน ?

ความไม่สม่ำเสมอคือราคะ ความไม่สม่ำเสมอคือโทสะ ความไม่สม่ำ

เสมอคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓.

[๙๔๕] วิสมะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง

วาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ เหล่านี้เรียกว่า วิสมะ ๓.

[๙๔๖] อัคคิ ๓ เป็นไฉน ?

ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า อัคคิ ๓.

[๙๔๗] กสาวะ ๓ เป็นไฉน ?

น้ำฝาดคือราคะ น้ำฝาดคือโทสะ น้ำฝาดคือโมหะ เหล่านั้นเรียกว่า

กสาวะ ๓.

[๙๔๘] กสาวะ ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

น้ำฝาดทางกาย น้ำฝาดทางวาจา น้ำฝาดทางใจ เหล่านี้เรียกว่า

กสาวะ ๓.

[๙๔๙] อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความ

ยินดี เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 796

สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ

เห็นอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ เขาจึงบริโภคถาม นี้เรียกว่า

อัสสาททิฏฐิ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยความยินดี.

อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้

เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ

สัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร

เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ

ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอา

โดยวิปลาสอันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตาม

เห็นว่ามีอัตตาตัวตน.

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ

สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง

แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลกนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ

การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ.

สัสสตทิฏฐิ จัดเป็นอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ จัดเป็นอัตตานุทิฏฐิ

อุจเฉททิฏฐิ จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 797

[๙๕๐] อรติ ความไม่ยินดี เป็นไฉน ?

ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง

ความกระสัน ความดิ้นรน ในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมอย่างใด

อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ ความไม่ยินดี.

วิเหสา ความเบียดเบียน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง

ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ศาสตราบ้าง เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความ

บีบคั้น ความบีบคั้นยิ่ง ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนยิ่ง ความทำให้เดือด

ร้อน ความทำให้เดือดร้อนยิ่ง ความทำร้ายสัตว์อื่น อันใด มีลักษณะเช่นว่า

นี้ นี้เรียกว่า วิเหสา ความเบียดเบียน.

อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม เป็นไฉน ?

ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง

กาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา

ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียก

ว่า อธัมมจริยา ความประพฤติไม่เป็นธรรม.

[๙๕๑] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?

กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ

ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ

ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า

โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.

ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 798

บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่

มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ

ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป

ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

นานัตตสัญญา สัญญาต่าง ๆ เป็นไฉน ?

สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย

ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาต่าง ๆ อกุศลสัญญา

แม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า นานัตตสัญญา.

[๙๕๒] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต

ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.

โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน ?

การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความไม่เคารพ ความทำโดยไม่ติดต่อ

ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ

ทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก

ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศล

ธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.

ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน ?

การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 799

ไม่ติดต่อ ความทำโดยไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ

ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก

ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม

ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะ

เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.

[๙๕๓] อสันตุฏฐิตา ความไม่สันโดษ เป็นไฉน ?

ความอยากได้มากยิ่ง ของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขารตามที่ตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความ

ปรารถนา การปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก

ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิ-

ตา ความไม่สันโดษ.

อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญตา ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

มหิจฉตา ความมักมาก เป็นไฉน ?

ความอยากได้มากยิ่งของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้หรือด้วยกามคุณ ๕ ความ

ปรารถนา การปรารถนา ควานมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก

ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจ-

ฉตา ความมักมาก.

[๙๕๔] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็น

ไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 800

ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ

ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็น

ไฉน ?

ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว

ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.

ปมาทะ ความประมาท เป็นไฉน ?

การปล่อยจิต ความเพิ่มพูน การปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความทำโดย

ไม่ติดต่อ ความไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ

ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก

ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนือง ๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม

ทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะ

เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ ความประมาท.

[๙๕๕] อนาทริยะ ความไม่เอื้อเฟื้อ เป็นไฉน ?

ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง

ความไม่ถือเอา กิริยาที่ไม่ถือเอา สภาพที่ไม่ถือเอา ความไม่มีศีล ความไม่

ยำเกรงอันใด นี้เรียกว่า อนาทริยะ ความเอื้อเฟื้อ.

โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?

กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ

ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 801

ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรมิก นี้เรียกว่า โทวจัสสตา

ความเป็นผู้ว่ายาก.

ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?

บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ทุศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่

มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ

ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป

ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

[๙๕๖] อัสสัทธิยะ ความไม่มีศรัทธา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม

พระสงฆ์ ความไม่มีศรัทธา กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ ความไม่

เลื่อมใสยิ่ง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ ความไม่มี

ศรัทธา.

อวทัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ เป็นไฉน ?

มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕ คือ อาวาสมัจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่,

กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล, ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ, วัณณ-

มัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ, ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม, ความ

ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น

ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา

ความเป็นผู้ไม่รู้ถ้อยคำ.

โกสัชชะ ความเกียจคร้าน เป็นไฉน ?

การปล่อยจิต ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความทำโดยความไม่เคารพ ความไม่ทำโดย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 802

ติดต่อ ความไม่ทำให้มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ

ทอดทิ้งธุระ. ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก

ความไม่ตั้งมั่น ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรม

ทั้งหลาย นี้เรียกว่า โกสัชชะ ความเกียจคร้าน.

[๙๕๗] อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต

ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน.

อสังวร ความไม่สำรวม เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้

ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำ

บุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใดเป็น

เหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จ

การสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะ

แล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรม

ทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์

อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม

มนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมนมนินทรีย์นั้น นี้

เรียกว่า อสังวร ความไม่สำรวม.

ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล เป็นไฉน ?

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด

ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ ความเป็นผู้ทุศีล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 803

[๙๕๘] อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่อยากเห็นพระอริยเจ้า

เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น พระอริยเจ้า เป็นไฉน พระพุทธเจ้าและพระ-

สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยเจ้า. ความไม่ต้องการจะพบ ความ

ไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคมกับ

พระอริยเจ้า เหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อริยอทัสสนกัมยตา ความไม่

อยากเห็นพระอริยเจ้า.

สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น พระสัทธรรม เป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัป-

ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

นี้เรียกว่า พระสัทธรรม. ความไม่ต้องการจะฟัง ควานไม่ต้องการจะสดับ

ความไม่ต้องการจะเรียน ความไม่ต้องการจะทรงจำซึ่งพระสัทธรรมนี้ อันใด

นี้เรียกว่า สัทธัมมอโสตุกัมยตา ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม.

อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น ความคิดแข่งดี เป็นไฉน ความคิดแข่งดี ความ

คิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดีเนือง ๆ สภาพที่คิดแข่งดี

เนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความคอยแสวงหาโทษ

อันใด นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี.

[๙๕๙] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ?

ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ

ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อยลอย ความ

หลงลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 804

อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.

เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความกวัดแกว่งแห่งจิต

ความพล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ ความฟุ้งซ่าน

แห่งจิต.

[๙๖๐] อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

เป็นไฉน ?

ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เทียง ว่าเที่ยง ความทำไว้

ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ความทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ความทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคาย ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือความนึก ความนึกเนือง ๆ ความคิด

ความพิจารณา ความทำไว้ในใจแห่งจิต โดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า

อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย.

กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิด เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ

นี้เรียกว่า ทางผิด การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การ

คบด้วยดี การชอบใจ ความชอบใจ ซึ่งทางผิดนี้ ความเป็นผู้โน้มน้าวไป

ตามทางผิดนี้ อันใด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา การเสพทางผิด.

เจตโสลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 805

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ

ท้อแท้ ความถดถอย ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน

ความซบเซา กิริยาที่ซบเซา สภาพที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า เจตโส-

ลีนัตตะ ความย่อหย่อนแห่งจิต.

จตุกกนิทเทส

[๙๖๑] ในจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ ๔ เป็นไฉน ?

กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า

กามาสวะ.

ภวาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า

ภวาสวะ.

ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

จะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ

มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมดก็เรียกว่า ทิฏฐอาสวะ.

อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า

อวิชชาสวะ

เหล่านี้เรียกว่า อาสวะ ๔.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 806

[๙๖๒] คันถะ ๔ เป็นไฉน ?

อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.

บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็งก็จะเอาทรัพย์

สมบัติของผู้อื่น อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.

พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน ?

ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว

ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า

พยาปาทกายคันถะ.

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน ?

สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ ย่อม

มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพต-

ปรมาสกายคันถะ.

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่าโลกเที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ความเห็นว่า

โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นไม่จริง ฯลฯ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วจะเกิดอีกก็หามิได้ จะไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อย่างอื่น

ไม่จริง ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด

มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ยกเว้นสีลัพพต-

ปรามาสกายคันถะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกาย-

คันถะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 807

เหล่านี้เรียกว่า คันถะ ๔.

[๙๖๓] โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน ?

กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน.

บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ?

ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม อันใด นี้เรียกว่า

กามุปาทาน.

ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาพระรัตนตรัยไม่มี

ผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่ง

โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ทิฏฐิ

ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน. ยกเว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน มิจฉา-

ทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.

สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน ?

สมณพราหมณ์ภายนอกศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อม

มีได้ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพ-

ตุปาทาน.

อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด

ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่

ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 808

ของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตน

ในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็น

สังขารเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็น

วิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การ

ถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน

เหล่านี้เรียกว่า อุปาทาน ๔.

[๙๖๔] ตัณหุปาทา ๔ เป็นไฉน ?

ตัณหาเมื่อจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุบ้าง ตัณหา

เมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่

ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุบ้าง ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อม

เกิดเพราะปัจจัยดังกล่าวมานี้อันประณีตและประณีตยิ่งเป็นเหตุบ้าง

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทา ๔.

[๙๖๕] อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน ?

บุคคลย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ย่อมลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน ย่อม

ลำเอียงเพราะเขลา ย่อมลำเอียงเพราะกลัว ความลำเอียง การถึงความลำเอียง

การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน การลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน ความหันเห

ไปเหมือนน้ำไหล อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้

เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔.

[๙๖๖] วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน ?

ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความ

เข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจ

สัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 809

เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจ

จิต ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัว

ตน ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจสัญญา ความเข้าใจผิดด้วยอำนาจจิต ความ

เข้าใจผิดด้วยอำนาจทิฏฐิในสิ่งที่ไม่งามว่างาม

เหล่านี้เรียกว่า วิปริเยสะ ๔.

[๙๖๗] อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน ?

เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน เมื่อไม่รู้ พูด

ว่ารู้ เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔.

[๙๖๘] อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน เมื่อรู้ พูดว่า

ไม่รู้ เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔.

[๙๖๙] ทุจริต ๔ เป็นไฉน ?

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท

เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔.

[๙๗๐] ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ

เหล่านี้ เรียกว่า ทุจริต ๔.

[๙๗๑] ภัย ๔ เป็นไฉน ?

ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 810

[๙๗๒] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

ราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.

[๙๗๓] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

ภัยเกิดแต่คลื่น ภัยเกิดแต่จรเข้ ภัยเกิดแต่วังวน ภัยเกิดแต่ปลาร้าย

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.

[๙๗๔] ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น ภัยเกิด

แต่อาชญา ภัยเกิดแต่อบาย

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔.

[๙๗๕] ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน

ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำเอง ทิฏฐิเกิดขึ้นโดย

แน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์คนอื่นกระทำให้ ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุข

ทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ทิฏฐิเกิดขึ้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า สุขทุกข์

ตนไม่ได้ทำเองด้วย คนอื่นไม่ได้ทำให้ด้วย แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๔.

ปัญจกนิทเทส

[๙๗๖] ในปัญจกมาติกาเหล่านั้น โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็น

ไฉน ?

โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ

๒. วิจิกิจฉา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 811

๓. สีลัพพตปรามาส

๔. กามฉันทะ

๕. พยาบาท

เหล่านี้เรียกว่า โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

[๙๗๗] อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน ?

อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ

๑. รูปราคะ

๒. อรูปราคะ

๓. มานะ

๔. อุทธัจจะ

๕. อวิชชา

เหล่านี้เรียกว่า อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕.

[๙๗๘] มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน ?

มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมิจฉริยะ ความตระหนี่ที่อยู่.

๒. กุลมัจฉริยะ ความตระหนี่ตระกูล

๓. ลาภมัจฉริยะ ความตระหนี่ลาภ

๔. วัณณมัจฉริยะ ความตระหนี่วรรณะ

๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม

เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 812

[๙๗๙] สังคะ ๕ เป็นไฉน ?

สังคะ ๕ คือ

๑. ราคสังคะ เครื่องข้องคือราคะ

๒. โทสสังคะ เครื่องข้องคือโทสะ

๓. โมหสังคะ เครื่องข้องคือโมหะ

๔. มานสังคะ เครื่องข้องคือมานะ

๕. ทิฏฐิสังคะ เครื่องข้องคือทิฏฐิ

เหล่านี้เรียกว่า สังคะ ๕.

[๙๘๐] สัลละ ๕ เป็นไฉน ?

สัลละ ๕ คือ

๑. ราคสัลละ ลูกศรคือราคะ

๒. โทสสัลละ ลูกศรคือโทสะ

๓. โมหสัลละ ลูกศรคือโมหะ

๔. มานสัลละ ลูกศรคือมานะ

๕. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ

เหล่านี้เรียกว่า สัลละ ๕.

[๙๘๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน ?

เจโตขีละ ๕ คือ

๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน

พระพุทธเจ้า

๒. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม

๓. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 813

๔. ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา

๕. เป็นผู้มีจิตขุ่นเคือง ไม่ชอบใจ มีจิตกระทบกระทั่ง กระด้าง

กระเดื่องในเพื่อนพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย

เหล่านี้เรียกว่า เจโตขีละ ๕.

[๙๘๒] เจโตวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน ?

เจโตวินิพันธะ ๕ คือ

๑. บุคคลเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความ

พอใจ ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศ-

จากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม

๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ

ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก

ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย

๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ

ยังไม่ปราศจากความรักใคร่ ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ปราศจาก

ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป

๔. บริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว หาความสุขในการ

นอน หาความสุขในการพลิกไปมา หาความสุขในการหลับอยู่

๕. ปรารถนาเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง แล้วประพฤติพรหมจรรย์

ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยตนใดตน

หนึ่งด้วยศีลนี้ หรือด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้

เหล่านี้เรียกว่า เจโตวินิพันธะ ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 814

[๙๘๓] นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ?

นิวรณ์ ๕ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ

กามฉันทะ

๒. พยาปาทนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ

พยาบาท

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ

ถีนมิทธะ

๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น

คืออุทธัจจกุกกุจจะ

๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ธรรมอันห้ามกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น คือ

วิจิกิจฉา

เหล่านี้เรียกว่า นิวรณ์ ๕.

[๙๘๔] อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน ?

อนันตริยกรรม ๕ คือ

๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา

๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา

๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์

๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิต

ให้ห้อขึ้น

๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน

เหล่านั้นเรียกว่า อนันตริยกรรม ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 815

[๙๘๕] ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ๕ คือ

๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญา

เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน

๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่มี

สัญญา เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน

๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามีสัญญา

ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตายไม่แปรผัน

๔. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาด

สูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ซึ่งปรากฏมีอยู่

๕. ก็หรือว่า สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันทิฏฐธัมม-

นิพพาน

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕.

[๙๘๖] เวร ๕ เป็นไฉน ?

เวร ๕ คือ

๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์

๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาท พูดเท็จ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ดื่มน้ำเมาคือสุราและ

เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เหล่านี้เรียกว่า เวร ๕.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 816

[๙๘๗] พยสนะ ๕ เป็นไฉน ?

พยสนะ ๕ คือ

๑. ญาติพยสนะ ความพินาศแห่งชาติ

๒. โภคพยสนะ ความพินาศแห่งทรัพย์

๓. โรคพยสนะ ความพินาศเพราะโรค

๔. สีลพยสนะ ความพินาศแห่งศีล

๕. ทิฏฐิพยสนะ ความพินาศแห่งทิฏฐิ

เหล่านี้เรียกว่า พยสนะ ๕.

[๙๘๘] โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน ?

โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ

๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก

๒. มีเวรมาก

๓. มีโทษมาก

๔. ตายโดยความหลงลืม

๕. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก

เหล่านี้เรียกว่า โทษแห่งความไม่อดทน ๕.

[๙๘๙] ภัย ๕ เป็นไฉน ?

ภัย ๕ คือ

๑. ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ

๒. ภัยเกิดแต่การติเตียน

๓. ภัยคือความขลาดกลัว เมื่อเข้าสู่ที่ประชุม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 817

๔. ภัยเกิดแต่มรณะ

๕. ภัยเกิดแต่อบาย

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๕.

[๙๙๐] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ

๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม บำรุงบำเรอ

ด้วยกามคุณ ๕ อยู่ ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้

บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม

บัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่. ด้วยประการอย่างนี้

๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้น

ไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอัน

ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ท่านผู้เจริญ

เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ความ

เศร้าโศก ความร่ำไห้ ความทุกข์ ความโทมนัส ความคับแค้นใจ ย่อมเกิด

ขึ้น เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตา

นี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ท่านผู้

เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอัน

ยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอด

เยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 818

๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่ เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็หานิ

ได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ วิตก วิจารใด มีอยู่ใน

ปฐมฌานนั้น ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะวิตกและวิจารนั้น

ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุทุติยฌาน อันเป็นธรรมชาติผ่องใส

เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า ได้

บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม

บัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่าง

นี้

๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี

ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ปีติ ความลำพองใจใด มี

อยู่ในทุติยฌานนั้น ทุติยฌานนี้ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะปีติและความ

ลำพองใจนั้น ท่านผู้เจริญ เมื่อใดแล เพราะคลายปีติได้อีกด้วย อัตตานี้บรรลุ-

ตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมม-

นิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติทิฏฐธัมม-

นิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้

๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานี้มีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มีก็

มิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้ชื่อว่าได้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 819

เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ สุขและความนึกคิดทางใจใด มี

อยู่ในตติยฌานนั้น ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะสุขและความ

นึกคิดทางใจนั้น เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้

บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม

บัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕.

ฉักกนิทเทส

[๙๙๑] ในฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน ?

ความโกรธ ความลบหลู่คุณท่าน ความริษยา ความโอ้อวด ความ

ปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน

เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล ๖.

[๙๙๒] ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

อิงอาศัยกามคุณ ในรูปที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่น

ที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ความ

กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันอิงอาศัยกามคุณ

ในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ

เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖.

[๙๙๓] วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน ?

ความอาฆาต ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความ

ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในรูปที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่ไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 820

น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ

ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ ความอาฆาต ควานกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ

ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่า

ชอบใจ

เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ.

[๙๙๔] ตัณหากายะ ๖ เป็นไฉน ?

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-

ตัณหา

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหากายะ ๖.

[๙๙๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน ?

บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในพระศาสดา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ

ในพระธรรม ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระสงฆ์ ประพฤติเป็นไปอยู่

ฯลฯ ในสิกขา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในความไม่ประมาท ประพฤติ

เป็นไปอยู่ บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในการปฏิสันถาร ประพฤติเป็นไปอยู่

เหล่านี้เรียกว่า อคารวะ ๖.

[๙๙๖] ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน ?

ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ

หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความยินดีในการอยู่ร่วมกัน ความ

ยินดีในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า

เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 821

[๙๙๗] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?

ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ

หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มี

มิตรชั่ว

เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖.

[๙๙๘] โสมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน ?

เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฟังเสียง

ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์

อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

เหล่านี้เรียกว่า โสมนัสสุปวิจาร ๖.

[๙๙๙] โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน ?

เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฟังเสียง

ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์

อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

เหล่านั้นเรียกว่า โทมนัสสุปวิจาร ๖.

[๑๐๐๐] อุเปกขูปวิจาร ๖ เป็นไฉน ?

เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา พึงเสียง

ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์

อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเขกขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 822

เหล่านี้เรียกว่า อุเปกขูปวิจาร ๖.

[๑๐๐๑] เคหสิตโสมนัส ๖ เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ควานเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันอิง อาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ

ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ ฯสฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ

อันเป็นที่ชอบใจ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่

สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่

เจโตสัมผัสอันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ

เหล่านั้นเรียกว่า เคหสิตโสมนัส ๖.

[๑๐๐๒] เคหสิตโทมนัส ๖ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่

เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ

ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ

ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์

ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์

อันไม่เป็นที่ชอบใจ

เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตโสมนัส ๖.

[๑๐๐๓] เคหสิตอุเปกขา ๖ เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 823

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ

ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ

ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่

ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตอุเปกขา ๖.

[๑๐๐๔] ทิฏฐิ ๖ เป็นไฉน ?

ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง

ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ดังนี้บ้าง ความ

เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความ

เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง

ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา ดังนี้

บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้นเป็นผู้กล่าว

เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยผลแห่งความดีและความชั่วในภพนั้น ๆ สิ้นกาลนาน

อัตตานั้นไม่เกิด ไม่ได้มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต

อัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืนมั่นคง ไม่แปรผัน ดังนี้บ้าง

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๖.

สัตตกนิทเทส

[๑๐๐๕] ในสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน ?

กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 824

เหล่านี้เรียกว่า อนุสัย ๗.

[๑๐๐๖] ปริยุฏฐาน ๗ เป็นไฉน ?

กามราคปริยุฏฐาน ปฏิฆปริยุฏฐาน มานปริยุฏฐาน ทิฏฐิปริยุฏฐาน

วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน ภวราคปริยุฏฐาน อวิชชาปริยุฏฐาน

เหล่านี้เรียกว่า ปริยุฏฐาน ๗.

[๑๐๐๗] สัญโญชน์ ๗ เป็นไฉน ?

กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์

วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์

เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๗.

[๑๐๐๘] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน ?

บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการศึกษาน้อย

เกียจคร้าน หลงลืมสติ ปัญญาทราม

เหล่านี้เรียกว่า อสัทธรรม ๗.

[๑๐๐๙] ทุจริต ๗ เป็นไฉน ?

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา

ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ

เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๗.

[๑๐๑๐] มานะ ๗ เป็นไฉน ?

มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉา-

มานะ

เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๗.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 825

[๑๐๑๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน ?

๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดโดยมีมารดา

และบิดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ. ย่อมไม่มี

ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะ

หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของ

สัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล้ว เราจะได้กล่าวว่า อัตตา

นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป ท่องเที่ยวอยู่

ในกามภูมิ มีอาหารคือคำข้าวเป็นภักษา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตา

นั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวก

หนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่

ด้วยประการอย่างนี้.

๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา

นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป สำเร็จแล้วด้วยใจ

มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 826

ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแลเบื้อง

หน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์

พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่

ด้วยประการอย่างนี้.

๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้น

ไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน

โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา มีอยู่แล

ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะ

อัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อม

ไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี

สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี

ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา

นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน

โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 827

อัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตา

นี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด

สูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

๖. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา

นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน

โดยบริกรรมว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจาย-

ตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้

เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญเพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตา

นี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด

สูญ ควานพินาศ ควานไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา

นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา

ยตนฌาน เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่าน

ย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตา

นั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี

ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 828

หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของ

สัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๗.

อัฏฐกนิทเทส

[๑๐๑๒] ในอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ.

เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๘.

[๑๐๑๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน ?

กุสีตวัตถุ ๘ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ มีการงานที่ต้องทำ เธอเกิดความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักต้องทำการงานแล แต่เมื่อเราทำการงานอยู่ จักลำบากกาย อย่ากระนั้น

เลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่

ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้

จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ ๑.

๒. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่ ลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย

เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น

กุสีตวัตถุข้อที่ ๒.

๓. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักต้องเดินทางแล แต่เมื่อเราเดินทางไป จักลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 829

เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น

กุสีตวัตถุข้อที่ ๓.

๔. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้เดินทางแล้ว เมื่อเรากำลังเดินทางอยู่ ลำบากกาย อย่ากะนั้นเลย

เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น

กุสีตวัตถุข้อที่ ๔.

๕. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปในบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต

ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอคิดอย่างนี้ว่า

เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอ

แก่ความต้องการ กายของเรานั้นลำบาก ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย

เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น

กุสีตวัตถุข้อที่ ๕.

๖. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปตามบ้านเรือนหรือนิคมเพื่อบิณฑ-

บาต ได้โภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอคิด

อย่างนี้ว่า เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ได้โภชนะอันเศร้า-

หมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่

การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอน

เสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 830

๗. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิด

อย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย ความดำริเพื่อจะนอนมีอยู่ อย่ากระนั้น

เลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่

ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้

จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ ๗.

๘. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายไข้แล้ว แต่ยังไม่นาน เธอคิดอย่าง

นี้ว่า เราหายได้แล้ว แต่ยังไม่นาน กายของเราอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน

อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง

คุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำ

ให้แจ้ง นี้จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ ๘.

เหล่านี้เรียกว่า กุสีตวัตถุ ๘.

[๑๐๑๔] จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน ?

จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘ คือ

๑. ความยินดีในลาภ

๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ

๓. ความยินดีในยศ

๔. ความยินร้ายในความเสอมยศ

๕. ความยินดีในความสรรเสริญ

๖. ความยินร้ายในความนินทา

๗. ความยินดีในสุข

๘. ความยินร้ายในทุกข์

นี้เรียกว่า จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม ๘.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 831

[๑๐๑๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน ?

อนริยโวหาร ๘ คือ

๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น

๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน

๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้

๔. เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง

๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น

๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน

๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้

๘. เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง

เหล่านั้นเรียกว่า อนริยโวหาร ๘.

[๑๐๑๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน ?

มิจฉัตตะ ๘ คือ

มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ

มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ

เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๘.

[๑๐๑๗] ปุริสโทษ ๘ เป็นไฉน ?

ปุริสโทษ ๘ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัติ

นั้นแก้ตัวด้วยความไม่มีสติว่า เราระลึกไม่ได้ ๆ ดังนี้ นี้จัดเป็นปุริสโทษ

ข้อที่ ๑

๒. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่

ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ได้โต้ตอบผู้โจทว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการกล่าว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 832

สำหรับท่านผู้โง่เขลา ผู้ไม่ฉลาด แม้ท่านยังสำคัญผิดที่จะกล่าวกะเรา ดังนี้

นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ ๒.

๓. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่

ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น กลับปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้โจทนั่นแหละว่า ท่านนั่นแหละ

ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน ดังนี้ นี้จัดเป็นปุริสโทษ

ข้อที่ ๓.

๔. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ

ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ยกเหตุอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอก

เรื่อง ทำเคือง ทำโกรธ ทำอาการไม่พอใจ นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ ๔.

๕. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ

ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น โบกมือปฏิเสธในท่ามกลางสงฆ์ นี้จัดเป็นปุริสโทษ

ข้อที่ ๕.

๖. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่

ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น นิ่งเสีย ทรมานสงฆ์ให้ลำบาก นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อ

ที่ ๖.

๗. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ

ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อต่อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อต่อโจท หลีกไปเสีย

ตามชอบใจทั้งที่ยังต้องอาบัติอยู่ นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ ๗.

๘. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่

ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น พูดอย่างนี้ว่า ทำไมหนอท่านจึงขวนขวายในเรานัก บัดนี้

เราจะลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์ เธอนั้นก็ลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าว

อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้แลท่านทั้งหลายจงยินดีแช่มชื่นเถิด ดังนี้

นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ ๘.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 833

[๑๐๑๘] อสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน ?

อสัญญีวาทะ ๘ คือ

๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่

ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา

๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้า

แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา

๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.

๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูปก็ไม่ใช่ ที่

หารูปมิได้ก็มิใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า

ไม่มีสัญญา.

๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้า

แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.

๖. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่หาที่สุดมิได้ เบื้อง

หน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.

๗. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มี

ที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.

๘. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุดก็ไม่ใช่ ที่หา

ที่สุดมิได้ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า

ไม่มีสัญญา.

เหล่านี้เรียกว่า อสัญญีวาทะ ๘.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 834

[๑๐๑๙] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน ?

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ คือ

๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่

ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้า

แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา

ก็ไม่ใช่

๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป

เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่

มีสัญญาก็ไม่ใช่

๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูป

ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็

ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้า

แต่ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็

ไม่ใช่

๖. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีที่สุดเบื้องหน้า

แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา

ก็ไม่ใช่

๗. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มี

ที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็

ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 835

๘. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มี

ที่สุด ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มี

สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

เหล่านี้เรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘.

นวกนิทเทส

[๑๐๒๐] ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน ?

อาฆาตวัตถุ ๙ คือ

๑. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย

แก่เราแล้ว

๒. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย

แก่เรา

๓. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย

แก่เรา

๔. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย

แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว

๕. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่

คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

๖. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย

แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

๗. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่คน

ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 836

๘. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คน

ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

๙. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่

เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๙.

[๑๐๒๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน ?

ปุริสมละ ๙ คือ

๑. โกธะ ความโกรธ

๒. มักขะ ควานลบหลู่คุณท่าน

๓. อิสสา ความริษยา

๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่

๕. มายา ความเจ้าเล่ห์

๖. สาเถยยะ ความโอ้อวด

๗. มุสาวาท พูดเท็จ

๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก

๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด

เหล่านี้เรียกว่า ปุริสมละ ๙.

[๑๐๒๒] มานะ ๙ เป็นไฉน ?

มานะ ๙ คือ

๑. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

๒. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

๓. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 837

๔. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

๕. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

๖. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

๗. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

๘. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา

๙. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๙.

[๑๐๒๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน ?

ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ

๑. เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา

๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดการได้

๓. เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย

๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย จึงเกิดฉันทราคะ

๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความยึดถือ

๖. เพราะอาศัยความยึดถือ จึงเกิดการหวงแหน

๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงเกิดความตระหนี่

๘. เพราะอาศัยความตระหนี จึงเกิดการรักษา

๙. เพราะอาศัยการรักษา จึงเกิดบาปอกุศลธรรม หลายประการ คือ

การจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การโต้เถียง การวิวาท การ

พูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ

เหล่านี้เรียกว่า ตัณหามูลกธรรม ๙.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 838

[๑๐๒๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน ?

อิญชิตะ ๙ คือ

๑. ความหวั่นไหวว่า มีเรา

๒. ความหวั่นไหวว่า เป็นเรา

๓. ความหวั่นไหวว่า นี้เป็นเรา

๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี

๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป

๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป

๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา

๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา

ก็ไม่ใช่

เหล่านี้เรียกว่า อิญชิตะ ๙.

[๑๐๒๕] มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ เป็น

ไฉน ?

สังขตะ ๙ คือ

๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี

๒. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา

๓. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา

๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี

๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป

๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 839

๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา

๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็

ไม่ใช่

เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ ๙.

ทสกนิทเทส

[๑๐๒๖] ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ?

กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ

อโนตตัปปะ

เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๑๐.

[๑๐๒๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ?

อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว

๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา

๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา

๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้

เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว

๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้

เป็นที่รักเป็นที่ชอบพอของเรา

๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้

เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 840

๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่

เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว

๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่

เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น

ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ควร

เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๑๐.

[๑๐๒๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน ?

อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์

๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาท พูดเท็จ

๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด

๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ

๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา

๙. พยาบาท ปองร้ายเขา

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม

เหล่านี้เรียกว่า อกุศลกรรมบถ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 841

[๑๐๒๙] สัญโญชน์ ๑๐ เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๑๐ คือ

๑. กามราคสัญโญชน์

๒. ปฏิฆสัญโญชน์

๓. มานสัญโญชน์

๔. ทิฏฐิสัญโญชน์

๕. วิจิกิจฉาสัญโญชน์

๖. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์

๗. ภวราคสัญโญชน์

๘. อิสสาสัญโญชน์

๙. มัจฉริยสัญโญชน์

๑๐. อวิชชาสัญโญชน์

เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๑๐.

[๑๐๓๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน ?

มิจฉัตตะ ๑๐ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ

๒. มิจฉาสังกัปปะ

๓. มิจฉาวาจา

๔. มิจฉากัมมันตะ

๕. มิจฉาอาชีวะ

๖. มิจฉาวายามะ

๗. มิจฉาสติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 842

๘. มิจฉาสมาธิ

๙. มิจฉาญาณ

๑๐. มิจฉาวิมุตติ

เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๑๐

[๑๐๓๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ?

มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล

๒. ความเห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล

๓. ความเห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล

๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี

๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี

๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี

๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มี

๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มี

๙. ความเห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี

๑๐. ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็น

แจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้รู้ได้ไม่มีใน

โลก

เหล่านี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

[๑๐๓๒] อันตคาหิกทิฏฐิวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ?

อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง

๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 843

๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด

๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด

๕. ความเห็นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

๖. ความเห็นว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น

๗. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

๘. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก

๙. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่

เกิดอีกก็มี

๑๐. ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้

นี้เรียกว่า อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

อัฏฐารสกนิทเทส

[๑๐๓๓] ในมาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภาย

ใน เป็นไฉน ?

ตัณหาว่าเรามี ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี

ตัณหาว่าเราเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราเป็นโดยประการอื่น ดังนี้

ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการนี้ ดังนี้

ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราจักเป็นโดยประการอื่น

ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราแน่นอน ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราไม่แน่นอน ดังนี้ ก็มี

ตัณหาว่าเราพึงเป็น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มี

ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้น ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่น ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 844

ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง

ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ ก็มี ตัณหาว่าเราพึงเป็น

โดยประการอื่นบ้าง ดังนี้ ก็มี.

[๑๐๓๔] ก็ตัณหาว่า เรามี คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามี ได้มานะว่า เรามี ได้ทิฏฐิว่า

เรามี เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้น มีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นโดย

ประการนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.

[๑๐๓๕] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือ

เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ มีรูป

หรือไม่มีรูปมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้.

[๑๐๓๖] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือน

กัน หรือเขาเป็นแพศย์ เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นศูทร เราก็

เป็นศูทรเหมือนกัน หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน หรือ

เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน หรือเขาเป็นเทวดา เราก็เป็น

เทวดาเหมือนกัน หรือเขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หรือเขามี

รูป เราก็มีรูปเหมือนกัน หรือเขาไม่มีรูป เราก็ไม่มีรูปเหมือนกัน หรือเขา

มีสัญญา เราก็มีสัญญาเหมือนกัน หรือเขาไม่มีสัญญา เราก็ไม่มีสัญญาเหมือน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 845

กัน หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น.

[๑๐๓๗] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่ได้เป็นพราหมณ์

เหมือนเขา หรือเขาเป็นแพศย์ เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา หรือเขาเป็น

ศูทร เราไม่ได้เป็นศูทรเหมือนเขา หรือเขาเป็นคฤหัสถ์ เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์

เหมือนเขา หรือเขาเป็นบรรพชิต เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา หรือเขา

เป็นเทวดา เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา หรือเขาเป็นมนุษย์ เราไม่ได้เป็น

มนุษย์เหมือนเขา หรือเขามีรูป เราไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขาไม่มีรูป เรา

มิใช่ไม่มีรูปเหมือนเขา หรือเขามีสัญญา เราไม่ใช่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขา

ไม่มีสัญญา เราไม่ใช่ไม่มีสัญญาเหมือนเขา หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่ใช่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้

ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น.

[๑๐๓๘] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็น คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็น ได้มานะว่า เราจักเป็น

ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่า

นี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ หรือเราจักเป็นอย่างนั้น หรือเราจัก

เป็นโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.

[๑๐๓๙] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็น

แพศย์ หรือจักเป็นศูทร จักเป็นคฤหัสถ์ หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 846

หรือจักเป็นมนุษย์ จักมีรูป หรือจักไม่มีรูป จักมีสัญญา หรือจักไม่มีสัญญา

หรือจักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจัก

เป็นโดยประการนี้.

[๑๐๔๐] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็จักเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็น

พราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็

จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาที่

เราจักเป็นอย่างนั้น.

[๑๐๔๑] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราจักไม่ได้เป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราจักไม่ได้เป็น

พราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจัก

ไม่เป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า

เราจักเป็นโดยประการอื่น.

[๑๐๔๒] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอน คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน เรา

ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอน.

[๑๐๔๓] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่

มี อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่นอน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 847

[๑๐๔๔] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็น คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็น ได้มานะว่า เราพึงเป็น

ได้ทิฏฐิว่า เราพึงเป็น เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่า

นี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ หรือเราพึงเป็นอย่างนั้น หรือเราพึง

เป็นไปโดยประการอื่น ก็ย่อมมี.

[๑๐๔๕] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือพึงเป็นพราหมณ์ พึงเป็น

แพศย์ หรือพึงเป็นศูทร พึงเป็นคฤหัสถ์ หรือพึงเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดา

หรือพึงเป็นมนุษย์ พึงมีรูป หรือพึงไม่มีรูป พึงมีสัญญา หรือพึงไม่มีสัญญา

หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึง

เป็นโดยประการนี้.

[๑๐๔๖] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์

เหมือนกัน ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญา

ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็น

อย่างนั้น.

[๑๐๔๗] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราไม่พึงเป็น

พราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 848

พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า

เราพึงเป็นโดยประการอื่น.

[๑๐๔๘] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง คืออย่างไร ?

คือ ไม่แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราก็พึงเป็นบ้าง ได้มานะว่า เราก็พึง

เป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่า เราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็น

เครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้นว่า เราก็พึงเป็นโดยประการนี้บ้าง หรือพึงเป็นอย่าง

นั้นบ้าง หรือพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง ก็ย่อมมี.

[๑๐๔๙] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราก็พึงเป็นกษัตริย์บ้าง หรือพึงเป็นพราหมณ์บ้าง

พึงเป็นแพศย์บ้าง หรือพึงเป็นศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์บ้าง หรือพึงเป็น

บรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาบ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์บ้าง พึงมีรูปบ้าง หรือ

พึงไม่มีรูปบ้าง พึงมีสัญญาบ้าง หรือพึงไม่มีสัญญาบ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่

ใช้ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการ

นี้บ้าง.

[๑๐๕๐] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็น

พราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

เราพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา

ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 849

[๑๐๕๑] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง คือ

อย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ หรือเขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็น

พราหมณ์เหมือนเขาบ้างก็หาไม่ ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่

ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขาบ้างก็หาไม่อย่าง

นี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง.

เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน.

[๑๐๕๒] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน ?

ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดย

ประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดย

ประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจัก เป็นอย่างนั้นด้วยรูป

ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เรา

ไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เรา

พึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วย

รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป. ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้บ้าง ตัณหาว่าเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

บ้างตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 850

[๑๐๕๓] ก็ตัณหาว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ คือ

อย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่า

เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เรามีด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เรามีด้วยประการ

นี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ หรือเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.

[๑๐๕๔] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ

เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ หรือเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป

ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น

เทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้

มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือไม่มีสัญญาณด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ หรือมีสัญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาณก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๕๕] ก็ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 851

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็นพราหมณ์

เราก็เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ เขามีสัญญา

ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป

ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๕๖] ก็ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราไม่เป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็หามิได้ อย่างนี้ชื่อ

ว่า ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๕๗] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ คืออย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

ได้มานะว่า เราจักเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า เราจักเป็น

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่อง

เนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ

เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราจักเป็นโดยประการ

อื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้ ก็ย่อมมี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 852

[๑๐๕๘] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ

จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักเป็นมนุษย์

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

หรือจักไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ หรือจักไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือจักมีสัญญา

ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า

ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๕๙] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น ด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็จักเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณที่เหมือนกัน หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ

หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็จักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา

ว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๐] ก็ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 853

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราจักไม่เป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราจักไม่เป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา

ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักมีสัญญาก็ไม่ใช่

ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาก็หามิได้ อย่างนี้

ชื่อว่า ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้.

[๑๐๖๑] ก็ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ คืออย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน เราแน่นอน

เราไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้

ชื่อว่า ตัณหาว่า เราแน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๒] ก็ตัณหาว่า เราไม่แน่นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจัก

ไม่มี ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราไม่แน่

นอนด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๓] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ คืออย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 854

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิ

ว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรม

เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือเราพึงเป็นโดย

ประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ก็ย่อมมี.

[๑๐๖๔] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือ

พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นบรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นมนุษย์

ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

หรือพึงเป็นผู้ไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นผู้มีสัญญาด้วยรูป

ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือพึงเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้ หรือพึงเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป

ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๕] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 855

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้น เพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน

ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า เราพึง

เป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๖] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้ คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราไม่พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณเหมือนเขา หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา

ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่

มีสัญญาก็ไม่ใช่ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหา

ว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๗] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้บ้าง คืออย่างไร ?

คือ แยกธรรมอันใดอันหนึ่ง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้บ้าง ได้มานะว่า เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้ทิฏฐิว่า

เราพึงเป็นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ ธรรม

เครื่องเนิ่นช้าว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง

หรือเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเราพึงเป็น

โดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง ก็ย่อมมี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 856

[๑๐๖๘] ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณนี้บ้าง

หรือพึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นแพศย์ด้วย

รูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นศูทรด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณ

นี้บ้าง เราพึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็น

บรรพชิตด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงเป็นเทวดาด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงเป็นมนุษย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง

เราพึงมีรูปด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงไม่มีรูปด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้บ้าง เราพึงมีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือ

พึงไม่มีสัญญาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือพึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่า ตัณหาว่า

เราพึงเป็นโดยประการนี้ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้.

[๑๐๖๙] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือ

วิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร ?

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราก็พึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน หรือเขาเป็น

พราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน

ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราก็พึงมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างเหมือนกัน อย่างนี้ชื่อว่า

ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง.

[๗๐๗๐] ก็ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ

หรือวิญญาณนี้บ้าง คืออย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 857

คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์

เราไม่พึงเป็นกษัตริย์เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือเขา

เป็นพราหมณ์เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้

บ้าง ฯลฯ หรือเขามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราไม่พึงมีสัญญาก็ไม่

ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เหมือนเขา ด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างอย่างนี้

ชื่อว่า ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูป ฯลฯ หรือวิญาณ

นี้บ้าง.

เหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก.

[๑๐๗๑] ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ เหล่านี้ ตัณหา-

วิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ๑๘ เหล่านี้ ประมวลเข้าด้วยกันเป็นตัณหา-

วิจริต ๓๖.

ตัณหาวิจริตดังกล่าวนี้เป็นอดีตกาล ๓๖ เป็นอนาคตกาล ๓๖ เป็น

ปัจจุบันกาล ๓๖ ประมวลเข้ากันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.

[๑๐๗๒] ในมาติกานั้น ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ในพรหมชาลสูตร เป็นไฉน ?

คือ สัสสตวาทะ ๔ เอกัจจสัสสติกวาทะ ๔ อันตานันติกวาทะ ๔

อมราวิกเขปิกวาทะ ๔ อธิจจสมุปปันนิกวาทะ ๒ สัญญีวาทะ ๑๖ อสัญญีวาทะ

๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ อุจเฉทวาทะ ๗ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ ทิฏฐิ

๖๒ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ด้วยประการฉะนี้.

ขุททกวัตถุวิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 858

อรรถกถาขุททกวัตถุวิภังค์

การกำหนดบทมาติกา

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งปฐมมาติกาแม้ในขุททกวัตถุวิภังค์

อันเป็นลำดับแห่งญาณวิภังค์นั้น แล้วทรงทำคำอธิบาย โดยลำดับแห่งบทที่

พระองค์ทรงตั้งไว้.

กำหนดแม่บท (มาติกา]) ในขุททกวิภังค์

ธรรมหมวดที่หนึ่ง (เอกกมาติกา) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งไว้

๗๓ บท มีคำว่า ความมัวเมาในชาติ เป็นต้นก่อน ต่อจากนั้น ทรงตั้ง

ธรรมหมวดสอง (ทุกมาติกา) ๑๘ บท มีคำว่า ความโกรธ และความ

ผูกโกรธ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสาม (ติกมาติกา) ๓๕ บท มีคำว่า

อกุศลมูล ๓ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสี่ (จตุกกมาติกา) ๑๔ บท มี

อาสวะ ๔ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดห้า (ปัญจกมาติกา) ๑๕ บท มีคำว่า

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดหก (ฉักกมาติกา) ๑๔

บท มีคำว่า วิวาทมูล ๖ เป็นต้น . ทรงตั้งธรรมหมวดเจ็ด (สัตตกมาติกา)

๗ บท มีอนุสัย ๗ เป็นต้น ทรงตั้งธรรมหมวดแปด (อัฏฐกมาติกา) ๘ บท

มีกิเลสวัตถุ ๘ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดเก้า (นวกมาติกา) ๙ บท มี

อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นต้น. ทรงตั้งธรรมหมวดสิบ (ทสกมาติกา) ๗ บท มี

กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นต้น. และพึงทราบว่า ทรงตั้งตัณหาวิจริต ๑๘ มีคำว่า

ตัณหาวิจริต* อาศัยอายตนะภายใน ๑๘ และอาศัยอายตนะภายนอก ๑๘

ประมวลเข้าด้วยกันเป็น ๓๖ เป็นต้น (ตัณหา ๓๖ * กาล ๓ = ๑๐๘) ดังนี้.

นี้เป็นการกำหนดบทมาติกา ก่อน.

* ในบาลีนิทเทส กล่าวว่า ตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘...

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 859

อรรถกถาเอกกนิทเทส

อธิบายมาติกาหมวดหนึ่ง

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบนิทเทสวาระ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ

ไว้ในบทมาติกาที่ทรงตั้งไว้ในเอกกมาติกาเหล่านั้น โดยนัยว่า กตโม ชาติ-

มโท (แปลว่า ความมัวเมาในชาติ เป็นไฉน ?) เป็นต้น.

ว่าด้วยความมัวเมาในชาติ เป็นต้น

คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยชาติ. ก็ในเอกกมาติกานี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ชื่อว่า การอาศัยมีอยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบ

เนื้อความในมาติกานี้ว่า ได้แก่ เมื่อชาติมีอยู่ ดังนี้. แม้ในคำว่า เพราะ

อาศัยโคตร เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ ชื่อว่า มัวเมา ด้วยสามารถแห่งความ

มัวเมา. อาการแห่งความมัวเมา คือกิริยาที่มัวเมา. ความเป็นแห่งกิริยาที่

มัวเมา คือ สภาพที่มัวเมา. คำว่า ความถือตัว (มานะ) กิริยาที่ถือตัว

(มญฺนา) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งธัมมสังคหะใน

หนหลัง. ค่าว่า อย วุจฺจติ (แปลว่า บุคคลนี้เรียกว่า) ได้แก่ บุคคลนี้

นั่นแหละ เมื่อชาติมีอยู่ อาศัยชาตินั้นแล้วมีมานะ (มีความถือตัว) อันถึงซึ่ง

กิริยาอันมัวเมา อันเกิดขึ้นแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า มีความ

มัวเมาในชาติ ดังนี้. บรรดาวรรณะ แม้ทั้ง ๔ เหล่า มีกษัตริย์เป็นต้น

(กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) ชื่อว่า ความมัวเมานี้นั่นแหละ ย่อม

เกิดขึ้น. จริงอยู่ กษัตริย์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ ย่อมทำมานะ (ความถือตัว) ว่า

บุคคลอื่นเช่นเราย่อมไม่มี กษัตริย์ที่เหลือ (เว้นเรา) ตั้งขึ้นมาในภายหลัง

ส่วนเราเป็นกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ ดังนี้. แม้พราหมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 860

แม้ในนิทเทสแห่งความมัวเมาในโคตรเป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความ

โดยนัยนี้เช่นกัน. เพราะว่าแม้กษัตริย์ ก็ทำมานะ (ถือตัว) ว่า เราเป็นกษัตริย์

โกณฑัญญโคตร เป็นกษัตริย์อาทิจจโคตร ดังนี้. แม้พราหมณ์ ก็ทำมานะว่า

เราเป็นพราหมณ์กัสสปโคตร เราเป็นพราหมณ์ภารทวาชโคตร ดังนี้. แม้

แพศย์ แม้ศูทร ก็อาศัยตระกูลวงศ์ของตน แล้วทำมานะ. ชนทั้งหลายผู้เป็น

หัวหน้าคณะแม้ทั้ง ๑๘ คณะ ก็ย่อมทำมานะว่า หัวหน้าหมู่โน้นแตกแยกกัน

เราไม่แตกแยกกัน ดังนี้เป็นต้น.

ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีโรค เป็นต้น

ในบรรดาความมัวเมาทั้งหลาย มีความมัวเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความที่มัวเมาว่า เราไม่มีโรค ชนทั้งหลายที่

เหลือ (เว้นเรา) มีโรคมาก ขึ้นชื่อว่า พยาธิแม้เพียงจะผ่านผิวของเราก็ไม่มี

ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความไม่มีโรค.

ว่าด้วยความมัวเมาโดยความเป็นหนุ่มสาว

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เรายังเป็นหนุ่มสาว

อัตภาพของสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) เป็นเช่นกับต้นไม้ตั้งอยู่ริมเงื้อมผา

ส่วนเราตั้งอยู่ในปฐมวัย ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว.

ว่าด้วยความมัวเมาในชีวิต

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราเป็นอยู่นาน เราจะ

เป็นอยู่นาน เราจักเป็นอยู่นาน เราเป็นสุข เราจะเป็นสุข เราจักเป็นสุข

ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในชีวิต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 861

ว่าด้วยความมัวเมาในลาภ

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เรามีลาภมากสัตว์ทั้งหลาย

ที่เหลือ (นอกจากเรา) มีลาภน้อย ก็ลาภทั้งหลายของเราประมาณไม่ได้ ดังนี้

ชื่อว่า ความมัวเมาในลาภ.

ว่าด้วยความมัวเมาในสักการะ

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมได้ปัจจัย

ใด ๆ เราเท่านั้นที่ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันประณีตที่เขากระทำดีแล้ว ดังนี้

ชื่อว่า ความมัวเมาในสักการะ.

ว่าด้วยความมัวเมาในความทำความเคารพ

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ชนทั้งหลายเดินตามไป

ข้างหลังของภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ไหว้ภิกษุนั้น ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นสมณะ

ดังนี้บ้าง แต่พวกเขาเหล่านั้นเห็นเราแล้วย่อมไหว้ทีเดียว กระทำความเคารพเรา

เสมือนว่าเป็นฉัตรที่ปักติดอยู่เราในหิน ย่อมกระทำความสำคัญเราว่าเป็นผู้เข้า

ไปหาได้ยากราวกะกองไฟฉะนั้น ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความทำ

ความเคารพ.

ว่าด้วยความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมตัดสินได้ด้วยปากของเราเท่านั้น แม้เมื่อไปภิกขาจาร ก็ทำเราเท่านั้น

ให้ไปข้างหน้า แล้วจึงห้อมล้อมตามไป ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาใน

ความเป็นหัวหน้า.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 862

ว่าด้วยความมัวเมาในบริวาร

มานะที่เกิดขึ้นแก่ผู้ครองเรือนผู้มีบริวารมากก่อน ด้วยอำนาจความมัว

เมาว่า "บุรุษร้อยหนึ่งบ้าง บุรุษพันหนึ่งบ้าง ย่อมแวดล้อมเรา" ดังนี้ ส่วน

ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ครองเรือน (คือสมณะ) ด้วยอำนาจความมัวเมาว่า "สมณะ

ร้อยหนึ่งบ้าง สมณะพันหนึ่งบ้าง ย่อมแวดล้อมเรา สมณะที่เหลือมีบริวาร-

น้อย เรามีบริวารมากด้วย มีบริวารดีด้วย" ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาใน

บริวาร.

ว่าด้วยความมัวเมาในโภคสมบัติ

ก็โภคสมบัติ ท่านถือเอาด้วย ลาภะ ศัพท์ นั่นแหละแม้ก็จริง ถึงอย่าง

นั้น ท่านก็ถือเอากองแห่งโภคะอันตั้งไว้ในที่นี้อีก เพราะฉะนั้น มานะที่เกิด

ขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอกจากเรา) แล้ว ย่อม

ไม่ได้แม้แต่การใช้สอยเพื่อตน ส่วนเรามีทรัพย์เก็บไว้นับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่า

ความมัวเมาในโภคสมบัติ.

ว่าด้วยความมัวเมาในวรรณะ

คำว่า วณฺณ ปฏิจฺจ ได้แก่อาศัยวรรณะคือ ผิวพรรณแห่งสรีระบ้าง

วรรณะคือ คุณความดีบ้าง มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้ง

หลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีผิวพรรณไม่ดี มีรูปไม่งาม ส่วนเรามีรูปงามน่าเลื่อม

ใสสัตว์ทั้งหลายที่เหลือไม่มีคุณงามความดี ไม่เป็นที่สรรเสริญ ส่วนเรามีกิตติ

ศัพท์ที่ฟุ้งปรากฏไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ เราเป็น

พระเถระผู้เป็นพหูสูต แม้เพราะเหตุนี้เราเป็นผู้มีศีล แม้เพราะเหตุนี้เราเป็นผู้

ประกอบด้วยองค์คุณแห่งธุดงค์ ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า ความมัวเมาในวรรณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 863

ว่าด้วยความมัวเมาในการศึกษา

มานะ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือมี

การศึกษาน้อย แต่เรามีการศึกษามาก ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในการ

ศึกษา.

ว่าด้วยความมัวเมาในปฏิภาณ

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ

(เว้นเรา) ไม่มีปฏิภาณ ส่วนเรามีปฏิภาณมากจนนับไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่า

ความมัวเมาในปฏิภาณ.

ว่าด้วยความมัวเมาในรัตตัญญู

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า เราเป็นผู้รู้ราตรีนาน เรา

ย่อมรู้วงศ์ของพระพุทธเจ้าพระองค์โน้น ย่อมรู้วงศ์แห่งพระราชาพระองค์

โน้น รู้วงศ์แห่งชนบทโน้น รู้วงศ์แห่งบ้านโน้น ย่อมรู้ซึ่งการกำหนดทั้งกลาง

คืนและกลางวัน ย่อมรู้ซึ่งการประกอบฤกษ์และการทำนาย ดังนี้ ชื่อว่า ความ

มัวเมาในรัตตัญญู.

ว่าด้วยความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ภิกษุทั้งหลายถือบิณฑบาต

เป็นวัตรเพียงเล็กน้อย แต่เราถือบิณฑบาตเป็นวัตรตั้งแต่บวช ดังนี้ ชื่อว่า

ความมัวเมาในการถือบิณฑบาตเป็นวัตร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 864

ว่าด้วยความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเป็นผู้

ถูกดูหมิ่นดูแคลน เราไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลน ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมา

ในความไม่มีใครดูหมิ่น.

ว่าด้วยความมัวเมาในอิริยาบถ

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า อิริยาบถของสัตว์ทั้งหลาย

ไม่น่าเลื่อมใส ส่วนของเราน่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาใน

อิริยาบถ.

ว่าด้วยความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจควานมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเช่น

กับนกกาปีกหักบินไม่ได้ ส่วนเรามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก หรือว่าเราจะ

ทำสิ่งใด ๆ ก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์.

ว่าด้วยความมัวเมาในยศ

ยศ ท่านถือเอาด้วย ปริวาระ ศัพท์นั่นแหละ แต่ในที่นี้ท่านถือเอา

ความเป็นผู้มัวเมาในอุปัฏฐาก ความมัวเมานั้น บัณฑิตพึงแสดงด้วยบุคคลผู้

ครองเรือนบ้าง ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง ก็บรรดาประชุมชน ๑๘ พวก ผู้ครอง-

เรือนพวกหนึ่งก็มีหัวหน้าคนหนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า

เราจักแต่งตั้งคนผู้บำรุงเรา เราจักเที่ยวไป แม้ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ)

เป็นหัวหน้าคณะมีอยู่ ก็มีความสำคัญตนด้วยสามารถแห่งความเมามัวว่า เรา

เป็นหัวหน้า ภิกษุทั้งหลายเป็นไปในโอวาทของเรา เป็นต้น ชื่อว่า ความ

มัวเมาในยศ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 865

ว่าด้วยความมัวเมาในศีล

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น

เรา) เป็นผู้ทุศีล ส่วนเราเป็นผู้มีศีล ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในศีล.

ว่าด้วยความมัวเมาในฌาน

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น

เรา) ไม่มีเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ในกาลแม้สักว่าเพียงการดื่มน้ำของไก่

ส่วนเราได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาฌาน ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในฌาน.

ว่าด้วยความมัวเมาในศีลปะ

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (นอก

จากเรา). ไม่มีศิลปะ แต่เรามีศิลปะ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาใน

ศิลปะ.

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้น

เรา) มีทรวดทรงเตี้ย แต่เรามีทรวดทรงสูง ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมา

ในความมีทรวดทรงสูง.

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด

มานะที่อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ

(เว้นเรา) มีทรวดทรงเตี้ยไป สูงไป แต่เรามีทรวดทรงเรียบร้อยพอดีดุจต้น

นิโครธ ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 866

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า รูปร่างทรวดทรงของ

สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีรูปร่างแปลก ไม่น่าชม แต่เรามีรูปร่าง

น่าปลื้มใจ น่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรง

งาม.

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์

มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย

ที่เหลือ (เว้นเรา) มีโทษมาก แต่ของเราไม่มีโทษแม้สักเท่าปลายเส้นผม

ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสมานะ (ความถือตัว) อันเป็นไปกับ

ด้วยวัตถุ (สวัตถุกะ) ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

มานะอันไม่มีวัตถุ (อวัตถุกะ) อันกำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

ตตฺถ กตฺโม มโท (แปลว่า ในคำเหล่านั้น ความมัวเมา เป็นไฉน) คำนั้น

มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ปมาทนิทเทส

อธิบายความประมาท

คำว่า จิตฺตสฺส โวสฺสคฺโค (แปลว่า การปล่อยจิต) ได้แก่ การ

ปล่อยจิต เพราะความไม่ข่มไว้ด้วยสติ ในฐานะทั้งหลายเหล่านี้ มีประมาณ

เท่านี้ อธิบายว่า เว้นจากสติ. คำว่า โวสฺสคฺคานุปฺปทาน แปลว่า การ

เพิ่มพูนการปล่อยจิตไป คือ การปล่อยจิตไปบ่อย ๆ. คำว่า อสกฺกจฺจกิริยตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 867

(แปลว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ) ได้แก่ ชื่อว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ

ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำด้วยความเคารพ คือ การเจริญกุศล ธรรมทั้งหลาย มี

การให้ทานเป็นต้น หรือว่า ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความเคารพต่อบุคคล

หรือว่า ต่อไทยธรรม. ความเป็นแห่งการกระทำโดยติดต่อกันไป ชื่อว่า

สาตัจจะ. ความไม่ทำโดยติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจะ. อาการที่ทำโดยไม่

ติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจกิริยตา. ความกระทำโดยไม่มั่นคง ชื่อว่า

อนัฏฐิตกิริยตา. ในข้อนี้ เปรียบเหมือนตัวกิ้งก่า วิ่งไปหน่อยหนึ่งแล้ว

หยุดหน่อยหนึ่ง ย่อมไม่วิ่งไปติดต่อกัน ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ

บุคคลใด ให้ทานครึ่งหนึ่ง (วันหนึ่ง) หรือทำการบุชาครั้งหนึ่ง หรือว่าพึง

ธรรมครั้งหนึ่ง ก็หรือว่าทำสมณธรรมครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ทำต่อไป ย่อม

ไม่ให้กุศลนั้น ๆ เป็นไปติดต่อกัน การทำนั้นของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ตรัสเรียกว่า ความกระทำไม่มั่นคง ดังนี้. คำว่า โอลีนวัตฺติตา (แปล

ว่า ความประพฤติย่อหย่อน) ได้แก่ ชื่อว่า ความประพฤติย่อหย่อน เพราะ

ไม่มีความประพฤติแผ่ออกไป กล่าวคือการกระทำไม่ให้ขาดระยะ. คำว่า

นิกฺขิตฺตฉนฺทตา (แปลว่า ความทอดทิ้งฉันทะ) ได้แก่ ความที่วิริยะฉันทะ

ในการทำกุศลเป็นสภาพอันเขาทิ้งเสียแล้ว. คำว่า นิกฺขิตฺตธุร (แปลว่า

ความทอดทิ้งธุระ) ได้แก่ การตัดธุระ คือ ตัดความเพียรออกไป อธิบายว่า

ความที่บุคคลนั้น มีฉันทะอันมีในใจ ทอดทิ้งเสียแล้ว. คำว่า อนธิฏฺาน

(แปลว่า ความไม่ตั้งใจจริง) ได้แก่ ความไม่มีความตั้งใจเฉพาะในการกุศล.

คำว่า อนนุโยโค ได้แก่การไม่ประกอบความเพียรเนือง ๆ. ความ

เผลอสติ ชื่อว่า ความประมาท. ก็คำว่า โย เอวรูโป ปมาโท (แปลว่า ความ

ประมาท .. อันใด มีลักษณะเช่นนี้) นี้ เป็นการแสดงอาการโดยความไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 868

ขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใด ที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใด

แม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการ

ที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย

(ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความประมาท.

แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความประมาทนี้ มีการสละสติในเพราะกามคุณ ๕ เป็น

ลักษณะ (เป็นเหตุ). บัณฑิต พึงทราบความประมาทนั้นนั้นแหละว่า เป็น

อาการสละสติ ดังนี้.

ถัมภนิทเทส

อธิบายความหัวดื้อ

ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต

ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ อาการแห่ง

ความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพ

หัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิย (แปลว่า แข็งกระด้าง).

ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิย (แปลว่า ความหยาบคาย)

ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อม

นั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความ

เป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า

อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อย วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ

อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 869

ครั้นเห็นพระเจดีย์ หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติ

เคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ.

สารัมภนิทเทส

อธิบายความแข่งดี

ชื่อว่า ความแข่งดี (สารัมภะ) ด้วยสามารถแห่งการฉุนเฉียว. ความ

แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า ความแข่งขึ้นหน้า (ปฏิสารัมภะ). อาการที่แข่งดี

ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดี. กิริยาที่แข่งดีแผ่ออกไป ชื่อว่า กิริยาที่แข่งดีขึ้นหน้า

ความเป็นแห่งบุคคลแข่งดีแผ่ไปแล้ว ชื่อว่า สภาพความแข่งดีขึ้นหน้า คำว่า

อย วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความแข่งดี

ว่าโดยลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า มีสิ่งเปรียบด้วยการ

การทำเกินเป็นลักษณะ. คือว่า บุคคลใดประกอบด้วยสิ่งใด บุคคลผู้แข่งดีนั้น

ย่อมกระทำสิ่งนั้น ๆ ให้เป็นสองเท่า. เช่น ผู้ครองเรือน บุคคลอื่นตกแต่ง

หรือตระเตรียมสิ่งของภายในบ้านด้วยวัตถุเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลผู้แข่งดีย่อม

จัดแจงสิ่งนี้นัยสองอย่าง ผู้แข่งดีคนอื่นอีกย่อมจัดแจงสิ่งนั้นเป็นสี่ ผู้อื่นอีกย่อม

จัดแจงเป็นแปด ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมจัดแจงเป็น ๑๖.

ผู้ไม่ครองเรือน (สมณะ) ผู้มีการแข่งดีมีอยู่ เมื่อผู้หนึ่งเรียนพระพุทธ-

พจน์นิกายหนึ่งด้วยสูตรหนึ่ง ผู้แข่งดีคนอื่นย่อมคิดว่า เราจักเป็นผู้ล้าหลังผู้นั้น

ดังนี้ จึงเรียน ๒ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนเอา ๓ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีก

ย่อมเรียน ๔ นิกาย ผู้แข่งดีอื่นอีกย่อมเรียนพระพุทธพจน์ ๕ นิกาย. ก็การเรียน

พระพุทธพจน์นั้น ไม่ควรด้วยสามารถแห่งความแข่งดี. เพราะว่าความแข่งดี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 870

นั้นเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล เป็นทางยังสัตว์ให้ถึงนรก. แต่ว่า ว่าด้วยสามารถ

แห่งฝักฝ่ายในกุศล เมื่อบุคคลถวายสลากภัตเพียงหนึ่งอย่าง บุคคลอื่นควรให้

เพิ่มเป็นสอง เมื่อบุคคลถวายสองอย่าง บุคคลอื่นควรถวายเพิ่มเป็นสี่อย่าง

อย่างนี้สมควร. ก็ครั้นเมื่อภิกษุเรียนพระพุทธพจน์นิกายหนึ่ง ภิกษุอื่นเรียนเอา

สองนิกายด้วยคิดว่า เมื่อเราสาธยายพระพุทธพจน์อยู่ ความผาสุกย่อมมี ดังนี้

ก็ควร ฉะนั้น การเรียนพุทธพจน์ให้ยิ่งกว่านั้น เพราะมั่นอยู่ในฝักฝ่ายแห่ง

กุศลอันเป็นวิวัฏฏะ ก็ควร.

อัตริจฉตานิทเทส

อธิบายความอยากได้เกินประมาณ

อรรถแห่งความชั่วช้าลามกที่กล่าวไว้ใน อริยวังสสูตร ฉันใด อรรถ

แห่งความเป็นผู้อยากได้เกินประมาณ ก็ฉันนั้น. ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายมี

จีวรเป็นต้น ภิกษุได้สิ่งใด ๆ มา ก็ไม่ยินดีสิ่งนั้น ๆ ก็หรือว่า เป็นคฤหัสถ์

ย่อมได้สิ่งใด ๆ ในบรรดารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็ไม่ยินดี

ด้วยสิ่งนั้น ๆ. คำว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความปรารถนาให้วิเศษขึ้นไป.) ชื่อว่า

ความอยาก เพราะอำนาจแห่งความปรารถนา. หรือว่า อาการแห่งความอยาก

นั่นแหละ ชื่อว่า กิริยาที่ปรารถนา. สภาพแห่งความอยากเกินการได้ของ

ตน ชื่อว่า ความมักมาก. คำว่า ราคะ เป็นต้น มีอรรถตามที่กล่าว

แล้วในหนหลัง แล. คำว่า อย วุจฺจติ ได้แก่ ผู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกชื่อว่า ความมักมาก แม้ความอยากเกินประมาณนี้ ก็เป็นชื่อของ

ความมักมากนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความอยากได้เกินประมาณ

นี้ ได้แก่ ความไม่สันโดษในลาภของตน และความปรารถนาในลาภของผู้อื่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 871

ข้อนี้ มีการอยากได้เกินประมาณเป็นลักษณะ (เป็นเครื่องกำหนด). จริงอยู่

แม้วัตถุอันประณีต อันบุคคลผู้มีความอยากเกินประมาณนั้น ได้แล้ว ย่อม

ปรากฏเป็นราวกะว่าของลามก (ต่ำช้า). แม้วัตถุอันลามกอันบุคคลอื่นได้แล้ว

ย่อมปรากฏราวกะว่าเป็นของประณีต. ข้าวยาคูอันสุกแล้วในภาชนะหนึ่ง หรือ

ว่าภัต หรือว่าขนมที่เขาใส่ไว้ในบาตรของตน เป็นราวกะว่าเป็นของลามก.

ในบาตรของผู้อื่น ย่อมปรากฏราวกะว่า เป็นของประณีต. อนึ่งความอยาก

เกินประมาณนี้ ย่อมมีแม้แก่บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย

ย่อมมีแม้แก่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย. ในข้อนี้พึงทราบเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นเป็น

อุทาหรณ์ต่อไป.

เรื่องของผู้มีความโลภเกินประมาณ

ได้ยินว่า กฏุมพีคนหนึ่ง นิมนต์ภิกษุณี ๓๐ รูป ได้ถวายภัต กับ

ขนม พระสังฆเถรียังขนมในบาตรของภิกษุณีทั้งปวงให้เปลี่ยนแปลงแล้ว

(เข้าใจว่าแบ่งขนมในบาตรอื่น) แล้วจึงได้เคี้ยวกินขนมนั้นอันตนได้แล้วใน

ภายหลัง.

แม้พระเจ้าพาราณสี ก็ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อสุกด้วยถ่านไฟ

ดังนี้จึงทรงพาพระเทวีเสด็จเข้าไปประพาสป่า ทอดพระเนตรเห็นกินนรีนาง

หนึ่ง ทรงทิ้งพระเทวีเสด็จตามนางกินนรีนั้นไป. พระเทวีจึงเสด็จไปสู่อาศรม

บท (บวชเป็นตาปสินี) แล้วกระทำกสิณบริกรรม บรรลุสมาบัติ ๘ และ

อภิญญา ๕ นั่งอยู่ เห็นพระราชากำลังเสด็จมา จึงเหาะขึ้นไปในอากาศได้เสด็จ

ไปแล้ว. เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา

นี้ ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 872

อตฺริจฺฉ อติโลเภน อติโลภมเทน จ

เอว โส หายติตฺตาน จนฺทว อสิธาภุยา

แปลว่า

พระองค์นั้น ทรงปรารถนานาง

จันทกินนรีอยู่ ทรงละทิ้งพระราชบิดา

อสิตาภูเสื่อมแล้ว ฉันใด พระองค์ย่อมยัง

พระสรีระให้เสื่อมโทรมไป เพราะความ

โลภมากและเพราะความมัวเมาในความ

โลภเกินไปฉันนั้น ดังนี้.

เทวดา ได้ทำการเยาะเย้ยพระราชาว่า พระองค์ เมื่อปรารถนา

นางจันทกินนรี ทรงละทิ้งพระราชธิดาอสิตาภู จึงเสื่อมจากนางทั้งสอง เมื่อ

โลภเกินไปอย่างนี้ ย่อมทำตนให้เสื่อมไป ดังนี้.

เรื่องบุตรเศรษฐี

แม้ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป บุตรเศรษฐี

คนหนึ่งชื่อว่า มิตตวินทุกะ ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้

อันมารดาอ้อนวอนอยู่ว่า พ่อ เจ้าจงรักษาอุโบสถศีล จงฟังธรรมในวันนี้ตลอด

ราตรีในวิหารแล้ว แม่จักให้ทรัพย์แก่เจ้าพันหนึ่ง ดังนี้ เพราะความโลภใน

ทรัพย์ จึงไปสู่วิหารสมาทานองค์แห่งอุโบสถศีล ครั้นแล้วก็กำหนดสถานที่

ว่า ที่นี้ไม่มีภัย (คือ ไม่มีใครเห็น) แล้วนอนภายในธรรมาสน์ ครั้นนอน

ตลอดคืนแล้ว ก็ลุกขึ้นไปบ้าน. มารดาของเขาหุงข้าวยาคูส่งให้แต่เช้าตรู่. นาย

มิตตวินทุกะนั้น ขอรับทรัพย์พันหนึ่งก่อนนั่นแหละ แล้วจึงดื่มข้าวยาคู.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 873

ลำดับนั้น เขาได้มีปริวิตกว่า เราจะรวบรวมทรัพย์ให้มาก ด้วยทุน

ทรัพย์นี้ ดังนี้ จึงปรารถนาจะขึ้นเรือไปสู่สมุทรเพื่อไปค้าขาย. ทีนั้นมารดา

ของเขาได้กล่าวห้ามว่า พ่อ ในตระกูลของเรามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ เจ้าอย่าไป

เลย ดังนี้ เขาไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดา เดินไปอยู่นั่นแหละ. มารดาจึงไป

ยืนขวางข้างหน้า ในขณะนั้นแหละ เขาโกรธแล้ว จึงใช้เท้าประหารมารดา

ให้ล้มลง ด้วยคิดว่า หญิงนี้ มายืนขวางหน้าเรา ดังนี้ ได้ทำมารดาให้อยู่

ในระหว่าง (ข้ามไป) ไปแล้ว มารดาลุกขึ้นแล้ว กล่าวว่า พ่อเจ้าอย่าได้

สำคัญอย่างนี้ว่า เมื่อเราทำกรรมเห็นปานนี้ในมารดาผู้เช่นกับด้วยเรา ไปแล้ว

จักมีความสุข ดังนี้.

เมื่อนายมิตตวินทุกะนั้น ก้าวขึ้นเรือไปอยู่ เรือแล่นไปถึงวันที่ ๗ ก็

หยุด. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวว่า บุรุษผู้ลามกต้องมีอยู่ใน

เรือนี้แน่แท้ ท่านทั้งหลายจงจับสลากกัน ดังนี้ สลากที่พวกเขาให้จับอยู่ ก็

ตกแก่นายมิตตวินทุกะนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง. มนุษย์เหล่านั้นจึงจับนาย

มิตตวินทุกะนั้นลอยแพ แล้วจึงแล่นเรือไปในสมุทร. แพของนายมิตตวินทุกะ

นั้นลอยไปถึงเกาะหนึ่ง เขาเสวยสมบัติอยู่กับด้วยนางเวมานิกเปรตทั้งหลาย แม้

ผู้อันนางเวมานิกเปรตทั้งหลายกล่าวอ้อนวอนว่า ขอท่านอย่าไป ดังนี้ เมื่อ

เขาไปอยู่เห็นสมบัติสองเท่าของสมบัตินั้นก็เสวยอยู่ ๆ เป็นไปโดยลำดับในที่สุด

ได้เห็นบุรุษคนหนึ่งมีกงจักรคมกล้าหมุนอยู่ที่ศีรษะ จักรนั้นปรากฏราวกะว่า

ดอกปทุม. นายมิตตวินทุกะนั้น จึงกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านจงให้ดอกปทุมที่ท่านประดับไว้นี้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้. บุรุษนั้นกล่าวว่า

ข้าแต่นาย นี้มิใช่ดอกปทุม นี้เป็นกงจักรอันคมกล้า ดังนี้. นายมิตตวินทุกะ

กล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ลวงข้าพเจ้า ดอกปทุมเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ามิเคยเห็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 874

หรือ ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็ท่านฉาบทาด้วยจันทน์แดง จึงไม่ต้องการให้ดอก

ปทุมอันเป็นเครื่องประดับนั้นแก่เรา ดังนี้. บุรุษนั้น คิดว่า แม้ชนนี้ จัก

เป็นผู้ทำกรรมเช่นเรานั่นแหละ จึงใคร่จะเสวยผลของกรรมนั้น ดังนี้ ลำดับ

นั้น บุรุษผู้มีกงจักรอันพัดผันอยู่ที่ศีรษะนั้น จึงกล่าวว่า เอาเถิด เราจักให้

ดังนี้แล้วเอากงจักรใส่ให้บนศีรษะของนายมิตตวินทุกะแล้วไป.

พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ว่า

จตฺพภิ อฏฺชฺฌคมา อฏฺาภิปิ จ โสฬส

โสฬสาภิ จ พาตฺตึส อตฺริจฺฉ จกฺกมาสโท

อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺก ภมติ มตฺถเก

แปลว่า

บุรุษนั้น (นายมิตตวินทุกะ) ละจาก

นางเวมานิกเปรต ๔ นาง เสวยสมบัติกับ

นางเวมานิกเปรต ๘ นาง ละจากนางเวมานิก

เปรต ๘ นาง เสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิก

เปรต ๑๖ นาง ละจากนางเวมานิกเปรต ๑๖

นางแล้วเสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต ๓๒

นาง เป็นผู้มีความอยากเกินประมาณเข้าถึงจักร

อยู่ จักรนั้นย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้อัน

ความอยากนำมาแล้ว ดังนี้.

เรื่องอำมาตย์

อำมาตย์คนหนึ่ง มีความอยากเกินประมาณแม้อื่นอีก ก้าวล่วงเขตแดน

ของตนเข้าไปสู่แดนของผู้อื่น ถูกโบยตีแล้วในที่นั้น จึงหนีไปสู่ที่เป็นที่อยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 875

ของดาบสองค์หนึ่ง อธิษฐานองค์อุโบสถแล้วนอน. อำมาตย์นั้นถูกดาบสถามว่า

ท่านทำกรรมอะไรมา เขาจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

สก นิเกต อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ

ดังนี้

แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็น

มลทิน ด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตี

ข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนี

ออกมา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทราม

อย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้.

มหิจฉตานิทเทส

อธิบาย ความมักมาก หรือความหิวกระหาย

บุคคลใด ปรารถนาวัตถุทั้งหลายเกินประมาณ ก็หรือว่า ความอยาก

ของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความมักมาก (มี

ความหิวกระหาย). ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความมักมากนั้น ชื่อว่า สภาพ

ความมักมาก. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ใน

การบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่า มีความอยากมากเป็น

ลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบ

เหมือน พ่อค้าหาบเร่ (กจฺฉปูฏวาณิชฺโช) ถือสินค้า เครื่องประดับด้วยมือ

และห้อยสิ่งที่ควรขายไว้ที่หน้าตัก แล้วกล่าวโฆษณาเชิญชวนมหาชนที่เห็นอยู่

นั่นแหละว่า แม่ จงถือเอาสิ่งชื่อโน้น ชื่อโน้น ดังนี้ ชื่อฉันใด ข้อนี้ก็ฉัน

นั้นนั่นแหละ คุณคือ ศีล หรือการศึกษาพระพุทธพจน์ หรือธุดงค์คุณ โดยที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 876

สุดแม้สักว่าการอยู่ป่าเป็นวัตรของตน แม้มีประมาณน้อย แต่เป็นผู้ใคร่เพื่อ

ยังมหาชน ผู้รู้อยู่นั้นให้ส่งเสริมตน. ก็แลบุคคลเช่นนี้ ครั้นเมื่อมหาชน

ส่งเสริมตน น้อมปัจจัยทั้งหลายแม้ตั้งเล่มเกวียนมาให้ ก็ไม่พอ ไม่กล่าวห้าม

ว่า อย่าเลย ย่อมถือเอาเทียว. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง ๓ ให้

อิ่ม ให้เต็ม คือ ไฟ ย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทร ย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ

บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย

ดังนี้.

อคฺคิกฺขนโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล

พหุเก ปจฺจเย เทนฺเต ตโยเปเต น ปูรเย.

แปลว่า

สิ่งทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ กองไฟ ๑ มหาสมุทร ๑

บุคคลผู้มักมาก ๑ เมื่อใคร ๆ ให้ปัจจัยทั้งหลายแม้

มากมาย ก็ไม่พึงให้อิ่มให้เต็มได้.

จริงอยู่บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือ

เอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า ในข้อนี้ มี

เรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์:-

เรื่องภิกษุหนุ่ม

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ย่อมติดใจในขนมทำด้วยแป้ง ลำดับนั้น

มารดาของภิกษุนั้น เมื่อจะทดลองข้อปฏิบัติของบุตรดูว่า ถ้าว่า บุตรของเรา

ย่อมรู้ประมาณในการรับไซร้ เราจักบำรุงด้วยขนมทั้งหลายตลอดไตรมาส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 877

ดังนี้ จึงเริ่มทดลองในวันใกล้ฤดูฝน ครั้งแรกได้ถวายขนมชิ้นหนึ่ง เมื่อขนม

ชิ้นนั้นหมดแล้ว จึงถวายชิ้นที่ ๒ เมื่อขนมชิ้นที่ ๒ หดแล้ว จึงถวายขนม

ชิ้นที่ ๓ ภิกษุหนุ่มไม่ห้ามว่า พอละ เคี้ยวกินอยู่นั่นแหละ มารดาทราบซึ่ง

ความที่ภิกษุลูกชายนั้นไม่รู้จักประมาณ จึงกล่าวว่า ขนมของไตรมาสทั้งสิ้น

บุตรของเราเคี้ยวกินหมดแล้วในวันนี้แหละ ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ได้ถวาย

อีกแม้สักชิ้นหนึ่ง.

แม้พระเจ้าติสสมหาราช เมื่อถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพต

ทุก ๆ วัน ผู้อันชาวชนบทกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ย่อมเสพเฉพาะ

ที่แห่งเดียวเท่านั้นหรือ (ถวายทานแห่งเดียว) การถวายทานในที่อื่น ย่อมไม่

สมควรแก่พระองค์หรือ ดังนี้ ในวันที่ ๒ แต่วันนั้น จึงให้ถวายมหาทานใน

เมืองอนุราธบุรี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่รู้จักประมาณในการ

รับ ชนทั้งหลาย ๒-๓ คน ทิ้งขว้างซึ่งขาทนียะโภชนียะที่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ รับไป

แล้ว. พระราชาให้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตในวันที่สอง แล้วตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงให้บาตรในเวลาที่ท่านทั้งหลายมาสู่พระราชวัง ดังนี้ แม้ภิกษุ

รูปหนึ่ง ก็มิได้ให้บาตร ด้วยคำว่า อย่าเลยมหาราช ภิกษุทั้งหลายจักรับ

ภิกษาโดยประมาณของตนเท่านั้น ดังนี้. ภิกษุทั้งปวงรับซึ่งภิกษาอันสมควร

แก่ประมาณของตนนั้นแหละ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จง

ดูภิกษุเหล่านี้ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย แม้รูปหนึ่ง ก็รู้ประมาณของตน. เมื่อ

วันวาน วัตถุอะไร ๆ ก็มิได้เหลือ แต่วันนี้ ภิกษุถือเอาน้อยพอประมาณแก่

ตน ของจึงเหลือมากมาย ดังนี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้มีใจเป็นของ ๆ ตน

เพราะรู้จักประมาณ ส่วนภิกษุนอกนี้ ไม่มีใจเป็นของ ๆ ตน เพราะความเป็น

ผู้ไม่รู้จักประมาณ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 878

ปาปิจฉตานิทเทส

อธิบายความปรารถนาลามก

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อ

ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เป็นต้น ย่อมทำอาการ

อย่างไร คือ บุคคลนั้น ไม่มีศรัทธา ย่อมแสดงอาการว่า มีศรัทธา ผู้ทุศีล

เป็นต้น ย่อมแสดงอาการของผู้มีศีลเป็นต้น.

ถามว่า ย่อมแสดงอาการอย่างไร ?

ตอบว่า ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ในวันมีมหรสพ เธอจะถือเอาไม่กวาด

ปัดกวาดวิหารและทำการเทหยากเยื่อในเวลาที่พวกมนุษย์มาสู่วิหาร ครั้นทราบ

ว่า การกระทำของเธอ มนุษย์ทั้งหลายรู้แล้ว จึงไปสู่ลานพระเจดีย์ ย่อม

เทหยากเยื่อ ย่อมเกลี่ยทรายทำพื้นให้เสมอกัน ย่อมล้างอาสนะทั้งหลาย ย่อม

รดน้ำที่ต้นโพธิ์. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเธอแล้วก็สำคัญว่า ภิกษุอื่นที่ปฏิบัติวิหาร

เห็นจะไม่มี ภิกษุนี้เท่านั้นเป็นพระเถระผู้มีศรัทธาปฏิบัติวิหารนี้อยู่ ดังนี้ จึง

นิมนต์ภิกษุนั้น เพื่อฉันอาหาร.

แม้ผู้ทุศีล ก็เข้าไปหาพระวินัยธร ย่อมถามในที่พร้อมหน้าแห่ง

อุปัฏฐากทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้นเมื่อกระผมเดินไป โคตกใจแล้ว

เมื่อกระผมปัดกวาดโคก็วิ่งเตลิดไป ทำให้หญ้าทั้งหลายขาดแล้ว เมื่อกระผม

จงกรมอยู่หญ้าทั้งหลายย่อมอับเฉา เมื่อกระผมบ้วนน้ำลายให้ตกไปตัวแมลง

เล็ก ๆ ย่อมตาย การให้น้ำลายตกไปที่หญ้าโดยไม่มีสติ โทษอะไรย่อมมีในที่

นั้น ขอรับ ดังนี้. เมื่อพระวินัยธรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อเราไม่รู้ ไม่

แกล้ง ไม่เจตนาฆ่าสัตว์ อาบัติย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วกล่าวยกย่องพระวินัยธร

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่กระผม ราวกะว่าเป็นของหนัก ท่าน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 879

ย่อมพิจารณาชอบแล้ว ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังถ้อยคำนั้นแล้วเลื่อมใสว่า

พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ย่อมรังเกียจแม้ในเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านจัก

กระทำกรรมหยาบอื่นได้อย่างไร ภิกษุผู้มีศีลเช่นกับภิกษุนี้ ย่อมไม่มี ดังนี้

แล้วทำสักการะ.

แม้ผู้ศึกษาน้อย ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า

ภิกษุโน้นทรงพระไตรปิฎก ภิกษุโน้นทรงนิกาย ๔ เป็นอันเตวาสิกของเรา

ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมในสำนักของเรา ดังนี้ พวกมนุษย์เลื่อมใสว่า ภิกษุ

ผู้เป็นพหูสูตเช่นกับด้วยพระผู้เป็นเจ้าของเราไม่มี ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้น ๆ

เรียนธรรมในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าของเรา ดังนี้ จึงทำสักการะ.

แม้ผู้ยินดีด้วยหมู่คณะ ในวันที่มีมหรสพ ยังบุคคลให้ถือเอาตั่ง

คือที่นั่งยาวและหมอนข้าง ย่อมนั่งพักอยู่ในที่พักเวลากลางวันที่โคนไม้สุดเขต

แดนแห่งวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายมาแล้ว ย่อมถามว่า พระเถระไปไหน ดังนี้

ชื่อว่าบุตรของคัณฐิกะ ผู้กล่าวคำอันคลุมเคลือนั่นแหละมีอยู่ ย่อมกล่าวด้วย

เหตุนั้นนั่นแหละว่า พระเถระย่อมไม่นั่งในกาลเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ในที่จงกรม

อันมีระยะทางยาว อยู่ ณ ที่สุดแห่งวิหาร ดังนี้. แม้ภิกษุนั้น ก็ยังกาลให้

ล่วงไปครึ่งวัน แล้วยังใยแห่งแมลงมุมที่ติดไว้ที่หน้าผา แล้วก็ให้บุคคลถือ

เอาตั่งมานั่งที่ประตูแห่งบริเวณ. มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ท่านไปที่ไหน พวกกระผมมาไม่เห็นท่าน ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมยัง

มนุษย์ให้รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้ชอบความสงบด้วยคำว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย

ภายในวิหารนี้เกลื่อนกล่น ที่นี้เป็นที่เที่ยวเดินและยืนของภิกษุหนุ่มและสามเณร

ทั้งหลาย อาตมานั่งในที่พักในเวลากลางวันซึ่งมีที่จงกรม ๖๐ ศอก ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 880

แม้ภิกษุผู้เกียจคร้าน ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า

ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย พวกท่านเห็นอุกาบาต (การตกลงของคบเพลิง) แล้ว

หรือ ดังนี้ ถูกพวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมย่อมไม่เห็น

อุกกาบาตได้มีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่จงกรมของ

พวกเรา แล้วจึงถามว่า พวกท่านได้ยินเสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน หรือ

ดังนี้ เมื่อเขากล่าวว่า พวกกระผมย่อมไม่ได้ยิน. ก็เสียงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน

ย่อมมีในเวลาไหนขอรับ ดังนี้ ก็กล่าวว่า ในเวลามัชฌิมยาม คือในเวลาที่

พวกเรายืนพิงแผ่น กระดานกำหนดอารมณ์ โอภาสใหญ่ได้มีแล้ว แล้วถาม

ว่า โอภาสใหญ่นั้น พวกเธอเห็นแล้วหรือ ดังนี้ เมื่อมนุษย์ถามว่า โอภาส

ใหญ่ได้มีเวลาไหนขอรับ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ในเวลาเป็นที่หยังลงแต่การ

จงกรมของอาตมา ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสว่า พระเถระของเราทั้งหลาย

ย่อมจงกรมตลอดยามทั้งสามเทียว ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับด้วยพระผู้-

เป็นเจ้าของย่อมไม่มี ดังนี้ จึงทำสักการะ.

แม้ผู้หลงลืมสติ ก็นั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐาก ย่อมกล่าวว่า เรา

เรียนพระสูตรทีฆนิกายในกาลชื่อโน้น เรียนมัชฌิมนิกายในกาลโน้น สังยุตต-

นิกาย อังคุตตรนิกายในกาลโน้น ชื่อว่าการแลดูอย่างอื่นในระหว่างย่อมไม่มี

แบบแผนเป็นราวกะเกิดขึ้นในปากของเรา และย่อมมาในที่แห่งเราปรารถนา

แล้ว ๆ ส่วนภิกษุอื่น ยังปากให้ส่ายไป (เพื่อถามปัญหา) เป็นราวกะแพะ

ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้ว ด้วยคิดว่า บุคคลอื่นจักปฏิบัติเช่นกับ

พระคุณเจ้าของเราย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วทำสักการะ.

แม้ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ก็ย่อมถามปัญหาในพระอรรถกถาจารย์ ในที่

พร้อมหน้าแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย คือ ย่อมถามว่า ชื่อว่า กสิณ ย่อมเจริญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 881

อย่างไร ชื่อว่านิมิตที่เกิดขึ้นมีประมาณเท่าไร อุปจาระย่อมมีประมาณเท่าไร

อัปปนาย่อมมีประมาณเท่าไร องค์ของปฐมฌานมีประมาณเท่าไร องค์ของทุติย-

ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มีประมาณเท่าไร ดังนี้ เมื่อพระอรรถกถาจารย์

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ประโยชน์อะไรด้วยคำเหล่านี้ คำอะไร ๆ อย่างนี้ไม่

มีหรือ และกระทำการยิ้มในเวลาที่กล่าวถ้อยคำอันเหมาะแก่การศึกษา ดังนี้

จึงแสดงการได้สมาบัติของตนด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้ย่อมถูกต้อง

ดังนี้. มนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราได้สมาบัติ

แล้ว ย่อมทำสักการะ.

แม้ผู้มีปัญญาทราม ก็จะนั่งในท่ามกลางแห่งอุปัฏฐากทั้งหลาย กล่าว

อยู่ว่า เราย่อมสละปริยัติ ดังนี้เป็นต้น ด้วยคำว่า เมื่อเราตรวจดูหมวดสาม

แห่งธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้าในมัชฌิมนิกายอยู่ มรรคนั่นแหละมาแล้วพร้อม

ด้วยฤทธิ์ ชื่อว่าปริยัติ ไม่เป็นสิ่งที่กระทำได้โดยยากสำหรับพวกเรา การ

สนใจในปริยัติ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นคน

มีปัญญามาก. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายพระศาสนา.

ชื่อว่า มหาโจรเช่นกับบุคคลนี้ ย่อมไม่มี เพราะว่า บุคคลผู้ทรงพระปริยัติ

ชื่อว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ หามีไม่.

แม้ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ เห็นทารกในบ้านแล้ว ถามว่า มารดาบิดาของ

พวกเธอย่อมกล่าวว่า เราเป็นอะไร. พวกทารกกล่าวว่า มารดาบิดาของกระผม

กล่าวว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ ขอรับ. ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตน

เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ดุก่อนบุตรคหบดีผู้ฉลาด ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อ

จะลวงท่านได้ ดังนี้ ก็ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบซึ่งภิกษุแม้อื่นอีกที่แสดงตนเป็น

พระอรหันต์ มีพระอรหันต์ตุ่มน้ำและพระอรหันต์ย่านไทร เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 882

เรื่องพระอรหันต์ตุ่มน้ำ (จาฏิอรหันต์)

ได้ยินว่า ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) รูปหนึ่งฝังตุ่มน้ำใบใหญ่ไว้

ภายในห้องของตน ย่อมเข้าไปในตุ่มในเวลาที่พวกมนุษย์มาหา มนุษย์ทั้งหลาย

จึงถามกันว่า พระเถระไปไหน ดังนี้. ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระ

อยู่ในห้อง ดังนี้ พวกมนุษย์แม้เข้าไปค้นหาอยู่ เมื่อไม่เห็นจึงออกมาแล้ว

กล่าวว่า พระเถระไม่มี ดังนี้ ก็เมื่อภิกษุนั้นกล่าวว่า พระเถระอยู่ภายใน

ห้องนั้นแหละ ดังนี้ พวกมนุษย์จึงเข้าไปอีก พระเถระนั้นออกจากตุ่มแล้ว

มานั่งอยู่ที่ตั่ง. ลำดับนั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวก

กระผมไม่เห็นท่านเมื่อเขามาครั้งแรกจึงออกไป ท่านไปอยู่ที่ไหน ดังนี้ ภิกษุ

นั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยคำว่า ชื่อว่า สมณะ

ทั้งหลายย่อมไปสู่ที่อันตนปรารถนาแล้ว ๆ ดังนี้.

เรื่องพระอรหันต์ย่านไทร (ปาโรหอรหันต์)

ภิกษุโกหก (ผู้หลอกลวง) อีกรูปหนึ่ง อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาใกล้ภูเขา

ลูกหนึ่ง ก็ต้นไทรต้นหนึ่งมีอยู่ที่เงื้อมเขา (เหว) ข้างหลังแห่งบรรณศาลา ราก

ของต้นไทรนั้น ไปปรากฏอยู่ที่พื้นดินส่วนหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเดินมาตาม

ทางแล้ว ย่อมนิมนต์ภิกษุนั้นเพื่อภัตตาหาร. ภิกษุนั้นถือบาตรและจีวรแล้ว

โหนลงมาตามรากของต้นไทรนั้น แล้วมาปรากฏตัวใกล้ประตูบ้าน. ลำดับนั้น

ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายผู้มาถึงที่ลังถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านมาทางไหน ดังนี้

ภิกษุนั้น ย่อมแสดงซึ่งความที่ตนเป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วด้วยคำว่า ชื่อว่า ทางอัน

สมณะทั้งหลายมาแล้ว ไม่สมควรถาม สมณะทั้งหลาย ย่อมมาโดยที่อันตน

ปรารถนาแล้ว ๆ. ดังนี้. ก็บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่งฟังเรื่องโดยตลอด ทราบแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 883

คิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่

ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้น ก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัด

รากไทรนั้นข้างหลัง เหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น คิดว่า เราจัก

จับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้น ก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว

บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใคร ๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้.

ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่า สภาพลามก ก็เมื่อว่า

โดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้น ยังบุคคลอื่นให้สรร

เสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้

เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้.

สิงคนิทเทส

อธิบาย การพูดทิ่มแทง

ชื่อว่า สิงคะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. เครื่องทิ่มแทงนี้

เป็นชื่อของการทิ่มแทงเพราะกิเลส กล่าวคือ ความที่วาจานั้นเป็นเครื่องทิ่มแทง

ชองชาวเมือง. ความเป็นแห่งวาจาเป็นเครื่องทิ่มแทง ชื่อว่าสภาพแห่งวาจาเป็น

เครื่องทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่ง อาการเป็นเครื่องพูดทิ่มแทง ก็ชื่อว่า สภาพที่พูด

ทิ่มแทง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นสีเหลียม ชื่อว่า การพูดเป็นสีเหลี่ยม.

การพูดเป็นสี่คมก็อย่างนั้น. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ชื่อว่า

สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู. คำนี้ เป็นชื่อของความเป็นของบุคคลผู้ชำนาญการ

พูดทิ่มแทง ซึ่งตระเตรียมไว้ก่อนนั่นแหละ (เช่นกับขุดบ่อล่อปลา) คำนอก

นี้เป็นไวพจน์ของคำพูดทิ่มแทงทั้งนั้น. การพูดทิ่มแทงด้วยอำนาจแห่งกิเลส

ท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้งหมด ด้วยอาการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 884

ตินติณนิทเทส

อธิบาย การพูดเกียดกัน

คำว่า ตินฺติณ ได้แก่ การพูดติเตียน หรือพูดเกียดกัน. อาการ

แห่งความประพฤติเกียดกัน เรียกว่ากิริยาที่พูดเกียดกัน. ความเป็นแห่งบุคคล

ผู้พรั่งพร้อมด้วยความเกียดกันของผู้พูดด้วยความเกียดกัน ชื่อว่าสภาพที่เกียด

กัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ละโมบ ชื่อว่า สภาพที่ละโมบ. คำนอกจากนี้

เป็นคำอธิบายความเป็นแห่งกิริยาอาการของคำพูดเกียดกัน. คำว่าปุจฺฉญฺชิกตา

ได้แก่ ความหวั่นไหวของการเสวยอารมณ์ในฐานะแห่งประโยชน์ที่ควรได้

หรือไม่ควรได้ ท่านเรียกว่า ความประพฤติถ่อมตน. คำว่า สาธุกมฺยตา

ได้แก่ ความปรารถนาที่จะได้สิ่งอันประณีตยิ่งขึ้นไป. ท่านกล่าวอาการเกียดกัน

ไว้ ด้วยสามารถแห่งกิเลสด้วยบททั้งปวง โดยหมายเอาว่า วัตถุของผู้อื่นเป็น

ราวกะว่าเป็นของตน เช่นกับการเห่าของสุนัขที่กำลังดื่มน้ำข้าวที่รางน้ำข้าว

เพราะเห็นสุนัขอื่นมา ดังนี้.

จาปัลยนิทเทส

อธิบาย การชอบตกแต่ง

การตกแต่งจีวร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการทำให้เรียบร้อยเป็นกลีบเป็นต้น

ชื่อว่า การตกแต่งจีวร. การตกแต่งบาตร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการกระทำให้

มีผิวหมดจดดังสีแห่งแก้วมณี ชื่อว่า การตกแต่งบาตร. การตกแต่งเสนาสนะ

อันเป็นของเฉพาะบุคคล ด้วยจิตรกรรมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งเสนาสนะ.

คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่

การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอก แม้เกิดในวันนั้น

ถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และ

๑. บาลีว่า ปุญฺจิกตา, ม. ปุจฺฉญฺชิกตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 885

ต้นเครือเถาที่เป็นยา มีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์

เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น

อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่ง. คำว่า พาหิราน วา ปริกฺ-

ขาร (แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขาร

ที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า การตก-

แต่งจีวร การตกแต่งบาตร นี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือ

ว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่ง

ชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า

มัณฑนา (การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม ชื่อว่า

วิภูสนา (การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า

เกฬนา ได้แก่การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่การร่าเริง. ความ

เป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่า สภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคล

ผู้ชอบตกแต่ง ก็อย่างนั้น. คำว่า อิท วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบด้วย

การตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดใน

วันนั้น ดังนี้.

อสภาควุตตินิทเทส

อธิบาย ความประพฤติไม่สมควร

ความประพฤติไม่คล้อยตามพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ความประพฤติไม่

สมควร. วิถีทางแห่งความสุข โดยการกระทำให้ขัดแย้งอันเป็นข้าศึกต่าง ๆ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 886

ชื่อว่า ความประพฤติขัดขืน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพ

ที่ไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อก็เหมือนกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่คารวะ

ชื่อว่า ความไม่เคารพ. ความเป็นผู้ไม่ทำตามคำของผู้เจริญ (หัวหน้า) ชื่อว่า

ความไม่เชื่อฟัง. คำว่า อย วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียก ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติไม่สมควร อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่

เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ

ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับ

บิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพีชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว

เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน)

ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ

ย่อมถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะในสถานที่เป็นที่เคารพแห่งพระเจดีย์ของพระผู้มี

พระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมถ่มเขฬะบ้าง สั่งน้ำมูกบ้าง ย่อมกั้นร่ม

ย่อมเดินใส่รองเท้าเข้าไป ย่อมไม่ละอายในพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่

เคารพยำเกรงในสงฆ์ ย่อมไม่ยังหิริโอตตัปปะให้ตั้งขึ้นในที่อันควรเคารพใน

บุคคลทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้น. การทำอย่างนี้แม้ทั้งปวงในวัตถุ

ทั้งหลายและในบุคคลมีมารดาเป็นต้น ของผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า

ความประพฤติไม่สมควร.

อรตินิทเทส

อธิบาย ความไม่ยินดี

คำว่า ปนฺเตสุ แปลว่า ในเสนาสนะอันสงัด อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่

เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 887

วิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี

ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า สภาพที่ไม่

ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่ง

บุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่า ความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้

แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ.

ตันทีนิทเทส

อธิบาย ความโงกง่วง

ความเกียจคร้านชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ตันที (คือความง่วง หรือความ

ประมาท). อาการแห่งความเป็นผู้โงกง่วง ชื่อว่า กิริยาที่โงกง่วง. คำว่า

ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว . ความ

เป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า สภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้

เกียจคร้าน ชื่อว่า กิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน

ทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้

ทั้งหมด ดังนี้.

วิชัมภิตานิทเทส

อธิบาย ความบิดกาย

ความให้กายไหวเอี้ยวไป ชื่อว่า ความบิดกาย. ความบิดกายบ่อยๆ

(ในท่าต่าง ๆ) เรียกว่าความเหยียดกาย. คำว่า อานมนา (แปลว่า ความ

โน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความ

โน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 888

ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรง นี้ เหมือนอย่างว่า

ช่างหูกผู้ขยัน จับถือซึ่งอะไร ๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรง

ฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบน ก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยก (แปลว่า ความ

ไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่น

แหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้ง

หมดด้วยประการฉะนี้.

ภัตตสัมมทนิทเทส

อธิบายความเมาอาหาร

คำว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ของผู้บริโภคอาหาร. ความไม่สบายเนื่อง

จากกินอาหาร ชื่อว่า ความอึดอัดเพราะอาหาร. จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะ

ว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะ

อาหาร ชื่อว่า ความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวาย

เพราะอาหาร ชื่อว่า ความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้น

ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือ

ย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺฐุลฺล (แปลว่า ความเป็นผู้หนัก

เนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน

(คือ ไม่คล่องแคล่ว) เพราะอาศัยอาหาร.

นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ใน

อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. และพึงทราบอาการแห่งความ

ป่วยไข้ด้วยสามารถแห่งกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยบทเหล่า

นี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 889

กุหนานิทเทส

อธิบาย ความหลอกลวง

คำว่า ลาภสกฺการสิโลกสนฺนิสฺสิตสฺส (แปลว่า สภาพที่หลอก

ลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง) อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น

ต้องการลาภ สักการะ และสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น . คำว่า ปาปิจฺฉสฺส

(แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่.

คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุ

นั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบ กุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) ๓

อย่าง อันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย

๑ ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง ๑ และความหลอกลวงด้วยการอาศัย

ซึ่งอิริยาบถ ๑ เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง ๓ นั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการ

ซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการ

ซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่

การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ

ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้น อันประ-

ณีต ด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่

ต้องการเพื่อจะรับอะไร ๆ ก็ถ้าท่านพึงรับอะไร ๆ แม้สักเล็กน้อย นั่นเป็นการ

ที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ ดังนี้ เพราะเธอรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้ง

มั่นดีแล้วในตน จึงกระทำให้แจ้งเพื่อประสงค์จะอนุเคราะห์คหบดีนั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 890

สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในมหานิทเทส ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย เป็นไฉน.

พวกคหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ

มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก เธอย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวร

มีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า จากกองหยากเยื่อหรือจาก

ตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วย

บิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วย

ปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร เป็นประโยชน์

อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า

หรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อ

นั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความเป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้า

หมอง ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉัน

คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง.

พวกคหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความ

ปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร

มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ

กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 891

ผู้มีศรัทธาก็ประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธา

ย่อมประสพบุญมาก็เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธา

ย่อมประสพบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็น

ปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความ

ต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่

นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก

ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง

ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการ

ซ่องเสพปัจจัย.

ก็บุคคล ผู้มีความปรารถนาลามกมากนั่นแหละ แม้มีอยู่ บัณฑิตพึง

ทราบว่าเป็นเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงอันเป็นอุบาย

โดยทำนองนั้น ๆ ด้วยวาจาอันแสดงถึงการบรรลุอุตตริมนุสสธรรม เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง เป็นไฉน

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ

มีความประสงค์ให้เขายกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้

จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใด ทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้น

มีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรง

ภาชนะโลหะ ทรงธัมมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า

ใช้ประคดเอว ใช้สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใด

มีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วม

อาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ สมณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 892

นั้นมีศักดิ์มาก พูดว่าสมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะ

ใดอยู่ในเรือมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมี

หลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้

อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ในเรือน

ที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคน

ต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าสยิ้ว หลอกลวง

ปลิ้นปล้อนตลบแตลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้

ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อัน

ปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและนิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความ

ทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความ

เป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงอันกล่าวด้วยการ

พูดเลียบเคียง ดังนี้.

ก็เมื่อภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ มีอยู่ บัณฑิตพึง

ทราบ เรื่องหลอกลวง อาศัยอิริยาบถอันเป็นอุบาย ด้วยอิริยาบถอันตน

กระทำเพื่อประสงค์ให้ผู้อื่นสรรเสริญตน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ตรัสไว้ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยอิริยาบถ เป็นไฉน. ภิกษุบาง

รูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความ

ประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึง

สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง ลำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้ง

สตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 893

เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ

อาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจ การ

ดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง

กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ

หลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวน-

สงฺขาเตน ได้แก่ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺ -

ปิเตน ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ

ทั้ง ๔. คำว่า อฏฺปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถ

ด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า

สณฺาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบาย

คำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้า

ด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน คำ

นี้ ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่า สยิ้วหน้าเพราะว่า

การสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่า

สภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่า ความหลอกลวง.

วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่ง

บุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า สภาพที่หลอกลวง ดังนี้.

ลปนานิทเทส

อธิบาย การพูดประจบ

การพูด ตั้งแต่ต้น อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายมา

เพื่อประโยชน์อะไร หรือเพื่อนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ท่านมาด้วยความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 894

ประสงค์อย่างนี้ไซร้ อาตมาจักจัดภิกษุให้ไปภายหลัง ดังนี้ เพราะเห็นพวก

มนุษย์มาสู่วิหารนี้ ชื่อว่า การพูดทักทาย.

อีกอย่างหนึ่ง การพูดแนะนำตนเอง ว่า อาตมา ชื่อว่า ติสสะ พระ-

ราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระราชาโน้น ๆ ก็เลื่อมใส ดังนี้

เพราะการแนะนำตนอย่างนี้ ก็ชื่อว่า การพูดทักทาย. เมื่อบุคคลผู้ถามมีอยู่

การพูดโต้ตอบ มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า การพูดสนทนา.

การพูดด้วยดี เพราะให้โอกาสแก่ผู้หวาดกลัว ในเพราะการพูดไม่คล่องของ

คหบดีทั้งหลาย ชื่อว่า การพูดปลอบโยน การพูดยกตนให้สูง อย่างนี้ว่า

เราเป็นกุฎุมพีใหญ่ เป็นทานบดีใหญ่ ดังนี้ ชื่อว่า การพูดยกย่อง. การพูด

โดยการกระทำให้สูงโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดเยินยอ. การพูดทำให้

ชอบใจว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในครั้งก่อน ท่านย่อมถวายทานในกาลเช่นนี้

บัดนี้ ท่านไม่ถวายทานหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมยังไม่ได้

โอกาส เป็นต้น โดยทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ชื่อว่า การพูดอ้อมค้อม. อธิบายว่า

ได้แก่ การพูดเกลี่ยกล่อม.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นบุคคลถืออ้อยมา จึงถามว่า ดูก่อนอุบาสก

อ้อยนี้ท่านได้มาจากไหน. เขาตอบว่า จากไร่อ้อยขอรับ ภิกษุถามว่า อ้อย

ในไร่นั้น มีรสหวานไหม. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเคี้ยวกิน

แล้วพึงทราบ. ภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสก ถ้าว่าอาตมาพูดว่า ขอท่านทั้ง

หลายจงถวายอ้อยแก่ภิกษุ ดังนี้ ย่อมไม่ควร การพูดชมเชยของภิกษุผู้ประจบ

เห็นปานนี้ อันใด การพูดอ้อมค้อมก็อันนั้น. การพูดอ้อมค้อมบ่อย ๆ โดย

ส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การพูดประจบ. คำว่า การพูดชมเชย ได้แก่วาจาเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 895

เครื่องยังจิตให้หวั่นไหว ซึ่งยกขึ้นอย่างนี้ว่า ตระกูลนี้ ย่อมรู้จักเราดีทีเดียว

ถ้าเขาจะถวายไทยธรรมไซร้ก็จักถวายแก่เราเท่านั้น ดังนี้ชื่อว่า การสรรเสริญ

คือ การยกย่อง. ในข้อนั้นพึงกล่าวถึงเรื่องอุปัฏฐากผู้บำรุงภิกษุ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูป เข้าไปสู่บ้านหนึ่ง นั่งที่โรงภัตตาหาร เห็น

กุมาริกาคนหนึ่ง จึงเรียกมา ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จึงถามภิกษุรูปหนึ่งว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุมาริกานี้เป็นลูกใคร. ภิกษุนั้น จึงยกย่องสรรเสริญ ด้วย

คำว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลูกสาวอุปัฏฐากผู้บำรุงของกระผม มารดาของ

หญิงนี้ เมื่อกระผมไปบ้านแล้ว เมื่อจะถวายเนยใส ย่อมถวายทั้งหม้อทีเดียว

แม้กุมาริกานี้ ก็ย่อมถวายเนยใสทั้งหม้อเหมือนมารดานั่นแหละ ดังนี้.

การพูดสรรเสริญซ้ำ ๆ ชื่อว่า การพูดสรรเสริญบ่อย. คำว่า อนุปฺ-

ปิยภาณิตา ได้แก่ การกล่าววาจาอันเป็นที่รักบ่อยๆไม่สนใจคำอันเหมาะสม

แก่สัจจะ หรือเหมาะสมกับธรรมเลย. คำว่า ปาตุกมฺยตา ได้แก่ ความประ-

พฤติตั้งตนไว้ต่ำให้เป็นไป. คำว่า มุคฺคสูปยตา ได้แก่ วาจาเช่นกับแกง

ถั่วเขียว. เหมือนอย่างว่า ครั้นเมื่อถั่วเขียวทั้งหลายอันบุคคลต้มอยู่ ถั่วเขียว

อะไร ๆ บางอย่างย่อมไม่สุก ถั่วเขียวที่เหลือย่อมสุกฉันใด คำพูดสัจจะไรๆ มี

อยู่ คำพูดอันเหลวไหล ก็มีอยู่ในถ้อยคำของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีวาจาเช่นแกงถั่วเขียว ดังนี้. ความ

เป็นแห่งบุคคลผู้มีวาจาทีเล่นทีจริงเช่นแกงถั่วเขียวนั้น ชื่อว่า สภาพวาจาเช่น

แกงถั่วเขียว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับเลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพความเป็นผู้

เลี้ยงดูเด็ก จริงอยู่ บุคคลใดย่อมเลี้ยงดูทารกในตระกูล ด้วยสะเอว หรือ

ด้วยบ่า เหมือนแม่นม อธิบายว่า ย่อมเลี้ยงดูเด็กในตระกูลโดยให้ทรงอยู่.

การงานของผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น ชื่อว่า การรับเลี้ยงเด็ก. ความเป็นแห่งบุคคลผู้

เลี้ยงดูเด็ก ชื่อว่า สภาพการรับเลี้ยงเด็ก ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 896

เนมิตติกตานิทเทส

อธิบาย การแสดงนิมิต

คำว่า นิมิตฺต ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม อันประกอบพร้อมด้วย

การให้ปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ชนเหล่าอื่น. คำว่า นิมิตฺตกมฺม ได้แก่

ความเป็นผู้ฉลาดในการทำนิมิต. ในข้อนี้ มีเรื่องดังนี้

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ถือบิณฑบาตเป็นวัตรไปถึงประตูบ้านนาย

ช่างทองผู้อุปัฏฐาก ผู้อันช่างทองถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการอะไร

ดังนี้ เธอจึงนำมือออกจากภายในระหว่างจีวร แล้วได้แสดงอาการ คือการนำ

มีดไป. ช่างทอง ทราบลักษณะอาการนั้น แล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

นั่นมีดของกระผม ดังนี้ แล้วได้ถวายมีดไป. คำว่า โอภาโส ได้แก่ กล่าว

ถ้อยคำอันเกี่ยวด้วยปัจจัย. คำว่า โอภาสกมฺม อธิบายว่า ภิกษุเห็นบุคคล

ผู้เลี้ยงลูกโค จึงถามว่า ลูกโคเหล่านี้ เป็นลูกโคนม หรือเป็นลูกโคเปรียง

(ตักกโควัจฉา) เมื่อเด็กเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นลูกโคนม ดังนี้

เธอก็จะพูดเป็นนัย อันยังมารดาบิดาของเด็กเลี้ยงโคนั้นให้ทราบ อันเป็นเหตุ

ให้เขาถวายนมเป็นต้น โดยนัยว่า ผิว่า พึงเป็นลูกโคนม แม้ภิกษุทั้งหลาย

ก็พึงได้น้ำนม ดังนี้. คำว่า สามนฺตชปฺปา ได้แก่ การกระซิบ คือพูด

ใกล้. ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่อง พระเถระผู้เรียนชาดก.

ได้ยินว่า พระเถระผู้เรียนชาดกรูปหนึ่ง เป็นผู้ใคร่จะฉันอาหาร เข้า

ไปสู่บ้านอุปัฏฐายิกา แล้วนั่งอยู่. อุปัฏฐายิกานั้น ไม่ประสงค์จะถวายอะไร

จึงกล่าวว่า ข้าวสารไม่มี ดังนี้ แล้วไปสู่บ้านของเพื่อนบ้าน เป็นราวกะว่า

ต้องการจะนำข้าวสารมา. ทีนั้นภิกษุก็เข้าไปภายในห้อง แลดูอยู่ เห็นอ้อยพิง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 897

อยู่ที่มุมประตูหน้าต่าง เห็นน้ำอ้อยงบที่ภาชนะ เห็นปลาเค็มในกระจาด เห็น

ข้าวสารในหม้อใหญ่ เห็นจอกน้ำในหม้อน้ำ แล้วก็ออกมานั่ง.

หญิงแม่เรือนมาแล้วก็กล่าวว่า เราไม่ได้ข้าวสาร ดังนี้. พระเถระ

กล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา วันนี้ ภิกษาเห็นจักไม่ถึงพร้อม แล้วกล่าวว่า อาตมา

ได้เห็นนิมิตก่อนนั่นแหละ. หญิงนั้นถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมิตเป็น

อย่างไร ดังนี้.

พระเถระกล่าวว่า อาตมาแลดูอยู่ด้วยคิดว่า เราจักประหารงูอันเห็น

แล้วนั้น ซึ่งเป็นราวกะว่าอ้อยที่วางไว้ที่มุมใกล้หน้าต่าง เห็นแผ่นหิน ราวกะ

ก้อนน้ำอ้อยงบที่วางไว้ในภาชนะ เห็นพังพานงูแผ่ออกแล้ว เพราะถูกขว้าง

ปาด้วยก้อนดิน เช่นกับการผ่าปลาใส่เกลือวางไว้ในกระจาด เห็นฟันของงูนั้นผู้

ไล่กัดก้อนดินนั้น เช่นกับข้าวสารในหม้อ ลำดับนั้น เห็นเขฬะอันเจือด้วย

พิษออกไปจากปากงูผู้โกรธแล้วนั้น เช่นกับจอกน้ำที่ในหม้อน้ำ ดังนี้.

หญิงแม่บ้านนั้น ถวายอ้อยแล้ว ด้วยคิดว่า เราไม่อาจเพื่อลวงสมณะโล้นได้

ดังนี้ แล้วหุงข้าวถวายพร้อมกับน้ำอ้อยงบในหม้อและปลา ดังนี้

บัณฑิตพึงทราบการพูดด้วยอาการอย่างนี้ว่า เป็นการพูดใกล้ ๆ ดังนี้.

คำว่า การพูดแวดล้อม หว่านล้อมโดยประการที่ตนจะได้ อย่างนั้นแล.

นิปเปสิกตานิทเทส

อธิบาย การพูดติเตียน

คำว่า การด่า ได้แก่ การด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ. คำว่า

การข่ม ได้แก่การกล่าวเย้ยหยัน. คำว่า การนินทา ได้แก่ การพูดยกโทษขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 898

โดยนัยว่า เขาไม่มีศรัทธา ไม่น่าเลื่อมใส. คำว่า การพูดตำหนิโทษ ได้แก่

การยกวาจาขึ้นว่า ท่านอย่าได้กล่าววาจาเช่นนี้ ในที่นี้. การพูดตำหนิโทษ อัน

เป็นไปกับด้วยวัตถุ เป็นไปกับด้วยเหตุ โดยส่วนทั้งปวง เรียกว่า การพูด

เหยียดหยาม.

อีกอย่างหนึ่ง การพูดยกโทษขึ้นอย่างนี้ว่า โอ ท่านทานบดี ไม่ให้

อะไร ๆ ชื่อว่า ติเตียน. การพูดด้วยดีอย่างนี้ว่า ท่านทานบดีใหญ่ ดังนี้ เรียก

ว่า การพูดเหยียดหยาม. คำว่า การพูดเหยียดหยาม ได้แก่การพูดเยาะเย้ย

อย่างนี้ว่า ชีวิต (ความเป็นอยู่) ของท่านผู้นี้ กินพืชเป็นอาหารมิใช่หรือ

ดังนี้ ชื่อว่า การพูดเยาะเย้ย. ย่อมพูดให้ยิ่งกว่านี้ว่า ท่านทั้งหลายย่อมกล่าว

ว่าบุคคลนี้มิใช่ทายก เป็นต้น บุคคลใด ย่อมให้วาจาแก่บุคคลทั้งปวงตลอด

กาลเป็นนิจว่า ไม่มี ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า พูดเยาะเย้ย หรือเหยียดหยามให้

เสียชื่อเสียง. การพูดว่า ทานบดีไม่ให้ หรือตำหนิให้เสียชื่อเสียง โดยอาการ

ทั้งปวง ชื่อว่า การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างแรง. การนำเรื่องไปติเตียนจาก

บ้านโน้นไปสู่บ้านนี้ จากชนบทโน้นไปสู่ชนบทนี้ ว่า บุคคลย่อมประสบ แม้

ความกลัวแต่การติเตียนของเรา อย่างนี้ชื่อว่า การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน

การพูดวาจาไพเราะต่อหน้า ในภายหลังพูดนินทา ชื่อว่า การพูดไพเราะต่อ

หน้านินทาลับหลัง. จริงอยู่ บุคคลผู้พูดอย่างนี้ เมื่อไม่อาจแลดูเฉพาะหน้า

ย่อมเป็นราวกะการเคี้ยวกินเนื้อในที่ลับหลัง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า พูดไพเราะต่อหน้าลับหลังนินทา ดังนี้. คำว่า

อย วุจฺจติ นิปฺเปสิกตา ได้แก่ บุคคลนี้ ย่อมไม่นำ คือย่อมไม่กล่าวคุณ

ของผู้อื่นอันมีอยู่ในภายในราวกะบุคคลบดคันธชาติ คือบดขยี้คุณของผู้อื่นให้

แหลกเป็นจุณ ย่อมเป็นราวกะการแสวงหาคันธชาตินั้น วาจาเช่นนี้ ย่อมเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 899

วาจาแสวงหาลาภ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า พูดติเตียน

(อุบายโกง) ดังนี้.

ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส

อธิบาย การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ

การแสวงหา (ด้วยอำนาจแห่งความอยาก) ชื่อว่า การมุ่งลาภสักการะ

และชื่อเสียง. คำว่า อิโต ลทฺธ ได้แก่ลาภ สักการะ ชื่อเสียง อันตนได้

แล้วจากบ้านนี้. คำว่า อมุตฺรา ได้แก่ ในบ้านชื่อโน้น. คำว่า เอฏฺิ

ได้แก่ การปรารถนา. คำว่า คเวฏิ ได้แก่ การเสาะหา. คำว่า ปริเยฏฺิ

ได้แก่ การแสวงหาบ่อย ๆ. ก็ในเรื่องนี้ บัณฑิตพึงกล่าว เรื่องของภิกษุผู้ให้

ภิกษาอันตนได้แล้ว ๆ จำเดิมแต่ต้น แก่ทารกในตระกูล ในที่นั้น ๆ แล้วจึง

ได้น้ำนมและข้าวยาคูในที่สุด แล้วจึงไป. คำว่า เอสนา เป็นต้น เป็นคำ

ไวพจน์ของคำว่าความปรารถนาเป็นต้น เพราะฉะนั้นในที่นี้พึงทราบการประ-

กอบ อย่างนี้ว่า คำว่า เอฏฺิ ได้แก่ กิริยาที่หา. คำว่า คเวฏฺิ ได้แก่

กิริยาที่เที่ยวหา. คำว่า ปริเยฏฺิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวแสวงหาดังนี้.

เสยยมานนิทเทส

อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา

คำว่า ชาติยา (แปลว่า โดยชาติ) ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยชาติมีความ

เป็นกษัตริย์ เป็นต้น. คำว่า โคตฺเตน (โดยโคตร) ได้แก่ ด้วยโคตรอัน

สูงสุด มีโคตมโคตรเป็นต้น. คำว่า โกลปุตฺติเยน (โดยความเป็นผู้มีสกุล)

ได้แก่ ด้วยความเป็นตระกูลใหญ่ คำว่า วณฺณโปกฺขรตาย (โดยความเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 900

ผู้มีรูปงาม) ได้แก่ โดยความเป็นผู้มีสรีระอันถึงพร้อมด้วยวรรณะ จริงอยู่

สรีระ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า โปกขระ. อธิบายว่า เพราะ

ความที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงามด้วยวรรณสมบัติ. คำว่า ธเนน เป็นต้น (คือ

โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทย-

ฐานะ เป็นต้น) มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ในคำว่า มาน ชปฺเปติ (ย่อมถือ

ตัว คือ ย่อมยังมานะให้เกิด) เหล่านั้น อธิบายว่า ในบรรดาวัตถุเหล่านั้น ย่อมให้

มานะเป็นไปว่าเราเลิศกว่าเขา คือย่อมกระทำด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.

สทิสมานนิทเทส

อธิบาย ความสำคัญตนว่าเสมอเขา

ในคำว่า มาน ชปฺเปติ นี้นั่นแหละ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมให้

มานะ (ความสำคัญตน) ว่า เราเป็นผู้เช่นเดียวกับเขา ด้วยวัตถุ (เหตุ) อย่างใด

อย่างหนึ่ง. ก็ในนิทเทสแห่งความสำคัญตนว่าเสมอเขานี้ มีเนื้อความแปลกกัน

โดยอรรถ แต่ในพระบาลีไม่มีการกระทำที่แตกต่างกัน.

หีนมานนิทเทส

อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

คำว่า โอมาน ชปฺเปติ ได้แก่ ยังมานะให้เป็นไปในฝ่ายต่ำ. มานะ

อันลามก อันต่ำช้า ชื่อว่า โอมานะ. คำว่า โอมญฺิตตฺต ได้แก่ การ

แสดงความเป็นไปแห่งอาการ. คำว่า หีฬนา ได้แก่ การดูหมิ่นตนเอง

(การรังเกียจตนเอง) โดยฐานะทั้งหลาย มีโดยชาติเป็นต้น. คำว่า โอหีฬนา

ได้แก่ การดูถูกอย่างยิ่งเกินเปรียบ. คำว่า โอหีฬตตฺตได้แก่ เป็นการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 901

แสดงออกแห่งความเป็นไปของบุคคลนั้นนั่นแหละ. คำว่า อตฺตุญฺา ได้

แก่ ความเข้าใจตนเองว่า ต่ำช้า (ดูถูกตนเอง). คำว่า อตฺตาวญฺา ได้แก่

การเหยียดหยามตน. คำว่า อตฺตปริภโว ได้แก่ ความเย้ยหยันตน (การดู

แคลน) โดยสำคัญว่า พวกเราต่ำกว่าเขาโดยสมบัติ มีชาติเป็นต้น. มานะ ๓

เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งวัตถุ มีชาติเป็นต้น

มิได้อาศัยบุคคล ดังพรรณนามาฉะนี้.

ในมานะ ๓ เหล่านั้น มานะหนึ่ง ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้

มีความสำคัญตนว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แม้ทั้ง ๓. ใน

มานะเหล่านั้น มานะว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นมานะแท้จริง

ของบุคคลผู้เลิศกว่าเขา ส่วนมานะที่เหลือไม่ใช่. มานะว่า เราเสมอ

เขา เป็นมานะแท้จริงของบุคคลผู้เสมอกับผู้อื่นนั่นแหละ ที่เหลือ

ไม่ใช่. มานะว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะของบุคคลผู้เลว

นั่นแหละ ที่เหลือไม่ใช่.

บรรดามานะเหล่านั้น ก็คำว่า กตโม เสยฺยสฺส เสยฺโยหมสฺมิ

(แปลว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน ?) เป็นต้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมานะ ๙ อย่าง โดยอาศัยบุคคล. ในมานะเหล่านั้น มานะ

อย่างละ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หนึ่ง. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทหติ (แปลว่า

ย่อมถือตัว) ได้แก่ ย่อมตั้งไว้. คำว่า ต นิสฺสาย ได้แก่ อาศัยการถือตัว

โดยความเป็นผู้เลิศกว่าเขานั้น.

ก็มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา ดังนี้

มานะนี้ย่อมเกิดแก่พระราชาทั้งหลาย และบรรพชิตทั้งหลาย. จริงอยู่ พระ-

ราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า ใคร ๆ เสมอเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 902

หรือด้วยพาหนะ มีอยู่หรือ ดังนี้. แม้บรรพชิต ก็ย่อมทำมานะนี้ว่า ใคร ๆ

เช่นกับเรา ด้วยศีล และธุดงค์เป็นต้นมีหรือ ดังนี้.

แม้มานะว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็ย่อม

เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ พระราชา ย่อมทำมานะนี้ว่า อะไร ๆ

เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรา กับด้วยพระราชาเหล่าอื่น โดยแว่นแคว้น

หรือโดยทรัพย์ หรือโดยพาหนะมีหรือ ดังนี้. แม้บรรพชิตก็ย่อมทำมานะนี้ว่า

อะไร ๆ เป็นการกระทำที่ต่างกันของเรากับด้วยภิกษุอื่น ด้วยคุณทั้งหลายมีศีล

และธุดงค์เป็นต้น หรือ ดังนี้.

แม้มานะในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขา ก็ย่อม

เกิดแก่บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ. จริงอยู่ แว่นแคว้น หรือทรัพย์ หรือพาหนะ

เป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์แก่พระราชาใด พระราชานั้น ย่อมทำเหตุสักว่าอาศัย

ความสุขอันเป็นโวหารว่าผู้นั้นเป็นราชาของเรา ดังนี้ ให้เป็นมานะว่า เรา

ชื่อว่า เป็นราชาได้อย่างไร ดังนี้. แม้บรรพชิต ผู้มีลาภสักการะน้อย ย่อม

ทำมานะอันสักว่าถ้อยคำว่า เป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระ

นั่นแหละ ให้เป็นมานะนี้ว่า เราชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึก หรือเป็นพหูสูต

หรือเป็นมหาเถระอย่างไร เพราะลาภสักการะไม่มีแก่เรา ดังนี้.

มานะว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น ย่อม

เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย มีอำมาตย์เป็นต้น . จริงอยู่ อำมาตย์ย่อมทำมานะ

ทั้งหลายเหล่านั้นว่า ราชบุรุษอื่น (อำมาตย์) เช่นกับเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือ

โดยโภคะ ยานพาหนะเป็นต้น มีอยู่หรือ ดังนี้. หรือทำมานะว่า การกระทำ

อันแตกต่างกันของเรากับอำมาตย์เหล่าอื่น มีอยู่หรือ ดังนี้ หรือทำมานะว่า

สักว่า ชื่อว่า อำมาตย์นั่นแหละแม้สักว่ารสนิยมในการเคี้ยวกินอาหาร ย่อม

ไม่มีแก่เรา หรือว่า เราชื่อว่า เป็นอำมาตย์ได้อย่างไร ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 903

มานะในคำว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นต้น

ย่อมเกิดแก่ทาสทั้งหลาย. จริงอยู่ ทาสย่อมทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ว่า เราเป็น

ทาสเพราะมารดาบิดา ชื่อว่าทาสอื่นเสมอเรา มีหรือ คนอื่นไม่สามารถเพื่อ

เป็นอยู่เพราะอาศัยท้องเป็นเหตุ จึงเป็นทาส ส่วนเราชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่า

เพราะมาตามประเพณี หรือว่าทำมานะว่า การทำที่แตกต่างกันของเรากับทาส

ผู้โน้น ผู้เป็นทาสมาตามประเพณี ผู้เป็นทาสบริสุทธิ์โดยส่วนสอง ดังนี้

หรือว่า ทำมานะว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส ด้วยสามารถแห่งปากท้อง แต่

ตำแหน่งทาสของเราไม่มีตั้งแต่มารดาบิดา เราชื่อว่าเป็นทาสได้อย่างไร ดังนี้.

ก็ทาส ย่อมทำมานะ ฉันใด แม้คนเทขยะ และคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ย่อม

ทำมานะทั้งหลายเหล่านี้ ฉันนั้นนั่นแหละ.

อนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ในข้อว่า ผู้เลิศกว่าเขา

สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นของบุคคลผู้เลิศกว่าเขาเท่านั้น มานะ ๒ นอก

นี้ ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เสมอเขา มีความสำคัญตนว่าเสมอเขา ดังนี้ ก็เหมือน

กัน มานะ ๒ นอกนี้ไม่ใช่. มานะว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา

ก็เกิดแก่บุคคลผู้เลวนั้นนั่นแหละ มานะ ๒ นอกนี้ไม่ใช่.

ในมานะเหล่านั้น มานะอันเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรม

อันพระอรหัตมรรคพึงฆ่า มานะอันไม่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นธรรม

อันโสดาปัตติมรรคพึงฆ่า.

พระศาสดา ครั้นตรัสมานะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยวัตถุอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงมานะซึ่งเกิดขึ้นอันไม่มีวัตถุ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตตฺถ

กตโม มาโน (แปลว่า บรรดาคำเหล่านั้น มานะ (ความถือตัว) เป็นไฉน ?)

เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 904

ในนิทเทสแห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่

ทรงถือเอาบุคคลด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เลิศเป็นต้น แต่ทรงชี้แจงด้วย

สามารถแห่งวัตถุมีชาติเป็นต้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อติมญฺติ

(แปลว่า ย่อมดูหมิ่น) ได้แก่ ย่อมสำคัญตนเลยไปว่า ผู้อื่นเช่นกับเราโดยชาติ

เป็นต้น ย่อมไม่มี ดังนี้.

มานาติมานนิทเทส

อธิบาย ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โย เอวรูโป อย่างนี้ เพื่อแสดงว่า

มานะอันเกิดขึ้นในเบื้องต้นว่า บุคคลใดเป็นผู้เช่นกับเรา แต่มาบัดนี้ เราเป็น

ผู้ประเสริฐกว่า ผู้นี้ต่ำกว่า ดังนี้ ชื่อว่า ความถือตัวและความเย่อหยิ่ง โดย

อาศัยมานะว่าผู้อื่นเช่นกับตนในกาลก่อนนั้น บุคคลนี้ ย่อมเป็นราวกะบุคคล

มีภาระหนักยิ่งกว่าภาระหนัก ดังนี้.

นิทเทสแห่งโอมานะ (มานะอันลามก) เช่นกับนิทเทสแห่งมานะ

อันเลว (หีนมานะ) นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้

พอแนะนำได้) ชื่อว่ามานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีความสำคัญว่า

เราเป็นคนเลว ดังนี้ มานะนี้ ชื่อว่า โอมานะ. อีกอย่างหนึ่ง ในมานะนี้

บัณฑิตพึงทราบว่า มานะนี้ชื่อว่า โอมานะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป

โดยกระทำตนให้ต่ำอย่างนี้ว่า ท่านมีชาติ แต่ชาติของท่านเหมือนชาติของกา

ท่านมีโคตร แต่โคตรของท่านเหมือนโคตรของคนจัณฑาล เสียงของท่านมี

อยู่ แต่เสียงของท่านเหมือนเสียงขอกา ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 905

อธิมานนิทเทส

อธิบาย ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ

คำว่า อปฺปตฺเต ปตฺตสญฺิตา (แปลว่า ความสำคัญว่าถึงแล้วใน

ธรรมที่ตนยังไม่ถึง) ได้แก่ มีความสำคัญว่าถึงสัจจะ ๔ อันตนยังไม่บรรลุว่า

บรรลุแล้ว. คำว่า อกเต (แปลว่า ในกิจที่ยังไม่ได้ทำ) ได้แก่ มีความสำคัญ

ในกิจที่ตนพึงกระทำ อันมรรค ๔ ยังมิได้กระทำ. ว่า อนธิคเต (แปลว่า...

ในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ) ได้แก่ยังไม่บรรลุสัจธรรมทั้ง ๔. คำว่า อสจฺฉิกเต

(แปลว่า ในธรรมที่ตนยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง) ได้แก่ ธรรมอันอรหัตมรรค

ยังมิได้กระทำให้แจ้ง. คำว่า อย วุจฺจติ อธิมาโน ได้แก่ บุคคลนี้พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีความสำคัญว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษ.

ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนี้ ย่อมเกิดแก่ใคร

ย่อมไม่เกิดแก่ใคร.

ตอบว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก ก่อน. จริงอยู่ พระอริย-

สาวกนั้น มีโสมนัส (ความพอใจ) อันเกิดขึ้นดีแล้วในขณะแห่งการพิจารณา

มรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ท่านละแล้วและยังมิได้ละทีเดียว ไม่มีการสงสัย

ในการแทงตลอด (ในปฏิเวธ) ซึ่งเป็นอริยคุณ เพราะฉะนั้น ความสำคัญ

ตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดแก่พระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจ

แห่งความสำคัญว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น.

ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่

บุคคลผู้ทุศีล. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลนั้นไม่มีความปรารถนาในการ

บรรลุอริยคุณเลย. ความสำคัญตน ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 906

ศีล ผู้มีกรรมฐานอันสละแล้ว ผู้ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้

ยินดี ในการนอน เป็นต้น.

ก็แต่ว่า ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนั้น ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล

บริสุทธิ์ ผู้ไม่ประมาทในกรรมฐาน ผู้กำหนดนามรูป ข้ามความสงสัยได้ด้วย

การกำหนดปัจจัย ผู้ยกนามรูปขึ้นสู่ไตรลักษณ์แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ผู้

มีความเห็นแจ้ง มีความเพียร. อนึ่ง เมื่อมีความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ

เกิดขึ้นแล้ว บุคคลผู้ได้สมถะอย่างเดียว (สุทธสมถลาภี) หรือผู้ได้วิปัสสนา

อย่างเดียว (วิปัสสนาลาภี) ย่อมพักกรรมฐานไว้ในระหว่าง เพราะว่า เมื่อ

บุคคลนั้นไม่เห็นความปรากฏเกิดขึ้นแห่งกิเลสในสิ้นเวลา ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง

๓๐ ปีบ้าง จึงเกิดความสำคัญตนว่า เราเป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระสกทา-

คามี หรือพระอนาคามี ดังนี้. ส่วนพระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อ

มีความสำคัญว่าได้บรรลุพระอรหัตเท่านั้น จึงพักกรรมฐานเสีย เพราะว่า

กิเลสทั้งหลายอันบุคคลนั้นข่มไว้แล้วด้วยกำลังแห่งสมาธิ สังขารทั้งหลาย อัน

เธอกำหนดดีแล้วด้วยกำลังแห่งวิปัสสนา ฉะนั้น กิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น

สิ้น ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง. ความไม่สงสัย (คือไม่มีความสำคัญตน)

ย่อมมีแก่พระขีณาสพเท่านั้น. พระโยคีผู้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อไม่

เห็นความเกิดขึ้นแห่งกิเลสสิ้นกาลนานอย่างนี้ จึงพักกรรมฐานไว้ในระหว่าง

เทียว ย่อมสำคัญว่า เราบรรลุพระอรหันต์ ดังนี้ เหมือนพระมหานาคเถระ

ผู้อยู่ในอุจจตลังกะ เหมือนพระมหาทัตตเถระ ผู้อยู่ใน หังกนกะ และ

เหมือนพระจูฬสุมเถระ ผู้อยู่ในเรือนเป็นที่กระทำความเพียร ชื่อว่า นิงก-

โปณณะ ใกล้ภูเขาชื่อจิตตลบรรพต. ในข้อนั้น พึงทราบการชี้แจงสักเรื่อง

หนึ่ง ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 907

เรื่องพระมหานาคเถระ

ได้ยินว่า พระธัมมทินนเถระ ผู้อาศัยอยู่ในตลังกะ รูปหนึ่ง เป็น

พระขีณาสพผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้เป็นผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ ในวันหนึ่ง ท่านนั่งพักในที่พักในเวลากลางวันของตน นึกถึงอาจารย์

ของท่านว่า กิจแห่งสมณะของพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ในอุจจตลังกะ

อาจารย์ของเราถึงที่สุดแล้ว หรือไม่หนอ ดังนี้ เห็นแล้วซึ่งความที่อาจารย์

ของคนนั้นยังเป็นปุถุชน และทราบว่า เมื่อเราไม่ไปอยู่อาจารย์ของเราจักกระ-

ทำกาลกิริยา ด้วยความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ดังนี้ จึงเหาะขึ้นไปสู่เวหาส ด้วย

ฤทธิ์ หยั่งลงแล้วในที่ใกล้พระมหานาคเถระซึ่งนั่งพักอยู่ในที่เป็นที่นั่งพักใน

เวลากลางวัน ไหว้แล้ว แสดงวัตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ก็เมื่อ

อาจารย์ถามว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มีอายุ เพราะเหตุไร เธอจึงมาในเวลาอัน

ไม่สมควร ดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาเพื่อจะถาม

ปัญหาขอรับ ดังนี้. ลำดับนั้น เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เธอจง

ถาม เมื่อผมทราบก็จักตอบ ดังนี้ จึงถามปัญหาพันข้อ. พระเถระผู้อาจารย์

ไม่คิดอยู่ซึ่งปัญหานั้นอันพระธัมมทินนะถามแล้ว ๆ ก็กล่าวแก้แล้ว ๆ. ทีนั้น

ครั้นเมื่อคำอันพระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ญาณของท่านคมยิ่งนัก

ธรรมนี้ ท่านบรรลุในกาลไร ดังนี้ ท่านก็กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในกาลแห่งพรรษา

๖๐ แต่กาลนี้ ดังนี้. พระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านยังใช้

สมาธิอยู่หรือ ดังนี้ พระเถระอาจารย์ตอบว่า ผู้มีอายุ ข้อนี้ ไม่หนักใจเลย ดังนี้.

พระธัมมทินนะ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน

จงนิรมิตช้างเชือกหนึ่ง ดังนี้. ท่านก็เนรมิตช้างเผือกแล้ว. พระธัมมทินนะ

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ช้างนี้ มีหูกาง (ผึ่ง) ออกแล้ว มีหาง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 908

เหยียดออกแล้ว เอางวงใส่ในปาก ส่งเสียงร้องโกญจนาท (เสียงกึกก้อง) มุ่ง

หน้าเฉพาะต่อท่านมาอยู่ โดยอาการที่ท่านสร้างมันขึ้นมา อย่างนั้น ดังนี้.

พระเถระผู้อาจารย์ ครั้นนิรมิตอย่างนั้นแล้ว เห็นแล้วซึ่งอาการกิริยาเสียงร้อง

ของช้างมาโดยเร็ว ท่านก็ลุกขึ้นเริ่มเพื่อจะหนีไป. พระธัมมทินนะผู้เป็นพระ-

ขีณาสพ จึงเหยียดมือออกไปจับชายจีวรของพระอาจารย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ความกลัวย่อมมีแก่พระขีณาสพด้วยหรือ ดังนี้. พระอาจารย์จึง

ทราบความที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มี

อายุ ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่กระผม ดังนี้ แล้วนั่งกระโหย่งใกล้เท้าของพระธัมม-

ทินนะ. พระธัมมทินนะเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาด้วยประสงค์

ว่าจักเป็นที่พึ่งแก่ท่าน ขอท่านอย่าได้วิตก ดังนี้ แล้วบอกกรรมฐาน. พระ-

เถระผู้อาจารย์ เรียนกรรมฐานแล้วก็ก้าวขึ้นสู่ที่เป็นที่จงกรม ในก้าวที่สามก็

บรรลุพระอรหัตผลอันเลิศ ได้ยินว่า พระเถระนี้เดิมท่านเป็นผู้มีโทสจริต.

อัสมิมานนิทเทส

อธิบาย ความสำคัญว่า มีอัตตา

คำว่า รูเป อสฺมีติ มาโน (แปลว่า ความสำคัญในรูป ว่าเป็น

ตัวเรา) ได้แก่ มีความสำคัญเกิดขึ้นว่า รูปเป็นเรา ดังนี้. คำว่า ฉนฺโท

(แปลว่า ความพอใจ) ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทะไปตามมานะ ... (มานะ คือความ

สำคัญว่ามีอัตตา) นั่นแหละ. ความเข้าใจพอใจอันนอนเนื่องอยู่ในรูปว่าเป็น

ตัวเราก็เหมือนกัน แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 909

มิจฉามานนิทเทส

อธิบาย ความถือตัวผิด

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาปเกน วา กมฺมายตเนน เป็นต้น การ

งานของพรานเบ็ด ชาวประมง และผู้ฆ่าสัตว์เป็นต้น ชื่อว่า หน้าที่การงาน

อันลามก. ความฉลาดเฉียบแหลมในการทำแหและชุดดักปลา และทำ

หลาวแทงปลาเป็นต้น ชื่อว่า ศิลปะอันลามก. วิชชา ในการทำร้ายสัตว์

อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะอันลามก. การประกอบพร้อมเฉพาะ

ด้วยเรื่องเล่า มีเรื่องภารตยุทธและเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ชื่อว่า การศึกษา

อันลามก. ความเฉียบแหลมในกาพย์กลอน การฟ้อนรำ การรำพันเป็นต้น

อันประกอบด้วยทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณอันลามก. อัชชศีล (มีความ

ประพฤติอย่างแพะ) โคศีล (การประพฤติอย่างโค) ชื่อว่า ศีลอันลามก.

ทิฏฐิ ๖๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฐิอันลามก.

ในนิทเทสแห่งความวิตกถึงญาติ (ความคิดถึงญาติ) เป็นต้น

ชื่อว่า คิดถึงญาติ คือ มีวิตกอันเกิดขึ้นปรารภญาติทั้งหลาย ด้วยความ

รักใคร่อันเกี่ยวข้องกันในบ้าน อาศัยกามคุณ ๕ อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของ

เราเป็นอยู่สบาย มีทรัพย์สมบัติ ดังนี้. แต่ว่าบุคคลนั้น มีความตรึกเป็นไป

อย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเรามีศรัทธา มีความเลื่อมใส ถึงความสิ้นไป

ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ไม่ชื่อว่า ตรึกถึงญาติ.

ความตรึกอันเกิดขึ้นแก่ผู้ยินดีอยู่ว่า ชนบทของเราทั้งหลาย มีภิกษา

หาได้โดยง่าย มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งความรักอันอาศัยเรือน

(เคหสิตเปม) ชื่อว่า ความตรึกถึงชนบท. แต่ว่า บุคคลมีความตรึกเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 910

ไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายในชนบทของพวกเรา มีศรัทธา มีความเลื่อมใส

ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ความตรึกถึง

ชนบท.

ความตรึกเพื่อความต้องการไม่ให้ตาย หรือว่าความตรึกอันไม่ตาย

ชื่อว่า อมรวิตก ความตรึกอันไม่ตายตัว. ในข้อนั้น ความตรึกอันเกี่ยวด้วย

ความพอใจในการทำสิ่งทีทำได้โดยยากของผู้ทำทุกรกิริยาโดยตรึกว่า เมื่อความ

ทุกข์เกิดขึ้นด้วยความเพียรมีการนั่งกระโหย่งเป็นต้น ซึ่งทำจนหมดแรงแล้ว

อัตตา ย่อมเกิดเป็นสุข ย่อมไม่ตายในภพเบื้องหน้า ดังนี้ ชื่อว่า ความตรึก

เพื่อความต้องการไม่ตายตัว. ก็บุคคลผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ถูกผู้อื่นถามปัญหา

ว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น ท่านก็จะกล่าววาจาดิ้นได้

ไม่ตายตัวว่า สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่เราว่า.

เอวนฺติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่

ตถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนั้น ก็ไม่ใช่

อญฺถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่

โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่

โน โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้

ย่อมถึงความสับสน. ความตรึกอันประกอบด้วยทิฏฐิคตะของบุคคลนั้น เปรียบ

เหมือนปลาไหลโจนลงน้ำไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อให้ตาย บุคคลผู้จับปลา.

ไหลนั้น ย่อมวิ่งไป ข้างนี้ ๆ ก็ไม่สามารถเคลื่อนไปจับมันได้ฉันใด ข้อนี้

ก็ฉันนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า ความตรึกไม่ตายตัว เพราะอรรถว่าไม่คงที่และ

เพราะไม่ตั้งมั่นอยู่ในฝ่ายหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสความตรึกอันไม่ตาย

ตัวนี้ โดยรวมเอาความตรึกแม้ทั้งสองชนิดนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 911

คำว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความ

เอ็นดูผู้อื่น) ได้แก่ ความตรึกประกอบด้วยความรักอาศัยเรือนอันเหมาะสมกับ

ความเอ็นดู. คำว่า สหนนฺทิ เป็นต้น (แปลว่า มีความรื่นเริงร่วมกัน)

ได้แก่ ครั้นเมื่ออุปัฏฐากทั้งหลาย มีความยินดีร่าเริง หรือมีความเศร้าโศก

เธอก็ย่อมร่าเริงเป็นทวีคูณ หรือย่อมเศร้าโศกทวีคูณร่วมกับด้วยอุปัฏฐากเหล่า

นั้น เมื่ออุปัฏฐากเหล่านั้น มีความสุข หรือทุกข์ เธอก็จะเป็นผู้มีความสุข

ทวีคูณ หรือมีทุกข์ทวีคูณ ร่วมกับอุปัฏฐากเหล่านั้น. คำว่า อุปฺปนฺเนสุ

กิจฺจกรณีเยสุ (แปลว่า เมื่อมีกิจที่พึงทำเกิดขึ้น) ได้แก่ เมื่อบุคคลอื่น

เหล่านั้นมีการงานใหญ่น้อยเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า อตฺตนา วา โยค อาปชฺชติ

(แปลว่า พยายามทำด้วยตนเอง) ได้แก่ เมื่อภิกษุยังกิจเหล่านั้น ๆ ให้สำเร็จ

อยู่ ย่อมก้าวล่วงพระบัญญัติ (วินัย) ย่อมละเมิดธรรมอันเป็นเครื่องขัดเกลา

กิเลส. คำว่า โย ตตฺถ (แปลว่า ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์เหล่านั้น) ได้แก่

ความตรึกใด อันเป็นเคหสิตมีอยู่ในวิหารอันคลุกคลีกันนั้น หรือว่า ในการ

ละเลยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส. ความตรึกนี้ ชื่อว่า ความคิดเกี่ยวด้วย

ความเอ็นดูผู้อื่น.

คำว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิสยุตฺโต (แปลว่า ความคิดเกี่ยวด้วย

ลาภสักการะและชื่อเสียง) ได้แก่ ความตรึกอันประกอบด้วยความสามารถแห่ง

การกระทำให้เป็นอารมณ์ กับการได้ปัจจัย มีการได้จีวรเป็นต้น กับด้วย

สักการะ กับด้วยกิตติศัพท์ (ชื่อเสียง).

คำว่า อนวฺตฺติปฏิสยุตฺโต (แปลว่า ความคิดด้วยความไม่อยาก

ให้ใครดูหมิ่น) ได้แก่ ความตรึกอันเกิดขึ้นพร้อมกับความปรารถนาไม่ให้ใคร

ดูหมิ่นอย่างนี้ว่า โอหนอ บุคคลอื่นๆ ไม่พึงดูหมิ่นเรา ไม่กล่าวร้ายเรา ไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 912

พึงพูดเบียดเบียนเรา. คำว่า โย ตตฺถ เคหสิโต ได้แก่ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า

บุคคลเหล่าอื่นอย่าดูถูกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้อาศัยเรือน กล่าวคือ กามคุณ ๕

ชื่อว่า มีวิตกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแจ้ง

แล้วแล.

เอกกนิทเทส จบ

อรรถกถาทุกนิทเทส

อธิบาย มาติกาหมวดสอง

ในทุกมาติกาทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบนิทเทสแห่งความโกรธเป็น

ต้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในนิทเทสแห่งความผูก

โกรธเป็นต้น อันเป็นอนาคต คือ บุคคลใดย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภาย-

หลังความโกรธเกิดขึ้นอีก ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ. อาการ

แห่งความผูกโกรธ ชื่อว่า กิริยาที่ผูกโกรธ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ผูกโกรธ

ชื่อว่า สภาพที่ผูกโกรธ. คำว่า อฏฺปนา (ความตั้งไว้) ได้แก่ การ

ตั้งความโกรธไว้ติดต่อกันของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ โดยการกำหนดเขตแดนของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. การตั้งความ

โกรธไว้ตามปกติ เรียกว่า การทรงไว้ซึ่งความโกรธ. การตั้งความโกรธ

บ่อย ๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้. การไม่แสดง

ความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดขึ้นก่อนแล้วทำไว้โดย

ความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ความสั่งสมความโกรธไว้. ความสืบต่อ

ความโกรธครั้งหลังกับด้วยความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความผูกพันความ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 913

โกรธไว้. คำว่า ความยึดมั่นความโกรธ ได้แก่ การทำความโกรธให้

มั่นคง. คำว่า อย วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้ มีความเข้าไปผูกไว้เป็นลักษณะ

มีความไม่สละคืนซึ่งเวรเป็นรส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกลักษณะนี้ว่า

อุปนาหะ ความผูกโกรธ ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลผู้ประกอบความโกรธด้วย

ลักษณะใด ย่อมไม่อาจเพื่อสละเวร ชื่อเห็นปานนี้ บุคคลนี้ ย่อมติดตามซึ่ง

ความโกรธอื่น ๆ อีก ด้วยลักษณะว่า บุคคลนี้ ไม่สมควรพูดกะเราอย่างนี้

ดังนี้ ความโกรธของเขา ย่อมลุกโพลงทีเดียว ราวกะฟืนไม้สนอันไฟติดทั่ว

แล้ว ความโกรธนั้นย่อมไม่สะอาด เป็นราวกะหนังหมีอันบุคคลทำความสะอาด

อยู่ และเป็นราวกะผ้าเก่าอันเปื้อนด้วยไขมันหรือน้ำมัน.

ชื่อว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของ

เปรอะเปื้อน คือว่า บุคคลแม้ประพฤติด้วยสามารถแหงความเป็นผู้ลบหลู่คุณ

ของผู้อื่นนั้น ย่อมเปรอะเปื้อนโทษนั้นก่อน เหมือนคูถอันเป็นของตนเองย่อม

เปรอะเปื้อนตนก่อนกว่า. สองบทจากนั้น เป็นคำอธิบายสภาพแห่งกิริยาอาการ.

ความเป็นแห่งบุคคลผู้แข็งกระด้างหยาบช้า ชื่อว่า สภาพที่ลบหลู่.อธิบายว่า

คุณแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่มีเพราะอาศัยความลบหลู่ดูหมิ่น เพราะฉะนั้น

สภาพนั้น จึงชื่อว่า เป็นการพูดเปลืองน้ำลาย. การกระทำแห่งบุคคลผู้ลบหลู่

คุณของผู้อื่น ชื่อว่า กระทำความลบหลู่. จริงอยู่ เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม

เป็นภิกษุก็ตาม เมื่ออาศัยภิกษุอยู่ โกรธแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ย่อมดูหมิ่น และคุณ คือความที่บุคคลนั้นอาศัยผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่มีแก่เขา

เพราะเหตุแห่งความโกรธนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พูดไปให้เปลืองน้ำลาย

(การพูดให้น้ำลายตกไปเปล่า ๆ) จึงชื่อว่า เป็นการกระทำซึ่งความเป็นผู้ลบหลู่

ดูหมิ่น และเป็นราวกะว่าเหยียบย่ำความดีของผู้อื่นไว้ด้วยเท้า. การกระทำอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 914

นั้นของผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า มักขะ ความลบหลู่

คุณท่าน. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ มักขะนี้มีการลบหลู่คุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ

มีการยังคุณของผู้อื่นให้พินาศไปเป็นรส มีการตัดทำลายกิริยาอาการอันบุคคล

อื่นทำดีแล้วเป็นปัจจุปัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น).

บุคคลใด ย่อมตีเสมอเขา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า

ปลาสะ ผู้ตีเสมอเขา. อธิบายว่า แสดงคุณของผู้อื่น ย่อมทำคุณทั้งหลาย

คล้ายกับเป็นคุณของตน ๆ. วิถีทางของบุคคลผู้ตีเสมอกับผู้อื่น ชื่อว่า ปลา-

สายนา. ปลาสะ ความตีเสมอนั้นด้วย เป็นอาหารเพราะการนำมาซึ่งความ

ชนะของตนด้วย ชื่อว่า ปลาสาหาร. คำว่า วิวาทฏฺาน ได้แก่ เหตุ

แห่งความวิวาทกัน. การถือเอาธุระ (หน้าที่การงาน) เสมอกัน ชื่อว่า การ

แข่งดี. การไม่สละธุระอันตนถือเอาแล้ว ชื่อว่า การไม่ลดละ. ก็เมื่อ

ว่าโดยลักษณะเป็นต้น ปลาสะนั้น มีการแข่งดีเป็นลักษณะ มีการกระทำคุณ

ทั้งหลายของตนให้เสมอกันกับคุณของบุคคลอื่นเป็นรส มีการเอาใจใส่โดย

กำหนดยึดถือคุณของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏฐาน. จริงอยู่ บุคคลผู้ตีเสมอ ย่อมไม่

ให้ธุระ (การงาน) แก่บุคคลที่สอง ย่อมยังคุณของตนให้แผ่ออกไปเสมอ ๆ

คือว่า ครั้นเมื่อพระสูตรทั้งหลาย หรือการณะทั้งหลายจำนวนมาก อันภิกษุอื่น

แม้นำมาแล้วในโรงสนทนาธรรม ย่อมจะกล่าวขยายความออกไปซึ่งคุณของ

ตนให้เสมอ ๆ กับผู้อื่นว่า ในวาทะของท่าน และวาทะของเรา เหตุอันแตก

ต่างกัน ชื่อว่ามีอยู่หรือ ถ้อยคำของพวกเราก็เป็นเช่นเดียวกับท่านนั่นแหละ

เปรียบเหมือนแท่งทองคำอันบุคคลผ่าออกแล้วก็เป็นทองคำนั่นแหละ มิใช่หรือ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 915

นิทเทสแห่งอิสสา ความริษยา และมัจฉริยะ ความตระหนี่ มี

เนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วทั้งนั้นแล.

มายานิทเทส

อธิบายมายา ความเจ้าเล่ห์

คำว่า วาจ ภาสติ ได้แก่ ภิกษุผู้ก้าวล่วงพระบัญญัติอันรู้อยู่นั่นแหละ

ทำให้เป็นภาระหนัก ย่อมพูดราวกะว่าตนเป็นผู้เข้าไปสงบ ด้วยประสงค์จะให้

ผู้อื่นรู้ว่า ชื่อว่า ฐานะคือ การล่วงพระบัญญัติ ย่อมไม่มีแก่ตัวเอง ดังนี้.

คำว่า กาเยน ปรกฺกมติ ได้แก่ ภิกษุนั้น ย่อมทำวัตรปฏิบัติด้วยกาย โดย

คิดว่า ใคร ๆ อย่าได้รู้ซึ่งบาปกรรมนี้ อันเราทำแล้ว ดังนี้. ลักษณะนี้ ชื่อว่า

มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นราวกะว่าการเล่นกล (จักขุโมหนมายา) เพราะการ

ปกปิดไว้ซึ่งโทษอันตนรู้อยู่. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีมายา ชื่อว่า มายาวิตา.

สัตว์ทั้งหลาย ทำบาปแล้ว ก็ยังล่วงละเมิดคือทำบาปอีก เพราะความเป็นผู้

ปกปิดไว้ ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ความเจ้าเล่ห์. ชื่อว่า ลวง

เพราะย่อมลวงโดยให้เห็นเป็นไปโดยประการอื่น ด้วยการกระทำทางกายและ

วาจา ฯ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำซึ่งความฉ้อโกง ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น

ชื่อว่า ความฉ้อโกง ฯ อธิบายว่า ย่อมทำให้เปล่าประโยชน์. ชื่อว่า ความ

กลบเกลื่อน เพราะยังบาปทั้งหลายให้เกิดสับสนกันไป ด้วยกล่าวคำว่า เราย่อม

ไม่ทำอย่างนี้ ดังนี้. ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะการเว้นด้วยคำพูดว่า เรา

ย่อมไม่ท่าอย่างนี้. ชื่อว่า ความซ่อน เพราะความไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น.

การซ่อนโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การซ่อนบัง. ชื่อว่า การปกปิด เพราะ

ย่อมปกปิดบาปด้วยกายกรรม วจีกรรม ราวกะคูถ อันบุคคลปกปิดไว้ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 916

หญ้าและใบไม้ทั้งหลาย. การปกปิดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความปิดบัง

ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะย่อมไม่ทำให้แจ้ง. ชื่อว่า ความปิดบังมิดชิด

เพราะไม่แสดงไห้ปรากฏ. การปกปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปกปิดมิดชิด ชื่อว่า

การกระทำที่ชั่ว เพราะทำบาปแม้อีกด้วยสามารถแห่งการซ่อนเร้นอันตนทำแล้ว.

คำว่า อย วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า

มายา อันมีการซ่อนปิดไว้อันตนทำแล้วเป็นลักษณะ. บุคคล ประกอบด้วย

ลักษณะนี้ใด ย่อมเป็นราวกะถ่านเพลิง อันปิดไว้ด้วยขี้เถ้า ย่อมเป็นราวกะ

ตอไม้อันน้ำปกปิดไว้ ย่อมเป็นราวกะว่าศัสตราอันบุคคลพันไว้ด้วยเศษผ้า.

สาเถยยนิทเทส

อธิบาย สาเถยยะ ความโอ้อวด

การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้

โอ้อวด. ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า เป็นผู้โอ้อวดมาก. คำว่า

ย ตตฺถ ได้แก่ ความโอ้อวดอันใด ในบุคคลนั้น. ความคดโกง คือ

การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่า การโอ้อวด. อาการแห่งความโอ้อวด ชื่อว่า

ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด. คำว่า กกฺขรตา ได้แก่ ความเป็นแห่งความ

กระด้าง มีความไม่อดทนต่อสิ่งอันไม่เป็นภัยราวกะความหยาบกระด้างของก้าน

ปทุม. แม้คำว่า สภาพที่กระด้าง ก็เป็นไวพจน์ของความโอ้อวดนั้นนั่นแหละ

ความคดโกงอันมั่นคง ราวกะเสาเขื่อน อันบุคคลขุดหลุมฝังตั้งไว้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบททั้งสอง คือ การพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูด

เป็นเหลี่ยมเป็นคู. คำว่า อิท วุจฺจติ ความว่า ความโอ้อวด มีการประกาศ

คุณอันไม่มีอยู่ของตนเป็นลักษณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สาเถยยะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 917

ความโอ้อวด. ความโอ้อวดนั้น อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้ซึ่งการกล่าวลวงของผู้

ประกอบด้วยอาการใด อาการนั้นย่อมเป็นเช่นกับสุกรยักษ์ ที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ยักษ์นั้น ย่อมแปลงเพศเป็นสุกรอยู่

ข้างซ้าย เป็นแพะอยู่ข้างขวา เป็นโคแก่มี

เขายาว เป็นละมั่งส่งเสียงร้อง ดังนี้.

นิทเทสแห่งอวิชชาเป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ.

อนาชชวนิทเทส

อธิบาย อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง

อาการแห่งความเป็นผู้คดโกง ชื่อว่า อนาชชวะ คือ ความไม่ซื่อ

ตรง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ซื่อตรง ชื่อว่า สภาพไม่ซื่อตรง. ความคด

โค้งแห่งดวงจันทร์ ชื่อว่า ชิมฺหตา คือ ความไม่ตรง. คำว่า วงฺกตา

ได้แก่ ความคดดังโคมูตร (เยี่ยวโค). คำว่า กุฏิลตา (แปลว่า ความโค้ง)

ได้แก่ ความโค้งดังปลายงอนของไถ. ความคดแห่งกายวาจาและจิตนั่นแหละ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.

อมัททวนิทเทส

อธิบาย อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน

ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมุทุตา. อาการแห่งความ

ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมัททวตา. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กระด้าง ชื่อว่า

กักขฬิยะ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบคาย ชื่อว่า ผารุสิยะ. ความเป็น

แห่งจิตอันแข็งกระด้าง เพราะความไม่ประพฤติอ่อนน้อม ชื่อว่า อุชุจิตฺตตา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 918

ศัพท์ว่า อมุทุตา ท่านแสดงเนื้อความแห่งผู้ไม่อ่อนน้อมนั้นให้วิเศษขึ้นอีก.

คำว่า อุชุจิตฺตตา ความเป็นผู้มีจิตถือรั้น ไม่ใช่ความเป็นจิตซื่อตรง. นิท-

เทสแห่งอขันติ ความไม่อดทนเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตรงกันข้าม

กับนิทเทสแห่งขันติความอดทนเป็นต้น.

สัญโญชนนิทเทส

อธิบาย สัญโญชน์ กิเลสเครื่องผูกไว้

กามภพ ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายใน. รูปภพและอรูปภพ

ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายนอก. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัย

อยู่ในกามภพสิ้นกาลเล็กน้อย คืออาศัยอยู่สิ้นกาลอันเป็นส่วนที่ ๔

(๑/๔) แห่งกัปเท่านั้น ในส่วนแห่งกัปทั้งสามที่เหลือนอกนี้ กามภพ

ย่อมว่างเปล่า.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในรูปภพและอรูปภพตลอดกาลเป็นอัน

มาก แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

มีมากในกามภพ ส่วนในรูปภพและอรูปภพมีน้อย ก็จุติและปฏิสนธิในที่

ใดมีมาก ความอาลัยก็ดี ความปรารถนาก็ดี ความอยากก็ดี ย่อมมีมาก

ในที่นั้น จุติและปฏิสนธิในที่ใดมีน้อย ในภพนั้นก็มีกิเลสเครื่องผูกน้อย

เพราะฉะนั้น กามภพจึงชื่อว่า เป็นอัชฌัตตะภายใน ส่วนรูปภพและอรูป-

ภพ ชื่อว่า เป็นพหิทธาภายนอก. เครื่องผูกในกามภพ กล่าวคือภายใน

ชื่อว่า สัญโญชน์ภายใน เครื่องผูกในรูปภพและอรูปภพกล่าวคือภายนอก

ชื่อว่า สัญโญชน์ภายนอก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 919

บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น ทั้งภายในและภายนอก มีอย่างละ ๕ ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำมี ๕

สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องบนมี ๕ ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบวจนัตถะ ดังนี้

กามธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ชื่อว่า โอร (แปลว่า เบื้องต่ำ)

สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องต่ำนั้น โดยอาศัยความเกิดขึ้นและความ

สำเร็จในกามธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า โอรัมภาคิยะ

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. รูปธาตุและอรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ชื่อว่า

อุทฺธ (แปลว่า เบื้องบน) สัญโญชน์ใด ย่อมเสพซึ่งธรรมเบื้องบนนั้น

โดยความเกิดขึ้นและความสำเร็จในรูปธาตุและอรูปธาตุนั้น เพราะเหตุนั้น

สัญโญชน์นั้น จึงชื่อว่า อุทธัมภาคิยะ อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน.

ทุกนิทเทส จบ

อรรถกถาติกนิทเทส

อธิบาย มาติกาหมวด ๓

ความปรากฏแห่งวัฏฏมูล ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอกุศล

มูล ๓. วิตกในธรรมทั้งหลาย มีอกุศลวิตก เป็นต้น พึงทราบว่า ตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งการตรึก. สัญญา พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง

สัญชานนะความจำได้. พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 920

ทุจจริตนิทเทส

อธิบาย ทุจจริต

ทุจริต นัยที่หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถ

แห่งกรรมบถ. นัยที่สอง ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมอันสงเคราะห์

ในอกุศลทั้งหมด. นัยที่สาม ทรงจำแนกไว้ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันเกิดขึ้น

แล้ว.

ในนิทเทสแห่งอาสวะ โดยปริยายแห่งสุตตันตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอาสวะ ๓ เท่านั้น.

เอสนานิทเทส

อธิบาย เอสนา การแสวงหา

ในเอสนานิทเทสนั้น ว่าโดยสังเขป ความยินดีด้วยการแสวงหากาม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา

เป็นไฉน เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า กาเมสนา. ความยินดีโดยการแสวงหา

ภพ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ความพอใจในภพ ๓ อันใด

เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ภเวสนา. ความเห็นผิดที่แสวงหาพรหมจรรย์อัน

เห็นชอบตามอัชฌาสัยแห่งทิฏฐิ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า โลก

เที่ยง เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พรหมจริเยสนา. ก็เพราะราคะและทิฏฐิ

มิได้ชื่อว่าเอสนาอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรมอันตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับราคะ

และทิฏฐินั้น ก็ชื่อว่า เอสนา การแสวงหานั่นแหละ ฉะนั้น เพื่อแสดงซึ่งเอสนา

การแสวงหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกนัยที่ ๒ ไว้. บรรดา

คำเหล่านั้น คำว่า ตเทกฏฺ (แปลว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน) พึงทราบว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 921

เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน กับธรรมที่สัมปยุตด้วยราคะและทิฏฐินั้น

คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับกามราคะ ย่อมเป็นไปแก่สัตว์ผู้ท่องเที่ยว

ไปในกามภพทั้งหลายเท่านั้น ส่วนธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับภวราคะ

ย่อมเป็นไปแก่มหาพรหมทั้งหลาย. ในกาลเมื่อพระโยคาวจรออกแล้วจากสมาบัติ

ยินดีซึ่งองค์ฌานจงกรมอยู่ อกุศลกายกรรมย่อมเกิด. ในกาลเมื่อยินดีเพราะ

เปล่งวาจาว่า โอ ! สุขจริง, โอ ! สุขจริง ดังนี้ อกุศลวจีกรรมย่อมเกิด. ใน

กาลเมื่อยินดีด้วยใจเท่านั้น เพราะยังไม่ทำองค์แห่งกายและองค์วาจาให้ไหวไป

อกุศลมโนกรรมย่อมเกิด. อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไปตามทิฏฐิ

แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจอันตัคคาหิกทิฏฐิเท่านั้น เพราะอำนาจการเดินจงกรม

เป็นต้น.

วิธานิทเทส

อธิบาย วิธา คือ การถือตัว

การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวยกย่องตนว่า

มีศีลชนิดไร มีปัญญาชนิดไร เป็นต้น ชื่อว่า วิธา. การดำรงอยู่แห่งอาการ

ในคำว่า ญาณวัตถุมีอย่างเดียว (คือไม่แปลกกัน) เป็นต้น ชื่อว่า โกฏฐาส.

การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า บุคคล ย่อมไม่กำหนด ในวิธา คือการถือ

ตัวทั้งหลาย เป็นต้น ชื่อว่า มานะ. แม้ในที่นี้ มานะนั่นแหละ ชื่อว่า วิธา.

จริงอยู่ มานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วิธา เพราะการจัดแจง

ปรับแต่ง ด้วยสามารถแห่งการถือตนว่าเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

๑. คำว่า วิธา หมายถึงกิเลสมีประการมาก คือ มานะ หรือ อหังการ หรือยึดถือ

เป็นส่วน ๆ เรียกว่าโกฏฐาส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 922

ชื่อว่า วิธา เพราะอรรถว่า การดำรงไว้ซึ่งการถือตัว. เพราะฉะนั้นคำว่า

เสยฺโย อห นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า วิธา เพราะดำรงไว้ซึ่งมานะอันมี

ประการมากอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เป็นต้น.

แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

ภยนิทเทส

อธิบาย ภัย คือ ความกลัว

คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ภย ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด

(ชาติ) เป็นปัจจัย. คำว่า ภยานก (แปลว่า ภัยอันน่ากลัว) นี้เป็นนิทเทสแห่ง

อาการ. คำว่า ฉมฺภิตตฺต (แปลว่า ความสะดุ้งแห่งจิต) ได้แก่ ความหวั่นไหว

แห่งตน เพราะอำนาจแห่งภัย. คำว่า โลมหโส (แปลว่า ความชูชันแห่งขน)

ได้แก่ ความที่ขนทั้งหลายเป็นของชูชันขึ้นไปเบื้องบน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความกลัวโดยกิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ก็ทรงแสดงความกลัวโดย

สภาวะ คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวแห่งจิตอีก.

ตมนิทเทส

อธิบาย ตมะ คือ อวิชชา

อวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ ด้วยความมีวิจิกิจฉาเป็น

สีสะ. จริงอยู่เพราะพระบาลีว่า ความมืดมน ความหลงลืม โอฆะ คือ

อวิชชา เป็นภัยใหญ่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่า ตมะ.

ตมะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย)

เป็นสีสะ เป็นการแสดงโดยง่ายด้วยอำนาจแห่งกาลอันยาวนานทั้ง ๓ (คือ อดีต-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 923

อัทธานะ อนาคตอัทธานะ ปัจจุปันนอัทธานะ). ในกาลเหล่านั้น เมื่อบุคคล

สงสัยว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็น

แพศย์ เป็นศูทร เป็นคนดำ เป็นคนขาว เป็นคนเตี้ย คนสูง ดังนี้ ชื่อว่า

ย่อมสงสัยปรารภอดีตอัทธานะ (อดีตกาลอันยาวนาน). เมื่อสงสัยอยู่ว่า ใน

อนาคตกาล เราจักเป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่า จักเป็นพราหมณ์ เป็น

แพศย์ เป็นศูทร ฯสฯ เป็นคนสูง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภอนาคตอัทธานะ

(อนาคตกาลอันยาวนาน) เมื่อสงสัยอยู่ว่า ในบัดนี้ (ปัจจุบัน) เราเป็นกษัตริย์

หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร หรือสงสัยว่า เรามีรูป

เป็นอย่างไร หรือว่ามีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างไร ดังนี้

ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภปัจจุปันนอัทธานะ (ปัจจุบันกาลอันยาวนาน).

ในตมนิทเทสนั้น บุคคลผู้เป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ผู้เป็นคูทร

ชื่อว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่งตนเป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่ง

ตนเป็นศูทร ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ผู้ถือลัทธิว่า ชีวะมีอยู่โดยประ-

การทั้งปวง ฟังการแบ่งชั้นวรรณะแห่งชีวะของกษัตริย์เป็นต้น เมื่อเคลือบแคลง

สงสัย ชื่อว่า ย่อมสงสัยอย่างนี้ว่า ชีวะในภายในของเราทั้งหลาย เป็นอย่างไร

หนอ เป็นสีเขียวหรือหนอ หรือว่าสีเหลือง หรือว่าสีแดง หรือว่าสีขาว หรือ

เป็น ๔ ส่วน หรือเป็น ๖ ส่วน เป็น ๘ ส่วน อย่างไรหนอ ดังนี้.

คำว่า ติตฺถายตนานิ ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนอันเป็นลัทธิ

ต่าง ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนของเดียรถีย์ทั้งหลาย.

ในอายตนะเหล่านั้น ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ติตถะ คือท่าเป็นที่ข้าม. ทิฏฐิ

เหล่านั้น ย่อมควร ย่อมชอบใจแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นเดียรถีย์.

อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็เพราะอายตนะเหล่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 924

นั้น คติแห่งทิฏฐิแม้ทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๓ เหล่านี้

เท่านั้น แม้เมื่อประชุม ก็ย่อมประชุมประมวลมาในฐานะเหล่านี้นั่นแหละ

ด้วยว่า อายตนะ คือคำสอนของเดียรถีย์เหล่านั้นเท่านั้น เป็นมูลเหตุในความ

เป็นทางดำเนินไปแห่งทิฏฐิ ฉะนั้น ติตถะอันเป็นเหตุเหล่านั้นจึง ชื่อว่า อายตนะ

และเพราะอรรถมีคำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น เป็นสภาวะเกิดขึ้นเองด้วย จึงชื่อว่า

ติตถายนะ. ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ แม้คำว่า อายตนะของเดียรถีย์ทั้งหลาย

ดังนี้ ก็ชื่อว่า ติตถายตนะ. คำว่า ปุริสปุคฺคโล ได้แก่ สัตว์. อนึ่งแม้ใครๆ

เรียกว่า บุรุษก็ดี บุคคลก็ดี ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นสัตว์นั่นแหละโดยแท้.

กถานี้ ชื่อว่า สมมติกถา. บุคคลใด ย่อมรู้สมมติกถานี้ได้โดยประการใด

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสคำนั้นโดยประการนั้น. คำว่า ปฏิสเวเทติ

(แปลว่า ย่อมเสวยเวทนา) ได้แก่ ย่อมรู้สิ่งอันเกิดขึ้นในสันดานของตน ทั้ง

ย่อมกระทำ หรือย่อมเสวยเวทนาที่ตนรู้แล้วนั้น. คำว่า ปุพฺเพ กตเหตุ

(แปลว่า เพราะทำเหตุไว้ในปางก่อน) ได้แก่ เพราะเหตุอันตนกระทำแล้วใน

กาลก่อน อธิบายว่า เขาย่อมเสวยเวทนาด้วยกัมมปัจจัยอันตนทำแล้วในกาล

ก่อนนั้น.

นิคัณฐสมัย

ลัทธิแห่งนิครนถ์ หรือชีเปลือย

ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือกล่าวปฏิเสธการเสวย

กรรม และการเสวยกิริยา แต่ย่อมรับรองการเสวยวิบาก (ผลของกรรม) อย่าง

๑. คำว่า ฐานะทั้ง ๓ คือ ๑. วาทะว่า เพราะได้ทำเหตุไว้ในปางก่อน

๒. วาทะว่า เพราะเหตุคือมีผู้เป็นใหญ่สร้างให้

๓. วาทะว่า โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 925

เดียวเท่านั้น. ทั้งในบรรดาอาพาธ ๘ อย่าง มีอาพาธอันเกิดแต่น้ำดีเป็นสมุฏ-

ฐานเป็นต้น เขาปฏิเสธอาพาธ ๗ อย่าง ย่อมรับรองอาพาธที่ ๘ เท่านั้น. ใน

กรรม ๓ มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น ปฏิเสธกรรม ๒ อย่าง ย่อมรับรอง

อปราปรเวทนียกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ในเจตนา ๔ อย่าง กล่าวคือ กุศล อกุศล

วิบาก และกิริยา ย่อมรับรองเฉพาะเจตนาอันเป็นวิบากเท่านั้น.

คำว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ ได้แก่ ชื่อว่า มีพระผู้เป็นใหญ่สร้าง

ให้เป็นเหตุ อธิบายว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ พระพรหม หรือปชาบดี นิมิตสิ่ง

นั้น ๆ ขึ้น จึงเสวยได้.

พราหมณสมัย

ลัทธิแห่งพราหมณ์

จริงอยู่ ลัทธิของพราหมณ์นี้ เป็นการประกอบฐานะทั้ง ๓ เหล่านั้นว่า

ดังนี้

เวทนา ๓ เหล่านี้ อันใคร ๆ ชื่อว่า ไม่อาจเพื่อเสวยเวทนาได้ เพราะ

เหตุอันตนเองกระทำไว้แล้ว หรือเพราะเหตุอันบุคคลอื่นทำให้ในปัจจุบัน

หรือว่า เพราะเหตุอันตนทำไว้แล้วในปางก่อน หรือว่า เพราะไม่มีเหตุ ไม่มี

๑. อาพาธ ๘ อย่าง คือ ๑. ปิตฺติสมุฏฺานา เกิดจากน้ำดีเป็นสมุฏฐาน

๒. วาตสมุฏฺานา เกิดจากลมเป็นสมุฏฐาน

๓. เสมฺหสมุฏฺานา เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐาน

๔. สนฺนิปาติกา เกิดจากใช้สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน

๕. อุตุปริณามชา เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นสมุฏฐาน

๖. วิสมปริหารชา เกิดจากการบริหารร่างกายไม่เหมาะสมเป็น

สมุฏฐาน

๗. โอปกฺกมิกา เกิดจากการทำความเพียรแก่กล้าเป็นสมุฏฐาน

๘. กมฺมวิปากชา เกิดจากผลชองกรรมเป็นสมุฏฐาน

๒. กรรม ๓ คือ ทิฏฐธัมมเวทนียะ อปปัชชเวทนียะ และอปราปรเวทนียกรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 926

ปัจจัย ก็แต่ว่า บุคคลย่อมเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่นิมิต

ให้เท่านั้น ดังนี้.

อนึ่ง พวกพราหมณ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือไม่กล่าวรับรอง.

ในอาพาธ ๘ อย่างที่กล่าวมาแล้วแม้สักอย่างเดียว ทั้งย่อมกล่าวห้ามอาพาธแม้

ทั้งหมด. ในโกฏฐาส (คือธรรมที่เป็นส่วนหนึ่ง ๆ) แม้ทั้งปวง มีทิฏฐธัมม-

เวทนียกรรมเป็นต้น ก็เหมือนกัน ไม่กล่าวรับรองแม้สักอย่าง ย่อมปฏิเสธ

โกฏฐาสทั้งหมด.

คำว่า อเหตุอปฺปจฺจยา อธิบายว่า เพราะเว้นเหตุและปัจจัย ย่อม

เสวยเวทนาโดยปฏิเสธเหตุ

อาชีวกสมัย

ลัทธิของอาชีวก

แม้อาชีวกเหล่านั้น ก็มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือ ไม่กล่าวรับรองในเหตุ

ทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในอาพาธทั้งหลายมีพยาธิเป็นต้น แม้สักอย่าง

ย่อมปฏิเสธสิ่งทั้งหมดนั้น.

ปลิโพธทั้งหลาย ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องกังวล. คำว่า กิเลสเครื่อง

กังวลคือราคะ ได้แก่ ราคะเมื่อกำลังเกิดขึ้น ย่อมผูกพัน ย่อมให้สัตว์กังวล

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า กิเลสเป็นเครื่องกังวล.

แม้ในโทสะและโมหะก็นัยนี้แหละ.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า องฺคณานิ แปลว่า เนินนั้น ดังนี้.

ภูมิประเทศใด ในพระบาลีอันมาแล้วอย่างนี้ว่า บุคคล ย่อมไม่พบ

น้ำในที่อันเป็นเนินนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า เนิน. กิเลสไร ๆ มาในพระบาลีว่า

บุคคลย่อมพยายาม เพื่อละกิเลสนั้นนั่นแหละ อันเป็นเพียงดังธุลี หรือว่า เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 927

เพียงดังเนิน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น กิเลสนั้น ๆ จึงชื่อว่า น้ำตม หรือ

เปียกตม. กิเลสมีประการต่าง ๆ ในอาคตสถานว่า สงฺคโณว สมาโน ดังนี้

กิเลสนั้น ชื่อว่า ติพพกิเลส คือกิเลสที่มีกำลังหนาแน่น. ในที่แม้นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอา คำว่า กิเลสเพียงดังเนิน ด้วยเหตุนั้น

นั่นแหละ จึงตรัสว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ เป็นต้น.

คำว่า มลทินได้แก่กิเลสเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง. คำว่า มลทิน

คือ ราคะ อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมให้ถือ

เอาซึ่งความขุนมัว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า

มลทิน. แม้กิเลสทั้งสองที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ.

วิสมนิทเทส

อธิบาย ความทำให้ไม่สม่ำเสมอ คือ กิเลส

ก็เพราะ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสะดุดในกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น

และในทุจจริตทั้งหลาย มีกายทุจจริตเป็นต้น ก็แล สัตว์ทั้งหลายสะดุดพลาด

ไปแล้ว ย่อมตกไปจากพระพุทธศาสนาบ้าง จากสุคติบ้าง เพราะฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความไม่สม่ำเสมอ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะ

การสะดุดแล้วก็ตกไปเป็นเหตุ.

อัคคินิทเทส

อธิบาย อัคคิ คือ ไฟ

คำว่า อคฺคิ คือ ไฟ ชื่อว่า อัคคิ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า

ราคคฺคิ (แปลว่า ไฟ คือ ราคะ) อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาผลาญ

ยังสัตว์ให้ไหม้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อัคคิ (ไฟ คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 928

ราคะ) แม้โทสะและโมหะ ก็นัยนี้. ในอัคคินิทเทสนั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์

ดังนี้.

เรื่องการเผาผลาญของไฟ คือ ราคะ

ได้ยินว่า ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ไปสู่โรงอุโบสถ ในวิหารชื่อว่า

จิตตลบรรพต แล้วยืนดูรูปของบุคคลผู้รักษาประตูอยู่ ลำดับนั้น ราคะคือ

ความกำหนัดในภายในของเธอจึงเกิดขึ้น เธอถูกไฟ คือราคะนั้นนั่นแหละไหม้

แล้วทำกาละ. พวกภิกษุณีทั้งหลายผู้เดินไป กล่าวว่า ภิกษุณีสาวรูปนี้ยืนอยู่

เธอจงเรียกมา ดังนี้ ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับมือของภิกษุณีสาวนั้น พร้อม

กับการกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงยืนอยู่เล่า ดังนี้ ภิกษุณีสาวรูปนั้น พอ

มือของภิกษุณีอีกรูปหนึ่งถูกต้องแล้วเท่านั้นก็ล้มลง.

นี้เป็นเรื่องแห่งการเผาไหม้ของราคะก่อน.

ส่วนไฟ คือ โทสะ บัณฑิตพึงทราบดังเช่น เทพพวกหนึ่งที่ชื่อว่า

มโนปโทสิกะ เพราะความเผาผลาญของโทสะ จึงต้องจุติ. และไฟ คือ

โมหะนั้น พึงทราบ ดังเช่น เทพพวกหนึ่ง ที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เพราะ

ความเผาผลาญของโมหะก็ต้องจุติ จริงอยู่ ความหลงลืมไม่ได้สติ ย่อมมีแก่

เทพชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยอำนาจแห่งโมหะ เพราะฉะนั้น เมื่อเทพ

เหล่านั้น ยังเวลาบริโภคอาหารให้เลยไปแล้ว เธอก็ย่อมทำกาละด้วยอำนาจ

แห่งความสนุกสนานร่าเริงนั้น.

คำว่า น้ำฝาด ได้แก่ น้ำที่ไร้ค่า ไม่มีรส. ธรรมอันประณีต อัน

มีโอชะแม้สักอย่างหนึ่ง ในกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นด้วย ในทุจจริตทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 929

มีกายทุจจริตเป็นต้นด้วย หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

ว่า น้ำฝาด คือ ราคะ เป็นต้น.

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อันสัมปยุตด้วยความยินดี ชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ.

คำว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ได้แก่สมณพราหมณ์ภายนอก ย่อมกล่าวว่า

โทษในการซ่องเสพวัตถุกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีด้วยกิเลสกาม ดังนี้. คำว่า

ปาตพฺยต ได้แก่ การดื่ม การบริโภค คือการกลืนกิน. จริงอยู่ สมณ-

พราหมณ์นั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ จึงบริโภคกิเลสกามในวัตถุกามทั้งหลาย

ราวกะบุคคลดื่มอยู่ กลืนกินอยู่ (ซึ่งอาหาร). ความเห็นผิดว่ามีอัตตา (ความ

เห็นผิดเป็นไปตามอัตตา) ชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ (เช่น เห็นรูปเป็นตน หรือเห็น

ตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป เป็นต้น).

ทิฏฐิอันลามก ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ (เช่นเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว

ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เป็นต้น).

บัดนี้ เพื่อแสดงเนื้อความในอัสสาทนิทเทสนั้น ตามลำดับ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะสัสสตทิฏฐิเป็นที่ ๑ คือเป็นอัสสาททิฏฐิ สักกาย

ทิฏฐิเป็นทิฏฐิที่ ๒ คือเป็น อัตตานุทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิเป็นทิฏฐิที่ ๓ คือ

มิจฉาทิฏฐิ ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า สัสสตทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ เป็นต้น.

นิทเทสแห่งอรติ คือความไม่ยินดี และนิทเทสแห่งวิเหสา คือ

ความเบียดเบียน มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ความประพฤติไม่เป็นธรรม ชื่อว่า อธัมมจริยา. อธิบายว่า การ

กระทาความผิด. ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่า วิสมจริยา. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า วิสมจริยา เพราะความประพฤติกระทำกรรมอันไม่สม่ำเสมอ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 930

นิทเทสแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และนิทเทสแห่งความเป็นผู้มี

มิตรชั่ว มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวมาแล้ว. สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในความ

ต่าง ๆ กัน ชื่อว่า นานัตตสัญญา เพราะความเป็นไปในนิมิตตารมณ์แห่ง

ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะกามสัญญาเป็นอย่างหนึ่งทีเดียว ทั้งพยาปาท-

สัญญาเป็นต้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้คำว่า สัญญาอันเป็นสภาวะต่าง ๆ

กัน ดังนี้ จึงชื่อว่า นานัตตสัญญา.

โกสัชชนิทเทส

ความประพฤติย่อหย่อน ความไม่สามารถประกอบความเพียร ด้วย

การเจริญกุศลธรรม ของผู้มีจิตคุ้นเคยในกามคุณ ๕ ชื่อว่า โกสัชชะ (คือ

ความเกียจคร้าน). บัณฑิตพึงทราบ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ประมาทแล้ว ด้วย

สามารถแห่งความมัวเมา ชื่อว่า ปมาทะ (คือ ความประมาท).

นิทเทสแห่งอสันตุฏฐิ (คือ ความไม่สันโดษ) มีเนื้อความตามที่

กล่าวมาแล้ว.

อนาทริยนิทเทส

ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ด้วยสามารถแห่งความไม่เอื้อเฟื้อ

ต่อโอวาท (การกล่าวสอน) ชื่อว่า อนาทริยะ (คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ). อาการ

แห่งความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นผู้ไม่เคารพ ชื่อว่า

อคารวตา เพราะอรรถว่าไม่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ควรเคารพ. ชื่อว่า ความไม่

เชื่อฟัง เพราะอรรถว่า ไม่อยู่อาศัยร่วมกับผู้เป็นหัวหน้า. คำว่า อนทฺทา

ความไม่ถือเอา ได้แก่การไม่รับเอาโอวาท. คำว่า อนทฺทายนา ได้แก่ อาการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 931

ที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ดำเนินไปด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า

อนทฺทายิตตฺต ความพอใจทางโต้แย้ง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศีล ชื่อว่า

อสีลย (ทุศีล). คำว่า อจิตฺติกาโร ได้แก่ การไม่ทำความเคารพยำเกรง.

ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า ความไม่ศรัทธา. อาการ

แห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า กิริยาที่ไม่เชื่อฟัง. การไม่ถือเอา เพราะไม่

ไว้ใจ ไม่เข้าไปใกล้ ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ปลงใจเชื่อ. ชื่อว่า ความไม่เลื่อมใสยิ่ง

เพราะอรรถว่าไม่เลื่อมใสยิ่ง.

คำว่า อวทญฺญุตา (แปลว่า ความไม่เผื่อแผ่) ได้แก่ ผู้ไม่รู้ถึง

ถ้อยคำว่า ขอท่านจงให้ทาน ท่านจงกระทำบุญ เพราะอำนาจแห่งความ

ตระหนี่อันกระด้าง.

ในข้อว่า พุทฺธา จ สาวกา จ พระพุทธเจ้าและพระสาวกของ

พระพุทธเจ้านี้ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็ถือเอา ด้วยศัพท์ว่า พุทธะ นั่น

แหละ. ความเป็นผู้ไม่ต้องการไปสู่ที่ใกล้แห่งพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า

อสเมตุกามตา ความไม่ต้องการจะสมาคมกับพระอริยะทั้งหลาย. คำว่า ความ

ไม่ต้องการจะฟัง...ซึ่งพระสัทธรรม ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ชื่อว่า

พระสัทธรรม ความเป็นผู้ไม่ต้องการเพื่อจะฟังซึ่งพระธรรมนั้น. ความเป็น

ผู้ไม่ศึกษาพระธรรม ชื่อว่า อนุคฺคเหตุกามตา ความไม่ต้องการจะเรียน.

ความเป็นผู้คิดคัดค้านแข่งดี ชื่อว่า ความไม่ต้องการจะทรงพระธรรมไว้. ก็

เมื่อว่าโดยอรรถความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนั้น ย่อมมี เหตุใด เพราะเหตุนั้น

เพื่อแสดงอรรถนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า บรรดาบทเหล่านั้นความ

คิดแข่งดีเป็นไฉน เป็นต้น. ในข้อนั้น ชื่อว่า ความแข่งดี ย่อมมีด้วยสามารถ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 932

แห่งความตำหนิติเตียน ความแข่งดีเกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่า ความคิดแข่งดีเนือง ๆ

ความเป็นแห่งบุคคลผู้คิดแข่งดีเนือง ๆ ชื่อว่าสภาพที่คิดแข่งดีเนือง ๆ.

คำว่า ความดูถูก ได้แก่ การหยาบหยาม. คำว่า ความดูหมิ่น

ได้แก่ การเหยียดหยาม. ความเย้ยหยัน ชื่อว่า ความดูแคลน. ความเป็น

ผู้แสวงหาข้อบกพร่อง ชื่อว่า ความคอยแสวงหาโทษ. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด

ย่อมแสวงหาซึ่งความผิด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ผู้คอยแสวงหา

โทษ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้คอยแสวงหาโทษนั้น ชื่อว่า สภาพที่คอยแสวงหา

โทษ คำว่า อย วุจฺจติ ความว่า ก็ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีนี้ มีการคอย

ติดตามดูโทษของผู้อื่นเป็นลักษณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ความ

เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี. บุคคลใด ประกอบแล้วด้วยลักษณะ คือคอยติดตามดู

โทษของผู้อื่นใดนั้น เปรียบเหมือน ช่างชุนผ้า คลี่ผ้าออกแล้ว ก็ตรวจดูผ้า

ทะลุนั่นแหละ ฉันใด บุคคลผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ลบหลู่คุณ

แม้ทั้งปวงของผู้อื่นแล้วดำรงอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นคุณทั้งหลายเท่านั้น.

คำว่า อโยนิโส มนสิกาโร ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่

แยบคาย. คำว่า อนิจฺเจ นิจฺจ อธิบายว่า มนสิการอย่างนี้ คือมนสิการ

ในวัตถุอันไม่เทียงแท้ว่า สิ่งนี้เป็นของเที่ยงแท้. แม้ในคำว่า ทุกฺเข สุข

เป็นต้น ก็นัยนี้. คำว่า สจฺจวิปฺปฏิกูเลน วา ได้แก่ มนสิการโดยไม่

คล้อยตามสัจจะทั้ง ๔. คำว่า จิตฺตสฺส อาวฏฺฏนา เป็นต้น แม้ทั้งปวง เป็น

ไวพจน์ของอาวัชชนจิตนั่นแหละ. จริงอยู่ อาวัชชนะ ชื่อว่า อาวัฏฏนาแห่ง

จิต เพราะยังภวังคจิตให้เปลี่ยนหมุนไป. ชื่อว่า การเปลี่ยนหมุนไป เพราะ

ย่อมหมุนไปในภายหลัง (ภวังค์). จิตใด ย่อมคำนึงถึงอารมณ์ เพราะเหตุนั้น

จิตนั้น จึงชื่อว่า อาโภคะ. จิตใดย่อมประมวลมาซึ่งอารมณ์อื่นนอกจาก

อารมณ์ของภวังค์ เหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า สมันนาหาระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 933

เมื่ออาวัชชนจิตเกิดขึ้น ทำตนให้ผูกพันแล้ว ๆ ซึ่งอารมณ์นั้นนั่น

แหละไว้ในใจ เพราะเหตุนั้นอาวัชชนจิตนั้น จึงชื่อว่า มนสิการ. คำว่า

ย่อมทำไว้ในใจ ได้แก่ ย่อมตั้งไว้ในใจ. คำว่า อย วุจฺจติ อธิบายว่า

กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย คือมนสิการผิดทางเป็นลักษณะ นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อโยนิโสมนสิการ. บุคคลย่อมไม่อาจ

เพื่อพิจารณาสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ตามความเป็นจริงได้ด้วย

อโยนิโสมนสิการนั้น.

อุมมัคคเสวนานิทเทส

อธิบายการเสพทางผิด

ชื่อว่า การเสพ ด้วยสามารถแห่งการเสพทางอันผิด อันใด ที่พระ-

ผู้มีพระภาคตรัสว่า การเสพทางผิด ดังนี้ เพื่อแสดงทางผิดอันนั้น จึงทรง

ทำทุติยปุจฉาว่า บรรดาบทเหล่านั้น ทางผิดเป็นไฉน ดังนี้. คำที่เหลือใน

บททั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล

ติกนิทเทส จบ

อรรถกถาจตุกกนิทเทส

ในนิทเทสแห่งมาติกาหมวด ๔

คำว่า ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร เป็นต้น

อธิบายว่าตัณหา ย่อมเกิดขึ้นเพราะจีวรเป็นเหตุอย่างนี้ว่า เราจักได้จีวร อัน

ชอบใจในที่ไหน ๆ เป็นต้น. อิติ ศัพท์ ในคำว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้เป็น

นิบาต ลงในอรรถแห่งนิทัสสนะ (คือ อุทาหรณ์) อธิบายว่า ตัณหาเมื่อจะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 934

เกิด ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุฉันใด ตัณหานั้น แม้เมื่อจะเกิด ก็ย่อมเกิด

เพราะวัตถุอื่น ๆ อันประณีต และประณีตยิ่งกว่าเป็นเหตุฉันนั้น. ก็วัตถุทั้ง

หลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น อันประณีตและประณีตยิ่งกว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในคำว่า ภวาภโว นี้. อนึ่ง บัณฑิตพึง

ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยวงศ์ ๔ ตามลำดับ เพื่อประโยชน์

แก่การละความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ (ตัณหุปปาทา ๔) เหล่านี้.

อคติคมนะ

คำว่า ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ อธิบายว่า บุคคลย่อมลำเอียง คือย่อม

กระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะฉันทะ คือเพราะความรัก. แม้ในบทอื่น ๆ

ก็นัยนี้. ในอคติเหล่านั้น บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันไม่ใช่เจ้าของ ให้เป็น

เจ้าของ ด้วยสามารถแห่งความพอใจรักใคร่ว่า บุคคลนี้เป็นมิตรของข้าพเจ้า

หรือว่าเป็นเพื่อน (สนฺทิฏโฐ) หรือว่าเป็น ผู้ร่วมกินร่วมนอน (สมภัตตะ)

หรือว่า เป็นญาติของข้าพเจ้า ก็หรือว่า บุกคลนี้ย่อมให้สินบนแก่ข้าพเจ้า

ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่ (ฉันทาคติ).

บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของให้เป็นของไม่ใช่เจ้า-

ของ ด้วยสามารถแห่งปกติเวร (คือ การไม่ชอบพอกันมาก่อน) หรือว่า ด้วย

สามารถแห่งความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา

ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะความไม่ชอบกัน (โทสาคติ).

บุคคลใด กล่าวคำใด ย่อมทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของ ให้ไม่ใช่

เจ้าของ เพราะความโง่เขลา เพราะเป็นคนทึบ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง

เพราะหลง (โมหาคติ).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 935

บุคคลใด มีความกลัวว่า ผู้นี้ เป็นราชวัลลภ หรือว่าผู้นี้มีความ

ประพฤติไม่เรียบร้อย หรือว่า บุคคลนี้ จะพึงทำความฉิบหายให้แก่เรา ดังนี้

ย่อมทำบุคคลผู้มิใช่เจ้าของทรัพย์ ให้เป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้นี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง

เพราะความกลัว (ภยาคติ).

ก็อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด เมื่อแบ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในฐานะที่ควรแบ่ง

ย่อมให้มากกว่าผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่งความรักว่า ผู้นี้ เป็นมิตรของเรา หรือ

ว่าเป็นเพื่อน หรือว่าเป็นผู้ร่วมกินร่วมนอน ดังนี้. ย่อมให้น้อยด้วยอำนาจ

แห่งโทสะว่า ผู้นี้ เป็นศัตรูของเรา ดังนี้ เมื่อไม่รู้ว่า สิ่งนี้อันเราให้แล้ว

หรือว่ายังมิให้ เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา ย่อมให้สิ่งของมากแก่คนบางคน

ย่อมให้น้อยแก่คนบางคน ดังนี้ เป็นผู้กลัวว่า เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ ผู้นี้ พึงทำ

ความฉิบหายแม้แก่เรา ดังนี้ ย่อมให้สิ่งของแก่คนบางคน. บุคคลแม้ทั้ง ๔

จำพวกนี้ ชื่อว่า ย่อมดำเนินไปสู่ฉันทาคติเป็นต้น ตามลำดับ. พระอริยะทั้ง

หลาย ย่อมไม่ดำเนินไปเพราะธรรมมีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนี้ ธรรมนี้

จึงชื่อว่า อคติ. ชนทั้งหลายมิใช่พระอริยะ ย่อมดำเนินไปสู่อคติ ด้วยธรรม

มีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น. อคตินี้ จึงชื่อว่า อคติคมนะ บททั้ง ๒

แห่งธรรมทั้ง ๔ มีฉันทะเป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

แห่งความเป็นธรรมสาธารณะ. การลำเอียง (คมน หมายถึงการเป็นไป) เพราะ

ฉันทะ ชื่อว่า ฉันทาคมนะ (แปลว่า ความลำเอียงเพราะความรักใคร่). ฉันทา-

คมนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการไม่สาธารณะแก่ธรรม

ทั้งหลายมีโทสะ เป็นต้น. การลำเอียง เพราะทำราคะอันเป็นฝ่ายของตน และ

โทสะอันเป็นฝ่ายของผู้อื่นไว้เฉพาะหน้า ด้วยความเป็นผู้ไม่รวมเป็นพวกเดียว

กัน ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน. ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 936

ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล ก็เพราะเป็นราวกะน้ำที่ไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น.

การลำเอียงนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเป็นธรรมสาธารณะแม้แก่การลำเอียง

ทั้ง ๔.

วิปริเยสะ

ความเข้าใจผิด

สภาวะใด ย่อมแสวงหาสิ่งตรงกันข้าม โดยนัยว่า สิ่งทั้งหลายมีความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า วิปริเยสะ

(ความเข้าใจผิด). ความเข้าใจผิด เพราะสัญญา ชื่อว่า สัญญาวิปริเยสะ.

ในวิปริเยสะทั้ง ๒ แม้นอกนี้ก็นัยนี้. วิปริเยสะทั้ง ๔ เหล่านั้น ย่อมมีด้วยสามารถ

แห่งวัตถุ ๔ (คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ และอสุภะ) จึงเป็นวิปริเยสะ ๑๒

ด้วยสามารถแห่งสัญญาเป็นต้น. ในวัตถุเหล่าใด วิปริเยสะ ๘ ในวิปริเยสะ

เหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ในคำว่า อสุเภ สุภ นี้ บัณฑิต

พึงทราบว่า สัญญาและจิตตวิปัลลาส ย่อมเบาบางไป ด้วยสกทาคามิมรรค

และย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ในคำว่า ทุกฺเข สุข นี้ พึงทราบว่า ย่อม

ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

อริยโวหาร

คำว่า อริยโวหารา ได้แก่ โวหารคือถ้อยคำทั้งหลาย อันมิใช่ของ

พระอริยะเป็นถ้อยคำลามก. คำว่า ทิฏฺวาทิตา (แปลว่า พูดว่าเห็น) ได้แก่

เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้ว. ก็ในคำนี้ บัณฑิตพึง

ทราบเนื้อความ ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันยังวาจานั้น ๆ ให้ตั้งขึ้น. แม้คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 937

เจตนาที่บุคคลนั้นกล่าวพร้อมกับเสียง ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสไว้

แล้วนั่นแหละ. ในหมวด ๔ แห่งอริยโวหารที่ ๒ ก็นัยนี้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า

พระอริยะ ไม่เห็นแล้ว กล่าวว่า เราเห็นแล้ว หรือว่า เห็นแล้ว กล่าวว่า

เราไม่เห็น ย่อมไม่มี. บุคคลผู้มีใช่พระอริยะเท่านั้น ย่อมกล่าวอย่างนี้. เพราะ

ฉะนั้น เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เจตนา ๘ กับ อนริย-

โวหาร ๘ เหล่านี้ เกิดพร้อมกับเสียง.

หมวด ๔ ที่หนึ่งในทุจริตทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วย

สามารถแห่งเจตนา อันเป็นบาป (เป็นเวร) หมวด ๔ ที่สอง ตรัสไว้ด้วยสามารถ

แห่งวจีทุจจริต.

ในภัยทั้งหลาย ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเกิด (ชาติ) ชื่อว่า

ชาติภัย ในหมวด ๔ ที่หนึ่ง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ. ภัยอันเกิดขึ้น

แต่พระราชา ชื่อว่า ราชภัย ในหมวด ๔ ที่สอง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้.

ภัย ๔ ในหมวด ๔ ที่สาม เมื่อบุคคลหยั่งลงสู่น้ำในมหาสมุทร จึงชื่อว่า เป็น

ภัยตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนั้น.

ได้ยินว่า ในมหาสมุทร คลื่นชื่อว่า มหินทวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้อง

บน ๖๐ โยชน์. คลื่นชื่อว่า คังคาวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน ๕๐ โยชน์.

คลื่นชื่อว่า โรหนวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน ๔๐ โยชน์ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยลูกคลื่นทั้งหลายเห็นปานนี้ ชื่อว่า อูมิภัย ภัยเกิดขึ้นแต่คลื่น. ภัยเกิด

แต่จระเข้ ชื่อว่า กุมภิลภัย. ภัยเกิดแต่วังน้ำวน ชื่อว่า อาวัฏฏภัย. สุสุกา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าปลาร้ายภัยแต่ปลาร้ายนั้น ชื่อว่า สุงสุกาภัย.

คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ในหมวด ๔ ที่สี่ได้แก่ ภัยอันเกิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 938

ขึ้นแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมติเตียนตนเอง. คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น

ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นแต่การติเตียนบุคคลอื่น. คำว่า ภัยเกิดแต่อาชญา ได้แก่

ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชญาอันพระราชาให้เป็นไปแก่บุคคลผู้ครองเรือน

(อาคาริกบุคคล) และเพราะอาชญา คือพระวินัยของผู้ไม่ครองเรือน. คำว่า

ภัยเกิดแต่อบาย ได้แก่ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยอบายภูมิ ๔. ชื่อว่า มหาภัย

๑๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยภัย ๔ หมวด ๆ ละ ๔ เหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

ชื่อว่า ติมพรูสกทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในทิฏฐิจตุกกะ.

บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น. คำว่า สุขทุกข์ตนทำเอง ดังนี้ ได้แก่ เมื่อบุคคลเห็น

เวทนา โดยความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ ความเห็นผิดก็เกิดขึ้นว่า เวทนา อัน

เวทนานั่นเองทำไว้แล้ว ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น ก็จะปรากฏว่า

เวทนาที่เกิดขึ้นในกาลก่อนนั้นยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ทิฏฐิ คือความเห็นผิดนี้

จึงชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่ (ทิฏฐิเกิดขึ้น) โดย

สัจจะ โดยถาวร. คำว่า สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้ ดังนี้ อธิบายว่า เมื่อ

เสวยเวทนาอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็เห็นว่า ตนมีเวทนา คือ มีเวทนาอื่นกระทำ

ให้ ทิฏฐิความเห็นผิด ก็จะเกิดขึ้นว่า เวทนานี้ อันเวทนาอื่นทำให้ ดังนี้.

ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ ความขาดสูญแห่งเวทนาอันเกิดขึ้นก่อนย่อมปรากฏ

๑. ติมพรูสกทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่ชุ่มอยู่ด้วยราคะ ท่านผู้รู้ให้คำอธิบายว่า เป็นทิฏฐิที่เกิดจาก

การเรียนมากแล้วมีมานะมาก ฉันเป็นผู้คงแก่เรียน (สัสสต, อุจเฉท, อเหตุกทิฏฐิ)

๒. ในสักกายทิฏฐิว่า เวทน อตฺตโต สมนุปสฺสติ แปลว่า เห็นเวทนา โดยความเป็นตน โดย

เข้าใจว่าเวทนาเป็นอันเดียวกับตน

๓. ในสักกายทิฏฐิว่า เวทนาวนฺต วา อตฺตาน แปลว่า อีกอย่างหนึ่ง เห็นตนมีเวทนา โดย

เข้าใจว่าตนกับเวทนาเป็นคนละอย่าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 939

ว่า เพราะเวทนาเป็นผู้กระทำเวทนา ฉะนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ.

คำว่า สุขทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ดังนี้ ได้แก่ทิฏฐิความ

เห็นผิดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ตนทำเองครึ่งหนึ่ง ผู้อื่นทำให้ครึ่งหนึ่ง

โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นี้ ชื่อว่า สัสสตุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิความ

เห็นผิดข้อที่ ๔ เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ไม่มีเหตุเลย ดังนี้ ครั้นเมื่อ

ความเป็นอย่างนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ. บทที่เหลือในที่นี้ มี

อรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวในหนหลังแล.

จตุกกนิทเทส จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส

อธิบายมาติกาหมวด ๕

สัญโญชน์ทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันบุคคลใดยังมิได้ละ

สัญโญชน์เหล่านี้ก็จะคร่าบุคคลเหล่านั้นผู้เกิดอยู่แม้ในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ) ให้

ไปในกามภพนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์เหล่านี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โอรัมภาคิยะ (เบื้องต่ำ). ด้วยเหตุนี้ สัญโญชน์

๕ เหล่านี้ จึงมิได้ห้ามผู้ไปสู่ภวัคคภูมิ ก็แต่ย่อมนำผู้ไปแล้วนั้นให้กลับมาสู่

ภพนี้อีก. สัญโญชน์เบื้องบน มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องข้อง และชื่อว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะอรรถว่า เข้าไปเสียบแทง

๑. สัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท

๒. อุทธมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ รูปราคะ อรปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิชชา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 940

คำว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้าง ความที่

จิตเป็นดุจกองหยากเยื่อ ความที่จิตเป็นดุจตอไม้. คำว่า สตฺถริ กงฺขติ ได้

แก่ ความสงสัยในพระสรีระร่างกายของพระศาสดา หรือในพระคุณของพระ-

ศาสดา คือว่า เมื่อบุคคลสงสัยในพระสรีระของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า

พระสรีระของพระศาสดา ชื่อว่าประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

นั้น มีจริงหรือ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระคุณของพระศาสดา ย่อมสงสัยว่า

พระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือ ดังนี้.

คำว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เมื่อบุคคลคิดอยู่ ย่อมลำบาก ย่อมประสพความ

ทุกข์ ย่อมไม่อาจเพื่อตัดสินได้. คำว่า นาธิมุจฺจติ ได้แก่ ย่อมไม่ได้เฉพาะ

ซึ่งการน้อมใจเชื่อว่า พระคุณของพระศาสดานั้น เป็นอย่างนี้ ดังนี้. คำว่า

น สมฺปสีทติ ได้แก่ บุคคลหยั่งลงสู่พระคุณของพระศาสดาแล้ว ย่อมไม่

อาจเพื่อเป็นผู้ไม่มัวหมอง เพราะความยินดี และเพราะความเป็นผู้หมดความ

สงสัย.

คำว่า ธมฺเม ได้แก่ ย่อมสงสัยในพระปริยัตติธรรม ในพระปฏิเวธ-

ธรรม. อธิบายว่า เมื่อสงสัยในพระปริยัตติธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมกล่าวว่า พระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นั้น

มีอยู่หรือหนอ ดังนี้ เมื่อสงสัยในพระปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมกล่าวว่า ชื่อว่า มรรค เพราะการไหลออกแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า ผลเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 941

การไหลออกแห่งมรรค และชื่อว่า พระนิพพาน เพราะเป็นการสละคืนแห่ง

สังขารทั้งหลาย ดังนี้นั้น มีอยู่หรือ ดังนี้. คำว่า สงฺเฆ กงฺขติ ได้แก่

ย่อมสงสัยว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ผู้ดำเนินไปสู่ปฏิปทา ด้วย

สามารถแห่งการดำเนินไปมีคำว่า อุชุปฏิปนุโน เป็นต้น เห็นปานนี้ ชื่อว่า

สงฆ์อันหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘ มีอยู่หรือหนอ ดังนี้. เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อม

สงสัยว่า บุคคลทั้งหลายย่อมกล่าวว่า อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ดังนี้ คำนี้ มีอยู่หรือหนอ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เจโต วินิพนฺธา ชื่อว่า เจโตวินิพันธะ

(เครื่องผูกพันจิต) เพราะเครื่องผูกทั้งหลายย่อมผูกจิตไว้ เหมือนบุคคลกำ

วัตถุด้วยมือแล้วก็ถือเอา. คำว่า กาเม ได้แก่ ในวัตถุกามบ้าง ในกิเลสกาม

บ้าง. คำว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. คำว่า รูเป ได้แก่ ในรูป

ภายนอก. คำว่า ยาวทตฺถ แปลว่า ตามความต้องการ. คำว่า อุทราวเทหก

ได้แก่ เต็มกระเพาะอาหาร จริงอยู่อาหารเต็มกะเพาะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า อุทราวเทหกะ เพราะการบริโภคอาหารจนเต็มอิ่ม. คำว่า

เสยฺยสุข ได้แก่ หาความสุขบนเคียงและตั่ง หรือว่า ความสุขเกี่ยวกับอุณหภูมิ.

คำว่า ปสฺสสุข ได้แก่ ความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปมาข้างขวา หรือ

ข้างซ้ายย่อมมีฉันใด ความสุขอันเกิดขึ้นแล้วในที่นี้ก็ฉันนั้น. คำว่า มิทฺธสุข

ได้แก่ ความสุขในการหลับ. คำว่า อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวาย

แล้วอยู่ คำว่า ผูกใจ ได้แก่ ปรารถนาแล้ว. คำว่า ด้วยศีล ในคำว่า สีเลน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 942

เป็นต้น ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล. คำว่า วตฺต ได้แก่ สมาทานวัตร คือ

การประพฤติ. คำว่า ตโป ได้แก่ การประพฤติตบะ. คำว่า พฺรหฺมจริย

ได้แก่ ย่อมเว้นเมถุนธรรม. คำว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ แปลว่า เราจัก

เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่. คำว่า เทวญฺตโร วา ได้แก่ หรือว่า เป็น

เทวดาผู้มีศักดาน้อยตนใดตนหนึ่ง ดังนี้.

ธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะย่อมปิด ย่อมกั้นกุศลธรรม

ทั้งหลาย. คำว่า มาตา ชีวิตา โวโรปิตา โหติ ได้แก่ มนุษย์เท่านั้นฆ่า

มารดาของตนผู้เป็นมนุษย์ แม้บิดาก็เป็นบิดามนุษย์อย่างนั้นแหละ. พระอรหันต์

ก็เป็นจะพระอรหันต์มนุษย์นั่นแหละ. คำว่า ด้วยจิตอันประทุษร้าย ได้แก่

ด้วยจิตคิดจะฆ่า.

คำว่า สญฺี ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยสัญญา. คำว่า อโรโค ได้แก่

เที่ยงแท้ไม่แปรผัน. คำว่า อิตฺเถเก อภิวทนฺติ ได้แก่ สมณพราหมณ์

พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวอย่างนี้ คือ ย่อมกล่าวด้วยประการฉะนี้. สัญญีวาทะ ๑๖

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. คำว่า อสญฺี ได้แก่

เว้นจากสัญญา. อสัญญีวาทะ ๑๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทว่า

อสญฺี นี้. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบท

ที่ ๓. คำว่า สโต วา ปน สตฺตสฺส ได้เเก่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสัตว์มีอยู่

นั่นแหละ. คำว่า อุจฺเฉท ได้แก่ ความขาดสูญ. คำว่า วินาส ได้แก่

ความพินาศ. คำว่า วิภว ได้แก่ ความไม่มี. คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์

ของกันและกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 943

ในข้อนั้น คน ๒ คน คือ ผู้ได้ฌานคนหนึ่ง ไม่ได้ฌาน

คนหนึ่ง ย่อมถือเอาอุจเฉททิฏฐิ.

ในสองคนนั้น ฌานลาภีบุคคลเห็นสัตว์จุติอยู่ด้วยจักษุเพียง

ดังทิพย์ตามความเหมาะสม ไม่เห็นอยู่ซึ่งความเกิดขึ้น ก็หรือว่า

บุคคลใด ย่อมไม่อาจเพื่อเห็นซึ่งจุตินั่นแหละด้วย ไม่อาจเพื่ออัน

เห็นความเกิดขึ้นด้วย บุคคลนั้น ก็ย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ.

ผู้ไม่ได้ฌานเพราะความมักมากในกามคุณ ย่อมคิดว่า ใครหนอจะรู้

ซึ่งปรโลก ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนใบไม้หล่นไปจากต้นไม้แล้ว ย่อม

ไม่งอกงามขึ้น ฉันใด บุคคลผู้ไม่ได้ฌานถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ เพราะวิตก

เป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น. อุจเฉทวาระ ๗ อันเกิดขึ้นแล้วเพราะการ

กำหนดเหมือนอย่างนั้นด้วย โดยประการอื่นด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ไว้ ด้วยสามารถแห่งตัณหาทิฏฐิทั้งหลาย. จริงอยู่ ทิฏฐินี้ เป็นคำสงเคราะห์

ของตัณหาทิฏฐิเหล่านั้น. ปัจจักขธรรม (ธรรมที่ประจักษ์) พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ทิฏฐธรรม ในคำว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพาน วา ปเนเก

(แปลว่า ก็หรือว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมกล่าวยืนยันทิฏฐธัมมนิพพาน).

คำที่กล่าวนี้เป็นชื่อของความที่บุคคลนั้นได้เฉพาะธรรมนั้น ๆ. นิพพานใน

ทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน. อธิบายว่า ความเข้าไปสงบแห่งทุกข์

ในอัตภาพนี้เท่านั้น. นี้เป็นคำสงเคราะห์วาทะว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน.

คำว่า เวรา (เวร ๕) ได้แก่ เจตนาอันเป็นบาป.

คำว่า พฺยสนา ได้แก่ ความพินาศทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 944

โทษแห่งความไม่อดทน ๕

๑. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ

๒. มีเวรมาก

๓. มีโทษมาก

๔. ตายโดยความหลงลืมสติ

๕. ตายแล้วเข้าถึงอบายภูมิ ๔ ภูมิใดภูมิหนึ่ง

คำว่า อกฺขนฺติยา ได้แก่ แห่งความไม่อดทน. คำว่า อปฺปิโย

ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่รัก เพราะเป็นสิ่งปฏิกูลในการเห็น ในการฟัง. ชื่อว่า

ไม่เป็นที่ชอบใจ เพราะแม้เมื่อคิดจิตย่อมไม่แนบแน่น. คำว่า เวรพหุโล

ได้แก่ มีเวรมาก. คำว่า วชฺชพหุโล ได้แก่ มีโทษมาก.

ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชีพอันยังชีวิตให้เป็นไป ชื่อว่า อาชีวก-

ภัย. อาชีวกภัยนั้น ย่อมมีแก่ผู้ครองเรือนบ้าง แก่ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง, ใน

บุคคลเหล่านั้น ผู้ครองเรือน ย่อมกระทำกรรมอันเป็นอกุศลเป็นอันมาก เพราะ

เหตุแห่งอาชีพก่อน และต่อจากนั้นภัยนั้นก็เกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย หรือ

จนกระทั่งนรกปรากฏ. แม้ผู้ไม่ครองเรือนเล่า เมื่อทำอเนสนา คือการแสวงหา

เลี้ยงชีพในทางอันไม่ควรเป็นอันมาก ภัยนั้นย่อมเกิดแก่เขาจนกระทั่งมรณสมัย

หรือนรกปรากฏ นี้ ชื่อว่า อาชีวกภัย. คำว่า อสิโลกภย ได้แก่ ภัย คือ

การติเตียน. คำว่า ปริสสารชฺชภย ได้แก่ ภัย กล่าวคือ ความกำหนัด

ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีบาปอันทำไว้แล้ว และเข้าไปสู่ที่ประชุมแห่งบริษัท นี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 945

ชื่อว่า ภัยเกิดแก่ความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม. ภัยทั้งสองนอกนี้ คือ

มรณภัย อบายภัย ปรากฏชัดแจ้งแล้ว แล.

ในทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คำว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ได้แก่ ด้วย

ความผูกพัน อันเป็นส่วนแห่งกามคุณ ๕ มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น. คำว่า

สมปฺปิโต ได้แก่ ติดแน่นแล้ว แนบเเน่นแล้วด้วยดี. คำว่า สมงฺคีภูโต

ได้แก่ ประกอบแล้ว. คำว่า ปริจาเรติ (แปลว่า ย่อมบำเรอ) ได้แก่ ยัง

อินทรีย์ทั้งหลายให้เป็นไป ให้เป็นไปพร้อม ย่อมน้อมเข้าไปข้างนี้ด้วย ตาม

ความสุขในกามคุณทั้งหลายนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสมาคม ย่อมรื่นรมย์

ย่อมเล่นในกามเหล่านั้น. ก็กามคุณทั้งสองในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามคุณอัน

เป็นของมนุษย์ และเป็นของทิพย์. กามคุณอันเป็นของมนุษย์ บัณฑิตพึง

เห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช กามคุณอันเป็นทิพย์ พึงเห็นเช่น

กับกามคุณของเทวราชในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมกล่าวบุคคลผู้เข้าถึงกามเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอด

เยี่ยม ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปรมทิฏฺธมฺมนิพฺพาน ได้แก่

ทิฏฐธัมมนิพพาน อันยอดเยี่ยม คือ สูงสุด.

ในวาระที่ ๒ (ข้อที่ ๒) กามทั้งหลาย ที่ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะ

อรรถว่า มีแล้ว กลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า บีบคั้นและพึง

ทราบว่า ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่าละปกติ-

ภาวะ. คำว่า เตส วิปริณามญฺถาภาวา (แปลว่า เพราะความแปรปรวน

เป็นอย่างอื่น) อธิบายว่า เพราะความที่กามเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นกล่าวคือ

มีความแปรปรวนไป. โสกะคือความเศร้าโศก ปริเทวะคือความร่ำให้

ทุกขะคือความทุกข์ โทมนัสสะคือความโทมนัส อุปายาสะคือความคับแค้นใจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 946

ย่อมเกิดขึ้น โดยนัยที่กล่าวไว้ว่า ยมฺปิ เม อโหสิ ตมฺปิ เม นตฺถิ แม้

เราได้มีสิ่งใดแล้ว แม้เราก็กลับไม่มีสิ่งนั้นดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น ความ

เศร้าโศก มีการเผาผลาญภายในเป็นลักษณะ. ความร่ำไห้ มีการบ่นเพ้ออาศัย

ซึ่งความโกรธนั้นเป็นลักษณะ. ทุกข์มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ โทมนัสมี

การพิฆาตใจเป็นลักษณะ. ความคับแค้นใจมีความเศร้าใจเป็นลักษณะ. คำว่า

วิตกฺกิต ได้แก่ วิตกอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการยกขึ้น. คำว่า วิจาริต

ได้แก่ วิจารอันเป็นไปด้วยสามารถแห่งการประคอง. คำว่า เอเตน เอต

ได้แก่ ปฐมฌานนี้ ย่อมปรากฏราวกะเป็นหนามอันใหญ่ ด้วยวิตกและด้วย

วิจารนี้. คำว่า ปีติคต ได้แก่ ปีตินั่นแหละ. คำว่า เจตโส อุพฺพิลาวิต

(แปลว่า ความลำพองใจ) ได้แก่ การทำจิตให้เบิกบาน คำว่า เจตโส

อาโภโต ได้แก่ ออกจากฌานแล้ว ก็มนสิการให้จิตหวนระลึกถึงความสุข.

บ่อย ๆ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้นและ.

ปัญจกนิทเทส จบ

อรรถกถาฉักกนิทเทส

อธิบายมาติกาหมวด ๖

บุคคลผู้โกรธแล้ว ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกัน

ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ หรือว่า บุคคลผู้ยึดถือแต่ความเห็นของตน ก็

ย่อมถึงการทะเลาะ การวิวาท การโต้เถียงกันเพราะความยึดถือแต่ความเห็น

ของตน เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิวาทมูล

มีความโกรธ เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 947

ฉันทราคนิทเทส

อธิบาย ฉันทราคะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยย่อว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยเรือน ชื่อว่า

ฉันทราคะ เพราะอาศัยเรือน คือ กาม ดังนี้ แล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม

นั้น โดยประเภทอีก จึงตรัสว่า มนาปิเยสุ รูเปสุ เป็นต้น. บรรดาคำ

เหล่านั้น คำว่า มนาปิเยสุ ได้แก่ ความชอบใจ อันยังใจให้เจริญ.

วิโรธวัตถุ คือ ความพิโรธ (ความอาฆาต).

คำว่า อคารโว ในอคารวะทั้งหลาย ได้แก่ เว้นจากความเคารพ.

คำว่า อปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ประพฤติตามถ้อยคำ. ก็ข้อนี้

ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุใด ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุงในกาลทั้ง

๓ เมื่อพระศาสดาไม่สวมรองพระบาทจงกรมอยู่ ภิกษุใดสวมรองเท้าจงกรมอยู่

เมื่อพระศาสดาจงกรมอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อพระ-

ศาสดาประทับอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมอยู่ในที่สูง ภิกษุใด ย่อมห่มคลุมไหล่

ทั้งสอง ย่อมกั้นร่ม ย่อมสวมรองเท้า ย่อมอาบน้ำ ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

ในที่อันเห็นพระศาสดา ก็หรือว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ภิกษุใด

ย่อมไม่ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ ย่อมทำการงานทั้งปวง อันกล่าวแล้ว ในที่

อันมองเห็นพระเจดีย์ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.

ก็ภิกษุใด ไปฟังธรรมที่สงฆ์ประกาศแล้ว โดยไม่เคารพ. ย่อมไม่

ฟังโดยเคารพ ย่อมนั่งสนทนากัน. ย่อมเรียนโดยไม่เคารพ. ย่อมกล่าวสอน

โดยไม่เคารพ ภิกษุนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เคารพในพระธรรม.

ก็ภิกษุใด ไม่ได้รับการเชื้อเชิญจากภิกษุเถระให้แสดงธรรม ย่อม

แสดงธรรม ย่อมแก้ปัญหา ย่อมเดิน ยืน นั่ง กระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า

หรือว่านั่งเอาผ้ารัดเข่า เอามือรัดเข่า ย่อมห่มคลุมไหล่ทั้งสองในท่ามกลางสงฆ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 948

ย่อมกั้นร่มและสวมรองเท้า ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในสงฆ์ จริงอยู่

ภิกษุแม้กระทำความไม่เคารพในเรื่องที่กล่าวแล้วเพียงอย่างเดียวในสงฆ์ก็ชื่อว่า

ไม่เคารพในสงฆ์เหมือนกัน.

ก็ภิกษุใดยังไม่กระทำสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่

เคารพในสิกขา.

เมื่อภิกษุใดไม่เจริญลักษณะแห่งความไม่ประมาทเนือง ๆ ภิกษุนั้น

ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท. เมื่อไม่กระทำปฏิสันถาร ๒ อย่าง

ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถาร.

คำว่า ปริหานิยา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันกระทำซึ่งความ

เสื่อม. คำว่า กมฺมารามตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วด้วย

ความยินดียิ่งในนวกรรม (การก่อสร้าง) หรือว่า ในการงานทั้งหลาย มีการ

ใคร่ครวญคิดถึงจีวรเป็นต้น. คำว่า ภสฺสารามตา ได้แก่ ประกอบแล้ว

ขวนขวายแล้วในการสนทนาด้วยสามารถแห่งคำอันเป็นดิรัจฉานกถา. คำว่า

นิทฺทารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการหลับนอน คำว่า

สงฺคณิการามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการคลุกคลีด้วยหมู่.

คำว่า สสคฺคารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการอยู่ร่วมกัน

๕ อย่าง คือในการอยู่ร่วมกันด้วยการฟัง อยู่ร่วมกันด้วยการดู อยู่ร่วมกัน

ด้วยการสนทนา อยู่ร่วมกันด้วยการบริโภค อยู่ร่วมกันด้วยกาย. คำว่า ปปญฺ-

จารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้า

คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โสมนัสสุปวิจาร เป็นต้น. ธรรมทั้งหลาย

ชื่อว่า โสมนัสสุปวิจาร เพราะอรรถว่าย่อมครุ่นคิดถึงซึ่งการเกิดขึ้นร่วมกับ

๑. ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ธัมมปฏิสันถาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 949

โสมนัส. คำว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. คำว่า

โสมนสฺสฏฺานิย ได้แก่ เป็นเหตุแห่งโสมนัส ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

ในคำว่า อุปวิจรติ นั้น ได้แก่ ย่อมครุ่นคิดถึง โดยความเป็นไปแห่งวิจาร.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในหมวด ๖ แม้ทั้ง ๓ คือ โสมนัสสุปวิจาร โทม-

นัสสุปวิจาร และอุเปกขูปวิจาร โดยนัยนี้ว่า วิตกฺโก ปน ตสมปยุตฺโต

วา ดังนี้ (แปลว่า วิตกเป็นธรรมสัมปยุตกับด้วยวิจารนั้น)

คำว่า เคหสิตานิ ได้แก่ อิงอาศัยกามคุณ. คำว่า โสมนสฺสานิ

ได้แก่ ความสุขทางใจ. คำว่า โทมนสฺสานิ ได้แก่ ความทุกข์ทางใจ.

คำว่า อุเปกฺขา ได้แก่ อุเขกขาเวทนาอันสัมปยุตด้วยอัญญาณ (คือ โมหะ).

แม้คำว่า อญฺาณุเปกฺขา ดังนี้ ก็เป็นชื่อของอุเบกขาอันสัมปยุตด้วยอัญญาณ

นั่นแหละ.

ทิฏฐิ ๖

วา ศัพท์ในบททั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตาติ วา นี้ เป็น

นิบาตกำหนดเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายว่า ควานเห็นผิด

ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ก็ดี. ก็สัสสตทิฏฐิ ย่อมถือเอาซึ่งความที่ตนมีอยู่ในกาล

ทั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตา นี้. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่

โดยแท้จริง โดยมั่นคง. คำว่า อิท สจฺจ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบาย

ว่า โดยความเป็นสิ่งมั่นคงด้วยดี. คำว่า นตฺถิ เม อตฺตา (แปลว่า อัตตา

ของเราไม่มี) อธิบายว่า ทิฏฐินี้ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความไม่มี

แห่งสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ในที่นั้น ๆ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 950

อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐินี้ ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ พราะถือเอาอัตตาในกาล

ทั้ง ๓ แม้เกิดก่อนว่า มีอยู่. อุจเฉททิฏฐิ ถือเอาอัตตาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น

ว่า มีอยู่. คือว่า ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะการถือว่า อัตตาในอดีตและ

อนาคต แม้เกิดภายหลังว่า ไม่มีอยู่ ดังนี้ ราวกะทิฏฐิของบุคคลผู้มีความ

เห็นว่า ของบูชายัญ อันเป็นเถ้าธุลี. สัสสตทิฏฐิของบุคคลผู้มีความเห็นว่า

อัตตาเกิดขึ้นลอย ๆ เทียว จึงยึดถือว่า อัตตาในอดีตเท่านั้นไม่มี ดังนี้. คำว่า

อตฺตนา วา อตฺตาน สญฺชานามิ (แปลว่า ย่อมรู้จักอัตตาด้วยอัตตา

ดังนี้ ก็ดี) อธิบายว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เราชื่อว่า ย่อมรู้จักอัตตา

นี้ด้วยอัตตานี้ เพราะถือว่า อัตตาในขันธ์ โดยมีสัญญาขันธ์เป็นสีสะแล้วรู้

ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ดังนี้. คำว่า อตฺตนา วา อนตฺตาน (แปลว่า

รู้จักอนัตตาด้วยอัตตา) อธิบายว่า ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะรู้อัตตา

เหล่านั้น โดยการถือเอาสัญญาขันธ์นั่นแหละว่าเป็นอัตตา แล้วก็ถือเอาขันธ์ ๔

ที่เหลือว่าเป็นอนัตตา. คำว่า อนตฺตนา วา อตฺตาน (แปลว่า รู้จัก

อัตตาด้วยอนัตตา) ได้แก่ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เพราะถือเอา สัญญาขันธ์

ว่าเป็นอนัตตา แล้วถือขันธ์ ๔ นอกนี้ว่าเป็นอัตตา เพราะรู้อัตตาเหล่านั้นด้วย

สัญญา. การยึดถืออัตตาแม้ทั้งปวงเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ดังกล่าวมา

แล้วนั่นแหละ. ก็คำว่า วโท เวเทยฺโย (แปลว่า ผู้กล่าวผู้เสวย) นี้ เป็นคำ

กล่าวทำสัสสตทิฏฐิแสะอุจเฉททิฏฐิให้มั่นคงทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในคำ

เหล่านั้น ดังนี้ ที่ชื่อว่า ผู้กล่าว (วโท) เพราะย่อมกล่าว อธิบายว่า ผู้กระทำ

วจีกรรม. ชื่อว่า เวเทยฺโย เพราะอันบุคคลพึงเสวย อธิบายว่า อัตตาย่อม

รู้จึงชื่อว่าย่อมเสวย. บัดนี้ อัตตานั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมใด เพื่อแสดงธรรมนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตตฺร ตตฺร ได้แก่ ในโยนิ ในคติ ในฐิติ ใน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 951

นิวาส และนิกายทั้งหลาย หรือว่าในอารมณ์ทั้งหลายนั้น ๆ. คำว่า ทีฆรตฺต

ได้แก่ สิ้นกาลนาน. คำว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย. คำว่า น โส

ชาโต นาโหสิ ได้แก่ อัตตานั่นชื่อว่า ไม่เกิด เพราะการไม่เกิดเป็นธรรมดา

อธิบายว่า อัตตานั้นมีอยู่ในกาลทุกเมื่อทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละจึงว่า

อัตตา ไม่ได้มีแล้วในอดีต จักไม่มีแม้ในอนาคต เพราะว่า อัตตาใดเกิด

ขึ้นแล้ว อัตตานั้นได้มีแล้ว แต่อัตตาใดจักเกิด อัตตานั้นก็จักมี ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า น โส ชาโต นาโหสิ อธิบายว่า อัตตานั้น

ไม่เกิด ไม่ได้มีแล้ว แม้ในอดีต แม้ในอนาคต ก็จะไม่เกิดจักไม่มี เพราะ

ความที่อัตตานั้นมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ. คำว่า นิจฺโจ ได้แก่ เว้นจากการเกิด

และการดับ คำว่า ธุโว (ยั่งยืน) ได้แก่ เป็นสภาพมั่นคง เป็นสิ่งมีสาระ.

คำว่า สสฺสโต ได้แก่ ประกอบด้วยกาลทั้งปวง. คำว่า อวิปริณามธฺมโม

(ไม่แปรผัน) ได้แก่ ธรรมที่ไม่ละความเป็นปกติของตน คือ ย่อมไม่ถึงซึ่ง

ความเป็นไปโดยประการอื่น เหมือนกิ้งก่า ไม่ละอยู่ซึ่งความเป็นปกติของตน

ฉะนั้น. ชื่อว่าทิฏฐิ อันเป็นไปกับอาสวะทั้งปวงนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

แล้วด้วยประการฉะนี้ คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ฉักกนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 952

อรรถกถาสัตตกนิทเทส

อธิบายมาติกาหมวด ๗

สภาวธรรมเหล่าใด ชื่อว่า ย่อมนอนเนื่อง เพราะอรรถว่าเป็นสภาพ

ที่มีกำลังและเพราะอรรถว่าเป็นสภาพที่ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรม

เหล่านั้น จึงชื่อว่า อนุสัย คือกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน.

สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมประกอบสัตว์ไว้ ย่อมให้สัตว์สืบต่ออยู่ใน

วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สัญโญชน์ คือกิเลส

เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.

สภาวธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดกลุ้มรุมจิต โดยกระทำให้กำเริบ เพราะ

เหตุนั้นสภาวธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ปริยุฏฐาน คือ กิเลสที่ประทุษร้าย

จิต. ปริยุฏฐาน คือ กามราคะ ชื่อว่า กามราคปริยุฏฐาน. แม้ในคำที่

เหลือก็นัยนี้แหละ.

ธรรมทั้งหลายอันมิใช่ของสัตบุรุษ หรือว่า ธรรมทั้งหลายอันไม่สงบ

เพราะอรรถว่าเป็นธรรมลามก เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อสัท-

ธรรม.

จริตทั้งหลาย อันโทษทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ประทุษร้ายแล้ว เพราะ

เหตุนั้นจริตเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทุจจริต. ธรรมเหล่าใด ย่อมสำคัญว่าตนมีอยู่

โดยอาการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามานะ.

๑. องค์ธรรมของอนุสัยกิเลส สัญโญชน์ และปริยุฏฐาน อย่างเดียวกัน คือ กามราคะ

ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ภวราคะ อวิชชา ส่วนที่ต่างกันนั้น คือ อนุสัย จัดเป็นกิเลส

อย่างละเอียดได้ปัจจัยแล้วจึงเกิดขึ้น สัญโญชน์และปริยุฏฐาน จัดเป็นกิเลสอย่างกลาง เพราะ

เกิดสัมปยุตกับจิต กิเลสทั้งหมดล่วงมโนทวารไปสู่กายทวาร วจีทวาร เรียกว่า กิเลสอย่าง

หยาบ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 953

ทิฏฐินิทเทส

คำว่า รูปี ได้แก่ มีรูป. คำว่า จาตุมหาภูติโก ความว่า สำเร็จ

ด้วยมหาภูตรูป ๔. คำว่า มาตาปิตูน เอต ได้แก่รูปอันเป็นของมารดาและ

บิดา. ถามว่ารูปอะไร ตอบว่า รูปคือ น้ำสุกกะและโลหิต (น้ำสุกกะอันเป็นของ

บิดาและโลหิตของมารดา) ชื่อว่ามาตาเปตติกสัมภวะ เพราะเกิดขึ้นแต่น้ำ

สมภพของมารดาและบิดา. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวซึ่งความ

เป็นแห่งมนุษย์ด้วยรูปกายอันเป็นประธานนั้นว่านี้เป็นอัตตา. ในวาระที่ ๒ สมณ-

พราหมณ์บางคนปฏิเสธรูปกายอันเกิดแต่มารดาบิดานั้น แต่ย่อมกล่าวรับรอง

ซึ่งความเป็นอัตตาอันเป็นทิพย์. คำว่า ทิพฺโพ ได้แก่ อัตตาที่บังเกิดขึ้นใน

เทวโลก. คำว่า กามาวจโร ได้แก่ อัตตาอันนับเนื่องด้วยสวรรค์ ๖ ชั้น. คำว่า

กพฬิงฺการ ภกฺขยติ ได้แก่ มีก้อนข้าวเป็นอาหาร. คำว่า มโนมโย

ได้แก่ อัตตาที่เกิดขึ้นแล้วด้วยใจซึ่งเกิดแต่ฌาน. คำว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี

ได้แก่ ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง. คำว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่

มีอินทรีย์บริบูรณ์ไม่บกพร่อง. รูปเหล่าใด มีอยู่ในพรหมโลก พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ตรัสซึ่งรูปนั้น ด้วยสามารถแห่งรูปของพรหมด้วย และด้วยสามารถแห่ง

สัณฐานแห่งรูปนอกจากนี้ด้วย. คำว่า อากาสานญฺจายตนูปโค ได้แก่

เป็นผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นแห่งอากาสานัญจายตนะ. ในคำทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็

นัยนี้แหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

สัตตกนิทเทส จบ

๑. บาลีว่า ภกฺโข.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 954

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส

อธิบายมาติกาหมวด ๘

กิเลสวัตถุ คือ กิเลสทั้งหลายนั่นแหละ. คำว่า กุสตวตฺถูนิ ได้แก่

วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน คือความขี้เกียจ อธิบายว่าเป็นเหตุแห่งความ

เกียจคร้าน. คำว่า กมฺม กตฺตพฺพ โหติ (แปลว่า เราจักต้องทำการงาน)

ได้แก่ การงานที่ต้องทำมีการพิจารณาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น. คำว่า น วิริย

อารภติ (แปลว่า ไม่ปรารภความเพียร) ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียร แม้ทั้ง

๒ อย่าง. คำว่า อุปฺปตฺสฺส ได้แก่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง มีฌาน วิปัสสนา

มรรคและ ผล. คำว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

อันนั้นนั่นแหละ. คำว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งฌาน

วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง. คำว่า อิท ปม

อธิบายว่า การจมลงอย่างนี้ว่า เชิญท่านเถิด เราจะนอน ดังนี้ นี้เป็นกุสีต-

วัตถุข้อที่หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

ก็ในคำว่า มาสาจิต มญฺเ (แปลว่า เป็นเหมือนถั่วหมัก) ได้แก่

ถั่ว อันบุคคลให้เปียกชุ่มแล้วด้วยน้ำ ชื่อว่า ถั่วหมัก. อธิบายว่า ถั่วหมัก

เปียกชุ่มแล้วย่อมเป็นของหนัก ฉันใด กายของผู้เกียจคร้านนั้นย่อมหนัก ฉัน

นั้น.

คำว่า คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ ได้แก่ ภิกษุเพิ่งจะหายป่วย.

๑. กิเลสวัตถุ ๘ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 955

จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อฏฺสุ โลกธมฺเมสุ ดังนี้ ที่ชื่อว่า

โลกธรรม เพราะเป็นธรรมของชาวโลก. สัตว์โลกทั้งหลาย ชื่อว่า พ้นจาก

โลกธรรมเหล่านี้ย่อมไม่มีเลย โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมมีแม้แก่พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายเทียว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โลกธรรม ดังนี้.

บทว่า ปฏิฆาโต ได้แก่อาการคือ การกระทบจิต. คำว่า ลาเภ สาราโค

(แปลว่า ความยินดีในลาภ) ได้แก่ ความยินดี อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

โสมนัสอันอิงอาศัยเรือนอย่างนี้ว่า เราย่อมได้ลาภ ดังนี้ ความยินดีนั้นจึง

ชื่อว่า กระทบจิต. คำว่า อลาเภน ปฏิวิโรโธ (แปลว่า ความยินร้ายใน

ความเสื่อมลาภ) ได้แก่ ความยินร้ายอันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งโทมนัส

ว่า เราย่อมไม่ได้ลาภ ดังนี้ ความยินดียินร้ายแม้นั้น ย่อมกระทบจิต เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า ปฏิฆาตะ. แม้ในคำว่า ความ

ยินดีในยศเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

เรามีบริวารมาก เรามีบริวารน้อย เราได้รับความสรรเสริญ เราได้รับการ

นินทา เราถึงสุข เราถึงทุกข์ ดังนี้. คำว่า อนริยโวหารา ได้แก่ โวหาร

(คำพูด) ของบุคคลผู้มิใช่พระอริยะ.

โทษทั้งหลายของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสโทส. คำว่า น สรามิ ได้แก่

ย่อมแก้ตัว ย่อมให้คนหลุดพ้น โดยความเป็นผู้ไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึก

ไม่ได้ กำหนดไม่ได้ซึ่งฐานะแห่งกรรมนอันเราทำแล้ว. คำว่า โจทกเยว

ปฏิปฺผรติ ได้แก่ เป็นผู้ขัดเเย้งกันแผ่ไป คือย่อมตั้งอยู่ด้วยความเป็น ผู้โต้-

เถียงกัน. คำว่า กินฺนุ โข ตุยฺห ความว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการ

กล่าวของท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด คือ ย่อมแสดงว่า ท่านย่อมไม่รู้เรื่องวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 956

แห่งอาบัติ ย่อมไม่รู้จักการตำหนิ. อธิบายว่า แม้ท่านเองก็ไม่รู้จักอาบัติ

ท่านจึงสำคัญคำอะไร ๆ อันบุคคลพึงกล่าวอย่างนี้ ดังนั้น โทษนั้นย่อมครอบงำ

ท่าน. คำว่า ปจฺจาโรเปติ ความว่า ย่อมกล่าวยกอาบัติขึ้นว่า ท่านนั่นแหละ

ต้องอาบัติ เป็นต้น. คำว่า ปฏิกโรหิ ได้แก่ ย่อมแสดงว่า ท่านจงแสดง

เทสนาคามินี (คือการแสดงอาบัติตั้งแต่ถุลลัจจัย จนถึงอาบัติต่ำสุด) จงออก

จากวุฏฐานคามินี (คือ ออกจากอาบัติสังฆาทิเสส) เมื่อตั้งมั่นอยู่ในความ

บริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้น จึงควรทักท้วงผู้อื่น ดังนี้. คำว่า อญฺเนญฺ

ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อนซึ่งเหตุอย่างอื่นด้วยเหตุอื่น หรือว่า กลบ-

เกลื่อนซึ่งถ้อยคำด้วยถ้อยคำ. คำว่า อาปตฺตึ อาปนฺโนสิ ได้แก่ ย่อม

กล่าวว่า ใครพูดว่าเราต้องอาบัติ เราต้องอาบัติอะไร ต้องอาบัติอย่างไร

ต้องอาบัติที่ไหน ย่อมพูดอะไร ๆ อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสงฆ์กล่าวว่า อาบัติอะไร ๆ เห็นปานนี้ ท่านเห็น

หรือ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่พึง ย่อมไม่น้อมโสตเข้าไป. คำว่า พหิทฺธา

กถ อปนาเมติ ได้แก่ ถูกสงฆ์ถามว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้หรือ. ภิกษุผู้ถูก

ถามนั้น ก็จะพูดเป็นอย่างอื่นว่า กระผมจะไปเมืองปาฏลีบุตร. เมื่อสงฆ์ถาม

อีกว่า พวกเราย่อมไม่ถามการไปเมืองปาฏลีบุตรของเธอ ดังนี้. ภิกษุนั้นก็จะ

พูดต่อไปว่า เราไปสู่เมืองราชคฤห์. สงฆ์กล่าวว่า ท่านจะไปเมืองราชคฤห์

หรือไปบ้านพราหมณ์ก็ตาม เธอก็ต้องอาบัติ ดังนี้. บรรดาคำพูดนอกเรื่อง

เหล่านั้น เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า เนื้อสุกรอันเราได้แล้ว เป็นต้น ชื่อว่า ย่อม

พูดสับสน. คำว่า โกป ได้แก่ ความเป็นผู้โกรธแล้ว. คำว่า โทส ได้แก่

เป็นผู้ประทุษร้ายแล้ว. คำแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นชื่อของความโกรธนั่นแหละ.

คำว่า อปฺปจฺจย ได้แก่ กิริยาที่ไม่สันโดษ. คำนี้เป็นชื่อของโทมนัส. คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 957

ปาตุกโรติ ได้แก่ ย่อมแสดง ย่อมประกาศ. คำว่า พาหาวิกฺเขปก ภณติ

ได้แก่ แกว่งแขนพูดถ้อยคำอันไม่มียางอาย. คำว่า วิเหเสติ ได้แก่ ย่อม

เบียดเบียน ย่อมเสียดสี. คำว่า อนาทยิตฺวา ได้แก่ ไม่ถือเอาด้วยความ

เคารพยำเกรง คือ ดูหมิ่น และไม่เอื้อเฟื้อ. คำว่า อติพาฬฺห ได้แก่

แน่วแน่ยิ่งเกินประมาณ. คำว่า มยิ พฺยาวฏา ได้แก่ ถึงการขวนขวายใน

เรา. คำว่า หีนายาวตฺติตฺวา อธิบายว่า ลาเพศมาเป็นคฤหัสถ์ เพื่อต้อง

การเป็นคนเลว. ค่าว่า อตฺตมนา โหถ ได้แก่ ย่อมกล่าวโดยประสงค์ว่า

ท่านทั้งหลาย จงมีจิตยินดี จงได้สิ่งอันเราพึงได้ จงอยู่ในที่อันเราพึงอยู่ จง

อยู่อย่างผาสุกอันเราทำแล้วเพื่อท่านทั้งหลาย ดังนี้.

วาทะอันเป็นไปในคำว่า อัตตาไม่มีสัญญา ชื่อว่า อสัญญีวาทะ.

อสัญญีวาทะนั้น มีอยู่แก่บุคคลเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึง

ชื่อว่า อสัญญีวาทะ. ความเห็นผิดว่า อัตตามีรูป ในคำว่า รูปี อตฺตา

เป็นต้น ความว่า ทิฏฐิว่า อัตตามีรูป ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้ฌาน เพราะยึด

ถือกสิณรูปว่าเป็นอัตตา. ส่วนความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌานย่อมมีด้วยสักว่าการ

ตรึกเท่านั้น เหมือนความเห็นผิดของอาชีวกทั้งหลาย. ก็แล ความเห็นผิดว่า

อัตตาไม่มีรูป ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ได้ฌานเท่านั้น เพราะถือเอานิมิตในอรูปสมาบัติ

ว่าเป็นอัตตา. ความเห็นผิดของผู้ไม่ได้ฌาน ย่อมมีเพียงความตรึกอย่างเดียว

เหมือนความเห็นผิดของพวกนิครนถ์. ก็ในที่นี้ บัณฑิตพึงสอบสวนถึงเหตุให้

แน่นอนในความเป็นแห่งอัตตาอันไม่มีสัญญาทีเดียว. เพราะว่า บุคคลผู้มีความ

เห็นผิด ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ย่อมเป็นราวกะคนบ้า. คำว่าอัตตาทั้งที่มีรูป

และไม่มีรูป ได้แก่ ความเห็นผิดที่ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ยึด

ถือเอารูปฌานและอรูปฌานปะปนกัน. ทิฏฐินี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ได้รูปาวจร

และอรูปาวจรสมาบัติบ้าง แก่ผู้ตรึกเอาเองบ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 958

ก็คำว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เป็นทิฏฐิของผู้ชอบ

ตรึกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. คำว่า อนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุด) ได้แก่

ทิฏฐิของบุคคลผู้ถือปริตตกสิณ (กสิณมีอารมณ์เล็กน้อย) โดยความเป็นอัตตา.

คำว่า อนนฺตวา ได้แก่ ทิฏฐิของผู้ถือกสิณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ. คำว่า

อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (แปลว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ได้แก่

ทิฏฐิอันเกิดขึ้น เพราะถือเอากสิณในเบื้องบนและเบื้องต่ำที่มีที่สุด และถือ

เอากสิณในเบื้องขวางที่ไม่มีที่สุดว่าเป็นอัตตา. คำว่า เนวนฺตวา นานนฺตวา

(แปลว่า อัตตามีที่สุดก็มิใช่ หาที่สุดมิได้ก็มิใช่) ได้แก่ทิฏฐิของพวกชอบคิด

เท่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อัฏฐกนิทเทส จบ

อรรถกถานวกนิทเทส

อธิบาย มาติกาหมวด ๙

คำว่า อาฆาตวัตถุ ๙ นี้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย. ธรรม

ทั้งหลายที่ชื่อว่า ปุริสมละ เพราะเป็นมลทินต่อบุรุษ. คำว่า นววิธา ได้แก่

มลทิน ๙ อย่าง หรือว่า ๙ ประเภท.

ตัณหามูลธรรม

คำว่า ตณฺห ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหา คำว่า ปริเยสนา

ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตัณหายังมีอยู่ อารมณ์

มีรูปเป็นต้นนั้นก็มีอยู่. คำว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น.

จริงอยู่ เมื่อการแสวงหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็มีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 959

ก็วินิจฉัยมี ๔ ด้วยอำนาจแห่ง ญาณ ตัณหา ทิฏฐิ และวิตก.

ในคำเหล่านั้น ปัญญาใดที่พึงรู้การวินิจฉัย (การตัดสินใจ) ได้โดย

ง่าย ครั้นรู้การวินิจฉัยดีแล้ว ก็ประกอบความสุขเนือง ๆ ในภายใน นี้ชื่อว่า

ญาณวินิจฉัย. วินิจฉัย ๒ คือ ตัณหาวินิจฉัย ทิฏฐิวินิจฉัย อันมาแล้วใน

พระบาลีนั้น ตัณหาวิจริต ๑๐๘ ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า

ทิฏฐิวินิจฉัย. ก็ความตรึกนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า

วินิจฉัยในวิภังค์นี้ มาในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะ (ความพอใจ)

แล เป็นเหตุแห่งความตรึก ดังนี้.

จริงอยู่ บุคคลใดได้ลาภแล้ว ย่อมวินิจฉัยซึ่งสิ่งนั้น ๆ ว่า สิ่งนี้เป็น

ของชอบใจ สิ่งนี้ไม่ชอบใจ หรือว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดีด้วยความตรึกนั่นแหละ

คือ โดยตรึกว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่ง

รูปารมณ์ สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่งสัททารมณ์

เป็นต้น สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควรแก่เรา สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควร

แก่ผู้อื่น เราจักบริโภคมีประมาณเท่านี้ จักเก็บไว้มีประมาณเท่านี้ ดังนี้

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการ

วินิจฉัย ดังนี้.

คำว่า ฉนฺทราโค ได้แก่ ราคะ คือ ความยินดี อันมีกำลังทราม

ด้วย อันมีกำลังมากด้วย ย่อมเกิดในวัตถุอันตรึกด้วยอกุศลวิตก อย่างนี้. ก็

คำว่า ฉนฺโท ในวิภังค์นี้ เป็นชื่อของราคะมีกำลังทราม. คำว่า อชฺโฌสาน

ได้แก่ ความยึดถืออันมีกำลังว่า เป็นเรา เป็นของของเรา ดังนี้. คำว่า

ปริคฺคโห แปลว่า ความหวงแหน ได้แก่ การทำความหวงแหนด้วยอำนาจ

แห่งตัณหาและทิฏฐิ. คำว่า มจฺฉริย ความตระหนี่ ได้แก่ ความไม่อดทน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 960

เพื่อให้เป็นของสาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อาจารย์ใน

ปางก่อน จึงกล่าวความหมายแห่งตัณหาและทิฏฐินั้นไว้อย่างนี้ว่า ความอัศจรรย์

นี้จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่บุคคลอื่น เป็นต้น เพราะความเป็นไปแห่ง

ตัณหาและทิฏฐินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกธรรมนี้ว่า ความตระหนี่

ดังนี้. คำว่า อารกฺโข แปลว่า การรักษา ได้แก่ การรักษาด้วยดี ด้วย

อำนาจแห่งการคุ้มครองป้องกันสิ่งของนั้น ๆ โดยการปิดประตูและเก็บไว้ใน

หีบเป็นต้น. คำว่า อธิกโร ได้แก่ อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้น. คำว่า

อธิกรณ์นี้ เป็นชื่อของเหตุ. คำว่า อารกฺขาธิกรณ นี้ เป็นศัพท์นปุงสก-

ลิงค์ ในความมี ความเป็น อธิบายว่า เป็นเหตุแห่งการรักษา.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตัณหามูลกธรรม ๙ เพื่อห้ามอกุศลธรรม

อื่น ๆ ในเพราะการเบียดเบียนสัตว์มีการจับท่อนไม้เป็นต้น. การจับถือท่อน-

ไม้ ท่านเรียกว่า ทัณฑาทานะ. การจับถือศาสตรามีคมข้างเดียว เป็นต้น

ชื่อว่า สัตถาทานะ. การทะเลาะด้วยกายก็ตาม การทะเลาะด้วยวาจาก็ตาม

ชื่อว่า การทะเลาะ. ความพิโรธ การโต้เถียงเกิดขึ้นก่อน การวิวาทเกิดขึ้น

ทีหลัง. คำว่า ตุว ตุว เป็นถ้อยคำที่ไม่เคารพ ท่านแก้ศัพท์นี้ว่าเป็น

ตฺว ตฺว ดังนี้.

การสั่นสะเทือน การหวั่นไหว ชื่อว่า อิญชิตะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสมานะนั่นแหละไว้ในคำว่า อสฺมิ (แปลว่า เป็นเรา) ไว้ด้วยบททั้งปวง

ซึ่งมีคำว่า อิญฺชิตเมต เป็นต้น. จริงอยู่ มานะ แม้เป็นไปแล้วในคำว่า

เป็นเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า อิญชิตะนั่นแหละ. เนวสัญญีนาสัญญี อันเป็นไป

๑. เหตุ ได้แก่ การทะเลาะ การแก่งแย่ง การพูดขึ้นมึงกู เป็นต้น

๒. หมายถึงการพูดเร็ว ๆ ว่า ท่าน ๆ

๓. เราจักเป็นสัตว์ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 961

ในคำว่า นี้เป็นเรา ก็ดี หรือเราจักเป็นไปก็ดี ก็ชื่อว่า อิญชิตะ. มานะ

นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แม้ด้วยหมวดเก้าที่เหลือ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสว่า ชื่อว่า มานะ เพราะความหวั่น-

ไหว. ชื่อว่า ความหวั่นไหวเพราะความสำคัญตน. ชื่อว่า ความสำคัญตน

เพราะความดิ้นรน. ชื่อว่า ความดิ้นรน เพราะเป็นธรรมยังสัตว์ให้เนิ่นช้า.

ธรรมที่ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ชื่อว่า สังขตะ เพราะการปรุงแต่ง ด้วยเหตุนั้น ๆ

ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

นวกนิทเทส จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส

อธิบาย มาติกาหมวด ๑๐

กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ กิเลส ๑๐ นั่นแหละ. ก็ในนิทเทสนี้ กิเลสวัตถุนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่องนี้กับด้วยอาฆาตอันเกิดขึ้นในอฐานะ. ซึ่งเป็นดัง

กระทบตอไม้และหนามเป็นต้น อันบุคคลไม่พึงให้กำเริบ ด้วยสามารถแห่ง

บททั้งหลายมีคำว่า อนตฺถ เม อจริ เป็นต้น แปลว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อม

เสียแก่เรา. คำว่า มิจฺฉาาณ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ โมหะอันเกิดขึ้น

โดยกิริยาที่พิจารณาว่า บรรดาการทำบาปทั้งหลาย เราขจัดได้แล้ว ขจัดดี

แล้ว ด้วยสามารถแห่งความคิดโดยอุบาย. คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ได้แก่

ธรรมที่เป็นชื่อของวิมุตติ ของบุคคลผู้ยังไม่หลุดพ้นอยู่นั่นแหละ. บทที่เหลือ

ในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ทสกนิทเทส จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 962

อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส

อธิบาย ตัณหาวิจริต

คำว่า ตณฺหาวิจริตานิ ได้แก่ ความปรากฏแห่งตัณหา ความเป็น

ไปทั่วแห่งตัณหา. คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยเบญจขันธ์

ภายใน. ก็คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยา-

วิภัตติ. คำว่า อสฺมีติ โหติ แปลว่า ตัณหาว่า เรามี ดังนี้ ก็มี ได้แก่

คำว่า เรามี ดังนี้ก็มี เพราะอาศัยขันธปัญจกะภายใน นี้ใด แล้วถือเอาการ

ประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ. อธิบายว่า

ครั้นเมื่อการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ยังมีอยู่ การยึดถือว่าเรามีอยู่ จึงมี.

ในคำว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ แปลว่า เราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มีเป็นต้น

พึงทราบว่า เมื่อการยึดถือเอา โดยการประชุมกันว่า เรามีอยู่อย่างนี้ มีอยู่

การยึดถือ ๒ อย่าง ย่อมมี คือ ความยึดถือเอา โดยการไม่เปรียบเทียบ

(อนุปนิธาย) และการถือเอาโดยการเปรียบเทียบ (อุปนิธาย) ฯ ใน ๒ อย่าง

นั้น คำว่า อนุปนิธาย ได้แก่การไม่อาศัยอาการอย่างอื่นว่า เรามีอยู่โดย

ประการนี้ เพราะทำภาวะของตนเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. อธิบายว่า การยึดถือ

เอา ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า บรรดาชนทั้งหลายมี

กษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เรียกว่า การยึดถือเอาโดยอนุปนิธายะ

ก่อน.

ส่วนการยึดถือเอา โดยอุปนิธายะ มี ๒ อย่าง คือ โดยความเปรียบ

เทียบเสมอกับตน และไม่เสมอกับตน. เพื่อแสดงการยึดถือนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอวสฺมิ และว่า อญฺถสฺมิ ด้วย. บรรดาคำเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 963

คำว่า เอวสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือโดยเปรียบเทียบเสมอกับตน. อธิบายว่า

กษัตริย์นี้ฉันใด พราหมณ์นี้ฉันใด แม้ตัวเราก็ฉันนั้น ดังนี้. คำว่า

อญฺถสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือเปรียบเทียบโดยความไม่เสมอกับตน อธิบายว่า

กษัตริย์นี้ ฉันใด พราหมณ์นี้ ฉันใด เราเป็นอย่างอื่น คือเลวกว่า หรือว่า

ยิ่งกว่าชนเหล่านั้น ดังนี้. ตัณหาวิจริต ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันก่อนนั่นแหละ. ส่วนตัณหาวิจริต ๔ เหล่านี้มีซึ่งจัก

เกิดเป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอนาคต. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่ง

ตัณหาเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ดังที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแหละ.

คำว่า อสฺมิ ได้แก่ เราเที่ยง. คำว่า สาตสฺมิ ได้แก่ เราไม่เที่ยง.

อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีว่า อสสฺมิ สตสฺมิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อตฺถิ เป็นอสธาตุ. คำว่า อตฺถิ นี้เป็นชื่อของคำว่าเที่ยง. คำว่า สีทติ

เป็นสตธาตุ. คำว่า สีทติ นี้ เป็นชื่อของคำว่า ไม่เที่ยง. เพราะเหตุนั้น

บัณฑิตพึงทราบบททั้ง ๒ เหล่านี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง

สัสสตะและอุจเฉทะ. บททั้ง ๔ ข้างหน้าแต่นี้ มีคำว่า สิย เป็นต้น พึง

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความกังวล

ใจ. บทเหล่านั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนวด ๔ แรกนั้น

แหละ. ก็บททั้ง ๔ มีคำว่า อปาห สิย เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ไว้ด้วยสามารถแห่งอาการปรารถนา อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เราพึงมีโดยประการ

นั้น ๆ บ้าง. บททั้ง ๔ เหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ แรก

นั่นแหละ.

๑. เราพึงเป็น เราพึงเป็นโดยประการนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นโดยประการอื่น

๒. เราพึงเป็นบ้าง เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เราพึงเป็นประการอื่นบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 964

ในบทเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.

เทฺว ทิฏิสีสา จตฺตาโร สุทฺธสีสา สีสมูลกา

ตโย ตโยติ เอตาน อฏฺารส วิภาวเย.

แปลว่า

บัณฑิตพึงชี้แจงตัณหาวิจริตธรรม

๑๘ เหล่านี้ คือ ๒ บท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ

(มีทิฏฐิเป็นประธาน) ๔ บทเป็นสุทธสีสะ

บทละสาม รวม ๑๒ บท เป็นสีสมูลกะ ดังนี้.

จริงอยู่ ในบทเหล่านั้น สองบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วย

สามารถแห่ง สัสสตะ และอุจเฉทะ ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ. สี่บทเหล่านี้ คือ

อสฺมิ (แปลว่า ตัณหาว่าเราเป็น) ภวิสฺส (ตัณหาว่าเราจักเป็น) สิย (ตัณหา

ว่าเราพึงเป็น) อปาห สิย (ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง) ชื่อว่า สุทธสีสะ

เท่านั้น. สิบสองบท คืออย่างละ ๓ มีคำว่า อิตฺถสฺมิ เป็นต้น (ตัณหาว่า

เราเป็นโดยประการนี้) ชื่อว่า สีสมูลกะ เพราะฉะนั้นพึงทราบ ตัณหาวิจริต

ธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า สองบท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ สี่บท ชื่อว่า สุทธสีสะ

สิบสองบท ชื่อว่า สีสมูลกะ ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงจำแนกแสดงธรรมเหล่านั้น (ตัณ-

หาวิจริต) โดยลำดับเทียว จึงเริ่มคำว่า กถญฺจ อสฺมีติ โหติ เป็นอาทิ

(แปลว่า ก็ตัณหาว่า เรามี คือ อย่างไร). บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กิญฺจิ-

ธมฺม อนวการึ กริตฺวา (แปลว่า ไม่ทำการแยกธรรมอันใดอันหนึ่ง)

อธิบายว่า ไม่ทำการแยกธรรมอะไร ๆ แม้สักอย่างหนึ่ง คือไม่ถือเอาแต่ละ

อย่างในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูป เวทนาเป็นต้น โดยถือเอารวมกันนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 965

คำว่า อสฺมีติ ฉนฺท ปฏิลภติ (แปลว่า ย่อมได้ฉันทะ คือ ความพอใจ

ว่า เรามี ดังนี้) อธิบายว่า ถือเอาเบญจขันธ์รวมกันทั้งหมด แล้วย่อมได้ตัณหา

ว่าเราดังนี้. แม้ในคำว่า มานะ ทิฏฐิ ก็นัยนี้. ในธรรมเหล่านั้น (คือ ตัณหา

มานะ ทิฏฐิ) นิทเทสนี้ เป็นตัณหาวิจริตนิทเทส แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

มานะ ทิฏฐิก็ไม่เว้นจากตัณหา. เพราะฉะนั้น ในตัณหาวิจริตนิทเทสนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสมานะและทิฏฐิไว้ ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างเดียวกัน

กับตัณหาวิจริตนั้น. อีกอย่างหนึ่งแม้ธรรมทั้งสาม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ซึ่งเป็นธรรมทำสัตว์ให้เนิ่นช้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกขึ้นแสดงโดย

ตัณหาสีสะ (คือ มีตัณหาเป็นประธาน). ส่วนมานะทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถือเอา เพื่ออธิบายตัณหานั้นโดยสมควรแก่ธรรมที่ยกขึ้นแสดงเท่านั้น. อีก

อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา

จึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อแสดงแม้ธรรมเครื่องเนิ่นช้าที่เหลือ (คือมานะทิฏฐิ)

กับตัณหานั้นนั่นแหละ. คำว่า ตสฺมึ สติ อิมานิ ปปญฺจิตานิ (แปลว่า

เมื่อธรรมทั้ง ๓ มีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น) อธิบายว่า ครั้นเมื่อ

ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ตสฺมึ

อสฺมีติ ฉนฺท ปฏิลภติ เป็นต้น มีอยู่ ธรรมเหล่านี้ มีคำว่า อิตฺถสฺมีติ วา

(แปลว่า เราเป็นโดยประการนั้น) เป็นต้น ย่อมเป็นธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า

แล้ว ดังนี้.

ในคำทั้งหลายมีคำว่า ขตฺติโยสฺมิ (แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์

เป็นต้น) บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า เราชื่อว่า เป็นกษัตริย์ ด้วย

เสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก (แต่งตั้ง) เราชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยความเป็น

ปุโรหิต โดยการเรียนมนต์เป็นต้น เราชื่อว่าเป็นแพศย์ ด้วยการรักษานาและ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 966

โคเป็นต้น เราชื่อว่า เป็นเช่นชาติศูทร ด้วยความเป็นผู้แสวงหาอาหาร เรา

ชื่อว่าเป็นผู้ครองเรือน ด้วยลักษณะของคฤหัสถ์ ดังนี้ คำว่า เอว อิตฺถสฺมีติ

โหติ (แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น) อธิบายว่า ตัณหา ย่อมยังวิธี

การแห่งกษัตริย์เป็นต้นในชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ให้เกิดขึ้นในตนอย่าง

นี้แล้ว จึงพอใจวิธีการโดยประการอย่างนี้ว่า เป็นเรา ดังนี้. ในคำว่า ยถา

โส ขตฺติโย เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ชนนั้นเป็นกษัตริย์

ด้วยเสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ฉันนั้น.

ในนัยที่ ๒ พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า บุคคลนั้นเป็นกษัตริย์ โดยเสนา

อำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แต่เราหาเป็นกษัตริย์เช่นนั้นไม่ คือว่า เป็น

คนเลวกว่าคนนั้น หรือว่าประเสริฐกว่า ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งคำว่า ภวิสฺส

เป็นต้นก็นัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภาย

ในอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก.

จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมานิ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พาหิรสฺส

อุปาทาย ได้เเก่ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก. จริงอยู่ แม้คำว่า พาหิรสฺส

อุปาทาย นี้ ก็เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. คำว่า อิมินา

ได้แก่ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือว่า ด้วยวิญญาณนี้. ก็คำที่เหลือ บัณฑิตพึง

ทราบเนื้อความ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาระก่อนนั่นแหละ. ในนิทเทส-

วาระ คำว่า อวการึ กริตฺวา ได้แก่ ทำการแยกเบญจขันธ์. ในคำทั้งหลาย

มีคำว่า อิมินา อสฺมีติ ฉนฺท ปฏิลภติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ

อย่างนี้ว่า บุคคลถือเอาเบญจขันธ์ อย่างนี้ว่า อิมินา รูเปน วา ฯลฯ

วิญฺาเณน วา ดังนี้ โดยเอกเทส ย่อมได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูปนี้ เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 967

ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิมินา ขตฺติโยสฺมิ เป็นต้น พึงทราบเนื้อ

ความโดยนัยก่อนนั่นแหละ. อย่างนี้ว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยฉัตร หรือว่าด้วย

พระขรรค์ หรือว่าด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษก ดังนี้. จริงอยู่ บทว่า อิมินา

เป็นสักว่าบทเท่านั้น คือเป็นคำวิเศษ ในข้อนี้. บทที่ท่านกล่าวว่า อิมินา

ดังนี้นั่นแหละ แม้ในคำว่า ยถา โส ขตฺติโย เป็นต้น ก็เป็นบทวิเศษ.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตครั้นประกอบทอย่างนี้ว่า เป็นกษัตริย์ด้วยสามารถแห่ง

รูปนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น หรือว่า เป็นกษัตริย์ด้วยพระขรรค์ หรือว่า

ด้วยฉัตร หรือว่าด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษกนี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้ พึง

ทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. คำว่า อิมินา นิจฺโจสฺมิ (แปลว่า

เราเที่ยงด้วยรูปนี้) อธิบายว่า ครั้นทำการแยกเบญจขันธ์แล้วก็ถือเอาธรรม

อย่างหนึ่งในรูปเป็นต้นนั่นแหละว่าเป็นเรา แล้วย่อมสำคัญว่า เราเที่ยง เรา

ยั่งยืนด้วยพระขรรค์นี้ หรือว่าด้วยฉัตร ดังนี้. แม้ในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ ก็

นัยนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

คำว่า อิติ เอวรูปานิ อตีตินิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริตใน

อดีต ของแต่ละบุคคล มี ๓๖. คำว่า อนาคตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหา

วิจริต ในอนาคต ของแต่ละบุคคลนั่นแหละ มี ๓๖. คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานิ

ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริตในปัจจุบัน ๓๖ ของบุคคลคนหนึ่ง ๆ หรือว่า

มากคนด้วยสามารถแห่งตัณหาตามที่ได้. ก็บัณฑิตพึงทราบตัณหาวิจริตของ

สัตว์ทั้งปวงในอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้นมี ๓๖ ในอนาคต ๓๖ ในปัจจุบัน ๓๖

ดังนี้. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายชนิดที่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ มิใช่เช่นเดียวกัน

มีมากนายหาที่สุดมิได้. อนึ่ง ในข้อว่า อฏฺสต ตณฺหาวิจริต โหติ นี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 968

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริต กล่าวคือ ตัณหา

๑๐๘ ดังนี้นั่นแหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ตัณหาวิจริตนิทเทส จบ

ในทิฏฐิคตนิทเทส

คำว่า พฺรหฺมชาเล เวยฺยากรเณ ได้แก่ พระสูตรที่หนึ่งแห่ง

คัมภีร์ทีฆนิกาย อันเป็นคำไวยากรณ์ ชื่อว่า พรหมชาละ. คำว่า วุตฺตานิ

ภควตา ได้แก่ ภาษิตที่พระศาสดา ตรัสโดยพระองค์เอง. ในคำว่า จตฺตาโร

สสฺสตวาทา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบประเภท และเนื้อความแห่งทิฏฐิ

โดยนัยที่กล่าวในพรหมชาลสูตร มีคำว่า เต จ โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา

กิมาคมฺม กิมารพฺภ สสฺสตวาทา สสฺสต อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ปญฺ-

เปนฺติ จตูหิ วตฺถูหิ เป็นต้น นั่นแหละ (แปลว่า ก็สมณพราหมณ์ ผู้

เจริญ ซึ่งมีวาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติว่า

อัตตา และโลกเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ) ดังนี้.

วรรณนาขุททกวัตถุวิภังค์ในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 969

๑๘. ธัมมหทยวิภังค์

สัพพสังคาหิกวาระ

[๑๐๗๓] ขันธ์มีเท่าไร ? อายตนะมีเท่าไร ? ธาตุมีเท่าไร ?

สัจจะมีเท่าไร ? อินทรีย์มีเท่าไร ? เหตุมีเท่าไร ? อาหารมีเท่าไร ?

ผัสสะมีเท่าไร ? เวทนามีเท่าไร ? สัญญามีเท่าไร ? เจตนามีเท่าไร ?

จิตมีเท่าไร ?

[๑๐๗๔] ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี

๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗

จิตมี ๗.

[๑๐๗๕] ในธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?

คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.

[๑๐๗๖] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน ?

คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ

คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ

ธัมมายตนะ.

เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒.

[๑๐๗๗] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน ?

คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต-

วิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 970

ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ

ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘.

[๑๐๗๘] สัจจะ ๔ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ

เหล่านั้นเรียกว่า สัจจะ ๔.

[๑๐๗๙] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน ?

คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์

มนินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์

อัญญาตาวินทรีย์.

เหล่านั้นเรียกว่า อินทรีย์ ๒๒.

[๑๐๘๐] เหตุ ๙ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓

ในเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ คือ อโลภะ กุศลเหตุ คือ อโทสะ กุศลเหตุ คือ อโมหะ

เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ อกุศลเหตุ คือ โลภะ อกุศลเหตุ คือ โทสะ อกุศลเหตุ คือ โมหะ

เหล่านี้ เรียกว่า อกุศลเหตุ ๓.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

๑. ม. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 971

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

หรือในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย.

เหล่านั้นเรียกว่า อัพยากตเหตุ.

[๑๐๘๑] อาหาร ๔ เป็นไฉน ?

คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔.

[๑๐๘๒] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน ?

คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส

มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗

[๑๐๘๓] เวทนา ๗ เป็นไฉน ?

คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาเกิด

แต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนา

เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.

เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗.

[๑๐๘๔] สัญญา ๗ เป็นไฉน ?

คือ สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาเกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาเกิด

แต่ฆานสัมผัส สัญญาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาเกิดแต่กายสัมผัส สัญญาเกิด

แต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส.

เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 972

[๑๐๘๕] เจตนา ๗ เป็นไฉน ?

คือ เจตนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาเกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาเกิด

แต่ฆานสัมผัส เจตนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาเกิดแต่กายสัมผัส เจตนาเกิด

แต่มโนธาตุสัมผัส เจตนาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗.

[๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน ?

คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาน ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.

เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗.

อุปปัตตานุปปัตติวาระ

กามธาตุ

[๑๐๘๗] ในกามธาตุมีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร ?

ในกามธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๒๒

เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗

บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ใน

กามธาตุ.

อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้

เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ.

ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 973

คือ จักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณ-

ธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ.

สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓

ในกามธาตุ.

อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์

๒๒ ในกามธาตุ.

เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ

๙ ในกามธาตุ.

อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ.

ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ

๗ ในกามธาตุ.

เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า

จิต ๗ ในกามธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 974

รูปธาตุ

[๑๐๘๘] ในรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร

ในรูปธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ธาตุ ๙ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๔ เหตุ

๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๔ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔.

ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในรูป

ธาตุ.

อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ มนายตนะ

ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ.

ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสต-

วิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๙

ในรูปธาตุ.

สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓

ในรูปธาตุ.

อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน?

คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า

อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 975

เหตุ ๘ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓.

บรรดาเหตุ ๘ ในรูปธาตุนั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ

เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.

อกุศลเหตุ ๒ เป็นไฉน ?

คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโมหะ เหล่านี้เรียกว่า อกุศล-

เหตุ ๒.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย หรือ

ในกิริยาอัพยากตธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓.

เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในรูปธาตุ.

อาหาร ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า

อาหาร ๓ ในรูปธาตุ.

ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส มโนธาตุสัมผัส มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ.

เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้

เรียกว่า จิต ๔ ในรูปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 976

อรูปธาตุ

[๑๐๘๙] ในอรูปธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร.

ในอรูปธาตุ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๑๑

เหตุ ๘ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑.

บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้

เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ.

อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในอรูป-

ธาตุ.

ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ

สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓

ในอรูปธาตุ.

อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัท-

ธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัญญินทรีย์

อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ.

เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า

เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 977

อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า

อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ.

ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน ?

คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ.

เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน

คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในอรูปธาตุ.

โลกุตตระ

[๑๐๙๐] ในโลกุตตระ มีขันธ์เท่าไร ฯ ล ฯ มีจิตเท่าไร.

ในโลกุตตระ มีขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒ อินทรีย์ ๑๒

เหตุ ๖ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑.

บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้

เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในโลกุตตระ.

อายตนะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ใน

โลกุตตระ.

ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ เหล่านั้นเรียกว่า ธาตุ ๒ ในโลกุตตระ.

สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มัคคสัจจะ นิโรธสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๒ ในโลกุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 978

อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๒ ในโลกุตตระ.

เหตุ ๖ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓.

บรรดาเหตุ ๖ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ กุศลเหตุคืออโมหะ.

เหล่านี้เรียกว่า กุศลเหตุ ๓.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ยวิบากแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

เหล่านี้เรียกว่า อัพยากตเหตุ ๓

เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๖ ในโลกุตตระ.

อาหาร ๓ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านี้เรียกว่า

อาหาร ๓ ในโลกุตตระ.

ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในโลกุตตระ.

เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ในโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า จิต ๑ ในโลกุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 979

ปริยาปันนาปริยาปันนวาระ

[๑๐๙๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในกามธาตุ

ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต จิตไหน นับ

เนื่องในกามธาตุ จิตไหน ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ?

รูปขันธ์ นับเนื่องในกามธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในกามธาตุก็มี

ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องในกาม-

ธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในกามธาตุ ธาตุ ๒ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่

นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

สมุทยสัจจะ นับเนื่องในกามธาตุ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในกาม-

ธาตุ ทุกขสัจจะ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในกาม-

ธาตุ อินทรีย์ ๙ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ นับเนื่องในกามธาตุ เหตุ ๖ นับเนื่องในกามธาตุ

ก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

กพฬิงการาหาร นับเนื่องในกามธาตุ อาหาร ๓ นับเนื่องใน

กามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

ผัสสะ ๖ นับเนื่องในกามธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับเนื่อง

ในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ นับเนื่องในกามธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในกามธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 980

[๑๐๙๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ไหน

ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน นับเนื่องในรูปธาตุ จิต

ไหน ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ.

รูปขันธ์ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี

ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องในรูป

ธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ธาตุ ๒ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี

ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ. ทุกขสัจจะ นับเนื่องในรูปธาตุ

ก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

อินทรีย์ ๑๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อินทรีย์ ๙ นับเนื่องในรูปธาตุ

ก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ เหตุ ๖ นับเนื่องในรูปธาตุ

ก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

กพฬิงการาหาร ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อาหาร ๓ นับเนื่องใน

รูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับ

เนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี.

[๑๐๙๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ไหน

ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน นับเนื่องในอรูปธาตุ

จิตไหนไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 981

รูปขันธ์ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ นับเนื่องในอรูปธาตุ

ก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ นับเนื่องใน

อรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. ธาตุ ๒ นับเนื่องในอรูปธาตุ

สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. ทุกขสัจจะ นับเนื่องในอรูป-

ธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

อินทรีย์ ๑๔ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. อินทรีย์ ๘ นับเนื่องใน

อรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. เหตุ ๖ นับเนื่องในอรูป-

ธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

กพฬิงการาหาร ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. อาหาร ๓ นับเนื่อง

ในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส นับ

เนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ.

มโนวิญญาณธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี.

[๑๐๙๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นโลกิยะ ขันธ์ไหน เป็น

โลกุตตระ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นโลกิยะ จิตไหน เป็นโลกุตตระ.

รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.

อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ. อายตนะ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็น-

โลกุตตระก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 982

ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ. ธาตุ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.

สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ. สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ.

อินทรีย์ ๑๐. เป็นโลกิยะ. อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ. อินทรีย์ ๙

เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นโลกิยะ. อาหาร ๓ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุต-

ตระก็มี.

ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นโลกิยะก็มี

เป็นโลกุตตระก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นโลกิยะ. มโนวิญ-

ญาณธาตุ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี.

วิชชมานาวิชชมานวาระ

กามธาตุ

[๑๐๙๕] ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิด

ปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

อายตนะ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

บางพวก อายตนะ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๗ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 983

ธาตุ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๙

ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.

สัจจะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

อินทรีย์ ๑๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๐

ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก

อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

บางพวก อินทรีย์ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๕ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก.

เหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์บางพวก เหตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์บางพวก สัตว์ที่ไม่มีเหตุ (อเหตุกสัตว์) บางเหล่า ย่อมเกิดปรากฏ.

อาหาร ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

ผัสสะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

ทุกจำพวก.

[๑๐๙๖] ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่าไหน ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 984

คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕

เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ

ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป

เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะ

บริบูรณ์ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๑ เหล่านี้ ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ คือ รูปายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ

คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ

ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก

ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่

เกิด อายตนะ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อายตนะ ๑๐ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฆานายตนะ

คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ

ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 985

ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่

เกิดอายตนะ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อายตนะ ๙ คือ รูปายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ

ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฎฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ

ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็น

อุปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ใน

ขณะที่เกิด อายตนะ ๙ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ คือ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏแก่

คัพภไสยกสัตว์ ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด อายตนะ ๗ เหล่านี้ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ

คันธธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป เปรต

อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 986

บริบูรณ์ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๑ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ คือ รูปธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อม

เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติก-

สัตว์ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่านี้

ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อม

เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกที่เป็นอุปปาติกสัตว์

ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๑๐ เหล่านั้น

ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ คือ รูปธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ชิวหาธาตุ

รสธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งตาบอด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 987

และหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด ธาตุ ๙ เหล่านี้

ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ คือ รูปธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏเเก่คัพภไสยก-

สัตว์ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๗ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

คือ ทุกขสัจจะ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมา-

ธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา ผู้เป็นสเหตุก-

ญาณสัมปยุต ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๔เหล่านี้ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 988

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา ผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกาม

ธาตุ. ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๓ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่ มนุษย์สมัยปฐมกัปผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ, ใน

ขณะที่เกิดอินทรีย์ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๒ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่มนุษย์

สมัยปฐมกัป ผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด

อินทรีย์ ๑๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 989

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์

หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภ-

ไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด

อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์

หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ผู้

เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ เหล่า

นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์

นรกที่เป็นอุปปาติกสัตว์ ซึ่งมีอายตนะบริบูรณ์ในกามธาตุ ในขณะ

ที่เกิดอินทรีย์ ๙ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 990

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ คือ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์

กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

ย่อมเกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็น

อุปปาติกสัตว์ซึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ. ในขณะที่เกิด

อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ คือ จักขุนทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์

กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อม

เกิดปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ที่เป็นอุปปาติก-

สัตว์ ซึ่งหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อันทรีย์ ๘

เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๗ คือ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์

มนินทรีย์ อิตถินทรีย์หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิด

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกที่เป็นอุปปาติก-

สัตว์ ซึ่งตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในกามธาตุ, ในขณะที่

เกิดอินทรีย์ ๗ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๕ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 991

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๕ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ อิตถินทรีย์

หรือปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยก-

สัตว์ ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด อินทรีย์ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์ เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏแก่

สัตว์จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ คือ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏแก่คัพภไสยกสัตว์ ผู้เป็นอเหตุกนปุงสก-

สัตว์ ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ

แก่สัตว์เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิดเหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็น

วิปากเหตุ อโมหะที่เป็นวิปากเหตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา

มนุษย์สมัยปฐมกัป คัพภไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณสัมปยุต ใน

กามธาตุ, ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

เหล่านี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

จำพวกไหน ?

ในขณะที่เกิด เหตุ ๒ คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็น

วปากเหตุ ย่อมเกิดปรากฏแก่กามาวจรเทวดา มนุษย์สมัยปฐมกัป คัพภ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 992

ไสยกสัตว์ ผู้เป็นสเหตุกญาณวิปปยุต ในกามธาตุ, ในขณะที่เกิด

เหตุ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์เหล่านี้.

อเหตุกวิบาก ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์นอกนี้.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๔ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ?

คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์

ทุกจำพวก.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัลสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ?

คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ

๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต

๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อม

เกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก.

รูปธาตุ

[๑๐๙๗] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิด

ปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ?

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕ สัจจะ ๑

อินทรีย์ ๑๐ เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑

ย่อมเกิดปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย เว้นแต่พวกอสัญญสัตว์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 993

[๑๐๙๘] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่าไหน ย่อม

เกิดปรากฏ ?

คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในรูปธาตุ

ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ โสตธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ใน

รูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ ทุกขสัจจะ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิดเหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 994

คือ อโลภะ ที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะ ที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะ ที่

เป็นวิปากเหตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิด

ปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในรูปธาตุ ในขณะ

ที่เกิด อาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้

ย่อมเกิดปรากฏ.

ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑

อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อม

เกิดปรากฏ.

[๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ

จิตเท่าไร ย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ?

ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่า

เทวดาอสัญญสัตว์.

อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ.

ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ.

สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 995

อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏ.

เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา

ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ.

อรูปธาตุ

[๑๑๐๐] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ฯลฯ จิต

เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ?

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏ อายตนะ ๒

ย่อมเกิดปรากฏ ธาตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ สัจจะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏ อินทรีย์ ๘

ย่อมเกิดปรากฏ เหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏ อาหาร ๓ ย่อมเกิดปรากฏ ผัสสะ ๑

ย่อมเกิดปรากฏ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏ.

[๑๑๐๑] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่าไหน

ย่อมเกิดปรากฏ ?

คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในอรูปธาตุ

ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิดอายตนะ ๒

เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ มโนวิญญาธาตุ ธัมมธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒

เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 996

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ ทุกขสัจจะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อม

เกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘

เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะที่เป็น

วิปากเหตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในอรูปธาตุ ใน

ขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิด

ปรากฏ ?

คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑

นี้ ย่อมเกิดปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 997

ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑

อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ ?

คือ มโนวิญญาณธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้

ย่อมเกิดปรากฏ.

ภุมมันตรวาระ

[๑๑๐๒] ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร ธรรม

ที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรม

ที่ไม่ใช่อรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกิยะ ธรรมที่เป็นโลกุตตระ.

กามาวจรภูมิ

[๑๑๐๓] ธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?

คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันใด อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูนินี้ อันนับเนื่องอยู่ในระหว่างภูมินี้ คือ

เบื้องต่ำกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเทวดาชั้นปรนิมมิต-

วสวัตดีเป็นที่สุด เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมที่เป็นกามาวจร.

ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร เป็นไฉน ?

คือ ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวร ธรรมที่เป็นโลกุตตระ

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่กามาวจร.

รูปาวจรภูมิ

ธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?

คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว

หรือผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่องอยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 998

ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด

เอาเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐาเป็นที่สุด เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นรูปาวจร.

ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร เป็นไฉน ?

คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นอรูปาวจร ธรรมที่เป็น

โลกุตตระ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่รูปาวจร.

อรูปาวจรภูมิ

ธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?

คือ จิตและเจตสิกธรรม ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ หรือผู้เกิดแล้ว

หรือผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม อันท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภูมินี้ อันนับเนื่อง

อยู่ในระหว่างภูมินี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจา-

ยตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนภพเป็นที่สุด เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอรูปาวจร.

ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร เป็นไฉน ?

คือ ธรรมที่เป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นรูปาวจร ธรรมที่เป็นโลกุต-

ตระ เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่ใช่อรูปาวจร.

ธรรมที่เป็นโลกิยะ เป็นไฉน ?

คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ อันเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะ.

ธรรมที่เป็นโลกุตตระ เป็นไฉน ?

คือ มรรค ผลแห่งมรรค และอสังขตธาตุ (คือนิพพาน) เหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมที่เป็นโลกุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 999

อุปปาทกัมมอายุปมาณวาระ

[๑๑๐๔] คำว่า เทวดา ได้แก่ เทวดา ๓ จำพวก คือ สมมติเทวดา

อุปปัตติเทวดา วิสุทธิเทวดา.

พระราชา พระเทวี พระราชกุมาร เรียกว่า สมมติเทวดา.

เหล่าเทวดาชั้นบน นับแต่เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชขึ้นไป เรียกว่า

อุปปัตติเทวดา. พระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกว่า วิสุทธิเทวดา.

กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา

[๑๑๐๕] คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม

แล้ว เกิดที่ไหน ?

คนทั้งหลาย ให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว บางคน

เข้าถึงความเป็นพวกแห่งกษัตริย์ผู้มหาศาล บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง

พราหมณ์ผู้มหาศาล บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งคหบดีผู้มหาศาล บางคน

เข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช บางคนเข้าถึงความเป็น

พวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดา

ชั้นยามา บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นดุสิต บางคนเข้าถึง

ความเป็นพวกแห่งเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี บางคนเข้าถึงความเป็นพวกแห่ง

เหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ประมาณแห่งอายุของมนุษย์

[๑๑๐๖] อายุของเหล่ามนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

คือ ประมาณ ๑๐๐ ปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้างก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1000

ประมาณแห่งอายุของเทวดาเทียบกับมนุษย์

อายุของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้น

จาตุมหาราช, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น

เป็น ๑ ปี. ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้น

จาตุมหาราช.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๙ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๑๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้น

ดาวดึงส์, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑

ปี. ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๒๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดา

ชั้นยามา, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑

ปี. ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นยามา.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1001

อายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๔๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาชั้น

ดุสิต, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น

๑ ปี, ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้นดุสิต.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๘๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดา

ชั้นนิมมานรดี, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น

เป็น ๑ ปี, ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดาชั้น

นิมมานรดี.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีประมาณเท่าไร ?

คือ ๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดา

ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน, ๑๒ เดือนโดยเดือน

นั้น เป็น ๑ ปี, ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นกำหนดอายุของเหล่าเทวดา

ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี.

พวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง

อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร เป็น

๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีมนุษย์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1002

ประมาณแห่งอายุของรูปพรหม

[๑๑๐๗] ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหม

ปาริสัชชา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ ที่ ๔ แห่งกัป [คือ ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔

แห่งกัป].

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหม

ปุโรหิตา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณกึ่งกัป.

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหา

พรหมา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๑ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๒ กัป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1003

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมา-

ณาภา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๔ กัป.

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัส-

สรา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๘ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นไปริตตสุภา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๑๖ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปป-

มาณสุกา.

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๓๒ กัป.

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน ?

ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุภ-

กิณหา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1004

อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๖๔ กัป.

ผู้เจริญจตุตถฌาน บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาเหล่าอสัญญสัตว์

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผลา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดา

ชั้นอวิหา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา บางคนไปเกิดพวก

เทวดาชั้นสุทัสสา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี บางคนไป

เกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง

อากาสานัญจายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญ-

จายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ

บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เพราะ

อารมณ์ต่างกัน เพราะมนสิการต่างกัน เพราะฉันทะต่างกัน เพราะปณิธิต่าง

กัน เพราะอธิโมกข์ต่างกัน เพราะอภินีหารต่างกัน เพราะปัญญาต่างกัน.

อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และเหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลา

มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๕๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1005

อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป.

ประมาณแห่งอายุของอรูปพรหม

อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณ

เท่าไร ?

มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ มีประมาณ

เท่าไร ?

มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณ

เท่าไร ?

มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป.

อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มี

ประมาณเท่าไร ?

มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป.

เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และ

รูปภพ หรือแม้ไปสู่ภวัคคพรหม ย่อมกลับสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์

มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหน ๆ ชื่อว่า เที่ยง

ไม่มี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1006

ไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด

รอบคอบ คำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้นจาก

ชรามรณะ ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้

หยั่งถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะ

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล.

อภิญเญยยาทิวาระ

[๑๑๐๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นอภิญเญยยธรรม,

ขันธ์ไหน เป็นปริญเญยยธรรม, ขันธ์ไหนเป็นปหาตัพพธรรม,

ขันธ์ไหน เป็นภาเวตัพพธรรม, ขันธ์ไหน เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม,

ขันธ์ไหน ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม, ขันธ์ไหน ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม,

ขันธ์ไหน ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็น

อภิญเญยยธรรม, จิตไหน เป็นปริญเญยยธรรม, จิตไหน เป็น

ปหาตัพพธรรม, จิตไหน เป็นภาเวตัพพธรรม, จิตไหน เป็น

สัจฉิกาตัพพธรรม, จิตไหน ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม, จิตไหน ไม่

ใช่ภาเวตัพพธรรม, จิตไหน ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

ขันธ์ ๔ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพ-

ธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1007

อายตนะ ๑๐ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

อายตนะ ๒ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหา-

ตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

ธาตุ ๒ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพ-

ธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพ-

ธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

สมุทยสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

มัคคสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

นิโรจสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม.

ทุกขสัจ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพ-

ธรรม ก็มี ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพ-

ธรรม ก็มี.

อินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1008

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็น

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยย-

ธรรม ไม่ไช่ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

อัญญินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.

อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่

ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม.

อินทรีย์ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ภาเว-

ตัพพธรรม ไม่ไช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหา-

ตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม ไม่ไช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็น

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

กุศลเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม เป็นภาเวตัพพธรรม มิใช่สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ภาเว-

ตัพพธรรม ก็มี.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่

สัจฉิกาตัพพธรรมก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1009

กพฬิงการาหาร เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม อาหาร ๓

เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเว-

ตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเว-

ตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

ผัสสะ ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหา-

ตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นอภิญเญยยธรรม เป็นปริญเญยย-

ธรรม เป็นปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม

ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอภิญเญยยธรรม เป็น

ปริญเญยยธรรม ไม่ใช่ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกา-

ตัพพธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นอภิญเญยธรรม เป็นปริญเญยยธรรม เป็น

ปหาตัพพธรรมก็มี เป็นภาเวตัพพธรรมก็มี เป็นสัจฉิกาตัพพธรรมก็มี ไม่ใช่

ปหาตัพพธรรม ไม่ใช่ภาเวตัพพธรรม ไม่ใช่สัจฉิกาตัพพธรรม ก็มี.

อารัมมณวาระ

[๑๑๐๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นสารัมมณธรรม, ขันธ์

ไหน เป็นอนารัมมณธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นสารัมมณ-

ธรรม, จิตไหน เป็นอนารัมมณธรรม ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1010

รูปขันธ์ เป็นอนารัมนณธรรม ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณธรรม.

อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม มนายตนะ เป็นสารัมมณธรรม

ธัมมายตนะ เป็นสารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม. ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณธรรม ธัมม-

ธาตุ เป็นสารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

สัจจะ ๒ เป็นสารัมมณธรรม. นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณธรรม

ทุกขสัจ เป็นสารัมมณธรรมก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณธรรม.

อินทรีย์ ๑๔ เป็นสารัมมณธรรม. ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณธรรม

ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

เหตุ ๙ เป็นสารัมมณธรรม.

กพฬิงการาหาร เป็นอนารัมมณธรรม อาหาร ๓ เป็นสารัมม-

ธรรม.

ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ เป็นสารัมมณ-

ธรรม.

[๑๑๑๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นสารัมมณารัมมณธรรม

ขันธ์ไหนเป็นอนารัมมณารัมมณธรรม ขันธ์ไหน เป็นอนารัมมณ-

ธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นสารัมมณารัมมธรรม จิตไหน

เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม จิตไหน เป็นอนารัมมณธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณธรรม.

ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1011

อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม.

มนายตนะ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี.

ธัมมายตนะ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณธรรม.

ธาตุ ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณา-

รัมมณธรรม ก็มี.

ธัมมธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณธรรม.

มัคคสัจ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.

สมุทยสัจ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี.

ทุกขสัจ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณธรรม.

อินทรีย์ ๕ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.

อินทรีย์ ๙ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี.

ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณธรรม ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1012

เหตุ ๙ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม

ก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นอนารัมมณธรรม.

อาหาร ๓ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม ก็มี.

ผัสสะ ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณธรรม.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็น

อนารัมมณารัมมณธรรม ก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอนารัมมณารัมมณ-

ธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นสารัมมณารัมมณธรรม ก็มี เป็นอนารัมมณา-

รัมมณธรรม ก็มี.

ทิฏฐาทิวาระ

[๑๑๑๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นทิฏฐธรรม, ขันธ์ไหน

เป็นสุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม, ขันธ์ไหน ไม่ใช่

ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม ไม่ใช่วิญญาตธรรม ฯลฯ

บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม เป็นมุตธรรม

เป็นวิญญาตธรรม, จิตไหน ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่

ใช่มุตธรรม ไม่ใช่วิญญาตธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นทิฏฐธรรม ก็มี เป็นสุตธรรม ก็มี เป็นมุตธรรมก็มี

ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1013

ขันธ์ ๔ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

รูปายตนะ เป็นทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

สัททายตนะ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

คันตายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม

ไม่ใช่สุตธรรม เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.

อายตนะ ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

รูปธาตุ เป็นทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาต-

ธรรม.

สัททธาตุ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม เป็นสุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม

เป็นมุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.

ธาตุ ๑๓ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

สัจจะ ๓ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

ทุกขสัจ เป็นทิฏฐธรรมก็มี เป็นสุตธรรมก็มี เป็นมุตธรรมก็มี

ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรมก็มี เป็นวิญญาตธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1014

อินทรีย์ ๒๒ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม

เป็นวิญญาตธรรม.

เหตุ ๙ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาต-

ธรรม.

อาหาร ๔ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

ผัสสะ ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็น

วิญญาตธรรม.

เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ไม่ใช่ทิฏฐธรรม ไม่

ใช่สุตธรรม ไม่ใช่มุตธรรม เป็นวิญญาตธรรม.

กุสลติกาทิวาระ

[๑๑๑๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นกุศล ขันธ์ไหน

เป็นอกุศล ขันธ์ไหน เป็นอัพยากตะ ฯลฯ บรรดาจิต จิตไหน

เป็นกุศล จิตไหน เป็นอกุศล จิตไหน เป็นอัพยากตะ ?

รูปขันธ์ เป็นอัพยากตะ ขันธ์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี

เป็นอัพยากตะก็มี.

อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากตะ.

อายตนะ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากตะ.

ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

สมุทยสัจ เป็นอกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1015

มัคคสัจ เป็นกุศล.

นิโรธสัจ เป็นอัพยากตะ.

ทุกขสัจ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากตะ.

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอกุศล.

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นกุศล.

อินทรีย์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นอกุศล.

กุศลเหตุ ๓ เป็นกุศล.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอัพยากตะ.

กพฬิงการาหาร เป็นอัพยากตะ

อาหาร ๓ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

สัมผัส ๖ เป็นอัพยากตะ.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นกุศลก็มีเป็นอกุศลก็มีเป็นอัพยากตะก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นอัพยากตะ.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี.

เวทนาติกวาระ

[๑๑๑๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

ขันธ์ไหน สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ขันธ์ไหน สัมปยุตด้วยอทุกขม-

สุขเวทนา ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน สัมปยุตด้วยสุขเวทนา จิต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1016

ไหน สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา จิตไหน สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-

เวทนา ?

ขันธ์ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

ขันธ์ ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี สัม-

ปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุต

ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

มนายตนะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

ธัมมายตนะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

กายวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

ก็มี.

มโนวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

ก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

ธัมมธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1017

สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

ก็มี.

นิโรจสัจ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

ทุกขสัจ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุต

ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

อินทรีย์ ๖ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

ก็มี.

อินทรีย์ ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

ชีวิตินทรีย์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนาหรือ

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

โทสะที่เป็นอกุศลเหตุ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา.

เหตุ ๗ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

โมหะที่เป็นอกุศลเหตุ สัมปยุตด้วยสุเวทนาก็มี สัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

กพฬิงการาหาร กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุต

ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1018

อาหาร ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

ผัสสะ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

กายสัมผัส สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

เวทนา ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กาย

วิญญาณ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี.

มโนวิญญาณธาตุ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

ก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.

วิปากติกวาระ

[๑๑๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นวิปากธรรม ขันธ์

ไหน เป็นวิปากธัมมธรรม ขันธ์ไหน เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม

ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นวิปากธรรม จิตไหน เป็นวิปาก-

ธัมมธรรม จิตไหน เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม. ขันธ์ ๔ เป็นวิปากธรรม

ก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อายตนะ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1019

อายตนะ ๒ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็น

เนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.

ธาตุ ๕ เป็นวิปากธรรม. มโนธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็น

เนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี

ธาตุ ๒ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็น

เนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

สัจจะ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม.

นิโรธสัจ เป็นเนววิปากนววิปากธัมมธรรม.

ทุกขสัจ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนว-

วิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๗ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.

อินทรีย์ ๓ เป็นวิปากธรรม.

อินทรีย์ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม.

อัญญินทรีย์ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๙ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนว-

วิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

เหตุ ๖ เป็นวิปากธัมมธรรม.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมม-

ธรรมก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม.

อาหาร ๓ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนว-

วิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1020

ผัสสะ ๕ เป็นวิปากธรรม.

มโนธาตุสัมผัส เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมม-

ธรรมก็มี.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรม

ก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นวิปากธรรม.

มโนธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิปากธรรมก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี.

อุปาทินนุปาทานิยติกวาระ

[๑๑๑๕] ขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม

ขันธ์ไหน เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ขันธ์ไหน เป็นอนุปา-

ทินนานุปาทานิยธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นอุปาทิน-

นุปาทานิยธรรม จิตไหน เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม จิตไหน

เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา-

นิยธรรมก็มี.

ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา-

นิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.

สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1021

อายตนะ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา-

นิยธรรมก็มี.

อายตนะ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปา-

ทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.

สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

ธาตุ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-

ธรรมก็มี.

ธาตุ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-

ธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

สมุทยสัจ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

สัจจะ ๒ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.

ทุกขสัจ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิย-

ธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.

อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา-

นิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

กุศลเหตุ ๓ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุ-

ปาทานิยธรรมก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1022

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยธรรมก็มี.

อาหาร ๓ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา

นิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

ผัสสะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม.

มโนธาตุสัมผัส เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยธรรมก็มี.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็น

อนุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิย-

ธรรม.

มโนธาตุ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทา

นิยธรรมก็มี.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทิน

นุปาทานิยธรรมก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยธรรมก็มี.

วิตักกติกวาระ

[๑๑๑๖] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นสวิตักกสวิจารธรรม

ขันธ์ไหน เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม ขันธ์ไหน เป็นอวิตักกา-

วิจารธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นสวิตักกสวิจารธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1023

จิตไหน เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม จิตไหน เป็นอวิตักกาวิจาร-

ธรรม.

รูปขันธ์ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

ขันธ์ ๓ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี

เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

สังขารขันธ์ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตต-

ธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม

หรืออวิตักกวิจารมัตตธรรม หรืออวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

มนายตนะ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

ธัมมายตนะ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตต-

ธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม

หรือเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจาร-

มัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

ธัมมธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม

ก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม

หรือเป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

สมุทยสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

นิโรธสัจ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1024

มัคคสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี

เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

ทุกขสัจ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็

มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสวิตักกสวิจารธรรม หรือ

เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม หรือเป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

อุเปกขินทรีย์ เป็นสวิตกักสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรม

ก็มี.

อินทรีย์ ๑๑ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม

ก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

เหตุ ๖ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรมก็มี

เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

อาหาร ๓ เป็นสวิตกักสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตธรรม

ก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

ผัสสะ ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม. มโนธาตุสัมผัส เป็นสวิตักก-

วิจารธรรม.

มโนธาตุสัมผัส เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักก-

วิจารมัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1025

เวทนา ๖ สัญญา ๕ เจตนา ๕ จิต ๕ เป็นอวิตักกาวิจารธรรม.

มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักกสวิจารธรรมก็มี เป็นอวิตักกวิจาร-

มัตตธรรมก็มี เป็นอวิตักกาวิจารธรรมก็มี.

รูปทุกวาระ

[๑๑๑๗] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นรูปธรรม ขันธ์ไหน

เป็นอรูปธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นรูปธรรม จิตไหน

เป็นอรูปธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นรูปธรรม.

ขันธ์ ๔ เป็นอรูปธรรม.

อายตนะ ๑๐ เป็นรูปธรรม.

มนายตนะ เป็นอรูปธรรม.

ธัมมายตนะ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.

ธาตุ ๑๐ เป็นรูปธรรม.

ธาตุ ๗ เป็นอรูปธรรม.

ธัมมธาตุ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.

สัจจะ ๓ เป็นอรูปธรรม.

ทุกขสัจ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.

อินทรีย์ ๗ เป็นรูปธรรม.

อินทรีย์ ๑๔ เป็นอรูปธรรม.

ชีวิตินทรีย์ เป็นรูปธรรมก็มี เป็นอรูปธรรมก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1026

เหตุ ๙ เป็นอรูปธรรม.

กวฬิงการาหาร เป็นรูปธรรม.

อาหาร ๓ เป็นอรูปธรรม.

ผัสสะ ๗ เป็นอรูปธรรม.

เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ เป็นอรูปธรรม.

โลกิยทุกวาระ

[๑๑๑๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหน เป็นโลกิยธรรม ขันธ์ไหน

เป็นโลกุตตรธรรม ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตไหน เป็นโลกิยธรรม

จิตไหน เป็นโลกุตตรธรรม ?

รูปขันธ์ เป็นโลกิยธรรม.

ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยธรรม.

อายตนะ ๒ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยธรรม.

ธาตุ ๒ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

สัจจะ ๒ เป็นโลกิยธรรม.

สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตรธรรม.

อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยธรรม.

อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตรธรรม.

อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1027

เหตุ ๖ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

กพฬิงการาหาร เป็นโลกิยธรรม.

อาหาร ๓ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยธรรม.

มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ จิต ๖ เป็นโลกิยธรรม.

มโนวิญญาณธาตุ เป็นโลกิยธรรมก็มี เป็นโลกุตตรธรรมก็มี.

หัวข้อธรรมที่แสดงมาคือ อภิญญา อารัมมณะ ๒ ทิฏฐะ กุศล

เวทนา วิปาก อุปาทินนะ วิตก รูป โลกิยะ ฉะนี้แล.

ธัมมหทยวิภังค์ จบบริบูรณ์

วิภังคปกรณ์จบ

อรรถกถาธัมมหทยวิภังค์

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบการกำหนด พระบาลีใน ธัมมหทยวิภังค์ อัน

เป็นอันดับต่อจาก ขุททกวัตถุวิภังค์ ดังต่อไปอย่างนี้ก่อน.

ก็ในวาระนี้ ชื่อว่า สัพพสังคาหิกวาระ คือ วาระว่าด้วยการ

รวบรวมธรรมทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งหมวดธรรม

ทั้งหลาย ๑๒ หมวด เริ่มตั้งแต่ขันธ์เป็นต้นไป.

วาระที่ ๒ ชื่อว่า อุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วย

การแสดงความเกิดขึ้นและความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ

ในกามธาตุเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1028

วาระที่ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระ คือ วาระ

ว่าด้วยการแสดงธรรมที่นับเนื่องกันและไม่นับเนื่องกัน ในกามธาตุเหล่านั้น

นั่นแหละ.

วาระที่ ๔ ชื่อว่า วิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระ คือ

วาระว่าด้วยการแสดงธรรมอันมีและไม่มีอยู่ ในขณะแห่งความเกิดขึ้นในภูมิ

ทั้ง ๓.

วาระที่ ๕ ชื่อว่า ทัสสนวาระ คือ วาระว่าด้วยการแสดงธรรม

เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปในระหว่างภูมิ.

วาระที่ ๖ ชื่อว่า อุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระ คือ วาระ

ว่าด้วยการแสดงประมาณแห่งอายุที่เกิดขึ้นเพราะกรรม ในคติทั้งหลาย.

วาระที่ ๗ ชื่อว่า อภิญเญยยาทิวาระ คือ วาระว่าด้วยธรรมที่พึง

รู้ยิ่งเป็นต้น.

วาระที่ ๘ ชื่อว่า สารัมมณานารัมมณาทิวาระ คือ วาระว่าด้วย

สารัมมณธรรม และอนารัมมณธรรมเป็นต้น.

วาระที่ ๙ ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมมีขันธ์เป็น

ต้นเหล่านั้นด้วยสามารถเเห่ง ทิฏฐะ และสุตะ เป็นต้น.

วาระที่ ๑๐ ชื่อว่า ทัสสนวาระ เพราะสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้น

ด้วยสามารถแห่งติกมาติกามีกุศลติกะเป็นต้น.

อธิบายสัพพสังคาหิกวาระที่ ๑

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระที่หนึ่ง ชื่อว่า สัพพสังคาหิกวาระ

ก่อน โดยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ด้วยวาระทั้ง ๑๐ อย่างนี้

คือ เมื่อตรัสมิได้ตรัสว่า ขันธ์หนึ่ง ฯลฯ หรือว่าขันธ์ ๔ หรือว่าขันธ์ ๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1029

(ขันธ์๖ พวกเดียรถีย์บัญญัติขึ้น) แต่ตรัสถามว่า ขันธ์ทั้งหลาย มีเท่าไรในความ

เป็นไปในระหว่างแห่งภูมิจำเดิมตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึง ภวัคคภูมิ คนอื่น

ชื่อว่า สามารถเพื่อจะกล่าวว่าขันธ์ ๕ ดังนี้ มิได้มี เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงกำลังแห่ง

พระญาณของพระองค์ จึงตรัสคำวิสัชนาอันสมควรแก่คำถามว่า ปญฺจกฺขนฺธา

ดังนี้ ก็บัณฑิตย่อมเรียกคำวิสัชนาตามคำถามในพระกำลังแห่งญาณนี้ว่า ชื่อว่า

สัพพัญญพยากรณ์ ดังนี้. ในคำทั้งหลาย แม้มีคำว่า อายตนะ ๑๒

เป็นต้นก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น

โดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธ์วิภังค์เป็นต้น.

อธิบายอุปปัตตานุปปัตติทัสสนวาระที่ ๒

ในวาระที่ ๒ ธรรมเหล่าใด ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วใน

กามธาตุในกามภพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายอันนับ

เนื่องกัน และไม่นับเนื่องกันในกามธาตุเหล่านั้นแล้ว ตรัสคำว่า กามธาตุยา

ปญฺจกฺขนฺธา เป็นต้น. แม้ในรูปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็เพราะอายตนะ

ทั้งหลายมีคันธายตนะเป็นต้น ย่อมไม่ทำกิจแห่งอายตนะเป็นต้น เพราะความไม่

มีฆานายตนะเป็นต้น ของพรหมทั้งหลายผู้นับเนื่องในรูปธาตุ ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า รูปธาตุยา ฉ อายตนานิ นว ธาตุโย ดังนี้

เป็นต้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ธาตุที่ไม่นับเนื่องด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่า

ด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ ย่อมไม่มี เหตุใดเพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสคำว่า อปริยาปนฺนธาตุยา ดังนี้ เพื่อแสดงซึ่ง

ธาตุใด ๆ อันไม่นับเนื่องแล้วนั้น ๆ นั่นแหละ จึงตรัสว่า อปริยาปนฺเน

กติ ขนฺธา เป็นต้น (แปลว่า ขันธ์ไหน ไม่นับเนื่อง).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1030

อธิบายปริยาปันนาปริยาปันนทัสสนวาระที่ ๓

ในวาระที่ ๓ คำว่า กามธาตุปริยาปนฺนา อธิบายว่า ชื่อว่า

ปริยาปันนา เพราะอรรถว่า การเสพซึ่งกามธาตุ อาศัยกามธาตุ อยู่ภายใน

กามธาตุนั้น หยั่งลงสู่กามธาตุนั้น จึงถึงซึ่งการนับว่า เป็นกามธาตุนั่นแหละ.

แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้. คำว่า ปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำกำหนด

ธรรมเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งภพ และด้วยสามารถแห่งโอกาส หรือว่าด้วย

สามารถแห่งการเกิดขึ้นแห่งสัตว์. คำว่า อปริยาปนฺนา ได้แก่ เป็นคำไม่

กำหนด เหมือนอย่างนั้น.

อธิบายวิชชมานาวิชชมานธัมมทัสสนวาระที่ ๔

ในวาระที่ ๔ คำว่า เอกาทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๑

เว้นสัททายตนะ. จริงอยู่ สัททายตนะนั้น ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ

แน่แท้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ในที่นี้พระผู้มี

พระภาคเจ้า มิได้ตรัสคติแห่งเทพและอสูร ในหมวดทั้ง ๗ ในวาระนี้ แต่ตรัส

คติแห่งคัพภเสยยกะทั้งหลายไว้โดยไม่แปลกกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

คัพภเสยยกะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นที่ใด ๆ อายตนะของเทพและอสูรทั้งหลาย

เหล่านั้นย่อมเกิดในที่นั้น ๆ. ธาตุทั้งหลาย ก็อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้

มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อธิบายทัสสนวาระที่ ๕

คำใด ที่จะพึงกล่าวในวาระที่ ๕ คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1031

อธิบายอุปาทกัมมอายุปปมาณทัสสนวาระที่ ๖

ในวาระที่ ๖ ชื่อว่า เทพ (เทวดา) เพราะย่อมบันเทิง ด้วยเบญจ-

กามคุณมีประการต่าง ๆ อันวิเศษด้วยฤทธิ์. คำว่า สมฺมติเทวา ได้แก่ เทพ

โดยสมมติของชาวโลก อย่างนี้ คือ พระราชา พระเทวี. คำว่า อุปฺปตฺติเทวา

ได้แก่เป็นเทพโดยอุปบัติ เพราะความบังเกิดขึ้นในเทวโลก. คำว่า วิสุทฺธิเทวา

ได้แก่ เป็นเทพโดยความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ควรแก่การบูชาของเทพ

ทั้งหมด. คำว่า ราชาโน ได้แก่ กษัตริย์ผู้มุรธาภิเษกแล้ว. คำว่า เทวิโย

ได้แก่เป็นมเหสีของพระราชาเหล่านั้น. คำว่า กุมารา ได้แก่ พระกุมารที่

เกิดขึ้นในพระครรภ์ของพระเทวี ของพระราชาผู้อภิเษกแล้ว.

คำว่า อุโปสถกมฺม กริตฺวา ได้แก่ เข้าจำอุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ในวัน ๑๔ ค่ำ เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะบุญกรรมมีการให้ทานเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น ย่อม

เป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม. คือว่า บุญกรรมอันตนกระทำแล้วน้อย

ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นมนุษย์มีรูปงาม ผิว่าบุญกรรมอันตนกระทำมากยิ่ง

ก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น มีประการต่าง ๆ อัน

เป็นส่วนนานัปการในเพราะบุญกรรมอันยิ่ง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งความบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่ง

บุญกรรมนั้น จึงตรัสคำว่า อปฺเปกจฺเจ คหปติมหาสาลาน (แปลว่า

บางคนเข้าถึงความเป็นคหบดีมหาศาล) เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า

มหนฺโต สาโร เอเตส พึงทราบวินิจฉัยว่า สาระ (ความมั่งคั่ง) อันใหญ่

ของบุคคลเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่ามหาสาระ (ผู้

มั่งคั่ง). ก็คำว่า มหาสาระ นี้ ท่านเปลี่ยน อักษรให้เป็น อักษรจึงเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1032

มหาสาละ. อีกอย่างหนึ่ง คหบดีทั้งหลายนั่นแหละเป็นผู้มหาศาล หรือว่า

ความมหาศาลทั้งหลาย มีอยู่ในคหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น คหบดีเหล่านั้น

จึงชื่อว่า คหบดีมหาศาล. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.

คหบดีมหาศาล

ในบุคคลเหล่านั้น ในบ้านของบุคคลเหล่าใด มีทรัพย์ต้นทุนเก็บไว้

อย่างต่ำสุด ๔๐ โกฏิ และย่อมใช้จ่ายกหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารประจำวันละ

๕ อัมพณะ ผู้นี้ ชื่อว่า คหบดีมหาศาล.

พราหมณ์มหาศาล

ก็ในบ้านของบุคคลใด มีทรัพย์ต้นทุนอย่างต่ำสุด ๘๐ โกฏิ และย่อม

ใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ ๑๐ อัมพณะ บุคคลนี้ ชื่อว่า พราหมณ์

มหาศาล.

กษัตริย์มหาศาล

ในพระราชมณเฑียรของพระราชาองค์ใด มีพระราชทรัพย์คงพระคลัง

อย่างต่ำสุด ๑๐๐ โกฏิ และย่อมใช้กหาปณะทั้งหลายปรุงอาหารวันละ ๒๐

อัมพณะ พระราชานี้ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล.

คำว่า สหพฺยต ได้แก่ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกัน (เป็นสหายกัน).

อธิบายว่า เกิดเสมอกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1033

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า จาตุมหาราชิกาน เป็นต้น เทวดาทั้งหลาย

ชื่อว่า จาตุมมหาราชิกา ย่อมมี ณ ท่ามกลางแห่งภูเขา ชื่อ สิเนรุ. ในเทวดา

เหล่านั้นบางพวกดำรงอยู่ที่ภูเขา บางพวกดำรงอยู่ที่อากาศ. ลำดับแห่งเทวดา

เหล่านั้นถึงภูเขาจักรวาล. เทวดาเหล่านั้น คือ ชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะ ชื่อว่า

มโนปโทสิกะ ชื่อว่าสีตวลาหก ชื่อว่าอุณหวลาหก ชื่อว่าจันทิมเทวบุตร ชื่อ

ว่าสุริยเทวบุตร แม้ทั้งปวงดำรงอยู่ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาเท่านั้น.

ชนทั้งหลาย ๓๓ คน บังเกิดแล้วในเทวโลกนั้น เพราะเหตุนั้น

เทวโลกนั้น จึงชื่อว่า ดาวดึงส์ (แปลว่า เทวโลกเป็นที่อยู่ของเทวดา ๓๓ ตน).

ก็เทวดาแม้เหล่านั้นดำรงอยู่ที่ภูเขาก็มี ดำรงอยู่ที่อากาศก็มี. อันดับแห่งเทวดา

เหล่านั้น ก็ถึงภูเขาจักรวาล. อันดับของเทวดายามาเป็นต้น ก็เหมือนกัน จริง

อยู่ แม้ในเทวโลกเดียว อันดับของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าไม่ถึงภูเขาจักรวาล

ย่อมไม่มี.

ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ยังชีวิตให้ดำเนินไป ยังชีวิตให้

เป็นไปทั่ว ยังชีวิตให้ถึงพร้อมซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ เพราะเหตุนั้น เทวดา

เหล่านั้น จึงชื่อว่า ยามา.

เทวดาเหล่าใดเป็นผู้ยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่า

นั้น จึงชื่อว่า ดุสิต.

เทวดาเหล่าใดเนรมิตแล้ว ๆ ย่อมยินดีในการบริโภคกาม (กามโภค)

ตามชอบใจในเวลาที่ปรารถนาเพื่อยินดีอันยิ่ง โดยความเป็นอารมณ์อันตกแต่ง

ตามปกติ เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า นิมมานรดี.

เทวดาเหล่าใด ทราบซึ่งอาจาระแห่งจิตแล้วยังอำนาจให้เป็นไปอยู่ใน

โภคะทั้งหลายอันผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เพราะเหตุนั้น เทวดาเหล่านั้น จึง

ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1034

อธิบายอายุของมนุษย์และเทวดา

คำว่า อปฺป วา ภิยฺโย อธิบายว่า อายุของเหล่ามนุษย์นั้น ไม่ถึง

๒๐๐ ปี คือว่ามีอายุร้อยปี เกิน ๒๐ ปี หรือว่า ๓๐, ๔๐, ๕๐, ปี หรือว่า ๖๐ ปี

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺป (อายุน้อย) ดังนี้ เพราะ

ไม่ถึง ๒๐๐ ปี.

พึงทราบ วินิจฉัยในพรหมปาริสัชชา เป็นต้น พรหมทั้งหลาย

เป็นผู้แวดล้อมคือ เพราะเป็นบริวารผู้บำเรอมหาพรหม. เหตุนั้น ชื่อว่า

พรหมปาริสัชชา. ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา เพราะตั้งอยู่ในความเป็นปุโรหิต

(อาจารย์) ของพรหมเหล่านั้น. ชื่อว่า มหาพรหมา เพราะเป็นพรหมใหญ่

โดยความเป็นผู้มีวรรณะงามและความเป็นผู้มีอายุยืน. ชนแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้

ย่อมอยู่ในปฐมฌานภูมิอันเป็นพื้นเดียวกัน. ก็แต่ว่าอายุแห่งพรหมเหล่านั้น

ต่างกัน.

พรหมที่ชื่อว่า ปริตตาภา เพราะมีรัศมีน้อย. ชื่อว่า อัปปมาณาภา

เพราะมีรัศมีหาประมาณมิได้. ที่ชื่อว่า อาภัสสรา เพราะรัศมีจากสรีระของ

พรหมเหล่านั้นเป็นราวกะเปลวไฟจากประทีบมีด้ามซ่านไป ซ่านออกไปสู่ที่

ต่าง ๆ ราวกะถึงการเจาะทะลุไป. ชนทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ ย่อมอยู่ระดับเดียวกัน

ในทุติยฌานภูมิ. ก็แต่ว่าการกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.

พรหมที่ชื่อว่า ปริตตสุภา เพระความงามของพรหมเหล่านั้นน้อย.

ชื่อว่า อัปปมาณสุภา เพราะความงามของพรหมเหล่านั้นไม่มีประมาณ. ชื่อ

ว่า สุภกิณหา เพราะพรหมเหล่านั้น มีความงามเดียรดาษกว้างขวาง มีรัศมี

แห่งสรีระงดงาม มีสีแห่งกายเป็นอันเดียวกัน มีสิริดุจแท่งทองคำรุ่งเรืองสุกใส

ตั้งอยู่ในหีบทองคำฉะนั้น. ชนเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ ย่อมอยู่ในตติยฌานภูมิอันเป็น

ระดับเดียวกัน. แต่ว่า การกำหนดอายุของพรหมเหล่านั้นต่างกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1035

ว่า อารมฺมณนานตฺตตา (แปลว่า เพราะอารมณ์ที่ต่างกัน) ได้

แก่ความเป็นผู้มีอารมณ์ต่างกัน. ในคำว่า มนสิการนานตฺตตา เป็นต้น

(แปลว่า เพราะมนสิการที่ต่างกัน) ก็นัยนี้. บัณฑิตพึงทราบในการต่างกัน

แห่งอารมณ์นั้นดังนี้ คือ ปฐวีกสิณ ย่อมเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ฯลฯ

โอทาตกสิณเป็นอารมณ์ของบุคคลคนหนึ่ง ดังนี้ ชื่อว่า อารัมมณนานัตตะ ซึ่ง

แปลว่า มีอารมณ์ต่างกัน. คำว่าบุคคลหนึ่งมีฉันทะในปฐวีกสิณ ฯลฯ บุคคล

หนึ่งมีฉันทะในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีฉันทะต่างกัน คำว่า

บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมกระทำการปรารถนาในปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมกระทำ

ความปรารถนาในโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปณิธิต่างกัน. คำว่า

ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่งย่อมน้อมใจไปใน

โอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความน้อมใจเชื่อต่างกัน. คำว่า บุคคลผู้

หนึ่งย่อมยังจิตให้มุ่งไปด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ฯลฯ ผู้หนึ่ง ย่อมให้จิคมุ่งไป

ด้วยสามารถแห่งโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีอภินีหารต่างกัน. คำว่า

บุคคลผู้หนึ่งมีปัญญาสามารถกำหนดปถวีกสิณ ฯลฯ คนหนึ่งมีปัญญาสามารถ

กำหนดโอทาตกสิณ นี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีปัญญาต่างกัน.

ในอธิการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอารมณ์และมนสิการไว้โดย

ส่วนเบื้องต้น. ฉันทะ ปณิธิ ความน้อมใจเชื่อ และอภินีหาร ย่อมเป็นไปใน

อัปปนาบ้าง ในอุปจาระบ้าง. ส่วนปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

มิสสกะ คือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.

คำว่า อสญฺสตฺตาน ได้แก่ สัตว์ที่เว้นจากสัญญา. จริงอยู่ สมณะ

พราหมณ์บางพวกบวชในลัทธิต่าง ๆ เห็นโทษในจิตว่า เพราะอาศัยจิต ชื่อว่า

ความยินดี ความยินร้าย และความหลงใหล จึงมี ดังนี้ แล้วจึงยัง สัญญา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1036

วิราคะ (ความหมดความยินดีในสัญญา) ให้เกิด มนสิการว่า ชื่อว่า ความ

เป็นผู้ไม่มีจิต เป็นสิ่งที่พอใจ และนั่นเป็นทิฏฐธัมมนิพพาน ดังนี้ แล้วเจริญ

สมาบัติเข้าถึงสัญญาวิราคะนั้น จึงเกิดขึ้นในภพที่ไม่มีสัญญานั้น. ในขณะแห่ง

การเกิดของอสัญญสัตตพรหมเหล่านั้น รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น.

พรหมเหล่านั้นเมื่อยืนเกิด ก็ย่อมยืนอยู่นั่นแหละ เมื่อนั่งเกิด ก็ย่อมนั่งอยู่

นั่นแหละ เมื่อนอนเกิด ก็ย่อมนอนอยู่นั่นแหละ เป็นดังเช่นรูปจิตรกรรม

(รูปวาด) ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอด ๕๐๐ กัป ในที่สุดแห่งพรหมเหล่านั้น รูป

กายนั้น ย่อมอันตรธานไป กามาวจรสัญญา ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น

เทวดาเหล่านั้นย่อมปรากฏว่า เคลื่อนแล้วจากกายนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่ง

สัญญาในโลกนี้ดังนี้.

พรหมเหล่านั้น ที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะผลของเขาเหล่านั้น

ไพบูลย์. ชื่อว่า อวิหา เพราะย่อมไม่เสื่อม ไม่สูญไปจากสมาบัติของตน.

ชื่อว่า อตัปปา เพราะย่อมไม่ยังสัตว์ไร ๆ ให้เดือนร้อน. ชื่อว่า สุทัสสา

เพราะอรรถว่า เห็นดี มีรูปงามน่าเลื่อมใส. ชื่อว่า สุทัสสี เพราะเทวดา

เหล่านั้น ย่อมเห็นด้วยดี หรือว่า การเห็นของเทวดาเหล่านั้นดี. ชื่อว่า

อกนิฏฐา เพราะเป็นผู้เจริญที่สุด ด้วยคุณทั้งหมดทีเดียว และด้วยภวสมบัติ

สำหรับผู้ที่มีคุณธรรมน้อย ย่อมไม่มีในที่นี้.

คำว่า อากาสานญฺจายตน อุปคตา ได้แก่ เข้าถึงอากาสานัญ-

จายตนะ. ในคำแม้นอกนี้ก็นัยนี้แหละ.

ภูมิคือ กามาวจร ๖ พรหมโลก ๙ สุทธาวาส ๕ อรูป ๔ อสัญญสัตตา

๑ และเวหัปผลา ๑ รวมเป็นเทวโลก ๒๖ ภูมิ และมนุษยโลกอีกหนึ่ง จึงเป็น

๒๗ ภูมิด้วยประการฉะนี้. บรรดาภูมิทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง

กำหนดอายุของมนุษย์และเทวดา มิได้ทรงกำหนดอายุสัตว์ในอบายภูมิ ๔ และ

ในภุมมเทวดาทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1037

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงมิได้ทรงกำหนดอายุในอบาย ๔ และ

ภุมมเทวดาเหล่านั้น.

ตอบว่า ในนรกก่อน กรรมเท่านั้น เป็นประมาณ คือว่า กรรมยัง

ไม่สิ้นไปตราบใด ก็ย่อมไหม้อยู่ในนรกตราบนั้น ในอบายที่เหลือก็เหมือนกัน.

กรรมนั่นแหละเป็นประมาณแม้ของภุมมเทวดาทั้งหลาย. จริงอยู่ เทวดาบาง

พวกเกิดแล้วในภูมินั้น ย่อมตั้งอยู่เพียง ๗ วัน บางพวกตั้งอยู่กึ่งเดือน บางพวก

ตั้งอยู่หนึ่งเดือน แม้ตั้งอยู่ถึงหนึ่งกัปก็มี. ในเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น

พระโสดาบันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ในมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุซึ่ง

สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง. บรรดาพระอริยะเหล่านั้น

พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต พระขีณาสพทั้งหลายเท่านั้น ย่อม

ปรินิพพาน หรือว่า ย่อมบวช. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่า

ธรรมดาว่าพระอรหัตมีคุณอันประเสริฐที่สุด แต่เพศคฤหัสถ์เป็นเพศต่ำ. เพศ

แห่งคฤหัสถ์จึงไม่อาจเพื่อทรงคุณอันสูงสุดนั้น เพราะความเป็นเพศต่ำ. เพราะ

ฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงใคร่เพื่อจะปรินิพพาน หรือว่าเพื่อจะบวช.

ส่วนภุมมเทวดา แม้บรรลุพระอรหัต แล้วย่อมดำรงอยู่ตลอด

ชีวิต. พระโสดาบันและพระสกทาคามีนั่นแหละ ในเทวดากามาวจร

๖ ชั้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลแห่งชีวิต. พระอนาคามีควรไปสู่

รูปภพ. แต่พระขีณาสพ ควรเพื่อปรินิพพาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความไม่มีโอกาส (ที่ว่าง) เพื่อหลีกเร้น. พระอริยะ

แม้ทั้งหมดในรูปาวจร และอรูปาวจร ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต. พระโสดาบัน

พระสกทาคามี ผู้บังเกิดในรูปาวจรนั้น ย่อมไม่กลับมาในโลกนี้อีก ย่อมปริ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1038

นิพพานในภพนั้นนั่นแหละ. เพระว่า พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่า

นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่กลับมาเพราะฌานลาภี (หมายถึงพระโสดาบัน พระ-

สกทาคามีในรูปภพมีชื่อว่า ฌานลาภีอนาคามีผู้ไม่กลับมาเพราะได้ฌาน)

ถามว่า ก็อะไร ว ย่อมกำหนดการได้สมาบัติ ๘ ?

ตอบว่า ฌานอันคล่องแคล่ว ย่อมกำหนด คือว่า ฌานใดของ

บุคคลนั้นคล่องแคล่ว เพราะความที่ฌานคล่องแคล่วนั้น สมาบัติ ๘ จึงเกิดขึ้น.

ถามว่า ก็อะไร ย่อมกำหนดฌานทั้งหลายทั้งปวงอันคล่องแคล่ว ?

ตอบว่า ความปรารถนากำหนด คือบุคคลใด ย่อมปรารถนาการ

เกิดขึ้นในที่ใด ย่อมทำฌานแล้วเกิดขึ้นในที่นั้นนั่นแหละ.

ถามว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี อะไร ย่อมกำหนด ?

ตอบว่า สมาบัติอันผู้นั้นเข้าถึงแล้วในสมัยใกล้มรณะย่อมกำหนด.

ถามว่า สมาบัติที่ถึงพร้อมแล้วในสมัยใกล้มรณะไม่มี อะไร ย่อม

กำหนดเล่า ?

ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ. จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อม

บังเกิดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนภพโดยส่วนเดียว. ความบังเกิดขึ้นในที่นั้น

นั่นแหละก็ดี การเกิดขึ้นในเบื้องบนก็ดี ย่อมมีแก่พระอริยสาวกผู้บังเกิดใน

พรหมโลก ๙ หามีการเกิดขึ้นในภพเบื้องต่ำไม่. ส่วนการเกิดในภพนั้นก็ดี

การเกิดในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี การเกิดในภพเบื้องต่ำก็ดี ย่อมมีแก่ปุถุชนทั้งหลาย

ความเกิดขึ้นในภพนั้นก็ดี การเกิดขึ้นในภพที่สูงขึ้นไปก็ดี ย่อมมีแก่พระอริย-

สาวกในสัทธาวาส ๕ และในอรูปภพ ๔. พระอนาคามีผู้บังเกิดในปฐมฌานภูมิ

ชำระพรหมโลก ๙ ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นสูงสุดแล้ว จึงปรินิพพาน-

เทวโลกทั้ง ๓ เหล่านั้น คือ เวหัปผลา อกนิฏฐา เนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1039

ชื่อว่า ภพอันประเสริฐที่สุด. พระอนาคามีในภพทั้ง ๓ เหล่านี้ ย่อมไม่ไปสู่ภพ

เบื้องบนและไม่ลงมาสู่ภพเบื้องต่ำ ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้

นี้เป็นปกิณณกะในวาระที่ ๖ แล.

อภิญเญยยาทิวาระที่ ๗

ในวาระที่ ๗ บัณฑิตพึงทราบความเป็นแห่งอภิญเญยยะ (ธรรม

ที่พึงรู้ยิ่ง หรือธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) ด้วยสามารถแห่งการรู้ยิ่งซึ่งการกำหนดธรรม

อันเป็นไปกับด้วยลักษณะ. ความเป็นแห่งปริญเญยยะ (แปลว่าธรรมควร

กำหนดรู้) พึงทราบด้วยสามารถแห่งปริญญาทั้งหลาย คือ ญาตปริญญา

ตีรณปริญญา ปหานปริญญา. ก็ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่ง

ญาตปริญญาและตีรณปริญญาเท่านั้น. ในคำว่า รูปขันธ์เป็นอภิญเญยยะ

เป็นปริญเญยยะ ไม่ใช่ปหาตัพพะ เป็นต้น นั่นแหละ.

สมุทยสัจจะ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งปหานปริญญา ในคำว่า

สมุทยสัจจะ เป็นอภิญเญยยะ เป็นปริญเญยยะ เป็นปหาตัพพะ

เป็นต้น.

อธิบายสารัมมณานารัมมณาทิวาระที่ ๘

ในวาระที่ ๘ บัณฑิตพึงทราบ ความไม่มีอารมณ์ (อนารัมมณะ)

และมีอารมณ์ (อารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น

และแห่งวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น.

อธิบายทัสสนวาระที่ ๙

ในวาระที่ ๙ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1040

อธิบายทัสสนวาระที่ ๑๐

แม้ในวาระที่ ๑๐ คำใด ที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้น ทั้งหมด ข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในวาระว่าด้วยปัญหาปุจฉกะนั้น ๆ นั่นแล.

วรรณนาธัมมหทยวิภังค์ในสัมโมหวิในทนีอรรถกถาวิภังค์

จบเพียงเท่านี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1041

นิคมคาถา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเคารพ

ธรรม ทรงมีหมู่ทวยเทพนับพันห้อมล้อม

แล้วทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เทพทั้งหลาย

เคารพธรรม ในเทพนคร.

ทรงเป็นนาถะพระองค์เดียวไม่มีบุรุษ

เป็นสหาย ตรัสวิภังคปกรณ์อันเป็นปกรณ์ที่

๒ มีคุณบริสุทธิ์ประดับด้วยวิภังค์ ๑๘ วิภังค์

อันใดไว้

เพื่อประกาศอรรถแห่งปกรณ์นั้น

ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า พุทธโฆสะ ผู้อันพระสงฆ์-

เถระนิมนต์แล้ว ด้วยคุณอันตั้งอยู่ คือ

มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว มีคติไม่ชักช้า มี

ความรู้ดี ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงถือเอา

อรรถกถาเริ่มรจนาในอรรถอันละเอียดอ่อน

ด้วยดี ชื่อว่า สัมโมหวิโนทนี เพื่อบรรเทา

โมหะความหลงมาอธิบาย สัมโมหวิโนทนีนี้

รวมเอาสาระแห่งอรรถกถาของอาจารย์ใน

ปางก่อนไว้ บัดนี้ปกรณ์นี้ถึงที่สุดแล้วด้วย

พระบาลี ๔๐ ภาณวาร ปราศจากอันตรายแล้ว

ฉันใด ขอมโนรถแม้ทั้งปวงของสรรพสัตว์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1042

ทั้งหลาย จงปราศจากมลทินทั้งหลาย จง

สำเร็จสมปณิธานความปรารถนาฉันนั้น เถิด.

ก็บุญใดที่ข้าพเจ้ารจนาปกรณ์นี้ให้

สำเร็จแล้ว เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัท-

ธรรม ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ขอสัตว์

โลกพร้อมทั้งเทวโลก จงได้รับบุญนั้นด้วย.

ขอพระสัทธรรมจงตั้งอยู่ดีตลอด

กาลนาน ขอสัตว์โลกผู้ยินดียิ่งในพระธรรม

จงเจริญทุกเมื่อ และขอชนบททั้งหลาย

จงถึงพร้อมด้วยความสุขมีความเกษมสำราญ

มีภิกษาหาได้ง่ายเป็นต้น ตลอดกาลเป็น

นิตย์.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ อรรถกถาวิภังคปกรณ์ ชื่อว่าสัมโมหวิโนทนี

นี้ อันพระเถระผู้อันครูทั้งหลายเรียกว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยศรัทธา

พุทธิ (ความรู้) และวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้ยังเหตุแห่งคุณมีศีล อาจาระ

อัชชวะ (ความซื่อตรง) และมัททวะ (ความอ่อนโยน) เป็นต้นให้ตั้งขึ้นแล้ว

ผู้สามารถในการสางความรกชัฏ (คือวินิจฉัยข้อความที่ยุ่งยาก) ในความแตก

ต่างกันแห่งลัทธิของตนและผู้อื่น ผู้ประกอบด้วยความสว่างแห่งปัญญา ผู้มี

กาลังแห่งญาณอันไม่ข้องขัดในสัตถุศาสน์ สามารถแยกแยะการศึกษาพระไตร-

ปิฎกพร้อมทังอรรถกถา ผู้เป็นมหาไวยากรณ์ (คือเป็นผู้อธิบายอันกว้างขวาง)

ผู้ประกอบด้วยความงามแห่งถ้อยคำอัน ไพเราะเป็นเลิศทั้งเปล่งออกไปได้คล่อง

ซึ่งเกิดแก่กรณสมบัติ เป็นนักพูดชั้นเยี่ยมโดยพูดได้ทั้งผูกและแก้ ผู้เป็นกวี-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1043

ใหญ่ ผู้เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร ซึ่งเป็นประ-

ทีปแห่งเถรวงศ์ มีความรู้อันตั้งมั่นด้วยดีในอุตตริมนุษยธรรม อันประดับ

ด้วยคุณมีอภิญญา ๖ เป็นต้น แตกฉานในปฏิสัมภิทาแวดลอมแล้ว ผู้มีความ

รู้หมดจดไพบูลย์เป็นผู้กระทำปกรณ์นี้ไว้.

ขอปกรณ์ อันแสดงนัยแห่งปัญญา

วิสุทธินี้ จงตั้งอยู่ในโลก เพื่อกุลบุตรทั้งหลาย

ผู้แสวงหาธรรมเครื่องสลัดตนออกจากโลก

ตราบเท่าที่พระนามว่า พุทโธ ขององค์

พระโลกเชษฐ์มหาฤาษีเจ้า ผู้มีจิตบริสุทธิ์

ผู้คงที่ ยังเป็นไปในโลก เทอญ.

ขุนเขายังดำรงอยู่ตราบใด พระจันทร์ยังส่องแสงอยู่เพียงใด ขอ

พระสัทธรรมของพระโคดม ผู้ทรงมีพระยศใหญ่ จงดำรงอยู่เพียงนั้น

เทอญ.

จบบริบูรณ์

๑. ตั้งแต่ คำว่า ซึ่งเป็นประทีปแห่งเถรวงศ์...ฯลฯ...ปฏิสัมภิทาแตกฉาน เป็นคำขยายความ

แสดงคุณสมบัติของพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร มิใช่ของผู้รจนาคัมภีร์นี้.