ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ธรรมสังคณี

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บทภาชนีย์อกุศลธรรม

อกุศลจิต ๑๒

จิตดวงที่ ๑

[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคา วิริยินทรีย์

สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ

โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ก็หรือว่านามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๒๗๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น.

[๒๗๗] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ-

ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย

อารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา

มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

กถาแสดงธัมมุทเทสวารในบทอกุศล

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกแสดงบทอกุศล จึงทรง

เริ่มพระดำรัสว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน)

ดังนี้เป็นต้น.

ในคำว่าอกุศลเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบประเภทวาระมีการกำหนด

ธรรมเป็นต้น และการวินิจฉัยเนื้อความแห่งบทที่มาแล้วในหนหลัง โดยนัยที่

กล่าวแล้วนั่นแหละ ก็ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่เพียงต่างกันในที่นั้น ๆ เท่านั้น

ในอธิการแห่งอกุศลนั้น จะวินิจฉัยในการกำหนดสมัยก่อน เพราะอกุศลไม่ต่าง

ภูมิกันเหมือนกุศล ฉะนั้น อกุศลนี้แม้เป็นกามาวจรอย่างเดียว พระองค์ก็มิได้

ตรัสว่า เป็นกามาวจร.

วินิจฉัยคำว่าทิฏฐิคตสัมปยุต

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ทิฏฺิคตสมฺปยุตฺต นี้ต่อไป.

ทิฏฐินั่นแหละชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เหมือนในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า

คูถคต (คูถ) มุตฺตคต (มูตร) ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ

เพราะอรรถว่า ทิฏฐิคตะนี้เป็นเพียงการเป็นไปของทิฏฐิเท่านั้น เพราะไม่มี

สิ่งที่ควรรู้ หรือเพราะไม่มีสิ่งที่ควรดำเนินไป. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตสัมปยุต

เพราะอรรถว่า สัมปยุตด้วยทิฏฐินั้น.

ในทิฏฐิคตสัมปยุตจิตนั้น บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้น แห่งความ

เห็นผิด กล่าวคือทิฏฐิคตะนี้ ด้วยเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

อสทฺธทมสวน การฟังแต่อสัทธรรม

อกลฺยาณมิตฺตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

อริยาน อทสฺสนกามตาทีนิ ความเป็นผู้ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ

เป็นต้น.

อโยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย.

จริงอยู่ ความเห็นอันนั่น พึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วยการฟังเว้นจาก

ความใคร่ครวญก้าวล่วงความเป็นกลาง มีมานะหลายอย่างเป็นประธานแห่ง

อสัทธรรมที่ประกอบด้วยวาทะอันผิดเหล่านั้น ด้วยความเป็นผู้มีอกัลยาณมิตร

กล่าวคือความเป็นผู้ซ่องเสพ มิตรชั่วผู้มีทิฏฐิวิบัติเหล่านั้น ด้วยไม่ต้องการเห็น

พระอริยะทั้งหลาย และสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ด้วยความเป็น

ผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมเเละสัปปุริสธรรมอันต่างด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

ด้วยความไม่มีวินัยกล่าวคือการแตกแห่งสังวรในอริยธรรม และสัปปุริสธรรม

อันมีปาฏิโมกขสังวร อินทรียสังวร สติสังวร ญาณสังวร และปหานสังวร

ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคายด้วยเหตุเหล่านั้นนั่นแหละ

อันตนอบรมแล้ว และเพราะความเป็นผู้ขวนขวายในมงคลตื่นข่าวเป็นต้น.

ก็พึงทราบความที่จิตนี้เป็นอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยธัมมุทเทสมีผัสสะเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งธัมมุทเทส (ข้อธรรม) ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

บทว่า ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับอกุศลจิต. แม้ในธรรม

มีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ ธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้แตกต่างจากธรรมที่

แสดงไว้ก่อนเพียงเป็นอกุศลเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา โหติ (เอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี) ความว่า

เอกัคคตา (สมาธิจิต) ย่อมมี เพราะความไม่ส่งจิตไปอื่นแม้ในปาณาติบาต

เป็นต้น. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่นไม่ซัดส่ายจึงยังศัสตราให้ตก

ไปในสรีระของสัตว์ทั้งหลายไม่ผิดพลาด เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมนำวัตถุอัน

เป็นของมีอยู่ของคนอื่นไป ย่อมประพฤติมิจฉาจารด้วยจิตมีสภาพยินดีอย่างหนึ่ง

เอกัคคตาแห่งจิตย่อมมี แม้ในเพราะประพฤติอกุศล ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมา

แต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเอง

หรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น.

มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-

นิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา)

มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺานา) มีความ

ไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยาน อทสฺสน-

กามตาทิปทฏฺานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น

มีความต่างกันเพียงบทว่า มิจฺฉา เท่านั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ในอธิการแห่งกุศลนั้นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

เนื้อความแห่งพละในข้อว่า อหิริกพละ อโนตตัปปพละ นี้

จักแจ่มแจ้งในนิทเทสวาร ส่วนในคำนอกนี้ พึงทราบวจนัตถะดังต่อไปนี้.

บุคคลชื่อว่า อหิริโก เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ละอาย. ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่

ละอาย ชื่อว่า อหิริก* (ความเป็นผู้ไม่ละอาย). สภาวธรรมที่ไม่ใช่โอตตัปปะ

ชื่อว่า อโนตัปปะ (ความเป็นผู้ไม่กลัว) ในธรรมทั้งสองเหล่านั้น อหิริกะ

มีการไม่รังเกียจกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ. หรือมีความไม่ละอายกายทุจริต

เป็นต้นเป็นลักษณะ (กายทุจฺจริตาทีหิ อชิคุจฺฉนลกฺขณ อลชฺชนลกฺขณ

วา). อโนตตัปปะ มีความไม่กลัวกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละเป็น

ลักษณะ หรือมีความไม่สะดุ้งกายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเป็นลักษณะ (เตเหว

อสารชฺชกฺขณ อนุตฺตาสนลกฺขณ วา). พละคืออหิริกะนั่นแหละ ชื่อว่า

อหิรกพละ. พละคืออโนตตัปปะนั่นแหละ ชื่อว่า อโนตัปปพละ. เนื้อความ

สังเขปในอธิการแห่งอกุศลนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบด้วยสามารถ

ความเป็นปฏิปักษ์กันตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนอยากได้

หรืออยากได้เอง หรือเป็นเพียงอยากได้เท่านั้น. ที่ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุให้คนหลง หรือหลงเอง หรือเป็นเพียงความหลงเท่านั้น. บรรดาสภาวะ

ทั้งสองเหล่านั้น โลภะ มีการยึดอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมณคฺคหณ-

ลกฺขโณ) เหมือนลิงติดตัง มีความคิดในอารมณ์เป็นรส (อภิสครโส)

เหมือนชิ้นเนื้อที่ใส่ในกระเบื้องร้อน มีการไม่สละไปเป็นปัจจุปัฏฐาน (อปริ-

จาคปจฺจุปฏฺาโน) เหมือนเปื้อนสีน้ำมันและยาหยอดตา มีความเห็นชอบ

ใจในธรรมเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นปทัฏฐาน (สญฺโชนิยธมฺเมสุ

อสฺสาททสฺสนปทฏฺาโน) เมื่อเจริญขึ้นโดยความเป็นแม่น้ำ คือ ตัณหา

* บทนี้เป็น อริริกฺก ท่านลบกะอักษรจึงเป็นอหิริก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

พึงทราบว่า ย่อมพาไปสู่อบายเท่านั้น เหมือนแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ย่อม

ไหลพัดพาไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น.

โมหะ มีความมืดมนแห่งจิตเป็นลักษณะ หรือมีความไม่รู้เป็นลักษณะ

(จิตฺตสฺส อนฺธภาวลกฺขโณ อญฺาณลกฺขโน วา) มีความไม่แทงตลอด

เป็นรส (อสมฺปฏิเวธรโส) หรือมีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์เป็นรส

(อารมมณสภาวจฺฉาทนรโส วา) มีการไม่ปฏิบัติโดยชอบเป็นปัจจุปัฏฐาน

(อสมฺมาปฏิปตฺติปจฺจุปฏฺาโน) หรือมีความมืดมนเป็นปัจจุปัฏฐาน

(อนฺธการปจจุปฏฺาโน วา) มีการทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคายเป็น

ปทัฏฐาน (อโยนิโสมนสการปทฏฺาโน) พึงทราบว่า เป็นมูลของอกุศล

ธรรมทั้งปวง.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเพ่งเฉพาะ

หรือย่อมเพ่งเฉพาะเอง หรือธรรมนี้เป็นเพียงการเพ่งเฉพาะเท่านั้น. อภิชฌา

นั้นมีความปรารถนากระทำสมบัติของผู้อื่นให้เป็นของตนเป็นลักษณะ (ปรสมฺ-

ปตฺตีน สกกรณอิจฺฉาลกฺขณา) มีความเกี่ยวข้องโดยอาการอย่างนั้นเป็นรส

(เตนากาเรน ปสงฺคภาวรสา) มีความมุ่งหมายแต่สมบัติของผู้อื่นเป็น

ปัจจุปัฏฐาน (ปรสมฺปตฺติอภิมุขภาวปจฺจุปฏฺานา) มีความยินดียิ่งใน

สมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปรสมฺปตฺตีสุ อภิรติปทฏฺานา). จริงอยู่

อภิชฌานั้นย่อมปรากฏมุ่งหน้าแต่สมบัติของผู้อื่นเท่านั้น ก็เมื่อความยินดียิ่งมีอยู่

อภิชฌานั้นก็ย่อมเป็นไปในสมบัติของผู้อื่น พึงทราบว่า เหมือนจิตเหยียดมือไป

ในสมบัติเหล่านั้น ฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า สมถะย่อมมี ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

สภาวธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบความฟุ้งซ่านในกิจอื่น ๆ

ที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองจิตให้เป็นไปในอกุศล. ชื่อว่า อวิกเขปะ

เพราะไม่ซัดส่ายไป. ในอกุศลจิตนี้ ไม่ถือเอาธรรมเหล่านี้คือ ศรัทธา สติ

ปัญญา และธรรม ๖ คู่ เพราะเหตุไร ? เพราะขึ้นชื่อว่า ความเลื่อมใสใน

จิตที่ไม่มีศรัทธาหามีได้ไม่ ฉะนั้น เบื้องต้นนี้จึงไม่ถือเอาศรัทธา. ถามว่า

ก็คนมีทิฏฐิทั้งหลายไม่เชื่อศาสดาของตน ๆ หรือ ? ตอบว่า เชื่อ. แต่การ

เชื่อนั้นไม่ชื่อว่าเป็นศรัทธา คำเชื่อนี้เป็นเพียงการรับคำเท่านั้น ว่าโดยอรรถ

ความเชื่อนั้นย่อมเป็นความเชื่อที่ปราศจากความใคร่ครวญบ้าง เป็นทิฏฐิบ้าง.

อนึ่ง สติย่อมไม่มีในอกุศลจิตเพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งสติ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงไม่ถือเอา. ถามว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่ระลึกถึงการงาน

อันตนกระทำบ้างหรือ ? ตอบว่า ย่อมระลึก แต่การระลึกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสติ

เพราะอาการระลึกนั้น เป็นความประพฤติของอกุศลจิตอย่างเดียว ฉะนั้น จึงไม่

ทรงถือเอาสติ. ถามว่า เมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในพระสูตร

จึงตรัสว่า มิจฉาสติ เป็นความระลึกเล่า ? ตอบว่า เพื่อจะทรงยังมิจฉัตตะ

แห่งมิจฉามรรคให้บริบูรณ์ เพราะอกุศลขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะเว้นจากสติ

และเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ จึงทรงทำเทศนามิจฉาสติไหวในพระสูตรนั้นโดยปริยาย

แต่มิจฉาสตินั้นว่าโดยนิปปริยายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงถือเอา.

อนึ่ง ปัญญา ย่อมไม่มีในจิตของอันธพาลนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่

ทรงถือเอา. ถามว่า ความรู้ (ปญฺา) เป็นเครื่องหลอกลวงของบุคคลผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐิ ไม่มีหรือ ? ตอบว่า มีอยู่ แต่ความรู้เป็นเครื่องหลอกลวงนั้นไม่

ชื่อว่า ปัญญา ความรู้นั้นชื่อว่าเป็นมายา ว่าโดยใจความ มายานั้นก็คือตัณหา

นั่นเอง. ก็เพราะจิตนี้เป็นจิตกระวนกระวาย หนัก หยาบ แข็ง กระด้าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ไม่ควรแก่การงาน ป่วย คด โกง ฉะนั้น ธรรม ๖ คู่ มีปัสสัทธิเป็นต้น

พระองค์จึงไม่ทรงถือเอา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบท ๓๒ ที่ขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถ

องค์แห่งจิตโดยลำดับบทเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเยวาปนกธรรมจึง

ตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย (ก็หรือว่านามธรรม

ที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น) ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า เยวาปนกธรรมนั้นต่อไป.

ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด ธรรมทั้ง ๑๐ เหล่านี้เท่านั้น คือ ฉันทะ

อธิโมกข์ มนสิการ มานะ อิสสา มัจฉริยะ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ

เป็นเยวาปนกธรรมมาในพระสูตร ย่อมปรากฏในบทพระสูตร เพราะฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ในที่นี้ ส่วนในอกุศลจิตนี้มีเยวาปนกธรรม ๔ ประการ

กล่าวคือเป็นองค์ที่แน่นอน คือ ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ อุทธัจจะ.

ในบรรดาเยวาปนกธรรมเหล่านั้น ธรรมมีฉันทะเป็นต้น พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ก็ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (ฉันทะ ๑

อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น) เป็นกุศล

อย่างเดียว ธรรมมีฉันทะเป็นต้น (คือ ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑

อุทธัจจะ ๑) เหล่านี้เป็นอกุศล. ส่วนธรรมนอกนี้ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

อุทธัจจะ.

อุทธัจจะนั้นมีความไม่เข้าไปสงบเป็นลักษณะ (อวูปสมนลกฺขณ)

เหมือนน้ำกระเพื่อมเพราะลมพัด มีความไม่ตั้งมั่นเป็นรส (อนวฏฺานรส)

เหมือนธงชัยและธงแผ่นผ้าพริ้วไปเพราะลมพัด, มีความพล่านไปเป็นปัจจุบัน-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

ฐาน (ภนฺตตฺตปจฺจุปฏฺาน) มีความไม่เข้าไปสงบเหมือนขี้เถ้าฟุ้งขึ้นเพราะ

แผ่นหินที่ทุ่มลง, มีความมนสิการโดยอุบายไม่แยบคายเป็นปทัฏฐาน (เจตโส

อวูปสโม อโยนิโสมนสิการปทฏฺาน) พึงทราบว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งจิต.

บทธรรม ๓๒ มีผัสสะเป็นต้น (มีอวิกเขปะเป็นที่สุด) กับบทธรรม

๔ มีฉันทะเป็นต้นที่ตรัสด้วยอำนาจเยวาปนกธรรม รวมทั้งหมดเป็นบทธรรม

๓๖ ในวาระแห่งธัมมุทเทสนี้. บทธรรมที่มาในบาลีเหล่านั้นลดบทธรรมที่เป็น

เยวาปนกธรรมที่แน่นอน ๔ อย่าง ออกแล้วก็เหลือ ๓๒ เท่านั้น ด้วยประการฉะ

นี้. แต่ในอุทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะเว้นธรรมที่ไม่ถือเอาจึงเป็นธรรม ๑๖ บท

คือ หมวดธรรม ๕ มีผัสสะเป็นต้น* วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ เอกัคคตาจิต ๑

วิริยินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ โลภะ ๑ โมหะ ๑ อหิริกะ ๑

อโนตตัปปะ ๑.

บรรดาธรรม ๑๖ เหล่านั้น ธรรม ๗ จำแนกไม่ได้ ธรรม ๙ จำแนกได้

ธรรม ๗ ที่จำแนกไม่ได้ เป็นไฉน ? ธรรมที่จำแนกไม่ได้เหล่านี้คือ ผัสสะ

สัญญา เจตนา วิจาร ปีติ ชีวิตินทรีย์ โมหะ ส่วนธรรมที่จำแนกได้ ๙

เหล่านี้ คือ เวทนา จิต วิตก เอกัคคตาจิต วิริยินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ

อโนตตัปปะ โลภะ.

บรรดาธรรม ๑๖ อย่างเหล่านั้น ธรรม ๖ อย่างจำแนกได้ ๒ ฐาน

ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๓ ฐาน ธรรมอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๔ ฐาน และ

ธรรมอีกอย่างหนึ่งจำแนกได้ ๖ ฐาน. เป็นอย่างไร ? ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้

คือ จิต วิตก มิจฉาทิฏฐิ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ

จำแนกได้ ๒ ฐาน. จริงอยู่ บรรดาธรรมทั้ง ๖ เหล่านั้น จิตก่อนเพ่งถึง

ผัสสปัญจกะเรียกว่าจิต เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่ามนินทรีย์. วิตกเพ่งถึงองค์ฌาน

* ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ทั้งหลายเรียกว่าวิตก เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลายเรียกว่ามิจฉาสังกัปปะ. มิจฉาทิฏฐิ

ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเหมือนกันทั้งในองค์มรรคทั้งในกรรมบถ. อหิริกะเพ่งถึงพละ

ทั้งหลายเรียกว่าอหิริกพละ เพ่งถึงหมวดสองแห่งธรรมเป็นเครื่องยังโลกให้

พินาศเรียกว่าอหิริกะ แม้ในอโนตตัปปะก็นัยนี้แหละ. โลภะเพ่งถึงมูลเรียกว่า

โลภะ เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า อภิชฌา. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ท่านจำแนก

ในฐานะทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนเวทนาเพ่งถึงผัสสปัญจกะเรียกว่าเวทนา เพ่งถึงองค์ฌานทั้งหลาย

เรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลาย เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์ ธรรม (เวทนา)

อย่างเดียวจำแนกได้ ๓ ฐานด้วยประการฉะนี้. ก็วิริยะเพ่งถึงอินทรีย์ทั้งหลาย

เรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาวายามะ เพ่งถึง

พละ เรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า ปัคคาหะ ธรรม

(วิริยะ) อย่างเดียวนี้ท่านจำแนกไว้ ๔ ฐาน ด้วยประการฉะนี้. ก็สมาธิเพ่งถึง

องค์ฌานทั้งหลาย เรียกว่า เอกัคคตาจิต เพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่า สมาธินทรีย์

เพ่งถึงองค์มรรคทั้งหลาย เรียกว่า มิจฉาสมาธิ เพ่งถึงพละทั้งหลาย เรียกว่า

สมาธิพละ เพ่งถึงธรรมปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สมถะ ด้วยสามารถแห่งธรรม

หมวดหนึ่งในทุติยทุกะ เรียกว่า อวิกเขปะ โดยทุกะที่สาม ธรรม (สมถะ)

นี้อย่างเดียวท่านจำแนกไว้ ๖ ฐาน ด้วยประการฉะนี้.

ก็ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้นจัดเป็น ๙ กอง คือ

ผัสสปัญจกะ ๑ องค์ฌาน ๑ อินทรีย์ ๑ องค์มรรค ๑ พละ ๑

มูล ๑ กรรมบถ ๑ โลกนาสกธรรม ๑ ปิฏฐิทุกะ ๑.

บรรดาธรรม ๙ กองนั้น กองนั้น คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าว คำนั้นข้าพเจ้ากล่าว

ไว้ในนิทเทสแห่งกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้วแล.

จบกถาว่าด้วยธัมมุทเทสวาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

บาลีนิทเทสวาร

[๒๗๘] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่

สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา มีในสมัยนั้น.

[๒๗๙] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

[๒๘๐] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิต มีในสมัยนั้น.

[๒๘๑] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉา-

สังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.

[๒๘๒] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งดูอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจาร มีในสมัยนั้น.

[๒๘๓] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๔] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น.

[๒๘๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา

มีในสมัยนั้น.

[๒๘๖] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ มิจฉาวายามะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๗] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๘] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือ

มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๘๙] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๒๙๐] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการสืบเนื่อง

กันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต

ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๑] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น

เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ

ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ

เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๒] มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ

ดำริผิด ในสมัยนั้น อันใด ที่ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๓] มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามผิด

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาวายามะ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๔] มิจฉาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจผิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ

มีในสมัยนั้น.

[๒๙๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวหน้าไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ มิจฉาวายามะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๖] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ

มีในสมัยนั้น.

[๒๙๗] อหิริกพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

อหิริกพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๙๘] อโนตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า อโนตตัปปพละมีในสมัยนั้น.

[๒๙๙] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก

ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

โลภะมีในสมัยนั้น.

[๓๐๐] โมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ

ไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความ

ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่กระทำให้

ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความ

ลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า โมหะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๑] อภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด

ความกำหนัดนัก ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

อภิชฌา มีในสมัยนั้น.

[๓๐๒] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเป็นไปข้างทิฏฐิ ป่าช้าคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น

เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์ คือทิฏฐิ ความ

ยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด

ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๓] อหิริกะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอายกิริยาที่ไม่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

อหิริกะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๔] อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า อโนตตัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๕] สมณะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ

มีในสมัยนั้น.

[๓๐๖] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประดับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๓๐๗] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น.

[๓๐๘] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๐๙] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๑๐] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ

สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ

อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย

เกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น

นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อรรถกถาแสดงนิทเทสวาร

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตในนิทเทสวารก่อน.

สองบทนี้ที่ตรัสว่า สณฺิติ (ความดำรงอยู่) อวฏฺิติ (ความมั่น

อยู่) เป็นคำไวพจน์ของบท ฐิติ (ความตั้งอยู่) นั่นแหละ ส่วนคำใดที่กล่าวไว้

ในนิทเทสแห่งกุศลว่า ชื่อว่า อวฏฺิติ (ความมั่นอยู่) เพราะอรรถว่า หยั่งลง

คือเข้าไปสู่อารมณ์แล้วตั้งอยู่ ดังนี้ คำนั้นไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ เพราะว่า

ในอกุศล เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังทราม เพราะฉะนั้น สองบทว่า (สณฺิติ

และอวฏิติ) นี้ ข้าพเจ้าแสดงไว้ในบทหลังตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.

ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาโร (ความไม่ส่ายไปแห่งจิต) เพราะเป็น

สภาพตรงกันข้ามกับความส่ายไป ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา

เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้ จึงไม่ได้อรรถะแม้เช่นนี้ แต่ในสหชาต-

ธรรม จิตชื่อว่า อวิสาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ส่ายไป. ที่ชื่อว่า อวิกเขปะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ฟุ้งไป. ภาวะแห่งใจที่ไม่ส่ายไปด้วย

สามารถเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นอกุศล ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา (ภาวะที่จิต

ไม่ส่ายไป). ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรม

ทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า มิจฉาสมาธิ เพราะตั้งมั่นตามความไม่เป็นจริง พึงทราบ

เนื้อความในอธิการแห่งอกุศลนี้ อย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ต่อไป.

นัยมีอาทิว่า ก็นี้เป็นความบากบั่นเพื่อบรรเทากามทั้งหลาย อันใดที่

ข้าพเจ้ากล่าวในหนหลัง นัยนั้นย่อมไม่ได้ในนิทเทสแห่งอกุศลนี้. พึงทราบว่า

ชื่อว่า วิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมิจฉาทิฏฐิต่อไป.

สภาวะที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า เห็นตามความไม่เป็นจริง.

ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ (ความเห็นไปข้างทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ความเห็นนี้

เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเป็นสภาวะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความ

แห่งทิฏฐิแม้นี้ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหลังนั่นแหละ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า

ทิฏฐิคหณะ (ป่าชัฏคือทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงไปโดยยาก เหมือนชัฏหญ้า

ชัฏป่า ชัฏภูเขา. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (กันดารคือทิฏฐิ) ด้วย

อรรถว่า น่าระแวงและมีภัยเฉพาะหน้า เหมือนกันดารโจร กันดารสัตว์ร้าย

กันดารทราย กันดารน้ำ กันดารทุพภิกขภัย. ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกายิกะ (ความ

เห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ) ด้วยอรรถว่าขัดแย้งและทวนกันสัมมาทิฏฐิ. จริง

อยู่ ความเห็นผิคเมื่อเกิดย่อมขัดแย้ง และทวนสัมมาทิฏฐิไป ที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิป-

ผันทิตะ (ความผันแปรแห่งทิฏฐิ) เพราะอรรถว่า ผันแปรผิดรูปแห่งทิฏฐิ

เพราะบางคราวก็ถือเอา ความเที่ยง บางคราวก็ถือเอาความขาดสูญ เพราะว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

คนผู้มีความเห็นผิดย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในสิ่งเดียว คือบางคราวก็คล้อยตามความ

เที่ยง บางคราวก็คล้อยตามความขาดสูญ. ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า สัญโญชน์

ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องผูก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิสัญโญชน์. ที่ชื่อว่า

คาหะ (ความยึดถือ) เพราะอรรถว่า ย่อมยึดอารมณ์ไว้มั่น เหมือนสัตว์ร้ายมี

จระเข้เป็นต้น เอาปากงับคนไว้มั่นฉะนั้น. ที่ชื่อว่า ปติฏฐวาหะ* (ความตั้งมั่น)

เพราะตั้งไว้โดยเฉพาะ จริงอยู่ ความตั้งมั่นนี้ ตั้งมั่นแล้วยึดไว้โดยความเป็น

ไปอย่างมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) เพราะอรรถว่า ย่อม

ตั้งมั่นโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปรามาสะ (ความถือผิด)

เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงสภาวธรรมแล้ว ถือเอาโดยประการอื่นด้วยอำนาจแห่ง

ความเที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า กุมมัคคะ (ทางชั่ว) เพราะอรรถว่า เป็นทาง

อันบัณฑิตเกลียด เพราะเป็นทางนำความพินาศมาให้ หรือเป็นทางแห่งอบาย

ทั้งหลายที่บัณฑิตเกลียด. ที่ชื่อว่า มิจฉาปถะ (ทางผิด) เพราะเป็นทางตาม

ความไม่เป็นจริง ที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ (ภาวะที่ผิด) เพราะเป็นสภาพผิดเหมือน

กัน. เหมือนอย่างว่า ชนผู้หลงทิศ แม้ยึดถือว่า ทางนี้ชื่อทางของบ้านโน้น

ดังนี้ ก็ไม่ยังบุคคลนั้นให้ถึงบ้านได้ ฉันใด บุคคลผู้มิจฉาทิฏฐิ แม้ยึดถือว่า

ทางนี้เป็นไปสู่สุคติ ดังนี้ ก็ไม่สามารถถึงสุคติได้ ฉันนั้น. ชื่อว่า ทางผิด

เพราะเป็นทางตามความไม่เป็นจริง ทางนี้ ชื่อว่ามิจฉัตตะ เพราะมีสภาพผิด.

ที่ชื่อว่า ติตถะ (สัทธิเป็นดังท่า) เพราะเป็นที่ ๆ พวกคนพาลข้ามไป โดยการ

หมุนไปมาในที่นั้นนั้นแหละ ติตถะ (คือลัทธิ) นั้นด้วย เป็นอายตนะ (บ่อเกิด)

แห่งความฉิบหายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ (ลัทธิเป็น

บ่อเกิดแห่งความพินาศ). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะอรรถว่า

เป็นอายตนะด้วยความหมายเป็นส่วนสัญชาติ และด้วยความหมายว่าเป็นที่อาศัย

* ในธรรมสังคณิเป็นปฏิคฺคาโห

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะ

อรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดย

ตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาคเคลื่อน.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะต่อไป. บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะโดยปริยายตรงกันข้ามในนิทเทส

แห่งหิริและโอตตัปปะ ก็บัณฑิต พึงทราบอหิริกพละและอโนตตัปปพละ

เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโลภะและโมหะต่อไป

สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า

ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วย

ความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้

ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ

(ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า

สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก). ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิ-

ตัตตะ (ความกำหนัด). ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.

การณะ (เหตุ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยศัพท์ว่าโลภะอีก เพราะ

โลภะนั้นเป็นอกุศลด้วย เป็นมูลด้วย จึงชื่อว่า อกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง

โลภะนั้นเป็นมูลของอกุศลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล.

สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ. ที่ชื่อว่า

อทัสสนะ (ความไม่เห็น) เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น. ที่ชื่อว่า อนภิสมัย

ความไม่ตรัสรู้) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้

คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ. ที่ชื่อว่า อนุโพธะ (ตรัสรู้โดยสมควร) เพราะอรรถว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ย่อมตรัสรู้ธรรมโดยสมควร ที่ชื่อว่า อนนุโพธะ (การไม่ตรัสรู้ธรรมโดย

สมควร) เพราะความที่อนนุโพธะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุโพธะนั้น. ที่ชื่อว่า

อสัมโพธะ (ไม่รู้ตามเป็นจริง) เพราะอรรถว่า ไม่ประกอบกับสภาวะทั้งหลาย

มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วตรัสรู้. ชื่อว่า อสัมโพธะ เพราะอรรถว่า ไม่

สงบและไม่ชอบ ดังนี้บ้าง. ที่ชื่อว่า อัปปฏิเวธะ (ไม่แทงตลอด) เพราะ

อรรถว่า ย่อมไม่แทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔. ที่ชื่อว่า อสังคาหณา (ไม่ถือ

เอาให้ถูกต้อง) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ถือเอาพร้อมแม้ธรรมหนึ่งในธรรมมี

รูปเป็นต้น โดยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อปริโยคา-

หณา (ไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้น

นั่นแหละ. ที่ชื่อว่า อสมเปกขนา (ความไม่พินิจ) เพราะอรรถว่า ย่อมไม่

เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ที่ชื่อว่า อปัจจเวกขณา (ความไม่พิจารณา) เพราะ

อรรถว่า ย่อมไม่เพ่งเฉพาะสภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ

(การไม่ทำให้ประจักษ์) เพราะอรรถว่า กรรมแม้ข้อหนึ่งก็ไม่ประจักษ์แก่สภาวะ

นี้ในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลายด้วยความเป็นไปโดยวิปริตบ้าง

ด้วยไม่มีการกำหนดโดยสภาวะบ้าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า การทำให้ประจักษ์

แก่ธรรมไร ๆ เองมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจักขกัมมะ. ที่ชื่อว่า

ทุมเมชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะอรรถว่า เมื่อโมหะนี้ยังไม่เกิดขึ้น

จิตสันดานใด พึงเป็นจิตบริสุทธิ์ คือสะอาดผ่องแผ้ว จิตสันดานอันบริสุทธิ์

นั้น อันโมหะนี้ประทุษร้ายแล้ว. ที่ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะ

อรรถว่า เป็นภาวะของพวกคนพาล. ที่ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) เพราะ

อรรถว่า ย่อมหลง. โมหะมีกำลังแรงชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ที่ชื่อว่า

สัมโมหะ (หลงใหล) เพราะอรรถว่า ย่อมหลงโดยรอบ. ที่ชื่อว่า อวิชชา

เพราะอรรถว่า ไม่ใช่วิชชาเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา ความหมายของโอฆะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

โยคะ และคัณฐะ ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่า

ย่อมนอนเนื่อง โดยอรรถว่ามีกำลัง. ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะอรรถว่า

ย่อมกลุ้มรุม คือ ครอบงำจิต. ที่ชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม) เพราะอรรถว่า ย่อม

ไม่อาจเพื่อไปมุ่งหน้าเฉพาะต่อประโยชน์ ย่อมติดโดยแท้ เพราะไม่มีการถือ

เอาประโยชน์ได้ คือ ย่อมไปลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลังคี เพราะอรรถ

ว่า ถอนขึ้นได้ยาก. เหมือนอย่างว่า ลิ่มกล่าวคือกลอนเหล็กใหญ่เป็นของถอน

ขึ้นโดยยาก ฉันใดอวิชชาเห็นก็ฉันนั้น เป็นราวกะลิ่ม เพราะฉะนั้น อวิชชา

นั้น จึงชื่อว่า ลังคี (ลิ่ม).

คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบแม้สังคหวาระ

และสุญญตวาระโดยอรรถะ ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล.

จบอกุศลจิตดวงที่หนึ่ง

จิตดวงที่ ๒

[๓๑๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

จิตดวงที่ ๓

[๓๑๒] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์

สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ

มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ โอตตัปปพละ โลภะ โมหะ

อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีอยู่ในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ

อหิริกพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีใน

สมัยใด ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๔

[๓๑๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๕

[๓๑๖] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ

เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์

สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ

มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ

อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

[๓๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่

สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิด

แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์

ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขา มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๑๘] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๕ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อันใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๑๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ

สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปะ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ

อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย

เกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น

นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๖

[๓๒๐] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๗

[๓๒๑ ] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา

วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ

โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมี

องค์ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรม-

ธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ

อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ

สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

จิตดวงที่ ๘

[๓๒๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๙

[๓๒๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ

เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ทุกข์ เอกัคคตา วิริยินทรีย์

สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉา-

วายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ

โมหะ พยาปาทะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๒๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญ-

ญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส

กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น ฯลฯ

ทุกข์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกข์ในสมัยนั้น ฯลฯ

โทมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โทมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

โทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิด

ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น

ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

โทสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

พยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การ

คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น

ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

พยาปาทะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๒๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌาน

มีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๒๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกคัคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ

อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาปาทะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

จิตดวงที่ ๑๐

[๓๒๙] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

จิตดวงที่ ๑๑

[๓๓๐] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์

มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ

อหิริกพละ อโนตตัปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๓๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

วิจิกิจฉา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็น

ไปต่าง ๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็น

เหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้

ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิจิกิจฉา

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๔ ฌาน

มีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๒ พละ ๓ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา

โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ปัคคาหะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้

อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า

สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

จิตดวงที่ ๑๒

[๓๓๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์

หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา

วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ

มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ

อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

[๓๓๕] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุทธัจจะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุทธัจจะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๖] ก็ขันธ์ ๘ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌาน

มีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

[๓๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ

อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ

ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อกุศลจิต ๑๒ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลจิตดวงที่ ๒ ต่อไป.

บทว่า สสขาเรน (โดยมีการชักจูง) เป็นความต่างกัน คำว่า

โดยมีการชักจูงนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็อกุศลจิตนี้ย่อม

เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโสมนัสในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิดขึ้นแล้ว

ถือผิดโดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์ ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ในกาลใด กุลบุตรปรารถนากุมาริกาของตระกูลมิจฉาทิฏฐิ และตระกูลเหล่านั้น

ย่อมไม่ให้กุมาริกา โดยอ้างว่า พวกท่านถือทิฏฐิอื่น. แต่ภายหลัง พวกญาติ

อีกพวกหนึ่งบอกให้ยกให้ ด้วยการตกลงกันว่า พวกท่านจงกระทำสิ่งที่กุลบุตร

นี้จักกระทำ ดังนี้ กุลบุตรนั้นพร้อมกับหมู่ญาติจึงพากันเข้าไปหาพวกเดียรถีย์

นั่นแหละ ตอนต้นยังเป็นผู้ลังเลอยู่ แต่เมื่อกาลผ่านไป ๆ ก็ชอบใจลัทธิ ย่อม

ถือซึ่งทิฏฐิด้วยคิดว่า กิริยาของพวกเดียรถีย์เหล่านี้เป็นที่ชอบใจ ในกาลเห็น

ปานนี้ พึงทราบว่า อกุศลจิตนี้ ย่อมได้ ดังนี้ เพราะความเกิดขึ้นโดยสัมปโยคะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

(การประกอบพร้อมกัน) พร้อมด้วยอุบาย เพราะความที่อกุศลจิตนั้นเป็น

สสังขาริก (มีการชักจูง).

ส่วนในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ถีนมิทธะเป็นธรรมยิ่งในอกุศลจิต

ดวงที่ ๒ นี้. บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ ความ

ง่วงโงก ชื่อว่า มิทธะ อธิบายว่า ความไม่อุตสาหะ ความไม่สามารถ และ

ความพิฆาต. ถีนะด้วยมิทธะด้วย ชื่อว่า ถีนมิทธะ ในอกุศลทั้งสองนั้น

ถีนะมีความไม่อุตสาหะเป็นลักษณะ (อนุสฺสาหนลกฺขณ) มีการกำจัดวิริยะ

เป็นรส (วิริยวิโนทนรส) มีความท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน (สสีทนปจฺจุ-

ปฏฺาน).

มิทธะ มีความไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ (อกมฺมญฺตาลกฺขณ)

มีความมีการปกปิดเป็นรส (โอทหนรส) มีความหดหู่เป็นปัจจุปัฏฐาน

(ลีนตาปจฺจุปฏฺาน) หรือมีความง่วงโงกและความหลับเป็นปัจจุปัฏฐาน

(ปจลายิกนิทฺทาปจฺจุปฏฺาน). ถีนมิทธะแม้ทั้งสองมีมนสิการโดยอุบาย

ไม่แยบคายในสภาวะมีความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความง่วงเหงาหาว

นอนเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.

อกุศลจิตดวงที่ ๒ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๓

อกุศลจิตดวงที่ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโสมนัสในอารมณ์

ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิดขึ้น ไม่ยึดถือโดยนัยว่า นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์ ดังนี้

แลดูอยู่ซึ่งพระราชา มวยปล้ำ การเล่นมีการต่อสู้เป็นต้น หรือมีการขวนขวาย

ในการฟังเสียงที่ชอบใจเป็นต้น ในอธิการแห่งอกุศลดวงที่ ๓ นี้ มีองค์ที่

เหมือนกัน ๕ องค์ พร้อมกับมานะ ในบรรดาองค์เหล่านั้น สภาวะที่ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

มานะ เพราะอรรถว่า ย่อมถือตัว. มานะนั้นมีการทรนงตนเป็นลักษณะ

(อุนฺนติลกฺขโณ) มีการยุกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส)

มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺาโน) มีโลภะ

ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺาโน) พึง

ทราบว่า เหมือนคนบ้า.

อกุศลจิตดวงที่ ๓ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๔

อกุศลจิตดวงที่ ๔ ย่อมเกิดขึ้นในฐานะมีประการดังกล่าวนั่นแหละคือ

ในฐานะทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลใด พวกชนย่อมถ่มเขฬะไปหรือโปรย

ฝุ่นเท้าไปบนศีรษะ ในกาลนั้น อกุศลจิตดวงที่ ๔ ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย

ผู้แลดูในระหว่างๆ โดยเป็นไปกับด้วยอุตสาหะเพื่อหลบหลีกเขฬะและฝุ่นเท้านั้น

และย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้แลดูตามช่องนั้น ๆ เมื่อความวุ่นวายเป็นไปใน

เมื่อตัวละครหลวงกำลังออกมา ดังนี้. ในอกุศลจิตดวงที่ ๔ นี้ มีเยวาปนก-

ธรรม ๗ กับมานะถีนมิทธะ แม้อรรถแห่งอกุศลจิตทั้งสอง คืออกุศลจิตดวงที่ ๓

และที่ ๔ ย่อมลดมิจฉาทิฏฐิ พึงทราบการนับธรรมด้วยสามารถธรรมที่เหลือ

เว้นทิฏฐินั่นแล.

อกุศลจิตดวงที่ ๔ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๕

อกุศลจิตดวงที่ ๕ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มัชฌัตตะ (วางเฉย) ด้วย

สามารถแห่งเวทนาในอารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังโลภะให้เกิด ผู้ยึดถืออยู่โดยนัยมีอาทิว่า

นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์. ก็ในอกุศลจิตดวงที่ ๕ นี้ อุเบกขาเวทนาย่อมมีในที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

โสมนัส (แทนโสมนัสเวทนา) ย่อมลดบทปีติ. คำที่เหลือทั้งหมดเป็นเหมือน

อกุศลจิตดวงที่หนึ่งแล.

อกุศลจิตดวงที่ ๕ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๖, ๗, ๘

แม้อกุศลจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ และที่ ๘ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ใน

อกุศลจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละโดยเปลี่ยนเวทนาและลดบทปีติ. อธิปติ

แม้ทั้ง ๒ คือ สหชาตาธิปติและอารัมมณาธิปติ ย่อมได้ในจิตสหรคตด้วยโลภะ

๘ ดวง เหล่านี้.

โลภมูลจิต ๘ ดวงจบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๙

อกุศลจิตดวงที่ ๙ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโทมนัสใน

อารมณ์ทั้ง ๖ ผู้ยังปฏิฆะให้เกิดขึ้นนั่นแหละ. จะวินิจฉัยในวาระว่าด้วยการ

กำหนดสมัย ๓ สมัย แห่งอกุศลจิตดวงที่ ๙ ก่อน.

มนะอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือมนะอันบัณฑิตเกลียด เพราะมี

เวทนาอันเลว เพราะเหตุนั้น มนะนั้น จึงชื่อว่า ทุมมโน (ผู้มีใจชั่ว). ภาวะ

แห่งบุคคลผู้มีใจชั่ว ชื่อว่า โทมนัส. อกุศลจิตสหรคตด้วยโทมนัสนั่น เพราะ

ฉะนั้น อกุศลจิตนั้น จึงชื่อว่า โทมนัสสสหคตะ (สหรคตด้วยโทมนัส).

สภาวะที่ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมกระทบในอารมณ์โดย

ภาวะที่ไม่พอใจ. อกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะนั้น ชื่อว่า ปฏิฆสัมปยุต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

ในธัมมุทเทส โทมนัสสเวทนามาแล้วในฐานะแม้ทั้ง ๓. ในฐานะทั้ง ๓ มีเวทนา

เป็นต้นนั้น บทว่า เวทนา มีเนื้อความตามที่กล่าวไว้นั่นแหละ. บทว่า ทุกข์

และโทมนัส ก็กล่าวไว้แล้วเหมือนกัน. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น โทมนัส

มีการเสวยอารมณ์อันไม่หน้าชอบใจเป็นลักษณะ (อนิฏฺารมฺมณานุภวน-

ลกฺขณ) มีการเสวยอาการไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นรส (ยถา ตถา วา

อนิฏฺาการสมฺโภครส) มีความอาพาธทางใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (เจตสิกา-

พาธปจฺจุปฏฺาน) มีหทยวัตถุเท่านั้นเป็นปทัฏฐาน (หทยวตฺถุปทฏฺาน).

ในมูลกรรมบถทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า โทสะย่อมมี พยาบาท

ย่อมมี เหมือนพระดำรัสที่ตรัสถึงอกุศลจิตดวงก่อน ๆ ว่า โลภะย่อมมี

อภิชฌาย่อมมี ฉะนั้น บรรดาโทสะและพยาบาททั้งสองนั้น สภาวะที่ชื่อว่า

โทสะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้คนประทุษร้าย หรือประทุษร้ายเอง หรือว่า

ธรรมชาตินั้นสักว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายเท่านั้น.

โทสะนั้นมีความดุร้ายเป็นลักษณะ พึงเห็นเหมือนอสรพิษถูกประหาร

(จณฺฑิกฺกลกฺขโณ ปหฏาสิวิโส วิย) มีการกระสับกระส่ายเป็นรสพึงเห็น

เหมือนถูกยาพิษ (วิสปฺปนรโส วิสนิปาโต วิย) อีกอย่างหนึ่ง มีการหม่นไหม้

นิสัยของตนเป็นรส พึงเห็นเหมือนไฟไหม้ป่า (อตฺตโน นิสฺสยทหนรโส

วาทาวคฺคิ วิย) มีการประทุษร้ายเป็นปัจจุปัฏฐาน พึงเห็นเหมือนศัตรูได้โอกาส

(ทุสฺสนปจฺจุปฏฺาโน ลทฺโธกาโส วิย สปตฺโต) มีอาฆาตวัตถุเป็น

ปทัฏฐาน พึงเห็นเหมือนน้ำมูตรเน่าเจือด้วยยาพิษ (อาฆาตวตฺถุปทฏฺ-

าโน วิสสสฏฺปูติมุตฺต วิย) ฉะนั้น.

สภาวะที่ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเบียดเบียน คือ

ย่อมเข้าถึงภาวะเสียจิต หรือว่าย่อมยังวินัย อาจาระ รูปสมบัติและหิตสุขเป็นต้น

ให้ถึงความพิบัติ. ก็เมื่อว่าโดยอรรถ พยาบาทนี้ ก็คือโทสะนั่นแหละ แต่ใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

อกุศลจิตดวงที่ ๙ นี้ เป็นบทอกุศล ๒ โดยลำดับ. พึงทราบบท ๑๔ บท

โดยการถือเอาบทที่ยังไม่ถือเอา และพึงทราบประเภทกองธรรมที่แจกได้ และ

แจกไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งบทธรรมเหล่านั้น.

ในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย สภาวธรรมเป็นนิยตะมีฉันทะ อธิโมกข์

มนสิการ และอุทธัจจะเป็นต้น (คือเจตสิกประกอบกับอกุศลจิตดวงที่ ๙ แน่

นอน) อนึ่ง ธรรม (ทั้ง ๔) เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นครั้งละ ๕ ๆ กับด้วยธรรม

อย่างใดอย่างหนึ่งในอิสสา มัจฉริยะ หรือกุกกุจจะ ธรรมทั้ง ๓ มีอิสสาเป็นต้น

แม้เหล่านี้ ชื่อว่า อนิยตเยวาปนกะ ด้วยประการฉะนี้. บรรดาธรรมทั้ง

๓ เหล่านั้น สภาวธรรมที่ชื่อว่า อิสสา เพราะอรรถว่า ย่อมริษยา.

อิสสานั้น มีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ (ปรสมฺปตฺตีน

อุสฺสุยนลกฺขณา) มีความไม่ยินดีในสมบัติของผู้อื่นนั้นนั่นแหละเป็นรส

(ตตฺเถว อนภิรติรสา) มีความเบือนหน้าจากสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นปัจจุปัฏ-

ฐาน (ตโต วิมุขภาวปจฺจุปฏฺานา) มีสมบัติของผู้อื่นเป็นปทัฏฐาน (ปร-

สมฺปตฺติปทฏฺานา) พึงทราบว่า เป็นสัญโญชน์.

ความเป็นแห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มัจฉริยะ มัจฉริยะนั้นมีการ

ปกปิดสมบัติของตนที่ได้มาแล้ว หรือที่ควรได้เป็นลักษณะ (ลทฺธาน วา

ลภิตพฺพาน วา อตฺตโน สมฺปตฺตีน นิคูหณลกฺขณ) มีความไม่ชอบใจ

ในความที่สมบัติของตนนั้นนั่นแหละ เป็นของทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น เป็นรส

(ตาสเยว ปเรหิ สาธารณภาว อกฺขมนรส) มีความสยิ้วหน้าเป็นปัจจุปัฏฐาน

(สโกจนปจฺจุปฏฺาน) หรือว่ามีความหวงแหนเป็นลักษณะ (กฏุกญฺจุก-

ตาปจฺจุปฏาน วา) มีสมบัติของตนเป็นปทัฏฐาน (อตฺตโน สมฺปตฺ-

ติปทฏฺาน) มัจฉริยะนี้ พึงเห็นว่าเป็นความพิการของจิต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

กรรมที่บัณฑิตเกลียด อันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่า กุกตะ ความเป็น

แห่งกุกตะนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ กุกกุจจะนั้นมีความเดือดร้อนใจในภายหลัง

เป็นลักษณะ (ปจฺฉานุตาปนลกฺขณ) มีความเศร้าโศกเนือง ๆ ถึงบาปที่

ทำแล้ว และบุญที่ยังไม่ได้กระทำเป็นกิจ (กตากตานุโสจนรส) มีความ

วิปฏิสาร คือความเดือดร้อนเป็นปัจจุปัฏฐาน (วิปฺปฏิสารปจฺจุปฏฺาน)

มีการทำบาปแล้วและมิได้ทำบุญไว้เป็นปทัฏฐาน (กตากตปทฏฺาน) พึงเห็น

เหมือนอย่างความเป็นทาส ฉะนั้น.

นี้เป็นความต่างกันในอุทเทสวารก่อน. ในนิทเทสวาร พึงทราบความ

ไม่ชอบใจในเวทนานิทเทส ด้วยสามารถเป็นธรรมปฏิปักษ์ต่อความชอบใจ.

พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทสต่อไป

สภาวะที่ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่า ย่อมคิดประทุษร้าย. อาการ

ที่คิดประทุษร้ายชื่อว่า ทุสสนา (กิริยาที่ประทุษร้าย). ภาวะแห่งความ

ประทุษร้าย ชื่อว่า ทุสสิตัตตะ (ความคิดประทุษร้าย).

ความคิดเบียดเบียน ชื่อว่า พยาปัตติ (การคิดปองร้าย) ด้วยอรรถว่า

การละความเป็นปกติ. อาการแห่งการปองร้าย ชื่อว่า พยาปัชชนา (กิริยา

ที่ปองร้าย) ที่ชื่อว่า วิโรธ (ความโกรธ) เพราะอรรถว่า มุ่งร้าย. ที่ชื่อว่า

ปฏิวิโรธ (ความแค้น) เพราะอรรถว่า พิโรธเนือง ๆ. อีกอย่างหนึ่ง คำ

ทั้งสองนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอาการที่โกรธและอาการที่แค้น.

บุคคลมีจิตกคะด้างดุร้าย เรียกว่า จัณฑิกะ ภาวะแห่งจัณฑิกะนั้น

เรียกว่า จัณฑิกกะ (ความดุร้าย). ถ้อยคำอันคนดุร้ายนี้ยกขึ้นพูดอย่างดี

มิได้มี คำพูดของคนเช่นนี้เป็นคำพูดชั่ว คือ ไม่บริบูรณ์เลย เพราะฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

คนนี้จึงชื่อว่า อสุโรปะ (ปากร้าย). จริงอยู่ ในเวลาที่บุคคลผู้ดุร้ายโกรธแล้ว

ขึ้นชื่อว่า คำพูดที่บริบูรณ์ ย่อมไม่มี ถึงหากจะมีแก่บางคน ข้อนั้นก็ไม่เป็น

ประมาณ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนเช่นนั้น ชื่อว่า อสุโรปะ (ความ

ไม่สุภาพ) เพราะให้เกิดน้ำตาโดยการไหลออกแห่งน้ำตา ข้อที่ว่านั้น ไม่ใช่เหตุ

ได้กล่าวแล้วในหนหลัง เพราะแม้โสมนัสก็ทำให้น้ำตาเกิดได้.

สภาวะที่ชื่อว่า อนัตตมนตา (ความไม่มีใจแช่มชื่น) เพราะอรรถว่า

ความเป็นผู้ไม่มีใจเป็นของตน เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นผู้มีใจเป็น

ของตน แต่เพราะความไม่มีใจแช่มชื่นนั้น เป็นของจิตเท่านั้น ไม่เป็นของ

สัตว์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จิตฺตสฺส (ของจิต) ดังนี้. คำที่เหลือในอกุศล

จิตดวงที่ ๙ นี้ และในสังคหวาร ในสูญญตวาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ไว้ในหนหลังนั่นแล.

อกุศลจิตดวงที่ ๙ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๐

อกุศลจิตดวงที่ ๑๐ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ถูกคนอื่น ๆ ให้เกิดอุตสาหะ

บ้าง ผู้ถูกคนอื่น ๆ ตักเตือนให้นึกถึงความผิดบ้าง ตนเองนั่นแหละนึกถึง

ความผิดของคนอื่น ๆ แล้วโกรธบ้าง เพราะความที่อกุศลจิตนี้เป็นไปกับการ

ชักจูง. แม้ในอกุศลจิตนี้ก็มี ๒๙ บทตามลำดับบท. เพราะถือเอาบทที่ยังมิได้

ถือเอาจึงเป็น ๑๔ บทเท่านั้น. แต่เพราะในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ย่อมได้

แม้ถีนะและมิทธะ ฉะนั้นในอกุศลจิตดวงนี้จึงเว้นอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ

หรือเว้นซึ่งธรรม ๖ เหล่านี้ คือองค์ธรรมที่เหมือนกัน ๔ และถีนมิทธะ ในเวลาที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

อิสสาเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะเป็นเยวาปนกธรรม ๗ ข้อ ๆ กับข้อใดข้อหนึ่งใน

บรรดาธรรมมีอิสสาเป็นต้นนั้นเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน (พร้อมกัน). คำที่เหลือ

ทั้งหมดทุกวาระเป็นเช่นกับอกุศลจิตดวงที่ ๙ ทั้งนั้น. ก็ในโทมนัสจิตทั้ง ๒ นี้

ย่อมได้สหชาตาธิปติอย่างเดียว ไม่ได้อารัมมณาธิปติ. เพราะบุคคลโกรธแล้ว

ย่อมไม่ทำอารมณ์อะไร ๆ ให้หนัก (เป็นอธิบดี) ได้ ฉะนี้แล.

อกุศลจิตดวงที่ ๑๐ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๑

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑ ย่อมเกิดขึ้นในเวลาความสงสัยเป็นไปแก่บุคคลผู้

วางเฉยด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ทั้ง ๖. ในการกำหนดสมัยของอกุศลจิต

ดวงที่ ๑๑ นั้น บทว่า วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺต (สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา) ไม่ใช่

บทที่เกิดก่อน เนื้อความแห่งอกุศลจิตนั้นว่า ที่ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุต

เพราะอรรถว่า สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา. ในธัมมุทเทส บทว่า วิจิกิจฺฉา โหติ

(วิจิกิจฉาย่อมมี) ดังนี้เท่านั้นแปลกกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในวิจิกิจฉานั้น ต่อไป

สภาวธรรมที่ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากความแก้ไข

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเมื่อคิดสภาว-

ธรรมย่อมยุ่งยาก คือย่อมลำบาก.

วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ (สสยนลกฺขณา) มีความ

หวั่นไหวเป็นรส (กมฺปนรสา) มีการตัดสินใจไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน (อนิจฺ-

ฉยปจฺจุปฏฺานา) หรือว่า มีการถือเอาอย่างเดียวไม่ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

(อเนกสคาหปจฺจุปฏฺานา) มีการทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคายเป็น

ปทัฏฐาน (อโยนิโสมนสิกสนปทฏานา) บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นการทำ

อันตรายต่อการปฏิบัติ. ในอกุศลจิตดวงที่ ๑๑ นี้ ได้บท ๒๓ ตามลำดับบท ว่า

โดยธรรมที่ยังมิได้ถือเอาก็เป็นธรรม ๑๔ บท พึงทราบวินิจฉัยในกองธรรมที่จำ-

แนกได้และจำแนกไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งธรรม ๑๔ บทเหล่านั้น. ธรรมแม้ทั้ง

๒ คือมนสิการ และอุทธัจจะเป็นเยวาปนกธรรม.

ก็เพราะในนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิตแห่งนิทเทสวาร อกุศลจิตนี้ ทุรพล

มีแต่เพียงฐิติ (คือการตั้งอยู่) ในปัจจุบัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า สณฺิติ

(ความดำรงอยู่) เป็นต้น แต่ตรัสบทเดียวเท่านั้นว่า จิตฺตสฺส ิติ และด้วย

เหตุนั้นนั่นแหละ แม้ในอุทเทสวารพระองค์ไม่ตรัสคำเป็นต้นว่า สมาธินฺทริย

(สมาธินทรีย์).

พึงทราบวินิจฉัยในวิจิกิจฉานิทเทส ต่อไป

สภาวะที่ชื่อว่า กังขา ด้วยสามารถแห่งการเคลือบแคลง. อาการ

เป็นไปแห่งความเคลือบแคลง ชื่อว่า กังขายนา (กิริยาที่เคลือบแคลง).

จริงอยู่ การเคลือบแคลงอันแรกชื่อว่านำมาซึ่งการเคลือบแคลงต่อไป อีกอย่าง-

หนึ่ง การเคลือบแคลงนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอาการ. จิตที่พรั่งพร้อมด้วย

การสงสัย ชื่อว่า กังขายิตะ เพราะนำมาซึ่งความเคลือบแคลง. ภาวะแห่ง

กังขายิตะนั้นชื่อว่า กังขายิตัตตะ (ความเคลือบแคลง). สภาวะที่ชื่อว่า วิมติ

เพราะความคิดเห็นต่าง ๆ. วิจิกิจฉา (ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้) มีเนื้อความ

ตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า เทฺวฬหก (ความเห็นสองแง่) เพราะ

อรรถว่า ย่อมเห็นสองอย่างด้วยอรรถว่า หวั่นไหวไป. ที่ชื่อว่า เทฺวธาปโถ

(ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง) เพราะอรรถว่า เหมือนทางสองแพร่งโดย

การห้ามการปฏิบัติ. ที่ชื่อว่า สสโย (ความสงสัย) เพราะอรรถว่า ย่อมนอน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

โดยรอบเพราะไม่สามารถดำรงอยู่ในอาการหนึ่งที่เป็นไปว่า นี้เที่ยงหรือหนอ

หรือว่าไม่เที่ยง เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อเนกสคาโห (ความไม่สามารถถือเอาโดย

ส่วนเดียวได้) เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ถือเอาโดยส่วนเดียว เพราะไม่สามารถ

ถือเอาโดยส่วนเดียว. ที่ชื่อว่า อาสปฺปนา (ความคิดส่ายไป) เพราะอรรถว่า

วิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่ออันชี้ขาด จึงถอยกลับจากอารมณ์. ที่ชื่อว่า ปริสปฺ-

ปนา (ความคิดพร่าไป) เพราะอรรถว่า วิจิกิจฉานั้นเมื่อไม่อาจเพื่อจะหยั่งลง

จึงคิดส่ายไปรอบด้าน. ที่ชื่อว่า อปริโยคาหนา (ความไม่สามารถจะหยั่งลง

ถือเอาที่สุดได้) เพราะความเป็นสภาวะไม่สามารถเพื่อหยั่งลงถือเอาได้. ที่ชื่อว่า

ถมฺภิตตฺต (ความกระด้าง) เพราะความเป็นสภาวะที่ไม่สามารถเพื่อเป็นไป

ในอารมณ์ด้วยอำนาจการตัดสินใจได้ อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติ

กระด้าง. จริงอยู่ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำจิตให้กระด้าง ก็เพราะวิจิกิจฉา

นั้นเมื่อเกิดเป็นดุจการจับอารมณ์มาขัดอยู่ซึ่งใจ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

มโนวเลโข (รอยขีดใจ คือ ความลังเลใจ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้นแล.

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑ จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลจิตดวงที่ ๑๒ ต่อไป.

ในการกำหนดสมัยแห่งอกุศลจิตดวงที่ ๑๒ ที่ชื่อว่า อุทธัจจสัมปยุต

เพราะอรรถว่า อกุศลจิตนั้นสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ จริงอยู่ อกุศลจิตดวงที่ ๑๒ นี้

เป็นกลาง (อุเบกขา) ด้วยอำนาจเวทนาในอารมณ์ ๖ เป็นฟุ้งซ่าน (อุทฺธต)

ในอกุศลจิตดวงนี้ จิตนี้มาแล้วในที่วิจิกิจฉาในธัมมุทเทสว่า อุทฺธจฺจ โหติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

(อุทธัจจะย่อมมี) ย่อมได้บท ๒๘ ตามลำดับ ว่าโดยบทที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้

๑๔ บท. พึงทราบวิธีการจำแนกกองธรรมได้ และจำแนกไม่ได้ด้วยสามารถ

แห่งธรรม ๑๔ เหล่านั้น ธรรมทั้ง ๒ คือ อธิโมกข์ มนสิการ เท่านั้น

เป็นเยวาปนกธรรม.

พึงทราบวินิจฉัยในอุทธัจจนิทเทสแห่งนิทเทสวารต่อไป.

บทว่า จิตฺตสฺส. (แห่งจิต) คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. บทว่า

อุทฺธจฺจ ได้แก่ อาการที่ฟุ้งซ่าน. สภาวะที่ชื่อว่า อวูปสมะ (ความไม่สงบ)

เพราะอรรถว่า การไม่เข้าไปสงบแห่งจิต. ที่ชื่อว่า เจตโส วิกฺเขโป (ความ

วุ่นวายใจ) เพราะอรรถว่า จิตซัดส่ายไป. บทว่า ภนฺตตฺต จิตฺตสฺส

(จิตพล่านไป) ได้แก่ ความที่จิตหมุนไป. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวจิตดิ้นรนไปใน

อารมณ์เดียวเท่านั้น ดุจยานที่พล่านไปและโคที่พล่านไปเป็นต้น. เพราะอุท-

ธัจจะดิ้นรนไปในอารมณ์เดียว วิจิกิจฉาดิ้นรนไปในอารมณ์ต่าง ๆ. คำที่เหลือ

ทุกวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.

บัดนี้ จะวินิจฉัยข้อปกิณกะในจิต ๒ ดวงนี้ต่อไป.

ก็เมื่อมีผู้กล่าวว่า ชื่อว่า จิตที่เป็นไปในอารมณ์ มีเท่าไร พึงตอบ

ได้ว่าจิตเหล่านี้มี ๒ ดวงเท่านั้น. บรรดาจิต ๒ ดวงนั้น จิตที่สหรคตด้วย

วิจิกิจฉา ย่อมเป็นไปอย่างเดียว ส่วนจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะได้ที่อาศัยแล้ว

ได้ที่ยึดเหนี่ยวแล้วก็เป็นไปตามที่อาศัยอันได้แล้ว เพราะมีอธิโมกข์ได้แล้ว.

เหมือนอย่างว่า เมื่อแก้วมณี ๒ ดวง ดวงหนึ่งกลม ดวงหนึ่งสี่เหลี่ยม เมื่อเขา

ปล่อยให้กลิ้งไปในที่เนินลาด แก้วมณีดวงกลมย่อมกลิ้งไป ๆ โดยแท้ทีเดียว

ส่วนแก้วมณีดวงสี่เหลี่ยมพลิกไป ๆ ย่อมตั้งอยู่ได้ ฉันใด คำอุปไมยเป็นเครื่อง

เปรียบเทียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

ในอกุศลจิตแม้ทั้งหมด พระองค์มิได้ทรงยกขึ้นแสดงความแตกต่าง

กันโดยความเลวเป็นต้น เพราะความที่อกุศลทั้งหมดเป็นสภาพเลวอย่างเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

สหชาตาธิปติแม้ได้อยู่ก็ไม่ทรงยกขึ้นแสดง เพราะความที่นัยทรงแสดงไว้ใน

หนหลังแล้ว. ก็ในอกุศลทั้งหมดนี้ ชื่อว่า วิมังสาธิปติ ย่อมไม่มีเพราะไม่มี

ญาณ. ในจิต ๒ ดวงหลัง (ที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ) ไม่มีความ

แปลกกันเลย เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เกิดขึ้นทำธรรมอะไร ๆ ให้เป็นธุระ

จึงทรงปฏิเสธไว้ในปัฏฐานปกรณ์นั่นแหละ.

ก็เมื่อกรรมอันอกุศลจิต ๑๒ ดวงเหล่านี้ประมวลมาแล้ว เว้นอกุศลจิต

ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อกุศลจิตที่เหลือ ๑๑ ดวงเท่านั้น ย่อมชักปฏิสนธิมา

(คือให้ปฏิสนธิ).

ถามว่า ครั้นเมื่ออกุศลจิตสหรคตด้วยวิจิกิจฉามีอธิโมกข์ยังไม่ได้แล้ว

แม้มีกำลังทรามก็ยังชักปฏิสนธิมาได้ อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะมีอธิโมกข์

ได้แล้ว มีกำลังย่อมชักปฏิสนธิมาไม่ได้ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะไม่มีธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงละ ก็ผิว่าจิตที่สหรคต

ด้วยอุทธัจจะพึงชักปฏิสนธิมาไซร้ ก็จะพึงตรัสไว้ในวิภังค์แห่งบทว่า ทสฺสเนน

ปหาตพฺพา เพราะฉะนั้น อกุศลจิตที่เหลือ ๑๑ ดวงเว้นอุทธัจจสัมปยุตจิต

ย่อมชักปฏิสนธิมา. จริงอยู่ เมื่อกรรมอันอกุศลธรรมดวงใดดวงหนึ่งในบรรดา

อกุศลธรรมเหล่านั้น ประมวลมาแล้ว ปฏิสนธิจิตย่อมมีในอบาย ๔ ด้วยเจตนา

นั้น. บรรดาอกุศลวิบากทั้งหลาย สัตว์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยเจตนาอันสหรคต

ด้วยอุเบกขา คืออเหตุกมโนวิญญาณธาตุ แม้การให้ปฏิสนธิในอบาย ๔ เหล่านี้

นั่นแหละก็พึงมีแก่อุทธัจจสหรคตจิต แต่เพราะอุทธัจจสหรคตจิตนั้นไม่มีการ

ให้ผลในปฏิสนธิ ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่าด้วยบทว่า ทสฺสเนน

ปหาตพฺพา ดังนี้.

พรรณนาบทว่าด้วยธรรมอันเป็นอกุศบ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

กามาวจรวิบาก

วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก

[๓๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเขกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๓๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๔๐] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัส

แห่งจักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่

เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๔๑] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

[๓๔๒] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๔๓] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตมีในสมัยนั้น.

[๓๔๔] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

[๓๔๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งใจอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีใน

สมัยนั้น.

[๓๔๖] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโห มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ

มโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๔๗] อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

[๓๔๘] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนืองกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ

ชีวิต ขอนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีใน

สมัยนั้น.

[๓๔๙] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๕๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด

ขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น

นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โสตวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

ฆานวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

กายวิญญาณอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนามีโผฏฐัพพะเป็น

อารมณ์เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกคัคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๕๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๕๔] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณ-

ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวย

อารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา

มีในสมัยนั้น.

[๓๕๕] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุที่

สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๕๖] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ก็คิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๕๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตมีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

[๓๕๘] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข

อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ใน

สมัยนั้น อันใด นี่ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๓๕๙] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๓๖๐] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ

มโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๖๑] สุขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๖๒] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนืองกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ

ชีวิต ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

[๓๖๓] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

[๓๖๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๖๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด

ขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น

นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

วิญญาณ ๕ ที่เป็นกุศลวิบาก จบ

มโนธาตุ เป็นกุศลวิบาก

[๓๖๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร-

กุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

ชีวินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

[๓๖๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๖๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่

สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโต-

สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๓๖๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกัน

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๗๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่สมกัน

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๗๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต

มีในสมัยนั้น.

[๓๗๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึงอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

[๓๗๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจารมีในสมัยนั้น.

[๓๗๔] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

[๓๗๕] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีใน

สมัยนั้น.

[๓๗๖] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือ

มโน วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๓๗๗] อุเปกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๗๘] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

ชีวิต ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีใน

สมัยนั้น.

[๓๗๙] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๘๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๘๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่

ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มโนธาตุที่กุศลวิบาก จบ

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก

สหรคตด้วยโสมนัส

[๓๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจร-

กุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา

เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๘๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๓๘๔] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ-

ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย

อารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา

มีในสมัยนั้น.

[๓๘๕] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่

สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๓๘๖] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๓๘๗] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตมีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

[๓๘๘] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

[๓๘๙] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจารมีในสมัยนั้น.

[๓๙๐] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดีในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.

[๓๙๑] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๓๙๒] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น.

[๓๙๓] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน-

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

[๓๙๔] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อื่นเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๙๕] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบ

เนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือชีวิต

ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๙๖] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๓๙๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๓๙๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนาม

ธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์

มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก

สหรคตด้วยอุเบกขา

[๓๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะ

กามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๐๐] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๔๐๑] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่

สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิด

แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย

นั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น.

[๔๐๒] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

[๔๐๓] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๔๐๔] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตมีในสมัยนั้น.

[๔๐๕] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตในสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

[๔๐๖] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจารมีในสมัยนั้น.

[๔๐๗] อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขามีในสมัยนั้น.

[๔๐๘] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีใน

สมัยนั้น.

[๔๐๙] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน-

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๔๑๐] อุเปกขินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๔๑๑] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตอินทรีย์คือ

ชีวิตของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๔๑๒] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๑๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมท่องอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๑๔ ] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน

สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

อธิบายอัพยากตธรรม

บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงจำแนกบทอัพยากตธรรม จึงเริ่ม

คำว่า ธรรมอันเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ? เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น อัพยากตะมี ๔ อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป

พระนิพพาน บรรดาอัพยากตะเหล่านั้น พระองค์ตรัสประสงค์เอาอัพยากตวิบาก

แม้ในอัพยากตวิบาก ก็ทรงประสงค์เอากุศลวิบาก แม้ในกุศลวิบากนั้น ก็ทรง

ประสงค์เอากามาวจรวิบาก แม้ในกามาวจรวิบาก ก็ทรงประสงค์เอาอเหตุกะ

แม้ในอเหตุกะ ก็ทรงประสงค์เอาปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) แม้ในปัญจวิญ-

ญาณนั้นก็ทรงประสงค์เอาจักขุวิญญาณตามลำดับในทวาร แม้จักขุวิญญาณนั้น

เล่า ทรงประสงค์จะแสดงความเกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมปัจจัยที่ไม่ทั่วไปเท่านั้น

เว้นสาธารณปัจจัยทางทวารและอารมณ์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสว่า เพราะ

กามาวจรกุศลกรรมอันตนทำแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตตฺตา (อันได้ทำไว้แล้ว) ได้แก่

เหตุที่ทำไว้แล้ว. บทว่า อุปฺปจิตตฺตา (ได้สั่งสมไว้แล้ว) ได้แก่ ทำให้เจริญ

ขึ้นแล้ว. บทว่า จกฺขุวิญฺาณ ความว่า ที่ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เพราะอรรถว่า

เป็นวิญญาณแห่งจักษุที่มีเหตุสำเร็จแล้ว หรือว่าวิญญาณอันเป็นไปทางจักษุ

หรือว่าเป็นวิญญาณอันอาศัยในจักษุ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นข้างหน้าก็นัย

นี้แหละ.

ในวิญญาณ ๕ เหล่านั้น จักขุวิญญาณมีการรู้รูปอาศัยจักขุประสาทเป็น

ลักษณะ (จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณ) มีอารมณ์เพียงรูปเป็นรส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

(รูปมตฺตารมฺมณรส) มีความมุ่งต่อรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน (รูปาภิมุขภาว-

ปจฺจุปฏฺาน) มีการไม่ปราศจากกิริยามโนธาตุซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์เป็นปทัฏฐาน

(รูปารมฺมณาย กิริยามโนธาตุยา อปคมนปทฏฺาน).

โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่จะมา

ข้างหน้าก็มีการรู้เสียงเป็นต้นอาศัยโสตเป็นต้นเป็นลักษณะ มีอารมณ์สักแต่ว่า

เสียงเป็นต้นเป็นรส มีความมุ่งต่อเสียงเป็นต้นเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการไม่

ปราศจากกิริยามโนธาตุที่มีอารมณ์มีเสียงเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.

ในอัพยากตวิบากนี้ มีบทธรรมตามลำดับ ๑๐ บท ว่าโดยการถือเอา

บทที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ ๗ บท. ในบรรดา ๗ บทเหล่านั้น บทที่จำแนกไม่ได้

มี ๕ บท บทที่จำแนกได้มี ๒ บท บรรดาธรรมที่จำแนกได้นั้น จิตถึงการ

จำแนกให้ที่ทั้ง ๒ คือด้วยสามารถแห่งผัสสปัญจกะ และด้วยสามารถแห่งอินทรีย

เวทนาถึงการจำแนกในที่ทั้ง ๓ คือด้วยสามารถแห่งผัสสปัญจกะ องค์ฌาน และ

อินทรีย์. แม้กองธรรมเหล่านี้ก็มี ๓ เหมือนกัน เยวาปนกธรรมมีหนึ่ง คือ

มนสิการเท่านั้น.

ในนิทเทสวาร ตรัสจักขุวิญญาณว่า ปณฺฑร (ผ่องใส) โดยวัตถุ.

จริงอยู่ กุศล ชื่อว่า ปณฺฑร (ผ่องใส) เพราะความที่ตนบริสุทธิ์. อกุศล

ก็ชื่อว่า ปณฺฑร (ผ่องใส) เพราะผลอันไหลออกจากภวังค์ วิบากก็ชื่อว่า

ปฏฺฑร (ผ่องใส) เพราะผ่องใสโดยวัตถุ.

ในนิทเทสเอกัคคตาแห่งจิต ตรัสบทเดียวเท่านั้นว่า จิตฺตสฺส ิติ

(ความตั้งอยู่แห่งจิต) เพราะจิตแม้นี้ทุรพลในอัพยากตวิบากนี้ ย่อมได้เพียงตั้ง

อยู่เป็นไปเท่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อถึงความเป็นสัณฐิติ (ความดำรงอยู่.) อวัฏฐิติ

(ความมั่นอยู่) ในสังคหวาร ไม่ทรงยกองค์ฌานและองค์มรรคขึ้นแสดง เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

เหตุไร ? เพราะธรรมดาฌานมีวิตกเป็นธรรมต่ำ ธรรมดามรรคก็มีเหตุเป็น

ธรรมต่ำ องค์ฌานย่อมไม่ได้ในจิตที่ไม่มีวิตกตามปกติ องค์มรรคก็ไม่ได้ใน

อเหตุกจิต (จิตไม่ประกอบด้วยเหตุ) เหมือนกัน เพราะฉะนั้น องค์ฌานและ

องค์มรรคแม้ทั้ง ๒ พระองค์ จึงไม่ทรงยกขึ้นแสดงในจักขุวิญญาณนี้ ก็สังขาร-

ขันธ์ในจักขุวิญญาณนี้เป็นธรรมประกอบด้วยองค์ ๔ (ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา

ชีวิตินทรีย์) นั่นแหละจึงทรงจำแนกไว้. สุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ

แม้นิทเทสแห่งโสตวิญญาณเป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในวิญญาณ ๕ นั้น มีความแปลกกันอย่างเดียว คือ ในจักขุวิญญาณ

เป็นต้น ทรงจำแนกอุเบกขา ในกายวิญญาณทรงจำแนกสุข. แม้ความต่างกัน

นั้นก็พึงทราบว่า ย่อมมีด้วยอำนาจการกระทบ เพราะในทวาร ๔ มีจักขุทวาร

เป็นต้น อุปาทารูปย่อมกระทบกับอุปาทารูปเท่านั้น ครั้นเมื่ออุปาทารูปนั่นแหละ

กระทบอยู่ซึ่งอุปาทารูป ความเสียดสีเกิดจากการกระทบย่อมไม่มีกำลัง ย่อม

เป็นเพียงถูกกันเท่านั้น ย่อมไม่กระทบกันหนัก เหมือนเวลาที่เขาวางปุยนุ่น

อันเกิดแต่ฝ้าย ๔ อันไว้บนทั่ง ๔ อัน แล้วเอาปุยนุ่นนั่นแหละกระทบกัน

ฉะนั้น เวทนาจึงตั้งอยู่ในฐานะกลาง (อุเบกขา) แต่ในกายทวาร อารมณ์

ที่เป็นมหาภูตรูปในภายนอกกระทบกายปสาทอันเป็นภายในแล้วกระทบมหาภูต-

รูปทั้งหลายที่มีปสาทรูปเป็นปัจจัย เหมือนบุคคลวางปุยนุ่นบททั่งแล้วเอาค้อน

ทุบ ค้อนก็เลยปุยนุ่นไปกระทบทั่ง เพราะการเสียดสีเป็นสภาพมีกำลัง ข้อนี้

ฉันใด การกระทบมหาภูตรูปกับมหาภูตรูปเป็นการเสียดสีที่มีกำลัง ฉันนั้น

เหมือนกัน. กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข ย่อมเกิดขึ้นในอิฏฐารมณ์ กายวิญญาณ

ที่สหรคตด้วยทุกข์ย่อมเกิดขึ้นในอนิฏฐารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

ก็วัตถุทวารและอารมณ์ของจิตทั้ง ๕ เหล่านี้ ย่อมเป็นของเกี่ยวข้องกัน

โดยเฉพาะ ชื่อว่า การก้าวก่ายกันด้วยวัตถุเป็นต้น ในที่นี้ย่อมไม่มี เพราะ

จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก กระทำจักขุปสาทให้เป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด)

แล้วยังทัสสนกิจ (กิจคือการเห็น) ให้สำเร็จในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน ๔ ใน

อิฏฐารมณ์ และในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในจักขุทวารสำเร็จผล. โสต-

วิญญาณเป็นต้น ทำโสตปสาทเป็นต้นให้เป็นวัตถุแล้วให้สำเร็จสวนกิจฆายนกิจ

สายนกิจ และผุสนกิจในอารมณ์มีเสียงเป็นต้นที่เป็นอิฏฐารมณ์และอิฏฐมัช-

ฌัตตารมณ์ ดำรงอยู่ในโสตทวารเป็นต้นสำเร็จผล. ก็ในอารมณ์เหล่านั้น เสียงมี

สมุฏฐาน ๒ เท่านั้น.

อธิบายมโนธาตุกุศลวิบาก

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งมโนธาตุต่อไป.

ธาตุ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่า มโนธาตุ ด้วยอรรถว่า สูญจาก

สภาวะและมิใช่สัตว์. มโนธาตุนั้นมีการรู้รูปารมณ์เป็นต้น ในลำดับแห่งจักขุ-

วิญญาณเป็นต้นเป็นลักษณะ (จกฺขุวิญฺาณาทีน อนนฺตรรูปาทิวิชานน-

ลกฺขณา) มีการรับอารมณ์ มีรูปเป็นต้นเป็นรส (รูปาทีน สมฺปฏิจฺฉนฺนรสา)

มีภาวะเช่นการรับอารมณ์อย่างนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏานา)

มีการไม่ปราศจากจักขุวิญญาณเป็นปทัฏฐาน (จกฺขุวิญฺญาณา อปคมนปทฏฺ-

านา) ธัมมุทเทสในมโนธาตุนี้มี ๑๒ บท ว่าด้วยการถือเอาบทที่ยังมิได้ถือเอา

ก็ได้ ๙ บท. ใน ๙ บทนั้น ๗ บทจำแนกไม่ได้ ๒ บทจำแนกได้. เยวาปนก-

ธรรมมี ๒ คือ อธิโมกข์ และมนสิการ.

นิทเทสแห่งวิตก พระองค์ทรงกำหนดไว้ถึงอภินิโรปนะ (คือการยกจิต

ขึ้นสู่อารมณ์) ก็เพราะจิต (อัพยากตวิบาก) ดวงนี้เป็นกุศลก็มิใช่ เป็นอกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

ก็มิใช่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า เป็นสัมมาสังกัปปะหรือเป็นมิจฉาสังกัปปะ

องค์ฌานแม้ได้อยู่ในสังคหวารก็ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ เพราะ

ฉะนั้น จึงไม่ยกขึ้นแสดง ส่วนองค์มรรคย่อมไม่ได้โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึง

ไม่ทรงยกขึ้นแสดงสุญญตวารเป็นไปตามปกตินั่นแหละ จิตนี้เป็นจิตเนื่องด้วย

วัตถุ คือ อาศัยเกิดที่หทยวัตถุเท่านั้น. ทวารและอารมณ์เป็นสภาพไม่เนื่องกัน

บรรดาทวารและอารมณ์ที่ไม่เนื่องกันเหล่านั้น ทวารและอารมณ์จะก้าวก่ายกัน

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มีฐานเดียวกัน เพราะฐานนี้มีสัมปฏิจฉันนกิจ (กิจคือมี

หน้าที่รับอารมณ์) เหมือนกัน จริงอยู่ จิตดวงนี้ (อัพยากตวิบาก) เป็น

สัมปฏิจฉันนจิต (เป็นจิตรับอารมณ์) ในอารมณ์ ๕ ในปัญจทวาร สำเร็จผล

เมื่อวิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากดับแล้ว สันปฏิจฉันน-

จิต (อัพยากตวิบาก) นั้นก็รับอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละมีรูปารมณ์เป็นต้นที่ถึง

ฐานในลำดับทีเดียว.

อธิบายมโนวิญญาณธาตุ

พึงทราบวินิจฉัยในนิสเทสแห่งสันติรณมโนวิญญาณธาตุ. บทว่า ปีติ

เป็นบทอธิกะ (ยิ่ง) ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่ง แม้เวทนาก็เป็นโสมนัสส-

เวทนา เพราะมโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ย่อมเป็นไปในอิฏฐารมณ์อย่างเดียว

ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่สอง ย่อมเป็นไปในอิฏฐมัชฌัตตัตตารมณ์ เพราะ

ฉะนั้น ในมโนวิญญาณธาตุดวงที่สองนี้ จึงเป็นอุเบกขาเวทนา บททั้งหลาย

เป็นเช่นเดียวกันในนิทเทสแห่งมโนธาตุนั่นแหละ ในมโนวิญญาณธาตุ แม้ทั้ง

๒ ดวง พระองค์มิได้ทรงยกองค์ฌานขึ้นแสดง เพราะความที่มโนวิญญาณธาตุ

๒ ดวงนั้นเป็นธรรมชาติ ตกไปเป็นไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ ทีเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

องค์มรรคก็เหมือนกัน มิได้ทรงยกขึ้นแสดงเพราะไม่ได้โดยแท้. คำที่เหลือใน

ที่ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

อนึ่ง ว่าโดยลักษณะเป็นต้น มโนวิญญาณธาตุแม้ทั้ง ๒ เป็นอเหตุก-

วิบาก (วิปากจิตไม่มีเหตุประกอบ) มีการรู้อารมณ์ ๖ เป็นลักษณะ (สฬา-

รมฺมณวิชานนลกฺขณา) พึงทราบว่า มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้นเป็นรส

(สนฺติรณาทิรสา) มีความเป็นอย่างนั้น (มีการพิจารณาอารมณ์เป็นต้น

อย่างนั้น) เป็นปัจจุปัฏฐาน (ตถาภาวปจฺจุปฏฺานา) มีหทยวัตถุเป็น

ปทัฏฐาน (หทยวตฺถุปทฏฺานา).

บรรดามโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวงนั้น ดวงที่ ๑ ย่อมให้ผลในฐานทั้ง ๒

จริงอยู่ มโนวิญญาณธาตุดวงที่ ๑ นั้น เมื่อมโนธาตุอันเป็นวิบาก (สัมปฏิจ-

ฉันนจิต) รับอารมณ์ในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ซึ่งเป็นกุศลวิบากใน

ทวาร ๕ นั้นดับแล้วก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จอยู่ในอารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมตั้ง

อยู่ให้ผลในทวาร ๕ และย่อมเป็นตทารัมมณะให้ผลในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร

๖ ข้อนี้ เป็นอย่างไร ? คือ เปรียบเหมือนเมื่อเรือขวางลำในแม่น้ำกระแสเชี่ยว

ไปอยู่ กระแสน้ำก็แตกติดตามเรือไปสู่ที่หน่อยหนึ่ง แล้วก็ไปตามสมควรแก่

กระแสนั่นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่ออารมณ์มีกำลังปรากฏ

ชัดในทวาร ๖ ไปสู่คลองแล้ว ชวนจิตย่อมแล่นไป เมื่อชวนนั้นเสพอารมณ์

แล้วก็เป็นโอกาสของภวังค์ แต่ว่าจิต (สันตรณจิต) นี้ไม่ให้โอกาสแก่ภวังค์ จึง

รับอารมณ์ที่ชวนจิตรับแล้วก็เป็นไปสิ้น ๑ วารจิต ๒ วารจิตก็หยั่งลงสู่ภวังค์

ทีเดียว. บัณฑิตพึงยังอุปมาด้วยอาการอย่างนี้นั่นแหละให้พิสดาร แม้ในฝูงโคที่

กำลังข้ามแม่น้ำ. มโนวิญญาณธาตุดวงที่หนึ่งนี้ ชื่อว่า ตทารัมมณจิต เพราะ

ความที่มโนวิญญาณธาตุนั่นนั่นแหละรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับเอาแล้วให้ผลอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

ส่วนมโนวิญญาณธาตุดวงที่ ๒ ย่อมให้ผลใน ๕ ฐาน อย่างไร ? คือ

ในเบื้องต้นให้ผลเป็นปฏิสนธิจิต ในเวลาถือปฏิสนธิของคนบอดแต่เกิด คน

หนวกแต่เกิด คนใบ้แต่เกิด คนบ้าแต่เกิด เป็นอุภโตพยัญชนกและเป็นกระเทย

ในมนุษยโลกประการ ๑ เมื่อปฏิสนธิผ่านไปแล้วก็ให้ผลเป็นภวังค์ตลอดอายุ

ประการ ๑ ย่อมให้ผลเป็นสันติรณะ (พิจารณา) ในวิถีแห่งอารมณ์ ๕ ใน

อิฎฐมัชฌัตตตารมณ์ประการ ๑ ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะในอารมณ์ที่มีกำลัง

ในทวาร ๖ ประการ ๑ ในเวลามรณะให้ผลเป็นจุติจิตประการ ๑ มโนวิญญาณ-

ธาตุดวงที่ ๒ นี้ย่อมอำนวยผลใน ๕ ฐานเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

มโนวิญญาณธาตุ ๒ ดวงจบ

มหาวิบาก ๘

[๔๑๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ

เกิดขึ้น ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ

... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ

... เกิดขึ้น ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ

... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ

... เกิดขึ้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วย

ญาณ ...เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

... เกิดขึ้น ฯลฯ

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ

... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง เพราะกามาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้

สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๑๖] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ

ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มหาวิบาก ๘ จบ

อธิบายมหาวิบาก ๘ ดวง

บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงมหาวิบากจิต ๘ ดวง จึงทรงเริ่ม

พระดำรัส มีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤต

เป็นไฉน ?) อีก.

ในมหาวิบาก ๘ เหล่านั้น ทรงแสดงเพียงนัยไว้ในพระบาลีแล้วทรง

ย่อวาระไว้ทั้งหมด. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งวาระเหล่านั้นโดยนัยที่กล่าว

ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนความแปลกกันอันใดในมหาวิบากจิตเหล่านั้น ทรง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

ประสงค์จะแสดงความแปลกกันนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อโลโภ

อพฺยากตมูล (อัพยากตะคืออโลภะ) ดังนี้. พระดำรัสใดแม้มิได้ตรัสไว้

พระดำรัสนั้น บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ว่า

ก็ความต่างกันแห่งกรรม ทวาร กรรมบถ บุญกิริยาวัตถุ อันใดที่

ตรัสไว้ในกามาวจรกุศลทั้งหลาย ความต่างกันอันนั้นไม่มีในมหาวิบาก ๘ เหล่านี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะมหาวิบาก ๘ ให้วิญญัติเกิดไม่ได้ คือ เหตุที่

มหาวิบากไม่มีวิบากเป็นธรรมดา และเพราะมหาวิบากไม่เป็นไป (เหมือนบุญ

กิริยาวัตถุ) อย่างนั้น กรุณาและมุทิตาแม้เหล่าใดที่ตรัสไว้ในเยวาปนกธรรม

ทั้งหลาย กรุณาและมุทิตานั้นก็ไม่มีอยู่ในวิบากทั้งหลาย เพราะมีสัตว์เป็นอารมณ์

ด้วยว่า กามาวจรวิบากทั้งหลายเป็นปริตตารมณ์อย่างเดียว มิใช่กรุณาและ

มุทิตาเท่านั้นไม่มี แม้วิรตีทั้งหลายก็ไม่มีในวิบากเหล่านี้ ข้อนี้สมจริงดังที่

ตรัสว่า สิกขาบท ๕ เป็นกุศลเท่านั้น. ก็ในมหาวิบากนี้ พึงทราบวิธีของธรรม

ที่เป็นอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) สสังขาร (มีการชักจูง) โดยกุศล และโดย

ความต่างแห่งปัจจัย.

จริงอยู่ กุศลเป็นอสังขาริก วิบากก็เป็นอสังขาริก กุศลเป็นสสังขาริก

วิบากก็เป็นสสังขาริก. อนึ่ง กุศลที่เป็นอสังขาริกเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่มีกำลัง

กุศลที่เกิดขึ้นด้วยปัจจัยนอกนี้เป็นสสังขาริก. แม้ในความต่างกันแห่งความเลว

เป็นต้น มหาวิบากเหล่านี้ย่อมไม่ชื่อว่าเลว ปานกลาง และประณีต เพราะ

ความที่ธรรมมีฉันทะเป็นต้นที่เลว ปานกลางและประณีตไม่ให้สำเร็จไว้ แต่ว่า

วิบากของกุศลที่เลวก็ย่อมเลว วิบากของกุศลปานกลางก็ย่อมเป็นปานกลาง

วิบากของกุศลที่ประณีตก็ย่อมเป็นของประณีต ในวิบากเหล่านี้ แม้ธรรมที่เป็น

อธิบดีทั้งหลาย ก็มิได้มี. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร ? เพราะความที่วิบากเหล่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ไม่ทำฉันทะเป็นต้นให้เป็นธุระแล้วเกิดขึ้น. คำที่เหลือทั้งหมดเหมือนกับคำที่

กล่าวไว้ในกุศล ๘ นั่นแล.

บัดนี้ พึงทราบที่เป็นที่ให้ผลของมหาวิบากจิต ๘ เหล่านี้ต่อไป.

จริงอยู่ มหาวิบากเหล่านี้ย่อมให้ผลในที่ทั้ง ๔ คือ ในปฏิสนธิ ๑

ในภวังค์ ๑ ในจุติ ๑ ในตทารัมมณะ ๑ ให้ผลอย่างไร ? คือ ย่อมให้ผล

เป็นปฏิสนธิ ในเวลาถือปฏิสนธิของผู้มีบุญทั้งหลายเป็นทุเหตุกะและติเหตุกะ

ในพวกมนุษย์ และในพวกเทพชั้นกามาพจรก่อน เมื่อปฏิสนธิจิตผ่านไปแล้วก็

ให้ผลเป็นภวังค์ในปวัตติกาลตลอดอายุ ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ตลอดอสงไขย

หนึ่งบ้าง ย่อมให้ผลเป็นตทารัมมณะในอารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ และย่อม

ให้ผลเป็นจุติในเวลาตาย มหาวิบากย่อมให้ผลในที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

ในกาลให้ผลของมหาวิบากจิต ๘ เหล่านั้น พระสัพพัญญูโพธิสัตว์

แม้ทุกพระองค์ย่อมถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตที่เป็นอสังขาริก สหรคตด้วย

โสมนัส เป็นติเหตุกะดวงที่หนึ่ง ในการถือปฏิสนธิภพสุดท้าย ก็มหาวิบากจิต

ดวงนั้นเป็นวิบากของจิตมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้น ก็ปฏิสนธิจิตอันมหาวิบากมี

เมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นนั้นให้มีอายุหนึ่งอสงไขย แต่ย่อมเปลี่ยนไปด้วยอำนาจ

แห่งกาล.

ส่วนพระมหาสิวเถระกล่าวว่า มหาวิบากจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขามี

กำลังกว่ามหาวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ย่อมถือปฏิสนธิ

ด้วยมหาวิบากที่สหรคตด้วยอุเบกขานั้น เพราะผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากที่

สหรคตด้วยอุเบกขานั้น ย่อมเป็นผู้มีอัธยาศัยใหญ่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว

ในอารมณ์ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ เหมือนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก

เป็นต้น. แต่คำนี้ในอรรถกถาท่านปฏิเสธว่า นี้เป็นความชอบใจของพระเถระ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แล้วกล่าวว่า การบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลของพระ-

สัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพมีกำลังมาก เพราะฉะนั้น พระสัพพัญญู-

โพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมถือปฏิสนธิด้วยอสังขาริกจิต อันเป็นติเหตุกะ สหรคต

ด้วยกามาวจรกุศลวิบากมีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้น.

อธิบายทวารวิบากมาติกากถา

บัดนี้ ควรจะตั้งมาติกาในกถาทวารวิบาก ต่อไป.

พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวไว้ก่อนว่า กุศลเจตนา

ดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต ๑๖ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิด

วิบากจิต ๑๒ ดวงบ้าง เป็นอเหตุกจิต ๘ บ้าง ดังนี้.

ก็พระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในวิหารโมรวาปีกล่าวว่า กุศลเจตนาหนึ่ง

ดวงย่อมเกิดวิบากจิต ๑๒ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละเป็นเหตุให้เกิดวิบาก-

จิต ๑๐ ดวงบ้าง อเหตุกจิต ๘ บ้าง ดังนี้.

แต่พระมหาธัมมรักขิตเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า กุศล-

เจตนาดวงเดียวย่อมเกิดวิบากจิต ๑๐ ดวง ในกุศลเจตนาดวงนี้แหละ เป็น

อเหตุกจิต ๘ ดังนี้.

ในฐานะนี้ พระเถระเหล่านั้นถือเอาเรื่องชื่อว่า สาเกตกปัญหา.

ได้ยินว่า พวกอุบาสกผู้อยู่ในเมืองสาเกต นั่งในศาลาสนทนากันถึง

ปัญหาว่า ในเจตนากรรมดวงเดียวที่ประกอบแล้ว จะมีปฏิสนธิอย่างเดียว

หรือหลายอย่าง ดังนี้ ไม่อาจวินิจฉัยได้ จึงพากันไปถามพระเถระผู้ทรงพระ-

อภิธรรม. พระเถระทั้งหลายให้พวกอุบาสกเหล่านั้นยอมรับด้วยคำว่า หน่อ

อันเดียวเท่านั้นย่อมออกจากเมล็ดมะม่วงอันเดียวฉันใด เจตนาเดียวก็มีปฏิสนธิ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

หนึ่งเท่านั้น ฉันนั้นดังนี้. ในวันต่อมาก็สนทนากันถึงปัญหาว่า ก็เจตนา

ต่าง ๆ ที่กระทำกรรมแล้วย่อมมีปฏิสนธิต่าง ๆ หรือมีปฏิสนธิเดียว ดังนี้ เมื่อ

ไม่อาจวินิจฉัยได้จึงพากันไปถามพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายยังอุบาสก

เหล่านั้นให้ยอมรับด้วยคำว่า เมื่อเมล็ดมะม่วงมากที่เขาเพาะไว้ หน่อเป็นอันมาก

ก็ย่อมงอกขึ้น ฉันใด เจตนามากก็มีปฏิสนธิมากฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องชื่อว่าการแสดงถึงสิ่งที่มีมาก

เป็นประมาณ เพราะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้มีโลภะมากก็ดี มีโทสะมากก็ดี มีโมหะ

มากก็ดี มีอโลภะอโทสะอโมหะมากก็ดี ถามว่า ธรรมอะไรย่อมกำหนดสภาวะ

นั้นของสัตว์เหล่านั้นที่มีมากได้. ตอบว่า บุรพเหตุย่อมกำหนด ความต่างกัน

ย่อมมีในขณะแห่งการประกอบกรรมนั่นแหละ ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ ในขณะ

การประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะมีกำลังแรง อโลภะมีกำลังอ่อน อโทสะ

และอโมหะมีกำลังแรง โทสะและโมหะมีกำลังอ่อน อโลภะอ่อนของบุคคลนั้น

ไม่อาจเพื่อครอบงำโลภะได้ แต่ว่าอโทสะและอโมหะมีกำลังแรง ย่อมอาจเพื่อ

ครอบงำโทสะและโมหะได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิ

อันกรรมนั้นให้แล้วย่อมเป็นคนมักได้ มีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ แต่มี

ปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดังนี้.

อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะและโทสะมีกำลัง

แรง อโลภและอโทสะมีกำลังอ่อน และมีอโมหะแรงมีโมหะอ่อน บุคคลนั้น

เป็นผู้มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย แต่เป็นคนมี

ปัญญา มีญาณเปรียบด้วยเพชร ดุจพระทัตตาภยเถระ.

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคล โลภะอโทสะโมหะมีกำลัง

แรง นอกนี้ (อโลภะโทสะและอโมหะ) มีกำลังอ่อนบุคคลนั้นเป็นผู้มักโลภโดยนัย

ก่อนนั่นแหละด้วย เป็นคนเขลาด้วย แต่เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ มักไม่โกรธ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด โลภะ โทสะ และโมหะ

แม้ทั้ง ๓ มีกำลังแรง อโลภะเป็นต้นมีกำลังอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้มักได้ตามนัย

ก่อนนั่นแหละด้วย เป็นผู้มักประทุษร้ายด้วย ผู้ลุ่มหลงด้วย.

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ โมหะ

มีกำลังแรง นอกนี้ (คือโลภะ อโทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคลนั้น

มีกิเลสน้อยโดยนัยก่อนนั่นแหละ เขาเห็นแม้อารมณ์อันเป็นทิพย์ก็ไม่หวั่นไหว

แต่เป็นผู้มักประทุษร้ายและมีปัญญาทราม ดังนี้.

อนึ่ง ในขณะประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ อโทสะ และโมหะ

มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ โทสะ และอโมหะ) มีกำลังอ่อน บุคคล

นั้นเป็นคนไม่มักได้ เป็นคนมีความสุขเป็นปกติ แต่เป็นคนโง่เขลา.

อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใด อโลภะ โทสะ และ

อโมหะ มีกำลังแรง นอกนี้ (คือ โลภะ อโทสะ และโมหะ ) มีกำลังอ่อน

บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักได้โดยนัยก่อนนั่นแหละด้วย มีปัญญาด้วย แต่เป็นคนมัก

ประทุษร้าย มักโกรธ.

อนึ่ง ในขณะที่ประกอบกรรมของบุคคลใดมีอโลภะเป็นต้น แม้ทั้ง ๓

มีกำลังแรง มีโลภะเป็นต้นอ่อน บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มักประทุษร้าย

และมีปัญญา เหมือนพระมหาสังฆรักขิตเถระ ดังนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องการยกย่องเหตุ. จริงอยู่

กรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง

อเหตุกะบ้าง. กรรมอันประกอบด้วยเหตุ ๒ ย่อมไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ ให้

แต่วิบากนอกนี้ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกะบ้าง

ทุเหตุกะบ้าง ไม่มีอเหตุกะ ด้วยกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ ปฏิสนธิย่อมเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

ทุเหตุกะบ้าง ย่อมเป็นอเหตุกะบ้าง ไม่เป็นติเหตุกะ กุศลกรรมที่เป็นอสังขาริก

ย่อมให้วิบากเป็นอสังขาริกบ้าง เป็นสสังขาริกบ้าง. กุศลที่เป็นสสังขาริกย่อม

ให้วิบากเป็นสสังขาริกบ้าง อสังขาริกบ้าง. เวทนาพึงเปลี่ยนไปตามอารมณ์

ตทารัมมณะพึงกำหนดด้วยชวนะ.

ว่าด้วยวิบากจิต ๑๖ ดวง นัยของพระจูฬนาคเถระ

บัดนี้ พึงทราบเห็นเกิดวิบาก ๑๖ ดวงเป็นต้นในวาทะของพระเถระนั้น ๆ

ก็สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิตดวงที่หนึ่งเช่นเดียวกับกามาวจรกุศลดวงที่

หนึ่ง ออกจากการอยู่ในครรภ์แล้ว เข้าถึงความเป็นผู้สามารถเพื่อเริ่มตั้งอยู่ใน

สังวรและอสังวร เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองจักษุทวารแล้ว มโนธาตุที่เป็นกิริยา

ไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป ขอบเขตอารมณ์ที่ก้าวล่วงก็ไม่มี เพราะเหตุไร จึง

เป็นเช่นนั้น เพราะอารมณ์มีกำลังอ่อน นี้เป็นโมฆวาระหนึ่งก่อน.

ก็ถ้าว่า จิตนั้นหมุนไปสู่ภวังค์ เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้

เปลี่ยนไป จิตนั้นไม่ทันถึงโวฏฐัพพนะเลย จิตนั้นจักกลับมาตั้งอยู่ในจักขุวิญญาณ

หรือสัมปฏิจฉันนะ หรือสันติรณะดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่มีได้. แต่ว่าจิตหนึ่ง

ดวงบ้าง สองดวงบ้าง ตั้งอยู่ในโวฏฐัพพนะเป็นไป จากนั้นก็ดำรงอยู่ในที่ชวนะ

ได้อาเสวนะแล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก แม้จิตนี้ก็ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ

ความที่อารมณ์ทุรพล แต่วาระนี้ย่อมได้ในเวลาที่กล่าวถ้อยคำมีอาทิว่า รูปนี้

เหมือนข้าพเจ้าเห็นแล้ว เสียงนี้เหมือนข้าพเจ้าฟังแล้ว ดังนี้ โมฆวาระแม้นี้

เป็นที่สอง.

เมื่อมโนธาตุที่เป็นกิริยาของบุคคลอื่นอีก ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปแล้ว

วิถีจิตทั้งหลายย่อมเกิด ชวนะย่อมแล่นไป ในเวลาสุดแห่งชวนะก็เป็นวาระของ

ตทารัมมณะ แต่ตทารัมมณะนั้นยังไม่เกิดเลย ก็หยั่งลงสู่ภวังค์ไป ในข้อนั้นมี

อุปมาดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

เหมือนเมื่อเขาสร้างทำนบกั้นแม่น้ำทำให้น้ำไหลบ่าไปสู่เหมืองใหญ่ น้ำ

ย่อมไหลบ่าไปเต็มขอบคันในฝั่งทั้งสอง แล้วก็ลันไปตามทางทั้งหลาย มีทางปู

เป็นต้นแล้วก็หยั่งลงสู่แม่น้ำนั่นแหละอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงทราบฉันนั้น

เถิด. ก็ในความข้อนี้เวลาที่ภวังควิถีเป็นไป เหมือนเวลาเป็นไปของน้ำในแม่น้ำ.

เวลามโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนเวลาที่เขาสร้างทำนบกั้น

แม่น้ำ. การที่วิถีจิตเป็นไป เหมือนเวลาที่น้ำกำลังไหลไปในเหมืองใหญ่. ชวนะ

เหมือนการเต็มขอบคันทั้งสองฝั่ง. การแล่นไปของชวนะแล้ว แต่ตทารมณ์ยัง

ไม่ทันเกิดเลย จิตชวนะนั้นก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก เหมือนน้ำไหลจากทางทั้งหลาย

มีทางปูเป็นต้น แล้วไปสู่แม่น้ำอีก คลองการนับจิตที่หยั่งลงสู่ภวังค์ด้วยอาการ

อย่างนี้หามีไม่ แม้จิตนี้ ย่อมเป็นอย่างนี้ก็เพราะความที่อารมณ์ทุรพล นี้เป็น

โมฆวาระที่สาม.

ก็ถ้าอารมณ์ที่มีกำลังแรงมาสู่คลองไซร้ มโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้

เปลี่ยนไปแล้ว จิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ก็ในฐานแห่งชวนะ

กามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งเป็นชวนะแล้ว ก็แล่นไป ๖-๗ วาระ แล้วจึงให้

โอกาสแก่ตทารัมมณะ ตทารัมมณะเมื่อตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่เป็นมหาวิบากจิตเช่น

เดียวกับกามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งนั่นแหละ มหาวิบากจิตดวงนี้ได้มี ๒ ชื่อ

คือมูลภวังค์ เพราะเป็นเหมือนจิตปฏิสนธิ และชื่อว่า ตทารัมมณะ เพราะ

ความที่จิตนั้นรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับมาแล้ว. ในฐานนี้วิบากจิตย่อมถึงการนับ

ได้ ๔ อย่าง คือ จักขุวิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันนะ ๑ สันติรณะ ๑ ตทารัมมณะ ๑.

อนึ่ง เมื่อใดกุศลจิตดวงที่ ๒ เป็นชวนะ เมื่อนั้นกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒

เช่นกับกุศลจิตดวงที่สองนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ แม้วิปากจิตดวง

ที่ ๒ นี้ย่อมได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ ชื่อว่า อาคันตุกภวังค์เพราะเป็นเช่นเดียวกับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ปฏิสนธิจิต และชื่อว่า ตทารัมมณะโดยนัยก่อนนั่นแหละ วิบากจิตดวงก่อน ๆ

๔ ดวง กับจิตดวงนี้รวมเป็นจิต ๕ ดวง.

ก็เมื่อใด กุศลจิตดวงที่ ๓ เป็นชวนะ เมื่อนั้นวิบากจิตดวงที่ ๓ เช่น

กับกุศลจิตนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ วิปากจิตดวงที่ ๓ นี้ ได้ชื่อ ๒ อย่าง

คือ อาคันตุกภวังค์ และตทารัมมณะโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วิบากจิต

ดวงก่อน ๆ ๕ ดวง กับจิตนี้ก็รวมเป็นจิต ๖ ดวง.

อนึ่ง เมื่อใดกุศลจิตดวงที่ ๔ เป็นชวนะ เมื่อนั้นวิบากจิตดวงที่ ๔

เช่นกับกุศลจิตนั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ วิปากจิตแม้นี้ย่อมได้ ๒ ชื่อ

คืออาคันตุกภวังค์ และตทารัมมณะ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วิบากจิต

ดวงก่อน ๆ ๖ ดวงกับจิตดวงนี้ก็รวมเป็นจิต ๗ ดวง.

ก็เมื่อใด อิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองทวารนั้น เมื่อนั้นย่อมได้

โมฆวาระ ๓ โดยนัยที่กล่าวไว้อิฏฐมัชฌัตตารมณ์แม้นั้น แต่เพราะเวทนาย่อม

เปลี่ยนไปตามอารมณ์ ฉะนั้น ในเวทนานั้น สันติรณะจึงสหรคตด้วยอุเบกขา.

ในที่สุดแห่งมหากุศลชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ ดวง มหาวิบากจิตที่

สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ ดวง ย่อมตั้งอยู่โดยความเป็นตทารัมมณะ แม้มหาวิบาก-

จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๔ เหล่านั้น ก็ได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ อาคันตุกภวังค์

และตทารัมมณะ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ท่านเรียกว่า ปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์

ดวงหลัง) ดังนี้ก็มี วิบากจิต ๕ ดวงกับดวงนี้ และวิบากจิต ๗ ดวงก่อน

รวมเป็น ๑๒ ดวง ด้วยประการฉะนี้. วิบากจิตในจักขุทวารมี ๑๒ ดวง ใน

โสตทวารเป็นต้นก็มีทวารละ ๑๒ ดวง จึงรวมเป็นวิบากจิต ๖๐ ดวงถ้วน

ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

เมื่อกุศลเจตนาดวงหนึ่งประกอบกรรมแล้ว ย่อมยังวิบากจิต ๖๐ ถ้วน

ให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แต่ว่าเมื่อถือเอาวิบากที่ยังมิได้ถือเอา ก็ได้วิบากจิต

๑๖ ดวง คือ วิบากจิต ๑๒ ดวง เกิดในจักขุทวาร และวิบากจิต ๔ ดวง

ได้แก่ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑ และกายวิญญาณ ๑.

ในฐานะนี้ ท่านถือเอาเรื่องชื่อว่าอัมโพปมา คือเปรียบด้วยผล

มะม่วง

สมมติว่า บุรุษคนหนึ่งนอนคลุมศีรษะที่โคนต้นมะม่วงที่มี

ผลสุกแล้วหลับไป ขณะนั้นผลมะม่วงสุกผลหนึ่งหลุดจากขั้วหล่นลง

พื้นดินเสียงดังเหมือนเสียดสีอยู่ซึ่งช่องหูของเขา เขาตื่นขึ้นด้วยเสียง

ของมะม่วงนั้นแล้วลืมตาแลดู ในทันทีนั้นจึงเหยียดมือไปหยิบผล

มะม่วงบีบ สูดดมกลิ่น แล้วบริโภค.

ในคำอุปมาเหล่านั้น เวลาที่ภวังค์พร้อมเพียงกัน พึงทราบว่าเหมือน

เวลาที่บุรุษคนนั้นนอนหลับที่โคนต้นมะม่วง เวลาที่อารมณ์กระทบประสาท

เหมือนเวลาที่ผลมะม่วงสุกหลุดจากขั้วตกลงเสียดสีอยู่ซึ่งช่องหู เวลาที่มโนธาตุ

คือกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นตื่นขึ้นด้วยเสียงมะม่วงตก

เวลาที่จักขุวิญญาณยังทัศนกิจให้สำเร็จ เหมือนเวลาบุรุษนั้นลืมตาขึ้นแลดู

เวลาที่มโนธาตุซึ่งเป็นวิบากรับอารมณ์ เหมือนเวลาที่บุรุษเหยียดมือไปหยิบ

ผลมะม่วงนั้น เวลาที่มโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นวิบากพิจารณาอารมณ์ เหมือน

เวลาที่บุรุษหยิบมะม่วงมาบีบ เวลาที่มโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นกิริยากำหนด

อารมณ์ เหมือนเวลาสูดดมกลิ่นมะม่วง เวลาที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ เหมือน

เวลาบุรุษนั้น บริโภคมะม่วง ฉะนั้น.

ถามว่า อุปมานี้แสดงเนื้อความอะไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

ตอบว่า แสดงถึงการกระทบประสาทเป็นกิจ* (หน้าที่) ของอารมณ์

เท่านั้น.

คือเมื่ออารมณ์นั้นมากระทบประสาทแล้ว การเปลี่ยนไปแห่งภวังค์นั้น

เป็นกิจของกิริยามโนธาตุ กิจของจักขุวิญญาณมีเพียงการเห็นเท่านั้น กิจของ

วิบากมโนธาตุมีเพียงการรับอารมณ์เท่านั้น กิจของวิบากมโนวิญญาณธาตุมี

เพียงการพิจารณาอารมณ์เท่านั้น กิจของกิริยามโนธาตุมีเพียงกำหนดอารมณ์

เท่านั้น ชวนะเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์อย่างเดียว ดังนี้.

ก็ในความเป็นไปแห่งจิตนี้ ใคร ๆ เป็นผู้กระทำหรือผู้สั่งให้กระทำว่า

ท่านจงชื่อว่าภวังค์ ท่านจงชื่อว่าอาวัชชนะ ท่านจงชื่อว่าทัสสนะ (จักขุวิญญาณ)

ท่านจงชื่อว่าสัมปฏิจฉันนะ ท่านจงชื่อว่าสันติรณะ ท่านจงชื่อว่าโวฏฐัพพนะ

ท่านจงชื่อว่าชวนะ. ท่านจงชื่อว่าตทาลัมพนะ ดังนี้ มิได้มี. (เพื่อความแจ่ม

แจ้งจึงแสดงถึงนิยาม ๕)

ว่าด้วยนิยาม ๕ อย่าง

ก็ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่องชื่อนิยาม ๕ อย่าง คือ

พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช)

*ท่านแสดงกิจทั้งหมดมี ๑๔ ที่นี่แสดงไว้ ๘ คือ

๑. การกระทบประสาทเป็นกิจของอารมณ์

๒. การรำพึงถึงอารมณ์เป็นกิจของอาวัชชนะ

๓. การเห็นเป็นกิจของจักขุวิญญาณ

๔. การรับอารมณ์เป็นกิจของสัมปฏิจฉันนะ

๕. การพิจารณาเป็นกิจของสันติรณะ

๖. การตัดสินอารมณ์เป็นกิจของโวฏฐัพพนะ

๗. การเสวยรสอารมณ์เป็นกิจของชวนะ

๘. การเสวยรสอารมณ์ที่เหลือจากชวนะเป็นกิจของตทารัมมณะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)

กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)

ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)

จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต).

บรรดานิยาม ๕ เหล่านั้น ความที่พืชนั้น ๆ ให้ผลเหมือนกันกับพืช

นั้น คือ ความที่กอถั่วพูชนิดหนึ่งทอดยอดไปทางซ้าย เถาวัลย์ไปทางขวา

พันล้อมต้นไม้ไปทางขวา ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เถาย่าง-

ทรายมุ่งหน้าไปเฉพาะต้นไม้อย่างเดียว ผลมะพร้าวมีรูข้างบท ชื่อว่า พีชนิยาม

(โยชนาว่า เป็นธรรมดาของพืช) ความที่ต้นไม้นั้น ๆ ผลิดอกออกผลและมี

ใบอ่อนพร้อม ๆ กันในสมัยนั้น ๆ ชื่อว่า อุตุนิยาม ความที่กรรมนั้น ๆ

ให้ผลเช่นเดียวกันกับกรรมนั้น ๆ อย่างนี้คือ กรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๓

ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะ กรรมที่ประกอบด้วยกุศล

เหตุ ๒ ย่อมให้วิบากเป็นทุเหตุกะ และอเหตุกะ ไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ

ชื่อว่า กรรมนิยาม.

อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรรมนิยามด้วยอำนาจแห่งวิบากเหมือนกับกรรม

นั่นแหละ เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเรื่องไว้ดังนี้

ในสมัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้านใกล้ประตูพระนครสาวัตถีถูก

ไฟไหม้ กระจุกหญ้า ติดไฟโพลงแต่บ้านไฟไหม้นั้น ขึ้นไปสวมคอกาตัวบิน

ทางอากาศ กานั้นร้องตกตายในแผ่นดิน.

เรือลำหนึ่งได้หยุดนิ่งลอยอยู่แม้ในมหาสมุทร เมื่อพวกเขาไม่เห็นทาง

ที่ใคร ๆ จะปลอดภัยจากอันตรายในภายใต้ จึงใคร่ครวญจับสลากคนกาลกรรณี

๑. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกก็เป็นซ้ายมือ หรือเรียกว่า ทิศอุดร.

๒. กระจุกหญ้าที่เขามัดทำวงกลมรองหม้อ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

สลากนั้นได้ตกไปในมือหญิงภรรยาใกล้ชิดของนายเรือนั้นเท่านั้น ทีนั้น ชน

ทั้งหลายจึงพูดว่า ขอคนทั้งหมดอย่าพากันฉิบหายเพราะเหตุแห่งหญิงคนเดียว

พวกเราจักโยนเขาไปในน้ำ นายเรือพูดว่า เราไม่อาจเห็นหญิงนี้ลอยอยู่ในน้ำ

ได้ จึงให้เอาหม้อบรรจุทรายผูกติดคอโยนลงไป ในขณะนั้นนั่นเอง เรือก็แล่น

ไปดุจลูกศรที่ยิงไป ฉะนั้น.

ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในถ้ำ ยอดภูเขาใหญ่ตกมาปิดประตูถ้ำ ในวันที่ ๗

ยอดเขานั้นก็เปิดเองทีเดียว.

พวกภิกษุกราบทูลเรื่องทั้ง ๓ นี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับ

นั่งแสดงธรรมในพระเชตวัน คราวเดียวกันทั้งหมด พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่

ผู้อื่นกระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่อง

อดีตมาแสดงธรรม จึงตรัสว่า กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึก

โคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟางสวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละ

บัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้นแม้บินอยู่ทางอากาศ. แม้หญิงนี้ก็เป็นหญิง

คนหนึ่งนั่นแหละในอัตภาพก่อน สุนัขตัวหนึ่งคุ้นเคยกัน เมื่อเธอไปป่าก็ไปด้วย

เมื่อมาก็มาด้วย พวกมนุษย์ทั้งหลายผู้ออกไปย่อมเยาะเย้ยเธอว่า บัดนี้ พราน

สุนัขออกแล้ว ดังนี้ นางอึดอัดอยู่ด้วยสุนัขนั้น เมื่อไม่อาจห้ามสุนัขได้ จึง

เอาหม้อใส่ทรายผูกคอแล้วเหวี่ยงไปในน้ำ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยเธอในท่ามกลาง

สมุทร. แม้ภิกษุนั้นก็เป็นนายโคบาลในอัตภาพก่อน เมื่อเหี้ยเข้าไปในรูก็หัก

กิ่งไม้กำมือหนึ่งปิดรูเสีย หลังจากนั้นมา ๗ วัน เขาจึงมาเปิดรูเองทีเดียว

เหี้ยตัวสั่นออกมา ด้วยกรุณาเขาจังไม่ฆ่ามัน กรรมนั้นไม่ให้เพื่อจะปล่อยภิกษุ

นั้นผู้เข้าไปยังซอกเขานั่งอยู่.

เมื่อทรงประชุมเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

น ปพฺพตาน วิวร ปวิสฺส

น วิชฺชเต โส ชคติปฺปเทโส

ยตฺรฏฺิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา

ไม่ว่าในที่ใด ๆ ในอากาศ ในกลาง

ทะเลหรือในซอกเขา ส่วนภูมิประเทศที่สัตว์

สถิตอยู่แล้ว จะพึงพ้นไปจากบาปกรรมได้

ไม่มี ดังนี้.

นี้ ก็ชื่อว่า กรรมนิยาม เหมือนกัน. เรื่องอื่น ๆ แม้เช่นนี้ก็ควรแสดง.

อนึ่ง ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงถือปฏิสนธิ ในเวลาทรง

ออกจากครรภ์พระมารดา ในเวลาที่ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ ในเวลาที่พระตถาคต

ทรงประกาศพระธรรมจักร ในเวลาที่ทรงปลงอายุสังขาร ในเวลาที่เสด็จดับ

ขันธ์ปรินิพพาน หมื่นจักรวาลหวั่นไหว นี้ชื่อว่า ธรรมนิยาม.

อนึ่ง เมื่ออารมณ์กระทบประสาท ใคร ๆ เป็นผู้กระทำ หรือสั่งให้

กระทำว่า เจ้าจงชื่อว่า อาวัชชนะ ฯลฯ เจ้าจงชื่อว่า ชวนะ ดังนี้ มิได้มี

ก็ว่าโดยธรรมดาของตนตั้งแต่เวลาที่อารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิตที่เป็น

กิริยามโนธาตุก็ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็ทำทัสสนกิจ (หน้าที่เห็น)

วิบากมโนธาตุก็ทำสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) วิบากมโนวิญญาณธาตุ

ก็ทำสันติรณกิจ (หน้าที่พิจารณาอารมณ์) กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ทำโวฏฐัพ-

พนกิจ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์) ชวนะเสวยรสแห่งอารมณ์ ดังนี้ นี้ชื่อว่า

จิตนิยาม ในอธิการนี้ ทรงประสงค์เอาจิตนิยามนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

กุศลจิตประกอบด้วยเหตุกะเป็นสสังขาริกก็ดี กุศลจิตที่ประกอบด้วย

อสังขาริกและสสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขาก็ดี ประกอบ (ทำ) กรรมแล้ว

ปฏิสนธิอันวิบากจิตเช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมแล้วนั้นให้ผลแล้ว ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. ก็จิตสหรคตด้วยอุเบกขา ๒ ดวง บัณฑิตพึงแสดงความเป็นไป

ครั้งแรกด้วยอำนาจอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ภายหลังจึงควรแสดงด้วยอำนาจอิฏฐา-

รมณ์. ในทวารแต่ละทวารเป็นวิบากจิตทวารละ ๑๒ ดวง รวมเป็นจิต ๖๐ ดวง

ถ้วนแม้ด้วยประการฉะนี้. เมื่อว่าโดยการถือเอาวิบากจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้

วิบากจิต ๑๖ ดวง.

อุปมาวิบาตจิตเปรียบด้วยคนหีบอ้อย

ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่อง ชื่อว่า นาฬิยันโตปมะ เปรียบด้วยนัยว่า

ในเวลาที่คั้นอ้อยมีคนหีบอ้อย ๑๑ คน ถือเครื่องคั้นอ้อยออกจากบ้านหนึ่งพบ

แหล่ง (ศูนย์รวม) อ้อยแห่งหนึ่ง ทราบว่าอ้อยนั้นแก่แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของ

อ้อยแล้วพูดว่า พวกเรารับจ้างหีบอ้อย เจ้าของอ้อยตอบว่า เรากำลังหาพวก

ท่านเหมือนกัน แล้วพาชนเหล่านั้นไปโรงหีบอ้อย พวกคนรับจ้างเหล่านั้น

ตระเตรียมเครื่องหีบอ้อยแล้วพูดว่า พวกเรามี ๑๑ คน ได้อีกหนึ่งคนกะจะได้

รับค่าจ้างพอดี เจ้าของอ้อยพูดว่า เรานี้แหละเป็นสหายช่วยท่าน แล้วขน

อ้อยไปเต็มโรงจึงได้เป็นสหายช่วยเหลือชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นทำกิจของตนๆ

เคี้ยวน้ำอ้อยข้นทำเป็นงบน้ำอ้อยแล้ว เมื่อเจ้าของพิจารณาให้ส่วนแบ่งแล้วก็ถือ

เอาส่วนของตน ๆ มอบโรงอ้อยให้แก่เจ้าของโดยอุบายนี้แหละ ทำการงาน

โรงอ้อย ๔ หลัง อื่นอีกแล้วหลีกไป.

ในข้อนั้น ประสาททั้ง ๕ พึงเห็นเหมือนโรงเครื่องยนต์ ๕ แห่ง

อารมณ์ ๕ พึงเห็นเหมือนแหล่งอ้อย ๕ แห่ง วิบากจิต ๑๑ ดวง พึงเห็นเหมือน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

คนรับจ้างหีบอ้อย ๑๑ คน เที่ยวไป วิญญาณ ๕ พึงเห็นเหมือนเจ้าของโรง

หีบอ้อย ๕ คน. เวลาที่วิบากจิต ๑๑ ดวง ร่วมกับจักขุวิญญาณทำกิจของตน ๆ

ในรูปารมณ์ทางจักขุทวาร พึงเห็นเหมือนเวลาคนรับจ้างหีบอ้อย ๑๑ คน

ร่วมกับเจ้าของโรงหีบอ้อยในโรงแรก แล้วถือเอาส่วนงานที่กระทำ เวลาที่

จักขุวิญญาณไม่ล่วงทวารไป พึงเห็นเหมือนเวลาที่เจ้าของโรงอ้อยรับอ้อยไว้ใน

โรง. เวลาที่วิบากจิต ๑๑ ดวง ร่วมกับกายวิญญาณ ทำกิจของตน ๆ ใน

โผฏฐัพพารมณ์ทางกายทวาร การไม่ก้าวก่ายทวารของกายวิญญาณ พึงทราบ

เหมือนเวลาที่เจ้าของโรงอ้อยรับอ้อยไว้ในโรง. วาระที่ท่านกล่าวไว้ว่า ติเหุตก-

ปฏิสนธิ (ปฏิสนธิประกอบด้วยเหตุ ๓) ย่อมมีด้วยกรรมอันประกอบด้วยเหตุ ๓

มีเพียงเท่านี้ ส่วนทุเหตุกปฏิสนธิ มีด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะนั้น ยังลี้ลับนัก*

ว่าด้วยทุเหตุกปฏิสนธิมีกรรมเป็นทุเหตุกะ

บัดนี้ ควรกล่าววาระที่ว่า ทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็น

ทุเหตุกะ จริงอยู่ เมื่ออสังขาริกจิตสหรคตด้วยโสมนัสทำกรรมแล้ว สัตว์ผู้ถือ

ปฏิสนธิด้วยวิบากจิตที่เป็นทุเหตุกะเช่นเดียวกับจิตที่เป็นอลังขาริกสหรคตด้วย

โสมนัสทำกรรมนั้นนั่นแหละมี ๓ โมฆวาระในอิฏรารมณ์ที่มาสู่คลองจักขุวาร

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง ในที่สุดลงแห่งอสังขาริกชวนจิตที่สหรคตด้วย

โสมนัสที่เป็นทุเหตุกะ ตทารัมมณะ กล่าวคือมูลภวังค์เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรม

นั่นแหละก็เกิดขึ้น. ในที่สุดลงแห่งสังขาริกชวนจิต ตทารมณ์กล่าวคืออาคัน-

ตุกภวังค์เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมนั่นแหละก็เกิดขึ้น. ในที่สุดลงแห่งชวนจิต

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๒ ดวง ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์เท่านั้น ตทารมณ์ ๒

ดวง เช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมนั้นแหละเกิดขึ้น. ในอธิการนี้เท่านั้น ทวาร

* ไม่ปรากฏเลย.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

แต่ละทวาร แบ่งจิตทวารละ ๘ ดวง จึงรวมเป็นจิต ๔๐ ดวงถ้วน. แต่เมื่อ

ถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้จิตในจักขุทวาร ๘ ดวง อีก ๔ ดวง คือ โสต-

วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ สละกายวิญญาณ จึงรวมเป็นจิต ๑๒

ดวง เมื่อเจตนาดวงเดียวประกอบกรรมแล้วย่อมให้วิบากจิต ๑๒ ดวง เกิดขึ้น

ได้ด้วยประการฉะนี้ กถาว่าด้วยการเปรียบด้วยผลมะม่วง และนิยาม ๕ เป็นไป

ตามปกตินั่นแล. แม้ในปฏิสนธิที่สัตว์ถือเอาด้วยวิบากเช่นเดียวกับทุเหตุกจิต

ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในทุเหตุกปฏิสนธินี้ ว่าโดยการเปรียบกับคน

หีบอ้อย ก็ได้คนหีบอ้อย ๗ คน ในการอุปมานั้น พึงทราบการประกอบโดย

ทำนองแห่งนัยที่กล่าวกระทำคนรับจ้างหีบอ้อย ๗ คนนั้น ตระเตรียมเครื่อง

หีบอ้อยแล้วทำเจ้าของอ้อยให้เป็นคนที่ ๘ นั่นแหละ ข้าพเจ้ากล่าววาระที่ว่า

ทุเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้

ว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ

บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยอเหตุกปฏิสนธิ อธิบายว่า เมื่อกรรมอันกุศลจิต

ที่เป็นทุเหตุกะ ๔ ดวงทำแล้ว ปฏิสนธิของสัตว์ผู้ถือเอาด้วยจิตที่เป็นอเหตุก-

มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขาเป็นกุศลวิบาก ไม่ควรกล่าวว่าเป็นเช่น

เดียวกับกรรมที่ให้ปฏิสนธิ เพราะกรรมเป็นทุเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๒)

ปฏิสนธิเป็นอเหตุกะ (จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ). เมื่อบุคคลผู้ปฏิสนธิด้วย

อเหตุกจิตนั้นถึงความเจริญขึ้นแล้ว เมื่ออิฏฐมัชฌัตตารมณ์มาสู่คลองประสาท

ในจักขุทวารแล้ว ก็พึงทราบโมฆวาระ ๓ วาระ โดยนัยก่อนนั่นแหละ แต่เมื่อ

กุศลจิตที่เป็นทุเหตุกะดวงใดดวงหนึ่งเป็นชวนะสิ้นสุดลง อเหตุกะจิตก็ตั้งอยู่ใน

ความเป็นตทารัมมณะ อเหตุกจิตนั้นได้ชื่อ ๒ อย่างคือ มูลภวังค์ และตทา-

รัมมณะ ในอเหตุกจิตนี้ จิต ๔ ดวง คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันติรณะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา แม้ตทารัมมณะก็สหรคตด้วยอุเบกขาเหมือนกัน ย่อมมี

ด้วยประการฉะนี้ ในจิต ๔ เหล่านั้น ถือเอาดวงหนึ่ง ก็เหลือ ๓ ดวงเท่านั้น

ที่เข้าถึงการนับเอา. แต่ในอิฏฐารมณ์ สันติรณะก็ดี ตทารัมมณะก็ดี ย่อม

สหรคตด้วยโสมนัสได้เหมือนกัน บรรดาจิตเหล่านั้น วิบากจิต ๓ ดวงก่อน

รวมกับดวงหนึ่งก็เป็นวิบากจิต ๔ ดวง เมื่อเจตนาดวงหนึ่งทำกรรมในทวาร

๕ ทวารละ ๔ ดวง พึงทราบว่า ย่อมยังวิบากจิต ๒๐ ดวงให้เกิดขึ้น แต่เมื่อ

ถือเอาธรรมที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้วิบากจิต ๔ ดวงในจักขุทวาร โสตวิญญาณ

ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณรวมเป็นวิบากจิต ๘ ดวง นี้ชื่อว่า

อเหตุกจิต ๘ ดวง. อเหตุกจิต ๘ ดวงนี้ ไม่ทรงถือเอามนุษยโลก.

ส่วนในอบาย ๔ ย่อมได้จิต ๘ ดวงนี้ในปวัตติกาล

จริงอยู่ เมื่อใด พระมหาโมคคัลลานเถระเนรมิตดอกปทุมในนรก

นั่งอยู่ที่กลีบดอกปทุมแสดงธรรมกถาแก่พวกสัตว์นรก เมื่อนั้นจักขุวิญญาณซึ่ง

เป็นกุศลวิบากก็เกิดขึ้นแก่พวกเขาผู้เห็นพระเถระ เมื่อฟังเสียงโสตวิญญาณกุศล

วิบากก็เกิด เมื่อพระเถระไปนั่งพักผ่อนกลางวันที่ป่าไม้จันทน์ ฆานวิญญาณก็

เกิดในเวลาสูดกลิ่นจีวร ในเวลาบันดาลฝนให้ตกดับไฟนรกแล้วได้ดื่มน้ำที่

ควรดื่ม ชิวหาวิญญาณกุศลวิบากก็เกิด ในเวลาที่บันดาลให้ลมพัดมาอ่อน ๆ

กายวิญญาณกุศลวิบากก็เกิดขึ้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้นอย่างนี้ ๕ ดวง

สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันติรณะ ๒ ดวง เพราะฉะนั้นจึงได้อเหตุกจิต ๘ ดวง.

ปฏิสนธิแม้ของพวกนาค ครุฑและเวนานิกเปรตย่อมมีด้วยอกุศล แต่

กุศลย่อมให้ผลในปวัตติกาล ปฏิสนธิของช้างม้ามงคลเป็นต้นของพระเจ้าจักร-

พรรดิก็เหมือนกัน นี้เป็นการประพันธ์ถ้อยคำด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะใน

อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ทั้งหลายก่อน. แต่ในอิฏฐารมณ์เมื่ออกุศลจิตที่สหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

โสมนัส ๔ ดวง เสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยโสมนัสที่เป็นกุศลวิบาก

ย่อมเป็นตทารัมมณะ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิต ๔ ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ

สหรคตด้วยอุเบกขาเสพชวนะแล้ว อเหตุกจิตสหรคตด้วยอุเบกขากุศลวิบาก

เป็นตทารัมมณะ ก็คำใดที่ท่านกล่าวว่า ตทารัมมณะ อันชวนะพึงกำหนด

ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงกุศล.

ถามว่า ตทารัมมณะเมื่อเกิดขึ้นในลำดับแห่งชวนะสหรคตด้วยโทมนัส

ย่อมเกิดจิตอะไร.

ตอบว่า จิตที่เป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากย่อมเกิดขึ้น.

ถามว่า ก็ชวนะนี้ สภาวะอะไร ย่อมกำหนดไว้โดยความเป็นกุศล

หรืออกุศล.

ตอบว่า อาวัชชนะ และโวฏฐัพพนะย่อมกำหนด.

จริงอยู่ เมื่ออาวัชชนะเปลี่ยนมาโดยแยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนด

โดยไม่แยบคาย ชวนะจักเป็นอกุศล ดังนี้ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้ เมื่ออาวัชชนะ

เปลี่ยนมาโดยไม่แยบคายแล้ว โวฏฐัพพนะกำหนดโดยแยบคาย ชวนะจักเป็น

กุศล ดังนี้ ข้อนี้ก็เป็นไปไม่ได้. แต่เมื่ออาวัชชนะและโวฏฐัพพนะทั้ง ๒

เปลี่ยนมากำหนดโดยแยบคาย พึงทราบว่า ชวนะเป็นกุศล ถ้าไม่แยบคายก็เป็น

อกุศล.

ถามว่า ในอิฏฐารมณ์ เมื่อความสงสัย และอุทธัจจะเกิดขึ้น ตทารัมมณะ

ย่อมเป็นจิตอะไร ?

ตอบว่า ในอิฏฐารมณ์ ความสงสัยจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม หรืออุท-

ธัจจะจะมีก็ตามไม่มีก็ตาม โสมนัสจิตอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบากเท่านั้นย่อมเป็น

ตทารมณ์ ในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ จิตสหรคตด้วยอุเบกขาอเหตุกะฝ่ายกุศลวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

เป็นตทารมณ์ ก็ในการกำหนดตทารมณ์นี้ การแสดงเนื้อความโดยสังเขปนี้

ชื่อว่าเป็นวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระ. ก็เมื่อชวนะอันสหรคตด้วย

โสมนัสเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหาตทารัมมณจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส

๕ ดวง เมื่อชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขาเสพอารมณ์แล่นไปแล้ว พึงแสวงหา

จิต ๖ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขาแล.

ถามว่า ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ถือปฏิสนธิสหรคตด้วยโสมนัสยังฌาน

ให้เกิดในปวัตติกาลแล้ว มีฌานอันเสื่อมแล้วด้วยความประมาท พิจารณาอยู่ว่า

ธรรมอันประณีตของเราฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

วิปฏิสาร ในกาลนั้น จิตอะไรย่อมเกิดขึ้น เพราะในคัมภีร์ปัฏฐานท่านปฏิเสธ

ว่า โทมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับแห่งโสมนัส และโสมนัสย่อมไม่เกิดในลำดับ

แห่งโทมนัส เมื่อชวนจิตเสพอารมณ์แล้ว แม้ตทารมณ์ก็ปฏิเสธไว้ในคัมภีร์

ปัฏฐานนั้น เหมือนกัน.

ตอบว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ที่

สหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมเกิดขึ้น.

ถามว่า จิตอะไร เป็นอาวัชชนะของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้น.

ตอบว่า อาวัชชนกิจของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุนั้นไม่มีเหมือนความ

ไม่มีแห่งอาวัชชนะของภวังค์ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะ

ความที่ตนน้อมไปในอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์ตนเคยเสพ และเพราะความ

ที่ตนเองเสพอารมณ์อยู่เสมอ.

ถามว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุนี้ ย่อมเกิดอย่างไร ?

ตอบว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นอนันตรปัจจัยแก่นิโรธ

(คือดับจิตและเจตสิก) ๑ จิตที่ประกอบด้วยผลสมาบัติ ของบุคคลผู้ออก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

จากนิโรธ ๑ อริยมรรคจิต ๑ ผลจิตที่เป็นลำดับแห่งมรรค ๑ ไม่มี

อาวัชชนะย่อมเกิดได้ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์)

ไม่มีอยู่ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยการน้อมไปด้วยความ

เคยเสพและด้วยความที่เสพอยู่เสมอ ฉันนั้น.

จริงอยู่ จิตเว้นจากอาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์) ย่อมเกิดขึ้น

ได้ แต่จิตนั้นเว้นจากอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า เป็นอารมณ์ของจิตนี้.

ตอบว่า ได้แก่ ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในปริตธรรมมีรูปเป็นต้น

จริงอยู่ ในปริตธรรมมีรูปเป็นต้นนั้น อารมณ์ใดมาสู่คลองในสมัยนั้นนั่นแหละ

พึงทราบว่า จิตนี้เกิดขึ้นปรารภอารมณ์นั้น.

บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านจึงกล่าวนัย

ปกิณกะไว้ว่า

สุตฺต โทวาริโก จ คามิลโก อมฺโพ โกลิยเกน จ

ชจฺจนฺโธ ปีสปฺปี จ วิสยคาโห จ อุปนิสฺสยมตฺถโส

เรื่องใยแมลงมุม ๑ เรื่องนายทวาร ๑

เรื่องเด็กชาวบ้าน ๑ เรื่องมะม่วงกับเจ้าของ

โรงหีบอ้อย ๑ เรื่องชายบอดกับคนเปลี้ย ๑

เรื่องการรับอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็น

ประโยชน์ ๑.

จิตเปรียบด้วยแมลงมุมชักใยเป็นต้น

บรรดาปกิณกนัยมีเรื่องแมลงมุมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัย

ในคำว่า สุตฺต (ใยแมลงมุม) ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ก็แมลงมุมริมทางตัวหนึ่งขึงใยไป ๕ ทิศ ทำข่ายแล้วนอนอยู่ตรงกลาง

เมื่อใยที่ขึงไปในทิศแรกถูกกระทบด้วยสัตว์เล็ก ๆ หรือตั๊กกระแตนหรือแมลงวัน

มันก็จะเคลื่อนออกจากที่เป็นที่นอนไปตามสายใยเจาะศีรษะดูดเลือดของสัตว์นั้น

แล้วกลับมานอน ณ ท่ามกลางใยนั้นนั่นแหละอีก แม้ในเวลาที่ทิศที่ ๒ เป็นต้น

ถูกกระทบแล้วก็กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

ในข้อนั้น ประสาททั้ง ๕ พึงทราบว่า เหมือนใยแมลงมุมที่ขึงไป

๕ ทิศ. จิตเหมือนแมลงมุมนอนในท่ามกลาง. เวลาที่อารมณ์มากระทบประสาท

เหมือนเวลาที่สัตว์เล็ก ๆ เป็นต้นมากระทบใยแมลงมุม. เวลาที่กิริยามโนธาตุ

รับอารมณ์ที่กระทบประสาทแล้วยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนการไหวของแมลง

มุมซึ่งนอนท่ามกลาง. ความเป็นไปของวิถีจิต เหมือนเวลาการไปตามสายใย

ของแมลงมุม. เวลาที่ชวนจิตเสพอารมณ์ เหมือนการเจาะศีรษะดูดเลือด.

การที่จิตอาศัยหทัยวัตถุเป็นไป เหมือนแมลงมุมกลับมานอนในท่ามกลางใยอีก.

ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร ?

ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบว่า เมื่ออารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิต

ที่อาศัยหทัยรูปเกิด ย่อมเกิดขึ้นก่อนกว่าจิตที่อาศัยประสาทรูปเกิด คือ ย่อม

อธิบายให้ทราบว่า อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่คลองในทวารทั้งสอง ดังนี้.

จิตเปรียบด้วยนายทวารเป็นต้น

พระราชาพระองค์หนึ่งบรรทมหลับอยู่บนแท่นบรรทม มหาดเล็กของ

พระองค์ นั่งถวายงานนวดพระยุคลบาทอยู่ มีนายทวารหูหนวกยืนอยู่ที่พระทวาร

มีทหารยามเฝ้าอยู่ ๓ คน ยืนเรียงตามลำดับ ครั้งนั้น มีชาวชนบทคนหนึ่งถือ

เครื่องบรรณาการมาเคาะประตูเรียก นายทวารหูหนวกไม่ได้ยินเสียงมหาดเล็ก

ผู้ถวายงานนวดพระยุคลบาทจึงให้สัญญาณ เขาจึงเปิดประตูด้วยสัญญาณนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

มองดู ทหารยามคนที่หนึ่งจึงรับเครื่องบรรณาการแล้วส่งให้คนที่ ๒ คนที่ ๒

ส่งให้คนที่ ๓ คนที่ ๓ ทูลเกล้าถวายพระราชา พระราชาจึงเสวย.

ในข้อนั้น ชวนจิต พึงเห็นเหมือนพระราชาพระองค์นั้น อาวัชชนจิต

เหมือนมหาดเล็กผู้นวดพระบาท. จักขุวิญญาณ เหมือนนายประตูหูหนวก.

วิถีจิต ๓ ดวงมีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น เหมือนนายทหารยาม ๓ คน. การที่อารมณ์

มากระทบประสาท เหมือนชาวชนบทถือเครื่องราชบรรณาการมาเคาะประตูเรียก

เวลาที่กิริยามโนธาตุเปลี่ยนมาแต่ภวังค์ เหมือนเวลาที่มหาดเล็กผู้นวดพระยุคล-

บาทให้สัญญาณ. เวลาที่จักขุวิญญาณทำกิจเห็นอารมณ์ เหมือนเวลาที่นาย

ประตูหูหนวกเปิดประตูด้วยสัญญาณที่มหาดเล็กให้สัญญานั้น. เวลาที่วิบาก-

มโนธาตุทำสัมปฏิจฉันนกิจ คือรับอารมณ์ เหมือนเวลาทหารยามคนที่หนึ่ง

รับบรรณาการ. เวลาที่วิบากมโนวิญญาณธาตุทำสันติรณกิจ คือการพิจารณา

อารมณ์ เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่หนึ่งส่งบรรณาการให้ทหารยามคนที่สอง

แล้ว. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำโวฏฐัพพนกิจ คือ การกำหนดอารมณ์

เหมือนเวลาที่ทหารยามคนที่สามทูลถวายบรรณาการแด่พระราชา. เวลาที่ชวนะ

ทำชวนกิจ คือ เสวยรสอารมณ์ เหมือนเวลาที่พระราชาเสวยเครื่องบรรณาการ

ฉะนั้น.

ถามว่า อุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร ?

ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบถึงคำนี้ว่า กิจของอารมณ์มีเพียงกระทบ

ประสาทเท่านั้น. กิจทั้งหลายของจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นเพียงการเห็น

อารมณ์ การรับอารมณ์ การพิจารณาอารมณ์ และการกำหนดอารมณ์เท่านั้น

ชวนจิตเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์โดยส่วนเดียว ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

จิตเปรียบด้วยเด็กชาวบ้าน

คำว่า เด็กชาวบ้าน คือ พวกเด็กชาวบ้านเป็นอันมากย่อมเล่นฝุ่น

ที่ระหว่างทาง บรรดาพวกเด็กเหล่านั้น กหาปณะกระทบมือของเด็กคนหนึ่ง

เด็กคนนั้นพูดว่า นั่นอะไร กระทบมือของเรา ดังนี้. ลำดับนั้น เด็กคนหนึ่ง

จึงพูดว่า นั่นสีขาว ดังนี้. อีกคนหนึ่งก็ถือไว้มั่นคงพร้อมกับฝุ่น คนอื่นพูดว่า

นั่นสี่เหลี่ยมหนา คนอื่นอีกพูดว่า นั่นกหาปณะ ลำดับนั้น พวกเขาจึงนำ

เหรียญกหาปณะนั้นมาให้มารดา มารดาก็นำไปใช้ในการงาน.

ในข้อนั้น ความเป็นไปของภวังคจิต พึงเห็นเหมือนเวลาที่พวกเด็ก

มากด้วยกันนั่งเล่นในระหว่างทาง. เวลาที่ประสาทถูกอารมณ์กระทบแล้วเหมือน

เวลาที่กหาปณะกระทบมือ. เวลาที่กิริยามโนธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปรับอารมณ์

นั้นเหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นอะไร. เวลาที่จักขุวิญญาณทำทัสสนกิจ

เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นสีขาว. เวลาที่วิบากมโนธาตุทำหน้าที่รับ

อารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งถือกหาปณะพร้อมกับฝุ่นไว้มั่น. เวลาที่วิบาก-

มโนวิญญาณธาตุทำกิจพิจารณาอารมณ์ เหมือนเวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่น

สี่เหลี่ยมหนา. เวลาที่กิริยามโนวิญญาณธาตุทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ เหมือน

เวลาที่เด็กคนหนึ่งพูดว่า นั่นกหาปณะ การที่ชวนจิตเสวยรสอารมณ์ พึงทราบ

เหมือนเวลาที่มารดานำกหาปณะไปใช้ในการงานฉะนั้น.

ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้รู้ถึงอะไร ?

ตอบว่า ย่อมแสดงให้รู้ว่า กิริยามโนธาตุยังมิได้เห็นเลย ยังภวังค์ให้

เปลี่ยนไป วิบากมโนธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่รับอารมณ์ วิบากมโนวิญญาณ

ธาตุก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ไม่เห็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ย่อมทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ ชวนจิตก็ไม่เห็น ย่อมทำหน้าที่เสวยรสอารมณ์

ส่วนจักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมทำกิจก็เห็น (ทัสสนกิจ) โดยส่วนเดียว ดังนี้.

คำว่า มะม่วงกับเจ้าของโรงหีบอ้อย นี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในภาย

หลังแล้ว คำนี้ กล่าวหมายเอาอุปมาด้วยผลมะม่วง และอุปมาด้วยเจ้าของโรง-

หีบอ้อย.

นามรูปเปรียบด้วยชายบอดและคนเปลี้ย

คำว่า ชายบอดและคนเปลี้ย ความว่า ได้ยินว่า ในศาลาใกล้

ประตูพระนคร มีชายตาบอดแต่กำเนิดและคนเปลี้ยสนทนากันอยู่ ในบรรดา

คนทั้งสองนั้น คนเปลี้ยพูดว่า เจ้าบอด เพราะเหตุไร เจ้าจึงซูบซีดอยู่ในที่นี้

เจ้าเที่ยวไปประเทศโน้นซึ่งมีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวน้ำมาก เจ้าไปในที่นั้นก็เป็น

อยู่สบายไม่สมควรหรือ ชายตาบอดพูดว่า เจ้าบอกเราก่อนแล้ว แต่เจ้าเล่า

ไปในที่นั้นก็อยู่สบายไม่สมควรหรือ.

คนเปลี้ย : เท้าที่จะเดินของเราไม่มี

ชายบอด : ตาของเราจะดูไม่มี.

คนเปลี้ย : ถ้าอย่างนั้น เจ้าเป็นเท้า เราเป็นตา.

คนทั้ง ๒ ต่างก็รับคำกันแล้ว ชายบอดให้คนเปลี้ยขี่คอไป คนเปลี้ย

นั้นนั่งขี่คอของชายบอดเอามือซ้ายโอบศีรษะชายตาบอด เอามือขวากำหนดทาง

บอกว่า ในที่นี้มีรากไม้ขวางอยู่ ในที่นี้มีหิน ท่านจงละทางซ้ายถือเอาทางขวา

จงละทางขวาถือเอาทางซ้าย ดังนี้ เท้าเป็นของคนตาบอดแต่กำเนิด ตาเป็น

ของคนเปลี้ย คนแม้ทั้งสองไปแล้วสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกัน

เป็นอยู่แล้วเป็นสุข ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ในความอุปมานั้น รูปกาย พึงเห็นเหมือนชายตาบอดแต่กำเนิด อรูป-

กาย (นามกาย) เหมือนคนเปลี้ย. รูปกายเว้นนามกายก็ไม่สามารถให้ถึงการ

ยึดถือ การจับ และการเคลื่อนไหวได้ เหมือนเวลาที่ชายตาบอดแต่เว้นคนเปลี้ย

ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปยังถิ่นต่าง ๆ ได้. อรูป (นามกาย) เว้นรูป

เสียก็เป็นไปไม่ได้ในปัญจโวการภพ เหมือนคนเปลี้ยเว้นชายตาบอดแต่กำเนิด

ก็ไม่เกิดความตั้งใจที่จะเดินทางไปสู่ถิ่นต่าง ๆ ได้. รูปธรรมและอรูปธรรม

มีสภาพเป็นไปในกิจทั้งปวงได้ด้วยการประกอบซึ่งกันและกัน เหมือนเวลาที่ชาย

ตาบอดและคนเปลี้ยแม้ทั้งสองไปสู่ที่ตนปรารถนาด้วยความพยายามร่วมกันแล้ว

เป็นอยู่สบาย ฉะนั้น. ปัญหานี้ท่านอาจารย์กล่าวได้ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.

ว่าด้วยการรับอารมณ์โดยมีอุปนิสสยปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า การรับอารมณ์ ต่อไป

จักษุย่อมรับอารมณ์เฉพาะรูป โสตเป็นต้นก็รับอารมณ์เฉพาะเสียง

เป็นต้น. คำว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ คือ โดยอุปนิสสย-

ปัจจัย (ต้องอาศัยแน่นอนขาดไม่ได้) และโดยความเป็นประโยชน์.

จักขุวิญญาณอาศัยปัจจัย ๔ เกิดขึ้น

ในข้อว่า โดยมีอุปนิสสยปัจจัยและโดยเป็นประโยชน์นั้น จักขุวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้เพราะอาศัยปัจจัย ๔ คือ

อสมฺภินฺนตฺตา จกฺขุสฺส เพราะจักขุประสาทยังไม่แตกดับ

อาปาถคตฺตา รูปาน เพราะรูปมาสู่คลอง

อาโลกสนฺนิสฺสิต อาศัยแสงสว่าง

มนสิการเหตุก อาศัยมนสิการเป็นเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น จักษุแม้ของคนตายย่อมเป็นของแตกดับ

ไปสิ้น จักษุของคนมีชีวิตดับไปก็ดี หรือถูกน้ำดีหรือเสมหะหรือโลหิตขัดขวาง

แล้วก็ดี ไม่อาจเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ชื่อว่าแตกดับไปแล้ว เมื่อสามารถ

เป็นปัจจัยได้ ชื่อว่า ไม่แตกดับ.

แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

ก็เมื่อจักขุประสาทแม้ยังไม้แตกดับ แต่รูปารมณ์ภายนอกยังไม่มาสู่คลอง

จักษุประสาท จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อรูปนั้นมาสู่คลองแล้ว แต่ปัจจัย

ที่อาศัย คือ แสงสว่างไม่มี จักขุวิญญาณก็เกิดไม่ได้ เมื่อแสงสว่างซึ่งเป็น

ปัจจัยนั้นมีอยู่ แต่กิริยามโนธาตุไม่ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็เกิด

ไม่ได้ เมื่อกิริยามโนธาตุทำภวังค์ให้เปลี่ยนไปได้ จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น

(จึงเกิดการเห็นได้). จักขุวิญญาณเมื่อเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้น

พร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายโดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า จักขุวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้น เพราะได้ปัจจัย ๔ เหล่านี้ทีเดียว.

โสตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔

เหล่านี้ คือ

อสมฺภินฺนตฺตา โสตสฺส เพราะโสตประสาทยังไม่แตกดับ

อาปาถคตตฺตา สทฺทาน เพราะเสียงทั้งหลายมาสู่คลอง

อาสาสสนฺนิสฺสิต อาศัยอากาศ

มนสิการเหตุก มีมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยอากาศ คือ โสตวิญญาณนั้น

ได้อาศัยอากาศจึงเกิดขึ้น เว้นอากาศก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลปิดช่องหูเสีย

โสตวิญญาณก็ไม่เป็นไป. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ คือ แม้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ฆานวิญญาณเป็นต้นนอกจากนี้ ก็พึงทราบความเหมือนในโสตวิญญาณนี้

ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

ฆานวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔

เหล่านี้ คือ

อสมฺภินฺนตฺตา ฆานสฺส เพราะฆานประสาทยังไม่แตกดับ

อาปาถคตตฺตา คนฺธาน เพราะกลิ่นทั้งหลายมาสู่คลอง

วาโยสนฺนิสฺสิต อาศัยวาโย

มนสิการเหตุก มีมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาเหตุ ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยวาโย อธิบายว่า เมื่อวาโย

พากลิ่นทั้งหลายเข้าไปสู่ช่องจมูกนั่นแหละ ฆานวิญญาณจึงเกิด เมื่อลมไม่มี

ฆานวิญญาณก็ไม่เกิด.

ชิวหาวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลายเพราะปัจจัย ๔

เหล่านี้ คือ

อสมฺภินฺนตฺตตา ชิวฺหาย เพราะชิวหาประสาทยังไม่แตกดับ

อาปาถคตตฺตา รสาน เพราะรสทั้งหลายมาสู่คลอง

อาโปสนฺนิสฺสิต อาศัยอาโป

มนสิการเหตุก มีมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า อาศัยอาโป ความว่า ได้อาโป

ทำให้เปียก ฆานวิญญาณจึงเกิด เว้นอาโปก็ไม่เกิด เพราะเมื่อบุคคลลิ้นแห้ง

แม้วางขาทนียะที่แห้งไว้ที่ลิ้น ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้น.

กายวิญญาณย่อมเกิดพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๔

เหล่านี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

อสมฺภินฺนตฺต กายสฺส เพราะประสาทกายยังไม่แตกดับ

อาปาถคตตฺตา โผฏฺพฺพาน เพราะโผฏฐัพพะไม่มาสู่คลอง

ปฐวีสนฺนิสฺสิต อาศัยปฐวี

มนสิการเหตุก มีมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาปัจจัย เหล่านั้น คำว่า อาศัยปฐวี ได้แก่ อาศัยปฐวี

ที่ควบคุมกัน คือกายประสาทเป็นปัจจัยนั่นแหละ กายวิญญาณจึงเกิดขึ้น เว้น

กายประสาทแล้ว กายวิญญาณก็ไม่เกิด เพราะมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ภายนอก

กระทบกายประสาทในภายในที่กายทวาร ย่อมกระทบที่มหาภูตรูปทั้งหลายที่มี

ประสาทเป็นปัจจัย.

มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะปัจจัย

๔ เหล่านี้ คือ

อสมฺภินฺนตฺตา มนสฺส เพราะมโนยังไม่แตกดับ

อาปาถคตตฺตา ธมฺมาน เพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง

วตฺถุสนฺนิสฺสิต อาศัยวัตถุ

มนสิการเหตุก มีมนสิการเป็นเหตุ.

บรรดาปัจจัย ๔ เหล่านั้น คำว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต อธิบายว่า

ภวังคจิตนั้นแตกดับแล้วก็ดี มีกำลังอ่อนไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต

ให้เป็นไปก็ดี ชื่อว่า แตกดับ แต่ที่สามารถเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะได้ ชื่อว่า

ยังไม่แตกดับ. คำว่าเพราะธรรมทั้งหลายมาสู่คลอง ได้แก่เมื่อธรรมารมณ์

มาสู่คลอง. คำว่า อาศัยวัตถุ คือได้อาศัยหทยวัตถุเท่านั้นจึงเกิดขึ้น เว้น

หทยวัตถุก็ไม่เกิดขึ้น. ปัญหาแม้นี้พระเถระกล่าวหมายถึงปัญจโวการภพ. คำว่า

มีมนสิการเป็นเหตุ อธิบายว่า กิริยามโนวิญญาณธาตุยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

ก่อน มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. พรรณนาอุปนิสสยปัจจัยในข้อว่า การรับ

อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็นประโยชน์ นี้เพียงเท่านี้.

ก็จักขุเป็นอรรถชื่อว่า ทัสสนัตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) โสต

เป็นอรรถชื่อว่า สวนัตถะ (มีการฟังเป็นอรรถ) ฆานะเป็นอรรถชื่อว่า

ฆานัตถะ (มีการสูดกลิ่นเป็นอรรถ) ชิวหาเป็นอรรถ ชื่อว่า สายนัตถะ

(มีการลิ้มรสเป็นอรรถ) กายเป็นอรรถชื่อว่า ผุสนัตถะ (มีการถูกกระทบ

เป็นอรรถ) มโนเป็นอรรถชื่อว่า วิชานนัตถะ (มีการรู้เป็นอรรถ).

พึงทราบวินิจฉัยคำว่า มีการเห็นเป็นอรรถเป็นต้นต่อไป

การเห็นเป็นอรรถของจักขุวิญญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณ

นั้นจึงชื่อว่า ทัสสันตถะ จริงอยู่ การเห็นนั้นอันจักขุพึงให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ทัสสันตถะ (มีการเห็นเป็นอรรถ) แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น

ก็นัยนี้แหละ.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันจบวิบากจิต ๑๖ ดวง ในวาทะของ

พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกพร้อมกับวิบากจิต ๑๒ ดวง และอเหตุกจิต

๘ ดวง เพียงเท่านี้.

วิบากจิต ๒ ดวงในวาทะพระมหาทัตตเถระ

บัดนี้ เป็นกถามรรควิบากจิต ๑๒ ดวง ในวาทะของพระมหาทัตตเถระ

ผู้อยู่ในโมรวาปี. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต การถือส่วนข้างมากและ

การแสดงเหตุเป็นไปตามปกติทั้งนั้น แต่พระเถระนี้เห็นข้อบกพร่องในจิตที่

เป็นอสังขาริกและสังขาริก จึงกล่าวว่า กรรมที่เป็นอสังขาริกย่อมให้วิบากที่

เป็นอสังขาริกไม่ให้วิบากที่เป็นสสังขาริก แม้กรรมที่เป็นสสังขาริกก็ย่อมให้

วิบากเป็นสสังขาริกเท่านั้นไม่ให้วิบากเป็นอสังขาริก และพระเถระนี้ไม่กล่าว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

จิตนิยามโดยชวนะ แต่ย่อมกล่าวนิยามแห่งเวทนาโดยอารมณ์ เพราะเหตุนั้น

ในวาทะของท่านนี้นั่นแหละ แม้วิบากจิต ๑๒ ดวงก็ดี อเหตุกจิต ๘ ดวงก็ดี

ชื่อว่า แนวทางแห่งวิบากจิต ๑๒ ดวง.

ในแนวทางวิบากจิตนั้น มีนัยต่อไปนี้

ก็เมื่ออสังขาริกจิตเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัสทำกรรมแล้ว บุคคล

ผู้ถือปฏิสนธิด้วยวิบากจิตเช่นนั้นนั่นแหละ ถึงการเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์

มาสู่คลองจักขุทวารแล้ว โมฆวาระ ๓ ย่อมมีโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง

เหมือนกัน ในกถาว่าด้วยจิตเหล่านั้น จิต ๑๓ ดวง เหล่านี้ คือ กุศลวิบาก

๔ ดวง อกุศลวิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง และกิริยาจิต ๕ ดวง

ดวงใดดวงหนึ่ง เมื่อชวนจิตเสพอารมณ์สุดแล้ว ก็ตั้งอยู่เป็นตทารมณ์ ติเหตุก-

จิตที่เป็นอสังขาริกซึ่งสหรคตด้วยโสมนัสก็ดี อเหตุกจิตที่เป็นทุเหตุกเป็นอสัง-

ขาริกก็ดี ก็ย่อมตั้งอยู่เป็นตทารมณ์นั่นแหละ ด้วยอาการอย่างนี้ ในจักขุทวาร

ของบุคคลนั้นจึงเป็นวิบากจิต ๔ ดวง เข้าถึงการนับเป็น ๕ ดวง คือ วิบากจิต

๓ ดวง มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และตทารัมมณจิต ๒ ดวง

อนึ่ง ครั้นเปลี่ยนเวทนาไปโดยอารมณ์แล้ว อุเบกขาสหคตจิต ๑๒ ดวง

คือ กุศลวิบาก ๔ ดวง อกุศลวิบาก ๔ ดวง กิริยาจิต ๔ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง

เมื่อชวนะเสพอารมณ์เสร็จแล้ว จิตที่เป็นติเหตุกอสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขา

ก็ดี วิบากจิต อสังขาริก ทุเหตุกะก็ดี ก็เกิดขึ้นเป็นตทารัมมณะ ด้วยประการ

ฉะนี้ ในจักขุทวารของบุคคลนั้นก็เข้าถึงการนับได้ ๓ ดวงเหล่านี้ คือ สันติ-

รณจิตสหรคตด้วยอุเบกขา และตทารัมมณจิต ๒ ดวงเหล่านี้ จิต ๓ ดวง

เหล่านั้น กับจิต ๕ ดวงก่อนรวมเป็น ๘ ดวง แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็ได้

ทวารละ ๘ ดวง เมื่อกรรมอันเจตนาดวงหนึ่งทำแล้ว จิต ๔๐ ดวงถ้วนย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

เกิดขึ้น. แต่เมื่อถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้จิต ๑๒ ดวง คือ ในจักขุทวาร ๘

ดวง ในโสตวิญญาณเป็นต้นอีก ๔ ดวง. ในข้อนั้นพึงทราบมูลภวังค์ ภวังค์ที่

เป็นไปและกถาอันเปรียบด้วยมะม่วงและนิยามโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่อ

กรรมอันกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ติเหตุกะสหรคตด้วยโสมนัสกระทำแล้วก็ดี

เมื่อกรรมอันอสังขาริกและสสังขาริกะเป็นติเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาทำแล้วก็ดี

ก็นัยนี้แหละ.

ความอุปมาเรื่องเครื่องหีบอ้อยท่านกล่าวว่า ไม่ได้ใน ๒ ข้อนี้ เมื่อ

กรรมอันกุศลจิตที่เป็นสสังขาริกทุเหตุกสหรคตด้วยโสมนัสทำแล้วก็ดี เมื่อกรรม

อันอสังขาริกและสสังขาริก ที่เป็นทุเหตุกะสหรคตด้วยอุเบกขาทำแล้วก็ดี ก็มี

นัยนี้เหมือนกัน ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้ ท่านกล่าววาระว่า ทุเหตุกปฏิสนธิ

ย่อมมีด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะ ดังนี้.

ส่วนวาระ อเหตุกปฏิสนธิ ย่อมมี ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ เมื่อ

กรรมอันกุศลญาณวิปปยุต ๔ ดวงกระทำแล้ว บัณฑิตไม่ควรกล่าวว่า เป็น

ปฏิสนธิเช่นกับกรรมที่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากที่สหรคตด้วย

อุเบกขาถือปฏิสนธิ ตั้งแต่ต้นไปพึงทราบว่า ความเกิดขึ้นแห่งจิตที่มีอิฏฐารมณ์

บ้าง อิฏฐมัชฌัตตารมณ์บ้าง ตามที่กล่าวโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ

จริงอยู่ ในวาทะของพระเถระนี้ ชวนะประมวลมาเป็นพวกเดียวกันย่อมเสพ

อารมณ์ ถ้อยคำที่เหลือทั้งหมดมีอาทิว่า ชวนะนี้จิตตุปบาทอะไร ย่อมกำหนด

ไว้โดยความเป็นกุศล หรืออกุศล โดยนัยที่กล่าวไว้ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ

แนวทางกถาว่าด้วยวิบาก ๑๒ ดวง กับวิบากจิต ๑๐ ดวง อเหตุกะ ๘ ดวง

ในวาทะของพระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในโมรวาปี จบแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

วิบากจิต ๑๐ ดวงในวาทะพระมหาธรรมรักขิตเถระ

บัดนี้ เป็นเรื่องว่าด้วยวิบากจิต ๑๐ ดวง ในวาทะของพระธรรมรัก-

ขิตเถระต่อไป. ในวาทะนั้น ปัญหาในเมืองสาเกต และการแสดงส่วนข้างมาก

เป็นไปตามปกตินั่นแหละ ส่วนการแสดงนี้แตกต่างกันคือ

กรรมที่เป็นติเหตุกะ ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะจิตบ้าง ให้วิบากเป็น

ทุเหตุกจิตบ้าง ให้วิบากเป็นอเหตุกจิตบ้าง. กรรมที่เป็นทุเหตุกะ ย่อมไม่ให้

วิบากเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น แต่ให้วิบากจิตนอกนี้. ด้วยกรรมที่เป็นติเหตุกะ

ปฏิสนธิย่อมเป็นติเหตุกจิตเท่านั้น ไม่เป็นทุเหตุกะหรืออเหตุกจิต. ด้วยกรรม

ที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิย่อมเป็นทุเหตุกะและอเหตุกจิต ไม่เป็นติเหตุกจิต.

กรรมที่เป็นอสังขาริก ย่อมให้วิบากที่เป็นอสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้วิบากเป็น

สสังขาริก. แม้กรรมที่เป็นสสังขาริก ก็ให้วิบากที่เป็นสสังขาริกเท่านั้น ไม่ให้

วิบากเป็นอสังขาริก. เวทนาพึงเปลี่ยนไปด้วยอารมณ์ ชวนจิตก็ย่อมเสพอารมณ์

แล่นไปในกลุ่มเดียวกันนั่นแหละ บัณฑิตพึงกล่าวอธิบายจิตทั้งหลายตั้งแต่ต้น

ต่อไป.

ในข้อนั้น พึงทราบกถาดังต่อไปนี้

บุคคลหนึ่ง ทำกรรมด้วยกุศลจิตดวงที่หนึ่ง เขาย่อมถือปฏิสนธิด้วย

วิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้น. ปฏิสนธิจิตนี้เป็นเช่นกับกรรมที่กระทำ. เมื่อบุคคล

นั้นเจริญวัยแล้ว เมื่ออิฏฐารมณ์มาสู่คลองในจักขุทวาร โมฆวาระ ๓ ย่อมมี

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ลำดับนั้น เมื่อเวลาสิ้นสุดลงแห่งชวนจิตที่สหรคต

ด้วยโสมนัส ๑๓ ตามที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ ดวงใดดวงหนึ่งของบุคคลนั้น

เสพแล้ว วิบากจิตดวงที่หนึ่งเท่านั้นย่อมเป็นตทารมณ์. วิบากจิตนั้นได้ชื่อ ๒

อย่าง คือ มูลภวังค์ และตทารัมมณะ ด้วยอาการอย่างนี้ จิตทั้งหลายของเขา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

ย่อมเข้าถึงการนับได้ ๔ ดวง คือ วิบากจิต ๓ ดวง (ตามลำดับ ) มีจักขุวิญญาณ

เป็นต้น และตทารัมมณะในเวลาสิ้นสุดลงแห่งจิตชวนะที่สหรคตด้วยอุเบกขา

๑๒ ดวง โดยนัยที่กล่าวในอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ในหนหลังนั่นเอง ดวงใด

ดวงหนึ่งเสพแล้ว จิตที่เป็นติเหตุกะอสังขริกที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็ตั้งอยู่ใน

ความเป็นตทารัมมณ์. วิบากจิตนั้นได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ อาคันตุกภวังค์ และ

ตทารัมมณะ จิตของเขาจึงนับได้ ๒ อย่าง คือ อุเบกขาสหรคตสันติรณจิต และ

ตทารัมมณะดวงนี้. วิบากจิต ๒ ดวงนี้กับวิบากจิต ๔ ดวงก่อน จึงรวมเป็น

วิบากจิต ๖ ดวง ด้วยประการฉะนี้ แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็ได้วิบากจิตทวาร ๖

เพราะฉะนั้น เมื่อกรรมอันเจตนาดวงเดียวทำกุศลแล้ว วิบากจิต ๓๐ ดวงถ้วน

ย่อมเกิดขึ้นในทวาร ๕ ว่าด้วยการนับจิต (ถือเอา) ที่ยังมิได้นับ ย่อมได้วิบาก

จิต ๑๐ ดวง คือ ในจักขุทวาร ๖ ดวง ในโสตวิญญาณเป็นต้น ๔ ดวง.

ข้อเปรียบเทียบด้วยผลมะม่วงและนิยามกถาคงเป็นไปตามเดิมนั่นแหละ.

เมื่อกรรมอันกุศลจิตดวงที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ แม้กระทำแล้ว วิบากจิตก็มี

ประมาณเท่านี้ และย่อมมี ด้วยประการฉะนี้. แม้ในกรรมที่อุเบกขาสหคตจิต

๔ ดวง กระทำแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในวาทะนี้ พึงแสดงอิฏฐมัชฌัตตา-

รมณ์ก่อน ภายหลังจึงเปลี่ยนเวทนาด้วยอิฏฐารมณ์. ในข้อนั้น ข้อเปรียบเทียบ

ด้วยผลมะม่วงและนิยามกถาเป็นไปตามเดิมเหมือนกัน แต่ไม่ได้ข้อเปรียบเทียบ

ว่าด้วยข้อหีบอ้อย บัณฑิตพึงกล่าวอเหตุกจิต ๘ ดวงทั้งหมดให้พิสดารตั้งแต่

นี้ว่า ก็เมื่อว่าโดยกุศล เมื่อกรรมอันญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวงทำแล้ว ดังนี้

เป็นต้น.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ วิบากจิต ๑๐ ดวง กับอเหตุกจิต ๘ ดวง

ในวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระ จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

ถามว่า วาทะของพระเถระทั้ง ๓ เหล่านี้ ของรูปไหนควรถือเอา.

ตอบว่า ไม่ควรถือเอาของท่านรูปไหนโดยส่วนเดียว แต่ควรถือเอา

วาทะของท่านทั้งหมดที่ถูกต้อง.

ด้วยว่า ในวาทะของพระเถระรูปแรกท่านประสงค์จัดประเภทจิตที่เป็น

สังขาร (มีการชักจูง) และอสังขาร (ไม่มีการชักจูง) โดยความต่างกันแห่ง

ปัจจัย ด้วยเหตุนั้น ในวาทะพระเถระรูปที่หนึ่งนี้ ท่านจึงกล่าวถึงทางแห่ง

วิบาก ๑๖ ดวง ด้วยสามารถแห่งพระเสกขะและปุถุชน ถือเอาวิบากที่เป็น

สสังขารของกุศลที่เป็นอสังขารซึ่งเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่ทุรพล และวิบากที่เป็น

อสังขารของกุศลที่เป็นสสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นด้วยปัจจัยที่มีกำลังละกิริยาชวนะ

ทั้งหลายแม้ได้อยู่แล้วกำหนดตทารัมมณะด้วยกุศลชวนะทั้งหลาย กำหนดเวทนา

ด้วยอารมณ์ ก็ในวาทะของพระเถระที่หนึ่งนี้ ท่านแสดงตทารัมมณะอันใด

อันเป็นอเหตุกวิบากเท่านั้น ในที่สุดแห่งอกุศลชวนจิต ตทารัมมณะนั้นท่าน

ไม่แสดงไว้ในวาทะนอกนี้เลย เพราะฉะนั้น ในวาทะของท่านนั้น ตทารัมมณะ

ที่เป็นอเหตุกวิบากนั้น ในวาทของพระเถระที่หนึ่งนั้น และตทารัมมณะที่เป็น

สเหตุกวิบากที่กล่าวไว้ในวาทะนอกนี้นั้น วาทะทั้งหมดนี้ย่อมได้ในอธิการแม้นี้

เหมือนกัน.

ข้อนั้น มีนัยดังต่อไปนี้

ก็ในกาลใด อกุศลจิตเสพอารมณ์ในระหว่าง ๆ (สลับวิถีกัน) แห่ง

กุศลชวนจิตทั้งหลายในกาลนั้น ตทารัมมณะเป็นสเหตุกะก็พึงรับอารมณ์ ใน

ที่สุดแห่งอกุศลชวนจิต เหมือนกับรับอารมณ์เนือง ๆ ในที่สุดแห่งกุศลชวนจิต

นั่นแหละ ในกาลใดอกุศลจิตเกิดติดต่อกันไปไม่ขาดสาย ในกาลนั้น อเหตุก-

วิบากจึงควรเป็นตทารัมมณะ พึงถือเอาข้อที่ถูกในวาทะของพระเถระรูปที่หนึ่ง

อย่างนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ก็ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๒ ท่านประสงค์จัดประเภทจิตที่เป็น

อสังขารและสสังขารของกุศล ด้วยเหตุนั้น ในวาทะที่ ๒ นี้ จึงกล่าวถึงวิบาก

จิต ๑๒ ดวง ด้วยอำนาจชวนะที่รวมกันเท่านั้น ซึ่งสมควรแก่การเกิดขึ้นแก่

พระเสกขะพระอเสกขะและปุถุชนแม้ทั้งหมด โดยถือเอาวิบากจิตที่เป็นอสังขาริก

ของกุศลจิตที่เป็นอสังขาริกอย่างเดียว และวิบากจิตที่เป็นสสังขาริกของกุศลที่

เป็นสสังขาริกอย่างเดียว ไม่กระทำการกำหนดตทารัมมณะโดยชวนจิต. แต่ใน

วาทะที่ ๒ นี้ เมื่อชวนจิตเป็นติเหตุกะสิ้นสุดลง ตทารัมมณะก็สมควรเป็นเหตุ-

กะ เมื่อชวนจิตเป็นทุเหตุกะสิ้นสุดลง ทารัมมณะสมควรเป็นทุเหตุกวิบากจิต

เมื่อชวนจิตอันเป็นอเหตุกะสิ้นสุดลง ตทารัมมณะจิตสมควรเป็นอเหตุกวิบาก

จิต แต่ข้อนี้ท่านมิได้จำแนกไว้. ก็คำที่ควรถือเอาถูกต้องในวาทะที่ ๒ มีด้วย

ประการฉะนี้.

แม้ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๓ ท่านก็ประสงค์จัดสสังขาริกจิตและ

อสังขาริกจิตของกุศลนั่นแหละ เพราะคำที่กล่าวว่า กรรมที่เป็นติเหตุกะย่อม

ให้วิบากเป็นติเหตุกะบ้าง ให้วิบากเป็นทุเหตุกะบ้าง ให้วิบากเป็นอเหตุกะบ้าง

ดังนี้ ควรเป็นแม้ตทารัมมณะที่เป็นอสังขาริกติเหตุกะบ้าง เป็นอสังขาริกทุเหตุกะ

บ้าง ของปฏิสนธิจิตที่เป็นอสังขาริกติเหตุกะ แต่ท่านไม่แสดงตทารัมมณะนั้น

แสดงแต่ตทารัมมณะที่เป็นเช่นเดียวกับติเหตุกจิตเท่านั้น ตทารัมมณะนั้นไม่สม

กับลัทธิที่แสดงเหตุข้างมากในเบื้องต้น การที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ เพื่ออธิบาย

ถึงแนวทางแห่งวิบากจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น แต่ตทารัมมณะแม้นอกนี้ก็ยังได้นั่น

แหละ ควรถือเอาข้อที่ถูกต้องแม้ในวาทะที่ ๓ อย่างนี้.

อนึ่ง วาทะนี้แม้ทั้งหมดเป็นถ้อยคำว่าด้วยตทารัมมณะหมายเอาวิบาก

ของกรรมอันให้เกิดปฏิสนธิเท่านั้น แต่เพราะพระบาลีว่า สเหตุกภวงฺคสฺส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

อนนฺตรปจฺจโย (ภวังค์ที่เป็นสเหตุกจิตเป็นอนันตรปัจจัย) ดังนี้ ตทา-

รัมมณจิตที่เป็นสเหตุกวิบากย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกจิตด้วย

กรรมต่าง ๆ กัน วิธีแห่งการเกิดขึ้นของตทารัมมณะนั้น จักแจ่มแจ้งในมหา-

ปกรณ์แล.

กถาว่าด้วยกามาวจรกุศลวิบากจิต จบ

รูปาวจรวิบาก

[๔๑๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯสฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศล

กรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิก-

เขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลบรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์

ไม่สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิก-

เขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

รูปาวจรวิบาก จบ

อรูปาวจรวิบาก

[๔๑๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงรูป

สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิ-

การซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตน-

สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ. มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะ

ความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุ

จตุตถฌานอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ

ละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

[๔๑๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยวิญ-

ญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้

ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้

ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลเพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

อรูปาวจรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงรูปาวจรวิบากเป็นต้น

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงวิบากจิตที่เป็นรูปาวจร

เป็นต้น จึงเริ่มตรัสว่า กตเม ธมฺเม อพฺยากตา (ธรรมอันเป็นอัพยากฤต

เป็นไฉน) เป็นต้นอีก.

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นอัพยากฤตต่อไป

กามาวจรวิบากย่อมเป็นเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้างกับกุศลจิต

ของตน เพราะฉะนั้น วิบากจิตของกุศลนั้น ท่านจึงมิได้จำแนกให้เป็นวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

คล้อยตามกุศล. ส่วนรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบาก ย่อมเป็นเช่นเดียวกับ

กุศลของตน เหมือนเงาทั้งหลายมีเงาช้าง ม้า และต้นไม้เป็นต้น ย่อมเป็นเช่น

ช้างม้าและต้นไม้เป็นต้นนั่นแหละ ดังนั้น ท่านจึงจำแนกทำให้คล้อยตามกุศล.

อนึ่ง กามาวจรกุศล ย่อมให้วิบากในกาลบางครั้งบางคราวก็ได้ ส่วน

รูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลย่อมให้วิบากเฉพาะอัตภาพในภพที่สองทีเดียว

โดยไม่มีอันตราย แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงจำแนกให้เป็นเช่นกับกุศลนั่นแหละ

คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวในกุศลนั่นแล.

ส่วนความแตกต่างกันมีดังนี้.

พึงทราบประเภทมีปฏิปทาเป็นต้น และความเป็นหีนจิต ปณีตจิต

และมัชฌิมจิต เพราะการมาแห่งฌานในรูปาวจรวิบาก และอรูปาวจรวิบาก

เหล่านี้. แต่วิบากเหล่านี้ไม่มีอธิบดีเลย เพราะไม่ทำธรรมมีฉันทะเป็นต้น

ดวงใดดวงหนึ่งให้เป็นธุระเกิดขึ้นแล.

รูปาวจรวิบากและอรูปาวจรวิบาก จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

โลกุตตวิบาก

วิบากแห่งมรรคจิต ดวงที่ ๑

มหานัย ๒๐

สุทธิกปฏิปทา

[๔๒๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจาก

โลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัย

ใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

กุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ ภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขา-

ปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้

กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุ

ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก

ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็น

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้

กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

สุทธิกปฏิปทา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

สุทธิกสุญญตะ

[๔๒๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบทลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอัน

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มี

ในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ อันเป็นวิบ เพราะกุศลฌานโลกุตระอัน

ได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มี

ในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ดังนี้

วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ วิบาก

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

สุทธิกสุญญตะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

สุญญตปฏิปทา

[๔๓๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิด

อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขา

ปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิด

สุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

ชนิดสุญญตะ เป็นสุขปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิด

สุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

สุญญตปฏิปทา จบ

สุทธิกอัปปณิหิตะ

[๔๓๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็น

โลกุตระอันทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

[๔๓๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ

กุศลได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๓๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิด

อัปปณิหิตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิด

อนิมิตตะ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

สุทธิกอัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตปฏิปทา

[๔๔๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๔๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๔๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๔๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้

กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ

ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๔๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้นสงัดจากกาม สงัดจาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิด

อัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล

ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ดังนี้ วิบาก ฯลฯ

ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขา-

ปฏิปทาขิปปาภิญญา ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปา-

ภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

อัปปณิหิตปฏิปทา จบ

[๔๔๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ

ฯลฯ เจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ

ฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนา

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

มหานัย ๒๐ จบ

[๔๔๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

[๔๔๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๔๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็น

ฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้ แล้วได้เจริญไว้

แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

[๔๔๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็น

ฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็น

ฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็น

ฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นสุขา-

ปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน

ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ

ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ เป็นสุขา-

ปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศล

ฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศล-

ฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั่นแล อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศล-

ฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

ฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้

แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยใด ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

[๔๕๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญ

ไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขา

ปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๕๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทา-

ธิบดี ฯลฯ บรรลุททุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน

ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขา-

ปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ

ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ

ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ

ชนิดอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ

ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ

ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะ

กุศลฌานอันเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศล-

ฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรม

เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศล-

ฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล

ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯสฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก

ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

[๔๖๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญ

ไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ

อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้ว

นั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต .

[๔๖๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิด

อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๘ ] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-

ขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธา-

ภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ

เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นฉันทาธิบดี ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๖๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

โลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระ

ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญสมถะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ

ฯลฯ เจริญอาหารเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนา

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ

ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็น

จิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี อันเป็นวิบาก เพราะกุศลจิตเป็นโลกุตระ

อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ ดวงที่ ๓ และดวงที่ ๔

[๔๗๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท

ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ ฯลฯ เพื่อ

บรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา

ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก

เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๗๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้ว

นั้น ๆ ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ

ที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน

แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความ

รู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน

ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา

ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

โลกุตตรวิบาก จบ

อรรถกถาแสดงโลกุตตรวิบาก

แม้โลกุตรวิบาก พระองค์ก็ทรงจำแนกกระทำให้คล้อยตามกุศล

นั่นแหละ เพราะเป็นเช่นเดียวกับโลกุตรกุศล. แต่เพราะเตภูมิกกุศลย่อมสั่งสม

ย่อมยังวัฏฏะให้เจริญด้วยอำนาจแห่งจุติและปฏิสนธิ ฉะนั้น ในวิบากแห่ง

โลกุตรกุศลนั้น จึงตรัสไว้ว่า เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตระอันได้ทำไว้แล้ว

ได้สั่งสมไว้แล้ว ดังนี้ ส่วนโลกุตระแม้ถูกวิบากนั้นสั่งสมไว้ ก็ย่อมคลายความ

สั่งสม แม้ตนเองก็ไม่สั่งสมไว้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ใน

วิบากโลกุตรกุศลนั้น จึงไม่ตรัสไว้ (ในข้อที่ ๔๒๒) ว่า เพราะได้กระทำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว แต่ตรัสว่า เพราะได้กระทำไว้แล้ว เพราะได้เจริญ

ไว้แล้ว ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในพระบาลี (ที่ตรัสไว้ในข้อ ๔๒๗) มีคำว่า สุญญตะ

เป็นต้น ว่ามรรคย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ ๓ คือ เพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณ

ของตน ๑ เพราะอารมณ์ ๑ ก่อน. สุญญตะนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในอธิการ

แห่งกุศลในหนหลังแล้ว. ในอธิการนั้น มรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง

โดยอารมณ์บ้าง โดยปริยายแห่งพระสูตร ก็ปริยายนี้เป็นปริยายเทศนา ส่วน

อภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในนิปปริยายเทศนานี้ จึงไม่

ได้ชื่อโดยคุณของตน หรือโดยอารมณ์ แต่ย่อมได้ชื่อโดยการบรรลุอย่างเดียว

เพราะการบรรลุเท่านั้นเป็นธุระ การบรรลุนั้นมี ๒ อย่าง คือ บรรลุวิปัสสนา

และบรรลุมรรค.

ในการบรรลุสองอย่างนั้น การบรรลุวิปัสสนาเป็นธุระในฐานะที่มรรค

ปรากฏแล้ว การบรรลุมรรคเป็นธุระในฐานะที่ผลปรากฏแล้ว แม้คำทั้งสองนี้

ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหนหลังเหมือนกัน. ในบรรดาฐานะทั้งสองนั้น นี้เป็น

ฐานะที่ผลปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า การบรรลุเป็นธุระในฐานะนี้.

ก็มรรคนี้นั้นชื่อว่า สุญญตะ เพราะการบรรลุแล้วยังเรียกได้แม้ว่า

อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ เพราะคุณของตน และเพราะอารมณ์ เพราะฉะนั้น

ตนเองตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้แล้ว จึงให้ชื่อ ๓ อย่างแก่ผลของตน. ให้ชื่อ

อย่างไร ? คือว่า มรรคนี้เป็นสุญญตมรรค มีชื่ออันได้มาด้วยอำนาจแห่งการ

บรรลุอย่างเดียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อแก่ผล

ของตน จึงได้ทำชื่อว่า สุญญตะ ก็มรรคสุญญตะและอนิมิตตะ* เพราะ

ตั้งอยู่ในฐานะที่บรรลุได้เองเมื่อจะให้ชื่อ จึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ. มรรค-

* น่าจะเป็นอนิมิตตมรรคอย่างเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

สุญญตะและอัปปณิหิตะ* เพราะตั้งอยู่ในฐานะพึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผล

ของตน จึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ ก็ชื่อ ๓ อย่าง เหล่านั้นย่อมได้โดยนัย

นี้ ในผลจิตในลำดับแห่งมรรคเท่านั้น หาใช่ได้ในเวลาใช้ผลสมาบัติในเวลา

อื่นไม่. แต่ว่าในเวลาภายหลัง ย่อมอาจเพื่อเห็นได้ด้วยวิปัสสนา ๓ มีอนิจจา-

นุปัสสนาเป็นต้น. อนึ่ง ผลทั้ง ๓ กล่าวคืออนิมิตตะ อัปปณิหิตะ สุญญตะ

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนาของพระโยคาวจรที่ออกแล้ว ๆ ญาณเหล่านั้น

นั่นแหละของผลทั้ง ๓ นั้น มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น มีสังขารเป็นอารมณ์

ชื่อว่า อนุโลมญาณ.

ก็แม้ในอัปปณิหิตมรรค ที่ท่านกล่าวไว้ในสุญญตมรรค ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน จริงอยู่ อัปปณิหิตมรรคนั้นมีชื่ออันได้แล้วด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ

อย่างเคียวเท่านั้น เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ชื่อผลของตน

จึงได้ทำชื่อว่า อัปปณิหิตะ มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและอนิมิตตะ เพราะตั้งอยู่

ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อจะให้ผลของตนจึงได้ทำชื่อว่า อนิมิตตะ

มรรคที่เป็นอัปปณิหิตะและสุญญตะ เพราะตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง เมื่อ

จะให้ชื่อผลของตน จึงได้กระทำชื่อว่า สุญญตะ ชื่อทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ย่อมได้โดย

นัยนี้ในผลจิตในลำดับเท่านั้น ไม่ใช่ได้ในกาลอื่นอีก คือในเวลาใช้ผลสมาบัติ.

ในนิทเทสแห่งวิบากจิตนี้ พึงทราบวิบากจิตทั้งหลายมีคุณ ๓ อย่าง

ด้วยกุศลจิต อย่างนี้. เหมือนอย่างว่า กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๓ ย่อมไม่อาจ

ยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี ฉันใด โลกุตรกุศลทั้งหลายย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้

เพราะเหตุไร ? เพราะเวลาที่ประกอบกรรมของกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ เป็น

อย่างหนึ่ง เวลาให้วิบากก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลอันเป็นไปใน

* น่าจะเป็นอัปปณิหิตมรรคอย่างเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ภูมิ ๓ นั้น จึงไม่ยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี. ส่วนโลกุตระทั้งหลาย เมื่อ

ศรัทธานั้น เมื่อวิริยะนั้น เมื่อสตินั้น เมื่อสมาธินั้น เมื่อปัญญานั้น ยังไม่

เข้าไปสงบ (คือยังเป็นไป) ก็ย่อมได้วิบากในลำดับแห่งมรรคนั้นนั่นแหละ

ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนั้น โลกุตรกุศลนั้นจึงอาจยังวิบากของตนให้ได้อธิบดี.

เหมือนอย่างว่า ในที่ที่เขาก่อไฟไว้กองน้อย เมื่อไฟดับแล้วเท่านั้น

อาการร้อนก็ดับไม่มีอะไร ๆ แต่เมื่อเอาโคมัยโปรยไปรอบ ๆ ดับกองไฟใหญ่ที่

โพลงขึ้นแล้ว อาการคือความร้อน ย่อมไม่สงบลงทันที ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน คือ ขณะแห่งกรรม (การทำ) ในกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ เป็น

อย่างหนึ่ง ขณะแห่งวิบากเป็นอย่างหนึ่ง เหมือนเวลาที่อาการคือความร้อน

ดับไปแห่งไฟกองน้อย เพราะฉะนั้น กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ นั้นจึงไม่อาจ

เพื่อยังวิบากของจนให้ได้อธิบดี ส่วนโลกุตรกุศล เมื่อศรัทธานั้น ฯลฯ เมื่อ

ปัญญานั้นยังไม่เข้าไปสงบ ผลก็เกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคทันที เพราะฉะนั้น

โลกุตรกุศลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยังวิบากของตนให้ได้ซึ่งอธิบดี ดังนี้

ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อธิบดีไม่มีในวิบากจิต

เว้นแต่โลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยอัญญาตาวินทรีย์ในโลกุตรวิบากดวงที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งผลซึ่งเกิดแต่มรรคที่ ๔ ต่อไป

คำว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ

ผู้มีญาณกิจสำเร็จในสัจจะ ๔ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะให้สำเร็จ

อรรถแห่งความเป็นใหญ่ในภายในธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึง คือมีกิจอันสำเร็จใน

สัจจะ ๔ อันรู้แล้ว แทงตลอดสัจจะ ๔ แล้วดำรงอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

แม้ในนิทเทสวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น คำว่า รู้ทั่วถึงแล้ว ได้แก่

รู้แล้วดำรงอยู่. คำว่า ธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในภายในแห่งสัมปยุตธรรม

ทั้งหลาย. บทว่า อญฺา (ความรู้ทั่ว) ได้แก่ ความรู้ทั่วถึง. คำว่า ความรู้ชัด

กิริยาที่รู้ชัด เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า มคฺคงฺค

มคฺคปริยาปนฺน (องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค) อธิบายว่า เป็นองค์-

มรรคในผล และนับเนื่องในองค์มรรคในผล.

อีกอย่างหนึ่ง ในโลกุตรวิบากนี้ มีปกิณกะดังนี้

อินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอย่างหนึ่ง อินทรีย์ถึงฐานะหกมีอย่างหนึ่งและ

อินทรีย์ถึงฐานะเดียวมีอีกอย่างหนึ่งมีอธิบายว่า ก็อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

อย่างเดียวถึงฐานะหนึ่ง คือ โสดาปัตติมรรค. อัญญินทรีย์หนึ่งถึงฐานะ

๖ คือ ผลเบื้องต่ำ ๓ มรรคเบื้องบน ๓. อัญญาตาวินทรีย์หนึ่ง ถึงฐานะหนึ่ง

คือ อรหัตผล.

ว่าโดยอรรถในมรรคและผลทั้งหมด ได้ตรัสอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ

ไว้ ๖๔ คือ มรรคและผลอย่างละ ๘ อินทรีย์ แต่ในพระบาลีเป็นอินทรีย์ ๗๒

เพราะทำมรรคและผลอย่างละ ๙ อินทรีย์. ในมรรคก็ตรัสว่า มัคคังคะ

(องค์แห่งมรรค) แม้ในผลก็ตรัสว่า มัคคังคะ (องค์แห่งมรรค). ในมรรค

ตรัสว่า โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) แม้ในผลก็ตรัสว่า โพชฌงค์.

แม้ในขณะแห่งมรรคก็ตรัสว่า อารติ วิรตี (ความงดเว้น ). แม้ในขณะแห่ง

ผลก็ตรัสว่า อารติ วิรตี.

บรรดามรรคและผลเหล่านั้น มรรค ชื่อว่า มรรค โดยความเป็น

มรรคนั่นเอง. ส่วนผล ชื่อว่า มรรค เพราะอาศัยมรรค. แม้จะกล่าวว่า องค์

แห่งผลนับเนื่องในผล ดังนี้ก็ควร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

ในมรรค ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์

แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ในผล ตรัสเรียกว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า

เป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้แล้ว. ในมรรค ตรัสว่า อารติ วิรตี ด้วยอำนาจ

ความงดเว้นอารมณ์นั่นเอง. ในผล ตรัสว่า อารติ วิรตี ด้วยอำนาจความ

งดเว้นนั่นแหละ.

กถาว่าด้วยโลกุตรวิบาก จบ

อกุศลวิบากอัพยากฤต

[๔๗๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น

ฯลฯ

โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา ที่รสเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ

กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้วได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

[๔๗๓] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกาย-

วิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส

กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า เวทนามีในสมัยนั้น ฯลฯ

ทุกข์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกข์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

ทุกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

กายสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ทุกขินทรีย์มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๗๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑

ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๗๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย

เกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น

นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๗๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา

จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๗๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๗๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน

สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๗๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา

จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๘๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๘๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน

สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

อกุศลวิบากอัพยากฤต จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

อรรถกถาแสดงอกุศลวิบาก

เบื้องหน้าแต่โลกุตรวิบากนี้ต่อไป เป็นอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง เหล่านี้

คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

รวม ๕ ดวง มโนธาตุ ๑ ดวง และมโนวิญญาณธาตุ ๑ ดวง โดยพระบาลี

และอรรถกถาเหมือนกับกุศลวิบากจิตตามที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.

จริงอยู่ กุศลวิบากเหล่านั้นมีกรรมเป็นปัจจัยอย่างเดียว อกุศลวิบาก

เหล่านี้ ก็มีกรรมเป็นปัจจัย.

อนึ่ง กุศลวิบากเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์

และอิฏฐมัชฌัตตารมณ์. อกุศลวิบากเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในอนิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์.

อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยสุข. แต่ใน

อกุศลวิบากเหล่านี้ กายวิญญาณจิตสหรคตด้วยทุกข์.

อนึ่ง ในกุศลวิบากเหล่านั้น มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา

ย่อมให้ผลในฐานทั้ง ๕ เริ่มต้นแต่ปฏิสนธิของคนตาบอดแต่กำเนิดเป็นต้นใน

พวกมนุษย์. แต่ในอกุศลวิบากเท่านี้ เมื่ออกุศลจิต ๑๑ อย่าง ประกอบ

กรรมไว้แล้ว ก็ทำกรรมนิมิต และคตินิมิตทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็น

อารมณ์แล้ว ย่อมให้ผลในฐานะทั้ง ๕ อย่างนี้ คือ

๑. ให้ผลปฏิสนธิในอบาย ๔

๒. ให้ผลเป็นภวังคตลอดอายุตั้งแต่วาระที่สอง

๑. เว้นโมหมูลจิตสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ

๒. วาระแรก ได้แก่ ปฏิสนธิกาล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

๓. ให้ผลเป็นสันติรณะในปัญจวิญญาณวิถีในอนิฏฐารมณ์ และ

อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์

๔. ให้ผลเป็นตทารัมมณะในทวาร ๖ ในอารมณ์มีกำลัง

๕. ให้ผลเป็นจุติจิตในมรณกาล.

จบกถาว่าด้วยอกุศลวิบาก

กามาวจรกิริยา

[๔๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก

สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ

ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๘๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

[๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน

สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่

กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา

จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้

อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๘๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตามีในสมัยนั้น ฯลฯ

วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์มีในสมัยนั้น

สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๘๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๘๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญา-

ขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๘๙] สังขารเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-

วิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ

ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปก-

ขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด

มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕

ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรม

ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๙๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญา-

ขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-

วิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม

เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

สัมปยุตด้วยญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...

เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง

ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๓] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ

ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

กามาวจรกิริยา จบ

อรรถกถาแสดงกิริยาอัพยากฤต

ว่าด้วยมโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงจำแนกกิริยาอัพยากฤต

(มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต) จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา

อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน) ต่อไป.

บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ.

จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิต

นั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม* กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้น

ก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น

เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา

(การกระทำ).

* บาลีว่า วาตปุปฺผ วิย คงหมายถึงดอกไม้ไร้ประโยชน์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เนว กุสลานากุสลา (ไม่ใช่กุศลไม่ใช่

อกุศล) เป็นต้นต่อไป.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล เพราะความไม่มีกุศลเหตุกล่าวคือ

กุศลมูล. ที่ชื่อว่า ไม่ได้อกุศล เพราะความไม่มีอกุศลเหตุ กล่าวคืออกุศลมูล

ที่ชื่อว่า ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล (เนว กุสลานากุสลา) เพราะความไม่มี

กุศลและอกุศลเป็นปัจจัย ไม่มีแม้โยนิโสมนสิการ และอโยนิโสมนสิการ.

ที่ชื่อว่า ไม่ใช่ธรรมวิบาก เพราะไม่มีเหตุให้เกิดขึ้นกล่าวคือกุศลและอกุศล.

ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตที่เป็นกิริยามโนธาตุแม้นี้ ย่อมได้เพียง

การตั้งอยู่ในปวัตติกาลเท่านั้น จริงอยู่จิต ๑๗ ดวงเหล่านี้ คือ

ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง

มโนธาตุ ๓ ดวง

มโนวิญญาณธาตุ ๓ ดวง

วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ ดวง

เพราะความที่จิตเหล่านี้เป็นสภาพทุรพล จึงไม่ได้ในพระบาลีว่า สณฺิติ

อวฏฺิติ (ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต) เป็นต้น. คำที่เหลือ

ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในนิทเทสแห่งวิบากมโนธาตุ เว้นแต่ฐานแห่ง

การเกิดขึ้น. เพราะจิตนั้น (มโนธาตุที่เป็นวิบาก) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ

ปัญจวิญญาณ. แต่มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตนี้ ย่อมเกิดก่อนทุกดวงในปวัตติกาล

ในวิถีแห่งปัญจทวาร.

ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ในจักขุทวารก่อน เมื่อรูปารมณ์ทั้งหลาย

อันเป็นอิฏฐารมณ์ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ อนิฏฐารมณ์ และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์

อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งกระทบประสาท มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิตก็รับอารมณ์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไปเกิดขึ้น เป็นไปก่อนด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ แม้ใน

โสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

มโนธาตุที่เป็นกิริยาจิต จบ

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส

จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺาณธาตุ อุปฺปนฺนา โหติ ฯเปฯ

โสมนสฺสสหคตา (มโนวิญญาณเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และ

ไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส) ดังนี้ เป็นจิตเฉพาะบุคคลไม่ทั่วไป

แก่สัตว์เหล่าอื่นนอกจากพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร ๖.

จริงอยู่ ในจักขุทวาร พระขีณาสพเห็นที่อันสมควรแก่การทำความ

เพียรย่อมถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในโสตทวาร ท่านถึงที่ซึ่งควรแก่การจำแนก

แจกภัณฑะ เมื่อบุคคลผู้ละโมบทำเสียงดังถือเอาอยู่ ท่านก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้

ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหวชื่อเห็นปานนี้เราละได้แล้วดังนี้. ในฆานทวาร

เมื่อพระขีณาสพบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอม หรือดอกไม้ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้.

ในชิวหาทวาร พระขีณาสพแบ่งบิณฑบาตที่ถึงพร้อมด้วยรสที่ได้มาฉันอยู่

ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า สาราณิยธรรม (ธรรมที่ควรระลึกถึง) เราบำเพ็ญ

แล้วหนอ ดังนี้. ในกายทวาร พระขีณาสพบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรอยู่ ก็ถึง

โสมนัสด้วยนี้ว่า ก็วัตรของเราเต็มรอบแล้ว ดังนี้ พระขีณาสพย่อมได้ใน

ปัญจทวารอย่างนี้ก่อน.

แต่ในมโนทวารจิตของพระขีณาสพย่อมเกิดขึ้นปรารภอดีตและอนาคต

จริงอยู่ พระตถาคตทรงระลึกถึงเหตุที่ทรงกระทำแล้วในครั้งที่พระองค์เสวย

พระชาติเป็นโชติปาละ เป็นท้าวมฆเทวราช และเป็นกัณหดาบสเป็นต้น จึงทรง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

กระทำการแย้มให้ปรากฏ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจ (หน้าที่) ของบุพเพนิวาสญาณ

และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น

จิตดวงนี้ย่อมเกิดร่าเริง. ในอนาคต พระองค์ก็ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏว่า

จักมีพระปัจเจกพุทธะ มีเสียงดังเสียงพิณ มีเสียงดังตะโพน ดังนี้ ก็การระลึก

นั้นเป็นกิจของอนาคตังสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความ

เป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตนี้ย่อมเกิดร่าเริง.

ก็ในนิทเทสวารแห่งหสิตุปบาทจิตนี้ ทรงตั้งเอกัคคตาแห่งจิตไว้ถึง

สมาธิพละ เพราะมีกำลังกว่าอเหตุกจิตที่เหลือ ถึงวิริยะก็ทรงตั้งไว้ถึงวิริยพละ

แต่เพราะในอุทเทสมิได้ตรัสไว้ว่า สมาธิพละย่อมมี วิริยพละย่อมมี ดังนี้

ชื่อว่า พละ (สติพละ วิริยพละ) ทั้งสองนี้จึงไม่มีด้วยอรรถว่าเป็นกำลัง

ก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ฉะนั้นจึงไม่ตรัสตั้งไว้ว่าเป็น

พละ ดังนี้ และเพราะจิตดวงนี้ไม่ใช่พละโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ฉะนั้น

แม้ในสังคหวารก็มิได้ตรัสว่า ทั้ง ๒ (สติพละ วิริยพละ) เป็นพละดังนี้ คำที่

เหลือทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทสอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่

สหรคตด้วยโสมนัสนั่นแหละ.

ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสตรีคตด้วยอุเบกขา

บทว่า อุเปกฺขาสหคต (มโนวิญญาณธาตุสหรคตด้วยอุเบกขา)

อธิบายว่า จิตดวงนี้ทั่วไปแก่สัตว์ผู้มีจิตทุกจำพวกในภพทั้ง ๓ ชื่อว่า ย่อมไม่

เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีจิตบางพวกหามีไม่ แต่ว่า เมื่อเกิดในปัญจทวารย่อมทำโวฏ-

ฐัพพนกิจ เกิดในมโนทวารย่อมทำอาวัชชนกิจ แม้อสาธารณญาณ (ญาณที่

ไม่ทั่วไปแก่สัตว์อื่น) ๖ ย่อมรับอารมณ์อันจิตนี้รับแล้วเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

จิตนี้ ชื่อว่า มหาคช* (ช้างใหญ่) ขึ้นชื่อว่า สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์

ของจิตนี้มิได้มี เมื่อคำถามว่า จิตที่มิใช่สัพพัญญุตญาณ แต่ชื่อว่ามีคติอย่าง

สัพพัญญุตญาณเป็นจิตดวงไหน ? พึงตอบว่า จิตดวงนี้ (มโนวิญญาณธาตุ

เป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยอุเบกขา) คำที่เหลือในจิตนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้

ในจิตดวงก่อน (มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส) นั่นแหละ

ก็ในหสนจิต (มโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส) นั้น ทรง

จำแนกสังขารขันธ์มีองค์ ๙ เพราะมีปีติ แต่ในจิตดวงนี้ ทรงจำแนกสังขารขันธ์

มีองค์ ๘ เพราะไม่มีปีติ.

ว่าด้วยมหากิริยาจิต ๘ ดวง

บัดนี้ มหากิริยาจิต ๘ ดวง นั่นแหละของกุศลเหล่าใด กิริยาจิต

เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งพระขีณาสพ เพราะฉะนั้น มหา-

กิริยาจิตเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวในกุศลนิทเทสนั่นแหละ

ว่าด้วยหสนจิต ๑๓ ดวง

บัณฑิต พึงยังหสนจิตให้ตั้งประชุมลงในที่นี้.

ถามว่า ก็หสนจิตเหล่านี้ มีเท่าไร ?

ตอบว่า มี ๑๓ ดวง.

จริงอยู่ ปุถุชน ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ

กุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

อกุศลสหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

พระเสกขะ ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง คือ

กุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

อกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ๒ ดวง

* ฉบับนี้ว่า มหาราช นาเมต จิตฺต แต่ของพม่าเป็น มหาคช นาเมต จิตฺต แปลตามฉบับไทย

จิตนี้ชื่อว่า มหาราช ฉบับพม่าแปลว่า จิตนี้ ชื่อว่า ช้างใหญ่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

พระขีณาสพ ย่อมหัวเราะด้วยจิต ๕ ดวง คือ

หสิตุปบาทจิตสหรคตด้วยโสมนัส ๑ ดวง

มหากิริยาจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ดวง

รูปาวจรกิริยา

[๔๙๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

[๔๙๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

รูปาวจรกิริยา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

อรูปาวจรกิริยา

[๔๙๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย

ประการทั้งปวง เพราะความอัสดงแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตต-

สัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-

จายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญ-

จายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-

จายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญ-

จัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญาย-

ตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๕๐๐] อัพยากฤตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโทสะ

ฯลฯ อัพยากฤตมูล คือ อโมหะ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

อรูปาวจรกิริยา จบ

จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

อรรถกถาแสดงรูปาวจรอรูปาวจรกิริยา

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสแห่งรูปาวจรและอรูปาวจรกิริยาต่อไป

บทว่า ทิฏฺิธมฺมสุขวิหาร (เป็นแต่ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) ได้แก่

เพียงอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม คือ ในอัตภาพนี้เท่านั้น. ในสมาบัติเหล่านั้น

สมาบัติที่พระขีณาสพให้เกิดขึ้นในเวลายังเป็นปุถุชนมีอยู่ ตราบใดที่พระขีณาสพ

ยังไม่เข้าสมาบัติอันนั้น สมาบัตินั้นก็เป็นกุศลนั้นแหละ เมื่อท่านเข้าสมาบัติ

นั้นแล้ว สมาบัตินั้นก็เป็นกิริยา แต่สมาบัติที่พระขีณาสพนั้นให้บังเกิดขึ้นใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

เวลาที่ท่านเป็นพระขีณาสพแล้ว สมาบัตินั้นย่อมเป็นกิริยาเท่านั้น. คำที่เหลือ

ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลนิทเทส เพราะเป็นเหมือนกับกุศล

นั้น ฉะนี้แล.

กถาว่าด้วยจิตตุปปาทกัณฑ์

ในอัฏฐสาลินี ธัมมสังคหกถา จบ

แต่บทอัพยากฤต (รูปและนิพพาน) ยังไม่จบก่อน

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

รูปกัณฑ์

[๕๐๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นโลกุตระ ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และ

ไม่ใช่กรรมวิบาก รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๕๐๒] บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤต รูปทั้งหมด เป็นไฉน มหาภูต-

รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปทั้งหมด.

มาติกา

เอกกมาติกา

[๕๐๓] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ เป็นไป

กับด้วยปัจจัย เป็นสังขตธรรม เป็นรูปธรรม เป็นโลกิยธรรม เป็นอารมณ์

ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์

ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของ

ปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นอัพยากตธรรม

ไม่มีอารมณ์ ไม่ใช่เจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่ใช่วิบากและไม่ใช่ธรรมเป็นเหตุ

แห่งวิบาก ไม่เศร้าหมอง แต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตก

ทั้งวิจาร ไม่ใช่ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร ไม่มีทั้งวิตกวิจาร ไม่ใช่ธรรมที่

สหรคตด้วยปีติ ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุข ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ประหาณ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ

อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณ ไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ

และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกข-

บุคคล เป็นปริตตธรรม เป็นกามาวจรธรรม ไม่ใช่รูปาวจรธรรม ไม่ใช่

อรูปาวจรธรรม เป็นปริยาปันนธรรม ไม่ใช่อปริยาปันนธรรม เป็นอนิยตธรรม

เป็นอนิยยานิกธรรม เป็นปัจจุบันนธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ ไปเที่ยง

อันชราครอบงำแล้ว

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑ อย่างนี้.

เอกกมาติกา จบ

ทุกมาติกา

[๕๐๔] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒

รูปเป็นอุปาทา [อุปาทายรูป] ก็มี รูปเป็นอนุปาทาก็มี

รูปเป็นอนุปาทินนะ ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ก็มี รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี

รูปเป็นสนิทัสสนะ ก็มี รูปเป็นอนิทัสสนะก็มี

รูปเป็นสัปปฏิฆะ ก็มี รูปเป็นอัปปฏิฆะก็มี

รูปเป็นอินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นอินทรีย์ก็มี

รูปเป็นมหาภูตก็มี รูปไม่เป็นมหาภูตก็มี

รูปเป็นวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นวิญญัติก็มี

๑. ดูคำแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๒ ๒. ดูคำแปล. . .ข้อ ๑

๓. ดูคำแปล. . .ข้อ ๓ ๔. ดูคำแปล. . .ข้อ ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

รูปเป็นจิตตสมุฏฐานก็มี รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี

รูปเป็นจิตตสหภู* ก็มี รูปไม่เป็นจิตตสหภูก็มี

รูปเป็นจิตตานุปริวัติ ก็มี รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี

รูปเป็นภายในก็มี รูปเป็นภายนอกก็มี

รูปหยาบก็มี รูปละเอียดก็มี

รูปไกลก็มี รูปใกล้ก็มี

รูปที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส

ก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา

ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ

จักขุวิญญาณก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของ

ชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี

รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา

ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกาย

วิญญาณก็มี

รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี

รูปเป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา

ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุ-

วิญญาณก็มี

รูปเป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของ

ชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี

* คำแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

รูปเป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา

ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ

ก็มี

รูปเป็นจักขายตนะก็มี รูปไม่เป็นจักขายตนะก็มี

รูปเป็นโสตายตนะก็มี รูปไม่เป็นโสตายตนะก็มี

รูปเป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะก็มี

รูปไม่เป็นกายายตนะก็มี

รูปเป็นรูปายตนะก็มี รูปไม่เป็นรูปายตนะก็มี

รูปเป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ

ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี

รูปเป็นจักขุธาตุก็มี รูปไม่เป็นจักขุธาตุก็มี

รูปเป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ

เป็นกายธาตุก็มี รูปไม่เป็นกายธาตุก็มี

รูปเป็นรูปธาตุก็มี รูปไม่เป็นรูปธาตุก็มี

รูปเป็นสัททาธาตุ ฯลฯ เป็นต้นธาตุ ฯลฯ เป็นรสธาตุ ฯลฯ

เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี

รูปเป็นจักขุนทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี

รูปเป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ

เป็นกายินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นกายินทรีย์ก็มี

รูปเป็นอิตถินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี

รูปเป็นปุริสินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี

รูปเป็นชีวิตินทรีย์ก็มี รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

รูปเป็นกายวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นกายวิญญัติก็มี

รูปเป็นวจีวิญญัติก็มี รูปไม่เป็นวจีวิญญัติก็มี

รูปเป็นอากาสธาตุก็มี รูปไม่เป็นอากาสธาตุก็มี

รูปเป็นอาโปธาตุก็มี รูปไม่เป็นอาโปธาตุก็มี

รูปเป็นรูปลหุตาก็มี รูปไม่เป็นรูปลหุตาก็มี

รูปเป็นรูปมุทุตาก็มี รูปไม่เป็นรูปมุทุตาก็มี

รูปเป็นรูปกัมมัญญตาก็มี รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี

รูปเป็นรูปอุปจยะก็มี รูปไม่เป็นรูปอุปจยะก็มี

รูปเป็นรูปสันตติก็มี รูปไม่เป็นรูปสันตติก็มี

รูปเป็นรูปชรตาก็มี รูปไม่เป็นรูปชรตาก็มี

รูปเป็นรูปอนิจจตาก็มี รูปไม่เป็นรูปอนิจจตาก็มี

รูปเป็นกพฬิงการาหารก็มี รูปไม่เป็นกพฬิงการาหารก็มี

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.

ทุกมาติกา จบ

ติกมาติกา

[๕๐๕] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓

รูปภายในเป็นอุปาทา, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทาก็มี, ที่เป็นอนุปาทา

ก็มี

รูปภายในเป็นอุปาทินนะ, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนะก็มี, ที่เป็น

อนุปาทินนะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

รูปภายในเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ, รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทา-

นิยะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี

รูปภายในเป็นอนิทัสสนะ, รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสหะก็มี, ที่เป็น

อนิทัสสนะก็มี

รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ, รูปภายนอกที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็น

อัปปฏิฆะก็มี

รูปภายในเป็นอินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นอินทรีย์ก็มี, ที่ไม่เป็น

อินทรีย์ก็มี

รูปภายในไม่เป็นมหาภูต, รูปภายนอกที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็น

มหาภูตก็มี

รูปภายในไม่เป็นวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นวิญญัติก็มี, ที่ไม่เป็น

วิญญัติก็มี

รูปภายในไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน, รูปภายนอกที่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี,

ที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐานก็มี

รูปภายในไม่เป็นจิตตสหภู, รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภูก็มี, ที่ไม่เป็น

จิตตสหภูก็มี

รูปภายในไม่เป็นจิตตานุปริวัติ, รูปภายนอกที่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี,

ที่ไม่เป็นจิตตานุปริวัติก็มี

รูปภายในหยาบ, รูปภายนอกที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปภายในอยู่ใกล้, รูปภายนอกที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส, รูปภายในเป็นที่อาศัย

เกิดของจักขุสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ

ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ, รูปภายในเป็นที่

อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี, ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส

ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของ

กายสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ

ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ, รูปภายในเป็นที่อาศัย

เกิดของกายวิญญาณก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี

รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของ

จักขุสัมผัสก็มี, ที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี

รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ

ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ, รูปภายนอกที่เป็น

อารมณ์ของจักขุวิญญาณก็มี, ที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณก็มี

รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ

ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส

ก็มี, ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี

รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของ

สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ, รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์

ของกายวิญญาณก็มี, ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

รูปภายนอกไม่เป็นจักขายตะ, รูปภายในที่เป็นจักขายตนะก็มี, ที่ไม่

เป็นจักขายตนะก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ ไม่

เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ, รูปภายในที่เป็นกายายตนะก็มี, ที่

ไม่เป็นกายายตนะก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปายตนะ, รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะก็มี, ที่ไม่เป็น

รูปายตนะก็มี

รูปภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ ไม่เป็น

รสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ

ก็มี, ที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ, รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุก็มี, ที่ไม่เป็น

จักขุธาตุก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ ไม่เป็น

ชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ. รูปภายในที่เป็นกายธาตุก็มี, ที่ไม่เป็นกาย-

ธาตุก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุก็มี, ที่ไม่เป็นรูป

ธาตุก็มี

รูปภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นรส-

ธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี, ที่ไม่

เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี

รูปภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์, รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี, ที่ไม่

เป็นจักขุนทรีย์ก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

รูปภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็น

ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์, รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์ก็มี, ที่ไม่เป็น

กายินทรีย์ก็มี

รูปภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี, ที่ไม่

เป็นอิตถินทรีย์ก็มี

รูปภายในไม่เป็นปุริสินทริย์, รูปภายนอกที่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี, ที่ไม่

เป็นปุริสินทรีย์ก็มี

รูปภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์, รูปภายนอกที่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี, ที่ไม่

เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี

รูปภายในไม่เป็นกายวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัติก็มี, ที่ไม่

เป็นกายวิญญัติก็มี

รูปภายในไม่เป็นวจีวิญญัติ, รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัติก็มี, ที่ไม่

เป็นวจีวิญญัติก็มี

รูปภายในไม่เป็นอากาสธาตุ รูปภายนอกที่เป็นอากาสธาตุก็มี, ที่ไม่

เป็นอากาสธาตุก็มี

รูปภายในไม่เป็นอาโปธาตุ, รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุก็มี, ที่ไม่เป็น

อาโปธาตุก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปลหุตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตาก็มี, ที่ไม่เป็น

รูปลหุตาก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปมุทุตา, รูปภายนอกที่เป็นมุทุตาก็มี, ที่ไม่เป็น

รูปมุทุตาก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปกัมมัญญตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี,

ที่ไม่เป็นรูปกัมมัญญตาก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

รูปภายในไม่เป็นรูปอุปจยะ, รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะก็มี, ที่ไม่

เป็นรูปอุปจยะก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปสันตติ, รูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติก็มี, ที่ไม่เป็น

รูปสันตติก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปชรตา, รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตาก็มี, ที่ไม่เป็น

รูปชรตาก็มี

รูปภายในไม่เป็นรูปอนิจจตา รูปภายนอกที่เป็นรูปอนิจจตาก็มี, ที่ไม่

เป็นรูปอนิจจตาก็มี

รูปภายในไม่เป็นกพฬิงการาหาร, รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหารก็มี

ที่ไม่เป็นกพฬิงการาหารก็มี

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓ อย่างนี้.

ติกมาติกา จบ

จตุกกมาติกา

[๕๐๖] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔

รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี, ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี, รูปเป็น

อนุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี, ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี

รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี, ที่เป็นอนุปาทินนุปาทา-

นิยะก็มี, รูปเป็นอนุปาทา ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี, ที่เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยะก็มี

รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี, รูปเป็น

อนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

รูปเป็นอุปาทา ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็นอนุปาทาที่หยาบ

ก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปเป็นอุปาทา ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ไกล

ก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี, ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี, รูป

เป็นอนุปาทินนะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี, ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี, รูปเป็น

อนุปาทินนะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี, รูปเป็น

อนุปาทินนะ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ

ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปเป็นอุปาทินนะ ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็นอนุปาทินนะ

ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี, ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี,

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสนิทัสสนะก็มี, ที่เป็นอนิทัสสนะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี,

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นสัปปฏิฆะก็มี, ที่เป็นอัปปฏิฆะก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี,

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี, รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ ที่อยู่ไกลก็มี ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปกระทบได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี, ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี, รูปกระทบ

ไม่ได้ ที่เป็นอินทรีย์ก็มี, ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี

รูปกระทบได้ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี, รูปกระทบ

ไม่ได้ ที่เป็นมหาภูตก็มี, ที่ไม่เป็นมหาภูตก็มี

รูปเป็นอินทรีย์ ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่หยาบ

ก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปเป็นอินทรีย์ ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่

ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปเป็นมหาภูต ที่หยาบก็มี, ที่ละเอียดก็มี, รูปไม่เป็นมหาภูตที่หยาบ

ก็มี, ที่ละเอียดก็มี

รูปเป็นมหาภูต ที่อยู่ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี, รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่

ไกลก็มี, ที่อยู่ใกล้ก็มี

รูปที่เห็นได้, รูปที่ฟังได้, รูปที่รู้ได้, รูปที่รู้แจ้งได้

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔ อย่างนี้

จตุกกมาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ปัญจกมาติกา

[๕๐๗] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕

ปฐวีธาตุ, อาโปธาตุ, เตโชธาตุ, วาโยธาตุ และรูปที่เป็นอุปาทา

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕ อย่างนี้.

ปัญจกมาติการ จบ

ฉักกมาติกา

[๕๐๘] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖

รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้. รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณ

พึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ รูปอันมโนวิญญาณ

พึงรู้

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖ อย่างนี้.

ฉักกมาติกา จบ

สัตตกมาติกา

[๕๐๙] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗

รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณ

พึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้, รูปอันกายวิญญาณพึงรู้, รูปอันมโนธาตุพึงรู้,

รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗ อย่างนี้.

สัตตกมาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

อัฏฐกมาติกา

[๕๑๐] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘

รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้, รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้, รูปอันฆานวิญญาณ

พึงรู้, รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้. รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ ที่มีสัมผัสเป็นสุข

ก็มี, ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี. รูปอันมโนธาตุพึงรู้ รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘ อย่างนี้.

อัฏฐกมาติกา จบ

นวกมาติกา

[๕๑๑] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙

จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์,

อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙ อย่างนี้.

นวกมาติการ จบ

ทสกมาติกา

[๕๑๒] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐

จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์,

อิตถินทรีย์, ปุริสินทรีย์, ชีวิตินทรีย์, รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบได้ก็มี,

ที่กระทบไม่ได้ก็มี

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐ อย่างนี้.

ทสกมาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

เอกาทสกมาติกา

[๕๑๓] สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑

จักขายตนะ, โสตายตนะ, ฆานายตนะ, ชิวิหายตนะ, กายายตนะ,

รูปายตนะ, สัททายตนะ, คันธายตนะ, รสายตนะ, โผฏฐัพพายตนะ, และ

รูปที่เป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑ อย่างนี้.

เอกาทสกมาติกา จบ

มาติกา จบ

อรรถกถารูปกัณฑ์

ว่าด้วยเอกกอุทเทส

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกรูปกัณฑ์ (หมวดรูป)

จึงเริ่มตรัสพระบาลีมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อพฺยากตา (ธรรมเป็นอัพยากฤต

เป็นไฉน) ดังนี้อีก.

พึงทราบวินิจฉัยคำว่า อัพยากฤต เป็นต้นนั้นต่อไป

พระบาลีในจิตตุปปาทกัณฑ์ พระองค์ทรงจำแนกวิปากอัพยากตะ

(อัพยากฤตคือวิบากจิต) และกิริยาอัพยากตะ (อัพยากฤตคือกิริยา) ไว้หมดสิ้น

แล้วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังมิได้ตรัสอัพยากฤต คือ รูป และอัพยากฤต คือ

นิพพาน เมื่อจะทรงประมวลอัพยากฤตแม้ทั้ง ๔ มาแสดง เพื่อตรัสอัพยากฤต

ทั้งสองที่ยังเหลือนั้น จึงตรัสว่า กุสลากุสลาน ธมฺมาน วิปากา (วิบาก

แห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม) ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลากุสลาน ได้แก่ กุศลอันเป็นไป

ในภูมิ ๔ และอกุศลทั้งหลาย. พระองค์ทรงถือเอาบททั้งสอง คือ กุศลวิบาก

และอกุศลวิบากแสดงอัพยากฤตวิบากจิตไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. แต่เพราะ

อัพยากฤตทั้งหมดนั้นเป็นกามาวจรก็มี เป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปาวจร

เป็นต้นก็มี ฉะนั้นจึงทรงแสดงอัพยากฤตคือวิบากนั่นนั่นเองถือเอาความแตก

ต่างกันแห่งภูมิโดยนัยมีคำว่า กามาวจรา (เป็นกามาวจร) เป็นต้น อนึ่ง

เพราะอัพยากฤตนั้นเป็นเวทนาขันธก็มี ฯลฯ เป็นวิญญาณขันธ์ก็มี ฉะนั้น

จึงทรงถือเอาอัพยากฤตนั้นแสดงด้วยอำนาจขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตกัน ครั้นทรงแสดง

อัพยากฤตคือวิบากจิตอย่างนี้ โดยถือเอานัยทั้ง ๓ คือ ด้วยอำนาจกุศลและ

อกุศล ด้วยอำนาจความแตกต่างกันแห่งภูมิ และด้วยอำนาจขันธ์ที่สัมปุยตกัน

เมื่อจะทรงแสดงอัพยากฤต คือ กิริยาจิตอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า เย จ ธมฺมา

กิริยา (อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา) ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น กิริยาจิตนั้นบุคคลพึงกล่าวว่า เป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์. ก็พระองค์ครั้นทรงแสดง

นัยที่บุคคลถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละแล้วทรงสละเสีย.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงธรรมที่ยังมิได้จำแนกไว้ จึงตรัสว่า สพฺพญฺจ

รูป อสขตา จ ธาตุ (รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ).

ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอารูป ๒๕

โกฏฐาสแห่งรูป ๙๖ แสดงไว้โดยสิ้นเชิง ด้วยบทว่า สพฺพญฺจ รูป ดังนี้.

ด้วยบทว่า อสขตา จ ธาตุ นี้ทรงยกนิพพานขึ้นแสดงโดยสิ้นเชิง. บทว่า

อพฺยากตา ธมฺมา (ธรรมเป็นอัพยากฤต) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นไว้

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ว่าด้วยอัพยากฤต คือ รูป

บรรดาธรรมเป็นอัพยากฤตนั้น คำว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? นี้

พระองค์ทรงถือเอาแล้ว เพราะเหตุไร ภายหลังจึงตรัสอัพยากฤตคือรูปไว้โดย

ย่อ บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกรูปนั้นโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งรูปหมวด

๑ หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ ฯลฯ หมวด ๑๑ จึงทรงถือเอารูป

นี้เล่า.

เนื้อความนั้นมีอธิบายว่า รูปใดที่ตรัสไว้ใน ๒ บทนั้นว่า สพฺพญฺจ

รูป อสขตา จ ธาตุ นั้น ที่ชื่อว่า รูปทั้งหมด เป็นไฉน ? บัดนี้

เมื่อจะแสดงรูปนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา (มหาภูตรูป ๔)

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน.

ด้วยบทว่า ๔ นั้น ทรงปฏิเสธความหย่อนและยิ่งของรูปเหล่านั้น จ ศัพท์เป็น

สัมปิณฑนัตถะ (คือใช้ในอรรถว่าประมวลมา) ด้วย จ ศัพท์นั้น จึงประมวล

มาซึ่งอุปาทายรูป (รูปอาศัย) ว่า ใช่แต่มหาภูตรูป ๔ เท่านั้นก็หาไม่ รูป

แม้อย่างอื่นก็มีอยู่ ดังนี้.

ว่าด้วยมหาภูตรูป

ในคำว่า มหาภูตะ นี้ พึงทราบว่า สภาวะที่ชื่อว่า มหาภูตะ

เพราะเหตุทั้งหลายโดยความปรากฏว่าเป็นของใหญ่เป็นต้น เพราะรูปเหล่านั้น

ตรัสเรียกว่า มหาภูตะ ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ

ปรากฏเป็นของใหญ่ ๑

เหมือนมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น ๑

เพราะต้องบำรุงรักษามาก ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

เพราะวิการ (เปลี่ยนแปลง) ใหญ่ ๑

เพราะเป็นกองใหญ่ที่มีอยู่ ๑.

บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อว่า มหาภูตรูปปรากฏเป็นของใหญ่ มีอธิบายว่า

รูปเหล่านั้น ปรากฏเป็นของใหญ่ในอนุปาทินนกสันดานบ้าง ในอุปาทินนก-

สันดานบ้าง บรรดาสันดานทั้ง ๒ นั้น พึงทราบในอนุปาทินนกสันดานโดย

ความเป็นของใหญ่อย่างนี้

จริงอยู่ จักรวาลหนึ่งยาวและกว้างถึง ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (หนึ่งล้าน

สองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์) วัดโดยรอบ ตามคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า

สพฺพ สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส ปริมณฺฑล

ทสญฺเจว สหสฺสานิ อฑฺฒุฑฺฒานิ สตานิ จ

จักรวาลทั้งหมดมีสัณฐานกลม วัด

โดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ (สามล้าน

หกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์).

ในจักรวาลนั้น มีคาถาว่า

ทุเว สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ

เอตฺตก พหลตฺเตน สขาตาย พสุนฺธรา

แผ่นดินนี้ วัดโดยส่วนหนาได้เท่านี้

คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ (สองแสนสี่หมื่นโยชน์).

แผ่นดินนั้นนั่นแหละมีน้ำรองแผ่นดิน (ดังคาถาว่า)

จตฺตาริ สตสหสฺสานิ อฏฺเว นหุตานิ จ

เอตฺตก พหลตฺเตน ชล วาเต ปติฏฺิต

๑. หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่ไม่มีใจครอง

๒. หมายถึงรูปที่สืบต่อกันที่มีใจครอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

น้ำรองแผ่นดินหนาถึง ๔๘๐,๐๐๐

โยชน์ (สี่แสนแปดหมื่นโยชน์) ตั้งอยู่บนลม.

แม้น้ำนั้นแหละก็มีลมรองอยู่ (ดังคาถาว่า)

นว สตสหสฺสานิ มาลุโต นภมุคฺคโต

สฏฺิญฺเจว สหสฺสานิ เอสา โลกสฺส สณฺิติ

ลมสูงขึ้นสู่ท้องนภาถึง ๙๖๐,๐๐๐

โยชน์ (เก้าแสนหกหมื่นโยชน์) นี้เป็นการตั้ง

อยู่ของโลก.

ก็เมื่อโลกตั้งอยู่อย่างนี้

มีขุนเขาสิเนรุราช หยั่งลึกลงไปใน

มหาสมุทรถึง ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ (แปดหมื่น

สี่พันโยชน์) สูงขึ้นจากมหาสมุทรได้

๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ เหมือนกัน.

มีภูเขาใหญ่ล้วนด้วยศีลาเป็นแท่งทึบ

๗ เทือก เหล่านี้ คือ ภูเขาชื่อวายุคันธร

ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ

ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ ภูเขาอสัสกรรณ

ล้วนวิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ อันเป็นทิพย์

หยั่งลงในมหาสมุทร และสูงขึ้นจากมหา-

สมุทรประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ โดยประมาณที่

กล่าวไว้ทั้งข้างบนข้างล่าง โดยรอบขุนเขา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ* เป็นที่สิ่งสถิตของ

มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ

และพวกยักษ์.

ยังมีภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์

ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ งดงามด้วยยอด

๘๔,๐๐๐ ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วย

อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า)

นั้นวัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ มีกิ่งลำต้น

ยาว ๕๐ โยชน์รอบด้าน ว่างได้ร้อยโยชน์

สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.

อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของ

พวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)

ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีป

ปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือน

กัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ต้นปาฏลี (แคฝอย) ๑ ต้นสิมพลี

(ไม้งิ้ว) ๑ ต้นชมพู (ไม้หว้า) ๑ ต้นปาริฉัตตกะ

(ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ ๑ ต้นกทัมพะ

(ไม้กระทุ่ม) ๑ ต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้นสิรีสะ

(ไม้ซึก) เป็นที่ ๗

* โยชนา เอเต สตต ปพพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา

๗ เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ภูเขาจักรวาลหยั่งลึกลงในมหาสมุทร

๘๒,๐๐๐ โยชน์ สูงพ้นมหาสมุทร ๘๒,๐๐๐

โยชน์เหมือนกัน ทั้งหมดได้ตั้งแวดล้อมโลกธาตุ

ไว้แล. (นี้ชื่อว่าสันดานของรูปที่ไม่มีใจครอง).

แม้ในสันดานของรูปที่มีใจครอง (อุปาทินนกสันดาน) ก็ปรากฏ

เป็นของใหญ่นั่นแหละด้วยอำนาจแห่งสรีระมีปลา เต่า เทพ และทานพเป็นต้น

ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

มหาสมุทร สัตว์ใหญ่ แม้ยาวตั้งร้อยโยชน์ก็มีเป็นต้น.

ว่าด้วยมหาภูต คือ นักเล่นกลเป็นต้น

ข้อว่า มหาภูตคือนักเล่นกลเป็นต้น มีอธิบายว่า มหาภูตรูปเหล่านี้

เปรียบด้วยนักเล่นกล ย่อมทำน้ำอันมิใช่แก้วมณีเลยให้เป็นแก้วมณี ย่อมแสดง

ก้อนดินอันมิใช่ทองคำเลยให้เป็นทองคำได้ ฉันใด อนึ่ง ตัวเอง (มหาภูตรูป)

มิใช่เป็นยักษ์ มิใช่เป็นปักษี (นก) ย่อมแสดงความเป็นยักษ์บ้าง เป็นปักษีบ้าง

ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือตัวเอง (มหาภูตรูป) มิใช่เป็นสีเขียว

ก็แสดงอุปาทารูป (รูปอาศัย) ให้เป็นสีเขียว ตัวเองมิใช่เป็นสีเหลืองก็แสดง

อุปาทารูปให้เป็นสีเหลือง มิใช่เป็นสีแดง. . . มิใช่สีขาวก็แสดงอุปาทารูปให้

เป็นสีขาวได้ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็น

เหมือนมหาภูต คือนักเล่นกล.

อนึ่ง มหาภูตคือยักษ์ผู้ชายเป็นต้นย่อมสิงวัตถุใด หรือสัตว์ใด ที่อัน

เป็นภายใน หรือภายนอกของวัตถุนั้น หรือของสัตว์นั้น ก็หามัน (คือมหาภูต

ตัวยักษ์ผู้ชายเป็นต้นนั้น) ไม่ได้ และมิใช่มันจะไม่แอบอิงวัตถุนั้นหรือสัตว์นั้น

อยู่ก็หาไม่ ข้อนี้ ฉันใด มหาภูตรูปแม้เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะค้นหา

๑. อ. อฏฺกนิปาต เล่ม ๒๓. ๑๐๙/๒๐๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

ภายในหรือภายนอกของกันและกันก็หาไม่ได้ และมิใช่มหาภูตรูปเหล่านั้นจะไม่

อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้น จึงชื่อมหาภูตะเพราะ

เป็นเช่นกับมหาภูต* มียักษ์ผู้ชายเป็นต้น เพราะความเป็นฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงคิด.

อนึ่งมหาภูตคือนางยักษิณีปกปิดความที่มันเป็นปีศาจน่ากลัวจึงล่อลวง

สัตว์ทั้งหลายโดยให้สีสรรค์ทรวดทรงและการเยื้องกรายอันน่าชื่นใจ ฉันใด

มหาภูตะแม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปกปิดลักษณะอันเป็นสภาวะของตนอัน

ต่างโดยความเป็นของแข็งเป็นต้น ของตนไว้โดยผิวพรรณอันน่าชื่นใจ ด้วย

ทรวดทรงแห่งอวัยวะน้อยใหญ่อันน่าชื่นใจ ด้วยการกรีดกรายมือ เท้า นิ้วมือ

และยักคิ้วอันน่าชื่นใจในร่างกายหญิงชายเป็นต้น ย่อมล่อลวงคนเขลา ย่อม

ไม่ให้เห็นสภาวะของตน เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ เพราะมันเหมือน

มหาภูต (มหาปีศาจ) คือ นางยักษิณี เพราะทำความล่อลวง ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เพราะต้องบำรุงรักษามาก คือ เพราะต้องบริหารด้วย

ปัจจัยเป็นอันมาก จริงอยู่ รูปเหล่านี้ ชื่อว่า มหาภูตะ ด้วยอรรถว่าต้อง

ให้เป็นไปโดยการกินการอยู่และเครื่องนุ่งห่มเป็นอันมาก เพราะต้องน้อมเข้าไป

ทุก ๆ วัน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งต้อง

บำรุงรักษามาก ดังนี้ก็มี.

คำว่า เพราะวิการใหญ่ ได้แก่ เพราะมหาภูตะทั้งหลายเปลี่ยนแปลง

ใหญ่ จริงอยู่ รูปเหล่านี้ เป็นรูปที่มีใจครองก็ดี เป็นรูปที่ไม่มีใจครองก็ดี

ย่อมเป็นของเปลี่ยนแปลงใหญ่ บรรดารูปทั้ง ๒ นั้น รูปที่ไม่มีใจครองย่อม

ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในคราวกัปพินาศ ส่วนรูปที่มีใจครองย่อม

ปรากฏเป็นการเปลี่ยนแปลงมากในเวลาธาตุกำเริบ.

จริงอย่างนั้น ตามที่ท่านกล่าวว่า

* มหาภูต หมายถึงภูตผีปีศาจที่ตัวใหญ่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

ในคราวใด โลกจะพินาศด้วยไฟเผา-

ผลาญ ในคราวนั้น ไฟย่อมโพลงขึ้นตั้งแต่พื้น

ดินไปถึงพรหมโลก.

ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยน้ำ

กำเริบในคราวนั้น แสนโกฏิจักรวาลย่อมละลาย

ไปเป็นอันเดียวกันด้วยน้ำกรด.

ในคราวใด โลกจะฉิบหายด้วยลม

กำเริบ ในคราวนั้น ลมย่อมยังแสนโกฏิจักรวาล

ให้กระจัดกระจายไปเป็นอันเดียวกัน.

กายใด ที่ถูกงูชื่อกัฏฐมุขะ (งูปากไม้)

ขบเอาแล้วย่อมแข็งกระด้าง ฉันใด กายนั้น

ย่อมเป็นดุจอยู่ในปากงูกัฏฐมุขะขบเอา เพราะ

ความที่ปฐวีธาตุเสียไปฉันนั้น กายใด ที่ถูกงู

ชื่อปูติมุขะ (งูปากเน่า) ขบเอาแล้ว ย่อมเน่า

ฉันใด กายนั้น ย่อมดุจอยู่ในปากงูปูติมุขะ

ขบเอา เพราะความที่อาโปธาตุเสียไปฉันนั้น

กายใด ที่ถูกงู ชื่ออัคคิมุขะ (งูปากไฟ)

ขบเอาแล้วย่อมเร่าร้อน ฉันใด กายนั้น ย่อม

เป็นดุจอยู่ในปากงูอัคคิมุขะขบเอา เพราะ

ความที่เตโชธาตุเสียไปฉันนั้น กายใด ที่ถูกงู

ชื่อสัตถมุขะ (งูปากศาสตรา) ขบเอาแล้ว

ย่อมขาดเป็นชิ้น ฉันใด กายนั้นย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

เป็นดุจอยู่ในปากงูสัตถมุขะขบเอา เพราะ

ความที่วาโยธาตุเสียไป ฉันนั้น.

รูปที่ชื่อว่า มหาภูตะ เพราะเป็นของวิการคือเปลี่ยนแปลงใหญ่ด้วย

ประการฉะนี้.

ข้อว่า เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่ จริงอยู่ รูปเหล่านั้น ชื่อว่า

เป็นของใหญ่ เพราะเป็นของที่ต้องประดับประคองด้วยความเพียรใหญ่ และที่

ชื่อว่า มีอยู่ เพราะเป็นของที่ปรากฏมีอยู่ เพราะฉะนั้น รูปจึงชื่อว่า มหาภูตะ

เพราะเป็นของใหญ่ที่มีอยู่. มหาภูตรูปเป็นรูปใหญ่ ด้วยเหตุเป็นของใหญ่เป็นต้น

ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า จตุนฺน จ มหาภูตาน อุปาทาย รูป (และรูปที่อาศัย

มหาภูตรูป ๔) นี้เป็นสามีวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ (ให้แปลว่าอาศัยซึ่ง

มหาภูตรูป ๔) อธิบายว่า รูปอาศัยอิงอาศัยไม่ปล่อยมหาภูตทั้ง ๔ เป็นไป.

บทว่า อิท วุจฺจติ สพฺพ รูป (นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด) ความว่า

รูปนี้มีประเภท ๒๗ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๓ ตามที่ยกขึ้นแสดง

โดยลำดับแห่งบทนี้ ชื่อว่า รูปทั้งหมด.

อรรถกถาแสดงมาติการูปกัณฑ์

ว่าด้วยเอกมาติกา

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงรูปนั้นโดยพิสดาร เมื่อ

จะทรงตั้งมาติกาด้วยการสงเคราะห์รูป ๑๑ หมวด มีรูปหมวดหนึ่งเป็นต้น

จึงตรัสว่า สพฺพ รูป น เหตุ (รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ) เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ในพระบาลีเหล่านั้น ก็บทว่า สพฺพ รูป นี้ บัณฑิตพึงประกอบ

กับบททั้งปวงอย่างนี้ว่า สพฺพ รูป น เหตุ สพฺพ รูป อเหตุก (รูป

ทั้งหมดไม่ใช่เหตุ รูปทั้งหมดไม่มีเหตุ) ดังนี้. บททั้งหมดที่ทรงตั้งไว้ ๔๓ บท

มีคำว่า น เหตุ (มิใช่เหตุ) เป็นต้น ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว.

บรรดาบท ๔๓ เหล่านั้น บท ๔๐ โดยลำดับ ทรงถือเอาแต่มาติกา

ตั้งไว้ ๓ บทสุดท้ายนอกจากมาติกา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบพระบาลี

ในสังคหะ (สงเคราะห์) ที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน ในสังคหะที่ ๒ เป็นต้นก็เหมือน

อย่างนั้น.

ว่าด้วยทุกรูป คือ รูปหมวด ๒

บรรดาสังคหะเหล่านั้น มีนัยดังต่อไปนี้.

สังคหะที่ ๒ ก่อน รูปหมวด ๒ มี ๑๐๔ ทุกะ ในทุกะ ๑๐๔ เหล่านั้น

ทุกะ ๑๔ จนเบื้องต้น มีอาทิว่า อตฺถิ รูป อุปาทา อตฺถิ รูป โน อุปาทา

(รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปเป็นอนุปาทาก็มีอยู่) ชื่อว่า ปกิณกทุกะ เพราะไม่มี

ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ทุกะต่อจากนั้น ๒๕ ทุกะ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูป จกฺขุสมฺผสฺสสฺส

วตฺถุ (รูปเป็นที่อาศัยของจักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่า วัตถุทุกะ เพราะความ

เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาวัตถุและอวัตถุ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๒๕ มี

อาทิว่า อตฺถิ รูป จกฺขุสมฺผสฺสสฺส อารมฺมณ (รูปเป็นอารมณ์ของ

จักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่า อารัมมณทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการ

พิจารณาถึงอารมณ์และอนารมณ์. ต่อจากนั้นทุกะ ๑๐ มีอาทิว่า อตฺถิ รูป

จกฺขายตน (รูปเป็นจักขายตนะก็มี) ชื่อว่า อายตนทุกะ เพราะความเป็นไป

ด้วยอำนาจแห่งความพิจารณาอายตนะและอนายตนะ ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๐

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

มีอาทิว่า อตฺถิ รูป จกฺขุธาตุ (รูปเป็นจักขุธาตุมีอยู่) ชื่อว่า ธาตุทุกะ

เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาธาตุ และอธาตุ. ต่อจากนั้น ทุกะ

๘ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูป จกฺขุนฺทฺริย (รูปเป็นจักขุนทรีย์ก็มี) ชื่อว่า

อินทริยทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาอินทรีย์และอนิน-

ทรีย์. ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๒ มีอาทิว่า อตฺถิ รูป กายวิญฺตฺติ (รูปเป็น

กายวิญญัติมีอยู่) ชื่อว่า สุขุมรูปทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจการ

พิจารณาสุขุมรูป และอรูป ดังนี้

นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในทุติยสังคหะ.

ว่าด้วยติกรูป คือ รูปหมวด ๓

ในสังคหะที่ ๓ มีจำนวน ๑๐๓ ติกะ ในบรรดาติกะเหล่านั้น ติกะ ๑๓

ที่ประกอบอัชฌัตติกทุกะ ๑ ในปกิณกทุกะ ๑๔ ตามที่กล่าวในทุติยสังคหะด้วย

ติกะ ๑๓ ที่เหลือแล้วตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺต รุป อชฺฌตฺติก ต อุปาทา

ยนฺต รูป พาหิร ต อตฺถิ อุปาทา อตฺถิ โน อุปาทา รูปภายในเป็นอุปาทา

รูปภายนอกที่เป็นอุปาทาก็มี ที่เป็นอนุปาทาก็มี ดังนี้ ชื่อว่า ปกิณกติกะ

จากนั้นก็ทรงประกอบทุกะนั้นนั่นแหละกับทุกะที่เหลือ แล้วทรงตั้งติกะที่เหลือ

โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺต รูป พาหิร ต จกฺขุสมฺผสฺส น วตฺถุ ยนฺต รูป

อชฺฌตฺสติก ต อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺส วตฺถุ อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส น

วตฺถุ (รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิด

ของจักขุสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี) ดังนี้. พึงทราบชื่อ

และการนับแห่งติกะเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งวัตถุทุกะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ

นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในสังคหะที่ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

ว่าด้วยรูปหมวด ๔ เป็นต้น

ในสังคหะที่ ๔ มี ๒๒ จตุกะ บรรดาจตุกะ ๒๒ เหล่านั้น จตุกะสุด

ท้ายมิได้ทรงถือเอามาติกาตามที่กล่าวไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอุปาทาก็มี

รูปไม่เป็นอุปาทาก็มี" ดังนี้ แล้วทรงตั้งไว้ แต่ทรงถือจตุกะนอกนี้ทรงตั้งไว้

เป็นอย่างไร ?

คือ ทุกะ ๓ ข้างต้นในปกิณกะทั้งหลายที่สงเคราะห์รูป ๒ อย่าง

เหล่าใด ในทุกะ ๓ เหล่านั้น ทรงถือเอาทีละทุกะประกอบกับทุกะละ ๕ ทุกะ

โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺต รูป อุปาทา ต อตฺถิ อุปาทินฺน อตฺถิ อนุปาทินฺน

(รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี) ดังนี้แล้วทรงตั้ง

จตุกะ ๑๕ ข้างต้นซึ่งมี ๓ ทุกะเป็นมูล.

บัดนี้ พึงทราบสนิทัสสนทุกะที่ ๔ นี้ใด เพราะสนิทัสสนทุกะนั้นไม่ถึง

การประกอบกับทุกะอื่น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า " รูปเป็นสนิทัสสนะ (เห็นได้)

กระทบได้ก็มี กระทบไม่ได้ก็มี" ดังนี้ หรือว่ากับทุกะข้างต้นโดยนัยว่า " รูป

เป็นอุปาทาก็มี ไม่เป็นอุปาทาก็มี " เป็นต้น เพราะไม่มีอรรถะ เพราะไม่มี

ลำดับเป็นไป และเพราะไม่มีความแตกต่างกัน จริงอยู่ รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ

(เห็นได้) กระทบไม่ได้ หรือว่า เป็นอนุปาทา ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

รูปนั้นจึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีอรรถะ แต่รูปที่เป็นอุปาทินนะ และ

อนุปาทินนะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีลำดับเป็นไป

ด้วยว่า ทุกะทั้งหมดพระองค์ทรงประกอบกับทุกะหลัง ๆ เท่านั้น นี้เป็นลำดับ

ที่เป็นไปในอธิการนี้ แต่กับบทต้น ๆ ไม่มีลำดับเป็นไปดังนี้ หากมีผู้ท้วงว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่มีลำดับเป็นไป ก็ไม่ใช่เหตุสำคัญ ฉะนั้น ควรประกอบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

กับบทที่เป็นอุปาทินนะเป็นต้น. ตอบว่า จะประกอบกับรูปนี้ไม่ได้ เพราะ

ไม่มีความต่างกันกับรูปที่เป็นบทอุปาทินนรูปเป็นต้น ในอธิการแห่งบทมีอุปา-

ทินนะเป็นต้น ประกอบเข้ากับบทสนิทัสสนทุกะนั้นแล้ว เมื่อกล่าวว่ารูปเป็น

อุปาทินนะ เป็นสนิทัสสนะ หรือรูปที่เป็นสนิทัสสนะเป็นอุปาทินนะ ดังนี้

ความแตกต่างกันก็ไม่มี จึงไม่ถึงการประกอบกัน เพราะไม่มีความแตกต่างกัน

ฉะนี้.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งจตุกะไว้ ๖ จตุกะประกอบ

ครั้งละ ๒ ทุกะซึ่งประกอบโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺต รูป สปฺปฏิฆ ต อตฺถิ

อินฺทฺริย อตฺถิ น อินฺทฺริย ยนฺต รูป อปฺปฏิฆ ต อตฺถิ อินฺทริย

อตฺถิ น อินฺทฺริย (รูปกระทบได้ คือ สัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่

เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่กระทบไม่ได้ (คืออัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี

ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี ดังนี้ กับ ๓ ทุกะมีอาทิว่า อตฺถิ รูป สปฺปฏิฆ

ดังนี้ อื่นจากนั้นไม่ถือเอาทุกะที่ ๔ นั้น.

ก็ทุกะที่ ๔ นี้ ไม่ถึงการประกอบ ฉันใด แม้ทุกะต้นก็ไม่ถึงการ

ประกอบกับทุกะที่ ๔ นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความที่อนุปาทารูป

(คือรูปที่ไม่มีใจครอง) เป็นอนิทัสสนรูป (เห็นไม่ได้). จริงอยู่ ทุกะข้างต้น

เมื่อประกอบกับทุกะที่ ๔ อย่างนี้ว่า " รูปเป็นอนุปาทา เป็นสนิทัสสนะก็มี

เป็นอนิทัสสนะก็มี" ดังนี้ ย่อมไม่ถึงการประกอบได้. เพราะฉะนั้น จึงต้อง

เลยทุกะนั้นไปประกอบกับทุกะที่ ๕. ทุกะใดถึงการประกอบได้ ประกอบไม่ได้

กับด้วยการประกอบอย่างนี้ พึงทราบทุกะนั้น ดังนี้. นี้เป็นการกำหนดตาม

พระบาลีในสังคหะที่ ๔.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ว่าด้วยสงเคราะห์รูปหมวด ๕

ก็เบื้องหน้าแต่นี้ สังคหะ (คือสงเคราะห์) ๗ อย่างมีการสงเคราะห์รูป

๕ อย่างเป็นต้น เป็นการสงเคราะห์ปะปนกันทั้งนั้น. พึงทราบการกำหนด

พระบาลีในมาติกาแม้ทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.

อุทเทสแห่งรูป จบ

รูปวิภัตติ

เอกกนิเทศ

[๕๑๔] รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น ไม่มีเหตุทั้งนั้น วิปปยุตจาก

เหตุทั้งนั้น เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรม

ทั้งนั้น เป็นโลกิยธรรมทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของคันถะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งนั้น

เป็นอารมณ์ของโยคะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของ

ปรามาสทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น

เป็นอัพยากตธรรมทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เจตสิกทั้งนั้น วิปปยุต

จากจิตทั้งนั้น ไม่ใช่วิบาก และไม่ใช่เหตุแห่งวิบากทั้งนั้น ไม่เศร้าหมองแต่

เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรม

ไม่มีวิตกแต่มีวิจารทั้งนั้น ไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วย

ปีติทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุขทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา

ทั้งนั้น อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ประหาณทั้งนั้น ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

สัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณทั้งนั้น ไม่

เป็นเหตุ ให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพานทั้งนั้น เป็นของเสกขบุคคล

และไม่เป็นของอเสกขบุคคลทั้งนั้น เป็นปริตตธรรมทั้งนั้น เป็นกามาวจร

ธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่รูปาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อรูปาวจรธรรมทั้งนั้น เป็น

ปริยาปันนธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อปริยาปันนธรรมทั้งนั้น เป็นอนิยตธรรมทั้งนั้น

เป็นนิยยานิกธรรมทั้งนั้น เป็นปัจจุบันธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ทั้งนั้น

ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑ อย่างนี้.

เอกกนิเทศ จบ

ทุกนิเทศ

อุปาทาภาชนีย์

[๕๑๕] รูปเป็นอุปาทา นั้นไฉน ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัม-

มัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร.

[๕๑๖] รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือ

พึงเห็น ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ด้วยจักขุใดอันเป็นสิ่งที่เห็น

ไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง

เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.

รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้. รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว

หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุใดอันเป็นสิ่งที่เห็น

ไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง

จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า

จักขายตนะ

รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบที่รูปอันเป็นสิ่ง

ที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง

จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า

จักขายตนะ.

รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัสปรารภรูปเกิดขึ้น

แล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ

ปรารภรูปเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัส มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจะเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนาอันเกิดแต่

จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอา-

รมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า

จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง

สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง

บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.

[๕๑๗] รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้ฟังแล้ว หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึง

ฟัง ซึ่งเสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยโสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็น

ไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โส-

ตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง

ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบ

แล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตใด อันเป็นสิ่ง

ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุ

บ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบที่เสียง อันเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้. นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุ

บ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัสปรารภเสียงเกิดขึ้น

แล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสต-

ใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสต-

วิญญาณปรารภเสียงเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิด

ขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัส มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว

หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด

เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ

มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น

นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง

ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่าง

บ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

[๕๑๘] รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบใด, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม

หรือพึงดมซึ่งกลิ่น อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด อัน

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆาน-

ธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขต

บ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระกระทบได้, กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ฆานะใด

อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง

ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง

เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ

ได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่น

อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง

ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง

เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยฆานะใด ฆานะสัมผัสปรารภ

กลิ่นเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด

เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ

ปรารภกลิ่นเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่

ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็น

อารมณ์เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียก

ว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวาร

บ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง

รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.

[๕๑๙] รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูบ ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม

หรือพึงลิ้มซึ่งรสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาใด อันเป็นสิ่ง

ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุ

บ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระ-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

ทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาใด อัน

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิว-

หาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง

เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, ชิวหาใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสอันเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุ

บ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.

รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรสเกิด

ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัย

ชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณ ปรารภรสเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือ

พึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัส มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น

แล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา

ใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหา-

วิญญาณ มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น

หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ.

[๕๒๐] รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ อัน

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือ

จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้องซึ่งโผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

ด้วยกายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะ.

บ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ

บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.

รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายใด

อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง

กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง

เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ

รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, กายใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบ

แล้ว. หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะ อันเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง

กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ อัน

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส ปรารภ

โผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา

ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจัก

เกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะ

เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ

กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจัก

เกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง

กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง

วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.

[๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้

ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียว

ใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม

แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ

หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสง

แก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูป

แม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่,

สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

สิ่งที่เห็นได้แล้วกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้

เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.

รูปที่เรียก รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้

ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียว

ใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม

แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ

หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสง

แก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือ

รูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่,

จักขุอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ

จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้,

นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.

รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้

ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียว

ใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม

แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ

หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก แสง

แก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือ

รูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่,

รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.

รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้

ได้แก่ สีเขียวคราม สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียว

ใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม

แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด แลงสว่าง มืด เมฆ

หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก

แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน

หรือรูปแม้อื่นใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้

มีอยู่, เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัสอาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด เวทนาอันเกิดแก่

จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว

หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใด

เป็นอารมณ์ อาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง

เกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ

จักขุวิญญาณ มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, รูปนี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุ

บ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.

[๕๒๒] รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เพียงกระทบกันของธาตุ

เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดที่อาศัย

มหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ฟังแล้ว หรือ

ฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

ด้วยโสตอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะ

บ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.

รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง

ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ

เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย

มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, โสตอันเป็นสิ่งที่เห็น

ไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง

กระทบที่เสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง

สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.

รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง

ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ

เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย

มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เสียงใด อันเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

หรือพึงกระทบ ที่โสตอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะ-

บ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.

รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียง

ประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ

เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย

มหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภเสียงใด

โสตสัมผัส อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง

เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา

ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ โสตสัมผัส มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัย

โสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา

อันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ มีเสียง

ใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง

เกิดขึ้น, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้

เรียกว่า สัททายตนะ.

[๕๒๓] รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้

กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย

มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ดมแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่

กระทบได้ ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะ

บ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.

รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้

กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัย

มหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, มีอยู่, ฆานะอันเป็นสิ่งที่

เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือ

พึงกระทบที่กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง

คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.

รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้นเป็นไฉน ?

กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้

กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหา-

ภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ มีอยู่, กลิ่นใดอันเป็นสิ่งที่เห็น

ไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง

กระทบทีฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง

คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.

รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้นเป็นไฉน ?

กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้

กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหา-

ภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ฆานสัมผัส อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง

เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา

ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัย

ฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ

มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น

หรือพึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูป

ทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.

[๕๒๔] รูปนี้เรียกว่า รสายตนะ นั้นเป็นไฉน ?

รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว

หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด

ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ ลิ้ม

แล้วหรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้มซึ่งรสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่

กระทบได้ ด้วยชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง

รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.

รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้นเป็นไฉน ?

รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่

รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว

หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด

ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ ชิวหาอันเป็น

สิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

หรือพึงกระทบ ที่รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง

รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.

เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่

รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว

หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด

ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, รสใด อัน

เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ

หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง

รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.

รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รสใด อาศัยมหาภูตรูป เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่

รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว

หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด

ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะ

ปรารภรสใด ชิวหาสัมผัส อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจัก

เกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหา

สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้ว

หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาสัมผัส มีรสใด

เป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาใดเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือ

พึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ

ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่

หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุ

บ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.

[๕๒๕] รูปที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ

หญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อิตถินทรีย์.

[๕๒๖] รูปที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย

ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.

[๕๒๗] รูปที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิต ของรูปธรรมนั้น ๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.

[๕๒๘] รูปที่เรียกว่า กายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน ?

ความเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดง

ให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย

แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต

ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียด

ออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กายวิญญัติ.

[๕๒๙] รูปที่เรียกว่า วจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน ?

การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การ

โฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมี

จิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา. การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยา

ที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย ด้วยวาจานั้น อันใด รูป

ทั้งนี้เรียกว่า วจีวิญญัติ.

[๕๓๐] รูปที่เรียกว่า อากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า

ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูก

ต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อากาสาธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

[๕๓๑] รูปที่เรียกว่า รูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป

อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปลหุตา.

[๕๓๒] รูปที่เรียกว่า รูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูป

อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปมุทุตา.

[๕๓๓] รูปที่เรียกว่า รูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งรูปอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปกัมมัญญตา.

[๕๓๔] รูปที่เรียกว่า รูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอุปจยะ.

[๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปสันตติ.

[๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความ

มีหนังเหี่ยว ควานเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูป

ทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.

[๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความอันตรธาน แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

[๕๓๘] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส

เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก

ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้น ๆ ในชนบทใด ๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยง

ชีวิตด้วยโอชาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กพฬิงการาหาร.

รูปทั้งนี้ เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.

อุปาทาชนีย์ จบ

ปฐมภาณวาร ในรูปกัณฑ์ จบ

อรรถกถาแสดงรูปวิภัตติ

ว่าด้วยเอกกนิทเทส

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนกเนื้อความแห่งรูป-

วิภัตติ (มาติกา) นั้น จึงเริ่มตรัสคำมีอาทิว่า สพฺพ รูป น เหตุเมว (รูป

ทั้งหมดไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) ดังนี้.

ถามว่า ก็ในเอกกนิทเทสนี้ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้

กระทำคำถามว่า รูปทั้งหมดนั้นมิใช่เหตุเป็นไฉน ดังนี้เล่า.

ตอบว่า เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.

จริงอยู่ ในเอกกนิทเทสนี้ ในข้อที่แตกต่างกันอย่างนี้ว่า รูปทั้งหมด

มิใช่เหตุบ้าง มิใช่เป็นเหตุบ้าง เหมือนในรูปทุกะเป็นต้น ซึ่งเป็นอุปาทารูป

บ้าง เป็นอนุปาทารูปบ้าง เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ทรงจำแนกคำถามไว้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สพฺพ (ทั้งหมด) ได้แก่ทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือ.

คำว่า รูป (รูป) ทรงขยายความถึงสามัญลักษณะอันแสดงถึงความ

ที่รูปต้องแปรผันไปด้วยวิโรธิปัจจัย (ปัจจัยที่เป็นข้าศึกกัน) มีความเย็นเป็นต้น.

คำว่า น เหตุเมว (ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น) นี้ ทรงขยายความถึงการ

ปฏิเสธเหตุทั่วไป. ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น เหตุมี ๔ อย่าง คือ

เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล

ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย

อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน

สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์.

บรรดาเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้น เหตุนี้คือ กุศลเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ

อโมหะ) อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากฤตเหตุ ๓ ชื่อว่า เหตุเหตุ. เหตุที่

ตรัสไว้ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป เหล่านี้เป็นเหตุ มหาภูต

รูป เหล่านั้นเป็นปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์นี้ ชื่อว่า ปัจจยเหตุ. เหตุที่

ตรัสไว้ว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมเป็นเหตุสูงสุด ในฐานะแห่งการให้ผล

ของตน อิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งกุศลวิบาก อนิฏฐารมณ์เป็น

เหตุสูงสุดในฐานะแห่งอกุศลวิบาก ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ตถาคตย่อมรู้ชัด

ตามความเป็นจริงซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

โดยฐานะ โดยเหตุ ดังนี้ ชื่อว่า อุตตมเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้

เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไป

แม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า

ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็

เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่า

สาธารณเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ก็ ในที่นี้ทรงประสงค์เอาเหตุเหตุ (คือเหตุที่เป็นมูล) พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อทรงกำหนดปฏิเสธถึงความที่รูปเป็นเหตุอันมาแล้วในมาติกาว่า เหตู

ธมฺมา น เหตู ธมฺมา ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ

ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบการขยายความถึงการปฏิเสธ และการไม่ปฏิเสธในบท

ทั้งหมดโดยนัยนี้ ส่วนวจนัตถะคือคำจำกัดความแห่งบททั้งปวง ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้ในการพรรณนาบทมาติกาแล้วนั่นแหละ.

ก็ในคำว่า สปฺปจฺจยเมว (เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น) นี้ ได้แก่

มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มีกรรมเป็นปัจจัยเหมือนกัน พึงทราบเนื้อความแห่งรูป

นั่นแหละ ด้วยอำนาจปัจจัย ๔ ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า รูปที่มีอาหารเป็น

สมุฏฐานเป็นต้น มีอาหารเป็นต้น เป็นปัจจัยทั้งนั้น.

คำว่า รูปเมว (เป็นรูปธรรมทั้งนั้น) ได้แก่ ทรงปฏิเสธรูปธรรม

ว่าเป็นอรูปตามที่ตรัสไว้ในมาติกาว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปิโน ธมฺมา (ธรรม

ที่เป็นรูป ธรรมที่ไม่ใช่รูป) ดังนี้.

ในคำว่า อุปฺปนฺน ฉหิ วิญฺาเณหิ (เป็นปัจจุบันธรรมอัน

วิญญาณ ๖ พึงรู้) คือ รูปนั้นแหละเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอันวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญ-

ญาณเป็นต้น พึงรู้ได้ แต่การกำหนดท่านสงเคราะห์หมายเอาจักขุวิญญาณเป็นต้น

จริงอยู่ จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้น ย่อมไม่รู้อดีตและอนาคต ส่วนมโนวิญญาณ

ย่อมรู้อดีตบ้าง อนาคตบ้าง. มโนวิญญาณนั้นเป็นไปแล้ว ก็ชื่อว่าตกไปแล้ว

ในกระแสเหมือนกัน เพราะตกไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕.

อนึ่ง รูปธรรมทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ไม่เที่ยง ทั้งนั้น ด้วยอรรถว่า

มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น เพราะเป็นธรรมอันชรา

พึงครอบงำได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะชราย่อมปรากฏในรูปกาย ฉะนั้นจึงตรัส

ว่า เป็นธรรมชาติอันชราต้องครอบงำโดยแท้ ดังนี้บ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ว่าด้วยวิธศัพท์

วิธศัพท์ในพระบาลีว่า เอว เอกวิเธน รูปสงฺคโห (สงเคราะห์

รูปเป็นหมวดหนึ่งอย่างนี้) นี้ใช้ในความหมายถึง มานะ สัณฐาน และ

โกฏฐาส.

จริงอยู่ มานะ ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า เสยฺโยหมสฺมีติ

วิธา สทิโสหมสฺมีติ วิธา มานะว่า เราดีกว่าเขา มานะว่า เราเสมอ

เขา ดังนี้. สัณฐาน ชื่อว่า วิธา ดังในประโยคมีอาทิว่า กถ วิธ สีลวนฺต

วทนฺติ กถ วิธ ปญฺวนฺต วทนฺติ (บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนมีสัณฐาน

อย่างไรว่า มีศีล เรียกคนมีสัณฐานอย่างไรว่า มีปัญญา) เพราะบทว่า กถ

วิธ มีเนื้อความเหมือนบทว่า กถ สณฺิต. โกฏาส ชื่อว่า วิธา ดุจ

ในประโยคมีอาทิว่า เอกวิเธน าณวตฺถุ ทุวิเธน าณวตฺถุ ญาณวัตถุ

หมวด ๑ ญาณวัตถุหมวด ๒. แม้ในอธิการนี้ก็ทรงประสงค์เอาโกฏฐาส.

ว่าด้วยสังคหศัพท์

แม้ใน สังคหสงเคราะห์ศัพท์ ก็มี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ชาติ

สงเคราะห์ สัญชาติสงเคราะห์ กิริยาสงเคราะห์ และคณนสงเคราะห์.

ในสังคหะทั้ง ๔ เหล่านั้น สังคหะ คือการสงเคราะห์ นี้ว่า ขอกษัตริย์

ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้งปวงจงมา ขอแพทย์ทั้งปวงจงมา ขอศูทรทั้งปวง

จงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์ลงในศีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสงเคราะห์.

สังคหะ คือการสงเคราะห์นี้ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ ทั้งหมด

ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกัน ดุจในคำที่กล่าวว่า ผู้มีชาติเดียวกันจงมา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

พวกชาวโกศลทั้งหมดจงมา พวกชาวมคธทั้งหมดจงมา พวกช่างไม้ทั้งหมด

จงมา และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ สงเคราะห์ลงในสมาธิขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสงเคราะห์.

สังคหะ คือการสงเคราะห์ว่า จริงอยู่ ในการสงเคราะห์นี้ สิ่งทั้งหมด

ถึงการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน โดยฐานะแห่งสัญชาติ โดยที่อยู่อาศัย

เหมือนในที่กล่าวว่าผู้เกิดในที่เดียวกัน เกี่ยวข้องกันโดยชาติในที่ทั้งปวงจงมา

นายหัตถาจารย์ทั้งปวงจงมา นายอัสสาจารย์ทั้งปวงจงมา นายรถทั้งปวงจงมา

และคำว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

สงเคราะห์ลงในปัญญาขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสงเคราะห์. เพราะสิ่งทั้งปวง

เหล่านี้ถึงการสงเคราะห์เป็นพวกเดียวกันด้วยเหตุ คือการกระทำของตน.

สังคหะคือการนับสงเคราะห์ที่กล่าวไว้ว่า จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์

เข้าในขันธ์ไหน ? จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ถ้าว่า

จักขายตนะถึงการนับสงเคราะห์ในรูปขันธ์ไซร้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านก็ต้องกล่าว

ว่า จักขายตนะนับสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า คณนสงเคราะห์.

ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาคณนสงเคราะห์ เพราะการนับสงเคราะห์นี้ ท่าน

อธิบายว่า ได้แก่ การนับรูปโดยส่วนเดียว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

อรรถกถาแสดงทุกนิทเทส

ว่าด้วยจำแนกบทอุปาทา

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงจำแนกบทคำถามที่วางไว้เป็นประธานบทแรก

เพราะสภาพแตกต่างกันในการสงเคราะห์รูปหมวดละ ๒ เป็นต้น อย่างนี้ว่า

อตฺถิ รูป อุปาทา อตฺถิ รูป โน อุปาทา (รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

เป็นอนุปาทาก็มี) ดังนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตมนฺต รูป อุปาทา (รูป

เป็นอุปาทานั้น เป็นไฉน) ดังนี้. ในพระบาลีนั้น รูปที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะ

อรรถว่า อาศัย อธิบายว่า อุปาทารูปนั้นถือเอามหาภูตรูปมั่นไม่ปล่อยวาง

คือย่อมอาศัยมหาภูตรูปนั้นเป็นไป.

ว่าด้วยจักขายตนะ

บัดนี้ เมื่อจะแสดงรูปนั้นโดยประเภทต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

จกฺขายตน (จักขายตนะ) ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยกอุปาทารูป ๒๓

อย่างขึ้นแสดงโดยสังเขปแล้วเมื่อจะแสดงอุปาทารูปนั่นนั่นแหละโดยพิสดารอีก

จึงตรัสว่า กตมนฺต รูป จกฺขายตน (รูปที่เรียกว่า จักขายตนะนั้นเป็นไฉน)

เป็นต้น.

ในคำว่า จักขายตนะ นั้น จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ และ

ปัญญาจักษุ ในมังสจักษุและปัญญาจักษุนั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ

พุทธจักษุ จักษุของพระพุทธเจ้า

สมันตจักษุ ได้แก่สัพพัญญุตญาณ

ทิพยจักษุ ดวงตาเห็นธรรม

ทิพยจักษุ ตาทิพย์

ธรรมจักษุ มรรคเบื้องต่ำ ๓.

บรรดาปัญญาจักษุ ๕ เหล่านั้น จักษุที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย

ฯลฯ ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี นี้ชื่อว่า พุทธจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า สัพ-

พัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ นี้ชื่อว่า สมันตจักษุ. จักษุที่ตรัสไว้ว่า

๑. ม. มู. เล่ม ๑๒. ๓๒๓/๓๒๕. ๒. ขุ. จฬนิทฺเทส. เล่ม ๓๐. ๔๙๒/๒๔๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว นี้ชื่อว่า ญาณจักษุ. จักษุ ที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ นี้ชื่อว่า ทิพยจักษุ.

ญาณคือ มรรค ๓ เบื้องต่ำที่ตรัสไว้ว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน

ย่อมเกิดขึ้น ณ อาสนะที่นั่งนั้นนั่นแหละ นี้ชื่อว่า ธรรมจักษุ.

แม้มังสจักษุก็มี ๒ อย่าง คือ

สสัมภารจักษุ (ลูกตาที่มีส่วนประกอบ)

ปสาทจักษุ (ประสาทตา).

บรรดามังสจักษุทั้ง ๒ นั้น ก้อนเนื้อนี้ตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตาข้างล่าง

กำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ที่ข้างทั้งสองกำหนด

ด้วยเบ้าตา ในภายในกำหนดด้วยมันสมอง ภายนอกกำหนดด้วยขนตา. ว่า

โดยสังเขป จักษุนี้มีส่วนประกอบ (สสัมภาร) ๑๔ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ

รสะ โอชะ สัมภวะ (ความเกิด) สัณฐาน ชีวิตะ ภาวะ กายประสาท จักษุ

ประสาท. ว่าโดยพิสดารมีสสัมภาระคือส่วนประกอบถึง ๔๔ อย่าง ด้วยสามารถ

แห่งรูป ๔๔ เหล่านี้คือ รูป ๑๐ เหล่านี้คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ

โอชา สัณฐาน และสัมภวะ ซึ่งอาศัยธาตุ ๔ เกิดขึ้น เกิดแต่สมุฏฐาน ๔

จึงรวมเป็น ๔๐ รูป รูปเกิดโดยมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว คือ ชีวตะ

ภาวะ กายปสาทะ จักขุปสาทะ.

ชาวโลก (พาลปุถุชน) จำก้อนเนื้อได้ว่าเป็นตาสีขาว ตาใหญ่ ตา

บริสุทธิ์ ตากว้าง ย่อมไม่จำว่าเป็นจักขุ ย่อมจำซึ่งวัตถุโดยความเป็นจักษุ

ตานั้นเป็นก้อนเนื้อตั้งอยู่เฉพาะในเบ้าตา อันสายเอ็นรัดไว้กับมันสมองใน

ภายใน เป็นสีขาวก็มี เป็นสีดำก็มี เป็นสีแดงก็มี เป็นปฐวีก็มี เป็นอาโปก็มี

๑. ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต. ๒. ม. มู. เล่ม ๑๒. ๓๒๔/๓๒๘.

๓. ม.ม. เล่ม ๑๓. ๕๙๙/๕๔๕.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

เป็นเตโชก็มี เป็นวาโยก็มี. ตาใดมีสีขาว เพราะมากด้วยเสมหะ มีสีดำ

เพราะมากด้วยน้ำดี มีสีแดง เพราะมากด้วยโลหิต มีความกระด้างเพราะ

มากด้วยปฐวี มีน้ำตาไหลออก เพราะมากด้วยอาโป มีความแห้งเกรียม เพราะ

มากด้วยเตโช มีความเคลื่อนไหวได้เพราะมากด้วยวาโย นี้ชื่อว่า สสัมภาร-

จักษุ.

ส่วนปสาทรูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เหล่านี้ อยู่ในสสัมภารจักษุนี้

เนื่องเฉพาะในสสัมภารจักษุนี้ รูปนี้ชื่อว่า ปสาทจักขุ จักขุประสาทนี้ตั้งอยู่

ซึมซาบตลอดเยื้อตา ๗ ชั้น เหมือนน้ำมันที่ลาดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น ในแววตา

(มณฑล) ที่เห็นรูปเป็นเช่นกับถีนที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐานของบุคคลทั้งหลาย

ผู้ยืนอยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแห่งแววตาสีดำ แวดล้อมด้วยแววตา (มณฑล)

สีขาวแห่งสสัมภารจักษุนั้น มีอุปการะอันธาตุทั้ง ๔ อุปการะด้วยกิจมีการให้

ทรงไว้ ให้ชุ่มอยู่ ให้อบอุ่น ให้เคลื่อนไหวไปมาได้ เปรียบเหมือนแม่นม

๔ คน ทำหน้าที่เลี้ยงดูอุ้มชู ให้ทรงสนาน ให้การประดับตกแต่งพระองค์

และให้อยู่งานคอยพัดวีฉะนั้น อันอุตุ จิต และอาหารอุปถัมภ์อยู่ อันอายุคือ

ชีวิตินทรีย์คอยเฝ้าอนุบาล แวดล้อมด้วยโคจรรูปมี วรรณะ คันธะ และรสะ

เป็นต้น เมื่อว่าโดยประมาณ จักขุประสาทนี้มีประมาณเท่าหัวเล็น ให้สำเร็จ

ความเป็นไปแห่งวัตถุและทวาร ของจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ตั้ง

อยู่ตามควร สมดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า

เยน จกฺขุปฺปสาเทน รูปานิ สมนุปสฺสติ

ปริตฺต สุขุม เอต โอกาสิรสมูปม

๑. วัตถุ หมายถึงที่เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ.

๒. คือมีจักขุวิญญาณและขัมปฏิจฉันนจิต เป็นต้น มีตทารัมมณะเป็นที่สุด.

๓. โยชนาว่า ตามควรแก่วัตถุและทวาร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

สัตว์ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ด้วยจักขุ

ประสาทรูปใด จักขุประสาทรูปนี้ เล็ก

ละเอียด มีประมาณเท่าศีรษะเล็น ดังนี้.

จักษุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขายตนะ

แม้ในข้อว่า ย จกฺขุ จตุนฺน มหาภูตาน อุปาทาย ปสาโท (จักษุใด

เป็นประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถการประกอบ

(ทุติยาวิภัตติ) อธิบายว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นไป. ด้วยบทนี้

ท่านถือเอาจักขุประสาทเท่านั้น ปฏิเสธจักษุที่เหลือ.

ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในอินทริยโคจรสูตรว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป

หนึ่งคือปฐวีธาตุ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยภูตรูป ๓ คือ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ เป็นต้น ในจตุปริวัตตสูตร กล่าวไว้ว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูต

รูป ๒ คือ ปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ ไม่สงเคราะห์ด้วยมหาภูตรูป ๒ คือ เตโช-

ธาตุ และวาโยธาตุ คำนั้นตรัสไว้โดยปริยาย จริงอยู่ สุตตันติกกถานี้เป็น

ปริยายเทศนา ก็เทศนาในสุตตันติกกถานี้ ตรัสไว้โดยปริยายนี้ว่า ประสาท

รูปใดอาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ประสาทรูปนั้นก็เป็นประสาทรูปในมหาภูตรูป

เหล่านั้นแต่ละอย่าง ๆ บ้าง แต่ละ ๒ อย่างบ้างนั่นแหละ ดังนี้.

แต่พระอภิธรรม ชื่อว่า นิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ใน

อภิธรรมนี้ จึงตรัสว่า ประสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้.

สรีระก็ดี ขันธปัญจกะก็ดี ตรัสเรียกว่า อัตภาพ เพราะความที่สภาวะ

นี้คนพาลกำหนดยึดถือว่า นี้เป็นอัตภาพของเรา ธรรมที่นับเนื่องในอัตภาพ

ธรรมที่อาศัยอัตภาพ เรียกว่า นับเนื่องในอัตภาพ ที่ชื่อว่า เป็นสภาพที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

เห็นไม่ได้ (อนิทสฺสโน) เพราะอรรถว่า ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้ด้วยจักขุ-

วิญญาณ. ที่ชื่อว่า กระทบได้ เพราะอรรถว่า การกระทบ การเสียดสี

ย่อมเกิดในประสาทนี้.

ในคำทั้งหลายมีคำว่า ด้วยจักษุใด เป็นต้น มีเนื้อความโดยย่อดังต่อ

ไปนี้ สัตว์นี้เห็นรูปมีประการดังกล่าวแล้วนี้ในอดีต หรือว่ากำลังเห็นในปัจจุบัน

หรือว่าจักเห็นในอนาคต ด้วยจักษุใดอันเป็นเหตุ ถ้าจักษุของสัตว์นั้นยังไม่พึง

แตกทำลายไป ทีนั้นเขาก็พึงเห็นรูปที่มาสู่คลองได้ด้วยจักษุนั้น หรือเห็นแล้ว

ซึ่งรูปอดีตด้วยจักษุอดีต ย่อมเห็นรูปปัจจุบันด้วยจักษุปัจจุบัน หรือจักเห็นรูป

อนาคตด้วยจักษุที่เป็นอนาคต. ในอธิการนี้มีพระบาลีกำหนดไว้ว่า ถ้ารูปนั้น

พึงมาสู่คลองแห่งจักษุไซร้ สัตว์นั้นก็พึงเห็นรูปนั้นได้ด้วยจักษุ ดังนี้.

รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นผู้นำในการเห็น. นี้เรียกว่า

จักขายตนะบ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นถีนเกิดและเป็นที่ประชุมแห่งธรรมมีผัสสะ

เป็นต้น. นี้เรียกว่า จักขุธาตุบ้าง ด้วยอรรถว่าความเป็นของว่างเปล่า และ

มิใช่สัตว์. นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์บ้าง เพราะอรรถว่า ย่อมครองความเป็น

ใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. นี้เรียกว่า โลกบ้าง ด้วยอรรถว่า ต้องชำรุด

ทรุดโทรม. นี้เรียกว่า ทวารบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นทางเข้าไป. นี้เรียกว่า

สมุทรบ้าง ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก. นี้เรียกว่า ปัณฑระบ้าง ด้วยอรรถ

ว่า บริสุทธิ์. นี้เรียกว่า เขตบ้าง (เกษตร) ด้วยอรรถว่า เป็นที่เกิดเฉพาะ

แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น. นี้เรียกว่า วัตถุบ้าง ด้วยอรรถว่า เป็นที่อาศัย

แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ. นี้เรียกว่า เนตรบ้าง เพราะ

อรรถว่า ย่อมแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไป. นี้เรียกว่า นัยนาบ้าง

ด้วยอรรถแสดงทางที่เสมอไม่เสมอนำอัตภาพไปนั้นเหมือนกัน. นี้เรียกว่า ฝั่งนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกานของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญ คาม

บ้าง (บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วย

อรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ ๑๔ อย่าง มีคำว่า

จกฺขุเปต (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท ๔* บท มีคำว่า ปสฺสิ วา

(เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่อง

กำหนดจักขายตนะไว้ ๔ บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบว่า ก็ใน

พระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า

สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็น

สิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้

รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้

นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ

บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้นแม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็

ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศ

อาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.

ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า

รูป นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺิ วา (กระทบ

แล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อ

ความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความ

อนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.

* ๔ บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น

หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

จริงอยู่ รูปอดีต ชื่อว่า กระทบแล้ว แม้ในจักษุที่เป็นอดีต. รูป

ที่เป็นปัจจุบันก็ชื่อว่า ย่อมกระทบในจักษุที่เป็นปัจจุบัน. รูปที่เป็นอนาคต ก็

ชื่อว่า จักกระทบในจักษุที่เป็นอนาคต. ในพระบาลีนี้มีเนื้อความกำหนดไว้ว่า

ถ้ารูปนั้นพึงมาสู่คลองจักษุไซร้ รูปนั้นก็พึงกระทบในจักษุ ดังนี้. แต่เมื่อว่า

โดยใจความแล้ว รูปเมื่อกำลังกระทบซึ่งประสาทเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทบ.

แม้ในอธิการนี้ พึงทราบนัยทั้ง ๔ โดยนัยที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแล.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงประกาศอาการที่บุคคลประสงค์

จะแลดูด้วยความปรารถนาของตน จึงหันจักษุไปทางรูป จักษุจึงกระทบรูปนั้น

จึงเริ่มตรัสนิทเทสวารที่ ๓ ต่อไป. ว่าโดยใจความนิเทสวารที่ ๓ นั้น แจ่มแจ้ง

แล้วโดยแท้ แต่ในอธิการนี้ จักษุรับอารมณ์แล้วเท่านั้น จึงชื่อว่า ย่อม

กระทบในรูป. บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งการกำหนด ๔ อย่าง แม้ในนิทเทส

ที่ ๓ นี้ โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ทรงแสดงวาระ ๑๐ คือ ธรรม ๕ ด้วยสามารถแห่ง

การแสดงความเกิดผัสสปัญจกะ และธรรม ๕ ด้วยสามารถแห่งการแสดงการเกิด

ขึ้นโดยมีอารมณ์เกี่ยวเนื่องกันแห่งธรรมหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ นิสฺสาย (อาศัยจักษุ) ได้แก่

อาศัยจักษุ คือกระทำจักษุให้เป็นปัจจัย. บทว่า รูป อารพฺภ (ปรารภรูป)

ได้แก่ มาถึง คือมุ่งหมายอาศัยรูปารมณ์. ด้วยพระบาลีนี้ทรงแสดงความที่รูป

เป็นปัจจัย โดยความเป็นปุเรชาตปัจจัยแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่อาศัยจักขุ

ประสาท และโดยเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัยซึ่งนับเนื่อง

ในชวนวิถีทางจักขุทวาร. ใน ๕ วาระนอกนี้ ทรงแสดงความที่รูปเป็นปัจจัย

โดยเป็นเพียงอารัมมณปัจจัยอย่างนี้ว่า รูปเป็นอารมณ์ของธรรมนี้มีอยู่ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

เหตุนั้น ธรรม (จักขุวิญญาณ) นี้ จึงชื่อว่า มีรูปเป็นอารมณ์. พึงทราบ

นัยที่ทรงกำหนดนัยละ ๔ วาระ ในวาระทั้ง ๑๐ แม้เหล่านั้น เหมือนใน ๓ วาระ

แรก.

จักษุที่ทรงยกขึ้นแสดงเพื่อถามว่า รูปที่ชื่อว่า จักขายตนะ เป็นไฉน ?

ดังนี้ เพื่อแสดงคำว่า อิทนฺต (รูปนี้นั้น) โดยประการต่าง ๆ จึงแสดงนิทเทส-

วาร ๑๓ คือ นัยก่อน ๓ วาระ นัยนี้ ๑๐ วาระ. ก็ในวาระ ๑๓ เหล่านี้ แต่

ละวาระพึงทราบว่า ทรงแสดงประดับนัยไว้ ๕๒ นัย เพราะการกำหนดวาระ

ละ ๔ นัย ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งโสตายตนะเป็นต้น ข้างหน้าแต่จักขุนิทเทส

นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในโสตายตนนิทเทสเป็นต้นนี้ พึงทราบคำที่ต่างกัน

อย่างนี้.

ว่าด้วยคำว่าโสตเป็นต้น

ธรรมที่ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน. โสตนั้นตั้งอยู่ในประเทศ

มีสัณฐานดังวงแหวน มีขนแดงละเอียดงอกขึ้นภายในช่องแห่งสสัมภารโสต

(หูพร้อมด้วยเครื่องประกอบ) อันธาตุทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วอุปกา-

ระ อันอุตุจิตและอาหารคอยอุปถัมภ์ อันอายุคือ ชีวิตรูป คอยอนุบาล อัน

โคจรรูปมีวรรณะเป็นต้น แวดล้อมแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุ และทวาร

แก่โสตวิญญาณเป็นต้นตามสมควร.

ธรรมที่ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ย่อมสูดกลิ่น. ฆานะที่เป็น

ประสาทรูปนั้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังกีบเท้าแพะภายในช่องสสัมภาร-

ฆานะ (ช่องจมูกพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้รับอุปการะอุปถัมภ์อนุบาล

และการแวดล้อมตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร แก่ฆาน-

วิญญาณเป็นต้น ตามสมควร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ธรรมที่ชื่อว่า ชิวหา ด้วยอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหาที่เป็นปสาทรูปนั้น

ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบอุบล เบื้องบนท่ามกลางสสัมภารชิวหา

(ลิ้นพร้อมด้วยส่วนประกอบ) ได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และการแวดล้อม

ตามที่กล่าวแล้ว ให้สำเร็จเป็นวัตถุและทวารแห่งชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตามควร.

แต่ในกายนี้ ชื่อว่า อุปาทินนกรูป มีประการเพียงใด กายายตนะก็

ตั้งอยู่ในกายทั้งสิ้น เหมือนยางใยในฝ้ายได้อุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และ

การแวดล้อมตามประการที่กล่าวแล้ว ก็ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารแก่

กายวิญญาณเป็นต้น ตามควร. นี้เป็นความต่างกันในอุปาทารูปเหล่านี้. ความ

แตกต่างกันแห่งพระบาลีและอรรถกถาที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุ

นิทเทสนั่นแหละ. ก็ในที่นี้ บทว่า โสตเป็นต้นมาในที่แห่งบทจักษุ บทว่า

เสียงเป็นต้นมาในที่บทแห่งรูป บทได้ยินเป็นต้นมาในที่แห่งบททั้งหลายมีเห็น

แล้วอย่างเดียว อนึ่ง ๒ บทนี้คือ รูปนี้ชื่อว่า เนตรบ้าง นี้ชื่อว่า นัยนา

บ้างไม่มี เพราะฉะนั้น จึงมีวัตถุและทวารอย่างละ ๑๒ ชื่อ. คำที่เหลือเป็น

เช่นกับคำที่กล่าวไว้ในบททั้งปวงนั้นแหละ.

ในอธิการแห่งกายายตนะนั้น ผิว่ามีผู้ท้วงว่า ชื่อว่า อุปาทินนก-

รูปนี้ มีอยู่ในกายนี้เพียงใด กายายตนะก็มีอยู่ในกายทั้งสิ้น ดุจยางใยในปุยฝ้าย

ผิว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมถึงการปะปนกันด้วยลักษณะ (ในกลาปอื่น). ตอบว่า

ไม่ปรากฏปะปนกัน (ในกลาปอื่น). เพราะเหตุไร ? เพราะความไม่มีในกลาป

อื่นของกันและกัน. ถามว่า ถ้าอย่างนั้นกายายตนะก็ไม่มีในกายทั้งปวง. ตอบว่า

โดยปรมัตถ์ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดท่านไม่ได้แยกกายไว้ต่างหาก แต่เหตุแห่ง

การต่างกันของอุปาทินนกรูปนั้นใคร ๆ ไม่อาจเพื่อบัญญัติได้ เพราะฉะนั้น

จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

เหมือนอย่างว่า รูปและรสเป็นต้น ที่กล่าวว่าเป็นของซึมซาบอยู่

ในกันและกัน เพราะความที่รูปและรสนั้นใคร ๆ ไม่อาจแยกจากกันได้ดุจ

ผงทรายละเอียด แต่โดยปรมัตถ์ รสก็หามีในรูปไม่ ถ้าจะพึงมีไซร้ รสก็พึง

ปรากฏด้วยศัพท์ว่ารูปเหมือนกัน ฉันใด แม้กายายตนะก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่ในกาย (อุปาทินนกรูป) ทั้งหมด และไม่มีในกายทั้งหมด

ก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีใครอาจเพื่อจะแบ่งออกได้ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

ความปะปนกันด้วยลักษณะในที่นี้ จึงไม่ปรากฏด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความไม่ปะปนกันของประสาทรูปเหล่านี้ โดย

กำหนดด้วยลักษณะเป็นต้น. จริงอยู่ บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ รูปาภิฆา-

ตารหภูตปฺปสาทลกฺขณ ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมสมุฏฺานภูตปฺปสา-

ทลกฺขณ วา จกฺขุ จักษุมีความใสของภูตรูปอันควรแก่การกระทบรูปเป็น

ลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน อันเป็นเหตุของบุคคล

ผู้ต้องการจะดูเป็นลักษณะ รูเปสุ อาวิญฺจนรส มีการคร่ารูปทั้งหลายมา

เป็นกิจ จกฺขุวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฺาน มีการทรงอยู่ของ

จักขุวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺาน

มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดูเป็นปทัฏฐาน.

สทฺทาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณ โสตุกามตานิทานกมฺม-

สมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณ วา โสต โสตมีความใสแห่งภูตรูปอันควรแก่

การกระทบเสียงเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอันมีกรรมเป็นสมุฏฐาน

อันเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะฟังเป็นลักษณะ สทฺเทสุ อาวิญฺจนรส

มีการคร่าเสียงทั้งหลายมาเป็นกิจ โสตวิญฺาณสฺศ อาธารภาวปจฺจุ-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ปฏฺาน มีการทรงอยู่ของโสตวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน โสตุกามตานิทาน

กมฺมชภูตปทฏาน มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะ

ฟังเป็นปทัฏฐาน.

คนฺธาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณ ฆายิตุกามตานิทานกมฺมช

สมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณ วา ฆาน ฆานะมีความใสของภูตรูปอันควรแก่

การกระทบของกลิ่นเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏ-

ฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็นลักษณะ คนฺเธสุ อาวิญฺจนรส มี

การคร่ากลิ่นทั้งหลายมาเป็นกิจ ฆานวิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺาน

มีการทรงอยู่ของฆานวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน ฆายิตุกามตานิทานกมฺมช

ภูตปทฏฺาน มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะดมเป็น

ปทัฏฐาน.

รสาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขณา สายิตุกามตานิทานกมฺมช

สมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขณา ชิวฺหา ลิ้นมีความใสของภูตรูปอันควรแก่

การกระทบรสเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน

เป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็นลักษณะ รเสสุ อาวิญฺจนรสา มีการ

คร่ารสทั้งหลายมาเป็นกิจ ชิวฺหาวิญฺญาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺานา

มีการทรงอยู่ของชิวหาวิญญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน สายิตุกามตานิทานกมฺมช

ภูตปทฏฺานา มีภูตรูปเกิดแต่กรรมเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะลิ้มรสเป็น

ปทัฏฐาน.

โผฏฺพฺพาภิฆาตารหภูตปฺปสาทลกฺขโณ ผุสิตุกามตานิทาน

กมฺมชสมุฏฺานภูตปฺปสาทลกฺขโน วา กาโย กายมีความใสของภูตรูป

อันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะเป็นลักษณะ หรือมีความใสของภูตรูปอัน

เกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐานเป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะถูกต้องเป็นลักษณะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

โผฏฺพฺเพสุ อาวิญฺจนรโส มีการคร่าโผฏฐัพพะทั้งหลายมาเป็นกิจ กาย-

วิญฺาณสฺส อาธารภาวปจฺจุปฏฺาโน มีการทรงอยู่ของกายวิญญาณเป็น

ปัจจุปัฏฐาน ผุสิตุกามตานิทานกมฺมชภูตปทฏฺาโน มีภูตรูปเกิดแต่กรรม

เป็นเหตุของบุคคลผู้ใคร่เพื่อจะกระทบเป็นปทัฏฐาน.

ว่าด้วยวาทะของอาจารย์บางพวก

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปทั้งหลายที่มีเตโชธาตุมาก

เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปทั้งหลายที่มีวาโยมาก ปฐวีมาก และ

อาโปมาก เป็นโสต เป็นฆานะ และเป็นชิวหา ประสาทของภูตรูปทั้งหมด

(ทั้ง ๔) เป็นกาย.

ปรวาทีอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสาทของภูตรูปยิ่งด้วยเตโชธาตุ

เป็นจักษุ ประสาททั้งหลายของภูตรูปยิ่งด้วยวาโยธาตุในช่องหู ยิ่งด้วยอาโปธาตุ

ยิ่งด้วยปฐวีธาตุ ก็เป็นโสต เป็นฆานะ เป็นชิวหา เป็นกาย. อาจารย์ทั้งหลาย

พึงกล่าวท้วงอาจารย์ปรวาทีเหล่านั้นว่า ขอจงนำพระสูตรมาอ้าง. เป็นการ

แน่นอน ท่านปรวาทีอาจารย์เหล่านั้นจักไม่เห็นพระสูตรเลย. แต่อาจารย์

บางพวกก็ยังกล่าวถึงเหตุในประสาทรูปเหล่านี้ว่า เพราะความที่ภูตรูปมีเตโชธาตุ

เป็นต้น พึงอุปการะด้วยรูปทั้งหลายที่มีคุณ. พึงท้วงเกจิอาจารย์เหล่านั้นว่า

ก็ใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นต้นเป็นคุณของภูตรูปมีเตโชธาตุเป็นต้น เพราะ

ในอวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ ๘ อย่าง) ทั้งหลาย ใคร ๆ ย่อมไม่

ได้เพื่อจะกล่าวว่า ในภูตรูปเหล่านั้น รูปนี้เป็นคุณของรูปนี้ รูปนี้เป็นคุณของ

รูปนี้ ดังนี้.

ถ้าปรวาทีนั้นจะพึงโต้กะสกวาทีว่า พวกท่านย่อมปรารถนากิจทั้งหลาย

มีการทรงไว้เป็นต้น แห่งปฐวีธาตุเป็นต้น เพราะความที่ภูตรูปนั้น ๆ ในสัมภาระ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

นั้น ๆ เป็นของยิ่ง ฉันใด ข้อที่พวกที่พึงปรารถนาว่า รูปทั้งหลายเป็นคุณ

ของภูตรูปเหล่านั้น เพราะแสดงความที่รูปเป็นต้นในสัมภาระอันยิ่งด้วยเตโชธาตุ

เป็นต้นเป็นของมีมาก ก็ฉันนั้น.

สกวาทีพึงท้วงปรวาทีนั้นว่า พวกเราปรารถนา ถ้าว่า กลิ่นในฝ้ายใน

ปฐวีธาตุพึงมีมากกว่ากลิ่นของน้ำผักดองอันมีอาโปธาตุมาก และสีของน้ำเย็น

ก็พึงมีสีมากกว่าแม้ของน้ำร้อนอันมีเตโชธาตุมาก แต่คำที่กล่าวแล้วทั้ง ๒ นี้หา

มีไม่ เพราะฉะนั้น ขอพวกท่านพึงละการกำหนดความต่างกันแห่งจักษุเป็นต้น

อันเป็นที่อาศัยนั้นเถิด รูปและรสเป็นต้นแม้ไม่แปลกกันของภูตรูปทั้งหลาย แต่

ก็มิใช่เป็นอย่างเดียวกัน ฉันใด ข้อที่ท่านจะพึงถือเอาว่าเมื่อเหตุแปลกกันอื่น ๆ

มีอยู่ ก็ไม่พึงถือเอาประสาทมีจักษุเป็นต้น ฉันนั้น.

ถามว่า ก็เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่กันและกันนั้นได้แก่อะไร.

ตอบว่า ได้แก่ กรรมเท่านั้นเป็นเหตุต่างกันของประสาทรูปเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น ความต่างกันแห่งประสาทรูปเหล่านี้ เพราะความต่างกันแห่งกรรม

หาใช่ความต่างกันของภูตรูปไม่. เพราะว่า เมื่อความต่างกันแห่งภูตรูปมีอยู่

ประสาทรูปนั่นแหละจะไม่เกิดขึ้น โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ก็ประสาท

รูปของมหาภูตรูปทั้งหลายที่เหมือนกันหาใช่ของมหาภูตรูปที่ไม่เหมือนกันไม่.

ก็บรรดาประสาทรูปเหล่านี้ ที่มีความต่างกันเพราะความต่างกันแห่ง

กรรม จักษุและโสตเป็นอสัมปัตตวิสยคาหกะ (คือรับอารมณ์ที่มาไม่ถึง)

เพราะอุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ อันมีที่อาศัยไม่ติดกับมหาภูตรูปอัน

เป็นที่อาศัยของตน ฆานะ ชิวหา และกายเป็นสัมปัตตวิสยคาหกะ (รับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

อารมณ์ที่มาถึงตน) เพราะความที่อุปปัตติเหตุของวิญญาณในอารมณ์ ซึ่งติดกับ

มหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของตน โดยอำนาจแห่งวัตถุที่อาศัย และโดยตนเอง

นั่นแหละ.

แต่ในอรรถกถากล่าวว่า อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ ที่มาถึงตน

เพราะความที่อารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุและโสตทีเดียว. จริงอยู่ สี (วรรณะ)

ของมณฑลแห่งพระจันทร์และอาทิตย์ตั้งอยู่ไกลถึง ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ก็ยังกระทบ

จักขุประสาท สีนั้นแม้ปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลก็ชื่อว่า สัมปัตตะ เหมือนกัน.

จักษุชื่อว่ามีอารมณ์ที่มาถึง (สัมปัตตะ) เพราะความที่สีนั้นเป็นอารมณ์ทีเดียว.

กายวิการของบุคคลทั้งหลายที่ติดต้นไม้อยู่ในที่ไกลก็ดี ของช่างย้อมผู้ซักผ้าอยู่

ก็ดี ย่อมปรากฏแม้แต่ที่ไกล. แต่เสียงมาโดยการสืบต่อ ๆ กันมาแห่งธาตุ

กระทบโสตแล้วก็ค่อย ๆ สลายไป ดังนี้.

ในอรรถกถานั้น อารมณ์ ชื่อว่า สัมปัตตะ (ที่มาถึงตน) เพราะความ

ที่อารมณ์นั้นมาสู่คลองก็จริง ถึงอย่างนั้น สีของมณฑลพระจันทร์เป็นต้นก็ไม่มา

ถึงจักษุ ย่อมปรากฏตั้งอยู่ในที่ไกลนั่นแหละ แม้เสียงพึงค่อย ๆ มาไซร้ เกิด

ในที่ไกลก็พึงได้ยินช้า เพราะมาโดยกระทบต่อ ๆ กันมา เมื่อกระทบโสต ก็ไม่

ปรากฏว่าชื่อว่าเสียงนั้นอยู่ในทิศชื่อโน้น เพราะฉะนั้น จักษุและโสตจึงมีอารมณ์

เป็นอสัมปัตตะ (มาไม่ถึง) นั้นแหละ.

ตาเปรียบด้วยงู

ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่า

ขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่ต้นไม้

ใบหญ้าชัฏและจอมปลวกนั่นแหละย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อมถึงความเป็น

สัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในสิ่งไม่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ราบเรียบ ย่อมไม่พอใจไม่ปรารถนาแม้จะแลดูในที่มีฝาทองคำเป็นต้นที่

เรียบร้อย แต่ย่อมชอบในที่มีลวดลายหลากสีด้วยรูป ดอกไม้ และเครือเถา

เป็นต้นทีเดียว เพราะในที่เช่นนั้น เมื่อตายังไม่เพียงพอ คนทั้งหลายก็ยังอ้า

ปากอยากมอง.

หูเปรียบด้วยจระเข้

แม้จระเข้เล่า เมื่อออกไปภายนอกไม่เห็นสิ่งที่ตนจะพึงงับเอาก็หลับตา

ไป แต่ในกาลใด หยั่งลงสู่น้ำประมาณร้อยวาเข้าไปยังโพรงนอนแล้ว ในกาล

นั้น จิตของมันก็ถึงความสงบ หลับสบาย ฉันใด แม้โสตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ชอบในที่มีโพรง อาศัยอากาศ ชอบใจในโพรงช่องหูเท่านั้น อากาศช่องหู

เท่านั้นเป็นปัจจัยในการได้ยินเสียงนั้น แม้อัชฎากาศก็สมควรเหมือนกัน ด้วยว่า

เมื่อทำการสาธยายภายในถ้ำ เสียงหาเจาะถ้ำออกไปภายนอกไม่ แต่ก็ออกไป

ตามช่องประตู หน้าต่าง กระทบสืบต่อ ๆ กันไปแห่งธาตุแล้ว กระทบโสต

ประสาท. ในลำดับแห่งการกระทบ ชนผู้นั่งอยู่บทหลังถ้ำย่อมรู้ว่า บุคคลชื่อ

โน้นย่อมสาธยาย ดังนี้. ครั้นเมื่อคำที่กล่าวอย่างนี้มีอยู่ ชื่อว่า อารมณ์ของโสต

ก็เป็นสัมปัตตะ (คือมาถึงตนได้).

ถามว่า ก็โสตนี้มีอารมณ์เป็นสัมปัตตะหรือ ?

ตอบว่า ใช่แล้ว มีอารมณ์เป็นสัมปัตตะ.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้น กลองเป็นต้นดังในที่ไกล ก็จะไม่รู้เสียงในที่ไกล

ใช่ไหม.

ตอบว่า ไม่พึงรู้ก็ไม่ใช่ เพราะเมื่อเสียงกระทบโสตประสาท ย่อมมี

การรู้โดยประการนั้น ๆ ว่า เสียงไกล เสียงใกล้ เสียงฝั่งโน้น เสียงฝั่งนี้ ดังนี้

ข้อนี้เป็นธรรมดา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ก็ธรรมดานี้เป็นเช่นไร ก็ธรรมดาช่องหูมีอยู่ในที่ใด ๆ การฟังก็มีแต่

ที่นั้น ๆ เหมือนการเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น เพราะฉะนั้น โสต-

ประสาทนี้ จึงมีอารมณ์เป็นอสัมปัตตะโดยแท้.

จมูกเปรียบด้วยนก

แม้นกก็ไม่ยินดีบนต้นไม้หรือพื้นดิน แต่ในเวลาใดมันโผบินเลยล่วง

การขว้างก้อนดินหนึ่งระยะหรือสองระยะบินขึ้นไปสู่อากาศว่างเปล่า ในเวลานั้น

มันก็จะมีจิตสงบ ฉันใด แม้ฆานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจในอากาศ มี

กลิ่นโดยอาศัยลมเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างโค เมื่อฝนตกใหม่ๆ ก็สูดดมแผ่นดิน

แล้วก็เบิ่งหน้าหาอากาศสูดลม และเวลาที่บุคคลแม้เอานิ้วมือจับก้อนที่มีกลิ่น

แล้วสูดดมไม่หันหน้ามาทางลมก็ไม่รู้กลิ่นนั้น.

ลิ้นเปรียบด้วยสุนัขบ้าน

แม้สุนัขบ้านเมื่อเที่ยวไปภายนอก ย่อมไม่เห็นที่ปลอดภัย ย่อมถูก

ประทุษร้ายโดยการถูกขว้างด้วยก้อนดินเป็นต้น เข้าไปสู่ภายในบ้านแล้วก็คุ้ย

ขี้เถ้าที่เตาไฟก็นอนเป็นสุข ฉันใด แม้ชิวหาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัย

ในบ้าน มีรสอาศัยอาโปธาตุเป็นอารมณ์ จริงอย่างนั้น ภิกษุแม้กระทำสมณ-

ธรรมตลอดสามยามแห่งราตรีแล้ว ถือบาตรและจีวรแต่เช้าตรู่เข้าไปสู่บ้าน

เพราะว่าเมื่อของเคี้ยวแห้งไม่เปียกด้วยน้ำลาย ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อรู้รสได้.

กายเปรียบด้วยสุนัขจิ้งจอก

แม้สุนัขจิ้งจอกเมื่อเที่ยวไปภายนอกก็ไม่ประสบความยินดี แต่เมื่อมัน

เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ในป่าช้าผีดิบแล้วนอนนั่นแหละ มันจึงมีความสุขฉันใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

แม้กายก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอัชฌาสัยในอุปาทินนกรูป (มีใจครอง) มีโผฏ-

ฐัพพะอาศัยปฐวีธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายเมื่อไม่ได้

อุปาทินนกรูปอื่น ก็เอาฝ่ามือของตนนั่นแหละรองศีรษะนอน ปฐวีธาตุของกาย

บุคคลนั้น แม้อยู่ภายในและภายนอกก็เป็นปัจจัยในการรับอารมณ์. จริงอยู่

ที่นอนแม้ปูไว้อย่างดียังไม่ทันนั่งหรือนอนก็ไม่รู้ความแข็งและอ่อนได้ หรือ

ผลไม้ที่เขาวางไว้บนฝ่ามือยังไม่ทันบีบดูก็ไม่อาจรู้ถึงความแข็งและอ่อนได้.

ปฐวีธาตุที่อยู่ภายในหรือภายนอกจึงเป็นปัจจัยโดยการรู้การกระทบของประสาท

นี้. พึงทราบความไม่ปะปนกันแห่งประสาทรูปเหล่านั้น โดยการกำหนดธรรม

มีลักษณะเป็นอย่างนี้.

จริงอยู่ ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน อารมณ์ อัชฌาสัย

และวัตถุที่อาศัยของจักษุประสาทเป็นอย่างหนึ่ง ของโสตประสาทเป็นต้นก็อย่าง

หนึ่ง เพราะฉะนั้น จักขายตนะเป็นต้น จึงไม่ปะปนกันโดยแท้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบแม้อุปมาในความที่ประสาทรูปเหล่านั้นไม่

ปะปนกัน ดังต่อไปนี้.

เหมือนอย่างว่า เงาแห่งธงทั้งหลาย ๕ สี ที่เขายกขึ้นแล้ว เนื่องเป็น

อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้น เงาของธงก็ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อนึ่ง

เมื่อเขาเอาฝ้าย ๕ สี ควั่นทำเป็นไส้ประทีป (ตะเกียง) จุดให้ลุกโพลงแล้ว

เปลวไฟดูเหมือนเป็นอันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นเปลวไฟแห่งรัศมีของฝ้าย

นั้น ๆ ก็เป็นคนละอย่าง ไม่ปะปนกันและกันฉันใด อายตนะ ๕ เหล่านี้แม้

รวมกันอยู่ในอัตภาพเดียวกัน แต่ก็ไม่ปะปนกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน ใช่

แต่อายตนะ ๕ เหล่านี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้รูปที่เหลือก็ไม่ปะปนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

จริงอยู่ ในสรีระนี้ มีกาย ๓ ส่วน คือ

กายท่อนล่าง ๑

กายท่อนกลาง ๑

กายท่อนบน ๑.

บรรดา ๓ ส่วนเหล่านั้น กายในเบื้องต่ำแต่สะดือลงไป ชื่อว่า กาย

ท่อนล่าง ในกายท่อนล่างนั้นมีรูป ๔ รูป คือ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐

มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ๘ มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ๘. กาย

เบื้องบนตั้งแต่สะเดาขึ้นไปถึงหลุมคอ ชื่อว่า กายท่อนกลาง ในกายท่อน

กลางนั้น มีรูป ๕๔ รูปคือ กายทสกะ ๑๐ ภาวทสกะ ๑๐ วัตถุทสกะ ๑๐

รูปทั้ง ๓ มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ ๘. กายเบื้องบนแต่

หลุมคอขึ้นไป ชื่อว่า กายท่อนบน. ในกายท่อนบนนั้นมีรูป ๘๔ คือ จักขุ-

ทสกะ ๑๐ โสตทสกะ ๑๐ ฆานทสกะ ๑๐ ชิวหาทสกะ ๑๐ กายทสกะ ๑๐

ภาวทสกะ ๑๐ รูป ๓ รูป มีรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นต้นอย่างละ ๘.

บรรดารูปเหล่านั้น รูปที่ชื่อว่า จักขุทสกะ ด้วยสามารถแห่งนิปผันน-

รูป ๑๐ เป็นรูปที่แยกจากกันแต่ละส่วนไม่ได้ นี้คือ มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย

แก่จักขุประสาท วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ชีวิตินทรีย์ และจักขุประสาท.

รูปแม้ที่เหลือก็พึงทราบโดยนัยนี้.

บรรดากาย ๓ ส่วนนั้น รูปในกายท่อนล่างไม่ปะปนกับรูปกายท่อน

กลางและรูปกายท่อนบน รูปแม้ในกายที่เหลืออีก ๒ ก็ไม่ปะปนกับรูปกาย

นอกนี้. เหมือนอย่างว่า เงาภูเขา และเงาต้นไม้ในเวลาเย็น ดุจเนื่องเป็น

๑. กายทสกะ ๑๐ คือ มหาภูตรูป ๔ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ โอชา ๑ ชีวิตรูป ๑ กาย-

ประสาท ๑.

๒. อาหารสมุฏฐาน เป็นต้น อย่างละ ๘ ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ มีปฐวีเป็นต้น มีโอชาเป็นที่สด.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

อันเดียวกันก็จริง ถึงอย่างนั้นก็มิได้ปะปนกันฉันใด ในกายแม้เหล่านั้น รูป ๔๔

ก็ดี รูป ๕๔ ก็ดี รูป ๘๔ ก็ดี ก็ฉันนั้น เป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่

ก็ไม่ปะปนซึ่งกันและกันเลย ฉะนี้แล.

อรรถกถารูปายตนนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปายตนะต่อไป.

สี (วรรณะ) นั่นแหละ เรียกว่า วัณณนิภา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า

นิภา เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งแสง อธิบายว่า ย่อมปรากฏแก่จักขุวิญญาณ

แสงคือสี ชื่อว่า วัณณนิภา. รูปที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ (คือเป็นสิ่งที่เห็นได้)

โดยเป็นไปพร้อมกับการเห็น อธิบายว่า พึงเห็นด้วยจักขุวิญญาณ. รูปที่ชื่อว่า

สัปปฏิฆะ (กระทบได้) โดยความเป็นไปพร้อมกับสิ่งที่กระทบถูกเข้า การ

ยังความเสียดสีให้เกิด.

บรรดาสีมีสีเขียวครามเป็นต้น สีเขียวเหมือนดอกสามหาว สีเหลือง

เหมือนดอกกรรณิการ์ สีแดงเหมือนดอกชบา สีขาวเหมือนดาวประกายพรึก

สีดำเหมือนถ่านเผา สีหงสบาท แดงเรื่อเหมือนย่างทรายและดอกยี่โถ. ก็ทอง

ตรัสเรียกว่า หริ ดุจในคำนี้ว่า หริตจสามวณฺณกาม สุมุข ปกฺกม

(ดูก่อนสุมุขะผู้มีผิวพรรณงามดังทอง ท่านจงหนีไปตามปรารถนาเถิด) ดังนี้

ก็จริง ถึงอย่างนั้น ทองนั้นทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ชาตรูปะ ข้างหน้า แต่

ในนิทเทสนี้ ชื่อว่า หริ ได้แก่สีคล้ำ เพราะมิได้ทรงถือวัตถุทั้ง ๗ เหล่านี้

แสดงโดยสภาวะนั่นเอง.

บทว่า หริวณฺณ (สีเขียวใบไม้) คือสีเหมือนหญ้าแพรกสด. บทว่า

อมฺพงฺกุรวณฺณ (สีม่วง) คือสีเหมือนหน่อมะม่วง. วัตถุทั้ง ๒ เหล่านี้

ทรงถือเอาแสดงไว้โดยสภาวะ วัตถุ ๑๒ มียาวและสิ้นเป็นต้น ทรงถือเอาแสดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

โดยโวหาร และโวหารนั้นแห่งบทยาวและสั้นเป็นต้นเหล่านั้น สำเร็จแล้วโดย

อุปนิธาบัญญัติ (บัญญัติโดยเทียบเคียง) และสำเร็จแล้วโดยการตั้งไว้. จริงอยู่

คำว่า ยาว เป็นต้น เป็นบทสำเร็จด้วยการบัญญัติเทียบเคียงซึ่งกันและกัน.

คำว่า กลม เป็นต้น สำเร็จโดยตั้งลง. ในสองอย่างนั้น เพราะเทียบเคียงรูป

ที่สั้น ยาวกว่านั้น จึงชื่อว่า ยาว เพราะเทียบกับรูปที่สั้นกว่านั้น ชื่อว่า สั้น

เทียบเคียงรูปที่ใหญ่ เล็กกว่านั้นชื่อว่า อณู เทียบกับรูปที่เล็กกว่านั้น ชื่อว่า

ใหญ่. รูปที่มีสัณฐานเหมือนล้อเกวียน ชื่อว่า กลม รูปมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่

ชื่อว่า ปริมณฑล รูปประกอบด้วยเหลี่ยมทั้ง ๔ ชื่อว่า จตุรัส (สี่เหลี่ยม).

แม้รูป ๖ เหลี่ยมเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า นินฺน (ลุ่ม) ได้แก่รูปที่ต่ำ.

บทว่า ถล (ดอน) ได้แก่รูปที่นูนขึ้น.

บรรดารูปยาวเป็นต้นเหล่านั้น เพราะบุคคลแม้ถูกต้องรูปยาวเป็นต้น

อาจเพื่อรู้ได้ แต่รูปสีเขียวเป็นต้นบุคคลถูกต้องแล้วไม่สามารถทราบได้ ฉะนั้น

รูปายตนะที่ยาว จึงมิได้ตรัสไว้โดยตรง รูปที่สั้นเป็นต้นก็ไม่ตรัสเหมือนกัน

แต่ในที่นี้ตรัสว่า ยาว สั้น อาศัยรูปนั้น ๆ โดยประการนั้นตั้งอยู่แล้ว พึงทราบ

ว่า รูปายตนะในรูปายตนนิทเทสนี้ ตรัสไว้โดยโวหารนั้น ๆ ดังนี้.

บทว่า ฉายา อาตโป (เงาแดด) นี้ ทรงกำหนดซึ่งกันและกัน

แสงสว่างและมืด ก็กำหนดไว้ซึ่งกันและกัน. บท ๔ บทว่า เมฆ เป็นต้น

แสดงไว้ด้วยวัตถุเท่านั้น. ในบรรดาบททั้งสี่เหล่านั้น คำว่า อพฺภา (เมฆ)

ได้แก่น้ำฝน. บทว่า มหิกา (หมอก) ได้แก่ น้ำค้าง. สีแห่งบทมีเมฆเป็นต้น

ทรงแสดงไว้ด้วยบททั้ง ๔ เหล่านี้. ด้วยบทว่า จนฺทมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา

เป็นต้นทรงแสดงสีคือรัศมีแห่งวัตถุเหล่านั้น.

ในวัตถุมีดวงจันทร์เป็นต้นนั้น พึงทราบความต่างกันแห่งวัตถุทั้งหลาย

มีดวงจันทร์เป็นต้นอย่างนี้. วิมานของจันทเทพบุตร ยาวและกว้าง ๔๙

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

โยชน์สำเร็จด้วยแก้วมณีปิดบังไว้ด้วยเงิน ชื่อว่า ดวงจันทร์. วิมานของ

สุริยเทพบุตร ยาวและกว้าง ๕๐ โยชน์ สำเร็จด้วยทองปิดบังไว้ด้วยแก้วผลึก

ชื่อว่า ดวงอาทิตย์. วิมานของเทพบุตรนั้น ๆ ยาวและกว้าง ๗ โยชน์

๘ โยชน์ ๑๐ โยชน์ ๑๒ โยชน์ สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ชื่อว่า ดวงดาว.

ในบรรดาเทพบุตรเหล่านั้น พระจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่

ข้างบน ระหว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ มีหนึ่งโยชน์ โดยส่วนสุดข้าง

ล่างของพระจันทร์ และโดยส่วนสุดข้างบนของพระอาทิตย์มีระยะร้อยโยชน์

ดาวนักขัตฤกษ์ทั้งหลายย่อมโคจรไปที่ข้างทั้ง ๒. ก็บรรดาวัตถุทั้ง ๓ เหล่านั้น

พระจันทร์โคจรไปช้า พระอาทิตย์โคจรไปเร็ว ดวงดาวทั้งหลายไปเร็วกว่าเขา

ทั้งหมด บางคราวโคจรไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ บางคราวก็โคจร

ไปข้างหลัง.

บทว่า อาทาสมณฺฑล (กระจก) ได้แก่ สำเร็จด้วยสำริด. คำว่า

แก้วมณี คือเว้นแก้วไพฑูรย์ ที่เหลือมีประเภทมิใช่น้อยมีแก้วมณีโชติรส

เป็นต้น. คำว่า สังข์ ได้แก่สังข์เกิดขึ้นเอง (ธรรมชาติ) แก้วมุกดา ก็เกิด

ขึ้นเอง แม้แก้วไพฑูรย์ที่เหลือ. บทว่า เวฬุริโย (แก้วไพฑูรย์) คือแก้วมณี

มีสีเหมือนไม้ไผ่.

วรรณะของพระศาสดา เรียกว่า ชาตรูปะ (ทอง) จริงอยู่ พระศาสดา

มีวรรณะเหมือนทองคำ แม้วรรณะของทองคำ ก็เรียกว่า วรรณะพระศาสดา.

กหาปณะคือ โลหมาสก (มาสกทำด้วยโลหะ) ทารุมาสก (มาสกทำด้วยไม้)

ชตุมาสก (มาสกทำด้วยยาง) เรียกว่า รชตะ (เงิน). โวหารแม้ทั้งหมดนั้น

ท่านถือเอาในบทว่า รชต นี้.

ด้วยบทว่า ย วา ปนญฺมฺปิ (หรือรูปแม้อื่นใด) นี้ เว้นรูปที่

ตรัสไว้ในบาลี ทรงถือเอารูปที่เหลืออันต่างด้วยสีเสื่อลำแพน สีผ้าท่อน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

เก่า และสีช่อฟ้าเป็นต้น เพราะสีทั้งหมดนั้นรวมอยู่ในรูปที่เป็นเยวาปนกธรรม

ทั้งหลาย. รูปนี้แหละ แม้ต่างกันโดยประเภทมีสีเขียวเป็นต้น แต่รูปทั้งหมด

นั้นก็มิได้แตกต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของรูป

จริงอยู่ รูปนี้แม้ทั้งหมดมีการกระทบจักขุเป็นลักษณะ (จกฺขุปฏิ-

หนนลกฺขณ) มีความเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นรส (จกฺขุวิญฺาณ-

สฺส วิสยภาวรส) มีความเป็นโคจรของจักขุวิญญาณนั้นนั่นเองเป็น

ปัจจุปัฏฐาน (ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาน) มีมหาภูตรูป ๔ เป็นปทัฏฐาน.

ก็อุปาทารูปทั้งหมดเหมือนกับรูปนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวรูปที่แตกต่างกัน รูปที่

เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ.

จริงอยู่ ในจักขายตนนิทเทสนั้น นิทเทสมีจักขุเป็นประธานอย่าง

เดียว แต่ในรูปายตนนิทเทสนี้มีรูปเป็นประธาน. ในจักขายตนนิทเทสนั้น

มีชื่อ ๑๐ อย่างมีคำว่า จกฺขุเปต (รูปนี้เป็นจักษุบ้าง) เป็นต้น. ในรูปาย-

ตนนิทเทสแม้นี้มีชื่อ ๓ อย่าง มีคำว่า รูปเปต เป็นต้น (นี้เรียกว่า รูปบ้าง

รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง). รูปที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ใน

รูปายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระทั้งหลายไว้เหมือนตรัสวาระ ๑๓ วาระ เพื่อ

กำหนดจักษุประดับด้วยนัยวาระ ๔ วาระเหมือนกัน ฉะนี้แล.

อรรถกถาสัททายตนนิเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งสัททายตนะต่อไป.

บทว่า เภรีสทฺโท (เสียงกลอง) ได้แก่ เสียงกลองใหญ่และกลอง

ที่เขาตี. แม้เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ ก็เป็นเสียงมีเสียงตะโพน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

เป็นต้น เป็นปัจจัย. เสียงที่เรียกว่าเพลงขับ ชื่อว่า เสียงขับร้อง. เสียง

คนตรีเนื่องด้วยพิณเป็นต้น เหลือจากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า เสียงประโคม

(วาทิตสทฺโท).

บทว่า สุมฺมสทฺโท (เสียงกรับ) ได้แก่ เสียงฉาบสำริดและกรับไม้

ตาล. บทว่า ปาณสทฺโท (เสียงปรบมือ) ได้แก่เสียงปรบด้วยฝามือ. บทว่า

สตฺตาน นิคฺโฆสสทฺโท (เสียงร้องของสัตว์) ได้แก่ เสียงที่เปล่งโดยมีบท

และพยัญชนะไม่ปรากฏของสัตว์มากที่ประชุมกัน. บทว่า ธาตูน สนฺนิปาต-

สทฺโท (เสียงกระทบกันของธาตุทั้งหลาย) ได้แก่ เสียงเสียดสีกันและกันของ

ต้นไม้ทั้งหลาย และเสียงตีระฆังเป็นต้น. เสียงของลมพัด ชื่อว่า เสียงลม.

เสียงของน้ำกำลังไหล หรือน้ำกระทบกัน ชื่อว่า เสียงน้ำ. เสียงสนทนา

เป็นต้นของพวกมนุษย์ ชื่อว่า เสียงมนุษย์. เว้นเสียงมนุษย์นั้นแล้ว เสียง

ที่เหลือทั้งหมด ชื่อว่า เสียงอมนุษย์. ด้วยบททั้ง ๒ คือ เสียงมนุษย์และ

เสียงอมนุษย์นี้ เสียงทั้งหมดเป็นอันถือเอาแล้ว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เสียงที่

ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีที่เป็นไปในเวลาผ่าไม้ไผ่ และเสียงฉีกผ้าเก่าเป็นต้น พึง

ทราบว่ารวมเข้าในข้อว่า เยวาปนกสัททะ เสียงแม้ต่างกันโดยประเภทมีเสียง

กลองเป็นต้นอย่างนี้ แต่มิได้ต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของเสียง

สพฺโพ เจโส โสตปฏิหนนลกฺขโณ สทฺโท ก็เสียงทั้งหมดมี

การกระทบกับโสตเป็นลักษณะ โสตวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความ

เป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความ

เป็นโคจรของโสตวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในสัททายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

วาระ ๑๓ วาระประดับด้วยนัยวาระละ ๔ เนื้อความแห่งบทเหล่านั้นสามารถจะ

รู้ได้โดยนัยที่กล่าวไว้นั่นแหละ ฉะนั้น จึงมิได้ให้พิสดาร.

อรรถกถาคันธายตนนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคันธายตนะต่อไป.

บทว่า มูลคนฺโธ (กลิ่นรากไม้) ได้แก่ กลิ่นที่เกิดขึ้นอาศัยรากไม้

อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในกลิ่นที่แก่นเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. กลิ่นผักดอง

เป็นต้นที่ยังไม่สำเร็จแล้ว หรือสำเร็จแล้วไม่ดี ชื่อว่า อามคันโธ (กลิ่นบูด).

กลิ่นเกล็ดปลา กลิ่นเนื้อเน่า กลิ่นเนยใสเสียเป็นต้น ชื่อว่า วิสคันโธ (กลิ่นเน่า).

บทว่า สุคนฺโธ (กลิ่นหอม) ได้แก่ กลิ่นที่น่าปรารถนา. บทว่า

ทุคฺคนฺโธ (กลิ่นเหม็น) ได้แก่ กลิ่นไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง ๒ คือ

กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนี้ ย่อมเป็นอันว่ากลิ่นแม้ทั้งหมดทรงถือเอาแล้ว. เมื่อ

เป็นเช่นนั้น กลิ่นแม้ทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีกลิ่นช่อฟ้าและกลิ่นผ้าเก่า

เป็นต้น. พึงทราบว่า รวมอยู่ที่เยวาปนกคันธะ. กลิ่นนี้แม้จะต่างกันโดยเป็น

กลิ่นที่รากเป็นต้นอย่างนี้ ว่าโดยลักขณาทิจตุกะแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของกลิ่น

สพฺโพปิ เจโส ฆานปฏิหนนลกฺขโณ คนฺโธ ก็กลิ่นแม้ทั้งหมด

มีการกระทบฆานะเป็นลักษณะ ฆานวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความ

เป็นอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความ

เป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในคันธายตนนิทเทสนี้ ก็ตรัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

วาระ ๑๓ วาระประดับด้วยนัย ๕๒ เหมือนกันนั่นแหละ ว่าโดยอรรถวาระ

เหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น.

อรรถกถารสายตนนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรสายตนะ ต่อไป.

บทว่า มูลรโส (รสรากไม้) ได้แก่รสที่อาศัยรากไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

เกิดขึ้น. แม้ในรสลำต้นเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. บทว่า อมฺพิล (เปรี้ยว) ได้แก่

เปรียงเป็นต้น. บทว่า มธุร (หวาน) ได้แก่ รสมีเนยใสแห่งโคเป็นต้น

อย่างเดียว. ส่วนน้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสฝาด. น้ำอ้อยผสม

กับรสขื่นเก็บไว้นานเข้าก็เป็นรสขื่น แต่สัปปิ (เนยใส) เก็บไว้นานแม้ละสี

และกลิ่นก็ไม่ละรส เพราะฉะนั้น เนยใสนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า หวานโดย

ส่วนเดียว.

บทว่า ติตฺตก (ขม) ได้แก่ ใบสะเดาเป็นต้น. บทว่า กฏุก (เผ็ด)

ได้แก่ รสขิงและพริกไทยเป็นต้น. บทว่า โลณิก (เค็ม) ได้แก่ เกลือธรรมชาติ

เป็นต้น. บทว่า ขาริก (ขื่น) ได้แก่ รสมะอึและหน่อไม้เป็นต้น. บทว่า

ลมฺพิล (เฝื่อน) ได้แก่ พุทรา มะขามป้อม และมะขวิดเป็นต้น. บทว่า

กสาว. (ฝาด) ได้แก่ มะขามป้อมเป็นต้น. รสแม้ทั้งหมดเหล่านี้ ตรัสไว้ด้วย

อำนาจวัตถุ แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่ารสตรัสไว้โดยชื่อมีเปรี้ยวเป็นต้นแต่

วัตถุนั้น ๆ.

บทว่า สาทุ (อร่อย) ได้แก่ รสที่น่าปรารถนา. บทว่า อสาทุ

(ไม่อร่อย) ได้แก่ รสที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยบททั้ง ๒ คือ รสที่น่าปรารถนา

และไม่น่าปรารถนานี้ รสแม้ทั้งหมดเป็นอันทรงกำหนดถือเอาแล้ว ครั้นเมื่อ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ รสทั้งหมดที่ไม่ตรัสไว้ในพระบาลีมีรสก้อนดิน รส-

ฝาเรือน และรสผ้าเก่าเป็นต้น พึงทราบว่า รวมที่เยวาปนกรส. รสนี้แม้ต่าง

กันโดยเป็นรสรากไม้เป็นต้นอย่างนี้ แต่ว่าโดยลักษณะเป็นต้นก็มิได้แตกต่าง

กันเลย.

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะของรส

สพฺโพ เอโส ชิวฺหาปฏิหนนลกฺขโณ รโส รสมีการกระทบลิ้น

เป็นลักษณะ ชิวฺหาวิญฺาณสฺส วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของ

ชิวหาวิญญาณเป็นรส ตสฺเสว โคจรปจฺจุปฏฺาโน มีความเป็นโคจรของ

ชิวหาวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ในจักขายตนนิทเทสนั่นแหละ แม้ในนิทเทสนี้ ก็ตรัสวาระ ๑๓ ประดับด้วย

นัย ๕๒ เหมือนกันนั่นแหละ.

อรรถกถาอิตถินทริยนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอิตถินทรีย์.

บทว่า ย เป็นตติยาวิภัตติ ในข้อนี้อธิบายว่า ทรวดทรงหญิงเป็นต้น

แห่งหญิง ย่อมมีด้วยเหตุใด. บรรดาคำเหล่านั้น บทว่า ลิงฺค ได้แก่ ทรวดทรง

จริงอยู่ ทรวดทรงแห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้น ของหญิงไม่

เหมือนของชาย เพราะกายท่อนล่างของหญิงทั้งหลายล่ำ กายท่อนบนไม่ล่ำ

มือเท้าเล็ก ปากเล็ก.

บทว่า นิมิตฺต (เครื่องหมาย) ได้แก่ เป็นเหตุรู้ได้ จริงอยู่ เนื้อขา

ของหญิงทั้งหลายล่ำ ปากไม่มีหนวดเครา แม้ผูกผ้ารัดผมก็ไม่เหมือนของพวก

ชาย. บทว่า กุตฺต ได้แก่ กิริยา คือการกระทำ ด้วยว่า พวกหญิงทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ในเวลาเป็นเด็ก ย่อมเล่นกระด้งและสากเล็ก ๆ ย่อมเล่นตุ๊กตา เอาดินเหนียว

และปอมากรอเป็นด้าย.

บทว่า อากปฺโป (อาการ) ได้แก่ อาการคือการเดินเป็นต้น ด้วยว่า

หญิงทั้งหลายเมื่อเดินก็เดินไม่เร็ว เมื่อยืน เมื่อนอน เมื่อนั่ง เมื่อเคี้ยวกิน

ก็ยืน นอน นั่ง เคี้ยวกินไม่เร็ว เมื่อบริโภคก็บริโภคอย่างช้า จริงอยู่ ชน

ทั้งหลายเห็นคนแม้เป็นชายเชื่องช้าก็พูดว่า ชายคนนี้เดิน ยืน นอน นั่ง

เคี้ยวกิน บริโภคเหมือนผู้หญิง ดังนี้.

คำว่า อิตฺถิตฺต อิตฺถีภาโว (สภาพหญิง ภาวะของหญิง) แม้ทั้ง ๒

นี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือเป็นสภาวะของหญิง ก็สภาวะของหญิงนี้เกิด

แต่กรรม ตั้งขึ้นพร้อมกับจิตในปฏิสนธิกาล ส่วนทรวดทรงหญิงเป็นต้น ไม่

ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาลดุจอิตถินทรีย์ แต่ก็อาศัยอิตถินทรีย์ตั้งขึ้นในปวัตติกาล.

เหมือนอย่างว่า เมื่อพืช (เมล็ดพืช) มีอยู่ ต้นไม้อาศัยพืชเพราะพืชเป็นปัจจัย

จึงเจริญเติบโตสมบูรณ์ด้วยกิ่งและคาคบตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉันใด ครั้นเมื่อ

อิตถินทรีย์คือความเป็นหญิงมีอยู่ อวัยวะมีทรวดทรงแห่งหญิงเป็นต้น ก็มี

ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็อิตถินทรีย์เปรียบเหมือนพืช ทรวดทรงหญิงเป็นต้น

อาศัยอิตถินทรีย์ ย่อมตั้งขึ้นในปวัตติกาล เปรียบเหมือนต้นไม้อาศัยพืชเจริญ

เติบโตแล้วตั้งอยู่เต็มช่องว่าง ฉะนั้น.

บรรดาอินทรีย์ทั้งหลายเหล่านั้น อิตถินทรีย์ไม่พึงรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ

พึงรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณเท่านั้น. ทรวดทรงของหญิงเป็นต้นรู้ได้ทางจักษุ

วิญญาณบ้าง ทางมโนวิญญาณบ้าง.

บทว่า อิทนฺต รูป อิตฺถินฺทฺริย (รูปนี้นั้น เรียกว่าอิตถินทรีย์ )

ความว่า รูปนี้นั้น ไม่เหมือนกับจักขุนทรีย์เป็นต้นแม้เป็นของบุรุษ แต่เมื่อ

ว่าโดยนิยม อินทรีย์เฉพาะของหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

อรรถกถาปุริสินทริยนิทเทส

แม้ในปุริสินทรีย์ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ทรวดทรงของชายเป็นต้น

พึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับทรวดทรงของหญิงเป็นต้น เพราะสัณฐาน

แห่งอวัยวะมีมือ เท้า คอ และอุทรเป็นต้นของชาย ไม่เหมือนของหญิง

ด้วยว่า กายท่อนบนของชายล่ำสัน กายท่อนล่างไม่ล่ำสัน มือเท้าก็ใหญ่

ปากใหญ่ เนื้อขาไม่ใหญ่ หนวดเคราเกิดขึ้น การใช้ผ้าผูกผมก็ไม่เหมือนของ

หญิงทั้งหลาย ในเวลาเป็นเด็กย่อมเล่นรถและไถเป็นต้น ย่อมทำขอบคันด้วย

ทราย ย่อมขุดชื่อซึ่งหลุม แม้การเดินเป็นต้นก็องอาจ ชนทั้งหลายเห็นแม้หญิง

ผู้ทำการเดินเป็นต้นให้องอาจ ย่อมพูดคำเป็นต้นว่า แม้คนนี้ย่อมเดินเหมือน

ชาย ดังนี้ คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอิตถินทรีย์นั่นแหละ.

ว่าด้วยลักขณาทิจตุกะ

บรรดาอินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น อิตฺถีภาวลกฺขณ อิตฺถินฺทฺริย อิต-

ถินทรีย์มีอิตถีภาวะ (มีความเป็นหญิง) เป็นลักษณะ อิตฺถีติ ปกาสนรส

มีการประกาศว่าเป็นหญิงเป็นรส อิตฺถีลิงฺคนิมิตฺตกุตฺตากปฺปาน กรณ-

ภาวปจฺจุปฏฺาน มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่นและกิริยาอาการของหญิง

เป็นปัจจุปัฏฐาน.

ปริสภาวลกฺขณ ปุริสินฺทฺริย ปุริสินทรีย์ มีปุริสภาวะเป็นลักษณะ

ปุริโสติ ปกาสนรส มีการประกาศว่าเป็นชายเป็นรส ปุริสลิงฺคนิมิตฺต-

กุตฺตากปฺปาน กรณภาวปจฺจุปฏฺาน มีความเป็นสัณฐาน นิมิต การเล่น

และกิริยาอาการของชายเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

ภาวรูปแม้ทั้ง ๒ (หญิงชาย) นี้ ของบุคคลผู้เกิดในปฐมกัป ย่อม

ตั้งขึ้นในปวัตติกาล ในภายหลังต่อมา ภาวรูปทั้ง ๒ นี้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล

แม้ตั้งขึ้นในปฏิสนธิกาล ก็ย่อมหวั่นไหว ย่อมเปลี่ยนได้ในปวัตติกาล.

เหมือนอย่างพระดำรัสที่ตรัสไว้ในพระบาลีวินีตวัตถุแห่งปฐมปาราชิก

ว่า ก็สมัยนั้นแล เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพศชายปรากฏ

แก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง *ดังนี้.

ก็บรรดาเพศทั้ง ๒ นั้น เพศชายเป็นอุดมเพศ เพศหญิงเป็นหีนเพศ

ฉะนั้น เพศชายย่อมอันตรธานไปเพราะอกุศลมีกำลัง เพศหญิงย่อมตั้งขึ้นด้วย

กุศลที่เป็นทุรพล แต่เพศหญิงเมื่ออันตรธาน ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศลที่

เป็นทุรพล เพศชายย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศลที่มีกำลัง. พึงทราบว่า ภาวรูปแม้ทั้ง ๒

อย่างนี้ ย่อมอันตรธานไปด้วยอกุศล ย่อมตั้งขึ้นด้วยกุศล ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยอุภโตพยัญชนกะ

ถามว่า บุคคลผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะ มีอินทรีย์เดียวหรือมีสองอินทรีย์

ตอบว่า มีอินทรีย์เดียว ก็อินทรีย์ของหญิงผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะนั้น

แลเป็นอิตถินทรีย์ ของชายผู้เป็นอุภโตพยัญชนกะเป็นปุริสินทรีย์.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พยัญชนะ (เครื่องหมาย) ที่ ๒ ก็ไม่ปรากฏ

เพราะตรัสไว้ว่า อินทรีย์แสดงเครื่องหมายเพศ และอินทรีย์ของบุคคลผู้เป็น

อุภโตพยัญชนกะนั้นก็ไม่มี. ตอบว่า อินทรีย์ของบุคคลนั้น เป็นเครื่องแสดง

เพศหามิได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะไม่มีอยู่ทุกเมื่อ.

* วินย อา. เล่ม ๑/๖๔

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ด้วยว่า เมื่อใดจิตกำหนัดของอิตถีอุภโตพยัญชนกะเกิดในหญิง ก็ใน

กาลนั้น เครื่องหมายเพศชายย่อมปรากฏ. เครื่องหมายเพศหญิงย่อมปิดบัง

ซ่อนเร้น ปุริสอุภโตพยัญชนกะนอกนี้ ก็มีเครื่องหมายเพศหญิงนอกนี้เหมือนกัน

ผิว่า อินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะทั้งสองเหล่านั้น พึงมีเครื่องหมายที่ ๒ ไซร้

เครื่องหมายเพศทั้ง ๒ ก็พึงตั้งอยู่แม้ในกาลทุกเมื่อ แต่ว่าหาได้ตั้งอยู่ไม่ เพราะ

ฉะนั้น อินทรีย์นั้นพึงทราบ คำนี้ว่า อินทรีย์นั้นของอุภโตพยัญชนกะนั้นเป็น

เหตุแห่งเครื่องหมายเพศหามิได้ แต่ในที่นี้ เหตุคือจิตสัมปยุตด้วยราคะมีกรรม

เป็นสหาย ก็เพราะอินทรีย์ของอุภโตพยัญชนกะนั้นมีเพียงหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น

อิตถีอุภโตพยัญชนกะ แม้ตนเองก็ตั้งครรภ์ได้ ย่อมทำให้บุคคลอื่นตั้งครรภ์ก็ได้

ส่วนปุริสอุภโตพยัญชนกะ ย่อมทำบุคคลอื่นให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ตนเองย่อม

ตั้งครรภ์ไม่ได้ ฉะนี้แล.

อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ คำใดที่ข้าพเจ้าควรกล่าว

ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรูปชีวิตินทรีย์ ในหนหลัง

แล้วทั้งนั้น ก็ในอรูปชีวิตินทรีย์นั้นตรัสไว้ว่า อรูปธรรมใด ของอรูปธรรม

เหล่านั้น แต่ในชีวิตินทริยนิทเทสนี้ตรัสว่า รูปธรรมใด ของรูปธรรมเหล่านั้น

เพราะความเป็นรูปชีวิตินทรีย์ นี้เป็นเนื้อความต่างกัน แต่ลักษณะเป็นต้น

ของรูปชีวีตินทรีย์นั้น พึงทราบอย่างนี้.

สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณ ชีวิตินฺทริย ชีวิตินทรีย์มีการตาม

รักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ เตส ปวตฺตนรส มีความเป็นไปของ

รูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส เตสฺเยว ปนปจฺจุปฏฺาน มีความดำรงอยู่ซึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

รูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺาน มี

ภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้แล.

อรรถกถากายวิญญัตตินิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในกายวิญญัตินิทเทสต่อไป.

ในข้อว่า กายวิญญัตติ นี้ก่อน. สภาวะที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะ

อรรถว่าความที่คนทั้งหลายก็ดี หรือสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดี ให้รู้ภาวะของตน

ด้วยกาย แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ความหมายของคนได้ แม้คนก็รู้ความหมายของ

สัตว์ได้ด้วยสภาวธรรมที่ถือเอานี้โดยทำนองแห่งการถือเอากาย.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ตนเองย่อมให้ผู้อื่น

รู้ได้โดยทำนองแห่งการกำหนดกาย. วิญญัตติคือกาย กล่าวคือการไหวกาย ที่

ตรัสไว้ในคำมีอาทิว่า กาเยน สวโร สาธุ (การสำรวมกายเป็นการดี) ดังนี้

ชื่อว่า กายวิญญัตติ.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กายวิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงให้

รู้ด้วยกาย เพราะเป็นเหตุให้รู้ความประสงค์ด้วยการไหวกายต่าง ๆ และเพราะ

ตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.

ในคำมีอาทิว่า กุสลจิตฺตสฺส วา (ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล)

อธิบายว่า จิตของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศลด้วยจิต ๙ คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

อภิญญาจิต ๑ ดวง หรือผู้มีจิตเป็นอกุศลด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง หรือมี

จิตที่เป็นอัพยากฤต ด้วยกิริยาจิต ๑๑ ดวง คือ มหากิริยาจิต ๘ ดวง ปริตต-

กิริยาจิต ๒ ดวง อภิญญาที่เป็นรูปาวจรกิริยาจิต ๑ ดวง อื่น ๆ จากนี้

ย่อมไม่ยังวิญญัตติให้เกิดได้. ก็พระเสกขะ พระอเสกขะ และปุถุชนก็มีวิญญัตติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ด้วยจิตมีประมาณเท่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดงวิญญัตติ

โดยเป็นเหตุด้วยบททั้ง ๓ ด้วยสามารถแห่งธรรมมีกุศลเป็นต้นเหล่านี้ (คือ

กุศล อกุศลกิริยา).

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิญญัตติโดยผลด้วยบททั้ง ๖* จึงตรัสว่า

อภิกฺกมุนฺตสส วา (ก้าวไปอยู่) เป็นต้น. จริงอยู่ การก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า

ผลของวิญญัตติ เพราะเป็นไปด้วยอำนาจวิญญัตติ. บรรดาบททั้งหลายมีการ

ก้าวไปเป็นต้นเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมนฺตสฺส (ก้าวไปอยู่) ได้แก่ นำกาย

ไปข้างหน้า. บทว่า ปฏิกฺกมนฺตสฺส (ถอยกลับอยู่) ได้แก่ นำกายกลับมา

ข้างหลัง. บทว่า อาโลเกนฺตสฺส (แลดูอยู่) ได้แก่ แลดูตรง ๆ. บทว่า

วิโลเกนฺตสฺส ได้แก่ แลดูทางโน้นแลดูทางนี้. บทว่า สมฺมิญฺชนฺตสฺส

(คู้เข้าอยู่) ได้แก่ งอข้อต่อทั้งหลาย. บทว่า ปสาเรนฺตสฺส (เหยียดออกอยู่)

ได้แก่ เหยียบข้อต่อทั้งหลาย.

บัดนี้ เพื่อแสดงวิญญัตติโดยสภาวะด้วยบททั้ง ๖ จึงตรัสว่า กายสฺส

ถมฺภนา (ความเคร่งตึงของกาย) เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายสฺส

(ของกาย) ได้แก่ ของสรีระ. สภาวะที่ชื่อว่า ความเคร่งตึง (ถมฺภนา)

เพราะอรรถว่า ทำกายให้แข็งแล้วให้กระด้าง. สภาวะที่เคร่งตึงนั้นนั่นแหละ

ตรัสเรียกว่า กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี (สนฺถมฺภนา) เพราะเพิ่มด้วยอุปสรรค

อีกอย่างหนึ่ง ความเคร่งตึงมีกำลังมาก ชื่อว่า สันถัมภนา. ความเคร่งตึง

ด้วยดี ชื่อว่า สันถัมภิตัตตัง. ชื่อว่า วิญญัตติ (การแสดงให้รู้ความหมาย)

ด้วยสามารถแห่งการให้รู้ให้เข้าใจ. กิริยาที่ให้เข้าใจความหมาย ชื่อว่า วิญญา-

ปนา. ความแสดงให้รู้ความหมาย ชื่อว่า วิญญาปิตัตตัง. คำที่เหลือใดที่

พึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในทวารกถาในหนหลังแล้วแล.

* ๑ ก้าวไปอยู่ ๒ ถอยกลับอยู่ ๓ แลดูอยู่ ๔ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ ๕ คู้เข้าอยู่ ๖ เหยียด

ออกอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

อรรถกถาวจีวิญญัตตินิทเทส

ในวจีวิญญัตติก็เหมือนกัน แต่ว่าเนื้อความของบทว่า วจีวิญญัตติ

ดังนี้ และบทนิทเทสทั้งหลายที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวไว้ในทวารกถานั้น พึงทราบ

อย่างนี้ว่า

ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า คนก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งจะ

ให้รู้ภาวะของตนด้วยวาจา แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ภาวะของคนได้ หรือคนก็รู้

ภาวะของสัตว์ได้ ด้วยสภาวะนี้ โดยกำหนดเอาตามทำนองแห่งการกำหนด

คำพูด. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ความหมาย

โดยทำนองแห่งการกำหนดคำพูดได้โดยตนเอง. วิญญัตติคือวจี กล่าวคือการ

เคลื่อนไหวที่ตรัสไว้ในพระบาลีมีอาทิว่า สาธุ วาจาย สวโร (ความสำรวม

ทางวาจาเป็นการดี) ดังนี้ ชื่อว่า วจีวิญญัตติ.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจีวิญญัตติ เพราะอรรถว่า การแสดงความ

หมายให้รู้ทางวาจา เพราะเป็นเหตุให้เข้าใจความประสงค์ได้ด้วยเสียงของวาจา

และเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า วาจา คิรา (การพูดเปล่งวาจา) ต่อไป.

ที่ชื่อว่า วาจา (การพูด) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพอันเขากล่าว.

ที่ชื่อว่า คิรา (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า อันบุคคลเปล่ง. ที่ชื่อว่า

วากฺยเภโท (การกล่าว) เพราะอรรถว่าการเจรจา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า

พฺยปฺปโถ (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า คำพูดนั้นด้วย เป็นทางของบุคคล

ผู้ประสงค์จะรู้เนื้อความและยังผู้อื่นให้รู้ด้วย. ที่ชื่อว่า อุทีรณ (การกล่าว)

เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งออก. ที่ชื่อว่า โฆสะ (การป่าวร้อง) เพราะอรรถ

อันเขาย่อมโฆษณา. ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมกระทำ. กรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

คือการโฆษณา ชื่อว่า โฆสกรรม อธิบายว่า เขาทำโฆษณาโดยประการ

ต่าง ๆ. เพื่อให้รู้ว่า การเปล่งวาจา ชื่อว่า วจีเภท แต่วจีเภท (คือการเปล่ง

วาจา) นั้นมิใช่การทำลาย เป็นวาจาที่แตกต่างกันเท่านั้น จึงตรัสว่า วาจา

วจี เภโท (วาจา การแสดงความหมายให้รู้ทางวาจา) ดังนี้. สัททวาจานั่นเอง

พระองค์ทรงแสดงด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.

บัดนี้ ทรงประสงค์จะแสดงวจีวิญญัตตินั้นโดยสภาวะ ด้วยอาการ ๓

อย่าง ด้วยอำนาจแห่งบททั้งหลายมีวิญญัตติเป็นต้น แห่งเนื้อความที่กล่าวใน

หนหลังที่ประกอบวาจานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา ตาย วาจาย วิญฺตฺติ

(แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น อันใด ดังนี้. คำนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น

เพราะมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

บัดนี้ เพื่อมิให้หลงใหลในจิตอันยังวิญญัตติให้ตั้งขึ้น พึงทราบ

ปกิณกธรรมนี้คือ จิต ๓๒ ดวง จิต ๒๖ ดวง จิต ๑๙ ดวง จิต ๑๖ ดวง

สุดท้าย. จริงอยู่ จิต ๓๒ ดวง ย่อมยังพหิรูปให้ตั้งขึ้น ย่อมอุปถัมภ์อิริยาบถ

ย่อมยังวิญญัตติแม้ทั้ง ๒ ให้เกิดขึ้น. จิต ๒๖ ดวง ย่อมยังวิญัตตินั่นแหละให้

เกิดขึ้น ย่อมกระทำทั้ง ๒ นอกนี้ด้วย. จิต ๑๙ ดวง ย่อมยังรูปนั่นแหละให้

ตั้งขึ้น แต่ไม่กระทำ ๒ อย่างนอกนี้. จิต ๑๖ ดวง ไม่กระทำหน้าที่แม้สัก

อย่างหนึ่งในบรรดา ๓ อย่างนั้น (ให้เกิดอุปถัมภ์ ให้เกิดวิญญัติ).

ในปกิณกธรรมเหล่านั้น คำว่า จิต ๓๒ คือจิตที่กล่าวในหนหลัง

นั่นแหละคือ กามาวจรกุศล ๘ อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต ๑๐ อภิญญาจิตของ

พระเสกขะปุถุชน ๑ อภิญญาจิตของพระขีณาสพทั้งหลาย ๑.

คำว่า จิต ๒๖ คือรูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยา ๕ อรูปาวจร

กุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

คำว่า จิต ๑๙ คือกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ อกุศลวิบาก ๒ กิริยามโน-

ธาตุ ๑ รูปาวจรวิบากจิต ๕.

คำว่า จิต ๑๖ คือทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ปฏิสนธิจิตของสัตว์

ทั้งหมด ๑ จุติจิตของพระขีณาสพ ๑ อรูปวิบากจิต ๔. จิต ๑๖ เหล่านี้ย่อมไม่

กระทำให้รูปเกิด อุปถัมภ์ และวิญญัตติแม้สักอย่างหนึ่งเลย. จิตที่เกิดขึ้นใน

อรูปแม้อื่นอีกมากก็ไม่ทำรูปให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีโอกาส ก็จิตเหล่าใดย่อมยัง

กายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น จิตเหล่านั้นเทียวย่อมยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้นด้วย.

อรรถกถาอากาศธาตุนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอากาศธาตุต่อไป.

สภาวะที่ชื่อว่า อากาศ เพราะอรรถว่า อันใคร ๆ ย่อมไถไม่ได้

ทำให้เป็นรอยไม่ได้ คือว่า ไม่อาจเพื่อจะไถ หรือเพื่อจะตัด หรือเพื่อทำให้แตก.

อากาศนั่นแหละ เรียกว่า อากาสคต (ถึงการนับว่าเป็นอากาศ) เหมือนคำว่า

เขลคต (ถึงการนับว่าเป็นน้ำลาย) เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อากาศ

ชื่อว่า อากาสคต เพราะสัตว์ถึงแล้ว. ที่ชื่อ อฆ (ความว่างเปล่า) เพราะ

อันอะไร ๆ ย่อมไม่กระทบ คือไม่มีอะไรถูกต้องได้. อฆะนี้นั่นแหละ เรียกว่า

อฆคต. ที่ชื่อว่า วิวโร (ช่องว่าง) เพราะอรรถว่า เป็นช่อง.

คำว่า อสมฺผุฏฺิ จตูหิ มหาภูเตหิ (อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง

แล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอากาศอันโล่งที่มหาภูตรูปเหล่านี้ไม่ถูกต้อง

แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น รูปปริจฺเฉทลกฺขณา อากาศธาตุมีการ

คั่นไว้ซึ่งรูปเป็นลักษณะ อากาสธาตุรูปปริยนฺตปฺปกาสนรสา มีการ

ประกาศที่สุดของรูป ของอากาศธาตุเป็นรส รูปมริยาทปจจุปฏฺานา มี

ขอบเขตของรูปเป็นปัจจุปัฏฐาน อสมฺผุฏฺภาวฉิทฺทวิวรภาวปจฺจุปฏฺา-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

นา วา หรือมีภาวะอันมหาภูตรูปถูกต้องไม่ได้มีภาวะที่ภูตรูปคั่นไว้ และมีภาวะ

ที่เป็นช่องว่างโล่งเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริจฺฉินฺนรูปปทฏฺานา มีรูปที่คั่นไว้

เป็นปทัฏฐาน. เมื่อรูปทั้งหลายอันอากาศธาตุใดคั่นไว้แล้ว รูปนี้ก็มีเบื้องบน

เบื้องต่ำ และเบื้องขวางโดยอากาศธาตุนั้น.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบนิทเทสแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปลหุตา

เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายมีจิตลหุตาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ใน

ที่นี้ว่าโดยลักษณะเป็นต้น อทนฺธตาลกฺขณา รูปสฺส ลหุตา ลหุตารูป มี

อันไม่เชื่องช้าเป็นลักษณะ รูปาน ครุภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความ

หนักแห่งรูปทั้งหลายเป็นรส ลหุปริวตฺติตาปจฺจุปฏฺานา มีการเปลี่ยนได้

เร็วเป็นปัจจุปัฏฐาน ลหุรูปปทฏฺานา มีรูปเบาเป็นปทัฏฐาน.

อถทฺธตาลกฺขณา รูปสฺส มุทุตา มุทุตารูป มีอันไม่แข็งเป็น

ลักษณะ รูปาน ถทฺธภาววิโนทนรสา มีการบรรเทาความแข็งของรูปทั้งหลาย

เป็นรส สพฺพกิริยาสุ อวิโรธิตาปจฺจุปฏฺานา มีความไม่เป็นข้าศึกกัน

ในการกระทำทั้งปวงเป็นปัจจุปัฏฐาน มุทุรูปปทฏฺานา มีรูปที่อ่อนเป็น

ปทัฏฐาน.

สรีรกิริยานุกุลกมฺมญฺภาวลกฺขณา รูปสฺส กมฺมญฺตา

กรรมัญญตารูปมีการควรแก่การงานโดยสมควรแก่การกระทำสรีระเป็นลักษณะ

อกมฺมญฺภาววิโนทนรสา มีความบรรเทาความไม่ควรแก่การงานเป็นรส

อทุพฺพลภาวปจฺจุปฏฺานา มีความไม่ทุรพลเป็นปัจจุปัฏฐาน กมฺมฺรูป-

ปทฏฺานา มีรูปที่ควรแก่การงานเป็นปทัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ก็วิการรูปทั้ง ๓ เหล่านี้ไม่ละซึ่งกันและกัน เมื่อความเป็นอย่างนั้น

มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งรูปทั้ง ๓ เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ภาวะที่

เบา คือความไม่เชื่องช้าแห่งรูปทั้งหลาย มีอาการเป็นไปได้เร็วเหมือนคนไม่มี

โรค มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบซึ่งทำให้รูปเชื่องช้า

อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า ลหุตารูป. ความที่รูปทั้งหลายมีความอ่อนดุจ

หนังที่ขยำไว้ดีแล้ว มีอาการทำให้อ่อนเป็นไปตามอำนาจในการกระทำทั้งปวง

ได้ต่าง ๆ กัน มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบอันทำให้

รูปแข็ง อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า มุทุตารูป. แต่ความที่รูปทั้งหลายควร

แก่การงานเหมือนทองคำที่หลอมไว้ดีแล้ว มีอาการคล้อยตามในการกระทำของ

สรีระ มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อธาตุกำเริบ อันทำให้รูปไม่

คล้อยตามของการกระทำในสรีระ อันใด วิการรูปนั้น ชื่อว่า กรรมมัญญตารูป.

อนึ่ง วิการรูปแม้ทั้ง ๓ นั่นย่อมอาจเพื่อทำการงานได้ ก็หาไม่ รูปที่

เกิดจากอาหารเป็นต้น (คือเกิดแต่จิตและอุตุด้วย) เท่านั้นย่อมทำการงานได้.

จริงอย่างนั้น พวกพระโยคีจึงพูดกันว่า วันนี้พวกเราได้อาหารเป็นสัปปายะ

กายของเราจึงเบาอ่อนควรแก่การงาน วันนี้พวกเราได้อุตุสัปปายะ วันนี้จิตของ

พวกเราจึงสงบ กายของพวกเราเบาอ่อนควรแก่การงาน ดังนี้.

อรรถกถาอุปจยะและสัตตตินิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปจยะและสันตติต่อไป.

บทว่า อายตนาน (อายตนะทั้งหลาย) ได้แก่ รูปายตนะ ๑๐ ทั้งกึ่ง

(คือ ๑๐ กับ ครึ่งหนึ่ง). บทว่า อาจโย (ความสั่งสม) ได้แก่ ความ

บังเกิดขึ้น. บทว่า โส รูปสฺส อุปจโย (นั้นเป็นความเกิดแห่งรูป) ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ความเกิดสั่งสมแห่งอายตนะอันเกิดขึ้นบ่อย ๆ อันใด อันนั้นแหละ ชื่อว่า

ความเกิดสั่งสมแห่งรูป อธิบายว่า ย่อมเติบโตขึ้น. ความเกิดสั่งสมแห่งรูป

อันใด อันนั้นเป็นสันตติ (ความสืบต่อ) ของรูป เพราะฉะนั้น ความเจริญ

ของรูปทั้งหลายอันสั่งสมแล้วด้วยอาการอย่างนี้ อันใด ในเวลาที่รูปเป็นไป

ยิ่งกว่านั้น ความเจริญนั้น ชื่อว่า สันตติของรูปคือความเป็นไปของรูป.

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลขุดหลุมใกล้ฝั่งแม่น้ำ ความสั่งสมเกิดขึ้นเหมือน

เวลาที่น้ำไหลไปยังหลุม. ความเกิดขึ้นเจริญแล้ว เหมือนเวลาที่น้ำเต็มหลุม

พึงทราบว่าสันตติเป็นไปดุจเวลาที่น้ำไหลท่วมไปฉะนั้น.

ถามว่า ด้วยนิทเทสคำว่า โย อายตนาน อาจโย เป็นต้นอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร ? ตอบว่า พระองค์ตรัสความเริ่มเกิดด้วย

อายตนะ ตรัสอายตนะด้วยความเริ่มเกิด เป็นอันตรัสความเริ่มเกิดและตรัส

อายตนะนั่นแหละไว้แล้ว.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ตรัสไว้อย่างไร ?

ตอบว่า พระองค์ตรัสถึงความเริ่มเกิด ความสั่งสม ความเกิด ความ

เจริญของสันตติรูปทั้ง ๔.

จริงอยู่ เมื่อว่าโดยอรรถ รูปทั้ง ๒ แม้นี้ (อุปจยะ สันตติ) เป็นชื่อ

ของรูปที่เกิดเท่านั้น แต่ว่าโดยความต่างกันแห่งอาการ และด้วยอำนาจแห่ง

เวไนยสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำอุทเทสและนิทเทสด้วยคำว่า อุปจโย

สนฺตติ แต่เพราะในอุทเทสนี้ ไม่มีความแตกต่างกันโดยอรรถ ฉะนั้น จึง

ตรัสไว้ในนิทเทสว่า โย อายตนาน อาจโย โส รูปสฺส อุปจโย

โย รูปสฺส อุปจโย โส รูปสฺส สนฺตติ (ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้ง

หลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิดแห่งรูปอันใด อันนั้นเป็น

ความสืบต่อแห่งรูป) ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

อนึ่ง เพราะรูปนี้แม้ทั้ง ๒ (อุปจยะและสันตติ) เป็นชื่อของรูปที่เกิด

อย่างเดียวกัน ฉะนั้นในนิทเทสนี้ บัณฑิตพึงทราบ (ลักขณาทิจตุกะของรูป

ทั้ง ๒ นั้น) ว่า

อาจยลกฺขโณ รูปสฺส อุปจโย อุปจยรูปมีความเริ่มเกิดเป็นลักษณะ

ปุพฺพนฺตโต รูปาน อุมฺมุชฺชาปนรโส มีการยังรูปทั้งหลายให้เกิดดุจขันธ์

อันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นรส นิยาตนปจฺจุปฏฺาโน ปริปุณฺณภาวปจฺจุ-

ปฏฺาโน วา มีการมอบให้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความบริบูรณ์เป็นปทัฏฐาน

อุปจิตรูปปทฏฺาโน มีรูปที่เกิดแล้ว (คือรูปที่ถึงอุปาทขณะ) เป็นปทัฏฐาน.

ปวตฺติลกฺขณา รูปสฺส สนฺตติ สันตติรูปมีความเป็นไป (คือ

เป็นไปด้วยอำนาจความสืบต่อ) เป็นลักษณะ อนุปฺปพนฺธนรสา มีการสืบ

ต่อกันโดยลำดับ (คือการสืบต่อด้วยอำนาจรูปเบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นรส

อนุปฺปจฺเฉทปจฺจุปฏฺานา มีความไม่ขาดจากกัน (มีความไม่ขาดจากรูป

เบื้องต้นและเบื้องปลาย) เป็นปัจจุปัฏฐาน อนุปฺปพนฺธรูปปทฏฺานา มีรูป

ที่สืบต่อกันเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาชรตานิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชรตา ต่อไป.

ที่ชื่อว่า ชรา ด้วยอำนาจแห่งรูปที่แก่. ในนิทเทสแห่งชรานี้ มีความ

ขยายสภาวะว่า อาการแห่งการคร่ำคร่า ชื่อว่า ความคร่ำคร่า. อาการทั้ง ๓

มีคำว่า ฟันหัก เป็นต้น มีการขยายกิจคือล่วงกาลผ่านวัยไปทีเดียว อาการ

๒ ข้างปลาย เป็นการขยายความตามปกติ (คือเป็นไปตามธรรมชาติ).

จริงอยู่ ด้วยบทว่า ชรานี้ พระองค์ทรงแสดงชรานี้โดยสภาวะ เพราะ

เหตุนั้น คำว่า ชรานี้ จึงเป็นการอธิบายสภาวะของชรานั้น. ด้วยบทว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

ชิรณตา นี้ ทรงแสดงโดยอาการ. เพราะฉะนั้น คำว่า ชิรณตา นี้ จึงเป็น

อธิบายอาการของรูปชิรณตานั้น. ด้วยบทว่า ความมีฟันหลุด นี้ ทรงแสดง

โดยกิจคือการทำภาวะที่ฟันและเล็บหลุดโดยกาลผ่านวัย. ด้วยบทว่า ปาลิจฺจ

ความมีผมหงอกนี้ ทรงแสดงโดยกิจ คือ ความที่ผมและขนทั้งหลาย

หงอก. ด้วยบทว่า มีหนังเป็นเกลียว นี้ทรงแสดงโดยกิจ คือกระทำเนื้อ

ให้เหี่ยว แล้วทำหนังให้ย่นเป็นเกลียว. เพราะฉะนั้น บททั้ง ๓ มีฟันหลุด

เป็นต้นนี้ เป็นการขยายความถึงกิจที่ล่วงกาลผ่านวัยแห่งรูปนั้น. ด้วยบททั้ง ๓

เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดง ปากฏชรา คือ ความแก่ที่ปรากฏโดยอำนาจ

แห่งการเห็นวิการรูปเหล่านี้. เหมือนอย่างว่า ทางที่น้ำบ่าไป หรือลมพัดไป

ย่อมปรากฏโดยการพังทะลายหญ้าและต้นไม้เป็นต้น หรือว่า ทางที่ไฟไหม้เตียน

โล่งไปย่อมปรากฏ ทางมีน้ำเป็นต้นผ่านไปแล้วนั้นยังปรากฏ แต่น้ำเป็นต้น

เหล่านั้นมิได้ปรากฏให้เห็นอยู่ ข้อนี้ฉันใด ทางที่ชราผ่านไปแล้ว โดยอำนาจ

แห่งความแตกหักในอวัยวะ มีฟันหลุดเป็นต้น ย่อมปรากฏ เพราะบุคคลลืม

ตาดูก็รู้ได้ แต่สภาวะมีฟันหลุดเป็นต้น ลืมตาดูรู้ไม่ได้ ชราก็รู้ไม่ได้ เพราะ

ชราจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.

ก็ด้วยประเภทบทเหล่านี้ว่า ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่ง

อินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความแก่โดยปกติอัน

สิ้นไปแห่งอายุ ด้วยสำคัญแห่งการแก่รอบแห่งอินทริย์มีจักษุเป็นต้น แจ่มแจ้ง

แล้วโดยล่วงกาลผ่านวัยทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พึงทราบสองประการหลังนี้ว่าเป็น

นิทเทสโดยปกติแห่งชรตานั้น. ในอาการทั้งสองเหล่านั้น เพราะอายุของบุคคลผู้

ถึงความแก่แล้ว ย่อมเสื่อมลง ฉะนั้น จึงตรัสชราโดยมุ่งถึงผลว่า ชรา อายุโน

สหานิ (ชราคือความเสื่อมแห่งอายุ) ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เพราะเวลาที่คนยัง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

เป็นหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักขุเป็นต้นผ่องใสสามารถรับอารมณ์แม้ละเอียด

ของตนได้โดยง่ายนั่นแหละ แต่เมื่อถึงความชราแล้วอินทรีย์ทั้งหลายก็จะหง่อม

งกเงิ่น ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถจะรับอารมณ์แม้อันหยาบของตนได้ฉะนั้น

จึงตรัสชราโดยผลูปจารนัยว่า ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้.

ว่าโดยชรา ๒ อย่าง

ก็ ชรานี้นั้นทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า ชราแม้ทั้งหมดมี ๒ อย่าง

คือ ปากฏชรา (ชราปรากฏ) ปฏิจฉันนชรา (ชราปกปิด). บรรดาชรา ๒

เหล่านั้น ชราในรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความ

แตกหักเป็นต้น ในอวัยวะมีฟันเป็นต้น แต่ชราในอรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า

ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ยังมีชราอีก ๒ อย่าง คือ

อวีจิชรา (ชราไม่มีคลื่น)

สวีจิชรา (ชรามีคลื่น).

ในชรา ๒ อย่างเหล่านั้น พึงทราบว่า ชราที่ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะ

ความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายในระหว่าง ๆ เป็นชราที่รู้ได้ยาก ดุจชรา

ของแก้วมณี ทองคำ เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น ดุจชรา

ของสัตว์มีชีวิตทั้งหลายในเวลาที่เป็นมันททสกะเป็นต้น และดุจชราของสิ่งไม่มี

ชีวิตทั้งหลายมีในเวลาที่มีดอก มีผล และหน่อเป็นต้น ได้แก่ นิรันตชรา.

ส่วนชราที่ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายใน

ระหว่าง ๆ ในสิ่งเหล่าอื่นตามที่กล่าวแล้ว นอกจากนั้นเป็นของรู้ได้โดยง่าย

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ว่าโดยลักขณาทิจตุกะวของชรตารูป พึงทราบว่า

รูปปริปากลกฺขณา รูปสฺส ชรตา ชรตารูป มีความหง่อมแห่ง

รูปเป็นลักษณะ อุปนยรสา มีการน้อมเข้าไปใกล้ความตายเป็นรส สภา-

วานปคเมปิ นวภาวาปคทปจฺจุปฏฺานา มีความปราศจากของใหม่แม้ยัง

ไม่ปราศจากภาวะของตนเป็นปัจจุปัฏฐาน วีหิปุราณภาโว วิย ปริปจฺจ-

มานรูปปทฏฺานา มีรูปที่หง่อมอยู่ดุจข้าวเหนียวเก่าเป็นปทัฏฐาน.

อรรถกถาอนิจจตานิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอนิจจตารูปต่อไป.

รูปที่ชื่อว่า ขโย (ความสิ้นไป) ด้วยอำนาจแห่งการถึงความสิ้นไป

ที่ชื่อว่า วโย (ความเสื่อมไป) ด้วยอำนาจแห่งการเข้าถึงความเสื่อม ที่ชื่อว่า

เภโท (ความแตกไป) ด้วยอำนาจแห่งความแตก.

อีกอย่างหนึ่ง รูปที่ชื่อว่า ขโย เพราะอรรถว่า เป็นที่สิ้นไป ที่ชื่อว่า

วโย เพราะอรรถว่า เป็นที่เสื่อมไป ที่ชื่อว่า เภโท เพราะอรรถว่า เป็น

ที่แตกดับไป เพราะรูปถึงอาการนั้นแล้วย่อมสิ้นไป ย่อมเสื่อมไป และย่อม

แตกไป ความแตกไปนั่นเอง เรียกว่าปริเภท (ความทำลายไป) เพราะทรง

เพิ่มบทด้วยอุปสรรค.

สภาวะที่ชื่อว่า อนิจจัง เพราะอรรถว่า ไม่เที่ยงคือมีแล้วหามีไม่.

ภาวะแห่งอนิจจังนั้น ชื่อว่า อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ชื่อว่า อันตรธาน

เพราะอรรถว่า เป็นที่อันตรธาน จริงอยู่ รูปถึงมรณะแล้วย่อมอันตรธาน คือ

ย่อมถึงความไม่เห็น รูปเท่านั้น ถึงความไม่เห็นอย่างเดียวก็หาไม่ เบญจขันธ์

แม้ทั้งหมดก็อันตรธานไป เพราะฉะนั้น รูปนี้แหละ พึงทราบว่าเป็น

ลักษณะความไม่เที่ยงแห่งขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็เมื่อว่าโดยลักขณะเป็นต้น พึงทราบว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ปริเภทลกฺขณา รูปสฺส อนิจฺจตา อนิจจตารูปมีความทำลายเป็น

ลักษณะ สสึทนรสา มีการจมลงเป็นรส ขยวยปจฺจุปฏฺานา มีความ

สิ้นไปเสื่อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน ปริภิชฺชมานรูปปทฏฺานา มีรูปที่กำลัง

ทำลายไปเป็นปทัฏฐาน.

ว่าด้วย ชาติ ชรา มรณะดุจปัจจามิตร ๓ คน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่)

แสดงไว้ในหนหลังแล้ว แต่ในที่นี้ทรงถือเอามรณะ (ความตาย) ธรรมทั้ง ๓

เหล่านี้ เป็นเช่นกับปัจจามิตร ผู้เงื้อดาบขึ้นประหารสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้.

เหมือนอย่างว่า ปัจจามิตร ๓ คน เที่ยวแสวงหาช่องประทุษร้ายบุรุษ บรรดา

ปัจจามิตร ๓ คนนั้น คนหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า การพาบุรุษนี้ออกเข้าไปสู่ดง

เป็นหน้าที่ของเรา คนที่ ๒ พูดว่า ในเวลาที่บุรุษนั้นถึงดงแล้ว การ

โบยตีให้ล้มลงบนแผ่นดินเป็นหน้าที่เรา คนที่ ๓ พูดว่า จำเดิมแต่

เวลาที่บุรุษนั้นล้มลงที่ดงแล้ว การเอาดาบตัดศีรษะเป็นหน้าที่ของเรา ดังนี้

ฉันใด ธรรมเหล่านี้มีชาติเป็นต้น เห็นปานนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชาติ เป็น

เช่นกับปัจจามิตรผู้นำบุรุษออกให้เข้าไปสู่ดง เพราะให้สัตว์บังเกิดในที่นั้น ๆ.

ชรา เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้โบยตีบุรุษผู้ถึงดงแล้วให้ล้มลงยังแผ่นดิน เพราะ

กระทำขันธ์ที่เกิดขึ้นแล้วให้ทุรพล ให้อาศัยคนอื่น ให้มุ่งไปสู่เตียงนอน.

มรณะ เป็นเช่นกับปัจจามิตรผู้เอาดาบตัดศีรษะของบุรุษผู้ล้มลงที่ดง เพราะ

ยังขันธ์ทั้งหลายซึ่งถึงชราแล้วให้ถึงความสิ้นชีวิต ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

อรรถกถากพฬิงการาหารนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกพฬิงการาหาร ต่อไป

อาหารที่ชื่อว่า กพฬิงการ เพราะถูกการทำให้เป็นก้อน (เป็นคำข้าว)

ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่าย่อมถูกกลืนกิน. อธิบายว่า บุคคลทำคำข้าวแล้ว

ย่อมกลืนกิน. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่า ย่อมนำมาซึ่ง

รูป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยกชื่อขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งวัตถุอย่าง

นี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงอาหารนั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งวัตถุอีก จึงตรัส

คำมีอาทิว่า โอทโน กุมฺมาโส (ข้าวสุก ขนมสด) ดังนี้ จริงอยู่ อาหาร

๑๒ อย่าง มีข้าวสุกเป็นต้น มีน้ำอ้อยเป็นที่สุด เป็นวัตถุแห่งอาหารที่ทรง

ประสงค์เอาในที่นี้. อาหารมีรากไม้และผลไม้เป็นต้นที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระบาลี

ก็รวมเข้าในเยวาปนกธรรม.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาหารเหล่านั้นมีรากไม้ผลไม้เป็นต้นโดยควรแก่

สัตว์ทั้งหลายพึงกระทำ จึงตรัสคำว่า ยมฺหิ ยมฺหิ ชนปเท (ในชนบทใด ๆ)

เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น อาหารที่ชื่อว่า มุขาสิย (อันเป็นของใส่ปาก) เพราะ

อรรถว่า พึงกลืนกิน คือ พึงบริโภคทางปาก. ที่ชื่อว่า ทนฺตวิขาทน (ของ

ขบเคี้ยว) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงขบเคี้ยวด้วยฟัน. ที่ชื่อว่า คลชฺโฌ-

หรณีย (ของกลืนกิน) เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงกลืนกินทางลำคอ.

บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงอาหารนั้นด้วยสามารถแห่งกิจ จึงตรัส

คำเป็นต้นว่า กุจฺฉิวิตฺถมฺภน (เป็นของอิ่มท้อง). จริงอยู่ อาหารนั้นมีราก

ไม้และผลไม้เป็นต้น หรือมีข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น อันสัตว์กลืนกินแล้ว

ย่อมอิ่มท้อง นี้เป็นกิจของอาหารนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

บทว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ (สัตว์ทั้งหลายเลี้ยงชีวิตด้วย

โอชาใด) มีคำอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาหารอันเป็นวัตถุ

ด้วยบททั้งปวงในหนหลังแล้ว บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงโอชาเท่านั้นอัน

สำเร็จแล้ว (อันเกิดขึ้นแล้ว) จึงตรัสคำว่า ยาย โอชาย สตฺตา ยาเปนฺติ

นี้ไว้.

ถามว่า ก็บรรดาอาหารที่เป็นวัตถุและโอชาเหล่านี้ กิจของวัตถุเป็น

อย่างไร กิจของโอชาเป็นอย่างไร ? ตอบว่า วัตถุและโอชาเหล่านั้น มีการ

บำบัดอันตราย และการรักษาร่างกายเป็นกิจ จริงอยู่ อาหารที่เป็นวัตถุย่อม

นำอันตรายออกแต่ไม่อาจเพื่อรักษาร่างกาย อาหารที่เป็นโอชาย่อมรักษาร่าง

กาย แต่ไม่อาจเพื่อนำอันตรายออกไป. อาหารแม้ทั้ง ๒ รวมกันแล้วย่อมอาจ

แม้เพื่อรักษา ย่อมอาจแม้เพื่อนำอันตรายออกไป.

ถามว่า ก็อะไรเล่า ชื่อว่า เป็นอันตราย.

ตอบว่า เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม.

จริงอยู่ เมื่อวัตถุมีข้าวสุกเป็นต้นไม่มีภายในท้อง เตโชธาตุอันเกิดแต่

กรรมตั้งขึ้นจับเยื่อกระเพาะอาหาร ย่อมยังบุคคลให้พูดว่า ข้าพเจ้าหิวแล้ว จง

ให้อาหารเถิด ในเวลาที่กินอาหารแล้ว เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมนั้นก็ละเยื่อ

กระเพาะอาหารไปจับวัตถุ (ที่เป็นอาหาร). ทีนั้นสัตว์ก็มีจิตสงบ.

เหมือนอย่างว่า ฉายารากษส (รากษสผู้จับสัตว์เข้าไปสู่เงา) จับ

สัตว์ผู้เข้าไปสู่เงา เอาตรวนทิพย์ล่ามไว้ เบิกบานใจอยู่ในที่อยู่ของตน ในเวลา

หิวก็มากัดกินที่ศีรษะ สัตว์นั้นย่อมร้องเพราะถูกกัดกินนั้น พวกมนุษย์ฟังเสียง

ร้องนั้นก็พากันมาจากที่นั้น ๆ ด้วยสำคัญว่า ในที่นี้มีสัตว์ผู้ได้รับทุกข์ ฉายา-

รากษสนั้นก็จับมนุษย์ที่มาแล้ว ๆ เคี้ยวกินแล้วสบายใจในที่อยู่ของตนฉันใด

คำอุปไมยเป็นเครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ก็เตโชธาตุอันเกิดแต่กรรม เปรียบเหมือนฉายารากษส. เยื่อกระเพาะ-

อาหารเปรียบเหมือนสัตว์ที่ถูกฉายารากษสเอาตรวนทิพย์ล่ามไว้, วัตถุมีข้าว

สุกเป็นต้น เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้มาอีก, ความที่เตโชธาตุเกิดแต่กรรม

ละวัตถุไปแล้วถือเอาเยื่อกระเพาะอาหารเปรียบเหมือนฉายารากษสลงมากัดที่

ศีรษะ, เวลาที่บอกว่า ขอท่านจงให้อาหาร เปรียบเหมือนเวลาที่ร้องของสัตว์

ซึ่งถูกกัดศีรษะ, เมื่อเตโชธาตุเกิดแต่กรรมละเยื่อกระเพาะอาหารไปจับเอาวัตถุ

สัตว์ทั้งหลายก็มีจิตสงบ เปรียบเหมือนเวลาที่ฉายารากษสจับพวกมนุษย์ที่มา

แล้ว ๆ ด้วยสัญญานั้นเคี้ยวกินสบายใจในที่อยู่ของตน.

ว่าด้วยอาหารหยาบและละเอียด

บรรดาอาหารเหล่านั้น ในวัตถุหยาบมีโอชาน้อย ในวัตถุละเอียดมี

โอชาแรง จริงอยู่ คนกินอาหารมีหญ้ากับแก้* เป็นต้นครู่เดียวเท่านั้นก็หิว

คนดื่มเนยใสเป็นต้น แม้ดำรงอยู่ตลอดวันก็ไม่อยากข้าว อนึ่ง ในข้อนี้ พึง

ทราบความหยาบและละเอียดโดยการอาศัยเทียบเคียงกัน.

จริงอยู่ เมื่อเทียบเคียงอาหารของพวกจระเข้แล้ว อาหารของพวกนก

ยูงก็ละเอียด. ได้ยินว่า พวกจระเข้กลืนหินเข้าไป และหินเหล่านี้ถึงท้องของ

พวกมัน แล้วย่อมย่อยไป พวกนกยูงย่อมกินสัตว์มีงูและแมลงป่องเป็นต้น แต่

เทียบอาหารของพวกนกยูงแล้ว อาหารของหมาป่าก็ละเอียดกว่า ได้ยินว่า พวก

หมาป่าเหล่านั้นกินเขาและกระดูกสัตว์ที่ทิ้งไว้ถึง ๓ ปีได้ ก็เขาและกระดูกสัตว์

เหล่านั้นพอเปียกน้ำลายของหมาป่าเหล่านั้นก็อ่อนเหมือนเหง้ามัน เทียบอาหาร

แม้ของหมาป่าเหล่านั้นแล้ว อาหารของพวกช้างก็ละเอียดกว่า เพราะพวกช้าง

เหล่านั้นย่อมกินกิ่งไม้ต่างๆ อาหารของพวกโคป่ากวาง และเนื้อเป็นต้นละเอียด

*หญ้ากับแก้ เป็นภาษาท้องถิ่นมณฑลพายับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

กว่าอาหารของพวกช้าง. ได้ยินว่า พวกโคป่ากวาง และเนื้อเหล่านั้นเคี้ยวกิน

ใบไม้ต่าง ๆ เป็นต้นที่ไม่แข็ง อาหารพวกโคบ้านละเอียดกว่าอาหารของ

สัตว์มีโคป่าเป็นต้นแม้เหล่านั้น พวกโคบ้านย่อมเคี้ยวกินหญ้าสดและหญ้าแห้ง

อาหารของพวกกระต่ายละเอียดกว่าอาหารของพวกโคเหล่านั้น อาหารของพวก

นกละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย อาหารของพวกชนผู้อยู่ปัจจันตประเทศ

ละเอียดกว่าอาหารของพวกนก อาหารของพวกผู้กินบ้าน (ผู้ใหญ่ในบ้าน)

ละเอียดกว่าอาหารของพวกประจันตประเทศ อาหารของพระราชาและราชมหา-

อำมาตย์ละเอียดกว่าอาหารของพวกผู้กินบ้าน อาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ

ละเอียดกว่าอาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์แม้เหล่านั้น อาหารของพวก

ภุมเทวดาละเอียดกว่าอาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ อาหารของพวกจาตุมมหา-

ราชิกาละเอียดกว่าอาหารของพวกภุมเทวดา. ด้วยอาการอย่างนี้ พึงให้พิสดาร

ไปจนถึงอาหารของพวกเทพปรนิมมิตวสวัตดี ก็อาหารของเทพปรนิมมิตวสวัตดี

เหล่านั้นถึงการสิ้นสุดแล้วว่า ละเอียดที่สุด.

ว่าด้วยลักขณาทิจตุกะ

โอชากฺขโณ กพฬึกาโร อาหาโร กพฬิงการาหารอันบัณฑิตพึง

ทราบว่า มีโอชาเป็นลักษณะ รูปารหรณรโส มีการนำมาซึ่งรูปเป็นรส อุปตฺ-

ถมฺภนปจฺจุปฏฺาโน มีการอุปถัมภ์เป็นปัจจุปัฏฐาน กพฬ กตฺวา อา-

หริตพฺพวตฺถุปทฏฺาโน มีวัตถุที่บุคคลทำเป็นคำข้าวแล้วกลืนกิน

เป็นปทัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

ทุกนิเทศ

[๕๓๙] รูปเป็นโนอุปาทา นั้น เป็นไฉน ?

คือโผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ

[๕๔๐] รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มี

สัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้อง

อยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง ซึ่งโผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้

แต่กระทบได้ด้วยกายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โผฏ-

ฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพ-

พายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มี

สัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, กายอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่

กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่

โผฏฐัพพะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง

โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มี

สัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, โผฏฐัพพะใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่

ได้แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ที่กาย อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏ-

ฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มี

สัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย หนัก เบา, เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กาย

สัมผัสอาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น

ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา

ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ

จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ กายสัมผัสมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์ อาศัย

กายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา

อันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏ-

ฐัพพะใด เป็นอารมณ์อาศัยกายเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น

หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุ

บ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

[๕๔๑] รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว

ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ.

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น โน อุปาทา.

[๕๔๒] รูปเป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน. ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

รูปเป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ

กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.

[๕๔๓] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพ-

พายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่

กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ.

[๕๔๔] รูปเป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสนิทัสสนะ.

รูปเป็นอันทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะ.

[๕๔๕] รูปเป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ.

[๕๔๖] รูปเป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์

ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์.

รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์.

[๕๔๗] รูปเป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูต.

รูปไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูต.

[๕๔๘] รูปเป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นวิญญัตติ.

รูปไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นวิญญัตติ.

[๕๔๙] รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ที่เกิดแต่จิต มีจิต

เป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รุปลหุตา รูปมุทุตา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

เป็นจิตตสมุฏฐาน.

รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

รูปชรา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ที่ไม่เกิดแต่จิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ

ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน.

[๕๕๐] รูปเป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตสหภู.

รูปไม่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจิตตสหภู.

[๕๕๑] รูปเป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจิตตานุปริวัติ.

รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

จิตตานุปริวัติ.

[๕๕๒] รูปเป็นภายใน นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายใน.

รูปเป็นภายนอก นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นภายนอก.

[๕๕๓] รูปหยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฆฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปหยาบ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

รูปละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปละเอียด.

[๕๕๔] รูปไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไกล.

รูปใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปใกล้.

[๕๕๕] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักษุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.

รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่

อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.

[๕๕๖] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส

ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น

เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักษุวิญญาณ.

รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัย

เกิดของจักขุวิญญาณ.

[๕๕๗] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆาน-

สัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.

รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัย

เกิดของกายสัมผัส.

[๕๕๘] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่กายสัมผัส

ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น

เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.

รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นที่อาศัย

เกิดของกายวิญญาณ.

[๕๕๙] รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.

รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์

ของจักขุสัมผัส.

[๕๖๐] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ

ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.

รูปไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์

ของจักขุวิญญาณ.

[๕๖๑] รูปเป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส

ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.

รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์

ของกายสัมผัส.

[๕๖๒] รูปเป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ

ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.

รูปไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอารมณ์

ของกายวิญญาณ.

[๕๖๓] รูปเป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขายตนะ.

รูปไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขายตนะ.

[๕๖๔] รูปเป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็น

ชิวหายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายายตนะ.

รูปไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

[๕๖๕] รูปเป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะ

บ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปายตนะ.

รูปไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปายตนะ.

[๕๖๖] รูปเป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็น

รสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง

โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพายตนะ.

รูปไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นโผฏ-

ฐัพพายตนะ.

[๕๖๗] รูปเป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุธาตุ.

รูปไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นจักขุธาตุ.

[๕๖๘] รูปเป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นเป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็น

ชิวหาธาตุ ฯลฯ เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายธาตุ.

รูปไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกายธาตุ.

[๕๖๙] รูปเป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

รูปไม่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปธาตุ.

[๕๗๐] รูปเป็นสัททธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็น

รสธาตุ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นโผฏฐัพพธาตุ.

รูปไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

โผฏฐัพพธาตุ.

[๕๗๑] รูปเป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง ฯลฯ

บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นจักขุนทรีย์.

รูปไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

จักขุนทรีย์.

[๕๗๒] รูปเป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็น

ชิวหินทรีย์ ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่ากายบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายินทรีย์.

รูปไม่มีกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

กายินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

[๕๗๓] รูปเป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง

สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอิตถินทรีย์.

รูปไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

อิตถินทรีย์.

[๕๗๔] รูปเป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

ทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ

ชาย ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

ปุริสินทรีย์.

รูปไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

ปุริสินทรีย์.

[๕๗๕] รูปเป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิตของรูปธรรมนั้น ๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นชีวิตินทรีย์.

รูปไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

ชีวิตินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

[๕๗๖] รูปเป็นกายวิญญัตติ เป็นไฉน ?

การเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความที่เคร่งตึงด้วยดี การแสดง

ให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย

แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต

ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียด

ออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกายวิญญัตติ.

รูปไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกาย

วิญญัตติ.

[๕๗๗] รูปเป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การ

โฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือ

มีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา, การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยา

ที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ด้วยวาจานั้น อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นวจีวิญญัตติ.

รูปไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

วจีวิญญัตติ.

[๕๗๘] รูปเป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอัน

นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔

ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอากาศธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

รูปไม่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

อากาศธาตุ.

[๕๗๙] รูปเป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว

ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอาโปธาตุ.

รูปไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

อาโปธาตุ.

[๕๘๐] รูปเป็นในรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป

อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปลหุตา.

รูปไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

รูปลหุตา.

[๕๘๑] รูปเป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูปอันใด

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปมุทุตา.

รูปไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็น

รูปมุทุตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

[๕๘๒] รูปเป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปกัมมัญญตา.

รูปไม่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูป

กัมมัญญตา.

[๕๘๓] รูปเป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอุปจยะ.

รูปไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูป

อุปจยะ.

[๕๘๔] รูปเป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นรูปสันตติ.

รูปไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นสันตติ.

[๕๘๕] รูปเป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความ

มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นรูปชรตา.

รูปไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูปชรตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

[๕๘๖] รูปเป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความอันตรธานแห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอนิจจตา.

รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูป

อนิจจตา.

[๕๘๗] รูปเป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

ข้าวสุก ขนมสด นมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส

เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแท้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก

ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้น ๆ ในชนบทใด ๆ สัตว์ทั้งหลาย

เลี้ยงชีวิตโดยโอซาอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกพฬิงการาหาร.

รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกพฬิง-

การาหาร.

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.

ทุกนิเทส จบ

ติกนิเทศ

[๕๘๘] รูปภายในเป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอุปาทา.

รูปภายนอกที่เป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็น

อุปาทา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทา นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็น

อนุปาทา.

[๖๘๙] รูปภายในเป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอุปา-

ทินนะ.

รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

ภายนอกที่เป็นอุปาทินนะ.

รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายนตะ สัททายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก

ที่เป็นอนุปาทินนะ.

[๕๙๐] รูปภายในเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็น อุปา-

ทินนุปาทานิยะ.

รูปภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

ภายนอกที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.

รูปภายนอกที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ

กพฬิงการาหาร ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ.

[๕๙๑] รูปภายในที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็น

อนิทัสสนะ.

รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นสนิทัสสนะ.

รูปภายนอกที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

เป็นอนิทัสสนะ.

[๕๙๒] รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นสัปปฏิฆะ.

รูปภายนอกที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

เป็นสัปปฏิฆะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

รูปภายนอกที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กฬฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

เป็นอัปปฏิฆะ.

[๕๙๓] รูปภายในเป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย ์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอินทรีย์

รูปภายนอกที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

เป็นอินทรีย์.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นอินทรีย์.

[๕๙๔] รูปภายในไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

มหาภูต.

รูปภายนอกที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นมหาภูต.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นมหาภูต.

[๕๙๕] รูปภายในไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

วิญญัตติ.

รูปภายนอกที่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นวิญญัตติ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นวิญญัตติ.

[๕๙๖] รูปภายในไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

จิตตสมุฏฐาน.

รูปภายนอกที่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือแม้รูปอื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

ที่เกิดจากจิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก

ที่เป็นจิตตสมุฏฐาน.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือ

รูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่ไม่ได้เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตสมุฏฐาน ?

[๕๙๗] รูปภายในไม่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

จิตตสหภู.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภู นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นจิตตสหภู.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตสหภู นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็น

จิตตสหภู.

[๕๙๘] รูปภายในไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

จิตตานุปริวัติ.

รูปภายนอกที่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นจิตตา-

นุปริวัติ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นจิตตานุปริวัติ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นจิตตานุปริวัติ.

[๕๙๙] รูปภายในที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่หยาบ.

รูปภายนอกที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่หยาบ.

รูปภายนอกที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

ละเอียด.

[๖๐๐] รูปภายในที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่อยู่ใกล้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

รูปภายนอกที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

อยู่ไกล.

รูปภายนอกที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

อยู่ใกล้.

[๖๐๑] รูปภายนอกที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น

เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.

รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักษุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.

รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

ที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส.

[๖๐๒] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่

จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักษุวิญญาณ

นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

ที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.

รูปภายในที่เป็นที่อาศัยของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็นที่

อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ.

[๖๐๓] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ

ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายาสัมผัส นั้น

เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

ที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.

รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.

รูปภายในที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

ที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส.

[๖๐๔] รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนา อันเกิดแต่

กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ

นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

ที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.

รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.

รูปภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นที่

อาศัยเกิดของกายวิญญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

[๖๐๕] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อารมณ์ของจักขุสัมผัส.

รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส.

[๖๐๖] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาอันเกิดแต่จักขุ-

สัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ

นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อารมณ์ของจักขุวิญญาณ.

รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ.

[๖๐๗] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของ

ฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้น

เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อารมณ์ของกายสัมผัส.

รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกเป็นอารมณ์ของกาย-

สัมผัส.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส.

[๖๐๘] รูปภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนา อันเกิดแต่กาย

สัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ

นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อารมณ์ของกายวิญญาณ.

รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอารมณ์ของกาย-

วิญญาณ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่

เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ.

[๖๐๙] รูปภายนอกที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่

เป็นจักขายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

รูปภายในที่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขายตนะ.

รูปภายในที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

จักขายตนะ.

[๖๑๐] รูปภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานาย-

ตนะ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

กายายตนะ.

รูปภายในที่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่ากายบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายายตนะ.

รูปภายในที่ไม่เป็นกายายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

กายายตนะ.

[๖๑๑] รูปภายในที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

รูปายตนะ.

รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะ

บ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่

ไม่เป็นรูปายตนะ.

[๖๑๒] รูปภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธาย-

ตนะ ฯลฯ ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ

นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

โผฏฐัพพายตนะ.

รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง

โผกฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นโผฏฐัพพายตนะ.

[๖๑๓] รูปภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

จักขุธาตุ.

รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขุธาตุ.

รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

จักขุธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

[๖๑๔] รูปภายนอกที่ไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ

ฯลฯ ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

กายธาตุ.

รูปภายในที่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายธาตุ.

รูปภายในที่ไม่เป็นกายธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

กายธาตุ.

[๖๑๕] รูปกายในที่ไม่เป็นในรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

รูปธาตุ.

รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปธาตุ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปธาตุ.

[๖๑๖] รูปภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ

ไม่เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นโผฏ-

ฐัพพธาตุ.

รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นโผฏฐัพพธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

รูปภายนอกที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นโผฏฐัพพธาตุ.

[๖๑๗] รูปภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

จักขุทรีย์.

รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นจักขุนทรีย์.

รูปภายในที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

จักขุนทรีย์.

[๖๑๘] รูปภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์

ฯลฯ ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

กายินทรีย์.

รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ฯลฯ นี้เรียกว่า กายบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่เป็นกายินทรีย์.

รูปภายในที่ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

กายินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

[๖๑๙] รูปภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อิตถินทรีย์.

รูปภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง

สภาพหญิง ภาวะหญิง ของหญิง ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

ภายนอกที่เป็นอิตถินทรีย์.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นอิตถินทรีย์.

[๖๒๐] รูปภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

ปุริสินทรีย์.

รูปภายนอกที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

ทรวดทรงชาย เครื่องหมายให้รู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ

ชาย ภาวะชาย ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก

ที่เป็นปุริสินทรีย์.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นปุริสินทรีย์.

[๖๒๑] รูปภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

ชีวิตินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

รูปภายนอกที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบ

เนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือ

ชีวิตของรูปธรรมนั้น ๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกเป็นชีวิตินทรีย์.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นชีวิตินทรีย์.

[๖๒๒] รูปภายในไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นกาย

วิญญัตติ.

รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

การเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้

ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่ง

กายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต

ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียด

ออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นกายวิญญัตติ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นกายวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็น

กายวิญญัตติ.

[๖๒๓] รูปภายในไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายใน ไม่เป็น

วจีวิญญัตติ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การ

โฆษณา วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมี

จิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่าวาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่

แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น อันใด รูปทั้ง

นี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นวจีวิญญัตติ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นวจีวิญญัตติ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นวจีวิญญัตติ.

[๖๒๔] รูปภายในเป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

อากาศธาตุ.

รูปภายนอกที่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับ

ว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔

ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอากาศธาตุ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอากาศธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นอากาศธาตุ.

[๖๒๕] รูปภายในไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

อาโปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

สภาวะที่เอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ สภาวะที่เหนียว ธรรมชาติที่

เหนียว ธรรมชาติเครื่องเกาะกุม รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นอาโปธาตุ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นอาโปธาตุ.

[๖๒๖] รูปภายในไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูป

ลหุตา.

รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป

อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปลหุตา.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปลหุตา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปลหุตา.

[๖๒๗] รูปภายในไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูป

มุทุตา.

รูปภายนอกที่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูปอันใด

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปมุทุตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก ที่ไม่

เป็นรูปมุทุตา.

[๖๒๘] รูปภายในไม่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็นรูป

กัมมัญญตา.

รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแห่งการงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปกัมมัญญตา.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกไม่เป็น

รูปกัมมัญญตา.

[๖๒๙] รูปภายในไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

รูปอุปจยะ.

รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้นเป็นความเกิดแห่งรูป

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปอุปจยะ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปอุปจยะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

[๖๓๐] รูปภายในไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

รูปสันตติ.

รูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

ความเกิดแห่งรูปอันใด อันเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปภายนอกที่เป็นรูปสันตติ.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปสันตติ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปสันตติ.

[๖๓๑] รูปภายในไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

รูปชรตา.

รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความ

มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูป

ทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นรูปชรตา.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปชรตา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปชรตา.

[๖๓๒] รูปภายในไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในไม่เป็น

รูปอนิจจตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

รูปภายนอกที่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความอันตรธาน แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอก ที่เป็นรูปอนิจจตา.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่

เป็นรูปอนิจจตา.

[๖๓๓] รูปภายในไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในที่ไม่เป็น

กพฬิงการาหาร.

รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส

เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือว่ารูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก

ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้น ๆ ในชนบทใด ๆ สัตว์ทั้งหลายเลี้ยง

ชีวิตด้วยโอชา อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็นกพฬิงการาหาร.

รูปภายนอกที่ไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่ไม่เป็น

กพฬิงการาหาร.

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๓ อย่างนี้.

ติกนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

อรรถกถารูปกัณฑ์

อรรถกถาโนอุปาทานิสเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง โน อุปาทา ต่อไป

รูปที่ชื่อว่า โน อุปาทา เพราะอรรถว่า โนอุปาทารูปนี้ย่อมไม่

อาศัย เหมือนอุปาทารูปย่อมอาศัยมหาภูตรูปเท่านั้นไม่อาศัยรูปอื่น. ที่ชื่อว่า

โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า อันกายพึงถูกต้อง. อธิบายว่า ถูกต้องแล้วจึงรู้.

รูปนั้นเป็นโผฏฐัพพะด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โผฏฐัพพา-

ยตนะ ก็รูปนั้นเป็นอาโปด้วย เป็นธาตุด้วย ด้วยอรรถว่ามิใช่สัตว์และเป็นสภาวะ

ที่ว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาโปธาตุ.

อรรถกถาโผฏฐัพพายตนนิทเทส

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงจำแนกรูปทั้ง ๓ ที่กายถูกต้องแล้วพึงรู้ได้

เหล่านั้น จึงตรัสว่า รูปที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะนั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ เป็นต้น.

บรรดาธาตุเหล่านั้น ปฐวีธาตุ กกฺขฬตฺตลกฺขณา มีความแข่นแข็ง

เป็นลักษณะ ปติฏฺานรสา มีการตั้งมั่นเป็นรส มฺปฏิจฺฉนฺนปจฺจุปฏฺานา

มีการรองรับเป็นปัจจุปัฏฐาน. เตโชธาตุ อุณฺหตฺตลกฺขณา มีความร้อนเป็น

ลักษณะ ปริปาจนรสา มีการทำให้สุก (การย่อย) เป็นรส มทฺทวานุปฺปาทน-

ปจฺจุปฏฺานา มีการทำให้อ่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วาโยธาตุ วิตฺถมฺภนลกฺขณา

มีการเคร่งตึงเป็นลักษณะ สมุทีรณรสา มีการไหวเป็นรส อภินีหารปจฺจุ-

ปฏฺานา มีการน้อมไปเป็นปัจจุปัฏฐาน. ส่วนอาโปธาตุ ข้างต้น ปคฺฆ-

รณลกฺขณา มีการไหลไปเป็นลักษณะ* อุปพฺรูหณรสา มีความพอกพูน

* อาโปธาตุ บางแห่งแสดงถึงการเกาะกุมสหชาตรูปเป็นลักษณะด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

เป็นรส สงฺคหปจฺจุปฏฺานา มีการควบคุมไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน ก็ในธาตุ

ทั้ง ๔ เหล่านั้น แต่ละธาตุพึงทราบว่ามีธาตุทั้ง ๓ ที่เหลือเป็นปทัฏฐาน (เส-

สตฺยปทฏฺานา).

บทว่า กกฺขฬ แปลว่า แข็ง. บทว่า มุทุก (อ่อน) คือไม่แข็ง.

บทว่า สณฺห (ละเอียด) คือเกลี้ยง. บทว่า ผรุส (หยาบ) คือ ขรุขระ.

บทว่า สุขสมฺผสฺส (มีสัมผัสสบาย) ได้แก่ มีสุขเวทนาเป็นปัจจัย คือ มี

โผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺส (มีสัมผัสไม่สบาย) ได้แก่

มีทุกขเวทนาเป็นปัจจัย คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า ครุก (หนัก)

คือเต็มไปด้วยภาระ. บทว่า ลหุก (เบา) คือเบาพร้อมไม่มีภาระหนัก.

ก็ในบรรดาธาตุเหล่านี้ ปฐวีธาตุเท่านั้นทรงจำแนกด้วยบทว่า แข็ง

อ่อน ละเอียด หยาบ หนัก เบา. แม้ในพระสูตรว่า เมื่อใด กายนี้ยังประกอบ

ด้วยอายุ ยังประกอบด้วยไออุ่น ยังประกอบด้วยวิญญาณ เมื่อนั้น กายนี้ก็

เบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า ตรัสหมายถึงปฐวีธาตุที่เบาและอ่อน

เท่านั้น.

แต่ด้วยสองบทว่า มีสัมผัสสบาย มีสัมผัสไม่สบาย ตรัสจำแนก

มหาภูตรูป ๓ เพราะปฐวีธาตุมีสัมผัสสบายบ้าง มีสัมผัสเป็นทุกข์บ้าง เตโชธาตุ

และวาโยธาตุก็ตรัสเหมือนปฐวีธาตุ. บรรดาธาตุ ๓ เหล่านั้น ปฐวีธาตุ มี

สัมผัสสบาย คือว่า เมื่อเด็กหนุ่มผู้มีฝามืออ่อนบีบนวดเท้าอยู่ บุคคลนั้นย่อม

สบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า นวดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. เตโชธาตุ มี

สัมผัสสบาย เมื่อฤดูหนาว เมื่อนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้อบอุ่นร่างกาย

เขาก็สบายใจ ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า อบเข้าเถิดพ่อ ดังนี้. วาโยธาตุ

มีสัมผัสสบาย เมื่อฤดูร้อน ภิกษุหนุ่มถึงพร้อมด้วยวัตรพัดวีอยู่ ย่อมให้สบายใจ

ย่อมทำอาการที่จะให้พูดว่า พัดเข้าเถิดพ่อ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

แต่เมื่อเด็กหนุ่มมีมือแข็ง นวดเท้าทั้งสองอยู่ ย่อมเป็นเหมือนเวลาที่

กระดูกทั้งหลายจะแตกไป แม้เขาก็จะต้องถูกกล่าวสิ่งที่ควรจะพูดว่า เจ้าจงออก

ไปดังนี้ เมื่อฤดูร้อนมีคนนำเอากระเบื้องถ่านเพลิงมาให้ ก็จะถูกกล่าวว่า เจ้า

จงนำมันออกไปเสีย ดังนี้ เมื่อฤดูหนาวมีคนนำเอาพัดมาพัดโบกอยู่ ก็จะถูก

กล่าวว่า จงออกไปอย่ามาพัด ดังนี้. พึงทราบความที่ธาตุทั้ง ๓ เหล่านั้นมี

สัมผัสสบาย และไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้.

ก็วาระ ๑๓ ประดับด้วยนัยอย่างละ ๔ นัยตามที่ตรัสไว้ โดยนัยว่า

โผฏฐัพพะใด เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ในรูปายตนะเป็นต้นในหนหลังนั่นแหละ

ถามว่า ก็มหาภูตรูป ๓ เหล่านั้น มาสู่คลองพร้อมกันหรือไม่

ตอบว่า มาพร้อมกัน

ถามว่า มหาภูตรูป ๓ มาแล้วอย่างนี้ กระทบกายประสาทหรือไม่

ตอบว่า ย่อมกระทบ

ถามว่า กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป ๓ เหล่านี้ ให้เป็นอารมณ์พร้อม

กันเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้น

ตอบว่า กายวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะการที่กายวิญญาณกระทำมหาภูตรูป ๓ ให้เป็นอารมณ์

ย่อมมีด้วยอำนาจการคำนึงถึง หรือด้วยสามารถธาตุที่มีมาก

ในบรรดาทั้ง ๒ ข้อนั้น ว่าด้วยการคำนึงถึงก่อน จริงอยู่ เมื่อคน

เอาข้าวสุกบรรจุบาตรจนเต็มนำมาแล้วก็หยิบเมล็ดข้าวเมล็ดหนึ่งมาทดลองดูว่า

แข็งหรืออ่อน ในข้าวเมล็ดหนึ่งนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ มีทั้งวาโยธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นเขาก็ย่อมคำนึงถึงปฐวีธาตุเท่านั้น เมื่อหย่อนมือลงใน

น้ำร้อนทดลองดู ในน้ำร้อนนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งวาโยธาตุ

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ย่อมคำนึงถึงเตโชธาตุเท่านั้น. ในฤดูร้อน เขา

เปิดหน้าต่างให้ลมโชยสรีระยืนอยู่ เมื่อลมอ่อน ๆ โชยมาอยู่ ในลมอ่อน ๆ

ที่โชยมานั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

เขาก็คำนึงถึงวาโยธาตุเท่านั้น กายวิญญาณธาตุชื่อว่าย่อมกระทำมหาภูตรูป ๓

ให้เป็นอารมณ์ด้วยสามารถแห่งการคำนึงถึง ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนบุคคลใดพลาดล้มลงก็ดี เอาศีรษะชนกับต้นไม้ก็ดี กำลังบริโภค

อาหารกัดก้อนกรวดก็ดี ในการพลาดล้มลงเป็นต้นนั้น ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ ย่อม

มีทั้งวาโยธาตุ แต่บุคคลนั้นย่อมกระทำเฉพาะปฐวีธาตุเท่านั้นให้เป็นอารมณ์

ด้วยอำนาจธาตุที่มีมาก เมื่อเหยียบไฟก็ดี ในไฟนั้น ก็ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ

ย่อมมีทั้งวาโยธาตุ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาก็ทำเฉพาะเตโชธาตุเท่านั้นให้

เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก เมื่อลมแรงพัดแก้วหูราวกะทำให้

หูหนวก ในลมแรงนั้น ย่อมมีทั้งปฐวีธาตุ ย่อมมีทั้งเตโชธาตุ แม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้น เขาก็กระทำเฉพาะธาตุลมเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง

ธาตุที่มีมาก

บุคคลกระทำอยู่ซึ่งธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์ แม้กายวิญญาณ

ก็ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อบุคคลถูกเข็มทั้งกลุ่มแทงแล้ว กายถูกเข็มทั้งนั้น

กระทบพร้อมกัน แต่ในที่ใด ๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้น ๆ กายวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้น แม้ในที่ใด ๆ มีการกระทบเสียดสีแรง ในที่นั้น ๆ กายวิญญาณ

ย่อมเกิดขึ้นก่อน. เมื่อเอาขนไก่มาชะแผล เส้นขนไก่แต่ละเส้นย่อมกระทบ

กายประสาท ก็ในที่ใด ๆ กายประสาทมีมาก ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ กายวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ย่อมเกิดขึ้น บุคคลย่อมทำธาตุทั้ง ๓ ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธาตุที่

มีมากอย่างนี้ กายวิญญาณ ชื่อว่า ย่อมเกิด ด้วยสามารถแห่งธาตุที่มีมาก

นั่นแหละ.

ถามว่า ก็จิตเล่า ก้าวไปจากอารมณ์ได้อย่างไร ?

ตอบว่า ก้าวไปด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอัชฌาศัย (ความ

ปรารถนา) หรือโดยอารมณ์มีกำลังแรง.

จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น คนผู้ไปด้วยความ

ตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมานั้น ๆ เราจักดูโปตถกรรม

(การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้ ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่ง

แล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้ เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้าง

เพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้ จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือ

ความปรารถนา. แต่เมื่อยืนแลดูพระมหาเจดีย์ อันมีส่วนเปรียบด้วยยอดเขา

ไกรลาส ครั้นเวลาต่อมา เมื่อบรรเลงดนตรีทั้งปวงขึ้น จึงละรูปารมณ์ ก้าวขึ้นสู่

สัททารมณ์ ครั้นเมื่อบุคคลนำดอกไม้มีกลิ่นที่ชอบใจ หรือของหอมมา ก็ละ

สัททารมณ์ ก้าวขึ้นสู่คันธารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่า ก้าวไปโดยอารมณ์มีกำลังแรง.

อรรถกถาอาโปธาตุนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอาโปธาตุ ต่อไป

บทว่า อาโป (ความเอิบอาบ) เป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละ

เรียกว่า อาโปคต (ธรรมชาติที่เอิบอาบ) สิเนโห (ความเหนียว) ด้วย

อำนาจแห่งความเหนียวนั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคต (ธรรมชาติที่เหนียว).

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

บทว่า พนฺธนตฺต รูปสฺส (ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป) ได้แก่

ธรรมชาติเป็นเครื่องประกอบภูตรูปมีปฐวีเป็นต้น. จริงอยู่ อาโปธาตุควบ

คุมวัตถุทั้งหลายมีแท่งเหล็กเป็นต้น ไว้แล้วย่อมทำให้ติดกัน ธรรมชาติทั้งหลาย

มีก้อนเหล็กเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ติดกันอยู่ เพราะความที่อาโปธาตุนั้น

เป็นเครื่องเกาะกุมไว้ แม้ในแผ่นหิน ภูเขา ต้นตาล หนอไม้ งาช้าง และเขาโค

เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็อาโปธาตุเท่านั้นเกาะกุมวัตถุเหล่านั้นทั้งหมด

กระทำให้ติดกัน ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า เป็นธรรมชาติติดกัน ก็เพราะถูก

อาโปธาตุควบคุมไว้.

ถามว่า ก็ปฐมวีธาตุถูกต้องธาตุที่เหลือ (มีอาโปเป็นต้น ) แล้วก็เป็น

ที่ตั้งอาศัย หรือไม่ถูกต้องก็เป็นที่อาศัย อีกนัยหนึ่ง อาโปธาตุเมื่อเกาะกุมธาตุ

ทั้ง ๓ ที่เหลือ ถูกต้องแล้วย่อมเกาะกุม หรือว่าไม่ถูกต้องแล้วก็เกาะกุมได้.

ตอบว่า เบื้องต้น ปฐวีธาตุไม่ถูกต้องกับอาโปธาตุ ก็เป็นที่อาศัยให้ได้

แต่สำหรับ เตโชธาตุ และวาโยธาตุแล้ว ปฐวีธาตุต้องถูกต้องจึงเป็นที่อาศัย

ให้ได้ ส่วนอาโปธาตุไม่ถูกต้องแม้ปฐวีธาตุ แม้เตโชธาตุและวาโยธาตุเลยก็ย่อม

เกาะกุมได้ ถ้าว่าอาโปธาตุถูกต้องแล้วพึงเกาะกุมไซร้ อาโปธาตุนั้นก็พึงชื่อว่า

โผฏฐัพพายตนะ.

แม้ในการที่เตโชธาตุและวาโยธาตุทำกิจของตน ๆ ในธาตุที่เหลือ ก็

นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ เตโชธาตุ ถูกต้องปฐวีธาตุแล้ว ก็ยังปฐวีให้ใหม้

ส่วนปฐวีธาตุนั้นมิใช่เป็นของร้อนย่อมถูกไหม้ ถ้าว่า ปฐวีธาตุพึงเป็นของร้อน

แผดเผาไซร้ ปฐวีธาตุก็พึงมีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นมิได้ถูก

ต้องอาโปธาตุเลยก็ทำให้อาโปธาตุนั้นร้อนได้ แม้อาโปธาตุนั้น เมื่อร้อนอยู่ก็หา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

เป็นสภาวะร้อนเผาไม่ ถ้าว่าอาโปธาตุนั้นเป็นตัวสภาวะความร้อนพึงเผาไซร้

อาโปธาตุนั้น ก็พึงชื่อว่ามีความร้อนเป็นลักษณะ อนึ่ง เตโชธาตุนั้นถูกต้อง

วาโยธาตุนั้นแหละจึงแผดเผา แม้วาโยธาตุนั้น เมื่อถูกแผดเผาอยู่ก็มิใช่เป็นตัว

ความร้อนแผดเผา ถ้าวาโยธาตุเป็นตัวสภาวะความร้อนแผดเผาอยู่ไซร้ วาโย-

ธาตุนั้นก็พึงชื่อว่า มีความร้อนเป็นลักษณะ.

วาโยธาตุถูกต้องปฐวีธาตุแล้วย่อมเคร่งตึง (คือขยายตัวออก) ถูกต้อง

เตโชธาตุก็ทำให้เคร่งตึงเหมือนกัน แต่ว่าวาโยธาตุนั้นแม้ไม่ถูกต้องอาโปธาตุ

เลย ก็ย่อมทำให้อาโปธาตุเคร่งตึงได้.

ถามว่า เมื่อบุคคลเคี่ยวน้ำอ้อยทำเป็นงบ อาโปธาตุจะเป็นของแข็ง

หรือไม่.

ตอบว่า ไม่เป็น เพราะอาโปธาตุนั้นมีการไหลออก (หรือไหลซึม) เป็น

ลักษณะ ปฐวีธาตุมีความแข็งเป็นลักษณะ แต่ว่าอาโปธาตุมีปริมาณต่ำ (น้อย)

ก็จะเป็นไปตามปฐวีธาตุที่มากยิ่ง จริงอยู่ อาโปธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ตั้งอยู่โดย

อาการเป็นรส (น้ำ) ได้ แต่ไม่ละลักษณะ แม้เมื่อละลายงบน้ำอ้อยอยู่ ปฐวีธาตุ

ย่อมไม่ละลาย เพราะปฐวีมีความแข็งเป็นลักษณะ อาโปธาตุมีการไหลออก

เป็นลักษณะ.

แต่ว่า ปฐวีธาตุมีปริมาณต่ำก็จะเกิดเป็นไปตามอาโปธาตุที่มีปริมาณ

มาก. ปฐวีธาตุนั้นย่อมละภาวะที่ทั้งอยู่โดยอาการเป็นก้อนได้ แต่ไม่ละลักษณะ

ตน เพราะว่ามหาภูตรูปทั้ง ๔ ย่อมถึงความแปรปรวนเป็นไปเท่านั้น ขึ้นชื่อว่า

ความแปรปรวนของลักษณะมิได้มี ความไม่มีแห่งความแปรปรวนโดยลักษณะ

นั้นทรงแสดงไว้โดยอัฏฐานปริกัปปสูตร.

ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ ก็มหาภูตรูป ๔ คือ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ จะพึงแปรเป็นอื่นไปได้ แต่พระอริย-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

สาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจะแปรเป็นอื่น

ไป ข้อนี้ไม่พึงมีได้เลย" ดังนี้ ก็ในอัฏฐานปริกัปปสูตรนี้มีอธิบายดังนี้ว่า

" ดูก่อนอานนท์ ปฐวีธาตุอันมีความแข็งเป็นลักษณะจะพึงเปลี่ยนไปเป็น

อาโปธาตุซึ่งมีความไหลออกเป็นลักษณะได้ แต่พระอริยสาวกชื่อว่าเปลี่ยนเป็น

อย่างอื่นมิได้มี ดังนี้ การกำหนดอฐานะ (เหตุอันเป็นไปไม่ได้) มาแล้วใน

พระบาลีนี้ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาอุปาทินนาทินิทเทส

เบื้องหน้าแต่นี้พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้นต่อไป

เนื้อความแห่งอุปาทินนรูปเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในมาติกานั่นแหละ

เนื้อความจักขายตนะเป็นต้น ข้าพเจ้าก็ให้พิสดารแล้วในหนหลังเหมือนกัน

แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเฉพาะเนื้อความที่ต่างกันในที่นั้น ๆ เท่านั้น.

ในนิทเทสแห่งอุปาทินนรูปก่อน รูปทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่าจักขายตนะเป็นต้น เพราะเป็นรูปมีใจครองอย่างเดียว แต่เพราะ

รูปายตนะเป็นต้นมีใจครองก็มี ไม่มีใจครองก็มี ฉะนั้น รูปายตนะเป็นต้น

เหล่านั้นพระองค์จึงแสดงโดยสังเขปว่า ย ย วา ปน (หรือว่ารูปแม้อื่นใดๆ)

แล้วพึงให้พิสดารโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมสฺสกตตฺตา รูปายตน (รูปายตนะ

ที่กรรมแต่งขึ้น) ดังนี้อีก เนื้อความในเยวาปนกธรรมทั้งหมดพึงทราบโดย

อุบายนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในนิทเทสแม้ทั้ง ๒ คือ กมฺมสฺส กตตฺตา

(รูปที่กรรมแต่งขึ้น) และ น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น)

พระองค์มิได้ทรงถือเอาชรตารูป และอนิจจตารูปเล่า ? ทรงถือเอาเฉพาะใน

นิทเทสทั้งหลายแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ตอบว่า ในบทว่า น กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น)

นี้ พระองค์ทรงรวมรูปที่มีสมุฏฐานเกิดแต่ปัจจัยอื่นนอกจากกรรมก่อน แต่ใน

บทว่า กมฺมสฺส กตตฺตา (รูปที่กรรมแต่งขึ้น) นี้ ทรงรวบรวมรูปที่มีสมุฏฐาน

เกิดแต่กรรมอย่างเดียว รูปทั้ง ๒ คือชรตารูปและอนิจจตารูปเหล่านั้นมิได้เกิด

แต่กรรม มิได้เกิดแต่ปัจจัยอย่างอื่น ที่ยังรูปให้เกิด เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงมิทรงถือเอา. ก็ความไม่เกิดขึ้นแห่งชรตารูปและอนิจจตารูปด้วยกรรมปัจจัย

เป็นต้นนั้นจักแจ่มแจ้งข้างหน้า. อนึ่ง ในคำเป็นต้นว่า อนุปาทินฺน (รูป

ที่ไม่มีใจครอง) ทรงปฏิเสธความที่รูปมีสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็นต้น ไม่ทรง

อนุญาตความที่รูปนั้นมีปัจจัยอื่นเป็นสมุฏฐาน ด้วยศัพท์ว่า อนุปาทินนะ

เป็นต้นอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ในนิทเทสแห่งอนุปาทินนรูปเป็นต้นนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า รูปทั้ง ๒ พระองค์ทรงถือเอาแล้วดังนี้.

อรรถกถาจิตตสมุฏฐานนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตตสมุฏฐาน ต่อไป

รูปทั้ง ๒ นี้คือ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ย่อมปรากฏเพราะอาศัยภูตรูป มีจิตป็นสมุฏฐานอย่างเดียว แต่เมื่อว่าโดย

ปรมัตถ์แล้ว รูปทั้ง ๒ ที่อาศัยภูตรูปนั้นไม่ใช่ภูตรูป แต่เป็นรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐานซึ่งมีภูตรูปนั่นแหละ. เพราะความที่รูปเหล่านั้นอาศัยจิตตั้งขึ้น แม้รูป

ทั้ง ๒ นี้ ก็มีชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนชราและมรณะของรูปที่ไม่เที่ยงก็

ชื่อว่า ไม่เที่ยง.

แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตสหภู ก็นัยนี้เหมือนกัน รูปทั้ง ๒ (กาย

วิญญัตติและวจีวิญญัตติ ที่เป็นสหภู) นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

รูปทั้ง ๒ นั้นปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่. แต่รูปทั้ง ๒ นี้มิได้เกิด

พร้อมกับจิต เหมือนภูตรูปและเหมือนสัมปยุตธรรมมีเจตนาเป็นต้น.

แม้ในนิทเทสแห่ง จิตตานุปริวัติ ก็นัยนี้แหละ ก็รูปทั้ง ๒ (กาย

วิญญัตติและวจีวิญญัตติ) นี้ ตรัสเรียกว่า จิตตานุปริวัติ เพราะรูปทั้ง ๒ นี้

ปรากฏอยู่ได้ตลอดเวลาที่จิตยังปรากฏอยู่ ฉะนั้น.

บทว่า โอฬาริก (รูปหยาบ) ได้แก่ ที่ชื่อว่า หยาบ โดยเป็น

วัตถุที่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งการกระทบ เพราะเป็นทั้งวัตถุและอารมณ์

พึงทราบรูปละเอียดโดยสภาพตรงกันข้ามกับรูปหยาบที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ทูเร (รูปไกล) ได้แก่ รูปแม้ตั้งอยู่ในที่ใกล้ ก็ชื่อว่า รูปไกล

โดยภาวะที่รู้ได้ยาก เพราะถือเอาไม่ได้ด้วยสามารถแห่งการกระทบ ส่วนรูป

นอกนี้แม้ตั้งอยู่ไกลก็ชื่อว่าอยู่ใกล้ โดยเป็นภาวะที่รู้ได้ง่าย เพราะพึงถือเอาได้

ด้วยสามารถแห่งการกระทบ.

นิทเทสแห่งจักขายตนะเป็นต้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้

ในหนหลังนั่นแหละ ในการสงเคราะห์รูปหมวด ๒ มีข้อแตกต่างกันเพียงเท่านี้

การสงเคราะห์รูปหมวด ๓ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

จตุกกนิเทศ

[๖๓๔] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

เป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.

รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัม-

มัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนะ.

[๖๓๕] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

เป็นอุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ.

รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัม-

มัญญตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ.

[๖๓๖] รูปเป็นอุปาทาที่เป็นไปสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่เป็น

สัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่

เป็นอัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่เป็นอัปปฏิฆะ.

[๖๓๗] รูปเป็นอุปาทาที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่หยาบ.

รูปเป็นอุปาทาที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่

ละเอียด.

รูปเป็นอนุปาทาที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่หยาบ.

รูปเป็นอนุปาทาที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่ละเอียด.

[๖๓๘] รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา

ที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทาที่อยู่ใกล้.

รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทาที่อยู่ใกล้.

[๖๓๙] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็น

สนิทัสสนะ.

รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะ

ที่เป็นสนิทัสสนะ.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอนิทัสสนะ.

[๖๔๐] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูป

ทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอัปปฏฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมมิได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนะที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนะที่เป็นอัปปฏิฆะ.

[๖๔๑] รูปเป็นอุปาทินนะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อุปาทินนะที่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน.

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อันใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ

รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทินนะที่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญา

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้

แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนะที่ไม่เป็นมหาภูต.

[๖๔๒] รูปเป็นอุปาทินนะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่หยาบ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

รูปเป็นอุปาทินนะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด ได้แก่

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่ละเอียด.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนะที่หยาบ.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนุปาทินนะ

ที่ละเอียด.

[๖๔๓] รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนะที่อยู่ใกล้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนะที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอนุปาทินนะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนะที่อยู่ใกล้.

[๖๔๔] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น

เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ

ที่เป็นสนิทัสสนะ.

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปา-

ทินนุปาทานิยะที่เป็นสนิทัสสนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

รูปเป็นอนุปาทินนะปาทานิยะที่เป็นอนิทัสสนะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญ-

ตา รูปชรตา รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็น

อนิทัสสนะ.

[๖๔๕] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น

เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้

เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น

รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นอัปปฏิฆะ.

[๖๔๖] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

เป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาศธาตุ

รูปอุปจะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูป

เป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ กายวิญญัตติ วจีวิญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัม-

มัญญตา รูปชรตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ อากาศธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้

แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอันปาทินนุปาทานิยะที่ไม่เป็นมหาภูต.

[๖๔๗] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้ง

นี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่ง

ขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะที่หยาบ.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูป-

อุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่ละเอียด.

[๖๔๘] รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่

อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมแต่ง

ขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ได้แก่รูปายตนะ

คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมแต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า

รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปชรตา

รูปอนิจจตา หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ อากาศธาตุ อาโปธาตุ รูปอุปจยะ

รูปสันตติ กพฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ไกล.

รูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ที่กรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะที่อยู่ใกล้.

[๖๔๙] รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็น

อินทรีย์.

รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะ

ที่ไม่เป็นอินทรีย์.

รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ

ที่เป็นอินทรีย์.

รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ

ที่ไม่เป็นอินทรีย์.

[๖๕๐] รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นสัปปฏิฆะที่ไม่

เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะที่เป็นมหาภูต.

รูปเป็นอัปปฏิฆะที่ไม่เป็นมหาภูต นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอัปปฏิฆะ

ที่ไม่เป็นมหาภูต.

[๖๕๑] รูปเป็นอินทรีย์ที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่หยาบ.

รูปเป็นอินทรีย์ที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์

ที่ละเอียด.

รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์

ที่หยาบ.

รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์

ที่ละเอียด.

[๖๕๒] รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์

ที่อยู่ไกล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอินทรีย์ที่อยู่

ใกล้.

รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์

ที่อยู่ไกล.

รูปไม่เป็นอินทรีย์ที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นอินทรีย์

ที่อยู่ใกล้.

[๖๕๓] รูปเป็นมหาภูตที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่หยาบ.

รูปเป็นมหาภูตที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่ละเอียด.

รูปไม่เป็นมหาภูตที่หยาบ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่

หยาบ.

รูปไม่เป็นมหาภูตที่ละเอียด นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูต

ที่ละเอียด.

[๖๕๔] รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อาโปธาตุ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ไกล.

รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

รูปไม่เป็นมหาภูติที่อยู่ไกล นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูต

ที่อยู่ไกล.

รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่ใกล้ นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นมหาภูตที่อยู่

ใกล้.

[๖๕๕] รูปที่เห็นได้ คือ รูปายตนะ

รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ

รูปที่รู้ได้ คือ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจ คือ รูปทั้งหมด

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๔ อย่างนี้.

จตุกกนิทเทศ จบ

ปัญจกนิเทศ

[๖๕๖] รูปที่เรียกว่า ปฐวีธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น

ภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม รูปทั้งนี้เรียก

ว่า ปฐวีธาตุ.

รูปที่เรียกว่า อาโปธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว

ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรือ

อนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อาโปธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

รูปที่เรียกว่า เตโชธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น

ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปา-

ทินนะก็ตาม อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า เตโชธาตุ.

รูปที่เรียกว่า วาโยธาตุ นั้น เป็นไฉน ?

ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็น

ภายในหรือภายนอกก็ตาม เป็นอุปาทินนะหรืออนุปาทินนะก็ตาม อันใด รูป

ทั้งนี้เรียกว่า วาโยธาตุ.

รูปที่เป็น อุปาทา นั้น เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่เป็นอุปาทา.

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๕ อย่างนี้.

ปัญจนิเทศ จบ

ฉักกนิเทศ

[๖๕๗] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ

รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ

รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ

รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ

รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ คือ โผฏฐัพพายตนะ

รูปอันมโนวิญญาณพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๖ อย่างนี้.

ฉักกนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

สัตตกนิเทศ

[๖๕๘] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ

รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ

รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ

รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ

รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ คือ โผฏฐัพพายตนะ

รูปอันมโนธาตุพึงรู้ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๗ อย่างนี้.

สัตตกนิเทศ จบ

อัฏฐกนิเทศ

[๖๕๙] รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้ คือ รูปายตนะ

รูปอันโสตวิญญาณพึงรู้ คือ สัททายตนะ

รูปอันฆานวิญญาณพึงรู้ คือ คันธายตนะ

รูปอันชิวหาวิญญาณพึงรู้ คือ รสายตนะ

รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ที่มีสัมผัสเป็นสุข คือ โผฏฐัพพะ อันเป็นที่

ชอบใจ

รูปอันกายวิญญาณพึงรู้ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ คือ โผฏฐัพพะ อันไม่เป็น

ที่ชอบใจ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

รูปอันมโนธาตุพึงรู้ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ

รูปอันมโนวิญญาณธาตุพึงรู้ คือ รูปทั้งหมด

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๘ อย่างนี้.

อัฏฐกนิเทศ จบ

นวกนิเทศ

[๖๖๐] รูปที่เรียกว่า จักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.

รูปที่เรียกว่า โสตินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานินทรีย์ ฯลฯ

ที่เรียกว่า ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า

อิตถินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์

นั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิต แห่งรูปธรรมนั้น ๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.

รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็น

อินทรีย์.

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๙ อย่างนี้.

นวกนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ทสกนิเทศ

[๖๖๑] รูปที่เรียกว่า จักขุนทรีย์ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.

รูปที่เรียกว่า โสตินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานินทรีย์ ฯลฯ

ที่เรียกว่า ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า

อิตถินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ ฯลฯ ที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์

นั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิต แห่งรูปธรรมนั้น ๆ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.

รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นสัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็น

อินทรีย์ที่เป็นสัปปฏิฆะ.

รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ นั้น เป็นไฉน ?

กายวิญญัตติ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปที่ไม่เป็น

อินทรีย์ที่เป็นอัปปฏิฆะ

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๐ อย่างนี้.

ทสกนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

เอกาทสกนิเทศ

[๖๖๒] รูปเรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง

ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.

รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานายตนะ ฯลฯ

ที่เรียกว่า ชิวหายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า

รูปายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า สัททายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า คันธายตนะ

ฯลฯ ที่เรียกว่า รสายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้

เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

รูปเป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ

นั้น เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะ

เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ.

สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๑๑ อย่างนี้.

เอกาทสกนิเทศ จบ

รูปวิภัตติ จบ

ภาณวารที่ ๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

อรรถกถาจตุกนิทเทส

ในบทสุดท้ายแห่ง (ข้อ ๖๕๕) การสงเคราะห์รูป ๔ หมวด พระผู้มี

พระภาคเจ้ามิได้ทำคำถามไว้ตั้งแต่ต้น เพราะไม่มีความแตกต่างกันแห่งบท

สุดท้ายซึ่งมีคำว่า รูปที่เห็นได้เป็นต้น แต่ได้ตรัสคำมีอาทิว่า รูปที่เห็นได้

คือ รูปายตนะ รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ ดังนี้.

ในบรรดารูปมีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้น รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฺ

(รูปที่เห็นได้) เพราะอรรถว่า อันจักษุอาจมองดูเห็นได้. สัททายตนะ ชื่อว่า

สุต (รูปที่ฟังได้) เพราะอรรถว่า อันโสตอาจฟังเสียงรู้ได้. หมวดสามแห่ง

อายตนะมีคันธายตนะเป็นต้น ชื่อว่า มุต (รูปที่รู้ได้) ด้วยอรรถว่า อัน

ฆานะ ชิวหา และกาย พึงรู้โดยการรับอารมณ์ที่ถึงแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า รูปที่ชื่อ มุต เพราะเหตุที่ถูกต้องแล้วจึงเกิดวิญญาณดังนี้ก็มี. ส่วน

รูปทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า วิฺาต (รูปที่รู้แจ้ง) ทางใจ เพราะอรรถว่า

อันมโนวิญญาณพึงรู้.

อรรถกถาปัญจนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด ๕ ต่อไป

บทว่า กกฺขฬ (ธรรมชาติที่แข็ง) คือ กระด้าง. ความกระด้าง

นั่นแหละเรียกว่า ธรรมชาติที่กระด้าง อธิบายว่า ธรรมชาติที่หยาบ. ความแข็ง

ภาวะที่แข็งแม้ทั้ง ๒ นอกนี้ก็เป็นการอธิบายสภาวะนั่นเอง.

บทว่า อชฺฌตฺต (เป็นภายใน) ได้แก่ เป็นภายในอันเกิดในตน.

บทว่า พหิทฺธา วา (หรือภายนอกก็ตามที) ได้แก่ เป็นภายนอก. บทว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

อุปาทินฺน (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น* คำว่า

อุปาทินฺน นี้ ทรงถือรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระโดยไม่แปลกกัน จริงอยู่ รูปอัน

ตั้งอยู่ในสรีระจะเป็นอุปาทินนะก็ตาม จะเป็นอนุปาทินนะก็ตาม ชื่อว่า เป็น

อุปาทินนะเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปอันตัณหายึดถือและอันทิฏฐิยึดมั่นแล้ว.

บทว่า เตโชคต (ธรรมชาติที่ร้อน) ได้แก่สภาวะที่ไปในเตโชธาตุ

ทั้งหมด อันมีความร้อนเป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง เตโชธาตุนั่นเองที่ไปสู่

ภาวะที่ร้อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เตโชคต (ธรรมชาติที่ร้อน). บทว่า

อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่อาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺมาคต (ธรรมชาติที่อุ่น)

ได้แก่ ธรรมชาติที่ถึงภาวะความอุ่น คำนี้เป็นชื่อของอาการที่อุ่น. บทว่า อุสฺม

(ความอบอุ่น) ได้แก่ ความอบอุ่นที่มีกำลัง ความอบอุ่นนั่นเองถึงภาวะที่อบอุ่น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุสฺมคต (ธรรมชาติที่อบอุ่น).

รูปที่ชื่อว่า วาโย (ความพัดไปมา) ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติที่พัด

ไปมา วาโยนั่นเอง ชื่อว่า วาโยคต (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงภาวะ

ที่พัดไปมา. บทว่า ถมฺตตฺต (ธรรมชาติเครื่องค้ำจุน) ได้แก่ ความเคร่ง

ตึงของรูป ดุจความเคร่งตึงอันเต็มด้วยลมมีก้านและเปลือกอุบลเป็นต้น.

อรรถกถาฉักกนิทเทส

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทำปุจฉาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเลย เพราะไม่มี

ความแตกต่างกันแห่งบทสุดท้าย (คือรูปที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) แห่งการ

สงเคราะห์รูป ๓ หมวด ซึ่งมีการสงเคราะห์รูปมีหมวด ๖ เป็นต้น แต่ทรงทำ

คำอธิบายไว้.

* ฉบับพม่าว่า มิใช่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด ๖ เป็นต้นนั้น

รูปที่ชื่อว่า อันจักขุวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันจักขุวิญญาณอาจเพื่อ

จะรู้ ฯลฯ รูปที่ชื่อว่า อันมโนวิญญาณพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนวิญญาณ

อาจเพื่อจะรู้ได้. รูปที่ชื่อว่า อันมโนธาตุพึงรู้ เพราะอรรถว่า อันมโนธาตุ

๓ อย่าง อาจเพื่อจะรู้ได้.

ในบทว่า สพฺพ รูป (รูปทั้งหมด) นี้ เพราะแม้เพียงรูปเดียวที่

มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้มิได้มี ฉะนั้น จึงตรัสว่า สพฺพ รูป ดังนี้. จริงอยู่

นัยในฐานะที่ควรเพื่อทรงอธิบายถึงพระอภิธรรมแล้ว อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มิได้กระทำไว้ชื่อว่าย่อมไม่มี. และนัยนี้ก็ชื่อว่าฐานะที่ควรเพื่อแนะนำ เพราะ

ความไม่มี แม้แต่รูปเดียวที่มโนวิญญาณธาตุไม่พึงรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง

ทำนัย (ข้อแนะนำ) ไว้ จึงตรัสว่า สพฺพ รูป ดังนี้.

บทว่า สุขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นสุข ข้อ ๖๕๙) คือได้สุขเวทนา

เป็นปัจจัย. บทว่า ทุกฺขสมฺผสฺโส (มีสัมผัสเป็นทุกข์) คือ ได้ทุกขเวทนา

เป็นปัจจัย. แม้ในคำว่ามีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นนี้ พระองค์ทรงประทานนัยไว้นี้

เพราะความที่โผฏฐัพพารมณ์มีสภาวะเป็นทุกข์และเป็นสุข.

แต่ว่าในนิทเทสรูปหมวด ๙ ไม่ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูป

ที่ไม่เป็นอินทรีย์มีอยู่ ในรูปหมวด ๑๐ ทรงประทานนัยไว้ เพราะความที่รูปนั้น

นั่นแหละเป็นสัปปฏิฆะ (กระทบได้) และอัปปฏิฆะ (กระทบไม่ได้) ใน

รูปหมวด ๑๑ ทรงจำแนกอายตนะไว้ ๑๐ กับอีกครึ่งหนึ่ง. บัณฑิตพึงทราบ

นิทเทสวารแห่งอายตนะเหล่านั้น ๆ โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง.

คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ว่าด้วยปกิณณกกถา

ก็เพื่อความไม่หลงลืมในรูปเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบปกิณกะนี้ คือ

สโมธาน คือ การประมวลมา

สมุฏฐาน คือ เหตุให้เกิดขึ้น

ปรินิปผันนะ คือ รูป.

บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ข้อว่า สโมธาน ความว่า รูปทั้งหมดที่เดียว

ว่าโดยสโมธานคือการประมวลมา นับได้ ๒๕ รูป คือ จักขายตนะ โสตายตนะ

ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ

รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ

อากาศธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ

รูปชรา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร โผฏฐัพพายตนะ อาโปธาตุ รวมกับ

รูปคือหทยวัตถุ พึงทราบว่ามี ๒๖ ชื่อว่า รูปอื่นจากนี้มิได้มี. แต่อาจารย์

บางพวกผู้มีวาทะว่ามิทธะเป็นรูปจึงกล่าวว่า ชื่อว่า มิทธรูปมีอยู่ อาจารย์

เหล่านั้นพึงถูกสกวาทยาจารย์กล่าวว่า ท่านจะเป็นมุนีสัมพุทธะแน่นอน นิวรณ์

ของท่านไม่มีดังนี้เป็นต้น พึงปฏิเสธว่า รูปที่ชื่อว่า มิทธรูปไม่มี. อาจารย์อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า รูป ๒๖ เหล่านั้นกับพลรูปก็เป็นรูป ๒๗ รวมกับสัมภวรูป

ก็เป็นรูป ๒๘ รวมกับชาติรูปก็เป็น ๒๙ รวมกับโรครูป ก็เป็น ๓๐ รูป แม้

อาจารย์นั้นก็พึงถูกให้แสดงความไม่มีแห่งรูปเหล่านั้นไว้แผนกหนึ่ง แล้วปฏิเสธ.

จริงอยู่ พระองค์ทรงถือเอาพลรูปนั่นแหละด้วยวาโยธาตุที่ทรงถือเอา

แล้วชื่อว่า พลรูปอื่นย่อมไม่มี. ทรงถือเอาสัมภวรูปด้วยอาโปธาตุ ทรงถือ

เอาชาติรูปด้วยอุปจยะและสันตติ ทรงถือโรครูปด้วยชรตารูปและอนิจจตารูป

ขึ้นชื่อว่าโรครูปอื่นย่อมไม่มี แม้อาพาธมีโรคหูเป็นต้นใด อาพาธนั้นก็เป็นเพียง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ธาตุตั้งขึ้นด้วยปัจจัยอันไม่สมกันเท่านั้น ชื่อว่า โรครูปอื่นจากนั้นหามีอยู่ไม่

เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยประมวลมารวมกันแล้วก็มีรูปเพียง ๒๖ เท่านั้น.

ว่าโดยสมุฏฐานของรูป

ข้อว่า สมุฏฐาน ความว่า รูปเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร ? รูป-

สิบ มีสมุฏฐาน ๑ รูปหนึ่งมีสมุฏฐาน ๒ รูปสามมีสมุฏฐาน ๓ รูปเก้า

มีสมุฏฐาน ๔ รูปสองไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไรเลย บรรดารูปเหล่านั้น

รูปสิบ ชื่อว่า มีสมุฏฐาน ๑ คือ รูป ๘ เหล่านี้ คือ จักขุประสาท ฯลฯ

ชีวิตินทรีย์ ตั้งขึ้นแต่กรรมอย่างเดียว รูป ๒ คือ กายวิญญัตติ และวจีวิญญัตติ

ตั้งขึ้นแต่จิตอย่างเดียว รูปหนึ่งชื่อว่า มีสมุฏาน ๒ คือ สัททรูปตั้งขึ้น

แต่อุตุและจิต. ในสัททรูปนั้น เสียงอันเกิดแต่สิ่งไม่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่อุตุ เสียง

อันเกิดแต่สิ่งที่มีวิญญาณตั้งขึ้นแต่จิต. ส่วนวิการรูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น ชื่อว่า

มีสมุฏาน ๓ คือ ย่อมตั้งขึ้นแต่อุตุ จิต และอาหาร. รูป ๙ ที่เหลือ

ย่อมตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ คือ แต่อุตุ จิต อาหาร และกรรม ฉะนั้นจึงชื่อว่า

รูป ๙ มีสมุฏาน ๔.

ส่วนชรตารูปและอนิจจตารูป ย่อมไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน ๔ เหล่า-

นั้น แม้สมุฏฐานเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูป ๒ ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐาน

อะไรเลย.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะรูปทั้ง ๒ นี้ ไม่เกิด.

ถามว่า เพราะเหตุไร รูปทั้ง ๒ นี้ จึงไม่เกิด.

ตอบว่า เพราะรูปที่เกิดแล้วก็ต้องแก่และแตกดับ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

จริงอยู่ รูปหรืออรูปก็ตามเกิดขึ้นแล้วก็ต้องแตกดับ เพราะฉะนั้น

บัณฑิตพึงยอมรับคำดังกล่าวนี้แน่นอน เพราะว่ารูปหรืออรูปเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า

ไม่สิ้นไป ปรากฏอยู่หามีไม่ แต่ตราบใด รูปยังไม่แตกดับ ความแก่หง่อมของ

รูปนั้นก็ยังปรากฏอยู่ตราบนั้น เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงสำเร็จว่า รูปเกิดขึ้นแล้ว

ต้องแก่และแตกดับไป. ก็ถ้าว่ารูปทั้ง ๒ นี้ พึงเกิดไซร้ รูปทั้ง ๒ แม้นี้ก็พึง

แก่และแตกดับไป และความแก่ของรูปก็ย่อมไม่แก่ หรือความแตกของรูปก็

ย่อมไม่แตกดับไป เพราะฉะนั้น รูปทั้ง ๒ นี้จึงชื่อว่าไม่เกิด เพราะรูปเกิด

แล้ว ๆ ก็ต้องแก่และแตกดับ.

ในข้อนั้น หากมีผู้ท้วงขึ้นด้วยคำว่า อุปจยรูป สันตติรูป ในนิทเทส

ทั้งหลายว่า " รูปที่กรรมแต่งขึ้น" เป็นต้น ย่อมเป็นคำรับรองว่า " ชาติรูป

ย่อมเกิด" ดังนี้ ฉันใด รูปแม้แก่แล้วก็จงแก่ไปเถิด แม้รูปที่แตกก็จงแตก

ไปเถิด ฉันนั้น ดังนี้.

ในข้อนั้น ท่านมิได้ยอมรับว่า ชาติรูปย่อมเกิด แต่ธรรมเหล่าใดย่อม

เกิดขึ้นด้วยกรรมเป็นต้น ท่านยอมรับโวหารของความเกิดขึ้นของธรรมนั้นโดย

มีชาติเป็นปัจจัย โดยความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์

ชาติรูปย่อมไม่เกิด เพราะชาติรูปเมื่อเกิดก็เป็นเพียงการเกิดเท่านั้นย่อมเกิด.

ในข้อนั้น ถ้าพึงมีผู้ท้วงว่า ชาติรูปเป็นความเกิดของธรรมเหล่าใด

ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และโวหารว่าความเกิดของธรรม

เหล่านั้นฉันใดนั่นแหละ อนึ่ง ความแก่และความแตกดับของธรรมเหล่าใด

มีอยู่ แม้ความแก่และความแตกดับจงได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น

และความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ฉันใด แม้รูปทั้ง ๒ นี้ ก็จะพึงกล่าวได้ว่า

มีกรรมเป็นต้น เป็นสมุฏฐานฉันนั้นนั่นแหละดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

ข้อนี้ตอบว่า ความแก่และความแตกดับ จะได้โวหารนั้นหามิได้

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความไม่มีในขณะแห่งอานุภาพของชนกปัจจัย

จริงอยู่ อานุภาพแห่งชนกปัจจัยทั้งหลายมีอยู่ในอุปาทขณะแห่งธรรม

อันตนพึงให้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่เกินจากนั้นไป และในขณะแห่งธรรมอันชนก-

ปัจจัยเหล่านั้น ให้เกิดขึ้น ชาติเมื่อปรากฏ ย่อมได้โวหารว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรม

เหล่านั้น และโวหารว่าเป็นความเกิดของธรรมเหล่านั้น เพราะความมีอยู่

พร้อมในขณะนั้น รูป (อุปจยะ และสันตติ) ทั้ง ๒ นอกนี้ หามีในขณะนั้น

ไม่ และจะพึงกล่าวว่า เกิดอยู่ในขณะนั้นก็ไม่ได้เลย.

หากจะท้วงต่อไปอีกว่า รูปแม้ทั้ง ๒ นี้ก็ยังชื่อว่าเกิดอยู่ เพราะ

พระบาลีมีมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็น

สังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว) เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ ตอบว่า

ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะพระบาลีนั้นแสดงไว้โดยปริยาย จริงอยู่ ในพระบาลีนั้น

พระองค์ตรัสว่า ชราและมรณะนั้นว่า เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น ดังนี้ โดย

ปริยาย เพราะธรรมทั้งหลายที่อาศัยเหตุเกิดขึ้นเป็นชราและมรณะ.

หากจะมีคำท้วงอีกว่า รูปทั้ง ๓ แม้นั้น ก็ย่อมไม่มีเหมือนเขากระต่าย

เพราะไม่เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นก็เป็นของเที่ยงเหมือนพระนิพพานแน่. ตอบว่า

ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะยังมีความเป็นไปเนื่องด้วยนิสสยปัจจัยอยู่ จริงอยู่ เมื่อ

นิสสยปัจจัยมีปฐวีเป็นต้น ธรรมชาติทั้ง ๓ มีความเกิดเป็นต้น ก็ย่อมปรากฏ

ฉะนั้นจะว่าไม่มีอยู่ ก็ไม่ได้ อนึ่งเล่า เมื่อไม่มีนิสสยปัจจัยเหล่านั้น ก็จะไม่

ปรากฏ จะว่าเที่ยงก็ไม่ได้ เพื่อจะทรงปฏิเสธความยึดมั่นแม้นี้ จึงตรัสว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นสิ่งไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

เป็นธรรมอาศัยเหตุเกิดขึ้น " ดังนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

รูปทั้ง ๒ (อุปจยรูป และสันตติรูป) ไม่ตั้งขึ้นแต่สมุฏฐานอะไร ๆ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า สมุฏหนติ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างอื่น

ต่อไป มาติกานี้ของเนื้อความนั้นว่า กมฺมช (รูปเกิดแต่กรรม) กมฺมปจฺจย

(มีกรรมเป็นปัจจัย) กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏฺาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่

กรรมเป็นปัจจัย).

อาหารสมุฏาน (รูปมีอาหารเป็นสมุฏฐาน) อาหารปจฺจย

(มีอาหารเป็นปัจจัย) อาหารปจฺจยอุตุสมุฏฺาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิด

แต่อาหารเป็นปัจจัย).

อุตุสมุฏฺาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐาน) อุตุปจฺจย (มีอุตุเป็นปัจจัย)

อุตุปจฺจยอุตุสมุฏฺาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).

จิตฺตสมุฏฺาน (รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน) จิตฺตปจฺจย (มีจิตเป็น

ปัจจัย) จิตฺตปจฺจยอุตุสมุฏฺาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่จิตเป็นปัจจัย).

บรรดาสมุฏฐานแห่งรูปทั้ง ๔ เหล่านั้น รูป ๘ อย่าง มีจักขุประสาท

เป็นต้น รวมกับหทยวัตถุ ชื่อว่า กัมมชะ (เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้

คือ ผม หนวด งาช้าง ขนหางม้า ขนหางจามรี ชื่อว่า กรรมปัจจัย

(เกิดแต่กรรม) รูปมีอาทิอย่างนี้ว่า จักรรัตนะ อุทยานและวิมานของพวกเทวดา

ชื่อว่า กัมมปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่กรรมเป็น

ปัจจัย).

สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐาน (มีอาหาร

เป็นสมุฏฐาน) กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่รูปสันตติแม้ทั้ง ๒ คือ อาหาร

สมุฏฐาน และอุปาทินนรูป เป็นปัจจัยให้เกิดอาหารสมุฏฐาน และอนุบาล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

กรรมชรูป เพราะฉะนั้น กรรมชรูปอันอาหารหล่อเลี้ยงไว้นี้ ชื่อว่า อาหาร

ปัจจัย (มีอาหารเป็นปัจจัย) บุคคลเสพวิสภาคาหารเดินอยู่กลางแดดย่อมเกิด

โรคเกลื้อนดำเป็นต้น (ตกกระ) นี้ชื่อว่า อาหารปัจจยอุตุสมุฏาน (รูปมี

อุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อาหารเป็นปัจจัย).

สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐาน (มีอุตุเป็นสมุฏฐาน)

อุตุแม้ในสุทธัฏฐกะนั้น ก็ยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น นี้ ชื่อว่า อุตุปัจจัย

(มีอุตุเป็นปัจจัย) อุตุแม้ในรูป ๘ อย่างอื่นนั้น ย่อมยังรูป ๘ อย่างอื่นให้ตั้งขึ้น

นี้ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานมีอุตุเป็นปัจจัย)

ด้วยประการฉะนี้ อุตุย่อมอาจเพื่อสืบสันตติรูป ๓ เท่านั้น เลยจากนี้ไป อุตุ

ไม่อาจเพื่อสืบต่อ ข้อความนี้สมควรแสดง แม้โดยอนุปาทินนรูปเช่น พลาหโก

(เมฆ) ชื่อว่า มีอุตุสมุฏฐาน เพราะมีอุตุ สายฝนชื่อว่า มีอุตุเป็นปัจจัย

เมื่อฝนตกแล้ว พืชทั้งหลายย่อมงอกขึ้น แผ่นดินย่อมส่งกลิ่น ภูเขาย่อมปรากฏ

เป็นสีเขียว น้ำทะเลย่อมมากขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า อุตุปัจจยอุตุ-

สมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดแต่อุตุเป็นปัจจัย).

สุทธัฏฐกรูปตั้งขึ้นแต่จิต ชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน (รูปมีจิตเป็น

สมุฏฐาน) คำว่า " ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัย

แก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจัย

(รูปมีจิตเป็นปัจจัย). คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า " ย่อมแสดงรูปช้างบ้าง แสดงรูป

ม้าบ้าง แสดงรูปรถบ้าง แสดงรูปกระบวนทัพต่าง ๆ บ้างในอากาศ คือ

กลางหาว" นี้ ชื่อว่า จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน (รูปมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิด

แต่จิตเป็นปัจจัย).

ข้อว่า ปรินิปฺผนฺน ได้แก่ รูป (เกิดแต่กรรม) ๑๕ รูป ชื่อว่า

ปรินิปผันนะ รูป (ไม่ได้เกิดแต่กรรม) ๑๐ รูป ชื่อว่า อปรินิปผันนะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

อธิบายว่า ถ้ารูปธรรมที่เป็นอปรินิปผันนะ (รูปที่ไม่เกิดแต่กรรม) รูปเหล่านั้น

ก็ชื่อว่า อสังขตรูป (รูปที่กรรมไม่แต่งขึ้น) แต่กายวิการของรูปเหล่านั้นนั่น-

แหละ ชื่อว่า กายวิญญัตติ. วจีวิการของรูปเหล่านั้นแหละชื่อว่า วจีวิญญัตติ

ช่องว่าง ชื่อว่า อากาศธาตุ ความเบาแห่งรูป ชื่อว่า ลหุตา ความอ่อน

แห่งรูป ชื่อว่า มุทุตา. ความควรแก่การงานของรูป ชื่อว่า กัมมัญญตา

ความเกิดขึ้นแห่งรูป ชื่อว่า อุปจยะ ความเป็นไปแห่งรูป ชื่อว่า สันตติ.

อาการคือความแก่ของรูป ชื่อว่า ชิรตา อาการที่รูปมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า

อนิจจตา. รูปทั้งหมดดังกล่าวมานี้เป็นอปรินิปผันนะ (ไม่ได้เกิดแต่กรรม)

เป็นสังขตะ (มีปัจจัยแต่งขึ้น) ทั้งนั้นแล.

พรรณนารูปกัณฑ์

ในอัฏฐสาลินีอรรถกถาธรรมสังคหะ

จบเท่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

นิกเขปกัณฑ์

ติกะ

[๖๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม อันมีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็น

กุศล.

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกัน

กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อัน

สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น. กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้น

เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และ

อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๖๖๔] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิด

แห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

เว้นทุกขเวทนานั้น ในกามาวจรจิตอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนา สภาวธรรม

เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา.

ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-

เวทนา เว้นอทุกขมสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต

โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

[๖๖๕] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.

ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า

ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก.

ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

ธรรมเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด

และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ

แห่งวิบาก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

[๖๖๖] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึด

ครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และ

รูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุต

ด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา ทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง

แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยา

ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้า

ยึดครองแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหา ทิฏฐิไม่เข้ายึด

ครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและ

ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

[๖๖๗] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลสเป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกัน

กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น,

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ

สังกิเลส.

ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

[๖๖๘] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิตกและวิจาร เว้น

วิตกและวิจารนั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิด

แห่งธรรมมิวิตกมีวิจาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตกมีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร เว้นวิจารนั้น

ในรูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต

อรูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร,

รูปทั้งหมดและอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร.

[๖๖๙] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ เว้นปีตินั้น

ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิดแห่งปีติ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เว้นสุขเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต โลกุตรจิต อันเป็นที่เกิด

แห่งสุขเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนา

เว้นอุเบกขาเวทนานั้น ในกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตรจิต

อันเป็นที่เกิดแห่งอุเบกขาเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วย

อุเบกขาเวทนา.

[๖๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

[๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ

ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูป

เป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาเป็นต้น

หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญา

เป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา ย่อมเห็น

สังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตน

ในวิญญาณ ทิฏฐิความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ

ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด

ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด

นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

[๖๗๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบ

แคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา

ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง

ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความ

คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

[๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต

ของสมณพราหมณ์ในภายนี้แต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ

ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การ

ถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

[๖๗๔] สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์

๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น,

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับโลภะ

โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยโลภะ

โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ

นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่

ประหาณ.

[๖๗๕] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณ

เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ฯลฯ นี้เรียกว่า

สักกายทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ? ฯลฯ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ? ฯลฯ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

สัญโญชน์ ๓ นี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น,

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ

ที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตต-

เหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ

โมหะ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ

โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น

เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค

ประหาณ.

ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็น

สัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณ, กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ

โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ

โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ

โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอัน

มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง

๓ จะประหาณ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

เว้นธรรมที่ประหาณนั้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาว

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง

สูง ๓ จะประหาณ.

[๖๗๖] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ.

ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ

ให้ถึงนิพพาน.

ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปา-

วจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมเป็นกิริยา

ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุให้ถึง

นิพพาน.

[๖๗๗] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ และสามัญผลเบื้องต่ำ ๓ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

อรหัตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกข-

บุคคล.

ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล

เป็นไฉน ?

เว้นธรรมคือมรรค ๔ ผล ๔ เหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม

และอัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือเวทนา-

ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคล.

[๖๗๘] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด

คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.

ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร

คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็น

มหัคคตะ.

ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ.

[๖๗๙] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ.

ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

ธรรมทราม เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ

โลภะ โทสะ โมหะนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยโลภะ

โทสะ โมหะนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ

นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม.

ธรรมปานกลาง เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมปานกลาง.

ธรรมประณีต เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต.

[๖๘๑] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

อนันตริยกรรม ๕ และนิยตมิจฉาทิฏฐิ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรม

เป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน.

ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมา-

สภาวะ และให้ผลแน่นอน.

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?

เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

ที่เหลือ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน.

[๖๘๒] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์.

ธรรมมีเหตุคือมรรค เป็นไฉน ?

เว้นองค์แห่งมรรคเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุต

ด้วยองค์แห่งมรรคนั้น ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค

สัมมาทิฏฐิของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เป็นมรรคด้วย เป็น

เหตุด้วย, เว้นสัมมาทิฏฐิเสีย เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุต

ด้วยสัมมาทิฏฐินั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า เหตุคือมรรค, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย

อโลภะ อโทสะ อโมหะ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุคือมรรค.

ธรรมเป็นมรรคเป็นอธิบดี เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค

ที่กำลังเจริญมรรค มีวิมังสาเป็นอธิบดี อันสัมปยุตด้วยวิมังสานั้น เว้นวิมังสา

เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี.

[๖๘๓] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว

บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว

ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว คือ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดขึ้นแล้ว.

ธรรมยังไม่เกิดขึ้น เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว ยัง

ไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว

ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่เกิดขึ้น

แล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังไม่เกิดขึ้น.

ธรรมจักเกิดขึ้น เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่ยังไม่ให้ผล เป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และ

รูปซึ่งจักเกิดขึ้นเพราะกรรมแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมจักเกิดขึ้น.

[๖๘๔] ธรรมเป็นอดีต เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ธรรมเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว

อัสดงคตแล้ว ถึงความดับสูญแล้ว เกิดขึ้นแล้วปราศไป ล่วงไป สงเคราะห์ด้วย

ส่วนที่ล่วงไปแล้ว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอดีต.

ธรรมเป็นอนาคต เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ยังไม่เกิดแล้ว ยังไม่เป็นแล้ว ยังไม่เกิดพร้อมแล้ว

ยังไม่บังเกิดแล้ว ยังไม่บังเกิดเฉพาะแล้ว ยังไม่ปรากฏแล้ว ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว

ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นแล้ว ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ยังไม่มาถึง

สงเคราะห์ด้วยส่วนที่ยังไม่มาถึง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอนาคต.

ธรรมเป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว

บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว

ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้ว

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นปัจจุบัน.

[๖๘๕] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอดีตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต.

ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภอนาคตธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภปัจจุบันธรรมเกิดขึ้น สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

[๖๘๖] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นภายใน เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะ

แต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์นั้น ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน.

ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นภายนอก เป็นเฉพาะตน เกิดแก่ตน เป็นของเฉพาะ

แต่ละบุคคล เป็นอุปาทินนะ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ คือ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก.

ธรรมเป็นภายในและเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมทั้ง ๒ ประเภทนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน

และเป็นภายนอก.

[๖๘๗] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายในเกิดขึ้น สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายนอกเกิดขึ้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและภายนอก เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่าใด ปรารภธรรมเป็นภายใน ธรรมเป็น

ภายนอกเกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็น

ภายนอก.

[๖๘๘] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้

กระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.

ติกะจบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

อธิบายนิกเขปกัณฑ์

โดยลำดับแห่งคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ เพียงเท่านี้

กุศลติกะย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พิสดาร ด้วยนัยกล่าวคือการ

จำแนกบทธรรมมีกุศลเป็นต้นทั้งหมด ก็นัยกล่าวคือการจำแนกบทแม้แห่ง

กุศลติกะนี้ใดที่ตรัสไว้แล้ว ก็นัยนี้นั้นแหละเป็นนัยแห่งการจำแนกต่าง ๆ ของ

ติกะและทุกะที่เหลือ อันบัณฑิตทั้งหลาย อาจเพื่อกำหนดนัยกล่าวคือการจำแนก

ต่าง ๆ ในติกะและทุกะทั้งหมดตามลำดับมีอาทิว่า " ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เป็นไฉน ? ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วย

ญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ก็หรือว่าเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารัมณ์ ฯลฯ ก็หรือ

ว่า ในสมัยนั้น นามธรรมแม้อื่นใดที่อิงอาศัยเกิดขึ้น เว้นเวทนาขันธ์ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา" ดังนี้ เหมือนในการจำแนก

กุศลติกะนี้ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เพื่อทรงสรุปความเทศนาอันพิสดารนั้น แล้ว

ทรงแสดงจำแนกธรรมหมวดติกะ และทุกะทั้งหมดด้วยนัยที่ไม่ย่อเกินไปและ

ไม่พิสดารเกินไปอีกอย่างหนึ่ง จึงทรงเริ่มนิกเขปกัณฑ์ว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?) ดังนี้.

จริงอยู่ จิตตุปปาทกัณฑ์ (ที่กล่าวแล้ว) เป็นเทศนาพิสดาร แต่อรรถ-

กถากัณฑ์เป็นเทศนาย่อ ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ เทียบกับจิตตุปปาทกัณฑ์ นับว่าเป็น

เทศนาย่อ เทียบกับอรรถกถากัณฑ์ ก็เป็นเทศนาพิสดาร เพราะฉะนั้น นิกเขป-

กัณฑ์นี้จึงเป็นเทศนาที่ไม่ย่อเกินไปและไม่พิสดารเกินไป กัณฑ์นี้นั้น บัณฑิตพึง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ทราบว่า ชื่อ นิกเขปกัณฑ์ เพราะทรงสรุปเทศนาพิสดารแสดงไว้บ้าง ด้วย

อำนาจแห่งเหตุที่กล่าวไว้ในหนหลังบ้าง

จริงอยู่ คำนี้ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า

มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต

อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต

นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ

ท่านเรียกว่า นิกเขปะ เพราะแสดง

สรุปไว้โดยมูลบ้าง โดยขันธ์บ้าง โดยทวาร

บ้าง โดยภูมิบ้าง โดยอรรถบ้าง โดยธรรม

บ้าง โดยนามบ้าง โดยลิงค์บ้าง ดังนี้.

ก็นิกเขปกัณฑ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรุปโดยมูล ด้วยนัยมี

อาทิว่า กุศลมูล ๓ ทรงแสดงสรุปโดยขันธ์ด้วยนัยมีอาทิว่า เวทนาขันธ์

สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น ทรงแสดงสรุปโดยทวารด้วยนัยมีอาทิว่า กายกรรม

มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะกรรมเป็นไปทางกายทวารเรียกว่า

กายกรรม ทรงแสดงสรุปโดยภูมิด้วยนัยโดยอาทิว่า ในภูมิอันเป็นสุข คือ

กามาวจร พึงทราบชื่อว่า นิกเขปกัณฑ์ ที่พระองค์ทรงแสดงสรุปเนื้อความ

เป็นต้น เพราะแสดงด้วยสามารถแห่งอรรถ ธรรม ลิงค์ และนามในที่นั้น ๆ.

ว่าด้วยนิทเทสกุศลติกะที่ ๑

ในพระบาลีนั้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งกุศลบทก่อน.

คำว่า ๓ เป็นคำกำหนดจำนวน. สภาวธรรมที่ชื่อว่า กุศลมูล ด้วย

อรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลด้วย เป็นมูลด้วย หรือว่า เป็นมูล ด้วย

อรรถว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นแดนเกิด เป็นชนก เป็นสมุฏฐาน และ

เป็นตัวให้เกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ ทรงประสงค์เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่งนาม จึงตรัสว่า อโลภะ อโทสะ

อโมหะ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชา ชื่อว่าทรงแสดงถือเอา

กุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วยมูลทั้ง ๓ เพราะธรรมดากุศลพ้นจากมูลย่อม

ไม่มี.

บทว่า ตสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น) ได้แก่ สัมปยุตด้วย

มูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น. ในข้อนั้น แม้อโทสะ และอโมหะ ในสังขารขันธ์

อันสัมปยุตด้วยอโลภะ ก็สัมปยุตด้วยอโลภะถึงการนับว่า เป็นสังขารขันธ์เหมือน

กัน. แม้ในสัมปโยคะด้วยสามารถแห่งกุศลมูล ๒ ที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ. พระ-

ธรรมราชา ชื่อว่า ทรงแสดงกำหนดถือเอากุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ด้วย

สามารถแห่งนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นอีก ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตสมุฏฺาน (มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน) ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วย

กุศลมูลเหล่านั้นมีอโลภะเป็นต้น. โดยนัยแม้นี้ พระธรรมราชาชื่อว่าทรงแสดง

กำหนัดกุศลอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งกรรมทวาร

ทั้ง ๓. กุศลในฐานะทั้ง ๓ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงกำหนดเอาก่อนด้วย

ประการฉะนี้. แม้ในอกุศล ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ บรรดาอกุศลจิต ๒ แม้อกุศลหนึ่งชื่อว่า พ้นไปจากมูล

ย่อมไม่มี พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดอกุศลเหล่านั้นแสดงไว้ด้วยมูลทั้ง ๓

ขึ้นชื่อว่า อกุศลที่นอกไปจากนามขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้นมิได้มี

เพราะฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงกำหนดเอาอกุศลจิต ๑๒ เหล่านั้นนั่นเอง

แสดงไว้ด้วยสามารถแห่งนามขันธ์ ๔.

อนึ่ง เพราะอกุศลจิต ๑๒ เหล่านี้มีสภาวะเป็นไปด้วยสามารถแห่ง

กายกรรม เป็นต้น พระองค์จึงทรงกำหนดแสดงไว้ด้วยอำนาจกรรมทวาร แต่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

พระบาลีใดที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทสนี้มีอาทิว่า ตเทกฏฺา จ กิเลสา (และ

กิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น) ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน

พระบาลีนั้นว่า กิเลสที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่

ในจิตดวงเดียวกัน หรือในบุคคลเดียวกัน. ในบรรดาอกุศลที่ตั้งอยู่ในฐาน

เดียวกันทั้ง ๒ นัยนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ร่วม

กัน อกุศลที่ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกัน ชื่อว่า ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการ

ประหาณ. อกุศลที่ชื่อว่า ตั้งอยู่ที่เดียวกับอกุศลมูลนั้น เพราะอรรถว่า

ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับอกุศลมูลมีโลภะเป็นต้นนั้น หรือตั้งอยู่ในฐานอื่น

ที่ทรงแสดงไว้ในที่นั้น ๆ.

ในการละกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันนั้น อกุศลที่ตั้งอยู่ในฐานเดียว

กันโดยเกิดพร้อมกันมาในฐานเท่าที่กล่าวมานี้ คือ ในสังกิลิฏฐิติกะว่า ธรรม

ที่เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓

คือโลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้

ในหีนติกะตรัสว่า ธรรมทราม เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ

โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในอกุศลติกะนี้

ตรัสว่า ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในกิเลสโคจฉกะตรัสว่า

ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และ

กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ ในสรณทุกะ ตรัสว่า ธรรม

เกิดกับกิเลส เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และ

กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้.

๑. ธรรมสังคณี ข้อ ๖๖๗. ๒. ธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๕.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

แต่ในทัสสเนนปหาตัพพติกะตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และ

กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้. แม้ใน

ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะก็ตรัสว่า สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ใน

ฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น ดังนี้ ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะนั้น

นั่นแหละตรัสอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และธรรม

เหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ เหล่านั้น

เป็นสัมปยุตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐาน

เดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านั้น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านั้นเป็น

สัมปยุตตเหตุ อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ดังนี้.

ก็ในสัมมัปปธานวิภังค์ตรัสไว้ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น อกุศล

ธรรมอันลามก เป็นไฉน ? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้กิเลส

ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า กิเลสที่ตั้ง

อยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณมาแล้วในฐานะเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้.

ว่าด้วยนิทเทสอัพยากตธรรม

นิทเทสแห่งอัพยากตบท มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ลักษณะ ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น บัญญัติ ๓ กสิณุคฆาฏิมากาส

อัชชฏากาส อารมณ์ของอากิญจัญญายตนสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่ได้

ในติกะนี้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ว่าด้วยนิทเทสเวทนาติกะที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาติกะต่อไป.

ในคำว่า สุขภูมิย (ที่เกิดแห่งสุขเวทนา) นี้ อธิบายว่า เขาเรียก

พื้นดินว่า ตัมพภูมิ (แผ่นดินสีแดง) กัณหภูมิ (แผ่นดินสีดำ) ฉันใด

สุขเวทนา ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น. ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งอ้อยและข้าวสาลี

เขากล่าวว่า อุจฉุภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่งอ้อย) สาลิภูมิ (ที่เป็นที่เกิดแห่ง

ข้าวสาลี) ฉันใด แม้จิตอันเป็นที่เกิดแห่งความสุข ก็ชื่อว่า สุขภูมิ ฉันนั้น

จิตนั้นทรงประสงค์เอาในคำว่า สุขภูมิ นี้ ก็เพราะสุขภูมินั้นมีอยู่ในกามาว-

จรบ้าง ในรูปาวจรเป็นต้นบ้าง ฉะนั้นเพื่อทรงแสดงประเภทแห่งสุขภูมินั้น

จึงตรัสคำมีอาทิว่า กามาวจร ดังนี้.

บทว่า สุขเวทน เปตฺวา (เว้นสุขเวทนา) ได้แก่ เว้นสุขเวทนา

ในสุขภูมินั้น.

บทว่า ตสมฺปยุตฺโต ได้แก่ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่ตั้งอยู่แล้ว

นั้น. แม้สองบทที่เหลือก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ ในติกะนี้ ย่อม

ไม่ได้สภาวธรรมนี้ คือ เวทนา ๓ รูปทั้งหมด และนิพพาน เพราะติกะนี้

ชื่อว่า พ้นแล้วจากส่วนทั้ง ๓ เหล่านี้ ที่ไม่ได้ในกุศลติกะ ก็คำใดที่ควรจะกล่าว

โดยพระบาลีและอรรถกถาในติกะและทุกะอื่นจากนี้ คำทั้งหมดนั้นข้าพเจ้ากล่าว

ไว้ในมาติกากถาโดยลำดับและนิทเทสแห่งกุศลเป็นต้นนั่นแล.

ว่าด้วยนิทเทสวิปากติกะที่ ๓

ก็คำใดในที่มีความต่างกัน ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นนั่นแหละ ในติกทุกะ

นั้น พึงทราบวินิจฉัยในวิปากติกะก่อน. แม้ว่ารูปธรรมทั้งหลายที่มีกรรมเป็น

สมุฏฐานยังมีอยู่เหมือนอรูปธรรมแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปธรรมเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ก็ไม่เหมือนกับกรรม เพราะความที่รูปธรรมเหล่านั้นไม่มีอารมณ์ เพราะฉะนั้น

อรูปธรรมที่มีอารมณ์เท่านั้น ตรัสเรียกว่า วิบาก เพราะเป็นเหมือนกับกรรม

เหมือนผลคล้ายพืชฉะนั้น จริงอยู่ เมื่อเขาหว่านพืชข้าวสาลีแล้ว แม้ในเวลา

ที่ออกหนอและใบเป็นต้นแล้ว เขาก็ยังไม่เรียกว่า ผลของข้าวสาลี แต่เมื่อใด

รวงข้าวสาลีสุกแล้วน้อมลงแล้ว เมื่อนั้นข้าวสาลีเช่นเดียวกับพืชนั่นแหละ เขา

จึงเรียกว่าผลแห่งข้าวสาลี ส่วนหนอและใบเป็นต้น ที่เกิดจากพืช เขาเรียกว่า

เป็นสิ่งที่เกิดแต่พืช ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ควรเพื่อจะเรียกว่า

เกิดแต่กรรม (กัมมชะ) หรือเรียกว่า อุปาทินนรูป ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอุปาทินนติกะที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทินนติกะต่อไป.

ขันธ์ทั้งหลายของพระขีณาสพ แม้จะเป็นปัจจัยแก่อุปาทานแก่ชน

เหล่าอื่นผู้พูดอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นลุงของพวกเรา พระเถระผู้เป็นอาของพวก

เรา ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น มรรคผลและนิพพาน อันตัณหามานทิฏฐิมิได้

ยึดไว้ มิได้ถือไว้ มิได้มีความยึดถือไว้เลย ด้วยว่ามรรคผลนิพพานเหล่านั้น

ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่การถือเอาด้วยอำนาจตัณหามานทิฏฐิ เพราะอุดมด้วยเดช

เหมือนก้อนเหล็กแดงที่ลุกโชนตลอดวันไม่เป็นปัจจัยแก่การเกาะของพวกแมลง-

วัน ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อิเม ธมฺมา อนุปาทินฺนอนุปาทา-

นิยา (สภาวธรรมเหล่านั้น อันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหามานทิฏฐิไม่ยึด

ครองและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) ดังนี้.

แม้ในอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

ว่าด้วยนิทเทสวิตักกะที่ ๖ เป็นต้น

ในวิตักกติกะ สภาวธรรมย่อมไม่ได้อยู่ในกุศลติกะกับวิจารที่เกิด

พร้อมกับวิตก. ในปีติสหคตติกะ ธรรมมีปีติเป็นต้นให้ภาวะแห่งธรรมที่เกิด

ร่วมกับตนเป็นธรรมสหรคตกับปีติเป็นต้นแล้ว ตนเองก็เป็นธรรมหมุนไปข้าง

หลัง ในติกะนี้ ไม่ได้สภาวธรรมแม้นี้คือ โทมนัสสสหคตจิตตุปบาท ๒

ทุกขสหคตกายวิญญาณ อุเปกขาเวทนา รูป และนิพพาน เพราะติกะนี้ เมื่อ

ไม่ได้กุศลติกะนั่นแหละก็ชื่อว่า พ้นไปจากส่วนทั้ง ๕ แม้นี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนติกะที่ ๘

ในทัสสเนน ปหาตัพพติกะ บทว่า สญฺโชนานิ (สังโยชน์)

ได้แก่ เครื่องผูก บทว่า สกฺกายทิฏฺิ (สักกายทิฏฐิ) ความว่า เมื่อกาย

กล่าวคือเบญจขันธ์มีอยู่ ด้วยอรรถว่า ปรากฏอยู่ หรือตนเองมีความเห็นผิด

ในกายที่มีอยู่นั้น เพราะเหตุนั้น ความเห็นผิดนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฏฐิ.

ส่วนความยึดมั่นที่ยึดถือว่า สัตว์อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีล อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วย

วัตร อาจเพื่อบริสุทธิ์ด้วยศีลพรตดังนี้ ชื่อ สีลัพพตปรามาส.

แม้คำว่า อิธ เป็นนิบาตใช้ในอรรถอ้างถึงประเทศ อิธศัพท์นี้นั้น

ในที่บางแห่งตรัสหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า พระตถาคตเจ้าย่อม

ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้ ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา เหมือนที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ดังนี้

ในที่บางแห่งหมายถึงโอกาสเหมือนที่ตรัสไว้ว่า

อิเธว ติฏฺมานสฺส เทวภูตสฺส เม สโต

ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอว ชานาหิ มาริส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

เมื่อเรา (ท้าวสักกกะ) ผู้เป็นเทพดำรง

อยู่ในโอกาส (ถ้ำอินทสาล) นี้แหละ เราก็

ได้มีอายุต่อไป ดูก่อนผู้นิรทุกข์ ท่านจง

ทราบอย่างนี้ ดังนี้.

ในที่บางแห่ง ตรัสหมายเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนที่ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเสวยแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบว่า

พระองค์ตรัสหมายถึงโลก.

ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้มีได้รับการศึกษา) นี้

มีวินิจฉัยว่า บุคคลผู้อันบัณฑิตควรทราบว่าที่ชื่อว่า ผู้มิได้สดับ เพราะไม่มี

การศึกษาและการบรรลุมรรคผล จริงอยู่ บุคคลใดไม่มีการศึกษาเพราะเว้น

การศึกษา การสอบถาม การวินิจฉัยธรรม มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยการ

และสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีมรรคผล เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผลที่ตนพึงบรรลุ

ได้ด้วยการปฏิบัติ เป็นผู้ปฏิเสธอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า

ผู้ไร้การศึกษา เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุมรรคผล ด้วยประการฉะนี้

บุคคลนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น

ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสเป็นอัน-

มากให้เกิดขึ้นเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ ชื่อว่า

ปุถุ (ผู้หนาแน่น) เพราะความเป็นผู้อยู่ภายใน

แห่งปุถุชน ดังนี้.

จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสเป็น

ต้นมากมายมีประการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นก็มี เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะอรรถว่า ย่อมยังกิเลสมากให้เกิด. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

อรรถว่า เป็นพวกที่ยังมิได้ฆ่าสักกายทิฏฐิ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า

เป็นพวกที่คอยมองดูหน้าศาสดาต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็น

พวกที่ออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวก

สร้างอภิสังขารต่างๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกห้วงโอฆะต่าง ๆ

พัดไปอยู่ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกเร่าร้อนอยู่ด้วยความเร่าร้อน

ต่าง ๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกถูกเผาอยู่ด้วยความร้อนต่าง ๆ

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกกำหนัด ยินดี รักใคร่ สยบ

หมกมุ่น ติดข้องพัวพันในกามคุณ ๕ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็น

พวกถูกนิวรณ์ ๕ กางกั้นแล้ว หุ้มห่อแล้ว ปกคลุมแล้ว ปิดบังแล้ว ซ่อนเร้น

ไว้แล้ว ให้ถอยกลับแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะความที่พวกชนเป็นอันมาก

เป็นผู้อยู่ภายในแห่งชนทั้งหลายเหลือคณนา ล้วนแต่เบือนหน้าหนีธรรมของ

พระอริยะ และมีการประพฤติธรรมต่ำทรามเสมอ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน

เพราะอรรถว่า ชนนี้เป็นพวกถึงการนับแยกไว้ต่างหากบ้าง ชนนี้เป็นผู้ไม่

เกี่ยวข้องกับพระอริยะทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล และสุตะเป็นต้นบ้าง.

ด้วยบททั้งสองว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้ไร้การศึกษา)

ตามที่กล่าวแล้วนี้

ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา

อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน

อันพระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระ-

อาทิตย์ ตรัสปุถุชนเหล่าใดเป็น ๒ พวก

คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

ปุถุชน ๒ พวกเหล่านั้น เป็นอันตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ บรรดาปุถุชน ๒

พวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ในที่นี้ตรัสอันธปุถุชน.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อริยาน อทสฺสาวี (ไม่ได้เห็น

พระอริยเจ้า) ต่อไป. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

พุทธสาวกทั้งหลายเรียกว่า พระอริยเจ้า เพราะไกลจากกิเลส เพราะไม่ดำเนิน

ไปในทางเสื่อม เพราะดำเนินไปในทางเจริญ และเพราะอันโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกพึงบูชา. แต่ในที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า พระอริยเจ้า

เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต ฯลฯ บัณฑิตเรียกว่า

อริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้.

ส่วนในคำว่า สัตบุรุษ นี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกของ

พระตถาคตทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ พระปัจเจก-

พุทธะเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะอรรถว่า เป็นบุรุษผู้งามด้วย

การประกอบด้วยโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหมดก็ตรัสชื่อไว้

๒ อย่าง จริงอยู่ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นพระอริยเจ้าและเป็น

สัตบุรุษ พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกของพระตถาคตเจ้าชื่อว่า พระอริยเจ้า

และสัตบุรุษ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที

มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้ภักดี-

มั่นคงย่อมทำกิจโดยเคารพแก่บุคคลผู้มีทุกข์

บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า

สัตบุรุษ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า เป็นกัลยาณมิตร เป็นผู้ภักดีมั่นคง ดังนี้

ตรัสถึงสาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยคำว่า เป็นคนกตัญญูเป็นต้น ตรัสถึง

พระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบว่า บุคคลใดมีปรกติไม่เห็นพระอริยเจ้าเหล่านั้น และ

ไม่มีสาธุการในการเห็น บุคคลนั้น ชื่อว่า ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า. ก็บุคคล

ผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้านั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่เห็นด้วยจักขุ และไม่เห็นด้วยญาณ

ในการไม่เห็นทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาผู้ไม่เห็นด้วยญาณ

จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้บุคคลเห็นด้วยมังสจักษุหรือทิพยจักษุก็ไม่

ชื่อว่าเห็นได้เลย เพราะความที่จักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี (วรรณะ) เป็น

อารมณ์ มิใช่คุณธรรมมีความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ แม้สัตว์ทั้งหลายมี

สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็ย่อมเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยจักษุ แต่

สัตว์เหล่านั้นไม่ชื่อว่าเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้ เป็น

อุทาหรณ์.

เรื่องการไม่เห็นพระอริยะ

ได้ยินว่า พระอุปัฏฐากของพระขีณาสพเถระผู้อยู่ในวิหารจิตตลบรรพต

เป็นพระบวชเมื่อแก่ วันหนึ่ง เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระรับบาตรจีวร

ของพระเถระแล้วก็เดินตามหลังไป ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ ชื่อว่าพระอริยะ

ทั้งหลายเป็นเช่นไร ? พระเถระตอบว่า คนแก่บางคนในโลกนี้รับบาตรจีวร

ของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติแล้ว แม้เที่ยวไปด้วยกันก็ไม่รู้พระอริยะ

ทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. แม้พระเถระ

พูดอย่างนี้ พระขรัวตานั้นก็หาเข้าใจไม่.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น

จึงชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ มีประโยชน์อะไรแก่เธอ

ด้วยการเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ บุคคลใดแลเห็นธรรม บุคคลนั้น

ชื่อว่า เห็นเรา (ตถาคต) ดังนี้ ฉะนั้น บุคคลแม้เห็นพระอริยะด้วยจักษุ

แต่ไม่เห็นอยู่ซึ่งลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายเห็น

ด้วยญาณ ยังไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว ก็พึงทราบว่า บุคคลนั้น

ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ

และความเป็นพระอริยะ ดังนี้.

บทว่า อริยธมฺนสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า)

ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันต่างด้วยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.

ก็ในพระบาลีว่า อริยธมฺเม อวินีโต (ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ

พระอริยเจ้า) นี้ มีวินิจฉัยว่า

ชื่อว่าวินัยมี ๒ อย่าง ในวินัย ๒

อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งออกเป็น ๕ บุคคลนี้

ท่านเรียกว่าผู้ไม่ได้ฝึกฝน เพราะความไม่มี

วินัยนั้น ดังนี้.

ว่าด้วยวินัย ๒ อย่าง

จริงอยู่ วินัยมี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย ก็

บรรดาวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ วินัยแต่ละอย่างยังแยกออกเป็น ๕ อย่าง แม้สังวร-

วินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

ศีลสังวร (ความสำรวมด้วยศีล) ๑

สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ) ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ) ๑

ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ) ๑

วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร) ๑.

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ

ตทังคปหาน (การละด้วยองค์ญาณนั้น) ๑

วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้) ๑

สมุทเฉทปหาน (การละด้วยอริยมรรค) ๑

ปฏิปัสสัทธิปหาน (การละด้วยอริยผล) ๑

นิสสรณปหาน (การละด้วยนิพพาน) ๑.

บรรดาสังวร ๕ เหล่านั้น ภิกษุผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงดีแล้วด้วยสังวร

คือปาฏิโมกข์นี้ นี้ชื่อว่า ศีลสังวร ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความ

สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร.

ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตส นิวารณ

โสตาน สวร พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน

อชิตะ กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่อง

กั้นกระแสเหล่านั้น เราย่อมกล่าวการกั้น

กระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้ บุคคลย่อม

ปิดด้วยปัญญา นี้ชื่อว่า ญาณสังวร.

บุคคลผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร บุคคล

ผู้ยังกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วมิให้ท้วมทับตน นี้ชื่อว่า วิริยสังวร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

สังวรนี้แม้ทั้งหมด ตรัสเรียกว่า สังวร เพราะการป้องกัน และตรัส

เรียกว่า วินัย เพราะการนำออกซึ่งกายทุจริตเป็นต้น อันควรแก่การป้องกัน

และควรแก่การนำออกอันสมควรแก่ศีลสังวรเป็นต้นของตน บัณฑิตพึงทราบว่า

สังวรวินัยย่อมจำแนกออก ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้ ก่อน.

อนึ่ง บรรดาวิปัสสนาญาณทั้งหลายมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น

การละธรรมอันหาประโยชน์มิได้นั้นด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์

กันดุจละเสียซึ่งความมืดด้วยแสงสว่างแห่งดวงประทีปฉะนั้น อย่างไร ? คือ

การละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริจเฉทญาณ)

ละทิฏฐิที่เห็นว่านามรูปไม่มีเหตุ และมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย

(ปัจจยปริคคหญาณ) ละความสงสัยด้วยกังขาวิตรณญาณในกาลอื่นอีกของ

ปัจจยปริคคหญาณนั้นนั่นแหละ ละความยึดถือว่า เรา ของเรา ด้วยกลาปสัมม-

สนญาณ ละความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ทาง ว่าเป็นทาง ด้วยการกำหนดทางและ

ไม่ใช่ทาง ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม

ละความเห็นในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัยด้วยความเห็นว่ามีภัย ละความสำคัญในสิ่งที่

ชอบใจด้วยการเห็นอาทีนพ ละความสำคัญอันชอบใจยิ่งด้วยนิพพิทานุปัสสนา

ละความเป็นผู้ไม่ปรารถนาจะหลุดพ้นด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความไม่ว่าง

เฉยในสังขารด้วยอุเบกขาญาณ ละธรรมฐิติ (ปฏิจจสมุปบาท) ด้วยอนุโลมญาณ

ละความเป็นปฏิโลมด้วยนิพพาน ละความยึดถือนิมิตคือสังขารด้วยโคตรภูญาณ

อันใด นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ).

การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้น ๆ โดยห้ามความเป็นไปแห่งธรรมมี

นิวรณ์เป็นต้นนั้นด้วยสมาธิอุปจาระและอัปปนา ดุจการละสาหร่ายบนหลังน้ำ

มิให้สืบต่อ อันใด นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

การละหมู่กิเลสอันเป็นฝ่ายสมุทัยโดยให้เป็นไปโดยสิ้นเชิงดังที่ตรัสไว้

โดยนัยมีอาทิว่า เพื่ออันละเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตนโดยมีมรรค

นั้น ๆ เพราะความที่อริยมรรค ๔ อันตนอบรมแล้ว อันใด นี้ชื่อว่า สมุจเฉท-

ปหาน.

ก็ความที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับในขณะแห่งผล อันใด นี้ชื่อว่า

ปฏิปัสสัทธิปหาน.

พระนิพพานมีสังขตธรรมทั้งปวงอันละได้แล้ว เพราะเป็นธรรมสลัด

สังขตธรรมทั้งปวงออกไป อันใด นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.

ก็เพราะการละแม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ปหานะ ด้วยอรรถว่า สละ

ชื่อว่า วินัย ด้วยอรรถว่า กำจัด เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปหานวินัย.

อีกอย่างหนึ่ง ปหานะนี้ เรียกว่า ปหานวินัย เพราะความเกิดขึ้นแห่งการ

ละด้วยตทังคปหานเป็นต้นนั้น ๆ บ้าง เพราะความเกิดขึ้นแห่งการกำจัดนั้น ๆ

บ้าง. บัณฑิตพึงทราบว่า แม้ปหานวินัยก็ย่อมจำแนกได้ ๕ อย่างด้วยประการ

ฉะนี้.

วินัยนี้โดยย่อมี ๒ ประเภท โดยการจำแนกมี ๑๐ ประเภท เพราะ

ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไร้การศึกษานี้ เพราะมีสังวรอันทำลายแล้ว และเพราะ

ละธรรมที่ควรละยังไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า

ผู้มิได้ฝึกฝนนี้ เพราะความไม่มีวินัยนี้ ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในคำว่า บุคคลผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ผู้ไม่ฉลาดในธรรมของ

สัตบุรุษ ผู้ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ นี้ก็นัยนั้นเหมือนกัน เพราะว่า

โดยอรรถ คำว่า สัตบุรุษกันพระอริยเจ้านี้ ไม่มีเหตุที่แตกต่างกัน เหมือนที่

กล่าวว่า บุคคลเหล่าใดเป็นพระอริยเจ้า บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

สัตบุรุษ บุคคลเหล่าใดเป็นสัตบุรุษ บุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า พระ-

อริยเจ้า ธรรมใดเป็นของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ชื่อว่า

เป็นของสัตบุรุษ ธรรมใดเป็นของสัตบุรุษ ธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ชื่อว่า

เป็นธรรมของพระอริยเจ้า วินัยของพระอริยะ ก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัย

ของสัตบุรุษก็คือวินัยของพระอริยะ คำว่า อริยะ หรือคำว่า สัตบุรุษ ก็ได้แก่

อริยธรรมหรือสัปปุริสธรรม คำว่า อริยวินัย หรือสัปปุริสวินัยนี้นั้น เป็นอัน

เดียวกัน ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเสมอกัน หรือมีความเป็น

อันเดียวกันนั่นแหละ.

คำว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ (ย่อมเห็นรูปเป็นตน) ความว่า

บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตน ย่อมเห็นรูปและตนไม่ใช่เป็นภาวะ ๒

อย่าง คือเห็นว่า รูปอันใดเราก็อันนั้น เราอันใดรูปก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อ

ประทีปน้ำมันลุกขึ้นไหม้อยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและสีไฟนั้นไม่ใช่เป็น ๒

อย่างว่าเปลวไฟอันใดสีก็อันนั้น สีไฟอันใดเปลวก็อันนั้นดังนี้ ชื่อแม้ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นรูปเป็นตนฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลย่อมเห็นรูป

เป็นตนด้วยการเห็นอันเป็นทิฏฐิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน (หรือเห็นตนมีรูป) ความว่า บุคคล

ถือว่า อรูป (นาม) เป็นตน จึงเห็นตนนั้นมีรูป เหมือนเห็นต้นไม้มีเงาฉะนั้น.

คำ อตฺตนิ วา รูป (เห็นรูปในตน) ความว่า บุคคลถืออรูป

(นาม) นั่นแหละว่าเป็นตน ย่อมเห็นรูปในตน เหมือนกลิ่นมีในดอกไม้ฉะนั้น.

คำว่า รูปสฺมึ วา อตฺตาน (เห็นตนในรูป) ความว่า บุคคลถือ

อรูปนั่นแหละเป็นตน ย่อมเห็นตนในรูป เหมือนเห็นแก้วมณีในขวดฉะนั้น.

แม้ในขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ย่อมเห็นรูปเป็นตน พระองค์ตรัสว่า

สุทธรูป คือรูปล้วน ๆ เท่านั้นว่าเป็นตน. ตรัสว่า อรูปเป็นตนไว้ในฐานะ

ทั้ง ๗ เหล่านั้น รูปวนฺต วา อตฺตาน อตฺตนิ วา รูป รูปสฺมึ วา

อตฺตาน เวทน อตฺตโต ฯเปฯ สญฺญ สขาเร วิญฺาณ อตฺตโต

สมนุปสฺสติ คือ หรือเห็นตนมีรูป ๑ หรือเห็นรูปในตน ๑ หรือเห็นตนใน

รูป ๑ เห็นเวทนาเป็นตน ๑ ฯลฯ เห็นสัญญาเป็นตน ๑ เห็นสังขารเป็นตน ๑

เห็นวิญญาณเป็นตน ๑. ตรัสว่า ตนระคนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ ด้วย

อำนาจแห่งขันธ์ละ ๓ อย่าง ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า หรือเห็นตนมีเวทนา ๑

หรือเห็นเวทนาในตน ๑ หรือเห็นตนในเวทนา ๑.

บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ตรัสอุจเฉททิฏฐิในฐานะทั้ง ๕ คือ ย่อมเห็นรูป

เป็นตน ๑ ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน ๑ ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน ๑ ย่อมเห็น

สังขารเป็นตน ๑ ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน ๑. ในฐานะที่เหลือตรัสสัสสตทิฏฐิ

ในที่นี้จึงเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ วิภวทิฏฐิ ๕ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบทิฏฐิเหล่า

นั้น แม้ทั้งหมดห้ามมรรคแต่ไม่ห้ามสวรรค์ อันมรรคที่หนึ่งพึงประหาณดังนี้.

ว่าด้วยความสงสัย

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า สตฺถริ กงฺขติ (เคลือบแคลงสงสัยใน

พระศาสดา) ความว่า ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงในพระสรีระหรือในคุณของ

พระศาสดาหรือทั้ง ๒ อย่าง. เมื่อเคลือบแคลงในพระสรีระย่อมเคลือบแคลงว่า

พระสรีระชื่อว่า ประดับด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีอยู่

หรือไม่หนอ ดังนี้. เมื่อเคลือบแคลงในพระคุณย่อมเคลือบแคลงว่า พระ-

สัพพัญญุตญาณอันสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้.

เมื่อเคลือบแคลงในสิ่งทั้ง ๒ นั้น ย่อมเคลือบแคลงว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

ผู้ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งพระสรีระ อันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐

หรือพระรัศมีซ่านไปวาหนึ่ง ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณสามารถรู้ไญย-

ธรรมทั้งปวงดำรงอยู่ ทรงเป็นผู้นำของโลก มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ จริงอยู่

ปุถุชนนี้เมื่อยังเคลือบแคลงในพระอัตภาพ หรือในพระคุณของพระสัมมา

สัมพุทธะนั้น ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิ่งทั้งสองนี้.

บทว่า วิจิกิจฺฉติ (สงสัย) ความว่า ปุถุชนเมื่อไม่สามารถตัดสิน

อารมณ์ได้ ย่อมยาก ย่อมลำบาก ย่อมไม่น้อมใจเชื่อ ในอธิการนี้เท่านั้น

ย่อมไม่ได้อธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ). บทว่า น สปสีทติ (ย่อมไม่ผ่องใส)

ได้แก่ ไม่สามารถจะทำจิตมิให้ขุ่นมัวเลื่อมใส คือย่อมไม่เลื่อมใสในคุณ

ทั้งหลาย.

ส่วนในข้อว่า ธมฺเม กงฺขติ (เคลือบแคลงในพระธรรม) เป็นต้น

ก็เมื่อเคลือบแคลงอยู่ว่า ชื่อว่า อริยมรรค ๔ ที่ละกิเลส สามัญผล ๔

สงบระงับจากกิเลสทั้งหลาย อมตมหานิพพานเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรค

และผลมีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้บ้าง เมื่อเคลือบแคลงว่า ธรรมนี้เป็นนิยยานิก-

ธรรม เป็นธรรมนำออก หรือเป็นอนิยยานิกธรรม เป็นธรรมไม่นำออก

หรือหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม. เมื่อเคลือบแคลงว่า

สังฆรัตนะนี้คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผู้ตั้งอยู่ในผล ว่ามีอยู่หรือไม่หนอ

ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า พระสงฆ์นี้เป็นผู้ปฏิบัติดีหรือปฏิบัติชั่วหนอ ดังนี้

ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า วิบากผลแห่งทานที่ถวายในสังฆรัตนะนี้ มีอยู่หรือ

ไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระสงฆ์. เมื่อเคลือบแคลงว่า

ก็สิกขา ๓ มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี เมื่อเคลือบแคลงว่า สิกขา ๓ มีอานิสงส์

เพราะการศึกษาเป็นเหตุหรือไม่หนอ ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เคลือบแคลงในสิกขา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่ล่วงไปแล้ว เรียกว่า ปุพพันตะ (ส่วนอดีต)

ที่ยังไม่มาถึงเรียกว่า อปรันตะ (ส่วนอนาคต) ในบรรดาส่วนทั้ง ๒ นั้น

เมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์ในส่วนอดีตในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ที่เป็นส่วนอดีต

เป็นต้น มีอยู่หรือไม่มี ? ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์เป็นต้นในส่วนอดีต.

เมื่อเคลือบแคลงว่า ขันธ์เป็นต้นที่เป็นส่วนแห่งอนาคตในอนาคต มีอยู่หรือ

ไม่หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในขันธ์ เป็นต้นในส่วนอนาคต. เมื่อเคลือบ

แคลงในส่วนทั้ง ๒ ชื่อว่า เคลือบแคลงในปุพพันตะและอปรันตะ (ส่วน

อดีตและอนาคต). เมื่อเคลือบแคลงว่าวัฏฏปัจจาการ ๑๒ บท มีอยู่หรือไม่

หนอ ชื่อว่า เคลือบแคลงในพระธรรม อันเป็นอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุ-

ปปันนะ ในธรรมที่เป็นอิทัปปัจจยตาเป็นต้นนั้น พึงทราบวจนัตถะต่อไปนี้

ปัจจัยทั้งหลายของชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า อิทัปปัจจยา ความ

เป็นแห่งอิทปปัจจยาทั้งหลาย ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา อีกอย่างหนึ่ง อิทัป-

ปัจจยานั่นเองชื่อว่า อิทัปปัจจยตา คำว่า อิทัปปัจจยตา นี้เป็นชื่อของธรรม

มีชาติเป็นต้น. ธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยธรรมนั้น ๆ ในบรรดาธรรมทั้งหลายมี

ชาติเป็นต้น เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ข้อนี้มีอธิบาย

ว่า ย่อมเคลือบแคลงในอิทัปปัจจยตา และในปฏิจจสมุปปันนธรรม.

บทว่า สีเลน ได้แก่ โคศีลเป็นต้น (ประพฤติเหมือนโค).

บทว่า วเตน (ด้วยพรต) ได้แก่ ด้วยโคพรตเป็นต้น.

บทว่า สีลพฺพเตน (ด้วยศีลพร ) ได้แก่ ด้วยบททั้ง ๒ นั้น.

บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ บริสุทธิ์จากกิเลส อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพาน

เท่านั้น เป็นความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

ก็ในบทว่า ตเทกฏฺา (ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน) นี้ ได้แก่ เป็นธุระ-

ตั้งอยู่ในที่เดียวกันแห่งการประหาณ ก็ในพระบาลีนี้ตรัสกิเลส ๒ อย่างเท่านั้น

คือทิฏฐิกิเลส และวิจิกิจฉากิเลส ส่วนกิเลส ๘ ที่ไม่ตรัสไว้ในที่นี้ คือ โลภะ

โทสะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เหล่านี้ บัณฑิตก็

พึงนำมาแสดง. ด้วยว่า บรรดากิเลส ๘ เหล่านี้ เมื่อทิฏฐิ และวิจิกิจฉาถูก

ประหาณอยู่ กิเลสเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ถีนะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่นำไปสู่อบาย เป็นกิเลสตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน

แห่งการประหาณ ย่อมถูกประหาณ ส่วนกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยเกิด

พร้อมกัน ก็ควรนำมาแสดง เพราะจิต ๕ อย่างเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วย

ทิฏฐิ ๔ และจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ย่อมถูกประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค

บรรดาจิตที่สหรคตด้วยกิเลสทั้ง ๕ เหล่านั้น เมื่อจิตที่สหรคตด้วยทิฏฐิเป็นอสัง-

ขาริก ๒ ถูกประหาณอยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โลภะ โทสะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ

อโนตตัปปะที่เกิดพร้อมกับอสังขาริกทิฏฐิจิต ๒ เหล่านั้น ก็ย่อมถูกประหาณด้วย

อำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกัน. ทิฏฐิกิเลสที่เหลือ

และวิจิกิจฉากิเลส ก็ย่อมถูกประหาณไปด้วยอำนาจกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียว

แห่งการประหาณ.

เมื่อแม้จิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิทั้งหลาย อันบุคคลประหาณ

อยู่ กิเลสเหล่านี้คือ โสภะ โทสะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

ซึ่งเกิดพร้อมกันกับจิตที่เป็นสสังขาริกสัมปยุตด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมถูก

ประหาณด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกัน.

ทิฏฐิกิเลสที่เหลือ และวิจิกิจฉากิเลสก็ย่อมถูกประหาณไปด้วยอำนาจแห่งกิเลส

ที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันในการประหาณ บุคคลย่อมได้กิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

กันโดยความเกิดพร้อมกันในกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันด้วยการประมาณ

เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันนี้มา

แสดงไว้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตสมฺปยุตโต (อันสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น) ได้แก่

สัมปยุตด้วยกิเลส ๘ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้นเหล่านั้น อีก

อย่างหนึ่ง พึงทำการแยกแสดงความเป็นขันธ์สัมปยุตแต่ละขันธ์อย่างนี้ คือ

สัมปยุตด้วยโลภะนั้น และสัมปยุตด้วยโทสะนั้น. บรรดากิเลสเหล่านั้น เมื่อ

ถือโลภะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโลภะ เมื่อถือเอาโทสะ หมู่กิเลส

ซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้คือ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่า

สัมปยุตด้วยโทสะ เมื่อถือเอาโมหะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ

โทสะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโมทะ

เมื่อท่านถือเอามานะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ซึ่งเกิดพร้อมกับมานะนั้น ก็ชื่อว่า

สัมปยุตตด้วยมานะ.

โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทำการประกอบว่า ขันธ์สัมปยุตด้วยถีนะนั้น

สัมปยุตด้วยอุทธัจจะนั้น สัมปยุตด้วยอหิริกะ สัมปยุตด้วยอโนตตัปปะนั้น

ดังนี้.

บทว่า ตสมุฏฺาน ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยโลภะนั้น ฯลฯ ตั้งขึ้นด้วย

อโนตตัปปะ. ในบทว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา (สภาวธรรม

เหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ) นี้อธิบายว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า

ทัสสนะ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคนั้นพึงละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ.

ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานก่อน.

ถามว่า โคตรภู เห็นพระนิพพานก่อนกว่ามิใช่หรือ.

ตอบว่า ไม่เห็นก็ไม่ใช่ แต่เห็นแล้วมิได้ทำกิจที่ควรทำ เพราะมิได้

ประหาณสังโยชน์ทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ควรจะกล่าวว่า โคตรภูญาณย่อมเห็น

ดังนี้. ในข้อนี้ มีชาวชนบทเป็นตัวอย่าง ก็ชาวชนบทนั้นแม้เห็นพระราชา

ในทีใดที่หนึ่งแล้ว ถึงกระนั้นก็กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้าพระราชา

เพราะยังมิได้ทำหน้าที่ถวายเครื่องบรรณาการให้สำเร็จ ดังนี้.

บทว่า อวเสโส โลโภ (โลภะที่เหลือ) ได้แก่ โลภะที่เหลือจาก

โสดาปัตติมรรคประหาณแล้ว. แม้ในโทสะเเละโมหะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

เพราะว่าโสดาปัตติมรรคประหาณกิเลสที่นำไปสู่อบายเท่านั้น เพื่อทรงแสดง

กิเลสอื่นจากกิเลสที่นำไปสู่อบายเหล่านั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตเทกฏฺา (กิเลส

ที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับโลภะ โทสะ โมหะนั้น). จริงอยู่ กิเลส ๕ อย่างเหล่านั้น

ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันโดยสัมปโยคะบ้าง โดยการประหาณบ้างจากกิเลสทั้ง ๓

นั้นที่มาในพระบาลี.

บทว่า เนวทสฺสเนน น ภาวนาย (ธรรมอันโสดาปัตติมรรค

และมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่พึงประหาณ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

ภาวธรรมอันมรรคเหล่านั้นพึงประหาณ ดุจการประหาณสังโยชน์เป็นต้น.

ส่วนการประหาณธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิว่า ธรรม

๑ อรรถกถาว่า ยตฺถ กตฺถจิ ราชาน ทิสฺวาปิ ปณฺณาการ ทตฺวา กิจฺจนิปฺผตฺติยา อนิฏฺตฺตาปิ

ราชาน น ปสฺสามีติ วทนฺโต ในโยชนาบอกสัมพันธ์การแปลว่า บทว่า ทิสวาปิ เป็นบุพพกาล

กิริยาของ วทนฺโต บทว่า ทตฺวา วีเสสนะของ กิจฺจนิปฺผตฺติยา และมีศัพท์หลังเป็น สัมภาวนัตถะ.

๒. ธรรมที่ไม่พึงประหาณ คือ กุศลจิต ๒๑ วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูปทั้งหมด

และนิพพาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

เหล่าใด คือ นามและรูปพึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันไป

ตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วเว้น ๗ ภพ เพราะโสดาปัตติมรรคญาณดับอภิสังขารวิญญาณ

ธรรมคือนามและรูปเหล่านั้น ย่อมดับในภพนี้ ดังนี้ อันใด พึงทราบว่า การ

ประหาณนั้น ท่านกล่าวหมายเอาปริยายนี้ว่า ธรรมเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะความ

ที่มรรคเหล่านั้นยังมิได้เกิด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะการประหาณ

กิเลสทั้งหลายอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าเป็นปัจจัย (อุปนิสฺสยปจฺจยาน)

ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสทัสสนเหตุติกะที่ ๙

ในทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงด้วย

พระดำรัสว่า ธรรมเหล่านี้ สภาวธรรมเหล่านี้มีเหตุพึงประหาณโดยโสดาปัตติ-

มรรคมีอยู่ ดังนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่ควรประหาณดีแล้วแสดงเหตุธรรมและ

สเหตุกธรรม โดยความเป็นฐานอันเดียวกันกับสังโยชน์เหล่านั้น จึงตรัสคำมี

อาทิว่า ตีณิ สญฺโชนานิ (สังโยชน์ ๓ ) ดังนี้อีก.

บรรดาเหตุธรรมและสเหตุกธรรมเหล่านั้น ในเหตุธรรมอันโสดาปัตติ-

มรรคพึงประหาณ มีโมหะสหรคตด้วยโลภะก็เป็นธรรมมีโลภะเป็นเหตุประกอบ

โมหะสหรคตด้วยโทสะเป็นธรรมมีโทสะเป็นเหตุประกอบ อนึ่ง โลภะและโทสะก็

เป็นเหตุประกอบกับโมหะ เพราะฉะนั้น โมหะที่สหรคตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่า

นั้นย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในเหตุธรรมและสเหตุกธรรมอันจะพึงละแม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่า เป็นเหตุธรรมอย่างเดียว ไม่มี

เหตุประกอบ เพราะไม่มีเหตุที่สัมปยุตแห่งกันและกัน เพราะฉะนั้น เพื่อแสดง

การประหาณโมหะที่ไม่มีเหตุประกอบนั้น จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ทสฺส-

เนนปหาตพฺพเหตุ สภาวธรรมเหล่านี้ มีเหตุพึงประหาณโดยโสดาปัตติ-

มรรค ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

ในทุติยบท พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงการประหาณ

โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพ-

เหตุ (สภาวธรรมเหล่านั้นมีเหตุพึงประหาณด้วยภาวนาคือมรรคเบื้องบน ๓ มีอยู่)

ดังนี้. ด้วยว่า โมหะอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น กระทำสัมปยุตตธรรมกับตน

ให้เป็นสเหตุกะและหมุนไปข้างหลัง จะจัดเป็นมหาตัพพเหตุบทก็ไม่ได้ เพราะ

ไม่มีสัมปยุตตเหตุแห่งกันและกัน เหมือนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ฉะนั้น.

ในตติยบท บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศล

ที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอัน

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่

จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุ.

ว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป

บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่

ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรม

ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปริตตะ)

ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตา-

รมณ์ (มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็น

อารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ)

อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะ

บ้าง.

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ ๑๕

พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตติกะ ต่อไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

บทว่า อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำ

มาตุฆาตเป็นต้นเป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดา

อนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้าม

อนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน. เพราะว่าเมื่อ

สร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่า

เขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย ๔ แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่ง

เต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนัน-

ตริยกรรมเหล่านั้นได้.

บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่

บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใด

อย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยัง

บุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้.

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป

บทว่า อริยมคฺค อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำ

โลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะ

บ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง.

ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์

ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ มีปัจจัยเป็นอรรถ

โดยนัยแรก พึงทราบความที่มัคคังคะที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุ

กล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นมรรคโดยนัยที่ ๒. โดยนัยแห่งตติยบท ทรงแสดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

ความที่สัมมาทิฏฐิเป็นสเหตุกะ ด้วยบทว่า มคฺเคน อุปฺปนฺนเหตุ ด้วยเหตุ

อันเกิดขึ้นด้วยมรรค ดังนี้.

บทว่า อธิปตึ กริตฺวา (กระทำมรรคให้เป็นอธิบดี) ได้แก่ กระทำ

ให้เป็นอารัมมณาธิบดี ธรรมที่มีอารมณ์เหล่านั้นแล เป็นปริตตธรรม.

เพราะว่า ในเวลาพระอริยสาวกทั้งหลายกระทำมรรคของตนให้หนักแล้วพิจารณา

ย่อมได้กระทำให้เป็นอารัมมณาธิบดี แต่พระอริยสาวกเมื่อพิจารณามรรคของ

ผู้อื่นด้วยเจโตปริยญาณแม้กระทำให้หนักก็กระทำให้หนักเหมือนมรรคอันตน

แทงตลอดแล้วไม่ได้. ถามว่า พระอริยสาวกเห็นพระตถาคตทรงกระทำยมก-

ปาฏิหาริย์อยู่ ย่อมกระทำมรรคของพระตถาคตให้หนักหรือไม่. ตอบว่า ย่อม

กระทำ แต่กระทำให้หนักเหมือนมรรคของตนไม่ได้. ในถ้อยคำของอรรถกถา

แม้นี้ว่า พระอรหันต์ไม่ทำธรรมอะไร ๆ ให้หนัก เว้นแต่มรรคผลและนิพพาน

ดังนี้ เป็นการอธิบายความนี้ทีเดียว.

บทว่า วิมสาธิปเตยฺเยน (เจริญมรรคมีวิมังสาเป็นอธิบดี) นี้ ตรัส

เพื่อแสดงสหชาตาธิปติ. เพราะว่า เมื่อบุคคลเจริญมรรคทำฉันทะให้เป็นใหญ่

ฉันทะก็ชื่อว่าอธิบดี มิใช่มรรคเป็นอธิบดี แม้ธรรมที่เหลือก็ชื่อว่า มีฉันทะ

เป็นอธิบดี มิใช่มีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในจิตตะก็นัยนี้แหละ แต่เมื่อบุคคล

เจริญมรรคกระทำวิมังสาให้เป็นใหญ่อยู่ วิมังสาธิบดีนั่นแหละย่อมเกิด มรรค

ก็เกิด เพราะฉะนั้น แม้ธรรมที่เหลือก็ย่อมชื่อว่ามีมรรคเป็นอธิบดี. แม้ในวิริยะ

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสอุปปันนติกะที่ ๑๗

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอุปปันนติกะ ต่อไป.

บทว่า ชาตา (เกิดแล้ว) ได้แก่ บังเกิดแล้ว คือมีภาวะของตน

อันได้เฉพาะแล้ว. บทว่า ภูตา (เป็นแล้ว) เป็นต้นเป็นไวพจน์ของคำว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

เกิดแล้วเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ จริงอยู่ การเกิดนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นแล้ว

เพราะความเกิดขึ้นแห่งภาวะของตน ชื่อว่า สัญชาต (เกิดพร้อมแล้ว)

เพราะเกิดขึ้นด้วยการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า นัพพัตตา

(บังเกิดแล้ว) เพราะถึงลักษณะแห่งการเกิดขึ้น ส่วนคำที่ตรัสว่า อภินิพฺพตฺตา

(บังเกิดเฉพาะแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุปสรรค. ที่ชื่อว่า ปาตุภูตา (ปรากฏแล้ว)

เพราะเป็นสภาวะปรากฏแล้วมีแล้ว. ที่ชื่อว่า อุปปันนา (เกิดขึ้นแล้ว ) เพราะ

พ้นไปจากอดีต คำว่า สมุปฺปนฺนา (เกิดขึ้นพร้อมแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วยอุป-

สรรค ที่ชื่อว่า อุฏฺิตา (ตั้งขึ้นแล้ว) เพราะตั้งเบื้องบนด้วยความหมายว่าเกิดขึ้น

แล้ว ที่ชื่อว่า สมุฏิตา (ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว) เพราะตั้งขึ้นแล้วด้วยการประกอบ

แห่งปัจจัย พึงทราบเหตุกระทำถ้อยคำว่า อุปนฺนา อีกโดยนัยที่กล่าวในหนหลัง

นั่นแหละ.

บทว่า อุปนฺนเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์ด้วยส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว)

ได้แก่ ถึงการนับโดยส่วนที่เกิดขึ้น. คำว่า รูปเวทนาสัญญาสังขารและ

วิญญาณ นี้ เป็นคำแสดงสภาวะของธรรมเหล่านั้น.

ในนิทเทสแห่งบทที่ ๒ พึงทราบโดยนัยปฏิเสธธรรมที่กล่าวแล้ว

นิทเทสแห่งบทที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็ติกะนี้พระองค์ทรงแสดงเต็มอัทธา (กาล) ทั้ง ๒ จริงอยู่ วิบาก

แห่งกรรมที่มีโอกาสอันได้แล้วมี ๒ อย่าง คือ วิบากที่ถึงขณะแล้ว และที่ยัง

ไม่ถึงแล้ว. บรรดาวิบากกรรม ๒ เหล่านั้น วิบากที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่า

อุปปันนะ (เกิดขึ้นแล้ว). วิบากที่ยังไม่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) จะเกิดขึ้นในลำดับแห่ง

จิต หรือในกาลก้าวล่วงไปอีกแสนกัปจะชื่อว่าไม่มี ย่อมไม่เป็นได้ ด้วยอรรถว่า

เป็นสภาวะปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น. เหมือนอย่างใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

พระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ อัตตาที่ไม่มีรูปนี้สำเร็จด้วยสัญญาตั้งอยู่ ที่นั้น

เพราะละสัญญานั้นแล้ว สัญญาอื่นทีเดียวย่อมเกิดแก่บุรุษนี้ สัญญาอื่นนั้นแหละ

ก็ย่อมดับไป ดังนี้ มูลภวังคสัญญา (สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์) ย่อมดับไป

ในกาลเป็นไปแห่งสัญญาในกามาวจร ในอรูปภูมิแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในกาล

แห่งสัญญาฝ่ายกามาวจรดับแล้ว สัญญาสัมปยุตด้วยมูลภวังค์นั้น จักเกิดขึ้น

แน่นอน เพราะฉะนั้น อัตตากล่าวคืออรูปจึงไม่ถึงการนับว่าย่อมไม่มี เกิดแล้วว่า

ชื่อว่ายังดำรงอยู่ทีเดียว ข้อนี้ ฉันใด วิบากแห่งกรรมมีโอกาสอันได้แล้วก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน มี ๒ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่า ย่อมไม่มี ย่อมไม่เป็นไปด้วยอรรถกถา

เป็นสภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอน จึงชื่อว่าธรรมทั้งหลายที่จะต้องเกิดแน่นอน.

ก็ผิว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่สัตว์ทำไว้แล้ว พึงให้วิบากทั้งหมด

ไซร้ โอกาสแห่งกรรมอื่นก็ไม่พึงมี. แต่กรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ให้วิบาก

แน่นอน และให้วิบากไม่แน่นอน.

บรรดากรรมที่ให้วิบากแน่นอนและไม่แน่นอนเหล่านั้น อนันตริย-

กรรม ๕ สมาบัติ ๘ อริยมรรค ๔ ชื่อว่า กรรมมีวิบากที่แน่นอน ก็กรรม

ที่ให้วิบากที่แน่นอนนั้นถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วก็มี ที่ยังไม่ถึงขณะก็มี. ในกรรม

ทั้ง ๒ นั้น กรรมที่ถึงขณะ (ทั้ง ๓) แล้วชื่อว่า อุปฺปนฺน (เกิดขึ้นแล้ว)

ที่ยังไม่ถึงขณะ ชื่อว่า อนุปฺปนฺน (ยังไม่เกิดขึ้น) วิบากของกรรมที่ยังไม่

เกิดขึ้นนั้น จงเกิดขึ้นในลำดับแห่งจิต หรือในก้าวล่วงไปอีกแสนกัปก็ตาม

ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่าเป็นภาวะแห่งปัจจัยที่แน่นอน

ธรรมเหล่านี้แหละชื่อว่าจะเกิดขึ้น เหมือนอย่างมรรคของพระเมตไตรยโพธิสัตว์

ชื่อว่า อนุปปันนะ (ยังไม่เกิดขึ้น) และผลจึงชื่อว่า ธรรมทั้งหลายจะเกิด

แน่นอน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

ว่าด้วยนิทเทสอดีตติกะที่ ๑๘

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอดีตติกะ ต่อไป

บทว่า อตีตา (ล่วงไปแล้ว) ได้แก่ ก้าวล่วงไป ๓ ขณะ (อุปาท-

ขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ). บทว่า นิรุทฺธา (ดับแล้ว) ได้แก่ ถึงความดับแล้ว.

บทว่า วิคตา (ปราศไปแล้ว ) ได้แก่ถึงความพินาศไปแล้ว หรือถึงจากไปแล้ว.

บทว่า วิปริณตา (แปรไปแล้ว) ได้แก่ ถึงการแปรปรวนโดยละปกติไป.

ที่ชื่อว่า อัสดงคตแล้ว เพราะอรรถว่า ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้กล่าวคือ

ความดับ. บทว่า อพฺภตฺถงฺคตา (ถึงความดับสูญแล้ว) ท่านเพิ่มบทด้วย

อุปสรรค. บทว่า อุปฺปชฺชิตฺวา วิคตา (เกิดขึ้นแล้วปราศไป) ได้แก่

เกิดขึ้นแล้วก็จากไป เหตุโดยการตรัสอดีตอีกข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้ว

ทั้งนั้น. แม้ในธรรมมีอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า อตีตเสน สงฺคหิตา (สงเคราะห์โดยส่วนที่ล่วงไปแล้ว)

ได้แก่ถึงการนับโดยส่วนธรรมที่เป็นอดีต. ก็ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้นเป็นไฉน ?

ธรรมที่ล่วงแล้วเหล่านั้น คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ. แม้ใน

ธรรมที่เป็นอนาคตเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในนิทเทสอตีตารัมมณติกะ (ที่ ๑๙) ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อตีเต

ธมฺเม อารพฺภ (ปรารภอดีตธรรม) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเฉพาะปริตตธรรม

และมหัคคตธรรมเท่านั้น เพราะว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นปรารภ

ธรรมเป็นอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น.

ว่าด้วยนิทเทสอัชฌัตตติกะที่ ๒๐

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอัชฌัตตติกะ ต่อไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ด้วยบททั้งสองว่า เตส เตส (เหล่านั้น ๆ) ได้แก่ ทรงกำหนด

เอาสัตว์ทั้งหมด. บททั้งสองว่า อชฺฌตฺต ปจฺจตฺต (เป็นภายในเป็นเฉพาะ

ตน) เป็นชื่อของธรรมที่เป็นภายในเกิดในตน. บทว่า นิยตา ได้แก่

เกิดแก่ตน. บทว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ได้แก่ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล. บทว่า

อุปฺปาทินฺนา (เป็นอุปาทินนะ) ได้แก่ เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ จริงอยู่

ธรรมเหล่านั้นเกิดด้วยกรรมหรือไม่ก็ตาม แต่ในอัชฌัตตติกนิทเทสนี้ ตรัสว่า

อุปาทินนะ ด้วยอำนาจตัณหายึดถือไว้และทิฏฐิลูบคลำแล้ว.

บทว่า ปรสตฺตาน (ของสัตว์อื่น) ได้แก่ สัตว์ที่เหลือเว้นตนเอง.

คำว่า ปรปุคฺคลาน (บุคคลอื่น) เป็นไวพจน์ของคำว่า ปรสตฺตาน นั่นเอง.

คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า ตทุภย ตัดบทเป็น

ต อุภย แปลว่า ธรรมทั้ง ๒ นั้น.

ในปฐมบท แห่งอัชฌัตตารัมมณติกะ (ที่ ๒๑) พึงทราบว่า ได้แก่

ธรรมที่เป็นปริตตะ และมหัคคตะ ในทุติยบท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรม

ทั้งหลาย (ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม) แม้อัปปมาณธรรม. ในตติยบท

พึงทราบว่า ได้แก่ ปริตตธรรมและมหัคคตธรรมเท่านั้น. แต่ว่าอัปปมาณธรรม

(ในทุติยบท) ไม่กระทำอารมณ์ในภายนอกและในภายในตามกาล (นิพพาน

เป็นกาลวิมุตติ).

นิทเทสแห่งสนิทัสสนติกะ (ที่ ๒๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

เหตุโคจฉกะ

[๖๘๙] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ กามาวจรเหตุ ๙ รูปาวจร-

เหตุ ๖ อรูปาวจรเหตุ ๖ โลกุตรเหตุ ๖.

[๖๙๐] บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยา

ที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คืออโลภะ

นี้เรียกว่า อโลภะ.

อโทสะ เป็นไฉน ?

ไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย

ไมตรีกิริยาที่สนิทสนม ความสนิทสนม การเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเอ็นดู

ความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ความสงสาร ความไม่พยาบาท ความไม่คิด

เบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ.

อโมหะ เป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้

ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้

ทั้งในส่วนอดีต และส่วนอนาคต ความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม

นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด

เฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด

ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา

เครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญิน-

ทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่าง

คือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว

ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ที่มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด

นี้เรียกว่า อโมหะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓.

[๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะ.

บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ

ผู้ยังสัตว์ให้เกิดธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ

อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ

เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง

ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร

ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ

ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ

ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความ

กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ

ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่

สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ]. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์

เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์

ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด

แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ

ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

โทสะ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม

เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย

คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำ

ความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้

ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแต่คนผู้ไม่

เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ

ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย

ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธมี

ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย

ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย

ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต

นี้เรียกว่า โทสะ.

โมหะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท-

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น

ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทง

ตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ

ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา

ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคือ

อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา

อกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓.

[๖๙๒] อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากของกุศลธรรม หรือ อโลภะ

อโทสะ อโมหะ ในพวกกิริยาอัพยากตธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อัพยากตเหตุ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

[๖๙๓] กามาวจรเหตุ ๙ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

กามาวจรเหตุ ๙.

รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖.

อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.

[๖๙๔] โลกุตรเหตุ ๖ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตรเหตุ ๖.

บรรดาโลกุตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

บรรดากุศลเหตุ ๓ นั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่

กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูล คือ อโลภะ นี้เรียกว่า

อโลภะ.

อโทสะ เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้ายกิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย

ฯลฯ ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียด กุศลมูล คือ อโทสะ นี้เรียกว่า

อโทสะ.

อโมหะ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้

ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้

ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุป-

บาทธรรม ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัย

ธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ

ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด

ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา

เครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญิ-

นทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความ

สว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือน

ดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่า อโมหะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศลเหตุ ๓.

อัพายตเหตุ ๓ เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรม สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกุตรเหตุ ๖.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ.

[๖๙๕] ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

เว้นธรรมเป็นเหตุเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยา-

กตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนา-

ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

[๖๙๖] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ.

ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด ไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมไม่มีเหตุ.

[๖๙๗] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือเวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ.

[๖๙๘] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน ?

โลภะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโลภะ

โทสะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และมีเหตุโดยโทสะ

อโลภะ อะโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และมีเหตุโดยกันและกัน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และมีเหตุ.

ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

ธรรมเหล่าใด มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็น

เหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

[๖๙๙] ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

โลภะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และ

สัมปยุตด้วยเหตุโดยโลภะ.

โทสะเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุโดยโมหะ โมหะเป็นเหตุ และ

สัมปยุตด้วยเหตุโดยโทสะ.

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทั้ง ๓ นั้นเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ

โดยกันและกัน.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ และสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น เว้นธรรมที่เป็น

เหตุเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

[๗๐๐] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น คือ

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ

แต่มีเหตุ.

ธรรมไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดไม่เป็นเหตุ และไม่มีเหตุโดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น

คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.

เหตุโคจฉกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

จูฬันตรทุกะ

[๗๐๑] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน ?

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ

ขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปัจจัย.

ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน ?

อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.

[๗๐๒] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน ?

ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรม

เป็นสังขตะ.

ธรรมเป็นอสังขตะ นั้นเป็นไฉน ?

ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็น

อสังขตะ.

[๗๐๓] ธรรมที่เห็นได้ เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,

รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้.

[๗๐๔] ธรรมที่กระทบได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ที่กระทบได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ธรรมที่กระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้

ซึ่งนับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่

กระทบไม่ได้.

[๗๐๕] ธรรมเป็นรูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นรูป.

ธรรมไม่เป็นรูป เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูป.

[๗๐๖] ธรรมเป็นโลกิยะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ

ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกิยะ.

ธรรมเป็นโลกุตระ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นโลกุตระ.

[๗๐๗] ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้ และที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้

เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้

หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม

เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

เหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด

จักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด

ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดจักขุ

วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดกาย

วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้

หรือธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้,

ธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือ

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม

เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด

กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดโสต

วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณ

รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้

หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้,

ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม

เหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรมเหล่าใด

ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดจักขุ

วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฐานวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใดฆานวิญญาณ

รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้

ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้

หรือธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้

ธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือ

ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรม

เหล่าใดชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรม

เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด

ชิวหาวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใด

ฆานวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้.

ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้

หรือธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้ ธรรม

เหล่าใดกายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรม

เหล่าใดโสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้, ธรรมเหล่าใด

กายวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นฆานวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือธรรมเหล่าใดฆาน

วิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณไม่รู้ได้ ธรรมเหล่าใดกายวิญญาณ

รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้, หรือธรรมเหล่าใดชิวหาวิญญาณ

รู้ได้ ธรรมเหล่านั้นกายวิญญาณรู้ไม่ได้.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้และที่จิตบางอย่าง

รู้ไม่ได้.

จูฬันตรทุกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยเหตุโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยนิทเทสอโทสะในเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า ไมตรี ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่สนิทสนม. อาการแห่ง

ไมตรี ชื่อว่า กิริยาที่สนิทสนม. ความเป็นมิตรที่พรั่งพร้อมด้วยเมตตาอัน

ไมตรีให้เป็นไป ชื่อว่า เมตฺตายิตตฺต คือ ความสนิทสนม. ที่ชื่อว่า อนุทฺทา

คือการเอ็นดู เพราะอรรถว่า ย่อมเอื้อเฟื้อ คือย่อมคุ้มครอง. อาการที่เอ็นดู

ชื่อว่า อนุทฺทยนา คือกิริยาที่เอ็นดู. ความเป็นแห่งกิริยาที่เอ็นดู ชื่อว่า

อนุทฺทายิตตฺต คือความเอ็นดู. การแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิเตสิตา

คือความแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. ชื่อว่า อนุกมฺปา คือความสงสาร ด้วย

อำนาจการอนุเคราะห์.

พระองค์ตรัสถึงเมตตาที่บรรลุอุปจารสมาธิและอัปปนา ด้วยบทเหล่านี้

แม้ทั้งหมด ตรัสถึงอโทสะเป็นโลกิยะและโลกุตระด้วยบทที่เหลือ.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอโมหะ ต่อไป.

บทว่า ทุกฺเข าณ (ความรู้ในทุกข์) ได้แก่ ปัญญาในทุกขสัจจะ.

แม้ในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสมุทเย าณ เป็นต้นก็นัยนี้. ก็บรรดาความรู้ใน

ทุกข์เป็นต้นนั้น ความรู้ในทุกข์ (ทุกเข าณ) ย่อมเป็นไปใน การฟัง การ

เข้าใจ การแทงตลอดและการพิจารณา ความรู้ทุกขสมุทัยก็เป็นไปอย่างนั้น.

แต่ความรู้ในนิโรธ ย่อมเป็นไปในการฟัง การแทงตลอดและการพิจารณา

นั่นแหละ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาก็เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

บทว่า ปุพฺพนฺเต (ในส่วนอดีต) ได้แก่ ในส่วนที่ล่วงไปแล้ว.

บทว่า อปรนฺเต (ในส่วนอนาคต) ได้แก่ ในส่วนที่ยังไม่มาถึง. บทว่า

ปุพฺพนฺตาปรนฺเต ได้แก่ ในส่วนทั้ง ๒ นั้น. คำว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจ-

สมุปฺปนฺเนสุ าณ (ความรู้ในอิทัปปัจจยตาธรรมและปฏิจจสมุปบาทธรรม)

ได้แก่ ความรู้เนื้อความในปัจจัยทั้งหลายและในธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย

อย่างนี้ว่า นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมนี้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโลภะ

เนื้อความแห่งบททั้งหลายที่ยังมิได้กล่าวไว้ในหนหลังแม้ในโลภนิทเทส

พึงทราบดังต่อไปนี้.

สภาวะที่ชื่อว่า ราคะ (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี. ที่ชื่อว่า

สาราคะ (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อนุนโย

(ความคล้อยตามอารมณ์) เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยไปในอารมณ์ทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า อนุโรโธ (ความยินดี) เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ อธิบายว่า ย่อม

ยังสัตว์ให้ใคร่. ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ

ให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน. ความเพลิด

เพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันทีราคะ

นั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า นันที (ความเพลิดเพลิน)

เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความ

เพลิดเพลิน).

บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค (ความกำหนัดหนักแห่งจิต) ได้แก่ ความ

กำหนัดใดที่ตรัสไว้ว่า สาราโค (ความกำหนัดหนัก) ด้วยอรรถว่า ความยินดีมี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

กำลังในหนหลัง ความกำหนัดหนักนั้นเป็นความกำหนัดหนักของจิตเท่านั้น

มิใช่ของสัตว์.

สภาวะที่ชื่อว่า อิจฺฉา (ความอยาก) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุอยาก

อารมณ์. ที่ชื่อว่า มุจฺฉา (สยบ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์สยบเพราะ

ความที่กิเลสมีกำลัง. ที่ชื่อว่า อชฺโฌสาน (ความหมกหมุ่น) ด้วยอำนาจการ

ถือเอาโดยการกลืนให้สิ้นไป. ที่ชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุให้สัตว์มักมากด้วยราคะนี้ คือให้ถึงความตะกละตะกลาม. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า เคโธ (ความใคร่) ด้วยอรรถว่าหนาแน่น จริงอยู่ อรรถว่าหนาแน่น

นี้แหละ เหมือนที่ตรัสว่า ความใคร่เป็นดังไพรสณฑ์ทึบ (หนาแน่น) ดังนี้.

บทต่อไปคือ ปลิเคโธ (ความรักใคร่) ท่านเพิ่มด้วยอำนาจอุปสรรค. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปลิเคโธ (ความรักใคร่) เพราะอรรถว่า เป็นความละโมบ

โดยส่วนทั้งปวง. ที่ชื่อว่า สงฺโค (ความข้อง) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้

สัตว์ติดอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สงฺโค ด้วยอรรถว่าติดอยู่. ที่ชื่อว่า ปงฺโก

(ความจมอยู่) ด้วยอรรถว่าจมลง. ที่ชื่อว่า เอชา (ธรรมชาติผู้คร่ามา)

ด้วยอำนาจแห่งการคร่ามา จริงอยู่คำนี้ตรัสไว้ว่า ธรรมชาติผู้คร่ามา ย่อมชัก

ลากบุรุษไปเพื่อเกิดขึ้นเฉพาะในภพนั้น ๆ โดยแท้. ที่ชื่อว่า มายา (ธรรมชาติ

หลอกลวง) ด้วยอรรถว่าล่อสัตว์ไว้. ที่ชื่อว่า ชนิกา (ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้

เกิด) ด้วยอรรถว่ายังสัตว์ให้เกิดในวัฏฏะ จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ว่า ตัณหาย่อม

ยังสัตว์ให้เกิด จิตของสัตว์นั้นย่อมพล่านไป. ที่ชื่อว่า สญฺชนนี (ธรรมชาติผู้

ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดผูกมัดไว้ด้วยความทุกข์ใน

วัฏฏะ. ที่ชื่อว่า สิพฺพินี (ธรรมชาติอันร้อยรัด) เพราะอรรถว่า ย่อมร้อยรัด

สัตว์ไว้ด้วยการสืบต่อ จริงอยู่ ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ให้สืบต่อ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ด้วยอำนาจจุติปฏิสนธิ เหมือนช่างชุน ชุนผ้าท่อนเก่ากับผ้าท่อนเก่า เพราะ

ฉะนั้นจึงตรัสว่า ตัณหานี้ย่อมร้อยรัดสัตว์ไว้ ด้วยอรรถว่ากระทำให้สืบต่อ.

ที่ชื่อว่า ชาลินี (ธรรมชาติมีข่าย) เพราะอรรถว่า ข่ายคืออารมณ์มีประการ

มากมาย หรือว่าข่ายคือการเข้าไปดิ้นรนของตัณหานั้นมีประการต่าง ๆ.

ที่ชื่อว่า สริตา (ธรรมชาติอันกำเริบใจ) เพราะอรรถว่า เหมือน

แม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ด้วยอรรถว่าคร่ามา อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สริตา

ด้วยอรรถว่าชุ่มใจ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า โสมนัสเป็นธรรมชาติชุ่มใจ เป็นความ

เสน่หาย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิด ก็ในบาลีนั้นอธิบายว่า ตัณหานี้เป็นความชุ่มชื่นและ

ความสนิทสนมกัน. ที่ชื่อว่า วิสตฺติกา (ธรรมชาติอันซ่านไป) เพราะอรรถว่า

หลั่งไหลไป.

อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซึมซาบไป

ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า กว้างขวาง ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะ

อรรถว่า ย่อมกระสับกระส่าย ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า หลอกลวง

ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ย่อมบั่นทอนโดยประการต่าง ๆ ชื่อว่า

วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า

มีผลเป็นพิษ คือว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นเป็นผลมาแต่ตัณหานั้น เหตุนั้น

ตัณหานั้นท่านจึงเรียกว่า มีรากเป็นพิษ ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า

มีการบริโภคเป็นพิษ ก็หรือชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ตัณหานั้นซ่าน

ไปในอารมณ์ต่าง ๆ คือแพร่หลาย ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ในธรรม ในตระกูล ในคณะ.

ที่ชื่อว่า สุตฺต (ธรรมชาติเหมือนเส้นด้าย) เพราะอรรถว่า ดุจเส้น

ด้ายที่ผูกเต่าไว้ ด้วยอรรถว่าให้ถึงความเสื่อมและความพินาศ สมดังพระดำรัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

ที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติเหมือนเส้นด้ายนี้แล เป็นชื่อของ

นันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน).

ที่ชื่อว่า วิสฏา (ธรรมชาติอันแผ่ไป) ด้วยอรรถว่า แผ่ขยายไปใน

อารมณ์แม้มีรูปเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อายุหนี (ธรรมชาติผู้ประมวลมา) เพราะ

อรรถว่า ยังสัตว์ให้ขวนขวายเพื่อการได้วัตถุนั้น ๆ. ที่ชื่อว่า ทุติยา (ธรรมชาติ

เป็นเพื่อนสอง) ด้วยอรรถว่า เป็นสหายเพราะการไม่ให้เพื่ออันเงยหน้า จริงอยู่

ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายเงยหน้าในวัฏฏะ. คือ ย่อมให้อภิรมย์ เหมือน

สหายรักในที่ ๆ ตนไปแล้ว ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า*

ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทฺธาน สสร

อิตฺถภาวญฺถาภาว สสาร นาติวตฺตติ

บุรุษ (สัตว์) มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง

ท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง

สงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้ (คือเป็นมนุษย์)

และความเป็นอย่างอื่น (คือเป็นเทวดา

เป็นต้น).

ที่ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งการตั้งความปรารถนา. ที่ชื่อว่า

ภวเนตฺติ (ธรรมชาตินำไปสู่ภพ) เพราะอรรถว่า ย่อมนำไปสู่ภพ จริงอยู่

สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหานี้นำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ เหมือนโคทั้งหลายที่ถูก

เชือกผูกคอไว้ ฉะนั้น.

ที่ชื่อว่า วน (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ย่อมประชุม คือ

ย่อมคบ ย่อมยึดซึ่งอารมณ์นั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วน เพราะอรรถว่า

ย่อมอ้อนวอน. บทว่า วนโถ (ตัณหาเหมือนดง) ทรงเพิ่มบทโดยพยัญชนะ

* อ. จตุกฺก เล่ม ๑๓ ๗/๑๒.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วน (ตัณหาเหมือนป่า) เพราะอรรถว่า ดุจป่า ด้วย

อรรถว่า ยังทุกข์อันเป็นความเสื่อมเสียให้ตั้งขึ้น และด้วยอรรถว่ารกชัฏ คำว่า

ป่า นี้ เป็นชื่อของตัณหาที่มีกำลังแรง ส่วนตัณหาที่มีกำลังแรงกว่านั้น ชื่อว่า

วนโถ ด้วยอรรถว่าเป็นดงชัฏ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า*

วน ฉินฺทถ มา รุกฺข วนโต ชายเต ภย

เฉตฺวา วน วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง

ตัดป่า (คือกิเลสมีราคะเป็นต้น) อย่าตัด

ต้นไม้ ภัย (มีความเกิดเป็นต้น) ย่อมเกิด

แต่ป่าคือกิเลส เธอทั้งหลายครั้นตัดป่า (คือ

กิเลสอันเกิดขึ้นก่อน) และหมู่ไม้ในป่า (คือ

กิเลสที่เกิดภายหลัง) แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีป่า

คือ ตัณหา.

ตัณหานั้น ชื่อว่า สนฺถโว (ความเกี่ยวข้อง) ด้วยอรรถว่า สนิทสนม

อธิบายว่า คลุกคลีแล้ว. สันถวะคือความเกี่ยวข้องนั้นมี ๒ อย่าง คือ

ตณฺหาสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา

มิตฺตสนฺถโว ความสนิทสนมด้วยอำนาจมิตร.

ในบรรดาสันถวะทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาตัณหาสันถวะ

คือ ความเกี่ยวข้องหรือสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา. ที่ชื่อว่า สิเนโห (ความ

เยื่อใย) ด้วยอำนาจความเสน่หา. ที่ชื่อว่า อเปกฺขา (ความห่วงใย) เพราะ

อรรถว่า ย่อมเพ่งด้วยอำนาจการทำความอาลัย ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ใน

* ธมฺมปท. มคฺควคฺค เล่ม ๒๕ ๓๐/ ๕๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

(มหาสุทัสสนสูตร) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระนครแปดหมื่นสี่พัน

มีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นประมุขเหล่านี้เป็นของพระองค์ ข้าแต่สมมติเทพ

ขอพระองค์จงยังความพอพระทัยให้เกิดในพระนครเหล่านั้นเถิด จงมีความห่วงใย

ในพระชนม์ชีพเถิด ดังนี้ จริงอยู่ ในพระบาลีนี้ท่านอธิบายว่า จงทำความ

อาลัย ดังนี้.

ตัณหาที่ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะอรรถว่า ย่อมผูกไว้

เฉพาะแต่ละอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิพนฺธุ (ความผูกพัน) เพราะ

อรรถว่า เฉพาะแต่อารมณ์ที่ผูกพันด้วยความหมายว่าเป็นญาติ จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า

พันธุ คือพวกพ้องเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยอรรถว่า

อาศัยอยู่เป็นนิตย์.

ตัณหาที่ชื่อว่า อาสา (การหวัง) เพราะการหวังอารมณ์ทั้งหลาย

อธิบายว่า เพราะครอบงำและเพราะการบริโภคไม่รู้จักอิ่ม. ที่ชื่อว่า อาสึสนา

(กิริยาที่หวัง) ด้วยอำนาจแห่งความหวัง. ภาวะแห่งความหวัง ชื่อว่า อาสึ-

สิตตฺต (ความหวัง).

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงฐานะแห่งการเป็นไปของตัณหานั้น จึงตรัสคำมี

อาทิว่า รูปาสา (ความหวังรูป) ดังนี้. ในพระบาลีมีอาทิว่า ความหวังในรูป

เป็นต้นนั้น พึงทราบบทแม้ ๙* อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสา

โดยถือเอาอรรถแห่งความหวังว่า ชื่อว่า อาสา (ความหวัง) ด้วยอำนาจ

ความปรารถนา. ก็ในบรรดาบททั้ง ๙ นี้ ๕ บทข้างต้นตรัสด้วยอำนาจ

เบญจกามคุณ. บทที่ ๖ ตรัสด้วยอำนาจความโลภในบริขาร บทที่ ๖ นั้น

เป็นของพวกบรรพชิตโดยพิเศษ ๓ บทต่อจากนั้นเป็นของพวกคฤหัสถ์ด้วย

* บททั้ง ๙ คือ ความหวังในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลาภ ทรัพย์ บุตร ชีวิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

อำนาจแห่งวัตถุเป็นอารมณ์ไม่รู้จักอิ่ม เพราะวัตถุอันเป็นที่รักยิ่งกว่าทรัพย์

บุตร ชีวิต ของพวกคฤหัสถ์เหล่านั้นมิได้มี.

ตัณหาที่ชื่อว่า ชปฺปา (ธรรมชาติผู้กระซิบ) เพราะอรรถว่า ยังสัตว์

ให้พูดอุบอิบอย่างนี้ว่า นี่ของฉัน นี่ของฉัน หรือว่า สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา

สิ่งนี้บุคคลโน้นให้แก่เรา ดังนี้. สองบทต่อจากนั้นคือ ปชปฺปา อภิชปฺปา

(ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง) ทรงเพิ่มอุปสรรคเข้ามา.

ต่อจากนั้นไป ทรงตรัสคำว่า ชปฺปา (การกระซิบ) อีก เพราะทรงปรารภ

เพื่อจะจำแนกโดยอาการอื่น. คืออาการกระซิบชื่อว่า ชปฺปายนา (กิริยาที่

กระซิบ ภาวะแห่งการกระซิบ ชื่อว่า ชปฺปิตตฺต (ความกระซิบ) ที่ชื่อว่า

โลลุโป (การละโมบ) เพราะอรรถว่า ย่อมปล้น คือ กระชากมาในอารมณ์

บ่อย ๆ ภาวะแห่งการละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺป (กิริยาที่ละโมบ) อาการแห่ง

กิริยาที่ละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายนา (ความละโมบ) ภาวะแห่งบุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยความละโมบ ชื่อว่า โลลุปฺปายิตตฺต.

บทว่า ปุญฺจิกตา (ธรรมชาติเป็นเหตุซมซาน) ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

เที่ยวหัวเราะระริกไป เหมือนพวกสุนัขสั่นหางอยู่ในที่เป็นที่ตั้งแห่งความอยาก

ด้วยตัณหาใด นั้นเป็นชื่อแห่งตัณหาอันให้เกิดหัวเราะระริกไปนั้น.

บทว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี) ความว่า อยากได้

อารมณ์ที่ชอบใจที่ชื่นใจอันดี เรียกว่า ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี ภาวะแห่ง

ความใคร่ในอารมณ์ที่ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี).

ตัณหาที่ชื่อว่า อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร)

เพราะอรรถว่า มีความกำหนัดในฐานะอันไม่ควรมีมารดาและน้าเป็นต้น.

ความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแรง แม้ในฐานะที่ควร ชื่อว่า วิสมโลโภ

(ความโลภเกินขนาด) อีกอย่างหนึ่ง ฉันทราคะคือ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ความพอใจ) เกิดขึ้นในฐานะที่ควรหรือในฐานะที่ไม่ควร โดยพระบาลีที่ตรัส

ไว้ว่า ราโควิสม (ความกำหนัดไม่สม่ำเสมอ) เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า

อธมฺมราโค (ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร) ด้วยอรรถว่าไม่เป็นธรรม

และชื่อว่า วิสมโลโภ (ความโลภเกินขนาด) ด้วยอรรถว่าปราศจาก

ความสม่ำเสมอ ดังนี้.

ตัณหาที่ชื่อว่า นิกนฺติ (ความติดใจ) ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ใน

อารมณ์ทั้งหลาย. อาการแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า นิกามนา

(กิริยาที่ติดใจ). ที่ชื่อว่า ปฏฺนา (ความปรารถนา) ด้วยอำนาจแห่งความ

ตั้งใจ. ที่ชื่อว่า ปิหนา (ความกระหยิ่มใจ) ด้วยอำนาจความริษยา. ความ

ปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า สมฺปฏนา (ความปรารถนาหนัก).

ตัณหาในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา ตัณหาในรูปภพและอรูปภพ

ชื่อว่า ภวตัณหา ตัณหาในวิภวะกล่าวคือความขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหา

ตัณหาในรูปภพล้วนอย่างเดียว ชื่อว่า รูปตัณหา ตัณหาในอรูปภพ ชื่อว่า

อรูปภวตัณหา. ความยินดีสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ

ตัณหาในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา

ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา ตัณหาในกลิ่น ชื่อว่า คันธตัณหา.

แม้ในรสเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. คำว่า โอฆะเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว

นั่นแล.

ที่ชื่อว่า อาวรณ (อาวรณ์) เพราะย่อมกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ชื่อว่า

ฉาทน (เครื่องปิดบัง) ด้วยอำนาจการปกปิด. ที่ชื่อว่า พนฺธน (เครื่องผูก)

เพราะย่อมผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะเข้าถึงจิตแล้วให้

เศร้าหมอง คือ ทำให้เศร้าหมอง ที่ชื่อว่า อนุสัย เพราะย่อมนอนเนื่อง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

คือ เป็นไปด้วยอรรถว่ามีกำลัง ที่ชื่อว่า ปริยุฏฐาน เพราะเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต

อธิบายว่า ยึดความเป็นกุศลโดยไม่ให้เพื่อเกิดขึ้น. จริงอยู่ ในประโยคมีอาทิว่า

พวกโจรปล้นในหนทาง พวกนักเลงดักทำร้ายในหนทาง คือยึด

ทางไว้ ชื่อว่า ถือเอาซึ่งทาง ฉันใด แม้ในปริยุฏฐานนี้ ก็พึงทราบปริยุฏฐาน

ด้วยอรรถว่า ถือเอา ฉันนั้น.

ตัณหาที่ชื่อว่า ลตา (เหมือนเถาวัลย์) เพราะเป็นเหมือนเถาวัลย์

โดยความหมายว่า พันไว้รอบ ตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า เถาวัลย์ แม้ในที่ตรัส

ไว้ว่า ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺติ (ตัณหาเหมือนเถาวัลย์แตกแขนงตั้งอยู่) ดังนี้.

ที่ชื่อว่า เววิจฺฉ (ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ) เพราะปรารถนาวัตถุ

มีอย่างต่าง ๆ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขมูล (รากเหง้าแห่งทุกข์) เพราะเป็นมูลแห่ง

วัฏทุกข์. ที่ชื่อว่า ทุกฺขนิทาน (เหตุแห่งทุกข์) เพราะเป็นเหตุเกิดของทุกข์

นั่นนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขปฺปภโว (แดนเกิดแห่งทุกข์) เพราะทุกข์นั้น

ย่อมเกิดจากตัณหานี้. ที่ชื่อว่า ปาโส (บ่วง) เพราะเหมือนบ่วง ด้วยอรรถว่า

เครื่องผูก. บ่วงแห่งมารชื่อว่า มารปาโส. ที่ชื่อว่า พลิส (เบ็ด) เพราะ

เป็นเหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า สำรอกออกยาก. เบ็ดของมาร ชื่อว่า มารพลิส.

สัตว์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้วย่อมไม่ก้าวล่วงวิสัยแห่งมาร มารย่อมยังอำนาจให้

เป็นไปในเบื้องบนสัตว์เหล่านั้น โดยปริยายนี้ จึงเรียกว่า แดนแห่งมาร

เพราะเป็นวิสัยของมาร.

แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า คณฺหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่าย

คือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหาชาล ด้วยอรรถว่าปกคลุมไว้ สุนัขทั้งหลายที่

เขาเอาเชือกผูกไว้ ย่อมถูกนำไปตามปรารถนา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหา

ผูกไว้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า คทฺทุล (เหมือนเชือก)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น. เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหา-

คทฺทุล. สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งโทสะ

พึงทราบวินิจฉัยในโทสนิทเทส ต่อไป.

คำว่า อนตฺถ เม อจริ (ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา) คือ

ได้กระทำความไม่เจริญแก่เรา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้

คำว่า อฏฺาเน วา ปน อาฆาโต (หรืออาฆาตอันเกิดขึ้นได้ใน

ฐานะอันมิใช่เหตุ) ได้แก่ความโกรธย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันมิใช่เหตุ จริงอยู่

บุคคลบางคนย่อมโกรธในฐานะอันมิใช่เหตุว่า ฝนย่อมตกเกินไป ย่อมโกรธว่า

ฝนไม่ตก ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ร้อน ย่อมโกรธว่า พระอาทิตย์ไม่ร้อน

เมื่อลมพัดอยู่ก็โกรธ ลมไม่พัดก็โกรธ เมื่อไม่สามารถจะกวาดลานก็โกรธใบ

โพธิ์ทั้งหลาย เมื่อไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธลมพัด สะดุดหกล้มก็โกรธตอ

ไม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความโกรธนี้จึงตรัสว่า อฏฺาเน วา ปน

อาฆาโต ชายติ (หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันมิใช่เหตุ) ดังนี้.

บรรดาความโกรธเหล่านั้น ความแตกแห่งกรรมบถย่อมมีเพราะอาฆาตเกิดขึ้น

ปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ๙ ข้างต้น แต่อาฆาตในฐานะอันมิใช่เหตุเกิดใน

สังขาร ย่อมไม่ทำการแตกกรรมบถ.

โทสะที่ชื่อว่า จิตอาฆาต เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังจิตให้อาฆาตอยู่

ความอาฆาตที่แรงกว่านั้น ชื่อว่า ปฏิฆาโต (ความขัดเคือง). ที่ชื่อว่า ปฏิฆะ

(ความกระทบกระทั่ง) ด้วยอำนาจความหงุดหงิด. ที่ชื่อว่า ปฏิวิโรโธ (ความ

แค้น) เพราะคับแค้นใจ. ที่ชื่อว่า โกโป (ความเคือง) ด้วยอำนาจแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ความโกรธ. บทว่า ปโกโป สมฺปโกโป (ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน)

ทรงเพิ่มบทด้วนอุปสรรค. ที่ชื่อว่า โทโส (โทสะ) ด้วยอำนาจการประทุษ

ร้าย. บทว่า ปโทโส สมฺปโทโส (ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิด

ประทุษร้าย) ทรงเพิ่มบทด้วยอุปสรรค.

คำว่า จิตฺตสฺส พฺยาปตฺติ (ความขุ่นจิต) ความว่า อาการเปลี่ยน

แปลงต่าง ๆ เพราะจิตวิบัติ ชื่อว่า มโนปโทโส (ธรรมชาติประทุษร้ายใจ)

เพราะเกิดขึ้นประทุษร้ายใจ. ที่ชื่อว่า โกโธ (โกรธ) ด้วยสามารถแห่งการ

โกรธ. อาการแห่งการโกรธ ชื่อว่า กุชฺฌนา (กิริยาที่โกรธ). ภาวะแห่งจิต

ที่โกรธ ชื่อว่า กุชฺฌิตตฺต (ความโกรธ).

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงนัยที่ตรัสไว้ในอกุศลนิทเทส จึงตรัสคำมีอาทิว่า

โทโส ทุสฺสนา (การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย) ดังนี้ เพราะ

ฉะนั้น บัณฑิตพึงทำการประกอบในนิทเทสนี้อย่างนี้ว่า โทสะเห็นปานนี้อันใด

ที่ตรัสไว้ในที่นี้ว่า จิตอาฆาต ฯลฯ ความโกรธ และที่ตรัสไว้แล้วในหนหลังโดย

นัยมีอาทิว่า โทโส ทุสฺสนา (การประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้าย) นี้เรียกว่า

โทสะ. ด้วยว่า เมื่อมีคำที่กล่าวไว้อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกันข้อเสียหายใน

การพูดซ้ำ นิทเทสแห่งโมหะ พึงทราบโดยนัยที่เป็นปฏิปักษ์กับคำที่กล่าวไว้

ในนิทเทสแห่งอโมหะ ก็นิทเทสแห่งโมหะนี้จักมีแจ้งในอรรถกถาแห่งวิภังคปกรถ

โดยอาการทั้งปวง.

คำว่า เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สเหตุกา (ธรรมเหล่าใดมีเหตุ

โดยธรรมที่เป็นเหตุเหล่านั้น ) ความว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นเหตุก็ดี ไม่เป็นเหตุ

ก็ดี อื่นใด ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สเหตุกา (มีเหตุ) ด้วยเหตุธรรมเหล่านั้น.

แม้ในบทว่า อเหตุกะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ ธรรมที่เป็นเหตุย่อมเป็นเหตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

อย่างเดียว และเป็นธรรมมีเหตุ (สเหตุกะ) ในการเกิดพร้อมกัน ๓ เหตุ

หรือ ๒ เหตุ. ส่วนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นเหตุแต่ไม่มี

เหตุประกอบ. แม้ในนิทเทสแห่งทุกะที่สัมปยุตด้วยเหตุก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสังขตทุกะ

ในนิทเทสสังขตทุกะ พระองค์ทรงทำนิทเทสไว้ด้วยอำนาจธรรมเป็น

เอกวจนะว่า โย เอว โส ธมฺโม (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นใดเล่า) ดังนี้ ทรง

หมายเอาอสังขตธาตุตามที่ตรัสไว้ในทุกะแรก แต่ในทุกะแรกนี้ทรงทำเป็น

พหุวจนะไว้โดยนัยปุจฉานุสนธิว่า อิเม ธมฺมา อปฺปจฺจยา (ธรรมเหล่านี้

ไม่มีปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรงยกขึ้นถามด้วยอำนาจแห่งบทพหุวจนะ. แม้ใน

บทมีอาทิว่า อิเม ธมฺมา สนิทสฺสนา (สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่

เห็นได้) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสวิญเญยยทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเกนจิวิญเญยยทุกะ ต่อไป.

บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา (ธรรมที่จักขุวิญญาณรู้ได้) ได้แก่ อันจักขุ

วิญญาณพึงรู้แจ้ง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในนิทเทสนี้ คำว่า

จิตบางดวงรู้ได้ คือในบรรดาจิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น จักขุวิญญาณ

หรือโสตวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งพึงรู้ได้. คำว่า จิตบางดวงรู้ไม่ได้ คือ

จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีทุกะนี้ว่า

เย เต ธมฺมา จกฺขุวิญฺเยฺยา น เต ธมฺมา โสตวิญฺเยฺยา (ธรรม

เหล่าใดจักขุวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณรู้ไม่ได้) ดังนี้ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ความที่ทุกะนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า ย่อมเป็นหมวดทุกะได้เพราะความ

ต่างกันแห่งเนื้อความของบทแม้ทั้งสองดังนี้. แต่พึงถือเอาเนื้อความนี้ว่า รูปอัน

จักขุวิญญาณพึงรู้ได้ เสียงอันจักขุวิญญาณรู้ไม่ได้ แล้วพึงทราบทุกะหนึ่งนี้ว่า

ธรรมเหล่าใดจักขุวิญญาณพึงรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นโสตวิญญาณไม่พึงรู้ได้ ก็

หรือว่า ธรรมเหล่าใดที่โสตวิญญาณรู้ได้ ธรรมเหล่านั้นจักขุวิญญาณไม่พึง

รู้ได้ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงจำแนกทุกะละ ๔ หมวด มี

อินทรีย์ (มีจักขุนทรีย์เป็นต้น) ละหนึ่งเป็นมูล (มีอินทรีย์ที่เหลือเป็นมูลี

หมุนไป) อย่างนี้ จึงเป็น ๒๐ หมวด ดังนี้.

ถามว่า ก็ธรรมที่มโนวิญญาณบางดวงพึงรู้ได้ บางดวงไม่พึงรู้ได้ ไม่

มีหรือ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมิได้ตรัสเป็นทุกะไว้ในที่นี้.

ตอบว่า มิใช่ไม่มี แต่เพราะไม่มีการกำหนดจึงมิได้ตรัสไว้ เพราะว่า

การกำหนดว่า ธรรมที่จักขุวิญญาณไม่พึงรู้ได้เลยดังนี้ โดยประการใด แม้

มโนวิญญาณก็ไม่พึงรู้ได้ โดยประการนั้น มิได้มีอยู่ เพราะฉะนั้น เพราะไม่

มีโดยการกำหนด จึงไม่ตรัสทุกะในมโนวิญญาณนี้ไว้ในที่นี้ แต่เนื้อความนี้มีอยู่

ว่าธรรมที่มโนวิญญาณพึงรู้ได้มีอยู่ ที่ไม่พึงรู้ก็มี ดังนี้ เพราะฉะนั้น เนื้อความ

นั้นแม้มิได้ตรัสไว้ บัณฑิตก็พึงทราบด้วยสามารถตามที่หาได้.

จริงอยู่ ธรรมคือกามาวจรทั้งหลายนั่นแหละ อันกามาวจรธรรมทั้ง-

หลายอันถึงการนับว่า มโนวิญญาณ บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็ไม่พึงรู้ได้ก่อน

แม้ธรรมมีรูปาวจรเป็นต้น อันกามาวจรเหล่านั้นนั่นแหละบางดวงพึงรู้ได้ บาง

ดวงรู้ไม่ได้ กามาวจรทั้งหลายแม้อันรูปาวจรเหล่านั้นบางดวงรู้ได้ บางดวงก็รู้

ไม่ได้. แม้รูปาวจรเป็นต้น อันรูปาวจรเหล่านั้นแหละบางดวงรู้ได้ บางดวง

รู้ไม่ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

แต่ว่า กามาวจรทั้งหลาย รูปาวจรทั้งหลาย และโลกุตรธรรมทั้งหลาย

อันอรูปาวจรทั้งหลายไม่พึงรู้ได้เลย ส่วนอรูปาวจรทั้งหลาย อันมโนวิญญาณ

บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันมโนวิญ-

ญาณบางดวงเท่านั้นพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้. ธรรมทั้งหลายมีกามาวจรเป็น

ต้นไม่พึงรู้ได้ด้วยโลกุตรธรรมทั้งหลาย ก็โลกุตรธรรมทั้งหลายอันมโนวิญญาณ

บางดวงพึงรู้ได้ บางดวงก็รู้ไม่ได้ เพราะความที่โลกุตรธรรมเหล่านั้นอัน

พระนิพพานไม่พึงรู้ และโลกุตรธรรมเหล่านั้น พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง

ไม่พึงรู้ด้วยมโนวิญญาณบางดวง เพราะความที่มรรคและผลทั้งหลาย อันพระ-

นิพพานไม่พึงรู้ ดังนี้.

อาสวโคจฉกะ

[๗๐๘] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏอาสวะ อวิชชาสวะ.

[๗๐๙] บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน

คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความ

ใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อัน

ใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.

[๗๑๐] ภวาสวะ เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเน-

หาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพ

ทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

[๗๑๑] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่า

โลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็น

อื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่

มรณะก็ดี ว่าสัตว์เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยัง

เป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไป

ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ

ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้ง

มั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ

การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ.

มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมด จัดเป็นทิฏฐาสวะ.

[๗๑๒] อวิชชาสวะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท-

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น

ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทง

ตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ

ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา

ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคือ

อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปุริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา

อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ.

[๗๑๓] ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ที่เหลือ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมไม่เป็นอาสวะ.

[๗๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

[๗๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

วิปปยุตจากอาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

[๗๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ

อาสวะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ในเป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้น

อาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่

ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็น

อาสวะ.

[๗๑๗] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็น

ไฉน ?

กามาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ

อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยกามาสวะ

ภวาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ

เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยภวาสวะ

ทิฏฐาสวะเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะโดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ

เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะโดยทิฏฐาสวะ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่า

นั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม-

สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

[๗๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

อาสวโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสอาสวทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาสวทุกะ ต่อไป

ราคะประกอบด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามาสวะ ฉันทราคะใน

รูปภพและอรูปภพ ความใคร่ชอบใจอันเป็นไปในฌาน ราคะสหรคตด้วย

สัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ ทิฏฐิ ๖๒

ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ ความไม่รู้ในฐานะ ๘ ชื่อว่า อวิชชาสวะ.

ก็เพื่อมิให้หลงใหลในอาสวะทั้งหลายที่ตรัสไว้ในที่นั้น ๆ พึงทราบ

ความต่างกันแห่งอาสวะมีอาสวะหมวดหนึ่งเป็นต้น เพราะเมื่อว่าโดยอรรถ อา-

สวะเหล่านี้มีอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้คือ ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เป็น

ของหมักดอง แต่ในพระวินัยตรัสอาสวะ ๒ อย่าง คือ เพื่อปิดกั้นอาสวะอัน

เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อป้องกันอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายิกภพ ดังนี้. ใน

พระสูตร ในสฬายตนะ มีอาสวะ ๓ อย่างว่า ดูก่อนอาวุโส อาสวะ ๓ เหล่านี้

คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ดังนี้. ในนิพเพธิกปริยายสูตร

มีอาสวะ ๕ อย่าง ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่เป็นเหตุให้ตกนรก

ก็มี อาสวะเป็นเหตุให้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่ให้ไปสู่ปิตติวิสัยก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

อาสวะที่ให้ไปสู่มนุษยโลกก็มี อาสวะที่ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาตอา-

หุเนยยสูตรตรัสอาสวะ ๖ อย่างว่า อาสวะที่พึงละด้วยสังวรก็มี อาสวะที่พึงละด้วย

การเสพก็มี อาสวะที่พึงละด้วยการอดกลั้นก็มี อาสวะที่พึงละด้วยหลีกออกก็มี

อาสวะที่พึงละด้วยการบรรเทาก็มี อาสวะที่พึงละด้วยภาวนาก็มี. ในสัพพาสวปริ-

ยายสูตรตรัสอาสวะ ๗ อย่าง กับทัสสนปหาตัพพธรรม.

แต่ในที่นี้ อาสวะเหล่านั้นตรัสไว้ ๔ อย่าง โดยประเภทแห่งกามาสวะ

เป็นต้น ในอาสวะ ๔ เหล่านั้นมีวจนัตถะ ดังต่อไปนี้

อาสวะในกามกล่าวต่อเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามาสวะ อาสวะในภพ

แม้ทั้ง ๒ คือ กัมมภพและอุปปัตติภพ ได้แก่ รูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า

ภวาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ อาสวะคืออวิชชา ชื่อว่า อวิชชา-

สวะ.

บทว่า กาเมสุ (ในกามทั้งหลาย) ได้แก่ กามคุณ ๕. บทว่า

กามฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจคือความใคร่ มิใช่ความพอใจของบุคคลผู้ใคร่

จะทำ และมิใช่ธรรมฉันทะ ครามกำหนัดคือความใคร่ด้วยอำนาจแห่งความ

พอใจและด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด ชื่อว่า กามราคะ.

กามาสวะที่ชื่อว่า กานนนฺที (ความเพลิดเพลินคือความใคร่) เพราะ

อรรถว่า ความเพลิดเพลินคือกามด้วยอำนาจแห่งความใคร่และความเพลิดเพลิน.

บัณฑิตทราบอรรถแห่งกามะในบททั้งปวงอย่างนี้ พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า กาม-

ตัณหา (ตัณหาคือความใคร่) โดยความหมายของตัณหา ที่ชื่อว่า กามสิเนโห

(สิเนหาคือความใคร่) โดยความหมายของความรัก ที่ชื่อว่า กามปริฬาโห

(ความเร่าร้อนคือความใคร่) โดยความหมายแห่งการแผดเผา ที่ชื่อว่า

กามมุจฺฉา (ความสยบคือความใคร่) โดยความหมายของการซบเซา พึง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

ทราบว่า กามชฺโฌสาน (ความหมกมุ่นคือความใคร่) โดยความหมายของ

การกลืนหมดสิ้น.

บทว่า อย วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า อาสวะที่จำแนกด้วยบท

ทั้ง ๘ นี้ ตรัสเรียกชื่อว่า กามาสวะ.

บทว่า ภเวสุ ภวฉนฺโท (ความพอใจในภพ ในภพทั้งหลาย)

ความว่า ความพอใจอันเป็นไปด้วยอำนาจการปรารถนาภพ ในรูปภพและ

อรูปภพ ชื่อว่า ภวฉันทะ (ความพอใจในภพ). พึงทราบแม้บทที่เหลือ

โดยนัยนี้แล.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประเภทแห่งทิฏฐิด้วยอาการ ๑๐ อย่างมี

อาทิว่า สสฺสโต โลโก (ความเห็นว่าโลกเที่ยง) บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น คำว่า

สสฺสโต โลโก (โลกเที่ยง) มีอธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการแห่ง

การยึดถือว่า เที่ยง ของบุคคลผู้ยึดเบญจขันธ์ว่า เป็นโลก แล้วถือว่า โลก

นี้เที่ยง ยั่งยืน มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์.

บทว่า อสสฺสโต (โลกไม่เที่ยง) อธิบายว่า ทิฏฐิอันเป็นไปด้วย

อาการที่ยึดถือการขาดสูญ ของบุคคลผู้ยึดถือโลกนั้นนั่นแหละว่า ย่อมขาดสูญ

ย่อมพินาศ.

บทว่า อนฺตวา (โลกมีที่สุด) ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการ

แห่งการยึดถือว่า โลกมีที่สุด ของบุคคลผู้ได้ฌานมีกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์

หรือผู้เข้าสมาบัติในกสิณมีประมาณเท่ากระด้งหรือขันน้ำ ผู้ยึดถือในรูปและ

อรูปธรรมอันเป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และว่ามีที่สุด ด้วยการกำหนด

กสิณ. ทิฏฐินั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) บ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิ

(ความเห็นว่าขาดสูญ) บ้าง. แต่บุคคลผู้ได้กสิณไพบูลเข้าสมาบัติกสิณนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

ยึดถือรูปธรรมอรูปธรรมที่เป็นไปภายในสมาบัติว่าเป็นโลก และเห็นว่าไม่มี

ที่สุด ด้วยการกำหนดกสิณ มีความเห็นเป็นไปด้วยอาการแห่งการยึดถือว่า

โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ (ความเห็น) นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิบ้าง.

บทว่า ต ชีว ต สรีร (ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น) ความว่า

ทิฏฐิอันเป็นไปด้วยอาการถือการขาดสูญว่า เมื่อสรีระขาดสูญ แม้ชีพก็ขาดสูญ

เพราะถือว่า ชีพของสรีระนั่นแหละมีความแตกดับเป็นธรรมดา.

แม้ในบทที่ ๒ ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการที่ยึดถือความเที่ยงว่า เมื่อ

สรีระแม้ขาดสูญอยู่ แต่ชีพจักไม่ขาดสูญ เพราะการยึดถือชีพเป็นอย่างอื่น

จากสรีระ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า โหติ ตถาคโต ปรมรณา (สัตว์

ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะ) ดังนี้ สัตว์ชื่อว่า ตถาคต เมื่อยึดถือว่า สัตว์

นั้นยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะดังนี้ เป็นสัสสตทิฏฐิข้อที่หนึ่ง เมื่อถือว่า

ไม่เป็นอยู่ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิข้อที่ ๒ เมื่อถือว่า เป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี

ก็เป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ ข้อที่ ๓ เมื่อถือว่าเป็นอยู่ก็มิใช่ ไม่เป็นอยู่ก็มิใช่ ก็เป็น

อมราวิกเขปทิฏฐิ ข้อที่ ๔.

บทว่า อิเม ธมฺมา อาสวา (สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรม

เป็นอาสวะ) ความว่า สภาวธรรมเหล่านี้รวมกามาสวะและภวาสวะเป็นอัน

เดียวกันด้วยอำนาจแห่งราคะ โดยย่อเป็นธรรม ๓ โดยพิสดารเป็น ๔ ชื่อว่า

สภาวธรรมเป็นอาสวะ.

ถามว่า ก็ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ย่อม

เกิดขึ้นวิมาน ต้นกัลปพฤกษ์และอาภรณ์ของพรหม เป็นกามาสวะหรือไม่ ?

ตอบว่า ไม่เป็น เพราะเหตุไร ? เพราะความที่ราคะอันเป็นเบญจกามคุณท่าน

ละได้แล้วในโลกนี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ก็เพ่งถึงเหตุโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็นเหตุ. เพ่งถึงคัณฐโคจฉกะ

แล้ว โลภะชื่อว่าอภิชฌากายคัณฐะ เพ่งถึงกิเลสโคจฉกะแล้ว โลภะชื่อว่าเป็น

กิเลส.

ถามว่า ก็ราคะเกิดพร้อมกับทิฏฐิ เป็นกามาสวะหรือไม่ ? ตอบว่า

ไม่เป็น ธรรมนี้ชื่อว่า ทิฏฐิราคะ ข้อนี้สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขึ้น

ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้ในบุรุษบุคคลผู้ยังยินดีด้วยทิฏฐิราคะ ย่อมไม่มีผลมาก

ไม่มีอานิสงส์มาก ดังนี้.

ก็อาสวะเหล่านี้ ควรนำมาตามลำดับกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรค

บ้าง ว่าโดยลำดับแห่งกิเลส อนาคามิมรรคย่อมละกามาสวะ อรหัตมรรค

ย่อมละภวาสวะ โสดาปัตติมรรคย่อมละทิฏฐาสวะ อรหัตมรรคย่อมละอวิชชา-

สวะ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคละทิฏฐาสวะ อนาคามิมรรค

ละกามาสวะ อรหัตมรรคละภวาสวะและอวิชชาสวะ ดังนี้.

สัญโญชนโคจฉกะ

[๗๑๙] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์

ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์

อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์.

[๗๒๐] บรรดาสัญโญชน์ ๑๐ นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความพอใจต่อความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลิน

คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกหมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย

อันใด นี้เรียกว่า กามราคสัญโญชน์.

[๗๒๑] ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม

เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย

คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความ

เสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักชอบพอของเรา. อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้

ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่

เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือ อาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันใช่เหตุ

จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง

ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิด

ประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ

ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด

ประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาคิดปองร้าย ความคิด

ปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่น

แห่งจิต นี้เรียกว่า ปฏิฆสัญโญชน์.

[๗๒๒] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา

การถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ]

การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการ

เป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานสัญโญชน์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

[๗๒๓] ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่าโลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลก

ไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นก็ดี

ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี

ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่

ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ

คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ

ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือ

โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัญโญชน์

ความเห็นผิดแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตาปรามาสสัญโญชน์เสียจัดเป็น

ทิฏฐิสัญโญชน์.

[๗๒๔] วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา

ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุป-

ปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง

กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา ความ

ตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง

ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป

ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง

แห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาสัญโญชน์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

[๗๒๕] สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต

ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด

ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดย

วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์.

[๗๒๖] ภวราคสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ

ตัณหาในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความ

หมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวราคสัญโญชน์.

[๗๒๗] อิสสาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

การริษยา กิริยาที่ริษยา ความริษยา การเกลียดกัน กิริยาที่เกียดกัน

ความเกียดกันในลาภสักการ การทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา

ของคนอื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสาสัญโญชน์.

[๗๒๘] มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความตระหนี่ ๕ คือ ตระหนี่อาวาส ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ

ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม, การตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความตระหนี่

ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่ แห่งจิต

มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า มัจฉริยสัญโญชน์.

[๗๒๙] อวิชชาสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป-

บาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความ

ไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความจริง ความ

ไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความ

ไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์แจ้ง ความทรามปัญญา

ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา

ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสัญโญชน์.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์.

[๗๓๐] ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

เว้นสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต-

ธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์.

[๗๓๑] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

[๗๓๒] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์.

[๗๓๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

เป็นไฉน ?

สัญโญชนธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์โดยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น

เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่

รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

[๗๓๔] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

เป็นไฉน ?

กามราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

โดยกามราคสัญโญชน์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

โดยปฏิฆสัญโญชน์

มานสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชา

สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

มานสัญโญชน์

ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา

สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

ทิฏฐิสัญโญชน์

วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

โดยวิจิกิจฉาสัญโญชน์

สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วย

สัญโญชน์โดยสีลัพพตปรามาสสัญโญชน์

ภวราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ แสะสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

โดยภวราคสัญโญชน์

อิสสาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา

สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

อิสสาสัญโญชน์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดยอวิชชา

สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์โดย

มัจฉริยสัญโญชน์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเว้นสัญโญชน-

ธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาพธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

[๗๓๕] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม

อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาจร รูปาวจร

อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

วิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชนะ.

ธรรมวิปปยุตจาถสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

สัญโญชนโคจฉกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

อธิบายสัญโญชนโคจฉกะ

ว่าด้วยมานนิพเทส

พึงทราบวินิจฉัยมานนิทเทสในสัญโญชนโคจฉกะ ต่อไป

บทว่า เสยฺโย หมสฺมีติ มาโน* (การถือตัวว่าเราดีกว่าเขา) ได้แก่

มานะอันเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า เราดีกว่าเขา โดยความหมายว่าสูงสุด. บทว่า

สทิโส หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเสมอกับเขา) ได้แก่ มานะอัน

เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราเสมอกับเขา โดยความหมายว่า เสมอ ๆ กัน. บทว่า

หีโน หมสฺมีติ มาโน (การถือตัวว่าเราเลวกว่าเขา) ได้แก่ มานะอัน

เกิดอย่างนี้ว่า เราเลวกว่าเขา โดยความหมายว่า ลามกกว่า. มานะทั้ง ๓

เหล่านี้ คือ มานะว่าดีกว่าเขา มานะว่าเสมอเขา มานะว่าเลวกว่าเขา ย่อม

เกิดแก่ชน ๓ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ มานะ ๓ คือ มีความสำคัญตนว่า เราดีกว่าเขา เสมอเขา

เลวกว่าเขา ย่อมเกิดแก่คนที่ดีกว่าเขาบ้าง แก่คนที่เสมอเขาบ้าง แก่คนที่เลว

กว่าเขาบ้าง.

บรรดามานะ ๓ อย่างนั้น แม้มานะว่าเราดีกว่าเขาของบุคคลผู้ดีกว่า

เขาเป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตามความเป็นจริง.

มานะว่าเราเสมอเขาของบุคคลผู้เสมอเขา ฯ ล ฯ มานะว่าเราเลวกว่าเขาของ

บุคคลผู้เลวกว่าเขา เป็นมานะตามความเป็นจริง มานะ ๒ นอกนี้มิใช่มานะตาม

ความเป็นจริง.

ด้วยคำที่กล่าวมานี้ ตรัสไว้อย่างไร ?

ตรัสไว้ว่า มานะ ๓ ย่อมเกิดแก่บุคคลคนเดียวได้.

* อภิ. วิ. เล่ม ๓๕. ๘๘๓/๔๗๖

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

แต่ในนิทเทสมานะข้อที่หนึ่งในขุททกวัตถุวิภังค์ ตรัสว่า มานะหนึ่ง

ย่อมเกิดแก่ชนทั้ง ๓. ที่ชื่อว่า มานะ (ความถือตัว) ด้วยอำนาจการทำความ

ถือตัว.

บทว่า มญฺนา มญฺิตตฺต (กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว) นี้เป็น

การชี้แจงถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า อุณฺณติ การยกตน) โดยความหมายว่า

เทิดทูน. ที่ชื่อว่า อุณฺณาโม (การเชิดชูตน) เพราะอรรถว่า นานะย่อมยัง

บุคคลผู้เกิดมานะให้พอง คือยกให้ตั้งขึ้น ที่ชื่อว่าธโช (ดุจธง) โดยความ

หมายว่าเชิดชูขึ้นแล้ว. ที่ชื่อว่า สมฺปคฺคาโห (การยกจิตขึ้น) เพราะอรรถว่า

ย่อมประคับประคองจิตโดยความหมายว่า การยกขึ้น. บรรดาธงทั้งหลายมาก

ธงที่ยกขึ้นสูง ตรัสเรียกว่า เกตุ (ธง) เพราะว่ามานะเมื่อเกิดบ่อย ๆ เพราะ

อาศัยมานะต่อ ๆ มาก็เป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้นไว้สูง เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า เหมือนธง. จิตใดย่อมต้องการมานะเหมือนธง เพราะฉะนั้น จิต

นั้นจึงชื่อว่า เกตุกมฺย (ปรารถนาดุจธง) ภาวะแห่งเกตุกัมยะนั้น ชื่อว่า

เกตุกมฺยตา (ความที่จิตต้องการดุจธง) ก็ความที่จิตต้องการดุจธงนั้นเป็น

ของจิต มิใช่เป็นของอัตตา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เกตุกมฺยตา จิตฺตสฺส

(ความที่จิตต้องการดุจธง) อธิบายว่า จิตสัมปยุตด้วยมานะย่อมปรารถนาดุจธง

และภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า เกตุกมฺยตา คือ มานะที่นับว่าเป็นดุจธง.

ว่าด้วยอิสสานิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในอิสสานิทเทส ต่อไป

คำว่า ยา ปรลาภสกฺการ ครุการ มานน วนฺทนปูชนาทีสุ อิสฺสา

(การริษยาในลาภสักการะ ในการทำความเคารพ ในการนับถือ ในการไหว้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

และบูชาของบุคคลอื่นเป็นต้น อันใด) ความว่า การริษยาใดที่มีลักษณะขึงเคียด

ในสมบัติของผู้อื่น ในสิ่งทั้งหลายมีลาภเป็นต้นของชนเหล่าอื่นนั่นว่า ลาภเป็น

ต้นเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ด้วยบุคคลนี้.

ในพระบาลีนั้น บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้เฉพาะปัจจัย

๔ มีจีวรเป็นต้น จริงอยู่ บุคคลผู้ริษยา ย่อมขึงเคียดลาภนั้น ของบุคคลอื่น

ย่อมไม่ปรารถนาว่า ประโยชน์อะไร ด้วยลาภนี้แก่บุคคลนี้ ดังนี้.

บทว่า สกฺกาโร (สักการะ) ได้แก่ การได้ปัจจัยเหล่านั้นนั่นแหละ

ที่ดีอันบุคคลทำดีแล้ว. บทว่า ครุกาโร (การทำความเคารพ) ได้แก่ กิริยา

ที่ยกย่องคือ การกระทำให้เป็นภาระ. บทว่า มานน (การนับถือ) ได้แก่

การกระทำให้เป็นที่รักด้วยใจ. บทว่า วนฺทน (การไหว้) ได้แก่ การไหว้

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า ปูชนา (การบูชา) ได้แก่ การบูชาด้วยของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น. ที่ชื่อว่า อิสฺสา (การริษยา) ด้วยอำนาจกิริยาที่ไม่

อยากให้คนอื่นได้ดี อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายนา (กิริยา

ที่ริษยา) ภาวะที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ชื่อว่า อิสฺสายิตตฺต (ความริษยา).

การกีดกันเป็นต้นเป็นคำไวพจน์ของการริษยา. บัณฑิตพึงทราบลักษณะแห่ง

ความขึ้งเคียดของการริษยานี้โดยบุคคลผู้ครองเรือนบ้าง ผู้ไม่ครองเรือนบ้าง.

ว่าด้วยลักษณะการริษยา ๒ อย่าง

จริงอยู่ ฆราวาสบางคนอาศัยความเพียรกระทำอย่างบุรุษ ของตนด้วย

อาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในการงานทั้งหลายมีการทำนาและค้าขายเป็นต้น ย่อม

ได้ยานพาหนะหรือรัตนะที่ดี อีกคนหนึ่ง มีความปรารถนาให้บุคคลนั้นเลื่อม

ลาภ ไม่ยินดีด้วยการได้ลาภของบุคคลนั้น คิดแต่ว่า เมื่อไรหนอ เจ้าคนนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

จักเสื่อมจากสมบัตินี้เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป เมื่อบุคคลคนนั้นเสื่อมจากสมบัติ

นั้นด้วยเหตุอย่างหนึ่ง ก็ชอบใจ.

แม้บรรพชิตรูปหนึ่งผู้มีใจริษยา เห็นบรรพชิตรูปอื่นผู้ถึงพร้อมด้วย

การได้ปัจจัยเป็นต้นอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยสุตตปริยัติเป็นต้นของตนก็คิดแต่ว่า

เมื่อไรหนอ ท่านรูปนี้จักเสื่อมจากลาภเหล่านี้เป็นต้น เมื่อใดเห็นภิกษุรูปนั้น

เสื่อมด้วยเหตุอย่างหนึ่ง เมื่อนั้นก็มีจิตเบิกบาน บัณฑิตพึงทราบว่า การริษยา

มีการขึงเคียดสมบัติของบุคคลอื่นเป็นลักษณะ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยมัจฉริยนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยมัจฉริยนิทเทส ต่อไป

เพื่อทรงแสดงมัจฉริยะ (ความตระหนี่) โดยวัตถุ จึงตรัสคำมี อาทิว่า

ปญฺจ มจฺฉริยานิ อาวาสมจฺฉริย (ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่อาวาส)

ดังนี้. ในมัจฉริยะเหล่านั้น ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมจฺฉริย.

แม้บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อารามทั้งสิ้นก็ดี บริเวณอารามก็ดี ห้องน้อย

ก็ดี ที่พักในเวลาราตรีเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า อาวาส. พวกภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้น

ย่อมอยู่สบาย ย่อมได้ปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุรูปหนึ่งผู้ตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนา

ให้ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีศีลเป็นที่รักมาในที่อยู่นั้น แม้มาแล้วก็คิดว่า

ภิกษุนี้จงไปโดยเร็วเถิด นี้เชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่อาวาส) แต่

ภิกษุผู้ไม่ปรารถนาการอยู่ในที่นั้นของพวกผู้ก่อการทะเลาะเป็นต้น ไม่ชื่อว่า

อาวาสมัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๑).

บทว่า กุล (ตระกูล) ได้แก่ ตระกูลอุปัฏฐากบ้าง ตระกูลญาติ

บ้าง เมื่อภิกษุไม่ปรารถนาให้ภิกษุอื่นเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ย่อมเป็นกุลมัจฉริยะ

(ตระหนี่ตระกูล) แต่ภิกษุไม่ปรารถนาให้บุคคลลามกเข้าไปในตระกูลนั้น ไม่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

ชื่อว่ามัจฉริยะ เพราะคนผู้ลามกนั้นย่อมปฏิบัติ เพื่อทำลายความเลื่อมใสของ

ตระกูลเหล่านั้น แต่ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ ไม่ปรารถนาให้

ภิกษุนั้นเข้าไปในตระกูลนั้น จึงชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็นความตระหนี่ข้อที่ ๒).

บทว่า ลาโภ (ลาภ) ได้แก่ การได้ปัจจัย ๔ เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูป

อื่นได้อยู่ซึ่งปัจจัย ๔ นั้นนั่นแหละ ภิกษุผู้ตระหนี่คิดอยู่ว่า ขอจงอย่าได้ ดัง

นี้ ย่อมเป็น ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) แต่ภิกษุใดยังศรัทธาไทย (ของ

ที่ถวายด้วยศรัทธา) ให้ตกไปก็ดี ย่อมทำปัจจัยที่ได้มาให้เสียหายด้วยสามารถ

แห่งการไม่บริโภคหรือบริโภคไม่ดีเป็นต้นก็ดี ไม่ให้วัตถุแม้จะถึงความบูดเน่า

แก่ภิกษุอื่นก็ดี ภิกษุผู้ตระหนี่เห็นภิกษุนั้นแล้ว คิดอยู่ว่า ถ้าภิกษุรูปนี้ไม่ได้

ปัจจัยนี้ ภิกษุอื่นผู้มีศีลพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ไม่ชื่อว่า มัจฉริยะ (นี้เป็น

ความตระหนี่ข้อที่ ๓).

สรีวรรณะ (ผิวพรรณแห่งสรีระ) ก็ดี คุณวรรณะ (การสรรเสริญ

คุณความดี) ก็ดี ชื่อว่า วรรณะ ในวรรณะทั้ง ๒ นั้น บุคคลผู้ตระหนี่

สรีรวรรณะ เมื่อมีคนพูดว่า บุคคลอื่นน่าเลื่อมใส มีรูปงาม ดังนี้ ไม่ปรารถนา

จะกล่าวถึงบุคคลนั้น. บุคคลผู้ตระหนี่คุณวรรณะ (คือการสรรเสริญคุณความ

ดี) ย่อมไม่ปรารถนาจะกล่าวชมคุณความดีของผู้อื่นด้วยศีล ด้วยธุดงค์ ด้วย

ปฏิปทา ด้วยอาจาระ (นี้เป็นวรรณมัจฉริยะข้อที่ ๔).

บทว่า ธมฺโม (ธรรม) ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม. ใน

ธรรมทั้ง ๒ นั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อม

ปรารถนาการแทงตลอดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกในธรรมอันตนแทงตลอดแล้ว

คือย่อมปรารถนาว่า ขอสัตว์เหล่าอื่นจงรู้การแทงตลอดธรรมนั้น ก็ขึ้นชื่อว่า

ธรรมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม) ย่อมมีในตันติธรรม * (ธรรมที่เป็น

* ตันติธรรม คือ ธรรมและวินัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

คัมภีร์) เท่านั้น บุคคลผู้ประกอบตันติธรรมนั้น ย่อมรู้คัมภีร์อันลี้ลับ หรือ

กถามรรคอันใด ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้คัมภีร์ หรือกถามรรคนั้น แต่ว่า

บุคคลใดใคร่ครวญถึงบุคคล หรือใคร่ครวญธรรมด้วยการประคองธรรม ไม่

ให้ด้วยการประคองบุคคล ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ.

ในข้อนี้ บุคคลบางคนเป็นคนเหลาะแหละ (โลโล) บางคราวเป็นสมณะ

บางคราวเป็นพราหมณ์ บางคราวเป็นคฤหัสถ์ ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่า บุคคล

นี้จักทำลายตันติธรรมอันละเอียดสุขเป็นธรรมอันยิ่งเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

ให้สับสน ภิกษุนี้ใคร่ครวญถึงบุคคลแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้เพราะประคอง

ธรรมไว้ ส่วนภิกษุใด ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ธรรมนี้ละเอียดสุขุม ถ้าบุคคล

นี้จักเรียนเอา จักพยากรณ์อรหัตผล จักแสดงตนให้ถึงความพินาศ ภิกษุนี้

ใคร่ครวญธรรมแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ด้วยการประคองบุคคล แต่บุคคลใด

ย่อมไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลนี้ เรียนธรรมนี้ จักสามารถทำลายลัทธิ (สมย)

ของพวกเรา ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตระหนี่ธรรม (นี้เป็นธรรม

มัจฉริยข้อที่ ๕).

บรรดามัจฉริยะ ๕ เหล่านี้ ว่าด้วยอาวาสมัจฉริยะก่อน บุคคลเกิด

เป็นยักษ์ หรือเป็นเปรต แล้วจะเอาศีรษะเทินหยากเยื่อของที่อยู่นั้นแลเที่ยวไป.

ว่าด้วยกุลมัจฉริยะ เมื่อตระกูลนั้นทำทาน และนับถือบุคคลเหล่าอื่น เมื่อ

เขาเห็นก็คิดอยู่ว่า ตระกูลนี้ของเราแตกแล้วหนอ โลหิตจะพุ่งออกจากปาก

มีการถ่ายท้องบ้าง ไส้ใหญ่ทั้งหลายก็จะเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยออกมาบ้าง. ว่า

ด้วยลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ในลาภอันเป็นของสงฆ์ หรือคณะ หรือบุคคล

บริโภค เป็นดุจเครื่องใช้ของบุคคล ย่อมเกิดเป็นยักษ์ หรือเปรต หรืองูเหลือม

ใหญ่. ว่าด้วยสรีรวรรณคุณมัจฉริยะ และปริยัติธรรมมัจฉริยะ บุคคล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

ย่อมสรรเสริญวรรณะของตน ไม่สรรเสริญวรรณะของผู้อื่น เมื่อจะกล่าวโทษ

ด้วยคำว่า นี้วรรณะอะไร ? ดังนี้ เมื่อไม่ให้ปริยัติธรรมอะไร ๆ แก่ใคร ๆ

ย่อมเป็นผู้มีพรรณทราม และจะเป็นบ้าน้ำลาย.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมถูกไฟไหม้ ในเรือนโลหะด้วยความตระหนี่

อาวาส ย่อมเป็นผู้มีลาภน้อยด้วยความตระหนี่ตระกูล ย่อมเกิดในคูถนรก

ด้วยความตระหนี่ลาภ บุคคลเมื่อเกิดทุก ๆ ภพย่อมไม่มีผิวพรรณดี ด้วยการ

ตระหนี่วรรณะ ย่อมเกิดในกุกกุลนรก ด้วยการตระหนี่ธรรม.

ที่ชื่อว่า มจฺเฉร (ความตระหนี่) ด้วยสามารถการเห็นแก่ตัว อาการ

แห่งความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายนา (กิริยาที่ตระหนี่) ภาวะแห่งจิตที่ถูก

ความตระหนี่ให้เป็นไปแล้ว พรั่งพร้อมด้วยความตระหนี่ ชื่อว่า มจฺฉรายิ-

ตตฺต (ความตระหนี่). บุคคลที่ชื่อว่า วิวิจฺโฉ (ผู้หวงแหน) เพราะอรรถว่า

ปรารภนาสมบัติทั้งหมดของตนไม่ให้เสื่อมสูญไป ด้วยคิดว่า ขอสมบัติทั้งปวง

จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. ภาวะแห่งบุคคลผู้หวงแหน ชื่อว่า

เววิจฺฉ (ความหวงแหน) คำว่า ความหวงแหน นี้ เป็นชื่อของความ

ตระหนี่อย่างอ่อน.

บุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ตรัสว่า กทริโย (ผู้เห็นแก่ตัว) ภาวะแห่งบุคคล

ผู้เห็นแก่ตัวนั้น เรียกว่า กทริย (ความเหนียวแน่น) คำว่า ความเหนียวแน่น

นี้เป็นชื่อของความตระหนี่กล้าแข็ง เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่นั้น

ย่อมห้ามแม้บุคคลอื่นผู้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้

ในสังยุตตนิกายสคาถวรรคว่า*

กทริโย ปาปสกปฺโป มิจฺฉาทิฏฐิ อนาทโร

ททมาน นิวาเรติ ยาจมานาน โภชน

* ส. สคาถวคฺค. เล่ม ๑๕ ๓๙๘/๑๓๙

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

บุคคลผู้เหนี่ยวแน่น มีความดำริชั่ว

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมห้าม

คนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนทั้งหลายที่

ขออยู่ ดังนี้.

บุคคลใดเห็นยาจกทั้งหลายแล้วให้จิตยับยั้งอยู่ คือให้ทนหดหู่อยู่ด้วย

ความขี้เหนียว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า กฏกจฺฉโก (ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).

ภาวะแห่งความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั้น ชื่อว่า กฏฺกจฺฉกตา (ความไม่เอื้อเฟื้อ).

อีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้มีช้อนในมือ ตรัสเรียกว่า กฏจฺฉุกตา ก็บุคคล

เมื่อจะถือเอาข้าวจากหม้อซึ่งเต็มเสมอปากหม้อ ย่อมถือเอาด้วยปลายช้อนอัน

แคบทุกส่วน ก็ไม่อาจเพื่อถือเอาให้เต็ม ฉันใด จิตของบุคคลผู้ตระหนี่ก็ฉันนั้น

ย่อมคับแคบ เมื่อจิตคับแคบ แม้กายก็คับแคบถอยกลับ ย่อมไม่ยื่นให้เพื่อชน

เหล่าอื่น เพราะฉะนั้น ความตระหนี่จึงตรัสเรียกว่า กตกญฺจุกตา (ความ

เป็นคนมีใจแคบเหมือนช้อนเครื่องคดข้าว).

บทว่า อคฺคหิตตฺต จิตฺตสฺส (ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต) ได้แก่

การที่จิตกันเอาไว้ โดยประการที่ไม่เหยียดไปโดยอาการมีการให้ทานเป็นต้น

ในการทำอุปการะแก่ชนเหล่าอื่น. ก็เพราะคนตระหนี่ย่อมไม่ปรารถนาจะให้สิ่ง

อันมีอยู่ของตนแก่ชนเหล่าอื่น อยากจะรับแต่ของคนอื่น ฉะนั้น บัณฑิตพึง

ทราบความตระหนี่นั้นมีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ หรือความตระหนี่

นั้นมีการถือเอาสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปว่า

ความอัศจรรย์นี้ จงมีแก่เราคนเดียว อย่ามีแก่คนอื่น ดังนี้. คำที่เหลือใน

โคจฉกะนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ก็สังโยชน์เหล่านี้ ควรนำมาแสดง โดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับ

มรรคบ้าง ว่าโดยลำดับกิเลส กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์อันอนาคา-

มิมรรคย่อมประหาณ มานสังโยชน์อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ ทิฏฐิ

วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ภวราคสังโยชน์

อันอรหัตมรรคย่อมประหาณ อิสสา มัจฉริยะอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ

อวิชชาอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรค

ย่อมประหาณทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ อนาคา-

มรรคย่อมประหาณกามราคะและปฏิฆะ อรหัตมรรคย่อมประหาณมานะ

ภวราคะ และอวิชชา ดังนี้แล.

คันถโคจฉกะ

[๗๓๖] ธรรมเป็นคันถะ เป็นไฉน ?

คันถะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีสัพพตปรามาส-

กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.

[๗๓๗] บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ

ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ

อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ

เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง

ภาวะที่หวัง ความหวังรูป ความหวังสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวัง

ชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง

การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความทะกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ

ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ภาวะที่ใคร่อารมณ์ดี ๆ ความ

กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ

ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่

สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์

เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์

ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด

แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ

ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ.

[๗๓๘] พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม

เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

คิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำ

ความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้

ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่

เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ

จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง

ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต

ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่น

ว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิด

ประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ

ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า

พยาปาทกายคันถะ.

[๗๓๙] สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของ

สมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ

คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ

ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือ

โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ.

[๗๔๐] อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริงอย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลก

ไม่เที่ยง นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกมีที่สุด นี้แหละจริง

อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุด นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น

สรีระก็เป็นอื่น นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้า

แต่มรณะนี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่

มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่

ก็มีเบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่

ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะ นี้แหละจริง อย่างอื่นเปล่า

ดังนี้ก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น

เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ

ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ

เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด

นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.

มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะ จัดเป็นอิทัง-

สัจจาภินิเวสกายคันถะ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะ.

[๗๔๑] ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

เว้นคันถธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เป็นคันถะ.

[๗๔๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

[๗๔๓] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านี้ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ.

ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากคันถะ.

[๗๔๔] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

คันถธรรมเหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์

ของคันถะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของคันถะโดยคันถธรรมเหล่านั้น เว้น

คันถธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประ-

เภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่

ไม่เป็นคันถะ.

[๗๔๕] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ โดย

อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดย

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะโดย

อภิชฌากายคันถะ อภิชฌากายคันถะเป็นคันถะ และสัมประยุตด้วยคันถะโดย

อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยคันถธรรมเหล่านั้น เว้นคันถธรรมเหล่านั้น

เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

[๗๔๖] ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ

เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากคันถธรรมเหล่านั้น คือกุศลธรรม อกุศล

ธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูป-

วจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

คันถโคจฉกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

โอฆ-โยคโคจฉกะ

[๗๔๗] ธรรมเป็นโอฆะ เป็นไฉน ? ฯลฯ

ธรรมเป็นโยคะ เป็นไฉน ? ฯลฯ

โอฆ-โยคโคจฉกะ จบ

ว่าด้วยนิทเทสคัณฐโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยคัณฐโคจฉกะ ต่อไป.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า กายคัณะ เพราะอรรถว่า ย่อมผูกนามกาย

คือย่อมยังนามกายให้สืบต่อในวัฏฏะด้วยอำนาจแห่งการปฏิสนธิ. กายคัณฐะใด

ที่ปฏิเสธแม้คำภาษิตของพระสัพพัญญู ย่อมยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง

นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไร้ประโยชน์ (เป็นโมฆะ) เพราะฉะนั้น กายคัณฐะนั้น

จึงชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ก็เพราะความแตกต่างกันแห่งอภิชฌาและ

กามราคะมีอยู่ ฉะนั้น ในการจำแนกบทอภิชฌากายคัณฐะ จึงไม่ตรัสว่า กาม-

ฉันทะ (ความพอใจในกาม) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ในกามทั้งหลาย

อันใด ดังนี้ ตรัสว่า ราคะ (ความกำหนัด ) สาราคะ (ความกำหนัดหนัก)

เป็นต้น ด้วยพุทธพจน์นี้ คำใดที่กล่าวไว้ในภายหลังว่า ฉันทราคะ (ความ

กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) ในวิมานเป็นต้นของพวกพรหม ไม่เป็นกามาสวะ

เพ่งถึงคัณฐะแล้วอภิชฌาก็ชื่อว่า กายคัณฐ (อภิชฌากายคัณฐะ) ดังนี้ คำนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า ข้าพเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว. แม้ในกิเลสโคจฉกะข้างหน้าก็นัย

นี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

คำว่า เปตฺวา สีลพฺพตปรามาส (เว้นสีลัพพตปรามาส) นี้

ความว่า เพราะสีลัพพตปรามาสไม่ยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า นี้เท่านั้นจริง ดังนี้

แต่ย่อมยึดถืออย่างนี้ว่า มีความบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ดังนี้ ฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงคัดค้านสีลัพพตปรามาสอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นจึงตรัสว่าเว้น.

นีวรณโคจฉกะ

[๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

[๗๔๙] บรรดานิวรณ์ ๖ นั้น กามฉันทนิวรณ์ เป็นไฉน ?

ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลิน

คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความ

ใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย

อันใด นี้เรียกว่า กามฉันทนิวรณ์.

[๗๕๐] พยาปาทนิวรณ์ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิด

ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า

ผู้นี้ไค้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสีย

แก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความ

เจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิต

อาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ

ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย

ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ

มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด (และ) การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย

ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย

ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต

นี้เรียกว่า พยาปาทนิวรณ์.

[๗๕๑] ถีนมิทธนีวรณ์ เป็นไฉน ?

ถีนมิทธะนั้น แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง.

ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ

ท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา

อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

มิทธะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย

ความปกคลุม ความหุ้มห้อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาว

นอน ความโงกง่วง ความหาวนอน อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใด

นี้เรียกว่า มิทธะ.

ถีนะและมิทธะดังว่านี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์.

[๗๕๒] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน ?

อุทธัจจกุกกุจจะนั้น แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง

ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

กุกกุจจะ เป็นไฉน ?

ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญว่าไม่มีโทษในของที่มีโทษ

การรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมี

ลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า กุกกุจจะ.

อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.

[๗๕๓] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ใน

ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบ

แคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา

ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสอง

แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่าย

ไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง

แห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์.

[๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

อนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท-

ธรรมว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่

แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่

พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความ

โง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่ม

คืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา-

นิวรณ์.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์.

[๗๕๕] ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

เว้นนิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาคุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมไม่เป็นนิวรณ์.

[๗๕๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม กุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่ง

เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

[๗๕๗] ธรรมสัมปยุต ด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์.

[๗๕๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็น

ไฉน ?

นิวรณ์เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์.

ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิวรณ์โดยนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น เว้น

นิวรณธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่

รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

[๗๕๙] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกามฉันทนิวรณ์

พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยพยาปาทนิวรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยถีนมิทธนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

กามฉันทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกามฉันทนิวรณ์

พยาปาทนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยพยาปาทนิวรณ์

ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

อุทัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยถีนมิทธนิวรณ์

กุกกุจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

อุทัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทัจจนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยวิจิกิจฉานิวรณ์

อวิชชานิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอุทธัจจนิวรณ์

อุทธัจจนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิชชานิวรณ์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ธรรมวิปปยุตด้วยนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยนิวรณธรรมเหล่านั้น เว้นนิวรณธรรม

เหล่านั้น เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสัมปยุต ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

[๗๖๐] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากนิวรณธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม

อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจาก

นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็น

ไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

นีวรณโคจฉกะ จบ

ปรามาสโคจฉกะ

[๗๖๑] ธรรมเป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิปรามาสะ.

ทิฏฐิปรามาสะ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่า

โลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็น

อื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่

มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็นไป

ข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ

ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้ง

มั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความ

พินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาสะ.

มิจฉาทิฏฐิ แม้ทุกอย่าง จัดเป็นทิฏฐิปรามาสะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะ.

ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?

เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต-

ธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนา

ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นปรามาสะ.

[๗๖๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่ง

เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

[๗๖๓] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.

[๗๖๔] ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของปรามาสะ

เป็นไฉน ?

ปรามาสะนั้นนั่นแล ชื่อว่าธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของ

ปรามาสะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็น

ไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของปรามาสะโดยปรามาสธรรมเหล่านั้น

เว้นปรามาสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่

รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของ

ปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ.

[๗๖๕] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรา-

มาสะ เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากปรามาสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม

อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม-

วิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ

เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ

[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน ?

รูปทั้งหมด แต่อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มี

อารมณ์.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นเจตสิก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน ?

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เป็นเจตสิก.

[๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยจิต.

ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน ?

รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต

จากจิต

จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เจือกับจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน ?

รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือ

กับจิต

จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือ

รูปแม้อื่นใดซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ.

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

[๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต.

ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่

เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๓] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต.

ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เกิดคล้อยตามจิต.

[๗๗๔] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

[๗๗๕] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วม

กับจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดร่วมกับจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วม

กับจิต เป็นไฉน ?

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๖] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อย

ตามจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดคล้อยตามจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อย

ตามจิต เป็นไฉน ?

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่เกิดคล้อยตามจิต.

[๗๗๗] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

ภายใน.

ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

ภายนอก.

[๗๗๘] ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

อาศัยมหาภูตรูปเกิด.

ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔

และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด.

[๗๗๙] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึด

ครอง เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และ

รูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุต

ด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง.

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง

เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา

ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรค

และผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.

มหันตรทุกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

อธิบายนีวรณโคจฉกะ

ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป.

บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะ

แห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี)

แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.

บทว่า อกมฺมญฺตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการ

แห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต. บทว่า โอลียนา (ความ

ท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย. จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อ

ไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้

ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น. บทที่ ๒ (สลฺลียนา

ความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค.

บทว่า ลีน (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป.

บททั้ง ๒ นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺต อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่)

เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น.

บทว่า ถีน (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความ

เป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา)

เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺต

(ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่ง

การไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

บทว่า กายสฺส (แห่งกาย) ได้แก่ นามกายคือขันธ์ ๓. บทว่า

อกลฺยตา อกมฺมญฺตา (ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่

การงานแห่งนามกาย) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า โอนาโห

(ความปกคลุม) เพราะอรรถว่า ย่อมปกคลุมกาย เหมือนก้อนเมฆปกคลุม

อากาศฉะนั้น การปกคลุมโดยส่วนทั้งหมด ชื่อว่า ปรินาโห (ความหุ้มห่อ).

ที่ชื่อว่า อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน) เพราะอรรถว่า

ย่อมปิดกั้นไว้ภายใน. เหมือนอย่างว่า นครที่เขาปิดแล้ว พวกมนุษย์ย่อมไม่ได้

เพื่ออันออกไปภายนอก ฉันใด ธรรมทั้งหลาย อันมิทธะ (ความง่วงเหงา)

ปิดไว้แล้วย่อมไม่ได้เพื่ออันแผ่ออกไป ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

อนฺโตสโมโรโธ (ความปิดบังไว้ภายใน).

ที่ชื่อว่า มิทฺธ (ความง่วงเหงา) เพราะอรรถว่า ย่อมกำจัด อธิบายว่า

ย่อมเบียดเบียนโดยความไม่ควรแก่การงาน. ที่ชื่อว่า โสปฺป (ความหาวนอน)

เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้หลับ. ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (อาการที่หาวนอน) เพราะ

อรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นงับลง.

บทว่า สุปนา สุปิตตฺต กิริยาที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน เป็นบท

แสดงอาการและภาวะของจิตนั้น แต่ว่า บทว่า ความหาวนอน ข้างหน้าของ

บทเหล่านั้นอันใด เหตุในการกล่าวซ้ำของบทนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

บทว่า อิท วุจฺจติ ถีนมิทฺธนิวรณ ถีนะและมิทธะนี้เรียกว่า

ถีนมิทธนีวรณ์ คือ รวมถีนะและมิทธะนี้เข้าด้วยกัน เรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์

ด้วยอรรถว่ากางกั้น. ถีนมิทธนิวรณ์ใด ย่อมเกิดขึ้นในเวลาก่อนหรือหลังความ

หลับแก่พระเสกขะและปุถุชนทั้งหลายโดยมาก ถีนมิทธนิวรณ์นั้น อรหัต

มรรคตัดขาดแล้ว แต่การก้าวลงสู่ภวังค์ของพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมมีด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ความทุรพลแห่งกรชกาย (กายเกิดแต่ธุลี) เมื่อภวังค์นั้นไม่ระคนด้วยอารมณ์

อื่นเป็นไปอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นย่อมหลับ นั้นชื่อว่า ความหลับย่อมมีแก่

พระขีณาสพเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอัคคิ-

เวสสนะ ก็เราแลย่อมรู้เฉพาะ ในท้ายเดือนฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต

ภายในกาลภายหลังภัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวลงสู่

ความหลับโดยปรัศว์เบื้องขวา ดังนี้.

ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล

ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่

มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มี

ใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกล

หรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อม

ได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไป

ด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระ

อาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย

เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.

ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะ

เหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุ

นั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สม-

ประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย ดังนี้.

ข้อนี้ พึงเฉลยว่า ถ้าว่ามิทธะนี้เป็นรูปด้วยเพียงคำที่ตรัสว่า กายสฺส

(แห่งกาย) เท่านั้นไซร้ ธรรมทั้งหลายแม้มีกายปัสสัทธิเป็นต้นก็พึงเป็นรูปไป.

๑. รูปอันเกิดสืบต่อมาด้วยสมุฏฐาน ๔ ๒. ม. มู. เล่มที่ ๑๒ ๔๓๐/๔๖๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

ทั้งหมด แม้การเสวยสุขและการกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะที่ตรัสไว้ว่า เสวย

สุขด้วยกาย กระทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ดังนี้ ก็พึงเป็นรูปเท่านั้น

เพราะฉะนั้น ไม่ควรพูดว่ามิทธะนี้เป็นรูป ดังนี้.

ถามว่า ก็ในอธิการนี้ นามกาย ชื่อว่า กาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะ

เหตุไร จึงตรัสว่า โสปฺป ปจลายิกา (ความหาวนอน ความโงกง่วง)

ดังนี้เล่า ด้วยว่านามกายย่อมไม่หาวนอน ย่อมไม่โงกง่วง.

ตอบว่า เพราะความหาวนอนและความโงกง่วงนั้นเป็นผลของมิทธะ

นั้น เหมือนเพศเป็นต้นเป็นผลของอินทรีย์ฉะนั้น เหมือนอย่างว่า ทรวดทรง

มีเพศเป็นต้นเหล่านี้ คือ เพศหญิง นิมิตหญิง มารยาหญิง กิริยาของหญิง

ตรัสไว้เพราะความเป็นผลของอิตถินทรีย์ ฉันใด ความหาวนอนเป็นต้นก็

ตรัสไว้ เพราะความเป็นผลแห่งมิทธะ กล่าวคือความป่วยไข้แห่งนามกาย

แม้นี้ฉันนั้น. ด้วยว่า เมื่อมิทธะมีอยู่ ความหาวนอนเป็นต้นนั้นก็มี

เพราะฉะนั้น จึงตรัสมิทธะแม้เป็นอรูป (นาม) โดยผลูปจารนัย (มุ่งถึงผล)

ว่า ความหาวนอน ความโงกง่วง กิริยาที่หาวนอน ความหาวหอน. อนึ่ง

แม้ด้วยวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ว่า ที่ชื่อว่า ปจลายิกา (ความโงก

ง่วง) เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้เปลือกตาเป็นต้นปิดลงดังนี้ ก็ให้สำเร็จความ

หมายนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่ใช่รูป. อนึ่ง ความที่มิทธะนั้น

เป็นอรูป พระองค์ก็ทรงแสดงแม้ด้วยความปกคลุมเป็นต้นนั่นแหละ เพราะว่า

ถ้ามีผู้ท้วงอีกว่า ก็มิทธะนี้เป็นรูปด้วยเหตุ (มีการปกคลุมเป็นต้น)

นี้แหละมิใช่หรือ เพราะอรูป (นาม) ย่อมปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบังไว้ในภายใน

ซึ่งอะไร ๆ ไม่ได้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

ข้อนี้ตอบว่า ถ้าอย่างนั้น แม้ความกางกั้นกุศลธรรมก็ไม่พึงมี เพราะ

ฉะนั้น พึงทราบความที่มิทธะแม้นี้เป็นความปกคลุมเป็นต้น ด้วยอรรถมีความ

ปกคลุมเป็นต้น เหมือนอรูปธรรมมีกามฉันทะเป็นต้น ที่ชื่อว่า นิวรณ์ ด้วย

อรรถว่ากางกั้นฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านท้วงว่า มิทธะแม้นี้ชื่อว่า เป็นอรูป เพราะพระบาลี

ว่า ละนิวรณ์ ๕ เพราะทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญา ดังนี้ เพราะรูปทำ

จิตให้เศร้าหมองไม่ได้ ทอนปัญญาก็ไม่ได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร จึงเป็นไม่ได้

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์บางพวก

ดื่มสุราเมรัยไม่ละเว้นการดื่มสุราและเมรัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลส

(เครื่องเศร้าหมอง) ของสมณพราหมณ์ข้อที่หนึ่งดังนี้มีอยู่มิใช่หรือ.

อีกข้อหนึ่งก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดีบุตร โทษในการประกอบ

เนือง ๆ ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มสุราและเมรัยที่พึงเห็นใน

ปัจจุบันมี ๖ อย่างคือ เสียทรัพย์ ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดของ

โรค ๑ ทำให้เสียชื่อเสียง ๑ ทำให้ไม่รู้จักอาย ๑ บั่นทอนปัญญา ๑ รวมเป็น

ข้อที่ ๖ ดังนี้ แม้พระบาลีย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ทีเดียว เพราะประจักษ์อยู่

ก็เพราะเหตุที่น้ำเมาเข้าถึงท้อง จิตย่อมเศร้าหมอง ปัญญาย่อมทุรพล ฉะนั้น

แม้มิทธะก็เปรียบเหมือนน้ำเมาพึงทำจิตให้เศร้าหมองบั่นทอนปัญญามิใช่หรือ.

ตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะทรงแสดงถึงความเป็นปัจจัย

จริงอยู่ ถ้าน้ำเมาพึงเป็นสังกิเลส (ทำจิตให้เศร้าหมอง) ไซร้ สังกิเลสนั้นก็พึง

มาสู่นิทเทสในนิทเทสแห่งอุปกิเลสทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นละนิวรณ์

๕ เหล่านี้อันทำจิตให้เศร้าหมองดังนี้ หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส

ของจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล ฉันนั้นนั่นแหละ เป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

เป็นเครื่องทำจิตมิให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน มิให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง มิให้ตั้งมั่น

โดยชอบ มิใช่เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเครื่องเศร้าหมอง ๕

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้ หรือว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปกิเลสของจิตเป็นไฉน ? อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลส

ของจิตดังนี้ ก็เพราะเมื่อน้ำเมาแม้นั้นอันบุคคลดื่มแล้ว กิเลสทั้งหลายอันทำ

จิตให้เศร้าหมองและบั่นทอนปัญญาย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น น้ำเมานั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้โดยแสดงชี้ถึงปัจจัย เพราะความที่น้ำเมาเหล่านั้น

เป็นปัจจัยแก่อุปกิเลส. ส่วนมิทธะเป็นสังกิเลสแห่งจิตด้วยตนเอง และบั่นทอน

ปัญญา เพราะฉะนั้น มิทธะ คือ อรูปเท่านั้น.

ยังมีเนื้อความบางอย่างที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งกว่านี้ โดยการกล่าวถึง

สัมปโยคะ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์และ

สัมปยุตด้วยนิวรณ์ ด้วยอวิชชานิวรณ์ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้จึงไม่ใช่รูป

เพราะตรัสถึงการสัมปโยคะ เพราะรูปจะนับเข้าด้วยธรรมที่สัมปยุตด้วยกันหา

ได้ไม่ดังนี้.

แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์ผู้กล่าวถึงมิทธะก็จะพึงท้วงว่า คำนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งธรรมดาตามที่หาได้ เหมือนอย่าง

พระดำรัสที่ตรัสด้วยอำนาจประกอบความตามที่ได้อย่างนี้ว่า ทั้งหอยกาบและ

หอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง ทั้งฝูงปลาเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ดังนี้

ความจริง ก้อนกรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไป อีกสองอย่าง

นอกนี้ย่อมเที่ยวไปบ้าง ย่อมตั้งอยู่บ้าง ข้อนี้ฉันใด แม้ในอธิการแห่งมิทธะนี้

ก็ฉันนั้น มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตด้วยอกุศล ถีนะเป็นนิวรณ์ด้วย

เป็นธรรมสัมปยุตด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถีนมิทธะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

ทั้งหมดรวมกันด้วยสามารถแห่งธรรมตามที่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย

นิวรณ์ดังนี้ แต่มิทธะเป็นนิวรณ์อย่างเดียวไม่สัมปยุตกับอกุศล เหมือนก้อน

กรวดและกระเบื้องตั้งอยู่อย่างเดียวไม่เที่ยวไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น มิทธะ

จึงเป็นรูปเท่านั้น ดังนี้.

ตอบว่า ท่านไม่ควรเห็นเช่นนั้น เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูปได้

จริง คำว่า ก้อนกรวดและกระเบื้องย่อมไม่เที่ยวไป ดังนี้ แม้เว้นจาก

พระสูตรก็เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เนื้อความด้วยสามารถที่หาได้ในพระสูตรนี้

จงยกไว้ แต่คำที่กล่าวว่า มิทธะเป็นรูป นี้ไม่ควร ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะ

ให้มิทธะนั้นเป็นรูปได้ด้วยสูตรนี้ เพราะฉะนั้น มิทธะนี้มิได้ตรัสด้วยอำนาจ

ความตามที่ได้ เพราะมิทธะไม่สำเร็จความเป็นรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นอรูป

เท่านั้น.

ถ้อยคำที่ควรจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไปกว่าคำที่กล่าวแล้ว ก็เพราะมีพระบาลี

ว่า จตฺตตฺตา (เพราะสละแล้ว) เป็นต้น จริงอยู่ในวิภังคปกรณ์ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า เพราะสละแล้ว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า มี

ถีนมิทธะไปปราศแล้ว เพราะสละแล้ว เพราะคายแล้ว เพราะปล่อยแล้ว

เพราะละแล้ว เพราะสละคืนแล้ว ซึ่งถีนมิทธะนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ผู้มีถีนมิทธะไปปราศแล้ว ดังนี้ และว่า ภิกษุทำจิตนี้ให้หมดจด ให้หมด

จดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้หลุดพ้น ให้พ้นวิเศษ ให้ปลดเปลื้องจากถีนมิทธะ

นี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ดังนี้

ส่วนรูปพระองค์มิได้ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละ มิทธะจึงเป็นอรูป

เท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะแย้งว่า ท่านไม่ควรกล่าว โดยความที่ถีนมิทธะ

ไม่เกิดแต่จิต แท้จริง ๓ อย่าง คือเกิดแต่จิต ๑ เกิดแต่อุตุ ๑

เกิดแต่อาหาร ในบรรดามิทธะทั้ง ๓ เหล่านี้ มิทธะใด เกิดแต่จิตในวิภังค์

แห่งมิทธะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความไม่มีแต่ฌานจิตทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น มิทธะจึงไม่สำเร็จเป็นอรูป เหตุนั้น มิทธะจึงเป็นรูปเท่านั้น ดัง

นี้.

ตอบว่า ข้อนนี้ไม่ควรเห็นมิทธะเป็นรูปได้เลย จริงอยู่ ครั้นความที่

มิทธะสำเร็จเป็นรูป ใคร ๆ ก็อาจไค้คำพูดนั่นว่า ความไม่เกิดแห่งมิทธะอันเกิด

แต่จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์นั้น และความที่มิทธะเป็นรูป

นั่นเทียว ย่อมไม่ควร เพราะฉะนั้น มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น.

ถ้อยคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่าโดยการกล่าวถึงการละ (ประหาณ) มีอยู่

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละแม้มิทธะไว้ ในพระบาลีทั้งหลายมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้วก็อาจเข้าปฐมฌานอยู่

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ

๑ กุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ก็โทษในกามทั้งหลายแล ชื่อว่าอันบุคคลนั้นเห็น

ดีแล้วด้วยสัมปชัญญะ ดังนี้ และว่า ภิกษุละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้วจักรู้

ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ด้วยปัญญาที่มีกำลัง ดังนี้ ส่วนรูปอัน

บุคคลไม่พึงละ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า รูปขันธ์อันบุคคลพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนด

รู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ดังนี้ มิทธะจึงเป็นอรูปเท่านั้น เพราะกล่าวถึง

การละมิทธะแม้นี้.

อาจารย์ผู้กล่าวมิทธะค้านว่า ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะพระ

ดำรัสการละแม้ซึ่งรูปก็มีอยู่ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ แม้ซึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

รูปนั่นแหละในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของพวกเธอ พวก

เธอจงละรูปนั้นเสีย ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า มิทธะเป็นอรูปนี้ จึงไม่ถูก

ต้อง.

อาจารย์ผู้ชี้แจ้งกล่าวว่า ท่านไม่ควรเห็นอย่างนั้น เพราะพระดำรัสนั้น

ตรัสโดยประการอื่น จริงอยู่ ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ

รูปด้วยสามารถแห่งการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อย่างนี้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยสามารถความพอ

ใจ) ในรูปอันใด การกำจัดนั้นเป็นการละในรูปนั้น ดังนี้ มิทธะจึงไม่ใช่รูป

เพราะตรัสไว้โดยประการอื่นว่า คำว่ารูปตรัสว่าเป็นธรรมควรละเหมือนการละ

ธรรม ๖ อย่าง ละนิวรณ์ ๕ อย่าง หามิได้ เพราะฉะนั้น พระสูตรเหล่าใด

ที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ภิกษุละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันทำใจให้เศร้าหมอง ดังนี้

บัณฑิตพึงทราบว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้นโดยพระสูตรเหล่านั้นด้วย โดยพระ-

สูตรเหล่าอื่นด้วย.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร มิใช่น้อยอันส่องถึง

ความที่มิทธะนั้นเป็นอรูปเท่านั้นมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา ๕ ประการ

เหล่านี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ ฯลฯ

ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ท่วมทับจิต บั่นทอนปัญญา ดัง

นี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์ทำให้มืด ไม่

ทำจักษุ ไม่ทำญาณ ดับปัญญา เป็นพวกพิฆาต ไม่เป็นไปเพื่อ

พระนิพพาน ดังนี้ และว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือน

กันแล สมัยใด บุคคลถูกถีนมิทธะกลุ่มรุมจิต ถูกถีนมิทธะครอบงำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

จิตอยู่ ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่โดย

อุบายไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ถีน-

มิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กองแห่งอกุศลล้วน ๆ นี้ คือ นิวรณ์ ๕ นี้ ดังนี้ ก็เพราะมิทธะนี้

เป็นอรูป ฉะนั้น จึงเกิดขึ้นแม้ในอรูปธรรม จริงอยู่ คำนี้ตรัสไว้ในปัฏฐาน

มหาปกรณ์ว่า ธรรมคือนิวรณ์อาศัยธรรมคือนิวรณ์เกิดขึ้น มิใช่อาศัยปุเรชาต-

ปัจจัยเกิดขึ้น พุทธวจนะทั้งหมดในวิภังค์พระดำรัสนี้ว่า อาศัยกามฉันทนิวรณ์

ในความเป็นอรูปย่อมเกิดถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชานิวรณ์ ดังนี้ ให้

พิสดาร เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้พึงถึงความตกลงว่า มิทธะเป็นอรูปเท่านั้น

ดังนี้.

ว่าด้วยกุกกุจจนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุจจนิทเทส ต่อไป

บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺิตา (ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่

ควร) เป็นต้นตรัสไว้เพื่อแสดงกุกกุจจะโดยมูล จริงอยู่ ในการก้าวล่วงที่ทำ

แล้ว โดยมีความสำคัญอย่างนี้ เมื่อภิกษุมีสติระลึกถึงวัตถุและอัชฌาจารที่

สำเร็จแล้วอีก ก็เดือดร้อนอยู่เนือง ๆ อย่างนี้ว่า เราทำกรรมชั่วแล้วดังนี้

กุกกุจจะนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการตามเดือดร้อนในภายหลัง ด้วยเหตุ

นั้น เพื่อทรงแสดงกุกกุจจะนั้นโดยมูล จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกปฺปิเย กปฺปิย-

สญฺิตา ดังนี้.

ในพระพุทธพจน์นั้น อธิบายว่า ภิกษุมีความสำคัญว่าควรย่อมฉัน

อาหารที่ไม่ควร มีความสำคัญว่าเนื้อที่ควรย่อมฉันเนื้ออันไม่ควร คือย่อมขบ

ฉัน (เคี้ยวกิน) เนื้อหมีด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อสุกร หรือย่อมขบฉันเนื้อเสือ-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

เหลืองด้วยสำคัญว่าเป็นเนื้อกวาง เมื่อกาลผ่านไปแล้ว สำคัญว่ายังเป็นกาลอยู่

ห้ามภัตแล้วสำคัญว่าไม่ได้ห้ามภัต เมื่อของที่ยังมิได้รับประเคนตกไปในบาตร

ย่อมฉันด้วยสำคัญว่ารับประเคนแล้ว อย่างนี้ ชื่อว่า การทำการก้าวล่วงด้วย

ความสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร. ภิกษุเมื่อขบฉันเนื้อสุกรด้วยความสำคัญว่า

เป็นเนื้อหมี และฉันอาหารในเวลาด้วยสำคัญว่านอกเวลา ชื่อว่า กระทำการ

ก้าวล่วงด้วยความสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร.

อนึ่ง สิ่งบางอย่างไม่มีโทษภิกษุการทำด้วยความสำคัญว่ามีโทษและที่

มีโทษทำความสำคัญว่าไม่มีโทษ ชื่อว่า กระทำการก้าวล่วงด้วยความสำคัญใน

สิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ด้วยความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. ก็เพราะกุกกุจ

จะนี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะการก้าวล้วงที่ทำแล้ว ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มี

โทษอย่างนี้ว่า กรรมอันดีเรายังมิได้กระทำหนอ กุศลเรายังมิได้กระทำ เครื่อง

ปัองกันของคนกล้า ยังมิได้กระทำหนอ บาปเรากระทำแล้วหนอ ความหยาบ

ช้า เรากระทำแล้ว ความร้ายกาจเรากระทำแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุญาตวัตถุแม้อื่นแก่ภิกษุผู้มีกุกกุจจะนั้นจึงตรัสคำมี

อาทิว่า การรำคาญ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะเห็นปานนี้ อันใด ดังนี้. ในอธิการ

นี้ บทว่า กุกกุจจะ มีอรรถง่ายทั้งนั้น. อาการแห่งความรำคาญ ชื่อว่า

กุกฺกุจฺจายนา (กิริยาที่รำคาญ) ภาวะแห่งธรรมอันกุกกุจจะให้เป็นไปแล้ว

ชื่อว่า กุกฺกุจฺจายิตตฺต (ความรำคาญ).

ในคำว่า เจตโส วิปฺปฏิสาโร (ความเดือดร้อนใจ) นี้ ความว่า

การเผชิญหน้าต่อกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำ หรือเผชิญหน้าต่อสิ่งที่มีโทษและ

ไม่มีโทษ ชื่อว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) ก็เพราะความวิปฏิสารนั้น

ย่อมทำบาปอันทำแล้วให้เป็นกรรมที่ยังไม่กระทำ หรือย่อมไม่กระทำความดี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ที่ยังไม่ทำแล้วให้เป็นอันตนทำแล้ว ฉะนั้น การหวนระลึกไปผิดรูปหรือเป็น

สิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปฏิสาร. อนึ่ง เพื่อให้ทราบ

ว่า วิปฏิสารนั้นเป็นของจิต มิใช่ของสัตว์ ดังนี้ จึงตรัสว่า เจตโส วิปฺ-

ปฏิสาโร (ความเดือดร้อนของจิต) ดังนี้. เนื้อความนี้เป็นการอธิบายสภาวะ

ของกุกกุจจะนั้น.

ก็กุกกุจจะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมสลักใจอยู่เหมือนปลายเหล็กแหลมขีดภาชนะ

สำริดอยู่นั่นแหละเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มโนวิเลโข (ความยุ่งใจ)

เนื้อความนี้อธิบายกิจ (หน้าที่) ของกุกกุจจะนั้น. ส่วนกุกกุจจะ (ความรังเกียจ)

ใดที่ตรัสไว้ในพระวินัยว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร รังเกียจว่า

การอยู่ฉันอาหารในโรงฉันเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม

ไว้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมรับ ดังนี้ กุกกุจจะ (การรังเกียจ) นั้น

ไม่เป็นนิวรณ์. เพราะพระอรหันต์ไม่มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า สิ่งนี้เรา

ทำผิดแล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า กุกกุจจะ (ความรังเกียจ) ในพระวินัยกล่าวคือ

การพิจารณานี้ว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นนีวรณปฏิรูปกะ (คล้ายกับ

นิวรณ์).

ว่าด้วยธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตตธรรม

ในนิทเทสบทว่า กตเม ธมฺมา นีวรณา เจว นีวรณสมฺปยุตฺตา

(ธรรมเป็นนิวรณ์แต่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?) ดังนี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้ามิได้ตรัสแยกว่า ถีนมิทธนิวรณ์เป็นนิวรณ์ และสัมปยุตด้วยนิวรณ์โดยอวิช-

ชานิวรณ์ เพราะถีนะและมิทธะมิได้เว้นซึ่งกันและกัน ดังนี้. แต่เพราะเมื่อ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

อุทธัจจะมีอยู่ กุกกุจจะก็ไม่มี อุทธัจจะแม้เว้นจากกุกกุจจะก็เกิดได้ ฉะนั้น

จึงตรัสแยกอุทธัจจะนั้น.

อนึ่ง นิวรณ์ใด ไม่ถึงการประกอบเข้ากับนิวรณ์ใด พึงทราบว่า

นิวรณ์นั้นพระองค์มิได้ทรงประกอบไว้ ก็นิวรณ์เหล่านี้ควรเพื่อนำมากล่าวตาม

ลำดับแห่งกิเลสบ้าง ตามลำดับแห่งมรรคบ้าง ว่าด้วยลำดับแห่งกิเลส กาม

ฉันทนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์ อันอนาคามิมรรคย่อมละ ถีนมิทธนิวรณ์และ

อุทธัจจนิวรณ์ อันอรหัตมรรคย่อมละ กุกกุจจนิวรณ์และวิจิกิจฉานิวรณ์ อัน

โสดาปัตติมรรคย่อมละ อวิชชานิวรณ์ อันอรหัตมรรคย่อมละ ว่าโดยลำดับ

แห่งมรรค กุกกุจจะและวิจิกิจฉา ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กามฉันทะ

และพยาบาทย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค ถีนมิทธะ อุทธัจจะและอวิชชาย่อม

ละได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

ในปรามาสโคจฉกะ บทว่า เต ธมฺเม เปตฺวา (เว้นปรามาส-

ธรรมเหล่านั้นเสีย) คือพระองค์ทรงกระทำให้เป็นพหูพจน์โดยเสมอกับคำถาม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

อุปาทานโคจฉกะ

[๗๘๐] ธรรมเป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตต-

วาทุปาทาน.

[๗๘๑] บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ?

ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด คือความใคร่ ความเพลิดเพลิน

คือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่

ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด

นี้ชื่อว่า กามุปาทาน.

[๗๘๒] ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวง

ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา

ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด

ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด บ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ

เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน.

เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่าง

จัดเป็นทิฏฐุปาทาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

[๗๘๓] สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต

ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร

แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด

ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส

มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.

[๗๘๔] อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ฉลาด

ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น

สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ

สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนใน

เวทนา ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นคนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตน

ในสัญญา ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน

เห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณ

ในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ

กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ

สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด

ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดย

วิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปทาน.

[๗๘๕] ธรรมไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

เว้นอุปาทานธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เป็นอุปาทาน.

[๗๘๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้น เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

[๗๘๗] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

ธรรมวิปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปยุตจากอุปาทาน.

[๗๘๘] ธรรมเป็นอุปาทาน และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน

เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

อุปาทานเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของ

อุปาทาน.

ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอุปาทาน โดยอุปาทานธรรมเหล่านั้น

เว้นอุปาทานเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภท

ที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น

อุปาทาน.

[๗๘๙] ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?

ทิฏฐุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน

กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยทิฏฐุปาทาน

สีลัพพตุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยกามุปาทาน

กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยสีลัพพตุปาทาน

อัตตวาทุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทาน โดยกามุ-

ปาทาน กามุปาทาน เป็นอุปาทาน และสัมปยุตด้วยอุปาทานโดยอัตตวาทุปาทาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอุปาทานธรรมเหล่านั้น เว้นอุปาทานธรรม

เหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน.

[๗๙๐] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปาทานธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม

อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร

อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

อุปาทานโคจฉกะ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ

ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้

ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือ

วัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

บทว่า อุปาทาน (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์

ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมีอุปายาสะ (ความคับแค้น)

อุปกัฏะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น.*

อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุ-

ปาทาน หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่ง

ทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต

* อุปายาสะ อุป + อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺ ใกล้แล้ว อุป + กฏฺ

ใกล้ถึงแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

อตฺตา จ โลโก จ (อัตตาและโลกเที่ยง) ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน

เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นศีลพรต. ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน. จริงอยู่. คำว่า โคศีล และโควัตรเป็นต้น

เป็นอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีลพรตอย่างนี้.

อนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าว. ที่ชื่อว่า อุปาทาน

เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่น ย่อมกล่าว ที่ยึดมั่นอะไร ? การกล่าวและ

การยึดมั่นอัตตาของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง เหตุสักแต่

วาทะว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็น

เหตุยึดมั่นว่าเป็นอัตตา.

ว่าด้วยนิทเทสกามุปาทาน

แม้ในคำว่า โย กาเมสุ กามฉนฺโท (ความพอใจคือความใคร่ใน

กามทั้งหลายอันใด) นี้ วัตถุกามทั้งหลาย และกิเลสกามทั้งหลายทรงประสงค์เอา

กามทั้งหลายโดยไม่เหลือ เพราะฉะนั้น ความพอใจคือความใคร่ในวัตถุกาม

ทั้งหลาย ชื่อว่า กามุปาทาน ในอธิการนี้ ฉะนั้น กามุปาทานนั้น จึงสำเร็จ

(แก่ปุถุชนเป็นต้น) แม้แก่พระอนาคามี แต่กามราคะอันเป็นวัตถุของกามคุณ ๕

ย่อมไม่มีแก่พระอนาคามีนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐุปาทาน

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐุปาทาน ต่อไป

บทว่า นตฺถิ ทินฺน (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ความว่า เขาย่อมรู้ว่า

ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีอยู่ คือใคร ๆ อาจเพื่อให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ ก็ได้

แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของทานไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ ยิฏฺ (การบูชาไม่มีผล) ความว่า การบูชาใหญ่

(มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺ (การบูชา) คือ ย่อมรู้ว่า การบูชานั้น

ใคร ๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชาไม่มี ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

บทว่า หุต (การบวงสรวง) ความว่า กิริยาที่บูชา และนำของมาให้

เพื่อมงคล บุคคลย่อมรู้กิริยาอันนั้นว่า ใคร ๆ ก็อาจทำได้ แต่ว่าเขาย่อมถือว่า

ผลวิบากของกิริยามงคลนั้นไม่มีผล.

ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏาน (ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว) นี้

กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำดี อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่

ทำชั่ว. บุคคลย่อมรู้ถึงความที่กรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นมีอยู่ แต่ย่อมยึดถือว่า

ผลวิบากไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ อย โลโก (โลกนี้ไม่มี) ความว่า บุคคลย่อมถือ

โลกนี้ด้วยคิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่นของบุคคลผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้น

ไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา (มารดาไม่มี บิดาไม่มี) ความว่า

เขาย่อมรู้ความที่มารดาบิดามีอยู่ แต่เขาถือว่า ผลวิบากอะไร ๆ ด้วยการทำ

อุปการะในมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (โอปปาติกสัตว์ไม่มี) คือ

เขาถือว่า สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิ ไม่มี.

บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา (ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ)

ความว่า เขาย่อมถือว่า สมณะและพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ดำเนินไปสู่

อนุโลมปฏิปทา ไม่มีในโลก.

บทว่า เย อิมญฺจ โลก ปรญฺจ โลก สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา

ปเวเทนฺติ (สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก) ความว่า ย่อมถือว่า ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

สัพพัญญูพุทธะผู้สามารถรู้โลกนี้และโลกอื่นด้วยญาณอันวิเศษยิ่งโดยตนเท่านั้น

ไม่มี ดังนี้.

ก็อุปาทานเหล่านี้ควรเพื่อนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรค

บ้าง. ว่าโดยลำดับกิเลส กามุปาทานอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ อุปาทาน

๓ ที่เหลือ อันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค

โสดาปัตติมรรคย่อมประหาณทิฏฐุปาทานเป็นต้น มรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ

กามุปาทาน.

กิเลสโคจฉกะ

[๗๙๑] ธรรมเป็นกิเลส เป็นไฉน ?

กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ.

[๗๙๒] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

แห่งจิต ความอยาก ความสงบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ

ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ

อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ

เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง

ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวัง

ชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง

การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความ

ละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความกำหนัด

ในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความ

ปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่

สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์

นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือน

เถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์

แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือน

แม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

อกุศลมลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

[๗๙๓] โทสะ เป็นไฉน ?

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา

อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อม

เกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความเสื่อมเสีย

ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักที่ชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ

เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ใน

ฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น

ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย

ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยา

ที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย

กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย

ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่

แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ.

[๗๙๔] โมหะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วน

อนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป-

บาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น

ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเจริญ ความไม่

แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่

พินิจ การไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา

ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคือ

อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา

อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ.

[๗๙๕] มานะ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

การถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา การถือตัว

กิริยาที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด การยกตน การเทิดตน

การเชิดชูตนดุจธง การยกจิตขึ้น ความมีจิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่ามานะ.

[๗๙๖] ทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี

ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็

เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้า

แต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มี ไม่เป็นอยู่ก็มี เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี

ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความ-

เห็นไปข้างหน้า ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ

ความยึดถือ ความยึดถือมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด

ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ

เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิแม้ทุกอย่างจัดเป็น ทิฏฐิ.

[๗๙๗] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ใน

ปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การ

เคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ

นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง

สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

ส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความ

กระด้างแห่งจิต ความลังเลใจมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

[๗๙๘] ถีนะ เป็นไฉน ?

ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความ

ท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา

อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซาแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.

[๗๙๙] อุทธัจจะ เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะ.

[๘๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ไม่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ.

[๘๐๑] อโนตตัปปะ เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า

อโนตตัปปะ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลส.

[๘๐๒] ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมไม่เป็นกิเลส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

[๘๐๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่ง

เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

[๘๐๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียว

กันกับอกุศลมูลนั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูล

นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้น เป็นสมุฏฐาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง.

ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมอง.

[๘๐๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

วิปปยุตจากกิเลส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

[๘๐๖] ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส

เป็นไฉน ?

กิเลสธรรมเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์

ของสังกิเลส.

ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสังกิเลสโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้น

กิเลสธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่

ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่รูปขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็น

กิเลส.

[๘๐๗] ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง เป็นไฉน ?

กิเลสเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง.

ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใด เศร้าหมองโดยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรม

เหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่มีกิเลส.

[๘๐๘] ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน ?

โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

โทสะ. เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็นกิเลส

และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ โมหะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ อุทธัจจะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ เป็น

กิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

อโนตตัปปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ อหิริกะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ.

โลภะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโลภะ.

โทสะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโทสะ.

โมหะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยโมหะ.

มานะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยมานะ.

ทิฏฐิ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยทิฏฐิ.

วิจิกิจฉา เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยวิจิกิจฉา.

ถีนะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยถีนะ.

อุทธัจจะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัป-

ปะ เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอุทธัจจะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

อหิริกะ เป็นกิเลส และสัมปุยุตด้วยกิเลสโดยอโนตตัปปะ อโนตตัปปะ

เป็นกิเลส และสัมปยุตด้วยกิเลสโดยอหิริกะ.

สภาวธรรมเหล่านี้ ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส.

ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยกิเลสธรรมเหล่านั้น เว้นกิเลสธรรมเหล่านั้น

เสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรม

สัมปุยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

[๘๐๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

เป็นไฉน ?

ธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากกิเลสธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อัพยา-

กตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้

แก่รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจาก

กิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส.

กิเลสโคจฉกะ จบ

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสโคจฉกะ ต่อไป

กิเลสเท่านั้น ชื่อว่า กิเลสวัตถุ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วัตถุ

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้มีอาสวะยังไม่สิ้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้น

ตั้งอยู่ในกิเลสมีโลภะเป็นต้น ที่ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะอรรถว่า กิเลส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

เหล่านั้นด้วย เป็นวัตถุของสัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกิเลสเหล่านั้นด้วย. ก็เพราะแม้กิเลส

ทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น โดยความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส

ที่เป็นปัจจัยนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ แม้ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุ

(ที่อยู่) ของกิเลสทั้งหลาย.

ก็โลภะนี้ว่า ตตฺถ กตโม โลโภ โย ราโค สาราโค (บรรดากิเลส

๑๐ เหล่านั้น โลภะเป็นไฉน ? ความกำหนัด ความกำหนัดหนัก) ดังนี้

ทรงขยายออกตั้งร้อยกว่าบท ในฐานะทั้ง ๓ คือ เหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ

และในกิเลสโคจฉกะนี้. ทรงอธิบายไว้ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ

โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ และอุปาทานโคจฉกะ โคจฉ-

กะละ ๘ บท. โลภะนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงถือเอาโดยนิปปเทส

(แสดงโดยไม่เหลือ) ในฐานะที่ทรงชี้แจงไว้ร้อยกว่าบทบ้าง ในฐานะที่ทรง

ชี้แจงไว้โคจฉกะละ ๘ บทบ้าง ในโคจฉกะเหล่านั้น ตัณหาที่ตั้งอยู่โดยส่วน

เดียวกันนั่นแหละ ในเหตุโคจฉกะ คัณฐโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ อุปา-

ทานโคจฉกะ กิเลสโคจฉกะ พึงฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒

ตั้งอยู่ในอาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ ก็พึง

ฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๔. ตัณหาที่เป็นส่วนทั้ง ๒ นั้น อย่างไร ? คือในอาสวโคจฉกะ

เป็นกามาสวะ และภวาสวะ ในสัญโญชนโคจฉกะ ได้แก่ กามราคสัญโญชน์

และภวราคสัญโญชน์ ในโอฆะ ได้แก่ กาโมฆะและภโวฆะ ในโยคะได้แก่

กามโยคะ และภวโยคะ ก็กิเลสวัตถุเหล่านี้ควรนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดย

ลำดับมรรคบ้าง.

ว่าโดยลำดับกิเลส โลภะอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ โทสะ

อันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ โมหะและมานะอันอรหัตมรรคย่อมประหาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ ถีนะเป็นต้นอันอรหัตมรรค

ย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค ทิฏฐิและวิจิกิจฉาอันโสดาปัตติมรรค

ย่อมประหาณ โทสะอันอนาคามิมรรคย่อมประหาณ กิเลส ๗ ที่เหลือ

อันอรหัตมรรคย่อมประหาณฉะนี้แล.

ปิฏฐิทุกะ

[๘๑๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

[๘๑๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย

ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้

เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ

สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือ

เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นคนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น

ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า

สักกายทิฏฐิ.

[๘๑๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

[๘๑๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต

ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

[๘๑๔] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกัน

กับสัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย

สัญโญชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็น

สมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน ?

เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ.

[๘๑๕] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

โลภะ โทสะ โมหะที่เหลือ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ

โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วย โลภะ

โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ

โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓

ประหาณ.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน ?

เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม

อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ.

[๘๑๖] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

[๘๑๗] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย

ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้

เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของ

สัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นคนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตนหรือ

เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็น

ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การยึดถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า

สักกายทิฏฐิ.

[๘๑๘] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลง สงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.

[๘๑๙] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพร ด้วยศีลพรต

ของสมณพราหมณ์ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

[๘๒๐] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ

สัญโญชน์ ๓ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓

นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ, โลภะ โทสะ โมหะ อัน

ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุ

อันโสดาปัตติมรรคประหาณ

ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนา-

ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น,

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน

สภาวธรรมแหละนี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็น

ไฉน ?

เว้นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศล-

ธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ

คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

[๘๒๑] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

เป็นไฉน ?

โสภะ โทสะ โมหะที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สัมปยุตตเหตุ

อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้น เป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ

เป็นไฉน ?

เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม

อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธรรม

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.

[๘๒๒] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยวิตก ในภูมิแห่งจิตมี

วิตกที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิตกเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีวิตก.

ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิตก ที่เป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ, วิตก รูปทั้งหมด และ

อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.

[๘๒๓] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจาร ในภูมิแห่งจิต

มีวิจารเป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นวิจารเสีย สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิจาร ที่เป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, วิจาร รูปทั้งหมด และอสังขต-

ธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.

[๘๒๔] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งจิตมี

ปีติที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีปีติ.

ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีปีติ ที่เป็น

กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.

[๘๒๕] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีติ ในภูมิแห่งปีติ

ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งปีติเป็นกา-

มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

[๘๒๖] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนาใน

ภูมิแห่งสุขเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตระ เว้นสุขเวทนาเสีย สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งสุขเวทนาที่

เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ, สุขเวทนา รูปทั้งหมด และ

อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.

[๘๒๗] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนา

ในภูมิแห่งอุเบกขาเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตระ

เว้นอุเบกขาเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา-

เวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งอุเบกขา-

เวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ อุเบกขาเวทนา รูป

ทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วย

อุเบกขาเวทนา.

[๘๒๘] ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน ?

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง

ท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดอเวจีนรกเป็นที่

สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกามาวจร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?

รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร.

[๘๒๙] ธรรมเป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?

จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ

ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหาร (กิริ-

ยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนด

พรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชนอกนิษฐ์เป็นที่สุด อันใด สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูปาวจร.

ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?

กามาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร.

[๘๓๐] ธรรมเป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?

จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ

ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยา-

ฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำกำหนดเทพผู้

เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญาย-

ตนภูมิเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอรูปาวจร.

ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?

กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

[๘๓๑] ธรรมเป็นปริยาปันนะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกา-

มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ.

ธรรมเป็นอปริยาปันนะ เป็นไฉน ?

มรรค ผลของมรรค และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นอปริยาปันนะ.

[๘๓๒] ธรรมเป็นนิยยานิกะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยยา-

นิกะ.

อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?

เว้นนิยยานิกธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์

ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อนิยยานิกธรรม.

[๘๓๓] ธรรมเป็นนิยตะ เป็นไฉน ?

อนันตริยกรรม ๕ นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยตะ.

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?

เว้นนิยตธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศธรรม อัพยากตธรรมที่

เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ให้ผลไม่แน่นอน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

[๘๓๔] ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะซึ่งเป็นกา-

มาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน ?

มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

[๘๓๕] ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียว

กัน กับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศล

มูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดกับกิเลส.

ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร

โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดกับกิเลส.

ปิฏฐิทุกะ จบ

อรรกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยนิทเทสกามาวจรในปิฏฐิทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสกามาวจร ต่อไป.

บทว่า เหฏฺโต (เบื้องต่ำ) (บาลีข้อ ๘๒๘) ได้แก่ ส่วนข้างล่าง.

บทว่า อวีจินิรย (อเวจีนรก) มีความหมายว่า ที่ชื่อว่า อวีจิ

เพราะอรรถว่า ในนรกนี้ไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งเปลวไฟทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

หรือไม่มีช่องระหว่างระลอกแห่งทุกขเวทนาของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีชื่อว่า นิรยะ

(นรก) เพราะอรรถว่า ในที่นี้ไม่มีความเจริญกล่าวคือความสุข อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า นรก ด้วยอรรถว่า ไม่มีความยินดีบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชอบ

ใจบ้าง.

บทว่า ปริยนฺต กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กระทำนรกกล่าวคือ

อเวจีนั้นเป็นที่สุด. บทว่า อุปริโต (เบื้องสูง) ได้แก่ ส่วนเบื้องบน. บท

ว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติเทเว (เทพปรนิมมิตวสวัตดี) ความว่า เทพมีโวหาร

อันได้แล้วอย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในความใคร่ (กาม) ทั้งหลายอัน

เทพอื่นนิมิตให้. บทว่า อนฺโต กริตฺวา (เป็นที่สุด) ได้แก่ กั้นไว้ในที่

สุด. บทว่า ย เอตสฺมึ อนฺตเร (ระหว่างนี้อันใด) ได้แก่ ในภูมินี้

อันใด.

ก็เพราะเหตุที่ธรรมแม้เหล่าอื่น ย่อมท่องเที่ยวไปในระหว่างภูมินี้โดย

ความเกิดในภูมิไหน ๆ ในกาลบางครั้งบางคราว ฉะนั้น เพื่อไม่ทรงรวมธรรม

เหล่านั้นด้วยบทนี้ว่า เอตฺถาวจรา (การท่องเที่ยวไปนี้) จึงตรัสคำว่า อวจรา

(ท่องเที่ยว). ด้วยคำนั้น ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไปหยั่งลงภายในระหว่าง

ภูมินี้ โดยที่เกิดอยู่ทุกที่ทุกเมื่อ คือย่อมท่องเที่ยวไปในส่วนเบื้องต่ำโดยภูตรูป

และอุปาทารูปก็เป็นไปในภายใต้ของอเวจีนรก จึงทรงกระทำการรวบรวมธรรม

เหล่านั้นไว้ เพราะว่า ธรรมเหล่านั้น หยั่งลงแล้วเที่ยวไป คือหยั่งลงในส่วน

เบื้องต่ำนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า อวจร. จริงอยู่ เพราะธรรม

เหล่านี้ ท่องเที่ยวไปในภูมินี้ ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในภูมิอื่น แต่ไม่นับเนื่องใน

ภูมิอันนั้น ฉะนั้น จึงทรงกระทำการกำหนดธรรมเหล่านั้น ซึ่งท่องเที่ยวไปแม้ใน

ภูมิอื่น ด้วยบทนี้ว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา (นับเนื่องในภูมินี้). บัดนี้ เมื่อจะแสดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ธรรมเหล่านั้นอันเป็นธรรมนับเนื่องในภูมินี้โดยความเป็นราสี (กอง) โดย

ความว่างเปล่า โดยความเป็นปัจจัย และเป็นสภาวะ จึงตรัสคำว่า ขันธ์

เป็นต้น.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งรูปาวจรธรรม

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสรูปาวจรธรรม ต่อไป.

บทว่า พฺรหฺมโลก (พรหมโลก) ได้แก่ สถานที่ดำรงอยู่แห่ง

พรหมกล่าวคือ ปฐมฌานภูมิ. คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ไว้ในนิทเทสกามวจรนั่นแหละ. ในบทมีอาทิว่า สมาปนฺนสฺส จ (ของผู้

เข้าสมาบัติ) พึงทราบว่า ตรัสกุศลฌานด้วยบทที่ ๑ ตรัสวิบากฌานด้วย

บทที่ ๒ ตรัสกิริยาฌานด้วยบทที่ ๓ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอรูปาจรธรรม ต่อไป

บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค (ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ)

ได้แก่ ผู้เข้าถึงภพกล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้แหละ.

คำที่เหลือในนิทเทสนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสสรณทุกะ (ที่ ๑๘)

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสรณทุกกะ ต่อไป

บรรดาอกุศลมูล ๓ อกุศลมูล คือโมหะนี้ใด โมหะนั้นสัมปยุตด้วย

โลภะ พึงทราบว่า เป็นสรณะ (เกิดพร้อมกับกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้)

โดยโลภะ โมหะที่สัมปยุตด้วยโทสะ เป็นสรณะโดยโทสะ แต่โมหะที่สัมปยุต

ด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นสรณะโดยเป็นกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ

การประหาณโดยกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คือราคะอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และ

กิเลสคือรูปราคะอรูปราคะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

สุตตันติกทุกะ

[๘๓๖] ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา เป็นไฉน ?

ธรรมทั้งหลายที่สัมปุยุตด้วยวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นไปในส่วนวิชชา.

ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา เป็นไฉน ?

ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอวิชชา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เป็นไปในส่วนอวิชชา.

[๘๓๗] วิชชูปมธรรม เป็นไฉน ?

ปัญญาในอริยมรรค ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า วิชชูปมธรรม.

วชิรูปมธรรม เป็นไฉน ?

ปัญญาในอรหัตมรรคเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า วชิรูปมธรรม.

[๘๓๘] พาลธรรม เป็นไฉน ?

อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาลธรรม.

บัณฑิตธรรม เป็นไฉน ?

หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า บัณฑิตธรรม

กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น บัณฑิตธรรม.

[๘๓๙] กัณหธรรม เป็นไฉน ?

อหิริกะ อโนตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กัณหธรรม

อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น กัณหธรรม.

สุกกธรรม เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

หิริ โอตตัปปะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สุกกธรรม

กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น สุกกธรรม.

[๘๔๐] ตปนิยธรรม เป็นไฉน ?

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ตปนิยธรรม

อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น ตปนิยธรรม.

อตปนิยธรรม เป็นไฉน ?

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อตปนิยธรรม

กุศลธรรมแม้ทั้งหมดจัดเป็น อตปนิยธรรม.

[๘๔๑] อธิวจนธรรม เป็นไฉน ?

การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม

การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้น ๆ อันใด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อธิวจนธรรม

ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า อธิวจนปถธรรม.

[๘๔๒] นิรุตติธรรม เป็นไฉน ?

การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม

การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้น ๆ อันใด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิรุตติธรรม

ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า นิรุตติปถธรรม.

[๘๔๓] บัญญัติธรรม เป็นไฉน ?

การกล่าวขาน สมัญญา บัญญัติ โวหาร นาม การขนานนาม

การตั้งชื่อ การออกชื่อ การระบุชื่อ การเรียกชื่อ ของธรรมนั้น ๆ อันใด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า บัญญัติธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ธรรมทั้งหมดแลชื่อว่า บัญญัติปถธรรม.

[๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ

นี้เรียกว่า นามธรรม.

รูปธรรม เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปธรรม.

[๘๔๕]่ อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

ภวตัณหา เป็นไฉน ?

ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด

นี้เรียกว่า ภวตัณหา.

[๘๔๖] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกจักเกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ.

วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกจักไม่เกิด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง

ทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ.

[๘๔๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกจักสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ.

[๘๔๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ.

อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ตนและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ

ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ.

[๘๔๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภ

ส่วนอดีต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ.

อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส อันใด ปรารภ

ส่วนอนาคต เกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ.

[๘๕๐] อหิริกะ เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ไม่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ.

อโนตตัปปะ เป็นไฉน ?

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว

กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า

อโนตตัปปะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

[๘๕๑] หิริ เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า หิริ.

โอตตัปปะ เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า โอตตัปปะ.

[๘๕๒] โทวจัสสตา เป็นไฉน ?

กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะแห่งผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดข้าง

ขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ

ความไม่เคารพ ความไม่รับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า

โทวจัสสตา.

ปาปมิตตตา เป็นไฉน ?

บุคคลเหล่าใด เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล ไร้การศึกษา มีความ

ตระหนี่ มีปัญญาทราม, การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ

การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกาย

และใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา.

[๘๕๓] โสวจัสสตา เป็นไฉน ?

กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะแห่งผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึด

ข้างขัดขืน ความไม่พอใจทางโต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ

ความเป็นผู้ทั้งเคารพ ทั้งรับฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า

โสวจัสสตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ?

บุคคลเหล่าใด เป็นคนมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา,

การเสพ การซ่องเสพ การซ่องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี

ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคล

เหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.

[๘๕๔] อาปัตติกุสลตา เป็นไฉน ?

อาบัติทั้ง ๕ หมวด ๗ หมวด เรียกว่าอาบัติ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด

ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอาบัติ

แห่งอาบัติทั้งหลายนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติกุสลตา.

อาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันเป็นเหตุฉลาดในการออกจากอาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า อาปัตติ-

วุฏฐานกุสลตา.

[๘๕๕] สมาปัตติกุสลตา เป็นไฉน ?

สมาบัติที่มีวิตกมีวิจาร มีอยู่ สมาบัติที่ไม่มีวิตกแต่มีวิจาร มีอยู่

สมาบัติที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีอยู่, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในสมาบัติแห่งสมาบัติทั้งหลาย

นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติกุสลตา.

สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันเป็นเหตุฉลาดในการออกจากสมาบัติเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า สมาปัตติ-

วุฏฐานกุสลตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

[๘๕๖] ธาตุกุสลตา เป็นไฉน ?

ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ

ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ

ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในธาตุแห่งธาตุทั้งหลายนั้น ๆ

อันใด นี้เรียกว่า ธาตุกุสลตา.

มนสิกากุสลตา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความสอดส่องธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในการมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า

มนสิการกุสลตา.

[๘๕๗] อายตนกุสลตา เป็นไฉน ?

อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ

ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

มนายตนะ ธรรมายตนะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัย

ธรรม สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะทั้งหลายนั้น ๆ

อันใด นี้เรียกว่า อายตนกุสลาตา.

ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา เป็นไฉน ?

ปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึง

เกิดขึ้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ผัสสะจึงเกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิดขึ้น เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

ตัณหาจึงเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิดขึ้น เพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย ภพจึงเกิดขึ้น เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิดขึ้น เพราะชาติเป็นปัจจัย

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงเกิดขึ้น ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้, ปัญญา กิริยาที่รู้

ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาทนั้น

อันใด นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.

[๘๕๘] ฐานกุสลาตา เป็นไฉน ?

ธรรมใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ

ลักษณะนั้น ๆ เรียกว่า ฐานะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในฐานะนั้น อันใด นี้เรียกว่า ฐานกุสลตา.

อัฏฐานกุสลตา เป็นไฉน ?

ธรรมใดๆไม่เป็นเหตุไม่เป็นปัจจัยเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ

ลักษณะนั้น ๆ ชื่อว่า อฐานะ, ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในอฐานะนั้น อันใด นี้เรียกว่า อัฏฐานกุสลตา.

[๘๕๙] อาชชวะ เป็นไฉน ?

ความซื่อตรง ความไม่คด ความไม่งอ ความไม่โกง อันใด นี้เรียก

ว่า อาชชวะ.

มัททวะ เป็นไฉน ?

ความอ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง

ควานเจียมใจ อันใด นี้เรียกว่า มัททวะ.

[๘๖๐] ขันติ เป็นไฉน ?

ความอดทน กิริยาที่อดทน ความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่

ปากร้าย ความแช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ขันติ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

โสรัจจะ เป็นไฉน ?

ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่

ล่วงละเมิดทางกายและวาจา อันใด นี้เรียกว่า โสรัจจะ

ศีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นโสรัจจะ.

[๘๖๑] สาขัลยะ เป็นไฉน ?

วาจาใด เป็นปม เป็นกาก เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น เกี่ยวผู้อื่นไว้ ยั่วให้

โกรธไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ละวาจาเช่นนั้นเสีย, วาจาใด ไร้โทษ สบายหู

ไพเราะจับใจ เป็นวาจาของชาวเมือง เป็นที่ยินดีเจริญใจ ของชนหมู่มาก

กล่าววาจาเช่นนั้น, ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย

ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย ในลักษณะดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า

สาขัลยะ.

ปฏิสันถาร เป็นไฉน ?

ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร ธรรมปฏิสันถาร, บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิสันถาร โดยอามิสปฏิสันถารก็ดี โดยธรรมปฏิสันถารก็ดี

นี้เรียกว่า ปฏิสันถาร.

[๘๖๒] ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้

ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌาโทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำ

บุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวม จักขุนทรีย์ใด, ไม่

ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวม

ในจักขุนทรีย์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วย

ชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผูเถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส อกุศล-

บาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่

ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์

นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น

การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวมซึ่ง

อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖.

ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหาร เพื่อ

จะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อจะประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี, ความเป็นผู้ไม่

สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อัน

ใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร.

[๘๖๓] ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต เป็น

ผู้ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึง

ครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่นี้ เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด,

ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์นั้น สำเร็จการสำรวมใน

จักขุนทรีย์นั้น

ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรส

ด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว เป็นผู้ไม่ถือนิมิต เป็นผู้ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌา โทมนัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย พึงครอบงำบุคคลผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่นี้ เพราะ

เหตุที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ใด, ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น รักษามนินทรีย์

นั้น สำเร็จการสำรวมในมนินทรีย์นั้น

การคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่า

นี้ อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์.

ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหาร ไม่

ใช่เพื่อจะเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อจะประเทือง ไม่ใช่เพื่อจะให้อ้วน

พี แต่เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความ

หิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย

ด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ

และการอยู่โดยผาสุก จักมีแก่เราด้วย ดังนี้ แล้วจึงบริโภคอาหาร, ความ

สันโดษ ความรู้ประมาณ การพิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียก

ว่า ความเป็นผู้รู้ ประมาณในโภชนาหาร.

[๘๖๔] มุฏฐสัจจะ เป็นไฉน ?

ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึก

ไม่ได้ อาการที่ระลึกไม่ได้ ความไม่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม อัน

ใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ.

อสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

[๘๖๕] สติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรง

จำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ

อันใด นี้เรียกว่า สติ.

สัมปชัญญะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ.

[๘๖๖] กำลังคือการพิจารณา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด นี้เรียกว่า กำลังคือการพิจารณา.

กำลังคือภาวนา เป็นไฉน ?

การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อันใด

นี้เรียกว่า กำลังคือภาวนา

โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ จัดเป็น กำลังคือภาวนา.

[๘๖๗] สมณะ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ.

วิปัสสนา เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

อันใด นี้เรียกว่า วิปัสสนา.

[๘๖๘] สมถนิมิต เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ปัคคาหนิมิต.

[๘๖๙] ปัคคาหะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า

ปัคคาหะ.

อวิกเขปะ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ.

[๘๗๐] สีลวิบัติ เป็นไฉน ?

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด

ทางกายและทางวาจา อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ

ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิบัติ.

ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวง

ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดา

ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุบัติไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ

การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ.

[๘๗๑] สีลสัมปทา เป็นไฉน ?

ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วง

ละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา.

ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อมมีผล การ

บวงสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกอื่น

มีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ที่จุติและอุบัติมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี

ปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด

ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด

นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา

สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา.

[๘๗๒] สีลวิสุทธิ เป็นไฉน ?

ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วง

ละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิสุทธิ

สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ.

ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นไฉน ?

ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาญาณ) ญาณ-

อันสมควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ (สัจจานุโลมิกญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียง

ด้วยมรรค (มัคคญาณ) ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล (ผลญาณ).

[๘๗๓] บทว่า ความหมดจดแห่งทิฏฐิ นั้น มีนิเทศว่า ปัญญา

กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ.

บทว่า ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด นั้น มีนิเทศว่า

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

[๘๗๔] บทว่า ความสลดใจนั้น มีนิเทศว่า ญาณอันเห็นชาติ

โดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นชราโดยความเป็นภัย ญาณอันเห็นพยาธิโดยความ

เป็นภัย ญาณอันเห็นมรณะโดยความเป็นภัย.

บทว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ นั้น มีนิเทศว่า ชาติ

ชรา พยาธิ มรมะ.

บทว่า ความพยายามโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว

นั้น มีนิเทศว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม

ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิด

ขึ้นแห่งอกุศล บาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลบาปธรรม

ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่

บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่จืดจาง เพื่อความเพิ่มพูน เพื่อความ

ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิด

ขึ้นแล้ว.

[๘๗๕] บทว่า ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม นั้น มีนิเทศว่า

ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่รู้จักอิ่ม ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ความไม่ท้อถอยในความพยายาม นั้น มีนิเทศว่า ความ

เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ความเป็นผู้กระทำติดต่อ ความเป็นผู้กระทำไม่หยุด

ความเป็นผู้ประพฤติไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทั้งฉันทะ ความเป็นผู้ไม่ทอด

ธุระ การเสพ การเจริญ การกระทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศีลธรรม

ทั้งหลาย.

[๘๗๖] บทว่า วิชชา นั้น มีนิเทศว่า วิชชา ๓ วิชชาคือญาณ

อันตามระลึกชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือญาณในจุติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตุปปาตญาณ) วิชชาคือญาณในความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

บทว่า วิมุตติ นั้น มีนิเทศว่า วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต (สมาบัติ ๘)

และนิพพาน.

[๘๗๗] บทว่า ขเย าณ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อม

เพรียงด้วยมรรค.

บทว่า อนุปฺปาเท าณ นั้น มีนิเทศว่า ญาณของท่านผู้พร้อม

เพรียงด้วยผล.

นิกเขปกัณฑ์ จบ

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยนิทเทสวิชชูปมทุกะ

นิทเทสบททั้งหลายแห่งสุตตันติทุกะเหล่านั้น โดยมากมีอรรถตื้นทั้ง

นั้น เพราะสุตตันติกะทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้จำแนกแสดงโดยใจความในมาติกา-

กถาแล้ว และเพราะนิทเทสบทแม้เหล่านั้น เข้าใจง่ายโดยนัยที่ได้กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นแล. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะแสดงเนื้อความที่ต่างกันต่อไป

พึงทราบวินิจฉัยในวิชชูปมทุกะก่อน ได้ยินว่า บุรุษผู้มีจักษุเดินทาง

ไปในเวลาราตรีมีเมฆมืด ทางย่อมไม่ปรากฏแก่บุรุษนั้น เพราะความมืด

สายฟ้าแลบแล้วขจัดความมืดไป ทีนั้นทางก็ปรากฏแก่เขา เพราะปราศจาก

ความมืด เขาจึงเดินทางต่อไป แม้ครั้งที่สองความมืดก็ย่อมปกคลุมอีก ทางจึงไม่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ปรากฏแก่เขา สายฟ้าแลบแล้วขจัดความมืดนั้น เมื่อปราศจากความมืดแล้ว

ทางก็ได้ปรากฏ เขาจึงเดินทางต่อไป ครั้งที่สาม ความมืดได้ปกคลุมแล้ว ทาง

ก็ไม่ปรากฏ สายฟ้าแลบแล้วก็ขจัดความมืดไป.

บรรดาข้ออุปมาเหล่านั้น การเริ่มวิปัสสนาของอริยสาวกเพื่อประโยชน์

บรรลุโสดาปัตติมรรค เหมือนการเดินทางของบุรุษผู้มีจักษุในเวลาที่มืด

ความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่ทางไม่ปรากฏในความมืด เวลาที่แสงสว่าง

คือโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่สายฟ้าแลบ

ขึ้นกำจัดความมืด เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่โสดาปัตติมรรค เหมือนเวลาที่

ทางปรากฏในการปราศจากความมืด ก็การปรากฏของทางก็คือการปรากฏของ

บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคสมังคีนั่นเอง.

การเริ่มวิปัสสนาของบุคคล เพื่อประโยชน์บรรลุสกทามิมรรคเหมือน

การดำเนินไปครั้งที่สอง ความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่ทางไม่ปรากฏใน

ความมืด เวลาที่แสงสว่างคือสกทาคามิมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะ

เหมือนเวลาสายฟ้าแลบครั้งที่สองกำจัดความมืด เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่

สกทาคามิมรรค เหมือนเวลาที่ทางปรากฏในการปราศจากความมืด ก็การ

ปรากฏของทางก็คือการปรากฏของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.

การเริ่มวิปัสสนาเพื่อบรรลุอนาคามิมรรค เหมือนบุคคลเดินทางครั้งที่

สาม ความมืดอันปิดบังสัจจะ เหมือนทางไม่ปรากฏในเวลามืด เวลาที่แสงสว่าง

คืออนาคามิมรรคเกิดขึ้นกำจัดความมืดปิดบังสัจจะ เหมือนเวลาที่สายฟ้าแลบ

กำจัดความมืดครั้งที่สาม เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏแก่อนาคามิมรรค เหมือนเวลา

ที่ทางปรากฏในเวลาปราศจากความมืด ก็การปรากฏของทางก็คือการปรากฏของ

บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

อนึ่ง แผ่นหิน หรือแก้วมณี ชื่อว่า ไม่แตกไปด้วยวชิระ (ฟ้าผ่า)

ย่อมไม่มี วชิระตกไปในที่ใด ที่นั้นย่อมเป็นอันถูกขจัดแล้วทีเดียว วชิระ

เมื่อฟาดไปย่อมฟาดไปมิให้อะไรเหลือ ขึ้นชื่อว่า ทางที่วชิระผ่านไปแล้วจะไม่

เป็นสิ่งปรากฏอีก ชื่อว่า กิเลสที่อรหัตมรรคไม่ประหาณแล้วก็ย่อมไม่มีอย่างนั้น

เหมือนกัน แม้อรหัตมรรคย่อมกำจัดกิเลสทั้งสิ้น คือเมื่อยังกิเลสให้สิ้นไปย่อม

ให้สิ้นไปโดยไม่เหลือ เหมือนวชิระกำจัดอยู่ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า การกลับมาเกิด

อีกของกิเลสที่อรหัตมรรคประหาณแล้วย่อมไม่มี เหมือนทางที่วชิระผ่านไปแล้ว

ไม่กลับเป็นสิ่งปรากฏอีก ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสพาลทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสพาลทุกะ ต่อไป

อหิริกะและอโนตตัปะปรากฏแล้วในพาลชนทั้งหลาย. อนึ่ง อหิริกะ

และอโนตตัปปะเหล่านั้นยังเป็นมูลแห่งพาลธรรมที่เหลือ ด้วยว่าคนที่ไม่มีหิริ

ไม่มีโอตตัปปะชื่อว่าไม่ทำอกุศลอะไร ๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๒

เหล่านั้นจึงตรัสแยกไว้ก่อนทีเดียว. แม้ในธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (สุกกธรรม)

ก็นัยนี้แหละ. ในกัณหทุกะก็เหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสตปนียทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสตปนียทุกะ ต่อไป

บัณฑิตพึงทราบ ตปนธรรม (ธรรมที่เร่าร้อน) เพราะเหตุที่ทำ

และเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอยู่ กายทุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่

ทำ กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้เร่าร้อนเพราะเหตุที่ไม่ทำ จริงอย่างนั้น บุคคล

* วชิระ เป็นชื่อของฟ้าผ่าก็มี เป็นชื่ออาวุธของพระอินทร์ก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

ย่อมเดือดร้อนว่า กายทุจริตเราการทำไว้ และย่อมเดือดร้อนว่า กายสุจริต

เรามิได้การทำไว้ ย่อมเดือดร้อนว่า วจีทุจริตเรากระทำไว้ ฯลฯ ย่อมเดือด

ร้อนว่า มโนสุจริตเรามิได้ทำไว้. แม้ในอตปนียธรรม (ธรรมที่ไม่เร่าร้อน)

ก็นัยนี้แหละ.

จริงอยู่ บุคคลผู้ทำความดี ย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายสุจริตเราทำไว้แล้ว

ย่อมไม่เร่าร้อนว่า กายทุจริตเราไม่ทำไว้แล้ว ย่อมไม่เร่าร้อนว่า วจีสุจริตเรา

กระทำไว้ ฯลฯ ไม่เร่าร้อนว่า มโนทุจริตเราไม่ทำไว้ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสอธิวจนทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอธิวจนทุกะ ต่อไป

บทว่า ยา เตส เตส ธมฺมาน (ธรรมนั้น ๆ อันใด) ได้แก่ ทรง

รวบรวมเอาธรรมทั้งหมด. ที่ชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน) เพราะอันเขา

บอก คือย่อมสนทนากัน ย่อมสนทนากันอย่างไร ย่อมสนทนากันด้วยอาการ

หลายประการอย่างนี้ว่า เรา ของเรา คนอื่น ของคนอื่น ว่าเป็นสัตว์ เป็น

ภาวะ เป็นบุรุษ เป็นบุคคล เป็นนระ เป็นมานพ ชื่อว่า ติสสะ ชื่อว่า

ทัตตา ว่าเตียง ว่าตั่ง ว่าฟูก ว่าหมอน วิหาร บริเวณ ประตู หน้าต่าง

ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขา (การกล่าวขาน).

ที่ชื่อว่า สมัญญา (การกำหนดรู้) เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ.

ย่อมรู้โดยชอบอย่างไร ย่อมรู้ว่า เรา ของเรา ฯลฯ ประตู หน้าต่าง เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้โดยชอบ. ที่ชื่อว่า บัญญัติ

เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมแต่งตั้ง. ที่ชื่อว่า โวหาร เพราะอรรถว่า อัน

เขาย่อมร้องเรียก ย่อมร้องเรียกอย่างไร ย่อมร้องเรียกว่า เรา ของเรา ฯลฯ

ประตู หน้าต่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โวหาร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

บทว่า นาม (นาม) ได้แก่ นาม ๔ อย่าง คือ

๑. สามัญนาม ชื่อทั่วไป

๒. คุณนาม ชื่อโดยคุณ

๓. กิตติมนาม ชื่อโดยการยกย่อง

๔. อุปปาติกนาม ชื่อตามที่เกิดขึ้น.

บรรดานาม ๔ อย่างนั้น นามของพระราชาว่า มหาสมมต ดังนี้

เพราะมหาชนในครั้งปฐมกัปประชุมกันตั้งไว้ ชื่อว่า สามัญนาม ซึ่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ อักษรแรกว่ามหาสมมต

ดังนี้ เกิดขึ้น เพราะมหาชนสมมติขึ้นแล. นาม อันมาแล้วโดยคุณอย่างนี้

ว่า พระธรรมกถึก ผู้ทรงบังสุกุลจีวร พระวินัยธร ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้มี

ศรัทธา ผู้เลื่อมใสแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า คุณนาม.

แม้พระนามของพระตถาคตมีหลายร้อยอาทิว่า ภควา อรห สมฺมา-

สมฺพุทฺโธ ดังนี้ ก็ชื่อว่า คุณนาม เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-

จารย์ จึงกล่าวว่า

อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มเหสิโน

คุเณน นามมุทฺเธยฺย อปิ นาม สหสฺสโต

พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอัน

ใหญ่มีพระนาม โดยพระคุณของพระองค์

นับไม่ถ้วน บัณฑิต พึงยกพระนามโดย

พระคุณขึ้นแสดงแม้เป็นพัน ๆ พระนาม ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

ส่วนนามใด ที่พวกญาติทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้กระทำสักการะแก่

พระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย พากันคิดกำหนดแล้วในวันที่ตั้งชื่อของเด็กผู้เกิด

มากระทำการตั้งชื่อว่า เด็กนี้ชื่อโน้น นามนี้ ชื่อว่า กิตติมนาม.

อนึ่ง บัญญัติแรกย่อมตกไปในบัญญัติหลัง โวหารแรกย่อมตกไปใน

โวหารหลัง เช่นพระจันทร์แม้ในกัปก่อนชื่อว่าพระจันทร์ แม้ในปัจจุบันก็

เรียกว่าพระจันทร์เหมือนกัน พระอาทิตย์ สมุทร ปฐวี บรรพตในกัปก่อน

ชื่อว่า บรรพต แม้ในปัจจุบันก็เรียกว่าบรรพตนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อุปปา-

ติกนาม. นามแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็คงเป็นนามอย่างเดียวกันนั่นเอง.

บทว่า นามกมฺม (นามกรรม) คือการให้ชื่อ.

บทว่า นามเธยฺย (นามเธยยะ) คือการตั้งชื่อ.

บทว่า นิรุตฺติ (การออกชื่อ) ได้แก่ การเรียกชื่อ.

บทว่า พฺยญฺชน (การระบุชื่อ) ได้แก่ การประกาศชื่อ ก็เพราะ

การระบุชื่อนี้ ย่อมปรากฏถึงความหมาย ฉะนั้น จึงตรัสไว้อย่างนั้น.

บทว่า อภิลาโป (การเรียกชื่อ) ได้แก่ ชื่อที่เรียกนั่นเอง.

บทว่า สพฺเพว ธมฺมา อธิวจนปถา (ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่า

อธิวจนปถธรรม) ได้แก่ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นวิถีของธรรมที่เป็นชื่อไม่มีหามิได้

ธรรมหนึ่งย่อมรวมลงในธรรมทั้งหมด ธรรมทั้งหมดก็ประชุมลงในธรรมหนึ่ง

ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ธรรมหนึ่งคือนามบัญญัตินี้นั้น ย่อมประมวลลงใน

ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด คือสัตว์ก็ดี สังขารก็ดี ชื่อว่า พ้นไปจาก

ชื่อหามีไม่. แม้ต้นไม้ในดง และภูเขาเป็นต้น ก็ยังเป็นภาระ (คำพูด) ของ

ชาวชนบท เพราะว่า ชาวชนบทเหล่านั้น ถูกเขาถามว่า ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อ

ต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็

เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง. แม้ปลาและเต่าเป็นต้นใน

ทะเลก็นัยนี้แหละ.

สองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือน

ทุกะนี้แล.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งนามรูปทุกะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าเป็นนามกรณะ (การให้ชื่อ) ด้วยอรรถ

ว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ และด้วยอรรถว่าการยังอารมณ์ให้น้อมลงในตน. ใน

บรรดาอรรถทั้ง ๓ เหล่านั้น ขันธ์ ๔ ก่อน ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าการ

ให้ชื่อ เหมือนอย่างพระนามว่า มหาสมมต ดังนี้ เป็นชื่อของพระเจ้ามหา-

สมมตพระองค์นั้น เพราะมหาชนยกย่องแล้วฉันใด หรือว่ามารคและบิดาตั้ง

ชื่ออันมีเกียรติแก่บุตร อย่างนี้ว่า ลูกนี้จงชื่อว่า ติสสะ ลูกนี้จงชื่อว่า ปุสสะ

ฉันใด หรือว่า นาม ที่มาโดยคุณว่า พระธรรมกถึก พระวินัยธร ดังนี้

ฉันใด ชื่อของขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้น ฉันนั้นหามิได้ เพราะขันธ์ ๔ มีเวทนา

เป็นต้นเมื่อจะทำชื่อของตนเกิดขึ้น ก็เป็นดุจมหาปฐพีเป็นต้น เมื่อเวทนาเป็น

ต้นเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์มีเวทนาเป็นต้น ก็ย่อมเกิดขึ้นโดยแท้

จริงอยู่ ใคร ๆ จะพูดถึงเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วว่า เจ้าจงชื่อว่า เวทนา ดังนี้

หาได้ไม่. และกิจคือหน้าที่ที่จะตั้งชื่อของเวทนานั้นก็ไม่มี. เมื่อปฐพีเกิดขึ้น

แล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าปฐพีดังนี้มิได้มี เมื่อจักรวาล เขาสิเนรุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตร เกิดขึ้นแล้ว กิจที่จะตั้งชื่อว่า เจ้าจง

ชื่อว่า จักรวาล เจ้าจงชื่อว่า สิเนรุ เจ้าจงชื่อว่า นักษัตร ดังนี้ มิได้มี

นาม (ชื่อ) เกิดขึ้นแล้วนั่นแหละ ย่อมตกลงไปในโอปปาติกบัญญัติ (ได้ชื่อ

ว่าตามสภาพที่เกิดขึ้น) ฉันใด เมื่อเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ฉันนั้น กิจที่จะตั้ง

ชื่อว่า เจ้าจงชื่อว่าเวทนา ดังนี้ มิได้มี. เมื่อเวทนานั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า

เวทนา ก็ย่อมเกิดขึ้นนั่นแหละ. แม้ในขันธ์มีสัญญาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ เวทนาก็ชื่อว่า เวทนานั่นแหละ สัญญาก็ชื่อว่าสัญญา สังขาร

ก็ชื่อว่าสังขาร และวิญญาณก็ชื่อว่า วิญญาณเหมือนกัน แม้ในอดีต แม้ใน

อนาคต แม้ในปัจจุบัน. ถึงพระนิพพานก็ชื่อว่า พระนิพพานนั่นแหละแม้ใน

กาลทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๔ จึงชื่อว่า นาม โดยสภาวะกระทำชื่อ.

ส่วนในข้อว่า การน้อมไปสู่อารมณ์ นี้ ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม

จริงอยู่ ขันธ์ ๔ เหล่านั้น น้อมไปมุ่งเฉพาะต่ออารมณ์ นามแม้ทั้งหมด ชื่อ

ว่า นาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป. เพราะขันธ์ ๔ ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปใน

อารมณ์ พระนิพพานย่อมยังธรรมไม่มีโทษให้น้อมไปในตน เพราะเป็นอา-

รัมมณาธิปติปัจจัย.

ในอวิชชาทุกนิทเทส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดอวิชชาและ

ภวตัณหา เพื่อแสดงความเกิดขึ้นเป็นไปของวัฏมูล.

ในนิทเทสภวทิฏฐิ บทว่า ภวิสฺสติ อตฺตา จ โลโก จ (อัตตา-

และโลกจักเกิด) ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ ที่ถือว่าขันธบัญจกว่าเป็นอัตตาและโลก

แล้วยึดถือไว้โดยอาการที่ยึดถือว่า ขันธปัญจกนั้นจักเกิด. ทิฏฐิที่ ๒ คือ

อุจเฉททิฏฐิ ซึ่งยึดถือเอาโดยอาการว่า ขันธปัญจกนั้นจักไม่เกิด.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

ในนิทเทสปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ บทว่า ปุพฺพนฺต อารพฺภ

(ปรารภส่วนอดีต) ได้แก่ทำส่วนอดีตให้เป็นอารมณ์ ทรงถือเอาปุพพันตานุ-

ทิฏฐิ ๑๘ ที่มาในพรหมชาลสูตร ด้วยบทว่า ปุพฺพนฺต อารพฺภ นี้.

บทว่า อปรนฺต อารพฺภ (ปรารภส่วนอนาคต) ได้แก่ กระทำ

ส่วนอนาคตให้เป็นอารมณ์แล้วถือเอาอปรันตานุทิฏฐิ ๔๔ อันมาแล้วในพรหม

ชาลสูตรนั้นนั่นแหละ. ด้วยบทว่า อปรนฺต อารพฺภ นี้.

ในโทวจัสสตานิทเทส บทว่า สหธมฺมิเก วุจฺจมาเน (เมื่อ

ถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท

อันใด ชื่อว่า สหธรรมิก เมื่อภิกษุถูกชี้ถึงวัตถุในสิกขาบทนั้น ปรับอาบัติ

กล่าวอยู่ว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ นิมนต์ท่านแสดงอาบัติ นิมนต์ท่านออก

จากอาบัติ นิมนต์ท่านกระทำคืนอาบัติ ดังนี้.

ในบทว่า โทวจสฺสาย (กิริยาของผู้ว่ายาก) เป็นต้น กรรมของ

ผู้ว่ายากซึ่งถูกตักเตือนอยู่อย่างนี้ โดยการประท้วงตอบบ้าง โดยไม่ยอมรับ

โอวาทโดยเคารพบ้าง ชื่อว่า โทวจสฺสาย (กิริยาของผู้ว่ายาก) กิริยาของผู้

ว่ายากนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า โทวจัสสัง (ความเป็นผู้ว่ายาก) ดังนี้ก็มี.

ภาวะของความเป็นผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสิย (ความเป็นผู้ว่ายาก) คำ

นอกจากนี้ มีคำว่า ความยึดข้างขัดขืนเป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของความเป็น

ผู้ว่ายากนั่นแหละ.

บทว่า วิปฺปฏิกุลคาหิตา (ความยึดข้างขัดขืน) ได้แก่ ความ

ยึดถือโดยไม่คล้อยตาม บุคคลชื่อว่า วิปจฺจนีกสาโต (พอใจทางโต้แย้ง)

เพราะอรรถว่า มีความยินดีโดยการโต้แย้งกล่าวคือถือข้างขัดขืน. คำนี้เป็นชื่อ

ของบุคคลผู้ได้ความสุขโดยพอใจว่า เราได้กระทำเขาให้หมดเสียงด้วยคำที่สำคัญ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

เพียงคำเดียวเท่านั้น. ภาวะของบุคคลผู้พอใจในทางโต้แย้งนั้น ชื่อว่า วิปจฺจ-

นีกสาตตา (ความพอใจทางโต้แย้ง) ภาวะของคนผู้ไม่เอื้อเฟื้อด้วยอำนาจ

ความไม่รับเอาโอวาท ชื่อว่า อนาทริย (ความไม่เอื้อเฟื้อ) คำนอกนี้มีภาวะ

แห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น เป็นไวพจน์ของความไม่เอื้อเฟื้อนั้นนั่นแหละ อีก

อย่างหนึ่ง อาการที่ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า อนาทริตา (ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).

ภาวะที่ไม่เคารพอันเกิดขึ้นด้วยการไม่อยู่ในอำนาจปกครองของครู ชื่อ

ว่า อคารวตา (ความไม่เคารพ). ภาวะที่ไม่ยอมเชื่อฟังอันเกิดขึ้นด้วยการไม่

อยู่ในอำนาจการปกครองของบุคคลผู้มีความเจริญ ชื่อว่า อปฺปฏิสฺสวตา

(ความไม่รับฟัง).

บทว่า อย วุจฺจติ (นี้เรียก) ความว่า กิริยานี้ คือเห็นปานนี้

เรียกว่า โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก).

ก็โทวจสฺสตา (กิริยาของผู้ว่ายาก) นี้ว่าโดยใจความได้แก่ ขันธ์ ๔

อันเป็นไปโดยอาการนั้น หรือว่า ได้แก่ สังขารขันธ์อย่างเดียว. แม้ใน

ปาปมิตตตาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ จริงอยู่ โทวจัสสตาและปาปมิตตตาเป็นต้น

ชื่อว่า เป็นเจตสิกธรรมส่วนหนึ่งย่อมไม่มี.

ที่ชื่อว่า อสทฺธา (คนไม่มีศรัทธา) เพราะอรรถว่า ศรัทธาของ

บุคคลเหล่านั้นไม่มี อธิบายว่า เขาย่อมไม่เชื่อวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น. บทว่า ทุสฺสีลา (ไม่มีศีล) ได้แก่ ขึ้นชื่อว่า ความผิดของศีลไม่มี

คือผู้ไม่มีศีล. บทว่า อปฺปสฺสุตา (มีสุตะน้อย) คือเว้นจากการศึกษา.

ที่ชื่อว่า มัจฉรี (มีความตระหนี่) เพราะอรรถว่า มีความตระหนี่

๕ อย่าง. ที่ชื่อว่า นิปฺปญฺา (มีปัญญาทราม) เพราะอรรถว่า ไร้ปัญญา.

ชื่อว่า เสวนา (การเสพ) ด้วยสามารถการคบหา. การเสพที่มีกำลัง ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

นิเสวนา (การซ่องเสพ). การเสพโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า สเสวนา

(การซ่องเสพด้วยดี). อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่มบท ด้วยอำนาจอุปสรรคแล้วตรัส

การเสวนะแม้ทั้ง ๓ บททีเดียว.

บทว่า ภชนา (การคบ) ได้แก่ การเข้าไปใกล้.

บทว่า สมฺภชนา (การคบหา) ได้แก่ การคบโดยส่วนทั้งปวง

ชื่อว่า การคบหา. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า

ภตฺติ (ความภักดี) ได้แก่ ความภักดีอย่างแน่วแน่. บทว่า สมฺภตฺติ

(ความจงรักภักดี) ได้แก่ ความภักดีโดยส่วนทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ทรงเพิ่ม

บทด้วยอุปสรรคแล้วตรัสความภักดีมั่นคงแม้ทั้งสองบท.

บทว่า ตสมฺปวงฺกตา (ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตาม

บุคคลนั้น) ได้แก่ภาวะที่โน้มน้าวไปด้วยกายและจิตในบุคคลเหล่านั้น อธิบายว่า

ความเอียงไป ความโอนไป ความเงื้อมไปในบุคคลนั้น. แม้นิทเทสโสวจัสสตา-

ทุกะก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.

ในนิทเทสอาปัตติกุสลตาทุกะ บทว่า ปญฺจปิ อาปตฺติขนฺธา

(อาบัติทั้ง ๕ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๕ หมวดเหล่านั้นตามนิทเทสแห่งมาติกา

คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ. บทว่า สตฺตปิ

อาปตฺติกฺขนฺธา (อาบัติทั้ง ๗ หมวด) ได้แก่ อาบัติ ๗ หมวดเหล่านี้ตาม

นิทเทสแห่งวินัย คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ ทุพภาสิต.

บรรดาความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติเหล่านั้น ปัญญาที่รู้การกำหนดอาบัติ

เหล่านั้นพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ)

ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดในการออกจากอาบัติพร้อมกับกรรมวาจา ชื่อว่า

อาบัติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ).

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

ในนิทเทสสมาบัติกุสลตา ที่ชื่อว่า สมาบัติ เพราะอันพระโยคี

พึงเข้า ส่วนปัญญาที่รู้การกำหนดอัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ชื่อว่า สมาปัตติ-

กุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ) ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐาน-

กุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ) เพราะเมื่อตั้งใจว่า เมื่อ

พระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ หรือดาวนักษัตรโคจรมาสู่ที่นี้แล้ว เราจักออกจาก

สมาบัติ ดังนี้ มีอยู่ด้วยปัญญาเป็นเครื่องกำหนดการออกในสมัยนั้นไม่ผิดพลาด.

ในนิทเทสธาตุกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้การกำหนดการเรียน การ

มนสิการ การฟัง การทรงจำ ซึ่งธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธาตุกุสลตา (ความเป็น

ผู้ฉลาดในธาตุ) ปัญญาที่รู้การเรียน การมนสิการซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ

ชื่อว่า มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ).

ในนิทเทสอายตนกุสลตาทุกะ ปัญญาที่รู้กำหนดการเรียน การ

มนสิการ การฟัง การทรงจำซึ่งอายตนะ ๑๒ ชื่อว่า อายตนกุสลตา

(ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ).

อีกอย่างหนึ่ง บรรดากุสลตาเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ (ธาตุกุสลตา มนสิการ-

กุสลตา อายตนกุสลตา) ความรู้ทั้งปวง คือ การเรียน มนสิการ การฟัง

การเข้าใจ การแทงตลอด การพิจารณาเห็น ย่อมสมควร. ในบรรดาการรู้ทั้ง

๖ เหล่านั้น การฟัง การเรียน การพิจารณาเห็นเป็นโลกีย์ การแทงตลอดเป็น

โลกุตระ การเข้าใจและมนสิการเป็นมิสสกะคือเป็นโลกีย์ก็มี เป็นโลกุตระก็มี.

บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขารา เป็นต้นจักแจ่มแจ้งในปฏิจจสมุป-

ปาทวิภังค์. ปัญญาที่รู้ว่า ธรรมนี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิจจ-

สมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท).

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ว่าด้วยนิทเทสฐานาฐานทุกะ

พึงทราบ วินิจฉัยในนิทเทสฐานาฐานทุกะ ต่อไป

คำแม้ทั้ง ๒ นี้ว่า เหตุปจฺจยา (เป็นเหตุเป็นปัจจัย) เป็นคำไวพจน์

ของกันและกัน. จริงอยู่ จักขุประสาทเป็นเหตุ และเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ

ที่ทำรูปให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อนึ่ง โสตประสาทเป็นต้นก็เป็นเหตุและเป็น

ปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น พืชทั้งหลายมีพืชมะม่วงเป็นต้นก็เป็นเหตุและ

เป็นปัจจัยแก่ผลมะม่วงเป็นต้น .

ในนัยที่ ๒ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บทว่า เย ธมฺนา (ธรรมเหล่า

ใด) เป็นคำแสดงปัจจัยธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า เยส เยส (เหล่าใด ๆ)

เป็นคำแสดงถึงปัจจยสมุปปันนธรรมที่เป็นวิสภาคะกัน. บทว่า น เหตู น

ปจฺจยา (ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย) ได้แก่ จักประสาท ไม่เป็นเหตุ

ไม่เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณที่เกิดขึ้นกระทำเสียงให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง โสต-

ประสาทเป็นต้น ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณที่เหลือ และพืชมะม่วง

เป็นต้นก็ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยแก่ความเกิดขึ้นแห่งต้นตาลเป็นต้น ฉะนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสอาชวะและมัททวะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสอาชวะ และมัททวะทุกะ ต่อไป

บทว่า นีจจิตฺตตา (ความเจียมใจ) นี้เป็นความต่างกันเพียงบท

เท่านั้น เนื้อความแห่งคำนั้นว่า บุคคลชื่อว่า นีจจิตฺโต (เจียมใจ) เพราะ

อรรถว่า มีใจเจียมโดยไม่มีมานะ. ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า นิจจิตฺตตา

(ความเจียมใจ). คำที่เหลือมาในบทภาชนีย์แห่งจิตตุชุกตา และจิตตมุทุตา

นั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

ว่าด้วยนิทเทสขันติทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสขันติทุกะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า ขันติ ด้วยอำนาจการอดทน อาการแห่งความอดทน ชื่อว่า

ขมนตา (กิริยาที่อดทน). ที่ชื่อว่า อธิวาสนตา (ความอดกลั้น) เพราะ

อรรถว่า เป็นเหตุอดกลั้น คือเป็นเหตุยกขึ้นเหนือตนทนอยู่ ไม่ต่อต้าน

ไม่เป็นข้าศึกดำรงอยู่.

ภาวะแห่งความไม่ดุร้าย ชื่อว่า อจณฺฑิกฺก (ความไม่ดุร้าย) คำพูด

ที่เปล่งออกมาชั่ว เพราะยกขึ้นพูดหาความชอบมิได้ ในบทว่า อนสุโรโป

(ความไม่ปากร้ายนี้) ท่านเรียกว่า ความปากร้าย. ชื่อว่า อนสุโรโป (ความ

ไม่ปากร้าย) เพราะมีสภาพตรงกันข้ามกับปากร้ายนั้น ได้แก่ วาจาที่เปล่ง

ออกมาดี. ในอธิการนี้ ทรงแสดงถึงเหตุ โดยผลูปจารนัยอย่างนี้.

บทว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส (ความแช่มชื่นแห่งจิต) ได้แก่

ความที่จิตเป็นใจของตนด้วยอำนาจโสมนัส อธิบายว่า ภาวะแห่งจิตเป็นของตน

นั่นแหละ คือ การที่จิตไม่พยาบาทแล้ว.

ว่าด้วยนิทเทสโสรัจจทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสโสรัจจทุกะ ต่อไป

บทว่า กายิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย) ได้แก่

กายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า วาจสิโก อวีติกฺกโม (ความไม่ล่วงละเมิดทาง

วาจา) ได้แก่ วจีสุจริต ๔ อย่าง. ด้วยบทว่า กายิกวาจสิโก (ทางกาย

และทางวาจา) นี้ ทรงกำหนดถืออาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ซึ่ง

ตั้งขึ้นทางกายและทางวาจา. บทว่า อิท วุจฺจติ โสรจฺจ (นี้เรียกว่าโสรัจจะ)

นี้ ตรัสชื่อโสรัจจะไว้ เพราะความงดเว้นด้วยดีจากบาป. บทว่า สพฺโพปิ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

สีลสวโร (ศีลสังวรแม้ทั้งหมด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดง

การถือศีลทางใจ เพราะบุคคลมิใช่ประพฤติอนาจารทางกายและทางวาจาเท่านั้น

แม้ทางใจก็ต้องประพฤติเหมือนกัน.

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป

บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษ

และเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น.

บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกาก

เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น. วาจาที่เป็น

กากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก.

บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่

ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น. บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่

เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไปแม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่

ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น.

บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อ

ความโกรธ. บทว่า อสมาธิสวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่

ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านั้นทั้งหมดเป็นไวพจน์

ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตถารูปึ วาจึ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้

เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มีได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่

ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

บทว่า เนฬา อธิบายว่า โทษตรัสเรียกว่า เอฬ โทษของวาจา

นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เนฬา (ไร้โทษ) อธิบายว่า

ไม่มีโทษ ดุจศีล (ที่ไร้โทษ) ซึ่งตรัสไว้ในคำนี้ว่า เนฬงฺโค เสตปจฺฉาโท

เป็นต้น* แปลว่า รถคืออัตภาพมีศีลอันหาโทษมิได้ มีการประดับด้วย

บริขารขาวเป็นต้น.

บทว่า กณฺณสุขา (สบายหู) ได้แก่ สบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็น

วาจาที่ไพเราะโดยพยัญชนะ คือไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้นดุจการแทงด้วย

เข็ม.

วาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิด ย่อมยังความรักให้เกิดขึ้นสรีระ

เพราะเป็นวาจาไพเราะโดยอรรถ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เปมนียา

(วาจาไพเราะ).

วาจาใด ไปสู่หทัย ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนเข้าไปสู่จิตโดยง่าย

เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า หทยงฺคมา (วาจาจับใจ).

วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณ

เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง). วาจาที่กล่าว

เรียกว่า ดูก่อนกุมารีผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้

วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี. วาจานี้ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้น

แม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่

ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคล

ควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้น.

วาจาใดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักชอบใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะ

เหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา (วาจาที่ชอบใจของชนหมู่มาก).

* ขุ. อุ. เล่ม ๒๕ ๑๕๑/๒๐๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

วาจาใดเป็นที่ตั้งใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวน

มาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น

วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).

บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.

บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่

ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.

บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจา

อ่อนน้อม.

บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่

วาจาไม่กักขฬะ.

ว่าด้วยนิทเทสปฏิสันถารทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสปฏิสันถารทุกะ ต่อไป

บทว่า อามิสปฏิสนฺถาโร (อามิสปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่าง

(รอยแตกร้าวสามัคคี) ของชนเหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้อามิส ย่อมปิด

สนิทแล้วโดยประการใด การต้อนรับแขกด้วยอามิสโดยประการนั้น.

บทว่า ธมฺมปฏิสนฺถาโร (ธรรมปฏิสันถาร) ได้แก่ ช่องว่างของชน

เหล่าอื่นกับตน เพราะการไม่ได้ธรรม ย่อมปิดสนิทแล้วโดยประการใด การ

ต้อนรับแขกด้วยธรรมโดยประการนั้น.

บทว่า ปฏิสนฺถารโก โหติ (บุคคลผู้ปฏิสันถาร) ความว่า ช่อง

ของโลกสันนิวาสมี ๒ เท่านั้น บุคคลผู้ปฏิสันถาร (ผู้อุดช่อง) ทั้ง ๒ นั้นคือ

บุคคลผู้ปฏิสันถารนั้นย่อมอุดช่องคือกระทำเป็นนิตย์ ด้วยการปฏิสันถารทั้ง ๒ นี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

คือ ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธรรมปฏิสันถาร ในอธิการนี้พึงทราบกถานี้

จำเดิมแต่ต้น.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารเห็นอาคันตุกภิกษุมาอยู่ พึงลุกขึ้นต้อนรับ

รับบาตรจีวร ถวายอาสนะ พัดวีด้วยก้านใบตาล ล้างเท้าทาน้ำมัน เมื่อมี

เนยใสและน้ำอ้อยก็พึงถวายเป็นเภสัช พึงเอื้อเฟื้อด้วยน้ำดื่ม พึงจัดที่อาศัย

ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำโดยเอกเทศ.

อนึ่ง ในเวลาเย็น เมื่อภิกษุผู้อ่อนกว่ายังไม่มาสู่ที่บำรุงของตนนั่นแหละ

ควรไปสู่สำนักของภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงนั่งถามปัญหาในวิสัย มิใช่ถามปัญหา

ที่เหลือวิสัยของเธอ คือไม่ถามว่า พวกเธอเรียนนิกายไหน พึงถามว่า อาจารย์

และพระอุปัชฌาย์ของท่านชำนาญคัมภีร์ไหน ดังนี้ แล้วถามปัญหาในฐานะ

พอเหมาะพอควร. ถ้าเธอสามารถตอบได้ ข้อนั้นเป็นการดี. ถ้าเธอไม่อาจตอบ

ก็พึงตอบเสียเอง ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถารอันภิกษุทำโดย

เอกเทศ.

ถ้าเธออยู่ในสำนักของตน พึงพาเธอไปเที่ยวบิณฑบาตเป็นนิตย์ ถ้า

เธอต้องการเพื่อจะไป วันรุ่งขึ้น ก็พึงพาเธอไปในทิศที่ควรไป เที่ยวบิณฑบาต

ในบ้านหนึ่งแล้วก็พึงส่งกลับ. ถ้าพวกภิกษุถูกนิมนต์ในทางทิศอื่น ก็พึงพาภิกษุ

นั้นผู้ปรารถนาไปด้วย เมื่อไม่ปรารถนาจะไป ด้วยคิดว่า ทิศนี้ไม่ควรแก่เรา

ดังนี้ ก็พึงส่งพวกภิกษุที่เหลือให้ไป แล้วพาเธอเที่ยวบิณฑบาต อามิสที่ตน

ได้แล้วควรถวายเธอ อย่างนี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถารอันภิกษุกระทำแล้ว.

ถามว่า อามสที่ตนได้แล้ว อันภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงถวายใคร.

ตอบว่า ควรถวายภิกษุอาคันตุกะก่อน ถ้าภิกษุผู้อาพาธหรือยังไม่ได้

พรรษามีอยู่ไซร้ ก็พึงถวายแก่ภิกษุแม้ผู้อาพาธเป็นต้นเหล่านั้น พึงถวายแก่

อาจารย์และอุปัชฌาย์ พึงถวายแก่ภิกษุผู้แจกภัณฑะ แต่ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณีย-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

ธรรมพึงถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ แม้ร้อยครั้งพันครั้ง จำเดิมแต่เถร-

อาสน์ไป ส่วนภิกษุผู้ทำปฏิสันถารพึงให้แก่ภิกษุผู้ยังไม่ได้ ออกไปบ้านแล้ว

เห็นภิกษุหรือ ภิกษุณีผู้ชราหรืออนาถา ก็พึงถวายแก่ท่านแม้เหล่านั้น. ในข้อ

นั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า เมื่อพวกโจรปล้นบ้านชื่อว่าคุตตศาลา ในขณะนั้นนั่นแหละ

พระขีณาสวเถรีรูปหนึ่งออกจากนิโรธแล้วให้ภิกษุณีถือสิ่งของไปสู่ทางพร้อมกับ

มหาชน ถึงประตูบ้านนกุลนครนั่งที่โคนไม้ในเวลาเที่ยงวัน ในสมัยนั้น

พระมหานาคเถระผู้อยู่ในวิหารกาฬวัลลิมณฑปเที่ยวไปบิณฑบาตที่บ้านนกุลนคร

ออกมาเห็นพระเถรีจึงถามเอื้อเฟื้อด้วยภัต พระเถรี ตอบว่า ดิฉันไม่มีบาตร.

พระเถระได้ให้ภัตพร้อมทั้งบาตรว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยบาตรนี้. พระเถรีทำ

ภัตกิจเสร็จแล้วล้างบาตรถวายพระเถระแล้วกล่าวว่าท่านจักลำบากด้วยภิกขาจาร

เพียงวันนี้เท่านั้น หลวงพ่อ ตั้งแต่วันนี้ไปขึ้นชื่อว่าความลำบากด้วยภิกขาจาร

ของท่านจักไม่มี ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้น ขึ้นชื่อว่าบิณฑบาตมีค่าหย่อนกว่ากหาปณะ

มิได้เกิดขึ้นแก่พระเถระเลย นี้ชื่อว่า อามิสปฏิสันถาร.

อันภิกษุกระทำปฏิสันถารนี้ควรตั้งอยู่ในฝ่ายสงเคราะห์บอกกรรมฐาน

แก่ภิกษุนั้น พึงบอกธรรม พึงกำจัดความสงสัย พึงทำกรณียกิจที่เกิดขึ้น พึงให้

อัพภาน วุฏฐานะ มานัต และปริวาส ผู้ควรบรรพชาก็พึงให้บรรพชา ผู้ควร

อุปสมบทก็พึงให้อุปสมบท. การทำกรรมวาจาแม้แก่ภิกษุณีผู้หวังอุปสมบทใน

สำนักของคนก็ควร นี้ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถาร.

ภิกษุผู้ทำปฏิสันถารทั้ง ๒ นี้ ย่อมยังลาภที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิด ย่อม

ทำลาภที่เกิดแล้วให้มั่นคง ย่อมรักษาชีวิตของตนในฐานะอันคับขัน (คือ

ประกอบด้วยภัยร้ายแรง) ได้ เหมือนพระเถระ (ผู้ตกอยู่ในฐานะอันดับขัน)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ใช้มือที่จับบาตรนั่นแหละถือภัตอันเลิศ เกลี่ยถวายภัตในบาตรทั้งหมดต่อ

พระเจ้าโจรนาคราช ฉะนั้น. *

ส่วนในการยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น บัณฑิตพึงแสดงถึงเรื่องการ

ถวายมหาเภสัช ที่พระเจ้ามหานาคผู้เสด็จหนีจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นแล้วได้รับความ

อนุเคราะห์ในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ได้กลับมาดำรงอยู่ในราชสมบัติอีก

ทรงประพฤติให้เป็นไป ณ ลานวัดเสตัมพวิหาร ตลอดพระชนมชีพ. ในการทำ

ลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร พึงแสดงเรื่องที่พวกโจรได้รับปฏิสันถารจากมือของ

พระทีฆภาณกอภัยเถระแล้วไม่ปล้นห่อภัณฑะที่เจติยบรรพต.

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ

จะวินิจฉัยนิทเทสความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ต่อไป

บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา (เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว) ได้แก่เห็น

รูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูป ซึ่งมีโวหารอันได้แล้วว่า จักษุ

ดังนี้ ด้วยสามารถเป็นเหตุ. ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า จักษุย่อมไม่

เห็นรูป เพราะจักษุไม่ใช่จิต จิตก็เห็นรูป ไม่ได้ เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่บุคคล

ย่อมเห็นได้ด้วยจิตที่มีปสาทวัตถุโดยการกระทบกันแห่งทวารและอารมณ์ ก็กถา

นี้เช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เขายิงด้วยธนะ ดังนี้

เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้จึงมีคำอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ดังนี้.

บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี (ผู้ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมถือนิมิตว่าเป็นหญิง

เป็นชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีความงามเป็นต้น ด้วยอำนาจฉันท-

ราคะ ไม่ดำรงอยู่ในรูปเพียงการเห็นเท่านั้น.

* ได้ยินว่า พระเจ้าโจรนาคราชดุร้าย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี (เป็นผู้ถือโดยอนุพยัญชนะ) ได้แก่

ถือเอากิริยาอาการอันต่างด้วยมือ เท้า การยิ้ม การหัวเราะ การพูด การมองดู

การเหลียวซ้ายแลขวาเป็นต้นอันได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเครื่อง

ปรากฏของกิเลสทั้งหลาย คือ เพราะกระทำกิเลสให้ปรากฏ.

บทว่า ยตฺวาธิกรณเมน (เพราะเหตุที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด)

ความว่า ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้พึงครอบงำ คือ พึงติดตาม

พึงท่วมทับบุคคลนี้ ผู้มีจักขุนทรีย์ไม่สำรวมแล้วด้วยบานประตูคือสติ คือเป็น

ผู้ไม่มีจักขุทวารอันปิดกั้นแล้วอยู่นี้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่ไม่สำรวม

จักขุนทรีย์ใด.

บทว่า ตสฺส สวราย น ปฏิปชฺชติ (ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม

จักขุนทรีย์นั้น) ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การปิดจักขุนทรีย์นั้น

ด้วยประตูคือสติ ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนี้แหละ ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่รักษาจักขุนทรีย์

ไม่สำเร็จการสำรวมขุนจักขุนทรีย์ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ผู้ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ว่า

สังวรก็ดี อสังวรก็ดี ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์แม้โดยแท้ เพราะว่าสติ หรือ

ความหลงลืมสติย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทหามิได้. แต่ว่า ในกาลใด

รูปารมณ์มาถึงคลองจักขุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดดับ ๒ วาระ

แล้ว กิริยามโนธาตุก็ยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น

จักขุวิญญาณก็ยังทัศนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นวิปากมโนธาตุก็ยัง

สัมปฏิจฉันนกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้น วิปากาเหตุกมโนวิญญาณ

ธาตุก็ยังสันติรณกิจให้สำเร็จเกิดดับ จากนั้นมโนวิญญาณธาตุ อันเป็น

อเหตุกกิริยาก็ยังโวฏฐานกิจให้สำเร็จเกิดดับ ในลำดับนั้น ชวนจิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

ย่อมแล่นไป สังวรก็ดี อสังวรก็ดี จะมีอยู่ในสมัยแห่งภวังคจิตแม้นั้น

ก็หาไม่ หรือจะมีอยู่ในสมัยแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่ง ก็หาไม่

แต่ในขณะแห่งชวนจิต ความเป็นผู้ทุศีลบ้าง ความหลงลืมสติบ้าง ความไม่

รู้บ้าง ความไม่อดทนบ้าง ความเกียจคร้านบ้างย่อมเกิดขึ้น อสังวรย่อมมี.

ก็อสังวรนั้นเป็นอย่างนี้ จึงตรัสเรียกว่า อสังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้. เพราะ

เหตุไร ? เพราะเมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็มิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์ แม้

วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง เหมือนอะไร ? เหมือน

ประตู ๔ ด้านในพระนครเขามิได้ปิดไว้ ถึงในภายในเรือน ซุ้มประตูและ

ห้องเป็นต้นจะปิดไว้อย่างดีก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่ามิได้รักษา มิได้คุ้มครอง

สิ่งของทั้งหมดไว้ในภายในพระนครได้เลย เพราะพวกโจรเข้าไปทางประตู

นคร พึงกระทำตามปรารถนาได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว

ในชวนะ เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครองแม้ทวาร แม้ภวังค์

แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

แม้คำมีอาทิว่า ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้นั่นแหละ.

บทว่า ย อิเมส (อินทรีย์ ๖ เหล่านี้อันใด) ความว่า การไม่คุ้ม

ครองอันใด กิริยาที่ไม่คุ้มครองอันใด การไม่รักษาอันใด การไม่สำรวมอัน

ใดแห่งอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ อธิบายว่า การไม่กั้น การไม่ปิดอินทรีย์ทั้ง ๖

เหล่านี้ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโภชเน อมัตตัญญุตา ต่อไป

บทว่า อิเธกจฺโจ (บุคคลบางคนในโลกนี้) ได้แก่ บุคคลบางคน

ในสัตวโลกนี้. บทว่า อปฺปฏิสงฺขา (ไม่พิจารณา) ได้แก่ ไม่รู้ คือไม่

ใคร่ครวญด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อโยนิโส (โดยไม่แยบคาย)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

ได้แก่ โดยมิใช่อุบาย. บทว่า อาหาร (อาหาร) ได้แก่ สิ่งที่พึงกลืนกินมี

อาหารและน้ำดื่มเป็นต้น. บทว่า อาหาเรติ (บริโภค) ได้แก่ย่อมบริโภค

คือย่อมกลืนกิน. บทว่า ทวาย (เพื่อจะเล่น) เป็นต้นนี้ตรัสไว้เพื่อแสดงถึง

สิ่งที่ไม่ใช่อุบาย จริงอยู่ บุคคลเมื่อบริโภคอาหารโดยไม่ใช้อุบาย ย่อมบริโภค

เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง หรือเพื่อการประดับ ไม่ชื่อว่า บริโภค

เพราะอาศัยอุบายอันเป็นประโยชน์นี้.

ว่า ยา ตตฺถ อสนฺตุฏตา (ความเป็นผู้ไม่สันโดษ) ได้แก่

กิริยาที่ไม่พอใจ คือความที่ไม่พอใจในการบริโภคอาหาร โดยมิใช่อุบายนั้น

อันใด. บทว่า อมตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณ) ได้แก่ ความที่

ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ คือ การไม่รู้จักประมาณ กล่าวคือความพอดี.

บทว่า อย วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า ความประพฤติเป็นไป

ด้วยอำนาจการบริโภคอาหารอันไม่พิจารณานี้ เรียกชื่อว่า โภชเน อมตฺตญฺ-

ญุตา (ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค).

ว่าด้วยนิทเทสอินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ

จะวินิจฉัยนิทเทสความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ต่อไป

บทว่า จกฺขุนา (ด้วยจักษุ) เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ. บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ (เป็นผู้ไม่ถือนิมิต) ได้แก่ ย่อมไม่

ถือนิมิตมีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึง

ทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้น

ในชวนจิต เมื่ออสังวรนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันมิได้คุ้มครอง แม้ภวังค์

๑. บาลีว่า มณฺฑนาย เพื่อประเทืองผิว ๒. วิภูสนาย เพื่อความอ้วนพี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันมิได้คุ้มครอง ฉันใด ในอธิการ

นี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น แม้ทวารก็ย่อมเป็นอันคุ้มครอง

แล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันคุ้มครอง

แล้ว เหมือนอะไร ? เหมือนประตูพระนครที่ปิดดีแล้ว ภายในบ้านเป็นต้นไม่

ได้ปิดไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทั้งหมดภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอัน

รักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วเหมือนกัน เพราะเมื่อประตูพระนครปิดแล้ว พวก

โจร ก็ย่อมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดในชวนจิตแล้ว แม้ทวาร

ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว แม้ภวังค์ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันคุ้ม

ครองแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น สังวรแม้เกิดอยู่ในในขณะแห่งชวน-

จิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สังวรในจักขุนทรีย์ ดังนี้.

แม้ในบทมีอาทิว่า ได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ก็นัยนี้แหละ.

จะวินิจฉัยในนิทเทสความเป็นผู้รู้ประมาณ ต่อไป.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหาร อาหาเรติ (พิจารณาโดย

แยบคายบริโภคอาหาร) ได้แก่ รู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วบริโภค

อาหารโดยอุบาย.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอุบายนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เนว ทวาย (ไม่

ใช่เพื่อเล่น) ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว ทวาย ได้แก่ ไม่บริโภค

เพื่อเล่น. ในพระบาลีนั้น นักเต้นรำและคนกระโดดสูงเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม

บริโภคเพื่อเล่น. เพราะเมื่อเขาบริโภคโภชนะใดแล้ว การเล่นกล่าวคือฟ้อนรำ

กาพย์กลอนและการเล่นโศลก ย่อมแจ่มใสยิ่งนัก ชนเหล่านั้นแสวงหาอาหาร

โดยอธรรมมิได้สม่ำเสมอแล้วย่อมบริโภคอาหารเหล่านั้น แต่ภิกษุนี้ไม่บริโภค

อย่างนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

บทว่า น มทาย (ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา) ได้แก่ ย่อมไม่บริโภคเพื่อ

ความเพิ่มพูนความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษ. ในข้อนั้น พระ-

ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่า ย่อมบริโภคเพื่อความมัวเมา เพราะ

ชนเหล่านั้นย่อมบริโภคโภชนะมีรสกลมกล่อมและประณีต เพื่อความเพิ่มพูน

ความเมาด้วยมานะและเมาด้วยสำคัญว่าเป็นบุรุษของตน แต่ภิกษุนี้ย่อมไม่

บริโภคอย่างนั้น.

บทว่า น มณฺฑนาย (ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว) ความว่า ไม่

บริโภคเพื่อตกแต่งสรีระ ในข้อนั้น หญิงแพศยา หญิงชาวบ้าน หญิงในเมือง

เป็นต้น ย่อมดื่มเนยใสและน้ำอ้อย ย่อมบริโภคอาหารแต่น้อยทั้งเป็นอาหาร

ที่ละเอียดอ่อน ด้วยคิดว่า การบริโภคอย่างนี้ การดำรงอยู่แห่งอวัยวะของพวก

เราจักดำรงอยู่ดี ฉวีวรรณในสรีระจักผ่องใส ดังนี้ แก่ภิกษุนี้ย่อมไม่บริโภค

อย่างนั้น.

บทว่า น วิภูสนาย (ไม่บริโภคเพื่อความอ้วนพี) ได้แก่ ไม่

บริโภคเพื่อต้องการประดับด้วยเนื้อในสรีระ ในบุคคลเหล่านั้น นักมวยปล้ำ

นักมวยกำหมัด และนักมวยสมัครเล่นเป็นต้น ย่อมยังสรีระให้ล่ำสันด้วยโภชนา-

หารมีปลาและเนื้อเป็นต้นที่สนิทดี โดยคิดว่า ด้วยการบริโภคอย่างนี้ เนื้อของ

พวกเราจักล่ำสันเพื่อประโยชน์แก่การที่จะทนต่อการต่อยตี ดังนี้ แต่ภิกษุนี้

ย่อมไม่บริโภคเพื่อประโยชน์ทำเนื้อให้ล่ำสันในสรีระอย่างนั้น.

บทว่า ยาวเทว (เพียง) นี้เป็นคำแสดงการกำหนดประโยชน์ในการ

กลืนกินอาหาร. บทว่า อิมสฺส กายสฺส ิติยา (เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้)

ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อต้องการให้กรชกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้

ดำรงอยู่ ข้อนี้เป็นประโยชน์ในการกลืนกินอาหารของภิกษุนี้. บทว่า ยาปนาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

(เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป) ได้แก่ ย่อมบริโภคเพื่อประโยชน์แก่การให้

ชีวิตินทรีย์เป็นไป. บทว่า วิหึสูปรติยา (เพื่อบำบัดความหิว) ได้แก่ ความ

หิวเกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคเป็นปัจจัย ชื่อว่า วิหิงสา ย่อมบริโภคเพื่อ

ต้องการกำจัดวิหิงสานั้น คือเพื่อให้วิหิงสานั้นสงบลง. บทว่า พฺรหฺมจริยา-

นุคฺคหาย (เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์) ความว่า ไตรสิกขาคือศาสนาทั้ง

สิ้น ชื่อว่า พรหมจรรย์ ย่อมบริโภคเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์นั้น. บทว่า

อิติ นี้เป็นบทแสดงถึงอุบาย อธิบายว่า ด้วยอุบายนี้.

บทว่า ปุราณญฺจ เวทน ปฏิหขามิ (เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย

ด้วย) ความว่า เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะการไม่ได้บริโภคอาหารเป็นปัจจัย ชื่อ

ว่า เวทนาเก่า ภิกษุย่อมบริโภคอาหารด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่านั้น.

บทว่า นวญฺจ เวทน น อุปฺปาเทสฺสามิ (จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิด

ขึ้นด้วย) ความว่า เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคเกินไปเป็นปัจจัย* ชื่อว่า

เวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคด้วยคิดว่า เราจักไม่ให้เวทนาใหม่นั้นเกิดขึ้น

ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะการบริโภคแล้วเป็นปัจจัย ชื่อว่า

เวทนาใหม่ ภิกษุย่อมบริโภคเพื่อมิให้เกิดเวทนานั้นซึ่งยังไม่เกิดขึ้นนั่นแหละ.

บทว่า ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ แปลว่าความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมี

แก่เรา. บทว่า อนวชฺชตา จ (ความไม่มีโทษ) นี้ ได้แก่ ในการบริโภคนี้

สิ่งที่มีโทษก็มี สิ่งที่ไม่มีโทษก็มี ในสองอย่างนั้น การแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม

การรับเอาโดยไม่ชอบธรรม การบริโภคโดยไม่ชอบธรรม นี้ชื่อว่า สาวัช-

ชะ (มีโทษ). การแสวงหาโดยธรรม การรับเอา การพิจารณาแล้วบริโภค

โดยธรรม นี้ชื่อว่า อนวัชชะ. (ไม่มีโทษ).

* ฉบับพม่าเป็น อติภุตฺตปจฺจเยน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

บุคคลบางคนย่อมทำอาหารที่ไม่มีโทษนั่นแหละให้มีโทษ คือทำอาหาร

ที่ตนได้มาโดยธรรมแล้วบริโภคเกินประมาณ เธอย่อมไม่อาจเพื่อให้อาหาร

นั้น ๆ ให้ย่อย ย่อมลำบากด้วยการอาเจียนและถ่ายท้องเป็นต้น พวกภิกษุทั้ง

วัดต้องช่วยกันขวนขวายในการปฏิบัติร่างกายและแสวงหายาเป็นต้นให้ภิกษุนั้น

เมื่อถูกถามว่า นี่อะไร ๆ กัน พวกภิกษุก็จะพูดว่า ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้น

ดังนี้เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็จะพากันตำหนิติเตียนว่า ท่านนี้มีปกติอย่างนี้เป็น

นิจกาลแหละ ย่อมไม่รู้จักประมาณท้องของตน ดังนี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ย่อมทำ

อาหารที่ไม่มีโทษให้มีโทษ อย่างนี้. ภิกษุไม่กระทำเหมือนอย่างนั้น ย่อมฉัน

อาหารด้วยมนสิการว่า ความไม่มีโทษจักมี ดังนี้.

แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ (และการอยู่โดยผาสุก) นี้ความว่า การ

อยู่โดยผาสุกก็มี การอยู่โดยไม่ผาสุกก็มี.

พราหมณ์ตะกละ ๕ คน

ในการบริโภคนั้น การบริโภคของพราหมณ์ ๕ คนเหล่านี้ คือ พราหมณ์

ชื่อ อาหารหัตถกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ อลังสาฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ตัตถ-

วัฏฏกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ ๑ พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ ๑ ชื่อว่า

อยู่ไม่ผาสุก.

จริงอยู่ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์ชื่อ อาหารหัตถกะ

บริโภคมากไม่อาจลุกขึ้นได้ตามธรรมดาของตน จึงพูดว่า ช่วยฉุดมือที ดังนี้.

พราหมณ์ชื่ออลังสาฏกะ บริโภคอาหารมากแม้จะลุกขึ้นได้แต่ได้ไม่อาจนุ่งผ้าได้.

พราหมณ์ชื่อ ตัตถวัฏฏกะ บริโภคมากไม่สามารถลุกขึ้นได้ ย่อมกลิ้งอยู่ที่นั้นนั่น

แหละ. พราหมณ์ชื่อ กากมาสกะ บริโภคมากจนล้นถึงปาก จนถึงพวกกาอาจ

จิกกินได้. พราหมณ์ชื่อ ภุตตวมิตกะ บริโภคมากไม่อาจเพื่อหุบปากได้ ย่อม

อาเจียนในที่นั้นนั่นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ภิกษุย่อมไม่ทำอย่างนี้ ย่อมฉันอาหารด้วยคิดว่า การอยู่โดยผาสุกจัก

มีแก่เรา ดังนี้. การที่ท้องพร่องด้วยคำข้าว ๔-๕ คำ ชื่อว่า การอยู่เป็นผาสุก

เพราะเมื่อภิกษุบริโภคอาหารเพียงนี้แล้วดื่มน้ำ อิริยาบถ ๔ ย่อมเป็นไปโดย

สะดวก เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาไว้อย่างนี้ว่า

จตฺตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา อุทก ปิเว

อล ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุไม่บริโภคอาหาร ๔-๕ คำ แล้ว

พึงดื่มน้ำแทน การบริโภคอย่างนั้น สมควร

เพื่ออยู่เป็นผาสุกของภิกษุผู้มีจิตเป็นไปใน

กรรมฐาน ดังนี้.

องค์ ๑๒ ของภิกษุผู้ฉันอาหาร

ก็ในฐานะนี้ควรประมวลองค์ทั้งหลาย คือ

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อเล่น เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่ออ้วนพี เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพื่อกายดำรงอยู่และชีวิตินทรีย์เป็นไป เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิวเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เป็นองค์ ๑

ข้อว่า เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่

เกิด เป็นองค์ ๑

ข้อว่า ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา เป็นองค์ ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

ความไม่มีโทษ และการอยู่เป็นสุข เป็นองค์ ๑

ในการบริโภคอาหารนี้ เป็นอานิสงส์แห่งการบริโภคโภชนะ.

พระมหาสิวเถระจัดองค์ไว้ ๘

ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าว องค์ ๔ ข้างต้น ชื่อว่าเป็นข้อห้ามรวน

เป็นองค์ ๑ พึงประมวลองค์ ๘ เบื้องปลายมา ในองค์ ๘ เบื้องปลายนั้น ข้อว่า

เพียงให้กายนี้ดำรงอยู่ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป

จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิว จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อประพฤติ

พรหมจรรย์ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ด้วยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่า

จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า

ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ความไม่มีโทษ

จัดเป็นองค์ ๑ ก็การอยู่ผาสุกเป็นผลของการบริโภค ดังนี้.

ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้จัก

ประมาณในการบริโภคอาหาร.

บทว่า อย วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า การบริโภคด้วยการ

พิจารณาเป็นไปด้วยสามารถการรู้จักประมาณอันควรในการแสวงหา การรับ

และการบริโภคนี้ ชื่อว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภช-

นาหาร).

ว่าด้วยมุฏฐสัจจทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในมุฏฐสัจจทุกะ ต่อไป

บทว่า อสติ (ความระลึกไม่ได้) ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เว้นจากสติ.

บทว่า อนนุสฺสติ อปฺปฏิสฺสติ (ความไม่ตามระลึก ความไม่หวน

ระลึก) นี้ทรงเพิ่มบทด้วยอำนาจอปสรรค.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

บทว่า อสรณตา แปลว่า อาการที่ระลึกไม่ได้.

บทว่า อธารณตา (ความไม่ทรงจำ) ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทรงจำ

เพราะบุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่ทรงจำนั้นถึงตั้งใจจำก็ไม่อาจรักษาไว้ได้.

ที่ชื่อว่า ปิลาปนตา (ความเลื่อนลอย) เพราะอรรถว่า ย่อมเลื่อน

ลอยในอารมณ์ เหมือนกระโหลกน้ำเต้าลอยในน้ำฉะนั้น.

บทว่า ปมุสฺสนตา* (ความหลงลืม) ได้แก่ เพราะไม่มีสติ หรือ

หลงลืมสติ เพราะบุคคลผู้ไม่มีสติหรือหลงลืมสตินั้น ย่อมเป็นดุจกาที่เก็บก้อน

ข้าว และเป็นเช่นกับสุนัขจิ้งจอกที่เก็บก้อนเนื้อ ฉะนั้น.

ว่าด้วยภาวนาพลทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสภาวนาพละ ต่อไป

บทว่า กุสลาน ธมฺมาน (ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย) คือโพธิปักขิย-

ธรรม.

บทว่า อาเสวนา (การเสพ) คือการเสพตั้งแต่ต้น.

บทว่า ภาวนา (การเจริญ) คือการเพิ่มขึ้น.

บทว่า พหุลีกมฺม (กระทำให้มาก) คือกระทำบ่อย ๆ.

นิทเทสแห่งศีลวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโสรัจจนิทเทส

นิทเทสแห่งทิฏฐิวิบัติ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับทิฏฐิสัมปทา และนิทเทส

แห่งทิฏฐิสัมปทา พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับนิทเทสแห่งทิฏฐิปาทาน. นิท-

เทสแห่งศีลวิสุทธิเหมือนกับนิทเทสแห่งศีลสัมปทาก็จริง ถึงอย่างนั้น ในนิท-

เทสแห่งศีลสัมปทานั้น พระองค์ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลอันให้ถึงวิสุทธิ ส่วนใน

นิทเทสแห่งศีลวิสุทธินี้ ตรัสศีลอันถึงวิสุทธิ.

* บาลีเป็น สมฺมุสนตา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

อนึ่ง โลกิยะและโลกุตรธรรมแม้เป็นไปในภูมิ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ตรัสไว้ด้วยทุกะทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ

๑. สติและสัมปชัญญะ (ทุกะที่ ๓๐)

๒. ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ (ทุกะที่ ๓๑)

๓ สมถะและวิปัสสนา (ทุกะที่ ๓๒)

๔. สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต (ทุกะที่ ๓๓)

๕. ปัคคาหะและอวิกเขปะ (ทุกะที่ ๓๔)

๖. สีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา (ทุกะที่ ๓๖).

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐิวิสุทธิ ต่อไป

บทว่า กมฺมสฺสกตาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ

ตน) ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า นี้เป็นกรรมของตน นี้ไม่ใช่กรรมของตน

บรรดากรรมทั้ง ๒ เหล่านั้น กรรมที่ตนทำแล้วหรือผู้อื่นทำแล้วจงยกไว้ อกุศล

กรรมแม้ทั้งหมดไม่ใช่ของตน เพราะเหตุไร ? เพราะทำลายอรรถ และเพราะ

ให้เกิดอนรรถ ส่วนกุศลกรรมชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะทำลายอนรรถ

และเพราะให้เกิดอรรถ ในข้อนั้น เหมือนบุรุษมีทรัพย์มีโภคะ เดินทางไกล

ในระหว่างทาง เมื่อเขาประกาศเล่นงานนักษัตรในบ้านและนิคมเป็นต้น ก็มี

ได้คิดว่า เราเป็นอาคันตุกะ (แขก) พึงอาศัยใครหนอเล่นงานนักษัตร เมื่อ

เล่นนักษัตรโดยทำนองที่ต้องการ ย่อมผ่านทางกันดารโดยสบาย ฉันใด สัตว์

เหล่านี้ตั้งอยู่ในกัมมัสสกตญาณนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระทำกรรมอันเป็น

วัฏฏคามีมาก เสวยความสุขด้วยความสุข บรรลุพระอรหัตแล้วเหลือจะคณนา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

บทว่า สจฺจานุโลมิกาณ (สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่ วิปัสส-

นาญาณที่คล้อยตามสัจจะ ๔.

บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณ ผลสมงฺคิสฺส าณ (ญาณของ

ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่

มรรคญาณและผลญาณนั่นแหละ.

ในนิทเทสแห่งบทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน (ความหมดจดแห่ง

ทิฏฐิ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกญาณ ๔ มี กัมมัสสกตญาณเป็นต้นนั่น-

แหละที่ตรัสไว้ในหนหลัง ด้วยบทมีอาทิว่า ยา ปญฺา ปชานนา (ปัญญา

กิริยาที่รู้ชัด อันใด) ดังนี้.

ในนิทเทสแห่งบทว่า ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธาน (ความเพียรแห่ง

บุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด) ได้แก่ ความเพียรที่ทรงแสดงด้วยบทมีอาทิว่า โย

เจตสิโก วิริยารมฺโภ (การปรารภความเพียรทางใจอันใด) ดังนี้ มีคติอย่าง

ปัญญานั่นแหละ ในฐานะแห่งปัญญาที่เป็นโลกีย์ ก็พึงทราบว่าวิริยะนั้นเป็น

โลกีย์ ในฐานะแห่งโลกุตรปัญญา ก็พึงทราบว่า วิริยะนั้นเป็นโลกุตระ ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสสังเวคทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสังเวคทุกะ ต่อไป

บทว่า ชาติภย (กลัวชาติ) ได้แก่ ญาณที่เห็นชาติ (ความเกิด)

โดยความเป็นภัยตั้งอยู่. แม้ในญาณที่เห็นชราและมรณะโดยความเป็นภัยเป็นต้น

ก็นัยนี้แหละ.

ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนาน ปาปกาน (เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่ง

อกุศลบาปธรรม) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเพียรอันเป็นเหตุของ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

ภิกษุผู้เห็นชาติเป็นต้น โดยความเป็นภัยแล้วใคร่เพื่อจะพ้นไปจากชาติ ชราพยา-

ธิและมรณะ. ส่วนเนื้อความแห่งบทภาชนีย์จักมีแจ้งในอรรถกถาวิภังคัฏฐกถา.

ว่าด้วยนิทเทสอสันตุฏฐตากุศลธรรมทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในบทนิทเทสว่า อสนฺตุฏฺตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ

(ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรมทั้งหลาย) ต่อไป

บทว่า ภิยฺโย กมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป) ได้แก่ ความพอใจ

อย่างเยี่ยม จริงอยู่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายปักขิยภัต (อาหารที่

ถวายประจำปักษ์) บ้าง สลากภัต (อาหารที่ถวายโดยวิธีจับสลาก) บ้าง

อุโปสถิกภัต (อาหารที่ถวายในวันอุโบสถ) บ้าง ปาฏิปทิกภัต (อาหารที่

ถวายในวันหนึ่งค่ำ) บ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการ

ถวายทานนั้น ๆ จึงถวายธุวภัต* (ถวายอาหารประจำ) สังฆภัต (ถวายอาหาร

แก่สงฆ์) วัสสาวาสิกภัต (ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา) อีก ย่อม

สร้างอาวาส ย่อมถวายปัจจัยแม้ทั้ง ๔. เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มใจแม้ในการถวาย

นั้น ๆ จึงรับสรณะทั้งหลาย สมาทานเบญจศีล เขาก็ยังเป็นผู้ไม่อิ่มแม้ในการ

ทำกุศลนั้น ๆ จึงบวช ครั้นบวชแล้วก็เรียนกะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก

คือนิกายหนึ่ง สองนิกาย ย่อมยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนาถือเอา

พระอรหัต จำเดิมแต่การบรรลุพระอรหัตแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มหาสันตุฏฐะ

(อิ่มใจอย่างใหญ่) ความพอใจอย่างเยี่ยม (พิเศษ) จนถึงพระอรหัตอย่างนี้

ชื่อว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความพอใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป).

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งบทว่า อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ

(ความไม่ท้อถอยในความพยายาม) ดังนี้ เพราะภิกษุหน่ายอยู่ในการเจริญ

* โยชนาว่า ธุรภัต อาหารที่ถวายผู้ทำความเพียร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

กุศลธรรมอันยิ่งทั้งหลายในเสนาสนะอันสงัดทั้งหลาย ชื่อว่ายังความเพียรให้

ถ้อถอย ภิกษุเมื่อไม่หน่าย ชื่อว่า ไม่ยังความเพียรให้ถ้อถอย เพราะฉะนั้น

เพื่อทรงแสดงนัยนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา กุสลาน ธมฺมาน (เพื่อความ

เจริญแห่งกุศลธรรมอันใด) ดังนี้.

ในพระบาลีเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจกิริยตา (ความเป็นผู้กระทำ

โดยเคารพ) ได้แก่ ความเป็นผู้กระทำโดยเคารพในการทำกุศลทั้งหลาย.

บทว่า สาตจฺจกิริยตา (ความกระทำติดต่อ) คือ ทำติดต่อกันนั่นแหละ.

บทว่า อฏฺิตกิริยตา (ความการทำไม่หยุด) คือ ทำไม่ให้ขาด

ทำไม่หยุด.

บทว่า อโนลีนวุตฺติตา (ความประพฤติไม่ย่อหย่อน) คือ ความ

ดำรงชีพไม่ย่อหย่อน หรือความประพฤติไม่ย่อหย่อน.

บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺทตา (ความไม่ทิ้งฉันทะ) คือ ไม่ทิ้งกุศลฉันทะ.

บทว่า อนิกฺขตฺตธุรตา (ความไม่ทอดธุระ) คือ ไม่ทอดทิ้งธุระความ

เพียรในการสร้างกุศล.

ว่าด้วยนิทเทสวิชชาทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณ วิชฺชา นี้ต่อไป

บทว่า ปุพฺเพนิวาโส (บุพเพนิวาส) ได้แก่ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน

กาลก่อน และขันธ์ที่เนื่องกัน. การตามระลึกบุพเพนิวาสได้ ชื่อว่า บุพเพนิ-

วาสานุสติ. ญาณสัมปยุตด้วยบุพเพนิวาสานุสตินั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสา-

นุสติญาณ. บุพเพนิวาสานุสติญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า

ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน คือญาณนั้นกำจัด

ความมืดแล้วกระทำขันธ์เหล่านั้น อันตนรู้แจ้งแล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น

ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า กระทำขันธ์ให้ปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

บทว่า จุตูปปาเต าณ (จุตูปปาตญาณ) ได้แก่ ญาณ (คือ

ความรู้) ในจุติและอุปบัติ. ญาณแม้นี้ก็ชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า ย่อม

กำจัดความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย คือ ญาณนั้นกำจัด

ความมืดแล้วกระทำจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะ

ฉะนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า กระทำจุติปฏิสนธิที่รู้แล้ว

ให้ปรากฏ.

บทว่า อาสวาน ขเย าณ (อาสวักขยญาณ) ได้แก่ ญาณใน

สมัยสิ้นสรรพกิเลสทั้งหลาย ญาณนี้นั้น ชื่อว่า วิชชา แม้เพราะอรรถว่า

ย่อมกำจัดความมืดอันปิดบังสัจจะทั้ง ๔ คือ ญาณนั้นกำจัดความมืดแล้วกระทำ

สัจจะ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิชชา แม้ด้วยอรรถว่า

กระทำสัจจะให้แจ่มแจ้ง.

ในข้อว่า จิตฺตสฺส จ อธิมุตฺติ นิพฺพานญฺจ (อธิมุตติแห่งจิต

และนิพพาน) นี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อธิมุตติแห่งจิต ด้วยอรรถว่า น้อม

ไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า หลุดพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย.

ส่วนญาณนอกนี้ชื่อว่า นิพพาน ด้วยอรรถว่า วานะกล่าวคือตัณหาไม่มีใน

นิพพานนี้ หรือ พระนิพพานนี้ออกไปจากวานะ (คือตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด)

นั้น. บรรดาธรรมทั้ง ๒ (คืออธิมุตติแห่งจิตและนิพพาน) เหล่านั้น สมาบัติ

๘ ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นแล้วจากกิเลสที่ข่มไว้ได้เอง. แต่นิพพาน

ตรัสว่า วิมุตติ เพราะหลุดพ้นโดยส่วนเดียวจากสรรพกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณ (ญาณของท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย

มรรค) ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔. บทว่า ผลสมงฺคิสฺส าณ (ญาณของ

ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยผล) ได้แก่ ผลญาณทั้ง ๔.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ในบรรดาญาณเหล่านั้น มรรคญาณที่ ๑ ชื่อว่า ขเย าณ (ญาณ

ในความสิ้นไป) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นยังกิเลส ๕ อย่างให้สิ้นไป ให้ดับไป

ให้สงบ ให้ระงับ. มรรคญาณที่ ๒ ยังกิเลส ๔ อย่าง ให้สิ้นไป. มรรคญาณ

ที่ ๓ ก็ยังกิเลส ๔ อย่างให้สิ้นไปเหมือนกัน แต่มรรคญาณที่ ๔ ชื่อว่า ขเย

าณ (ขยญาณ) เพราะอรรถว่า ย่อมเกิดขึ้นทำกิเลส ๘ อย่างให้สิ้นไป

ให้ดับไป ให้สงบ ให้ระงับ.

แต่ผลญาณของมรรคนั้น ๆ ชื่อว่า อนุปฺปาเท าณ (อนุปปาท-

ญาณ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นไป ในที่สุดแห่งการดับไป

ในที่สุดแห่งการสงบไป ในที่สุดแห่งการระงับไป ในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้น

ในที่สุดแห่งการไม่เป็นไปแห่งกิเลสเหล่านั้น ดังนี้แล.

การพรรณนานิกเขปกัณฑ์

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

อัตถุทธารกัณฑ์

ติกะ

[๘๗๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

อกุศล.

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๘๗๙] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก และฝ่ายกิริยา (อย่างละ) ๕ ดวง

ฌาน ๓ (ในจตุกนัย) และ (ในปัญจกนัย) ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล

ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และ

ฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมที่สัมปยุตตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคต

ด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นเสีย สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยทุกขเวทนา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

ธรรมสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง

ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา

อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล

และฝ่ายวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

เวทนาทั้ง ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่า ธรรม-

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรม

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็ไม่ได้.

[๘๘๐] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.

ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่ง

วิบาก.

ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก.

[๘๘๑] อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อุปาทินนุปาทานิยธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้

แต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยธรรม.

อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.

[๘๘๒] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็น

ไฉน ?

จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

เศร้าหมอง และเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสเป็นไฉน ?

มรรค ๔ ซึ่งเป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

[๘๘๓] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง

ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง รูปาวจรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล

ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้น

วิตกและวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

มีวิตกมีวิจาร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน ?

ทุติยฌานในรูปาวจรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา

ทุติยฌานในโลกุตรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิจารที่บังเกิดใน

จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่าย

วิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓

และ ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก วิจารที่บังเกิดในทุติยฌาน

ในปัญจกนัย รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร.

วิจารที่บังเกิดร่วมกับวิตกจะกล่าวว่ามีวิตกมีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตก

แต่มีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ไม่ได้.

[๘๘๔] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๒

และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ และ ๓

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้

เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๓

และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ และ ๔

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาท

เหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง

ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา

อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล

และฝ่ายวิบาก เว้นอุเบกขาเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุขเวทนา ไม่สหรคตด้วย

อุเบกขาเวทนา

สุขเวทนาไม่สหรคตด้วยเวทนา แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วย

อุเบกขาเวทนาก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่าสหรคตด้วยปีติก็มี

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคต

ด้วยทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ จะ

กล่าวว่า สหรคตด้วยปีติก็ไม่ได้ ว่าสหรคตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าสหรคต

ด้วยอุเบกขาเวทนาก็ไม่ได้.

[๘๘๕] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจ-

ฉา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน

มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดา-

ปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี.

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพ-

พาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓

ไม่ประหาณ.

[๘๘๖] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจ-

ฉาเว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.

ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาท

เหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓

ประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตต-

เหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้อง

สูง ๓ ประหาณก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้อง

สูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน ?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลใน

ภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้อง

สูง ๓ จะประหาณ.

[๘๘๗] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้

จุติปฏิสนธิ.

ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ

ให้ถึงนิพพาน.

ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพาน.

[๘๘๘] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.

ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน ?

อรหัตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกข-

บุคคล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล

เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป

และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่

เป็นของอเสกขบุคคล.

[๘๘๙] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรกิริยาอัพยา-

กฤตและรูปทั้งหมด ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.

ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

กุศลธรรมและอัพยากฤตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ.

ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ.

[๘๙๐] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน ?

กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ อเหตุกกิริยา มโนวิญญาณ-

ธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็น

ปริตตะ.

ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญวนาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาท

ที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อกุศลจิตทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ที่มี

อารมณ์ปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะแต่ไม่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็มี

ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ก็มี

จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาท

ที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่าย

กิริยาอเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้

ที่มีอารมณ์เป็นปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอัปป-

มาณะก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะ

ก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้ก็มี

ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา

จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้

จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ ว่ามี

อารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้

รูปและนิพพานจัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๑] ธรรมทราม เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม.

ธรรมปานกลาง เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูป

ทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมปานกลาง.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

ธรรมประณีต เป็นไฉน ?

มรรค ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต.

[๘๙๒] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวงจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส

เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นมิจฉาสภาวะ และให้ผลแน่นอนก็มี

ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมา

สภาวะ และให้ผลแน่นอน.

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทัธจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากใน

ภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมให้ผลแน่นอน.

[๘๙๓] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์

แต่ไม่มีเหตุคือมรรคก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี แต่จะกล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์

ก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีไม่ได้ก็มี

อริยมรรค ๔ ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่มีเหตุคือมรรค ที่มีมรรค

เป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณ-

ธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มี

เหตุคือมรรค ไม่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอารมณ์

ก็มี

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง อกุศลทั้งหมด

กามาวจรวิบากทั้งหมด จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๖ ดวง ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็น

รูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อรูป ๔

ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ จะ

กล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีเหตุคือมรรคก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็น

อธิบดีก็ไม่ได้

รูปทั้งหมด และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๔] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านั้น ที่เป็นธรรม

เกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี จะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นธรรมยังไม่

เกิดขึ้น

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมได้แต่ง

ขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น

แต่จะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี

นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมยังไม่

เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็ไม่ได้.

[๘๙๕] ธรรมทั้งปวง เว้นนิพพานเสีย ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคต

ก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็น

ปัจจุบันก็ไม่ได้.

[๘๙๖] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน ?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต

ธรรมที่จะจัดว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะ ไม่มี.

ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี

อารมณ์เป็นปัจจุบัน.

จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง มโนวิญญาณธาตุที่สหรคต

ด้วยอุเบกขา ฝ่ายอกุศลวิบาก อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย

โสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคต

ก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี

กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๙ ดวง รูปาวจรจตุตถ-

ฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี

ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์

เป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

ก็ไม่ได้ก็มี

ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา

จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่เป็น

โลกุตระและสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่ามีอารมณ์อดีตก็ไม่ได้

ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็ไม่ได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๗] ธรรมทั้งปวง เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน

ที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี ที่เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี

รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน จัดเป็นภายนอก.

[๘๙๘] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน ?

วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.

ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน ?

ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา

จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล ๔

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด

เว้นรูปเสีย, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้

ที่มีอารมณ์เป็นภายในก็มี ที่มีอารมณ์เป็นภายนอกก็มี ที่มีอารมณ์เป็นทั้งภายใน

และภายนอกก็มี

อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ ว่ามี

อารมณ์เป็นภายนอกก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็ไม่ได้

รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.

[๘๙๙] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่

เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.

ติกะ จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา*

อธิบายเนื้อความหมวดติกะ

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาอัฏฐกถากัณฑ์ที่ท่านตั้งไว้ในลำดับแห่ง

นิกเขปกัณฑ์. ถามว่า ก็กัณฑ์นี้ ชื่อว่า อัฏฐกถากัณฑ์ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะยกเนื้อความพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นขยายความ.

จริงอยู่ ความแตกต่างกันแห่งธรรมที่มาในปิฎกทั้ง ๓ ท่านได้

กำหนดแยกแยะใคร่ครวญไว้ด้วยอัฏฐกถากัณฑ์นั่นแหละ ย่อมชื่อว่า เป็นคำ

อันท่านวินิจฉัยดีแล้ว. แม้จะกำหนดทางแห่งนัยในพระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น

ตลอดถึงการขยายความปัญหา การเป็นไปแห่งการนับในมหาปกรณ์ ไม่ได้

ก็ควรนำมาเปรียบเนื้อความดูจากอัฏฐกถากัณฑ์ได้.

ถามว่า ก็อัฏฐกถากัณฑ์นี้ เกิดแต่ใคร ?

ตอบว่า เกิดแต่พระสารีบุตรเถระ.

จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระได้กล่าวอัฏฐกถากัณฑ์ให้สติ วิหาริกของ

ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งไม่อาจกำหนดขยายเนื้อความในนิกเขปกัณฑ์ได้ แต่อัฏฐกถา

กัณฑ์นี้ ท่านกล่าวคัดค้านไว้ในมหาอรรถกถาว่า ธรรมดาพระอภิธรรมไม่ใช่

* บาลีเป็น อัตถทธารกัณฑ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

เป็นวิสัยของพระสาวก ไม่ใช่เป็นโคจรของพระสาวก พระอภิธรรมนี้เป็น

พุทธวิสัย เป็นโคจรของพระพุทธเจ้า แต่พระธรรมเสนาบดีถูกสัทธิวิหาริก

ถามแล้ว จึงพาสัทธิวิหาริกนั้นไปสำนักพระศาสดา แล้วทูลถามต่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสอัฏฐกถากัณฑ์ประทานแก่ภิกษุนั้น.

ได้ตรัสประทานอย่างไร ? คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา (ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน). อธิบายว่า เธอกำหนดว่า ธรรมดากุศลธรรม

ทั้งหลาย เป็นไฉน ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม

มีกุศลเป็นต้นด้วยอำนาจการขยายความกระทำให้เป็นช่อ ๆ เป็นพวง ๆ เป็น

กลุ่ม ๆ ประทานแก่ภิกษุผู้ดุษณีภาพนั้นโดยนัยนี้ว่า กุศลอันต่างโดยภูมิ

ด้วยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? กามาวจรกุศลจิต

เกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ เราแสดงแล้วมิใช่หรือ กุศลจิตนั้นแม้

ทั้งหมดในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ดังนี้.

ในคำพุทธพจน์เหล่านั้น บทว่า จตูสุ (ในภูมิ ๔) ได้แก่ กามาวจรภูมิ

รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ. บทว่า กุสล (กุศล) ได้แก่

กุศลอันต่างด้วยกุศลมีผัสสะเป็นต้น. บทว่า อิเม ธมฺมา กุสลา (สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล) ได้แก่ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดมีผัสสะเป็นต้น

ที่ตรัสไว้ในภูมิ ๔ เหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ก็เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไม่มีความแตกต่างกันด้วยอำนาจภูมิ จึง

ตรัสว่า ทฺวาทส อกุสลจิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง) ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อกุศลจิตตุปบาท นั้นต่อไป.

ที่ชื่อว่า อุปปาโท (อุปบาทะ) เพราะอรรถว่า เกิดขึ้น. อุปปาทะ

คือ จิตนั่นเอง ชื่อว่า จิตตุปปาทะ ก็คำว่า จิตตุปปาทะนี้เป็นประธานของ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

เทศนา เหมือนอย่างที่เขากล่าวว่า พระราชาเสด็จมาแล้ว ดังนี้ ย่อมเป็นอัน

กล่าวถึงการมาแม้ของอำมาตย์เป็นต้น ฉันใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า จิตตุปบาท

ดังนี้ แม้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายก็เป็นอันตรัสแล้วด้วยจิตตุปบาทเหล่านั้นฉันนั้น

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ด้วยศัพท์ว่าจิตตุปบาทในที่ทั้งหมด พึงทราบว่า

ทรงถือเอาจิตพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม ดังนี้.

ก็จำเดิมแต่นี้ไป เนื้อความแห่งบทที่พึงจำแนกด้วยบทติกะและทุกะ

แม้ทั้งหมด มีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ วิปาโก (วิบากในภูมิ) และนวัต-

ตัพพธรรม (คือธรรมที่ไม่พึงกล่าว) แห่งเวทนามีสุขเป็นต้นในเวทนาติกะ

เป็นต้น บัณฑิตใคร่ครวญพระบาลี และอรรถกถา ในหนหลังแล้วก็พึงทราบ

ได้โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ข้าพเจ้าจักกล่าวแต่เนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะ

บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบปริตตารัมมณติกะ (บาลีข้อ ๘๙๐) ก่อน

ในข้อว่า สพฺโพ กามาวจรสฺส วิปาโก (กามาวจรวิบากทั้งหมด)

นี้ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาน ๑๐) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริต-

ตะ (กามอารมณ์) เพราะอรรถาว่าอาศัยจักขุประสาทเป็นต้นแล้วเริ่มเป็นไปใน

ธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันต่างโดยเป็นอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์เป็นต้น โดยแน่นอนทีเดียว. และมโนธาตุ ๒ คือ กุศลวิบาก

และอกุศลวิบาก ก็ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า

อาศัยหทยวัตถุปรารภอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละเป็นไป ในลำดับ

แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นโดยแน่นอน.

อเหตุกโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส ก็ชื่อ

ว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภอารมณ์กามาวจร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น เป็นไปโดยแน่นอนคือด้วยอำนาจเป็นสันติรณะในทวาร ๕

ด้วยอำนาจเป็นตทารัมมณะในทวาร ๖.

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบากทั้ง ๒ ก็ชื่อว่า

ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะอรรถว่า ปรารภกามาวจรอารมณ์ ๖ มี

รูปเป็นต้นนั่นแหละโดยแน่นอน เป็นไปด้วยอำนาจสันติรณะในปัญจทวาร

ด้วยอำนาจตทารัมมณะในทวาร ๖ แม้เมื่อเป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิก็ย่อมกระ-

ทำปริตกรรม หรือกรรมนิมิต หรือคตินิมิตให้เป็นอารมณ์ เมื่อเป็นไปด้วย

อำนาจจุติในกาลเป็นที่สุดด้วยอำนาจภวังค์ในปวัตติ ก็กระทำปริตตอารมณ์นั้น

นั่นแหละให้เป็นอารมณ์.

อนึ่ง สเหตุกกุศลวิบากจิตตุปบาท ๘ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็น

ปริตตะ เพราะปรารภปริตธรรมนั่นเองให้เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ และ

ด้วยอำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ โดยนัยที่กล่าวในอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ

ที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ๒ ดวงนั้นนั่นแหละ.

กิริยามโนธาตุ (๑) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะ

ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้นเป็นไปในทวาร ๕. อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่

สหรคตด้วยโสมนัส (๑) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะปรารภ

ธรรมมีรูปเป็นต้นที่เป็นกามาพจรนั่นแหละที่เป็นปัจจุบันในทวาร ๖ แม้ที่เป็น

อดีตและอนาคต และกระทำอาการร่าเริงให้เป็นไปแก่พระขีณาสพทั้งในมโน-

ทวาร.

จิตตุปบาท ๒๕ เหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็น

ปริตตะ (กามอารมณ์) ส่วนเดียวเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

ว่าด้วยธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะเป็นต้น

ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ชื่อว่า

มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เพราะปรารภสมาบัติเบื้องต่ำของตน ๆ เป็นไป.

ธรรมคือ มรรคและผล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.

จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๘ คือ ที่เป็นกุศล ๔ เป็นกิริยา ๔

ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่เสกขบุคคล ปุถุชนและพระ-

ขีณาสพปรารภกามาวจรธรรมในเวลาให้ทาน การพิจารณา การฟังธรรมโดย

ไม่เคารพเป็นต้นเป็นไป ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่พิจารณา

ธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นที่คล่องแคล่วยิ่ง ชื่อว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะ

ในการพิจารณาปัญญัติมีกสิณและนิมิตเป็นต้น. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัม-

ปยุตตจิต ๔ ดวงฝ่ายอกุศล ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่ยินดี

เพลิดเพลินด้วยความเห็นกามาวจรธรรม ๕๕ ดวงว่าเป็นสัตว์มีอัตตา ชื่อว่า

มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาปรารภมหัคคตธรรม ๒๗ ดวง เป็นไปโดย

อาการเห็นผิดนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มีอารมณ์เป็นนวัตตัพพะ ในเวลาที่

ที่ปรารภบัญญัติธรรมเป็นไป. จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต พึงทราบว่ามี

อารมณ์เป็น ปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ ในเวลาปรารภธรรม

เหล่านั้นนั่นแหละเป็นไปด้วยอำนาจความยินดีเพลิดเพลินอย่างเดียว. และ

จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ

และนวัตตัพพะ ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโทมนัส. จิตตุปบาทที่สัมปยุต

ด้วยวิจิกิจฉา พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ และนวัต-

ตัพพะ เป็นไปด้วยอำนาจความไม่ตกลงใจ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ

ก็พึงทราบว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะและนวัตตัพพะ เป็น

ไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่าน คือด้วยอำนาจแห่งความไม่สงบ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

ก็บรรดาธรรมเหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจปรารภ

อัปปมาณธรรมให้เป็นไป เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า น อปฺป-

มาณารมฺมณา (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะไม่ได้).

จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยญาณ ๘ คือ ฝ่ายอกุศล ๔ ฝ่ายกิริยา ๔ มี

อารมณ์เป็นปริตตะ มหัคคตะ นวัตตัพพะ ในเวลาพระเสกขบุคคล

ปุถุชน และพระขีณาสพปรารภธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วเป็นไปในการให้

ทาน การพิจารณา และการฟังธรรมโดยเคารพเป็นต้น. จิตตุปบาทสัมปยุต

ด้วยญาณะ ๘ เหล่านั้น พึงทราบว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะในกาล

แห่งโคตรภู และในกาลพิจารณาโลกุตรธรรม.

ว่าด้วยจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง

อนึ่ง รูปาวจรจตุตถฌานนี้ใด รูปาวจรจตุตถฌานนั้นฝ่ายกุศลก็ดี ฝ่าย

กิริยาก็ดี มีอย่างละ ๑๒ อย่าง คือ

จตุตถฌานอันเป็นบาทในธรรมทั้งปวง ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในอากาสกสิน ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในพรหมวิหาร ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานะ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยโสต ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมูปคญาณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักขุญาณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ ๑

จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณ ๑.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

บรรดาจตุตฌานเหล่านั้น จตุตถฌานในกสิณ ๘ ชื่อว่า จตุตถฌาน

เป็นบาทในธรรมทั้งปวง จริงอยู่ จตุตถฌานในกสิณ ๘ นั้น เป็นบาทแห่ง

วิปัสสนาบ้าง เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายบ้าง เป็นบาทแห่งนิโรธบ้าง เป็น

บาทแห่งวัฏฏะบ้าง เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า จตุตถฌานเป็นบาท

ในธรรมทั้งปวง. ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอากาสกสิณและอาโลก-

กสิณ เป็นบาทแห่งวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายบ้าง เป็น

บาทแห่งวัฏฏะบ้าง แต่ไม่เป็นบาทแห่งนิโรธเท่านั้น. จตุตถฌานที่เป็นไปใน

พรหมวิหาร และ อานาปานสมาธิ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา และเป็นบาทแห่ง

วัฏฏะเท่านั้น แต่ไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาทั้งหลายและไม่เป็นบาทแห่งนิโรธ.

บรรดาจตุตถฌานเหล่านั้น ฌานที่มีกสิณเป็นอารมณ์แม้ทั้ง ๑๐ (กสิน

๑๐) ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่ง

ปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภกสิณบัญญัติเป็นไป จตุตถฌานที่เป็นไปใน

พรหมวิหาร ก็ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่กล่าวไม่ได้ ด้วย

อำนาจแห่งปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภสัตวบัญญัติเป็นไป. จตุตถฌาน

ที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ ก็ชื่อว่า นวัตตัพพารัมมณะ คือมีอารมณ์ที่

กล่าวไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะปรารภนิมิตเป็นไป.

จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะ และ

มหัคคตะ อย่างไร ? คือว่า ในกาลใด พระโยคาวจรมีความประสงค์ทำกาย

ให้อาศัยจิตแล้วไป (เหาะไป) ด้วยกายที่มองไม่เห็นก็ยังกายให้เปลี่ยนไปด้วย

อำนาจแห่งจิต ย่อมตั้งไว้ ย่อมยกกายขึ้นในมหัคคตะ ในกาลนั้น อิทธิวิธะนั้น

ก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ เพราะมีรูปกายเป็นอารมณ์ เพราะทำอรรถาธิบาย

ว่า มีอารมณ์ที่ได้แล้วด้วยการประกอบ. ในกาลใด พระโยคาวจรทำจิตให้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

อาศัยกายมีความประสงค์จะไปด้วยกายที่มองเห็น ก็ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจ

แห่งกาย ย่อมตั้งจิตที่มีฌานเป็นบาทไว้ คือย่อมยกขึ้นตั้งไว้ในรูปกาย ในกาล

นั้น อิทธิวิธะนั้น ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เพราะมีมหัคคจิตเป็นอารมณ์

เพราะทำอรรถาธิบายว่า มีอารมณ์ที่ได้ด้วยการประกอบ. จตุตถฌานที่เป็น

ไปด้วยทิพยโสต มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียว เพราะปรารภเสียงเป็น

ไป.

จตุตถฌานที่เป็นไปด้วยเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นปริตตะเป็นมหัคคตะ

และอัปปมาณะ. อย่างไร ? คือว่า ในเวลาที่รู้จิตอันเป็นกามาพจรของชนเหล่า

อื่น เจโตปริยญาณนั้นก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลาที่รู้รูปาวจรจิต และ

อรูปาวจรจิตของชนอื่น ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้มรรคและผล

ของชนอื่น ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ในอธิการนี้ ปุถุชนย่อมไม่รู้จิต

ของพระโสดาบัน พระโสดาบันย่อมไม่รู้จิตของพระสกทาคามี ด้วยอาการอย่าง

นี้ พึงทราบจนถึงพระอรหันต์ แต่พระอรหันต์ย่อมรู้จิตของบุคคลทั้งหมด ก็

อริยบุคคลอื่นอีกที่สูง ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้ต่ำ พึงทราบความต่างกันดังกล่าว

มานี้.

จตุตถฌานที่เป็นไปในยถากัมมุปคญาณ ย่อมมีอารมณ์เป็นปริตตะ

ในเวลาที่รู้กรรมที่เป็นกามาพจร มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้กรรม

ที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร.

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ มีอารมณ์เป็นปริตตะอย่างเดียวเพราะ

มีรูปเป็นอารมณ์.

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณ มีอารมณ์ที่เป็นปริตตะ

มหัคคตะ อัปปมาณะ และนวัตตัพพะ. อย่างไร ? คือว่า ในเวลาที่ตามระลึก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

ถึงขันธ์เป็นกามาพจร บุพเพนิวาสญาณนั้น ก็มีอารมณ์เป็นปริตตะ ใน

เวลาที่ตามระลึกถึงขันธ์เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ก็มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ

ในเวลาที่ตามระลึกถึงมรรคที่ตนเองหรือบุคคลอื่นเจริญแล้ว และผลที่ตนหรือ

คนอื่นทำให้แจ้งแล้วในอดีต ก็มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ แม้บุพเพนิวาสญาณ

โดยการพิจารณา มรรค ผล พระนิพพาน ด้วยอำนาจการตามระลึกถึง

พระพุทธเจ้าผู้มีวัฏฏะอันขาดแล้วอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตเจริญ-

มรรคแล้ว กระทำผลให้แจ้งแล้ว ปรินิพพานแล้วด้วยนิพพานธาตุ ดังนี้ ก็มี

อารมณ์เป็นอัปปมาณะ บุพเพนิวาสญาณมีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว (นวัต-

ตัพพารัมมณะ) ในเวลาที่ตามระลึกนาม โคตร และนิมิตปฐวีกสิณเป็นต้น

โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้มีแล้วในอดีตกาล

พระนครของพระองค์มีนามว่า พันธุมดี พระราชบิดามีพระนามว่า พระเจ้า-

พันธุมราช พระราชมารดามีพระนามว่า พันธุมดี ดังนี้.

แม้ในจตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่

จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณแม้นั้น มีอารมณ์เป็นปริตตะ ในเวลา

ที่รู้ว่า บุคคลนี้ในอนาคตกาลจักเกิดขึ้นกามาพจร ดังนี้. อนาคตังสญาณนั้นมี

อารมณ์เป็นมหัคคตะ ในเวลาที่รู้ว่า บุคคลนี้ในอนาคตกาลจักเกิดในรูปาวจร

หรืออรูปาวจรดังนี้ มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ ในเวลาที่รู้ถึงบุคคลผู้มีวัฏฏะ

อันขาดแล้วว่า ในอนาคตกาล บุคคลนี้จักเจริญมรรค จักกระทำผลให้แจ้ง

จักปรินิพพานด้วยนิพพานธาตุ ดังนี้ และมีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพา-

รัมมณะ) ในเวลาที่รู้ชื่อและโคตรโดยนัยมีอาทิว่า ในอนาคตกาล พระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระนามว่า เมตไตยจักเสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์นามว่า สุพรหม

จักเป็นพระพุทธบิดา พราหมณีนามว่า พรหมวดี จักเป็นพระพุทธมารดา

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในอรูปาวจร และจตุตถฌานในความสิ้น

อาสวะทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าวในที่พระบาลีมาแล้ว ๆ นั่นแหละ.

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปุเรจาริก

(ประพฤติอยู่ข้างหน้า) แห่งกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด.

พึงทราบความต่างแห่งอารมณ์ของอเหตุกมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาที่สหรคต

ด้วยอุเบกขานั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตเหล่านั้นนั่น

แหละ. แต่ในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะในทวาร ๕ ย่อมมีอารมณ์เป็น

ปริตตะอย่างเดียวเท่านั้น. ฌาน ๓ และฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น มีอารมณ์

ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) เพราะเป็นไปปรารภนวัตตัพพธรรม (ธรรม

ที่ไม่พึงกล่าว) โดยความเป็นปริตตธรรมเป็นต้น. เพราะในฌาน ๓ และ ๔

แห่งรูปาวจรเหล่านี้ รูปาวจรทั้งหลายย่อมเป็นไปในปฐวีกสิณเป็นต้น อากาสา-

นัญจายตนะก็เป็นไปในการเพิกอากาศ อากิญจัญญายตนะก็เป็นไปในการปราศ

จากวิญญาณของอรูปฌาน ดังนี้แล.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะ

พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป

จิตตุปบาทที่ประกอบด้วยญาณ ๘ ที่ตรัสไว้ในเบื้องต้น เป็นธรรม

มีมรรคเป็นอารมณ์ (มัคคารัมมณะ) ในเวลาที่พระเสกขะและอเสกขบุคคล

พิจารณามรรคที่ตนแทงคลอดแล้ว แต่ไม่มีเหตุคือมรรค เพราะไม่เกิดพร้อม

กับมรรค ที่ชื่อว่า มคฺคาธิปติโน (มีมรรคเป็นอธิบดี) ด้วยอำนาจอารัมม-

ณาธิปติ ในการพิจารณากระทำมรรคที่ตนแทงตลอดแล้วให้หนักหน่วง ในเวลา

ที่ทำธรรมอื่นเป็นอารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์บ้าง มีมรรค

เป็นอธิบดีบ้าง. อริยมรรค ๔ เป็นธรรมมีเหตุเป็นมรรคโดยส่วนเดียว เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

มีเหตุกล่าวคือมรรค หรือเหตุที่สัมปยุตด้วยมรรค. แต่ในเวลาที่เจริญมรรค

กระทำวิริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่เกิดพร้อมกับอธิบดีก็พึงมีมรรคเป็นอธิบดี

ในเวลาที่ทำฉันทะ หรือจิตตะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นใหญ่ ก็ไม่พึงกล่าวว่ามี

มรรคเป็นอธิบดีฉะนี้แล.

ในรูปาวจรจตุตถฌาน ๑๒ อย่าง จตุตถฌาน ๙ อย่างมีจตุตถฌานที่

เป็นบาทในธรรมทั้งปวงเป็นต้น ไม่เป็นมัคคารัมมณะ (ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์)

ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (ไม่มีเหตุคือมรรค) ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็น

อธิบดี). ส่วนจตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสญาณ และ

อนาคตังสญาณ มีมรรคเป็นอารมณ์ ในเวลาที่รู้มรรคจิตของพระอริยะ

ทั้งหลาย แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุคือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อม

กับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิปติ (ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้

หนักเป็นไป.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จตุตถฌานทั้ง ๓ นี้จึงไม่ทำมรรคให้หนัก

หน่วง.

ตอบว่า เพราะตนเป็นมหัคคตะ.

เหมือนอย่างชาวโลกทั้งหมดการทำพระราชาให้เป็นที่เคารพ ส่วน

พระมารดาและพระบิดาไม่ทรงกระทำความเคารพ เพราะพระมารดาบิดาเหล่านั้น

เห็นพระราชาแล้วก็ไม่ลุกจากอาสนะ ไม่กระทำอัญชลีเป็นต้น ย่อมตรัสเรียกโดย

นัยที่ตรัสเรียกในเวลาทรงพระเยาว์นั่นแหละฉันใด แม้จตุตถฌานทั้ง ๓ ที่

เป็นไปในเจโตปริยญาณเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง เพราะ

ความที่ตนเป็นมหัคคตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

แม้อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (มโนทวาราวัชชนจิค) ก็เป็น

มัคคารัมมณะคือมีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะในเวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ

ทั้งหลายเป็นปุเรจาริกของปัจจเวกขณะ แต่ไม่เป็นมัคคเหตุกะ (คือไม่มีเหตุ

คือมรรค) เพราะไม่เกิดพร้อมกับมรรค ไม่เป็นมัคคาธิบดี (คือไม่มีมรรค

เป็นอธิบดี) เพราะไม่ทำมรรคให้หนักหน่วงเป็นไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร จิตนี้จึงไม่ทำมรรคให้หนักหน่วง.

ตอบว่า เพราะความที่ตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.

เหมือนพระราชา ชาวโลกทั้งปวงย่อมเคารพ แต่เด็กรับใช้ซึ่งเป็นคนเตี้ยค่อม

เป็นต้น ซึ่งข้าราชบริพารมิได้ทำความเคารพอย่างยิ่ง เหมือนผู้เป็นบัณฑิต

เพราะความที่ตนเป็นคนโง่ ฉันใด จิตแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่ทำมรรค

ให้หนักหน่วง เพราะตนเป็นอเหตุกะ เป็นสภาพเลว เป็นความโง่.

จิตตุปบาทที่เป็นกุศลไม่ประกอบด้วยญาณเป็นต้น ย่อมไม่ได้อารมณ์ที่

มีอารมณ์เป็นมรรคเป็นต้น เพราะไม่มีญาณและเพราะมีอารมณ์เป็นโลกิยธรรม

พึงทราบว่า จิตตุปบาทนี้ย่อมเป็นนวัตตัพพารัมมณะเท่านั้นฉะนี้แล.

ว่าด้วยอตีตารัมมณติกะ

พึงทราบวินิจฉัยในอตีตารัมมณติกะ ต่อไป

ธรรมคือ วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรม

มีอารมณ์เป็นอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาสมาบัติที่เป็นอดีตในหน

หลังเป็นไป.

บทว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์เป็น

อนาคตโดยเฉพาะไม่มี) ความว่า ชื่อว่า จิตที่มีอารมณ์เฉพาะโดยที่กำหนดไว้

ไม่มี. ถามว่า ก็อนาคตังสญาณมีอารมณ์เป็นอนาคตโดยส่วนเดียว แม้จิตที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

เป็นเจโตปริยญาณก็ปรารภอนาคตเป็นไป มิใช่หรือ ? ตอบว่า มิใช่ไม่ปรารภ

เป็นไป แต่จิตที่เป็นอนาคตังสญาณ และเจโตปริยญาณนี้มีอารมณ์เฉพาะดวง

ไม่มี มีแต่อารมณ์ที่เป็นมิสสกะดวยมหัคคตจิตอื่น ๆ เพราะทรงสงเคราะห์ไว้

ด้วยรูปาวจรจตุตถฌาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า นิโยคา อนาคตารมฺมณา

นตฺถิ (ธรรมที่มีอารมณ์โดยเฉพาะไม่มี) ดังนี้.

ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๑๐) และมโนธาตุ ๓ ชื่อว่า มีอารมณ์

เป็นปัจจุบัน เพราะเป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นปัจจุบัน.

ในบทว่า ทส จิตฺตุปฺปาทา (จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก ๑๐) นี้

ได้แก่ สเหตุกวิบาก ๘ ดวงก่อน ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นอดีตเท่านั้น ในเวลาที่

ปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตในเวลาถือปฏิสนธิของพวกเทวดาและมนุษย์เป็น

ไป. แม้ในเวลาเป็นภวังค์ และจุติ ก็นัยนี้แหละ.

แต่ว่าในเวลาที่จิตนี้ปรารภคตินิมิตถือปฏิสนธิและในเวลาที่เป็นภวังค์

ต่อจากปฏิสนธิมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน) ในขณะที่เป็น

ไปในทวาร ๕ ด้วยอำนาจตทารัมมณะก็มีอารมณ์เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่

เพราะรับอารมณ์ต่อจากชวนะที่มีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันใน

มโนทวารเป็นไป จึงมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. แม้ในมโนวิญ-

ญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาฝ่ายกุศลวิบากอเหตุกะก็มีนัยนี้แหละ. ในอธิการ

นี้มีเนื้อความต่างกันอย่างนี้คือ มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุก-

กุศลวิบากนั้นเป็นปฏิสนธิของคนทั้งหลายผู้บอดแต่กำเนิดเป็นต้นในหมู่มนุษย์

อย่างเดียว และมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถทำสันติรณกิจในปัญจทวาร

ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสกุศลวิบากอเหตุกเป็นธรรมมีอารมณ์

ปัจจุบันด้วยสามารถทำสันติรณกิจ และตทารัมมณกิจในปัญจทวาร และพึง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

ทราบว่า มีอารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ด้วยสามารถตทารัมมณะ

ในมโนทวาร เหมือนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นสเหตุกวิบาก ฉะนั้น.

ส่วนอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก มีคติเหมือนมโน-

วิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา อเหตุกกุศลวิบากนั่นเอง. แต่ในที่นี้มีความ

แปลกกันดังนี้ว่า อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นฝ่ายอกุศลวิบากนั้นเป็นไปด้วย

อำนาจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติของพวกในอบายภูมิทั้งหลายอย่างเดียว. อเหตุก

มโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส เมื่อทำอาการร่าเริงของพระขีณา-

สพทั้งหลายในปัญจทวาร ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน, ในเวลาปรารภ

ธรรมอันต่างด้วยอดีตเป็นต้น ในมโนทวารเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปปาทนกิจก็

เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน.

ว่าด้วยจิตตุปบาทกามาวจรกุศล ๘

พึงทราบบทมีอาทิว่า กามาวจรกุสล (กามาวจรกุศล) ต่อไป

ว่าโดยกุศลก่อน จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวงของพระ-

เสกขะและปุถุชนผู้พิจารณาขันธ์ ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยอดีตเป็นต้น

ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. ในขณะพิจารณา

บัญญัติและพระนิพพานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึง

กล่าว. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตก็นัยนี้แหละ. ในอธิการนี้ การ

พิจารณามรรคผลและนิพพานด้วยจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้น ไม่มี

นี้เป็นการต่างกันอย่างเดียวเท่านั้น.

ว่าโดยฝ่ายอกุศล จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต ๔ เป็นธรรมมี

อารมณ์เป็นอดีตเป็นต้นในเวลาที่ยินดีเพลิดเพลินใจและมีความถือผิดซึ่งขันธ์

ธาตุ และอายตนะอันต่างโดยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

ไม่พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) ของบุคคลผู้ยินดีเพลิดเพลินปรารภบัญญัติ

ผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา. แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ก็นัยนี้

เหมือนกัน. ในที่นี้ การยึดถือด้วยจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตไม่มีเพียง

อย่างเดียวเท่านั้น.

จิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆสัมปยุต ๒ ดวง ย่อมเป็นธรรมมีอดีตเป็นต้น

เป็นอารมณ์แก่บุคคลผู้โทมนัสปรารภธรรมอันต่างด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น, เป็น

ธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าวแก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสปรารภบัญญัติเป็นอารมณ์.

จิตตปบาทที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ในขณะเป็นไปในธรรมทั้งหลาย

เหล่านั้นโดยความเป็นธรรมที่ตกลงใจไม่ได้ และความฟุ้งซ่าน ก็เป็นธรรมมี

อารมณ์เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าโดยกิรยา สเหตุกจิตตุปบาท ๘ มีคติอย่างกุศลจิตตุปบาทนั่นแหละ.

กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ในขณะเป็นไปด้วยอำนาจ

ทำโวฏฐัพพนกิจในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันเท่านั้น. ใน

เวลาที่เป็นปุเรจาริกของชวนจิตที่มีธรรมเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอารมณ์

และมีบัญญัติเป็นอารมณ์ในมโนทวาร จิตเหล่านี้ ก็เป็นธรรมมีอารมณ์เป็น

อดีต อนาคต ปัจจุบัน และนวัตตัพพารัมมณะ.

ว่าด้วยจิตตุปบาทเป็นรูปาวจรจตุตถฌาน

ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาวจรมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌาน ๕

เหล่านี้ คือ จตุตถฌานที่เป็นบาทแห่งธรรมทั้งปวง ๑ จตุตถฌานที่เป็นไป

ในอากาสกสิณ ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในอาโลกกสิณ ๑ จตุตถฌานที่เป็นไป

ในพรหมวิหาร ๑ จตุตถฌานที่เป็นไปในอานาปานสมาธิ ๑ เป็นนวัตตัพพา-

รัมมณะ (คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

จตุตถฌานที่เป็นไปในอิทธิวิธะ เป็นธรรมมีอดีตเป็นอารมณ์ เพราะ

ความที่โยคาวจรบุคคลผู้ยังจิตให้เปลี่ยนไปตามอำนาจแห่งกายปรารภฌานจิตใน

อดีตเป็นบาทให้เป็นไป. แต่เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตแก่โยคาวจร

บุคคลผู้อธิฐานธรรมอันเป็นอนาคต เหมือนพระมหากัสสปเถระเป็นต้น

อธิษฐานในคราวบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็มีอารมณ์เป็นอนาคต.

ได้ยินว่า พระมหากัสสปเถระ เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้

อธิษฐานว่า ในอนาคตกาลตลอด ๒๑๘ ปี ขอกลิ่นหอม เหล่านี้ อย่า

พินาศไป ดอกไม้ทั้งหลายอย่าเหี่ยวแห้ง ประทีปทั้งหลายอย่าดับ

ดังนี้ สิ่งทั้งหมดได้เป็นเหมือนอธิษฐานนั่นแหละ. พระอัสสคุตตเถระ เห็น

หมู่ภิกษุที่ฉันภัตตาหารแห้งที่เสนาสนะโรงภัต จึงอธิษฐานว่า ขอให้แอ่งน้ำจง

เป็นรสนมส้มในเวลาปุเรภัตทุกวัน ดังนี้ น้ำที่ตักมาในเวลาปุเรภัตจึงมีรสเป็น

นมส้ม ในเวลาปัจฉาภัต น้ำนั้นก็เป็นปรกติอย่างเดิมนั่นแหละ. แต่ในเวลาที่

พระโยคีบุคคลทำกายให้อาศัยจิต (คือให้เป็นไปเร็วเหมือนจิต) แล้วไปด้วย

กายที่มองไม่เห็นหรือว่าในเวลากระทำปาฏิหาริย์อื่น จตุตถฌานนั้นก็เป็นธรรม

มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะปรารภกายเป็นไป.

จตุตถฌานที่เป็นทิพโสต เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เพราะ

ปรารภเสียงที่มีอยู่นั่นแหละเป็นไป. จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ

ย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต และเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคต แก่บุคคล

ผู้รู้จิตของบุคคลเหล่าอื่นในอดีตภายใน ๗ วัน และในอนาคตภายใน ๗ วัน.

แต่ในเวลาเกิน ๗ วันแล้วก็ไม่อาจเพื่อจะรู้จิตนั้นได้ เพราะว่า นั่นเป็นวิสัย

ของอตีตังสญาณและอนาคตังสญาณ. แต่ในเวลาที่รู้จิตปัจจุบันของคนอื่นนี้ ก็

เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

ว่าด้วยปัจจุบันกาล ๓ อย่าง

ชื่อว่า ปัจจุบัน นี้ มี ๓ อย่าง คือ

ขณปัจจุบัน

สันตติปัจจุบัน

อัทธาปัจจุบัน.

บรรดาปัจจุบัน ๓ เหล่านั้น ปัจจุบันที่ถึงอุปปาทขณะ ฐีติขณะ และ

ภังคขณะ ชื่อว่า ขณปัจจุบัน. ปัจจุบันเนื่องด้วยวาระเป็นไปติดต่อกันสิ้น

วาระหนึ่งหรือสองวาระ ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน.

ในข้อสันติปัจจุบันนั้น เมื่อบุคคลนั่งในที่มืดแล้ว ออกมาสู่ที่สว่าง

อารมณ์ยังไม่แจ่มแจ้งทันที อารมณ์นั้นจะปรากฏชัดเจนตราบใด ภายในระหว่างนี้

พึงทราบวาระที่สืบต่อกันสิ้นหนึ่งหรือสองวาระ เมื่อบุคคลเที่ยวไปในที่แจ้งแล้ว

เข้าไปห้องน้อย (ห้องมืด) แล้วรูปารมณ์ก็ยังไม่ปรากฏทันทีก่อน รูปารมณ์นั้น

ยังไม่ปรากฏตราบใด ภายในระหว่างนี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อสิ้นหนึ่งวาระ

หรือสองวาระ ก็เมื่อบุคคลยืนอยู่ในที่ไกล แม้เห็นการไหวมือของพวก

ช่างย้อมและการไหวมือเคาะระฆังตีกลองก็ยังไม่ได้ยินเสียงทันที และยังไม่ได้ยิน

เสียงตราบใด ในระหว่างแม้นี้ ก็พึงทราบวาระการสืบต่อหนึ่งหรือสองวาระ.

ท่านมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ก่อน.

ส่วนท่านสังยุตตภาณกาจารย์กล่าวถึง สันตติมี ๒ อย่าง คือรูปสันตติ

และอรูปสันตติ แล้วกล่าวว่า ระลอกน้ำที่บุคคลเดินข้ามน้ำลุยไปยังฝั่ง ยังไม่ใส

สนิทตราบใด เมื่อบุคคลมาจากทางไกล ความร้อนในกายยังไม่สงบไปตราบใด

นี้ชื่อว่า รูปสันตติ (ความสืบต่อแห่งรูป) เมื่อบุคคลมาจากแดดเข้าไปสู่ห้อง

ความมืดยังไม่ไปปราศตราบใด เมื่อบุคคลมนสิการกรรมฐานภายในห้อง เปิด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

หน้าต่างแลดูในเวลากลางวัน ความหวั่นไหวแห่งนัยน์ตา ยังไม่สงบตราบใด

นี้ก็ชื่อว่า รูปสันตติ วาระแห่งชวนะ ๒-๓ ชื่อว่า อรูปสันตติ (ความสืบต่อ

แห่งนาม) แล้วกล่าวว่า สันตติแม้ทั้งสองนี้ ชื่อว่า ปัจจุบัน.

ส่วนปัจจุบันที่กำหนดด้วยภพหนึ่ง ชื่อว่า อัทธาปัจจุบัน ในภัตเทก-

รัตตสูตร ท่านพระมหากัจจายนเถระหมายเอาอัทธาปัจจุบันที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โย จาวุโส มโน เย จ ธมฺมา สมฺปยุตฺตา อุภย

เมต ปจฺจุปฺปนฺน ตสฺมึ ปจฺจุปฺปนฺเน ฯปฯ ธมฺเมสุ สหิรติ (ดู

ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าบุคคลมีความรู้สึก มีวิญญาณ) เนื่องด้วยฉันทรา-

คะในมโนและธรรมที่สัมปยุตกันทั้ง ๒ อย่าง ที่เป็นปัจจุบันนั้น เพราะความ

รู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ บุคคลจึงเพลิดเพลินมโนและธรรมนั้น เมื่อเพลิด

เพลินจึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ดังนี้.

ก็ในปัจจุบันที่เป็นสันตติและอัทธาเหล่านี้ สันตติปัจจุบันมาในอรรถ-

กถาทั้งหลาย. อัทธาปัจจุบันแล้วในพระสูตร ในขณปัจจุบันเป็นต้นนั้น เกจิ-

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จิตที่เป็นขณปัจจุบันย่อมเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ

ดังนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะจิตของท่านผู้มีฤทธิ์ และของบุคคลอื่นเกิดขึ้น

ในขณะเดียวกัน.

ก็ความอุปมาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น มีดังนี้

ในกำดอกไม้ที่บุคคลชัดไปในอากาศ ดอกหนึ่งย่อมสวม ขั้วด้วยขั้ว

ของดอกไม้ดอกหนึ่งได้แน่นอนฉันใด เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาจิตของมหาชน

ด้วยสามารถเป็นกองว่า เราจักรู้จิตของคนอื่น ดังนี้ ก็จะรู้จิตของบุคคลหนึ่งด้วย

จิตดวงหนึ่งในอุปปาทขณะ หรือฐีติขณะ หรือภังคขณะได้แน่ ฉันนั้น ก็

คำของพวกเกจิอาจารย์นั้นท่านปฏิเสธไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ไม่ถูกต้อง

๑. ม. อุ. เล่ม ๑๔.๕๖๐/๓๖๕ ๒. ฉบับไทยเป็น นปฺปฏิวิชฺฌติ ฉบับพม่าเป็น ปฏิวิชฺฌตี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

เพราะจิตสองดวงซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลเมื่อรำลึกแม้ร้อยปี แม้แสนปี ย่อมระลึก

ได้และย่อมรู้ได้ ไม่มีฐานะร่วมกัน และเพราะโทษแห่งการถึงความที่อาวัชชน

จิตและชวนจิตมีอารมณ์แตกต่างกันในฐานะที่ไม่น่าปรารถนา. ส่วนสันตติปัจจุ-

บัน อัทธาปัจจุบัน พึงทราบว่า ย่อมเป็นอารมณ์ ดังนี้

บรรดาสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันเหล่านั้น คำใดที่กล่าวไว้ใน

อรรถกถาว่าจิตของบุคคลอื่นใดในเวลาที่เปลี่ยนไป ๒-๓ ชวนวิถีด้วยอำนาจอดีต

และอนาคตต่อจากชวนวิถีปัจจุบัน จิตนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า สันตติปัจจุบัน

ส่วนอัทธาปัจจุบันพึงแสดงด้วยวาระแห่งชวนะดังนี้ คำนั้นท่านกล่าวไว้ดีแล้ว.

ในคำของท่านพระอรรถกถานั้น ท่านแสดงไว้ ดังนี้

ท่านผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะรู้จิตของบุคคลอื่นย่อมนึกถึง การนึกถึงย่อม

กระทำขณปัจจุบันให้เป็นอารมณ์แล้วก็ดับไปพร้อมกับอารมณ์นั้นนั่นแหละ ต่อ

จากนั้นก็เป็นชวนะ ๔-๕ ชวนะ มีอิทธิจิตเป็นดวงสุดท้าย จิตที่เหลือเป็น

กามาพจร บรรดาจิตทั้งหมดนั้น จิตที่ดับแล้วนั้นนั่นแหละย่อมเป็นอารมณ์

จิตเหล่านั้นหาใช่มีอารมณ์ต่างกันไม่ ย่อมมีอารมณ์เดียวกันนั่นเอง เพราะ

ความที่จิตเหล่านั้นมีอารมณ์ปัจจุบันด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบัน ก็อิทธิจิตเท่านั้น

ย่อมรู้จิตของบุคคลอื่นแม้ในความมีอารมณ์เดียวกัน จิตอื่นหารู้ได้ไม่ เหมือน

จักขุวิญญาณเท่านั้น ย่อมเห็นรูปในจักขุทวาร วิญญาณนอกนี้หาเห็นได้ไม่

เพราะฉะนั้น อิทธิจิตนี้จึงเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบันด้วยสามารถแห่ง

สันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะสันตติปัจจุบันย่อมเป็นไปในนัยแห่งอัทธา-

ปัจจุบันนั่นแหละ ฉะนั้น อิทธิจิตนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นธรรมมีอารมณ์

เป็นปัจจุบัน ด้วยอำนาจอัทธาปัจจุบันนั่นเอง ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาส พึงทราบว่าเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่

พึงกล่าว (นวัตตัพพารัมมณะ) แม้โดยการตามระลึกถึงชื่อและโคตรในการ

พิจารณาถึงนิพพานและนิมิตนั่นแหละ พึงทราบว่าเป็นอดีตารัมมณะ คือเป็น

ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตนั่นเองในกาลที่เหลือ. แม้จตุตถฌานที่เป็นไปใน

ยถากัมมูปคญาณก็เป็นอตีตารัมมณะเหมือนกัน.

บรรดาจตุตถฌานมีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้นเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณ

และเจโตปริยญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีตก็จริง ถึงอย่างนั้น บรรดาบุพเพ-

นิวาสญาณและเจโตปริยญาณเหล่านั้น บุพเพนิวาสญาณก็เป็นธรรมมีขันธ์ใน

อดีต และเป็นธรรมเนื่องด้วยขันธ์ อะไร ๆ ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะ

บุพเพนิวาสญาณนั้นมีคติเสมอด้วยสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และ

ธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตเป็นอารมณ์. ส่วนเจโตปริยญาณมีจิตซึ่งผ่านไป

ภายใน ๗ วันเท่านั้นเป็นอารมณ์ เพราะเจโตปริยญาณนั้น ย่อมไม่รู้ขันธ์อื่น

หรือธรรมที่เนื่องด้วยขันธ์ แต่โดยปริยายตรัสว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ เพราะ

มีจิตสัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ส่วนยถากัมมูปคตญาณเป็นมรรคคือเจตนา

ในอดีตเท่านั้น เป็นอารมณ์ พึงทราบความต่างกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.

ในฐานะนี้ พึงทราบนัยแห่งอรรถกถา ต่อไป

ก็เพราะตรัสไว้ในปัฏฐานว่า กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่

เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ และแก่

อนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ดังนี้ ฉะนั้น ขันธ์แม้ทั้ง ๔ จึง

เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ และยถากัมมูปตญาณ แม้ในญาณทั้ง ๒ เหล่า

นั้น ยถากัมมูปคญาณก็มีกุศลและอกุศลนั่นแหละเป็นอารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุ ชื่อว่า เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

เท่านั้น เพราะสี (วรรณะ) ที่เป็นอารมณ์มีอยู่. จตุตถฌานที่เป็นไปใน

อนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอนาคตเท่านั้น เพราะอนาคตังสญาณนั้น

มีคติอย่างสัพพัญญุตญาณในธรรมทั้งหลายที่มีขันธ์อนาคตและธรรมที่เนื่องด้วย

ขันธ์ในอนาคตเป็นอารมณ์เหมือนบุพเพนิวาสญาณ. ในบรรดาเจโตปริยญาณ

และอนาคตังญาณเหล่านั้น แม้เจโตปริยญาณจะมีอารมณ์เป็นอนาคตก็จริง ถึง

อย่างนั้น เจโตปริยญาณนั้นก็ทำจิตที่เกิดขึ้นภายใน ๗ วันเท่านั้นให้เป็นอารมณ์

อนาคตังสญาณนี้ย่อมกระทำจิตที่เกิดขึ้นบ้าง ขันธ์ที่เกิดขึ้นบ้าง ธรรมที่เนื่อง

ด้วยขันธ์บ้าง ในอนาคตตั้งแสนกัปให้เป็นอารมณ์ได้. ฌาน ๓ และฌาน ๔

ที่เป็นรูปาวจรเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณ คือเป็นธรรมมีอา-

รมณ์ พึงกล่าวไม่ได้โดยส่วนเดียว เพราะไม่ปรารภธรรมแม้อย่างหนึ่งในธรรม

ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันให้เป็นไป.

ว่าด้วยอัชฌัตติกะเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นอัชฌัตติกะ ต่อไป

บทว่า อนินฺทฺริยพทฺธรูปญฺจ นิพฺพานญฺจ พหิทฺธา (รูปที่

ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพานที่เป็นธรรมภายนอก) นี้ ตรัสว่า ธรรมชาติ

นี้ ชื่อว่า พหิทธา (เป็นธรรมภายนอก) เพราะไม่มีปริยายแห่งธรรมภายใน

ที่เกิดในตน โดยประการที่ว่า ธรรมชาตินี้ จะจักเป็นธรรมภายในโดยปริยาย

อะไร ๆ ไม่ได้ เหมือนรูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์ แม้จิตเรียกว่า เป็นธรรมภายนอก

เพราะมีในสันดานของบุคคลอื่นก็นับว่าเป็นธรรมภายใน เพราะความที่อินทรีย์

รูปนั้นเป็นธรรมชาติเนื่องด้วยสันดานของตน มิใช่เพราะเหตุที่ไม่เกิดแต่เพียง

เป็นภายในตน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

ส่วนในอัชฌัตตารัมมณติกะ ตรัสว่า เป็นพหิทธารมณ์ (ธรรมมี

อารมณ์เป็นภายนอก) ทรงหมายเพียงเหตุสักว่าการไม่เกิดขึ้นแก่ธรรมสักว่าเป็น

ภายในของตน. พระดำรัสที่ตรัสว่า อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า

มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ เป็นต้น เพราะพระองค์มิยอมรับแม้ภาวะที่

เป็นภายใน แม้ภาวะที่เป็นภายนอก แม้ทั้งภายในทั้งภายนอกแห่งอารมณ์ของ

อากิญจัญญายตนะโดยเหตุเพียงการปราศจากธรรมภายในเท่านั้น.

ในบรรดาธรรมมีอากิญจัญญายตนะเป็นต้นเหล่านั้น อากิญจัญญายตนะ

นั้นนั่นแหละ ใช่ว่าจะเป็น นวัตตัพพารัมมณะอย่างเดียวก็หาไม่ แม้อาวัชชนะ

แม้อุปจารจิตทั้งหลายของอากิญจัญญายตนะนั้น แม้จิตที่พิจารณาอารมณ์ของ

อากิญจัญญายตนะนั้น แม้อกุศลจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอำนาจความยินดี

เป็นต้นของอากิญจัญญายตนะนั้นทั้งหมด ก็เป็นนวัตตพพารัมมณะ (คือเป็น

ธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) ทั้งนั้น ก็ธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อตรัสถึงอากิญ-

จัญญายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงมิได้

ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.

ถามว่า ชื่อว่าเป็นอันตรัสแล้วเหมือนกัน อย่างไร ?

ตอบว่า ก็อากิญจัญญายตนะ พึงมีอารมณ์อย่างเดียวกันกับธรรมชาติ

ที่เป็นปุเรจาริกของอากิญจัญญายตนะนั้น ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งธรรมมี

อาวัชชะ และอุปจาระเป็นต้น ธรรมนั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า เป็นนวัตตัพพา-

รัมมณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์พึงกล่าวไม่ได้ เพราะในอดีตารัมมณติกะ

ทรงรับรองความที่จิตตุปบาทเหล่านี้ ซึ่งตรัสไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรกุศล อกุศล

กิริยาจิตตุปบาท ๙ ดวง จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร ดังนี้ เป็นนวัตตัพพารัมมณะ

โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ และ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

เพราะตรัสถึงความที่อากิญจัญญายตนะเป็นเพียงนวัตตัพพารัมมณะโดยส่วนเดียว

อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ

และสามัญผลแม้ ๔ ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอตีตารัมมณะ (คือไม่พึงกล่าวว่า

เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต ดังนี้ก็มี.

บัดนี้ อากิญจัญญายตนะนั้นแม้พระองค์จะตรัสไว้อย่างเดียวในอัชฌัต-

ตารัมมณติกะ แต่เพราะความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะ

(คือเป็นธรรมมีอารมณ์ไม่พึงกล่าว) จึงตรัสหมายถึงแม้ความเป็นอารมณ์อัน

เดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นในหนหลัง ฉะนั้น จึงแสดงความที่กุศลมีกามา-

วจรเป็นต้นเหล่านั้น เป็นนวัตตัพพารัมมณะแม้ในอัชฌัตตารัมมณติกะนี้. จริง

อยู่ ธรรมอะไรเล่าจะเป็นข้อขัดขวางในความที่กุศลมีกามาพจรเป็นต้น ที่จะเป็น

อารมณ์อันเดียวกันกับอากิญจัญญายตนะนั้นเป็นนวัตตัพพารรัมมณะ เมื่อตรัสถึง

อากิญจัญญายตนะนั้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบได้ว่ากุศลมีกามาพจร

นั้นเป็นอันตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ฉะนี้แล. คำที่เหลือในที่นี้โดยพระบาลีใน

อัชฌัตตารัมมณติกะมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ว่าด้วยการจำแนกอารมณ์จิตตุปบาท

ก็ว่าโดยการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ จิตตุปบาทเหล่านี้ คือ

วิญญาณัญจายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น ๖ ด้วยสามารถแห่งกุศล

วิบากกิริยาก่อน พึงทราบว่ามีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) เพราะ

หน่วงเหนี่ยวสมาบัติเบื้องต่ำที่เนื่องด้วยสันดานของตนเป็นไป.

ก็ในบรรดาจิตตุปบาท ๖ เหล่านี้ อากาสานัญจายตนะที่เป็นกิริยาย่อม

เป็นอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกิริยาเท่านั้น หาเป็นอารมณ์ของวิญ-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

ญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลและวิบากนอกนี้ไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลผู้

พรั่งพร้อมด้วยอากาสานัญจายตนกิริยา ไม่มีวิญญาณัญจายตนะที่เป็นกุศลหรือ

วิบาก. ก็กุศลย่อมเป็นอารมณ์แก่กุศล วิบาก และกิริยาทั้ง ๓ ได้ เพราะ

เหตุไร เพราะความที่บุคคลผู้ยังอากาสานัญจายตนกุศลให้เกิดแล้วตั้งอยู่ให้

วิญญาณัญจายตนะแม้ทั้ง ๓ อย่างให้เกิดขึ้นสูงกว่าการเกิดของอากาสานัญจายตนะ

กุศลนั้น. ก็วิบากย่อมไม่เป็นอารมณ์ของจิตตุปบาทอะไร ๆ เพราะเหตุไร ?

เพราะจิต (ในสมาบัติ) ออกจากวิบากแล้วไม่มีอภินิหาร. แม้ในการทำให้เป็น

อารมณ์ของเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็นัยนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบความที่

จิตตุปบาทแม้ทั้งหมดมีฌานที่ ๓ ที่ ๔ ซึ่งเป็นรูปาวจรเป็นต้น เป็นพหิทธารัม-

มณะ คือ เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เพราะปรารภปฐวีกสิณเป็นต้นที่เป็น

ภายนอกเป็นไปโดยความเป็นภายนอกจากธรรมที่เป็นภายในของตน.

พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สพฺเพว กามาวจรา กุสลากุสลา-

พฺยากตา ธมฺมา รูปาวจรจตุตฺถฌาน (กุศลธรรม อกุศลธรรมอัพยากต-

ธรรมที่เป็นกามพจรทั้งหมด. . .รูปาวจรจตุตถฌาน) นี้ ต่อไป

ว่าโดยกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ดวง เป็นธรรมมี

อารมณ์ภายใน (อัชฌัตตารัมมณะ) แก่ผู้พิจารณาธรรมมีขันธ์เป็นต้นของตน

เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ในขณะพิจารณาขันธ์เป็นต้นของ

คนเหล่าอื่น และในขณะพิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นธรรมมีอารมณ์

ทั้งภายในและภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา

ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งของตนและบุคคลอื่นทั้งสองนั้น. แม้ในญาณวิปปยุตก็

นัยนี้แหละ. การพิจารณาพระนิพพานของกุศลที่เป็นญาณวิปปยุตเหล่านั้น

อย่างเดียวไม่มี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

ว่าโดยอกุศล จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เป็นธรรมมี

อารมณ์ภายใน เวลายินดี เพลิดเพลิน และยึดถือความเห็นผิด ซึ่งธรรมมีขันธ์

เป็นต้นของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เป็นไปอย่างนั้นแหละใน

ขันธ์เป็นต้น และในรูปกสิณที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์เป็นต้นของบุคคลอื่น เป็น

ธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสองนั้น.

แม้ในจิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. การยึดถือความ

เห็นผิดย่อมไม่มีแก่จิตตุปบาทที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตเหล่านั้นอย่างเดียว จิตตุปบาท

ที่สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ๒ ดวง เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัส

ในขันธ์เป็นต้นของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก แก่บุคคลผู้ถึงโทมนัสใน

ขันธ์เป็นต้น และในรูปบัญญัติที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ของบุคคลอื่น เป็นธรรม

มีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง แม้จิตตุปบาท

ที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ ก็พึงทราบว่ามีความเป็นอารมณ์ภายใน

เป็นต้นในเวลาเป็นไปด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความหวั่นไหวในธรรม

ทั้งหลายมีประการตามที่กล่าวแล้ว.

จิตตุปบาท ๑๓ ดวงเหล่านี้ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓

ในเวลาที่ปรารภรูปเป็นต้นของตนเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลา

ปรารภรูปเป็นต้นของบุคคลอื่นเป็นไป เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก เป็นธรรม

มีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสองนั้น.

อเหตุกวิบากมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็นธรรมมีอารมณ์

ภายใน ในเวลาเป็นไปปรารภธรรมมีรูปเป็นต้น ๕ อย่างของตนด้วยอำนาจสัน-

ติรณะและตทารัมมณะในปัญจทวาร และในเวลาเป็นไปปรารภกามาวจรธรรม

แม้เหล่าอื่นที่เป็นภายในด้วยอำนาจตทารัมมณะในมโนทวารนั่นแหละ, เมื่อเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

ไปในธรรมทั้งหลายเหล่าอื่นก็เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก, เป็นธรรมมีอารมณ์

ทั้งภายในและภายนอกด้วยอำนาจอารมณ์ทั้งสอง. ในวิบากอเหตุกมโนวิญ-

ญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง ๒ ดวง ก็นัยนี้แหละ. ก็มโนวิญญาณ-

ธาตุเหล่านี้ย่อมเป็นไปในกรรมเป็นต้นอันต่างด้วยอัชฌัตตธรรมเป็นต้น แม้ด้วย

อำนาจแห่งปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ในสุคติภูมิและทุคติภูมิเท่านั้น.

มหาวิบากจิต ๘ ดวง มีคติเหมือนวิบากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่

สหรคตด้วยอุเบกขาแม้ทั้ง ๒ เหล่านั้นนั่นแหละ แต่มหาวิบากจิตเหล่านี้ไม่เป็น

ไปด้วยอำนาจแห่งสันติรณะอย่างเดียว ย่อมเป็นไปในสุคติภูมิด้วยอำนาจปฏิสนธิ

ภวังค์และจุติของสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น. อเหตุกกิริยาที่สหรคตด้วยโสมนัสเป็น

ธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเวลาปรารภรูปเป็นต้นของตนด้วยอำนาจการกระทำ

อาการร่าเริงในปัญจทวาร เป็นธรรมมีอารมณ์ในภายนอกเป็นไปในรูปเป็นต้น

ของบุคคลอื่น, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายในเป็นไปด้วยอำนาจหสิตุปบาทแก่พระ-

ตถาคตเจ้าผู้พิจารณากิริยาที่พระองค์ทรงทำแล้วในเวลาเป็นโชติปาลมาณพ ท้าว

มฆเทวราช และกัณหดาบสเป็นต้นในมโนทวาร, เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก

ในเวลาปรารภการกระทำกิริยาของพระนางมัลลิกาเทวี สันตติมหาอำมาตย์และ

นายสุมนาการเป็นต้นเป็นไป, เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วย

สามารถอารมณ์ทั้งสอง.

กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นธรรมมี

อารมณ์เป็นภายในเป็นต้น ในเวลาเป็นไปในปัญจทวารด้วยอำนาจโวฏฐัพพะ

และในมโนทวารด้วยอำนาจอาวัชชนะ มหากิริยาจิตตุปบาท ๘ ดวง มีคติ

เหมือนกุศลจิตนั่นแหละ. มหากิริยาจิตตุปบาทเหล่านั้น ย่อมีเกิดขึ้นแก่พระ

ขีณาสพอย่างเดียว กุศลจิตย่อมเกิดแก่พระเสกขะและปุถุชน เพราะฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

ในข้อนี้จึงมีการทำที่ต่างกัน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในรูปาวจรจตุตถฌาน

มีประการตามที่กล่าวแล้ว จตุตถฌานทั้ง ๕ มีจตุตถฌานที่เป็นบาทในธรรม

ทั้งปวงเป็นต้น ย่อมได้โอกาสในติกะนี้.

จริงอยู่ ฌานทั้ง ๕ ตามที่กล่าวนี้เป็นพหิทธารัมมณะ คือเป็นธรรม

มีอารมณ์เป็นภายนอกเพราะ มีกสิณบัญญัติ และนิมิตเป็นอารมณ์. จตุตถฌาน

ที่เป็นไปในอิทธิวิธะเป็นอัชฌัตตารัมมณะ คือเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน

เพราะกระทำกายและจิตของตนให้เป็นอารมณ์ในเวลาที่ยังจิตให้เปลี่ยนไปตาม

อำนาจกาย หรือยังกายเปลี่ยนไปตามอำนาจจิต และในเวลาที่เนรมิตรูปเป็น

เพศกุมารเป็นต้นของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธารัมมณะ) ใน

เวลาที่แสดงรูปเป็นรูปช้างและม้าเป็นต้นในภายนอก มีอารมณ์เป็นทั้งภายใน

และภายนอก (อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ในเวลาที่เป็นไปในภายในตามกาล

อันควรและในเวลาที่เป็นไปในภายนอกตามกาลอันควร.

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยโสต มีอารมณ์เป็นภายใน (อัชฌัตตา-

รัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงในท้องของตน มีอารมณ์เป็นภายนอก (พหิทธา-

รัมมณะ) ในเวลาฟังเสียงคนอื่น มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก

(อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ทั้งสอง.

จตุตถฌานที่เป็นไปในเจโตปริยญาณ มีอารมณ์เป็นภายนอก

อย่างเดียว เพราะมีจิตคนอื่นเป็นอารมณ์ ก็การใช้เจโตปริยญาณนั้นรู้จิตของ

ตนไม่มี.

จตุตถฌานที่เป็นไปในบุพเพนิวาสญาณเป็นธรรม มีอารมณ์เป็น

ภายใน ในเวลาที่ตามระลึกถึงขันธ์ของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก

เพราะตามระลึกถึงขันธ์ของคนอื่น รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และบัญญัติทั้ง ๓

เป็นธรรมมีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถอารมณ์ทั้งสอง.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

จตุตถฌานที่เป็นไปในทิพยจักษุเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน ในเวลา

เห็นรูปในท้องของตนเป็นต้น เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอกในเวลาที่เห็นรูป

ที่เหลือ เป็นธรรมมีอารมณ์ทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์

ทั้งสอง.

จตุตถฌานที่เป็นไปในอนาคตังสญาณเป็นธรรมมีอารมณ์ภายใน ในเว-

ลาที่ระลึกถึงขันธ์ในอนาคตของตน เป็นธรรมมีอารมณ์ภายนอก ในเวลาที่ระลึก

ถึงขันธ์อันเป็นอนาคตของคนอื่น หรือรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นธรรมมี

อารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งสอง.

เหตุที่อากิญจัญายตนนฌานเป็นนวัตตัพพารัมมณะ คือ เป็นอารมณ์

พึงกล่าวไม่ได้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

เหตุโคจฉกะ

[๙๐๐] ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ อโลภกุศลเหตุ อโทส-

กุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ อโมหกุศลเหตุ บังเกิดในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ

เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

โทสะ บังเกิดขึ้นจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง

โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

อโลภวิปากเหตุ อโทสวิปากเหตุ ย่อมเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้น

อเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

อโมหวิปากเหตุ บังเกิดในวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท

ฝ่ายกามาวจรวิบาก [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๕ ดวง

อโลภกิริยเหตุ อโทสกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุก-

จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา

อโมหกิริยเหตุ บังเกิดในกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่าย

กามาวจรกิริยา [และ] เว้นจิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ๔ ดวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ.

ธรรมไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

เว้นเหตุทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุ.

[๙๐๑] ธรรมมีเหตุ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วย

อุทธัจจะ, กุศลในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามา-

วจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่ายกามาวจร-

กิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีเหตุ.

ธรรมไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญ-

ญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีเหตุ.

[๙๐๒] ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา [และ] ที่สหรคตด้วย

อุทธัจจะ, กุศลในภูมิ ๔, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

วิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกิริยา

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ เป็นไฉน ?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ปัญจวิญญาณ

ทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากเหตุ.

[๙๐๓] ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ เป็นไฉน ?

เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ.

ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาท ฝ่าย

กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร-

กิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

ธรรมไม่มีเหตุ จะกล่าวว่าธรรมเป็นเหตุและมีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรมมี

เหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.

[๙๐๔] ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ เป็นไฉน ?

เหตุ ๒-๓ บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ.

ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย

กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

กิริยา เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ.

ธรรมวิปปยุตจากเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ

ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็ไม่ได้.

[๙๐๕] ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔, อกุศล, วิบากในภูมิ ๔ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่าย

กามาวจรวิบาก, กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ เว้นอเหตุกจิตตุปบาทฝ่ายกามาวจร

กิริยา, เว้นเหตุทั้งหลายที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ.

ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ เป็นไฉน ?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๕ รูป

และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.

ธรรมเป็นเหตุ จะกล่าวว่า ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็ไม่ได้ ว่าธรรม

ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็ไม่ได้.

เหตุโคจฉกะ จบ

จูฬันตรทุกะ

[๙๐๖] สัปปัจจยธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัปปัจจยธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

อัปปัจจยธรรม เป็นไฉน ?

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัปปัจจยธรรม.

[๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สังขตธรรม.

อสังขตธรรม เป็นไฉน ?

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อสังขตธรรม.

[๙๐๘] สนิทัสสนธรรม เป็นไฉน ?

รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สนิทัสสนธรรม.

อนิทัสสนธรรม เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากใน

ภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้ แต่นับเนื่อง

ในธรรมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิทัสสนธรรม.

[๙๐๙] สัปปฏิฆธรรม เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัป-

ปฏิฆธรรม.

อัปปฏฆธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่

เห็นไม่ได้ที่กระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า อัปปฏิฆธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

[๙๑๐] รูปิธรรม เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า รูปิธรรม.

อรูปิธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปิธรรม.

[๙๑๑] โลกิยธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า โลกิยธรรม.

โลกุตรธรรม เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ ชื่อว่า โลกุตรธรรม.

[๙๑๒] ธรรมทั้งหมดแล จัดเป็นเกนจิวิญเญยยธรรม เกนจิน-

วิญเญยยธรรม.

จูฬันตรทุกะ จบ

อาสวโคจฉกะ

[๙๑๓] อาสวธรรม เป็นไฉน ?

อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

กามาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ภวาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔

ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

ทิฏฐาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

อวิชชาสวะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อาสวธรรม.

ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

กุศลที่เหลือเว้นอาสวธรรมเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

อาสวะ.

[๙๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า

นี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

[๙๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง อกุศลที่เหลือ เว้นโมหะที่เกิด

ในจิตตุปบาท ๒ ดวงนี้ เว้นโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา (และ) เว้นโมหะที่

สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน ?

โมหะ ที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง โมหะที่

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

วิปปยุตจากอาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

[๙๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน ?

อาสวะเหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นอาสวะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยา-

อัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์

ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์

ของอาสวะก็ไม่ได้ ว่าเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้.

[๙๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน ?

อาสวะ ๒-๓ อย่างบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ

ก็ไม่ได้ ว่าสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้.

[๙๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เป็นไฉน ?

โมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบาก

ในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น

ไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า

นี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็น

อารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะก็ไม่ได้.

อาสวโคจฉกะ จบ

สัญโญชนโคจฉกะ

[๙๑๙] สัญโญชนธรรม เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์

ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์

อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์

กามราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ปฏิฆสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ๒

ดวง

มานสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจาก

ทิฏฐิ

ทิฏฐิสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ ดวง

วิจิกิจฉาสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ

๔ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

ภวราคสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจาก

ทิฏฐิ ๔ ดวง

อิสสาสัญโญชน์ และมัจฉริยสัญโญชน์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคต

ด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

อวิชชาสัญโญชน์ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัญโญชนธรรม.

ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือ เว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ

๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เป็นสัญโญชน์.

[๙๒๐] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า

นี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

[๙๒๑] ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นโมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต

จากสัญโญชน์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

[๙๒๒] ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

เป็นไฉน ?

สัญโญชน์เหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์.

ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ ละรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์

และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่

เป็นสัญโญชน์ก็ไม่ได้.

[๙๒๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็น

ไฉน ?

สัญโญชน์ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์.

ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นสัญโญชน์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และ

สัมปยุตด้วยสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์

ก็ไม่ได้.

[๙๒๔] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต

จากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.

ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์

แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์ก็ไม่ได้.

สัญโญชนโคจฉกะ จบ

คันถโคจฉกะ

[๙๒๕] คันถธรรม เป็นไฉน ?

คันถะ ๔ คือ อภิชฌากายคันถะ พยาปาทกายคันถะ สีลัพพตปรามาส-

กายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ

อภิชฌากายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

พยาปาทกายคันถะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา

๒ ดวง

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ บังเกิดใน

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า คันถธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

ธรรมไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่เป็นคันถะ.

[๙๒๖] ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๒ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

[๙๒๗] ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ

วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย, จิตตุปบาท

ที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง เว้นปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทนี้เสีย

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ.

ธรรมวิปปยุตจากคันถะ เป็นไฉน ?

โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาท ที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

ปฏิฆะที่เกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบาก

ในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากคันถะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

[๙๒๘] ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

คันถธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นคันถะทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นคันถะและเป็น

อารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็ไม่ได้.

[๙๒๙] ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิและโลภะบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วย

โทมนัสเวทนา ๒ ดวง เว้นคันถะทั้งหลายที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ.

ธรรมวิปปยุตจากคันถะ จะกล่าวว่าธรรมเป็นคันถะและสัมปยุตด้วย

คันถะก็ไม่ได้.

[๙๓๐] ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์ของคันถะ

เป็นไฉน ?

โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔

ดวง ปฏิฆะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุป-

บาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ.

ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากคันถะแต่เป็น

อารมณ์ของคันถะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของ

คันถะก็ไม่ได้.

คันถโคจฉกะ จบ

[๙๓๑] โอฆธรรม เป็นไฉน ฯลฯ โยคธรรม เป็นไฉน ฯลฯ

นีวรณโคจฉกะ

นีวรณธรรม เป็นไฉน ?

นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ อวิชชานิวรณ์.

กามฉันทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

พยาปาทนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา

๒ ดวง

ถีนมิทธนิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก

อุทธัจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

กุกกุจจนิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒

ดวง

วิจิกิจฉานิวรณ์ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

อวิชชานิวรณ์ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นีวรณธรรม.

ธรรมไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในรูป ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

นิวรณ์.

[๙๓๒] ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

[๙๓๓] ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุต

ด้วยนิวรณ์.

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

[๙๓๔] ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน ?

นีวรณธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์.

ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และเป็น

อารมณ์ของนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์

ก็ไม่ได้.

[๙๓๕] ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ เป็นไฉน ?

นิวรณ์ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์.

ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นนิวรณ์ทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็นนิวรณ์.

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย

นิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็ไม่ได้.

[๙๓๖] ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์.

ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น

อารมณ์ของนิวรณ์ก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์ ก็ไม่ได้.

นีวรณโคจฉกะ จบ

ปรามาสโคจฉกะ

[๙๓๗] ปรามาสธรรม เป็นไฉน ?

ทิฏฐิปรามาสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปรามาสธรรม.

ธรรมไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยา-

อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป. และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

ปรามาสะ.

[๙๓๘] ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

[๙๓๙] ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นปรามาสะที่บังเกิดใน

จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ.

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาท

ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ.

ปรามาสธรรม จะกล่าวว่า สัมปยุตด้วยปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุต

จากปรามาสะก็ไม่ได้.

[๙๔๐] ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์ของปรามาสะ

เป็นไฉน ?

ปรามาสธรรมนั้นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นปรามาสะและเป็นอารมณ์ของ

ปรามาสะ.

ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นปรามาสะเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยา-

อัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์

ของปรามาสะแต่ไม่เป็นปรามาสะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ จะกล่าวว่า ธรรมเป็นปรามาสะ

และเป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะแต่ไม่

เป็นปรามาสะก็ไม่ได้.

[๙๔๑] ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ แต่เป็นอารมณ์ของ

ปรามาสะ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 608

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบาก

ในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ

เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.

ธรรมเป็นปรามาสะและสัมปยุตด้วยปรามาสะ จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุต

จากปรา มาสะแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ

และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะก็ไม่ได้.

ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ

[๙๔๒] ธรรมมีเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน ?

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

[๙๔๓] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 609

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

[๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

เจตสิกธรรม.

อเจตสิกธรรม เป็นไฉน ?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.

[๙๔๕] จิตตสัมปยุตธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-

สัมปยุตธรรม.

จิตตวิปปยุตธรรม เป็นไฉน ?

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิปปยุตธรรม

จิต จะกล่าวว่าจิตตสัมปยุตก็ไม่ได้ ว่าจิตตสัมปยุตธรรมก็ไม่ได้.

[๙๔๖] จิตตสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-

สังสัฏฐธรรม.

จิตตวิสังสัฏฐธรรม เป็นไฉน ?

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตวิสังสัฏฐธรรม

จิต จะกล่าวว่าจิตตสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้ ว่าจิตตวิสังสัฏฐธรรมก็ไม่ได้.

[๙๔๗] จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือ

รูปแม้อื่นใด ซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 610

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ

อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ

กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสมุฏฐานธรรม.

ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิต

เป็นสมุฏฐาน.

[๙๔๘] จิตตสหภูตธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตสหภูธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสหภู เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

จิตตสหภู.

[๙๔๙] จิตตานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ สภาว-

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ เป็นไฉน ?

จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

จิตตนุปริวัตติ.

[๙๕๐] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานธรรม เป็นไฉน ?

เวทนา สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 611

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐาน.

[๙๕๑] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานสหภูธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เป็นไฉน ?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตตสัง-

สัฏฐสมุฏฐานสหภู.

[๙๕๒] จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า จิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติธรรม.

ธรรมไม่เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ เป็นไฉน ?

จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ.

[๙๕๓] อัชฌัตติกธรรม เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม.

พาหิรธรรม เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า พาหิรธรรม.

[๙๕๔] อุปาทาธรรม เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทา-

ธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

ธรรมไม่เป็นอุปาทา เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ มหา-

ภูตรูป ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอุปาทา.

[๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน ?

วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อุปาทินกธรรม.

อนุปาทินนธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้

แต่งขึ้น มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนธรรม.

มหันตรทุกะจบ

อุปาทานโคจฉกะ

[๙๕๖] อุปาทานธรรม เป็นไฉน ?

อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวา-

ทุปาทาน

กามุปาทานบังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน บังเกิดในจิต-

ตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทานธรรม.

ธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่

ไม่เป็นอุปาทาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

[๙๕๗] ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

[๙๕๘] ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง เว้นโลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่า

นี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน เป็นไฉน ?

โสภะซึ่งเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิ-

กิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต

จากอุปาทาน.

[๙๕๙] ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็น

ไฉน ?

อุปาทานธรรมเหล่านี้แล ชื่อว่าธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์

ของอุปาทาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือ เว้นอุปาทานทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากใน

ภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปทานและ

เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น

อุปาทานก็ไม่ได้.

[๙๖๐] ธรรมเป็นอุปาทาและสัมปยุตด้วยอุปาทาน เป็นไฉน ?

ทิฏฐิและโลภะบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน.

ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง เว้นอุปาทานทั้งหลายที่บังเกิด

ในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน

แต่ไม่เป็นอุปาทาน

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน จะกล่าวว่า ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุต

ด้วยอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็ไม่ได้.

[๙๖๑] ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

เป็นไฉน ?

โลภะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิ-

กิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยา

อัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต

จากอุปาทาน แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 615

ธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่า

นี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอุปทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน จะกล่าวว่าธรรมวิปปยุตจากอุปาทานแต่

เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็น

อารมณ์ของอุปาทานก็ไม่ได้.

อุปาทานโคจฉกะ จบ

กิเลสโคจฉกะ

[๙๖๒] กิเลสธรรม เป็นไฉน ?

กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา

ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

โลภะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง

โทสะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง

โมหะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง

มานะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง

ทิฏฐิ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง

วิจิกิจฉา บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

ถีนะ บังเกิดในอกุศลที่เป็นสสังขาริก

อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ บังเกิดในอกุศลจิตทั้งปวง

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กิเลสธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 616

ธรรมไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่

เป็นกิเลส

[๙๖๓] ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส.

[๙๖๔] ธรรมเศร้าหมอง เป็นไฉน ?

อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมอง.

ธรรมไม่เศร้าหมอง เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและ

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมอง.

[๙๖๕] ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุต

ด้วยกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลส เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและ

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 617

[๙๖๖] ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?

กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของสัง-

กิเลส.

ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓

กิริยาอัพกฤตในภูมิ ๓ รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น

อารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและเป็น

อารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส

ก็ไม่ได้.

[๙๖๗] ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง เป็นไฉน ?

กิเลสธรรมเหล่านั้นแลชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง.

ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมเศร้า

หมองแต่ไม่เป็นกิเลส

ธรรมเศร้าหมอง จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมองก็ไม่ได้

ว่า ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.

[๙๖๘] ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส เป็นไฉน ?

กิเลส ๒-๓ อย่างบังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้

ชื่อว่า ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส.

ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส เป็นไฉน ?

อกุศลที่เหลือเว้นกิเลสทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 618

ธรรมวิปปยุตจากกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมเป็นกิเลสและสัปปยุตด้วย

ก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็ไม่ได้.

[๙๖๙] ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็น

ไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.

ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากกิเลสแต่เป็น

อารมณ์ของสังกิเลสก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของ

สังกิเลสก็ไม่ได้.

กิเลสโคจฉกะ จบ

ปิฏฐิทุกะ

[๙๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดา-

ปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 619

ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔

กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน

โสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ.

[๙๗๑] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน

มรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันมรรค

เบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณก็มี.

ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ.

[๙๗๒] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา

เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี

สัมปยุตตเหตุอันโอดาปัตติมรรคประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมันสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตต-

เหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติ-

มรรคไม่ประหาณก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 620

ธรรมไม่มีสัมปยุตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็น

ไฉน ?

โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศล

ในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ.

[๙๗๓] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนี้

เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่

สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุ

อันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี ที่เป็นธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันมรรค

เบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ

เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจกิจฉา

โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตใน

ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ

อันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ.

[๙๗๔] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง

ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, รูปาวจรปฐมฌานฝ่ายกุศล ฝ่าย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 621

วิบาก และกิริยา, โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นวิตกที่บังเกิด

ในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก.

ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน ?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒, ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่าย

วิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒

และ ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิตก, รูป และนิพพาน

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก.

[๙๗๕] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศล, อกุศล, จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง

ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง, ฌาน ๑ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร

ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา, ฌาน ๑-๒ ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศล และ

ฝ่ายวิบาก, เว้นวิจารที่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

ธรรมมีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?

ปัญจวิญญาณทั้ง ๒, ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่าย

วิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูปาวจรฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,

ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, วิจาร, รูป และ

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิจาร.

[๙๗๖] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒

และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 622

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, เว้นปีติที่เกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ.

ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง

ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ

ฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๒

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, ปีติ, รูป และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปีติ.

[๙๗๗] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๒

และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๒ และ ๓

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.

ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่าย

อกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง

ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง, ฌาน ๒ และ ๒ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก,

และฝ่ายกริยา, อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก, และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ และ ๒

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก ปีติ, รูปและนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

[๙๗๘] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓

และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก, เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาท

เหล่านั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๘ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๗ ดวง

ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา,

อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศล

และฝ่ายวิบาก สุขเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม

ไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา.

[๙๗๙] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่าย

อกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่าย

กิริยา ๖ ดวง, รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, อรูป ๔

ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, โลกุตรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่าย

วิบาก, เว้นอุเบกขาเวทนา ที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง

ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๑ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 624

ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบากและฝ่าย

กิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตระฝ่ายกุศลและฝ่ายวิบาก, อุเบกขาเวทนา,

รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา.

[๙๘๐] กามาวจรธรรม เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศล อกุศล วิบากแห่งกามาวจรทั้งหมด กามาวจรกิริยา

อัพยากฤต และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?

รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็น

กามาวจร.

[๙๘๑] รูปาวจรธรรม เป็นไฉน ?

ฌาน และ ๕ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?

กามาวจร อรูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่

เป็นรูปาวจร.

[๙๘๒] อรูปาวจรธรรม เป็นไฉน ?

อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อรูปาวจรธรรม.

ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?

กามาวจร รูปาวจร โลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่

เป็นอรูปาวจร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 625

[๙๘๓] ปริยปันนธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ปริยาปันนธรรม.

อปริยาปันนธรรม เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า อปริยาปันนธรรม.

[๙๘๔] นิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยยานิกธรรม.

อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป

และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม.

[๙๘๕] นิตยธรรม เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทม-

นัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ที่เป็นนิยตธรรมก็มี ที่เป็นอนิยตธรรม

ก็มี

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า นิยตธรรม.

อนิยตธรรม เป็นไฉน ?

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาท

ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบาก

ในภูมิ ๔ กิริยาอัพกฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า

อนิยตธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 626

[๙๘๖] สอุตตรธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และ

รูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สอุตตรธรรม.

อนุตตรธรรม เป็นไฉน ?

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรม

เหล่านี้ชื่อว่า อนุตตรธรรม.

[๙๘๗] สรณธรรม เป็นไฉน ?

อกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สรณธรรม.

อรณธรรม เป็นไฉน ?

กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และ

นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ธรรมสังคณี จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสเหตุโคจฉกทุกะ ต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุโดยนัยมีอาทิว่า ตโย กุสลเหตู

ดังนี้แล้ว ทรงประสงค์จะแสดงเหตุเหล่านั้นนั่นแหละโดยฐานะแห่งการเกิดขึ้น

อีก จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเลสุ อุปฺปชฺชนิติ (บังเกิด

ในกุศลทั้ง ๔ ภูมิ) ดังนี้. นัยแห่งเทศนาแม้ในโคจฉกะที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ

โดยอุบายนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 627

ในนิทเทสแห่งอาสวทุกะ (บาลีข้อ ๙๑๗) ว่า ยตฺถ เทฺว ตโย

อาสวา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (อาสวะ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันใน

จิตตุปบาทใด) นี้ บัณฑิตพึงทราบ ความเกิดขึ้นแห่งอาสวะรวมกัน ๓ อย่าง.

บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะย่อมเกิดรวมกันโดย ๒ อย่าง คือ

เกิดขึ้นในทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงรวมกับอวิชชาสวะ เกิดขึ้นในทิฏฐิสัมปยุต ๔ ดวง

พร้อมกับทิฏฐาสวะและอวิชชาสวะ ส่วนภวาสวะย่อมเกิดร่วมกันอย่างเดียว คือ

เกิดในทิฏฐิวิปปยุต ๔ พร้อมกับอวิชชาสวะ.

อนึ่ง ในคำว่า อาสวะ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกัน นี้ ฉันใด

แม้ในคำว่า สัญโญชน์ ๒-๓ บังเกิดรวมกันในจิตตุปบาทใด นี้ ก็ฉันนั้น คือ

การเกิดของสัญโญชน์ทั้งหลายรวมกันพึงมี ๑๐ อย่าง.

บรรดาสัญโญชน์เหล่านั้น กามราคสัญโญชน์ย่อมเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง

ปฏิฆะย่อมเกิดร่วมกัน ๓ อย่าง มาฆะย่อมเกิดร่วมกัน ๑ อย่าง วิจิกิจฉาและ

ภวราคะก็เกิดร่วมกันอย่างละ ๑ อย่างเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร คือ กาม-

ราคสัญโญชน์ก่อน เกิดร่วมกัน ๔ อย่างคือ เกิดร่วมกันกับมานสัญโญชน์และ

อวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับทิฏฐิสัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑

เกิดร่วมกันกับสีลัพพตปรามาสและอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับอวิชชา-

สัญโญชน์เพียงเท่านั้น ๑.

ก็ปฏิฆสัญโญชน์เกิดร่วมกัน ๓ อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกันกับอิสสา-

สัญโญชน์และอวิชชาสัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับมัจฉริยสัญโญชน์และอวิชชา

สัญโญชน์ ๑ เกิดร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์เพียงเท่านั้น ๑.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 628

มานสัญโญชน์ก่อนร่วมเป็นอันเดียวกันกับภวราคสัญโญชน์และอวิชชา

สัญโญชน์. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จริงอยู่ วิจิกิจฉาสัญโญชน์

นั้นย่อมเกิดร่วมกันอย่างเดียว คือร่วมกันกับอวิชชาสัญโญชน์. แม้ในภวราค-

สัญโญชน์ก็นัยนี้แหละ สัญโญชน์ ๒-๓ เกิดร่วมกันในกิเลสเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกทุกะ

พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในนีวรณโคจฉกะ (บาลีข้อ ๙๓๕) ว่า ยตฺถ

เทฺว ตีณิ นีวรณานิ เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (นิวรณ์ ๒-๓ อย่างบังเกิด

ร่วมกันในจิตตุปบาทใด) ดังนี้ แม้ในพระดำรัสนั้น บัณฑิตก็พึงทราบความ

บังเกิดร่วมกันแห่งนิวรณ์ทั้งหลายมี ๘ อย่าง.

จริงอยู่ ในบรรดานิวรณ์เหล่านั้น กามฉันทเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง

พยาบาทเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง อุทธัจจะเกิดร่วมกันอย่างเดียว วิจิกิจฉาก็เกิด

ร่วมกันอย่างเดียวเหมือนกัน ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ กามฉันทะก่อนย่อมเกิด

ร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์ในอสังขา-

ริกจิต ๑ เกิดร่วมกันกับถีนนิวรณ์ มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์และอวิชชา-

นิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑. ก็คำใดที่ตรัสว่า นิวรณ์เกิดร่วมกัน ๒-๓ นั้น

คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวโดยการกำหนดไว้ในเบื้องต้นแล้ว เพราะฉะนั้น การบัง

เกิดร่วมกันแห่งนิวรณ์แม้ทั้ง ๔ ก็ย่อมถูกต้องทีเดียว.

ส่วนพยาบาท บังเกิดร่วมกัน ๔ อย่าง คือ เกิดร่วมกับอุท-

ธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับถีนนิวรณ์

มิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วม

กับอุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ในอสังขาริกจิต ๑

เกิดร่วมกับถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์ และอวิชชา-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 629

นิวรณ์ในสสังขาริกจิต ๑. ส่วนอุทธัจจนิวรณ์เกิดร่วมกันมีอย่างเดียว คือ เกิด

ร่วมกับอวิชชานิวรณ์เพียงอย่างเดียว วิจิกิจฉะก็เกิดร่วมกันอย่างเดียว คือ

เกิดกับอุทธัจจนิวรณ์และอวิชชานิวรณ์.

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกทุกะ

แม้พระดำรัสนี้ใดที่ตรัสไว้ในกิเลสโคจฉกะ (ข้อ ๙๖๘) ว่า ยตฺถ

เทฺว ตโย กิเลสา เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ (กิเลส ๒-๓ อย่าง เกิด

ร่วมกันในจิตตุปบาทใด) ดังนี้. ในพระบาลีนั้นบัณฑิตพึงทราบเนื้อความ

อย่างนี้ว่า กิเลส ๒-๓ อย่าง เกิดร่วมกับกิเลสเหล่าอื่น หรือกิเลส ๓ อย่าง

เกิดร่วมกับกิเลสเหล่าอื่น ดังนี้ เพราะเหตุไร เพราะไม่มีกิเลส ๒ หรือ ๓

อย่างเกิดร่วมกัน ในพระบาลีนั้น การเกิดขึ้นร่วมกันแห่งกิเลสมี ๑๐ อย่าง.

จริงอยู่ ในบรรดากิเลส ๑๐ เหล่านี้ โลภกิเลสย่อมเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง

ปฏิฆกิเลสเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง โมหกิเลสก็พึงทราบ ๒ อย่างเหมือนกัน.

พึงทราบอย่างไร ? คือ โลภะก่อนเกิดร่วมกัน ๖ อย่าง คือ เกิดร่วมกับโมหะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิต ๑ เกิดร่วมกับ

โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในสสังขาริกทิฏฐิวิปปยุตตจิต ๑

เกิดร่วมกับโมหะ มานะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกจิต

นั่นแหละ ๑ เกิดร่วมกับโมหะ มานะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะใน

สสังขาริกจิตนั่นแหละ ๑ อนึ่ง เกิดร่วมกับโมหะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ อหิริกะ

อโนตตัปปะในอสังขาริกอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ทิฏฐิ ถีนะ

มิทธะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะในสสังขาริกประกอบด้วยทิฏฐิ ๑.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 630

ส่วนปฏิฆะเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง อย่างนี้ คือ เกิดร่วมกับโมหะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในอสังขาริกจิต ๑ เกิดร่วมกับโมหะ ถีนะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะในสสังขาริกจิต ๑.

ส่วนโมหะเกิดร่วมกัน ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา อุทธัจจะ

อหิรกะ อโนตตัปปะในจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ๑ เกิดพร้อมกับอุทธัจจะ

อหิริกะ อโนตตัปปะในจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ๑. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มี

เนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา

แห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี จบ

นิคมกถา

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

พระโลกนารถเจ้า เมื่อจะทรงจำแนก

จิตตุปปากัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และ

อัตถุทธารกัณฑ์ อันน่ารื่นรมย์ใจ ทรงแสดง

พระธรรมสังคณีใด การพรรณนาเนื้อความ

แห่งพระธรรมสังคณีที่ได้ทรงรวบรวมธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 631

โดยสิ้นเชิงแห่งพระอภิธรรมปิฏก ซึ่งทรงตั้ง

ไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าได้เริ่มแล้ว การ

พรรณนาเนื้อความนี้นั้นเข้าถึงความสำเร็จ

แล้ว โดยชื่อว่า อัฏฐสาลินี เพราะมี้เนื้อความ

ไม่อากูลโดยพระบาลี ๓๙ ภาณวาร เพื่อความ

ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

กุศลใด ที่ข้าพเจ้ายังอรรถวรรณนา

ให้จบลงนั้นสำเร็จแล้วด้วยอานุภาพแห่งกุศล

นั้น ขอสัตว์แม้ทั้งหมด จงรู้พระธรรมของ

พระธรรมราชา อันนำมาซึ่งความสุขแล้ว จง

บรรลุสันติสุขคือพระนิพพานอันยอดเยี่ยม หา

ความโศกมิได้ ไม่มีความคับแค้นใจ ด้วยข้อ

ปฏิบัติอันบริสุทธิ์โดยง่าย

ขอพระสัทธรรมจงดำรงอยู่สิ้นกาล

นาน ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งหมด จงเคารพธรรม

ขอฝนจงตกต้องตามฤดูกาล พระราชาแต่

เก่าก่อนทรงคุณธรรมอันดี ทรงปกครองปวง

ประชาโดยธรรมฉันใด ขอพระราชาปัจจุบัน

จงทรงปกครองปวงประชา โดยธรรม ดุจ

พระโอรสของพระองค์ ฉันนั้นเถิด.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 632

อรรถกถาธรรมสังคณี ชื่อว่า อัฏฐสาลินี นี้ อันพระเถระผู้มีนาม

ที่ครูทั้งหลายขนาน แล้วว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วย ศรัทธา ปัญญา

และวิริยะอันหมดจดอย่างยิ่ง ผู้ยังหมู่แห่งคุณมีศีลอาจาระความซื่อตรง ความ

อ่อนโยนเป็นต้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงสู่ชัฏ (การวินิจฉัยข้อความ

ที่ยุ่งยาก) ในความแตกต่างกันแห่งลัทธิของตนและคนอื่น ผู้ประกอบด้วย

ความเฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ผู้มีปรีชาญาณอันไม่ติดขัดในสัตถุศาสน์ อัน

ต่างด้วยปริยัติคือ พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ผู้เป็นมหาไวยากรณ์

ผู้อธิบายเนื้อความได้กว้างขวาง ผู้ประกอบด้วยถ้อยคำไพเราะอันเลิศซึ่งเปล่ง

ออกไปได้คล่องแคล่วอันเกิดแต่กรณสมบัติ เป็นนักพูดชั้นเยี่ยมโดยทั้งผูกทั้งแก้

เป็นมหากวี เป็นอลังการแห่งวงศ์ของเหล่าพระเถระฝ่ายมหาวิหารซึ่งเป็นประทีป

แห่งเถรวงศ์ ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วในอุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมี

การแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉานแล้วเป็นบริวาร

เป็นผู้มีความรู้ไพบูลย์ และหมดจดวิเศษแล้ว รจนาไว้.

ขออรรถกถาธรรมสังคณีชื่อ อัฏฐสา-

ลินีนี้ อันแสดงนัยแห่งปัญญาวิสุทธิ์ แก่กุล

บุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาธรรมเครื่องสลัดออก

จากโลก จงดำรงอยู่ในโลกตราบเท่าพระนาม

ว่า "พุทโธ" ของพระโลกเชษฐเจ้า ผู้เป็น

พระมหาฤๅษี ผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ ผู้คงที่ ยัง

เป็นไปในโลก เทอญ.

๑. ในที่นี้กล่าว นามเธยฺย (การตั้งชื่อ) เป็นของพระพุทธโฆสาจารย์ที่ครูทั้งหลายขนานให้มีถึง

๑๓ บท.

๒. เถรวงศ์ หมายถึงพระมหากัสสปเถระเป็นต้น และคำว่า " ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้วใน

อุตริมนุสธรรมประดับด้วยคุณมีการแตกฉานในอภิญญา ๖ เป็นต้น มีปฏิสัมภิทาอันแตกฉาน

ดีแล้วเป็นบริวาร" เหล่านี้ เป็นคุณของพระมหากัสสปเถระเป็นต้น.