ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

ธรรมสังคณี

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกา

ติกมาติกา ๒๒ ติกะ

[๑] ๑. กุสลติกะ

กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล

อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล

อพฺยกากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต

๒. เวทนาติกะ

สุขาย เวทนา สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา

อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

ธมฺมา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

๓. วิปากติกะ

วิปากา ธมฺมา ธรรมเป็นวิบาก

วิปากธมฺมธมฺมา ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก

เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่ง

วิบาก

๔. อุปาทินนุปาทานิยติกะ

อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครองและเป็นอารมณ์

ของอุปาทาน

อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองแต่เป็น

อารมณ์ของอุปาทาน

อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครองและไม่เป็น

อารมณ์ของอุปาทาน

๕. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกติกะ

สงฺกิลิฏฺสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของ

สังกิเลส

อสงฺกิลิฏฺสงฺกิลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ

สังกิเลส

อสงฺกิลิฏฺาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

๖. วิตักกติกะ

สวิกตกฺกสวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิตกมีวิจาร

อวิตกฺวิจารมตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร

อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

๗. ปีติติกะ

ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ

สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา

อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

๘. ทัสสนติกะ

ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรค

ปหาตพฺพา ธมฺมา เบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

๙. ทัสสนเหตุกติกะ

ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค

ประหาณ

ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง

๓ ประหาณ

เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดา-

ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

๑๐. อาจยคามิติกะ

อาจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ

อปจยคามิโน ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ

ธมฺมา และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

๑๑. เสกขติกะ

เสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของเสกขบุคคล

อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล

เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็น

ของอเสกขบุคคล

๑๒. ปริตตติกะ

ปริตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นปริตตะ

มหคฺคตา ธมฺมา ธรรมเป็นมหัคคตะ

อปฺปมาณา ธมฺมา ธรรมเป็นอัปปมาณะ

๑๓. ปริตตารัมมณติกะ

ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ

มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ

อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ

๑๔. หีนติกะ

หีนา ธมฺมา ธรรมทราม

มชฺฌิมา ธมฺมา ธรรมปานกลาง

ปณีตา ธมฺมา ธรรมประณีต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

๑๕. มิจฉัตตติกะ

มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน

สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน

อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน

๑๖. มัคคารัมมณติกะ

มคฺคารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์

มคฺคเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุคือมรรค

มคฺคาธิปติโน ธมฺมา ธรรมมีมรรคเป็นอธิบดี

๑๗. อุปปันนติกะ

อุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเกิดขึ้นแล้ว

อนุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมยังไม่เกิดขึ้น

อุปฺปาทิโน ธมฺมา ธรรมจักเกิดขึ้น

๑๘. อตีตติกะ

อตีตา ธมฺมา ธรรมเป็นอดีต

อนาคตา ธมฺมา ธรรมเป็นอนาคต

ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปัจจุบัน

๑๙. อตีตารัมมณติกะ

อตีตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต

อนาคตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

๒๐. อัชฌัตตติกะ

อชฺฌตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน

พหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก

อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา ธรรมเป็นทั้งภายในและภายนอ

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ

อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน

พหิทฺธารามฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก

อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์เป็นภายในและเป็น

ภายนอก

๒๒. สนิทัสสนติกะ

สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้

อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้

อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

อรรถกถาธรรมสังคณี

ชื่อ

อัฏฐสาลินี

อารัมภกถา

กรุณา วิย สตฺเตสุ ปญฺายสฺส มเหสิโน

เยฺยธมฺเมสุ สพฺเพสุ ปวตฺติตฺถ ยถารุจึ...

พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ เป็นไปทั่วในไญยธรรมทั้งปวงตาม

ความพอพระทัย ดุจพระกรุณาที่ทรงแผ่ไป

ในสัตว์ทั้งหลาย พระสัมพุทธะพระองค์ใด

มีพระทัยอันความกรุณานั้นให้อุตสาหะขึ้น

ด้วยดีในสัตว์ทั้งหลาย เมื่อประทับจำพรรษา

ในดาวดึงส์เทวโลก ในคราวที่แสดงยมก-

ปาฏิหาริย์เสร็จแล้ว ได้ประทับนั่งบนศิลา-

อาสน์ ชื่อว่าบัณฑุกัมพล ณ ควงไม้ปาริชาต

ทรงพระสิริโสภาคย์ ดุจพระอาทิตย์อุทัย

เหนือขุนเขายุคันธร ผู้อันหมู่แห่งเทพเจ้าทั้ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

หมื่นจักรวาลได้มาแวดล้อมนั่งประชุมกัน

สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ทรงทำสัน-

ตุสสิตเทพบุตรซึ่งเคยเป็นพุทธมารดา ให้

เป็นประธานแก่หมู่เทพยเจ้าทั้งหลาย แล้ว

ตรัสกถามรรค (ประพันธ์) พระอภิธรรมติด

ต่อกันไปตลอดพรรษากาล ด้วยเดชแห่ง

พระสัพพัญญุตญาณนั้น.

ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระยุคลบาท

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระสิริ

โสภาคย์พระองค์นั้น ขอบูชาพระสัทธรรม

และทำอัญชลีต่อพระสงฆ์ ด้วยอานุภาพ

แห่งการทำความนอบน้อมในพระรัตนตรัย

ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนี้ ขออันตรายทั้งหลาย

จงเสื่อมสิ้นไปโดยมิได้เหลือ.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นเทพ

ของเทพ เป็นผู้นำพิเศษ ผู้อันภิกษุชื่อว่า

พุทธโฆษะ มีอาจาระและศีลบริสุทธิ์ มี

ปัญญาฉลาดหลักแหลม ปราศจากมลทิน

ทูลอาราธนาสักการะโดยเคารพพระองค์นั้น

ครั้นทรงแสดงอภิธรรมใดแก่เทพทั้งหลาย

แล้ว ก็ได้ตรัสบอกแก่พระสารีบุตรเถระผู้

อุปัฏฐากพระมเหสีเจ้า ณ สระอโนดาต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

โดยนัย (แนะนำโดยย่อ) อีก พระเถระได้

สดับฟังแล้วก็มายังพื้นปฐพีบอกแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย พระอภิธรรมนั้นอันพระภิกษุ

ทั้งหลายทรงจำไว้แล้วด้วยประการฉะนี้.

ในคราวทำสังคายนา พระอานนท-

เถระผู้เวเทหมุนี ได้ร้อยกรองอีกครั้งหนึ่ง

อรรถกถาแห่งพระอภิธรรมนั้นวิจิตรไปด้วย

นัยต่าง ๆ อันบุคคลผู้พิจารณาเนือง ๆ ด้วย

ญาณอันลึกซึ้งจึงหยั่งลงได้นั้น อันพระเถระ

ทั้งหลายผู้มีวสี มีพระมหากัสสปะเป็นต้น

ร้อยกรองแล้วในเบื้องต้นก่อน พระเถระ

ทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ร้อยกรองตาม

แล้วแม้ในภายหลังอีก อนึ่ง อรรถกถาแห่ง

พระอภิธรรมใดที่พระมหินทเถระนำมาสู่เกาะ

อันอุดมนี้ เรียบเรียงไว้ด้วยภาษาแห่งชาว

เกาะ ข้าพเจ้าจักนำอรรถกถานั้นออกจาก

ภาษาแห่งชาวเกาะตัมพปัณณิ แล้วยกขึ้นสู่

ภาษาอันไม่มีโทษตามนัยแห่งตันติภาษา ไม่

ให้เจือปนสับสนด้วยลัทธิของนิกายอื่น เมื่อ

แสดงคำวินิจฉัยของภิกษุผู้อยู่ในมหาวิหาร

จักถือเอาทั้งที่ควรถือเอา จะยังบุคคลผู้มี

ปัญญาให้ยินดีอยู่ แล้วจักประกาศอรรถ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

แม้ในอรรถกถาที่มาทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่

กรรมฐานทั้งปวง จริยา อภิญญา และ

วิปัสสนาทั้งหมดเหล่านี้ ข้าพเจ้าประกาศ

ไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว ฉะนั้น จะไม่ถือเอา

กรรมฐานเป็นต้นตามแบบแม้ทั้งหมด จัก

ทำการพรรณนาความตามลำดับบททั้งหลาย

เท่านั้น เมื่อข้าพเจ้ากล่าวอยู่ซึ่งพระอภิธรรม-

กถานี้ด้วยประการฉะนี้ ขอสาธุชนทั้งหลาย

อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน จงตั้งใจสดับฟัง เพราะว่า

กถานี้หาฟังได้โดยยากแล.

จบอารัมภกถา

นิทานกถา

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภิธรรม ถามว่า ชื่อว่า อภิธรรม

เพราะอรรถ (ความหมาย) อย่างไร ? ตอบว่า เพราะอรรถว่า เป็นธรรม

อันยิ่ง และวิเศษ จริงอยู่ อภิศัพท์ ในคำว่าอภิธรรมนี้ แสดงถึงเนื้อความ

ว่ายิ่งและวิเศษ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พาฬฺหา เม อาวุโส ทุกฺขา เวทนา

อภิกฺกมนฺติ โน ปฏิกฺกมนฺติ อภิกฺกนฺตวณฺเณน แปลว่า ดูก่อนอาวุโส

ทุกขเวทนาแรงกล้าของข้าพเจ้าย่อมเจริญยิ่ง ไม่ลดลงเลย และเหมือนคำเป็นต้น

ว่า มีวรรณะงามยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนเมื่อฉัตรและ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ธงเป็นอันมากถูกยกขึ้นแล้ว ฉัตรใดมีประมาณยิ่ง มีวรรณะและสัณฐานอัน

พิเศษกว่าฉัตรอื่น ฉัตรนั้นชื่อว่า อติฉัตร (ฉัตรอันยิ่ง) ธงใดมีประมาณยิ่ง

สมบูรณ์ด้วยความวิเศษแห่งสีที่ย้อมแล้วต่าง ๆ นั่นแหละ ธงนั่นเรียกว่า อติธโช

(ธงอันยิ่ง) และเปรียบเหมือนเมื่อพวกราชกุมารและพวกเทพร่วมประชุมกัน

แล้ว ราชกุมารใดยิ่งกว่าโดยสมบัติ มีชาติ โภคะ ยศ และความเป็นใหญ่

เป็นต้น และมีฉวีวรรณวิเศษกว่า พระราชกุมารนั้นเรียกว่า อติราชกุมาร

(ราชกุมารผู้ยิ่ง) เทพใดยิ่งกว่าด้วยอายุ วรรณะ อิสริยะ ยศ และสมบัติเป็นต้น

และมีฉวีวรรณวิเศษกว่า เทพนั้นเรียกว่า อติเทพ แม้พระพรหมที่มีลักษณะ

เช่นนั้น เขาก็เรียกว่า อติพรหม (พรหมผู้ยิ่งใหญ่) ฉันใด ธรรมแม้นี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรียกว่า อภิธรรม เพราะอรรถว่าเป็นธรรมอันยิ่งและ

วิเศษ.

จริงอยู่ เพ่งถึงพระสูตรแล้ว พระพุทธองค์ทรงจำแนกขันธ์ ๕ ไว้

โดยเอกเทศ (บางส่วน) เท่านั้น มิได้ทรงจำแนกโดยสิ้นเชิง (นิปปเทส)

แต่เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว พระองค์ทรงจำแนกไว้โดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่ง

สุตตันตภาชนียนัย อภิธรรมภาชนียนัย และปัญหาปุจฉกนัย ถึงอายตนะ ๑๒

ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ และปัจจยาการอันแสดงถึงองค์ ๑๒ ก็ตรัส

ไว้โดยสิ้นเชิงเหมือนกัน ที่จริงนัยที่เป็นสุตตันตภาชนีย์ในอินทรีย์วิภังค์ และ

ปัญหาปุจฉกนัยในปัจจยาการเท่านั้นไม่มี จริงอย่างนั้น เพ่งถึงพระสูตรแล้ว

สติปัฎฐาน ๔ พระองค์ทรงจำแนกไว้โดยเอกเทศเหมือนกัน มิได้จำแนกไว้

โดยสิ้นเชิง แต่เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว ทรงจำแนกไว้โดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจ

แห่งนัยแม้ทั้งสาม แม้สัมมัปปธาน อิทธิบาท ๔ สัมโพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ สิกขาบท ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ก็ทรงจำแนก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ไว้โดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งนัยแม้ทั้งสามเหมือนกัน ก็ในธรรมเหล่านี้ นัยที่

เป็นสุตตันตภาชนีย์ในสิกขาบทวิภังค์อย่างเดียวไม่มี ถ้าเพ่งถึงพระสูตรแล้ว

ญาณ พระองค์ก็ทรงจำแนกไว้โดยเอกเทศเหมือนกัน ไม่จำแนกโดยสิ้นเชิง

กิเลสทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว ทรงตั้งมาติกาโดยนัย

มีอาทิว่า ญาณวัตถุมีหมวด ๑ เป็นต้น แล้วจำแนกไว้โดยสิ้นเชิง กิเลสทั้งหลาย

ก็เหมือนกัน ทรงจำแนกไว้โดยนัยมิใช่น้อย ตั้งแต่เป็นธรรมหมวด ๑ เป็นต้น

ก็แต่เพ่งถึงพระสูตร การกำหนดภูมิอื่น ก็ทรงจำแนกไว้โดยเอกเทศนั่นแหละ

ไม่จำแนกไว้โดยสิ้นเชิง เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว ทรงกำหนดภูมิอื่นไว้ด้วย

นัยทั้งสาม และทรงบัญญัติไว้โดยสิ้นเชิง ชื่อว่า อภิธรรม เพราะอรรถว่า

เป็นธรรมยิ่งและวิเศษด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยปกรณ์ ๗

ว่าโดยการกำหนดปกรณ์ พระอภิธรรมนี้ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจปกรณ์

๗ คือ

๑. ธรรมสังคณีปกรณ์

๒. วิภังคปกรณ์

๓. ธาตุกถาปกรณ์

๔. ปุคคลบัญญัติปกรณ์

๕. กถาวัตถุปกรณ์

๖. ยมกปกรณ์

๗. ปัฏฐานปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

นี้เป็นกถาที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายในอรรถกถานี้ ส่วนอาจารย์

วิตัณฑวาที (ผู้ค้าน) กล่าวว่า เพราะเหตุไรจึงถือเอากถาวัตถุด้วย กถาวัตถุนั้น

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระตั้งไว้เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๑๘

ปี มิใช่หรือ ? ฉะนั้น ขอให้ตัดเอากถาวัตถุนั้นออก เพราะเป็นสาวกภาษิต

ดังนี้.

สกวาที ถามว่า ก็ปกรณ์ ๖ จะเป็นพระอภิธรรมได้หรือ ?

ปรวาที ตอบว่า ข้าพเจ้ามิได้กล่าวอย่างนั้น.

. ถามว่า ถ้าอย่างนั้นท่านกล่าวอย่างไร ?

. ตอบว่า ข้าพเจ้ากล่าวว่า ปกรณ์ ๗ ชื่อว่า อภิธรรม.

. ถามว่า ท่านเอาปกรณ์ไหนมาเป็นปกรณ์ที่ ๗ ?

. ตอบว่า ปกรณ์ชื่อว่ามหาธรรมหทัยมีอยู่ รวมกับปกรณ์ ๖

ก็เป็น ๗ ปกรณ์.

. กล่าวว่า ในมหาธรรมหทัยปกรณ์ไม่มีอะไรที่ไม่เคยกล่าว

มาแล้ว (คือไม่มีอะไรใหม่) และปัญหาวาระที่เหลือก็มีเล็กน้อย เพราะฉะนั้น

จึงเป็น ๗ พร้อมด้วยกถาวัตถุ มิใช่เป็น ๗ ทั้งกถาวัตถุ เป็น ๗ ทั้งปกรณ์ที่

ชื่อว่ามหาธาตุกถา ในมหาธรรมหทัยปกรณ์ มีปัญหาวาระที่เหลืออยู่เล็กน้อย

เท่านั้น ทั้งในมหาธาตุกถาก็ไม่มีอะไรใหม่เลย มีตันติคือแบบแผนแห่งคำ

เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเหลืออยู่ จึงรวมเป็น ๗ ด้วยกถาวัตถุนั้น.

ความเป็นมาของกถาวัตถุ

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงซึ่งปกรณ์แห่งอภิธรรม ๗

(สัตตัปปกรณ์) มาโดยลำดับ พอถึงกถาวัตถุ ก็ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

บาลีมีประมาณภาณวาระหนึ่งซึ่งยังไม่เต็มในกถามรรคทั้งปวง ทรงทำให้พอ

เหมาะแก่การประกอบวาทะที่เป็นประธานไว้ ๘ ข้อ (อัฏฐมุขา วาทยุตติ) ด้วย

อำนาจปัญจกะทั้ง ๒ (คืออนุโลมปัญจกะและปัจจนิกปัญจกะ) ในปุคคลวาทะ

จนถึงปัญหา ๔ ข้อเป็นต้นก่อน.

ก็แบบแผนนี้นั้น พระศาสดาทรงอาศัยวาทะที่หนึ่งทรงแสดงนิคคหะ

ที่หนึ่ง ทรงอาศัยวาทะที่สองทรงแสดงนิคคหะที่สอง. . . ฯลฯ ทรงอาศัยวาทะ

ที่ ๘ ทรงแสดงนิคคหะที่ ๘ คือ ทรงตั้งมาติกาไว้อย่างนี้ว่า

สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริง (สัจฉิกัตถะ)

และอรรถอันยิ่ง (ปรมัตถะ) หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

. สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอันยิ่ง ท่านหยั่งเห็น

บุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ ?

. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

. ท่านจงรับรู้นิคคหะ...

. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถ

อันยิ่งหรือ ?

. ถูกแล้ว.

. สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอันยิ่ง ท่านไม่หยั่ง

เห็นบุคคลนั้นด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ ?

. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม (การทำตอบ)...

. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในที่ (สรีระ) ทั้งปวง...

. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในที่ทั้งปวง...

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในกาลทั้งปวง...

. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในกาลทั้งปวง...

. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ในสภาวธรรม (ขันธาทิ) ทั้งปวง ...

. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลได้ในสภาวธรรมทั้งปวงหรือ ?

. ถูกแล้ว.

. สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอันยิ่ง ท่านไม่หยั่งเห็น

บุคคลนั้นด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอันยิ่งนั้นหรือ ?

. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

. ท่านจงรับรู้นิคคหะ...

พึงทราบการตั้งมาติกาในพระบาลีทั้งปวงโดยนัยนี้ ก็เมื่อทรงตั้งมาติกา

นี้นั้น ทรงเห็นเหตุนี้แหละจึงทรงตั้งไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อเราปรินิพพานล่วงไป ๒๑๘ ปี

พระเถระชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสะ จะนั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพัน ประมวล

พระสูตรมาพันหนึ่ง คือ พระสูตร ๕๐๐ สูตรในฝ่ายสกวาที พระสูตร ๕๐๐

สูตรในฝ่ายปรวาที แล้วจักจำแนกกถาวัตถุปกรณ์ประมาณเท่ากันทีฆนิกาย

แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระ เมื่อจะแสดงปกรณ์นี้ มิได้แสดงด้วยญาณของ

ตน แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่พระศาสดาประทาน ดังนั้น ปกรณ์นี้

ทั้งสิ้นจึงชื่อว่าพุทธภาษิตเหมือนกัน เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้

โดยนัยที่พระศาสดาประทาน เหมือนมธุปิณฑิกสูตรเป็นต้น.

จริงอยู่ มธุปิณฑิกสูตร * พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกาไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ?

ถ้าว่าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนี้ อันนี้แหละ

* ม. มู. ๑๒. ๒๔๕/๒๒๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

เป็นที่สุดแห่งราคานุสัยทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่

พระวิหาร.

ภิกษุทั้งหลายผู้รับพระธรรมเทศนาเข้าไปหาพระมหากัจจายนเถระแล้ว

ถามเนื้อความแห่งมาติกาที่พระศาสดาทรงตั้งไว้แล้ว พระเถระไม่กล่าววิสัชนา

สักว่าคำถูกถามเท่านั้น เพื่อจะแสดงความนอบน้อมต่อพระทศพล จึงนำการ

เปรียบเทียบเช่นกับแก่นไม้มาแสดงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยแก่นไม้ ย่อมแสวงหาแก่นไม้เป็นต้น แล้ว

ชมเชยพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนต้นไม้มีแก่น พระสาวก

เช่นกับกิ่งไม้และใบไม้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีจักษุ มีพระญาณ มีธรรม

เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ประ-

ทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ดังนี้ พระเถระทั้งหลาย

วิงวอนแล้วบ่อย ๆ จึงจำแนกเนื้อความมาติกาตามที่พระศาสดาทรงตั้งไว้ ด้วย

ประสงค์อันนี้ว่า " ก็เมื่อท่านทั้งหลายปรารถนาก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าโดยตรง แล้วทูลถามเนื้อความนี้ ถ้าเทียบเคียงเข้ากันได้กับพระสัพพัญญุต.

ญาณก็พึงถือเอา ถ้าเทียบเคียงกันไม่ได้ก็อย่าถือเอา " ดังนี้ เเล้วกล่าวว่า

" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้น

ไว้เถิด " แล้วส่งภิกษุเหล่านั้นไป.

พวกภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามเนื้อความนั้น

พระศาสดาไม่ตรัสว่า กัจจายนะกล่าวไม่ดี แต่ทรงน้อมพระศอไปราวกะทรงยก

พระสุวรรณภิงคาร (หม้อน้ำเย็นทองคำ) ขึ้น (สรงสนานพระเถระ) เมื่อจะยัง

อรรถนั้นให้บริบูรณ์ด้วยพระโอษฐ์อันมีสิริดุจดอกบัว (สตบัตร) ซึ่งกำลัง

แย้มบานอย่างดี จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ประทานสาธุการแก่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

พระเถระว่า " สาธุ สาธุ " ดังนี้ แล้วตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะ

เป็นบัณฑิต มหากัจจายนะเป็นผู้มีปัญญามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงพวก

เธอพึงถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้นเหมือนกับ

มหากัจจายนะนั่นแหละ " ดังนี้ จำเดิมแต่กาลที่พระศาสดาทรงอนุโมทนาแล้ว

อย่างนี้ พระสุตตันตะทั้งสิ้นชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต แม้พระสูตรที่พระอานนทเถระ

เป็นต้นให้พิสดารแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดง

ปกรณ์อภิธรรม ๗ พอถึงกถาวัตถุ จึงทรงตั้งมาติกาไว้โดยนัยที่กล่าวแล้ว อนึ่ง

เมื่อทรงหยุด ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า

" เมื่อเราปรินิพพานล่วงแล้ว ๒๑๘ ภิกษุชื่อว่าโมคคัลลีปุตตติสสเถระ

นั่งในท่ามกลางภิกษุหนึ่งพันรูป แล้วจักประมวลพระสูตรหนึ่งพันสูตร คือ

ในสกวาทะห้าร้อยสูตร ในปรวาทะห้าร้อยสูตร แล้วจำแนกกถาวัตถุปกรณ์

มีประมาณเท่าทีฆนิกาย " ดังนี้ แม้พระโมคคัลลีปุตตติสสเถระเมื่อจะแสดง

ปกรณ์นี้ก็ไม่แสดงด้วยความรู้ของตน แต่แสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้โดยนัยที่

พระศาสดาประทาน เพราะฉะนั้น ปกรณ์นี้ทั้งหมดจึงชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต

โดยแท้ เพราะพระเถระแสดงตามมาติกาที่ตั้งไว้ โดยนัยที่พระศาสดาประทาน

แล้ว ปกรณ์ทั้ง ๗ รวมทั้งกถาวัตถุจึงชื่อว่า " อภิธรรม " ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมสังคณี

บรรดาปกรณ์ทั้งเจ็ดนั้น ในปกรณ์ธรรมสังคณีมีวิภัตติ (คือการจำแนก)

ไว้ ๔ คือ

จิตตวิภัตติ (การจำแนกจิต)

รูปวิภัตติ (การจำแนกรูป)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

นิกเขปราสิ (การจำแนกกองธรรมที่ตั้งไว้)

อัตถุทธาระ (การยกอรรถขึ้นแสดง).

ว่าด้วยจิตตวิภัตติ

บรรดาการจำแนกธรรมทั้ง ๔ เหล่านั้น ธรรมนี้คือ

๑. กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง

๒. อกุศลจิต ๑๒ ดวง

๓. กุศลวิปากจิต ๑๖ ดวง

๔. อกุศลวิปากจิต ๗ ดวง

๕. กิริยาจิต ๑๑ ดวง

๖. รูปาวจรกุศลจิต ๕ ดวง

๗. รูปาวจรวิปากจิต ๕ ดวง

๘. รูปาวจรกิริยาจิต ๕ ดวง

๙. อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ดวง

๑๐. อรูปาวจรวิปากจิต ๔ ดวง

๑๑. อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ ดวง

๑๒. โลกุตรกุศลจิต ๔ ดวง

๑๓. โลกุตรวิปากจิต ๔ ดวง

รวมจิต ๘๙ ดวงตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า จิตตวิภัตติ แม้คำว่า

จิตตุปปาทกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของจิตตวิภัตตินี้เหมือนกัน ก็จิตนั้นว่าโดย

ทางแห่งคำพูดมีเกิน ๖ ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ว่าด้วยรูปวิภัตติ

ในลำดับต่อจากจิตนั้น ชื่อว่า รูปวิภัตติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตั้งมาติกาไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ธรรมหมวดหนึ่ง ธรรมหมวดสอง" แล้วทรง

จำแนกแสดงโดยพิสดาร แม้คำว่า รูปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของรูปวิภัตตินั้น

นั่นแหละ รูปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งคำพูด มีเกิน ๒ ภาณวาร แต่เมื่อให้

พิสดาร ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยนิกเขปราสิ

ในลำดับต่อจากรูปกัณฑ์นั้น ชื่อว่า นิกเขปราสิ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยกขึ้นแสดงโดยมูลเป็นต้นอย่างนี้ คือ โดยมูล โดยขันธ์ โดยทวาร

โดยภูมิ โดยอรรถ โดยธรรม โดยนาม โดยเพศ.

มูลโต ขนฺธโต จาปิ ทฺวารโต จาปิ ภูมิโต

อตฺถโต ธมฺมโต จาปิ นามโต จาปิ ลิงฺคโต

นิกฺขิปิตฺวา เทสิตตฺตา นิกฺเขโปติ ปวุจฺจติ.

ที่เรียกว่า นิกเขปะ ดังนี้ เพราะ

ความที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดง โดยมูลบ้าง

โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง

โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยนามบ้าง

โดยเพศบ้าง.

แม้คำว่า นิกเขปกัณฑ์ ดังนี้ ก็เป็นชื่อของนิกเขปราสินั่นแหละ

นิกเขปกัณฑ์นั้น ว่าโดยทางแห่งวาจาก็มีประมาณ ๓ ภาณวาร เมื่อให้พิสดาร

ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ว่าด้วยอัตถุทธาระ

ก็ในลำดับต่อจากนิกเขปราสินั้น ชื่อว่า อรรถกถากัณฑ์ เป็นคำที่

ยกเนื้อความพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกขึ้นแสดงตั้งแต่สรณทุกะ ภิกษุทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ผู้เรียนมหาปกรณ์ไม่กำหนดถึงจำนวนในมหาปกรณ์ แต่ย่อมรวมจำนวนไว้

มหาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ ๒ ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร

ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ธรรมสังคณีปกรณ์ทั้งสิ้นย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ว่าโดยทางถ้อยคำมีเกิน ๑๓ ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดาร

ก็ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ธรรมสังคณีปกรณ์ คือ จิตตวิภัตติ

รูปวิภัตติ นิกเขปะ และอรรถโชตนา

(อธิบายอรรถ) นี้ มีอรรถลึกซึ้ง ละเอียด

แม้ฐานะนี้ พระองค์ก็ทรงแสดงแล้วด้วย

ประการฉะนี้.

วิภังคปกรณ์

ในลำดับต่อจากธรรมสังคณีปกรณ์นั้น ชื่อว่า วิภังคปกรณ์ วิภังค-

ปกรณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรม ๑๘ อย่าง คือ

๑. ขันธวิภังค์

๒. อายตนวิภังค์

๓. ธาตุวิภังค์

๔. สัจจวิภังค์

๕. อินทรียวิภังค์

๖. ปัจจยาการวิภังค์

๗. สติปัฏฐานวิภังค์

๘. สัมมัปปธานวิภังค์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

๙. อิทธิปาทวิภังค์

๑๐. โพชฌงควิภังค์

๑๑. มัคควิภังค์

๑๒. ฌานวิภังค์

๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์

๑๔. สิกขาปทวิภังค์

๑๕. ปฏิสันภิทาวิภังค์

๑๖. ญาณวิภังค์

๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์

๑๘. ธรรมหทยวิภังค์

บรรดาวิภังค์เหล่านั้น ขันธวิภังค์จำแนกออกเป็น ๓ อย่าง คือ ด้วย

อำนาจแห่งสุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ ขันธวิภังค์นั้น

ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ ๕ ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สิ้นสุด

ไม่มีประมาณ แม้อายตนวิภังค์เป็นต้น เบื้องหน้าแต่นี้ท่านก็จำแนกโดยนัยทั้ง

๓ เหล่านั้นเหมือนกัน บรรดาวิภังค์เหล่านั้น อายตนวิภังค์ ว่าโดยทางแห่ง

ถ้อยคำมีเกิน ๑ ภาณวาร ธาตุวิภังค์มีประมาณ ๒ ภาณวาร สัจจวิภังค์ก็

ประมาณ ๒ ภาณวารเหมือนกัน ในอินทรียวิภังค์ไม่มีสุตตันตภาชนีย์ ก็

อินทรียวิภังค์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ปัจจยาการ-

วิภังค์มีประมาณ ๖ ภาณวาร แต่ไม่มีปัญหาปุจฉกะ สติปัฏฐานวิภังค์มีประมาณ

เกินหนึ่งภาณวาร สัมมัปปธาน... อิทธิบาท... โพชฌงค์... และมรรค-

วิภังค์ และอย่างมีเกินหนึ่งภาณวาร ฌานวิภังค์มีประมาณ ๒ ภาณวาร

อัปปมัญญาวิภังค์มีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ในสิกขาปทวิภังค์ไม่มีบท

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

สุตตันตภาชนีย์ แต่สิกขาบทวิภังค์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณหนึ่ง

ภาณวาร ปฏิสัมภิทาวิภังค์ก็มีประมาณเกินหนึ่งภาณวาร ญาณวิภังค์จำแนก

ออก ๑๐ อย่าง แต่ญาณวิภังค์นั้น เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ ๓

ภาณวาร แม้ขุททกวัตถุวิภังค์ก็จำแนกไว้ ๑๐ อย่าง แต่ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ

มีประมาณ ๓ ภาณวาร ธรรมหทยวิภังค์จำแนกไว้ ๓ อย่าง ว่าด้วยทางแห่ง

ถ้อยคำมีประมาณเกิน ๒ ภาณวาร วิภังค์แม้ทั้งหมด เมื่อให้พิสดารก็ไม่มีที่สุด

ไม่มีประมาณ ปกรณ์ชื่อว่า วิภังคปกรณ์นี้ เมื่อว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณ

๓๕ ภาณวาร แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณด้วยประการฉะนี้.

ธาตุกถาปกรณ์

ในลำดับต่อจากวิภังคปกรณ์นั้น ชื่อว่า ธาตุกถาปกรณ์ ทรง

จำแนก ๑๔ อย่าง คือ

๑. สงฺคโห อสงฺคโห - ธรรมสงเคราะห์ได้ ธรรม

สงค์เคราะห์ไม่ได้

๒. สงฺคหิเตน อสงฺคหิต - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย

ธรรมที่สงเคราะห์ได้

๓. อสงฺคหิเตน สงฺคหต - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม

ที่สงเคราะห์ไม่ได้

๔. สงฺคหิเตน สงฺคหิต - ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ด้วยธรรม

ที่สงเคราะห์ได้

๕. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิต - ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้ ด้วย

ธรรมที่สงเคราะห์ไม่ได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

๖. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค - ธรรมที่ประกอบกัน ธรรมที่ไม่

ประกอบกัน

๗. สมปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺต - ธรรมที่วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรม

ที่สัมปยุตกัน

๘. วิปฺปยุตฺเตน สมปยุตฺต - ธรรมที่สัมปยุตกันได้ ด้วยธรรม

ที่วิปปยุตกัน

๙. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺต - ธรรมที่สัมปยุตกันได้ด้วยธรรม

ที่สัมปยุตกัน

๑๐. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺต - ธรรมที่วิปปยุตกันได้ ด้วย

ธรรมที่วิปปยุตกัน

๑๑. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺต

วิปฺปยุตฺต - ธรรมที่สัมปยุตกันได้ ธรรมที่

วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรมที่

สงเคราะห์กัน

๑๒. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิต

อสงฺคหิต - ธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรม

ที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรม

ที่สัมปยุตกัน

๑๓. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺต

วิปฺปยุตฺต - ธรรมที่สัมปยุตกัน ธรรมที่

วิปปยุตกันได้ ด้วยธรรมที่

สงเคราะห์กันไม่ได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

๑๔. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิต

อสงฺคหิต - ธรรมที่สงเคราะห์กันได้ ธรรม

ที่สงเคราะห์กันไม่ได้ ด้วยธรรม

ที่วิปปยุตกัน.

ธาตุกถาปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำมีประมาณเกิน ๖ ภาณวาร

แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

ปุคคลบัญญัติปกรณ์

ในลำดับต่อจากธาตุกถาปกรณ์นั้น ชื่อว่า ปุคคลบัญญัติ บุคคล

บัญญัตินั้นจำแนกไว้ ๖ อย่าง คือ

๑. ขันธบัญญัติ

๒. อายตนบัญญัติ

๓. ธาตุบัญญัติ

๔. สัจจบัญญัติ

๕. อินทริยบัญญัติ

๖. ปุคคลบัญญัติ

ปุคคลบัญญัตินั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีเกิน ๕ ภาณวาร แต่เมื่อ

ให้พิสดารก็ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณเหมือนกัน.

กถาวัตถุปกรณ์

ในลำดับต่อจากปุคคลบัญญัติปกรณ์ ชื่อว่า กถาวัตถุปกรณ์ กถา-

วัตถุปกรณ์นั้น ประมวลจำแนกไว้หนึ่งพันสูตร คือ ในสกวาทะ (ลัทธิของตน)

๕๐๐ สูตร ในปรวาทะ (ลัทธิอื่น) ๕๐๐ สูตร กถาวัตถุปกรณ์นั้น ว่าโดย

ทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณเท่าทีฆนิกายหนึ่ง โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ไม่ถือเอา

คำที่เขียนไว้ในโกฏฐาสในบัดนี้ แต่เมื่อให้พิสดารย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ยมกปกรณ์

ในลำดับต่อจากกถาวัตถุปกรณ์นั้น ชื่อว่า ยมกปกรณ์ ทรงจำแนก

ไว้ ๑๐ อย่าง คือ

๑. มูลยมก

๒. ขันธยมก

๓. อายตนยมก

๔. ธาตุยมก

๕. สัจจยมก

๖. สังขารยมก

๗. อนุสสยยมก

๘. จิตตยมก

๙. ธรรมยมก

๑๐. อินทริยยมก

ยมกปกรณ์นั้น ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ มีประมาณ ๑๒๐ ภาณวาร

เมื่อว่าโดยพิสดาร ย่อมไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ.

มหาปกรณ์

ในลำดับแห่งยมกปกรณ์นั้น ชื่อว่า มหาปกรณ์ แม้คำว่า ปัฏฐาน

ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมหาปกรณ์นั้นนั่นแหละ มหาปกรณ์นั้น เบื้องต้นทรง

จำแนกไว้ ๒๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย (เหตุเป็นปัจจัย)

๒. อารัมมณปัจจัย (อารมณ์เป็นปัจจัย)

๓. อธิปติปัจจัย (อธิบดีเป็นปัจจัย)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

๔. อนันตรปัจจัย (อนันตรธรรมเป็นปัจจัย)

๕. สมนันตรปัจจัย (สมนันตรธรรมเป็นปัจจัย)

๖. สหชาตปัจจัย (สหชาตธรรมเป็นปัจจัย)

๗. อัญญมัญญปัจจัย (อัญญมัญญธรรมเป็นปัจจัย)

๘. นิสสยปัจจัย (นิสสยธรรมเป็นปัจจัย)

๙. อุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยธรรมเป็นปัจจัย)

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย (ปุเรชาตธรรมเป็นปัจจัย)

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย (ปัจฉาชาตธรรมเป็นปัจจัย)

๑๒. อาเสวนปัจจัย (อาเสวนธรรมเป็นปัจจัย)

๑๓. กัมมปัจจัย (กรรมเป็นปัจจัย)

๑๔. วิปากปัจจัย (วิบากเป็นปัจจัย)

๑๕. อาหารปัจจัย (อาหารเป็นปัจจัย)

๑๖. อินทริยปัจจัย (อินทรีย์เป็นปัจจัย)

๑๗. ฌานปัจจัย (ฌานเป็นปัจจัย)

๑๘. มัคคปัจจัย (มรรคเป็นปัจจัย)

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย (สัมปยุตธรรมเป็นปัจจัย)

๒๐. วิปปยุตปัจจัย (วิปยุตธรรมเป็นปัจจัย)

๒๑. อัตถิปัจจัย (อัตถิธรรมเป็นปัจจัย)

๒๒. นัตถิปัจจัย (นัตถิธรรมเป็นปัจจัย)

๒๓. วิคตปัจจัย (วิคตธรรมเป็นปัจจัย)

๒๔. อวิคตปัจจัย (อวิคตธรรมเป็นปัจจัย)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ก็ในฐานะนี้ พึงประมวลมาซึ่งปัฏฐาน จริงอยู่ ติกะ ๒๒ มีกุศลติกะ

เป็นต้น ทุกะ ๑๐๐ เหล่านี้ คือ เหตุธมฺมา น เหตุธมฺมา... ฯลฯ...

สรณาธฺมมา อสรณาธมฺมา ทุกะแม้อื่นอีก ชื่อว่า สุตตันตทุกะ ๔๒ คือ

วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา... ฯลฯ ... ขเย าณ

อนุปฺปาเท าณ.

บรรดาติกะและทุกะเหล่านั้น ธรรมนี้คือ ติกะ ๒๒ ทุกะ ๑๐๐ ชื่อว่า

มาติกาแห่งปกรณ์ทั้ง ๗ เป็นพุทธพจน์อันพระชินเจ้าตรัสภาษิตไว้ คือเป็น

ธรรมอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระสัพพัญญุตญาณแสดงแล้ว.

มีคำถามสอดมาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ทุกะ ๔๒ อื่นอีกมาจากไหน ?

ใครตั้งไว้ ? ใครเป็นผู้แสดง ?

ตอบว่า มาจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระธรรมเสนาบดีนั้น

ตั้งไว้ พระธรรมเสนาบดีนั้นแสดงไว้

ก็พระเถระเมื่อตั้งธรรมเหล่านี้ หาได้ตั้งไว้โดยการยกขึ้นแสดงเอง คือ

ด้วยปรีชาญาณของตนไม่ แต่พระเถระได้ประมวลเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งด้วยทสุตตร-

สูตรในสังคีติ มีเอกนิบาตเป็นต้นตั้งไว้เพื่อพระเถระผู้ชำนาญอภิธรรม ผู้ถึง

พระสูตรแล้วจะไม่ลำบาก

ก็ทุกะเหล่านั้น จำแนกให้ถึงที่สุดไว้นิกเขปกัณฑ์หนึ่ง ในฐานะที่เหลือ

ท่านจำแนกอภิธรรมไว้จนถึงสรณทุกะ จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ธรรมชื่อติกปัฏฐาน เพราะอาศัยติกะ ๒๒ ในอนุโลมปัฏฐาน ทรงแสดงธรรม

ชื่อว่าทุกปัฏฐานเพราะอาศัยทุกะ ๑๐๐ ที่สำเร็จแล้ว เบื้องหน้าแต่นี้ก็ถือเอา

ติกะ ๒๒ รวมทุกะ ๑๐๐ แสดงธรรมชื่อว่า ทุกติกปัฏฐาน จากนั้นก็ถือเอาทุกะ

๑๐๐ รวมในติกะ ๒๒ แสดงธรรมชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน แต่นั้นทรงรวมติกะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลายนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า ติกติกปัฏฐาน และ

ทรงรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ แสดงธรรมชื่อว่า

ทุกทุกปัฏฐาน (พระบาลีว่า)

ติกฺจ ปฏานวร ทุกุตฺตม

ทุกติกฺเจว ติกทุกฺจ

ติกติกฺเจว ทุกทุกฺจ

ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา.

นัยทั้ง ๖ อันสขุมลึกซึ้งในธรรม

อนุโลม อย่างนี้ คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ๑

ทุกติกปัฏฐาน ๑ ติกทุกปัฏฐาน ๑

ติกติกปัฏฐาน ๑ ทุกทุกปัฏฐาน ๑.

แม้ในธรรมปัจจนียปัฏฐาน ก็ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะอาศัยติกะ

๒๒ ชื่อว่าทุกปัฏฐาน เพราะอาศัยทุกะ ๑๐๐ ชื่อว่าทุกติกปัฏฐาน เพราะรวม

ติกะ ๒๒ เข้าในทุกะ ๑๐๐ ชื่อว่าติกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะ ๑๐๐ เข้าใน

ติกะ ๒๒ ชื่อว่าติกติกปัฏฐาน เพราะรวมติกะทั้งหลายเข้าในติกะทั้งหลาย

นั่นแหละ ชื่อว่าทุกทุกปัฏฐาน เพราะรวมทุกะทั้งหลายเข้าในทุกะทั้งหลาย

ดังนี้.

แม้ในปัจจนียปัฏฐานก็ทรงแสดงปัฏฐานโดยนัยทั้ง ๖ เพราะเหตุนั้น

พระสังคีติการกมหาเถระ จึงกล่าวไว้ว่า

นัยทั้ง ๖ อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม

ปัจจนิยะ คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑

ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ทุกทุกปัฏฐาน ๑.

ในลำดับต่อจากนั้นก็ทรงแสดงแม้ในธรรมปัจจนียานุโลมโดยนัยทั้ง ๖

เหล่านี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

นัยทั้ง ๖ อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม

ปัจจยานียานุโลม คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑

ฯ ล ฯ

ทุกทุกปัฏฐาน ๑.

ว่าด้วยสมันตปัฏฐาน ๒๔

ปัฏฐานที่ประชุมสมันตปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ คือ ปัฏฐาน ๖ ใน

ธรรมอันโลม ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปฏิโลม ปัฏฐาน ๖ ในธรรมอนุโลมปัจจนีย-

ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปัจจนิยานุโลม ชื่อว่า มหาปกรณ์ (ปกรณ์ใหญ่).

ว่าด้วยการเปรียบกับสาคร

บัดนี้ เพื่อการรู้แจ้งถึงความที่พระอภิธรรมนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง พึง

ทราบสาคร (ทะเล) ๔ คือ

๑. สังสารสาคร (สาคร คือ สงสาร)

๒. ชลสาคร (สาคร คือ น้ำมหาสมุทร)

๓. นยสาคร (สาคร คือ นัย)

๔. ญาณสาคร (สาคร คือ พระญาณ)

บรรดาสาครทั้ง ๔ นั้น ชื่อว่า สังสารสาคร คือ สังสารวัฏที่ท่าน

กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ

อพฺโภจฺฉินฺน วตฺตมานา สสาโรติ ปวุจฺจติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

ซึ่งกำลังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่า

สงสาร

นี้ชื่อว่า สังสารสาคร. สังสารสาครนี้นั้น เพราะเหตุที่เงื่อนเบื้องต้นของความ

เกิดขึ้นแห่งสัตว์เหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มีกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น

มาแล้วในที่สุดเพียงร้อยปีเท่านั้น เพียงพันปีเท่านั้น เพียงแสนปีเท่านั้น เพียง

ร้อยกัปเท่านั้น เพียงพันกัปเท่านั้น เพียงแสนกัปเท่านั้น ในกาลก่อนแต่นี้

มิได้มีเลย ดังนี้ หรือว่า สัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในกาลแห่งพระราชาพระนาม-

โน้น ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามโน้น ในกาลก่อนแต่นั้นไม่มีเลย ดังนี้

แต่ว่า มีโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนเบื้องต้นแห่งอวิชชาไม่ปรากฏ

ในกาลก่อนแต่อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี ดังนี้.* การกำหนดเงื่อนมีใน

เบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้นี้ ชื่อว่า สังสารสาคร.

มหาสมุทร พึงทราบว่า ชื่อ ชลสาคร มหาสมุทรนั้นลึก ๘๔,๐๐๐

โยชน์ ขึ้นชื่อว่า การประมาณน้ำในมหาสมุทรนั้นว่ามีเท่านี้ คือ มีน้ำร้อยอาฬหกะ

พันอาฬหกะ หรือแสนอาฬหกะไม่ได้เลย โดยที่แท้ห้วงมหาสมุทรนั้น ย่อม

ปรากฏว่า ใคร ๆ พึงนับไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ ย่อมถึงการนับว่าเป็น

ห้วงน้ำใหญ่โดยแท้ นี้ชื่อว่า ชลสาคร.

นัยสาคร เป็นไฉน ? นัยสาครได้แก่พระพุทธพจน์ คือ พระ-

ไตรปิฎก ปีติโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธา มีความเลื่อมใสมาก มีญาณอันยิ่งแก่ผู้พิจารณาตันติแม้ทั้งสอง. ตันติ

แม้ทั้งสองเป็นไฉน ? ตันติทั้งสอง คือ พระวินัยและพระอภิธรรม ปีติและ

โสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแก่ภิกษุวินัยธรทั้งหลายผู้พิจารณาตันติแห่งวินัย

* องฺ ทสก. ๒๔.๖๑/๑๒๐

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ว่า ชื่อว่า การบัญญัติสิกขาบทอันสมควรแก่โทษ ธรรมดาว่า สิกขาบทนี้

ย่อมมีเพราะโทษนี้ เพราะการก้าวล่วงอันนี้ ดังนี้ และเกิดแก่ผู้พิจารณา

อุตริมนุสธรรมเปยยาล แก่ผู้พิจารณานีลเปยยาล ผู้พิจารณาสัญจริตเปยยาลว่า

การบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเท่านั้น.

ปีติและโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแม้แก่ภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม

ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งตันติแห่งพระอภิธรรมว่า พระศาสดาของเราทั้งหลายเมื่อทรง

จำแนกแม้ความแตกต่างแห่งขันธ์ แม้ความแตกต่างแห่งอายตนะ แม้ความ

แตกต่างแห่งธาตุ ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ กรรม วิบาก

การกำหนดรูปและอรูป ธรรมอันละเอียดสุขุม ทรงกระทำแต่ละข้อในรูปธรรม

และอรูปธรรมให้เป็นส่วน ๆ แสดงไว้ เหมือนการนับดาวทั้งหลายในท้องฟ้า

ฉะนั้น. ก็ในการเกิดขึ้นแห่งปีติโสมนัสนั้น พึงทราบแม้เรื่องดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา พระเถระชื่อว่า มหานาตติมิยติสสทัตตะ เมื่อไปสู่ฝั่งโน้น

ด้วยคิดว่า เราจักไหว้ต้นมหาโพธิ์ จึงนั่งที่พื้นเบื้องบนเรือแลดูมหาสมุทร

ทีนั้น ในครั้งนั้น ฝั่งโน้นไม่ปรากฏแก่ท่านเลย ฝั่งนี้ก็ไม่ปรากฏ เป็นเช่นกับ

แผ่นเงินอันเขาแผ่ออก และเช่นกับเครื่องลาดทำด้วยดอกมะลิฉะนั้น. ท่านคิดว่า

กำลังคลื่นของมหาสมุทรมีกำลังหรือหนอ หรือว่านยมุข (เนื้อความที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้) ในสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประเภทมีกำลัง ดังนี้.

ทีนั้น ปีติมีกำลังก็เกิดขึ้นแก่ท่านผู้พิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมว่า การกำหนด

ในมหาสมุทรย่อมปรากฏ เพราะว่า มหาสมุทรนี้ เบื้องล่างกำหนดด้วยแผ่นดิน

เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ข้างหนึ่งกำหนดด้วยภูเขาจักรวาล ข้างหนึ่งกำหนด

ด้วยฝั่ง แต่การกำหนดสมันตปัฏฐานย่อมไม่ปรากฏ ดังนี้ ท่านข่มปีติแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

เจริญวิปัสสนาตามที่นั่งอยู่ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ตั้งอยู่ในพระอรหัต

ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ แล้วเปล่งอุทานว่า

พระโยคีย่อมเห็นธรรมที่ลึกซึ้ง อัน

ตรัสรู้ได้แสนยาก มีเหตุเป็นแดนเกิดขึ้น

อันพระมเหสีทรงรู้ยิ่งโดยพระองค์เอง แสดง

ไว้โดยลำดับ โดยสิ้นเชิง ในสมันตปัฏฐาน

นี้เท่านั้น เหมือนกับเป็นรูปร่างทีเดียว.

นี้ชื่อว่า นัยสาคร.

ญาณสาคร เป็นไฉน ?

สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณสาคร.

จริงอยู่ ญาณอื่นไม่อาจเพื่อจะรู้สาครนั้นว่า นี้ชื่อว่า สังสารสาคร

นี้ชื่อ ชลสาคร นี้ชื่อ นยสาคร แต่สัพพัญญุตญาณเท่านั้นอาจเพื่อรู้ได้ เพราะ

ฉะนั้น สัพพัญญุตญาณ จึงชื่อว่า ญาณสาคร.

บรรดาสาครทั้ง ๔ เหล่านั้น นยสาครประสงค์เอาในที่นี้ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้สัพพัญญูเท่านั้น ย่อมแทงตลอดในนัยสาครนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ประทับนั่งที่ควงไม้โพธิ์ทรงแทงตลอด

นัยสาครนี้ เมื่อทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์แทงตลอดแล้ว ประทับนั่งโดย

บัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์ว่า เมื่อเราเสาะแสวงหาธรรมนี้หนอ ล่วงไปถึง ๔

อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ภายหลังเรานั่ง ณ บัลลังก์นี้ จึงยังกิเลส ๑,๕๐๐

ให้สิ้นไปแล้วแทงตลอดได้ ดังนี้ ลำดับนั้น จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ ประทับ

ยืนแลดูบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ด้วยพระเนตรอันไม่กระพริบ ด้วยพระดำริว่า

สัพพัญญุตญาณ เราแทงตลอดแล้ว ณ บัลลังก์นี้หนอ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ลำดับนั้น เหล่าเทวดาทั้งหลาย มีความปริวิตกเกิดขึ้นว่า แม้ในวันนี้

พระสิทธัตถะพึงทำกิจที่ควรทำเป็นแน่ จึงยังไม่ละความอาลัยในบัลลังก์ ดังนี้.

พระศาสดาทรงทราบวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะยังวิตกของเทวดาเหล่านั้น

ให้สงบ จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสแสดงยมกปาฏิหาริย์.

จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงทำที่มหาโพธิบัลลังก์ก็ดี ทำสมาคม

แห่งพระญาติก็ดี ที่สมาคมปาฏลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์

ที่ทำที่ควงไม้คัณฑามพฤกษ์นั่นแหละ ครั้นทรงทำปาฏิหาริย์อย่างนี้แล้ว จึง

เสด็จลงจากอากาศแล้วเสด็จจงกรมตลอดสัปดาห์ ในระหว่างแห่งบัลลังก์และ

สถานที่อันพระองค์ประทับยืนอยู่แล้ว ก็ใน ๒๑ วันเหล่านี้ แม้วันหนึ่ง รัศมี

ทั้งหลายมิได้ออกจากสรีระของพระศาสดา แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับนั่ง

ในเรือนแก้วในทิศพายัพ ชื่อว่า เรือนแก้ว มิใช่เรือนที่สำเร็จด้วยรัตนะ แต่

บัณฑิตพึงทราบสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ ว่าเป็น

เรือนแก้ว.

บรรดาปกรณ์ทั้ง ๗ นั้น แม้เมื่อทรงพิจารณาธรรมสังคณี รัศมี

ทั้งหลายก็ไม่ซ่านออกไปจากพระสรีระ เมื่อพิจารณาวิภังคปกรณ์ ธาตุกถา

ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุปกรณ์ และยมกปกรณ์ รัศมีทั้งหลายก็มิได้ซ่านออก

ไปจากพระสรีระ แต่เมื่อใด ก้าวลงสู่มหาปกรณ์เริ่มพิจารณาว่า เหตุปจฺจโย

อารมฺมณปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย ดังนี้ เมื่อนั้น สัพพัญญุตญาณ

โดยความเป็นอันเดียวกัน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พิจารณาสมันตปัฏฐาน

๒๔ ประการ ย่อมได้โอกาส (ช่อง) ในมหาปกรณ์นั้นแหละ เปรียบเหมือน

ปลาใหญ่ ชื่อว่า ติมิรปิงคละ ย่อมได้โอกาสโดยความเป็นอันเดียวกันใน

มหาสมุทรอันลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์นั่นแหละ ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมได้โอกาสในมหาปกรณ์ โดยความเป็นอันเดียวกัน

นั่นแหละ.

ว่าด้วยพระฉัพพรรณรังสี

เมื่อพระศาสดา ทรงพิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมตามความสบาย

ด้วยพระสัพพัญญุตญาณซึ่งมีโอกาส (ช่อง) อันได้แล้วอย่างนี้ พระฉัพพรรณ-

รังสี (รัศมี ๖ ประการ) คือ นีละ (เขียวเหมือนดอกอัญชัน ) ปีตะ (เหลือง

เหมือนหรดาล) โลหิตะ (แดงเหมือนตะวันอ่อน) โอทาตะ ( ขาวเหมือน

แผ่นเงิน) มัญเชฏฐะ (สีหงสบาท เหมือนดอกหงอนไก่) ประภัสสร (เลื่อมพราย

เหมือนแก้วผลึก) ก็ซ่านออกจากพระสรีระ พื้นแห่งท้องฟ้า ได้เป็นราวกะว่า

เต็มด้วยดอกอัญชันกระจายอยู่ทั่วไป เหมือนดารดาษด้วยดอกสามหาวหรือกลีบ

อุบลเขียว เหมือนขั้วตาลประดับด้วยแก้วมณีที่แกว่งไปมา และเหมือนแผ่น

วัตถุสีเขียวเข้มที่ขึงออก ด้วยสามารถแห่งรัศมีสีเขียวเหล่าใด พระรัศมีสีเขียว

เหล่านี้ ออกไปแล้วจากพระเกศา แลพระมัสสุทั้งหลาย และจากที่สีเขียว

แห่งพระเนตรทั้งสอง.

ทศาภาคทั้งหลายย่อมรุ่งโรจน์ เหมือนโสรจสรง (ชำระ) ด้วยน้ำทองคำ

เหมือนแผ่แผ่นทองคำออกไป เหมือนย้อมด้วยจุณแห่งนกกดไฟ (น่าจะเป็น

ผงขมิ้น) และเหมือนเรียงรายด้วยดอกกรรณิการ์ ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีเหลือง

เหล่าใด รัศมีสีเหลืองเหล่านั้น ท่านออกแล้วจากพระฉวีวรรณ และจากที่

สีเหลืองแห่งพระเนตรทั้งสอง.

ทิศาภาคทั้งหลายรุ่งโรจน์แล้ว เหมือนย้อมด้วยจุณแห่งชาด เหมือน

รดด้วยน้ำครั่งที่สุกดีแล้ว เหมือนคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง เหมือนเรียงรายด้วย

ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว และดอกชบา ด้วยสามารถแห่งรัศมีสีแดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เหล่าใด พระรัศมีสีแดงเหล่านั้น ซ่านออกแล้วจากพระมังสะ พระโลหิต

และที่สีแดงแห่งพระเนตรทั้งสอง.

ทิศาภาคทั้งหลายรุ่งโรจน์แล้ว เหมือนเกลื่อนกล่นด้วยขีรธาราที่เท

ออกจากหม้อเงิน เหมือนเพดานแผ่นเงินที่เขาขึงไว้ เหมือนขั้วตาลเงินที่แกว่ง

ไปมา เหมือนดาดาษด้วยดอกคล้า ดอกโกมุท ดอกย่างทราย ดอกมะลิวัลย์

ดอกมะลิซ้อนเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งรัศมีสีขาวเหล่าใด รัศมีสีขาวเหล่านั้น

ซ่านออกแล้วจากพระอัฐิทั้งหลาย จากพระทนต์ทั้งหลาย และจากที่

สีขาวแห่งพระเนตรทั้งสอง.

ส่วนพระรัศมีสีหงสบาทและเลื่อมประภัสสร ก็ซ่านออกจากส่วนแห่ง

พระสรีระนั้น ๆ พระฉัพพรรณรังสีเหล่านั้นออกแล้วจับมหาปฐพีใหญ่อัน

หนาทึบ ด้วยประการฉะนี้ มหาปฐพีอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ได้เป็น

เหมือนก้อนทองคำที่เขาขจัดมลทินแล้ว พระรัศมีทั้งหลายเจาะทะลุแผ่นดิน

ลงไปจับน้ำในภายใต้ น้ำซึ่งรองแผ่นดินหนาถึง ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ได้เป็น

เหมือนทองคำที่ไหลคว้างออกจากเบ้าทอง พระรัศมีเหล่านั้นเจาะน้ำลงไปจับ

ลม ลมหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ ได้เป็นเหมือนแท่งทองคำที่ยกขึ้นแล้ว พระ-

รัศมีทั้งหลายเจาะลมแล้วแล่นไปสู่อัชชฎากาศ (อากาศเวิ้งว้าง) ภายใต้.

ว่าด้วยส่วนเบื้องบน พระรัศมีทั้งหลาย แม้พุ่งขึ้นไปแล้วจับอยู่ที่จาตุ-

มหาราชิกา เจาะแทงตลอดจาตุมหาราชิกาไปจับชั้นดาวดึงส์ จากนั้นก็ไปยามา

ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี จากนั้นก็ไปพรหมโลก ๙ ชั้น จากนั้นก็

ไปเวหัปผลา จากนั้นก็ไปปัญจสุทธาวาส จับอรูปทั้ง ๔ เจาะ (แทงตลอด)

อรูปทั้ง ๔ แล้วแล่นไปสู่อัชชฎากาศ (อากาศเวิ้งว้าง).

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

โดยส่วนเบื้องขวางทั้งหลาย พระรัศมีแล่นไปสู่โลกา ทั้งหลายอันหา

ที่สุดมิได้ ในที่ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่มีรัศมีพระจันทร์ในพระจันทร์

ไม่มีรัศมีพระอาทิตย์ในพระอาทิตย์ ไม่มีรัศมีดวงดาวในดวงดาวทั้งหลาย ไม่มี

รัศมีของเทวดาทั้งหลายในที่ทั้งปวง คือ ที่อุทยาน วิมาน ต้นกัลปพฤษ์

ทั้งหลาย ที่สรีระทั้งหลาย ที่อาภรณ์ทั้งหลาย ถึงหาพรหมผู้สามารถแผ่

แสงสว่างไปสู่โลกธาตุติสหัสสี และมหาสหัสสี ก็ได้เป็นเหมือนหิ่งห้อยในเวลา

พระอาทิตย์ขึ้น พระจันทร์ พระอาทิตย์ ดวงดาว อุทยานวิมาน ต้นไม้

กัลปพฤกษ์ของเทพ ก็ปรากฏเพียงเป็นการกำหนดเท่านั้น.

จริงอยู่ สถานที่มีประมาณเท่านี้ ได้เป็นที่ท่วมทับ (ปกคลุม) แล้ว

ด้วยรัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งนั้น พระฤทธิ์แม้นี้มิใช่ฤทธิ์เกิดจากการอธิษฐาน

มิใช่ฤทธิ์เกิดจากภาวนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เมื่อพระโลกนารถ

ทรงพิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุม พระโลหิตก็ผ่องใส วัตถุรูปก็ผ่อง

ใส พระฉวีวรรณก็ผ่องใส วรรณธาตุมีจิตเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว

ในประเทศประมาณ ๘๐ ศอกโดยรอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาธรรม

โดยลักษณะนี้ ตลอด ๗ วัน.

มีคำถามว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาตลอด ๗ คืน

๗ วัน ได้มีประมาณเท่าไร ?

ตอบว่า หาประมาณมิได้.

นี้ชื่อว่า เทศนาด้วยพระหฤทัยก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น

ใคร ๆ ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า ก็พระศาสดาเมื่อทรงเปล่งพระวาจาแสดงธรรมอัน

พระองค์คิดด้วยพระทัยตลอด ๗ วันอย่างนี้ โดยล่วงไปร้อยปีก็ดี พันปีก็ดี

แสนปีก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อให้ถึงที่สุดได้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

จริงอยู่ ในกาลอันเป็นส่วนอื่น พระตถาคตเจ้าประทับนั่งท่ามกลาง

เหล่าเทพหมื่นจักรวาลเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริชาต ใน

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อทรงแสดงธรรมทรงทำพระพุทธมารดาให้เป็นกายสักขี

ก็ทรงย่อแล้ว ๆ ซึ่งลำดับธรรมจากระหว่างธรรมแล้วแสดงโดยส่วนแห่งร้อย

โดยส่วนแห่งพัน โดยส่วนแห่งแสน เทศนาที่พระองค์ให้เป็นไป ติดต่อกัน

สามเดือน เป็นอนันตเทศนาประมาณมิได้ ประดุจคงคาในอากาศที่ไหลลงมา

อย่างเร็ว และประดุจสายน้ำที่ไหลออกจากหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉะนั้น.

จริงอยู่ แม้ในกาลเป็นที่อนุโมทนาภัตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง

อนุโมทนาอยู่ขยายออกหน่อยหนึ่ง ก็จะได้ประมาณเท่ากับทีฆนิกายและมัชฌิม-

นิกาย. อนึ่ง เมื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกันภายหลังแห่งภัต เทศนา

ก็มีประมาณเท่านิกายใหญ่ทั้งสอง คือ สังยุตตนิกาย และอังคุตตรนิกาย.

เพราะเหตุไร ? เพราะภวังคปริวาส (การอยู่อาศัยภวังคจิต) ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเร็ว ริมพระโอษฐ์เรียบสนิทดี พระชิวหาอ่อนคล่องพระโอษฐ์

พระสุรเสียงไพเราะ พระวาจาเปล่งได้เร็ว เพราะฉะนั้น แม้ธรรมอันพระองค์

แสดงแล้วเพียงครู่หนึ่งนั้น จึงได้มีประมาณเท่านี้ ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง

แล้วตลอดไตรมาสจึงประมาณไม่ได้เลย.

จริงอยู่ พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎกยืนอยู่แล้ว

โดยท่าที่ยืนนั่นแหละ ย่อมเรียน ย่อมบอก ย่อมแสดงคาถา ๑๕,๐๐๐ คาถา

บทธรรม ๖๐,๐๐๐ บท เหมือนชนผู้ดึงดอกไม้ทั้งกิ่ง ธรรมมีประมาณเท่านี้

ชื่อว่าเป็นอุเทศมรรค (ทางแห่งอุเทศ) หนึ่งของพระเถระ เพราะว่า บุคคล

อื่นเมื่อให้อุเทศตามลำดับบทแก่พระเถระ ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ คือบอกให้

ไม่ทัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น พึงให้สมบูรณ์ พระสาวกผู้มีสติมากยิ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

มีคติมากยิ่ง มีธิติมากยิ่งอย่างนี้ แม้เรียนเทศนาที่พระศาสดาแสดงแล้วตลอด

ไตรมาส โดยทำนองนี้ สิ้นพันปีก็ไม่อาจให้ถึงที่สุดได้.

ถามว่า ก็อุปาทินนกสรีระ (ร่างกายที่มีใจครอง) เนื่องด้วยยกวฬิง-

การาหาร ของพระตถาคตเจ้าผู้ทรงแสดงธรรมติดต่อกันตลอดไตรมาสเช่นนี้

เป็นไปได้อย่างไร ?

ตอบว่า ด้วยการบำรุงนั่นแหละ.

จริงอยู่ กาลนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงวิเคราะห์ดีแล้ว ทรง

กำหนดดีแล้ว ทรงพิจารณาดีแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

ทรงแสดงธรรม จึงทรงตรวจดูเวลาในมนุษยโลก พระองค์ทรงกำหนดเวลา

ภิกษาจารแล้ว เนรมิตพุทธนิมิตแล้วอธิษฐานว่า การห่มจีวร การถือบาตร

การเปล่งเสียง กิริยาอาการของพุทธนิมิตนี้ จงมีอย่างนี้ จงแสดงธรรม ชื่อ

มีประมาณเท่านี้ ดังนี้ แล้วทรงถือบาตรและจีวรเสด็จไปสระอโนดาต เทวดา

ถวายไม้ชำระพระทนต์ ชื่อ นาคลดา พระองค์ทรงเคี้ยวไม้นาคลดานั้น ปฏิบัติ

สรีระในสระอโนดาตแล้วประทับยืนที่พื้นมีโนศิลา ทรงครองสบงสองชั้นที่ทรง

ย้อมดีแล้ว ทรงห่มจีวร แล้วถือบาตรศิลาที่มหาราชถวายเสด็จไปสู่อุตตรกุรุทวีป

ทรงนำบิณฑบาตมาจากที่นั้น ประทับนั่งที่ฝั่งสระอโนดาต ทรงเสวยแล้วเสด็จ

ไปป่าไม้จันทน์ เพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน.

แม้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระก็ไปในที่นั้น กระทำวัตรต่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระ-

ศาสดาจะทรงประทานนัยแก่พระเถระ จึงตรัสบอกว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรม

ที่ตถาคตแสดงแล้วมีประมาณเท่านี้. เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทาน

นัยอย่างนี้ การประทานนัยแก่พระอัครสาวกผู้ถึงปฏิสัมภิทาแล้ว เป็นเช่น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

บุคคลผู้ยืนอยู่ที่สุดฝั่งแล้วเหยียดมือชี้ให้ดูมหาสมุทร ฉะนั้น ธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ย่อมปรากฏชัดแม้แก่พระเถระโดยร้อยนัย พันนัย

แสนนัย.

ถามว่า พระศาสดาทรงนั่งพักกลางวันแล้ว เสด็จไปแสดงธรรมเวลา

ไหน ?

ตอบว่า ธรรมดาว่า เวลาสำหรับแสดงธรรมแก่ชาวเมืองสาวัตถีที่

ประชุมกันแล้วมีอยู่ ก็เสด็จไปเวลานั้น.

ถามว่า ใครเล่าย่อมทราบ ใครเล่าไม่ทราบว่า พระศาสดาเสด็จไป

แสดงธรรม หรือว่า เสด็จมาแสดงธรรม.

ตอบว่า เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมทราบ เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยย่อมไม่ทราบ.

ถามว่า เพราะเหตุไร เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยจึงไม่ทราบ.

ตอบว่า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพุทธนิมิต ไม่มีความต่าง

กับสิ่งทั้งหลายมีพระรัศมีเป็นต้น ความจริง ความต่างกันของพระพุทธเจ้าแม้

ทั้งสองพระองค์นั้น ในพระรัศมี หรือพระสุรเสียง หรือพระดำรัสมิได้มี.

ฝ่ายพระสารีบุตรเถระก็นำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ๆ มา

แสดงแก่ภิกษุ ๕๐๐ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน บัณฑิตพึงทราบบุรพโยคะ

(การประกอบกรรมในกาลก่อน) ของภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้น ดังนี้.

บุรพโยคะของภิกษุ ๕๐๐

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระทศพล พระนามว่า กัสสป ภิกษุเหล่านั้น

เกิดในกำเนิดค้างคาวลูกหนู ห้อยโหนอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม

๒ รูป สาธยายพระอภิธรรมอยู่ ก็ถือเอานิมิตในเสียง แม้ไม่รู้ว่าเป็นธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ฝ่ายดำ เป็นธรรมฝ่ายขาว ทำกาละแล้วก็เกิดในเทวโลกด้วยเหตุสักว่าถือเอา

นิมิตในเสียงเท่านั้น. พวกเขาอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในกาลนั้น

เขามาเกิดในมนุษยโลก เลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ จึงบวชในสำนักของพระเถระ

พระเถระนำพระธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ๆ มาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น

การสิ้นสุดลงแห่งการแสดงพระอภิธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการ

เรียนปกรณ์ ๗ ของภิกษุเหล่านั้นได้มีพร้อม ๆ กัน นั่นแหละ.

ทางแห่งการบอกพระอภิธรรมมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นเหตุ แม้วาระ

ว่าด้วยการนับจำนวนมหาปกรณ์ ก็พระเถระนั่นแหละตั้งไว้. จริงอยู่ พระเถระ

ไม่ลบล้างลำดับธรรม เพื่อถือเอา เพื่อทรงจำ เพื่อเล่าเรียน และเพื่อบอก

ได้ โดยวิธีนี้ เพราะฉะนั้น จึงจัดตั้งไว้ซึ่งวาระว่าด้วยการนับ ก็ครั้นเมื่อความ

เป็นอย่างนั้น พระเถระก็เป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่ากระมัง หามิได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่า เพราะว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ทรงแทงตลอดแล้วซึ่งพระอภิ-

ธรรมนั้น ก็แลครั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ประทับโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน

ทรงเปล่งอุทานว่า

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา

อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

ฯ เป ฯ สูโรว โอภาสยมนูตลิกฺข.

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อม

ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่

ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของ

พราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัด

ซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อม

ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่

ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของ

พราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่ง

ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อม

ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่

ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและ

เสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้

สว่างอยู่ ฉะนั้น.

นี้ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์ แต่อาจารย์ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ย่อมกล่าวว่า

ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์นี้ คือ

อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส

ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.

เมื่อเราแสวงหานายช่าง (คือตัณหา)

ผู้กระทำซึ่งเรือน ยังไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยว

ไปสู่สงสารมีชาติมิใช่น้อย เพราะการเกิด

บ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายผู้กระทำซึ่ง

เรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือน

ไม่ได้อีก ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหัก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

เสียแล้ว เรือนยอดเราก็รื้อออกแล้ว จิตของ

เราถึงวิสังขาร (คือพระนิพพาน) ถึงความ

สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงไสยาสน์ในระหว่างต้นสาละคู่ ใน

สมัยใกล้ปรินิพพานตรัสไว้ว่า หนฺททานิ ภิกฺขเว ฯ ป ฯ สมฺปาเทถ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอาเถอะ ตถาคตจักเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย

มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประ-

มาทเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปัจฉิมพุทธพจน์.

พระสัทธรรมที่ประกาศอมตะที่พระองค์ตรัสไว้ ๔๕ พรรษาในระหว่าง

พระพุทธพจน์ทั้งสอง เหมือนนายมาลาการร้อยพวงดอกไม้ และเหมือนช่าง

แก้วร้อยพวงแก้ว ชื่อว่า มัชฌิมพุทธพจน์ พระพุทธพจน์นั้นแม้ทั้งหมด

เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน โดยปิฎกเป็น ๓ ปิฎก โดยนิกายเป็น ๕ นิกาย โดย

องค์มีองค์ ๙ โดยธรรมขันธ์ได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

อย่างไร. จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้แม้ทั้งหมด โดยปิฎกมี ๓ประเภทเท่านั้น

คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้นพระพุทธ-

พจน์นี้คือ ปาฏิโมกข์ทั้งสอง วิภังค์ทั้งสอง ขันธกะ ๒๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อว่า

วินัยปิฎก.

พระพุทธพจน์นี้ คือ ทีฆนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๓๔ สูตรมีพรหม

ชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยาย-

สูตรเป็นต้น สังยุตตนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณ-

สูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตต-

ปริยายสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือ ๑. ขุททกปาฐะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

๒. ธรรมบท ๓. อุทาน ๔. อิติวุตตกะ ๕. สุตตนิบาต ๖. วิมานวัตถุ

๗. เปตวัตถุ ๘. เถรคาถา ๙. เถรีคาถา ๑๐. ชาดก ๑๑. นิทเทส

๑๒. ปฏิสัมภิทา ๑๓. อปทาน ๑๔. พุทธวงศ์ ๑๕. จริยาปิฎก ชื่อว่า

สุตตันตปิฏก.

ปกรณ์ ๗ มีธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก.

คำว่า วินัย มีอรรถ ๓ อย่าง

บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้น พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้เนื้อความแห่งพระวินัย

กล่าวว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ มีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา.

จริงอยู่ ในพระวินัยปิฎกนี้ ชื่อว่า มีนัยต่าง ๆ คือ มีนัยที่แยก

ไว้โดยปาฏิโมกขุทเทส ๕ อย่าง อาบัติ ๗ กองมีปาราชิกเป็นต้น มาติกา

และวิภังค์เป็นต้น และที่ชื่อว่า มีนัยพิเศษ คือ นัยแห่งอนุบัญญัติ ซึ่งมีการ

ทำให้มั่นคง และการทำให้หย่อนเป็นประโยชน์ อนึ่ง วินัยนี้ ชื่อว่า ย่อม

ฝึกหัดกายวาจา เพราะป้องกันการประพฤติผิดทางกายและวาจา เพราะฉะนั้น

วินัยนี้ บัณฑิตจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ

เพราะฝึกหัดกายวาจา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถ

แห่งการกล่าวถึงพระวินัยนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า

วิวิธวิเสสนยตฺตา วินยนโต เจว กายวาจาน

วินยตฺถวิทูหิ อย วินโย วินโยติ อกฺขาโต

พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัย

ทั้งหลาย กล่าวว่า พระวินัย เพราะมีนัยต่างๆ

เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

คำว่า พระสูตรมีอรรถ ๖ อย่าง

ส่วนพระสูตร บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งพระสูตร กล่าวว่า พระสูตร

เพราะการแสดงถึงประโยชน์ เพราะเป็นดำรัสอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะ

เผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะเป็นที่ต้านทานอย่างดี เพราะ

มีส่วนเปรียบด้วยเส้นด้ายบรรทัด.

จริงอยู่ พระสูตรนั้นย่อมแสดงประโยชน์ทั้งหลายอันต่างโดยประโยชน์

ของตน และของผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ มีอรรถที่ตรัสไว้อย่างดี

เพราะตรัสคล้อยตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์. ก็พระสูตรนี้ ย่อมหลั่งออกซึ่ง

ประโยชน์ทั้งหลาย เหมือนข้าวกล้าผลิตผล และย่อมหลั่งออกซึ่งประโยชน์

ทั้งหลาย เหมือนแม่โคนมหลั่งน้ำนมออก ชื่อว่า ต้านทาน คือ ย่อมรักษา

ประโยชน์ทั้งหลายเหล่านั้นอย่างดี อนึ่ง ชื่อว่า มีส่วนเปรียบด้วยเส้นด้าย

บรรทัด เปรียบเหมือนเส้นด้ายบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างถากทั้งหลาย

ฉันใด พระสูตรแม้นี้ ก็เป็นประมาณของวิญญูชนทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

อนึ่ง ดอกไม้ทั้งหลายที่เขาร้อยไว้ด้วยด้าย ย่อมไม่เรี่ยรายไม่กระจัดกระจายฉันใด

เนื้อความทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยพระสูตรนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วย

เหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถแห่งการกล่าวถึงพระสูตรนั้น ท่านจึง

ประพันธ์คาถาไว้ว่า

อตฺถาน สูจนโต สุวุตฺตโต สวนโตถ สูทนโต

สุตฺตาณา สุตฺตสภาคโต จ สุตฺต สุตฺตนฺติ อกฺขาต

พระสูตร ท่านเรียกว่า พระสูตร

เพราะแสดงอรรถ เพราะตรัสไว้ดีแล้ว

เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

เพราะต้านทานได้ดี และเพราะมีส่วนเปรียบ

ด้วยเส้นด้ายบรรทัด ฉะนั้น.

อภิธรรมมีอรรถ ๕ อย่าง

ส่วนพระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระอภิธรรม เพราะเหตุที่ใน

อภิธรรมปิฎกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมที่มีความเจริญ ๑ ที่ควรกำหนด ๑

ที่ควรบูชา ๑ ที่กำหนดไว้ ๑ และเป็นที่ยิ่ง ๑.

จริงอยู่ อภิศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่าเจริญ ควรกำหนด ควรบูชา

ที่กำหนดไว้ และที่ยิ่ง. จริงอย่างนั้น อภิศัพท์นี้ ใช้ในคำว่าเจริญ ในประโยค

มีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทุกขเวทนาหนัก ย่อมเจริญ (กำเริบ) แก่กระผม

มิได้ลดลง ดังนี้. ใช้ในความหมายถึงควรกำหนด ในประโยคมีอาทิว่า ราตรี

เหล่านั้นใด ท่านกำหนดรู้แล้ว กำหนดหมายไว้แล้ว ดังนี้. ใช้ในความหมาย

ถึงควรบูชา ในประโยคมีอาทิว่า พระราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นจอมมนุษย์

ดังนี้. ใช้ในความหมายถึงกำหนดไว้ ในประโยคมีอาทิว่า ปฏิพโล วิเนตุ

อภิธมฺเม อภิวินเย แปลว่า เป็นผู้สามารถเพื่อแนะนำในธรรมที่กำหนดไว้

ในวินัยที่กำหนดไว้ ดังนี้. อธิบายว่า ในธรรมและวินัยที่เว้น จากการปะปนกัน.

ใช้ในความหมายว่ายิ่ง (อธิกะ) ในประโยคมีอาทิว่า มีวรรณะอันงามยิ่ง ดังนี้.

อนึ่ง ในพระอภิธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายที่มี

ความเจริญ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ มีจิต

ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ก็มี ตรัสธรรมทั้งหลายที่ควร

กำหนด เพราะความเป็นธรรมที่ควรกำหนดด้วยอารมณ์ทั้งหลายโดยนัยเป็นต้น

ว่า เป็นรูปารมณ์ หรือ สัททารมณ์ ดังนี้ก็มี ตรัสธรรมทั้งหลายที่น่าบูชา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

โดยนัยเป็นต้นว่า เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตรธรรม ดังนี้ก็มี ท่าน

อธิบายว่า ธรรมที่ควรบูชา ตรัสธรรมทั้งหลายที่ทรงกำหนดไว้ เพราะเป็น

ธรรมที่กำหนดโดยสภาวะ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี

ดังนี้ก็มี และตรัสธรรมทั้งหลายอันยิ่ง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม

อัปปมาณธรรม อนุตรธรรม ดังนี้ก็มี ด้วยเหตุนั้น เพื่อความฉลาดใน

อรรถแห่งการกล่าวถึงพระอภิธรรมนี้ ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า

ย เอตฺถ วุฑฺฒิมนฺโต สลกฺขณา ปูชิตา ปริจฺฉินฺนา

วุตฺตาธิกา จ ธมฺมา อภิธมฺโม เตน อกฺขาโต

พระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระ-

อภิธรรม เพราะเหตุที่พระอภิธรรมนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงธรรมที่เจริญ ๑ ธรรม

ที่ควรกำหนด ธรรมที่ควรบูชา ๑ ธรรม

กำหนด (แยก) ไว้ ๑ และธรรมที่ยิ่ง ๑.

ว่าด้วยความหมายที่ไม่ต่างกันของปิฎก

อนึ่ง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งปิฎกศัพท์กล่าวว่า คำว่า

ปิฎก ที่ไม่แตกต่างกันนั้นว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็น ปริยัติ และ

ภาชนะ (เครื่องรองรับ) บัดนี้ พึงประมวลปิฎกศัพท์นั้นเข้าด้วยกันแล้ว

ทราบปิฎกแม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น.

จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก (ตำรา) เหมือนใน

ประโยคมีอาทิว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา แม้

ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า ปิฎก เหมือนในประโยคมีอาทิว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย กุทฺทาลปิฏกมาทาย ครั้งนั้น บุรุษ (ผู้ทำถนน)

ถือเอาจอบและตะกร้า (ปิฎก) มาดังนี้. เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง

ปิฎกศัพท์จึงกล่าวว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็นปริยัติ และภาชนะ

(เครื่องรองรับ ).

บัดนี้ บัณฑิตพึงประมวลปิฎกศัพท์เข้าด้วยกัน แล้วพึงทราบปิฎก

แม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้น คือ พึงทำสมาส (วินัยเป็นต้น ) กับปิฎกศัพท์ซึ่งมี

อรรถ ๒ อย่าง อย่างนี้ แล้วพึงทราบปิฎกแม้ทั้ง ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้ว่า

พระวินัยนั้นด้วย เป็นปิฎกด้วย ชื่อว่า วินัยปิฎก เพราะเป็นปริยัติ และเพราะ

เป็นภาชนะ (เครื่องรองรับ) แห่งอรรถนั้น ๆ พระสูตรนั้นด้วย เป็นปิฎก

ด้วย ชื่อว่า สุตตันปิฎก และพระอภิธรรมนั้นด้วย เป็นปิฎกด้วย ชื่อว่า

อภิธรรมปิฎก โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยความหมายคำว่าปิฎกที่แตกต่างกัน

ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความฉลาดเนื้อความต่าง ๆ ในปิฎก

แม้ทั้ง ๓ นั่นแหละอีกว่า

ในปิฎกเหล่านั้น บัณฑิตพึงแสดง

ประเภทเทศนา ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ

และคัมภีรภาพ ตามสมควร คือว่าภิกษุย่อม

บรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติ อันใด

ในปิฎกใด โดยประการใด พึงอธิบาย

ประเภทปริยัติ สมบัติ และวิบัติแม้นั้นทั้งหมด

โดยประการนั้นเถิด.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ในข้อนั้น มีคำบรรยาย และอธิบาย ดังต่อไปนี้

จริงอยู่ ปิฎกทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา

โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนะ ยถานุโลมศาสนะ

ยถาธัมมศาสนะ สังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และนามรูป-

ปริจเฉทกถา.

ว่าโดยเทศนา

จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระวินัยปิฎก เรียกว่าอาณาเทศนา เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การใช้อำนาจ (อาณา) ทรงแสดงมากไปด้วยอาณา

(อำนาจ) พระสุตตันตปิฎก เรียกว่า โวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร พระ-

อภิธรรมปิฎก เรียกว่า ปรมัตถเทศนา เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

ผู้ฉลาดในปรมัตถธรรม ทรงแสดงมากไปด้วยปรมัตถธรรม.

ว่าโดยศาสนะ

อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกชื่อว่า ยถาปราธศาสนะ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มี

ความผิดมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามที่มีความผิดในพระวินัยปิฎกนี้

ปิฎกที่สอง เรียกชื่อว่า ยถานุโลมศาสนะ เพราะเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัย อนุสัย

จริยา และอธิมุติมิใช่น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งสอนไปตามลำดับ

ในพระสุตตันตปิฎกนี้ ปิฎกที่สาม เรียกชื่อว่า ยถาธัมมศาสนะ เพราะสัตว์

ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวสักว่ากองแห่งธรรมว่า เรา ของเรา พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงสั่งสอน ตามควรแก่ธรรมในพระอภิธรรมปิฎกนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ว่าโดยกถา

อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกว่า สังวราวรกถา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ความสังวรน้อยใหญ่ อันเป็นปฎิปักษ์ต่อความประพฤติผิดไว้ในพระวินัยปิฎกนี้.

คำว่า สังวราสังวร นี้ ได้แก่ สังวรน้อยและใหญ่ เหมือนกัมมากัมมะ (กรรม

น้อยใหญ่) และผลาผล (ผลน้อยใหญ่). ปิฎกที่สอง เรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการเปลื้องทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒

ไว้ในพระสุตตันตปิฎกนี้. ปิฎกที่สาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา เพราะ

ตรัสถึงการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม มีราคะเป็นต้นไว้ใน

พระอภิธรรมปิฎกนี้.

ว่าโดยสิกขาเป็นต้น

อนึ่ง ในปิฎกแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ

๓ และคัมภีรภาพ ๔ อย่าง.

จริงอย่างนั้น ว่าโดยนัยพิเศษ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิศีลสิกขาไว้ใน

พระวินัยปิฎก ตรัสอธิจิตตสิกขาไว้ในพระสุตตันตปิฎก และตรัสอธิปัญญาสิกขา

ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปหาน (การละ) วิติกกม-

กิเลสไว้ในพระวินัยปิฎก เพราะความที่ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อการก้าวล่วงของกิเลส

(วีติกกมกิเลส) ตรัสการปหานปริยุฏฐานกิเลสไว้ในพระสุตตันตปิฎก เพราะ

ความที่สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสที่กลุ้มรุม (ปริยุฏฐานกิเลส) ตรัสการปหาน

อนุสัยกิเลสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพราะความที่ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่ออนุสัย-

กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการละกิเลสทั้งหลายด้วยตทังคปหาน (ละ

ชั่วคราว) ในสองปิฎกนอกนี้ตรัสการละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหานและสมุจเฉท-

ปหาน อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการปหานสังกิเลสคือทุจริต ในสองปิฎก

นอกนี้ ตรัสการปหานสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ว่าโดยคัมภีรภาพ ๔ อย่าง

อนึ่ง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎกพึงทราบคัมภีรภาพ (ความลึกซึ้ง)

๔ อย่าง คือ โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ.

บรรดาคัมภีรภาพเหล่านั้น พระบาลี (ตนฺติ) ชื่อว่า ธรรม. เนื้อความ

แห่งพระบาลีนั้น ชื่อว่า อรรถ. การแสดงบาลีตามที่กำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ

นั้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมและอรรถแห่งบาลี

นั้น ชื่อว่า ปฏิเวธ. จริงอยู่ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ ในปิฎก

ทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาน้อยหยั่งลงได้ยาก

เป็นที่พึงอันบุคคลผู้มีปัญญาน้อยไม่พึงได้ เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันสัตว์

เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งให้ถึงได้โดยยาก ทั้งเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ฉะนั้น

บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้แต่ละปิฎก ด้วย

ประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง เหตุชื่อว่า ธรรม เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในเหตุ ชื่อว่า

ธรรมปฏิสัมภิทา. ผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผล

ของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฎิสัมภิทา. บัญญัติ ท่านหมายเอาการกล่าวธรรมสมควร

แก่ธรรม ชื่อว่า เทศนา หรือว่าการกล่าวธรรมด้วยสามารถแห่งอนุโลม

ปฏิโลม สังเขป และพิสดารเป็นต้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ ชื่อว่า ปฏิเวธ.

ก็ปฏิเวธ นั้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ. อธิบายว่า การหยั่งรู้ในธรรม

ทั้งหลายสมควรแก่อรรถ ในอรรถทั้งหลายสมควรแก่ธรรม ในบัญญัติทั้งหลาย

สมควรแก่คลองแห่งบัญญัติ โดยวิสัย (อารมณ์) โดยอสัมโมหะ (ความไม่

หลงลืม) หรือว่า ความที่ธรรมเหล่านั้น ๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่

นั้น ๆ เป็นธรรมไม่วิปริตเป็นไปกับด้วยลักษณะ อันพึงแทงตลอดได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้

และปิฎกทีเดียว เพราะในปิฎกเหล่านั้น ธรรมหรืออรรถใดๆ หรือเทศนาซึ่ง

ส่องเนื้อความนั้น ๆ โดยประการที่ควรรู้เนื้อความซึ่งตรงต่อญาณของผู้ฟังโดย

ประการนั้น ๆ ก็หรือว่า การแทงตลอด กล่าวคือการหยั่งลงสู่ธรรมอันไม่วิปริต

ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอันใด หรือความที่ธรรมเหล่านั้น ๆ ซึ่งมีสภาพไม่วิปริต

กล่าวคือกำหนดได้อันพึงแทงตลอด ธรรมทั้งหมดนั้น คนมีปัญญาน้อยไม่

สร้างกุศลสมภารไว้หยั่งลงได้โดยยาก ทั้งจะเป็นที่พึงก็ไม่ได้เปรียบเหมือน

มหาสมุทร สัตว์เล็กมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งให้ถึงได้ยาก ทั้งจะเป็นที่พึ่งไม่

ได้ฉะนั้น.

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวถึงเนื้อความคาถา

นี้ว่า

บัณฑิตพึงแสดงประเภทเทศนา

ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ และคัมภีรภาพ

ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ตามสมควร ด้วย

ประการฉะนี้.

แต่ในคาถานี้ว่า

ภิกษุย่อมบรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ

และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดยประการ

ใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้นทั้งหมด โดย

ประการนั้น ดังนี้.

บัณฑิตพึงเห็นความแตกต่างกันแห่งปริยัติ ๓ อย่างในพระไตรปิฎก

ทั้ง ๓ ดังต่อไปนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ว่าด้วยปริยัติ ๓ ประเภท

จริงอยู่ ปริยัติมี ๓ ประเภท คือ

๑. อลคัททูปมปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย)

๒. นิสสรณัตถปริยัติ (ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก)

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง).

บรรดาปริยัติเหล่านั้น ปริยัติที่ถือเอาไม่ดี คือเรียนเพื่อเหตุแห่งการ

โต้แย้งเป็นต้น ชื่อว่า อลคัททูปมปริยัติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการอสรพิษมีพิษร้าย ย่อม

แสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย เมื่อเที่ยวแสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย เขาเห็นอสรพิษมี

พิษร้ายด้วยใหญ่ ก็พึงจับอสรพิษนี้นั้น ที่ขนดหรือที่หาง อสรพิษนั้นพึงแว้งขบ

เอาที่มือ หรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษ

นั้นพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เพราะการขบกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้น

เพราะเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อสรพิษร้ายอันบุรุษ

จับแล้วไม่ดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตะ ฯลฯ เวทัลละ บุรุษ

เหล่านั้นครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น

ด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่ใคร่ครวญอรรถด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น

ย่อมไม่ทนต่อการเพ่ง โมฆบุรุษเหล่านั้น มีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีการ

ยังตน ให้พ้นจากวาทะนั้น ๆ เป็นอานิสงส์ ย่อมเรียนธรรม และย่อมเรียนธรรม

เพื่อประโยชน์แก่ธรรมใด ย่อมไม่เสวยผลแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอัน

โมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนแล้วไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ทุกข์สิ้นกาลนานข้อนั้นเพราะเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่

ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษนั้นเรียนแล้วไม่ดี ดังนี้.

ส่วนปริยัติใด อันบุคคลเรียนดีแล้ว คือหวังอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่ง

คุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเรียนแล้ว มิใช่เรียนเพราะเหตุการโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้

ชื่อว่า นิสสรณัตถปริยัติ (มีความต้องการเพื่อสลัดออก)ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลาย อันกุลบุตรเรียนดีแล้ว.

ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน

เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ย่อม

เรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว ปริยัตินี้ ชื่อว่า

ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบประเภท

แห่งปริยัติ ๓ อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังกล่าวมาแล้ว.

ว่าด้วยสมาบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัยอาศัยสีลสัมปทา

ย่อมบรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแหละไว้ใน

พระวินัยนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุ

อภิญญา ๖ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งสมาธิเหล่านั้นนั่น แหละไว้ในพระสูตรนั้น.

ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา๔

ก็เพราะตรัสประเภทแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้นนั่นแหละไว้ ในพระอภิธรรมนั้น.

ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเหล่านั้น ย่อมบรรลุสมบัติ

อันต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท

อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน

ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ

ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต

แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรธมอันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้ ดังนี้ ต่อจากนั้น

เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.

ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้

ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน

ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ

สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.

ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่

ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ

ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ เหล่านี้

บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ

คับแค้น ดังนี้.

ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ

เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ

ด้วยประการฉะนี้.

๑. วินย. ๒. ๖๖๒/ ๔๓๑

๒. องฺ จตุกกก. ๒๑. ๗๗/๑๐๔

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คาถาแม้นี้ก็เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วว่า

ภิกษุย่อมบรรลุประเภทแห่งปริยัติ

สมบัติ และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดย

ประการใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้น

ทั้งหมด ด้วยประการนั้น.

บัณฑิต ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ ด้วยอาการอย่างนี้

แล้วพึงทราบพุทธพจน์แม้ทั้งหมดที่ประมวลมาด้วยสามารถแห่งปิฎกเหล่านั้นว่า

เป็นปิฎก ๓ ดังนี้.

พุทธพจน์มี ๕ นิกาย

พระพุทธพจน์ว่าโดยนิกาย มี ๕ นิกาย อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์

นั้น แม้ทั้งหมดมี ๕ ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.

ว่าโดยทีฆนิกาย ๓๔ สูตร

บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น ทีฆนิกายเป็นไฉน ? พระสูตร ๓๔ สูตร

มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น รวบรวมไว้ ๓ วรรค เรียกว่า ทีฆนิกาย ดังคาถา

ที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า

พระสูตร ๓๔ สูตรเท่านั้น มี ๓ วรรค

ท่านรวบรวมไว้สำหรับนิกายใด นิกายนั้น

ชื่อว่า ทีฆนิกาย นับตามลำดับ เป็นนิกาย

ที่หนึ่ง.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

ถามว่า เพราะเหตุไร นิกายที่หนึ่งนี้ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ?

ตอบว่า เพราะเป็นที่ประชุม และเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสูตรทั้งหลาย

ขนาดยาว.

จริงอยู่ ที่เป็นที่ประชุม หรือที่เป็นที่อาศัยอยู่ ก็เรียกว่า นิกาย. ก็ใน

ข้อนี้มีคำสาธก (ตัวอย่าง) ทั้งทางพระศาสนาและทางโลก ดังในประโยค

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นนิกายอื่นแม้สักอย่างหนึ่งที่

วิจิตร เหมือนพวกสัตว์เดียรัจฉานนี้ คือ นิกายของสัตว์เล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ ๑

นิกายของสัตว์ที่อยู่ตามโคลนตม ๑. และพึงทราบเนื้อความแห่งถ้อยคำในความ

เป็นนิกายแม้แห่งนิกาย (๔ นิกาย) ที่เหลือ โดยประการที่กล่าวมาแล้ว.

ว่าโดยมัชฌิมนิกาย ๑๕๒ สูตร

มัชฌิมนิกาย เป็นไฉน ? พระสูตร๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตร

เป็นต้น ท่านรวบรวมไว้ ๑๕ วรรค เป็นพระสูตรขนาดปานกลาง ชื่อว่า

มัชฌิมนิกาย ดังคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า

พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีในนิกายใด

นิกายนั้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย ท่านรวบรวม

ไว้ ๑๕ วรรค.

ว่าโดยสังยุตตนิกายเป็นต้น

สังยุตตนิกาย เป็นไฉน ? พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตร

เป็นต้น ที่จัดตั้งไว้ด้วยสามารถแห่งเทวตาสังยุตเป็นต้น เรียกว่า สังยุตตนิกาย

ดังคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า

พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีในนิกายใด

นิกายนั้น ท่านรวบรวมไว้เป็นสังยุตตนิกาย.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

อังคุตตรนิกาย เป็นไฉน ? พระสูตร๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทาน-

สูตรเป็นต้น ซึ่งจัดตั้งไว้ด้วยสามารถแห่งถ้อยคำเกินหนึ่งแห่ง ส่วนหนึ่ง ๆ

ขึ้นไปละข้อ ดังคาถาที่ประพันธ์ไว้ว่า

พระสูตรในอังคุตตรนิกาย จำนวน

๙,๕๕๗ สูตร มีในนิกายใด นิกายนั้น ชื่อว่า

อังคุตตรนิกาย.

ขุททกนิกาย เป็นไฉน ? คือ วินัยปิฎก อภิธรรมปิฎก และปาฐะ

๑๕ ประเภท มีธัมมบทขุททกปาฐะเป็นต้นทั้งหมด ที่แสดงไว้ก่อนแล้ว เว้น

พระพุทธพจน์ที่เหลือคือนิกาย ๔ (มีทีฆนิกายเป็นต้น ) ชื่อว่าขุททกนิกาย. ดัง

คาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า

ยกเว้นนิกาย ๔ มีทีฆนิกายเป็นต้น

เหล่านี้ พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น มีอยู่แก่

นิกายใด นิกายนั้น บัณฑิตเรียกว่า ขุททก-

นิกาย.

นิกาย ๕ อย่าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งนิกายอย่างนี้.

พระพุทธพจน์มีองค์ ๙

พระพุทธพจน์มีองค์ ๙ อย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้แม้ทั้งหมด

มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก

อัพภูตธรรม เวทัลละ.

บรรดาองค์ทั้ง ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร

พระสูตรในสุตตนิบาตมีมงคลสูตร รัตนสูตร นาลกสูตร และตุวฏกสูตรเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

และพระดำรัสของพระภาคเจ้า แม้อื่นที่มีชื่อว่า สุตตันตะ (เหล่านี้)

พึงทราบว่า เป็นสุตตะ. พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็น

เคยยะ ว่าโดยพิเศษ ได้แก่ สคาถวรรคทั้งสิ้น ในสังยุตตนิกาย เป็นเคยยะ.

พระอภิธรรมปิฎกแม้ทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์อื่นที่ไม่

ประกอบด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เป็นไวยากรณ์. ธรรมบท เถรคาถา

เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ อันไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาด พึงทราบว่า เป็น

คาถา. พระสูตร ๘๒ สูตร อันปฏิสังยุตด้วยคาถาที่สำเร็จด้วยโสมนัสสญาณ

พึงทราบว่า เป็นอุทาน. พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า

วุตฺตฺเหต ภควตา (จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้) พึงทราบ

ว่า เป็นอิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ ชาดก มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า

เป็นชาดก. พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมดที่เป็นไป

โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ในพระอานนท์ พึงทราบว่า เป็นอัพภูตธรรม. พระสูตรที่มีผู้

ทูลถามแล้ว ได้แล้วได้อีกซึ่งความรู้และความยินดีแม้ทั้งหมดมีจูลเวทัลลสูตร

มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหา-

ปุณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นเวทัลละ. เมื่อว่าโดยองค์ พระพุทธพจน์

มีองค์ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

พระพุทธพจน์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระพุทธพจน์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นไฉน ? จริงอยู่

พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้แหละมี ๘๔,๐๐๐ ประเภท ด้วยสามารถแห่งพระธรรม

ขันธ์ที่พระอานนท์รวบรวมแสดงไว้อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

ธรรมทั้งหลายที่ดำรงอยู่ของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าเรียนมาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐

จากพระภิกษุ ๒,๐๐๐ รวมเป็น ๘๔,๐๐๐

พระธรรมขันธ์.*

บรรดาพุทธพจน์เหล่านั้น พระสูตรมีอนุสนธิหนึ่ง เรียกว่า ธรรมขันธ์

หนึ่ง.พระสูตรใดมีหลายอนุสนธิ ก็นับจำนวนธรรมขันธ์ตามอนุสนธิในพระสูตร

นั้นในการประพันธ์เป็นคาถา การถามปัญหาเป็นธรรมขันธ์หนึ่ง การวิสัชนาก็

เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะและทุกะแต่ละหมวด

และการจำแนกวารจิตและอย่างก็เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระวินัยมีวัตถุ

มาติกา บทภาชนีย์ อาบัติ อนาบัติ อันตราบัติ การกำหนดติกะ ธรรมที่

เป็นอเตกิจฉะที่เป็นสเตกิจฉะ ในวัตถุเป็นต้นเหล่านี้ แต่ละส่วนพึงทราบว่า

เป็นธรรมแต่ละธรรมขันธ์. ว่าโดยพระธรรมขันธ์ พึงทราบว่าเป็นพระธรรม

ขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรม ด้วยอาการอย่างนี้.

พระพุทธพจน์ในเวลาทำปฐมสังคีติ

พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนั้น โดยประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

อันหมู่สงฆ์ผู้มีวสีมีพระมหากัสสปะเป็นประมุข เมื่อจะสังคายนาในเวลาทำ

ปัญจสติกสังคีติ ได้สังคายนากำหนดประเภทชัดลงไปดังนี้ว่า นี้เป็นปฐม-

พุทธจน์ นี้เป็นมัชฌิมพุทธพจน์ นี้เป็นปัจฉิมพุทธพจน์ นี้เป็นวินัยปิฎก นี้

เป็นสุตตันตปิฎก นี้เป็นอภิธรรมปิฎก นี้เป็นทีฆนิกาย ฯลฯ นี้เป็นขุททกนิกาย

เหล่านี้เป็นนวังคสัตถุศาสน์ซึ่งมีสุตตะเป็นต้น เหล่านี้เป็นพระธรรมขันธ์ มี

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้. อนึ่ง พระเถระเหล่านั้นมิได้กำหนดเพียง

ประเภทที่กล่าวนี้เท่านั้น ยังได้กำหนดประเภทสังคหะแม้อื่น ๆ ซึ่งปรากฏอยู่

* ขุ. เถร. ๒๖.๓๙๗/๔๐๕

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ มิใช่น้อย มีอาทิเช่น อุทานสังคหะ (หมวดอุทาน)

วรรคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิปาตสังคหะ หมวดนิบาตมีเอกนิบาต ทุกนิบาต

เป็นต้น สังยุตตสังคหะ และปัณณาสสังคหะเป็นต้น สังคายนาแล้วอย่างนี้

สิ้น ๗ เดือน.

ก็ในการอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีนี้ได้

สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น หวั่นไหว มีประการมิใช่น้อยหยั่งลงไปถึงน้ำรองแผ่นดิน

เป็นที่สุด เป็นดุจมีความปราโมทย์อันเกิดขึ้นพร้อมแล้วให้อยู่ซึ่งสาธุการว่า

จงดูศาสนาของพระทศพลนี้ อันพระมหากัสสปเถระการทำให้สามารถเพื่อเป็น

ไปตลอดกาลประมาณ ๕ ,๐๐๐ ปี และได้เกิดมหัศจรรย์ทั้งหลายอเนกประการ.

ว่าโดยเฉพาะอภิธรรม

ก็ในปิฎกนี้ เมื่อพระเถระทั้งหลายสังคายนาพระพุทธพจน์แล้วอย่างนี้

พระอภิธรรมนี้ เมื่อว่าโดยปิฎก เป็นอภิธรรมปิฎก เมื่อว่าโดยนิกาย

เป็นขุททกนิกาย เมื่อว่าโดยองค์ เป็นไวยากรณ์ เมื่อว่าโดยธรรมขันธ์

เป็นธรรมขันธ์ หลายพันธรรมขันธ์ (๒๒,๐๐๐ธรรมขันธ์). บรรดาภิกษุ

ทั้งหลายผู้ทรงพระอภิธรรมนั้น ในกาลก่อนมีภิกษุรูปหนึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุม

บริษัท เมื่อจะนำสูตรจากพระอภิธรรมมากล่าว ได้กล่าวธรรมกถาว่า รูปขันธ์

เป็นอัพยากตะ ขันธ์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อายตนะ

๑๐ เป็นอัพยากตะ อายตนะ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากตะ ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี

สมุทัยสัจจะเป็นอกุศล มรรคสัจจะเป็นกุศล นิโรธสัจจะเป็นอัพยากตะ ทุกข-

สัจจะเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากตะ

โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็น

อัพยากตะก็มี ดังนี้.

ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้น ได้ถามพระธรรมกถึกว่า ดูก่อนท่าน

ธรรมกถึก ท่านนำสูตรมายาวเหมือนจะเอามาล้อมเขาสิเนรุ สูตรนี้มีชื่อว่า

อย่างไรเล่า ?

พระธรรมกถึก : ชื่อว่า พระอภิธรรมสูตร ผู้มีอายุ.

ภิกษุนั้น : เพราะเหตุไร จึงนำพระอภิธรรมสูตรมา การนำพระสูตร

อื่นที่เป็นพุทธภาษิตมา ไม่สมควรหรือ

พระธรรมกถึก : พระอภิธรรม ใครภาษิตไว้เล่า ?

ภิกษุนั้น : พระอภิธรรมนี้ ไม่ใช่พุทธภาษิต.

พระธรรมกถึก : ดูก่อนผู้มีอายุ ก็คุณเรียนพระวินัยปิฏกหรือไม่.

ภิกษุนั้น : กระผมไม่ได้เรียนขอรับ.

พระธรรมกถึก : เห็นจะเป็นเพราะคุณไม่ทรงพระวินัย เมื่อไม่รู้จึง

กล่าวอย่างนี้.

ภิกษุนั้น : กระผมเรียนเพียงวินัยเท่านั้นขอรับ.

พระธรรมกถึก : แม้วินัยนั้นก็เรียนเอาไม่ดี คงจักนั่งเรียนหลับอยู่ที่

ท้ายบริษัท หรือว่า เพราะพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บุคคลเช่นท่านบรรพชา อุปสมบท

เป็นคนด่วนได้ เพราะเหตุไร ? เพราะแม้วินัยเธอก็เรียนไม่ดี จริงอยู่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ในพระวินัยนั้นว่า ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะติเตียน

กล่าวตามเหตุว่า นิมนต์ท่านเรียนพระสูตร เรียนคาถาทั้งหลาย หรือเรียน

พระอภิธรรมไปก่อน ภายหลังจักเรียนพระวินัย *ดังนี้ก็ไม่เป็นอาบัติ ก็แม้คำว่า

ภิกษุขอโอกาสถามปัญหาในพระสูตร แต่ไพล่ถามอภิธรรมหรือวินัย ขอโอกาส

* ๑. วินย. ๒. ๖๘๘/๔๕๔

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ถามปัญหาในพระอภิธรรม แต่ไพล่ถามพระสูตรหรือวินัย ขอโอกาสถามปัญหา

ในพระวินัย แต่ไพล่ถามพระสูตรหรืออภิธรรม ดังนี้ มีประมาณเท่านี้ ท่าน

ก็ย่อมไม่รู้ พระธรรมกถึกนั้น จึงเป็นอันข่มปรวาทีได้ ด้วยถ้อยคำแม้ประมาณ

เท่านี้.

ก็มหาโคสิงคสูตร เป็นสูตรสำคัญกว่าสูตรแม้นี้ เพราะเหตุที่เป็น

พุทธภาษิต จริงอยู่ ในมหาโคสิงคสูตรนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกราบทูลปัญหาที่ถามและคำวิสัชนากะกันและกัน

เมื่อจะบอกคำวิสัชนาของพระมหาโมคคัลลานเถระ จึงกราบทูลว่า พระมหา-

โมคคัลลานเถระกล่าวว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสองรูปในพระธรรมวินัยนี้ กล่าว

อภิธรรมกถา เธอทั้งสองนั้นย่อมถามปัญหากันแล้ว ย่อมช่วยกันแก้ ไม่ขัดแย้ง

กัน และธรรมมีกถาของเธอทั้งสองนั้นย่อมเป็นไปได้ดี ท่านสารีบุตร ป่าโค-

สิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล* ดังนี้.

พระศาสดาไม่ตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า พระผู้ทรงพระอภิธรรมเป็นผู้อยู่

ภายนอกศาสนาของเรา ดังนี้ แต่ทรงยกพระศอขึ้น ดุจพระสุวรรณภิงคาร

(พระเต้าทอง) เมื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สมบูรณ์ ด้วยพระโอษฐ์อันมีสิริดัง

พระจันทร์เพ็ญ จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงอันก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม

ประทานสาธุการถึงพระมหาโมคคัลลานเถระว่า ดีละ ๆ สารีบุตร ดังนี้ แล้ว

ตรัสว่า ก็โมคคัลลานะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์ตามนั้น ดูก่อน

สารีบุตร ด้วยว่าโมคคัลลานะเป็นธรรมกถึก ดังนี้.

ภิกษุผู้ทรงอภิธรรมชื่อว่า พระธรรมกถึก

จริงอยู่ ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเท่านั้น ชื่อว่า พระธรรมกถึก

นอกจากนี้แม้กล่าวธรรม ก็ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก เพราะเหตุไร เพราะว่า

* ม.มู. ๑๒. ๓๗๔/๔๐๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ภิกษุผู้ไม่ทรงพระอภิธรรมเหล่านั้นเมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวลำดับกรรม ลำดับ

วิบาก กำหนดรูปอรูป ลำดับธรรมให้สับสน ส่วนภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมย่อม

ไม่ให้ลำดับธรรมสับสน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม จะกล่าวธรรม

หรือมิได้กล่าวก็ตาม แต่ในเวลาที่เธอถูกถามปัญหาแล้วก็จักกล่าวแก้ปัญหานั้น

ได้ พระศาสดาทรงหมายถึงคำนี้ว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมนี้เท่านั้น ชื่อว่า

เป็นพระธรรมกถึกอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงทรงประทานสาธุการแล้ว ตรัสว่า โมคคัล-

ลานะกล่าวดีแล้ว ดังนี้.

ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร

บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้

ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา ย่อม

ขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกร

วัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม

ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคน

กินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.

พระอภิธรรมมีนิทานหรือไม่

แม้หากบุคคลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าหากพระอภิธรรมเป็นพุทธภาษิต

ไซร้ แม้นิทานของพระอภิธรรมนั้นก็ควรจัดเป็นพระอภิธรรมด้วย เหมือน

นิทานที่ท่านจัดไว้หลายพันพระสูตร โดยนัยทีอาทิว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ดังนี้. พึงคัดค้านผู้นั้นว่า นิทานของชาดก

สุตตนิบาต และธรรมบทเป็นต้น เห็นปานนี้ก็ไม่มี ธรรมเหล่านี้ก็ไม่ใช่

พุทธภาษิตกระมัง แล้วพึงบอกแม้ให้ยิ่งกว่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ว่า ดูก่อน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

บัณฑิต ธรรมดาว่า พระอภิธรรมนี้เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย

เท่านั้น ไม่ใช่วิสัยของคนเหล่าอื่น จริงอยู่ การเสด็จหยั่งลงสู่พระครรภ์ของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏแล้ว อภิชาติก็ปรากฏ อภิสัมโพธิก็ปรากฏ

ธรรมจักกัปปวัตตนะก็ปรากฏ ยมกปาฏิหาริย์ก็ปรากฏ การเสด็จไปสู่ที่อยู่ของ

เทวดาก็ปรากฏ ความแสดงธรรมในเทวโลกก็ปรากฏ การเสด็จลงจากเทวโลก

ก็ปรากฏ.

ขึ้นชื่อว่า การขโมยช้างแก้ว หรือม้าแก้วของพระจ้าจักรพรรดิแล้ว

เทียมยานน้อยไป นั่นไม่ใช่ฐานะ มิใช่เหตุ หรือว่า ชื่อว่า การขโมยจักรรัตนะ

แล้วห้อยไว้ที่เกวียนบรรทุกฟางเอาไป ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่เหตุที่เป็นไปได้

หรือว่า ชื่อว่าการขโมยมณีรัตนะที่สามารถส่องแสงไกลประมาณโยชน์ใส่

ไว้ในกระเช้าฝ้ายแล้วใช้สอย ก็ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่เหตุที่เป็นไปได้ เพราะ

เหตุไร ? เพราะเป็นภัณฑะสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ข้อนี้ฉันใด เพราะ

พระอภิธรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของ

พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้น จริงอยู่ การเสด็จหยั่งลงสู่พระครรภ์

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรากฏแล้ว ฯลฯ การเสด็จลงจากเทวโลกก็ปรากฏ

ดูก่อนบัณฑิต ขึ้นชื่อว่ากิจด้วยนิทานของพระอภิธรรมนจึงมิได้มีด้วยประการ

ฉะนี้ เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ปรวาทีก็ไม่อาจเพื่อจะยกอุทาหรณ์อันประกอบ

ด้วยสหธรรมมาโต้ตอบได้.

ว่าด้วยพระอภิธรรมมีนิทาน

ส่วนพระติสสคุตตเถระผู้อยู่ในมัณฑลารามได้นำปเทสวิหารสูตรนี้มา

กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตรัสรู้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ครั้งแรก อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อันใด เราก็อยู่ด้วยปเทสะ คือส่วนแห่ง

ธรรมอันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงว่าพระอภิธรรมนี้ มีมหาโพธิเป็นนิทาน ดังนี้.

จริงอยู่ ชื่อว่า ปเทสะ (ในปเทสสูตร) มี ๑๐ อย่าง คือ ขันธปเทสะ

อายตนปเทสะ ธาตุปเทสะ สัจจปเทสะ อินทรียปเทสะ ปัจจยาการปเทสะ

สติปัฏฐานปเทสะ ฌานปเทสะ นามปเทสะ ธรรมปเทสะ บรรดาปเทสะ

๑๐ เหล่านั้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

พระศาสดาทรงแทงตลอดเบญจขันธ์โดยสิ้นเชิง (นิปปเทสะ) ณ

ควงไม้มหาโพธิ์ แล้วทรงประทับอยู่ด้วยเวทนาขันธ์นั้นแหละตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจ

เวทนาในธัมมายตนะ และด้วยอำนาจเวทนาในธัมมธาตุนั้นแหละตลอดไตรมาสนี้

นี้ ทรงแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยสิ้นเชิง แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจเวทนาใน

ทุกขสัจจะนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดอินทรีย์ ๒๒ โดยสิ้นเชิง

แล้วประทับอยู่ด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ในหมวด ๕ แห่งเวทนาตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดการหมุนเวียนแห่งปัจจยาการ ๑๒ บท โดยสิ้นเชิงแล้วประทับ

อยู่ด้วยเวทนาอันมีผัสสะเป็นปัจจัยตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดสติปัฏฐาน ๔

โดยสิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาสติปัฏฐานตลอดไตรมาสนี้

ทรงแทงตลอดฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่งเวทนาในองค์ฌานนั่นแหละตลอด

ไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดนามโดยสิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่ง

เวทนาในนามนั้นนั่นแหละตลอดไตรมาสนี้ ทรงแทงตลอดธรรมทั้งหลายโดย

สิ้นเชิงแล้วประทับอยู่ด้วยสามารถแห่งเวทนาติกะนั่นแหละตลอดธรรมทั้งหลายโดย

พระเถระกล่าวนิทานแห่งพระอภิธรรม ด้วยสามารถแห่งปเทสวิหารสูตรไว้

อย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

ฝ่ายพระสุธรรมเทวเถระผู้อยู่ในคามวาสี เมื่อจะเปลี่ยนแปลงธรรมที่

ภายใต้โลหปราสาท กล่าวไว้ว่า ปรวาทีบุคคลนี้ เป็นเหมือนประคองแขนทั้ง

สองคร่ำครวญอยู่ในป่า และสร้างคดีที่ไม่มีพยาน จึงไม่ทราบแม้พระอภิธรรม

ว่ามีนิทาน แล้วกล่าวอย่างนี้อีกว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริชาต สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิธรรมกถาแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า กุสลา ธมฺมา

อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา เป็นต้น. ส่วนในพระสูตรอื่น ๆ ก็มี

นิทานอย่างเดียวกันนั่นแหละ.

พระอภิธรรมมีนิทาน ๒ อย่าง

ในพระอภิธรรมมีนิทาน ๒ อย่าง คือ อธิคมนิทาน และเทศนา-

นิทาน. บรรดานิทานทั้ง ๒ นั้น อธิคมนิทาน พึงทราบตั้งแต่พระทศพล

พระนามว่า ทีปังกร จนถึงมหาโพธิบัลลังก์ เทศนานิทาน พึงทราบจนถึง

การประกาศพระธรรมจักร. เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทานของพระอภิธรรม

อันสมบูรณ์ด้วยนิทานทั้ง ๒ อย่างนี้บัณฑิตพึงทราบการตั้งปัญหาดังต่อไปนี้ก่อน.

ถามว่า พระอภิธรรมนี้ ให้เจริญมาด้วยอะไร ? ให้งอกงามไว้ใน

ที่ไหน ? บรรลุแล้วในที่ไหน ? บรรลุแล้วในกาลไร ? ใครบรรลุ ? วิจัย

แล้วในที่ไหน ? วิจัยแล้วในกาลไร ? ใครวิจัยแล้ว ? แสดงในที่ไหน ?

แสดงแล้วเพื่อประโยชน์แก่ใคร ? แสดงแล้วเพื่ออะไร ? พวกใครรับไว้ ?

พวกไหนกำลังศึกษา ? พวกไหนศึกษาแล้ว? พวกไหนย่อมทรงจำไว้ ?

เป็นคำของใคร ? ใครนำมา ดังนี้.

ในปัญหานั้น มีวิสัชนาดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

คำถามว่า พระอภิธรรมนี้ ให้เจริญมาด้วยอะไร มีคำตอบว่า ให้เจริญ

มาด้วยศรัทธามุ่งไปสู่ปัญญาเครื่องตรัสรู้. คำถามที่ว่า ให้งอกงามไว้ในที่ไหน ?

มีคำตอบว่า ให้งอกงามในชาดก ๕๕๐. คำถามที่ว่า บรรลุแล้วในที่ไหน ?

มีคำตอบว่า ที่ควงไม้โพธิ์. คำถามที่ว่า บรรลุในกาลไร มีคำตอบว่า ใน

วันเพ็ญเดือนหก. คำถามว่า ใครบรรลุ มีคำตอบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

คำถามว่า วิจัยที่ไหน ตอบว่า ที่ควงไม้โพธิ์. คำถามว่า วิจัยแล้วในกาลไร

ตอบว่า ในเวลาตลอด ๗ วัน ณ เรือนแก้ว. คำถามว่า ใครวิจัย ตอบว่า

พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. คำถามว่า แสดงที่ไหน ตอบว่า ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

คำถามว่า แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ใคร ตอบว่า แก่เทวดาทั้งหลาย. คำถาม

ว่า แสดงแล้ว เพื่ออะไร ตอบว่า เพื่อออกไปจากโอฆะ ๔. คำถามว่า ใคร

รับไว้ ตอบว่า พวกเทพ. คำถามว่า ใครกำลังศึกษา ตอบว่า พระเสขะ

และกัลยาณปุถุชน. คำถามว่า ใครศึกษาแล้ว ตอบว่า พระอรหันต์ขีณาสพ.

คำถามว่า ใครทรงไว้ ตอบว่า เป็นไปแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นย่อมทรงจำไว้.

คำถามว่า เป็นถ้อยคำของใคร ตอบว่า เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำถามว่า ใครเป็นผู้นำมา ตอบว่า อันอาจารย์

นำสืบต่อกันมา.

จริงอยู่ พระอภิธรรมนี้ อันพระเถระทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ

พระสารีบุตรเถระ พระภัททชิ พระโสภิต พระปิยชาลี พระปิยปาละ พระ

ปิยทัสสี พระโกสิยบุตร พระสิคควะ พระสันเทหะ พระโมคคลิบุตร พระ

ติสสทัตตะ พระธัมมิยะ พระทาสกะ พระโสนกะ พระเรวตะเป็นผู้นำมาจน

ถึงกาลแห่งตติยสังคีติ ต่อจากนั้น ศิษยานุศิษย์ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

นำมาแล้วโดยสืบต่อกันมาตามอาจารย์ ในชมพูทวีปอย่างนี้ด้วยอาการอย่างนี้

ก่อน.

ส่วนพระอภิธรรมที่พระมหานาคเหล่านั้นนำมาสู่เกาะนี้ ตามที่พระ-

โบราณาจารย์ประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า

ในกาลนั้น พระเถระผู้ประเสริฐ มี

ปัญญามาเหล่านี้ คือ พระมหินทเถระ ๑

พระอิฎฏิยเถระ ๑ พระอุตติยเถระ ๑ พระ

สัมพลเถระ ๑ พระเถระผู้เป็นบัณฑิต ชื่อว่า

ภัททะ ๑ มาในเกาะสิงหลนี้ จากชมพูทวีป.

ต่อจากนั้น พระอภิธรรมนั้น อันอาจารย์อื่น ๆ กล่าวคือศิษยานุศิษย์

ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละนำมาจนถึงกาลปัจจุบันนี้ ก็กล่าวถึงอธิคมนิทาน

อันใดนั้น จำเดิมแด่พระทศพลพระนามว่า ทีปังกร จนถึงมหาโพธิบัลลังก์

และกล่าวถึงเทศนานิทานจนถึงทรงประกาศพระธรรมจักร ของพระอภิธรรม

นั้นอันพระมหานาคทั้งหลายนำมาแล้วอย่างนี้ และเพื่อความแจ่มแจ้งแห่ง

อธิคมนิทานนั้น พึงทราบอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

อธิคมนิทาน

ว่าด้วยเรื่องสุเมธดาบส

ได้ยินว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปถอยไปแต่ภัทรกัปนี้

มีพระนคร ชื่อว่า อมรวดี พราหมณ์ ชื่อว่า สุเมธะ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย

คือเป็นผู้ถือกำเนิดบริสุทธิ์ดีแล้วจากมารดาและบิดา เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ดูหมิ่น

ไม่รังเกียจ ด้วยการกล่าวถึงชาติตระกูล จนถึง ๗ ชั่วตระกูล เป็นผู้มีรูปงาม

น่าดู นำมาซึ่งความเลื่อมใส ประกอบด้วยวรรณะและทรวดทรงงดงาม อาศัย

อยู่ในพระนครอมรวดีนั้น. พราหมณ์สุเมธะนั้นมิได้ทำการงานอื่น นอกจาก

เรียนศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น. ในเวลาที่เขายังเป็นเด็กนั่นแหละ. มารดา

บิดาได้ทำกาละเสียแล้ว. ครั้งนั้น อำมาตย์ชื่อว่า ราสิวัฒกะ ได้นำบัญชีทรัพย์สิน

มาเปิดห้องอันเต็มไปด้วยทองคำ เงิน แก้ว มณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้ว

บอกทรัพย์จนถึงชั่ว ๗ ตระกูลว่า ดูก่อนกุมาร ทรัพย์เป็นของมีอยู่แห่ง

มารดาของท่านมีประมาณเท่านี้ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งบิดา ปู่ ย่า ของ

ท่านมีประมาณเท่านี้ เป็นต้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้น ดังนี้.

สุเมธบัณฑิต คิดว่า ปิยชนทั้งหลายของเรามีบิดาและปู่เป็นต้น

รวบรวมทรัพย์นี้ไว้แล้วพากันไปปรโลก มิได้ถือเอาแม้กหาปณะหนึ่งไป ส่วน

เราจะทำเหตุที่ให้ถือเอาไปได้จึงจะสมควร ดังนี้ จึงกราบทูลแด่พระราชา

แล้วให้ตีกลองประกาศในพระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้ว บวชเป็นดาบส.

บัณฑิตพึงกล่าวกถาว่าด้วยสุเมธดาบสไว้ที่นี้.

จริงอยู่ เรื่องสุเมธดาบสนี้ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ (ทีปังกรกถา

ที่หนึ่ง) ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระ-

นคร ชื่อว่าอมรวดี เป็นนครน่าชม น่ารื่นรมย์

ประกอบด้วยข้าวน้ำสมบูรณ์ ไม่ว่างเว้นจาก

เสียง ๑๐ ประการ คือ เสียงช้าง เสียงม้า

เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงพิณ

เสียงตะโพน เสียงกังสดาล เสียงบัณเฑาะว์

เสียงเรียกมาบริโภคข้าวน้ำว่า พวกท่าน

จงกิน จงดื่มเถิด เมืองนั้นถึงพร้อมด้วยคุณ

ลักษณะทั้งปวง เข้าถึงความใคร่ พอใจ

ทุกอย่าง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ

ขวักไขว่ไปด้วยชนต่าง ๆ เป็นเมืองที่สำเร็จ

แล้วดังเทพนครเป็นที่อยู่ของผู้มีบุญทั้งหลาย

เราเป็นพราหมณ์ นามว่า สุเมธ ในนคร

อมรวดี สั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีสมบัติ

มากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้ทรงมนต์

เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท เป็นผู้สำเร็จวิชา

ทายลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสอันสมบูรณ์

ในครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับได้คิดอย่างนี้ว่า

ขึ้นชื่อว่าการเกิดในภพใหม่เป็นทุกข์

การแตกทำลายของร่างกายก็เป็นทุกข์ การ

ตายด้วยความหลงก็เป็นทุกข์ การถูกชรา

ย่ำยีก็เป็นทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

ก็ในกาลนั้น เรามีความเกิดเป็น

ธรรมดา มีความชราเป็นธรรมดา มีความ

เจ็บไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระนิพพาน

อันไม่แก่ไม่ตาย อันเป็นแดนเกษม ไฉนหนอ

เราพึงเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในชีวิต ไม่ต้อง

การ พึงละกายเปื่อยเน่านี้ อันเต็มไปด้วย

ซากศพต่าง ๆ ไป ทางนั้นอันใคร ๆ ไม่พึง

อาจดำเนินไปได้เพราะไม่มีเหตุหรือ ทางนั้น

เพื่อความหลุดพ้นจากภพ.

เมื่อมีความเจริญ ความเสื่อมก็จำ

ต้องปรารถนา เปรียบเหมือนเมื่อมีความ

ทุกข์ แม้ชื่อว่าความสุขก็ย่อมมี ฉะนั้น.

เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพาน (ความ

ดับไฟ) ก็จำต้องปรารถนา เปรียบเหมือน

เมื่อมีความร้อน ชื่อว่าความเย็นก็ย่อมมี

ฉะนั้น.

ความเกิดมีอยู่ ก็จำต้องปรารถนา

ความไม่เกิด เปรียบเหมือนเมื่อมีความชั่ว

แม้ความดีก็ย่อมมี ฉะนั้น.

เมื่อสระน้ำอมฤตอันเป็นสถานที่

ชำระกิเลสมีอยู่ แต่บุคคลนั้นไม่แสวงหา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

สระนั้น นั่นมิใช่เป็นความผิดของสระอมฤต

นั้น เปรียบเหมือนบุรุษตกหลุมคูถ เห็นสระ

มีน้ำเต็มแล้วไม่ไปหาสระ จะไปโทษสระ

นั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

บุคคลผู้ถูกกิเลสกลุ้มรุมแล้ว เมื่อ

หนทางอันปลอดภัยมีอยู่ แต่ไม่แสวงหา

ทางนั้น นั่นมิใช่ความผิดของทางนั้น

เปรียบเหมือนบุรุษถูกข้าศึกล้อมไว้ เมื่อทาง

สำหรับจะหนีไปมีอยู่ แต่ไม่หนีไปจะโทษ

ทางนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

บุคคลมีทุกข์ ถูกพยาธิคือกิเลส

เบียดเบียนรอบด้าน ไม่แสวงหาอาจารย์

นั่นมิใช่ความผิดของอาจารย์ เปรียบเหมือน

บุรุษผู้ป่วยไข้ เมื่อหมอมีอยู่ แต่ไม่ให้รักษา

เยียวยา จะโทษหมอนั้นไม่ได้ ฉะนั้น.

เราพึงเป็นผู้ไม่อาลัย ไม่ต้องการ

พึงละทิ้งกายอันเปื่อยเน่า อันสะสมซึ่งซาก-

ศพต่าง ๆ นี้ไปเถิด เปรียบเหมือนบุรุษแก้

ห่อซากศพผูกไว้ที่คออันน่ารังเกียจไป ก็จะ

พึงมีความสุข มีเสรี มีอำนาจ ตามลำพัง

ตนเอง ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

เราจักทิ้งกายนี้ อันเต็มด้วยซากศพ

ต่าง ๆ ไป ดุจถ่ายอุจจาระไว้ในส้วม เปรียบ

เหมือนบุรุษและสตรีถ่ายมูตรคูถไว้ในที่ถ่าย

แล้วไป ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉะนั้น.

เราจักละกายนี้ซึ่งมี ๙ ช่อง มีปฏิกูล

ไหลออกเป็นนิตย์ไป ดุจเจ้าของเรือทิ้งเรือ

เก่าคร่ำคร่า เปรียบเหมือนเจ้าของเรือทิ้งเรือ

ที่ทรุดโทรม หักพัง ที่รั่วไป ไม่อาลัย ไม่

ต้องการ ฉะนั้น.

เราจักละกายนี้ อันเป็นดังมหาโจร

ไป เพราะกลัวแต่การทำลายตระกูล เปรียบ

เหมือนบุรุษเดินมากับพวกโจรแล้วทิ้งพวก

โจรไป เพราะเห็นภัยคือการทำลายสิ่งของ

ฉะนั้นเถิด.

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงให้ทรัพย์

หลายร้อยโกฏิแก่ชนทั้งหลาย ทั้งที่มีที่พึ่ง

และไม่มีที่พึ่งแล้วเข้าไปสู่หิมวันต์ ในที่ไม่

ไกลหิมวันต์มีภูเขา ชื่อว่า ธารมิกบรรพต

เราสร้างอาศรมไว้ดีแล้ว บรรณศาลาก็มุงบัง

ไว้ดีแล้ว เราสร้างที่จงกรมปราศจากโทษ

๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ

อันเป็นที่นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา เราละ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๑๒ ประการ

ในที่นั้นนุ่ง ห่ม ผ้าคากรองอันประกอบด้วย

คุณ ๑๒ ประการ เราละบรรณศาลาอัน

เกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าอาศัย

โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ

เราละข้าวเปลือกที่เขาหว่านปลูกไว้ ถือเอา

ผลไม้ที่หล่นตามแต่จะได้ ซึ่งประกอบด้วย

คุณเป็นอเนกประการ เราได้ตั้งความเพียร

ในการนั่ง การยืน และการจงกรมภายใน

สัปดาห์ ก็บรรลุถึงกำลังแห่งการอภิญญา ดังนี้.

บรรดาคาถาเหล่านั้น พระบาลีว่า อสฺสโม สุกโต มยฺห ปณฺณสาลา

สุมาปิตา (แปลว่า เราสร้างอาศรมไว้ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็มุงบังไว้ดีแล้ว) นี้

ความว่า สุเมธบัณฑิตผู้ออกไป ด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้ ท่านกล่าวไว้

เหมือนอาศรม บรรณศาลา และที่จงกรมนั้น ท่านสร้างด้วยมือของตนเอง.

แต่ในพระบาลีนั้น พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า

ก็พระมหาสัตว์หยั่งลงสู่หิมวันต์แล้ว คิดว่า วันนี้เราจักเข้าไปสู่บรรพต

ชื่อว่า ธรรมิก ดังนี้. ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทรงทอดพระเนตรเห็น

สุเมธบัณฑิตผู้ออกไปด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้ จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตร

มาตรัสสั่งว่า สุเมธบัณฑิตนี้ออกไปแล้วด้วยคิดว่า เราจักบวช ดังนี้ ดูก่อนพ่อ

พ่อจงไปสร้างที่สำหรับอยู่แก่พระมหาสัตว์เถิด วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น รับคำ

ของท้าวเธอแล้วก็ไปนิรมิตอาศรมบทอันน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาอันคุ้มครอง

ดีแล้ว และที่จงกรมอันเป็นที่พอใจ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอันสำเร็จด้วย

บุญญานุภาพของตน ในกาลนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนสารีบุตร อาศรมเราสร้างไว้

ดีแล้ว บรรณศาลาเราก็สร้างไว้ดีแล้ว ใกล้

ธรรมิกบรรพตนั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้น

จากโทษ ๑๕ อย่าง ไว้ที่อาศรมบทนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สุกโต มยฺห แปลว่า เราสร้างไว้ดีแล้ว.

คำว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ก็ได้ชื่อว่า

เป็นศาลาอันเราสร้างดีแล้ว

ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง

คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิต (เว้นจากโทษ ๕ อย่าง) ความว่า ขึ้น

ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ

๑. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)

๒. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)

๓. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)

๔. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)

๕. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).

จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อม

เจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่

อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์

ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ

ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผาก

หรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษ

ที่สอง. เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อม

เหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้นขบกัดเอา

เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม. เมื่อ

เดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี

นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรม

แคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่. เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป

จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป

พึงทราบว่าเป็นโทษที่ ห้า.

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ

ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกม) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ

ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก มีพื้นอ่อนเกลี่ยทราย

ไว้เรียบเหมาะสม เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของ

พระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น

สุเมธบัณฑิต จึงกล่าวว่า เราสร้างที่งกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้น

ดังนี้.

ความสุขของสมณะ ๘ อย่าง

คำว่า อฏฺคุณสมูเปต (ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ) ได้แก่

ประกอบด้วยความสุขของสมณะ ๘ อย่าง ธรรมดาว่า ความสุขของสมณะมี ๘ คือ

๑. ความไม่หวงแหนวัตถุทั้งหลายมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น

๒. ความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตปราศจากโทษ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

๓. ความเป็นผู้ฉันบิณฑบาตอันสงบ

๔. เมื่อราชกุลบีบคั้นชาวแว่นแคว้นยึดทรัพย์ที่มีสาระ หรือทาส

ชายหญิงและกหาปณะเป็นต้นอยู่ ความเป็นผู้ไม่ต้องเศร้าหมองเพราะการ

บีบคั้นชาวแว่นแคว้น

๕. ความไม่มีฉันทราคะในเครื่องใช้ทั้งหลาย

๖. ความปราศจากภัยในการถูกโจรปล้น

๗. ความไม่คลุกคลีด้วยพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา

๘. ความไม่กระทบกระทั่งในทิศทั้ง ๔.

คำนี้มีอธิบายว่า ชนผู้อยู่ในอาศรมนั้น อาจเพื่อประสบความสุขของ

สมณะ ๘ อย่างเหล่านั้น ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ

ฉันนั้น.

คำว่า อภิญฺาพลมาหรึ (นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา) ความว่า

เราอยู่ในอาศรมบทนั้นกระทำกสิณบริกรรม เริ่มวิปัสสนาโดยความไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาทั้งหลายและสมาบัติทั้งหลายเกิดขึ้น แล้วนำ

วิปัสสนาพละอันมีกำลังมา อธิบายว่า ข้าพเจ้าอยู่ในที่นั้น ย่อมอาจเพื่อนำ

กำลังนั้นมาได้ ฉันใด ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอันสมควรแก่วิปัสสนาพละนั้น เพื่อ

ต้องการอภิญญานั้น ฉันนั้น.

ว่าด้วยวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตอาศรมบทเป็นต้น

ในบาทแห่งคาถาว่า สาฏก ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคต (เรา

ละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างในที่นั้น) แห่งคาถาว่า สาฏก ปชหึ

ตตฺถ ฯ เป ฯ ทฺวาทสคุณมุปาคต ดังนี้ พึงทราบอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ได้ยินว่า เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตสิ่งทั้งปวงที่เป็นเครื่องใช้สอย

ของพวกบรรพชิตอย่างนี้ คือ นิรมิตอาศรมอันประดับด้วยกุฎีที่เร้นที่จงกรม

เป็นต้น อันดารดาษไปด้วยต้นไม้มีดอกและผล อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ มีสระ-

น้ำใสสะอาดปราศจากพาลมฤคและเสียงสกุณชาติที่น่ากลัว สมควรแก่ความ

สงบสงัด จัดแจงแผ่นกระดานสำหรับยึดในที่สุดทั้งสองของจงกรมอันประดับ

แล้ว นิรมิตแผ่นศิลามีพื้นเสมอกัน มีสีดังถั่วเขียวไว้ในท่ามกลางแห่งที่จงกรม

เพื่อประโยชน์แก่การนั่ง นิรมิตบริขารของดาบสมีชฎา มณฑล ผ้าคากรอง

ไม้สามขา และเต้าน้ำเป็นต้นไว้ภายในบรรณศาลา นิรมิตหม้อน้ำสำหรับดื่ม

สังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำไว้ในมณฑป นิรมิตกระเบื้องถ่านเพลิง และฟืน

เป็นต้นไว้ในโรงไฟ แล้วจารึกอักษรไว้ที่ฝาบรรณศาลาว่า ใคร ๆ ผู้ต้องการ

บวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด ดังนี้ แล้วไปสู่เทวโลกตามเดิม.

สุเมธบัณฑิต เลือกหาที่อันเป็นผาสุกอันสมควรแก่ที่อยู่ของตนตาม

แนวแห่งซอกเขาที่ชายป่าหิมวันต์ เห็นอาศรมบทอันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิต

ไว้ซึ่งท้าวสักกะประทานให้ อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ที่คุ้งแม่น้ำ แล้วจึงไปในที่สุด

แห่งที่จงกรมไม่เห็นรอยเท้า จึงคิดว่า บรรพชิตผู้อยู่ประจำไปแสวงหาภิกษา

ในหมู่บ้านใกล้ ๆ จักเป็นผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้วกลับมาเข้าไปสู่บรรณศาลา

ดังนี้ เราคอยสักหน่อยหนึ่ง เห็นว่าชักช้ามาก จึงเปิดประตูบรรณศาลา ด้วย

คิดว่า เราจักรู้ แล้วเข้าไปภายในแลดูข้างนี้ข้างโน้นแล้ว อ่านอักษรทั้งหลายที่

ฝาใหญ่แล้วคิดว่า บริขารเหล่านี้สมควรแก่เรา เราจักถือเอาบริขารเหล่านั้นบวช

ดังนี้ จึงละคู่ผ้าสาฎกที่ตนนุ่งและห่มเสีย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สาฏก ปชหึ ตตฺถ เป็นต้น (เราละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ

๙ อย่างในที่นั้น ) อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

แล้วละผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ อย่างที่บรรณศาลานั้น ท่านแสดงไว้ว่า

สุเมธบัณฑิตนั้น เมื่อละผ้าสาฎกได้เห็นโทษ ๙ อย่างจึงละ.

ว่าด้วยผ้าสาฎกมีโทษ ๙ อย่าง

จริงอยู่ โทษ ๙ อย่าง ย่อมปรากฏแก่บรรพชิตผู้บวชเป็นดาบส คือ

๑. ผ้านั้นมีค่ามาก ๒. ผ้าที่มีผู้อื่นหวงแหน ๓. ผ้าที่ใช้แล้วเปื้อนง่ายเพราะ

เปื้อนแล้วต้องซักต้องย้อม ๔. ผ้าคร่ำคร่าแล้วด้วยการใช้ เพราะว่าเมื่อขาด

แล้วต้องชุนต้องปะ ๕. ผ้าใหม่ที่หาได้ยากเพราะต้องแสวงหา ๖. ผ้าที่ไม่

สมควรแก่การบวชเป็นฤาษี ๗. ผ้าที่มีทั่วไปแก่เหล่าข้าศึก เพราะต้องคุ้มครอง

รักษา ๘. ผ้าที่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย ๙. ผ้าที่มีผู้ต้องการมากเป็น

ของใช้ประจำตัวสำหรับเที่ยวไป.

ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง

คำว่า วากจิร นิวาเสสึ (นุ่งห่มผ้าคากรอง) ความว่า ดูก่อนสารีบุตร

ในกาลนั้น เราเห็นโทษ ๙ อย่างเหล่านั้น จึงละผ้าสาฎกแล้วนุ่งผ้าคากรอง คือ

ถือเอาผ้าคากรองที่บุคคลฉีกหญ้ามุงกระต่ายเป็นริ้ว ๆ แล้วทอ เพื่อสำหรับ

นุ่งห่ม. คำว่า ทฺวาทสคุณมุปาคต (ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ) ความว่า

ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ. จริงอยู่ ผ้าคากรองมีอานิสงส์ ๑๒ อย่าง

คือ

เป็นผ้ามีค่าน้อยดี เป็นของควร นี้

เป็นอานิสงส์ข้อแรกก่อน สามารถเพื่อทำ

ได้ด้วยมือของตน นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ใช้แล้วค่อย ๆ เปื้อน แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

เป็นอานิสงส์ที่ ๓ แม้เก่าเพราะการใช้สอย

ก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๕ เมื่อแสวง

หาอีกก็ทำได้ง่าย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

สมควรแก่การบวชเป็นดาบส นี้เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๖ พวกข้าศึกไม่ใช้ นี้เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๗ ไม่ใช่เป็นเครื่องประดับของผู้ใช้

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๘ เป็นของเบาในเวลา

ครอง นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙ เป็นของผู้มี

ความปรารถนาน้อยในจีวรเป็นปัจจัย นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๑๐ ความไม่มีโทษของผู้ทรง

ธรรม เพราะเกิดแต่เปลือกไม้ นี้เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๑๑ แม้เมื่อผ้าคากรองพินาศไปก็ไม่อา-

ลัย นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒.

บทคาถาว่า อฏฺโทสสมากิณฺณ ปชห ปณฺณสาลก แห่งคาถาว่า

อฏฺโทสสมากิณฺณ ปชหึ ปณฺณสาลก

อุปาคมึ รุกฺขมูล คุเณหิ ทสหุปาคต ดังนี้

ถามว่า สุเมธบัณฑิต ละผ้านั้นได้อย่างไร ?

ตอบว่า นัยว่า สุเมธบัณฑิตนั้นเมื่อจะเปลื้องผ้าสาฎกทั้งคู่นั้น ถือเอา

ผ้าคากรองที่ย้อมแล้ว เช่นกับพวงดอกอังกาบ ซึ่งพาดอยู่ที่ราวจีวร นุ่งแล้ว

ก็ห่มผ้าคากรองมีสีเหมือนสีทองคำอีกผืนหนึ่งทับผ้านุ่งนั้น แล้วทำหนังเสือ

เหลืองมีกีบเท้าเช่นกับสัณฐานดอกบุนนาค ให้เป็นผ้าอยู่บนบ่าข้างหนึ่ง แล้ว

สวมใส่มณฑลชฎา สอดหมุดแข็งกับมวยผม เพื่อต้องการทำให้ไม่หวั่นไหว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

แล้วตั้งเต้าน้ำมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรกเช่นกับข่ายแก้วมุกดา แล้วถือ

เอาไม้คานอันคดในที่สามแห่ง แล้วคล้องเต้าน้ำไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง

คล้องไม้ขอกระเช้าและไม้สามขาเป็นต้นไว้ที่ปลายไม้คานข้างหนึ่ง แล้วหาบ

เครื่องบริขารขึ้นบ่า ถือไม้เท้าคนแก่ด้วยมือข้างขวา ออกจากบรรณศาลา

จงกรมไปมาในที่จงกรมใหญ่ยาวประมาณ ๖๐ ศอก แลดูเพศของตนแล้วเกิด

ความอุตสาหะขึ้นว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว บรรพชาของเรางามหนอ

ก็ชื่อว่าบรรพชานี้ วีรบุรุษทั้งปวงมีพระพุทธเจ้าและปัจเจกพุทธะสรรเสริญแล้ว

ชมเชยแล้ว เครื่องผูกของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราออกบวชแล้ว เราได้

บรรพชาอันสูงสุดแล้ว เราจักทำสมณธรรม เราจักได้ความสุขในมรรคและผล

ดังนี้ ยกหาบบริขารลงแล้ว นั่งลงที่แผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียว ณ ท่ามกลางที่

จงกรม เหมือนรูปปฏิมาทองคำ ยังส่วนแห่งวันให้ล่วงไปแล้วเข้าไปสู่บรรณ-

ศาลาในเวลาเย็น นอนแล้วที่เครื่องลาดทำด้วยไม้ข้างเตียงฟาก ให้สรีระรับ

อากาศแล้วตื่นในเวลาใกล้รุ่ง รำพึงถึงการมาของตนว่า เรานั้นเห็นโทษใน

ฆราวาส จึงละยศอันยิ่งใหญ่มีโภคะนับไม่ได้ เข้าไปสู่ป่า เป็นผู้แสวงหา

เนกขัมมะบวชแล้ว จำเดิมแต่นี้ไป เราไม่ควรประมาท เพราะว่า แมลงคือ

มิจฉาวิตกย่อมกัดกินผู้ละความสงบสงัด (ปวิเวก) เที่ยวไปอยู่ด้วยอาการ

อย่างนี้ บัดนี้ เราควรพอกพูนความสงบสงัด ด้วยว่า เราเห็นปลิโพธ

(ความกังวล) ของฆราวาสจึงออกมา ก็บรรณศาลานี้ เป็นที่ยังใจให้เอิบอาบ

มีภาคพื้นสิ่งแวดล้อมอันตกแต่งแล้ว มีสีเหมือนผลมะตูมสุก ทั้งฝาเล่า ก็ขาว

สะอาดดังแผ่นเงิน หลังคา บรรณศาลามีสีดังเท้านกพิราบ เตียงฟากน้อยก็มี

สีดังเครื่องลาดอันวิจิตร เราถึงฐานะอันเป็นเครื่องอยู่มีนิวาสอันผาสุก การถึง

พร้อมด้วยเคหะของเราย่อมไม่ปรากฏ เหมือนความเป็นภูมิประเทศอันยิ่งกว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

บรรณศาลานี้ ดังนี้ แล้วตรวจดูซึ่งโทษทั้งหลาย ได้เห็นโทษในบรรณศาลา

๘ อย่าง คือ

ต้องแสวงหาทัพสัมภาระ (เครื่องทำเรือน) ทั้งหลายด้วยเครื่อง

ประกอบมากมารวมกันแล้วกระทำ นี้เป็นโทษที่หนึ่ง. ต้องดูแลทัพสัมภาระ

มีหญ้าใบไม้และดินเหนียวที่ตกไปเหล่านั้นเป็นนิตย์ เพื่อให้ทัพสัมภาระเหล่า

นั้นดำรงอยู่ได้นาน เป็นโทษที่สอง. ขึ้นชื่อว่า เสนาสนะย่อมถึงความเก่าแก่

เมื่อต้องลุกขึ้นซ่อมแซมในกาลอันไม่เหมาะสม ความเป็นเอกัคคตาแห่งจิต

ก็ย่อมไม่มี ฉะนั้น ความที่ต้องลุกขึ้นซ่อมแซม จึงเป็นโทษที่สาม. ความที่

กายบอบบางต้องทำงานโดยกระทบกับความเย็นและร้อน เป็นโทษที่สี่. บุคคล

ผู้เข้าไปสู่เรือนแล้วสามารถจะทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ฉะนั้น ความที่

เรือนเป็นเครื่องปกปิด จึงเป็นโทษที่ห้า. ความยึดถือว่า เรือนของเราดังนี้

เป็นโทษที่หก. ขึ้นชื่อว่าความมีเรือนอยู่นั้น ก็ย่อมมีผู้อยู่เป็นเพื่อน ดังนั้น

ข้อนี้จึงเป็นโทษที่เจ็ด. ความที่ต้องเป็นของสาธารณะมากมาย เพราะเป็นของ

ทั่วไปแก่เล็น เลือด จิ้งจกตุ๊กแกเป็นต้น เป็นโทษที่แปด.

พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ อย่างเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงละ

บรรณศาลา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราละบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่น

ด้วยโทษ ๘ อย่าง เข้าสู่โคนไม้อันประกอบ

ด้วยคุณ ๑๐ อย่าง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราครั้นปฏิเสธเครื่องมุง (บรรณศาลา)

แล้วเข้าไปสู่โคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ อย่าง ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

โคนต้นไม้มีคุณ ๑๐ อย่าง

ที่โคนต้นไม้นั้น มีคุณ ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มิต้องริเริ่ม

(ไม่ต้องสร้างเหมือนเรือน) เป็นคุณข้อที่หนึ่ง. ที่โคนต้นไม้นั้น เป็นสักว่า

เข้าไปอยู่เท่านั้น ไม่ต้องปฏิบัติดูแล นี้เป็นคุณข้อที่สอง. ที่นั้นเป็นที่ให้

ประโยชน์บ้าง ไม่ให้ประโยชน์บ้าง ก็นับว่าเป็นที่ผาสุกสำหรับบริโภคนั่นแหละ

ความที่ไม่บำรุงรักษาเป็นคุณข้อที่สาม. โคนไม้นั้นย่อมไม่ปกปิดความติเตียน

เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความชั่วที่โคนไม้นั้น ย่อมละอาย ฉะนั้น ความที่ไม่

ปกปิดความติเตียน จึงเป็นคุณข้อที่สี่. ย่อมไม่ให้กายซบเซา ดุจอยู่กลางแจ้ง

ฉะนั้น การที่กายไม่ซบเซา จึงเป็นคุณข้อที่ห้า. ความไม่เป็นเหตุแห่งการ

ผูกพันเป็นคุณข้อที่หก. การห้ามความอาลัยในเรือน เป็นคุณข้อที่เจ็ด. ไม่มี

การให้ออกไป ด้วยคำว่า เราจักดูแลรักษาที่นั้น ท่านจงออกไป เหมือน

ในบ้านทั่วไปเป็นอันมาก เป็นคุณข้อที่แปด. ความได้ปีติของผู้อยู่ เป็นคุณ

ข้อที่เก้า. ความเป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่ที่ตนไปแล้ว ๆ เพราะความที่เสนาสนะคือ

โคนต้นไม้เป็นของหาได้ง่าย เป็นคุณข้อที่สิบ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า เราครั้นเห็นคุณ ๑๐ เหล่านั้นแล้ว จึงเข้าไปสู่โคนไม้ ดังนี้.

พระมหาสัตว์กำหนดเหตุทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้แล้ว ในวัน

รุ่งขึ้น จึงเข้าไปสู่บ้านเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่พระมหาสัตว์

ไปถึงนั้น ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. พระมหาสัตว์ ทำภัตกิจ

เสร็จแล้วกลับมาสู่อาศรมนั่งแล้ว คิดว่า มิได้บวชด้วยความคิดว่า เราจักไม่ได้

อาหาร ขึ้นชื่อว่า อาหารที่ดีนั่น ย่อมยังความเมาในการถือตนและเมาใน

ความเป็นบุรุษให้เจริญ ก็ความสิ้นทุกข์ที่มีอาหารเป็นมูล หามีไม่ ไฉนหนอ

เราพึงละอาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูก โดยเด็ดขาด แล้วถือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

เอาผลตามแต่จะหาได้ อันถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เพราะฉะนั้น เราจึงละ

อาหารอันเกิดแต่ธัญชาติที่เขาหว่านและปลูกแล้ว บริโภคผลไม้ ตามที่หาได้

ดังนี้ จำเดิมแต่กาลนั้น พระมหาสัตว์ก็ทำอย่างนั้น แล้วสืบต่ออยู่ พยายาม

อยู่ภายใน ๗ วันก็ยังสมาบัติแปด และอภิญญาห้าให้เกิดขึ้นแล้ว.

ว่าด้วยการทำทางและได้รับพยากรณ์

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราละธัญชาติที่หว่านแล้วปลูกแล้ว

โดยไม่เหลือถือเอาผลไม้ที่ตกตามแต่หาได้

ซึ่งถึงพร้อมด้วยคุณมิใช่น้อย เราตั้งความ

เพียรในการนั่ง การยืน การจงกรมในที่

นั้น ในภายในสัปดาห์ เราก็บรรลุกำลัง

แห่งอภิญญา เมื่อเราถึงความสำเร็จเป็นผู้

ชำนาญแล้วในพระศาสนาอย่างนี้ พระชิน-

เจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลก

ก็ทรงอุบัติขึ้น เรามัวยินดีในฌาน จึงมิได้

เห็นนิมิต ๔ คือ เมื่อพระองค์ทรงอุบัติ

ทรงประสูติ ตรัสรู้ และแสดงธรรม

พวกมนุษย์ผู้มีจิตยินดี นิมนต์พระตถาคต

ให้เสด็จไปในเขตแดนประเทศชายแดน

แล้วพากันแผ้วถางทางเป็นที่เสด็จมาของ

พระตถาคต สมัยนั้น เราครองผ้าคากรอง

ของตนออกจากอาศรม เหาะไปในท้องฟ้า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ในกาลนั้น เราเห็นชนมีโสมนัส ยินดี

ร่าเริงบันเทิงใจ จึงลงจากฟ้า ถาม

พวกมนุษย์ในขณะนั้นว่า มหาชนผู้มี

โสมนัส มีความยินดีร่าเริงแล้ว ย่อมแผ้ว

ทางทางทำถนนเพื่อใคร พวกมหาชน

เหล่านั้นถูกเราถามแล้ว จึงบอกแก่เราว่า

พระชินพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร

ไม่มีผู้ยิ่งกว่า เป็นนายกของโลกทรงอุบัติ

ขึ้นในโลก มหาชนย่อมแผ้วถางทางทำ

ถนนเชื่อมต่อกันไปเพื่อพระองค์นั้นเพราะ

ฟังพระนามว่า พุทฺโธ ดังนี้ ปีติก็เกิด

ขึ้นแก่เราในทันทีทันใดนั้น เมื่อเราจะ

กล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ ดังนี้ จึงประกาศ

ถึงความโสมนัส มีความยินดีแล้ว ก็มีจิต

สลดยืนคิดอยู่ในที่นั้นว่า เราจักปลูกพืช

ทั้งหลายไว้ในที่นี้ ขอขณะ (เวลา) อย่าได้

ล่วงเราไปเสียเลย ถ้าว่าพวกท่าวแผ้วถาง

ทางเพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจง

ให้ช่องว่าง ( ทาง ) ส่วนหนึ่งแก่เราเถิด

แม้เราก็จักแผ้วถางทางทำถนน พวกเขา

ได้ให้ช่องว่างทางส่วนหนึ่งแก่เราเพื่อชำระ

ทำถนนในครั้งนั้น เราคิดอยู่ว่า พุทฺโธ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

พุทฺโธ ดังนี้ ชำระทางอยู่ในกาลนั้น เมื่อ

ทางถนนของเรายังไม่สำเร็จ พระชิน-

มหามุนีทีปังกร พร้อมด้วยพระขีณาสพ

ประมาณสี่แสน ผู้มีอภิญญา ๖ ผู้คงที่

ปราศจากมลทินก็เสด็จดำเนินมาสู่หนทาง

การต้อนรับก็กำลังเป็นไป กลองดนตรี

ทั้งหลายเป็นอันมากก็กึกก้องขึ้น เหล่า

มนุษย์และเทพยดาทั้งหลาย ต่างก็พากัน

ยินดีปรีดา ได้ยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว

พวกเทวดาก็มองดูพวกมนุษย์ แม้พวก

มนุษย์ก็มองเห็นเทวดาทั้งหลาย พวกเทว-

ดาและมนุษย์แม้ทั้งสองต่างก็ยกมือประณม

เดินตามพระตถาคต พวกเทวดาก็ประโคม

ดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์ก็ประโคมดนตรี

ของมนุษย์ เทวดาและมนุษย์แม้ทั้งสองพวก

ต่างก็ประโคมดนตรีตามเสด็จพระตถาคต

พวกเทวดาไปทางอากาศโปรยดอกมณฑา-

รพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็น

ทิพย์ ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ ทั้งได้โปรย

จุรณจันทน์ และของหอมอันประเสริฐ

อันเป็นทิพย์ลงสู่ทิศน้อยใหญ่ทั้งสิ้น พวก

มนุษย์ซึ่งเดินตามพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ดอกสน ดอกประดู่ ดอกกระทิง ดอก

บุนนาค และดอกการะเกดทั่วทิศานุทิศ

ส่วนเราสยายผมออก และเปลื้องผ้าคากรอง

และหนังสือลาดไว้บนเปือกตมแล้ว นอน

คว่ำลง (โดยตั้งใจว่า) ขอพระพุทธเจ้าจง

ทรงเหยียบเรา อย่าได้ทรงเหยียบโคลนตมเลย

การที่พระองค์ทางดำเนินไปเช่นนั้น จักเป็น

ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เมื่อเรานอนที่พื้น

ดินแล้ว ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเมื่อ

ปรารถนาอยู่ วันนี้จักฆ่ากิเลสทั้งหลายได้

การที่กระทำให้แจ้งซึ่งธรรม ด้วยเพศ

อันบุคคลอื่นไม่รู้จักในที่นี้ จะมีประโยชน์

อะไร ? เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จัก

เป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ความที่เราเป็นบุรุษแสดงความสามารถข้าม

ไปคนเดียว จะมีประโยชน์อะไร ? เราบรรลุ

สัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังมนุษยโลกทั้ง

เทวโลกให้ข้ามไปพร้อมกัน ความที่เราเป็น

บุรุษมีบุญญาธิการส่องถึงความสามารถคน

เดียวนี้ จะมีประโยชน์อะไร ? เราบรรลุ

สัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังประชุมชนอัน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

มากให้ข้ามตาม เราตัดกระแสสงสารแล้ว

กำจัดภพทั้งสามขึ้นสู่ธรรมนาวาแล้ว จักยัง

มนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามไปพร้อมกัน

พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควร

รับเครื่องสักการะที่เขานำมาบูชา ประทับ

ยืนบนศีรษะเรา ได้ตรัสคำนี้ว่า

พวกเธอจงดูดาบสนี้ ผู้เป็นชฏิลมี

ตบะกล้าในกัปที่นับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไป

จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก เธอจักเป็น

พระตถาคตเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์

อันน่ารื่นรมย์ จักทรงตั้งความเพียรกระทำ

ทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนไม้อชปาล-

นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้น

แล้ว จักเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา เสวย

ข้าวปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วจัก

เสด็จไปโคนต้นโพธิ์ โดยทางอันประเสริฐ

ที่เขาตกแต่งไว้แล้ว ต่อจากนั้นก็กระทำ

ประทักษิณโพธิมณฑลอันยอดเยี่ยม แล้วจัก

ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะผู้มียศใหญ่ ที่

โคนอัสสัตถพฤกษ์ พระมารดาของผู้เป็น

ชนนีของดาบสนี้ จักมีนามว่า มายา พระ-

บิดา มีนามว่า สุทโธทนะ ดาบสนี้จักเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

โคตมโคตร (เหล่ากอของพระโคดม) คือ

พระพุทธเจ้า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ

ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ

ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นคู่อัครสาวก ภิกษุผู้

อุปัฏฐากชื่อว่า อานนท์ จักบำรุงพระชินะ

นั้น นางเขมาและนางอุบลวรรณา ผู้ไม่มี

อาสวะ ปราศจากราคะ มาจิตสงบตั้งมั่นแล้ว

จักเป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์

ดังนี้.

พวกมนุษย์ และเทวดาฟังพระดำรัส

ของพระมเหสีเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอว่า ดาบส

นี้จักเป็นพุทธางกูร (คือเป็นหน่อเนื้อแห่ง

พระพุทธเจ้า) ก็พากันยินดีเบิกบานใจทั่ว

เสียงเกิดจากความปรีดาปราโมทย์อันยิ่งก็

บันลือลั่น พวกมนุษย์และเหล่าเทวดาทั้ง

หมื่นโลกธาตุก็ปรบมือร่าเริง ประนมมือ

นมัสการตั้งความปรารถนาว่า แม้ถ้าพวกเรา

จักพลาดจากศาสนาของโลกนาถนั้น ใน

อนาคตกาล พวกเราก็จักพบกับดาบสนี้

เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ข้ามแม่น้ำ

ใหญ่พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า ก็ถือเอาท่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ล่างข้ามมหานทีได้ฉันใด พวกเราทั้งหมด

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพ้นจากพระชินะ

พระองค์นี้ ในอนาคตกาลก็จักพบดาบสนี้

พระทีปังกรพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควร

รับเครื่องสักการะอันมนุษย์และเทวดานำมา

บูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว

ก็ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้นเสด็จดำเนินไป

เหล่าชินบุตรเหล่าใดอยู่ในที่นั้น ทั้งหมด

ต่างก็กระทำประทักษิณเรา พวกมนุษย์ นาค

และคนธรรพ์ต่างก็อภิวาทแล้วก็หลีกไป เมื่อ

พระโลกนาถพร้อมทั้งหมู่ภิกษุสงฆ์ ก้าวล่วง

การมองดูของเราแล้ว เรามีจิตยินดีร่าเริง

แล้วลุกขึ้นจากอาสนะในกาลนั้น เรามี

ความสุขด้วยความสุข มีความบันเทิงด้วย

ความปราโมทย์ บริบูรณ์แล้วด้วยปีติ แล้วคู้

บัลลังก์ในกาลนั้น เราครั้นนั่งคู้บัลลังก์ใน

กาลนั้นแล้ว ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงอภิญญา

บารมีแล้ว ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุไม่

เสมอเรา เราไม่มีใครเสมอในอิทธิธรรม

ได้ความสุขเช่นนี้ เมื่อเราคู้บัลลังก์อยู่

เหล่าเทพเจ้าในหมื่นโลกธาตุ ต่างก็เปล่งเสียง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

บันลือลั่นไปว่า "ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่" นิมิตทั้งหลายเหล่าใดของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายในปางก่อนมาปรากฏแก่เราผู้นั่งคู้

บัลลังก์อันประเสริฐ นิมิตเหล่านั้นย่อม

ปรากฏในวันนี้ ความเย็นปราศไป และ

ความร้อนย่อมสงบระงับไปในกาลก่อนอันใด

นิมิตเหล่านั้นปรากฏอยู่แก่เราในวันนี้ว่า

ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ หมื่นโลกธาตุ

ปราศจากเสียงสับสนวุ่นวายปรากฏแก่เราในวัน

นี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ พายุใหญ่

ย่อมไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายย่อมไม่ไหลไป

ในกาลก่อนอันใด นิมิตเหล่านั้นย่อมปรากฏ

แก่เราในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่ ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบก ที่เกิดใน

น้ำทั้งหมดต่างก็เบ่งบานในกาลก่อนนั้น

ดอกไม้เหล่านั้นก็เบ่งบานแล้ว ในวันนี้เป็น

นิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ เครือเถา

หรือต้นไม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ผลิผลในวันนี้

เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ที่อากาศก็ดี ที่พื้นดิน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ก็ดี ย่อมส่องแสงโชติช่วงในครั้งนั้น รัตนะ

ทั้งหลายแม้เหล่านั้นก็ส่องแสงโชติช่วง ใน

วันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

ดนตรีทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ และเป็น

ทิพย์ ต่างก็บันลือลั่นในกาลนั้น ดนตรีแม้

เหล่านั้นก็บันลือลั่นในวันนี้เป็นนิมิตว่า

ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ดอกไม้อัน

วิจิตรตกจากฟากฟ้าในครั้งนั้น ดอกไม้แม้

เหล่านั้น ก็กำลังตกในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่าน

จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ มหาสมุทรคะนอง

หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหวในครั้งนั้น นิมิต

แม้ทั้งสองเหล่านั้น ก็บันลือลั่นในวันนี้ว่า

ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ไฟในนรกทั้ง

หมื่นโลกธาตุย่อมดับในขณะนั้น ไฟเหล่านั้น

ก็ดับแล้วในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่ พระอาทิตย์ปราศจากมลทิน

ดวงดาราทั้งปวงปรากฏในครั้งนั้น นิมิตแม้

เหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้ว่า ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่ น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝน

มิได้ตก ในครั้งนั้น แม้น้ำนั้นก็พุ่งขึ้นจาก

แผ่นดินในวันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่ กลุ่มดาวนักษัตรทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ประกอบด้วยดวงจันทร์ อันเป็นวิสาขปุรณ-

มีฤกษ์ ย่อมรุ่งโรจน์ในมณฑลแห่งท้องฟ้า

เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

เหล่าสัตว์ที่อาศัยโพรงและอาศัยตามซอกเขา

ย่อมออกจากที่อยู่ของตน สัตว์เหล่านั้นก็

ออกจากที่อยู่ของตนแม้ในวันนี้ เป็นนิมิตว่า

ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ สัตว์ทั้งหลาย

ไม่มีความริษยากัน มีความยินดีในครั้งนั้น

สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดก็ยินดีแล้ว แม้ในกาลนี้

เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

โรคทั้งหลายย่อมสงบระงับ ความกระหาย

ย่อมพินาศไปในครั้งนั้น สิ่งเหล่านั้นย่อม

ปรากฏแม้ในวันนี้ เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่ ราคะย่อมเบาบาง โทสะ

และโมหะย่อมพินาศในกาลนั้น กิเลส

เหล่านั้นแม้ทั้งหมดปราศจากไปแล้ว แม้ใน

วันนี้เป็นนิมิตว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่ ภัยไม่มีในครั้งนั้น แม้ในวันนี้ ภัยนั้น

ก็ไม่ปรากฏ เพราะนิมิตนั้น ๆ พวกข้าพเจ้า

จึงทราบว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ธุลี

ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบนในเวลานั้น ธุลีนั้น

ย่อมไม่ปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตินั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

พวกข้าพเจ้าจึงทราบว่า ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่ กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาย่อม

หลีกไป กลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้งไปในครั้ง

นั้น กลิ่นหอมอันเป็นทิพย์นั้น ย่อมฟุ้งไป

แม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่ เหล่าเทพทั้งหมดเว้นอรูป-

พรหม เทพทั้งหมดเหล่านั้นทั้งหมดย่อม

ปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจัก

เป็นพระพุทธเจ้าแน่ ชื่อว่า นรกทั้งหลาย

ทั้งหมดย่อมปรากฏในครั้งนั้น นรกเหล่านั้น

ทั้งหมดย่อมปรากฏแม้ในวันนี้ เพราะมิมิต

นั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ฝาเรือน

บานหน้าต่าง และศิลาย่อมไม่เป็นเครื่องกั้น

สายตาในครั้งนั้น ทัพสัมภาระเหล่านั้นเป็น

ดุจอากาศแม้ในวันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่าน

จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จุติและอุปบัติไม่มี

ในขณะนั้น จุติและอุปบัติย่อมไม่ปรากฏใน

วันนี้ เพราะนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธ-

เจ้าแน่ นิมิตทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่

สัตว์ทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ ขอ

ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่น อย่า

ถอยกลับ จงก้าวไปข้างหน้า แม้พวกเราก็

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ย่อมรู้แจ้งซึ่งนิมิตนั้นว่า ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่.

เรา (สุเมธบัณฑิต) สดับพระดำรัส

ของพระพุทธเจ้าและเหล่าเทวดาหมื่นโลก-

ธาตุทั้งสองแล้ว มีความโสมนัสยินดีร่าเริง

บันเทิงใจแล้ว ได้มีความคิดในกาลครั้งนั้น

อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีถ้อยคำไม่

เป็นสอง พระชินะทั้งหลาย พระวาจาไม่เป็น

โมฆะ ถ้อยคำอันไม่เป็นจริงไม่มีแก่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย เราจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่ ก้อนดินบุคคลขว้างไปในท้องฟ้าย่อม

ตกลงสู่พื้นดินแน่แท้ ฉันใด พระดำรัสของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นพระดำรัส

เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้นเหมือนกัน ความ

ตายย่อมเป็นของแท้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

แม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุดก็มีพระดำรัสเที่ยงแท้ฉันนั้นเหมือน

กัน เมื่อราตรีสิ้นไปแล้วพระอาทิตย์ต้องขึ้น

ไปแน่ ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุดก็เป็นพระดำรัสจริงแท้แน่นอน

ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสีหะออกจากที่นอน

แล้วย่อมบันลือแน่แท้ ฉันใด พระดำรัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

ของพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดำรัส

จริงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์

ทั้งหลายแบกของหนักไปถึงที่ประสงค์แล้ว

ย่อมวางลงแน่ ฉันใด พระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก็เป็นพระดำรัส

เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ว่าด้วยพุทธการกธรรม ๑๐

เอาเถอะ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลาย อัน

กระทำซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า ทางโน้น

และทางนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำทั่วทั้งสิบทิศ

ตลอดถึงธรรมธาตุ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ใน

กาลนั้น ได้เห็นทานบารมีอันเป็นพุทธการก-

ธรรมข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นทางใหญ่ อันพระมเหสี

เจ้าทั้งหลายในกาลก่อน ทรงเลือกเฟ้นแล้ว

จึงสอนตนว่า เธอจงบำเพ็ญทานบารมี อัน

เป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๑ นี้ สมาทานทำ

ไว้ให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุพระ-

โพธิญาณ เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่ใคร ๆ

คนหนึ่งคว่ำปากลง น้ำก็ออกจากหม้อมิได้

เหลือ มิได้รักษาน้ำไว้ในหม้อนั้น แม้ฉันใด

ท่านเห็นยาจกทั้งหลายแล้ว ชั้นต่ำก็ตาม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ชั้นกลางก็ตาม ชั้นสูงก็ตาม จงให้ทานโดย

ไม่เหลือ เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง

ฉันนั้นเหมือนกัน.

จริงอยู่ พุทธการกธรรมจะมีเท่านี้ก็

หามิได้เราจักเลือกเฟ้นธรรมอันบ่มโพธิญาณ

แม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในครั้งนั้น ได้

เห็นสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๒

อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อน

ปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า เจ้า

จงบำเพ็ญสีลบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อ

ที่ ๒ นี้ สมาทานทำให้มั่นก่อน ถ้าเธอ

ปรารถนาบรรลุโพธิญาณ สัตว์จามรีมีขน

หางติดอยู่ในที่ใด ๆ ย่อมยอมตายในที่นั้น ๆ

ย่อมไม่ให้ขนหางเสียไป แม้ฉันใด เธอจง

บำเพ็ญศีลทั้งหลายในภูมิ ๔ จงรักษาศีลทุก

เมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น

เหมือนกัน.

อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านี้ก็หาไม่

เราเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณ

แม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้น

ได้เห็นเนกขัมมบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม

ข้อที่ ๓ อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

ทรงปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอน

ตนว่า ท่านจงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีอันเป็น

พุทธการกธรรมข้อที่ ๓ นี้ สมาทานกระทำ

ให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนาบรรลุโพธิญาณ

บุรุษผู้ติดอยู่ในเรือนจำ มีความทุกข์สิ้นกาล

นาน เขาไม่มีความยินดีในเรือนจำนั้น

แสวงหาการพ้นไปเท่านั้น ฉันใด เธอก็

เหมือนกันนั่นแหละ จงดูภพทั้งหมด

เหมือนเรือนจำ จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ

เพื่อความหลุดพ้นเถิด.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักมีเพียง

เท่านี้ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลาย

อันบ่มโพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้น

อยู่ในครั้งนั้น ได้เห็นปัญญาบารมีอันเป็น

พุทธการกธรรมข้อที่ ๔ อันพระมเหสีเจ้า

ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ

แล้ว จึงสอนตนว่า ท่านจงบำเพ็ญปัญญา-

บารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่ ๔ นี้

สมาทานทำให้มั่นก่อน ถ้าเธอปรารถนา

บรรลุโพธิญาณ ภิกษุผู้ขอบิณฑะในตระ-

กูลต่ำ ปานกลาง ชั้นสูง ไม่เว้นตระกูล

ทั้งหลาย ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

เป็นไปอย่างนี้ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้น

เหมือนกัน จงสอบถามชนผู้รู้ตลอดกาล

บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-

ญาณ.

อันพุทธการกธรรมจักมีเพียงเท่านี้

ก็หาไม่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่ม

โพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นใน

ครั้งนั้น ได้เห็นวิริยบารมีอันเป็นพุทธการก-

ธรรมข้อที่ ๕ อันพระมเหสีเจ้าทั้งหลายใน

กาลก่อนปฏิบัติแล้วซ่องเสพแล้ว จึงสอน

ตนว่า ท่านจงบำเพ็ญวิริยบารมีอันเป็น

พุทธการกธรรมข้อที่ ๕ นี้ สมาทานทำให้

มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ

สีหมิคราชมีความเพียรไม่ท้อถอย มีใจประ-

คับประคองแล้วในการนั่ง การยืน การ

เดินทุกเมื่อ แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้น

เหมือนกัน จงบำเพ็ญวิริยบารมีประคอง

ความเพียรไว้ให้มั่น แล้วจักบรรลุสัมโพธิ-

ญาณ.

อันพุทธการกธรรมจักมีเท่านั้นก็หา

มิได้ เราจักเลือกเฟ้นธรรมทั้งหลายบ่ม

โพธิญาณแม้อื่น ๆ เมื่อเราเลือกเฟ้นธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ในครั้งนั้น ได้เห็นขันติบารมีอันเป็น

พุทธการกธรรมข้อที่ ๖ อันพระมเหสี

ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ

แล้ว จึงสอนตนว่า เธอจงสมาทานพุทธ-

การกธรรมข้อที่ ๖ นี้ ทำให้มั่นก่อน เธอ

มีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น จักบรรลุ

สัมโพธิญาณ ธรรมดาว่า แผ่นดินย่อม

ทนสิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้างทั้ง

หมดที่เขาทิ้งไป ย่อมไม่ทำความยินดี

ยินร้าย แม้ฉันใด ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ต้องอดทนต่อการนับถือ และความ

ดูหมิ่นของชนทั้งปวง ท่านบำเพ็ญขันติ-

บารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายมิได้มี

เพียงท่าน เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่น ๆ

บ่มโพธิญาณเมื่อเราเลือกเฟ้น ในครั้งนั้น

ได้เห็นสัจจบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม ข้อ

ที่ ๗ อันพระมเหสีทั้งหลายในปางก่อนปฏิบัติ

แล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า ท่าน

จงสมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๗ นี้

ทำให้มั่นก่อน ท่านมีวาจาไม่เป็นสองใน

สัจจบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึก เป็นดาว

ประจำวิถี ในโลกนี้และเทวโลก ย่อมไม่

ก้าวล่วงวิถีในสมัยฤดูร้อน หรือฤดูฝน

แม้ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน

อย่าก้าวล่วงวิถีในสัจจะทั้งหลาย ท่าน

บำเพ็ญสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-

ญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มี

เพียงเท่านี้ จักเลือกธรรมแม้อื่น ๆ บ่ม

โพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น

ได้เห็นอธิษฐานบารมี อันเป็นพุทธการก-

ธรรมข้อที่ ๘ อันพระมเหสีทั้งหลายใน

ปางก่อนปฏิบัติแล้วส้องเสพแล้ว จึงสอน

ตนว่า ท่านจงสมาทานทำพุทธการกธรรม

ข้อที่ ๘ นี้ให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่น-

ไหวในอธิฐานบารมีแล้ว จักบรรลุสัม-

โพธิญาณ ภูเขาศิลาล้วน ไม่หวั่นไหว

ตั้งมั่นดีแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยลมที่แรงกล้า

ย่อมดำรงอยู่ในที่ของตนเท่านั้น แม้ฉันใด

เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งมั่นในอธิษฐาน-

บารมีในกาลทั้งปวง เธอบำเพ็ญอธิษฐาน-

บารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

อันพุทธการกธรรมทั้งหลายจักไม่มี

เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อื่น ๆ

บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นในครั้งนั้น

ได้เห็นเมตตาบารมีอันเป็นพุทธการกธรรม

ข้อที่ ๙ อันพระมเหสีทั้งหลายในกาลก่อน

ปฏิบัติแล้ว ส้องเสพแล้ว จึงสอนตนว่า

เธอจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา สมา-

ทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๙ นี้ ให้มั่นก่อน

ถ้าท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ธรรมดา

ว่าน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปสม่ำเสมอ และ

ย่อมชำระล้างมลทิน คือ ธุลีในชนทั้งหลาย

ทั้งคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด เธอก็จงเป็น

ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเจริญเมตตาบารมี

เจริญเมตตาไปสม่ำเสมอในชน ผู้ทำประ-

โยชน์และผู้ไม่ทำประโยชน์แล้ว ท่านจัก

บรรลุสัมโพธิญาณ.

อันพุทธการกธรรมทั้งหลาย จักไม่มี

เพียงเท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้

อื่น ๆ บ่มโพธิญาณ เมื่อเราเลือกเฟ้นใน

ครั้งนั้น ได้เห็นอุเบกขาบารมีอันเป็น

พุทธการกธรรมข้อที่ ๑๐ อันพระมเหสีเจ้า

ทั้งหลายในกาลก่อนปฏิบัติแล้ว ส้องเสพ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

แล้ว จึงสอนตนว่า เธอเป็นผู้คงที่มั่นคง

สมาทานพุทธการกธรรมข้อที่ ๑๐ นี้ให้มั่น

ก่อนแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดา

แผ่นดินเว้นจากความยินดียินร้ายเหล่านั้น

ทั้งสอง ย่อมวางเฉยสิ่งอันไม่สะอาดและ

สิ่งสะอาดที่บุคคลโยนไปแล้ว แม้ฉันใด เธอ

ก็จงเป็นฉันนั้นนั่นแหละ บำเพ็ญอุเบกขา-

บารมี เป็นผู้คงที่ในสุขและทุกข์ในกาลทุก

เมื่อแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ.

ธรรมทั้งหลายอันบ่มโพธิญาณในโลก

มีประมาณเท่านี้แหละ ไม่เกินจากนี้ ท่าน

จงตั้งมั่นอยู่ในธรรมเหล่านั้นเถิด เมื่อเรา

พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสภาวะ รสะ

และลักษณะเหล่านี้อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม

เหล่านั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว

แผ่นดินหวั่นไหวอยู่ ส่งเสียงดังเหมือน

เครื่องยนตร์หีบอ้อยที่เขาบีบแล้ว แผ่นดิน

ย่อมสั่นสะเทือนเหมือนจักรยนต์น้ำมัน

ฉะนั้น.

มหาสมุทรทั้งหลายก็ตีฟองนองเนือง

ทั้งจอมเขาที่มหาสมุทรนั้นก็โอนอ่อนน้อมลง

แล้ว เสียงดังหึ่ง ๆ ก็ดังก้องไปแล้วที่เขา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

สิเนรุราช บริษัททั้งหลายอยู่ในที่อังคาส

พระพุทธเจ้าหวั่นไหวอยู่ หมดสติล้มลง ณ

พื้นดินในที่นั้น หม้อน้ำหลายพัน ตุ่มน้ำ

หลายร้อยกระทบกันและกันแตกละเอียดไป

ในที่นั้น มหาชนทั้งหลายต่างก็สะดุ้งตกใจ

กลัวหมุนไป มีใจหวาดหวั่น มาประชุมกัน

เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทีปังกร ทูลถามว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระผู้จักษุ ความดีหรือความชั่วจักมี

แก่โลกอย่างไร โลกทั้งหมดถูกรบกวนแล้ว

ขอพระองค์จงทรงบรรเทาอันตรายนั้นด้วย

เถิด ครั้งนั้น พระมหามุนีทีปังกรพุทธเจ้า

ทรงยังมหาชนเหล่านั้นให้ทราบแล้วว่า ท่าน

ทั้งหลายจงวางใจเถิด อย่ากลัวเลยในการ

หวั่นไหวแห่งแผ่นดินนี้ เราได้พยากรณ์

ดาบสใดในวันนี้ว่า เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า

ในโลก ดาบสนี้พิจารณาธรรมอันพระชินเจ้า

ส้องเสพแล้วในกาลก่อน เมื่อดาบสนั้น

พิจารณาธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลือ

ด้วยเหตุนั้น แผ่นดินหมื่นโลกธาตุในมนุษย์

และเทวดานี้ จึงหวั่นไหวแล้ว เพราะสดับฟัง

พระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจของพวกเขา

ก็สงบทันที มนุษย์และเทวดาทั้งหมดจึงเข้า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ไปหาเราแล้วอภิวาทอีกครั้งหนึ่ง เราสมาทาน

พุทธคุณกระทำใจให้มั่นแล้ว นมัสการพระ-

ทีปังกรพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นจากอาสนะใน

ขณะนั้น เมื่อเราลุกจากอาสนะ เทวดาและ

มนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็โปรยปรายดอกไม้

ทั้งทิพย์ ทั้งเป็นของมนุษย์ เหล่าเทวดา

และมนุษย์ทั้งสองพวกต่างก็ให้เราทราบถึง

ความสวัสดีว่า ความปรารถนาที่ท่าน

ปรารถนาแล้วเป็นเรื่องใหญ่ ท่านจักได้

โพธิญาณนั้นตามความปรารถนา ขอเสนียด

จัญไรทั้งปวงจงพินาศไป ความโศก โรคจง

สูญสิ้นไป อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน

จงตรัสรู้โพธิญาณอันยอดเยี่ยมพลันเถิด

ต้นไม้ดอกย่อมเบ่งบานในสมัย (ฤดู) ที่มา

ถึงแล้ว แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจง

เบิกบานด้วยพุทธญาณฉันนั้นเถิด พระสัม-

พุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำ

เพ็ญบารมี ๑๐ ฉันใด ขอมหาวีรเจ้าจงบำเพ็ญ

บารมี ๑๐ ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ ณ โพธิมณฑล ฉันใด ขอ

มหาวีรเจ้า จงตรัสรู้โพธิญาณของพระชินะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด

ขอมหาวีรเจ้า จงประกาศธรรมจักร ฉันนั้น

เถิด พระจันทร์ในวันปุรณมีบริสุทธิ์ ย่อม

ไพโรจน์ ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มแล้ว ยัง

หมื่นโลกธาตุให้ไพโรจน์ ฉันนั้นเหมือนกัน

พระอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมโชติช่วงมี

แสงอันกล้า ฉันใด ขอท่านจงปลดเปลื้อง

โลกโชติช่วงด้วยสิริ ฉันนั้นเหมือนกัน แม่

น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร

ฉันใด ขอชาวโลกทั้งเทวโลกจงไหลลงสู่

สำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด.

เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ชมเชยสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรมทั้ง ๑๐

เมื่อจะบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึง

เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ( ป่าหิมพานต์ ) ในกาล

นั้นแล.

จบสุเมธกถา

ชาวรัมมนครเหล่านั้น อังคาสพระ-

โลกนายกพร้อมทั้งหมู่สงฆ์ ในกาลนั้นแล้ว

พากันเข้าถึงพระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

พระองค์นั้นเป็นสรณะแล้ว พระตถาคตเจ้า

พระนามว่าทีปังกร ทำชนบางเหล่าให้ตั้งอยู่

ในสรณาคมน์ บางเหล่าให้ตั้งอยู่ในศีล ๕

บางเหล่าตั้งอยู่ในศีล ๑๐ อันประเสริฐ ให้

สามัญผล ๔ อันเป็นผลสูงสุดแก่ชนบางพวก

ให้ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัม-

ภิทา ๔ แก่ชนบางพวก พระนราสภทรง

ประทานสมาบัติอันประเสริฐ ๘ แก่ชน

บางเหล่า ประทานวิชชา ๓ และอภิญญา ๖

แก่ชนบางเหล่า พระมหามุนี พระนามว่า

ทีปังกรพุทธเจ้า ตรัสโอวาทประชุมชนด้วย

ความเพียร ได้ยังคำสั่งสอนของพระองค์ผู้

เป็นโลกนาถให้แพร่หลายแล้วด้วยความ

พากเพียร พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงมี

ลักษณะมีพระหนุใหญ่ และลำพระศองาม

สมลักษณะ ยังประชุมชนให้ข้ามพ้นทุคติ

พระมหามุนีทรงเห็นชนผู้ควรตรัสรู้ใน

หนทางแม้ตั้งแสนโยชน์ ก็เสด็จไปยังชนนั้น

ให้ตรัสรู้โดยพลัน.

ศาสนาของพระทีปังกรนั้น ในการ

ตรัสรู้ครั้งแรกของหมู่สัตว์ ได้มีประมาณถึง

ร้อยโกฏิ ในครั้งที่สองมีประมาณเก้าสิบโกฏิ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ในครั้งที่สาม พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่

ดาวดึงส์พิภพ ได้มีการตรัสรู้ของเทพยดา

ถึงเก้าหมื่นโกฏิ.

ในศาสดาของพระทีปังกรนั้น ได้มี

การประชุมใหญ่สามครั้ง ครั้งแรกมีพระ-

สาวกมาประชุมประมาณแสนโกฏิ ครั้งที่สอง

เมื่อพระชินเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติที่นารท-

กูฏะ มีพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินมา

ประชุมร้อยโกฏิ ครั้งที่สาม เมื่อพระมหาวีระ

ประทับอยู่ ณ ภูเขาสุทัสสนะ ได้ประชุมทำ

ปวารณากรรมด้วยภิกษุสงฆ์ประมาณเก้า-

หมื่นโกฏิ.

ในสมัยนั้น เราบวชเป็นชฏิล มี

ตบะกล้า บรรลุอภิญญา ๕ เที่ยวไปในอากาศ

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ถึงสองแสนโกฏิ

ส่วนตรัสรู้ทีละพัน หรือสองพันมีประมาณ

มากมาย ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทีปังกร ในครั้งนั้น บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน

แพร่หลาย เจริญรุ่งเรืองเป็นประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมาก พระขีณาสพประมาณ ๔ แสน

บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ย่อมแวดล้อม

พระพุทธเจ้าทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกทุกเวลา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

สมัยนั้น ใคร ๆ ซึ่งยังเป็นพระเสขะ

ยังไม่ถึงที่สุดพรหมจรรย์ ย่อมละความเป็น

มนุษย์ (ตาย) ไป เขาผู้นั้นย่อมถูกติเตียน

ปาพจน์ คือ พระธรรมวินัยของพระองค์นั้น

อันพระขีณาสพปราศจากมลทิน เป็นพระ-

อรหันต์ผู้คงที่ประกาศดีแล้ว ย่อมงามใน

โลกทั้งเทวโลก.

นครที่พระองค์ทรงอุบัติ ชื่อว่า

รัมมวดี กษัตริย์นามว่า สุเทพ เป็นพระชนก

พระนางสุเมธาเทวี เป็นพระชนนีของพระ-

ศาสดาพระนามว่า ทีปังกร พระสุมังคละ

และพระติสสะได้เป็นคู่อัครสาวก อุปัฏฐาก

ของพระศาสดาทีปังกร ชื่อว่า พระสาคตะ

พระเถรีชื่อว่า นันทา พระเถรีชื่อว่า สุนันทา

ได้เป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ปิปผลิ (ไม้เลียบ).

พระมหามุนีทีปังกร มีพระวรกาย

สูง ๘๐ ศอก งามดุจไม้ประจำทวีป ชื่อว่า

พระยารัง ซึ่งบานสะพรั่ง รัศมีของพระองค์

แผ่ซ่านไปโดยรอบ ๑๐ โยชน์ มีพระชน-

มายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่ ยังประชุมชน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

มากให้ข้ามพ้นสงสาร ทรงยังพระสัทธรรม

ให้โชติช่วงแล้ว ให้มหาชนข้ามพ้นสาครไป

แล้วตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์พร้อมทั้ง

พระสาวก ได้ประกาศพระธรรมวินัยให้

รุ่งโรจน์แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน

เหมือนกองไปที่ลุกโพลงขึ้นแล้วก็ดับไป

พระฤทธิ์ พระยศ และจักรรัตนะที่ฝ่าพระ-

ยุคลบาททั้งหมดก็อันตรธานไปพร้อมกัน

เพราะสังขารทั้งปวง เป็นของว่างเปล่า มี

ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแน่แท้.

จบทีปังกรกถา

โกณฑัญญกถาที่ ๒

ก็ในกาลส่วนอื่นอีก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ทีปังกร เสด็จ

ดับขันธปรินิพพานล่วงแล้วหนึ่งอสงไขย พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ

ก็ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต

(ประชุมพระสาวก) ๓ ครั้ง การประชุมครั้งแรก มีพระสาวกมาประชุมประมาณ

แสนโกฏิ ครั้งที่สอง มีพระสาวกมาประชุมประมาณพันโกฏิ ครั้งที่สาม มี

พระสาวกมาประชุมเก้าสิบโกฏิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า วิชิตาวี

ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีประมาณนับได้แสนโกฏิ

พระศาสดาได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าแล้วแสดงธรรม.

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ทรงมอบราชสมบัติ

ออกผนวช (บวช) ทรงศึกษาพระไตรปิฎก ทรงให้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕

ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อมแล้วทรงอุบัติขึ้นในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า โกณฑัญญะ นั้น

ชื่อว่า รัมมวดี พระมหากษัตริย์ พระนามว่า สุนันทะ เป็นพระราชบิดา

พระนางเทวี พระนามว่า สุชาดา เป็นพระมารดา พระภัททเถระและสุภัททเถระ

เป็นอัครสาวก พระเถระนามว่า อนุทธะ เป็นพุทธุปัฏฐาก พระติสสาเถรี และ

พระอุปติสสาเถรี เป็นคู่อัครสาวิกา มีไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่า สาลกัลยาณี พระสรีระ

ของพระมหามุนีนั้นสูง ๘๘ ศอก พระองค์มีพระชนมายุแสนปี.

จบโกณฑัญญกถา

มังคลกถาที่ ๓

ในสมัยอื่นอีก เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้ว

ประมาณหนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวนั้นเอง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ๔

พระองค์ คือ พระมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า

และพระโสภิตพุทธเจ้า. ก็ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า มัง-

คละ มีสาวกมหาสันนิบาต ๓ ครั้ง ในมหาสันนิบาต ครั้งที่หนึ่ง มีภิกษุมาประชุม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

ประมาณแสนโกฏิ ในครั้งที่สองประมาณพันโกฏิ ในครั้งที่สามประมาณ เก้าสิบ

โกฏิ.

ได้ยินว่า อานันทกุมาร เป็นพระภาคต่างพระมารดากับพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น พร้อมทั้งบริษัท ๙๐ โกฏิ ได้เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา

เพื่อทรงสดับธรรม. พระศาสดาตรัสอนุปุพพิกถาแก่เธอ เธอพร้อมด้วยบริษัท

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงตรวจดูบุรพจริยาของ

กุลบุตรเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสัยของการได้บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์

จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า " พวกเธอจงเป็นภิกษุ " ดังนี้ ขณะนั้น

นั่นแหละ กุลบุตรทั้งปวงก็ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นเหมือน

พระเถระมีพรรษา ๖๐ ถึงพร้อมด้วยกิริยามารยาทมาแวดล้อมถวายบังคมพระ-

ศาสดา. ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ก็มีสาวกสันนิบาตสามครั้ง.

ก็รัศมีสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอื่น ๆ มีประมาณ ๘๐ ศอก โดย

รอบเป็นประมาณ แต่ว่า รัศมีสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า มังคละ

นั้นหาเหมือนพระพุทธเจ้าอื่น ๆ ไม่ คือ มีพระรัศมีแผ่ออกไปสู่แสนโลกธาตุ

ตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้ ภูเขา มหาสมุทรเป็นต้น โดยที่สุดมีหม้อข้าว

เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทองคำ ฉะนั้น ก็พระชนมายุของ

พระองค์มีประมาณเก้าหมื่นปี ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ พระจันทร์ พระ-

อาทิตย์เป็นต้น ไม่อาจเพื่อเปล่งรัศมีของตนได้ การกำหนดกลางคืนและ

กลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์

ดุจกลางวันด้วยแสงอาทิตย์ สัตว์โลกกำหนดกลางคืนและกลางวันได้ ด้วย

ดอกไม้บานว่าเป็นเวลาเย็น กำหนดเสียงนกร้องเป็นเวลาเช้า.

ถามว่า ก็อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นไม่มีหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ตอบว่า มิใช่ไม่มี จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อจำนงอยู่

ก็พึงแผ่พระรัศมีไปสู่หมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ แต่ว่า พระรัศมีสรีระ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ แผ่ไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็น

นิตย์ทีเดียว ด้วยอำนาจการตั้งความปรารถนาไว้ในบุรพชาติ เหมือนพระรัศมี

วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าอื่น ๆ.

ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในขณะที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระ-

โพธิสัตว์ ดำรงอัตภาพเช่นเดียวกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา

อยู่ที่ภูเขาเช่นกับภูเขาวงกฏ ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ทราบว่า

พระมหาบุรุษมีพระทัยในการจำแนกทาน จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไป

แล้วทูลขอทารกทั้งสองพระองค์ พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงยินดีร่าเริง

แล้วด้วยทรงพระดำริว่า เราจักให้ลูกน้อยแก่พราหมณ์ ดังนี้ แล้วพระราชทาน

ทารกทั้งสอง อันสามารถยังแผ่นดินหวั่นไหวจดน้ำรองแผ่นดิน ยักษ์ยืนพิง

แผ่นกระดาษที่พิงไว้ในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์มองดูอยู่นั่นแหละ

เคี้ยวกินทารกทั้งสองพระองค์ เหมือนเคี้ยวกินกองรากไม้ มหาบุรุษแลดูยักษ์

เมื่อยักษ์นี้สักว่าอ้าปากเท่านั้น ธารโลหิตก็หลั่งออกดุจเปลวไฟ พระมหาบุรุษนั้น

แม้เห็นปากของยักษ์นั้น ก็มิได้เสียพระทัย แม้เพียงปลายผมให้เกิดขึ้น ทรง

พระดำริว่า สุทินฺน วต เม ทาน (ทานเราให้ดีแล้ว ) แล้วยังปีติโสมนัส

อันใหญ่ให้เกิดแก่พระองค์.

พระมหาบุรุษนั้น ทรงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่อง

ไหลออกแห่งบุญของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงออกจากสรีระโดย

ทำนองนี้ ดังนี้ เมื่อพระองค์อาศัยเหตุนั้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมี

ทั้งหลายจึงออกจากพระสรีระแผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่านี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

บุรพจริยาอีกอย่างหนึ่งของพระมังคลพุทธเจ้า ได้ยินว่า พระมังคล-

พุทธเจ้านั้น ในเวลาที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ เห็นเจดีย์พระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่ง ได้คิดว่า เราควรสละชีวิตบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จึงพัน

สรีระทั้งสิ้นดุจพันประทีปคบเพลิง แล้วเอาเนยใสใส่ถาดทองคำสูงประมาณ

หนึ่งศอก มีราคาแสนกหาปณะจนเต็มแล้ว จุดประทีปพันไส้ในถาดนั้นให้โพลง

แล้วทูนถาดนั้นด้วยศีรษะ ยังสรีระทั้งสิ้นให้โพลงแล้วกระทำประทักษิณ

พระเจดีย์ตลอดราตรีทั้งสิ้น เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น แม้สักว่า

้ขุมขนเส้นหนึ่งก็ไม่ไหม้ ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่กอปทุม ฉะนั้น จริงอยู่

ชื่อว่า ธรรมนั้นย่อมรักษาตนไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ไว้ว่า

ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา

ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ

ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่

ทุคติ.

ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งกรรมแม้นี้ รัศมีพระวรกายของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละนั้น จึงแผ่ซ่านไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่แล้ว.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเป็นพราหมณ์ นามว่า สุรุจิ

คิดว่า เราจะทูลนิมนต์พระศาสดา ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า ได้สดับมธุรธรรมกถา

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับภิกษาของข้า-

พระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอต้องการ

ภิกษุเท่าไร. พราหมณ์สุรุจิทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นบริวาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ครั้งนั้น เป็นสาวกสันนิบาตครั้งแรกของพระ-

ศาสดา เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ประมาณแสนโกฏิ พราหมณ์จึง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุทั้งหมด

จงรับภิกษาของข้าพระองค์ พระศาสดาทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว.

พราหมณ์ครั้นทูลนิมนต์เพื่อรับภัตในวันรุ่งขึ้นแล้ว เมื่อเดินกลับบ้าน

ได้คิดว่า เราสามารถจะถวายวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคู ภัตและผ้าเป็นต้นแก่ภิกษุ

มีประมาณเท่านี้ได้ แต่ว่า ที่สำหรับนั่งจักทำอย่างไร ดังนี้. ความคิดของ

พราหมณ์นั้นได้ยังความเร่าร้อนเกิดขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสักก-

เทวราชซึ่งตั้งอยู่ไกลถึงแปดหมื่นสี่พันโยชน์ (๘๔,๐๐๐ โยชน์) ท้าวสักกะทรง

ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้.

ทรงเห็นแล้วซึ่งมหาบุรุษ จึงทรงทราบว่า สุรุจิพราหมณ์นิมนต์หมู่ภิกษุ

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้คิดถึงการจัดที่นั่งถวาย แม้เราก็ควรจะไปยังที่นั้น

เพื่อถือเอาส่วนบุญ ดังนี้ แล้วนิรนิตเพศเป็นช่างไม้ถือมีดและขวานยืนปรากฏ

ข้างหน้ามหาบุรุษ ถามว่า มีใครจะจ้างทำกิจการอะไรบ้างไหม ? มหาบุรุษ

เห็นนายช่างไม้นั้น จึงถามว่า ท่านทำอะไรได้บ้าง. ช่างไม้นั้นตอบว่า ขึ้นชื่อว่า

ศิลปะที่ข้าพเจ้าไม่รู้มิได้มี ใครจะให้ข้าพเจ้าทำเรือนหรือมณฑป หรือสิ่งใด

ข้าพเจ้าทำได้ทั้งนั้น มหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เรามีงานอยู่. ช่างไม้ถามว่า

นาย ท่านมีงานอะไรหรือ ? มหาบุรุษตอบว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิให้มา

ฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว ท่านจงช่วยทำมณฑปสำหรับเป็นที่นั่งให้ภิกษุ

เหล่านั้น. ช่างไม้กล่าวว่า ถ้าท่านอาจให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็กระทำ

มหาบุรุษกล่าวว่า เราจักให้ท่าน ช่างไม้รับคำว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำ

แล้วไปแลดูประเทศหนึ่ง ประเทศนั้นมีประมาณ ๑๒ หรือ ๑๓ โยชน์ มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

พื้นเรียบดุจมณฑลกสิณ. พระอินทร์ช่างไม้ คิดว่า ขอมณฑปสำเร็จด้วยแก้ว

๗ ประการ จงตั้งขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้ ดังนี้ แล้วแลดูอยู่ ทันทีนั้นเอง

มณฑปก็ทำลายแผ่นดินผุดขึ้น มณฑปนั้น ที่เสาทั้งหลายสำเร็จด้วยทอง มีบัวเสา

สำเร็จด้วยเงิน บรรดาเสาที่สำเร็จด้วยเงินมีบัวเสาสำเร็จด้วยทอง บรรดาเสา

ที่สำเร็จด้วยแก้ว มณีมีบัวเสาสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ บรรดาเสาแก้วประพาฬ

มีบัวเสาสำเร็จด้วยแก้วมณี บรรดาเสาสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีบัวเสา

สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ แต่นั้นก็ตรวจดูอธิษฐานว่า ขอข่ายกระดิ่งจงห้อย

ในระหว่างที่สุดแห่งมณฑป ดังนี้ พร้อมกับการแลดูนั่นแหละ ข่ายกระดิ่งก็

ห้อยย้อยแล้ว กระดิ่งใดถูกลมอ่อน ๆ พัด กระดิ่งนั้นก็เปล่งเสียงไพเราะดุจ

เสียงไพเราะของดนตรีมีเครื่อง ๕ ทีเดียว เวลานั้นได้เป็นเหมือนกาลเวลา

บรรเลงทิพยสังคีต แล้วอธิษฐานว่า ขอพวงดอกไม้หอมและพวงมาลัยทั้งหลาย

จงห้อยภายในระหว่าง พวงเหล่านั้น ก็ห้อยย้อยแล้ว ต่อจากนั้น พระอินทร์ซึ่ง

เป็นช่างไม้ก็อธิษฐานว่า ขออาสนะทั้งหลายและที่นั่งสำหรับภิกษุแสนโกฏิจง

ทำลายแผ่นดินผุดขึ้น ในทันทีทันใดนั้น สิ่งเหล่านั้นก็ปรากฏขึ้น ต่อจากนั้น

ก็อธิษฐานว่า ขอตุ่มน้ำทั้งหลายจงตั้งขึ้นมุมละหนึ่งตุ่ม แม้ตุ่มน้ำทั้งหลายก็

ตั้งขึ้น ท้าวสักกะเนรมิตสรรพสิ่งเห็นปานนี้ แล้วจึงไปสู่สำนักของพราหมณ์

แล้วเรียนว่า ท่านพราหมณ์จงมาตรวจดูมณฑปของท่านแล้ว โปรดให้ค่าจ้าง

แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

มหาบุรุษไปตรวจดูมณฑปแล้ว เมื่อแลดูอยู่นั่นแหละ ปีติ ๕ อย่าง

ก็ถูกต้องสรีระแผ่ซ่านไปไม่มีระหว่างคั่น ลำดับนั้น พระมหาบุรุษครั้นตรวจดู

มณฑปแล้ว ได้มีความคิดว่า มณฑปนี้มิใช่มนุษย์ทำ แต่อาศัยอัชฌาสัยและ

คุณของเรา จึงทำพิภพของท้าวสักกะร้อนแน่แท้ เพราะฉะนั้น มณฑปนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

จักเป็นมณฑปอันท้าวสักกะสร้างให้ ก็การที่เราจักถวายทานเพียงวันเดียวใน

มณฑปเห็นปานนี้ไม่ควรเลย เราจักถวายทานสัก ๗ วัน ดังนี้.

ก็การให้ทานด้วยวัตถุอันเป็นภายนอกแม้มีประมาณเพียงไร ก็ไม่

สามารถจะยังใจของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายให้เบิกบาน แต่ว่า ความเบิกบาน

ใจของพระโพธิสัตว์จะมีก็เพราะการบริจาคในกาลได้ตัดศีรษะอันตกแต่งแล้ว

ควักลูกตาทั้งสองที่หยอดยาแล้ว ควักเนื้อหทัยแล้วให้ไป ในสีวิราชชาดก

พรรณนาไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายสละทรัพย์ทุก ๆ วัน วันละ

ประมาณ ๕ แสนกหาปณะให้ทานอยู่ในพระนครที่ประตูเมืองทั้ง ๔ การบริจาค

ทานนั้นก็ไม่ยังใจให้เบิกบานได้ แต่ว่า เมื่อใด ท้าวสักกเทวราชปลอมเป็น

พราหมณ์มาขอพระเนตรทั้งคู่ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงควักพระเนตรให้

อยู่นั่นแหละ ความเบิกบานพระทัยจึงเกิดขึ้น จิตของพระองค์มิได้เป็นอย่างอื่น

สักเท่าปลายผม ชื่อว่า ความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเพราะอาศัย

ทานเห็นปานนี้ จึงไม่มี เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น จึงคิดว่า เรา

ควรจะถวายทานแก่ภิกษุแสนโกฏิ ๗ วัน ดังนี้ จึงนิมนต์หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขให้นั่งในมณฑปนั้น แล้วได้ถวายอาหารทานชื่อว่า ควบาน ๗ วัน.

คำว่า ควบาน ท่านเรียกโภชนะที่เอาน้ำนมใส่ในหม้อใหญ่จนเต็มแล้วยกขึ้น

ตั้งบนเตาไฟ เมื่อน้ำนมข้นแล้วใส่ข้าวสารไปหน่อยหนึ่ง แล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง

จุรณะน้ำตาลกรวดและเนยใส.

ก็มนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถจะอังคาสภิกษุได้ทั่วถึง เทวดาทั้งหลายจึง

แทรกเข้าไปช่วยอังคาสแล้ว ที่มีประมาณ ๑๒-๑๓ โยชน์ ก็ไม่เพียงพอให้

ภิกษุนั่ง แต่ว่าภิกษุทั้งหลายนั่งได้ด้วยอานุภาพของตน. ในวันสุดท้าย พระ-

โพธิสัตว์ให้ล้างบาตรภิกษุทั้งหมดบรรจุเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

เพื่อต้องให้เป็นเภสัชแล้วถวายพร้อมกับไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุนวกะในสงฆ์

ได้มีราคาถึงแสนกหาปณะ.

พระศาสดาเมื่อจะกระทำอนุโมทนาทรงใคร่ครวญดูว่า บุรุษนี้ ได้ให้

ทานใหญ่เห็นปานนี้ จักเป็นอะไรหนอ ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล ในที่สุด

แห่งสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ

ดังนี้ จึงตรัสเรียกมหาบุรุษมาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้แล้ว

เธอจักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. มหาบุรุษสดับฟังพยากรณ์ว่า

ได้ยินว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือนของเราเล่า

เราจักบวช ดังนี้ แล้วละสมบัติเห็นปานนั้น ดุจถ่มก้อนเขฬะแล้วบวชในสำนัก

พระศาสดา ก็ครั้นบวชแล้วก็เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาทั้งหลายและ

สมาบัติทั้งหลายให้เกิดแล้ว ในเวลาสิ้นสุดอายุแล้วก็บังเกิดขึ้นในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ ได้มีชื่อว่า

อุตตระ พระบิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า อุตตระ พระมารดา พระนามว่า

อุตตรา พระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า ปาลิตะ พระสีวลีเถรีและพระอโสกาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้

กากะทิงเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก ดำรงพระชนมายุอยู่ ๙

หมื่นปีก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว

หมื่นจักรวาลก็ได้มืดพร้อมกันหมด การร้องไห้รำพันใหญ่ได้มีแก่มนุษย์

ทั้งหลายในจักรวาลทั้งหมดแล.

จบมังคลกกถา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

สุมนกถาที่ ๔

เมื่อพระมังคลพุทธเจ้าปรินิพพานทำให้หมื่นโลกธาตุมืดอย่างนี้แล้ว

ต่อจากนั้นมา พระศาสดาทรงพระนามว่า สุมนะ ก็ทรงอุบัติขึ้นสาวกสันนิบาต

ของพระพุทธเจ้าแม้นั้นก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒

มีภิกษุประมาณ ๙ หมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นนาคราช นามว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก ได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงพาหมู่ญาติออกจาก

นาคพิภพมาประโคมดนตรีทิพย์บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุประมาณแสนโกฏิ

เป็นบริวาร ได้ถวายมหาทานแล้วถวายผ้าคู่หนึ่งแต่ละองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ

ทั้งหลาย พระศาสดาสุมนะนั้นได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในอนาคตกาล

อตุลนาคราชนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า

สุมนะนั้น ชื่อว่า เมขลา พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุทัตตะ พระ

มารดาพระนามว่า สิริมา พระสรณเถระ และพระภาวิตัตตเถระเป็นคู่อัครสาวก

ภิกษุอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุเทนเถระ พระโสนาเถรี และพระอุปโสนาเถรี เป็นคู่

อัครสาวิกา ไม้กากะทิงเป็นไม้ตรัสรู้ มีพระสรีระกายสูง ๙๐ ศอก พระชนมายุ

ของพระองค์ประมาณ ๙ หมื่นปีแล.

จบสุมนกถา

เรวตกถาที่ ๕

ในกาลต่อจากพระสุมนพุทธเจ้านั้นมา พระศาสดา ทรงพระนามว่า

เรวตะ ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระเรวพุทธเจ้านั้น ก็มี ๓ ครั้ง

ในสันนิบาตครั้งแรกนับจำนวนไม่ถ้วน ครั้งที่ ๒ มีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ในครั้ง

ที่ ๓ ก็เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพราหมณ์ นามว่า อติเทพ สดับฟัง

พระธรรมเทศนาแล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ประนมอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้า

กล่าวสรรเสริญการละกิเลสของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้วได้บูชาด้วยผ้าห่ม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า

ดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เรวตะพระองค์นั้นมีพระนคร ชื่อว่า

สุธัญญวดี พระบิดาเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า วิปุละ พระมารดาพระนามว่า

วิปุลา พระวรุณเถระและพรหมเทวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐาก

ชื่อว่า สัมภวะ พระภัททาเถรีและพระสุภัททาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้

กากะทิงเป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่น

พรรษาแล.

จบเรวตกถา

โสภิตกถาที่ ๖

ในกาลต่อจากพระเรวตพุทธเจ้านั้น พระศาสดาทรงพระนามว่า โสภิต

ได้ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก

มีภิกษุหนึ่งร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพราหมณ์นามว่า อชิตะ สดับพระธรรม

เทศนาของพระศาสดาแล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุ

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระโสภิตพุทธเจ้าก็พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า

จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโสภิตนั้น มีชื่อว่า สุธรรม

พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุธรรม พระมารดา พระนามว่า สุธรรมา

พระอสมเถระ และพระสุเนตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธปัฏฐาก ชื่อว่า

อโนมะ พระนกุลาเถรี และพระสุชาดาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้กากะทิง

เป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบโสภิตกถา

อโนมทัสสีกถาที่ ๗

ในกาลต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้าล่วงไปหนึ่งอสงไขย ในกัปหนึ่ง มี

พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ-

ปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า ก็ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า อโนมทัสสี มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุ ๘ แสน

ครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๗ แสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๖ แสนมาประชุมกัน.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นเสนาบดียักษ์ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่กว่ายักษ์หลายแสนโกฏิ เสนาบดียักษ์นั้นฟังว่า

พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว ได้มาถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข แม้พระศาสดาก็ได้พยากรณ์ยักษ์นั้นว่า ในอนาคตกาลจักเป็น

พระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า จันทวดี พระบิดา

เป็นพระราชา พระนามว่า ยสวา พระมารดา พระนามว่า ยโสธรา พระนิสภเถระ

และพระอโนมเถระ เป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ พระสุนทรี-

เถรีและพระสุมนาเถรี เป็นคู่อัครสาวิกา ต้นไม้รกฟ้าเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระ-

สรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุแสนปีแล.

จบอโนมทัสสีกถา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ปทุมกถาที่ ๘

ในกาลต่อจากพระอโนมทัสสีพุทธเจ้านั้น พระศาสดา พระนามว่า

ปทุมะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกมี

ภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุสามแสนรูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุผู้อาศัยอยู่

ป่าชัฏมหาวันในป่าเปลี่ยวมาประชุมสองแสนรูป.

ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในป่าชัฏนั้นนั่นแหละ พระโพธิ-

สัตว์เป็นพญาสีหะ ได้เห็นพระศาสดาผู้เข้านิโรธสมาบัติแล้วมีจิตเลื่อมใสหมอบ

ลงจบ (ไหว้) กระทำประทักษิณ มีปีติโสมนัสเกิดแล้ว บันลือสีหนาท

สามครั้งไม่ละเว้นปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ไม่ออกไปหาอาหาร เพราะ

ความสุขอันเกิดแต่ปีตินั่นแหละ ได้ทำการสละชีวิตเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ๗ วัน

ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจากนิโรธแล้ว ทอดพระเนตรเห็น

พญาสีหะแล้วทรงดำริว่า สีหะนี้ยังจิตให้เลื่อมใสแม้ในหมู่ภิกษุแล้วจักจบสงฆ์

ขอสงฆ์จงมา ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายมาแล้วในขณะนั้นทีเดียว พญาสีหะก็ยังจิต

ให้เลื่อมใสในสงฆ์ พระศาสดาทรงตรวจดูภูมิธรรมอันมีในใจของพญาสีหะจึง

พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล พญาสีหะนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีชื่อว่า จัมปกะ พระบิดาเป็น

พระราชาพระนามว่า อสมะ แม้พระมารดาก็ทรงพระนามว่า อสมา พระ-

สาลเถระและพระอุปสาลเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ

พระรามาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นไม้อ้อยช้างน้อย เป็น

ไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษา

แล.

จบปทุมกถา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

นารทกถาที่ ๙

ในกาลต่อจากพระปทุมพุทธเจ้านั้น พระศาสดา ทรงพระนามว่า

นารทะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง สันนิบาต

ครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มี

ภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษีเป็นผู้ชำนาญในอภิญญา ๕ และ

สมาบัติ ๘ ได้ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วบูชา

ด้วยจันทน์แดง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์

นั้นว่า ในอนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็มีนามว่า ธัญญวดี

พระบิดาเป็นกษัตริย์ พระนามว่า สุเทวะ พระมารดา พระนามว่า อโนมา

พระภัททสาลเถระ และชิตมิตตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พุทธุปัฏฐากชื่อว่า

พระวาสิฏฐะ พระอุตตราเถรีและผัคคนีเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นไม้อ้อย

ช้างใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นพระพรรษาแล.

จบนารทกถา

ปทุมุตตรกถาที่ ๑๐

ในกาลต่อจากพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ล่วงไปหนึ่งอสงไขย

นับถอยไปแต่กัปนี้ ในที่สุดแห่งแสนกัป ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าทรง

พระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์เดียวเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาต

แม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒

มีภิกษุมาประชุมที่ภูเขาเวภารบรรพตเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นผู้ปกครองมหารัฐ นามว่า

ชฏิละ ได้ถวายทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระ

ปทุมุตตรพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในอนาคตกาลชฏิละ

นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ก็ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระ ชื่อว่าผู้เป็นเดียรถีย์มิได้มี เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงได้ถึงพระพุทธ

เจ้าเท่านั้นเป็นสรณะ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า นามว่า หังสวดี พระ

บิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า อานันทะ พระมารดา พระนามว่า สุชาดา

พระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า

สุมนะ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี เป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้สาละ

เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก รัศมีพระวรกายแผ่ไป ๑๒ โยชน์

พระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบปทุมุตตรกถา

สุเมธกถาที่ ๑๑

ในกาลต่อจากพระปทุมุตตรพุทธเจ้าพระองค์นั้นล่วงไปสามหมื่นกัป ใน

กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๒ พระองค์ คือ พระสุเมธพุทธเจ้า และ

พระสุชาตพุทธเจ้า สาวกสันนิบาตแม้ของพระสุเมธพุทธเจ้าก็มี ๓ ครั้ง ครั้ง

แรกที่พระนครสุทัศนะมีภิกษุขีณาสพหนึ่งร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้ง

ที่ ๓ แปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพ นามว่า อุตตระ สละทรัพย์ที่ฝัง

เก็บไว้ถึง ๘๐ โกฏิ ถวายมหาทานแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฟัง-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ธรรม ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายแล้วออกบวช พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้

พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ชื่อว่า สุทัศนะ

พระบิดาเป็นพระราชา พระนามว่า สุทัตตะ พระมารดา พระนามว่า

สุทัตตา พระสรณเถระและพระสัพพกามเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

นามว่า สาครเถระ พระรามาเถรี และพระสุรามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้

สะเดาใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นพรรษา

แล.

จบสุเมธกถา

สุชาตกถาที่ ๑๒

ในกาลต่อจากพระสุเมธพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาพระนาม

ว่า สุชาตะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาต ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรก

มีภิกษุหกล้านรูป ครั้งที่ ๒ มีภิกษุห้าล้านรูป ครั้งที่ ๓ มีภิกษุสี่แสนรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสดับว่าพระพุทธ-

เจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าทรงฟังธรรมแล้วถวายราชสมบัติในทวีปทั้ง ๔

พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ แก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรง

ผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาพเจ้าพระองค์นั้น ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นถือ

รายได้ของรัฐมาให้สำเร็จกิจกรรมของอารามถวายมหาทานเป็นนิตย์แก่หมู่ภิกษุ

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระเจ้า

จักรพรรดินั้นแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ก็พระนครของพระสุชาตพุทธเจ้า นามว่า สุมังคละ พระบิดาเป็น

พระราชาพระนามว่า อุคคตะ พระมารดาพระนามว่า ปภาวดี พระสุทัสสน-

เถระและพระสุเทวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า นารทะ

พระนาคาเถรีและพระนาคสุมาลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา มีต้นไผ่ใหญ่เป็นไม้

ตรัสรู้ ได้ยินว่าต้นไผ่นั้นกลม ไม่เป็นโพรงลำต้นแข็ง งดงามด้วยกิ่งใหญ่ขึ้น

ไปเบื้องบน เหมือนกำหางนกยูง พระสรีระของพระองค์สูง ๕๐ ศอก พระ

ชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบสุชาตกถา

ปิยทัสสีกถาที่ ๑๓

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในที่สุดแห่ง ๑,๘๐๐ กัป

ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๓ พระองค์คือ พระพุทธเจ้าปิยทัสสี

พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี พระพุทธเจ้าธรรมทัสสี แม้พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่า ปิยทัสสีพระองค์นั้นก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ

ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพนามว่า กัสสป ถึงฝั่งแห่งไตรเพท

ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วบริจาคทรัพย์หนึ่งแสนโกฏิสร้าง

สังฆาราม ดำรงอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย ครั้งนั้นพระศาสดาได้ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์นั้นว่า เมื่อล่วงไปหนึ่งพันแปดร้อยกัปแล้ว ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า

ดังนี้.

อโนมนครได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระบิดาเป็นพระ-

ราชาพระนามว่า สุทินนะ พระมารดาพระนามว่า จันทา พระปาลิตเถระ

๑ ขุ. อปทานเล่ม ๓๓ ว่าเป็น สุธัญญนคร ๒ สุทัตตะ ๓ สุจันทา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

และพระสัพพทัสสีเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่าโสภิต พระ-

สุชาดาเถรีและพระธรรมทินนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นประยงค์ เป็นไม้

ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นพรรษาแล.

จบปิยทัสสีกถา

อัตถทัสสีกถาที่ ๑๔

ในกาลต่อจากพระปิยทัสสีพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็มี ๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุเก้าล้านแปดแสน

ครั้งที่ ๒ แปดล้าน แปดแสน ครั้งที่ ๓ ก็แปดล้านแปดแสนเหมือนกัน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสมีฤทธิ์มาก นามว่า สุสิมา ได้นำฉัตร

ดอกมณฑารพจากเทวโลกมาบูชาพระศาสดา แม้พระศาสดาก็ได้พยากรณ์พระ

โพธิสัตว์นั้นแล้ว.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่าโสภณ พระบิดา

เป็นพระราชา พระนามว่า สาคระ พระมารดาพระนามว่า สุทัศนา พระ-

สันตเถระและพระอุปสันตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่าอภัย

พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้จำปาเป็นไม้

ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก รัศมีพระวรกายแผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่งตลอด

กาลเป็นนิตย์ พระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบอัตถทัสสีกถา

๑. พระไตรปิฎก ขุ. อปทาน เล่ม ๓๓ เป็นต้นกุ่ม.

๒. บาลีประชุมครั้งที่หนึ่ง ๙๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่สอง ๘๘,๐๐๐ รูป ครั้งที่สาม ๗๗,๐๐๐ รูป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ธรรมทัสสีกถาที่ ๑๕

ในกาลต่อจากพระอัตถทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระศาสดาพระนาม

ว่า ธรรมทัสสี ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง

สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเจ็ดสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓

มีภิกษุแปดสิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ได้ทรงทำการบูชาด้วย

ดอกไม้หอมอันเป็นทิพย์และดนตรีอันเป็นทิพย์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

องค์นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์แล้ว.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า สรณะ พระ-

บิดาเป็นพระราชาพระนามว่า สรณะ พระมารดาทรงพระนามว่า สุนันทา

พระปทุมเถระและพระปุสสเทวเถระเป็นคูพระอัครสาวก พระอุปัฏฐากนามว่า

สุเนตตะ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นมะพลับ

เป็นต้นไม้ตรัสรู้ ก็พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สูง ๘๐ ศอก มีพระชน-

มายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบธรรมทัสสีกถา

สิทธัตถกถาที่ ๑๖

ในกาลต่อจากพระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา นับ

ถอยหลังแต่กัปนี้ไป ๙๔ กัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระ-

นามว่า สิทธัตถะ ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งแสนโกฏิ ในครั้งที่ ๒

มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.

๑. บาลี ประชุมครั้งที่หนึ่ง พันโกฏิ. ๒. ครั้งที่สอง ร้อยโกฏิ. ๓. ร้อยโกฏิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นดาบส นามว่า มังคละ มีเดชกล้า

ถึงพร้อมด้วยกำลังแห่งอภิญญา ได้นำผลหว้าใหญ่มาถวายพระตถาคตเจ้า.

พระศาสดาทรงเสวยผลหว้านั้นแล้ว ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุด

แห่งกัป ๙๔ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า เวภาระ พระบิดา

เป็นพระราชามีพระนามว่า เชยยเสนะ พระมารดา พระนามว่า สุผัสสา

พระสัมพลเถระและพระสุมิตตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า

เรวตะ พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นไม้กรรณิการ์

เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสน

พรรษาแล.

จบสิทธัตถกถา

ติสสกถาที่ ๑๗

ในกาลต่อจากพระสิทธัตถสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาถอยไปแต่

ภัทรกัปนี้ ๙๒ กัป ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น คือ

พระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปุสสสัมนาสัมพุทธเจ้าสาวกสันนิบาต

ของพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มี ๓ ครั้ง ในสันติบาตครั้งแรก มีภิกษุ ๑๐๐

โกฏิ ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สุชาตะ มี

พระราชสมบัติมาก มีพระยศใหญ่ ทรงผนวชเป็นฤาษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์

มาก ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงถือเอาดอกมณฑารพ ดอกปทุม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์มาบูชาพระตถาคตเจ้าผู้เสด็จอยู่ในท่ามกลาง

บริษัทสี่ ดอกไม้นั้นได้เป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ในอากาศ แม้พระศาสดาพระองค์

นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๙๒ ดาบสนี้จัก

เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า เขมะ พระราช-

บิดาทรงพระนามว่า ชนเสฏฐะ พระราชมารดา ทรงพระนามว่า ปทุมา

พระเทวเถระ และพระอุทยเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า

สุมังคละ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา ต้นประดู่

เป็นต้นไม้ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสนพรรษาแล.

จบติสสกถา

ปุสสกถาที่ ๑๘

ในกาลต่อจากพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดา

ทรงพระนามว่า ปุสสะ ก็ทรงอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี

๓ ครั้ง ในครั้งแรก มีภิกษุ ๖ ล้าน ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๕ ล้าน ในครั้ง

ที่ ๓ มีภิกษุ ๓ ล้าน ๒ แสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นกษัตริย์ พระนามว่า วิชิตาวี ได้ทรง

สละราชสมบัติอันใหญ่ ทรงผนวชในสำนักพระศาสดา เรียนจบพระไตรปิฎก

ได้บอกธรรมกถาแก่มหาชน และบำเพ็ญศีลบารมี แม้พระพุทธเจ้าพระองค์

นั้นก็ได้พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า กาสี พระราชบิดา

ทรงพระนามว่า ชัยเสนะ พระราชมารดาพระนามว่า สิริมา พระรักขิตเถระ

และพระธรรมเสนเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า สภิยะ

พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นมะขามป้อม

เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

จบปุสสกถา

วิปัสสีกถาที่ ๑๙

ในกาลต่อจากพระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา นับแต่กัปนี้

ถอยไปในกัปที่ ๙๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ทรงอุบัติขึ้น

สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุ ๖ ล้าน

๘ แสน ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๑ แสน ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘ หมื่น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นนาคราช นามว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งทองอันขจิตไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ แด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์

นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๙๑ นาคราชนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า พันธุมดี พระราชบิดา

ทรงพระนามว่า พันธุมา พระราชมารดาทรงพระนามว่า พันธุมดี พระขัณฑ-

เถระและพระติสสเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า อโสกะ

พระจันทาเถรีและพระจันทมิตตาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นแคฝอยเป็นต้นไม้

ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๗ โยชน์โดยรอบ

มีพระชนมายุแปดหมื่นพรรษาแล.

จบวิปัสสีกกา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

สิขีกถาที่ ๒๐

ในกาลต่อจากพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ถอยหลัง

แต่ภัทรกัปนี้ ในกัปที่ ๓๑ มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๒ พระองค์ คือ

พระสิขีพุทธเจ้าและเวสสภูพุทธเจ้า สาวกสันนิบาตแม้ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงพระนามว่า สิขี ก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหนึ่งแสน

รูป ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๘ หมื่นรูป ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๗ หมื่นรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชา พระนามว่า อรินทมะ ได้

ถวายทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้ถวายช้างแก้ว

ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ ได้ถวายกัปปิยภัณฑ์กระทำให้ประมาณเท่ากับ

พระยาช้าง แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า

นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๓๑ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น มีนามว่า อรุณวดี

พระราชบิดา ทรงพระนามว่า อรุณ พระราชมารดา ทรงพระนามว่า ปภาวดี

พระอภิภูเถระ และพระสัมภวเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า

เขมังกร พระสขิลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ไม้บุณฑริกา

(กุ่มบก) เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๗๐ ศอก มีพระรัศมีแผ่ไป ๓ โยชน์

โดยรอบ มีพระชนมายุ ๗ หมื่นพรรษาเเล.

จบสิขีกถา

เวสสภูกถาที่ ๒๑

ในกาลต่อจากพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดาทรง

พระนามว่า เวสสภู ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มี ๓ ครั้ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

ในสันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ ๘ หมื่น ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๗ หมื่น ใน

ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๖ หมื่น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า สุทัศนะ

ได้ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วทรง

ผนวชในสำนักพระศาสดาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจารคุณเป็นผู้นอบน้อมและมาก

ด้วยปีติในพุทธรัตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์นั้นว่า นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่ ๓๑ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า อโนมะ

พระราชบิดา ทรงพระนามว่า สุปปตีตะ พระราชมารดา ทรงพระนามว่า

ยสวดี พระเสนเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

นามว่า อุปสันตะ พระรามาเถรี และพระสุปลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา

ไม้สาละเป็นไม้ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่น

พรรษาแล.

จบเวสสภูกถา

กกุสันธกถาที่ ๒๒

ในกาลต่อจากพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา ในกัปหนึ่งมี

พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นคือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาค-

มนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา

ทั้งหลาย สาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กุกสันธะ มีครั้งเดียว

มีภิกษุมาประชุม ๔ หมื่น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงเป็นพระราชา พระนามว่า เขมะ

ได้ถวายมหาทานพร้อมด้วยบาตรจีวร และยาหยอดตาทั้งหลายได้สดับธรรม-

เทศนาของพระศาสดาแล้วทรงผนวช. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็พยากรณ์

พระโพธิสัตว์.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า เขมะ บิดาเป็น

พราหมณ์ นามว่า อัคคิทัตตะ มารดานามว่า พราหมณี พระวิธูรเถระและ

พระสัญชีวเถระเป็นพระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า วุฑฒิชะ พระสามาเถรี

และพระสรัพภาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นซึกใหญ่เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ

สูง ๔๐ ศอก มีพระชนมายุสี่หมื่นพรรษาแล.

จบกกุสันธกถา

โกนาคมนกถาที่ ๒๓

ในกาลต่อจากพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา พระศาสดา

ทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ก็ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระองค์มี

๑ ครั้ง ในสันนิบาตนั้น มีภิกษุ ๓ หมื่นรูป.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชา ทรงพระนามว่า บรรพต

ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา สดับธรรมเทศนา

แล้วนิมนต์หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขถวายมหาทานแล้ว ถวายผ้าเมือง

ปัตตุณณะ (ผ้าไหม) ผ้าเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และรองเท้าทอง

แล้วทรงผนวชในสำนักพระศาสดา พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ได้ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์แล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า โสภนะ พระบิดา

เป็นพราหมณ์ นามว่า ยัญญทัตตะ พระมารดาเป็นนางพราหมณี นามว่า

อุตตรา พระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

นามว่า โสตถิชะ พระสมุททาเถรีและพระอุตตราเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา

ไม้อุทุมพรเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๓๐ ศอก มีพระชนมายุ ๓ หมื่นปี

แล.

จบโกนาคมนกถา

กัสสปกถาที่ ๒๔

ในกาลต่อจากพระโกนาคมนพุทธเจ้าพระองค์นั้นมา มีพระศาสดาทรง

พระนามว่า กัสสป ทรงอุบัติขึ้น สาวกสันนิบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น มีครั้งเดียว มีภิกษุ ๒ หมื่นรูป.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นมาณพ นามว่า โชติบาล เป็นผู้จบไตรเพท

มีชื่อเสียงปรากฏขจรไปทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ได้เป็นมิตรของช่างหม้อ

นามว่า ฆฏิการะ พระโพธิสัตว์นั้นได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับช่างหม้อ

นั้นสดับกรรมกถา บวชแล้ว ปรารภความเพียรเรียนจบพระไตรปิฎก ชำระ

พระพุทธศาสนาหมดจดด้วยวัตรสมบัติ แม้พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ได้

พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว.

พระนครอันขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า พาราณสี

พระบิดาเป็นพราหมณ์ นามว่า พรหมทัต พระมารดาเป็นพราหมณี นามว่า

ธนวดี พระติสสเถระและภารัทวาชเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

นามว่า สัพพมิตร พระอรุณาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา

ต้นนิโครธเป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๒๐ ศอก มีพระชนมายุ ๒ หมื่น

พรรษาแล.

จบกัสสปกถา

ส่วนในกาลต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสป นั้นมาเว้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ของเราทั้งหลายแล้วจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์

อื่นหาได้ไม่. ก็พระโพธิสัตว์ได้รับพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์

มีพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น พุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้น

เหล่าใด ที่พระโพธิสัตว์ทรงประมวลธรรม ๘ ประการเหล่านี้ คือ

๑. มนุสฺสตฺต (ความเป็นมนุษย์)

๒. ลิงคสมฺปตฺติ (ถึงพร้อมด้วยเพศ)

๓. เหตุ (มีอุปนิสสัยแห่งพระอรหัต )

๔. สตฺถารทสฺสน (การได้เห็นพระศาสดา)

๕. ปพฺพชฺชา (การบรรพชา)

๖. คุณสมฺปตฺติ (ถึงพร้อมด้วยคุณ)

๗. อธิกาโร (มีความปรารถนาแรงกล้า)

๘. ฉนฺทตา (มีความพอใจ)

บุญญาภินีหาร ย่อมสำเร็จได้เพราะธรรมสโมธาน ๘ ประการแล้วทรง

ทำอภินีหารที่บาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ทรงตั้งอุตสาหะว่า

เอาละ เราจักค้นหาพุทธการกธรรมทุกด้าน ดังนี้ เห็นแล้วว่าในครั้งนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ เราได้เห็นทานบารมีก่อน จึงบำเพ็ญพุทธการกธรรมเหล่านั้น

จนถึงความเป็นพระเวสสันดร.

อนึ่ง เมื่อ พระองค์ทรงบรรลุอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารอัน

กระทำไว้แล้ว อานิสงส์เหล่านั้นท่านพรรณนาไว้ว่า

นรชนทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณ

ทั้งปวงอย่างนี้ เป็นผู้เที่ยงเพื่อจะตรัสรู้ เมื่อ

ยังท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏสิ้นกาลนาน แม้

ตั้งร้อยโกฏิกัปก็ไม่ได้เกิดในอเวจีและในโล-

กันตรนรก ไม่เกิดเป็นนิชฌาม ตัณหิกเปรต

ขุปปิปาสิกเปรต กาลกัญชิกเปรต แม้จะเกิด

ในทุคติก็ไม่เกิดเป็นสัตว์เล็ก ๆ เมื่อเกิดใน

มนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นผู้บอดแต่กำเนิด

ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคน

พิการ ไม่เกิดเป็นหญิง ไม่เป็นอุภโตพยัญชนะ

ไม่เป็นบัณเฑาะก์ ย่อมไม่เป็นบุคคลผู้นับ

เนื่องแล้วจากอภัพบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้

พ้นแล้วจากอนันตริยธรรม เป็นนรผู้เพียง

เพื่อจะตรัสรู้ มีโคจรบริสุทธิ์ในที่ทั้งปวง ไม่

เสพมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นในการกระทำว่า

เป็นกรรม แม้เมื่ออยู่ในสวรรค์ก็ไม่เกิดใน

อสัญญีภพ ชื่อว่า เหตุเกิดในสุทธาวาส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ทั้งหลายไม่มี เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะ

เป็นสัตบุรุษ ไม่ติดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่

ย่อมเที่ยวไป เพื่อประพฤติประโยชน์แก่ชาว

โลก ย่อมบำเพ็ญบารมีทั้งปวง ดังนี้

เมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุอานิสงส์เหล่านั้นมาบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอยู่

ในกาลเสวยพระชาติเป็นอกิตติพราหมณ์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นสังขพราหมณ์

ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าธนัญชัย ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหา-

สุทัศนะ ในกาลเสวยพระชาติเป็นมหาโควินทะ ในกาลเสวยพระชาติเป็น

พระเจ้านิมิมหาราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระจันทกุมาร ในกาลเสวย

พระชาติเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเสวยพระชาติเป็นสสบัณฑิต ในกาลเสวย

พระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช ในกาลเป็นพระเวสสันดร ดังนี้ ชื่อว่า ปริมาณ-

อัตภาพที่บำเพ็ญทานบารมี มีคุณนับไม่ได้.

ว่าด้วยทานที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นสสบัณฑิต ได้สละอัตภาพ

ที่ท่านกล่าวไว้ในสสบัณฑิตชาดก อย่างนี้ว่า

เราเห็นพราหมณ์ผู้มาขอ จึงสละ

อัตภาพของตน ทานของเราไม่มีใครเสมอ

นั่นเป็นทานบารมีของเรา ดังนี้.

ชื่อว่าการบำเพ็ญทานเป็นปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยศีลบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บำเพ็ญศีลบารมีมีคุณที่นับไม่ได้ คือ

ในกาลเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นจัมเปยย-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

นาคราช ในกาลเสวยพระชาติเป็นภูริทัตตนาคราช ในกาลเสวยพระชาติเป็น

พญาฉัททันต์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นราชบุตรของพระเจ้าทิศราช ในกาล

เสวยพระชาติเป็นอลีนจิตตกุมาร.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นทำการบริจาคอัตภาพกล่าวไว้ในสังขปาลชาดก

อย่างนี้ว่า

เราแม้ถูกยิงด้วยลูกศรทั้งหลาย แม้

ถูกแทงด้วยหอกทั้งหลาย ก็ไม่โกรธบุตร

นายบ้าน นั่นเป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบำเพ็ญศีลเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยเนกขัมมบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่า การปริมาณอัตภาพที่สละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมม-

บารมี มีคุณนับไม่ได้ คือ ในกาลที่เสวยพระชาติเป็นโสมนัสสกุมาร ในกาล

เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลเสวยพระชาติเป็นอโยฆรบัณฑิต.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์สละราชสมบัติออกผนวช เพราะการสละที่ท่าน

กล่าวไว้ในจูฬสุตตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราสละเราสมบัติใหญ่ที่อยู่ในพระ-

หัตถ์ เหมือนสละก้อนเขฬะ เมื่อเราสละอยู่

ไม่มีความเสียดายเลย นั่นเป็นเนกขัมม-

บารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบำเพ็ญเนกขัมมะเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ว่าด้วยปัญญาบารมีที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บำเพ็ญปัญญาบารมีที่มีคุณนับไม่ได้

คือ ในกาลที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลที่เสวยพระชาติเป็น

บัณฑิตนามว่ามหาโควินท์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาล

เสวยพระชาติเป็นอรกบัณฑิต ในกาลเสวยพระชาติเป็นโพธิปริพาชก ในกาล

เสวยพระชาติเป็นมโหสธบัณฑิต.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต ในสัตตุภัสตุชาดก

แสดงอยู่ซึ่งงูพิษในถุง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

เราใช้ปัญญาพิจารณาอยู่ จึงช่วย

พราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ ปัญญาของเราไม่มี

ใครเสมอ นั่นเป็นปัญญาบารมีโดยของเรา ดังนี้

ชื่อว่า การบำเพ็ญปัญญาเป็นปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยวิริยบารมีเป็นต้นที่เป็นปรมัตถ์

อนึ่ง ชื่อปริมาณอัตภาพที่บำเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น เป็นคุณนับไม่

ได้ก็เหมือนกัน. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหาชนกผู้ข้ามมหาสมุทร

ที่กล่าวไว้ในมหาชนกชาดก อย่างนี้ว่า

มนุษย์ทั้งหลายมองไม่เห็นฝั่ง พากัน

ตายไปในท่ามกลางมหาสมุทร จิตของเรา

มิได้เปลี่ยนเป็นอื่น นั่นเป็นวิริยบารมีของ

เรา ดังนี้

ชื่อว่า การบำเพ็ญวิริยะเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส ทรงอดกลั้นอยู่ซึ่ง

ทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจ ที่กล่าวไว้ในขันติวาทิชาดก อย่างนี้ว่า

เมื่อพระเจ้ากาสิราช ใช้ขวานอัน

คมฟันเราผู้คล้ายกับไม่มีจิต เราก็ไม่โกรธ

นั่นเป็นขันติบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า ความบำเพ็ญขันติเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตตโสม ได้สละชีวิต

รักษาความสัตย์ที่กล่าวไว้ในมหาสุตตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราสละชีวิตของเราตามรักษาอยู่ซึ่ง

วาจาสัตย์ ให้ปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์

นั่นเป็นสัจจบารมีของเรา ดังนี้

ชื่อว่า บำเพ็ญสัจจบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ ทรงสละแม้ชีวิตอธิษ-

ฐานวัตร กล่าวไว้ในมูคปักขชาดก (ชาดกว่าด้วยบุคคลผู้เป็นใบ้และพิการ)

อย่างนี้ว่า

พระมารดาพระบิดามิใช่เป็นผู้น่า

เกลียดชังของเรา อิสริยะใหญ่ก็มิได้เป็นที่

เกลียดชังของเรา แต่พระสัพพัญญุตญาณ

เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น การอธิษฐาน

จึงเป็นวัตรของเรา ดังนี้

ชื่อว่า อธิษฐานบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราชผู้มีได้เห็นแม้แก่ชีวิต

ของพระองค์ ทรงเจริญเมตตา ที่กล่าวไว้ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า

ใคร ๆ ย่อมไม่ดุร้ายกับเรา แม้เราก็

ไม่กลัวใคร ๆ ในกาลนั้นเราได้กำลังเมตตา

อุปถัมภ์แล้ว ย่อมยินดีในป่าใหญ่ ดังนี้

ชื่อว่า ได้บำเพ็ญเมตตาบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนักบวช ชื่อว่า โลมหังสะ ไม่ละ

ความเป็นอุเบกขาในพวกเด็กชาวบ้านผู้ยังความทุกข์แสะความสุขให้เกิดขึ้น

ด้วยการถ่มน้ำลายรดเป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอมมาให้เป็นต้น

ตามที่กล่าวไว้ในโลมหังสชาดก อย่างนี้ว่า

เรานอนในป่าช้า มีกระดูกศพเป็น

หมอนหนุน พวกเด็กชาวบ้านเข้าไปแสดง

รูปไม่น้อย ดังนี้

ชื่อว่า อุเบกขาบารมีเป็นปรมัตถบารมี. ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนเนื้อความ

พิสดารพึงถือในจริยาปิฎก.

พระโพธิสัตว์ ครั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ใน

อัตภาพของพระเวสสันดร ได้สร้างบุญเป็นอันมากอันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่

ไหว ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

แผ่นดินนี้ ไม่มีจิต ไม่ทราบถึง

ความสุขและทุกข์ แม้กระนั้นก็ยังไหวถึง

๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

เมื่อสิ้นพระชนมายุแล้ว ก็ทรงจุติจากโลกนี้ บังเกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นดุสิต

พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทวดาอื่นในดุสิตนั้น ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ทรงเสวย

ทิพยสมบัติตลอดพระชนมายุ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี โดยการนับปีของมนุษย์ บัดนี้

อีก ๗ วัน จักถึงการสิ้นอายุขัย เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดบุพนิมิต ๕ เหล่านี้ คือ

๑. ผ้าทั้งหลายเศร้าหมอง

๒. ทิพยมาลาเหี่ยวแห้ง

๓. พระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ

๔. พระฉวีวรรณะในสรีระปราศจากไป

๕. ทรงเบื่อหน่ายทิพยอาสน์

เหล่าเทวดาเห็นนิมิตเหล่านั้น ก็พากันสลดใจกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลายเอ๋ย สวรรค์จักว่างเปล่าหนอ ดังนี้ ครั้นทราบว่าพระมหาสัตว์บำเพ็ญ-

บารมีเต็มแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์นี้จะไม่ทรงอุบัติขึ้นเทวโลกอื่นๆ

จึงทรงอุบัติในมนุษยโลกแล้วบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์จักพากัน

ทำบุญเป็นอันมาก จุติแล้ว ๆ ก็จักยังเทวโลกให้บริบูรณ์ ดังนี้ จึงพากัน

กราบทูลเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นพระพุทธเจ้าดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า

ในกาลที่เราตถาคตเป็นเทพบุตร

นามว่า สันดุสิต อยู่ในพวกเทพชั้นดุสิต

เหล่าเทวดามีประมาณหนึ่งหมื่นพากันมา

ประนมอัญชลีวิงวอนเราว่า ข้าแต่พระมหา-

วีรเทพ กาลนี้ เป็นเวลาสมควรแล้ว ที่

พระองค์จักทรงอุบัติในครรภ์พระมารดา

ตรัสรู้อมตบท โปรดชาวโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

พระองค์จึงทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ เหล่านี้ คือ กาล ทวีป ประเทศ

ตระกูล และกำหนดอายุพระพุทธมารดา ตกลงพระทัยแล้ว จึงเสด็จจุติจากดุสิต

มาถือปฏิสนธิในศากยสกุล ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยสมบัติมากมายในศากย-

สกุลนั้น ทรงถึงความเป็นหนุ่มสง่างามตามลำดับ ในระหว่างนี้พึงทราบความ

พิสดารบทแห่งพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติ

สัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้วก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา และพึง

ทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาของบทพระสูตรเหล่านั้นเถิด.

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเสวยสิริราชสมบัติเช่นกับเทวโลกในปราสาททั้ง

๓ อันสมควรแก่ฤดูทั้ง ๓ ในสมัยที่เสด็จไปทรงเล่นกีฬาในพระอุทยานได้

ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๓ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ตามลำดับ ทรง

สลดพระทัยก็เสด็จกลับจากพระอุทยาน ได้ทรงเห็นบรรพชิตในครั้งที่ ๔ ได้ยัง

พอพระทัยในการบรรพชาให้เกิดขึ้นแล้วเสด็จไปพระอุทยาน ยังกาลเวลาล่วงไป

ในพระอุทยานนั้น ทรงประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมงคล เป็นผู้อันวิสสุกรรม-

เทพบุตรแปลงเพศเป็นช่างกัลบกมาประดับตกแต่งพระองค์ ทรงสดับข่าวว่า

ราหุลกุมารประสูติแล้ว ทรงทราบถึงความสิเนหาในบุตรมีความรุนแรง จึง

ทรงพระดำริว่า เราจักตัดมันเสียก่อนที่เครื่องผูกนี้จักเจริญ ดังนี้ จึงเสด็จเข้า

ไปสู่พระนครในเวลาเย็น ได้ทรงสดับพระคาถาอันพระธิดาของพระเจ้าอา

พระนามว่า กิสาโคตมี ภาษิตว่า

นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา

นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสาย อีทิโส ปติ

บุรุษเช่นนี้เป็นบุตรของมารดาใด

มารดานั้นเป็นผู้ดับได้แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นเป็นผู้ดับได้

แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้เป็นสามีของภรรยาใด

ภรรยานั้น เป็นผู้ดับได้แล้วแน่ ดังนี้

ทรงพระดำริว่า พระนางนี้ให้เราได้ฟังนิพพุตบท จึงเปลื้องสร้อยมุกดาหาร

มีค่าประมาณหนึ่งแสนจากพระศอส่งประทานแก่พระนางกิสาโคตมีนั้น แล้ว

เสด็จเข้าไปสู่ที่ประทับของพระองค์ ทรงประทับนั่งบนพระแท่นสิริไสยาสน์

ทรงทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกของหญิงนักฟ้อนทั้งหลายเพราะอำนาจ

แห่งความหลับ มีพระทัยเบื่อหน่าย ปลุกนายฉันนะให้ตื่นขึ้นแล้ว ตรัสสั่งให้

นำม้ากัณฐกะมา ทรงเสด็จขึ้นประทับม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเป็นสหายมี

เหล่าเทพเจ้าหมื่นโลกธาตุแวดล้อมเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยราตรีที่ยัง

เหลือนั้นนั่นแหละ ทรงเสด็จผ่านมหาอาณาจักรไป ๓ แว่นแคว้น ทรงผนวช

ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา แล้วเสด็จไปตามลำดับถึงกรุงราชคฤห์ เสด็จเที่ยวไป

เพื่อบิณฑะในกรุงราชคฤห์นั้น ประทับนั่งที่เงื้อมปัณฑวบรรพต ผู้อันพระราชา

มคธทูลเชิญให้ครองราชสมบัติ ทรงปฏิเสธราชสมบัตินั้น ทรงเป็นผู้มีปฏิญญา

อันพระเจ้ามคธนั้นถือเอาแล้ว เพื่อให้พระองค์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

เสด็จมายังแว่นแคว้นของพระองค์ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและอุททก

ดาบส ยังไม่ทรงพอพระทัยด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุในสำนักของดาบสเหล่านั้น

จึงทรงตั้งมหาปธาน (ความเพียรใหญ่) ถึง ๖ พรรษา ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนหก

เวลาเช้าทรงเสวยข้าวปายาสที่นางสุชาดาชาวเสนานิคมถวาย แล้วเสด็จไปลอย

ถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปสิ้นส่วนแห่งวันด้วยสมาบัติ

ต่าง ๆ ณ ชัฏแห่งมหาวันใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในเวลาเย็นทรงรับหญ้า

กำมือหนึ่งที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย เป็นผู้มีคุณอันกาฬนาคราชสรรเสริญแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ทรงก้าวขึ้นสู่มณฑลแห่งต้นโพธิ์ ทรงลาดหญ้าทั้งหลายแล้วทรงทำปฏิญญาว่า

เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเราจักพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ

ความไม่ถือมั่น แล้วประทับนั่งโพธิบัลลังก์ มีพระพักตร์มุ่งคือทิศปาจีน เมื่อ

พระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตนั่นแหละ ก็ทรงกำจัดมารและเสนามารแล้ว ใน

ปฐมยามทรงบรรลุบุพเพนิวาสญาณ ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ

ในที่สุดแห่งปัจฉิมยาม ทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณอันประดับด้วยคุณของ

พระพุทธเจ้าทั้งปวงมีทศพลญาณและเวสารัชชญาณเป็นต้นนั้นแหละ ชื่อว่า

ทรงบรรลุสมุทร คือ นัยแห่งพระอภิธรรมนี้ พึงทราบอธิคมนิทานของ

พระอภิธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอธิคมนิทาน

ว่าด้วยเทศนานิทาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพระอภิธรรมด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรง

ประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียวล่วงไป ๑ สัปดาห์ ทรงเพ่งต้นโพธิ์ไม่กระพริบ

พระเนตรล่วงไป ๑ สัปดาห์ ทรงเดินจงกรมล่วงไป ๑ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๔

ทรงพิจารณาพระอภิธรรมที่ทรงบรรลุ ด้วยการตรัสรู้พระสยัมภูญาณ แล้วทรง

ให้สัปดาห์ทั้ง ๓ แม้อื่นอีกล่วงไปที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ควงไม้มุจจลินท์

และที่ควงไม้ราชายตนะ ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงกลับไปประทับนั่งที่ควงไม้อช-

ปาลนิโครธ ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย เพราะทรงพิจารณาถึงธรรม

เป็นสภาวะลึกซึ้ง เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันสหัมบดีพรหม ซึ่งมีมหาพรหม

หนึ่งหมื่นเป็นบริวารมาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ทรงรับการเชื้อเชิญของมหาพรหมแล้วทรงตรวจดูว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใคร

ก่อนหนอ ทรงทราบว่าอาฬารดาบสและอุททกดาบสทำกาละแล้ว จึงทรงระลึก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ถึงพระปัญจวัคคีย์ผู้มีอุปการะมาก เสด็จลุกจากอาสนะเสด็จดำเนินไปเมืองกาสี

ในระหว่างทางได้ทรงสนทนากับอุปกะอาชีวก ในวันอาสาฬหปุรณมีก็ทรง

บรรลุถึงที่อยู่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงทำปัญจวัคคีย์ผู้

ร้องเรียกพระองค์ ด้วยคำร้องเรียกอันไม่สมควรให้เชื่อฟังแล้ว ทรงประกาศ

พระธรรมจักรโปรดพระปัญจวัคคีย์มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นประมุข และ

พวกพรหม ๑๘ โกฏิ ให้ดื่มอมตรสแล้ว พึงทราบเทศนานิทานจนถึงการ

ประกาศพระธรรมจักรดังพรรณนามาฉะนี้. ความย่อมีเพียงเท่านี้ ชื่อว่า ความ

พิสดารพึงทราบด้วยนาจแห่งอรรถกถาทั้งหลาย และพระสูตรทั้งหลายมีอริย-

ปริเยสนสูตร และปัพพสูตรเป็นต้น พระอภิธรรมสมบูรณ์ด้วยอธิคมนิทาน

และเทศนานิทาน มีอยู่ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระอภิธรรมมีนิทาน ๓

นิทานของพระอภิธรรมแม้อื่นอีกมี ๓ คือ

๑. ทูเรนิทาน (นิทานไกล)

๒. อวิทูเรนิทาน (นิทานไม่ไกล)

๓. สันติเกนิทาน (นิทานใกล้)

บรรดานิทานทั้ง ๓ นั้น พึงทราบทูเรนิทานเริ่มตั้งแต่บาทมูลของ

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร จนถึงดุสิตบุรี พึงทราบอวิทูเรนิทาน

เริ่มตั้งแต่ดุสิตบุรีจนถึงโพธิมณฑล คำว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จประทับอยู่ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ควงไม้ปาริฉัตตกะในหมู่เทพยดา

ชั้นดาวดึงส์นั้นแล ได้ตรัสอภิธรรมแก่เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ ชื่อว่า

สันติเกนิทานของพระอภิธรรมนั้น.

จบนิทานกถาเพียงเท่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

อรรถกถามาติกานุบุพบท*

บัดนี้ ถึงโอกาสการกล่าวอภิธรรมกถาตามที่ข้าพเจ้าให้ปฏิญญาไว้

อย่างนี้ว่า

เมื่อข้าพเจ้ากล่าวอภิธรรมกถานี้อยู่

ด้วยอาการอย่างนี้ ขอสาธุชนทั้งหลายอย่า

ฟุ้งซ่าน จงตั้งใจสดับฟัง เพราะกถาเช่นนี้

หาฟังได้ยากนัก.

ในอภิธรรมกถานั้น ปกรณ์ ๗ มีอภิธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า

อภิธรรม แม้ในธรรมสังคณีก็จำแนกเป็น ๔ กัณฑ์ มีจิตตุปปาทกัณฑ์เป็นต้น

ถึงจิตตุปปาทกัณฑ์นั้นมีมาติกาเป็นเบื้องต้น ถึงมาติกานั้นก็ยังแบ่งเป็น ๒ คือ

ติกมาติกา และทุกมาติกา. ในมาติกาทั้ง ๒ อย่างนั้น ติกมาติกาเป็นเบื้องต้น

แม้ในติกมาติกาก็มีกุศลติกะเป็นเบื้องต้น ถึงในกุศลติกะก็มีบทนี้ว่า กุสลา

ธมฺมา เป็นเบื้องต้น เพราะฉะนั้น

ตั้งแต่แต่นี้ไป ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย

จงมีจิตสงบ ตั้งใจสดับฟังอภิธรรมกถาอัน

ลึกซึ้งนี้ ซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวอยู่ให้ดีเถิด.

* เริ่มอธิบายติกมาติกา ๒๒ ติกะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ติกะที่ได้ชื่อเพราะบทเบื้องต้น ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา

อพฺยากตา ธมฺมา นี้ ชื่อว่า กุศลติกะก่อน ติกะที่ได้ชื่อเพราะบททั้งปวงว่า

สุขาย เวทนา สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา

ธมฺมา อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา นี้ ชื่อว่า เวทนาติกะ

บัณฑิตพึงทราบชื่อติกะและทุกะ แม้มาติกาทั้งปวงด้วยสามารถแห่งบทเบื้องต้น

หรือบททั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

ติกะและทุกะเหล่านั้นแม้ทั้งหมดท่านแยกไว้ ๑๕ ปริจเฉท คือ ติกะ

มี ๑ ปริจเฉท ทุกะมี ๑๔ ปริจเฉท. ทุกะ ๖ มีคำว่า เหตู ธมฺมา น เหตู

ธมฺมา เป็นต้น เรียกว่า เหตุโคจฉกะ เพราะท่านตั้งไว้เหมือนพวงดอก-

กรรณิการ์โดยการเกี่ยวเนื่องกันและกันทั้งโดยคัมภีร์ และโดยอรรถกถา ต่อจาก

นั้นไป ทุกะ ๗ ทุกะ มีคำอาทิว่า สปฺปจฺจยา ธมฺมา อปฺปจฺจยา ธมฺมา

ดังนี้เป็นทุกะไม่เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน พึงทราบว่า เป็นจูฬันตรทุกะ เพราะ

ท่านเลือกทุกะที่เหมือนกันล้วนตั้งไว้ตามลำดับของโคจฉกะ และเพราะเป็นทุกะ

ที่น้อยกว่าในระหว่างทุกะเหล่าอื่น. ต่อจากนั้น พึงทราบว่าเป็นอาสวโคจฉกะ

ด้วยสามารถแห่งทุกะ ๖ มีอาสวทุกะเป็นต้น. พึงทราบสัญโญชนโคจฉกะด้วย

สามารถแห่งทุกะ ๖ มีสัญโญชนทุกะเป็นต้น.อนึ่ง พึงทราบคัณฐโคจฉกะ

โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ และนีวรณโคจฉกะ ด้วยสามารถแห่งทุกะ ๖ มี

คัณฐะ โอฆะ โยคะ และนีวรณทุกะเป็นต้น. พึงทราบปรามาสโคจฉกะ ด้วย

สามารถแห่งทุกะ ๕ มีปรามาสทุกะเป็นต้น. ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๔ มีคำเป็นต้น

ว่า สารมฺมณา ธมฺมา ชื่อว่า มหันตรทุกะ จากนั้นทุกะ ๘ มีกิเลสทุกะ

เป็นต้น ชื่อว่า กิเลสทุกะ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๘ มี ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

เป็นต้น ชื่อว่า ปิฏิฐทุกะ เพราะท่านดังไว้ในที่สุดแห่งอภิธรรมมาติกา. ส่วน

ทุกะ ๔๒ มีคำว่า วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา เป็นต้น

ชื่อว่า สุตตันตทุกะ ติกะและทุกะเหล่านี้ แม้ทั้งหมด พึงทราบว่าท่านกำหนด

ไว้ ๑๕ ปริจเฉท ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยสัปปเทสะ และนิปปเทสะ

ก็ติกะและทุกะเหล่านี้ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้แล้วยังแยกออกเป็น ๒

โกฏฐาส คือ สัปปเทสะ (แสดงไว้ไม่หมด) และนิปปเทสะ (แสดงโดย

สิ้นเชิง) เท่านั้น. จริงอยู่ บรรดาส่วนทั้ง ๒ นั้น ติกะ ๙ และทุกะ ๗๑ ชื่อว่า

สัปปเทสะ เพราะท่านกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรมไว้ยังไม่หมด. ติกะ ๑๓

ที่เหลือ และทุกะ ๗๑ ชื่อว่า นิปปเทสะ. บรรดาธรรมทั้ง ๒ นั้น ติกะ ๙

เหล่านั้น คือ เวทนาติกะ วิตักกติกะ ปีติติกะ อุปปันติกะ อตีตติกะ

และอารัมมณาติกะ ชื่อว่า สัปปเทสะ. ในทุกะทั้งหลาย ในที่สุดแห่ง

โคจฉกะ ๙ มีเหตุโคจฉกะเป็นต้น มีอุปาทานโคจฉกะเป็นที่สุด มีโคจฉกะละ

๓ ทุกะ ในที่สุดแห่งกิเลสทุกะ มีโคจฉกะละ ๔ ทุกะ มหันตรทุกะอย่างละ ๒

คือ จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตสสฏฺา

ธมฺมา จิตฺตวิสสฏฺา ธมฺมา และในสุตตันตทุกะทั้งหลายเว้นทุกะ ๔ เหล่านี้

คือ อธิวจนทุกะ นิรุตติทุกะ ปัญญัตติทุกะ นามรูปทุกะ ก็ทุกะ ๓๘ ที่เหลือ

เหล่านั้น ชื่อว่า สัปปเทสะ บัณฑิตพึงทราบติกะและทุกะที่เหลือตามที่กล่าว

แล้วแม้ทั้งหมดว่าเป็น นิปปเทสะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ ๑*

บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา

เป็นต้นนี้. กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ

ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก. จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า

ความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสล กจฺจิ โภโต

อนามย (ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่

ท่านผู้เจริญบ้างหรือ). ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิ

ว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช

กายสมาจาโร อนวชฺโช... (ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศล

เป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม

ในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ). ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมี

อาทิว่า กุสโล ตฺว รถสฺส องฺคปจฺจงฺคาน กุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตา

จตุริตฺถิโย (ท่านเป็นผู้ฉลาดในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง ๔ คน

ศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง). ใช้ในอรรถว่า สุขวิบาก

* ได้แก่กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ แจกเป็นขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒ คือ เจตสิก

๓๘ นั้น เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์

กุศลจิต ๒๑ เป็นวิญญาณขันธ์. ได้อายตนะ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๓๘

เป็นธัมมายตนะ ได้ธาตุ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๘ เป็นธรรมธาตุ

ได้สัจจะ ๒ คือ โสกิยกุศลจิต ๑๗ เจตสิก ๓๘ เป็นทุกขสัจจะ องค์มรรค ๘ ในปฐมฌานมรรค

หรือองค์มรรค ๗ ในทุติยฌานมรรคขึ้นไปเป็นมัคคสัจจะ ส่วนธรรมที่เหลือในกุศลบทนี้ ๒๙

เป็นสัจจวิมุตติ (พ้นจากสัจจะ ๔) คือ โลกุตรจิต ๔ ตามลักษณะจิตนับเป็น ๑ เจตสิกที่

เหลือจากองค์มรรค ๘ อีก ๒๔ รวมมัคคจิตตุปบาท ๒๙.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลาน ภิกฺขเว ธมฺมาน สมาทานเหตุ กุสลสฺส

กมฺมสฺส กตตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็น

สุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้

ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง.

ธัมมศัพท์แม้นี้ ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เหตุ คุณ และนิสสัตต-

นิชชีวะเป็นต้น. จริงอยู่ ธัมมศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เช่นในประโยค

มีอาทิว่า ธมฺม ปริยาปุณาติ สุตฺต เคยฺย (กุลบุตรย่อมเล่าเรียนปริยัติ

คือ สุตตะ เคยยะ). ใช้ในอรรถ ว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เหตุมฺหิ

าณ ธมฺมาปฏิสมฺภิทา (ญาณในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา). ใช้ใน

อรรถว่า คุณ เช่นในคาถามีอาทิว่า

น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน

อธมฺโม นิรย เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.

ธรรมและอธรรม ทั้งสองมีวิบาก

เสมอกันหามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก

ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.

ใช้ในอรรถว่า นิสสัตตนิชชีวะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตสฺมึ โข ปน

สมเย ธมฺมา โหนฺติ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วีหรติ (ก็สมัยนั้นแล

นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายย่อมมี และคำว่า ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็น

นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายอยู่). แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า

นิสสัตตนิชชีวะเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

วิเคราะห์ศัพท์ว่า กุศล และธรรม

พึงทราบความหมายของคำว่า กุศล เป็นต้นในที่นี้.

สภาวะที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ยังปาปกธรรมอันบัณฑิตเกลียด

ให้ไหว ให้เคลื่อนไป ให้หวั่นไหว คือให้พินาศ. อีกอย่างหนึ่ง สภาวธรรม

ใด ย่อมผูกพันโดยอาการที่บัณฑิตเกลียด สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กุสะ ธรรม

ที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมถอนขึ้น คือย่อมตัดกุสะ กล่าวคืออกุศล

เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ญาณ ชื่อว่า กุสะ เพราะทำอกุศลอันบัณฑิตเกลียด

ให้สิ้นสุด หรือเบาบาง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า อันญาณ

ชื่อกุสะนั้นพึงตัด คือ พึงถือเอา พึงให้เป็นไปทั่วด้วยกุสญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ย่อมตัดส่วนสังกิเลสที่ถึงส่วน

ทั้งสอง คือ ที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด เหมือนหญ้าคาย่อมบาดส่วนแห่งมือ

ที่ลูบคมหญ้าทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัด

คือ ย่อมทำลายอกุศลเหมือนหญ้าคา ฉะนั้น.

ส่วนภาวะที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้หรือว่า

ย่อมทรงไว้ตามสภาวะ ธรรมที่ชื่อว่า อกุศล เพราะอรรถว่า ไม่ใช่กุศล.

อธิบายว่า ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล เหมือนอมิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร

อโลภะเป็นต้นเป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า อัพยากตะ เพราะ

อรรถว่า ไม่กระทำให้แจ้ง อธิบายว่า ท่านไม่กล่าวไว้โดยความเป็นกุศลและ

อกุศล. ในบรรดาธรรมทั้งสามนั้น กุศลมีความไม่มีโทษและมีวิบากเป็นสุข

เป็นลักษณะ. อกุศลมีโทษและมีทุกข์เป็นวิบากเป็นลักษณะ อัพยากตะมีอวิบาก

เป็นลักษณะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ถามว่า บทเหล่านั้น คือ กุสลา หรือว่า ธมฺมา เป็นต้น มีอรรถ

อย่างเดียวกัน หรือมีอรรถต่างกัน.

ตอบว่า ในข้อนี้เป็นอย่างไร ถ้าภาระทั้งสองนี้มีอรรถเป็นอันเดียวกัน

คำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ก็จะเป็นเช่นกับกล่าวคำว่า กุศล กุศล ถ้าว่ามีอรรถ

ต่างกันก็จะปรากฏว่าติกะและทุกะเป็นฉักกะและจุตกะ และบททั้งหลายก็ไม่เกี่ยว

เนื่องกัน เหมือนเขากล่าวว่า กุศล รูป คนมีจักษุ เมื่อบททั้งหลายไม่ส่อง

ความถึงกันและกันด้วยสามารถแห่งอรรถ ความเกี่ยวข้องกันอะไร ๆ ก็ไม่มี

แม้ในคำว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้นนี้ก็เหมือนกัน บททั้งหลายจะไม่สัมพันธ์กัน

และบททั้งหลายเว้นจากการสัมพันธ์ในบทเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ชื่อว่า

ประโยชน์ย่อมไม่มี และต่อไปก็จะขัดแย้งกับคำถามที่ว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา เพราะว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่กุศล ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้พระภาคเจ้า

จึงตรัสคำนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา. อีกนัยหนึ่ง ถ้าบททั้งหลายเหล่านี้

มีอรรถอย่างเดียวกัน แม้ความที่ธรรมทั้ง ๓ มีกุศลเป็นต้น ก็จะปรากฏเป็น

เช่นเดียวกัน จริงอยู่ ธรรมทั้ง ๓ มีบทแห่งกุศลเป็นต้น ย่อมปรากฏเป็นอัน

เดียวกันโดยความเป็นธรรม เพราะฉะนั้น แม้กุศลเป็นต้นอันมีความหมาย

ไม่ต่างกันโดยอรรถกันธรรม ๓ อย่าง ก็จะปรากฏเป็นอย่างเดียวกันไป คือ

คำใดเป็นกุศล คำนั้นเป็นอกุศล เป็นอัพยากตะ ถ้าหากไม่ยอมรับธรรม ๓

อย่าง เป็นอย่างเดียวกัน ก็จะต้องกล่าวว่า ธรรมที่มีศัพท์ว่า กุศลอยู่ข้างหน้า

เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มีศัพท์ว่า อกุศลอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มี

อัพยากตะอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาวะก็ดี อภาวะอื่น

นอกจากภาวะก็ดี ก็ชื่อว่า ธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมที่มีอกุศลศัพท์ข้างหน้า

ก็นอกไปจากธรรมที่มีกุศลศัพท์อยู่ข้างหน้าซึ่งเป็นภาวะก็จะพึงเป็นอภาวะไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

แม้ธรรมที่มีอัพยากตะอยู่ข้างหน้า แม้ธรรมมีกุศลศัพท์อยู่ข้างหน้าอื่น ก็เป็น

อภาวะเหมือนกัน แม้กุศลเป็นต้นเหล่าอื่นนอกจากธรรมที่ถึงความเป็นอภาวะ

อย่างนี้ ก็พึงเป็นอภาวะนั่นแหละ คำนั้นทั้งหมดไม่ใช่เหตุสำคัญ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะคำทั้งหมดนั้นสำเร็จโดยโวหารที่รู้กัน.

จริงอยู่ โวหารที่เขารู้กัน รับรองกันในอรรถทั้งหลายโดยประการใดๆ

ก็สำเร็จได้โดยประการนั้น ๆ นั่นแหละ ก็การกล่าวถึงธรรมที่มีกุศลเป็นบทหน้า

และการกล่าวถึงกุศลศัพท์ที่มีธรรมเป็นบทหลัง ในคำเป็นต้น กุสลา ธมฺมา

ดังนี้ บัณฑิตทั้งหลายไม่ยอมรับ เพราะไม่มีความหมายต่างกันของตน เหมือน

อย่างที่ไม่รับรองคำอย่างนี้ว่า กุสลา กุสลา และไม่รับรองว่ามีอรรถะที่ส่อง

ถึงกันและกัน ดุจศัพท์ว่า กุสลา รูป จกฺขุมา (กุศล รูป คนมีจักษุ).

ส่วนกุศลศัพท์ ในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ บัณฑิตรับรองแล้ว

โดยส่องถึงอรรถ คือ ความไม่มีโทษ และมีสุขเป็นวิบาก. อกุศลศัพท์ บัณฑิต

รับรองแล้ว โดยความส่องถึงอรรถว่าเป็นโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก. อัพยากต-

ศัพท์ บัณฑิตรับรองโดยความส่องถึงอรรถว่า ไม่มีวิบาก.

ธัมมศัพท์ บัณฑิตรับรองโดยความส่องถึงอรรถว่า มีการทรงไว้ซึ่ง

ภาวะของตนเป็นต้น. ธัมมศัพท์นั้น เมื่อท่านกล่าวไว้ในระหว่างศัพท์เหล่านั้น

ศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง ก็ย่อมแสดงถึงความเสมอกันแห่งอรรถของตน จริงอยู่

ศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ชื่อว่า ธรรม เพราะมีการทรงไว้ซึ่งภาวะของตนเป็นต้น

เป็นลักษณะ และแม้กุศลศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าวอยู่ข้างหน้าของธัมมศัพท์

ก็ย่อมส่องถึงความแปลกกันของอรรถของธัมมศัพท์นั้นของต้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

จริงอยู่ ธรรมเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี ศัพท์

เหล่านั้นทั้งหมด เมื่อกล่าวแยกกัน บัณฑิตทั้งหลายในโลก ก็รับรองเพียง

ส่องความหมายของตน ๆ เมื่อกล่าวรวมกัน ก็ยอมรับเนื้อความที่เสมอกับของตน

และความที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกำหนดถึงเนื้อความที่เป็นอัน

เดียวกันและต่างกันในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ และกระทำให้เป็นข้อที่ควร

ตำหนิ คำทั้งหมดนั้น จึงไม่ใช่เหตุสำคัญด้วยประการฉะนี้. การพรรณนาตาม

บทกุสลติกะเพียงเท่านี้ก่อน. แม้ติกะและทุกะที่เหลือ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.

ว่าด้วยสุขเวทนาติกะที่ ๒

ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงข้อที่แตกต่างกันเท่านั้น.

เบื้องต้นนี้ สุขศัพท์ ในคำว่า สุขาย เวทนา เป็นต้น ท่านใช้ในความหมาย

หลายอย่างมีคำว่า สุขเวทนา สุขมูล สุขารมณ์ สุขเหตุ สุขปัจจยฐาน

อัพยาปัชฌะ และนิพพาน เป็นต้น.

จริงอยู่ สุขศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า สุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า

สุขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า สุขมูล ดังใน

ประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธาน อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก

(ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นมูลแห่งความสุข การปราศจาก

ความกำหนัดเป็นมูลแห่งความสุขในโลก) ใช้ในอรรถว่า สุขารมณ์ ดังใน

ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป สุข สุขานุปติต สุขา-

โวกฺกนฺต (ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปมีอารมณ์เป็นสุข มีสุขตามสนอง

หยั่งลงสู่ความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขเหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺเสต

ภิกฺขเว อธิวจน ยทิท ปุญฺานิ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

นี้นั้น เป็นชื่อเหตุแห่งความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขปัจจยฐาน ดังในประโยค

มีอาทิว่า ยาวญฺจิท ภิกฺขเว น สุกร อกฺขาเนน ปาปุณิตุ ยาว สุขา

สคฺคา น เต สุข ปชานนฺติ เย น ปสฺสนฺติ นนฺทน (ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ด้วยการบอกเล่านี้ มิใช่

ทำได้โดยง่าย และคำว่า เทวดาเหล่าใด ไม่เห็นนันทนวัน . .. เทวดาเหล่านั้น

ย่อมไม่รู้ฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข) ใช้ในอรรถว่า อัพยาปัชฌะ ดัง

ประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา (ธรรมเหล่านี้ เป็น

เครื่องอยู่ ไม่เบียดเบียนในปัจจุบัน) ใช้ในอรรถว่า นิพพาน ดังในประโยคว่า

นิพฺพาน ปรม สุข (พระนิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง) แต่ในที่นี้ สุขศัพท์นี้

ใช้ในสุขเวทนาเท่านั้น. เวทนาศัพท์ใช้ในอรรถว่า เสวยอารมณ์เท่านั้น ดัง

ประโยคมีอาทิว่า วิทิตา เม เวทนา อุปฺปชฺชนติ (เวทนาของเราตถาคต

กำลังปรากฏเกิดขึ้น) ย่อมสมควร.

ว่าด้วยทุกขเวทนา

ทุกขศัพท์ ท่านใช้ในอรรถหลายอย่าง มีคำว่า ทุกขเวทนา ทุกขวัตถุ

ทุกขารัมมณา ทุกขปัจจยฐานะ เป็นต้น.

จริงอยู่ ทุกขศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ดังในประโยค

มีอาทิว่า ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละทุกขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า

ทุกขวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นที่ตั้ง

ของทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข

มหาลิ รูป ทุกข ทุกฺขานุปติต ทุกฺขาโวกฺกนฺต (ดูก่อนมหาลิ

ก็เพราะเหตุรูปอารมณ์เป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์) ใช้ใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

อรรถว่า ทุกขปัจจัย ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย

(การสั่งสมบาป เป็นปัจจัยแห่งทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจยฐาน ดังใน

ประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิท ภิกฺขเว น สุกร อกฺขาเนน ปาปุณิตตุ

ยาว ทุกฺขา นิรยา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานปัจจัยแห่งทุกข์จนกระทั่ง

ถึงนรกด้วยการบอกเล่านี้ กระทำไม่ได้ง่าย). แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้พึงทราบ

ว่าเป็นทุกขเวทนาเท่านั้น.

ว่าด้วยความหมายของศัพท์

ก็พึงทราบวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ในที่นี้

ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย.

ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก.

ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ทุกข์ และไม่ใช่สุข.

อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเชื่อมบท.

ธรรมมีสุขเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้

คือ ย่อมเสวยรสชองอารมณ์. บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนามีความเสวย

อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ ทุกขเวทนา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่น่า

ปรารถนาเป็นลักษณะ อทุกขมสุขเวทนามีการเสวยอารมณ์ผิดแปลกจากเวทนา

ทั้งสอง.

ว่าด้วยสัมปยุตตะ

ก็สัมปยุตศัพท์ ในบทแห่งเวทนา ๓ นี้ พึงทราบดังนี้

ชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบด้วยการกระทำต่าง ๆ

โดยชอบ. ถามว่า การกระทำต่าง ๆ อย่างไร ตอบว่า ด้วยการทำทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

มีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น. ถามว่า ธรรมบางเหล่า สัมปยุตด้วยธรรม

บางเหล่าไม่มีหรือ. ตอบว่า ใช่ (ไม่มี) เพราะปฏิเสธปัญหานี้ ด้วยประการ

ฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวอรรถแห่งสัมปโยค ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลายมีการ

เกิดพร้อมกันเป็นต้น อย่างนี้ว่า ธรรมบางเหล่าสหรคต เกิดพร้อม ระคนกัน

เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน มีอยู่มิใช่หรือ

เพราะฉะนั้น ธรรมชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบแล้วด้วย

การทำทั่ว โดยชอบ คือ มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเหล่านี้.

ว่าด้วยวิปากติกะที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งวิบาก ต่อไป

ชื่อว่า วิบาก เพราะอรรถว่า เป็นผลของกุศล และอกุศลกรรม

ทั้งหลายซึ่งพิเศษกว่ากันและกัน คำว่า วิบากนี้ เป็นชื่อของอรูปธรรมทั้งหลายของ

ที่ถึงความเป็นวิบาก. บทว่า วิปากธมฺมธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายของ

วิบากรรมทั้งหลาย คือ ธรรมทั้งหลายอันยังวิบากให้เกิดขึ้น เหมือนสัตว์

ทั้งหลายมีความเกิดและความแก่เป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่ความเกิดและความแก่

ท่านเรียกว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา อธิบายว่า ธรรม

ทั้งหลายมีวิบากเป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่วิบาก เพราะความที่ธรรมเหล่านี้

ยังวิบากให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้. บทที่ ๓ ท่านกล่าวไว้โดยการปฏิเสธ

สภาวะทั้งสอง.

ว่าด้วยอุปาทินนติกะที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอุปาทินนุปาทานิยธรรมต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทินนะ เพราะกรรมประกอบด้วยตัณหาเป็นต้น

ด้วยสามารถกระทำให้เป็นอารมณ์ ยืดถือเอาแล้ว คือ ถือเอาโดยความเป็นผล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ที่ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่อุปทานทั้งหลาย โดย

เข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วสัมพันธ์กับอุปาทาน. คำว่า อุปาทานิยะ นี้

เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของอุปาทาน. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทา-

นิยะ เพระอรรถว่า เป็นอุปาทินนะด้วยเป็นอุปาทานิยะด้วย คำว่า อุปา-

ทินนุปาทานิยะ นี้ เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้น

ด้วยกรรมที่มีอาสวะ. ใน ๒ บทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความอันประโยชน์เกื้อกูล

แก่การปฏิเสธโดยนัยนี้.

ว่าด้วยสังกิลิฏฐติกะที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง.

อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือให้สัตว์เร่าร้อน. ที่ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ เพราะ

ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ย่อม

ควรแก่สังกิเลสโดยทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป หรือว่าเข้าไปประกอบใน

สังกิเลส โดยความไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้น. คำว่า สังกิเล-

สิกะ นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสังกิเลส. ชื่อว่า

สังกิลิฏฐสังกิเลสกะ เพราะอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังกิลิฎฐะด้วยเป็น

สังกิเลสิกะด้วย สอง บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในติกะต้นนั่นแหละ.

ว่าด้วยวิตักกติกะที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งวิตักกะ ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกะ เพราะเป็นไปกับด้วยวิตก คือเป็นไปอยู่

ด้วยสู่มารถแห่งสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า สวิจาระ เพราะเป็นไปกับด้วยวิจาระ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ เพราะธรรมเหล่านั้นมีวิตกและมีวิจาร. ธรรม

ที่เว้นจากวิตกและวิจารทั้งสอง ชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ ธรรมที่ชื่อว่า

วิจารมัตตะ (สักว่าวิจาร) เพราะอรรถว่า บรรดาวิตกและวิจาร ธรรมมีเพียง

วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ อธิบายว่า ธรรมนั้นนอกจากวิจารแล้ว ย่อมไม่

สัมปโยคะกับวิตก. ธรรมเหล่านั้นไม่มีวิตกด้วย มีเพียงวิจารด้วย เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตา.

ว่าด้วยปีติติกะที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งปีติธรรม ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า ปิติสหคตะ เพราะอรรถว่า ถึงภาวะแห่งสัมปโยคะ

มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นร่วมกับปีติ อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปีติ. แม้ใน ๒

บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็อทุกขมสุขเวทนาท่านกล่าวไว้ในบทที่ ๓ นี้ว่า

อุเบกขา เพราะว่า อุเบกขานั้นเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ซึ่งความเป็นไปแห่งอาการ

ของสุขและทุกข์ คือ ไม่ให้เป็นไปอยู่ตามอาการแห่งสุขและทุกข์นั้น จึงชื่อว่า

อุเบกขา เพราะความดำรงอยู่โดยอาการแห่งความเป็นกลาง เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวติกะนี้ โดยถือเอา ๒ หมวดจากเวทนาติกะนั่นแหละ แล้วแสดง

สุขไม่มีปีติให้แปลกจากสุขที่มีปีติ.

ว่าด้วยทัสสนติกะที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งทัสสนธรรม ต่อไป.

บทว่า ทสฺสเนน ได้แก่โสดาปัตติมรรค จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก ส่วน

โคตรภูญาณ ย่อมเห็นพระนิพพานก่อนกว่าแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โคตรภูญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

นั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มาสู่สำนัก

ของพระราชาด้วยกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระราชาผู้ประทับบน

คอช้างกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า ท่านเฝ้า

พระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า เพราะความที่

กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำ ฉันใด โคตรภูญาณ แม้เห็นพระ-

นิพพานแล้วก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรกระทำฉันนั้น

เหมือนกัน. ทุติยบทว่า ภาวนาย ได้แก่ มรรคทั้ง ๓ ที่เหลือ. จริงอยู่

มรรคทั้ง ๓ ที่เหลือย่อมเกิด ขึ้นในธรรมอันปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละ ด้วย

สามารถแห่งภาวนา ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยเห็น เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ภาวนา. บทที่ ๓ กล่าวไว้ด้วยการปฏิเสธ

บททั้ง ๒ ข้างต้น.

ว่าด้วยทัสสนเหตุติกะที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในติกะในลำดับต่อไป

เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค มีอยู่ด้วยแก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุกา. แม้ในทุติยบทก็นัยนี้

เหมือนกัน. ในตติยบทไม่พึงถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดา-

ปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความ

อย่างนี้ว่า เหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรคก็มิใช่ และด้วยมรรคเบื้องบน ๓

(ภาวนา) ก็ไม่ใช่ มีอยู่แก่ธรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่อถือเอาความนอกจากนี้ ก็

ไม่พึงถืออเหตุกธรรม เพราะว่า เหตุเท่านั้นไม่มีแก่ธรรมเหล่านั้น แม้ในสเหตุก

ธรรมทั้งหลาย ธรรมใดที่ละด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค ๓ เบื้องบนพึงมีได้.

การละธรรมที่ไม่มีเหตุ ย่อมถูกต้อง การละธรรมที่มีเหตุ ย่อมไม่ถูก. เพราะว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เหตุของธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวว่าไม่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค

และมรรค ๓ เบื้องบน ธรรมเหล่านั้น พระองค์มิได้ตรัสไว้ และแม้เหตุและ

ธรรมทั้ง ๒ นี้ก็ไม่ประสงค์เอา เพราะฉะนั้น พึงถือเอาเนื้อความนี้ว่า เหตุ

ธรรมทั้งหลายไม่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่พึงละด้วยมรรค ๓ เบื้องบน

มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค

ก็มิใช่ ด้วยมรรค ๓ เบื้องบนก็มิใช่.

ว่าด้วยอาจยคามิติกะที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอาจยคามิธรรม ต่อไป.

ธรรมใด อันกรรมและกิเลสย่อมก่อสร้างไว้ เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น

จึงชื่อว่า อาจยะ คำว่า อาจยะ นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นไปของ

สัตว์ผู้ดำเนินไปสู่ปฏิสนธิ และจุติ. อธิบายว่า กรรมและกิเลสทั้งหลายย่อม

ถึงปฏิสนธิและจุตินั้น หรือว่า ย่อมยังบุคคลนั้นให้เป็นไปโดยเป็นเหตุให้

ปฏิสนธินั้นสำเร็จ ตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า อาจย-

คามิโน เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้ถึงปฏิสนธิและจุติ. คำว่า อาจยคามิ นี้

เป็นชื่อของกุศลและอกุศลที่มีอาสวะ พระนิพพานปราศจากความก่อ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า อปัจจยะ เพราะปราศจากความก่อคือปฏิสนธิและจุตินั้น

นั่นแหละ ธรรมเหล่าใดย่อมถึงพระนิพพานอันเป็นอปัจจัย ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า

อปัจจยคามิโน เพราะกระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์เป็นไป. คำว่า

อปัจจยคามี นี้ เป็นชื่อของอริยมรรค. อีกอย่างหนึ่ง กรรมและกิเลสเหล่าใด

ก่อสร้างยังปฏิสนธิและจุติให้เป็นไปอยู่ เหมือนช่างอิฐก่อกำแพง เพราะเหตุนั้น

กรรมและกิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่า อาจยคามิโน. ธรรมเหล่าใดไม่ก่อสร้างปฎิ-

สนธิและจุตินั้นให้เป็นไป เหมือนบุรุษทำลายอิฐที่ก่อสร้างแล้ว ๆ เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อปัจจยคามิโน บทที่ ๓ ท่านกล่าวปฏิเสธ ๒ บทต้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ว่าด้วยเสกขติกะที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งเสกธรรม ต่อไป.

ชื่อว่า เสกขะ เพราะเกิดแล้วในสิกขา ๓ ดังนี้บ้าง ชื่อว่า เสกขะ

เพราะเป็นธรรมของพระเสกขะ ๗ ดังนี้บ้าง ชื่อว่า เสกขะ เพราะกำลังศึกษา

อยู่โดยยังไม่สำเร็จการศึกษานั่นแหละ. ชื่อว่า อเสกขะ เพราะไม่ต้องศึกษา

เพราะไม่มีสิ่งที่พึงศึกษาให้ยิ่งขึ้นไปอีก. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อเสกขะ เพราะ

พระอเสกขบุคคลถึงความเจริญที่สุดแล้ว. ค่าว่า อเสขะ นี้ เป็นชื่อของธรรม

คืออรหัตผล. บทที่ ๓ ท่านกล่าวไว้โดยปฏิเสธ ๒ บทข้างต้น.

ว่าด้วยปริตติกะที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งปริตตธรรม ต่อไป.

วัตถุมีประมาณน้อย เรียกว่า ปริตตะ เพราะเป็นของแตกหักไป

รอบด้าน เหมือนในประโยคมีอาทิ ปริตฺต โคมยปิณฺฑ (ก้อนขี้วัวเล็กน้อย)

แม้ธรรมเหล่านี้ ก็เปรียบเหมือนของเล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ ปริตตะ

เพราะมีอานุภาพน้อย. คำว่า ปริตตะ นี้ เป็นชื่อของกามาวจร. ธรรมที่

ชื่อว่า มหัคคตะ เพราะอรรถว่า ถึงความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลส

เพราะมีผลไพบูลย์ และเพราะความสืบต่อยาวนาน หรือว่า บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว

ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ ปัญญา ดังนี้บ้าง. ธรรม

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นกระทำให้มีประมาณ ชื่อว่า ประมาณธรรม ธรรม

ทั้งหลายที่ชื่อ ไม่มีประมาณ เพราะอรรถว่าประมาณธรรมไม่มีแก่ธรรมเหล่านี้

โดยอารมณ์ หรือโดยสัมปโยคะ และเป็นธรรมปฏิเสธประมาณธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ว่าด้วยปริตตารัมมณติกะที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งปริตตารัมมณธรรม ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า ปริตตารัมมณะ เพราะอารมณ์ของธรรมเหล่านี้เล็ก

น้อยแม้ใน ๒ บทที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

ว่าด้วยหีนติกะที่ ๑๔

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งหีนธรรม ต่อไป.

บทว่า หีนา ได้แก่ ลามก คือ อกุศลธรรม. ธรรมทั้งหลายมีใน

ท่ามกลางแห่งธรรมอันลามกและประณีต มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น

จึงชื่อว่า มัชฌิมา คือ ธรรมที่เป็นไปโนภูมิ ๓ นอกจากหีนะและปณีตธรรม.

โลกุตระ ชื่อว่า ธรรมอันประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด และอรรถว่า

ชุ่มชื่นยิ่ง ไม่เร่าร้อน.

ว่าด้วยมิจฉัตตติกะที่ ๑๕

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งมิจฉัตตธรรม ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า มิจฉัตตะ เพราะอรรถว่า ชนทั้งหลายแม้มีความหวัง

อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้จักนำประโยชน์และความสุขมาให้แก่เรา ดังนี้ ก็ไม่ได้

เหมือนอย่างนั้นเลย เพราะภาวะของตนเป็นความเห็นผิดจากความเป็นไปอัน

วิปริต แม้ในอสุภะเป็นต้นว่าเป็นสุภะเป็นต้น. เมื่อการให้วิบากมีอยู่ ธรรม

เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิยตะ เพราะการให้วิบากในระหว่างแห่งการทำลายขันธ์

นั่นแหละ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นมิจฉัตตะด้วยเป็นนิยตะด้วย เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า มิจฉัตตนิยตา. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมัตตะ เพราะอรรถว่า

เป็นสภาวะโดยชอบด้วยอรรถอันผิดจากมิจฉัตตะที่กล่าวแล้ว ธรรมเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

เป็นสัมมัตตะด้วย เป็นนิยตะด้วยโดยให้ผลไม่มีระหว่างคั่นนั่นแหละ เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า สัมมัตตนิยตา. ธรรมเหล่าใดให้ผลไม่แน่นอน แม้โดยประการ

แห่งบททั้งสองที่กล่าวแล้วมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า

อนิยตา.

ว่าด้วยมัคคารัมมณติกะที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งมัคคารัมมณธรรม ต่อไป.

ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมแสวงหา ย่อมค้นหาพระนิพพาน

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. มรรค

เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคา-

รัมมณะ (มีมรรคเป็นอารมณ์. มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นเหตุ

ของธรรมเหล่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น

จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรคเป็นเหตุ). เหตุทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรค

หรือว่า เหตุทั้งหลายในมรรค ชื่อว่า มัคคเหตุ. มัคคเหตุเหล่านั้นเป็นเหตุ

ของธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา (มีมรรค

เป็นเหตุ). สัมมาทิฏฐิเองเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุ. ธรรมที่เป็นทั้งมรรคเป็นทั้งเหตุเหล่านั้น มีอยู่.

แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคเหตุกา.

มรรคเป็นอธิบดีของธรรมเหล่านั้น ด้วยอรรถว่าครอบงำให้เป็นไป เพราะ

ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มัคคาธิปติ.

ว่าด้วยอุปปันนติกะที่ ๑๗

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอุปปันนธรรม ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เป็นไปทั่วจำเดิมแต่

อุปปาทขณะจนถึงภังคขณะอันยังไม่เลยไป. ธรรมที่ไม่ใช่อุปปันนะ เรียกว่า

อนุปปันนะ ธรรมใดจักเกิดขึ้นแน่นอนเพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งเหตุที่สำเร็จ

แล้ว เพราะฉะนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า อุปปาทิ.

ว่าด้วยอตีตติกะที่ ๑๘

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอตีตธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า อตีตะ เพราะอรรถว่า ถึงสภาวะของตน หรือถึง

อุปปาทขณะเป็นต้นแล้วก็ล่วงเลยไป. ธรรมที่ยังไม่ถึงสภาวะของตน หรืออุป-

ปาทขณะเป็นต้นทั้งสองนั้น ชื่ออนาคตะ ธรรมที่อาศัยเหตุนั้น ๆ เกิดขึ้น

ชื่อว่า ปัจจุปปันนะ.

ว่าด้วยอนันตรติกะที่ ๑๙

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอนันตรธรรม เป็นต้น

อดีตธรรมที่เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรม

เหล่านั้น จึงชื่อว่า อตีตารัมมณะ แม้สองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยอัชฌัตตติกะที่ ๒๐

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งอัชฌัตตธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า กระทำของตนให้เป็นใหญ่เหมือน

ประสงค์เอาอย่างนี้ว่า พวกเราเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พวกเราก็จักยึดถือเป็นอัตตา

ดังนี้. ส่วนอัชฌัตตศัพท์นี้ใช้ในความหมาย ๔ อย่างคือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

โคจรัชฌัตตะ (อารมณ์ทั่วไป)

นิยกัชฌัตตะ (ธรรมที่เกิดอยู่ในตน)

อัชฌัตตัชฌัตตะ (อัชฌัตตายตนะ ๖)

วิสยัชฌัตตะ (ผลสมาบัติ ).

จริงอยู่ อัชฌัตตศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า โคจรัชฌัตตะ เหมือนใน

ประโยคมีอาทิว่า เตนานนฺท ภิกฺขุนา ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ สมาธินิมิตฺเต

อชฺฌตฺตเมว จิตฺต สณฺเปตพฺพ, อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต (ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตอันมีอารมณ์ในภายในนั้นแหละให้มั่นในสมาธินิมิต

เดิมนั้นนั่นแหละ เธอมีความยินดีแล้วในภายใน มีจิตตั้งมั่นแล้ว ). ใช้ใน

อรรถว่า นิยกัชฌัตตะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า อชฺฌตฺต สมฺปสาทน,

อชฺฌตฺต วา ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ (ความผ่องใสภายใน ภิกษุ

มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายในภายในอยู่). ใช้ในอรรถว่า อัช-

ฌัตตัชฌัตตะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ฉ อชฺฌตฺติกา อายตนานิ

(อายตนะ ๖ เป็นไปในภายใน). ใช้ในอรรถว่า วิสยัชฌัตตะ เหมือนใน

ประโยคมีอาทิว่า อย โข ปนานนฺท วิหาโร ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺโธ ยทิท

สพฺพนิมิตฺตาน อมนสิการา อชฺฌตฺต สุญฺต อุปสมฺปชฺช วิหรติ

(ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมเป็นเครื่องอยู่นี้แล อันตถาคตตรัสรู้ชอบยิ่งแล้วซึ่ง

ตถาคตเข้าถึงสุญญตะ อันเป็นภายในเพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่).

อธิบายว่า ใช้ในฐานะอันยิ่งใหญ่. จริงอยู่ ผลสมาบัติ ชื่อว่า ฐานะอันยิ่ง

ใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนอัชฌัตตศัพท์ในที่นี้ ประสงค์เอานิยกัช-

ฌัตตะ เพราะฉะนั้น ธรรมที่เป็นไปในสันดานของตนเป็นเฉพาะแต่ละบุคคล

พึงทราบว่า เป็นอัชฌัตตธรรม. ส่วนธรรมที่เป็นภายนอกจากอัชญัตตธรรมนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า พหิทธรรม

บทที่ ๓ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบททั้ง ๒.

ส่วนหมวด ๓ แห่งอนันตระ (อตีตารัมมณติกะ) ท่านกล่าวกระทำ

ธรรมแม้ทั้ง ๓ ประการ (อัชฌัตตะเป็นต้น ) เหล่านั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์

เป็นไป.

ว่าด้วยสนิทัสสนติกะที่ ๒๒

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งสนิทัสสนธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า สนิทัสสนะ เพราะเป็นไปกับด้วยความเห็นกล่าวคือ

ความที่รูปนั้นอันจักขุวิญญาณพึงเห็น. ธรรมที่ชื่อว่า สัปปฏิฆะ เพราะเป็นไป

กับด้วยปฏิฆะ. กล่าวคือความเป็นคือการกระทบ. ธรรมเหล่านั้นเป็นไปกับด้วย

การเห็นและการกระทบ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สนิทัสสนะ

สัปปฏิฆะ. นิทัสสนธรรม กล่าวคือความที่รูปอันจักขุวิญญาณพึงเห็นไม่มี

แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนิทัสสนะ ธรรม

เหล่านั้นเป็นอนิทัสสนะด้วย เป็นสัปปฏิฆะด้วยโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

ชื่อว่า อนิทัสสนสัปปฏิฆะ. บทที่ ๓ ท่านปฏิเสธทั้ง ๒ บท.

นี้เป็นการพรรณนาตามบทติกมาติกาเพียงเท่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

ทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ

อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ

เหตุโคจฉกะ

หมวดที่ ๑ มี ๖ ทุกะ คือ

[๒] ๑. เหตุทุกะ

เหตู ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุ

นเหตู ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุ

๒. สเหตุกทุกะ

สเหตุกา ธมฺมา ธรรมมีเหตุ

อเหตุกา ธมฺมา ธรรมไม่มีเหตุ

๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ

เหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุ

เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากเหตุ

๔. เหตุสเหตุทุกะ

เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ ธรรมเป็นเหตุและมีเหตุ

สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู ธรรมมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ

เหตู เจว ธมฺมา เหตุสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

น จ เหตู

๖. นเหตุสเหตุกทุกะ

น เหตู โข ปน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

สเหตุกาปิ

น เหตู โข ปน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

อเหตุกาปิ

จูฬันตรทุกะ

หมวดที่ ๒ มี ๗ ทุกะ คือ

[๓] ๗-๑. สัปปัจจยทุกะ

สปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมมีปัจจัย

อปฺปจฺจยา ธมฺมา ธรรมไม่มีปัจจัย

๘-๒. สังขตทุกะ

สงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นสังขตะ

อสงฺขตา ธมฺมา ธรรมเป็นอสังขตะ

๙-๓. สนิทัสสนทุกะ

สนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นได้

อนิทสฺสนา ธมฺมา ธรรมที่เห็นไม่ได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

๑๐-๔. สัปปฏิฆทุกะ

สปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบได้

อปฺปฏิฆา ธมฺมา ธรรมที่กระทบไม่ได้

๑๑-๕. รูปิทุกะ

รูปิโน ธมฺมา ธรรมเป็นรูป

อรูปิโน ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูป

๑๒-๖. โลกิยทุกะ

โลกิยา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกิยะ

โลกุตฺตรา ธมฺมา ธรรมเป็นโลกุตระ

๑๓-๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ

เกนจิ วิเยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ได้

เกนจิ น วิญฺเยฺยา ธมฺมา ธรรมที่จิตบางอย่างรู้ไม่ได้

อาสวโคจฉกะ

หมวดที่ ๓ มี ๖ ทุกะ คือ

[๔] ๑๔-๑. อาสวทุกะ

อาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอาสวะ

โน อาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอาสวะ

๑๕-๒. สาสวทุกะ

สาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ

อนาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

๑๖-๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ

อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ

อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ

๑๗-๔. อาสวสาสวทุกะ

อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ ธรรมเป็นอาสวะ และเป็นอารมณ์ของ

อาสวะ

สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่ไม่

เป็นอาสวะ

๑๘-๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ

อาสวา เจว ธมฺมา อาสวา- ธรรมเป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วย

สมฺปยุตฺตา จ อาสวะ

อาสวสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็น

โน จ อาสวา อาสวะ

๑๙-๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ

อาสววิปปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่ธรรมเป็น

สาสวปิ อารมณ์ของอาสวะ

อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็น

อนาสวาปิ อารมณ์ของอาสวะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

สัญโญชนโคจฉกะ

หมวดที่ ๔ มี ๖ ทุกะ คือ

[๕] ๒๐-๑. สัญโญชนทุกะ

สญฺโชนา ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์

โน สญฺโชนา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์

๒๑-๒. สัญโญชนิยทุกะ

สญฺโชนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

อสญฺโชนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

๒๒-๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ

สญฺโชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์

สญฺโชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์

๒๓-๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ

สญฺโชนา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์ และเป็นอารมณ์

สญฺโชนิยา จ ของสัญโญชน์

สญฺโชนิยา เจว ธมฺมา โน ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ แต่ไม่

จ สญฺโชนา เป็นสัญโญชน์

๒๔-๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ

สญฺโชนา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วย

สญฺโชนสมฺปยุตฺตา จ สัญโญชน์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

สญฺโชนสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ แต่ไม่เป็น

โน จ สญฺโชนา สัญโญชน์

๒๕-๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ

สญฺโชนวิปฺปยุตตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ แต่เป็น

ธมฺมา สญฺโชนิยาปิ อารมณ์ของสัญโญชน์

สญฺโชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ และไม่

ธมฺมา อสญฺโชนิยาปิ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์

คันถโคจฉกะ

หมวดที่ ๕ มี ๖ ทุกะ คือ

[๖] ๒๖-๑. คันถทุกะ

คนฺถา ธมฺมา ธรรมเป็นคันถะ

โน คนฺถา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นคันถะ

๒๗-๒. คันถนิยทุกะ

คนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ

อคนฺถนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ

๒๘-๓. คันถสัมปยุตตทุกะ

คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ

คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตตจากคันถะ

๒๙-๔. คันถคันถนิยทุกะ

คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยา จ ธรรมเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของ

คันถะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

คนฺถนิยา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา ธรรมเป็นอารมณ์ของคันถะ แต่ไม่

เป็นคันถะ

๓๐-๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ

คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถสมฺปยุตฺตา จ ธรรมเป็นคันถะ และสัมปยุตด้วยคันถะ

คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยคันถะ แต่ไม่เป็น

โน จ คนฺถา คันถะ

๓๑-๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ

คนฺถวิปปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากคันถะ แต่เป็นอารมณ์

คนฺถนิยาปิ ของคันถะ

คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็น

อคนฺถนิยาปิ อารมณ์ของคันถะ

โอฆโคจฉกะ

หมวดที่ ๖ มี ๖ ทุกะ คือ

[๗] ๓๒-๑. โอฆทุกะ

โอฆา ธมฺมา ธรรมเป็นโอฆะ

โน โอฆา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโอฆะ

๓๓-๒. โอฆนิยทุกะ

โอฆนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะ

อโนฆนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

๓๔-๓. โอฆสัมปยุตตทุกะ

โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ

โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ

๓๕-๔. โอฆโอฆนิยทุกะ

โอฆา เจว ธมฺมา โอฆนิยา จ ธรรมเป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของ

โอฆะ

โอฆนิยา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา ธรรมเป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็น

โอฆะ

๓๖-๕. โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ

โอฆา เจว ธมฺมา โอฆ- ธรรมเป็นโอฆะ และสัมปยุตด้วยโอฆะ

สมฺปยุตฺตา จ

โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโอฆะ แต่ไม่เป็น

โน จ โอฆา โอฆะ

๓๗-๖. โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ

โอฆวิปฺปยุตฺตา โน ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ แต่เป็นอารมณ์

โอฆนิยาปิ ของโอฆะ

โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโอฆะ และไม่เป็น

อโนฆนิยาปิ อารมณ์ของโอฆะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

โยคโคจฉกะ

หมวดที่ ๗ มี ๖ ทุกะ คือ

[๘] ๓๘-๑. โยคทุกะ

โยคา ธมฺมา ธรรมเป็นโยคะ

โน โยคา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นโยคะ

๓๙-๒. โยคนิยทุกะ

โยคนิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะ

อโยคนิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ

๔๐-๓. โยคสัมปยุตตทุกะ

โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะ

โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ

๔๑-๔. โยคโยคนิยทุกะ

โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ ธรรมเป็นโยคะ และเป็นอารมณ์ของ

โยคะ

โยคนิยา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมเป็นอารมณ์ของโยคะแต่ไม่เป็น

โยคะ

๔๒-๕. โยคโยคสัมปยุตตทุกะ

โยคา เจว ธมฺมา โยคสมฺปสยุตฺตา จ ธรรมเป็นโยคะ และสัมปยุตด้วยโยคะ

โยคาสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โยคา ธรรมสัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

๔๓-๖. โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ

โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ แต่เป็นอารมณ์

โยคนิยาปิ ของโยคะ

โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากโยคะ และไม่เป็น

อโยคนิยาปิ อารมณ์ของโยคะ

นีวรณโคจฉกะ

หมวดที่ ๘ มี ๖ ทุกะ คือ

[๙] ๔๔-๑. นีวรณทุกะ

นีวรณา ธมฺมา ธรรมเป็นนิวรณ์

โน นีวรณา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นนิวรณ์

๔๕-๒. นีวรณิยทุกะ

นีวรณา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์

อนีวรณิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

๔๖-๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ

นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์

นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์

๔๗-๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ

นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ ธรรมเป็นนิวรณ์ และเป็นอารมณ์ของ

นิวรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา ธรรมเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ แต่ไม่เป็น

นิวรณ์

๔๘-๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ

นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณ ธรรมเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์

สมฺปยุตฺตา จ

นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ ธรรมสัมปยุตด้วยนิวรณ์ แต่ไม่เป็น

นีวรณา นิวรณ์

๔๙-๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ

นีวรณวิปฺปยุตฺต่ โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์

นีวรณิยาปิ ของนิวรณ์

นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากนิวรณ์ และไม่เป็น

อนีวรณิยาปิ อารมณ์ของนิวรณ์

ปรามาสโคจฉกะ

[๑๐] หมวดที่ ๙ มี ๕ ทุกะ คือ

๕๐-๑. ปรามาสทุกะ

ปรามาสา ธมฺมา ธรรมเป็นปรามาสะ (ทิฏฐิ)

โน ปรามาสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นปรามาสะ

๕๑-๒. ปรามัฏฐทุกะ

ปรามฏฺา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ

อปรามฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

๕๒-๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ

ปรามาสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยปรามาสะ

ปรามาสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ

๕๓-๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ

ปรามาสา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นปรามาสะ และเป็นอารมณ์

ปรามฏฺา จ ของปรามาสะ

ปรามฏฺา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของปรามาสะ แต่

โน จ ปรามาสา ไม่เป็นปรามาสะ

๕๔-๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ

ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปร ธมฺมา ธรรมวิปปยุสตจากปรามาสะ แต่เป็น

ปรามฏฺาปิ อารมณ์ของปรามาสะ

ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็น

ธมฺมา อปราฏฺปิ อารมณ์ของปรามาสะ

มหันตรทุกะ

[๑๑] หมวดที่ ๑๐ มี ๑๔ ทุกะ คือ

๕๕-๑. สารัมมณทุกะ

สารมฺมณา ธมฺมา ธรรมมีอารมณ์

อนารมฺมณา ธมฺมา ธรรมไม่มีอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

๕๖-๒. จิตตทุกะ

จิตฺตา ธมฺมา ธรรมเป็นจิต

โน จิตฺตา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นจิต

๕๗-๓. เจตสิกทุกกะ

เจตสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเจตสิก

อเจตสิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเจตสิก

๕๘-๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ

จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยจิต

จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากจิต

๕๙-๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ

จิตฺตสสฏฺา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิต

จิตฺตวิสสฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิต

๖๐-๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ

จิตฺตสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน

โน จิตฺตสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

๖๑-๗. จิตตสหภูทุกะ

จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมเกิดร่วมกับจิต

โน จิตฺตสหภุโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต

๖๒-๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ

จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมอันเกิดคล้อยตามจิต

โน จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

[๑๑] ๖๓-๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ

จิตฺตสสฏฺสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน

โน จิตฺตสสฏฺสมุฏฺานา ธมฺมา ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน

๖๔-๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ

จิตฺตสสฏฺสมุฏฺานสหภุโน ธมฺมา ธรรมเจือกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน

และเกิดร่วมกับจิต

โน จิตฺตสสฏฺานสหภุโน ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ธมฺมา และไม่เกิดร่วมกับจิต

๖๕-๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ

จิตฺตสสฏฺฐสมุฏฺานา- ธรรมเจือกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ

นุปริวตฺติโน ธมฺมา เกิดคล้อยตามจิต

โน จิตฺตสสฏฺสมุฏฺานา ธรรมไม่เจือกับจิตไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นุปริวตฺติโน ธมฺมา และไม่เกิดคล้อยตามจิต

๖๖-๑๒. อัชฌัตติกทุกะ

อชฺฌตฺติกา ธมฺมา ธรรมเป็นภายใน

พาหิรา ธมฺมา ธรรมเป็นภายนอก

๖๗-๑๓. อุปาทาทุกะ

อุปาทา ธมฺมา ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด

โน อุปาทา ธมฺมา ธรรมไม่อาศัยหาภูตรูปเกิด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

๖๘-๑๔. อุปาทินนทุกะ

อุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง

อนุปาทินฺนา ธมฺมา ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วย

ตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง

อุปทานโคจฉกะ

หมวดที่ ๑๑ มี ๖ ทุกะ คือ

[๑๒] ๖๙-๑. อุปาทานทุกะ

อุปาทานา ธมฺมา ธรรมเป็นอุปทาน

โน อุปาทานา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอุปาทาน

๗๐-๒. อุปาทานิยทุกะ

อุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปทาน

อนุปาทานิยา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอุปทาน

๗๑-๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ

อุปาทานสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปทาน

อุปาทานวิปฺยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากอุปทาน

๗๒-๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ

อุปาทานา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของ

อุปาทานิยา จ อุปาทาน

อุปาทานิยา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอุปทาน แต่ไม่

โน จ อุปทานา เป็นอุปทาน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

๗๓-๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ

อุปาทานา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วย

อุปาทานสมฺปยุตฺตา จ อุปทาน

อุปาทานสมฺยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยอุปาทาน แต่ไม่เป็น

โน จ อุปาทานา อุปทาน

๗๔-๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานนิยทุกะ

อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากอุปทาน แต่เป็น

ธมฺมา อุปาทานิยาปิ อารมณ์ของอุปทาน

อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากอุปาทาน และไม่เป็น

ธมฺมา อนุปาทานิยปิ อารมณ์ของอุปทาน

กิเลสโคจฉกะ

หมวดที่ ๑๒ มี ๘ ทุกะ คือ

[๑๓] ๗๕-๑. กิเลสทุกะ

กิเลสา ธมฺมา ธรรมเป็นกิเลส

โน กิเลสา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกิเลส

๗๖-๒. สังกิเลสิกทุกะ

สงฺกิเลสิกา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส

อสงฺกิเลสิก ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส

๗๗-๓. สังกิลิฏฐทุกะ

สงฺกิลิฏฺา ธมฺมา ธรรมเศร้าหมอง

อสงฺกิลิฏฺา ธมฺมา ธรรมไม่เศร้าหมอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

๗๘-๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ

กิเลสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส

กิเลสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา ธรรมวิปปยุตจากกิเลส

๗๙-๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ

กิเลสา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของ

สงฺกิเลสิกา จ สังกิเลส

สงฺกิเลสิกา เจว ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของสังกิเลส แต่ไม่

โน จ กิเลสา เป็นกิเลส

๘๐-๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ

กิเลสา เจว ธมฺมา สงฺกิลิฏฺา จ ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง

สงฺกิลิฏฺา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส

๘๑-๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ

กิเลสา เจว ธมฺมา กิเลส ธรรมเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส

สมฺปยุตฺตา จ

กิเลสสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา ธรรมสัมปยุตด้วยกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส

โน จ กิเลสา

๘๒-๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ

กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากกิเลส แต่เป็นอารมณ์

ธมฺมา สงฺกิเลสิกาปิ ของสังกิเลส

กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธรรมวิปปยุตจากกิเลส และไม่เป็น

ธมฺมา อสงฺกิเลสิกาปิ อารมณ์ของสังกิเลส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ปิฏฐิทุกะ

หมวดที่ ๑๓ มี ๑๘ ทุกะ คือ

[๑๔] ๘๓-๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ

ทสฺสเนน ปาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ

น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ

๘๔-๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ

ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ

น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ

๘๕-๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ

ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค

ธมฺมา ประหาณ

น ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติ-

ธมฺมา มรรคจะประหาณ

๘๖-๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ

ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง

ธมฺมา ๓ ประหาณ

น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง

ธมฺมา ๓ จะประหาณ

๘๗-๕. สวิตักกทุกะ

สวิตฺกกา ธมฺมา ธรรมมีวิตก

อวิตกฺกา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิตก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

๘๘-๖. สวิจารทุกะ

สวิจารา ธมฺมา ธรรมมีวิจาร

อวิจารา ธมฺมา ธรรมไม่มีวิจาร

๘๙-๗. สัปปีติกทุกะ

สปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมมีปีติ

อปฺปีติกา ธมฺมา ธรรมไม่มีปีติ

๙๐-๘. ปีติสหคตทุกะ

ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยปีติ

น ปีติสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยปีติ

๙๑-๙. สุขสหคตทุกะ

สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา

น สุขสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา

๙๒-๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ

อุเปกฺขา สหคตา ธมฺมา ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา

น อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ธรรมไม่สหรตด้วยอุเบกขาเวทนา

๙๓-๑๑. กามาวจรทุกะ

กามาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นกามาวจร

น กามาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นกามาวจร

๙๔-๑๒. รูปาวจรทุกะ

รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นรูปาวจร

น รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูปาวจร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

๙๕-๑๓. อรูปาวจรทุกะ

อรูปาวจรา ธมฺมา ธรรมเป็นอรูปาวจร

น รูปาวจรา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นรูปาวจร

๙๖-๑๔. ปริยาปันนทุกะ

ปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นปริยาปันนะ

อปริยาปนฺนา ธมฺมา ธรรมเป็นอปริยาปันนะ

๙๗-๑๕. นิยยานิกทุกะ

นิยฺยานิกา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ

อนิยฺยานิกา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ

๙๘-๑๖. นิยตทุกะ

นียตา ธมฺมา ธรรมให้ผลแน่นอน

อนิยตา ธมฺมา ธรรมให้ผลไม่แน่นอน

๙๙-๑๗. สอุตตรทุกะ

สอุตตฺรา ธมฺมา ธรรมมีธรรมอื่นยิ่งกว่า

อนุตฺตรา ธมฺมา ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

๑๐๐-๑๘. สรณทุกะ

สรณา ธมฺมา ธรรมเกิดกับกิเลส

อรณา ธมฺมา ธรรมไม่เกิดกับกิเลส

อภิธรรมมาติกา ๑๐๐ ทุกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ

[๑๕] ๑. วิชชาภาคีทุกะ

วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนวิชชา

อวิชฺชภาคิโน ธมฺมา ธรรมเป็นไปในส่วนอวิชชา

๒. วิชชูปมทุกะ

วิชฺชูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าแลบ

วชิรูปมา ธมฺมา ธรรมเหมือนฟ้าผ่า

๓. พาลทุกะ

พาลา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นพาล

ปณฺฑิตา ธมฺมา ธรรมทำให้เป็นบัณฑิต

๔. กัณหทุกะ

กณฺหา ธมฺมา ธรรมดำ

สุกฺกา ธมฺมา ธรรมขาว

๕. ตปนิยทุกะ

ตปนิยา ธมฺมา ธรรมทำให้เร่าร้อน

อตปนิยา ธมฺมา ธรรมไม่ทำให้เร่าร้อน

๖. อธิวจนทุกะ

อธิวจนา ธมฺมา ธรรมเป็นชื่อ

อธิวจนปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นชื่อ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

๗. นิรุตติทุกกะ

นิรุตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นนิรุตติ

นิรุตฺติปถา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นนิรุตติ

๘. ปัญญัตติทุกะ

ปญฺตฺติ ธมฺมา ธรรมเป็นบัญญัติ

ปญฺตฺติปถา ธมฺมา/B ธรรมเป็นเหตุของธรรมเป็นบัญญัติ

๙. นามรูปทุกะ

นามญฺจ นามธรรม

รูปญฺจ รูปธรรม

๑๐. อวิชชาทุกะ

อวิชฺชา จ ความไม่รู้แจ้ง

ภวตณฺหา จ ความปรารถนาภพ

๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ

ภวทิฏฺิ จ ความเห็นว่าเกิด

วิภวทิฏฺิ จ ความเห็นว่าไม่เกิด

๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ

สสฺสตทิฏฺิ จ ความเห็นว่าเที่ยง

อุจฺเฉททิฏฺิ จ ความเห็นว่าสูญ

๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ

อนฺตวาทิฏฺิ จ ความเห็นว่ามีที่สุด

อนนฺตวาทิฏฺิ จ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ

ปุพฺพนฺตานุทิฏฺิ จ ความเห็นปรารภส่วนอดีต

อปรนฺตานุทิฏฺิ จ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต

๑๕. อหิริกทุกะ

อหิริกญฺจ ความไม่ละอาย

อโนตฺตปฺปญฺ จ ความไม่เกรงกลัว

๑๖. หิริทุกะ

หิริ จ ความละอาย

โอตฺตปฺปญฺจ ความเกรงกลัว

๑๗. โทวจัสสตาทุกะ

โทวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่ายาก

ปาปมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

๑๘. โสวจัสสตาทุกะ

โสวจสฺสตา จ ความเป็นผู้ว่าง่าย

กลฺยาณมิตฺตตา จ ความเป็นผู้มีมิตรดี

๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ

อาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ

อาปตฺติวุฏฺานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ

๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ

สมาปตฺติกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ

สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

๒๑. ธาตุกุสลาทุกะ

ธาตุกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ

มนสิการกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในการพิจารณา

๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ

อายตนกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ

ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท

๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ

านกกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ

อฏานกุสลตา จ ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ

๒๔. อาชชวทุกะ

อาชฺชโว จ ความซื่อตรง

มทฺทโว จ ความอ่อนโยน

๒๕. ขันติทุกะ

ขนฺติ จ ความอดทน

โสรจฺจญฺจ ความสงบเสงี่ยม

๒๖. สาขัลยทุกะ

สาขลฺยญฺจ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน

ปฏิสนฺถาโร จ การปฏิสันถาร

๒๗. อินทริยอคุตตทวารตาทุกะ

อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์

โภชเน อมตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

๒๘. อินทริยคุตตทวารตาทุกะ

อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ ความเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ ๖

โภชเน มตฺตญฺญุตา จ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร

๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ

มุฏฺสจฺจญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสติ

อสมฺปชญฺญฺจ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ

๓๐. สติทุกะ

สติ จ สติ

สมฺปชญฺญฺจ สัมปชัญญะ

๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ

ปฏิสงฺขานพลญฺจ กำลังคือการพิจารณา

ภาวนาพลญฺจ กำลังคือภาวนา

๓๒. สมถทุกะ

สมโถ จ สมถะ

วิปสฺสนา จ วิปัสสนา

๓๓. นิมิตตทุกะ

สมถนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือสมถะ

ปคฺคาหนิมิตฺตญฺจ นิมิตคือความเพียร

๓๔. ปัคคาหทุกะ

ปคฺคาโห จ ความเพียร

อวิกฺเขโป จ ความไม่ฟุ้งซ่าน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

๓๕. วิปัตติทุกะ

สีลวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งศีล

ทิฏฺิวิปตฺติ จ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ

๓๖. สัมปทาทุกะ

สีลสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งศีล

ทิฏฺิสมฺปทา จ ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ

๓๗. วิสุทธิทุกะ

สีลวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งศีล

ทิฏฺิวิสุทฺธิ จ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ

๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิทุกะ

ทิฏฺิวิสุทธิ โข ปน ความหมดจดแห่งทิฏฐิ

ยถาทิฏฺิสฺส จ ปธาน ความเพียรแห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิอันหมดจด

๓๙. สังเวคทุกะ

สเวโค จ สเวชนิเยสุ าเนสุ ความสลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความ

สลดใจ

สวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธาน ความพยายามโดยแยบคายของบุคคลผู้มี

ความสลดใจ

๔๐. อสันตุฏฐตาทุกะ

อสนฺตุฏฺตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความไม่รู้จักอิ่มในกุศลธรรม

อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความไม่ท้อถอยในความพยายาม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

๔๑. วิชชาทุกะ

วิชฺชา จ ความรู้แจ้ง

วิมุตฺติ จ ความหลุดพ้น

๔๒. ขยญาณทุกะ

ขเย าณ ญาณในอริยมรรค

อนุปฺปาเท าณ ญาณในอริยผล

สุตตันตมาติกา ๔๒ ทุกะ จบ

มาติกา จบ

อรรถกถามาติกานุบุพบท

ก็ในบททุกมาติกา ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทซึ่งยังไม่มาในติกะทั้งหลาย

เท่านั้น จักพรรณาบทในเหตุโคจฉกะก่อน.

บทว่า เหตู ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือเหตุ ด้วยอรรถว่า

เป็นรากเหง้า พระบาลีว่า เหตุธมฺมา ดังนี้ก็มี. บทว่า น เหตู เป็นคำ

ปฏิเสธเหตุเหล่านั้นโดยแท้. ธรรมที่ชื่อว่า สเหตุกะ เพราะมีเหตุเป็นไปโดย

สัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะเหตุที่เป็นไปของธรรมทั้งหลาย

เหมือนอย่างนั้นไม่มี. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตะ เพระสัมปยุตด้วยเหตุ

โดยมีเอกุปปาทะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า เหตุวิปปยุตตะ เพราะไม่ประกอบ

ด้วยเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ก็ทุกะทั้ง ๒ (คือ เหตุทุกะ และสเหตุทุกะ) แม้เหล่านี้ โดยอรรถ

ไม่มีความต่างกันก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสทุกะทั้ง ๒ ไว้

ด้วยความไพเราะแห่งเทศนา หรือด้วยอัธยาศัยของบุคคลทั้งหลาย คือ สัตว์ผู้

จะตรัสรู้ด้วยธรรมอย่างนั้น ต่อจากนั้น ก็ทรงประกอบทุกะแรกด้วยสามารถ

เอกเทศทั้งสิ้นกับด้วยทุกะที่ ๒ และที่ ๓ และทุกะ ๓ ทุกะแม้อื่นอีก โดยความ

ที่เหตุเหล่านั้นตามแต่เกิดได้ ด้วยสามารถแห่งบททั้งหลายมีคำว่า เหตุ เป็นต้น.

บรรดาทุกะเหล่านั้น คำว่า เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ

(สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่าเหตุ และมีเหตุประกอบ) นี้ย่อมเกิดขึ้น ฉันใด

แม้ทุกะนี้ว่า เหตู เจว ธมฺมา อเหตุกา จ (สภาวธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า

เหตุและไม่มีเหตุประกอบ) ก็ย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น.

อนึ่ง คำว่า สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรม

ทั้งหลายที่มีเหตุประกอบ และไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) นี้ ย่อมเกิดฉันใด คำแม้นี้ว่า

อเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู (สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่มีเหตุประกอบ

และไม่ชื่อว่าเหตุมีอยู่) ก็ย่อมเกิด ฉันนั้น. แม้ในการประกอบกับเหตุสัมปยุตทุกะ

ก็นัยนี้แหละ.

พึงทราบอรรถที่เกินไปในนเหตุสเหตุกทุกะซึ่งท่านรวบรวมไว้ด้วย

สามารถแห่งบทว่า เมื่ออรรถรูปเป็น น เหตู ธมฺมา สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ

(สภาวธรรมที่ไม่ใช่เหตุ มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้างมีอยู่) บทที่

ตรัสว่า โข ปน ในบทว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา ดังนี้ ก็เปล่าประโยชน์

อย่างยิ่ง มิใช่หรือ. อย่างไร คือ ธรรมทั้งหลายเป็นเหตุล้วนก็หาไม่ โดย

ที่แท้แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นอย่างอื่นบ้าง มีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุ

ประกอบบ้าง แต่ว่า ย่อมเป็นแม้โดยประการอย่างหนึ่งตามที่กล่าวแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่เหตุ

ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันใดนั่นแหละ ธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นเหตุ ก็ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันนั้น. ก็เหตุธรรม

เป็นสเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะบ้าง ฉันใด ธรรมที่เป็นนเหตุธรรมก็เป็นเหตุ-

สัมปยุตตะบ้าง เป็นเหตุวิปปยุตตะบ้าง ฉันนั้น.

ว่าด้วยจูฬันตรทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งจูฬันตรธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า สัปปัจจยะ เพราะเป็นไปพร้อมกับปัจจัยอันให้สำเร็จ

แก่ตน. ธรรมชื่อว่า อปัจจยะ เพราะไม่มีปัจจัยในอุปปาท (การเกิด) หรือ

ในฐิติ (การตั้งอยู่) ของธรรมเหล่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สังขตะ เพราะปัจจัย

ทั้งหลายประชุมกันปรุงแต่ง. ชื่อว่า อสังขตะ เพราะไม่ประชุมกันปรุงแต่ง

รูปของธรรมเหล่านั้น มีอยู่ ด้วยอำนาจแห่งอวินิพโภคะ เพราะฉะนั้น ธรรม

เหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน ชื่อว่า อรูปิโน เพราะรูปของธรรมเหล่านั้นไม่มี

เหมือนอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปนั้นมีการเสื่อมไปเป็นลักษณะของธรรม

เหล่านั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า รูปิโน. ธรรมทั้งหลาย

ที่มิใช่รูป ชื่อว่า อรูปิโน.

วัฏฏะตรัสเรียกว่า โลก ในบทว่า โลกิยา ธมฺมา ดังนี้ เพราะ

อรรถว่า ชำรุดทรุดโทรม. ธรรมทั้งหลายประกอบแล้วในโลก โดยความ

นับเนื่องแล้วในโลกนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า โลกิยะ

ธรรมทั้งหลายชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามขึ้นแล้วจากโลกนั้น. ธรรมใดข้ามพ้น

แล้วจากโลก โดยความเป็นไปไม่นับเนื่องในโลก เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น

จึงชื่อว่า โลกุตระ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

บทว่า เกนจิ วิญฺเยฺยา ได้แก่ พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสต-

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายมีจักขุวิญาณเป็นต้น บทว่า

เกนจิ น วิญฺเยฺยา ได้แก่ ไม่พึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณนี้

นั่นแหละ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ทุกะแห่งบทแม้ทั้ง ๒ ก็ต่างกัน

โดยอรรถ.

ว่าด้วยอาสวโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในอาสวโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหลไป อธิบายว่า

อาสวะเหล่านั้น ย่อมไหลไป คือ ย่อมเป็นไปทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เมื่อว่าโดยธรรม ย่อม

ไหลไปถึงโคตรภู ว่าโดยภูมิ (โอกาส) ย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม อธิบายว่า

กระทำธรรมเหล่านี้ และภูมิไว้ในภายในเป็นไป. เพราะว่า อาอักษรนี้มีอรรถ

ว่ากระทำไว้ภายใน ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นดุจเครื่องหมักดอง ด้วยอรรถว่า

หมักไว้นานมีเครื่องมึนเมาเป็นต้น จริงอยู่ เครื่องหมักดองที่หมักไว้นานมีเครื่อง

มึนเมาเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาสวะในโลก. ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะ เพราะ

อรรถว่า หมักไว้นาน อาสวะเหล่านั้นก็สมควรเป็นอย่างนั้น. สมดังพระดำรัส

ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื้อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏก่อน ก่อนแต่นี้

อวิชชาก็มิได้มีเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ย่อมไหล

ย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์ อันยาวนาน. นอกจากอาสวะนั้น ธรรมเหล่าอื่น ไม่ชื่อ

ว่าอาสวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ธรรมที่ชื่อว่า สาสวะ เพราะมีอาสวะพร้อมกับทำตนให้เป็นอารมณ์

เป็นไป. ชื่อว่า อนาสวะ เพราะอรรถว่า อาสวะของธรรมเหล่านั้นที่กำลัง

เป็นไปอยู่อย่างได้มี. พึงทราบคำที่เหลือในเหตุโคจฉกะโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

ส่วนความที่แปสกกันมีดังต่อไปนี้

ในเหตุโคจฉกะนั้น ทุกะสุดท้ายว่า น เหตู โข ปน ธมฺมา

สเหตุกาปิ อเหตุกาปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวางบทที่สองแห่งทุกะแรก

ไว้ในเบื้องต้น ฉันใด ในอาสวโคจฉกะนี้ไม่ตรัสบทสุดท้ายว่า โน อาสวา

โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ อนาสวาปิ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบเนื้อความนี้และความแตกต่างกัน โดยนัย

ที่ตรัสไว้ในเหตุโคจฉกะนั้น.

ว่าด้วยสัญโญชนโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในสัญโญชนโคจฉกธรรม ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชน์ เพราะอรรถว่า ย่อมประกอบ คือ ผูกพัน

บุคคลผู้มีสัญโญชน์ไว้ในวัฏฏะ ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า สัญโญชน์.

ธรรมที่ชื่อว่า สัญโญชนิยะ เพราะอรรถว่า เข้าถึงความเป็นอารมณ์เกื้อกูล

แก่สัญโญชน์ทั้งหลายด้วยความเกี่ยวข้องกับสัญโญชน์ คำว่า สัญโญชนิยะนี้

เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสัญโญชน์. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนิยะ

ชื่อว่า อสัญโญชนิยธรรม. คำที่เหลือพึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

โคจฉกะนั้นแล.

ว่าด้วยคัณฐโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในคัณฐโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ เชื่อมต่อบุคคลผู้มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

กิเลสไว้ในวัฏฏะ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ. ธรรมนอกจากนั้น ไม่ชื่อว่า

คัณฐะ ธรรมที่ชื่อว่า คัณฐนิยะ เพราะอรรถว่า ถูกคัณฐธรรมผูกไว้ด้วย

สามารถกระทำให้เป็นอารมณ์ คำที่เหลือ พึงประกอบความโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ แต่คำที่เหลือนอกจากที่ตรัสไว้ แม้ในทุกะอื่นจาก

ทุกะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในทุกะนั้น ๆ นั่นแหละเหมือนตรัสไว้ใน

ทุกะนี้.

ว่าด้วยโอฆโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในโอฆโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมท่วมทับ คือยังสัตว์มีกิเลส

ให้จมลงในวัฏฏะ ที่ชื่อว่า โอฆนิยะ เพราะถูกโอฆธรรมทั้งหลายให้ก้าวล่วง

โดยทำให้เป็นอารมณ์ พึงก้าวล่วง พึงทราบโอฆนิยธรรมว่าเป็นอารมณ์ของ

โอฆะทั้งหลายนั่นเอง.

ว่าด้วยโยคโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในโยคโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะ พึงทราบ

โยคนิยธรรม เหมือนโอฆนิยธรรม.

ว่าด้วยนีวรณโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะกั้น คือ หุ้มห่อจิตไว้ พึงทราบนีวรณิย-

ธรรม ดุจสัญโญชนิยธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ว่าด้วยปรามาสโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในปรามาสโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ย่อมยึดถือโดยความเป็น

อย่างอื่น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจที่ก้าวล่วงอาการแห่งธรรมทั้งหลายที่มีความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามัฏฐ-

ธรรม เพราะปรามาสธรรมทั้งหลายยึดถือไว้ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.

ว่าด้วยมหันตรทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งมหันตรธรรม ต่อไป

ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปพร้อมกับอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่า

นั้นจึงชื่อว่า สารัมมณะ เพราะไม่ยึดอารมณ์ก็เป็นไปไม่ได้. อารมณ์ของธรรม

เหล่านั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนารัมมณะ.

ธรรมที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิด อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จิต

เพราะอรรถว่าวิจิตร. ธรรมที่ประกอบโดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก.

ธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตตั้งแต่เกิดจนแตกดับ โดยการเข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์

ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐะ ธรรมแม้เมื่อเป็นไปพร้อมกับจิต แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจิต

เพราะการไม่เข้าไปประกอบกันเป็นนิตย์ ชื่อว่า วิสังสัฏฐะ.

จิตเป็นสมุฏฐานของธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น

จึงชื่อว่า จิตตสมุฏฐาน. ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่า สหภู ธรรมที่เกิด

พร้อมกับจิต ชื่อว่า จิตตสหภู. ธรรมที่คล้อยตามกันไป ชื่อว่า อนุปริวัตติ

คล้อยตามอะไร คล้อยตามจิต การคล้อยไปตามจิต ชื่อว่า จิตตานุปริวัตติธรรม.

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน เพราะระคนด้วยจิตและ

มีจิตเป็นสมุฏฐาน ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู เพราะระคนด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

จิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดพร้อมกับจิต. ธรรมที่ชื่อว่า จิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานานุปริวัตติ เพราะระคนด้วยจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และคล้อยตามจิต

บททั้งหมดที่เหลือพึงทราบโดยการปฏิเสธบทที่กล่าวแล้ว.

ธรรมที่เป็นภายในนั่นแหละ ชื่อว่า อัชฌัตติกธรรม ตามที่กล่าวไว้

ในอัชฌัตตติกะ ในที่นี้หมายเอาอัชฌัตตัชฌัตตธรรม (คืออัชฌัตตายตนะ

ธรรมภายนอกจากนั้น ชื่อว่า พาหิระ. ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทา เพราะอาศัย

ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น แต่มิใช่เหมือนภูตผีที่สิงอาศัย. ธรรมที่ไม่อาศัยภูตรูป

เกิดขึ้น ชื่อว่า อนุปาทา.

ว่าด้วยอุปทานโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานโคจฉกะ ต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดอย่างยิ่ง คือยึดมั่นคง ธรรมนอกจาก

อุปาทานนั้น ไม่ชื่อว่า อุปาทาน.

ว่าด้วยกิเลสโคจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยโนกิเลสโคจฉกะ ต่อไป

อรรถแห่งกิเลสโคจฉกะ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในสังกิลิฏฐติกะ

นั้นแล.

ว่าด้วยปิฏฐิทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งปิฏฐิธรรมต่อไป

ธรรมเหล่าใด ย่อมท่องเที่ยวไป (อาศัยอยู่) ในกาม เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า กามาวจร. ชื่อว่า รูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูป.

ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป. ในทุกะนี้มีสังเขปเพียงนี้ ส่วน

ความพิสดารจักมีแจ้งข้างหน้า.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ธรรมเหล่าใด นับเนื่องในสังสารหยั่งลงภายใน ในวัฏฏะอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปริยาปันนะ ธรรมที่ไม่นับ

เนื่องในวัฏอันเป็นภูมิ ๓ นั้น ชื่อว่า อปริยาปันนะ.

ธรรมเหล่าใด ตัดมูลแห่งวัฏฏะกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ออก

ไปจากวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า นิยยานิกะ ธรรมที่ไม่

นำออกไปโดยลักษณะนี้ ชื่อว่า อนิยยานิกะ.

ธรรมที่ชื่อว่า นิยตะ เพราะให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติ หรือ

ความเป็นไปของตน. ธรรมที่ไม่ให้ผลแน่นอนเหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อนิยตะ.

ธรรมที่ชื่อว่า อุตตระ เพราะย่อมข้ามพ้น คือ ย่อมละธรรมเหล่าอื่น

ไป. ที่ชื่อว่า สอุตตระ เพราะมีอุตตรธรรมอันสามารถเพื่ออันข้ามพ้นตนขึ้น

ไป. ที่ชื่อว่า อนุตตรธรรม เพราะอุตตรธรรมของธรรมเหล่านั้นไม่มี.

ธรรมเหล่าใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้ร้องไห้ เพราะเหตุนั้น ธรรม

เหล่านั้นจึงชื่อว่า รณะ คำว่า รณธรรม นี้เป็นชื่อของกิเลสมีราคะเป็นต้นที่สัตว์

ทั้งหลายถูกกิเลสครอบงำแล้ว ย่อมร้องไห้คร่ำครวญโดยประการต่าง ๆ ธรรม

ที่ชื่อว่า สรณะ เพราะมีรณธรรมด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ และด้วยสามารถ

แห่งการตั้งอยู่ในฐานเดียวกันแห่งการละ ธรรมที่ชื่อว่า อสรณะ เพราะ

สรณธรรมของธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่โดยอาการนั้น.

ว่าด้วยสุตตันตติกทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งสุตตันตมาติกา ต่อไป.

ธรรมเหล่าใด ย่อมเสพวิชชาด้วยสามารถแห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า วิชชาภาคี. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดย่อมยังส่วน

แห่งวิชชาให้เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

วิชชาภาคี. ในวิชชาภาคีนั้น วิชชามี ๘ คือ วิปัสสนาญาณ ๑ มโนมยิทธิ ๑

อภิญญา ๖. ว่าด้วยอรรถแรก ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า วิชชา-

ภาคี. ว่าด้วยอรรถหลัง บรรดาวิชชา ๘ เหล่านั้น วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

วิชชา. วิชชาทั้งหลายที่เหลือเป็นวิชชาภาคี เพราะฉะนั้น วิชชาก็ดี ธรรมที่

สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคีนั่นแหละ แต่ในสุตตันติกทุกะใน

ที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัมปยุตตธรรม. ธรรมเหล่าใดย่อมเสพอวิชชาด้วยสามารถ

แห่งสัมปโยคะ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อวิชชาภาคี. แม้ธรรม

ที่ยังส่วนแห่งอวิชชาให้เป็นไปในหมวดแห่งอวิชชา ก็ชื่อว่า อวิชชาภาคี.

ในอวิชชาภาคีนั้น อวิชชามี ๔ คือ ความมืดอันปิดบังทุกข์ ความมืดที่ปิดบัง

สมุทัยเป็นต้น ๓. แม้ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาเหล่านั้น ชื่อว่า อวิชชาภาคี

โดยนัยแรกนั่นแหละ บรรดาอวิชชาเหล่านั้น อวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อวิชชา (โดยนัยหลัง) อวิชชาที่เหลือ ชื่อว่า อวิชชาภาคี เพราะฉะนั้น

อวิชชาอย่างนี้ก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชาก็ดี พึงทราบว่า อวิชชาภาคี

นั่นแหละ. ก็ในทุกะนี้ท่านประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตกัน

ธรรมที่ชื่อว่า วิชชูปมะ เพราะเปรียบด้วยสายฟ้าเหตุที่ไม่สามารถ

เพื่อกำจัดความมืด คือ กิเลสได้ด้วยความครอบงำอีก. ที่ชื่อว่า วชิรูปมธรรม

เพราะธรรมเหล่านั้นเปรียบด้วยเพชร เหตุที่สามารถกำจัดกิเลสโดยสิ้นเชิง

ที่ชื่อว่า พาลธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในพาลทั้งหลายโดยอุปจารแห่งธรรม

ที่พาลตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ปัณฑิตธรรม เพราะเป็นธรรมตั้งอยู่ในบัณฑิตทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า พาลธรรม เพราะกระทำให้เป็นคนโง่. หรือชื่อว่า ปัณฑิต-

ธรรม เพระกระทำให้เป็นคนฉลาด. ธรรมดำกระทำจิตไม่ให้มีความประภัสสร

ชื่อว่า กัณหธรรม. ธรรมขาวกระทำจิตให้มีความประภัสสร ชื่อว่า สุกกธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กัณหธรรม เพราะเหตุที่กำเนิดดำ หรือชื่อว่า สุกกธรรม

เพราะเหตุที่กำเนิดขาว. ที่ชื่อว่า ตปนียธรรม เพราะย่อมเดือดร้อนในโลกนี้

และโลกหน้า ธรรมที่มิใช่ตปนียธรรม ชื่อว่า อตปนียธรรม.

ทุกะ ๓ มีอธิวจนทุกะเป็นต้น ว่าโดยอรรถไม่มีการกระทำที่ต่างกัน

ในอธิวจนทุกะเป็นต้นนี้ ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น จริงอยู่ คำว่า

สิริวฑฺฒโก ธนวฑฺฒโก เป็นต้นที่กระทำเพียงถ้อยคำเท่านั้น ให้เป็นใหญ่

เป็นไป ชื่อว่า อธิวจนะ ธรรมที่เป็นคลองแห่งชื่อทั้งหลาย ชื่อว่า อธิวจนปถะ

คำพูดที่ท่านกล่าวอยู่กระทำให้มีเหตุโดยพิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมใดย่อมปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงเรียกว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า

นิรุตติ. คลองแห่งนิรุตติธรรมทั้งหลาย เรียกว่า นิรุตติปถธรรม. ธรรมที่

ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะการแจ้งให้ทราบโดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก

(การตรึก) วิตกฺโก (วิตก) สกปฺโป (ความดำริ). ทางแห่งบัญญัตติทั้งหลาย

เรียกว่า ปัญญัตติปถธรรม ในที่นี้แม้จะกล่าวทุกะหนึ่ง ก็พึงทราบประโยชน์

ในถ้อยคำโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเหตุโคจฉกะนั่นแหละ.

ว่าด้วยนามรูปทุกะ

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๒ แห่งนามรูปต่อไป

ธรรมที่ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า การตั้งชื่อ หรือเพราะอรรถว่า

น้อมไป หรือว่าเพราะอรรถว่าการให้น้อมไป. ธรรมที่ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า

แตกสลายไป ในสุตตันติกทุกะนี้ มีสังเขปเพียงนี้ ส่วนความพิสดาร นาม

ธรรมจักแจ่มแจ้งในนิกเขปกัณฑ์.

ความไม่รู้ในสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะเป็นต้น ชื่อว่า อวิชชา ความ

ปรารถนาในภาวะ ชื่อว่า ภวตัณหา. สัสสตะ (เที่ยง) ท่านเรียกว่า ภวะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ในบทว่า ภวทิฏฺิ ดังนี้ คือทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความเห็นว่าเที่ยง.

ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ ในบทว่า วิภวทิฏฺิ ดังนี้ คือ ทิฏฐิอัน

เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความขาดสูญ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกเที่ยง

ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า

อุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ชื่อว่า อันตวา-

ทิฏฐิ. ทิฏฐิที่เป็นไปว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ ชื่อว่า อนันตวาทิฏฐิ.

ทิฏฐิที่คล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ชื่อว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ. ทิฏฐิที่คล้อยตาม

ขันธ์ส่วนอนาคต ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ.

ความไม่ละอายท่านให้พิสดารอย่างนี้ว่า กรรมอันใดอันบุคคลควร

ละอาย ย่อมไม่ละอาย กรรมนั้นชื่อว่า อหิริกะ อาการที่ไม่เกรงกลัวท่าน

ให้พิสดารไว้อย่างนี้ว่า กรรมใด อันบุคคลควรเกรงกลัว ย่อมไม่เกรงกลัว

กรรมนั้นชื่อว่า อโนตตัปปะ ความละอายชื่อว่า หิริ ความเกรงกลัว ชื่อว่า

โอตตัปปะ.

พึงทราบวินิจฉัยในโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) เป็นต้น บุคคล

ชื่อว่า ทุพพจะ (ว่ายาก) เพราะอรรถว่า การกล่าวสอนบุคคลผู้ถือเอาการ

ขัดแย้งต่าง ๆ ผู้ชอบโต้แย้ง ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ การกล่าวสอนนั้นทำได้ยาก กรรม

ของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจัสสะ ภาวะแห่งกรรมของผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า

โทวจัสสตา. บุคคลผู้ลามกไม่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมิตรของบุคคลนั้นมีอยู่

เพระเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า ปาปมิตร ภาวะแห่งปาปมิตรนั้น ชื่อว่า

ปาปมิตตตา. พึงทราบโสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) และกัลยาณมิตร

โดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติทั้งหลายที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า กองอาบัติ ๕ ก็มี

กองอาบัติ ๗ ก็มีดังนี้ ชื่อว่า อาปัตติกุสลตา. ความเป็นผู้ฉลาดในการออก

จากอาบัติเหล่านั้น ชื่อว่า อาปัตติวุฏฐานกุสลตา.

ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติกุสลตา.

นี้เป็นชื่อของปัญญาที่กำหนดอัปปนาของสมาบัติทั้งหลาย. ความเป็นผู้ฉลาด

ในการออกจากสมาบัติทั้งหลาย ชื่อว่า สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา.

ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑๘ อย่าง ชื่อว่า ธาตุกุสลตา. ความ

เป็นผู้ฉลาดในการมนสิการธาตุเหล่านั้นนั้นแหละ ชื่อว่า มนสิการกุสลตา.

ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา.

ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะนั้น ๆ ชื่อว่า ฐานกุสลตา. เหตุ ตรัสเรียกว่า

ฐานะ จริงอยู่ ผล ชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ เพราะอาศัยฐานะนั้นเป็นไปแล้ว

เพราะฉะนั้น ตรัสเรียกเหตุว่า ฐานะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะทั้งหลาย

ชื่อว่า อฐานกุสลตา. ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชชวะ. ความเป็นผู้

อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ. ความเป็นผู้อดทนกล่าวคือความอดกลั้น ชื่อว่า

ขันติ. ความเป็นผู้ยินดีร่าเริง ชื่อว่า โสรัจจะ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน

คือความบันเทิงใจและความอ่อนโยน ชื่อว่า สาขัลยะ. การปฏิสันถารด้วย

ธรรมและอามิสทั้งหลายโดยไม่ให้มีโทษของตนกับผู้อื่น ชื่อว่า ปฏิสันถาร.

ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ คือความเป็นผู้

ทำลายอินทรีย์สังวร ชื่อว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา. ความเป็นผู้ไม่

รู้จักประมาณในโภชนะด้วยอำนาจแห่งการรับและการบริโภค ชื่อว่า โภชเน

อมตฺตญฺญุตา. พึงทราบหมวด ๒ ในระหว่าง ด้วยสามารถการปฏิเสธคำที่

กล่าวแล้ว. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หลงลืมสติ คือการอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า

มุฏฐสัจจะ. ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ชื่อว่า อสัมปชัญญะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึกได้ ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ทั่ว.

พละกล่าวคือการพิจารณาสิ่งที่ยังไม่พิจารณา ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะ

อรรถว่าไม่หวั่นไหว. พละที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ โดยวิริยะเป็น

ประธาน ชื่อว่า ภาวนาพละ. ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะยังธรรมอันเป็น

ข้าศึกให้สงบ. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นโดยอาการต่าง ๆ ด้วยอำนาจ

แห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. สมถะนั่นแหละชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยสามารถ

แห่งนิมิตแห่งสมถะแรกที่พระโยคาวจรถือเอาอาการนั้นแล้วให้เป็นไปอีก. แม้

ในปัคคาหนิมิต ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสัมปยุตตธรรมไว้. ชื่อว่า

อวิกเขปะ เพราะไม่ซัดส่าย. ความวิบัติแห่งศีลคือความไม่สำรวมอันยังศีลให้

พินาศ ชื่อว่า สีลวิบัติ. ความวิบัติแห่งทิฏฐิ คือ มิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิ

ให้พินาศ ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ การถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า สีลสัมปทา

เพราะยังความยินดีร่าเริงให้ถึงพร้อมด้วยศีล คือให้บริบูรณ์ด้วยศีลนั่นแหละ.

ญาณอันบริบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นการถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิสัมปทา.

ความหมดจดแห่งศีล กล่าวคือศีลที่ถึงความเป็นวิสุทธิ ชื่อว่า สีลวิสุทธิ.

ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะสามารถเพื่อบรรลุวิสุทธิคือพระนิพพาน เป็นการ

หมดจดแห่งทิฏฐิกล่าวคือการเห็น. ข้อว่า ทิฏิวิสุทฺธิ โข ปน และ ยถา

ทิฏฺิสฺส จ ปธาน ได้แก่ ทิฏฐิวิสุทธิกล่าวคือกัมมัสสกตาญาณเป็นต้น

และความเพียรอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิวิสุทธิ นั้นนั่นแหละของบุคคลผู้มีความเห็น

ถูกต้อง มีความเห็นอันเหมาะสม มีความเห็นอันดี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

ความสังเวชกล่าวคือความกลัวอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยชาติเป็นต้น

ชื่อว่า สังเวคะ. เหตุมีชาติเป็นต้น อันยังความสลดใจให้เกิดขึ้น ชื่อว่า

สังเวชนิยฐาน. ความเพียรอันเป็นอุบายของผู้มีใจสลดอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้

ชื่อว่า ความเพียร โดยแยบคายของบุคคลผู้มีใจสลดแล้ว. ความเป็นผู้ไม่

สันโดษในการบำเพ็ญกุศลธรรม ชื่อว่า ความไม่ยินดีในกุศลธรรม. ความไม่

ถอยกลับ และไม่ท้อถอยในความเพียรที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า ธรรม

ที่ไม่ทำให้ท้อถอยในความเพียร. ชื่อว่า วิชชา เพราะรู้แจ้ง. ชื่อว่า วิมุตติ

เพราะหลุดพ้น. ญาณในอริยมรรคอันกระทำความสิ้นกิเลส ชื่อว่า ขเย าณ

(ญาณในความสิ้นกิเลส). ญาณในอริยผลอันเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการไม่เกิดขึ้น

แห่งกิเลสอันมรรคนั้น ๆ พึงฆ่า เป็นญาณไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า

อนุปฺปาเท าณ ( ญาณในความไม่เกิดขึ้น).

จบอรรถกถามาติกานุบุพบทเพียงนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

จิตตุปปาทกัณฑ์

กุศลธรรม

กามาวจรมหากุศลจิต ๘

จิตดวงที่ ๑

ปทภาชนีย์

[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มี

โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข

เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

หิริพละ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ

(สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา

กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา

จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา

ปัคคาหะ อวิกเขปะ. มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด

มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

๑. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ๒. ประกอบด้วยปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท)

ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่าง ๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา

(ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น.

ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจร-

กุศลนั้น มีมหาวาระ ๓ คือ

ธัมมววัฏฐานวาระ (วาระว่าด้วยการกำหนดธรรม)

สังคหวาระ (วาระว่าด้วยการรวบรวม)

สุญญตวาระ (วาระว่าด้วยความว่าง).

บรรดาวาระทั้ง ๓ เหล่านั้น ธัมมววัฏฐานวาระ ทรงตั้งไว้ ๒ อย่าง

ด้วยอำนาจแห่งอุทเทสวารและนิทเทสวาร บรรดาอุทเทสวารและนิทเทสวาร

ทั้ง ๒ นั้น อุทเทสวารมี ๔ ปริจเฉท (ตอน) คือ ปุจฉา สมยนิทเทส

ธัมมนิทเทส อัปปนา. บรรดาอุทเทสวาร ๔ ปริจเฉทนั้น ปริเฉทว่า กตเม

ธมฺม กุสลา นี้ ชื่อว่า ปุจฉา ปริเฉทว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร

กุสล จิตฺต อุปฺปนฺน โหติ ฯเปฯ ตสฺมึ สมเย (กามาวจรกุศลจิต

เกิดขึ้นในสมัยใด ฯลฯ ในสมัยนั้น ) นี้ ชื่อว่า สมยนิทเทส (แสดงเวลา)

ปริเฉทว่า ผสฺโส โหติ ฯเปฯ อวิกฺเขโป โหติ (ผัสสะย่อมมี ฯลฯ

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี) นี้ ชื่อว่า ธัมมนิทเทส (แสดงธรรม) ปริเฉทว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

ก็หรือว่า อรูปธรรมทั้งหลายที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล นี้ ชื่อว่า อัปปนา (ฌาน).

ว่าด้วยคำปุจฉา ๕

ปริเฉทว่าด้วยคำถามที่หนึ่งของอุทเทสวาร ตั้งไว้ ๔ ปริจเฉทอย่างนี้

ดังนี้

บรรดาปริจเฉทว่าด้วยถามนั้น ปริจเฉทว่า กุศลธรรมเป็นไฉน นี้

ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา. แท้จริง คำถามมี ๕ อย่าง คือ

อทิฏฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้)

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ถามเทียบเคียงกับสิ่งที่รู้แล้ว)

วิมติเฉทนาปุจฉา (ถามเพื่อตัดความสงสัย)

อนุมติปุจฉา (ถามเพื่อความเห็นชอบ)

กเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง)

คำถามเหล่านั้น มีความแตกต่างกันดังนี้

อทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ?

โดยปกติ ลักษณะปัญหาใดที่ตนไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้พิจารณา

ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ชัดเจนบุคคลย่อมถามปัญหาแห่งลักษณะนั้น

เพื่อความรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่อให้

ชัดเจน นี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ?

โดยปกติ ลักษณะปัญหาใด ที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว

ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งไว้ให้ชัดเจนแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อเทียบเคียง

กับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ?

โดยปกติ คนที่แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงใจ เกิดความเห็น ๒

แง่ว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ อะไรหนอ อย่างไรหนอ เขาย่อม

ถามปัญหา เพื่อต้องการตัด ความสงสัย นี้ ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.

อนุมติปุจฉา เป็นไฉน ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อความเห็นชอบของภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงไร ? ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

หรือเป็นสุขเล่า ? เป็นทุกข์พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอเพื่อพิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นเป็นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นอัตตาของเรา ? ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า นี้ ชื่อว่า อนุมติ-

ปุจฉา.

กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อประสงค์ตรัสแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ก็สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

เป็นไฉน ? นี้ ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

บรรดาคำปุจฉา ๕ เหล่านั้น คำถาม ๓ เบื้องต้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เพราะเหตุไร. เพราะธรรมอะไร ๆ ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้วในกาลทั้ง ๓

หรือพ้นจากกาล เป็นอสังขตะอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่

โชติช่วงแล้ว ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ชัดเจนแล้ว มิได้มี

เพราะเหตุนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมชาติ

ใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

จะต้องเทียบเคียงของธรรมชาตินั้นกับผู้อื่นจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ หรือ

เทวดา หรือมาร หรือพรหมย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีความสงสัย

ทรงข้ามพันวิจิกิจฉาแล้ว มีความสงสัยอันขจัดได้แล้วในธรรมทั้งปวง ฉะนั้น

วิมติเฉทนาปุจฉาของพระองค์จึงไม่มี. แต่ว่า ปุจฉา ๒ นอกจากนี้ มีอยู่แก่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปุจฉา ๒ เหล่านั้น พึงทราบ กตเม ธมฺมา กุสลา

ดังนี้ว่าเป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา ต่อไป

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรง

ยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ดังนี้ เพราะว่า ด้วยคำสักว่า ธมฺมา กุสลา

ดังนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะรู้ได้ว่า กระทำอะไรแล้ว หรือว่า ย่อมกระทำ

อะไร แต่เมื่อตรัสคำว่า กตเม แล้ว ความที่ธรรมอันพระองค์พึงยกขึ้นแสดง

เหล่านั้นมาถามแล้ว ก็ย่อมปรากฏ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมตรัสถามในธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วยบทว่า กตเม ย่อมทรงแสดงธรรม

ที่ตรัสถามด้วยคำถามสองบทว่า ธมฺมา กุสลา ดังนี้ เนื้อความแห่งธรรม

เหล่านั้น ประกาศไว้แล้วแล.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ไม่ตรัสคำว่า กุสลา ธมฺมา เหมือน

มาติกา แต่ตรัสทำตามลำดับแห่งบทว่า ธมฺมา กุสลา ตอบว่า เพื่อแสดง

เทศนาธรรมทั้งหลายโดยประเภทแล้วแสดงธรรมมีชนิดต่าง ๆ เพราะว่า ใน

อภิธรรมนี้ พึงแสดงล้วน ๆ อภิธรรมเหล่านั้นมีประเภทมิใช่น้อยมีชนิดต่างๆ

มีกุศลเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมนี้ พึงแสดงธรรมทั้งหลายเท่านั้น

เทศนานี้ ไม่ใช่แสดงโดยโวหาร แต่ธรรมเหล่านั้นพึงแสดงประเภทต่าง ๆ

มิใช่น้อย มิใช่แสดงเพียงสักแต่ธรรม เพราะเทศนาโดยประเภทต่าง ๆ ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

นำมาซึ่งญาณในการแยกกลุ่มก้อนและญาณในปฏิสัมภิทา. พึงทราบว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงแสดงเทศนาแห่งธรรมทั้งหลายโดยประเภทว่า กุสลา

ธมฺมา ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่าใด ก็พึงแสดงธรรมเหล่านั้น

โดยประเภทนั้น ๆ จึงทรงกระทำลำดับบทนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา

ด้วยว่าเมื่อประเภทธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงแล้ว ประเภทธรรมที่สัตว์เห็นอยู่

ย่อมถูกต้อง และพึงรู้ได้ง่าย.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร กุสล จิตฺต

ต่อไป

ว่าด้วยสมยศัพท์

สมเย นิทฺทิสิ จิตฺต จิตฺเตน สมย มุนิ

นิยเมตฺวาน ทีเปตุ ธมฺเม ตตฺถ ปเภทโต

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรง

แสดงจิตในสมัยเพื่อกำหนดสมัยด้วยจิตแล้ว

แสดงธรรมทั้งหลาย โดยประเภทในสมัย

นั้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ในสมัยใด กามาวจร-

กุศลจิตเป็นต้น ก็ทรงแสดงจิตในสมัย เพราะเหตุไร เพราะทรงกำหนดสมัย

อย่างนี้ว่า ตสฺมึ สมเย ในกาลเป็นที่สุดด้วยจิตที่กำหนดสมัยนั้น ลำดับนั้นเพื่อ

ให้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นประเภทที่ตรัสรู้ตามได้

ยาก ด้วยสามารถแห่งฆนะโดยสิ้น สมูหะ กิจ อารมณ์เหล่านั้นในสมัยที่

ทรงกำหนดจิตนั้นอย่างนี้ว่า แม้เมื่อมีสมัยต่างกัน ถ้าสมัยใดมีจิต สมัยนั้น

นั้นแหละ ผัสสะก็มี เวทนาก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

บัดนี้ พึงทราบการพรรณนาตามบทในคำวินิจฉัยว่า ยสฺมึ สมเย

เป็นต้นนี้ ต่อไป.

บทว่า ยสฺมึ เป็นอรรถแสดงถึงสัตตมีวิภัตติโดยไม่แน่นอน.

บทว่า สมเย เป็นคำแสดงถึงสมัยที่แสดงไว้โดยไม่กำหนด. สมัยทรง

แสดงโดยไม่กำหนดไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในคำว่า สมัยนั้น สมยศัพท์

ท่านใช้ในอรรถว่า พร้อมเพรียง ในขณะ ในกาล ในการประชุม

ในเหตุ ในทิฏฐิ การได้เฉพาะ การละ การแทงตลอด.

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น ใช้ในความหมายว่า ความพร้อมเพรียง

ดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรแม้วันพรุ่งนี้ พวกเราใคร่ครวญ

กาลและความพร้อมเพรียงกันแล้วพึงเข้าไปหา. ใช้ในความหมายว่า ขณะ

ดังประโยคมีอานะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ (โอกาส) และสมัยในการอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล. ใช้ในความหมายถึงกาล (เวลา) ดัง

ในประโยคมีอาทิว่า ฤดูร้อนเป็นเวลาเร่าร้อน. ใช้ในความหมายว่า ประชุม

ดังในประโยคมีอาทิว่า การประชุมใหญ่ มีในป่าใหญ่. ใช้ในความหมายว่า

เหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถีแล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนา

ของพระศาสดาดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล เธอก็ไม่แทงตลอดแล้ว.

ใช้ในความหมายว่า ทิฏฐิ ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อ

อุคคาหมานะ เป็นบุตรของนางสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนาง

มัลลิกาเทวี อันมีศาลาหลังเดียว แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ เป็นที่ประชุม

แสดงลัทธิ. ใช้ในความหมายว่า การได้เฉพาะ ดังในประโยคมีอาทิว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต

เพราะการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์ในภพนี้

และประโยชน์ในภพหน้า.

ใช้ในความหมายว่า ละ ดังในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุได้กระทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ. ใช้ในความหมายว่า การแทงตลอด

ดังในประโยคมีอาทิว่า สภาพแห่งทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าปรุงแต่ง

มีอรรถว่าทำให้เดือดร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าควรแทงตลอด

ในสมยศัพท์มีอรรถเป็นอเนก ด้วยประการฉะนี้.

สมวาโย ขโร กาโล สมูโห เหตุเยว จ

เอเต ปญฺจาปิ วิญฺเยฺยา สมยา อิธ วิญฺญุนา

สมยศัพท์ในอธิการนี้ พึงทราบว่ามี

เพียง ๕ คือ ความพร้อมเพรียง ๑ ขณะ ๑

กาล ๑ ประชุม ๑ เหตุ ๑.

แท้จริงในบรรดาสมยศัพท์ ๙ อย่างเหล่านั้น ในอธิการว่าด้วยกุศลนี้

ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร กุสล ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบสมยศัพท์ ๕

มีความพร้อมเพรียงเป็นต้นต่อไป.

บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น ความ

พร้อมเพรียงแห่งปัจจัยพึงทราบว่าความ

พร้อมเพรียง ส่วนสมยศัพท์อันเป็นอรรถ

ข้อที่ ๙ (การแทงตลอด) พึงทราบว่าเป็น

ขณะหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง จักรแม้ทั้ง ๔ ก็

พึงทราบว่าเป็นขณะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

จริงอยู่ ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยทั้งหลายที่ดำรงอยู่ด้วยความเป็น

เหตุ อันยังผลทั่วไปให้สำเร็จนั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นความพร้อมเพรียงใน

ที่นี้. ส่วนสมยศัพท์มีอรรถที่ ๙ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล ดังนี้

พึงทราบว่าเป็นขณะหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง จักร (การถึงพร้อม) ๔ คือ

ปฏิรูปเทสวาโส (การอยู่ในประเทศที่สมควร)

สปฺปุริสูปนิสฺสโย (การคบสัตบุรุษ)

อตฺตสมฺมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)

ปุพฺเพกตปุญฺตา (ความเป็นผู้มีบุญทำไว้ก่อน)

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้

เป็นเครื่องดำเนินไปของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้ว ดังนี้ พึง

ทราบว่า เป็นขณะ ด้วยอรรถว่าเป็นโอกาสรวมจักร ๔ เหล่านั้นเป็นอัน

เดียวกัน. ด้วยว่า จักร ๔ เหล่านั้นเป็นโอกาสในการยังกุศลให้เกิดขึ้น. ครั้น

ทราบสมยศัพท์ คือ ความพร้อมเพรียง และขณะอย่างนี้แล้ว บัณฑิตพึงทราบ

คำชี้แจงในสมยศัพท์ทั้งหลายมีกาลเป็นต้นเหล่านี้ ต่อไป.

บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม

นั้น ๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่

ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึง

ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ).

บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ คือ

เพราะอาศัยธรรมทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า จิตฺตกาโล (กาลแห่งจิต

รูปกาโล (กาลแห่งรูป) หรือเพราะอาศัยการประพฤติธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

อตีตธรรม อนาคตธรรม หรือเพราะอาศัยลำดับแห่งธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า

กาลนี้เป็นกาลแห่งพืช กาลนี้เป็นกาลแห่งหน่อ หรือเพราะอาศัยลักษะแห่ง

ธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลเกิด นี้เป็นกาลแก่ หรือเพราะอาศัยกิจแห่ง

ธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กาลเป็นที่เสวยอารมณ์ กาลเป็นที่จำอารมณ์ หรือ

เพราะอาศัยกิจที่สัตว์ต้องทำโดยนัยเป็นต้นว่า นี้เป็นกาลอาบน้ำ เป็นกาลดื่มน้ำ

หรือเพราะอาศัยอิริยาบถโดยนัยเป็นต้นว่า กาลที่เดิน กาลที่ยืน หรือเพราะ

อาศัยการหมุนเวียนของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โดยนัยเป็นต้นว่า กาล (เวลา)

เช้า เย็น กลางวัน กลางคืน หรือเพราะอาศัยการประชุมแห่งกาล กล่าวคือ

กลางวันและกลางคืนเป็นต้น โดยนัย ครึ่งเดือน หนึ่งเดือนเป็นต้น. ก็กาลนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเพียงบัญญัติเท่านั้น เพราะไม่มีสภาวะ (ภาวะของตน).

ส่วนหมวดแห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะและเวทนาเป็นต้นนั้น ท่านชี้แจง

ไว้ว่า เป็นการประชุม (สมูหะ) ในอธิการนี้. ครั้นทราบสมัยที่ใช้คำว่า กาล

และประชุมอย่างนี้แล้ว พึงทราบสมยศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า เหตุ ต่อไป.

เหตูติ ปจฺจโย เจตฺถ ตสฺส ทฺวารวเสน วา

อเนกภาโวปิ วิญฺเยฺโย ปจฺจยาน วเสน วา

ก็ในสมยศัพท์นี้ ปัจจัย ชื่อว่า เหตุ

บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้น มีมากอย่าง

แม้ด้วยทวารหรือด้วยปัจจัยทั้งหลาย

จริงอยู่ ในอธิการนี้ ปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า เหตุ บัณฑิตพึงทราบความ

ที่เหตุนั้นมีมากอย่างด้วยสามารถแห่งทวาร หรือปัจจัยทั้งหลาย. พึงทราบ

อย่างไร ? จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจัย ๔ มีจักขุ รูป อาโลกะ

มนสิการเป็นต้น แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นที่เกิดขึ้นในจักขุทวารเป็นต้น และ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ตรัสปัจจัย ๒๔ ในมหาปกรณ์ โดยนัยมีอาทิว่า เหตุปจฺจโย ดังนี้. บรรดา

ปัจจัยเหล่านั้นยกเว้นวิปากปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย แล้วที่เหลือเป็นปัจจัยแก่

กุศลธรรมทั้งหลายทั้งนั้น. แต่ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาธรรมเหล่านั้นแม้

ทั้งหมดเป็นเหตุ บัณฑิตพึงทราบความที่เหตุนั้นเป็นปัจจัยมากอย่าง ด้วย

สามารถแห่งทวารนี้ หรือด้วยสามารถแห่งปัจจัยอย่างนี้ อรรถทั้ง ๕ มีความ

พร้อมเพรียงเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่าท่านกำหนดด้วยสมยศัพท์ในอธิการนี้

ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร บรรดาอรรถเหล่านี้ ท่านไม่กำหนดเอาอรรถ

อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่กำหนดเอาทั้งหมด.

ตอบว่า เพราะการแสดงอรรถที่แตกต่างกันนั้น ๆ ด้วยสมยศัพท์นั้น ๆ

มีอยู่.

จริงอยู่ บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือความพร้อมเพรียง

ย่อมแสดงถึงความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย ด้วยสมยศัพท์อันนั้น ย่อมมีการ

ปฏิเสธลัทธิที่มีเหตุเดียว. ก็ธรรมดาว่าความพร้อมเพรียงย่อมมุ่งถึงสิ่งที่อาศัย

กันและกันในการยังผลทั่วไปให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงอรรถแม้นี้ว่า

ชื่อว่า ผู้สร้างคนเดียวย่อมไม่มี. ก็โดยสภาวะ เมื่อผู้สร้างมีอยู่ ก็ไม่ควร

เพ่งถึงเหตุอื่น ด้วยลักษณะอย่างนี้ จะเป็นการปฏิเสธคำที่มีอาทิว่า สุขและทุกข์

อันตนทำเอง โดยแสดงถึงความไม่มีผู้กระทำคนใดคนหนึ่งนั้น.

ในคำที่กล่าวที่แล้วนั้น หากจะมีคำท้วงว่า คำใดที่กล่าวแล้วย่อมแสดง

ความเป็นไปโดยเหตุมิใช่น้อย คำนั้นก็ไม่ถูกซิ เพราะเหตุไร. เพราะสิ่งที่ไม่เป็น

เหตุ ไม่มีในความพร้อมเพรียงกัน แม้ในความพร้อมเพรียงก็เป็นเหตุไม่ได้

จริงอยู่ เมื่อคนตาบอดคนหนึ่งไม่อาจเห็น คนตาบอดตั้งร้อยก็ย่อมไม่เห็น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ตอบว่า ที่ว่าไม่ถูก หาควรไม่ เพราะความที่เหตุยังผลทั่วไปให้สำเร็จ

ได้ตั้งอยู่แล้ว ชื่อว่า ความพร้อมเพรียง หาใช่เหตุสักว่าการประชุมแห่ง

เหตุมิใช่น้อยไม่. ก็ผลทั่วไป ชื่อว่าการเห็นของบุคคลผู้ตาบอดทั้งหลายหา

มีไม่. เพราะเหตุไร เพราะแม้เมื่อคนตาบอดตั้งร้อยมีอยู่ ผลโดยทั่วไปก็ไม่มี

ก็ผลอันทั่วไปนั้น ของจักขุเป็นต้นมี เพราะความที่ธรรมมีจักษุวิญญาณเหล่านั้น

มีอยู่.

อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีเหตุทั้งหลายในความไม่พร้อมเพรียงเป็นเหตุ

ในความพร้อมเพรียงสำเร็จได้ ข้อนี้พึงทราบว่า เพราะความไม่มีผลในความ

ไม่พร้อมเพรียง แต่มีผลในความพร้อมเพรียง เพราะว่า เมื่อจักษุเป็นต้น

บกพร่อง จักษุวิญาณก็มีไม่ได้ และเมื่อจักขุเป็นต้นไม่บกพร่อง จักขุวิญญาณ

จึงสำเร็จประจักษ์แก่สัตวโลก นี้เป็นการแสดงอรรถด้วยสมยศัพท์ คือความ

พร้อมเพรียงก่อน.

ส่วนขณะที่ ๙ เว้นอขณะทั้ง ๘ ท่านเรียกว่า ขณะเพราะอรรถว่าเป็น

โอกาส กล่าวคือจักร ๔ มีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้น ขณะนั้น เว้น

ความพร้อมเพรียงแห่งขณะ คือ ความเป็นมนุษย์ การเสด็จอุบัติขึ้นแห่ง

พระพุทธเจ้า การฟังพระสัทธรรม และมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเสียก็มีไม่ได้ และ

ความเป็นมนุษย์เป็นต้น เป็นภาวะที่ได้โดยยาก โดยการอุปมาด้วยเต่าตาบอด

เป็นต้น กุศลอันเป็นอุปการะแก่โลกุตรธรรมทั้งหลาย อันประกอบด้วยขณะ

อันแสนจะได้ยากแท้ เพราะความที่ขณะเป็นของหาได้โดยยาก ดังพรรณนา

มาฉะนี้.

บรรดาสมยศัพท์ตามที่กล่าวแล้ว สมยศัพท์กล่าวคือขณะย่อมส่องถึง

ความเป็นของได้โดยยาก เพราะเป็นการเกิดขึ้นแห่งกุศล ว่าโดยฐานะที่แสดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

อยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านปฏิเสธการอยู่ด้วยความประมาทของชนผู้ได้ขณะ

แล้ว ทำขณะให้เป็นโมฆะ เพราะการไม่ยังกุศลนั้นอันประกอบด้วยขณะให้

เกิดขึ้น อรรถนี้ท่านอธิบายไว้ด้วยสมยศัพท์ กล่าวคือ ขณะ.

ก็ธรรมดาว่า การเป็นของกุศลจิตนี้ นั้นเป็นของน้อยยิ่งนัก ก็การที่

กุศลจิตนั้นเป็นของน้อยยิ่งนักนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาพระสูตร

นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ความเร็วของดวงจันทร์และดวง-

อาทิทย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษ เทวดาผู้ไปข้างหน้าของพระจันทร์และ

พระอาทิตย์ เรียกว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์ อายุสังขารทั้งหลายย่อมสิ้นไป

เร็วกว่านั้น. จริงอยู่ สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลเล็กน้อยของรูป-

ชีวิตินทรีย์ก่อน รูปที่เกิดขึ้นเฉพาะแล้วยังตั้งอยู่เพียงใด จิต ๑๖ ดวงเกิดขึ้น

แล้วดับเพียงนั้น แม้การอุปมาด้วยข้อที่จิตเหล่านั้นเป็นของเล็กน้อยโดยกาล

ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นไปรวดเร็ว แม้การเปรียบก็กระทำไม่ได้ง่ายดังนี้.

บรรดาสมยศัพท์เหล่านั้น สมยศัพท์กล่าวคือ กาลย่อมแสดงถึงความเล็กน้อย

ยิ่งของกาลที่เป็นไปในกุศลจิตด้วยประการฉะนี้ ว่าด้วยฐานะที่ทรงแสดงอยู่

อย่างนี้ เป็นโอวาทที่ทรงประทานไว้ว่า จิตนี้แทงตลอดได้ยากเหมือนการ

ร้อยแก้วมุกดาโดยแสงสว่างแห่งฟ้าแลบ เพราะความที่จิตมีเวลาเป็น

ไปน้อยยิ่ง เพราฉะนั้น พวกเธอพึงทำความอุตสาหะให้มาก และความเอื้อเฟื้อ

ให้มาก ในการแทงตลอดจิตนี้ ดังนี้. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์คือกาล.

ส่วนสมยศัพท์ กล่าวคือการประชุม ย่อมแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน

แห่งธรรมแม้มิใช่น้อย จริงอยู่ กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า

การประชุม ดังนี้ อนึ่ง จิตเมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในกองแห่งธรรมนั้นพร้อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

กับธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย

มิใช่น้อย โดยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี่ เป็นอันว่าแสดงการปฏิเสธความเกิดขึ้น

แห่งธรรมอย่างเดียวนั่นเอง. เนื้อความนี้แสดงสมยศัพท์กล่าว คือ การประชุม.

ส่วนสมยศัพท์กล่าวคือเหตุ ย่อมแสดงความเป็นไปอันประกอบด้วย

ธรรมอื่น. จริงอยู่ บทว่า ยสฺมึ สมเย มีอธิบายว่า เมื่อเหตุอย่างใดมี

กุศลก็ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงแสดงความที่ธรรมมีการเป็นไปโดย

อาศัยเหตุอื่น เพราะมีเหตุเป็นไป ด้วยฐานะที่แสดงอยู่อย่างนี้ จึงเป็นอัน

ปฏิเสธความสำคัญผิดว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปในอำนาจของตนได้. เนื้อความ

นี้แสดงความเป็นไปได้ด้วยสมยศัพท์กล่าวคือเหตุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺมึ สมเย อธิบายว่า ในกาลใด

ด้วยอำนาจแห่งสมยศัพท์ กล่าวคือ กาล. พึงทราบเนื้อความแห่งสมยศัพท์

คือ การประชุมในบทว่า ยสฺมึ สมูเห นี้ ได้แก่ บรรดาสมยศัพท์ทั้งหลาย

คือ ขณะความพร้อมเพรียง และเหตุ มีอยู่ คือ เมื่อมีขณะใด มีความพร้อมเพรียง

ใด มีเหตุใด กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกามาวจรกุศลจิตนั้นนั่นแหละ

มีอยู่ ธรรมทั้งหลายแม้มีผัสสะเป็นต้นก็เกิดขึ้น ดังนี้ เพราะสมยศัพท์กล่าวคือ

กาล และการประชุมเป็นอธิกรณะ (เป็นอาธารสัตตมีวิภัตติ ให้แปลว่า ใน).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตธมฺมาน นี้ เป็นสัตว์มีวิภัตติด้วย

สามารถแห่งอธิกรณะ อธิบายว่า ภาวะในธรรมเหล่านั้น พึงกำหนดด้วยภาวะ

แห่งสมยศัพท์ กล่าวคือขณะ ความพร้อมเพรียง และเหตุ เพราะฉะนั้น ในคำว่า

วุตฺตธมฺมาน นี้ จึงเป็นสัตตมีวิภัตติ ด้วยสามรถการกำหนดภาวะด้วยภาวะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

อธิบายคำว่ากามาวจร

บทว่า กามาวจร ได้แก่ จิตที่นับเนื่องในกามาวจรธรรมทั้งหลาย

ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน ? คือ เบื้องต่ำมี

อเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรคชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด.

ในกามาวจรนั้น มีวจนัตถะ (ความหมายของถ้อยคำ) ดังต่อไปนี้

ว่าโดยอุทาน กามมี ๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดากาม

ทั้ง ๒ นั้น ว่าโดยอรรถ กิเลสกามได้แก่ฉันทราคะ วัตถุกามได้แก่วัฏฏะอันเป็น

ไปในภูมิ ๓ อนึ่ง กิเลสกามชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า ย่อมใคร่ วัตถุกาม

ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า วัตถุอันเขาใคร่. ก็กามทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อม

ท่องเที่ยวไปในประเทศใดด้วยสามารถแห่งความเป็นไป ประเทศนั้นมี ๑๑ คือ

อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวโลก ๖ ชั้น. กามย่อมท่องเที่ยวไปในที่นี้

เพราะฉะนั้น ที่นี้จึงชื่อว่า กามาวจร ดุจการท่องเที่ยวไปกับพวกเกวียน.

เหมือนอย่างว่า พ่อค้าเกวียน ย่อมท่องเที่ยวไปในประเทศใด ประเทศนั้น

ท่านเรียกว่า บุรุษผู้เที่ยวไปกับพ่อค้าเกวียน ถึงจะมีสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า

เหล่าอื่นท่องเที่ยวไปด้วย แม้มีอยู่ ท่านก็กำหนดเฉพาะชนผู้เที่ยวไปเหล่านั้น

ฉันใด ประเทศนี้ ท่านก็เรียกว่า กามาวจรเท่านั้น เพราะแม้เมื่อรูปาวจร

เป็นต้นเหล่าอื่นท่องเที่ยวไปในประเทศนั้น ท่านก็กำหนดเอาเฉพาะกามาวจร

เหล่านี้เท่านั้น ฉันนั้น. กามนี้ท่านเรียกว่า กามเท่านั้น เพราะลบบทหลัง

เสีย เหมือนรูปภพ ท่านเรียกว่า รูป ฉันใด จิตนี้ ย่อมท่องเที่ยวไปในกาม

กล่าวคือ ๑๑ ประเทศนี้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า กามาวจร.

จิตนี้ย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ช้างใหญ่มีชื่ออันได้แล้วว่า เข้าสู่สงคราม เพราะการหยั่งลงสู่สงคราม แม้จะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

เที่ยวไปในเมือง เขาก็เรียกว่า ช้างสงครามนั่นแหละ สัตว์จำนวนมากที่เที่ยว

ไปบนบกและในน้ำ แม้ยืนอยู่ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ เขาก็เรียกว่า สัตว์เที่ยว

ไปบนบกและเที่ยวไปในน้ำ ฉันใด จิตนี้ แม้เที่ยวไปในที่อื่น ๆ ก็พึงทราบว่า

กามาวจร (ท่องเที่ยวไปในกาม) ฉันนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง กามย่อม

ท่องเที่ยวไปในจิตนี้ ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์ แม้เพราะเหตุนั้น จิตนี้

ก็เรียกว่า กามาวจร. กามนั้นย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในรูปภพและอรูปภพแม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบอุปมานี้ เหมือนเขากล่าวว่า สัตว์ที่ชื่อว่า ลูกโค เพราะ

มันส่งเสียงร้อง ที่ชื่อว่า กระบือ เพราะมันนอนแผ่นดิน สัตว์มีจำนวน

เท่าใด ก็ตามจะส่งเสียงร้องหรือนอนบนแผ่นดินก็ตาม สัตว์ทั้งหมดเหล่านั้น

หามีชื่ออย่างนั้นไม่. ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตใด ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ปฏิสนธิในกาม

กล่าวคือกามภพ เพราะเหตุนั้น จิตนั้น จึงชื่อว่า กามาวจร.

อธิบายคำว่ากุศล

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า กุศล ต่อไป ธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วย

อรรถทั้งหลายมีการตัดบาปทั้งหลายเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กุศล

ด้วยอรรถว่า ความไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ และด้วยอรรถว่าเกิดแต่

ความฉลาด.

บัณฑิตพึงทราบธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค เพราะ

ความไม่มีความกระสับกระส่ายด้วยกิเลส ไม่มีความป่วยไข้คือกิเลส ไม่มีพยาธิ

คือกิเลสในอรูปธรรมเลย เหมือนคำที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่า

ไม่มีโรค เพราะไม่มีความกระสับกระส่ายในร่างกาย เพราะไม่มีความป่วยไข้

ในร่างกาย เพราะไม่มีพยาธิในร่างกาย ดุจในคำว่า ความไม่มีโรคมีแก่ท่าน

ผู้เจริญบ้างแลหรือ. ก็ธรรมที่ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่า ไม่มีโทษ เพราะความ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ไม่มีโทษที่ควรเว้นกิเลส โทษที่ประทุษร้ายคือกิเลส โทษที่กระวนกระวาย

คือกิเลส. ปัญญา ท่านเรียกว่า โกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาด) ธรรมที่ชื่อว่า

กุศล ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ความฉลาด เพราะความเกิดขึ้นแต่ปัญญาชื่อว่า

โกสัลละ.

คำว่า กุศล ที่เป็นญาณสัมปยุตจงพักไว้ก่อน แต่คำว่ากุศลที่เป็น

ญาณวิปปยุต เป็นอย่างไร. แม้กุศลที่เป็นญาณวิปปยุตนั้นก็เป็นกุศลนั่นแหละ

ด้วยรุฬหีศัพท์. เหมือนอย่างว่า พัดที่บุคคลทำด้วยเสื่อรำแพนไม่ได้ทำด้วย

ใบตาล เขาก็เรียกกันว่า พัดใบตาลนั่นแหละ ด้วยรุฬหิศัพท์ เพราะสิ่งนั้น

คล้ายกัน ฉันใด กุศลแม้เป็นญาณวิปปยุต บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นกุศล

นั่นแหละฉันนั้น. แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) กุศลที่เป็นญาณสัมปยุต

ได้ชื่อว่า กุศล ถึง ๓ อย่าง คือ ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ

ด้วยอรรถว่าเกิดแต่ความฉลาด. กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต ได้ชื่อว่า กุศล

เพียง ๒ อย่างเท่านั้น. เพราะฉะนั้น กุศลใดที่กล่าวไว้แล้วโดยการบรรยายถึง

ชาดกก็ดี โดยการบรรยายถึงพาหิรสูตรก็ดี โดยการบรรยายถึงพระภิธรรมก็ดี

กุศสนั้นทั้งหมดย่อมได้ในจิตนี้ด้วยอรรถแม้ทั้ง ๓. กุศลนี้นั้น ว่าโดยลักขณา-

ทิจตุกะ คือ กุศล

มีสุขวิบากอันไม่มีโทษ เป็นลักษณะ

มีการกำจัดอกุศล เป็นรส มีการผ่องแผ้ว

เป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการ หรือมี

ความไม่มีโทษเป็นปทัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง กุศลชื่อว่า มีความไม่มีโทษ เป็นลักษณะนั้นแหละ

เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นรส มีวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ที่หน้าปรารถนาเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการหรือความไม่มีโทษเป็น

ปทัฏฐาน.

จริงอยู่ ในธรรมทั้ง ๔ มีลักษณะเป็นต้น สภาวะหรือความเสมอกัน

แห่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า ลักษณะ กิจ (หน้าที่การงาน) หรือสัมปัตติ (การ

ถึงพร้อม) ชื่อว่า ร. อาการปรากฏ หรือผล ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน.

เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน. ดังนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวธรรมทั้งหลายมีลักษณะ

เป็นต้นในที่ใด ๆ พึงทราบความแตกต่างกันแห่งธรรมเหล่านั้นในที่นั้น ๆ

โดยนัยนี้แล.

อธิบายคำว่าจิต

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺต สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า

ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป

แก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺต นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล

และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน

ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ

อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต

เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร

พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺต นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

บรรดาจิตเหล่านั้น จิตมีราคะก็อย่างหนึ่ง จิตมีโทสะก็อย่างหนึ่ง จิต

มีโมหะก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นกามาวจรก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นรูปาวจรเป็นต้น

ก็อย่างหนึ่ง จิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง จิตมีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์

ก็อย่างหนึ่ง บรรดาจิตแม้ที่มีรูปเป็นอารมณ์ จิตที่มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก็อย่าง-

หนึ่ง จิตที่มีสีเหลืองเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็อย่างหนึ่ง แม้จิตที่มีเสียงเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

เป็นอารมณ์ก็นัยนี้แหละ ในจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมด หีนจิตก็อย่างหนึ่ง

มัชฌิมจิตก็อย่างหนึ่ง ปณีตจิตก็อย่างหนึ่ง ถึงในจิตที่เป็นหีนจิตเป็นต้น จิต

ที่มีฉันทะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีวิริยะเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ จิตมี

วิมังสาเป็นอธิบดีก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเหล่านี้

เป็นธรรมวิจิตร ด้วยสามารถแห่งสัมปยุตธรรม ภูมิ อารมณ์ เป็นหีนะ

มัชฌิมะ ปณีตะ และอธิบดี. ก็บรรดาจิตเหล่านี้ เป็นจิตแต่ละดวง มิใช่จิต

ทั้งหลายเลย ถึงอย่างนั้น จิตนั้นก็ชื่อว่า จิต เพราะรวมอยู่ในความวิจิตร

ทั้งหลาย บรรดาจิตเหล่านั้น จิตดวงใดดวงหนึ่งสมควรเรียกว่าจิต เพราะเป็น

ธรรมวิจิตร. ชื่อว่า จิต เพราะความวิจิตรอย่างนี้ก่อน.

ชื่อว่า จิต เพราะทำให้วิจิตร อย่างไร ?

จริงอยู่ ชื่อว่า วิจิตรอื่นยิ่งกว่าจิตรกรรม ไม่มีในโลก ธรรมดาว่า

ลวดลายแม้ในความวิจิตรนั้น ก็เป็นความวิจิตรคือความงดงามยิ่งนัก. พวก

จิตรกรเมื่อกระทำจิตรกรรมนั้นก็เกิดสัญญาอันวิจิตรว่า รูปมีอย่างต่าง ๆ เราควร

ทำอย่างนี้ ในที่นี้ ดังนี้. การทำอันวิจิตร อันสำเร็จแล้วด้วยกิจมีการเขียน

การระบายสี การทำสีให้เรืองรอง และการสลับสีเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย

สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตรกล่าวคือลวดลาย

ย่อมสำเร็จแต่จิตรกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งศิสปะอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกอย่างนี้ ศิลปะทั้งหมดนั้น อันจิตเท่านั้นคิดว่า รูปนี้จงมีข้างบนรูปนี้

รูปนี้จงมีข้างล่างของรูปนี้ รูปนี้จงมีที่ข้างทั้ง ๒ ของรูปนี้แล้วจึงกระทำ จิตร-

กรรมนั้นอันข้างล่างให้วิจิตรแล้ว ฉันใด แม้จิตที่ทำให้สำเร็จความวิจิตร ก็ชื่อว่า

จิต ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกระทำให้วิจิตรด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง

จิตนั่นแหละ ชื่อว่า วิจิตรกว่าจิตรกรรมนั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ทุกชนิดตามที่คิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชื่อว่า ลวดลายอันวิจิตร พวกเธอเห็นแล้วหรือ พวกภิกษุกราบทูล

ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแลอันจิตนั่นเองคิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเท่านั้น

วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล.

อนึ่ง จิตที่เป็นไปภายในต่างชนิดโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหาร

เป็นต้น ในคติทั้งหลาย มีเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนี้ใด จิตแม้นั้นก็

กระทำให้วิจิตรแล้วเหมือนกัน.

จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม อันต่างโดยกรรมมีกายกรรม

เป็นต้น ที่เป็นไปโดยนัยมีทาน ศีล ความเบียดเบียน และความโอ้อวดเป็นต้น

สำเร็จแล้วด้วยจิต ชื่อว่า มีความต่างกันเพราะกรรม. สัณฐานแห่งอวัยวะ

มีมือ เท้า ท้อง คือ และหน้าเป็นต้นในคติทั้งหลายนั้น ๆ แตกต่างกันไป

ด้วยความต่างกันแห่งกรรมนั้นแหละ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งเพศ. เมื่อ

สัญญาเกิดขึ้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัณฐานตามที่

ถือเอา เพราะความต่างกันแห่งเพศ ชื่อว่า ความต่างกันแห่งสัญญา.

เมื่อชนทั้งหลายร้องเรียกด้วยคำว่า หญิง หรือว่า ชาย ดังนี้ อันสมควรแก่

สัญญา เพราะความต่างกันแห่งสัญญา ชื่อว่า ความต่างกันแห่งโวหาร.

แต่เพราะเหตุที่บุคคลทำกรรมอันให้เกิดอัตภาพนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งความ

ต่างกันแห่งโวหารอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักเป็นหญิง ข้าพเจ้าจักเป็นชาย ข้าพเจ้า

จักเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าจักเป็นพราหมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกัน

แห่งกรรม เพราะความต่างกันแห่งโวหาร. ก็ความต่างกันแห่งกรรมนั้น ๆ

เมื่อจะยังภพตามที่ปรารถนาให้เกิดขึ้น ย่อมให้เกิดขึ้นด้วยคติ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า ความต่างกันแห่งคติ เพราะความต่างกันแห่งกรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

อนึ่ง ความที่สัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ เกิดเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า

เป็นต้น เกิดเป็นสัตว์สูงและต่ำเป็นต้นในคตินั้น ๆ เกิดเป็นผู้มีผิวพรรณดีและ

ผิวพรรณทรามเป็นต้น เป็นผู้มีลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น ในอัตภาพนั้น ๆ ย่อม

ปรากฏเพราะความต่างกันแห่งกรรมนั่นแหละ. เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นไปใน

ภายในต่างโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้นในคติทั้งหลายอันต่าง

โดยความเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า

อันจิตนั้นเองกระทำแล้ว. เนื้อความนี้นั้น พึงทราบด้วยสามารถพระสูตรที่ยัง

มิได้ขึ้นสู่สังคีตินี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวว่า การกำหนดประเภทของความต่างกัน

ของเพศที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกัน

แห่งกรรมที่มีมาก การกำหนดประเภทของความต่างกันของความต่างกันของ

สัญญาที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดประเภทของความต่างกัน

แห่งเพศที่มีมาก การกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของโวหารที่มีมาก ย่อม

มีได้ด้วยสามารถแห่งกำหนดประเภทแห่งความต่างกันของสัญญาที่มีมาก การ

กำหนดประเภทแห่งความต่างกันของกรรมที่มีมาก ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่ง

การกำหนดประเภทของความต่างกันแห่งโวหารที่มีมาก ความต่างกันแห่งคติ

ของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม สัตว์ทั้งหลาย

ที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มี

สัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความต่างกันแห่งความอุบัติของสัตว์

ทั้งหลาย คือความสูงต่ำ เลวประณีต ไปสู่สุคติและทุคติ ย่อมปรากฏเพราะ

อาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย คือความ

เป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็น

ผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความ

ต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลายในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม

ดังนี้.

แม้ข้ออื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัญญา

ย่อมเป็นไปเพราะเพศ สัตว์ทั้งหลายย่อมลง

ความต่างกันเพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือ

เป็นชาย สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม

หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย

มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจลิ่มสลักเพลารถ

ที่ไปอยู่ บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การ

สรรเสริญก็เพราะกรรม ย่อมได้ความเสื่อม

การถูกประหาร และการจองจำก็เพราะ

กรรม บุคคลรู้ความต่างกันแห่งกรรมนั้น

แล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่ากรรมไม่มีในโลก.

ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม

มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมย่อมจำแนก

สัตว์ทั้งหลายโดยให้เลวและประณีต บัณฑิตพึงทราบความที่จิตเป็นธรรมชาติ

วิจิตร เพราะความวิจิตรด้วยการกระทำดังพรรณนามาฉะนี้.

จริงอยู่ ความวิจิตรเหล่านี้แม้ทั้งหมด อันจิตนั่นแหละกระทำแล้ว

ก็จิตเท่านั้น เป็นธรรมชาติ วิจิตรกว่าความวิจิตรอันใดที่เป็นไปภายในอันจิต

กระทำแล้วที่กล่าวแล้วนั้น เพราะความที่จิตไม่ได้โอกาส ไม่มีการกระทำความ

วิจิตรบางอย่าง หรือว่าเพราะความมีจิตบกพร่องด้วยปัจจัยที่เหลือก็ไม่มีการ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

กระทำให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตร

เหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็น

ธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้.

อธิบายคำว่าอุปปันนธรรม ๔

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อุปฺปนฺน โหติ นี้ ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ มีประเภทหลายอย่างด้วยสามารถแห่ง

วัตตมานอุปปันนะ ภูตาปคตอุปปันนะ โอกาสกตอุปปันนะ และ

ภูมิลัทธอุปปันนะ.

บรรดาวัตตมานอุปปันนะเป็นต้นเหล่านั้น ธรรมชาติแม้ทั้งหมดกล่าว

คือความพรั่งพร้อมด้วยความเกิดขึ้น ความแก่ และความดับ ชื่อว่า วัตต-

มานอุปปันนะ กุศลและอกุศลที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือ

เสวยแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่เข้าถึงหมวด ๓ มีอุปปาทขณะเป็นต้นแล้ว

ก็ดับกล่าวคือเกิดแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่ปัจจัยปรุงแต่งที่เหลือด้วย

ชื่อว่า ภูตาปคตอุปปันนะ กรรมที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นว่า กรรมทั้งหลาย

เหล่านี้ใดที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อน ดังนี้ แม้เป็นอดีต และเพราะห้ามวิบาก

อื่นที่มีอยู่แล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน และวิบากที่มีโอกาสอันกระทำแล้ว

อย่างนั้น มีอยู่แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโอกาสทำแล้ว

อย่างนั้น ชื่อว่า โอกาสกตอุปปันนะ อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมิทั้งหลาย

นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลัทธอุปปันนะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งภูมิและ

ภูมิลัทธะ ในคำว่า ภูมิลัทธอุปปันนะต่อไป. ขันธ์ ๕ เป็นไปในภูมิ ๓ เป็น

อารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ การเกิดขึ้นแห่งกิเลสอันควรแก่การเกิดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ (มีภูมิอันได้แล้ว) จริงอยู่ ภูมิเหล่านั้น

ชื่อว่า อันกิเลสนั้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ (มี

ภูมิอันได้แล้ว) บรรดาอุปปันนะ ๔ ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ในคำว่า อุปฺปนฺน

โหติ นี้ ท่านประสงค์เอาวัตตมานอุปปันนะ.

ว่าด้วยอุปปันนศัพท์

พึงทราบคำจำกัดความในคำว่า อุปฺปนิน โหติ ต่อไป.

ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ เพราะอรรถว่า เคลื่อนจากธรรมส่วน

เบื้องต้น (คืออดีต) มุ่งหน้าต่ออุปปาทขณะเป็นต้น. ก็อุปปันนศัพท์นี้ใช้ใน

อรรถหลายอย่าง คือ ในอดีต (ธรรมที่ล่วงแล้ว) ปฏิลัทธะ (ได้เฉพาะ)

สมุฏฐิตะ (ตั้งขึ้นพร้อม) อวิกขัมภิตะ (ข่มไม่ได้) อสมุจฉินนะ (ตัด

ไม่ได้) ขณัตตยคตะ (ถึงขณะทั้ง ๓).

จริงอยู่ อุปปันนศัพท์นี้มาในความหมายว่า อดีต ดังในประโยคนี้ว่า

เตน โข ปน ภิกฺขเว สมเยน กกุสนฺโธ ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ

โลเก อุปฺปนฺโน (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก)

ดังนี้ มาในความหมายว่า ได้เฉพาะ ดังในประโยคนี้ว่า อายสฺมโต

อานนฺทสฺส อติเรกจีวร อุปฺปนฺน โหติ (อติเรกจีวรเป็นของอันท่าน

พระอานนท์ได้เฉพาะแล้ว) มาในความหมายว่า ตั้งขึ้นพร้อม ดังในประโยค

นี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุปฺปนฺน มหาเมฆ ตเมน มหาวาโต

อนฺตราเยว อนฺตรธาเปติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆตั้งขึ้นพร้อมแล้ว

ลมใหญ่ย่อมพัดมหาเมฆนี้นั้นให้อันตรธานไปในระหว่างนั่นแหละ) มาใน

ความหมายว่า ข่มไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปนฺน คมิยจิตฺต ทุปฺปฏิ-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

วิโนทนญฺจ อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม านโส

อนฺตรธาเปติ (จิตคิดจะไป ข่มไม่ได้ บรรเทาได้ยาก และย่อมยังบาปอกุศลธรรม

ที่ข่มไม่ได้ ที่ข่มไม่ได้ให้อันตรธานไปโดยฉับพลัน ) มาในความหมายว่า

ตัดไม่ได้ ดังในประโยคนี้ว่า อริย อฏฺงฺคิก มคฺค ภาเวนฺโต

พหุลีกโรนฺโต อุปฺปนฺนุปนฺเน ปาปเก อกุสเล ธมฺเม อนฺตราเยว

อนฺตรธาเปติ (บุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

ย่อมยังบาปอกุศลธรรมที่ยังละไม่ได้ และละไม่ได้ให้อันตรธานไป) มาใน

ความหมายว่า ถึงขณะทั้ง ๓ ดังในประโยคนี้ว่า อุปฺปชฺชมาน อุปปนฺนนฺติ

อามนฺตา (ถามว่า จิตกำลังเกิด ชื่อว่า ถึงขณะทั้ง ๓ หรือ ตอบว่า ใช่) แม้

อุปปันนศัพท์ในที่นี้ ก็พึงทราบว่า ถึงขณะทั้ง ๓ เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคำว่า

อุปฺปนฺน โหติ นี้ พึงทราบเนื้อความสังเขปนี้ว่า ถึงขณะทั้ง ๓ กำลังเป็นไป

ได้แก่ ปัจจุบัน.

อธิบายคำว่าจิตเป็นประธาน

ก็คำว่า จิตฺต อุปฺปนฺน นี้ คือจิตเป็นประธานแห่งเทศนา ก็จิต

ย่อมไม่เกิดขึ้นเฉพาะดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเขาพูดว่า พระราชา

เสด็จมาแล้ว ดังนี้ ก็พระราชาทรงละบริษัทแล้วมาพระองค์เดียวเท่านั้น ก็หาไม่

แต่ที่แท้แล้วย่อมปรากฏว่า มาพร้อมกับบริษัททีเดียว ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่าเกิด มาพร้อมกับกุศลธรรมเกิน ๕๐ โดยแท้. อนึ่ง คำว่า

จิตฺต อุปฺปนฺน นี้ พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอรรถว่าเป็นประธาน

(เป็นสภาพถึงก่อน).

จริงอยู่ เพ่งถึงโลกิยธรรมแล้ว จิตก็เป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน

แต่เพ่งถึงโลกุตรธรรมแล้ว ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน เพราะเหตุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นถึงปริยายพระวินัยแล้ว เมื่อจะตรัสถาม

ปัญหาก็ไม่ตรัสถามว่า เธอมีผัสสะเป็นอย่างไร มีเวทนาเป็นอย่างไร มีสัญญา

เป็นอย่างไร มีเจตนาเป็นอย่างไร ย่อมตรัสถามทำจิตเท่านั้นให้เป็นธุระว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอมีจิตเป็นอย่างไร ดังนี้ เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่มีไถยจิต ดังนี้ พระองค์ก็ไม่ตรัสว่า ภิกษุไม่มี

ไถยผัสสะก็ไม่ต้องอาบัติเป็นต้น แต่ย่อมตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่

ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อถึงปริยายพระวินัยทรงยก

จิตขึ้นเป็นธุระเท่านั้นก็หาไม่ เมื่อทรงแสดงโลกิยเทศนาแม้อื่นก็ทรงแสดงทำ

จิตนั่นแหละให้เป็นธุระ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรุมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล-

ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีใจเป็นประธาน ใจย่อมเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น ดังคาถา

ประพันธ์ที่ตรัสไว้ว่า

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจ

ประเสริฐที่สุด สำเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจ

อันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะ

กระทำก็ตาม เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น ทุกข์

ย่อมตามเขาไป เหมือนล้อหมุนไปตามรอย

เท้าโคตัวลากเกวียน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย

มีใจเป็นประธาน มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จ

แล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูด

ก็ตาม จะกระทำก็ตาม เพราะสุจริต ๓ อย่าง

นั้น สุขย่อมไปตามเขา เหมือนเงาไปตามตัว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ฉะนั้น สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อม

กระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมด

ทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอัน

หนึ่งคือจิต ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง

ย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นประภัสสร

แต่ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้ว เพราะอุปกิเลสทั้งหลายจรมา. ดูก่อนคหบดี

เมื่อบุคคลไม่รักษาจิต แม้กายกรรมก็ชื่อว่าเธอไม่รักษา แม้วจีกรรมก็ชื่อว่า

ไม่รักษา แม้มโนกรรมก็ชื่อว่าไม่รักษา ดูก่อนคหบดี เมื่อบุคคลรักษาจิต ฯลฯ

ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตพยาบาท ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่พยาบาท ฯลฯ

ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตถูกกิเลสรั่วรด ฯลฯ ดูก่อนคหบดี เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสรั่วรด

กายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี ก็ไม่ถูกกิเลสรั่วรด เพ่งถึงโลกิยธรรมอย่างนี้ด้วย

ประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า จิตเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้

ก็บรรดาสูตรที่กล่าวแล้วเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านไม่ถือสูตรหนึ่งหรือสองสูตร

แต่ถือสูตรแม้ทั้งหมดเพื่อตามรักษาสูตรไว้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จะตรัสถามโลกุตรธรรมก็ไม่ตรัสถามว่า เธอ

บรรลุผัสสะไหน บรรลุเวทนาไหน บรรลุสัญญาไหน บรรลุเจตนาไหน

และบรรลุจิตไหน ดังนี้ ทรงถามทำปัญญาให้เป็นธุระว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ

บรรลุปัญญาไหน หรือว่า เธอบรรลุมรรคปัญญาที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่

หรือดังนี้.

ในที่นี้พึงทราบพระสูตรเป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลธรรมทั้งปวงมีปัญญา

เป็นเยี่ยมย่อมไม่เสื่อม ก็ปัญญามีประโยชน์อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ศรัทธาที่คล้อยตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญานั้น ย่อมดำรงอยู่ วิริยะที่

คล้อยตามศรัทธานั้นย่อมดำรงอยู่ สติที่คล้อยตามวิริยะนั้นย่อมดำรงอยู่ สมาธิ

ที่คล้อยตามสตินั้น ก็ย่อมดำรงอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพ่งถึงโลกุตรธรรม

แล้วพึงทราบว่า ปัญญาเป็นใหญ่ เป็นธุระ เป็นประธาน ดังนี้ แต่นี้เป็น

โลกิยเทศนา เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงจิตให้เป็นธุระ จึงตรัสว่า อุปฺปนฺน

โหติ ดังนี้.

อธิบายคำว่าโสมนัสสสหคตะ

คำว่า โสมนสฺสสหคต ได้แก่ ถึงภาวะมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้น

กับโสมนัส กล่าวคือการเสวยอารมณ์ที่ยินดีเหมือนน้ำผึ้ง ก็สหคตศัพท์นี้ใช้ใน

อรรถเหล่านี้ คือ ความเป็นอย่างนั้น ( ตัพภาวะ) เจือแล้ว (โวกิณณะ)

ที่อาศัย (นิสสยะ) อารมณ์ (อารัมมณะ) และความเกี่ยวข้อง (สังสัฏฐะ).

บรรดาอรรถเหล่านั้น สหคตศัพท์นี้พึงทราบว่า ใช้ในความหมายว่า

ความเป็นอย่างนั้น เหมือนในประโยคว่า ยาย ตณฺหา โปโนพฺภวิกา

นนฺทิราคสหคตา ( ตัณหานี้ใด อันก่อให้เกิดในภพใหม่ เพราะความเป็น

อย่างนั้นแห่งนันทิราคะ (ตัณหา) อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความ

เพลิดเพลิน. ใช้ในความหมายว่า เจือแล้ว เหมือนในประโยคว่า ยาย

ภิกฺขเว วีมสา โกสชฺชสหคตา โกสชฺชสมฺปยุตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วิมังสานี้ใด เจือแล้วด้วยความเกียจคร้าน ประกอบแล้วด้วยความเกียจคร้าน)

ในอธิการนี้พึงทราบอธิบายว่า วิมังสานี้เจือแล้วด้วยความเกียจคร้านที่เกิดขึ้น

ในระหว่าง ๆ. ใช้ในความหมายว่า อาศัย เหมือนในประโยคว่า อฏฺิก-

สญฺาสหคต สติสมฺโพชฌงฺค ภาเวติ (ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อาศัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

อัฏฐิกสัญญา) อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญาได้เฉพาะแล้ว เพราะอาศัยอัฏฐิก-

สัญญา. ใช้ในความหมายว่า อารมณ์ เหมือนในประโยคว่า ลาภี โหติ

รูปสหคตาน วา สมาปตฺตีน อรูปสหคตาน วา (ภิกษุมีปกติได้

สมาบัติทั้งหลายมีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีอรูปเป็นอารมณ์) อธิบายว่า มีรูป

หรืออรูปเป็นอารมณ์. ใช้ในความหมายว่า ความเกี่ยวข้อง เหมือนใน

ประโยคว่า อิท สุข อิมาย ปีติยา สหคต โหติ สหชาต สสฏฺ

สมฺปยุตฺต (สุขนี้เป็นธรรมชาตสหรคตแล้ว เกิดพร้อมแล้ว เกี่ยวข้องแล้ว

สัมปุตแล้วด้วยปีตินี้) ในบทว่า สังสัฏฐะนี้ ท่านประสงค์เอาความหมายนี้

เท่านั้น. จริงอยู่ จิตที่เกี่ยวข้องกับโสมนัสในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

โสมนัสสสหคตะ ดังนี้.

ว่าด้วยสังสัฏฐศัพท์

อนึ่ง แม้สังสัฏฐศัพท์นี้ ก็ใช้ในอรรถมากอย่าง คือ ในความหมายว่า

เช่นเดียวกัน (สทิเส) กิเลสรั่วรด (อวสฺสุเต) ความสนิทสนมฉันท์มิตร

(มิตฺตสนฺถเว) เกิดพร้อมกัน (สหชาเต).

จริงอยู่ สังสัฏฐศัพท์นี้มาในความหมายว่า เช่นเดียวกัน ดังในประโยค

นี้ว่า กีเส ถูเล จ วิวชฺเชตฺวา สสฏฺา โยชิตา หยา (ม้าทั้งหลาย

ที่เทียมแล้ว ยกเว้นม้าผอมทั้งหลาย และม้าอ้วนทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน). มา

ในความหมายว่า กิเลสรั่วรด ดังในประโยคว่า สสฏฺา จ ตุมเห อยฺเย

วิหรถ (แม่เจ้าทั้งหลาย พวกท่านจงชุ่มด้วยกิเลสเถิด). มาในความหมายว่า

สนิทสนมฉันท์มิตร ดังในประโยคว่า คิหิสสฏฺโ วิหรติ (ภิกษุสนิทสนม

ฉันท์มิตรกับคฤหัสถ์). มาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน ดังในประโยคว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

อิท สุข อิมาย ปีติยา สหคต โหติ สหชาต สสฏฺ สมฺปยุตฺต

(สุขนี้ สหรคตแล้ว เกิดร่วมกัน เกิดพร้อมกัน สัมปยุตกันด้วยปีตินี้)

สังสัฏฐศัพท์ในที่แม้นี้ ประสงค์เอาในความหมายว่า เกิดพร้อมกัน (สหชาตะ)

ก็ในอรรถเหล่านั้น ธรรมที่สหรคต ชื่อว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน

ไม่สัมปยุตกัน ย่อมไม่มี แต่ว่า ธรรมที่เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน สัมปยุต

กัน มีบ้าง ไม่มีบ้าง. จริงอยู่ เมื่อรูปธรรมกับอรูปธรรมเกิดพร้อมกัน รูปย่อม

เกิดพร้อมกับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน อรูปก็เหมือนกัน

เกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน และรูปเกิดพร้อมกับรูป

ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่สัมปยุตกัน. ส่วนอรูปโดยแน่นอนทีเดียวเกิดพร้อมกัน

เกี่ยวข้องกัน สัมปยุตกันกับอรูปทีเดียว เพราะฉะนั้น ทรงหมายเอาการเกิด

พร้อมกันนั้น จึงตรัสคำว่า โสมนสฺสสหคต ดังนี้.

อธิบายคำว่าญาณสัมปยุต

บทว่า าณสมฺปยุตฺต แปลว่า สัมปยุตด้วยญาณ อธิบายว่า

ประกอบด้วยอาการมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเสมอกัน. ก็คำใดที่ควรกล่าวใน

ญาณสัมปยุตนี้ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในเวทนาติกะในการพรรณนา

บทมาติกานั่นแหละ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ญาณนั้นสัมปยุตด้วย

ลักษณะนี้ คือ เกิดพร้อมกัน (เอกุปฺปาทา) ดับพร้อมกัน (เอกนิโรธา)

มีวัตถุเดียวกัน (เอกวตฺถุกา) มีอารมณ์เดียวกัน (เอการมฺมณา).

ส่วนนิทเทส (การชี้แจง) โดยอุกฤษฏ์มีดังนี้

ก็ในอรูป แม้เว้นความมีวัตถุเป็นอันเดียวกัน ก็ได้สัมปโยคะ

ถามว่า ด้วยคำมีเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ตอบว่า ท่านกล่าวมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสในกามาจรทั้งหลาย

ที่เป็นติเหตุกญาณสัมปยุต เป็นอสังขาริก.

จริงอยู่ ทรงถือเอากุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔ ด้วย คำถามที่มิได้กำหนด

แน่นอนว่า ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ดังนี้ ด้วยพระบาลีว่า กามาวจร

กุสล จิตฺต อุปฺปนฺน โหติ (กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว) ดังนี้ ทรงเว้น

กุศลจิตเป็นไปในภูมิ ๓ ทรงถือเอากามาวจรกุศลจิต ๘ ดวงเท่านั้น. พระบาลีว่า

โสมนสฺสสหคต ดังนี้ ทรงเว้นอุเบกขาสหรคต ๔ อย่าง จากกามาวจรกุศลจิต

นั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะโสมนัสสสหคตจิตเฉพาะ ๔ อย่าง ด้วย

พระบาลีว่า าณสมฺปยุตฺต ดังนี้ ทรงเว้นจิตที่เป็นญาณวิปปยุต ๒ ดวง

จากจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตนั้นนั่นแหละ แล้วทรงถือเอาเฉพาะจิตที่เป็นญาณ

สัมปยุต ๒ ดวงเท่านั้น. ส่วนความที่จิตเป็นอสังขาริกมิได้ทรงถือเอา เพราะ

ความที่จิตเป็นอสังขาริกนั้นมิได้ตรัสไว้ แม้มิได้ทรงถือเอาความที่จิตเป็นอสัง-

ขาริกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า สสงฺขาเรน ข้างหน้าแม้จะ

มิได้ตรัสว่า อสงฺขาเรน ไว้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบความที่จิตเป็นอสังขาริก

เพราะได้ทรงกำหนดเพื่อแสดงมหาจิตนี้ตั้งแต่ต้นทีเดียว จึงทรงเริ่มเทศนานี้

ดังนี้ ในข้อนี้ พึงทราบว่าท่านทำความสันนิษฐานไว้อย่างนี้.

อธิบายคำว่าอารมณ์

บัดนี้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละโดยอารมณ์ จึงตรัสคำว่า รูปารมฺมณ

วา เป็นต้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อแสดงอรูปธรรมทั้งหลายย่อมทรงแสดง

ด้วยวัตถุ หรือด้วยอารมณ์ หรือวัตถุและอารมณ์ หรือว่าด้วยภาวะพร้อมทั้ง

รส. อรูปธรรมทั้งหลายที่ทรงแสดงด้วยวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า จักขุสัมผัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส

จักขุวิญญาณ ฯสฯ มโนวิญญาณดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลายด้วยอารมณ์

ดังในประโยคมีอาทิว่า รูปสญฺา ฯเปฯ ธมฺมสญฺา รูปสญฺเจตนา

ฯเปฯ ธมฺมสญฺเจตนา ดังนี้. และทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ทั้งวัตถุ

และอารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า. จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุ

และรูป ผัสสะ คือ การประชุมธรรมทั้ง ๓ ฯลฯ มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้น

เพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ผัสสะคือการประชุมแห่ง ธรรมทั้ง ๓ ดังนี้.

ทรงแสดงอรูปธรรมทั้งหลาย ด้วยภาวะพร้อมทั้งรส ดังในประโยคมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เพราะ

สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงเกิดขึ้น ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงในฐานะนี้ด้วยอารมณ์จึง

ตรัสคำว่า รูปารมฺมณ วา เป็นต้น.

บรรดาธรรมที่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นต้นนั้น รูปมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็น

อดีต อนาคต และปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า รูปารมณ์. เสียงมีสมุฏฐาน ๒

ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่าสัททารมณ์. คันธะมีสมุฏฐาน ๔

ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันนั่นแหละ เรียกว่า คันธารมณ์. รสนั่นแหละมี

สมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน เรียกว่า รสารมณ์. โผฏฐัพพะ

นั่นแหละมีสมุฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีตและปัจจุบัน เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์.

ธรรมทั้งหลายนั่นแหละกล่าวคือโคจร (อารมณ์) ของจิตที่มีสมุฏฐานหนึ่ง

มีสมุฏฐานสอง มีสมุฏฐานสาม มีสมุฏฐานสี่ แม้ไม่เกิดจากสมุฏฐานไหน ๆ

ที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ทั้งธรรมที่ไม่พึงกล่าว และที่เหลือจากธรรมที่กล่าว

แล้ว เรียกว่า ธรรมารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใด แม้มีรูปเป็นต้น

ที่ไม่มาสู่คลอง ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมารมณ์ทั้งนั้น ธรรมเหล่านั้นถูกปฏิเสธ

ด้วยสูตรนี้.

ข้อนี้ สมกับคำที่พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินทรีย์

๕ เหล่านี้แล มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับเอาโคจรวิสัยของกันและกัน

(รับเฉพาะของตนเอง) มีใจเป็นที่พึ่ง ใจเท่านั้นย่อมรับโคจรวิสัยของอินทรีย์

๕ เหล่านั้น ดังนี้.

จริงอยู่ อารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น แห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านั้น

ชื่อว่า โคจรวิสัย รูปารมณ์เป็นต้นเหล่านั้น อันใจเสวยอยู่ ก็คือรูปารมณ์

เป็นต้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงสำเร็จประโยชน์นี้ อนึ่ง ความที่ญาณทั้งหลาย

มีทิพยจักขุญาณเป็นต้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ ก็ย่อมสำเร็จประโยชน์นี้

เหมือนกัน เพราะว่า การกำหนดโดยนัยที่กล่าวว่า รูปารมณ์เป็นต้น ที่ไม่มา

สู่คลองนั่นแหละเป็นอารมณ์ของทิพยจักษุญาณเป็นต้น แต่รูปารมณ์เหล่านั้น

ไม่เป็นธรรมารมณ์มีอยู่ดังนี้.

บรรดาอารมณ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่

คลองในทวารทั้งสอง. จริงอยู่ รูปารมณ์กระทบจักขุประสาทแล้ว มาสู่คลอง

มโนทวารในขณะนั้นทันที อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ภวังคจลนะ. แม้สัททารมณ์

คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็นัยนี้. เหมือนอย่างว่า นกบินมาทาง

อากาศ ซ่อนตัวอยู่ที่ยอดต้นไม้นั่นแหละ ย่อมกระทบกิ่งไม้ด้วย เงาของนกนั้น

ย่อมกระทบแผ่นดินด้วย การกระทบที่กิ่งไม้ และการแผ่ไปแห่งเงาที่แผ่นดิน

ย่อมมีในขณะเดียวกัน คือไม่ก่อนไม่หลังกัน ฉันใด การกระทบจักขุประสาท

เป็นต้นของรูปที่เป็นปัจจุบันเป็นต้น และการมาสู่คลองมโนทวาร เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

สามารถให้ภวังค์ไหว ย่อมมีในขณะเดียวกันนั่นแหละไม่ก่อนไม่หลังกันฉันนั้น.

ลำดับนั้น มหาจิตนี้ก็เกิดขึ้นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอารมณ์เหล่านั้น

อันติดต่อกันไปแห่งอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่ตัดภวังค์แล้วเกิดขึ้นในจักขุทวาร

เป็นต้น มีโวฏฐานจิต*เป็นที่สุด แต่ว่าในมโนทวารล้วน ๆ ไม่มีกิจกระทบกับ

ประสาท โดยปกติอารมณ์เหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้ว

เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่นที่ดมแล้ว รสที่ลิ้มแล้ว กายที่กระทบแล้วเท่านั้น.

ถามว่า อารมณ์เหล่านี้มาสู่คลอง (มโนทวาร) อย่างไร.

ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำประทักษิณมหาเจดีย์ประดับ-

ตกแต่งแล้ว ฉาบทาด้วยปูนขาว วิจิตรด้วยสีมีหรดาลและมโหศิลาเป็นต้น มีการ

ปักธงชัยและธงแผ่นผ้ามีประการต่าง ๆ ผูกพวงดอกไม้ล้อมประทีปและมาลัย

รุ่งโรจน์อยู่ด้วยสิริอันรื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษที่ฐานพระ-

เจดีย์ ๑๖ ชั้น แล้วยืนประคองอัญชลี แลดูอยู่ถือปีติพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

เมื่อบุคคลนั้นเห็นพระเจดีย์ ยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นอย่าง

นี้แล้ว ภายหลังไปในที่ใดที่หนึ่ง นั่งในที่พักเป็นที่พักในเวลากลางคืนและกลางวัน

รำพึงอยู่ มหาเจดีย์ที่ประดับตกแต่งแล้ว เช่นเดียวกับที่มาสู่คลองในจักขุทวาร

นั่นแหละ เป็นเหมือนเวลาที่กระทำประทักษิณแล้วไหว้พระเจดีย์ฉะนั้น

รูปารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่ตนเห็นมาก่อน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อบุคคลฟังเสียงพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมกถาด้วยเสียงอัน

ไพเราะ หรือฟังเสียงนักสวดซึ่งสวดอยู่ด้วยเสียงไพเราะ ภายหลังไปนั่งใน

ที่ใดที่หนึ่ง แล้วรำพึงอยู่ ธรรมกถา หรือเสียงสรภัญญะ เป็นเหมือนมาสู่คลอง

ในโสตทวาร และเหมือนเวลาให้สาธุการแล้วฟังธรรม ฉะนั้น สัททารมณ์

ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งเสียงที่ฟังแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

* โวฏฐัพพนจิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ของหอม หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วบูชาที่อาสนะ

หรือที่องค์พระเจดีย์ ด้วยจิตที่มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ภายหลังนั่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง

รำพึงอยู่ คันธารมณ์นั้นย่อมเป็นราวกะมาสู่คลองในฆานทวาร เป็นเหมือนเวลา

ที่ทำการบูชา คันธารมณ์นั้นย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งกลิ่นที่เคยสูดดม

แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อบุคคลได้ขาทนียะและโภชนียะอันประณีตแล้ว แบ่งปันแก่

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค ต่อมาภายหลังได้โภชนะมีหญ้ากับแก้

เป็นต้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วรำพึงว่า ในเวลานั้น เราแบ่งโภชนะอันประณีตกับ

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วบริโภค รสารมณ์นั้นเป็นเหมือนมาสู่คลองใน

ชิวหาทวาร เป็นเหมือนเวลาที่บริโภค รสารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถ

แห่งรสที่ตนได้ลิ้มแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อบุคคลใช้สอยเตียงและตั่ง หรือเครื่องปูลาด หรือผ้าห่มมี

เนื้ออ่อนนุ่ม มีสัมผัสเป็นสุข ภายหลังต้องนอนที่นอนที่ไม่ดีในที่ใดที่หนึ่ง

ก็รำพึงอยู่ว่า เมื่อก่อนเราใช้เตียงและตั่งอ่อนนุ่ม ดังนี้ โผฏฐัพพารมณ์นั้น

เป็นเหมือนมาสู่คลองในกายทวาร เป็นราวกะว่าเวลาเสวยสัมผัสอันดี ฉะนั้น

โผฏฐัพพารมณ์ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งการกระทบ ด้วยประการฉะนี้

ในมโนทวารล้วน ๆ กิจคือการกระทบประสาท (ทั้ง ๕) ย่อมไม่มีด้วยประการ

ฉะนี้ ตามปกติ อารมณ์เหล่านี้ พึงทราบว่า ย่อมมาสู่คลองด้วยสามารถแห่ง

รูปที่เคยเห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว กลิ่นที่เคยสูดดมแล้ว รสที่เคยลิ้มแล้ว

และโผฏฐัพพะที่กระทบแล้ว ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ว่าโดยนัยอรรถกถาปุตตกะ

บัดนี้ ในการที่อารมณ์มาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เคยเห็นแล้ว

เป็นต้นตามปกติ มีอีกนัยหนึ่ง คือ อรรถกถามุตตกะ (นอกจากอรรถกถา)

อนึ่ง เบื้องต้นบัณฑิตพึงทราบรูปทั้งหลายที่เห็นแล้วเป็นต้นเหล่านี้ว่า ทิฏฺ สุต

เป็นความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๒ บท.

ในคำว่า ทิฏฺ สุต เหล่านั้น รูปที่เคยถือเอาด้วยสามารถแห่ง

ทวาร ๕ ชื่อว่า ทิฏฺ และรูปเป็นต้นที่บุคคลไม่เห็นโดยประจักษ์ แต่ถือ

เอาโดยการได้ฟังมา ชื่อว่า สุต. การเกี่ยวเนื่องกันด้วยบทว่า ทิฏฺ สุต

เหล่านี้แม้ทั้ง ๒ ชื่อว่า อุภยสัมพันธะ บัณฑิตพึงทราบว่า อารมณ์เหล่านี้

ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น แม้เหล่านี้

อย่างนี้ การมาสู่คลองด้วยสามารถแห่งรูปที่เห็นแล้วในคำว่า ทิฏฺ สุต

นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วโดยนัยทั้งหลาย ๕ นัย นั่นแหละ.

ก็คนบางคนได้ยินว่า รูป ชื่อเห็นปานนี้ เกิดด้วยบุญอันประเสริฐยิ่ง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุรเสียงก็ไพเราะยิ่ง กลิ่นดอกไม้ทั้งหลายในที่

บางแห่ง หอมชื่นใจยิ่งแก่คนบางคน รสของผลไม้ทั้งหลายก็อร่อยยิ่งแก่คน

บางคน สัมผัสของผ้านุ่งห่มเป็นต้นก็เป็นสุขยิ่งแก่คนบางคน ดังนี้ รูปเป็นต้น

เหล่านั้นสักว่าฟังมาเท่านั้น มิได้กระทบกับประสาทมีจักขุประสาทเป็นต้นของ

บุคคลนั้นเลยย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร ลำดับนั้น จิตนั้นของบุคคลนั้นย่อม

เป็นไปด้วยอำนาจความเลื่อมใสในรูปหรือในเสียง หรือว่าย่อมเป็นไปในกลิ่น

เป็นต้นด้วยอำนาจความปรารถนาถวายทานแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือว่าด้วย

สามารถแห่งการอนุโมทนา ในทานทั้งหลายอันบุคคลเหล่าอื่นถวายแล้ว รูป

เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารด้วยสามารถแห่งการได้ฟังมาแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

โดยประการอื่นอีก รูปเป็นต้นที่เห็นมาแล้ว เคยฟังมาแล้ว ตามที่กล่าว

ยังมีอยู่ คือ อารมณ์เหล่านั้นย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร โดยความเนื่องกัน

รูปที่เห็นแล้วและเสียงที่ฟังแล้ว โดยไม่กระทบกับจักขุประสาทเป็นต้นนั่นแหละ

โดยนัยมีอาทิว่า รูปเช่นนี้ของพระพุทธเจ้านั้นจักมีแก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงอุบัติ

ขึ้นในกาลต่อไป ดังนี้ ทีนั้น มหาจิตนี้ก็มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดา

อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั้น ของบุคคลนั้นก็จะเป็นไปโดยนัยที่กล่าวไว้ใน

หนหลังนั่นแหละ อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่านี้ย่อมมาสู่คลองในมโนทวาร

ด้วยสามารถความเกี่ยวข้องแห่งรูปที่เห็นแล้ว และเสียงที่เคยฟังแล้วทั้งสองด้วย

ประการฉะนี้.

ก็คำที่กล่าวแม้นี้เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ส่วนโดยพิสดาร บัณฑิต

พึงทราบการมาสู่คลองในมโนทวารของอารมณ์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยอำนาจ

แห่งศรัทธา ความพอใจ อาการปริวิตก ทิฏฐิ การเข้าไปเพ่ง และขันติ

เป็นต้น ก็อารมณ์ที่มาสู่คลองเหล่านี้ด้วยอาการอย่างนี้เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง

เพราะฉะนั้น นัยนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงไม่ถือเอาในอรรถกถา ด้วยคำ

ตามที่กล่าวมานี้ ชวนะมีอารมณ์อย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดใน

ทวารทั้งหลายทั้งสอง จริงอยู่ ชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นในจักขุ-

ทวารบ้าง ในมโนทวารบ้าง แม้ในสัททารมณ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

ในทวารทั้ง ๒ เหล่านั้น ชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ เมื่อเกิดในมโนทวาร

มี ๓ อย่างเท่านั้น คือ

๑. ทานมัย (ชวนจิตเกิดแต่การให้ทาน)

๒. สีลมัย (ชวนจิตเกิดแต่การรักษาศีล)

๓. ภาวนามัย (ชวนจิตเกิดแต่ภาวนา)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

ในชวนจิตที่เกิดแต่ทานมัยเป็นต้นเหล่านั้น แต่ละอย่างก็มีถึง ๓ อย่าง

คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้ในสัทธารมณ์ คันธารมณ์

รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ใน

บรรดาชวนจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์เหล่านั้น มหากุสลจิตดวงหนึ่ง เมื่อทำรูปให้

เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ย่อมทำสี กล่าวคือ สุภนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งในดอกไม้

ผ้า และธาตุทั้งหลายที่มีสีเขียว สีเหลือง สีแดงและขาวที่น่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ายินดีให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.

ถามว่า ก็อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) เป็นที่ตั้งแห่งโลภะ

มิใช่หรือ ไฉนจิตนี้จึงเกิดมีชื่อว่า กุศลเล่า.

ตอบว่า ที่มีชื่อว่า กุศล ด้วยสามารถแห่งการกำหนด (นิยมิต)

ด้วยสามารถแห่งการเปลี่ยน (ปริณามิต) ด้วยสามารถแห่งความประพฤติดี

(สมุทาจาร) ด้วยสามารถแห่งการผูกใจ (อาภุชิต).

จริงอยู่ ของบุคคลใด ชื่อว่า กำหนด ในเพราะการทำกุศลว่า

กุศลเท่านั้นเราควรกระทำ ดังนี้. ที่ชื่อว่า เปลี่ยนไป ให้เพราะการยังอกุศล

ที่เป็นไปให้กลับแล้วทำกุศล. ที่ชื่อว่า ประพฤติดี ด้วยการประพฤติกุศล

นั่นแหละโดยการการทำบ่อย ๆ และความคำนึงเป็นไปแล้ว โดยแยบคายด้วย

อุปนิสสัยทั้งหลาย มีการอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การคบสัตบุรุษ ๑ การ

ฟังพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน ๑ ชื่อว่า การ

ผูกใจ. ธรรมดาว่า กุศลย่อมเกิดแก่จิตนั้น ด้วยสามารถแห่งการกำหนด ด้วย

สามารถแห่งการเปลี่ยน ด้วยสามารถการประพฤติดี และด้วยสามารถแห่งการ

ผูกใจนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ก็ความที่มหากุศลเป็นโสมนัสสสหคตะในจิตนี้ พึงทราบด้วยสามารถ

แห่งอารมณ์. จริงอยู่ จิตนี้ชื่อว่าเกิดเป็นโสมนัสเพราะความเกิดขึ้นในอารมณ์

ที่น่าปรารถนา และเหตุทั้งหลายมีความเป็นผู้มากด้วยศรัทธาเป็นต้นก็เกิดขึ้น

ในจิตที่มีโสมนัสสสหคตะนี้เหมือนกัน เพราะว่าโสมนัสย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่มี

ศรัทธา และเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเห็นแม้รูปของพระตถาคตซึ่งเป็น

อิฏฐารมณ์โดยส่วนเดียว และบุคคลเหล่าใดไม่เห็นอานิสงส์ในการสร้างกุศล

โสมนัสก็ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลเหล่านั้น แม้บุคคลอื่นให้อุตสาหะสร้างกุศล

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นโสมนัสสสหคตะในที่นี้อย่างนี้

คือ ความเป็นมากด้วยศรัทธา ความเป็นผู้มีทิฏฐิบริสุทธิ์ และความเป็นผู้มี

ปกติเห็นอานิสงส์.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยปีติสัมโพชฌงค์

คือ

๑. พุทธานุสติ

๒. ธรรมานุสติ

๓. สังฆานุสติ

๔. สีลานุสติ

๕. จาคานุสติ

๖. เทวตานุสติ

๗. อุปสมานุสติ

๘. การเว้นบุคคลที่เศร้าหมอง

๙. การคบบุคคลผู้น่ารัก

๑๐. การพิจารณาพระสูตรเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

๑๑. ความเป็นผู้น้อมไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นโสมนัสสสหคตะใน

ที่นี้ ด้วยเหตุทั้งหลายแม้เหล่านี้. ส่วนความพิสดารของธรรมที่เป็นเหตุเหล่านี้

จักแจ่มแจ้งในโพชฌงค์วิภังค์.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตะเป็นธรรม

สัมปยุตด้วยญาณในที่นี้ด้วยเหตุเหล่านั้น คือ โดยกรรม โดยความเกิดขึ้น

โดยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ และความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส.

จริงอยู่ บุคคลใดแนะนำธรรมแก่ชนเหล่าอื่น คือให้ศึกษาสิปปายตนะ

(คือวิชาขี่ช้าง ขี่ม้า และขับรถเป็นต้น) กัมมายตนะ (คือวิชากสิกรรม

พาณิชยกรรม และหัตถกรรมเป็นต้น) และวิชชัฏฐาน (คือ ดาราศาสตร์

โหราศาสตร์ แพทยศาสตร์ และไสยศาสตร์) อันไม่มีโทษ ถวายเครื่องสักการะ

อาราธนาพระธรรมกถึกให้แสดงธรรม ดังความปรารถนาว่าในกาลต่อไป

ข้าพเจ้าจักเป็นผู้มีปัญญาดังนี้ แล้วถวายทานมีประการต่าง ๆ กุศลที่เป็นญาณ

สัมปยุต เมื่อเกิดแก่บุคคลนั้นเข้าไปอาศัยกรรมเห็นปานนี้ แล้วย่อมเกิดขึ้น

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลนั้นเกิดในโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน บทแห่งธรรมที่

ง่ายย่อมปรากฏแก่เขาในที่นั้น.

กุศลจิตญาณสัมปยุต เมื่อเกิดก็อาศัยความเกิดขึ้น โดยนัยนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสติช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วน

แห่งคุณวิเศษเร็วพลัน ดังนี้.

อนึ่ง กุศลญาณสัมปยุตจิตเมื่อเกิดแม้เพราะอาศัยความแก่รอบแห่ง

อินทรีย์ของบุคคลผู้ประกอบ คือการแก่รอบแห่งอินทรีย์ของบุคคลผู้บรรลุ

หมวด ๑๐ แห่งปัญญา (วิปัสสนาญาณ ๑๐) เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

ก็กิเลสทั้งหลายอันบุคคลใดข่มไว้แล้ว กุศลญาณสัมปยุตจิตของบุคคล

นั้น เมื่อเกิดก็อาศัยความที่คนเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสเกิดขึ้น. สมดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

โยคา เว ชายเต ภูริ อาโยคา ภูริ สงฺขโย

เอต ทฺวิธา ปถ ตฺวา ภวาย วิภวาย จ

ตถตฺตาน นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

ภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบ

แล ความเสื่อมสิ้นไปแห่งภูริปัญญาย่อม

เกิดเพราะการไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทาง

สองแพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อม

นี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียง

ดังแผ่นดิน (ภูริปัญญา) จะเจริญขึ้นเถิด.

บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นญาณสัมปยุตโดยเหตุเหล่านี้ คือ

โดยกรรม โดยความเกิดขึ้น โดยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ และโดยความ

เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส ด้วยประการนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจย-

สัมโพชฌงค์ คือ

๑. ความสอบถาม (ปริปุจฺฉกตา)

๒. การทำวัตถุภายในและภายนอกให้สะอาด (วตฺถุวิสทกิริยา)

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา)

๔. การเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา (ทุปฺปญฺปุคฺคลปริวชฺชนตา)

๕. การคบผู้มีปัญญา (ปญฺวนฺตปุคฺคลเสวนตา)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง (คมฺภิราณจริยปจฺจ-

เวกฺขณตา)

๗. ความน้อมจิตเพื่อให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น (ตทธิ-

มุตฺตตา).

บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตเป็นญาณสัมปยุตในที่นี้ ด้วยเหตุทั้ง-

หลายเหล่านี้ ส่วนความพิสดารแห่งเหตุทั้ง ๗ เหล่านี้ จักแจ่มแจ้งในอรรถกถา

แห่งโพชฌงค์วิภังค์.

ก็กุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นญาณสัมปยุตด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อสังขาริก

เพราะความที่จิตนั้นเป็นสภาพเกิดขึ้นโดยอสังขาร (คือไม่มีการปรุงแต่ง หรือ

ไม่มีการชักชวน) โดยไม่มีปโยคะ (การประกอบ) โดยไม่คิดด้วยอุบาย

กุศลจิตที่ชื่อว่า อสังขาริกนี้นั้น มีสีที่น่าปรารถนาเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้นโดยแท้

ย่อมเกิดขึ้นโดยกำหนด ๓ อย่าง คือ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย.

ถามว่า กุศลญาณสัมปยุตจิตที่ชื่อว่า อสังขาริกในทานมัยเป็นต้นนั้น

เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ตอบว่า ก็เมื่อใด บุคคลได้ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาดอกไม้

ที่มีสีเขียว เหลือง แดง และขาวเป็นต้น แล้วรำพึงถึงสีดอกไม้นั้น แล้วบูชา

พระพุทธรัตนะเป็นต้น ด้วยคิดว่า เราถวายสีเป็นทาน ดังนี้ เมื่อนั้นบุญ

ย่อมสำเร็จด้วยทาน. ในทานมัยนั้น มีเรื่องเล่าไว้ดังนี้.

ได้ยินว่า ผู้รักษาเรือนคลัง ชื่อว่า สังฆมิต ได้ผ้าลายทอง (ขจิต

ด้วยทอง) ผืนหนึ่ง จึงคิดว่า ผ้าแม้นี้มีสีเหมือนทอง แม้พระสัมมาสัมพุทธะ

ก็มีพระฉวีวรรณเหมือนทอง ผ้ามีสีเหมือนทองสมควรแก่ผู้ที่มีผิวพรรณดังทอง

เท่านั้น และการให้สีจักมีแก่พวกเรา ดังนี้ จึงให้เอาขึ้นไปห่มพระมหาเจดีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

กุศลญาณสัมปยุตจิตในกาลแม้เห็นปานนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น

ทานมัย.

ก็เมื่อใด บุคคลได้ไทยธรรม (วัตถุที่ควรให้) เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

แล้วบูชาพระรัตนตรัยมีพุทธรัตนะเป็นต้น ด้วยการคิดว่า นั่นเป็นวงศ์ตระกูล

เป็นแบบแผนตระกูล เป็นประเพณีตระกูล เป็นวัตรของเรา ดังนี้ เมื่อนั้น

ย่อมเป็นสีลมัย.

ก็เมื่อใด บุคคลทำการบูชาพระไตรรัตน์ด้วยวัตถุเช่นนั้น แล้วเริ่ม

ตั้งความสิ้นไป เสื่อมไป ด้วยมนสิการว่า สี (วรรณะ) นี้ จักถึงความสิ้นไป

จักถึงความเสื่อมไป ดังนี้ เมื่อนั้น ย่อมเป็นภาวนามัย.

อนึ่ง กุศลญาณสัมปยุตจิตเป็นทานมัยยังเป็นไปอยู่ ในกาลใด

ความเป็นไปของบุคคลผู้บูชาพระไตรรัตน์ด้วยมือของตน ในกาลนั้น เป็น

กายกรรม. ในกาลใด เมื่อบุคคลจะบูชาพระไตรรัตน์จึงสั่งบุตร ภรรยา ทาส

กรรมกร และบุรุษเป็นต้นให้บูชา ในกาลนั้น เป็นวจีกรรม. ในกาลใด

บุคคลปรารภวัตถุวัตถุทานที่มีอยู่ มีประการตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแหละ แล้วคิดว่า

เราจักให้สีเป็นทาน (วณฺณทาน) ดังนี้ ในกาลนั้น เป็นมโนกรรม.

อีกอย่างหนึ่ง เพ่งถึงสำนวนพระวินัยแล้ว กุศลจิตนั้น ชื่อว่า เป็นทาน

โดยลักษณะนี้ว่า การเปล่งวาจาว่าเราจักถวาย จักกระทำดังนี้ แต่ถ้าเพ่งถึง

สำนวนพระอภิธรรมแล้ว จิตนั้นย่อมเป็นกุศลจำเดิมแต่เวลาที่ใจคิดปรารภถึง

วัตถุที่มีอยู่ว่า เราจักให้ ดังนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า ในกาลอื่นอีก บุคคลนั้น

จักกระทำกิจที่ควรกระทำด้วยกายหรือด้วยวาจา. ทานมัยตามที่กล่าวมานี้ จึง

มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ก็ในกาลใด บุคคลได้วัตถุมีประการตามที่กล่าวแล้ว ย่อมบูชาพระ-

ไตรรัตน์ด้วยมือของตน ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ในกาลนั้น กุศลจิต

นั้น ก็เป็นสีลมัย หรือเป็นกายกรรม. ในกาลใด สั่งให้บุตรและภรรยาเป็นต้น

ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้นบูชา ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น เป็นวจีกรรม

ในกาลใด บุคคลคิดว่า เราจักถวายสีเป็นทาน (วณฺณทาน) ดังนี้ เพราะ

ปรารภวัตถุที่มีอยู่ว่า วงศ์ตระกูลของเรา แบบแผนตระกูล ประเพณีตระกูล

วัตรนั้นของเรา ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ก็เป็นมโนกรรม. กุศลจิต

ที่เป็นสีลมัยมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนในกาลใด บุคคลได้วัตถุมีประการดังกล่าวแล้วนั้น เมื่อเดินบูชา

พระไตรรัตน์ ก็เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไป ในกาลนั้น กุศลญาณสัมปยุตจิต

ที่เป็นภาวนามัย ย่อมเป็นกายกรรม เมื่อบุคคลเริ่มรู้ตลอดเพราะวาจา ก็เป็น

วจีกรรม เมื่อบุคคลไม่ให้ส่วนแห่งกายและวาจาเคลื่อนไหว เริ่มตั้งการรู้ตลอด

ด้วยใจเท่านั้น ก็เป็นมโนกรรมอย่างเดียว กุศลญาณสัมปยุตจิตที่เป็นภาวนามัย

มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจกาย วาจา และใจ ด้วยประการฉะนี้ ในอธิการนี้

พระธรรมราชา ทรงจำแนกแสดงกุศลที่มีรูปเป็นอารมณ์ไว้ด้วยกรรม ทวาร

๙ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ ด้วยประการฉะนี้ แม้ในสัททารมณ์

เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

ความจริง กุศลจิตนี้กระทำเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีในเสียง

กลองเป็นต้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นด้วยการกำหนด ๓ อย่างโดยนัยที่กล่าวมา

แล้วนั่นแหละ. ในบรรดากุศลจิตที่เป็นทานมัยเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เสียง

ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อหยิบมาวางไว้ในมือแล้วให้ เหมือนถอนเหง้าบัวขึ้น หรือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

เหมือนวางกำดอกอุบลเขียวไว้ในมือได้ แต่เมื่อบุคคลทำเสียงพร้อมด้วยวัตถุ

ให้อยู่ ชื่อว่า ย่อมให้เสียงเป็นทาน เพราะฉะนั้น ในกาลใด บุคคลคิดว่า

เราจักถวายเสียงให้เป็นทานดังนี้ จึงทำการบูชาพระไตรรัตน์ ด้วยเครื่องดนตรี

อย่างใดอย่างหนึ่ง มีกลองและตะโพนเป็นต้น แล้วให้หยุดเครื่องดนตรีมีกลอง

เป็นต้น ด้วยคิดว่า เราจักถวายทานด้วยเสียงของเรา จึงถวายเภสัช น้ำมัน

น้ำอ้อยเป็นต้นด้วยเปล่งเสียงถวายภิกษุผู้เป็นธรรมกถา ย่อมโฆษณาการฟังธรรม

ย่อมสวดสรภัญญะ ย่อมกล่าวธรรมกถา ย่อมกล่าวอุปนิสินนกถา อนุโมทนา-

กถา ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นทานมัย. ในกาลใด บุคคลกระทำวิธี

อย่างนี้นั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งวัตร

ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด บุคคลกระทำวิธีนั้นทั้งหมด

แล้วเริ่มพิจารณาว่า เสียงนี้มีประมาณเท่านี้ แม้มีประมาณเท่าพรหมโลกก็จักถึง

ความสิ้นไป จักถึงความเสื่อมไป ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็น

ภาวนามัย.

บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น จะกล่าวกุศลจิตที่เป็นทานมัยก่อน

ในกาลใด บุคคลถือเอาเครื่องดนตรีมีกลองเป็นต้นกระทำการบูชา

พระไตรรัตน์ด้วยมือของตน แม้จะตั้งไว้เพื่อต้องการบูชาประจำก็วางไว้ด้วยมือ

ของตน ย่อมเดินโฆษณาการฟังธรรม ย่อมไปกล่าวธรรมกถา สวดสรภัญญะ

ด้วยคิดว่า เราจักให้เสียงของเราเป็นทานดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้นก็เป็น

กายกรรม. ในกาลใด สั่งบุคคลอื่นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พ่อจงไป จงทำ

เสียงของพวกเราให้เป็นทานบูชาพระไตรรัตน์ ดังนี้ คิดว่า เราจักให้เสียง

ของเราเป็นทาน จึงสั่งบุคคลอื่นว่า พวกท่านจงวางกลองนี้ ตะโพนนี้ ที่ลาน

พระเจดีย์ ย่อมโฆษณาธรรมสวนะเองทีเดียว ย่อมกล่าวธรรมกถา ย่อมสวด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

สรภัญญะ ในกาลนั้น กุศลจิตนั้น ย่อมเป็นวจีกรรม. ในกาลใด บุคคลไม่

ให้ส่วนแห่งกาย แห่งวาจาไหว สละวัตถุอันมีอยู่ด้วยใจว่า เราจักให้เสียง

เป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.

กุศลจิตแม้ที่เป็นภาวนามัย ในกาลใด บุคคลกำลังเดิน เริ่มตั้งความ

สิ้นไป เสื่อมไปในเสียง ในกาลนั้น กุศลจิตนั้นก็เป็น กายกรรม. ก็หรือว่า

เมื่อบุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายให้ไหวพิจารณาอยู่ตามวาจา กุศลจิตที่เป็นภาวนา-

มัยก็เป็นวจีกรรม. เมื่อบุคคลไม่ให้กายและวาจาไหว พิจารณาอยู่ซึ่งสัททาย-

ตนะด้วยใจเท่านั้น กุศลจิตที่เป็นภาวนามัยนั้นก็เป็น มโนกรรม. พระธรรม-

ราชาทรงจำแนกแสดงแล้วซึ่งกุศลจิตแม้มีเสียงเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร

๙ ด้วยสามารถแห่งบุญกิริวัตถุ ๓ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.

กุศลจิตนี้กระทำกลิ่นอันน่าชอบใจแม้ในกลิ่นที่เกิดแต่รากไม้เป็นต้น

ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นโดยการกำหนด ๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วหนหลัง

นั่นแหละ ในกาลใด บุคคลได้กลิ่นหอมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกลิ่นทั้งหลาย

มีกลิ่นที่เกิดแต่รากไม้เป็นต้นแล้วคำนึงถึงด้วยอำนาจแห่งกลิ่น คิดว่า เราจัก

ถวายกลิ่นของเราให้เป็นทาน ดังนี้ จึงบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น ในกาลนั้น

กุศลจิตก็เป็นทานมัย. บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมดโดยพิสดาร โดยนัยที่กล่าว

ไว้ในการให้สีเป็นทานนั่นแหละ พระธรรมราชา ทรงจำแนกแสดงซึ่งกุศลจิต

แม้มีกลิ่นเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ

๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ก็กุศลจิตที่ทำรสอันน่าชอบใจในรสทั้งหลายมีรสเกิดจากรากเป็นต้น

ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเกิดขึ้นด้วยการกำหนด ๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแหละ ในกาลใด บุคคลได้รสที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งในรส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ทั้งหลายมีรสเกิดแต่รากเป็นต้นนั้น แล้วรำพึงด้วยสามารถแห่งรส ย่อมให้

ย่อมสละด้วยคิดว่า เราจักให้รสของเราเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิต

เป็นทานมัย ดังนี้. พึงทราบข้อความทั้งปวง โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้

ในการให้สีเป็นทาน. ก็ในกุศลจิตที่มีสีลมัยนี้ มีเรื่องทั้งหลายมาในมหาอรรถ-

กถา ตั้งแต่เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามนิอภัย ทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่า การไม่

ถวายสังฆทานแล้วบริโภค เราไม่เคยประพฤติ ดังนี้ จึงให้ถวายทานแก่ภิกษุ

ประมาณ ๑,๒๐๐ รูป แล้วจึงเสวยพระกระยาหารมีรสดี. ข้อความที่แตกต่าง

กันมีเพียงเท่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชา ทรงจำแนกแสดงกุศลจิต

แม้มีรสเป็นอารมณ์ ด้วยกรรมและทวาร. โดยบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั่นแหละ.

แม้ในโผฏฐัพพารมณ์ มหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ ชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์. ในฐานะนี้ บัณฑิตไม่ทำการประกอบ

ด้วยอำนาจแห่งธาตุทั้ง ๓ เหล่านั้น พึงทำการประกอบด้วยสามารถแห่งเตียงและ

ตั่งเป็นต้น. จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลได้วัตถุอันควรถูกต้องน่าปรารถนา

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในวัตถุทั้งหลายมีเตียงและตั่งเป็นต้น แล้วคำนึงถึงด้วย

อำนาจแห่งการถูกต้อง ย่อมให้ ย่อมบริจาค ด้วยคิดว่า เราจักให้โผฏฐัพพะ

เป็นทานของเรา ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็ย่อมเป็นทานมัย ดังนี้. บัณฑิต

พึงทราบข้อความทั้งปวง โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้ในการให้สีเป็นทาน

นั่นแหละ พระธรรมราชา ทรงจำแนกแสดงกุศลจิตแม้มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

ด้วยกรรมและทวาร ๙ ด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างดังพรรณนานามาฉะนี้.

แต่ว่า ในธรรมารมณ์ ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เป็นปริยาปันนะและ

อปริยปันนะในธรรมายตนะเหล่านี้ คือ อายตนภายใน ๖ ลักษณะ ๓ อรูปขันธ์ ๓

สุขุมรูป ๑๕ นิพพาน และบัญญัติ ชื่อว่า ธรรมารมณ์ แต่ในฐานะนี้ บัณฑิต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ไม่ทำการประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านี้ พึงประกอบไว้ด้วยการให้

โอชะ การให้ปานะ และการให้ชีวิตเป็นทาน. จริงอยู่ กุศลจิตนี้ กระทำ

ธรรมารมณ์อันน่ายินดีในโอชะเป็นต้น ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นด้วยการกำหนด

๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ในธรรมารมณ์นั้น เมื่อใด

บุคคลย่อมถวายเนยใสเนยขึ้นเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายโอชะเป็นทาน ย่อม

ถวายน้ำปานะ ๘ อย่าง โดยคิดว่า เราถวายน้ำปานะให้เป็นทาน ดังนี้ ย่อมถวาย

สลากภัต ปักขิยภัต สังฆภัตเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายชีวิตเป็นทาน ดังนี้

ย่อมถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้ไม่ผาสุกทั้งหลาย ให้หมอมารักษา ให้เผาตาข่าย ให้

รื้อรอบ ให้ทำลายกรงนก ให้พ้นจากเรือนจำ ให้ตีกลองห้ามฆ่าสัตว์ กระทำ

เห็นปานนี้แม้อื่น ๆ เพื่อป้องกันชีวิต ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นทานมัย อนึ่ง

ในกาลใด บุคคลคิดว่า การให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้ชีวิต

เป็นทาน เป็นวงศ์ตระกูลวงศ์ของเรา เป็นแบบแผนของตระกูล เป็นประเพณี

ของตระกูล ดังนี้ จึงยังทานมีโอชะเป็นต้น ให้เป็นไปด้วยวัตรเป็นประธาน

ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปใน

ธรรมารมณ์ ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นภาวนามัย. อนึ่ง กุศลจิตที่เป็น

ทานมัยแม้กำลังเป็นไป คือ ในกาลใด บุคคลย่อมถวายโอชะเป็นทาน น้ำปานะ

เป็นทาน ชีวิตเป็นทานด้วยมือของตน ในกาลนั้น ย่อมเป็นกายกรรม ในกาลใด

ใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวายทาน ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรม

ในกาลใด ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้เคลื่อนไหว ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจัก

ถวายวัตถุที่มีอยู่ด้วยอำนาจแห่งการให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้

ชีวิตเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

อนึ่ง ในกาลใด บุคคลย่อมให้วัตถุอันมีอยู่มีประการตามที่กล่าวแล้ว

ด้วยมือของตน ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้น ในกาลนั้น กุศลจิตที่เป็น

สีลมัย ย่อมเป็นกายกรรม. ในกาลใด ใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวาย

ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ตระกูลนั่นแหละ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรม. ใน

กาลใด ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจักถวายวัตถุอันมีอยู่มีประการตามที่กล่าวแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งวงศ์ตระกูลเป็นต้นนั่นแหละ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.

อนึ่ง บุคคลเดินไปแล้ว เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปในธรรมารมณ์

กุศลจิตที่เป็นภาวนามัย ย่อมเป็นกายกรรม. เมื่อบุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายให้

ไหวแล้ว เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปด้วยวาจา กุศลจิต ย่อมเป็นวจีกรรม.

บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหว เริ่มตั้งซึ่งความสิ้นไปเสื่อมไปด้วยใจ

เท่านั้น กุศลจิตย่อมเป็นมโนกรรม. กุศลจิตที่เป็นภาวนามัย ๓ อย่าง ย่อมมี

ด้วยอำนาจ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ด้วยประการฉะนี้. พระธรรม-

ราชาทรงจำแนกแสดงกุศลจิตที่เป็นธรรมารมณ์ ในที่นี้ด้วยกรรมและทวาร ๙

ด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.

จิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ

ต่างกัน และอารมณ์ต่างกัน. แต่จิตนี้ บัณฑิตย่อมได้ในวัตถุเดียวกัน ด้วย

อำนาจแห่งอารมณ์ที่ต่างกัน. ถามว่า ได้อย่างไร ตอบว่า เพราะในปัจจัย

๔ อย่าง เฉพาะในจีวร (เอกวัตถุ) บัณฑิตย่อมได้อารมณ์ ๖ อย่าง. จริงอยู่

สีแห่งจีวรที่ย้อมใหม่ เป็นสีที่ชอบใจ น่าดู นี้ เรียกว่า มีสีเป็นอารมณ์. อนึ่ง

ในเวลาใช้สอยย่อมส่งเสียงดังปฏะปฏะ นี้เป็นสัททารมณ์. ในผ้านั้น มีกลิ่น

เปลือกไม้ไทรดำเป็นต้น นี้เป็นคันธารมณ์. อนึ่ง รสารมณ์ ท่านกล่าวไว้

ด้วยสามารถแห่งรสคือการใช้สอย. ในผ้านั้นมีสัมผัสเป็นสุข นี้เป็นโผฏฐัพพา-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

รมณ์. สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยจีวร นี้เป็นธรรมารมณ์. รสารมณ์ บัณฑิต

ย่อมได้ในบิณฑิตโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ทีเดียว. บัณฑิตทำการประกอบ

จิตในปัจจัย ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ต่าง ๆ อย่างนี้แล้วพึงทราบความต่างกัน

แห่งจิตที่เป็นทานมัยเป็นต้น. อนึ่ง อารมณ์เป็นสภาวะผูกพันจิตนี้ เป็น

อารมณ์แล้ว จิตก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนทวารไม่ผูกพันจิตไว้ ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะกรรมเป็นสภาพไม่ผูกพัน. จริงอยู่ เมื่อกรรมไม่ผูกพันจิตไว้

แม้ทวาร ก็ชื่อว่าไม่ผูกพันเหมือนกัน.

กามาวจรกุศลและทวารกถา

ว่าด้วยกายกรรมและทวาร

ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้ ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวทวารกถาไว้ใน

ฐานะนี้. ในทวารกถานั้น ชื่อการตั้งมาติกาในทวารกถานี้มีประมาณเท่านี้ คือ

กรรม ๓

ทวารแห่งกรรม ๓

วิญญาณ ๕

ทวารวิญญาณ ๕

ผัสสะ ๖

ทวารผัสสะ ๖

อสังวร ๘

ทวารแห่งอสังวร ๘

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

สังวร ๘

ทวารแห่งสังวร ๘

อกุศลกรรมบถ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐

ในการตั้งมาติกาเหล่านั้น กรรม ๓ อย่าง ท่านกล่าวไว้ก่อนแม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้นท่านก็เว้นกรรม ๓ เหล่านั้น แล้วแสดงจำแนกทวารแห่งกรรม ๓

โดยความเป็นเบื้องต้นก่อน.

ถามว่า ทวารแห่งกรรม ๓ เป็นไฉน ?

ตอบว่า ทวารแห่งกายกรรม ทวารแห่งวจีกรรม ทวารแห่งมโนกรรม.

ในทวารแห่งกายกรรมนั้น กายมี ๔ อย่าง คือ อุปาทินนกกาย (กาย

ที่มีใจครอง) ๑. อาหารสมุฏฐานกาย ๑ อุตุสมุฏฐานกาย ๑ จิตตสมุฏฐานกาย ๑

บรรดากาย ๔ เหล่านั้น รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ๘ คือ มีจักขายตนะเป็นต้น*

มีชีวิตินทรีย์เป็นที่สุดก็ดี รูป ๘ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา

ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ดี ชื่อว่า อุปทินนกกาย.

รูป ๘ เหล่านั้นนั่นแหละเกิดแต่อาหาร ชื่อว่า อาหารสมุฏฐานิกกาย

รูป ๘ เกิดแต่อุตุ ชื่อว่า อุตุสมุฏฐานนิกกาย. รูป ๘ เกิดแต่จิต ชื่อว่า

จิตตสมุฏฐานิกกาย.

ในบรรดาอุปาทินนกายเป็นต้นเหล่านั้น คำว่า ทวารแห่งกายกรรม

มิได้เป็นชื่อของอุปาทินนกกาย มิได้เป็นชื่อของกายนอกนี้ แต่ในรูป ๘ มีจิต

เป็นสมุฏฐาน มีวิญญัติรูปหนึ่ง รูปนี้ ชื่อว่า ทวารแห่งกายกรรม ตามที่

ท่านกล่าวไว้ว่า รูปที่ชื่อว่า กายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน ? ความเคร่งตึง

* จักขุโสตฆานชิวหากายอิตถิปุริสชีวิตินทรียรูป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

ความเคร่งตึงด้วยดี กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี การเคลื่อนไหวกายให้รู้ความหมาย

กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่ให้ผู้อื่นรู้ความหมายของกายของผู้มีจิตเป็น

กุศล หรือผู้มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ หรือผู้ก้าวไปข้างหน้า

หรือถอยกลับ หรือแลดูข้างหน้า หรือเหลียวดูซ้ายขวา หรือเหยียด หรือ

คู้แขน อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า กายวิญญัติ.

จริงอยู่ จิตที่เกิดขึ้นว่า เราจักก้าวไปข้างหน้า จักถอยกลับ ดังนี้

ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น ในขณะแห่งจิตที่เกิดขึ้นนั้น วาโยธาตุมีจิตเป็นสมุฏฐาน

ในภายในแห่งรูปกลาปทั้ง ๘ เหล่านี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ ซึ่งอาศัยธาตุทั้ง ๔ นั้น ย่อมค้ำจุน

ทรงไว้ ยังรูปกายที่เกิดพร้อมกับตนนั้นให้เคลื่อนไหว ให้ก้าวไปข้างหน้า

ให้ถอยกลับ.

ในบรรดารูปกลาป ๘ เหล่านั้น วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยจิตดวงแรกใน

บรรดาชวนจิต ๗ ดวง ในอาวัชชนวิถีหนึ่ง ย่อมสามารถค้ำจุน ดำรงไว้ซึ่ง

รูปกายที่เกิดพร้อมกับตนได้ แต่ไม่อาจให้เคลื่อนไหวไปมา แม้ในชวนจิต

ดวงที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ส่วนวาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิตด้วยที่ ๗

ได้วาโยธาตุที่ตั้งขึ้นด้วยชวนจิต ๖ ดวงเบื้องต้น เป็นปัจจัยอุปถัมภ์แล้ว ย่อม

สามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงไว้ เพื่อยังรูปที่เกิดพร้อมกับตนให้เคลื่อนไหว

ให้ก้าวไปข้างหน้า ให้ถอยกลับ ให้แลดู ให้เหลียวซ้ายแลขวา ให้คู้เข้า

ให้เหยียดออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เกิดการเดินไปเกิดการเดินมา ชื่อว่า

เกิดการเดินไปเดินมา คือ ย่อมถึงคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ไปได้โยชน์หนึ่ง

ไปได้ ๑๐ โยชน์ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

เหมือนอย่างว่า เมื่อเกวียนที่พึงลากไปด้วยแอก ๗ แอก โคที่เทียม

แล้วในแอกคู่แรก ย่อมสามารถเพื่อค้ำจุน เพื่อทรงแอกไว้ได้ก่อน แต่ไม่

อาจให้ล้อหมุนไป แม้ในคู่ที่ ๒ เป็นต้นก็เหมือนกัน แต่ว่าในกาลใด สารถี

ผู้ฉลาดเทียมคู่โคที่ ๗ ที่แอกนั่งที่ทูบเกวียน ถือเชือกแล้วเอาปลายปฏักกระตุ้น

คู่โคจำเดิมแต่โคคู่แรกทั้งหมด ในกาลนั้น คู่โคทั้งหมดทีเดียวก็รวมกำลังกัน

ทรงแอกและให้ล้อหมุนไป ย่อมถึงคำอันบุคคลพึงพูดได้ว่า โคพาเกวียนไปได้

๑๐ โยชน์ พาไป ๒๐ โยชน์ ฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมยให้ถึงพร้อมนี้

บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น.

ในบรรดากาย ๔ เหล่านั้น กายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่วิญญัติ

แต่วิการแห่งอาการหนึ่งที่สามารถเพื่อเป็นปัจจัย เพื่อให้ค้ำจุน ทรงไว้ซึ่งรูปกาย

ที่เกิดพร้อมกับวาโยธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้ไหวได้ นี้ชื่อว่า วิญญัติ.

วิญญัตินั้นไม่ใช่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนรูป ๘ อย่าง. เหมือนอย่างคำมีอาทิ

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะ ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ เพราะ

ความที่ธรรมทั้งหลายมีประเภทที่ไม่เที่ยงเป็นต้นต้องแก่และตาย ฉันใด วิญญัติ

แม้นั้น ชื่อว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะความที่รูปทั้งหลายมีจิตเป็นสมุฏฐาน

เป็นสภาพประกาศให้รู้ ฉันนั้น.

ก็วิญญัตินั้น เรียกว่า วิญญัติ เพราะประกาศให้รู้. ประกาศให้รู้

อะไร ? ประกาศให้รู้ทางกายอย่างหนึ่ง จริงอยู่ บุคคลยืนอยู่ในคลองแห่งจักษุ

ย่อมยกมือหรือเท้า สั่นศีรษะหรือยักคิ้ว อาการของมือเป็นต้นนี้ เป็นการให้

รู้ได้ด้วยจักษุ แม้วิญญัติก็ไม่รู้ได้ด้วยตาแต่รู้ได้ด้วยใจเท่านั้น เพราะว่า

บุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์ เป็นไปต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งการเคลื่อนไหว

มือเป็นต้น แต่ว่า บุคคลคิดถึงรูปที่ประกาศให้รู้ ด้วยจิตทางมโนทวารแล้ว

จึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทำสิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

เหมือนอย่างว่า พวกมนุษย์ให้ผูกใบตาลเป็นต้นที่ยอดต้นไม้ในสถาน

ที่มีน้ำในฤดูแล้งในป่า โดยประสงค์ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ซึ่งความที่น้ำมีอยู่ในที่นี้

ด้วยสัญญานี้ หรือชักธงขึ้นที่ประตูร้านสุรา หรือว่า ลมพัดต้นไม้สูงให้หวั่นไหว

หรือว่า เมื่อปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ฟองน้ำก็ผุดขึ้นข้างบน หรือเศษหญ้าและ

ใบไม้ที่ถูกน้ำซัดไปติดอยู่ที่ทางไปของห้วงน้ำใหญ่ ในกาลใด บุคคลเห็นใบตาล

ธง กิ่งไม้ ฟองน้ำ เศษหญ้าและใบไม้ แม้ไม่เห็นด้วยตาแต่ก็ย่อมรู้ด้วย

มโนวิญญาณว่า ในที่นี้น้ำจักมี สุราจักมี ต้นไม้นี้ถูกลมพัด ปลาจักมีภายในน้ำ

ห้วงน้ำจักไหลท่วมที่มีประมาณเท่านี้ ฉันใด แม้วิญญัติ ก็ฉันนั้น ไม่รู้ด้วยตา

รู้ได้ด้วยใจ เพราะว่า บุคคลย่อมเห็นสีเป็นอารมณ์เคลื่อนไหวไปมา ด้วย

อำนาจแห่งการยกมือเป็นต้นด้วยตาเท่านั้น แต่เขาคิดด้วยจิตทางมโนทวาร

จึงรู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้เราทำอย่างนี้ ๆ.

ก็วิญญัตินี้ ชื่อว่า วิญญัติ เพราะการประกาศให้รู้อย่างเดียวก็หาไม่

ที่แท้แล้ว ชื่อว่า วิญญัติ เพราะควรรู้ก็มีทีเดียว. เพราะว่า วิญญัตินี้ย่อม

ปรากฏแก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น โดยที่สุดแม้แก่สัตว์เดรัจฉานบ้าง. จริงอยู่

สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมีสุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก กา โคเป็นต้น ที่ประชุมกันใน

ที่นั้น เมื่อบุคคลจับท่อนไม้ หรือก้อนดินแสดงอาการขว้างป่า สัตว์นี้ก็รู้ว่า

เขาต้องประหารพวกเรา ย่อมหนีไปที่ใดที่หนึ่ง แต่เมื่อบุคคลอื่นอยู่ในภายใน

กำแพงและฝาเรือนเป็นต้น เวลานั้นก็เป็นเวลาที่รูปไม่ปรากฏ ในขณะนั้นรูป

ไม่ปรากฏแก่เขา ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า วิญญัตินั่นแหละ เพราะเป็นธรรมชาติ

ปรากฏแก่ผู้อยู่เฉพาะหน้า.

ถามว่า เมื่อกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานกำลังไหว กายที่มีสมุฏฐาน ๓

ย่อมไหวไปด้วย หรือไม่ไหวไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ตอบว่า กายมีสมุฏฐาน ๓ แม้นั้นก็ไหวไปเหมือนกัน.

กายที่มีสมุฏฐาน ๓ นั้น มีคติเหมือนกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน คล้อย

ตามกายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยแท้. เหมือนอย่างว่า เมื่อน้ำกำลังไหลไปอยู่

แม้เศษไม้แห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งเป็นต้นที่ตกไปสู่น้ำ ก็ย่อมไหลไปตามน้ำ

(มีคติอย่างน้ำ) ทีเดียว คือ เมื่อน้ำไหลไป เศษไม้แห้งเป็นต้น ก็ย่อมลอยไป

เมื่อน้ำหยุด เศษไม้แห้งเป็นต้นนั้นก็หยุด ฉันใด คำอุปมาเป็นเครื่องยังอุปไมย

ให้ถึงพร้อมนี้บัณฑิตพึงทราบ ฉันนั้น วิญญัติในรูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

แม้นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อ ทวารแห่งกายธรรม ด้วยประการฉะนี้.

ก็เจตนาที่ให้สำเร็จในทวารนั้นเป็นเหตุให้บุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร งดเว้นจากปาณาติบาต ข้อนี้ชื่อว่า

กายกรรม. เมื่อปรวาทีมีอยู่อย่างนี้ บัณฑิตก็พึงดำรงไว้ด้วยนัยแห่งคำว่า กาย

เป็นทวาร เจตนาที่สำเร็จในทวารนั้นเป็นกายกรรม คือ เป็นกุศล หรือว่า

เป็นอกุศล ดังนี้. แต่เมื่อปรวาทีไม่มี ก็พึงดำรงติกะว่า กายกรรมเป็นกุศล

หรือกุศล หรืออัพยากตะ ดังนี้ให้บริบูรณ์ ในข้อนั้น เปรียบเหมือนประตู

พระนคร ย่อมตั้งไว้ในที่ที่เขาสร้างไว้แล้ว ย่อมไม่เลื่อนไปเลื่อนมาแม้สักองคุลี

ก็มหาชนย่อมสัญจรไปทางประตูนั้น ๆ ฉันใด ทวารก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะ

เที่ยวไปหาได้ไม่ ส่วนกรรมย่อมเที่ยวไปโดยการเกิดขึ้นในทวารนั้น ๆ ด้วย

เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

ทฺวาเร จรนฺติ กมฺมานิ น ทฺวารา ทฺวารจาริโน

ตสฺมา ทฺวาเรหิ กมฺมานิ อญฺมญฺ ววฏฺิตา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร

ทวารทั้งหลายไม่เที่ยวไปกับทวารทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกำหนดกรรมทั้งหลาย

กับทวารทั้งหลายไว้ด้วยกัน.

ในคาถานั้น อธิบายว่า ทวารย่อมได้ชื่อตามกรรม แม้กรรมก็ได้ชื่อ

ตามทวาร. เหมือนอย่างว่า ที่เป็นที่เกิดแห่งวิญญาณเป็นต้น ย่อมได้

ชื่อว่า ทวารแห่งวิญญาณ ทวารแห่งผัสสะ ทวารแห่งความไม่สำรวม

ทวารแห่งความสำรวม ดังนี้ ฉันใด ที่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งกายกรรม ก็ได้ชื่อว่า

ทวารแห่งกายกรรม ฉันนั้น. แม้ในทวารแห่งวจีกรรมและมโนกรรม

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น ๆ ย่อมได้ชื่อตามต้นไม้นั้น ๆ ว่า

เทวดาไม้งิ้ว (สิมฺพลิเทวตา) เทวดาใบไม้เหลือง (ปลาสเทวตา) เทวดา

ต้นสะเดา (ปุจิมนฺททวตา) เทวดาไม้สะคร้อ ฉันใด แม้กรรมที่บุคคลทำแล้ว

ด้วยกายทวาร ย่อมได้ชื่อตามทวารว่า กายกรรม ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้ใน

วจีกรรมและมโนกรรมก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบรรดากายและกรรมนั้น กายก็

เป็นอย่างหนึ่ง กรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ท่านเรียกกายและกรรมนั้นว่า

กายกรรม เพราะความที่กรรมนั้นกระทำด้วยกาย ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถา-

จารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

หากกรรมกระทำด้วยกาย เรียกว่า

กายกรรม กายและกายกรรม ท่านก็กำหนด

ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยเข็ม เรียกว่า

สุจิกรรม เข็มและสุจิกรรม ท่านก็กำหนด

ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยมีด เรียกว่า

วาสิกรรม มีดและวาสิกรรม ท่านก็กำหนด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

ไว้ด้วยกัน หากกรรมกระทำด้วยบุรุษ

เรียกว่า ปุริสกรรม บุรุษและปุริสกรรม

ท่านก็กำหนดไว้ด้วยกัน ฉันใด หากกรรม

กระทำด้วยกาย ก็เรียกว่ากายกรรม กาย

และกายกรรม ท่านกำหนดไว้ด้วยกัน ฉันนั้น

เหมือนกัน.

ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น การกำหนดเฉพาะทวารก็ไม่ถูก การ

กำหนดเฉพาะกรรมก็ไม่ถูก ถามว่า ไม่ถูกอย่างไร ตอบว่า เพราะบาลีว่า

ทฺวาเร จรนฺติ กมฺมานิ (กรรมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในทวาร) แม้วจีกรรม

ก็ย่อมเป็นไปในกายวิญญัติ เพราะฉะนั้น การกำหนดวจีวิญญัตินั้นว่า

ทวารแห่งกายกรรมดังนี้ก็ไม่ถูก ทั้งกายกรรมก็ย่อมเป็นไป แม้ในวจีวิญญัติ

เพราะเหตุนั้น การกำหนดวจีวิญญัตินั้นว่า กายกรรมก็ไม่ถูก. การกำหนด

อย่างนั้นมิใช่ไม่ถูก เพราะเหตุไร เพราะความเป็นไปโดยมาก และเพราะ

เป็นไปมากในทวารนั้น. จริงอยู่ กายกรรมเท่านั้น ย่อมเป็นไปโดยมากในกาย-

วิญญัติ วจีกรรมนอกนี้ไม่เป็นไปโดยมาก เพราะฉะนั้น ความที่กายวิญญัตินี้

เป็นทวารแห่งกายกรรมสำเร็จแล้วเป็นไปโดยมากแห่งกายกรรม เปรียบเหมือน

บ้านพราหมณ์ สวนมะม่วง และไม้กากะทิงเป็นต้น ชื่อว่า บ้านพราหมณ์

เป็นต้น เพราะฉะนั้น การกำหนดทวารจึงถูก เพราะกายกรรมย่อมเป็นไปมาก

ในกายทวารทีเดียว ส่วนในวจีทวารเป็นไปน้อย ฉะนั้น การที่ทวารนี้เป็น

กายกรรมสำเร็จเป็นไปมากในกายทวาร เปรียบเหมือนโคจรของนายพรานป่า

และกุมาริกาอ้วนเป็นต้น ชื่อว่า นายพรานป่าเป็นต้น ฉะนั้น แม้การ

กำหนดกรรมจึงถูกต้อง ด้วยประการฉะนี้.

จบกถาว่าด้วยทวารแห่งกายกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม

ก็ในกถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม ชื่อว่า วาจา มี ๓ อย่าง คือ

เจตนา วิรติ สัททะ (เสียง) บรรดาวาจา ๓ อย่างเหล่านั้น วาจานี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ เหล่านั้น เป็นวาจาสุภาษิต มิใช่

วาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ เป็นวาจาที่ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน ดังนี้

ชื่อว่า เจตนาวาจา. วาจานี้ว่า การงด การเว้น จากวจีทุจริต ๔ ฯลฯ อันใด

นี้ตรัสเรียกว่า สัมมาวาจา ดังนี้ ชื่อว่า วิรติวาจา. วาจานี้ว่า จริงอยู่

วาจาที่เปล่ง คลองแห่งคำ การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง ทำเสียงให้กึกก้อง วาจา

การเปล่งวาจา ดังนี้ ชื่อว่า สัททวาจา.

บรรดาวาจาทั้ง ๓ เหล่านั้น คำว่า วจีกรรมทวาร มิใช่เป็นชื่อของ

เจตนามิใช่เป็นชื่อของวิรติ แต่ว่า วิญญัติอย่างหนึ่งซึ่งมีเสียงร่วมด้วยมีอยู่ นี้ชื่อ

ว่า ทวารแห่งวจีกรรม. วจีทวารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า

รูปที่เป็นวจีวิญญัตินั้น เป็นไฉน ? การพูด การเปล่งออก คลองแห่งวาจา

การเปล่งขึ้น เสียงกึกก้อง การทำเสียงให้กึกก้อง วาจา การเปล่งวาจา แห่ง

บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากตะ อันใด

ดังนี้ นี้เรียกว่า วาจา. วิญญัติ การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้

ความหมายทางวาจา อันใด รูปนี้นั้น เรียกว่า วจีวิญญัติ.

จริงอยู่ เมื่อเราตรึกว่า เราจักกล่าวคำนี้ เราจักกล่าวคำนั้น ชื่อว่า

เสียงอันแผ่ไปด้วยวิตก ย่อมเกิดขึ้น. วาทะนี้มาในมหาอรรถกถาว่า เสียงนี้

มิได้รู้ได้ด้วยโสตะ รู้ได้ด้วยใจ ดังนี้ แต่ในอรรถกถาที่มาทั้งหลาย อธิบาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

คำว่า วิตกฺกวิปฺผารสทฺท (เสียงที่แผ่ไปด้วยวิตก) เป็นเสียงของคนหลับ

และประมาทแล้ว กำลังบ่นเพ้ออันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการแผ่ไปของวิตก.

คำว่า สุตฺวา นั้น ความว่า เมื่อบุคคลนั้นฟังแล้วตรึกซึ่งเรื่องใด เสียงอัน

แผ่ไปแห่งวิตกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งเรื่องนั้น ก็จักทายใจได้ว่า ใจของ

ท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นอย่างนั้นบ้าง ครั้นกล่าวด้วยประการฉะนั้น

แล้ว ก็กล่าวแม้เรื่องทั้งหลาย. แม้ในปัฏฐานก็มีพระบาลีอันมาแล้วว่า สัททาย-

ตนะ มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณด้วยอารัมมณปัจจัย ดังนี้

เพราะฉะนั้น ชื่อว่า เสียงที่แผ่ไปแห่งวิตกที่รู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ซึ่งเกิดขึ้นเว้น

จากการกระทบกับวิญญัติย่อมไม่มี ก็จิตเมื่อเกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนี้

ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นดังนี้ ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น ๘ รูป คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ วรรณะ คันธะ รส โอชา ปฐวีธาตุที่มีจิตเป็น

สมุฏฐานในภายในแห่งรูป ๘ เหล่านั้น กระทบอยู่ซึ่งอุปทินนกกายก่อนจึงเกิด

ขึ้น เสียงย่อมเกิดขึ้นด้วยกายกระทบกับปฐวีธาตุนั้น นี้ชื่อว่า เสียงที่มีจิตเป็น

สมุฏฐานนี้ไม่ใช่วิญญัติ แต่ว่า วิการแห่งอาการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยแก่การ

กระทบอุปทินนกกายของปฐวีธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้น นี้ชื่อว่า วจีวิญญัติ

นอกจากนี้ คำทั้งปวงมีอาทิว่า สา อฏฺ รูปานิ วิย น จิตฺตสมุฏฺานา

วจีวิญญัตินั้น ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เหมือนรูปทั้ง ๘ บัณฑิตพึงทราบโดยนัย

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

จริงอยู่ แม้ในที่นี้ บุคคลฟังเสียงของผู้เรียกว่า ติสสะ ทัตตะ มิตตะ

ดังนี้ แล้วก็คิดถึงวิญญัติ ด้วยมโนทวารจิตแล้วย่อมรู้ว่า ผู้นี้เห็นจะให้กระทำ

สิ่งนี้และสิ่งนี้ ดังนี้ อนึ่ง แม้วาจานี้ ก็ย่อมปรากฏแก่สัตว์เดรัจฉาน ดุจกาย-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

วิญญัติ. จริงอยู่ แม้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายพึงเสียงว่า เจ้าจงมา เจ้าจงไป ดังนี้

ก็รู้ว่า บุคคลนี้เห็นจะให้ทำชื่อสิ่งนี้ จึงเดินมาและเดินไป.

ก็วาระนี้ว่า เสียงย่อมยังกายอันมีสมุฏฐาน ๓ อย่าง ย่อมให้ไหว

หรือไม่ให้ไหว ดังนี้ ไม่มีในวจีวิญญัตินี้ แม้กิจคือการอุปถัมภ์แห่งเสียง

ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานดวงก่อนก็ไม่มี แต่ว่า เจตนาใดที่ให้สำเร็จแม้ในวจีทวาร

นั้น และเจตนาที่เป็นเหตุพูดเท็จ กล่าวส่อเสียด กล่าวคำหยาบ กล่าวเพ้อเจ้อ

เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น นี้ชื่อว่า วจีกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้ บัณฑิต

พึงทราบการกำหนดกรรม การกำหนดทวาร โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั้นแล.

จบ กถาว่าด้วยทวารแห่งวจีกรรม

กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม

ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไป

ใจ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน

(ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี ๘๙

อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร ๕๔ อย่าง มโนที่เป็นรูปาวจรมี ๑๕ อย่าง

มโนที่เป็นอรูปาวจรมี ๑๒ อย่าง มโนที่เป็นโลกุตรมี ๘ อย่าง ในบรรดา

มโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่า

ธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนา

ที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็น

กรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวาร

ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีผู้ท้วงกล่าวว่า ธรรมดาว่า กรรมนี้

ย่อมทำซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อม

ตั้งใจ ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาในปัญจวิญญาณ

ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวมซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา

ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ เจตนาใน

ปัญจวิญญาณแม้นั้น ย่อมประมวล ย่อมตกแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ

ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จสัมปยุตขันธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. อีกอย่างหนึ่ง มี

ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวถึงข้อนี้ เพราะท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ด้วยสามารถ

แห่งการรวบรวมมโน (ใจ) ไว้ทั้งหมด ก็ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีคำ

สันนิษฐานดังนี้ มโน ๒๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอกุศลอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม แต่เจตนาใดที่ให้สำเร็จในมโนทวารนั้น

ย่อมถือเอาซึ่งอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทัสสนะและความไม่มีอภิชฌา ไม่พยา-

บาท และสัมมาทัสสนะด้วยเจตนาใด นี้ชื่อว่า มโนกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้

บัณฑิตพึงทราบการกำหนดกรรมและการกำหนดทวารทั้งหมด โดยนัยที่กล่าว

ไว้ในหนหลังนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

กถาว่าด้วยกรรม ๓*

ชื่อว่า ทวารแห่งกรรม ๓ เหล่านี้ บัดนี้ จะกล่าวถ้อยคำพิสดารการ

ตั้งมาติกาในกถาว่าด้วยทวารที่กล่าวค้างไว้ ตั้งแต่กรรม ๓ ตามที่ได้แสดง

ทวารแห่งกรรมเหล่านั้นแล้ว เว้นกรรม ๓ เหล่านั้นไว้. จริงอยู่ กรรม ๓ คือ

กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ถามว่า ชื่อว่า กรรม นี้ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบว่า ได้แก่ เจตนา และธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาบางอย่าง บรรดาธรรม

ทั้งสองเหล่านั้น ความที่เจตนาเป็นกรรม มีพระสูตรเหล่านั้นกล่าวไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว

จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (และคำว่า) ดูก่อนอานนท์ จริงอยู่

เมื่อกายมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา

เป็นเหตุ (เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ) ดูก่อนอานนท์ หรือเมื่อวาจามีอยู่

ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ ดูก่อน

อานนท์ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ

มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ (และคำว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง

เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔

อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนสัญเจตนา ๓

อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก (และคำว่า)

ดูก่อนอานนท์ ถ้าโมฆบุรุษ ชื่อว่า สมิทธิ นี้ถูกปาฏลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้

พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านปาฏลิบุตร ท่านกระทำกรรมเนื่องด้วยสัญ-

เจตนา ย่อมเสวยสุขเนื่องด้วยสุขเวทนา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ฯลฯ

* กถานี้เป็นลำดับแรกแต่ท่านแสดงไว้ที่ ๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ท่านก็ย่อมเสวยอทุกขมสุขเนื่องด้วยอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ ดูก่อนอานนท์

เมื่อสมิทธิโมฆบุรุษนั้นพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่า พยากรณ์ โดยชอบแก่ปาฏลิบุตร

ปริพาชก. ความที่เจตนาเป็นกรรมมีพระสูตรเพียงเท่านี้ก่อน.

ส่วนความที่สัมปยุตตธรรมด้วยเจตนาเป็นกรรม ท่านแสดงไว้โดย

กรรมจตุกะ (หมวด ๔ แห่งกรรม) สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ เหล่านั้น เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันยิ่งเองประกาศแล้ว กรรม ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมดำมี

วิบากดำก็มี กรรมขาวมี วิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี

กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความสิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรา

เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นเป็นไปเพื่อความสิ้น

กรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น

ไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘

นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว

มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ธรรม ๑๕ อย่าง ต่างโดย

โพชฌงค์และองค์มรรคเหล่านั้น ทรงแสดงไว้ด้วยกรรมจตุกะ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พึงทราบธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ๒๑ อย่าง กับธรรม ๖ อย่าง

เหล่านั้น คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ.

บรรดาธรรมเหล่านั้น โลกุตรมรรคเมื่อจะรวมเป็นพวก ก็ย่อมรวม

กรรม ๓ อย่าง มีกายกรรมเป็นต้น. จริงอยู่ การสำรวมจากการประพฤติก้าวล่วง

ความทุศีลทางวาจา พึงทราบว่าเป็นวาจสิกะ สัมมากัมมันตะเป็นกายกรรม

สัมมาวาจาเป็นวจีกรรม เมื่อถือเอากรรมทั้งสองหมวดนี้ สัมมาอาชีวะย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ชื่อว่าเป็นอันถือเอาแล้ว เพราะเป็นพวกแห่งกรรมทั้งสองนั้นทีเดียว. ส่วนการ

สำรวมจากการก้าวล่วงความทุศีลทางใจ พึงทราบว่าเป็น มานสิกะ มานสิกะ

(การสำรวมทางใจ) นั้น มี ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง ทิฏฐิ สังกัปปะ วายามะ

สติ และสมาธิ มานสิกะแม้ ๕ อย่างนี้ ชื่อว่า มโนกรรม โลกุตรมรรค

เมื่อรวมเป็นพวกก็ย่อมรวมกรรม ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ในที่นี้ ชื่อว่า การเทียบเคียงกับทวาร จริงอยู่ กรรมที่ถึงความ

หวั่นไหวในกายทวารและวจีทวารแต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี กรรมที่ถึงความปรากฏ

เป็นไปในมโนทวาร แต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี ท่านจึงถือเอากรรมนั้น ๆ (ที่ไม่เป็น

กรรมบถ) กระทำให้เป็นพวกของทวารนั้น ๆ ทีเดียว. ในเรื่องนั้นมีนัย ดังนี้.

บุคคลใดคิดว่าจักไปล่าเนื้อ จึงจัดแจงธนู ฟั่นเชือก ลับหอกบริโภค

อาหารแล้วนุ่งห่มเสื้อผ้า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ กรรมก็ถึงความหวั่นไหว แล้วใน

กายทวาร. เขาเที่ยวไปในป่าตลอดวันย่อมไม่ได้อะไรโดยที่สุด แม้กระต่ายและ

แมว. ถามว่า อกุศลนี้ ชื่อว่า เป็นกายกรรมหรือไม่ ตอบว่า ไม่เป็น

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ถึงกรรมบถ. แต่พึงทราบว่า กุศลจิตนี้

ชื้อว่า กายทุจริตอย่างเดียว. แม้ในการไปจับปลาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

แม้ในวจีทวาร บุคคลสั่งว่า เราจักไปล่าเนื้อ พวกเจ้าจงเตรียมธนูเป็นต้น

โดยเร็วเถิด ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรในป่าโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นถึง

ความหวั่นไหวในวจีทวารแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นวจีกรรม. พึงทราบว่า

อกุศลจิตนั้น ชื่อว่า เป็นวจีทุจริตอย่างเดียว. ส่วนในมโนทวาร เมื่อวธก-

เจตนาเพียงเกิดขึ้นเท่านั้นก็ย่อมเป็นอันทำลายกรรมบถทีเดียว. อนึ่ง ประเภท

กรรมบถนั้นย่อมมี ด้วยอำนาจแห่งความพยาบาท มิใช่ด้วยอำนาจแห่งปาณา-

ติบาต จริงอยู่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารและวจีทวาร

ไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็เหมือนกัน. แต่มโนกรรมที่เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

อกุศลย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้งสาม. กายกรรม วจีกรรม และมโนทวาร

ที่เป็นกุศลก็เหมือนกัน.

ถามว่า เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร

กรรมย่อมเป็นกายกรรมเท่านั้น แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรม

ที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ก่อน ส่วนอภิชฌา พยาบาท และ

มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นไปฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพ-

โพหาริก (กล่าวอ้างไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี) บ้าง.

แต่เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงไปฆ่าผู้นี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้ กรรมเป็น

กายกรรม สำหรับทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน

วจีทวารอย่างนี้ ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิต

เหล่านั้นเป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำอธิบายที่

เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน

มโนทวารก็มี อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น ถูกอาจารย์อื่นท้วงว่า ท่านจงนำสูตร

ที่ยกขึ้นในการรวบรวม (สังคายนา) ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงนำชื่อกุลุมพสูตรนี้มาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีฤทธิ์

ถึงความชำนาญจิต เพ่งดูสัตว์ในเกิดในครรภ์ของหญิงอื่นด้วยใจอันลามกว่า

โอหนอ สัตว์ในครรภ์นี้ อย่าพึงคลอดออกมาด้วยความสวัสดี ดังนี้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. อาจารย์วิตัณฑ-

วาทีครั้นนำสูตรนี้มาแล้ว จึงกล่าวว่า ก็เพียงแต่คิดเท่านั้น สัตว์เกิดในครรภ์

ของหญิงนั้นก็ย่อมย่อยยับไปเหมือนก้อนฟองน้ำ ในการย่อยยับแห่งครรภ์นี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

มีการไหวส่วนแห่งกายหรือส่วนแห่งวาจาแต่ที่ไหนเล่า ก็กายกรรมที่เป็นอกุศลนี้

ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารทีเดียว ดังนี้.

อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า พวกเราจักพิจารณา

เนื้อความพระสูตรของท่าน ดังนี้ แล้วพากันพิจารณาโดยนัยที่ท่านอาจารย์

วิตัณฑวาทีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวถึงการฆ่าสัตว์อื่นด้วยฤทธิ์ ก็ธรรมดาว่า

ฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่างคือ อธิษฐานอิทธิ วิกุพพนอิทธิ มโนมยอิทธิ ญาณวิปผาร-

อิทธิ สมาธิวิปผารอิทธิ อริยอิทธิ กัมมวิปากชอิทธิ ปุญญวโตอิทธิ วิชชามย-

อิทธิ ภาวนามยอิทธิ ที่ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะการประกอบโดย

ชอบในคุณนั้น ๆ เป็นปัจจัย บรรดาฤทธิ์เหล่านั้น ท่านกล่าวถึงฤทธิ์อย่างไหน.

ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ภาวนามยอิทธิ. ถามว่า กรรมคือการฆ่าสัตว์อื่นมีได้

ด้วยภาวนามยอิทธิหรือ. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ใช่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

การฆ่าสัตว์อื่นด้วยภาวนามยอิทธินั้นมีได้ครั้งหนึ่ง. เหมือนหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำ

บุคคลประสงค์จะประหารผู้อื่นจึงขว้างไปแล้ว แม้หม้อก็แตก แม้น้ำก็พินาศไป

ฉันใด กรรม คือ การฆ่าผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ ย่อมมีได้ครั้งหนึ่ง ฉันนั้น

เหมือนกัน ต่อจากนั้นไปฤทธิ์นั้นก็เสื่อม.

ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านวิตัณฑวาทีนั้นว่า กรรม คือ

การประหารผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ มิได้มีหนึ่งครั้งสองครั้งเท่านั้น แล้วจึงถาม

ท่านวิตัณฑวาทีซึ่งไม่ดำเนินไปด้วยวาจาตามประกาศให้รู้ว่า ภาวนามยอิทธิเป็น

กุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นอัพยากตะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา เป็นสวีตักกวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร. บุคคลใดรู้ปัญหานี้ บุคคลนั้น

ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ภาวนามยอิทธิย่อมเป็นกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง เป็น

ที่ตั้งของอทุกขมสุขบ้าง เป็นอวิตักกอวิจาร และเป็นรูปาวจรเท่านั้น. อาจารย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

วิตัณฑวาทีนั้นจะพึงถูกผู้อื่นถามว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไปย่อมรวม

เข้ากันได้กับส่วนไหนในบรรดากุศลเป็นต้น. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็ย่อม

บอกว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นอกุศล เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

มีวิตกและวิจารเป็นกามาวจรเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็พึงบอกวิตัณฑวาทีว่า

ปัญหาของท่านไม่สมกับเป็นกุศลติกะ ไม่สมกับเวทนาติกะ ไม่สมกับวิตักกติกะ

ไม่สมกับภุมมันตระ (คือกามาวจรเป็นต้น ). อาจารย์วิตัณฑวาทีจะกล่าวว่า

ก็สูตรใหญ่อย่างนี้ไม่มีประโยชน์หรือ ? พวกอาจารย์พึงตอบว่า มิใช่ ไม่มี

ประโยชน์ แต่ว่าท่านย่อมไม่รู้ประโยชน์ของสูตรนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์

นั้นมีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ. จริงในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาภาวนามยอิทธิ

แต่ประสงค์เอาอาถัพพนิทธิ.

จริงอยู่ อาถัพพนิทธินั้น เมื่อได้ย่อมได้ในคำว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ ถึง

ความชำนาญทางใจนี้ แต่ว่า อาถัพพนิทธินั้น พ้นจากกายทวารและวจีทวาร

แล้วก็ไม่อาจทำได้ เพราะว่า บุคคลผู้ประกอบอาถัพพนิทธิทั้งหลาย ต้อง

บริโภคของไม่เค็ม ปูลาดหญ้าแพรกนอนบนพื้นดิน ประพฤติตบะตลอด ๗ วัน

ในวันที่ ๗ ตกแต่งพื้นที่ป่าช้า แล้วยืนอยู่ในย่างเท้าที่ ๗ ทำให้มือหมุนไปมา

ร่ายมนต์ด้วยปาก ทีนั้นการทำของพวกเขาจึงสำเร็จ ฤทธิ์แม้นี้พ้นจากกายทวาร

และวจีทวารแล้ว ก็ไม่อาจทำได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงถึงความตกลงว่า

กายกรรมย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ดังนี้.

ก็เมื่อบุคคลกล่าวมุสาวาทเป็นต้นด้วยศีรษะและมือ กรรมเป็นวจีกรรม

แต่ทวารเป็นกายทวาร แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารด้วย

ประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตทั้งหลาย

เหล่านั้นย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลทำการ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

เปล่งวาจากล่าวมุสาวาทเป็นต้น แม้กรรมก็เป็นวจีกรรม แม้ทวารก็เป็นวจีทวาร

เหมือนกัน วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วน

อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง

เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำชี้แจงที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีเพียง

เท่านี้.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นใน

มโนทวารก็ได้. อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นถูกอาจารย์อื่นซักว่า ท่านจงนำสูตรที่

ขึ้นสู่การรวบรวมทั้งสามครั้งมา จึงนำสูตรอุโปสถขันธกะมาว่า ก็ภิกษุใด

เมื่อถูกสวดประกาศถึง ๓ ครั้ง ระลึกได้ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอาบัติที่มีอยู่

ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสัมปชานมุสาวาท ดังนี้. ครั้นท่านนำสูตรนี้มาแล้วก็

กล่าวว่า ภิกษุนั้นไม่กระทำให้แจ้งอาบัติอย่างนี้ เป็นผู้นิ่งเฉย ย่อมต้องอาบัติ

อื่น การไหวส่วนแห่งกาย หรือวาจาในที่นี้มีที่ไหน ก็วจีกรรมที่เป็นอกุศล

ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารนั่นแหละ ดังนี้.

อาจารย์ทั้งหลายพึงถามวิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็สูตรที่ท่านกล่าวนี้ มีเนื้อ-

ความที่ควรแนะนำ หรือมีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว อย่างไร ? วิตัณฑวาที

กล่าวว่า สูตรของข้าพเจ้านี้ มีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว ดังนี้ แล้วถูกกล่าวเตือน

ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ พวกเราจักช่วยกันพิจารณาดูเนื้อความของสูตรนั้น

ดังนี้ แล้วพึงถาม อย่างนี้ว่า มีอาบัติอะไรในเพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่อ

อาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็จักบอกว่า เป็นอาบัติทุกกฏในเพราะสัมปชานมุสาวาท

จากนั้นก็พึงถูกกล่าวว่า วินัยมีมูลเหตุสองอย่าง คือ กายและวาจา จริงอยู่

พระสัมมาสัมพุทธะทรงบัญญัติอาบัติทั้งหมดในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้เท่านั้น ขึ้น

ชื่อว่า การบัญญัติอาบัติ ในมโนทวารย่อมไม่มี ท่านรู้วินัยบัญญัติมากไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

บุคคลใดบัญญัติอาบัติในฐานะอันพระศาสดาไม่บัญญัติไว้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกล่าว

ตู่พระสัมมาสัมพุทธะ ย่อมประหารชินจักร ครั้นถูกข่มด้วยถ้อยคำเป็นต้นอย่างนั้น

แล้วก็พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมตั้งขึ้นเพราะการ

กระทำหรือ หรือว่าเพราะการไม่กระทำ ดังนี้ เมื่อวิตัณฑวาทีทราบอยู่ก็จักท

บอกว่า เพราะการไม่กระทำ จากนั้น ก็พึงบอกท่านว่า ภิกษุผู้ไม่ทำให้แจ้ง

อาบัติย่อมทำกิริยาอย่างไหน ท่านวิตัณฑวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำแน่แท้ก็จัก

ถึงความลำบากใจ ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายพึงให้วิตัณฑวาทีนั้นย่อมจำนน

ด้วยเนื้อความแห่งสูตรนี้. ก็ในสูตรนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้

ถามว่า สัมปชานมุสาวาท ที่ท่านกล่าวว่าเป็นอาบัติ เป็นอาบัติอะไร

คือ เป็นอาบัติประเภทไหน ตอบว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล

ว่าโดยลักษณะแห่งมุสาวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอาบัติซึ่งมีการไม่ทำใน

วจีทวารตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมุฏฐาน สมจริงดังคำที่ตรัส

ไว้ในปริวาร ว่าด้วยเสทโมจนคาถาว่า

ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไร ๆ ไม่เปล่ง

วาจาพูดกับผู้อื่น แต่ต้องอาบัติทางวาจาไม่

ต้องอาบัติทางกาย ปัญหานี้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

คิดกันแล้ว ดังนี้.

ในที่นี้ พึงถึงความตกลงว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่ตั้งขึ้นใน

มโนทวาร ด้วยประการฉะนี้.

ก็แต่ในกาลใด บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอภิชฌายังส่วนแห่งกายให้ไหว

กระทำกิจมีการถือเอาด้วยมือเป็นต้น มีใจสหรคตด้วยพยาบาทมีการถือไม้

เป็นต้น มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ คิดว่า พระขันธกุมาร พระศิวะประเสริฐ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ที่สุด จึงทำกิจมีการอภิวาท อัญชลีกรรมและตกแต่งตั่งน้อยสำหรับภูต เพื่อ

พระศิวะนั้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร

มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เจตนา

ในที่นี้เป็นอัพโพหาริก.

ในกาลใด บุคคลมีใจสหรคตด้วยอภิชฌา ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว

เพ่งดูอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นโดยพูดว่า โอหนอ ของผู้อื่นพึงเป็นของเรา

ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยพยาบาท กล่าวว่า ขอสัตว์เหล่านี้ถูกเบียดเบียน จง

ถูกฆ่า จงขาดสูญ หรือว่า จงอย่าได้มี ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ

ย่อมกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้วไม่มีผล

เป็นต้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวีทวาร มโนกรรม

ย่อมตั้งขึ้นในวจีทวาร ด้วยประการฉะนี้ เจตนาในที่นี้ก็เป็น อัพโพหาริก.

ก็ในกาลใด บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายวาจาให้ไหวนั่งแล้ว ในที่ลับ

ให้จิตทั้งหลายเกิดขึ้นสหรคตด้วยอภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ ในกาลนั้น

กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็น

อกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้. ก็ในที่นี้ เจตนาก็ดี ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น มโนกรรมที่เป็นอกุศล

บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นโนทวารแม้ทั้ง ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็คำที่ท่านกล่าวว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็น

กุศลก็เหมือนกันนั้น มีนัยดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลไม่สามารกล่าววาจาด้วยเหตุบางอย่าง

ย่อมถือเอาสิกขาบทเหล่านี้ ด้วยมือและศีรษะว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจาก

ปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

เป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นกุศลย่อม

ตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น

ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.

แต่ในกาลใด บุคคลเปล่งวาจารับสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ

ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นกุศล

ย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิต

เหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.

แต่ในกาลใด เมื่อพระภิกษุให้สิกขาบทเหล่านั้นอยู่ บุคคลไม่ให้ส่วน

แห่งกายและวาจาให้ไหว ย่อมรับเอาด้วยใจเท่านั้นว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจาก

ปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรม

เป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นมโนกรรม กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นใน

มโนทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็น

ฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลรับสิกขาบททั้ง ๔ มี

เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ด้วยกายเป็นต้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ วจีกรรมที่เป็นกุศล บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในทวารทั้ง ๓

ดังนี้ แม้ในที่นี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้น ก็ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง

เป็นอัพโพหาริกบ้าง.

แต่ว่า บุคคลยังส่วนแห่งกายให้ไหวไปด้วยจิตอันสหรคต ด้วย

อนภิชฌาเป็นต้น กระทำการปัดกวาดลานพระเจดีย์ ทำการบูชาด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้น และไหว้พระเจดีย์เป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวาร

เป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ แต่ว่า

เจตนาในที่นี้ เป็นอัพโพหาริกเท่านั้น เมื่อบุคคลมีจิตสหรคตด้วยอนภิชฌา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว ไม่เพ่งดูว่า โอหนอ วัตถุเครื่องปลื้มใจของคนอื่น

พึงเป็นของเราดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยอัพยาบาท กล่าวอยู่ว่า สพฺเพ สตฺตา

อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ ดังนี้ มีจิต

สหรคตด้วยสัมมาทิฏฐิ เปล่งวาจาว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผลเป็นต้น กรรม

เป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นใน

วจีทวารอย่างนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก แต่เมื่อบุคคลไม่ให้กาย

และวาจาไหว นั่งในที่ลับให้จิตเกิดขึ้นสหรคตด้วยอนภิชฌาเป็นต้น ด้วยใจ

เท่านั้น กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรม

ที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ แต่ในฐานะนี้ เจตนาก็ดี ธรรมที่

สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น.

บรรดากรรมและทวารเหล่านั้น บุคคลเมื่อกล่าวว่า เมื่อปาณาติบาต

และอทินนาทานทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยอาณัติ แม้กรรมก็เป็นกายกรรม แม้

ทวารก็เป็นกายทวารด้วยอำนาจแห่งกรรมนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษากรรม

ชื่อว่า ย่อมทำลายทวาร เมื่อกล่าวว่า บรรดามุสาวาทเป็นต้นที่ตั้งขึ้นด้วย

มือและศีรษะ แม้ทวารก็เป็นกายทวาร แม้กรรมก็เป็นกายกรรมด้วยอำนาจ

แห่งทวารนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษาทวาร ชื่อว่า ย่อมทำลายกรรม

เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำลายทวารด้วยคิดว่า เราจักรักษากรรม และไม่พึง

ทำลายกรรม ด้วยคิดว่า เราจักรักษาทวาร อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบกรรมและ

ทวารโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแหละ เพราะว่า เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่ทำลายกรรมและทวารดังนี้แล.

จบกถาว่าด้วยกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

อธิบายว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นต้น

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยวิญญาณ ๕ และทวารวิญญาณ ๕ ต่อไป.

ชื่อว่าวิญญาณ ๕ คือ

๑. จักขุวิญญาณ

๒. โสตวิญญาณ

๓. ฆานวิญญาณ

๔. ชิวหาวิญญาณ

๕. กายวิญญาณ

ชื่อว่าทวารวิญญาณ ๕ คือ

๑. ทวารแห่งจักขุวิญญาณ

๒. ทวารแห่งโสตวิญญาณ

๓. ทวารแห่งฆานวิญญาณ

๔. ทวารแห่งชิวหาวิญญาณ

๕. ทวารแห่งกายวิญญาณ

เจตนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งทวาร ๕ เหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

ไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนทวารเท่านั้น. แต่ชื่อว่า สัมผัส

เหล่านั้นมี ๖ คือ จักขุสัมผัส โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า ทวาร

แห่งสัมผัสเหล่านี้มี ๖ คือ ทวารแห่งจักขุ สัมผัส ทวารแห่งโสต ฆาน ชิวหา

กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่า อสังวร ๘ เหล่านั้น คือ จักขุอสังวร โสต ฆาน ชิวหา

อสังวร ปสาทกายอสังวร โจปนกายอสังวร วาจาสังวร มโนอสังวร.

อสังวร ๘ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ทุศีล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

(ทุสฺสีลย) ความเป็นผู้หลงลืมสติ (มุฏฺสสจฺจ) ความไม่รู้ (อญฺาณ)

ความไม่อดทน (อกฺขนฺติ) ความเกียจคร้าน (โกสชฺช) บรรดาธรรม

๕ เหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิต

เป็นที่สุดในปัญจทวาร แต่ย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น ธรรมนั้นแม้

เกิดขึ้นในชวนจิต ท่านเรียกว่า อสังวร (ความไม่สำรวม ) ในทวาร ๕.

จริงอยู่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัส เจตนา

ชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้น ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ในจักขุวิญญาณนี้

อสังวร ๕ อย่างยังไม่มี. ผัสสะที่เกิดพร้อมกับสัมปฏิกิจฉันนจิต ชื่อว่า

มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม

ในสัมปฏิจฉันนจิตแม้นี้ อสังวรก็ยังไม่มี. แม้ในสันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิต

ก็มีนัยนี้แหละ. แต่ว่าผัสสะที่เกิดพร้อมกับชวนจิตชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนา

ชื่อว่า มโนกรรม จิตนั้นชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สำรวมใน

ชวนจิตนั้น ชื่อว่า จักขุอสังวร (ความไม่สำรวมทางจักษุ). แม้ในโสต-

ฆานชิวหาปสาทกายทวาร ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในกาลใด ชวนจิตทางมโนทวารมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูป

เป็นต้นเป็นอารมณ์ เว้นวจีทวาร ย่อมเกิดขึ้นยังความไหวกายทวารล้วนให้

เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส

เจตนาชื่อว่า กายกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริก ไม่ถึงการนับว่าเป็น

มโนทวาร เพราะความไหวเกิดแล้ว ก็ความไม่สำรวมในชวนะนี้ ชื่อว่า

ความไม่สำรวมทางกาย (กายอสังวร).

ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นนั่นแหละ จากกายทวาร เกิดขึ้นยังการ

ไหววจีทวารล้วน ๆ ให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ชื่อว่า มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่าวจีกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริกไม่ถึง

การนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดขึ้นแล้ว ความไม่สำรวมใน

ชวนจิตนี้ ชื่อว่า ความไม่สำรวมทางวาจา (วาจาอสังวร).

แต่ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นเว้นจากกายทวารและวจีทวาร เป็น

มโนทวารล้วน ๆ เกิดขึ้น ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่า

มโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรม ความไม่

สำรวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่า ความไม่สำรวมทางใจ (มโนอสังวร).

บัณฑิตพึงทราบทวารแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ คือ ทวารแห่งอสังวร

ทางจักษุ ทวารแห่งอสังวรทางโสต ฆาน ชิวหา ปสาทกาย โจปนกาย

วาจา มโน ด้วยอำนาจแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนชื่อว่า สังวร ๘ เหล่านี้ คือ จักขุสังวร (สำรวมทางตา)

โสตสังวร ฆานสังวร ชิวหาสังวร ปสาทกายสังวร โจปนกายสังวร วาจา

สังวร มโนสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น ว่าโดยอรรถ ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้

คือ ศีล สติ ญาณ ขันติ วิริยะ ในบรรดาธรรมทั้ง ๕ แม้เหล่านั้น

แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดในจิตทั้งหลาย มีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดใน

ปัญจทวาร ธรรมนั้นย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น แม้เกิดในชวนจิต

ท่านก็เรียกว่า สังวรในปัญจทวาร.

บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้นแม้ทั้งหมด โดยนัยที่กล่าว

แล้วในอสังวรซึ่งมีคำว่า จกฺขุวิญฺาณสหชาโต หิ ผสฺโส จกฺขุสมฺผสฺโส

(จริงอยู่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุสัมผัส ) เป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งสังวร ๘ เหล่านี้อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบสังวรทวาร (ทวาร

แห่งสังวร) ๘ เหล่านั้น คือ ทวารแห่งสังวรทางจักษุ ฯสฯ ทวารแห่งสังวร

ทางมโนตามที่กล่าวแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ

ก็ชื่อว่าอกุศลกรรมบถเหล่านี้มี ๑๐ คือ

ปาณาติบาต

อทินนาทาน

กาเมสุมิจฉาจาร

มุสาวาท

ปิสุณาวาจา

ผรุสวาจา

สัมผัปปลาปะ

อภิชฌา

พยาบาท

มิจฉาทิฏฐิ.

บรรดาอกุศลกรรมบถเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า

ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การทำลายชีวิต คือการฆ่าสัตว์. ก็ในคำว่า

ปาณาติบาตนี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง

วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์นั้น ว่ามีชีวิต เป็นไป

ทางทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวารที่ตั้งขึ้นด้วยความพยาบาท

เข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์

เดรัจฉานเป็นต้นที่ไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะสัตว์เล็ก

ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะร่างกายใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะ

มีความพยาบาทมาก. แม้จะมีความพยายามเสมอกันก็มีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

บรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาตนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะ

สัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะมีคุณมาก. เมื่อสัตว์นั้นมีสรีระและคุณ

เท่ากัน ก็พึงทราบว่า ปาณาติบาตมีโทษน้อยเพราะความที่กิเลสทั้งหลาย และ

ความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมากเพราะกิเลสและความพยายามกล้า. องค์

(ส่วนประกอบ) ของปาณาติบาตนั้น มี ๕ อย่าง คือ

๑. ปาโณ (สัตว์มีชีวิต)

๒. ปาณสญฺิตา (รู้ว่าสัตว์มีชีวิต)

๓. วธกจิตฺต (มีจิตคิดฆ่า)

๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)

๕. เตน มรณ (สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น)

ปาณาติบาตนั้น ประโยค ๖ คือ

๑. สาหัตถิกปโยคะ

๒. อาณัตติกปโยคะ

๓. นิสสัคคิยปโยคะ

๔. ถาวรปโยคะ

๕. วิชชามยปโยคะ

๖. อิทธิมยปโยคะ

ก็อรรถนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารอยู่ย่อมจะชักช้าไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

จักไม่ยังอรรถนั้น และอรรถอื่นอย่างเดียวกันให้พิสดาร แต่ผู้ต้องการอรรถ

พิสดารพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัยชื่อ สมันตปาสาทิกา แล้วถือเอาเถิด.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ว่าด้วยอทินนาทาน

การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน ท่านอธิบาย

ว่า การนำภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺน ได้แก่ สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่า

บุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทำแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิค ไม่มีโทษ

เถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสำคัญ ในวัตถุอื่นบุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่า

ผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่า

อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็น

ของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่า มีโทษน้อย ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไร

จึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกัน

อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่า

มีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณ

นั้น ๆ.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิต (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)

๓. เถยฺยจิตฺต (มีจิตคิดลัก)

๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)

๕. เตน หรณ (นำสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น )

อทินนาทานนั้น มีประโยค ๖ มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยค

เหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอวหาร (การขโมย) ๕ เหล่านี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

๑. เถยยาวหาร (การลักโดยขโมย)

๒. ปสัยหาวหาร (การลักโดยข่มขู่)

๓. ปฏิจฉันนาวทาร (การลักโดยปกปิด)

๔. ปริกัปปาวหาร (การลักโดยกำหนดไว้)

๕. กุสาวหาร (การลักโดยจับสลาก)

เนื้อความในที่นี้ท่านย่อไว้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้ในสมันต-

ปาสาทิกาแล้ว.

ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร

ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป

คำว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิต

ติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่

เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์

อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.

อคมนียฐาน ๒๐

ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง ๒๐ จำพวก ได้แก่หญิงที่มารดารักษา

เป็นต้น ๑๐ จำพวกแรก คือ

๑. หญิงที่มารดารักษา

๒. หญิงที่บิดารักษา

๓. หญิงที่มารดาบิดารักษา

๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา

๕ . หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา

๖. หญิงที่ญาติรักษา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

๗. หญิงที่ตระกูลรักษา

๘. หญิงที่มีธรรมรักษา

๙. หญิงที่รับหมั้นแล้ว

๑๐. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง

และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ

๑. ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์

๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ

๓. ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ

๔. ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า

๕. ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ (จุ่มน้ำ)

๖. ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ.

๗. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน

๘. ภรรยาที่จ้างมาทำงาน

๙. ภรรยาที่เป็นเชลย

๑๐. ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง

หญิง ๒๐ พวกนี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)

ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย หญิง ๑๒ จำพวก ที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือ หญิงที่รับ

หมั้นและกฎหมายคุ้มครองแล้วรวม ๒ จำพวก และหญิงที่เป็นภรรยา ๑๐ จำพวก

มีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น นี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน.

ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ก็เพราะอคมนียฐานเว้นจาก

คุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า มีโทษมาก ในเพราะอคมนียฐานถึงพร้อมด้วยคุณ

มีศีลเป็นต้น มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

๑. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)

๒. ตสมึ เสวนจิตต (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)

๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)

๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสน (การยังมรรคให้ถึง

มรรค)

ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.

ว่าด้วยมุสาวาท

ความพยายามทางวาจา (วจีปโยคะ) หรือความพยายามทางกายอัน

ทำลายประโยชน์ ของบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้ขัดแย้งกัน ชื่อว่า มุสา. ก็เจตนา

อันให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายหรือทางวาจาที่มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

เป็นอย่างอื่น ของบุคคลอื่น โดยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า

มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่เป็นจริง ไม่ใช่ของแท้ ชื่อว่า มุสา. การให้

บุคคลรู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยภาวะว่าจริง ว่าแท้ เรียกว่า วาทะ ก็ว่าโดย

ลักษณะ เจตนาที่ให้ตั้งขึ้นด้วยเคลื่อนไหวอย่างนั้น ของบุคคลผู้ประสงค์ให้คน

อื่นรู้ถึงเรื่องไม่จริงแท้ เรียกว่า มุสาวาท.

มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ผู้พูดทำลาย

ประโยชน์นั้นน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะทำลายประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง

มุสาวาทของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีดังนี้ เพราะประสงค์

จะไม่ให้วัตถุที่มีอยู่ของตน ชื่อว่า มีโทษน้อย. มุสาวาทที่ตนเป็นพยาน

กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ ชื่อว่า มีโทษมาก. มุสาวาทของบรรพชิตทั้งหลาย

ที่เป็นไปโดยนัยปูรณกถาว่า น้ำมันในบ้าน วันนี้เห็นทีจะไหลไปเหมือนแม่น้ำ

โดยประสงค์จะหัวเราะกันเล่น เพราะน้ำมันหรือเนยใสเพียงเล็กน้อย ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

มีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่า

เห็น ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษมาก. (องค์) ของนี้มุสาวาทนั้น มี ๔ อย่าง คือ

๑. อตถ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)

๒. วิสวาทนจิตฺต (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)

๓. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานน (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)

ประโยคของมุสวาทมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาท

นั้นพึงทราบโดยการกระทำกิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วย

ของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น

เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้น

ทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียน

หนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่า

บุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจาก

กาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลาย

คือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้

แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.

ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น

บุคคลย่อมกล่าววาจาก่อนบุคคลใดย่อมกระทำความรักของตนในหัวใจ

ของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.

ก็วาจาใด ย่อมกระทำความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้น ชื่อว่า

ผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทำความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

วาจานี้ ชื่อว่า ผรุสวาจา. บุคคลย่อมพูดเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์

ภาวะนั้น ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ แม้เจตนา ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณาวาจา

เป็นต้นนั่นแหละเพราะเป็นเหตุของวาจาเหล่านั้น. ก็เจตนานั้นเองท่านประสงค์

เอาในที่นี้.

บรรดาวาจาเหล่านี้ เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ตั้งขึ้นด้วย

ความพยายามทางกายและวาจาเพื่อความแตกแยกของชนเหล่าอื่น หรือทำความ

รักให้แก่ตน ชื่อว่า ปิสุณาวาจา เจตนาที่เป็นปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย

เพราะทำความแตกแยกให้บุคคลผู้มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคล

นั้นมีคุณมาก. ส่วนประกอบ (องค์) ของปิสุณาวาจามี ๔ คือ

มีคนอื่นที่ตนพึงทำให้แตกกัน (ภินฺทิตพฺโพ ปุโร) ๑. ความเป็น

ผู้มีเจตนากล่าวให้แตกกัน (เภทปุเรกฺขารตา) ด้วยประสงค์ว่า ชนเหล่านี้

จักเป็นไปต่าง ๆ กันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือว่า เป็นผู้ใคร่จะทำตนให้เป็นที่รักว่า

เราจักเป็นที่รักใคร่ จักเป็นที่คุ้นเคยด้วยอุบายอย่างนี้ ๑. มีความพยายามเกิดขึ้น

ด้วยจิตนั้น (ตชฺโช วายาโม) ๑. บุคคลนั้นรู้ความหมายนั้น (ตสฺส ตทตฺถวิ

ชานน) ๑. ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่แตกกัน กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อบุคคลแตกกัน

นั่นแหละกรรมบถจึงแตกทีเดียว.

เจตนาหยาบคายโดยส่วนเดียว ที่ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและ

วาจาอันตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่ง

ผรุสวาจานั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า เด็กชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดาไปป่า มารดา

ไม่อาจให้เขากลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่ควายดุร้ายจงไล่ตามมัน ดังนี้ ทีนั้น

แม่ควายในป่าก็ได้ปรากฏแก่เขา เหมือนอย่างมารดานั้นกล่าวนั่นแหละ เด็กได้ทำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

สัจจกิริยาว่า แม่ของข้าพเจ้าย่อมพูดคำใดด้วยปาก (ไม่คิดร้าย) ขอคำนั้นจง

อย่ามี ถ้าแม่คิดคำใดด้วยความตั้งใจ ขอคำนั้นจงมีเถิด ดังนี้. แม่ควายได้

ยืนอยู่ เหมือนบุคคลผูกไว้ในที่นั้นนั่นแหละ.

ความพยายามแม้อันตัดเสียซึ่งความรักอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ผรุสวาจา

เพราะความที่จิตอ่อน. จริงอยู่ ในกาลบางครั้ง มารดาและบิดาย่อมพูดกะบุตร

น้อยแม้อย่างว่า ขอให้พวกโจรจงตัดพวกเจ้าให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ดังนี้

แต่ท่านทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาอะไร ๆ แม้กลีบดอกอุบลตกไปถูกบุตรเหล่านั้น.

อนึ่ง ในกาลบางคราว อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมกล่าวกะศิษย์ผู้อาศัยอย่างนี้ว่า

พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตัปปะ พูดอะไร พวกเจ้าจงไล่เขาออกไปเสีย แต่ที่แท้

ท่านเหล่านั้น ย่อมปรารถนาซึ่งความถึงพร้อมแห่งการเล่าเรียนและการบรรลุ-

มรรคผลของศิษย์เหล่านั้น ไม่ชื่อว่า ผรุสวาจา เพราะความที่จิตอ่อน

แม้ฉันใด ไม่ชื่อว่า เป็นผรุสวาจา เพราะเป็นวาจาอ่อนหวาน ฉันนั้นก็

หาไม่ ด้วยว่าคำพูดของบุคคลผู้ประสงค์จะให้คนอื่นตายว่า พวกท่านจงให้ผู้นี้

นอนเป็นสุข ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผรุสวาจาหาไม่ ก็วาจานั้นเป็นผรุสวาจาแท้

เป็นวาจามีจิตหยาบ. วาจานั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะความที่บุคคลนั้น

มีคุณน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก. ผรุสวาจานั้นมี

องค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร (มีคนอื่นที่ตนพึงด่า)

๒. กุปิตจิตฺต (มีจิตโกรธ)

๓. อกฺโกสนา (การด่า)

อกุศลเจตนาอันยังบุคคลอื่นรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นด้วยการ

พยายามทางกายและวาจา ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

มีโทษน้อย เพราะความที่มีการส้องเสพน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีการ

ซ่องเสพมาก องค์ของสัมผัปปลาปะมี ๒ คือ ภารตยุทฺธสีตาหรณาทินิรตฺ-

ถกกถาปุเรกฺขารตา (ความเป็นผู้มีเจตนาจะพูดเรื่องไร้ประโยชน์มีภารตยุทธ์

และการลักพานางสีดาไปเป็นต้น) ๑. ตถารูปีกถากถน (การกล่าววาจา

เช่นนั้น) ๑. ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่ถือเอาถ้อยคำนั้น กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อมีผู้อื่น

ถือสัมผัปปลาปะนั่นแหละ กรรมบถจึงแตกไป.

ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่า อภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของ

ของผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่น อภิชฌานั้น

มีการเพ่งเล่งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็น

ของเรา ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ ปรภณฺฑ (สิ่งของของบุคคลอื่น) ๑. อตฺตโน

ปริณามนญฺจ (น้อมมาเพื่อตน) ๑. ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็น

ของผู้อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตน

ด้วยคำว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้.

สภาวธรรมที่ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้พินาศไป ชื่อว่า

พยาบาท. พยาบาทนั้นมีความมุ่งร้ายเพื่อให้ผู้อื่นพินาศเป็นลักษณะมีโทษน้อย

และมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา. พยาบาทนั้นมีองค์ ๒ คือ ปรสตฺโต

(สัตว์อื่น) ๑. ตสฺส จ วินาสจินฺตา (ความคิดที่ให้สัตว์นั้นพินาศไป) ๑.

ที่จริง เมื่อความโกรธมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถยังไม่แตก

ไปก่อน ตราบจนกว่าจะคิดยังสัตว์ให้พินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้พึงขาดสูญ

พึงพินาศดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความ

ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดย

นัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อย และ

มีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย

นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก. องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ วตฺถุโน จ

คหิตาการวิปรีตตา (เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) ๑. ยถา จ ต

คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺาน (ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความ

ไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) ๑. บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป

เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป

เพราะทิฏฐิอื่น ๆ.

ว่าด้วยอกกุศอกุศลกรรมบถ ๕ ประเภท

พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้เหล่านี้ โดยอาการ ๕ คือ

โดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺ-

มณโต) โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).

บรรดาอาการ ๕ เหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดา

อกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ ๗ โดยลำดับ (คือกายทุจริต ๓

วจีทุจริต ๔) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ ๓ มีอภิชฌาเป็นต้น

เป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.

คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๘ ที่ไม่เป็นมูล คือ

อกุศลกรรมบถ ๗ โดยลำดับ และมิจฉาทิฏฐิ ๑. อภิชฌาและพยาบาทเป็น

กรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือ โลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็น

อกุศลมูล พยาบาท คือ โทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

คำว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์

เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมี

สังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มิจฉาจารมีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้บ้าง. มุสาวาท

มีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. ปิสุณาวาจา มีอารมณ์เหมือน

มุสาวาท ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็น

อารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถธรรมคือ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ

วิญญาตะ อภิชฌา ก็เหมือนกัน พยาบาท มีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น.

มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.

คำว่า โดยเวทนา ได้แก่ปาณาติบาตเป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ พระ-

ราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงพระสรวลอยู่ ก็ทรงตรัสว่า พวกเธอจง

ไปฆ่ามันเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาที่ถึงความตกลงพระทัยของพระราชา

เหล่านั้นก็เป็นเจตนาสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยแท้. อทินนาทานมีเวทนา ๓

จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เมื่อบุคคลเห็นภัณฑะของผู้อื่นร่าเริงยินดีถือเอา

ก็เป็นสุขเวทนา เมื่อมีความหวาดกลัวถือเอาก็เป็นทุกขเวทนา หรือเมื่อพิจารณา

ผลอันไหลออกของอทินนาทานก็เป็นทุกขเวทนาเหมือนกัน แต่ในเวลาที่ลักไป

ตั้งอยู่ในภาวะความเป็นกลาง อทุกขมสุขเวทนาก็เกิดขึ้น. มิจฉาจารมีเวทนา

๒ คือด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา แต่ในจิตที่ตกลงใจ

ไม่เป็นอุเบกขาเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอทินนาทาน

นั่นแหละ ปิสุณาวาจา ก็มีเวทนา ๓ เหมือนกัน. ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา.

สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. จริงอยู่ ในเวลาบุคคลผู้ยินดีร่าเริง กล่าวเรื่อง

มีการลักพานางสีดาและภารตยุทธ์เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นกำลังให้สาธุการ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

มีการยกขึ้นซึ่งแผ่นผ้าเป็นต้น สัมผัปปลาปะนั้น ย่อมเป็นสุขเวทนา. ครั้นเมื่อ

บุคคลคนหนึ่งให้สินจ้างไว้ก่อน แต่มาภายหลังคนอื่นพูดว่า ขอท่านจงกล่าว

เรื่องตั้งแต่ต้น ดังนี้ ในเวลาที่กำลังเล่าเรื่อง โทมนัสเกิดขึ้น ด้วยคิดว่า เรา

จักกล่าวกถาเบ็ดเตล็ดไม่สืบต่อกันหรือไม่หนอ ดังนี้ ย่อมเป็นทุกขเวทนา.

เมื่อเขากล่าวกถาเฉย ๆ ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนา. อภิชฌา มีเวทนา ๒

ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ เหมือน

อภิชฌา. พยาบาท เป็นทุกขเวทนา.

คำว่า โดยมูล คือ ปาณาติบาตมี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสมูล

และโมหมูล. อทินนาทาน ก็มี๒ มูล คือด้วยอำนาจแห่งโทสะ กับ โมหะ

หรือว่าด้วยอำนาจแห่งโลภะกับโมหะ มิจฉาจาร ก็มีมูล ๒ คือด้วยอำนาจ

แห่งโลภะและโมหะนั่นแหละ มุสาวาท มี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะกับ

โมหะ หรือโลภะกับโมหะ ปิสุณาวาจา และสัมผัปปลาปะก็มี ๒ เหมือนกัน

ผรุสวาจา มี ๒ มูล ด้วยสามารถแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว

ด้วยสามารถแห่งโมหะ พยาบาทก็มีมูลเดียวเหมือนกัน มิจฉาทิฏฐิมี ๒ มูล

ด้วยอำนาจแห่งโลภมูลและโมหมูลแล.

จบกถาว่าด้วยอกุศลบถ

กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐

ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การงดเว้นจากปณาติบาตเป็นต้น (มี

๗ อย่าง) อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ.

บรรดากุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น ปาณาติบาตเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

ไว้แล้วนั่นแหละ ธรรมที่ชื่อว่า วิรัติ (วิรติ) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องงดเว้น

จากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยธรรมนี้ หรือว่าเป็นตัวงดเว้น หรือว่า ธรรมนี้

เป็นเพียงการงดเว้นเท่านั้น. การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

สัมปยุตด้วยกุศลจิต ตามที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงดการเว้นจากปาณาติบาต

อันใด มีในสมัยนั้น ดังนี้ วิรัติ (การงดเว้น) นั้น มี ๓ ประเภท คือ

สัมปัตตวิรัติ

สมาทานวิรัติ

สมุจเฉทวิรัติ

บรรดาวิรัติ ๓ ประเภทนั้น วิรัตเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้สมาทาน

สิกขาบททั้งหลาย ซึ่งพิจารณาถึงความเกิด (ชาติ) ความเสื่อม (วย) และ

พาหุสัจจะเป็นต้นของตนแล้ว ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่ถึงพร้อมด้วยคิดว่า การกระทำ

เห็นปานนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ. สัมปัตต-

วิรัตินั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชื่อ จักกนะ ในเกาะ

สีหลดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า โรคเกิดขึ้นแก่มารดาของนายจักกนะนั้น ในเวลาที่เขายัง

เป็นเด็กทีเดียว. หมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด ลำดับนั้น พี่ชายของ

นายจักกนะจึงส่งให้นายจักกนะได้ด้วยคำว่า พ่อจักกนะจงไปเที่ยวหาที่ไร่นา

นายจักกนะนั้นก็ไปในที่นั้น ก็ในสมัยนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะเคี้ยวกิน

ข้าวกล้าอ่อน มันเห็นนายจักกนะนั้นก็แล่นไปโดยเร็ว ได้ถูกเถาวัลย์พันไว้

จึงส่งเสียงกิริ กิริ ดังนี้. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น จับมันแล้วคิดว่า เราจัก

ปรุงยาให้มารดา แล้วคิดอีกว่า เราฆ่าสัตว์อื่นเพราะชีวิตมารดาเป็นเหตุ นี้ไม่

สมควรแก่เรา ลำดับนั้น จึงปล่อยไปโดยกล่าวว่า เจ้าจงไปกินหญ้าและน้ำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

พร้อมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิด. เขาถูกพี่ชายถามว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าได้

กระต่ายแล้วหรือ เขาบอกเรื่องนั้นทั้งหมด ลำดับนั้น จึงถูกพี่ชายด่าเอา

นายจักกนะนั้นไปสู่สำนักมารดาแล้ว กล่าวอธิษฐานสัจจะว่า ตั้งแต่เกิดแล้ว

ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักการแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตเลย ดังนี้ ทันใดนั้น มารดาของเขา

ก็หายจากโรค.

ก็วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ในเวลา

สมาทานสิกขาบทนั่นแหละ และในกาลต่อไปถึงสละชีวิตของคนก็ไม่ก้าวล่วง

วัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ. เหมือนวิรัติของอุบาสกผู้อาศัยอยู่ที่ภูเขา

ชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ.

ได้ยินว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบททั้งหลายในสำนักของพระเถระปิงคล

พุทธรักขิตตะ ผู้อยู่ในอัมพรวิหารแล้วไปไถนา. ครั้งนั้น โคของเขาหายไป

เขาตามหาโคนั้น จึงขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ งูใหญ่ได้รัดเขา

ในที่นั้น เขาคิดว่า เราจักตัดศีรษะงูนั้นด้วยมีอันคมนี้ แล้วคิดอีกว่า เรารับ

สิกขาบททั้งหลายในสำนักครูที่ควรแก่การยกย่องแล้วพึงทำลายเสีย ข้อนั้นไม่

สมควรแก่เราเลย ดังนี้. เขาคิดอย่างนี้จนถึง ๓ ครั้ง แล้วตัดสินใจว่า เราจัก

สละชีวิต จักไม่สละสิกขาบท ดังนี้ จึงทิ้งมีดอันคมที่วางบนบ่า ทันทีนั้นแหละ

งูใหญ่ก็ปล่อยเขาได้เลื้อยไปแล้ว.

วิรัติ ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค พึงทราบว่าเป็นสมุจเฉทวิรัติ จำเดิม

แต่สมุจเฉทวิรัติเกิดขึ้นแล้ว แม้จิตของพระอริยบุคคลทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นว่า

เราจักฆ่าสัตว์ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ว่าด้วยกุศลกรรม ๕ ประเภท

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่าง

เหมือนอกุศลกรรมบถ คือ โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดย

เวทนา โดยมูล.

บรรดากุศลกรรม ๕ ประเภทนั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า

จริงอยู่ บรรดากรรมบถ. เหล่านั้น กรรมบถ ๗ โดยลำดับ (กายสุจริต ๓

วจีสุจริต ๔) ย่อมเป็นเจตนาและเป็นทั้งวิรัติ กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็น

ธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาเท่านั้น.

คำว่า โดยโกฏฐาส ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลำดับเป็นกรรมบถ

อย่างเดียวไม่เป็นมูล. กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย.

จริงอยู่ อนภิชฌา คือ อโลภะเพ่งถึงมูลแล้วก็เป็นกุศลมูล อัพยาบาท คือ

อโทสะเป็นกุศลมูล สัมมาทิฏฐิ คือ อโมหะเป็นกุศลมูล.

คำว่า โดยอารมณ์ ความว่า อารมณ์ทั้งหลายของปาณาติบาตเป็นต้น

นั่นแหละก็เป็นอารมณ์ของกุศลกรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ การงดเว้น (วิรัติ)

จากวัตถุที่พึงก้าวล่วงนั่นแหละ ชื่อว่า เวรมณี. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมี

นิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย ฉันใด ก็กรรมบถเหล่านี้มีชีวิตินทรีย์

เป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงทราบว่า ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลายมีปาณาติบาต

เป็นต้น ฉันนั้น.

คำว่า โดยเวทนา ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมดเป็นสุขเวทนา

หรืออุเบกขาเวทนา. จริงอยู่ เพ่งถึงกุศลแล้ว ชื่อว่า ทุกขเวทนาย่อมไม่มี.

คำว่า โดยมูล ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลำดับ ย่อมมี ๓ มูล คือ

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ

มี ๒ มูลของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ. และมี ๒ มูล ของ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

บุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยอนภิชฌา และญาณ มีมูลเดียวของบุคคล

ผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ แต่อโลภะไม่เป็นมูลของตนกับตน แม้

ในอัพยาบาทก็มีนัยนี้แหละ สัมมาทิฏฐิ มี ๒ มูล ด้วยอำนาจแห่งอโลภะและ

อโทสะ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ มี ๑๐ เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบชื่อการเทียบเคียงกรรมบถ ในที่นี้. จริงอยู่

อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งผัสสะ ๕ ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล

เท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งมโนสัมผัส ย่อมเป็นกรรมแม้

ทั้ง ๓ อย่าง. เพราะว่า อสังวรนั้นถึงการไหวในกายทวารแล้ว ย่อมเป็น

กายกรรมฝ่ายอกุศล ถึงความไหวในวจีทวาร ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ไม่ถึง

การไหวในทวารทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล. อสังวรอันเกิดขึ้นด้วย

สามารถทวารแห่งอสังวร ๕ เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้น

ด้วยทวารแห่งอสังวรที่กายไหว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวร

ที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรโดยให้วาจาไหว ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล

เท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรโดยใจไหวไป ย่อมเป็น

มโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น กายทุจริต ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล

เท่านั้น. วจีทุจริต ๔ อย่าง ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลนั่นแหละ มโนทุจริต

๓ อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น.

แม้สังวรก็เกิดด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล

เท่านั้น. ส่วนสังวรแม้นี้เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัส ก็เป็นกรรม

แม้ทั้ง ๓ ดุจอสังวร. สังวรแม้เกิดแล้วด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๕ ก็เป็น

มโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรไหวกาย

ก็เป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรให้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ไหววาจา ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวาร

แห่งสังวรทางใจ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน กายสุจริต ๓ อย่าง

ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. วจีสุจริต ๔ อย่าง ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่าย

กุศลเท่านั้น. มโนสุจริต ๓ อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน.

กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕

แต่ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัสเท่านั้น. วจีกรรมฝ่ายอกุศล

ก็เหมือนกัน แต่มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัมผัส ๖.

มโนกรรมนั้นถึงความไหวในกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็เป็นกายกรรมและ

วจีกรรมฝ่ายอกุศล. มโนกรรมนั้นไม่ถึงความไหวในกายทวารและวจีทวาร

ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล ย่อม

ไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ฉันใด กายกรรมฝ่ายอกุศลก็ย่อม

ไม่เกิดขึ้นแม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ฉันนั้น คือย่อมเกิดด้วยสามารถ

ทวารแห่งอสังวรอันยังกายให้ไหว และด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางวาจา

ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศล

ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่ง

อสังวรอันยังกายและวาจาให้ไหว ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร

ทางมโน. มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิด แม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘

นั้นแหละ แม้ในกายกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน

ต่างกันมีดังนี้.

กายกรรมและวจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

อสังวรทางมโน ฉันใด กายกรรมและวจีที่เป็นกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย

สามารถทวารแห่งสังวรทางมโนทวาร ฉันนั้น. แต่ว่า กายกรรมและวจีกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ฝ่ายกุศลเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหวรับ

สิกขาบททั้งหลาย แม้ในทวารแห่งมโนสังวร.

ด้วยประการดังกล่าวมาแล้ว กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ชื่อว่าย่อมเกิด

ขึ้นในมโนทวารนั้น ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ๓ อย่าง ไม่เกิดขึ้นด้วย

สามารถทวารแห่งวิญญาณ ๕. การเสวยอารมณ์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือ

อทุกขมสุขนี้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย. ก็โดยนัยนี้กุศล-

จิตที่เป็นกามาวจร ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ ย่อมไม่เกิดขึ้น

ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๘

ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

กุศลกรรมบถ ๑๐ เพราะฉะนั้น กุศลจิตนี้จึงเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งกรรม

๓ อย่าง หรือด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ หรือด้วยสามารถทวารแห่ง

สังวร ๘ หรือว่า ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐. เมื่อคำว่า กามาวจร-

กุศลจิตย่อมเกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ฯ ล ฯ หรือธรรมารมณ์ ดังนี้ตรัสแล้ว

กามาวจรกุศลจิตทั้งหมดก็เป็นอันตรัสไว้แล้วแล.

จบกถาว่าด้วยทวาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

พึงทราบการประกอบเนื้อความในพระบาลีนี้ว่า ย ย วา ปนารพฺภ

ดังต่อไปนี้ บรรดารูปารมณ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ปรารภรูปเป็น

อารมณ์ คือกระทำรูปให้เป็นอารมณ์ หรือปรารภเสียงเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือ

ปรารภธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นเช่นกับทรง

รับรองอารมณ์หนึ่งเท่านั้น ในบรรดาอารมณ์เหล่านี้ อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

ของจิตนี้. ก็จิตนี้ของบุคคลคนหนึ่ง ในสมัยหนึ่ง ปรารภรูปารมณ์เกิดขึ้น

หรือปรารภอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีเสียงเป็นต้นของบุคคลอื่นในสมัยอื่น

จึงเกิดขึ้นอีกทีเดียว. อนึ่ง เมื่อจิตนี้มีอารมณ์เกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีลำดับ

แม้นี้ว่า จิตดวงหนึ่งปรารภรูปารมณ์ก่อน ในภพหนึ่งเป็นไปแล้ว จึงปรารภ

สัททารมณ์ในภายหลัง ดังนี้. แม้ลำดับนี้ว่า ในบรรดาอารมณ์ที่มีรูปเป็นต้น

มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก่อนแล้ว มีสีเหลืองเป็นอารมณ์ในภายหลัง ดังนี้ ก็ไม่

กำหนดไว้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละมีอารมณ์ทุกอย่างนี้ และความไม่มีลำดับ

และแม้ในความไม่มีลำดับ ก็ยังไม่มีความกำหนดอารมณ์ มีสีเขียวและสีเหลือง

เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ย ย วา ปนารพฺภ ดังนี้ คำนี้ท่านอธิบายไว้ว่า

บรรดาอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้นเหล่านี้ มิใช่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

เพียงอารมณ์เดียว ที่แท้แล้วปรารภอารมณ์อะไรก็ได้เกิดขึ้น และจิตนั้นแม้

เมื่อเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแม้โดยลำดับอย่างนี้ว่า มีรูปเป็นอารมณ์ก่อน

ภายหลังจึงมีเสียงเป็นอารมณ์ แต่ว่า ปรารภอารมณ์ใด ๆ ก็ได้ เกิดขึ้น.

อธิบายว่า กระทำอารมณ์อย่างใดก็ตามในบรรดารูปารมณ์เป็นต้น เกิดขึ้นโดย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

ปฏิโลมหรือโดยอนุโลม หรือโดยนัยมีอารมณ์อย่างหนึ่งคั่นหรือสองอย่างคั่น

เป็นต้น. และแม้รูปารมณ์ทั้งหลายก็ไม่เกิดโดยกำหนดแม้นี้ว่า จิตมีสีเขียว

เป็นอารมณ์ก่อน ภายหลังจึงมีสีเหลืองเป็นอารมณ์ แต่ปรารภอารมณ์ใด ๆ

ก็ได้ อธิบายว่า จิตปรารภรูปารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดารูปารมณ์

ทั้งหลายมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้นเกิดขึ้น. แม้ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็นัยนี้

แหละ นี้เป็นการประกอบความอธิบายไว้อย่างหนึ่งก่อน ยังมีข้อความที่ควร

แนะนำอื่นอีก ดังต่อไปนี้.

รูปเป็นอารมณ์ของจิตนี้ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึงชื่อว่า มีรูป

เป็นอารมณ์ ฯลฯ ธรรมเป็นอารมณ์ของจิตนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น จิตนี้จึง

ชื่อว่า มีธรรมเป็นอารมณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า จิตมีรูปารมณ์

ฯลฯ หรือมีธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสอีกว่า ก็หรือว่า

จิตปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ดังนี้ เนื้อความแห่งพระดำรัสที่ตรัสว่า จิต

ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นดังนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในรูปเป็นต้น

เหล่านั้นเถิด.

ส่วนในมหาอรรถกถา มีข้อความกล่าวไว้เพียงเท่านี้ว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเยวาปนกนัยไว้ ไม่มีอะไรใหม่ คือเป็นอารมณ์ที่ถือเอาแล้ว

ในหลังนั่นแหละ แล้วตรัสพระดำรัสนี้ เพื่อกล่าวปรารภรูป ฯลฯ หรือ

ปรารภธรรม หรือปรารภอารมณ์นี้หรืออารมณ์นั้น ดังนี้.

อธิบายคำว่าธรรมมีผัสสะเป็นต้น

คำว่า ตสฺมึ สมเย นี้เป็นคำปฏินิทเทส (คือการวกกลับมาอธิบายอีก)

โดยกำหนดสมัยที่ทรงยกขึ้นแสดงโดยไม่แน่นอน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ทราบเนื้อความแห่งคำว่า ตสฺมึ สมเย นั้นว่า กามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้น

ในสมัยใด ผัสสะ ฯ ล ฯ อวิกเขปะก็เกิดขึ้นในสมัยนั้นนั่นแหละ ดังนี้.

ในเนื้อความเหล่านั้น คำที่เป็นมติของอาจารย์ทั้งหลายนอกจากอรรถ-

กถากล่าวไว้ดังนี้ว่า พึงทำการประกอบการอธิบายธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น

เหมือนจิตนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ โดยนัยมีอาทิว่า ผัสสะย่อม

เกิดขึ้น ดังนี้ ถามว่า ผัสสะย่อมเกิดเป็นอะไร ตอบว่า ย่อมเกิดเป็นกามาวจร

เป็นกุศล เป็นโสมนัสสสหคตะ เพราะว่า ในเวทนาย่อมไม่ได้ในคำว่า

โสมนัสสสหคตะ และในปัญญินทรีย์ก็ย่อมไม่ได้ในคำว่า ญาณสัมปยุต

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ด้วยสามารถแห่งบทที่คิดได้ดังนี้ แต่คำที่อาจารย์

กล่าวเเล้วนี้ไม่ควรเห็นเป็นสาระ.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในคำว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้นนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสผัสสะไว้ก่อน.

ตอบว่า เพราะผัสสะยังจิตให้ตกไปก่อน*

จริงอยู่ ผัสสะเป็นธรรมยังจิตให้ตกไปก่อนในอารมณ์ ถูกต้องอารมณ์

เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัส ผัสสะก่อน ก็จิตถูกต้องอารมณ์ด้วยผัสสะ

เสวยอารมณ์ด้วยเวทนา จำอารมณ์ได้ด้วยสัญญา ย่อมคิดด้วยเจตนา ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้อันผัสสะ

ถูกต้องแล้วย่อมเสวยอารมณ์ ผู้อันผัสสะถูกต้องแล้วย่อมจำอารมณ์ ผู้อัน

ผัสสะถูกต้องแล้วย่อมคิดอารมณ์ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะนี้เป็นปัจจัยที่มีกำลังของสัมปยุตธรรมที่เกิด

พร้อมกัน เหมือนปราสาท ชื่อว่า เสาเป็นปัจจัยสำคัญของทัพสัมภาระที่เหลือ

*บาลีบางแห่งว่า จิตฺตสฺส ปมาภินิปาตตฺตา แปลว่า เพราะเป็นการประชุมร่วมกันแห่งจิต

เป็นครั้งแรก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

คือ ขื่อ ไม้ระแนง เชิงฝา ยอด กลอน จั่ว ดั้ง แป เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยเสา

ตั้งอยู่บนเสา ฉะนั้น ผัสสะนี้เป็นเช่นกับเสา สัมปยุตตธรรมที่เกิดพร้อมกัน

เป็นเช่นกับทัพสัมภาระที่เหลือ แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสผัสสะก่อน แต่

ข้อความที่กล่าวแล้วนี้มิใช่เป็นเหตุ (การณะ) เพราะว่า ธรรมข้อนี้ไม่ได้เพื่อ

จะกล่าวว่า ผัสสะนี้เกิดขึ้นก่อนธรรมที่เกิดขึ้นในจิตดวงหนึ่ง แต่สัมปยุตตธรรม

นี้เกิดภายหลัง ดังนี้ ทั้งเหตุ (การณะ) ของผัสสะ แม้ในความเป็นแห่งปัจจัย

ที่มีกำลังก็ไม่ปรากฏ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสะไว้ก่อน ด้วยวาระแห่ง

เทศนาเท่านั่น. ความจริงแม้จะนำมากล่าวว่า เวทนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด

สัญญาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด เจตนาย่อมเกิด ผัสสะย่อมเกิด จิตย่อมเกิด

ดังนี้ก็ควร. ก็ผัสสะนั่นเอง พึงทราบว่า ตรัสไว้ก่อนโดยวาระแห่งเทศนา ดังนี้.

อนึ่ง ในผัสสะนี้ ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือนอกนี้ ก็พึงทราบฉันนั้น ชื่อว่า

ลำดับแห่งธรรมที่เกิดและเกิดหลัง บัณฑิตไม่พึงแสวงหา แต่พึงแสวงหา

ธรรมทั้งหลาย โดยความหมายแห่งคำ (วจนัตถะ) ลักษณะ และรส

เป็นต้นเท่านั้น คือ

ความหมายของคำว่าผัสสะ

ผุสตีติ ผสฺโส ธรรมชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์

ผัสสะนั้นมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.

ผุสนลกฺขโณ มีกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ

สฆฏนรโส มีการประสานเป็นกิจ

สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺาโน มีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน

อาปาถคตวิสยปทฏฺาโน มีอารมณ์มาสู่คลองเป็นปทัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

จริงอยู่ ผัสสะนี้ แม้มิใช่รูปธรรมแต่ก็เป็นไปโดยอาการการถูกต้อง

อารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ ผัสสะนี้

แม้ไม่ติดกับอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ก็ประสานจิตกับอารมณ์เหมือนรูปกับจักษุ

และเสียงกับโสต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการประสานเป็นกิจรส อีกอย่างหนึ่ง

พึงทราบว่า มีการประสานเป็นสัมปัตติรส เพราะการเกิดประสานวัตถุกับ

อารมณ์ สมดังคำอรรถกถากล่าวไว้ว่า ผัสสะที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่ามีการ

กระทบอารมณ์เป็นลักษณะไม่มีก็หามิได้ แต่ผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร

เท่านั้น มีการประสานเป็นรส จริงอยู่ คำว่า มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ

ก็ดี มีการประสานเป็นรสก็ดี เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางปัญจทวาร คำว่า

มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะเป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวาร แต่

คำว่า มีการประสานเป็นรส หาได้เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวารไม่

ครั้นท่านกล่าวคำนี้แล้ว ได้นำสูตรนี้มาว่า ดูก่อนมหาบพิตรแพะสองตัวชนกัน

พึงเห็นจักษุเหมือนแพะตัวหนึ่ง พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่สอง พึงเห็นผัสสะ

เหมือนการชนกันของแพะทั้งสองนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ

และมีการประสานเป็นรสด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร เหมือน

ฝ่ามือทั้งสองประสานกัน คือพึงเห็นจักษุเหมือนฝ่ามือข้างหนึ่ง พึงเห็นรูป

เหมือนฝ่ามือข้างที่สอง พึงเห็นผัสสะเหมือนการประสานกันของฝ่ามือทั้งสอง

นั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ. แต่มีการประสานเป็นรส ด้วย

ประการฉะนี้ ความพิสดารมีเพียงเท่านี้.

อีกอย่างหนึ่ง ตรัสธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น โดยชื่อว่า จักขุเป็นต้น

ในประโยคว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา เป็นต้น (เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ) ฉันใด

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า จักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น ตรัสไว้โดยชื่อจักขุ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

เป็นต้นฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในคำมีอาทิว่า

เอว จกฺขุ ทฏฺพฺพ ดังนี้ โดยนัยนี้ว่า พึงเห็นจักขุวิญญาณ ฉันนั้น เมื่อ

เป็นเช่นนี้ เพราะการประสานจิตกับอารมณ์ในสูตรแม้นี้ ผัสสะจึงสำเร็จเป็น

การประสานเป็นรสด้วยกิจรสเป็นอรรถ.

ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีการประชุมพร้อมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะแสดง

ให้ทราบด้วยอำนาจแห่งการกระทำของตน กล่าวคือการประชุมพร้อมกันของ

ธรรม ๓ (อารมณ์ วัตถุ วิญญาณ). จริงอยู่ ผัสสะนี้ประกาศให้รู้ด้วยอำนาจ

แห่งการกระทำในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีการประชุม

สภาวธรรม ๓ อย่าง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทแห่งพระสูตรนี้ว่า ชื่อว่า

ผัสสะ เพราะมีการประชุมแห่งสภาวธรรม ๓ ดังนี้ หาใช่ผัสสะเพียงการ

ประชุมเท่านั้นไม่ แต่ผัสสะย่อมปรากฏโดยอาการนั้นนั่นแหละ เพราะการ

ประกาศแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า มีการประชุมพร้อมกันเป็นอาการ

ปรากฏ ดังนี้.

อนึ่ง ผัสสะนั้น ชื่อว่ามีเวทนาเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะปัจจุปัฏฐาน

คือมีผลเป็นอรรถ จริงอยู่ ผัสสะนี้ ย่อมยังเวทนาให้ปรากฏ คือ ย่อมให้เกิดขึ้น

อนึ่ง ผัสสะนี้ เมื่อจะให้เวทนาเกิดขึ้น แม้จะมีปัจจัยอื่นกล่าวคือวัตถุและ

อารมณ์ แต่ก็ทำให้เวทนาเกิดขึ้นเฉพาะในจิต ซึ่งเป็นที่อาศัยของตนเท่านั้น

เพราะตนอาศัยจิต พึงทราบว่า ไม่ทำให้เกิดเวทนาในวัตถุ หรืออารมณ์แม้

จะเป็นปัจจัยของตน เหมือนกับไออุ่นที่อาศัยอยู่ในธาตุคือครั่ง ย่อมทำให้เกิด

ความอ่อนในครั่งอันเป็นที่อาศัยของตน แม้เพราะความร้อนภายนอกเป็นปัจจัย

แต่ไม่ทำให้เกิดความอ่อนในความร้อน กล่าวคือถ่านที่ปราศจากเปลวไฟใน

ภายนอก แม้จะเป็นปัจจัยของตน ผัสสะนี้ท่านเรียกว่า มีอารมณ์ที่มาสู่คลอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

เป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น) เพราะความเกิดขึ้นแห่งผสัสะไม่มีการ

ขัดขวางในอารมณ์ ที่ประมวลมาแห่งธรรมเหล่านั้น และอินทรีย์ที่ปรุงแต่ง

ดีแล้ว ดังนี้.

ความหมายของคำว่าเวทนา

เวทยตีติ เวทนา ธรรมที่ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า รู้สึก

อารมณ์ เวทนานั้นมีลักขณาทิจตุกะดังนี้

เวทยิตลกฺขณา มีการรู้สึกอารมณ์เป็นลักษณะ

อนุภวนรสา มีการเสวยรสอารมณ์เป็นกิจ

อิฏฺาการสมโภครสา หรือมีความเสวยอารมณ์ที่ชอบเป็นกิจ

เจตสิก อสฺสาทปจฺจุปฏฺานา มีความพอใจทางเป็นปัจจุปัฏฐาน

ปสฺสทฺธิปทฏฺานา มีปัสสัทธิเป็นปทัฏฐาน.

จริงอยู่ เวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า ไม่มีการรู้สึกอารมณ์

เป็นลักษณะก็หาไม่ แต่ท่านกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส ย่อมได้

เฉพาะสุขเวทนาเท่านั้น แล้วกลับปฏิเสธวาทะนั้นอีก แล้วแสดงเนื้อความนี้ว่า

สุขเวทนาก็ตาม ทุกขเวทนาก็ตาม อุเบกขาเวทนาก็ตาม ทั้งหมด มีการเสวย

อารมณ์เป็นรส จริงอยู่ มุ่งถึงฐานะการเสวยอารมณ์เป็นรสแล้วสัมปยุตตธรรม

ที่เหลือย่อมเสวยอารมณ์เพียงบางส่วน คือผัสสะก็เพียงกระทบอารมณ์เท่านั้น

สัญญามีเพียงจำอารมณ์เท่านั้น เจตนามีเพียงความตั้งใจเท่านั้น วิญญาณมีการ

รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่เวทนาเท่านั้นย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์โดยส่วนเดียว

เพราะความเป็นเจ้าของโดยความเป็นใหญ่ เป็นผู้สมควร จริงอยู่ เวทนา

เปรียบเหมือนพระราชา ธรรมที่เหลือเหมือนพ่อครัว พ่อครัวยังโภชนะมีรส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

อันเลิศต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้วใส่สมุกประทับตรา ยกไปวางไว้ในสำนักพระ-

ราชา ทำลายตราแล้วเปิดสมุก แล้วพนักงานก็ถือเอาส่วนข้างบนจากกับแกง

ทั้งหลายใส่ภาชนะเพื่อลองชิมดูว่ามีโทษหรือไม่มีโทษ จากนั้นก็น้อมโภชนะมี

รสต่าง ๆ ไปถวายพระราชา พระราชาเท่านั้นทรงเป็นเจ้าของเสวยได้ตาม

ปรารถนา เพราะทรงเป็นใหญ่และทรงมีอำนาจ ธรรมนอกนั้นเสวยรสอารมณ์

บางส่วน เหมือนพ่อครัวเพียงแต่ชิม และทดลองชิมพระกระยาหารเพียงบางส่วน

เท่านั้น ฉันใด แม้ธรรมที่เหลือก็ฉันนั้น ย่อมเสวยรสอารมณ์เพียงบางส่วน

เท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงเป็นเจ้าของ เพราะพระองค์ทรงเป็นใหญ่

เป็นผู้สมควร ย่อมเสวยตามความพอพระทัย ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น

ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ โดยความเป็นเจ้าของ เพราะความเป็นใหญ่ เป็นผู้

สมควร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นรส.

ในการกำหนดเนื้อความที่สอง เวทนาที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ ท่าน

กล่าวว่า เวทนา (สุขเวทนา) ว่ามีการเสวยอาการที่น่าปรารถนาเป็นรส

เพราะอรรถว่า ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์ มีอาการน่าปรารถนาตามที่ประสบ

ก็เวทนานี้ เมื่อว่าโดยความชอบใจ ท่านกล่าวว่า มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน

หมายถึงการปรากฏโดยสภาวะของตน ก็เพราะบุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวย

ความสุข ฉะนั้น พึงทราบว่า เวทนานี้มีความสงบเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.

ความหมายของคำว่าสัญญา

นีลาทิเภท อารมฺมณ สญฺชานาตีติ สญฺา ธรรมที่ชื่อว่า

สัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมจำอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น สัญญานั้นมีลักขณา-

ทิจตุกะดังนี้

ที่อื่นใช้ ผสฺสปทฏฺานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

สญฺชานนลกฺขณา สัญญานั้นมีการจำเป็นลักษณะ ปจฺจาภิญฺาณ-

รสา มีการทำเครื่องหมายเป็นรส.

จริงอยู่ สัญญาเป็นไปในภูมิ ๔ ไม่ชื่อว่ามีความจำได้หามีไม่ สัญญา

ทั้งหมดล้วนมีความจำเป็นลักษณะทั้งนั้น. ก็ในที่นี้ สัญญาใดย่อมจำได้โดย

เครื่องหมาย สัญญานั้น ชื่อว่า มีการทำเครื่องหมายเป็นรส. พึงทราบความ

เป็นไปแห่งสัญญานั้นในเครื่องหมายนั้นอีก และในเวลาที่บุรุษกำหนดเครื่อง

หมายด้วยไฝดำเป็นต้น แล้วจำเครื่องหมายของบุคคลนั้นอีกว่า บุคคลนี้ ชื่อโน้น

ด้วยเครื่องหมายนั้น และในเวลาที่ขุนคลังผู้รักษาเครื่องประดับของพระราชา

ผูกชื่อหนังสือไว้ที่เครื่องประดับนั้น เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าจงนำเครื่อง

ประดับชื่อโน้นมา ขุนคลังก็จุดประทีปแล้วเข้าไปในห้องด้วยประทีปนั้น อ่าน

หนังสือแล้วก็นำเครื่องประดับนั้น ๆ นั่นแหละมาได้.

อีกนัยหนึ่ง ก็เมื่อว่าโดยการรวบรวมธรรมทั้งหมด สัญญามีการจำได้

เป็นลักษณะ มีการทำนิมิตโดยปัจจัยให้จำได้อีกเป็นรส เหมือนช่างถากเป็นต้น

ทำเครื่องหมายที่ไม้เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งนิมิตตามที่ตนทำไว้ ชื่อว่า การ

กระทำความโน้มน้าวไว้เป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนคนตาบอดแสดงช้าง

หรือว่ามีการตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่นานเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะไม่หยั่งลงในอารมณ์

เหมือนสายฟ้า หรือความที่มีอารมณ์ตามที่ปรากฏเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับ

สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ลูกเนื้อทั้งหลายในหุ่นหญ้าว่าเป็นคน. ก็ในที่นี้ สัญญาใด

เป็นญาณสัมปยุต สัญญานั้นก็เป็นไปตามญาณนั่นแหละ ธรรมที่เหลือทั้งหลาย

บัณฑิตพึงทราบเหมือนปฐวีธาตุเป็นต้น ในสสัมภารปฐวีธาตุเป็นต้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

ความหมายของคำว่าเจตนา

เจตยตีติ เจตนา ธรรมที่ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า ตั้งใจ

อธิบายว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรมกับตนให้เป็นไปในอารมณ์ เจตนานั้นมี

ลักขณาทิจตุกะ ดังนี้.

เจตยิกลกฺขณา มีการตั้งใจเป็นลักษณะ คือมีความจงใจเป็น

ลักษณะ อายูหนรสา มีการประมวลมาเป็นรส. จริงอยู่ เจตนาที่เป็น

ไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า ไม่มีความจงใจเป็นลักษณะก็หาไม่. เจตนาทั้งหมด

มีความตั้งใจเป็นลักษณะทั้งนั้น ก็เจตนาที่มีการประมวลมาเป็นรสย่อมเป็นทั้ง

กุศล และอกุศลทั้งนั้น เพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม และ

อกุศลกรรมแล้ว สัมปยุตธรรมที่เหลือก็มีกิจเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ว่า

เจตนามีอุตสาหะยิ่งนัก มีความพยายามยิ่งนัก คือมีอุตสาหะสองเท่า มีความ

พยายามสองเท่า ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ในปางก่อน จึงกล่าวว่า ก็แล เจตนา

นี้ตั้งอยู่ในสภาพความเป็นเจ้าของแท้ เจ้าของนา เรียกว่า เจ้าของแท้ เหมือน

อย่างว่า บุรุษเจ้าของนาชวนบุรุษรวมแรงกัน ๕๕ คน หยั่งลงนาพร้อมกัน

โดยบอกว่า เราจักเกี่ยวข้าว ดังนี้ เจ้าของนามีความอุตสาหะยิ่ง มีความพยายาม

ยิ่ง คือมีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า ย่อมบอกกล่าวถึงเขต

มีคำว่า พวกท่านจงเกี่ยวติดต่อกันไป ดังนี้ แล้วจัดแจงสุราอาหารและของหอม

เป็นต้น นำไปให้ชนเหล่านั้น ย่อมชี้ทางให้เท่า ๆ กัน ฉันใด ข้ออุปไมยนี้

บัณฑิตพึงทราบฉันนั้นเถิด จริงอยู่ เจตนาเหมือนบุรุษเจ้าของนา ธรรม

ทั้งหลายเป็นกุศล ๕๕ ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถเป็นองค์ของจิต เหมือนบุรุษ

ผู้ร่วมแรงกัน ๕๕ คน เพราะเพ่งถึงฐานะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม

และอกุศลกรรม เจตนาก็มีความอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

เหมือนเวลาที่บุรุษเจ้าของนาทำการอุตสาหะสองเท่า มีความพยายามสองเท่า

บัณฑิตพึงทราบความที่เจตนานั้นมีความประมวลมาเป็นรส ด้วยประการฉะนี้.

ก็เจตนานั้น มีการจัดแจงเป็นปทัฏฐาน (สวิทหนปจฺจุปฏฺานา)

จริงอยู่ เจตนานี้เมื่อจัดแจงย่อมปรากฏเหมือนศิษย์ผู้ใหญ่ และนายช่างใหญ่

เป็นต้นผู้สามารถทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า ศิษย์

ผู้ใหญ่ เห็นพระอุปัชฌาย์มาแต่ไกล เมื่อตนเองสาธยายอยู่ ก็ยังเตือนศิษย์

ผู้น้อยนอกนี้ ให้สาธยายตามอัชฌาศัยของตน ๆ เมื่อศิษย์ผู้ใหญ่นั้นเริ่มสาธยาย

ศิษย์ผู้น้อยแม้เหล่านั้น ก็สาธยาย เพราะคล้อยตามศิษย์ผู้ใหญ่นั้น ฉันใด และ

เปรียบเหมือนนายช่างใหญ่ เมื่อตนเองถากก็ยังช่างถากแม้นอกนี้ให้เป็นไปใน

กรรมคือการถากของตน ๆ เพราะว่า เมื่อนายช่างใหญ่นั้นเริ่มถาก ช่างถาก

เหล่านั้นก็ย่อมถากตามนายช่างใหญ่นั้น ฉันใด และเปรียบเหมือนแม่ทัพ

เมื่อตนเองรบ ก็เตือนนักรบแม้นอกนี้ให้ทำการรบ เพราะว่า เมื่อแม่ทัพเริ่ม

ทำการรบ นักรบแม้เหล่านั้นก็ทำการรบตามแม่ทัพนั้น ฉันใด แม้เจตนานี้

ก็ฉันนั้น แม้เป็นไปในอารมณ์ด้วยกิจของตนอยู่ ก็ยังสัมปยุตตธรรมแม้อื่น ๆ

ให้เป็นไปในการกระทำของตน ๆ เพราะว่า เมื่อเจตนานั้น เริ่มกิจของตน

แม้ธรรมที่สัมปยุตกับเจตนานนั้นก็เริ่ม เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนา

นั้นทำกิจของตนและของผู้อื่นให้สำเร็จ เหมือนศิษย์ผู้ใหญ่และนายช่างใหญ่

เป็นต้น. ก็เจตนานี้ พึงทราบว่า ปรากฏเป็นไปโดยภาวะที่ให้สัมปยุตธรรม

ให้อุตสาหะในการระลึกถึงการงานที่รีบด่วนเป็นต้น ดังนี้.

ความหมายของคำว่าจิต

ความหมายของคำแห่งจิต ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อารมฺมณ

จินฺเตตีติ จิตฺต (ธรรมที่ชื่อว่าจิต เพราะอรรถว่า คิดซึ่งอารมณ์) นั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (วิชานนลกฺ-

ขณ) มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส (ปุพฺพงฺคมรส) มีการเกี่ยวข้องกันเป็น

ปัจจุปัฏฐาน (สนฺธานปจฺจุปฏฺาน) มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน (นามรูป-

ปทฏฺาน) จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์

เป็นลักษณะก็หาไม่ จิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น.

ก็เพ่งถึงทวารแล้ว จิตก็เป็นหัวหน้า คือมีปกติเที่ยวไปก่อนในที่เป็นที่

กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอารมณ์ จริงอยู่ บุคคลย่อมรู้แจ้งรูปารมณ์อันเห็นด้วย

จักษุ ด้วยจิตนั่นแหละ ฯลฯ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันรู้แล้วด้วยใจ ด้วยจิต

นั่นแหละ เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้รักษาพระนครนั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ใน

ท่ามกลางพระนครย่อมใคร่ครวญ ย่อมกำหนดชนผู้มาแล้ว ๆ ว่า คนนี้เป็น

เจ้าถิ่น คนนี้เป็นผู้จรมา ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยฉันนั้น. ข้อนี้เหมือน

กับคำที่พระมหาเถระนามว่านาคเสนกล่าวไว้ว่า ธรรมดาบุคคลผู้รักษาพระนคร

นั่งอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ท่ามกลางพระนครพึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันออก

พึงเห็นบุคคลผู้มาจากทิศตะวันตก จากทิศทักษิณ จากทิศอุดร ฉันใด ข้าแต่

มหาบพิตร ฉันนั้นนั่นแหละ บุคคลย่อมเห็นรูปใดด้วยจักษุ ย่อมรู้แจ้งรูปนั้น

ด้วยวิญญาณ ย่อมฟังเสียงใดด้วยโสต ย่อมสูดกลิ่นด้วยฆานะ ย่อมลิ้มรสด้วย

ชิวหา ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ย่อมรู้แจ้งธรรมด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง

สิ่งนั้น ๆ ด้วยวิญญาณ เพราะเพ่งถึงทวารแล้ว จิตเท่านั้นเป็นหัวหน้า เป็น

ธรรมชาติเที่ยวไปข้างหน้า ในฐานะที่กระทำอารมณ์ให้แจ่มแจ้งอย่างนี้ ฉะนั้น

จึงกล่าวว่า มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส ดังนี้.

จิตนี้นั้น ดวงหลัง ๆ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมปรากฏติดต่อกันทีเดียว เพราะ

ทำดวงต้น ๆ ให้สืบต่อกันนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีการเกี่ยวข้องกัน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

เป็นปัจจุปัฏฐาน แต่ว่า ในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕) จิตนั้น มีนามรูป

เป็นปทัฏฐาน ในจตุโวการภพ มีนามเท่านั้นเป็นปทัฏฐานโดยแน่นอน

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตมีนามและรูปเป็นปทัฏฐาน ดังนี้.

ถามว่า ก็จิตนี้ เป็นจิตดวงเดียวกันกับจิตที่แสดงมาข้างต้นหรือเป็น

ดวงอื่น ตอบว่า เป็นดวงเดียวกันนั่นแหละ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะ

เหตุไร จึงกล่าวอีกเล่า. ตอบว่า คำนี้อรรถกถาและอาจารย์ทั้งหลายยังมิได้

วิจารในคำแห่งจิตนี้. ก็ในคำแห่งจิตนี้ มีการประกอบดังนี้ เหมือนอย่างว่า

พระอาทิตย์เป็นต้นที่บัญญัติ เพราะอาศัยรูปเป็นต้น ว่าโดยความหมายก็มิใช่

สิ่งอื่นที่นอกไปจากรูปเป็นต้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ แม้จะกล่าวว่า สมัยใด

พระอาทิตย์ย่อมอุทัย สมัยนั้น รูปคือแสงแห่งพระอาทิตย์นั้น ย่อมปรากฏ

ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า พระอาทิตย์อื่น นอกจากรูปเป็นต้นย่อมไม่มี ฉันใด จิตนี้

ย่อมมีฉันนั้น หามิได้ พระองค์ทรงบัญญัติจิต เพราะอาศัยธรรมทั้งหลาย

มีผัสสะเป็นต้น แต่เมื่อว่าโดยความหมาย จิตนั้นก็เป็นอีกดวงหนึ่ง นอกจาก

ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้นโดยแท้ เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเนื้อ

ความว่า สมัยใด จิตย่อมเกิดขึ้น สมัยนั้น จิตดวงอื่นอีกนอกจากธรรมมี

ผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ จิตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัส

ไว้อีก.

เหมือนอย่างว่า เมื่อพระองค์ทรงกำหนดสมัยด้วยบุคคลผู้เจริญมรรค

ในพระบาลีมีคำเป็นต้นว่า สมัยใด บุคคลเจริญมรรค ฯลฯ มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

เพื่อความเกิดขึ้นในรูปภพ สมัยนั้น ผัสสะย่อมมี ดังนี้ ผู้ใด ย่อมเจริญมรรค

ในสมัย ว่าโดยอรรถ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นหามิได้ เพราะเหตุนั้น

นั่นแหละ ในข้อที่กล่าวแล้วนั้น จึงตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ฉันใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

แต่มิได้ตรัสว่า บุคคลใดย่อมเจริญมรรค ผู้นั้นย่อมมีฉันนั้น แต่เมื่อทรง

กำหนดสมัยด้วยจิต ในพระบาลีมีคำเป็นต้นว่า สมัยใด กามาวจรกุศลจิต

เกิดขึ้น ดังนี้ จิตทรงกำหนดไว้ด้วยสมัย ว่าโดยอรรถแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้น

เหมือนอย่างนั้น หามิได้ แต่ตรัสว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี ในสมัยนั้น

ฉันใด แม้จิตนี้ก็ย่อมมี ฉันนั้น ดังนี้ เพื่อแสดงเนื้อความแม้นี้ พึงทราบว่า

ทรงตรัสจิตนี้อีก ก็ในข้อนี้ มีข้อสันนิษฐาน ดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจิต เพื่อประมวลมาไว้ในอุทเทสวาร

และเพื่อทรงจำแนกในนิทเทสวาร จริงอยู่ พระองค์ทรงกำหนดสมัยไว้ด้วย

จิตศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์ต้นอย่างเดียว เพื่อทรงแสดงธรรมในสมัยซึ่งมีการกำหนด

ด้วยจิต จึงเริ่มตรัสว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น แม้จิตนั้นก็ย่อมมีในสมัยนั้น

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพื่อประมวลมาซึ่งจิตแม้นั้น จึงตรัสคำว่าจิตนี้อีก.

อนึ่ง เมื่อไม่ตรัสคำว่าจิตนี้ในที่นี้ ก็ไม่อาจเพื่อจำแนกในนิทเทสวารได้ว่า

จิตในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ด้วยเหตุนั้น การจำแนกจิตนั้นนั่นเองก็จะหายไป

เพราะฉะนั้นนั่นแหละ พึงทราบว่า เพื่อทรงจำแนกจิตนั้นในนิทเทสวาร จึง

ตรัสจิตนี้อีก.

อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาท่านวิจารว่า คำว่า จิตเกิดขึ้นในคำว่า

อุปฺปนฺน โหติ นี้ ว่าเป็นเพียงหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น แต่จิตนี้มิได้เกิดขึ้น

ได้เพียงดวงเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้ในคำว่า อุปฺปนฺน นี้ ก็มิได้ถือ

เอาจิตอย่างเดียว แต่ถือเอาจิตกับกุศลธรรมเกิน ๕๐ ทีเดียว โดยประการฉะนี้

จึงเริ่มตรัสคำว่า ผสฺโส โหติ เป็นต้น เพื่อแสดงจิตนั้น ในที่นั้นโดยสังเขป

แล้วแสดงโดยประเภทโดยถือเอาจิตและเจตสิกธรรมทั้งปวงนั้น และโดยย่อ

ในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า แม้จิตก็พึงตรัสไว้เหมือนธรรมมีผัสสะ

เป็นต้น ฉะนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ความหมายของคำว่าวิตก

วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺน วา วิตกฺโก ธรรมที่ชื่อว่า วิตก

เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก.

วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส

อภินิโรปนลกฺขโณ) จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์. เหมือนอย่างว่า

คนบางคนอาศัยญาติ หรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้

ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าว มีการ

ยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.

อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ

ขอถวายพระพรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียง

กลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคล

ตีกลอง พึงเข้าพระทัยวิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.

วิตกนั้นมีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อย ๆ เป็นรส (อาหนน-

ปริยาหนนรโส) จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำ

จิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อย ๆ วิตกนั้นมีการนำจิตมาในอารมณ์เป็น

ปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺาโน) และมีนามขันธ์

๓ ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตย-

ปทฏฺาโน)*.

อารมฺมเณ เตน จิตต วีจรตีติ วิจาโร ธรรมที่ชื่อว่า วิจาร เพราะ

เป็นเหตุให้จิตเที่ยวไปในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การเที่ยวไป คือการสัญจร

ไปตามอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร. วิจารนั้นมีการเคล้าคลึงในอารมณ์เป็นลักษณะ

บาลีว่า เสสขนฺธตฺตยปทฏฺาโน ไม่มีในที่นี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

(อารมฺมณานุมชชนลกฺขโณ) มีการประกอบสหชาตธรรมไว้ในอารมณ์นั้น

เป็นรส (ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส) มีการผูกพันจิตไว้ในอารมณ์เป็น-

ปัจจุปัฏฐาน (จิตฺตอนุปปพนฺธปจฺจุปฏฺาโน).

อนึ่ง เมื่อความไม่แยกจากกันแห่งวิตกและวิจารในจิตตุปบาทบางแห่ง

แม้มีอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ การทำจิตตกไปในอารมณ์ครั้งแรก ชื่อว่า วิตก

เพราะอรรถว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมถึงก่อน เพราะอรรถว่า

ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เหมือนการเคาะระฆัง. การผูกพันในอารมณ์ ชื่อว่า วิจาร

เพราะอรรถว่า เป็นธรรมสุขุม เพราะอรรถว่า เคล้าคลึงในอารมณ์ เหมือน

เสียงครางของระฆัง ฉะนั้น. ก็ในธรรม ๒ อย่างนั้น วิตกมีการแผ่ไป เป็นการ

แผ่ไปโดยรอบในกาลเกิดขึ้นแห่งจิต จับอารมณ์ครั้งแรกเหมือนการขยับปีกของ

นกตัวที่ต้องการบินขึ้นในอากาศ และเหมือนภมรมีจิตผูกพันในกลิ่นมุ่งหน้า

บินลงสู่ดอกปทุม ฉะนั้น. วิจารมีความเป็นไปสงบ ไม่มีการแผ่ไปของจิต

เกินไป เหมือนการกางปีกของนกตัวที่ต้องการบินไปในอากาศ และเหมือน

ภมรตัวที่บินลงที่ดอกปทุมแล้วบินเคล้าเคลียเบื้องบน ฉะนั้น.

แต่ในอรรถกถาทุกนิบาต ท่านกล่าวไว้ว่า วิตกเป็นไปโดยการยกจิต

ขึ้นในอารมณ์ เหมือนนกใหญ่บินไปในอากาศ กระพือปีกทั้งสองให้จับลม

แล้วให้ปีกทั้งสองติดลมบินไป เพราะว่าวิตกนั้นมีอารมณ์เป็นหนึ่งแน่วแน่.

ส่วนวิจารเป็นไปโดยการเคล้าอารมณ์ เหมือนนกใหญ่ขยับปีกเพื่อให้จับลมเป็น

ไป เพราะว่า วิจารนั้น มีการเคล้าในอารมณ์ ดังนี้. ถ้อยคำในอรรถกถา

ทุกนิบาตนั้น เหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จิตผูกพันในอารมณ์เป็นไป. แต่ว่าการ

แปลกกันแห่งวิตกและวิจารนั้น ย่อมปรากฏชัดในฌานที่หนึ่งและที่สอง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะสำริดที่ติดสนิมไว้

ให้มั่น แล้วเอามืออีกข้างหนึ่งขัดสีด้วยจุณน้ำมัน หรือมูลสัตว์ที่เหมาะสม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

วิตกเหมือนมือที่จับไว้มั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดสี อนึ่ง เมื่อช่างหม้อใช้ไม้ตี

หมุนจักรทำภาชนะ วิตกเหมือนกับมือที่กดไว้ วิจารเหมือนกับมือที่หมุนไป

ทางโน้นและทางนี้. อนึ่ง เมื่อบุคคลทำวงกลม วิตกคือการจดจ่ออยู่ซึ่งอารมณ์

เหมือนเหล็กแหลมที่ปักยันไว้ท่ามกลาง วิจารเคล้าอารมณ์ เหมือนเหล็กแหลม

ที่หมุนไปรอบ ๆ ข้างนอก ฉะนั้น.

ความหมายของคำว่าปีติ

ปีนยตีติ ปีติ ธรรมที่ชื่อว่า ปีติ เพราะเอิบอิ่ม ปีตินั้นมีการ

ชื่นชมยินดีเป็นลักษณะ (สมฺปิยายนลกฺขณา) มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่ม

เป็นรส หรือว่าซาบซ่านไปเป็นรส (กายจิตฺตปีนนรสา ผรณรสา วา)

มีการฟูกายและใจเป็นปัจจุปัฏฐาน (โอทคฺยปจฺจุปฏฺานา) ก็ปีตินั้นมี ๕

อย่าง คือ

ขุททกาปีติ

ขณิกาปีติ

โอกกันติกาปีติ

อุพเพงคาปีติ

ผรณาปีติ.

บรรดาปีติเหล่านั้น ขุททกาปีติสามารถเพื่อทำเพียงขนในร่างกายให้

ชูชันเท่านั้น. ขณิกาปีติย่อมเป็นเช่นกับความเกิดขึ้นแห่งฟ้าแลบขณะหนึ่ง ๆ

โอกกันติกาปีติ ก้าวลงสู่กายแล้ว ครั้นก้าวลงแล้วก็แตกไป เหมือนคลื่นที่

ฝั่งสมุทร อุพเพงคาปีติ เป็นปีติมีกำลัง ทำกายให้ฟูขึ้นถึงการลอยไปในอากาศ

ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

จริงอย่างนั้น พระมหาติสสเถระผู้อยู่ในปุณณวัลลิกวิหารในวันปุรณมี

เวลาเย็นไปสู่ลานพระเจดีย์เห็นแสงสว่างดวงจันทร์ จึงหันหน้าไปทางพระมหา-

เจดีย์แล้วรำพึงว่า เวลานี้พวกบริษัท ๔ กำลังไหว้พระมหาเจดีย์กันหนอ ดังนี้

ยังอุพเพงคาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ให้เกิดขึ้นด้วยสามารถอารมณ์ที่เห็น

ตามปกติ ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว ไปยืนอยู่เฉพาะที่ลานแห่งพระมหาเจดีย์

นั่นแหละ เหมือนลูกข่างอันวิจิตรที่ขว้างไปที่พื้นที่ฉาบไว้ด้วยปูนขาว.

อนึ่ง แม้กุลธิดาคนหนึ่งในบ้านวัตตกาลก ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้คิริกัณฑ-

วิหาร ลอยขึ้นไปในอากาศด้วยอุพเพงคาปีติ มีพระพุทธคุณที่มีกำลังเป็น

อารมณ์ ได้ยินว่า มารดาบิดาของกุลธิดานั้นเมื่อไปวิหารเพื่อต้องการฟังธรรม

ในเวลาเย็นได้บอกว่า แม่เจ้ามีภาระหนัก ไม่อาจเพื่อเที่ยวไปในเวลาอันไม่ควร

กับพวกแม่ได้ พวกแม่จะฟังธรรมให้ส่วนบุญนั้นแก่เจ้า แล้วพากันไป. กุลธิดา

นั้นแม้อยากจะไป แต่ไม่อาจขัดขืนคำของมารดาบิดาได้ จึงหยุดอยู่ข้างหลัง

ยืนอยู่ที่ประตูบ้าน แลดูอยู่ซึ่งลานพระเจดีย์ที่คิริกัณฑวิหารทางอากาศด้วย

แสงจันทร์ ได้เห็นการบูชาดวงประทีปแห่งพระเจดีย์ และได้เห็นบริษัท ๔

กระทำการบูชาพระเจดีย์ด้วยมาลา และของหอมเป็นต้นแล้วกระทำประทักษิณ

ได้ฟังเสียงสาธยายเป็นคณะของหมู่ภิกษุ. ทีนั้นเมื่อนางคิดว่า โอมนุษย์ผู้มีบุญ

เหล่านั้นพากันไปวิหารย่อมได้เพื่อการเดินเวียนที่เนินพระเจดีย์ และได้การฟัง

ธรรมกถาที่ไพเราะเห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว กำลังมองดูพระเจดีย์เช่นกับกองแก้ว

มุกดานั่นแหละ อุพเพงคาปีติก็เกิดขึ้น. นางลอยไปในอากาศหยั่งลงที่ลาน

พระเจดีย์ทางอากาศก่อนกว่ามารดาบิดาทีเดียว แล้วไหว้พระเจดีย์ ยืนฟังธรรม

อยู่. ทีนั้น มารดาและบิดาจึงมาถึงแล้วถามนางกุลธิดานั้นว่า แม่เจ้ามาทางไหน

นางตอบว่า มาทางอากาศ มิได้มาตามทาง มารดาบิดากล่าวว่า แม่ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

พระขีณาสพทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไปทางอากาศได้ เจ้ามาได้อย่างไร ? นาง

ตอบว่า เมื่อลูกยืนแลดูพระเจดีย์อยู่โดยแสงจันทร์ ปีติมีกำลังมีพุทธคุณเป็น

อารมณ์ก็เกิดขึ้น ทีนั้น ดิฉันไม่ทราบว่าตนยืนหรือนั่งลอยไปสู่อากาศด้วยนิมิต

ที่ถือเอานั่นแหละ แล้วยืนอยู่ที่ลานพระเจดีย์ อุพเพงคาปีติมีการลอยไปใน

อากาศ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนผรณาปีติเกิดขึ้นแล้วก็แผ่ไปสู่สรีระทั้งสิ้น เหมือนถุงที่เต็มด้วย

ลม และเหมือนท้องภูเขาที่ห้วงน้ำใหญ่ไหลเข้าไปซึมซาบแล้ว.

ก็ปีติ ๕ อย่างเหล่านั้น เมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังปัสสัทธิ

๒ อย่าง คือ กายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิ ให้บริบูรณ์. ปัสสัทธิเมื่อถือเอา

ครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข และเจตสิกสุขให้บริบูรณ์

ความสุขเมื่อถือเอาครรภ์ถึงความแก่รอบย่อมยังสมาธิ ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ

อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้บริบูรณ์. บรรดาปีติเหล่านั้น ปีติ ๒ อย่าง

เว้นปีติที่ถึงความสมบูรณ์ด้วยอัปปนา ย่อมควรในกามาวจรนี้.

ความหมายของคำว่าสุข

สุขยตีติ สุข ธรรมที่ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า สบาย อธิบายว่า ความ

สุขย่อมเกิดแก่ผู้ใด ก็ทำบุคคลนั้นให้ถึงความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด

ย่อมเคี้ยวกินอย่างดี และย่อมขุด (ทำลาย) อาพาธทางกายทางใจ เพราะเหตุนั้น

ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่าสุข. สุขนี้เป็นชื่อของโสมนัสสเวทนา. บัณฑิตพึงทราบ

ลักษณะเป็นต้นของสุขนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วในบทแห่งเวทนานั้นแหละ อีกนัย

หนึ่ง สุขมีการยินดีเป็นลักษณะ (สาตลกฺขณ) มีการยังสัมปยุตธรรมทั้งหลาย

ให้เจริญเป็นรส (สปฺปยุตฺตาน อุปพฺรูหนรส) มีการอนุเคราะห์เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ปัจจุปัฏฐาน (อนุคฺคหณปจฺจุปฏฺาน) อนึ่ง เมื่อปีติและสุขเหล่านั้นไม่แยก

จากกันมีอยู่ในที่บางแห่ง ความยินดีในการได้อิฏฐารมณ์เป็นปีติ การเสวยรส

อารมณ์ที่ได้แล้ว เป็นสุข ปีติมีในที่ใด สุขก็มีในที่นั้น สุขมีในที่ใด ในที่นั้น

ไม่แน่ว่าเป็นปีติ ปีติท่านสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขท่านสงเคราะห์เข้าใน

เวทนาขันธ์. ปีติย่อมมีในกรณีที่บุคคลเหน็ดเหนื่อยในทางกันดารได้เห็นหรือ

ได้ยินน้ำในป่า. สุขย่อมมีในเวลาที่บุคคลนั้นเข้าไปสู่ร่มเงาในป่า และใช้สอย

น้ำฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า บุรุษเดินทางไกลกันดารมาก มีเหงื่อโซมตัว มีความ

อยากกระหายเห็นบุรุษเดินทางสวนนาก็พึงถามว่า มีน้ำดื่มที่ไหนบ้าง บุรุษ

นั้นตอบว่า ผ่านดงไปมีสระธรรมชาติและป่าสูง ท่านไปในที่นั้นจักได้ ดังนี้

เขาฟังคำบอกบุรุษคนนั้นแล้วก็พึงมีใจร่าเริง ยินดี เมื่อเขาไปจากที่นั้นเห็น

กลีบ ก้าน ใบดอกอุบลเป็นต้นตกเกลื่อนที่แผ่นดิน ก็เป็นผู้มีจิตยินดีร่าเริง

อย่างดี เมื่อเดินไปเห็นบุรุษมีผ้าเปียก ผมเปียก ฟังเสียงไก่ป่าและนกยูงป่า

เป็นต้น พึงเห็นไพรสณฑ์อันเขียวเช่นกับข่ายแก้วมณีเกิดที่ในเขตสระธรรมชาติ

พึงเห็นดอกอุบลและดอกโกมุทเป็นต้นซึ่งเกิดในสระ พึงเห็นน้ำใสสะอาด เขาก็

มีความยินดีร่าเริงยิ่ง จึงก้าวลงสู่สระธรรมชาติ อาบดื่มตามชอบใจระงับความ

กระวนกระวายแล้ว เคี้ยวกินเหง้ารากใบบัวเป็นต้น ประดับดอกอุบลเขียว

เป็นต้น เอารากบัวขาวพาดที่บ่า ขึ้นจากสระนุ่งผ้าตากผ้าที่แดดนอนอยู่ใต้ร่มเงา

อันเย็น เมื่อลมอ่อน ๆ โชยมาก็พึงกล่าวว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้ คำอุปมา

เป็นเครื่องเปรียบเทียบพึงเห็นอย่างนี้ว่า

ก็ปีติมีอาการร่าเริงยินดีในอารมณ์อันเป็นส่วนเบื้องต้น พึงเห็นเหมือน

เวลาที่ร่าเริงยินดี นับตั้งแต่เวลาที่บุรุษนั้นได้ยินว่ามีสระธรรมชาติและไพรสณฑ์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

จนกระทั่งถึงการเห็นน้ำ. สุขดำรงอยู่ด้วยอาการเสวยรสอารมณ์ถึงแล้วซึ่งกำลัง

พึงเห็นเหมือนบุคคลอาบน้ำ ดื่มแล้วนอนรำพึงว่า สุขหนอ สุขหนอ ที่ร่ม

เงาไม้อันเย็นเมื่อลมอ่อน ๆ โชยมากระทบ. ก็สุขนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะความปรากฏในสมัยนั้น ๆ ดังนี้ คำนี้ท่านกล่าว

อธิบายว่า ก็ในที่ใดมีปีติ แม้สุขก็มีอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

อธิบายว่าด้วยเอกัคคตาแห่งจิต

ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตา คำว่า

จิตตัสเสกัคคตานี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ก็ในบรรดาธรรมมีลักษณะเป็นต้นของ

สมาธินั้น ท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาก่อนแล้ว. สมาธินั้นมีความ

เป็นประธานเป็นลักษณะ (ปาโมกฺขลกฺขโณ) และมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

ลักษณะ (อวิกฺเขปลกฺขโณ).

จริงอยู่ สมาธิชื่อว่า เป็นประธานแห่งธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

เพราะกุศลธรรมทั้งปวงสำเร็จด้วยสมาธิ เหมือนช่อฟ้าเรือนยอดชื่อว่าเป็น

ประธานของทัพสัมภาระของเรือนที่เหลือ เพราะเป็นเครื่องยืดไว้ เพราะ

เหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรว่า มหาบพิตร ไม้จันทันทั้งหลาย

ไม่ว่าอันใดแห่งเรือนยอด ไม้จันทันทั้งหมดเหล่านั้นไปรวมที่ยอดเรือน

น้อมไปที่ยอด ไปประชุมกันยอด เงื้อมไปที่ยอด ยอดเรือน บัณฑิตกล่าวว่า

เป็นเลิศกว่าไม้จันทันเหล่านั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร กุศลธรรม

ไม่ว่าชนิดใด กุศลธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดน้อมไปสู่สมาธิ ประชุมลงที่สมาธิ

เงื้อมไปสู่สมาธิ สมาธิ บัณฑิต ย่อมเรียกว่าเป็นเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น

ฉันนั้น สมาธิชื่อว่า มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ เพราะไม่ให้สหชาตธรรม

ทั้งหลายฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย เหมือนพระราชาจอมทัพเสด็จไปสู่ที่ทหาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ประชุมกันเนืองแน่น ในที่ที่พระองค์เสด็จไป ๆ ทหารย่อมพรั่งพร้อมทำลาย

ทหารข้าศึก ย่อมคล้อยตามพระราชานั่นแหละ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า สมาธิ กล่าวคือเอกกัคคตาแห่งจิตนี้ มีความไม่ซ่าน

ไปเป็นลักษณะ หรือมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่ง

สหชาตธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกันเป็นรสดุจน้ำประมวลจุรณสำหรับอาบน้ำ (ทำ

จุรณให้เป็นก้อน) มีความเข้าไปสงบเป็นปัจจุปัฎฐาน หรือมีญาณเป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน คือว่า บุคคลมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทราบชัด ย่อมเห็นตามความ

เป็นจริง ว่าโดยพิเศษ สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงทราบ ความตั้งอยู่

แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น.

ความหมายของคำว่าสัทธินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เชื่อ หรือเชื่อเอง

หรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น ก็ชื่อว่า ศรัทธา. ศรัทธานั้น ชื่อว่า อินทรีย์

เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี โดยครอบงำความไม่มีศรัทธา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น ในการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ.

ศรัทธานั่นเองเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สัทธินทรีย์. ก็ศรัทธานั้น มีการเลื่อมใสเป็น

ลักษณะ และมีความแล่นไปเป็นลักษณะ ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อมข่มนิวรณ์

ทั้งหลาย ย่อมให้กิเลสสงบ ย่อมให้จิตผ่องใส ย่อมทำจิตไม่ให้ขุ่นมัว เหมือน

แก้วมณีพระเจ้าจักรพรรดิอันทำน้ำให้ใสสะอาด ใส่ในน้ำแล้วสามารถทำให้น้ำใส

ย่อมให้โคลนสาหร่าย จอกแหน เปือกตมสงบ ย่อมให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว

ฉะนั้น. กุลบุตรโยคาวจรให้ทานก็ดี สมาทานศีลก็ดี กระทำอุโบสถกรรมก็ดี เริ่ม

ภาวนาก็ดี ด้วยจิตอันผ่องใส พึงทราบศรัทธานั้น อย่างนี้ว่ามีความเลื่อมใสเป็น

ลักษณะ เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสนเถระ จึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

มหาบพิตร พระเจ้าจักรพรรดิข้ามแม่น้ำน้อยพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา น้ำนั้น

พึงกระทบกระเทือนด้วยช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้าทั้งหลายก็ขุ่นมัว ขุ่นข้น

เป็นเปือกตม พระราชาทรงข้ามไปแล้ว จึงสั่งมนุษย์ทั้งหลายว่า แนะพนาย

พวกเธอจงนำน้ำดื่มมา เราจักดื่มน้ำนั้น ก็พระราชามีแก้วมณีสำหรับทำน้ำให้

ใสสะอาด พวกมนุษย์จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วเอาแก้วมณีอันทำ

น้ำให้ใสนั้นใส่ลงในน้ำ พร้อมกับการตกไปในน้ำ โคลน สาหร่าย จอกแหน

เปือกตมก็สงบ น้ำพึงเป็นน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว จากนั้นพวกมนุษย์ก็น้อม

น้ำดื่มถวายพระราชา กราบทูลว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ จงทรงดื่ม

พระเจ้าข้า.

ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์พึงเห็นจิตเหมือนน้ำ พึงเห็น

กุลบุตรโยคาวจรเหมือนมนุษย์เหล่านั้น พึงเห็นกิเลสทั้งหลายเหมือนโคลน

สาหร่าย จอกแหนเปือกตม พึงเห็นศรัทธาเหมือนแก้วมณีทำน้ำให้ใสสะอาด

ขอถวายพระพรมหาบพิตร ศรัทธาเมื่อเกิดย่อมข่มนีวรณ์ทั้งหลาย จิตปราศจาก

นิวรณ์ก็ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เหมือนเมื่อใส่แก้วมณีอันยังน้ำให้ใสสะอาดแล้ว

โคลน สาหร่าย จอกแหนเปือกตมย่อมสงบ น้ำย่อมใสสะอาดไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า เหล่าชนผู้กลัวอาศัยมหานทีที่เกลื่อนกล่นไปด้วยจระเข้

มังกร และรากษสร้ายเป็นต้น ก็ยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ส่วนทหารผู้ใหญ่

ผู้กล้าในสงครามมาถึงจึงถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงยืนอยู่ เมื่อเขา

กล่าวว่า พวกเราไม่อาจข้ามเพราะมีภัยเฉพาะหน้า จึงจับดาบที่ตนเคยชำนาญ

มาแล้วนั้น แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงมาข้างหลังเรา อย่ากลัวเลย แล้วก้าวลงสู่

แม่น้ำ ป้องกันจระเข้เป็นต้นที่มาแล้ว ๆ กระทำความสวัสดีแก่พวกมนุษย์

ทั้งหลาย นำจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น จากฝั่งโน้นมาที่ฝั่งนี้ ฉันใด เมื่อบุคคล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม เริ่มภาวนา ศรัทธาย่อมเป็นหัวหน้า

เป็นภาวะนำหน้าไป เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ศรัทธา มีการแล่นไปเป็น

ลักษณะ ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง ศรัทธามีการเชื่อเป็นลักษณะ หรือมีการเชื่อมั่นเป็น

ลักษณะ. มีการผ่องใสเป็นรส ราวกะแก้วมณีทำน้ำให้ใสสะอาด หรือว่า

มีการแล่นไปเป็นรสเหมือนการข้ามห้วงน้ำ มีการไม่ขุ่นมัวเป็นปัจจุปัฏฐาน

หรือมีการน้อมใจเชื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน มีวัตถุเป็นตั้งแห่งศรัทธาเป็นปทัฏฐาน

หรือมีโสดาปัตติยังคะเป็นปทัฏฐาน บัณฑิตพึงเห็นเหมือนมือ ทรัพย์สมบัติ

และพืช.

ความหมายของคำว่า วิริยินทรีย์

ความเป็นแห่งบุคคลผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือการงานของบุคคล

ผู้กล้า ชื่อว่า วิริยะ หรือว่า ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถว่า พึงดำเนินไป

คือให้เป็นไปโดยวิธี คือโดยนัย โดยอุบาย วิริยะนั้นนั่น แหละ ชื่อว่า

อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงำโกสัชชะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะของความเพียร.

ความเพียรนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า วิริยินทรีย์. ก็วิริยะนี้นั้น มีการอุปถัมภ์

คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ และมีความประคองไว้เป็นลักษณะ เหมือนอย่างว่า

เรือนเก่า ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยเสาอื่นนำมาค้ำจุนไว้ ฉันใด พระโยคาวจรก็

เหมือนกันนั่นแหละ เป็นผู้ได้อุปถัมภ์แล้วด้วยความอุปถัมภ์ของความเพียร

กุศลธรรมทั้งปวงจึงไม่เสื่อมสูญไป พึงทราบความที่วิริยินทรีย์นั้น มีความ

อุปถัมภ์คือค้ำจุนไว้เป็นลักษณะอย่างนี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

จึงถวายพระพรกะพระยามิลินทร์ว่า มหาบพิตร วิริยะมีการอุปถัมภ์คือค้ำจุน

ไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมทั้งหมดมีวิริยอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไป

เหมือนเมื่อบ้านเก่าจะพังไป ได้ไม้อื่นมาค้ำจุนไว้ บ้านเรือนที่มีเสาอุปถัมภ์

ค้ำจุนแล้วนั่นแหละก็ไปพึงล้มไป ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า กองทัพน้อยและกองทัพใหญ่ทำสงครามกัน กองทัพ

น้อยถอยร่นมา ทีนั้นเขาพึงกราบทูลพระราชา พระราชาพึงส่งพลและพาหนะ

ไป กองทัพของพระองค์อันพลและพาหนะสนับสนุนแล้ว พึงยังกองทัพของ

ข้าศึกให้พ่ายแพ้ ฉันใด วิริยะก็เหมือนกันนั่นแหละ ย่อมไม่ทำให้สัมปยุตธรรม

ที่เกิดพร้อมกันให้ล้าให้ถอย ย่อมยกคือย่อมประคองไว้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าว

ว่า วิริยะ มีความประคองไว้เป็นลักษณะ.

อีกนัยหนึ่ง วิริยะมีความอุตสาหะเป็นลักษณะ มีความอุปถัมภ์สห-

ชาตธรรมทั้งหลายเป็นรส มีความไม่ท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสลดใจ

เป็นปทัฏฐาน เพราะพระบาลีว่า สวิคฺโค โยนิโส ปทหติ (ความสลด

ย่อมเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย) หรือมีวัตถุแห่งวิริยารัมภะเป็นปทัฏฐาน.

บัณฑิตพึงทราบว่า ความเพียรอันเริ่มตั้งไว้โดยชอบ เป็นมูลเหตุแห่งสมบัติ

ทั้งปวง ดังนี้.

ความหมายของคำว่า สตินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือว่า ย่อมระลึกเอง หรือว่า

เป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถเป็นอธิบดี

โดยครอบงำความเป็นผู้หลงลืมด้วยสติ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะ

ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ชื่อว่า สตินทรีย์. ก็สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟั่นเฟือน) เป็นลักษณะ

และมีการเข้าไปประคองไว้เป็นลักษณะ สติย่อมให้กำหนด ย่อมให้ระลึก

กุศลกรรมโดยชอบ เหมือนขุนคลังของพระราชารักษารัตนะ ๑๐ อย่าง ย่อ

ยังพระราชาให้กำหนด ให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติในเวลาเย็นเวลาเช้า ฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า มหาบพิตร ขุนคลัง

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมให้พระเจ้าจักรพรรดิให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติทั้ง

เวลาเย็นและเวลาเช้าว่า ข้าแต่เทวะ ช้างมีประมาณเท่านี้ ม้ามีประมาณเท่านี้

รถมีประมาณเท่านี้ พลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้ เงินมีประมาณเท่านี้ ทองมี

ประมาณเท่านี้ สมบัติทั้งปวงมีประมาณเท่านี้ ขอเทวะจงระลึกถึงอิสริยสมบัติ

นั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมให้

ระลึกถึงกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อินทรีย์ ๔ เหล่านี้ พละ ๕ เหล่านี้ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้

นี้อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้สมถะ นี้วิปัสสนา เหล่านี้เป็นอริยสัจ

นี้เป็นวิชชา นี้เป็นวิมุตติ เหล่านั้นเป็นโลกุตรธรรม มหาบพิตร สติมีการระลึก

เป็นลักษณะอย่างนี้แล.

ก็สติใคร่ครวญคติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น

ประโยชน์ รู้ว่าธรรมทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ว่าไม่มีประโยชน์

ย่อมบันเทาธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมมีกายสุจริตเป็นต้นเหล่านี้เป็น

ประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์ เหมือนปริณายกแก้วของ

พระเจ้าจักรพรรดิ รู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์ของพระเจ้า-

จักรพรรดิ ย่อมนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ย่อมน้อมเข้ามาซึ่งสิ่งเป็น

ประโยชน์ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระถึงถวายพระพรพระราชาว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

มหาบพิตร ปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และ

ไม่เป็นประโยชน์แก่พระเจ้าจักรพรรดิว่า สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่พระราชา

สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งเหล่านั้นเป็นอุปการะ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ

ดังนี้ จากนั้นก็จะบันเทา (กำจัด ) สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคอง

สิ่งที่เป็นประโยชน์ ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติฉันนั้นเหมือนกันแล

เมื่อเกิดขึ้น ย่อมใคร่ครวญสติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น

ประโยชน์ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์

ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ดังนี้ จากนั้นย่อมบันเทา

(กำจัด) ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์

มหาบพิตร สติมีการประคับประคองเป็นลักษณะอย่างนี้แล.

ก็อีกนัยหนึ่ง สติมีการระลึกเป็นลักษณะ มีการไม่หลงลืมเป็นรส

มีการอารักขา (การรักษาอารมณ์) เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีการมุ่งต่ออารมณ์

เป็นปทัฏฐาน มีการจำได้อันมั่นคงเป็นปทัฏฐาน หรือว่ามีกายคตาสติปัฏฐาน

เป็นต้นเป็นปทัฏฐาน ก็บัณฑิตพึงเห็นสติเหมือนเสาเขื่อน เพราะตั้งอยู่มั่นคง

ในอารมณ์ และเหมือนนายทวารผู้รักษาประตู เพราะรักษาทวารทั้งหลาย

มีจักขุทวารเป็นต้น.

ความหมายของสมาธินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น คือวางจิตไว้ในอารมณ์โดยชอบ

ก็สมาธินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี เพราะครอบงำความ

ฟุ้งซ่าน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น

ในลักษณะแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน. สมาธินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สมาธินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ก็ธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสมาธินั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแหละ.

ความหมายของคำว่า ปัญญินทรีย์

ปชานาตีติ ปญฺา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า

ย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย

โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา

เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

ก็ปัญญานั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดีเพราะครอบงำ

อวิชชา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรม

อื่นในลักษณะแห่งการเห็น. ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.

ก็ปัญญานี้นั้นมีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เหมือน

อย่างว่า เมื่อบุคคลจุดประทีปให้สว่างในเวลากลางคืนในบ้านที่มีฝา ๔ ด้าน

ความมืดย่อมหมดไป แสงสว่างย่อมปรากฏฉันใด ปัญญามีการส่องสว่างฉันนั้น

เหมือนกัน. ธรรมดาแสงสว่างเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาย่อมไม่มี. จริงอยู่

เมื่อมหาบุรุษผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง หมื่นโลกธาตุก็มีแสงสว่างเป็น

อันเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า

มหาบพิตร ในเวลาที่มืดค่ำแล้ว บุรุษพึงเอาประทีปเข้าไปวางไว้ในบ้าน

ประทีปที่นำเข้าไปแล้วย่อมกำจัดความมืด ย่อมยังโอภาสให้เกิดขึ้น ย่อมยัง

แสงสว่างให้รุ่งโรจน์ ย่อมทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏ ฉันใด มหาบพิตร ปัญญา

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดความมืดคือ อวิชชา ย่อมยังโอภาส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

คือวิชชาให้เกิด ย่อมยังแสงสว่างคือญาณให้รุ่งโรจน์ และย่อมทำอริยสัจจะ

ทั้งหลายให้ปรากฏ มหาบพิตร ปัญญามีการส่องสว่างเป็นลักษณะด้วย

ประการฉะนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล

และอกุศล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ทีดำและขาว และ

ที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เหมือนแพทย์ผู้ฉลาดย่อมรู้เภสัชเป็นต้นที่เป็นที่

สบายและไม่สบายแก่บุคคลผู้ป่วย ฉะนั้น. สมดังคำพระธรรมเสหาบดีกล่าว

ไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติใดย่อมรู้ทั่ว เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้น

จึงชื่อว่า ปัญญา. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วว่า นี้ทุกข์

เป็นต้น ข้อความนี้บัณฑิตพึงให้พิสดาร. พึงทราบความที่ปัญญานั้นมีความรู้

ทั่วเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือการแทง

ตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไป

ฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรสดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็น

ปัจจุปัฏฐานดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมาฉะนั้น.

ความหมายของคำว่า มนินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า มนะ เพราะย่อมรู้ คือย่อมรู้แจ้ง.

แต่ท่านอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มนะ เพราะย่อม

รู้อารมณ์ เหมือนบุคคลนับอยู่ด้วยทะนาน และเหมือนชั่งอยู่ด้วยชั่งใหญ่

ฉะนั้น. มนะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่า

ธรรมอื่นในลักษณะแห่งความรู้. มนะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์.

มนะนี้เป็นคำไวพจน์ของจิตตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ความหมายของคำว่า โสมนัสสินทรีย์

บุคคลชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะสัมปโยคะด้วยปีติและ

โสมนัส ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีใจงาม ชื่อว่า โสมนัสสะ โสมนัสสะนั้น

ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งความ

ยินดี. โสมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ โสมนัส-

สินทรีย์นี้เป็นไวพจน์ของเวทนาตามที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.

ความหมายของชีวิตินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้ธรรมที่สัมปยุตด้วยชีวิตินทรีย์

นั้นเป็นอยู่. ชีวิตนั้นชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น

ในลักษณะแห่งการตามรักษา. ชีวิตนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์

ชีวิตินทรีย์นั้น เป็นอธิบดีในความเป็นไปและสืบต่อ. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ

เป็นต้น ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษาธรรมที่เกิดแล้วโดยไม่เว้นตนเป็นลักษณะ

มีการเป็นไปแห่งสัมปยุตธรรมเหล่านั้นเป็นรส มีการดำรงอยู่แห่งสัมปยุตต-

ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรม (คือ เวทนา สัญญา

วิญญาณ) ที่เป็นอยู่เป็นปทัฏฐานะ เมื่อการทรงไว้มีการตามรักษาเป็นต้น

แม้มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ก็ย่อมตามรักษาธรรมในขณะที่มีอยู่เท่านั้น เหมือนน้ำ

ตามรักษาอยู่ซึ่งดอกอุบลเป็นต้น และย่อมรักษาธรรมทั้งหลายอันเกิดขึ้นเพราะ

ปัจจัยตามความเป็นของตนดุจแม่นมเลี้ยงดูกุมาร และเป็นไปโดยสัมพันธ์กับ

ธรรมที่ตนให้เป็นไปดุจต้นหนยังเรือให้แล่นไป ชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นไปเหนือ

ภังคขณะไม่ได้ เพราะความที่ตนและธรรมที่ตนให้เป็นไปไม่มี ย่อมไม่ตั้งอยู่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ในภังคขณะเพราะตนเองก็ต้องแตกดับ ดุจไส้น้ำมันสิ้นไปอยู่ เปลวประทีป

ก็ดับไป บัณฑิตไม่พึงเห็นชีวิตินทรีย์ว่าเว้นจากอานุภาพแห่งการรักษา การ

ให้เป็นไป การดำรงไว้เพราะชีวิตินทรีย์ยังอานุภาพนั้น ๆให้สำเร็จ ดังนี้.

อธิบายว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น องค์มรรคที่ชื่อว่า

สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าการเห็น. ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถ

ว่าการยกขึ้น. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าการประคอง. ชื่อว่า

สัมมาสติ เพราะอรรถว่าการอุปการะ. ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่า

การไม่ฟุ้งซ่าน. ก็ว่าโดยวจนัตถะ คือความหมายของพระบาลี ชื่อว่า

สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบหรือว่าเป็นเหตุให้เห็นชอบ. ชื่อว่า สัมมา-

สังกัปปะ เพราะดำริชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ดำริชอบ. ชื่อว่า สัมมาวายามะ

เพราะพยายามชอบหรือว่าเป็นเหตุให้พยายามชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะ

ระลึกชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ระลึกชอบ. ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะตั้งมั่น

โดยชอบหรือว่าเป็นเหตุให้ตั้งมั่นโดยชอบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบวจนัตถะ

ขององค์มรรคนั้นโดยนัยแม้นี้ว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วเป็นทิฏฐิดี

ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

หนหลังนั่นแหละ.

อธิบายว่าด้วยศรัทธาพละเป็นต้น

ธรรมมีศรัทธาพละเป็นต้น มีเนื้อความตามกล่าวไว้แม้ในศรัทธาพละ

นั่นแหละ แต่ว่าพึงทราบว่าพละเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บรรดาธรรม

เหล่านั้น ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเป็น

ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในความหลงลืมสติ. ชื่อว่า สมาธิพละ

เพราะไม่หวั่นไหวไปในความฟุ้งซ่าน. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหว

ไปในอวิชชา. ชื่อว่า หิริพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอหิริกะ. ชื่อว่า

โอตตัปปพละ เพราะไม่หวั่นไหวไปในอโนตตัปปะ นี้เป็นการพรรณนา

เนื้อความด้วยอำนาจบททั้งสอง ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาพละ ๗ เหล่านั้น พละ ๕ เบื้องต้นข้าพเจ้าประกาศแล้วโดย

ลักษณะเป็นต้นนั่นแหละ พละ ๒ บทหลัง มีคำอธิบายว่า ธรรมที่ชื่อว่า. หิริ

เพราะละอายแต่กายทุจริตเป็นต้น คำว่า หิรินี้เป็นชื่อของความละอาย ชื่อว่า

โอตตัปปะ เพราะความเกรงกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นเหล่านั้นเหมือนกัน

คำว่าโอตตัปปะนี้เป็นชื่อของความเกรงกลัวต่อบาป. เพื่อการแสดงความต่างกัน

แห่งหิริและโอตตัปปะทั้ง ๒ นั้น ท่านจึงเริ่มตั้งมาติกา (แม่บท) นี้ว่า

สมุฏฺาน อธิปติลชฺชาภยลกฺขเณน วา (สมุฏฐาน อธิบดี ลัชชาภัย และ

ลักษณะ) ดังนี้.

ว่าโดยสมุฏฐานเป็นต้น ชื่อว่า หิริ เพราะมีเหตุภายในเป็น

สมุฏฐาน. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า

หิริ เพราะมีอัตตาเป็นอธิบดี ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีโลกเป็นอธิบดี.

ชื่อว่า หิริ เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ

เพราะตั้งอยู่โดยสภาพแห่งความกลัว. ชื่อว่า หิริ เพราะมีความเคารพเชื่อฟัง

เป็นลักษณะ ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะมีความกลัวโทษและเห็นเป็นลักษณะ

บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น บุคคลย่อมให้หิริอันมีเหตุภายในเป็น

สมุฏฐานด้วยเหตุ ๔ คือ พิจารณาถึงชาติ พิจารณาถึงวัย พิจารณาถึงความ

เป็นผู้กล้า พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต. ถามว่า พิจารณาอย่างไร ตอบว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

เบื้องต้นบุคคลพิจารณาถึงชาติอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทำความชั่วนี้ไม่ใช่

การงานของบุคคลสมบูรณ์ด้วยชาติ การงานนี้เป็นของบุคคลผู้มีชาติมีพวกประมง

เป็นต้น การงานนี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู่สมบูรณ์ด้วยชาติ เช่นดังเรา แล้วไม่ทำ

ปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่า ยังหิริให้ตั้งขึ้น.

อนึ่ง บุคคลผู้พิจารณาถึงวัยอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทำบาปนี้เป็น

การกระทำอันคนหนุ่มทั้งหลายพึงกระทำ การทำนี้ไม่สมควรแก่ผู้ดำรงอยู่ในวัย

เช่นอย่างเรา แล้วไม่ทำปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยังหิริให้ตั้งขึ้น.

อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การทำ

บาปนี้เป็นการทำของบุคคลผู้มีชาติอ่อนแอ การทำนี้ไม่สมควรแก่บุคคลผู้

สมบูรณ์ด้วยความกล้าเช่นเรา แล้วไม่ทำปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมยัง

หิริให้ตั้งขึ้น.

อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นพหูสูตอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการทำบาป

นี้เป็นการกระทำของบุคคลอันพาลไม่ใช่ของบัณฑิต การทำนี้ไม่สมควรแก่

บุคคลผู้เป็นพหูสูตผู้เป็นบัณฑิตเช่นกับเราแล้วไม่ทำบาป ชื่อว่า ย่อมยังหิริ

ให้ตั้งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลชื่อว่า ย่อมยังหิริอันมีเหตุภายในเป็น

สมุฏฐานให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ อย่าง ก็และครั้นให้ตั้งขึ้น คือให้หิริเข้าไปตั้ง

ไว้ในจิตของตนไม่กระทำบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีเหตุภายในเป็นสมุฏฐาน

ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสุมุฏฐาน อย่างไร

ตอบว่า ถ้าท่านจักทำบาป ท่านก็จักถูกบริษัท ๔ ติเตียน จริงอยู่ เมื่อบุคคล

พิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนเธอ เธอ

จักเป็นอันบุคคลผู้มีศีลทั้งหลายเว้นแล้ว

เหมือนชาวพระนครเว้นของไม่สะอาด

ดูก่อนภิกษุ เธอจักทำอย่างไรเล่า ดังนี้.

บุคคลนั้นย่อมไม่ทำบาปกรรมเพราะโอตตัปปะอันเหตุภายนอกเป็น

สมุฏฐาน ชื่อว่า โอตตัปปะ มีเหตุภายนอกเป็นสมุฏฐาน ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างไร. ตอบว่า กุลบุตรบาง

คนในโลกนี้กระทำตนให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้าแล้วคิดว่า การทำความชั่ว

ไม่สมควรแก่บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธา เป็นพหูสูต ผู้ปฏิบัติธุดงค์ ผู้เช่นกับเรา

แล้วไม่ทำบาปกรรม ชื่อว่า หิริ มีอัตตาเป็นอธิบดี อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลนั้นกระทำตนเท่านั้นให้เป็นใหญ่ ให้เป็น

หัวหน้าแล้วย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มี

โทษ ย่อมบริหารตนให้หมดจด ดังนี้.

ถามว่า ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดี อย่างไร ตอบว่า

กุลบุตรบางคนในโลกนี้กระทำโลกให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่ทำบาป-

กรรม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่แล อนึ่ง ในโลกสันนิวาส

ใหญ่แล ย่อมมีสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่น

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้แต่ที่ใกล้เราก็มองไม่

เห็นท่าน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ท่านแม้เหล่านั้น

จักรู้เราอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เขาเป็นผู้มีศรัทธา

ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นด้วยอกุศลธรรม

อันลามกอยู่ ดังนี้ ถึงเทวดาทั้งหลายที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้ใจผู้อื่นก็มีอยู่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แม้แต่ที่ไกล แม้ท่านอยู่ใกล้พวกเราก็ไม่เห็น

เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต ถึงพวกเทวดาเหล่านั้นก็จักรู้เรา

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูกุลบุตรนี้ซิ เป็นผู้มีศรัทธาออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน แต่เกลื่อนกล่นไปด้วยอกุศลธรรมอันลามก

ทั้งหลายอยู่ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทำโลกเท่านั้นให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้ว

ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ย่อมละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมไม่มีโทษ ย่อม

บริหารตนให้หมดจด ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นอธิบดี ด้วยประการฉะนี้.

ก็บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า หิริ อันตั้งขึ้นด้วยสภาวะ คือ

ความละอาย และโอตตัปปะอันตั้งขึ้นด้วยสภาวะคือความกลัวต่อไป คำว่า

ละอาย ได้แก่ อาการที่น่าละอาย อธิบายว่า หิริตั้งอยู่โดยสภาวะที่น่าละอาย

นั้น. คำว่า กลัว ได้แก่ กลัวอบาย อธิบายว่า โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะ

ที่กลัวนั้น. หิริและโอตตัปปะแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมปรากฏในการเว้นจากความชั่ว.

จริงอยู่ คนบางคนก้าวลงสู่ธรรมคือ ความละอายในภายใน ย่อมไม่ทำบาป

เหมือนอย่างกุลบุตรบางคนผู้กระทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะเป็นต้น เห็นบุคคล

แม้คนเดียวที่ตนควรละอายก็พึงถึงอาการละอาย พึงแอบแล้วเป็นผู้ละอายแล้ว

ไม่ทำการถ่ายอุจจาระปัสสาวะฉะนั้น. คนบางคนเป็นผู้กลัวต่อภัยในอบายแล้ว

ก็ไม่ทำบาปกรรม. ในอธิการแห่งหิริและโอตตัปปะนั้น มีข้ออุปมาดังนี้

เปรียบเหมือนก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็นแต่เปื้อนคูถ ก้อนหนึ่งร้อน

ลุกโพลง บรรดาก้อนเหล็กทั้ง ๒ นั้น คนฉลาดรังเกียจก้อนเหล็กที่เย็นแต่

เปื้อนคูถจึงไม่จับ รังเกียจก้อนเหล็กนอกนี้เพราะกลัวความร้อน ในการ

อุปมานั้น พึงทราบการที่บุคคลก้าวลงสู่ธรรม คือความละอายภายในแล้วไม่ทำ

บาปเหมือนคนฉลาดไม่จับก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถเพราะความรังเกียจ. พึง

ทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวอบาย เหมือนบุคคลไม่จับก้อนเหล็กร้อนเพราะ

กลัวความร้อน ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

หิริมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความกลัวโทษและ

เห็นภัยเป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๒ แม้นี้จึงปรากฏในการเว้นจาก

บาปเหมือนกัน. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีความเคารพเชื่อฟังเป็นลักษณะ

ให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ ๔ คือ พิจารณาถึงชาติที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึง

ศาสดาที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงความเป็นทายาทที่เป็นใหญ่ พิจารณาถึงเพื่อน

พรหมจารีที่เป็นใหญ่ บางคนยังโอตตัปปะอันมีความกลัวโทษและเห็นภัยเป็น

ลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยเหตุ ๔ คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง

ภัยเกิดเเต่การติเตียนแต่ผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ. บรรดาเหตุทั้ง ๘

เหล่านั้น บัณฑิตพึงกล่าวถึงการพิจารณาชาติที่เป็นใหญ่เป็นต้น และภัยมีการ

ติเตียนตนเองเป็นต้นให้พิสดาร.

ความหมายของคำว่า อโลภะ

ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะเป็นเหตุให้ไม่โลภ หรือว่า ตัวเอง

ไม่โลภ หรือว่าเป็นเพียงความไม่โลภ. แม้ในอโทสะและอโมหะก็นัยนี้เหมือน

กัน บรรดาธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น อโลภะมีความที่จิตไม่กำหนัดในอารมณ์

เป็นลักษณะ หรือมีความที่จิตไม่ติดในอารมณ์เป็นลักษณะเหมือนหยดน้ำ

ไม่ติดบนใบบัว มีการไม่หวงแหนเป็นรสเหมือนภิกษุพ้นแล้ว มีการไม่ติดใจ

เป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนบุรุษผู้ตกไปในของไม่สะอาด ฉะนั้น. อโทสะมีการไม่

ดุร้ายเป็นลักษณะ หรือว่า มีการไม่พิโรธเป็นลักษณะเหมือนมิตรผู้ช่วยเหลือ

มีการกำจัดความอาฆาตเป็นรส หรือว่า มีการกำจัดความเร่าร้อนเป็นรส

เหมือนเนื้อไม้จันทน์ มีความร่มเย็นเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนจันทร์เพ็ญ. ส่วน

อโมหะพร้อมทั้งลักษณะเป็นต้น ท่านตั้งบทอธิบายเหมือนปัญญินทรีย์ ตามที่

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

อนึ่ง ในธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น อโลภะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความตระหนี่

อโทสะเป็นข้าศึกต่อมลทินคือความเป็นผู้ทุศีล อโมหะเป็นข้าศึกต่อความไม่

เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย และในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นเหตุ

แห่งทาน อโทสะเป็นเหตุแห่งศีล อโมหะเป็นเหตุแห่งภาวนา. บรรดาคุณธรรม

เหล่านั้น บุคคลมีความไม่โลภย่อมถือเอาไม่มาก เพราะผู้โลภจึงถือเอามาก

บุคคลไม่มีโทสะย่อมถือเอาไม่พร่อง เพราะผู้โทสะประทุษร้ายจึงถือเอาพร่อง

บุคคลไม่มีความหลงย่อมถือเอาไม่วิปริต เพราะผู้หลงจึงถือเอาวิปริต.

อนึ่ง ในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลทรงจำโทษที่มีอยู่โดยความ

เป็นโทษ ย่อมเปิดเผยโทษทั้งหลายไปเพราะความไม่โลภ เพราะว่า บุคคลโลภ

แล้วย่อมปกปิดโทษ. บุคคลทรงจำคุณที่มีอยู่โดยความเป็นคุณ ย่อมประกาศคุณ

ทั้งหลายให้เป็นไปเพราะความไม่มีโทสะ เพราะว่า บุคคลมีโทสะประทุษร้าย

แล้ว ย่อมลบหลู่คุณท่าน. บุคคลทรงจำไว้ซึ่งสภาวะตามความเป็นจริง โดย

สภาวะตามความเป็นจริง ย่อมประกาศสภาวะตามความเป็นจริงให้เป็นไป

เพราะความไม่หลง เพราะว่า บุคคลหลงย่อมถือเอาสิ่งที่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่

ไม่แท้จริง ถือเอาสิ่งที่ไม่แท้จริง ว่าเป็นสิ่งที่แท้จริง.

อนึ่ง ทุกข์มีการพลัดพรากจากของที่รักย่อมไม่มี เพราะความไม่โลภ

เพราะคนโลภแล้ว มีสภาวะยึดถือความรัก และเพราะอดทนต่อการพลัดพราก

ของที่รักไม่ได้. ทุกข์อันประสบกับของอันไม่เป็นที่รักย่อมไม่มีเพราะความ

ไม่มีโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะประทุษร้าย แล้วมีสภาวะยึดสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก

และเพราะอดทนต่อการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักไม่ได้. ทุกข์มีการไม่ได้สิ่ง

ที่ปรารถนาย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง เพราะบุคคลผู้ไม่หลงมีการเจริญ

พิจารณาอย่างนี้ว่า พวกท่านพึงได้สิ่งนั้นในที่นี้แต่ที่ไหน เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านี้ ชาติทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโลภะ เพราะ

อโลภะเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา และชาติทุกข์มีตัณหาเป็นมูล. ชราทุกข์ย่อมไม่มี

เพราะอโทสะ เพราะบุคคลมีโทสะกล้าเป็นผู้มีสภาวะคือความชราเร็วพลัน.

มรณทุกข์ย่อมไม่มีเพราะอโมหะ เพราะการตายของบุคคลผู้หลงเป็นทุกข์ แต่

ทุกข์นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หลง.

อนึ่ง การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของคฤหัสถ์ทั้งหลายเพราะความไม่โลภ

การอยู่ร่วมกันเป็นสุขของบรรพชิตทั้งหลายเพราะความไม่หลง การอยู่ร่วมกัน

เป็นสุขของคฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด เพราะความไม่มีโทสะ.

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ ความเกิดขึ้นในปิตติ-

วิสัยย่อมไม่มีเพราะความไม่โลภ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายโดยมากย่อมเข้าถึง

ปิตติวิสัยเพราะตัณหา ด้วยว่า ความไม่โลภเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา. ความเกิด

ในนรกย่อมไม่มีเพราะความไม่มีโทสะ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงนรก

เช่นกับโทสะ เพราะความเป็นผู้ดุร้ายด้วยโทสะ ด้วยว่าอโทสะเป็นปฏิปักษ์

ต่อโทสะ. การเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานย่อมไม่มีเพราะความไม่หลง จริงอยู่

บุคคลทั้งหลายผู้หลงเป็นนิตย์ด้วยโมหะย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยว่า

อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ. บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมไม่ทำความ

เกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งราคะ อโทสะย่อมไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่ง

โทสะ อโมหะย่อมไม่ทำความเป็นกลางด้วยอำนาจแห่งโมหะ.

อนึ่ง ว่าโดยคุณธรรมเหล่านั้นแม้ทั้ง ๓ ย่อมได้สัญญา ๓ เหล่านี้ ตาม

ลำดับ คือ เนกขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหึสาสัญญา และ

สัญญา ๓ เหล่านี้ คือ อสุภสัญญา อัปปมาณสัญญา ธาตุสัญญา ก็การ

เว้นธรรมที่สุดคือกามสุขัลลิกานุโยคย่อมมีเพราะอโลภะ การเว้นธรรมที่สุดคือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

อัตตกิลมถานุโยคย่อมมีเพราะอโทสะ การดำเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันเป็น

มัชฌิมาย่อมมีเพราะอโมหะ อนึ่ง การทำลายอภิชฌากายคัณฐะย่อมมีเพราะ

อโลภะ การทำลายพยาปาทกายคัณฐะย่อมมีเพราะอโทสะ การทำลายคัณฐะทั้ง ๒

ที่เหลือย่อมมีเพราะอโมหะ และสติปัฏฐาน ๒ ข้อเบื้องต้น ย่อมสำเร็จด้วย

อานุภาพ (ความยิ่งใหญ่) แห่งคุณธรรม ๒ ข้อเบื้องต้น สติปัฏฐาน ๒ ข้อหลัง

ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งคุณธรรมข้อหลังเท่านั้น.

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความไม่มีโรค

เพราะบุคคลไม่โลภแล้วย่อมไม่เสพอสัปปายะ แม้เป็นอารมณ์ของโลภะ เพราะ

เหตุนั้น บุคคลผู้ไม่โลภจึงไม่มีโรค. อโทสะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความหนุ่มสาว

เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่ถูกไฟคือโทสะอันนำมาซึ่งความ

เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น และผมหงอกแผดเผาอยู่ ย่อมเป็นหนุ่มสาวได้นาน.

อโมหะย่อมเป็นปัจจัยแก่ความมีอายุยืน เพราะบุคคลผู้ไม่หลงรู้สิ่งที่เป็น

ประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ก็เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพสิ่งที่เป็น

ประโยชน์ จึงเป็นผู้มีอายุยืน.

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น อโลภะเป็นปัจจัยแก่โภคสมบัติ เพราะ

คนไม่โลภแล้วก็เป็นผู้ได้เฉพาะซึ่งโภคะ ด้วยจาคะ. อโทสะเป็นปัจจัยแก่การได้

มิตตสมบัติ เพราะเมื่อบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ได้มิตรและการไม่

เสื่อมมิตร. อโมหะเป็นปัจจัยแก่อัตตสมบัติ เพราะบุคคลไม่หลง เมื่อทำ

ประโยชน์ของตนนั่นแหละ ย่อมชื่อว่ายังตนให้ถึงพร้อม. อโลภะเป็นปัจจัยแก่

ทิพยวิหาร อโทสะเป็นปัจจัยแก่พรหมวิหาร อโมหะเป็นปัจจัยแก่อริยวิหาร.

อนึ่ง บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขาร

ทั้งหลายฝ่ายตนได้ด้วยอโลภะ เพราะสัตว์และสังขารเหล่านั้นพินาศไป ก็ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ความทุกข์อันมีความเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุ ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย

ฝ่ายอื่นได้ด้วยอโทสะ. เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่มีความ

สำคัญแม้ในบุคคลทั้งหลายที่จองเวรกัน. ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย

ในฝ่ายความเฉยได้ด้วยอโมหะ. เพราะคนไม่หลงก็ไม่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด.

การเห็นอนิจจังย่อมมีด้วยอโลภะ เพราะบุคคลโลภแล้วย่อมไม่เห็นสังขารแม้

ไม่เที่ยงโดยความเป็นไม่เที่ยง โดยมุ่งจะใช้สอย. การเห็นทุกข์ย่อมมีด้วยอโทสะ

เพราะคนมีอัชฌาศัยไม่มีโทสะ กำหนดสละอาฆาตวัตถุได้แล้วย่อมเห็นสังขาร

นั่นแหละ โดยความเป็นทุกข์. การเห็นอนัตตาย่อมมีด้วยอโมหะ เพราะคน

ไม่หลงเป็นผู้ฉลาดในการถือเอาสภาวะตามความเป็นจริง ย่อมรู้ขันธ์ ๕ ซึ่ง

มิใช่ผู้เป็นใหญ่โดยมิใช่ผู้เป็นใหญ่. การเห็นอนิจจังเป็นต้น ย่อมมีด้วยคุณธรรม

๓ เหล่านั้น ฉันใด แม้คุณธรรม ๓ เหล่านั้น ก็ย่อมมีด้วยการเห็นอนิจจังเป็นต้น

ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ความไม่โลภย่อมมีเพราะการเห็นอนิจจลักษณะ

ความไม่โกรธย่อมมีเพราะการเห็นทุกขลักษณะ ความไม่หลงย่อมมีเพราะการ

เห็นอนัตตลักษณะ. เพราะว่า ชื่อว่าใครรู้โดยชอบว่า สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยง

ดังนี้แล้ว พึงให้ความรักเกิดขึ้นเพื่อต้องการสิ่งไม่เที่ยงนั้น หรือรู้อยู่ว่านี้เป็น

ทุกข์ในสังขารดังนี้แล้ว. พึงยังความทุกข์ที่เกิดจากความโกรธจัด แม้อื่นให้

เกิดซ้ำอีกทีเดียว และรู้ถึงความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว ก็พึงถึงความหลงใหล

อีกเล่า ดังนี้.

ความหมายของคำว่า อนภิชฌา

ธรรมที่ชื่อว่า อนภิชฌา เพราะไม่เพ่งเล็ง. ชื่อว่า อัพยาบาท

เพราะยังสุขทางกายสุขทางใจ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า

และการได้เกียรติ ที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอานุภาพแห่งความดีไม่ให้พินาศ. ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

สัมมาทิฏฐิ เพราะย่อมเห็นโดยชอบ หรือเห็นอันงาม. คำว่า อนภิชฌา

เป็นต้นเหล่านั้นเป็นชื่อของธรรมมีความไม่โลภเป็นต้นนั่นแหละ ก็ธรรมเหล่านี้

พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งความเป็นมูล ในที่นี้พึง

ทราบว่า ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกรรมบถ.

แม้หิริและโอตตัปปะก็พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วย

อำนาจแห่งความเป็นพละ ในที่นี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งโลกบาล. จริงอยู่

ธรรมทั้ง ๒ นี้ย่อมรักษาโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ ย่อมรักษาโลก ธรรม

๒ ประการเป็นไฉน ? คือ หิริและโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม

๒ เหล่านี้แลย่อมรักษาโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสุกกธรรม ๒ เหล่านี้ ไม่

พึงคุ้มครองโลกไซร้ ในโลกนี้ก็ไม่พึงปรากฏ คำว่า แม่ น้า ป้า ภรรยา

ของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ชาวโลกจักถึงแล้วซึ่งการปะปนกันเหมือน

อย่างพวกแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เพราะสุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ย่อมคุ้มครองโลก ฉะนั้น จึงยังปรากฏคำว่า

แม่ น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ดังนี้.

ความหมายของยุคลธรรม

ความสงบกายชื่อว่า กายปัสสัทธิ ความสงบจิตชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ

คำว่า กาย ในคำว่า กายปัสสัทธินี้ ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น

อนึ่ง ปัสสัทธิธรรมทั้ง ๒ แม้เหล่านี้รวมกันแล้ว พึงเห็นว่ากายปัสสัทธิและ

จิตตปัสสัทธิ มีการระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิตเป็นลักษณะ

มีการกำจัดความกระวนกระวายทางกายและจิตเป็นรส มีการเยือกเย็นไม่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

เร่าร้อนแห่งกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกาย (เจตสิก) และจิตเป็นปทัฏฐาน

เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีอุทธัจจะอันกระทำความไม่สงบเป็นต้นแห่งกายและจิต.

ความเบาแห่งกาย ชื่อว่า กายลหุตา. ความเบาแห่งจิต ชื่อว่า

จิตตลหุตา. ลหุตาทั้ง ๒ นั้น พึงเห็นว่า มีความสงบความหนักกายและจิต

เป็นลักษณะ มีการกำจัดความหนักกายและจิตเป็นรส มีความไม่ชักช้าแห่งกาย

และจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส

มีถีนมิทธะเป็นต้นที่กระทำความหนัก.

ความอ่อนแห่งกาย ชื่อว่า กายมุทุตา. ความอ่อนแห่งจิต ชื่อว่า

จิตตมุทุตา. กายและจิตตมุทุตาเหล่านั้น มีความสงบความกระด้างกายและจิต

เป็นลักษณะ มีการกำจัดความกระด้างกายและจิตเป็นรส มีการไม่คับแค้นใจ

เป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส

มีทิฏฐิและมานะเป็นต้น อันการทำความที่กายและจิตให้กระด้าง.

ความควรแก่การงานของกาย ชื่อว่า กายกัมมัญญตา ความควร

แก่การงานของจิต ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา. กัมมัญญตาทั้ง ๒ นั้น มีการ

เข้าไปสงบความไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกำจัดการ

ไม่ควรแก่การงานของกายและจิตเป็นรส มีการถึงพร้อมด้วยการทำกายและจิต

สมควรแก่อารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่า

เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ที่เหลือ อันกระทำความไม่ควรแก่การงานของกายและ

จิต. และพึงเห็นกัมมัญญตาทั้ง ๒ นั้น เป็นธรรมนำมาซึ่งความเลื่อมใส ใน

วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสทั้งหลาย เป็นการนำมาซึ่งความเกษม

เหมาะสมในการทำประโยชน์เกื้อกูลดุจความหมดจดแห่งทอง ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ความเป็นแห่งการคล่องแคล่วของกาย ชื่อว่า กายปาคุญญตา ความ

เป็นแห่งการคล่องแคล่วของจิต ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา. ปาคุญญตาทั้ง ๒

นั้น มีการไม่ขัดข้องของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการกำจัดความขัดข้องของ

กายและจิตเป็นรส มีการปราศจากโทษเป็นปัจจุปัฏฐาน มีกายและจิตเป็น

ปทัฏฐาน พึงเห็นว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น

อันกระทำความขัดข้องของกายและจิต.

ความตรงของกาย ชื่อว่า กายุชุกตา ความตรงของจิต ชื่อว่า

จิตตุชุกตา. อุชุกตาทั้ง ๒ นั้น มีการตรงของกายและจิตเป็นลักษณะ มีการ

กำจัดการคดของกายและจิตเป็นรส มีการซื่อตรงของกายและจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน

มีกายและจิตเป็นปทัฏฐาน พึงทราบว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีมายาและ

สาเถยยะเป็นต้น อันกระทำความคดโค้งของกายและจิต.

ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะระลึก ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะรู้ตัว

อธิบายว่า ย่อมรู้โดยประการต่าง ๆ รอบด้าน ก็บรรดาธรรมทั้ง ๒ นั้น พึงทราบ

สัมปชัญญะ ๔ ประเภทเหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ

โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ ส่วนธรรมมีลักษณะเป็นต้นของสติและ

สัมปชัญญะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในสตินทรีย์ และปัญญินทรีย์นั่น-

แหละ คู่ธรรมนี้ ตรัสไว้ในหนหลังแล้ว ในที่นี้ตรัสไว้อีกด้วยสามารถแห่ง

ความเป็นธรรมมีอุปการะด้วยประการฉะนี้.

ธรรมที่ชื่อว่า สมถะ เพราะสงบธรรมที่เป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น.

ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็นธรรมทั้งหลายโดยอาการต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่ง

ความไม่เที่ยงเป็นต้น โดยอรรถะวิปัสสนานี้ก็คือปัญญานั่นเอง. ธรรมมีลักษณะ

เป็นต้นแห่งสมถะและวิปัสสนาแม้เหล่านั้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วในหน-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

หลังนั่นแล แต่ถือเอาในที่นี้อีกด้วยสามารถแห่งธรรมยุคนัทธะ (ธรรมเนื่อง

กันเหมือนแอก).

ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสหชาตธรรม. ที่ชื่อว่า

อวิกเขปะ เพราะความไม่ฟุ้งซ่านโดยปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ

ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แม้แห่งธรรมทั้ง ๒ นี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ

ก็ธรรมทั้ง ๒ นี้ พึงทราบว่าถือเอาในที่นี้เพื่อการประกอบวิริยะและสมาธิแล.

อธิบายคำว่า เยวาปนกนัย

คำว่า เยวาปน ตสฺมึ สมเย อญฺเปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา

อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา (ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ธรรมที่มิใช่

รูป ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แม้อื่นใดมีอยู่ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล)

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

กุศลธรรมเกิน ๕๐ (ปโรปณฺณาสธมฺมา) เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยกขึ้นแสดงโดยลำดับว่า ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะย่อมมีอย่างเดียว

ก็หาไม่ โดยที่แท้ทรงแสดงว่า ในสมัยใด มหาจิตเป็นอสังขาริก ดวงที่หนึ่ง

สหรคตด้วยโสมนัสสติเหตุกะฝ่ายกามาวจรย่อมเกิดขึ้น ในสมัยนั้น ธรรมแม้

เหล่าอื่นที่เป็นเยวาปนกธรรม ที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ มีผัสสะ

เป็นต้น ซึ่งอาศัยปัจจัยอันสมควรแก่ตน ๆ เกิดขึ้น ชื่อว่า อรูป เพราะความ

ไม่มีรูป ซึ่งกำหนดได้โดยสภาวะ ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกุศล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชาครั้นแสดงธรรมเกิน ๕๐ ที่ยกขึ้นไว้ใน

บาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบของจิตด้วยพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้แล้วจึง

ทรงแสดงธรรม ๙ อย่าง แม้อื่นอีกด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. จริงอยู่

บรรดาบทพระสูตรเหล่านั้น ๆ ธรรม ๙ เหล่านี้ย่อมปรากฏ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ฉันทะ ๑ อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ กรุณา ๑

มุทุตา ๑ กายทุจริตวิรัติ ๑ วจีทุจริตวิรัติ ๑ มิจฉาชีววิรัติ ๑.

อนึ่ง ในมหาจิตดวงที่หนึ่งแม้นี้ ฉันทะในกุศลธรรมของความเป็น

ผู้ใคร่เพื่อกระทำก็มีอยู่ แต่ไม่ได้ยกไว้ในพระบาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบ

ของจิต ในที่นี้ ฉันทะนั้นท่านจึงถือเอาด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม.

อธิโมกข์ก็มี มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา และบุรพภาคของเมตตาก็มี เมื่อ

อโทสะทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของเมตตานั้นก็เป็นอันถือเอาด้วยเหมือนกัน

ถึงบุรพภาคของกรุณา บุรพภาคของมุทิตา บุรพภาคของอุเบกขาก็มี แต่เมื่อ

ตัตรมัชฌัตตตาทรงถือเอาแล้ว บุรพภาคของอุเบกขานั้นก็ย่อมเป็นอันถือเอา

แล้วโดยแท้ สัมมาวาจาก็มี สัมมากัมมันตะก็มี สัมมาอาชีวะก็มี แต่ท่าน

ไม่ได้ยกขึ้นไว้ในบาลีด้วยสามารถแห่งส่วนประกอบของจิต ในที่นี้ ธรรมมี

สัมมาวาจาเป็นต้น แม้นั้นก็ถือเอาด้วยอำนาจแห่งเยวาปนกธรรม แต่ในบรรดา

ธรรม ๙ อย่างเหล่านั้น ธรรม ๔ อย่าง ที่ได้ในขณะเดียวกัน คือ ฉันทะ ๑

อธิโมกข์ ๑ มนสิการ ๑ ตัตรมัชฌัตตตา ๑ ที่เหลือนอกนั้นได้ในขณะต่างกัน.

เหมือนอย่างว่า บุคคลย่อมละมิจฉาวาจาด้วยจิตดวงนี้ ย่อมบำเพ็ญ

สัมมาวาจาด้วยอำนาจวิรัติ ในกาลใด ในกาลนั้น ธรรม ๕ อย่างเหล่านั้น คือ

ธรรม ๔ มีฉันทะเป็นต้น และสัมมาวาจาย่อมเกิดในขณะเดียวกัน. เมื่อใด

บุคคลย่อมละมิจฉากัมมันตะ ย่อมบำเพ็ญสัมมากัมมันตะด้วยอำนาจวิรัติ ฯลฯ

ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมบำเพ็ญสัมมาอาชีวะด้วยอำนาจวิรัติ ฯลฯ เมื่อใดกระทำ

บริกรรมด้วยกรุณา ฯลฯ ทำบริการด้วยมุทิตา ในกาลนั้น ธรรม ๕ เหล่านี้

ย่อมเกิดในขณะเดียวกัน คือ ธรรม ๔ อย่างมีฉันทะเป็นต้น และบุรพภาค

ของมุทิตา. ก็นอกจากนี้แล้ว เมื่อบุคคลให้ทาน บำเพ็ญศีล เจริญภาวนา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ย่อมได้ธรรม ๔ อย่าง (ฉันทะ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา) ซึ่งเป็น

ส่วนประกอบที่แน่นอน.

อธิบายฉันทะเป็นต้น

บรรดาเยวาปนกธรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ ดังที่พรรณนามานี้ คำว่า ฉันทะ

เป็นชื่อของกัตตุกัมยตา เพราะฉะนั้น ฉันทะนั้น จึงมีความเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะทำเป็นลักษณะ มีการแสวงหาอารมณ์เป็นกิจ มีการต้องการอารมณ์เป็น

ปัจจุปัฏฐาน อารมณ์ของฉันทะนั้นนั่นแหละเป็นปทัฏฐาน ก็ฉันทะนี้ในการ

ยึดอารมณ์ บัณฑิตพึงเห็นเหมือนจิตเหยียดมือออกไป.

ความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่า อธิโมกข์ อธิโมกข์นั้นมีการตกลงใจเป็น

ลักษณะ มีการไม่ส่ายไปเป็นรส มีการตัดสินเป็นปัจจุปัฏฐาน มีธรรมที่พึงตกลง

ใจเป็นปทัฏฐาน อธิโมกข์นี้พึงเห็นเหมือนเสาเขื่อนเพราะความไม่หวั่นไหวใน

อารมณ์.

การกระทำ ชื่อว่า การะ การกระทำไว้ในใจชื่อว่า มนสิการ

ธรรมที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะทำใจให้ขึ้นสู่วิถีจากภวังคจิต. มนสิการนี้นั้น

มี ๓ ประการ คือ

อารัมมณปฏิปาทกะ (สังขารขันธ์)

วิถีปฏิปาทกะ (ปัญจทวาราวัชชนจิต)

ชวนปฏิปาทกะ (มโนทวาราวัชชนจิต).

บรรดามนสิการทั้ง ๓ นั้น มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์ ชื่อว่า

มนสิการ เพราะกระทำไว้ในใจ. มนสิการที่ทำจิตให้รับอารมณ์นั้น มีการ

ทำสัมปยุตตธรรมให้รับอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

ทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์เป็นรส มีการมุ่งต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน นับเนื่อง

ด้วยสังขารขันธ์ (มีอารมณ์เป็นปทัฏฐาน) พึงเห็นเหมือนสารถี เพราะยัง

สัมปยุตตธรรมให้ดำเนินไปในอารมณ์. ส่วนคำว่า วิถีปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อ

ของปัญจทวาราวัชชนจิต. คำว่า ชวนปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อของมโนทวารา-

วัชชนจิต. มนสิการทั้ง ๒ เหล่านั้น ท่านไม่ประสงค์เอาในที่นี้.

ความเป็นกลางในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตตา ตัตรมัช-

ฌัตตตานั้น มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอกันเป็นลักษณะ มีการห้ามจิต

และเจตสิกไม่ให้ยิ่งและหย่อนเป็นรส หรือมีการตัดขาดจากการตกไปในฝ่ายใด

ฝ่ายหนึ่งเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน ด้วยอำนาจแห่งความวางเฉย

ต่อจิตและเจตสิก (และมีสัมปยุตตธรรมเป็นปทัฏฐาน) ตัตรมัชฌัตตตานี้

พึงเห็นเหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยทั้งหลายที่วิ่งไปเรียบร้อย ฉะนั้น.

กรุณาและมุทุตาจักมีแจ้งในนิทเทสแห่งพรหมวิหาร อันที่จริง กรุณา

และมุทุตานั้นมีข้อที่แปลกกันอยู่เท่านี้ว่า ที่ถึงอัปปนาเป็นรูปาวจร ในที่นี้เป็น

กามาพจร.

การงดเว้นจากกายทุจริต ชื่อว่า กายทุจริตวิรัติ. วิรัติ ๒ ที่เหลือ

ก็นัยนี้แหละ. ก็วิรัติแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นโดยลักษณะเป็นต้น มีการไม่ก้าวล่วง

วัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นลักษณะ อธิบายว่า มีการไม่ย่ำยีสัตว์เป็นลักษณะ

วิรัติ ๓ นั้นมีการเบือนหน้าจากวัตถุมีกายทุจริตเป็นต้นเป็นรส มีการไม่ทำกาย

ทุจริตเป็นต้นเป็นปัจจุปัฏฐาน มีคุณคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ และความปรา

รถนาน้อยเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นวิรัติ ๓ นั้นเป็นจิตที่เฉยต่อการทำบาป.

วาระแห่งธัมมุทเทส (ธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง) นี้ มีบทธรรมแม้

ทั้งหมด ๖๕ บท คือ ธรรม ๕๖ มีผัสสะเป็นต้น และธรรม ๙ ที่ตรัสไว้ด้วย

อำนาจเยวาปนกธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

บรรดาบทเหล่านั้น บางคราวในขณะเดียวกันมี ๖๑ บางคราวมี

๖๐ บทถ้วน เพราะว่า บทธรรมเหล่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งการสมบูรณ์

ด้วยสัมมาวาจาเป็นต้น ก็มี ๖๑ บท ที่เป็นไปในฐาน ๕ (วิรัติ ๓ อัปปมัญญา ๒)

ในฐานะหนึ่งพ้นจากฐาน ๕ เหล่านี้ มีฐานะ ๖๐ ถ้วนแต่ถ้าเว้นเยวาปนกธรรม

บทธรรมที่ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งรุฬหีศัพท์ในพระบาลีมี ๕๖ บท. แต่ถ้า

ไม่นับบทที่ซ้ำกันในบาลีนี้ ก็มีบทธรรม ๓. ถ้วน คือ หมวด ๕ แห่งผสัสะ

(ผสฺสปญฺจก) วิตก ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ จิตเตกัคคตา ๑ อินทรีย์ ๕

พละ ๒ คือ หิริพละ โอตตัปปพละ มูล ๒ คือ อโทภะ อโทสะ ธรรม ๑๒

มีกายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิเป็นต้น.

บรรดาธรรม ๓๐ เหล่านั้น ธรรม ๑๘ ท่านไม่จำแนกไว้ ธรรม ๑๒

ท่านจำแนกไว้. ธรรม ๑๘ ประการเป็นไฉน ? ธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้

คือ ผัสสะ ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ ธรรม

๑๒ มีกายปัสสัทธิเป็นต้นท่านไม่จำแนกไว้. ธรรม ๑๒ ประการเหล่านี้ คือ

เวทนา ๑ จิต ๑ วิตก ๑ จิตเตกัคคตา ๑ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑

สตินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ หิริพละ ๑ โอตตัปปพละ ๑ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑

ท่านจำแนกไว้.

บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม ๗ ประการจำแนกไว้ในฐานะทั้ง ๒

ธรรมหนึ่งจำแนกไว้ในฐานะทั้ง ๓ ธรรมสองจำแนกไว้ในฐานะ ๔ ธรรมหนึ่ง

จำแนกไว้ในฐานะ ๖ ธรรมหนึ่งจำแนกไว้ในฐานะ ๗.

ธรรม ๗ เหล่านี้ คือ จิต วิตก ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ

อโทสะ จำแนกไว้ในฐานะ ๒ อย่างไร ? จริงอยู่ บรรดาธรรม ๗ เหล่านั้น

จิตก่อนท่านมุ่งถึงธรรมมีหมวด ๕ แห่งผัสสะ ท่านเรียกว่า จิต เพ่งถึงอินทรีย์

ท่านเรียกว่า มนินทรีย์. วิตกถึงเป็นองค์ฌานก็เรียกว่า วิตก ถึงเป็นองค์มรรค

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ศรัทธาเพ่งเป็นอินทรีย์เรียกว่า สัทธินทรีย์ เพ่งถึง

เป็นพละเรียกว่า สัทธาพละ หิริเพ่งถึงเป็นพละเรียกว่า หิริพละ เพ่งถึงธรรม

หมวด ๒ แห่งโลกบาลเรียกว่า หิริ. แม้ในโอตตัปปะก็นัยนี้เหมือนกัน. อโลภะ

เพ่งถึงมูลเรียกว่า อโลภะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อนภิชฌา. อโทสะเพ่งถึง

มูลเรียกว่า อโทสะ เพ่งถึงกรรมบถเรียกว่า อัพยาบาท. ธรรม ๗ เหล่านี้

จำแนกแล้วในฐานะทั้ง ๒.

ส่วนเวทนา เพ่งถึงธรรมหมวด ๕ แห่งผัสสะเรียกว่า เวทนา เพ่งถึง

องค์ฌานเรียกว่า สุข เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. ธรรมหนึ่งนี้

จำแนกไว้ในฐานะ ๓ อย่างนี้.

ส่วนวิริยะเพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า วิริยินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า

สัมมาวายามะ เพ่งถึงพละเรียกว่า วิริยพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า

ปัคคาหะ แม้สติเพ่งถึงอินทรีย์ก็เรียกว่า สตินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า

สัมมาสติ เพ่งถึงพละเรียกว่า สติพละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สติ.

ธรรม ๒ เหล่านั้นจำแนกไว้ในฐานะ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนสมาธิเพ่งถึงองค์ฌานเรียกว่า จิตเตกัคคตา เพ่งถึงอินทรีย์เรียกว่า

สมาธินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรคเรียกว่า สัมมาสมาธิ เพ่งถึงพละเรียกว่า สมาธิ-

พละ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สมถะและอวิกเขปะ ธรรมอย่างหนึ่งนี้จำแนก

ไว้ในฐานะ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนปัญญาเพ่งถึงอินทรีย์ เรียกว่าปัญญินทรีย์ เพ่งถึงองค์มรรค

เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงพละ เรียกว่า ปัญญาพละ เพ่งถึงมูล เรียกว่า อโมหะ

เพ่งถึงกรรมบถ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เพ่งถึงปิฏฐิทุกะ เรียกว่า สัมปชัญญะ

และวิปัสสนา ธรรมหนึ่งนี้จำแนกไว้ในฐานะ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ก็ถ้าบุคคลไรๆพึงท้วงว่า ในพระบาลีนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่ไม่เคยมี หามีไม่

เพราะพระองค์ทรงกำหนดธรรมที่ทรงถือเอาแล้วในหนหลังนั่นแหละมาทำบท

ให้เต็มในฐานะนั้น ๆ กถาที่ไม่มีอนุสนธิเช่นกับสิ่งของอันพวกโจรลักมาสุมกันไว้

เช่นกับหญ้าที่ฝูงโคเหยียบย่ำที่ทางเดิน อันพระพุทธเจ้าไม่ทรงรู้แล้วจึงตรัสไว้

ไซร้ บุคคลนั้นพึงถูกกล่าวปฏิเสธว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ธรรมดาว่าเทศนา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีอนุสนธิ หามีไม่ เป็นเทศนาที่มีอนุสนธิ

แม้ถ้อยคำที่ไม่ทรงทราบตรัสไว้ก็ไม่มี เรื่องทั้งหมดพระองค์ทรงทราบแล้วจึงตรัส

ไว้ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธะทรงทราบหน้าที่ (กิจ) ของธรรมเหล่า

นั้น ๆ ครั้นทรงทราบกิจนั้นแล้วจึงทรงยกขึ้นจำแนกไปตามหน้าที่ ทรงทราบ

ธรรม ๑๘ อย่าง ว่ามีหน้าที่แต่ละอย่าง จึงทรงยกขึ้นจำแนกไว้ในฐานะแต่

ละฐานะ ทรงทราบธรรม ๗ อย่าง มีหน้าที่อย่างละ ๒ จึงทรงยกขึ้นจำแนก

ในฐานะ ๒ ทรงทราบเวทนามีหน้าที่ ๓ ในฐานะ ๓ จึงทรงยกขึ้น

จำแนกในฐานะ ๓ ทรงทราบวิริยะและสติมีหน้าที่ ๔ อย่าง จึงทรงยกขึ้น

จำแนกในฐานะ ๔ ทรงทราบสมาธิมีหน้าที่ ๖ อย่าง จึงทรงยกขึ้นจำแนกใน

ฐานะ ๖ ทรงทราบ ปัญญาที่ ๗ จึงทรงยกขึ้นจำแนกในฐานะ ๗ ในข้อ

นั้นมีอุปมา ดังนี้.

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงเป็นบัณฑิตเสด็จประทับอยู่ในที่

เฉพาะพระองค์แล้วทรงดำริว่า เราจักเพิ่มสินจ้างอันสมควรแก่ผู้รู้ศิลปะโดย

ประการที่ไม่พึงเสียทรัพย์พระคลังหลวงนี้ ท้าวเธอจึงตรัสให้เรียกนักศิลปะ

ทั้งหมดประชุมกัน แล้วตรัสว่า พวกเธอจงเชิญคนที่มีความรู้เฉพาะอย่างเดียว

มา เมื่อพระองค์ตรัสให้เรียกอย่างนี้ ชนทั้ง ๑๘ ก็ลุกขึ้นมาแล้วก็พระราชทาน

ให้ชนเหล่านั้นคนละส่วน. เมื่อพระราชาตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๒ อย่างจงมา คน

๗ คนพากันมาเฝ้า พระองค์ก็ทรงพระราชทานให้คนเหล่านั้นคนละ ๒ ส่วน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

เมื่อตรัสว่าผู้รู้ศิลปะ ๓ อย่างจงมา มีคนเพียงคนเดียวเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็

พระราชทานให้คนนั้น ๓ ส่วน เมื่อพระองค์ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๔ อย่างจงมา

ก็มีคน ๒ คนเข้ามาเฝ้า พระองค์ก็พระราชทานให้คนละ ๔ ส่วน เมื่อพระองค์

ตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๕ อย่างจงมา แม้คนเดียวก็ไม่มา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ

๖ อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา พระองค์ก็พระราชทานให้ ๖ ส่วน

แก่เขา เมื่อตรัสว่า ผู้รู้ศิลปะ ๗ อย่างจงมา มีเพียงคนเดียวเท่านั้นเข้ามา

พระองค์ก็พระราชทานให้เขาถึง ๗ ส่วน.

ในเรื่องนั้นมีข้ออุปมา ดังนี้.

พระมาสัมพุทธะผู้ทรงเป็นธรรมราชาไม่มีใครยิ่งกว่า เปรียบ

เหมือนพระราชาผู้เป็นบัณฑิต ธรรมทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการ

เป็นองค์ของจิต เปรียบเหมือนชนผู้รู้ศิลปะ การที่พระองค์ทรงยกธรรมเหล่า

นั้น ๆ ขึ้นจำแนกด้วยสามารถแห่งหน้าที่ เปรียบเหมือนการเพิ่มค่าจ้างให้สมควร

แก่ผู้รู้ศิลปะ ก็ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นกองแห่งธรรม ๑๗ หมวด คือ

หมวดธรรม ๕ มีผัสสะเป็นต้น องค์แห่งฌาน ๑ อินทรีย์ ๑ องค์แห่งมรรค ๑

พละ ๑ มูล ๑ กรรมบถ ๑ โลกบาล ๑ ปัสสัทธิ ๑ ลหุตา ๑ มุทุตา ๑

กัมมัญญตา ๑ ปาคุญญตา ๑ อุชุกตา ๑ สัมปชัญญะ ๑ สมถวิปัสสนา ๑

ปัคคาหาวิกเขปะ ๑.

จบกถาว่าด้วยธรรมุทเทสวาร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

บาลีนิทเทสวาร

[๑๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะมีในสมัยนั้น.

[๑๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ.

ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา

เสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

เวทนา มีในสมัยนั้น.

[๑๙ ] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่

สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญามีในสมัยนั้น.

[๒๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนามีในสมัยนั้น.

[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ* มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตมีในสมัยนั้น.

* ธรรมชาติที่ผ่องใส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

[๒๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมา-

สังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น.

[๒๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจารมีในสมัยนั้น.

[๒๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นแต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปีติมีในสมัยนั้น.

[๒๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุขมีในสมัยนั้น.

[๒๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา

มีในสมัยนั้น.

[๒๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

อินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์มีใน

สมัยนั้น.

[๒๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมา.

วายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ในสมัยนั้น.

[๒๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความ

ทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สมาธินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่าง คือ ปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์ คือ

มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า มนินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๓] โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิตินทรีย์คือชีวิต

ของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์มีในสมัยนั้น.

[๓๕] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

มีในสมัยนั้น.

[๓๖] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ

ดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะมีในสมัยนั้น.

[๓๗] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายาม

ชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะมีในสมัยนั้น.

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ควานไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติมีในสมัยนั้น.

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๔๐] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีใน

สมัยนั้น.

[๔๑] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ สัมมาวายามะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[๔๒] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังสติ สัมมาสติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละมีในสมัยนั้น.

[๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ

มีในสมัยนั้น.

[๔๔] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.

[๔๕] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปกรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

หิริพละมีในสมัยนั้น.

[๔๖] โอตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

โอตัปปพละมีในสมัยนั้น.

[๔๗] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่

กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะมีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

[๔๘] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประ

ทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัย

นั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะมีในสมัยนั้น.

[๔๙] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ

กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ภาวะ

ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน

ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญา

เหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา

เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือน

ประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

กุศลมูลคือ อโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะมีในสมัยนั้น.

[๕๐] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่

ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌามีในสมัยนั้น.

[๕๑] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษ

ร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

[๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิมีในสมัยนั้น.

[๕๓] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

หิริมีในสมัยนั้น.

[๕๔] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อ

ว่าโอตตัปปะมีในสมัยนั้น.

[๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ

ระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

กายปัสสัทธิมีในสมัยนั้น.

[๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ

ระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิมีในสมัยนั้น.

[๕๗] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่ง

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตามีใน

สมัยนั้น.

[๕๘] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่กระด้าง แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตามีในสมัยนั้น.

[๕๙] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนา-

ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตามีในสมัย

นั้น.

[๖๐] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งวิญญาณ-

ขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตามีในสมัยนั้น.

[๖๑] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๖๒] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตามีในสมัยนั้น.

[๖๓] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่งเวทนา-

ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปาคุญญตา

มีในสมัยนั้น.

[๖๔] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๖๕] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่ง

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา

มีในสมัยนั้น.

[๖๖] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.

[๖๗] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัย

นั้นอันใด นี้ชื่อว่า สติมีในสมัยนั้น.

[๖๘] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ

มีในสมัยนั้น.

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

[๗๑] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๗๒] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต

ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น. *หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปทภาชนีย์ จบ

ปฐมภาณวาร จบ

* คำว่า หรือว่า นามธรรม ฯลฯ ธรรมเป็นกุศล. ฉบับบาลีไทยและพม่าไม่มีข้อ ของกรม

เป็นข้อ ๗๓ ข้อในบาลีกับแปลจึงไม่ตรงกันหลายข้อ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

บัดนี้ ทรงประสงค์จะจำแนกบทวาระว่าด้วยธัมมุทเทส (หัวข้อธรรม)

๕๖ ที่ยกขึ้นสู่พระบาลีเหล่านั้นทั้งหมด จึงทรงเริ่มนิทเทสวาร โดยนัยมีอาทิว่า

กตโม ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้น เป็นไฉน)

ดังนี้ ควรทราบเนื้อความนี้แห่งคำถามในนิทเทสนั้นก่อนแล้วพึงทราบใจความ

ในคำถามทั้งหมดโดยนัยมีอาทิว่า กามาวจรมหากุศลจิตสหรคตด้วยโสมนัสเป็น

อสังขาริกเกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะใดก็ย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้ จึงตรัสว่า ผัสสะ

มีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? ดังนี้.

คำว่า ผัสสะใดย่อมมีในสมัยนั้น ความว่า ผัสสะอันใดที่เกิดขึ้น

ด้วยสามารถแห่งธรรมที่สัมผัส (กระทบ) ในสมัยนั้น คำว่า ผัสสะนี้นั้น

ชื่อว่าเป็นบทสภาวธรรมเพราะแสดงสภาวะของผัสสะ. คำว่า ผุสนา ได้แก่

อาการที่ถูกต้อง คำว่า สมฺผุสนา คืออาการที่กระทบพร้อมกันนั่นแหละ

ทรงเพิ่มบทอุปสรรคแล้วตรัสว่า สมฺผุสนา. คำว่า สมฺผุสิตตฺต ได้แก่

ภาวะที่ถูกกระทบกันแล้ว. ก็ในนิทเทสวารนี้ มีคำประกอบความดังต่อไปนี้ว่า

ผัสสะอันใดด้วยการถูกต้องย่อมมีในสมัยนั้น ผุสนา (กิริยาที่กระ-

ทบ) อันใดย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสนา (อาการที่กระทบพร้อมกัน) อันใด

ย่อมมีในสมัยนั้น สมฺผุสิตตฺต (ภาวะที่ถูกกระทบพร้อมกัน) อันใดย่อมมี

ในสมัยนั้น อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะอันใดย่อมมีด้วยสามารถแห่งธรรมที่กระทบ

กัน โดยปริยายอื่นท่านเรียกว่า ผุสนา สัมผุสนา สัมผุสิตัตตา สภาวะนี้

ชื่อว่า ผัสสะย่อมมีในสมัยนั้นดังนี้. ในนิทเทสทั้งหลายแม้แห่งธรรมมีเวทนา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

เป็นต้น พึงทราบโยชนาเฉพาะบทโดยนัยนี้ ส่วนข้อวินิจฉัยในการจำแนก

บทที่ทั่วไปในบททั้งหมดในนิทเทสวาร ดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกามาวจรมหากุศลจิตดวงที่หนึ่งแล้ว

เมื่อจะทรงจำแนกออกไป จึงวางบทธรรมไว้เกิน ๕๐ บทด้วยอำนาจแห่ง

มาติกาแล้ว จึงทรงยกขึ้นทีละบทจำแนกอีก บทธรรมเหล่านั้น เมื่อถึงการ

จำแนกย่อมถึงการจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการ บทธรรมเหล่านั้นเมื่อแตกต่าง

กันก็ย่อมแตกต่างกันด้วยเหตุ ๔ ประการ. ก็ในนิทเทสวารนี้ การแสดงโดย

ประการอื่น ย่อมได้ฐานะ ๒ ประการ ได้อย่างไร จริงอยู่ บทเหล่านั้นย่อมถึง

การจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านั้น คือด้วยอำนาจพยัญชนะ ๑ ด้วยอำนาจ

อุปสรรค ๑ ด้วยอำนาจอรรถะ ๑.

บรรดาเหตุ ๓ ประการเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบถึงการจำแนกด้วย

สามารถแห่งพยัญชนะอย่างนี้ว่า ความโกรธ (โกโธ) กิริยาที่โกรธ (กุชฺฌนา)

ความเป็นผู้โกรธ (กุชฺฌิตตฺต) ความประทุษร้าย (โทโส) กิริยาที่ประทุษร้าย

(ทุสฺสนา) ความเป็นผู้ประทุษร้าย (ทุสฺสิตฺต) จริงอยู่ ในเหตุเหล่านี้

ความโกรธอย่างเดียวเท่านั้นถึงการจำแนกอย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งพยัญชนะ.

ส่วนการจำแนกด้วยสามารถแห่งอุปสรรคพึงทราบอย่างนี้ว่า จาโร

(การเที่ยวไป) วิจาโร (การพิจารณา) อนุวิจาโร (การตามพิจารณา)

อุปวิจาโร (การเข้าไปพิจารณา) พึงทราบถึงการจำแนกด้วยอำนาจแห่งอรรถะ

อย่างนี้ว่า ปณฺฑิจฺจ (ความเป็นบัณฑิต) โกสลฺล (ความเป็นคนฉลาด)

เนปุญฺ (ความเฉลียวฉลาด) เวภพฺยา (ความเป็นผู้รู้แจ้ง) จินฺตา

(ความคิด) อุปปริกฺขา (ความใคร่ครวญ) บรรดาการจำแนกบทธรรมเหล่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

นั้น การจำแนกแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้นย่อมได้ในนิทเทสแห่งบทผัสสะก่อน จริงอยู่

คำว่า ผสฺโส ผุสนา ได้แก่การจำแนกด้วยพยัญชนะ คำว่า สมผุสนาได้แก่

การจำแนกด้วยอุปสรรค. คำว่า สมฺผุสิตตฺต ได้แก่การจำแนกด้วยอรรถะ.

พึงทราบการจำแนกในนิทเทสบททั้งปวงโดยนัยนี้.

ส่วนธรรมทั้งหลายแม้เมื่อมีบทต่างกัน ชื่อว่า ย่อมต่างกันด้วยเหตุ

ประการเหล่านั้น คือ ความต่างกันโดยชื่อ ความต่างกันโดยลักษณะ

ความต่างกันโดยกิจ (หน้าที่) ความต่างกันโดยการปฏิเสธ บรรดา

ความต่างกันเหล่านั้น พึงทราบความต่างกันโดยชื่ออย่างนี้ในที่นี้ว่า ความ

พยาบาทมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? ความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้ายอันใดมี

ในสมัยนั้นดังนี้ ธรรมเหล่านี้แม้ทั้ง ๒ คือ ความพยาบาท หรือโทสะ

ก็คือความโกรธนั่นเอง แต่ถึงความต่างกันโดยชื่อ อนึ่ง ธรรมแม้ ๕ อย่าง

ชื่อว่าขันธ์เพราะอรรถว่า เป็นกอง ธรรมหนึ่งเท่านั้นก็เรียกว่า ขันธ์ ก็ขันธ์

๕ ย่อมมีความต่างกันโดยลักษณะนี้ คือ ในบรรดาขันธ์ ๕ เหล่านี้ รูปมี

ความย่อยยับไปเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญามีการ

จำอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็นลักษณะ

วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ ว่าโดยความต่างกันแห่งกิจ ความเพียร

อย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะทั้ง ๔ อย่างนี้ว่า สัมมัปปธาน ๔ คือ ภิกษุ

ในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด ประคองจิตไว้ ทำความเพียร ฯลฯ เพื่อป้องกัน

บาปอกุศลธรรมที่ยังมิเกิดมิให้เกิดขึ้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถความ

ต่างกันด้วยกิจ ด้วยประการฉะนี้. ก็พึงทราบความต่างกันด้วยความต่างกันโดย

การปฏิเสธ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อธรรม ๔ ประการคือ ความเป็นผู้

หนักในความโกรธมิใช่เป็นผู้หนักในสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

มิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในลาภมิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ความ

เป็นผู้หนักในสักการะมิใช่หนักในสัทธรรม ๑ ดังนี้.

ก็ความต่างกัน ๔ อย่างเหล่านั้น ย่อมได้ในผัสสะเท่านั้นก็หาไม่ ย่อม

ได้ในธรรมแม้ทั้งหมด อันเป็นหมวด ๕ มีผัสสะเป็นต้น จริงอยู่ คำว่า ผสฺโส

เป็นชื่อของผัสสะ ฯลฯ คำว่า จิตฺต เป็นชื่อของจิต (นี้เรียกว่าต่างกันโดยชื่อ)

ก็ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ สัญญา

มีการจำอารมณ์เป็นลักษณะ เจตนามีการกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมเป็น

ลักษณะ วิญญาณมีการริอารมณ์เป็นลักษณะ(นี้เรียกว่าต่างกันโดย ลักษณะ)

อนึ่ง ผัสสะมีการถูกต้องเป็นกิจเท่านั้น เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นกิจ

สัญญามีการจำอารมณ์เป็นกิจ เจตนามีการกระตุ้นเตือนเป็นกิจ วิญญาณมีการ

รู้อารมณ์เป็นกิจ พึงทราบความต่างกัน แห่งกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ความต่างกันในการปฏิเสธในธรรมหมวด ๕ แห่งผัสสะไม่มี. แต่ใน

นิทเทสแห่งธรรมมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันด้วยสามารถแห่งความ

ปฏิเสธอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมโลภโดยนัยเป็นต้นว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่

โลภ ความเป็นผู้ไม่โลภ พึงทราบความต่างกันแม้ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยสามารถ

แห่งบทที่มีอยู่ในนิทเทสบททั้งหมดด้วยประการฉะนี้.

ส่วนการแสดงโดยปริยายอื่นอีก ย่อมได้ ๒ ฐานะอย่างนี้ คือ ปทัตถูติ

(บทสดุดี) ทัฬหีกรรม (บทที่ย้ำความ) จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

คำว่า ผัสสะเพียงครั้งเดียว ประดุจการกดปลายไม้เท้าลง บทเดียวยังไม่ชื่อว่า

การประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทสัมผัส เมื่อตรัสบ่อย ๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา

สัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ ด้วยสามารถแห่งอุปสรรค

ด้วยสามารถอรรถ บทนั้นชื่อว่า ประดับแล้วตกแต่งแล้วซึ่งบทผัสสะ เปรียบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

เหมือนพี่เลี้ยงอาบน้ำให้พระราชกุมารแล้วเอาผ้าที่ชอบใจห่มแล้ว เอาดอกไม้

ทั้งหลายประดับแล้ว หยอดยาตาแล้วต่อจากนั้นก็เอามโนศิลา (สีแดง) เจิมหน้า

ผากเพียงจุดเดียวเท่านั้น เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม แต่เมื่อ

พี่เลี้ยงเอาสีทั้งหลายมาเจิมล้อม จึงชื่อว่า มีรอยเจิมที่สวยงาม ความอุปมาเป็น

เครื่องเปรียบเทียบนี้ พึงเห็นฉันนั้นเถิด. นี้ชื่อว่า ปทัตถูติบท. ก็การกล่าว

บ่อย ๆ นั่นแหละ. ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อรรถะ และอุปสรรค ชื่อว่า

ทัพหีกรรมบทเปรียบเหมือนเมื่อกล่าวว่า อาวุโสก็ดี ภันเตก็ดี ยักษ์ก็ดี งูก็ดี

ไม่ชื่อว่า กล่าวย้ำความ แต่เมื่อกล่าวว่า อาวุโส อาวุโส ภันเต ภันเต ยักษ์

ยักษ์ งู งู ดังนี้ จึงชื่อว่า กล่าวย้ำความ ฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสบทว่า ผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจการกดปลายไม้เท้า ไม่ชื่อว่า

เป็นการย้ำความ แต่เมื่อตรัสบ่อย ๆ ว่า ผัสสะ ผุสนา ผัมผุสนา สัมผุสิตัตตัง

ด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ อุปสรรคและอรรถนั่นแหละ จึงชื่อเป็นการตรัส

ย้ำความ การแสดงโดยปริยายอื่นย่อมได้ฐานะ ๒ ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความในบททั้งหมด ในนิทเทสแห่งบทที่มีอยู่ด้วยสามารถแห่ง

ผัสสะแม้นี้เถิด.

คำว่า อย ตสมึ สมเย ผสฺโส โหติ ความว่า กามาวจร-

มหากุศลจิตดวงที่หนึ่งย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ชื่อว่า ผัสสะนี้ย่อมมีในสมัยนั้น

การพรรณนานิทเทสบทแห่งผัสสะเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายเวทนานิทเทสเป็นต้น

ก็ต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าพรรณนาซึ่งเหตุสักความต่างกันในนิทเทสอื่น ๆ

แห่งบทมีเวทนาเป็นต้น คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิทเทสแห่ง

ผัสสะนี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ในคำว่า ย ตสฺมึ สมเย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำมีอาทิว่า

เวทนาในสมัยนั้นเป็นไฉนดังนี้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ตรัสคำว่า ย ไว้ด้วยอำนาจ

แห่งบทสาตะะ (ความยินดี) เวทนาตรัสเรียกว่า ตัชชาในคำว่า ตชฺชามโน-

วิญฺาณธาตุสมฺผสฺสช นี้ เพราะเหมาะสม สมควรแก่ความสุขอันเป็นที่

ยินดีนั้น จริงอยู่ ตัชชาศัพท์นี้มีอรรถว่า เหมาะสมก็มี เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

ตชฺช สารูป กถ มนฺเตติ (ชนพูดถ้อยคำพอเหมาะพอสมควร) ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่ชื่อว่า ตัชชา เพราะเกิดแต่ธรรมมีรูปารมณ์

เป็นต้นเหล่านั้นและเกิดแต่ปัจจัยแห่งความสุขนี้ก็มี. มโนวิญญาณนั่นแหละ

ชื่อว่า ธาตุ ด้วยอรรถว่าไม่ใช่สัตว์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ.

ธรรมใดเกิดแต่สัมผัส หรือเกิดในสัมผัส เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า

สัมผัสสชะ. ชื่อว่า เจตสิกเพราะอาศัยจิต. ชื่อว่า สาตะ เพราะอรรถว่า

ชอบใจ. คำนี้มีอธิบายว่า เจตสิกที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่ชื่อ

ตัชชา โดยความหมายดังที่กล่าวแล้วเป็นความยินดีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า

เวทนาในสมัยนั้นดังนี้. พึงทราบการประกอบกับบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ ในคำว่า เจตสิก สุข เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปฏิเสธสุขทางกายด้วยบทแห่งเจตสิก ทรงปฏิเสธทุกข์ทางใจด้วยบทแห่งสุข.

บทว่า เจโตสมฺผสฺสช ได้แก่ จิตเกิดในสัมผัส. หลายบทว่า สาต สุข เวทยิต

ได้แก่ เสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจมิใช่อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุข

มิใช่อารมณ์ที่เป็นทุกข์. ส่วนสามบทข้างหน้าตรัสไว้ด้วยอิตถีลิงค์. ก็เนื้อความ

ในบททั้ง ๓ นี้มีเพียงเท่านี้ว่า เวทนาที่ชอบใจมิใช่เวทนาที่ไม่ชอบใจ เวทนา

ที่เป็นสุขมิใช่เวทนาที่เป็นทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ในนิทเทสแห่งสัญญา คำว่า ตชฺชามโนวิญฺาณธาตุสมฺผสฺสชา

ได้แก่ สัญญาเกิดในสัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่กุศลสัญญานั้น.

คำว่า สัญญา เป็นชื่อสภาวะ. คำว่า สญฺชานนา ได้แก่ อาการที่จำได้.

คำว่า สญฺชานิตตฺต ได้แก่ ภาวะที่จำได้. แม้ในนิทเทสแห่งเจตนาก็พึง

ทราบโดยนัยนี้.

ในนิทเทสแห่งจิต ที่ชื่อว่า จิต เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตร

ชื่อว่า มโน เพราะกำหนดรู้อารมณ์. มโนนั่นแหละชื่อว่า มานัส จริงอยู่

ในคาถาว่า อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวาย จรติ มานโส เตน ต

พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลัง

เที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะท่านไม่พ้นเรา) นี้

ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตด้วยใจว่า มานัส. พระอรหัต ก็ตรัสว่า มานัส

ดังในพระคาถานี้ว่า

กถญฺหิ ภควา ตุยฺห สาวโก สาสเน รโต

อปตฺตมานโส เสโข กาล กยิรา ชเนสุตา.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏ

ในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระ-

ศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตเป็นพระเสข

บุคคล เพราะเหตุไรเล่า จึงทำกาละเสีย.

แต่ในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อว่า มานัส เพราะท่านทำบทให้เจริญ

ด้วยพยัญชนะ. คำว่า หทัย อธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า

เราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัย

ในประโยคนี้ว่า หทยา หทย มญฺเ อญฺาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทำรถ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า วกฺก หทย

(ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่า

อยู่ภายใน. จิตนั้นแหละชื่อว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. คำว่า

ปัณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง

แม้กุศลก็ตรัสเรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือน

แม่น้ำคงคาไหลมาจากแม่น้ำคงคา และแม่น้ำโคธาวรีไหลมาจากแม่น้ำโคธวรี

ฉะนั้น.

ส่วนศัพท์มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตน ดังนี้ เพื่อแสดงมโน

นั่นเองว่าเป็นอายตนะ. ด้วยคำว่า มโน มนายตน นั้น จึงแสดงบทว่า

มโนนั้น. มโนนี้ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นอายตนะแห่งใจนั่นแหละ เหมือน

คำว่า เทวายตน นี้หามิได้ โดยที่แท้อายตนะ คือ มโนนั่นแหละ ชื่อว่า

มนายตนะ ในคำว่า มนายตนะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นบ่อเกิด เพราะอรรถว่าเป็น

ที่ประชุม เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็นการณะ.

จริงอย่างนั้น สถานที่อยู่ในโลก เรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยค

มีอาทิว่า ที่อยู่ของพระอิศวร (อิสฺสรายตน) ที่อยู่ของวาสุเทพ (วาสุ-

เทวายตน) บ่อเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า บ่อเกิดแห่งทอง

(สุวณฺณายตน) บ่อเกิดแห่งรัตนะ (รตนายตน) แต่ในศาสนา สถานที่

ประชุมเรียกว่า อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เมื่อสถานที่ประชุมอันเป็น

ที่รื่นเริงมีอยู่ นกทั้งหลายย่อมพากันเสพที่นั้น. ถิ่นเกิดเรียกว่า อายตนะ ดุจ

ในประโยคมีอาทิว่า ทักขิณาบถ เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย. การณะเรียกว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

อายตนะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เธอย่อมถึงความสามารถในธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้ง...ในที่นี้นั้น ๆ นั่นแหละได้ ในเมื่อมีสติ. ก็ในที่นี้ ย่อมควรแม้ทั้ง ๓

อรรถะ คือ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่าเป็น

สถานที่ประชุม และเพราะอรรถว่าเป็นการณะ (เหตุ ).

จริงอยู่ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดพร้อมกันในมนะนี้ เพราะ

เหตุนั้น มนะนี้จึงชื่อว่า ความเกิดแห่งอายตนะ แม้เพราะอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด.

รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะในภายนอก ย่อมประชุมลงในมนะนี้ เพราะเหตุนั้น

มนะนี้จึงชื่อว่า อายตนะ แม้อรรถว่าเป็นสถานที่ประชุม. ก็มนะนี้พึงทราบว่า

เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของผัสสะเป็นต้น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น

บ้าง ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นการณะบ้าง มนินทรีย์มีอรรถตามที่

กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้ง ขันธ์คือวิญญาณนั่นแหละ

เรียกว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอำนาจ

ความเป็นกองเป็นต้น.

จริงอยู่ ขันธ์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยความเป็นกอง ในพระ-

บาลีนี้ว่า น้ำในมหาสมุทร ย่อมนับว่าเป็นกองน้ำใหญ่แท้ ดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้

โดยอรรถว่าคุณ ดังในประโยคมีอาทิว่า คุณคือศีล คุณคือสมาธิดังนี้. ขันธ์

ตรัสไว้โดยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ดังในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงเห็นแล้วแลซึ่งท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้. แต่ในวิญญาณขันธ์นี้ ตรัสขันธ์ด้วย

รุฬหีศัพท์ (คือตามที่เข้าใจกัน) เพราะว่า ส่วนแห่งวิญญาณขันธ์ เรียกว่า

วิญญาณดวงหนึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นกอง เพราะฉะนั้น วิญญาณแม้ดวงเดียว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านก็เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ตามที่รู้กัน

เหมือนคนตัดส่วนหนึ่งแห่งต้นไม้ ท่านก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.

คำว่า ตชฺชมโนวิญฺาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอันสมควร

แก่ธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่าน

กล่าวชื่อไว้ ๓ อย่าง คือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่ากำหนดอารมณ์ ชื่อว่า

วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือ

เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.

ในหมวด ๕ แห่งผัสสะนี้ ตามที่กล่าวมาแล้ว จะกล่าวผัสสะก่อน

เพราะเป็นผัสสะเท่านั้น มิใช่ผัสสะที่เกิดด้วยสัมผัสสะที่เป็นตัชชามโนวิญญาณ-

ธาตุ และเพราะจิตเป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงไม่ทรงยกบัญญัติที่เป็นตัชชามโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา ใน ๒ บทนี้ แต่ก็

ใช้ในบทวิตกเป็นต้นได้บ้าง ที่ไม่ยกขึ้นใช้ในนิทเทสนี้ เพราะมิได้กำหนดไว้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจำแนกธรรมหมวด ๕ แห่ง

ผัสสะเหล่านี้จำแนกเป็นแต่ละแผนกแล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า กระทำสิ่ง

ที่ทำได้โดยยาก เมื่อบุคคลใส่น้ำต่าง ๆ น้ำมันต่าง ๆ ลงในภาชนะหนึ่งแล้ว

กวนตลอดวัน การมองดูสี หรือการสูดกลิ่น หรือการลิ้มรสก็อาจรู้ความต่าง

กันได้ เพราะความต่างกันแห่งสี กลิ่น และรส แม้จะเป็นถึงอย่างนั้น เขาก็

กล่าวกันว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำได้ยาก. แต่พระสัมมาสัมพุทธะ

เมื่อทรงจำแนกธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์

หนึ่งกระทำให้เป็นแผนก ๆ แล้วทรงยกขึ้นสู่บัญญัติ ชื่อว่า ทรงกระทำได้ยาก

อย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระยามิลินทร์ว่า

มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสิ่งที่ทำได้โดยยาก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

พระยามิลินทร์ : ท่านพระนาคเสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทำอะไร ซึ่ง

ทำได้โดยยาก

พระนาคเสน มหาบพิตร : พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกการกำหนด

ธรรมคือจิตและเจตสิกอันไม่ใช่รูปเหล่านี้ ที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้

เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต.

พระยามิลินทร์ : ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง.

พระนาคเสน : มหาบพิตร อุปมาเหมือนคนบางคนข้ามสมุทรด้วย

เรือ แล้วใช้อุ้งมือวักน้ำชิมดูก็พึงทราบหรือหนอว่า นี้น้ำแม่น้ำคงคา นี้น้ำแม่-

น้ำยมุนา นี้น้ำแม่น้ำอจิรวดี นี้น้ำแม่น้ำสรภู นี้น้ำแม่น้ำมหี.

พระยามิลินทร์ : ข้าแต่ท่านนาคเสน รู้ได้ยาก.

พระนาคเสน : มหาบพิตร การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกการ

กำหนดธรรมคือจิตและเจตสิก ซึ่งไม่ใช่รูปเป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้เป็น

ผัสสะ ฯลฯ นี้เป็นจิต ชื่อว่า ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากกว่านั้นมาก.

อธิบายวิตกนิทเทสเป็นต้น

ในนิทเทสแห่งวิตก ธรรมที่ชื่อว่า ตักกะเพราะตรึก. บัณฑิตพึงทราบ

ความเป็นไปแห่งธรรมที่ชื่อว่า ตักกะนั้น ด้วยสามารถแห่งการตรึกอย่างนี้ว่า

ท่านตรึกถึงอะไร ? ท่านตรึกถึงหม้อ ตรึกถึงเกวียน ตรึกถึงโยชน์ ตรึกถึง

ครึ่งโยชน์หรือ นี้เป็นบทแสดงสภาวะของการตรึก. ธรรมที่ชื่อว่า วิตก

เพราะอำนาจแห่งการตรึกพิเศษ คำว่า วิตกนี้เป็นชื่อของความตรึกที่มีกำลัง

มากกว่า. ชื่อว่า สังกัปปะ เพราะการกำหนดอย่างดี. เอกัคคจิต ชื่อว่า

อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์. บทที่สองทรงเพิ่มขึ้นด้วยอำนาจอุปสรรค

อีกอย่างหนึ่ง อัปปนาที่มีกำลังกว่า ชื่อว่า พยัปปนา. ธรรมชาติที่ชื่อว่า การ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

ยกจิตขึ้น เพราะยกจิต คือตั้งจิตไว้ในอารมณ์. ธรรมที่ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ

เพราะเป็นสังกัปปะ (ความดำริ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความ

เป็นกุศล เพราะเป็นความดำริตามความเป็นจริง และเป็นความดำรินำสัตว์

ออกจากวัฏฏะ.

ในนิทเทสแห่งวิจาร ธรรมที่ชื่อว่า จาระ เพราะเที่ยวไปในอารมณ์

บทนี้เป็นบทแสดงสภาวะของจาระนั้น ที่ชื่อว่า วิจาร เพราะเที่ยวไปพิเศษ

ชื่อว่า อนุวิจาร เพราะเที่ยวตามไป ชื่อว่า อุปวิจาร เพราะเที่ยวไปใกล้.

บทเหล่านั้นท่านเพิ่มมาด้วยอำนาจอุปสรรค. ธรรมที่ชื่อว่า ความสืบต่อจิต

เพราะการตั้งจิตสืบต่อไว้ในอารมณ์ ดุจการพาดลูกศรที่สายธนู. ธรรมที่ชื่อว่า

การเข้าไปเพ่ง เพราะตั้งอยู่ ดุจการเพ่งอารมณ์.

ในนิทเทสแห่งปีติ บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ ภาวะแห่ง

บุคคลผู้ปราโมทย์แล้ว ชื่อว่า ปาโมชชะ อาการแห่งการบันเทิง ชื่อว่า อาโมทนา

อาการที่รื่นเริง ชื่อว่า ปโมทนา. การรวมกันแห่งยาหรือน้ำมัน หรือน้ำร้อน

และน้ำเย็นเข้าด้วยกัน ท่านเรียกว่า โมทนา ฉันใด แม้ปีตินี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า

โมทนาเพราะรวมธรรมทั้งหลายเข้าด้วยกัน แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับ

คำโมทนาด้วยอุปสรรคแล้ว ตรัสว่า อาโมทนา และปโมทนา ธรรมที่ชื่อว่า

หาสะ เพราะร่าเริง คำว่า หาสะนี้เป็นชื่อของอาการที่ร่าเริงยินดี. ธรรมที่ชื่อว่า

วิตตะ เพราะปลื้มใจ คำว่า วิตตะนี้ เป็นชื่อของทรัพย์ ก็ความปลื้มใจนี้ ชื่อว่า

วิตติ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดโสมนัส เพราะคล้ายกับความปลื้มใจเหมือน

อย่างว่า คนมีทรัพย์อาศัยทรัพย์เกิดโสมนัส ฉันใด คนมีปีติก็อาศัยปีติเกิด

โสมนัสขึ้น ฉันนั้น ดังนั้นจึงเรียกปีติว่า วิตติ คำว่า วิตตินี้ เป็นชื่อของ

ปีติดำรงอยู่ด้วยความยินดี. ก็บุคคลผู้มีปีติตรัสเรียกว่า อุทคฺคะ เพราะพุ่งขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

แห่งกายและจิต คือพุ่งขึ้นสูงแห่งกายและจิต. ภาวะแห่งคนที่มีกายและใจสูงขึ้น

เรียกว่า โอทัคคะ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อัตตมนา จริงอยู่

ใจของบุคคลผู้ไม่ยินดี (โกรธ) ไม่ชื่อว่า เป็นใจของคน เพราะเป็นเหตุเกิด

แห่งทุกข์. อนึ่ง บุคคลยินดีแล้ว ก็ชื่อว่า มีใจเป็นของตน เพราะเป็นเหตุ

ให้เกิดสุข. ด้วยเหตุตามที่กล่าวมานี้ ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน จึงชื่อว่า

อัตตมนา คือมีใจเป็นของตน. อธิบายว่า ความที่บุคคลเป็นผู้มีใจเป็นของตน

ก็เพราะความดีใจนั้นมิใช่ของใครอื่น เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตนเอง คือ

สภาพนั้น เป็นของจิตนั่นเอง อนึ่ง เพราะความผู้มีใจเป็นของตนนั้น มิใช่เป็น

ธรรมอื่น คือมิใช่เป็นเจตสิกธรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่า ความเป็นผู้มีใจเป็น

ของตน คือ จิต.

ในนิทเทสแห่งจิตตัสเสกัคคตา ธรรมชาติที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะ

ตั้งมั่นในอารมณ์อันไม่หวั่นไหว. สองบทข้างหน้าท่านเพิ่มบทอุปสรรคเข้ามา.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สัณฐิติ เพราะประมวลสัมปยุตตธรรมทั้งหลายมาตั้ง

ไว้ด้วยอารมณ์. ที่ชื่อว่า อวัฏฐิติ เพราะหยั่งลงสู่อารมณ์ คือเข้าไปแล้วตั้งอยู่.

จริงอยู่ ธรรมทั้ง ๔ คือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อมหยั่งลง คือย่อม

ปรากฏในฝ่ายกุศล. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมคือศรัทธา พระองค์จึงตรัสว่า

โอกัปปนา (การทำใจให้เชื่อมั่น ). ตรัสเรียกสติว่า อปิลาปนตา (ความเป็น

ผู้มีใจไม่ฟั่นเฟือน). ตรัสเรียกสมาธิว่า อวัฏฐิติ (ความที่ใจตั้งมั่น). ตรัสเรียก

ปัญญาว่า ปริโยคาหนา (การส่องดู).

ส่วนในฝ่ายอกุศล ธรรม ๓ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิ และอวิชชา

ย่อมหยั่งลงสู่อารมณ์ ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ธรรมเหล่านั้น พระองค์จึงตรัสว่า

เป็นโอฆะ แต่ในฝ่ายอกุศลนี้ เอกัคคตาแห่งจิตไม่เป็นสภาพมีกำลัง เปรียบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

เหมือนบุคคลเอาน้ำรดในที่มีฝุ่น สถานที่ก็เกลี้ยงฝุ่น ฝุ่นย่อมระงับไปเวลา

เล็กน้อย เมื่อฝุ่นแห้ง ฝุ่นก็ตั้งขึ้นเป็นปกติอีก ฉะนั้น. แต่ในฝ่ายกุศล

เอกัคคตาแห่งจิตมีกำลังมาก เปรียบเหมือนบุคคลเอาหม้อน้ำลาดนำลงในที่นั้น

คลุกเคล้าด้วยจอบกระทำการทุบขยำ ขัดสีไล้ทาให้ปรากฏเหมือนในเงากระจก

แม้จะก้าวเลยไปร้อยปีก็เป็นของวิจิตรเหมือนเวลาครู่หนึ่ง ฉะนั้น.

ธรรมที่ชื่อว่า อวิสาหาระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านที่เป็นไป

ด้วยอำนาจอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตที่ดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะและ

วิจิกิจฉา ชื่อว่า ย่อมฟุ้งซ่าน แต่ความฟุ้งซ่านนี้เช่นอย่างนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น

สภาพธรรมนั้นจึงชื่อว่า อวิกเขปะ. จิตที่ชื่อว่า ฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจแห่ง

อุทธัจจะและวิจิกิจฉาเท่านั้น คือ อุทธัจจะและวิจิกิจฉา ย่อมนำไปทางนี้และ

ทางโน้นได้ แต่อวิกเขปะนี้เป็นภาวะของใจที่ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอาการอย่างนั้น

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความเป็นผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน (อวิสาหฎมานสตา).

คำว่า สมณะ ได้แก่ สมถะ ๓ อย่าง คือ จิตตสมถะ อธิกรณสมถะ

และสัพพสังขารสมถะ

บรรดาสมถะทั้ง ๓ นั้น เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตแน่วแน่) ใน

สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตสมถะ จริงอยู่ เพราะอาศัยจิตตสมถะนั้น ความดิ้นรน

แห่งจิต ความหวั่นไหวแห่งจิตย่อมสงบ คือ เข้าไประงับไว้ เพราะฉะนั้น

สมถะนั้นจึงตรัสเรียกว่า จิตตสมถะ. สมถะ ๗ อย่างมีสัมมุขาวินัยเป็นต้น ชื่อว่า

อธิกรณสมถะ เพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น อธิกรณ์เหล่านั้นย่อมสงบ คือ

ย่อมระงับไว้ เพราะฉะนั้น สมถะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อธิกรณสมถะ. อนึ่ง

เพราะสังขารทั้งหมด อาศัยพระนิพพานย่อมเข้าไปสงบระงับ ฉะนั้น พระ-

นิพพานนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกว่า สัพพสังขารสมถะ. ในอรรถะนี้ ทรง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ประสงค์เอาจิตตสมถะ จิตตสมถะนั้นชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะทำความเป็น

ใหญ่กว่าธรรมอื่นในลักษณะแห่งสมาธิ. ที่ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะความ

ไม่หวั่นไหวไปในเพราะอุทธัจจะ สมาธิตามความเป็นจริง ชื่อว่า สัมมาสมาธิ

สมาธิฝ่ายกุศล ชื่อว่า นิยยานิกสมาธิ (สมาธิที่นำออก).

ในนิทเทสแห่งสัทธินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา เพราะการเชื่อ

พุทธคุณเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศรัทธา เพราะเชื่อ คือ ดำเนินไปสู่

รัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น. อาการแห่งการเชื่อ ชื่อว่า สัททหนา. ที่ชื่อว่า

โอกัปปนา (น้อมใจเชื่อ) เพราะหยั่งลงเหมือนการทำลายแล้วแทรกเข้าไปใน

พุทธคุณเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อภิปสาทะ (เลื่อมใสยิ่ง) เพราะเป็นเหตุให้สัตว์

ทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งในพุทธคุณเป็นต้น หรือว่าตัวเองย่อมเลื่อมใสยิ่ง.

บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปรารภปริยายอื่นด้วยบทสมาส (ความ

ย่อ) แห่งสัทธินทรีย์เป็นอาทิ จึงทรงถือเอาบทว่า อาทิ มาทำการจำแนกบท

ข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดาในพระอภิธรรม ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า ศรัทธา

อีก. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์แห่งหญิง ชื่อว่า อิตถินทรีย์ ฉันใด สัทธินทรีย์

นี้ฉันนั้นหามิได้. ก็อินทรีย์นี้คือศรัทธาเท่านั้น จึงชื่อว่า สัทธินทรีย์ ด้วยอาการ

อย่างนี้ จึงตรัสศรัทธาอีก เพื่อจะให้รู้ถึงภาวะที่กระทำให้ยิ่งกว่ามีอยู่. ในทำนอง

เดียวกันนี้ พึงทราบการประกอบคำสำหรับบทว่า อาทิ ในนิทเทสแห่งบท

ทั้งปวงอีก. ธรรมชาติที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะ

แห่งอธิโมกข์ (น้อมใจเชื่อ) ที่ชื่อว่าสัทธาพละ. เพราความไม่หวั่นไหวใน

เพราะความไม่มีศรัทธา.

ในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ คำว่า เจตสิโก นี้ท่านกล่าวเพื่อแสดง

ถึงความที่วิริยะเป็นเจตสิกโดยนิยม. จริงอยู่ วิริยะนี้แม้จะกล่าวอยู่ว่าเป็นกายิกะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

คือเป็นไปทางกายเพราะเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เดินจงกรมเป็นต้น ในสูตรทั้งหลายมี

อาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิริยะเป็นไปทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์

วิริยะที่เป็นไปทางใจก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยะนี้ย่อมมาสู่อุทเทสด้วยประการ

ฉะนี้ แต่ไม่เป็นไปทางกายเหมือนกายวิญญาณ ก็เพื่อแสดงว่าวิริยะนั้นเป็นไป

ทางใจอย่างเดียว จึงตรัสว่า เจตสิโก (เป็นเจตสิก). คำว่า วิริยารมฺโภ

ได้แก่ การเริ่ม กล่าวคือความเพียร. ด้วยบทว่า วิริยารมฺโภ นี้ท่านปฏิเสธ

การเริ่มความเพียรที่เหลือนอกจากนี้. จริงอยู่ อารัมภศัพท์นี้มาในอรรถะมิใช่น้อย

คือ กรรม อาบัติ กิริยา วิริยะ หิงสา (ความเบียดเบียน) วิโกปนะ

(การพราก).

จริงอยู่ กรรม มาในคำว่า อารัมภะ ดังในประโยคนี้ว่า

ย กิญฺจิ ทุกฺข สมฺโภติ สพฺพ อารมฺภปจฺจยา

อารมฺภาน นิโรเธน นตฺถิ ทุกฺขสฺส สมฺภโว

ทุกข์ทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อม

เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะกรรมดับ

โดยไม่เหลือ ทุกข์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น.

อาบัติมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติและ

เป็นผู้มีวิปฏิสาร. กิริยามีการปักหลักบูชายัญมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยค

นี้ว่า มหายัญ มีกิริยาใหญ่ แต่มหายัญเหล่านั้น หามีผลใหญ่ไม่. วิริยะมาใน

คำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงเพียร จงพยายาม จงขวนขวาย

ในพระพุทธศาสนา. ความเบียดเบียนมาในคำว่า อารัมภะ ในประโยคนี้ว่า

ชนทั้งหลายเบียดเบียนสัตว์อุทิศพระสมณโคดม. การพรากมีการตัดและการหัก

เป็นต้นมาในอารัมภะ ในประโยคนี้ว่า พระสมณโคดมเว้นขาดจากการพราก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

พีชคามและภูตคาม. แต่ในนิทเทสนี้ท่านประสงค์เอาวิริยะเท่านั้น เพราะเหตุนั้น

จึงตรัสว่า วิริยารัมโภ อธิบายว่า อารัมภะคือความเพียร. จริงอยู่ วิริยะ

ตรัสเรียกว่า อารัมภะด้วยอำนาจแห่งความริเริ่ม คำว่า อารมฺโภ นี้เป็นบท

แสดงสภาวะของวิริยะ สภาวะที่ชื่อว่า นิกกมะ ด้วยอำนาจการออกไปจากการ

เกียจคร้าน. ที่ชื่อว่า ปรักกมะ ด้วยอำนาจการก้าวไปสู่ประโยชน์อย่างยิ่ง

ข้างหน้า. ที่ชื่อว่า อุยยามะ ด้วยอำนาจความพยายามเข้าถึง. ที่ชื่อว่า วายามะ

ด้วยอำนาจความพากเพียร. ที่ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วยอำนาจแห่งความอดทน.

ที่ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่ง. ที่ชื่อว่า ถามะ ด้วย

อรรถะว่ามั่นคง ที่ชื่อว่า ธีติ เพราะทรงไว้ซึ่งการสืบต่อกุศล ด้วยสามารถ

แห่งการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกทั้งหลาย หรือการเป็นไปโดยไม่ขาดสาย.

อีกนัยหนึ่ง ก็สภาวะนั้นชื่อว่า นิกกมะ เพราะบรรเทากามทั้งหลาย

ชื่อว่า ปรักกมะ เพราะตัดเครื่องผูกพัน ชื่อว่า อุยยามะ เพราะการถอน

โอฆะ ชื่อว่า วายามะ ด้วยอรรถะว่าการถึงฝั่ง ชื่อว่า อุตสาหะ ด้วย

อรรถะว่าเป็นหัวหน้า ชื่อว่า อุสโสฬหี ด้วยอรรถว่าเป็นหัวหน้าใหญ่

ชื่อว่า ถามะ เพราะอรรถว่าถอดลิ่มสลัก ชื่อว่า ธีติ เพราะการทำได้ตาม

ต้องการ.

วิริยะนั้นก็คือ ความบากบั่นไม่ย่อท้อด้วยสามารถแห่งการไม่ย่อหย่อน

ในปวัตติกาลอย่างนี้ว่า. . .จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามดังนี้ อธิบายว่า

ความบากบั่นมั่นคง ความบากบั่นเด็ดเดี่ยว. ก็เพราะวิริยะนี้ไม่ทอดทิ้งฉันทะ

ไม่ทอดทิ้งธุระ ไม่ให้ความเกียจคร้านได้โอกาส ไม่สละ นำความพอใจไม่

ท้อถอยในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น จึงตรัสว่า วิริยะไม่ทอดทิ้ง

ฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

เหมือนอย่างว่า ในสถานที่มีโคลนตมตามธรรมชาติ เจ้าของโค

กล่าวว่า พวกเธอจงเอาโคตัวที่นำธุระไปได้มา โคนั้นแม้จะคุกเข่ายันที่พื้นดิน

ก็สู้นำไปไม่ยอมให้แอกตกที่พื้นดิน ฉันใด วิริยะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่

ทอดทิ้ง ย่อมประคองธุระไปในฐานะเป็นเครื่องสร้างกุศลกรรม ฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิริยะเป็นธรรมประคับประคองธุระอย่างดี ( ธุรสมฺ-

ปคฺคาโห ) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะ

แห่งการประคับประคอง. ที่ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความ

เกียจคร้าน. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะความพยายามในกุศลอันนำออกจาก

สังสารวัฏตามความเป็นจริง.

ในนิทเทสแห่งสตินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า สติ ด้วยสามารถแห่งการ

ระลึก. การระลึกนี้เป็นบทแสดงสภาวะของสติ. ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถ

การตามระลึกเพราะการระลึกบ่อย ๆ. ชื่อว่า ปฏิสสติ ด้วยอำนาจการระลึก

เฉพาะโดยการระลึกดุจไปข้างหน้า. อีกอย่างหนึ่ง คำที่กล่าวแล้วนี้เป็นเพียง

เพิ่มเติมด้วยอุปสรรค. อาการที่ระลึก ชื่อว่า สรณตา ก็เพราะคำว่า สรณตา

เป็นชื่อแห่งการระลึกทั้ง ๓ ฉะนั้น เพื่อที่จะปฏิเสธคำที่เป็นชื่อทั้ง ๓ นั้น จึง

กระทำสตศัพท์ (คือตรัสถึงสติ) อีก. ในที่นี้มีอธิบายว่า ภาวะที่ระลึกคือสติ.

สติ ชื่อว่า ธารณตา เพราะทรงจำสิ่งที่ได้ฟังและได้เรียนมา. ภาวะที่ไม่

เลอะเลือน ชื่อว่า อปิลาปนตา ด้วยอรรถว่าหยั่งลงคือการไหลเข้าไปในอารมณ์

เปรียบเหมือนกระโหลกน้ำเต้าเป็นต้น ลอยอยู่บนน้ำไม่จมน้ำ ฉันใด สติก็

ฉันนั้น ตั้งอยู่ในอารมณ์ไม่จมลง เพราะสติย่อมไปตามอารมณ์ ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อภิลาปนตา (ความไม่เลอะเลือน). สติ ชื่อว่า

อสัมมุสนตา (ความไม่หลงลืม) เพราะความไม่หลงลืมในการงานที่ทำและคำพูด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

ที่ล่วงมานานได้. สติ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะ

แห่งการอุปการะ อินทรีย์ คือ สติ เรียกว่า สตินทรีย์. สตินั่นเองเป็นอินทรีย์

เรียกว่า สตินทรีย์. สติ ชื่อว่า สติพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความ

ประมาท. สติชื่อว่า สัมมาสติ เพราะเป็นสติตามความเป็นจริง เป็นสตินำออก

เป็นสติในกุศล.

ในนิทเทสแท่งปัญญินทรีย์ ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า

การประกาศให้รู้ คือ กระทำเนื้อความนั้น ๆ ให้แจ่มแจ้ง. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ปัญญา เพราะย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยง

เป็นต้นนั้น ๆ. คำนี้เป็นบทแสดงสภาวะของปัญญานั้น. อาการที่รู้ทั่ว ชื่อว่า

ปชานนา. ปัญญา ชื่อว่า วิจัย เพราะค้นหาธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น

คำว่า ปวิจัย นี้ท่านเพิ่มอุปสรรคเข้ามา. ปัญญา ชื่อว่า ธรรมวิจัย

เพราะค้นหาธรรม คือ สัจจะ ๔ ธรรมที่ชื่อว่า สัลลักขณาด้วยอำนาจการ

กำหนดอนิจจลักษณะเป็นต้นได้. สัลลักขณานั่นแหละ ตรัสเรียกว่า อุปลักขณา

ปัจจุปลักขณา โดยความต่างกันแห่งอุปสรรค. ความเป็นแห่งบัณฑิต ชื่อว่า

ปัณฑิจจะ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ฉลาด ชื่อว่า โกสัลละ. ความเป็นแห่งธรรม

ที่ละเอียด ชื่อว่า เนปุญญะ ความเป็นแห่งการทำให้แจ้งซึ่งความไม่เที่ยงเป็นต้น

ชื่อว่า เวภัพยา ปัญญาที่ชื่อว่า จินตา ด้วยสามารถแห่งการคิดความไม่เที่ยง

เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า จินตา เพราะเกิดขึ้นแก่ผู้ใดย่อมยังบุคคล

นั้นให้คิดอนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อุปปริกขา เพราะใคร่ครวญ

อนิจจลักษณะเป็นต้น. คำว่า ภูริ เป็นชื่อของแผ่นดิน. จริงอยู่ปัญญานี้

เรียกว่า ภูรี ดุจแผ่นดิน เพราะอรรถว่าตั้งมั่นและกว้างขวาง เพราะเหตุนั้น

จึงตรัสเรียกแผ่นดินว่า ภูริ. บุคคลชื่อว่า มีปัญญาดังแผ่นดิน เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางไพบูลเสมอด้วยแผ่นดินนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา. ปัญญาชื่อว่า ภูริ เพราะย่อมยินดีในอรรถะที่

เป็นจริง. ปัญญาที่ชื่อว่า เมธา เพราะทำลายเบียดเบียนกิเลสเหมือนสายฟ้า

ผ่าภูเขาหิน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะเรียนและทรงจำได้เร็วพลัน.

ที่ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะเกิดแก่ผู้ใด ย่อมนำผู้นั้นไปในการปฏิบัติประโยชน์

เกื้อกูล และในการแทงตลอดลักษณะตามความเป็นจริงในสัมปยุตธรรม.

ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะย่อมเห็นแจ้งธรรมทั้งหลายด้วยสามารถแห่ง

อนิจจลักษณะเป็นต้น. ที่ชื่อว่า สัมปชัญญะ เพราะย่อมรู้นิจจลักษณะ

เป็นต้นโดยประการต่าง ๆ โดยชอบ. ที่ชื่อว่า ปโตทะ (ปฏัก) เพราะแทงจิต

ที่คดโกงวิ่งไปผิดทางให้ขึ้นสู่ทาง เหมือนปฏักแทงม้าสินธพที่วิ่งไปผิดทางให้

ไปถูกทาง. ปฏักคือปัญญานั่นแหละชื่อว่า ปัญญา คือ ปฏัก. ที่ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการเห็น. อินทรีย์ คือ

ปัญญา เรียกว่า ปัญญินทรีย์. ปัญญานั่นเองเป็นอินทรีย์ก็ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.

ที่ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะอวิชชา. ศาสตราคือปัญญา

นั่นแหละชื่อว่า ปัญญาสัตถะ เพราะอรรถว่าตัดกิเลส. ปราสาท คือ ปัญญานั่น

แหละชื่อว่า ปัญญาปาสาทะ เพราะอรรถว่าสูงยิ่ง. แสงสว่างคือปัญญาเทียว

ชื่อว่า ปัญญาอาโลกะ เพราะอรรถว่าการส่องแสง. โอภาสคือปัญญาเทียว

ชื่อว่า ปัญญาโอภาสะ เพราะอรรถว่าสว่าง. ประทีปคือปัญญาชื่อว่า ปัญญา-

ปัชโชตะ เพราะอรรถว่าโชติช่วง. จริงอยู่ บุคคลผู้มีปัญญานั่งแล้วโดย

บัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุก็แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มีโอภาสเป็นอันเดียวกัน

มีการโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงตรัสพระดำรัสนั้นไว้แล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ก็บทปัญญาทั้ง ๓ เหล่านี้ แม้บทเดียวก็สำเร็จเนื้อความได้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรทั้งหลาย ( ในอังคุตตรนิกายจตุกนิบาต ) ตาม

อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นมี ๔ อย่าง

แสงสว่าง ๔ อย่างเป็นไฉน ? คือแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่ง

ดวงอาทิตย์ แสงสว่างแห่งไฟ แสงสว่างแห่งปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แสงสว่าง ๔ เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง ๔ เหล่านี้ แสงสว่าง

แห่งปัญญาเป็นเลิศ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ เหล่านี้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความโชติช่วง เหล่านั้นก็ฉันนั้น. แม้ในนิทเทสนี้พระองค์ก็ทรงทำ

เทศนาโดยสมควรแก่พระสูตรนั้นเหมือนกัน. เพราะว่า เนื้อความเมื่อทรง

จำแนกโดยอาการมิใช่น้อย ย่อมชื่อว่าเป็นการจำแนกดีแล้ว. สัตว์ทั้งหลาย

พวกหนึ่งย่อมตรัสรู้ได้โดยประการอย่างหนึ่ง และพวกอื่นก็ตรัสรู้ได้โดย

ประการอื่น. ก็รัตนะ คือ ปัญญา เรียกว่าปัญญารัตนะ ด้วยอรรถว่ากระทำ

ความยินดี ด้วยอรรถว่าให้ความยินดี ด้วยอรรถว่าให้เกิดความยินดี ด้วย

อรรถว่าปลื้มใจ ด้วยอรรถว่าปรากฏได้โดยยาก ด้วยอรรถว่าชั่ง (เปรียบ)

ไม่ได้ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องใช้ของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม. ที่ชื่อว่า อโมหะ

เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายไม่ลุ่มหลง หรือว่า ตัวปัญญาเองย่อมไม่หลงใน

อารมณ์ หรือว่า สิ่งนี้นั้นเป็นเพียงไม่หลงใหลไปเท่านั้น. บทแห่งธรรมวิจยะมี

เนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสธรรมวิจยะ

นี้อีก. ตอบว่า เพื่อแสดงความที่อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ เพราะฉะนั้น

จึงแสดงธรรมวิจยะนี้. อโมหะนั้นมิใช่เป็นธรรม นอกจากโมหะอย่างเดียว

ที่แท้เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะด้วย ชื่อว่า อโมหะ กล่าวคือธรรมวิจยะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในที่นี้. ทิฏฐิที่เป็นจริง เป็นเครื่องนำ

ออกจากภพ และเป็นกุศล ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

ในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์ พระบาลีว่า โย เตส อรูปีน ธมฺมาน

อายุ ความว่า สภาวธรรมที่ชื่อว่า อายุ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อสัมปยุตต-

ธรรมที่เป็นอรูปเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่ออายุนั้นมีอยู่ อรูปธรรมทั้งหลายย่อมมี

ต่อไป ดำเนินไป เป็นไปทั่ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายุ. บทว่า อายุ นี้

เป็นบทแสดงสภาวะของอายุนั้น ก็เพราะเมื่ออายุยังมีอยู่เท่านั้น อรูปธรรม

เหล่านั้นจึงดำรงอยู่ ย่อมนำไป ย่อมให้นำไป ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป

ย่อมรักษา ฉะนั้น จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า ฐิติ. ส่วนความหมายถ้อยคำในบทนี้

ดังนี้

ที่ชื่อว่า ฐิติ เพราะเป็นเหตุให้ตั้งอยู่. ที่ชื่อว่า ยปนา เพราะนำไป

ชื่อว่า ยาปนา ก็เหมือนกัน แต่พระองค์ทรงทำบทก่อนให้สิ้นด้วยอำนาจแห่ง

สัตว์ผู้ตรัสรู้ด้วยอาการอย่างนั้น. ที่ชื่อว่า อิริยนา เพราะเป็นเหตุให้เคลื่อน

ไป. ที่ชื่อว่า วัตตนา เพราะเป็นเหตุให้เป็นไป. ที่ชื่อว่า ปาลนา เพราะ

รักษาไว้ ที่ชื่อว่า ชีวิต เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เป็นอยู่. ที่ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์

เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งอนุบาล.

ในนิเทสแห่งหิริพละ พระบาลีว่า ย ตสฺมึ สมเย ความว่า

ในสมัยนั้น. . . ด้วยธรรมใด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านทำให้เป็นลิงควิปลาสแล้วพึง

ทราบเนื้อความว่า ในสมัยนั้น ธรรมใดดังนี้ ก็ได้. บทว่า หิริยิตพฺเพน

เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า ย่อมละอายคือรังเกียจ

ธรรมมีกายทุจริตเป็นต้น อันควรแก่การละอาย. บทว่า ปาปกาน ได้แก่

ลามก. บทว่า อกุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด.

แม้คำว่า สมาปตฺติยา นี้ก็เป็นตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

อธิบายว่า ย่อมละอายคือย่อมรังเกียจซึ่งการถึงพร้อม การได้เฉพาะ และการ

พรั่งพร้อมแห่ง (อกุศล) ธรรมเหล่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

ในนิเทสแท่งโอตตัปปะ บทว่า โอตฺตปปิตพฺพยุตฺตเกน เป็น

ตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า ย่อมหวั่นเกรง คือ ย่อมกลัวทุจริต

มีกายทุจริตเป็นต้น ซึ่งควรแก่ความเกรงกลัวอันเป็นเหตุแห่งความควรเกรง

กลัว และการเข้าถึงมีประการตามที่กล่าวแล้วอันเป็นเหตุแห่งความเกรงกลัว.

ในนิเทสแห่งอโลภะ ธรรมที่ชื่อว่า อโลภะ เพราะความไม่ละโมบ

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโลภะ เพราะย่อมไม่โลภ. บทว่า อโลภะ นี้เป็น

บทแสดงสภาวะของความไม่โลภนั้น. อาการที่ไม่โลภ ชื่อว่า อลุพภนา

(กิริยาที่ไม่โลภ) บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลภะ ชื่อว่า ผู้ละโมบ. บุคคล

ผู้ไม่ละโมบ ชื่อว่า อลุพภิตะ (ผู้ไม่ละโมบ). ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ละโมบ

ชื่อว่า ภาวะแห่งความไม่ละโมบ. สภาวะที่ชื่อว่า อสาราคะ (ความไม่

กำหนัด) เพราะไม่กำหนัดโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความกำหนัด. อาการที่ไม่

กำหนัด ชื่อว่า อสารัชชนา (กิริยาที่ไม่กำหนัด ). ภาวะแห่งผู้ไม่กำหนัด

แล้วชื่อว่า อสารัชชิตัตตะ (ความเป็นผู้ไม่กำหนัด ). สภาวะที่ชื่อว่า

อนภิชฌา เพราะย่อมไม่เพ่งเล็ง. บทว่า อโลโภ กุสลมูล ได้แก่ กุศลมูล

คืออโลภะ จริงอยู่ อโลภะ ชื่อว่า กุศลมูล เพราะอรรถว่าเป็นมูลคือเป็น

ปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายบ้าง ชื่อว่า กุศลมูล เพราะกุศลนั้นด้วยเป็นมูล

ด้วย ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย ดังนี้บ้าง.

ในนิเทสแห่งอโทสะ สภาวะที่ชื่อว่า อโทสะ เพราะไม่ประทุษร้าย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อโทสะ เพราะย่อมไม่ประทุษร้ายบ้าง. บทว่า อโทสะ

นี้เป็นบทแสดงสภาวะของอโทสะนั้น. อาการที่ไม่ประทุษร้าย ชื่อว่า อทุสสนา

(กิริยาที่ไม่ประทุษร้าย) ภาวะแห่งบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายแล้ว ชื่อว่า

อทุสสิตัตตะ (ความไม่ประทุษร้าย) สภาวะชื่อว่า อัพยาบาท เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ไม่พยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความพยาบาท. สภาวะที่ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ

(ความไม่เบียดเบียน) เพราะไม่เบียดเบียนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความทุกข์

อันเกิดแต่ความโกรธ. กุศลมูล คือ อโทสะ ชื่อว่า อโทสะ เป็นรากเหง้า

ของกุศล กุศลมูลนั้นมีเนื้อความตามกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในนิทเทสแห่งกายปัสสัทธิเป็นต้น ขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา

สังขารขันธ์) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในคำว่า กาย นี้ เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า เวทนากฺขนฺธสฺส เป็นต้น. สภาวะที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะ

เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้นสงบ คือ ปราศจากความกระวนกระวายถึงความ

ปลอดโปร่ง. บทที่ ๒ (ปฏิปฺปสฺสทฺธิ) ทรงเพิ่มอุปสรรค อาการที่สงบ

ชื่อว่า ปัสสัมภนา (กิริยาที่สงบ). บทที่ ๒ (ปฏิปปัสสัมภนา) ก็ทรง

เพิ่มอุปสรรค. ภาวะแห่งขันธ์ ๓ ที่สงบเพราะพรั่งพร้อมด้วยปัสสัทธิ ชื่อว่า

ปฏิปัสสัมภิตัตตะ (ความเป็นผู้สงบระงับ). ความสงบระงับแห่งความ

กระวนกระวายของกิเลส ของขันธ์ ๓ ท่านกล่าวไว้แม้ด้วยบททั้งหมด. ความ

สงบระงับความกระวนกระวายของวิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวไว้ด้วยนัยที่ ๒.

อาการแห่งภาวะที่เบา ชื่อว่า ลหุตา. คำว่า ลหุปริณามตา ความว่า

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามะ (การเปลี่ยนไปเร็ว) เพราะธรรมเหล่านั้น

เปลี่ยนไปเร็ว. ภาวะแห่งลหุปริณามธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ลหุปริณามตา.

อธิบายว่า สามารถเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน. คำว่า อทันธนตา เป็นคำ

ปฏิเสธความหนัก คือ ไม่ใช่ภาระหนัก. คำว่า อวิตฺถนตา ได้แก่ ความ-

ไม่กระด้าง เพราะความไม่มีภาระหนัก คือ กิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ความไม่กระด้างแห่งภาระหนักแห่งกิเลสมีถีนะและมานะเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ชื่อว่า อวิตฺถนตา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาการคือความเบาแห่งขันธ์ทั้ง ๓

เหล่านั้นโดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความเบาแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยที่ ๒.

ความอ่อน ชื่อว่า มุทุตา คำว่า มทฺทวตา ความว่า ความสนิธ

ความเกลี้ยงเกลา ตรัสเรียกว่า มัททวะ ความเป็นมัททวะนั้น ชื่อว่า มัททวตา.

ภาวะที่ไม่กักขฬะ ชื่อว่า อกักขฬตา. ภาวะที่ไม่กระด้าง ชื่อว่า อกถินตา.

แม้ในนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า อาการ คือ ความอ่อนแห่งขันธ์ ๓

ไว้โดยนัยแรก และของวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

ความสำเร็จแห่งกายงาน ชื่อว่า กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน

คือ ความควรแก่การประกอบในการทำกุศล. สองบทที่เหลือท่านเพิ่มมาด้วย

อำนาจพยัญชนะโดยแท้. จริงอยู่ แม้โดยบททั้ง ๒ พระองค์ก็ตรัสอาการ คือ

ความควรแก่การงานของขันธ์ทั้ง ๓ โดยนัยแรก และตรัสอาการ คือ ความควร

แก่การงานแห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

ภาวะแห่งความคล่องแคล่ว ชื่อว่า ปคุณตา คือ ความไม่ชักช้า

ความไม่ป่วยไข้. บทที่เหลือเป็นบทที่เพิ่มมาด้วยอำนาจพยัญชนะ. แม้ในนิทเทส

นี้ ก็ตรัสความคล่องแคล่วไม่เป็นไข้นั่นแหละแห่งขันธ์ ๓ โดยนัยแรก ตรัส

ความคล่องแคล่วไม่ป่วยไข้แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง.

ภาวะแห่งความซื่อตรง ชื่อว่า อุชุตา คือ ความเป็นไปโดยอาการ

อันตรง. ภาวะแห่งขันธ์ ๓ อันตรงและวิญญาณขันธ์อันตรง เรียกว่า อุชุกตา.

ความปฏิเสธแห่งความคดเหมือนมูตรโค ชื่อว่า อชิมหตา (ความคล่องแคล่ว).

บทว่า อวงฺกตา ได้แก่ ปฏิเสธความโค้งเหมือนวงจันทร์. บทว่า อกุฏิลตา

ได้แก่ ปฏิเสธความคดเหมือนปลายงอนไถ. จริงอยู่. บุคคลใดทำบาปแล้วกล่าว

ว่าเราไม่ได้กระทำ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนมูตรโค (เยี่ยวโค)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

เพราะความไปวกวน ผู้ใดกำลังทำบาปแล้วพูดว่า เราไม่กลัวบาปผู้นั้น ชื่อว่า

คด เหมือนวงจันทร์ เพราะความคดมาก ผู้ใดกำลังทำบาป แต่กล่าวว่า

ใครไม่กลัวบาปเล่า ผู้นั้นชื่อว่า คด เหมือนงอนไถ เพราะไม่คดมาก.

อีกอย่างหนึ่ง กรรมทวาร ๓ ของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้นชื่อ

เป็นผู้คดเหมือนน้ำมูตรโค. กรรมทวาร ๒ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่แก่

บุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. กรรมทวาร

หนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลใดไม่บริสุทธิ์ บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้คด

เหมือนปลายงอนไถ.

ส่วนอาจารย์ผู้เรียนทีฆนิกาย กล่าวว่า ภิกษุบางรูปในวัยทั้งหมดย่อม

ประพฤติอเนสนา ๒๑ และอโคจร ๖ ภิกษุนี้ชื่อว่า คดเหมือนน้ำมูตรโค.

บางองค์ในปฐมวัยย่อมบำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล เป็นผู้ละอาย รังเกียจความชั่ว

ใคร่การศึกษา ในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า

เป็นผู้คดเหมือนวงจันทร์. บางองค์ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ย่อมบำเพ็ญ

จตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย มีความรังเกียจบาป ใคร่การศึกษา แต่ใน

ปัจฉิมวัยเป็นเช่นภิกษุองค์ก่อน ภิกษุนี้ ชื่อว่า คดเหมือนปลายงอนไถ.

ภาวะของบุคคลผู้คดอย่างนี้ด้วยอำนาจกิเลสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

ชิมหตา (ความคด) อวงฺกตา (ความโค้ง) อกุฏิลตา (ความงอ) พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความไม่คดเป็นต้น โดยปฏิเสธความคดเป็นต้นเหล่านั้น

แล้วทรงแสดงโดยเป็นขันธาธิษฐาน จริงอยู่ ความไม่คดเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่

ขันธ์ทั้งหลาย หามีแก่บุคคลไม่ ด้วยบทเหล่านั้น แม้ทั้งหมดอย่างนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอาการ คือ ความตรงโดยนัยแรก ตรัสอาการ คือ ความตรง

แห่งวิญญาณขันธ์โดยนัยหลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงตรัส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

อาการ คือ ความตรงแห่งอรูปธรรมทั้งหลาย เพราะความไม่มีกิเลส. บัดนี้

นิทเทสเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยสังเขปแห่งธรรม ชื่อว่า เยวา-

ปนกะ นั่นแหละ ที่แสดงไว้ในธัมมุทเทสวาระ โดยอัปปนาวาระที่ตรัสว่า

เย วา ปน นั้นดังนี้.

จบกถาว่าด้วยนิทเทสวาร

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันว่าจบวาระว่าด้วยการกำหนดธรรม

ประดับด้วยปริจเฉท ๘ ปริจเฉท คือ ในอุทเทสวาร ๔ ปริจเฉทมี ปุจฉา ๑

สมยนิทเทส ๑ ธัมมุทเทส ๑ อัปปนา ๑ และในนิทเทสวาร ๔ ปริจเฉทมี

ปุจฉา ๑ สมยนิทเทส ๑ ธัมมุทเทส ๑ อัปปนา ๑ ดังนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

โกฏฐาสวาร

[๗๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑

เจตนา ๑ จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑

มนายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ

มีในสมัยนั้น หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๗๔] ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ทีสบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น

สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์

มีในสมัยนั้น

สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ

ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปา-

คุญญตา จิตตตปาคุญญตา กายชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญญะ สมถะ

วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น

วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ

วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณ-

ขันธ์ มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น.

[๗๕] อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

มนายตนะ ธรรมายตนะ

มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ

วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ

มีในสมัยนั้น

ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ มีใน

สมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อายตนะ ๒ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

[๗๖] ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ

มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น.

ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีใน

สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธาตุ ๒ มีในสมัยนั้น.

[๗๗] อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร.

ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความถูกต้อง อาการที่ถูกต้อง กิริยาที่ถูต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสาหาร มีในสมัยนั้น.

มโนสัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มโน-

สัญเจตนาหาร มีในสมัยนั้น.

วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ

วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาหาร ๓ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

[๗๘] อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์.

สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

อินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์

มีในสมัยนั้น.

วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ. วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ

สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรมสัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือ

มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิตของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น.

[๗๙] ฌานมีองค์ ๕ มีโนสมัยนั้น เป็นไฉน ?

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา.

วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์

ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น.

วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิจาร มีในสมัยนั้น.

ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ปีติ มีในสมัยนั้น.

สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สุข มีในสมัยนั้น.

เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา

มีในสมัยนั้น.

สภาวธรรมนี้ชื่อว่า ฌานมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น.

[๘๐] มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

มีในสมัยนั้น.

สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์

ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่

ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความ

พยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความความระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ ในสมัยนั้น.

สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

แห่งจิต สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งจิตไว้ชอบ ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

สภาวธรรมนี้ชื่อว่า มรรคมีองค์ ๕ มีในสมัยนั้น.

[๘๑] พละ ๗ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ.

สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีใน

สมัยนั้น.

วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง

ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือวิริยะ

สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ สัมมาสติ

มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.

สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ

มีในสมัยนั้น.

ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ควรเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละมีในสมัยนั้น.

หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

หิริพละมีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า พละ ๗ มีในสมัยนั้น.

[๘๒] เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ

อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่

กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคือความไม่โลภ ในสมัย

นั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะมีในสมัยนั้น.

อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษ-

ร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคือความไม่คิดประทุษ

ร้าย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะมีในสมัยนั้น.

อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ควานรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

อโมหะมีในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เหตุ ๓ มีในสมัยนั้น.

[๘๓] ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ อาการที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๘๔] เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา ๑ มีในสมัยนั้น.

[๘๕] สัญญา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญา ๑

มีในสมัยนั้น.

[๘๖] เจตนา ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา ๑

มีในสมัยนั้น.

[๘๗] จิต ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายจนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิต ๑ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

[๘๘] เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๘๙] สัญญาขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ๑

มีในสมัยนั้น.

[๙๐] สังขารขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ

ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา

อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปา-

คุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ

วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด

เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขาร

ขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๙๑] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

[๙๒] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๙๓] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๙๔ ] มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

[๙๕] ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ ๑

มีในสมัยนั้น.

[๙๖] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีใน

สมัยนั้น.

[๙๗] หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

โกฏฐาสวาร จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายสังคหวาร*

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสังคหวารโดยคำเป็นต้นว่า ตสฺมึ

โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา โหนฺติ (ก็ในสมัยนั้นแล ขันธ์ ๔

ย่อมมี) ก็สังคหวารนั้นมี ๓ อย่าง คือ อุทเทส นิทเทส และปฏินิทเทส.

บรรดาสังคหวารทั้ง ๓ เหล่านั้น วาระที่มีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตสฺมึ

โข ปน สมเย จตฺตาโร ขนฺธา (ก็ในสมัยนั้นแลขันธ์ ๔ ย่อมมี) ดังนี้

พึงทราบว่าเป็นอุทเทส. วาระที่มีคำเป็นต้น ว่า กตเม ตสฺมึ สมเย จตฺตาโร

ขนฺธา (ขันธ์ ๔ มีใสมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้พึงทราบว่าเป็นนิทเทส. วาระที่

มีคำเป็นต้นว่า กตโม ตสฺมึ สมเย เวทนากฺขนฺโธ (เวทนาขันธ์มีใน

สมัยนั้นเป็นไฉน) ดังนี้ พึงทราบว่าเป็นปฏินิทเทส.

บรรดาวาระเหล่านั้น วาระว่าด้วยอุทเทสมีคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา

เป็นต้น มีโกฏฐาส ๒๓ พึงทราบเนื้อความโกฏฐาสเหล่านั้น ดังต่อไปนี้

กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น

ธรรมทั้งหลายเกิน ๕๐ ซึ่งมาในพระบาลีที่เกิดขึ้นเป็นส่วนประกอบของจิตเว้น

เยวาปนกธรรม เมื่อประมวลเข้าด้วยกันแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ขันธ์ ๔ ด้วยอรรถ

ว่าเป็นกอง ชื่อว่า เป็นอายตนะ ๒ เท่านั้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่ต่อตาม

ที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า เป็นธาตุ ๒ เหมือนกันนั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเป็น

สภาวะ ด้วยอรรถว่าเป็นสุญญตะ ด้วยอรรถว่าเป็นนิสสัตตะ. ในธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า เป็นอาหารมี ๓ เท่านั้น ด้วยอรรถว่านำมากล่าวคือเป็นปัจจัย ธรรม

ที่เหลือไม่ใช่เป็นอาหาร.

* บาลี เรียกว่า โกฏฐาสวาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ถามว่า ธรรมที่เหลือเหล่านั้นไม่เป็นปัจจัยของกันและกันหรือ หรือ

ว่าไม่เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีธรรมนั้นเป็นสมุฏฐานหรือ ? ตอบว่า ไม่เป็นปัจจัย

หามิได้ แต่ว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยอย่างนั้นก็ได้ ย่อมเป็นโดยประการ

อื่นก็ได้ เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อความเป็นปัจจัยแม้มีอยู่ ก็ย่อมเป็นปัจจัยเกินไป

ดังนั้น จึงตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น ว่าเป็นอาหาร.

ถามว่า ตรัสว่าอย่างไร ? ตอบว่า บรรดาอาหารเหล่านั้น ผัสสาหาร

เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่จิตและเจตสิกเป็นปัจจัยเหล่านั้น และย่อมนำมา

ซึ่งเวทนา ๓. มโนสัญเจตนาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อม

นำมาซึ่งภพ ๓. วิญญาณาหาร ย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น และย่อมนำมา

ซึ่งปฏิสนธิ นามและรูป.

ถามว่า วิญญาณาหารนั้นเป็นวิบากอย่างเดียว ส่วนวิญญาณนี้เป็น

กุศลวิญญาณ มิใช่หรือ. ตอบว่า เป็นกุศลวิญญาณแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

กุศลวิญญาณนั้น ท่านก็เรียกว่า วิญญาณาหารเหมือนกัน เพราะเป็นสภาพ

เหมือนกับวิปากวิญญาณาหารนั้น. อีกย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๓ เหล่านี้ ตรัส

เรียกว่า อาหาร เพราะอรรถว่าเป็นธรรมอุปถัมภ์. จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็น

ปัจจัยโดยเป็นอุปถัมภกปัจจัย แก่สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย เหมือนกพฬิงการา-

หารเป็นปัจจัยแก่รูปกาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า อรูป-

อาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตธรรม และแก่รูปทั้งหลายที่มีอาหารนั้นเป็น

สมุฏฐาน ด้วยอาหารปัจจัย.

อีกนัยหนึ่ง ก็ธรรมทั้ง ๓ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า

อาหาร ดุจกพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแห่งสันตติ (ความสืบต่อ) ในภายใน

จริงอยู่ กพฬิงการาหารเป็นปัจจัยพิเศษแก่รูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกพฬิงกา-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ราหารเป็นอาหาร ในนามกายผัสสะเป็นปัจจัยพิเศษแก่เวทนา มโนสัญเจตนา

เป็นปัจจัยพิเศษแก่วิญญาณ. วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษแก่นามรูป. เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้เพราะ

อาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ ไม่อาศัยอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ เช่นกับที่

ตรัสว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ฉะนั้น.

ก็ธรรม ๘ เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มนะ

โสมนัส ชีวิตะ) ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี ธรรมที่เหลือ

ไม่ชื่อว่าเป็นอินทรีย์ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อินทรีย์ ๘ มีในสมัยนั้น.

ธรรม ๕ เท่านั้น ชื่อว่า เป็นองค์ฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่ง เพราะ

เหตุนั้น จึงตรัสว่า ฌานมีองค์ ๕ ดังนี้. ธรรม ๕ เท่านั้น ชื่อว่าเป็นองค์มรรค

เพราะอรรถว่านำออก และเพราะอรรถเป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มรรคมีองค์ ๕ ดังนี้. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้ก็จริง แต่ว่าองค์มรรค

ในโลกิยจิต ไม่ได้วิรติ ๓ พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มรรคมีองค์ ๕.

ถามว่า แม้มรรคที่เป็นบุรพภาควิปัสสนาก็มีองค์ ๘ เหมือนโลกุตร-

มรรค ดังในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ยถาคตมคฺโคติ โข มคฺโค โหติ

นี้ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะความที่เนื้อความนี้ เป็น

การแสดงตามยถาคตศัพท์ แม้โลกิยมรรคก็พึงประกอบด้วยองค์ ๘ มิใช่หรือ.

ตอบว่า โลกิยมรรคไม่พึงประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะชื่อว่า สุตตันติกเทศนา

นี้ เป็นปริยายเทศนา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเธอบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นเทียว ดังนี้.

ส่วนเทศนานี้เป็นนิปปริยายเทศนา เพราะในโลกิยจิตไม่ได้วิรติ ๓ พร้อมกัน

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ในโลกิยมรรคได้มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ก็ธรรม ๗ เท่านั้น (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หิริ

โอตตัปปะ) ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. ธรรม ๓ เท่านั้น

(อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ชื่อว่า เป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นมูล. ธรรม

หนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า

เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญา

เพราะอรรถจำได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เจตนา เพราะอรรถว่า การตั้งใจ.

ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าคิดและทำให้วิจิตร.

ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง

และเพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า สัญญาขันธ์

เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าจำได้. ธรรมหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า

สังขารขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่าปรุงแต่ง. ธรรมหนึ่ง

เท่านั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง และเพราะอรรถว่า

คิดและกระทำให้วิจิตร. ธรรมนั่นแหละ ชื่อว่า มนายตนะ เพราะอรรถว่า

รู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าวแล้ว. ธรรมหนึ่งเท่านั้น

ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะอรรถว่าเป็นอธิบดี. ธรรม

หนึ่งเท่านั้น ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ. เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง และเพราะ

อรรถว่าเป็นสภาวะ เป็นสุญญตะ เป็นนิสสัตตะ ธรรมที่เหลือไม่ใช่ธรรม

(ตามที่กล่าวมา) ธรรมแม้ทั้งหมดที่เหลือเว้นจิต ชื่อว่า เป็นธรรมายตนะ

หนึ่ง และเป็นธรรมธาตุหนึ่งนั่นแหละ เพราะอรรถว่าเป็นอายตนะตามที่กล่าว

แล้ว ดังนี้.

ก็ว่าโดยอัปปนาวารนี้ว่า เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ดังนี้ แม้ใน

ที่นี้ท่านก็สงเคราะห์ คือ รวมเอาเยวาปนกธรรมตามที่กล่าวแล้วในหนหลังด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

คือว่า เยวาปนกธรรม ในที่นี้ฉันใด ในที่ทั้งปวงก็ฉันนั้น เพราะว่า ต่อจาก

นี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่วิจารเท่านี้ บัณฑิตพึงทราบวาระในนิทเทสและปฏินิทเทส

ทั้งหลายโดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแหละ แม้คำว่าโกฏฐาสวาร

ก็เป็นชื่อของสังคหวารนั่นแหละ.

จบสังคหวาร

บาลีสุญญตวาร

จิตดวงที่ ๑

[๙๘] ก็ธรรม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค

พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธรรมายตนะ

ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๙๙] ธรรม มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า

ธรรม มีในสมัยนั้น.

[๑๐๐] ขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า

ขันธ์ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

[๑๐๑] อายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

มนายตนะ ธรรมายตนะ เหล่านี้ชื่อว่า อายตนะ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๒ ] ธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ ธรรมธาตุ เหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๓] อาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่านั้นชื่อว่า อาหาร

มีในสมัยนั้น.

[๑๐๔] อินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

มนินทรีย์ โสมมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ เหล่านั้นชื่อว่า อินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๕] ฌาน มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นี้ชื่อว่า ฌาน มีในสมัยนั้น.

[๑๐๖] มรรค มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

นี้ชื่อว่า มรรค มีในสมัยนั้น.

[๑๐๗] พละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ เหล่านั้นชื่อว่า พละ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๘] เหตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่า เหตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๙] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า ผัสสะ

มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

[๑๑๐] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เวทนา

มีในสมัยนั้น.

[๑๑๑] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า สัญญา

มีในสมัยนั้น.

[๑๑๒] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า เจตนา

มีในสมัยนั้น.

[๑๑๓] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น.

[๑๑๔] เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

[๑๑๕] สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

[๑๑๖] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น.

[๑๑๗] วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น.

[๑๑๘] มนายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

มนายตนะ มีในสมัยนั้น.

[๑๐๙] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า มนินทรีย์

มีในสมัยนั้น.

[๑๒๐] มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

มโนวิญญาณธาตุ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

[๑๒๑] ธรรมายตนะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมายตนะ มีใน

สมัยนั้น.

[๑๒๒] ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ มีในสมัยนั้น.

[๑๒๓] หรือว่า นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตวาร จบ

จิตดวงที่ ๑ จบ

จิตดวงที่ ๒

[๑๒๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีกาย

ชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๒ จบ

จิตดวงที่ ๓

[๑๒๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ

วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ

อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กาย-

ปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๒๖] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗

ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๒๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ

อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ

จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา

จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิคตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๓ จบ

จิตดวงที่ ๔

[๑๒๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมี

การชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๔ จบ

จิตดวงที่ ๕

[๑๒๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มี

โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ในสมัยใด ผัสสะ เวทหา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา

เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ

สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ จิตตปัสสัทธิ กายปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา

กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา

จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา

ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด

อยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๓๐] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า ผัสสะ มีในสมัยนั้น.

เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่

สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อัน

เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขา มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อุเบกขินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อุเบกขินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

[๑๓๑] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๓๒] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๓] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิ-

พละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา

อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปา-

คุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ

วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด

มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

จิตดวงที่ ๖

[๑๓๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นโดยมีการ

ชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๖ จบ

จิตดวงที่ ๗

[๑๓๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ

วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ

อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปา-

คุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๖] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมี

องค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑ ธรรม-

ธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๓๗] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ

อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ

จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญตา

จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ

สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ใน

สมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๗ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

จิตดวงที่ ๘

[๑๓๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่า ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ผัสสะ ฯสฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

จิตดวงที่ ๘ จบ

กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จบ

ทุติยภาณวาร จบ

อธิบายสุญญตวาร

จิตดวงที่ ๑

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มสุญญตวาร มีคำว่า ตสฺมึ โข ปน

สมเย ธมฺมา โหนฺติ ดังนี้ สุญญตวารนั้นกำหนดไว้ ๒ อย่าง ด้วยสามารถ

แห่งอุทเทส และนิทเทส. บรรดาอุทเทสและนิทเทสเหล่านั้น วาระว่าด้วย

อุทเทสจิตไว้เป็น ๒ ส่วน รวมทั้งบทว่า ธมฺมา โหนฺติ. ก็ในส่วนทั้งปวง

ท่านมิได้กล่าวกำหนดนับว่า เป็น ๔ เป็น ๒ และเป็น ๓ ดังนี้. ถามว่า

เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะกำหนดไว้ในสังคหวารแล้ว ด้วยว่า ธรรม

ทั้งหลายที่กำหนดไว้ในสังคหวารนั้นนั่นแหละท่านก็กล่าวไว้ แม้ในสุญญต-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

วารนี้ จริงอยู่ ในสุญญตวารนี้ ย่อมไม่ได้สัตว์ หรือภาวะ หรืออัตตา

ก็ธรรมทั้งหลาย ตรัสไว้เพื่อแสดงสุญญตา (ความว่าง) นี้ว่า ธรรมเหล่านี้

สักว่าเป็นธรรม ไม่มีสาระ ไม่เป็นปริณายก เพราะฉะนั้น ในวาระแห่ง

อุทเทสนี้ พึงทราบเนื้อความ อย่างนี้ว่า

ในสมัยใด กามาวจรมหากุศลจิต ดวงที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น ธรรมเกิน

๕๐ ที่เกิดขึ้นด้วยองค์ประกอบของจิต ในสมัยนั้น ธรรมนั่นแหละ ย่อมมี

ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวะ ไม่ใช่อะไร ๆ อื่น คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ภาวะ

ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่โปสะ ไม่ใช่บุคคล. อนึ่ง ธรรมนั้น ย่อมชื่อว่า ขันธ์

เพราะอรรถว่าเป็นกอง. ในบททั้งปวงพึงทราบการประกอบเนื้อความโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะองค์ฌานอื่นจากฌาน หรือว่าองค์มรรคอื่นจากมรรคไม่มี

ฉะนั้น ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ฌานย่อมมี มรรคย่อมมี ดังนี้.

จริงอยู่ ที่ชื่อว่า ฌาน ก็เพราะอรรถว่าการเข้าไปเพ่งโดยแท้ ที่ชื่อว่า มรรค

ก็เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนั่นแหละ สัตว์หรือว่าภาวะ อย่างใดอย่างหนึ่งอื่นไม่มี

พึงทราบการประกอบเนื้อความในบททั้งปวง อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. นิทเทส-

วาร มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบสุญญตวาร และ

จบการพรรณนาอรรถแห่ง

ปฐมจิตซึ่งอธิบายแล้วประดับ

ด้วยมหาวารทั้ง ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

อธิบายจิตดวงที่ ๒

บัดนี้ เพื่อแสดงมหากุศลจิตมีจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น จึงเริ่มคำเป็นต้น

ว่า กตเม ธมฺมา ดังนี้อีก. แม้ในจิตเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบมหาวาระ

ดวงละ ๓ วาระโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐมจิต และไม่ใช่มหาวาระอย่างเดียว

เท่านั้น แม้อรรถแห่งบททั้งปวงเช่นกับคำที่กล่าวในปฐมจิต ก็พึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. เพราะว่า เบื้องหน้านี้ไปข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนา

ตามลำดับบท เบื้องต้นพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งจิตดวงที่ ๒ ก่อน.

คำว่า สสขาเรน นี้เท่านั้นเป็นคำยังไม่เคยพรรณนา พึงทราบ

เนื้อความแห่งคำว่า สสขาเรน นั้น. ธรรมที่ชื่อว่า สสังขาร (การชักชวน)

เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร อธิบายว่า มีสังขารนั้น คือ มีการประกอบ มีอุบาย

มีปัจจัยเป็นหมู่ จริงอยู่ ปฐมจิต (มหากุศลจิตดวงที่ ๑) ย่อมเกิดขึ้นด้วย

หมู่แห่งปัจจัยมีอารมณ์เป็นต้น อันใด จิตดวงที่ ๒ นี้ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยหมู่

แห่งปัจจัยโดยมีปโยคะ มีอุบายนั้นเหมือนกัน.

พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๒ นั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปใน

พระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่ในที่สุดแห่งวิหาร เมื่อถึงเวลากวาดลานพระเจดีย์

หรือถึงเวลาบำรุงพระเถระ หรือถึงวันฟังธรรม ก็คิดว่า เมื่อเราไปแล้วกลับมา

จักไกลยิ่ง เราจักไม่ไป ดังนี้ แล้วคิดอีกว่า ชื่อว่า การปัดกวาดลาน

พระเจดีย์ หรือการบำรุงพระเถระ หรือการไม่ไปฟังธรรมไม่สมควรแก่ภิกษุ

เราจักไป ดังนี้ จึงไป. กุศลจิตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้กระทำปโยคะของตน

หรือถูกผู้อื่นแสดงโทษในการไม่ทำวัตรเป็นต้น และอานิสงส์ในการกระทำแล้ว

กล่าวสอนอยู่ หรือแก่ภิกษุที่ถูกสั่งให้กระทำว่า เจ้าจงมาจงกระทำสิ่งนี้ ดังนี้

ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นโดยมีสังขาร มีหมู่แห่งปัจจัย ดังนี้.

จบจิตดวงที่ ๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

อธิบายจิตดวงที่ ๓

ในจิตดวงที่ ๓ บทว่า าณวิปฺปยุตต ความว่า จิตไม่ประกอบ

ด้วยญาณ ชื่อว่า ญาณวิปปยุต ถึงจิตญาณวิปปยุตนี้จะร่าเริงยินดีแล้วใน

อารมณ์ แต่ว่าในจิตดวงที่ ๓ นี้ไม่มีญาณเป็นเครื่องกำหนด เพราะฉะนั้น

จิตที่เป็นญาณวิปปยุตนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นในกาลที่พวกเด็กเล็ก ๆ

เห็นภิกษุแล้วไหว้ด้วยคิดว่า พระเถระนี้ของพวกเราดังนี้ และในกาลต่าง ๆ

มีการไหว้พระเจดีย์และการฟังธรรมเป็นต้น โดยนัยนั้นนั่นแหละ ก็ในพระบาลี

จิตดวงที่ ๓ นี้ ไม่มีปัญญาในที่ ๗ แห่ง คำที่เหลือเป็นไปตามปกติ คือ เช่นกับ

ที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.

จบจิตดวงที่ ๓

อธิบายจิตดวงที่ ๔

แม้ในจิตดวงที่ ๔ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่จิตดวงที่ ๔ นี้ เพราะพระ-

บาลีว่า สสขาเรน (การชักชวน) พึงทราบว่า ย่อมมีในกาลที่มารดาบิดา

จับศีรษะเด็กเล็ก ๆ ให้ก้มไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ปรารถนา

จะไหว้ก็ร่าเริงยินดี.

จบจิตดวงที่ ๔

อธิบายจิตดวงที่ ๕ เป็นต้น

ในจิตดวงที่ ๕ บทว่า อุเปกฺขาสหคต ได้แก่ สัมปยุตด้วย

อุเบกขาเวทนา เพราะว่า อุเบกขาสหคตะนี้ ย่อมเป็นกลางในอารมณ์ ในจิต

ดวงที่ ๕ นี้ มีญาณเป็นเครื่องกำหนดโดยแท้. ก็ในจิตดวงที่ ๕ นี้ในบาลี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุเบกขาย่อมมีในหมวด ๔ แห่งฌาน อุเบกขินทรีย์

ย่อมมีในหมวด ๘ แห่งอินทรีย์ ดังนี้ แล้วทรงทำเทศหาโดยการปฏิเสธสิ่งที่

น่ายินดี ไม่น่ายินดี สุข ทุกข์ในนิทเทสแห่งบทว่า เวทนา เป็นต้น แม้ทั้งปวง

แล้วตรัสอทุกขมสุขเวทนา พึงทราบความที่อทุกขสุขเวทนานั้นเป็นอุเบกขินทรีย์

ด้วยสามารถแห่งการครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งมัชฌัตตา. อนึ่ง เมื่อ

ว่าโดยลำดับแห่งบทไม่มีปีติในฐานะหนึ่งเลย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕๕ ท่าน

จึงยกขึ้นสู่พระบาลีด้วยสามารถแห่งองค์ประกอบของจิต พึงทราบวินิจฉัยใน

โกฏฐาสทั้งปวง และในวาระทั้งปวงด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น.

พึงทราบจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ โดยนัยที่กล่าวแล้วในจิตดวงที่ ๒

ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละ. ในจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ การเปลี่ยนไป

แห่งเวทนาและการลดปีติอย่างเดียว. คำที่เหลือ กับนัยแห่งการเกิดขึ้นเป็น

เช่นนั้นเหมือนกัน. แม้ในการบริกรรมของกรุณาและมุทิตา ความเกิดขึ้นแห่ง

จิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ ได้รับรองแล้วในมหาอรรถกถาทีเดียว.

จิตเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง.

กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยา-

วัตถุ ๑๐ ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร ? ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ

๑๐ เหล่านี้ คือ

๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน

๒. สีลมัย " " ด้วยศีล

๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา

๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม

๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ

๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา

๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม.

บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น ทานนั่นแหละชื่อว่า ทานมัย เป็น

การทำบุญ (ปุญฺกิริยา) การทำบุญนั้นด้วย เป็นวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งอานิสงส์

ทั้งหลายนั้น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. ในบุญกิริยาวัตถุ

แม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลให้ปัจจัยเป็นต้น ในบรรดา

ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น หรือทานวัตถุ

๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้นนั้น เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ ในกาลเบื้องต้น ๑

ในกาลบริจาค ๑ ในการตามระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในกาลภายหลัง ๑ จำเดิม

แต่การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยเป็นต้นนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการ

ให้ (ทานมย).

เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้สมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ หรือศีล ๑๐

หรือของผู้ไปสู่วิหารด้วยคิดว่า เราจักบวชก็ดี ผู้บวชอยู่ก็ดี ผู้ยังมโนรถให้ถึง

ที่สุดแล้วรำพึงว่า เราบวชแล้วเป็นการดียิ่งหนอดังนี้ก็ดี ผู้สำรวมพระปาฏิโมกข์

ก็ดี ผู้พิจารณาปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้นก็ดี ผู้สำรวมทวารมีจักขุทวารเป็นต้น

ในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลองก็ดี ผู้ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์ก็ดี ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ

สำเร็จด้วยศีล (สีลมย).

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

เจตนาที่เป็นไปของบุคคลผู้พิจารณาจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้พิจารณาโสต ฯลฯ ผู้พิจารณามนะ ฯสฯ ผู้พิจารณา

รูปทั้งหลาย ฯลฯ ผู้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ผู้พิจารณาจักขุวิญญาณ ฯลฯ

ผู้พิจารณามโนวิญญาณ. ผู้พิจารณาจักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณามโนสัมผัส ผู้

พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ผู้พิจารณาเวทนาอันเกิดแต่ มโน

สัมผัส ผู้พิจารณารูปสัญญา ฯลฯ ผู้พิจารณาชรามรณะโดยความเป็นของไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยอุบายแห่งวิปัสสนา (วิปสฺสนามคฺเคน)

ที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค หรือว่าเจตนาแม้ทั้งหมดที่ไม่

ถึงอัปปนาในอารมณ์ ๓๘ อย่าง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา

(ภาวนามย).

พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต โดยเห็นผู้ใหญ่แล้วทำการต้อนรับ

การรับบาตรจีวร การอภิวาท และการหลีกทางให้เป็นต้น.

พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่สหรคต ด้วยการขวนขวายในกาลขวนขวาย

ทางกาย ด้วยสามารถทำวัตรและทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เจริญกว่าก็ดี โดยเห็น

ภิกษุผู้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วรับบาตรชักชวนให้เข้าไปรับภิกษา

ในบ้านก็ดี โดยได้ยินคำว่า ท่านจงไป จงนำบาตรมาให้ภิกษุทั้งหลาย แล้ว

รีบไปนำบาตรมาให้เป็นต้นก็ดี.

เมื่อบุคคลให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมเป็นต้น แล้วให้ส่วน

บุญว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์

ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ.

ถามว่า ก็เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญนี้ บุญย่อมไม่หมดไปหรือ ตอบว่า

ย่อมไม่หมดไป เหมือนอย่างว่า บุคคลตามประทีปให้โพลงอยู่หนึ่งดวง แล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ก็ยังประทีปหนึ่งพันดวงให้สว่างโพลงได้เพราะประทีปหนึ่งดวงนั้น ใคร ๆ ไม่

พึงพูดได้ว่า ประทีปดวงแรกสิ้นไปแล้ว แต่ว่า แสงสว่างแห่งประทีปดวง

หลัง ๆ กับประทีปดวงแรกรวมกัน แล้วก็เป็นแสงสว่างมากยิ่ง ฉันใด เมื่อ

บุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าบุญทั้งหลายที่จะลดลงไปย่อม

ไม่มี พึงทราบว่า ย่อมมีแต่เจริญขึ้นเท่านั้น.

พึงทราบบุญกิริยาวัตถุที่เกิดจากการอนุโมทนา ด้วยสามารถแห่งการ

อนุโมทนาส่วนบุญที่บุคคลอื่นให้แล้ว หรือว่าด้วยบุญกิริยาอื่น ๆ ด้วยการ

เปล่งว่า สาธุ (ดี) สุฏฺฐุ (ดี) ดังนี้.

ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความอยากโดยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จักเราว่า

เป็นพระธรรมกถึก ดังนี้ แล้วเป็นผู้หนัก (มาก) ด้วยลาภแสดงธรรม การ

แสดงธรรมนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ไม่หวังผลตอบแทนแสดงธรรม

ที่ตนชำนาญแก่ชนเหล่าอื่น โดยอุบายที่จะให้บรรลุวิมุตติ การแสดงนี้ ชื่อว่า

บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการแสดง (เทสนามย).

ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อฟังธรรม ย่อมฟังด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้เรา

ว่าเป็นผู้มีศรัทธา การฟังนั้นไม่มีผลมาก. ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมฟังธรรม

ด้วยจิตอ่อนโยน ด้วยการแผ่ไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลว่า ผลมากจักมีแก่เราด้วย

อาการอย่างนี้ การฟังธรรมนั้น ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการฟัง

(สวนมย).

เมื่อบุคคลทำความเห็นให้ตรง ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ ที่เกิดจากการ

ทำความเห็นให้ตรง. แต่ท่านทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะ

นิยม (คือเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์) ของบุญกิริยาทั้งหมด เพราะว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

เมื่อบุคคลจะทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นบุญมีผลมาก เพราะความเห็น

อันตรงนั่นเอง ดังนี้.

ก็บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยย่อมเกิดขึ้น

แก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักให้ทานก่อน เมื่อบุคคลกำลังให้ทาน บุญกิริยาวัตถุ

ที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ทานอันเราให้แล้วดังนี้

บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัยก็เกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทานมัย

จะมีได้ก็เพราะทำเจตนาทั้ง ๓ คือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา

ให้เป็นอันเดียวกัน. แม้ศีลมัย ก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดอยู่ว่า เราจักบำเพ็ญ

ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ในเวลาที่กำลังบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ศีลมัยก็เกิดขึ้น เมื่อ

พิจารณาว่า เราได้บำเพ็ญศีลแล้ว ศีลมัยก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาว่า บุญกิริยา

วัตถุที่เป็นศีลมัยจะมีได้ก็เพราะเจตนาแม้ทั้งปวงนั้นเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ แม้

บุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรม เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้คิดว่า เราจักทำ

ความเห็นให้ตรง ดังนี้ เมื่อบุคคลกำลังทำความเห็นให้ตรง ทิฏฐุชุกรรมก็

ย่อมเกิดขึ้น เมื่อบุคคลพิจารณาอยู่ว่า ความเห็นอันเราทำให้ตรงแล้ว ดังนี้

ทิฏฐุชุกรรมก็ย่อมเกิดขึ้น ธรรมดาบุญกิริยาวัตถุที่เป็นทิฏฐุชุกรรมจะมีได้ก็

เพราะทำเจตนาแม้ทั้งหมดเหล่านั้นให้เป็นอันเดียวกัน ก็บุญกิริยาวัตถุใน

พระสูตรมีมาเพียง ๓ เท่านั้น.

พึงทราบการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุแม้นอกนี้ ลงในบุญกิริยาวัตถุ ๓

เหล่านั้น จริงอยู่ ความประพฤติอ่อนน้อมและการขวนขวาย ย่อมสงเคราะห์

เป็นศีลมัยเท่านั้น. การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญสงเคราะห์เข้าใน

ทานัย. การแสดงธรรม การฟัง และทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์เข้าในภาวนามัย.

ส่วนชนเหล่าใดกล่าวว่า ทิฏฐุชุกรรมเป็นลักษณะแห่งความสมบูรณ์กว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

บุญกิริยาทั้งปวง ทิฏฐุชุกรรมของชนเหล่านั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงใน

บุญกิริยาวัตถุแม้ทั้ง ๓. บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี ๓ โดยพิสดารมี ๑๐

ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น เมื่อบุคคลคิดอยู่ว่า เราจักให้ทาน ดังนี้

ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งโดยแท้. แม้เมื่อให้ (ทาน)

ก็ย่อมให้ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อ

พิจารณาว่า ทานอันเราถวายแล้วดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต

๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์

ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้

กำลังบำเพ็ญศีลอยู่ ก็บำเพ็ญด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง

นั่นแหละ แม้พิจารณาว่า ศีลเราบำเพ็ญแล้ว ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจร-

กุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน แม้เมื่อคิดว่า เราจักเจริญภาวนา

ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ

แม้เมื่อเจริญภาวนา ก็ย่อมเจริญด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง

นั่นแหละ แม้เมื่อพิจารณาว่า ภาวนาเราเจริญแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วย

กามาวจรกุศล ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.

แม้เมื่อคิดว่า เราจักทำความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ก็ย่อมคิดด้วยกามา-

วจรกุศลจิต ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อจะกระทำก็ย่อมกระทำ

ด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง เหล่านั้นดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า

ความอ่อนน้อมเรากระทำแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘

เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักทำกรรมคือการขวนขวายทาง

กาย แม้เมื่อจะการทำ แม้เมื่อพิจารณาว่า เราทำการขวนขวายแล้ว ก็ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

พิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจัก

ให้ส่วนบุญ ดังนี้ แม้เมื่อกำลังให้ แม้เมื่อพิจารณา ส่วนบุญอันเราให้แล้ว

แม้คิดว่าเราจักอนุโมทนาส่วนบุญ หรือกุศลที่เหลือ ดังนี้ ก็คิดด้วยกามาวจร-

กุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่ออนุโมทนา ก็ย่อมอนุโมทนา

ด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อจะพิจารณาว่า คำ

อนุโมทนาเราอนุโมทนาแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น

ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักแสดงธรรม ก็คิดด้วยกามาวจรกุศล ๘

เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อแสดง ก็ย่อมแสดงด้วยกามาวจรกุศล ๘

เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อพิจารณาว่า เราแสดงเทศนาแล้ว ดังนี้

ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า

เราจักฟังธรรม ดังนี้ ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศล ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง

แม้เมื่อฟังก็ย่อมฟังด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อ

พิจารณาว่า เราฟังธรรมแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘

เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อคิดว่า เราจักกระทำทิฏฐิให้ตรง ดังนี้

ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทำ

ความเห็นให้ตรง ก็ย่อมกระทำโดยญาณสัมปยุต ๔ ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทำ

พิจารณาว่า ทิฏฐิอันตรงเรากระทำแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต

๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง.

ว่าด้วยอนันตะ (สิ่งไม่มีที่สุด) ๔ อย่าง

ในฐานะ (แห่งกามาวจรกุศลจิต ๘) นี้ ท่านถือเอาอนันตะ ๔ อย่าง

จริงอยู่ อนันตะ มี ๔ อย่าง คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

อากาโส อนนฺโต (อากาศไม่มีที่สุด)

จกฺกวาฬานิ อนนฺตานิ (จักรวาลไม่มีที่สุด)

สตฺตนิกาโย อนนฺโต (หมู่สัตว์ไม่มีที่สุด)

พุทฺธาณ อนนฺต (พุทธญาณไม่มีที่สุด).

จริงอยู่ การกำหนดอากาศว่า ในทิศบูรพา หรือในทิศปัจฉิม ในทิศ

อุดร ในทิศทักษิณว่ามีเท่านี้ร้อยโยชน์ หรือเท่านี้เป็นโยชน์ ย่อมไม่ได้ ถ้าว่า

เอาค้อนเหล็กเท่าขุนเขาสิเนรุทำแผ่นดินให้แยกเป็นส่วนแล้วโยนไป ค้อนเหล็ก

ก็พึงตกไปข้างล่างโดยแท้ หามีที่รองรับไว้ได้ไม่ ชื่อว่า อากาศ เป็นอนันตะ

(คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

การกำหนดแม้จักรวาลทั้งหลายว่ามีหลายร้อย หรือว่าหลายพัน หรือว่า

หลายแสนจักรวาล หาได้ไม่. จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ท้าวมหาพรหมทั้ง ๔ ผู้เกิด

ในอกนิฏฐภพ ผู้ประกอบด้วยความเร็ว ผู้สามารถผ่านแสนจักรวาลไปด้วย

เวลาเพียงเท่าที่ลูกศรที่เร็วมากของนายขมังธนูผู้มีกำลังแข็งแรงผ่านเงาต้นตาล

ด้านขวาง พึงวิ่งไปโดยเร็วนั้น ด้วยคิดว่า เราจักดูที่สุดจักรวาล ดังนี้ ท้าว-

มหาพรหมเหล่านั้น ไม่ทันเห็นที่สุดแห่งจักรวาล ก็จะพึงปรินิพพานเสียโดยแท้

ชื่อว่า จักรวาล ทั้งหลายเป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

ก็ประมาณแห่งสัตว์ที่อยู่ในน้ำ และที่อยู่บนบกทั้งหลายในจักรวาล

ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี หมู่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นอนันตะ

(คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

พุทธญาณ ชื่อว่า เป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) แม้กว่าอนันตะ

ทั้ง ๓ นั้นโดยแท้. กุศลจิตที่เป็นกามาวจร สหรคตด้วยโสมนัสเป็นญาณสัมปยุต

เป็นอสังขาริก ย่อมเกิดขึ้นมากมายแก่สัตว์หนึ่งของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีประมาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ โดยประการฉะนี้ กุศลจิตมากดวงย่อมเกิดขึ้น

แก่สัตว์แม้มาก. กุศลจิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมถึงความเป็นอัน

เดียวกัน ด้วยอรรถว่าเป็นกามาวจร ด้วยอรรถว่า สหรคตด้วยโสมนัส

ด้วยอรรถว่าเป็นญาณสัมปยุต ด้วยอรรถว่าเป็นอสังขาริก. มหาจิตที่สหรต

ด้วยโสมนัส เป็นติกเหตุกะ เป็นอสังขาริก มีดวงเดียวเท่านั้น มหาจิตเป็น

อสังขาริกก็เหมือนกัน ฯลฯ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาญาณวิปยุตเป็นทุเหตุกะ

เป็นสสังขาริก ก็เหมือนกันแล.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดกามาวจรกุศลจิตแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

แก่สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในจักรวาลที่ไม่มีประมาณอย่างนี้ ด้วยพระสัพ-

พัญญุตญาณ เป็นดุจทรงชั่งอยู่ด้วยตราชั่งใหญ่ ดุจใส่ในทะนานนับอยู่ฉะนั้น

ทรงกระทำให้เป็นส่วน ๘ ส่วนเท่านั้นแล้วทรงแสดงจิตเหล่านั้นว่า ๘ เท่านั้น

โดยสภาวะเป็นเช่นเดียวกัน.

ในฐานะนี้ ชื่อว่า การประมวลซึ่งบุญ ๖ อย่าง ที่ทรงถือ

เอาอีก จริงอยู่ บุญที่กระทำเอง (สยงฺการ) ก็มี บุญที่ผู้อื่นกระทำ (ปรงฺการ)

ก็มี บุญที่ทำด้วยมือของตนก็มี บุญที่สั่งให้คนอื่นกระทำก็มี บุญที่เกิดด้วย

ความไม่รู้ก็มี บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุญที่ทำตามธรรมดาของตน ชื่อว่า

สยังการ. บุญที่เห็นคนอื่นกระทำก็กระทำ ชื่อว่า ปรังการ. บุญที่ทำด้วย

มือของตนเอง ชื่อว่า สาหัตถิกะ. บุญที่ใช้ให้บุคคลกระทำ ชื่อว่า อาณัตติกะ.

บุญที่เชื่อกรรมและผลแล้วกระทำ ชื่อว่า สัมปชานกตะ. บุญที่ไม่รู้กรรมก็ดี

ผลก็ดีกระทำแล้ว ชื่อว่า อสัมปชานกตะ.

บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุคคลแม้เมื่อกระทำเองก็ย่อมกระทำ

ด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ เมื่อจะทำอาศัยผู้อื่นก็ดี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

เมื่อกระทำด้วยมือของตนก็ดี เมื่อใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ดี ก็ย่อมการทำด้วยกุศลจิต

๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน. แต่การกระทำด้วยความรู้ ย่อม

ประกอบด้วยญาณ ๔ ดวง. การกระทำด้วยความไม่รู้ ย่อมไม่ประกอบด้วย

ญาณ ๔ ดวง

ในฐานะนี้แม้อื่นอีก พระผู้พระภาคเจ้าทรงถือเอา ทักขิณา-

วิสุทธิ ๔ อย่าง คือ ความที่ปัจจัยทั้งหลายเกิดขึ้นโดยธรรม ( ธัมมิกะ) ๑

ความที่เจตนามีกำลังมาก (เจตนามหัตตะ) ๑ วัตถุสมบัติ ๑ ความเป็นผู้มากยิ่ง

ด้วยคุณ (คุณาติเรกตา) ๑.

บรรดาทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่างเหล่านั้น ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดย

ชอบธรรม ชื่อว่า ธัมมิกะ. ก็เมือบุคคลเชื่อมั่นแน่วแน่แล้วให้อยู่ ชื่อว่า

เจตนามหัตตะ. ความเป็นแห่งพระขีณาเสพ ชื่อว่า วัตถุสมบัติ. ความที่

พระขีณาสพนั่นแหละออกจากนิโรธสมาบัติ ชื่อว่า คุณาติเรกตา. เมื่อบุคคล

สามารถประมวลทักขิณาวิสุทธิ ๔ เหล่านั้นมาแล้วถวายอยู่ กามาวจรกุศลย่อม

ให้วิบากในอัตภาพนี้โดยแท้ ดุจกามาวจรกุศลที่ให้วิบากแก่ปุณณกเศรษฐี นาย

กาลวลิยะ และนายสุมนมาลาการเป็นต้น.

ก็เมื่อว่าโดยย่อ กามาวจรกุศลจิตนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นอย่างเดียว

เท่านั้น ด้วยอรรถว่าจิตเป็นสภาพวิจิตร เพราะทำให้วิจิตร. ว่าด้วยอำนาจ

แห่งเวทนาเป็น ๒ อย่าง คือ สหรคตด้วยโสมนัส และสหรคตด้วยอุเบกขา.

อสังขาริกมหาจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัส เป็นญาณสัมปยุต และอสังขาริกมหาจิต

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นญาณสัมปยุต เป็น ๔ อย่าง ด้วยสามารแห่งการ

แสดงจำแนกญาณ ชื่อว่า เป็นอย่างเดียวเท่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นญาณ

สัมปยุต และเพราะอรรถว่าเป็นอสังขาริก. สสังขาริกที่เป็นญาณสัมปยุต

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

อสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุต และสสังขาริกที่เป็นญาณวิปปยุตก็เหมือนกัน

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ในกามาวจรกุศลจิตนี้จึงมี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการ

แสดงการจำแนกญาณ ว่าโดยการจำแนกอสังขารและสสังขารแล้วก็ได้กุศลจิต

๘ ดวงเท่านั้น คือ อสังขาริก ๔ ดวง สสังขาริก ๔ ดวง. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงเป็นพระสัพพัญญู ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย ทรงเป็นมุนี

ผู้ประเสริฐสุด ทรงทราบกามาวจรกุศลจิตเหล่านั้นตามความเป็นจริงแล้วจึง

ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก

ทรงทำให้ง่าย ดังนี้แล.

นิทเทสว่าด้วยกามาวจรกุศลจิต

ในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินีจบบริบูรณ์

รูปาวจรกุศล กสิณ ฌาน

จตุกนัย

[๑๓๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

[๑๔๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ จิตถึงความ

เป็นธรรมชาติผุดขึ้นดวงเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๒] สังขารขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

[๑๔๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย จึงเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

พระอริยะทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นผู้เพ่งโดยอุปบัติ มีสติอยู่เป็นสุข

ดังนี้ เพราะฌานใด บรรลุตติยฌานนั้นที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๔] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์

ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯสฯ

[๑๔๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

[๑๔๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌาน

ที่มีปรวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขเเละทุกข์ได้เพราะโสมนัส

และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใดมีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๔๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

จตุกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายรูปาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อจะแสดงรูปาวจรกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำ

เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ( ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? ) ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า รูปูปตฺติยา มคฺค ภาเวติ (พระโยคาวจร

เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ) ดังนี้ ความว่า รูปภพท่านเรียกว่า รูป. คำว่า

อุปปตฺติ (ความเข้าถึง) ได้แก่ ความบังเกิด คือความเกิด ความเกิดพร้อม.

คำว่า มคฺโค ได้แก่ อุบาย. ก็ความหมายถ้อยคำในคำว่า มรรค นี้ ดังนี้.

สภาวธรรมที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่า ย่อมค้นหา คือ ย่อม

แสวงหา ย่อมให้เกิด ย่อมให้สำเร็จซึ่งความเข้าถึงนั้น. มีอธิบายว่า ความเข้าถึง

ความบังเกิด ความเกิด ความเกิดพร้อมย่อมมีในรูปภพด้วยมรรคใด พระ-

โยคาวจรย่อมเจริญมรรคนั้น ดังนี้. ถามว่า ก็ความเข้าถึงรูปภพด้วยมรรคนี้

ได้โดยนิยมหรือ. ตอบว่า ไม่ใช่โดยนิยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเจริญสมาธิ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัด

ย่อมรู้พร้อม ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ดังนี้ เพราะว่า แม้การก้าวล่วง

รูปภพโดยส่วนแห่งการแทงตลอดย่อมมีไม่ได้ ก็แต่ว่า ชื่อว่ามรรคอื่นนอกจาก

มรรคนี้ เพื่อความเข้าถึงรูปภพย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พระโยคาวจร

เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดยอรรถ ธรรมดามรรคนี้

เป็นเจตนาก็มี เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาก็มี เป็นทั้ง ๒ คือ เป็นทั้งเจตนา

ทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็มี.

จริงอยู่ เจตนา ชื่อว่า มรรค ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เรา (ตถาคต) ย่อมรู้ทั่วถึงนรก และมรรค (เจตนา) ที่ให้สัตว์ไปสู่นรก ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ชื่อว่า มรรค (ทาง)ดังในประโยคนี้ว่า

ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ กุศล-

ทาน เป็นทางดำเนินของสัตบุรุษ ก็สัตบุรุษ

ย่อมกล่าวทางนี้เป็นทางทิพย์ เพราะว่า

บุคคลย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้ ดังนี้.

เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมยุตด้วยเจตนาก็ดี ชื่อว่า มรรค ในพระสูตร

มีสังขารูปปัตติสูตรเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรค นี้เป็นปฏิปทา

ดังนี้. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา เพราะพระบาลีว่า

ฌาน ดังนี้. แต่เพราะเจตนาสัมปยุตด้วยฌาน ย่อมเป็นเหตุให้ปฏิสนธิ ฉะนั้น

เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมสมควรเหมือนกัน.

คำว่า ภาเวติ (ย่อมเจริญ) ได้แก่ ย่อมให้เกิด คือย่อมให้บังเกิด

ย่อมให้เจริญ. เนื้อความแห่งความเจริญ (ภาวนา) ในที่นี้มีเพียงนี้ก่อน. แต่

ในที่อื่น ว่าด้วยความหมายแห่งอุปสรรค มีเนื้อความโดยเป็นอีกอย่างหนึ่ง

อย่างนี้ว่า สัมภาวนา (การยกย่อง) ปริภาวนา (การอบรม) วิภาวนา

(การชี้แจง)

บรรดาบททั้ง ๓ เหล่านั้น เนื้อความนี้ว่า ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลาย

ของเราในศาสนานี้ ย่อมยกเราในอธิศีลว่า พระสมณโคตะมีศีล

ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง ดังนี้ ชื่อว่า สัมภาวนา ได้แก่เชื่อมั่น.

เนื้อความนี้ว่า สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญา

อันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อม

หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบทีเดียว ดังนี้ ชื่อว่า ปริภาวนา ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

การอบรม. เนื้อความนี้ว่า เชิญท่านชี้แจงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เถิด ดังนี้ ชื่อว่า วิภาวนา ได้แก่ การชี้แจงทำเป็นข้อ.

ส่วนปฏิทานี้ว่า ดูก่อนอุทายี ยังมีข้ออื่นอีก เราได้บอกปฏิปทาแก่

สาวกทั้งหลาย โดยประการทั้งสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ชื่อว่าย่อม

เจริญสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยภาวนา เพราะอรรถว่า

ให้เกิดคือให้เจริญ. ในที่แม้นี้ ปฏิปทานี้เท่านั้นทรงประสงค์เอาแล้ว เพราะ

เหตุนั้น จึงตรัสว่า ภาเวติ ได้แก่ ย่อมให้เกิด คือให้บังเกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น

ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในกามาวจรกุศลนิทเทส ทรงกระทำเทศนา

มีธรรมเป็นประธาน แต่ในรูปวาจรนิทเทสไม่ทำเหมือนอย่างนั้น คือได้ทรงทำ

เทศนาบุคคลเป็นประธาน. ตอบว่า เพราะจะชำระปฏิทาให้หมดจด. จริงอยู่

รูปาวจรนิทเทสนี้ พระโยคาวจรพึงชำระให้หมดจดได้ด้วยปฏิปทา ๔ อย่างใด

อย่างหนึ่ง เว้นจากปฏิปทาเสียจะเกิดเหมือนกามาวจรได้ไม่. อนึ่ง ธรรมดา

ปฏิปทานี้ เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติยังมีอยู่ จึงมีอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดง

เนื้อความนั้น จึงทรงทำเทศนามีบุคคลเป็นประธาน จึงตรัสว่า พระโยคาวจร

เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ดังนี้.

คำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัดแล้ว คือเว้นแล้ว ก้าวล่วง

แล้วจากกามทั้งหลาย ก็ เอว อักษรในคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ พึงทราบ

ว่า ใช้ในอรรถว่า นิยม (แน่นอน) ก็เพราะ เอวอักษรมีอรรถว่า

แน่นอน ฉะนั้น จึงทรงแสดงซึ่งความที่กามทั้งหลายแม้ไม่มีอยู่ในสมัยเป็นที่

เข้าปฐมฌานอยู่นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานนั้น และแสดงถึงการบรรลุ

ปฐมฌานนั้น โดยการสละกามได้ขาดแล้ว. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ก็เมื่อบุคลกำหนดไปอย่างนี้ว่า สงัดจากกามทั้งหลาย ดังนี้ ฌานนี้จึงปรากฏ

ก็กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่ เพราะกามทั้งหลายยังอยู่ ฌานนี้

ก็เป็นไปไม่ได้ เปรียบเหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่ แสงสว่างแห่งประทีปก็ยัง

ไม่มี ฉะนั้น การบรรลุฌานนั้นได้ เพราะการสละกามเหล่านั้นนั่นแหละ

เปรียบเหมือนละฝั่งนี้จึงไปถึงฝั่งโน้นได้ เพราะฉะนั้น เอวอักษรนั้น จึงทำ

ความว่าแน่นอน ดังนี้.

ในปฐมฌานนั้น พึงมีคำท้วงว่า ก็เพราะเหตุไร เอวอักษรนี้ท่านกล่าว

ไว้ในบทต้นเท่านั้นไม่กล่าวไว้ในบทหลัง พระโยคาวจรแม้สงัดจากอกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้วพึงเข้าฌานอยู่ได้หรือ ? ตอบว่า ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนั้น

เพราะว่า เอวอักษรนี้ท่านกล่าวไว้ในบทต้น เพราะการสลัดออกซึ่งกามนั้น

ด้วยว่า ฌานนี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายนั่นเหละ เพราะเป็นเหตุ

ก้าวล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า

เนกขัมมะ คือการสลัดออกจากกามทั้งหลายนี้. อนึ่ง เอวอักษรนี้ แม้ในบทหลัง

ก็ควรนำมากล่าวไว้ในที่นี้เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า อิเธว ภิกฺขเว ปโม

สมโณ อิธ ทุติโย สมโน (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่หนึ่ง มีใน

ธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่สองก็มีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน ) ฉะนั้น. เพราะ

ใคร ๆ ที่ยังไม่สละอกุศลธรรมกล่าวคือนิวรณ์ แม้เหล่าอื่นจากกามนี้แล้ว ก็

ไม่อาจเข้าฌานอยู่ได้ ฉะนั้น พึงใช้เอวอักษรนี้แม้ในบททั้งสอง อย่างนี้ว่า

วิวจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺเจว อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้. ก็ด้วยพระดำรัส

ที่ไม่ทั่วไปว่า วิวิจฺจ นี้ วิเวกแม้ทั้งหมดมีตทังควิเวกเป็นต้น และกายวิเวก

เป็นต้น ย่อมรวมลงแม้ในบททั้งสองก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ พึงเห็นวิเวก

๓ เท่านั้น คือ กายวิเวก จิตตวิเวก วิขัมภนวิเวก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ก็ด้วยบทว่า กาเมหิ นี้ วัตถุกามทั้งหลายที่ตรัสไว้ในนิทเทส โดยนัย

เป็นต้นว่า วัถถุกามเป็นไฉน ? คือรูปที่น่าชอบใจ ดังนี้. และกิเลสกาม

ทั้งหลาย ตรัสไว้ในนิทเทสนั้นนั่นแหละ ในวิภังค์อย่างนี้ว่า ฉันทะชื่อว่ากาม

ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปกามชื่อว่าราคะ กามสังกัปป-

ราคะชื่อว่ากาม ธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กาม ดังนี้ อกุศลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

พึงเห็นว่ารวมกันในที่นี้แล. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อความว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ

(สงัดจากกามทั้งหลาย) จะพึงมีความหมายว่า สงัดแล้วจากวัตถุกามทั้งหลาย

บ้างก็สมควร. ด้วยคำว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นั้น ตรัสว่าเป็นกายวิเวก.

คำว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ (สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย)

อธิบายว่า สงัดแล้วจากกิเลสกามทั้งหลาย หรืออกุศลธรรมทั้งหมด ดังนี้ก็

สมควร. ด้วยคำว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นั้น ตรัสถึงจิตตวิเวก.

ก็ในบรรดาบททั้ง ๒ เหล่านั้น บทแรกย่อมเป็นอันตรัสการสละความสุขในกาม

เพราะตรัสถึงความสงัด จากวัตถุกามทั้งหลายนั่นแหละ บทที่สอง ตรัสอธิบาย

ถึงการกำหนดความสุขในเนกขัมมะ เพราะตรัสถึงความสงัดจากกิเลสกาม

ทั้งหลาย. ก็เพราะตรัสถึงความสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามด้วยประการฉะนี้

นั่นแหละ พึงทราบความหมายว่า บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยบทแรกตรัสการละ

สงัดกิเลสวัตถุ บทที่สองตรัสการละสังกิเลส. บทแรก ตรัสสละเหตุแห่งความโลเล

บทที่สองตรัสการสละเหตุความเป็นพาล ด้วยบทแรก ตรัสปโยคสุทธิ บทที่สอง

ตรัสอบรมอัธยาศัยของจิต ดังนี้ก็มี. ในกามตามคำว่า กาเมหิ นี้ ในฝ่าย

วัตถุกามมีนัยเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนในฝ่ายกิเลสกาม กามฉันทะนั่นแหละมี

ประเภทมิใช่น้อยด้วยคำเป็นต้นอย่างนี้ คือ ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม

ท่านประสงค์เอาว่า กาม. ก็กามฉันทะนั้นแม้นับเนื่องด้วยอกุศลธรรม แต่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌาน จึงตรัสไว้ส่วนหนึ่งในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า

บรรดากามเหล่านั้น กามฉันทะเป็นไฉน ?

อีกนัยหนึ่ง กามตรัสไว้ในบทแรกเพราะเป็นกิเลสกาม ในบทที่สอง

ตรัสไว้เพราะนับเนื่องในอกุศล. ก็เพราะกามนั้นแยกมิใช่น้อย จึงไม่ตรัส

ว่า กามโต แต่ตรัสว่า กาเมหิ ดังนี้. อนึ่ง แม้มีธรรมเหล่าอื่นที่เป็น

อกุศลธรรม แต่ตรัสเฉพาะนีวรณธรรมเท่านั้น โดยทรงถือนิวรณ์เป็นข้าศึก

และขดขวางองค์ฌานเบื้องสูงไว้ในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า ในมาติกาเหล่านั้น

ธรรมเป็นอกุศลเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ ดังนี้. จริงอยู่ นิวรณธรรม

ทั้งหลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน. อธิบายว่า นิวรณ์ทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ เป็น

ตัวกำจัด เป็นตัวพิฆาตองค์ฌานเหล่านั้น. จริงอย่างนั้น ในคัมภีร์เปฏกะ

กล่าวไว้ว่า สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท

วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็น

ปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา ด้วยอาการอย่างนี้ ในบททั้ง ๒ เหล่านั้น ย่อมเป็นอัน

ตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มกามฉันทะด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้ ตรัสวิเวก

เป็นเครื่องข่มนิวรณ์แม้ทั้ง ๕ ด้วยบทว่า วิวจฺจ อกุสเลหิ นี้.

อนึ่ง ว่าโดยนัยที่ยังมิได้อธิบาย ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่ม

กามฉันทะด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺจเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็น

เครื่องละนิวรณ์ที่เหลือด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ). อนึ่ง ในบรรดา

อกุศลมูล ๓ อย่าง ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโลกอันเป็นอารมณ์แห่ง

กามคุณ ๕ ประเภท ด้วยบทที่หนึ่ง (วิวิจฺเจ กาเมหิ) ด้วยบทที่สอง

(วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มโทสะและโมหะซึ่งเป็น

อารมณ์อันต่างด้วยอาฆาตวัตถุเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บรรดาธรรมทั้งหลายมี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

โอฆะเป็นต้น ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกอันเป็น

เครื่องข่มกามโอฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปทาน อภิฌากายคัณฐะ

และกามราคสัญโญชน์ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ) ย่อมเป็นอันตรัส

วิเวกเป็นเครื่องข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คัณฐะและสัญโญชน์ที่เหลือ

อนึ่ง ด้วยบทต้น (วิวิจฺเจว กาเมหิ) ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่ม

ตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺ จ อกุสเลหิ)

ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอวิชชา และธรรมที่สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น.

อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทแรก (วิวิจฺเจว กาเมหิ) พึงทราบว่า ตรัสวิเวกเป็น

เครื่องข่มจิต ๘ ดวงที่สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยบทที่สอง (วิวิจฺจ อกุสเลหิ)

ย่อมเป็นอันตรัสวิเวกเป็นเครื่องข่มอกุศลจิ ต ๔ ดวงที่เหลือ. การประกาศ

เนื้อความในคำนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้

เท่านี้ก่อน.

ว่าด้วยองค์ฌาน

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงองค์ที่ปฐมฌานละได้แล้ว ด้วยคำ

ประมาณเท่านี้บัดนี้ เพื่อแสดงสัมปโยคธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สวิตกฺก

สวิจาร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ฌานตรัสเรียกว่า สวิตก สวิจาร

เพราะความเป็นไปร่วมกับวิตกและวิจาร ชื่อว่า ถึงความเป็นรูปาวจร

เพราะสัมปโยคะด้วยอัปปนา โดยการจำแนกลักษณะเป็นต้น ตามที่กล่าวใน

หนหลัง ดุจนี้ไม้ที่มีดอกและผล ฉะนั้น. แต่ในวิภังค์ท่านทำเทศนาเป็น

ปุคคลาธิฏฐาน โดยนัยมีอาทิว่าพระโยคาวจรเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว

ด้วยวิตก ด้วยวิจารนี้. ส่วนเนื้อความในวิภังค์แม้นั้น พึงเห็นตามที่กล่าว

แล้วนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิเวกช นี้ ความสงัดท่านเรียกว่า วิเวก

อธิบายว่า ปราศจากนิวรณ์. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะสงัดแล้ว

อธิบายว่า กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานสงัดจากนีวรณ์. ปีติและสุข ชื่อว่า

วิเวกชะ (เกิดแต่วิเวก) เพราะอรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปีติ สุข นี้ ความว่า ปีติและความสุข

เป็นคำที่ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในหนหลังแล้วนั่นแหละ. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น

ปีติ ๕ อย่าง มีประการตามที่กล่าวแล้ว ผรณาปีติเป็นมูลรากแห่งอัปปนาสมาธิ

เจริญถึงความเป็นองค์ประกอบของสมาธิ ท่านประสงค์เอาว่า ปีติในอรรถนี้

ปีตินี้ แสะสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้ เพราะฉะนั้น ฌานนี้ ท่านจึง

เรียกว่า มีปีติและสุข ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนศัพท์ว่าธรรม

และวินัย ชื่อว่า ธรรมวินัยเป็นต้น. ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกมีอยู่แก่ฌานนี้

หรือในฌานนี้ เพราะเหตุนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก

แม้ดังพรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ฉันใด

ปีติและสุขในฌานนี้ ก็เกิดแต่วิเวกฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ปีติและสุขนั้นมีอยู่

แก่ฌานนี้ เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่าปีติและสุขเกิดแต่วิเวกด้วยบทเดียวเท่านั้น

ก็สมควร. แต่ในวิภังค์ ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้สหรคตด้วยปีตินี้

ดังนี้ ส่วนความหมายพึงเห็นตามนัยวิภังค์นั้นนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปมชฺฌาน นี้ ต่อไป

ฌานที่ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะนับตามลำดับ. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะ

เกิดขึ้นก่อนดังนี้ก็มี. ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะพระโยคาวจร พึงเข้าก่อนดังนี้ก็มี.

การกำหนดแม้นี้มิใช่แน่นอน เพราะพระโยคาวจรผู้ได้สมาบัติ ๘ มีวสีประพฤติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

มาแล้ว ย่อมสามารถเพื่อจะเข้าฌานตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดก็ได้ สามารถเข้าฌาน

กระทำตั้งแต่ที่สุดลงมาถึงเบื้องต้นก็ได้ สามารถเข้าฌานหนึ่งภายในระหว่างก็ได้

ก็ฌานนั้น ชื่อว่า ที่หนึ่ง เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน และ

ลักขณูปนิชฌาน. บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น สมาบัติ ๘ ย่อมเข้าไปเพ่งอารมณ์มี

ปฐวีกสิณเป็นต้นเพราะเหตุนั้น ฌานนั้นจึงถึงการนับว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน.

ส่วนวิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิฌาน. บรรดาวิปัสสนา

มรรคผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่ง

ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่

วิปัสสนาทำแล้วสำเร็จด้วยมรรค. ส่วนผลชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ

เข้าไปเพ่งลักษณะอันเป็นความจริง คือนิโรธสัจจะ บรรดาอารัมมณูปนิชฌาน

และลักขณูปนิชฌานทั้ง ๒ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน

เพราะฉะนั้น ฌานนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์

หรือเพราะเป็นเครื่องเผาธรรมที่เป็นข้าศึก ดังนี้.

บทว่า อุปสมปชฺช ได้แก่ เข้าถึงแล้ว คือ บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง

อธิบายว่า ให้เข้าถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว. แต่ในวิภังค์กล่าวว่า บทว่า

อุปสมฺปชฺช ได้แก่ การได้ การได้เฉพาะ การบรรลุ การบรรลุพร้อม

การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึงปฐมฌาน ดังนี้. ความหมายแม้แห่ง

ฌานนั้นพึงเห็นเหมือนในวิภังค์นั้นนั่นแหละ.

บทว่า วิหรติ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมแห่งฌานมีประการตามที่กล่าว

แล้วว่า โดยการอยู่แห่งอิริยาบถอันสมควรแก่ฌานนั้น ย่อมให้สำเร็จ การ

เคลื่อนไหว การเป็นไป การรักษา การดำเนินไป การให้ดำเนินไป การเที่ยว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

ไป การอยู่แห่งอัตภาพ สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ได้แก่

ย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเป็นไป ย่อมคุ้มครอง ย่อมดำเนินไป ย่อมให้ดำเนินไป

ย่อมเที่ยวไป ย่อมอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า วิหรติ ดังนี้.

ว่าด้วยปฐวีกสิณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปวีกสิณ นี้ ต่อไป

แม้ปฐวีมณฑล (วงกลมแห่งพื้นดิน) ท่านก็เรียกว่า ปฐวีกสิณ

เพราะอรรถว่าเป็นวัตถุสำหรับเพ่ง. แม้นิมิตที่ได้แล้วเพราะอาศัยปฐวีกสิณ

นั้นก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ. แม้ฌานที่ได้เฉพาะแล้วในนิมิต ก็ชื่อว่า ปฐวีกสิณ.

บรรดาความหมายเหล่านั้น ฌาน พึงทราบว่าเป็นปฐวีกสิณ ในความหมายนี้.

ก็ในความหมายว่า พระโยคาวจรเข้าฌานกล่าวคือปฐวีกสิณอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความ

ย่อดังนี้

ก็กุลบุตรผู้ใคร่บรรลุพระอรหัตกระทำบริกรรมในปฐวีกสิณนี้ ยังฌาน

หมวด ๔ ฌานหมวด ๕ ให้เกิดขึ้นแล้ว เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน

พึงทำอย่างไร ? เบื้องต้น ควรชำระศีล ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริย-

สังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีลให้หมดจดก่อน เมื่อดำรงอยู่

ในศีลดีแล้วก็ตัดปลิโพธที่มีอยู่ในปลิโพธ ๑๐ ประการที่มีอยู่ มีอาวาสปลิโพธ

เป็นต้นนั้น แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กรรมฐาน ใคร่ครวญกรรมฐานที่

สมควรแก่จริตของตนในบรรดากรรมฐาน ๓๘ ประการ ที่มีมาในพระบาลี

ถ้าปฐวีกสิณนี้สมควรแก่จริงของตนก็พึงถือเอากรรมฐานนี้เท่านั้น ละวิหารที่

ไม่สมควรแก่การเจริญฌานอยู่ในวิหารที่เหมาะสม ตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อยๆ

รักษาบริกรรมและนิมิตกสิณ เว้นอสัปปาย ๗ แห่ง เสพเสนาสนสัปปายะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

๗ แห่ง พึงทำภาวนาวิธีทั้งหมดอันมีอัปปนาโกศล ๑๐ อย่าง ไม่ให้ตกหล่น

พึงปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน เนื้อความสังเขปมีเพียงนี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ในกสิณแม้อื่นจากนี้ ก็พึงทราบเหมือน

ในปฐวีกสิณนี้ จริงอยู่ วิธีทั้งหมดแห่งกรรมฐานทั้งปวงแห่งวิธิการเจริญภาวนา

ข้าพเจ้าถือเอาโดยนัยแห่งอรรถกถาแล้วขยายให้พิสดารในวิสุทธิมรรคแล้ว จะมี

ประโยชน์อะไรด้วยวิธีการเจริญกรรมฐานนั้นในวิธีการที่จะกล่าวซ้ำอีกในที่นั้น ๆ

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ขยายความอีก. แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไม่ทำเนื้อความ

ที่มาในพระบาลีในหนหลัง ให้ตกหล่นจะพรรณนาตามลำดับบทติดต่อกันไป.

บทว่า ตสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่เข้าปฐมฌานอยู่นั้น ธรรม

๕๖ ตามลำดับมีประการตามที่กล่าวในกามาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเหล่านี้ คือ

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ย่อมมี ก็ความแปลกกันในปฐมฌานนี้มีอย่างเดียว

คือ ธรรม ๕๖ เหล่านั้นเป็นกามาพจร ธรรม ๕๖ ที่กล่าวนี้เป็นมหัคคตะ

เป็นรูปาวจร ธรรมที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น ส่วนเยวาปนก-

ธรรมและธรรม ๔ อย่างมีฉันทะเป็นต้น ย่อมหาได้ในฌานนี้. โกฏฐาสวาระ

และสุญญตวาระ ย่อมเป็นไปตามปกตินั่นแหละ ดังนี้แล.

ปฐมฌานจบ

อธิบายทุติยฌาน

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ต่อไป

บทว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา (เพราะวิตกวิจารสงบ) ความว่า

ความสงบ คือ เพราะความก้าวล่วงธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร

มีอธิบายว่า เพราะความที่วิตกและวิจารไม่ปรากฏในฌานที่ ๒ ในบรรดาฌาน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

ทั้ง ๒ นั้น ธรรมที่เป็นปฐมฌานแม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในทุติยฌานแม้โดยแท้

เพราะว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานก็อย่างหนึ่ง ในทุติยฌาน

นี้ก็อย่างหนึ่งก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็พึงทราบว่า คำที่ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะวิตก

และวิจารสงบ เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌานเป็นต้นเป็นอย่างอื่นจากปฐมฌาน

ย่อมมีเพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.

ในบทว่า อชฺฌตฺต (ภายใน) นี้ ท่านประสงค์เอาภายในเป็นของตนเอง

แต่ในวิภังค์ตรัสคำมีประมาณเท่านี้ว่าเฉพาะตัว ชื่อว่า อัชฌัตตะ ก็เพราะ

บทว่า อชฺฌตฺต นี้ ท่านประสงค์เอาบทว่า นิยกชฺฌตฺต ฉะนั้นในบทว่า

อชฺฌตฺต จึงมีอธิบายว่า เกิดในภายในของตน หรือเกิดในสันดานของตน.

ศรัทธา เรียกว่า ความผ่องใสในบทว่า สมฺปสาทน นี้. แม้ฌานก็เรียกว่า

ความผ่องใส เพราะประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้า ชื่อว่า ผ้าเขียว

เพราประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นยังจิตให้แจ่มใส เพราะ

ประกอบด้วยความผ่องใส และเพราะความสงบความกำเริบวิตกและวิจารฉะนั้น

จึงตรัสว่า สมฺปสาทน (ความผ่องใส). ก็ในการกำหนดเนื้อความนี้พึงทราบ

ความสัมพันธ์แห่งบทอย่างนี้ ว่า สมฺปสาทน เจตโส แต่ในการกำหนด

เนื้อความบทแรก บทว่า เจตโส นี้ พึงประกอบกับบท เอโกทิภาว.

ในบทนั้นมีการประกอบเนื้อความดังต่อไปนี้.

สมาธิใด ย่อมผุดขึ้นเป็นเอก เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า

เอโกทิ อธิบายว่า สมาธินั้นเป็นภาวะที่เลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะวิตกและ

วิจารไม่เจริญ (เกิด) ขึ้นในภายใน. จริงอยู่ แม้บุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาก็

เรียกว่า เป็นเอกในโลก ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง แม้จะกล่าวว่าสมาธิที่เว้นวิตก

ละวิจารเป็นเอกไม่มีสหายผุดขึ้น ดังนี้ก็ควร. อีกนัยหนึ่ง สมาธิใดย่อมยัง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

สัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น สมาธินั้น จึงชื่อว่า อุทิ คือย่อมให้

สัมปยุตตธรรมตั้งขึ้น สมาธินั้นเป็นเอกเพราะอรรถว่าประเสริฐด้วย และยัง

สัมปยุตตรรมให้ผุดขึ้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ

นี้ เป็นชื่อของสมาธิ. ทุติฌานใดย่อมยังสมาธิชื่อว่า เอโกทินี้ให้เกิด

ให้เจริญ เพราะเหตุนั้น ทุติยฌานนี้จึงชื่อว่า เอโกทิภาวะ ก็เพราะสมาธิ

นี้นั้นเป็นเอกเป็นสภาวะที่ยังสัมปยุตตธรรมให้ผุดขึ้นย่อมมีแก่จิต มิใช่มีแก่สัตว์

มิใช่มีแก่ชีวะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า เจตโส เอโกทิภาว

ดังนี้

ถามว่า ศรัทธานี้ และสมาธิมีชื่อว่า เอโกทิ นี้ มีอยู่แม้ในปฐมฌาน

มีใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้นั่นแหละ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นเครื่องผ่องใส และเป็นเอโกทิภาวะอีกเล่า. ตอบว่า

เพราะว่า ปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสแท้เพราะกำเริบด้วยวิตกวิจาร เหมือน

น้ำที่ขุ่นเพราะระลอกคลื่น ฉะนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็ไม่ตรัสว่า สมฺปสาทน

(ความผ่องใส) อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ก็ยังไม่ปรากฏ เพราะยังไม่ผ่องใส

แท้นั่นแหละ ฉะนั้น ปฐมฌานนั้น จึงไม่ตรัสว่า เอโกทิภาวะ แต่ในทุติยฌานนี้

ศรัทธามีกำสังได้โอกาส เพราะไม่มีวิตกและวิจารเป็นปลิโพธ (กังวลใจ) แม้

สมาธิก็ปรากฏเพราะการได้ศรัทธาเป็นกำลังและเป็นสหาย ฉะนั้น ทุติยฌานนี้

เท่านั้นพึงทราบว่า ตรัสไว้อย่างนั้น. ส่วนในวิภังค์ ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า

บทว่า สมฺปสาทน (ผ่องใส) ได้แก่ศรัทธา (ความเชื่อ) กิริยาที่เชื่อ

ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง. คำว่า เจตโส เอโกทิภาว (ธรรมเอก

ผุดขึ้นแก่ใจ) ได้แก่ ความตั้งอยู่ การตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิดังนี้.

พึงทราบการพรรณนาเนื้อความนี้กับพระดำรัสที่ตรัสไว้อย่างนั้น ย่อมไม่ผิด

เทียบเคียงกันอยู่ ย่อมลงกันได้ ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

บทว่า อวิตกฺก อวิจาร (ไม่วิตกไม่มีวิจาร) มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า

อวิตก (ไม่มีวิตก) เพราะอรรถว่า วิตกในทุติยฌานนี้ หรือของทุติยฌานนี้

ไม่มี เพราะความที่วิตกนั้นละได้แล้วด้วยภาวนา. ชื่อว่า อวิจาร (ไม่มีวิจาร)

โดยนัยนี้เหมือนกัน. แม้ในวิภังค์ก็ตรัสไว้ วิตกนี้ และวิจารนี้ ย่อมสงบระงับ

เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ให้ละลายไป

ถูกทำให้แห้งไป ถูกทำให้ผากไป ถูกทำให้สิ้นสุด ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนี้หากมีผู้ท้วง แม้ด้วยคำนี้ว่า เพราะการเข้าไปสงบวิตกและวิจาร

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ก็สมบูรณ์แล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น

เพราะเหตุไร จึงตรัสว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารอีกเล่า. ตอบว่า ได้ความหมายนี้

สำเร็จแล้วอย่างนั้นนั่นแหละ แต่คำว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้เป็นคำที่แสดงความ

ข้อนั้นก็หาไม่ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

อย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา ดังนี้ เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌาน

เป็นต้นเป็นอย่างหนึ่งจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นเหตุแสดงเหตุแห่งภาวะสัมปสาททนะและเอโกทิ

อย่างนี้ว่า ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและวิจาร มิใช่

เข้าไปสงบกิเลสที่กำเริบตามกาล ฌานนั้น ชื่อว่า เอโกทิภาวะสงบวิตก

และวิจาร มิใช่ละนิวรณ์ได้เหมือนอุปจารฌาน มิใช่องค์ฌานปรากฏเหมือน

ปฐมฌาน. อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า อวิตักกะอวิจาร เพราะเข้าไปสงบ

วิตกและวิจาร มิใช่เพราะไม่มีเองเหมือนตติยฌานและจตุตถฌาน และเหมือน

จักขุวิญาณเป็นต้น เพราะฉะนั้น คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจารนี้ เป็นคำแสดง

เหตุแห่งความที่ทุติยฌานนั้นเป็นธรรมชาติไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่เป็นคำแสดง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

เพียงความไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. ส่วนคำว่า อวิตกฺก อวิจาร นี้ เป็นคำแสดง

เพียงสักว่าความไม่มีวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นตรัสอวิตักกะอวิจารแล้ว ก็พึงตรัสอีกโดยแท้.

บทว่า สมาธิช (เกิดแต่สมาธิ) ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน

หรือแต่สมาธิที่สัมปยุตกัน. บรรดาสมาธิทั้ง ๒ นั้นแม้ฌานที่หนึ่งเกิดแต่สมาธิ

ที่สัมปยุตกันก็จริง. แต่ที่แท้ สมาธินี้เท่านั้น ย่อมควรกล่าวคำว่า สมาธิ

เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวเกินไป โดยเป็นการเว้นจากการกำเริบของวิตก

และวิจาร และเพราะเป็นเหตุให้สมาธิผ่องใสดี ฉะนั้น เพื่อกล่าวยกย่องทุติย-

ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สมาธิช นี้ทีเดียว. คำว่า ปีติ สุข

นี้ มีนัยตามที่กล่าวมาแล้ว. คำว่า ทุติย นี้ ชื่อว่า ที่สองโดยลำดับแห่ง

การนับ. ที่ชื่อว่า ที่สอง เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุฌานที่สองนี้ ดังนี้ก็ได้.

ในคำว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ เป็นต้น พึงทราบการลด

บทวิตกและวิจารในฌานหมวด ๕ พึงทราบการลดบทสัมมาสังกัปปะในหมวด ๕

แห่งมรรค. พึงทราบวินิจฉัยบทที่มีการจำแนกและไม่มีการจำแนกด้วยสามารถ

แห่งหมวด ๕ แห่งฌานและหมวด ๕ แห่งมรรคเหล่านั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระ

ก็มีพระบาลีมาว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ มรรคประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้.

คำที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นกับปฐมฌานนั่นแล.

ทุติยฌานจบ

อธิบายตติยฌาน

พึงทราบวินิจฉัยในตติยฌานนิทเทส ต่อไป

บทว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะคลายปีติ ) ความว่า ความรังเกียจหรือ

ความก้าวล่วงปีติมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

ก็ ศัพท์ในระหว่างศัพท์ทั้งสองมีอรรถว่า ประมวลมา คือย่อมประมวลมา

ซึ่งความสงบ หรือย่อมประมวลมาซึ่งความสงบและวิจาร. ในการประมวล

มาทั้ง ๒ นั้น ในกาลใด ศัพท์ย่อมประมวลซึ่งความสงบเท่านั้น ในกาลนั้น

พึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติ และเพราะความสงบยิ่ง

ขึ้นไปเล็กน้อย. เนื้อความที่ประกอบนี้ พึงเห็นว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)

มีอรรถว่ารังเกียจ. แต่ว่า ในกาลใด ศัพท์ย่อมประมวลมาซึ่งความสงบวิตก

และวิจาร ในกาลนั้น พึงทราบการประกอบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพราะคลายปีติ

และเพราะความสงบวิตกและวิจารยิ่งขึ้นเล็กน้อย. ก็ว่าด้วยการประกอบเนื้อความ

นี้ วิราคะ (ความคลายราคะ) มีอรรถว่าก้าวล่วง เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ

นี้ว่า เพราะการก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบวิตกและวิจารดังนี้. ก็วิตกและวิจาร

เหล่านั้นสงบแล้วในทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคำว่า เพราะความ

สงบวิตกและวิจารนี้ไว้เพื่ออธิบายแนวทางของฌานนี้ และเพื่อจะกล่าวชมฌานนี้.

จริงอยู่ เนื้อกล่าวคำว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา ดังนี้ ตติยฌานนี้ ย่อม

ปรากฏชัดว่า ความเข้าไปสงบวิตกและวิจาร เป็นอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้

แน่แท้. เหมือนอย่างว่าการละท่านกล่าวไว้ในอริยมรรคที่ ๓ อย่างนี้ว่า เพราะ

ละสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังมิได้ละดังนี้ ย่อมเป็น

การกล่าวถึงคุณความดี เพื่อให้เกิดการอุตสาหะแก่บุคคลผู้ขวนขวายเพื่อบรรลุ

มรรคนั้น ฉันใด การสงบวิตกและวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบตามที่ตรัสไว้ใน

ตติยฌานนี้ ย่อมเป็นการกล่าวชมเชยคุณฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัส

เนื้อความนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบวิตกและวิจารทั้งหลาย

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า

อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ

คือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน

ตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์

ไพบูลมีกำลังนั้น.

ว่าด้วยอุเบกขา ๑๐ อย่าง

ก็อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ

ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)

พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)

โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)

วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)

สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)

เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)

วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)

ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)

ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)

ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).

บรรดาอุเบกขา ๑๐ เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติ

ในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร ๖ ของพระ-

ขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรม

วินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉย

อยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฉฬวคูเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ก็อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มีมาในพระบาลีอย่างนี้

ว่า ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า

อุเบกขาในพรหมวิหาร.

อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในสหชาตธรรมทั้งหลาย ที่มาในพระบาลี

ว่า ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์.

อุเบกขาใด กล่าวคือความเพียรที่ไม่หย่อนไม่ยิ่งของความเพียรเกินไป

มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมนสิการนิมิตอุเบกขาตลอดกาล ดังนี้ อุเบกขา-

นี้ ชื่อว่า วิริยูเบกขา.

อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลาง มีการกำหนดพิจารณานีวรณ์เป็นต้น

มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ

สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา สังขารูเบกขา ๘ อย่าง

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารูเบกขา ๑๐ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

วิปัสสนา ดังนี้ อุเบกขารนี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา.

อุเบกขาใดที่หมายรู้ในความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ที่มาในพระบาลี

อย่างนี้ว่า กามาวจรกุศลจิต ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า

เวทนูเบกขา.

อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในการค้นหาพิจารณา ที่มาในพระบาลี

อย่างนี้ว่า สิ่งใดมีอยู่เป็นแล้ว ย่อมละสิ่งนั้นเสีย ภิกษุย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา

ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา.

อุเบกขาใดยังสหชาตธรรมให้เป็นไปสม่ำเสมอ ที่มาในเยวาปนกธรรม

ทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตูเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

อุเบกขาใดเป็นชาติตกไปในความสุขแห่งฌานนั้น แม้เป็นสุขอันเลิศ

ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า เป็นผู้เพ่งอยู่ดังนี้ ชื่อว่า ฌานูเบกขา.

อุเบกขาใดบริสุทธิ์จากปัจจนิกธรรมทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ใน

การสงบปัจจนิกธรรม ที่มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ฌานที่ ๔ มีสติบริสุทธิ์

เพราะอุเบกขา ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ปาริสุทธิอุเบกขา.

บรรดาอุเบกขาทั้ง ๑๐ เหล่านั้น ฉฬังคูเบกขา พรหมวิหารูเบกขา

โพชฌังคูเบกขา ตัตรมัชฌัตตูเบกขา ฌานูเบกขา ปาริสุทธิอุเบกขา โดย

อรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นตัตรมัชฌัตตเบกขา. แต่ว่าความแตกต่างกัน

แห่งอุเบกขาตามที่กล่าวมานั้น เพราะแยกประเภทนั้น ๆ ไว้ ดุจความแตกต่าง

กันแห่งคนแม้คนเดียว คือโดยเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดี

และเป็นพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น บรรดาฉฬังคูเบกขาเป็นต้นเหล่านั้น

ในที่ใดไม่มีฉฬังคูเบกขา พึงทราบว่าในที่นั้นมีโพชฌังคูเบกขาเป็นต้น หรือว่า

ในที่ใดไม่มีโพชฌังคูเบกขา พึงทราบว่า ในที่นั้นมีฉฬังคูเบกขาเป็นต้น.

อนึ่ง อุเบกขา ๖ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถมีภาวะเป็นอันเดียวกัน ฉันใด

แม้สังขารูเบกขาและวิปัสสนูเบกขาก็เป็นภาวะอันเดียวกัน ฉันนั้น. ก็สังขาร-

เบกขาและวิปัสสนูเบกขานั้นคือปัญญานั่นเอง แตกแยกเป็น ๒ ด้วยสามารถ

แห่งกิจ. เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษถือไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแสวงหางู

ซึ่งเข้าไปสู่บ้านในเวลาเย็น เห็นงูนั้นนอนในที่หลบซ่อนในกองสิ่งของก็มองดู

อยู่ด้วยสงสัยว่า ใช่งูหรือไม่หนอ เห็นเครื่องหมายดอกจันทน์ก็หมดความสงสัย

จึงเป็นผู้วางเฉยในการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นงูหรือมิใช่ ฉันใด เมื่อพระโยคาวจร

ผู้ปรารภวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว ความเป็นผู้วางเฉย

ในการที่จะพิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น

ความเป็นผู้วางเฉย (มัชฌัตตตา) นี้ ชื่อว่า วิปัสสนาอุเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นเอาไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะกดคองู

แล้วแสวงหาอาการที่จะปลอดภัยว่า โดยวิธีใด เราจะจับงูนี้ไม่ลำบาก และ

โดยอุบายอย่างไร เราจึงจะไม่ให้งูกัดเราได้ ดังนี้ การวางเฉย (มัชฌัตตตา)

ในการจับจึงมี ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรเห็นภพทั้ง ๓ ดุจไฟติดทั่วแล้ว เพราะ

เห็นไตรลักษณ์ ก็มีความวางเฉย (มัชฌัตตตา) ในการยึดถือสังขารฉันนั้น

เหมือนกัน มัชฌัตตตานี้ ชื่อว่า สังขารูเบกขา. ด้วยประการตามที่กล่าว

มานี้ แม้สังขารูเบกขาจะสำเร็จได้ก็เพราะวิปัสสนูเบกขาสำเร็จแล้วโดยแท้. ก็

อุเบกขา (คือปัญญา) นี้แยกออกเป็น ๒ อย่างโดยกิจนี้ กล่าวคือการวางเฉย

ในการพิจารณา และในการยึดถือ ดังนี้. ส่วนวิริยูเบกขา และเวทนูเบกขา

โดยอรรถต่างกัน และต่างจากอุเบกขาที่เหลือด้วย.

บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ตามที่กล่าวมาในที่นี้ ท่านประสงค์เอาฌานู-

เบกขา. ฌานูเบกขานั้นมีความวางตนเป็นกลางเป็นลักษณะ มีความไม่คำนึง

ถึงเป็นรส มีการไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความคลายปีติเป็นปทัฏฐาน.

ในอธิการแห่งฌานที่ ๓ นี้ หากมีผู้ค้านว่า ฌานูเบกขานี้โดยอรรถ

ก็เป็นตัตรมัชฌัตตตูเบกขามิใช่หรือ และตัตรมัชฌัตตตูเบกขานั้น ก็มีอยู่ใน

ปฐมฌานและทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น

ฌานูเบกขานี้ก็ควรกล่าวว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ (ผู้เพ่งอยู่) ดังนี้ เพราะ

เหตุไร จึงไม่ตรัสฌานูเบกขาไว้. ตอบว่า เพราะปฐมฌานและทุติยฌานนี้

มีกิจยังไม่แจ่มแจ้ง. จริงอยู่ กิจคือความแจ่มแจ้งในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น

ไม่มี เพราะถูกธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายมีวิตกเป็นต้นครอบงำแล้ว แต่ใน

ตติยฌานนี้ ไม่มีข้าศึกคือวิตกวิจารและปีติครอบงำแล้ว เป็นดุจยกศีรษะขึ้น

ได้แล้ว มีกิจอันแจ่มแจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวฌานูเบกขาไว้ในตติยฌาน

นี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

จบการพรรณนาความทั้งปวงแห่งคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ

เพียงนี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สโต จ สมฺปชาโน (มีสติและ

สัมปชัญญะ ) นี้ต่อไป.

บุคคลใด ย่อมระลึกได้ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีสติ.

บุคคลใด ย่อมรู้ทั่วโดยชอบ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีสัมปชานะ

(ผู้รู้ทั่วโดยชอบ). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติและสัมปชัญญะไว้โดยปุคคลา-

ธิษฐาน. บรรดาสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีการระลึกเป็นลักษณะ. มีการ

ไม่หลงลืมเป็นรส มีการอารักขาเป็นปัจจุปัฏฐาน... สัมปชัญญะมีความไม่

หลงลืมอารมณ์ (การรู้ทั่วโดยชอบ) เป็นลักษณะ มีการพิจารณา (หรือมีการ

ถึงฝั่ง) เป็นรส มีการใคร่ครวญเป็นปัจจุปัฏฐาน...

บรรดาฌานเหล่านั้น สติและสัมปชัญญะนี้ แม้มีอยู่ในฌานเบื้องต้น

ก็จริง เพราะว่า เมื่อพระโยคาวจรมีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ แม้แต่เพียง

อุปจารฌานก็ย่อมไม่สำเร็จ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอัปปนาเล่า ถึงอย่างนั้น

เพราะความที่ฌานทั้งหลาย (ปฐมฌานทุติยฌาน) เหล่านั้นเป็นองค์อันหยาบ

ทางไป (คติ ) ของจิตจะต้องเป็นทางสบาย เหมือนทางไปของบุคคลบนแผ่นดิน

ฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานต้น ๆ นั้นยังไม่มีกำลังกล้า แต่เพราะ

ฌานที่ ๓.นี้เป็นฌานมีอารมณ์สุขุม เพราะละองค์ฌานหยาบ ๆ ได้ การดำเนิน

ไปแห่งจิตอันกิจ (หน้าที่) ของสติและสัมปชัญญะประคองไว้แล้วนั่นแหละ

อันพระโยคีพึงปรารถนา เหมือนบุรุษเดินไปในที่แหลมคม ฉะนั้น เพราะ

เหตุนั้น สติและสัมปชัญญะ จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

พึงทราบเนื้อความนี้ให้ยิ่งขึ้นอีกหน่อยหนึ่งว่า เปรียบเหมือนลูกโค

ซึ่งยังดื่มนมแม่โค เจ้าของพรากออกไปแล้วไม่รักษาไว้ ย่อมกลับมาหาแม่โค

อีกนั่นแหละ ฉันใด สุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น อันพระโยคาวจรพรากจากปีติ

ได้แล้ว สุขนั้นไม่รักษาไว้ด้วยสติและสัมปชัญญะ ก็พึงกลับมาหาปีติอีกนั่นแหละ

สุขนั้นก็เพ่งสัมปยุตด้วยปีติโดยแท้. อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในสุข และสุขนี้

(ตติยฌาน) ก็มีสุขที่ชอบใจยิ่ง เพราะไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่านี้ แต่ด้วยอานุภาพ

แห่งสติและสัมปชัญญะในตติยฌานนี้ ไม่มีความยินดีในสุข หาใช่ด้วยอานุภาพ

อื่นไม่ เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความต่างกันแห่งเนื้อความแม้นี้ จึงตรัสคำว่า

สติและสัมปชัญญะไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเวเทติ

(และเสวยสุขด้วยนามกาย) นี้ต่อไป.

ความผูกใจในการเสวยเฉพาะความสุข ของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

ตติยฌานย่อมไม่มีแม้ก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะความสุขของพระโยคาวจร

นั้นสัมปยุตด้วยนามกาย หรือว่า พระโยคาวาวจรนั้นพึงเสวยสุขใดนั้นอันสัมปยุต

ด้วยนามกาย หรือเพราะรูปอันประณีตยิ่ง อันตั้งขึ้นด้วยนามกายนั้นถูกต้อง

รูปกายของพระโยคาวจรนั้น แม้เธอออกจากฌานแล้ว ก็ยังเสวยความสุข

เพราะความที่กายนั้นอันรูปประณีตยิ่งถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดง

เนื้อความนั้นจึงตรัสคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเวทติ ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบอธิบายในคำว่า ยนฺต อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก

สติมา สุขวิหารี (พระอริยะทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บุคคลผู้เพ่งเฉย มีสติ

อยู่เป็นสุข) ดังนี้ต่อไปว่า

พระอริยทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อม

บัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมกระทำให้ง่าย ย่อมประกาศ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ย่อมสรรเสริญซึ่งบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌานนั้น เพราะฌานใดเป็นเหตุ

เพราะฌานใดเป็นการณะ.

ถามว่า ย่อมสรรเสริญ อย่างไร ?

ตอบว่า ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้เพ่งเฉยมีสติอยู่เป็นสุข.

บัณฑิตพึงทราบการประกอบเนื้อความในข้อนั้น อย่างนี้ว่า พระ-

โยคาวจรเข้าถึงฌานที่ ๓ นั้นอยู่. เพราะเหตุไร พระอริยะทั้งหลายจึงสรรเสริญ

พระโยคีนั้นอย่างนี้ เพราะท่านเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. จริงอยู่ พระโยคาวจร

นี้เป็นผู้เพ่งเฉยในตติยฌานอันมีความสุขที่ชอบใจยิ่ง แม้ถึงที่สุดแห่งความสุขก็

ไม่ถูกความติดใจในสุขดึงมาในตติยฌานนั้น และชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะมีสติ

ตั้งมั่นโดยประการที่ปีติจะไม่เกิดขึ้น และย่อมเสวยที่ไม่เศร้าหมอง ที่พระอริยะ

ใคร่ ที่อริยชนเสพแล้วนั่นแหละด้วยนามกาย เพราะเหตุนั้น พระโยคีนั้น

จึงควรเพื่อสรรเสริญ. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระ

อริยเจ้าเหล่านั้น เมื่อจะประกาศคุณอันเป็นเหตุควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้

พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้เพ่งเฉย มีสติอยู่เป็นสุข เพราะท่านควรแก่การสรรเสริญ

ดังนี้.

คำว่า ตติย (ที่ ๓) คือ ชื่อว่า เป็นที่ ๓ เพราะนับตามลำดับ.

ฌานนี้ ชื่อว่า ที่ ๓ เพราะอรรถว่า ย่อมเข้าถึงครั้งที่ ๓. พึงทราบวินิจฉัย

ในบทที่จำแนกและไม่จำแนกในคำเป็นต้นว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ

ดังนี้ ในหมวด ๕ แห่งฌาน แม้บทแห่งปีติก็ต้องลดไปด้วยสามารถแห่งฌาน

แม้นั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระก็ตรัสว่า ฌานมีองค์ ๒ คำที่เหลือเป็นเช่นกัน

ทุติยฌานนั่นแหละ ดังนี้แล.

ตติยฌานจบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

อธิบายจตุตถฌาน

พึงทราบนิทเทสแห่งจตุตถฌาน ต่อไป.

บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุข

และทุกข์ได้) ได้แก่ การละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย. คำว่า ปุพฺเพว

คือ การละนั้นมีในกาลก่อนทีเดียว มิใช่มีในขณะแห่งจตุตถฌานไม่. คำว่า

โสมนสฺสโทมนสฺสาน อตฺถงฺคมา (เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท)

ความว่า เพราะถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ สุขทางใจ

และทุกข์ทางใจ คำนี้ท่านอธิบายว่า เพราะละเสียแล้ว.

ถามว่า ก็การละสุขและทุกข์ทางใจเหล่านั้นมีในกาลไร.

ตอบว่า ในขณะแห่งอุปุจารฌานทั้ง ๔.

จริงอยู่ พระโยคาวจรละโสมนัสได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ ๔

เท่านั้น ส่วนทุกข์ โทมนัส และสุขย่อมละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌาน

ที่หนึ่ง ที่สอง และที่สาม. โดยประการฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบการละสุข ทุกข์

โสมนัส และโทมนัส แม้ไม่ตรัสไว้โดยลำดับแห่งการละองค์ฌานเหล่านั้น

แต่ก็ตรัสแม้ในฌานที่ ๔ นี้ โดยลำดับแห่งอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ใน

อินทริยวิภังค์นั่นแล.

ถามว่า ก็องค์ฌานเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมละได้ในขณะอุปจาระ

ของฌานนั้น ๆ ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร จึงตรัสความดับในฌาน

ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ

ในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด

แต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ที่นี้.. ก็โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ สุขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์

เกิดขึ้นด้วยแล้ว ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์

และสุข และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นต้น

ให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี

ส่วนที่เหลือในที่นี้ ดังนี้. ตอบว่า เพราะความดับดียิ่ง.

อันที่จริง ความดับองค์ฌานเหล่านั้นในปฐมฌานเป็นต้น ก็เป็นการ

ดับดียิ่งเหมือนกัน แต่การดับในขณะแห่งอุปจารฌานไม่ชื่อว่า ความดับที่ดียิ่ง

จริงอย่างนั้น เมื่อทุกขินทรีย์แม้ดับแล้วในอุปจาระแห่งปฐมฌานในอาวัชชนะ

ต่าง ๆ ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์ จะพึงมีได้เพราะสัมผัสอันเกิดแต่เหลือบยุง

เป็นต้น หรือว่า เพราะความลำบากเกิดแต่การนั่งในที่อันไม่เสมอ ส่วน

ภายในอัปปนา ทุกขินทรีย์นั้นหาเกิดขึ้นไม่.

อีกอย่างหนึ่ง ทุขินทรีย์ในอุปจารฌานแม้นี้ ยังไม่ดับอย่างสนิท

เพราะยังมิได้ถูกปฏิปักขธรรม (คือฌาน) ปราบปราม แต่ว่า ภายในอัปปนา

กายทั้งปวงได้หยั่งลงสู่ความสุขแล้วด้วยการแผ่ไปแห่งปีติ ทุกขินทรีย์ของพระ-

โยคาวจรผู้มีกายอันหยั่งลงแล้วในความสุข ย่อมเป็นธรรมดับสนิท เพราะอัน

ปฏิปักขธรรมกำจัดแล้ว

อนึ่ง โทมนัสสินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้วในอุปจารแห่งทุติย-

ฌานในอาวัชชนจิตต่าง ๆ นั่นแหละ โทมนัสสินทรีย์นี้ก็จะพึงเกิดขึ้น เพราะ

ความลำบากกาย และความคับแค้นใจ อันมีวิตกและวิจารเป็นปัจจัยยังมีอยู่

แต่เมื่อไม่มีวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์จะไม่เกิดเลย แต่เมื่อวิตกและวิจารมี

อยู่ในที่ใด โทมนัสสินทรีย์ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น คือว่า วิตกและวิจารในอุปจาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

แห่งทุติยฌานอันพระโยคาวจรยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์ก็พึง

เกิดขึ้นในที่นั้น เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัยที่ยังละไม่ได้ ส่วนใน

ทุติยฌาน โทมนัสสินทรีย์เกิดไม่ได้เลย เพราะความที่วิตกและวิจารเป็นปัจจัย

นั้นท่านละได้แล้ว.

อนึ่ง ในอุปจารแห่งตติยฌาน สุขินทรีย์แม้พระโยคาวจรละได้แล้ว

จะพึงเกิดขึ้นแก่กายที่รูปอันประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว ส่วนใน

ตติยฌาน สุขินทรีย์จะเกิดไม่ได้เลย เพราะว่า ปีติซึ่งเป็นปัจจัยแก่สุขใน

ตติยฌานย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง.

อนึ่ง ในอุปจารแห่งจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์แม้พระโยคีละแล้ว

ก็พึงเกิดขึ้นได้ เพราะความเป็นสภาวะใกล้ต่อสุข และเพราะยังไม่ก้าวล่วง

โดยชอบ โดยที่ไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา ส่วนในจตุตถฌาน โสมนัสสินทรีย์

จะเกิดไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำให้ถือเอา

โดยไม่มีส่วนเหลือในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

ไม่มีส่วนเหลือในที่นี้ ดังนี้.

ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ มีผู้ท้วงว่า ถ้าเวทนาเหล่านั้นแม้พระโยคี

ละแล้วในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เพราะเหตุไร ในที่นี้

จึงนำมาตรัสอีกเล่า. ตอบว่า เพื่อให้เข้าใจ. จริงอยู่ เวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์

ไม่ใช่สุขนี้ใด ซึ่งตรัสไว้ในองค์แห่งฌานนี้ว่า ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ดังนี้

เวทนานั้นสุขุมรู้ได้โดยยาก ใคร ๆ ไม่อาจเข้าใจได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงนำเวทนาเหล่านี้ทั้งหมดมาอีกเพื่อให้กำหนดได้โดย

ง่าย เปรียบเหมือนนายโคบาลต้องการจับโคดุตัวหนึ่งที่ใคร ๆ ไม่อาจ เพื่อจะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

เข้าไปจับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน ทีนั้น

เขาจึงต้อนออกไปทีละตัว มันก็ออกมาโดยลำดับ จึงชี้ให้จับว่า โคตัวนี้ คือ

โคดุนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่ทรงประมวลมา

ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ใคร ๆ ก็อาจเพื่อให้บุคคลกำหนดเวทนานั้นได้ว่า

สภาวะใดไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส สภาวะนี้เป็น

อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาเหล่านั้น

เพื่อทรงชี้ถึงปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้นแห่งใจ) ที่ไม่มีทุกข์และ

สุข เพราะว่า การละสุขและทุกข์เป็นเป็นปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตตินั้น เหมือน

อย่าง พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า *จตฺตาโร โข อาวุโส ปจฺจยา

อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา ฯเปฯ สมาปตฺติยา

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็นเจโตวิมุตติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มี

สุข มี ๔ อย่างแล ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถ-

ฌานอันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อน

เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่ง

สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๔ อย่างนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่พระอริย-

เจ้าละได้แล้วในมรรคอื่น (ปฐมมรรคเป็นต้น ) พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะ

ทรงยอย่องมรรคที่ ๓ จึงตรัสว่า ละแล้วในมรรคที่ ๓ นั้น ดังนี้ ฉันใด

*ม. มู เล่ม ๑๒. ๕๐๓/๕๔๓

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

เพื่อทรงยกย่องฌานนั้น จึงตรัสถึงอทุกขมสุขเวทนานั้น ในฌานที่ ๔ นี้ฉันนั้น.

หรืออีกอย่างหนึ่ง พึงทราบตรัสอทุกขมสุขนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ราคะและ

โทสะเป็นสภาพไกลยิ่งในฌานที่ ๔ นี้ โดยขจัดปัจจัยได้แล้ว จริงอยู่ บรรดา

ฌานเหล่านั้น สุขเป็นปัจจัยแก่โสมนัส โสมนัสเป็นปัจจัยแก่ราคะ ทุกข์เป็น

ปัจจัยแก่โทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โทสะ ราคะและโทสะพร้อมทั้งปัจจัย

อันจตุตถฌานขจัดแล้ว เพราะขจัดความสุขเป็นต้นได้แล้ว เพราะฉะนั้น ราคะ

และโทสะ จึงชื่อว่า มีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ดังนี้.

คำว่า อทุกฺขมสุข ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะความไม่มีทุกข์

ชื่อว่า อสุข เพราะความไม่มีสุข. ด้วยคำว่า อทุกฺขมสุข นี้ ย่อมทรง

แสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุข ในจุตตถฌานนี้ มิใช่ทรง

แสดงเพียงความไม่ทุกข์ไม่สุข แต่ตรัสว่า ความไม่ทุกข์ ไม่สุข ชื่อว่า เวทนาที่

๓ เป็นอุเบกขาดังนี้ก็มี.

อุเบกขาเวทนานั้น พึงทราบว่า มีการเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับ

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ มีความเป็นกลางเป็นรส มีการไม่

ปรากฏชัดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการดับความสุขเป็นปทัฏฐาน.

คำว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ (มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา) ได้แก่

มีสติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้เกิดขึ้นแล้ว เพราะในฌานนี้ สติบริสุทธิ์ดีแล้ว

ก็ความบริสุทธิ์ของสตินี้อันอุเบกขาทำแล้ว มิใช่ธรรมอื่นทำให้ เพราะเหตุนั้น

จตุตถฌานนี้ จึงชื่อว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้. แม้ในวิภังค์

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า สตินี้ อันอุเบกขานี้ เปิดแล้ว เป็นธรรมชาติ

บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

อนึ่ง ความบริสุทธิ์แห่งสติในฌานนี้ย่อมมีได้ด้วยอุเบกขาใด อุเบกขานั้น ว่า

โดยเนื้อความ พึงทราบว่า เป็นตัตรมัชฌัตตตา ดังนี้ ก็ในจตุตถฌานนี้ สติ

เท่านั้นบริสุทธิ์แล้วด้วยอุเบกขานั้นเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ ที่แท้สัมปยุตตธรรม

แม้ทั้งหมดก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาเหมือนกัน แต่ตรัสเทศนาไว้โดยยกสติเป็น

ประธาน บรรดาฌานเหล่านั้น อุเบกขานี้ แม้จะมีอยู่ในฌานเบื้องต่ำ ๓ ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทำให้สติและสัมปยุตตธรรมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เปรียบเหมือนดวง

จันทร์แม้มีอยู่ในกลางวันก็ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกลางวันถูกรัศมีพระอาทิตย์

ข่ม และเพราะไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาคะ โดยเป็นราตรีแจ่มใส หรือราตรีที่

อุปการะแก่ตนฉันใด แม้ดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เพราะถูกเดชแห่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ และ

ไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาวะคืออุเบกขาเวทนา แม้จะมีอยู่ในฌานมีปฐมฌาน

เป็นต้น ก็ไม่บริสุทธิ์ เปรียบเหมือนดวงจันทร์ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องในเวลา

กลางวัน รัศมีแห่งดวงจันทร์ ก็ไม่บริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้น

ก็ไม่บริสุทธิ์เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในบรรดาฌานเหล่านั้น แม้ฌานหนึ่ง

ก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แต่ในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์ คือ

ตัตรมัชฌัตตตุเบกขานี้ บริสุทธิ์ยิ่งนัก เพราะได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนาเป็น

สภาคะ เพราะไม่ถูกเดชแห่งข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ เพราะเหตุที่อุเบกขา

นั้นเป็นธรรมบริสุทธิ์ แม้สหชาตธรรมมีสติเป็นต้นก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ดุจรัศมี

แห่งดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์แล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า จตุตถฌานนี้เท่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้.

คำว่า จตุตฺถ แปลว่า ที่ ๔ โดยลำดับแห่งการนับ. ฌานนี้ ชื่อว่า

ฌานที่ ๔ เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุครั้งที่ ๔. ในคำว่า ผสฺโส โหติ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

เป็นต้น พึงทราบในผัสสปัญจกะ (หมวด ๕ แห่งผัสสะ) ว่า เวทนานั้นเป็น

อุเบกขาเวทนาเท่านั้น. อนึ่ง ในหมวด ๕ แห่งฌาน และหมวด ๘ แห่ง

อินทรีย์ ก็ตรัสว่า เป็นอุเบกขา เป็นอุเบกขินทรีย์นั่นแล. บทที่เหลือนอกนี้

ไม่มีในฌานที่ ๓ แม้ในฌานที่ ๔ นี้ ก็ไม่มีเหมือนกัน. แม้ในโกฏฐาสวาร

ก็ตรัสว่า ฌานมีองค์ ๒ คำนี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและจิตเตกัคคตา

นั่นแหละ. คำที่เหลือทั้งปวงเป็นเช่นกับตติยฌานนั่นแล.

ฌานจุตกนัยจบ

ปัญจกนัย

[๑๔๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌานที่มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร กับปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๑] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌาน

มีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓. ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๒] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ

ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌาน

ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ภายในผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

วิริยินทรีย์ สิตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๔] ก็ขันธ์ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌาน

มีองค์ ๓ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๕] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ

อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้น

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น. หรือ

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด อยู่ในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่

ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๕๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ

ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๕๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุปัญจมฌาน

ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

[๑๖๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘

ฌานมีองค์ ๒ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธรรมายตนะ ๑

ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยใด หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน

สมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๑๖๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ

ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปัญจกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายฌานปัญจกนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มปัญจกนัย (นัยแห่งฌานหมวด ๕)

ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงฌานปัญจกนัย

ตอบว่า เพราะแสดงตามอัธยาศัยของบุคคล และเพราะความงามแห่งเทศนา

ได้ยินว่า ในเทวบริษัทที่ประชุมกัน วิตกของเทวดาบางพวกเท่านั้นปรากฏ

เป็นของหยาบ ส่วนวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิตปรากฏเป็นของสงบ พระ-

ศาสดาทรงจำแนกชื่อทุติยฌานมีองค์ ๔ ซึ่งไม่มีวิตกมีแต่วิจารด้วยสามารถแห่ง

สัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีวิจารปรากฏโดยเป็นของหยาบ ปีติ สุข

เอกัคคตาจิตปรากฏโดยเป็นของสงบ พระศาสดาก็ทรงจำแนกชื่อตติยฌาน

มีองค์ ๓ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีปีติปรากฏโดยเป็น

ของหยาบ สุขเอกัคคตาจิตปรากฏโดยความสงบ พระศาสดาก็ทรงจำแนกชื่อ

จตุตถฌาน มีองค์ ๒ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น บางพวกมีสุข

ปรากฏโดยเป็นของหยาบ อุเบกขาและเอกัคคตาจิตปรากฏโดยความสงบ

พระศาสดาก็ทรงจำแนกชื่อปัญจมฌานมีองค์ ๒ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่

เทวดาเหล่านั้น นี้ชื่อว่า อัธยาศัยของบุคคลก่อน.

ส่วนชื่อว่า เทศนาที่ถึงความงามแห่งเทศนา เพราะธรรมธาตุใด

อันเวไนยสัตว์แทงตลอดดีแล้ว ธรรมธาตุนั้น พระตถาคตทรงแทงตลอดมา

ดีแล้ว เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้ทรงบรรลุถึงความงามแห่งเทศนา ผู้ฉลาด

ในวิธีเทศนาเพราะทรงมีพระญาณใหญ่ ทรงกำหนดเทศนาได้ตามพระประสงค์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ด้วยสามารถแห่งองค์นั้น ๆ ในที่นี้ ทรงจำแนกปฐมฌานมีองค์ ๕ ทุติยฌาน

มีองค์ ๔ คือไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ตติยฌานมีองค์ ๓ จตุตถฌานมีองค์ ๒

ปัญจมฌานก็มีองค์ ๒ นั่นแหละ นี้ชื่อว่า เทศนาวิลาส (ความงามแห่ง

เทศนา).

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมาธิ ๓ เหล่าใดในพระ-

สูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิ ๓ เหล่านี้ คือ

สวิตักกสวิจารสมาธิ

อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ

อวิตักกอวิจารสมาธิ.

บรรดาสมาธิเหล่านั้น สวิตักกสวิจารสมาธิ และอวิตักกอวิจารสมาธิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงไว้ในหนหลังแล้ว. ส่วนอวิตักกวิจารมัตต-

สมาธิยังมิได้ทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เพื่อแสดงอวิตักวิจาร-

มัตตสมาธินั้น จึงทรงเริ่มปัญจกนัยนี้. ในนิทเทสแห่งทุติยฌานในปัญจกนัย

นั้น บรรดาธรรมมีผัสสะเป็นต้น ธรรมมีเพียงวิตกที่ลดลง ส่วนในโกฏฐาสวาร

เนื้อความว่า ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์ ๔ ดังนี้ เท่านั้นที่แปลกกัน คำที่

เหลือทั้งหมดเช่นกับปฐมฌานนั่นแหละ. และฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ในจตุกนัย

เป็นฌานที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ในปัญจกนัยนี้ เพื่อแสดงลำดับการบรรลุฌาน

เหล่านั้น พึงทราบนัยดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า บุตรของอำมาตย์คนหนึ่ง มาสู่พระนครจากชนบทเพื่อเข้า

เฝ้าพระราชา เขาเฝ้าพระราชาเพียงวันเดียวเท่านั้น แล้วผลาญทรัพย์ทั้งหมด

ด้วยการดื่มสุรา วันหนึ่ง พวกนักเลงแก้ผ้าเขาซึ่งเมาสุรา แล้วเอาเสื่อลำแพนเก่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

มาปิดไว้ แล้วเอาออกจากโรงสุรา ผู้รู้วิชาดูลักษณะคนหนึ่งเห็นเขานอนหลับ

ที่กองหยากเยื่อ จึงสันนิษฐานว่า บุรุษคนนี้จักเป็นที่พึ่งแก่มหาชนได้ เราควร

ช่วยบุรุษนี้ จึงให้อาบน้ำชำระร่างกาย ให้นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบคู่หนึ่ง แล้วให้

อาบด้วยน้ำหอมอีก แล้วให้นุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียด ให้ขึ้นสู่ปราสาท ให้

บริโภคโภชนะอย่างดี แล้วมอบคนปรนนิบัติให้ด้วยคำว่า พวกเธอจงบำเรอ

ผู้นี้อย่างนี้ แล้วหลีกไป.

ต่อจากนั้นพวกคนใช้เหล่านั้น ก็ยกเขาให้ขึ้นสู่ที่นอนก็เพื่อป้องกัน

ไม่ให้เขาไปร้านดื่มสุรา คนปรนนิบัติ ๔ คน ได้ยืนกดมือและเท้าเขาไว้

คนหนึ่งนวดเท้า คนหนึ่งเอาพัดใบตาลมาพัดโบก คนหนึ่งนั่งดีดพิณขับ

กล่อมอยู่. เขาหายเมื่อยแล้ว เพราะหลับบนที่นอนหน่อยหนึ่งแล้วตื่นขึ้นไม่

สามารถทนการกดมือและเท้าได้ จึงคุกคามด้วยคำว่า ใครมากดเท้ากดมือเรา

ไว้ จงออกไป คนเหล่านั้นก็ออกไปเพียงคำเดียวเท่านั้น เขาก็หลับไปอีก

หน่อยหนึ่งแล้วก็ตื่นขึ้น ทนการนวดเท้าไม่ได้ จึงพูดว่า ใครมานวดเท้าของเรา

จงออกไป แม้คนนวดเท้านั้นก็หลีกไปเพียงคำเดียวนั่นแหละ เขาหลับไปอีก

หน่อยหนึ่งตื่นขึ้นทนลมพัดใบตาลเหมือนลมเจือฝนไม่ได้ จึงพูดว่า นั่นใคร

จงออกไป แม้คนนั้นก็หลีกไปเพียงคำเดียวเท่านั้น เขาหลับไปอีกหน่อยหนึ่ง

ตื่นขึ้นทนเสียงเพลงขับเหมือนหลาวแทงหูไม่ได้ จึงคุกคามคนดีดพิณ แม้คน

ดีดพิณก็ออกไปเพียงคำเดียวเหมือนกัน ที่นั้นเขาละอุปัทวะ (ความรบกวน)

คือความเมื่อยล้า การถูกกด การบีบนวด การถูกลมพัด และเพลงขับประโคม

จึงนอนสบาย ตื่นขึ้นแล้วได้ไปเฝ้าพระราชา แม้พระราชาก็ได้พระราชทาน

ความเป็นใหญ่ให้แก่เขา เขาได้เป็นที่พึ่งแก่มหาชนเกิดขึ้นแล้ว.

ในเรื่องนั้น พึงเห็นกุลบุตรผู้ครองเรือนถึงความเสื่อมโทรม เพราะ

ความพินาศไปแห่งทรัพย์เป็นอเนกนี้ เปรียบเหมือนบุตรแห่งอำมาตย์ผู้ถึงความ

เสื่อมโทรม เพราะพินาศไปด้วยการดื่มน้ำเมานั้น. พระตถาคตเปรียบเหมือน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

บุคคลผู้รู้วิชาดูลักษณะ การที่พระตถาคตทรงสันนิษฐานว่า กุลบุตรนี้จักเป็น

ที่พึ่งแก่มหาชนได้ สมควรจะบรรพชา ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้รู้วิชาดู

ลักษณะ สันนิษฐานว่า บุคคลนี้จักเป็นที่พึ่งแก่มหาชน สมควรจะช่วยเหลือ

ต่อมากุลบุตรได้บรรพชา เปรียบเหมือนบุตรอำมาตย์นั้นได้อาบน้ำทำความ

ชำระร่างกาย ต่อมากุลบุตรนี้ ได้นุ่งห่มผ้าคือศีล ๑๐ เหมือนบุตรอำมาตย์นั้น

นุ่งผ้าเนื้อหยาบ การที่กุลบุตรนี้ได้อาบน้ำหอม คือ ปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้น

เปรียบเหมือนบุตรของอำมาตย์นั้นได้อาบน้ำหอมอีก. การที่กุลบุตรนี้ได้นุ่งห่ม

ผ้าทุกูลพัสตร์ คือถึงพร้อมด้วยศีลวิสุทธิ์ตามที่กล่าวแล้ว เปรียบเหมือนบุตร

ของอำมาตย์นั้น ได้นุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียดอีก. การที่กุลบุตรนี้ นุ่งห่มผ้าทุกูล

คือศีลวิสุทธิขึ้นสู่ปราสาท คือสมาธิภาวนา เปรียบเหมือนบุตรของอำมาตย์นั้น

นุ่งห่มผ้าทุกูลเนื้อละเอียดขึ้นสู่ปราสาท.

ต่อจากนั้นกุลบุตรนี้ได้การบริโภคอมตธรรม มีสติและสัมปชัญญะ

เป็นต้นซึ่งมีอุปการะต่อสมาธิ เปรียบเหมือนบุตรของอำมาตย์นั้นบริโภค

อาหารอย่างดี. การที่กุลบุตรนี้ ถูกวิตกและวิจารยกขึ้นสู่อุปจารแห่งฌาน

เปรียบเหมือนบุตรของอำมาตย์นั้นบริโภคอาหารแล้ว ถูกผู้บำเรอทั้งหลายยก

ขึ้นสู่ที่นอน. เนกขัมมวิตกของกุลบุตรนี้ บีบคั้นจิตในอารมณ์เพื่อป้องกัน

มุ่งหน้าต่อกามสัญญา เปรียบเหมือนชาย ๔ คน กดเท้ากดมือของบุตรแห่ง

อำมาตย์นั้นไว้ เพื่อมิให้ไปสู่โรงดื่มอีก. วิจารที่เคล้าเคลียจิตในอารมณ์

ของกุลบุตรนี้ เปรียบเหมือนบุรุษบีบนวดเท้าของอำมาตย์นั้น. ปีติอันให้

ซึ่งความเยือกเย็นใจของกุลบุตรนี้ เปรียบเหมือนการให้บุรุษเอาพัด

ใบตาลพัดโบกให้บุตรของอำมาตย์นั้น. โสมนัสอนุเคราะห์จิตของกุลบุตรนี้

เปรียบเหมือนนักดนตรีทำการอนุเคราะห์โสตของบุตรของอำมาตย์นั้น. การที่

กุลบุตรบรรเทาความเมื่อยคือปราศจากนิวรณ์ โดยอาศัยอุปจารฌานเข้าถึง

ปฐมฌานนี้ เปรียบเหมือนบุตรของอำมาตย์นั้น บรรเทาความเมื่อยล้าหน่อยหนึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ด้วยการเข้าไปสู่ที่นอนแล้วหลับไป. การที่กุลบุตรนี้ออกจากปฐมฌานเห็นโทษ

วิตก เพราะทนวิตกบีบคั้นจิตไม่ได้ จึงละวิตกเข้าฌานที่เป็นอวิตักกวิจาร-

มัตตสมาธิ (ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) เปรียบเหมือนการที่บุตรของอำมาตย์หลับ

แล้วตื่นขึ้นคุกคามคนผู้กดมือกดเท้า เพราะทนต่อการกดมือกดเท้าไม่ได้ เพราะ

คนเหล่านั้นหลีกไป จึงหลับหน่อยหนึ่ง.

ต่อจากนั้น การที่กุลบุตรนี้ออกจากทุติยฌานเป็นต้นบ่อยๆ เห็นโทษ

วิจารเป็นต้น โดยลำดับ เพราะไม่อาจทนต่อวิจารเป็นต้น ซึ่งมีโทษตามที่

กล่าวแล้ว และเพราะละวิจารเป็นต้นเหล่านั้น จึงเข้าฌานที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

ไม่มีปีติ ละโสมนัสได้แล้ว เปรียบเหมือนบุตรอำมาตย์นั้นนอนหลับแล้วตื่น

ขึ้นบ่อย ๆ คุกคามคนผู้บีบนวดเท้าเป็นต้น โดยลำดับตามที่กล่าวแล้วเพราะ

ไม่อาจทนต่อการบีบนวดเท้าเป็นต้น และเพราะคนนวดเท้าเป็นต้นเหล่านั้นออก

ไปแล้ว จึงเข้าถึงความหลับหน่อยหนึ่งบ่อย ๆ. ก็เมื่อกุลบุตรแม้นี้ออกจาก

ปัญจมฌานเข้าถึงวิปัสสนามรรคบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือนบุตรของอำ-

มาตย์นั้นลุกจากที่นอนไปเฝ้าพระราชา แล้วถึงพร้อมด้วยอิสริยยศ. แม้ความ

ที่กุลบุตรแม้นี้บรรลุพระอรหัตแล้วเป็นที่พึ่งแก่ชนเป็นอันมาก พึงทราบเหมือน

ความที่บุตรของอำมาตย์นั้นได้อิสริยยศแล้วเป็นที่พึ่งแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น.

จริงอยู่ ด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระอรหัตมีประมาณเท่านี้ กุลบุตรนี้ ก็ชื่อว่า

เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมฉะนี้แล.

ฌานปัญจกนัยจบ

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นอันประกาศชื่อ สุทธิกนวกะ (ความ

บริสุทธิ์ ๙ ) อันต่างโดยฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถ

สุทธิกนวกะนั้นพึงทราบว่าเป็นฌานปัญจกนัยนั่นเอง เพราะฌานจตุกนัยรวม

เข้าในฌานปัญจกนัยได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ปฏิปทา ๔

[๑๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

[๑๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณ

เป็นอารมณ์เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

อารมณ์ ๔

[๑๖๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลัง

น้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๘ ] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลัง

น้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลัง

มาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลัง

มาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย

ฯลฯ มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อารมณ์ ๔ จบ

แจกฌานอย่างละ ๑๖

[๑๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า เป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อริกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากการ สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๕ ] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก เป็นอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๗๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์.

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แจกฌานอย่างละ ๑๖ จบ

[๑๗๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีนีลกสิณ

เป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีปีติกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์

ฯลฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

กสิณ ๘ แจกอย่างละ ๑๖ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายปฏิปทา ๔

บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทลำดับปฏิปทา เพราะธรรมดาว่าฌานนี้ย่อม

สำเร็จด้วยลำดับปฏิปทานั้น ฉะนั้น จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา อีก. ในปฏิปทาเหล่านั้น ฌานที่ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา เพราะอรรถว่า

ฌานนั้นปฏิบัติลำบาก ที่ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะฌานนั้นรู้ได้ยาก ด้วย

ประการฉะนี้ แม้คำทั้ง ๓ คือ ทุกขาปฏิปทาก็ดี ทันธาภิญญาก็ดี ปฐวีกสิณก็ดี

เป็นชื่อของฌานทั้งนั้น. แม้ในคำเป็นต้น ว่า ทุกฺขาปฏิปท ขิปฺปาภิญฺ

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาปฏิปทาเป็นต้นเหล่านั้น การเจริญฌานตั้งแต่เริ่มตั้งใจ

ครั้งแรก จนถึงอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ เกิดขึ้นเป็นไป เรียกว่า ปฏิปทา. ส่วน

ปัญญาที่ดำเนินไปตั้งแต่อุปจาร จนถึงอัปปนา เรียกว่า อภิญญา. ก็ปฏิปทา

นี้นั้น ย่อมเป็นทุกข์แก่บุคคลบางคนอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏิบัติยาก ไม่ได้เสพ

ความสุขเพราะความที่ปัจจนีกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นทำให้ฟุ้งขึ้น. ปฏิปทาของ

บางคนเป็นสุข เพราะไม่มีปัจจนิกธรรมเช่นนั้น แม้อภิญญาของบางคนก็ช้า

คือเป็นธรรมชาติอ่อน ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว อภิญญาของบางคนรวดเร็ว คือ

ไม่ช้า เป็นไปโดยรวดเร็ว เพราะฉะนั้น บุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายด้วย

วิปัสสนาญาณตั้งแต่ต้น ลำบากอยู่ ย่อมข่มได้โดยยาก พร้อมทั้งสังขารและ

สัมปโยคะ ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก).

ส่วนบุคคลใด ข่มกิเลสได้แล้วอบรมอัปปนาอยู่ ย่อมบรรลุถึงความ

เป็นองค์ฌานได้โดยกาลช้านาน ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ทันธาภิญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

(รู้ได้ช้า). บุคคลใดย่อมบรรลุถึงความเป็นองค์ฌานได้โดยเร็ว ปฏิปทาของ

บุคคลนั้น ชื่อว่า ขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว). บุคคลใดเมื่อข่มกิเลสทั้งหลาย

ไม่ลำบากข่มได้โดยง่าย ปฏิปทาของบุคคลนั้น ชื่อว่า สุขาปฏิปทา (ปฏิบัติ

สะดวก).

ในอธิการแห่งฌานเหล่านั้น สัปปายะและอสัปปายะก็ดี บุรพกิจมีการ

ตัดปลิโพธเป็นต้นก็ดี อัปปนาโกศลก็ดี ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในจิตภาวนานิทเทส

ในวิสุทธิมรรคแล้ว ในปฏิปทามีสัปปายะเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลใดเสพ

อสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นทุกขาปฏิปทา และทันธาภิญญา. บุคคล

ใดเสพสัปปายะ ปฏิปทาของบุคคลนั้นก็เป็นสุขาปฏิปทา และขิปปาภิญญา. ส่วน

บุคคลใดเสพอสัปปายะในส่วนเบื้องต้น ย่อมเสพสัปปายะในเวลาภายหลัง หรือ

ว่า เสพสัปปายะในกาลส่วนเบื้องต้น เสพอสัปปายะในกาลภายหลัง บัณฑิตพึง

ทราบว่าปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลนั้นปะปนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระโยคาวจรไม่ทำบุรพกิจมีการตัดปลิโพธ

เป็นต้นอย่างนั้นให้สำเร็จก่อนแล้วเจริญภาวนา ปฏิปทาของเขา เป็นทุกขาปฏิป-

ทา โดยปริยายตรงกันข้าม เป็นสุขาปฏิปทา อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรไม่ทำอัปปนา-

โกศลให้สำเร็จ อภิญญาของเขาก็เป็น ทันธาภิญญา เมื่อทำอัปปนาโกศลให้

สำเร็จอภิญญาของเขาก็เป็น ขิปปาภิญญา.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วย

อำนาจตัณหาและอวิชชา และด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา.

จริงอยู่ ปฏิปทาของบุคคลผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทา

ของผู้ไม่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เป็นสุขาปฏิปทาและปฏิปทาของบุคคลผู้ถูก

อวิชชาครอบงำแล้ว เป็นทุกขาภิญญา ปฏิปทาของผู้ไม่ถูกอวิชชาครอบงำแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

เป็นขิปปาภิญญา อนึ่ง บุคคลใด ไม่สร้างความดีในสมถะไว้ ปฏิปทาของบุคคล

นั้นเป็นทุกขาปฏิปทา ปฏิปทาของบุคคลผู้สร้างความดีในสมถะไว้ เป็นสุขาปฏิ-

ปทา. ก็บุคคลใดไม่ทำอธิการไว้ในวิปัสสนา ปฏิปทาของบุคคลนั้นเป็นทันธา-

ภิญญา ปฏิปทาของผู้ทำอธิการไว้ในวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญา.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบประเภทแห่งปฏิปทาและอภิญญาเหล่านั้นด้วย

สามารถแห่งกิเลส และอินทรีย์. จริงอยู่ ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคลมีกิ-

เลสกล้า มีอินทรีย์อ่อนก็เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและ

อภิญญาของผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา. ปฏิปทาและอภิญญาของบุคคล

ผู้มีกิเลสอ่อน อินทรีย์อ่อนก็เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. ส่วนปฏิปทาและ

อภิญญาของบุคคลผู้มีอินทรีย์กล้าก็เป็นขิปปาภิญญา.

บรรดาปฏิปทาและอภิญญาเหล่านี้ โดยประการที่กล่าวมานี้ บุคคลใด

ย่อมบรรลุฌาน เพราะปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า ฌานนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่า

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา. แม้คำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอธิการแห่ง

ฌานนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สติเป็นสภาพสมควรแก่ปฐมฌานเป็นต้นนั้น

ย่อมตั้งโดยชอบ ปัญญาเป็นฐิติภาคินี (มีส่วนตั้งมั่น) และพึงทราบปฏิปทาใน

การข่มไว้ด้วยสติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ หรือด้วยความใคร่ในฌานนั้น ๆ และ

พึงทราบอภิญญาในการอบรมอัปปนาของผู้บรรลุอุปจารฌานนั้น ๆ.

อนึ่ง ปฏิปทาและอภิญญาย่อมมีแม้ด้วยสามารถแห่งการบรรลุก็ได้

เหมือนกัน. เพราะว่า แม้ทุติยฌานที่บุคคลบรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญาแล้ว บรรลุก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ แม้ในฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔

ก็นัยนี้แหละ พึงทราบความต่างกัน ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งปฏิปทาแม้ในฌาน

ปัญจกนัย เหมือนในฌานจตุกนัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ๒ นัย เป็น

หมวด ๙ เป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้. ในฌานหมวด ๙

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ว่าโดยพระบาลี ได้จิต ๓๖ ดวง แต่ว่าโดยอรรถ

(ใจความ) ได้จิต ๒๐ ดวงเท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมอยู่ในฌาน

ปัญจกนัยแล.

ปฏิปทา จบ

อธิบายอารมณ์ของฌาน ๔

บัดนี้ ชื่อว่า ฌานนี้มี ๔ อย่าง แม้โดยประเภทอารมณ์ เหมือน

ประเภทปฏิปทา เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงประเภทอารมณ์นั้นแห่งฌานนั้น

จึงเริ่มคำเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในรูปาวจรกุศลฌานนั้นมีคำเป็นต้น ว่า ปริตฺต ปริตฺ-

ตารมฺมณ (ฌานมีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย) ต่อไป ฌานใดไม่คล่องแคล่ว

(มีคุณน้อย) ไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานในเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า ปริตตะ

ส่วนฌานใด เป็นไปในอารมณ์มีนิมิตเท่ากระด้ง หรือเท่าขันน้ำ ซึ่งขยายขึ้น

ไม่ได้ ฌานนี้ชื่อว่า ปริตตะ อารมณ์เป็นปริตตะของฌานนี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น

ฌานนั้น จึงชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เล็กน้อย). ฌานใดคล่องแคล่ว

อบรมดีแล้ว สามารถเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน ฌานนี้ ชื่อว่า อัปปมาณ. ฌาน

ใดเป็นไปในอารมณ์อันกว้างขวาง ฌานนั้นก็ ชื่อว่า อัปปมาณ เพราะกำหนด

นิมิตที่เจริญได้. อารมณ์เป็นอัปปมาณ มีอยู่แก่ฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น

จึงชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (อารมณ์ไม่มีประมาณ). อนึ่ง พึงทราบนัยที่

เจือกันเพราะความที่ลักษณะตามที่กล่าวแล้วเจือกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ธรรมหมวด ๙ ไว้ ๔ หมวด แม้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้

อนึ่ง การนับจิตในประเภทแห่งอารมณ์นี้ เหมือนกับประเภทแห่งปฏิปทานั่นแล.

อารมณ์ของฌาน ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

อธิบายอารมณ์และปฏิปทาเจือกัน

บัดนี้ เพื่อแสดงนัย ๑๖ ครั้ง เจือด้วยอารมณ์และปฏิปทา จึงทรงเริ่มคำ

เป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้. บรรดานัยเหล่านั้น ฌานพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในนัยแรกชื่อว่า หีนะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะเป็น

ทุกขาปฏิปทา (ปฏิบัติลำบาก) เพราะเป็นต้นทันธาภิญญา (รู้ได้ช้า) เพราะเป็น

ปริตตะ (ไม่ชำนาญ) เพราะเป็นปริตตารัมมณะ (มีอารมณ์เล็กน้อย) ฌานที่

ตรัสไว้ในนัยที่ ๑๖ ชื่อว่า ปณีตะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ เพราะเป็น

สุขาปฏิปทา เพราะเป็นขิปปาภิญญา เพราะเป็นอัปปมาณะ (ชำนาญ) เพราะเป็น

อัปปมาณารัมมณะ (มีอารัมณ์ไม่มีประมาณ). ในนัยที่เหลือ ๑๔ นัย พึงทราบ

ความเป็นหีนะและปณีตะ ด้วยเหตุหนึ่งเหตุสองและเหตุสาม.

ถามว่า ก็นัยนี้ท่านแสดงไว้เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งฌาน เป็นเหตุ.

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงสุทธิกฌานในปฐวีกสิณด้วย

สามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจตุกนัย ทรงแสดงสุทธิกปฏิปทา และ

สุทธิการมณ์ในปฐวีกสิณด้วยสามารถแห่งฌานจตุกนัย และฌานปัญจกนัย

เหมือนกัน. บรรดาจตุกนัยและปัญจกนัยทั้งสองเหล่านั้น เทวดาเหล่าใด ย่อม

อาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์แสดงอยู่ด้วยสามารถแห่งฌาน

จตุกนัย ก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิกฌานด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดา

เหล่านั้น.

เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในปฐวีกสิณที่พระองค์

ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งฌานปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย ด้วยสามารถ

แห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทา และ

ในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถจตุกนัยก็ทรงแสดงจตุกนัยในสุทธิก-

ปฏิปทา และในสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

เทวดาเหล่าใด ย่อมอาจเพื่อจะตรัสรู้สุทธิกฌานในสุทธิกปฏิปทาและ

ในสุทธิการมณ์ ที่ทรงแสดงด้วยสามารถแห่งปัญจกนัย ก็ทรงแสดงปัญจกนัย

ในสุทธิกปฏิปทา และสุทธิการมณ์ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทวดาเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของบุคคลตามที่กล่าว

ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้เทศนาไพเราะ ทรงแตกฉานใน

ปฏิสัมภิทา ทรงมีพระทศพลญาณและเวสารัชชญาณบริสุทธิ์ สามารถกำหนด

เทศนาด้วยอำนาจแห่งนัยใด ๆ ก็ได้ เพราะความที่พระองค์ฉลาดในการบัญญัติ

ธรรม โดยที่ธรรมทั้งหลายพระองค์ทรงแทงตลอดดีแล้วตามความเป็นจริงพร้อม

ทั้งรสและลักษณะ. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทำเทศนาด้วยสามารถแห่งฌาน

สุทธิกจตุกนัยเป็นต้นในปฐวีกสิณนั้น เพราะเหตุที่ทรงเทศนาไพเราะนี้ (เทสนา

วิลาส).

ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังฌานให้เกิดขึ้น เว้นอารมณ์และปฏิปทาก็ไม่

สามารถจะให้ฌานเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสนัยสิ้น ๑๖ ครั้งนี้เพราะการ

บรรลุฌานเป็นเหตุโดยการกำหนด ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสหมวด

๙ ไว้ ๒๕ นัย คือ สุทธิกนวกะ ๑ นัย ปฏิปทานวกะ ๔ นัย อารัมมณนวกะ

๔ นัย และนวกะ ๑๖ นัยนี้แหละ บรรดานวกธรรม ๒๕ นัยเหล่านั้น ในนวกะ

หนึ่ง ๆ มีนัย ๕๐ คือ จตุกนัย ๒๕ ปัญจกนัย ๒๕. บรรดานัย ๕๐ เหล่านั้น

ว่าโดยพระบาลีได้ฌานจิต ๒๒๕ ดวง คือ นัย ๒๕ ในจตุกนัย ได้ ๑๐๐ นัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

(๒๕ X ฌาน ๔) ในปัญจกนัยได้ ๑๒๕ นัย แต่เมื่อว่าโดยอรรถได้จิต ๑๒๕ ดวง

เท่านั้น เพราะความที่ฌานจตุกนัยก็รวมเข้าในฌานปัญจกนัย. ก็ในนิทเทสแห่ง

จิตแต่ละดวงในบรรดาจิต ๒๒๕ ดวงเหล่านั้น ในพระบาลี มีมหาวาระ คือ

ธรรมววัฏฐานะเป็นต้น มีอย่างละ ๓. ก็มหาวาระเหล่านั้นในที่นั้น ๆ ท่านย่อ

แสดงพอเป็นนัยเท่านั้น ดังนี้แล.

ปฐวีกสิณ จบ

อธิบายอาโปกสิณเป็นต้น

บัดนี้ ฌานเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในอาโปกสิณเป็นต้น เพราะฉะนั้น

เพื่อแสดงฌานเหล่านั้น จึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา

ดังนี้อีก. ในฌานเหล่านั้น นัยแห่งบาลีทั้งหมด การอธิบายเนื้อความ การนับ

จำนวนจิต การย่อวาระ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละ

แต่นัยแห่งภาวนาแม้ทั้งหมดตั้งแต่ทำบริกรรมกสิณ ข้าพเจ้าประกาศไว้ใน

วิสุทธิมรรคทั้งนั้น. ก็แต่ว่าในมหาสกุลูทายิสูตร ท่านกล่าวกสิณไว้ ๑๐ อย่าง

ในกสิณ ๑๐ เหล่านั้น มหัคคตวิญญาณที่เป็นไปในอากาศก็ดี วิญญาณัญจายตน-

สมาบัติ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำบริกรรมในอากาศนั้นก็ดี รวมเทศนาไว้ในอรูป

โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น วิญญาณกสิณ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่

ตรัสไว้ในที่นี้.

ก็กสิณุคฆาฏิมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณทั้ง ๙ ออกเว้นอากาสกสิณ)

ก็ดี ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปเพราะทำอากาศที่เพิกนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี ปริจ-

เฉทากาศมีนิมิตที่พึงถือเอาในช่องฝาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ฌานจตุกนัย

และฌานปัญจกนัยที่เกิดขึ้นเพราะทำอากาศนั้นให้เป็นอารมณ์ก็ดี เรียกว่าอากาส-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

กสิณ. บรรดาอากาสกสิณทั้ง ๔ นั้น นัยเบื้องต้น (๒ นัยแรก) รวมอยู่ใน

อารูปเทศนา นัยหลัง (๒ นัยหลัง) รวมอยู่ในรูปาวจรเทศนา ด้วยประการฉะนี้

อากาสกสิณ จึงไม่กล่าวไว้ในรูปาวจรเทศนานี้เพราะความเป็นของปะปนกัน แต่

ฌานที่เกิดขึ้นในการกำหนดปริจเฉทากาศ ย่อมเป็นมรรคเพราะความเข้าถึง

รูปภพ เพราะฉะนั้น จึงควรถือเอาฌานนั้น ฌานที่เป็นจตุกนัยเเละปัญจกนัย

เท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในปริจเฉทากาศนั้น อรูปฌานย่อมไม่เกิดขึ้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เกิด.

ตอบว่า เพราะไม่ได้เพิกกสิณออก.

จริงอยู่ อากาสกสิณนั้นแม้เพิกอยู่บ่อย ๆ ก็เป็นอากาศนั่นแหละ ย่อม

ไม่ได้การเพิกกสิณขึ้นในอรูปฌานนั้น เพราะฉะนั้น ปริจเฉทากาศฌาน ซึ่ง

เกิดขึ้นในที่นั้น จึงเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอภิญญา เป็น

บาทให้วิปัสสนา ไม่เป็นบาทให้นิโรธ แต่ว่า การดับโดยลำดับในรูปาวจรฌานนี้

จนถึงปัญจมฌานเป็นเหตุแห่งวัฏฏะเท่านั้น ก็ฌานนี้ (ปริจเฉทากาศ) ฉันใด

แม้ฌานทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกสิณก่อนก็ฉันนั้น แต่ความที่กสิณก่อนเป็นบาท

แห่งนิโรธ จึงเป็นการแปลกกันในปริจเฉทากาศนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ คำใด

ที่ควรจะกล่าวในอากาสกสิณ คำทั้งหมดนั้นได้กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

ส่วนพระโยคาวจรผู้ปรารถนาแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ นัยอาทิว่า แม้คน

เดียวก็เป็นหลายคนได้ ดังนี้ ทำสมาบัติ ๘ ให้เกิดในกสิณ ๘ อันเป็นเบื้องต้น

แล้วพึงฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ อย่างเหล่านี้ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

๑. กสิณานุโลมโต (เข้าฌานลำดับกสิณ)

๒. กสิณปฏิโลมโต (เข้าฌานย้อนกสิณ)

๓. กสิณานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามสำดับและย้อนกสิณ)

๔. ฌานานุโลมโต (เข้าตามลำดับฌาน)

๕. ฌานปฏิโลมโต (เข้าย้อนลำดับฌาน)

๖. ฌานานุโลมปฏิโลมโต (เข้าฌานตามลำดับและย้อนฌาน)

๗. ฌานุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามลำดับ )

๘. กสิณุกันติกโต (เข้าฌานโดยข้ามกสิณ)

๙. ฌานกสิณุกันติกโต (ข้ามทั้งฌานและกสิณ)

๑๐. อังคสังกันติโต (เข้าฌาน ๕ โดยก้าวล่วงองค์)

๑๑. อารัมมณสังกันติโต (เข้าฌานโดยเปลี่ยนอารมณ์)

๑๒. อังคารัมมณสังกันติโต (เข้าตามลำดับฌานและกสิณ )

๑๓. อังคววัฏฐานโต (กำหนดรู้องค์ฌาน)

๑๔. อารัมมณววัฏฐานโต (กำหนดรู้อารมณ์).

เรื่องพิสดารแห่งการฝึกจิตเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค

ทั้งนั้นแล ก็พระโยคาวจรไม่เคยอบรมมาก่อน เป็นอาทิกัมมิกะ ไม่ฝึกจิต

โดยอาการ ๑๔ อย่าง อย่างนี้ จักยังการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ให้สำเร็จ ด้วยประการ

ที่กล่าวมานี้ นั่นมิใช่ฐานะที่มีได้ จริงอยู่ แม้การบริกรรมกสิณของพระ-

โยคาวจรผู้เริ่มเป็นภาระ (ของยาก) ก็บรรดาผู้เริ่มบริกรรมกสิณตั้งร้อยองค์

พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ. พระโยคาวจรผู้ทำกสิณบริกรรมแล้ว การที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

จะทำนิมิตให้เกิดขึ้นก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์ พันองค์

องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ. เมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว ขยายนิมิตให้เจริญขึ้น

แล้วบรรลุอัปปนาก็เป็นภาระ (ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้น

ย่อมสามารถ แม้ผู้บรรลุอัปปนาได้แล้ว การฝึกจิตโดยอาการ ๑๔ ก็เป็นภาระ

(ของยาก) ในร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวย่อมสามารถ แม้ผู้ฝึกจิตโดยอาการ

๑๔ อย่างแล้ว ชื่อว่า การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ก็เป็นภาระ (ของยาก) ใน

ร้อยองค์พันองค์ องค์เดียวเท่านั้นย่อมสามารถ แม้ผู้แสดงฤทธิ์ได้แล้ว ชื่อว่า

การเข้าฌานได้รวดเร็วก็เป็นภาระ (ของยาก) ในบรรดาร้อยองค์พันองค์

จะมีองค์หนึ่งเท่านั้นเข้าฌานได้รวดเร็ว เหมือนพระรักขิตเถระผู้มีพรรษา ๘

โดยการอุปสมบท ในบรรดาท่านผู้มีฤทธิ์ประมาณสามแสนองค์ ผู้มาพยาบาล

พระมหาโรหณคุตตเถระผู้อาพาธในเถรัมพัตถลวิหาร เรื่องพิสดารในวิสุทธิมรรค

นั่นแล.

กสิณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

อภิภายตนะ

[๑๗๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔

[๑๗๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้เห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เป็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมที่หลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔ จบ

อารมณ์ ๒

[๑๘๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

กำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อารมณ์ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

แจกฌานอย่างละ ๘

[๑๘๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังเล็กน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แจกฌานอย่างละ ๘ จบ

[๑๘๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย มีสีงามหรือสีไม่งาม ตั้งใจว่า

จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กน้อย มีสีงามหรือสีไม่งาม ตั้งใจว่า

จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อภิภายตนะแม้นี้ก็แจกอย่างละ ๘

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

[๑๘๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔

[๑๘๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจุตตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธา-

ภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธา-

ภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ปฏิปทา ๔ จบ

อารมณ์ ๒

[๑๘๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลัง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

น้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มี

ในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน มีกำลัง

มาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อารมณ์ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

แจกฌานอย่างละ ๘ อีกอย่างหนึ่ง

[๑๘๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูป

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้เห็นครอบงำรูป

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯสฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

นั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำนั้น

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น สุขา-

ปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำ

รูปนั้น บรรลุทุติฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แจกฌานอย่างละ ๘ อีกอย่าง จบ

[๑๘๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ มีสีงามหรือมีสีไม่งาม ตั้งใจว่า

จะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ทั้งมีสีงามและมีสีไม่งาม

ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อภิภายตนะแม้นี้ ก็แจกอย่างละ ๘

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

[๑๘๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีวรรณเขียว เขียวแท้ มีรัศมีเขียว

ตั้งใจว่าจะรู้จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

แล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญา ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองแท้

มีรัศมีเหลือง ฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่แดง มีวรรณแดง แดงแท้ มีรัศมีแดง

ุฯลฯ เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีวรรณขาว ขาวแท้ มีรัศมีขาว ตั้งใจว่าจะรู้

จะเห็นครอบงำรูปนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ-

ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อภิภายตนะแม้เหล่านี้ ก็แจกอย่างละ ๑๖

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายอภิภายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปาวจรกุศลในกสิณ ๘ ด้วยอาการ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลกล่าวคืออภิภายตนะแม้อื่นอีกที

เป็นไปในกสิณ ๘ เหล่านี้ เพราะความที่อภิภายตนะเป็นภาวะที่ไม่เหมือนกันใน

ภาวนาในอารมณ์แม้ที่มีอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม

ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้น.

บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี (ไม่มีบริกรรมรูปสัญญาในภายใน)

ความว่า เว้นบริกรรมสัญญาในอัชฌัตติกรูป เพราะการไม่ได้อัชฌัตติกรูป

หรือว่า เพราะไม่มีอัชฌัตติกรูป. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า

ย่อมเห็นรูปในกสิณ ๘ ในภายนอกเหล่านั้น ด้วยอำนาจบริกรรม และอำนาจ

อัปปนา เพราะความที่ทำบริกรรมในกสิณ ๘ ภายนอก. บทว่า ปริตฺตานิ

(เล็กน้อย) ได้แก่ มีอารมณ์ขยายไม่ได้. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย (ครอบงำ

รูปเหล่านั้น) ความว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณนบริสุทธิ์คิดว่า จะมี

ประโยชน์อะไรที่ตนพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์อันเล็กน้อยนี้ เพราะฉะนั้น รูป-

ธรรมนี้ จึงไม่ใช่ภาระของเรา ดังนี้ จึงครอบงำ (เว้น ) รูปเหล่านั้นเสียแล้ว

เข้าสมาบัติ คือ ยังอัปปนาให้เกิดขึ้นในฌานนี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต

เปรียบเหมือนบุคคลผู้บริโภคอาหารได้ข้าวมาเพียงทัพพีเดียวก็คิดว่า เราจะพึง

บริโภคอย่างไร ในภัตเพียงช้อนเดียวนี้ จึงรวมทำเป็นเพียงคำเดียวเท่านั้น

ฉะนั้น. ก็บุรพภาคของฌานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

(เราย่อมรู้ย่อมเห็น) แต่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาในนิกายที่มาทั้งหลายว่าท่าน

กล่าวถึงการผูกใจของฌานนั้น ด้วยบทว่า ชานามิ ปสฺสามิ นี้. ก็ความผูกใจ

นั้นย่อมมีแก่พระโยคาวจรผู้ออกจากสมาบัติแล้ว มิใช่มีในภายในสมาบัติ.

บทว่า อปฺปมาณานิ ได้แก่ มีอารมณ์กว้างใหญ่.

ก็ในคำว่า อภิภุยฺย นี้ มีอธิบายว่า บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณ ผู้มีญาณ

บริสุทธิ์ คิดว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะเข้าอรูปฌานนี้ อรูปฌานนี้ไม่มีอารมณ์

กว้างใหญ่ การทำจิตให้แน่วแน่หาใช่เป็นภาระของเราไม่ เพราะฉะนั้น จึง

ครอบงำ (เว้น ) อารมณ์นั้นเสีย แล้วเข้าสมาบัติ คือยังอัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้น

ในอรูปฌานนี้ พร้อมกับให้นิมิตเกิดขึ้น เหมือนคนที่กินจุได้ภัตที่เขาคดให้

ส่วนหนึ่ง ก็คิดว่า ส่วนอื่น ๆ ยังมีอีก เพราะฉะนั้น ภัตส่วนนี้จักทำประโยชน์

อะไรให้แก่เรา ดังนี้ จึงไม่เห็นภัตส่วนนั้นว่ามาก ฉะนั้น.

ในคำว่า ปริตฺต ปริตฺตารมมณ อปฺปมาณ ปริตฺตารมมณ

(มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย) นี้ มิได้

ทรงถือเอาอรูปฌานมีอารมณ์หาประมาณมิได้ เพราะได้ตรัสมาแล้วว่า เป็น

ปริตตะ คือมีกำลังน้อย ส่วนในนัยที่สองมิได้ทรงถือว่า อรูปฌานนั้นมีอารมณ์

ไม่มีประมาณ เพราะได้ตรัสข้างหน้าว่า อปฺปมาณานิ และในอรรถกถาก็ได้

กล่าวไว้อย่างนั้น แต่ในที่นี้มิได้ทรงถือเอาอารมณ์อย่างละ ๔ แต่ทรงถือเอา

อย่างละสองเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะเมื่อถือเอาอย่างละ ๔

เทศนาก็จะเป็น ๑๖ ครั้ง และเทศนา ๑๖ ครั้งก็จะเป็นเทศนาโดยกว้าง ดุจ

หว่านเมล็ดงาบนเสื่อลำแพน ในที่นี้พระองค์มีอัธยาศัยเพื่อทรงทำเทศนาแก่

สัตว์เพียง ๘ ครั้ง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงถือเอาอย่างละ ๒

เท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ (มีสีงามและไม่งาม) ความว่า มีสี

บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ จริงอยู่ อารมณ์มีสีเขียวเป็นต้นที่บริสุทธิ์ ทรงประสงค์

เอาว่าสีงาม และอารมณ์มีสีไม่บริสุทธิ์ ทรงประสงค์เอาสีไม่งามในที่นี้. ส่วน

ในอรรถกถาที่มาในนิกายทั้งหลายกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

อภิภายตนะเหล่านั้น ด้วยอำนาจที่เป็นปริตตารมณ์ และอัปปมาณารมณ์เท่านั้น

ว่าเป็นอารมณ์ที่มีสีงาม และอารมณ์ที่มีสีไม่งาม. อนึ่ง ในอภิภายตนะ ๔ เหล่านี้

อภิภายตนะที่เป็นปริตตารมณ์สมควรแก่บุคคลผู้มีวิตักกจริต อภิภายตนะที่เป็น

อัปปมาณารมณ์สมควรแก่บุคคลผู้มีโมหจริต อภิภายตนะที่มีสีงามสมควรแก่

บุคคลผู้มีโทสจริต อภิภายตนะที่มีสีไม่งามสมควรแก่บุคคลผู้มีราคจริต เพราะ

อารมณ์เหล่านี้เป็นสัปปายะแก่บุคคลเหล่านั้น. และความที่อารมณ์เหล่านั้นเป็น

สัปปายะแก่บุคคลเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในจริตนิทเทส ในวิสุทธิมรรค

โดยพิสดารแล้ว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในพระอภิธรรมนี้ จึงตรัสว่า ความที่บุคคล

มีความสำคัญในรูปภายในว่ามิใช่รูป ในอภิภายตนะแม้ทั้ง ๔ ไม่ตรัสเหมือนที่

ตรัสในพระสูตรซึ่งมีคำเป็นต้นว่า บุคคลคนหนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน

ว่าเป็นรูป เห็นรูปภายนอกว่ามีอารมณ์เล็กน้อย อย่างนี้เล่า ?

ตอบว่า เพราะไม่ครอบครองถึงรูปในภายใน จริงอยู่ ในพระสูตรนั้น

หรือในพระอภิธรรมนี้ ตรัสคำเป็นต้นว่า เห็นรูปภายนอกมีอารมณ์เล็กน้อย

ดังนี้ รูปภายนอกนั่นแหละพระโยคาวจรครอบครองได้ เพราะฉะนั้น จึงตรัส

ไว้ในพระสูตรบ้าง ในพระอภิธรรมบ้างว่า รูปภายนอกเหล่านั้นพึงกล่าวถึง

โดยจำกัด ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

ก็ในคำว่า อชฺฌตฺตอรูปสฺี นี้เป็นเพียงความงามของเทศนา

ของพระศาสดาเท่านั้น. นี้เป็นการพรรณนาตามลำดับบทในอภิภายตนะทั้ง ๔

ก่อน. ส่วนความแตกต่างแห่งปฏิปทาในสุทธิกนัยในที่นี้ พึงทราบในอภิภายตนะ

แต่ละอย่างโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั่นแหละว่า ก็ปฐวีกสิณในพระสูตรนั้น

อภิภายตนะมีอารมณ์ ๔ อย่าง ในพระอภิธรรมนี้ มีอารมณ์ ๒ อย่าง และใน

ปฐวีกสิณนั้นแสดงอภิภายตนะไว้ ๑๖ ครั้ง อภิภายตนะในอภิธรรมนี้แสดงไว้

๘ ครั้ง ข้อความที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ บรรดาอภิภายตนะ ๔

เหล่านี้ อภิภายตนะแต่ละอย่างมีนวกะ ๑๕ คือ สุทธิกนวกะ ๑ ปฏิปทานวกะ ๔

อารัมมณนวกะ ๒ นวกะที่มีอารมณ์เจือกัปปฏิปทามี ๘ หมวด พึงทราบว่า

ในอภิภายตนะแม้ทั้ง ๔ รวมเป็นนวกะ ๖๐ หมวดพอดี.

บทว่า นีลานิ (เขียว) ในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้น ตรัสไว้โดย

รวมอภิภายตนะทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ (สีเขียว) นี้ตรัสไว้ด้วยการ

เปรียบเทียบว่า ว่าโดยสีเป็นสีเขียวแท้. มีอธิบายว่า เขียวไม่ปรากฏมีช่องว่าง

เขียวไม่เจือปน เป็นสีเขียวล้วนทีเดียว. ก็บทว่า นีลนิภาสานิ (รัศมีเขียว) นี้

ตรัสด้วยอำนาจการส่องแสง อธิบายว่า การส่องแสงสีเขียวเป็นการประกอบ

ด้วยรัศมีเขียว ด้วยคำว่ารัศมีเขียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่รูป

เหล่านั้นเป็นรูปบริสุทธิ์ดีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสอภิภายตนะ ๔ เหล่านี้

ด้วยอำนาจสีที่บริสุทธิ์ดีแล้วนั่นแหละ แม้ในคำเป็นต้นว่า ปีตานิ (เหลือง)

ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ ก็การทำกสิณก็ดี การบริกรรมก็ดี อัปปนาก็ดี

ในนีลกสิณนี้ ซึ่งมีคำเป็นต้นว่า พระโยคาวจรผู้ศึกษานีลกสิณ ย่อมถือเอา

นิมิตเขียวในดอกไม้ หรือในวัตถุ หรือในวรรณธาตุ ทั้งหมดข้าพเจ้ากล่าว

ไว้โดยพิสดาร ในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ในอภิภายตนะแต่ละอย่างในนีลกสิณนี้

พึงทราบนวกะ ๒๕ นั่นแหละ เหมือนในปฐวีกสิณแล.

อภิภายตนกถาจบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

วิโมกข์ ๓

[๑๘๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เป็นผู้ได้ฌาน

มีรูปภายในเป็นอารมณ์ เห็นรูปทั้งหลาย สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ ผูกใจอยู่ในวรรณ-

กสิณว่างาม สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

แม้วิโมกข์ ๓ นี้ ก็แจกอย่างละ ๑๖

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

พรหมวิหารฌาน ๔

[๑๙๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุตติยฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร กับปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุตติยฌาน

ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ เพราะคลายปีติ

ได้อีกด้วย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่

สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานนั้น ที่

สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุจตุตถฌาน

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พรหมวิหารฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายวิโมกข์ ๓

ธรรมดาว่า รูปาวจรกุศลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจอภิภายตนะเพราะ

ครอบงำอายตนะ คือ อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ รูปตายนะนี้

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิโมกข์ด้วย เพราะฉะนั้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง

นัยแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้ อีก.

ถามว่า ก็ธรรมคือวิโมกข์นี้ บัณฑิตพึงทราบได้อย่างไร ตอบว่า

พึงทราบได้ ด้วยอรรถว่าหลุดพ้น. อะไรเล่า ชื่อว่า อรรถว่าหลุดพ้นนี้.

ก็อรรถว่าหลุดพ้นนี้ เป็นการหลุดพ้นอย่างดีจากปัจจนีกธรรมทั้งหลาย และ

เป็นการหลุดพ้นอย่างดีด้วยอำนาจแห่งความยินดียิ่งในอารมณ์ มีอธิบายว่า

ธรรมคือวิโมกข์นี้ย่อมเป็นไปในอารมณ์ โดยความไม่เกี่ยวข้องกับปัจจนีกธรรม

และความยินดียิ่งในอารมณ์ เพราะความไม่ยึดถือ เหมือนทารกปล่อยอวัยวะ

น้อยใหญ่ นอนบนตักของบิดา ฉะนั้น.

ก็เพื่อทรงแสดงรูปาวจรกุศลที่ถึงความเป็นวิโมกข์ด้วยลักษณะอย่างนี้

จึงทรงเริ่มนัยนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปี (มีรูป) มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า

รูปี เพราะอรรถว่า รูปของบุคคลนั้นมีอยู่ คือ รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาส

มีผมเป็นต้นในภายใน. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อทำบริกรรมนีลกสิณในภายใน

ย่อมกระทำที่ผม หรือที่น้ำดี หรือที่ดวงตา เมื่อจะกระทำปีตกสิณ ย่อมทำ

มันข้น หรือที่ผิวหนัง หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือที่ตาสีเหลือง เมื่อจะทำ

บริกรรมโลหิตกสิณ ก็ย่อมทำที่เนื้อ หรือที่เลือด หรือที่ลิ้น หรือที่ฝ่ามือฝ่าเท้า

หรือที่สีแดงแห่งลูกตา เมื่อจะทำบริกรรมโอทาตกสิณ ก็ย่อมทำที่กระดูก

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

หรือที่ฟัน หรือที่เล็บ หรือที่สีของลูกตา. คำว่า รูปี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายเอาบุคคลคนหนึ่ง ในบรรดาบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยฌานที่เกิดขึ้น

เพราะทำบริกรรมด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า พหิทฺธานิ รูปานิ ปสฺสติ (เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก)

ได้แก่ ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นแม้ในภายนอก ด้วยฌานจักษุ (ด้วยจักษุ

คือฌาน) ด้วยคำว่า ย่อมเห็นในรูปในภายนอก นี้ ทรงแสดงการได้ฌาน

ในกสิณวัตถุทั้งในภายในทั้งในภายนอก.

บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี (ไม่มีบริกรรมสัญญาในรูปภายใน)

ความว่า ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มีรูปาวจรฌาน

ที่ให้เกิดขึ้นในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้นของตน ด้วยคำว่า ไม่มีบริกรรม

สัญญาในรูปภายใน นี้ ทรงแสดงถึงความที่พระโยคาวจรได้ฌานในอารมณ์

ภายนอก เพราะทำบริกรรมในวัตถุภายนอก. ด้วยบทว่า สุภ (งาม) นี้

ทรงแสดงฌานทั้งหลายในวรรณกสิณมีสีเขียวเป็นต้นที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บรรดา

ฌานที่เป็นไปในวรรณกสิณเหล่านั้น ความผูกใจว่า งาม ไม่มีในอัปปนาใน

ภายใน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระโยคาวจรใดทำสุภกสิณที่บริสุทธิ์ดีแล้ว

ให้เป็นอารมณ์อยู่ พระโยคาวจรนั้นผูกใจอยู่ในวรรณกสิณว่า งาม สงัดจาก

กาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุติยฌานเป็นต้น

ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงทำเทศนาไว้อย่างนี้ แต่ในปฏิสัม-

ภิทามรรค ท่านกล่าวว่า สภาวธรรม ที่ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า

เป็นผู้น้อมไปในคำว่า งาม ดังนี้ เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

มีจิตสหรคต (ประกอบ) ด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล เพราะเจริญเมตตา ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณา. . .มุทิตา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

. . .อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่ปฏิกูล

เพราะเจริญอุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะ

อรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่า งาม ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้ แต่ใน

พระอภิธรรมนี้ พระองค์ทรงปฏิเสธนัยนั้น เพราะความที่พรหมวิหารมาแล้ว

ในพระบาลีข้างหน้านั่นแหละ ทรงตรัสอนุญาตสุภวิโมกข์ไว้ด้วยอำนาจนีลกสิณ

ที่ดี ปีตกสิณที่ดี โลหิตกสิณที่ดี โอทาตกสิณที่ดี นีลกสิณที่บริสุทธิ์ ปีตกสิณ

ที่บริสุทธิ์ โลหิตกสิณที่บริสุทธิ์ โอทาตกสิณที่บริสุทธิ์เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้

คำว่า กสิณ หรือคำว่า อภิภายตนะ หรือคำว่า วิโมกข์ ก็คือรูปาวจรฌาน

นั่นเอง. จริงอยู่ รูปาวจรฌานนั้น ตรัสว่า ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า

ทั่วไปแก่อารมณ์ ชื่อว่า อภิภายตนะ เพราะอรรถว่า ครอบงำอารมณ์

ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะอรรถว่า น้อมใจไปในอารมณ์ และเพราะอรรถว่า

หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย บรรดาเทศนากสิณ อภิภายตนะและ

วิโมกข์เหล่านั้น เทศนากสิณ พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยอำนาจพระอภิธรรม

ส่วนเทศนา ๒ อย่างนอกจากนี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจการเทศนาในพระสูตร. นี้

เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในวิโมกข์นี้ แต่ว่า วิโมกข์แต่ละข้อ พึงทราบ

นวกนัย ๗๕ หมวด โดยทำเป็นข้อละ ๒๕ ดุจปฐวีกสิณแล.

วิโมกข์ขกถาจบ

อธิบายพรหมวิหารฌาน

บัดนี้ เพื่อแสดงรูปาวจรกุศลเป็นไปด้วยอำนาจพรหมวิหารมีเมตตา-

ฌานเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา กุสลา

ดังนี้ อีก. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา กุสลา เป็นต้นนั้นต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

คำว่า เมตฺตาสหคต (สหรคตด้วยเมตตา) ได้แก่ ประกอบด้วย

เมตตา แม้ในคำว่า สหรคตด้วยกรุณาเป็นต้นข้างหน้าก็นัยนี้เหมือหกัน. ก็พระ-

โยคาวจรนั้นปฏิบัติแล้วโดยวิธีใด จึงเข้าถึงฌานอันสหรคตด้วยเมตตาเป็นต้นอยู่

วิธีการเจริญเมตตาเป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว ส่วน

เนื้อความพระบาลีที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปฐวีกสินนั่นแหละ.

ก็แต่ว่าในปฐวีกสิณได้ธรรมหมวด ๙ รวม ๒๕ หมวดเท่านั้น ในพรหมวิหารนี้

ได้ธรรมหมวด ๗ รวม ๒๕ หมวด ด้วยสามารถแห่งพระบาลี มีคำว่าติกฌาน

(ฌานหมวด ๓) และจตุกฌาน (ฌานหมวด ๔) เป็นต้น ในพรหมวิหาร ๓

ข้างต้น แต่ละหมวดได้ ๒๕ หมวด ด้วยอำนาจแห่งฌานที่ ๔ ในอุเบกขา

แต่ในฌานที่สหรคตด้วยกรุณาและมุทิตา ย่อมมีเยวาปนกธรรมแม้เหล่านี้ คือ

กรุณาและมุทิตา กับธรรม ๔ มีฉันทะเป็นต้น.

อนึ่ง ความเป็นทุกขาปฏิปทาเป็นต้นในพรหมวิหารนี้ พึงทราบการ

ข่มพยาบาทด้วยเมตตาก่อน พึงทราบการข่มวิหิงสาด้วยกรุณา พึงทราบการข่ม

อรติด้วยมุทิตา พึงทราบการข่มราคปฏิฆะด้วยอุเบกขา มีอยู่ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีว่า ความเป็นปริตตารมณ์ย่อมไม่มีด้วยอำนาจ

แห่งสัตว์จำนวนมากเป็นอารมณ์ ส่วนความเป็นอัปปมาณารมณ์ย่อมมีด้วยอำนาจ

มีสัตว์มากเป็นอารมณ์ ดังนี้ คือที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันทั้งหมด.

บัณฑิตครั้นทราบพรหมวิหารเหล่านี้

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพรหมอันสูงสุด

ตรัสแล้วด้วยอาการอย่างนี้ก่อนแล้วพึงทราบ

แม้ปกิณณกกถา ในพรหมวิหารฌานเหล่านี้

ให้ยิ่งขึ้นไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

จริงอยู่ บรรดาพรหมวิหาร คือ เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาเหล่านั้น

ว่าโดยอรรถ ธรรมที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ย่อมรักใคร่ คือว่าย่อม

เสน่หา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า ธรรมนี้มีในมิตร

หรือว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมิตร. ธรรมที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อม

กระทำหทัยของสาธุชนทั้งหลายให้หวั่นไหว ในเพราะคนอื่นมีทุกข์. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า ย่อมบำบัด หรือย่อมเบียดเบียน คือ

ย่อมยังทุกข์ของผู้อื่นให้พินาศ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า กรุณา เพราะอรรถว่า

ย่อมทำให้กระจายไปให้ออกไปด้วยการแผ่ไปในสัตว์ผู้เป็นทุกข์. ธรรมที่ชื่อว่า

มุทิตา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องบันเทิงของผู้พรั่งพร้อมด้วยมุทิตานั้นหรือ

ย่อมยินดีเอง. หรือว่า เป็นเพียงความยินดีเท่านั้น. ธรรมที่ชื่อว่า อุเบกขา

เพราะอรรถว่า ย่อมแลดูด้วยการละความพยาบาทมีอาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย

จงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด ดังนี้ และด้วยความเข้าถึงความเป็นกลาง.

อนึ่ง ในพรหมวิหารเหล่านี้ ว่าโดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า

เมตตามีความเป็นไปแห่งอาการที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการน้อม

เข้าไปซึ่งประโยชน์เป็นกิจ มีการกำจัดความอาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการดู

แต่สิ่งที่น่าพอใจของสัตว์เป็นปทัฏฐาน เมตตานี้มีการสงบพยาบาทเป็นสมบัติ

มีการเกิดขึ้นแห่งเสน่หาเป็นวิบัติ.

กรุณา มีการเป็นไปแห่งอาการช่วยบำบัดทุกข์เป็นลักษณะมีการกำจัด

ทุกข์ผู้อื่นเป็นรส มีความไม่เบียดเบียนเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสัตว์ผู้ถูก

ทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้ไม่มีพึ่งเป็นปทัฏฐาน กรุณานี้ มีความสงบจากความ

เบียดเบียนเป็นสมบัติ มีความเกิดขึ้นแห่งความโศกเป็นวิบัติ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

มุทิตา มีการบันเทิงใจเป็นลักษณะ มีความไม่ริษยาในความดีเป็นรส

มีความกำจัดอรติเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสมบัติของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน

มุทิตานี้มีการสงบอรติเป็นสมบัติ มีการเกิดขึ้นแห่งความร่าเริงเป็นวิบัติ.

อุเบกขา มีการเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ

มีความเห็นสัตว์ทั้งหลายโดยความเสมอกันเป็นรส มีการเข้าไปสงบความโกรธ

และความรักเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความเห็นสัตว์มีกรรมเป็นของตน อย่างนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข หรือจักพ้น

จากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากสมบัติตามความพอใจของใครดังนี้ เป็นปทัฏฐาน

อุเบกขานั้น มีความสงบความโกรธและความรักเป็นสมบัติ มีความเกิดขึ้นแห่ง

อัญญาณูเบกขาซึ่งอาศัยเรือนเป็นวิบัติ.

ก็ความสุขในวิปัสสนา และภวสมบัติเป็นสาธารณประโยชน์ของ

พรหมวิหารเหล่านั้นแม้ทั้ง ๔ แต่ความกำจัดพยาบาทเป็นต้นเป็นประโยชน์

เฉพาะองค์. จริงอยู่ ในอภิธรรมนี้ เมตตามีการกำจัดพยาบาทเป็นประโยชน์

พรหมวิหาร ๓ แม้นอกนี้มีการกำจัดความเบียดเบียน ความไม่ยินดี และราคะ

เป็นประโยชน์. ข้อนี้ สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

เพราะธรรมชาติ คือ เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความ

พยาบาท...ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คือ กรุณาเจโต-

วิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน... ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลายเพราะธรรมชาติ คือ มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออก

ซึ่งอรติ...ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะธรรมชาติ คืออุเบกขาเจโต-

วิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

ก็ในพรหมวิหารเหล่านั้น มีธรรมที่เป็นข้าศึกอย่างละ ๒ โดยอำนาจ

แห่งความเป็นข้าศึกใกล้และไกล จริงอยู่ เมตตาพรหมวิหารมีราคะเป็นเหตุ

ใกล้ เพราะเห็นว่าเป็นคุณเท่ากัน เหมือนศัตรูของบุรุษผู้เที่ยวไปใกล้กัน.

ราคะนั้นย่อมได้โอกาสได้ เพราะฉะนั้น พึงรักษาเมตตาให้ดีจากราคะนั้น

พยาบาทเป็นข้าศึกไกล เพราะความเป็นสภาคะและวิสภาคะ เหมือนศัตรูของ

บุรุษซึ่งอาศัยอยู่ในที่รกชัฏมีภูเขาเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร พึงแผ่

เมตตาออกไปโดยปราศจากความกลัวต่อพยาบาทนั้น ข้อที่ว่า บุคคลจักแผ่เมตตา

และจักโกรธพร้อมกัน นั่นมิใช่เหตุที่มีได้.

โทมนัสอาศัยเรือนที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลเมื่อเล็งเห็น

ความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของ

อันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในกาลก่อน

อันล่วงไปแล้ว อันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส

โทมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกไกลของ

กรุณาพรหมวิหาร เพราะเห็นความวิบัติเหมือนกัน ความเบียดเบียนเป็นข้าศึก

ไกล เพราะเป็นวิสภาคะต่อสภาคะ ข้อที่ว่า ชื่อว่า บุคคลจักทำกรุณา และ

จักเบียดเบียนสัตว์ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้นพร้อมกัน ดังนี้ นั่นมิใช่

เหตุที่เป็นไปได้.

โสมนัสอาศัยเรือนที่ตรัสไว้โดยนัยว่า บุคคลเมื่อเล็งเห็นความได้

เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ

เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ อันประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะแล้วในกาลก่อน อัน

ล่วงไปแล้ว อันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัส

โสมนัสเช่นนี้ เรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกใกล้ของ

มุทิตาพรหมวิหาร เพราะเห็นว่าเป็นสมบัติเสมอกัน อรติเป็นข้าศึกไกล เพราะ

เป็นวิสภาคะต่อสภาคะ เพราะฉะนั้น พึงเจริญมุทิตาไปโดยปราศจากความกลัว

ต่อข้าศึกนั้น ข้อที่ว่า บุคคลจักเป็นผู้ชื่นชมยินดี และจักเบื่อหน่ายในเสนาสนะ

อันสงัดและในกุศลธรรมอันยิ่งพร้อมกัน ดังนี้ มิใช่ฐานะที่เป็นได้.

อัญญาณุเบกขา ที่อาศัยเรือน ที่ตรัสโดยนัยเป็นต้น ว่า เพราะเห็นรูป

ด้วยจักษุ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส

ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขา

เช่นนี้นั้น ไม่ละเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขา

อาศัยเรือน ดังนี้ เป็นข้าศึกไกลของอุเบกขาพรหมวิหาร เพราะเป็นธรรม

เสมอกันด้วยอำนาจแห่งการไม่ใคร่ครวญถึงโทษและคุณ ราคะและปฏิฆะเป็น

ข้าศึกไกล เพราะเป็นวิสภาคะต่อสภาคะ เพราะฉะนั้น พึงแผ่อุเบกขาไปโดย

ปราศจากความกลัวแต่ข้าศึกนั้น ขึ้นชื่อว่า บุคคลจักแผ่อุเบกขาไป จักยินดี

จักโกรธพร้อม ๆ กันนั้น มิใช่เหตุที่มีได้.

อนึ่ง ความพอใจใคร่เพื่อจะทำ (กตฺตุกมฺยตาฉนฺโท) เป็นเบื้องต้น

การข่มนิวรณ์เป็นต้น เป็นท่ามกลาง อัปปนาเป็นปริโยสานของพรหมวิหาร

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด สัตว์ตนหนึ่ง หรือมาก เป็นอารมณ์ของพรหมวิหารนั้น

โดยบัญญัติธรรม อารมณ์บัญญัติธรรมนั้น เมื่อถึงอุปจาระหรืออัปปนาแล้ว

จึงขยายอารมณ์ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ในอธิการว่าด้วยพรหมวิหารนั้น มีลำดับแห่งการขยายอารมณ์ ดังต่อ

ไปนี้. พระโยคาวจรพึงกำหนดอาวาสหนึ่งก่อนทีเดียวแล้ว พึงเจริญเมตตาไป

ในสัตว์ทั้งหลายในอาวาสนี้นั้น โดยนัยว่า สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ขอให้

สัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด ดังนี้เป็นต้น เหมือนชาวนาผู้ฉลาดกำหนด

สถานที่ตนพึงไถแล้วจึงไถ ฉะนั้น พระโยคาวจรพึงทำจิตให้อ่อนและควรแก่

การงานในอาวาสนั้น แล้วพึงกำหนดอาวาส ๒ แห่ง จากนั้นก็กำหนดอาวาส

๓ แห่ง ๔ แห่ง ๕ แห่ง ๖ แห่ง ๗ แห่ง ๘ แห่ง ๙ แห่ง ตรอกหนึ่ง

กึ่งหมู่บ้าน หนึ่งหมู่บ้าน ชนบทหนึ่ง รัฐหนึ่ง ทิศหนึ่ง จนกระทั่งจักรวาล

หนึ่ง หรือยิ่งกว่านั้น แล้วเจริญเมตตาไปในสัตว์นั้น ๆ กรุณาพรหมวิหาร

เป็นต้นก็เหมือนกัน นี้เป็นลำดับแห่งการขยายอารมณ์ในพรหมวิหาร ๔ ดังนี้.

ในพรหมวิหาร ๔ เหล่านี้ อุเบกขาพรหมวิหารเป็นผลไหลออกของ

พรหมวิหาร ๓ ข้างต้น เหมือนรูปสมาบัติเป็นผลไหลออกของกสิณทั้งหลาย

เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นผลไหลออกของอรูปสมาธิ ผลสมาบัติเป็นผล

ไหลออกของวิปัสสนา นิโรธสมาบัติเป็นผลไหลออกของสมถะและวิปัสสนา

ฉะนั้น เหมือนอย่างว่า บุคคลสร้างบ้านยังไม่ได้ยกเสาทั้งหลายขึ้นตั้ง ยังมิได้

ยกขื่อและอกไก่ ก็ไม่สามารถจะยกยอดเรือนและกลอนหลังคาตั้งไว้ในอากาศได้

ฉันใด พระโยคาวจรเว้นตติยฌานที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ก็ไม่อาจเพื่อจะเจริญ

จตุตถฌานได้ฉันนั้น ก็แต่ว่า อุเบกขาพรหมวิหารนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่

บุคคลผู้ยังตติยฌานให้เกิดขึ้นแล้วในกสิณทั้งหลาย เพราะเป็นอารมณ์มีส่วน

ไม่เสมอกัน.

ก็ในพรหมวิหารเหล่านั้น หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร เมตตา

กรุณามุทิตาอุเบกขา จึงตรัสเรียกว่า พรหมวิหาร ? เพราะเหตุไร พรหมวิหาร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

จึงมี ๔ และลำดับของพรหมวิหารเหล่านั้นเป็นอย่างไร ? เพราะเหตุไร ใน

วิภังค์ จึงตรัสเรียกว่า เป็นอัปปมัญญาเล่า ?

ตอบว่า ความเป็นพรหมวิหารในธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบ

ด้วยอรรถว่าประเสริฐ และความเป็นธรรมไม่มีโทษก่อน.

จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่อันประเสริฐ เพราะ

เป็นความปฏิบัติโดยชอบในสัตว์ทั้งหลาย ก็พรหมทั้งหลายมีจิตปราศจากโทษ

อยู่ฉันใด พระโยคีทั้งหลายผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้เสมอ

กับพรหมอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกธรรมเหล่านั้นว่า

พรหมวิหาร เพราะอรรถว่าประเสริฐและความเป็นธรรมปราศจากโทษ.

ส่วนปัญหามีคำว่า เพราะเหตุไร จึงเป็น ๔ เป็นต้น มีคำวิสัชนา

ดังนี้ว่า

พรหมวิหาร ชื่อว่ามี ๔ เพราะเป็น

ทางหมดจดเป็นต้น อนึ่ง ลำดับแห่งพรหม-

วิหารเหล่านั้นย่อมมี เพราะอาการมี

ประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้น และพรหมวิหาร

เหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ดังนี้.

จริงอยู่ บรรดาพรหมวิหารเหล่านั้น เมตตาเป็นทางหมดจดของบุคคล

ผู้มากด้วยพยาบาท กรุณาเป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยวิหิงสา มุทิตา

เป็นทางหมดจดของบุคคลผู้มากด้วยอรติ อุเบกขาเป็นทางหมดจดของบุคคล

ผู้มากด้วยราคะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

อนึ่ง มนสิการในสัตว์ทั้งหลายของพรหมวิหารก็มี ๔ อย่างนั่นแหละ

ด้วยอำนาจการน้อมเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ๑ การนำออกซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์ ๑ การพลอยยินดีด้วยสมบัติผู้อื่น ๑ และการไม่ผูกใจ ๑.

เหมือนอย่างว่า มารดามีลูก ๔ คน บรรดาลูก ๔ คนเป็นเด็กคนหนึ่ง

เป็นคนป่วยคนหนึ่ง เป็นหนุ่มสาวคนหนึ่ง และกำลังประกอบกิจทั้งปวงคนหนึ่ง

มารดาย่อมปรารถนาให้ลูกคนเล็กเจริญเติบโต มีความปรารถนากำจัดความ

ป่วยไข้ของลูกที่ป่วย มีความปรารถนาให้ลูกผู้เป็นหนุ่มสาวดำรงอยู่ในสมบัติ

แห่งความเป็นหนุ่มสาวตลอดกาลนาน และไม่ได้ขวนขวายกิจการงานในการ

งานอะไร ของลูกคนที่ประกอบการแล้ว ฉันใด แม้พระโยคาวจรผู้มี อัปป-

มัญญาเป็นเครื่องอยู่ก็ฉันนั้น พึงเจริญไปด้วยอำนาจแห่งอัปปมัญญามีเมตตา

เป็นต้นในสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น อัปปมัญญาจึงมี ๔ อย่าง เพราะอำนาจ

แห่งทางหมดจดเป็นต้นนี้.

ก็พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญอัปปมัญญาเหล่านั้นแม้ทั้ง ๔ พึงปฏิบัติ

ในสัตว์ทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปด้วยอาการอันเป็นประโยชน์เกื้อกูล

ก่อน ด้วยว่า เมตตามีการเป็นไปแห่งอาการเกื้อกูลแก่สัตว์เป็นลักษณะ แต่นั้น

ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจความเป็นไปแห่งอาการที่เห็น หรือได้

ฟัง หรือกำหนดสัตว์ทั้งหลายผู้อันความทุกข์ครอบงำที่ตนปรารถนาจะเกื้อกูล

ด้วยประการฉะนี้แล้วช่วยนำทุกข์ออกไป ด้วยว่ากรุณา มีการเป็นไปแห่งอาการ

นำทุกข์ออกไปเป็นลักษณะ ลำดับนั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ความยินดีในสมบัติ เพราะเห็นสมบัติ (คือการถึงพร้อม) แห่งสัตว์ที่ตน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ปรารถนาเกื้อกูลแล้ว มีทุกข์ไปปราศแล้วเหล่านั้น ด้วยว่า มุทิตามีการบันเทิงใจ

ต่อสมบัติผู้อื่นเป็นลักษณะ เบื้องหน้าแต่นั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย

โดยอาการแห่งความเป็นกลาง กล่าวคือ ความเป็นผู้วางเฉย เพราะความไม่มี

กิจที่พึงทำอีก ด้วยว่า อุเบกขามีความเป็นไปแห่งอาการแห่งความเป็นกลาง

เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเมตตาไว้ก่อน ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไป

ด้วยอาการมีการเกื้อกูลเป็นต้น ต่อจากนั้นก็พึงทราบว่า ลำดับนี้ คือ กรุณา

มุทิตา และอุเบกขาโดยประการดังกล่าวมานี้.

ก็อัปปมัญญาเหล่านี้ทั้งหมดย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ สัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ของอัปป-

มัญญาเหล่านี้ และพึงเจริญเมตตาเป็นต้นไปในประเทศเท่านี้ต่อสัตว์หนึ่ง ดังนี้

แล้ว ไม่ถือเอาประมาณอย่างนี้ แล้วให้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการแผ่ไปทั้ง

สิ้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า

จึงกล่าวว่า

พรหมวิหาร ชื่อว่ามี ๔ เพราะเป็น

ทางหมดจดเป็นต้น อนึ่ง ลำดับแห่งพรหม

วิหารเหล่านั้นย่อมมี เพราะอาการมีประ-

โยชน์เกื้อกูลเป็นต้น และพรหมวิหารเหล่า

นั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ก็อัปปมัญญาเหล่านั้น แม้มีอารมณ์เป็นลักษณะอย่างเดียวกัน โดย

ความเป็นอารมณ์ไม่มีประมาณอย่างนี้ แต่อัปปมัญญา ๓ ข้างต้นย่อมเป็นไปใน

ฌาน ๓ และฌาน ๔. เพราะเหตุไร เพราะฌานเหล่านั้นยังไม่ปราศจากโสมนัส.

ก็เพราะเหตุไร อัปปมัญญา ๓ ข้างต้น จึงยังไม่ปราศจากโสมนัส เพราะ

อัปปมัญญา ๓ ข้างต้นเป็นธรรมสลัดพยาบาทเป็นต้น อันมีโทมนัสเป็นสมุฏฐาน

ออกไป ส่วนอัปปมัญญาข้อสุดท้ายฌานเดี่ยวที่ไม่มีโสมนัสเหลือ เพราะเหตุไร

เพราะประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา จริงอยู่ อุเบกขาในพรหมวิหารเป็นไปโดย

อาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย เว้นอุเบกขาเวทนา ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย.

พรหมวิหารกถาจบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

อสุภฌาน

[๑๙๑ ] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญา

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่สหรคตด้วยวินีลกสัญญา ฯลฯ

ที่สหรคตด้วยวิปุพพกสัญญาฯสฯ ที่สหรคตด้วยวิจฉิททกสัญญาฯลฯ ที่สหรคต

ด้วยวิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรตด้วย

หตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโลหิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วย

ปุฬุวกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อสุภฌานแจกอย่างละ ๑๖

รูปาวจรกุศล จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

อธิบายอสุภฌาน

ว่าด้วยรูปาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อแสดงรูปาวจรกุศลที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลสมควรแก่สัตว์

ผู้มีราคจริต ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจฌานเดียวในอารมณ์ต่างๆ นั่นแหละ จึงทรง

เริ่มคำเป็นอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อุทฺธุมาตกสญฺา

สหคต (สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญา) เป็นต้นต่อไป.

ซากศพ ชื่อว่า อุทธุมาตะ เพราะพองขึ้นโดยความพองอืดขึ้น

ตามลำดับเพราะสิ้นชีวิต เหมือนลูกหนังพองด้วยลมฉะนั้น. ซากศพที่ชื่อว่า

อุทธุมาตะ นั่นเอง ชื่อว่า อุทธุมาตกะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทธุมาตกะ

เพราะอรรถว่า เป็นซากศพพองขึ้นน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล คำว่า

อุทธุมาตกะ นี้เป็นชื่อของซากศพอย่างนั้น. ซากศพที่มีผิวแตกออกโดย

ประการต่าง ๆ (ที่เน่า ) ท่านเรียกว่า วินีลกะ ซากศพที่ชื่อว่า วินีละ นั่นเอง

ชื่อว่า วินีลกะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินีลกะ เพราะเป็นของน่าเกลียดมี

สีเขียวคล้ำเพราะปฏิกูล. ก็คำว่า วินีลกะ นี้ เป็นชื่อของซากศพที่มีสีแดง

ในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่บ่มด้วยน้ำหนอง และมีสีเขียวโดยมากในที่สีเขียว

เช่นกันคลุมด้วยผ้าสีเขียว. ซากศพที่มีน้ำหนองอันไหลออกไปในที่แตกออก

แล้ว ชื่อว่า วิปุพพะ (น้ำหนองไหลออก) ซากศพที่มีน้ำหนองไหลออกนั่นเอง

ชื่อว่า วิปุพพกะ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิปุพพกะ เพราะอรรถว่า น่า

เกลียดมีน้ำหนองไหลออกเพราะเป็นของปฏิกูล. คำว่า วิปุพพกะ นี้เป็นชื่อ

ชองซากศพที่เป็นเช่นนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

ซากศพที่ขาดเป็น ๒ ท่อน เรียกว่า วิฉิททะ ซากศพที่ชื่อว่า วิฉิททะ

นั่นเอง ชื่อว่า วิฉิททกะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิฉิททกะ เพราะอรรถว่า

น่าเกลียดเป็นท่อนต่าง ๆ เพราะเป็นของปฏิกูล. คำว่า วิฉิททกะนี้เป็นชื่อของ

ซากศพที่ขาดในท่ามกลาง.

ซากศพทั้งหลายที่มีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกกัดกินโดยอาการต่าง ๆ

โดยกระจัดกระจายไป ชื่อว่า วิกขายิตะ ซากศพที่ชื่อว่า วิกขายิตะ นั่นเอง

ชื่อว่า วิกขายิตกะ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิกขายิตกะ เพราะอรรถว่า

เป็นของน่าเกลียด เป็นของสัตว์กัดกิน เพราะเป็นของปฏิกูล. คำว่าวิกขายิตกะ

นี้เป็นชื่อของซากศพเช่นนั้น.

ซากศพที่กระจัดกระจายไป ชื่อว่า วิกขิตตะ ซากศพที่ชื่อว่า วิก-

ขิตตกะ นั่นเอง ชื่อว่า วิกขิตตกะ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิกขิตตกะ

เพราะอรรถว่า เป็นของน่าเกลียด เป็นของกระจัดกระจายไป เพราะเป็นของ

ปฏิกูล. คำว่า วิกขิตตกะ นี้เป็นชื่อซากศพที่กระจัดกระจายไปแต่ที่นั้น ๆ

อย่างนี้คือ มือไปทางหนึ่ง เท้าไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง.

ซากศพที่ถูกฟันยับเยิน กระจัดกระจายโดยนัยก่อนนั่นแหละ ชื่อว่า

หตวิกขิตตกะ คำว่า หตวิกขิตตกะนี้ เป็นชื่อของซากศพที่ถูกสับฟันด้วย

ศัสตราในอวัยวะน้อยใหญ่ โดยอาการดังเพียงกากบาทกระจัดกระจายโดยนัยที่

กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ซากศพที่มีโลหิตหยดเรี่ยไหลไปข้างโน้นข้างนี้ ชื่อว่า โลหิตกะ

คำว่า โลหิตกะนี้ เป็นชื่อของซากศพที่เปื้อนโลหิตไหลไป.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

หมู่หนอนทั้งหลาย ท่านเรียกว่า ปุลุวา ซากศพที่เกลื่อนไปด้วยหมู่

หนอนชอนไช ชื่อว่า ปุลุวกะ คำว่า ปุลุวกะ นี้เป็นชื่อของซากศพที่เต็ม

ไปด้วยหมู่หนอน.

ซากศพที่มีกระดูกเท่านั้น เรียกว่า อัฏฐิกะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อัฏฐิกะ เพราะอรรถว่า เป็นกระดูกอันน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล

คำว่า อัฏฐิกะนี้ เป็นชื่อของซากศพที่มีร่างกระดูกบ้าง มีกระดูกท่อนหนึ่งบ้าง

ก็ซากศพเหล่านี้แหละเป็นชื่อของนิมิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยซากศพที่ขึ้นพอง

เป็นต้นเหล่านี้บ้าง ของฌานที่ได้ในนิมิตทั้งหลายบ้าง.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อุทธุมาตกสัญญาเป็นต้นเหล่านั้นต่อไป.

สัญญาที่เกิดขึ้นด้วยสามารถอัปปนา ในซากศพที่ขึ้นพองเป็นนิมิต ชื่อว่า

อุทธุมาตกสัญญา. จิตที่สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญานั้น เพราะอรรถว่าเป็น

สัมปโยคะ ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญาสหคตะ แม้ในจิตที่สหรคตด้วยวินีลก-

สัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในอธิการแห่งอสุภะนี้ วิธีเจริญอันใดที่

พึงกล่าว วิธีเจริญนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค แม้โดยประการทั้งปวง

การพรรณนาพระบาลีที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ ก็ใน

อสุภะนี้ แต่ละหมวดมีหมวดละ ๒๕ ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌานอย่างเดียว

เหมือนในอุเบกขาพรหมวิหารมีด้วยอำนาจจตุตถฌาน เพราะความที่อารมณ์ที่

เป็นอสุภะไม่พึงขยาย. อารมณ์นิมิตที่เกิดขึ้นในที่ซากศพอุทธุมาตกะมีเล็กน้อย

พึงทราบว่าเป็นปริตตารมณ์ ที่เกิดขึ้นในอุทธุมาตกะอันใหญ่เป็นอัปปมาณารมณ์

แม้ในอสุภะที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. (บาลีปกิณณกกถาว่า)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

อิติ อสุภานิ สุภคุโณ

ทสสตโลจเนน ถุติกิตฺติ

ยานิ อโวจ ทสพโล

เอเกกชฺฌานเหตูนิ.

เอว ปาลินเยเนว ตาว สพฺพานิ ตานิ ชานิตฺวา

เตเสฺว อย ภิยฺโย ปกิณฺณกกถาปิ วิญฺเยฺยา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทศพลทรงพระ-

คุณอันงาม ทรงพระเกียรติ ควรแก่การ

สรรเสริญ ด้วยการแลเห็นตั้งพัน ควรแก่การ

อสุภะทั้งทลาย อันเป็นเหตุแห่งฌาน แต่ละ

อย่างไว้ ด้วยประการฉะนี้.

บัณฑิตทราบอสุภะทั้งหมดเหล่านั้น

โดยนัยแห่งพระบาลีอย่างนี้ก่อนแล้ว พึง

ทราบแม้กถาเบ็ดเตล็ดนี้ในอสุภะเหล่านั้น

นั่นแหละให้ยิ่งขึ้นไป.

จริงอยู่ บุคคลย่อมปราศจากความประพฤติโลเล (ความดิ้นรน )

ได้ ในเพราะอสุภะใดอสุภะหนึ่งในบรรดาอสุภะเหล่านั้น เหมือนผู้มีราคะไป

ปราศแล้ว เพราะความทำราคะอันตนข่มไว้ในฌานที่บรรลุแล้ว แม้เมื่อเป็น

เช่นนั้น ประเภทแห่งอสุภะนี้ใด ประเภทแห่งอสุภะนั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้

โดยการถึงความเป็นไปเองแห่งซากศพ และด้วยอำนาจแห่งการทำลายราคจริต

เพราะซากศพเมื่อความเป็นของปฏิกูล ก็จะพึงถึงสภาพขึ้นพองของซากศพ

หรือถึงสภาพเป็นซากศพอย่างใดอย่างหนึ่งมีสีเขียวคล้ำเป็นต้น ด้วยเหตุนี้

กุลบุตรพึงกำหนดนิมิตในอสุภะอย่างใดเท่าที่จะหาได้อย่างนี้ว่า ซากศพที่พอง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

ขึ้นเป็นของปฏิกูล ซากศพที่สีเขียวคล้ำเป็นของปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า

ตรัสประเภทอสุภะ ๑๐ อย่าง ด้วยสามารถการถึงความเป็นเองของซากศพ

ดังนี้.

ว่าด้วยสัปปายะ ๑๐ อย่าง

อนึ่ง ว่าโดยความแปลกกันในอสุภะ ๑๐ เหล่านั้น ซากศพที่เป็น

อุทธุมาตกะ (พองขึ้น) เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในสรีรสัณฐาน เพราะ

ประกาศความพิบัติลงสรีรสัณฐาน. ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำเป็นสัปปายะแก่

บุคคลผู้ยินดีในสรีรวรรณะ เพราะประกาศความพิบัติความยินดีในผิว. ซาก

ศพที่มีน้ำหนองไหลเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในกลิ่นแห่งสรีระที่ปรุงแต่ง

ขึ้นด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น เพราะประกาศความเป็นกลิ่นเหม็น

อันเนื่องด้วยชนิดของศพ. ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อนเป็นสัปปยะแก่บุคคลผู้ยินดี

ในความเป็นฆนะ (แท่ง) แห่งสรีระ เพราะประกาศความโพรงแห่งกายใน

ภายใน. ซากศพที่ถูกสัตว์แทะกินเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในที่มีเนื้อนูนใน

ส่วนแห่งร่างกายมีถันเป็นต้น เพราะประกาศความพินาศแห่งการสมบูรณ์ด้วย

เนื้อนูน. ซากศพที่มีอวัยวะกระจัดกระจายไปเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการ

เยื้องกรายแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ เพราะประกาศความกระจัดกระจายแห่งอวัยวะ

น้อยใหญ่. ซากศพที่ถูกตัดเป็นท่อน ๆ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการ

ถึงพร้อมแห่งโครงร่างกาย เพราะประกาศความพิการของโครงร่างกาย. ซากศพ

ที่มีเลือดติดเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในความงามอันเกิดแต่การประดับ

ตกแต่ง เพราะประกาศความปฏิกูลโดยการเปื้อนเลือด. ซากศพที่มีหมู่หนอน

ชอนไชเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในร่างกายว่าเป็นของเรา เพราะประกาศ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ถึงความที่ร่างกายเป็นของสาธารณะแก่ตระกูลหมู่หนอนมิใช่น้อย. ซากศพที่

เหลือแต่กระดูกเป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้ยินดีในการสมบูรณ์แห่งฟัน เพราะ

ประกาศความเป็นของปฏิกูลแห่งกระดูกในสรีระ พึงทราบว่า ประเภทแห่ง

อสุภะ ๑๐ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้ด้วยอำนาจการทำลายราคจริต

ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในอสุภะ ๑๐ อย่างนี้ จิตจะสงบดำรงอยู่ได้โดยกำลังของวิตกเท่านั้น

เว้นวิตกแล้วก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ เพราะความที่อารมณ์มีกำลังทรามโดยที่เป็น

ของปฏิกูล เหมือนเรือจอดอยู่ที่แม่น้ำมีกระแสอันไหลเชี่ยวไหลไปย่อมหยุดได้

ด้วยกำลังไม้ถ่อเท่านั้น เว้นจากไม้ถ่อก็ไม่อาจจอดอยู่ได้ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น

ในอสุภกรรมฐานนี้ ย่อมมีเพียงปฐมฌานเท่านั้น ทุติยฌานเป็นต้นหามีได้ไม่.

อนึ่ง ในอารมณ์แม้เป็นของปฏิกูลนี้ ปีติและโสมนัสก็ย่อมเกิด เพราะ

ความที่พระโยคาวจรเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า เราจักพ้นจากชราและมรณะเพราะ

ปฏิปทานี้แน่แท้ และเพราะละความเร่าร้อนแห่งนิวรณ์ได้เหมือนคนเทดอกไม้

เห็นอานิสงส์ว่า วันนี้เราจักได้ค่าจ้างมาก จึงเกิดปีติโสมนัสในกองคูถ และ

เหมือนคนมีโรคเป็นทุกข์ เพราะพยาธิที่เกิดขึ้น มีความปีติโสมนัสในการเป็น

ไปแห่งการถ่ายยา ฉะนั้น.

ก็อสุภะนี้แม้ทั้ง ๑๐ อย่าง โดยลักษณะก็มีอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยว่า

อสุภะแม้ ๑๐ อย่างนี้ มีความเป็นของปฏิกูลโดยเป็นของไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น

น่ารังเกลียดเท่านั้นเป็นลักษณะ โดยลักษณะนี้ อสุภะนี้นั้นจึงไม่ปรากฏใน

สรีระที่ตายแล้วอย่างเดียว ย่อมปรากฏแม้ในร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือน

พระมหาติสสเถระผู้อยู่ในวิหารเจติยบรรพตเกาะสีหลผู้เห็นกระดูกฟัน และ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

เหมือนปรากฏแก่สามเณรอุปัฏฐาก พระสังฆรักขิตเถระซึ่งแลดูพระราชาผู้ประ-

ทับเหนือคอช้าง ฉะนั้น เพราะว่า ร่างกายที่ตายแล้วเป็นอสุภะฉันใด แม้

สรีระที่กำลังเป็นอยู่ก็เป็นอสุภะฉันนั้นนั่นแหละ แต่ว่า ในร่างกายที่ยังเป็นอยู่นี้

ลักษณะแห่งอสุภะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเครื่องประดับจรมาปิดบังไว้ ฉะนี้แล.

อสุภกถาจบ

ถามว่า ก็รูปาวจรอัปปนานี้ มีปฐวีกสิณเป็นต้น มีอัฏฐิกสัญญาเป็นปริโย-

สานเป็นอารมณ์เท่านั้นหรือ หรือแม้อย่างอื่นก็มีอยู่. ตอบว่า แม้อย่างอื่นที่เป็น

อารมณ์ก็มีอยู่. แต่ในอภิธรรมนี้ ไม่ได้ตรัสอานาปานฌานและกายคตาสติภาวนา

ไว้ แม้ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ระบุถึงวาโยกสิณไว้ จึงเป็นอัน

ระบุถึง แม้อานาปานฌานโดยแท้. อนึ่ง เมื่อระบุถึงวรรณกสิณทั้งหลาย ก็เป็น

อันระบุถึงกายคตาสติที่เกิดขึ้นด้วยจตุกฌาน และปัญญจกฌานในโกฏฐาสมีผม

เป็นต้น. และในอสุภะ ๑๐ อย่างทรงถือเอาแล้ว กายคตาสติที่เป็นไปด้วยอำนาจ

แห่งฌานที่มนสิการปฏิกูลในอาการ ๓๒ และด้วยอำนาจแห่งฌานอันเกิดขึ้นแต่

วรรณะในป่าช้า ๙ ชนิด ก็ย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้วเหมือนกัน. อัปปนา

ที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นอันตรัสไว้แล้วในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้.

รูปาวจรกถาจบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

อรูปาวจรกุศล

อรูปฌาน ๔

[๑๙๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่

มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญ-

จายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

วิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

อากิญจัญญาตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อรูปฌาน ๔ แจกอย่างละ ๑๖

อรูปาวจรกุศล จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

ว่าด้วยอรูปาวจรกุศล ๔

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอรูปาวจรกุศล จึงทรงเริ่มคำเป็นต้นว่า กตเม

ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรูปูปปตฺติยา ความว่า อรูปภพ

เรียกว่า อรูป ความเกิดขึ้นในอรูปเห็นปานนี้ เรียกว่า อรูปูปปัตติ. พระ-

โยคาวจรเจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงอรูปภพนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

บทว่า มคฺค ภาเวติ ความว่า ย่อมยังอุบาย คือ เหตุ คือ การณะ

ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญขึ้น. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทั้งหมดไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺาน ได้แก่

รูปาวจรฌานที่ตรัสไว้โดยมีสัญญาเป็นประธานและเป็นอารมณ์ของฌานนั้น.

จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานก็ตรัสเรียกว่า รูป เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า

ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ก็ตรัสว่า

รูป เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ย่อมเห็นรูปภายนอกซึ่งมีผิวพรรณดีและไม่ดี

เพราะฉะนั้น ในที่นี้ คำว่า รูปสญฺาน นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน

ตามที่กล่าวไว้โดยมีสัญญาเป็นประธาน อย่างนี้ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่า

รูปสัญญา ดังนี้ รูปาวจรฌานที่ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะอรรถว่า มีรูป

เป็นเครื่องหมาย อธิบายว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง คำว่า รูป นี้

ก็พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์ของฌานนั้น อันต่างด้วยรูปมีปฐมวีกสิณเป็นต้น.

บทว่า สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วง) ได้แก่ เพราะสำรอก และ

ดับสนิท. คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสา-

นัญจายตนะอยู่ เพราะสำรอก และดับสนิท คือเหตุที่สำรอกและเหตุที่ดับสนิท

ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายคือฌาน ๑๕ โดยกุศล วิบาก และกิริยาเหล่านั้น และ

รูปสัญญาทั้งหลาย คือ อารมณ์ ๘ อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น

โดยอาการทั้งปวง หรือว่าโดยไม่มีส่วนเหลือ. จริงอยู่ พระโยคาวจรไม่สามารถ

เข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงใน

รูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ก็ก้าวล่วงสัญญาไป

ไม่ได้ และเมื่อก้าวสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้

เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสถึงการก้าวล่วงอารมณ์ ตรัสแต่การก้าวล่วง

สัญญาทั้งหลายเท่านั้นไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

คำว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง มีอธิบายว่า

รูปสัญญาเป็นไฉน ? การจำ กิริยาที่จำ ความจำของพระโยคาวจรผู้เข้ารูป-

สมาบัติ หรือของผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

เหล่านี้ เรียกว่า รูปสัญญา ภิกษุก้าวล่วงแล้ว ข้ามแล้ว ข้ามพ้นแล้วซึ่ง

รูปสัญญาเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา โดยประการ

ทั้งปวง ดังนี้. ก็เพราะสมาบัติเหล่านี้ พึงกล่าวด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ มิใช่

กล่าวในอารมณ์หนึ่งเท่านั้น เหมือนปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้นพึงทราบว่า

การพรรณนาเนื้อความนี้ ทรงทำไว้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอารมณ์.

คำว่า ปฏิฆสญฺาน อตฺถงฺคมา (เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา)

ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบวัตถุมีจักษุเป็นต้น และอารมณ์มี

รูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆสัญญา คำว่า ปฏิฆสัญญา นี้ เป็นชื่อของ

รูปสัญญาเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสในวิภังค์ว่า คำว่า เพราะความดับไป

แห่งปฏิฆสัญญา ดังนี้ มีอธิบายว่า ปฏิสัญญาเป็นไฉน ? รูปสัญญา

สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา เหล่านี้ เรียกว่า

ปฏิฆสัญญา ดังนี้. มีอธิบายว่า เพราะดับ คือเพราะละ คือเพราะความ

ไม่เกิดขึ้น ได้แก่กระทำไม่ให้เป็นไป โดยประการทั้งปวงแห่งปฏิฆสัญญาแม้

ทั้ง ๑๐ คือ กุศลวิบาก ๕ อกุศลวิบาก ๕ แห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น. ก็

ปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแม้แก่ผู้เข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะ

ในสมัยนั้น จิตย่อมไม่เป็นทางการปัญจทวาร. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบ

คำที่ตรัสถึงปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ในอภิธรรมนี้ ด้วยสามารถแห่งการยกย่องฌานนี้

เพื่อการยังฌานนี้ให้เกิดขึ้น เหมือนการกล่าวถึงสุขและทุกข์อันละได้แล้ว ใน

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

ฌานอื่นไว้ในฌานที่ ๔ และเหมือนการกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันละ

ได้แล้วในมรรคอื่นไว้ในมรรคที่ ๓ ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ไม่มีอยู่แก่ผู้เข้ารูปาวจรฌานก็จริง

แต่ย่อมไม่มีเพราะละได้แล้วก็หาไม่ เพราะว่า การเจริญรูปาวจรมิใช่เป็นไป

พร้อมเพื่อความคลายความยินดีในรูป. อนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ย่อมเป็นไปพร้อม

เพราะอาศัยรูป แต่ภาวนานี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อคลายความยินดีในรูป

เพราะฉะนั้น สมควรจะกล่าวได้ว่าปฏิฆสัญญาเหล่านั้น พระโยคาวจรละได้แล้ว

ในฌานนี้. อนึ่ง ไม่ใช่เพียงการกล่าวเท่านั้น แม้การทรงจำไว้อย่างนี้ โดย

ส่วนเดียวนั่นแหละก็สมควร จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสียงเป็น

หนาม (ข้าศึก) ของผู้เข้าปฐมฌาน ดังนี้ เพราะยังละไม่ได้ในกาลก่อน

แต่กาลนี้ แต่ในที่นี้พระองค์ตรัสความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นอเนญชา และ

ความที่อรูปสมาบัติทั้งหลายเป็นสันติวิโมกข์ เพราะละ (ปฏิฆสัญญา) ได้แล้ว

โดยแท้ ก็อาฬารดาบสกาลามโคตรเข้าอรูปฌาน ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียง

เกวียนประมาณห้าร้อยเล่มซึ่งผ่านไปใกล้ที่อาศัย.

บทว่า นานตฺตสญฺาน อมนสิการา (เพราะไม่มนสิการซึ่ง

นานัตตสัญญา) ความว่า สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์ต่างกัน หรือสัญญา

ทั้งหลายต่างกัน ก็ในที่นี้ประสงค์เอาสัญญาเหล่านี้ ที่ตรัสจำแนกไว้ในวิภังค์

อย่างนี้ว่า ในสัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญาเป็นไฉน ? สัญญา กิริยาที่จำได้

ความเป็นผู้จำได้ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ หรือว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ หรือว่า

ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านั้นเรียกว่า นานัตตสัญญาทั้งหลาย และ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

สัญญาที่พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติ

ย่อมเป็นไปในอารมณ์อันมีความแตกต่างกัน และสภาวะที่ต่างกันซึ่งต่างกันด้วยรูป

และเสียงเป็นต้น.

อนึ่ง สัญญาเหล่านี้แม้ทั้ง ๔๔ อย่างนี้ คือ

กามาวจรกุศลสัญญา ๘

อกุศลสัญญา ๑๒

กามาวจรกุศลวิปากสัญญา ๑๑

อกุศลวิปากสัญญา ๒

กามาวจรกิริยสัญญา ๑๑

มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า นานัตตสัญญา เพราะไม่มนสิการ เพราะไม่ใคร่ครวญ เพราะ

ไม่คำนึง เพราะไม่นำมา เพราะไม่พิจารณานานัตตสัญญาเหล่านั้น โดย

ประการทั้งปวง ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะไม่ใคร่ครวญ ไม่มนสิการ ไม่พิจาร-

ณาสัญญาเหล่านั้น ก็เพราะในอากาสานัญจยตนะนั้น รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา

ข้างต้น ย่อมไม่มีแม้ในภพที่เกิดขึ้นด้วยฌานนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงในกาลที่

เข้าฌานนี้ในภพนั้นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสความไม่มีสัญญาแม้ทั้ง ๒ นั้น

ด้วยคำว่า เพราะความก้าวล่วง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น

ดังนี้. แต่ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย สัญญา ๒๗ อย่างนี้ คือ กามาวจร-

กุศลสัญญา ๘ กิริยาสัญญา (มหากิริยา ๗ มโนทวาราวัชชน ๑) ๙ อกุศลสัญญา

(เว้นโทสะ ๒) ๑๐ไม่มีในภพที่เกิดแล้วด้วยฌานนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

คำนี้ตรัสไว้ว่า เพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้น เพราะว่า แม้ในการเกิดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

เมื่อพระโยคาวจรเข้าฌานนี้อยู่ ก็เข้าฌานเพราะไม่มนสิการสัญญาเหล่านั้นเลย

แต่เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านั้นก็ย่อมไม่เป็นอันเข้า ดังนี้ ก็เมื่อว่าโดยย่อใน

สัญญาเหล่านั้น ตรัสการละรูปาวจรธรรมทั้งปวง ด้วยคำนี้ว่า รูปสญฺาน

สมติกฺกมา (เพราะการก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย) ดังนี้ และพึงทราบว่า

ตรัสการละและการไม่มนสิการจิตและเจตสิกที่เป็นกามาพจรทั้งปวง ด้วยคำนี้ว่า

ปฏิฆสญฺาน อตฺถงฺคมา นานตฺตสญฺาน อมนสิการา เพราะความ

ดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชี้แจงอากาสานัญจายตนสมาบัติไว้ด้วยบททั้ง ๓ คือ

ด้วยการก้าวล่วงรูปสัญญา ๑๕ อย่าง ด้วยการดับไปแห่งปฏิฆสัญญา ๑๐ อย่าง

ด้วยการไม่มนสิการมานัตตสัญญา ๔๔ อย่าง.

หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้แจงอย่างนั้น

ตอบว่า เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจ (ทำให้เบิกบานใจ)

แก่ผู้ฟังทั้งหลาย ก็ถ้าหากอาจารย์บางพวกซึ่งมิใช่บัณฑิตจะพึงกล่าวว่า พระ-

ศาสดาย่อมตรัสว่า พวกท่านจงทำอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิด ดังนี้ ก็

อะไรหนอเป็นประโยชน์ อะไรหนอเป็นอานิสงส์ของอากาสานัญจายตนสมาบัติ

ที่เกิดขึ้นนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงชี้แจงสมาบัติด้วยเหตุเหล่านี้ โดย

พระดำริว่า ขอชนเหล่านั้นอย่าได้เพื่อกล่าวอย่างนี้เลย ดังนี้. จริงอยู่ ชน

เหล่านั้นได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ก็จักคิดว่า ได้ยินว่า สมาบัตินี้จักเป็นเช่นนี้

จักสงบอย่างนี้ จักประณีตอย่างนี้ พวกเราจักยังสมาบัตินั้นให้เกิด ทีนั้น

พวกเขาจักพากันทำอุตสาหะเพื่อให้สมาบัตินั้นให้เกิดขึ้น ดังนี้.

ก็อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสยกย่องอากาสานัญจายตน-

สมาบัตินี้ แก่พระโยคาวจรเหล่านั้นเพื่อประโลมใจ เหมือนพ่อค้างบน้ำอ้อย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ชื่อ วิสกัณฐกะ ท่านเรียกวิสกัณฐกพาณิชว่า ผู้ค้างบน้ำอ้อย ได้ยินว่า

พ่อค้างบน้ำอ้อยนั้น ใช้เกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดเป็นต้นไป

ปัจจันตคามแล้วโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำอ้อยงบวิสกัณฐกะ พวกท่าน

จงนารับน้ำอ้อยงบ วิสกัณฐกะ ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังโฆษณานั้นแล้ว

ก็คิดว่า สิ่งนี้ร้ายนัก ชื่อว่า มีพิษ บุคคลใดเคี้ยวกินมัน บุคคลนั้นต้องตาย

แม้หนามแทงแล้วก็ให้ตายได้ สิ่งทั้ง ๒ นี้ร้ายนัก มันจะมีประโยชน์อะไร ดังนี้

จึงพากันปิดประตูบ้าน และให้พวกเด็กหนีไป. พ่อค้าเห็นการกระทำนั้นแล้ว

จึงคิดว่า ชาวบ้านเหล่านั้นไม่ฉลาดในโวหาร เอาเถอะเราจักใช้เขาซื้อไปด้วย

อุบาย จึงโฆษณาว่า พวกท่านจงมารับน้ำผึ้งหวาน พวกท่านจงมารับน้ำตาล

อร่อย พวกท่านจะได้น้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดราคาพอสมควร จะเอา

มาสกปลอม และกหาปณะปลอมเป็นต้นมาซื้อก็ได้ ดังนี้. พวกชาวบ้านฟังคำ

นั้นแล้ว ต่างก็พากันร่าเริงดีใจไปให้ราคาแม้มากถือเอาแล้ว.

ในคำเหล่านั้น พึงเทียบเคียงอุปมาพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า พวกเธอจงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดดังนี้ เปรียบเหมือน

การโฆษณาของพ่อค้าว่า พวกท่านจงรับงบน้ำอ้อยวิสกัณฐกะ ดังนี้. พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอพึงทำอากาสานัญจายตนะให้เกิดดังนี้ เปรียบ

เหมือนพวกชาวบ้านพากันคิดว่า สิ่งทั้ง ๒ นี้ร้ายกาจนัก อะไรเล่า เป็นประ-

โยชน์ในที่นี้. คนที่ฟังก็จะคิดว่า อะไรหนอเป็นอานิสงส์ในที่นี้ พวกเราย่อม

ไม่ทราบคุณของสิ่งนี้ ทีนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศอานิสงส์ มีการ

ก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้น เหมือนเมื่อพ่อค้านั้นโฆษณาคำเป็นต้นว่า พวกท่าน

จงมารับเอาน้ำผึ้งหวานไปเถิด ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญคุณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

อากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความอุตสาหะ และเพื่อประโลมใจ

ด้วยทรงพระดำริว่า ชนเหล่านี้อันพระองค์ให้รื่นเริงพอใจแล้ว ด้วยอานิสงส์นี้

จักทำอุตสาหะใหญ่แล้วจักยังสมาบัติให้เกิด ดังนี้ เหมือนชาวบ้านทั้งหลาย

เหล่านั้นฟังคำโฆษณาพ่อค้า แล้วให้ราคาแม้มาก ถือเอางบน้ำอ้อย ฉะนั้น

วินิจฉัยคำว่าอากาสานัญจายตนะ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อากาสานญฺจายตนสญฺาสหคต

ดังต่อไปนี้. อากาศที่ชื่อว่า อนันตะ เพราะอรรถว่า ไม่มีที่สุด. อากาศ

นั่นแหละไม่มีที่สุด ชื่อว่า อากาสานันตะ อากาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า

อากาสานัญจะ อากาศอันไม่มีที่สุดนั้น ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า

เป็นที่ตั้งมั่นของฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมนี้ ดุจที่ตั้งอยู่ของเทพทั้งหลาย

ชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ

ด้วยประการฉะนี้ อากาสานัญจะนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ คำว่า อากาสานัญจายตนะนี้ เป็นชื่อของกสิ-

ณุคฆาฏิมากาส (อากาศที่เพิกกสิณ). ฌานที่สหรคตกับสัญญาที่ถึงอัปปนาใน

อากาสานัญจายตนะนั้น ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสัญญาสหคตะ ก็ในที่

อื่นตรัสว่า อากาศเป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุด) ฉันใด ในที่นี้มิได้ทรงถือเอา

อากาศอันไม่มีที่สุด หรือว่า เล็กน้อยฉันนั้น เพราะเมื่อทรงถือเอาอากาศอัน

ไม่มีที่สุด ก็ไม่ถือเอาอากาศเล็กน้อย เมื่อถือเอาอากาศเล็กน้อยก็ไม่ถือเอา

อากาศอันไม่มีที่สุด ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น อารมณ์ ๔ หมวดก็ไม่สมบูรณ์

เทศนาก็ไม่ได้ ๑๖ ครั้ง แต่พระอัธยาศัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทำเทศนา

ในที่นี้ ๑๖ ครั้ง เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำว่า ไม่มีที่สุด หรือว่าเล็กน้อย แต่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ตรัสว่า อากาสานัญจายตนสัญญาสหคตะ (สหคตด้วยอากาสานัญจายตน-

สัญญา) ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คำแม้ทั้ง ๒ ก็ย่อมเป็นคำที่ทรงถือเอาเหมือนกัน

อารมณ์ ๔ หมวดก็สมบูรณ์ เทศนาก็ถึง ๑๖ ครั้ง เนื้อความพระบาลีที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังแล.

อนึ่ง ในอากาสานัญจายตนะนี้ ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา เพราะความ

ลำบากในการสิ้นไปแห่งนิกันติในรูปาวจรจตุตถฌาน ชื่อว่าเป็นทันธาภิญญา

เพราะความชักช้าในการอบรมอัปปนาของผู้มีความยินดีในนิกันติอันสิ้นไปแล้ว.

และพึงทราบสุขาปฏิปทา และขิปปาภิญญา โดยปริยายตรงกันข้าม. ก็ฌานที่เป็น

ไปในอากาศที่เพิกกสิณเล็กน้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตารมณ์ ฌานที่เป็นไปใน

อากาศที่เพิกกสิณกว้างขวางพึงทราบว่าเป็นอัปปมาณารมณ์. แม้ในฌานนี้ มี

ธรรมหมวดละ ๒๕ ด้วยอำนาจจตุตถฌาน เหมือนในอุเบกขาพรหมวิหาร

ก็ในอากาสานัญจายตนะนี้ ฉันใด แม้ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น นอกจากนี้

ก็มีธรรมหมวดละ ๒๕ ฉันนั้น แต่ข้าพเจ้าจักพรรณนาเหตุสักว่าการต่างกันใน

วิญญาณัญจายตนะเป็นต้นเหล่านั้นเท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อากาสานญฺจายตน สมติกฺกมา (เพราะ

ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ) นี้ต่อไป. ก็อากาสานัญจะ ชื่อว่า อายตนะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานนั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแหละ เพราะ

เหตุนั้น แม้ฌานนี้ก็ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ. แม้อารมณ์ของอากาสา-

นัญจายตนะนั้น ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว พระโยคาวจรพึงก้าวล่วงธรรม

แม้ทั้ง ๒ คือ ฌานนี้และอารมณ์นี้ ด้วยการไม่ทำให้เป็นไปและไม่มนสิการ

แล้วพึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะนี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงรวมสิ่ง

ทั้ง ๒ นี้ แล้วตรัสคำนี้ว่า เพราะการก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิญฺาณญฺจายตนสญฺาสหคต นี้ต่อไป

ที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มี ด้วยสามารถที่พึงทำไว้ในใจว่า อนันตัง เพราะเหตุ

นั้น วิญญาณนั้นจึงชื่อว่า อนันตะ อนันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อานัญจัง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่าวิญญาณอันไม่มีที่สุด ชื่อว่า วิญญาณานัญจะ แต่

ตรัสว่า วิญญาณัญจะ ดังนี้ เพราะว่า ในคำว่า วิญญาณัญจะนี้ เป็นรุฬหีศัพท์

(ศัพท์ที่นิยมใช้กัน ). วิญญาณัญจะนั้นแหละ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า

ตั้งมั่นด้วยสัญญานี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ ฌานที่

สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น

จึงชื่อว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาสหคตะ คำว่า วิญญาณัญจายตนสัญญา-

สหคตะ นี้เป็นชื่อของฌานซึ่งมีวิญญาณที่เป็นไปในอากาศเป็นอารมณ์. ในวิญ-

ญาณัญจายตนะนี้เป็นทุกขาปฏิปทา เพราะลำบากในความสิ้นไปแห่งนิกันติใน

อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นทันธาภิญญา เพราะความชักช้าในการอบรม

อัปปนาของผู้มีนิกันติให้สิ้นไป เป็นสุขาปฏิปทาและเป็นขิปปาภิญญาโดยปริยาย

ตรงกันข้าม พึงทราบฌานนี้ว่าเป็นปริตตารมณ์ เพราะปรารภสมาบัติที่มีการ

เพิกกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์เป็นไป พึงทราบว่า เป็นอัปปมาณารมณ์ โดยปริ-

ยายตรงกันข้าม คำที่เหลือเช่นเดียวกับคำก่อนนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำแม้นี้ว่า วิญฺาณญฺจายตน สมติกฺกมา

(เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ) ต่อไป.

วิญญาณัญจะ ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌาน

นั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้น แม้ฌานก็ชื่อว่า วิญญา-

ณัญจายตนะ แม้อารมณ์ของฌานนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ก็เรียกว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

วิญญาณัญจายตนะ พระโยคาวจรก้าวล่วงสิ่งทั้ง ๒ คือ ฌานนี้ และอารมณ์นี้

ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการไม่ให้เป็นไป และด้วยไม่มนสิการ แล้วจึงเข้าถึง

อากิญจัญญายตนะนี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงรวมสิ่งทั้ง ๒ นี้เข้าด้วย

กันแล้วตรัสคำนี้ว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณณัญจายตนะ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อากิญฺจญฺายตนสญฺาสหคต นี้

ต่อไป

ก็ฌานนี้ ชื่อว่า อากิญจนะ เพราะอรรถว่า ไม่มีอะไรแม้หน่อยหนึ่ง

มีอธิบายว่า โดยที่สุดแม้เพียงภังคขณะก็ไม่พึงเหลือ คือ มิได้มีอยู่. ดังนี้.

ความเป็นแห่งความไม่มีอะไรหน่อยหนึ่ง ชื่อว่า อากิญจัญญะ. คำว่า

อากิญจัญญะนี้ เป็นชื่อของฌานที่ปราศจากอากาสานัญจายตนะและวิญญาณ

เป็นอารมณ์. อากิญจัญญะนั้น เป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นด้วยสัญญานี้

เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ ฌานที่สหรคตด้วยสัญญา

เป็นไปในอากิญจัญญายตนะนั้น ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสหคตะ คำว่า

อากิญจัญญายตนสหคตะนี้ เป็นชื่อของฌานที่มีอารมณ์ปราศจากวิญญาณที่เป็น

ไปในอากาศ. ในอากิญจัญญายตนะนี้ เป็นทุกขาปฏิปทา เพราะลำบากในการ

สิ้นแห่งนิกันติ แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ เป็นทันธาภิญญา เพราะความช้า

ในการอบรมอัปปนาของผู้ใคร่ในการสิ้นไป เป็นสุขาปฏิปทา และขิปปาภิญญา

โดยปริยายตรงกันข้าม พึงทราบชื่อว่า ความเป็นปริตตารมณ์ เพราะความ

มีอารมณ์ปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณเล็กน้อย ชื่อว่า ความ

เป็นอัปปมาณารมณ์ โดยปริยายตรงกันข้ามกับปริตตารมณ์. คำที่เหลือ

เช่นกับนัยก่อนทั้งนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคำว่า อากิญฺจญฺายตน สมติกฺกมา นี้

ต่อไป. อากิญจัญญะ โดยนัยก่อนนั่นแหละชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นของฌานนั้น เพราะฉะนั้น แม้ฌานก็ชื่อว่า อากิญจัญ-

ญายตนะ แม้อารมณ์ชื่อว่า อากิญจัญญายตนะ โดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ คำที่เหลือเช่นกับนัยก่อนทั้งนั้น พึงทราบการก้าวล่วงสิ่งแม้ทั้ง ๒

คือ ฌานนั้นด้วย อารมณ์นั้นด้วย โดยการกระทำไม่ให้เป็นไป และโดยไม่

มนสิการ และพึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญานี้อยู่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมสิ่งทั้ง ๒ นี้แล้วตรัสว่า เพราะการก้าวล่วงอากิญ-

จัญญายตนะ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เนวสญฺานาสญฺายตนสหคต นี้

ต่อไป.

ก็ฌานนั้น ตรัสเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะสภาวะแห่ง

สัญญาใด สัญญานั้นย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติอย่างไร เพื่อแสดงสัญญานนั้นก่อน จึงทรง

ยกบทว่า เนวสัญญีนาสัญญี ขึ้นในวิภังค์ แล้วตรัสว่า พระโยคาวจรย่อม

มนสิการอากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยสงบ ย่อมเจริญสมาบัติอันมีสังขาร

เหลืออยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตโต มนสิกโรติ (ย่อมมนสิการ

โดยความสงบ) ได้แก่ ย่อมมนสิการว่า สมาบัตินี้สงบหนอ เพราะทำแม้

ความไม่มีให้เป็นอารมณ์ตั้งอยู่ได้ แล้วมนสิการสมาบัตินั้น ว่าเป็นความสงบ

เพราะอารมณ์สงบ.

ถามว่า ถ้ามนสิการโดยความสงบแล้ว การก้าวล่วงจะมีอย่างไร

ตอบว่า เพราะความเป็นผู้ต้องการจะไม่นึกถึง. จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้นย่อม

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

มนสิการฌานนั้นโดยความสงบแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น การคำนึง การประมวลมา

มนสิการนั้นย่อมไม่มีแก่พระโยคีนั้นว่า เราจักนึกถึง เราจักเข้า เราจักอธิฐาน

เราจักออก เราจักพิจารณาฌานนั้น ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นธรรมสงบกว่า ประณีต

กว่าอากิญจัญญายตนะ.

เหมือนอย่างว่า พระราชาเสด็จขึ้นทรงบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จ

เที่ยวไปในทางพระนคร โดยอานุภาพแห่งพระราชาผู้เป็นใหญ่ ทรงทอด

พระเนตรคนมีศิลปะมีช่างแกะสลักงาเป็นต้นนุ่งผ้าผืนหนึ่ง โผกผ้าผืนหนึ่งที่

ศีรษะทะมัดทะแมงมีตัวเกลื่อนกล่นด้วยผงงาเป็นต้นกำลังทำศิลปะแกะสลักงา

เป็นต้นมิใช่น้อย ก็ทรงพอพระทัยในความฉลาดของช่างเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

น่าอัศจรรย์หนอ อาจารย์ผู้ฉลาดสามารถกระทำศิลปะทั้งหลายชื่อแม้เช่นนี้ได้

ดังนี้ แต่มิได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ตัวเราก็พึงสละราชสมบัติแล้วเป็น

นักศิลปะเช่นนี้ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะความที่ราชสมบัติมีค่ามาก

พระองค์ก็ทรงเสด็จผ่านนักศิลปะทั้งหลายไป ฉันใด พระโยคาวจร ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมมนสิการสมาบัตินั้นโดยสงบแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ไม่

คำนึง ไม่ประมวลมา ไม่มนสิการว่า เราจักนึกถึง จักเข้าสมาบัติ จักอธิษฐาน

จักออก จักพิจารณาสมาบัตินี้ ดังนี้ เมื่อมนสิการสมาบัตินั้นโดยสงบอยู่

ย่อมบรรลุสัญญาถึงอัปปนาอันละเอียดอย่างยิ่งนั้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในกาลก่อน

นั่นแหละ ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญี ย่อมมีด้วยสมาบัติใด ตรัสเรียกสมาบัติ

นั้นว่า พระโยคีย่อมเจริญสมาบัติมีสังขารที่เหลือเป็นอารมณ์ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

คำว่า สมาบัติมีสังขารที่เหลือเป็นอารมณ์ คืออรูปสมาบัติที่ ๔ มี

สังขารถึงความละเอียดที่สุด.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระดำรัส ที่ตรัสว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ด้วยสามารถแห่งสัญญาที่พระโยคาวจรบรรลุอย่างนี้โดยเนื้อความ จึงตรัสว่า

บทว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและเจตสิก

ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้บังเกิดขึ้นในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนภพ หรือพระขีณาสพผู้อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. บรรดาท่านทั้ง ๓

เหล่านั้น ในที่นี้ทรงประสงค์เอาธรรม คือ จิตและเจตสิกของผู้เข้าสมาบัติ.

ส่วนวจนัตถะในฌานนั้นพึงทราบดังนี้. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญา-

นาสัญญา (มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) เพราะอรรถว่า สัญญาของ

ฌานพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ คือ ไม่มีสัญญาหยาบ

มีแต่สัญญาละเอียด ฌานนั้นเป็นสภาวะที่มีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย

เป็นอายตนะเพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมายตนะด้วย เพราะเหตุนั้น

ฌานนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

อีกอย่างหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่ใช่สัญญา)

เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาได้โดยเฉพาะ และชื่อว่า นาสัญญา (ไม่มี

สัญญา) เพราะเป็นธรรมมีอยู่โดยละเอียดแห่งสังขารที่เหลือ เพราะฉะนั้น

ฌานนั้นจึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา. ฌานที่ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา

นั้นด้วย ชื่อว่า เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรมที่เหลือ

ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

อนึ่ง ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ สัญญาเป็นเช่นนี้อย่างเดียว

ก็หาไม่ โดยที่แท้ แม้เวทนาก็ชื่อว่า เนวเวทนานาเวทนา (มีเวทนาก็มิใช่

ไม่มีเวทนาก็มิใช่) แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตนาจิตตะ (มีจิตก็มิใช่ ไม่มี

จิตก็มิใช่) แม้ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสนาผัสสะ (มีผัสสะก็มิใช่ไม่มีผัสสะ

ก็มิใช่). ในสัมปยุตตธรรมที่เหลือก็นัยนี้. แต่เทศนานี้พึงทราบว่า ทรงกระทำ

สัญญาให้เป็นประธาน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความนี้ด้วยอุปมาทั้งหลายตั้งแต่

เรื่องน้ำมันทาบาตรเป็นต้น.

ได้ยินว่า สามเณรเอาน้ำมันทาบาตรวางไว้ ในเวลาดื่มข้าวยาคู

พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า สามเณรจงนำบาตรมา สามเณรเรียนท่านว่า

ในบาตรมีน้ำมันขอรับ ทีนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า สามเณรจงนำมา เราจักใส่

ให้เต็มทะนานตวงน้ำมัน สามเณรจึงเรียนว่า ท่านขอรับน้ำมันไม่มี.

ในการอุปมานั้น น้ำมัน ชื่อว่า มีอยู่ เพราะอรรถว่าเป็นของไม่ควร

กับข้าวยาคู เพราะความมีอยู่ในภายใน น้ำมันนั้น ชื่อว่า ไม่มี เพราะความ

ไม่มีใส่วัตถุทั้งหลายมีทะนานเป็นต้น ฉันใด สัญญาแม้นั้นก็ฉันนั้น ชื่อว่า

สัญญาก็มิใช่ เพราะไม่สามารถเพื่อทำกิจของสัญญาโดยเฉพาะ และชื่อว่า

ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะความมีอยู่โดยความเป็นของละเอียดแห่งสังขาร

ที่เหลือ.

ถามว่า ก็ในฌานนี้ กิจของสัญญาเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า กิจของสัญญาคือการจำได้หมายรู้อารมณ์ และการเข้าถึง

ความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วเกิดความเบื่อหน่าย.

จริงอยู่ สัญญานั้นไม่อาจทำกิจคือการจำได้หมายรู้โดยฉับพลัน ดุจ

เตโชธาตุในน้ำ (เดือดจน) แห้ง ไม่สามารถทำกิจคือการเผาไหม้. สัญญานี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

ไม่อาจเพื่อทำแม้เข้าถึงความเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาแล้วให้เกิดความเบื่อหน่าย

เหมือนสัญญาในสมาบัติอื่นที่เหลือ (เว้นสัญญาในฌานนี้) เพราะว่า ภิกษุ

ไม่ได้อาศัยขันธ์เหล่าอื่นทำไว้ จึงชื่อว่า ไม่สามารถเพื่อพิจารณาขันธ์ คือ

เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วบรรลุนิพพิทา. ถึงท่านพระสารีบุตรเถระผู้เห็น

แจ้งโดยปกติ และท่านที่มีปัญญามากพึงสามารถเช่นกับพระสารีบุตร แม้ท่าน

นั้นก็พึงเห็นได้ด้วยสามารถการพิจารณาเป็นกลาปะ (กอง ๆ) เท่านั้นอย่างนี้ว่า

นัยว่าธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้วก็มี ครั้นมีแล้วก็ปรวนแปรไป มิใช่เห็นด้วยสามารถ

แห่งวิปัสสนาธรรมตามบท สมาบัตินี้ ถึงความละเอียดอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบ

เนื้อความนี้ด้วยการอุปมาเหมือนน้ำในหนทาง เหมือนอุปมาด้วยน้ำมันทาบาตร

ต่อไป.

ได้ยินว่า สามเณรเดินไปข้างหน้าพระเถระผู้เดินทางเห็นน้ำหน่อยหนึ่ง

แล้วเรียนพระเถระว่า ท่านขอรับ มีน้ำ โปรดถอดรองเท้าเถอะครับ ลำดับนั้น

พระเถระกล่าวว่า ถ้ามีน้ำ เธอจงนำผ้าอาบน้ำมา ฉันจักสรงน้ำ สามเณรเรียนว่า

น้ำไม่มีขอรับ ดังนี้.

ในคำอุปมานั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า น้ำมีอยู่ ด้วยอรรถว่าเพียงเปียก

รองเท้า ที่ชื่อว่า ไม่มี ด้วยอรรถว่าไม่พอที่จะอาบ ฉันใด สมาบัตินั้นก็ฉันนั้น

ชื่อว่า เนวสัญญา (ไม่มีสัญญา) เพราะไม่สามารถทำกิจของสัญญาโดยฉับ

พลันได้ ชื่อว่า ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะสัญญามีอยู่ โดยความเป็นของละ-

เอียดแห่งสังขารที่เหลือ และมิใช่จะเปรียบด้วยข้ออุปนาเหล่านี้เท่านั้น พึงยัง

เนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมาที่สมควรแม้อื่นอีก.

โดยนัยที่กล่าวมา ฌานชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา-

สหคตะ เพราะอรรถว่า สหรคตด้วยสัญญาที่เป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

นี้ หรือสหรคตด้วยสัญญาที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ คำนี้เป็นชื่อของฌาน

ที่มีอารมณ์ (ก้าวล่วง)อากิญจัญญายตนสมาบัติ. ในฌานนี้ ชื่อว่า เป็น

ทุกขาปฏิปทา เพราะเป็นทุกข์ในการสิ้นไปแห่งนิกันติในอากิญจัญญายตน-

สมาบัติ ที่ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะความชักช้าในการอบรมอัปปนาของ

ผู้มีนิกันติที่สิ้นไป ชื่อว่าเป็นสุขาปฏิปทาและขิปปาภิญญา โดยปริยายตรง

กันข้าม. พึงทราบความเป็นปริตตารมณ์ เพราะปรารภสมาบัติมีอารมณ์

ปราศจากวิญญาณที่เป็นไปในอากาศซึ่งเพิกกสิณขึ้นเล็กน้อยเป็นไป พึงทราบ

ความเป็นอัปปมาณารมณ์โดยปริยายตรงกันข้าม คำที่เหลือเช่นกับนัยก่อน

นั่นแหละ.

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นนาถะ มีพระ-

รูปไม่มีใครเสมอเหมือน ตรัสอรูปฌาน ๔

อย่างอันใดไว้ พระโยคีครั้นทราบอรูปฌาน

๔ นั้นแล้ว พึงรู้แม้กถาปกิณณกะในอรูป

ฌานนั้น ต่อไป.

เพราะอรูปสมาบัติ

แม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมมีเพราะการ

ก้าวล่วงอารมณ์ นักปราชญ์ผู้มีปัญญาไม่

ปรารถนา จะละเลยอธิบายขององค์แห่งสมาบัติ

เหล่านั้น.

จริงอยู่ บรรดาสมาบัติเหล่านั้น พึงทราบอรูปสมาบัติทั้ง ๔ ซึ่งเกิด

ขึ้นโดยการก้าวล่วงอารมณ์โดยประการทั้งปวง คือ อรูปสมาบัติที่หนึ่งก้าวล่วง

ฌานที่มีรูปนิมิต อรูปสมาบัติที่ ๒ ก้าวล่วงอากาศ อรูปสมาบัติที่ ๓ ก้าวล่วง

วิญญาณที่เป็นไปในอากาศ อรูปสมาบัติที่ ๔ ก้าวล่วงโดยการปราศจากวิญญาณ

ที่เป็นไปในอากาศ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

แต่บัณฑิตทั้งหลายไม่ปรารถนาการก้าวล่วงองค์ในสมาบัติเหล่านั้น

ซึ่งไม่มีเหมือนรูปาวจรสมาบัติ ด้วยว่าในรูปาวจรสมาบัติทั้งหมดเหล่านั้น ย่อม

มีองค์ของฌาน ๒ เท่านั้น คือ อุเบกขา และเอกัคคตาจิต. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น

สมาบัติที่เกิดหลัง ๆ ในที่นี้ ก็เป็น

สภาพประณีตดีกว่าสมาบัติก่อน ๆ พึงทราบ

อุปมาในสมาบัติเหล่านั้น ดุจพื้นปราสาท

และผ้าสาฎก ต่อไป.

เหมือนอย่างว่า ปราสาท ๔ ชั้น ปราสาทชั้นล่างสุดมีกามคุณ ๕ อัน

ประณีตด้วยอำนาจแห่งการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี กลิ่นหอมดอกไม้

อันน่าพอใจ เครื่องดื่มโภชนะมีรสอันดี มีที่นั่งที่นอน และเสื้อผ้าอันเป็นทิพย์

เป็นต้นปรากฏแล้ว ปราสาทชั้นที่ ๒ มีกามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าชั้นที่หนึ่ง

ปราสาทชั้นที่ ๓ มีกามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าชั้นที่สอง ปราสาทชั้นที่ ๔ มี

กามคุณเหล่านั้นประณีตกว่าทุกชั้น. ในปราสาทเหล่านั้น พื้นของปราสาทแม้

ทั้ง ๔ เหล่านั้น ไม่มีความต่างกันแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ปราสาทชั้นบน ๆ

ก็ประณีตกว่าปราสาทชั้นล่าง ๆ เพราะวิเศษกว่าด้วยสัมฤทธิ์แห่งกามคุณ ๕

และเปรียบเหมือนผ้าสาฎก ๔ ชั้น ๓ ชั้น ๒ ชั้น และ ๑ ชั้นของด้ายอย่าง

หยาบ อย่างละเอียด อย่างละเอียดกว่า อย่างละเอียดที่สุดซึ่งหญิงคนหนึ่งกรอ

ไว้โดยกว้างและยาวเท่ากัน บรรดาผ้าสาฎกเหล่านั้น แม้ทั้ง ๔ มีกว้างยาวเท่ากัน

ไม่แปลกกัน แต่ว่า ผ้าที่ทอครั้งหลัง ๆ ประณีตกว่าที่ทอครั้งก่อน ๆ โดยมี

สัมผัสสบาย มีเนื้อละเอียด และมีค่ามาก ฉันใด ในอรูปฌานสมาบัติแม้ทั้ง

๔ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน องค์ฌานเหล่านี้มีเพียง ๒ อย่าง คือ อุเบกขา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

และเอกัคคตาจิตเท่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในที่นี้พึงทราบว่า องค์ฌานหลัง ๆ

ประณีตดีกว่า โดยความประณีตและประณีตกว่าองค์ฌานเหล่านั้น เพราะการ

เจริญวิเศษโดยแท้ ก็ฌานเหล่านั้นประณีตและประณีตโดยลำดับ ด้วยประการ

ฉะนี้. (พึงทราบอุปมาต่อไป)

บุรุษคนหนึ่ง ยืนเกาะมณฑปในที่

ไม่สะอาด อีกคนหนึ่ง ยืนอาศัยบุรุษผู้นั้น

อีกคนหนึ่ง ไม่อาศัยยืนอยู่ภายนอก อีก

คนหนึ่ง อาศัยคนที่อยู่ภายนอกยืนอยู่

บัณฑิตผู้มีปรีชา พึงทราบอรูปแม้ทั้ง ๔

โดยความเป็นสภาวะเสมอกัน ดุจบุรุษ๔ คน

เหล่านี้ โดยลำดับ.

ในคาถานั้น พึงทราบการประกอบเนื้อความ ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า มณฑปหลังหนึ่งตั้งอยู่ในที่ไม่สะอาด ภายหลังบุรุษคนหนึ่ง

เดินมาจากบุรุษ ๔ คนเหล่านั้น โดยลำดับ รังเกียจอยู่ซึ่งที่อันไม่สะอาดนั้น

จึงเอามือยึดมณฑปนั้นยืนอยู่ ดุจยึดติดที่มณฑปนั้น ภายหลังอีกคนหนึ่งมายืน

พิงบุรุษซึ่งติดที่มณฑปนั้น ต่อมาคนอื่นอีกมาแล้วคิดว่า บุคคลคนที่ยืนเกาะ

มณฑป และบุรุษที่ยืนพิงทั้ง ๒ คนนี้ยืนไม่ดี และเขาทั้ง ๒ นั้นจะตกไปใน

บ่อที่ไม่สะอาดของมณฑป เอาเถอะเราจักยืนในภายนอกมณฑป ด้วยเหตุนั้น

เขาจึงไม่ยืนอาศัยคนที่ยืนพิงนั้น แล้วไปยืนอยู่ภายนอกมณฑปทีเดียว ต่อมา

มีบุรุษอีกคนหนึ่งมาแล้วคิดเห็นว่า บุรุษคนที่ยืนเกาะมณฑป และบุรุษคนที่

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ยืนพิงบุรุษนั้นไม่มีความเกษม รู้ว่าคนที่ยืนอยู่ภายนอกมณฑปยืนดีแล้ว จึงได้

ยืนพิงบุรุษคนนั้น.

ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงเห็นอากาศที่เพิกกสิณขึ้น พึงเห็นเหมือน

มณฑปในประเทศที่ไม่สะอาด. อากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอากาศเป็นอารมณ์

เพราะรังเกียจรูปนิมิต พึงเห็นเหมือนบุรุษยืนเกาะมณฑป เพราะรังเกียจของ

ไม่สะอาด. วิญญาณัญจายตนฌานที่ปรารภอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีอากาศ

เป็นอารมณ์เป็นไปแล้ว พึงเห็นเหมือนบุรุษคนยืนพิงคนที่ยืนเกาะมณฑป.

อากิญจัญญายตนฌาน ไม่ทำอากาสานัญจายตนฌานให้เป็นอารมณ์ ทำความ

ไม่มีแห่งอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษคิดถึงความ

ไม่เกษมของบุรุษแม้ทั้งสองนั้น จึงไม่อาศัยบุรุษนั้นแล้วไปยืนภายนอก.

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ปรารภอากิญจัญญายตนะซึ่งตั้งอยู่ในประเทศ

ภายนอก กล่าวคือความไม่มีวิญญาณเป็นไปแล้ว พึงเห็นเหมือนบุรุษคิดว่า

บุรุษผู้ยืนเกาะมณฑป และบุรุษผู้ยืนพิง ทั้งสองนั้นไม่มีความเกษม รู้ว่าบุรุษ

ผู้ยืนอยู่ภายนอกเป็นผู้ยืนดีแล้ว จึงยืนพิงบุรุษนั้นอยู่ ฉะนั้น. ก็เนวสัญญานา-

สัญญายตนะ เมื่อจะเป็นไปได้อย่างนี้

ย่อมกระทำอรูปฌาน ๓ นี้ ให้เป็น

อารมณ์ เพราะความไม่มีอารมณ์อื่นเหมือน

ประชาชนยกพระราชาครองราชย์ แม้ที่

ตนเห็นว่าไม่ดี เพราะเหตุแห่งการเป็นอยู่.

จริงอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ ย่อมทำอากิญจัญญายตนะนั้น

แม้อันเห็นแล้วไม่ดีอย่างนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ มีวิญญาณัญจายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

เป็นข้าศึกใกล้ให้เป็นอารมณ์ เพราะความไม่มีอารมณ์อื่น. ถามว่า เหมือน

อะไร. ตอบว่า เหมือนประชาชนยกพระราชาที่ตนเห็นว่าไม่ดีขึ้น ครองราชย์

เพราะเหตุแห่งการเป็นอยู่เป็นเหตุ. เหมือนอย่างว่า พระราชาผู้เป็นใหญ่ใน

ทวีปทั้งหมด องค์หนึ่ง ไม่สำรวมมีความประพฤติทางกาย วาจา และทางใจ

หยาบคาย ประชาชนเห็นโทษอย่างนี้ว่า พระราชาองค์นี้มีวาจาหยาบคาย แต่

เมื่อไม่ได้ความเป็นอยู่ในที่อื่น จึงต้องอาศัยพระราชาพระองค์นั้น เพราะเหตุ

แห่งการเป็นอยู่ ฉันใด เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์อื่น ก็

กระทำอากิญจัญญายตนะ แม้ที่ตนเห็นแล้วว่าไม่ดีนั้นให้เป็นอารมณ์ ฉันนั้น

นั่นแหละ อนึ่ง ฌานคือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ เมื่อทำอยู่ด้วยอาการ

อย่างนี้

ย่อมอาศัยอรูปฌานที่ ๓ นี้ จึงเป็น

ไปได้แล เหมือนบุคคลขึ้นบันไดยาวพึงเกาะ

แม่บันไดไว้ และเหมือนบุคคลขึ้นสู่ยอดภู-

เขาพึงเกาะยอดภูเขา หรือเหมือนบุคคลขึ้น

สู่ภูเขาศิลา ก็ต้องอาศัยเข่าของตนเท่านั้น

ฉะนั้น.

อรูปาวจรกุศล จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

เตภูมิกกุศลธรรม ๓ ประเภท

กามาวจรกุศล

[๑๙๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นเป็น

อย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็น

ฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี

อย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ

เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี

อย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ

ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยฌาน เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต

ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต

ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากฌาณ

เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี

ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยา-

ธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตา-

ธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

กามาวจรกุศล จบ

รูปาวจรกุศล

[๑๙๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทา-

อธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี

อย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ

เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี

อย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ

ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน

ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็น

อย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยา-

ธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตา-

ธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่าง

กลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

รูปาวจรกุศล จบ

อรูปาวจรกุศล

[๑๙๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่

มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากาสานัญจาย-

ตนสัญญาไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส

ดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาเป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง

ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยา

ธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตา-

ธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี

อย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

วิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ เป็นอย่างกลาง

ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ

เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยา-

ธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตา-

ธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี

อย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่าง

กลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ

เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยา-

ธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตา-

ธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่าง

กลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ

เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็น

วิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตจาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี

อย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต

ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยา-

ธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็น

วิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยนั้น

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อรูปาวจรกุศล จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓

บัดนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นไปโดย

ประเภท ๓ มีประเภทต่ำเป็นต้น ก็เพื่อแสดงประเภทนั้นแห่งธรรมเหล่านั้น จึง

ทรงเริ่มคำเป็นต้น ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หีน (ต่ำ) ได้แก่ ลามก คือ หยาบ

พึงทราบกุศลต่ำด้วยสามารถแห่งการประมวลมา กุศลที่มีในท่ามกลางแห่ง

หีนะและอุตตมะ ชื่อว่า มัชฌิมะ (อย่างกลาง) กุศลที่นำไปสู่ความเพียร

ชื่อว่า ประณีต ได้แก่ กุศลที่สูงสุด บัณฑิตพึงทราบกุศลแม้เหล่านั้น ด้วย

อำนาจการประมวลมานั่นแหละ.

จริงอยู่ ในขณะที่ประมวลมาซึ่งกุศลใด จะเป็นฉันทะ หรือวิริยะ

หรือจิตตะ หรือวิมังสาเป็นหีนะ (อย่างต่ำ) มีอยู่ กุศลนั้น ชื่อว่า ต่ำ.

ธรรมเหล่านั้นเป็นมัชฌิมะ เป็นประณีตแห่งกุศลใด กุศลนั้น ชื่อว่า มัชฌิมะ

และปณีตะ. ก็กุศลใดประมวลมาซึ่งฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ทำ

ฉันทะให้เป็นธุระ ให้เป็นใหญ่ ให้เป็นประธาน กุศลนั้นชื่อว่า ฉันทาธิปไตย

เพราะความที่กุศลมาแล้วโดยฉันทาธิบดี และในวิริยาธิปไตยเป็นต้น ก็นัย

นี้แหละ.

แต่ในที่นี้ พึงถือเอานัยทั้งหลายที่ตั้งไว้แล้ว คือ นัยที่จำแนกไว้ก่อน

เป็นนัย ๑ คำว่า หีนะ เป็นนัย ๑ คำว่า มัชฌิมะ เป็นนัย ๑ คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ปณีตะ เป็นนัย ๑ และคำว่า ฉันทาธิปไตย เป็นนัย ๑ นัยทั้ง ๕ เหล่านี้

ในฉันทาธิปไตยเท่านี้ก่อน. แม้ในวิริยาธิปไตยเป็นต้นก็อย่างนี้ เพราะฉะนั้น

ปัญจกนัยทั้ง ๔ จึงเป็น ๒๐ นัย. อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๒๐ นัย แม้อย่างนี้ คือ

นัยแรกเป็นสุทธิกนัย ๑ นัย ๓ นัยมีคำว่า หีนะเป็นต้น (มัชฌิมะ และปณีตะ)

นัย ๔ นัยมีคำว่า ฉันทาธิปไตยเป็นต้น (วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และนัย ๑๒

นัยมีคำว่า ฉนฺทาธิปเตยฺเย หีน (ฉันทะเป็นต้น กับหีนะเป็นต้น ) นัยเหล่านี้

เป็นมหานัย ๒๐ ก่อน.

ถามว่า ทรงจำแนกนัยเหล่านั้นไว้ในที่ไหน ?

ตอบว่า ในหีนติกะ ในมหาปกรณ์.

แต่ในฐานะนี้ พึงถือเอากองธรรมมัชฌิมะจากหีนติกะ แล้วแบ่งเป็น ๓

ส่วน ด้วยอำนาจหีนะ มัชฌิมะ ปณีตะ พึงเว้นกองธรรมมัชฌิมะแม้จากหีนติกะ

นั้นแล้วถือเอาหีนะและปณีตะ แล้วแบ่งออกอย่างละ ๙ ส่วน เพราะว่าในหีนะ

นั่นแหละ กุศลธรรมที่ต่ำก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรมที่ประณีต

ก็มี ถึงแม้ในปณีตะเล่า กุศลธรรมที่ต่ำก็มี กุศลธรรมที่ปานกลางก็มี กุศลธรรม

ที่ประณีตก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ำ)

ก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็น

หีนะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศล-

ธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะ

ก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่เป็น

หีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นหีนะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศล

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

ธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นหีนะและปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะ

ก็มี นี้เรียกว่า นวกะหนึ่ง.

แม้ในธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ ชื่อว่า กุศลธรรมที่ต่ำก็มี ใน

ธรรมที่เป็นปณีตะและหีนะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะ

และหีนะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี. อนึ่ง ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ

กุศลธรรมที่ต่ำก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะ

ก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและมัชฌิมะ กุศลธรรมที่เป็นปณีตะก็มี ในธรรมที่

เป็นปณีตะและปณีตะกุศลธรรมที่เป็นหีนะ (ต่ำ) ก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและ

ปณีตะ กุศลธรรมที่เป็นมัชฌิมะก็มี ในธรรมที่เป็นปณีตะและปณีตะ กุศลธรรม

ที่เป็นปณีตะก็มี นี้เป็นนวกะที่ ๒ รวมนวกะทั้งสองเป็นธรรม ๑๘. ธรรม

๑๘ เหล่านี้ ชื่อว่า กรรมทวาร. ว่าด้วยกรรมทวารเหล่านี้ พึงทราบว่า

กษัตริย์ ๑๘ พราหมณ์ ๑๘ แพทย์ ๘ ศูทร ๑๘ โคตรจรณะ ๔๘ เพราะ

ความเป็นผู้อบรมแล้วด้วยกรรมทวาร ๑๘ เหล่านี้.

บรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านี้ กามาวจรกุศล เป็น

ทุเหตุกะโดยการไม่ประกอบญาณสัมปยุตบ้าง แต่รูปาวจรและอรูปาวจร เป็น

ติเหตุกะอย่างเดียว คือเป็นญาณสัมปยุตเท่านั้น. ก็ในกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓

เหล่านั้น กามาวจรกุศลย่อมเกิดร่วมกับอธิบดีบ้าง เว้นจากอธิบดีบ้าง แต่

รูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมสัมปยุตด้วยอธิบดีโดยแท้. และในกุศลประกอบ

ด้วยภูมิ ๓ นี้ ในกามาวจรกุศลย่อมได้อธิบดี เพียง ๒ เท่านั้น คือ อารัมมณา-

ธิปติ สหชาตาธิปติ. ในรูปาวจรและอรูปาวจรกุศลย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ

ย่อมได้เฉพาะสหชาตาธิปติเท่านั้น ในสหชาตาธิปติเหล่านั้น ตรัสความเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

จิตตาธิปไตยของจิตไว้ด้วยอำนาจสัมปยุตธรรมทั้งหลาย. แต่เพราะจิต ๒ ดวง

ไม่มีพร้อมกัน ชื่อว่า จิตตาธิปติ ของสัมปยุตตจิตก็ไม่มี. อนึ่ง ฉันทาธิปติเป็นต้น

แห่งธรรมมีฉันทะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน แต่อาจารย์บางพวกย่อมปรารถนาชื่อ

อธิบดี ด้วยสามารถแห่งการมาอย่างนี้ว่า กุศลจิตดวงอื่นอีกกระทำจิตใดให้

เป็นธุระให้เป็นใหญ่ ประมวลมาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้ากุศลธรรมมีอยู่เเก่บุคคลผู้มี

จิตไซร้ กุศลธรรมก็จักมีแก่เรา ดังนี้ จิตดวงเดิมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า

เป็นจิตตาธิปติ จิตนี้ชื่อว่า จิตตาธิปไตย เพราะมาจากจิตดวงนั้น ดังนี้.

ก็นัยนี้ไม่ปรากฏในพระบาลีและอรรถกถา เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็น

อธิบดีโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ก็ในมหานัย ๑๙ เหล่านี้ มีจิตทั้งหลายประมาณตามที่กล่าวในสุทธิกนัย

ต้น และมีนวกะทั้งหลาย และวาระแห่งพระบาลีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

พึงทราบประเภท จิตตะ นวกะ และวาระ ซึ่งคูณด้วย ๒๐ โดยประมาณที่

กล่าวในญาณสัมปยุต และคูณด้วย ๑๖ ในญาณวิปปยุต ๔ ดังนี้ นี้ชื่อว่า

ปกิณณกถา ในกุศลเป็นไปในภูมิ ๓ ดังนี้แล.

กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

โลกุตตรกุศลจิต

มรรคจิตดวงที่ ๑

[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ

วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ

อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตัตัปปะ กายปัสสัทธิ

จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา กายกัมมัญญตา

จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา

สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือว่า

นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๑๙๗] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง มีในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่าผัสสะ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

[๑๙๘] เวทนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณ-

ธาตุที่สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย

อารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เวทนา

มีในสมัยนั้น.

[๑๙๙] สัญญา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การจำ กิริยาที่จำ ความจำ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญานธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัญญา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๐] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิต มีในสมัยนั้น.

[๒๐๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสัง-

กัปปะ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า

วิตก มีในสมัยนั้น.

[๒๐๓] วิจาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา

ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า

วิจาร มีในสมัยนั้น.

[๒๐๔] ปีติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าปีติ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๕] สุข มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสุข มีในสมัยนั้น.

[๒๐๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าเอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

[๒๐๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

อินทรีย์ คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้ชื่อว่า สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๘] วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์ คือวิริยะ วิริยพละ สัมมา-

วายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัย

นั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๐๙] สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ สติ

สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นแห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

[๒๑๑] ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา อินทรีย์คือปัญญา ปัญญา

พละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๒] มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ อินทรีย์คือมโน-

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า

มนินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๓] โสมนัสสินทรีย์ ในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๔] ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิตของนามธรรมนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ มีใน

สมัยนั้น.

[๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญาญินทรีย์ ปัญญาพละ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง.

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้

แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญ-

ตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๖] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัย สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง

ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๒๑๗] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน

อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความ

ดำริชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า

สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

[๒๑๘] สัมมาวาจา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่

ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจีทุจริต ๔ วาจา

ชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

สัมมาวาจา มีในสมัยนั้น.

[๒๑๙] สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่

ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุกายทุจริต ๓

การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๐] สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น การไม่ทำ การไม่

ประกอบ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุมิจฉาชีพ การ

เลี้ยงชีพชอบอันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๑] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ความพยายามชอบ

วิริยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

[๒๒๒] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ

สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๓] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ

มีในสมัยนั้น.

[๒๒๔] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ

มีในสมัยนั้น.

[๒๒๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียงทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือความเพียร สัมมาวายามะ

วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

[๒๒๖] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อยลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ ความระลึกชอบ

สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๗] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ

มีในสมัยนั้น.

[๒๒๘] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง

ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลัง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา

แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความ

ไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์

แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค มีในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ

มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

[๒๒๙] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย วิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

หิริพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๐] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปป-

พละ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๑] อโลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความที่ไม่โลภ การไม่กำหนัด กิริยา

ที่ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อโลภะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๒] อโทสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่คิดทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษร้าย

ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อโทสะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๓] อโมหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อโมหะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๔] อนภิชฌา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่

ไม่กำหนัด ความไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น

อันใด นี้ชื่อว่า อนภิชฌา มีในสมัยนั้น.

[๒๓๕] อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิด-

ประทุษร้าย ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ

ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัพยาปาทะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๖] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ควรญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

[๒๓๗] หิริ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่

ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

หิริ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๘] โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยา

ที่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

โอตตัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๙] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ

ระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[๒๔๐] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบ

ระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[๒๔๑] กายลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่ง

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายลหุตา

มีในสมัยนั้น.

[๒๔๒] จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตลหุตา มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

[๒๔๓] กายมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่กักขฬะ ความไม่แข็ง แห่งเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายมุทุตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๔] จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตมุทุตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๕] กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควแก่การงาน

แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

กายกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๖] จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน

แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตกัมมัญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๗] กายปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่คล่องแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่ง

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กาย-

ปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๘] จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

กิริยาที่คลองแคล่ว ความคล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่ว แห่ง

วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปาคุญญตา มีในสมัยนั้น.

[๒๔๙] กายุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ

แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายุชุกตา

มีในสมัยนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

[๒๕๐] จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอ

แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตุชุกตา มีในสมัยนั้น.

[๒๕๑] สติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ

สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า สติ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๒] สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง

ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมปชัญญะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.

[๒๕๕] ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียร ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า

ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น

ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ

ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริย-

สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด

นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๖] อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น.

[๒๕๗] หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๕๘] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๙ ฌานมี

องค์ ๕ มรรคมีองค์ ๘ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑

จิต ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑

มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธรรมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น

หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๕๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา-

วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ

ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา

อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา

จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญตา กายปา-

คุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ

วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด

เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์

มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

มหานัย ๒๐

สุทธิกปฏิปทา

[๒๖๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากการ สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ

อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากาม สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

[๒๖๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

[๒๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌานเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุทธิกปฏิปทา จบ

สุญญตะ

[๒๖๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจุตตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจม-

ฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัย

นั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตะ จบ

สุญญตมูลกปฏิปทา

[๒๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจม-

ฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็น

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

สุญญตมูลกปฏิปทา จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

อัปปณิหิตะ

[๒๖๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฎฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัย

ใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน

ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา

[๒๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฎฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิ-

ปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปา-

ภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิด

อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็น

สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา จบ

[๒๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสมถะ

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เป็นเจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอาหาร

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิตเป็น

โลกุตระอันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อ

บรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

มหานัย ๒๐ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

อธิบดี

[๒๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี

ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ

ปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ

เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทเป็น

โลกุตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญพละเป็นโลกุตระ ฯลฯ

เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสัจจะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญสมถะ

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธรรมเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญขันธ์เป็นโลกุตระ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

เจริญอายตนะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญธาตุเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญอาหาร

เป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญผัสสะเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเวทนาเป็นโลกุตระ

ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญเจตนาเป็นโลกุตระ ฯลฯ เจริญจิต

เป็นโลกุตระ ฯลฯ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ

เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ

ปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี เป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีใน

สมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

อธิบดี จบ

มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายโลกุตรกุศล

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกุศลที่ยังสมบัติในสามภพให้เกิดขึ้น

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงโลกุตรกุศลเพื่อก้าวล่วงภพทั้งหมดจึงเริ่มพระบาลี

มีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) อีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กตเม ธมฺมา เป็นต้นต่อไป.

บทว่า โลกุตฺตร ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถ

ว่ากระไร ? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่า ย่อมข้ามโลก ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

โลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลกไป ชื่อว่า โลกุตระ เพราะอรรถว่า

ก้าวล่วง ครอบงำโลกทั้งสามตั้งอยู่.

บทว่า ฌาน ภาเวติ (เจริญฌานโลกุตระ) ได้แก่. พระโยคาวจรยัง

อัปปนาฌานอันประกอบด้วยขณะจิตดวงหนึ่งให้เกิด คือให้เจริญ. อธิบายว่า

โลกุตรฌาน ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า ออกไปจากโลก ออกไป

จากวัฏฏะ อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่า นิยยานิกะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องออก

ไปจากโลกและจากวัฏฏะนั้น จริงอยู่ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโลกุตรฌานนั้น

เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ ชื่อว่า ย่อมออกไป เมื่อละสมุทัยชื่อว่าย่อมออกไป เมื่อ

กระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธชื่อว่าย่อมออกไป เมื่อเจริญมรรคก็ชื่อว่าย่อมออกไป

เพราะฉะนั้น โลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า นิยยานิกะ.

ก็กุศลอันเป็นไปในภูมิสามย่อมก่อจุติและปฏิสนธิทำให้เจริญในวัฏฏะ

เพราะฉะนั้น กุศลนั้นจึงชื่อว่า อาจยคามี ฉันใด โลกุตรกุศลนี้เป็น

เช่นนั้นหามิได้ ก็โลกุตรกุศลนี้ รื้ออยู่ทำลายอยู่ซึ่งจุติและปฏิสนธิ อันกุศล

ในภูมิสามสร้างไว้ โดยกระทำให้ขาดแคลนซึ่งปัจจัยไป เปรียบเหมือนเมื่อ

บุรุษคนหนึ่งสร้างกำแพงสูง ๑๘ ศอก แต่อีกคนหนึ่งเอาค้อนใหญ่รื้ออยู่ ทำ

ให้กระจัดกระจายอยู่ซึ่งที่อันบุรุษนั้นก่อแล้ว ๆ พึงไป ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น

โลกุตรฌานนั้น จึงชื่อว่า อปจยคามี (นำไปสู่พระนิพพาน).

ในบทว่า ทิฏฺิคตาน ปหานาย (เพื่อละทิฏฐิ) นี้ ทิฏฐิทั้งหลาย

นั่นเอง ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เหมือนคำเป็นต้นว่า คูถคต (คูถ) มุตฺตคต

(มูตร). อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า ไปแล้วใน

ทิฏฐิทั้งหลายเพราะหยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่

ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะอรรถว่า มีทิฏฐิเป็นไป อธิบายว่า สภาวะที่มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

การไปเช่นเดียวกับทิฏฐิ คือ สภาที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐิ. ถามว่า ก็สภาวะ

ที่เป็นไปทั่วเช่นกับทิฏฐินั้น เป็นอย่างไร ? ตอบว่า ได้แก่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาส และอกุศลมีราคะ โทสะ โมหะ พร้อมสัมปยุตตธรรมของ

ทิฏฐินั้นซึ่งยังสัตว์ให้ไปสู่อบาย เพราะสภาวธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า

สภาวะที่มีการไปเช่นกับทิฏฐิ เพราะมีสภาพเป็นไปจนถึงมรรคที่หนึ่งเกิด

เพราะฉะนั้น ทิฏฐิทั้งหลายด้วย สภาวะที่มีการไปของทิฏฐิทั้งหลายด้วย จึง

ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. บทว่า ปหานาย (เพื่อละ) ได้แก่ เพื่อละทิฏฐิคตะ

เหล่านั้นด้วยอำนาจสมุจเฉทประหาณ.

บทว่า ปมาย (เบื้องต้น) ได้แก่ ชื่อว่าเบื้องต้นด้วยอำนาจแห่งการ

นับบ้าง ด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นครั้งแรกบ้าง. บทว่า ภูมิยา (ภูมิ) ความว่า

มหาปฐพีนี้ ท่านเรียกว่า ภูมิ ก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า อนนฺตรหิตาย

ภูมิยา (บนพื้นอันปราศจากเครื่องปูลาด). จิตุปบาท (ความเกิดขึ้นแห่งจิต)

ก็เรียกว่า ภูมิ ดุจในประโยคมีอาทิว่า สุขภูมิย กามาวจเร (ในกามาวจร

เป็นภูมิแห่งความสุข ). แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาสามัญผล ด้วยว่า

สัมปยุตตธรรมเหล่านั้น ต่อเกิดในสามัญผลนี้ เพราะฉะนั้น สามัญผลนี้

จึงชื่อว่า ภูมิ เพราะความเป็นที่อาศัยของสัมปยุตตธรรมเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง

เมื่อความเป็นโลกุตระแม้มีอยู่ สามัญผลย่อมเกิดขึ้นปรากฏได้เอง มิใช่ไม่

ปรากฏเหมือนนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ภูมิ.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสคำว่า ภูมิ นี้ ตอบว่า เพื่อแสดงการ

บรรลุภูมิเบื้องต้น ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อ

ประโยชน์การได้เฉพาะสามัญผลที่หนึ่ง กล่าวคือ โสดาปัตติผล. บทว่า

วิวิจฺจ (สงัด ) คือสงัดแล้ว เว้นแล้วด้วยอำนาจสมุจเฉทวิเวก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ใคร่จะแสดงถึงโลกิยฌานเว้นปฏิปทาย่อมไม่

สำเร็จโดยแท้ ครั้นความไม่สำเร็จแม้มีอยู่ในโลกุตรกุศลนี้ จึงทรงละสุทธิกนัย

เสียแล้วกระทำโลกุตรฌานให้หนักพร้อมกับปฏิปทานั่นแหละ จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า ทุกฺขาปฏิปท ทนฺธาภิญฺ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า ทุกขาปฏิปทา นั้นต่อไป.

โยคาจรบุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายตั้งแต่เริ่มต้น ลำบากอยู่ด้วย

การขวนขวายพร้อมกับสังขารอันยากเข็ญ จึงข่มไว้ได้ ปฏิปทาของท่านนั้น

เป็นทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีกิเลสข่มไว้แล้ว เมื่ออบรม

วิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงถึงความปรากฏแห่งมรรค การตรัสรู้ของท่านนั้น

เป็นทันธาภิญญา. ด้วยประการตามที่กล่าวแล้ว วาระอย่างใดอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้เป็นต้น ท่านอธิบายไว้แล้ว.

ถามว่า ก็วาระไหน ท่านพระอรรถกถาจารย์ชอบใจ.

ตอบว่า ในวาระใด กิเลสทั้งหลายที่โยคาวจรข่มไว้ครั้งเดียวแล้วก็ฟุ้ง

ขึ้นอีก ข่มแล้วครั้งที่สองก็ย่อมฟุ้งขึ้นอีก แต่เมื่อข่มครั้งที่สามจึงทำการข่มไว้

ได้เหมือนอย่างนั้นทีเดียว แล้วจึงให้ถึงการถอนขึ้นด้วยมรรค ก็วาระนี้ ท่าน

พระอรรถกถาจารย์ชอบใจ ท่านตั้งชื่อวาระนี้ว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ วาระนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้

พึงทราบการอธิบายตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ก็โยคาวจรบุคคลใดกำหนดมหาภูตรูป ๔

แล้วจึงกำหนดอุปาทารูป กำหนดอรูปได้ แต่เมื่อกำหนดรูปและอรูปก็ลำบากอยู่

ด้วยความทุกข์ ด้วยความลำบาก ย่อมสามารถเพื่อกำหนดได้ ปฏิปทาของ

ท่านจึงชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีรูปและอรูปกำหนด

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

ได้แล้ว ในการเจริญวิปัสสนา เพราะความชักช้าแห่งความปรากฏของมรรค

อภิญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น จึงชื่อว่า ทันธาภิญญา.

แม้โยคาวจรบุคคลใดกำหนดรูป และอรูปได้แล้ว เมื่อกำหนดแยก

นามรูป ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความลำบาก จึงกำหนดแยกได้ และเมื่อ

กำหนดแยกนามรูปได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงสามารถให้มรรค

เกิดขึ้นได้ ปฏิปทาของท่านแม้นั้น จึงเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

อีกรูปหนึ่ง กำหนดนามรูปได้แล้ว กำหนดแม้ปัจจัยทั้งหลาย แทง

ตลอดลักษณะทั้งหลาย ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยาก จึงกำหนดได้ ครั้น

กำหนดปัจจัยแทงตลอดลักษณะได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยัง

มรรคให้เกิดขึ้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

รูปอีกกำหนดแม้ปัจจัยทั้งหลายแล้ว แทงตลอดลักษณะทั้งหลาย

ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์ ความยาก จึงแทงตลอดได้ และท่านที่มีลักษณะอัน

แทงตลอดแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วย

อาการอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.

รูปอื่นอีกแทงตลอดลักษณะทั้งหลายนำวิปัสสนาญาณอันคมกล้าและ

ผ่องใสมา เมื่อครอบงำนิกันติแห่งวิปัสสนาที่เกิดขึ้น ลำบากอยู่ด้วยความทุกข์

ความยาก จึงครอบงำได้ ครั้นครอบงำนิกันติได้แล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่โดย

กาลนาน จึงยังมรรคให้เกิด แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา. วาระนี้ พระอรรถกถาจารย์พอใจ และตั้งชื่อวาระนี้ไว้แล้ว.

พึงทราบปฏิปทา ๓ ข้างหน้า (ที่เหลือ) โดยอุบายนี้.

ในบรรดาบททั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า ผสฺโส โหติ (ผัสสะย่อมมี) มี

อธิกบท ๔ คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

สัมมาอาชีวะ ๑ และบทมีคำเป็นต้นว่า มคฺคงฺค ในนิทเทสมีวิตักกะเป็นต้น

ในนิทเทสวาร เป็นอธิกบท. คำที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับที่กล่าว แล้วนั่นแหละ

แต่ในอธิการนี้ มีความแปลกกันด้วยสามารถความต่างกันแห่งภูมิ เพราะเป็น.

โลกุตระ.

บรรดาอธิกบททั้ง ๔ เหล่านั้น บทว่า อนัญญตัญญัสสามีตินฺทฺริย

ได้แก่ อินทรีย์อันเกิดขึ้นโดยส่วนเบื้องต้นนี้ ของโยคีผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า

เราจักรู้ทั่วซึ่งอมตบท คือ สัจจธรรม ๔ นั่นแหละ ที่ยังไม่เคยรู้แล้วใน

สังสารวัฏซึ่งมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว. ส่วนคำมีลักษณะเป็นต้น

ของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปัญญินทรีย์ใน

หนหลังนั่นแหละ.

วาจาดี หรือวาจาที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาวาจา คำว่า

สัมมาวาจานี้ เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาวาจา เพราะเป็นวาจาถอนขึ้นซึ่ง

วจีทุจริต. สัมมาวาจานั้นมีการกำหนดเป็นลักษณะ มีการงดเว้นเป็นกิจ มีการ

ละมิจฉาวาจาเป็นปัจจุปัฏฐาน.

การงานที่ดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ คำว่า

สัมมากัมมันตะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นปาณาติบาตเป็นต้น เพราะเป็นการงาน

ที่ถอนขึ้นซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมากัมมันตะนั้นมีการตั้งขึ้นดีเป็นลักษณะ มีการ

งดเว้นเป็นกิจ มีการละมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจุปัฏฐาน.

อาชีวะดีหรือที่บัณฑิตสรรเสริญ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ คำว่า

สัมมาอาชีวะนี้เป็นชื่อของการงดเว้นมิจฉาอาชีวะ สัมมาอาชีวะนั้นมีความผ่อง-

แผ้วเป็นลักษณะ มีการเป็นไปแห่งอาชีวะชอบธรรมเป็นกิจ มีการละมิจฉา

อาชีวะเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบข้อธรรมมีลักษณะเป็นต้น ในสัมมาวาจาเป็นต้น

เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งคำที่กล่าวแล้วในวิรติ ๓ ในหนหลัง. พึงทราบมรรค

๕ ที่กล่าวไว้ในหนหลังด้วยสามารถแห่งธรรม (วีรตี) ๓ เหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้ ในที่นี้พึงทราบมรรค และในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ไม่มีสัมมาวาจา

เป็นต้นเหล่านั้น กรุณาและมุทิตาก็ไม่มีเหมือนกัน ด้วยว่า ธรรมทั้ง ๓

(มีสัมมาวาจาเป็นต้น) เหล่านี้ เพราะความที่กล่าวไว้ในบาลีนี้ จึงไม่ถือเอาใน

เยวาปนกธรรมทั้งหลาย ส่วนกรุณาและมุทิตามีสัตว์เป็นอารมณ์ ก็ธรรม

(กรุณา มุทิตา) เหล่านี้เป็นอดีต อารมณ์ที่เย็นสงบ ท่านไม่ถือเอาในโลกุตระนี้

เนื้อความที่ต่างกันในอุทเทสวารเพียงเท่านี้.

ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า มคฺคงฺค (เป็นองค์แห่งมรรค) มคฺค-

ปริยาปนฺน (นับเนื่องในมรรค) ในนิทเทสวารก่อน.

ธรรมที่ชื่อว่า มัคคังคะ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งมรรค อธิบายว่า

เป็นส่วนแห่งมรรค เหมือนอย่างว่า สิ่งที่นับเนื่องในป่า ชื่อว่า อรัญญปริ-

ยาปันนะ ฉันใดธรรมที่นับเนื่องในมรรค ชื่อว่า มัคคปริยาปันนะ ฉันนั้น

อธิบายว่า อาศัยมรรค.

ในข้อว่า ปีติสัมโพชฌงค์ นี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า

ปีติสัมโพชฌงค์. อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่าปีติสัมโพชฌงค์เหล่านั้น ธรรมที่

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้

หรือของบุคคลผู้ตรัสรู้ คำนี้มีอธิบายว่า ธรรมสามัคคีนี้ ตรัสเรียกว่า

โพธิ เพราะทำนายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีกล่าวคือ

สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นใน

ขณะแห่งโลกุตรมรรค ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมิใช่น้อยมีความหดหู่ ถีนะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

อุทธัจจะ ปติฏฐานคือกิเลสเป็นเครื่องยึดไว้ อายูหนะ คือ กิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบไว้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค และอภินิเวสะ คือ ยึดมั่น

ในสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเป็นต้น. คำว่า ย่อมตรัสรู้ คือ ย่อมลุกขึ้น

จากความหลับ คือความสืบต่อแห่งกิเลส หรือย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือกระทำ

ให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั่นแหละ องค์แห่งโพธิกล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น มีอยู่

เหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์ฌานและองค์แห่งมรรค

เป็นต้น. พระอริยสาวกแม้นี้ ก็เรียกว่า โพธิ เพราะทำอธิบายว่า ย่อม

ตรัสรู้ ด้วยธรรมสามัคคีมีประการตามที่กล่าวแล้วนั้น. แม้องค์แห่งโพธิ คือ

พระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น ท่านก็เรียกว่า โพชฌงค์ เหมือนองค์แห่งเสนา

และองค์แห่งรถเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์แม้โดยนัยปฏิสัมภิทามรรค

นี้ว่า คำว่า โพชฌงค์ ถามว่า ธรรมที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า

กระไร ? ตอบว่า ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อการตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้. ชื่อว่า โพชฌงค์

เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อม

ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้พร้อม ดังนี้.

โพชฌงค์อันบัณฑิตสรรเสริญแล้วด้วย เป็นโพชฌงค์อันดีด้วย ชื่อว่า สัม-

โพชฌงค์. ด้วยประการฉะนี้ สัมโพชฌงค์คือปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ปีติสัม-

โพชฌงค์ ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งเอกัคคตาแห่งจิตเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ

โดยนัยนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

บทว่า เตส ธมฺมาน (ธรรมเหล่านั้น) ได้แก่ ธรรมคือสัจจะ ๔

ย่อมถึงการแทงตลอดในสมัยนั้น ชื่อว่า ธรรมเหล่านั้น. บทว่า อญฺตาน

(ที่ยังไม่เคยรู้) ความว่า ธรรมเหล่านั้นอันโยคาวจรชื่อว่า รู้แล้วด้วยปฐม-

มรรคแม้ก็จริง ท่านก็กล่าวอุปมาไว้ว่า บุคคลมาสู่วิหารที่ไม่เคยตามปรกติ

แม้ยืนอยู่ในท่ามกลางวิหารก็ย่อมพูดว่า ข้าพเจ้ามาสู่ที่ไม่เคยมา เพราะอาศัย

ความเป็นผู้ไม่มาตามปกติฉันใด และเหมือนบุคคลประดับดอกไม้ที่ไม่เคย

ประดับตามปกติ นุ่งผ้าที่ยังไม่เคยนุ่ง (ผ้าใหม่) บริโภคอาหารที่ไม่เคยบริโภค

เพราะอาศัยความเป็นผู้ไม่เคยบริโภคตามปกติ จึงพูดว่า ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร

ที่ยังไม่เคยบริโภค ฉันใด แม้ในข้อนี้ ก็ฉันนั้น เพราะธรรมเหล่านี้ อันบุคคลนี้

ไม่รู้ตามปกติ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ที่ยังไม่เคยรู้ ดังนี้.

แม้ในคำว่า ที่ยังไม่เคยเห็น เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทิฏฺาน (ที่ยังไม่เคยเห็น) ได้แก่

ไม่เคยเห็นด้วยปัญญาจักษุในกาลก่อนแต่กาลนี้. บทว่า อปฺปตฺตาน (ที่ยัง

ไม่เคยบรรลุ) คือที่ยังไม่เคยบรรลุด้วยสามารถแห่งความรู้. บทว่า อวิทิตาน

(ที่ยังไม่เคยทราบ) คือที่ยังไม่ปรากฏด้วยญาณ. บทว่า อสจฺฉิกตาน (ที่ยัง

ไม่เคยทำให้แจ้ง คือที่ยังไม่เคยทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกิริยาย (เพื่อ

ทำให้แจ้ง) คือทำให้ประจักษ์. พึงประกอบเนื้อความแม้กับบทที่เหลือกับบท

นี้อย่างนี้ว่า เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุ

ธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ ดังนี้.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า จตูหิ วจีทุจฺจริเตหิ (วจีทุจริต ๔) บทว่า

วจี พึงทราบว่าเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางวาจา (วจีวิญญัติ). ธรรมที่ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ทุจริต เพราะอรรถว่า ความประพฤติอันโทษสามอย่างใดอย่างหนึ่งประทุษร้าย

แล้ว. ทุจริตที่เป็นไปทางวาจา ชื่อว่า วจีทุจริต อีกอย่างหนึ่ง ทุจริตที่สำเร็จ

ด้วยคำพูดเรียกว่าวจีทุจริต. เจตนาที่ชื่อว่า อารตี เพราะย่อมงดห่างไกลจาก

วจีทุจริตเหล่านั้น. ชื่อว่า วิรติ เพราะย่อมเว้นห่างไกลจากวจีทุจริตเหล่านั้น

ชื่อว่า ปฏิวิรติ (การเลิกละ) เพราะเป็นผู้ถอยจากวจีทุจริตนั้น ๆ และงดเว้น

จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งสามนี้ท่านเพิ่มคำอุปสรรค บท

ทั้งสามนี้เป็นชื่อของการงดเว้นทั้งหมด. ที่ชื่อว่า เวรมณี เพราะอรรถว่า

การย่ำยี คือทำให้พินาศ. แม้คำว่า เวรมณี นี้ก็เป็นชื่อของการงดเว้นนั่นแหละ

ก็บุคคลเมื่อกล่าวมุสาวาทเป็นต้น. ชื่อว่า ย่อมทำด้วยเจตนาใด วิรติใน

โลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ไห้เพื่อกระทำกิริยานั้น ย่อมตัดขาดทาง

แห่งการทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทำ). อนึ่ง การไม่ให้

เพื่อการกระทำนั้น ย่อมตัดขาดทางเป็นเครื่องกระทำ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อกรณะ (การไม่ประกอบ). อนึ่ง บุคคลเมื่อกล่าววจีทุจริต ๔ อย่างด้วย

เจตนาใด ชื่อว่า ย่อมล่วงละเมิด วิรติในโลกุตรมรรคนี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อม

ไม่ให้เพื่อล่วงละเมิดเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนัชฌาปัตติ

(การไม่ล่วงละเมิด).

ในบทนี้ว่า เวลาอนติกฺกโม (การไม่ล้ำเขต ) อธิบายว่า กาล

ตรัสเรียกว่า เวลา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ตาย เวลาย (ในกาลนั้น)

ดังนี้ก่อน. ราสิ (กอง) ตรัสเรียกว่า เวลา ในคำนี้ว่า อุรุเวลาย วิหรติ

ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา (กองทราย) สีมา (เขตแดน) ตรัสว่าเวลาในคำ

นี้ว่า ิติธมฺโม เวล นาติวตฺตติ (ผู้มีธรรมดำรงอยู่ย่อมไม่ประพฤติล้ำเขต)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

แม้ในอธิการนี้ทรงประสงค์เอาเวลาคือเขตเท่านั้น จริงอยู่ วจีสุจริต ๔ ทรง

ประสงค์เอาเวลา (คือเขต) เพราะอรรถว่า ไม่ควรก้าวล่วง ด้วยประการฉะนี้

บุคคลเมื่อก้าวล่วงวจีทุจริต ๔ ด้วยเจตนาใด ชื่อว่า ย่อมก้าวล้ำเขต วิรติ

ในโลกุตรมรรคนี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อก้าวล่วงเขตนั้น เพราะเหตุนั้น

จึงตรัสว่า การไม่ล่วงล้ำเขต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เวลา เพราะอรรถว่า

ย่อมให้ย่อยยับไป อธิบายว่า ทำให้พินาศ ให้กระจัดกระจายไป. ถามว่า

ทำอะไรให้ย่อยยับไป. ตอบว่า ทำวจีทุจริต ๔ ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า

เวลา เพราะทำให้ย่อยยับไป. ที่ชื่อว่า อนติกกมะ (การไม่ก้าวล้ำ) เพราะ

อรรถว่า ไม่ก้าวล่วงประโยชน์สุขของบุคคลให้เป็นไป. พึงทราบอรรถแม้ด้วย

อำนาจบททั้ง ๒ ในคำว่า เวลาอนติกฺกโม นี้ ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมที่ชื่อว่า เสตุฆาต เพราะอรรถว่า ย่อมฆ่าซึ่งเหตุ (เสตุ) คือ

ฆ่าทางแห่งวจีทุจริต ๔ อธิบายว่า ฆ่าปัจจัย. ปัจจัยตรัสเรียกว่า เสตุ ในที่นี้.

ในคำว่า เสตุฆาต นั้น มีความหมายถ้อยคำดังต่อไปนี้. ปัจจัยแห่งวจีทุจริต ๔

มีราคะเป็นต้น ย่อมเชื่อม คือ ย่อมผูกพันบุคคลไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น

ปัจจัยนั้น จึงชื่อว่า เสตุ. การฆ่าซึ่งปัจจัยที่ชื่อว่าเสตุนั้น ชื่อว่า เสตุฆาต

คำว่า เสตุฆาต นี้เป็นชื่อของวิรติ เพราะถอนขึ้นซึ่งปัจจัยแห่งวจีทุจริต.

แต่วิรตินี้ คือ สัมมาวาจา ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะย่อม

งดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากเปสุญญวาทเป็นต้นด้วยจิตดวง

อื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติ

คือสัมมาวาจาดวงเดียวเกิดขึ้นทำการตัดทางของเจตนาในวจีทุจริต ๔ ยังองค์

มรรคให้บริบูรณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

บทว่า กายทุจฺจริเตหิ ได้แก่ ทุจริตที่เป็นไปทางกาย หรือทุจริต

มีปาณาติบาตเป็นต้นอันให้สำเร็จด้วยกาย. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

วิรติแม้นี้ กล่าวคือสัมมากัมมันตะย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลเบื้องต้น เพราะ

ปาณาติบาตย่อมงดเว้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ในอทินนาทานและมิจฉาจารก็ได้ในจิต

ดวงอื่น แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น ด้วยว่า วิรติ

ดวงเดียวเกิดทำการตัดทางแห่งเจตนาในกายทุจริต ๓ อย่าง ยังองค์มรรคให้

บริบูรณ์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเป็นต้นว่า อกิริยา (การไม่ทำ) ในนิทเทส

แห่งสัมมาอาชีวะ ต่อไป.

บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า บุคคลเลี้ยงชีพอยู่ชื่อว่าย่อม

กระทำกิริยามิจฉาชีพด้วยเจตนาใด โลกุตรเจตนานี้เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อ

ทำกิริยานั้น เพราะเหตุนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า อกิริยา (การไม่ทำ). อนึ่ง

ชื่อว่า อาชีวะ นี้ เป็นเฉพาะส่วนหนึ่งมิได้มี เมื่อสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ

โยคาวจรถือเอาแล้ว สัมมาอาชีวะก็เป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน เพราะความ

ที่สัมมาอาชีวะนั้นเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งวาจาและกายนั้น แต่อาชีวะนั้นพระองค์

ทรงนำออกจากวาจาและกายนั้น แสดงไว้ด้วยอำนาจแห่งการเสพอาศัยอยู่

เป็นนิตย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น สัมมาอาชีวะก็ไม่มีหน้าที่ของตน มรรค ๘ ก็ย่อม

ไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะพึงมีหน้าที่ของตน องค์มรรค ๘ ก็

พึงบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ พึงทราบนัยดังต่อไปนี้.

ขึ้นชื่อว่า อาชีวะ แม้เมื่อแตกก็ย่อมแตกในกายทวารและวจีทวาร

นั่นแหละ ชื่อว่าการแตกแห่งอาชีวะในมโนทวารหามีไม่ แม้เมื่อบริบูรณ์

ก็ย่อมบริบูรณ์ในสองทวารนั้นนั่นเอง ชื่อว่าความบริบูรณ์แห่งอาชีวะมิได้มี

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น สัมมาอาชีวะก็พึงทำกิจของตน องค์แห่งมรรค ๘

ก็พึงบริบูรณ์ นี้เป็นนัยในอาชีวะนั้น ก็การก้าวล่วงในกายทวารมีอาชีวะเป็น

เหตุบ้าง ไม่มีอาชีวะเป็นเหตุบ้าง ในวจีทวารก็เหมือนกัน.

บรรดาทวารทั้งสองนั้น พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา

เป็นผู้ขวนขวายในการเล่น เมื่อจะแสดงความเป็นผู้กล้าหาญ ย่อมทำการล่าเนื้อ

บ้าง ปล้นคนเดินทางบ้าง ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นบ้าง ใด ๆ นี้ชื่อว่า

กายกรรมเป็นอกุศล. แม้เจตนางดเว้นจากอกุศลกายกรรมแล้ว ก็ชื่อว่า

สัมมากัมมันตะ อนึ่ง พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาย่อมกล่าว

วจีทุจริต ๔ มิใช่มีอาชีวะเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า วจีกรรมอันเป็นอกุศล แม้

งดเว้นจากวจีกรรมอันเป็นอกุศลนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาวาจา.

แต่ว่า นายพรานและชาวประมงเป็นต้น เพราะอาชีพเป็นเหตุ ย่อม

ฆ่าสัตว์ ย่อมถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ย่อมประพฤติมิจฉาจารใด นี้ชื่อว่า

มิจฉาอาชีวะ การงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ พวกชน

ที่รับค่าจ้างแม้ใดย่อมกล่าวมุสา ย่อมยังเปสุญญวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปะ

ให้เป็นไป กรรมแม้นี้ ก็ชื่อว่า มิจฉาอาชีวะ แม้การงดเว้นจากมิจฉา-

อาชีวะนั้น ก็ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

ก็พระมหาสิวเถระกล่าวไว้ว่า การก้าวล่วงกายทวารและวจีทวาร มี

อาชีวะเป็นเหตุ หรือไม่มีอาชีวะเป็นเหตุก็ตาม ย่อมนับว่าเป็นกายกรรมและ

วจีกรรมฝ่ายอกุศลโดยแท้ แม้การงดเว้นจากกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศล

จึงเรียกว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาได้ ก็ถ้ามีคนถามว่า อาชีวะไปไหน

เสียเล่า ? ก็จะพูดว่า บุคคลอาศัยกุหนวัตถุ (เรื่องโกหก) ๓ อย่าง ยังปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

๔ ให้เกิดขึ้นแล้วบริโภคปัจจัยนั้น ก็อันนี้เป็นมิจฉาอาชีวะถึงที่สุด การงดเว้น

จากมิจฉาอาชีวะนั้น ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

สัมมาอาชีวะแม้นี้ ในส่วนเบื้องต้นย่อมได้ในจิตต่าง ๆ เพราะการ

งดเว้นจากการก้าวล่วงทางกายทวารก็จิตอย่างหนึ่ง จากวจีทวารก็ได้จิต

อย่างหนึ่ง แต่ในขณะแห่งโลกุตรมรรคย่อมได้จิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะวิรติ

ดวงเดียวเกิดขึ้นกระทำการตัดทางของเจตนา ความเป็นผู้ทุศีล คือมิจฉาอาชีวะ

อัน เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งกรรมบถ ๗ คือ กายกรรมและวจีกรรมในกายทวาร

และวจีทวารยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ความนี้จึงแปลกกันใน

นิทเทสวาร.

แต่ในอินทรีย์ทั้งหลายทรงเพิ่มอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ และในองค์

แห่งมรรคทรงเพิ่มสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น ตรัสว่า อินทรีย์ ๙* มรรคมีองค์ ๘

ดังนี้ ในสังคหวารด้วยสามารถแห่งอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ และสัมมาวาจา

เป็นต้นเหล่านั้น. สุญญตวาระเป็นไปตามปรกตินั่นแหละ ก็ความเบื้องต้นนี้

แปลกกันในสุทธิกปฏิปทา.

สุทธิปฏิปทา จบ

กถาว่าด้วยสุญญตาเป็นต้น

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นประเภทแห่งเทศนา คือ

สุทธิกสุญญตา ๑

สุญญตปฏิปทา ๑

สุทธิกอัปปณิหิตะ ๑

อัปปณิหิตปฏิปทา ๑

* ข้ออันอรรถกถาฉบับไทยเป็น สงฺคหวาเรน วิริยินทฺริยานิ อฏฺงฺคิโก มคฺโค ฉบับพม่าเป็น

สงฺคหวาเร นวินฺทฺริยานิ อฏฺงฺคิโก มคฺโค

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

บรรดาประเภทแห่งเทศนา ๔ เหล่านั้น คำว่า สุญญตา นี้เป็นชื่อ

ของโลกุตรมรรค จริงอยู่ โลกุตรมรรคนั้น ย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ ๓ อย่าง คือ

เพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณของตน ๑ เพราะอารมณ์ ๑.

ถามว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นอนัตตา

ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอนัตตา แต่ธรรมดาว่า การออกจากสังขตธรรม

ด้วยมรรค (มรรควุฏฐานะ) ย่อมไม่มีโดยเพียงเห็นโดยความเป็นอนัตตาเท่านั้น

การเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง จึงสมควร

เพราะฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง และ

อนัตตา แล้วพิจารณาอยู่ท่องเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุ

นั้น ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายแม้อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของสูญ

(ว่างเปล่า) ทีเดียว วิปัสสนานี้ชื่อว่า สุญญตา วิปัสสนานั้นดำรงอยู่ในฐานะ

ที่ควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า สุญญตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า สุญญตะ

เพราะการบรรลุด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้น

ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุญญตะ ด้วยคุณของตน. แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียก

ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาวะสูญจากราคะเป็นต้น. มรรคย่อมได้ชื่อ

สุญญตะ โดยอารมณ์เพราะความที่มรรคนั้นทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์

เกิดขึ้น.

บรรดาเหตุทั้ง ๓ เหล่านั้น โลกุตรมรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง

โดยอารมณ์บ้าง โดยปริยายอันมีในพระสุตตันตะ เพราะปริยายนี้เป็นปริยาย-

เทศนา ส่วนอภิธรรมกถาเป็นนิปปริยายเทศนา เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมกถานี้

โลกุตรมรรค ย่อมไม่ได้ชื่อโดยคุณของตน หรือโดยอารมณ์ ย่อมได้โดยการ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

บรรลุเท่านั้น เพราะว่า การบรรลุนั้นเป็นธุระ (กิจ) การบรรลุนั้น มี ๒ อย่าง

คือ การบรรลุด้วยวิปัสสนา การบรรลุด้วยมรรค ในการบรรลุทั้ง ๒ นั้น

การบรรลุด้วยวิปัสสนาเป็นธุระในฐานแห่งมรรคถึงแล้ว การบรรลุด้วยมรรค

เป็นธุระในฐานแห่งผลมาแล้ว ในอภิธรรมนี้ เพราะความที่มรรคมาแล้ว การ

บรรลุด้วยวิปัสสนาเท่านั้น จึงเป็นธุระเกิดขึ้น.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคำนี้ว่า อัปปณิหิตะ ต่อไป.

คำว่า อปฺปณิหิต นี้เป็นชื่อของมรรค มรรคย่อมได้ชื่อแม้นี้ด้วย

เหตุ ๓ เหมือนกัน. ได้อย่างไร ? คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่

โดยความเป็นทุกข์แต่ต้นเทียว ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์

เท่านั้น ก็เพราะธรรมดามัคควุฏฐาน (การออกจากสังขตธรรมด้วยมรรค)

ย่อมไม่มีเพียงการเห็นทุกข์เท่านั้น การเห็นโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยอนัตตา

บ้าง จึงสมควรฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ ความไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาอยู่ ย่อมเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐาน-

คามินีของภิกษุนั้นยังปณิธิ (ความปรารถนา) ในสังขารทั้งหลายในภูมิ ๓ ให้

เหือดแห้ง ให้สิ้นไปจึงปล่อยวาง วิปัสสนานี้ ชื่อว่า อัปปณิหิตะ วิปัสสนานั้น

ดำรงอยู่ในฐานควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า อัปปณิหิตะ มรรค

ย่อมได้ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะการบรรลุอย่างนี้ ก็การดำรงไว้ซึ่งราคะ

โทสะแสะโมหะในมรรคนั้นมิได้มี ฉะนั้น มรรคนั้นจึงได้ชื่อด้วยคุณของตน

นั่นแหละว่า อัปปณิหิตะ ดังนี้. แม้พระนิพพาน ก็ตรัสเรียกว่า อัปปณิหิตะ

เพราะความไม่มีที่ตั้งอยู่แห่งราคะเป็นต้นเหล่านั้น. มรรคย่อมได้ชื่อว่า อัปปณิ-

หิตะ เพราะทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บรรดาเหตุทั้ง ๓

เหล่านั้น มรรคย่อมได้ชื่อโดยคุณของตนบ้าง โคยอารมณ์บ้าง โดยปริยาย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

แห่งพระสุตตันตะ เพราะเทศนานี้เป็นปริยายเทศนา แต่อภิธรรมกถาเป็น

นิปปริยายเทศนา ฉะนั้น ในอภิธรรมกถานี้ โลกุตรมรรคจึงไม่ได้ชื่อโดยคุณ

ของตนบ้าง โดยอารมณ์บ้าง ย่อมได้ชื่อโดยการบรรลุเท่านั้น. ก็การบรรลุ

เท่านั้นเป็นธุระ การบรรลุนั้น มี ๒ อย่าง คือ การบรรลุด้วยวิปัสสนา การบรรลุ

ด้วยมรรค ในการบรรลุ ๒ อย่างนั้น การบรรลุด้วยวิปัสสนาเป็นธุระในฐาน

แห่งมรรคมาแล้ว การบรรลุด้วยมรรคเป็นธุระในฐานแห่งผลมาแล้ว ในอภิ-

ธรรมกถานี้ เพราะความที่มรรคมาแล้ว การบรรลุด้วยวิปัสสนาเท่านั้นจึงเป็น

ธุระเกิดขึ้น.

ถามว่า ก็มรรคมีชื่อ ๓ อย่าง คือ สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ

มิใช่หรือ ? เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์เหล่านี้มี ๓ อย่าง

คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ในบรรดามรรคที่มี

ชื่อ ๓ เหล่านั้น ในอภิธรรมนี้ ถือเอามรรค ๒ เพราะเหตุไร จึงไม่ถือเอา

อนิมิตตวิโมกข์เล่า ?

ตอบว่า เพราะไม่มีการบรรลุ.

จริงอยู่ อนิมิตตวิปัสสนาดำรงอยู่ในฐานที่ควรบรรลุเองไม่อาจให้ชื่อ

มรรคของตน. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอนิมิตตวิปัสสนาแก่พระราหุลเถระ

ผู้เป็นโอรสของพระองค์ว่า

อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ มานานุสยมุชฺชห

ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสิ

เธอจงเจริญอนิมิตตวิปัสสนา (พิจาร-

ณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง) จงละมานา-

นุสัยเสีย แต่นั้น เธอจักเป็นผู้เข้าไปสงบ

เที่ยวไปเพราะละมานะเสียได้ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

จริงอยู่ วิปัสสนาย่อมถอนขึ้นซึ่งนิมิตว่าเที่ยง ซึ่งนิมิตว่ายั่งยืน ซึ่งนิมิต

ว่าอัตตา ซึ่งนิมิตว่าเป็นสุข ฉะนั้น จึงตรัสว่า อนิมิต (ไม่มีนิมิต ) วิปัสสนา

แม้นั้นย่อมถอนขึ้น ซึ่งนิมิตนั้นแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นวิปัสสนานั้นจึงมีชื่อว่า

นิมิตนั่นเอง เพราะย่อมเที่ยวไปในนิมิตธรรมทั้งหลายเอง เพราะฉะนั้น ตน

เองดำรงอยู่ในฐานที่พึงบรรลุ จึงไม่อาจเพื่อให้ชื่อมรรคของตน.

อีกนัยหนึ่ง ธรรมดาพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา และอนิมิตของ

มรรคเป็นการบกพร่องแห่งเหตุโดยปรมัตถ์ทีเดียว. มีการบกพร่องอย่างไร ?

คือ อนิมิตตวิโมกข์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา สัทธินทรีย์มีประมาณ

ยิ่งด้วยวิโมกข์นั้น สัทธินทรีย์นั้นไม่เป็นแม้องค์หนึ่งในอริยมรรค เพราะมิใช่

องค์มรรค จึงไม่อาจให้ชื่อมรรคของตนโดยปรมัตถ์ได้ ส่วนวิโมกข์ ๒ นอกนี้

สุญญตวิโมกข์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา อัปปณิหิติวิโมกข์

ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา. บรรดาวิโมกข์เหล่านั้น ปัญญินทรีย์

มีกำลังยิ่งด้วยสุญญตวิโมกข์ สมาธินทรีย์มีกำลังยิ่งด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์

ปัญญินทรีย์และสมาธินทรีย์เหล่านั้น เพราะความเป็นองค์แห่งอริยมรรค จึง

สามารถให้ชื่อมรรคของตนโดยปรมัตถ์ได้.

จริงอยู่ ในเวลาที่ฉันทะและจิตตะเป็นอธิบดีในการจำแนกธรรมแห่ง

มัคคาธิปติ แม้ในมัคคารัมมณติกะ พระองค์มิได้ตรัสความเป็นมัคคาธิปติไว้

เพราะความที่ธรรม คือ ฉันทะและจิตตะเหล่านั้นมิใช่เป็นองค์มรรค พึงทราบ

ถ้อยคำที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนั้นเถิด เนื้อความนี้เป็นวินิจฉัยเฉพาะ ของอาจารย์

รูปหนึ่งนอกจากอรรถกถาในเรื่องนี้. อนิมิตตวิปัสสนาแม้โดยประการทั้งปวง

อย่างนี้ ตั้งอยู่ในฐานะที่พึงบรรลุได้เอง จึงไม่สามารถให้ชื่อมรรคของตนได้

เพราะฉะนั้น พระองค์มิได้ทรงถือเอามรรคที่เป็นอนิมิตตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มรรคที่เกิดด้วยอนิมิตตะ แม้ไม่ได้ชื่อ

โดยการบรรลุ แต่ก็ได้ชื่อโดยคุณของตน และโดยอารมณ์ โดยปริยายแห่ง

พระสูตร ครั้นอาจารย์พวกนั้นกล่าวแล้วก็ถูกสกวาทีอาจารย์คัดค้านว่า เมื่อ

มรรคอันเกิดขึ้นด้วยอนิมิตตะได้ชื่อโดยคุณของตนและโดยอารมณ์ แม้มรรคที่

เกิดแต่สุญญตะและอัปปณิหิตะก็พึงได้ชื่อนี้ตามคุณของตนและโดยอารมณ์ แต่

ก็ไม่ได้ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ธรรมดามรรคนี้ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ ๒ อย่าง

คือโดยหน้าที่ของตนและโดยเป็นปัจจนิก คือว่า โดยสภาวะและโดยการปฏิเสธ.

ในเหตุทั้ง ๒ นั้น มรรคที่เกิดขึ้นด้วยสุญญตะและอัปปณิหิตย่อมได้ชื่อโดยกิจ

ของตนบ้าง โดยเป็นปัจจนิกบ้าง จริงอยู่ มรรคที่เกิดด้วยสุญญตะและอัปป-

ณิหิตะ ย่อมได้ชื่อโดยกิจของตนอย่างนี้คือ ชื่อว่า ว่าง เพราะว่างจากราคะ

เป็นต้น และเพราะไม่มีที่ตั้งโดยไม่มีที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น และย่อมได้ชื่อโดย

เป็นปัจจนิกอย่างนี้ คือ มรรคที่เกิดขึ้นเป็นสุญญตะเป็นปฏิปักษ์ต่อการยึดถือ

อัตตา มรรคที่เกิดเป็นอัปปณิหิตะเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมเป็นที่ตั้ง ส่วนมรรค

ที่เกิดขึ้นด้วยอนิมิตตะ ย่อมได้ชื่อโดยกิจของตนเท่านั้น เพราะไม่มีนิมิตแห่ง

ราคะเป็นต้น และนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้น มิใช่ได้ชื่อโดยความเป็นข้าศึก ด้วยว่า

มรรคอนิมิตตะนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่ออนิจจานุปัสสนา ซึ่งมีสังขารนิมิตเป็นอารมณ์

หามิได้ ก็อนิจจานุปัสสนาตั้งอยู่ในความเป็นอนุโลมแก่มรรคนั้น เพราะฉะนั้น

มรรคที่เกิดด้วยอนิมิตตะนั้น จึงไม่มีโดยปริยายแห่งพระอภิธรรมแม้โดยประการ

ทั้งปวง ฉะนี้แล.

แต่ว่า โดยปริยายแห่งพระสูตร มรรคที่เกิดขึ้นด้วยอนิมิตนั้น พระ-

องค์นำมาแสดงไว้อย่างนี้ ก็ในวาระใด มีการออกจากกิเลสด้วยมรรค ลักษณะ

ทั้ง ๓ ย่อมมาสู่คลองดุจอาวัชชนะเดียวกัน ก็ขึ้นชื่อว่า การมาสู่คลองแห่ง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

ลักษณะทั้ง ๓ พร้อมกันมิได้มี แต่เพื่อแสดงความแจ่มแจ้งแห่งกรรมฐาน

พระองค์จึงตรัสไว้อย่างนี้ ก็ความยึดถือในที่ใดที่หนึ่งตั้งแต่ต้นจงยกไว้ แต่ว่า

วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีพิจารณาธรรมใด ๆ แล้วย่อมออกจากกิเลสตั้งอยู่

ในฐานที่ควรบรรลุด้วยสามารถแห่งธรรมนั้นๆ นั่นแหละย่อมให้ชื่อมรรคของตน

ข้อนี้ เป็นอย่างไร ?

ก็พระโยคาวจรอาศัยธรรมใดธรรมหนึ่ง ในบรรดาลักษณะมีความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ก็สมควรเห็นลักษณะทั้ง ๒ นอกนี้อีกทีเดียว ธรรมดาการ

ออกจากกิเลสด้วยมรรคโดยเพียงการเห็นลักษณะเดียวนั้นย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

ภิกษุตั้งมั่นแล้วโดยความไม่เที่ยง ย่อมออกไปแม้จาก (กิเลส ) โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง แม้โดยความเป็นทุกข์อย่างเดียวหามิได้ ย่อมออกไปจาก (กิเลส)

โดยความเป็นอนัตตาด้วยนั่นแหละ แม้ในความตั้งมั่นอยู่โดยความเป็นทุกข์

ก็นัยนี้แหละ. ด้วยประการฉะนี้ การยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์ตั้งแต่

ต้นจงยกไว้ ก็วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีพิจารณาธรรมใด ๆ ย่อมออกไป

ดำรงอยู่ในฐานที่ควรบรรลุด้วยสามารถแห่งธรรมนั้น ๆ แล้วให้ชื่อมรรคของ

ตน. ในบรรดาลักษณะเหล่านั้น เมื่อพระโยคาวจรออกจากอนิจจลักษณะ

มรรคก็เป็นอนิมิตตะ เมื่อออกจากทุกขลักษณะ มรรคก็เป็นอัปปณิหิตะ เมื่อ

ออกจากอนัตตลักษณะ มรรคก็เป็นสุญญตะ ดังนี้ ทรงนำนิมิตตมรรคมา

แสดงโดยปริยายแห่งพระสูตรด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี มีอะไรเป็นอารมณ์ ?

ตอบว่า มีลักษณะเป็นอารมณ์.

ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นธรรม ที่ไม่ควรกล่าวถึง แต่

ว่าภิกษุใดกำหนดลักษณะ ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ๕ ของภิกษุ

นั้นย่อมเป็นดุจซากศพผูกที่คอ ญาณมีสังขารเป็นอารมณ์นั่นแหละย่อมออกไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

จากสังขาร. เหมือนอย่างภิกษุรูปหนึ่ง ต้องการจะซื้อบาตรเห็นบาตรที่พ่อค้า

บาตรนำมาแล้วก็มีความยินดีร่าเริง คิดว่า เราจักถือเอาบาตร ดังนี้ เมื่อทดลองดู

จึงเห็นรูทะลุ ๓ แห่ง ภิกษุนั้นหมดความอาลัยในรูทะลุทั้งหลายก็หาไม่ ที่แท้

หมดความอาลัยในบาตร ฉันใด ภิกษุกำหนดลักษณะทั้ง ๓ แล้วจึงเป็นผู้หมด

ความอาลัยในสังขารทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน พึงทราบว่า วิปัสสนานั้นย่อม

ออกไปจากสังขารด้วยญาณมีสังขารเป็นอารมณ์นั่นแหละดังนี้. แม้อุปามาด้วย

ผ้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจำแนกฌานโลกุตระ จึงทรงนำนัยแม้ทั้ง ๒

คือ จตุกนัย และปัญจกนัย จากสุทธิกปฏิปทามาด้วยประการฉะนี้. ในสุทธิก-

สุญญตา ในสุญญตปฏิปทา ในสุทธิกอัปปณิหิต ในอัปปณิหิตปฏิปทาก็ทรงนำนัย

ทั้ง ๒ คือ จตุกนัย และปัญจกนัย มาแสดงไว้เหมือนกัน.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงทรงนำมาอย่างนี้ ?

ตอบว่า เพราะอัชฌาสัยของบุคคล และเพราะความงามแห่งเทศนา

พึงทราบแม้ทั้ง ๒ นัยนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังแล.

ในคำว่า เจริญโลกุตรฌานนี้ อย่างนี้ พระองค์ทรงจำแนกนัยทั้ง ๒

ด้วยอำนาจจตุกนัยและปัญจกนัยจากสุทธิกปฏิปทา ในที่เหลือก็เหมือนกัน

เพราฉะนั้น จึงจำแนกนัยทั้ง ๑๐ ในส่วนทั้ง ๕ ส่วนทั้งหมด.

ในโลกุตรฌานนั้น พึงทราบข้อธรรมปกิณณกะดังนี้

ธรรมภายใน (อชฺฌตฺตญฺจ) ธรรม

ภายนอก (พหิทฺธา) ในรูปและอรูปทั้ง ๕

การเปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ นิมิต ปฏิปทา

และอธิบดี.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

จริงอยู่ ในโลกุตรมรรค ภิกษุอาศัยธรรมภายในย่อมออกจากธรรม

ภายใน อาศัยธรรมภายในแล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก อาศัยธรรมภายนอก

แล้วย่อมออกจากธรรมภายนอก อาศัยธรรมภายนอกแล้วย่อมออกจากธรรม

ภายใน ภิกษุอาศัยรูปแล้วย่อมออกจากรูป อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากอรูป

อาศัยอรูปแล้วออกจากอรูป อาศัยอรูปแล้วย่อมออกจากรูป ย่อมออกจากขันธ์ ๕

พร้อมกัน.

คำว่า เปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ อธิบายว่า ก็มรรคนั้นนี้มี

องค์ ๘ บ้าง มีองค์ ๗ บ้าง แม้โพชฌงค์เป็น ๗ ก็มี เป็น ๖ ก็มี ถึงฌาน

มีองค์ ๕ ก็มี มีองค์ ๔ ก็มี มีองค์ ๓ ก็มี มีองค์ ๒ ก็มี พึงทราบการเปลี่ยน

องค์มี ๗ และ ๘ เป็นต้นอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า นิมิต ปฏิปทา และอธิบดี อธิบายว่า คำว่า นิมิต ได้แก่

แดนเป็นที่ออก. คำว่า ปฏิปทาและอธิบดี ได้แก่ พึงทราบความหวั่นไหว

และไม่หวั่นไหวแห่งปฏิปทาและอธิบดีเท่านั้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า อาศัยธรรม

ภายในแล้วออกจากธรรมภายในนั้นก่อน. ก็ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้

ย่อมอาศัยขันธ์ ๕ อันเป็นภายในจำเดิมแต่ต้น ครั้นอาศัยแล้วย่อมเห็นขันธ์ ๕

เหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น โดยมนสิการว่า ภิกษุในธรรมวินัย

นี้เบื้องต้นย่อมออกจากธรรมภายในดังนี้ แต่เพราะการออกด้วยมรรค ย่อมมี

เพียงการเห็นธรรมภายในล้วน ๆ เท่านั้นหามิได้ พึงเห็นแม้ธรรมภายนอก

ทีเดียว ฉะนั้น จึงพิจารณาขันธ์ของคนอื่นบ้าง สังขารขันธ์อันไม่มีใจครอง

บ้างว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็น

ธรรมภายในโดยกาลอันควร ย่อมพิจารณาเห็นธรรมภายนอกตามกาลอันควร

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาอยู่อย่างนี้. ในกาลที่พิจารณาธรรมภายใน ย่อมเชื่อม

ต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการฉะนี้ ชื่อว่า อาศัยธรรมภายในออก

จากธรรมภายใน ก็ถ้าในเวลาพิจารณาธรรมภายนอกของเธอ ย่อมเชื่อม

ต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาศัยธรรมภายใน

ย่อมออกจากธรรมภายนอก. แม้ในการออกเพราะอาศัยธรรมภายนอกแล้ว

ย่อมออกจากธรรมภายนอก และธรรมภายใน ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ย่อมอาศัยรูปตั้งแต่ต้น ครั้นอาศัยแล้วก็กำหนด

ภูตรูป และอุปาทารูป ย่อมเห็นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น แต่เพราะการออก

ด้วยมรรค ย่อมมีเพียงการเห็นรูปล้วน ๆ ก็หาไม่ พึงเห็นแม้อรูปโดยแท้

ฉะนั้น ภิกษุนั้นทำรูปนั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วกำหนดเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณซึ่งเกิดขึ้นแล้วว่า นี้เป็นอรูปดังนี้ ย่อมเห็นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น

ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยกาลอันควร เห็นอรูปโดยกาลอันควร เมื่อ

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ในการพิจารณารูป ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา

ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากรูป. ก็ถ้าในการ

พิจารณาอรูปของเธอ ย่อมเชื่อมต่อกับมรรคด้วยวิปัสสนา ด้วยอาการอย่างนี้

ชื่อว่า อาศัยรูปแล้วย่อมออกจากอรูป. แม้ในการออกจากอรูป และรูป

เพราะอาศัยอรูป ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในกาลที่ภิกษุอาศัยธรรมอย่างนี้ ว่า

ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ธรรมนั้นทั้งหมดมีความ

ดับเป็นธรรมดา ดังนี้ แล้วออกไปจาก (สังขตะ) ธรรม อย่างนี้นั่นแหละ

ชื่อว่า ย่อมออกจากขันธ์ ๕ พร้อมกันทีเดียว. นี้เป็นวิปัสสนาของภิกษุ

ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันคมกล้า.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

เหมือนอย่างว่า บุคคลวางก้อนคูถในท่ามกลางโภชนะแล้วน้อมถาด

อันเต็มด้วยโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ ไปเพื่อบุรุษผู้มีความอดอยาก บุรุษผู้อด

อยากนั้นเอามือเขี่ยกับข้าวออกเห็นก้อนคูถแล้วพูดว่า นี่อะไร เมื่อเขากล่าวว่า

ก้อนคูถ ดังนี้ จึงกล่าวว่า ถุย ๆ จงเอาออกไป เป็นผู้หมดความอาลัยทั้งใน

อาหารทั้งในถาด ฉันใด คำอุปมาที่นำมาเปรียบนี้ พึงทราบฉันนั้น.

จริงอยู่ กาลที่ภิกษุนี้ถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นเรา ของเราในกาลที่ยังเป็น

พาลปุถุชน พึงทราบเหมือนกาลที่บุรุษอดอยากนั้นมีใจยินดีในการเห็นถาดโภชนะ

กาลที่กำหนดลักษณะ ๓ พึงทราบเหมือนบุรุษนั้นเห็นก้อนคูถ. กาลที่ภิกษุ

ผู้มีปัญญามาก ผู้มีความเห็นแจ้งด้วยปัญญาอันคมกล้าเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

แล้วออกจากขันธ์ ๕ พร้อมกันนั่นแหละ พึงทราบเหมือนกาลที่บุรุษอดอยาก

นั้น หมดความอาลัยทั้งโภชนะทั้งถาด ฉะนั้น.

ในคำว่า การเปลี่ยนองค์มรรค ๗ และ ๘ นี้ พึงทราบการเปลี่ยน

องค์ธรรมมีประเภทตามที่กล่าวนี้โดยประการที่มีอยู่. จริงอยู่ สังขารุเบกขาญาณ

เท่านั้น ย่อมกำหนดความต่างกันแห่งโพชฌงค์ (องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้)

องค์มรรค (มัคคังคะ) และองค์ฌาน (ฌานังคะ) แต่พระเถระบางพวก

กล่าวว่า ฌานที่เป็นบาทย่อมกำหนดความต่างกันแห่งโพชฌงค์ องค์มรรค

และองค์ฌาน ดังนี้. พระเถระบางพวกกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์

แห่งวิปัสสนาย่อมกำหนด ดังนี้. พระเถระบางพวกกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคล

ย่อมกำหนด ดังนี้.

ในวาทะทั้งหลายของพระเถระแม้เหล่านั้นพึงทราบว่า วิปัสสนาที่เป็น

บุรพภาคกล่าวคือสังขารุเบกขาญาณ และวิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีนี้ ย่อม

กำหนด ในข้อนี้ มีถ้อยคำตามลำดับ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

จริงอยู่ ว่าโดยการกำหนดแห่งวิปัสสนา มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระ-

สุกขวิปัสสกก็ดี มรรคที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้สมาบัติที่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทก็ดี

มรรคที่เกิดขึ้นเพราะทำปฐมฌานให้เป็นบาทแต่พิจารณาปกิณณกสังขารก็ดี ย่อม

เป็นมรรคประกอบด้วยปฐมฌานทั้งนั้น. ในมรรคจิตทั้งหมดย่อมมีโพชฌงค์ ๗

มรรคมีองค์ ๘ และองค์ฌาน ๕ ด้วยว่า วิปัสสนาที่เป็นบุรพภาคแห่งมรรค

แม้เหล่านั้น เป็นสภาพสหรคตด้วยโสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง แต่

ในกาลเป็นที่ออกไป (วุฏฐานคามินีวิปัสสนา) ถึงความเป็นสังขารุเบกขาญาณ

ย่อมสหรคตด้วยโสมนัสอย่างเดียว.

ในปัญจกนัย ฌานในมรรคที่เกิดขึ้นเพราะทำทุติยฌาน ตติยฌาน

จตุตถฌานให้เป็นบาท มีองค์ ๔ องค์ ๓ และองค์ ๒ โดยลำดับนั่นแหละ

ก็ในมรรคแม้ทั้งหมด ย่อมมีองค์มรรค ๗ ในฌานที่ ๔ มีโพชฌงค์ ๖ นี้

เป็นความแตกต่างกันโดยกำหนดทำฌานให้เป็นบาท และโดยการกำหนดแห่ง

วิปัสสนา. เพราะวิปัสสนาที่เป็นบุรพภาคแห่งมรรคเหล่านั้น สหรคตด้วย

โสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง แต่วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีเป็น

ธรรมสหรคตด้วยโสมนัสอย่างเดียว.

ส่วนในมรรคที่พระโยคาวจรทำปัญจมฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น

องค์ฌานมี ๒ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและเอกัคคตาจิต ได้โพชฌงค์ ๖ มรรค

มีองค์ ๗ เท่านั้น ความแปลกกันแม้นี้ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งการกำหนดทั้ง ๒

อย่างเพราะในนัยนี้ วิปัสสนาที่เป็นบุรพภาค ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส หรือสห-

รคตด้วยอุเบกขา. ส่วนวิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีสหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น

แม้ในมรรคที่พระโยคาวจรทำอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น ก็นัยนี้แหละ

สมาบัติที่พระโยคาวจรออกในส่วนที่ใกล้ชิดแห่งมรรคที่ท่านออกจากฌานที่เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

บาทด้วยอาการอย่างนี้ แล้วพิจารณาสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดแล้ว ย่อม

ทำภาวะเช่นเดียวแก่ตน ดุจสีพื้นดินกระทำเหี้ย ให้มีสีเช่นเดียวกันฉะนั้น.

แต่ในวาทะของพระเถระองค์ที่ ๒ มีอธิบายว่า มรรคที่พระโยคาวจร

ออกจากสมาบัติใด ๆ แล้วพิจารณาธรรมในสมาบัติใด ๆ เกิดขึ้น มรรคก็เป็น

เช่นสมาบัตินั้น ๆ นั่นแหละ คือเช่นเดียวกับสมาบัติที่ท่านพิจารณาแล้ว ก็ถ้า

ท่านพิจารณาธรรมอันเป็นกามาวจรทั้งหลาย มรรคก็เป็นอันประกอบปฐมฌาน.

พึงทราบการกำหนดวิปัสสนาแม้นี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในวาทะนั้นนั่นแหละ

ในวาทะของพระเถระองค์ที่ ๓ มีอธิบายว่า มรรคที่พระโยคาวจร

กระทำฌานใด ๆ ให้เป็นบาท หรือพิจารณาธรรมใด ๆ ในฌาน สมควรแก่

อัธยาศัยแก่ตนว่า โอหนอ เราพึงบรรลุมรรคประกอบด้วยองค์ ๗ หรือองค์ ๘

ดังนี้ให้เกิดขึ้น มรรคก็เป็นเช่นเดียวกับฌานนั้น ๆ แหละ ก็แต่ว่ามรรคนั้น

เว้นฌานที่เป็นบาท หรือฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อมไม่สำเร็จ เพียงอัธยาศัย

อย่างเดียว. เนื้อความนี้นั้น บัณฑิตพึงแสดงด้วยนันทโกวาทสูตร (ใน

มัชฌิมนิกายสฬายตนวรรค).

จริงอยู่ พระดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากย่อมไม่มีความเคลือบแคลง หรือ

สงสัยว่า ดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่ที่แท้ดวงจันทร์ก็เต็มแล้วทีเดียว

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของ

นันทกะและมีความดำริอันบริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้น รูปที่ทรงคุณต่ำยังเป็นถึงพระ-

โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

ก็บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีรูปใดมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล

ภิกษุณีรูปนั้น ก็ได้มีความดำริ (สังกัปปะ) บริบูรณ์แล้วด้วยโสดาปัตติผล

เท่านั้น ฯลฯ รูปใดมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต รูปนั้นก็มีความดำริบริบูรณ์แล้ว

ด้วยพระอรหัตเท่านั้น.

มรรคที่พระโยคาวจรการทำฌานใด ๆ ให้เป็นบาท หรือพิจารณา

ธรรมในฌานใด ๆ โดยสมควรแก่อัธยาศัยของตนเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นเช่น

เดียวกับฌานนั้น เหมือนกันนั่นแหละ ก็มรรคที่เป็นเช่นเดียวกับฌานนั้น ๆ

เว้นฌานที่เป็นบาท หรือเว้นฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อมไม่สำเร็จโดยเพียงเป็น

อัธยาศัยเท่านั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบการกำหนดวิปัสสนาโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในวาทะนี้แล.

บรรดาวาทะของพระเถระเหล่านั้น พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตร-

ปิฎกมีวาทะอย่างนี้ว่า ฌานที่เป็นบาทเท่านั้นย่อมกำหนด ดังนี้ ได้ถูกอันเตวาสิก

ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในที่ใดมีฌานที่เป็นบาทอยู่ก่อน ในที่นั้น ฌานที่เป็น

บาทนั้นก็กำหนดได้ แต่ในที่ใด (อรูปภพ) ฌานที่เป็นบาทไม่มี ในที่อรูปภพนั้น

อะไรย่อมกำหนด พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส แม้ในที่นั้น ฌานที่เป็น

บาทเท่านั้นก็ย่อมกำหนด ด้วยว่า ภิกษุใดได้สมาบัติ ๘ ทำปฐมฌานให้เป็น

บาทยังโสดาปัตติมรรคและผลให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม ทำกาละ

เกิดในอรูปภพ ออกจากสมาบัติแห่งโสดาปัตติผลอันประกอบด้วยปฐมฌาน

เริ่มตั้งวิปัสสนายังมรรคและผล ๓ ในเบื้องบนให้เกิดขึ้น มรรคและผลเหล่านั้น

ของท่านก็ประกอบปฐมฌานเท่านั้น แม้ในมรรคผลที่ประกอบกับทุติยฌาน

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ฌานที่เป็นหมวด ๓ หมวด ๔ ในอรูปย่อมเกิดขึ้น

ก็ฌานหมวด ๓ หมวด ๔ นั้นแลเป็นโลกุตระ มิใช่โลกิยะ ดูก่อนอาวุโส

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็เหมือนกัน ฌานที่เป็นบาทเท่านั้นย่อมกำหนด. พวก

อันเตวาสิกเรียนว่า ท่านขอรับ ปัญหาท่านกล่าวดีแล้ว ดังนี้.

แม้พระมหาทันธเถระผู้อยู่ที่โมรวาปีวิหารผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ขันธ์

ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาย่อมกำหนด ด้วยว่าพิจารณาธรรมใด ๆ

แล้วออก มรรคย่อมเป็นเช่นกับธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ ถูกพวกอันเตวาสิก

ถามว่า ท่านขอรับ ในวาทะของท่านข้อควรตำหนิย่อมปรากฏ ด้วยว่า ภิกษุ

ผู้พิจารณารูปแล้วออก (จากสังขตอารมณ์) ได้แล้ว มรรคก็พึงเป็นอัพยากตะ

เหมือนรูป พระโยคาวจรกำหนดเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยนัยแล้วออกไป

ก็พึงเป็นมรรคถึงความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเช่นเดียวกันกับเนวสัญญา-

นาสัญญายตนะนั้น ดังนี้ พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นเช่นนั้นหามิได้

เพราะโลกุตรมรรค ชื่อว่า ไม่ถึงอัปปนา มิได้มี เพราะฉะนั้น ภิกษุ

พิจารณารูปแล้วออกไปได้ มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมสหรคตด้วยโสมนัส

เมื่อพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว แม้ออกไปได้ ย่อมเป็นเช่นนั้น

โดยอาการทั้งปวงหามิได้ ส่วนมรรคที่สหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมเป็นมรรค

มีองค์ ๗ ดังนี้.

แม้พระจูฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งมีวาทะว่า อัชฌาสัยแห่ง

บุคคลย่อมกำหนด ดังนี้ ได้ถูกพวกอันเตวาสิกนำวาทะของท่านไปถามพระ-

จูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก พระจูฬนาคเถระจึงกล่าวว่า ฌานที่เป็นบาท

มีอยู่แก่บุคคลใด อัชฌาสัยแห่งบุคคลย่อมกำหนดแก่บุคคลนั้น ฌานที่เป็นบาท

นั้นไม่มีแก่ภิกษุใด อัชฌาสัยอะไรเล่าจักกำหนดแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น

สภาวะนั้น ย่อมเป็นดุจเวลาที่แสวงหากำไรของบุคคลไร้ทรัพย์ ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

พวกอันเตวาสิกได้นำเรื่องนั้น มาเรียนแก่พระจูฬาภยเถระผู้ทรง

พระไตรปิฎก. พระเถระนั้นกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้อยคำนี้ท่านกล่าว

สำหรับบุคคลผู้มีฌานเป็นบาท เหมือนอย่างว่า อัชฌาสัยของบุคคลแม้ผู้มีฌาน

เป็นบาท ฉันใด แม้บุคคลผู้มีฌานอันพิจารณาแล้ว ก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะมรรคที่พระโยคาวจรออกจากปัญจมฌานเกิดขึ้น โดยพิจารณาปฐมฌาน

เป็นต้น ประกอบด้วยปัญจมฌาน ก็ย่อมประสบตามวาทะของพระเถระ

รูปแรก และมรรคที่ประกอบด้วยปฐมฌานเป็นต้น ก็ย่อมประสบตามวาทะ

ของพระเถระรูปที่สอง เพราะเหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ ย่อมผิด แต่ในฌาน

เหล่านั้น ในวาทะของพระเถระที่ ๓ ว่า พระโยคาวจรย่อมปรารถนาฌานใด

มรรคก็ประกอบด้วยฌานนั้น ดังนั้น วาทะเหล่านั้นของท่านจึงไม่ผิด และภิกษุ

นั้นก็เป็นผู้มีอัชฌาสัยเป็นไปกันด้วยประโยชน์ ดังนี้ พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูป

เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมอันเจริญ ด้วยเหตุนั้น

อันเตวาสิกเหล่านั้น จึงทำวาทะของพระเถระทั้ง ๓ เหล่านั้น ให้เป็นแบบแผน

ก็ในอภิธรรมนี้ข้าพเจ้าจึงยกอรรถนั้นแหละขึ้นแสดงว่า ก็วิปัสสนาย่อมกำหนด

วาทะทั้ง ๓ นี้ ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า นิมิตฺตปฏิปทาปติ (นิมิต ปฏิปทา

และอธิบดี) ต่อไป. ถามว่า กาลเกิดขึ้นแห่งมรรคซึ่งเปลี่ยนองค์อย่างนี้ โคตรภู

ย่อมออกไปจากที่ไหน มรรคย่อมออกไปจากที่ไหน ? ตอบว่า โคตรภูย่อม

ออกจากนิมิตก่อน แต่ไม่อาจตัด (กิเลส) ที่เป็นไปได้ เพราะโคตรภูนั้นมีการ

ออกไปอย่างเดียว มรรคย่อมออกจากนิมิต ย่อมตัด (กิเลส) ที่เป็นไปได้

เพราะมรรคนี้มีการออกไปทั้ง ๒ อย่าง. บรรดาการออกไปแห่งโคตรภูและ

มรรคนั้น พึงทราบนัยที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ก็ในวาระ (คือในมรรควิถี) ใด มีการออกไปด้วยมรรค ในวาระนั้น

ไม่มีอนุโลมดวงเดียว ไม่มีอนุโลมดวงที่ ๕ เพราะอนุโลมมีครั้งเดียวย่อมไม่ได้

อาเสวนปัจจัย อนุโลมดวงที่ ๕ ย่อมหวั่นไหว เพราะใกล้ตกภวังค์ เพราะว่า

ในคราว (ขณะ) จิตใกล้ภวังค์ดวงที่ ๕ นั้นชื่อว่า จิตตกไปแล้ว เพราะฉะนั้น

อนุโลมจึงไม่มีดวงเดียว ไม่มีในดวงที่ ๕.

ก็บุคคลผู้มีปัญญามากมีอนุโลม ๒ ดวง ดวงที่ ๓ เป็นโคตรภู ดวงที่ ๔

เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๓ ดวง จากนั้นจิตก็ลงสู่ภวังค์.

ส่วนบุคคลผู้มีปัญญาปานกลาง อนุโลมมี ๓ ดวง ดวงที่ ๔ เป็น

โคตรภู ดวงที่ ๕ เป็นมรรคจิต มีผลจิต ๒ ดวง จากนั้นก็ลงสู่ภวังค์.

สำหรับคนมีปัญญาน้อย (มันทปัญญา) อนุโลมมี ๔ ดวง ดวงที่ ๕

เป็นโคตรภู ดวงที่ ๖ เป็นมรรคจิต ดวงที่ ๗ เป็นผลจิต จากนั้นจิตก็ลงสู่

ภวังค์.

บรรดาพระโยคาวจร ๓ ประเภทนั้น ข้าพเจ้าไม่กล่าวด้วยสามารถแห่ง

ท่าน ผู้มีปัญญามากและมีปัญญาน้อย แต่พึงกล่าวด้วยสามารถแห่งท่านผู้มีปัญญา

ปานกลาง เพราะในวาระคือ (วิถีแห่งมรรค) ใด มีการออกไปด้วยมรรค

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกกิริยา เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา เป็นมโน-

ทวาราวัชชนจิตให้ภวังค์เคลื่อนไปกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอารมณ์แห่ง

วิปัสสนาให้เป็นอารมณ์ ถัดจากนั้นไป ชวนะดวงแรก ชื่ออนุโลมญาณ

ก็เกิดขึ้นถือเอาขันธ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตนั้นถือเป็นอารมณ์ อนุโลมญาณนั้น

ก็เป็นไปในขันธ์เหล่านั้นว่า ไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง

บรรเทาความมืดที่หยาบๆ ซึ่งปกปิดสัจจะ กระทำลักษณะทั้ง ๓ ให้แจ่มแจ้งยิ่งๆ

ขึ้นก็ดับไป ถัดจากนั้นอนุโลมญาณดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้น ในบรรดาอนุโลมญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

๒ ดวงนั้น ดวงแรกไม่มีอาเสวนปัจจัย ดวงที่ ๒ มีดวงแรกเป็นอาเสวนปัจจัย

ดวงที่ ๒ นั้นมีอาเสวนปัจจัยได้แล้วจึงเป็นญาณ คมกล้า ผ่องใสเป็นไปใน

อารมณ์นั้นนั่นแหละ โดยอาการนั้นเหมือนกัน บรรเทาความมืดปานกลาง

ซึ่งปกปิดสัจจะไว้ การทำลักษณะ ๓ ให้แจ่มแจ้งยิ่ง ๆ ขึ้นแล้วดับไป ในลำดับ

นั้น อนุโลมญาณดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้นมีอนุโลมญาณดวงที่ ๒ เป็นอาเสวนปัจจัย

แม้อนุโลมญาณดวงที่ ๓ แม้นั้นเพราะมีอาเสวนปัจจัยได้แล้วจึงคมกล้าผ่องใส

เป็นไปในอารมณ์นั้นนั่นแหละ โดยอาการนั้นเหมือนกัน บรรเทาความมืดอัน

ละเอียดที่เหลือซึ่งปกปิดสัจจะนั้น กระทำให้หมดไป กระทำลักษณะ ๓ แจ่มแจ้ง

ยิ่งๆ ขึ้นแล้วดับไป เมื่ออนุโลมญาณ ๓ บรรเทาความมืดปกปิดสัจจะอย่างนี้แล้ว

ลำดับนั้น โคตรภูญาณก็เกิดขึ้นการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์.

ในข้อนั้น มีอุปมา ดังนี้

ได้ยินว่า บุรุษมีจักษุดีคนหนึ่ง คิดว่า เราจักประกอบดาวฤกษ์ (ดูดวง

ชะตา) จึงออกไปในเวลาราตรีแหงนดูดวงจันทร์ ดวงจันทร์ไม่ปรากฏแก่เขา

เพราะวลาหก (เมฆ) ทั้งหลายปิดบังไว้ ขณะนั้นลมหนึ่งตั้งขึ้นแล้วพัดวลาหก

หนา ๆ (หยาบ) ทั้งหลายให้กระจัดกระจายไป ลมอื่นอีกตั้งขึ้นพัดวลาหก

อย่างกลาง ลมอีกอย่างหนึ่งก็ตั้งขึ้นพัดวลาหกแม้ที่ละเอียดให้กระจัดกระจายไป.

ลำดับนั้น บุรุษนั้นจึงเห็นดวงจันทร์นั้นบนท้องฟ้าที่ปราศจากวลาหกทั้งหลาย

ได้รู้แล้วซึ่งการประกอบดาวฤกษ์.

ในคำอุปมาเหล่านั้น ความมืดคือกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง

ละเอียดอันปกปิดซึ่งสัจจะเปรียบเหมือนวลาหก (เมฆ) ๓ กลุ่ม. อนุโลมจิต ๓

ดวงเปรียบเหมือนลม ๓ ชนิด. โคตรภูญาณเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีตาดี. พระ-

นิพพานเปรียบเหมือนพระจันทร์. การบรรเทาความมืดอันปกปิดซึ่งสัจจะของ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

อนุโลมจิตแต่ละดวง เปรียบเหมือนลมแต่ละชนิดทำลายเมฆ ๓ ชนิดโดยลำดับ.

เมื่อความมืดอันปกปิดซึ่งสัจจะปราศจากไปแล้ว โคตรภูญาณก็ทำพระนิพพาน

อันบริสุทธิ์ให้เป็นอารมณ์เปรียบเหมือนการที่บุรุษนั้นเห็นพระจันทร์บริสุทธิ์บน

ท้องฟ้าที่ปราศจากวลาหก ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ลม ๓ ชนิดย่อมสามารถเพื่อกำจัดวลาหก อันปกปิด

ดวงจันทร์นั่นแหละ ฉันใด อนุโลมญาณทั้งหลายก็สามารถเพื่อกำจัดความมืด

อันปกปิดสัจจะ ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ไม่อาจกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์

บุรุษย่อมอาจเพื่อเห็นดวงจันทร์นั่นแหละ แต่ไม่อาจกำจัดวลาหกทั้งหลายได้

ฉันใด โคตรภูญาณก็ย่อมอาจเพื่อทำพระนิพพานนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ได้

แต่ไม่อาจกำจัดความมืดคือกิเลสได้ ฉันนั้น. อนุโลมญาณมีสังขารเป็นอารมณ์

โคตรภูญาณมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. ก็ผิว่าโคตรภูญาณ

พึงรับอารมณ์ที่อนุโลมญาณรับไว้แล้ว อนุโลมญาณอีกดวงหนึ่งก็พึงผูกพัน

โคตรภูญาณ (คำว่าผูกพันคือมีอารมณ์เดียวกัน) นั้น เพราะฉะนั้น การออก

ด้วยมรรคนั่นแหละก็ไม่พึงมี แต่ว่า โคตรภูญาณไม่รับอารมณ์ของอนุโลมญาณ

กระทำอนุโลมญาณอารมณ์ ให้เป็นไปข้างหลัง โคตรภูญาณเองแม้มิใช่อาวัช-

ชนะแต่ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะ เป็นดุจให้สัญญาแก่มรรคนั้นด้วยคำว่า

ท่านจงเกิดขึ้นอย่างนี้แล้วก็ดับไป. แม้มรรคก็มิได้ละสัญญาที่โคตรภูนั้นให้แล้ว

ผูกพันอยู่ซึ่งญาณนั้น ด้วยอำนาจแห่งความสืบต่อ ดุจกระแสคลื่น (ติดต่อ

กันไปไม่ขาดระยะ) ย่อมบังเกิดขึ้นเจาะแทงอยู่ บดทำลายอยู่ซึ่งกองโลภะ

กองโทสะ กองโมหะ ซึ้งไม่เคยเจาะแทง ไม่เคยทำลาย.

ในข้อนั้น มีอุปมาดังนี้ ต่อไปนี้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ได้ยินว่า นายขมังธนูคนหนึ่งให้ตั้งโล่ไว้ร้อยโล่ในที่ไกลสุดชั่วร้อยธนู

เอาผ้าผูกหน้าแล้วเหน็บลูกศรได้ยืนอยู่ในที่บนล้อยนต์ บุรุษคนอื่นหมุนล้อยนต์

เมื่อใดแผ่นโล่ตรงหน้านายขมังธนู ในกาลนั้นก็จะให้สัญญาด้วยท่อนไม้เล็ก ๆ

ในที่นั้น นายขมังธนูไม่ละสัญญาท่อนไม้เล็ก ๆ เลย ปล่อยลูกศรออกไปเจาะ

แผ่นโล่ตั้งร้อยได้.

ในข้ออุปมานั้น โคตรภูญาณเปรียบเหมือนท่อนไม้เล็ก ๆ. มรรคญาณ

เปรียบเหมือนนายขมังธนู. การที่มรรคญาณไม่ละสัญญาที่โคตรภูญาณให้แล้ว

นั่นแหละ ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ทีเดียวและเจาะบดทำลายกองโลภะ

เป็นต้น ที่ไม่เคยเจาะแล้ว ไม่เคยบดทำลายแล้ว เปรียบเหมือนการที่นายขมังธนู

ไม่ละสัญญาท่อนไม้เล็ก ๆ แล้ว ยิงเจาะแผ่นโล่ตั้งร้อยได้ ฉะนั้น.

แม้การเจาะบดทำลายกองโลภะเป็นต้น น ท่านก็กล่าวว่า การถอนขึ้น

ซึ่งกิเลสที่ได้ภูมิแล้ว คือ กิเลสที่เป็นเหตุแห่งวัฏฏะ ดังนี้เหมือนกัน เพราะกิจ

ของมรรคมีอย่างเดียวเท่านั้น คือการละอนุสัย. มรรคนั้นเมื่อละอนุสัยทั้งหลาย

ชื่อว่า ย่อมออกจากนิมิต ชื่อว่า ย่อมตัดความเป็นไป. คำว่า นิมิต คือ

นิมิตแห่งรูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ. คำว่า ปวตฺต (ความเป็นไป) ต่อ

ความเป็นไปของรูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณนั่นแหละ ปวัตตะคือความ

เป็นไปนั้นมี ๒ อย่าง ได้แก่ อุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ ในสองอย่างนั้น

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฉายาแห่งการออกไปจากอนุปาทินนกะ ย่อมปรากฏแก่

มรรค ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ย่อมออกจากอนุปาทินนกขันธ์ ดังนี้.

จริงอยู่ อกุศลจิต ๕ ดวง คือ ที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง และที่

สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวง ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. อกุศลจิต ๕ ดวง

เหล่านั้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น รูปนั้นเป็นอนุปาทินนกะ เป็นรูปขันธ์ จิต ๕ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

เหล่านั้น คือ วิญญาณขันธ์ อรูปขันธ์ ๓ คือเวทนาสัญญาและสังขารขันธ์ที่

สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์นั้น. บรรดามรรคเหล่านั้น ถ้าพระโสดาบันจักไม่ให้

โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นไซร้ อกุศลจิตทั้ง ๕ เหล่านี้ก็พึงถึงการกลุ้มรุมในอารมณ์

ทั้ง ๖. ก็โสดาปัตติมรรค เมื่อจะห้ามการเกิดกลุ้มรุมของอกุศลเหล่านั้นจึง

ทำการถอนขึ้นซึ่งเสตุคือเหตุให้ไม่มีภาวะที่ควรจะเกิดขึ้น จึงชื่อว่า ย่อมออก

จากอนุปาทินนกขันธ์.

สกทาคามิมรรค ย่อมละอกุศลจิต ๖ ดวง ที่เป็นกามราคะและ

พยาบาทอย่างหยาบ คือ จิต ๔ ดวงที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต และจิต ๒ ดวงที่เป็น

โทมนัสสสหคตะ. อนาคามิมรรค ย่อมละจิต ๖ ดวงเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็น

กามราคะและพยาบาทอย่างละเอียด. อรหัตมรรค ย่อมละอกุศลจิต ๕ คือ

อกุศลจิต ๔ ดวงที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต และจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ. บรรดา

อกุศลจิตเหล่านั้น ถ้าพระอริยะเหล่านั้นไม่พึงเจริญมรรคให้เกิดขึ้นไซร้

อกุศลจิตเหล่านั้นก็พึงถึงการกลุ้มรุมในอารมณ์ ๖ แต่มรรคเหล่านั้น เมื่อห้าม

การเกิดขึ้นกลุ้มรุมแห่งจิตเหล่านั้นจึงทำการถอนขึ้นซึ่งเสตุคือเหตุให้มีภาวะที่

ไม่ควรเกิดขึ้นได้ จึงชื่อว่า ย่อมออกจากอนุปาทินนกขันธ์.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ฉายาแห่งการออกไปจากอุปาทินนกขันธ์

ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ดังนี้. ก็ถ้าพระโสดาบัน

จักไม่เจริญให้โสดาปัตติมรรคเกิดแล้ว ความเป็นไป แห่งอุปาทินนกขันธ์

ก็พึงเป็นไปในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เว้นไว้

๗ ภพ. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้น

ยังมีอยู่ ก็โสดาปัตติมรรคเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๕ เหล่านี้

คือ สัญโญชน์ ๓ อย่าง ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย บัดนี้ ความเป็นไป

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

แห่งอุปาทินนกะ จักเป็นในสังสารวัฏที่มีเบื้องต้นและที่สุดซึ่งบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว

ของพระโสดาบันเว้น ๗ ภพแต่ที่ไหน. โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำความเป็นไป

แห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์

ด้วยประการฉะนี้.

ถ้าพระสกทาคามีจักไม่เจริญสกทาคามิมรรคให้เกิดขึ้นไซร้ ความเป็น

ไป ของอุปาทินนกะก็พึงเป็นไปในภพทั้ง ๕ เว้น ๒ ภพ เพราะเหตุไร

เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้นยังมีอยู่. ก็สกทาคามิมรรค

นั้นเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลสทั้ง ๔ คือ กามราคะ

ปฏิฆสัญโญชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัยอย่างหยาบ ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ.

บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปทินนกขันธ์ของพระสกทาคามีจักเป็นไปในภพทั้ง ๕

เว้น ๒ ภพแต่ที่ไหน. สกทาคามิมรรคเมื่อทำความเป็นไป แห่งอุปาทินนก-

ขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการ

ฉะนี้.

ถ้าพระอนาคามีจักไม่เจริญอนาคามิมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไป

แห่งอุปาทินนกะก็พึงเป็นไปในภพที่ ๒ เว้น ๑ ภพ. เพราะเหตุไร ? เพราะ

เหตุแห่งความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่ ก็อนาคามิมรรคนั้น เมื่อ

เกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๔ เหล่านี้ คือ กามราคสังโยชน์อย่าง

ละเอียด ๑ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ๑ กามราคานุสัยอย่างละเอียด ๑

ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด ๑. บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ของพระ-

อนาคามีจักเป็นไปในภพที่ ๒ เว้นภพเดียว แต่ที่ไหน. อนาคามิมรรคเมื่อ

กระทำปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจาก

อุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

ถ้าพระอรหันต์จักไม่อบรมอรหัตมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไปแห่ง

อุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุ

ทั้งหลายแห่งความเป็นไปในอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่. ก็อรหัตมรรคนั้นเมื่อ

เกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑

มานะ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ มานานุสัย ๑ ภวราคานุสัย ๑ อวิชชานุสัย ๑.

บัดนี้ ปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ ของพระขีณาสพจักเป็นไปในภพใหม่ได้

แต่ที่ไหน. อรหัตมรรคเมื่อกระทำปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป

นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

ก็บรรดามรรคทั้ง ๔ เหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ

สกทาคามิมรรคย่อมออกจากเอกเทศแห่งสุคติกามภพ อนาคามิมรรคย่อมออก

จากกามภพ อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า อรหัตมรรคย่อมออกแม้จากภพทั้งปวง ดังนี้ทีเดียว.

ก็เพื่อความแจ่มแจ้งเนื้อความนี้ พึงทราบบาลีต่อไปนี้. ธรรม คือ

นามและรูปเหล่าใด พึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏซึ่งมีเบื้องต้นและที่สุด อันบุคคล

รู้ไม่ได้แล้วเว้น ๗ ภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยโสดา-

ปัตติมรรคญาณ. ธรรมคือนามและรูปเหล่าใดนั่นแหละ พึงเกิดขึ้นใน ๕ ภพ

เว้น ๒ ภพ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้

ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยสกทา-

คามิมรรคญาณ. ธรรม คือ นามและรูปเหล่าใดพึงเกิดขึ้นใน ๒ ภพ เว้น

ภพหนึ่ง ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการยังอยู่ไม่ได้ ย่อม

ระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยอนาคามิมรรค-

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

ญาณ. ธรรม คือ นามและรูปเหล่าใดพึงเกิดขึ้นในรูปธาตุบ้าง อรูปธาตุบ้าง

ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการตั้งอยู่ ไม่ได้ ย่อมระงับไป

ในที่นั้นแหละ เพราะการดับไปแห่งอภิสังขารวิญญาณ ด้วยอรหัตมรรคญาณ

เมื่อพระอรหันต์กำลังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ธรรมเหล่านี้ คือ

ปัญญา สติ นาม และรูป ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงการยังอยู่ไม่ได้

ย่อมระงับไปในที่นั้น เพราะการดับไปแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย (คือ จุติจิต )

ดังนี้ วินิจฉัยในนิมิต (คือความเป็นไปแห่งขันธ์ ๕) เท่านี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฏิปทา และอธิปติ นี้ต่อไป.

ถามว่า ปฏิปทาย่อมหวั่นไหว หรือไม่หวั่นไหว ?

ตอบว่า ย่อมหวั่นไหว.

ก็มรรคแม้ทั้ง ๔ ของพระตถาคต และพระสารีบุตรเถระได้เป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา มรรคแรกของพระมหาโมคคัลลานเถระเป็น

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา แต่มรรค ๓ เบื้องบนของท่านเป็นทุกขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา เพราะเหตุไร ? เพราะท่านถูกความหลับครอบงำ.

ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเฝ้าดูพระเถระดุจเป็นเด็กน้อยตลอด

๗ วัน. แม้พระเถระก็นั่งหลับอยู่ตลอดวัน ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า

ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอโงกง่วงหรือ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอโงกง่วงหรือหนอ

เป็นต้น. ปฏิปทาของพระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาแม้เห็นปานนี้ยังหวั่นไหว

ปฏิปทาของพระสาวกที่เหลือจักไม่หวั่นได้อย่างไร.

จริงอยู่ มรรค ๔ ของภิกษุบางรูปเป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

บางรูปเป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา บางรูปเป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

๑. ขุ. จูนิทเทส เล่ม ๓๐. ๘๙/๒๒ ๒. อ. สตฺตก เล่ม ๒๓. ๕๘/๘๗

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

บางรูปเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา. มรรคที่ ๑ ของภิกษุบางรูปเป็น

ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มรรคที่ ๒ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา

มรรคที่ ๓ เป็นสุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา มรรคที่ ๔ เป็นสุขาปฏิปทา

ขิปปาภิญญา.

อนึ่ง อธิบดีก็ย่อมหวั่นไหวเหมือนปฏิปทานั่นแหละ จริงอยู่ มรรค

แม้ทั้ง ๔ ของภิกษุบางรูปย่อมเป็นฉันทาธิปไตย ของบางรูปเป็นวิริยาธิปไตย

ของบางรูปเป็นจิตตาธิปไตย ของบางรูปเป็นวิมังสาธิปไตย อนึ่ง มรรคที่ ๑

ของบางรูปเป็นฉันทาธิปไตย มรรคที่ ๒ เป็นวิริยาธิปไตย มรรคที่ ๓ เป็น

จิตตาธิปไตย มรรคที่ ๔ เป็นวิมังสาธิปไตย ดังนี้แล.

ปกิณณกกถาจบ

บัดนี้ พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า

เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก

ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่าการตั้งมั่น ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วย

อรรถว่าการทำความเพียร ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่าการสำเร็จ ย่อม

เจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่าไม่

หวั่นไหว ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่าการตรัสรู้ ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วย

อรรถว่าเป็นธรรมจริง ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเจริญ

ธรรมแม้ด้วยอรรถว่าความเป็นสุญญตะ ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง

ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า

เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่ากระทบ ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่าเสวย-

อารมณ์ ย่อมเสวยแม้สัญญาด้วยอรรถว่าควรจำได้ ย่อมเจริญแม้เจตนาด้วย

อรรถว่าความจงใจ ย่อมเจริญแม้ด้วยอรรถว่าการรู้ เพราะฉะนั้น เพื่อ

ทรงแสดงนัย ๑๙ แห่งธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา ดังนี้อีก.

พระองค์ทรงแสดงนัย ๒๐ โดยอัชฌาสัยของบุคคลและโดยเทศนาวิลาส

ด้วยพระดำรัส ว่า บุคคลย่อมเจริญธรรมแม้นี้ ย่อมเจริญธรรมแม้นี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

จริงอยู่ ในเทพบริษัทผู้นั่งฟังธรรม เทพเหล่าใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า

ชื่อว่า โลกุตรฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่ง ดังนี้ ย่อมตรัสรู้ได้ พระองค์

ก็ตรัสคำว่า ฌาน ดังนี้ ด้วยสามารถแห่งสัปปายะแก่เทพเหล่านั้น ฯลฯ เทพ

เหล่าใด เมื่อพระองค์ตรัสว่า แม้จิต เพราะอรรถว่าการรู้ ดังนี้ ย่อมตรัสรู้ได้

พระองค์ก็ตรัสคำว่า จิต ด้วยสามารถสัปปายะแก่ชนเหล่านั้น. นี้เป็นอัชฌาสัย

แห่งบุคคลในอธิการนี้.

ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว และมี

โพธิญาณอันดี และเพราะประกอบทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ ปฏิสัมภิทา ๔

และอสาธารณญาณ ๖ จึงทรงกำหนดเทศนาแสดงธรรมตามความพอพระหฤทัย

ได้ เมื่อพระองค์ทรงปรารถนาก็ย่อมแสดงว่า โลกุตรฌานด้วยอรรถว่าเข้าไป

เพ่ง ดังนี้ เมื่อปรารถนาก็ทรงแสดงคำว่า มรรค ด้วยอรรถว่านำออก ดังนี้ฯลฯ

เมื่อทรงปรารถนาก็ทรงแสดงคำว่า โลกุตรจิต ด้วยอรรถว่าการรู้อารมณ์ ดังนี้

นี้ชื่อว่า เทศนาวิลาส ในเทศนาวิลาสนั้นทรงจำแนกนัยไว้ ๑๐ ในที่ตรัสว่า

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

โลกุตรฌาน ฉันใด พึงทราบนัยเหล่านั้นแม้มีคำว่า มรรคเป็นต้น ฉันนั้น

นั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้ ย่อมเป็นอันทรงจำแนกนัย ๒๐๐ นัย การทำใน

ฐานะ ๒๐ นัยไว้เป็นฐานะละ ๑๐ นัย.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงประเภทแห่งอธิบดี จึงเริ่มคำว่า กตเม ธมฺมา

กุสลา ดังนี้อีก. บรรดาคำมีฌานเป็นต้นเหล่านั้น โลกุตรฌานที่พระโยคาวจร

ทำฉันทะให้เป็นธุระ ให้เป็นใหญ่ ให้เป็นประธานเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ฉันทา-

ธิปไตย. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน พระธรรมราชาทรงแสดงปฐมมรรค

จำแนกโดยพันนัย คือ ใน (โลกุตรฌาน) เบื้องต้นล้วน ๆ ๒๐๐ นัย และ

ธรรมมีฉันทาธิปไตยเป็นต้น อย่างละ ๒๐๐ นัย (๒๐๐ X ๔) ด้วย

ประการฉะนี้.

มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

มรรคจิตดวงที่ ๒

[๒๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้

เบาบางลง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน

เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์

ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

มรรคจิตที่ดวงที่ ๒ จบ

มรรคจิตดวงที่ ๓

[๒๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขา-

ปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ

อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

มรรคจิตดวงที่ ๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

มรรคจิตดวงที่ ๔

[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก

นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อบรรลุราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ

[๒๗๔] อัญญินทีรย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้

ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ

ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง

คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ

วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่อง

ในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุ

แล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ใน

สมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

มรรคจิตดวงที่ ๔ จบ

โลกุตตรกุศลจิต จบ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์

อธิบายมรรคจิตดวงที่ ๒

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงมรรคที่สองเป็นต้น จึงเริ่มตรัสคำว่า กตเม

ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

บรรดาคำเหล่านั้น คำเหล่านี้ว่า กามราคพฺยาปาทาน ตนุภาวาย

(เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาท) ได้แก่ เพื่อบรรเทาสังกิเลสทั้งหลายใน

คำว่าเพื่อบรรเทาสังกิเลสเหล่านั้น พึงทราบการทำให้เบาบางด้วยเหตุ ๒ อย่าง

คือ การเกิดขึ้นบางคราวและการกลุ้มรุมอย่างอ่อน.

จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นเนืองๆ แก่พระสกทาคามี เหมือน

มหาชนผู้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว แม้เมื่อเกิดขึ้นก็

เป็นการเกิดขึ้นที่เบาบาง เหมือนหน่อพืชในนาที่เขาหว่านไว้ห่าง ๆ แม้เมื่อ

เกิดขึ้นก็แผ่ไปปกปิดเบาบาง ไม่เกิดขึ้นทำการมืดมนเหมือนมหาชนผู้ท่องเที่ยว

ไปในวัฏฏะ ก็เพราะถูกมรรคทั้งสองประหาณแล้วจึงเกิดขึ้นเบาบาง ย่อมเกิดขึ้น

เป็นสภาพเบาบางเหมือนแผ่นหมอกบาง ๆ และเหมือนปีกแมลงวัน ฉะนั้น.

ในข้อนี้ พระเถระบางพวกกล่าวว่า กิเลสเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามี

นาน ๆ ครั้งแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นกิเลสหนาเทียวเกิดขึ้น เพราะว่า พระ-

สกทาคามีนั้นยังมีบุตรและธิดาปรากฏอยู่ ดังนี้. แต่ข้อนี้ไม่เป็นประมาณ เพราะ

ว่าบุตรและธิดาย่อมมีด้วยเหตุสักว่าการลูบคลำอวัยวะน้อยใหญ่ก็มี แต่ความที่

กิเลสยังหนาไม่มีเพราะความทที่กิเลสทั้งหลายท่านละด้วยมรรคทั้งสองแล้ว. พึง

ทราบความเบาบางแห่งกิเลสทั้งหลายของท่านด้วยเหตุทั้ง ๒ คือ ด้วยการเกิดขึ้น

บางคราวและเพราะกลุ้มรุมอย่างอ่อน ด้วยการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

คำว่า ทุติยาย (ที่ ๒) ได้แก่ชื่อว่า ที่ ๒ ด้วยการนับบ้าง ด้วยการ

เกิดขึ้นครั้งที่ ๒ บ้าง.

บทว่า ภูมิยา ปตฺติยา (เพื่อบรรลุภูมิ) ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่

การได้สามัญผล. แม้ในคำว่า เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ ที่ ๔ ก็นัยนี้แหละ ข้าพเจ้า

จักกล่าวแต่เฉพาะเนื้อความที่ต่างกันเท่านั้น.

บทว่า อญฺินฺทฺริย (อัญญินทรีย์) ได้แก่ อินทรีย์ที่รู้ทั่ว มีอธิบายว่า

อินทรีย์ที่รู้สัจจธรรมทั้ง ๔ เหล่านั้นนั่นแหละ อันสกทาคามิมรรคนั้นรู้แล้ว

ไม่เกินขอบเขตที่ปฐมมรรครู้. แม้ในนิทเทสวารแห่งอัญญินทรีย์นั้นก็พึงทราบ

เนื้อความโดยนัยแม้นี้. ในโกฏฐาสวาระรวมกับอินทรีย์นี้ก็เป็นอินทรีย์ ๙.

คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

ทุติยมรรคจบ

ในมรรคจิตดวงที่ ๓ บทว่า อนวเสสปฺปหานาย (เพื่อละไม่ให้

มีเหลือ) ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์เหล่านั้นนั่นแหละที่เบาบาง

ด้วยอำนาจสกทาคามิมรรคมิให้เหลือ.

ในมรรคจิตดวงที่ ๔ คำว่า เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ และอวิชชา มิให้มีเหลือ ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การละอุทธัม-

ภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านั้น มิให้เหลือ. บรรดาอุทธัมภาคิยสังโยชน์เหล่านั้น

บทว่า รูปราโค ได้แก่ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพ. บทว่า

อรูปราโค ได้แก่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอรูปภพ. บทว่า

มาโน ได้แก่ มานะที่พระอรหัตพึงฆ่านั่นแหละ. อุทธัจจะและอวิชชาที่พระ-

อรหัตพึงฆ่าเหมือนกัน. ก็ในมรรคจิตทั้ง ๒ (ที่ ๓ ที่ ๔) เหล่านี้ เป็น

อัญญินทรีย์ที่ ๙ ทีเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

ว่าด้วยมรรคจิตพันนัยเป็นต้น

ในมรรคทั้งหมดมีบท ๖๐ ถ้วน โดยลำดับ รวมกับองค์อปัณณกะ

(ไม่ผิดกัน) ๔ เป็น ๖๔ บท ก็บทที่ไม่ปะปนกัน ๓๓ บทในโกฏฐาสวาร และ

สุญญตวาร ตามปกตินั่นแหละ. พระธรรมราชาทรงจำแนกมรรคทั้ง ๔ แสดงไว้

๔,๐๐ นัย คือ แม้ในมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น ก็เป็นดวงละพันนัยเหมือน

ปฐมมรรคนั่นแหละ.

ก็ในสัจจวิภังค์ พระองค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ ๖ หมื่นนัย ด้วยอำนาจ

แห่งมรรคจิตเหล่านั้นนั่นแหละ ในสติปัฏฐานวิภังค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ ๒ หมื่นนัย

ในสัมมัปปธานวิภังค์ ๒ หมื่นนัย ในอิทธิบาทวิภังค์ ๓ หมื่น ๒ พันนัย ใน

โพชฌงค์ ๓ หมื่น ๒ พันนัย ในมรรควิภังค์ทรงตั้งโลกุตระไว้ ๒ หมื่น

๘ พันนัย ด้วยอำนาจมรรคจิตเหล่านั้นแหละ.

แต่ในที่นี้ ทรงตั้งโลกุตระไว้ ๔ พันนัย ในมรรคจิตทั้ง ๔ ดวง ใน

บรรดามรรคจิตเหล่านั้น ในมรรคจิตดวงที่หนึ่งประกอบด้วยปฐมฌาน ทรง

จำแนกองค์ไว้ ๘ ในทุติยมรรคเป็นต้นก็เหมือนกัน. บรรดาองค์มรรคเหล่านั้น

สัมมาทิฏฐิในมรรคที่หนึ่ง ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ

มรรคแม้มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็พึงทราบ เพราะอรรถว่าการละมิจฉาสังกัปปะ

เป็นต้นนั่นแหละ.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ อันมรรคเบื้องบน ๓ พึงละก็ไม่มี

เพราะความที่ทิฏฐิ ๖๒ อันมรรคที่หนึ่งเท่านั้นละได้แล้ว ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

ในมรรคเบื้องบน ๓ นั้นย่อมมีอย่างไร.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

ตอบว่า พิษงูมีอยู่ก็ตาม ไม่มีอยู่ก็ตาม งูท่านก็เรียกว่างูนั่นแหละ

ฉันใด มิจฉาทิฏฐิมีอยู่ก็ตามไม่มีอยู่ก็ตาม สัมมาทิฏฐิ นี้ ก็ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

ฉันนั้นเหมือนกัน.

ถามว่า ผิว่าคำว่า มิจฉาทิฏฐิอย่างนี้ก็เป็นเพียงชื่อเท่านั้น แต่สัมมา-

ทิฏฐิไม่มีกิจมีอยู่ใน ๓ มรรคเบื้องบน องค์มรรคก็ไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น

สัมมาทิฏฐิ จึงควรมีกิจที่ต้องกระทำ องค์มรรค จึงจะบริบูรณ์ มิใช่หรือ.

ตอบว่า ก็สัมมาทิฏฐิมีกิจในสามมรรคเบื้องบนนี้ พึงแสดงโดยกำหนด

ตามที่ได้ ความจริง ยังมีมานะอีกหนึ่งที่มรรคเบื้องบน ๓ พึงฆ่า มานะนั้น

ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งทิฏฐิ สัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า

ย่อมละมานะนั้น.

ก็สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติมรรคย่อมละมิจฉาทิฏฐิ แต่มานะที่สกทาคา-

มิมรรคพึงฆ่ามีอยู่แก่พระโสดาบัน สัมมาทิฏฐิของพระสกทาคามีนั้นชื่อว่า

สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า ย่อมละมานะนั้น. สังกัปปะที่เกิดขึ้นพร้อมกับ

อกุศลจิต ๗ ดวง ก็ยังมีอยู่แก่พระโสดาบันนั้นนั่นแหละ การเคลื่อนไหว

องค์แห่งวาจาก็มีอยู่ด้วยอกุศลจิตเหล่านั้นแหละ การเคลื่อนไหวองค์แห่งกายก็มี

อยู่ด้วยอกุศลจิตเหล่านั้นแหละ การบริโภคปัจจัย (มีจีวรเป็นต้น ) ก็มีอยู่ ความ

เพียรที่เกิดพร้อมกันก็มีอยู่ ความไม่มีสติก็มีอยู่ เอกัคคตาแห่งจิตที่เกิดพร้อมกัน

ก็มีอยู่ ทั้งหมดเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฉาสังกัปปะเป็นต้น. สังกัปปะเป็นต้น

ในสกทาคามิมรรค พึงทราบว่า สัมมาสังกัปปะเป็นต้น เพราะละมิจฉาสังกัปปะ

๑. ตรงนี้บาลีไทยเป็น มคฺคงคานิ ปน ปริปูเรนฺติ พม่าเป็น มคคงฺคานิ น ปริปูเรนฺติ

๒ อกุศลจิต ๗ คือ โทสมูลจิต ๒ ดวง โลภมูลจิตที่เป็นวิปปยุต ๔ ดวง โมหมูลจิตสัมปยุตด้วย

อุทธัจจะ ๑ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

เป็นต้นเหล่านั้น. องค์มรรค ๘ ในสกทาคามิมรรคมาทำกิจของตน ด้วยประการ

ฉะนี้.

มานะของพระสกทาคามีที่พึงฆ่าด้วยอนาคามิมรรคยังมีอยู่ มานะนั้น

ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งทิฏฐิ สังกัปปะเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับอกุศลจิต ๗ ดวง

ก็ยังมีอยู่แก่พระสกทาคามีนั้นนั่นแหละ พึงทราบความที่องค์มรรค ๘ ใน

อนาคามิมรรคกระทำกิจของตน ด้วยการละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้น.

มานะของพระอนาคามีที่พึ่งฆ่าด้วยอรหัตมรรคมีอยู่ มานะนั้นย่อมตั้งอยู่ในฐานะ

แห่งทิฏฐิ. อนึ่ง อกุศลจิต ๕ ดวง* เหล่าใด มีอยู่แก่พระอนาคามีนั้น มิจฉา

สังกัปปะเป็นต้นที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตเหล่านั้น ยังมีอยู่ พึงทราบความที่องค์

มรรค ๘ ในอรหัตมรรค ทำกิจด้วยการละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้น.

ถามว่า บรรดามรรคทั้ง ๔ เหล่านี้ ปฐมมรรคเห็นสัจจะทั้ง ๔

มรรคสามเบื้องบนย่อมเห็นสัจจะที่ปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละ หรือย่อม

ไม่เห็นสัจจะที่ปฐมมรรคไม่เห็นแล้วหรือ ?

ตอบว่า ถ้อยคำที่เหมือนกันของพวกอาจารย์นี้ว่า มรรคสามเบื้องบน

ย่อมเห็นสัจจะที่ปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นแหละดังนี้.

แต่อาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า มรรคสามเบื้องบนย่อมเห็นสัจจะที่

ปฐมมรรคมิได้เห็นดังนี้. พึงโต้อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า อินทรีย์ในปฐมมรรค

เป็นไฉน จงแจงมา ดังนี้ เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาที่รู้อยู่ก็จักกล่าวว่า อนัญญ-

ตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ แม้ท้วงว่า ในมรรคเบื้องบนเป็นอินทรีย์ไหน ดังนี้

ก็ย่อมบอกว่า อัญญินทรีย์. พึงกล่าวกะท่านวิตัณฑวาทีอีกว่า เมื่อการเห็น

* ๕ ดวง คือ โลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวง โมหมูลจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ๑ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

สัจจะที่ปฐมมรรคไม่เห็นมีอยู่ ก็จงแจกอนัญตัญญัสสามีตินทรีย์ แม้ในมรรค

เบื้องบน ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ปัญหาของท่านก็จักสงบ.

ถามว่า ก็มรรคอย่างหนึ่งย่อมละกิเลสอย่างหนึ่ง คือย่อมละกิเลสที่ยัง

ไม่ได้ละ มิใช่หรือ ?

ตอบว่า ผิว่า มรรคอย่างหนึ่งย่อมละกิเลสดังนี้ มรรคอย่างหนึ่งก็ย่อม

ละกิเลสอย่างหนึ่ง ที่ยังมิได้ละไซร้ บุคคลก็พึงมีวาทะอย่างนี้ว่า มรรคสาม

เบื้องบนย่อมเห็นแม้สัจจะทั้งหลายที่ปฐมรรคมิได้เห็นแล้วนั่นแหละ ดังนี้

พึงถามคำนี้ว่า ชื่อว่า สัจจะทั้งหลาย มีเท่าไร ? เมื่อทราบก็จักตอบว่า

มี ๔ พึงท้วงท่านว่า ในวาทะของท่าน สัจจะปรากฏถึง ๑๖ อย่าง ท่านย่อม

เห็นสัจจะแม้พระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นแล้ว ชื่อว่า มีสัจจะมาก ท่านอย่าถือ

เอาอย่างนี้เลย การเห็นสัจจะที่ยังไม่เคยเห็นย่อมไม่มี แต่มรรคย่อมละกิเลส

ทั้งหลายที่ยังมิได้ละ ดังนี้.

การอุปมาด้วยหีบรัตนะ

ในข้อที่ว่าการเห็นสัจจะที่ไม่เคยเห็นมาก่อนไม่มีในอธิการแห่งมรรค

นั้น ท่านถือเอาการเปรียบเทียบด้วยหีบรัตนะดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่งวางหีบรัตนะ ๔ ใบไว้ในห้องอันเป็นที่เก็บ

รัตนะอันสูงสุด เขามีหน้าที่ทำเกิดขึ้นในหีบ ในเวลากลางคืนจึงเปิดประตูจุด

ประทีปให้โพลง เมื่อความมืดถูกประทีปขจัดแล้ว หีบทั้งหลายก็ปรากฏ เขาทำ

ธุระในหีบนั้นแล้วปิดประตูออกไป ความมืดก็ปกคลุมตามเดิม แม้ในครั้งที่ ๒

แม้ในครั้งที่ ๓ ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ในครั้งที่ ๔ เมื่อเขาจะทดลองดูว่า

เมื่อเปิดประตูแล้ว หีบรัตนะจะปรากฏในความมืดหรือไม่นั่นแหละ พระอาทิตย์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ก็โผล่ขึ้น เมื่อความมืดถูกแสงพระอาทิตย์ขจัดแล้ว เขาก็ทำธุระในหีบทั้งหลาย

เสร็จแล้วออกไป.

ในบรรดาคำเหล่านั้น สัจจะ ๔ เปรียบเหมือนหีบรัตนะ ๔ ใบ.

เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่โสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้นมีกิจเกิดขึ้น

ในหีบรัตนะแล้วเปิดประตู. ความมืดอันปกปิดสัจจะ เปรียบเหมือนความมืด

ของราตรี. แสงสว่างแห่งโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งประทีป.

ความที่สัจจะทั้งหลายปรากฏแก่มรรคญาณ เปรียบเหมือนความที่หีบรัตนะ

ทั้งหลายปรากฏแก่บุรุษนั้นในเพราะความมืดถูกขจัดไป. ก็สัจจะทั้งหลายที่

ปรากฏแก่มรรคญาณย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคนั่นแหละ.

เวลาที่โสดาปัตติมรรคละกิเลสที่ตนควรละแล้วดับไป เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษ

นั้นทำธุระในหีบรัตนะทั้งหลายแล้วไป. ความมืดอันปกปิดสัจจะที่พึงฆ่าด้วย

มรรคสามเบื้องบน เปรียบเหมือนความมืดที่ครอบงำต่อไป.

เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่สกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้น

เปิดประตูในครั้งที่สอง. แสงสว่างแห่งสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่าง

แห่งประทีป เวลาที่สกทาคามิมรรคละกิเลสที่ตนพึงละแล้วดับไป เปรียบเหมือน

เวลาที่บุรุษนั้นทำธุระในหีบรัตนะทั้งหลายเสร็จแล้วไป ความมืดที่ปกปิดสัจจะ

ที่มรรคสองเบื้องบนพึงฆ่า เปรียบเหมือนความมืดที่ครอบงำต่อไป.

เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่อนาคามิมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษนั้น

เปิดประตูในครั้งที่สาม. แสงสว่างแห่งอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนแสงสว่าง

แห่งประทีป. เวลาที่สกทาคามิมรรคละกิเลสที่ตนพึงละแล้วดับไป เปรียบเหมือน

บุรุษทำธุระในหีบทั้งหลายเสร็จแล้วไป ความมืดที่ปกปิดสัจจะที่อรหัตมรรค

เบื้องบนพึงฆ่า เปรียบเหมือนความมืดท่วมทับอีก.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

เวลาที่วิปัสสนามุ่งไปสู่อรหัตมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษเปิด

ประตูในครั้งที่ ๔. การเกิดขึ้นแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่ง

พระอาทิตย์. การกำจัดความมืดอันปกปิดสัจจะแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือน

การกำจัดความมืด. ความที่สัจจะทั้ง ๔ ปรากฏแก่อรหัตมรรคญาณ เปรียบเหมือน

ความที่หีบรัตนะทั้งหลายปรากฏแก่บุรุษนั้น ในเพราะความมืดถูกขจัดไป. ก็

สัจจะทั้งหลายปรากฏแก่ญาณ ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค

นั่นแหละ การที่อรหัตมรรคยังกิเลสทั้งหมดให้สิ้นไป เปรียบเหมือนเวลาที่

บุรุษทำกิจในหีบรัตนะทั้งหลายเสร็จแล้วไป. ความไม่มีความมืดปกปิดสัจจะอีก

จำเดิมแต่เวลาเกิดขึ้นแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่แสงสว่างนั่นแหละ

เป็นไปจำเดิมแต่การโผล่ขึ้นแห่งดวงอาทิตย์ ฉะนั้น. นี้เป็นคำอุปมาในความไม่มี

การเห็นสัจจะที่ยังไม่เคยเห็นเพียงเท่านี้.

ในข้อว่า ก็มรรคสามเบื้องบนย่อมเห็นสัจจะอันปฐมมรรคเห็นแล้ว

นั่นแหละ แต่ว่ามรรคอย่างอื่นย่อมละกิเลสอื่น ๆ นี้ ท่านถือเอาชื่ออุปมาด้วย

น้ำด่างต่อไป

บุรุษคนหนึ่ง ได้มอบผ้าที่สกปรกแก่ช่างย้อม ช่างย้อมก็แช่ในน้ำด่าง

๓ ชนิด คือ น้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า น้ำด่างโคมัย เขารู้ว่าน้ำด่างกัดสิ่ง

สกปรกแล้วก็เทน้ำทิ้งชักชำระมลทินหยาบ ๆ แต่นั้นเขาก็รู้ว่า ผ้ายังไม่สะอาดพอ

จึงแช่ในน้ำด่างเหมือนอย่างนั่นแหละในครั้งที่ ๒ แล้วเทน้ำทิ้งซักล้างมลทินที่

ละเอียดกว่านั้น แต่นั้นเขาก็รู้ว่ายังไม่สะอาดพอ จึงแช่ในน้ำด่างเหมือนอย่างนั้น

นั่นแหละ ในครั้งที่ ๓ เทน้ำทิ้งแล้วซักล้างมลทินที่ละเอียดกว่านั้น แต่นั้นก็

รู้ว่า ผ้ายังไม่สะอาดพอ จึงแช่ในน้ำด่างเหล่านั้น แม้ครั้งที่ ๔ เทน้ำทิ้งแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

ซักล้างมลทินมิให้มีเหลือแม้เป็นไปในเส้นด้ายแล้วจึงมอบให้แก่เจ้าของ เจ้าของ

นั้นก็พับเก็บไว้ในหีบอบกลิ่นย่อมนุ่งห่มในเวลาที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ.

บรรดาคำเหล่านั้น จิตที่เป็นไปตามกิเลส เปรียบเหมือนผ้าที่เปื้อนแล้ว

เวลาที่เป็นไปแห่งการทำอนุปัสสนาทั้ง ๓ เปรียบเหมือนการแช่ด้วยน้ำด่าง ๓

ชนิด การยังกิเลส ๕ อย่าง* ให้สิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนการ

เทน้ำทิ้งแล้วซักล้างมลทินหยาบ ๆ การรู้ว่า จิตนี้ยังไม่บริสุทธิ์พอ แล้วยังการ

งานให้เป็นไปในอนุปัสสนา ๓ เหล่านั้นนั่นแหละ เปรียบเหมือนการแช่น้ำด่าง

เหล่านั้น แม้ครั้งที่ ๒. การยังสังโยชน์อย่างหยาบ ๒ อย่างให้สิ้นไปด้วยสกทาคา-

มิมรรค เปรียบเหมือนการซักล้างมลทินที่ละเอียดกว่านั้น การที่เขาคิดว่าจิตนี้

บริสุทธิ์ไม่พอ แล้วยังการกระทำการงานให้เป็นไปในอนุปัสสนา ๓ เหล่านั้น

นั่นแหละ เปรียบเหมือนเขาคิดว่าผ้านี้สะอาดไม่พอ แล้วจึงใส่น้ำด่าง ๓ อย่างให้

กัดอีก. การยังสังโยชน์อย่างละเอียด ๒ อย่าง ให้สิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค เปรียบ

เหมือนซักล้างมลทินผ้าที่ละเอียดกว่านั้น. การที่รู้ว่า จิตนั้นยังสะอาดไม่พอ แล้ว

การงานให้เป็นไปในอนุปัสสนา ๓ เหล่านั้นแหละให้เป็นไป เปรียบเหมือน

ช่างย้อมรู้ว่าผ้านี้ยังสะอาดไม่พอ จึงใส่แช่ในน้ำด่าง ๓ อย่างอีก. การที่จิตของ

พระขีณาสพบริสุทธิ์เพราะกิเลส ๘ อย่างอันอรหัตมรรคให้สิ้นไปแล้ว ยับยั้งอยู่

ด้วยวิหารธรรม คือ ผลสมาบัติในขณะที่ปรารถนาแล้ว ๆ เปรียบเหมือนการ

นุ่งห่มผ้าที่บริสุทธิ์ เพราะซักฟอกมลทินที่อยู่ภายในเส้นด้ายออกไป ด้วยการ

ซักล้างจากผ้านี้ เช่นกับแผ่นเงิน ที่เก็บไว้ในผอบหอม ในขณะที่ตนปรารถนา

แล้ว ๆ ฉะนั้น. นี้เป็นการอุปมาในข้อว่า มรรคอย่างอื่นย่อมละกิเลสอย่างอื่น ๆ

ดังนี้.

* กุศลจิต คือ โลภมูลที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต ๔ และโมหมูลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านพระเขมกะกล่าวไว้ว่า*

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของทั้งหลายพึงมอบ

ผ้านี้นั้นแก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกผู้ฉลาดขยี้ผ้านั้นแช่ในน้ำด่างเกลือ ในน้ำ

ด่างขี้เถ้า หรือในน้ำด่างโคมัยแล้วเอาซักในน้ำสะอาด ผ้านั้นย่อมเป็นของ

สะอาดผ่องใสแม้ก็จริง แต่ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า

หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของทั้งหลาย เจ้าของ

ทั้งหลายเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ

น้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด แม้กลิ่นนั้นย่อมหายไป ฉันใด ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็

ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามีไม่ได้

สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่

ว่ารูป อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ ความดับแห่งรูป อย่างนี้ เวทนา

อย่างนี้ ฯลฯ สัญญา อย่างนี้ ฯลฯ สังขาร อย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณ อย่างนี้

ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้ เมื่อท่าน

พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ แม้ท่าน

ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้

แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ย่อมถึงการถอนขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

บรรดามรรคเหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมละอกุศลจิต ๕ ดวง

พร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์ของจิต. โทมนัสสสหคตจิต ๒ ดวง

พร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์จิต ย่อมบรรเทาด้วยสกทาคามิมรรค.

โทมนัสสสหคตจิต ๒ ดวงเหล่านั้นนั่นแหละ พร้อมกับสัมปยุตธรรม ย่อมละ

ด้วยอนาคามิมรรค. อกุศลจิต ๕ ดวงพร้อมกับบาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ

* ส ขนฺธวารวคฺค เล่ม ๑๗. ๒๒๙/๑๖๐

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

องค์จิต ย่อมละด้วยอรหัตมรรค. จำเดิมแต่กาลที่อกุศลจิต ๑๒ ดวงเหล่านี้

ละได้แล้ว ชื่อว่า กิเลสที่ติดตามไปอีก ด้วยอำนาจองค์จิต ย่อมไม่มีแก่

พระขีณาสพ.

ในข้อที่กิเลสไม่ติดตามไปอีกนั้น มีอุปมา ดังนี้.

ได้ยินว่า พระราชาผู้ใหญ่พระองค์หนึ่ง พระราชทานอารักขาปัจจันต-

ชนบท แล้วเสวยความเป็นอิสริยยศในมหานครอยู่ ภายหลังปัจจันตะของ

พระองค์เกิดจลาจล สมัยนั้น มีพวกหัวหน้าโจร ๑๒ คน พร้อมกับบุรุษ

หลายพัน พากันไปปล้นแว่นแคว้น มหาอำมาตย์ผู้อยู่ปัจจันตประเทศส่งข่าว

กราบทูลแด่พระราชาว่า ปัจจันตะเกิดจลาจล ดังนี้ พระราชาทรงส่ง

พระราชสาส์นไปว่า จงปราบให้หมด เราจักตอบแทนพวกท่าน อำมาตย์

เหล่านั้นฆ่าหัวหน้าโจร ๕ คน กับบุรุษโจรหลายพันคนโดยการประหาร

ครั้งแรกนั่นแหละ หัวหน้าโจร ๗ คน ที่เหลือพาบริวารของตน ๆ เข้าไปยัง

ภูเขา. พวกอำมาตย์ก็ส่งข่าวกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชา พระราชา

จึงทรงส่งพระราชทรัพย์ไป ด้วยพระราชสาส์นว่า เราจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่

พวกท่าน พวกท่านจงปราบโจรแม้ที่เหลือเหล่านั้น พวกอำมาตย์เหล่านั้น

ก็ประหารหัวหน้าโจร ๒ คน โดยการประหารครั้งที่ ๒ ได้กระทำแม้บริวาร

ของพวกโจรเหล่านั้นให้ทุรพล พวกโจรเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็พากันหนีไปยัง

ภูเขา พวกมหาอำมาตย์ส่งข่าวสาส์นความเป็นแม้นั้นไปกราบทูลพระราชา

พระราชาทรงส่งพระราชทรัพย์ ด้วยพระราชสาส์นว่า พวกท่านจงปราบพวก

โจรให้สิ้น พวกอำมาตย์เหล่านั้นฆ่าหัวหน้าโจร ๒ คน พร้อมกับบุรุษสหายโจร

โดยการประหารครั้งที่ ๓ แล้วส่งข่าวสาสน์กราบทูลแด่พระราชา พระราชาก็ส่ง

พระราชทรัพย์ พร้อมด้วยพระราชสาส์นว่า พวกท่านจงปราบโจรอย่าให้เหลือ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

พวกอำมาตย์เหล่านั้น ก็ฆ่าหัวหน้าโจร ๕ คน พร้อมกับบริวารโจรโดยการ

ประหารครั้งที่ ๔. จำเดิมแต่พวกหัวหน้าโจร ๑๒ คน ถูกฆ่าตายแล้ว ชื่อว่า

โจรไร ๆ มิได้มี. ชนบทถึงความเกษม ย่อมอยู่ดุจให้บุตรฟ้อนรำบนอก

ฉะนั้น. พระราชาทรงแวดล้อมด้วยโยธาผู้พิชิตสงคราม เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอัน

ประเสริฐ เสวยมหาสมบัติ.

ในคำเหล่านั้น พระธรรมราชา เปรียบเหมือนพระราชาผู้ใหญ่ กุลบุตร

ผู้โยคาวจร เปรียบเหมือนอำมาตย์ผู้อยู่ปัจจันตชนบท. อกุศลจิต ๑๒ ดวง*

เปรียบเหมือนหัวหน้าโจร ๑๒ คน. บาปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจองค์จิต

เปรียบเหมือนบุรุษสหายหลายพันของหัวหน้าโจรเหล่านั้น. เวลาที่กิเลสทั้งหลาย

เกิดขึ้นในอารมณ์แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิเลส

ทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ดังนี้ เปรียบเหมือนเวลาอำมาตย์ส่งข่าวสาส์น

กราบทูลพระราชาว่า ปัจจันตะเกิดจลาจล. การที่พระธรรมราชาตรัสบอก

กรรมฐานว่า ภิกษุ เธอจงข่มกิเลสเสีย ดังนี้ เปรียบเหมือนการพระราชทาน-

ทรัพย์ พร้อมกับพระราชสาส์นว่า พวกเธอจงปราบให้หมด ดังนี้. การละ

อกุศลจิต ๕ ดวงพร้อมทั้งสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนเวลาที่

อำมาตย์ฆ่าหัวหน้าโจร ๕ คนพร้อมทั้งบริวาร.

การกราบทูลคุณที่ตนได้แล้ว แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปรียบเหมือน

การส่งข่าวถวายพระราชา. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกวิปัสสนาแห่งสก-

ทาคามิมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีก พร้อมกับพระดำรัสว่า

จงปราบพวกโจรที่เหลือ. การบรรเทาโทมนัสจิต ๒ ดวงพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม

ด้วยสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนการกระทำหัวหน้าโจร ๒ คน พร้อมทั้ง

บริวารให้ทุพพลภาพด้วยการประหารครั้งที่ ๒.

* เป็นอกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

การกราบทูลคุณที่ตนได้แด่พระศาสดา เปรียบเหมือนการส่งข่าวถวาย

พระราชาให้ทรงทราบความเป็นไปอีก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก

วิปัสสนาแห่งอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีกพร้อมกับ

ข่าวสาส์นว่า จงปราบโจรให้หมดสิ้น. การละโทมนัสจิต ๒ ดวง พร้อมทั้ง

สัมปยุตธรรมด้วยอนาคามิมรรค เปรียบเหมือนการฆ่าหัวหน้าโจร ๒ คน

พร้อมทั้งบริวาร ด้วยการประหารครั้งที่ ๓.

การกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือน

การส่งข่าวถวายพระราชาให้ทรงทราบอีก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก

วิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค เปรียบเหมือนการพระราชทานทรัพย์อีก พร้อมคำ

ดำรัสไปว่า จงปราบโจรให้สิ้น. ความไม่มีอกุศลธรรมอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

องค์จิตอีก จำเดิมแต่อกุศลจิต ๑๒ ดวง ในเพราะอกุศลจิต ๕ ดวงพร้อมด้วย

สัมปยุตธรรมอันอรหัตมรรคละแล้ว เปรียบเหมือนเวลาที่ชนบทเป็นแดนเกษม

จำเดิมแต่กาลที่อำมาตย์ฆ่าหัวหน้าโจร ๕ คน พร้อมด้วยบริวาร ด้วยการ

ประหารครั้งที่ ๔ พึงทราบการเสวยสุขด้วยผลสมาบัติตามที่พระโยคาวจร

ปรารถนาแล้ว ในสุขทั้งหลายมีสมาบัติอันต่างด้วยสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ

ของพระธรรมราชาผู้มีพระขีณาสพแวดล้อมแล้ว เปรียบเหมือนการเสวย

มหาสมบัติ ของพระราชาผู้พิชิตสงคราม ผู้แวดล้อมด้วยอำมาตย์บนประสาท

อันประเสริฐ ฉะนั้นแล.

พรรณนาบทว่าธรรมเป็นกุศลจบเพียงนี้