พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
เล่มที่ ๙ ภาคที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
รัตนจังกมนกัณฑ์
ทรงเนรมิตรัตนจงกรม
[๑] ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลี
ทูลขอพรอันยอดเยี่ยมว่า หมู่สัตว์ในโลกนี้ที่มีกิเลสดุจ
ธุลีในดวงตาน้อย ยังมีอยู่ ขอทรงเอ็นดูแสดงธรรม
โปรดหมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด.
[พระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าโลก ผู้สูงสุดในนรชน
อันหมู่พรหมผู้ประคองอัญชลีทูลขอว่า หมู่ปราชญ์ใน
โลกนี้ ที่มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยยังมีอยู่ ขอทรง
เอ็นดูแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด ข้าแต่พระ
ผู้นำ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม โปรดแสดง
อมตบท โปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์โลกทั้งหลาย]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
พระตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรั่งพร้อมแล้ว
ผู้คงที่ ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระวรกายสุดท้าย
ไม่มีผู้เปรียบ ทรงเกิดพระกรุณาในสัตว์ทั้งปวง.
[พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระศาสดาทรงสดับคำ
ของพรหมนั้นแล้ว จึงได้มีพระพุทธดำรัสว่า]
ดูก่อนพรหม เราเปิดประตูแห่งอมตนครสำหรับ
ท่านแล้ว ขอสัตว์ที่มีโสตจงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด
แต่ก่อนเราเข้าใจว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรม
อันประณีตที่คล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์.
[สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจอมมุนี ผู้ทรง
อนุเคราะห์เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทรงออกจากต้น
อชปาลนิโครธ เสด็จพุทธดำเนินโดยลำดับ ก็ถึงกรุง
พาราณสี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือ
พุทธอาสน์อันประเสริฐนั้น ทรงประกาศพระธรรม-
จักรคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคอันอุดม แก่ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศพระธรรม-
จักรนั้นแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ
ภัททิยะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมู่เทวดา
พรหม ๑๘ โกฏิ ในครั้งนั้น ก็ตรัสรู้ธรรมในการ
ประชุมครั้งแรก. ภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้งหมด อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแนะนำโดยธรรมปริยาย
อื่นตามลำดับ พร้อมทั้งหมู่เทวดาพรหม ๑๘ โกฏิ ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
ครั้งนั้น โสดาปัตติผล ได้มีในการประชุมครั้งแรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพุทธดำเนินถึงกรุงราชคฤห์.
พระจอมมุนีประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร. พระเจ้า
พิมพิสารทรงสดับข่าว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ท้าวเธอมีบริวารมากถึง ๑๑ นหุต ทรงบูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ด้วยเทียน ธูป ของหอมและดอกไม้เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุบุพพีกถาประกอบด้วย
กามาทีนพในสมาคมนั้นนั่นแล จบเทศนาในครั้งนั้น
สัตว์ ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประธาน ก็ตรัสรู้ธรรม.
พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงสดับข่าว ก็
ทรงส่งทูต ๙ คน พร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ คน. ทูตทั้ง ๙
คน พร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ คน ก็บรรลุพระอรหัต
ทูลขอบวชกะพระมุนี. ในที่สุด กาฬุทายีอำมาตย์
ก็ถือเพศภิกษุ พร้อมบริวาร ๑,๐๐๐ คน ท่านจึงทูล
อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระจอมศากยมุนี ทรงรับอาราธนาแล้ว เสด็จ
เดินทางใหญ่ เสด็จพุทธดำเนินมาโดยลำดับพร้อมด้วย
ภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป ก็ลุถึงกรุงกบิลพัศดุ์. พระองค์ทรง
ทำปาฏิหาริย์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี. พระผู้มีพระภาค
เจ้า จอมศากยมุนี ประทับนั่งแสดงธรรมคือมหาเวส-
สันดรชาดกโปรดพระพุทธบิดา ท่ามกลางบัลลังก์นั้น.
สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
พระประยูรญาติเหล่านี้ พร้อมทั้งเทวดา และ
มนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนนี้เป็น
เช่นไร กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร กำลัง
ของพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เป็น
เช่นไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า
พระประยูรญาติเหล่านี้ พร้อมทั้งเทวดา และ
มนุษย์ไม่รู้ดอกว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนนี้
เป็นเช่นนี้ กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้ กำลัง
ของพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เป็น
เช่นนี้.
เอาเถิด จำเราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
อันยอดเยี่ยม จักเนรมิตที่จงกรม ประดับด้วยรัตนะ
ในนภากาศ.
เทวดาภาคพื้นดิน เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดี ทั้งเทวดาเนื่องในหมู่พรหม ก็ร่าเริงพากัน
ทำเสียงกึกก้องอย่างเต็มที่.
แผ่นดินมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า
โลกันตริกนรกอันหนาก็ปิดกั้นไว้ไม่ได้ ความมืดมิด
ก็ได้ถูกขจัดออกไป. เทวดาและมนุษย์ทั้งสัตว์นรก
ต่างก็เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์ ถึงปีติปราโมชอย่าง
ยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ได้เกิดในโลกนี้พร้อม
ทั้งเทวดา คนธรรพ์ มนุษย์ รากษส และในโลกอื่น
ทั้งสอง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ทั้งเบื้องขวางกว้าง
ออกไป.
พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้นำ
พิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ผู้มี
อานุภาพมาก มีบุญลักษณะนับร้อย ทรงแสดงปาฏิ-
หาริย์อันน่าอัศจรรย์.
[ในสมาคมนั้น พระชินพุทธเจ้าผู้พระศาสดา
เหาะขึ้นไปในพื้นนภากาศ ทรงเนรมิตสิเนรุบรรพต
อันน่ารื่นรมย์เป็นที่จงกรม.
เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ก็นอบน้อมพระตถาคต
ในสำนักพระชินเจ้า พากันทำพุทธบูชา]
พระองค์ผู้มีพระจักษุ สูงสุดในนรชนผู้นำโลก
อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลวอนแล้ว ทรงพิจารณาเห็น
ประโยชน์ในครั้งนั้น จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อันประ-
ดับด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก เป็นผู้ชำนาญใน
ปาฏิหาริย์ ๓ คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์และ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อันประ-
ดับด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
ทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพตในหมื่นโลกธาตุ เป็น
ประหนึ่งเสาซึ่งตั้งอยู่เรียงกันเป็นรัตนจงกรม ที่จงกรม
สำเร็จด้วยรตนะ.
พระชินเจ้าทรงเนรมิต ที่จงกรมเหลื่อมล้ำหมื่น
โลกธาตุ ที่สองข้างพื้นที่เป็นทองทั้งหมด ณ รัตน-
จงกรมทรงเนรมิตไพรทีทองล้วน ปูด้วยแผ่นกระดาน
ทอง เวียนไปตามจันทันคู่ทั้งสองข้าง.
รัตนจงกรมที่ทรงเนรมิต เกลื่อนกลาดด้วยทราย
แก้วมณี ทรายแก้วมุกดา ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ
เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้น.
ณ ที่จงกรมนั้น พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์
ผู้มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ รุ่งโรจน์อยู่ เสด็จจงกรม
เหนือที่จงกรม เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน โปรย
ดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตร อันเป็นทิพย์
ลง ณ ที่จงกรม.
หมู่เทพหมื่นโลกธาตุมาประชุมกัน เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ หมอบ
ลงนมัสการ.
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต เทพชั้น
นิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เห็นพระผู้นำโลก
ก็พากันดีใจ มีจิตเบิกบาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
นาค สุบรรณ หรือแม้ กินนร พร้อมทั้งเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และ รากษส พากันชมพระองค์
เหมือนชมดวงจันทร์ที่ขึ้นโคจรในท้องนภากาศ.
พรหมชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้นเวหัปผละ
และชั้นอกนิฏฐะ พากันทรงผ้าขาวสะอาด ยืนประคอง
อัญชลีโปรยดอกมณฑารพ ๕ สี ผสมจุรณจันทน์โบก
ผ้า ณ พื้นอัมพรในครั้งนั้น โดยเปล่งอุทานว่า โอ !
พระชินเจ้าผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก.
พระองค์เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธง
เป็นหลัก เป็นที่พัก ที่พึ่งพาอาศัย เป็นประทีป ของ
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า.
เทวดาผู้มีมหิทธิฤทธิ์ในหมื่นโลกธาตุ ต่างยินดี
ร่าเริง บันเทิงใจ พากันห้อมล้อมนมัสการ.
เทพบุตร เทพธิดา เลื่อมใส มีใจยินดีแล้วก็พา
กันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
หมู่เทพเห็นพระองค์ก็เลื่อมใส มีใจยินดีพากัน
บูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
โอ ๑ ความอัศจรรย์ในโลก ไม่เคยมี น่าขนลุก
ขนชัน ความอัศจรรย์น่าขนลุกขนชันเช่นนี้ เราไม่
เคยเห็น.
เทวดาเหล่านั้น นั่งอยู่ในภพของตนๆ เห็น
อัศจรรย์ในท้องฟ้า ก็พากันยินดี ร่าเริงใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
เทวดาที่อยู่ในอากาศ อยู่ที่ภาคพื้นดิน อาศัย
อยู่ที่หญ้าและดาวประกายพฤกษ์ ก็ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจ พากันประคองอัญชลีนมัสการ.
เหล่านาค ที่อายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มาก ก็พากัน
บันเทิงใจนมัสการ บูชาพระผู้สูงสุดในนรชน.
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในท้องฟ้า สังคีตทั้ง
หลาย ก็พากันบรรเลง กลองหุ้มหนังทั้งหลาย ก็พา
กันประโคม ในอัมพรนภากาศ.
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในท้องฟ้า สังข์ บัณ-
เฑาะว์ และมโหระทึกทั้งหลาย ก็พากันบรรเลงใน
กลางหาวเปล่งอุทานว่า วันนี้ อาการขนลุกขนชันที่ไม่
เคยมีก็เกิดขึ้นแล้วหนอ เราจะได้สำเร็จประโยชน์แน่
แล้ว เราได้ขณะกันแล้ว.
เพราะได้ยิน พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติขึ้นใน
ทันที ต่างพากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ.
หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า ก็พากันประคองอัญชลี
เปล่งเสียง หึ หึ เสียงสาธุ เสียงโห่เอิกอึง ลิงโลดใจ.
ขับกล่อม ประสานเสียง บรรเลง ปรบมือและ
ฟ้อนรำ พลางโปรยดอกมณฑารพ ๕ สี ผสมด้วยจุรณ
จันทน์ เปล่งวาจาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
จักรที่พระยุคลบาทของพระองค์ ประดับด้วยชงชัย
วชิระ ธงประฏาก เครื่องแต่งพระองค์และขอช้าง
พระองค์ก็ไม่มีผู้เสมือนในพระรูปกาย ในศีล สมาธิ
ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้
เสมอ ในการประกาศพระธรรมจักร.
กำลังพระยาช้าง ๑๐ ตระกูล เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีผู้เสมอ ด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.
ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระผู้เข้าถึงพระคุณ
ทุกอย่าง ผู้พรักพร้อมด้วยองค์คุณครบถ้วน ผู้เป็น
พระมหามุนี มีพระกรุณาเป็นนาถะของโลก.
พระองค์ควรซึ่งการ การชม การไหว้ การ
สรรเสริญ การนอบน้อม และการบูชาทุกอย่าง.
ข้าแต่พระมหาวีระ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อัน
เขาควรไหว้ในโลก คนเหล่าใดควรการไหว้ พระองค์
ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด แห่งคนเหล่านั้นทั้งหมด ผู้
เสมือนพระองค์ ไม่มี.
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและฌาน ยืนอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้นำ
โลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
เห็นพระนราสภ เหมือนต้นพญาสาลพฤกษ์
ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า
เหมือนดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงวัน.
เห็นพระผู้นำโลก เรืองรองด้วยพระรัศมีวา
หนึ่ง เหมือนต้นประทีปที่ลุกโพลงอยู่ เหมือนดวง
อาทิตย์แสงอ่อนๆ ที่อุทัยขึ้น.
จึงเรียกประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้
คงที่ เป็นพระขีณาสพไร้มลทินทันที กล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะ ทำโลกให้เลื่อมใส. แม้พวกเราก็จักไป
ถวายบังคม พระชินเจ้าในที่นั้น.
มาเถิด เราทั้งหมดจักไปทูลถามพระชินเจ้า เรา
พบพระผู้นำโลกแล้ว จักบรรเทาความสงสัย.
ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีปัญญา รักษาตน สำรวม
อินทรีย์ รับคำว่า สาธุ แล้วก็ถือบาตรจีวรรีบเข้าไป
หาพระเถระ.
พระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก กับพระขีณาสพ
ทั้งหลาย ผู้ไร้มลทิน ผู้ฝึกแล้ว เพราะการฝึกสูงสุด
เข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์.
พระสารีบุตร เจ้าคณะใหญ่ อันภิกษุเหล่านั้น
แวดล้อมแล้ว ลีลางาม เข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ ณ ท้อง
นภากาศ เหมือนเทวดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
ภิกษุเหล่านั้น มีมรรยาทงาม ไม่ไอ ไม่จาม มี
ความเคารพ มีความยำเกรง เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
ครั้นเฝ้าแล้ว ก็ดูพระสยัมภูผู้นำโลก เหมือนดวง
อาทิตย์อุทัยในนภากาศ เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า
เห็นพระผู้นำโลก เหมือนต้นประทีปที่ลุกโพลง เหมือน
สายฟ้าแลบในท้องฟ้า เหมือนดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวัน.
ภิกษุหมดทั้ง ๕๐๐ รูป เห็นพระผู้นำโลก ผ่อง
ใสเหมือนห้วงน้ำ เหมือนดอกปทุมที่บานงาม ต่างยินดี
ร่าเริงบันเทิงใจ พากันประคองอัญชลีหมอบนมัสการ
ณ ลักษณะจักรของพระศาสดา.
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้เสมือนแม้น
ดอกหงอนไก่ ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน ถวายบังคม
พระผู้นำโลก.
ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้มีฤทธิ์มาก ไม่มีเสมอ
ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ผู้เสมือนแม้นดอกบัวขาบ
เหมือนเมฆฤดูฝนที่คำราม
แม้ท่านพระมหากัสสปเถระ ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ชมเชยสถาปนาว่า เป็นเอตทัคคะ ทางธุดงค์
คุณ ก็เหมือนกับทองผุดขึ้น.
ท่านพระอนุรุทธะ เจ้าคณะใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุผู้มีทิพยจักษุ พระญาติผู้ประเสริฐ ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็ยืนอยู่ไม่ไกล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
ท่านพระอุบาลี อันพระศาสดาทรงยกย่องสถา-
ปนาเป็นเอตทัคคะในวินัย ผู้ฉลาดในอาบัติ อนาบัติ
อาบัติอย่างนี้ยังแก้ไขได้.
ท่านผู้แสวงหาคุณ ปรากฏชื่อว่า ปุณณะ บุตร
พราหมณีชื่อมันตานี ผู้แทงตลอดอรรถะอันสุขุมลุ่มลึก
ผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พร้อมคณะ.
พระมหาวีระมุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมา ผู้ตัดความ
สงสัยได้ ทรงทราบจิตใจของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัส
คุณของพระองค์ว่า
อสงไขย ที่มีเบื้องปลายอันใคร ๆ ตามไปไม่รู้
มี ๔ คือ หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาลที่ไม่มีที่สุด ๑
พระพุทธญาณ ที่ประมาณมิได้ อสงไขยเหล่านั้น
ใคร ๆ ก็ไม่อาจรู้ได้.
การทำฤทธิ์ต่างๆ ของเราจะอัศจรรย์อะไรในโลก
ความอัศจรรย์อื่นๆ ที่ไม่เคยมี น่าขนลุกขนชัน ยังมี
มาก.
กาลใด เรามีชื่อว่า ท้าวสันดุสิต ในหมู่เทพ
ชั้นดุสิต กาลนั้น เทวดาหมื่นโลกธาตุ ประชุมกัน
ประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า ข้าแต่พระมหาวีระ นี้
เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ที่จะเสด็จไปอุบัติใน
พระครรภ์ของพระมารดา เมื่อจะยังโลกพร้อมทั้งเทว-
โลก ให้ข้ามโอฆสงสาร ขอโปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.
กาลใด เราจุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงใน
พระครรภ์ กาลนั้น พระธรณีในหมื่นโลกธาตุก็ไหว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
กาลใด เรามีสัมปชัญญะ ออกจากพระครรภ์
ของพระมารดา กาลนั้น เทวดาทั้งหลายก็ให้สาธุการ
หมื่นโลกธาตุก็ไหว.
ไม่มีผู้เสมอเรา ในการลงสู่พระครรภ์ ในการ
ออกจากพระครรภ์ เราเป็นผู้ประเสริฐสุด ในการตรัส
รู้ ในการประกาศพระธรรมจักร.
โอ ! ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีพระ-
คุณมาก น่าอัศจรรย์ในโลก หมื่นโลกธาตุไหว ๖ ครั้ง
แสงสว่างใหญ่ก็เกิด น่าอัศจรรย์ น่าขนลุกขนชัน.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเจริญที่สุด
ในโลก ประเสริฐที่สุดในนรชน พระชินเจ้า เมื่อทรง
แสดงโลกพร้อมทั้งเทวโลก เสด็จจงกรมด้วยพระ-
วรฤทธิ์.
พระผู้นำโลก เสด็จจงกรมพลางตรัสธรรมกถา
ไปพลาง จะไม่เสด็จกลับในระหว่างเหมือนที่จงกรม
ระยะ ๔ ศอก.
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและฌาน ผู้บรรลุสาวกบารมี ด้วยปัญญา จึงทูล
ถามพระผู้นำโลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดในนรชน อภินีหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระ-
โพธิญาณอันสูงสุด พระองค์ทรงปรารถนา ในกาลไร.
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญาและวิริยะเป็นเช่นไร
ขันติ สัจจะ อธิฏฐานะ เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่นไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี ๑๐ เป็น
เช่นไร อุปบารมีเป็นอย่างไร ปรมัตถบารมี เป็น
อย่างไร.
[อธิษฐานอย่างไร ความเป็นใหญ่เป็นเช่นไร
บารมีเป็นเช่นไร พระจอมปราชญ์ในโลก เป็นอย่างไร.
เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นอย่างไร
พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธธรรมทั้งหลาย บริบูรณ์สิ้น
เชิง อย่างไร]
พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ ดังนกการะเวก
ทรงดับความร้อนใจ ปลอบประโลมโลกพร้อมทั้งเทว-
โลก อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว โปรดทรงพยากรณ์
ด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมกถา
พุทธจริตของอดีตชินพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มาถึงโดย
สืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธวงศ์ที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ด้วยพระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ .
ท่านทั้งหลาย จงฟังพุทธวงศ์ ที่ให้เกิดปีติปรา-
โมช บรรเทาความโศกศัลย์ ให้ได้สมบัติทั้งปวงของ
เรา ใส่ใจไว้.
ท่านทั้งหลาย จงปฏิบัติดำเนินมรรคเป็นเครื่อง
บำบัดความเมา บรรเทาความโศกเปลื้องโอฆสงสาร
โดยเคารพเถิด.
จบรัตนจังกมนกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
มธุรัตถวิลาสินี
อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กถาปรารภคัมภีร์
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณ
อันหาที่สุดมิได้ มีพระกรุณาเป็นที่อาศัย ทรงทำลาย
มลทิน มีพระหฤทัยมั่นคง อำนวยประโยชน์เกื้อกูล.
ขอนอบน้อมพระธรรมอันประเสริฐ เครื่องป้อง
กันภพ.
ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้ปราศจากมลทินและ
เป็นบ่อเกิดคุณความดี.
ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพ
ธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวก
ทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา
จอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทิน
ถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธ-
วงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริ-
สุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ
ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระ
ประยูรญาตินี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถ
แห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับ
ฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้.
เพราะเหตุที่การพรรณนาพุทธวงศ์นั้นนั่นแล อัน
ไม่ขาดสายแห่งพระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นเรื่อง
ไม่ตาย ฟังกันได้ให้เกิดความเลื่อมใสและปัญญา แก่
ชนทั้งหลายทุกเมื่อ เป็นไปตามลำดับ. ฉะนั้น ข้าพเจ้า
อันท่านพุทธสีหะ ผู้ยินดีในพระสัทธรรมโดยเคารพ
อันคุณมีศีลเป็นต้นบันดาลใจ อ้อนวอนแล้วจึงจักเริ่ม
พรรณนาพุทธวงศ์นั้น เพื่อกำจัดความชั่วร้าย ของชน
ทั้งหลายทุกเมื่อ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระพุทธศาสนา
เพื่อความเกิดและเจริญแห่งบุญ แม้ของข้าพเจ้าเอง
และเพื่อยังมหาชนให้เลื่อมใส.
ก็การพรรณนาพุทธวงศ์โดยสังเขปนี้ อาศัยทาง
บาลีที่มาจากสำนักมหาวิหาร ละโทษคือการปะปนกัน
เสีย จักเป็นสาระ. แต่เพราะเหตุที่ในที่นี้ ไม่มีเรื่องที่
ควรฟัง ที่จะเป็นเครื่องยังผู้ยินดีในพระพุทธคุณให้
เลื่อมใส เป็นเครื่องลอยบาป ซึ่งเป็นมลทินใหญ่ นอก
จากเรื่องพุทธวงศ์ ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้ประกอบอยู่ในสมาธิโดยเคารพ ละความฟุ้งซ่าน ไม่
มีจิตเป็นอื่น จงตั้งโสตประสาทดังภาชนะทองรองรับ
สดับมธุรสของข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าวพรรณนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
ก็กถาพรรณนาพุทธวงศ์ ควรที่จะมัจจะคนที่
ต้องตาย เป็นผู้รู้จะต้องละกิจอื่นเสียให้หมดแล้ว ฟัง
ก็ดี กล่าวก็ดี ในที่นี้ได้ตลอดกาลเป็นนิจ โดยเคารพ
ด้วยว่ากถานี้ แต่งได้แสนยากแล.
ควรกำหนดพุทธวงศ์ก่อน เพราะในคาถาปรารภนั้น ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้ว่า กถาพรรณนาพุทธวงศ์ จักเป็นสาระดังนี้ ก็การกำหนดในพุทธวงศ์นั้น
มีดังนี้ การกล่าวประเพณีอย่างพิศดาร โดยปริเฉทมีกัปปปริเฉทเป็นต้น อันเกิด
ขึ้น แต่พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติใน ๔ อสงไขยกำไรแสน
กัป นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า พุทธวงศ์.
พุทธวงศ์กำหนดด้วยปริเฉท
ก็พุทธวงศ์นั้น ท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๒๒ ปริเฉท ที่มาตามบาลี
เหล่านี้คือ
๑. กัปปปริเฉท ตอนว่าด้วย กัป
๒. นามปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนาม
๓. โคตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโคตร
๔. ชาติปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชาติ
๕. นครปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนคร
๖. ปิตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธบิดา
๗. มาตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธมารดา
๘. โพธิรุกขปริเฉท ตอนว่าด้วย ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้
๙. ธัมมจักกัปวัตตนปริเฉท ตอนว่าด้วย การประกาศพระธรรมจักร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
๑๐. อภิสมยปริเฉท ตอนว่าด้วย การตรัสรู้
๑๑. สาวกสันนิบาตปริเฉท ตอนว่าด้วย การประชุมพระสาวก
๑๒. อัคคสาวกปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครสาวก
๑๓. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก
๑๔. อัครสาวิกาปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอัครสาวิกา
๑๕. ปริวารภิกขุปริเฉท ตอนว่าด้วย ภิกษุบริวาร
๑๖. รังสิปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธรังสี
๑๗. สรีรปริมาณปริเฉท ตอนว่าด้วย ขนาดพระพุทธสรีระ
๑๘. โพธิสัตตาธิการปริเฉท ตอนว่าด้วย บารมีของพระโพธิสัตว์
๑๙. พยากรณปริเฉท ตอนว่าด้วย การพยากรณ์
๒๐. โพธิสัตตปณิธานปริเฉท ตอนว่าด้วย การตั้งความปรารถนา
ของพระโพธิสัตว์
๒๑. อายุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชนมายุ
๒๒. ปรินิพพานปริเฉท ตอนว่าด้วย การเสด็จปรินิพพาน.
ก็แม้ว่าวาระมากวาระที่ท่านมิได้ยกไว้โดยบาลี ก็พึงนำมาไว้ในกถานี้
ด้วย. วาระนั้น เป็นอันท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๑๐ ปริเฉท คือ
๑. อคารวาสปริเฉท ตอนว่าด้วย การอยู่ครองเรือน
๒. ปาสาทัตตยปริเฉท ตอนว่าด้วย ปราสาท ๓ ฤดู
๓. นาฏกิตถีปริเฉท ตอนว่าด้วย สตรีนักฟ้อน
๔. อัคคมเหสีปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครมเหสี
๕. ปุตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโอรส
๖. ยานปริเฉท ตอนว่าด้วย พระราชยาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
๗. อภินิกขมนปริเฉท ตอนว่าด้วย อภิเนษกรมณ์
๘. ปธานปริเฉท ตอนว่าด้วย ทรงบำเพ็ญเพียร
๙. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก
๑๐. วิหารปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธวิหาร
แต่ครั้นแสดงวาระมากวาระ แม้นั้น ตามฐาน
แล้ว ก็จักกล่าวแต่โดยสังเขปในที่นั้น ๆ.
พุทธวงศ์นั้น ข้าพเจ้ากำหนดไว้ดังนี้ว่า
พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อ
ประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำ
ของใคร ใครนำสืบมา.
ครั้นกล่าววิธีนี้โดยสังเขปหมดก่อนแล้วภายหลัง
จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพุทธวงศ์.
ในคาถานั้น บทว่า เกนาย เทสิโต ได้แก่
ถามว่า พุทธวงศ์นี้ใครแสดง.
ตอบว่า พระตถาคต ผู้สำรวจด้วยพระญาณ อันไม่ติดขัด ในธรรม
ทั้งปวง ทรงทศพลญาณ ทรงแกล้วกล้าในเวสารัชญาณ ๔ จอมทัพธรรม
เจ้าของแห่งธรรม ผู้เป็นสัพพัญญู สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
ถามว่า ทรงแสดงที่ไหน.
ตอบว่า พระตถาคตเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม เหนือรัตนจงกรม
อันเป็นจุดที่ชุมนุมดวงตาของเทวดาและมนุษย์ งดงามน่าทอดทัศนายิ่งนัก ทรง
แสดง ณ นิโครธารามมหาวิหาร ใกล้กบิลพัศดุ์มหานคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
ถามว่า และทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่ใคร.
ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ๘๒,๐๐๐ และ
แก่เทวดาและมนุษย์หลายโกฏิ.
ถามว่า ทรงแสดงเพื่ออะไร.
ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อช่วยสัตว์โลกให้ข้ามโอฆะทั้ง ๔.
ถามว่า ทรงแสดงเมื่อไร.
ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับไม่ประจำอยู่ ๒๐
พรรษา ในปฐมโพธิกาล ที่ใด ๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๆ
นั่นแหละ คือ
๑. พรรษาแรก ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ ให้
เหล่าพรหม ๑๘ โกฏิดื่มน้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง
พาราณสี.
๒. พรรษาที่ ๒ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน มหาวิหาร กรุง-
ราชคฤห์.
๓. พรรษาที่ ๓ ที่ ๔ ก็ประทับอยู่ พระเวฬุวันมหาวิหารนั้น
เหมือนกัน.
๔. พรรษาที่ ๕ ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี.
๕. พรรษาที่ ๖ ประทับอยู่ ณ มกุลบรรพต.
๖. พรรษาที่ ๗ ประทับอยู่ ณ ดาวดึงส์พิภพ.
๗ พรรษาที่ ๘ ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สุงสุมารคิรี แคว้น
ภัคคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
๘. พรรษาที่ ๙ ประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี.
๙. พรรษาที่ ๑๐ ประทับอยู่ ณ ราวป่าปาลิเลยยกะ.
๑๐. พรรษาที่ ๑๑ ประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์ ชื่อนาฬา.
๑๑. พรรษาที่ ๑๒ ประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา.
๑๒. พรรษาที่ ๑๓ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.
๑๓. พรรษาที่ ๑๔ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร.
๑๔. พรรษาที่ ๑๕ ประทับอยู่ ณ กบิลพัศดุ์มหานคร.
๑๕. พรรษาที่ ๑๖ ทรงทรมาน อาฬวกยักษ์ ให้สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่ม
น้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี.
๑๖. พรรษาที่ ๑๗ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์.
๑๗. พรรษาที่ ๑๘ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.
๑๘. พรรษาที่ ๑๙ ก็ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพตเหมือนกัน.
๑๙. พรรษาที่ ๒๐ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั่นเอง.
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ไม่ประจำ ๒๐ พรรษาในปฐมโพธิกาล ที่ใด ๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จ
ไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๆ นั่นแล.
แต่นับตั้งแต่นั้นไป ก็ประทับอยู่เป็นประจำ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
และบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี.
ก็เมื่อใด พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้า เสด็จจำพรรษาแรก ณ ป่า
อิสิปตนะ มิคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ออกพรรษา ปวารณาแล้ว เสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
ไปยังตำบลอุรุเวลา จำพรรษาไตรมาส ณ ที่นั้น ทรงทรมาณชฎิลสามพี่น้อง
ทำภิกษุจำนวนหนึ่งพันรูปเป็นบริวาร แล้วเสด็จไปกรุงราชคฤห์กลางเดือน
ผุสสมาส ประทับอยู่ ณ ที่นั้นสองเดือน เมื่อนั้น เมื่อพระองค์เสด็จออกจาก
กรุงพาราณสี ก็กินเวลาเข้าไปห้าเดือน. ล่วงฤดูหนาวไปสิ้นทั้งฤดู นับแต่วัน
ที่ท่านพระอุทายีเถระมาถึง ก็ล่วงไป ๗-๘ วัน. ก็ท่านพระอุทายีเถระนั้น ใน
ราวกลางเดือนผัคคุน [เดือน ๘] ก็ดำริว่า ฤดูเหมันต์ล่วงไปทั้งฤดู ฤดูวสันต์
ก็มาถึงแล้ว เป็นสมัยควรที่พระตถาคตจะเสด็จไปกรุงกบิลพัศดุ์ได้ ท่านครั้นดำริ
อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวพรรณาการเสด็จไปด้วยคาถา ๑๐ คาถา เพื่อประโยชน์
แก่องค์พระศาสดาจะเสด็จไปยังพระนครแห่งสกุล. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง
สดับคำของท่าน มีพระพุทธประสงค์จะทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ
จึงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพหมดด้วยกันสองหมื่นรูป คือ ที่เป็นกุลบุตรชาว
อังคะและมคธะหมื่นรูป ที่เป็นกุลบุตรชาวกรุงกบิลพัศดุ์หมื่นรูป นับจากกรุง-
ราชคฤห์ ถึงกรุงกบิลพัศดุ์ ระยะทาง ๖๐ โยชน์ สองเดือนจึงถึง ได้ทรงทำ
ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคม ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น ครั้ง
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์นี้.
ถามว่า คำของใคร.
ตอบว่า พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว ไม่ทั่วไป
แก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า.
ถามว่า ใครนำมาเล่า.
ตอบว่า อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้อันพระเถระ
ทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ พระภัททชิ พระติสสะ พระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
สิคควะ พระโมคคัลลีบุตร พระสุทัตตะ พระธัมมิกะ พระทาสกะ พระ-
โสณกะ พระเรวตะ นำสืบกันมาถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ แม้ต่อแต่นั้นไป ศิษยานุ-
ศิษย์ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละ ก็ช่วยกันนำมา เหตุนั้น จึงควรทราบว่า
อาจารย์นำสืบ ๆ กันมาตราบเท่าปัจจุบันนี้ อย่างนี้ก่อน.
คาถานี้
พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อ
ประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำ
ของใคร และใครนำสืบกันมา.
เป็นอันมีความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ด้วยกถามีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
นิทานกถา
พาหิรนิทาน
บัดนี้ จะพรรณาความแห่งพุทธวงศ์นั้น ที่นำกันสืบมาอย่างนี้ ก็
เพราะเหตุที่การพรรณาความนี้ จำต้องแสดงนิทาน ๓ เหล่านี้คือ ทูเรนิทาน
อวิทูเรนิทาน และสันติเกนิทาน แล้วพรรณนา จึงชื่อว่าเป็นอันพรรณนาด้วย
ดี เเละชื่อว่า ผู้ที่ฟังนิทานนั้นรู้เรื่องได้ เพราะรู้มาตั้งแต่ต้นเหตุที่เกิด ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจักแสดงนิทานเหล่านั้นแล้ว จึงจักพรรณนา.
ในนิทานนั้น พึงทราบปริเฉทตอนของนิทานเหล่านั้น เริ่มตั้งแต่ต้น
ก่อน การแสดงความโดยสังเขป ในนิทานนั้นดังนี้ ตั้งแต่พระมหาสัตว์
บำเพ็ญบารมี แทบเบื้องบาทของพระทศพลพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร จน
จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดในภพดุสิต กถาที่เป็นไปเพียง
เท่านั้นชื่อว่า ทูเรนิทาน.
ตั้งแต่จุติจากภพดุสิต จนเกิดพระสัพพัญญุตญาณ ที่โพธิมัณฑสถาน
กถาที่เป็นไปเพียงเท่านั้น ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน.
ตั้งแต่ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน จนถึง
เตียงเป็นที่ปรินิพพาน ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ๆ ที่
นั้น ๆ เช่นว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร
อารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ว่าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ และว่าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า-
มหาวัน กรุงเวสาลีดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน.
การพรรณนาพาหิรนิทาน นิทานนอก ๓ นิทาน คือทูเรนิทาน อวิทู-
เรนิทานและสันติเกนิทาน โดยสังเขปนี่แล เป็นอันจบด้วยนิทานกถาเพียงเท่านี้.
จบพาหิรนิทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
อัพภันตรนิทาน
พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์
ก็บัดนี้ จะพรรณนาความแห่งอัพภันตรนิทาน ที่เป็นไปโดยนัยเป็น
ต้นว่า
ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูล
ขอพรอันยอดเยี่ยมว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ทรงเอ็นดูหมู่-
สัตว์นี้แสดงธรรมโปรดเถิด.
ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เหตุไรท่านไม่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น
สักกะ. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธวงศ์ดังนี้ แต่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า ท้าว-
สหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูลขอพรอันยอดเยี่ยม ดังนี้. ขอชี้แจง
ดังนี้ว่า ท่านกล่าวดังนั้น ก็เพื่อชี้ถึงการทูลขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม
อันเป็นเหตุแห่งการแสดงธรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอชี้แจงปัญหา
นี้ที่ว่า
พระชินพุทธเจ้านี้ถูกพรหมอาราธนา เพื่อทรง
แสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ ใครยกขึ้นกล่าว กล่าว
เมื่อไร และที่ไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า เข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดา
ก็ถูกพรหมทูลอาราธนาอ้อนวอน เพื่อทรงแสดงธรรม.
ในเรื่องนั้น กล่าวความตามลำดับ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในวันเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระมหาบุรุษทรงเห็น
นางรำ นักสนมนอนผ้าผ่อนเปิดน่าเกลียด ทรงสังเวชพระหฤทัยยิ่งนัก เรียก
นายฉันทะ ผู้ปิดกายด้วยผ้าส่วนหนึ่งตรัสว่า เจ้าจงนำม้าฝีเท้าดี ชื่อ กัณฐกะ
ที่ข่มข้าศึกตัวยงได้ ให้นำม้ากัณฐกะมาแล้ว ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จ
ขึ้นทรงม้า เมื่อเทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ประตูพระนคร เปิดประตูพระนครแล้ว
ก็ออกจากพระนครไป ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร โดยส่วนที่เหลือจากสมบัติที่
พระราชาพระองค์นั้นทรงยินดีแล้ว ทรงเป็นสัตว์ที่ไม่ต่ำทราม ประทับยืน
ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสกะนายฉันนะเท่านั้นว่า ฉันนะ เจ้าจงพาเครื่อง
อาภรณ์ที่ไม่ทั่วไปกับคนอื่น ๆ เหล่านี้ และกัณฐกะม้าฝีเท้าดีของเรากลับไป
กรุงกบิลพัสดุ์นะ ทรงปล่อยนายฉันนะแล้ว ก็ทรงตัดมกุฏผ้าโพกพร้อมกับ
พระเกศา ด้วยดาบคือพระขรรค์อันคมกริบ เสมือนกลีบบัวขาบ แล้วเหวี่ยง
ไปในอากาศ ทรงถือบาตรจีวรที่เทวดาถวาย ทรงผนวชด้วยพระองค์เองเสด็จ
จาริกไปโดยลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคา ที่มีคลื่นหักโหมปั่นป่วนเพราะแรงลม
ได้ไม่ติดขัด เสด็จเข้าสู่พระนครชื่อว่าราชคฤห์ ที่มีราชนิเวศน์โชติช่วงด้วย
ข่ายรัศมีแห่งหมู่แก้วมณี ทรงไม่ติดขัดด้วยการเสด็จดำเนิน มีพระอินทรีย์
สงบ มีพระมนัสสงบ ทรงแลดูชั่วแอก ประหนึ่งทรงปลอบชนผู้มัวเมาเพราะ
ความเมาในความเป็นใหญ่ แห่งกรุงราชคฤห์นั้น ประหนึ่งทรงทำให้เกิดความ
ละอาย แก่ชนผู้มีเพศอันฟุ้งเฟ้อแล้ว ประหนึ่งทรงผูกหัวใจของชนชาวกรุงไว้
ในพระองค์ ด้วยความรักในวัย ประหนึ่งทรงแย่งดวงตาของชนทุกคนด้วย
พระสิริรูป ที่ส่องประกายด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
กองบุญ และประหนึ่งบรรพตที่เดินได้ด้วยพระบาทที่มีรูปงาม เสด็จเที่ยว
บิณฑบาตไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับอาหารเพียงยังอัตภาพให้พอเป็นไปได้
เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ประทับนั่ง ณ โอกาสสงัดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เป็น
ภูมิภาคสะอาด พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ข้างปัณฑวบรรพต เสวยอาหาร
ที่คลุกกัน อันพระเจ้าพิมพิสารมหาราช แห่งอาณาจักรมคธ เสด็จไปหาพระ-
มหาบุรุษ ตรัสถามพระนามและพระโคตรแล้ว มีพระราชหฤทัยบันเทิงกับ
พระองค์ ทรงเชื้อเชิญด้วยราชสมบัติว่า ขอทรงโปรดรับราชสมบัติส่วนหนึ่ง
ของหม่อมฉันเถิด. ด้วยพระสุรเสียงไพเราะดังบัณเฑาะว์ตรัสตอบว่า อย่าเลย
พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันไม่ประสงค์ด้วยราชสมบัติดอก หม่อมฉันละราช-
สมบัติมาประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก แล้วจักเป็นพระ-
พุทธเจ้า ผู้มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก ดังนี้แล้วเสด็จออกไป อัน
พระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นตรัสวอนว่า พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
โปรดเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อนแคว้นอื่นทั้งหมด ทรงถวายปฏิญญา
คำรับรองแด่พระเจ้าพิมพิสารนั้นว่า สาธุ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและ
อุทกดาบส ไม่ทรงพบสาระแห่งธรรมเทศนาของดาบสทั้งสองท่านนั้น ก็ทรง
หลีกออกจากที่นั้น แม้ทรงทำทุกกรกิริยาถึง ๖ ปี ณ ตำบลอุรุเวลา ก็ไม่อาจ
บรรลุอมตธรรมได้ ทรงทำพระสรีระให้อิ่มหนำสำราญด้วยการเสวยพระกระยา-
หารอย่างหยาบ.
ครั้งนั้น หญิงรุ่นชื่อ สุชาดา ธิดาของกุฎุมพีเสนานิคม ในตำบล
อุรุเวลา เสนานิคม โตเป็นสาวแล้วทำความปรารถนา ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า
ถ้าดิฉันไปเรือนสกุลที่มีชาติสมกัน [มีสามี] ได้ลูกชายในท้องแรกก็จักทำ
พลีกรรมสังเวย. ความปรารถนาของนางสำเร็จแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๖ นาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
ดำริว่า วันนี้จักทำพลีกรรม พอเช้าตรู่จึงให้จัดข้าวปายาสที่ไม่แข้นแข็ง มี
รสอร่อยอย่างยิ่ง. ในวันนั้นนั่นเอง แม้พระโพธิสัตว์ทรงทำสรีรกิจแล้ว คอย
เวลาภิกษาจาร เช้าตรู่ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไทรนั้น. ครั้งนั้น ทาสี
ชื่อ ปุณณา แม่นมของนางสุชาดาเดินไปหมายจะทำความสะอาดที่โคนต้นไทร
ก็พบพระโพธิสัตว์ประทับนั่งสำรวจโสกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่ ผู้มีพระสรีระ
งาม เสมือนยอดภูเขาทองซึ่งเรื่องรองด้วยแสงสนธยา ผู้เป็นดวงอาทิตย์แห่ง
มุนี ผู้เข้าไปสู่ต้นไม้อันประเสริฐ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ผู้ทำการฝังตัวลง
ในกลุ่มมืด [กำจัดมืด] ผู้ทำความแย้มผลิแห่งดงบัว ผู้สอดเข้าสู่หลืบเมฆ.
เพราะเห็นต้นไม้นั้นมีสีเหมือนสีทองหมดทั้งต้น โดยรัศมีที่แล่นออกจากพระ-
สรีระของพระโพธิสัตว์นั้น นางปุณณาทาสีจึงคิดว่า วันนี้เทวดาของเราลงจาก
ต้นไม้ คงอยากจะรับเครื่องพลีกรรมด้วยมือตนเอง จึงมานั่งคอย. นางจึงรีบ
ไปบอกความเรื่องนั้นแก่นางสุชาดา.
จากนั้น นางสุชาดาเกิดศรัทธาขึ้นมาเอง ก็แต่งตัวด้วยเครื่องประดับ
ทุกอย่าง บรรจุถาดทองมีค่านับแสนเต็มด้วยข้าวมธุปายาสมีรสอร่อยอย่างยิ่ง
ปิดด้วยถาดทองอีกถาดหนึ่ง เทินศีรษะ เดินมุ่งหน้าตรงต้นไทร. นางกำลัง
เดินไป เห็นพระโพธิสัตว์นั้นแต่ไกล ประทับนั่งงดงามเหมือนกองบุญ ทำ
ต้นไม้นั้นทั้งต้น มีสีเหมือนสีทองด้วยรัศมีแห่งพระสรีระ ประหนึ่งรุกขเทวดา
ก็เกิดปีติปราโมทย์ เดินน้อมตัวลงตั้งแต่ที่เห็นด้วยเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา
ปลงถาดทองนั้นลงจากศีรษะ ประคองวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์ แล้ว
ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์กล่าวว่า มโนรถ ความปรารถนาของดิฉันสำเร็จ
แล้ว ฉันใด มโนรถแม้ของพระองค์ก็จงสำเร็จฉันนั้นเถิด แล้วก็กลับไป.
ครั้งนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงถือถาดทอง เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้ที่ริมฝั่งใกล้ท่าน้ำชื่อสุปปติฏฐิตะ สรงสนานแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
เสด็จขึ้น ทรงทำเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าวปายาสนั้นแล้วทรงลอยถาด
ทองนั้นลงไป พร้อมทรงอธิษฐานว่า ถ้าวันนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ขอ
ถาดทองนี้ จงลอยทวนน้ำ ถาดนั้นก็ลอยทวนน้ำ เข้าไปยังภพของพระยานาค
ชื่อว่า กาฬนาคราช ยกถาดของพระพุทธเจ้าสามพระองค์ขึ้นแล้วตั้งอยู่ข้าง
ใต้ถาดเหล่านั้น.
พระมหาสัตว์ประทับพักกลางวัน ณ ราวป่านั้นนั่นแล เวลาเย็น ทรง
รับหญ้า ๘ กำ ที่คนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ทราบอาการของพระมหาบุรุษ
ถวายแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน ประทับยืน ณ ทิศทักษิณ. ประเทศนั้น
ก็ไหวเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว. พระมหาบุรุษทรงทราบว่า ประเทศตรงนี้
ไม่อาจทรงคุณของเราได้ ก็เสด็จไปทิศปัศจิม. แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือน
กัน จึงเสด็จไปทิศอุดรอีก แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไป
ทิศบูรพาอีก ในทิศนั้น สถานที่ขนาดบัลลังก์ มิได้ไหวเลย พระมหาบุรุษ
ทรงสันนิษฐานว่า ที่นี้เป็นสถานที่กำจัดกิเลสแน่จึงทรงจับปลายหญ้าเหล่านั้น
สะบัด. หญ้าเหล่านั้น ได้เรียงเรียบเหมือนถูกกำหนดด้วยปลายแปรงทาสี
พระโพธิสัตว์ก็ทรงอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ว่า เราไม่บรรลุโพธิญาณแล้ว
จักไม่ทำลายบัลลังก์ แล้วทรงคู้บัลลังก์นั่งขัดสมาธิ ประทับนั่งให้ต้นโพธิ์อยู่
เบื้องพระปฤษฏางค์ หันพระพักตร์ออกสู่ทิศบูรพา.
ทันใดนั้นเอง มารผู้รังควานโลกทั้งปวง ก็เนรมิตแขนพันแขนขึ้น
ขี่พระยาช้าง ผู้กำจัดศัตรูตัวยง ชื่อ คิริเมขละ ขนาด ๑๕๐ โยชน์ เสมือน
ยอดเขาหิมวันตคิรี ถูกห้อมล้อมด้วยพลมารหนาแน่นยิ่งนัก มีพลธนู พลดาบ
พลขวาน พลศร พลหอกเป็นกำลัง ครอบทะมึนโดยรอบดุจภูเขา ยาตร-
เบื้องเข้าหาพระมหาสัตว์ผู้เป็นประดุจศัตรูใหญ่ พระมหาบุรุษ เมื่อดวงอาทิตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ตั้งอยู่นั่นแล ก็ทรงกำจัดพลมารจำนวนมากมายได้ ถูกบูชาด้วยอดอ่อนโพธิที่
งดงามน่าดูเสมือนหน่อแก้วประพาฬสีแดง ซึ่งร่วงตกลงบนจีวรที่มีสีเสมือนดอก
ชะบาแย้ม ประหนึ่งแทนปีติทีเดียว ปฐมยาม ก็ทรงได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
มัชฌิมยาม ก็ทรงชำระทิพยจักษุญาณ ปัจฉิมยาม ก็ทรงหยั่งพระญาณลง
ในปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาวัฏฏะและวิวัฏฏะ พออรุณอุทัยก็ทรงเป็นพระ-
พุทธเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า
เราแสวงหาช่างผู้สร้างเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่
พบ ก็ท่องเที่ยวไปสิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย
ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์. ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือนคือ
อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนคืออัตภาพ
อีกไม่ได้ โครงเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว ยอด
เรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึง
พระนิพพานแล้ว เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น
ตัณหาทั้งหลายแล้ว.
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน วันที่ ๘ ทรงออกจากสมา-
บัติ ทรงทราบความสงสัยของเทวดาทั้งหลายทรงเหาะไปในอากาศ เพื่อกำจัด
ความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์กำจัดความสงสัย
ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับยืน ณ เบื้องทิศอุดร เยื้องทิศบูรพาจากบัลลังก์
ไปนิดหน่อย ทรงจ้องดูบัลลังก์และต้นโพธิ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมี
ทั้งหลายที่ทรงบำเพ็ญมาถึงสี่อสงไขยแสนกัป ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า
เราแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น
จึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
ต่อจากนั้น เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ต่อจากทิศบูรพาและทิศปัศจิม
ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้นจึงชื่อ
ว่ารัตนจังกมเจดีย์.
เทวดาทั้งหลาย ช่วยกันเนรมิตเรือนแก้วถวายในส่วนทิศปัศจิม ต่อ
จากนั้น ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ที่นั้นทรงพิจารณาเฟ้นพระอภิธรรม โดย
เฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์สมันตปัฏฐาน ที่มีนัยไม่มีที่สุด ณ ที่นั้น ทรงยับยั้งอยู่
๗ วัน สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.
พระพุทธเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ใกล้ ๆ ต้นโพธิ ๔ สัปดาห์อย่างนี้แล้ว ใน
สัปดาห์ที่ ๕ จึงออกจากโคนต้นโพธิ์ เสด็จเข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ. แม้ใน
ที้นั้นก็ทรงพิจารณาเฟ้นธรรม และเสวยวิมุตติสุข ทรงยับยั้งอยู่ ณ อชปาล-
นิโครธ ๗ วัน.
ประทับนั่ง ณ มุจลินท์ ต้นจิกด้วยอาการอย่างนี้อีก ๗ วัน พระผู้มี
พระภาคเจ้า พอประทับนั่งในที่นั้นเท่านั้น มหาเมฆซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็เกิดขึ้นเต็ม
ทั่วห้องจักรวาล เมื่อมหาเมฆเกิดขึ้นแล้ว พระยานาคชื่อมุจลินท์ก็คิดว่า เมื่อพระ
ศาสดาพอเสด็จเข้าสู่ภพของเรา มหาเมฆนี่ก็เกิดขึ้น ควรได้อาคารที่ประทับอยู่
สำหรับพระศาสดานั้น พระยานาคนั้นแม้จะสามารถเนรมิตวิมานทิพย์ได้เหมือน
วิมานเทพ อันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ก็คิดว่า เมื่อเราสร้างวิมานอย่างนี้
จักไม่มีผลมากแก่เรา จำเราจักขวนขวายด้วยกายตนเองเพื่อพระทศพล จึงทำ
อัตภาพให้ใหญ่ยิ่งล้อมพระศาสดาไว้ด้วยขนด ๗ ชั้น แผ่พังพานไว้ข้างบน.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บัลลังก์มีด่ายิ่ง ที่สำเร็จด้วยรัตนะ
๗ ประการ เพดานมีพวงดอกไม้หอมต่างชนิดห้อยอยู่เบื้องบน อบด้วยกลิ่น
หอมต่างชนิด ในโอกาสใหญ่ภายในขนดล้อม เหมือนประทับอยู่ในพระคันธ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
กุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่ต้นมุจลินท์นั้นตลอด ๗ วันนั้นอย่างนี้
ต่อจากนั้น ก็ประทับนั่ง ณ ราชายตนะต้นเกดอีก ๗ วัน เสวยวิมุตติสุขอยู่
ในที่นั้นนั่นแล ด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ก็ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ในระหว่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌานและสุขในผล.
ครั้นล่วงไป ๗ สัปดาห์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เกิดจิตคิดจะบ้วน
พระโอษฐ์ ท้าวสักกะจอมทวยเทพก็นำผลสมอที่เป็นยาถวาย ครั้งนั้น ท้าว
สักกะได้ถวายไม้สีฟันชื่อนาคลดา และน้ำบ้วนพระโอษฐ์แด่พระองค์ ต่อแต่นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเคี้ยวไม้สีฟัน ทรงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำในสระอโนดาต
ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ สมัยนั้น เมื่อท้าวจตุโลกบาล น้อมบาตร
ศิลามีค่ายิ่งเข้าไปถวาย ทรงรับข้าวสัตตูผงและสัตตูก้อนของพาณิชชื่อตปุสสะ
และ ภัลลิกะ [ด้วยบาตรนั้น] เสวยเสร็จแล้วเสด็จกลับมาประทับนั่ง ณ โคน
ต้นอชปาลนิโครธ. ลำดับนั้น พระองค์พอประทับนั่ง ณ ทีนั้นเท่านั้น ทรง
พิจารณาทบทวนถึงภาวะแห่งธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นธรรมลุ่มลึก ก็ทรง
เกิดปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา ถึงอาการคือความที่มี
พระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ตรึกคาดคิดเอาไม่ได้ ละเอียด
บัณฑิตพึงรู้.
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมล่วงรู้ถึงจิตปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยใจตนแล้ว ก็เปล่งวาจาว่า น่าที่โลกจะพินาศละสิหนอ น่าที่โลกจะพินาศ
ละสิหนอ อันหมู่พรหมในหมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว อันท้าวสักกะ ท้าว
สุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมิต ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีติดตามเสด็จมา ปรากฏ
อยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงเนรมิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
ผืนแผ่นดิน เพื่อเป็นที่ประทับยืนของพระองค์เอง จึงทรงคุกชาณุมณฑล [เข่า]
เบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ทรงทำอัญชลี ประนมกรที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน
เสมือนบัวตูมเกิดในน้ำไร้มลทินไม่วิกลขึ้นเหนือเศียร ทูลวอนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงธรรม ด้วยนัยมิใช่น้อยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าจงทรงแสดง
ธรรมโปรดเถิด หมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ยังมีอยู่ เพราะไม่ได้
สดับธรรม ก็ย่อมเสื่อมเสียประโยชน์ไปเปล่า หมู่สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม คงจักมี
แน่แท้ ดังนี้
แต่ก่อนในแคว้นมคธ ปรากฏมีแต่ธรรมที่ไม่
บริสุทธิ์ อันมีผู้มีมลทินคิดแล้ว ประตูแห่งอมตนคร
ก็ยังมิได้เปิด ขอหมู่สัตว์จงสดับธรรมที่พระผู้ไร้มลทิน
ตรัสรู้แล้วเถิด ชนผู้ยืนอยู่เหนือยอดภูผาหิน จะพึง
เห็นหมู่ชนได้โดยรอบแม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีปัญญา
ดี มีพระสมันตจักษุ พระองค์ปราศจากโศกแล้วจง
เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ที่สำเร็จด้วยธรรม โปรดพิจารณาดู
หมู่ชน ผู้ระงมด้วยโศก ถูกชาติชราครอบงำแล้ว ก็
อุปมาฉันนั้น ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงคราม
แล้ว ผู้ประดุจนายกองเกวียน ไม่เป็นหนี้ โปรดลุก
ขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง
ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์เถิด หมู่สัตว์ที่รู้ทั่วถึงธรรม
คงจักมีเป็นแน่ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
พระองค์ตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้แล้ว ทรงข้ามโอฆะที่พระองค์ควร
ข้ามแล้ว ทรงหลุดพ้นทุกข์ที่พระองค์ควรหลุดพ้นแล้ว มิใช่หรือ ดังนี้.
ทรงทำความปรารถนาไว้ว่า
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการทำให้แจ้งธรรม ในโลกนี้ เราบรรลุสัพพัญพุต-
ญาณแล้ว จักยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร
ดังนี้.
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว.
และว่า เมื่อพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรม คนอื่นใครเล่า จักแสดงธรรม,
สิ่งอื่นอะไรเล่า จะเป็นสรณะของโลก จะเป็นเครื่องช่วย เครื่องเร้น
เครื่องนำไปเบื้องหน้า. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระพุทธเจ้าเข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดาก็ถูกพรหมทูลอ้อนวอน เพื่อทรง
แสดงธรรม.
บัดนี้ ถึงโอกาสตอบปัญหาเหล่านี้ที่ว่า คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าวเมื่อไร
และที่ไหน ในปัญหานั้นถามว่า คาถานี้ท่านกล่าวเมื่อไร ตอบว่า กล่าวครั้ง
ทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก การสังคายนาใหญ่ครั้งแรกนี้ พึงทราบตามนัยที่
กล่าวไว้แล้วในสังคีติขันธกะ. ถามว่า ใครกล่าวที่ไหน. ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว คาถานี้ว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ เป็นต้น
พึงทราบว่า ท่านพระอานนท์เถระ ผู้นั่งอยู่ ณ ธรรมาสน์ในมณฑปสารมัณฑะ
สถานที่ควรเห็นคล้ายดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ชนะ
ศัตรูทุกคน มหาราชแห่งแคว้นมคธ ทรงให้สร้างไว้ใกล้ประตูสัตตบรรณคูหา
ข้างภูเขาเวภาระ พระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาธรรม กล่าวไว้แล้ว ความ
สัมพันธ์แห่งคาถา ในเรื่องนี้ มีดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
แม้คาถานี้ว่า
พระชินพุทธเจ้านี้ อันพรหมอาราธนาเพื่อทรง
แสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าว กล่าวเมื่อ
ไร กล่าวที่ไหน
มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว แต่ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่ยาก
แห่งคาถานี้ที่กล่าวแล้ว โดยความสัมพันธ์นี้ ดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา ความว่า ชื่อว่าพรหม เพราะ
เป็นผู้เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ ก็พรหมศัพท์นี้ ปรากฏอยู่ในอรรถทั้งหลาย
มีมหาพรหม พราหมณ์ พระตถาคต มารดาบิดา และผู้ประเสริฐสุดเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น พรหมศัพท์ ท่านหมายว่ามหาพรหม ในประโยคเป็นต้นว่า
ทฺวิสหสฺโส พฺรหฺมา มหาพรหมสองพัน. ท่านหมายว่าพราหมณ์ในคาถานี้ว่า
ตโมนุโท พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ
โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต
อนาสโว สพฺพทุกฺขปฺปหีโน
สจฺจวฺหโย พฺรหฺเม อุปาสิโต เม.
ดูก่อนพราหมณ์ พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความ
มืด ผู้มีพระจักษุโดยรอบ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วง
ภพทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้หมด เรียก
กันว่า พระสัจจะ เราก็เข้าเฝ้าใกล้ชิด.
ท่านหมายว่า พระตถาคต ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมาติ โข ภิกฺขเว
ตถาคตสฺเสต อธิวจน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายว่า พรหม นี้แลเป็นชื่อของ
ตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
ท่านหมายว่า มารดาบิดา ในบาลีนี้ว่า
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาเรา
เราเรียกว่าพรหม เรียกว่าบุรพาจารย์.
ท่านหมายว่าประเสริฐสุด ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมจกฺก ปวตฺเตติ ทรง
ยังจักรอันประเสริฐสุดให้เป็นไป.
ส่วนในที่นี้ ท่านผู้เจริญปฐมฌานอันประณีตแล้วบังเกิดในภูมิแห่ง
ปฐมฌาน ท่านหมายว่ามหาพรหมมีอายุกัปหนึ่ง. จศัพท์ มีอรรถว่ารวมความ
อธิบายว่า พรหมและพรหมเหล่าอื่นในหมื่นจักรวาล. หรือว่า จ ศัพท์เป็นเพียง
ทำบทให้เต็ม. โลก ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก ชื่อว่าโลกในคำว่า
โลกาธิปตินี้. ในโลกทั้ง ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสัตวโลก. ชื่อว่าโลกา-
ธิปติ เพราะเป็นใหญ่เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกนั้น ผู้เป็นเจ้าส่วนหนึ่งแห่งโลก
ท่านก็เรียกว่า โลกาธิบดี เหมือนเทวาธิบดี นราธิบดี.
บทว่า สหมฺปติ ความว่า เล่ากันมาว่า พรหมองค์นั้น เป็น
พระเถระ ชื่อว่า สหกะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ทำปฐมฌานให้เกิดแล้ว ฌานไม่เสื่อม จบชีวิต ก็บังเกิดเป็นมหาพรหมมีอายุ
หนึ่งกัป ในปฐมฌานภูมิ. แต่ในสมัยนั้น เขาก็จำพรหมองค์นั้นกันได้ว่า
ท้าวสหัมบดีพรหม ท่านกล่าวหมายถึงพรหมพระองค์นั้น คนทั้งหลาย
เมื่อควรจะกล่าวว่าสหกปติ แต่ก็กล่าวเสียว่า สหมฺปติ โดยลงนิคคหิตอาคม
ขยายคำออกไป. บทว่า กตญฺชลี แปลว่า มีอัญชลีอันทำแล้ว อธิบายว่า ทำ
กระพุ่มอัญชลีไว้เหนือเศียร. บทว่าอนธิวร ความว่า พรที่ล่วงส่วน พรที่ยิ่ง
ไม่มีแก่พรนั้น เหตุนั้น พรนั้น ชื่อว่าไม่มีพรที่ยิ่ง หรือว่าชื่อว่าอนธิวร เพราะ
ไม่มีพรที่ยิ่งไปกว่านั้น อธิบายว่ายอดเยี่ยม พรอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า อยาจถ
ได้แก่ ได้วอนขอ ได้เชื้อเชิญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ
โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์
ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า อิธ นี่เป็นนิบาต ใช้
ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธนี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือน
อย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ
อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเหิ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ มีอยู่ในศาสนา
นี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.
บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
อิเธว ติฏฺมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต
ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอว ชานาหิ มาริส.
เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้
อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.
บางแห่ง ก็เป็นเพียงปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า อิธาห ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺส ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก
พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ
ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ตถาคตอุบัติ
ในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าในสัตว์โลกนี้. บทว่า
สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ท่านเรียกว่าสัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้
ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ
โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์
เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์
เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่
สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า
สตฺตาน แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺม ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ
นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺม นี้ ธัมม-
ศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ
สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมมศัพท์
ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺม ปริยาปุณาติ
สุตฺต เคยฺย เวยฺยากรณ ฯ เป ฯ เวทลฺล ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียน
ธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺ โส อติวตฺตติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
ท่านพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการคือ
สัจจะ ธรรมะ [ปัญญา] ธิติ จาคะ เหมือนอย่างท่าน
ผู้นั้น ย่อมล่วงศัตรูเสียได้.
ใช้ในอรรถว่า ปกติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติธมฺมา ชราธมฺมา
อโถ มรณธมฺมิโน สัตว์ทั้งหลาย มีชาติเป็นปกติ มีชราเป็นปกติและ
มีมรณะเป็นปกติ.
ใช้ในอรรถว่า สภาวะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา
ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมฝ่ายกุศล สภาวธรรมฝ่าย
อกุศล สภาวธรรมฝ่ายอัพยากฤต.
ใช้ในอรรถว่า สุญญตา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย
ธมฺมา โหนฺติ ขนฺธา โหนฺติ สมัยนั้นก็มีแต่ความว่างเปล่า มีแต่
ขันธ์.
ใช้ในอรรถว่า บุญ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมา-
วหาติ บุญอันบุคคลสั่งสมไว้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข.
ใช้ในอรรถว่า อาบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เทฺว อนิยตา ธมฺมา
อาบัติอนิยต มี ๒ สิกขาบท.
ใช้ในอรรถว่า เญยยะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สพฺเพ ธมฺมา สพฺพา-
กาเรน พุทฺธสฺส ภควโต าณมุเข อาปาถ อาคจฺฉนฺติ เญยยธรรม
ทั้งหมด มาปรากฏในมุขคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการ
ทั้งปวง.
ใช้ในอรรถว่า จตุสัจธรรม ได้ในบาลีว่า ทิฏฺธมฺโม ปตฺตธมฺโม
วิทิตธมฺโม ผู้มีสัจธรรม ๔ อันเห็นแล้ว ผู้มีสัจธรรม ๔ อันบรรลุแล้ว ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
สัจธรรม ๘ อันรู้แล้ว แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า
จตุสัจธรรม. บทว่า อนุกมฺป ได้แก่ โปรดทรงทำความกรุณาเอ็นดู ท่านกล่าว
ชี้หมู่สัตว์ด้วยบทว่า อิม. บทว่า ปช ความว่า ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์
เกิดแล้ว ซึ่งหมู่สัตว์นั้น. อธิบายว่า ขอจงโปรดปลดปล่อยหมู่สัตว์จากสังสาร-
ทุกข์ด้วยเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พระผู้เป็นใหญ่ในโลกคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
สูงสุดในนรชน อันหมู่พรหมทำอัญชลีทูลวอนขอแล้ว.
คาถานี้ มีความที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ด้วยกถาเพียงเท่านี้.
ครั้งนั้น พระมหากรุณาเกิดขึ้นโดยเพียงทำโอกาสในสัตว์ทั้งปวง แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีกำลังแห่งพระกรุณาผุดขึ้นในสมัยที่กำหนดไม่ได้ เพราะ
ทรงสดับคำวอนขอของท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงมีพระกำลังสิบ ทรงสำรวจ
ด้วยพระมติอันละเอียดในการทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. แต่ครั้งทำ
สังคายนา ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงความเกิดพระกรุณาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงตั้งคาถานี้ว่า
ความมีพระกรุณาในสรรพสัตว์ เกิดขึ้นแด่พระ
ตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรักพร้อมแล้ว ผู้คงที่
ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระกายครั้งสุดท้าย ไม่มี
บุคคลจะเปรียบปานได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวิชฺชาจรณสฺส ความว่า ชื่อว่า
สัมปันนะ มี ๓ คือ ปริปุณณสัมปันนะ สมังคิสัมปันนะ และ มธุรสัม-
ปันนะ ในสัมปันนะนั้น สัมปันนะ นี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
สมฺปนฺน สาลิเกทาร สุวา ภุญฺชนฺติ โกสิย
ปฏิเวเทมิ เต พฺรหฺเม น น วาเรตุมุสฺสเห.
ดูก่อนโกสิยพราหมณ์ นกแขกเต้าทั้งหลายกิน
ข้าวสาลีในนาที่บริบูรณ์ ดูก่อนพราหมณ์ เราขอแจ้งให้
ท่านทราบ ท่านจะไม่อุตสาหะป้องกันข้าวสาลีในนา
นั้นหรือ.
ชื่อว่า ปริปุณณสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมินา ปาติโมกฺขสวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต
อุปคโต มุปคโต สมฺปนฺโน สมนฺนาคโต ภิกษุ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้ว
เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว พรั่งพร้อมแล้ว ประกอบ
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้. ชื่อว่า สมังคิสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมิสฺสา ภนฺเต มหาปฐวิยา เหฏฺฐิมตล สมฺปนฺน
เสยฺยถาปิ ขุทฺทมธุ อนีลก เอวมสฺสาท ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นเบื้อง
ล่างของมหาปฐพีนี้ ถึงพร้อมแล้ว มีง้วนดินอร่อย เปรียบเหมือนผึ้งเล็ก [มิ้ม]
ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น. ในที่นี้ ทั้งปริปุณณสัมปันนะ ทั้งสมังคิสัมปันนะ ย่อม
ถูก.
บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าเจาะแทงธรรมที่
เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า ทำให้รู้ และเพราะอรรถว่า ควรได้ ก็วิชชาเหล่านั้น
วิชชา ๓ ก็มี วิชชา ๘ ก็มี. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่มาในภยเภรวสูตรนั่นแล
วิชชา ๘ พึงทราบตามนัยที่มาในอัมพัฏฐสูตร. ความจริงในอัมพัฏฐสูตรนั้น
ท่านกำหนดอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เรียกว่าวิชชา ๘.
บทว่า จรณ ความว่าพึงทราบ ธรรม ๑๕ เหล่านี้คือ ศีลสังวร, ความคุ้มครอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
ทวารในอินทรีย์, ความรู้จักประมาณในโภชนะ , ชาคริยานุโยค, ศรัทธา, หิริ,
โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, ความเป็นผู้ปรารภความเพียร. ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น,
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา รูปาวจรฌาน ๔, จริงอยู่ ธรรม ๑๕ เหล่านี้
นี้แหละ เพราะเหตุที่พระอริยสาวก ย่อมประพฤติ ย่อมไปสู่ทิศอมตะได้ด้วย
ธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
มหานาม อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้มีศีล. จรณะทั้งหมดพึงทราบตามนัย
ที่ท่านกล่าวไว้ในมัชฌิมปัณณาสก์. วิชชาด้วย จรณะด้วย ชื่อว่า วิชชาและ
จรณะ. วิชชาและจรณะของผู้ใดถึงพร้อมแล้ว บริบูรณ์แล้ว ผู้นี้นั้น ชื่อว่า
ผู้มีวิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้ถึงพร้อมแล้ว ผู้พรั่งพร้อมแล้ว หรือผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีวิชชาและจรณะ
อันถึงพร้อมแล้ว . ความก็ถูกแม้ทั้งสองนัย. แด่พระตถาคตพระองค์นั้น ผู้มี
วิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว.
บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้คงที่ ตามลักษณะของผู้คงที่มาในมหานิเทศ
โดยนัยว่าเป็นผู้คงที่ทั้งในอิฏฐารมณ์ คงที่ทั้งในอนิฏฐารมณ์ ดังนี้เป็นต้น อธิบาย
ว่า ผู้มีอาการไม่ผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าผู้คงที่. บทว่า
ชุตินฺธรสฺส ได้แก่ ผู้รุ่งโรจน์. อธิบายว่าผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านออกแห่ง
รัศมีของพระสรีระอันมีสิริเกินกว่าดวงอาทิตย์ในฤดูสารท เหนือขุนเขายุคนธร
หรือจะกล่าวว่าผู้ทรงความรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ดังนี้ก็ควร. สมจริง ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า
จตฺตาโร โลเก ปชฺโชตา ปญฺจเมตฺถ น วิชฺชติ
ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
อถ อคฺคิ ทิวารตฺตึ ตตฺถ ตตฺถ ปภาสติ
สมฺพุทฺโธ ตปต เสฏฺโ เอสา อาภา อนุตตรา.
แสงสว่างในโลกมี ๔ ไม่มีข้อที่ ๕ คือดวงอาทิตย์
ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์ส่องสว่างกลางคืน ส่วน
ไฟส่องสว่างในที่นั้น ๆ ทั้งกลางวันกลางคืน พระ-
สัมพุทธเจ้าทรงประเสริฐสุดแห่งแสงสว่าง แสงสว่าง
นี้ยอดเยี่ยม.
เพราะฉะนั้น จึงอธิบายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านแห่งพระรัศมี
ทางพระสรีระและทางพระปัญญาแม้ทั้งสองประการ. บทว่า อนฺติมเทหธาริโน
ได้แก่ ผู้ทรงพระสรีระสุดท้ายที่สุด. อธิบายว่าไม่เกิดอีก.
จะวินิจฉัยในบทว่า ตถาคตสฺส นี้ ดังนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ อะไร
บ้าง คือ
๑. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
๒. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น
๓. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
๔. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามเป็นจริง
๕. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
๖. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
๗. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง
๘. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น
เป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าเป็นต้น ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญา
บารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมีและอุเบก-
ขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือบารมี ๑๐ เหล่านี้ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-
บารมี ๑๐ ทรงสละมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือบริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิต
บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคบุตรภรรยา เสด็จมาแล้วด้วยอภินิหาร
ใดอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว ด้วยอภินิหาร
นั้น อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย
สพฺพญฺภาว มุนโย อิธาคตา
ตถา อย สกฺยมุนีปิ อาคโต
ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.
พระมุนีทั้งหลาย มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น
เสด็จมาสู่พระสัพพัญญุตญาณในโลกนี้ อย่างใด แม้
พระสักยมุนีพระองค์นี้ก็เสด็จมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระจักษุ ท่านจึงเรียกว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่าง
นั้นเป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ประสูติ
ได้ชั่วเดี๋ยวเดียว ก็ประทับยืนที่แผ่นดิน ด้วยพระบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
พักตร์ทางทิศอุดร เสด็จไปด้วยย่างพระบาท ๗ ย่างก้าว อย่างใด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต เหมือน
อย่างที่ท่านกล่าวว่า
มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา
สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธร
โส วิกฺกมี สตฺตปทานิ โคตโม
เสตญฺจ ฉตฺต อนุธารยุ มรู.
คนฺตฺวาน โส สตฺถปทานิ โคตโม
ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต
อฏฺงฺคุเปต คิรมพฺภุทีรยี
สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฺโต.
โคจ่าฝูง เกิดได้ครู่เดียว ก็สัมผัสพื้นแผ่นดิน
ด้วยเท้าที่เสมอกัน ฉันใด พระโคดมพระองค์นั้นก็ย่าง
พระบาท ๗ ย่างก้าว และทวยเทพก็กั้นเศวตฉัตร
ฉันนั้น. พระโคดมพระองค์นั้น ครั้นเสด็จ ๗ ย่างก้าว
แล้ว ทรงเหลียวดูทิศเสมอกันโดยรอบ ทรงเปล่ง
อาสภิวาจา ประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพระยาสีหะ
ยืนหยัดเหนือยอดขุนเขาฉะนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้
เป็นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
ตอบว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงมาถึง บรรลุไม่ผิดพลาดรู้ตาม
ลักษณะของตนเอง และลักษณะที่เสมอทั่วไป อันถ่องแท้ แท้จริง ของรูปธรรม
และอรูปธรรมทั้งปวง ด้วยญาณคติ.
สพฺเพส ปน ธมฺมาน สกสามญฺลกฺขณ
ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา สตฺถา ตถาคโต.
เพราะเหตุที่ทรงบรรลุถึงลักษณะตนและลักษณะ
ทั่วไปอันแท้จริงของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระศาสดา
จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้
ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร.
ตอบว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมแท้. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็นอย่างอื่น
อริยสัจ มีอะไรบ้าง คืออริยสัจที่ว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็น
อย่างอื่น ฯ ล ฯ พึงทราบความพิศดาร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔
เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้.
ความจริง คตศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้มีอรรถว่า ตรัสรู้.
ตถนามานิ สจฺจานิ อภิสมฺพุชฺฌิ นายโก
ตสฺมา ตถาน สจฺจาน สมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต.
พระผู้นายกตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ที่เป็นของแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลายที่เป็นของแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง
เป็นอย่างไร
ตอบว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น
อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มี
ประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่
ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก. อย่าง
นั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้
พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.
ตถากาเรน โย ธมฺเม ชานาติ อนุปสฺสติ
ตถทสฺสีติ สมฺพุทโธ ตสฺมา วุตฺโต ตถาคโต.
ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย
อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง
เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง
เป็นอย่างไร
ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อัน
พระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ ๔๕ พรรษา ระหว่างตรัสรู้และ
ปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณ ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
ธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง
คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่
เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.
ก็ในคำว่า ตถาคต นี้ คตศัพท์มีอรรถว่ากล่าวชัดเจน. ชื่อว่าตถาคต
เพราะตรัสแต่คำจริงอย่างนี้ การกล่าวชัดเจน ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า
พระดำรัส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นของแท้ไม่วิปริต
เหตุนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต ท่านกล่าวเอา ท เป็น ต.
ตถาวาที ชิโน ยสฺมา ตถธมฺมปฺปกาสโก
ตถามาคทนญฺจสฺส ตสฺมา พุทฺโธ ตถาคโต.
เพราะเหตุที่ พระชินพุทธเจ้า ตรัสแต่คำจริง
ทรงประกาศธรรมที่แท้จริง และพระดำรัสของพระ-
องค์ก็เป็นคำจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง เป็น
อย่างไร.
ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระวาจาใด ๆ ก็ทรง
ทำพระวาจานั้น ๆ ด้วยพระกาย คือพระกายก็อนุโลมตามพระวาจา ทั้งพระ-
วาจาก็อนุโลมตามพระกาย ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำ
อย่างนั้น ตถาคตทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.
อนึ่ง พระวาจาไปอย่างใด แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น พระกายไป
อย่างใด แม้พระวาจาก็ไปอย่างนั้น. ชื่อว่า ตถาคตเพราะทรงทำจริง ด้วย
ประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
ยถา วาจา คตา ตสฺส ตถา กาโย คโต ยโต
ตถาวาทิตา สมฺพุทฺโธ สตฺถา ตสฺมา ตถาคโต.
เพราะเหตุที่พระวาจาของพระองค์ไปอย่างใด
พระกายก็ไปอย่างนั้น เพราะตรัสแต่คำจริง ฉะนั้น
พระศาสดาผู้ตรัสรู้จริง จึงชื่อว่าตถาคต.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ครอบงำ
เป็นอย่างไร.
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครอบงำสัตว์ทั้งปวง เบื้องบน
ถึงภวัคคพรหม. เบื้องขวาง ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้ เบื้องล่าง ก็มีอเวจี
มหานรกเป็นที่สุดด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณ-
ทัสสนะบ้าง ไม่มีเครื่องชั่งหรือเครื่องนับสำหรับพระองค์ ที่แท้พระองค์ก็ชั่ง
ไม่ได้ นับไม่ได้ ยอดเยี่ยม. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ ไม่มี
ใครครอบงำ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจ ฯ ล ฯ
ในโลกทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า ตถาคต.
พึงทราบความสำเร็จความแห่งบท ในบทว่าตถาคโตนี้ ดังกล่าวมา
ฉะนี้ อานุภาพ เปรียบเหมือนยา. ก็นั่นคืออะไรเล่า คือความงดงามแห่ง
เทศนา และกองบุญ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นแพทย์
ผู้มีอานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้มีลัทธิตรงข้ามทั้งหมด และครอบงำโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ด้วยอานุภาพนั้น เหมือนหมองูครอบงำงูทั้งหลาย ด้วยยาทิพย์
ฉะนั้น ดังนั้น อานุภาพ คือความงดงามแห่งเทศนาและกองบุญ ที่ไม่วิปริต
เพราะครอบงำโลกได้หมดของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้น พระองค์จึงควรทราบว่า
ตถาคต เพราะทำ ท อักษร เป็น ต อักษร. ชื่อว่าตถาคตเพราะอรรถว่าครอบงำ
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
ตโถ อวิปรีโต จ อคโท ยสฺส สตฺถุโน
วสวฺตีติ โส เตน โหติ สตฺถา ตถาคโต.
ศาสดาพระองค์ใด ทรงมีอานุภาพแท้ไม่วิปริต
ศาสดาพระองค์นั้น เป็นผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้น
พระศาสดาพระองค์นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.
บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลสฺส ได้แก่ปราศจากบุคคลที่จะเปรียบได้.
บุคคลอื่นไรเล่า ชื่อว่า สามารถให้คำปฏิญาณรับรองว่าเราเป็นพุทธะ ไม่มี
สำหรับพระตถาคตนั้นเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่าไม่มีบุคคลเปรียบได้.
แก่พระตถาคต ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบได้พระองค์นั้น.
บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า อุบัติแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า การุญฺตา
ได้แก่ ความมีแห่งกรุณา ชื่อว่า การุญฺตา. คำว่า สพฺพสตฺเต เป็นคำกล่าว
ครอบคลุมถึงสัตว์ไม่เหลือเลย. อธิบายว่าหมู่สัตว์ทั้งสิ้น. คาถาแม้นี้ มีความที่
กล่าวมาด้วยกถามีประมาณเท่านี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดง
ธรรมแล้ว ทรงยังพระมหากรุณาให้เกิดในสัตว์ทั้งหลาย มีพุทธประสงค์จะทรง
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาแก่พรหมทั้งหลายว่า
ดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร เรา
เปิดสำหรับท่านแล้วละ ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะ
ลำบากเปล่าจึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่ชำนาญใน
หมู่มนุษย์.
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ว่าเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิด
โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงประคองอัญชลี อันรุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
ขึ้นเหนือเศียร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ อันหมู่พรหม
แวดล้อมเสด็จกลับไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทานปฏิญาณแก่
พรหมนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เราควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเกิด
ความคิดว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทรงสำ-
รวจทบทวนก็ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้น ทำกาละได้ ๗ วันแล้วและทรงทราบ
ว่าอุทกดาบสทำกาละแล้วตอนพลบค่ำ ก็ทรงนึกถึงปัญจวัคคีย์อีกว่า บัดนี้ ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง
พาราณสี พอราตรีสว่างวันเพ็ญอาสาฬหะเช้าตรู่ ก็ทรงถือบาตรจีวร ทรงเดิน
ทาง ๑๘ โยชน์ ระหว่างทางทรงพบอาชีวกนักบวชชื่อว่า อุปกะ ทรงบอกแก่เขา
ว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตอนเย็นวันนั้นนั่นเอง ก็ได้เสด็จถึงป่าอิสิปตนะ
ณ ที่นั้น ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เสด็จประทับ
บนพุทธอาสน์อันดีที่เขาจัดไว้แล้ว ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงพระ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.
บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไป
ตามกระแสเทศนา จบพระสูตรก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘
โกฏิ พระศาสดาทรงเข้าจำพรรษาในที่นั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้นทรงทำให้พระ-
วัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยอุบายนี้นี่แล ก็ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้ตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผลหมดทุกรูป รุ่งขึ้นวัน ๕ ค่ำแห่งปักษ์ ทรงประชุมพระเถระ
เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร. จบเทศนา พระเถระทั้ง ๕ รูป ก็
ตั้งอยู่ในพระอรหัต.
ครั้งนั้น ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร
และเห็นเขาละเรือนออกไปแล้ว จึงตรัสเรียกว่า มานี่แน่ะ ยสะ ทรงทำเขาให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นนั่นแล รุ่งขึ้นก็ให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัต
แม้ในวันอื่นอีก ก็ทรงให้ชน ๕๔ คนสหายของยสกุลบุตร บวชด้วยเอหิภิกขุ-
อุปสัมปทาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต เมื่อเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลก จำนวน
๖๑ รูปอย่างนี้ พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาแล้วตรัสดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อบำเพ็ญประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่น จงแยกกันไปเที่ยวธรรมจาริก
แก่มนุษย์ทั้งหลายตลอดแผ่นดินผืนนี้.
เมื่อประกาศสัทธรรมของเราแก่โลกเนืองนิตย์
ก็จงอยู่เสียที่ป่าเขาอันสงัด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อทำหน้าที่พระ-
ธรรมทูต ก็จงปฏิบัติด้วยดีซึ่งคำของเรา สั่งสอนเขา
เพื่อประโยชน์แก่สันติของสัตว์ทั้งหลาย.
พวกเธอไม่มีอาสวะ จงช่วยปิดประตูอบายทั้งสิ้น
เสียทุกประตู จงช่วยเปิดประตูสวรรค์ มรรค และ
ผล.
พวกเธอ จงมีคุณมีกรุณาเป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัย
เพิ่มพูนความรู้และความเชื่อแก่ชาวโลกทุกประการด้วย
การเทศนาและการปฏิบัติ.
เมื่อพวกคฤหัสถ์ ทำการอุปการะด้วยอามิสทาน
เป็นนิตย์ พวกเธอ ก็จงตอบแทนพวกเขาด้วยธรรม-
ทานเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
พวกเธอเมื่อจะแสดงธงชัยของพระฤษีผู้แสวงคุณ
ก็จงยกย่องพระสัทธรรม เมื่อการงานที่พึงทำ ทำเสร็จ
แล้ว ก็จงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงส่งภิกษุเหล่านั้นไปใน
ทิศทั้งหลาย ส่วนพระองค์เองก็เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ระหว่างทาง ทรง
แนะนำ ภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน ที่ราวป่าฝ้าย บรรดากุมารทั้ง ๓๐ คนนั้น
ผู้ใดอ่อนกว่าเขาหมด ผู้นั้นก็เป็นพระโสดาบัน ผู้ใดแก่กว่าเขาหมด ผู้นั้น ก็เป็น
พระอนาคามี แต่แม้สักคนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชนไม่มีเลย ทรงยัง
กุมารแม้เหล่านั้นให้บวชด้วยเอหิภิกขุหมดทุกคน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย
พระองค์เองครั้นเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศแล้ว ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๑,๒๕๐ อย่าง
ทรมานชฏิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลากัสสปเป็นต้นพร้อมด้วยบริวารชฏิลพันคน
ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุแล้ว ให้นั่งประชุมกันที่คยาสีสะประเทศ ให้ตั้งอยู่ใน
พระอรหัต ด้วยเทศนาชื่อว่าอาทิตตปริยายสูตรอันภิกษุอรหันต์พันรูปแวด
ล้อมแล้ว เสด็จไปยังลัฏฐิวนอุทยาน อันเป็นอุปจารแห่งกรุงราชคฤห์ด้วยพุทธ-
ประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ต่อนั้น พนักงานเฝ้าพระ-
ราชอุทยานกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว
อันพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุตห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระทศพล ผู้เป็นดวง
อาทิตย์แห่งพระมุนีผู้ประเสริฐ ซึ่งเสด็จอยู่ในช่องแห่งวนะดุจดวงทิพากรเข้าไป
ในช่องหลืบเมฆ ทรงซบพระเศียรซึ่งโชติช่วงด้วยประกายรุ้งแห่งมงกุฏมณีลง
แทบเบื้องพระยุคลบาทของพระทศพล อันดารดาษด้วยโกมลดอกไม้น่าไร้มลทิน
ไม่วิกล ที่มีพื้นฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน
หนึ่งพร้อมด้วยราชบริพาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นก็คิดปริวิตกไปว่า พระมหา-
สมณะ ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือท่านอุรุเวลกัสสป
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น จึงได้ตรัสกะพระเถระ
ด้วยพระคาถาว่า
กิเมว ทิสฺวา อุรุเวลวาสิ
ปหาสิ อคฺคึ กิสโกวทาโน
ปุจฉามิ ต กสฺสป เอตมตฺถ
กถ ปหีน ตว อคฺคิหุตฺต.
ดูก่อนกัสสป ท่านอยู่อุรุเวลประเทศสั่งสอน
ศิษย์ชฎิลมานาน เห็นเหตุอะไรหรือจึงละการบูชาไฟ
เราถามความนี้กะท่าน ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟ.
พระเถระทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถา
นี้ว่า
รูเป จ สทฺเท จ อโถ รเส จ
กามิตฺถิโย จาภิวทนฺติ ยญฺา
เอต มลนฺติ อุปธีสุ ตฺวา
ตสฺมา น ยิฏฺเ น หุเต อรญฺชึ.
ยัญทั้งหลาย สรรเสริญรูป เสียง รส กามและ
สตรีทั้งหลาย. ข้าพระองค์รู้ว่า นั่นเป็นมลทินในอุปธิ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในยัญ
ในการบูชาไฟ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
แล้วซบศีรษะลงแทบเบื้องยุคลบาทของพระตถาคตเพื่อประกาศความที่ตนเป็น
สาวก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก แล้วก็โลดขึ้นสู่อากาศ ๗ ครั้ง ประมาณ
ชั่วหนึ่งลำตาล ชั่วสองลำตาล ฯลฯ ชั่วเจ็ดลำตาล ทำปาฏิหาริย์แล้วก็ลงจาก
อากาศ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
ครั้งนั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระนั้นแล้วคิดกันว่า โอ
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก แม้ท่านอุรุเวสกัสสปมีทิฏฐิกล้า
สำคัญตนว่า เป็นอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรงทำลายข่ายทิฏฐิทรมานแล้ว ก็
พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระทศพล. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว
ตรัสว่า มิใช่เราทรมานอุรุเวลกัสสปผู้นี้ในชาตินี้เท่านั้นดอกนะ แม้ในอดีต
ชาติ อุรุเวลกัสสปนี้เราก็ทรมานมาแล้วเหมือนกัน. ครั้งนั้นมหาชนลุกขึ้นจากที่
นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีเหนือศีรษะ กราบทูลอย่าง
นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ ท่านอุรุเวลกัสสปถูกทรมารพวกข้าพระ-
องค์เห็นแล้ว ในอดีตชาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานอย่างไร พระเจ้าข้า.
แต่นั้น พระศาสดาอันมหาชนนั้นทูลวอนแล้ว จึงตรัสมหานารทกัสสปชาดก
ซึ่งระหว่างภพปกปิดไว้แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔. พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับ
ธรรมกถาของพระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับราชบริพาร
๑๑ นหุต. ๑ นหุตประกาศตนเป็นอุบาสก. พระราชาทรงถึงสรณะแล้วนิมนต์
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงทำประ-
ทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าสามครั้ง แล้วถวายบังคมเสด็จกลับ.
วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุพันรูปแวดล้อมแล้วเสด็จเข้า
ไปยังกรุงราชคฤห์เสมือนท้าวสหัสนัยน์เทวราชอันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว เสมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
ท้าวมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อมแล้ว. พระราชาถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน เสร็จเสวยแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่เว้นพระไตรรัตน์ได้. ข้าพระองค์
จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่ในเวลาบ้าง ชื่อว่าอุทยานลัฏฐิวัน
ก็อยู่ไกลเกินไป. ส่วนอุทยานชื่อว่าเวฬุวันของข้าพระองค์นี้ สำหรับผู้ต้องการ
วิเวก ไม่ไกลนักไม่ใกล้นัก พรั่งพร้อมด้วยทางคมนาคม ไร้ผู้คนเบียดเสียด
สงัดสุข พร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับพื้นศิลาเย็น เป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์
อย่างยิ่งมีต้นไม้อย่างดีมีดอกหอมกรุ่นชั่วนิรันดร์ ประดับประดาด้วยปราสาท
ยอดปราสาทโล้น วิหาร ดุจวิมานเรือนมุงแถบเดียว มณฑปเป็นต้น. ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้า โปรดทรงรับอุทยานเวฬุวันนี้ของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า
แล้วทรงถือน้ำมีสีดังแก้วมณีอันอบด้วยดอกไม้กลิ่นหอมด้วยพระเต้าทอง เสมือน
ถ่านร้อนใหม่ เมื่อทรงบริจาคพระเวฬุวนาราม ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือพระหัตถ์
ของพระทศพล. ในการรับพระอารามนั้น มหาปฐพีนี้ก็ตกสู่อำนาจปีติว่า ราก
ของพระพุทธศาสนา หยั่งลงแล้ว ก็ไหวราวกะฟ้อนรำ. ธรรมดาเสนาสนะอื่น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วทำให้แผ่นดินไหว เว้นพระเวฬุวันมหาวิหาร
เสียไม่มีเลยในชมพูทวีป. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงรับพระเวฬุวนารามแล้วได้
ทรงทำอนุโมทนาวิหารทาน
อาวาสทานสฺส ปนานิสส
โก นาม วตฺถ ปุริโส สมตฺโถ
อญฺตฺร พุทฺธา ปน โลกนาถา
ยุตฺโต มุขาน นหุเตน จาปิ.
นอกจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ปาก
คน ๑ นหุต บุรุษไรเล่าผู้สามารถจะกล่าวอานิสงส์ของ
การถวายที่อยู่อาศัยได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
อายุญฺจ วณฺณญฺจ สุข พลญฺจ
วร ปสตฺถ ปฏิภาณเมว
ททาติ นามาติ ปวุจฺจเต โส
โย เทติ สงฺฆสฺส นโร วิหาร.
นรชนใด ถวายที่อยู่แก่สงฆ์ นรชนนั้น ท่าน
กล่าวว่า ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิ-
ภาณอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.
ทาตา นิวาสสฺส นิวารณสฺส
สีตาทิโน ชีวิตุปทฺทวสฺส
ปาเลติ อายุ ปน ตสฺส ยสฺมา
อายุปฺปโท โหติ ตมาหุ สนฺโต.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายที่อยู่อาศัย อันป้องกันอุปัทวะ
แห่งชีวิตมีความเย็นเป็นต้น ย่อมรักษาอายุของเขาไว้
ได้ ฉะนั้น สัตบุรุษทั้งหลายจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้
ให้อายุ.
อจฺจุณฺหสีเต วสโต นิวาเส
พลญฺจ วณฺโณ ปฏิภา น โหติ
ตสฺมา หิ โส เทติ วิหารทาตา
พลญฺจ วณฺณญฺจ ปฏิภาณเมว.
พละ วรรณะ และปฏิภาณย่อมจะไม่มีแก่ผู้อยู่ใน
ที่อยู่อาศัยอันร้อนจัดเย็นจัด เพราะฉะนั้นแล ผู้ถวาย
วิหารที่อยู่นั้นจึงชื่อว่าให้พละ วรรณะ และปฏิภาณ
ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
ทุกฺขสฺส สีตุณฺหสิรึสปา จ
วาตาตปาทิปฺปภวสฺส โลเก
นิวารณาเนกวิธสฺส นิจฺจ
สุขปฺปโท โหติ วิหารทาตา.
ผู้ถวายวิหาร ย่อมชื่อว่าให้สุขเป็นนิตย์ เพราะ
ป้องกันทุกข์มากอย่างที่เกิดแต่เย็นร้อนสัตว์เลื้อยคลาน
ลม แดดเป็นต้นในโลก.
สีตุณฺหวาตาตปฑสวุฏฺิ
สิรึสปาวาฬมิคาทิทุกฺข
ยสฺมา นิวาเรติ วิหารทาตา
ตสฺมา สุข วินฺทติ โส ปรตฺถ.
เพราะเหตุที่ผู้ถวายวิหาร ย่อมป้องกันทุกข์มีเย็น
ร้อน ลม แดด เหลือบฝน สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ร้าย
เป็นต้นได้ ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ได้สุขในโลกหน้า.
ปสนฺนจิตฺโต ภวโภคเหตุ
มโนภิราม มุทิโต วิหาร
โย เทติ สีลาทิคุโณทิตาน
สพฺพ ทโท นาม ปวุจฺจเต โส.
ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส บันเทิงแล้วถวายวิหารอันเหตุ
แห่งภพและโภคะที่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจ แก่ท่านผู้มี
คุณมีศีลเป็นต้นอันเกิดแล้ว ผู้นั้นท่านเรียกชื่อว่าผู้ให้
ทุกอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ปหาย มจฺเฉรมล สโลภ
คุณาลยาน นิลย ททาติ
ขิตฺโตว โส ตตฺถ ปเรหิ สคฺเค
ยถาภต ชายติ วีตโสโก.
ผู้ใดละมลทินคือตระหนี่ พร้อมทั้งโลภะ ถวาย
วิหาร แก่เหล่าท่านผู้มีคุณเป็นที่อยู่อาศัย ผู้นั้น ก็เป็น
เหมือนถูกผู้อื่นโยนไปในสวรรค์นั้น ย่อมเกิดเป็นผู้
ปราศจากความเศร้าโศกถึงสมบัติที่รวบรวมไว้.
วเร จารุรูเป วิหาเร อุฬาเร
นโร การเย วาสเย ตตฺถ ภิกฺขู
ทเทยฺยนฺนปานญฺจ วตฺถญฺจ เนส
ปสนฺเนน จิตฺเตน สกฺกจฺจ นิจฺจ.
นรชนสร้างวิหารทองประเสริฐเลิศโอฬารนิมนต์
ภิกษุทั้งหลายอยู่ในวิหารนั้น พึงถวายข้าวน้ำและผ้า
แก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตที่เลื่อมใส โดยเคารพเป็นนิตย์.
คสฺมา มหาราช ภเวสุ โภเค
มโนรเม ปจฺจนุภุยฺย ภิยฺโย
วิหารทานสฺส ผเลน สนฺต
สุข อโสก อธิคจฺฉ ปจฺฉา.
ถวายพระพร เพราะฉะนั้น มหาบพิตรจะเสวย
โภคะที่น่ารื่นรมย์ใจในภพทั้งหลายยิ่งขึ้นไป ด้วยผล
แห่งวิหารทาน ภายหลังจงทรงประสบธรรมอันสงบ
สุข ไม่เศร้าโศกแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
พระจอมมุนี ครั้นทรงทำอนุโมทนาวิหารทานแก่พระเจ้าพิมพิสาร
จอมนรชนประการดังนี้อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
เมื่อทรงทำนครให้เป็นวนวิมานเป็นต้น ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระ-
องค์ที่น่าทอดทัศนาอย่างยิ่ง ประหนึ่งเลื่อมพรายที่เกิดแต่รดด้วยน้ำทอง เสด็จ
เข้าสู่พระเวฬุวันมหาวิหาร ด้วยพระพุทธลีลา หาที่เปรียบมิได้ด้วยพระพุทธสิริ
ที่ไม่มีสิ้นสุดแล.
อกีฬเน เวฬุวเน วิหาเร
ตถาคโต ตตฺถ มโนภิราเม
นานาวิหาเรน วิหาสิ ธีโร
เวเนยฺยกาน สมุทิกฺขมาโน.
พระตถาคตจอมปราชญ์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุ-
วันวิหาร ซึ่งมิใช่เป็นที่เล่น แต่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจนั้น
ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ ทรงคอยตรวจดูเวไนย-
สัตว์ทั้งหลาย.
พระพุทธบิดาเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเวฬุวันวิหารนั้น พระเจ้า
สุทโธทนะมหาราชทรงสดับว่า โอรสเรา ทำทุกกรกิริยา ๖ ปี บรรลุอภิสัมโพธิ-
ญาณอย่างเยี่ยม ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงเรียกมหาอมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสสั่งว่า
พนายมานี่แน่ะ เจ้าพร้อมบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร จงไปกรุงราชคฤห์ พูดตาม
คำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชบิดาท่านมีประสงค์จะพบท่าน แล้วจง
พาโอรสของเรามา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
มหาอมาตย์ผู้นั้น รับพระราชโองการแล้ว มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร
ก็เดินทาง ๖๐ โยชน์ เข้าไปยังวิหาร ในเวลาทรงแสดงธรรม มหาอมาตย์ผู้นั้น
คิดว่าข่าวที่พระราชาทรงส่งมาพักไว้ก่อน ก็ยืนท้ายบริษัท ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมกับบุรุษพันหนึ่ง ทูลขอ
บรรพชา. พระศาสดา ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว พวกเธอ
จงเป็นภิกษุมาเถิด ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ในทันใด
ถึงพร้อมด้วยกิริยาที่เหมาะแก่สมณะ ประหนึ่งพระเถระ ๑๐๐ พรรษา แวดล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระราชาทรงพระดำริว่า คนที่ไปก็ยังไม่มา ข่าวก็ไม่ได้ยิน ทรงส่ง
อมาตย์ไป ๙ ครั้ง โดยทำนองนี้นี่แล บรรดาบุรุษ ๙,๐๐๐ คนนั้น ไม่ได้
กราบทูลพระราชาแม้แต่คนเดียว ทั้งไม่ส่งข่าวคราวด้วย บรรลุพระอรหัตแล้ว
พากันบวชหมด.
ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า ใครหนอจักทำตามคำของเรา ทรง
สำรวจดูกำลังส่วนของราชสำนักทั้งหมดก็ได้ทรงพบอุทายีอมาตย์ เล่ากันว่า
อุทายีนั้นเป็นอมาตย์สำเร็จราชการทั้งหมดของพระราชา เป็นคนภายในมีความ
สนิทสนมยิ่งนัก เกิดในวันเดียวกับพระโพธิสัตว์เป็นพระสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน
มา. ครั้งนั้นพระราชาทรงเรียกอุทายีอมาตย์มาแล้วตรัสว่า อุทายีลูกเอย พ่อ
ประสงค์จะพบโอรส จึงส่งบุรุษไปถึง ๙,๐๐๐ คน มากันแล้วจะบอกเพียงข่าว
แม้แต่คนเดียวก็ไม่มี อันตรายแห่งชีวิตของพ่อ รู้ได้ยาก พ่ออยากจะพบโอรส
แต่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกจักพาโอรสมาแสดงแก่พ่อได้ไหมลูก.
อุทายีอมาตย์กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าได้
บวช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
พระราชารับสั่งว่า ลูกจะบวชหรือไม่บวชก็ตามที แต่ลูกต้องนำโอรส
มาแสดงแก่พ่อ.
อุทายีอมาตย์ รับพระราชดำรัสใส่เกล้าแล้ว ก็นำข่าวของพระราชา
ไปถึงกรุงราชคฤห์. ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยบุรุษพันหนึ่ง ตั้งอยู่ในเอหิภิกขุภาวะแล้วเพ็ญเดือนผัคคุนี [เดือน ๔]
ก็ดำริฤดูเหมันต์ก็ล่วงไปแล้ว ถึงฤดูวสันต์เข้านี่แล้ว ราวป่าก็มีดอกไม้บาน
สะพรั่ง หนทางก็เหมาะที่จะเดิน เป็นกาลสมควรที่พระทศพลจะทรงทำการ
สงเคราะห์พระประยูรญติ ครั้นดำริแล้วก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนา
คุณการเสด็จพุทธดำเนิน เพื่อเข้าไปยังพระนครแห่งพระสกุลด้วยคาถาประมาณ
๖๐ คาถา
๑. องฺคาริโน ทานิ ทุมา ภทนฺเต
ผเลสิโน ฉทน วิปฺปหาย
เต อจฺจิมนฺโตว ปภาสยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลาย สลัดใบ
มีแต่ลำต้น เตรียมจะติดช่อติดผล ต้นไม้เหล่านั้น
ส่องพระกายสว่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒. ทุมา วิจิตฺตา สุวิราชมานา
รตฺตงฺกุเรเหว จ ปลฺลเวหิ
รตนุชฺชลมณฺฑปสนฺนิภาสา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
ต้นไม้ทั้งหลาย งดงาม รุ่งเรืองด้วยหน่อสีแดง
และใบอ่อน ประหนึ่งมณฑปที่รุ่งเรืองด้วยรัตนะ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๓. สุปุปฺผิตคฺคา กุสุเมหิ ภูสิตา
มนุญฺภูตา สุจิสาธุคนฺธา
รุกฺขา วิโรจนฺ ติ อุโภสุ ปสฺเสสุ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ต้นไม้ทั้งหลาย บนยอดมีดอกบานงาม ประดับ
ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย น่าชื่นใจ ดอกสะอาด สวย และ
มีกลิ่นหอม อร่ามไปทั้งสองข้างทาง ข้าแต่พระมหา-
วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระ-
เจ้าข้า
๔. ผเลหิเนเกหิ สมิทฺธิภูตา
วิจิตฺตรุกฺขา อุภโตวกาเส
ขุทฺท ปิปาสมฺปิ วิโนทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ต้นไม้ที่งดงามทั้งหลาย ในโอกาสสองข้างทาง
ดกดื่นด้วยผลเป็นอันมาก บรรเทาความยากไร้ ทั้ง
ความหิวระหายได้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
๕. วิจิตฺตมาลา สุจิปลฺลเวหิ
สุสชฺชิตา โมรกลาปสนฺนิภา
รุกฺขา วิโรจนฺติ อุโภสุ ปสฺเสสุ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ต้นไม้ทั้งหลาย มีดอกงดงาม อันใบอ่อนที่สะอาด
ตกแต่งแล้ว เสมือนต้นหางนกยูง อร่ามไปทั้งสอง
ข้างทาง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖. วิโรจมานา ผลปลฺลเวหิ
สุสชฺชิตา วาสนิวาสภูตา
โตเสฺนฺติ อทฺธานกิลนฺตสตฺเต
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ต้นไม้ทั้งหลาย รุ่งโรจน์ อันผลและใบอ่อน
ตกแต่งแล้ว ประดับประดาด้วยน้ำหอม ย่อมปลอบ
ประโลมใจเหล่าสัตว์ที่เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๗. สุผุลฺลิตคฺคา วนคุมฺพนิสฺสิตา
ลตา อเนกา สุวิราชมานา
โตเสนฺติ สตฺเต มณิมณฺฑปาว
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยพุ่มไม้ในป่า บนยอด
ออกดอกบานสวย สง่างาม ย่อมปลอบประโลมใจ
เหล่าสัตว์ เหมือนมณฑปมณี ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๘. ลตา อเนกา ทุมนิสฺสิตาว
ปิเยหิ สทฺธึ สหิตา วธูว
ปโลภยนฺติ หิ สุคนฺธคนฺธา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยตัดต้นไม้ ประหนึ่งหญิง
สาวไปกับชายที่รัก มีกลิ่นหอมอบอวลประโลมใจ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๙. วิจิตฺตนีลาทิมนุญฺวณฺณา
ทิชา สมนฺตา อภิกูชมานา
โตเสนฺติ มญฺชุสฺสรตา รตีหิ
สโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝูงนก มีสีสรรสวยงามน่าชื่นใจ มีสีเขียวเป็นต้น
ส่งเสียงร้องไพเราะโดยรอบ ด้วยความยินดี ปลอบ
ประโลม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๐. มิคา จ นานา สุวิราชมานา
อุตฺตุงฺคกณฺณา จ มนุญฺเนตฺตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
ทิสา สมนฺตา มภิธาวยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝูงเนื้อนานาชนิด เกลื่อนกราด ยกหูชูชัน เบิ่งตา
น่าชื่นใจ พากันวิ่งไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๑. มนุญฺภูตา จ มหี สมนฺตา
วิราชมานา หริตา ว สทฺทลา
สุปุปฺผิรุกฺขา โมฬินิวลงฺกตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
แผ่นปฐพีมีหญ้าแพรกขึ้นเขียวขจีส่องประกาย
โดยรอบน่าชื่นใจ ต้นไม้ดอกบานงาม ก็ประดับดุจ
โมลี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า
๑๒. สุสชฺชิตา มุตฺตมยาว วาลุกา
สุสณฺฐิตา จารุสุผสฺสทาตา
วิโรจนยนฺเตว ทิสา สมนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ทรายทั้งหลาย ดูดังมุกดาอันธรรมดาจัดแต่งไว้
ทรวดทรงงามให้สัมผัสดีดังทอง ส่องแสงสกาว
รอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
๑๓. สม สุผสฺส สุจิภูมิภาค
มนุญฺปุปฺโผทยคนฺธวาสิต
วิราชมาน สุจิมญฺจ โสภ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พื้นแผ่นดินสะอาด ราบเรียบ สัมผัสดี กลิ่นเกิด
จากดอกไม้หอม ตลบอบอวลน่าชื่นใจ ส่องประกาย
สะอาดงาม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๔. สุสชฺชิต นนฺทนกานนว
วิจิตฺตนานา ทุมสณฺฑมณฺฑิต
สุคนฺธภูต ปวน สุรมฺม
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ป่าใหญ่อันธรรมดาตกแต่งดีแล้ว ประดับด้วย
ต้นไม้นานาชนิดเรียงรายงามตระการ มีกลิ่นหอม น่า
รื่นรมย์อย่างดี ดั่งสวนนันทวัน ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๕. สรา วิจิตฺตา วิวิธา มโนรมา
สุสชฺชิตา ปงฺกชปุณฺฑรีกา
ปสนฺนสีโตทกจารุปุณฺณา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
สระทั้งหลาย หลากชนิดวิจิตรน่ารื่นรมย์ใจ อัน
ธรรมดาตกแต่งไว้ มีบัวบุณฑริก เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
ใสดั่งทอง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๖. สุผุลฺลนานาวิธปงฺกเชหิ
วิราชมานา สุจิคนฺธคนฺธา
ปโมทยนฺเตว นรามราน
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน
สระทั้งหลาย อร่ามเหลืองด้วยบัวนานาชนิดดอก
บานงาม กลิ่นกรุ่นสะอาด ทำให้เหล่ามนุษย์ชาติแล
เทพดาบันเทิงใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๗. สุผุลฺลปงฺเกรุหสนฺนิสินฺนา
ทิชา สมนฺตา มภินาทยนฺตา
โมทนฺติ ภริยาหิ สมงฺคิโน เต
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝูงนักจับกอบัวที่ดอกบานร้องเจี๊ยบจ๊าบไปรอบ ๆ
นกเหล่านั้นบันเทิงพร้อมกับตัวเมีย ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๑๘. สุผุลฺลปุปฺเผหิ รช คเหตฺวา
อลี วิธาวนฺติ วิกูชมานา
มธุมฺหิ คนฺโธ วิทิส ปวายติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝูงผึ้งเก็บละอองจากดอกไม้บานส่งเสียงร้องบิน
เวียนว่อน กลิ่นน้ำหวาน ก็กำจายไปทั่วทิศ ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๑๙. อภินฺนนาทา มทวารณา จ
คิรีหิ ธาวนฺติ จ วาริธารา
สวนฺติ นชฺโช สุวิราชิตาว
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
โขลงช้างเมามัน ส่งเสียงแปร๋แปร๋นแล่นออก
จากซอกเขา และกระแสน้ำก็พราวพรายไหลจากลา
แม่น้ำ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๐. คิรี สมนฺตาว ปทิสฺสมานา
มยูรคีวา อิว นีลวณฺณา
ทิสา รชินฺทาว วิโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ขุนเขาทั้งหลาย ปรากฏเห็นอยู่รอบๆ มีสีเขียว
ขาบ เหมือนคอนกยูง รุ่งทะมึน เหมือนเมฆ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๒๑. มยูรสงฺฆา คิริมุทฺธนสฺมึ
นจฺจนฺติ นารีหิ สมงฺคิภูตา
กูชนฺติ นานามธุรสฺสเรหิ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
ฝูงยูงผู้พร้อมด้วยตัวเมีย พากันฟ้อนรำเหนือยอด
คิรี กู่ก้องด้วยเสียงอันไพเราะต่างๆ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๒. สุวาทิกา เนกทิชา มนุญฺา
วิจิตฺตปตฺเตหิ วิราชมานา
คิริมฺหิ ฐตฺวา อภินาทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝูงนกเป็นอันมาก มีเสียงเพราะ น่าชื่นใจ
เลื่อมพรายด้วยขนปีกอันงดงาม ยืนร้องก้องกังวาน
เหนือคิรี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๓. สุผลฺลปุปฺผา กรมาภิกิณฺณา
สุคนฺธนานาทลลงฺกตา จ
คีรี วิโรจนฺติ ทิสา สมนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ภูเขาทั้งหลาย มีดอกไม้บานงาม เกลื่อนกลาด
ด้วยต้นเล็บเหยี่ยว ประดับด้วยกลีบดอกไม้นานาชนิด
มีกลิ่นหอม งามระยับไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๔. ชลาสยา เนกสุคนฺธคนฺธา
สุรินฺทอุยฺยานชลาสยาว
สวนฺติ นชฺโช สุวิราชมานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
ชลาศัยลำน้ำมีกลิ่นหอมกรุ่นเป็นอันมาก พร่าง
พรายไหลมาแต่แม่น้ำ เหมือนชลาลัยในอุทยานของ
ท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๕. วิจิตฺตติตฺเถหิ อลงฺกตา จ
มนุญฺนานามิคปกฺขิปาสา
นชฺโช วิโรจนฺติ สุสนฺทมานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
แม่น้ำทั้งหลาย ประดับด้วยท่าน้ำอันงาม เป็น
ที่ฝูงเนื้อและนกนานาชนิดลงดื่มกินน่าชื่นใจ ไหลอยู่
พร่างพราย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๖. อุโภสุ ปสฺเสสุ ชลาสเยสุ
สุปุปฺผิตา จารุสุคนฺธรุกฺขา
วิภูสิตคฺคา สุรสุนฺทรี จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
กลุ่มต้นไม้งาม กลิ่นหอม ออกดอกบาน ณ
ชลาลัยทั้งสองฝั่ง ยอดมีดอกประดับ สวยงามสง่า
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๒๗. สุคนฺธนานาทุมชาลกิณฺณ
วน วิจิตฺต สุรนนฺทนว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
มโนภิราม สตต คตีน
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ป่าเกลื่อนกลาดด้วยแนวไม้นานาชนิด มีกลิ่น
หอม งดงามดังสวนนันทนวันของเทวดา เป็นที่รื่น-
รมย์ใจยิ่งของผู้ที่ไปเนื่อง ๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น
สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๘. สมฺปนฺนนานาสุจิอนฺนปานา
สพฺยญฺชนา สาธุรเสน ยุตฺตา
ปเถสุ คาเม สุลภา มนุญฺา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ข้าวน้ำอันสะอาดนานาชนิด สมบูรณ์พร้อมทั้ง
กับแกล้ม ประกอบด้วยรสอร่อย หาได้ง่ายในหมู่บ้าน
ใกล้ทาง น่าชื่นใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๒๙. วิราชิตา อาสิ มหี สมนฺตา
วิจิตฺตวณฺณา กุสุมาสนสฺส
รตฺตินฺทโคเปหิ อลงฺกตาว
มโย มหาวีร องฺคีรสาน.
แผ่นดินแห่งที่ตั้งดอกไม้ ที่มีสีสรรงดงาม ก็
เรืองอร่ามไปโดยรอบ ยามราตรีก็ประดับด้วยหิ่งห้อย
ทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
๓๐. วิสุทฺธสทฺธาทิคุเณหิ ยุตฺตา
พุทฺธราช อภิปตฺถยนฺตา
หิ ตตฺเถว ชนา สมนฺตา
ย มหาวีร องฺคีรสาน.
ชนทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น
อันบริสุทธิ์ ปรารถนายิ่งนักซึ่งราชะคือภาวะเป็นพระ-
สัมพุทธเจ้า มีอยู่เป็นอันมากรอบ ๆ ณ แผ่นดินนั้น
นั่นแล ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๑. วิจิตฺรอารามสุโปกฺขรญฺโ
วิจิตฺนานาปทุเมหิ ฉนฺนา
ภิเสหิ ขีรว รส ปวายติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
สระโบกขรณีอันงามน่ารื่นรมย์ ปกคลุมด้วย
ปทุมนานาชนิดอันงาม ย่อมหลั่งรสดุจน้ำมัน โดย
เหง้าทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๒. วิจิตฺรนีลจฺฉทเนนลงฺกตา
มนุญฺรุกฺขา อุภโตวกาเส
สมุคฺคตา สตฺตสมูทภูตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
ต้นไม้น่าชื่นใจทั้งหลาย ประดับด้วยใบเขียวงาม
ขึ้นสล้าง ณ โอกาสสองข้างทาง เป็นที่ชุมนุมของสัตว์
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๓. วิจิตฺรนีลพฺภมิวายต วน
สุรินฺทโลเก อิว นนฺ ทน วน
สพฺโพตุก สาธุสุคนฺธปุปฺผ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
วนะที่ครึ้มด้วยเมฆคือตัดต้นไม้เขียวตระการ มีดอก
บานงามและหอมทุกฤดู ดั่งนันทนวัน ในภพของ
องค์อัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๔. สุภฺชส โยชนโยชเนฺสุ
สุภิกฺขคามา สุลภา มนุญฺา
ชนาภิกิณฺณา สุลภนฺนปานา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
หนทางดี ทุก ๆ โยชน์ หมู่บ้านมีอาหารดี หา
ได้ง่าย น่าชื่นใจ มีผู้คนหนาแน่น มีข้าวน้ำหาได้
สะดวก ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
๓๕. ปหูตฉายูทกรมฺมภูตา
นิวาสิน สพฺพสุขปฺปทาตา
วิสาลสาลา จ สภา จ พหู
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ศาลากว้างและสภาที่ประชุม มีร่มเงาและน้ำ
มากพอน่ารื่นรมย์ มอบความสุขทุกอย่างแก่ผู้อยู่อาศัย
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๓๖. วิจิตฺรนานาทุมสณฺฑมณฺฑิตา
มนุญฺอุยฺยานสุโปกฺขรญฺโ
สุมาปิตา สาธุสุคนฺธคนฺธา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
สระโบกขรณีดีในอุทยานที่น่าชื่นใจ ประดับด้วย
แนวต้นไม้นานาชนิดอันงาม อันธรรมดาสร้างสรรไว้
มีกลิ่นหอมกรุ่นสำเร็จประโยชน์ ข้าแต่พระมหาวีระ
เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๗. วาโต มุทูสีตลสาธุรูโป
นภา จ อพฺภา วิคตา สมนฺตา
ทิสา จ สพฺพาว วิโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ลมอ่อนเย็นให้สำเร็จประโยชน์ และท้องฟ้าก็
ปราศจากเมฆหมอกโดยรอบทิศทั้งหลายก็สว่างไสวไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
หมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๘. ปเถ รโชนุคฺคมนตฺถเมว
รตฺตึ ปวสฺสนฺติ จ มนฺทวุฏฺี
นเภ จ สูโร มุทุโกว ตาโป
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ฝนตกน้อยๆ ในราตรีเพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งขึ้น
ที่หนทาง ดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าก็มีแสงแดดอ่อน ๆ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๓๙. มทปฺปพาหา มทหตฺถิสงฺฆา
กเรณุสงฺเฆหิ สุกีฬยนฺติ
ทิสา วิธาวนฺติ จ คชฺชยนฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน
ฝูงช้างพลายซุกซน มีงวงซุกซน หยอกเล่นกับ
ฝูงช้างพังทั้งหลาย ร้องคำรณวิ่งแล่นไปรอบทิศ ข้า
แต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๔๐. วน สุนีล อภิทสฺสนีย
นีลพฺภกูฏ อิว รมฺมภูต
วิโลกิตาน อติวิมฺหนีย
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
วนะเขียวสด น่าพิศยิ่งนัก น่ารื่นรมย์ เป็น
ของน่าประหลาดสำหรับคนที่มองดู เหมือนยอดเมฆ
สีคราม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ
พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๑. วิสุทฺธมพฺภ คคน สุรมฺม
มณิมเยหิ สมลงฺกตาว
ทิสา จ สพฺพา อติโรจยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ท้องฟ้าปราศจากเมฆหมอก น่ารื่นรมย์ดี ทิศ
ทุกทิศจะเป็นเหมือนประดับด้วยสิ่งที่ทำด้วยแก้วมณี
รุ่งโรจน์อยู่ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๒. คนฺธพฺพวิชฺชาธรกินฺนรา จ
สุคีติยนฺตา มธุรสฺสเรน
จรนฺติ ตสฺมึ ปวเน สุรมฺเม
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
เหล่าคนธรรพ์ พิทยาธร และกินนรขับร้องเพลง
ด้วยเสียงอันไพเราะ พากันเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่น่า
รื่นรมย์นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๓. กิเลสสงฺฆสฺส ภิตาสเกหิ
ตปสฺสิสงฺเฆหิ นิเสวิต วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
วิหารอารามสมิทฺธิภูต
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
วนะอันหมู่ผู้มีตบะ ผู้กลัวแต่หมู่กิเลสของตนเอง
ซ่องเสพแล้ว เป็นวิหาร เป็นอารามที่สำเร็จประโยชน์
ข้าแต่พระมหาวีระเป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
๔๔. สมิทฺธินานาผลิโน วนนฺตา
อนากุลา นิจฺจมโนภิรมฺมา
สมาธิปีตึ อภิวฑฺฒยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
วนะให้สำเร็จผลต่าง ๆ ไม่อากูลเป็นที่น่ารื่นรมย์
ยิ่งแห่งใจเป็นนิตย์ เพิ่มพูนสมาธิจิตและปีติ ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๔๕. นิเสวิต เนกทิเชหิ นิจฺจ
คาเมน คาม สตต วสนฺตา
ปุเร ปุเร คามวรา จ สนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
วนะอันฝูงนกเป็นอเนก ซ่องเสพอยู่เป็นนิตย์
หมู่คนจากบ้านตำบลหนึ่ง สู่บ้านตำบลหนึ่ง ก็อยู่กัน
เป็นประจำ หมู่บ้านทั้งหลาย ก็กลายเป็นแต่ละเมืองๆ
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส
แล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
๔๖. วตฺถนฺนปาน สยนาสนญฺจ
คนฺธญฺจ มาลญฺจ วิเลปนญฺจ
ตหึ สมิทฺธา ชนตา พหู จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ชุมชนเป็นอันมาก อาศัยผ้า ข้าวน้ำ ที่นั่งที่นอน
ของหอม ดอกไม้และเครื่องลูบไล้ ก็สำเร็จประโยชน์
อยู่กันในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๗. ปุญฺญิทฺธิยา สพฺพยสคฺคปตฺตา
ชนา จ ตสฺมึ สุขิตา สมิทฺธา
ปหูตโภคา วิวิธา วสนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ชนทั้งหลายถึงความเลิศแห่งยศทุกอย่าง ด้วย
บุญฤทธิ์ มั่งคั่งมีโภคะต่าง ๆ อย่างเป็นอันมาก อยู่
ฉันเป็นสุขในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๘. นเภ จ อพฺภา สุวิสุทฺธวณฺณา
นิสา จ จนฺโท สุวิราชิโตว
รตฺติญฺจ วาโต มุทุสีตโล จ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
เมฆหมอกในท้องฟ้า ก็มีสีหมดจด ดวงจันทร์
ก็ส่องแสงสว่างไปตลอดทิศ และยามราตรี ลมก็โชย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
อ่อนๆ เย็นๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๔๙. จนฺทุคฺคเม สพฺพชนา ปหฏฺา
สกงฺคเณ จิตฺรกถา วทนฺตา
ปิเยหิ สทฺธึ อภิโมทยนฺติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พอดวงจันทร์โผล่ขึ้นมา ชนทั้งปวง ก็ร่าเริง
สนทนากันแต่เรื่องที่ดีงาม ณ ลานบ้านของตน บันเทิง
ยิ่งนักกับคนรักทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย
สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๐. จนฺทสฺส รสีหิ สภ วิโรจิ
มหี จ สสุทฺธมนุญฺวณฺณา
ทิสา จ สพฺพา ปริสุทฺธรูปา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
รัศมีแห่งดวงจันทร์ สว่างตลอดท้องฟ้า พื้น
แผ่นพสุธา ก็มีสีสรรหมดจดน่าชื่นใจ และทิศทั้งหลาย
ก็บริสุทธิ์ไปหมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๑. ทูเร จ ทิสฺวา วรจนฺทรสี
ปุปฺผึสุ ปุปฺผานิ มหีตลสฺมึ
สมนฺตโต คนฺธคุณตฺถิกาน
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
เพราะต้องรัศมีแห่งดวงจันทร์อันประเสริฐแต่ไกล
ดอกไม้ทั้งหลาย บนผืนแผ่นดินโดยรอบ จึงแย้มบาน
สำหรับคนทั้งหลายที่ต้องการคุณคือความหอม ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๕๒. จนทสฺส รสีหิ วิลิมฺปิตาว
มหี สมนฺตา กุสุเมนลงฺกตา
วิโรจิ สพฺพงฺคสุมาลินีว
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พื้นแผ่นดินถูกฉาบไว้ ด้วยรัศมีแห่งดวงจันทร์
ประดับดอกไม้โดยรอบก็สง่างาม ดั่งสตรีประดับมาลัย
งามทั่วสรรพางค์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๓. กุจนฺติ หตฺถีปิ มเทน มตฺตา
วิจิตฺตปิญฺฉา จ ทิชา สมนฺตา
กโรนฺติ นาท ปวเน สุรมฺเม
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
แม้ช้างทั้งหลาย เมามัน ก็ส่งเสียงโกญจนาท
และเหล่านกที่มีขนหางงาม ก็ร้องลั่นรอบป่าใหญ่ ที่
น่ารื่นรมย์ดี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ-
หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
๕๔. ปถญฺจ สพฺพ ปฏิปชฺชนกฺขม
อิทฺธ จ รฏฺ สธน สโภค
สพฺพตฺถุต สพฺพสุขปฺปทาน
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
อนึ่งหนทางทุกสายก็ควรแก่การเดิน ทั้งรัฐอาณา-
จักรก็มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคะ มี่ทุกสิ่ง ให้ความสุขทุก
อย่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระ-
อังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๕. วนญฺจ สพฺพ สุวิจิตฺตรูป
สุมาปิต นนฺทนกานนว
ยตีน ปีตึ สตต ชเนติ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
วนะทุกวนะ ล้วนแต่งดงาม อันธรรมดาสร้าง
สรรไว้ ประดุจสวนนันทนวัน ให้เกิดปิติแก่นักพรต
ทั้งหลายเนืองๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๖. อลงฺกต เทวปุรว รมฺม
กปิลวตฺถุ อิติ นามเธยฺย
กุลนคร อิธ สสฺสิริก
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระนครของพระสกุล มีนามว่า กรุงกบิลพัศดุ์
ประดับประดาน่ารื่นรมย์ ดุจเทพนคร เป็นพระนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
มีสิริสง่าในโลกนี้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๗. มนุญฺอฏฺฏาลวิจิตฺตรูป
สุผุลฺลปงฺเกรุหสณฺฑมณฺฑิต
วิจิตฺตปริขาหิ ปุร สุรมฺม
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระนครงดงามด้วยหอรบน่าชื่นใจ ประดับด้วย
บัวบานสะพรั่ง น่ารินรมย์อย่างดี ด้วยค่ายคูอันวิจิตร
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๕๘. วิจิตฺตปาการญฺจ โตรณญฺจ
สุภงฺคณ เทวนิวาสภูต
มนุญฺญวิถิ สุรโลกสนฺนิภ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ปราการอันวิจิตร เสาระเนียด และพระลานอัน
งาม เป็นที่ประทับขององค์สมมติเทพ [พระมหา-
กษัตริย์] ถนนที่น่าชื่นใจ ดุจดั่งเทวโลก ข้าแต่
พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว
พระเจ้าข้า.
๕๙. อลงฺกตา สากิยราชปุตตา
วิราชมานา วรภูสเนหิ
สุรินฺทโลเก อิว เทวปุตฺตา
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
เหล่าศากยราชบุตรแต่งพระองค์ งามรุ่งเรือง
ด้วยเครื่องประดับอันประเสริฐ ประดุจเหล่าเทพบุตร
ในภพอัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร
สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖๐. สุทฺโธทโน มุนิวร อภิทสฺสนาย
อมจฺจปุตฺเต ทสธา อเปสยิ
พเลน สทฺธึ มหตา มุนินฺท
สมโย มหาวีร องฺคิรสาน.
ข้าแต่พระจอมมุนี พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช มี
พระราชประสงค์จะทรงพบพระจอมมุนี จึงทรงส่งบุตร
อมาตย์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ถึง ๑๐ ครั้ง
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
๖๑. เนวาคต ปสฺสติ เนว วาจ
โสกาภิภูต นรวีรเสฏฺ
โตเสตุมิจฺฉามิ นราธิปตฺต
สมโย มหาวีร วงฺคีรนาน
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ไม่ทรงเห็นพระองค์
เสด็จมา ไม่ทรงได้ยินพระวาจา ข้าพระองค์ประสงค์
จะปลอบพระองค์ผู้แกล้วกล้าผู้ประเสริฐสุดในนรชน
ผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน ซึ่งถูกความเศร้าโศกครองงำแล้ว
ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี-
รสแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
๖๒. ตทสฺสเนนพฺภุตปีติราสิ
อุทิกฺขมาน ทฺวิปทานมินฺท
โตเสหิ ต มุนินฺท คุณเสฏฺ
สมโย มหาวีร องฺคีรสาน.
ข้าแต่พระจอมมุนี ผู้มีกองปีติน่าอัศจรรย์ เพราะ
การเห็นพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปลอบ พระผู้
เป็นเจ้าแห่งหมู่มนุษย์ ผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ซึ่งตั้ง
พระเนตรรอคอยพระองค์นั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหา
วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระ-
เจ้าข้า.
๖๓. อาสาย กสฺสเต เขตฺต พีช อาสาย วปฺปติ
อาสาย วาณิชา ยนฺติ สมุทฺท ธนหารกา
ยาย อาสาย ติฏฺามิ สา เม อาสา สมิชฺฌตุ.
ชาวนาไถนาก็ด้วยความหวัง หว่านพืชก็ด้วย
ความหวัง พ่อค้านำทรัพย์ไปทางทะเลก็ด้วยความหวัง
ข้าพระองค์ยืนหยัดอยู่ด้วยความหวังใด ขอความหวัง
นั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
๖๔. นาติสีต นาติอุณฺห นาติทุพฺภิกฺขฉาตก
สทฺทลา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนี.
ข้าแต่พระมหามุนี ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก
อาหารหาไม่ยากและไม่อดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี
ด้วยหญ้าแพรก นี้เป็นกาลอันสมควรแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนอุทายี เธอสรรเสริญ
การเดินทาง ทำไมหนอ. ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระราชประสงค์จะพบ
พระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติเถิด พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสว่า ดีละ อุทายี เราตถาคตจักทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ
ถ้าอย่างนั้น เธอจงบอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักบำเพ็ญคมิยวัตร
[ธรรมเนียมของภิกษุผู้จะเดินทาง]. พระเถระทูลรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ
พระเจ้าข้า แล้วก็บอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์.
พระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุขีณาสพรวมทั้งหมดสองหมื่นรูป คือ
กุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นรูป กุลบุตรชาวกรุงกบิลพัสดุ์หมื่นรูป เสด็จ
ออกจากกรุงราชคฤห์ เดินทางวันละโยชน์ ๆ สองเดือนก็เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงแล้ว ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย ก็ช่วยกันเลือก
สถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหมายพระทัยจักพบพระญาติผู้
ประเสริฐสุดของตน จึงกำหนดแน่ชัดว่า อารามของนิโครธศากยะ น่ารื่น-
รมย์ ให้จัดทำวิธีปฏิบัติทุกวิธี จึงพากันถือของหอมและดอกไม้ออกไปรับเสด็จ
แต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง บูชาด้วยของหอมดอกไม้และจุรณเป็นต้น
ต้น นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังนิโครธารามนั่นแล.
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระขีณาสพสองหมื่นรูปแวดล้อม
แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดีที่เขาจัดไว้. ฝ่ายพวกเจ้าศากยะ เป็น
ชาติมีมานะ กระด้างเพราะมานะ ต่างคิดกันว่า สิทธัตถกุมารหนุ่มกว่าเรา
เป็นกนิษฐภาดา เป็นบุตร เป็นภาคิไนย เป็นนัดดา จึงกล่าวกะเหล่าราชกุมาร
ที่หนุ่ม ๆ ว่า พวกเจ้าจงไหว้ เราจักนั่งอยู่ข้างหลัง ๆ พวกเจ้า. เมื่อเจ้าศากยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
เหล่านั้นนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น
แล้ว ทรงพระดำริว่า พระญาติเหล่านี้ไม่ยอมไหว้เรา เพราะตนเป็นคนแก่
เปล่า เพราะพระญาติเหล่านั้น ไม่รู้ว่า ธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร
ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร หรือว่าธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็น
เช่นนี้ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ ถ้ากระไร เราเมื่อจะแสดง
กำลังของพระพุทธเจ้าและกำลังของฤทธิ์ ก็ควรทำปาฏิหาริย์ จำเราจะเนรมิตที่
จงกรมแล้วด้วยรัตนะล้วน กว้างขนาดหมื่นจักรวาลในอากาศ เมื่อจงกรม ณ
ที่จงกรมนั้น ตรวจดูอัธยาศัยของมหาชนแล้ว จึงจะแสดงธรรม. ด้วยเหตุนั้น
เพื่อแสดงความปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าวว่า
เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์ ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนนี้เป็นเช่นไร
กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร กำลังของพระ-
พุทธเจ้าเป็นประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นไร.
เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์ไม่รู้ดอกว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนเป็นเช่นนี้
กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้ กำลังของพระ-
พุทธเจ้า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นนี้.
เอาเถิด จำเราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าอัน
ยอดเยี่ยม จักเนรมิตที่จงกรมประดับด้วยรัตนะ ใน
นภากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ชานนฺติ ความว่า เพราะว่า
พระญาติเหล่านั้น ไม่ทรงรู้. น อักษร มีอรรถปฏิเสธ. หิ อักษร เป็น
นิบาตลงในอรรถว่าเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาและมนุษย์มีพระญาติ
เป็นต้นของเราเหล่านั้น เมื่อเราไม่ทำให้แจ่มแจ้งถึงกำลังของพระพุทธเจ้า และ
กำลังของฤทธิ์ ก็ย่อมไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ กำลังของฤทธิ์เป็นเช่นนี้
ฉะนั้น เราจะพึงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า และกำลังของฤทธิ์ของเรา ดังนี้.
ท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพว่า เทวดา ในคำว่า สเทวมนุสฺสา นี้. เป็นไป
กับเทวดาทั้งหลาย เหตุนั้น จึงว่า สเทวา คนเหล่านั้นคือใคร คือมนุษย์.
มนุษย์ทั้งหลายพร้อมกับเทวดา ชื่อว่า สเทวมานุสา. อีกนัยหนึ่ง พระเจ้า
สุทโธทนะ สมมติเทพ ท่านประสงค์เอาว่า เทวดา. เป็นไปกับเทวดา คือ
พระเจ้าสุทโธทนะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า สเทวา. มนุษย์ที่เป็นพระญาติ ชื่อว่า
มานุสา. มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดา คือพร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ
ชื่อว่า สเทวมานุสา. อธิบายว่า หรือว่า มนุษย์ที่เป็นญาติของเราเหล่านี้
พร้อมด้วยพระราชา ย่อมไม่รู้กำลังของเรา. แม้เทวดาที่เหลือก็สงเคราะห์เข้าไว้
ด้วย. เทวดาทั้งหมด ท่านเรียกว่า เทวดา เพราะอรรถว่า เล่น. ชื่อว่า
เล่น เป็นอรรถของธาตุมีกีฬธาตุเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง เทวดาด้วย มนุษย์
ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์. เป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ ชื่อว่า สเทว-
มานุสา. เหล่านั้นคือใคร. พึงเห็นการเติมคำที่เหลือว่า โลกา โลกทั้งหลาย.
บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้ รู้ตามซึ่งสัจธรรมทั้ง ๔.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
อภิญฺเยฺย อภิญฺาต ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิต
ปหาตพฺพ ปหีน เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเราก็รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราก็
เจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราก็ละแล้ว เพราะฉะนั้น เรา
จึงเป็นพุทธะ นะพราหมณ์.
ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์ สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกัตตุการก
(ปฐมาวิภัตติ) ชื่อว่า พุทธะ เพราะเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ผู้บรรลุคุณวิเศษ
ทราบกันอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
หนอ. ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกรรมการก.
หรือว่า ความรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ชื่อว่า พุทธะ อธิบายว่า ผู้ทรงมีความรู้. คำนั้นทั้งหมดพึงทราบตามแนวศัพท-
ศาสตร์. บทว่า กีทิสโก ความว่า เป็นเช่นไร น่าเห็นอย่างไร เสมือนอะไร
มีผิวอย่างไร มีทรวดทรงอย่างไร ยาวหรือสั้น.
บทว่า นรุตฺตโม ได้แก่ ความสูงสุด ความล้ำเลิศ ความประเสริฐสุด
แห่งนรชน หรือในนรชนทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่า นรุตตมะ.
ความสำเร็จ ชื่อว่า อิทธิ ในคำว่า อิทฺธิพล นี้. ชื่อว่า อิทธิ
เพราะอรรถว่า สำเร็จผล เพราะอรรถว่าได้. อีกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายสำเร็จ
ได้ด้วยคุณชาตินั้น คือเป็นผู้สำเร็จ จำเริญ ถึงความสูงยิ่ง เหตุนั้น คุณชาติ
นั้น จึงชื่อว่า อิทธิ คุณชาติเครื่องสำเร็จ.
ก็อิทธินั้นมี ๑๐ อย่าง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า
บทว่า อิทฺธิโย ได้แก่ อิทธิ ๑๐๑ อย่าง. อะไรบ้าง คือ อธิษฐานา-
อิทธิ ๑ วิกุพพนาอิทธิ ๑ มโนมยาอิทธิ ๑ ญาณวิปผาราอิทธิ ๑
สมาธิวิปผาราอิทธิ ๑ อริยาอิทธิ ๑ กัมมวิปากชาอิทธิ ๑ ปุญญวโต-
อิทธิ ๑ วิชชามยาอิทธิ ๑ ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ เพราะ
ประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย ๑
๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๘๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
อิทธิเหล่านั้น ต่างกันดังนี้. โดยปกติคนเดียวย่อมนึกเป็นมากคน
นึกเป็นร้อยคนหรือพันคนแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า เราเป็นมากคน ฤทธิ์ที่
แยกตัวแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า อธิษฐานาอิทธิ เพราะสำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐาน.
อธิษฐานาอิทธินั้น มีความดังนี้ ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา
ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ถ้าปรารถนาเป็นร้อยคน ก็ทำบริกรรมด้วยบริ-
กรรมจิตเป็นกามาวจรว่า เราเป็นร้อยคน เราเป็นร้อยคน แล้วเข้าฌาณอันเป็น
บาทแห่งอภิญญาอีก ออกจากฌานนั้นแล้วนึกอธิษฐานอีก ก็เป็นร้อยคน
พร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเอง. แม้ในกรณีพันคนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ใน
อธิษฐานาอิทธินั้น จิตที่ประกอบด้วยปาทกฌาน มีนิมิตเป็นอารมณ์ บริกรรม
จิตมีร้อยคนเป็นอารมณ์บ้าง มีพันคนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์บ้าง
บริกรรมจิตเหล่านั้นแล เป็นไปโดยอำนาจแห่งสี มิได้เป็นไปโดยอำนาจ
แห่งบัญญัติ แม้อธิษฐานจิต ก็มีร้อยคนเป็นอารมณ์อย่างเดียว. แต่อธิษฐาน
จิตนั้น ก็เหมือนอัปปนาจิต เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูจิตเท่านั้น ประกอบด้วย
จตุตถฌานฝ่ายรูปาวจร. แต่ผู้นั้น ละเพศปกติเสีย แสดงเพศกุมารบ้าง แสดง
เพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพแม้ต่างๆ บ้าง ฤทธิ์
ที่มาโดยอาการดังกล่าวมาอย่างนี้ ชื่อว่า วิกุพพนาอิทธิ เพราะเป็นไป โดย
ละเพศปกติ ทำให้แปลก ๆ ออกไป.
ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย
นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง
สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.
๑. ดู. ขุ.ป. ๓๑/ข้อ ๗๙๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัตญาณ อันพึงได้ด้วย
อัตภาพนั้น ก่อนหรือหลังญาณเกิด หรือในขณะนั้นเอง ชื่อว่า ญาณวิปผารา
อิทธิ. ท่านพระพากุละ และท่านพระสังกิจจะ ก็มีญาณวิปผาราอิทธิ. เรื่อง
พระเถระทั้งสองนั้น พึงกล่าวไว้ในข้อนี้.
คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพสมถะก่อนหรือหลังสมาธิ หรือในขณะ
นั้นเองชื่อว่า สมาธิวิปผาราอิทธิ. ท่านพระสารีบุตร ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ.
ท่านพระสัญชีวะ ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ. อุตตราอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ
สามาวดีอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ เรื่องทั้งหลายของท่านเหล่านั้นดังกล่าว
มานี้ ก็พึงกล่าวในข้อนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวไว้พิศดาร เพื่อบรรเทาโทษ
คือความยืดยาวของคัมภีร์.
อริยาอิทธิเป็นอย่างไร ภิกษุในพระศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เรานั่งอยู่
มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลไซร้ ย่อมอยู่ มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลอยู่
ในอารมณ์นั้น ถ้าหวังว่าเราพึงอยู่ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลไซร้
ย่อมอยู่ มีความว่าปฏิกูลในอารมณ์นั้น ฯลฯ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ใน
อารมณ์นั้น. แม้อิทธินี้ก็ชื่อว่า อริยาอิทธิ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระอริยะ
ทั้งหลายผู้ถึงความชำนาญทางใจ.
กัมมวิปากชาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์มีการไปทางอากาศได้เป็นต้น
ของเหล่านกทั้งหมด ของเทวดาทั้งหมด ของมนุษย์ต้นกัปและของวินิปาติกสัตว์
บางเหล่าชื่อว่า กัมมวิปากชาอิทธิ.
ปุญญวโตอิทธิเป็นอย่างไร. พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จทางอากาศไป
กับกองทัพ ๔ เหล่า. ภูเขาทองขนาด ๘๐ ศอก บังเกิดแก่ชฏิลกคฤหบดี ฤทธิ์
นี้ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. โฆสกคฤหบดี แม้เมื่อถูกเขาพยายามฆ่าในที่ ๗ แห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ก็ไม่เป็นไร ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. ความปรากฏของแพะทั้งหลาย ที่ทำด้วย
รัตนะ ๗ในประเทศประมาณ ๘ กรีสแก่เมณฑกเศรษฐี ชื่อว่าปุญญวโตอิทธิ.
วิชชามยาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พวก
วิทยาธรร่ายวิทยาเหาะได้ แสดงช้างในอากาศบนท้องฟ้า โอกาสที่เห็นได้ใน
ระหว่างช้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพต่างๆ บ้าง ชื่อว่า วิชชามยาอิทธิ.
คุณวิเศษที่ทำกิจกรรมนั้นแล้วบังเกิด เป็นอิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบเป็นปัจจัย ดังนี้ อิทธินี้ จึงชื่อว่า อิทธิ เพราะ
อรรถว่า สำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย.
อธิบายว่า กำลังแห่งฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้ชื่อว่า อิทธิพละ กำลังแห่งฤทธิ์ พระญาติ
เหล่านี้ ไม่รู้จักกำลังแห่งฤทธิ์ของเรา.
กำลังแห่งปัญญาคือพระอรหัตมรรค อันให้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตระทั้งหมด ท่านประสงค์ว่า กำลังแห่งปัญญา. พระญาติเหล่านี้ไม่รู้จัก
กำลังแห่งปัญญาแม้นั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่ากำลังแห่งปัญญานี้
เป็นชื่อของญาณที่ไม่สาธารณะ ๖ ประการ. พุทธานุภาพหรือทศพลญาณ
ชื่อว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้าในคำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้านี้. ญาณ ๑๐ คือ
๑. ฐานาฐานญาณ ญาณที่กำหนดรู้ฐานะเหตุที่ควรเป็นได้ และ
อฐานะ เหตุที่ไม่ควรเป็นได้.
๒. อตีตานาคตปัจจุปปันนกัมมวิปากชานนญาณ ปรีชากำหนด
รู้ผลแห่งกรรมที่เป็นอดีตและปัจจุบัน.
๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
๔. อเนกธาตุนานาธาตุโลกชานนญาณ ปรีชากำหนดรู้โลกคือ
รู้ธาตุเป็นอเนกและธาตุต่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
๕. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของสัตว์
ทั้งหลายอันเป็นต่างๆ กัน.
๖. อาสยานุสยญาณ [อินทริยปโรปริยัตตญาณ] ปรีชากำหนด
รู้ ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.
๗. ฌานวิโมกขสมาธิสมาปัตติสังกิเลสโวทานวุฏฐานยถา-
ภูตญาณ ปรีชากำหนดรู้ตามเป็นจริงในความเศร้าหมองความบริสุทธิ์และ
ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ.
๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาฌ ปรีชากำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้.
๙. จุตูปปาตญาณ ปรีชากำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
๑๐. อาสวักขยญาณ ปรีชากำหนดรู้ทำอาสวะให้สิ้นไป.
คำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า เป็นชื่อของญาณ ๑๐ เหล่านี้. บทว่า
เอทส แปลว่า เช่นนี้ . หรือปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตสงในอรรถว่าร้องเชิญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้พระองค์ด้วยบทว่า อห. ทรงอธิบายว่าอย่างไร ทรงอธิบายว่า ก็เพราะ
เหตุที่ญาติทั้งหลายของเราไม่รู้กำลังแห่งพระพุทธเจ้าหรือพุทธคุณ อาศัยความ
ที่ตนเป็นคนแก่เปล่า ไม่ไหว้เราผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลกทั้งปวง ด้วย
อำนาจมานะอย่างเดียว ฉะนั้น ธงคือมานะของพระญาติเหล่านั้นมีอยู่ เราจะ
รานมานะแล้วจึงพึงแสดงธรรมเพื่อพระญาติจะได้ไหว้เรา. บทว่าทสฺสยิสฺสามิ
ได้แก่ พึงแสดง. ปาฐะว่า ทสฺเสสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือน
กัน. บทว่า พุทฺธพล ได้แก่ พุทธานุภาพ หรือญาณวิเศษของพระพุทธเจ้า.
บทว่า อนุตฺตร แปลว่า ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า. สถานที่จงกรมท่านเรียกว่า
จงฺกม ที่จงกรม. บทว่า มาปยิสฺสามิ ได้แก่ พึงเนรมิต. ปาฐะว่า จงฺกมน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
มาเปสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า นเภ ได้แก่ ใน
อากาศ. บทว่า สพฺพรตนมณฺฑิต ได้แก่ ตกแต่งประดับด้วยรัตนะ เพราะ
อรรถว่าให้เกิดความยินดีทั้งหมด อย่างละ ๑๐ ๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินทองและแก้วลาย ชื่อว่าประดับด้วย
รัตนะทั้งปวง. ซึ่งที่จงกรมนั้นอันประดับด้วยรัตนะทั้งปวง อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า นเภ รตนมณฺฑิต ประดับด้วยรัตนะในนภากาศก็มี.
ครั้งนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายมี
ภุมมเทวดาเป็นต้น ที่อยู่ในหมื่นจักรวาล ก็มีใจบันเทิง พากันถวายสาธุการ.
พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศความข้อนั้น ก็ได้ตั้ง
คาถาเป็นต้นว่า
เหล่าเทวดาภาคพื้นดิน ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาว-
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี และเหล่าเทวดาฝ่ายพรหม ก็พากันร่าเริงเปล่ง
เสียงดังถูกก้อง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภาคพื้นดิน เช่น
ตั้งอยู่ที่หิน ภูเขา ป่าและต้นไม้เป็นต้น. บทว่า มหาราชิกา ได้แก่ ผู้เป็น
ฝ่ายมหาราช. อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในอากาศได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาที่อยู่
ภาคพื้นดิน ก็เปล่งเสียงดัง ต่อนั้น เทวดาเมฆหมอก จากนั้นเทวดาเมฆร้อน
เทวดาเมฆเย็น เทวดาเมฆฝน เทวดาเมฆลม ต่อจากนั้น เทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี ต่อจากนั้นหมู่พรหม พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ชั้นมหาพรหม ชั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
ปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา
ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี
ต่อจากนั้น เทวดาชั้นอกนิษฐา ได้ยินเสียงก็เปล่งเสียงดัง เทวดามนุษย์และนาค
เป็นต้นทั้งหมด ในสถานที่ ๆโสตายตนะรับฟังได้ เว้นอสัญญีสัตว์และอรูปวจร-
สัตว์ มีใจตกอยู่ใต้อำนาจปีติ ก็พากันเปล่งเสียงดังก้องสูงลิบ. บทว่า อานนฺ-
ทิตา ได้แก่ มีใจบันเทิงแล้ว อธิบายว่า เกิดปีติโสมนัสเอง. บทว่า วิปุล
ได้แก่ หนาแน่น.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ใน
ลำดับที่ทรงพระพุทธดำริแล้วนั่นเอง ทรงอธิษฐานว่า ขอแสงสว่างจงมีทั้ง
หมื่นจักรวาล. พร้อมกับอธิษฐานจิตนั้น แสงสว่างก็ปรากฏ ตั้งแต่แผ่นดินไป
จนจดอกนิษฐภพ. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
แผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริก-
นรกอันหนาก็ปิดไว้ไม่ได้ ความมืดทึบก็ถูกขจัดใน
ครั้งนั้น เพราะพบปาฏิหาริย์ อันน่ามหัศจรรย์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสิตา แปลว่า สว่างแจ้งแล้ว. ใน
คำว่า ปฐวีนี้ ปฐวีนี้มี ๔ อย่าง คือ กักขฬปฐวี สสัมภารปฐวี นิมิตตปฐวี
สมมุติปฐวี.
ในปฐวี ๔ อย่างนั้น ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ
ปฐวีธาตุภายในเป็นอย่างไร. ของหยาบ ของแข้น ภายใน จำเพาะตน อันใด
ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า กักขฬปฐวี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า อนึ่งภิกษุใดขุดเองก็ดี ใช้ให้ขุด
ก็ดีซึ่งแผ่นดินดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี ปฐวีธาตุ ๒๐ ส่วน มีเกศา ผมเป็น
ต้น และส่วนภายนอกมีเหล็ก โลหะเป็นต้นอันใด ปฐวีแม้นั้น เป็นปฐวีพร้อม
ด้วยส่วนประกอบมีวรรณะ สีเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า สสัมภารปฐวี.
ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมจำได้ซึ่งปฐวี
กสิณดังนี้ ชื่อว่า นิมิตตปฐวี ท่านเรียกว่า อารัมมณปฐวี บ้าง.
ผู้ได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ บังเกิดในเทวโลกย่อมได้ชื่อว่าปฐวี-
เทพ โดยการบรรลุปฐวีกสิณฌาน สมจริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า
อาโปเทพและปฐวีเทพ ดังนี้ นี้ชื่อว่า สมมติปฐวี. พึงทราบว่าชื่อว่า ปัญญัติ-
ปฐวี. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาสสัมภารปฐวี.
บทว่า สเทวกา แปลว่า พร้อมทั้งเทวโลก. ปาฐะว่า สเทวตา ก็มี
ถ้ามีก็ดีกว่า. ความก็ว่า มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกสว่างจ้าแล้ว. บทว่า ปุถู
แปลว่า มาก. คำว่า โลกนฺตริกา นี้เป็นชื่อของสัตว์นรกจำพวกอสุรกาย ก็
โลกันตริกนรกเหล่านั้น เป็นโลกันตริกนรก นรกหนึ่ง ระหว่างจักรวาลทั้ง
สาม. โลกันตริกนรก นรกหนึ่งๆ ก็เหมือนที่ว่างตรงกลางของล้อเกวียน ๓
ล้อ ซึ่งตั้งจดกันและกัน ว่าโดยขนาด ก็แปดพันโยชน์. บทว่า อุสวุตา
ได้แก่ ไม่ตั้งอยู่เบื้องต่ำ. บทว่า ตโม จ ได้แก่ ความมืด. บทว่า ติพฺโพ
ได้แก่ หนาทึบ. เป็นความมืดเป็นนิตย์ เพราะไม่มีแสงสว่างของดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์. บทว่า วิหโต ได้แก่ ถูกกำจัดแล้ว. บทว่า ตทา ความว่า
กาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแผ่
แสงสว่างเพื่อทรงทำปาฏิหาริย์ กาลนั้นความมืดทึบอันตั้งอยู่ในโลกันตริกนรก
ทั้งหลายก็ถูกกำจัดให้หายไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
บทว่า อจฺเฉรก ได้แก่ ควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่าควรแก่การ
ปรบด้วยนิ้วมือโดยความประหลาดใจ. บทว่า ปาฏิหีร ได้แก่ ชื่อว่าปาฏิหีระ
เพราะนำปฏิปักษ์ไป. หรือ ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำไปเฉพาะซึ่งดวงจิตที่เข้า
ถึงทิฏฐิและมานะของสัตว์ทั้งหลาย. หรือว่า ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำมาเฉพาะ
ซึ่งความเลื่อมใสของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส. ปาฐะว่า ปาฏิเหระ ดังนี้ก็มี.
ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน คำนี้เป็นชื่อของคุณวิเศษแห่งวิธีการจัดแสงสว่างใน
ข้อนี้. พึงนำคำนี้ว่า เทวดา มนุษย์และแม้สัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริกนรกทั้งหลาย
แลเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว ก็เข้าถึงปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง
ดังนี้แล้ว ก็พึงเห็นความในคำนี้ว่า เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันมหัศจรรย์. นอกจาก
นี้จะเอาคำปลายมาไว้ต้นก็ไม่ถูก หรือจะเอาคำต้นมาไว้ปลาย ก็ไม่ถูก.
บัดนี้ เพื่อแสดงว่า มิใช่มีแสงสว่างในมนุษยโลกอย่างเดียวเท่านั้น
ในโลกกล่าวคือสังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก แม้ทั้งสาม ก็มีแสงสว่าง
ทั้งหมดเหมือนกัน ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ก็เกิดในโลกนี้โลกอื่น
และโลกทั้งสองพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และ
รากษสขยายไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องบนและเบื้องขวาง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวา ได้แก่ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ
และวิสุทธิเทพ รวมเทพทั้งหมดท่านสงเคราะห์ไว้ในบทนี้. เทวดาด้วยคนธรรพ์
ด้วย มนุษย์ด้วย รากษสด้วย ชื่อว่าเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และรากษส.
เป็นไปกับด้วยเทพคนธรรพ์มนุษย์และรากษส ชื่อว่าพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์
มนุษย์และรากษส. นั้นคืออะไร. คือโลก ในโลกแห่งเทพ คนธรรพ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
มนุษย์และรากษสนั้น. บทว่า อาภา แปลว่า แสงสว่าง. อุฬาร ศัพท์นี้ใน
คำว่า อุฬารา นี้ ปรากฏในอรรถมีอร่อย ประเสริฐ และไพบูลย์เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น อุฬาร ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อร่อย ในบาลีเป็นต้นว่า
อุฬารานิ ขาทนียโภชนียานิ ขาทนฺติ ภุญฺชนฺติ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเคี้ยว
ย่อมฉัน ของเคี้ยวของฉันอันอร่อย.
ปรากฏในอรรถว่า ประเสริฐ ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬาราย โข ปน
ภว วจฺฉายโน ปสสาย สมณ โคตม ปสสติ. ก็ท่านวัจฉายนพราหมณ์
สรรเสริญพระสมณโคดม ด้วยการสรรเสริญอันประเสริฐแล.
ปรากฏในอรรถว่า ไพบูลย์ ในบาลีเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม เทวาน
เทวานุภาว อปฺปมาโณ อุฬาโร โอภาโส แสงสว่างไพบูลย์ไม่มีประ-
มาณเกินเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. อุฬาร ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าปรากฏ
ในอรรถว่า ประเสริฐ ในที่นี้.
บทว่า วิปุลา ได้แก่ ไม่มีประมาณ. บทว่า อชายถ ได้แก่ อุบัติ
แล้ว เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปแล้ว. บทว่า อิมสฺมึ โลเก ปรสฺมิญฺจ ความว่า
ในมนุษยโลกนี้ และในโลกอื่น คือเทวโลก. บทว่า อุภยสฺมึ ได้แก่ ใน
โลกทั้งสองนั้น. พึงเห็นเหมือนในโลกภายในและโลกภายนอกเป็นต้น. บทว่า
อโธ จ ได้แก่ ในนรกทั้งหลายมีอเวจีเป็นต้น. บทว่า อุทฺธ ได้แก่ แม้ในกลาง
หาวนับแต่ภวัคคพรหม. บทว่า ติริยญฺจ ได้แก่ ในหมื่นจักรวาลโดยเบื้องขวาง.
บทว่า วิตฺถต ได้แก่ แผ่ซ่านไป. อธิบายว่า แสงสว่างกำจัดความมืด ครอบ
คลุมโลกและประเทศดังกล่าวแล้วเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติริยญฺจ
วิตฺถต ได้แก่ แผ่ไปโดยเบื้องขวางคือใหญ่ อธิบายว่า แสงสว่างแผ่คลุม
ตลอดประเทศไม่มีประมาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล
ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ทรงออกจากฌานนั้นแล้วทรงเหาะ
ขึ้นสู่อากาศ ด้วยอธิษฐานจิต ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ท่ามกลางเทว-
บริษัทและมนุษยบริษัทอันใหญ่ เหมือนทรงโปรยธุลีพระบาทลงเหนือเศียร
ของพระประยูรญาติเหล่านั้น. ก็ยมกปาฏิหาริย์นั้น พึงทราบจากบาลีอย่างนี้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นอย่าง-
ไร. พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในโลกนี้ ไม่ทั่ว
ไปแก่พระสาวกทั้งหลาย คือลำไฟแลบออกจากพระกาย
เบื้องบน ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องล่าง, ลำไฟ
แลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อน้ำไหลออกจาก
พระกายเบื้องบน.
ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหน้า ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องหลัง, ลำไฟแลบออกจากพระ-
กายเบื้องหลัง ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องหน้า.
ลำไฟแลบออกจากพระเนตรเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระเนตรเบื้องซ้าย ท่อนำไหลออกจากพระเนตร
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออกจาก
ช่องพระกรรณเบื้องขวา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
ลำไฟแลบออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออก
จากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ลำไฟแลบออกจากช่อง
พระนาสิกเบื้องซ้าย.
ลำไฟแลบออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา ท่อ
น้ำไหลออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ
ออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจาก
จะงอยพระอังสาเบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา ท่อน้ำไหล
ออกจากพระหัตเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจากพระ-
หัตถ์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระปรัศว์
เบื้องขวา.
ลำไฟแลบออกจากพระบาทเบื้องขวา ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก
พระบาทเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระบาทเบื้อง
ขวา.
ลำไฟแลบออกจากทุกพระองคุลี ท่อน้ำไหลออก
จากระหว่างพระองคุลี, ลำไฟแลบออกจากระหว่าง
พระองคุลี ท่อน้ำไหลออกจากทุกพระองคุลี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
ลำไฟแลบออกจากพระโลมาแต่ละเส้น ท่อน้ำ
ไหลออกจากพระโลมาแต่ละเส้น, ลำไฟแลบออกจาก
ขุมพระโลมาแต่ละขุม ท่อน้ำก็ไหลออกจากขุมพระ
โลมาแต่ละขุม มีวรรณะ ๖ คือ เขียว เหลือง แดง
ขาว แดงเข้ม เลื่อมพราย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนิน พระพุทธเนรมิต
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธเนรมิต
ทรงดำเนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง,
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธเนรมิต ทรง
ดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง บรรทมบ้าง. พระผู้มี
พระภาคเจ้าบรรทม พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนินบ้าง
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง.
พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนิน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง. พระ-
พุทธเนรมิตประทับยืน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำ-
เนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิต
ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินบ้างประทับ
ยืนบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิตบรรทม พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง ประทับ
นั่งบ้าง. นี้พึงทราบว่าญาณในยมกปาฏิหาริย์ของ
พระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
แต่พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวว่าลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อ
น้ำไหลออกจากพระกายเบื้องบน ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า ลำไฟแลบออกจากพระ
กายเบื้องบน ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็โดยเตโชกสิณสมาบัติ ท่อน้ำไหล
ออกจากพระกายเบื้องล่าง ก็โดยอาโปกสิณสมาบัติ เพื่อแสดงอีกว่า ลำไฟ
ย่อมแลบออกไปจากที่ ๆ ท่อน้ำไหลออกไป ท่อน้ำก็ไหลออกไปจากที่ ๆ ลำไฟ
แลบออกไป. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนี้ลำไฟก็ไม่ปนกับท่อ
น้ำ ท่อน้ำก็ไม่ปนกับลำไฟเหมือนกัน. ส่วนบรรดารัศมีทั้งหลาย รัศมีที่สอง ๆ
ย่อมแล่นไปในขณะเดียวกัน เหมือนเป็นคู่กับรัศมีต้น ๆ. ก็ธรรมดาว่าจิตสอง
ดวงจะเป็นไปในขณะเดียวกันย่อมไม่มี. แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รัศมี
เหล่านี้ ย่อมแลบออกไปเหมือนในขณะเดียวกัน เพราะทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ
โดยอาการ ๕ เหตุการพักแห่งภวังคจิตเป็นไปรวดเร็ว. แต่การนึกการบริกรรม
และการอธิษฐานรัศมีนั้น เป็นคนละส่วนกันทีเดียว. จริงอยู่ เมื่อต้องการรัศมี
เขียว พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเข้านีลกสิณสมาบัติ. เมื่อต้องการรัศมีสีเหลือง
เป็นต้น ก็ย่อมทรงเข้าปีตกสิณสมาบัติเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์อยู่อย่างนี้ ก็ได้เป็น
เหมือนกาลที่เทวดาในหมื่นจักรวาล แม้ทั้งสิ้น ทำการประดับองค์ฉะนั้น.
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้เป็น
นายกพิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
เป็นผู้มีอานุภาพ มีลักษณะบุญนับร้อย ก็ทรงแสดง
ปาฏิหาริย์มหัศจรรย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุตฺตโม ได้แก่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ
เพราะเป็นผู้สูงสุด ล้ำเลิศ ประเสริฐสุด ในสัตว์ทั้งหมด ด้วยพระคุณทั้งหลาย
มีศีลเป็นต้นของพระองค์ หรือว่าเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสัตตุตตมะ
ความจริง คำว่า สัตตะ เป็นชื่อของญาณ. ชื่อว่า สัตตุตตมะ เพราะทรง
เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด ด้วยพระญาณ [สัตตะ] กล่าวคือทศพลญาณและ
จตุเวสารัชชญาณ อันเป็นอสาธารณญาณนั้น. หรือทรงเป็นสัตว์สูงสุด โดย
ทรงทำยิ่งยวดด้วยพระญาณที่ทรงมีอยู่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ. ถ้าเป็นดั่งนั้น ก็ควร
กล่าวโดยปาฐะลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้นว่า อุตฺตมสตฺโต แต่ความต่างอันนี้
ไม่พึงเห็น โดยบาลีเป็นอันมากไม่นิยมเหมือนศัพท์ว่า นรุตตมะ
ปุริสุตตมะ และ นรวระ เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง ญาณ [สัตตะ]
อันสูงสุด มีแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัตตุตตมะ มีญาณอันสูงสุด.
แม้ในที่นี้ ก็ลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้น โดยปาฐะลงวิเสสนะไว้ข้าง
ต้นว่า อุตฺตมสตฺโต เหมือนในคำนี้ว่า จิตฺตคู ปทฺธคู เหตุนั้น
ศัพท์นี้จึงไม่มีโทษ. หรือพึงเห็นโดยวิเสสนะทั้งสองศัพท์ เหมือนปาฐะมีว่า
อาหิตคฺคิ เป็นต้น. บทว่า วินายโก ได้เเก่ชื่อว่า วินายกะ เพราะทรง
แนะนำ ทรงฝึกสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายเครื่องแนะนำเป็นอันมาก. บทว่า สตฺถา
ได้แก่ ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนสัตว์ทั้งหลายตามความเหมาะสม ด้วย
ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า. บทว่า อหู แปลว่า ได้เป็นแล้ว.
บทว่า เทวมนุสฺสปูชิโต ความว่า ชื่อว่า เทพ เพราะระเริงเล่นด้วย
กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะใจสูง. เทวดาด้วย มนุษย์
ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ชื่อว่า
เทวมนุสสปูชิตะ อันเทวดาและมนุษย์บูชาด้วยการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
และการบูชาด้วยปัจจัย [ ๔ ] อธิบายว่า ยำเกรงแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงถือเอาแต่เทวดาและมนุษย์เท่านั้นเล่า สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
เช่นช้างชื่ออารวาฬะ กาฬาปลาละ ธนปาละ ปาลิเลยยกะ เป็นต้นก็มี ที่เป็น
วินิปาติกะเช่นยักษ์ชื่อสาตาคิระ อาฬวกะ เหมวตะ สูจิโลมะ ขรโลมะเป็นต้น
ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น มิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นก็จริงดอก แต่
คำนี้พึงเห็นว่า ท่านกล่าวโดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ และโดยกำหนดเฉพาะ
ภัพพบุคคล. บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยพระพุทธานุภาพ
ยิ่งใหญ่. บทว่า สตปุญฺลกฺขโณ ความว่า สัตว์ทั้งหมดในอนันตจักรวาล
พึงทำบุญกรรมอย่างหนึ่งๆ ตั้งร้อยครั้ง พระโพธิสัตว์ลำพังพระองค์เอง ก็ทำ
กรรมที่ชนทั้งหลายมีประมาณเท่านั้นทำแล้วเป็นร้อยเท่าจึงบังเกิด เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า สตปุญฺลกฺขโณ ผู้มีลักษณะบุญนับร้อย. แต่อาจารย์บาง
พวกกล่าวว่า ทรงมีลักษณะอย่างหนึ่งๆ ที่บังเกิดเพราะบุญกรรมเป็นร้อยๆ
คำนั้นท่านคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็พึงเป็น
พระพุทธเจ้าได้น่ะสิ. บทว่า ทสฺเสสิ ความว่า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ทำ
ความประหลาดใจยิ่ง แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.
ครั้งนั้น พระศาสดาครั้นทรงทำปาฏิหาริย์ในอากาศแล้ว ทรงตรวจดู
อาจาระทางจิตของมหาชน มีพระพุทธประสงค์จะทรงจงกรมพลาง ตรัส
ธรรมกถาพลาง ที่เกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น จึงทรงเนรมิต รัตนจง-
กรมที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด กว้างเท่าหมื่นจักรวาลในอากาศ ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
พระศาสดาพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ สูงสุดใน
นรชน ผู้นำโลก อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลอ้อนวอนแล้ว
ทรงพิจารณาถึงประโยชน์แล้ว ในครั้งนั้น จึงทรงเนร-
มิตที่จงกรม อันสร้างด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ พระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า
ยาจิโต ความว่า ถูกทูลอ้อนวอนขอให้ทรงแสดงธรรมในสัปดาห์ที่แปด เป็น
ครั้งแรกทีเดียว. บทว่า เทววเรน ได้แก่ อันท้าวสหัมบดีพรหม. ในคำว่า
จกฺขุมา นี้. ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะทรงเห็น อธิบายว่า ทรงเห็น
แจ่มแจ้งซึ่งที่เรียบและไม่เรียบ.
ก็จักษุนั้นมี ๒ อย่างคือ ญาณจักษุและมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้งสอง
นั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่างคือ พุทธจักษุ ธันมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ
ปัญญาจักษุ.
บรรดาจักษุทั้ง ๕ นั้น ญาณที่หยั่งรู้อาสยะและอนุสยะ และญาณที่
หยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ซึ่งมาในบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วย
พระพุทธจักษุ ชื่อว่า พุทธจักษุ.
มรรค ๓ ผล ๓ เบื้องต่ำ ที่มาในบาลีว่า ธรรมจักษุที่ปราศจากกิเลส
ดุจธุลี ปราศจากมลทินเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า ธัมมจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณที่มา
ในบาลีว่า ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทที่
สำเร็จด้วยธรรม ก็อุปมาฉันนั้นเถิด ชื่อว่า สมันตจักษุ.
ญาณที่ประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตที่เกิดขึ้น ด้วยการเจริญอาโลก-
กสิณสมาบัติ ที่มาในบาลีว่า ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทิพพจักษุ.
ญาณที่มาแล้วว่า ปัญญาจักษุ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นที่มาในบาลีนี้ว่า จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ปัญญาจักษุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
มังสจักษุเป็นที่อาศัยของประสาท ที่มาในบาลีนี้ว่าอาศัยจักษุและรูปดังนี้
ชื่อว่า มังสจักษุ. ก็มังสจักษุนั้นมี ๒ คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. บรรดา
จักษุทั้ง ๒ นั้น ชิ้นเนื้อนี้ใด อันชั้นตาทั้งหลายล้อมไว้ในเบ้าตา ในชิ้น
เนื้อใด มีส่วนประกอบ ๑๓ ส่วนโดยสังเขป คือ ธาตุ ๔ สี กลิ่น รส โอชะ
สัมภวะ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาท แต่โดยพิศดาร มีส่วน
ประกอบ คือ สมุฏฐาน ๔ ที่ชื่อว่า สัมภวะ สมุฏฐาน ๓๖ และกัมมสมุฏ-
ฐาน ๔ คือ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาทอันนี้ ชื่อว่า สสัมภาร-
จักษุ. จักษุใดตั้งอยู่ในวงกลม ' เห็น ' [เล็นซ์] ซึ่งถูกวงกลมคำอันจำกัดด้วย
วงกลมขาวล้อมไว้ เป็นเพียงประสาทสามารถเห็นรูปได้ จักษุนี้ ชื่อว่าปสาท-
จักษุ.
ก็จักษุเหล่านั้นทั้งหมด มีอย่างเดียว โดยความไม่เที่ยง โดยมีปัจจัย
ปรุงแต่ง. มี ๒ อย่าง โดยเป็นไปกับอาสวะ และไม่เป็นไปกับอาสวะ, โดย
โลกิยะและโลกุตระ. จักษุมี ๓ อย่าง โดย ภูมิ โดย อุปาทินนติกะ, มี ๔
อย่างโดย เอกันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อัปปมาณารมณ์และอนิยตารมณ์. มี
๕ อย่าง คือ รูปารมณ์ นิพพานารมณ์ อรุปารมณ์ สัพพารมณ์และอนารัมม-
ณารมณ์. มี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจพุทธจักษุเป็นต้น จักษุดังกล่าวมาเหล่านี้ มีอยู่
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียก
ว่า จักขุมา ผู้มีพระจักษุ.
บทว่า อตฺถ สเมกฺขิตฺวา ความว่า ทรงเนรมิตที่จงกรม อธิบายว่า
ทรงพิจารณาใคร่ครวญถึงประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อัน
เป็นนิมิตแห่งการทรงแสดงธรรม. บทว่า มาปยิ แปลว่า ทรงเนรมิต. บทว่า
โลกนายโก ได้แก่ ทรงชื่อว่าผู้นำโลก เพราะทรงแนะนำสัตว์โลกมุ่งหน้าตรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ต่อสวรรค์และนิพพาน. บทว่า สุนิฏฺิต แปลว่า สำเร็จด้วยดี อธิบายว่าจบ
สิ้นแล้ว. บทว่า สพฺพรตนนิมฺมิต ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะ ๑๐ อย่าง. บัดนี้
เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธึ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่า
อิทธิปาฏิหารย์, อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียว
ก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคน ก็เป็นคนเดียวได้บ้าง. บทว่า อาเทสนา
ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์.
อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลาย
และของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น ๆ. ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่า
นี้ มีดังกล่าวมาฉะนี้. บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร].
ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น. คำว่า ภควา นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ
สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
ภควาติ วจน เสฏฺ ภควาติ วจนมุตฺตม
คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์นั้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.
บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้.
อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้. วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี
อธิษฐานวสี วุฏฐานวสี และปัจจเวกขณวสี ชื่อว่า วสี.
บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใด ๆ ตามความ
ปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย
เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็ว จึงชื่อว่า อาวัชชนวสี. ทรงเข้าฌาน
ใด ๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มี
เลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็ว จึงชื่อว่า สมาปัชชนวสี.
ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่า อธิษฐานวสี. ความที่ทรงสามารถ
ออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่า วุฏฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อม
เป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน
ลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น
ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วย
ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้น
ว่า
จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ
เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม ที่จง-
กรมสำเร็จด้วยรัตนะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่น
จักรวาล. บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุด
ที่เรียกกันว่ามหาเมรุ. บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตใน
หมื่นจักรวาล ให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดัง
เสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว. บทว่า รตนาม-
เย ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.
บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิต ทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้น
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่ง
ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระชินพุทธเจ้า ทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่น
โลกธาตุ ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทอง
หมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่า ชินะ เพราะทรง
ชนะข้าศึกคือกิเลส. บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้าง
ของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.
บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้นพึงทราบว่า
ก็เป็นรัตนะต่าง ๆ. บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร. บทว่า โสวณฺณ-
ผลกตฺถตา แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้
เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน. บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา
ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรม ก็มี
ไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ. บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา
แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.
บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายที่เป็น
แก้วมณีและแก้วมุกดา. อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย
ชื่อว่า แก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและ
ทรายเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย.
บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้. บทว่า รตนามโย
ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่าที่จงกรม. บทว่า โอภาเสติ ทิสา
สพฺพา ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ. บทว่า สตรสีว
ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น . บทว่าอุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว
อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง
๑๐ ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า
พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหา-
ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่
จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.
เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ
ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.
หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม
พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
พากันมาชุมนุมนมัสการ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา.
บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ
๓๒ ประการ มีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี. บทว่า ทิพฺพ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดใน
เทวโลก ชื่อว่าของทิพย์. บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชม
อย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลาง
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพ-
นครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลาย ที่
กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฏเป็นสีแดงเรื่อ ๆ.
และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ. บทว่า จงฺกมเน
โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
ภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ด้วยดอกไม้ดังกล่าวนั้น. บทว่า
สพฺเพ เทวา ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาที่เป็นกามาวจรเป็นต้น. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺติ ต เทวสงฺฆา หมู่เทพทั้งหลายก็พากัน
ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. อธิบายว่า หมู่เทพพากันชมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม แม้ในสุราลัยทั้งหลายของ
ตนเอง. บทว่า ทสสหสฺสี เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
อธิบายว่า หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า
ปโมทิตา แปลว่า บันเทิงแล้ว . บทว่า นิปตนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.
บทว่า ตุฏฺหฏฺา ได้แก่ ยินดีร่าเริง .ด้วยอำนาจปีติ พึงเห็นการเชื่อม
ความ บทว่า ปโมทิตา ว่า บันเทิงกับเทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นดาว-
ดึงส์เป็นต้น ที่พึงกล่าว ณ บัดนี้. การเชื่อมความนอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือ
การกล่าวซ้ำ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เทวดาทั้งหลายบันเทิงแล้ว ชมพระผู้-
มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้ว ก็พากันประชุม ณ ที่
นั้น ๆ.
บัดนี้ เพื่อแสดงถึงเหล่าเทพที่ชมที่ประชุมกันโดยสรุป ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา
ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดี มีจิตโสมนัสมีใจดีพากันชมพระผู้นำโลก.
เหล่านาค สุบรรณและเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ
คนธรรพ์มนุษย์และรากษส พากันชมพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น
เหมือนชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ ท้องนภากาศฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
เหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้น
เวหัปผลา และชั้นอกนิฏฐะ ทรงครองผ้าขาวสะอาด
พากันยืนประคองอัญชลี.
พากันโปรย ดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับ
จุรณจันทน์ โบกผ้าทั้งหลาย ณ ภาคพื้นอัมพรในครั้ง
นั้น อุทานว่า โอ ! พระชินเจ้า ผู้เกื้อกูลและอนุเคราะห์
โลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเบิกบานด้วย
อำนาจปีติโสมนัส. บทว่า สุมนา ได้แก่ ผู้มีใจดี เพราะเป็นผู้มีจิตเบิกบาน.
บทว่า โลกหิตานุกมฺปก ได้แก่ ผู้เกื้อกูลโลก และผู้อนุเคราะห์โลก หรือ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ชื่อว่าโลกหิตานุกัมปกะ. บทว่า นเภว
อจฺจุคฺคตจนฺทมณฺฑล ความว่า พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์
ด้วยพุทธสิริ ที่ทำความชื่นมื่นแก่ดวงตา เหมือนชมดวงจันทร์ในฤดูสารทที่
พ้นจากอุปัทวะทั้งปวง เต็มดวง ซึ่งอุทัยใหม่ ๆ ในอากาศนี้.
บทว่า อาภสฺสรา ท่านกล่าวโดยกำหนดภูมิที่สูงสุด. เทพชั้น
ปริตตาภา อัปปมาณาภาแล ะอาภัสสระ ที่บังเกิดด้วยทุติยฌาน อันต่างโดย
กำลังน้อย ปานกลางและประณีต พึงทราบว่าท่านถือเอาหมด. บทว่า สุภกิณฺหา
ท่านก็กล่าวไว้โดยกำหนดภูมิที่สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เทพชั้น
ปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา และชั้นสุภกิณหะ ที่บังเกิดด้วยตติยฌาน อัน
ต่างโดยกำลังน้อยเป็นต้น ก็พึงทราบว่าท่านถือเอาหมดเหมือนกัน. บทว่า
เวหปฺผลา ได้แก่ ชื่อว่าเวหัปผลา เพราะมีผลไพบูลย์. เทพชั้นเวหัปผลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
เหล่านั้น อยู่ชั้นเดียวกับเทพที่เป็นอสัญญสัตว์ทั้งหลายเพราะเกิดด้วยจตุตถฌาน.
แต่เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้นซึ่งบังเกิดด้วยปฐมฌานท่านแสดงไว้ใน
ภูมิเบื้องต่ำ เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้. อสัญญสัตว์ และอรูปีสัตว์
ท่านมิได้ยกขึ้นแสดงในที่นี้ เพราะไม่มีจักษุและโสตะ. บทว่า อกนิฏฺา จ
เทวตา ท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ก็โดยกำหนดภูมิสูงสุดเหมือนกัน. เพราะ
ฉะนั้นเทพชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสีและอกนิฏฐะ
พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วย. บทว่า สุสุทฺธสุกฺกวตฺถวสนา ความว่า
ผ้าทั้งหลายอันสะอาดด้วยดี คือหมดจดดีอันขาว คือผ่องแผ้ว ผ้าอันขาว
สะอาดดี อันเทพเหล่าใดนุ่งและห่มแล้ว เทพเหล่านั้น ชื่อว่าผู้นุ่งห่มผ้าขาว
อันสะอาดดี อธิบายว่าผู้ครองผ้าขาวบริสุทธิ์ ปาฐะว่า สุสุทฺธสุกฺกวสนา
ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า ยืนประคองอัญชลี คือทำอัญชลีเสมือน
ดอกบัวตูมไว้เหนือเศียร.
บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ โปรย. บทว่า ปุปฺผ ปน ได้แก่ ก็ดอกไม้ ปาฐะ
ว่า ปุปฺผานิ วา ดังนี้ก็มี พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาสะ แต่ใจความของคำนั้นก็
อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า ปญฺจวณฺณิก แปลว่า มีวรรณะ ๕. วรรณะ ๕ คือ
สีเขียว เหลือง แดง ขาว และแดงเข้ม. บทว่า จนฺทนจุณฺณมิสฺสิต แปลว่า
ประสมด้วยจุรณจันทน์. บทว่า ภเมนฺติ เจลานิ แปลว่า โบกผ้าทั้งหลาย.
บทว่า อโห ชิโน โลกหิตานุกมฺปฺโต ได้แก่ เปล่งคำสดุดีเป็นต้นอย่างนี้ว่า
โอ ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลโลก โอ ! พระผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์โลก โอ ! พระผู้มี
กรุณา. เชื่อมความว่าโปรยดอกไม้ โบกผ้าทั้งหลาย.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำสดุดีที่เทพเหล่านั้นประกอบแล้ว พระสังคีติกา-
จารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
พระองค์เป็นศาสดา เป็นที่ยำเกรง เป็นธง เป็น
หลัก เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปของสัตว์มี
ชีวิตทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดในสัตว์สองเท้า.
เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุผู้มีฤทธิ์ ผู้ยินดี
ร่าเริงบันเทิงใจ ห้อมล้อมนมัสการ.
เทพบุตรและเทพธิดา ผู้เลื่อมใส ยินดีร่าเริง
พากันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
หมู่เทพเลื่อมใสยินดีร่าเริงชมพระองค์พากันบูชา
พระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.
โอ ! น่าปรบมือในโลก น่าประหลาด น่าขนชูชัน
อัศจรรย์ ขนลุก ขนชันเช่นนี้ เราไม่เคยพบ.
เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตน ๆ เห็นความ
อัศจรรย์ในนภากาศ ก็พากันหัวเราะด้วยเสียงดัง.
อากาศเทวดา ภุมมเทวดาและเทวดาผู้ประจำ
ยอดหญ้า และทางเปลี่ยว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ประคองอัญชลีนมัสการ.
พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์ บันเทิงใจแล้ว
ก็พากันนมัสการบูชาพระนราสภ.
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ เครื่องสังคีต
ดีดสีทั้งหลายก็บรรเลง เครื่องดนตรีหุ้มหนังก็ประโคม
ในอัมพรภาคพโยมหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์
บัณเฑาะว์และกลองน้อย ๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง
ในท้องฟ้า.
ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น
แล้วหนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เรา
ได้ขณะกันแล้ว.
เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน
ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ
พุทฺโธ.
หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี
เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลด
ใจ.
เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง
บรรเลง ปรบมือ และฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ
๕ สี ประสมกับจุรณจันทน์.
ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ
จักร ที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วย
ธง วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ที่ชื่อว่าสตฺถาพระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์
เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า. บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็น
เหมือนธง เพราะอรรถว่า ธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง. บทว่า ธโช ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะ
อรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง. อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่าเข้า
เห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่า นี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือ
ธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น
หลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวง ที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญาน
เป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร. บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก.
บทว่า ปติฏฺา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็น
ที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.
บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป. อธิบายว่าประทีปที่เขายกขึ้น
สำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ ๔ ย่อมส่องให้เห็นรูป ฉันใด พระองค์
ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคือ
อวิชชาฉันนั้น. อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์
ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏอันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลาง
สมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้น
จึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.
บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่า ทวิป-
ทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึง
สำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ. ถ้าจะพึงมีคำถาม
ว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสอง
เท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็
ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่ง
สัตว์สองเท้าเล่า พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดโนโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้า
และสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น ถามว่า ในเหล่า
สัตว์สองเท้าประเภทไร. ตอบว่าในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. เมื่อเกิดใน
เหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพัน
โลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหา-
พรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้น ย่อมพร้อมที่จะ
เป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึง
เรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหม
แม้นั้น.
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง.
บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่ามีอานุภาพมาก.
บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ. บทว่า
ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา. บทว่า นราสภ ได้แก่ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด
ในนรชน. ในบทว่า อโห อจฺฉริย นี้ ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์
เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบ
มือ. อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ ! นี้น่าประหลาดจริง. บทว่า อพฺภุต
ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อ อัพภุตะ. แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อ
ของความประหลาดใจ. บทว่า โลมหสน ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลาย
ขึ้น [ชูชัน]. บทว่า น เมทิส ภูตปุพฺพ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่
เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น. พึงนำคำว่า ทิฏฺ เห็น มาประกอบไว้ด้วย.
บทว่า อจฺเฉรก แปลว่า อัศจรรย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ. บทว่า นิสีทิตฺวา
ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่
เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา. บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้น
หัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจ
ปีติ. บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.
บทว่า อากาสฏฺา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ.
แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน
ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว. บทว่า ปุญฺวนฺโต ได้แก่ ผู้มี
บุญมาก. บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า สงฺคีติโย
ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง อธิบายว่า ประกอบ
ขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ. บทว่า
อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ. ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศ
เป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น . บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า
ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน อธิบายว่ากลองทิพย์. บทว่า
วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.
บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า. บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรี
พิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา. บทว่า
วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม. บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์
จริงหนอ. บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว. บทว่า โลมหสโน ได้แก่
ทำขนชูชัน. บทว่า ธุว อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์
อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน. บทว่า
ลภาม แปลว่า จักได้. บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ ๙ เว้นจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
อขณะ ๘. บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า
ได้แล้ว.
บทว่า พุทฺโธติ เตส สุตฺวาน ความว่า ปีติ ๕ อย่างเกิดแก่เทพ
เหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที. บทว่า
หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลา
ร่าเริง. บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป. บทว่า อุกุฏฺิ
ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า. บทว่า คายนฺติ ได้แก่
ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.
บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก. บทว่า วาทยนฺติ
ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้ง
หลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ
แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส. บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่
ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.
ในคำว่า ยถา ตุยฺห มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณ นี้ ยถา
แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียร
อย่างใหญ่. บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง
ของพระองค์ มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง
งดงาม. ก็ จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ,
ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร, และลักษณะเป็นต้น. ที่ใช้ในอรรถว่า
สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ
สมนฺนาคตาน เทวมนุสฺสาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เมื่อเทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
และมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถได้ในบาลีเป็นต้น
ว่า จกฺก ว วทโต ปท เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียน
ไป. ที่ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺก นวทฺวาร
มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่า ทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ทท ภุญฺช จ
มา จ ปมาโท จกฺก วตฺตย สพฺพปาณีน ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอย
อย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่า รัตนจักร ได้ใน
บาลีนี้ว่า ทิพฺพ จกฺกรตน ปาตภูต จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้
ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติต จกฺก ธรรมจักร
อันเราให้เป็นไปแล้ว . ที่ใช้ในอรรถว่า ขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับ
ประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺก ภมติ มตฺถเก
จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครองงำแล้ว. ที่ใช้ใน
อรรถว่า ลักษณะ. ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะ
ทั้งหลายเกิดแล้ว ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า
จักรคือลักษณะ. บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิต ความว่า
ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย]
วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์]
และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะ
ที่เหลือไว้ด้วย. พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริส-
ลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เปล่งพระพุทธรัศมีมี
พรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริ-
ฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัว ที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างาม
ระยับด้วยดวงดาว.
บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระ
รูป ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรม-
จักร.
แก้อรรถ
รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฏใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ
นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า รูป ศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า รูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูป
อตีตานาคตปจฺจุปฺปนน รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบัน. ที่ใช้ในอรรถว่า รูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺค
ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ. ที่ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ได้
ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูป
ภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก. ที่ใช้ในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า
สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น. ที่ใช้
ในอรรถว่า สรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺข
คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ. ที่ใช้ในอรรถว่า วรรณะ ได้ใน
บาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺาณ อาศัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี
นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน
ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล
ได้แก่ ในศีล ๔ อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ ๓ อย่าง. บทว่า
ปญฺาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า
ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ.
บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระ-
องค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
กำลังพระยาช้าง ๑๐ เชือก เป็นกำลังปกติใน
พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง
พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพล ได้แก่ กำลังพระยาช้าง
ฉัททันต์ ๑. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี ๒ คือ กำลังพระกาย ๑
กำลังพระญาณ ๑. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว
ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺย ปณฺฑร ตมฺพปิงฺคล
คนฺธมงฺคลเหมสญฺจ อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.
ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ
ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ
อุโปสถะ ฉัททันตะ.
กาฬวกะได้แก่ ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เป็นกำลัง
ของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือก
เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ
โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูล
ฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระ-
ตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ. กำลังของพระตถาคตนี้
นั้น เท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษ
สิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน. ส่วนกำลัง
พระญาณ หาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพล-
ญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท ๘ พระจตุโยนิปริ-
เฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ ๑๔. แต่ในที่นี้ ประสงค์
เอากำลังพระวรกาย. บทว่า กาเย ตุยฺห ปากติก พล ความว่า กำลัง
ตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพล
จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ ๑๐ เชือก.
บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ.
บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระ-
ศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดา
พระองค์นั้น ทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลาย จงนมัสการ
พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ
ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น
พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอว เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าว
มาแล้ว. ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณฺเปต นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึง
ไม่เหลือเลย. คุณ ศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฏใช้ในอรรถเป็นอันมาก.
จริงอย่างนั้น คุณ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า
อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตาน วตฺถาน ทิคุณ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่. ที่ใช้ในอรรถว่า
กลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา
อนุปุพฺพ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.
ที่ใช้ในอรรถว่า อานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา
ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย. ที่ใช้ในอรรถว่า พวง
ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก. ที่ใช้
ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺ คุณ สมุเปต อภิญฺาพลมาหรึ
นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ ๘. แม้ในที่นี้ก็พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
เห็นว่าใช้ในอรรถว่า สมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อม
แล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง. บทว่า
สพฺพงฺคสมุปาคต ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธ-
คุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง. บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะ
ยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหา
มุนี. บทว่า การุณิก ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ.
บทว่า โลกนาถ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง. อธิบายว่า อันโลกทั้ง
ปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือ
ทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงความที่พระทศพล ทรงเป็นผู้ควรแก่การเคารพ
นบนอบทุกอย่าง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
พระองค์ควรการกราบไหว้ การชมการสรรเสริญ
การนบนอบบูชา.
ข้าแต่พระมหาวีระ ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดเป็น ผู้
ควรแก่การไหว้ในโลก ชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้
พระองค์เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชน
เสมอเหมือนพระองค์ไม่มีเลย.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทน ได้แก่ ให้ผู้อื่นทำการกราบ
ตน. บทว่า โถมน ได้แก่ ชมลับหลัง. บทว่า วนฺทน ได้แก่ นอบน้อม.
บทว่า ปสสน ได้แก่ สรรเสริญต่อหน้า. บทว่า นมสฺสน ได้แก่ ทำอัญชลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
หรือนอบน้อมด้วยใจ. บทว่า ปูชน ได้แก่ และการบูชาด้วยมาลัยของหอม
และเครื่องลูบไล้เป็นต้น. บทว่า สพฺพ ความว่า พระองค์ทรงสมควรเหมาะ
สมสักการะวิเศษดังกล่าวแล้วนั้นทุกอย่าง. บทว่า เย เกจิ โลเก วนฺทเนยฺยา
ความว่าชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ควรกราบ ควรไหว้ ควรซึ่งการไหว้ในโลก.
บทว่า เย ได้แก่ อนึ่งชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้ในโลก. ก็บทนี้เป็นไวพจน์
ของบทต้นนั้นแล. บทว่า สพฺพเสฏฺโ ความว่า ข้าแต่พระมหาวีระ พระ-
องค์เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชนไรที่เสมอเหมือน
พระองค์ ไม่มีในโลก.
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรง
เนรมิตรัตนจงกรมเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นอยู่ ท่านพระสารีบุตรพร้อม
ด้วยภิกษุบริวาร ๕๐๐ รูป อยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเถระ
ตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เห็นพระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมใน
อากาศ กรุงกบิลพัศดุ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและฌาน อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้เป็นนายก
ของโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าสารีบุตร เพราะ
เป็นบุตรของพราหมณีชื่อว่า สารี. บทว่า มหาปญฺโ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญา
มาก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ อย่างใหญ่. ในคำว่า สมาธิชฺฌาน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
โกวิโท นี้. บทว่า สมาธิ ได้แก่ ชื่อว่าสมาธิ เพราะบรรจงตั้ง คือวางจิต
ไว้สม่ำเสมอในอารมณ์. สมาธินั้น มี ๓ คือ ชนิดมีวิตกมีวิจาร ชนิดไม่มี
วิตกมีเพียงวิจาร ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. บทว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แม้ฌานอื่นมีเมตตาฌานเป็นต้นก็เป็นอันท่าน
สงเคราะห์ด้วยฌานที่กล่าวมาแล้วนี้ มีปฐมฌานเป็นต้น.
แม้ฌานก็มี ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน.
บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้นวิปัสสนาญาณ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไป
เพ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ส่วนฌานมีปฐมฌานเป็นต้น เรียกว่า ฌาน
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ หรือเผาธรรมที่เป็นข้าศึก. ผู้ฉลาดในสมาธิด้วย ใน
ฌานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน. บทว่า คิชฺฌกูเฏ
ความว่า ยืนอยู่ที่ภูเขามีชื่ออย่างนี้นี่แล. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ เห็นแล้ว.
บทว่า สุผุลฺล สาลราชว เชื่อมความกับบทว่า อาโลก อย่างนี้ว่า
ท่านพระสารีบุตรตรวจดูพระทศพลผู้เป็นดังต้นพระยาสาลพฤกษ์ ซึ่งมีศีลเป็น
ราก มีสมาธิเป็นลำต้น มีปัญญาเป็นกิ่ง มีอภิญญาเป็นดอก มีวิมุตติเป็นผล
เหมือนต้นพระยาสาละ มีลำต้นกลมกลึง มีกิ่งประดับด้วยตาตูมผลใบอ่อนและ
หน่อที่อวบขึ้นดก มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น . บทว่า จนฺทว คคเน ยถา
ความว่า ตรวจดูพระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงจันทร์ ผู้ทำการกำจัดความมืดคือ
กิเลสทั้งปวง ผู้ทำความแย้มแก่ดงโกมุทคือเวไนยชน ดุจดวงจันทร์เต็มดวง
ในฤดูสารทอันห้อมล้อมด้วยหมู่ดาว หลุดพ้นจากอุปสรรค คือ หมอก หิมะ
ควัน ละออง และราหู. บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต . บทว่า มชฺฌนฺหิเกว
สูริย ความว่า รุ่งโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ ที่ส่องแสงเป็นช่อชั้น ด้วยสิริเวลา
เที่ยงวัน. บทว่า นราสภ ได้แก่ ผู้สูงสุดในนรชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
บทว่า ชลนฺต แปลว่า รุ่งเรืองอยู่ อธิบายว่า พระวรสรีระประดับ
พร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะและพระอสีติอนุพยัญชนะ มีพระพักตร์ดังทอง
งาม มีสิริดังพระจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอย่างยิ่ง.
บทว่า ทีปรุกฺขว ได้แก่ ประดุจต้นประทีปที่เขายกประทีปไว้. บทว่า ตรุณ-
สุรยว อุคฺคต ได้แก่ ประดุจดวงอาทิตย์อุทัยใหม่ ๆ อธิบายว่า รุ่งเรืองอยู่
โดยภาวะเรียบร้อย. ก็ท่านเรียกดวงอาทิตย์อ่อนๆ เพราะเหตุอุทัยขึ้น. ไม่มี
ลดแสงหรือเพิ่มแสงเหมือนดวงจันทร์ [เพราะดวงอาทิตย์ไม่มีขึ้นแรม]. บทว่า
พฺยามปฺปภานุรญฺชิต ได้แก่ อันพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งแสงจับแล้ว. บทว่า ธีร
ปสฺสติ โลกนายก ความว่า เห็นพระผู้นำ ซึ่งเป็นปราชญ์เอกของโลกทั้งปวง.
ลำดับนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดี ยืนอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ซึ่งมียอด
จรดหมู่ธารน้ำเย็นสนิทมียอดอบอวลด้วยดอกของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด
มียอดวิจิตรงามอย่างยิ่ง แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทวดาและพรหม
ซึ่งมาแต่หมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว ซึ่งเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมเป็นรัตนะ
ล้วน ด้วยพระพุทธสิริอันยอดเยี่ยม ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้จึง
คิดว่า เอาเถิด จำเราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอพระพุทธวงศ์เทศนา
อันแสดงพระพุทธคุณ จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งอยู่กับตน. ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ท่านพระธรรมเสนาบดี จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป
ซึ่งทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ สิ้นอาสวะแล้ว ปราศจาก
มลทิน ทันที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺน ภิกขุสตาน ได้แก่ ภิกษุ
๕๐๐ รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ-
จาน ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ
และภาวนากิจ ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔. บทว่า ขีณาสวาน ได้แก่ ผู้สิ้น
อาสวะ ๔. บทว่า วิมลาน ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป
ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น
แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า
ให้ประชุมกันแล้ว.
บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ
โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่
นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.
มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม
พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา
ความสงสัยเสียได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทน นาม ความว่า ท่าน
เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า
อุลฺโลกปฺปสาทน ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
ปาฏิหาริย์นั้นท่านกล่าวว่า อธิษฐานการทำสัตว์แม้ทั้งหมด เบื้องบนตั้งแต่
อกนิษฐภพ เบื้องต่ำถึงอเวจี ทำให้เป็นแสงสว่างอันเดียวกันในระหว่าง
นี้ให้เห็นซึ่งกันและกันในระหว่างนี้. บทว่า นิทสฺสยิ แปลว่า แสดง
แล้ว. บทว่า อมฺเหปิ แปลว่า แม้เราทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ความว่า ไป
ในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. บทว่า วนฺทิสฺสาม ความว่า พวกเราจัก
ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. แต่ในคำว่า อมฺเหปิ
นี้พึงเห็นการเชื่อมความแห่งศัพท์ ๒ ศัพท์นี้ว่า มย ศัพท์ต้น เชื่อมความกับ
กิริยาเดินไป มย ศัพท์หลัง เชื่อมความกับกิริยาถวายบังคม. ความจริง ความ
นอกจากนี้ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.
บทว่า เอถ แปลว่า มาเถิด. ในคำว่า กงฺข วิโนทยิสฺสาม นี้
ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ความสงสัยแม้ไรๆ ของพระขีณาสพทั้งหลายไม่มี
เหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริงทีเดียว ความ
สงสัยขาดไปด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ทัสสเนนปหาตัพพธรรม (ธรรมที่พึงประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค)
คืออะไรบ้าง คือจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวงและ โลภะ โทสะ โมหะ มานะที่พาไปอบาย และกิเลส
ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกับจิตเหล่านั้น. แต่ความสงสัยนั้นไม่ใช่ ที่เรียกว่า
วิจิกิจฉา. ก็อะไรเล่าชื่อว่า การไม่รู้บัญญัติ. แต่พระเถระประสงค์จะทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพุทธวงศ์ ด้วยว่าพุทธวงศ์นั้นเป็นวิสัยของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายเท่านั้น มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะพุทธวงศ์มิใช่
วิสัย. บทว่า วิโนทยิสฺสาม แปลว่า จักบรรเทา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้วต่างก็ถือเอาบาตรจีวร
ของตน ๆ มีกิเลสอันทำลายแล้วมีเครื่องผูกขาดแล้ว เหมือนช้างใหญ่ สวม
เกราะดีแล้ว มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ก็พากันรีบมาประชุม. ด้วยเหตุนั้น
ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับคำว่าสาธุแล้ว เป็นผู้มีปัญญา
รักษาตัว สำรวมอินทรีย์ ต่างถือเอาบาตรจีวร พากัน
รีบเข้าไปหาพระเถระ.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ,
ปลอบใจ, และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม
เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ
โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ
ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา
ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า.
ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ
ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณ สุข.
พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่
ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาที่ใช้ในอรรถ รับ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของพระเถระว่า สาธุ แปลว่า ดีละ. บทว่า นิปกา ได้แก่
บัณฑิต ผู้มีปัญญา. บทว่า สวุตินฺทฺริยา ได้แก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย อธิบายว่าผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร. บทว่า ตรมานา แปลว่า
รีบ บทว่า อุปาคมุ ได้แก่ เข้าไปหาพระเถระ.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงประวัติของท่านพระ-
ธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ เป็นต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ทนฺเตหิ ได้แก่ ผู้ฝึกทางกาย ทางจิตแล้ว. บทว่า อุตฺตเม
ทเม ได้แก่ ในเพราะพระอรหัต. พึงเห็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถนิมิตสัตตมี.
บทว่า เตหิ ภิกฺขูหิ ได้แก่ อันภิกษุ ๕๐๐ รูป. บอกว่า มหาคณี ความว่า
ชื่อว่ามหาคณี เพราะท่านมีคณะใหญ่ ทั้งโดยศีลเป็นต้น และโดยนับจำนวน.
หรือชื่อว่า มหาคณะ เพราะเป็นคณะใหญ่โดยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ด้วย
สามารถแห่งบทต่างๆ ชื่อว่า มหาคณีเพราะคณะใหญ่ของท่านมีอยู่ เหตุนั้นท่าน
จึงชื่อว่ามีคณะใหญ่. บทว่า สฬนฺโต เทโวว คคเน ความว่า งดงามด้วย
อิทธิวิลาส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พื้นนภากาศ ราวกะเทพดา.
บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีเข้าเฝ้าว่า เต อิตฺถมฺภูตา อุปสงฺกมึสุ ภิกษุมีชื่อ
อย่างนี้เหล่านั้นเข้าเฝ้าแล้ว ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงเริ่มคำว่า อุกฺกา-
สิตญฺจ ขิปิต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกาสิตญฺจ
ความว่า ไม่ทำเสียงจาม บทว่า ขิปิตญฺจ ความว่า ไม่ทำเสียงไอ. บทว่า
อชฺฌุเปกฺขิย แปลว่า เฉย อธิบายว่าไม่ทำทั้งสองอย่าง [คือ สงบเงียบ].
บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ ผู้มีธุดงคคุณผุดผ่องดี. บทว่า สปฺปติสฺสา
ได้แก่ มีความยำเกรง อธิบายว่า ถ่อมตน.
บทว่า สยมฺภุ ความว่า มีพุทธภาวะอันทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้ง
หลาย บรรลุแล้วด้วยพระองค์เอง เว้นการอ้างถึงผู้อื่น. บทว่า อจฺจุคฺคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
ได้แก่ ขึ้นมาใหม่ ๆ. บทว่า จนฺทว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. พึงเชื่อมบท
อย่างนี้ว่า แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ ณ พื้นนภากาศ เหมือน
ดวงจันทร์ในท้องฟ้าฉะนั้น. แม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.
บทว่า วิชฺชุว ได้แก่ เหมือนสายฟ้าทึบ อธิบายว่า เหมือนสายฟ้าแลบ
เช่นที่มีแสงชั่วขณะแต่ตั้งอยู่นานฉะนั้น. บทว่า คคเน ยถา แปลว่า เหมือน
ในอากาศแม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. นอกจากในที่เช่นนี้
ยถา ศัพท์ ในที่เช่นนี้ก็พึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต.
บทว่า รหทมิว วิปฺปสนฺน ความว่า น้ำไม่ขุ่นแต่ใส เหมือนห้วง
น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างมากฉะนั้น. บทว่า สุผุลฺล ปทุม ยถา พึงเห็นความว่า
เหมือนห้วงน้ำที่มีดงปทุมดอกแย้มบาน. ปาฐะว่า สุผุลฺล กมล ยถา ดังนี้ก็มี
ความว่า เหมือนดงบัวที่ดอกบานสะพรั่ง เพราะดอกบัวนั้น น่าปรารถนา.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีท่านพระธรรมเสนาบดีเป็นหัวหน้า ทำอัญชลี
ไว้เหนือเศียร หมอบลงแทบฝ่าพระยุคลบาทที่มีจักรประดับ. ด้วยเหตุนั้นท่าน
พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อญฺชลี ปคฺคเหตฺวาน ตุฏฺฐหฏฺา
ปโมทิตา ประคองอัญชลียินดีร่าเริงบันเทิงใจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่า นิปตนฺติ แปลว่า หมอบลง อธิบายว่าถวายบังคม. บทว่า จกฺก-
ลกฺขเณ ความว่า พระบาทที่มีลักษณะจักร ชื่อว่า จักรลักษณะ. ที่พระบาท
อันมีจักรลักษณะนั้น ท่านกล่าวคำว่า ปาเท โดยอำนาจแห่งชาติ. อธิบายว่า
หมอบลงแทบฝ่าพระบาทของพระศาสดาที่มีจักรประดับ.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อแสดงนามของพระเถระเหล่า
นั้น บางท่านจึงกล่าวคาถาว่า สาริปุตฺโต มหาปญฺโ โกรณฺฑสมสา-
ทิโส เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรณฺฑสมสาทโส แปลว่า ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
ผิวพรรณเสมือนดอกหงอนไก่. ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควร
กล่าวว่า โกรณฺฑสโม หรือ โกรณฺฑสทิโส. ทำไม ท่านจึงกล่าวว่า
สมสาทิโส ๒ ครั้ง. ตอบว่า นี้ไม่ผิดดอก, ท่านเช่นนั้น ชื่อว่า เสมอเหมือน
กับดอกหงอนไก่ โดยเป็นเช่นเดียวกับดอกหงอนไก่ เพราะเท่ากับดอกหงอนไก่.
อธิบายว่า ไม่ใช่กล่าวโดยกล่าวเกินไป. ก่อนอื่นในคำว่า สมาชิชฺฌานกุลโล
นี้ กุสล ศัพท์นี้ใช้ในอรรถทั้งหลายมีในอรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาด
และมีสุขเป็นวิบาก เป็นต้น. จริงอยู่ กุสล ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรค
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กจฺจิ นุ โภโต อนามย ท่านพราหมณ์
ไม่มีโรค ไม่มีการเจ็บไข้บ้างหรือหนอ. ใช้ในอรรถว่าไม่มีโทษ ได้ในประโยค
เป็นต้นว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช
กายสมาจาโร อนวชฺโช ท่านพระคุณเจ้าข้า กายสมาจารเป็นกุศลคืออะไร.
ถวายพระพรมหาบพิตรกายสมาจารเป็นกุศล คือไม่มีโทษ. ใช้ในอรรถว่าฉลาด
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กุสโล ตฺว รถสฺส องฺคปจฺจงฺคาน ท่านฉลาด
ในส่วนประกอบน้อยใหญ่ทั้งหลายของรถ. ใช้ในอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก ได้ใน
ประโยคเป็นต้นว่า กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา เพราะทำการ
สร้างสมกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าฉลาด. บทว่า
วนฺทเต แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.
บทว่า คชฺชิตา ได้แก่ ชือว่า คัชชิตา เพราะคำราม. บทว่า
กาลเมโฆว ได้แก่ คำรามเหมือนอากาศที่ทรงน้ำสีเขียวความ [เมฆ] อธิบาย
ว่าในวิสัยแห่งฤทธิ์. บทว่า นีลุปฺปลสมสาทิโส แปลว่า มีสีเหมือนดอก
บัวขาบ. พึงทราบความในที่นี้ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านโกลิตะ
ที่ได้นามตามโคตรอย่างนี้ว่า โมคคัลลานะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
บทว่า มหากสฺสโปปิ จ ได้แก่ เทียบกับท่านพระอุรุเวลกัสสป
ท่านพระนทีกัสสป ท่านพระคยากัสสป ท่านพระกุมารกัสสป ซึ่งเป็น
พระเถระเล็กพระเถระน้อย พระกัสสปรูปนี้เป็นมหา เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงถูกเรียกว่า มหากัสสป. ศัพท์ว่า ปิ จ มีอรรถว่าชมเชยและรวบรวม.
บทว่า อุตฺตตฺตกนกสนฺนิโภ แปลว่า มีผิวพรรณคล้ายทองที่ร้อนละลาย.
ในคำว่า ธุตคุเณ นี้ ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส, ธรรมกำจัด
กิเลส ชื่อว่า ธุตคุณ. ก็ธุตธรรมคืออะไร คือธรรม ๕ ประการ บริวาร
ของธุตังคเจตนาเหล่านี้คือ อัปปิจฉตา ความมักน้อย, สันตุฏฐิตา
ความสันโดษ, สัลเลขตา ความขัดเกลา, ปวิเวกตา ความสงัด, อิท-
มัฏฐิกตา ความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ ชื่อว่า ธุตธรรม เพราะบาลีเป็นต้นว่า
อปฺปิจฺฉ นิสฺสาย อาศัยความมักน้อยนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ญาณชื่อว่า ธุตะ
เพราะกำจัดกิเลสทั้งหลาย. ในธุตคุณนั้น. บาลีว่า อคฺคนิกฺขิตโต ได้แก่ ที่
ท่านสถาปนาว่า เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด อธิบายว่า อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหากัสสป เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้สรรเสริญธุดงค์. ก็ อัคค ศัพท์นี้
ใช้ในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่าเป็นต้น ปลาย ส่วน ประเสริฐสุดเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น อัคค ศัพท์ ใช้ในอรรถว่าเป็นต้น ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อชฺชตคฺเค
สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวาร นิคณฺาน นิคณฺีน ดูก่อนสหายนาย
ประตู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูสำหรับนิครนถ์และนิครนถีทั้งหลาย.
ใช้ในอรรถว่า ปลาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน ต
องฺคุลคฺค ปรามเสยฺย ภิกษุเอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ ถูกต้องปลายนิ้วนั้น
และว่า อุจฺฉคฺค เวฬคฺค ปลายอ้อย ปลายไผ่. ใช้ในอรรถว่า ส่วน
ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน
ภาเชตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อแบ่งตามส่วนแห่งวิหาร หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
ตามส่วนแห่งบริเวณ. ใช้ในอรรถว่าประเสริฐสุด ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยาวตา
ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา ฯ เป ฯ ตถาคโต เตส
อคคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้า
ก็ดี ฯลฯ พระตถาคต กล่าวกันว่าประเสริฐสุดแห่งสัตว์เหล่านั้น. อัคค ศัพท์
นี้นั้น ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า ประเสริฐสุด. ยังใช้ในอรรถว่า ยอด
ก็มี พระเถระดำรงอยู่ในตำแหน่งของท่านว่า เป็นผู้ประเสริฐและเป็นยอดด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ได้แต่งตั้งว่าเป็นผู้เลิศ
ผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด. บทว่า โถมิโต ได้แก่ อันเทวดาและมนุษย์เป็นต้น
สรรเสริญแล้ว. บทว่า สตฺถุ วณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง
ชมเชยแล้ว. อธิบายว่าอันพระศาสดาทรงยกย่องสรรเสริญโดยนัยที่มาในพระ-
สูตรเป็นอันมาก เป็นต้นอย่างนี้ว่า กสฺสโป ภิกฺขเว จนฺทูปโม กุลานิ
อุปสงฺกมติ อปกสฺเสว กาย อปกสฺส จิตฺต นิจฺจนวโก กุเลสุ
อปคพฺโภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปไม่กำเริบกายไม่กำเริบจิต เป็นนวกะ
ภิกษุใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในตระกูลทั้งหลาย เข้าไปสู่ตระกูล. แม้ท่าน
พระมหากัสสปนั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ความว่า ทิพยจักษุมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุ
เหล่านั้น ชื่อว่ามีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธะเป็นเลิศประเสริฐสุดแห่งภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุเหล่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ผู้มีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธเถระ
เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะสักกะ พระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น
พระกนิษฐภาดาของพระเจ้ามหานามสักกะ เป็นผู้มีบุญมากเป็นสุขุมาลชาติอย่าง
ยิ่ง ท่านเป็นคนที่ ๗ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ลำดับการบรรพชาของท่าน
มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะ. บทว่า อวิทูเรว ได้แก่ในสำนักของผู้มี-
พระภาคเจ้านั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
บทว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา ได้แก่ ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ.
บทว่า สเตกิจฺฉาย ได้แก่ ในอาบัติที่ทำคืนได้ก็มี ที่ทำคืนไม่ได้ก็มี. บรรดา
อาบัติเหล่านั้นอาบัติที่ทำคืนได้นั้น มี ๖ อย่าง อาบัติที่ทำคืนไม่ได้นั้น ก็คือ
อาบัติปาราชิก. ปาฐะว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา สเตกิจฺฉาย โกวิโท
ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า วินเย ได้แก่ ในวินัยปิฎก.
บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ท่านพระอุบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่า
ภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย. บทว่า อุบาลี ได้แก่ ท่านพระอุบาลีเถระ. บทว่า
สตฺถุวณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง สรรเสริญ. เล่ากันว่า พระ-
เถระเรียนวินัยปิฎกในสำนักพระตถาคตเท่านั้น กล่าวเรื่องทั้ง ๓ คือ ภารุ-
กัจฉกวัตถุ. อัชชุกวัตถุ กุมารกัสสปวัตถุ เทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ.
เพราะฉะนั้น พระเถระ ท่านจึงกล่าวว่าอันพระศาสดาทรงยกย่อง โดยนัยเป็น
ต้นอย่างนี้ว่า เป็นเลิศของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย.
บทว่า สุขุมนปุณตฺถปฏิวิทฺโธ ได้แก่ ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถอันสุขุม
ละเอียดแล้ว อธิบายว่า ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถะอันละเอียดเห็นได้ยากแล้ว.
บทว่า กถิกาน ปวโร ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุด กว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก.
ท่านสถาปนาไว้ในเอตทัคคบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณมันตานีบุตร
เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
กถิกาน ปวโร เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. บทว่า คณี
ได้แก่ เป็นผู้มีหมู่. เล่ากันว่ากุลบุตรที่บวชในสำนักพระเถระ มีถึง ๕๐๐ รูป
ภิกษุเหล่านั้น ทุกรูป เป็นชาวแคว้นที่เกิด อันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทุกรูป
เป็นพระขีณาสพ ทุกรูปเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คณี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
ผู้มีหมู่. บทว่า อิสี ได้แก่ ชื่อว่า อิสี เพราะเสาะแสวงหากุศลธรรม. บทว่า
มนฺตานิยา ปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของพราหมณีชื่อมันตานี. คำว่า ปุณณะ
เป็นชื่อของท่าน. บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อเสียงทางคุณมีความเป็นผู้มัก
น้อยเป็นต้นของตนเอง.
ฝ่ายท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระอภิ-
สัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จมาตามลำดับ ทรง
อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่, ท่านกลับมายังกรุงกบิลพัศดุ์ บวชมาณพชื่อ
ปุณณะ หลานชายของตน ถวายบังคมทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเอง
ก็ไปยังสระฉัททันตะเพื่ออยู่ประจำ. ส่วนท่านปุณณะมาพร้อมกับพระเถระเพื่อ
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักทำกิจของผู้บวชให้เสร็จก่อนแล้วจึงจักไป
เฝ้าพระทศพล ถูกท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระปล่อยไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่น
เอง ท่านทำโยนิโสมนสิการ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เข้าเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. ก็บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปเหล่านี้ คือท่านพระ-
อนุรุทธเถระ ท่านพระอุบาลีเถระ ท่านแสดงเหมือนเข้าไปยังกรุงกบิลพัศดุ์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบวชในวันประชุมพระประยูรญาติ ฉะนั้นคำนั้นไม่
สมกับบาลีในขันธกะ และอรรถกถา. พึงสอบสวนแล้วถือเอาเถิด.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบอาจาระทางจิตของภิกษุ ๕๐๐ รูป มี
พระสารีบุตรเถระเป็นต้นแล้ว ทรงเริ่มตรัสคุณทั้งหลายของพระองค์. ด้วย
เหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
พระมหามุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมาทรงทราบจิต
ของภิกษุเหล่านั้น จะทรงตัดความสงสัย จึงตรัสคุณ
ของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้อ
อุปมา. กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้ว
จึงตรัสว่า
เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอัน
ใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย
๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระ-
พุทธญาณที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่
อาจจะรู้ได้.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต. บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อ
ว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้. อธิบายว่าเกินที่จะนับ. บทว่า โกฏิ
ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย. บทว่า เยส ได้แก่ ของอสงไขย ๔
เหล่าใด. บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย
๔ ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่าสตฺตกาโยเป็นต้น. บทว่า สตฺตกาโย แปลว่า
หมู่สัตว์. หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้น
ที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน พุทธญาณ
คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้. บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุ
ความว่า เพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะ
รู้ได้.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์
ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
เกิดความประหลาดอัศจรรย์ ความประหลาดอัศจรรย์ที่วิเศษยิ่งกว่านั้น ยังมีอยู่
ขอท่านทั้งหลายจงพึงความอัศจรรย์นั้นของเรา จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
การทำฤทธิ์ต่าง ๆ ของเรา จะอัศจรรย์อะไรใน
โลก ความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น ที่น่าประหลาด
น่าขนลุกชัน ยังมีเป็นอันมาก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำค้าน. ตรัสคำว่า เอต ทรง
หมายถึงการทำฤทธิ์ต่างๆ นี้. บทว่า ย ความว่า ศัพท์ว่า ย นี้ ใช้ในอรรถทุติยา
วิภัตติได้ในประโยคเป็นต้นว่า ย ต อปุจฺฉิมฺห อกิตฺตยีโน อญฺ ต
ปุจฺฉาม ตทิงฺฆ พฺรูหิ ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้นใด ก็ตรัสตอบแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์จะทูลถามปัญหาอื่นนั้น ขอโปรดตอบปัญหานั้นด้วย, ใช้ในอรรถว่า
เหตุได้ในประโยคนี้ อฏฺานเมต ภิกฺขเว อนวกาโส ย เอกิสฺสา โลกธาตุ-
ยา เทฺว อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุใด พระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธแห่งโลกธาตุเดียว มี ๒ พระองค์ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ
ไม่เป็นโอกาส, ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้ในประโยคนี้ว่า ย วิปสฺสี ภควา
กปฺเป อุทปาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติในกัปใด,
ใช้ในอรรถปฐมาวิภิตติ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ย โข เม ภนฺเต เทวาน
ตาวตึสาน สมฺมุขา สุต สมฺมุขา ปฏิคฺคหิต, อาโรเจมิ ต ภควโต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องใด ข้าพระองค์ได้ยินมาต่อหน้ารับมาต่อหน้าทวย-
เทพชั้นดาวดึงส์ ข้าพระองค์จะทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ในที่นี้
ก็พึงเห็นว่าใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. ทรงแสดงว่าความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น
ของเรา ที่แปลกประหลาดพิเศษยังมีเป็นอันมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้น
ดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลี
อ้อนวอนเรา.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงชี้พระองค์เองด้วยบทว่า อห. บทว่า ตุสิเต กาเย ได้แก่ หมู่เทพที่
ชื่อว่าดุสิต. ก็ในกาลใดเราบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน บริจาคมหาบริจาค ๕ ถึงที่
สุดแห่งญาตัตถจริยา โลกัตถจริยาและพุทธจริยา ให้สัตตสตกมหาทาน ทำ
แผ่นดินให้ไหว ๗ ครั้ง จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วก็บังเกิดในภพ
ดุสิต ในวาระจิตที่สอง แม้ในกาลนั้นเราก็ได้เป็นเทวราชชื่อท้าวสันดุสิต. บทว่า
ทสสหสฺสี สมาคมฺม ความว่า เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้ว.
บทว่า ยาจนฺติ ปญฺชลี มม ความว่า เทวดาหมื่นโลกธาตุ เข้าไปหาเรา
อ้อนวอนเราว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่
ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนาสมบัติพรหม
มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิบำเพ็ญ แต่พระองค์ปรารถนาความเป็นพระพุทธ-
เจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า [เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า]
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับ
พระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา
ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษย์โลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโล เต แปลว่า เป็นกาลสมควร
สำหรับพระองค์. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปชฺช ได้แก่
ถือปฏิสนธิ. ปาฐะว่า โอกฺกมฺม ก็มี. บทว่า สเทวก ความว่า โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ในบทว่า ตารยนฺโต นี้ แม้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ก็ชื่อว่า ช่วยให้
ข้าม. แม้ทรงบำเพ็ญบารมีเสร็จ ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. แม้ทรงจุติจากอัตภาพ
เป็นพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิในภพดุสิตดำรงอยู่ในภพดุสิตนั้น ตลอด ๕๗
โกฏิปีกับ ๖๐ แสนปี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ทรงถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอน ทรง
ตรวจมหาวิโลกนะ ๕ แล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามหา-
มายาเทวีก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ถ้วนทศมาสก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม แม้ทรง
อยู่ครองฆราวาสวิสัย ๒๙ พรรษา ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในวันประสูติพระราหุล-
ภัททะ ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย ขึ้นทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ก็ดี เสด็จเลย ๓ ราชอาณาจักรทรงผนวช ณ ริมฝั่งแน่น้ำอโนมา ก็ดี ก็ชื่อว่า
ทรงช่วยให้ข้าม. ทรงบำเพ็ญความเพียร ๖ ปีก็ดี ในวันวิสาขบูรณมีเพ็ญเดือน
วิสาขะ เสด็จขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน [โคนโพธิพฤกษ์] ทรงกำจัดกองกำลัง
ของมาร ปฐมยาม ทรงระลึกได้ถึงขันธ์ในบุรพชาติ มัชฌิมยามทรงชำระ
ทิพยจักษุ ปัจฉิมยามทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ ทั้งอนุโลมและ
ปฏิโลมทรงบรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในขณะโสดาปัตติ-
ผลก็ดี ในขณะสกทาคามิมรรคก็ดี ในขณะสกทาคามิผลก็ดี ในขณะอนาคามิ-
มรรคก็ดี ในขณะอนาคามิผลก็ดี ในขณะอรหัตมรรคก็ดี ในขณะอรหัตผล
ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในกาลใด ได้ประทานน้ำอมฤตแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์
พร้อมด้วยเทวดาหมื่นแปดพันโกฏิ๑ นับตั้งแต่กาลนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ทรงช่วยให้ข้ามแล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
๑. ที่อื่นเป็น ๑๘ โกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
เมื่อทรงยังโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร
ขอโปรดจงบรรลุอมตบท.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้
ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕
คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูลพระชนมายุของพระชนนี บรรดา
มหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น
กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า
กาล. เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา
พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย.
เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี
เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะ
ฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร. แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปี
ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส
หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน
ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้นกาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร. อายุกาลอย่าง
ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า
เป็นกาลที่ควรบังเกิด.
ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่
ประมาณหมื่นโยชน์.
เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ
ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระกูล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
บังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ
จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็น
พระชนกของเรา.
แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธ-
มารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า
มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง
นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก
๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว.
ครั้นทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ดังนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา
แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน
ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์
พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวเป็นต้นว่า
พระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว เสด็จ
ลงในพระครรภ์ ในกาลใด ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุ
ไหว แผ่นปฐพีก็ไหว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิ ได้แก่ ก้าวลงเข้าไป. บทว่า
กุจฺฉย แปลว่า ในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา. บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ
กมฺปิตฺถ ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีสติสัมปชัญญะเมื่อลงสู่พระครรภ์ของ
พระพุทธมารดา ทรงถือปฏิสนธิโดยนักษัตรฤกษ์เดือนอาสาฬหะหลัง ในดิถี
เพ็ญอาสาฬหะ ด้วยมหาวิปากจิตที่เป็นเช่นเดียวกับกุศลจิตอสังขาริก ที่สหรคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณอันมีเมตตาเป็นบุรพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต ๑๙
ดวง. ครั้งนั้น ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว. ธรรมชาติใด
ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาพที่คงที่และเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่าธรณี คือแผ่นปฐพี.
ในบทว่า สมฺปชาโน นิกฺขมิ นี้ มีอธิบายว่า ก็ในกาลใด เรา
มีสติสัมปชัญญะยืนเหยียดมือทั้งสองออกจากพระครรภ์ของพระชนนี เหมือน
พระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได อันของไม่
สะอาดไรๆ ที่เป็นสัมภวะในพระครรภ์ไม่แปดเปื้อนเลย. บทว่า สาธุการ
ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย ยังสาธุการให้เป็นไป อธิบายว่า ถวาย
สาธุการ. บทว่า ปกมฺปิตฺถ แปลว่า ไหวแล้ว อธิบายว่า หมื่นโลกธาตุ
ไหวทั้งขณะเสด็จลงสู่พระครรภ์ ทั้งขณะประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเห็นใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระองค์
ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์เป็นต้นจึงตรัสคาถานี้ว่า โอกฺกนฺติ เม สโม
นตฺถิ เป็นต้นก็เพื่อทรงแสดงความอัศจรรย์ของพระองค์ในการเสด็จลงสู่พระ-
ครรภ์เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกนฺติ แปลว่า ในการเสด็จลง
สู่พระครรภ์ ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่าในการถือปฏิสนธิ.
บทว่า เม แปลว่า ด้วยเรา. บทว่า สโม ได้แก่ ไม่มีใครเสมือน. ในบทว่า
ชาติโต นี้ ความว่า ชนย่อมเกิดจากมารดานี้ เหตุนั้น มารดาท่านจึงเรียกว่า
ชาตี อธิบายว่า จากมารดาผู้ให้กำเนิดนั้น. บทว่า อภินิกฺขเม ได้แก่ เสด็จ
ออก คือไหลออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.
ในบทว่า สมฺโพธิย นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ความตรัสรู้อันดีอัน
ท่านสรรเสริญแล้ว ชื่อสัมโพธิ. ก็ โพธิ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีต้นไม้
มรรค นิพพาน สัพพัญญุตญาณเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
จริงอยู่ต้นไม้ท่านเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิรุกฺขมูเล
ปมาภิสมฺพุทฺโธ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก ณ โคนต้นโพธิ์ และว่า
อนฺตรา จ คย อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยา และโพธิพฤกษ์
มรรคเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ
ญาณ ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.
นิพพานเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปตฺวาน โพธิ อมต
อสงฺขต บรรลุพระนิพพานอันเป็นอมตะ เป็นอสังขตะ. พระสัพพัญญุตญาณ
เรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มี
ปัญญาประเสริฐกว้างดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ในที่นี้
ท่านประสงค์พระอรหัตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์พวกอื่นๆ
กล่าวว่า สัพพัญญุตัญญาณ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระ
สัพพัญญุตญาณนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยพระสัมโพธิ-
ญาณ สรรเสริญพระองค์เอง. ตอบว่า เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง
จริงอยู่ ความตรัสรู้พร้อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้คุณทุกอย่างย่อมให้
พระพุทธคุณแม้ทั้งหมด ไม่เหลือเลย แต่ไม่ให้คุณแก่คนอื่น ๆ. ก็บรรดา
คนทั้งหลายอื่นพระอรหัตมรรค ย่อมให้อรหัตผลเท่านั้น แก่บางคน ให้
วิชชา ๓ แก่บางคน ให้อภิญญา ๖ แก่บางคน ให้ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บางคน
ให้สาวกบารมีญาณแก่บางคน ให้ปัจเจกโพธิญาณเท่านั้นแก่พระปัจเจกพุทธะ
ทั้งหลาย แต่ให้คุณสมบัติทุกอย่างแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญพระองค์เองว่า เป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพธิ-
ญาณ เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง. อนึ่ง ทรงทำพื้นแผ่นปฐพีให้
ไหวแล้วก็ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพฐิญาณ. ในบทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน
พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็ธรรมจักรมี ๒ คือ ปฏิเวธญาณ ๑ เทศนาญาณ ๑
ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักรอันพระปัญญาอบรมแล้วนำมาซึ่งอริยผล
แด่พระองค์ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรอันพระกรุณาอบรมแล้ว นำมา
ซึ่งอริยผลแก่สาวกทั้งหลายชื่อว่า เทศนาญาณ. ปฏิเวธญาณ เป็นโลกุตร-
กุศล สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. เทศนาญาณ เป็นโลกิยะ
เป็นอัพยากฤต. แม้ญาณทั้งสองนั้น ก็ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาเทศนาญาณ.
บัดนี้เทวดาทั้งหลายพึงเรื่องราวมีแผ่นดินไหวเป็นต้น ในเพราะการ
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็พากันกล่าวคาถานี้ว่า อโห
อจฺฉริย โลเก เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธาน คุณมหนฺตตา
ความว่า โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณมาก. โอ ! พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีอานุภาพมาก.
บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ฉปฺปการ ปกมฺปถ ความว่า มหา
ปฐพีในหมื่นจักรวาล หวั่นไหวด้วย ๖ อาการ คือ ยืดขึ้นข้างหน้าโน้มลงข้างหลัง
ยืดขึ้นข้างหลังโน้มลงข้างหน้า ยึดขึ้นข้างซ้ายโน้มลงข้างขวา ยืดขึ้นข้างขวา
โน้มลงข้างซ้าย ยืดขึ้นตรงกลางโน้มลงข้างท้าย ยืดขึ้นข้างท้ายโน้มลงตรง
กลาง มหาปฐพีนี้หนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ มีน้ำรองแผ่นดินอยู่รอบ ๆ
เหมือนเรือที่ถูกขนาบด้วยการหักของคลื่นแห่งน้ำที่ไหวเพราะแรงลม แม้ไม่มี
ใจก็เหมือนมีใจ ก็อาการไหวมี ๖ ประการ ดังกล่าวมานี้ เหมือนฟ้อนรำด้วย
ปีติ. บทว่า โอภาโส จ มหา อาสิ ความว่า ได้มีแสงสว่างล้ำเทวานุภาพ
ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อจฺเฉร โลมหสน ความว่า ได้มีความ
อัศจรรย์และขนลุกชัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
บัดนี้ เมื่อความอัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวและปรากฏแสงสว่าง
เป็นต้น เป็นไปอยู่ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาว่า ภควา ตมฺหิ
สมเย เป็นต้น ก็เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า โลกเชฏฺโ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. บทว่า
สเทวก ได้แก่ แห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก. พึงเห็นว่า ทุติยาภัตติใช้ในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ทสฺสยนฺโต ได้แก่ เมื่อทรงแสดงปาฏิหาริย์.
บทว่า จงฺกมนฺโต ว ความว่า เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้น
ที่ตั้งครอบหมื่นโลกธาตุตรัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาตรัสธรรมกถาอันไพเราะ ที่ทรงชักมาด้วยไตรลักษณ์ประกอบด้วยสัจจะ
๔ มีนัยวิจิตรต่างๆ ด้วยพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหม น่าฟัง น่ารัก ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประหนึ่งราชสีห์แผดสีหนาท เหนือพ้นแท่นหินอ่อนสีแดง ประ-
หนึ่งเมฆในฤดูฝน คำรามอยู่ และประหนึ่งข้ามอากาศคงคา.
ในคำว่า อนฺตรา น นิวตฺเตติ จตุหตฺเถ จงฺกเม ยถา นี้ มี
ความว่า ที่จงกรมที่พระศาสดาทรงเนรมิตนั้น ปลายข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปาก
จักรวาลด้านทิศตะวันออก ข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก
พระศาสดา เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นที่ตั้งอยู่ดังกล่าวนี้ เสด็จถึงปลาย
ทั้งสองข้างจึงจะเสด็จกลับ ระหว่างยังเสด็จไม่ถึงปลายสองข้าง จะไม่เสด็จกลับ
พระศาสดา เมื่อเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมประมาณ ๔ ศอก ถึงปลายสองข้าง
เร็ว จึงเสด็จกลับอย่างใด จะไม่เสด็จกลับในระหว่างอย่างนั้น. ทำไม พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงย่นที่จงกรม ซึ่งยาวถึงประมาณหมื่นโยชน์ให้สั้น
หรือทรงเนรมิตอัตภาพให้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ก็มิได้ทรงกระทำอย่างนั้น พุท-
ธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด. หมื่นโลกธาตุได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง
หมื่นจักวาลก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์
ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง
ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน
หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ
มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ
เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ ๓๒ อัน
กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ-
ชนะ ๘๐ มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๘ ศอก เหมือนดวงจันทร์
เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน
สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว
ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี
อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม
แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเผ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว
ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากฉลาดในสมาธิ
และญาณ ผู้บรรลุบารมีด้วยปัญญา ทูลถามพระผู้นำ
โลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร.
ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิอันสูงสุดเมื่อกาลไร พระเจ้าข้า.
ถามว่า อนุสนธินี้ ชื่ออะไร ตอบว่า ชื่อว่าปุจฉานุสนธิ จริงอยู่ อนุ-
สนธิ มี ๓ คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ใน
อนุสนธิทั้ง ๓ นั้น พึงทราบ ปุจฉานฺสนธิ โดยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงตอบปัญหาของผู้ถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน
เป็นอย่างไร ฝั่งนอกเป็นอย่างไร.
อัชฌาสยานุสนธิ พึงทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธ-
ยาศัยของผู้อื่นแล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกแห่งใจอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็เป็นอนัตตาดังนี้ กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตนอย่างไร. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัย
จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน
ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ อยู่ในอวิชชา พึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าพึงแส่ไปด้วยใจที่มี
ตัณหาเป็นอธิปไตย ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตาอย่างนี้ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตน
อย่างไร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.๑
๑. ท. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๑๒๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
อนึ่ง เทศนาในชั้นต้น ตั้งขึ้นโดยธรรมใด เทศนาชั้นสูงมาใน
พระสูตรเหล่าใด โดยธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น หรือโดยคัดค้าน ยถานุสนธิ
ก็พึงทราบโดยอำนาจพระสูตรเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าเป็น
ปุจฉานุสนธิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺาย ปารมิปฺปตฺโต ความว่า
ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ. บทว่า ปุจฺฉติ แปลว่า ได้ถามแล้ว. ในคำว่า
ปุจฺฉติ นั้น ชื่อว่าปุจฉา มี ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ทิฏฐสัง-
สันทนาปุจฉา วิมติจเฉทนาปุจฉา อนุมติปุจฉา กเถคุกัมยตาปุจฉา. ถ้าจะถาม
ว่า ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉาของพระเถระนี้ ชื่อว่าปุจฉาอะไร. ตอบว่า เพราะ
เหตุที่พุทธวงศ์นี้มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สร้างสมบุญสมภาร
มาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป และของพระอัครสาวกทั้งสอง ผู้สร้างสมบุญ-
สมภารมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป หรือของพระมหาสาวกที่เหลือ ผู้สร้างสม
บุญสมภารมาแสนกัป เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น เพราะ
ฉะนั้น ปุจฉาของพระเถระพึงทราบว่า เป็นอทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ศัพท์ว่า กีทิโส เป็นอาการถาม อธิบายว่ามีประการไร. บทว่า เต
แปลว่า ของพระองค์. บทว่า อภินีหาโร ความว่า การผูกใจเพื่อเป็นพระ-
พุทธเจ้า นอนอธิษฐานความเพียรว่าเราไม่ได้คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าจัก
ไม่ลุกขึ้นดังนี้ ชื่อว่าอภินีหาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร.
บทว่า กมฺหิ กาเลแปลว่าในกาลไร. บทว่าปตฺถิตา แปลว่าปรารถนา
แล้วหวังแล้ว. พระเถระทูลถามว่า ทรงทำการตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธ
เจ้าไว้เมื่อไร โดยนัยเป็นต้นว่า พึงตรัสรู้เป็นพระผู้ตรัสรู้ พึงพ้นเป็นพระผู้พ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
บทว่า โพธิ ได้แก่ สัมมาสัมโพธิ คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัตมรรคญาณ และ
พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อุตฺตมา ได้แก่ ท่านกล่าวว่าสูงสุด เพราะ
ประเสริฐกว่าสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ. ม อักษรทำบทสนธิระหว่างศัพท์
ทั้งสอง
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทูลถามถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึง
กล่าวว่า
ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ เป็นเช่นไร
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี ๑๐ เป็น
เช่นไร อุปบารมี เป็นเช่นไร ปรมัตถบารมี เป็น
เช่นไร.
แก้อรรถ
บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ
ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บารมี ๑๐
อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ ด้วยประการฉะนี้.
ในบารมี ๓๐ ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่
ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ
ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า
ภิกฺขาย อุปคต ทิสฺวา สกตฺตาน ปริจฺจชึ
ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
เราเห็นภิกษุเข้าไปหาอาหาร ก็เสียสละตัวเอง
ผู้เสมอเราด้วยทานไม่มี นี่เป็น ทานบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน
ในสังขปาลชาดก ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละตัวอย่างนี้ว่า
สูเลหิ วินิวิชฺฌนฺเต โกฏฺฏยนฺเตปิ สตฺติภิ
โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี.
ถึงบุตรนายบ้าน แทงด้วยหลาว ตอกด้วยหอก
เราก็ไม่โกรธ นี่เป็น ศีลบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียวเหมือนกัน.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงสละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมม-
บารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในจุลสุตโสมชาดก เนกขัมมบารมีของพระ
โพธิสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติ เพราะไม่มีความประสงค์แล้ว ออกทรงผนวช
อย่างนี้ว่า
มหารชฺช หตฺถคต เขฬปิณฺฑว ฉฑฺฑยึ
จชโต น โหติ ลคฺคน เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี.
เราสละราชสมบัติใหญ่ ที่อยู่ในเงื้อมมือเหมือน
ก้อนเขฬะ เราผู้สละโดยไม่ติดข้องเลย นี่เป็นเนกขัมม-
บารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ในครั้งเป็น
มโหสธบัณฑิตเป็นต้นก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน. ครั้งเป็นสัตตุภัตตกบัณฑิต
ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงงูที่อยู่ในถุงหนังว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
ปญฺาย วิจินนฺโตห พฺราหฺมณ โมจยี ทุกฺขา
ปญฺาย เม สโม นฺตฺถิ เอสา เม ปญฺาปารมี.
เราเมื่อพิจารณาเฟ้นด้วยปัญญา ก็เปลื้องทุกข์
ของพราหมณ์ได้ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี่เป็น
ปัญญาบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือน
กัน. ในมหาชนกชาดก วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ข้ามมหาสมุทร
อย่างนี้ว่า
อตีรทสฺสี ชลมชฺเฌ หตา สพฺเพว มานุสา
จิตฺตสฺส อญฺถา นตฺถิ เอสา เม วิริยปารมี.
ท่ามกลางทะเลลึกล้ำ มนุษย์ทั้งหมดถูกภัยกำจัด
แล้ว จิตก็ไม่เปลี่ยนไป นี่เป็น วิริยบารมี ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว
ในขันติวาทีชาดกก็เหมือนกัน ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้อด
กลั้นทุกข์ใหญ่ ประหนึ่งไม่มีจิตใจ อย่างนี้ว่า
อเจตนว โกฏฺเฏนฺเต ติณฺเหน ผรสฺนา มม
กาสิราเช น กุปฺปามิ เอสา เม ขนฺติปารมี.
พระเจ้ากาสี จะทรงใช้ขวานคมกริบ ฟาดฟัน
เราผู้ประหนึ่งไม่มีจิตใจ เราก็ไม่โกรธ นี่เป็นขันติบารมี
ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
ในมหาสุตโสมชาดกก็เหมือนกัน. สัจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
สละชีวิตรักษาสัจ อย่างนี้ว่า
สจฺจวาจนุรกฺขนฺโต จชิตฺวา มม ชีวิต
โมเจสึ เอกสต ขตฺติเย เอสา เม สจฺจปารมี.
เราเมื่อตามรักษาสัจวาจา ก็ยอมสละชีวิตของ
เราเปลื้องทุกข์กษัตริย์ได้ ๑๐๑ พระองค์ นี่เป็นสัจบารมี
ของเรา.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
ในมูคปักขชาดกก็เหมือนกัน อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้
ยอมสละชีวิตอธิษฐานวัตร อย่างนี้ว่า
มาตา ปิตา น เม เทสฺสา อตฺตา เม น จ เทสฺสิโย
สพฺพญฺญุต ปิย มยฺห ตสฺมา วต อธิฏฺหึ.
มารดาบิดาไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา ตัวก็ไม่
เป็นที่เกลียดชังของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รัก
ของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
ในสุวรรณสามชาดก ก็เหมือนกัน เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์
ผู้ไม่อาลัยแม้แต่ชีวิต ประพฤติเมตตา อย่างนี้ว่า
น ม โกจิ อุตฺตสติ นปิ ภายามิ กสฺสจิ
เมตฺตาพเลนุปตฺถทฺโธ รมามิ ปวเน ตทา.
ใคร ๆ ทำเราให้หวาดสะดุ้งไม่ได้ แม้เราก็ไม่
กลัวต่อใครๆ เราอันกำลังเมตตาอุดหนุนแล้วจึงยินดี
อยู่ในป่าใหญ่ ในครั้งนั้น.
ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
ในโลมหังสชาดกก็เหมือนกัน อุเบกขาปารมีของพระโพธิสัตว์
เมื่อเด็กชาวบ้านทั้งหลาย ก่อให้เกิดควานสุขและความทุกข์ด้วยการถ่มน้ำลายรด
เป็นต้นและด้วยการตีด้วยพวงมาลัยและของหอมเป็นอาทิ ก็ไม่ละเมิดอุเบกขา
อย่างนี้ว่า
สุสาเน เสยฺย กปฺเปมิ ฉวฏฺิก อุปนิธายห
คามณฺฑลา อุปคนฺตฺวา รูป ทสฺเสนฺตินปฺปก.
เราจะวางซากกระดูกไว้แล้วนอนในป่าช้า พวก
เด็กชาวบ้าน เข้าไปลานบ้าน แสดงรูปหลอกมิใช่
น้อย.
ชื่อว่าปรมัตถบารมี. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิศดาร พึงถือเอา
จากคัมภีร์จริยาปิฎก.
บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงคำพยากรณ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระเถระทูลถามแล้ว จึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรทูลถามแล้ว ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดั่งนก
การเวกทรงยังดวงใจให้ดับร้อน ปลอบประโลมโลก
ทั้งเทวโลก ทรงพยากรณ์แล้ว.
ทรงประกาศพระธรรมเทศนา คือ จริตของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว อันพระพุทธเจ้าทรงนำ
สืบๆ กันมา คือพุทธวงศ์อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ด้วยความรู้อันติดตาม
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในปางก่อน คือปุพเพนิวาสานุส-
สติญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ปุฏฺโ วิยากาสิ ความว่า ทรง
เป็นผู้อันพระธรรมเสนาบดีนั้นทูลถามแล้วทรงพยากรณ์แก่ท่าน คือตรัสพุทธ-
วงศ์ทั้งหมดตั้งต้นแต่อภินีหารของพระองค์ มีการตรัสรู้เป็นที่สุด. บทว่า
กรวีกมธุรคิโร ความว่า เสียงของผู้ใดไพเราะเหมือนเสียงของนกการเวก
ผู้นั้น ชื่อว่า มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก อธิบายว่า มีเสียงเสนาะ
เพราะพริ้งเหมือนนกการเวก. ในข้อนี้ขอกล่าวดังนี้ นกการะเวกทั้งหลาย
มีเสียงไพเราะ. เล่ากันว่านกการเวกทั้งหลาย เอาจะงอยปากจิกผลมะม่วง
สุก อันมีรสหวาน ดื่มน้ำผลมะม่วงที่ไหลออกมาก็เริ่มใช้ปีกให้จังหวะร้อง
เพลงระเริงเล่น เหมือนสัตว์สี่เท้ามัวเมาในเสียงเพลง. ฝูงสัตว์สี่เท้าแม้
ง่วนอยู่ด้วยการกินอาหาร ก็ทิ้งหญ้าคาปากเสียแล้วพากันฟังเสียงกังวาลนั้น.
สัตว์ร้ายทั้งหลายกำลังไล่ติดตามเนื้อทรายเล็กๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้น หยุดยืน.
เหมือนตุ๊กตา แม้ฝูงเนื้อที่ถูกไล่ติดตาม ก็เลิกกลัวตาย หยุดยืน แม้ฝูงนกที่
ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็เหยียดปีก ร่อนชลออยู่ แม้ฝูงปลาในน้ำ ก็ไม่กระดิก-
แผ่นหู หยุดฟังเสียงนั้น นกการเวกมีเสียงไพเราะอย่างนี้. บทว่า นิพฺพา-
ปยนฺโต หทย ความว่า ยังใจของชนทุกคนผู้เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ให้เกิด
ความเยือกเย็นด้วยธรรมกถาดังอมฤตธารา. บทว่า หาสยนฺโต ได้แก่ ให้
ยินดี. บทว่า สเทวก ได้แก่ โลกพร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า อตีตพุทฺธาน แปลว่า ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว.
ก่อนหน้าอภินีหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ในกัปหนึ่งบังเกิดพระ-
พุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร
พระพุทธเจ้าสรณังกร พระพุทธเจ้าทีปังกร. ต่อมาภายหลังพระพุทธเจ้า ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
พระองค์นั้น ก็มีพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น
ดังนั้น พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธเข้าพระนามว่าทีปังกร
เป็นต้น ทุกพระองค์ ท่านประสงค์เอาว่า อดีตพระพุทธเจ้า ในที่นี้.
ของอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า ชินาน เป็นไวพจน์ของบทว่า อตีต-
พุทฺธาน นั้นนั่นแล. บทว่า เทสิต ได้แก่ คำตรัส คือธรรมกถาที่ประกอบ
ด้วยสัจจะ ๔ ของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์. บทว่า นีกีลิต ได้แก่ จริต
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ข้อที่กำหนดด้วยกัป ชาติ โคตร อายุ โพธิ สาวกสัน-
นิบาต อุปัฏฐาก มาตา บิดา บุตร ภรรยา เป็นต้น ชื่อว่า นิกีลิตะ. บทว่า
พุทฺธปรมฺปราคต ความว่า เทศนา หรือ จริต ที่ตั้งต้นแต่พระทศพล
พระนามว่าทีปังกร สืบลำดับมาจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า. บทว่า ปุพฺเพ
นิวาสานุคตาย พุทฺธิยา ความว่า ความรู้ที่ไปตามเข้าถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ปาง
ก่อน กล่าวคือ ขันธสันดานที่อาศัยอยู่ปางก่อน อันจำแนกอย่างนี้ว่า ชาติหนึ่ง
บ้างสองชาติบ้างเป็นต้น. ด้วยความรู้ที่ไปตามขันธ์ที่อาศัยอยู่ปางก่อน คือด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า ปกาสยิ ได้แก่ ทรงพยากรณ์. บทว่า
โลกหิต ได้แก่ พุทธวงศ์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก. บทว่า สเทวเก
ได้แก่ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้
ในการฟัง ด้วยพระหฤทัยอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณา จึงตรัสว่า ปีติปาโมชฺ-
ชนน ได้แก่ อันทำปีติและปราโมช คือปราโมชอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปีติ
อธิบายว่า ยังปีติ ๕ อย่างให้เกิด. บทว่า โสกสลฺลวิโนทน ได้แก่ บรรเทา
กำจัดลูกศรทั้งหลาย ที่เรียกว่า โสกะ. บทว่า สพฺพสมฺปตฺติปฏิลาภ
ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติแม้ทุกอย่างมีเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติ
เป็นต้น ด้วยพุทธวงศ์นั้น เหตุนั้น พุทธวงศ์นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
อย่าง อธิบายว่า พุทธวังสเทสนา เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างนั้น. บทว่า
จิตฺตีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในจิต อธิบายว่าทำพุทธานุสสติไว้เบื้องหน้า. บทว่า
สุณาถ ได้แก่จงตั้งใจ จงตื่น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.
บทว่า นทนิมฺมทน ได้แก่ ทำการบรรเทาความเมาทุกอย่างมีเมาใน
ชาติเป็นต้น. บทว่า โสกนุท ความว่า ความเร่าร้อนแห่งจิตของผู้ถูกความ
พินาศแห่งญาติเป็นต้นกระทบแล้ว ชื่อว่า โสกะ โดยอรรถ ก็เป็นโทมนัส
นั่นเองก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกมีการเผาภายในเป็นลักษณะ มี
ความแห้งผากแห่งใจเป็นรส มีความเศร้าสร้อยเป็นเครื่องปรากฏ. พุทธวงศ์
ย่อมบรรเทาความโศกนั้น เหตุนั้นพุทธวงศ์จึงชื่อว่าบรรเทาความโศก. ซึ่ง
พุทธวงศ์อันบรรเทาความโศกนั้น. บทว่า สสารปริโมจน ได้แก่ ทำการ
ปลดเปลื้องจากเครื่องผูกมัดสังสาร. ปาฐะว่า สสารสมติกฺกม ดังนี้ก็มี ความ
ของปาฐะนั้นว่า ทำการก้าวล่วงสงสาร.
ทุกข ศัพท์ในคำว่า สพฺพทุกฺขกฺขย นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีทุกข-
เวทนา ทุกขวัตถุ ทุกขารมณ์ ทุกขปัจจัย ทุกขฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ทุกข-
ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส จ
ปหานา เพราะละทุกขเวทนา. ใช้ในอรรถว่า ทุกขวัตถุ [ที่ตั้งแห่งทุกข์] ได้
ในประโยคเป็นต้นว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา แม้ชาติก็เป็นที่ตั้ง
ทุกข์ แม้ชราก็เป็นที่ตั้งทุกข์. ใช้ในอรรถว่าทุกขารมณ์ ได้ในประโยคเป็นต้น
ว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป ทุกฺข ทุกฺขานุปติต ทุกฺขาวกฺกนฺต ดู
ก่อนมหาลิ เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ตกไปตามทุกข์ ก้าวลงใน
ทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจัย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺโข
ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสมบาป เป็นทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขฐาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยาวญฺจิท ภิกฺขเว น สุกรา อกฺขาเนน
ปาปุณิตุ ยาว ทุกฺขา นิรยา๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้
โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์มิใช่ทำได้โดยง่าย.
แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถ ทุกขวัตถุ ก็มี ในอรรถว่า
ทุกขปัจจัย ก็มี. เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า อันกระทำความสิ้นทุกข์ทั้งปวง
มีชาติเป็นต้น. จะวินิจฉัยในคำว่า มคฺค นี้ ดังนี้. พุทธวงศ์เทศนา
เรียกว่า มรรค เพราะผู้ต้องการกุศลแสวงหากันหรือฆ่ากิเลสทั้งหลายไป.
ซึ่งพุทธวงศ์เทศนาอันเป็นทางแห่งพระนิพพานนั้น. บทว่า สกฺกจฺจ แปลว่า
เคารพ ทำความยำเกรง อธิบายว่า เป็นผู้ตั้งใจฟังพุทธวงศ์เทศนานั้น.
บทว่า ปฏิปชฺชถ ได้แก่ จงตั้งใจยิ่ง อธิบายว่า จงฟัง อีกอย่างหนึ่ง
พระเถระยังอุตสาหะตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายพึงพุทธวงศ์เทศนานี้ ที่ให้เกิดปีติและ
ปราโมช บรรเทาความโศกศัลย์ อันเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างแล้ว
บัดนี้จงปฏิบัติทางแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง นำมา
ซึ่งคุณวิเศษมีการย่ำยีความมัวเมาเป็นต้น คำที่เหลือในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล
จบกถาพรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์
แห่งมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์
ด้วยประการฉะนี้
จบกถาพรรณนาความอัพภันตรนิทาน โดยอาการทั้งปวง
๑. ม. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๔๗๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
พรรณนา
เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ
บัดนี้ ถึงโอกาสพรรณนาพุทธวงศ์ ที่ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า
ในที่สุดสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อว่าอมรวดี
งามน่าดู น่ารื่นรมย์.
ก็การพรรณนาพุทธวงศ์นี้นั้น เพราะเหตุที่จำต้องกล่าววิจารถึงเหตุ
ตั้งสูตรแล้วจึงจะปรากฏชัด ฉะนั้น จึงควรทราบการวิจารเหตุตั้งสูตรก่อน.
เหตุตั้งสูตรมี ๔ คือ เนื่องด้วยอัธยาศัยของพระองค์ ๑ เนื่องด้วยอัธยาศัยของ
ผู้อื่น ๑ เนื่องด้วยมีการทูลถาม ๑ เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น ๑.
ในเหตุตั้งสูตรทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้เชื้อเชิญ
ตรัสพระสูตรเหล่าใด โดยอัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว คือ อากังเขยยสูตร
วัตถุสูตร อย่างนี้เป็นต้น เหตุตั้งพระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัย
ของพระองค์.
อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัย
ขันติ ใจ และความเป็นผู้จะตรัสรู้ของชนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย
ที่ช่วยบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรพึงแนะนำราหุลยิ่งขึ้นไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้
อื่นคือ ราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปวัตตนสูตรอย่างนี้เป็นอาทิ เหตุตั้งพระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
เทวดาและมนุษย์นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหา.
ก็พระสูตรเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทูลถามแล้วตรัส
อย่างนี้ มีเทวดาสังยุตและโพชฌงคสังยุตเป็นต้น. เหตุตั้งสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า
เนื่องด้วยมีการทูลถาม.
อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาศัย
เหตุที่เกิดขึ้น มีธัมมทายาทสูตรและปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น เหตุตั้งสูตรเหล่า
นั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น. บรรดาเหตุดังพระสูตรทั้ง ๔ อย่างนี้
เหตุตั้งพุทธวงศ์นี้เป็นเหตุที่เนื่องด้วยมีการทูลถาม. จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้ายกตั้งไว้ ก็โดยการถามของใคร. ของท่านพระสารีบุตรเถระ. สม
จริงดังที่ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในนิทานนั้นว่า
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและญาณ ผู้บรรลุสาวกบารมีด้วยปัญญา ทูลถาม
พระผู้นำโลกว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร
ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พุทธวงศ์เทศนานี้ พึงทราบว่า เนื่อง
ด้วยมีการทูลถาม.
ในคำว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส นี้ ในคาถานั้น กัป ศัพท์นี้ ใช้ใน
อรรถทั้งหลายมีความเชื่อมั่น โวหาร กาล บัญญัติ ตัดแต่ง กำหนด เลศ
โดยรอบ อายุกัปและมหากัปเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น กัป ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น ได้ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า โอกปฺปนียเมต โภโต โคตมสฺส ยถา ต อรหโต สมฺมา-
สมฺพุทฺธสฺส ข้อนี้พึงเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดมเหมือนอย่างพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
ใช้ในอรรถว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อนุชานามิ
ภิกฺขเว ปญฺจทิ สมณกปฺเปหิ ผล ปริภุญฺชิตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร ๕ อย่าง.
ใช้ในอรรถว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เยน สุท นิจฺจกปฺป
วิหรามิ เขาว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเหตุใด.
ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อิจฺจายสฺมา
กปฺโป ท่านกัปปะและว่า นิโคฺรธกปฺโป อิติ ตสฺส นาม, ตยา กถ
ภควา พฺราหฺมณสฺส ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อของเขาว่า นิโครธกัปปะ
พระองค์ก็ทรงตั้งให้แก่พราหมณ์.
ใช้ในอรรถว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อลงฺกโต กปฺปิต-
เกสมสฺสุ แต่งตัวแล้ว ตัดแต่งผมและหนวดแล้ว.
ใช้ในอรรถว่า กำหนด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุล-
กปฺโป กำหนดว่ากาลเดิมสองนิ้ว ย่อมควร.
ใช้ในอรรถว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุ
มีเลศที่จะนอน.
ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เกวลกปฺป
เชตวน โอภาเสตฺวา ส่องสว่างรอบพระเชตวันทั้งสิ้น.
ใช้ในอรรถว่า อายุกัป ได้ในบาลีนี้ว่า ติฏฺตุ ภนฺเต ภควา
กปฺป, ติฏฺตุ ภนฺเต สุคโต กปฺป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า โปรดทรงดำรงอยู่ตลอดอายุกัป ขอพระสุคตโปรดทรงดำรงอยู่ตลอด
อายุกัปเถิด พระเจ้าข้า. .
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
ใช้ในอรรถว่า มหากัป ได้ในบาลีนี้ว่า กีว ทีโฆ นุ โข ภนฺเต
กปฺโป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหากัปยาวเพียงไรหนอ. โดย อาทิศัพท์ กัป
ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เทียบเคียง ได้ในบาลีนี้ว่า สตฺถุ กปฺเปน วต กิร
โภ มย สาวเกน สทฺธึ มนฺตยมานา น ชานิมฺห. ท่านผู้เจริญ เขาว่า
เมื่อเทียบเคียงกับพระศาสดา พวกเราปรึกษากับสาวกก็ไม่รู้.
ใช้ในอรรถว่า ควรแก่วินัย ได้ในบาลีนี้ว่า กปฺโป นฏฺโ โหติ
กปฺป กโตกาโส ชิณฺโณ โหติ ความสมควรแก่วินัย ก็เสียไป โอกาสที่จะ
ทำให้สมควรแก่วินัย ก็เก่าไป. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า มหากัป.
เพราะฉะนั้น. บทว่า กปฺเปจ สตสหสฺเส จึงมีความว่า แห่งแสนมหากัป.
ในคำว่า จตุโร จ อสงฺขิเย พึงเห็นว่าต้องเติมคำที่เหลือว่า จตุนฺน
อสงฺเขยฺยาน มตฺถเก ความว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขย กำไรแสนกัป.
บทว่า อมร นาม นคร ได้แก่ ได้เป็นนครอันได้นามว่า อมร และอมรวดี
แต่ในคำนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นประการอื่นไป, จะต้องการอะไรกับ
อาจารย์พวกนั้น . ก็คำนี้เป็นเพียงนามของนครนั้น. บทว่า ทสฺสเนยฺย ได้แก่
ชื่อว่างามน่าดู เพราะประดับด้วยที่อยู่คือปราสาททิมแถวล้อมด้วยประการมีทาง
๔ แพร่ง ๓ แพร่ง มีประตูมีสนามงาม จัดแบ่งเป็นส่วนสัดอย่างดี. บทว่า
มโนรม ได้แก่ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำใจของเทวดาและมนุษย์เป็นต้นให้
รื่นรมย์ เพราะเป็นนครมีภูมิภาคที่เรียบสะอาดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เพราะเป็น
นครที่พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ เพราะเป็นนครที่มีอาหารหาได้ง่าย เพราะ
เป็นนครที่ประกอบด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง และเพราะเป็นนครที่มั่งคั่ง.
ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺต ความว่า พระนครไม่ว่างเว้นจากเสียง
๑๐ อย่าง คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงตะโพน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ ๑๐. นัก
ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า
อนฺนปานสมายุต ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร ๔ อย่างและน้ำดีชื่อว่า
อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย
ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.
บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า
อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง
สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺท ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ
ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่
เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์
และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ
ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่
ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด
ทั้ง ๑๐ เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ ๑๐ เสียง คือ เสียงตะโพน
ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้
สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.
ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ
แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
นครพรั่งพร้อมด้วยส่วนประกอบทุกอย่างมีการ
งานทุกอย่างจัดไว้อย่างดี สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประ-
การ กลาดเกลื่อนด้วยหมู่ชนต่างๆ เจริญมั่งคั่ง เป็น
ที่อยู่ของผู้ทำบุญ เหมือนเทพนคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคสมฺปนฺน ความว่า พรั่งพร้อม
ด้วยส่วนประกอบนครทุกอย่างมีปราการ ซุ้มประตู หอรบเป็นต้น หรือว่ามี
อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ทรัพย์ ข้าวเปลือก หญ้าไม้และน้ำบริบูรณ์. บทว่า
สพฺพกมฺมมุปาคต ได้แก่ ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง อธิบายว่ามีการงาน
ทุกอย่างพรักพร้อม. บทว่า สตฺตรตนสมฺปนฺน ได้แก่ มีรัตนะ ๗ มีแก้ว
มุกดาเป็นต้นบริบูรณ์ หรือว่าสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ จากภูมิภาค
อันเป็นที่ประทับอยู่ขององค์จักรพรรดิ. บทว่า นานาชนสมากุล ได้แก่
กลาดเกลื่อนด้วยชนทั้งหลายที่มีถิ่นและภาษาต่างๆ กัน. บทว่า สมิทฺธ ได้แก่
สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างของมนุษย์.
บทว่า เทวนคร ว ท่านอธิบายว่า อมรวดีนคร มั่งคั่งเจริญเหมือนนคร
ของเทพ เหมือนอาลกมันทาเทพธานี. บทว่า อาวาส ปุญฺกมฺมิน
ความว่า ชนทั้งหลายผู้มีบุญกรรม ย่อมอยู่ในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น
จึงชื่อว่าเป็นที่อยู่. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า อาวาโส แต่ก็ทำให้ต่าง
ลิงค์กล่าวว่า อาวาส. ซึ่งว่าบุญ เพราะเป็นเครื่องปรากฏอธิบายว่า ปรากฏ
โดยตระกูล รูป มหาโภคะและความเป็นใหญ่. หรือว่า ชื่อว่าบุญ เพราะชำระ.
อธิบายว่า บุญกรรมของชนเหล่าใดมีอยู่ เพราะลอยละอองมลทินของกุศลทั้ง
ปวง ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีบุญกรรม. นครนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีบุญกรรม
เหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
พราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ใน นครอมรวดี นั้น เขาเป็นอุภโต-
สุชาต เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาเป็นผู้ถือเอาครรภ์บริสุทธิ์
มาตลอด ๗ ชั่วสกุล ไม่มีผู้คัดค้านและรังเกียจด้วยเรื่องชาติ สะสวยน่าชมน่า
เลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เขาศึกษาจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณ-
ฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ ทั้งอักขระประเภท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์ ชำนาญ
บทกวี ชำนาญไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์
แต่มารดาบิดาได้ตายเสียครั้งเขายังเป็นเด็กรุ่น. สหายผู้จัดการกองทรัพย์ของเขา
นำบัญชีทรัพย์สินมาแล้วเปิดห้องหลายห้อง ที่เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ มีทองเงิน
แก้วมณี แก้วมุกดา เป็นต้น บอกถึงทรัพย์ว่า ข้าแต่นายหนุ่ม นี่ทรัพย์สินส่วน
ของมารดา นี่ทรัพย์สินส่วนของบิดา นี่ทรัพย์สินส่วนของปู่ทวด จนตลอด
๗ ชั่วสกุล แล้วมอบให้ว่า ท่านจงดำเนินการทรัพย์นี้เถิด. เขารับคำว่า ดีละ
ท่าน แล้วทำบุญทั้งหลายอยู่ครองเรือน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อว่าสุเมธ สะสม
ทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ จบคัมภีร์ไตรเพท
ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์ ก็บรรลุถึงฝั่งใน
พราหมณ์ธรรมของตน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคเร อมรวติยา ได้แก่ ในนครที่
เรียกกันว่าอมรวดี. ในบทว่า สุเมโธ นาม นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา.
เมธานั้นของพราหมณ์นั้นดี อันปราชญ์สรรเสริญแล้ว เหตุนั้น พราหมณ์นั้นเขา
จึงรู้กันว่า สุเมธ ผู้มีปัญญาดี. บทว่า พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
เพราะศึกษาซึ่งมนต์ของพรหม อธิบายว่า ท่องมนต์. ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์
กล่าวว่าเหล่ากอของพรหม ชื่อว่า พราหมณ์. แต่ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
พระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้. บทว่า อเนก-
โกฏสนฺนิจโย ความว่า การสะสมแห่งทรัพย์หลายโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสันนิจยะ.
การสะสมทรัพย์มากโกฏิของผู้ใดมีอยู่ ผู้นี้นั้น ชื่ออเนกโกฏิสันนิจยะ
อธิบายว่าผู้สะสมทรัพย์มากหลายโกฏิ. บทว่า ปทูตธนธญฺวา แปลว่า ผู้มี
ทรัพย์และข้าวเปลือกมาก. คำต้นพึงทราบว่าตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก
ที่อยู่ภาคพื้นดินและอยู่ในห้อง คำนี้ พึงทราบว่า ตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าว
เปลือกที่กินที่ใช้อยู่ประจำ.
บทว่า อชฺฌายโก ความว่า ผู้ใดไม่เพ่งฌาน เหตุนั้นผู้นั้น ชื่อว่า
อัชฌายกะผู้ไม่เพ่งฌาน อธิบายว่า ผู้เว้นจากการทำการเพ่งฌาน สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน วาเสฏฐะ บัดนี้พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง
บัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง ดังนั้นแลอักษรที่ ๓ ว่า อชฺฌายโก อชฺฌายกา
ผู้ไม่เพ่ง ผู้ไม่เพ่งจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น คำครหาพราหมณ์พวกที่เว้นจาก
การเพ่งฌานจึงเกิดขึ้นครั้งมนุษย์ต้นกัปด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ชนใดเพ่งมนต์
เหตุนั้น ชนนั้นจึงชื่อว่าผู้เพ่งมนต์ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ทำการสรรเสริญ
กล่าวด้วยความนี้ว่าร่ายมนต์, ผู้ใดทรงจำมนต์ เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงจำมนต์
บทว่า ติณฺณ เวทาน ได้แก่คัมภีร์เวท ๓ [ไตรเพท] คืออิรุเวท ยชุเวท
และสามเวท. ก็ เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ โสมนัส และ คันถะ.
จริงอย่างนั้น เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ ได้ในประโยคเป็นต้น
ว่า ย พฺราหฺมณ เวทคุ อภิชญฺา อกิญฺจน กามภเว อสตฺต เราเห็นผู้ใด
เป็นพราหมณ์ บรรลุ ญาณ มีความรู้ยิ่ง ไม่กังวลไม่ขัดข้องในกามภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา
วิจรนฺติ โลเก ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณ เวทาน ปารคู
สนิฆณฺฑุเกฏุภาน ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-
ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่า-
ปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข-
เณ ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ.
บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ
ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม
ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า
ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.
ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐
ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า
การถือปฏิสนธิในภพหมู่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว
เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา
เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ
มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็
ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา
จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
ถ้ากระไร เราผู้ไม่เยื่อใย ไม่ต้องการ จะพึงละ
กายอันเน่านี้ ซึ่งเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.
มรรคใดมีอยู่ จักมี มรรคนั้นไม่เป็นเหตุหามิได้
จำเราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.
แก้อรรถ
ก็ในคาถานั้น จำเราจักกล่าวเชื่อมความแห่งคาถา และความของบท
ที่ยากต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคโต แปลว่า ไปแล้วในที่ลับนั่ง
ในที่ลับ. บทว่า เอว จินฺเตสห ตัดบทเป็น เอว จินฺเตสึ อห แปลว่า
เราคิดแล้วอย่างนี้ ทรงแสดงอาการคือคิดด้วย บทว่า เอว นี้. บทว่า ตทา
ได้แก่ ครั้งเป็นสุเมธบัณฑิตเป็นคนเดียวกันกับพระองค์ ด้วยบทว่า เอว
จินฺเตสห นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ครั้งนั้น
สุเมธบัณฑิตนั้น ก็คือเรานี่แล จึงตรัสโดยอุตตมบุรุษว่า เอว จินฺเตสห
ตทา. บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีชาติเป็นสภาพ. แม้ในบทที่เหลือก็นัย
นี้. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ พระนิพพาน.
ศัพท์ว่า ยนฺนูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก ความว่า ก็ผิว่า
เรา. บทว่า ปูติกาย แปลว่า กายอันเน่า. บทว่า นานากุณปปูริต ได้แก่
เต็มไปด้วยซากศพเป็นอันมาก มีปัสสาวะ อุจจาระ หนอง เลือด เสมหะ น้ำลาย
น้ำมูก เป็นต้น. บทว่า อนเปกฺโข ได้แก่ ไม่อาลัย. บทว่า อตฺถิ ได้แก่
อันเขาย่อมได้แน่แท้. บทว่า เหหิติ แปลว่า จักมี คำนี้เป็นคำแสดงความ
ปริวิตก. บทว่า น โส สกฺกา น เหตุเย ความว่า ไม่อาจจะมีได้ด้วย
มรรคนั้นหามีได้ ก็มรรคนั้นเป็นเหตุนั่นเอง. บทว่า ภวโต ปริมุตฺติยา
ได้แก่ เพื่อหลุดพ้นจากเครื่องผูกคือภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
บัดนี้ เพื่อทรงทำความที่พระองค์ทรงปริวิตกให้สำเร็จผล จึงตรัสว่า
ยถาปิ เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาสุขอัน เป็นข้าศึกของทุกข์มีอยู่ ฉัน
ใด เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดอันเป็นข้าศึกของความเกิดนั้นก็พึงมีฉันนั้น
อนึ่ง เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันระงับความร้อนนั้น ก็มีอยู่ฉันใด
นิพพานอันเครื่องระงับไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น อนึ่งแม้
ธรรมอันไม่มีโทษเป็นความดี ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นความชั่วลามก ก็
มีอยู่ฉันใด เมื่อความเกิดอันเป็นฝ่ายชั่วมีอยู่ แม้นิพพานที่นับได้ว่าความไม่เกิด
เพราะห้ามความเกิดได้ ก็พึงมีฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้ธรรมดาสุขก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ภพมีอยู่ แม่ภาวะที่มิใช่ภพ บุคคลก็พึงปรารถนา
ฉันนั้น.
เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นตรงกันข้ามก็มีอยู่
ฉันใด เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพานเครื่องดับไฟ
บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.
เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ชาติมีอยู่ แม้ที่มิใช่ชาติ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า ยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถข้ออุปมา. บทว่า
สุข ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ. ที่ชื่อว่าสุข เพราะขุดทุกข์ด้วยดี. บทว่า
ภเว แปลว่า เมื่อความเกิด. บทว่า วิภโว แปลว่า ความไม่เกิด. เมื่อความ
เกิดมีอยู่ แม้ธรรมคือความไม่เกิด บุคคลก็พึงปรารถนา. บทว่า ติวิธคฺคิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อไฟ ๓ กอง มีราคะเป็นต้นมีอยู่. บทว่า นิพฺพาน
ความว่า ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับเครื่องระงับไฟมีราคะ เป็นต้นทั้ง ๓
กองนั้น บุคคลควรปรารถนา. บทว่า ปาปเก ได้แก่ เมื่ออกุศลเลวทราม.
บทว่า กลฺยาณมฺปิ ได้แก่ แม้กุศล. บทว่า เอวเมว ได้แก่ เอวเมว อย่าง
นี้ก็ฉันนั้น. บทว่า ชาติ วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อความเกิดมีอยู่. ท่าน
กล่าวให้ต่างลิงค์และลบวิภัตติ. บทว่า อชาติปิ ความว่า แม้นิพพานคือ
ความไม่เกิด เป็นเครื่องห้ามกันความเกิด บุคคลก็พึงปรารถนา.
ครั้งนั้น เราก็คิดถึงแม้ประการอื่นว่า บุรุษผู้จมลงในกองอุจจาระ แล
เห็นหนองน้ำที่มีน้ำใสประดับด้วยบัวหลวง บัวสาย และบัวขาว ก็ควรแสวงหา
หนองน้ำ ด้วยความคำนึงว่า ควรจะไปที่หนองน้ำนั้น โดยทางไหนหนอ.
การไม่แสวงหาหนองน้ำนั้น ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำนั้น เป็นความผิดของ
บุรุษผู้นั้นผู้เดียว ฉันใด เมื่อหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรมซึ่งเป็นเครื่องชำระ
มลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาหนองน้ำใหญ่คืออมตธรรมนั้น นั่นไม่ใช่
ความผิดของหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรม เป็นความผิดของบุรุษผู้เดียว ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน. อนึ่งบุรุษถูกพวกโจรล้อมไว้ เมื่อทางหนีแม้มีอยู่ ถ้าบุรุษนั้น
ไม่หนีไปเสีย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทางนั้น เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้
เดียว ฉันใด บุรุษที่ถูกพวกโจรคือกิเลสล้อมจับไว้ เมื่อทางใหญ่อันรุ่งเรือง
อันจะไปยังมหานครคือพระนิพพาน แม้มีอยู่ ก็ไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่
ความผิดของทาง เป็นความผิดของบุรุษแต่ผู้เดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษ
ถูกความเจ็บป่วยบีบคั้น เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่ ถ้าไม่แสวงหา
หมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ
หมอ เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วยคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
กิเลสบีบคั้นหนัก ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ก็เป็น
ความผิดของผู้นั้นผู้เดียว ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำมีน้ำเต็ม ก็ไม่
ไปหาหนองน้ำนั้น นั่นไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำ
ฉันใด.
เมื่อหนองน้ำคืออมตะ เป็นเครื่องชำระมลทินคือ
กิเลสมีอยู่ บุคคลไปไม่หาหนองน้ำนั้น ก็ไม่ใช่ความ
ผิดของหนองน้ำคืออมตะ ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกข้าศึกรุมล้อมไว้ เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษ
ผู้นั้นก็ไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
บุคคลถูกกิเลสรุมล้อมไว้ เมื่อทางอันรุ่งเรืองมี
อยู่ ก็ไม่ไปหาทางนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง
อันรุ่งเรือง ก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนแล้ว เมื่อหมอที่
จะเยียวยามีอยู่ ก็ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บ
ป่วยนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ แม้ฉันใด.
บุคคลถูกความเจ็บป่วยคือกิเลส บีบคั้นเป็นทุกข์
ก็ไม่ไปหาอาจารย์นั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์
ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ
ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธว ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน
คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ
แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร
ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ
คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้
เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส
ปุรโส ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า
ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ
มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชล วฏุมายน
นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.
แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ.
บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส
ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ
ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่
ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า
ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริย ได้แก่
อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.
ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ
แต่งตัวสวย ๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
ทิ้งกายอันเน่านี้เสีย ไม่อาลัย พึงเข้าไปยังมหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง
บุรุษสตรีถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงที่พื้นดินอันเปื้อนอุจจาระปัสสาวะแล้ว ก็หาเอา
ใส่ชายพกหรือเอาชายผ้าห่ออุจจาระปัสสาวะนั้นพาไปไม่ ที่แท้ ก็พากันเกลียด
ไม่อยากแม้แต่จะดู ไม่อาลัยทิ้งไปเลย ฉันใด แม้เราก็ไม่อาลัยกายอันเน่านี้
ควรที่จะละทิ้งเข้าไปยังอมตนครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง ธรรมดานายเรือ
ทั้งหลาย ก็ละทิ้งเรือที่นำน้ำอันคร่ำคร่าไม่เยื่อใยไปเลย ฉันใด แม้เราก็ละทิ้ง
กาย ที่ของโสโครกไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ แผลนี้ ไม่เยื่อใยจักเข้าไปยัง
มหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง บุรุษบางคน พกพารัตนะมากอย่างมี
แก้วมุกดาแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์เป็นต้น เดินทางไปกับหมู่โจร จำต้องละ
ทิ้งโจรเหล่านั้น เพราะกลัวสูญเสียรัตนะ เลือกถือเอาแต่ทางที่เกษมปลอดภัย
ฉันใด กายอันเน่าแม้นี้ก็เสมือนโจรปล้นรัตนะ ถ้าเราจักทำความอยากในกาย
นี้ รัตนะคืออริยมรรคและกุศลธรรมของเราก็จักสูญเสียไป เพราะฉะนั้นจึง
ควรที่เราจำต้องละทิ้งกรัชกายที่เสมือนมหาโจรนี้ แล้วเข้าไปยังมหานครคือ
นิพพาน ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษเกลียดซากศพที่ผูกคออยู่ ปลดออกไปเสีย
ก็มีสุข มีเสรี มีอิสระ ฉันใด.
เราทิ้งกายอันเน่านี้ ที่สะสมซากศพต่างๆ ไว้ไป
เสีย ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษสตรีทิ้งอุจจาระไว้ในที่ถ่ายอุจจาระ ไปเสีย
ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราทอดทิ้งกายนี้ ที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
เหมือนทิ้งส้วมไป ก็ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
เจ้าของเรือ ทิ้งเรือลำเก่าชำรุด รั่วน้ำไป ไม่เยื่อใย
ไม่ต้องการ ฉันใด.
เราก็ทอดทิ้งกายนี้ ที่มี ๙ ช่อง เป็นที่ไหลออก
ของสิ่งโสโครกอยู่เป็นนิตย์ไป เหมือนเจ้าของเรือสละ
ทิ้งเรือลำเก่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษพกพาของมีค่าไปกับพวกโจร แลเห็นภัย
จากการเสียหายของๆ มีค่า จึงละทิ้งโจรไป ฉันใด.
กายนี้ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร เพราะกลัวการ
เสียหายแห่งกุศล เราจึงจำต้องละกายนี้ไป ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ กุณป ปุริโส ความว่า บุรุษ
วัยรุ่น ผู้รักสวยรักงาม อึดอัดระอา เกลียด ด้วยซากงู ซากสุนัข หรือซาก
มนุษย์ ที่ถูกผูกคอไว้ จึงปลดซากศพนั้นออกไปเสีย แม้ฉันใด. บทว่า สุขี
ได้แก่ ประสบสุข. บทว่า เสรี ได้แก่ อยู่ตามอำเภอใจ. บทว่า นานากุณปสญฺจย
ได้แก่ เป็นกองซากศพต่างๆ มากหลาย. ปาฐะว่า นานากุณปปูริต ดังนี้
ก็มี.
บทว่า อุจฺจารฏฺานมฺหิ ความว่า คนทั้งหลายย่อมอุจจาระ คือถ่าย
อุจจาระในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ถ่ายอุจจาระ.
ประเทศที่ถ่ายอุจจาระนั้นด้วย เป็นฐานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าฐานเป็นประเทศ
ถ่ายอุจจาระ อีกอย่างหนึ่ง ประเทศอันเขาถ่ายอุจจาระ เหตุนั้นจึงชื่อว่าประเทศ
ที่ถ่ายอุจจาระ คำนี้เป็นชื่อของอุจจาระ. ที่ของอุจจาระนั้น ชื่อว่าที่ของอุจจาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
ในฐานแห่งอุจจาระ อธิบายว่า ในฐานที่เปื้อนด้วยของสกปรก. บทว่า วจฺจ
กตฺวา ยถา กุฏึ ความว่า เหมือนบุรุษสตรี ละทิ้งกุฏิที่ถ่ายอุจจาระ คือส้วม
ฉะนั้น.
บทว่า ชชฺชร ได้แก่ เก่า. บทว่า ปุลคฺค ได้แก่ ชำรุด อธิบายว่า
กระจัดกระจาย. บทว่า อุทคาหินึ ได้แก่ ถือเอาน้ำ. บทว่า สามี ได้แก่
เจ้าของเรือ. บทว่า นวจฺฉิทฺท ได้แก่ ชื่อว่ามี ๙ ช่อง เพราะประกอบด้วย
ปากแผล ๙ แผล มีตา หู เป็นต้น ทั้งช่องเล็กช่องน้อย. บทว่า ธุวสฺสว
ได้แก่ เป็นที่ไหลออกเป็นประจำ. อธิบายว่า มีสิ่งไม่สะอาดไหลออกเป็นนิตย์.
บทว่า ภณฺฑมาทิย ได้แก่ ถือเอาทรัพย์สินมีรัตนะเป็นต้นอย่างใด
อย่างหนึ่ง. บทว่า ภณฺฑจฺเฉทภย ทิสฺวา ความว่า เห็นภัยแก่การชิง
ทรัพย์สิน. บทว่า เอวเมว ความว่า เหมือนบุรุษพกพาทรัพย์สินเดินไปฉะนั้น.
บทว่า อย กาโย ความว่า สภาพนี้ เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งที่เขาเกลียดแล้วที่
น่าเกลียดอย่างยิ่ง เหตุนั้น จึงชื่อว่ากาย. คำว่า อายะ ได้แก่ ที่เกิด. อาการ
ทั้งหลายย่อมมาแต่สภาพนั้น เหตุนั้น สภาพนั้น จึงชื่อว่า อายะ เป็นแดน
มา. อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันเขาเกลียดแล้ว. สภาพเป็นแดนมาแห่ง
อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันเขาเกลียดแล้ว ด้วยประการฉะนั้น เหตุนั้น
สภาพนั้น จึงชื่อว่า กาย. บทว่า มหาโจรสโม วิย ความว่า กายชื่อว่า
มหาโจรสมะ เพราะเป็นโจรมีปาณาติบาตและอทินนาทานเป็นต้นคอยปล้น
กุศลทุกอย่าง โดยอำนาจความยินดีเป็นต้นในปิยรูปทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น
ด้วยจักษุเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น จึงควรทราบการเชื่อมความว่า บุรุษผู้ถือ
ทรัพย์สินที่เป็นรัตนะ ไปกับหมู่โจรนั้นจำต้องละโจรเหล่านั้นไปเสีย ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
แม้เราก็จำต้องละกายอันเสมอด้วยมหาโจรนี้ไปเพื่อแสวงหาทางที่ทำความสวัสดี
ให้แก่ตน ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า กุสลจฺเฉทนาภยา ความว่า เพราะ
กลัวแต่การปล้นกุศลธรรม.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิตครั้นครุ่นคิดถึงเหตุแห่งเนกขัมมะการออกบวช
ด้วยอุปมานานาประการอย่างนี้แล้ว จึงคิดอีกว่า บิดาและปู่เป็นต้นของเรารวบ
รวมกองทรัพย์ใหญ่นี้ไว้ เมื่อไปปรโลกก็พาเอาแม้แต่กหาปณะเดียวไปไม่ได้.
ส่วนเราควรจะถือเอาเพื่อทำเหตุไปปรโลก ดังนี้แล้วก็ไปกราบทูลพระราชาว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระบาทมีหัวใจถูกชาติชราเป็นต้นรบกวน จำจักออก
จากเรือนบวชไม่มีเรือน ข้าพระบาทมีทรัพย์อยู่หลายแสนโกฏิ ขอพระองค์
ผู้สมมติเทพโปรดทรงดำเนินการกะทรัพย์นั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
เราไม่ต้องการทรัพย์ของท่านดอก ท่านนั้นเองจงทำตามปรารถนาเถิด.
สุเมธบัณฑิตนั้นทูลรับว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วให้ตีกลองร้องป่าวไปใน
พระนคร ให้ทานแก่มหาชน ละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ก็ออกจากอมรนคร
ซึ่งเสมือนเทพนครอันประเสริฐไปแต่ลำพังผู้เดียว อาศัยธัมมิกบรรพต ในป่า
หิมวันตประเทศที่มีฝูงเนื้อนานาชนิด ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาลงในที่นั้น
สร้างที่จงกรมที่เว้นโทษ ๕ ประการ ละทิ้งผ้าอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ
แล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เพื่อรวบรวมกำลัง
แห่งอภิญญาที่ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ บวชแล้ว.
เขาบวชอย่างนี้แล้ว ก็ละบรรณศาลาที่เกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ
เข้าอาศัยโคนไม้ ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ละธัญชาติหลากชนิดทุก
อย่าง บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตั้งความเพียร โดยการนั่งยืน
และเดิน ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิเป็น
ทาน แก่คนที่มี่ที่พึ่งและไม่มีที่พึ่ง แล้วก็เข้าไปยัง
หิมวันตประเทศ.
ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อว่าธัมมิกะ
เราก็ทำอาศรม สร้างบรรณศาลา.
ณ ที่นั้น เราก็สร้างที่จงกรม อันเว้นโทษ ๕
ประการ รวบรวมกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบด้วย
คุณ ๘ ประการ.
เราสละผ้า อันมีโทษ ๙ ประการไว้ ณ ที่นั้น
นุ่งผ้าเปลือกไม้ อันมีคุณ ๑๒ ประการ.
เราสละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ-
การ เข้าอาศัยโคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
เราสละธัญชาติ ที่หว่านที่ปลูก โดยมิได้เหลือ
เลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อันพรั่ง
พร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.
เราตั้งความเพียรในที่นั้น ด้วยการนั่งยืนและเดิน
ก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาภายใน ๗ วัน เท่านั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวาห ตัดบทว่า เอว อห ความว่า
เราคิดโดยประการที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. บทว่า นาถานาถาม ความว่า
เราให้แก่คนที่มีที่พึ่งและคนที่ไม่มีที่พึ่ง คือทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
ทั้งซุ้มประตูและเรือน ด้วยกล่าวว่า ผู้ต้องการก็จงรับเอา. บทว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ได้แก่ ในที่ไม่ไกล คือใกล้ขุนเขาหิมวันต์. บทว่า ธมฺมิโก นาม
ปพฺพโต ได้แก่ ภูเขามีชื่ออย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ภูเขาลูกนี้จึงมีชื่อว่า
ธัมมิกะ. ตอบว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายโดยมาก บวชเป็นฤาษี เข้าอาศัย
ภูเขาลูกนั้นทำอภิญญาให้เกิดแล้วทำสมณธรรม เพราะฉะนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้
ปรากฏชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะเป็นที่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีสมณธรรม. ด้วยคำว่า
อสฺสโม สุกโต มยฺห เป็นต้น ตรัสไว้เหมือนว่าสุเมธบัณฑิต สร้างอาศรม
บรรณศาลาที่จงกรมด้วยฝีมือตนเอง แต่แท้จริง หาได้สร้างด้วยฝีมือตนเองไม่
ท้าวสักกเทวราชทรงส่งวิสสุกรรมเทพบุตรไปสร้าง มิใช่หรือ. แต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงหมายถึงผลสำเร็จนั้น ซึ่งเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น
จึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ณ ภูเขานั้น
เราทำอาศรม สร้างบรรณศาลา สร้างที่จงกรม
อันเว้นโทษ ๕ ประการ ไว้ ณ ที่นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ ศาลามุงบังด้วย
ใบไม้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ อาศรมบทนั้น. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิต
ได้แก่ เว้นห่างไกลจากโทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ. ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรม
๕ ประการ อะไรบ้าง อันเว้นจากโทษ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นที่แข็ง
ขรุขระ ๑ อยู่ในต้นไม้ ๑ มีที่รกกำบัง ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑
ด้วยการกำหนดอย่างสูง ท่านกล่าวว่า ที่จงกรมยาว ๖๐ ศอก กว้างศอกครึ่ง.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิต ได้แก่เว้นห่างไกลจากโทษ
คือนิวรณ์ ๕ ประการ พึงเห็นว่า เชื่อมความกับบทหลังนี้ว่า อภิญฺาพลมา-
หริ ดังนี้. บทว่า อฏฺคุณสมุเปต ความว่า ชักนำกำลังเเห่งอภิญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
อันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ คือ เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ หมดจด สะอาด
ไม่มีมลทิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน มั่นคง ไม่หวั่นไหว.
แต่อาจารย์บางพวก กล่าวเชื่อมความกับอาศรมว่า เราสร้างอาศรม
อันประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ คือ ประกอบพรักพร้อมด้วยสมณสุข ๘
ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการเหล่านี้คือ ไม่หวงทรัพย์และ
ข้าวเปลือก แสวงแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่ก้อนข้าวเย็นแล้ว ไม่มี
กิเลสเครื่องเบียดเบียนรัฐในเมื่อพวกราชบุรุษเอาแต่เบียดเบียนรัฐ ถือเอาทรัพย์
และข้าวเปลือกเป็นต้น ปราศจากฉันทราคะในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีภัย
เพราะการปล้นของโจร ไม่คลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา
ไม่ถูกกระทบกระทั่งใน ๔ ทิศ คำนั้นไม่สมกับบาลี.
บทว่า สาฏก แปลว่า ผ้า. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. ด้วย
บทว่า นวโทสมุปาคต ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเมื่ออยู่ในที่นั้น
ก็เสียสละผ้าที่มีค่ามากที่ตนนุ่งห่มเสีย ก็เมื่อจะละผ้า ได้เห็นโทษ ๙ ประการ
ในผ้านั้นจึงละเสีย. ความจริงประกาศโทษ ๙ ประการในผ้า แก่ผู้บวชเป็น
ดาบสทั้งหลาย. โทษ ๙ ประการคืออะไร ทรงแสดงว่า เราละผ้าที่ประกอบ
ด้วยโทษ ๙ ประการเหล่านี้คือ ผ้าเป็นของมีค่า ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยผู้อื่น
ผ้าหมองไปทีละน้อยด้วยการใช้ ผ้าที่หมองแล้วจำต้องซักต้องย้อม ผ้าเก่า
ไปด้วยการใช้ ผ้าที่เก่าแล้วจำต้องทำการชุน ทำการปะ ผ้าเกิดได้ยากในการ
แสวงหาใหม่ ไม่เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่พวก
โจร ต้องคุ้มครองโดยที่พวกโจรลักไปไม่ได้ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้นุ่งห่ม
ผู้ที่พาเที่ยวไปกลายเป็นคนมักมาก แล้วจึงนุ่งผ้าเปลือกไม้. บทว่า วากจีร
ความว่า เราถือเอาผ้าที่สำเร็จด้วยเปลือกไม้ ซึ่งกรองด้วยหญ้ามุงกระต่ายเป็นเส้น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
ทำแล้ว เพื่อใช้นุ่งห่ม. บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคต ได้แก่ ประกอบด้วย
อานิสงส์ ๑๒ ประการ. ในบทนี้ คุณ ศัพท์มีอรรถว่า อานิสงส์ เหมือนใน
ประโยคเป็นต้นว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังได้ทักษิ-
ณามีอานิสงส์ร้อยหนึ่ง. ม อักษรทำการต่อบท ถึงพร้อมด้วยคุณ ๑๒ ประการ
เหล่านี้ คือ ผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการคือ มีค่าน้อย ๑ ไม่เนื่อง
ด้วยผู้อื่น ๑ อาจทำได้ด้วยมือตนเอง ๑ แม้เมื่อเก่าเพราะการใช้ก็ไม่ต้องเย็บ ๑
ไม่มีโจรภัย ๑ ผู้แสวงหาก็ทำได้ง่าย ๑ เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส ๑ ไม่
เป็นฐานการแต่งตัวของผู้ใช้ ๑ มีความมักน้อยในปัจจัยคือจีวร ๑ ใช้สะดวก ๑
เปลือกไม้ที่เกิดก็หาได้ง่าย ๑ แม้เมื่อผ้าเปลือกไม้สูญหายก็ไม่เสียดาย ๑.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต อยู่ ณ บรรณศาลาอาศรมนั้น ตอนใกล้รุ่ง
ก็ลุกขึ้นพิจารณาถึงเหตุออกบวชของตน คิดอย่างนี้ว่า เราละบ้านเรือนซึ่งมี
อาการประหนึ่งที่อยู่อันประเสริฐของเทพยดา อันงดงามด้วยสมบัติอันโอฬาร
น่ารื่นรมย์ของคฤหัสถ์ชนด้วยการสัมผัสกำไลมือกำไลเท้าทองใหม่เป็นต้นระคน
ด้วยเสียงและการหัวเราะการพูดที่ไพเราะเหมือนละก้อนเขฬะ เข้าไปยังป่าตโป-
วัน บำเพ็ญตบะเครื่องลอยบาปของชนทั้งปวง เพราะเป็นผู้เพลินด้วยวิเวก
แต่การอยู่ที่บรรณศาลา ณ อาศรมนี้ของเรา ก็เป็นเหมือนการครองเรือนครั้ง
ที่สอง เอาเถิด เราจะอยู่เสียที่โคนไม้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ-
การ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณ ความว่า เกลื่อน
คือประกอบพร้อมด้วยโทษ ๘ ประการ. โทษ ๘ ประการอะไรบ้าง. พระมหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
สัตว์เห็นโทษ ๘ เหล่านี้คือ การที่สร้างให้สำเร็จจำต้องใช้เครื่องสัมภาระมาก ๑
จำต้องบำรุงอยู่เป็นนิตย์ด้วยหญ้าใบไม้และดินเหนียวเป็นต้น ๑ จำต้องออกไป
โดยเข้าใจว่า ไม่มีเอกัคคตาจิตสำหรับผู้จำต้องออกไปในเวลาไม่สมควร ด้วย
คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเสนาสนะ จักทรุดโทรมไป ๑ ต้องทนุถนอมกาย เพราะกระ-
ทบเย็นร้อน ๑ ต้องปกปิดคำครหาที่ว่า ผู้เข้าไปบ้านเรือนอาจทำชั่วอย่างใดอย่าง
หนึ่งได้ ๑ ต้องหวงแหนว่านี้ของเรา ๑ ต้องนึกอยู่เสมอว่า นี้บ้านเรือน มีอยู่
อย่างผู้มีเพื่อน ๑ ต้องเป็นของทั่วไปเป็นอันมาก เพราะต้องทั่วไปแก่สัตว์ทั้ง
หลายมีเล็น เลือด จิ้งจกเป็นต้น ๑ ดังนี้แล้วจึงละบรรณศาลาเสีย.
บทว่า คุเณหิ ทสหุปาคต ความว่า เราปฏิเสธที่กำบัง เข้าไปยัง
โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คุณ ๑๐ ประการอะไรบ้าง. ตรัสว่า
เราเห็นคุณ ๑๐ เหล่านี้ คือ มีความริเริ่มขวนขวายน้อย ๑ ได้ความไม่มีโทษ
โดยง่ายว่าเพียงเข้าไปโคนไม้นั้นเท่านั้น ๑ ทำอนิจจสัญญาให้ตั้งขั้นด้วยการเห็น
ความแปรปรวนของต้นไม้และใบไม้ ๑ ไม่ตระหนี่เสนาสนะ ๑ เมื่อจะทำ
ชั่ว ณ โคนไม้นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น จึงไม่มีที่ลับทำชั่ว ๑ ไม่ทำความ
หวงแหน ๑ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ๑ ปฏิเสธที่กำบัง ๑ ใช้สอยสะดวก ๑ ไม่
ห่วงใยเพราะเสนาสนะคือโคนไม้ หาได้ง่าย ในทุกสถานที่ไป ๑ แล้วจึงเข้า
ไปยังโคนไม้ และตรัสว่า
โคนไม้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสรรเสริญแล้ว
และตรัสว่า เป็นนิสสัย ที่อาศัย ที่อยู่ของผู้สงัด เสมอ
ด้วยโคนไม้ จะมีแต่ไหน.
แท้จริง ผู้อยู่โคนไม้อันสงัด อันกำจัดความ
ตระหนี่ที่อยู่ อันเทวดารักษาแล้ว ชื่อว่าผู้มีวัตรดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
ผู้เห็นต้นไม้และใบไม้ ที่มีสีแดง เขียว เหลือง
อันหล่นแล้ว ย่อมบรรเทานิจจสัญญาเข้าใจว่าเที่ยงเสีย
ได้.
เพราะฉะนั้นแล ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ไม่
ควรดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ที่เป็นทรัพย์มรดกของ
พระพุทธเจ้า เป็นที่อยู่ของผู้ยินดียิ่งในภาวนา.
ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต เป็นผู้เห็นโทษของบรรณศาลา ได้อานิสงส์
ในเสนาสนะคือโคนไม้อยู่ จึงคิดยิ่งขึ้นไปว่า การที่เราเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อ
แสวงหาอาหาร เป็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร เรามิใช่เพราะสิ้นไร้อย่างไรจึง
ออกบวชด้วยความต้องการเพื่ออาหาร แต่ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลไม่มี
ประมาณ ถ้ากระไรเราจะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
แต่เมื่อจะทรงแสดงความที่วิเศษของประโยชน์นี้จึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า
เราสละธัญชาติที่หว่านแล้ว ที่ปลูกแล้วโดยไม่
เหลือเลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอัน
พรั่งพร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาปิต ได้แก่ ที่หว่านเสร็จแล้ว. บทว่า
โรปิต ได้แก่ ที่ปลูกเสร็จแล้ว ข้าวกล้าจะสำเร็จผล มี ๒ วิธี คือ ด้วยการหว่าน
และการปลูก. เราก็ละเสียทั้ง ๒ วิธี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตาม
ธรรมชาติ เพราะตัวเรามักน้อย. บทว่า ปวตฺตผล ได้แก่ ผลไม้ที่หล่นเอง.
บทว่า อาทิยึ ได้แก่ บริโภค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
บุคคลผู้สันโดษด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
เลี้ยงชีพไม่เนื่องด้วยผู้อื่น ละความละโมบในอาหารเสีย
ย่อมเป็นมุนีใน ๔ ทิศ.
มุนีย่อมละความอยากในรส การเลี้ยงชีพของ
ท่านจึงบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นแล จึงไม่ควรดูหมิ่นการ
บริโภคผลที่ไม้มีอยู่ตามธรรมชาติ.
สุเมธบัณฑิต เมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้ ไม่นานนักก็บรรลุสมาบัติ ๘
และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อ
นี้ จึงตรัสว่า ตตฺถปฺปธาน ปทหึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. บทว่า ปธาน ได้แก่ความเพียร. จริงอยู่ความ
เพียรท่านเรียกว่า ปธานะ เพราะเป็นคุณควรตั้งไว้ หรือเพราะทำภาวะคือการ
ตั้งไว้. บทว่า ปทหึ ได้แก่ เริ่มความเพียร บทว่า นิสชฺชฏฺานจงฺกเม
แปลว่า ด้วยการนั่ง การยืน และการเดิน.
แต่สุเมธบัณฑิต ปฏิเสธการนอน ยังคืนและวันให้ล่วงไปด้วยการนั่ง
ยืนและเดินเท่านั้น จึงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาได้ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ก็แล
เมื่อสุเมธดาบสครั้นบรรลุกำลังแห่งอภิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขใน
สมาบัติ. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่าทีปังกรผู้ทรงทำการสงเคราะห์ชนทั้ง
ปวงผู้ทรงทำภัยแก่พลแห่งมาร ทรงทำประทีปคือพระญาณเสด็จอุบัติในโลก.
เมื่อว่าโดยสังเขปเท่านั้น การกล่าวลำดับเรื่องพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มีดังนี้ ได้ยินว่า พระมหาสัตว์พระนามว่าทีปังกรพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญ
พระบารมี ๓๐ ทัศ ทรงดำรงอยู่ ในอัตภาพเสมือนอัตภาพของพระเวสสันดร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
ทรงให้มหาทาน เป็นเหตุให้แผ่นดินไหวเป็นต้น เมื่อสุดสิ้นพระชนมายุ ก็บัง-
เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ ณ ที่นั้น จนตลอดพระชนมายุ เมื่อเทวดา
ในหมื่นจักวาลประชุมกันทูลว่า
กาโลย๑ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิย
สเทวก ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมต ปท.
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ
พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในครรภ์พระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆ-
สงสาร ก็โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด.
ดังนี้แล้ว แต่นั้น ทรงสดับคำของเทวดาทั้งหลายแล้วทรงพิจารณามหาวิโลก-
นะ ๕ ทรงจุติจากดุสิตสวรรค์นั้นแล้วทรงถือปฏิสนธิ โดยดาวนักษัตรในเดือน
อาสาฬหะหลัง เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ในพระครรภ์ของ พระนางสุเมธาเทวี
ในสกุลของพระราชาพระนามว่า สุเทวะ ผู้เป็นเทพแห่งนรชน ดังท้าววาสุเทพ
ผู้พิชิตด้วยความเจริญแห่งพระยศของพระองค์ ณ กรุงรัมมวดี มีราชบริพาร
หมู่ใหญ่คอยบริหาร ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไรๆ ในพระครรภ์
ของพระมหาเทวี เหมือนก้อนแก้วมณี อยู่ตลอดทศมาส ก็ประสูติจากพระ
ครรภ์ของพระนาง เหมือนดวงจันทร์ในฤดูสารทโคจรไปในหลืบเมฆ.
บุพนิมิต ๓๒
ก็บุพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ของพระทีปังกรราชกุมาร
พระองค์นั้น ทั้งขณะปฏิสนธิ ทั้งขณะประสูติ ปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการ เป็น
ไปในฐานะ เหล่านี้คือ เมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เสด็จสู่
๑. ในที่บางแห่งเป็นกาโล โข
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
พระครรภ์ของพระมารดา ๑ ประสูติ ๑ ตรัสรู้ ๑ ประกาศพระธรรมจักร ๑
เพราะฉะนั้น เราจึงแสดงบุพนิมิต ๓๒ ในการประสูติของพระทีปังกรราชกุมาร
เพราะเป็นของปรากฏแล้ว ดังนี้ว่า
เมื่อพระทีปังกรราชกุมาร ผู้ทำความงาม ผู้ทำ
ความเจริญ ผู้ทำความสงบ ประสูติแล้ว ในครั้งนั้น
หมื่นโลกธาตุก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหวโดยรอบ.
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาล ก็พากันประชุม
ในจักรวาลหนึ่ง.
พอพระมหาสัตว์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ประสูติ
เทวดาทั้งหลายก็รับก่อน ภายหลัง พวกมนุษย์จึงรับ
พระองค์.
ขณะนั้น กลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลาย ช่อง
พิณและพิณทั้งหลาย อันใครๆ มิได้ประโคม เครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่ใครๆ มิได้แตะต้อง ก็ส่งเสียงร้อง
อย่างไพเราะไปรอบ ๆ.
เครื่องพันธนาการทั้งหลายทุกแห่ง ก็ขาดหลุด
ไป โรคภัยทั้งปวงก็หายไปเอง คนตาบอดแต่กำเนิด
ก็มองเห็นรูปทั้งหลาย คนหูหนวกก็ได้ยินเสียงรอบตัว.
คนใบ้แต่กำเนิด ก็ได้สติระลึกได้ คนขาพิการ
ก็ใช้เท้าเดินได้ เรือก็เดินไปต่างประเทศแล้วกลับท่า
เรือสุปัฏฏนะได้อย่างรวดเร็ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
รัตนะทุกอย่าง ทั้งที่อยู่ในอากาศ ทั้งที่อยู่ภาค
พื้นดิน ก็เรืองแสงได้เองไปรอบ ๆ ไฟในนรกอันร้าย
กาจก็ดับ แม้น้ำในแม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล.
แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ก็ได้มีในโลกันตริก-
นรก แม้มีทุกข์ไม่ว่างเว้น ครั้งนั้น มหาสมุทรนี้ก็มี
เกลียวคลื่นละลอกสงบ ทั้งน้ำก็มีรสจืดอร่อยด้วย.
ลมที่พัดแรงหรือร้ายกาจ ก็ไม่พัด ต้นไม้ทั้งหลาย
ก็ออกดอกบานสะพรั่ง ดวงจันทร์พร้อมทั้งดวงดาว
ก็จรัสแสงยิ่ง แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ไม่ร้อนแรง.
ฝูงนก ก็ร่าเริงลงจากฟากฟ้าและต้นไม้ มาอยู่
พื้นดินเบื้องล่าง เมฆฝนที่อยู่ใน ๔ มหาทวีป ก็หลั่ง
น้ำฝนรสอร่อยไปโดยรอบ.
เทวดาทั้งหลายอยู่ในภพทิพย์ของตน มีจิตเลื่อม
ใส ก็พากันฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม โห่ร้อง สรวลเส
กันอึงมี.
เขาว่า ในขณะนั้น ประตูเล็กบานประตูใหญ่ก็
เปิดได้เอง เขาว่า ความอดอยากหิวระหาย มิได้บีบคั้น
มหาชน ไม่ว่าโลกไรๆ.
ส่วนหมู่สัตว์ที่เป็นเวรกันเป็นนิตย์ ก็ได้เมตตาจิต
เป็นอย่างยิ่ง ฝูงกาก็เที่ยวไปกับฝูงนกเค้าแมว ฝูง
หมาป่าก็ยิ้มแย้มกับฝูงหมู.
งูมีพิษ ทั้งงูไม่มีพิษ ก็เล่นหัวกับพังพอนทั้งหลาย
ฝูงหนูบ้าน มีใจคุ้นกันสนิทก็จับกลุ่มกันใกล้กับหัวของ
แมว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
ความระหายน้ำ ในโลกของปีศาจ ที่ไม่ได้น้ำมา
เป็นพุทธันดร ก็หายไป คนค่อมก็มีกายงามสมส่วน
คนใบ้ก็พูดได้ไพเราะ.
ส่วนหมู่สัตว์ ที่มีจิตเลื่อมใส ก็กล่าวปิยวาจาแก่
กันและกัน ฝูงม้าที่มีใจร่าเริงก็ลำพองร้อง แม้ฝูงช้าง
ใหญ่เมามันก็ส่งเสียงโกญจนาท.
รอบๆ หมื่นโลกธาตุ ก็เกลื่อนกลาดด้วยจุรณ-
จันทน์หอมกรุ่น อบอวลหวลหอมด้วยกลิ่นดอกไม้
หญ้าฝรั่นและธูป มีมาลัยเป็นธงใหญ่งามต่างๆ.
ก็ในบุพนิมิต ๓๒ นั้น
๑. ความไหวแห่งหมื่นโลกธาตุ เป็น บุพนิมิต แห่งการได้พระสัพ-
พัญญุตญาณ ของพระองค์
๒. การประชุมเทวดาทั้งหลายในจักรวาลเดียว เป็น บุพนิมิต แห่ง
การประชุมพร้อมเพรียงกันรับธรรม ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร
๓. การรับของเทวดาทั้งหลายก่อน เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
รูปาวจรฌาน ๔
๔. การรับของมนุษย์ทั้งหลายภายหลัง เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
อรูปวจรฌาน ๔
๕. การประโคมของกลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลายได้เอง เป็นบุพ-
นิมิต แห่งการยังมหาชนให้ได้ยินเสียงกลองธรรมขนาดใหญ่
๖. การบรรเลงเสียงเพลงได้เองของพิณและอาภรณ์เครื่องประดับเป็น
บุพนิมิต แห่งการได้อนุบุพวิหารสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
๗. การที่เครื่องพันธนาการขาดหลุดได้เอง เป็น บุพนิมิต แห่ง
การตัดอัสมิมานะ
๘. การปราศจากโรคทุกอย่างของมหาชนเป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ผลแห่งสัจจะ ๔
๙. การเห็นรูปของคนตาบอดแต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการได้
ทิพยจักษุ
๑๐. การได้ยินเสียงของคนหูหนวก เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ทิพ-
โสตธาตุ
๑๑. การเกิดอนุสสติของคนใบ้แต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้สติปัฏฐาน ๔
๑๒. การเดินไปได้ด้วยเทาของคนขาพิการ เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้อิทธิบาท ๔
๑๓. การกลับมาสู่ท่าเรือสุปัฏฏนะได้เองของเรือที่ไปต่างประเทศ เป็น
บุพนิมิต แห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔
๑๔. การรุ่งโรจน์ได้เองของรัตนะทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้แสงสว่างในธรรม
๑๕. การดับของไฟในนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการดับไฟ ๑๑ กอง
๑๖. การไม่ไหลแห่งน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้จตุเวสารัชญาณ
๑๗. แสงสว่างในโลกันตริกนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการกำจัด
ความมืดคืออวิชชา แล้วเห็นแสงสว่างด้วยญาณ
๑๘. ความที่มหาสมุทรมีน้ำอร่อย เป็น บุพนิมิต แห่งความที่ธรรม
วินัยมีรสเดียว คือรสพระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
๑๙. ความไม่พัดแห่งลม เป็น บุพนิมิต แห่งการทำลายทิฏฐิ ๖๒
๒๐. ความที่ต้นไม้ทั้งหลายออกดอกบาน เป็น บุพนิมิต แห่งความ
ที่ธรรมวินัยออกดอกบาน โดยดอกคือวิมุตติ
๒๑. ความจรัสแสงยิ่งของดวงจันทร์ เป็น บุพนิมิต แห่งความที่
พระองค์เป็นที่รักใคร่ของคนเป็นอันมาก
๒๒. ความที่ดวงอาทิตย์สุกใสแต่ไม่ร้อนแรง เป็น บุพนิมิต แห่ง
ความเกิดขึ้นแห่งความสุขกายสุขใจ
๒๓. การโผบินจากท้องฟ้าเป็นต้นสู่แผ่นดินของฝูงนก เป็น บุพนิมิต
แห่งการฟังพระโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิตของมหาชน
๒๔. การตกลงมาแห่งเมฆฝน ที่เป็นไปในทวีปทั้ง ๔ ห่าใหญ่ เป็น
บุพนิมิต แห่งฝนคือธรรมขนาดใหญ่
๒๕. การอยู่ในภพของตนๆ ระเริงเล่นด้วยการฟ้อนรำเป็นต้นของ
เทวดาทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทาน
๒๖. การเปิดได้เองของประตูเล็กและบานประตูใหญ่ เป็น บุพนิมิต
แห่งการเปิดประตูคือมรรคมีองค์ ๘
๒๗. ความไม่มีความหิวบีบคั้น เป็น บุพนิมิต แห่งการได้อมตะ
ด้วยกายคตาสติ
๒๘. ความไม่มีความระหายบีบคั้น เป็น บุพนิมิต แห่งความมีความ
สุขโดยสุขในวิมุตติ
๒๙. ความได้เมตตาจิตของผู้มีเวรทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่ง
การได้พรหมวิหาร ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
๓๐. ความที่หมื่นโลกธาตุ มีธงคันหนึ่งเป็นมาลัย เป็น บุพนิมิต
แห่งความที่พระศาสนามีธงอริยะเป็นมาลัย
๓๑-๓๒. ส่วนคุณวิเศษที่เหลือ พึงทราบว่าเป็น บุพนิมิต แห่งการ
ได้พุทธคุณที่เหลือ.
ครั้งนั้น พระทีปังกรราชกุมาร ถูกบำเรอด้วยสมบัติใหญ่ ทรงจำเริญ
วัยโดยลำดับ เสวยสิริราชย์บนปราสาท ๓ หลัง ที่เหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ดั่งเสวย
สิริในเทวโลก สมัยเสด็จไปทรงกีฬาในพระราชอุทยาน ทรงเห็นเทวทูต ๓ คือ
คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ตามลำดับ ทรงเกิดความสลดพระหฤทัย เสด็จ
กลับเข้าสู่กรุงรัมมวดี ครั้นเสด็จเข้าพระนครแล้ว ครั้งที่ ๔ รับสั่งเรียกนาย
หัตถาจารย์ ตรัสกะเขาว่า พ่อเอย เราจักออกไปชมพระราชอุทยาน ท่านจง
เตรียมยานคือช้างไว้ให้พร้อม เขาทูลรับว่า พระเจ้าข้าแล้ว ก็จัดเตรียมช้าง
๘๔,๐๐๐ เชือก ครั้งนั้น เทพบุตรชื่อวิสสุกรรม ก็ช่วยประดับพระโพธิสัตว์
ผู้ทรงผ้าห่มผ้านุ่งย้อมสีต่างๆ สวมกำไลมุกดาหารต้นแขน ทรงกำไลพระกรทอง
มงกุฏและกุณฑลประดับด้วยรัตนะ ๙ อันงาม พระเมาลีประดับด้วยมาลัยดอกไม้
หอมอย่างยิ่ง ขณะนั้นพระทีปังกรราชกุมาร อันช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกแวดล้อมแล้ว
เหมือนเทพกุมาร เสด็จขึ้นทรงคอข้างต้น อันหมู่พลหมู่ใหญ่ห้อมล้อมแล้ว เสด็จ
เข้าพระราชอุทยานที่ให้เกิดความรื่นรมย์ ลงจากคอช้างแล้ว เสด็จตรวจพระราช
อุทยานนั้น ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา เป็นที่เย็นพระหฤทัยพระองค์เอง งาม
น่าชมอย่างยิ่ง ทรงเกิดจิตคิดจะทรงผนวช ทันใดนั้นเอง ท้าวมหาพรหมผู้
เป็นพระขีณาสพในชั้นสุทธาวาส ถือสมณบริขาร ๘ มาปรากฏในคลองจักษุ
ของพระมหาบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
พระมหาบุรุษทรงเห็นมหาพรหมขีณาสพนั้นตรัสถามว่า นี้อะไร ทรง
สดับว่า สมณบริขาร ก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับ ประทานไว้ในมือพนักงาน
ผู้รักษาเรือนคลังเครื่องประดับ ทรงถือพระขรรค์มงคลทรงตัดพระเกศาพร้อม
ด้วยพระมงกุฏ ทรงเหวี่ยงไปในอากาศกลางหาว ขณะนั้น ท้าวสักกะเทวราช
ทรงเอาผอบทองรับพระเกสาและพระมงกุฏนั้นไว้ ทรงทำเป็นมงกุฏเจดีย์สำเร็จ
ด้วยแก้วมณีสีดอกอินทนิล ขนาด ๓ โยชน์ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ ครั้งนั้น
พระมหาบุรุษทรงครองผ้ากาสาวะ ธงชัยแห่งพระอรหัต ที่เทวดาถวาย ทรง
เหวี่ยงคู่ผ้า [คือผ้านุ่งผ้าห่ม] ไปในอากาศ พรหมก็ทรงรับผ้านั้น ทรงทำเป็น
เจดีย์ที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด ขนาด ๑๒ โยชน์ ในพรหมโลก. ก็บุรุษ ๑
โกฏิ บวชตามเสด็จพระทีปังกรราชกุมาร ซึ่งกำลังทรงผนวช พระโพธิสัตว์
ซึ่งบริษัทนั้นห้อมล้อมแล้วได้ทรงบำเพ็ญปธานจริยา ประพฤติความเพียร ๑๐
เดือน ต่อมา เพ็ญกลางเดือนวิสาขะ เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ยังนครแห่งหนึ่ง.
เล่ากันว่า มนุษย์ทั้งหลายในนครนั้น หุงข้าวมธุปายาสไม่มีน้ำ เพื่อ
ทำสังเวยเทวดาในวันนั้น แต่มนุษย์ทั้งหลายได้ถวายแด่พระมหาสัตว์พระองค์
นั้นพร้อมทั้งบริษัท ที่เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ข้าวมธุปยาสไม่มีน้ำ ก็เพียง
พอแก่ภิกษุทั้งหมดนับโกฏิ แต่ในบาตรของพระมหาบุรุษ เทวดาทั้งหลายใส่
ทิพโอชะลงไป พระมหาบุรุษ ครั้นเสวยมธุปายาสนั้นแล้ว ก็ทรงพักกลางวัน
ณ ป่าสาละ ในพระราชอุทยานนั้นเอง เวลาเย็นทรงออกจากที่เร้นแล้ว ก็ทรง
สละคณะ ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อาชีวก ชื่อ สุนันทะ ถวายแล้ว เสด็จไป
ยังโคนต้นไม้สำหรับตรัสรู้ ชื่อ ปีปผลิ คือไม้เลียบ ทรงปูลาดหญ้าประทับนั่ง
ขัดสมาธิเอาต้นไม้ตรัสรู้ขนาด ๙๐ ศอกไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ ทรงอธิษฐานความ
เพียรมีองค์ ๔ ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดพลของมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
ณ ราตรีปฐมยาม ทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณ มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ
ปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการทั้งอนุโลมทั้งปฏิโลม ทรงเข้าจตุตถฌานมี
อานาปานสติเป็นอารมณ์ ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ทรงหยั่งลงในขันธ์ ๕
ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วน โดยอุทยัพพยญาณ ทรงเจริญวิปัสสนา จนถึง
โคตรภูญาณ เวลาอรุณอุทัย ก็ทรงแทงตลอดพุทธคุณทั้งสิ้นด้วยอริยมรรค
ทรงบรรลือพุทธสีหนาท ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์พฤกษ์ตลอด ๗ สัปดาห์ ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ณ สุนันทาราม ด้วยทรงปฏิญญารับอาราธนาแสดง
ธรรมของพรหม ทรงยังเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม ทรงหลั่ง
ฝนคือธรรม เหมือนมหาเมฆทั้ง ๔ ทวีป เสด็จจาริกทั่วชนบท ปลดเปลื้อง
มหาชนให้พ้นจากเครื่องพันธนาการ.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ไม่
เห็นนิมิตเหล่านั้น ไม่เห็นนิมิตแห่งการไหวของแผ่นดิน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อเราประสบความสำเร็จ เป็นผู้ชำนาญใน
ศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าทีปังกร
ก็เสด็จอุบัติ.
เรามัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌานเสีย จึงไม่
ได้เห็นนิมิต ๔ ในการเสด็จอุบัติ การประสูติ การ
ตรัสรู้ การแสดงธรรม.
แก้อรรถ
ทรงแสดงคำที่พึงตรัส ณ บัดนี้ ด้วยบทว่า เอว ในคาถานั้น. บทว่า
เม แปลว่า เมื่อเรา. บทว่า สิทฺธิปฺปตฺตสฺส ได้แก่ ถึงความสำเร็จอภิญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
๕. บทว่า วสีภูตสฺส ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญแล้ว อธิบายว่า ถึงความเป็นผู้
เชี่ยวชาญ. บทว่า สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของดาบสผู้อาศัยความสงัด. ฉัฏฐี
วิภัตติพึงเห็นว่าใช้ในลักษณะอนาทระ. บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะเพราะ
ชนะข้าศึกคือกิเลส.
บทว่า อุปฺปชฺชนฺเต ได้แก่ ในการถือปฏิสนธิ. บทว่า ชายนฺเต
ได้แก่ ในการประสูติจากพระครรภ์พระมารดา. บทว่า พุชฺฌนฺเต ได้แก่ ใน
การตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการ
ประกาศพระธรรมจักร. บทว่า จตุโร นิมิตฺเต ได้แก่ นิมิต ๔. อธิบายว่า
นิมิตมีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น ในฐานะ ๔ คือ ถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้
และประกาศพระธรรมจักร ผู้ทักท้วงในข้อนี้กล่าวว่า นิมิตเหล่านั้นมีมาก
เหตุไรจึงตรัสว่านิมิต ๔ ไม่สมควรมิใช่หรือ. ตอบว่า ไม่สมควร หากว่า
นิมิตเหล่านั้นมีมาก แต่ตรัสว่า นิมิต ๔ เพราะเป็นไปในฐานะ ๔. บทว่า
นาทฺทส ได้แก่ นาทฺทสึ แปลว่าไม่ได้เห็นแล้ว. บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ
ในการไม่เห็นนิมิต ๔ นั้น จึงตรัสว่า มัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน ดังนี้.
คำว่า ฌานรติ นี้ เป็นชื่อของสุขในสมาบัติ อธิบายว่า ไม่ได้เห็นนิมิต
เหล่านั้น เพราะเพียบพร้อมอยู่ด้วยความยินดีในฌาน.
ก็สมัยนั้น พระทีปังกรทศพล อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อม
แล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ ก็ลุนครชื่อ รัมมะ ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ประ-
ทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร ชาวรัมมนครฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระ
ทีปังกรทศพลทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักร
อันประเสริฐแล้ว เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึง รัมมนคร แล้วประทับอยู่ ณ
พระสุทัสสนมหาวิหาร ก็ถือเอาเภสัชมีเนยเป็นต้น ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
ห่มผ้าอันสะอาด ถือดอกไม้ธูปและของหอม เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นเฝ้า
แล้ว ก็ถวายบังคม บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฟัง
ธรรมกถาอันไพเราะยิ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ลุก
จากที่นั่งแล้ว ทำประทักษิณพระทศพลแล้วกลับไป.
วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองเหล่านั้น ก็จัด อสทิสมหาทาน สร้างมณฑป
มุงบังด้วยดอกบัวขาบ อันไร้มลทินและน่ารัก ประพรมด้วยของหอม ๘ ชนิด
โรยดอกไม้หอมครบ ๕ ทั้งข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำ เต็มด้วยน้ำเย็นอร่อยไว้ ๔
มุม มณฑปปิดด้วยในตอง ผูกเพดานผ้า งามน่าชมอย่างยิ่ง เสมือนดอก
ชะบา ไว้บนมณฑป ประดับด้วยดาวทอง ดาวแก้วมณีและดาวเงิน ห้อย
พวงของหอมพวงดอกไม้พวงใบไม้และพวงรัตนะ สะเดาะวันเคราะห์ร้ายด้วย
ธูปทั้งหลาย และทำรัมมนครที่น่ารื่นรมย์นั้นให้สะอาดสะอ้านทั่วทั้งนคร ตั้งต้น
กล้วยพร้อมทั้งผลและหม้อเต็มน้ำประดับด้วยดอกไม้ และยกธงประฏากทั้งหลาย
หลากๆ สี ล้อมด้วยกำแพงผ้าม่านทั้งสองข้างถนนใหญ่ ตกแต่งทางเสด็จมา
ของพระทีปังกรทศพล ใส่ดินฝุ่นตรงที่น้ำเซาะ ถมตรงที่เป็นตม ทำที่ขรุ-
ขระให้เรียบ โรยด้วยทรายที่เสมือนมุกดา โรยด้วยดอกไม้ครบ ๕ ทั้งข้าวตอก
จัดหนทาง ที่มีต้นกล้วยต้นหมากพร้อมทั้งผลไว้.
สมัยนั้น สุเมธดาบสโลดขึ้นจากอาศรมของตนเหาะไปทางอากาศส่วน
เบื้องบนของมนุษย์ชาวรัมมนครเหล่านั้น เห็นพวกเขากำลังแผ้วถางทางและ
ตกแต่งกัน ก็คิดว่า เหตุอะไรหนอ ลงจากอากาศทั้งที่คนเห็นกันหมด ยืน ณ
ที่สมควรส่วนหนึ่ง ถามคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านแผ้วถางทางนี้
เพื่อประโยชน์อะไรดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
มนุษย์ทั้งหลาย แถบถิ่นปัจจันตประเทศนิมนต์
พระตถาคตแล้ว มีใจเบิกบาน ช่วยกันแผ้วถางหนทาง
เสด็จมาของพระองค์.
สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตน สลัดผ้า
เปลือกไม้เหาะไปในบัดนั้น.
เห็นคนที่เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามมนุษย์ทั้งหลายไปทันที.
มหาชนผู้เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจแล้ว พวกท่านแผ้วถางหนทางเพื่อใคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจนฺตเทสวิสเย ได้แก่ ชนบทที่เข้าใจ
กันว่า ปัจจันตประเทศอยู่ข้างหนึ่งของมัชฌิมประเทศนั่นเอง. บทว่า ตสฺส
อาคมน มคฺค ความว่า หนทางที่พระองค์พึงเสด็จมา. บทว่า อห เตน
สมเยน ได้แก่ ในสมัยนั้น เรา. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติพึงเห็นว่าลงในอรรถ
สัตตมีวิภัตติ. บทว่า สกสฺสมา ได้แก่ ออกจากอาศรมบทของตน. บทว่า
ธุนนฺโต แปลว่า สลัดทิ้ง. พึงทราบว่า สองบทนี้ว่า เตน สมเยน และ
ตทา เชื่อมความกับกิริยา ออกไป ของบทต้น และกิริยาไปของบทหลัง เพราะ
มีความอย่างเดียวกัน. นอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ. บทว่า ตทา
แปลว่า ในสมัยนั้น.
บทว่า เวทชาต ได้แก่ เกิดโสมนัสเอง. ๓ บทนี้ว่า ตุฏฺฐหฏฺ
ปโมทิต เป็นไวพจน์ของกันและกัน แสดงความของกันและกัน. อีกอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
หนึ่ง ยินดีด้วยสุข ร่าเริงด้วยปีติ บันเทิงใจด้วยปราโมช. บทว่า โอโรหิตฺวาน
แปลว่า ลงแล้ว. บทว่า มนุสฺเส ปุจฺฉิ แปลว่า ถามผู้คนทั้งหลาย. หรือว่า
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ตาวเท แปลว่า ครั้งนั้น อธิบายว่าขณะนั้น
นั่นเอง. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่ถาม จึงตรัสคำว่า ยินดีร่าเริง
บันเทิงใจ เป็นต้น ในคำนั้น พึงนำศัพท์ว่า โสเธติ มาประกอบความอย่าง
นี้ว่า มหาชนนี้ยินดีร่าเริงแล้ว มีใจบันเทิงแล้ว ย่อมแผ้วถางทาง เพราะเหตุ
ไรจึงแผ้วถางทาง หรือว่า แผ้วถางทาง เพื่อประโยชน์แก่ใคร ความนอกจาก
นี้ ไม่ถูก. บทว่า โสธียติ ได้แก่ ทำความสะอาด. คำเหล่านี้ว่า มคฺโค
อญฺชส วฏุมายน เป็นไวพจน์ของทางทั้งนั้น.
มนุษย์เหล่านั้นถูก สุเมธดาบส นั้นถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ท่าน
สุเมธเจ้าข้า ท่านไม่รู้อะไร พระพุทธเจ้า พระนามว่า ทีปังกร ทรงบรรลุ
พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริก
ไปในชนบทมาถึงนครของพวกเรา ประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร
พวกเรานิมนต์พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงช่วยกันแผ้วถางทางเสด็จมาของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตสดับคำนั้นแล้ว
ก็คิดว่า แม้คำโฆษณาว่า พุทฺโธ นี้ก็หาได้ยาก จะป่วยกล่าวไปไยถึงความ
เกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ถ้าอย่างนั้น แม้เราจะร่วมกับคนพวกนี้ช่วยกันแผ้ว
ถางทางก็ควรแท้. ท่านจึงกล่าวกะมนุษย์พวกนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่าน
แผ้วถางทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ก็จงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา
ก็จักร่วมกับพวกท่าน ช่วยแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์เหล่านั้น
ก็รับปากว่า ดีสิ เมื่อรู้อยู่ว่า ท่านสุเมธบัณฑิตผู้นี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
จึงกำหนดโอกาสแห่งหนึ่ง ซึ่งแผ้วถางยังไม่ดี ถูกน้ำเซาะพังขรุขระอย่างเหลือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
เกิน มอบให้ด้วยกล่าวว่า ขอท่านจงแผ้วถางโอกาสตรงนี้ และตกแต่งด้วย.
สุเมธบัณฑิตเกิดปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ จึงคิดว่า เราสามารถที่จะทำ
โอกาสแห่งนี้ให้น่าชมอย่างยิ่งได้ด้วยฤทธิ์ แต่เมื่อทำอย่างนั้นแล้วก็ยังไม่จุใจเรา
แต่วันนี้ เราจะช่วยขวนขวายด้วยกายจึงควร แล้วจึงนำดินฝุ่นมาถมประเทศแห่ง
นั้นให้เต็ม.
แต่เมื่อสุเมธบัณฑิตนั้น แผ้วถางประเทศแห่งนั้นยังไม่เสร็จ ทำค้าง
ไว้ มนุษย์ชาวรัมมนครก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาอาหารว่า อาหาร
เสร็จแล้วพระเจ้าข้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นกราบทูลเวลาอาหารอย่างนั้นแล้ว
พระทศพลทรงนุ่งอันตรวาสกสองชั้นสีเสมือนดอกชะบา ปิดมณฑลทั้งสาม ทรง
คาดประคดเอว อันมีสิริดังสายฟ้าแลบเหนืออันตรวาสกนั้น เหมือนล้อมกอง
ดอกชะบาด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดงเสมือนดอก
ทองกวาวที่ชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งรดน้ำครั่งลงเหนือยอดเขาทอง ประหนึ่ง
ล้อมเจดีย์ทองด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ ประหนึ่งสวมของมีค่าทำด้วยทองด้วยผ้า
กัมพลแดง และประหนึ่งปิดดวงจันทร์ในฤดูสารทด้วยพลาหกแดง เสด็จออก
จากประตูพระคันธกุฎี ประหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง ประทับยืนที่หน้าพระ
คันธกุฎี. ขณะนั้น ภิกษุทั้งหมด ถือบาตรจีวรของตนๆ แวดล้อมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ภิกษุที่ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ก็ได้เป็นอย่างนั้น.
ก็ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มักน้อย สันโดษผู้บอกกล่าว
ผู้อดทนต่อคำว่ากล่าว เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ถูกแนะ
นำแล้ว ผู้ติบาป.
ภิกษุแม้ทุกรูป ถึงพร้อมด้วยศีล ฉลาดในสมาธิ
และฌาน ถึงพร้อมด้วยปัญญาและวิมุตติ ผู้ประกอบ
ด้วยจรณะ ๑๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความชำนาญ มีฤทธิ์
มียศ มีอินทรีย์สงบ ถึงความฝึกแล้ว เป็นผู้หมดจด
แล้ว สิ้นภพใหม่แล้ว.
ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เอง ปราศ-
จากราคะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโทสะ อัน
เหล่าภิกษุผู้ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อันเหล่าภิกษุผู้
ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ช่างงามรุ่งโรจน์อย่างเหลือเกิน. ครั้งนั้น พระ-
ศาสดา อันเหล่าภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้ได้อภิญญา ๖
จำนวนสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว เสด็จพุทธดำเนินสู่ทางนั้นที่เขาประดับตกแต่ง
แล้ว ด้วยพุทธลีลาหาที่เปรียบมิได้ ซึ่งกำลังพระกุศลที่ทรงสะสมได้ตลอดสมัย
ที่นับไม่ได้บันดาลให้เกิดแล้ว ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์ ผู้มีพระเนตรพันดวงอัน
หมู่เทพแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว
และประหนึ่งดวงจันทร์ในฤดูสารท อันหมู่ดวงดาวแวดล้อมแล้ว.
เขาว่าด้วยพระรัศมีมีสีดังทอง พระจอมปราชญ์
ผู้มีวรรณะดั่งทอง ทรงทำต้นไม้ในหนทางให้มีสีดั่ง
ทอง ทรงทำดอกไม้ให้มีสีดั่งทอง เสด็จพระพุทธดำ-
เนินไปสู่ทาง
แม้สุเมธดาบส จ้องตาตรวจดูพระอัตภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทีปังกร ผู้เสด็จมาตามทางที่เขาประดับตกแต่งแล้วนั้น ซึ่งประดับด้วยมหาปุริส
ลักษณะ ๓๒ ประการ ฉาบด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ล้อด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง
มีสิริเหมือนแก้วมณีสีดอกอินทนิล กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ประดุจ
สายฟ้าแลบมีประการต่าง ๆ ในอากาศ มีพระรูปพระโฉมงดงาม แล้วคิดว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
วันนี้ เราสละชีวิตเพื่อพระทศพลก็ควร ตกลงใจว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า
ทรงเหยียบที่ตมเลย ขอทรงเหยียบหลังเราเสด็จไปพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน
รูป เหมือนทรงเหยียบสะพานที่มีแผ่นกระดานเป็นแก้วผลึกเถิด ข้อนั้นก็จัก
เป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็เปลื้องผม
ปูลาดท่อนหนังชฎาและผ้าเปลือกไม้ลงที่ตม ซึ่งมีสีดำ แล้วทอดตัวนอนบนหลัง
ตมในทีนั้นนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
มนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้วก็ตอบว่า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้ยอดเยี่ยม ผู้ชนะ ผู้นำ
โลกทรงอุบัติแล้วในโลก.
พวกเราแผ้วถางหนทาง ที่ชื่อว่ามรรค อัญชสะ
วฏุมะ อายนะ ก็เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
เพราะได้ยินคำว่า พุทโธ ก็เกิดปีติขึ้นทันที เรา
เมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.
เรายินดีปีติใจแล้ว ยืนคิดในที่นั้นว่า จำเราจัก
ปลูกพืชทั้งหลายในพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้ ขอ
ขณะอย่าล่วงไปเปล่าเลย.
เราจึงกล่าวว่า ผิว่าพวกท่านแผ้วถางหนทาง
เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจงให้โอกาสแห่ง
หนึ่งแก่เราด้วย ถึงตัวเราก็จักแผ้วถางหนทาง.
มนุษย์เหล่านั้น ได้ให้โอกาสแก่เรา เพื่อแผ้ว
ถางหนทางในครั้งนั้น เราคิดว่า พุทโธ พุทโธ ไปพลาง
แผ้วถางหนทางไปพลางในครั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ พระชินมหา
มุนีทีปังกร พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป ซึ่งเป็นผู้มี
อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ผู้สิ้นอาสวะ ผู้ไร้มลทินก็เสด็จ
พุทธดำเนินไปยังหนทาง.
การรับเสร็จก็ดำเนินไป เภรีทั้งหลายก็ประโคม
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบันเทิงใจแล้ว ก็พากันแซ่
ซ้องสาธุการ.
พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม่พวกมนุษย์
เห็นพวกเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ก็ประ-
คองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.
พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์
ก็บรรเลงด้วยดนตรีมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวกก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต
ในอากาศ พวกเทวดา เหล่าเดินหน ก็โปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นของทิพย์
ไปทั่วทิศานุทิศ.
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ
จันทน์ และของหอมอย่างดี อันเป็นของทิพย์ไปสิ้น
ทั่วทิศานุทิศ.
พวกมนุษย์ ที่ไปตามภาคพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา
ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกระถินพิมาน ดอก
บุนนาค ดอกเกด ทั่วทิศานุทิศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
เราเปลื้องผม ปูลาดผ้าเปลือกไม้และท่อนหนัง
ลงบนตมในที่นั้น นอนคว่ำหน้า.
ด้วยประสงค์ว่า ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์ทั้งหลาย
จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่ตมเลย
ข้อนี้ จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยากสุ แปลว่า พยากรณ์แล้ว. ปาฐะว่า
ทีปงฺกโร นาม ชิโน ตสฺส โสธียตี ปโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสมนสฺส
ปเวทยึ ความว่า เสวยโสมนัส. บทว่า ตตฺถ ตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในประ-
เทศที่ลงจากอากาศนั่นเอง. บทว่า สวิคฺคมานโส ได้แก่ มีใจประหลาด
เพราะปีติ. บทว่า อิธ ได้แก่ ในบุญเขตคือพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้. บทว่า
พีชานิ ได้แก่ พืชคือกุศล. บทว่า โรปิสฺส ได้แก่ จักปลูก. บทว่า ขโณ
ได้แก่ ชุมนุมขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘ ขณะนั้นหาได้ยากเราก็ได้แล้ว. บทว่า
เว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะนั้น อย่าได้เป็น
ไปล่วง คืออย่าล่วงเลยไป. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้. บทว่า เต ได้แก่
พวกมนุษย์ที่เราถาม. บทว่า โสเธมห ตทา ตัดบทเป็น โสเธม อห ตทา.
บทว่า อนิฏฺิเต ได้แก่ ยังไม่เสร็จ ทำค้างไว้.
ในบทว่า ขีณาสเวหิ นี้ อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ ๔ เหล่านี้ของภิกษุเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ละแล้ว
ถอนแล้ว ระงับแล้ว ไม่ควรเกิด อันไฟคือญาณเผาแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่อ
ว่าขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีมลทิน ก็
เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่
เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย
ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า
เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง
ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคต ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต.
พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคต. บทว่า วชฺช-
ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.
บทว่า มนฺทารว ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิส แปลว่า
โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา
แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง.
จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า
สรล ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีป ได้แก่ ดอกกะทุ่ม. บทว่า นาคปุนฺนาค-
เกตก ได้แก่ ดอกกะถิน ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา
ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.
บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาห ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม
และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า
จมฺมก ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ -
โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชห ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อห. ศัพท์ว่า มา
ในบทว่า มา น เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า น เป็นนิบาตลง
ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม
เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน. ปาฐะว่า สุขาย เม ภวิสฺ-
สติ ดังนี้ก็มี.
แต่นั้น สุเมธบัณฑิตนอนบนหลังตมแล้วก็คิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึง
ปรารถนาไซร้ เราก็พึงเป็นสังฆนวกะ เผากิเลสทั้งหมดแล้วเข้าไปยังรัมมนคร
แต่เราไม่มีกิจที่จะเผากิเลสแล้วบรรลุพระนิพพาน ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้า
กระไร เราพึงเป็นเหมือนพระทีปังกรทศพล บรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ ขึ้น
สู่ธรรมนาวา ยังมหาชนให้ข้ามสังสารสาครแล้วจึงปรินิพพานในภายหลัง นี้เป็น
การสมควรแก่เรา. แต่นั้น จึงประชุมธรรม ๘ ประการ ลงนอนทำอภินีหาร
เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เรานอนเหนือแผ่นดินแล้ว ใจก็ปริวิตกอย่างนี้
ว่า วันนี้เราปรารถนา ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลายของ
เราได้.
แต่ประโยชน์อะไรของเราด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เรา
จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก.
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยบุรุษผู้เห็นกำลังจะ
ข้ามสังสารสาครแต่เพียงคนเดียว เขาจักบรรลุสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว ยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามสังสาร
สาคร.
ด้วยอธิการบารมีนี้ ที่เราบำเพ็ญในพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วจะยัง
หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามสังสารสาคร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
เราตัดกระแสแห่งสังสาร กำจัดภพ ๓ ได้แล้ว
ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้าม
สังสารสาคร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิย นิปนฺนสฺส แปลว่า นอนเหนือ
แผ่นดิน หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เจตโส ความว่า ใจก็ได้มี
ปริวิตก. ปาฐะว่า เอว เม อาสิ เจตนา ดังนี้ก็มี. บทว่า อิจฺฉมาโน
ได้แก่ หวังอยู่. บทว่า กิเลเส ความว่า ธรรมชาติเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง
ย่อมทำให้เดือดร้อน เหตุนั้น ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่ากิเลส คือกิเลส ๑๐ กอง
มีราคะเป็นต้น. บทว่า ฌาปเย ได้แก่ พึงให้ไหม้ อธิบายว่า เราพึงยังกิเลส
ทั้งหลายของเราให้ไหม้.
คำว่า กึ. เป็นคำปฏิเสธ. บทว่า อญฺาตกเวเสน ได้แก่ ด้วยเพศ
ที่ไม่ปรากฏ ที่ไม่มีใครรู้จัก ที่ปกปิด อธิบายว่า ก็เราพึงทำอาสวะให้สิ้น
เหมือนภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ หรือพึงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ทำมหา-
ปฐพีให้ไหวในสมัยถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักรเป็น
ผู้ตรัสรู้เองเป็นพระพุทธเจ้า ยังสัตว์ให้ตรัสรู้พึงเป็นผู้ข้ามเอง ยังสัตว์ให้ข้าม
สังสารสาคร พึงเป็นผู้หลุดพ้นเอง ยังสัตว์ให้หลุดพ้น. บทว่า สเทวเก ได้
แก่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า ถามทสฺสินา ได้แก่ เห็นเรี่ยวแรงกำลังของตน. บทว่า
สนฺตาเรสฺส ได้แก่ จักให้ข้าม. บทว่า สเทวก ได้แก่ ยังหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
เทวดา หรือยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า อธิกาเรน ได้แก่ ด้วยการกระ-
ทำที่วิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ด้วยการเสียสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้า แล้วนอน
เหนือหลังตม ชื่อว่า อธิการ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
บทว่า สสารโสต ความว่า การท่องเที่ยวไปทางโน้นทางนี้ในกำเนิด
คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส ๙ ด้วยอำนาจกรรมและกิเลส ชื่อว่า สังสาร
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ขนฺธาน ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฉินฺน วตฺตมานา สสาโรติ ปวุจฺจติ.
เรียงลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นไปไม่
ขาดสาย ท่านเรียกว่าสังสาร.
สังสารนั้นด้วย กระแสด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังสารโสตะ ซึ่งสังสาร
และกระแสนั้น. อีกนัยหนึ่ง กระแสแห่งสังสาระ ชื่อว่าสังสารโสตะ ความว่า
ตัดกระแสคือตัณหาอันเป็นเหตุแห่งสังสาร. บทว่า ตโย ภเว ได้แก่กามภพ
รูปภพและอรูปภพ. กรรมและกิเลสอันให้เกิดภพ ๓ ท่านประสงค์ว่า ภพ ๓.
บทว่า ธมฺมนาว ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น
ท่านเรียกว่า ธรรมนาวา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้ามโอฆะ ๔. บทว่า
สมารุยฺห แปลว่า ขึ้น. บทว่า สนฺตาเรสฺส แปลว่า จักให้ข้าม.
แต่อภินีหารย่อมสำเร็จแก่ท่านผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะ
ความประชุมพร้อมแห่งธรรม ๘ ประการ คือ ๑. ความเป็นมนุษย์ ๒. ความ
สมบูรณ์ด้วยเพศ ๓. เหตุ ๔. การพบพระศาสดา ๕. การบรรพชา
๖. ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๗. ความมีอธิการ ๘. ความมีฉันทะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺต ความว่า ความปรารถนา
ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น แล้วปรารถนาเป็นพระ-
พุทธเจ้า ย่อมไม่สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในชาตินาคเป็นต้น. ถ้าถามว่า
เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะชาตินาคเป็นต้น เป็นอเหตุกสัตว์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้แม้
อยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ต้องตั้งอยู่ในเพศชายเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง
หรือบัณเฑาะก์คนไม่มีเพศและคนสองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า
เพราะลักษณะไม่บริบูรณ์ จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสตรี ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็น
โอกาสพึงทราบความพิศดารเอาเองเถิด. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาย่อมไม่
สำเร็จ แม้แก่ผู้มีชาติเป็นมนุษย์แต่ตั้งอยู่ในเพศสตรี.
บทว่า เหตุ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บุรุษ ที่ถึง
พร้อมด้วยเหตุ เพื่อบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้นได้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่บุรุษ
นอกจากนี้.
บทว่า สตฺถารทสฺสน ความว่า ถ้าบุรุษปรารถนาในสำนักของ
พระพุทธเจ้าซึ่งยังทรงพระชนมชีพอยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ
ความปรารถนาในพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้ว หรือ ที่สำนัก
พระเจดีย์หรือที่โคนโพธิพฤกษ์ หรือที่พระพุทธปฏิมา หรือในสำนักของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะเหตุไร
เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ไม่สามารถที่จะรู้ถึงภัพพสัตว์และ
อภัพพสัตว์แล้วกำหนดด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดกรรมและวิบากแล้วพยากรณ์
ได้. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาจึงสำเร็จได้ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.
บทว่า ปพฺพชฺชา ความว่า ความปรารถนา ย่อมสำเร็จแม้แก่ผู้
ปรารถนาในสำนักของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า หรือต้องบวชในดาบสทั้งหลาย
จำพวกที่เป็นกัมมกิริยวาทีหรือในภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตเท่านั้นจึงบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
ที่เป็นคฤหัสถ์ บรรลุไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นบรรพชิตเท่านั้น แม้ใน
กาลตั้งปณิธานความปรารถนามาแต่ต้น.
บทว่า คุณสมฺปตฺติ ความว่า ปรารถนาย่อมสำเร็จ แม้แก่บรรพชิต
ผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จแก่ผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้.
เพราะเหตุไร เพราะคนไร้คุณสมบัติไม่มีโพธิญาณนั้น.
บทว่า อธิกาโร ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วยคุณ ก็ยังเสียสละ
ชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ซึ่ง
พรั่งพร้อมแล้วด้วยอธิการนี้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.
บทว่า ฉนฺทตา ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินีหาร ก็มี
ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้นเท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คน
นอกจากนี้ ข้ออุปมาแห่งความเป็นผู้มีฉันทะเป็นใหญ่ ในข้อนั้น มีดังนี้. ก็ถ้า
บุคคลพึงคิดอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถข้ามห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งมีน้ำเป็นอัน
เดียวกันด้วยกำลังแขนของตนไปถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธ-
เจ้าได้. ส่วนผู้ใด ไม่สำคัญกิจนี้เป็นของทำได้ยากสำหรับตน ประกอบด้วย
ฉันทะอุตสาหะอย่างใหญ่อย่างนี้ว่า เราจักข้ามห้องจักรวาลนี้ไปถึงฝั่ง ความ
ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.
ก็สุเมธบัณฑิต รวบรวมธรรม ๘ ประการนี้ไว้แล้ว ทำอภินีหารเพื่อ
เป็นพระพุทธเจ้า จึงนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ประทับยืน
ประชิดใกล้ศีรษะของสุเมธบัณฑิต เห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังตม ทรง
ส่งอนาคตังสญาณว่า ดาบสผู้นี้ ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านอนลงแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงพิจารณาทบทวนดู ก็ทรงทราบ
ว่า ล่วงไปสี่อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า
พระนามว่าโคตมะ ประทับยืนพยากรณ์ท่ามกลางบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอเห็นดาบสผู้มีตบะสูงซึ่งนอนเหนือหลังตมผู้นี้ไหมหนอ. ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลว่าเห็นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสผู้นี้ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระ-
พุทธเจ้า จึงนอนลงแล้ว ความปรารถนาของดาบสผู้นี้จักสำเร็จ ในที่สุดสี่
อสงไขยกำไรแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า
โคตมะ ในโลก ในอัตภาพนั้นของดาบสนั้น นครชื่อว่า กบิลพัศดุ์ จักเป็น
ที่ประทับอยู่ จักมีพระชนนีพระนามว่า มหามายาเทวี พระชนก พระนามว่า
พระเจ้าสุทโธทนะ พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อว่า อุปติสสะ และ โกลิตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ พระอัครสาวิกาทั้งสองชื่อว่า เขมา
และ อุบลวรรณา ดาบสผู้มีญาณกล้าจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความ
เพียรอย่างใหญ่ รับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายที่โคนต้นนิโครธ เสวยที่
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิใบ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้รู้โลก ทรง
รับทักษิณา ประทับยืนใกล้ ๆ ศีรษะ ได้มีพุทธดำรัส
กะเราดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบสผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูงจัก
เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปซึ่งนับไม่ได้ ตั้งแต่
กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
พระตถาคตเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์ ที่น่ารื่น
รมย์ ทรงตั้งความเพียร ทรงทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิ-
โครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จสู่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จเข้าสู่โคนโพธิพฤกษ์
ตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้แล้ว.
ต่อนั้น พระผู้ยอดเยี่ยม มีพระมหายศ ทรงทำ
ประทักษิณโพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิใบ.
พระชนนีพุทธมารดาของดาบสผู้นี้ จักมีพระนาม
ว่า มายา พระพุทธบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ
ดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.
พระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ
ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นแล้ว จักเป็นพระอัคร-
สาวก พุทธอุปฐาก ชื่อว่าอานนท์ จักบำรุงพระชิน-
เจ้าผู้นี้.
พระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ
มีจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นอัครสาวิกา ต้นไม้เป็น
ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
จิตตะและหัตถาฬวกะ จักเป็นยอดอุปัฏฐาก
อุตตราและนันทมารดา จักเป็นยอดอุปัฎฐายิกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวิทู ได้แก่ ชื่อว่า โลกวิทู เพราะทรง
รู้จักโลกโดยประการทั้งปวง. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงรู้ทั่ว
ทรงแทงตลอดโลก แม้โดยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะความจริง โดยสมุทัย
ความเกิด โดยนิโรธความดับ โดยนิโรธุบายอุบายให้ถึงนิโรธ เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
เพราะฉะนั้นแล ท่านสุเมธผู้รู้จักโลก ถึงที่สุดโลก
อยู่จบพรหมจรรย์ รู้ที่สุดโลก สงบแล้ว ย่อมไม่หวัง
โลกนี้และโลกอื่น.
อนึ่ง โลกมี ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลกและ โอกาสโลก บรรดา
โลกทั้ง ๓ นั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น ที่อาศัยกันเกิดขึ้น ชื่อว่า สังขาร-
โลก. สัตว์ทั้งหลาย มีสัญญา ไม่มีสัญญา แลมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่
ใช่ ชื่อว่า สัตวโลก. สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า โอกาสโลก
ก็โลกทั้ง ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วตามสภาพความเป็นจริง เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู. บทว่า อาหุตีน
ปฏิคฺคโห ได้แก่ ชื่อว่าผู้รับทักษิณาทาน เพราะเป็นผู้ควรรับทานทั้งหลาย
เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุสฺสีสเก ม ตฺวาน ได้แก่ ประทับยืน
ใกล้ศีรษะเรา. ความว่า ได้ตรัสคำนี้คือคำที่ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า ชฏิล
ความว่า ชฎาของนักบวชนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นักบวชนั้นชื่อว่าชฎิล ผู้มีชฎา, ชฎิล
นั้น. บทว่า อุคฺคตาปน ได้แก่ ผู้มีตบะสูง. บทว่า อหุ ได้แก่ ในวัน อธิบาย
ว่า ครั้งนั้น. หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กปิลวฺหยา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
เรียกว่า ชื่อว่า กบิลพัศดุ์. บทว่า รมฺมา ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปธาน
ได้แก่ ความเพียร. บทว่า เอหิติ แปลว่า จักถึง จักไป. คำที่เหลือในคาถา
ทั้งหลายง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต เกิดความโสมนัสว่า ได้ยินว่า ความ
ปรารถนาของเราจักสำเร็จผล. มหาชนฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพลแล้ว
ก็พากันร่าเริงยินดีว่า ท่านสุเมธดาบสได้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า. สุเมธ
บัณฑิตนั้นก็คิดอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็ได้ทำความปรารถนาว่าบุรุษกำลังจะข้าม
แม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามโดยท่าตรงหน้าได้ก็ย่อมข้ามโดยท่าหลัง ฉันใด พวก
เราเมื่อไม่ได้มรรคผลในศาสนาของพระทีปังกรทศพล ในอนาคตกาล ก็พึง
สามารถทำให้แจ้งมรรคผล ต่อหน้าท่าน ในสมัยที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้พระทีปังกรทศพลก็ทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ผู้เป็น
พระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำ ทรงทำประทักษิณและเสด็จหลีกไป
แม้พระขีณาสพสี่แสนรูปนั้น ก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้และของหอม
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ผู้ทรงทำประทีปคือความรู้โลก
ทั้งปวง อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว อันชาวรัมมนครบูชาอยู่ อัน
เทวดาทั้งหลายถวายบังคมอยู่ เสด็จพุทธดำเนิน ประหนึ่งยอดภูเขาทองอันประ-
เสริฐที่อาบแสงสนธยา เมื่อปาฏิหาริย์ทั้งหลายเป็นอันมากดำเนินไปอยู่ ก็เสด็จ
ไปตามหนทางที่ชาวรัมมนครประดับประดาตกแต่งนั้น เสด็จเข้าไปยังรัมมนคร
อันน่าอภิรมย์ อบอวลด้วยกลิ่นดอกไม้หอมนานาชนิด กลิ่นจุณที่น่าชื่นชม
ธงประฏากที่ยกขึ้นไสว มีหมู่ภมรที่ติดใจในกลิ่น บินว่อนเป็นกลุ่มๆ มืดครึ้ม
ด้วยควันธูป สง่างามดังเทพนคร พระทินกรทศพลก็ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
ที่สมควรอย่างใหญ่ที่เขาบรรจงจัดไว้ เหมือนดวงจันทร์งดงามยามฤดูสารท
เหนือยอดยุคนธร เหมือนดังดวงทินกรกำจัดกลุ่มความมืด ทำความแย้มแก่ดง
ปทุม. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับ. ส่วนอุบาสกชาว
รัมมนคร ผู้พรั่งพร้อมแล้วด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น ก็ช่วยกันถวายทานที่ประ-
ดับพร้อมด้วยของเคี้ยวเป็นต้นชนิดต่าง ๆ สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นและรส ไม่มีทาน
อื่นเสมอเหมือน เป็นต้นเหตุแห่งสุข แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์สดับคำพยากรณ์ของพระทศพลก็สำคัญความ
เป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือ ก็บันเทิงใจ เมื่อชาวรัมมนครกลับกัน
หมดแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นอนคิดว่าจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิ
เหนือยอดกองดอกไม้ เมื่อพระมหาสัตว์นั่งอยู่อย่างนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่น
จักรวาล ก็ให้สาธุการ กล่าวว่า ท่านสุเมธดาบสเจ้าข้า ในเวลาที่ท่านนั่งขัด
สมาธิ หมายจักเลือกเฟ้นบารมีของพระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ธรรมดาบุพนิมิต
เหล่าใดปรากฏ บุพนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ทั้งหมด ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พวกเรารู้ข้อนี้ว่า บุพนิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้
ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจงประ-
คองความเพียรของตนไว้ให้มั่น แล้วได้ชมพระโพธิสัตว์ด้วยสดุดีนานาประการ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สดับคำของพระทีปัง-
กรทศพล ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้เสมอเหมือนนี้
แล้ว ก็พากันดีใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า
เสียงโห่ร้องอึงมี่ เสียงปรบมือ เสียงหัวเราะ
หมื่นโลกธาตุเทวดาก็ทำอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
ผิว่าพวกเราจะพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อพระ-
พักตร์ของพระโลกนาถพระองค์นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำเฉพาะ
หน้าแล้ว ก็ถือเอาท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
เสีย ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระ
ชินเจ้าพระองค์นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระทีปังกรทศทูล ผู้รู้จักโลก ทรงเป็นปฏิคาหก
ผู้รับของบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรง
ยกพระบาทเบื้องขวา.
พุทธชิโนรสทั้งหมด ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็พากันทำ
ประทักษิณเรา เทวดา มนุษย์และอสูรทั้งหลายก็กราบ
ไหว้แล้วหลีกไป.
เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์ เสด็จลับตา
เราไปแล้ว ครั้งนั้น เราก็ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ.
เราประสบสุขโดยสุข เบิกบานโดยปราโมช อัน
ปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว นั่งขัดสมาธิในเวลานั้น.
ครั้นนั่งขัดสมาธิแล้ว เวลานั้น เราคิดอย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงฝั่งในอภิญญา ๕.
ในหมื่นโลกธาตุ ไม่มีฤาษีที่จะเสมอเรา ไม่มีผู้
เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย เราได้ความสุขเช่นนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิ ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ
ก็เปล่งเสียงโห่ร้องว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขณะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ บุพนิมิต
เหล่าใดปรากฏก่อน บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันใน
วันนี้.
ความหนาวก็หายไป และความร้อนก็สงบไป
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
หมื่นโลกธาตุ ก็ปราศเสียง ปราศจากความวุ่น
วาย บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ลมขนาดใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล
บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่นอน.
ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำ ก็บานหมดใน
ขณะนั้น ดอกไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็บานแล้วใน
วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ผิว่า ไม้เถาก็ดี ไม้ต้นก็ดี ก็มีผลในขณะนั้น
ต้นไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
รัตนะทั้งหลาย ที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้น
ดิน ก็ส่องแสงโชติช่วงในขณะนั้น รัตนะแม้เหล่านั้น
ก็โชติช่วงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น
ของทิพย์ ก็บรรเลงในขณะนั้น ดนตรีทั้งสองแม้นั้น
ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ฝนดอกไม้อันไพจิตร ก็หล่นลงมาจากท้องฟ้า
ในขณะนั้น ฝนดอกไม่แม้เหล่านั้น ก็หลั่งลงมาในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
มหาสมุทรก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว แม้ทั้ง
สองนั้น ก็ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ไฟหลายหมื่นในนรก ก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้
เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ดวงอาทิตย์ทั้งใสไร้มลทิน ดวงดาวทั้งหลายก็
เห็นได้หมด ดวงดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวัน
นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นมาจากแผ่นดิน ในขณะ
นั้น น้ำแม้นั้น ก็พุขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็แจ่มกระจ่าง
ตลอดมณฑลท้องฟ้า ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์
วิสาขะ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำก็ออก
จากที่อยู่ของตน สัตว์แม้เหล่านั้นก็ออกจากที่อยู่แล้ว
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความไม่ยินดีทั้งหลายไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สันโดษ ในขณะนั้นสัตว์แม้เหล่านั้น
ก็เป็นผู้สันโดษแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน.
ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็
หายไป บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะก็เสื่อม
หาย กิเลสแม้เหล่านั้นก็เลือนหายไปหมดในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ในขณะนั้นภัยก็ไม่มี ความไม่มีภัยนั้นก็เห็นแม้
ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน ความไม่ฟุ้งแห่ง
กิเลสดุจธุลีนั้นก็เห็นกันแม้ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วย
เหตุนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็
โชยมา กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
เทวดาทั้งหมดเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ เทวดาแม้
เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่นอน.
ขึ้นชื่อว่านรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้หมด
ในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
กำแพงบานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีด
ขวางในขณะนั้น กำแพงบานประตูและภูเขาหินแม้
เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น บุพ-
นิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
ขอท่านโปรดจงประคับประคอง ความเพียรไว้
ให้มั่น อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด
แม้พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
นอน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท สุตฺวาน วจน ความว่า ฟังคำ
พยากรณ์พระโพธิสัตว์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรนี้. บทว่า อสมสฺส
ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีผู้เสมอ เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ
สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล.
เราไม่มีอาจารย์ ผู้เสมือนเราไม่มี ผู้เทียบเรา
ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.
บทว่า มเหสิโน ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะเสาะแสวงหาคุณคือศีล
สมาธิปัญญาใหญ่. ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้น. บทว่า นรมรู ได้แก่มนุษย์
และเทวดาทั้งหลาย ก็ศัพท์นี้ชี้แจงความอย่างสูง สัตว์แม้ทั้งหมด แม้แต่นาค
สุบรรณและยักษ์เป็นต้นในหมื่นโลกธาตุก็พากันดีใจ. บทว่า พุทฺธพีช กิร
อย ความว่า พากันดีใจว่า ได้ยินว่า หน่อเนื้อพุทธางกูรนี้เกิดขึ้นแล้ว.
บทว่า อุกฺกฏฺิสทฺทา ความว่า เสียงโห่ร้องเป็นไปอยู่. บทว่า
อปฺโผเฏนฺติ ได้แก่ ยกแขนขึ้นปรบมือ. บทว่า ทสสทสฺสี แปลว่า หมื่นโลก
ธาตุ. บทว่า สเทวกา ความว่า หมื่นโลกธาตุกับเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า สเทวกะ
ย่อมนมัสการ. บทว่า ยทิมสฺส ตัดบทว่า ยทิ อิมสฺส หรือปาฐะ ก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า วิรชฺฌิสฺสาม ได้แก่ ผิว่าเราไม่บรรลุ. บทว่า อนาค-
ตมฺหิ อทฺธาเน แปลว่า ในอนาคตกาล. บทว่า เหสฺสาม แปลว่า จักเป็น.
บทว่า สมฺมุขา แปลว่า ต่อหน้า. บทว่า อิม คือ อิมสฺส ทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า ของท่านผู้นี้.
บทว่า นทึ ตรนฺตา ได้แก่ ผู้ข้ามแม่น้ำ ปาฐะว่า นทิตรนฺตา
ดังนี้ก็มี. บทว่า ปฏิติตฺถ ได้แก่ ท่าเรือเฉพาะหน้า. บทว่า วิรชฺฌิย แปลว่า
พลาดแล้ว. บทว่า ยทิ มุญฺจาม ความว่า ผิว่า พวกเราจักพ้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นี้โดยไม่ได้ทำกิจไป. บทว่า มม กมฺม ปกิตฺเตตฺวา
ได้แก่ ทรงพยากรณ์ประโยชน์ที่เราเจริญแล้ว. บทว่า ทกฺขิณ ปาทมุทฺธริ
แปลว่า ยกพระบาทเบื้องขวา. ปาฐะว่า กตปทกฺขิโณ ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
บทว่า ชินปุตฺตา ได้แก่ สาวกของพระศาสดาทีปังกร. บทว่า เทวา
มนุสฺสา อสุรา จ อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุ ความว่า ท่านเหล่านี้แม้ทั้ง
หมดมีเทวดาเป็นต้น ทำประทักษิณเรา ๓ ครั้ง บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ตั้ง
อัญชลีไว้เป็นอย่างดี ไหว้แล้วก็กลับ แลดูบ่อย ๆ แล้วชมด้วยสดุดีนานาประการ
ที่มีอรรถพยัญชนะอันไพเราะแล้วหลีกไป. ปาฐะว่า นรา นาคา จ คนฺธพฺพา
อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ทสฺสน เม อติกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าล่วงทัศนวิสัยของเราไปแล้ว. ปาฐะว่า ชหิเต ทสฺสนูปจาเร ดังนี้ก็มี.
บทว่า สสงฺเฆ ได้แก่ พร้อมกับพระสงฆ์ ชื่อว่า สสังฆะ พร้อมกับพระ-
สงฆ์นั้น. บทว่า สยนา วุฏฺหิตฺวา ได้แก่ ลุกขึ้นจากตม อันเป็นที่ ๆ
ตนนอนลงแล้ว. บทว่า ปลฺลงฺก อาภุชึ ความว่า ทำบัลลังก์คือขัดสมาธิ
นั่งเหนือกองดอกไม้. ปาฐะว่า หฏฺโ หฏฺเน จิตฺเตน อาสนา วุฏฺหึ
ตทา ดังนี้ก็มี. ปาฉะนั้น มีอรรถง่าย.
บทว่า ปีติยา จ อภิสฺสนฺโน ได้แก่ อันปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว.
บทว่า วสีภูโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. บทว่า ณาเน ได้แก่ รูปาวจร
ฌานและอรูปาวจรฌาน. บทว่า สหสฺสิยมฺหิ แปลว่า หมื่น. บทว่า โลกมฺหิ
ได้แก่ ในโลกธาตุ. บทว่า เม สมา ได้แก่ เสมือนเรา. พระองค์ตรัสโดยไม่
แปลกว่า ผู้ที่เสมอไม่มี บัดนี้เมื่อจะทรงกำหนดความนั้นนั่นแลจึงตรัสว่า ไม่มีผู้
เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทธิธมฺเมสุ ความ
ว่า ในอิทธิธรรม ๕. บทว่า ลภึ แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า อีทิส สุข
ได้แก่ โสมนัสเช่นนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ครั้งนั้น สุเมธดาบส ฟังพยากรณ์
ของพระทศพลแล้ว สำคัญความเป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือแล้วก็มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
หัวใจเบิกบาน มหาพรหมในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ เคยเห็น
อดีตพระพุทธเจ้ามา เพื่อประกาศความเที่ยงแท้ไม่แปรผันแห่งพระดำรัสของ
พระตถาคต เพราะเห็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในการพยากรณ์นิยตพระโพธิสัตว์
เมื่อทรงแสดงคำที่เทวดาทั้งหลายแสดงความยินดีกะเรา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้
จึงตรัสว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺห เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺห ได้แก่ ในการ
นั่งขัดสมาธิของเรา. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ทสสหสฺสาธิวา-
สิโน ได้แก่ มหาพรหมทั้งหลายที่อยู่ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า ยา ปุพฺเพ
ได้แก่ ยานิ ปุพฺเพ คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวลบวิภัตติ. บทว่า ปลฺลงฺก-
วรมาภุเช ได้แก่ ในการนั่งขัดสมาธิอย่างดี. บทว่า นิมิตฺตานิ ปทิสฺสนฺติ
ความว่า นิมิตทั้งหลาย ปรากฏแล้ว เมื่อควรจะกล่าวคำเป็นอดีตกาล ก็กล่าว
คำเป็นปัจจุบันกาล ถึงคำที่กล่าวเป็นปัจจุบันกาลแต่ก็ควรถือความเป็นอดีตกาล.
บทว่า ตานิ อชฺช ปทิสฺสเร ความว่า นิมิตเหล่าใด เกิดขึ้นแล้วในการ
ที่นิยตพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิแม้ในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกัน
อยู่ในวันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนทีเดียว. แต่มิใช่
นิมิตเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า นิมิตเหล่านั้นก็เห็นกันอยู่ในวันนี้ พึง
ทราบว่า ท่านกล่าวก็เพราะเสมือนนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้น.
บทว่า สีต แปลว่า ความเย็น. บทว่า พฺยปคต แปลว่า ไปแล้ว
ไปปราศแล้ว. บทว่า ตานิ ความว่า ความเย็นก็คลายไปความร้อนก็ผ่อนไป
บทว่า นิสฺสทฺทา ได้แก่ ไม่มีเสียง ไม่อึกทึก. บทว่า นิรากุลา
แปลว่า ไม่วุ่นวาย. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น สนฺทนฺติ
ได้แก่ ไม่นำไป ไม่ไหลไป. บทว่า สวนฺติโย แปลว่า แม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า
ตานิ ได้แก่ ไม่พัดไม่ไหล. บทว่า ถลชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดที่ต้นไม้ตาม
พื้นดินและบนภูเขา. บทว่า ทกชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ. บทว่า ปุปฺผนฺติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
ได้แก่ บานแล้วแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน. คำเป็นปัจจุบันลงในอรรถ
อดีตกาล พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า เตปชฺช
ปุปฺผิตานิ ความว่า ดอกไม้แม้เหล่านั้น บานแล้วในวันนี้.
บทว่า ผลภารา ได้แก่ ทรงผล. บทว่า เตปชฺช ตัดบทว่า เตปิ
อชฺช ท่านกล่าวว่า เตปิ โดยลิงควิปลาส เพราะท่านกล่าวว่า ลตา วา
รุกฺขา วา. บทว่า ผลิตา แปลว่า เกิดผลแล้ว. บทว่า อากาสฏฺา จ
ภุมฺมฏฺา ได้แก่ ไปในอากาศ และที่ไปบนแผ่นดิน. บทว่า รตนานิ ได้
แก่ รัตนะทั้งหลาย มีแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า โชตสฺติ แปลว่า ส่องแสงสว่าง.
บทว่า มานุสฺสกา ได้แก่ เป็นของมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่ามานุสสกะของมนุษย์.
บทว่า ทิพฺพา ได้แก่ เป็นของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าทิพพะของเทวดา.
บทว่า ตุริยา ได้แก่ ดนตรี ๕ คือ อาตตะ วิตตะ อาตตะวิตตะ สุสิระและ
ฆนะ. บรรดาดนตรีเหล่านั้น ในดนตรีมีกลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง ดนตรีที่หุ้ม
หนังหน้าเดียวชื่อว่าอาตตะ ดนตรีที่หุ้มหนังสองหน้าชื่อว่าวิตตะ ดนตรีมีพิณ
ใหญ่เป็นต้นที่หุ้มหนังหมด ชื่อว่าอาตตะวิตตะ ดนตรีมีปี่เป็นต้น ชื่อว่าสุสิระ.
ดนตรีมีสัมมตาลเป็นต้น ชื่อว่าฆนะ. บทว่า วชฺชนฺติ ได้แก่ บรรเลงแล้ว
โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง คำที่เป็นปัจจุบันกาล พึงทราบว่าใช้ในอรรถ
อดีตกาล แม้ในคำเช่นนี้ต่อๆ ไป ก็นัยนี้. บทว่า อภิรวนฺติ ความว่า ร้องดัง
บันลือลั่นเหมือนดนตรีทีผู้ฉลาดบรรเลงแล้ว ประโคมแล้ว ขับร้องแล้ว.
บทว่า วิจิตฺตปุปฺผา ได้แก่ ดอกไม้ทั้งหลาย มีกลิ่นและสีต่าง ๆ อัน
งดงาม. บทว่า อภิวสฺสนฺติ แปลว่า ตกลงแล้ว อธิบายว่าหล่นแล้ว. บทว่า
เตปิ ความว่า ดอกไม้อันงดงามแม้เหล่านั้น ตกลงอยู่ก็เห็นกันในวันนี้ อธิบาย
ว่าอันหมู่เทวดาและพรหมโปรยลงมาอยู่. บทว่า อภิรวนฺติ ได้แก่ บันลือลั่น.
บทว่า นิรเย ได้แก่ ในนรกทั้งหลาย. บทว่า ทสสหสฺเส ได้แก่ หลายหมื่น.
บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สงบ อธิบายว่าถึงความสงบ. บทว่า ตารกา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า เตปิ อชฺช ปทิสฺสนฺติ ความว่า ดวงดาวแม้
เหล่านั้น ก็เห็นกันกลางวันวันนี้ เพราะดวงอาทิตย์สุกใสไร้มลทิน.
บทว่า อโนวฏฺเน ได้แก่ คำว่า อโนวฏฺเ นี้เป็นตติยาวิภัตติลงใน
อรรถสัตตมีวิภัตติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อโนวฏฺเ ได้แก่ ไม่มีอะไรแม้ปิด
กั้น. คำว่า น เป็นเพียงนิบาตเหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สุตฺวา น ทูตวจน
ฟังคำของทูตดังนี้. บทว่า ตมฺปชฺชุพฺภิชฺชเต ความว่า น้ำแม้นั้นก็พุขึ้นใน
วันนี้ อธิบายว่าแทรกพุ่งขึ้น. บทว่า มหิยา ได้แก่ แผ่นดิน เป็นปัญจมีวิภัตติ.
บทว่า ตาราคณา ได้แก่ หมู่ดาวทั้งหมด มีดาวเคราะห์และดาวนักษัตร
เป็นต้น. บทว่า นกฺขตฺตา ได้แก่ ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า คคนมณฺฑเล
ความว่า ส่องสว่างทั่วมณฑลท้องฟ้า. บทว่า พิลาสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน
ปล่องมีงู พังพอน จรเข้และเหี้ย เป็นต้น. บทว่า ทรีสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน
แอ่งน้ำ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นิกฺขมนฺติ ได้แก่ ออกไป
แล้ว. บทว่า สกาสยา แปลว่า จากที่อยู่ของตนๆ ปาฐะว่า ตทาสยา ดังนี้ก็มี
ปาฐะนั้นมีความว่า ในครั้งนั้นคือในกาลนั้น จากที่อยู่คือปล่อง. บทว่า ฉุทฺธา
ได้แก่ อันเขาซัดไปแล้ว ขึ้นไปแล้ว คือออกไป.
บทว่า อรตี ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า สนฺตุฏฺา ได้แก่สัน-
โดษด้วยสันโดษอย่างยิ่ง. บทว่า วินสฺสติ ได้แก่ ไปปราศ. บทว่า ราโค
ได้แก่กามราคะ. บทว่า ตทา ตนุ โหติ ได้แก่ มีประมาณน้อย ทรงแสดง
ปริยุฏฐานกิเลสด้วยบทนี้. บทว่า วิคตา ได้แก่ สูญหาย. บทว่า ตทา ได้แก่
ครั้งก่อน อธิบายว่า ครั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ. บทว่า น ภวติ
แปลว่า ไม่มี. บทว่า อชฺชเปต ความว่า แม้ครั้งท่านนั่งขัดสมาธิในวันนี้
ภัยนั้นก็ไม่มี. บทว่า เตน ลิงฺเคน ชานาม ความว่า พวกเราทุกคนย่อม
รู้ด้วยเหตุที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
บทว่า อนุทฺธสติ ได้แก่ ไม่ฟุ้งขึ้น. บทว่า อนิฏฺคนฺโธ ได้แก่
กลิ่นเหม็น. บทว่า ปกฺกมติ แปลว่า หลีกไปแล้ว ปราศไปแล้ว. บทว่า
ปวายติ แปลว่า พัดไปแล้ว. บทว่า โสปชฺช ได้แก่ กลิ่นทิพย์แม้นั้น ในวันนี้.
บทว่า ปทิสฺสนฺติ ได้แก่ เห็นกันแล้ว. บทว่า เตปชฺช ได้แก่ เทวดา
ทั้งหมดแม้นั้นในวันนี้. ศัพท์ว่า ยาวตาเป็นนิบาตลงในอรรถว่ากำหนด ความว่า
มีประมาณเท่าใด. บทว่า กุฑฺฑา แปลว่า กำแพง. บทว่า น โหนฺตาวรณา
ได้แก่ ทำการขวางกั้นไม่ได้. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งก่อน. บทว่า
อากาสภูตา ได้แก่ กำแพงบานประตูและภูเขาเหล่านั้น ไม่อาจทำการขวางกั้น
ทำไว้ข้างนอกได้ อธิบายว่าอากาศกลางหาว. บทว่า จุติ ได้แก่ มรณะ. บทว่า
อุปฺปตฺติ ได้แก่ ถือปฏิสนธิ. บทว่า ขเณ ได้แก่ ในขณะพระโพธิสัตว์ทั้ง
หลายนั่งขัดสมาธิในกาลก่อน. บทว่า น วิชฺชติ แปลว่า ไม่มีแล้ว . บทว่า
ตานิปชฺช ความว่า การจุติปฏิสนธิ ในวันนี้แม้เหล่านั้น. บทว่า มา นิวตฺติ
ได้แก่ จงอย่าถอยหลัง. บทว่า อภิกฺกม ได้แก่ จงก้าวไปข้างหน้า คำที่เหลือ
ในเรื่องนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
ต่อจากนั้น สุเมธบัณฑิต สดับคำของพระทีปังกรทศพล และของ
เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็เกิดอุตสาหะ อย่างยิ่งยวด คิดว่า ธรรมดาพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่โมฆะเปล่าประโยชน์ พระวาจาของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่เปลี่ยนเป็นอื่น. เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่เหวี่ยงไปในอากาศก็ตก
แน่นอน สัตว์ที่เกิดมาแล้วก็ตาย เมื่ออรุณขึ้นดวงอาทิตย์ก็ขึ้นสู่ท้องฟ้า ราชสีห์
ออกจากที่อยู่ ก็บันลือสีหนาท สตรีมีครรภ์หนักก็ปลงภาระแน่นอน เป็น
อย่างนี้โดยแท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็แน่นอนไม่
โมฆะเปล่าประโยชน์ ฉันนั้นเหมือนกัน เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และคำของ
เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ทั้งสองแล้ว ก็ยินดีร่าเริงเบิก
บานใจ ในครั้งนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้ง
หลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ก้อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกที่พื้นดิน
แน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ความตายของสัตว์ทั้งหมด เที่ยงแท้ แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยง
แท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
เมื่อสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาทแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น
คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระแน่นอน ฉันใด
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่
นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี
เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส วจน สุตฺวา ทสสหสฺสีน
จูภย ความว่า สดับพระดำรัสของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า และของ
เทวดาในหมื่นจักวาล. บทว่า อุภย ได้แก่ อุถเยส คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ หรือ คำทั้งสอง. บทว่า เอว จินฺเตสห ได้แก่
เราคิดอย่างนี้.
บทว่า อเทฺวชฺฌวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เป็นสองอย่าง อธิบาย
ว่า มีพระดำรัสเป็นอย่างเดียว. ปาฐะว่า อจฺฉิทฺทวจนา ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น
มีความว่าไม่มีโทษ. บทว่า อโมฆวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เท็จ. บทว่า
วิตถ ความว่า คำเท็จไม่มี. บทว่า ธุว พุทฺโธ ภวามห พึงทราบว่าท่าน
ทำเป็นคำปัจจุบันกาล โดยเป็นเรื่องแน่นอนและเป็นเรื่องมีโดยแท้ว่า เราจัก
เป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว.
บทว่า สูริยุคฺคมน ได้แก่ การอุทัยของดวงอาทิตย์หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า ธุวสสฺสต ได้แก่ มีความเป็นโดยส่วนเดียว และเที่ยง
แท้. บทว่า นิกฺขนฺตสยนสฺส ได้แก่ ผู้ออกไปจากที่นอน. บทว่า
อาปนฺนสฺตฺตาน ได้แก่ สัตว์ผู้มีครรภ์หนัก อธิบายว่าผู้มีครรภ์. บทว่า
ภารโมโรปน ได้แก่ ภารโอโรปน อธิบายว่า การปลงลงซึ่งครรภ์. ม
อักษรทำการสนธิบท คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
สุเมธบัณฑิต ทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เรานั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้ เพื่อใคร่ครวญถึงพุทธการกธรรมทั้งหลาย จึงเลือกเฟ้นธรรมธาตุทั้งสิ้น
โดยลำดับว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย อยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง
ในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งหลาย ก็เห็นทานบารมีอันดับแรก ที่พระโพธิสัตว์ทั้ง
หลายเก่าๆ ในกาลก่อนช่องเสพเป็นประจำกันมา จึงสอนพระองค์เองอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับตั้งแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีก่อน เหมือนอย่าง
ว่า หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง ย่อมหลั่งน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่นำน้ำกลับเข้าไป
ฉันใด ท่านก็ไม่พึงเสียดายทรัพย์หรือยศ บุตรภรรยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย
เมื่อให้ทุกอย่างที่ยาจกต้องการๆ กันไม่เหลือไว้เลยในที่ทั้งปวง ก็จักนั่งเป็น
พระพุทธเจ้าที่โคนโพธิพฤกษ์ ดังนี้แล้วอธิษฐานทานบารมีไว้มั่นเป็นอันดับ
แรก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เอาเถิด เราจักเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม ทางโน้น
ทางนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่
ธรรมธาตุยังเป็นไป.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นทานบารมีเป็น
อันดับแรก เป็นทางใหญ่ ที่พระผู้แสวงคุณใหญ่
หลายพระองค์ก่อน ๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทาน ทานบารมีนี้ไว้มั่นเป็นอันดับ
แรกก่อน จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการจะ
บรรลุพระโพธิญาณ.
หม้อที่เต็มด้วยน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งวางคว่ำปาก
ลงก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่รักษาน้ำไว้ในหม้อ
นั้น แม้ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
ท่านเห็นยาจก ทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูง แล้ว
จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉัน
นั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ.
บทว่า พุทฺธกเร ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า ธรรม
๑๐ ประการมี ทานปารมิตา เป็นต้น ชื่อว่าธรรมทำความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า วิจินามิ ได้แก่ จักเลือกเฟ้น อธิบายว่า จักทดสอบ จักสอบสวน.
บทว่า อิโต จิโต ได้แก่ ช้างโน้น ข้างนี้. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน
ความว่า จะเลือกเฟ้นในที่นั้นๆ. บทว่า อุทฺธ ได้แก่ ในเทวโลก. บทว่า
อโธ ได้แก่ ในมนุษยโลก. บทว่า ทสทิสา ได้แก่ ในสิบทิศ อธิบายว่า
พุทธการกธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในทิศ
ใหญ่ทิศน้อย. คำว่า ยาวตา ในคำว่า ยาวตา ธมฺมธาตุยา นี้ เป็นคำกล่าว
กำหนด. บทว่า ธมฺมธาตุยา ได้แก่ แห่งสภาวธรรม พึงเห็นว่าเติมคำที่เหลือ
ว่า ปวตฺตนี แปลว่า ความเป็นไปแห่งสภาวธรรม ท่านอธิบายไว้อย่างไร
ท่านอธิบายไว้ว่า จักเลือกเฟ้นเพียงเท่าที่สภาวธรรม คือธรรมส่วนกามาวจร
รูปาวจรเป็นไป.
บทว่า วิจินนฺโต ได้แก่ ทดสอบ สอบสวน. บทว่า ปุพฺพเกหิ
ได้แก่ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ. บทว่า อนุจิณฺณ ได้แก่
สะสม ซ่องเสพ. บทว่า สมาทิย ได้แก่ จงทำการสมาทาน อธิบายว่า จง
สมาทานอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราควรบำเพ็ญทานบารมีนี้ก่อน. บทว่า ทาน-
ปารมิต คจฺฉ ได้แก่ ถึงทานบารมี. อธิบายว่าทำให้เต็ม. บทว่า ยทิ โพธึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
ปตฺตุมิจฺฉสิ ความว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าไปโคนโพธิ์แล้วบรรลุ พระ-
อนุตตรสัมมาสัมโพธิ. บทว่า ยสฺส กสฺสจิ ความว่า เต็มด้วยน้ำหรือน้ำนม
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อประกอบ สัมปุณฺณ ศัพท์ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์
ประสงค์ฉัฏฐีวิภัตติ หรือฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ความว่า ด้วยน้ำ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อโธกโต ได้แก่ อันเขาคว่ำปากลง. บทว่า น
ตตฺถ ปริรกฺขติ ได้แก่ รักษาไว้ไม่ได้ในการไหลของน้ำนั้น อธิบายว่าหลั่ง
น้ำออกไม่เหลือเลย. บทว่า หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิเม ได้แก่ ชั้นต่ำชั้นกลางและ
ชั้นประณีต ม อักษรทำบทสนธิ. บทว่า กุมฺโภ วิย อโธกโต ได้แก่
เหมือนหม้อที่วางคว่ำปาก. สุเมธบัณฑิตสอนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อน
สุเมธ ท่านพบคนยาจกที่เข้าไปหา จงบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคทรัพย์
ทั้งหมดของตนไม่ให้เหลือ อุปบารมีด้วยการบริจาคอวัยวะ และปรมัตถปารมี
ด้วยการบริจาคชีวิต.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า ไม่ควรมีแต่พุทธ-
การกธรรมเพียงเท่านี้ ก็เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสอง จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนสุเมธบัณฑิตตั้งแต่นี้ไป ท่านควรบำเพ็ญศีลบารมี ขึ้นชื่อว่าเนื้อจามรีไม่อาลัย
แม้แต่ชีวิต ย่อมรักษาขนหางของตนอย่างเดียว ฉันใด ตั้งแต่นี้ไป ท่านไม่
อาลัยแม้แต่ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว ฉันนั้น แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า จึง
อธิษฐานศีลบารมีอันดับสองไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้
เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วย
อบรมบ่มโพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นศีลบารมีอันดับ
สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พา
กันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนหางที่ติดอยู่ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด
ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในฐานะ ๔ จง
บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ได้แก่ น หิ เอเตเยว มิใช่
พุทธธรรมเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า โพธิปาจนา ได้แก่ บ่มมรรค หรือ
อบรมบ่มพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุติย สีลปารมึ ความว่า ธรรมดาศีล
เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทุกอย่าง ผู้ตั้งอยู่ในศีล ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม
ทั้งหลาย ทั้งย่อมได้คุณส่วนโลกิยะและโลกุตระทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึง
เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสองว่า ควรบำเพ็ญศีลบารมี.
บทว่า อาเสวิตนิเสวิต ได้แก่ เจริญแล้วและทำให้มากแล้ว. บทว่า
จมรี ได้แก่ เนื้อจามรี. บทว่า กสฺมิญฺจิ ได้แก่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง คือ
ในต้นไม้เถาวัลย์และเรียวหนามเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปฏิลคฺคิต
แปลว่า ติดอยู่. บทว่า ตตฺถ ความว่า ขนหางติดอยู่ในที่ใด มันก็ยืนยอมตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ในที่นั้น. บทว่า น วิโกเปติ ได้แก่ ไม่ตัด. บทว่า วาลธึ ได้แก่ ไม่ตัด
ขนหางไป อธิบายว่า ยอมตายในที่นั้นนั่นแหละ.
บทว่า จตูสุ ภูมีสุ สีลานิ ความว่า ศีลทั้งหลายแจกเป็น ๔
ฐานะ คือปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจย-
สันนิสสิตศีล. แต่เมื่อว่าโดยภูมิ ศีล ๔ แม้นั้นนั่นแล นับเนื่องในภูมิ ๒
นั่นแล. บทว่า ปริปูรย ได้แก่ จงให้บริบูรณ์ โดยไม่มีขาดเป็นท่อน เป็นช่อง
ด่างพร้อยเป็นต้น. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า จมรี วิย
ได้แก่ เหมือนเนื้อจามรี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้ ก็เห็นเนกขัมมบารมีเป็นอันดับสาม จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี บุรุษที่อยู่ใน
เรือนจำมานาน ย่อมไม่รักเรือนจำนั้น ที่แท้ก็เอือมระอา ไม่อยากอยู่ แม้
ฉันใด แม้ตัวท่านก็จงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ จงเอือมระอาอยากพ้น
ไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
เป็นดังนั้น ท่านก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้. แล้วอธิษฐานเนกขัมมบารมีอันดับ
สามไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี
อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ
คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราค ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด
ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้
ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ
พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.
บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น
ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่
เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมี ท่านไม่พึงเว้น
คนชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงไรๆ เข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน แล้วถามปัญหา
ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายมีตระกูลต่ำเป็นต้นไร ๆ
เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้เร็วฉันใด
แม้ท่านก็จงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่านถามปัญหา ก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น
เหมือนกัน แล้วอธิษฐานปัญญาบารมีอันดับสี่ไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี
อันดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่น
จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ
ตระกูลชั้นกลางและตระกูลชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้ง
หลายเลย ดังนั้นจึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป
ได้ ฉันใด.
ท่านสอบถามชนผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งปัญญาบารมี
แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต.
บทว่า หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง
ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า
ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ-
ฉนฺโต ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้น ๆ สอบถามโดยนัย
เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี
โทษดังนี้. บทว่า พุธ ชน ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน
ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า
ปญฺาปารมิต คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน
กันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน
เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี
ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว
ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ
ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้
อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นวิริยบารมีอันดับ
ห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน วิริยบารมีอันดับห้านี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน
อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนวิริโย แปลว่า มีความเพียรไม่ย่อ
หย่อน. บทว่า สพฺพภเว ได้แก่ ในภพที่เกิดแล้วเกิดอีก. อธิบายว่า ในภพ
ทั้งปวง, ปาฐะว่า อารทฺธวิริโย หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มี
คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลาย มิใช่พึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นขันติบารมีอันดับหกจึงสอนตนเอง
อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญขันติบารมี ต้อง
อดทนทั้งในการยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายย่อมทิ้ง
ของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ทำความรัก
หรือความขัดเคือง ด้วยเหตุนั้น ย่อมอดทนอดกลั้นได้ทั้งนั้น ฉันใด แม้ตัวท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
ก็ต้องอดทนในการยกย่องและดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันจึง
จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็อธิษฐานขันติบารมีอันดับหกไว้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ
หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมี อันดับหกนี้ไว้ให้มั่น
ก่อน ท่านจงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี
ยินร้าย ฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องอดทนการยกย่องและการดู
หมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่ง
ขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในขันติบารมีนั้น. บทว่า
อเทฺวชฺฌมานโส ได้แก่ มีใจส่วนเดียว. บทว่า สุจิมฺปิ ได้แก่ ของสะอาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
มีจันทน์หญ้าฝรั่นของหอมดอกไม้เป็นต้นบ้าง. บทว่า อสุจิมฺปิ ได้แก่ ของ
ไม่สะอาดมีซากงู สุนัข คนและมูตร น้ำลาย น้ำมูกเป็นต้นบ้าง บทว่า สหติ
ได้แก่ อดกลั้น. บทว่า นิกฺเขป ได้แก่ นิกฺขิตฺต อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า
ปฏิฆ ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า ตยา คือ เพราะพฤติการณ์นั้น หรือ
เพราะเหตุที่ทิ้งของนั้น. ปาฐะว่า ปฏิฆ ทย ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า
ไม่ทำความยินดียินร้าย เพราะการทั้งของนั้น. บทว่า สมฺมานาวมานกฺขโม
ความว่า แม้ตัวท่านก็จงทนการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง. พุทธบริษัท
ทั้งหลาย สวดกันว่า ตเถว ตฺวมฺปิ สมฺภเว สมฺมานนวิมานกฺขโม
ดังนี้ก็มี ปาฐะว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี ความว่า ถึงโดย
บำเพ็ญขันตินั้นให้เป็นบารมี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล. ต่อแต่
นี้ไป จักไม่กล่าวความมีประมาณเท่านี้ กล่าวแต่ที่แปลกกัน แสดงปาฐะอื่น
ไป.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายมิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับเจ็ด จึงสอนตนเอง
อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้แต่สัจบารมี
เมื่อสายฟ้าแม้ตกลงตรงกระหม่อม ท่านก็อย่าพูดเท็จทั้งรู้ โดยอคติมีฉันทาคติ
เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นอาทิ ธรรมดาดาวประกายพรึก ถึงละทาง
โคจรของตนในฤดูทุกฤดู ก็ไม่โคจรไปทางอื่น โคจรอยู่ในทางของตนเท่านั้น
แม้ฉันใด ถึงตัวท่านละสัจจะก็ไม่พูดเท็จฉันนั้นเหมือนกัน ก็จักเป็นพระพุทธ-
เจ้าได้ แล้วอธิษฐานสัจบารมีอันดับเจ็ดไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
ไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน
ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน
ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจบารมีแล้วก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจบารมี. บทว่า
อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประ-
กายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา
เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น
เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย
ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย
อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า
อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า
น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
โคจรไปนอกวิถีโคจรของตนในฤดูนั้น ๆ คือ โคจรไปทิศปัจฉิม ๖ เดือน
โคจรไปทิศบูรพา ๖ เดือน. อีกนัยหนึ่ง ยา มีขิง ดีปลี พริกเป็นต้น ชื่อว่า
โอสธี. บทว่า น โวกฺกมติ ความว่า ยาขนานใด ๆ สามารถให้ผล ยา
ขนานนั้น ๆ ให้ผลแล้ว ไม่ให้ผลของตัวเองก็ไม่สูญหายไป. บทว่า วีถิโต
ได้แก่ จากทางไป. อธิบายว่า ยาแก้ดีก็รักษาดี แก้ลมก็รักษาลม แก้เสมหะ
ก็รักษาเสมหะ. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึง
สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่
อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น
ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตน
เท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็น
พระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น
และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้นก็
หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี
อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า
อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี
เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต
สุปฺปติฏฺิโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า
สกฏฺาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่
นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า
แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง
บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์
เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ
ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด
ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน อธิษฐานเมตตาบารมีอันดับเก้าไว้นั่นแล
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน
ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยังใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมี อันดับเก้านี้ไว้มั่น
ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง
การบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งใน
คนดีและคนชั่ว ย่อมพัดพาซึ่งมลทินคือ ธุลีไป แม้
ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูล และชนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสโม โหหิ ได้แก่ จงเป็นผู้ไม่มีผู้
เสมือนด้วยเมตตาภาวนา. ในคำนั้น ปาฐะว่า ตฺว สมสโม โหหิ ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
ปาฐะนั้น มีความง่ายแล. บทว่า สม ได้แก่ ชั่งได้. บทว่า ผรติ ได้แก่ ถูก
ต้อง. บทว่า ปวาเหติ ได้แก่ ชำระ. บทว่า รโช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า
มล ได้แก่ มลทินมีมลทินคือเหงื่อเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นที่สรีระ ปาฐะว่า รชมล
ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิตาหิเต ได้แก่ ผู้มีประโยชน์
และผู้ไม่มีประโยชน์ อธิบายว่ามิตรและอมิตร. บทว่า เมตฺตาย ภาวย ได้
แก่จงเจริญเพิ่มพูนเมตตา คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายจะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้นหามิได้ เห็นอุเบกขาบารมีอับดับสิบ จึงสอนตน
เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึง
วางตัวเป็นกลาง ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์ ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมเป็นกลางในผู้ใส่
ของสะอาดบ้างแม้ฉันใด ถึงตัวท่าน เมื่อวางตัวเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็
จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ก็อธิษฐานอุเบกขาบารมีอันดับสิบไว้มั่นด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบ
รมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมี
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระ-
โพธิญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งของที่เขาทิ้ง
ลง ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่างเว้นความ
ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ท่านจงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
คันตาชั่งที่เขาชั่งเท่ากัน ก็ตั้งอยู่เท่ากันไม่หกลง ไม่กระดกขึ้น ฉันใด แม้
ตัวท่านก็ต้องเป็นเสมือนตาชั่งในสุขและทุกข์ทั้งหลาย จึงจักบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า โกปานุนยวชฺชิตา ได้แก่ เว้นความ
ยินดียินร้าย. ปาฐะว่า ทยาโกปวิวชฺชิตา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือน
กัน คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในขันติบารมีนั่นแล.
แต่นั้น สุเมธบัณฑิต ครั้นเลือกเฟ้นบารมีธรรม ๑๐ นี้แล้ว ต่อจาก
นั้น ก็คิดว่า ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้าอันช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ
อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงบำเพ็ญในโลกนี้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ไม่มียิ่งไป
กว่า แต่ว่าบารมีเหล่านี้ ไม่มีอยู่แม้ในอากาศเบื้องบน ไม่มีอยู่แม้ในทิศทั้งหลาย
มีทิศบูรพาเป็นต้น แต่ว่าตั้งอยู่ในระหว่างเนื้อหัวใจของเราเท่านั้น เห็นว่า
บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหัวใจตนอย่างนี้แล้ว ก็อธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด
ไว้มั่น เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็พิจารณาทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม จับปลายเอามา
ชนต้น จับต้นเอามาชนปลาย จับกลางเอามาชนทั้งสองข้าง จับปลายทั้งสองข้าง
เอามาชนกลาง บริจาคสิ่งของภายนอกชื่อ บารมี บริจาคอวัยวะ ชื่อ อุปบารมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-
บารมี ๑๐ รวมบารมี ๓๐ ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ
สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง
หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว
ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น
ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ
เดชแห่งธรรม.
ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ
อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา
ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า
บารมี ๑๐ ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธ ความว่า ที่สูงไปกว่า
บารมี ๑๐ นั้นไม่มี. บทว่า อญฺตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม
คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี ๑๐ นั้น ไม่มี.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี ๑๐ เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺห แปลว่า จงตั้งอยู่
ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
บทว่า อิเม ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า สมฺมสโต ได้แก่
ทรงสอบสวน พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทระ. บทว่า สภาวสรสาลฺก-
ขเณ ความว่า ทรงพิจารณาโดยลักษณะที่มีกิจคือหน้าที่กล่าวคือสภาวะความ
จริง. บทว่า ธมฺมเตเชน ได้แก่ ด้วยเดชคืออำนาจแห่งการรู้จักเลือกเฟ้น
บารมี. รัตนะเรียกว่า วสุ ในบทว่า วสุธา. ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งรัตนะนั้น
หรือรัตนะทรงอยู่ในธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วสุธา ทรง
ไว้ซึ่งรัตนะหรือเป็นที่ทรงรัตนะ. ธรรมชาตินั้นคืออะไร คือเมทนีแผ่นดิน.
บทว่า ปกมฺปถ แปลว่าไหวแล้ว อธิบายว่าก็เมื่อสุเมธบัณฑิตกำลังเลือกเฟ้น
บารมีทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งญาณของสุเมธบัณฑิตนั้น หมื่นแผ่นปฐพีก็กัมป-
นาท.
บทว่า จลติ ได้แก่ ไหว มี ๖ ประการ. บทว่า รวติ ได้แก่ บันลือ
ส่งเสียงร้อง. บทว่า อุจฺฉุยนฺตว ปิฬิต แปลว่า เหมือนยนตร์หีบอ้อย
บีบอ้อย. ปาฐะว่า คุฬยนฺตว ปีฬิต ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า เตลยนฺเต แปลว่าในยนตร์ที่คั้นน้ำมัน . บทว่า ยถา จกฺก ได้แก่
เหมือนยนตร์ที่มีล้อใหญ่ของผู้ใช้ยานมีล้อ [ล้อรถ-เกวียน]. บทว่า เอว
ความว่า ยนตร์ที่ใช้ลูกกลมคั้นน้ำมัน ย่อมหมุน ย่อมสั่น ฉันใด เมทนีคือแผ่น
ดินนี้ก็สั่น ฉันนั้น. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.
เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่อย่างนี้ มนุษย์ชาวรัมมนครที่เข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไม่อาจยืนอยู่ได้ ก็ล้มสลบเหมือนต้นสาละใหญ่ ถูกยุคันธวาตะ
พัดกระหน่ำ ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น ก็หมุนกระทบกันและกันแหลกเป็นจุรณ
ไป. มหาชนหวาดกลัว ก็เข้าไปหาพระศาสดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่รู้เหตุนี้ว่า นี้เป็นอาการหมุนตัวของนาค หรือของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
ภูต ยักษ์ เทวดาพวกหนึ่งหรือพระเจ้าข้า อนึ่งเล่ามหาชนนี้ทั้งหมดถูกภัยรบกวน
จักเป็นความชั่วของโลกนี้ หรือเป็นความดีพระเจ้าข้า ขอโปรดตรัสบอกเหตุนี้
ด้วยเถิด.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของชนเหล่านั้น แล้วตรัสว่า พวก
ท่านอย่ากลัวกันเลย อย่าคิดอะไรเลย ไม่มีภัยที่เกิดจากเหตุการณ์นี้แก่พวก
ท่านดอก. ผู้ใดเราพยากรณ์ว่า วันนี้ สุเมธบัณฑิตจักเป็นพระพุทธเจ้านาม
ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล ผู้นั้นกำลังพิจารณาบารมีทั้งหลายในบัดนี้ ด้วย
เดชแห่งธรรมของท่านผู้กำลังพิจารณานั้น ทั่วหมื่นโลกธาตุจึงไหวและส่งเสียง
ร้องพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ตัวสั่นงันงกอยู่
ในที่นั้น พากันนอนสลบอยู่เหนือพื้นดิน.
หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน กระทบกัน
และกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.
มหาชนทั้งหลาย หวาดสะดุ้งกลัวหมุนวนมีใจ
ถูกบีบ พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดีเหตุชั่วจักมีแก่
โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลกหรือ ขอพระ-
องค์โปรดทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.
ครั้งนั้นพระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชนเหล่า
นั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัว
ในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อนๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพ
แล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมคือพุทธภูมิไม่
เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น หมื่นแผ่นปฐพีนี้ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลกจึงไหว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า
อาสิ แปลว่า ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ยา ตทา ปริสา อาสิ ดังนี้ก็มี ปาฐะ
นั้นมีความว่า บริษัทใดตั้งอยู่ในที่นั้น. บทว่า ปเวธมานา แปลว่า ไหว
อยู่. บทว่า สา ได้แก่ บริษัทนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เข้าเฝ้านั้น.
บทว่า เสติ แปลว่า นอนแล้ว.
บทว่า ฆฏา แปลว่า แห่งหม้อทั้งหลาย คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า หลายพันแห่งหม้อทั้งหลาย. บทว่า สญฺจุณฺณม-
ถิตา แปลว่า เป็นจุรณด้วย แหลกด้วย ความว่า แหลกเป็นจุรณ. บทว่า
อญฺญมญฺ ปฆฏฺฏิตา แปลว่า กระทบซึ่งกันและกัน. บทว่า อุพฺพิคฺคา
ได้แก่ มีใจหวาด. บทว่า ตสิตา ได้แก่ เกิดสะดุ้ง. บทว่า ภีตา ได้แก่ กลัว
ภัย. บทว่า ภนฺตา ได้แก่ มีใจแปรปรวน อธิบายว่า มีใจหมุนไปผิดแล้ว
คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ มา
ประชุมกัน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุปทฺทุโต ได้แก่ ถูกย่ำยี. บทว่า ต วิโนเทหิ ได้แก่ จง
บรรเทา อธิบายว่า จงกำจัดภัยที่คุกคามนั้น. บทว่า จกฺขุม ได้แก่ ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ ๕. บทว่า เตส ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง
ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺาเปสิ
ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ
แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมห ตัดบทเป็น ย อห หมายถึงสุเมธบัณฑิต.
บทว่า ธมฺม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพก ได้แก่ ของเก่า. บทว่า
ชินเสวต ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์.
บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา
นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว . บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก.
ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระ-
โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว
กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี ๑๐ กระทำ
อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ
เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าเเล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน
ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
เหตุที่แผ่นดินไหวนั้น. ปาฐะว่า ชโน นิพฺพายิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น ง่าย
เหมือนกัน. บทว่า สมาทิยิตฺวา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ อธิบายว่า สมาทาน.
บทว่า พุทฺธคุณ ได้แก่ บารมีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เอ็นดูสรรพสัตว์กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ
เทวดาสิ้นทั้งหมื่นจักรวาล ก็ประชุมกันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น
อันเป็นทิพย์ ก็เปล่งสดุดีมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้
ท่านปรารถนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แทบบาทมูลของพระทีปังกรทศพล ขอ
ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่านโดยไม่มีอันตรายเถิด ภัยหรือความหวาดกลัวใน
ความปรารถนานั้นอย่าได้มีแก่ท่านเลย โรคแม้จำนวนเล็กน้อย ก็จงอย่าเกิดใน
สรีระของท่าน ท่านจงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิ-
ญาณโดยเร็ว ต้นไม้ดอกต้นไม้ผลย่อมออกดอก ออกผลตามฤดูกาล ฉันใด
แม้ตัวท่านก็อย่าล่วงเลยฤดูสมัยนั้นเสีย จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลันเทอญ.
ครั้นเปล่งสดุดีอย่างนี้แล้ว ก็พากันกราบไหว้แล้วกลับไปยังเทวสถานของตนๆ
ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันเทวดาทั้งหลายสดุดีแล้ว ดำริว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐
แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แล้วอธิษฐานความ
เพียรไว้มั่นคง โลดขึ้นสู่อากาศ ไปยังหิมวันตประเทศที่มีคณะฤษี. ด้วยเหตุ
นั้น จึงตรัสว่า
เทวดาถือดอกไม้ทิพย์ มนุษย์ถือดอกไม้มนุษย์
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองโปรยดอกไม้ทั้งหลาย แก่เรา
ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
ก็เทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น พากันแซ่ซ้อง
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ท่านจงได้
ความปรารถนานั้น สมปรารถนาเถิด.
ขอเสนียดจัญไร จงปราศไป ความโศก โรค
จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงสัมผัสพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยเร็วเถิด.
ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบานเมื่อถึงฤดูกาล ฉัน
ใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ท่านก็จงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ-
สถาน ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้
ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้าฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.
ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญเต็มดวง รุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ
ฉันนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น
เหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม ๑๐ ประการ
เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้
ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น
มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย
ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ
ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่
เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่
ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.
บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย,
อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ
ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก
กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า
เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
อันตรายทั้งหลายจงอย่ามี. บทว่า ผุส ได้แก่ จงถึง จงบรรลุ. บทว่า โพธึ
ได้แก่ พระอรหัตมรรคญาณ ถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ควร. บทว่า อุตฺตม
ได้แก่ ประเสริฐสุด พระอรหัตมรรคญาณ ท่านกล่าวสูงสุด เพราะให้พระพุทธ.-
คุณทั้งปวง.
บทว่า สมเย ความว่า เมื่อถึงสมัยออกดอกบานของต้นไม้นั้น ๆ.
บทว่า ปุปฺผิโน ได้แก่ ต้นไม้ดอก. บทว่า พุทฺธญาเณหิ ได้แก่ ด้วยพุทธ-
ญาณ ๑๘. บทว่า ปุปฺผสุ ได้แก่ จงออกดอก. บทว่า ปูรยุ ได้แก่
บำเพ็ญแล้ว . บทว่า พุชฺฌเร ได้แก่ ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ชินโพธิย
ได้แก่ ในความตรัสรู้ของพระชินเจ้าคือของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า
ที่โคนต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปุณฺณมาเย ได้แก่
ในราตรีเพ็ญ. บทว่า ปุณฺณมโน ได้แก่ มีมโนรถเต็มแล้ว.
บทว่า ราหุมุตฺโต ได้แก่ พันจากราหู คือโสพภานุ. บทว่า ตาเปน
ได้แก่ ด้วยแสงร้อนแรง แสงสว่าง. บทว่า โลกา มุจฺจิตฺวา ความว่า เป็น
ผู้อันโลกธรรมฉาบทาไม่ได้แล้ว . บทว่า วิโรจ ได้แก่ จงรุ่งเรือง. บทว่า
สิริยา ได้แก่ ด้วยพุทธสิริ. บทว่า โอสรนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทร.
บทว่า โอสรนฺตุ ได้แก่ จงเข้าไป. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า
สู่สำนักของท่าน. บทว่า เตหิ ได้แก่ อันเทวดาทั้งหลาย. บทว่า
ถุตปฺปสฺตฺโถ ได้แก่ ชมแล้วและสรรเสริญแล้ว หรืออันพระทีปังกรพุทธเจ้า
เป็นต้นที่เทวดามนุษย์ชมแล้ว ทรงสรรเสริญแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันพระ-
พุทธเจ้าที่เทวดามนุษย์ชมแล้วทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ทส ธมฺเม ได้แก่
บารมีธรรม ๑๐. บทว่า ปวน แปลว่า ป่าใหญ่ อธิบายว่า เข้าไปป่าใหญ่ใกล้
ธัมมิกบรรพต. คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาเรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อ มธุรัตถวิลาสินี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
๑. วงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑
ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องอดีตแก่พระสารีบุตรว่า
[๒] เมื่อสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อ อมรนคร
น่าชมชื่นรื่นรมย์.
ไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ เสียง พรั่งพร้อมด้วย
ข้าวน้ำ มีเสียงข้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ.
เสียงอึกทึกด้วยเสียงร้องเชิญบริโภคอาหารว่าเชิญ
กินข้าว เชิญดื่มน้ำ เป็นนครเพียบพร้อมด้วยองค์
ประกอบทุกอย่าง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง.
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ คลาคล่ำ ด้วยชนต่างๆ
มั่งคั่ง เป็นที่อยู่ของคนมีบุญ เหมือนเทพนคร.
ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อสุเมธมีกองทรัพย์
หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอันมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพทถึงฝั่ง
[สำเร็จ] ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ ในศาสนา
ของตน.
ครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับ จึงคิดอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดอีก ความแตกสลายแห่งสรีระ เป็น
ทุกข์ ถูกชราย่ำยีหลงตายก็เป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นสภาพ จำเราจัก
แสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย แต่เกษม.
ถ้ากระไร เราเมื่อไม่ไยดี ไม่ต้องการ ก็ควร
ละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.
ทางนั้น คงมีแน่ ทางนั้น จักไม่มีไม่ได้ จำเรา
จักแสวงหาทางนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.
เมื่อทุกข์มี แม้ชื่อว่าสุข ก็ย่อมมีฉันใด เมื่อภพ
มี สภาวะที่ไม่ใช่ภพ ก็พึงปรารถนาฉันนั้น.
เมื่อความร้อนมี ความเย็นก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ไฟ ๓ กองมี ความดับไฟ ก็พึงปรารถนาฉันนั้น
เหมือนกัน.
เมื่อความชั่วมี แม้ความดี ก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ
ความเกิดมี ความไม่เกิด ก็พึงปรารถนาฉันนั้นเหมือน
กัน.
บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำ มีน้ำเต็ม ไม่
แสวงหาหนองน้ำ ฉันใด.
เมื่อหนองน้ำคืออมตะ สำหรับชำระล้างมลทิน
คือกิเลส มีอยู่ แต่คนไม่แสวงหนองน้ำ ก็ไม่ใช่ความ
ผู้ต้องหนองน้ำคืออมตะก็ฉันนั้น.
บุรุษถูกศัตรูทั้งหลายล้อมรอบ เมื่อทางไปมีอยู่
บุรุษนั้นไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
บุรุษถูกกิเลสรุมล้อม เมื่อทางอันรุ่งเรืองมีอยู่
เขาไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันรุ่ง-
เรื่อง ก็ฉันนั้น.
บุรุษเจ็บป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอ
เยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ
ฉันใด.
บุรุษถูกความเจ็บป่วยคือกิเลสบีบคั้นประสบทุกข์
ยังไม่แสวงหาอาจารย์ นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์
ฉันนั้น.
[ถ้ากระไร เราฟังละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วย
ซากศพไปเสีย ไม่ไยดี ไม่ต้องการ]
บุรุษ ปลดซากศพอันน่าเกลียดที่ผูกคอไปเสีย
มีความสบาย มีเสรี มีอำนาจในตัวเอง แม้ฉันใด.
เราก็พึงละทั้งกายอันเน่านี้ เป็นที่สะสมซากศพ
ต่างๆ ไปเสีย ไม่ไยดี ไม่ต้องการฉันนั้น.
บุรุษสตรี ละทิ้งอุจจาระไว้ในส้วมไปไม่ไยดีไม่
ต้องการ ฉันใด.
เราละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่เต็มด้วยซากศพไปเสีย
เหมือนทิ้งส้วม ฉันนั้นเหมือนกัน.
เจ้าของเรือ ละทิ้งเรือรั่วน้ำลำเก่าที่ชำรุดไปไม่
ไยดี ไม่ต้องการ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
เราละทิ้งกายอันเน่านี้ ที่มี ๙ ช่อง มีของไม่
สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ไปเสีย เหมือนเจ้าของเรือ
ทิ้งเรือลำเก่าฉันนั้น.
บุรุษเดินทางไปกับพวกโจร นำสินค้าไปด้วย
เห็นภัยคือความเสียหายแห่งสินค้า จึงละทิ้งพวกโจร
ไปเสีย ฉันใด.
กายอันนี้ ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร จำเราจัก
ละกายนี้ไป เพราะกลัวเสียหายแห่งกุศล ฉันนั้นเหมือน
กัน.
เราครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิ
แก่คนมีที่พึ่งและคนไม่มีที่พึ่ง เข้าไปหิมวันตประเทศ.
ในที่ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขา ชื่อธัมมิกะ
เราก็ทำอาศรม สร้างบรรณศาลา.
ในอาศรมนั้น เราสร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ
๕ ประการ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ นำมาซึ่งกำลัง
แห่งอภิญญา.
ในอาศรมนั้น เราทิ้งผ้าอันประกอบด้วยโทษ ๙
ประการ นุ่งผ้าเปลือกไม้ ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒
ประการ.
เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ
เข้าไปอาศัยโคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ.
เราละธัญชาติ ที่หว่าน ที่ปลูกไว้ ไม่เหลือ
เลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมดา อันประกอบ
ด้วยคุณเป็นอันมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
เราตั้งความเพียร ณ โคนไม้นั้น ได้แก่ นั่ง ยืน
และเดิน ภายใน ๗ วัน ก็บรรลุกำลังแห่งอภิญญา.
เมื่อเราประสบความสำเร็จ ชำนาญในพระ-
ศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่า
ทีปังกรก็เสด็จอุบัติ.
เรามัวเปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน จึงไม่เห็นนิมิต
๔ คือ ในการเสด็จอุบัติ ในการประสูติ ในการตรัสรู้
และในการแสดงธรรม.
ในถิ่นแถบปัจจันตประเทศ ชาวรัมมนคร มีใจ
ยินดีแล้ว นิมนต์พระตถาคต ช่วยกันแผ้วถางหนทาง
เสด็จมาของพระองค์.
สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตนสะบัดผ้า
เปลือกไม้ เหาะไปในอัมพร ขณะนั้น.
เราเห็นชนที่เกิดโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
แล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามคนทั้งหลายในทันที.
มหาชนเกิดโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจกัน
พวกท่านแผ้วถางหนทาง เพื่อใครกัน.
คนเหล่านั้นถูกเราตามแล้วจึงตอบว่า พระพุทธ-
เจ้าผู้ยอดเยี่ยมพระนามว่าทีปังกร ผู้ชนะผู้นำโลก เกิด
ขึ้นแล้วในโลก เราแผ้วถางหนทางเพื่อพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น.
เพราะได้ยินว่า พุทโธ ปีติก็เกิดแก่เราในทันที
เราเมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
เรายินดีประหลาดใจแล้ว ก็ยืนคิด ณ ที่ตรงนั้น
ว่า จำเราจักปลูกพืชในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ขณะ
อย่าได้ล่วงไปเปล่าเลย.
จึงกล่าวว่า ผิว่า พวกท่านแผ้วถางเพื่อพระพุทธ-
เจ้า ก็ขอพวกท่านจงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เรา ถึงเรา
ก็จักแผ้วถางหนทาง.
คนเหล่านั้น ได้ให้โอกาสทั้งหลายแก่เรา เพื่อ
แผ้วถางทางในขณะนั้น.
เมื่อโอกาสของเรายังไม่เสร็จ พระชินเจ้าทีปังกร
มหามุนี ก็เสด็จพุทธดำเนินทาง พร้อมด้วยภิกษุสี่แสน
รูป ผู้มีอภิญญา ผู้คงที่ เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน.
การรับเสด็จก็ดำเนินไป กลองเป็นอันมากก็
ประโคมขึ้นเอง มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ปลื้มปรา-
โมช แซ่ซ้องสาธุการ.
พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ พวกมนุษย์ก็เห็น
พวกเทวดา แม้ทั้งสองพวกก็ประคองอัญชลีตามเสด็จ
พระตถาคต.
พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีของทิพย์ พวก
มนุษย์ก็บรรเลงด้วยดนตรีของมนุษย์ แม้ทั้งสองพวก
ก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต.
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะของทิพย์ ตลอด
ทิศานุทิศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ
จันทน์ ของหอมอย่างดี ของทิพย์ สิ้นทั้งทิศานุทิศ.
พวกมนุษย์ที่ไปตามพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา ดอก
ช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกะถินพิมาน ดอกบุนนาค
และดอกเกด ทั้วทิศานุทิศ.
ในที่นั้น เราเปลื้องผม ผ้าเปลือกไม้และแผ่น
หนังปูลาดลงที่ตมแล้วก็นอนคว่ำด้วยความปรารถนาว่า
ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์สาวกทั้งหลาย จงเหยียบ
เราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบตมเลย การอันนี้จักเป็น
ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.
เรานอนเหนือแผ่นดิน ก็คิดอย่างนี้ว่า เรา
ปรารถนา ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลายของเราได้ในวันนี้.
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก
ด้วยการกระทำให้แจ้งธรรม ในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วก็จะเป็นผู้พ้นเอง จะ
ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้พ้นด้วย.
ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยบุรุษผู้แสดงกำลัง
จะข้ามไปแต่ผู้เดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
ก็จักยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามด้วย.
ด้วยอธิการบารมีนี้ ที่เราทำในพระพุทธเจ้าผู้เป็น
บุรุษสูงสุด เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็จะยังหมู่ชน
เป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
เราจักตัดกระแสสังสารวัฏ กำจัดภพ ๓ แล้วขึ้น
สู่ธรรมนาวา ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆ-
สงสาร
พระทีปังกรพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้รับของบูชา
ประทับยืนใกล้ศีรษะเรา ได้ตรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบส ผู้มีตบะสูงผู้นี้ ใน
กัปที่นับไม่ได้แต่กัปนี้ไป เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าใน
โลก.
ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากนครอันน่ารื่นรมย์
ชื่อว่ากบิลพัศดุ์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
ตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ประคองรับมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วจักเข้าไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชราแล้วจักเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์ ตามทางอัน
ดีที่เขาจัดตบแต่งไว้แล้ว.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่ก็กระทำประทักษิณโพธิ-
มัณฑสถาน จักแทงตลอดพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-
ญาณ ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์ต้นโพธิใบ.
พระชนนีของท่านดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่า
มายา พระชนกพระนามว่าสุทโธทนะ ดาบสผู้นี้จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ จักเป็นอัครสาวก
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นอุปัฏฐาก
ชื่ออานนทะ จักบำรุงท่านชินะผู้นี้.
พระเขมาและพระอุบลวรรณา จักเป็นอัครสาวิกา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น.
โพธิต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เรียกกันว่าอัสสัตถพฤกษ์ โพธิใบ ท่านจิตตะ
และท่านหัตถอาฬวกะ จักเป็นอัครอุบาสก.
นันทมาตา และ อุตตรา จักเป็นอัครอุบาสิกา
พระชนมายุของพระโคดมนั้นประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ ของพระผู้
แสวงคุณยิ่งใหญ่ ผู้ไม่มีผู้เสมอแล้ว ก็ดีใจว่าท่านผู้นี้
เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวดา พากันส่งเสียงโห่
ร้อง ปรบมือ หัวเราะ ประคองอัญชลีนมัสการกล่าว
ว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เปรียบเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ
พลาดท่าน้ำท่าตรงหน้า ก็ยังยึดท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำ
ใหญ่ได้ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
พวกเราทั้งหมด ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
ไป ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.
พระทีปังกร ผู้รู้โลก ผู้ทรงรับของบูชา ทรง
ประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรงยกพระบาทเบื้องขวา.
พระพุทธชิโนรสทุกองค์ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น ก็ได้ทำ
ประทักษิณเรา พวกเทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ก็ไหว้
แล้ว ต่างหลีกไป.
เมื่อพระผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ลับสายตาเรา
ไปแล้ว เราก็ลุกจากที่นอน นั่งขัดสมาธิในทันที.
เราประสบสุขโดยสุข บันเทิงใจโดยความปราโมช
ผ่องใสยิ่งโดยปีติ นั่งขัดสมาธิในขณะนั้น.
เรานั่งขัดสมาธิแล้ว ก็คิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
เราชำนาญในฌาน ถึงฝั่งอภิญญา ฤาษีทั้งหลายในหมื่น
โลกธาตุ ที่เสมอเราไม่มี ไม่มีผู้เสมอในอิทธิธรรม
ทั้งหลาย เราก็ได้ความสุขเช่นนี้.
ในการนั่งขัดสมาธิของเรา เทวดาที่สถิตอยู่ใน
หมื่นโลกธาตุ ก็ส่งเสียงเอิกเกริกอึงมี่ว่า เราเป็นพระ-
พุทธเจ้าแน่.
นิมิตเหล่าใดปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายแต่
ก่อนในการนั่งขัดสมาธิ นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วใน
วันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
ความเย็นก็ปราศไป ความร้อนก็ระงับไป นิมิต
เหล่านั้น ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่.
หมื่นโลกธาตุ ก็ปราศจากเสียง ปราศจากความ
วุ่นวาย บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
มหาวาตะก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล นิมิตเหล่านั้น
ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำทั้งหมดก็บานใน
ขณะนั้น ดอกไม้เหล่านั้นก็บานหมดในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
ไม้เถาหรือต้นไม้ ก็ติดผลในขณะนั้น ต้นไม้
เหล่านั้น ก็ออกผลหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่.
รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและอยู่ในพื้นดิน ก็
เรืองแสงในขณะนั้น รัตนะเหล่านั้นก็เรืองแสงแล้วใน
วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
ดนตรีมนุษย์และดนตรีทิพย์ บรรเลงขึ้นในขณะ
นั้น ดนตรีแม่ทั้งสองนั้นก็ส่งเสียงแล้วในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
มหาสมุทร ก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว แม้
ทั้งสองนั้น ก็ส่งเสียงร้องแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
ไฟหลายหมื่นในนรกทั้งหลาย ก็ดับในขณะนั้น
ไฟนรกแม้เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่.
ดวงอาทิตย์จ้าไร้มลทิน ดาวทุกดวงก็เห็นได้ชัด
ดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นจากแผ่นดินในขณะนั้น
น้ำแม้นั้น ก็พุจากแผ่นดินแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็แจ่มกระจ่าง
ตลอดมณฑลท้องฟ้า ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์
วิสาขะ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำก็
ออกจากที่อยู่ของตน สัตว์แม้เหล่านั้น ก็ออกจากที่อยู่
แล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้สันโดษในขณะนั้น สัตว์แม้เหล่านั้น ก็เป็น.
ผู้สันโดษแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็
หายไป บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
ในขณะนั้น ภัยก็ไม่มี ความไม่มีภัยนั้น ก็เห็น
กันแล้วในวันนี้ พวกเรารู้กันด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน ความไม่ฟุ้งแห่ง
กิเลสดุจธุลีนั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้ พวกเรารู้กัน
ด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็
โชยมา กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาแล้วในวันนี้ ท่าน
จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
เทวดาทั้งหมด เว้นอรูปภพก็ปรากฏ เทวดาแม้
เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าแน่.
ขึ้นชื่อว่า นรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้
หมดในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วใน
วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
กำแพง บานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีด
ขวางในขณะนั้น กำแพงบานประตูและภูเขาหิน แม้
เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น บุพ-
นิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
[นิมิตเหล่านี้ ย่อมปรากฏเพื่อความตรัสรู้ของ
สัตว์ทั้งหลาย]
ขอท่านโปรดประคับประคองความเพียรไว้ให้มั่น
อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด แม้
พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และคำของ
เทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสองแล้ว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิง
ใจ ในขณะนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า
พระชินพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่เป็น
สอง มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่.
ก่อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกลงที่พื้น
ดินแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุดทั้งหลาย ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น.
[คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็น
พระพุทธเจ้าแน่]
ความตายของสรรพสัตว์ เที่ยงแท้แน่นอน แม้
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้ง
หลาย ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น.
เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทั้งหลาย ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาท แน่นอน
ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทั้ง
หลาย ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้นเหมือนกัน.
สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระ [คลอดลูก] แน่
นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุดทั้งหลาย ก็เที่ยงแท้แน่นอนฉันนั้น เหมือนกัน.
เอาเถิด เราเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม ทางโน้น
ทางนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่
ธรรมธาตุเป็นไป.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นทานบารมีเป็น
อันดับแรก เป็นทางใหญ่ ที่พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทาน ทานบารมี นี้ไว้นั่นเป็นอันดับ
แรกก่อน จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการบรรลุ
โพธิญาณ.
หม้อที่เต็มด้วยน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่วางคว่ำ
ปากลง ก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่รักษาน้ำไว้
ในหม้อนั้น แม้ฉันใด.
ท่านเห็นยาจกทั้งหลาย ทั้งชั้นต่ำ ชั้นกลาง และ
ชั้นสูงแล้ว จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อที่คว่ำ
ปาก ฉันนั้นเหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วยอบรม
บ่มโพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นศีลบารมีอันดับ
สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พา
กันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุพระโพธิ-
ญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนทางที่ติดอยู่ ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด
ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในภพ ๔ จง
บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี
อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
บรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ย่อมไม่เกิด
ความรักในเรือนจำนั้น แสวงทาทางหลุดพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพฉันนั้นเหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมีอัน
ดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อน ๆ ซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน บูชาบารมีอันดับสี่นี่ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุ
พระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอ ก็ขอทั้งตระกูล
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายเลย
ดังนั้น จึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฉันใด
ท่านสอบถามท่านผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งแห่งปัญญา
บารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น
เหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นวิริยบารมีอัน
ดับห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์
ก่อนๆ ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
ท่านจงสมาทานวิริยบารมี อันดับห้า นี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการบรรลุ
พระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน
อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจอยู่ทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ
หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมีอันดับหกนี้ ไว้ให้มั่น
ก่อน จงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี
ยินร้ายฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องเป็นผู้อดทนต่อการยกย่องและ
การดูหมิ่น ของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่ง
แห่งขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ซ่องเสพกัน
มาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมี อันดับเจ็ดนี้ไว้ให้มั่น
ก่อน มีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าฤดูฝน ฤดูหนาว ดูร้อนไม่
โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะ
ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่งสัจบารมีแล้ว
ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี
อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระ-
องค์ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้นแล้ว
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยล้มแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตนนั่นเอง
ฉันใด
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่งอธิษฐานบารมี
แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมก่อน ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน
ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีอันดับเก้านี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง
การบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้ง
ในคนดีคนชั่ว ย่อมชำระล้างมลทินคือธุลีไป ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูลและคนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ฉันนั้น
เหมือนกัน ถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่า
นั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอุเบกขาบารมีอัน
ดับสิบ ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์
ก่อน ๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระ
สัมโพธิญาณได้.
ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งที่เขาทิ้งลง
ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่าง เว้นความ
ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่านก็จงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อ
ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณในโลก มี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้น ไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านั้น โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ แผ่นพสุธาในหมื่นโลกธาตุก็หวาด
ไหว เพราะเดชแห่งธรรม.
แผ่นดินไหว ส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อย
บีบอ้อย แผ่นดินไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์ คั้นน้ำมัน
งาฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็สั่นงกอยู่ใน
ที่นั้น พากันนอนสลบไสลอยู่เหนือพื้นดิน.
หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน ก็กระทบ
กันและกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.
มหาชนทั้งหลาย หวาด สะดุ้ง กลัว กลัวลาน
กลัวยิ่ง ก็พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดี เหตุร้ายจักมี
แกโลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลก ขอพระ-
องค์ทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.
ครั้งนั้น พระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชน
เหล่านั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่า
กลัวในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.
วันนี้ เราพยากรณ์ท่านผู้ใดว่าจักเป็นพระพุทธ-
เจ้า ท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อน ๆ ที่พระชินเจ้า
ทรงเสพแล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้น กำลังพิจารณาธรรมคือ พุทธภูมิ
โดยไม่เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น แผ่นปฐพีนี้ ในหมื่น
โลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหว.
เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็ดับร้อน
เย็นใจทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
พวกเทวดาถือดอกไม้ทิพย์ พวกมนุษย์ก็ถือ
ดอกไม้มนุษย์ ทั้งสองพวกก็เอาดอกไม้ทั้งหลายโปรย
ปรายเราผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้นก็พากันแซ่ซ้อง
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจง
ได้ความปรารถนานั้นสมปรารถนาเถิด.
ขอเสนียดจัญไรจงปราศไป ความโศก โรคจง
พินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยเร็วเถิด.
ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบาน เมื่อถึงฤดูกาล
ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธ-
ญาณ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐
ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ
สถานฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิ-
มัณฑสถานของพระชินเจ้า ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักรฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงประกาศ
พระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.
ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญ เต็มดวงรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ
ฉันนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ด้วย
แสง ฉันใด ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วย
สิริ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมชุมนุมไหลสู่มหาสมุทร ฉัน
ใด โลกพร้อมทั้งเทวโลกขอจงชุมนุมกันยังสำนักของ
ท่าน ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้นให้พระ
โลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์เสวยแล้ว ก็ถึงพระทีปังกร
ศาสดาพระองค์นั้นเป็นสรณะ.
พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ ในสรณคมน์
บางคนตั้งอยู่ในศีล ๕ บางคนตั้งอยู่ในศีล ๑๐.
พระองค์ประทานสามัญผลอันสูงสุด แก่บางคน
ประทานปฏิสัมภิทา ในธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นเสมอแก่
บางคน.
พระนราสภ ประทานสมาบัติ ๘ อันประเสริฐแก่
บางคน ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ แก่บางคน.
พระมหามุนี ทรงสั่งสอนหมู่ชน โดยนัยนั้น
เพราะพระโอวาทนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้
แผ่ไปอย่างกว้างขวาง.
พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุ
ใหญ่ มีพระวรกายงาม ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ทรงเปลื้องมหาชนเสียจากทุคติ.
พระมหามุนี ทรงเห็นชนผู้ควรจะตรัสรู้ได้ไกล
ถึงแสนโยชน์ ในทันใด ก็เสด็จเข้าไปหา ทรงยังเขา
ให้ตรัสรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
ในอภิสมัยครั้งแรก พระพุทธเจ้าทรงยังเทวดา
และมนุษย์ให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ในอภิสมัยครั้งที่สอง
พระโลกนาถ ทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้ตรัสรู้เก้าสิบ
โกฏิ.
ในสมัยใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในภพ
เทวดา โปรดเทวดาเก้าหมื่นโกฏิ สมัยนั้น เป็นอภิ-
สมัยครั้งที่สาม.
สาวกสันนิบาตของพระทีปังกรศาสดา มี ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ประชุมสาวกแสนโกฏิ.
เมื่อพระชินเจ้า ประทับสงัด ณ ภูเขานารทกูฏ
อีก ภิกษุร้อยโกฏิเป็นพระขีณาสพปราศจากมลทิน ก็
ประชุมกัน
สมัยใด พระมหาวีระมหามุนีทรงปวารณาพรรษา
พร้อมด้วยภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ณ ภูเขาสุทัสสนะ.
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง จงฝั่งอภิญญา ๕
จาริกไปในอากาศ.
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและ
มนุษย์หนึ่งหมื่น สองหมื่น ไม่นับการตรัสรู้โดยจำนวน
หนึ่งคน สองคน.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร อันบริ-
สุทธิ์ดีแล้ว แผ่ไปกว้างขวาง คนเป็นอันมากรูสำเร็จ
แล้ว เจริญแล้วในครั้งนั้น.
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากแวดล้อม
พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลก ทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้น ย่อม
ถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่ ผู้
เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อม
งดงามทุกเมื่อ.
พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่ารัมมวดี
พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ พระ-
ชนนีพระนามว่า พระนางสุเมธา.
พระชินเจ้า ทรงครอบครองอคารสถานอยู่หมื่น
ปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง คือ หังสา โกญจา และมยุรา
ทรงมีพระสนมนารี สามแสน ล้วนประดับกาย
สวยงามพระมเหสีนั้นพระนามว่าปทุมา พระราชโอรส
พระนามว่า อุสภขันธกุมาร.
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว
เสด็จออกทรงผนวชด้วยพระยานคือ พระยาช้างต้น
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม จึงทรงเป็นพระชิน-
เจ้า.
ครั้นทรงประพฤติปธานจริยา ได้ตรัสรู้พระสัม-
โพธิญาณเป็นพระมหามุนีทีปังกรพุทธเจ้าสมพระทัย
แล้ว ผู้อันพระพรหมทรงอาราธนาแล้ว.
พระมหาวีระ ชินพุทธเจ้า ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักรแล้ว ประทับอยู่ ณ นันทาราม ประทับนั่ง
ที่ควงไม้ซึก ทรงการทำการทรมานเดียรถีย์แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระอัครสาวชื่อว่า
สุมังคละ และติสสะ มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าสาคตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่านันทาและสุนันทา ต้นไม้
เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
กันว่า ต้นเลียบ.
พระทีปังกรศาสดา มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า ตปุสสะ
และภัลลิกะ มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าสิริมาและโสณา.
พระทีปังกรมหามุนี สูง ๘๐ ศอก สง่างาม
เหมือนต้นไม้ประจำทวีป เหมือนต้นพระยาสาละ ดอก
บานเต็มต้นฉะนั้น.
พระองค์มีพระรัศมี แผ่ไป ๘๐ โยชน์ โดยรอบ
พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น ทรงมีพระชนมายุ
แสนปี.
พระองค์ทรงพระชนนีอยู่ถึงเพียงนั้น ทรงยัง
สัทธรรมให้รุ่งโรจน์ ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร
ชื่อว่าทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก รุ่งโรจน์แล้ว ก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับไป.
พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระ
ยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุก
อย่างก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระชินศาสดาทีปังกร ดับขันธปรินิพพาน ณ
พระวิหารนันทาราม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
พระชินสถูปของพระองค์ ณ นันทารามนั้นนั่น
แล สูง ๓๖ โยชน์.
พระสถูปบรรจุ บาตร จีวร บริขาร และเครื่อง
บริโภคของพระศาสดา ตั้งอยู่ ณ โคนโพธิพฤกษ์ใน
ครั้งนั้น สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑
พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ ๑
อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ-
เจ้าเป็นประธานแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จชักพระหัตถ์
ออกจากบาตรแล้ว ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นอีก ถวายบังคมแล้วอยาก
จะฟังอนุโมทนาทาน จึงเข้าไปนั่งใกล้ ๆ ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงทำ
อนุโมทนาทานไพเราะอย่างยิ่ง จับใจของอุบาสกเหล่านั้นว่า
ธรรมดาทาน ท่านกล่าวว่าเป็นต้นเหตุสำคัญของ
สุขเป็นต้น ยังกล่าวว่าเป็นที่ตั้งแห่งบันไดทั้งหลายที่
ไปสู่พระนิพพาน.
ทานเป็นเครื่องป้องกันของมนุษย์ ทานเป็นเผ่า
พันธุ์เป็นเครื่องนำหน้า ทานเป็นคติสำคัญของสัตว์ที่
ถึงความทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
ทาน ท่านแสดงว่าเป็นนาวา เพราะอรรถว่าเป็น
เครื่องช่วยข้ามทุกข์ และทานท่านสรรเสริญว่าเป็น
นคร เพราะป้องกันภัย.
ทาน ท่านกล่าวว่าเป็นอสรพิษ เพราะอรรถว่า
เข้าใกล้ได้ยาก ทานเป็นดังดอกปทุม เพราะมลทินคือ
โลภะเป็นต้นฉาบไม่ได้.
ที่พึ่งพาอาศัยของบุรุษ เสมอด้วยทานไม่มีในโลก
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญทาน ด้วยการ
ทำตามอัธยาศัย.
นรชนคนไรเล่า ผู้มีปัญญาในโลกนี้ ผู้ยินดีใน
ประโยชน์เกื้อกูล จะไม่พึงให้ทานทั้งหลาย ที่เป็นเหตุ
แห่งโลกสวรรค์.
นรชนคนไรเล่า ได้ยินว่าทานเป็นแดนเกิดสมบัติ
ในเทวดาทั้งหลาย จะไม่พึงให้ทานอันให้ถึงซึ่งความ
สุข ทานเป็นเครื่องยังจิตให้ร่าเริง.
นรชนบำเพ็ญทานแล้ว ก็เป็นผู้อันเทพอัปสร
ห้อมล้อม อภิรมย์ในนันทนวัน แหล่งสำเริงสำราญ.
ของเทวดาตลอดกาลนาน.
ผู้ให้ย่อมได้ปีติอันโอฬาร ย่อมประสบความ
เคารพในโลกนี้ ผู้ให้ย่อมประสบเกียรติเป็นอันมาก
ผู้ให้ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไว้วางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
นรชนนั้นให้ทานแล้ว ย่อมถึงความมั่งคั่งแห่ง
โภคะ และมีอายุยืน ย่อมได้ความมีเสียงไพเราะและ
รูปสวยอยู่ในวิมานทั้งหลายที่นกยูงอันน่าชื่นชมนานา
ชนิดร้องระงม เล่นกับเทวดาทั้งหลายในสวรรค์.
ทานเป็นทรัพย์ไม่ทั่วไปแก่ภัยทั้งหลายคือโจรภัย
อริภัย ราชภัย อุทกภัย และอัคคีภัย ทานนั้น ย่อม
ให้สาวกญาณภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ ตลอดถึงพุทธภูมิ.
ครั้น ทรงทำอนุโมทนาทาน ประกาศอานิสงส์แห่งทาน โดยนัยดัง
กล่าวมาอย่างนี้เป็นต้นแล้ว ก็ตรัสศีลกถา ในลำดับต่อจากทานนั้น ธรรมดา
ศีลนั้นเป็นมูลแห่งสมบัติในโลกนี้และโลกหน้า
ศีลเป็นต้นเหตุสำคัญของสุขทั้งหลาย ผู้มีศีล
ย่อมไปไตรทิพย์สวรรค์ด้วยศีล ศีลเป็นเครื่องป้องกัน
เครื่องเร้น เครื่องนำหน้าของผู้เข้าถึงสังสารวัฏ.
ก็ที่พึ่งพาอาศัยของชนทั้งหลายในโลกนี้ หรือใน
โลกหน้าอย่างอื่น ที่เสมอด้วยศีลจะมีแต่ไหน ศีลเป็น
ที่ตั้งสำคัญของคุณทั้งหลาย เหมือนแผ่นดิน เป็นที่ตั้ง
แห่งสิ่งที่อยู่กับที่และสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ฉะนั้น.
เขาว่า ศีลเท่านั้นเป็นกรรมดี ศีลยอดเยี่ยมใน
โลก ผู้ประพฤติชอบในธรรมจริยาของพระอริยะท่าน
เรียกว่า ผู้มีศีล.
เครื่องประดับเสมอด้วยเครื่องประดับคือศีลไม่มี, กลิ่นเสมอด้วยกลิ่นคือ
ศีลไม่มี, เครื่องชำระมลทินคือกิเลสเสมอด้วยศีลไม่มี เครื่องระงับความเร่าร้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
เสมอด้วยศีลไม่มี. เครื่องให้เกิดเกียรติ เสมอด้วยศีลไม่มี, บันใดขึ้นสู่สวรรค์
เสมอด้วยศีลไม่มี, ประตูในการเข้าไปยังนครคือพระนิพพาน เสมอด้วยศีลไม่มี
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พระราชาทั้งหลาย ทรงประดับด้วยแก้วมุกดา
และแก้วมณี ยังงามไม่เหมือนนักพรตทั้งหลาย ผู้
ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ย่อมงามสง่า.
กลิ่นที่หอมไปทั้งตามลมทั้งทวนลมเสมอ ที่เสมอ
ด้วยกลิ่นคือศีล จักมีแต่ไหนเล่า.
กลิ่นดอกไม้ไม่หอมทวนลม หรือกลิ่นจันทน์
กฤษณามะลิ ก็ไม่หอมทวนลม ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ
ย่อมหอมทวนลม สัตบุรุษย่อมหอมไปทุกทิศ.
กลิ่นคือศีล เป็นยอดของคันธชาติเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา อุบล มะลิ.
มหานที คือ คงคา ยมุนา สรภู สรัสวดี
นินนคา อจิรวดี มหี ไม่สามารถชำระมลทินของสัตว์
ทั้งหลายในโลกนี้ แต่น้ำคือศีล ชำระมลทินของสัตว์
ทั้งหลายได้.
อริยศีลนี้ ที่รักษาดีแล้ว เยือกเย็นอย่างยิ่งระงับ
ความเร่าร้อนอันใดได้ ส่วนจันทน์เหลือง สร้อยคอ
แก้วมณีและช่อรัศมีจันทร์ ระงับความเร่าร้อนไม่ได้.
ศีลของผู้มีศีล ย่อมกำจัดภัยมีการติตนเองเป็นต้น
ได้ทุกเมื่อ และให้เกิดเกียรติและความร่าเริงทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
สิ่งอื่นซึ่งเป็นบันไดขึ้นสวรรค์ที่เสมอด้วยศีลจะมี
แต่ไหน ก็หรือว่าศีลเป็นประตูเข้าไปยังนครคือพระ-
นิพพาน,
ท่านทั้งหลาย จงรู้อานิสงส์อันยอดเยี่ยมของศีล
ซึ่งเป็นมูลแห่งคุณทั้งหลาย กำจัดกำลังแห่งโทษทั้ง
หลาย ดังกล่าวมาฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีลอย่างนี้แล้ว เพื่อ
ทรงแสดงว่า อาศัยศีลนี้ย่อมได้สวรรค์นี้ จึงตรัสสัคคกถาในลำดับต่อจาก
ศีลนั้น ธรรมดาสวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ มีแต่สุขส่วนเดียว
เทวดาทั้งหลายย่อมได้การเล่นในสวรรค์นั้นเป็นนิตย์ ได้สมบัติทั้งหลายเป็น
นิตย์ เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช ย่อมได้สุขทิพย์ สมบัติทิพย์ตลอดเก้าล้าน
ปี เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้สามโกฏิหกล้านปี ตรัสกถาประกอบด้วยคุณแห่งสวรรค์
ดังกล่าวมานี้เป็นต้น ครั้นทรงประเล้าประโลมด้วยสัคคกถาอย่างนี้แล้ว ก็ทรง
ประกาศโทษต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนก-
ขัมมะว่า สวรรค์แม้นี้ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความยินดีด้วยอำนาจ
ความพอใจในสวรรค์นั้น แล้วตรัสธรรมกถาที่จบลงด้วยอมตธรรม ครั้นทรง
แสดงธรรมแก่มหาชนนั้นอย่างนี้แล้ว ให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกใน
ศีล ๕ บางพวกในโสดาปัตติผล บางพวกในสกทาคามิผล บางพวกในอนา-
คามิผล บางพวกในผลแม้ทั้ง ๔ บางพวกในวิชชา ๓ บางพวกในอภิญญา ๖
บางพวกในสมาบัติ ๘ ลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จออกจากรัมมนคร เข้าไปยัง
สุทัสสนะมหาวิหารนั่นแล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
ครั้งนั้น อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น ให้พระ
โลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์เสวยแล้ว ก็ถึงพระทีปังกร
ศาสดาพระองค์นั้นเป็นสรณะ.
พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางคนในศีล ๕ บางคนในศีล ๑๐.
พระองค์ประทานสามัญผล ๔ อันสูงสุดแก่บาง
คน ประทานปฏิสัมภิทา ในธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นเสมอ
แก่บางคน.
พระนราสภประทานสมาบัติ ๘ อันประเสริฐแก่
บางคน ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ แก่บางคน.
พระมหามุนี ทรงสั่งสอนหมู่ชน ด้วยนัยนั้น
เพราะพระโอวาทนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้
แผ่ไปอย่างกว้างขวาง.
พระพุทธเจ้ามีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุ
ใหญ่ มีพระวรกายงาม ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ทรงเปลื้องมหาชนเสียจากทุคติ.
พระมหามุนี ทรงเห็นชนผู้ควรตรัสรู้ได้ไกลถึง
แสนโยชน์ ก็เสด็จเข้าไปหาในทันใด ทำเขาให้ตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ อุบาสกชาวรัมมนครเหล่า
นั้น. พึงทราบสรณะ สรณคมน์ และผู้ถึงสรณะในคำว่า สรณ นี้ คุณชาตใด
ระลึก เบียดเบียนกำจัด เหตุนั้นคุณชาตนั้น จึงชื่อว่า สรณะ. สรณะนั้นคืออะไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
คือพระรัตนตรัย ก็พระรัตนตรัยนั้น ท่านกล่าวว่าสรณะ เพราะ ตัด เบียดเบียน
กำจัด ภัย ความหวาดกลัว ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วยสรณคมน์
นั้นนั่นแหละของเหล่าผู้ถึงสรณะ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว
จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว
จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว
จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.
จิตตุปบาท ที่เป็นไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า
สรณคมน์. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ผู้ถึงสรณะ. ๓ หมวด
นี้ คือ สรณะ สรณคมน์ ผู้ถึงสรณะ พึงทราบดังกล่าวมานี้ก่อน. บทว่า
ตสฺส ได้แก่ พระทีปังกรนั้น. พึงทราบว่าฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยวิภัตติ.
ปาฐะว่า อุปคจฺฉุ สรณ ตตฺถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สตฺถุโน ได้แก่
ซึ่งพระศาสดา. บทว่า สรณาคมเน กญฺจิ ความว่า ยังบุคคลบางคนให้ตั้งอยู่
ในสรณคมน์. ตรัสเป็นปัจจุบันกาลก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงถือเอาความเป็นอดีต
กาล แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้ ปาฐะว่า กสฺสจิ สรณาคมเน ดังนี้ก็มี.
แม้ปาฐะนั้น ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า กญฺจิ ปญฺจสุ สีเลสุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
ความว่า ยังบุคคลบางคนให้ตั้งอยู่ในวิรติศีล ๕. ปาฐะว่า กสฺสจิ ปญฺจสุ
สีเลสุ ความก็อย่างนั้นแหละ. บทว่า สีเล ทสวิเธ ปร ความว่า ยัง
บุคคลอื่นอีกให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ข้อ. ปาฐะว่า กสฺสจิ กุสเล ทส ดังนี้ก็
มี ปาฐะนั้นความว่า ยังบุคคลบางคนให้สมาทานกุศลธรรม ๑๐ โดยปรมัตถ์
มรรคท่านเรียกว่าสามัญญะ ในคำนี้ว่า กสฺสจิ เทติ สามญฺ เหมือน
อย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สามัญญะคืออะไร อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า สามัญญะ.
บทว่า จตุโร ผลมุตฺตเม ความว่า ผลสูงสุด ๔. ม อักษร
ทำบทสนธิ ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส ความว่า ได้ประทานมรรค ๔ และ
สามัญญผล ๔ แก่บางคน ตามอุปนิสัย. บทว่า กสฺสจิ อสเม ธมฺเม
ความว่า ได้ประทานธรรมคือปฏิสัมภิทา ๔ ที่ไม่มีธรรมอื่นเหมือน แก่บางคน.
บทว่า กสฺสจี วรสมาปตฺติโย ความว่า อนึ่งได้ประทานสมาบัติ ๘
ที่เป็นประธาน เพราะปราศจากนีวรณ์แก่บางคน. บทว่า ติสฺโส กสฺสจิ
วิชฺชาโย ความว่า วิชชา ๓ คือ ทิพยจักษุญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
และอาสวักขยญาณ โดยเป็นอุปนิสัยแก่บุคคลบางคน. บทว่า ฉฬภิญฺา
ปเวจฺฉติ ความว่า ได้ประทานอภิญญา ๖ แก่บางคน.
บทว่า เตน โยเคน ได้แก่ โดยนัยนั้นและโดยลำดับนั้น. บทว่า
ชนกาย ได้แก่ ประชุมชน. บทว่า โอวทติ แปลว่า สั่งสอนแล้ว พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวเป็นกาลวิปลาส ในคำเช่นนี้ต่อแต่นี้ไป ก็พึงถือความเป็นอดีตกาล
ทั้งนั้น. บทว่า เตน วิตฺถาริก อาสิ ความว่า เพราะโอวาทคำพร่ำสอน
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรพระองค์นั้น พระศาสนาก็แผ่ไป แพร่ไปกว้าง
ขวาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
บทว่า มหาหนุ ความว่า เล่ากันว่า พระมหาบุรุษทั้งหลายมีพระ
หนุ [คาง] ๒ บริบูรณ์ มีอาการเสมือนดวงจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เหตุนั้นมหา-
บุรุษพระองค์ใดมีพระหนุใหญ่ มหาบุรุษพระองค์นั้น ชื่อว่ามีพระหนุใหญ่
ท่านอธิบายว่า มีพระหนุดังราชสีห์. บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ความว่า มหา
บุรุษพระองค์ใดมีลำพระศอเหมือนโคอุสภ อธิบายว่า มีลำพระศองามเสมือน
แท่งทองกลมเกลา มีลำพระศองามกลมเสมอกัน. บทว่า ทีปงฺกรสนามโก
ได้แก่ พระนามว่าทีปังกร. บทว่า พหู ชเน ตารยติ ความว่า ยัง
ชนที่เป็นพุทธเวไนยเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร. บทว่า ปริโมจติ ได้แก่
เปลื้องแล้ว. บทว่า ทุคฺคตึ แปลว่า จากทุคติ ทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถ
ปัญจมีวิภัตติ.
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการคือทรงทำให้สัตว์ ข้ามโอฆสงสารและเปลื้อง
จากทุคติ จึงตรัสคาถาว่า โพธเนยฺย ชน. ในคาถานั้น บทว่า โพธเนยฺย
ชน ได้แก่ หมู่สัตว์ที่ควรตรัสรู้ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ทิสฺวา
ได้แก่ เห็นด้วยพุทธจักษุหรือสมันตจักษุ. บทว่า สตสหสฺเสปิ โยชเน
ได้แก่ ซึ่งอยู่ไกลหลายแสนโยชน์. ก็คำนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงหมื่น
โลกธาตุนั่นเอง.
ได้ยินว่า พระศาสดาทีปังกรทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ในสัปดาห์ที่ ๘ ก็ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ณ สุนันทาราม ตามปฏิญญาที่ทรงรับอาราธนาแสดงธรรมของ
ท้าวมหาพรหม ทรงยังเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็น
อภิสมัย คือการตรัสรู้ธรรมครั้งแรก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
ต่อมา พระศาสดาทรงทราบว่า พระโอรส ผู้มีลำพระองค์กลมเสมอ
กัน พระนามว่าอุสภักขันธะ มีญาณแก่กล้าจึงทรงทำพระโอรสนั้นให้เป็นหัวหน้า
ทรงแสดงธรรมเช่นเดียวกับราหุโลวาทสูตร ทรงยังเทวดาและมนุษย์ถึงเก้าสิบ
โกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็นอภิสมัย คือการตรัสรู้ธรรมครั้งที่สอง.
ต่อมา พระศาสดาทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นซึกใหญ่ใกล้ประตู
พระนครอมรวดี ทรงทำการเปลื้องมหาชนจากเครื่องผูกพัน อันหมู่เทพห้อม
ล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพื้นบัณฑุกัมพลศิลา ซึ่งเย็นอย่างยิ่ง ใกล้โคนต้น
ปาริฉัตตกะ ในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพแผ่ซ่านแห่งความโชติช่วงเหลือเกินดัง
ดวงอาทิตย์ ทรงทำพระนางสุเมธาเทวีพระชนนีของพระองค์ ผู้ให้เกิดปีติแก่
หมู่เทพทั้งปวงเป็นหัวหน้า ทรงเป็นวิสุทธิเทพที่ทรงรู้โลกทั้งปวง เป็นเทพ
ยิ่งกว่าเทพ ทรงทำดวงประทีป ทรงจำแนกธรรม ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฏก
๗ ปกรณ์ อันทำความบริสุทธิ์แห่งความรู้ อันสุขุมลุ่มลึกอย่างยิ่ง กระทำ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ยังเทวดาเก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้
เป็นอภิสมัยคือการตรัสรู้ธรรมครั้งที่สาม ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในอภิสมัยครั้งแรก พระพุทธเจ้าทรงยังเทวดา
และมนุษย์ให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ในอภิสมัยครั้งที่สอง พระ
โลกนาถทรงยังเทวดาและมนุษย์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.
ในสมัยใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในภพ
เทวดา แก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ สมัยนั้นเป็นอภิสมัย
ครั้งที่สาม.
การประชุมสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรมี ๓ ครั้ง ใน ๓
ครั้งนั้น ครั้งแรกประชุมเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ ณ สุนันทาราม ด้วยเหตุ
นั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
สาวกสันนิบาตของพระทีปังกรศาสดามี ๓ ครั้ง
ครั้งที่หนึ่งประชุมสัตว์แสนโกฏิ.
สมัยต่อ ๆ มา พระทศพล อันภิกษุสี่แสนรูปแวดล้อม ทรงทำ
การอนุเคราะห์มหาชน ตามลำดับ ตามนิคมและนคร เสด็จจาริก มาโดย
ลำดับ ก็ลุถึงภูเขาลูกที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ชื่อนารทกูฏ มียอดสูงจรดเมฆ
มียอดอบอวลด้วยไม้ต้นไม้ดอกส่งกลิ่นหอมนานาชนิด มียอดที่ฝูงมฤค
นานาพันธุ์ท่องเที่ยวกันอันอมนุษย์หวงแหน น่ากลัวอย่างยิ่ง เลื่องลือไปในโลก
ทั้งปวง ที่มหาชนเช่นสักการะในประเทศแห่งหนึ่ง เขาว่าภูเขาลูกนั้น ยักษ์มี
ชื่อนารทะหวงแหน ณ ที่นั้นมหาชนนำมนุษย์มาทำพลีสังเวยแก่ยักษ์ตนนั้น
ทุกๆ ปี.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติ
ของมหาชน แต่นั้นก็ทรงส่งภิกษุไปสี่ทิศ ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย มีพระหฤทัย
อันมหากรุณามีกำลังเข้ากำกับแล้ว เสด็จขึ้นภูเขานารทะลูกนั้น เพื่อทรงแนะ
นำยักษ์ตนนั้น. ลำดับนั้น ยักษ์ที่มีมนุษย์เป็นภักษา ไม่เล็งประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน ขยันแต่ฆ่าผู้อื่นตนนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ มีใจอันความโกรธครอบงำ
แล้ว ประสงค์จะให้พระทศพลกลัวแล้วหนีไปเสีย จึงเขย่าภูเขาลูกนั้น เล่า
กันว่า ภูเขาลูกนั้น ถูกยักษ์ตนนั้นเขย่า ก็มีอาการเหมือนจะหล่นทับบนกระ-
หม่อมยักษ์ตนนั้นนั่นแหละ เพราะอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่นั้น ยักษ์คนนั้นก็กลัว คิดว่า เอาเถิด เราจะใช้ไฟเผาสมณะนั้น
แล้วก็บันดาลกองไฟที่ดูน่ากลัวยิ่งกองใหญ่ ไฟกองนั้นกลับทวนลมก่อทุกข์
แก่ตนเอง แต่ไม่สามารถจะไหม้แม้เพียงชายจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ฝ่ายยักษ์ตรวจดูว่า ไฟไหม้สมณะหรือไม่ไหม้ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
ทศพล เหมือนประทับนั่งเหนือกลีบบัว ที่อยู่บนผิวน้ำเย็นดุจดวงจันทร์ ส่อง
แสงนวลในฤดูสารททำความยินดีแก่ชนทั้งปวง จึงคิดได้ว่า โอ ! พระสมณะ
ท่านนี้มีอานุภาพมาก เราทำความพินาศใด ๆ แก่พระสมณะท่านนี้ ความพินาศ
นั้น ๆ กลับตกลงเหนือเราผู้เดียว แต่ปล่อยพระสมณะท่านนี้ไปเสีย เราก็ไม่มี
ที่พึ่งที่ชักนำอย่างอื่น คนทั้งหลายที่พลั้งพลาดบนแผ่นดิน ยังต้องยันแผ่นดิน
เท่านั้นจึงลุกขึ้นได้ เอาเถิด จำเราจักถึงพระสมณะท่านนี้แหละเป็นสรณะ.
ดังนั้น ยักษ์ตนนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงหมอบศีรษะลงแทบเบื้อง
ยุคลบาท ที่ฝ่าพระบาทประดับด้วยจักรของพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สำนึกผิดในความล่วงเกิน ขอลุกะโทษพระ-
เจ้าข้า แล้วได้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสอนุบุพพิกถาโปรดยักษ์ตนนั้น จบเทศนา ยักษ์ตนนั้นก็ตั้งอยู่ในโสดา-
ปัตติผล พร้อมด้วยยักษ์หนึ่งหมื่น. ได้ยินว่าในวันนั้น มนุษย์สิ้นทั้งชมพูทวีป
ทำบุรุษแต่ละหมู่บ้านๆ ละคนมาเพื่อพลีสังเวยยักษ์ตนนั้น และนำสิ่งอื่น ๆ มี
งา ข้าวสาร ถั่วพู ถั่วเขียว และถั่วเหลืองเป็นต้นเป็นอันมาก และมีเนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อย เป็นต้น. ขณะนั้น ยักษ์ตนนั้นก็ให้ของทั้ง
หมดที่นำมาวันนั้นคืนแก่ชนเหล่านั้น แล้วมอบมนุษย์ที่เขานำมาเพื่อพลีสังเวย
เหล่านั้นถวายพระทศพล.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงให้มนุษย์เหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุอุป-
สัมปทา ภายใน ๗ วันเท่านั้น ก็ทรงให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัตทั้งหมด ประทับ
ท่ามกลางภิกษุร้อยโกฏิ ทรงยกโอวาทปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมอันประ-
กอบด้วยองค์ ๔ วันเพ็ญมาฆบูรณมี องค์ ๔ เหล่านั้นคือ ทุกรูปเป็นเอหิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
ภิกขุ, ทุกรูปได้อภิญญา ๖, ทุกรูปมิได้นัดหมายกัน มาเอง, และเป็นวัน
อุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ชื่อว่ามีองค์ ๔. นี้เป็นสันนิบาต การประชุมครั้งที่ ๒. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระชินเจ้า ประทับสงัด ณ ภูเขานารทกูฏ
อีก ภิกษุร้อยโกฏิเป็นพระขีณาสพ ปราศจากมลทิน
ก็ประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกคเต ได้แก่ ละหมู่ไป. บทว่า
สมึสุ แปลว่า ประชุมกันแล้ว.
ก็ครั้งใด พระทีปังกรผู้นำโลก เสด็จจำพรรษา ณ ภูเขาชื่อสุทัสสนะ
ได้ยินว่า ครั้งนั้น มนุษย์ชาวชมพูทวีปจัดงานมหรสพกัน ณ ยอดเขา ทุก ๆ ปี
เล่ากันว่า มนุษย์ที่ประชุมในงานมหรสพนั้น พบพระทศพลแล้วก็ฟังธรรม-
กถา เลื่อมใสในธรรมกถานั้น ก็พากันบวช ในวันมหาปวารณา พระศาสดา
ตรัสวิปัสสนากถา ที่อนุกูลแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังวิปัส-
สนากถานั้นแล้ว พิจารณาสังขารแล้วบรรลุพระอรหัต โดยลำดับวิปัสสนาและ
โดยลำดับมรรคทุกรูป. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงปวารณาพร้อมด้วยภิกษุเก้า
หมื่นโกฏิ. นี้เป็นการประชุม ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด พระมหาวีระผู้เป็นมหามุนี ทรงปวารณา
พร้อมด้วยภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ณ ภูเขาสุทัสสนะ.
สมัยนั้น เราเป็นชฎิล มีตบะสูง ถึงฝั่งใน
อภิญญา ๕ จาริกไปในอากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
คาถานี้ ท่านเขียนไว้ในทีปังกรพุทธวงศ์ กถาพรรณานิทานของ
อรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินี แต่ในพุทธวงศ์นี้ไม่มี ก็การที่คาถานั้นไม่
มีนั่นแหละเหมาะกว่า ถ้าถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะกล่าว
มาแล้วในสุเมธกถาแต่หนหลัง.
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรทรงแสดงธรรม ธรรมาภิ-
สมัย การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นและสองหมื่น แต่ที่สุดแห่งการตรัสรู้
มิได้มีโดยจำนวนหนึ่งคน สองคน สาม และสี่คนเป็นต้น เพราะฉะนั้น
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร จึงแผ่ไปกว้างขวาง มีคนรู้กันมาก
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ธรรมาภิสมัย ได้มีเเก่สัตว์หนึ่งหมื่น สองหมื่น
ไม่นับการตรัสรู้ของสัตว์ โดยจำนวนหนึ่งคน สองคน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีสสหสฺสาน ได้แก่ หนึ่งหมื่นและ
สองหมื่น. บทว่า ธมฺมาภิสมโย ได้แก่ แทงตลอดธรรม คือสัจจะ ๔. บทว่า
เอกทฺวินฺน ความว่า ไม่นับโดยนัยเป็นต้นว่า หนึ่งคนและสองคน สามคน
สี่คน ฯลฯ สิบคน. ศาสนาชื่อว่าแผ่ไปกว้างขวาง ถึงความเป็นจำนวนมาก
เพราะการตรัสรู้นับไม่ถ้วนอย่างนี้ อันเทวดาและมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นอันมาก
รู้ พึงรู้ว่าเป็นนิยยานิกธรรม อันเป็นความสำเร็จแล้วด้วยอธิศีลสิกขาเป็นต้น
และเจริญแล้วด้วยสมาธิเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร อันพระ-
องค์ทรงชำระบริสุทธิ์ดีแล้ว แผ่ไปกว้างขวาง คนเป็น
อันมากรู้กัน สำเร็จแล้ว เจริญแล้วในครั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิโสธิต ได้แก่ อันพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงชำระแล้ว ทำให้หมดจดด้วยดี ได้ยินว่า ภิกษุผู้มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์
มาก สี่แสนรูป แวดล้อมพระทีปังกรศาสดาอยู่ทุกเวลา อธิบายว่า สมัยนั้น
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสกขะ ทำกาลกิริยา [มรณภาพ] ภิกษุเหล่านั้นย่อมถูกครหา
ภิกษุทั้งหมดจึงเป็นพระขีณาสพ ปรินิพพาน เพราะฉะนั้นแล ศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงบานเต็มที่ สำเร็จด้วยดี งดงามเหลือเกิน
ด้วยภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภิกษุสี่แสนรูป มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากย่อม
แวดล้อม พระทศพลทีปังกร ผู้รู้แจ้งโลกทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นเสขะยังไม่
บรรลุพระอรหัต ละภพมนุษย์ไป ภิกษุเหล่านั้นย่อม
ถูกครหา.
ปาพจน์คือพระศาสนา อันพระอรหันต์ผู้คงที่
เป็นขีณาสพ ไร้มลทิน ทำให้บานเต็มที่แล้ว ย่อม
งดงามทุกเมื่อ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ สตสหสฺสานิ พึงถือความ
อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า ฉฬภิญฺา มหิทฺธิกา ดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ภิกษุ
เหล่านี้ ที่ท่านแสดงด้วยการนับแล้วมีจำนวนที่แสดงได้อย่างนี้. อีกนัยหนึ่ง
คำว่า ฉฬภิญฺา มหิทฺธิกา พึงทราบว่าเป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถ
ฉัฏฐีวิภัตติว่า ฉฬภิญฺาน มหิทฺธิกาน. บทว่า ปริวาเรนฺติ สพฺพทา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
ได้แก่ แวดล้อมพระทศพลตลอดกาลเป็นนิตย์ อธิบายว่า ไม่ละพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไปเสียในที่ไหน ๆ. บทว่า เตน สมเยน แปลว่า ในสมัยนั้น ก็
สมยศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถ ๙ อรรถ มีอรรถว่า สมวายะ เป็นต้น เหมือน
อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
สมยศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สมวายะ ขณะ กาล สมูหะ
เหตุ ทิฏฐิ ปฏิลาภะ ปหานะ และปฏิเวธะ.
แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า กาล ความว่า ในกาลนั้น.
บทว่า มานุส ภว ได้แก่ ภาวะมนุษย์. บทว่า อปฺปตฺตมานสา ความว่า พระ
อรหัต อันพระเสขะเหล่าใด ยังไม่ถึงแล้วไม่บรรลุแล้ว. คำว่า มานส เป็นชื่อ
ของราคะ ของจิต และของพระอรหัต. ก็ราคะท่านเรียกว่า มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า
อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวาย จรติ มานโส ราคะนั้นใด เป็นบ่วง เที่ยว
อยู่กลางหาว ย่อมเที่ยวไป. จิตท่านก็เรียกว่า มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า จิตฺต
มโน มานส หทย ปณฺฑร แปลว่า จิต ทั้งหมด. พระอรหัต ท่านเรียกว่า
มานสะ ได้ในบาลีนี้ว่า อปฺปตฺตมานโส เสโข กาล กยิรา ชเนสุต
พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่บรรลุแล้วจะพึงทำกาละเสีย พระชเนสุตะเจ้าข้า.
แม้ในที่นี้ก็ประสงค์เอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ผู้มีพระอรหัต-
ผลอันยังไม่บรรลุแล้ว . บทว่า เสขา ได้แก่ ชื่อว่าเสขะ เพราะอรรถว่าอะไร.
ชื่อว่าเสขะ เพราะอรรถว่าได้เสขธรรม. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเป็นเสขะด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า. ตรัส
ตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นเสขะ
ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิที่เป็นเสขะ ภิกษุเป็นเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยังศึกษาอยู่ เหตุนั้นจึงชื่อว่าเสขะ. สมจริงดัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ดังนี้แล เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่าเสขะ ภิกษุศึกษาอะไรเล่า ภิกษุศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา
อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ดังนี้แล ภิกษุ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
เสขะ. บทว่า สุปุปฺผิต ได้แก่ แย้มด้วยดีแล้ว. บทว่า ปาวจน ได้แก่
คำอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว หรือคำที่ถึงความเจริญแล้ว ชื่อว่าปาวจนะ. คำ
เป็นประธานนั้นแล ชื่อว่า ปาวจนะ อธิบายว่า พระศาสนา. บทว่า
อุปโสภติ ได้แก่ เรื่องรองยิ่ง รุ่งโรจน์ยิ่ง. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุก
กาล. ปาฐะว่า อุปโสภติ สเทวเก ดังนี้ก็มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่ารัมมวดี
มีพระชนกเป็นกษัตริย์ พระนามว่าพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีเป็นพระเทวีพระ-
นามว่า พระนางสุเมธา มีพระอัครสาวกคู่ ชื่อสุมังคละ และ ติสสะ มีพระ
อุปัฏฐากชื่อสาคตะ มีพระอัครสาวิกาคู่ ชื่อนันทา และสุนันทา ต้นไม้เป็นที่
ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คือ ต้นเลียบ. พระองค์สูง ๘๐ ศอก
พระชนมายุแสนปี.
ถ้าจะถามว่า ในการแสดงนครเกิดเป็นต้นเหล่านี้มีประโยชน์อะไร. ขอ
ชี้แจงดังนี้ ผิว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่พึงปรากฏพระนครเกิดไม่พึงปรา-
กฏพระชนก ไม่พึงปรากฏพระชนนีไซร้ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ก็ย่อมไม่
ปรากฏพระนครเกิด พระชนก พระชนนี. ชนทั้งหลาย เมื่อสำคัญว่าผู้นี้เห็น
จะเป็นเทพ สักกะ ยักษ์ มาร หรือพรหม ปาฏิหาริย์เช่นนี้แม้ของเทวดาทั้ง
หลายไม่อัศจรรย์ ก็จะไม่พึงสำคัญพระดำรัสว่าควรฟังควรเชื่อถือ แต่นั้น การ
ตรัสรู้ก็ไม่มี ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ไร้ประโยชน์ พระศาสนาก็จะ
ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงควรแสดงปริจเฉทขั้นตอน มีนครเกิด
เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่ารัมมวดี
พระชนกพระนามพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีพระนาม
พระนางสุเมธา.
พระพิชิตมารทรงครอบครองอาคารสถานอยู่
หมื่นปี ทรงมีปราสาทอันอุดม ๓ หลัง ชื่อว่า หังสา
ปราสาท โกญจาปราสาท และมยุราปราสาท.
มีสนมนารี ๓ แสนนาง ล้วนประดับประดาสวย
งาม พระมเหสีพระนามว่า ปทุมา พระโอรสพระนาม
ว่า อุสภักขันธกุมาร.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว ออก
ผนวชด้วยคชยานคือ พระยาข้างต้น ทรงบำเพ็ญเพียร
อยู่ ๑๐ เดือนเต็ม.
ครั้นทรงบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็ได้ตรัสรู้พระสัม-
โพธิญาณ พระมหามุนีทีปังกร มหาวีรเจ้าอันพรหม
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับ
อยู่ที่นันทาราม ประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรงปราบปราม
เดียรถีย์.
พระทีปังกรศาสดา ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า
สุมังคละ และติสสะ มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า สาคตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่านันทาและสุนันทา ต้นไม้
ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกัน
ว่าต้นเลียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
พระทีปังกรมหามุนี สูง ๘๐ ศอก สง่างาม
เหมือนต้นไม่ประจำทวีป เหมือนต้นพระยาสาละออก
ดอกบานเต็มต้น.
พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีพระชน-
มายุแสนปี พระองค์พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสารแล้ว ก็เสด็จ
ดับขันธ์ปรินิพพาน ทั้งพระสาวก เหมือนกองไฟลุก
โพลงแล้วก็ดับไป.
พระวรฤทธิ์ด้วย พระยศด้วย จักรรัตนะที่พระ
ยุคลบาทด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทุกอย่าง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จนิพพาน ณ นันทา-
ราม พระสถูปของพระชินเจ้าพระองค์นั้น ที่นันทาราม
สูง ๓๖ โยชน์.
พระสถูปบรรจุบาตร จีวร บริขารและเครื่อง
บริโภคของพระศาสดาประดิษฐานอยู่ที่โคนโพธิพฤกษ์
ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเทโว นาม ขตฺติโย ความว่า พระ-
องค์มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ. บทว่า ชนิกา ได้แก่ พระชนนี.
บทว่า ปิปฺผลิ ได้แก่ ต้นเลียบหรือต้นมะกอกเป็นต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้. บทว่า
อสีติหตฺถมุพฺเพโธ แปลว่าพระองค์สูง ๘๐ ศอก. บทว่า ทีปรุกฺโขว ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นยังทรงพระชนม์อยู่มีพระสรีระประดับด้วยพระวรลักษณ์
๓๒ ประการและพระอนุพยัญชนะ พร้อมบริบูรณ์ด้วยพระสัณฐานสูงและใหญ่
ประดุจต้นไม้ประจำทวีป ที่ประดับด้วยประทีปมาลาอันรุ่งเรือง ทรงสง่างาม
เหมือนพื้นนภากาศ ที่รุ่งเรืองด้วยหมู่ดาวที่เปล่งแสงเป็นข่ายรัศมีเลื่อมประกาย.
บทว่า โสภติ แปลว่า งามแล้ว. บทว่า สาลราชาว ผุลฺลิโต ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าสูง ๘๐ ศอก สง่างามอย่างยิ่ง เหมือนต้นพระยาสาละ ที่ออก
ดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น และเหมือนต้นปาริฉัตตกะสูงร้อยโยชน์ ดอกบาน
เต็มต้น.
บทว่า สตสหสฺสวสฺสานิ ความว่า พระองค์ทรงมีพระชนมายุ
แสนปี. บทว่า ตาวตา ติฏฺมาโน ได้แก่ ทรงมีพระชนม์ยืนอยู่เพียง
เท่านั้น. บทว่า ชนต ได้แก่ ประชุมชน. บทว่า สนฺตาเรตฺวา มหาชน
แปลว่า ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ปาฐะว่า สนฺตาเรตฺวา สเทวก ดัง
นี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า ทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
บทว่า สา จ อิทฺธิ ความว่า สมบัตินั้น และอานุภาพด้วย. บทว่า โส จ
ยโส ความว่า บริวารยศนั้นด้วย. บทว่า สพฺพ ตมนฺตรหิต ความว่า
มีประการดังกล่าวมานั้นทั้งหมด เกิดเป็นสมบัติ ก็อันตรธานปราศไป. บทว่า
นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา ความว่า ก็สังขตธรรมทั้งหมด ก็ว่างเปล่า
แน่แท้ คือเว้นจากสาระว่าเที่ยงเป็นต้น.
ก็ในพุทธวงศ์นี้ ปริเฉทตอนที่ว่าด้วยนครเป็นต้นมาในบาลี. ส่วน
วาระมากวาระ ไม่ได้มา วาระนั้นควรนำมาแสดง. อะไรบ้าง คือ
๑. ปุตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโอรส
๒. ภริยาปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชายา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
๓. ปาสาทปริเฉท ตอนว่าด้วย ปราสาท
๔. อคารวาสปริเฉท ตอนว่าด้วย การอยู่ครองเรือน
๕. นาฏกิตถิปริเฉท ตอนว่าด้วย สตรีฟ้อนรำ
๖. อภินิกขมนปริเฉท ตอนว่าด้วย อภิเนษกรมณ์
๗. ปธานปริเฉท ตอนว่าด้วย การบำเพ็ญเพียร
๘. วิหารปริเฉท ตอนว่าด้วย พระวิหาร
๙. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก.
เหตุในการแสดงปริเฉทเหล่านั้น กล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง ก็พระทีปังกรพระองค์
นั้น มีพระสนมสามแสนนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า ปทุมา พระโอรส
พระนามว่า อุสภักขันธะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระชินศาสดาทีปังกร มีพระมเหสี พระนามว่า
ปทุมา งามปานปทุมบาน พระโอรสพระนามว่าอุสภัก-
ขันธะ.
มีปราสาท ๓ หลงชื่อ หังสา โกญจา มยุรา
ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี.
พระชินเจ้าเสด็จอภิเนษกรมณ์ด้วยคชยาน คือ
พระยาช้างต้น ประทับอยู่ ณ พระวิหาร ชื่อว่านันทา-
ราม พระองค์มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่านันทะ๑ ทรงทำ
ความร่าเริงแก่โลก
ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี เวมัตตะ คือความแตกต่างกัน ๕ อย่าง
คือ ๑. อายุเวมัตตะ ๒. ปมาณเวมัตตะ ๓. กุลเวมัตตะ ๔. ปธานเวมัตตะ
๕. รัศมิเวมัตตะ.
๑. บาลีเป็น สาคตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
บรรดาเวมัตตะ ๕ นั้น ชื่อว่า อายุเวมัตตะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบาง
พระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุน้อย จริงอย่างนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทีปังกร มีพระชนมายุประมาณแสนปี พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
มีพระชนมายุประมาณร้อยปี.
ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระ-
องค์ต่ำ จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทีปังกรมีขนาดสูงประมาณ ๘๐ ศอก ส่วน
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราสูงประมาณ ๑๘ ศอก.
ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ได้แก่ บางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บาง
พระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทีปังกรเป็นต้นเกิด
ในตระกูลกษัตริย์ พระพุทธเจ้ากกุสันธะและพระโกนาคมนะเป็นต้นเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์.
ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ ได้แก่ บางพระองค์ ทรงบำเพ็ญเพียรชั่วเวลา
นิดหน่อยเท่านั้นเช่นพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ บางพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียร
เป็นเวลานาน เช่นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
ชื่อว่า รัสมิเวมัตตะ ได้แก่ รัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มังคละแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเพียงวาเดียว.
บรรดาเวมัตตะ ๕ นั้น รัศมีเวมัตตะ ย่อมเนื่องด้วยพระอัธยาศัย
พระองค์ใดปรารถนาเท่าใด รัศมีพระสรีระของพระองค์นั้น ก็แผ่ไปเท่านั้น.
ส่วนพระอัธยาศัยของพระมงคลพุทธเจ้าได้มีแล้วว่า ขอรัศมีจงแผ่ไปตลอดหมื่น
โลกธาตุ. แต่ไม่มีความแตกต่างกันในการแทงตลอดคุณทั้งหลายของพระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์.
อนึ่ง มีสถานที่ ๔ แห่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละเว้น. โพธิ
บัลลังก์เป็นสถานที่ไม่ทรงละ ย่อมมีในที่แห่งเดียวกันแน่นอน. สถานที่ประกาศ
พระธรรมจักรก็ไม่ทรงละ อยู่ในป่าอิสิปตนะ มิคทายวันเท่านั้น. ในเวลาเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
ลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนครย่างพระบาทแรก ก็ไม่ทรงละ. สถานที่
เท้าเตียงทั้งสี่ตั้งอยู่ ที่พระคันธกุฎีในพระเชตวันวิหารก็ไม่ทรงละเหมือนกัน.
แม้พระวิหารก็ไม่ทรงละ แต่พระวิหารนั้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง.
อนึ่ง ข้ออื่นอีก ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรามีสหชาตปริเฉท
ตอนว่าด้วยสหชาต และนักขัตตปริเฉทตอนว่าด้วยนักษัตร มีเป็นพิเศษ. เล่า
กันว่าสหชาต คือสิ่งที่เกิดร่วมกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรา มี ๗ คือ พระ-
มารดาของพระราหุล พระอานันทเถระ นายฉันนะ พระยาม้ากัณฐกะ ขุมทรัพย์
มหาโพธิพฤกษ์ พระกาฬุทายี. ได้ยินว่า โดยดาวนักษัตรในเดือนอาสาฬหะหลัง
นั่นแล พระมหาบุรุษ ก็เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ ประกาศพระธรรมจักร ทรงทำยมกปาฏิหาริย์, โดยดาวนักษัตรใน
เดือนวิสาขะ ก็ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยดาวนักษัตรในเดือน
มาฆะ พระองค์ก็ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยดาวนักษัตร
ในเดือนอัสสยุชะ (ราวกลางเดือน ๑๑) เสด็จลงจากเทวโลก. ความพิเศษ
ดังกล่าวมานี้ ควรนำมาแสดง นี้เป็นปริเฉท ตอนว่าด้วยวาระมากวาระ คาถา
ที่เหลือ ง่ายดายทั้งนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ดำรงอยู่จนตลอดพระชนมายุ ทรงทำ
พุทธกิจทุกอย่าง เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตาม
ลำดับ.
ได้ยินว่า ในกัปใด ที่พระทีปังกรทศพลเสด็จอุบัติ ในกัปนั้นได้มีแม้
พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ อีก ๓ พระองค์คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระ
สรณังกร การพยากรณ์พระโพธิสัตว์ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่มี
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่แสดงไว้ในที่นี้. แต่เพื่อแสดงพระ-
พุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่เสด็จอุบัติแล้วอุบัติแล้ว ตั้งแต่ต้นกัปนั้น ในอรรถกถา
ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า คือ
พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร
พระโกณฑัญญะ.
พระมุนี คือพระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ
พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ
พระปทุมุตตระ.
พระผู้มียศใหญ่ ผู้นำโลก คือ พระสุเมธะ
พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมม-
ทัสสี พระสิทธัตถะ.
พระสัมพุทธเจ้าผู้นำ คือพระติสสะ พระผุสสะ
พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสภู พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ.
พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นได้มีมาแล้ว ทรงปราศ-
จากราคะ มีพระหฤทัยมั่นคง เสด็จอุบัติแล้ว ก็ทรง
บรรเทาความมืดอย่างใหญ่ ดังดวงอาทิตย์ พระองค์
กับทั้งพระสาวก ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
ดังกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น.
จบ พรรณนาวงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้า
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิลาสินีที่แต่ง
ไม่สังเขปนัก ไม่พิศดารนัก ดังกล่าวมาฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
๒. วงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
[๓] ต่อจากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้นำโลก ผู้มีพระเดชไม่มี
ที่สุด มีพระยศนับไม่ได้ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้
ยากที่จะเข้าเฝ้า.
พระองค์ทรงมีพระขันติเปรียบด้วยแผ่นธรณี ทรง
มีศีล เปรียบด้วยสาคร ทรงมีสมาธิเปรียบด้วยขุนเขา
พระเมรุ ทรงมีพระญาณเปรียบด้วยท้องนภากาศ.
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศอินทรีย์ พละ
โพชฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์
ทั้งปวง.
เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อ ๆ จากนั้น ในสมาคม
ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์แสดงธรรม ธรรมา-
ภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรง
มีสันนิบาต ประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้คงที่
๓ ครั้ง.
คือครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมพระขีณาสพจำนวน
แสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ จำนวนเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓
จำนวนแปดหมื่นโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี ครอบ
ครองอิสราธิปัตย์เหนือปฐพี มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต.
เราเลี้ยงพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ ผู้ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ผู้เป็นนาถะเลิศแห่งโลก ให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหาร
อันประณีต.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้นับแต่กัปนี้.
ตถาคตจักออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่
น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา นั่ง ณ โคน
อัชปาลนิโครธ รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว จักเข้า
ไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้า เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา จักเดินตามทางที่เขาตกแต่งดีแล้วเข้าไปที่
โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ จักทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
พระชนนีของท่านผู้นี้ จักมีพระนามว่าพระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้
นี้จักมีพระนามว่า โคดม.
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุป-
ติสสะ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ จักบำรุงพระชินะ
เจ้าพระองค์นี้.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบล-
วรรณา เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น.
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้น เรียกกันว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
มีอัครอุปัฎฐากชื่อ จิตตะ และหัตถอาฬวกะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และอุตตรา.
พระชนมายุของพระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น
ประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสของ
พระผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว ก็ปรา-
โมชปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวดา ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่า ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ฝ่ายพวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
เฉพาะหน้า ก็ไปถือเอาท่าน้ำท่าหลัง ข้ามแม่น้ำ
ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินเจ้าพระ-
องค์นี้ไป ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของ
ท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้น เมื่อจะยังประโยชน์นั้นนั่นแลให้สำเร็จ
จึงได้ถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ แด่พระชินเจ้า ครั้น
ถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว ก็บวชในสำนักของ
พระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมดทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาทในอิริยาบถ
นั่ง ยืน และ เดิน ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ก็ไปสู่
พรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มี
พระนคร ชื่อว่า รัมมวดี พระชนกพระนามว่าพระเจ้า
สุนันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมี
ปราสาทอย่างยอดเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า รุจิปราสาท
สุรุจิปราสาท สุภปราสาท มีพระสนมนารีสามแสน
นาง มีพระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิเทวี มีพระ
โอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ.
ทรงเห็นนิมิตทั้ง ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วย
ยานคือรถทรง พระชินเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน
เต็ม.
พระมหาวีระโกณฑัญญะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์
สองเท้าผู้สงบ อันพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักรแก่เทพดาทั้งหลาย ณ มหาวัน.
ทรงมีคู่อัครสาวก ชื่อพระภัททะและพระสุภัททะ
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อนุรุทธะ.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีคู่
อัครสาวิกา ชื่อพระติสสาและพระอุปติสสา. พระ-
โกณฑัญญูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีต้นไม้เป็นที่
ตรัสรู้ ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อโสณะ และอุปโสณะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทา และสิริมา.
พระมหามุนีพระองค์นั้น ส่ง ๘๘ ศอก ทรงสง่า
งามเหมือนดวงจันทร์ ประหนึ่งดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี พระองค์
เมื่อทรงพระชนม์อยู่เพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แผ่นดินก็งดงามด้วยพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน
เหมือนท้องนภากาศงามด้วยหมู่ดาว พระองค์ก็งดงาม
เหมือนอย่างนั้น.
พระอรหันต์เหล่านั้น ทาประมาณมิได้ ไม่หวั่น
ไหวด้วยโลกธรรม ยากที่จะมีผู้เข้าไปหา พระผู้มียศ
ใหญ่เหล่านั้น แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วก็นิพพาน
เหมือนสายฟ้าแลบ.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้าไม่มีอะไรเทียบได้
พระสมาธิอันญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงพระสิริเสด็จดับ
ขันธ์ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทารามพระเจดีย์ของ
พระองค์ในพระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.
จบวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระเจ้าทีปังกรเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี. เพราะอันตรธานแห่งพระสาวกทั้งหลาย
ของพระพุทธะและอนุพุทธะแม้ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน. ต่อมาภายหลัง
ศาสนาของพระองค์ ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง พระศาสดาพระนามว่าโกณฑัญญะ
ก็อุบัติในกัปหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมีมาสิบหก
อสงไขยแสนกัป อบรมบ่มพระญาณแก่กล้าแล้ว ทรงดำรงอยู่ในอัตภาพเช่น
เดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้น
ดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตนั้น จนตลอดพระชนมายุ ประทานปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย
จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี ในราชสกุลของ
พระเจ้าสุนันทะ กรุงรัมมวดี. ในขณะที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิ ก็บังเกิด
พระปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการดังกล่าวไว้ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า. พระองค์
มีเหล่าเทวดาถวายอารักขา ถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ทรง
เป็นยอดของสรรพสัตว์ บ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาทได้ ๗
ก้าว ทรงแลดูทุกทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เรา
เป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.
ต่อนั้น ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น พระประยูรญาติ
ทั้งหลาย ก็ขนานพระนามว่า โกณฑัญญะ ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้นทรงมีพระโคตร เป็นโกณฑัญญโคตร. เขาว่า พระองค์มีปราสาท ๓
หลังน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ชื่อว่า รามะปราสาท สุรามะปราสาท๑ สุภะปราสาท. ทั้ง
๑. บาลีเป็น รุจิ สุรุจิ และสุภะปราสาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
๓ หลังนั้นมีสตรีฝ่ายนาฏกะ ผู้ชำนาญการฟ้อนรำ การขับร้องและการบรรเลง
ประจำอยู่ถึงสามแสนนาง. พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี มีพระโอรส
พระนามว่า วิชิตเสนะ ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี.
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช เสด็จ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถทรงเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐
เดือน โกณฑัญญกุมารกำลังผนวชอยู่ คนสิบโกฏิก็บวชตามเสด็จโกณฑัญญ-
กุมารนั้น อันคนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน ณ
ดิถีเพ็ญเดือนวิสาขะเสวยข้าวมธุปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง ซึ่งธิดาเศรษฐีชื่อว่า
ยโสธรา ผู้มีเต้าถันอวบอิ่มเท่ากัน ณ บ้าน สุนันทคาม ถวายแล้ว ทรงยับยั้ง
พักกลางวัน ณ ป่าต้นสาละ ที่ประดับด้วยผลใบอ่อนและหน่อ เวลาเย็น
ทรงละหมู่แล้วทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุนันทะอาชีวก ถวาย มาแล้ว ทรงทำ
ประทักษิณต้นสาลกัลยาณี [ต้นขานาง] ๓ ครั้ง ทรงสำรวจดูทิศบูรพา ทรงทำ
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ ทรงปูลาดหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ทรงนั่ง
ขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลังของมาร ในราตรี
ปฐมยาม ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ
ในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการ ทรงออกจากจตุตถฌานที่มีอานาปานสติ
เป็นอารมณ์ ทรงหยั่งสำรวจในปัญจขันธ์ ก็ทรงเห็นลักษณะทั้งหลายด้วยปัญญา
อันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ ทรงแทง
ตลอดมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณ
กำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณทั้งสิ้น ทรงมีความดำริบริบูรณ์
แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ที่ตรัสรู้ ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่
พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
ชาติความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนตัณหานายช่าง
ผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือน
อีกไม่ได้ โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว จิตของเราถึงธรรมเป็นที่
สิ้นตัณหาแล้ว.
คติแห่งไฟที่ลุกโพลง ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ที่นาย
ช่างตีด้วยพะเนินเหล็กกำจัดแล้วก็สงบเย็นลงโดยลำดับ
ไม่มีใครรู้คติความไปของมันได้ ฉันใด. คติของพระ-
ขีณาสพผู้หลุดพ้นโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะ
บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว ก็ไม่มีใครจะรู้คติของท่าน
ได้ ฉันนั้น. ๑
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ใน
สัปดาห์ที่ ๘ ทรงอาศัยการอาราธนาของพรหม ทรงใคร่ครวญว่า เราจะแสดง
ธรรมครั้งแรกแก่ใครเล่าหนอ ก็ได้ทรงเห็นภิกษุ ๑๐ โกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์
ว่า กุลบุตรพวกนี้สะสมกุศลมูลไว้ จึงบวชตามเรา ซึ่งกำลังบวช บำเพ็ญเพียร
กับเรา บำรุงเรา เอาเถิด เราจะพึงแสดงธรรมแก่กุลบุตรพวกนี้ก่อนใครหมด
ครั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ก็ทรงตรวจดูว่า ภิกษุเหล่านั้น บัดนี้อยู่ที่ไหน
ก็ทรงเห็นว่าอยู่กันที่เทวะวัน กรุงอรุนธวดีระยะทาง ๑๘ โยชน์แต่ที่นี้ จึงทรง
อันตรธานจากโคนโพธิพฤกษ์ไปปรากฏที่เทวะวันเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น.
๑. ขุ. อุ ๒๕/ข้อ ๑๗๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
สมัยนั้น ภิกษุสิบโกฏิเหล่านั้นอาศัยกรุงอรุนธวดีอยู่ที่เทวะวัน. ก็แล
เห็นพระทศพลทรงพุทธดำเนินมาแต่ไกล พากันมีใจผ่องใสรับเสด็จ รับบาตร
จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดพุทธอาสน์ ทำความเคารพ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า นั่งแวดล้อม ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ณ ที่นั้นพระโกณฑัญญทศพล
อันหมู่มุนีแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันรุ่งโรจน์ ประดุจท้าว
สหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อม ประดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่โคจร
ณ พื้นนภากาศอันไร้มลทิน ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม. ครั้ง
นั้น พระศาสดาตรัสพระธัมมจักกัปวัตตนสูตร มีปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ อัน
ยอดเยี่ยม ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงซ่องเสพแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น ทรง
ยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ มีภิกษุสิบโกฏิเป็นประธานให้ดื่มอมฤตธรรม.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภายหลังสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่าโกณฑัญญะผู้นำโลก ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุด
ผู้มีบริวารยศกำหนดไม่ได้ มีพระคุณประมาณมิได้
ยากที่ผู้ใดจะเข้าเฝ้า มีพระขันติอุปมาดังแผ่นธรณี มี
พระศีลคุณอุปมาดังสาคร มีพระสมาธิอุปมาดังเขาเมรุ
มีพระญาณอุปมาดังท้องนภากาศ.
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพช-
ฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทุกเมื่อ.
เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งแรกก็ได้มี
แก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีปงฺกรสฺส อปเรน ความว่า ในสมัย
ต่อจากสมัยของพระทีปังกรศาสดา. บทว่า โลณฺฑญฺโ นาม ได้แก่ เป็น
พระนามาภิไธยที่ทรงได้รับโดยพระโคตรของพระองค์. บทว่า นายโก ได้แก่
เป็นผู้นำวิเศษ. บทว่า อนนฺตเตโช ได้แก่ มีพระเดชไม่มีที่สุด ด้วยเดช
แห่งพระศีลคุณพระญาณและบุญ. เบื้องต่ำแต่อเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องขวาง โลกธาตุอันไม่มีที่สุด ในระหว่างนี้ แม้บุคคลผู้หนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้
สามารถที่จะยืนมองพระพักตร์ของพระองค์ไม่มีเลย ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
อนนฺตเตโช. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารยศไม่มีที่สุด. จริงอยู่ แสน
ปีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตลอดจนถึงสมัยเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในระหว่างนี้ จำนวนภิกษุบริษัทกำหนดไม่ได้เลย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า
อมิตยโส แม้ผู้มีเกียรติคุณที่กำหนดมิได้ ก็ตรัสว่า อมิตยโส. บทว่า
อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ผู้ประมาณมิได้ โดยปริมาณหมู่แห่งคุณ เหตุนั้นจึงชื่อว่า
อปฺปเมยฺโย มีพระคุณหาประมาณมิได้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณ
กปฺปมฺปิ เจ อญฺมภาสมาโน
ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร
วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺส.
ถ้าแม้ว่าพระพุทธเจ้า พึงตรัสสรรเสริญพระคุณ
ของพระพุทธเจ้า โดยไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย แม้ตลอด
ทั้งกัป. กัปที่มีในระหว่างกาลอันยาวนาน ก็จะพึงสิ้นไป
แต่การสรรเสริญพระคุณของพระตถาคต ยังหาสิ้นไป
ไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงเรียกว่าอัปปเมยยะ เพราะทรงมีหมู่พระคุณ
ประมาณมิได้. บทว่า ทูราสโท ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ เข้าเฝ้าได้ยาก
อธิบายว่า ความเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเบียดเสียดกันเข้าไปเฝ้า ชื่อว่าทุราสทะ
คือเป็นผู้อันใครๆ ไม่มีอำนาจเทียบเคียงได้.
บทว่า ธรณูปโม ได้แก่ ผู้เสมอด้วยแผ่นธรณี. บทว่า ขมเนน
ได้แก่ เพราะพระขันติ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้อุปมาด้วยแผ่นธรณ
เพราะไม่ทรงหวั่นไหวด้วยอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์ มีลาภและไม่มีลาภ
เป็นต้น เหมือนมหาปฐพีอันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ไม่ไหวด้วยลมปกติ
ฉะนั้น. บทว่า สีเลน สาครูปโม ได้แก่ ทรงเสมอด้วยสาคร เพราะไม่
ทรงละเมิดขอบเขตด้วยศีลสังวร จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทร ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ล่วงขอบเขต ดังนี้.
บทว่า สมาธินา เมรูปโม ได้แก่ ทรงเป็นผู้เสมอคือเสมือน
ด้วยขุนเขาเมรุ เพราะไม่มีความหวั่นไหวอันจะเกิดแต่ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อ
สมาธิ หรือว่ามีพระสรีระมั่นคง เหมือนขุนเขาเมรุ. ในบทว่า
าเณน คคนูปโม นี้ ท่านทำอุปมาด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุด เพราะพระญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อนันตะ ไม่มีที่สุด
ไว้ ๔ อย่าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สตฺตกาโย จ อากาโส จกฺกวาฬา จนนฺตกา
พุทฺธาณ อปฺปเมยฺย น สกฺกา เอเต วิชานิตุ.
หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาล ไม่มีที่สุด ๑
พระพุทธญาณ หาประมาณมิได้ ๑ ทั้ง ๔ นี้อันใคร ๆ
ไม่อาจรู้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
เพราะฉะนั้น จึงทรงทำอุปมาญาณอันไม่มีที่สุด ด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุดแล.
บทว่า อินฺทฺริยพลโพชฺฌงฺคมคฺคสจฺจปฺปกาสน ความว่า แม้
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน แสะอิทธิบาท ก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย ด้วยการถือเอา
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศ
แสดง ธรรมเป็นเครื่องประกาศโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยสังเขป ๔
มีอินทรีย์เป็นต้น. บทว่า หิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
ธมฺมจกฺก ปวตฺเตนฺเต ได้แก่ เมื่อทรงให้เทศนาญาณเป็นไปอยู่.
ต่อจากนั้น ในมหามงคลสมาคม เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิต
อัตภาพอันละเอียด ประชุมกันในจักรวาลนี้นี่แล. เล่ากันว่าในมหามงคลสมาคม
นั้น เทพบุตรองค์หนึ่ง ทูลถามมงคลปัญหา กะพระโกณฑัญญทศพล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมงคลทั้งหลายโปรดเทพบุตรองค์นั้น. ในมหามงคลสมาคม
นั้น เทวดาเก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต. จำนวนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบัน
เป็นต้นกำหนดไม่ได้เลย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนอกไป
จากนั้น โปรดมนุษย์และเทวดาทั้งหลายในสมาคม
อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่เทวดาเก้า-
หมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ปรมฺปิ ได้แก่ แม้ในส่วนอื่น
อีก จากนั้น. บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ธรรม. บทว่า นรมรูน ได้แก่ แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. ครั้งใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีมานะของเดียรถีย์ ทรงแสดง
ธรรม ณ ภาคพื้นนภากาศ ครั้งนั้น มนุษย์และเทวดาแปดหมื่นโกฏิ บรรลุ
พระอรหัต ผู้ที่ตั้งอยู่ในผล ๓ เกินที่จะนับได้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย่ำยีพวก
เดียรถีย์ จึงทรงแสดงธรรมโปรด ครั้งนั้น อภิสมัย
การตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๓ จึงได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
พึงนำ ตทา ศัพท์ มาจึงจะเห็นความในคาถานั้นว่า ครั้งใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยจึงได้มีแก่สัตว์แปดหมื่น
โกฏิ.
ได้ยินว่า พระโกณฑัญญศาสดา ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิญาณแล้ว
พรรษาแรก ทรงอาศัย กรุงจันทวดี ประทับอยู่ ณ พระวิหาร จันทาราม
ในที่นั้น ภัททมาณพ บุตรของพราหมณ์มหาศาล ชื่อ สุจินธระ และ
สุภัททมาณพ บุตรของ ยโสธรพราหมณ์ ฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะ
พระพักตร์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า มีใจเลื่อมใส ก็บวชในสำนักของพระองค์
พร้อมกับมาณพหมื่นหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัต.
ครั้งนั้น พระโกณฑัญญศาสดา อันภิกษุแสนโกฏิมีพระสุภัททเถระ
เป็นประธานแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เพ็ญเดือนเชษฐะ
(เดือน ๗) นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๑. ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรสของพระ-
โกณฑัญญศาสดา พระนามว่าวิชิตเสนะ ทรงบรรลุพระอรหัต พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ ท่ามกลางภิกษุพันโกฏิมีพระวิชิต-
เสนะนั้นเป็นประธาน นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๒. สมัยต่อมา พระทศพล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
เสด็จจาริก ณ ชนบท ทรงยัง พระเจ้าอุเทน ซึ่งมีชนเก้าสิบโกฏิเป็นบริวาร
ให้ทรงผนวชพร้อมด้วยบริษัท เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้น ทรงบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิมีพระเจ้าอุเทนนั้นเป็นประธาน
แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๓ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุมภิกษุ ผู้เป็นพระขีณาสพ ไร้มลทิน
ผู้มีจิตสงบผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสน
โกฏิ ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุพันโกฏิ ครั้งที่ ๓ ประ-
ชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระนามว่า วิชิตาวี ประทับอยู่ ณ กรุงจันทวดี เล่ากันว่า พระองค์อันคน
ชั้นดีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงปกครองแผ่นดิน อันเป็นที่อยู่แห่งน้ำและ
ขุมทรัพย์ พร้อมทั้งขุนเขาสุเมรุและยุคันธร ทรงไว้ซึ่งรัตนะหาประมาณมิได้
โดยธรรม ไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา ครั้งนั้น พระโกณฑัญญพุทธเจ้า อัน
พระขีณาสพแสนโกฏิแวดล้อมแล้ว เสด็จจาริก ณ ชนบท เสด็จถึงกรุงจันทวดี
โดยลำดับ.
เล่ากันว่า พระเจ้าวิชิตาวี ทรงสดับข่าวว่า เขาว่า พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า เสด็จถึงนครของเราแล้ว จึงออกไปรับเสด็จ จัดแจงสถานที่ประทับ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหาร ณ วันรุ่งขึ้นพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์. วันรุ่งขึ้น ก็ทรงให้เขาจัดภัตตาหารเป็นอย่างดีแล้ว ได้ถวายมหาทาน
แก่ภิกษุสงฆ์นับได้แสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระโพธิสัตว์ ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว จบอนุโมทนา ทรงทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์เมื่อจะทรงทำการสงเคราะห์มหาชน ขอโปรดประทับอยู่ในนคร
นี้นี่แหละตลอดไตรมาส ได้ทรงถวายอสทิสทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน เป็นนิตย์ ตลอดไตรมาส.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่าจักเป็นพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล แล้วทรงแสดงธรรมแก่พระองค์
ท้าวเธอทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ทรงมอบราชสมบัติ ออกทรง
ผนวช ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว
มีฌานไม่เสื่อม ก็บังเกิดในพรหมโลก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าวิชิตาวี เป็นใหญ่
เหนือปฐพี มีสมุทรสาครเป็นที่สุด.
เรายังพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้แสวงคุณอันยิ่ง
ใหญ่แสนโกฏิ พร้อมด้วยพระผู้ทรงเป็นนาถะเลิศแห่ง
โลก ให้อิ่มหนำด้วยข้าวนำอันประณีต.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้มีคุณ
ที่ประมาณมิได้ในโลก ในกัปต่อจากกัปนี้.
พระตถาคต จักออกทรงผนวช จากกรุงกบิล-
พัสดุ์อันรื่นรมย์ ทรงกระทำความเพียร คือ กระทำ
ทุกกรกิริยา.
พระตถาคต จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิ-
โครธ รับมธุปายาส ณ ที่นั้น แล้วเสด็จไปสู่ฝั่งแห่ง
แม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
พระชินเจ้า พระองค์นั้น ครั้นเสวยมธุปายาส
ที่ฝั่งเนรัญชรานั้นแล้ว ก็เสด็จไปที่ควงโพธิพฤกษ์
ตามเส้นทางที่มีผู้จัดแจงไว้.
ลำดับนั้น พระองค์ผู้ทรงพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมณฑ์
อันประเสริฐสุด จักตรัสรู้ (พระสัมมาสัมโพธิญาณ) ณ ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพุทธมารดา พระนามว่า
มายา มีพระชนกพุทธบิดา พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า โกลิตะและอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง
จักมีพุทธอุปัฏฐากชื่อ อานันทะ บำรุงพระชินะนั้น.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าเขมา และอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง.
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียก
ว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
จักมีอัครอุปัฏจาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถะและอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระชนมายุของพระโคตมะผู้มียศพระองค์นั้น ประ-
มาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้เสมอนี้แล้ว ก็พากันปลื้มใจ
ว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
เทวดาในหมื่นโลกธาตุ พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
ผิว่า พวกเราพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ตรงหน้า ก็ถือท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
ไป ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.
เราได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้
เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์นั้น นั่น
แล จึงถวายมหาราชสมบัติแด่พระชินเจ้า ครั้นถวาย
มหาราชสมบัติแล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย นวังคสัตถุศาสน์
ทุกอย่าง ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้น ใน
อิริยาบถนั่งนอนและเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญาเข้าถึง
พรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห เตน สมเยน ได้แก่ เราใน
สมัยนั้น. บทว่า วิชิตาวี นาม ได้แก่ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนาม
อย่างนี้. ในบทว่า สมุทฺท อนฺตมนฺเตน นี้ ความว่า เราเป็นใหญ่ ตลอด
ปฐพีที่ตั้งจักรวาลบรรพต ทำจักรวาลบรรพตเป็นเขตแดน ทำสมุทรสาครเป็น
ที่สุด ความเป็นใหญ่มิใช่ปรากฏด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
เล่ากันว่า ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะ พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จไป
ยังบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ทางส่วนบนสมุทร มีเขาสิเนรุ
อยู่เบื้องซ้าย ในที่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิ จะประทานโอวาทว่า ไม่ควรฆ่า
สัตว์มีชีวิต ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้. ไม่ควรประพฤติผิดในกาม
ทั้งหลาย ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา จงบริโภคของตามบริโภคได้.
เมื่อประทานโอวาทอย่างนี้แล้ว จักรรัตนะนั้นก็เหาะสู่อากาศหยั่งลงสมุทรด้าน
ทิศบูรพา หยั่งโดยประการใดๆ คลื่นที่หดตัวก็แตกกระจาย เมื่อเดินลงก็เดิน
ลงสู่น้ำในมหาสมุทร ชั่วโยชน์เดียว ตั้งอยู่น่าดูอย่างยิ่ง เหมือนฝาแก้วไพฑูรย์
แก้วมณี ทั้งสองข้างภายในสมุทร โดยประการนั้น ๆ จักรรัตนะนั้นไปตลอด
ที่มีสาครด้านทิศบูรพาเป็นที่สุดอย่างนั้นก็หมุนกลับ เมื่อจักรรัตนะนั้นหมุน
กลับ บริษัทนั้นก็อยู่ทางปลาย พระเจ้าจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง ตัวจักรรัตนะ
อยู่ท้าย จักรรัตนะแม้นั้น กระทบน้ำมีมณฑลดื่มเป็นที่สุดเท่านั้น เหมือนไม่
ยอมพรากชายน้ำ จึงเข้าสู่ริมฝั่ง.
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงชนะบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศบูรพา
เป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะทรงชนะชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรด้าน
ทิศทักษิณเป็นที่สุดจึงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ เสด็จไปตามทางที่จักร
รัตนะแสดง จักรรัตนะนั้น ครั้นชนะชมพูทวีป ซึ่งมีขนาดหมื่นโยชน์แล้ว
ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศทักษิณ ก็ไปโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลัง เพื่อชนะ
อปรโคยานทวีป ซึ่งมีขนาดเจ็ดพันโยชน์ ครั้นชนะอปรโคยานทวีปนั้น ซึ่ง
มีสาครเป็นที่สุดแล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศปัจฉิมไปอย่างนั้นเหมือนกัน เพื่อ
ชนะอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ก็ชนะอย่างนั้นเหมือนกัน ทำ
อุตตรกุรุทวีปนั้น มีสมุทรเป็นที่สุด ก็ขึ้นแม้จากสมุทรด้านทิศอุดร. ความ
เป็นใหญ่ เป็นอันพระเจ้าจักรพรรดิทรงประสบแล้วเหนือปฐพี ที่มีสาครเป็น
ที่สุด ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราเป็นใหญ่
เหนือปฐพีมีสมุทรเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
บทว่า โกฏิสตสหสฺสาน ได้แก่ แสนโกฏิ. หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า วิมลาน ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลาย. บทว่า สห
โลกคฺคนาเถน ความว่า แสนโกฏิกับด้วยพระทศพล. บทว่า ปรมนฺเนน
แปลว่า ด้วยข้าวอันประณีต. บทว่า ตปฺปหึ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว. บทว่า
อปริเมยฺยิโต กปฺเป ความว่า ล่วงไปสามอสงไขยกำไรแสนกัปนับตั้งแต่กัปนี้
คือในภัทรกัปนี้.
บทว่า ปธาน แปลว่า ความเพียร. บทว่า ตเมว อตฺถ สาเธนฺโต
ความว่า บำเพ็ญประโยชน์คือทานบารมีอันทำความเป็นพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล
ให้สำเร็จ ให้เป็นผล. บทว่า มหารชฺช ได้แก่ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า ชิเน ได้แก่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือพึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงใน
อรรถจตุตถีวิภัตติ. บทว่า อท แปลว่า ได้ให้แล้ว. พึงเห็นการเชื่อม
ความด้วยบทนี้ว่า เอวมตฺถ สาเธนฺโต อาจารย์บางพวกสวดว่า
มหารชฺช ชิเน ททึ ดังนี้ก็มี. บทว่า ททิตฺวาน ได้แก่ สละ. บทว่า
สุตฺตนฺต ได้แก่ สุตันตปิฎก. บทว่า วินย ได้แก่ วินัยปิฎก. บทว่า
นวฺงค ได้แก่ นวังสัตถุศาสน์มีสุตตะ เคยยะเป็นต้น. บทว่า โสภยึ ชินสาสน
ได้แก่ ประดับพร้อมด้วยอาคมและอธิคมอันเป็นโลกิยะ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่
ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น . บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่
ถึงพร้อมด้วยสติ. บทว่า พฺรหฺมโลกมคญฺฉห ตัดบทเป็น พฺรหฺมโลก
อคญฺฉึ อห.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นี้ มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี พระ-
ชนกทรงพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุชาดาเทวี. คู่พระอัครสาวกคือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ พระ-
อุปัฏฐากชื่อว่า อนุรุทธะ คู่พระอัครสาวิกา คือ พระติสสา และ พระ
สุอุปติสสา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ คือต้น สาลกัลยาณี [ขานาง] พระสรีระสูง ๘๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
ศอก พระชนมายุประมาณแสนปี พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ มีอุปัฏฐาก พระนามว่า เจ้าจันทะ ประ-
ทับอยู่ ณ พระวิหารจันทารามแล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่ารัมมวดี มีพระชนกพระนามว่า พระ
เจ้าสุนันทะ มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีคู่
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอนุรุทธะ.
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีคู่
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระติสสา และ พระอุปติสสา
มีตัดต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าต้นสาลกัลยาณี.
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก สง่างาม
เหมือนดวงจันทร์ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ฉะนั้น.
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี พระองค์มี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร.
แผ่นเมทนี งดงาม ด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย
ผู้ไร้มลทิน ก็เหมือนท้องนภากาศ งดงามด้วยเหล่า
ดวงดาวทั้งหลาย พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงงดงามอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
พระขีณาสพแม้เหล่านั้น หาประมาณมิได้ อัน
โลกธรรมให้ไหวมิได้ ยากที่สัตว์จะเข้าไปหา พระผู้มี
ยศใหญ่เหล่านั้น แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบแล้วต่าง
ก็ดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้า ที่ไม่มีผู้เทียบได้นั้น
และพระสมาธิที่พระญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตร-
ธานไปหมดสั้น สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลกลฺยาณิโก ได้แก่ ต้นสาลกัลยาณี
ต้นสาลกัลยาณีนั้น เกิดในสมัยมีพระพุทธเจ้า และสมัยมีพระเจ้าจักรพรรดิ
เท่านั้น ไม่เกิดในสมัยอื่น. เล่ากันว่า ต้นสาลกัลยาณีนั้น ผุดขึ้นวันเดียว
เท่านั้น. บทว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ วิจิตฺตา อาสิ เมทนี ความว่า
แผ่นเมทนีนี้รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลายน่าดูอย่างยิ่ง
ศัพท์ว่า ยถา หิ เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา. บทว่า อุฬูภิ แปลว่า ด้วย
ดวงดาวทั้งหลาย อธิบายว่าแผ่นเมทนีนี้ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อ
ว่าสง่างามเหมือนท้องนภากาศงดงามด้วยหมู่ดาวทั้งหลาย.
บทว่า อสุงฺโขพฺภา ได้แก่ ไม่กำเริบ ไม่วิกาด้วยโลกธรรม ๘
ประการ. บทว่า วิชฺชุปาตว ทสฺเสตฺวา แปลว่า แสดงตัวเหมือนสายฟ้า
แลบ. ปาฐะว่า วิชฺชุปฺปาต ว ดังนี้ก็มี. ความจริง ครั้งพระโกณฑัญญ-
พุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานก็โลดขึ้นสู่อากาศชั่ว ๗ ต้นตาล รุ่งโรจน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
ไปรอบๆ เหมือนสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆสีน้ำเงินแก่ เข้าเตโชธาตุแล้วก็
ปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเธอ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า แสดงตัวเหมือน
สายฟ้าแลบ. บทว่า อตุลิยา แปลว่า ชั่งไม่ได้ ไม่มีผู้เสมือน. บทว่า
าณปริภาวิโต แปลว่า อันญาณให้เจริญแล้ว คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น
เพราะมีนัยที่กล่าวมาแต่หนหลังแล.
พระโกณฑัญญสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพ-
พาน ณ พระวิหารจันทาราม ที่น่ารื่นรมย์ เขาสร้าง
พระเจดีย์สำหรับพระองค์ เจ็ดโยชน์.
พระธาตุทั้งหลาย ของพระศาสดาพระองค์นั้นไม่
กระจัดกระจาย คงดำรงอยู่เป็นแท่งเดียว เหมือนรูป
ปฏิมาทอง.
มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ช่วยกันเอาหินอ่อนสีเหลืองก่อ
แทนดิน ใช้น้ำมันและเนยแทนน้ำสร้างจนแล้วเสร็จแล.
จบ พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
๓. วงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า
[๔] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชิน-
พุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสูงสุด. สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทา
ความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบ
มิได้ แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัย ครั้ง
ที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของ
ท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเถรีอัน
ประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ครั้งนั้น ข้าราชบริพารตามเสด็จพระเจ้าสุนันท-
จักรพรรดิราช มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ ชนเหล่านั้น ก็ได้
เป็นผู้บวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทาทั้งหมด ไม่เหลือ
เลย.
สมัยพระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มี
สันนิบาตการประชุม ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประ-
ชุมสาวกแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ก็เป็นการประชุมสาวก
แสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุมสาวกเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมสาวกผู้เป็นพระขีณาสพ ผู้ไร้
มลทิน.
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุรุจิ เป็นผู้คงแก่
เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท เราเข้าเฝ้า ถึงพระศาสดา
เป็นสรณะ บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ด้วยของหอมและดอกไม้ ครั้นบูชาด้วยของหอมและ
ดอกไม้แล้ว ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยควปานะ
ขนมแป้งผสมน้ำนมโค.
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
พระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระ-
พุทธเจ้าในกัปที่นับไม่ได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุง-
กบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
ตกแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่ทรงทำประทักษิณโพธิ-
มัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้วตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิ-
พฤกษ์ ชื่อว่าอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า มายา พระ-
ชนกพระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าพระ
โคตมะ.
จักมีคู่อัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุป-
ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้า
ผู้นี้.
จักมีคู่อัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น ต้นโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เรียกว่าอัสสัตถพฤกษ์.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะ
อาฬวกะ จักมีอัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
อุตตรา พระโคตมพุทธเจ้าผู้มียศพระองค์นั้น จักมี
พระชนมายุ ประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สดับพระดำรัสของ
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
นี้แล้ว ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อ
พุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่
ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ
กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
เฉพาะหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำทางหลัง ข้ามมหานทีฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าจะละพ้นพระชินเจ้าพระ-
องค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของ
ท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า พระองค์
นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสมากขึ้น อธิษฐานวัตรยิ่ง
ยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันประเสริฐ จึงถวายเคหสมบัติของเรา แด่พระ
มงคลพุทธเจ้า แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุ-
สาสน์ได้หมด ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราเมื่ออยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาท เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ๕ ก็ไปพรหมโลก.
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมี
พระนคร ชื่อว่าอุตตระ มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อุตตระ พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรง
มีปราสาทเยี่ยมยอด ๓ หลัง ชื่อ ยสวา สุจิมา สิริมา
ทรงมีพระสนมนารีสามหมื่นถ้วน มีพระอัครมเหสี
พระนามว่ายสวดี พระโอรสพระนามว่า สีวละ.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษ-
กรมณ์ด้วยยานคือม้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม.
พระมหาวีระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้เป็นยอด
แห่งสัตว์สองเท้า ผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป.
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
อัครสาวกชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ มีพุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลาและพระ-
อโสกา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นนาคะ คือต้นกากะทิง.
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และ สุมนา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก พระรัศมีหลายแสน
แล่นออกจากพระสรีระนั้น.
สมัยนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี พระองค์
ทรงพระชนม์อยู่ถึงเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อาจนับ
คลื่นเหล่านั้นได้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของพระมงคล-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่า
นั้นได้ ฉันนั้น.
พระมงคลสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่
ตราบใด ในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีการตายของ
สาวกผู้ยังมีกิเลส ตราบนั้น.
พระผู้มียศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงรุ่งเรืองแล้ว ก็เสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรม
แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก รุ่งเรืองแล้วก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน เหมือนกองไฟดับ ประดุจดวงอาทิตย์
อัสดงคต ฉะนั้น.
พระมงคลพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ อุทยาน ชื่อ
เวสสระ ชินสถูปของพระองค์ ณ อุทยานนั้น สูงสาม
สิบโยชน์.
จบวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
พรรณาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ดังได้สดับมา เมื่อพระโกณฑัญญศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพาน
แล้ว ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี เพราะพระสาวกของพระพุทธะและ
อนุพุทธะอันตรธาน ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน. ต่อจากสมัยของพระ-
โกณฑัญญพุทธเจ้า ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง ในกัปเดียวกันนี่แล ก็บังเกิดพระ
พุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ
ใน ๔ พระองค์นั้น พระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงบำเพ็ญบารมีสิบหก
อสงไขยกำไรแสนกัป ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์
ชั้นนั้น เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการ เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น ครั้งนั้น
เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น จึงพากันอ้อนวอนว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
กาโลย เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิย
สเทวก ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมต ปท.
ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ
พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา
เถิด พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้าม
โอฆสงสาร โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด เจ้าข้า.
ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕
ประการก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนาง-
อุตตราเทวี ราชสกุลของ พระเจ้าอุตตระ ผู้ยอดเยี่ยม ใน อุตตระนคร
ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหมือนครทุกนคร ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมาก
ปาฏิหาริย์เหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในวงศ์ของพระทีปังกร
พุทธเจ้านั่นแล.
นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น พระรัศมีแห่ง
พระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก ทั้งกลางคืนกลางวัน แสง
จันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้ พระรัศมีนั้น กำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมี
แห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น พระพี่เลี้ยง
พระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่.
เล่ากันว่า พระนางอุตตราเทวีนั้น มีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาส
ก็ประสูติพระมังคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่า อุตตรมธุรอุทยานอัน
มีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
บัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟาน และฝูงเนื้อ
นานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติ
เท่านั้น ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว
ทรงเปล่งอาสภิวาจา ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็ปรากฏกาย ประดับ
องค์ด้วย ทิพยมาลัยเป็นต้น ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล
ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น
โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่า มงคลกุมาร เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติ
ทุกอย่าง.
ได้ยินว่า พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวา รุจิมา
สิริมา สตรีเหล่านาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนสามหมื่น มีพระนาง
ยสวดีเป็นประธาน ณ ปราสาทนั้นพระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุข เก้าพัน
ปี ทรงได้พระโอรสพระนามว่า สีลวา ในพระครรภ์ของพระนางยสวดี พระ-
อัครมเหสี ทรงม้าตัวงามนามว่า ปัณฑระ ที่ตกแต่งตัวแล้ว เสด็จออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์สามโกฏิ ก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่
ทรงผนวชพระองค์นั้น พระมหาบุรุษ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรง
บำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน.
แต่นั้น ก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้ อันนาง
อุตตรา ธิดาของ อุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว ทรงยับยั้ง
พักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่น มีแสงสีเขียว น่า
รื่นรมย์ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อุตตระอาชีวกถวาย เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ที่ตรัสรู้
ชื่อนาคะ [กากะทิง] มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคิรี สีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
ตาข่ายทองคลุม เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนา
ทึบ ที่ต้องลมอ่อน ๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิที่น่าชื่นชม ก็
ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ ประทับยืนข้างทิศอีสาน [ตะวันออกเฉียง
เหนือ ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น
ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการ
หยั่งลงโดยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย ก็ทรงบรรลุพระ-
อนุตตรสมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพส
คหการ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน
คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ วิสงฺขต
วิสงฺขารคต จิตฺต ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือนเมื่อไม่พบ
ก็ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก การเกิด
บ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน ตัว
ท่านเราพบแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว โครง
สร้างเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว ยอดเรือนท่าน
เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.
ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระ พระมงคลพุทธเจ้า มีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า
พระองค์อื่นๆ รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
พระองค์อื่นๆ ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดย
รอบ ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น แผ่ไปตลอด
หมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตู
เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้า
หมื่นปี. รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้นไม่มีตลอดเวลาถึง
เท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายทำการงาน
กันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนทำงานด้วยแสงสว่าง
ของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอก-
ไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ. ตอบว่า
ไม่มี หามิได้ ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์ ก็ทรง
แผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น แต่รัศมีแห่งพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล แผ่ไปตลอดหมื่นโสกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ เหมือน
รัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้อง
ต้น. เขาว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระ
โอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับ
อยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต. ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์
เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อขรทาฐิกะ ได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะ
พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่
พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดิน
หวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
พราหมณ์นั้นเสีย มีดวงตากลมเหลือกเหลืองดังเปลวไฟ มีเขี้ยวโง้งไม่เสมอกัน
น่าเกลียดน่ากลัว มีจมูกบี้แบน มีผมแดงหยาบยาว มีเรือนร่างเสมือนต้นตาล
ไหม้ไฟใหม่ๆ จับทารกสองพระองค์ เหมือนกำเหง้าบัวเคี้ยวกิน พระมหาบุรุษ
มองดูยักษ์ พอยักษ์อ้าปาก ก็เห็นปากยักษ์นั้น มีสายเลือดไหลออกเหมือน
เปลวไฟ ก็ไม่เกิดโทมนัสแม้เท่าปลายผม เมื่อคิดว่าเราให้ทานดีแล้ว ก็เกิดปีติ
โสมนัสมากในสรีระ. พระมหาสัตว์นั้นทรงทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทาน
ของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงแล่นออกโดยทำนองนี้ เมื่อพระ-
องค์อาศัยความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมีทั้งหลายจึงเปล่งออกจาก
สรีระ แผ่ไปตลอดสถานที่มีประมาณเท่านั้น.
บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก. เล่ากันว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง คิดว่า
ควรที่จะสละชีวิตของเราเพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดย
ทำนองพันประทีปด้าม ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสนซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาด
ศอกหนึ่ง เต็มด้วยของหอมและเนยใส จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น
ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว ทำประทักษิณพระเจดีย์ของ
พระชินเจ้าให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้น
อย่างนี้ ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม
จริงทีเดียว ชื่อว่าธรรมนี้ย่อมรักษาบุคคลผู้รักษาตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่
ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ใน
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไป
ทุคติ ดังนี้.
ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไป
ตลอดหมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล ก็ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้
เทียบ ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ ครอบงำแสง
สว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุก็
สว่างจ้า.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตม ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืด
ในดวงใจ. บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ. ในคำว่า ธมฺโมกฺก นี้
อุกฺกา ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น. จริงอย่าง
นั้น เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า
สณฺฑาเสน ชาตรูป คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลง
ในปากเบ้า. ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคต-
สถานว่า อุกฺก พนฺเธยฺย อุกฺก พนฺธิตฺวา อุกฺกามุข อาลิมฺเปยฺย พึงผูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
ภาชนะถ่านไฟ ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ. เตาไฟของ
ช่างทอง ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมาราน ยถา อุกฺกา
อนฺโต ฌายติ โน พหิ เปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้
แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก. ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคต-
สถานว่า เอววิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็น
อย่างนี้. คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุ
ธาริยนานาสุ เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่. แม้ในที่นี้คบเพลิงท่าน
ประสงค์ว่า อุกฺกา. เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จ
ด้วยธรรม พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก ซึ่งถูกความมืด
คืออวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้. บท
ว่า ชิเนหญฺเหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระ
องค์อื่นๆ. บทว่า จนฺทสุริยปฺปภ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่าง
ของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้น.
ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ทรงยับ
ยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์ ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของ
พรหม ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุ
สามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย. ครั้งนั้น ทรงดำริว่า กุลบุตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
เหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย พวกเขาถูกเราซึ่งต้อง
การวิเวกสละไว้ เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัย สิริวัฒนนคร อยู่ยัง
ชัฏสิริวัน เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น แล้วทรงถือ
บาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ
ชัฏสิริวัน ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงอันเตวาสิกวัตร
แล้วนั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธัมมจักกัป-
ปวัตตนสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.
ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้
มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้น ๆ ดื่มรสสัจจะ
บรรเทาความมืดใหญ่ได้.
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ เทวดา
และมนุษย์แสนโกฏิ ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร แปลว่า ๔. บทว่า
สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย ชื่อว่า สัจจะอันประเสริฐ
อธิบายว่า สัจจะสูงสุด. ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความ
ว่า สัจจะอันประเสริฐ สูงสุดทั้ง ๔. บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว. บทว่า สจฺจรส ได้แก่
ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ ๔. บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตม ความว่า
บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า
ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด. ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้
มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺตฺติย ตถา
สพฺพญฺญุเต จ าณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน
ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอย่างนั้น โพธิ ศัพท์ มาในอรรถว่า มรรค ได้ในประโยคเป็น
ต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ าณ ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า
โพธิ. มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺาย
สมฺโพธาย สวตฺตติ ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้
พร้อม. มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมต
อสงฺขต บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา
จ คย อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์. มาในอรรถว่า
บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ ถวายบังคมพระยุคล
บาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.
มาในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ
โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ
ลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
บทว่า อตุล ได้แก่ เว้นที่จะชั่งได้ คือเกินประมาณ อธิบายว่า
ไม่มีประมาณ พึงถือความว่า ในปฐมธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ซึ่งทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม.
สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้า ทรงอาศัยนคร ชื่อ จิตตะ ประทับอยู่
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะ ของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา เหมือน
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ที่โคนต้นคัณฑัมพพฤกษ์แล้ว
ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ
ณ ภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพประเสริฐสำเร็จด้วยทองและเงินใหม่งดงาม เป็นแดน
สำเริงสำราญของเหล่าเทวดาและอสูรหนุ่มสาว ตรัสพระอภิธรรม. สมัยนั้น
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
สมัยใด พระเจ้าจักรพรรดิ พระนาม สุนันทะ ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิ
วัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ. เล่ากันว่า เมื่อ พระมงคลทศพล
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน พระเจ้าสุนันทะทรงเห็น
แล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า จักร-
รัตนะนี้ บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉน จึงเขยื้อนจากฐาน สมัยนั้น
พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อนแด่พระราชาว่า
จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ เพราะ
พระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวชหรือเพราะพระพุทธเจ้าปรากฏ แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอกพระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว. แต่พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติ
แล้วในโลก ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน พระเจ้าสุนันท-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
จักรพรรดิราช พร้อมทั้งบริษัท จึงทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า ทรง
วอนขอว่า ตราบใดเราจักสักการะพระมงคลทศพล ด้วยอานุภาพของท่าน ขอ
ท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด. ลำดับนั้น. จักรรัตนะนั้นก็ได้
ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม.
แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ ผู้มีความบันเทิงพระหฤทัยพรั่ง-
พร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระ
มงคลทศพล ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระ
สงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสน
โกฏิรูป ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้า ผู้
เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่ง-
เรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควรส่วนหนึ่ง แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่าอนุราชกุมาร ก็
ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น ซึ่งมี
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเป็นประธาน พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้ง
บริษัท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ลำดับนั้น พระศาสดาทรง
สำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วย
ฤทธิ์ ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งประดับด้วยข่ายจักร ตรัสว่า พวก
เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในทันทีภิกษุทุกรูป ก็มีผมขนาดสองนิ้ว ทรงบาตร
จีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ ประหนึ่งพระ-
เถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ เสด็จเข้าไป
เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐ ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมี
จำนวนเก้าสิบโกฏิ ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ไม่มี
เหลือ เป็นเอหิภิกขุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของ
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก. บทว่า ธมฺม ได้แก่ พระอภิธรรม. บทว่า
อาหนิ ได้แก่ ตี. บทว่า วรุตฺตม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ
ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด. บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
บทว่า อาสุ ได้แก่ ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว ถ้าจะถามว่า
หมู่ชนนั้น มีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.
เล่ากันว่า ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี
ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพ และ ธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่ง
เป็นบริวาร พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น. เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
เดือนมาฆะ พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ
นี้เป็นการประชุมครั้งแรก. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของ
บรรพชิต ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตราราม อีก นี้เป็นการประชุม
ครั้งที่ ๒. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ในสมาคม
คณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
การประชุม ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสน
โกฏิ.
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ประ-
ชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุ
ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุรุจิ ในหมู่
บ้าน สุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว ทั้งเชี่ยวชาญใน
โลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์ ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้น เข้าไปเฝ้า
พระศาสดา ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ นิมนต์
พระผู้พระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรง
รับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านพราหมณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น
เป็นการประชุมครั้งที่ ๑ เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่าแสนโกฏิ สุรุจิพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
จึงนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับ
อาหารของข้าพระองค์ พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงทรงรับ
นิมนต์.
พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ก็กลับไปบ้านตนคิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวย
และผ้าได้ แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร ความคิดของท่านพราหมณ์
นั้นก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสหัสนัยน์สักกเทวราช
ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์ ครั้งนั้น
ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์
จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้ ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลก ก็เห็นพระ-
มหาบุรุษ คิดว่า พระมหาสัตว์ผู้นี้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
คิดถึงเรื่องสถานที่ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้นแล้วรับส่วนบุญ
จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ ถือมีดและขวานแล้วปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ
กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ เขา
บอกกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใด ประสงค์จะให้ทำสิ่งไรๆ
ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาท หรือนิเวศน์เป็นต้นไร ๆ อื่น เราก็สามารถทำ
ได้ทั้งนั้น. พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน. เขาถามว่า งานอะไร
เล่า นายท่าน. พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อ
ฉันอาหารวันพรุ่งนี้ ท่านจักต้องสร้างมณฑปสำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่งนะ เขา
กล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ. เขากล่าวว่า ดีละ ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ แล้วก็ตรวจดูภูมิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
ประเทศแห่งหนึ่ง ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ พื้นเรียบเหมือน
วงกสิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. เขาคิดอีกว่า มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วย
รัตนะ ๗ ประการจงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู ในทันใด มณฑป
ที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้นก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้นมีหม้อเงินอยู่ที่เสา
ทอง มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี มีหม้อแก้ว
มณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ มีหม้อรัตนะ ๗ อยู่ที่เสารัตนะ ๗.
ต่อนั้น เขาตรวจดูว่าข่ายกระดิ่ง จงห้อยระหว่างระยะของมณฑป
พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ ก็เปล่งเสียง
ไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง ๕ ได้เป็นเหมือนเวลา
บรรเลงทิพยสังคีต. เขาคิดว่า พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวง
รัตนะ ๗ ของทิพย์ จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย.
อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะ และเครื่องรองทั้งหลาย สำหรับภิกษุ
จำนวนแสนโกฏิ จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น
เขาคิดว่าหม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุก ๆ มุม ๆ ละหม้อ ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลาย
เต็มด้วยน้ำสะอาดหอมและเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วย
ใบทอง ก็ตั้งขึ้น ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว
เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า นายท่าน นานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้ว
โปรดให้ด่าจ้างแก่เราสิ พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น เมื่อเห็น มณฑป
นั่นแลสรีระก็ถูกปีติ ๕ อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็นก็คิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้มิใช่ฝีมือ
มนุษย์สร้าง อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา จึงร้อนถึงภพของท้าวสักก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
เทวราช ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว. พระ-
มหาสัตว์คิดว่า การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา
จำเราจะถวายตลอด ๗ วัน ธรรมดาทานภายนอก แม้มีประมาณเท่านั้น ก็ยัง
ไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะ
ย่อมจะชื่อว่าพอใจ ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่
หยอดแล้ว หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน. จริงอยู่ ในสิวิชาดก เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ของเรา สละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน ให้ทาน ๕ แห่ง คือ
ท่ามกลางนคร และที่ประตูทั้ง ๕. ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะ
ได้เลย. แต่สมัยใด ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอจักษุทั้งสองข้าง
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์นั้น ก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละ จึงเกิด
ความร่าเริง จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม. ด้วยประการดังกล่าว
มานี้ พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย อาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้น คิดว่า เราควรถวายทานแก่ภิกษุ
จำนวนแสนโกฏิ จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่า
ควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] ๗ วัน.
โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบน
เตา ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง
คลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่า ควปานะ ในบาลีนั้น
ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส ๔ ดังนี้ก็มี. แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้ สถาน
ที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย แต่ภิกษุเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
นั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ. วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุ
ทุกรูป บรรจุด้วยเนยใส เนยขึ้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ได้ถวายพร้อมด้วย
ไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะในที่นั้นได้แล้ว ก็เป็นของมีค่านับแสน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา ทรงใคร่ครวญดูว่า มหา-
บุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ จักเป็นใครกันหนอ ก็ทรงเห็นว่า ใน
อนาคตกาล เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในที่สุดสองอสงไขย
กำไรแลนกัป แต่นั้น จึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาล
ประมาณเท่านี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ลำดับนั้น พระ-
มหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม
คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึง
ละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ บวชในสำนักของพระศาสดา เรียน
พระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่
จนตลอดอายุ ที่สุดอายุ บังเกิดแล้วในพรหมโลก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คง
แก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วย
ของหอมและดอกไม้ ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้
แล้วก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยขนมควปานะ.
พระมงคลพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ พวกเราจัก
อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่ง
ขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันประเสริฐ ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า
แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ
ดอกไม้. คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี. บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว. บทว่า
อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น. บทว่า ทสปารมิ-
ปูริยา ได้แก่ เพื่อทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม. บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่ง
ใจ. บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ. บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา
ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่
บริจาคแด่พระพุทธเจ้า. บทว่า ม เคห ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ
๑. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔ หน้า ๓๕๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย ๔. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น. บทว่า พฺรหฺม ได้แก่ เจริญพรหมวิหาร
ภาวนา.
ก็พระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า มีพระนคร ชื่อว่า อุตตรนคร
แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าอุตตระ แม้
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตระ คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ
และ พระธรรมเสนะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ มีคู่พระ-
อัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ พระอโสกา ต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อต้นนาคะ
[กากะทิง] พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี ส่วนพระ-
ชายาพระนามว่า ยสวดี พระโอรสพระนามว่า สีวละ เสด็จอภิเนษกรมณ์
โดยยานคือ ม้า ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม อุปัฏฐากชื่อ อุตตระ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปีก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน. หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์
ทุกจักรวาล ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
นคร ชื่ออุตตรนคร มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อุตตระ พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระ-
ธรรมเสนะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อพระสีวลา และพระ
อโสกา ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียก
ว่าต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก พระรัศมีแล่นออก
จากพระสรีระนั้นหลายแสน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี พระ-
องค์ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่า
นั้นได้ฉันใด สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระมงคลสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่
เพียงใด ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของ
พระองค์ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีป
ธรรม ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไป
ฉะนั้น.
พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลาย
เป็นสภาวธรรมแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือน
กองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสง
สว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคล
พุทธเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็น
วจนะวิปลาส. .บทว่า รสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย. บทว่า อเนกสตสหสฺสี
ก็คือ หลายแสน. บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น. บทว่า คเณตุเย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
แปลว่า เพื่อคำณวน คือนับ. อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใคร ๆ ไม่อาจ
นับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ ฉันใด แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น. บทว่า
ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า สกิเลสมรณ ตทา ความว่า
บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส. ความตาย
ของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่า สกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส.
ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี. เขาว่า สมัยนั้น สาวกทั้งหลายในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด
ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย] อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณ ตทา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ธมฺโมกฺก แปลว่า ประทีปธรรม. ไฟท่านเรียกว่า ธูมเกตุ
แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสง
แล้วก็ดับไป. บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก. บทว่า สงฺขาราน ได้แก่ สังขตธรรม
ธรรมที่มีปัจจัย. บทว่า สภาวตฺต ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะ
เป็นต้น. บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมี
นับพัน กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคต
ฉันใด แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนย-
สัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้
ก็ฉันนั้น คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
๔. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า
[๕] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือคำสั่งสอนของ
พระชินพุทธเจ้ามีองค์ ๙ ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์
คือธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย
แล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้าง
นคร คือพระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คดแต่
ตรงใหญ่กว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา อภิญญา
๖ และสมาบัติ ๘ ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจ
ประกอบด้วยหิริและวีริยะ ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้
ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
พระศาสดา เมื่อทรงยกชนเป็นอันมากขึ้นด้วย
การประกอบนั้น อย่างนี้นี่แล ก็ทรงสัตว์แสนโกฏิ
ให้ตรัสรู้ เป็นครั้งที่ ๑.
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงสั่งสอนหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น สัตว์พันโกฏิ ก็ตรัสรู้ ในการแสดงธรรม
ครั้งที่ ๒.
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ พร้อมเพรียงเป็น
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทูลถามนิโรธปัญหาและข้อสงสัย
ทางใจ.
แม้สมัยนั้น สัตว์เก่าหมื่นโกฏิ ก็ได้ตรัสรู้ครั้ง
ที่ ๓ ในการแสดงธรรมในการตอบนิโรธปัญหา.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตการประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศปวารณา พระตถาคตก็ทรงปวารณา
พรรษา พร้อมด้วยภิกษุแสนโกฏิ.
ต่อจากสันนิบาต การประชุมครั้งที่ ๑ นั้น ใน
การประชุมภิกษุเก้าหมื่นโกฎิ ณ ภูเขาทองไร้มลทิน
เป็นการประชุม ครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
สมัยที่ท้าวสักกะเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้า
พระพุทธเจ้า เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุม
กัน เป็นครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาคชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก
สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราออกจากพิภพนาค พร้อมด้วยเหล่า
ญาตินาคทั้งหลาย บำรุงบำเรอพระชินพุทธเจ้าด้วย
ดนตรีทิพย์.
เราเลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วย
ข้าวน้ำ ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
อันน่ารื่นรมย์แล้ว ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา เสด็จเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์โดยทางอันดี
ที่เขาจัดไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า มายา พระ-
ชนก พระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้ชื่อโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อพระโกลิตะ พระอุปติสสะผู้
ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบล
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า
จิตตะและหัตถะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า
นันทมาตาและอุตตรา. พระโคดมผู้พระยศ พระองค์
นั้น มีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุมน
พุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสิ้น ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของ
ท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ยังถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้
ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะละพ้นพระชินเจ้าพระ-
องค์นี้ไปเสีย ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า เมขละ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าหมื่นปี มี
ปราสาทยอดเยี่ยม ๓ ปราสาท ชื่อ จันทะ สุจันทะ
และวฏังสะ.
ทรงมีพระสนมนารี แต่งกายงาม หกหมื่นสาม
พันนาง มีพระมเหสีพระนามว่า วฏังสกี มีพระโอรส
พระนามว่า อนูปมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง ทรงตั้งความเพียร ๑๐
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระ สุมนะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ กรุงเมขละ ราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
อัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทน.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา และพระ-
อุปโสณา พระพุทธเจ้าผู้เสมอกับ พระพุทธเจ้าที่ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า
ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง).
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะและสรณะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
เก้าสิบศอก พระรูปพระโฉมงดงามเสมือนรูปบูชาทอง
หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น อายุมนุษย์เก้าหมื่นปี พระองค์เมื่อ
ทรงพระชนม์ยืนเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังคนที่ควรข้ามให้ข้าม
โอฆสงสาร ทรงยังชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วก็
เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้
เสมือนพระองค์นั้น มียศยิ่งใหญ่ แสดงรัศมีที่ไม่มี
อะไรเปรียบได้ ยังพากันนิพพานทั้งนั้น.
พระญาณ ที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น รัตนะ ที่ไม่มี
อะไรชั่งได้เหล่านั้น ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยศ เสด็จดับขันธปรินิพ-
พาน ณ พระวิหารอังคาราม พระชินสถูปของพระองค์
ณ พระวิหารนั้นนั่นแล สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
พรรณนา วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพานทำหมื่น
โลกธาตุให้มืดลงพร้อมกัน ด้วยเหตุอย่างเดียวอย่างนี้แล้ว ต่อมาจากสมัยของ
พระองค์ เมื่อมนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอายุเก้าหมื่นปี แล้วก็ลดลงโดยลำดับจน
เกิดมามีอายุเพียงสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีก จนมีอายุถึงอสงไขยปี แล้วลดลงอีก
จนมีอายุเก้าหมื่นปี พระโพธิสัตว์พระนามว่า สุมนะ ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิด
ในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมา
เทวี ในราชสกุลของพระเจ้าสุทัตตะ ณ เมขลนคร เรื่องปาฏิหาริย์มีนัยที่เคย
กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยมาโดยลำดับ อันเหล่าสตรีฝ่ายนาฏกะ
[ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนหกหมื่นสามแสนนางบำเรออยู่ ณ ปราสาท ๓
หลัง ชื่อ๑ สิริวัฒนะ โลมวัฒนะและอิทธิวัฒนะ อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญ
ปรนนิบัติอยู่ เสวยสุขตามวิสัย เสมือนสุขทิพย์ ประหนึ่งเทพกุมารี ทรงให้
กำเนิดพระโอรสที่ไม่มีผู้เปรียบ พระนามว่า อนูปมะ แก่พระนางวฏังสิกาเทวี
ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง ทรงผนวชแล้ว
ส่วนชนสามสิบโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงผนวชอยู่.
พระองค์ อันชนสามสิบโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐
เดือน ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ เสวยข้าวมธุปายาส อันมีโอชะทิพย์ที่เทวดา
ใส่ ที่ นางอนุปมา ธิดาของ อโนมเศรษฐี ใน อโนมนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อนุปมาชีวก ถวาย
๑. ตามบาลีว่า ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ นาคะ ต้นกากะทิง ทรงทำประทักษิณต้นนาคะ
โพธิ์นั้น ทรงเอาหญ้า ๘ กำปูเป็นสันถัดหญ้ากว้าง ๓๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ
เหนือสันถัตหญ้านั้น. ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร แทงตลอดพระสัพ-
พัญญุตญาณ ทรงเปล่งอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน
ขยมชฺฌคา ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ถัดสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่า สุมนะ ทรงเป็นผู้นำโลก ไม่มีผู้เสมอด้วย
ธรรมทั้งปวง สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มงฺคลสฺส อปเรน ความว่า ต่อมาภาย
หลังสมัยของพระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า. บทว่า สพฺพธมฺเมหิ อสโม
ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ด้วยธรรมคือศีล สมาธิ ปัญญา แม้ทุกอย่าง.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคสุมนพุทธเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหมเพื่อแสดงธรรม ทรง
ใคร่ครวญว่า จะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นว่า ชนที่บวชกับพระ-
องค์สามสิบโกฏิ พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า
สรณกุมาร และบุตรปุโรหิต ชื่อว่า ภาวิตัตตมาณพ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัย ทรงพระดำริว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นก่อน จึงเสด็จ
โดยทางนภากาศ ลงที่พระราชอุทยาน เมขละ ทรงส่งพนักงานเฝ้าพระราช
อุทยานไปเรียก สรณกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์และภาวิตัตตมาณพ
บุตรปุโรหิต แล้วทรงยังสัตว์แสนโกฏิอย่างนี้ คือ บริวารของคนเหล่านั้นสาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
สิบเจ็ดโกฏิ ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ และเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มาก
โกฏิ ให้ดื่มอมฤตธรรมด้วยทรงประกาศพระธรรมจักร ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พระองค์ทรงลั่นอมตเภรี คือ คำสั่ง
สอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ อันประกอบด้วยสังข์คือ
ธรรม ณ นครเมขละ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมตเภรึ ได้แก่ เภรีเพื่อบรรลุอมตะ
เพื่อบรรลุพระนิพพาน. บทว่า อาหนิ ได้แก่ ประโคม อธิบายว่า แสดงธรรม
ชื่อว่า อมตเภรีนี้นั้น ก็คือพุทธวจนะมีองค์ ๙ มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยเหตุนั้น
นั่นแล จึงตรัสว่า คือคำสั่งสอนของพระชินเจ้า อันประกอบด้วยสังข์คือธรรม
ในคำนั้น. บทว่า ธมฺมสงฺขสมายุตฺต ได้แก่ อันประกอบพร้อมด้วยสังข์
อันประเสริฐ คือ กถาว่าด้วยสัจธรรม ๔.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อ
ทรงปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่ปฏิญญา ก็ได้ทรงสร้างอมตนครอันประเสริฐ
มีศีลเป็นปราการอันไพบูลย์ มีสมาธิเป็นดูล้อม มีวิปัสสนาญาณเป็นทวาร มีสติ
สัมปชัญญะเป็นบานประตู ประดับด้วยมณฑปคือสมาบัติเป็นต้น เกลื่อนกล่น
ด้วยชน เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ เพื่อป้องกันรัตนะคือ กุศล อันเหล่าโจรคือ
กิเลสทั้งหลาย คอยปล้นสดมภ์ เพื่อประโยชน์แก่การเปลื้องมหาชนให้พ้น
เครื่องพันธนาการ คือภพ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชนะกิเลสทั้งหลาย
แล้ว ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้าง
นคร ชื่อสัทธัมมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺชินิตฺวา ได้แก่ ชนะได้เด็ดขาด.
อธิบายว่า ทรงกำจัดกิเลสมาร และเทวบุตรมาร. บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มี
พระภาคเจ้าสุมนะ พระองค์นั้น . ปาฐะว่า วิชินิตฺวา กิเลเสหิ ดังนี้ก็มี. หิ
อักษรเป็นนิบาต ใช้ในอรรถเพียงบทบูรณ์. บทว่า ปตฺวา แปลว่า บรรลุ
แล้ว. ปาฐะว่า ปตฺโต ดังนี้ก็มี. บทว่า นคร ได้แก่ นครคือพระนิพพาน.
บทว่า สทฺธมฺมปุรวรุตฺตม ได้แก่ สูงสุด ประเสริฐสุด เป็นประธาน บรรดา
นครอันประเสริฐทั้งหลาย กล่าวคือสัทธรรมนคร. อีกนัยหนึ่ง บรรดานคร
อันประเสริฐที่สำเร็จด้วยสัทธรรม นิพพานนครสูงสุด จึงชื่อว่าสัทธัมมปุร-
วรุตตมะนคร สูงสุดในบรรดาสัทธรรมนครอันประเสริฐ ในอรรถวิกัปต้น พึง
เห็นคำว่า นคร ว่าเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั้นเท่านั้น. พระนิพพานเป็น
ที่ตั้งแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลายที่เป็นพระเสกขะและอเสกขะ ผู้แทงตลอด
สภาวธรรมแล้ว ท่านเรียกว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นโคจรและเป็นที่อยู่ ก็ใน
สัทธรรมนครอันประเสริฐนั้น พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงสร้างถนนใหญ่
ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐาน อันไม่ขาด ไม่คด แต่ตรง ทั้งหนาทั้งกว้างไว้ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ ทรงสร้างถนนใหญ่ อันไม่ขาดไม่คด
แต่ตรง ที่หนาและกว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐ
สูงสุด.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรนฺตร ได้แก่ ชื่อว่า ไม่ขาดเพราะ
กุศลชวนจิตสัญจรไปไม่ว่างเว้น. บทว่า อกุฏิล ได้แก่ ชื่อว่าไม่คด เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
เว้นจากโทษที่ทำให้คด. บทว่า อุชุ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้
เป็นคำแสดงความของบทต้น . บทว่า วิปุลวิตฺถต ได้แก่ ชื่อว่าหนาและ
กว้าง เพราะยาวและกว้าง ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดย
สติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ. บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺานวรุตฺตม ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรม
อันประเสริฐด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้น
แห่งนิพพานมหานครนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ณ ถนนนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่ง
รัตนะเหล่านั้นว่า ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบ
พร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่ง
สินค้า คือรัตนะเหล่านี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึง
ใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ กุลบุตรเหล่านั้น ๆ
ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตาม
สบาย.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน. บทว่า
อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ. บทว่า อขิลา
ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ ๕ ประการ. บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า
ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น คำนี้เป็นชื่อของความ
ละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ. วีริยะนั้น มีลักษณะเป็น
ความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริ
และวีริยะเหล่านั้น. บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน แห่งอุเทศ
ที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เต ความว่า
กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้ ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าว
แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรม
เภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน โดยนัยว่า
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น ด้วยการประกอบ
นั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร
คือสังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค. บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า
แสนโกฏิ. ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.
ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความ
มัวเมาและมานะของเดียรถีย์ ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์
พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม. สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ ๒.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็น
เดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ติตฺถิเย
อภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์
ก็ได้ทรงแสดงธรรม.
ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร ๖ ชั้น พรหมในพรหม
โลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัยในการเข้า การอยู่และการออก
จากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้ จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย. ต่อนั้น จึง
พร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล ผู้
เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น. พระเจ้าอรินทมะ ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึง
ทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตอบนิโรธปัญหาแล้ว ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ. สมัยนี้เป็น
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียง
กันมีใจอันเดียวกัน ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัย
ทางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
แม้สมัยนั้น ในการแสดงธรรม ในการแสดง
นิโรธปัญหา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์
เก้าหมื่นโกฏิ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ใน ๓ ครั้ง
นั้น สาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอรหันต์พันโกฏิ ผู้
บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงอาศัยนครเมขละ จำพรรษาแล้วก็ทรงปวารณา
ด้วยปวารณาครั้งแรก นี้เป็นสาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑. สมัยต่อมา พระมุนีผู้
ประเสริฐดังดวงอาทิตย์ ประทับนั่งเหนือภูเขาทอง ประมาณโยชน์หนึ่ง ซึ่ง
บังเกิดด้วยกำลังกุศลของ พระเจ้าอรินทมะ ไม่ไกล สังกัสสนคร เหมือน
ดวงทินกรส่องรัศมีอันงามในยามฤดูสารทเหนือขุนเขายุคนธร ทรงฝึกบุรุษเก้า
หมื่นโกฏิ ซึ่งห้อมล้อมพระเจ้าอรินทมะ ตามเสด็จมา ทรงให้เขาบวชด้วยเอหิ-
ภิกขุบรรพชาหมดทุกคน เหล่าภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นนั่นแลแวดล้อม
แล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในสันนิบาตอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒. สมัยใด ท้าวสักกเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระสุคต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ อันพระอรหันต์แปดหมื่นโกฏิแวดล้อม
แล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ
ตั้งมั่น ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศวันปวารณาแล้ว พระตถาคต ก็ทรง
ปวารณาพรรษาพร้อมกับภิกษุแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ในสันนิบาตต่อจาก สันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น ณ
ภูเขาทองไร้มลทิน ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒.
ครั้งท้าวสักกเทวราช เข้าเฝ้าเยี่ยมพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
พึงเห็นลิงควิปลาสในคำว่า อภิฆุฏฺเ ปวารเณ ในคาถานั้น ความว่า
อภิฆุฏฺาย ปวารณาย เมื่อท่านประกาศปวารณาแล้ว. บทว่า ตโตปร
ได้แก่ ในสมัยต่อจากสันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น. บทว่า กญฺจนปพฺพเต ได้แก่
ณ ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า พุทฺธทสฺสนุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปเพื่อเฝ้า
พระพุทธเจ้า. เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพญานาค ชื่อว่า
อตุละ มีฤทธานุภาพมาก. ท่านได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
อันหมู่ญาติห้อมล้อมแล้วออกจากภพของตน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ
ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิเป็นบริวาร ด้วยดนตรีทิพย์ ถวายมหาทาน ถวายคู่ผ้ารูปละ
คู่ แล้วตั้งอยู่ในสรณะ พระศาสดาพระองค์นั้นทรงพยากรณ์พญานาคนั้นว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระยานาค ชื่อว่า อตุละ มี
ฤทธิ์มาก สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยเหล่าญาตินาค ก็ออกจาก
พิภพนาค บำเรอพระชินพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์
ด้วยดนตรีทิพย์.
เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต จักเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จัก
ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พึงกล่าว ๑๘ คาถา ให้พิศดารเหมือนในวงศ์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.
เราฟังพระดำรัสของพระสุมนพุทธเจ้าพระองค์
นั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า เมขละ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ มีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
สิริมาเทวี มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระภาวิตัตตะ มีพระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา
พระอุปโสณา มีโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ (กากะทิง) มีพระสรีระสูงเก้าสิบ
ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี มีพระมเหสี พระนามว่า พระนาง วฏังสิกาเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ ทรงออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือพระยา
ช้าง. มีอุปัฏฐาก ชื่อ อังคราชา ประทับ ณ พระวิหารชื่อ อังคาราม ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
นครชื่อว่า เมขละ มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุทัตตะ มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรง
มีปราสาทงามสุด ๓ หลัง ชื่อ จันทะ สุจันทะ และ
วฏังสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ทรงมีพระสนมนารีแต่งกายงาม สามล้านหก
แสนนาง มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกา มี
พระโอรส พระนามว่า อนูปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือพระยาช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร
อยู่ ๑๐ เดือน.
พระมหาวีระสุมนะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
อัครสาวก ชื่อพระสรณะและพระภาวิตัตตะ มีพระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ.
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระโสณา พระอุปโสณา
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้น
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ (กากะทิง).
ทรงมีอัครอุปฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
เก้าสิบศอ งามเหมือนรูปบูชาที่ทำด้วยทอง หมื่น-
โลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์
ทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอัน
มากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้าม
โอฆสงสาร ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้
ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น ท่านเหล่านั้นมียศยิ่ง
ใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มี
อะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม พระชินสถูปของ
พระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่ มีพระ-
รูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด. บทว่า
ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า
พุทธเวไนยทั้งปวง. บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. บทว่า
อตฺถมิ แปลว่า ดับ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถ คโต ถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้. บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน. บทว่า มหายสา
ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก. บทว่า ตญฺจ าณ ได้แก่
พระสัพพัญญุตญาณนั้น. บทว่า อตุลิย ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
๕. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕
ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๖] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า พระ-
เรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้
เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.
แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.
ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย ๓
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.
พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ ๗ ทรง
แนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสัน-
นิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้ว
ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกัน ครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้
การประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
ครั้งที่พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วย
ปัญญา ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า
พระองค์นั้น เกิดอาพาธหนัก.
ครั้งนั้น เหล่าภิกษุเข้าไปหาพระมุนี [วรุณะ]
เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน จำนวนแสนโกฏิ เป็นการ
ประชุมครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะเข้าเฝ้า
พระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ.
เราสรรเสริญศีล สมาธิ และพระปัญญาคุณอัน
ยอดเยี่ยมของพระองค์ ตามกำลัง ได้ถวายผ้าอุตตรา-
สงค์.
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้นทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จตามมรรคอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิ์ใบ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่าพระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้ จักมี
พระนามว่าโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุป-
ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระ-
ชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะ-
อาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศพระองค์นั้นมีพระ-
ชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่าท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระ-
องค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของ
ท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้น พระชินเจ้าพระ-
องค์นี้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่าน
ผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัส แม้ของพระองค์แล้วก็ยิ่งเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
ให้บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็
เพิ่มพูนมากขึ้น จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนา
มาให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่าสุธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
วิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่หกพันปี มี
ปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ซึ่งเกิดเพราะบุญกรรม ชื่อ
สุทัสสนะ รตนัคฆิและอาเวฬะ อันตกแต่งแล้ว.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามล้านสามแสน
นาง พระอัครมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา พระโอรส
พระนามว่า วรุณะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือรถทรง ตั้งความเพียร ๗
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระชินเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ประทับอยู่ ณ พระวิหารวรุณาราม.
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหม-
เทวะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททาและพระสุ-
ภัททา พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น
นาคะ ( กากะทิง.)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อวรุณะ และ สรภะ มีอัคร
อุปัฏฐายิกา ชื่อ ปาลา และอุปปาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูงทรงสูง ๘๐
ศอก ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์,
เปลวรัศมี ที่เกิดในสรีระของพระองค์ก็ยอดเยี่ยม
แผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระเรวตพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนเพียงนั้น จึงยังหมู่
ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า ทรง
ประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับขันธปรินิพ-
พาน เหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.
พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย พระธรรมที่ไม่มี
อะไรเสมือนนั้นด้วย ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระยศทรง
มีบุญมาก ก็ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระบรมธาตุ
ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
พรรณนา วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕
ต่อมา ภายหลังสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า สุมนะ เมื่อศาสนาของ
พระองค์อันตรธานไปแล้ว พวกมนุษย์ที่มีอายุเก้าหมื่นปี ก็ลดลงโดยลำดับ
จนมีอายุสิบปี แล้วก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับ จนมีอายุหนึ่งอสงไขย แล้วก็ลดลงอีก
จนมีอายุหกหมื่นปี. สมัยนั้น พระศาสดาพระนามว่า เรวตะ เสด็จอุบัติขึ้น
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งเป็น
ภพที่รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะเป็นอันมาก จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว ก็ทรงถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางวิปุลา ผู้ไพบูลย์ด้วยคุณราศรีอันงดงามและน่า
จับใจ ซึ่งเป็นจุดรวมดวงตาของชนทั้งปวง เรืองรองด้วยความงาม ซึ่งเกิด
จากดวงหน้าและดวงใจอันมีสิริน่ารักดุจดอกบัวบานตระการตา อัครมเหสีใน
ราชสกุลของพระเจ้าวิปุลราช ผู้ไพบูลย์ด้วยความมั่งคั่งทุกอย่าง อันเกลื่อน
ด้วยเหตุเกิดแห่งสิริสมบัติ ทรงถูกห้อมล้อมด้วยราชบริพารอันงดงามประมาณ
มิได้ ประดับกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ในกรุงสุธัญญวดี ซึ่งมีทรัพย์
และข้าวเปลือกพร้อมสรรพ ถ้วนกำหนดทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์ของ
พระชนนี ดุจพญาหงส์ทองบินออกจาก จิตรกูฏบรรพต.
ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ในการปฏิสนธิและประสูติของพระองค์ ก็มีนัยดัง
กล่าวมาแล้วแต่ก่อน. พระองค์มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อสุทัสสนะ รตนัคฆิและ
อาเวฬะ สตรีจำนวนสามหมื่นสามพันนาง มีพระนางสุทัสสนาเทวีเป็นประธาน
ก็ปรากฏ. พระเรวตราชกุมารนั้น อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญแวดล้อมแล้ว
ทรงครองฆราวาสวิสัยเสวยสุขอยู่หกพันปี เหมือนเทพกุมาร เมื่อพระโอรส
พระนามว่า วรุณะ ของพระนางสุทัสสนาเทวีประสูติ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
แล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอย่างดีเบาๆ มีสีสรรต่างๆ ทรงสวมกุณฑลมณีมุกดาหาร
ทรงทองพาหุรัดมงกุฏและกำไลพระกรอย่างดี ทรงประดับด้วยของหอมและ
ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง เป็นกลุ่มที่ทำความงามอย่างยิ่ง เหมือนดวงจันทร์
ในฤดูสารท อันจตุรงคินีเสนาทัพใหญ่แวดล้อมแล้วประหนึ่งดวงจันทร์อันหมู่
ดาราเเวดล้อม ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อมแล้ว และ
ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว เสด็จออกอภิเนษกรมณ์
ด้วยรถเทียมม้า ทรงเปลื้องเครื่องสรรพาภรณ์ ประทานไว้ในมือพนักงานเรือน
คลังหลวง ทรงตัดพระเกศาและมงกุฏของพระองค์ ด้วยมีดที่ลับคมกริบเฉก
เช่นกลีบดอกบัวเกิดในน้ำที่ไร้มลทินและไม่วิกล แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ.
ท้าวสักกเทวราชก็ทรงเอาผอบทองรองรับพระเกศาและมงกุฏนั้นไว้ ทรงนำ
ไปยังภพดาวดึงส์ ทรงสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการไว้เหนือยอด
ขุนเขาสิเนรุ.
ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงครองผ้ากาสายะ. ที่เทวดาถวายแล้วทรงผนวช.
บุรุษโกฏิหนึ่งก็บวชตามเสด็จพระองค์. พระมหาบุรุษนั้น อันบุรุษเหล่านั้น
แวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๗ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวย
ข้าวมธุปายาส ที่ธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ชื่อว่า สาธุเทวี ถวาย แล้วทรงยับยั้งพักกลาง
วัน ณ สาละวัน ตอนเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อาชีวกผู้หนึ่งถวายแล้ว เสด็จ
เข้าไปที่ต้นนาคะ (กากะทิง) อันประเสริฐที่น่าชื่นชม ทรงทำประทักษิณโพธิ-
พฤกษ์ชื่อต้นนาคะ ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๕๓ ศอก แล้วประทับนั่ง
อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงแทงตลอดพระ
สัพพัญญุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า
อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า พระชิน-
พุทธเจ้าพระนามว่า เรวตะ ผู้นำโลก ไม่มีผู้เปรียบ
ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้วัด ทรงเป็นผู้สูงสุด ดังนี้.
ได้ยินว่า พระเรวตศาสดา ทรงยับยั้ง ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นแล
๗ สัปดาห์ ทรงรับคำอาราธนาของท้าวมหาพรหม เพื่อทรงแสดงธรรม ทรง
ใคร่ครวญว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นภิกษุโกฏิหนึ่งที่บวชกับ
พระองค์ และเทวดากับมนุษย์อื่นเป็นอันมากเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย จึง
เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่พระวิหารวรุณาราม อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม
แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ที่ลุ่มลึกละเอียด มีปริวัฏ ๓
ซึ่งผู้อื่นประกาศไม่ได้ ทรงยังภิกษุโกฏิหนึ่งให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ผู้ที่ตั้งอยู่
ในมรรคผล ๓ กำหนดจำนวนไม่ถ้วน ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
แม้พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันมหาพรหม
อาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมซึ่งกำหนดขันธ์ธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธธาตุววตฺถาน ได้แก่ ทำการ
จำแนกขันธ์ ๕ ธาตุ ๑๘ โดยกำหนดนามรูปเป็นต้น. กำหนดรูปธรรมและ
อรูปธรรม โดยสภาวลักษณะและสามัญลักษณะเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดขันธ์
และธาตุ. อนึ่งพึงทราบการกำหนดขันธ์และธาตุ แม้โดยอนิจจานุปัสสนาเป็น
อาทิ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า รูปเปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ เพราะไม่ทน
ต่อการย่ำยี และเพราะต้องขาดวิ่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นต้น เวทนาเปรียบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
เหมือนฟองน้ำเพราะรื่นรมย์อยู่ชั่วขณะ สัญญาเปรียบเหมือนพยับแดดเพราะ
ความย่อยยับไป สังขารทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นกล้วย เพราะไม่มีแก่น วิญญาณ
เปรียบเหมือนนักเล่นกล เพราะลวง. ในคำนี้ว่า อปฺปวตต ภวาภเว ความว่า
ความเจริญ ชื่อว่า ภวะ ความเสื่อม ชื่อว่า อภวะ. พึงทราบความแห่งภวะและ
อภวะ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า สัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวะ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า
อภวะ. ภพน้อยชื่อว่า ภวะ ภพใหญ่ชื่อว่า อภวะ, กามภพชื่อว่า ภวะ รูป
ภพและอรูปภพ ชื่อว่า อภวะ. อธิบายว่า ทรงประกาศธรรมอันเป็นเหตุไม่
เป็นไปแห่งภวะและอภวะเหล่านั้น. อีกนัยหนึ่ง อุปปัตตินิมิตในภพทั้งสามมี
กามภพเป็นต้น ชื่อว่า ภวะ เพราะเป็นเครื่องเป็นเครื่องมีอุปปัตติภพ ชื่อว่า
อภวะ อธิบายว่า ทรงแสดงธรรม อันทำการละความยินดีในภวะและอภวะทั้ง
สอง คือไม่เป็นไป. ก็พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีอภิสมัย ๓
เหมือนกัน. แต่อภิสมัยครั้งที่ ๑ ของพระองค์ เหลือที่จะนับจำนวนของผู้
ตรัสรู้ได้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในการแสดงธรรมของพระองค์ ก็มีอภิสมัย ๓
ครั้ง. แต่อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวด้วยการนับจำนวนผู้
ตรัสรู้ไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ ก็คือ ๓. ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.
อภิสมัยครั้งที่ ๑ นี้ได้มีแล้ว.
สมัยต่อมา ได้มีพระราชาพระนามว่า อรินทมะ ผู้ทรงชนะข้าศึก
ในอุตตรนคร ซึ่งเป็นนครฝ่ายเหนือ. ได้ยินว่า พระเจ้าอรินทมะพระองค์นั้น
ทรงทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงนครของพระองค์ ทรงมีชนสามโกฏิ
ห้อมล้อมเสด็จออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
ทรงถวายมหาทาน ๗ วัน แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานทรงทำการ
บูชาด้วยประทีป กว้างสามคาวุต เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมมีนัยอันวิจิตร เหมาะแก่พระ-
หฤทัยของพระเจ้าอรินทมะนั้น. ในที่ประชุมนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มี แก่
เทวดาและมนุษย์พันโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งใด พระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้า-
อรินทมะ ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดา
และมนุษย์พันโกฏิ.
นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
สมัยต่อมา พระเรวตศาสดา ทรงอาศัยอุตตรนิคมประทับอยู่ ประ-
ทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ ๗ วัน. ได้ยินว่า ครั้งนั้นมนุษย์ชาวอุตตรนิคม นำ
เอาข้าวต้มข้าวสวย ของขบฉัน เภสัชและน้ำปานะเป็นต้น ถวายมหาทานแด่
ภิกษุสงฆ์แล้วพากันถามว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน.
ภิกษุทั้งหลายก็บอกแก่มนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า
นิโรธสมาบัติ. เมื่อล่วงไป ๗ วัน พวกเขาก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออก
จากนิโรธสมาบัติ ทรงรุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริของพระองค์หาที่เปรียบมิได้
เหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสารท จึงทูลถามคุณานิสงส์ของนิโรธสมาบัติ. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณานิสงส์ของนิโรธสมาบัติแก่มนุษย์เหล่านั้น ครั้งนั้น
เทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิ ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต. นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในวันที่ ๗ พระนราสภ ทรงออกจากที่เร้นแล้ว
ทรงแนะนำเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิในผลสูงสุด ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
ใน สุธัญญวดีนคร พระอรหันต์ที่บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาจำนวน
นับไม่ถ้วน ได้มีสันนิบาตครั้งที่ ๑ ในมหาปาติโมกขุทเทศครั้งที่ ๑. ใน
เมขลนคร พระอรหันต์ที่บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชานับได้แสนโกฏิ ก็ได้มี
สันนิบาตครั้งที่ ๒. พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเรวตะ ชื่อว่าวรุณะ
ผู้อนุวัตรตามพระธรรมจักรเป็นยอดของภิกษุผู้มีปัญญาทั้งหลาย เกิดอาพาธ ใน
ครั้งนั้น พระเรวตพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม อันแสดงถึงไตรลักษณ์แก่มหาชน
ที่ประชุมกัน เพื่อต้องการถามภิกษุไข้ ทรงยังบุรุษแสนโกฏิให้บวชด้วยเอหิ-
ภิกขุบรรพชาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในสันนิบาต
ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดี
แล้ว ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกันครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้
ในการประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสน
โกฏิ.
ครั้งที่พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วย
ปัญญา ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า
พระองค์นั้น เกิดอาราธนาหนักต้องสงสัยในชีวิต.
ครั้งนั้น เหล่าพระมุนีผู้เป็นพระอรหันต์จำนวน
แสนโกฏิเข้าไปหา เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน เป็น
การประชุมครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกานุวตฺตโก ได้แก่ ผู้อนุวัตรตาม
พระธรรมจักร. ในคำว่า ปตฺโต ชีวิตสสย นี้ ความสงสัยในชีวิต ชื่อว่า
ชีวิตสังสยะ. ถึงความสงสัยในชีวิตอย่างนี้ว่า พระเถระถึงความสิ้นชีวิตหรือ
หรือยังไม่ถึงความสิ้นชีวิต อธิบายว่า ถึงความสงสัยในชีวิตว่า เพราะภาวะที่
อาพาธรุนแรงพระเถระจะมรณภาพ หรือไม่มรณภาพ. บทว่า เย ตทา
อุปคตา มุนี เมื่อเป็นทีฆะ ดังนี้ ก็หมายความถึงภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นรัสสะ
พร้อมทั้งนิคคหิต [มุนี] ก็หมายความถึงพระวรุณะอัครสาวก.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ ใน
รัมมวดีนคร ถึงฝั่งในพราหมณธรรม เห็นพระเรวตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟัง
ธรรมกถาของพระองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ กล่าวสดุดีพระทศพลด้วยคาถาพัน
โศลก บูชาด้วยผ้าห่มมีค่าเรือนพัน. แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์
พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในที่สุดสอง
อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อติเทวะ เข้า
ไปเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ.
เราสรรเสริญศีล สมาธิและพระปัญญาคุณอันสูง
สุดของพระองค์ตามกำลัง ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.
แม้พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้นก็ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หา
ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
เราตั้งความเพียร ฯลฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่าน
ผู้นี้.
พึงกล่าว ๑๗ คาถาให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่ม
พูน จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรณ ตสฺส คญฺฉห ตัดบทว่า ต
สรณ อคญฺฉึ อห แปลว่า ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ. ฉัฏฐี-
วิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปญฺาคุณ ได้แก่ สมบัติคือปัญญา.
บทว่า อนุตฺตม ได้แก่ ประเสริฐสุด. ปาฐะว่า ปญฺาวิมุตฺติ-
คุณมุตฺตม ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ก็ง่ายเหมือนกัน. บทว่า โถมยิตฺวา
แปลว่า ชมเชยแล้ว สรรเสริญแล้ว. บทว่า ยถาถาม แปลว่า
ตามกำลัง. บทว่า อุตฺตรีย แปลว่า ผ้าอุตตราสงค์. บทว่า อทาสห
ตัดบทว่า อทาสึ อห. บทว่า พุทฺธธมฺม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็น
พระพุทธเจ้า อธิบายว่า บารมีธรรม. บทว่า สริตฺวา แปลว่า ตามระลึกถึง.
บทว่า อนุพฺรูหยึ ได้แก่ ทำให้เจริญยิ่งแล้ว. บทว่า อาหริสฺสามิ แปลว่า
จักนำมา. บทว่า ต ธมฺม ได้แก่ ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า
ย มยฺห อภิปตฺถิต ความว่า เราจักนำความพระพุทธเจ้าที่เราปรารถนา
นักหนามาให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเรวตพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญ-
วดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า วิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนาง
วิปุลา คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระวรุณะ และ พระพรหมเทวะ. พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และ
พระสุภัททา โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุ
หกหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา พระโอรสพระ-
นามว่า วรุณะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ครั้งนั้น เปลวพระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย
ของพระองค์ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์ ทั้ง
กลางวันทั้งกลางคืน.
พระมหาวีระชินพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรง
อนุเคราะห์สรรพสัตว์ ทรงอธิษฐานว่า ธาตุทั้งหลาย
ของเราทั้งหมด จงเฉลี่ยให้ทั่วถึงกัน.
พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันมนุษย์และ
เทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว ดับขันธปรินิพพาน ณ พระ-
ราชอุทยานมหานาควัน แห่งพระนครอันยิ่งใหญ่แล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าวิปุลราช พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหม-
เทวะ พระพุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระสัมภวะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททา และพระสุ-
ภัททา พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้
ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นนาคะ.
อัครอุปัฏฐา ชื่อว่า ปทุมะ และ กุญชระ อัครอุ-
ปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง
๘๐ ศอก ทรงส่งพระรัศมีไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์
อุทัย.
เปลวพระรัศมีบังเกิดในพระสรีระ ของพระองค์
ยอดเยี่ยม แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางคืนกลาง
วัน .
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์เพียงนั้น จึงทรงยัง
หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระเรวตพุทธเจ้า ทรงแสดงกำลังของพระพุทธ-
เจ้า ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนไฟสิ้นเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.
พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย พระธรรมไม่มีธรรม
อื่นเทียบได้นั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
๑. ม. ชื่อว่า สิริมา และยสว.ตี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาเสติ ได้แก่ ส่องสว่าง. บทว่า
อุคฺคโต แปลว่า ขึ้นไปแล้ว. บทว่า ปภามาลา ได้แก่ ขอบเขตพระรัศมี.
บทว่า ยถคฺคิ ได้แก่ เหมือนกับไฟ บทว่า อุปาทานสงฺขยา แปลว่า สิ้น
เชื้อ. บทว่า โส จ กาโย รตนนิโภ ได้แก่ พระวรกายของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นมีวรรณะเพียงดังทองนั้นด้วย. ปาฐะว่า ตญฺจ กาย รตนนิภ
ดังนี้ก็มี ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. ปาฐะนั้นความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. คาถา
ที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเรวตพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
๖. วงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า
[๗] ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระ
พุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น มีจิต
สงบ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระหฤทัย
ในพระนิเวศน์ของพระองค์ ทรงบรรลุพระโพธิญาณ
สิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ตั้งแต่อเวจีนรกขึ้นไป ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา
ในระหว่างมิได้เป็นบริษัทหมู่เดียวกัน ในเพราะการ
แสดงธรรม.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางบริษัทหมู่นั้น. อภิสมัยครั้งที่ ๑ นับไม่ได้
ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมต่อจาก
อภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น ในการประชุมของมนุษย์และ
เทวดาทั้งหลาย. อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์ และ
เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง
ให้สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น.
พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค
ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรพระองค์นั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต การประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน
ผู้มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระราชาพระนามว่า อุคคตะพระองค์นั้น ถวาย
ทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน ในทานนั้น พระ-
อรหันต์ร้อยโกฏิก็มาประชุมกัน.
ต่อมาอีก หมู่คณะ [ธรรมคณะ] ถวายทานแด่
พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน การประชุมครั้งที่ ๒ ได้มี
แก่พระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า ทรงจำพรรษา ณ เทวโลก
แล้วเสด็จลงมา การประชุมครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่พระ-
อรหันต์แปดสิบโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อ สุชาตะ ครั้งนั้น
ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าทั้งพระสาวก ให้อิ่มหนำสำราญ
ด้วยข้าวน้ำ.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่
หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไป
ยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้แล้วเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านจักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ ท่านผู้นี้ จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุป-
ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมาและพระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า อัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา พระ-
โคตมะผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลายพึงพระดำรัสของพระ-
โสภิตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันส่งเสียงโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่
ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลด
ใจ ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อบรรลุประโยชน์
นั้นนั่นแหละ.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนคร ชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรงมี
ปราสาทยอดเยี่ยม ๓ หลงชื่อ กุมุทะ นฬินี ปทุมะ
พระสนมนาฏนารี แต่งกายงาม สี่หมื่นสามพันนาง
พระมเหสีพระนามว่า มกิลา พระโอรสพระนามว่า
สีหะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ อภิเนษ-
กรมณ์โดยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
พระโสภิตมหาวีระ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ประกาศพระธรรมจักร ณ
สุธัมมราชอุทยานอันยอดเยี่ยม.
พระอัครสาวกชื่อว่า พระอสมะและพระสุเนตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระนกุลา และพระสุชาดา
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อว่าต้นนาคะ.
อัครอุปฐาก ชื่อว่า รัมมะและสุเนตตะ อัครอุป-
ฐายิกา ชื่อว่า นกุลา และจิตตา.
พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก ทรงส่งรัศมี
สว่างไปทุกทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.
ป่าใหญ่ มีดอกไม้บาน อบอวลด้วยกลิ่นหอม
นานา ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็อบอวล
ด้วยกลิ่นคือศีล ฉันนั้น.
ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการเห็น
ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้น.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระโสภิต
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์
แก่ชนที่เหลือแล้ว เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือน
ไฟไหม้แล้วก็ดับไป ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้นด้วย เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลัง
เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง
ก็ว่างเปล่า โดยแน่แท้.
พระโสภิตสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารสีหาราม พระบรมธาตุแผ่
กระจายไปเป็นส่วนๆ ในที่นั้นๆ.
จบวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
พรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้าที่ ๖
ภายหลังสมัยของ พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เมื่อพระศาสนา
ของพระองค์ อันตรธานแล้ว พระโพธิสัตว์พระนามว่า โสภิตะ ทรงบำเพ็ญ
บารมีมาสี่อสงไขยกำไรแสนกัป ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ตลอด
อายุในที่นั้นแล้ว อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุธัมมาเทวี ในราชสกุลของ พระเจ้า
สุธัมมราช ใน สุธัมมนคร. พระโพธิสัตว์นั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติ
จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ สุธัมมราชอุทยาน เหมือนดวงจันทร์ลอด
ออกจากหลืบเมฆ ปาฏิหาริย์ในการปฏิสนธิและประสูติของพระองค์มีประการ
ดังกล่าวมาก่อนแล้ว.
พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี เมื่อพระโอรสพระนาม
ว่า สีหกุมาร ทรงถือกำเนิดในพระครรภ์ของพระนางมขิลาทวี๑ พระอัครมเหสี
ยอดสนมนาฏเจ็ดหมื่นนางแล้ว ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดสลดพระหฤทัย ทรงผนวช
ในปราสาทนั่นเอง ทรงเจริญอานาปานัสสติสมาธิในปราสาทนั้นนั่นแหละ ทรง
ได้ฌาน ๔ ทรงบำเพ็ญเพียรในปราสาทนั้น ๗ วัน ต่อนั้น เสวยข้าวมธุ-
ปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง พระนางมขิลามหาเทวี ถวายแล้ว ทรงเกิดจิตคิดจะ
ออกอภิเนษกรมณ์ว่า ขอปราสาทที่ประดับตกแต่งแล้วนี้ จงไปทางอากาศต่อ
หน้ามหาชนที่กำลังดูอยู่แล้ว ทำโพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลาง แล้วลงเหนือแผ่นดิน
และสตรีเหล่านั้น เมื่อเรานั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ไม่ต้องมีคนบอก จงลงจาก
ปราสาทกันเองเถิด พร้อมกับเกิดจิตดังนั้น ปราสาทก็เหาะจากพระราชนิเวศน์
ของพระเจ้าสุธัมมราช ขึ้นสู่อากาศเฉกเช่นอัญชันบรรพตสีเขียวความ ปราสาท
นั้น มีพื้นปราสาทประดับด้วยพวงดอกไม้ส่งกลิ่นหอมอบอวล เหมือนประดับ
๑. บาลีเป็นมกิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
ประดาทั่วพื้นอัมพรรุ่งโรจน์ดั่งดวงทินกร กลุ่มที่กระทำความงามเสมือนธารน้ำ
ทอง และดั่งดวงรัชนีกรในฤดูสารท มีข่ายขึงกระดิ่งงามวิจิตรนานาชนิดห้อย
ย้อย เมื่อต้องลมก็ส่งเสียงไพเราะน่ารักน่าใคร่ ดั่งดนตรีเครื่อง ๕ ที่ผู้ชำนาญ
บรรเลง.
ด้วยเสียงไพเราะได้ยินมาแต่ไกล เสียงไพเราะนั้น ก็หยังลงสู่โสตของ
สัตว์ทั้งหลาย ประหนึ่งถูกประเล้าประโลมทางอากาศ อันไม่ไกลชายวนะอัน
งามของต้นไม้ ไม่ต่ำนักไม่สูงนัก ในหมู่มนุษย์ที่ยืนเจรจาปราศรัยกันอยู่ใน
บ้านเรือน ทาง ๓ แพร่ง ๔ แพร่ง และในถนนเป็นต้น ประหนึ่งดึงดูดสายตาชน
ด้วยสีที่แล่นเรืองรองรุ่งโรจน์ด้วยรัตนะต่างๆ คือกิ่งอันงามของต้นไม้ และ
ประหนึ่งโฆษณาปุญญานุภาพก็ดำเนินไปตลอดพื้นคัคนานต์. แม้เหล่าสนมนาฎ
นารี ณ ที่นั้น ก็ขับกล่อมประสานเสียงด้วยเสียงอันไพเราะแห่งดนตรีอย่างดีมี
องค์ ๕. เขาว่าแม้กองทัพ ๔ เหล่าของพระองค์ ก็งดงามด้วยอาภรณ์คือดอกไม้
หอมและผ้ามีสีสรรต่าง ๆ ร่วงรุ้งรุ่งโรจน์เกิดจากประกายเครื่องอลังการและ
อาภรณ์ประดับกาย ไปแวดล้อมปราสาททางภาคพื้นนภากาศ ดุจกองทัพทวย-
เทพ ดุจแผ่นธรณีที่งามน่าดูอย่างยิ่ง.
แต่นั้น ปราสาทก็ไปทำต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อต้นนาคะ ซึ่งสูง ๘๘ ศอก
ลำต้นตรงอวบกลม ประดับด้วยดอกใบอ่อนตูมไว้ตรงกลาง แล้วลงตั้งที่พื้น
ดิน. สวนเหล่าสนมนาฏนารี ใครๆ มิได้บอก ก็ลงจากปราสาทนั้นหลีกไป.
เขาว่า แม้พระโสภิตมหาบุรุษ ผู้งามด้วยคุณสมบัติเป็นอันมากทำมหาชนเป็น
บริวารอย่างเดียว ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แห่งราตรี. ส่วนกอง
กำลังแห่งมาร ก็ไปตามทางที่ไป โดยกำลังธรรมดาของพระมหาบุรุษนั้นนั่น
เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงเปล่ง
พระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับการอาราธนาธรรมของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ. ก็ทรงเห็น
อสมกุมาร และ สุเนตตกุมาร พระกนิษฐภาดา ต่างพระมารดาของพระ-
องค์ว่า กุมารทั้งสองพระองค์นี้ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย สามารถแทงตลอด
ธรรมอันละเอียดลุ่มลึกได้ เอาเถิด เราจะแสดงธรรมแก่กุมารทั้งสองนี้แล้ว เสด็จ
มาทางอากาศ ลง ณ สุธัมมราชอุทยาน โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราชอุท-
ยานเรียกพระกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว อันพระกุมารพร้อมทั้งบริวารแวด
ล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางมหาชน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระเรวตพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่า โสภิตะ ผู้นำโลก ผู้ตั้งมั่น จิตสงบ ไม่
มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงกลับพระทัย
ในพระนิเวศน์ของพระองค์แล้ว ทรงบรรลุพระโพธิ-
ญาณสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว.
บริษัทหมู่หนึ่ง ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างตั้งแต่
อเวจีนรก เบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหม ก็ได้มีในการ
แสดงธรรม.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ
ท่ามกลางบริษัทนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วย
จำนวนผู้ตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกเคหมฺหิ ได้แก่ ในนิเวศน์ของตน
นั่นเอง. อธิบายว่า ณ พื้นภายในปราสาทนั่นแล. บทว่า มานส วินิวตฺตยิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
ได้แก่ กลับใจ. อธิบายว่าอยู่ในนิเวศน์ของพระองค์ เปลี่ยนจิตจากความเป็น
ปุถุชนภายใน ๗ วันเท่านั้น แล้วทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า
เหฏฺา แปลว่า เบื้องต่ำ. บทว่า ภวคฺคา ได้แก่ แต่อกนิษฐภพ. บทว่า
ตาย ปริสาย ได้แก่ ท่ามกลางบริษัทนั้น. บทว่า คณนาย น วตฺตพฺโพ
ความว่า เกินที่จะนับจำนวนได้. บทว่า ปมาภิสมโย ได้แก่ ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๑. บทว่า อหุ ความว่า บริษัทนับจำนวนไม่ได้. ปาฐะว่า ปเม
อภิสฺมึสุเยว ดังนี้ก็มี. ความว่า ชนเหล่าใด ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมของ
พระโสภิตพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้น อันใครๆ กล่าวไม่ได้ด้วยการนับจำนวน.
สมัยต่อมา พระโสภิตพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้น
จิตตปาฏลี ใกล้ประตูกรุงสุทัสสนะ ประทับนั่งทรงแสดงอภิธรรม เหนือพื้น
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนต้น ปาริฉัตรในภพดาวดึงส์ อันเป็นภพที่สำเร็จ
ด้วยนพรัตน์และทอง. จบเทศนา เทวดาเก้าหมื่นโกฏิตรัสรู้ธรรม นี้เป็น
อภิสมัยครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ต่อจาก
อภิสมัยครั้งที่ ๑ นั้น ณ ที่ประชุมเทวดาทั้งหลาย อภิ-
สมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยต่อมา พระราชกุมารพระนามว่า ชัยเสนะ ในกรุงสุทัสสนะ
ทรงสร้างวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง ทรงสร้างพระอาราม ทรงเว้นไว้ระยะต้นไม้ดี
เช่นต้น อโศก ต้นสน จำปา กะถินพิมาน บุนนาค พิกุลหอม มะม่วง ขนุน
อาสนศาลา มะลิวัน มะม่วงหอม พุดเป็นต้น ทรงมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอนุโมทนาทาน ทรง
สรรเสริญการบริจาคทานแล้วทรงแสดงธรรม. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่
หมู่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนี้ จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
ต่อมาอีก เจ้าราชบุตรพระนามว่า ชัยเสนะ ทรง
สร้างพระอาราม มอบถวายพระพุทธเจ้าครั้งนั้น.
พระผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงสรรเสริญการบริจาค
ทาน ก็ทรงแสดงธรรมโปรดเจ้าราชบุตรนั้น ครั้งนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์พันโกฏิ.
พระราชาพระนามว่า อุคคตะ ก็สร้างพระวิหารชื่อว่า สุนันทะ ใน
กรุงสุนันทะ ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในทานนั้น
พระอรหันต์ร้อยโกฏิซึ่งบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาประชุมกัน. พระผู้มีพระภาค
เจ้าโสภิตะทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์เหล่านั้น. นี้เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๑. คณะธรรมในเมขลนคร สร้างมหาวิหารที่น่ารื่นรมย์อย่างดี
ชื่อว่า ธัมมคณาราม ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอีก แล้ว
ได้ถวายทานพร้อมด้วยบริขารทุกอย่าง. ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในสันนิบาตการประชุมพระอรหันต์เก้าหมื่นโกฏิ ซึ่ง
บวชโดยเอหิภิกขุภาวะ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนสมัยที่พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงจำพรรษาในภพของท้าวสหัสนัยน์ อันหมู่เทพแวดล้อมแล้ว เสด็จ
ลงจากเทวโลก ในดิถีปวารณาพรรษา ทรงปวารณาพร้อมด้วยพระอรหันต์
แปดสิบโกฏิ ในสันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ๓ ครั้ง ประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ไร้
มลทินมีจิตสงบ คงที่.
พระราชาพระองค์นั้น พระนามว่า อุคคตะ ถวาย
ทานแด่พระผู้เป็นยอดแห่งนรชน ในกาลนั้น พระ-
อรหันต์ร้อยโกฏิ มาประชุมกัน (ครั้งที่ ๑).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
ต่อมาอีก หมู่ชนชาวเมือง ถวายทานแด่พระผู้
เป็นยอดแห่งนรชน ครั้งนั้น พระอรหันต์เก้าสิบ
โกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๒.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า จำพรรษา ณ เทวโลก เสด็จ
ลง พระอรหันต์แปดสิบโกฏิประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓.
เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุชาตะ
เกิดดีทั้งสองฝ่ายใน กรุงรัมมวดี ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
โสภิตะแล้วตั้งอยู่ในสรณะ ถวายมหาทานตลอดไตรมาสแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ
เจ้าเป็นประธาน. แม้พระโสภิตพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์สุชาต-
พราหมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาตะ ใน
ครั้งนั้น ได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกให้
อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น ทรง
พยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ร่าเริง สลด
ใจ ได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อให้ประโยชน์
นั้นเกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเมวตฺถมนุปตฺติยา ได้แก่ เพื่อให้เกิด
ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น. อธิบายว่า ก็ครั้นฟังพระดำรัสของพระโสภิต
พุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ ดังนี้แล้ว จึงปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ผิด. บทว่า อุคฺค ได้แก่ แรงกล้า.
บทว่า ธิตึ ได้แก่ ความเพียร. บทว่า อกาสหึ ตัดบทว่า อกาสึ
อห แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าโสภิตะ พระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า สุธัมมะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสุเนตตะ และ พระอสมะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
อโนมะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และ พระสุชาดา โพธิพฤกษ์
ชื่อว่า ต้นนาคะ. พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัคร-
มเหสีพระนามว่า มกิลา พระโอรสพระนามว่า สีหกุมาร. พระสนมนาฏนารี
สามหมื่นเจ็ดพันนาง ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงออกอภิเนษกรมณ์
โดยเสด็จไปพร้อมกับปราสาท. อุปัฏฐากพระนามว่า พระเจ้าชัยเสนะ. ด้วย
เหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุธัมมะ พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าสุธัมมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุธัมมา.
พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระอสมะ และ พระสุเนตตะ มีพระ
พุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอโนมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุลา และพระ
สุชาดา. พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้ ก็ตรัสรู้
ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก ส่งรัศมีสว่างไปทุก
ทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย.
ป่าใหญ่ มีดอกไม้บานสะพรั่ง อบอวลด้วยกลิ่น
หอมนานา ฉันใด. ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็
อบอวลด้วยกลิ่น คือศีลฉันนั้นเหมือนกัน.
ขึ้นชื่อว่า มหาสมุทร อันใครๆ ไม่อิ่มได้ด้วย
การเห็น ฉันใด ปาพจน์ของพระโสภิตพุทธเจ้า อัน
ใครๆ ก็ไม่อิ่มด้วยการฟัง ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระโสภิตะ
พุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น
จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานโอวาทานุศาสน์
แก่ชนที่เหลือแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวง
ไฟไหม้แล้วก็ดับ ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้นด้วย เหล่าพระสาวก ผู้ถึงกำลัง
เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นอันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตรสีว แปลว่า เหมือนดวงอาทิตย์
ความว่า ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ. บทว่า ปวน แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า
ธูปิต ได้แก่ อบ ทำให้มีกลิ่น. บทว่า อตปฺปิโย ได้แก่ ไม่ทำความอิ่ม
หรือไม่เกิดความอิ่ม. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในกาลนั้น . ความว่า ในกาล
เพียงนั้น. บทว่า ตาเรสิ แปลว่า ให้ข้าม. บทว่า โอวาท ความว่า การ
สอนครั้งเดียว ชื่อว่า โอวาท. บทว่า อนุสิฏฺึ ความว่า การกล่าวบ่อย ๆ
ชื่อว่า อนุสิฏฐิ [อนุศาสน์]. บทว่า เสสเก ชเน ได้แก่ แก่ชนที่เหลือ ซึ่ง
ยังไม่บรรลุการแทงตลอดสัจจะ. บทว่า หุตาสโนว ตาเปตฺวา แปลว่า
เหมือนไฟไหม้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ปรินิพพาน เพราะสิ้นอุปาทาน. ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่ง
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระโสภิตพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
๗. วงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗
ว่าด้วยพระประวัติของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
[๘] ต่อจากสมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า พระ-
อโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า มี
พระยศหาประมาณมิได้ มีพระเดชอันใครล่วงละเมิด
ได้ยาก.
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกทั้งปวง ทรงรื้อภพทั้ง
สาม ทรงแสดงบรรดาเครื่องไปไม่กลับ สำหรับเทวดา
และมนุษย์.
พระองค์ไม่กระเพื่อมดุจสาคร อันใคร ๆ เฝ้าได้
ยากดุจบรรพต มีพระคุณไม่มีที่สุดดุจอากาศ ทรง
บานเต็มที่ดุจพระยาสาลพฤกษ์.
แม้ด้วยเพียงเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์
ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้น ได้ฟังพระดำรัสของ
พระองค์ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.
พระองค์มีธรรมาภิสมัย สำเร็จเจริญไปในครั้ง
นั้น ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๑ สัตว์ร้อยโกฏิก็ได้ตรัสรู้.
เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรม ตกลงใน
อภิสมัย ต่อจากครั้งที่ ๑ นั้น ทรงแสดงธรรมครั้งที่ ๒
สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
เมื่อพระองค์หลั่งฝนธรรม ต่อจากอภิสมัยครั้งที่
๒ นั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มี
แต่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิ.
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระ
องค์นั้น มีสันนิบาต ประชุมพระอรหันต์ผู้ถึงกำลัง
แห่งอภิญญา ผู้บานเต็มที่แล้วด้วยวิมุตติ ๓ ครั้ง.
[ครั้งที่ ๑] เป็นการประชุมพระอรหันต์แปดแสน
ผู้ละความเมาและโมหะ มีจิตสงบ ผู้คงที่.
ครั้งที่ ๒ เป็นการประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน
ผู้ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุม พระอรหันต์หกแสน
ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้เย็นสนิทมีตบะ.
สมัยนั้น เราเป็นยักษ์มีฤทธิ์ เป็นใหญ่ มีอำนาจ
เหนือยักษ์หลายโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น เราเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น เลี้ยงดูพระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ.
พระมุนี ผู้มีพระจักษุบริสุทธิ์แม้พระองค์นั้น ก็
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรณ์ จากกรุงกบิล-
พัสดุ์ ที่น่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิ-
โครธทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จเข้าไปยัง
แม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้วตรัสรู้ ณ โคนโพธิ
พฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่าพระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้
พระนามว่าโคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระสารี-
บุตร ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้า
พระองค์ นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมาและพระอุบล
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของ
พระผู้มีพระภาคเข้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระ-
โคตมพุทธเจ้าผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีพระชนมายุ
๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาได้ฟังพระดำรัสนี้ ของพระ
อโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทั้งหมด ผิว่าผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์
นี้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้
ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยินดีสลด
ใจ อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
ให้บริบูรณ์.
พระอโนมทัสสีศาสดา ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
จันทวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้ายสวา พระชนนี
พระนามว่า พระนางยโสธรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรง
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ สิริ อุปสิริ วัฑฒะ
ทรงมีพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง พระ-
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริมา มีพระโอรสพระ
นามว่าอุปสาละ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือวอ ทรงตั้งความเพียร ๑๐
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระ อโนมทัสสีมหามุนีผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ สุธัมมราชอุทยานอันยอดเยี่ยม.
พระอโนมทัสสีศาสดา ทรงมีอัครสาวก ชื่อว่า
พระนิสกะและพระอโนมะ มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
วรุณะ.
มีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรี๑ และพระสุมนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นอัชชุนะ (ต้นกุ่ม).
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทิวัฑฒะ และสิริวัฑฒะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อุปลา และปทุมา.
พระมุนีสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของพระองค์แล่น
ออกไป ดุจดวงอาทิตย์.
๑. บาลีว่า สุนทรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
สมัยนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ปาพจน์คือธรรมวินัย อันพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้คงที่ ปราศจากราคะไร้มลทินให้แผ่ไปดีแล้ว คำ
สั่งสอนพระชินพุทธเจ้า จึงงาม.
พระศาสดา ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระ-
องค์นั้นด้วย คู่พระสาวกอันใครๆ วัดมิได้ เหล่านั้น
ด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็
ว่างเปล่า แน่แท้.
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ชนะศาสดา ก็เสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารธัมมาราม พระสถูป
ของพระองค์ ณ อารามนั้น สูง ๒๐ โยชน์.
จบวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
พรรณนาวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๗
เมื่อพระโสภิตพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ภายหลังสมัยของพระองค์
อสงไขยหนึ่ง ก็ว่างเว้นพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ. เมื่ออสงไขยนั้นล่วงไปแล้ว ใน
กัปหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็บังเกิด ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสี
พระปทุมะ พระนารทะ. บรรดาพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าอโนมทัสสีทรงบำเพ็ญบารมีสิบหกอสงไขยแสนกัป บังเกิด ณ
สวรรค์ชั้นดุสิต อันทวยเทพอ้อนวอนแล้ว ก็จุติจากดุสิตสวรรค์นั้น ทรงถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางยโสธรา ผู้มีพระเต้าถันงามช้อน อัคร-
มเหสีในราชสกุลของ พระเจ้ายสวา กรุง จันทวดีราชธานี. เล่ากันว่า เมื่อ
พระอโนมทัสสีกุมาร อยู่ในครรภ์ของพระนางยโสธราเทวี ด้วยอานุภาพบุญ
บารมี พระรัศมีแผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก รัศมีดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ข่มไม่ได้. ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์ ปาฏิหารย์
ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวไว้แต่หนหลัง.
ในวันรับพระนาม พระประยูรญาติเมื่อขนานพระนามของพระองค์
เพราะเหตุที่รัตนะ ๗ ประการ หล่นจากอากาศในขณะประสูติ ฉะนั้นจึง
ขนานพระนามว่า อโนมทัสสี เพราะเป็นเหตุเกิดรัตนะอันไม่ทราม. พระองค์
ทรงเจริญวัยโดยลำดับ ถูกบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ทรงครองฆราวาส
วิสัยอยู่หมื่นปี. เขาว่า ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สิริ อุปสิริ สิริวัฑฒะ
ทรงมีพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มีพระนางสิริมาเทวีเป็นประมุข เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
พระอุปวาณะ โอรสของพระนางสิริมาเทวีประสูติ พระโพธิสัตว์นั้นก็ทรงเห็น
นิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือวอ ทรงผนวชแล้ว ชนสามโกฏิ
ก็บวชตามเสด็จพระองค์.
พระมหาบุรุษอันชนสามโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐
เดือน. แต่นั้น ในวันวิสาขบูรณมี เสด็จบิณฑบาตในหมู่บ้าน อนูปม-
พราหมณ์ เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาอนูปมเศรษฐีถวายแล้วทรงยับยั้งพัก
กลางวัน ณ สาละวัน ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อาชีวกชื่ออนูปมะถวายแล้ว ทรง
ทำประทักษิณโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ ไม้กุ่ม ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง
๓๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลัง
มารพร้อมทั้งตัวมาร ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ ทรงเปล่งพระอุทาน
ว่า อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจาก สมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า พระสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นยอดของสัตว์
สองเท้า มีพระยศประมาณมิได้ มีพระเดชอันใคร ๆ
ละเมิดได้ยาก.
พระองค์ทรงตัดเครื่องผูกพันทั้งปวง รื้อภพทั้ง
๓ เสียแล้ว ทรงแสดงบรรดาที่สัตว์ไปไม่กลับแก่เทวดา
และมนุษย์.
พระองค์ไม่ทรงกระเพื่อมเหมือนสาคร อันใคร ๆ
เข้าเฝ้าได้ยากเหมือนบรรพต มีพระคุณไม่มีที่สุด
เหมือนอากาศ ทรงบานเต็มที่แล้วเหมือนพญาสาล-
พฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
แม้ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สัตว์
ทั้งหลายก็ยินดี สัตว์เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระองค์
ซึ่งกำลังตรัสอยู่ ก็บรรลุอมตธรรม.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสี ได้แก่ น่าดูไม่มีที่เทียบ
หรือน่าดูหาประมาณมิได้. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารหาประมาณ
มิได้ หรือมีพระเกียรติหาประมาณมิได้. บทว่า เตชสฺสี ได้แก่ ทรงประกอบ
ด้วยเดชคือศีลสมาธิปัญญา. บทว่า ทุรติกฺกโม ได้แก่ อันใครกำจัดได้ยาก
อธิบายว่า ทรงเป็นผู้อันไม่ว่าเทวดา หรือมาร หรือใคร ๆ ไม่อาจละเมิดได้.
บทว่า โส เฉตฺวา พนฺธน สพฺพ ได้แก่ ทรงตัดสัญโยชน์ ๑๐ อย่างได้
หมด. บทว่า วิทฺธเสตฺวา ตโย ภวา ได้แก่ กำจัดกรรมที่ไปสู่ภพทั้ง ๓
ด้วยญาณเครื่องทำให้สิ้นกรรม. อธิบายว่า ทำไม่ให้มี. บทว่า อนิวตฺติคมน
มคฺค ความว่า พระนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการกลับ การเป็นไป ท่าน
เรียกว่า อนิวตฺติ บุคคลย่อมถึงพระนิพพาน อันไม่กลับนั้น ด้วยมรรคานั้น
เหตุนั้นบรรดานั้น ชื่อว่าอนิวัตติคมนะ เครื่องไปไม่กลับ. อธิบายว่า ทรง
แสดงมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นเครื่องไปไม่กลับนั้น. ปาฐะว่า ทสฺเสติ ดังนี้
ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เทวมานุเส ได้แก่ สำหรับเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า อสงฺโขโภ ความว่า ทรงเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจให้กระ-
เพื่อให้ไหวได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อักโขภิยะ ผู้อันใครให้กระเพื่อมมิได้.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า สมุทรลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ เป็นที่อยู่แห่งภูต
หลายพันโยชน์ อันอะไรๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันใด พระองค์ก็ทรงเป็นผู้อัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
ใครๆ ให้กระเพื่อมมิได้ ฉันนั้น. บทว่า อากาโสว อนนฺโต ความว่า
เหมือนอย่างว่า ที่สุดแห่งอากาศไม่มี ที่แท้ อากาศมีที่สุดประมาณมิได้ ไม่
มีฝั่ง ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่มีที่สุด ประมาณมิได้ ไม่มีฝั่ง
ด้วยพระพุทธคุณทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น. บทว่า สาลราชาว ผุลฺลิโต ความว่า ย่อมงามเหมือนพระ-
ยาสาลพฤกษ์ที่ดอกบานเต็มที่ เพราะทรงมีพระสรีระประดับด้วยพระลักษณะ
และอนุพยัญชนะทุกอย่าง. บทว่า ทสฺสเนนปิ ต พุทฺธ ความว่า แม้ด้วย
การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. แม้ในฐานะเช่นนี้ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์
ย่อมประกอบฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า โตสิตา ได้แก่ ยินดี อิ่มใจ. บทว่า
พฺยาหรนฺต ได้แก่ พฺยาหรนฺตสฺส ของพระองค์ผู้กำลังตรัสอยู่ ทุติยา.
วิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า อมต ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า
ปาปุณนฺติ แปลว่า บรรลุ. บทว่า เต ความว่า สัตว์เหล่าใด ฟังพระดำรัส
คือพระธรรมเทศนาของพระองค์ สัตว์เหล่านั้น ย่อมบรรลุอมตธรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ อัน
ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรง
แสดงธรรม ทรงเห็นชนสามโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัย ทรงใคร่ครวญว่า เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นอยู่กันที่ไหน ก็ทรงเห็นชน
เหล่านั้นอยู่ ณ สุธัมมราชอุทยาน กรุงสุภวดี เสด็จไปทางอากาศ ลงที่
สุธัมมราชอุทยาน. พระองค์อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ท่ามกลางบริษัทพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ณ ที่นั้น อภิสมัย
ที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีธรรมา-
ภิสมัยสำเร็จเจริญไป ครั้งนั้น ในการทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ ๑ สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผีโต ได้แก่ถึงความเจริญโดยชนเป็นอัน
มากรู้ธรรม. บทว่า โกฏิสตานิ ได้แก่ร้อยโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสตะ ปาฐะว่า
โกฏิสตโย ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นความว่า ร้อยโกฏิ.
ภายหลังสมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน
ต้นประดู่ ใกล้ประตู โอสธีนคร ประทับนั่งเหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
ภพดาวดึงส์ ซึ่งพวกอสูรครอบงำได้ยาก ทรงยังฝนคือพระอภิธรรมให้ตกลง
ตลอดไตรมาส. ครั้งนั้น เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ตกลงในอภิสมัยต่อจากนั้น ในการที่ทรงแสดงธรรม
ครั้งที่ ๒ เทวดาแปดสิบโกฏิตรัสรู้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ เมื่อมหาเมฆคือพระ-
พุทธเจ้า หลั่งฝนตกลง. บทว่า ธมฺมวุฏฺิโย ได้แก่ เมล็ดฝน คือ ธรรมกถา.
สมัยต่อจากนั้น สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฏิตรัสรู้ ในการที่ทรงแสดงมงคล
ปัญหา. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงหลั่งฝนคือ
ธรรม ต่อจากนั้น ยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่ม อภิสมัยครั้ง
ที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดสิบแปดโกฎิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ ทรงหลั่งธารน้ำ คือ
ธรรมกถา. บทว่า ตปฺปยนฺเต ได้แก่ ให้เขาอิ่มด้วยน้ำฝน คืออมตธรรม.
อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเขาให้อิ่ม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. ใน ๓
ครั้งนั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์แปดแสน ซึ่งเลื่อมใส
ในธรรมที่ทรงแสดงโปรด พระเจ้าอิสิทัตตะ ณ กรุงโสเรยยะ แล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในเมื่อทรงแสดงธรรมโปรด พระสุนทรินธระ
กรุงราธวดี นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลาง
พระอรหันต์หกแสน ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา พร้อมกับ พระเจ้าโสเรยยะ
กรุงโสเรยยะ อีก นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระอรหันต์ผู้ ถึง
กำลังแห่งอภิญญาผู้บานแล้วด้วยวิมุตติ.
ครั้งนั้น ประชุมพระอรหันต์แปดแสน ผู้ละ-
ความเมาและโมหะ มีจิตสงบ คงที่.
ครั้งที่ ๒ ประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน ผู้ไม่มี
กิเลส ปราศจากกิเลสดังธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ ๓ ประชุมพระอรหันต์หกแสน ผู้ถึงกำลัง-
แห่งอภิญญา ผู้เย็น ผู้มีตบะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาปิ จ มเหสิโน ได้แก่ แม้พระ
อโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น. ปาฐะว่า ตสฺสาปิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ทฺวิปทุตฺตโม ดังนี้ก็มี. ความว่าพระผู้เป็นเลิศกว่าสัตว์สองเท่า พระองค์
นั้น. พึงถือเอาลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์. บทว่า อภิญฺาพลปฺปตฺตาน
ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญาทั้งหลาย อธิบายว่า ถึงความมั่นคงในอภิญญา
ทั้งหลาย โดยความพินิจอย่างฉับพลัน เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ. บทว่า
ปุปฺผิตาน ได้แก่ ถึงความงามอย่างเหลือเกิน เพราะบานสะพรั่งเต็มหมด.
บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ด้วยอรหัตผลวิมุตติ.
ในบทว่า อนงฺคณาน นี้ อังคณศัพท์นี้ บางแห่งใช้ในกิเลสทั้ง
หลาย เช่น ตตฺถ กตมานิ ตีณิ องฺคณานิ. ราโค องฺคณ โทโส
องฺคณ โมโห องฺคณ ในข้อนั้น อังคณะมี ๓ คือ อังคณะคือราคะ
อังคณะคือโทสะ อังคณะคือโมหะ และเช่น ปาปกาน โข เอต อาวุโส
อกุสลาน อิจฺฉาวจราน อธิวจน ยทิท องฺคณ ผู้มีอายุ คำคือ
อังคณะ เป็นชื่อของอกุศลบาปธรรม ส่วนที่มีความอยากเป็นที่หน่วงเหนี่ยว
บางแห่งใช้ในมลทินบางอย่าง เช่น ตสฺเสว รชสฺส วา องฺคณสฺส วา
ปหานาย วายมติ พยายามเพื่อละกิเลสธุลี หรือมลทินนั้นนั่นแล. บางแห่ง
ใช้ในภูมิภาคเห็นปานนั้น เช่น เจติยงฺคณ ลานพระเจดีย์, โพธิยงฺคณ
ลานโพธิ, ราชงฺคเณ พระลานหลวง ส่วนในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในกิเลสทั้ง
หลาย เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า วิรชาน เป็นไวพจน์
ของคำว่า อนงฺคณาน นั้นนั่นแหละ. บทว่า ตปสฺสิน ความว่า ตบะ
กล่าวคืออริยมรรค อันทำความสิ้นกิเลสของภิกษุเหล่าใดมีอยู่ ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าตปัสสี ผู้มีตบะ. ภิกษุผู้มีตบะเหล่านั้นคือพระขีณาสพ.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็น เสนาบดียักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
มีฤทธานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์หลายแสนโกฏิ. พระโพธิสัตว์นั้น สดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
ว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็มาเนรมิตมณฑป สำเร็จด้วยรัตนะ ๗
งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนวงดวงจันทร์งามนักหนา. ถวายมหาทาน แด่พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ณ มณฑปนั้น ๗ วัน. เวลาอนุโมทนาภัตทาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล เมื่อล่วงไปหนึ่งอสงไขย
กำไรแสนกัป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นยักษ์มีฤทธิ์มาก เป็นใหญ่ มี-
อำนาจเหนือยักษ์หลายโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น เราก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น เลี้ยงดูพระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ.
ครั้งนั้นพระมุนีผู้มีพระจักษุบริสุทธิ์ แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็ร่าเริง สลดใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฺสึ ความว่า เรา
ได้ทำความยากนั่นมั่นคงยิ่งขึ้นไป เพื่อให้บารมีบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
จันทวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้ายสวา พระชนนีพระนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
ยโสธรา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระนิสภะ และ พระอโนมะ พระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรี
และ พระสุมนา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอัชชุนะ พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระชนมายุแสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิริมา พระโอรส
พระนามว่า อุปวาณะ ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี พระองค์เสด็จ
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือวอ. ส่วนการเสด็จไป พึงทราบความตามนัยที่กล่าวมา
แล้ว ในการเสด็จโดยปราสาท ในการพรรณนาวงศ์ของพระโสภิตพุทธเจ้า.
พระเจ้าธัมมกะ เป็นอุปัฏฐาก เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ
พระวิหารธัมมาราม. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาอโนมทัสสี มีพระนครชื่อว่าจันทวดี
พระชนกพระนามว่าพระเจ้ายสวา พระชนนีพระนาม
ว่า พระนางยโสธรา.
พระศาสดาอโนมทัสสี มีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระนิสภะ และ พระอโนมะ พระอุปัฏฐากชื่อว่าวรุณะ
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุนทรี และพระสุมนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นอัชชุนะ ไม้กุ่ม.
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของพระองค์
แล่นออกเหมือนดวงอาทิตย์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์เมื่อทรง
มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
ปาพจน์ คือ ธรรมวินัย อันพระอรหันต์ ทั้งหลาย
ผู้คงที่ ปราศจากราคะ ไร้มลทิน ทำให้บานดีแล้ว
ศาสนาของพระชินพุทธเจ้า จึงงาม.
พระศาสดา ผู้มีพระยศประมาณมิได้นั้นด้วย คู่
พระอัครสาวก ผู้มีคุณที่วัดไม่ได้เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็
อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปภา นิทฺธาวตี ความว่าพระรัศมีแล่น
ออกจากพระสรีระของพระองค์. พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปตลอดเนื้อที่
ประมาณสิบสองโยชน์อยู่เป็นนิตย์. บทว่า ยุคานิ ตานิ ได้แก่ คู่มีคู่พระ-
อัครสาวกเป็นต้น. บทว่า สพฺพ ตมนฺตรหิต ความว่า ประการดังกล่าว
แล้วเข้าสู่ปากอนิจจลักษณะแล้วก็หายไปสิ้น. ปาฐะว่า นนุ ริตฺตกเมว สงฺขารา
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความว่า สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าทั้งนั้นแน่แท้.
ม อักษร ทำบทสนธิต่อบท. ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
คู่พระอัครสาวกคู่นี้ คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ได้ทำ
ปณิธานเพื่อเป็นพระอัครสาวก ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า อโนมทัสสี
พระองค์นี้. ก็เรื่องพระเถระเหล่านี้ ควรกล่าวในเรื่องนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ยก
ขึ้นโดยนัยที่พิศดารในคัมภีร์.
จบพรรณนาวงศ์พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
๘. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมพุทธเจ้า
[๙] ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระปทุมสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า ผู้ไม่
มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ ก็
ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐก็นับไม่ได้ ทั้ง
วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
อภิสมัย อันลอยเสียซึ่งความมืดใหญ่ของพระ-
องค์ผู้มีพระเดชอันชั่งไม่ได้ ในการประกาศพระธรรม
จักรมี ๓ ครั้ง.
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อย
โกฏิให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรง
ยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ตรัสรู้.
ครั้งพระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรสของ
พระองค์เอง อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ
โกฏิ.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการ
ประชุมสาวกแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ในสมัยกรานกฐิน ภิกษุ
ทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวร เพื่อพระสาลเถระพระธรรม
เสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไร้มลทิน มีอภิญญา ๖
มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิ ก็ประ-
ชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้าจำ
พรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้น เป็นการประชุมพระสาวก
สองแสนโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้าแห่งมฤค ได้เห็น
พระชินพุทธเจ้า ซึ่งกำลังเพิ่มพูนความสงัด ในป่า
ใหญ่.
เราใช่เศียรเกล้าถวายบังคมพระบาท ทำประทัก-
ษิณพระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง บำรุงพระชิน
พุทธเจ้า ๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตทรงออกจากนิโรธสมาบัติ
ทรงพระดำริด้วยพระหฤทัย ก็ทรงนำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระก็ทรงพยากรณ์เราท่าน
กลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จัดเป็นพระพุทธเจ้าในกัป
ที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
ตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จไปตามทางอันดีที่จัด
แต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ก็ทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้นี้จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระ-
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และ
หัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระปทุมพุทธเจ้า ที่ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีใหญ่
บริบูรณ์.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อสมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี มีปราสาทชั้น
เยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นันทะ วสุ และ ยสัตตระ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามหมื่นสามพัน
นาง มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
พระโอรสพระนามว่า รัมมะ.
พระชินพุทธเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิ-
เนษกรมณ์ ด้วยยานคือรถ ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือน
เต็ม.
พระมหาวีระ ปทุมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม
จักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระ
พุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระวรุณะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า
ต้นมหาโสณะ (ไม้อ้อยช้างใหญ่).
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สภิยะ และ อสมะ มีอัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่า รุจิ และ นันทิมารา.
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของพระองค์
ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
และแสงมณี เหล่านั้นพอถึงรัศมีพระชินเจ้าอันสูงสุด
ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระปทุมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระสาวก ยัง
เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ไม่เหลือ
เลย ส่วนที่เหลือ ก็ทรงพร่ำสอน แล้วก็ดับขันธ-
ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทุกอย่าง เหมือนงูลอก
คราบ เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วก็ดับขันธ-
ปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ ฉะนั้น.
พระปทุมศาสดา พระชินะผู้ประเสริฐ ดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหาร ธัมมาราม พระบรมสารี-
ริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ณ ประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
พรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ ๘
ต่อจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ
แสนปีแล้วลดลงโดยลำดับจนมีอายุ ๑๐ ปี แล้วเพิ่มขึ้นโดยลำดับอีก จนมี
อายุแสนปี. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่า ปทุม ทรงอุบัติขึ้นในโลก. แม้
พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจาก
นั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอสมา ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอด้วย
พระรูปเป็นต้น อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอสมราช กรุงจัมปกะ.
ครบกำหนดทศมาแล้ว พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ
จัมปกะราชอุทยาน. เมื่อพระกุมารสมภพ ฝนปทุมหล่นจากอากาศตกลงที่ท้าย
มหาสมุทรทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น ในวันขนานพระนามพระกุมารนั้น
พวกโหรและเหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามว่า มหาปทุมกุมาร
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่านันทุตตระ
วสุตตระ และยสุตตระ. ปรากฏ พระสนมนารีสามหมื่นสานพันนาง มีพระนาง
อุตตราเทวีเป็นประมุข.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อ รัมมราชกุมาร ของพระนางอุตตรา
มหาเทวีสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า
บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น พระมหาสัตว์อัน
บุรุษเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่ง นางธัญญวดี ธิดาของ สุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี
ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ มหาสาลวัน เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ
ซึ่ง ติตถกะอาชีวก ถวาย แล้วเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นมหาโสณะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐาน
ความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงทำให้แจ้งวิชชา ๓ ในยาม
ทั้ง ๓ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯลฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม ทรง
ตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิ
ซึ่งบวชกับพระองค์ ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น. ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม เป็นยอดของสัตว์สอง
เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ
ก็ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้
ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มี
พระเดชที่ชั่งไม่ได้ อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่อง
ลอยความมืดอย่างใหญ่ มี ๓ ครั้ง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสม สีล ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีล
ของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก
ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้. ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
ในยมกปาฏิหาริย์เปิดโลกเป็นต้น. บทว่า าณวร ได้แก่ พระสัพพัญญุต-
ญาณ หรือพระอสาธารณญาณทั้งหลาย. บทว่า วิมุตฺติปิ ได้แก่ แม้พระ-
อรหัตผลวิมุตติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนูปมา ได้แก่ เว้นที่จะ
เปรียบได้. บ่ทว่า อตุลเตชสฺส ได้แก่ ผู้มีพระเดชคือญาณอันชั่งมิได้.
ปาฐะว่าอตุลาณเตชา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเชื่อมความกับบทหลัง
นี้ว่า ตโย อภิสมยา. บทว่า มหาตมปวาหนา ได้แก่ ยังโมหะใหญ่ให้
พินาศ อธิบายว่า กำจัดความมืดคือโมหะ.
สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมทรงให้สาลกุมารและอุปสาลกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์บรรพชาในสมาคมพระประยูรญาติ พร้อมทั้ง
บริวาร เมื่อทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ดื่ม
อมตธรรม ก็ครั้งที่ทรงแสดงธรรมโปรดพระธัมมเถระ อภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์
แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิ
ให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรงยัง
สัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งที่พระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ
โกฏิ.
ครั้งนั้น พระเจ้าสุภาวิตัตตะ มีราชบริพารแสนโกฏิ ทรงผนวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระปทุมพุทธเจ้า ผู้มีพระพักตร์ดังดอก
ปทุมบาน. ในสันนิบาตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ
ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้-
มีพระภาคเจ้า จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ชนเหล่านั้น. มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช แต่นั้น
พระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากันภิกษุเหล่านั้น และภิกษุสามแสน
อื่น ๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น ชน
เหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ ๕ ในวัน
ปาฏิบท ๕ เดือน. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ พระธรรม
เสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน ได้ถวายกฐินจีวร
แก่พระสาลเถระนั้น. เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ. ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงร้อยด้าย
เข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไป
พร้อมด้วยภิกษุสามแสน.
สมัยต่อมา พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความ
องอาจดังราชสีห์ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมี
ผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริ-
บูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน เป็นที่สัญจร
ของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น อันฝูง
แมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูง ๆ
โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ
แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง สงัดปราศจากผู้คน เหมาะ
แก่การประกอบความเพียร. พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวาร
ประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ฟังธรรมของพระองค์ก็เลื่อมใส พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. ครั้งนั้น
พระองค์อันภิกษุสองแสนแวดล้อมแล้วก็ทรงปวารณาพรรษา นั้นเป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมภิกษุแสน
โกฏิ.
ในสมัยกรานกฐิน เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ภิกษุ
ทั้งหลายเย็บจีวร เพื่อพระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ไร่มลทิน มีอภิญญา ๖
มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้า
จำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้นเป็นการประชุมภิกษุ
สองแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินตฺถารสมเย ได้แก่ ในสมัย
กรานกฐินจีวร. บทว่า ธมฺมเสนาปติตฺถาย ได้แก่ เพื่อพระสาลเถระ
พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อปราชิตา ได้แก่ น ปราชิตา อันใคร ๆ
ให้แพ้ไม่ได้. พึงเห็นว่า ลบวิภัตติ. บทว่า โส ได้แก่ พระปทุมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. บทว่า ปวเน แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า วาส ได้แก่ อยู่
จำพรรษา. บทว่า อุปาคมิ แปลว่า เข้า. บทว่า ทฺวินฺน สตสหสฺสิน
แปลว่า สองแสน. ปาฐะว่า ตทา อาสิ สมาคโม ดังนี้ก็มี. ผิว่า มีได้
ก็ดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ ไพรสณฑ์นั้น พระโพธิสัตว์
ของเราเป็นราชสีห์ เห็นพระองค์ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ก็มี
จิตเลื่อมใส ทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัส บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง ไม่ละปีติ
ที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ ๗ วัน ด้วยปีติสุขนั่นแล ก็ไม่ออกหาเหยื่อ ยอม
สละชีวิต ยืนอยู่ใกล้ ๆ. ครั้งนั้น ล่วงไป ๗ วัน พระศาสดาก็ออกจากนิโรธ
สมาบัติ ผู้เป็นสีหะในนรชน ทรงตรวจดูราชสีห์ ทรงพระดำริว่า ขอราชสีห์
นั้น จงมีจิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์ ขอสงฆ์จงมา ภิกษุหลายโกฏิก็พากันมา
ทันทีทันใด ราชสีห์ก็ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสงฆ์. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง
ตรวจดูจิตของราชสีห์นั้น ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ราชสีห์ตัวนี้ จัก
เป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้ามฤค ได้เห็นพระ-
ชินพุทธเจ้า ผู้เพิ่มพูนความสงัดอยู่ในป่าใหญ่.
เราใช้เศียรเกล้าบังคมพระบาท ทำประทักษิณ
พระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เฝ้าพระชินพุทธเจ้า
๗ วัน.
๗ วัน พระตถาคตก็ทรงออกจากนิโรธ ทรง
ดำริด้วยพระหฤทัย นำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์เราท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จักเป็นพระ-
พุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกมนุพฺรูหนฺต ได้แก่ ทรงเข้า
นิโรธสมาบัติ. บทว่า ปทกฺขิณ ได้แก่ ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง. บทว่า
อภินาทิตฺวา ได้แก่ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง. บทว่า อุปฏฺห แปลว่า
บำรุง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่
ออกจากนิโรธสมาบัติ. บทว่า มนสา จินฺตยิตฺวาน ความว่า ทรงพระดำริ
ทางพระหฤทัยว่า ภิกษุทั้งหมดจงมาที่นี้. บทว่า สมานยิ แปลว่า นำมา
แล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมะ พระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ พระชนนีพระนามว่า พระ-
นางอสมา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ. พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธา และพระ
สุราธา. โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นมหาโสณะ อ้อยช้างใหญ่. พระสรีระ
สูง ๕๘ ศอก พระชนมายุแสนปี. พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีพระรูปเป็นต้น พระโอรสของพระองค์น่ารื่นรมย์ยิ่ง พระ-
นามว่า พระรัมมกุมาร. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร
ชื่อว่าจัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระอัคร
สาวก ชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระพุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนี ทรงสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของ
พระองค์ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
แสงมณี แสงเหล่านั้น พอถึงพระรัศมีของพระชิน-
พุทธเจ้าอันสูงสุด ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงพระสาวก ยังสัตว์ทั้งหลายที่ใจอัน
กุศลอบรมให้แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ ไม่เหลือเลย ส่วนที่
เหลือ ก็ทรงพร่ำสอนแล้วเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทั้งปวง เหมือนงูละคราบ
เก่า เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตนคฺคิมณิปฺปภา ได้แก่ แสงรัตนะ
แสงไฟ และ แสงแก้วมณี. บทว่า หตา ได้แก่ ถูกครองงำ. บทว่า ชิน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
ปภุตฺตม ความว่า ถึงพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระชินพุทธเจ้าที่รุ่งเรืองยิ่ง
ก็ถูกกำจัด. บทว่า ปริปกฺกมานเส ได้แก่ เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.
บทว่า วฑฺฒปตฺต แปลว่า ใบเก่า. บทว่า ปาทโปว ก็คือ ปาทโป วิย
เหมือนต้นไม้. บทว่า สพฺพสงฺขาเร ได้แก่ สังขารภายในภายนอกทุกอย่าง.
ปาฐะว่า หิตฺวา สพฺพสงฺขาร ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า
ยถา สิขี ความว่า เสด็จถึงอย่างดีซึ่งความดับเหมือนไฟไม่มีเชื้อ. คำที่เหลือ
ในที่นี้ ก็ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง ในคาถาทั้งหลายแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
๙. วงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า
[๑๐] ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า พระ-
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์
สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระเชษฐโอรส
ที่น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสวมอาภรณ์มณี
เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน.
ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่ไพศาลงาม
สะอาดสะอ้าน ถึงต้นไม้นั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้
ต้นมหาโสณะ [ต้นอ้อยช่างใหญ่].
ณ ที่นั้น ญาณอันประเสริฐ ไม่มีที่สุด คมดุจ
วชิระ ก็เกิด ทรงพิจารณา ความเกิด ความดับแห่ง
สังขารทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.
ณ ที่นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายไม่เหลือเลย
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้น
เชิง.
ครั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
พระมหามุนีทรงฝึกทรมาน พญานาค ชื่อมหา
โทณะ เมื่อทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้
ทรงทำปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ ข้ามพ้น
ความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรมนั้น.
สมัยพระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของ
พระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ เป็นการ
ประชุมสาวกแสนโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อม
ทั้งเหตุ สาวกเก้าหมื่นโกฏิ ผู้ไร้มลทินก็ประชุมกัน.
ครั้งพญานาคชื่อว่าเวโรจนะ ถวายทานแด่พระ-
ศาสดา พระชินบุตรแปดล้านก็ประชุมกัน.
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา ๕
ท่องเที่ยวไปในอากาศ.
แม้ครั้งนั้น เราก็เลี้ยงดูพระนารทพุทธเจ้า ผู้
เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ พร้อมทั้งพระ-
สงฆ์ ทั้งบริวารชนให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว น้ำ บูชา
ด้วยจันทน์แดง.
ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้า ผู้นำโลกแม้พระ-
องค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าใน
กัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอัน ที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้
จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระ-
อุบลวรรณนา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิต
สงบ ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และ
หัตถะอาฬวกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุต
ตรา พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชน-
มายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระนารทพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาด คำสั่งสอนของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่
ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระพุทธชินเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระนารทพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระนคร
ชื่อว่าธัญญวดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี มีปรา-
สาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า ชิตะ วิชิตะ และอภิรามะ.
มีพระสนมนารี ที่ประดับกายงามสี่หมื่นสามพัน
นาง พระอัครมเหสีพระนามว่า วิชิตเสนา พระโอรส
พระนามว่า นันทุตตระ.
พระยอดบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิ-
เนษกรมณ์ โดยดำเนินด้วยพระบาท ทรงบำเพ็ญเพียร
๗ วัน.
พระมหาวีระนารทะ ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระอัครสาวก ชื่อ พระภัททสาละ และ พระ-
ชิตมิตตะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า วาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อ พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
ต้นมหาโสณะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคครินทะ และ วสภะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อ อินทวรี และ คัณฑี.
พระมหามุนี ทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูป
ปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ
พระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ แผ่ไปโยชน์หนึ่ง ทั้ง
กลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
สมัยนั้น ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิง และดวง
ประทีปให้ลุกโพลงไปรอบๆ โยชน์หนึ่ง เพราะพระ-
พุทธรัศมีทั้งหลายครอบไว้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระนารท
พุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามวิจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด
พระศาสนาของพระองค์ก็งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระนราสภพระองค์นั้น ทรงสร้างสะพานธรรม
ไว้มั่นคง เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสาร-
วัฏ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระนารทพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระชินะ ผู้ประ-
เสริฐ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ กรุงสุทัสสนะ
พระสถูปอันประเสริฐ สูง ๔ โยชน์ ก็อยู่ ณ ที่นั้นแล.
จบวงศ์นารทพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
พรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ ๙
เมื่อพระปทุมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็อันตร-
ธานไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายมีอายุแสนปี ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปี
แล้วก็เพิ่มขึ้นอีก เป็นอายุอสงไขยหนึ่ง แล้วก็ลดลงเหลือเก้าหมื่นปี. ครั้งนั้น
พระศาสดายอดนรสัตว์พระนามว่า นารทะ ผู้ทรงกำลัง ๑๐ มีวิชชา ๓ ผู้แกล้ว
กล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ประทานวิมุตติสาร อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรง
บำเพ็ญบารมีมา สี่อสงไขยแสนกัป ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น
แล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอโนมาเทวี ผู้มีพระโฉมไม่มีที่
เปรียบพระอัครมเหสีในราชสกุล พระเจ้าสุเทวะ วาสุเทพแห่งวีริยรัฐของ
พระองค์ กรุงธัญญวดี ครบทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี
ณ ธนัญชัยราชอุทยาน. ในวันเฉลิมพระนาม เมื่อกำลังเฉลิมพระนาม เครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรเหมาะแก่การใช้สำหรับมนุษย์ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ก็
หล่นจากต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นทางอากาศ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงถวายเครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลายที่สมควรสำหรับนรชนทั้งหลายแต่พระองค์ เพราะฉะนั้นพวก
โหรและพระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า นารทะ.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี. มีปราสาท ๓ หลังเหมาะฤดู
ทั้ง ๓ ชื่อว่า วิชิตาวี วิชิตาวี และวิชิตาภิรามะ พระชนกชนนีได้ทรงทำขัตติย-
กัญญาผู้มีบุญอย่างยิ่งพระนามว่า วิชิตเสนา ผู้ถึงพร้อมด้วยสกุลศีลาจารวัตร
และรูปสมบัติให้เป็นอัครมเหสีแก่นารทกุมารนั้น. พระสนมนารี จำนวนแสน
สองหมื่นนาง มีพระนางวิชิตเสนานั้นเป็นประธาน เมื่อพระนันทุตตรกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ผู้นำความบันเทิงใจแก่โลกทั้งปวง ของพระนางวิชิตเสนาเทวีนั้น ประสูติ
แล้ว พระนารทะกุมารนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ อันจตุรงคเสนาทัพใหญ่
แวดล้อมแล้วทรงเครื่องนุ่งห่มอันเบาดี สีต่างๆ สวมกุณฑลมณีมุกดาหาร ทรง
พาหุรัดพระมงกุฎและทองพระกรอย่างดี ทรงประดับด้วยดอกไม้กลิ่นหอมอย่าง
ยิ่ง ดำเนินด้วยพระบาทสู่พระราชอุทยาน ทรงเปลื้องเครื่องประดับทั้งหมด
มอบไว้ในมือพนักงานรักษาคลังหลวง ทรงตัดพระเกศาและมงกุฎของพระองค์
ที่ประดับด้วยรัตนะอันงามอย่างยิ่ง ด้วยพระขรรค์อันคมกริบ เฉกเช่นกลีบ
บัวขาบอันไม่มีมลทินด้วยพระองค์เอง แล้วทรงเหวี่ยงไปที่ท้องนภากาศ. ท้าว
สักกเทวราช ทรงรับด้วยผอบทอง นำไปภพดาวดึงส์ ทรงสร้างพระเจดีย์
สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ สูง ๓ โยชน์.
ฝ่ายพระมหาบุรุษ ทรงครองผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช ณ
อุทยานนั้นนั่นเอง บุรุษแสนคนก็บวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษทรงทำความ
เพียรอยู่ในที่นั้น ๗ วัน วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระนางวิชิตเสนา
อัครมเหสีถวาย ทรงพักกลางวัน ณ พระราชอุทยานทรงรับหญ้า ๘ กำที่พนัก-
งานเฝ้าพระสุทัสสนราชอุทยาน ถวาย ทรงทำประทักษิณ ต้นมหาโสณะ
โพธิพฤกษ์ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก ประทับนั่ง ทรงกำจัดกอง
กำลังมาร ทรงยังวิชชา ๓ ให้เกิดในยามทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯเปฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา แล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ประทานคำรับรอง
แล้วอันภิกษุแสนรูปที่บวชกับพระองค์ ณ ธนัญชัยราชอุทยานแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า พระสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่า นารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นเชษฐโอรส
น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสวมอาภรณ์แก้ว
มณีเสด็จเข้าพระราชอุทยาน.
ณ พระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้งามกว้างใหญ่
สะอาดสะอ้าน เสด็จถึงต้นไม้นั้นแล้วประทับนั่งภาย
ใต้ต้นมหาโสณะ.
ณ ต้นไม้นั้น ก็เกิดญาณอันประเสริฐไม่มีที่สุด
คมเปรียบด้วยวชิระ ก็ทรงพิจารณาความเกิดความดับ
ของสังขารทั้งหลาย.
ทรงขจัดกิเลสทุกอย่างไม่เหลือเลย ณ ต้นไม้นั้น
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ ๑๔ สิ้น
เชิง.
ครั้นทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประ-
กาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสน
โกฎิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกวตฺติสฺส ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ
บทว่า เชฏฺโ ได้แก่ เกิดก่อน. บทว่า ทยิตโอรโส ได้แก่ พระโอรส พระราช
บุตร ที่น่าเอ็นดูน่ารัก. บุตรที่เขาเอ็นดูแล้ว อันเขากอดประทับไว้ที่อก ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
ทยิตโอรส. บทว่า อามุกฺกมาลาภรโณ๑ ได้แก่ สวมพาหุรัดทองกรมงกุฏ
และกุณฑลมุกดาหารเป็นมาลัย. บทว่า อุยฺยาน ความว่า ได้ไปยังอารามชื่อ
ธนัญชัยราชอุทยาน นอกพระนคร.
บทว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข ความว่า เขาว่าในราชอุทยานนั้น มีต้นไม้
ต้นหนึ่ง ชื่อว่า รัตตโสณะ. เขาว่าต้นรัตตโสณะนั้น สูง ๙๐ ศอก ลำต้น
เกลากลม มีค่าคบและกิ่งก้านสะพรั่ง มีใบเขียวหนาและกว้าง มีเงาทึบเพราะ
มีเทวดาสิงสถิต จึงปราศจากหมู่นกนานาชนิดสัญจร เป็นดิลกจุดเด่นของพื้น
ธรณี กระทำประหนึ่งราชาแห่งต้นไม้ ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ทุกกิ่งประดับด้วย
ดอกสีแดง เป็นจุดรวมแห่งดวงตาของเทวดาและมนุษย์. บทว่า ยสวิปุโล
ได้แก่ มียศไพบูลย์ อธิบายว่า อันโลกทั้งปวงกล่าวถึง ปรากฏเลื่องลือไปในที่
ทั้งปวงเพราะสมบัติของต้นไม้เอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตตฺถาสิ รุกฺโข
วิปุโล ดังนี้ก็มี. บทว่า พฺรหา แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า เช่นเดียวกับต้นปาริ-
ฉัตตกะของทวยเทพ. บทว่า ตมชฺฌปฺปตฺวา ความว่า ถึง ถึงทับ คือเข้าไปยัง
ต้นโสณะนั้น. บทว่า เหฏฺโต ได้แก่ ภายใต้ต้นไม้นั้น.
บทว่า าณวรุปฺปชฺชิ ได้แก่ ญาณอันประเสริฐเกิดขึ้น. บทว่า อนนฺต
ได้แก่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. บทว่า วชิรูปม ได้แก่ คมเช่นวชิระ คำนี้
เป็นชื่อของวิปัสสนาญาณ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า เตน วิจินิ
สงฺขาเร ได้แก่ พิจารณาสังขารทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น.
บทว่า อุกฺกุชฺชมวกุชฺชก ความว่า พิจารณาความเกิดและความเสื่อมของสังขาร
ทั้งหลาย. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พระองค์พิจารณาปัจจยาการออกจาก
จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ หยั่งลงในขันธ์ ๕ ก็เห็นลักษณะ ๕๐
ถ้วน ด้วยอุทยัพพยญาณ เจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ ก็ได้พระพุทธคุณ
ทั้งสิ้นโดยลำดับแห่งพระอริยมรรค
๑. บาลีเป็น อามุตฺตมณฺยาภรโณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ ต้นโสณะ. บทว่า สพฺพกิเลสานิ
ได้แก่ สพฺเพปิ กิเลเส กิเลสแม้ทั้งหมด ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ตตฺถ สพฺพกิเลเสหิ. บทว่า อเสส แปลว่า ไม่เหลือเลย
บทว่า อภิวาหยิ ได้แก่ ขจัดกิเลสทั้งหมด โดยเขตมรรคและเขตกิเลส อธิบาย
ว่านำเข้าไปสู่ความสูญหาย. บทว่า โพธิ ได้แก่ อรหัตมรรคญาณ. บทว่า
พุทฺธาเณ จ จุทฺทส ได้แก่ พุทฺธาณานิ จุทฺทส พุทธญาณ ๑๔ อย่าง.
๑๔ อย่าง คืออะไร. คือญาณเหล่านี้อย่างนี้คือ มรรคญาณผลญาณ ๘ อสาธารณ-
ญาณ ๖ ชื่อว่าพุทธญาณของพระพุทธเจ้า. จ ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ ด้วย จ
ศัพท์นั้นความว่า แม้ประการอื่นทรงบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ
๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนดคติ ๕ ทศพลญาณ ย่อมรวมลงใน
พระพุทธคุณทั้งสิ้น.
พระมหาบุรุษนารทะ ทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ทรง
รับอาราธนาของท้าวมหาพรหม ทรงทำภิกษุแสนโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ
ธนัญชัยราชอุทยาน ไว้เฉพาะพระพักตร์แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระยานาค ชื่อ
โทณะ มีฤทธานุภาพมาก มหาชนสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่ริมฝั่ง
แม่น้ำคงคา ใกล้ มหาโทณนคร พวกมนุษย์ชาวชนบทในถิ่นใดไม่ทำการบวง
สรวงพระยานาคนั้น พระยานาคนั้นก็จะทำถิ่นนั้นของมนุษย์พวกนั้นให้พินาศ
โดยทำไม่ให้ฝนตกบ้าง ให้ฝนตกมากเกินไปบ้าง ทำฝนก้อนกรวดให้ตกลงบ้าง.
ลำดับนั้น พระนารทศาสดาผู้ทรงเห็นฝั่ง ทรงเห็นอุปนิสัยของสัตว์
เป็นอันมาก ในการแนะนำพระยานาคโทณะอันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว
จึงเสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระยานาคนั้น. แต่นั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นพระ-
ศาสดาแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระยานาคมีพิษร้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
มีเดชสูง มีฤทธานุภาพมาก อาศัยอยู่ในที่นั้น มันจักเบียดเบียนพระองค์ ไม่
ควรเสด็จไปพระเจ้าข้า. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประหนึ่งไม่ฟังคำของมนุษย์
เหล่านั้นเสด็จไป. ครั้นเสด็จไปแล้ว ก็ประทับนั่งบนเครื่องลาดดอกไม้ที่มีกลิ่น
หอมอย่างยิ่ง ซึ่งพวกมนุษย์เซ่นสรวงพระยานาคนั้นในที่นั้น. เขาว่า มหาชน
ประชุมกัน ด้วยหมายว่าจะเห็นการยุทธของสองฝ่าย คือพระนารทจอมมุนี
และพระยานาคโทณะ.
ครั้งนั้น พระยานาคเห็นพระนาคมุนีนั่งอย่างนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้
ก็ปรากฏตัวบังหวนควัน. แม้พระทศพลก็ทรงบังหวนควัน พระยานาคบันดาล
ไฟอีก. แม้พระมุนีเจ้าก็ทรงบันดาลไฟบ้าง. พระยานาคนั้นมีเนื้อตัวลำบากอย่าง
เหลือเกิน เพราะเปลวควันที่พลุ่งออกจากพระสรีระของพระทศพล ทนทุกข์ไม่ได้
ก็ปล่อยพิษออกไป หมายจะฆ่าพระองค์ด้วยความเร็วแห่งพิษ ทั่วทั้งชมพูทวีปพึง
พินาศด้วยความเร็วแห่งพิษ. แต่พิษนั้น ไม่สามารถจะทำพระโลมาแม้เส้นเดียว
ในพระสรีระของพระทศพลให้สั่นสะเทือนได้. ทีนั้น พระยานาคนั้นก็ตรวจดูว่า
พระสมณะมีความเป็นไปอย่างไรหนอ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระพักตร์
งามผ่องใส รุ่งเรืองด้วยพระพุทธรัศมี ๖ พรรณะ เต็มที่ดุจพระอาทิตย์และ
พระจันทร์ ในฤดูสารท ก็คิดว่า โอ ! พระสมณะนี้มีฤทธิ์มาก เราไม่รู้กำลัง
ของตัวเองผิดพลาดไปเสียแล้ว แสวงหาที่ช่วยตัวเอง ก็ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่นแหละเป็นสรณะ. ลำดับนั้น พระนารทมุนีเจ้าฝึกพระยานาคนั้นแล้ว ก็ทรง
ทำยมกปาฏิหาริย์ เพื่อยังจิตของมหาชนที่ประชุมกันในที่นั้นให้เลื่อมใส. ครั้ง
นั้น สัตว์เก้าหมื่นโกฏิก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุ
นั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
พระมหามุนีทรงฝึกพระยานาคมหาโทณะ เมื่อ
จะทรงแสดงแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ได้ทรงทำ
ปาฏิหารย์ในครั้งนั้น.
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิก็ข้ามพ้น
ความสงสัยทั้งปวง ในการประกาศธรรม.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิเหร ตทากาสิ ความว่า ได้ทรงทำ
ยมกปาฏิหาริย์. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. ปาฐะว่า ตทา เทวมนุสฺสา
วา ดังนี้ก็มี. ในปาฐะนั้น ปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติว่า เทว-
มนุสฺสาน เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ. บทว่า
ตรึสุ ได้แก่ ก้าวล่วงพ้น.
ครั้งเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทพระนันทุตตรกุมารพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
ครั้งที่พระมหาวีระ ทรงโอวาทพระโอรสของ
พระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ก็ครั้งที่พราหมณ์สหาย ๒ คน ชื่อ ภัททสาละและวิชิตมิตตะ กำลัง
แสวงหาห้วงน้ำคือ อมฤตธรรม ก็ได้เห็นพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แกล้ว
กล้ายิ่ง ประทับนั่งในบริษัท. เขาเห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกาย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตกลงใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีกิเลสดุจหลัง-
คาอันเปิดแล้วในโลก เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยบริวารก็
บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อสองสหายนั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ.
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ทรงมี
สันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุม
สาวกแสนโกฎิ.
สมัยที่พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพุทธวงศ์ จำเดิมแต่ทรงตั้ง
ปณิธานของพระองค์ ในสมาคมพระญาติ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณพร้อม
ทั้งเหตุ ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิผู้ไร้มลทินประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมลา ได้แก่ ปราศจากมลทิน อธิบาย
ว่า พระขีณาสพ.
ครั้งที่พระยานาค ชื่อเวโรจนะ ผู้เลื่อมใสในการฝึกพระยานาค ชื่อ
มหาโทณะ เนรมิตมณฑปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ คาวุต ใน
แม่น้ำคงคา อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวารให้ประทับนั่ง ณ
มณฑปนั้น พร้อมทั้งบริวารก็นิมนต์เพื่อทรงชมโรงทานของตน ณ ชนบทของ
ตน ให้เหล่านาฏกะนักฟ้อนรำนาค และนักดนตรีผู้บรรเลงดนตรีชื่อตาละ ซึ่ง
ทรงเครื่องประดับแต่งตัวนานาชนิด ได้ถวายมหาทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารด้วยสักการะใหญ่ เสวยเสร็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำ
อนุโมทนาเสมือนเสด็จลงสู่มหาคงคา. ในกาลนั้นทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่าม
กลางภิกษุแปดล้าน ผู้ฟังธรรม เวลาจบอนุโมทนาภัตทาน เลื่อมใสแล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ครั้งเวโรจนนาค ถวายทานแด่พระศาสดา ภิกษุ
ชินบุตร แปดล้านก็ประชุมกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสตสหสฺสิโย แปลว่า แปดล้าน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบวชเป็นฤาษี เป็นผู้ชำนาญในอภิญญา
๕ และสมาบัติ ๘ สร้างอาศรมอาศัยอยู่ข้างภูเขาหิมพานต์ ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้านารทะ อันพระอรหันต์แปดสิบโกฏิและอุบาสกผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิ-
ผล หนึ่งหมื่นแวดล้อม เสด็จไปยังอาศรมนั้น เพื่ออนุเคราะห์ฤาษีนั้น. ดาบส
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็ปลื้มใจ สร้างอาศรมเพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวาร ประกาศพระคุณของพระศาสดาสิ้นทั้งคืน
ฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า วันรุ่งขึ้น ก็ไปอุตตรกุรุทวีป นำอาหาร
มาจากที่นั้น ได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งบริวาร ถวายมหาทาน
อย่างนี้ ๗ วัน นำจันทน์แดงที่หาค่ามิได้มาจากป่าหิมพานต์บูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยจันทน์แดงนั้น. ครั้งนั้น พระทศพลอันเทวดาและมนุษย์แวดล้อม
แล้ว ตรัสธรรมกถาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า
โคตมะ ในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา ๕
ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
แม้ครั้งนั้น เราเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้ง
บริวารชน ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำแล้วบูชาด้วย
จันทน์แดง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
แม้ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้าผู้นำโลกพระองค์
นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้
บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปาห ตัดบทว่า ตทาปิ อห.
บทว่า อสมสม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า ไม่มีผู้เสมอ, ผู้
เสมอ คือวัดได้ด้วยอดีตพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ. อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอ. สาธุ-
ชนผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอหามิได้. บรรดาผู้เสมอด้วยท่านผู้ไม่มีผู้เสมอเหล่า
นั้น ผู้เสมอ เมื่อควรจะกล่าวว่า อสมสมสโม ผู้เสมอเสมอกับท่านผู้ไม่มี
ผู้เสมอ พึงทราบว่า ท่านกล่าวลบ สมศัพท์เสียศัพท์หนึ่ง. ความว่า ผู้เสมอ
ด้วยผู้ไม่มีผู้เสมอ คือผู้ปราศจากผู้เสมอ. บทว่า สปริชฺชน ได้แก่ ทั้งชน
ผู้เป็นอุบาสก. ปาฐะว่า โสปิ ม ตทา นรมรูน มชฺเฌ มชฺเฌ พฺยากาสิ จกฺขุมา
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น มีความง่ายเหมือนกัน. บทว่า ภุยโย หาเสตฺว มานส
ได้แก่ ยังหัวใจให้ร่าเริง ให้ยินดียิ่งขึ้นไป. บทว่า อธิฏฺห วต อุคฺค
ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรสูงขึ้น. ปาฐะว่า อุตฺตรึ วตมธิฏาสึ ทสปารมิ-
ปูริยา ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
พระผู้มีพระภาคเจ้านารทะพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า ธัญญวดี
พระชนกเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าสุเทวะ พระชนนีพระนามว่า อโนมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละ และพระชิตมิตตะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระวาเสฏฐะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระอุตตรา และพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นมหาโสณะ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระรัศมีแห่งพระสรีระ
ของพระองค์แผ่ไปโยชน์หนึ่งเป็นนิตย์ พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสี
ของพระองค์พระนามว่า วิชิตเสนา พระโอรสพระนามว่า นันทุตตระกุมาร
ปราสาท ๓ หลังชื่อวิชิตะ วิชิตาวี และวิชิตาราม. พระองค์ครองฆราวาสวิสัย
อยู่เก้าพันปี. พระองค์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่าธัญญวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุเทวะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอโนมา.
พระนารทพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวกชื่อว่า พระภัททสาละและพระชินมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระวาเสฏฐะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอุตตราเเละพระผัคคุนี
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนีทรงสูง ๘๘ ศอก เช่นเดียวกับรูป
ปฏิมาทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ
พระองค์แผ่ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้ง
กลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ชนบางพวกจุดคบเพลิง และตาม
ประทีปให้ติดสว่าง ในที่รอบ ๆ โยชน์หนึ่งไม่ได้ เพราะ
พระพุทธรัศมีครอบงำไว้เสีย.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระนารท-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามไพจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใด
ศาสนาของพระองค์ก็งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระนราสภพระองค์นั้น ทรงทำสะพานคือธรรม
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฎ แล้ว
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้
เสมอ พระองค์นั้นก็ดี พระขีณาสพทั้งหลาย ผู้มีเดช
ที่ชั่งไม่ได้เหล่านั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่ ผู้มี
รูปงามเหมือนรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทองที่วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุเจิดจ้ารุ่งเรือง ด้วยพระรัศมี
ของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นนั่นแล จึงตรัส
ว่า พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศ
ใหญ่. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยามปฺปกา กายา ได้แก่ เหมือน
พระรัศมีวาหนึ่ง เหตุนั้นจึงชื่อว่า พฺยามปฺปภา อธิบายว่า เหมือนพระรัศมี
วาหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
น อักษรในคำว่า น เกจิ นี้ เป็นปฏิเสธัตถะ [ความปฏิเสธ] พึง
เห็นการเชื่อมความของ น อักษรนั้น กับศัพท์ว่า อุชฺชาเลนฺติ. บทว่า อุกฺกา
ได้แก่ ประทีปมีด้าม. ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิงหรือดวงประทีปให้ติดโพลง
ไม่ให้ลุกโพลงได้. ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุไร. ก็ตอบได้ว่า เพราะแสงสว่าง
ของพระรัศมีแห่งพระพุทธสรีระ. บทว่า พุทฺธรสีหิ แปลว่า พระพุทธรัศมี
ทั้งหลาย. บทว่า โอตฺถฏา ได้แก่ ทับไว้.
บทว่า อุฬูหิ แปลว่า ดวงดาวทั้งหลาย ความว่า ท้องฟ้างามวิจิตร
ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็งดงามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า สสารโสต
ตรณาย ได้แก่ เพื่อข้ามสาครคือสังสารวัฏ. บทว่า เสสเก ปฏิปนฺนเก
ความว่า ยังเสกขบุคคลที่เหลือกับกัลยาณปุถุชน เว้นพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า ธมฺมเสตุ ได้แก่ สะพานคือมรรค. ความว่า ทรงตั้งสะพานธรรม
เพื่อยังบุคคลที่เหลือให้ข้ามจากสังสารวัฎ ทรงทำกิจทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็ปริ-
นิพพาน. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะกล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง แล.
จบพรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
๑๐. วงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
ว่าด้วยพระประวัติของปทุมุตตรพุทธเจ้า
[๑๑] ต่อจาก สมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่ง
สัตว์สองเท้า พระชินะผู้ไม่กระเพื่อม เปรียบดังสาคร.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในกัปใด กัปนั้น ชื่อว่า
มัณฑกัป หมู่ชนที่สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แม้ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ยังสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่
สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน.
ครั้งพระมหาวีระ เข้าเฝ้าพระเจ้าอานันทะ เสด็จ
เข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรี ทรงหลั่งฝนคือธรรม อภิสมัย
ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.
พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ทรงโอวาทให้
สัตว์รู้ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงยังหมู่
ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีสันนิบาตประชุม
สาวก ๓ ครั้ง สาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๑.
ครั้งพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอ จำพรรษา ณ เวภารบรรพต สาวกเก้าหมื่นโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก ผู้ออกจากคาม
นิคมและรัฐ บวชเป็นสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐชื่อ ชฎิล ได้ถวาย
ภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า แด่พระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้า
เป็นประธาน.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
สงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า ในแสนกัป
นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จไปยัง
แม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระ-
พุทธอุปัฏฐากชื่อพระอานันทะจักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา. พระ
โคดมผู้มีพระยศ พระองค์จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้ม
ใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเรา ก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสแม้ของพระองค์แล้วอธิษฐานข้อ
วัตรยิ่งยวดขึ้นไป ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อ
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ทั้งหมด มีใจผิดปกติ ใจ
เสีย ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างแล้ว บุรุษบาง
พวกของเดียรถีย์เหล่านั้น ไม่ยอมบำรุงบำเรอก็ขับไล่
เดียรถีย์เหล่านั้นออกไปจากรัฐ.
พวกเดียรถีย์ทั้งหมดประชุมกันในที่นั้น เข้าไป
ที่สำนักของพระพุทธเจ้า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหา-
วีระขอพระองค์โปรดเป็นสรณะ ด้วยเถิด.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เอ็นดู มีพระกรุณา
แสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ทรงตั้งเดียรถีย์ที่ประ-
ชุมกันทั้งหมด ไว้ในศีล ๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่
วุ่นวายอย่างนี้ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลายงดงามด้วย
พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญคงที่.
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีพระนครชื่อหังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนีพระ-
นามว่า พระนางสุชาดา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปรา-
สาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นารี พาหนะ ยสวดี.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม จำนวนสี่หมื่น
สามพันนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวสุล-
ทัตตา พระโอรสพระนามว่า พระอุตตระ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงตั้งความเพียร ๗ วัน.
พระมหาวีระ ปทุมุตตระ ผู้นำพิเศษ ผู้สงบ อัน
ท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม
ณ พระราชอุทยาน มิถิลาอันสูงสุด.
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระเทวิละ และพระสุชาตะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระสุมนะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์เรียกว่า ต้นสลละต้นช้างน้าว.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า อมิตะ และติสสะ อัครอุปัฏ-
ฐายิกาชื่อว่า หัตถา และ สุจิตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก พระลักษณะประ-
เสริฐ ๓๒ ประการ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๑๒ โยชน์ โดย
รอบ ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลาคือ
ภูเขา ปิดกั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมุตตร-
พุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
แล้ว ตัดความสงสัยทุกอย่าง ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้ว ก็ดับไปฉะนั้น.
พระปทุมุตตรชินพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระ-
วิหารนันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ณ ที่นั้น สูง ๑๒ โยชน์.
จบวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
พรรณนาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าเป็นไปได้เก้าหมื่นปี ก็อันตรธาน.
กัปนั้นก็พินาศไป ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติในโลก ตลอด
อสงไขยแห่งกัปทั้งหลาย. ว่างพระพุทธเจ้า มีแสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า.
แต่นั้น เมื่อกัปและอสงไขยทั้งหลายล่วงไป ๆ ในกัปหนึ่ง ที่สุดแสนกัปนับแต่
กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพิชิตมาร ปลงภาระ มีพระเมรุเป็น
สาระ ไม่มีสังสารวัฏ มีสัตว์เป็นสาระ ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง พระนาม
ว่า ปทุมุตตระ ก็อุบัติขึ้นในโลก. แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระนางสุชาดาเทวี ผู้เกิดในสกุลที่มีชื่อเสียง อัครมเหสีของ พระเจ้า-
อานันทะ ผู้ทำความบันเทิงจิตแก่ชนทั้งปวง กรุงหังสวดี. พระนาง-
สุชาดาเทวี นั้น อันทวยเทพอารักขาแล้ว ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติ
พระปทุมุตตรกุมาร ณ พระราชอุทยานหังสวดี. ในสมัยปฏิสนธิ และสมภพ
ก็มีปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง.
ดังได้สดับมา ในสมัยพระราชกุมารพระองค์นั้น ทรงสมภพ ฝนดอก
ปทุมก็ตกลงมา. ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามพระกุมาร พระประยูรญาติ
ทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า ปทุมุตตรกุมาร. พระกุมารพระองค์นั้นทรง
ครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี. พระองค์มีปราสาท ๓ หลังเหมาะแก่ฤดูทั้งสาม ชื่อ
นรวาหนะ ยสวาหนะ และ วสวัตดี มีพระสนมนารีแสนสองหมื่นนาง มี
พระนางวสุทัตตาเทวี เป็นประมุข เมื่อ พระอุตตรกุมาร ผู้ยอดเยี่ยม
ด้วยพระคุณทุกอย่าง พระโอรสของพระนางวสุทัตตาเทวีทรงสมภพแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงพระดำริจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พอทรง
พระดำริเท่านั้นปราสาทที่ชื่อว่า วสวัตดี ก็ลอยขึ้นสู่อากาศ เหมือนจักรของ
ช่างหม้อไปทางท้องอัมพร เหมือนเทพวิมาน และเหมือนดวงจันทร์เพ็ญ ทำ
โพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลางลงที่พื้นดิน เหมือนปราสาทที่กล่าวแล้ว ในการพรรณนา
วงศ์ของพระโสภิตพุทธเจ้า.
ได้ยินว่า พระมหาบุรุษเสด็จลงจากปราสาทนั้น ทรงห่มผ้ากาสายะ
อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ ซึ่งเทวดาถวาย ทรงผนวชในปราสาทนั้นนั่น
เอง ส่วนปราสาทกลับมาตั้งอยู่ในที่ตั้งเดิมของตน. บริษัททุกคนที่ไปกับพระ-
มหาสัตว์ พากันบวช เว้นพวกสตรี. พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน
พร้อมกับผู้บวชเหล่านั้น วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดารุจานันท-
เศรษฐี อุชเชนีนิคม ถวายแล้ว ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุมิตตะอาชีวก ถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อ
ต้น สลละ ช้างน้าว ทรงทำประทักษิณโพธิพฤกษ์นั้น ทรงลาดสันถัตหญ้า
กว้าง ๓๘ ศอก ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำจัดกอง
กำลังมารพร้อมทั้งตัวมาร ยามที่ ๑ ทรงระลึกได้บุพเพนิวาส. ยามที่ ๒ ทรง
ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์, ยามที่ ๓ ทรงพิจารณาปัจจยาการออกจากจตุตถฌาน
มีอานาปานัสสติเป็นอารมณ์ แล้วหยั่งลงในขันธ์ ๕ ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วน
ด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ
แทงตลอดพระพุทธคุณทั้งสิ้น ด้วยอริยมรรค ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์ประพฤติมาว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ฝนดอกปทุมตกลงมา ประหนึ่งประดับทั่วภายในทั้งหมื่น
จักรวาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
ต่อจากสมัยของพระนารทพุทธเจ้า พระสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
พระชินะผู้ไม่หวั่นไหว เปรียบดังสาครที่ไม่กระเพื่อม
ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าได้อุบัติในกัปใด กัปนั้นเป็นมัณฑ-
กัป หมู่ชนผู้สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาครูปโม ได้แก่ มีภาวะลึกล้ำเสมือน
สาคร. ในคำว่า มณฺฑกปฺโป วา โส อาสิ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒
พระองค์อุบัติในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป.
จริงอยู่ กัปมี ๒ คือ สุญญกัป และอสุญญกัป บรรดากัปทั้งสอง
นั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่อุบัติใน
สุญญกัป เพราะฉะนั้นกัปนั้น จึงเรียกว่า สุญญกัป เพราะว่างเปล่าจากบุคคล
ผู้ที่คุณ.
อสุญญกัปนี้ ๕ คือ สารกัป มัณฑกัป วรกัป สารมัณฑกัป
ภัททกัป.
ในอสุญญกัปนั้นกัปที่ประกอบด้วยสาระคือคุณ เรียกว่า สารกัป เพราะ
ปรากฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียว. ผู้กำเนิดคุณสาร ยังคุณสาร
ให้เกิด
ส่วนในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป.
ในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ บรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง ๓
พระองค์นั้น พระองค์ที่ ๑ พยากรณ์พระองค์ที่ ๒ พระองค์ที่ ๒ พยากรณ์
พระองค์ที่ ๓. ในกัปนั้น มนุษย์ทั้งหลาย มีใจเบิกบาน ย่อมเลือก โดยปณิธานที่
คนปรารถนา เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า วรกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
ส่วนในกัปเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑ-
กัป เพราะประเสริฐกว่า มีสาระกว่า กัปก่อน ๆ
ในกัปใดเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า ภัททกัป.
ก็ภัททกัปนั้น หาได้ยากยิ่ง. ก็กัปนั้น โดยมาก สัตว์ทั้งหลาย เป็น
ผู้มากด้วยกัลยาณสุข. โดยมาก ติเหตุกสัตว์ย่อมทำความสิ้นกิเลส ทุเหตุกสัตว์
ย่อมถึงสุคติ. อเหตุกสัตว์ ก็ได้เหตุ. เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า
ภัททกัป. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อสุญญกัปมี ๕ เป็นต้น. สมจริง
ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
เอโก พุทฺโธ สารกปฺเป มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป ตโต นตฺถาธิกา ชินา.
ในสารกัป มีพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ ในมัณฑ-
กัป มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ในวรกัป มีพระ
พุทธเจ้า ๓ พระองค์ ในสารมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า
๔ พระองค์ ในภัททกัป มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
พระพุทธเจ้ามากกว่านั้นไม่มี ดังนี้.
ส่วนในกัปใด พระปทุมุตตรทศพลอุบัติ กัปนั้นแม้เป็นสารกัป ท่าน
ก็เรียกว่ามัณฑกัป เพราะเป็นเช่นเดียวกับมัณฑกัป ด้วยคุณสมบัติ. วาศัพท์
พึงเห็นว่า ลงในอรรถอุปมา. บทว่า อุสฺสนฺนกุสลา ได้แก่ ผู้สั่งสมบุญไว้.
บทว่า ชนตา ได้แก่ ชุมชน
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ. ผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงยับยั้ง ณ โพธิ-
บัลลังก์ ๗ วัน ทรงย่างพระบาทเบื้องขวา ด้วยหมายพระหฤทัยว่า จะวาง
พระบาทลงที่แผ่นดิน. ลำดับนั้น ดอกบัวบกทั้งหลายมีเกสรและช่อละเอียดไร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
มลทิน มีใบดังเกิดในน้ำไม่หม่นหมองไม่บกพร่องแต่บริบูรณ์ ชำแรกแผ่นดินผุด
ขึ้นมา บัวบกเหล่านั้นมีใบชิดกัน ๙๐ ศอก เกสร ๓๐ ศอก ช่อ ๑๒ ศอก เรณูของ
ดอกแต่ละดอกขนาดหม้อใหม่ ส่วนพระศาสดาสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระพาหาสอง
ข้างของพระองค์ ๑๘ ศอก พระนลาต ๕ ศอก พระหัตถ์และพระบาท ๑๑ ศอก.
พอพระองค์ทรงเหยียบช่อ ๑๒ ศอก ด้วยพระบาท ๑๑ ศอก เรณูขนาดหม้อ
ใหม่ ก็ฟุ้งขึ้นกลบพระสรีระ ๕๘ ศอก แล้วกลับท่วมทับ ทำให้เป็นเหมือน
ฝุ่นมโนศิลาป่นเป็นจุณ. หมายเอาข้อนั้น พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีรสังยุตต-
นิกายจึงกล่าวว่า พระศาสดาปรากฏในโลกว่า พระปทุมุตตระ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม ทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นดังภาชนะ
รองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เทวละ และ
สุชาตะ กรุงมิถิลา ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ทันใดก็เสด็จโดยทางอากาศ ลงที่พระ
ราชอุทยานกรุงมิถิลา ใช้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานให้เรียกพระราชกุมาร
ทั้งสองพระองค์มาแล้ว ทั้งสองพระองค์นั้น ทรงดำริว่า พระปทุมุตตรกุมาร
โอรสของพระเจ้าอาของเรา ทรงผนวช. ทรงบรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณ
เสด็จถึงนครของเรา จำเราจักเข้าไปเฝ้าพระองค์พร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ นั่งแวดล้อม. ครั้งนั้น พระทศพล อันพระราชกุมาร
และบริวารเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงรุ่งโรจน์ดุจจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวด
ล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่
๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาค
เจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมหาชนให้ร้อน ด้วยความร้อน
ในนรก ทรงแสดงธรรมในสมาคมของสรทดาบส ทรงยังหมู่สัตว์นับได้สาม
ล้านเจ็ดแสน ให้ดื่มอมตธรรม ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากนั้น เมื่อทรงหลั่งฝนธรรม ให้สัตว์ทั้ง
หลายเอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สามล้าน
เจ็ดแสน.
ก็ครั้ง พระเจ้าอานันทมหาราช ปรากฏพระองค์ในกรุงมิถิลา ใน
สำนักของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยบุรุษ [ทหาร] สองหมื่น
และอมาตย์ยี่สิบคน. พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ทรงให้ชนเหล่านั้นบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทุกคน อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว เสด็จไปทำการ
สงเคราะห์พระชนก ประทับอยู่ ณ กรุงหังสวดี ราชธานี ในที่นั้น พระองค์
เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ในท้องนภากาศ ตรัสพุทธวงศ์เหมือนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าของเรา ในกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์
ห้าล้าน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระมหาวีระ เข้าไปโปรดพระเจ้าอานันทะ
เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรีแล้ว ทรงหลั่งฝนคือ ธรรม
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อานนฺท อุปสงฺกมิ ตรัสหมายถึง
พระเจ้าอานันทะ พระชนก. บทว่า อาหนิ แปลว่า ลั่น (ตี). บทว่า อาหเต
ก็คือ อาหตาย ทรงลั่นแล้ว. บทว่า อมตเภริมฺหิ ก็คือ อมตเภริยา เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
กลองอมตะ พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส ปาฐะว่า อาเสวิเต ดังนี้ก็มี ปาฐะ
นั้น มีความว่า อาเสวิตาย อันเขาซ่องเสพแล้ว. บทว่า วสฺสนฺเต
ธมฺมวุฏฺิยา ความว่า หลั่งฝนคือธรรม บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอุบายเพื่อกระ
ทำอภิสมัยจึงตรัสว่า ะ
พระพุทธเจ้าผู้ทรงฉลาดในเทศนา ทรงสั่งสอน
ให้สัตว์เข้าใจ ให้สัตว์ทั้งหลายข้าม ทรงยังหมู่ชนเป็น
อันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวาทกะ ได้แก่ ชื่อว่า โอวาทกะ
เพราะสั่งสอนด้วยพรรณนาคุณานิสงส์ของสรณะและการสมาทานศีล และธุดงค์.
บทว่า วิญฺาปโก ได้แก่ ชื่อว่า วิญญาปกะ เพราะให้เขารู้สัจจะ ๔ คือ
ให้เขาตรัสรู้. บทว่า ตารโก ได้แก่ ให้ข้ามโอฆะ ๔.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงมีพระพักตร์เสมือนจันทร์เพ็ญในวันเพ็ญ
มาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ ณ มิถิลา
ราชอุทยาน กรุงมิถิลา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาปทุมุตตระ ทรงมีสันนิบาตประชุม
สาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสน
โกฏิ.
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จำพรรษา ณ ยอดเวภารบรรพต ทรงแสดง
ธรรมโปรดมหาชนที่มาชมบรรพต ทรงยังชนเก้าหมื่นโกฏิให้บวชด้วยเอหิภิกขุ
บรรพชา อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่
มีผู้เสมอ เสด็จจำพรรษา ณ เวภารบรรพต ภิกษุเก้า
หมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระคุณ ผู้เป็นนาถะของ ๓ โลก ทรง
ทำการเปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก เสด็จจาริกไปตามชนบท ภิกษุแปดหมื่น
โกฏิประชุมกัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก ภิกษุที่ออก
บวชจากคามนิคมและรัฐแปดหมื่นโกฏิประชุมกันเป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คามนิคมรฏฺโต ก็คือ คามนิคม-
รฏฺเหิ จากคามนิคมรัฐชนบท หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน ปาฐะนั้น
ความว่า ผู้ออกบวชจากคามนิคมและรัฐทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นผู้ครองรัฐใหญ่ชื่อว่า ชฎิล มีทรัพย์
หลายโกฏิ ได้ถวายทานอย่างดีพร้อมทั้งจีวร แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน เสร็จอนุโมทนาภัตทาน พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์
เราว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ในที่สุดแสนกัป
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐ ชื่อชฎิล ได้ถวาย
ภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
สงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็อธิษฐาน
ข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อ
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพุทฺธปฺปมุข สงฺฆ ก็คือ พุทฺธปฺ-
ปมุขสฺส สงฺฆสฺส แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า สภตฺต ทุสฺสมทาสห ความว่า เราได้
ถวายภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร. บทว่า อุคฺคทฬฺห แปลว่า มั่นคงยิ่ง. บทว่า
ธิตึ ความว่า ได้ทำความเพียร.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมุตตระ ไม่มีพวกเดียรถีย์ เทวดาและ
มนุษย์ทุกคนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นสรณะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ ผู้มีใจผัดปกติ มีใจเสีย
ถูกกำจัดมานะหมด บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ยอมบำรุงบำเรอ ก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้น ออกไป
จากแว่นแคว้น.
ทุกคนมาประชุมกันในที่นั้น ก็เข้าไปที่สำนัก
ของพระพุทธเจ้า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระจักษุ ขอ
พระองค์ทรงเป็นสรณะ.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเอ็นดู มีพระกรุณา
แสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ก็ทรงยังเดียรถีย์ที่
ประชุมกันทั้งหมดให้ตั้งอยู่ในศีล.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่อากูล
อย่างนี้ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลาย งดงามด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญ ผู้คงที่.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยาหตา ได้แก่ ผู้มีความถือตัวและความ
กระด้างถูกขจัดแล้ว ในคำว่า ติตฺถิยา นี้ พึงทราบว่าติตถะ พึงทราบว่าติตถกระ
พึงทราบว่าติตถิยะ. ใน ๓ อรรถนั้น ชื่อว่า ติตถะ เพราะคนทั้งหลายข้ามไป
ด้วยอำนาจทิฏฐิมีสัสสตะทิฏฐิเป็นต้น ได้แก่ ลัทธิ. ผู้ยังลัทธินั้นให้เกิดขึ้น
ชื่อว่า ติตถกระ ผู้มีในลัทธิ ชื่อว่า ติตถิยะ. พึงทราบว่าที่ตรัสว่า พวก
เดียรถีย์ ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างเสียแล้วเป็นต้น ก็เพื่อแสดงว่า เขา
ว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระไม่มีเดียรถีย์ ถึงเดียรถีย์เหล่าใด ยังมี
เดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็เป็นเช่นนี้. บทว่า วิมนา ได้แก่ มีใจผิดแผกไป.
บทว่า ทุมฺมนา เป็นไวพจน์ของคำว่า วิมนา นั้นนั่นแหละ. บทว่า
น เตส เกจิ ปริจรนฺติ ความว่า บุรุษแม้บางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ทำการนวดฟั้น ไม่ให้ภิกษาหาร ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่
บูชา ไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่ทำอัญชลีกรรม. บทว่า รฏฺโต ได้แก่ แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
จากรัฐทั่วไป. บทว่า นิจฺฉุภนฺติ ได้แก่ นำออกไป รุกราน อธิบายว่า
ไม่ให้ที่อยู่แก่เดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า เต ได้แก่ เดียรถีย์ทั้งหลาย.
บทว่า อุปคญฺฉุ พุทฺธสนฺติเก ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์ แม้
ทั้งหมด ที่ถูกพวกมนุษย์ชาวแว่นแคว้นรุกราน อย่างนี้ มาประชุมแล้วก็ถึง
พระปทุมุตตรทศพลพระองค์เดียวเป็นสรณะ พากันกล่าวถึงสรณะอย่างนี้ว่า ขอ
พระองค์โปรดทรงเป็นศาสดา เป็นนาถะ เป็นคติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า เป็น
สรณะของพวกข้าพระองค์เถิด. ชื่อว่า อนุกัมปกะ เพราะทรงเอ็นดู. ชื่อว่า
การุณิกะ เพราะทรงประพฤติด้วยความกรุณา. บทว่า สมฺปตฺเต ได้แก่ พวก
เดียรถีย์ที่มาประชุมเข้าถึงสรณะ. บทว่า ปญฺจสีเล ปติฏฺหิ ความว่า ให้
ตั้งอยู่ในศีล ๕. บทว่า นิรากุล ได้แก่ ไม่อากูล อธิบายว่า ไม่ปะปนด้วย
ลัทธิอื่น. บทว่า สุญฺก ได้แก่ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า ต
พึงเติมคำลงไปว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า วิจิตฺต
ได้แก่ งามวิจิตร. บทว่า วสีภูเตหิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า หังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุชาดาเทวี. คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระเทวิละ และพระสุชาตะ พระพุทธ
อุปัฏฐาก ชื่อ พระสุมนะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละ ช้างน้าว. พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระรัศมีของ
พระองค์แผ่ไปกินเนื้อที่ ๑๒ โยชน์ โดยรอบ พระชนมายุแสนปี พระอัครมเหสี
พระนามว่า พระนางวสุทัตตา พระโอรสพระนามว่า อุตตระ เล่ากันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
อันเป็นที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
ทั่วไป พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป ชุมนุมกันช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วย
รัตนะ ๗ ประการสูง ๑๒ โยชน์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมุตตรศาสดา มีพระนคร ชื่อว่า หังสวดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนี
พระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มี
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา โพธิ-
พฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อต้นสลละ
(ต้นช้างน้าว).
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก พระลักษณะอันประ-
เสริฐ ๓๒ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปรอบๆ ๑๒ โยชน์
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือภูเขา
ก็กั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมุตตระ
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ตัดความสงสัยทุกอย่างแล้ว ก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคสิลุจฺจยา ได้แก่ กองศิลากล่าวคือ
ภูเขา. บทว่า อาวรณ ได้แก่ ปกปิด ทำไว้ภายนอก. บทว่า ทฺวาทสโย-
ชเน ความว่า พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่ไปในที่
๑๒ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน. ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่ง
ความชัดแล้วทั้งนั้นแล.
ตั้งแต่นี้ไป เราจักย่อความที่มาแล้วซ้ำซากมีการบำเพ็ญบารมีเป็นต้น
จะกล่าวแต่ความที่แปลกกันเท่านั้น ก็หากว่า เราจะกล่าวซ้ำซากความที่กล่าว
มาแล้วเมื่อไร จักจบ การพรรณนามีอย่างนี้แล.
จบพรรณาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
๑๑. วงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุเมธพุทธเจ้า
[๑๒] ต่อจาก สมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระชินพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ เป็นผู้นำโลก ผู้
อันเขาเข้าเฝ้าได้ยาก มีพระเดชยิ่ง สูงสุดแห่งโลก
ทั้งปวง.
พระองค์มีพระเนตรผ่องใส พระพักตร์งาม พระ
วรกายใหญ่ ตรง สดใส ทรงแสวงประโยชน์แก่
สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องคนเป็นอันมากให้พ้นจากเครื่อง
ผูก.
ครั้งพระพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณ อันสูงสุด
สิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุทัสสนะ.
ในการแสดงธรรม แม้พระองค์ก็มีอภิสมัย ๓
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก พระชินพุทธเจ้า ทรงทรมานยักษ์
ชื่อว่า กุมภกรรณ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้า
หมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศบริวาร หาประมาณ
มิได้ ทรงประกาศสัจจะ ๔ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่
สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มล-
ทินมีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระชินพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปในกรุงสุทัสสนะ
พระภิกษุขีณาสพร้อยโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก เมื่อภิกษุทั้งหลายกรานกฐินที่ภูเขา
เทวกูฏ ภิกษุเก้าสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่๒.
ต่อมาอีก ครั้งพระทศพลเสด็จจาริกไป ภิกษุ
แปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพ ชื่อ อุตตระ เราสั่งสม
ทรัพย์ในเรือนแปดสิบโกฏิ.
เราถวายทรัพย์เสียทั้งหมดสิ้น แด่พระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ถึงพระองค์เป็นสรณะ ชอบใจการ
บวชอย่างยิ่ง.
ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรง
ทำอนุโมทนา ก็ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธ-
เจ้า เมื่อล่วงไปสามหมื่นกัป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาสในที่นั้น เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญูชรา เสด็จไปตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้
จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้า
ผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระ
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ-
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะ-
อาฬวกะอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันส่งเสียงโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน [ศาสนา] ของ
พระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็
จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทุกอย่าง ทำศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้
งาม.
เราไม่ประมาทในพระศาสนานั้น อยู่แต่ในอิริ-
ยาบถนั่งยืนและเดิน ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ก็ไปสู่พรหม
โลก
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระ-
นครชื่อว่าสุทัสสนะ พระชนกพระนามว่าพระเจ้า
สุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี มี
ปราสาทชั้นยอด ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ กัญจนะ และ
สิริวัฑฒะ มีพระสนมนารีที่ประดับกายงามสี่หมื่นแปด
พันนาง มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนา
พระโอรสพระนามว่า ปุนัพพะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงตั้งความเพียร ๘
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระสุเมธะ ผู้นำโลก ผู้สงบอันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ สุทัสสนราชอุทยานอันสูงสุด.
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวกชื่อว่าพระสรณะ พระสัพพกามะ พระพุทธ
อุปัฏฐากชื่อว่าพระสาคระ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระรามา และ พระ-
สุรามาโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นนิมพะคือต้นสะเดา.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวลา และยสวา อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ยสา และสิริวา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก ส่องสว่างทุกทิศ
เหมือนดวงจันทร์ ส่องสว่างเห็นหมู่ดาวฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
ธรรมดามณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ย่อมสว่าง
ไปโยชน์หนึ่ง ฉันใด รัตนะคือพระรัศมีของพระองค์
ก็แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ฉันนั้น.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง
มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระศาสนานี้ มากไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังฤทธิ์ คงที่.
พระอรหันต์แม้เหล่านั้น ผู้มีบริวารยศหาประ
มาณมิได้ ผู้หลุดพ้น ปราศจากอุปธิ พระอรหันต์
เหล่านั้นแสดงแสงสว่างคือญาณแล้ว ต่างก็นิพพาน
กันหมด.
พระชินวรสุเมธพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ
พระวิหารเมธาราม พระบรมสารีริกธาตุก็เฉลี่ยกระจาย
ไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
พรรณนาวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้าที่ ๑๑
เมื่อพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพานแล้ว ศาสนา
ของพระองค์ก็อันตรธานแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่อุบัติเป็นเวลาเจ็ดหมื่น
ปี ว่างพระพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง สุดท้ายสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้ มีพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าบังเกิดสองพระองค์ คือ พระสุเมธะ และ พระสุชาตะ ในสอง
พระองค์นั้น พระโพธิสัตว์นามว่า สุเมธะ ผู้บรรลุเมธาปัญญาแล้ว บำเพ็ญ
บารมีทั้งหลาย บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิใน
พระครรภ์ของพระนาง สุทัตตาเทวี อัครมเหสี ของ พระเจ้าสุทัตตะ
กรุงสุทัสสนะ ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ
สุทัสสนราชอุทยาน ประหนึ่งดวงทินกรอ่อนๆ ลอดหลืบเมฆ ฉะนั้น
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี เขาว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทนะ
สุกัญจนะและสิริวัฒนะ ปรากฏมีพระสนมนารีสามหมื่นแปดพันนาง มีพระ-
นางสุมนามหาเทวีเป็นประมุข.
พระสุเมธกุมาร นั้น เมื่อพระโอรสของ พระนางสุมนาเทวี
พระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะ ทรงสมภพ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า ทรงผนวช มนุษย์ร้อยโกฏิก็บวชตาม พระองค์อัน
มนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงทำความเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดานกุลเศรษฐี ณ นกุลนิคม ถวายแล้ว ทรง
ยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุวัฑฒอาชีวก ถวาย
แล้ว ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๒๐ ศอก ที่โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ นีปะต้นกะทุ่ม
ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมารแล้ว ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติลสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงรับอาราธนา
แสดงธรรมของท้าวมหาพรหม ทรงตรวจดูภัพพบุคคล ทรงเห็น สรณกุมาร
และสัพพกามีกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์ และภิกษุที่บวชกับพระ-
องค์ร้อยโกฏิ เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือ สัจจะ ๔ จึงเสด็จทางอากาศ
ทรงลงที่สุทัสสนะราชอุทยาน ใกล้กรุงสุทัสสนะ โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราช
อุทยาน เรียกพระกนิษฐภาดามาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลาง
บริวารเหล่านั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัย
ครั้งที่ ๑ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า มีพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำ ผู้ที่เข้าเฝ้ายาก มีพระเดช
ยิ่ง เป็นพระมุนี สูงสุดแห่งโลกทั้งปวง.
พระองค์มีพระเนตรผ่องใส พระพักตร์งามพระ
วรกายใหญ่ ตรง สดใส ทรงแสวงประโยชน์แก่
สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมาก จากเครื่องผูก.
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันสูง
สุดสิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุทัสสนะ.
อภิสมัยในการทรงแสดงธรรมแม้ของพระองค์ก็
มี ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคเตโช ได้แก่ มีพระเดชสูง. บทว่า
ปสนฺนเนตฺโต ได้แก่ มีพระนัยนาใสสนิท พระเนตรใสเหมือนก้อนแก้วมณี ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
เขาชำระขัดวางไว้ เพราะฉะนั้นพระองค์เขาจึงเรียกว่า ผู้มีพระเนตรใส อธิบาย
ว่ามีพระนัยนาประกอบด้วย ขนตาอันอ่อนน่ารักเขียวไร้มลทิน และละเอียด จะ
กล่าวว่า สุปฺปสนฺนปญฺจนยโน มีพระจักษุ ๕ ผ่องใสดี ดังนี้ก็ควร. บทว่า
สุมุโข ได้แก่ มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท. บทว่า
พฺรหา ได้แก่ พรหาคือใหญ่ เพราะทรงมีพระสรีระขนาด ๘๘ ศอก อธิบาย
ว่า ขนาดพระสรีระไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ. บทว่า อุชุ ได้แก่ มีพระองค์ตรง
เหมือนพรหม คือมีพระสรีระสูงตรงขึ้นนั่นเอง อธิบายว่ามีพระวรกายเสมือน
เสาระเนียดทอง ที่เขายกขึ้นกลางเทพนคร. บทว่า ปตาปวา ได้มี
พระสรีระรุ่งเรือง. บทว่า หิเตสี แปลว่า แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
อภิสมยา ตีณิ ก็คือ อภิสมยา ตโย อภิสมัย ๓ ทำเป็นลิงควิปลาส.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติตอนย่ำรุ่ง ออกจาก
สมาบัตินั้นแล้ว ทรงตรวจดูโลก ก็เห็นยักษ์กินคน ชื่อ กุมภกรรณ
มีอานุภาพเสมือนกุมภกรรณ ปรากฏเรือนร่างร้ายอยู่ปากดงใหญ่ คอยดักตัด
การสัญจรทางเข้าดงอยู่ แต่ลำพังพระองค์ไม่มีสหาย เสด็จเข้าไปยังภพ
ของยักษ์ตนนั้น เข้าไปข้างใน ประทับนั่งบนที่ไสยาสน์อันมีสิริ ลำดับนั้น
ยักษ์ตนนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ ก็กริ้วโกรธเหมือนงูมีพิษร้ายแรง ถูกตีด้วย
ไม้ ประสงค์จะขู่พระทศพลให้กลัวจึงทำอัตภาพของตนให้ร้ายกาจ ทำศีรษะ
เหมือนภูเขาเนรมิตดวงตาทั้งสองเหมือนดวงอาทิตย์ ทำเขี้ยวคมยาวใหญ่อย่าง
กับหัวคันไถ มีท้องเขียวใหญ่ยาน มีแขนอย่างกะลำต้นตาลมีจมูกแบนวิกลและ
คด มีปากแดงใหญ่อย่างกะปล่องภูเขา มีเส้นผมใหญ่เหลืองและหยาบ มีแวว
ตาน่ากลัวยิ่ง มายืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ บังหวน
ควัน บันดาลเพลิงลุกโชน บันดาลฝน ๙ อย่าง คือ ฝนแผ่นหิน ภูเขา เปลว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
ไฟ น้ำ ตม เถ้า อาวุธ ถ่านเพลิงและฝนทรายให้ตกลงมา ไม่อาจให้พระผู้มี
พระภาคเจ้าขับเขยื้อนแม้เท่าปลายขน คิดว่า จำเราจักถามปัญหาแล้วฆ่าเสีย
แล้วถามปัญหาเหมือนอาฬวกยักษ์ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำยักษ์ตน
นั้นเข้าสู่วินัยด้วยทรงพยากรณ์ปัญหา. เขาว่า วันที่ ๒ จากวันนั้นพวกมนุษย์
ชาวแคว้น นำเอาราชกุมารพร้อมด้วยภัตตาหารที่บรรทุกมาเต็มเกวียน มอบ
ให้ยักษ์ตนนั้น ครั้งนั้น ยักษ์ได้ถวายพระราชกุมารแด่พระพุทธเจ้า พวก
มนุษย์ที่อยู่ประตูดงก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น ในสมาคมนั้น พระ-
ทศพลเมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่ใจของยักษ์ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิด
แก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ นั้นเป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
วันรุ่งขึ้น พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงทรมาน
ยักษ์กุมภกรรณ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
ครั้งที่ทรงประกาศสัจจะ ๔ ณ สิรินันทราช อุทยาน อุปการีนคร
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ ก็ทรง
ประกาศสัจจะ ๔ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปด
หมื่นโกฏิ.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ ก็ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ใน
สันนิบาตครั้งที่ ๑ ณ กรุงสุทัสสนะ มีพระขีณาสพร้อยโกฏิ ในสันนิบาต
ครั้งที่ ๒ เมื่อพวกภิกษุกรานกฐิน ณ ภูเขาเทวกูฏ มีพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ
ในสันนิบาตครั้งที่ ๓ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก มีพระอรหันต์แปด
สิบโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาตประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่
๓ ครั้ง.
ครั้งพระชินพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปยังกรุงสุทัสสนะ
ภิกษุขีณาสพร้อยโกฏิประชุมกัน.
ต่อมา ครั้งภิกษุทั้งหลายช่วยกันกรานกฐิน ณ
ภูเขาเทวกูฎ พระขีณาสพเก้าสิบโกฏิประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมา ครั้งพระทศพลเสด็จจาริกไป พระขีณาสพ
แปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นมาณพที่เป็นยอดของคนทั้งปวง ชื่อ
อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝังเก็บไว้ ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธานฟังธรรมของพระทศพลในครั้งนั้น ก็ตั้งอยู่ในสรณะ
แล้วออกบวช พระศาสดาแม้พระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนาโภชนทาน ก็
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่ออุตตระ เราสั่งสม
ทรัพย์ไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ.
เราถวายทรัพย์ทั้งหมดสิ้น แด่พระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ถึงพระองค์เป็นสรณะ และเรา
ชอบใจการบวชอย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อ
ล่วงไปสามหมื่นกัป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
พึงทำคาถาพยากรณ์ให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใสจึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตรพระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทุกอย่าง ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
เราไม่ประมาทในพระศาสนานั้น. อยู่แต่ในอิริ-
ยาบถ นั่ง ยืน และเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญา เข้าถึง
พรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิจิต ได้แก่ เก็บไว้โดยการฝัง.
บทว่า เกวล แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพ ได้แก่ ให้ไม่เหลือเลย. บทว่า
สสงฺเฆ ก็คือ พร้อมกับพระสงฆ์. บทว่า ตสฺสูปคญฺฉึ ก็คือ ต อุปคญฺฉึ
ฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า อภิโรจยึ ได้แก่ บวช. บทว่า
ตึสกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า เมื่อสามหมื่นกัปล่วงแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะทรงมีพระนครชื่อว่าสุทัสสนะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนี พระนามว่า พระนางสุทัตตา คู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
พระอัครสาวกชื่อว่า พระสรณะ และ พระสัพพกามะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อ พระสาคระ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อ พระรามา พระสุรามา โพธิพฤกษ์
ชื่อมหานีปะคือต้นกะทุ่มใหญ่ พระสรีระสูง ๘๘ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี
ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง สุมนา
พระโอรสพระนามว่า ปุนัพพสุมิตตะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือช้าง.
คำที่เหลือปรากฏในคาถาทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่าสุทัสสนะ พระชนกพระนามว่า พระ-
เจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัตตา.
พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พระ
อัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระสัพพกามะ พระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคระ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามา พระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
ต้นมหานีปะ คือต้นกะทุ่มใหญ่.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก ทรงส่องสว่างทั่ว
ทุกทิศ เหมือนดวงจันทร์ส่องสว่างในหมู่ดาว ฉะนั้น.
ธรรมดามณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมส่อง
สว่างไปได้โยชน์หนึ่ง ฉันใด รัตนะคือพระรัศมีของ
พระสุเมธพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดย
รอบ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์มี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้
ข้ามโอฆสงสาร.
พระศาสนานี้ เกลื่อนกล่นด้วยพระอรหันต์ ผู้มี
วิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังคงที่ดี.
พระอรหันต์เหล่านั้นทั้งหมด มียศที่หาประมาณ
มิได้ หลุดพ้น ปราศจากอุปธิ ท่านผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงแสงสว่างคือญาณแล้ว ต่างก็นิพพานไป.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺโท ตาราคเณ ยถา ความว่า
จันทร์เพ็ญในท้องฟ้า ย่อมส่องหมู่ดาวให้สว่าง ให้ปรากฏ ฉันใด พระสุเมธ-
พุทธเจ้าก็ทรงส่องทุกทิศให้สว่าง ฉันนั้นเหมือนกัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
จนฺโท ปณฺณรโส ยถา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความง่ายเหมือนกัน.
บทว่า จกฺกวตฺติมณี นาม ความว่า มณีรัตนะของพระเจ้าจักร-
พรรดิ์ ยาว ๔ ศอก ใหญ่เท่ากับดุมเกวียน มีมณีแปดหมื่นสี่พันเป็นบริวาร
มาถึงมณีรัตนะที่ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งจากเวปุลลบรรพต ดุจเรียกเอาความงาม
ที่เกิดจากสิริของรัชนีกรเต็มดวงในฤดูสารทอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว รัศมีของ
มณีรัตนะนั้นที่มาอย่างนั้น ย่อมแผ่ไปตลอดโอกาสประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ
ฉันใด รัตนะคือพระรัศมีก็แผ่ไปโยชน์หนึ่ง โดยรอบ จากพระสรีระของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
บทว่า เตวิชฺชฉฬภิญฺเหิ ความว่า ผู้มีวิชชา ๓ และอภิญญา ๖.
บทว่า พลปฺปตฺเตหิ ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งฤทธิ์. บทว่า ตาทิหิ
ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่. บทว่า สมากุล ได้แก่ เกลื่อนกล่น คือ
รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะอย่างเดียวกัน. ท่านกล่าวว่า อิท หมายถึง พระศาสนา
หรือพื้นแผ่นดิน. บทว่า อมิตยสา ได้แก่ ผู้มีบริวารหาประมาณมิได้ หรือ
ผู้มีเกียรติก้องที่ชั่งไม่ได้. บทว่า นิรูปธี ได้แก่ เว้นจากอุปธิ ๔. คำที่เหลือ
ในคาถาทั้งหลายในที่นี้ทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุเมธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
๑๒. วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาติพุทธเจ้า
[๑๓] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเองมีพระพุทธเจ้าพระ-
นามว่า สุชาตะ ผู้นำโลก ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์
มีพระศอดังโคอุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ อัน
บุคคลเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองด้วยสิริย่อมงามสง่า
ทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือนดวง
อาทิตย์ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดงธรรม
อันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิ ก็ตรัสรู้ในการแสดง
ธรรม ครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ
มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก. อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ เสด็จเข้า
เฝ้าพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพไร้มลทิน มีจิตสงบ
ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันต์สาวกผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญา ผู้ไม่ถึง
พร้อมในภพน้อยภพใหญ่หกล้าน พระสาวกเหล่านั้น
ประชุมกัน ครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาต ต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากเทวโลกชั้นไตรทศ พระสาวกสี่แสนประชุม
กัน ครั้งที่ ๒.
พระสุทัสสนะอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ
ก็เข้าเผ้าพระสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วย พระสาวกสี่แสน.
สมัยนั้น เราเป็นจักรพรรดิ์เป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔
มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
เรามอบถวายสมบัติใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ และ
รัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วก็บวชในสำนัก
ของพระองค์.
พวกคนวัดรวบรวมผลรายได้ในชนบท น้อมถวาย
เป็นปัจจัย ที่นอนและที่นั่งแด่พระภิกษุสงฆ์.
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งหมื่นโลกธาตุ
ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด
สามหมื่นกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญ-
ชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ณ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถาน อันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้
นี้จักชื่อว่าโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติส-
สะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปฐากชื่อว่า อานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้า
พระองค์นี้.
จักมีอัครสาวิกาชื่อว่า พระเขมา และพระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า
ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระ
โคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุชาต-
พุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบ
ปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่
ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ก็ไปสู่พรหม-
โลก.
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระนคร
ชื่อว่าสุมงคล พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางประภาวดี.
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ทรงมีปรา-
สาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สิริ อุปสิริ และจันทะ.
มีพระสนมนารีแต่งกายงาม สองหมื่นสามพัน
นาง พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสิรินันทา
พระโอรส พระนามว่าอุปเสนะ.
พระพุทธชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิ-
เนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า ทรงตั้งความเพียร ๙ เดือน
เต็ม.
พระมหาวีระ สุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ณ สุมงคลราชอุทยานอันอุดม.
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวก ชื่อพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระ-
พุทธอุปัฏฐากชื่อ นารทะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระนาคา และ พระนาค-
สมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เรียกว่า มหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรง
เป็นไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.
ไผ่ต้นนั้น เติบโตต้นเดียวโดด กิ่งแตกออกจาก
ต้นนั้น งามเหมือนกำแววหางนกยูง ที่เขาผูกไว้ดีแล้ว.
ไผ่ต้นนั้น ไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่มี
กิ่งแผ่กว้าง ไม่มีช่อง ร่มเงาทึบ น่ารื่นรมย์.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อ สุทัตตะ และ จิตตะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อ สุภัททา และ ปทุมา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ๕๐
ศอก ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยอาการ
พร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณ ครบถ้วน.
พระรัศมีของพระองค์ เสมอด้วยรัศมีของพระ
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ย่อมแล่นออกโดยรอบ
พระวรกาย พระองค์มีพระคุณหาประมาณมิได้ ชั่ง
ไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง
มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้
ข้ามโอฆสงสาร.
ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระ
อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือน
ดารากรในนภากาศ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
พระศาสนานี้งดงาม ด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้มีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ผู้ถึงกำลังฤทธิ์ ผู้คงที่.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้นด้วย พระคุณทั้งหลาย ที่ชั่งไม่ได้
เหล่านั้นด้วย ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุชาตชินวรพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน
ณ พระวิหารเสลาราม พระเจดีย์ของพระศาสดา ณ
พระวิหารนั้น สูง ๓ คาวุต.๑
จบวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
๑. ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
พรรณนา วงศ์พระสุชาตพุทธเจ้าที่ ๑๒
ภายหลัง ต่อมาจากสมัยของพระสุเมธพุทธเจ้า ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล
เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุที่นับไม่ได้มาโดยลำดับ และลดลงตามลำดับ จนมีอายุ
เก้าหมื่นปี พระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ ผู้มีพระรูปกายเกิดดี มีพระชาติ
บริสุทธิ์ ก็อุบัติในโลก แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์
ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดี
อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอุคคตะ กรุงสุมงคล ถ้วนกำหนดทศมาส
ก็ออกจากพระครรภ์ของพระชนนี. ในวันเฉลิมพระนาม พระชนกชนนีเมื่อจะ
ทรงเฉลิมพระนามของพระองค์ ก็ได้ทรงเฉลิมพระนามว่า สุชาตะ เพราะ
เกิดมาแล้ว ยังสุขให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ทั่วชมพูทวีป. พระองค์ทรงครอง
ฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่าสิรี อุปสิรี และสิรินันทะ๑
ปรากฏพระสนมนารีสองหมื่นสามพันนาง มี พระนางสิรินันทาเทวี เป็น
ประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อุปเสน ของพระนางสิรินันเทวีทรงสมภพ
แล้ว พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงม้าต้นชื่อว่า หังสวหัง เสด็จออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่ง ก็บวชตามพระองค์ผู้ทรงผนวชอยู่
ลำดับนั้น พระมหาบุรุษนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญ
เพียร ๙ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส รสอร่อย ที่ธิดาของ
สิรินันทนเศรษฐีแห่งสิรินันทนนคร ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน
๑. บาลีเป็น สิริ อุปสิริ และจันทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่สุนันทอาชีวกถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิ-
พฤกษ์ ชื่อ เวฬุ ต้นไผ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๓ ศอก เมื่อดวงอาทิตย์
ยังคงอยู่ ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร ทรงแทงตลอดพระสัมมา-
สัมโพธิญาณ ก็ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา
แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิต้นพฤกษ์นั่นแล ตลอด ๗ สัปดาห์ อันท้าวมหาพรหม
ทูลอาราธนาแล้ว ทรงเห็น พระสุทัสสนกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์
และเทวกุมาร บุตรปุโรหิต เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือสัจจะ ๔
เสด็จไปทางอากาศ ลงที่ สุมังคลราชอุทยาน กรุงสุมงคล ให้พนักงาน
เฝ้าราชอุทยาน เรียก พระสุทัสสนกุมาร กนิษฐภาดาและ เทวกุมาร บุตร
ปุโรหิตมาแล้ว ประทับนั่งท่ามกลางกุมารทั้งสองนั้น พร้อมด้วยบริวาร ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์โกฏิหนึ่ง นี้เป็น
อภิสมัยครั้งที่ ๑.
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคน มหาสาล-
พฤกษ์ ใกล้ประตูสุทัสสนราชอุทยานเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. ครั้งพระ
สุชาตทศพลเสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หกล้าน นี้เป็น
อภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สุชาตะ ผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์ มีพระศอดังโค
อุสภะ มีพระคุณหาประมาณมิได้ เข้าเฝ้าได้ยาก.
พระสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองด้วยพระสิริ ย่อมงาม
สง่าทุกเมื่อ เหมือนดวงจันทร์หมดจดไร้มลทิน เหมือน
ดวงอาทิตย์ ส่องแสงแรงร้อน ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุง
สุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดง
ธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิตรัสรู้ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ
มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓.
ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า
ในมัณฑกัปใด พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่น
แหละ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว. บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่า
สีหหนุ เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์ คางล่างเท่านั้น
เต็ม คางบนไม่เต็ม. ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคาง
ล่างของราชสีห์ จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ คา ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สีหหนุ. บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโค
อุสภะ อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง. บทว่า สตรสีว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
แปลว่า เหมือนควงอาทิตย์. บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพระพุทธสิริ. บทว่า
โพธิมุตฺตม ได้แก่ พระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดมนุษย์ที่มาใน สุธรรม-
ราชอุทยาน กรุงสุธรรมวดี ทรงยังชนหกล้านให้บวชด้วยเอหิภิกขุภาวะ
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น นั้น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ภิกษุห้าล้านประชุม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. พระสุทัสสนเถระพาบุรุษสี่แสนซึ่งฟังข่าวว่า
พระสุทัสสนกุมาร ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุพระอรหัต
จึงมาเข้าเฝ้าพระสุชาตนราสภ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดบุรุษ
เหล่านั้น ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงใน
สันนิบาตที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาตประชุมพระสาวก ผู้เป็นพระขีณาสพไร้มลทินมี
จิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระอรหันตสาวก ผู้ถึงกำลังแต่งอภิญญา ผู้ไม่
ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ หกล้าน เหล่านั้นประชุม
กันเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ในสันนิบาตต่อมาอีก เมื่อพระชินพุทธเจ้า
เสด็จลงจากเทวโลก พระอรหันตสาวกห้าล้าน
ประชุมกัน เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
พระสุทัสสนอัครสาวก เมื่อเข้าเฝ้าพระนราสภ
ก็เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสาวกสี่แสน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปตฺตาน ความว่า ผู้ไม่ถึงพร้อม
ในภพน้อยภพใหญ่. ปาฐะว่า อปฺปวตฺตา ภวาภเว ดังนี้ก็มี. ความก็
อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากโลกสวรรค์. จึงเห็นว่าลงในอรรถกัตตุการก ท่านกล่าวเป็นการกวิปลาส.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า ติทิโวโรหเณ ได้แก่ ในการเสด็จลงจากเทวโลก. บทว่า
ชิเน ได้แก่ เมื่อพระชินพุทธเจ้า พึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในในอรรถฉัฏฐี
วิภัตติ.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
สดับข่าวว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
สดับธรรมกถา ก็ถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยรัตนะ ๗ แด่
พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา
ชาวทวีปทั้งสิ้น รวบรวมรายได้ที่เกิดในรัฐ ทำหน้าที่ของคนวัดให้สำเร็จ ถวาย
มหาทานเป็นประจำแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้
พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนาม
ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่
ในทวีปทั้ง ๔ มีกำลังมาก ท่องเที่ยวไปในอากาศ.
เรามอบถวายราชสมบัติอย่างใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔
และรัตนะ ๗ แด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด แล้วบวชใน
สำนักของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
ชาววัดทั้งหลาย รวบรวมรายได้ในชนบทมาจัด
ปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง สำหรับพระภิกษุสงฆ์.
แม้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ
พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า ในที่สุดสามหมื่นกัป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้
บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ไปสู่
พรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุทีปมฺหิ ความว่า แห่งมหาทวีป ๔ ที่มี
ทวีป [น้อย.] เป็นบริวาร. บทว่า อนฺตลิกฺขจโร ความว่า ทำจักรรัตนะไว้ข้าง
หน้าท่องเที่ยวไปในอากาศ. บทว่า รตเน สตฺต ได้แก่ รัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ
เป็นต้น. บทว่า อุตฺตเม ก็คือ อุตฺตมานิ เเปลว่า อุดม อีกนัยหนึ่ง พึงเห็น
อรรถว่าอุตฺตเม พุทฺเธ แปลว่าในพระพุทธเจ้า ผู้อุดม. บทว่า นิยฺยาตยิตฺวาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
ได้แก่ ถวาย. บทว่า อุฏฺาน ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดในรัฐ อธิบายว่า
รายได้. บทว่า ปฏิปิณฺฑิย ได้แก่ รวมเอามาเก็บไว้เป็นกอง. บทว่า ปจฺจย
ได้แก่ ปัจจัยต่างๆ มีจีวรเป็นต้น . บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ อิสฺสโร ได้แก่
เป็นใหญ่ในหมื่นโลกธาตุ คำนี้นั้น พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงเขตแห่งชาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่แห่งโลกธาตุ ที่ไม่มีที่สุด. บทว่า ตึสกฺปฺป-
สหสฺสมฺหิ ความว่า ในที่สุดสามหมื่นกัปนับแต่กัปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะ ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุมังคละ พระ
ชนกพระนามว่า พระเจ้าอุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่าพระนารทะ พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนาคา และ พระนาคสมาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่ามหาเวฬุ ต้นไผ่ใหญ่ เขาว่าต้นไผ่ใหญ่นั้น มีรูลีบ ลำต้นใหญ่
ปกคลุมด้วยใบทั้งหลายที่ไร้มลทิน สีเสมือนแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
งามเพริศแพร้วเหมือนกำแววหางนกยูง ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระ
สรีระสูง ๕๐ ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง
สิรีนันทา พระโอรสพระนามว่า อุปเสนะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน
คือ ม้าต้น. พระองค์ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหาร สิลาราม กรุง
จันทวดี ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า สุมงคล พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อุคคตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวก ชื่อว่าพระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระนารทะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระนาคา และพระนาค-
สมาลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเรียกว่ามหาเวฬุ.
ไผ่ต้นนั้น ลำต้นตัน ไม่มีรู มีใบมาก ลำตรงเป็น
ไผ่ต้นใหญ่ น่าดูน่ารื่นรมย์.
ลำเดียวโดด เติบโต กิ่งทั้งหลายแตกออกจาก
ต้นนั้น ไผ่ต้นนั้นงามเหมือนกำแววทางนกยูง ที่เขา
ผูกกำไว้ดีแล้ว.
ไผ่ต้นนั้นไม่มีหนาม ไม่มีรู เป็นไผ่ใหญ่ มีกิ่ง
แผ่ไปไม่มีช่อง มีร่มเงาทึบน่ารื่นรมย์.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น ว่าโดยส่วนสูง ก็
๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ โดยเพราะ
อาการพร้อมสรรพ ทรงถึงพระพุทธคุณครบถ้วน.
พระรัศมีของพระองค์ ก็เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ที่ไม่มีผู้เสมอ แล่นออกโดยรอบพระวรกายไม่มีประ-
มาณ ชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรง
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ครั้งนั้น ปาพจน์คือธรรมวินัย งามด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย เหมือนคลื่นในสาคร เหมือนดารากร
ในท้องนภากาศ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วย
ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์
บางพวกกล่าว ฉิทฺท โหติ ปริตฺตก ดังนี้ก็มี. บทว่า ปตฺติโก แปลว่า
มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก บทว่า
อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ. บทว่า วโส แปลว่า ไม้ไผ่. บทว่า พฺรหา
ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ. บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดด
ไม่มีเพื่อน. บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว. บทว่า ตโต สาขา
ปภิชฺชติ ได้แก่ กิ่ง ๕ แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น. ปาฐะว่า ตโต
สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูก
เป็นห้าเส้นอย่างดี. กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า
โมรหัตถะ.
บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น
ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม. บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วย
กิ่งไม่มีช่อง. บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงา
ทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง. บทว่า ปญฺาสรตโน อาสิ ได้แก่ ๕๐ ศอก.
บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อม
สรรพ. บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.
บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประ-
มาณ เพราะไม่อาจจะนับได้. บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่า
ไม่มีใครเหมือน. บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ. บทว่า
อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าว
อุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้. บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า
พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส
คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
๑๓. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
[๑๔] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ก็มี
พระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศ
ใหญ่ ผู้นำโลก ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ แม้
พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้ แม้
พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑
ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทัฏฐิของท้าวเธอ ก็ได้แสดง
ธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ ก็เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารภีฝึกคน ทรงฝึกพระยาช้าง
โทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
พระปิยทัสสีพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรง
มีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง พระสาวกแสน
โกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนี พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒ พระสาวกแปดหมื่นโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ชื่อว่า กัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระองค์ เกิดความเลื่อมใส ได้
สร้างสังฆาราม ด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจ
ยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุง
กบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกร-
กิริยา.
พระตถาคตประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศทรงประทักษิณโพธิมัณฑ-
สถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ
อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้
นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้า
พระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา. พระ
โคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของ
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดศาสนา ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจักข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระนครชื่อว่าสุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุจันทา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปีมีปราสาท
๓ หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และคิริคูหา มีพระสนม
นารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นหนึ่งพันนาง พระอัคร
มเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา พระโอรสพระนามว่า
กัญจนาเวฬะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อธิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.
พระมหาวีระปิยทัสสีมหามุนี ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ อุสภราชอุทยาน ที่น่ารื่นรมย์ใจ.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระ
ปาลิตะ และพระสีพพทัสสี พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมม-
ทินนา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า กกุธะ ต้นกุ่ม.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สันทกะ และธัมมิกะ อัคร-
อุปัฏฐายิกาชื่อว่า วิสาขาและธัมมทินนา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้
มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก
เห็นกันชัดเหมือนพระยาสาลพฤกษ์.
รัศมีแสงของดวงไฟ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หามีเหมือนพระรัศมีของพระปิยทัสสี ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี แม้
พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งเทพก็มีพระชนมายุเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ก็ดี คู่พระสาวกที่ไม่มีผู้เปรียบได้
เหล่านั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระปิยทัสสีวรมุนี เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ
พระวิหารอัสสัตถาราม ชินสถูปของพระองค์ ณ พระ-
วิหารนั้น สูง ๓ โยชน์แล.
จบวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 515
พรรณนา วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ต่อมาจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง ในที่สุดแห่งหนึ่งพัน
แปดร้อยกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิด ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี
พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี ใน ๓ พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิใน
พระครรภ์ของ พระนางจันทาเทวี ผู้มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์ อัคร-
มเหสีของพระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุธัญญวดี ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติออก
จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วรุณราชอุทยาน ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีทรงเฉลิมพระนามว่า ปิยทัสสี เพราะเห็นปาฏิหาริย์วิเศษอันเป็น
ที่รักของโลก พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท ๓
หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และ คิริพรหา ปรากฏพระสนมนารีสานหมื่นสาม
พันนาง มี พระนางวิมลามหาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า กัญจนเวฬะ ของพระนางวิมลาเทวีประสูติ
แล้ว พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย
รถเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษอันชน
โกฏิหนึ่งนั้น แวดล้อมแล้วพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน ในวันวิสาข-
บูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาของ วสภพราหมณ์ บ้านวรุณ-
พราหมณ์ ถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน ทรงรับหญ้า ๘ กำที่
สุชาตะอาชีวก ถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อว่า กกุธะ ต้นกุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ แทงตลอดพระสัพพัญ-
ณุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร เป็นต้นแล้ว ทรงยับยั้ง ณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
โคนโพธิพฤกษ์นั้นนั่นแหละ ๗ สัปดาห์ ทรงทราบว่า ผู้ที่บวชกับพระองค์
สามารถแทงตลอดอริยธรรม จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทางอากาศ ลงที่ อุสภวดี
ราชอุทยาน ใกล้ กรุงอุสกวดี อันภิกษุโกฏิหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัย
ครั้งที่ ๑
ต่อมาอีก ราชาแห่งเทพ พระนามว่า สุทัสสนะ ประทับอยู่ ณ
สุทัสสนบรรพต ไม่ไกลกรุงอุสภวดี ท้าวเธอเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็พวกมนุษย์
ทั่วชมพูทวีป นำเครื่องสังเวยมีค่านับแสน มาเซ่นสรวงท้าวเธอ ท้าวสุทัสสน-
เทวราชนั้น ประทับบนอาสนะเดียวกันกับพระราชาแห่งมนุษย์ ทรงรับเครื่อง
สังเวย ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ปิยทัสสี ทรงพระดำริว่า จำเราจัก
บรรเทามิจฉาทิฏฐิของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสีย เมื่อท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
เสด็จไปยังสมาคมยักษ์ จึงเสด็จเข้าไปยังภพของท้าวเธอ ขึ้นสู่ที่สิริไสยาสน์
ประทับนั่งเปล่งพระฉัพพรรณรังสีเหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสาวทเปล่งแสงเหนือ
ยุคนธรบรรพต เทวดาที่เป็นบริวารรับใช้ของท้าวเธอ ก็บูชาพระทศพลด้วย
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ยืนแวดล้อม.
ฝ่ายท้าวสุทัสสนเทวราชกลับจากยักขสมาคมเห็นฉัพพรรณรังสีแล่น
ออกจากภพของตนก็คิดว่า ในวันอื่นๆ ไม่เคยเห็นภพของเรา จำเริญรุ่งเรื่อง
ด้วยแสงรัศมีมากมายเช่นนี้ ใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เข้าไปในที่นี้
ตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งรุ่งโรจน์ด้วยแสงพระฉัพพรรณรังสี
ดังดวงอาทิตย์ในฤดูสารทเหนือยอดอุทัยคิรี คิดว่า สมณะโล้นผู้นี้อันชนใกล้
ชิดบริวารของเราแวดล้อมแล้วนั่งเหนือที่นอนอันดี ก็ถูกความโกรธครอบงำใจ
คิดว่า เอาเถิด จำเราจักสำแดงกำลังของเราแก่สมณะโล้นนั้น แล้วก็ทำภูเขา
นั้นทั้งลูกลุกเป็นเปลวไฟอันเดียว ตรวจดูว่าสมณะโล้นคงเป็นเถ้าเพราะเปลวไฟ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
แล้ว แต่ก็เห็นพระทศพลมีพระวรกายถูกแสงรังสีมากมาย แล่นท่วมไป มี
พระพักตร์ผ่องวรรณะงาม มีพระฉวีสดใสรุ่งโรจน์อยู่ ก็คิดว่า สมณะผู้นี้ทนไฟ
ไหม้ได้ เอาเถิด จำเราจักรุกรานสมณะผู้นี้ด้วยกระแสน้ำหลากแล้วฆ่าเสีย จึง
ปล่อยกระแสน้ำหลากอันลึกล้ำตรงไปยังวิมาน.
แต่นั้น น้ำก็ไม่เปียกเพียงขนผ้าแห่งจีวร หรือเพียงพระโลมาในพระ-
สรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งประทับนั่งในวิมานนั้น อันเต็มด้วย
กระแสน้ำหลาก แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช รู้ว่า ด้วยกระแสน้ำหลากนี้ สมณะ
หายใจไม่ออก ก็จักตาย จึงเสกมนต์พ่นอัดน้ำแล้วตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้าประทับนั่งอันบริษัทของตนแวดล้อม รุ่งโรจน์ด้วยแสงแลบแห่งเปลวรังสี
ต่างชนิด ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท ส่งแสงลอดหลืบเมฆสีเขียวครามทนการลบ
หลู่ตนไม่ได้ ก็คิดว่า จำเราจักฆ่าสมณะนั้นเสียเถิด แล้วก็บันดาลฝนอาวุธ ๙
ชนิด ให้ตกลง ด้วยความโกรธ ลำดับนั้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาค
เจ้าพระองค์นั้น อาวุธทุกอย่างก็กลายเป็นพวงดอกไม้หอมนานาชนิดงามน่าดู
อย่างยิ่ง หล่นลงแทบเบื้องบาทของพระทศพล.
แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช เห็นความอัศจรรย์นั้นก็ยิ่งมีใจโกรธขึ้ง
จึงเอามือทั้งสองจับพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า หมายจะฉุดคร่าออกไปจาก
ภพของตน ก็เหวี่ยงเลยมหาสมุทรไปถึงจักรวาลบรรพต ตรวจดูว่าสมณะยัง
เป็นอยู่หรือตายไปแล้ว ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังคงประทับนั่ง อยู่เหนือ
อาสนะนั้นนั่นแหละ ก็คิดว่า โอ สมณะนี้มีอานุภาพมาก เราไม่สามารถจะฉุด
คร่าสมณะผู้นี้ออกไปจากที่นี้ได้ หากว่าใครรู้เรื่องเรา เราก็จักอัปยศหาน้อยไม่
จำเราจักปล่อยสมณะนั้นไปเสีย ตราบเท่าที่ใครยังไม่เห็นสมณะผู้นี้.
ลำดับนั้น พระทศพลทรงทราบความประพฤติทางจิตของท้าวสุทัส-
สนเทวราชนั้น ก็ทรงอธิษฐานอย่างที่พวกเทวดาและมนุษย์ทุกคนเห็นท้าวเธออยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
ในวันนั้นนั่นเอง พระราชา ๑๐๑ พระองค์ทั่วชมพูทวีป ก็พากันมาประชุมเพื่อ
ถวายเครื่องสังเวยแด่ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น พระราชาแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่า
นั้น ทรงเห็นท้าวสุทัสสนเทวราชประทับนั่งจับพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเทวราชขอพรพวกเรา บำเรอ
พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี จอมมุนี โอ ! ธรรมดาพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์ โอ ! พระพุทธคุณทั้งหลาย วิเศษจริง ๆ ก็พากัน
นอบน้อม ยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้าหมดทุกคน ณ สันนิบาตนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีทรงทำท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นให้เป็นประมุข ทรง
แสดงธรรมโปรด ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
ครั้งเมื่อศัตรูของพระพุทธเจ้า ในกุมุทนครซึ่งมีขนาด ๙ โยชน์ ชื่อ
พระโสณเถระ เหมือนพระเทวทัต ปรึกษากับ พระมหาปทุมราชกุมาร
ให้ปลงพระชนม์พระชนกของพระราชกุมารนั้น แม้พยายามต่างๆ เพื่อปลง
พระชนม์ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ก็ไม่อาจปลงพระชนม์ได้ ท่านจึงเรียก
ควาญพญาช้างชื่อ โทณมุขะ ประเล้าประโลมเขา บอกความว่า เมื่อใด
พระสมณะปิยทัสสีผู้นี้ เข้าไปบิณฑบาตยังนครนี้ เมื่อนั้น ท่านจงปล่อย
พญาช้างชื่อโทณมุข ให้ฆ่าพระสมณะปิยทัสสีเสีย.
ครั้งนั้น นายควาญช้างนั้น เป็นราชวัลลภ ไม่ทันพิจารณาถึง
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้แต่ว่า สมณะผู้นี้จะพึงทำเราให้หลุดพ้นจาก
ตำแหน่งแน่ จึงรับคำ วันรุ่งขึ้นก็กำหนดเวลาที่พระทศพลเสด็จเข้าไปยังพระ-
นครเข้าไปหาพญาช้างโทณมุข ซึ่งมีหน้าผากเหมือนหม้อข้าวเหนือตระพองที่
เกิดดีแล้ว มีลำงวงยาวเสมือนธนู มีหูอ่อนกว้างใหญ่ ตาเหลืองดังน้ำผึ้ง ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
นั่งบนตัวดี ตะโพกหนาทึบกลมกลึง ระหว่างเข่าเก็บของลับไว้ งางามเหมือน
งอนไถ ขนหางสวย โคนหางน่ายำเกรง สมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกอย่าง
งามน่าดูเสมือนเมฆสีเขียวคราม ไปยังถิ่นที่ราชสีห์ชอบเยื้องกรายเหมือนก้อน
เมฆเดินได้ มีกำลังเท่า ๗ ช้างสาร ตกมัน ๗ ครั้ง มีพิษทั่วตัว เหมือน
มัจจุมารที่มีเรือนร่างทำให้เมามันมึนยิ่งขึ้น ปรนด้วยวิธีพิเศษเช่นคำข้าวคลุกกำ-
ยานหยอดยาตา รมควัน ฉาบทา เป็นต้น แล้วก็ส่งไปเพื่อต้องการปลงพระชนม์
พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้ป้องกันชนที่เป็นอริได้ เหมือนช้างเอราวัณ ป้องกันช้าง
ข้าศึกฉะนั้น ลำดับนั้น พญาช้างโทณมุขนั้น เป็นช้างพลายตัวดี พอหลุดไป
เท่านั้น ก็ฆ่าช้าง ควาย ม้า ชาย หญิง มีเนื้อตัวพร้อมทั้งงาและงวงเปรอะ
ไปด้วยเลือดของผู้ที่ถูกฆ่า มีตาที่คลุมด้วยข่ายแห่งความตาย หักทะลายเกวียน
บานประตู ประตูเรือนยอด เสาระเนียดเป็นต้น อันฝูงกา สุนัข และ แร้ง
เป็นต้นติดตามไป ตัดอวัยวะของควาย คน ม้า และ ช้างพลาย เป็นต้น
กินเหมือนยักษ์กินคน เห็นพระทศพลอันหมู่ศิษย์แวดล้อม กำลังเสด็จมาแต่
ไกล มีกำลังเร็วเสมือนครุฑในอากาศ นุ่งไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความ
เร็ว.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมือง มีใจเปี่ยมแปร้ไปด้วยความเร่าร้อน เพราะ
ภัย ก็เข้าไปยังซากกองกำแพงแห่งปราสาท เห็นพระยาช้างวิ่งแล่นมุ่งหน้าตรง
พระตถาคตก็ส่งเสียงร้อง ฮ้า ! ฮ้า ! ส่วนอุบาสกบางพวก เริ่มห้ามกันพญา
ช้างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ. ลำดับนั้น คือพระพุทธนาคพระองค์นั้นทรง
แลดูพญาช้าง ซึ่งกำลังมา มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาแผ่ไป ก็ทรงแผ่
พระเมตตาไปยังพญาช้างนั้น. แต่นั้น พญาช้างเชือกนั้น ก็มีสันดานประจำ
ใจอันพระเมตตาที่ทรงแผ่ไปทำให้อ่อนโยนสำนึกรู้โทษและความผิดของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
ไม่อาจยืนท่อเบ้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยความละอาย จึง
หมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแทรก
เข้าไปในแผ่นปฐพี. พญาช้างเชือกนั้นหมอบลงอย่างนั้นแล้ว เรือนร่างเสมือน
กลุ่มหมอก ก็เจิดจ้า เหมือนก้อนเมฆสีเขียวความเข้าไปใกล้ยอดภูเขาทองที่ฉาบ
ด้วยแสงสนธยา.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมืองเห็นพญาช้างหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้อง
บาทของพระจอมมุนี ก็มีใจเปี่ยมด้วยปีติอย่างยิ่ง ก็พากันส่งเสียงโห่ร้องสาธุการ
กึกก้องดังเสียงราชสีห์ บูชาพระองค์มีประการต่าง ๆ ด้วยดอกไม้หอม มาลัย
จันทน์จุรณหอมและเครื่องประดับเป็นต้น โยนแผ่นผ้าไปโดยรอบ เทพเภรี
ก็บรรลือลั่นในท้องนภากาศ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพญาช้าง
พลาย ซึ่งหมอบจบเศียรเกล้าแทบเบื้องพระบาท ดั่งยอดเขาที่อาบสีดำ ก็ทรง
ลูบกระพองพญาช้าง ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันประดับด้วยขอช้าง ธง สังข์ และจักร
จึงทรงพร่ำสอนพญาช้างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา ที่เกื้อกูลแก่ความประพฤติ
ทางจิตของพญาช้างนั้นว่า
ดูก่อนพญาช้าง เจ้าจงฟังคำของเราที่พร่ำสอน
และจงเสพคำพร่ำสอนของเรานั้น ซึ่งประกอบด้วย
ประโยชน์เกื้อกูล จงกำจัดความยินดีในการฆ่า ความ
มีจิตร้ายของเจ้าเสีย จงเป็นช้างที่น่ารัก ผู้สงบ.
ดูก่อนพญาช้าง ผู้ใดเบียดเบียนสัตว์มีชีวิต ด้วย
โลภะ และ โทสะ หรือด้วยโมหะผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ฆ่า
สัตว์มีชีวิต ย่อมเสวยทุกข์อันร้ายกาจ ในนรก ตลอด
กาลนาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
ดูก่อนพญาช้าง เจ้าอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนั้น
ด้วยความประมาท หรือแม้ด้วยความเมาอีกนะ เพราะ
ผู้ทำสัตว์มีชีวิตะที่ตกล่วงไป ย่อมประสบทุกข์แสน
สาหัสในนรกตลอดกัป.
ผู้เบียดเบียนครั้นเสวยทุกข์อันร้ายกาจในนรกแล้ว
ผิว่า ไปสู่มนุษยโลก ก็ยิ่งเป็นผู้มีอายุสั้น มีรูปร่าง
แปลกประหลาด ยังมีส่วนพิเศษแห่งทุกข์.
ดูก่อนกุญชร พญาช้างผู้เบาปัญญา เจ้ารู้ว่า
ชีวิตเป็นที่รักอย่างยิ่งของเจ้าฉันใด ในมหาชนชีวิตแม้
ของผู้อื่นก็เป็นที่รักฉันนั้น แล้วพึงงดเว้นปาณาติบาต
อย่างเด็ดขาด.
ถ้าเจ้ารู้จักโทษที่ไม่เว้นการเบียดเบียน และคุณที่
เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว จงเว้นขาดปาณาติบาตเสีย
ก็ปรารถนาสุขในสวรรค์ในโลกหน้าได้.
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตฝึกตนดีแล้ว ย่อมเป็น
ที่รักที่ชอบใจในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป
พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เขาก็อยู่ยั้งใน
สวรรค์.
ใครๆ ในโลก ย่อมไม่ปรารถนาให้ทุกข์มาถึง
ผู้เกิดมาแล้วทุก ๆ คน ย่อมแสวงสุขกันทั้งนั้น ดูก่อน
พญาช้างผู้ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น เจ้าจงละการเบียด
เบียนเสีย เจริญแต่เมตตาและกรุณาในเวลาอันสมควร
เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
ลำดับนั้น พญาช้างอันพระทศพลทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ก็ได้สำนึก เป็น
ผู้ที่ทรงฝึกปรือแล้วอย่างยิ่ง ถึงพร้อมด้วยวินัย แล จรรยา ก็ได้เป็นเหมือน
ศิษย์. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีพระองค์นั้น ทรงทรมานพญาช้างโทณมุข
เหมือนพระศาสดาของเราทรงทรมานช้างธนปาลแล้ว จึงทรงแสดงธรรมโปรด
ในสมาคมแห่งมหาชนนั้น. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้าก็มีพระสยัมภู
พุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำ
โลก อันเข้าเฝ้าได้ยาก เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีบริวารยศอัน
ประมาณมิได้ รุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่าง ประกาศพระธรรมจักร.
พระพุทธเจ้าผู้มีพระเดช ที่ชั่งไม่ได้แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่
สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราชทรงชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิของท้าวเทวราชพระองค์
นั้นแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
ครั้งพระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน ทรงแนะนำ
พญาช้างชื่อโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์
แปดหมื่นโกฏิ.
ใน สุมังคลนคร มีสหายสองคน คือพระราชโอรส พระนามว่า ปา-
ลิตะ บุตรปุโรหิต ชื่อว่า สัพพทัสสิกุมาร สองสหายนั้น เมื่อพระปิยทัสสี
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่ สดับข่าวว่า เสด็จถึงพระนครของพระองค์มี
บริวารแสนโกฏิ ก็ออกไปรับเสด็จ สดับฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ถวาย
มหาทาน ๗ วัน ในวันที่ ๗ จบอนุโมทนาภัตทานของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมกับบริวารแสนโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
สมัยต่อมา สัตว์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต. ในสมาคมของท้าวสุทัสสนเทวราช
พระศาสดาอันภิกษุสาวกเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ต่อมาอีก ในสมัยทรงแนะนำพญาช้างโทณมุข สัตว์
แปดหมื่นโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง พระสาวกแสน
โกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนีสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อมกันเป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒ พระสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพพราหมณ์ชื่อ กัสสปะ
เรียนจบไตรเพท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์ ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ศาสดา ให้สร้างสังฆาราม ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้วยการบริจาคทรัพย์แสน
โกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล ๕. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์พระ
โพธิสัตว์นั้นว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป นับแต่กัปนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
พระนามว่า โคตมะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ ชื่อว่ากัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ให้สร้างสังฆารามด้วย
ทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจ
ยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เมื่อล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรเณ ปญฺจสีเล จ ความว่า สรณะ
๓ และศีล ๕. บทว่า อฏฺารเส กปฺปสเต ความว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
นับแต่ภัตรกัปนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญ-
ญะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุจันทาเทวี. คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ. คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดา
และพระธัมมทินนา โพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นกกุธะ ต้นกุ่ม พระสรีระสูง ๘๐
ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา พระ
โอรสพระนามว่า พระกัญจนาเวฬะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีศาสดา ทรงมีพระนคร ชื่อว่าสุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางจันทา.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระ
ปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสุชาดา และ พระ
ธัมมทินนาโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเรียกว่า ต้นกกุธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีพระบริวารยศหา
ประมาณมิได้ มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
สูง ๘๐ ศอก ปรากฏชัดเหมือนต้นพญาสาละ.
พระรัศมีของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นเป็นเช่นใด รัศมีของ
ดวงไฟ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ หาเป็นเช่นนั้น
ไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
พระชนมายุของพระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น ก็
มีเพียงเท่านั้น.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ก็ดี คู่พระอัครสาวกผู้ไม่มีผู้เทียบ
ได้เหล่านั้น ก็ดี ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลราชาว ความว่า เห็นได้ชัดเหมือน
พญาสาลพฤกษ์ ที่มีลำต้นเกลากลมออกดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น ดูน่ารื่นรมย์
อย่างยิ่ง. บทว่า ยุคานิปิ ตานิ ได้แก่ คู่ มีคู่พระอัครสาวกเป็นต้น. คาถา
ที่เหลือทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 527
๑๔. วงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
[๑๕] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระอัตถทัสสี
พุทธเจ้า ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงกำจัดความมืดใหญ่
บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.
พระองค์อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก
ให้อิ่มด้วยอมตธรรม.
พระโลกนาถแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปใน
เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อจากนั้น ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม
โปรดในสำนักพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่
สัตว์แสนโกฏิ.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระ-
องค์นั้น มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้
มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
พระสาวกเก้าหมื่นแปดพันประชุมกัน เป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๑ พระสาวกแปดหมื่นแปดพันประชุมกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 528
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสาวกผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เจ็ดหมื่นเจ็ดพันประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะสูง โดยชื่อสุสีมะ
อันแผ่นดินคือโลก สมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ.
เรานำดอกไม้ทิพย์คือ มณฑารพ ปทุม และ
ปาริฉัตตกะ มาจากเทวโลก บูชาพระสัมพุทธเจ้า.
พระมหามุนีอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นทรง
พยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้น เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญ-
ชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้แล้ว ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทัก-
ษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิ
พฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 529
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักเป็นพระโคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุปติส-
สะผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น พระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะจักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และ อุตตรา พระ
โคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่ง
ใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็จะถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่
ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 530
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ ก็ยินดีสลดใจ จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มี
พระนครชื่อโสภณะ พระชนกพระนานว่าพระเจ้าสาคระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี มีปราสาท
ชั้นยอด ๓ หลังชื่อว่า อมรคิรี สุรคิรี และคิริวาหนะ
มีพระสนมนารีแต่งกายงามสามหมื่นสามพันนาง มี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิสาขา พระโอรส
พระนามว่า เสละ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้า ทรงตั้งความเพียร ๘
เดือนถ้วน.
พระมหาวีระอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้
องอาจในนรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ที่อโนมราชอุทยาน.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มี
พระอัครสาวก ชื่อว่าพระสันตะ และพระอุปสันตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอภยะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 531
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระธัมมา และ พระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นจัมปกะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และ นิสภะ อัคร-
อุปัฏฐายิถา ชื่อว่า มกิลา และ สุนันทา.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก งามเหมือนพญา
สาลพฤกษ์ บริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ หลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้งสิบทิศ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างทุก
เมื่อ.
พระพุทธเจ้า ผู้ล้ำเลิศในนรชน เป็นมุนี ยอด
สรรพสัตว์ ผู้มีจักษุ ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงแสดง
พระรัศมี อันหาอะไรเปรียบมิได้ เจิดจ้าไปในโลกทั้ง
เทวโลก ถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยง ก็เสด็จดับขันธปริ-
นิพพาน เพราะสินอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับเพราะ
สิ้นเชื้อฉะนั้น.
พระชินวรอัตถทัสสีพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน
ณ พระวิหารชื่อ อโนมาราม. พระบรมสารีริกธาตุ ก็
แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 532
พรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๔
เมื่อพระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระ-
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานแล้วเสื่อมไป เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย มีอายุนับ
ประมาณมิได้เจริญแล้ว ก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุแสนปี พระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าอัตถทัสสี ผู้เห็นอรรถอย่างยิ่ง ก็อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง
สุทัสสนเทวี อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าสาคระ กรุงโสภณะ
ที่งามอย่างยิ่ง อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ
สุจินธนราชอุทยาน. พอพระมหาบุรุษประสูติจากพระครรภ์พระชนนี เจ้าของ
ทรัพย์ทั้งหลาย ก็พากันได้ขุมทรัพย์ใหญ่ ที่ฝังกันไว้นาน สืบๆ ตระกูลกันมา
เพราะเหตุนั้น ในวันรับพระนามของพระองค์ พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนาม
ว่า อัตถทัสสี พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี. ทรงมีปราสาท ๓ หลัง
ที่มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง ชื่อ อมรคิรี สุรคิรี และคิริวาหนะ มีพระสนมนารี
สามหมื่นสามพันนาง มีพระนางวิสาขาเทวีเป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า เสลกุมาร ของ พระนางวิสาขาเทวี
ทรงสมภพ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ขึ้นทรงพญาม้าชื่อ สุทัสสนะ เสด็จ
ออกมหาอภิเนษกรมณ์ทรงผนวช มนุษย์เก้าโกฏิก็บวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษ
อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูร-
ณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่มหาชนนำมาเป็นเครื่องสังเวยนางนาคชื่อว่าสุจินธรา
นางนาคที่มีเรือนร่างทุกส่วนอันมหาชนเห็นอยู่ ถวายพร้อมด้วยถาดทอง ทรง
ยับยั้งพักกลางวัน ณ สวนสาละรุ่น ที่ประดับด้วยต้นไม้รุ่น ๑๐ ต้น เวลาเย็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 533
ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่พญานาคชื่อ มหารุจิ ผู้ชอบใจธรรมถวาย แล้วเสด็จ
เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ จัมปกะ ต้นจำปา ทรงลาดสันถัตหญ้าคากว้างยาว ๕๓
ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า
อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ทรงประพฤติมา ทรงยับยั้งอยู่ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ วัน ทรงรับอาราธนา
แสดงธรรมของท้าวมหาพรหม ทรงเห็นภิกษุใหม่เก้าโกฏิที่บวชกับพระองค์
เป็นผู้สามารถแทงตลอดอริยธรรมได้ เสด็จไปทางอากาศลงที่อโนมราชอุทยาน
ใกล้อโนมนคร อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ
ที่นั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำโลกเสด็จจาริกไปในเทวโลก
ทรงแสดงธรรมโปรดในที่นั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ก็ครั้ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสี เสด็จเข้าไปยังกรุงโสภณะ เหมือนพระผู้มีพระภาค
เจ้าของเราเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรด ธรรมาภิสมัย
ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็ทรงกำจัดความมืดใหญ่ บรรลุ
พระโพธิญาณอันอุดม.
พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลกธาตุ พร้อม
ทั้งเทวโลกให้อิ่มด้วยอมฤตธรรม.
พระโลกนาถแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓
ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 534
ครั้งพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปใน
เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมา ครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในสำนัก
พระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว ความว่า ในกัปนั้นนั่นเอง แต่
ในที่นี้ วรกัปท่านประสงค์เอาว่ามัณฑกัป ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง ในการ
พรรณนาวงศ์ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าว่า ในกัปใด บังเกิดพระพุทธเจ้า ๓
พระองค์ กัปนั้นชื่อว่า วรกัป เพราะฉะนั้นในที่นี้ วรกัป ท่านจึงประสงค์เอา
ว่า มัณฑกัป. บทว่า นิหนฺตฺวาน แปลว่า กำจัดแล้ว หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า อมเตน ได้แก่ ด้วย
ดื่มอมฤตธรรมคือการบรรลุมรรคผล. บทว่า ตปฺปยิ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว
อธิบายว่าให้อิ่มหนำสำราญ. บทว่า ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิโลกธาตุ.
บทว่า เทวจาริก ความว่า จาริกไปในเทวโลก เพื่อแนะนำเทวดาทั้งหลาย
ได้ยินว่า ในสุจันทกนคร พระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต
ไม่เห็นสาระในไตรเพทและลัทธิสมัยอื่นทุกอย่าง จึงวางคนที่รอบรู้และแกล้ว
กล้าไว้ ๔ คน ที่ประตูทั้ง ๔ ของพระนคร โดยสั่งว่า พวกท่านเห็นหรือ
ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นบัณฑิตผู้ใด พวกท่านจงมาบอกเรา สมัยนั้น
พระโลกนาถอัตถทัสสีเสด็จถึงสุจันทกนคร. ลำดับนั้น พวกบุรุษที่คนเหล่านั้น
บอกแล้ว ก็พากันไปแจ้งการเสด็จมาในที่นั้นของพระทศพลแก่สองท่านนั้น
แต่นั้นพระสันตราชโอรสและอุปสันตะบุตรปุโรหิต ฟังข่าวการเสด็จมาของ
พระตถาคต ก็มีใจร่าเริง มีบริวารพันหนึ่งไปรับเสด็จพระทศพลผู้ไม่มีผู้เสมอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 535
ถวายบังคมแล้วนิมนต์ ถวายมหาทานที่ไม่มีใครเทียม แด่พระสงฆ์มีพระพุทธ
เจ้าเป็นประธาน วันที่ ๗ ก็ฟังธรรมกถาพร้อมด้วยผู้คนชาวนครทั้งสิ้น เขาว่า
วันนั้น บุรุษเก้าหมื่นแปดแสน พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาแล้วบรรลุ
พระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบริษัทนั้น.
นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่พระเสลเถระ โอรส
ของพระองค์ ทรงยังบุรุษแปดหมื่นแปดพันให้เลื่อมใสแล้ว ให้บวชด้วยเอหิ-
ภิกขุภาวะให้เขาบรรลุพระอรหัตแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๒. ต่อมาอีก เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เทวดาและมนุษย์วันมาฆบูรณมี
ในมหามงคลสมาคม ทรงยังสัตว์เจ็ดหมื่นแปดพันให้บรรลุพระอรหัต ทรงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้
ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง.
พระสาวกเก้าหมื่นแปดพันประชุมกันเป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๑ พระสาวกแปดหมื่นแปดพันประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสาวกขีณาสพ ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้
ไร้มลทิน ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่เจ็ดหมื่นเจ็ดพันประชุม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา อันโลกสมมติว่าเป็น
พราหมณ์มหาศาล ชื่อสุสิมะ ในนครจัมปกะ พระโพธิสัตว์นั้นสละสมบัติทุก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 536
อย่าง แก่คนจน คนอนาถา คนกำพร้า คนเดินทางไกลเป็นต้น ไปใกล้ป่า
หิมพานต์ บวชเป็นดาบส ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว เป็นผู้
มีฤทธานุภาพมาก แสดงความไม่มีโทษและความมีโทษ แห่งกุศลธรรมและ
อกุศลธรรมทั้งหลายแก่มหาชน รอคอยการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า.
สมัยต่อมา เมื่อพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงอุบัติในโลกแล้ว
ทรงยังฝนคืออมฤตธรรมให้ตกลงในท่ามกลางบริษัท ๘ ณ กรุงสุทัสสนมหา-
นคร พระโพธิสัตว์ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็ไปสู่โลกสวรรค์ แล้วนำเอา
ดอกไม้ทิพย์ มีมณฑารพ ปทุม ปาริฉัตตกะ เป็นต้น มาจากเทวโลก เมื่อ
จะสำแดงอานุภาพของตน จึงปรากฏตัว ยังฝนดอกไม้ให้ตกลงในทิศทั้ง ๔
เหมือนมหาเมฆตกใน ๔ ทวีป แล้วสร้างสิ่งที่สำเร็จด้วยดอกไม้มีที่บูชา เสา
ระเนียด ข่ายทองที่สำเร็จด้วยดอกไม้เป็นต้น เป็นมณฑปดอกไม้โดยรอบ
บูชาพระทศพลด้วยฉัตรดอกมณฑารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง โดยชื่อว่าสุสีมะ
อันแผ่นดินคือโลกสมมติว่า เป็นผู้ประเสริฐ.
เรานำดอกไม้ทิพย์ คือ มณฑารพ ปทุม
ปาริฉัตตกะ จากเทวโลก บูชาพระสัมพุทธเจ้า.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า มหามุนีพระองค์นั้นทรง
พยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 537
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ ก็ร่าเริง สลดใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้
บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชฏิโล ได้แก่ ชื่อว่าชฎิล เพราะมีชฎา
มุ่นมวยผม. บทว่า มหิยา เสฏฺสมฺมโต ความว่า อันโลกแม้ทั้งสิ้น
สมมติยกย่องอย่างนี้ว่า เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด เลิศ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอัตถทัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
โสภณะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ พระชนนีพระนามว่า
พระนางสุทัสสนา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสันตะ และ พระอุปสันตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอภยะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระธัมมา และ
พระสุธัมมา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า จัมปกะ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระรัศมี
แห่งพระสรีระแผ่ไปโดยรอบ ประมาณโยชน์หนึ่งทุกเวลา พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิสาขา พระโอรสพระนามว่า เสละ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอัตถทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสาคระ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุทัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 538
พระอัตถทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่า
พระสันตะ และ พระอุปสันตะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระอภยะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระธัมมา และพระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า จัมปกะ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ สูง ๘๐ ศอก งามเหมือนพญาสาลพฤกษ์
เต็มบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ มีหลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง สิบทิศทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำทุกเมื่อ.
พระพุทธเจ้าเป็นผู้องอาจในนรชน เป็นมุนียอด
แห่งสรรพสัตว์ ผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่
ในโลกแสนปี.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงแสดง
พระรัศมีที่ไม่มีอะไรเทียบ เจิดจ้าไปในโลกทั้งเทวโลก
ทรงถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ดับขันธปรินิพพาน
เพราะสิ้นอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับ เพราะสิ้นเชื้อ
ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬุราชาว ปูริโต ความว่า เหมือน
ดวงจันทร์ราชาแห่งดวงดาว บริบูรณ์ไร้มลทินทั่วมณฑลในฤดูสารท. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 539
ปากติกา ความว่า เกิดขึ้นตามปกติ ไม่ใช่ตามอธิษฐาน เมื่อใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงประสงค์ เมื่อนั้น ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปในจักรวาลแม้หลาย
แสนโกฏิ. บทว่า รสี แปลว่า พระรัศมีทั้งหลาย. บทว่า อุปาทาน-
สงฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะสิ้นอุปาทาน ๔ เหมือน
ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อ พระธาตุทั้งหลายของพระองค์ เรี่ยรายไปด้วยพระอธิษฐาน.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 540
๑๕. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
[๑๖] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสี-
พุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงกำจัด
อนธการคือความมืดได้แล้ว ก็เจิดจ้าในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชไม่มีใคร
เทียบพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัย
ครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระธัมนทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัยฤษี
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท เข้าเฝ้าพระผู้นำ
พิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.
พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า เข้าจำพรรษา ณ กรุง
สรณะ พระสาวกพันโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 541
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา
สู่มนุษยโลก พระสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสัน-
นิบาต ครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ
พระสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชา
ด้วยของหอมดอกไม้และดนตรี อันเป็นทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระ-
พุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไป
ยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางดี อันเขาจัด
แต่งไว้แล้ว ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 542
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จัก
เป็นพระโคตมะ.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุป-
ติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
ท่านพระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มิจิตสงบ ตั้ง
มั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระ-
โคดม ผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่ง-
ใหญ่พระองค์นั้นแล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็น
หน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถ พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 543
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระนคร ชื่อว่า สรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนาม
ว่า พระนางสุนันทา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี มีปรา-
สาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และสุทัสสนะ.
มีพระสนมนารี แต่งกายงามสี่หมื่นนาง พระ-
อัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกฬี พระโอรส
พระนามว่า พระปุญญวัฒนะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.
พระมหาวีระ ธัมมทัสสีนราสภ ผู้เลิศกว่านรชน
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระ-
ธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระปทุมะ พระปุสสเทวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสุทัตตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
พระอัครสาวกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสสหะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สาฬิสา และกฬิสสา.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอ สูง ๘๐ ศอก รุ่งโรจน์ด้วยพระเดช ในหมื่น
โลกธาตุ.
พระองค์งดงาม เหมือนต้นพญาสาลพกฤษ์ที่
ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าในนภากาศเหมือน
ดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระชน-
มายุของพระองค์ ผู้มีพระเดชไม่มีใครเทียบ พระองค์
นั้น ก็เท่าๆ กับสัตว์อื่น.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีทำ
พระศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.
พระมหาวีระธัมมทัสสี ปรินิพพาน ณ พระวิหาร
เกสาราม พระสถูปของพระองค์สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 545
พรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๕
เมื่อพระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว อันตรกัปก็ล่วงไป
แล้ว เนื้อสัตว์ทั้งหลายที่มีอายุนับไม่ได้ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุได้แสนปี
พระศาสดาพระนามว่า ธัมมทัสสี ผู้ทำความสว่างแก่โลก ทำการกำจัดมลทิน
มีโลภะเป็นต้น เป็นนายกเอกของโลก อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น
แล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสุนันทาเทวี อัครมเหสีของ
พระเจ้าสรณะ ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้งปวง ณ กรุงสรณะ ถ้วนกำหนดทศมาส
พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ สรณะราชอุทยาน เหมือนจันทร์
เพ็ญโคจรลอดช่องเมฆ ในฤดูฝน เมื่อพระมหาบุรุษ พอประสูติจากพระครรภ์
พระชนนีเท่านั้น โวหารการว่ากล่าวที่ไม่ชอบธรรม ในศาสตร์และคัมภีร์อัน
กล่าวด้วยเรื่องอธิกรณ์ (การตัดสินคดี) ก็เสื่อมหายไปเองแล ดำรงอยู่แต่การ
ว่ากล่าวที่ชอบธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีจึงเฉลิมพระนามว่า ธัมมทัสสี พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่
แปดพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า อรชะ วิรชะ และ สุทัสสนะ
มีพระสนมนารีสองแสนสองหมื่นนาง มีพระนาง วิจิโกฬิเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า ปุญญวัฒนะ ของพระนาง วิจิโกฬิเทวี
สมภพ พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง
เหมือนเทพกุมาร เสวยสมบัติเหมือนเทพสมบัติ ทรงลุกขึ้นในยามกลาง ประ-
ทับบนที่สิริไสยาสน์ ทรงเห็นอาการอันวิการของเหล่าสนมที่หลับไหล ก็
เกิดสังเวช เกิดจิตคิดออกมหาภิเนษกรมณ์ ในลำดับเกิดจิตนั่นแล สุทัสสน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 546
ปราสาทของพระองค์ก็ลอยขึ้นสู่นภากาศ อันจตุรงค์เสนาแวดล้อมแล้ว ลอยไป
เหมือนดวงอาทิตย์และเหมือนเทพวิมาน แล้วก็ลงตั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ชื่อต้น
รัตตกุรวกะ มะกล่ำทอง ได้ยินว่า พระมหาบุรุษ ทรงรับผ้ากาสายะที่ท้าว
มหาพรหมน้อมถวาย ทรงผนวชแล้ว เสด็จลงจากปราสาท ประทับยืนอยู่ไม่
ไกล. ปราสาทก็ลอยไปทางอากาศอีก ทำโพธิพฤกษ์ไว้ข้างในแล้วตั้งลงที่แผ่น
ดิน แม้นางสนมนารีพร้อมทั้งบริวาร ก็ลงจากปราสาท เดินไปชั่วครึ่งคาวุต
ก็หยุด ณ ที่นั้น เว้น นางสนมนารี ปริจาริกาและหญิงรับใช้ของนางสนมเหล่า
นั้น มนุษย์ทุกคนก็บวชตามเสด็จ ภิกษุทั้งหลาย ก็มีจำนวนถึงแสนโกฏิ.
ลำดับนั้น พระธัมมทัสสีโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญความเพียร ๗ วัน
เสวยข้าวมธุปายาสที่ พระนางวิจิโกฬิเทวี ถวาย ทรงพักกลางวัน ณ ป่า
พุทรา เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อสิริวัฒนะถวาย
แล้วเสด็จไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อพิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ ทรงลาดสันถัตหญ้า
กว้าง ๕๓ ศอก ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิพฤกษ์นั้น ทรง
เปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา แล้ว
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ ๆ โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม
แล้วทรงทราบว่า ภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดพระ-
สัทธรรมได้ ก็เสด็จหนทาง ๑๘ โยชน์ วันเดียวเท่านั้นก็ถึงอิสิปตนะ อันภิกษุ
เหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะนั้น ครั้งนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้
มีพระยศยิ่งใหญ่ ก็กำจัดความมืดมนอนธการแล้ว
เจิดจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 547
ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่
มีผู้เทียบได้พระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมนฺธการ ความว่า ได้แก่ อนธการ
คือโมหะ ที่ชื่อว่าตมะ.
ครั้งพระราชาพระนามว่า สัญชัย ในนครชื่อ ตคระ ทรงเห็นโทษ
ในกาม และคุณอันเกษมในเนกขัมมะ จึงทรงผนวชเป็นฤษี คนเก้าหมื่นโกฏิ
บวชตามเสด็จ ชนเหล่านั้น ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ หมดทุกคน ครั้ง
นั้น พระธัมมทัสสีศาสดาทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของชนเหล่านั้น จึงเสด็จไป
ทางอากาศ ถึงอาศรมบทของสัญชัยดาบสแล้ว ทรงยืนอยู่ในอากาศ ทรง
แสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของดาบสเหล่านั้น ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดขึ้น
นั้นเป็นอภิสมัย ครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัย-
ฤษี อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะจอมทวยเทพ ประสงค์จะฟังธรรมของพระทศพล จึง
เสด็จเข้าไปเฝ้า อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเข้าเฝ้า พระผู้เป็น
นายกพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.
ส่วนครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าทรงบวช พระปทุมกุมาร และพระ-
ปุสสเทวกุมาร พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดา พร้อมทั้งบริวารในกรุงสรณะ
ทรงทำสุทธิปวารณา ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิซึ่งบวชภายในพรรษานั้น นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 548
เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๑ ต่อมาอีก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
ภิกษุร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกาศคุณานิสงส์เเห่งธุดงค์ ๑๓ ณ พระสุทัสสนาราม ทรงสถาปนาพระ-
มหาสาวก ชื่อ หาริตะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุแปดสิบโกฏิ นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสี ผู้เป็นเทพแห่งเทพ แม้พระองค์
นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้
มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าเจ้าจำพรรษา ณ กรุง
สรณะ ภิกษุสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๑.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา
สู่มนุษย์โลก ภิกษุสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสัน
นิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค-
คุณ ภิกษุสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ ๓.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพ
ในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว เสด็จมาบูชาพระตถาคต ด้วยของทิพย์มีของ
หอมและดอกไม้เป็นต้น และด้วยทิพยดนตรี พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 549
ครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชาด้วย
ของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ สรณะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา คู่พระ
อัครสาวกชื่อว่า พระปรุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
สุเนตตะ๑ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระสัจจนามา โพธิ-
พฤกษ์ชื่อว่า พิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุ
แสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิจิโกฬิเทวี พระโอรสพระนามว่า
พระปุญญวัฒนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าสรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุนันทา.
พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระปทุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระสุเนตตะ.
๑. บาลีเป็น ลุทัตตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 550
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นพิมพิชาละ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก ทรงรุ่งโรจน์ด้วย
พระเดชในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนต้นพญา
สาลพฤกษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าใน
นภากาศ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระ-
ชนมายุของพระผู้มีพระเดช ที่ไม่มีใครเทียบพระองค์
นั้น ก็เท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก แสดงพระรัศมีทำพระ-
ศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนดวงจันทร์
เคลื่อนจากต้องนภากาศ.
แก้อรรถ
ต้นมะกล่ำทอง ชื่อว่า ต้นพิมพิชาละในพระคาถานั้น. บทว่า
ทสสหสฺสิมฺหิ ธาตุยา ก็คือ ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.
บทว่า วิชฺชูว ก็คือ วิชฺชุลตา วิย เหมือนสายฟ้า. บทว่า อุปโสภถ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนสายฟ้าและเหมือนดวง
อาทิตย์งามเวลาเที่ยงวันฉะนั้น . บทว่า สมก ความว่า พระชนมายุของพระ-
องค์ ก็เท่า ๆ กับนรสัตว์ทั้งปวง. บทว่า จวิ แปลว่า เคลื่อนแล้ว. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
จนฺโทว ความว่า เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องฟ้า. ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าธัมมทัสสี ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุง
สาลวดี คำที่เหลือในคาถาทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
๑๖. วงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า
[๑๗] ต่อจาก สมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก ทรง
กำจัดความมืดทั้งปวง ก็เจิดจ้าเหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงบรรลุพระ-
สัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้าม
โอฆะ เมื่อยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน ก็ทรงหลั่ง
เมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชหาผู้เทียบไม่ได้พระ-
องค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้
มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก ครั้งทรงลั่นธรรมเภรี ณ นครภีมรถะ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมโปรด ณ กรุงเวภาระ อภิสมัยครั้งที่ ๓
ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้คือ สันนิบาตประชุมพระสาวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
ร้อยโกฏิ เก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิเป็นสันนิบาต-
ประชุมพระสาวก ผู้ไร้มลทิน.
สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อมังคละ มีเดชสูง อัน
ใคร ๆ พบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ถวายแด่พระ-
สิทธัตถพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัส
พระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงดูชฏิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้า
สิบสี่กัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทัก-
ษิณโพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้น
อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
พระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติส-
สะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง พระ-
ชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบล
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียนต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา พระ
โคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์ และ เทวดาทั้งหลายพึงพระดำรัสนี้ ของ
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถ พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จัก
อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน .
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
นครชื่อว่าเวภาระ พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี มี
ปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ อุปปละ
และ โกกนุทะ มีพระสนมนารีสี่หมื่นแปดพันนาง
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนา พระโอรส
พระนามว่า อนุปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน
เต็ม.
พระมหาวีรสิทธัตถะ ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และ พระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเรวตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
ทรงมีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระสีวลา และพระ-
สุรัมมา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์
นั้น เรียกต้นกณิการ์.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปปิยะและสัมพุทธะ อัคร-
อุปัฏฐายิกาชื่อว่า ธัมมา และสุธัมมา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นเบื้องบน ๖๐
ศอก เสมือนรูปปฏิมาทอง รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอ ไม่มีผู้ชั่ง ไม่มีผู้เทียบ ผู้มีพระจักษุ พระองค์
นั้น ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลก แสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอัน
ไพบูลย์ ทรงยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ทรงพิลาส
ด้วยสมบัติอันประเสริฐ ปรินิพพาน.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า วรมุนี ปรินิพพาน ณ พระ-
วิหารอโนมาราม พระวรสถูปของพระองค์ในพระ-
วิหารนั้น สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
พรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าธัมมทัสสีปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์
ก็อันตรธานไปแล้ว เมื่อกัปนั้นล่วงไปและล่วงไปหนึ่งพันเจ็ดร้อยหกกัป ใน
กัปหนึ่ง สุดท้ายเก้าสิบสี่กัปนับแต่กัปนี้ ก็ปรากฏมีพระศาสดาพระองค์หนึ่ง
พระนามว่า สิทธัตถะ ผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก ทรงกำจัดความ
มืดทั้งหมด เจิดจ้า เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย แม้พระ-
สิทธัตถโพธิสัตว์ ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย.
บังเกิดในภพดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง
สุผัสสาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงเวภาระ ถ้วนกำหนดทศมาส ก็
ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วีริยราชอุทยาน เมื่อพระมหาบุรุษสมภพ
แล้ว การงานที่คนทั้งปวงเริ่มไว้ และประโยชน์ที่ปรารถนา ก็สำเร็จ เพราะ
ฉะนั้น พระประยูรญาติทั้งหลายของพระองค์จึงเฉลิมพระนามว่า สิทธัตถะ
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ
อุปปละและปทุมะ๑ ปรากฏมีสนมนารีแปดหมื่นสี่พันนาง มีพระนางโสมนัส-
สาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อ พระอนุปมกุมาร โอรสของพระนางโสมนัสสาเทวีสมภพแล้ว
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ในวันอาสาหฬบูรณมี ก็ออกอภิเนษกรมณ์ด้วย
พระวอทอง เสด็จไปยังวีริยราชอุทยาน ทรงผนวช มนุษย์แสนโกฏิก็บวชตาม
๑. บาลีว่า โกกนุทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 558
เสด็จ เล่ากันว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน กับบรรพชิต
เหล่านั้น ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาพราหมณ์ชื่อ สุเนตตา
ตำบลบ้านอสทิสพราหมณ์ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าพุทรา เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อวรุณะถวาย ทรงลาดสันถัตหญ้า
๔๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงเปล่ง
พระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง
อยู่ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์ เป็นผู้สามารถแทงตลอด
สัจจะ ๔ จึงเสด็จโดยทางอากาศ ลงที่คยามิคทายวัน ทรงประกาศพระธรรม-
จักรแก่ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะ
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน จึงทรงหลั่งฝน
คือธรรมให้ตกลง.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่มีผู้เทียบได้ พระ-
องค์นั้น ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มี
แก่สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเทวก ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก. บทว่า
ธมฺมเมเฆน ได้แก่ เมฆฝน คือธรรมกถา ต่อมาอีก ทรงทำทิศทั้งสิบให้
เต็มด้วยพระสุรเสียงดังพรหม เสนาะดังเสียงนกการเวกร้อง สบายโสต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
ไพเราะอย่างยิ่ง จับใจบัณฑิตชน เฉกเช่นอภิเษกด้วยน้ำอมฤต ทรงลั่นอมต-
ธรรมเภรี ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงลั่นกลอง
ธรรม ในภีมรถนคร อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์
เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงแสดงพุทธวงศ์ในสมาคมพระญาติ
กรุงเวภาระ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัย
ครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น ทรง
แสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบ
โกฏิ.
พระราชาสองพี่น้องพระนาม สัมพละ และ สุมิตตะ ทรงครอง
ราชย์ ณ อมรนคร ซึ่งงามน่าดูดั่งนครแห่งเทพ ลำดับนั้น พระสิทธัตถ-
ศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระราชาสองพระองค์นั้น จึงเสด็จไปทาง
นภากาศลงท่านกลางอมรนคร ทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทเหมือนเหยียบ
พื้นแผ่นดิน ด้วยพระยุคลบาท ซึ่งมีฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วเสด็จ
ไปยังอมรราชอุทยาน ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา ที่เย็นด้วยพระกรุณาของ
พระองค์ อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง แต่นั้น พี่น้องสองพระราชา เห็นพระเจดีย์
คือรอยพระบาท ก็เสด็จไปตามรอยพระบาท เข้าเฝ้าพระสิทธัตถศาสดาผู้บรรลุ
ประโยชน์อย่างยิ่ง ถวายบังคมแล้วประทับนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่พระอัธยาศัยโปรดพระราชาสองพี่น้อง
นั้น สองพระองค์ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
พระศรัทธา ทรงผนวชแล้วบรรลุพระอรหัตทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระขีณาสพร้อยโกฏินั้น นั้นเป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๑. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่านกลางบรรพชิตเก้าสิบโกฏิ ในสมาคม
พระญาติ กรุงเวภาระ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางบรรพชิตแปดสิบโกฏิ ที่ประชุมกัน ณ พระสุทัสสนวิหาร นั้น เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้ คือ สันนิบาตพระสาวกร้อยโกฏิ
เก้าสิบโกฏิ แปดสิบโกฏิ เป็นสันนิบาตของพระสาวก
ขีณาสพผู้ไร้มลทิน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวุตีน อสีติยาปิ จ โกฏิน ความว่า
มีสันนิบาตแห่งพระสาวกเก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิ. บทว่า เอเต อาสุ
ตโย านา ความว่า มีสถานที่สันนิบาต ๓ เหล่านั้น. ปาฐะว่า านา-
เนตานิ ตีณิ อเหสุ ดังนี้ก็มี.
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ชื่อว่ามังคละ กรุงสุรเสน
จบไตรเพทและเวทางคศาสตร์ บริจาคกองทรัพย์นับได้หลายโกฏิ เป็นผู้ยินดี
ในวิเวก บวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้เกิดอยู่ ทราบข่าวว่าพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ อุบัติขึ้นแล้วในโลกจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วฟัง
ธรรมกถาของพระองค์ แล้วเข้าไปยังต้นชมพู อันเป็นเครื่องหมายของชมพูทวีป
นี้ด้วยฤทธิ์ นำผลชมพูมาแล้วอาราธนาพระสิทธัตถศาสดาผู้มีภิกษุบริวารเก้าสิบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
โกฏิ ให้ประทับในสุรเสนวิหาร เลี้ยงดูด้วยผลชมพู ให้ทรงอิ่มหนำสำราญ
ลำดับนั้น พระศาสดาเสวยผลชมพูนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดเก้าสิบสี่กัป
นับแต่กัปนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อมังคละ มีเดชสูง อัน
ใครๆ เข้าพบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ได้ถวายแด่พระ-
สิทธัตถพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัส
พระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้า
สิบสีกัปนับแต่กัปนี้ ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปสโห แปลว่า อันใครๆ เข้าหา
ได้ยาก หรือปาฐะก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ เวภาระ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าอุเทน พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน บ้างก็มี พระชนนี้
พระนามว่า สุผัสสา คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระเรวตะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
พระสุรามา พระชนมายุแสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง
โสมนัสสา พระโอรสพระนาม อนุปมะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อเวภาระ พระชนก พระนามว่า พระเจ้า
อุเทน พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวกชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ พระ -
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระเรวตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสีวลา และพระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
กณิการะ ต้นกรรณิการ์.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นสู่ฟ้า ๖๐ ศอก
เสมือนรูปปฏิมาทอง จึงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอ อันใครชั่งไม่ได้ เปรียบไม่ได้ ผู้มีจักษุพระองค์
นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอัน
ไพบูลย์ ยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ให้งดงามแล้ว
ด้วยสมาบัติ อันประเสริฐแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพ
พาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุฏฺิรตน ความว่า สูงจรดท้องฟ้า
ประมาณ ๖๐ ศอก. บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่ น่าดูเสมอรูปปฏิ-
มาที่สำเร็จด้วยทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ. บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ
แปลว่า รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า วิปุล ได้แก่ พระรักมีอันโอฬาร.
บทว่า ปุปฺผาเปตฺวาน ความว่า ทำให้บานแล้วด้วยดอกไม้ คือฌานอภิญญา
มรรคผลและสมาบัติ ถึงความโสภาคย์อย่างยิ่ง. บทว่า วิลาเสตฺวา ได้
เยื้องกรายเล่นแล้ว. บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่ ด้วยสมาบัติและอภิญญา
อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานแล้ว
ด้วยอนุปาทาปรินิพพาน.
ได้ยินว่า พระสิทธัตถศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ อโนม-
ราชอุทยาน กรุงกาญจนเวฬุ ณ พระราชอุทยานนั้นนั่นเอง เขาช่วยกัน
สร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๔ โยชน์ สำหรับพระองค์แล ในคาถา
ทั้งหลายที่เหลือ ก็ชัดเจนแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
๑๗. วงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗
ว่าด้วยพระประวัติของพระติสสพุทธเจ้า
[๑๘] ต่อจากสมัยของพระสิทธัตถพุทธเจ้า พระ-
ติสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ มีศีล ไม่มีที่
สุด มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้ เป็นพระผู้นำ
เลิศแห่งโลก.
พระมหาวีระผู้มีจักษุ ทรงกำจัดอนธการคือความ
มืด ทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างแล้ว ทรงมี
พระกรุณา ทรงอุบัติแล้วในโลก.
พระติสสพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงมีพระวร-
ฤทธิ์ไม่มีใครเทียบได้ มีศีลและสมาธิที่ไม่มีอะไรเทียบ
ทรงถึงฝั่งในธรรมทั้งปวง ประกาศพระธรรมจักร.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระวาจา
อันสะอาดในหมื่นโลกธาตุ สัตว์ร้อยโกฏิตรัสรู้ ในการ
แสดงครั้งที่ ๑.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ ใน
อภิสมัยครั้งที่ ๓ สัตว์หกสิบโกฏิตรัสรู้ ในครั้งนั้น
พระติสสพุทธเจ้าทรงเปลื้องสัตว์ คือ มนุษย์และเทวดา
จากเครื่องผูก [สังโยชน์].
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 565
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน
มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุมพระสาวกขีณาสพแสนหนึ่ง เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๑ การประชุมพระสาวกขีณาสพเก้า
ล้าน เป็นสันนิบาต ครั้งที่ ๒.
การประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้
บานแล้วด้วยวิมุตติ แปดล้าน เป็นสันนิบาต ครั้ง
ที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่า สุชาตะ
สละโภคสมบัติยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤษี.
เมื่อเราบวชแล้ว พระผู้นำโลก ก็อุบัติ เพราะ
ดับเสียงว่า พุทโธ เราจึงเกิดปีติ.
เราใช้มือทั้งสองประคองดอกไม้ทิพย์ คือดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ สะบัดผ้าคากรอง
เข้าไปเฝ้า.
เราถือดอกไม้ทิพย์นั้น กั้นพระติสสชินพุทธเจ้า
ผู้นำเลิศแห่งโลก อันวรรณะ ๔ เหล่า แวดล้อมแล้ว
ไว้เหนือพระเศียร.
ครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้าแม่พระองค์นั้น ประ-
ทับท่ามกลางชน ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสอง
กัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 566
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยัง
แม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 567
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา พระโค-
ดมผู้มีพระยศ พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของ
พระติสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร
ชื่อว่าเขมกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าชนสันธะ
พระชนนี พระนามว่า ปทุมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 568
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แสนปี ทรงมี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าคุณเสลา อนาทิยะ และ
นิสภะมีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นนาง พระ
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุภัททา พระโอรส
พระนามว่า อานันทะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า ทรงตั้งความเพียร ครึ่ง
เดือนเต็ม.
พระมหาวีระติสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกอัน
ท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม-
จักร ณ ยสวดีทายวัน อันสูงสุด.
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวก ชื่อว่าพระพรหมเทวะ และ พระอุทยะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระสมังคะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระผุสสา และ พระสุทัตตา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าอัสนะ ต้นประดู่.
อัครอุปัฐฏาก ชื่อว่า สัมพละ และสิริ อัครอุปัฏ-
ฐายิกา ชื่อว่ากีสาโคตมี และอุปเสนา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๖๐ ศอก พระ
ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ปรากฏเด่นเหมือนภูเขา
หิมวันต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 569
พระผู้มีจักษุ ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี แม้
พระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีผู้เทียบ ก็มีพระชนมายุเท่า
นั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก เสวยพระยศอันยิ่งใหญ่
ที่อุดม เลิศ ประเสริฐสุด รุ่งโรจน์แล้วก็ดับขันธ-
ปรินิพพาน เหมือนกองไฟที่ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก ก็ปรินิพพานไปเหมือน
พลาหกหายไปเพราะลม เหมือนน้ำค้างหายไปเพราะ
ดวงอาทิตย์ เหมือนความมืดหายไปเพราะดวงประทีป
ฉะนั้น.
พระติสสชินวรพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระวิหาร
นันทาราม พระชินสถูปของพระองค์ ณ ที่นั้นสูง ๓
โยชน์.
จบวงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 570
พรรณนาวงศ์พระติสสพุทธเจ้าที่ ๑๗
ต่อมาภายหลังจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า สิทธัตถะ พระองค์นั้น
ก็ว่างพระพุทธเจ้าไปกัปหนึ่ง ที่สุดเก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ ก็บังเกิดพระพุทธ-
เจ้า ๒ พระองค์ในกัปหนึ่ง คือ พระติสสะ และ พระปุสสะ บรรดาพระ
พุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้น พระมหาบุรุษพระนามว่า ติสสะ ทรงบำเพ็ญ
บารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิใน
พระครรภ์ของ พระนางปทุมาเทวี ผู้มีพระเนตรงามดังกลีบปทุม
อัครมเหสีของ พระเจ้าชนสันธะ กรุงเขมกะ ถ้วนกำหนดทศมาส ก็
ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมราชอุทยาน. ทรงครองฆราวาสวิสัย
อยู่เจ็ดพันปี พระองค์มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า คุหาเสละ นาริสยะ และ นิสภะ
มีพระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง มี พระนางสุภัททาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อ อานันทกุมาร พระโอรสของพระนางสุภัททาเทวีสมภพ พระ-
มหาบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จขึ้นทรงม้าต้น ตัวเยี่ยม ชื่อว่า โสนุตตระ
ออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช มนุษย์โกฏิหนึ่งก็บวชตามเสด็จ พระองค์
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาสที่ธิดา วีรเศรษฐี ณ วีรนิคม ถวายแล้ว ทรงยับยั้ง
พักกลางวัน ณ สลลวัน ป่าต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า) เวลาเย็นทรงรับ
หญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ วิชิตสังคามกะ ถวายแล้ว เสด็จเข้าไป
ยังโพธิพฤกษ์ชื่อ อสนะ คือต้นประดู่ ทรงลาดสันถัตหญ้า กว้าง ๔๐ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือบัลลังก์หญ้านั้น ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อม
ด้วยตัวมาร บรรลุสัพพัญญุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 571
ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ทรงเห็นพระราชโอรสกรุงยสวดีสองพระองค์
พระนามว่า พรหมเทวะ และ อุทยะ พร้อมด้วยบริวาร ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัยสมบัติเสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่ยสวดีมิคทายวัน โปรดให้พนักงาน
เฝ้าพระราชอุทยานเชิญพระราชโอรสมาแล้ว ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้เข้าใจ
ด้วยพระสุรเสียงดังพรหมไม่พร่าไพเราะซาบซึ้ง ประกาศพระธรรมจักรแก่
พระราชโอรสทั้งสองพระองค์นั้นกับทั้งบริวาร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑
ได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสิทธัตถพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่า ติสสะ ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ มีพระ-
เดชไม่มีที่สุด มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้ เป็น
ผู้นำเลิศแห่งโลก.
พระมหาวีระผู้ประกอบด้วยความเอ็นดู ผู้มีจักษุ
ทรงกำจัดอนธการคือความมืด ยังโลกทั้งเทวโลกให้
สว่าง ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระวรฤทธิ์ของพระองค์ ก็ชั่งไม่ได้ ศีลและ
สมาธิก็ชั่งไม่ได้ ทรงบรรลุพระบารมีในธรรมทั้งปวง
ทรงให้พระธรรมจักรเป็นไปแล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระวาจา
อันสะอาด ให้สัตว์ร้อยโกฏิในหมื่นโลกธาตุตรัสรู้ธรรม
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ถึงฝั่งในธรรมทั้ง
ปวง. บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ ก็คือ ทสสหสฺสิย ในหมื่นโลกธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 572
ภายหลังสมัยต่อมา ในสมัยที่พระมหาบุรุษทรงละการอยู่เป็นหมู่แล้ว
เสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ ภิกษุที่บวชกับพระติสสศาสดาจำนวนโกฏิหนึ่ง
ก็แยกไปเสียที่อื่นแล้ว ครั้นภิกษุโกฏิหนึ่งนั้น ทราบข่าวว่า พระติสสสัมมาสัม-
พุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร ก็พากันมาที่ยสวดีมิคทายวัน ถวายบังคม
พระทศพลแล้ว ก็นั่งล้อมพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ต่อมาอีก
ในมหามงคลสมาคม ในเมื่อจบมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์หกสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๒ การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่สัตว์
เก้าสิบโกฏิ อภิสมัยครั้งที่ ๓ การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่
สัตว์หกสิบโกฏิ ในครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า ทรง
เปลื้องสัตว์คือมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจากเครื่องผูก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุติโย นวุติโกฏิน ความว่า อภิสมัย
ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. บทว่า พนฺธนาโต ก็คือ พนฺธนโต
แปลว่า จากเครื่องผูก ความว่า ทรงเปลื้องจากสังโยชน์ ๑๐. บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงถึงสัตว์ที่ทรงเปลื้อง โดยสรุป จึงตรัสว่า นรมรู. บทว่า นรมรู
ก็คือ นรามเร ได้แก่ มนุษย์และเทวดา.
ได้ยินว่า พระติสสพุทธเจ้าอันพระอรหันต์ที่บวชภายในพรรษา ใน
ยสวดีนครแวดล้อมแล้ว ทรงปวารณาพรรษาแล้ว นั้น เป็น สันนิบาตครั้ง
ที่ ๑. เมื่อพระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง นาริวาหนนคร นาริ-
วาหนกุมาร โอรสของ พระเจ้าสุชาตะ ผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 573
บริวาร เสด็จออกไปรับเสด็จ นิมนต์พระทศพลพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ถวาย
อสทิสทาน ๗ วัน จึงมอบราชสมบัติของพระองค์แก่พระโอรส พร้อมด้วย
บริวารก็ทรงผนวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระติสสสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งปวง. นัยว่า การบรรพชาของพระองค์ปรากฏโด่งดัง
ไปทุกทิศ. เพราะฉะนั้น มหาชนมาจากทิศนั้น ๆ บวชตามเสด็จพระนาริวาหน-
กุมาร ครั้งนั้น พระตถาคตเสด็จไปท่ามกลางภิกษุเก้าล้าน ทรงยกปาติ-
โมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒. ต่อมาอีก ชนแปดล้าน
ฟังธรรมกถาเรื่องพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติ กรุงเขมวดี ก็พากันบวชใน
สำนักของพระองค์แล้วบรรลุพระอรหัต. พระสุคตเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม
แล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุมพระสาวกขีณาสพแสนหนึ่ง เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๑ ประชุมพระสาวกขีณาสพเก้าล้าน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้บาน
แล้วด้วยวิมุตติแปดล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า สุชาตะ
กรุงยสวดี ทรงสละราชอาณาจักรที่มั่นคงรุ่งเรือง กองทรัพย์หลายโกฏิ และคน
ใกล้ชิดที่มีใจจงรักภักดี สังเวชใจในทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น จึงออกผนวชเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 574
ดาบส มีฤทธานุภาพมาก สดับข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็มี
พระวรกายอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว มีความยำเกรง ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าติสสะถวายบังคมแล้วดำริว่า จำเราจักบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้
ทิพย์ มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ เป็นต้น ครั้นดำริอย่างนั้นแล้ว ก็
ไปโลกสวรรค์ด้วยฤทธิ์ เข้าไปยังสวนจิตรลดา บรรจุผอบ ที่สำเร็จด้วยรัตนะ
ขนาดคาวุตหนึ่ง ให้เต็มด้วยดอกไม้ทิพย์มีดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะและดอก
มณฑารพ เป็นต้น พามาทางท้องนภากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยดอก
ไม้ทิพย์ที่มีกลิ่นหอม และกั้นดอกปทุมต่างฉัตรคันหนึ่ง ซึ่งมีด้ามเป็นมณี มี
เกสรเป็นทอง มีใบเป็นแก้วทับทิม เหมือนฉัตรที่สำเร็จด้วยเกสรหอม ไว้เหนือ
พระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔. ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่าเก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ จักเป็น
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า สุชาตะ สละ
โภคสมบัติยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤษี.
เมื่อเราบวชแล้ว พระผู้นำโลกก็อุบัติเพราะสดับ
เสียงว่าพุทโธ เราก็เกิดปีติ.
เราใช้มือทั้งสองประคองดอกไม้ทิพย์ คือดอก
มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ สะบัดผ้า
คากรองเข้าไปเฝ้า.
เราถือดอกไม้นั้น กั้นพระติสสชินพุทธเจ้า ผู้
นำเลิศแห่งโลก อันบริษัท ๔ แวดล้อมแล้วไว้เหนือ
พระเศียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 575
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
ชน ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงทำความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยิ ปพฺพชิเต ได้แก่ เมื่อเราเข้าถึง
ความเป็นนักบวช. อาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ในคัมภีร์ว่า มม ปพฺพชิต
สนฺต ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเขียนพลั้งเผลอ. บทว่า อุปปชฺชถ ก็คือ
อุปฺปชฺชิตฺถ อุบัติขึ้นแล้ว. บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ก็คือ อุโภหิ
หตฺเถหิ. บทว่า ปคฺคยฺห แปลว่า ถือแล้ว. บทว่า ธุนมาโน ได้แก่
สะบัดผ้าเปลือกไม้. บทว่า จาตุวณฺณปริวุต แปลว่า อันบริษัท ๔
แวดล้อมแล้ว อธิบายว่า อันบริษัทคือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีและสมณะ
แวดล้อมแล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า จตุวณฺเณหิ ปริวุต อันวรรณะ ๔
แวดล้อมแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ เขมะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าชนสันธะ พระชนนีพระนามว่า พระนางปทุมา คู่พระ
อัครสาวกชื่อว่า พระพรหมเทวะ และ พระอุทยะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระสมังคะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระผุสสา และ พระสุทัตตา โพธิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 576
พฤกษ์ ชื่อ อสนะต้นประดู่ พระสรีระสูง ๖๐ ศอก พระชนมายุแสนปี พระ
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุภัททา พระโอรสพระนามว่า อานันทะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อเขมกะ พระชนกพระนามว่า ชนสันธะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปทุมา.
พระติสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระอัคร
สาวก ชื่อพระพรหมเทวะ และพระสุทัตตาโพธิพฤกษ์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อสนะ
ต้นประดู่.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ๖๐
ศอก ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ปรากฏดังภูเขา
หิมวันต์.
พระผู้มีจักษุดำรงอยู่ในโลก แสนปี พระผู้มี
พระเดชไม่มีผู้เทียบพระองค์นั้น ก็มีพระชนมายุเท่า
นั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก เสวยพระยศยิ่งใหญ่ อัน
สูงสุด เลิศ ประเสริฐ รุ่งเรืองแล้วก็ปรินิพพานไป
ดังกองไฟที่ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวกก็ปรินิพพานไป เหมือน
พลาหกเมฆฝน หายไปเพราะลม เหมือนน้ำค้างเหือด
หายไปเพราะดวงอาทิตย์ เหมือนความนิดหายไปเพราะ
ดวงประทีปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 577
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจตฺตเน ก็คือ อุจฺจภาเวน โดย
ส่วนสูง. บทว่า หิมวา วิย ทิสฺสติ ได้แก่ ปรากฏเด่นเหมือนภูเขาหิมวันต์
หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน ความว่า หิมวันต์ปัญจบรรพต สูงร้อยโยชน์
ปรากฏเด่นชัดน่ารื่นรมย์ยิ่ง เพราะแม้แต่อยู่ไกลแสนไกล ก็สูง และสงบ
เรียบร้อย ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ปรากฏเด่นชัดฉันนั้น. บทว่า
อนุตฺตโร ได้แก่ ไม่ยืนนัก ไม่สั้นนัก อธิบายว่า พระชนมายุแสนปี. บทว่า
อุตฺตม ปวร เสฏฺ เป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า อุสฺสโว ได้แก่
หยาดหิมะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งพระสาวกอันลมดวงอาทิตย์และ
ดวงประทีป คือความเป็นอนิจจัง เบียดเบียนแล้วก็ปรินิพพาน เหมือนพลาหก
น้ำค้างและความมืด อันลมดวงอาทิตย์และดวงประทีปเบียดเบียนก็เหือดหายไป
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ
พระวิหารสุนันทาราม กรุงสุนันทวดี คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัด
แล้ว ทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระติสสพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 578
๑๘. วงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า
[๑๙] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง ก็ได้มีพระศาสดา
พระนามว่า ปุสสะ ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้
เสมอ พระผู้นำเลิศของโลก.
แม้พระองค์ ก็ทรงกำจัดความมืดทุกอย่าง ทรง
สางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่ม
ก็ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.
เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรม-
จักรในสมัยนักขัตมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่
สัตว์แปดล้าน.
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน อภิสมัย-
ครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหกล้าน เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๑ ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๒.
ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้
ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 579
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ นามว่า พระเจ้าวิชิตะ
(วิชิตาวี) ละราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระ-
องค์.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่าน
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิล-
พัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้า
ไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทัก-
ษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคน
โพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จัก
มีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และ พระ
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 580
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จัก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งจิตตะ และ หัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และ อุตตรา พระ-
โคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของ
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนา ของพระ-
โลกนาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จัก
อยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทุกอย่าง ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้
งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 581
เราอยู่อย่างไม่ประมาทในพระศาสนานั้น เจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ก็ไปสู่พรหม-
โลก.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อกาสิกะ พระชนก พระนามว่า พระเจ้า
ชัยเสน พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี มี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬะ หังสะ สุวัณณ-
ดารา.
มีพระสนมนารี สามหมื่นสามพันนาง พระอัคร
มเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี พระโอรสพระ
นามว่า อานันทะ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.
พระมหาวีรปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ผู้สูงสุดในนรชน อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่ามิคทายวัน.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระสภิยะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อพระจาลา และพระอุปจาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นอามลกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 582
มีอัครอุปัฏฐาก ซึ่งว่าธนัญชยะ และวิสาขะ อัคร
อุปัฏฐายิกาชื่อว่า ปทุมา และสิรินาคา.
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๕๘ ศอก ทรงงาม
เหมือนดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระปุสส-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ทรงสั่งสอนสัตว์
เป็นอันมาก ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ พระองค์
ทั้งพระสาวก มีพระยศที่ไม่มีใครเทียบ ก็ยังปริ-
นิพพาน.
พระศาสดา ชินวรปุสสพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารเสนาราม พระบรมสารีริกธาตุ
ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วน ๆ ในประเทศนั้นๆ.
จบวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 583
พรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้าที่ ๑๘
ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะพระองค์นั้น เมื่อ
มนุษย์ทั้งหลาย เสื่อมลงโดยลำดับและเจริญขึ้นอีก จนมีอายุมากหาประมาณ
ไม่ได้ แล้วก็เสื่อมลงโดยลำดับ จนมีอายุได้เก้าหมื่นปี ในกัปนั้นนั่นเอง พระ-
ศาสดาพระนามว่า ปุสสะ ก็อุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์
นั้น ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้วก็
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางสิริมาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้า
ชัยเสนะ กรุงกาสี ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ
สิริมาราชอุทยาน พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี ได้ยินว่า ทรง
มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า ครุฬปักขะ หังสะ และ สุวรรณภาระ. ปรากฏพระ
สนมกำนัลสามหมื่นนาง มี พระนางกีสาโคตมี เป็นประมุข
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ ของ พระนางกีสาโคตมี ทรง
สมภพ พระมหาบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ก็ขึ้นทรงช้างพระที่นั่งที่ประดับแล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช ชนโกฏิหนึ่งออกบวชตามเสด็จ พระองค์
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน แต่นั้น ก็ทรงละ
หมู่ ทรงเพิ่มความประพฤติแต่ลำพังพระองค์อยู่ ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าว
มธุปายาสที่ นางสิริวัฑฒา ธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่ง ณ นครแห่งหนึ่งถวาย
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่า สีสปาวัน เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำที่อุบาสก
ชื่อ สิริวัฑฒะ ถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ อามลกะคือ ต้นมะขาม
ป้อม ทรงกำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ยับยั้งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์พฤกษ์ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุโกฏิหนึ่งซึ่งบวชกับพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 584
เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมได้จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน
สังกัสสนคร ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง ได้มีพระศาสดาพระนาม
ว่า ปุสสะ ผู้ยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เปรียบ เสมอด้วยพระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้นำเลิศของโลก.
แม้พระองค์ ทรงกำจัดความมืดทั้งหมดแล้วทรง
สางรกชัฏขนาดใหญ่ เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้อิ่ม
ทรงหลั่งน้ำอมฤตให้ตกลงมา.
เมื่อพระปุสสพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร
ในสมัยนักขัตมงคล อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์
แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า
ในกัปใด มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติ ๒ พระองค์ กัปนั้นเราเรียกมาแต่หนหลังว่า
มัณฑกัป. บทว่า วิชเฏตฺวา ได้แก่ แก้. คำว่า ชฏา ในคำว่า มหาชฏ
นี้ เป็นชื่อของตัณหา ท่านกล่าวว่า จริงอยู่ตัณหานั้น ชื่อว่า ชฏา เพราะ
เป็นเหมือนชัฏ กล่าวคือขนมร่างแหที่ร้อยด้วยกลุ่มด้าย เพราะเกิดบ่อยๆ ร้อย
ไว้ด้วยตัณหา เบื้องล่างเบื้องบนในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ซึ่งรกชัฏ
ขนาดใหญ่นั้น. บทว่า สเทวก ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก. บทว่า อภิวสฺสิ
แปลว่า ให้ตกลงมาแล้ว. บทว่า อมตมฺพุนา ความว่า เมื่อให้อิ่ม จึงหลั่ง
น้ำคือธรรมกถา กล่าวคืออมตธรรม ให้ตกลงมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 585
ครั้ง พระเจ้าสิริวัฑฒะ กรุงพาราณสี ทรงละกองโภคสมบัติ
ใหญ่ ทรงผนวชเป็นดาบส ได้มีดาบสที่บวชกับพระองค์จำนวนเก้าล้าน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดดาบสเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้ง
ที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน ส่วนครั้งทรงแสดงธรรมโปรดอนุปมกุมาร พระ
โอรสของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน. ด้วยเหตุ
นั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าล้าน อภิสมัย
ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดล้าน.
แต่นั้น สมัยต่อมา พระสุรักขิตะราชโอรส และธัมมเสนกุมาร บุตร
ปุโรหิต ณ กัณณกุชชนคร เมื่อพระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงนครของตน
ก็ออกไปรับเสด็จพร้อมด้วยบุรุษหกล้าน ถวายบังคมแล้วนิมนต์ถวายมหาทาน
๗ วัน สดับธรรมกถาของพระทศพลแล้วเลื่อมใส พร้อมกับบริวารก็พากันบวช
แล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่าม
กลางภิกษุหกล้านเหล่านั้น นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑. ต่อมาอีก พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์ ในสมาคมพระญาติประมาณหกสิบ ของ
พระเจ้าชัยเสน กรุงกาสี ชนห้าล้านฟังพุทธวงศ์นั้น พากันบวชด้วย
เอหิภิกขุบรรพชา แล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก บุรุษสี่ล้านฟังมงคลกถาในมหามงคลสมาคมพากันบวชแล้ว บรรลุ
พระอรหัต พระสุคตเสด็จอยู่ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดง นั้น เป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 586
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหนึ่งล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระสาวกห้าล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวก ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น ผู้
ขาดปฏิสนธิแล้วสี่ล้าน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา ทรงเป็นกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้า
วิชิตาวี นครอรินทมะ ทรงสดับธรรมของพระปุสสพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรง
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายมหาทานแด่พระองค์ ทรงละราชสมบัติ
ใหญ่ทรงผนวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเรียนพระไตรปิฎกทรงพระ
ไตรปิฏก ตรัสธรรมกถาแก่มหาชน และทรงบำเพ็ญศีลบารมี พระปุสส-
พุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี ละราช-
สมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระองค์.
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบสองกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้
นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ เพื่อบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 587
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้
งาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้นเจริญ
พรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งแห่งอภิญญาก็ไปสู่พรหม-
โลก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่ากาสี พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา คู่พระ
อัครสาวกชื่อว่า พระสุรักขิตะ และ พระธัมมเสนะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
พระสภิยะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจาลา และ พระอุปจาลา โพธิ-
พฤกษ์ชื่อว่า อามลกะ คือต้นมะขามป้อม พระสรีระสูง ๕๘ ศอก พระชนมายุ
เก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางกีสาโคตมี พระโอรสพระนาม
ว่า พระอนุปมะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปุสสพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร
ชื่อกาสี พระชนกพระนามว่าพระเจ้าชัยเสน พระชนนี
พระนามว่า พระนางสิริมา ฯ ล ฯ โพธิพฤกษ์ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่าอามัณฑะ ต้น
มะขามป้อม ฯ ล ฯ .
พระมุนีแม้พระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก งามเหมือน
ดวงอาทิตย์ เต็มเหมือนดวงจันทร์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระปุสส-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงพระชนม์ถึงเพียงนั้น จึง
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 588
พระศาสดา แม้พระองค์นั้น ทรงสั่งสอนสัตว์
เป็นอันมาก ให้ชนเป็นอันมากข้ามโอฆะ พระองค์ทั้ง
พระสาวก มีพระยศที่ไม่มีผู้เทียบ ก็ยังปรินิพพาน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามณฺโฑ๑ แปลว่า ต้นมะขามป้อม.
บทว่า โอวทิตฺวา ได้แก่ ให้โอวาท อธิบายว่า พร่ำสอน. บทว่า โสปิ
สตฺถา อตุลยโส ความว่า พระศาสดา ผู้มีพระยศที่ชั่งมิได้ แม้
พระองค์นั้น. ปาฐะว่า โส ชหิตฺวา อมิตยโส ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มี
ความว่า พระองค์จำต้องละคุณวิเศษดังกล่าวแล้วทุกอย่าง.
ได้ยินว่า พระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธปรินิพพาน ณ พระ
วิหารเสนาราม กรุงกุสินารา ได้ยินว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่กระจายไป. ในคาถาที่เหลือทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปุสสพุทธเจ้า
๑. บาลีเป็น อามลโก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 589
๑๙. วงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า ๑๙
ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
[๒๐] ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า พระ-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สอง
เท้า พระผู้มีจักษุ ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
ทรงทำลาย กะเปาะไข่คืออวิชชา๑ บรรลุพระสัม-
โพธิญาณ เสด็จไปกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศพระ
ธรรมจักร.
พระผู้นำ ทรงยังพระโอรส และ บุตรปุโรหิตทั้ง
สองให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ถึงจำนวน
ผู้ตรัสรู้ธรรม.
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ ทรง
ประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระสัมพุทธ-
เจ้า พระผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิต
เหล่านั้นที่มาถึงพระอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง
ตรัสประทานโดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น.
๑. อรรถกถาว่า อวิชชาทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 590
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกแสนแปดหมื่นหกพัน เป็นสัน-
นิบาต ครั้งที่ ๑ ประชุมพระสาวกแสนหนึ่งเป็นสันนิ-
บาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่
๓ พระสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งโรจน์อยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุ ณ
เขมมิคทายวันนั้น.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่อว่าอตุละ มีฤทธิ์มาก
มีบุญ ทรงรัศมีรุ่งโรจน์ แวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ
บรรเลงดนตรีทิพย์ เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ ท่านผู้
นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญ-
ชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 591
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุโธทนะ ท่านผู้นี้จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระ
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้ง
มั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และ หัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา พระ-
โคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 592
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็โห่ร้อง ปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้น.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนคร ชื่อว่าพันธุมดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
พันธุมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี มี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า นันทะ สุนันทะ และ
สิริมา มีพระสนมกำนัลที่แต่งกายงามสี่หมื่นสามพันนาง
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุทัสสนา [สุตนู]
มีพระโอรสพระนามว่า พระสมวัฏฏขันธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงออกอภิ-
เนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ ทรงตั้งความเพียร ๘ เดือน
เต็ม.
พระมหาวีระ วิปัสสี ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ
ธรรมจักร ณ มิคทายวัน .
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวกชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ พระ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระจันทา และ พระจันท-
มิตตา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นปากลี.
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ และนาคะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ สิริมา และอุตตรา.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านไปโดยรอบ ๗ โยชน์.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี พระพุทธเจ้า
มีพระชนม์ยืนตลอดกาลเท่านั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็น
อันมากให้ข้ามโอฆะ.
ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์จากเครื่องผูก และ
ทรงบอกปุถุชนนอกนั้นถึงทางและมิใช่ทาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 594
พระองค์ทั้งพระสาวก ครั้นแสดงแสงสว่างแล้ว
จึงทรงแสดงอมตบท รุ่งเรืองแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับฉะนั้น.
พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ
พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งสิ้นนั้น ก็อันตรธาน
ไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้เลิศในนรชน ทรงเป็นวีร-
บุรุษเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารสุมิตตาราม
พระวรสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.
จบวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 595
พรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๙
ภายหลังต่อมาจากสมัยของ พระปุสสพุทธเจ้า กัปนั้นพร้อมทั้ง
อันตรกัปล่วงไป ในเก้าสิบเอ็ดกัปนัปแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่า
วิปัสสี ผู้เห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง ทรงทราบกัปทั้งปวง ทรงมีความดำริยินดี
แต่ประโยชน์ของสัตว์อื่น อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย
และบังเกิดในภพสวรรค์ชั้นดุสิตอันเป็นที่รุ่งโรจน์ด้วยแสงซ่านแห่งรัตนะมณี
เป็นอันมาก จุติจากนั้นแล้ว ก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนาง
พันธุมดี อัครมเหสีของ พระเจ้าพันธุมะ ผู้มีพระญาติมาก กรุงพันธุมดี
ถ้วนกำหนดทศมาส พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ เขมมิค-
ทายวัน เหมือนดวงจันทร์เพ็ญออกจากกลีบเมฆสีเขียวคราม ในวันรับพระ-
นามของพระองค์โหรผู้ทำนายลักษณะ และพระประยูรญาติทั้งหลาย แลเห็น
พระองค์หมดจด เพราะเว้นจากความมืดที่เกิดจากกระพริบตา ในระหว่างๆ ทั้ง
กลางวันทั้งกลางคืน จึงเฉลิมพระนามว่า วิปัสสี เพราะเห็นได้ด้วยตาที่เปิดแล้ว
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า หรือพระนามว่า วิปัสสี เพราะพึงวิจัยค้นหาย่อมเห็น
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า นันทะ
สุนันทะและสิริมา มีพระสนมกำนัลแสนสองหมื่นนาง มีพระนางสุทัสสนาเทวี
เป็นประมุข. พระนางสุทัสสนา เรียกกันว่า พระนางสุตนู ก็มี.
ล่วงไปแปดพันปี เมื่อพระโอรสของพระนางสุตนูเทวี พระนามว่า
ทรงสมภพ พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ จึงเสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า ทรงผนวช บุรุษแปดหมื่นสี่พันคน ออกบวชตาม
เสด็จ พระมหาบุรุษนั้นอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 596
เดือน ในวันวิสาขบูรณมีเสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดาสุทัสสนเศรษฐี ถวาย
ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ที่ประดับด้วยดอกไม้ ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คน
เฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุชาตะ ถวาย ทรงเห็นโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี คือต้น
แคฝอย ที่ออกดอก จึงเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์นั้น ทางทิศทักษิณ วันนั้น
ลำต้นอันเกลากกลมของต้นปาฏลีนั้น ชะลูดขึ้นไป ๕๐ ศอก กิ่ง ๕๐ ศอก สูง
๑๐๐ ศอก วันนั้นนั่นเอง ต้นปาฏลีนั้น ออกดอกดารดาษไปหมดทั้งต้น เริ่มแต่
โคนต้นดอกทั้งหลายมีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง เหมือนผูกไว้เป็นช่อ มิใช่ปาฏลีต้นนี้
ต้นเดียวเท่านั้น ที่ออกดอกในเวลานั้น ต้นปาฏลีทั้งหมดในหมื่นจักรวาล ก็
ออกดอกด้วย มิใช่ต้นปาฏลีอย่างเดียวเท่านั้น แม้ไม้ต้นไม้กอและไม้เถาทั้ง
หลายในหมื่นจักรวาลก็ออกดอกบาน. แม้มหาสมุทร ก็ดารดาษไปด้วยปทุม
บัวสาย อุบล และโกมุท ๕ สี มีน้ำเย็นอร่อย ระหว่างหมื่นจักรวาลทั้งหมด
ก็เกลื่อนกล่นไปด้วยธงและมาลัย พื้นแผ่นธรณีอักตกแต่งด้วยดอกไม้กลิ่นหอม
นานาชนิด ก็เกลื่อนกล่นด้วยพวงมาลัย มืดมัวไปด้วยจุรณแห่งธูป พระองค์
เสด็จเข้าไปยังต้นปาฏลีนั้น ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก ทรงอธิษฐาน
ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ประทับนั่ง ทำปฏิญาณว่า ยังไม่เป็นพระพุทธ-
เจ้าเพียงใด ก็จะไม่ยอมลุกจากที่นี้เพียงนั้น ครั้นประทับนั่งอย่างนี้แล้ว ทรง
กำจัดกองกำลังมาร พร้อมทั้งตัวมาร ทรงทำมรรคญาณ ๔ โดยลำดับมรรค
ผลญาณ ๔ ในลำดับต่อจากมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ จตุโยนิปริจเฉทกญาณ
ญาณเครื่องกำหนดรู้คติ ๕ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธ
คุณทั้งสิ้นไว้ในพระหัตถ์ ทรงมีความดำริบริบูรณ์ ประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์
นั่นเอง ทรงเปล่งพระอุทานอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 597
อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.
อโยฆนหตสฺเสว ชลโต ชาตเวทโส
อนุปุพฺพูปสนฺตสฺส ยถา น ายเต คติ.
ใครๆ ย่อมไม่รู้คติ ความไปของดวงไฟ ที่ลุก
โพลง ถูกฟาดด้วยค้อนเหล็ก แล้วสงบลงโดยลำดับ
ฉันใด.
เอว สมฺมา วิมุตฺตาน กามพนฺโธฆตาริน
ปญฺาเปตุ คตี นตฺถิ ปตฺตาน อจล สุข.
ไม่มีใครจะล่วงรู้คติความไป ของท่านผู้หลุดพ้น
โดยชอบ ผู้ข้ามพันธะและโอฆะ คือกาม ผู้ถึงสุขอัน
ไม่หวั่นไหวได้ก็ฉันนั้น.
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง ทรงรับอาราธนาของท้าว
มหาพรหม ทรงตรวจดูอุปนิสสัยสมบัติ ของ พระขัณฑกุมาร กนิษฐภาดา
ต่างพระมารดาของพระองค์ และ ติสสกุมาร บุตรปุโรหิต เสด็จไปทาง
อากาศ ลงที่ เขมมิคทายวัน ทรงใช้พนักงานเฝ้าอุทยานไปเรียกท่านทั้งสอง
นั้นมาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางบริวารเหล่านั้น ครั้งนั้น
ธรรมาภิสมัยได้แก่เทวดาทั้งหลาย ประมาณมิได้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระปุสสพุทธเจ้า พระสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มี
จักษุ ก็อุบัติขึ้นในโลก.
ทรงทำลาย อวิชชาทั้งหมด๑ บรรลุพระโพธิ-
ญาณอันสูงสุด เสด็จไปยังกรุงพันธุมดี เพื่อประกาศ
พระธรรมจักร.
๑. บาลีว่า อวิชฺชณฺฑ กะเปาะไข่คืออวิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 598
พระผู้นำ ครั้นทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
ยังกุมารทั้งสองให้ตรัสรู้แล้ว อภิสมัยครั้งที่ ๑ ไม่จำ
ต้องกล่าวจำนวนผู้บรรลุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทาเลตฺวา แปลว่า ทำลาย อธิบายว่า
ทำลายความมืดคืออวิชชา. ปาฐะว่า วตฺเตตฺวา จกฺกมาราเม ดังนี้ก็มี
ปาฐะนั้น บทว่า อาราเม ความว่า ณ เขมมิคทายวัน. บทว่า อุโภ โพเธสิ
ได้แก่ ทรงยังกุมารทั้งสองคือ พระขัณฑราชโอรส กนิษฐภาดาของพระองค์
และติสสกุมาร บุตรปุโรหิต ให้ตรัสรู้. บทว่า คณนา น วตฺตพฺโพ
ความว่า ไม่มีการกำหนดจำนวนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยอภิสมัย.
สมัยต่อมา ทรงยังภิกษุแปดหมื่นสี่พัน ซึ่งบวชตามพระขัณฑราช-
โอรส และติสสกุมารบุตรปุโรหิตให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศประมาณมิได้ ทรง
ประกาศสัจจะ ณ เขมมิคทายวันนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวัน ใน
คำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธมนุปพฺพชุ นี้ บุรุษที่นับได้แปด
หมื่นสี่พัน เหล่านี้ ก็คือพวกบุรุษที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารนั่นเอง บุรุษเหล่า
นั้นไปยังที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารแต่เช้า ไม่เห็นพระกุมาร ก็กลับไปเพื่อกิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 599
อาหารเช้า กินอาหารเข้าแล้ว ถามกันว่า พระกุมารอยู่ไหน แต่นั้น ได้ฟัง
ข่าวว่า เสด็จไปยังที่ราชอุทยาน จึงพากันออกไปด้วยหวังว่าจักพบพระองค์ ณ
ที่ราชอุทยานนั้น เห็นสารถีของพระองค์กลับมา ฟังว่าพระราชกุมารทรงผนวช
แล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ทั้งหมดในที่ฟังข่าวนั่นเอง ให้นำผ้ากาสายะมาจากภายใน
ตลาด ปลงผมและหนวดพากันบวช บุรุษเหล่านั้น ครั้นบวชแล้ว ก็พา
กันไปแวดล้อมพระมหาบุรุษ.
แต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ทรงพระดำริว่า เราเมื่อจะบำเพ็ญความ
เพียร ยังคลุกคลีอยู่ ข้อนี้ไม่สมควร คนเหล่านี้ แต่ก่อน เป็นคฤหัสถ์ก็พากัน
มาแวดล้อมเราอย่างนั้น ประโยชน์อะไรด้วยคนหมู่นี้ ทรงระอาในการคลุกคลี
ด้วยหมู่ ทรงพระดำริว่าจะไปเสียวันนี้แหละ ทรงพระดำริอีกว่า วันนี้ยังไม่
ใช่เวลา ถ้าเราจักไปในวันนี้ คนเหล่านั้นจักรู้กันหมด พรุ่งนี้จึงจักไป ในวัน
นั้นนั่นเอง มนุษย์ชาวบ้าน ในบ้านตำบลหนึ่ง เช่นเดียวกับอุรุเวลคาม ได้
จัดแจงข้าวมธุปายาสอย่างเดียว เพื่อบรรพชิตแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น และ พระ-
มหาบุรุษ. ในวันรุ่งขึ้น เป็นวันวิสาขบูรณมี พระวิปัสสีมหาบุรุษ เสวยภัตตาหาร
กับชนที่บวชเหล่านั้นในวันนั้นแล้ว ก็เสด็จไปยังสถานที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
บรรพชิตเหล่านั้น แสดงวัตรปฏิบัติแด่พระมหาบุรุษแล้ว ก็พากันเข้าไปยัง
สถานที่อยู่กลางคืนและที่พักกลางวันของตนๆ.
แม้พระโพธิสัตว์ ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลา ประทับนั่งทรงพระดำริ
ว่า นี้เป็นเวลาเหมาะที่จะออกไปได้ จึงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ทรงปิดประตู
บรรณศาลา เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังโพธิมัณฑสถาน นัยว่า บรรพชิตเหล่า
นั้น เวลาเย็นก็พากันไปยังที่ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ นั่งล้อมบรรณศาลา กล่าว
ว่า วิกาลมืดค่ำแล้ว ตรวจกันดูเถิด จึงเปิดประตูบรรณศาลาก็ไม่พบพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 600
คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม คิดแต่ว่า
พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง เราจะพบ
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป
ลำดับนั้น บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า เขาว่า พระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธ
เจ้าแล้ว ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมมิคทายวัน กรุงพันธุมดี
ราชธานี โดยลำดับ. แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรด
บรรพชิตเหล่านั้น ครั้งนั้นธรรมภิสมัย ได้มีแก่ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็น
อภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระวิปัสสี
สัมพุทธเจ้า พระผู้มีจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพ-
ชิตเหล่านั้นซึ่งมาถึงอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง
ตรัสประทาน โดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่า-
นั้น.
แก้อรรถ
ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธ อนุปพฺพชุ นี้ ในคาถา
นั้น พึงทราบว่า ท่านทำเป็นทุติยาวิภัตติว่า สมฺพุทฺธ โดยประกอบนิคคหิต
ไว้ ความว่า บวชภายหลังพระสัมพุทธเจ้า พึงถือลักษณะตามศัพทศาสตร์
ปาฐะว่า ตตฺถ อารามปตฺตาน ดังนี้ก็มี. บทว่า ภาสโต แปลว่า ตรัสอยู่.
บทว่า อุปนิสาทิโน ความว่า ผู้เสด็จไปประทานธรรมทานถามอุปนิสสัย !
เตปิ ได้แก่ บรรพชิตนับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น เป็นผู้รับใช้พระวิปัสสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 601
สัมพุทธเจ้า. บทว่า คนฺตฺวา ได้แก่ รู้ธรรมของพระองค์. อภิสมัยครั้งที่ ๓
ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี
ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแสนแปดหมื่นหกพัน ซึ่งบวชตามพระวิปัสสีสัมพุทธ
เจ้า และพระอัครสาวก ณ เขมมิคทายวัน ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า
ขนฺติ ปรม ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
น สมโณ โหติ ปร วิเหยนฺโต.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส ตีติกขาขันติว่า เป็น
ตบะอย่างยิ่ง ตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม ผู้ยังทำร้าย
ผู้อื่นหาเป็นบรรพชิตไม่ ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ หา
เป็นสมณะไม่.
สพฺพปาปสฺส อกรณ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปน เอต พุทฺธานสาสน.
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสน
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอต พุทฺธาน สาสน.
การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมใน
พระปาติโมกข์ [คำสอนที่เป็นหลักเป็นประธาน] ความรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 602
จักประมาณในภัตตาหาร ที่นอนที่นั่งอันสงัด และ
การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พึงทราบว่า คาถาปาติโมกขุทเทศเหล่านี้ เป็นของพระพุทธเจ้าทุก
พระองค์ นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑ ต่อมาอีก สันนิบาตครั้งที่ ๒
ได้มีแก่ภิกษุแสนหนึ่ง ซึ่งเห็นยมกปาฏิหาริย์แล้วบวช. ครั้งพระกนิษฐภาดา ๓
พระองค์ต่างพระมารดา ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ปราบปัจจันตประเทศให้สงบ
แล้วได้รับพระราชทานพร ด้วยการทำการบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า นำเสด็จมาสู่
พระนครของพระองค์บำรุง ทรงสดับธรรมของพระพุทธองค์แล้วทรงผนวช
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดล้านเหล่านั้น ทรงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เขมมิคทายวัน นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓ ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาต ประชุมพระสาวกผู้ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ
คงที่ ๓ ครั้ง.
การประชุม พระสาวกหกล้านแปดเเสน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๑ การประชุมพระสาวกหนึ่งแสนเป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒.
การประชุม พระภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสัน-
นิบาต ครั้งที่ ๓ พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ ท่าม
กลางหมู่ภิกษุ ณ เขมมิคทายวันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 603
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺสฏฺิสตสหสฺสาน ความว่า
ภิกษุหกล้านแปดแสน. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวันนั้น. บทว่า
ภิกฺขุคณมชฺเฌ แปลว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุ. ปาฐะว่า ตสฺส ภิกฺขุคณมชฺเฌ
ดังนี้ก็มี. ความว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระยานาคชื่อ อตุละ มีฤทธา-
นุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ
๗ เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะ
แด่พระทศพล ผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัย เยือกเย็นด้วยพระ-
กรุณา พร้อมทั้งบริวาร นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น ถวายมหาทาน
อันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ ๗ วัน ได้ถวายตั่งทอง ขจิตด้วยรัตนะ ๗ อันรุ่งเรือง
ด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น เวลาจบอนุโมทนา
ปีฐทานว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก
มีบุญ ทรงรัศมีโชติช่วง.
ครั้งนั้น เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ บรรเลง
ทิพดนตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ได้ถวายตั่งทอง อันขจิตด้วยรัตนะคือแก้วมณี
และแก้วมุกดา ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง แด่พระผู้
เป็นพระธรรมราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 604
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่
กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อว่า อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระ-
องค์ทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระ
ชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมา และพระอุบล-
วรรณาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า อัสสัตถะ ฯ ล ฯ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 605
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเสื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺวนฺโต แปลว่า ผู้มีบุญ อธิบายว่า
ผู้มีกองบุญอันสั่งสมไว้แล้ว. บทว่า ชุตินฺธฺโร ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมี.
บทว่า เนกาน นาคโกฏีน ก็คือ อเนกาหิ นาคโกฏีหิ พึงเห็นฉัฏฐี
วิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ. บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ แวดล้อมพระผู้มี
พระภาคเจ้า. ทรงแสดงพระองค์ ด้วยคำว่า อห. บทว่า วชฺชนฺโต
ได้แก่ บรรเลงประโคม. บทว่า มณีมุตฺตรตนขจิต ความว่า ขจิตด้วย
รัตนะต่างชนิดมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า สพฺพาภรณวิภูสิต
ความว่าประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ที่สำเร็จด้วยรัตนะเช่น รูปสัตว์ร้ายเป็นต้น .
บทว่า สุวณฺณปี ได้แก่ ตั่งที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า อทาสห ตัด
บทเป็น อทาสึ อห.
พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า พันธุมดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าพันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนาง
พันธุมดี คู่พระอัครสาวก็ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ พระพุทธ
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโสกะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจันทา และ พระ
จันทมิตตา โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแห่ง
พระสรีระแผ่ไป ๗ โยชน์ทุกเวลา พระชนมายุแปดหมื่นปี พระอัครมเหสีของ
พระองค์ พระนามว่า พระนางสุตนู พระโอรสของพระองค์ พระนามว่า
พระสมวัฏฏขันธะ ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 606
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนคร ชื่อพันธุมวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
พันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระอัครสาวก ชื่อว่าพระขัณฑะ และ พระติสสะ พระ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอโสกะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระจันทาและ พระจันท-
มิตตา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นปาฏลี.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แล่นไปโดยรอบ ๗ โยชน์.
ในยุคนั้นมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี พระชนมายุ
ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์
เป็นอันมากจากเครื่องผูก ทรงบอกทางและมิใช่ทาง
กะพวกปุถุชนที่เหลือ.
พระองค์และพระสาวก สำแดงแสงสว่าง ทรง
แสดงอมตบท รุ่งโรจน์แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟโพลงแล้วก็ดับ ฉะนั้น.
พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ
พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งนั้น ก็อันตรธาน
ไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 607
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺธนา ความว่า เปลื้องปล่อยซึ่งเทวดา
และมนุษย์จากเครื่องผูกมีกามราคสังโยชน์เป็นต้น. บทว่า มคฺคามคฺคญฺจ
อาจิกฺขิ ความว่า ทรงบอกปุถุชนที่เหลือว่า ทางนี้คือมัชฌิมาปฏิปทาเว้นจาก
อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ เป็นทางเพื่อบรรลุอมตธรรม การทำตัวให้ลำบาก
เปล่าเป็นต้นนี้มิใช่ทาง. บทว่า อาโลก ทสฺสยิตฺวาน ได้แก่ ทรงแสดง
แสงสว่าง คือมรรคญาณ และแสงสว่างคือวิปัสสนาญาณ. บทว่า ลกฺขณญฺจ
กุสุมต ความว่า พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า บานแล้ว ประดับแล้ว
ด้วยพระลักษณะอันวิจิตรเป็นต้น. คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ง่ายทั้ง
นั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 608
๒๐. วงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิขีพุทธเจ้า
[๒๑] ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า พระ-
ชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สอง
เท้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทรงย่ำยีกองทัพมาร ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
อันสูงสุดแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้าจอมมุนี ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อพระผู้ประเสริฐแห่งคณะ สูงสุดในนรชน
ทรงแสดงธรรมอื่นอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์
เก้าหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระสุขีพุทธเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ใน
โลกทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปด
หมื่นโกฏิ.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิบาต
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่
๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่
๑ ประชุมพระภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 609
ประชุมพระภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ภิกษุสันนิบาตอันโลกธรรมไม่ซึบซาบ เหมือนปทุม
เกิดเติบโตในน้ำ อันน้ำไม่ซึบซาบ ฉะนั้น.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ เลี้ยงดู
พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญ
ด้วยข้าวน้ำ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิ
ผืน ได้ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้วแด่พระสัมพุทธ-
เจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์ ด้วยประมาณเท่ายานคือช้าง
แล้วน้อมถวาย เรายังจิตของเราที่ตั้งมั่นคง ให้เต็ม
ด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก ได้ทรงพยา-
กรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่นี้ไป จักเป็นพระ
พุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิล-
พัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไป
ยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 610
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทัก-
ษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โคน
โพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้นี้จัก
ทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะจักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ-
อุบลวรรณ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬ-
วกะ มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสของ
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็
ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 611
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคต พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระ
นครชื่ออรุณวดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เจ็ดพันปี ทรง
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริ และ
นารีวาหนะ มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสีพันนาง พระ
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา พระโอรส
พระนามว่า อตุละ.
พระผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร ๘
เดือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 612
พระมหาวีระสุขีพุทธเจ้าผู้นำเลิศแห่งโลก ผู้สงบ
ผู้เป็นนระผู้สูงสุด อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระ
อัครสาวก ชื่อว่าพระอภิภู และพระสัมภวะ มีพระพุทธ
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระมขิลา และ พระ
ปทุมาโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นปุณฑรีกะ (มะม่วง).
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสิริวัฑฒะ และนันทะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าจิตตา และ สุจิตตา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๗๐ ศอกเช่นเดียว
กับรูปปฏิมาทอง มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ
พระองค์ไม่ว่างเว้น พระรัศมีทั้งหลายแล่นออกไปทั้ง
ทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.
พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่ง
ใหญ่พระองค์นั้น เจ็ดหมื่นปี พระองค์ทรงมีพระชนม์
ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา
ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มแล้วให้ถึงความเกษมแล้ว
ก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 613
พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อม
ด้วยพระอนุพยัญชนะ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุขีพุทธเจ้า มุนีผู้ประเสริฐ ดับขันธปริ-
นิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
ของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 614
พรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ต่อมาภายหลังสมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า เมื่อกัปนั้นอันตรธาน
ไปแล้ว ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติขึ้นในโลก ๕๙ กัป
มีแต่แสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า เอกราชของกิเลสมารและเทวปุตตมาร
ก็ปราศจากเสี้ยนหนาม ในสามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เกิดขึ้นแล้วในโลกสองพระองค์คือ พระสิขี ผู้ดุจไฟอันสุมด้วยไม้แก่นแห้งสนิท
ราดด้วยเนยใสมากๆ ไม่มีควัน และ พระเวสสภู. บรรดาพระพุทธเจ้าสอง
พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วบังเกิดใน
สวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้น ก็ทรงถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของ พระนาง
ปภาวดีเทวี ผู้มีพระรัศมีงามดังรูปทองสีแดง อัครมเหสีของ พระเจ้าอรุณ
ผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง กรุงอรุณวดี ซึ่งมีแต่ทำกุศล ล่วง ๑๐ เดือน ก็ประสูติจาก
พระครรภ์พระชนนี ณ นิสภะราชอุทยาน ส่วนโหรผู้ทำนายนิมิต เมื่อเฉลิม
พระนามของพระองค์ ก็เฉลิมพระนามว่า สิขี เพราะพระยอดกรอบพระพักตร์
พุ่งสูงขึ้นดุจยอดพระอุณหิส พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เจ็ดพันปี ทรง
มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า๑ สุจันทกสิริ คิริยสะ และ นาริวสภะ ปรากฏ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พัน มีพระนางสัพพกามาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อตุละ ผู้ไม่มีผู้ชั่ง ผู้เทียบได้ด้วยหมู่แห่ง
พระคุณของพระนางสัพพกามาเทวีทรงสมภพ พระมหาบุรุษนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต
๔ ขึ้นทรงข้างต้น เสด็จออกมหาภิเนษกรณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงผนวช บุรุษ
หนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน พากันบวชตามเสด็จ. พระองค์อันบรรพชิตเหล่า
นั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี ทรงละการ
คลุกคลีด้วยหมู่ เสวยข้าวมธุปายาส ที่ ธิดาปิยเศรษฐี สุทัสสนนิคม ถวาย
๑. บาลีว่า สุวัฑฒกะ, คิริ, นารีวาหนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 615
แล้วยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียนหนุ่ม ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่ดาบสชื่อ
อโนมทัสสีถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น บุณฑรีกะ คือมะม่วงป่า.
เขาว่า แม้บุณฑรีกโพธิพฤกษ์นั้น ก็มีขนาดเท่าต้นแคฝอย วันนั้นนั่นเอง
มะม่วงป่าต้นนั้น สูงชะลูดลำต้นขนาด ๕๐ ศอก แม้กิ่งก็ขนาด ๕๐ ศอก
เหมือนกัน ดารดาษด้วยดอกหอมเป็นทิพย์ มิใช่ดารดาษด้วยดอกอย่างเดียว
เท่านั้น ยังดารดาษแม้ด้วยผลทั้งหลาย. มะม่วงต้นนั้น แถบหนึ่งมีผลอ่อน แถบ
หนึ่ง มีผลปานกลาง แถบหนึ่ง มีผลห่าม แถบหนึ่ง มีผลมีรสดี พรั่งพร้อม
ด้วยสีกลิ่นและรส เหมือนทิพยโอชาที่เทวดาใส่ไว้ ห้อยย้อยแด่แถบนั้นๆ ต้น
ไม้ดอกก็ประดับด้วยดอก ต้นไม้ผล ก็ประดับด้วยผล ในหมื่นจักรวาลเหมือน
อย่างมะม่วงต้นนั้น.
พระองค์ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๔ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ
อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ครั้นประทับอย่างนั้นแล้ว ก็ทรงกำจัดกอง
กำลังมารพร้อมทั้งตัวมารซึ่งกว้างถึง ๓๖ โยชน์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ เป ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ดังนี้ ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์นั่นแล ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาของท้าว
มหาพรหม ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของภิกษุแสนเจ็ดหมื่นที่บวชกับพระองค์
จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่ มิคาจิระราชอุทยาน ใกล้ กรุงอรุณวดีราช-
ธานี ซึ่งมีรั้วกั้นชนิดต่างๆ อันหมู่มุนีเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักรท่ามกลางหมู่มุนีเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่
ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ก็มีพระชิน
สัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า
ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเทียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 616
พระองค์ทรงย่ำยีกองทัพมาร ทรงบรรลุพระสัม-
โพธิญาณสุงสุด ทรงประกาศพระธรรมจักรอนุเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า จอมมุนี ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสน
โกฏิ.
ต่อมาอีก พระสิขีพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสอง
พระองค์คือ พระอภิภูราชโอรสและ พระสัมภวะราชโอรส พร้อมด้วย
บริวาร ใกล้กรุงอรุณวดีราชธานี ทรงยังสัตว์เก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแห่งคณะ ผู้
สูงสุดในนรชน ทรงแสดงธรรมอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒
ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ส่วนครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์เพื่อหักรานความ
เมาและมานะของเดียรถีย์ และเพื่อเปลื้องเครื่องผูกของชนทั้งปวง ใกล้ประตู
สุริยวดีนคร ทรงแสดงธรรมโปรด อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปด
หมื่นโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์
ในโลก ทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์
แปดหมื่นโกฏิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางพระอรหันต์หนึ่งแสนที่บวช
พร้อมกับพระราชโอรส คือ พระอภิภู และ พระสัมภวะ ทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง. นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑ ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดหมื่น
ที่บวชในสมาคมพระญาติ กรุงอรุณวดีทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 617
สันนิบาตครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลาง
ภิกษุเจ็ดหมื่นที่บวชในสมัยทรงฝึกพระยาช้างชื่อ ธนบาลกะในธนัศชัยนคร.
นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
แม้พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ทรงมี
สันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มี
จิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมภิกษุหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ประชุมภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
ประชุมภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ภิกษุสันนิบาต อันโลกธรรมไม่กำซาบแล้ว เหมือน
ปทุมเกิดเติบโตในน้ำ น้ำก็ไม่กำขาบ ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปลิตฺโต ปทุมว ความว่า ภิกษุ
สันนิบาตแม้นั้น แม้เกิดในโลก โลกธรรมก็ซึมกำซาบไม่ได้เหมือนปทุมเกิด
ในน้ำเติบโตในน้ำนั่นแล น้ำก็ซึมซาบไม่ได้ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า
อรินทมะ ใน ปริภุตตนคร ไม่ทรงขัดข้องในที่ไหนๆ เมื่อพระสิขีศาสดา
เสด็จถึงปริภุตตนคร พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร เสด็จออกไปรับเสด็จ
มีพระหฤทัย พระเนตร และ พระโสตอันความเลื่อมใสให้เจริญแล้ว พร้อมราช
บริพาร ถวายบังคมด้วยพระเศียร ที่พระยุคลบงกชบาทไม่มีมลทินของพระ
ทศพล นิมนต์พระทศพล ถวายมหาทาน อันเหมาะสมแก่พระอิสริยะ สกุล
สมบัติและศรัทธา ๗ วัน โปรดให้เปิดประตูคลังผ้า ถวายผ้ามีค่ามากแด่พระ-
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายช้างต้นที่ป้องกันข้าศึกได้เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 618
ช้างเอราวัณ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังรูปลักษณะและฝีเท้า ประดับด้วยข่ายทอง
และมาลัย งามระยับด้วยพัดจามรคู่งาสวมปลอกทองใหม่งาม มีหูใหญ่และอ่อน
หน้างามระยับด้วยรอยดวงจันทร์ และถวายกัปปิยะภัณฑ์ มีขนาดเท่าช้างนั่นแหละ
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์นั้นว่า สามสิบเอ็ดกัป
นับแต่กัปนี้ไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ เลี้ยง
ดูพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำ
สำราญ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิ
ผืน ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้ว แด่พระสัมพุทธ -
เจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์มีประมาณเท่ายานคือช้าง ยัง
จิตของเราอันมั่นคง ให้เต็มด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิต
เลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิมฺนินิตฺวา ได้แก่ ชั่งเท่าขนาดช้าง
เชือกนั้น. บทว่า กปฺปิย ได้แก่ กัปปิยภัณฑ์. สิ่งที่ควรรับสำหรับภิกษุทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
หลาย ชื่อว่ากัปปิยภัณฑ์. บทว่า ปูรยึ มานส มยฺห ความว่า ยังจิตของ
เราให้เต็มด้วยปีติในทาน ทำให้สามารถเกิดความร่าเริงแก่เรา. บทว่า นิจฺจ
ทฬฺหมุปฏฺิต ความว่า จิตอันตั้งมั่นคงโดยทานเจตนาว่าจะให้ทานเป็น
นิตย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า อรุณวดี พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าอรุณวา พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี คู่
พระอัครสาวก ชื่อว่า พระอภิภู และ พระสัมภวะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระเขมังกร คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสขิลา และ พระปทุมา โพธิ-
พฤกษ์ชื่อว่า ต้นปุณฑรีกะ คือ มะม่วง พระสรีระสูง ๗๐ ศอก พระรัศมี
แห่งสรีระแผ่ไป ๓ โยชน์เป็นนิตย์ พระชนมายุเจ็ดหมื่นปี พระอัครมเหสี
พระนามว่า พระนางสัพพกามา พระโอรสพระนามว่า อตุละ ออก
อภิเนษกรณ์ด้วยานคือช้าง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีพระ
นครชื่อ อรุณวดี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนี พระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่แสนปี ทรงมี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริและ
นารีวาหนะ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับ
ประดางดงาม มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง
สัพพกามา พระโอรสพระนามว่า อตุละ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง.
๑. บาลีเป็นอรุณ ๒. บาลีเป็นมขิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 620
พระมหาวีระ สิขี ผู้นำเลิศแห่งโลก สูงสุดใน
นรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระอัคร-
สาวกชื่อว่าพระอภิภูและพระสัมภวะ มีพระพุทธอุปัฏ-
ฐาก ชื่อว่าพระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสขิลา และพระปทุมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ต้นปุณฑรีกะ.
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สิริวัฑฒะ และนันทะ มี
อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า จิตตา และสุจิตตา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสูง ๗๐ ศอก เสมือนรูป
ปฏิมาทอง มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ
พระองค์ ทั้งกลางวันกลางคืนไม่ว่างเว้น พระรัศมีทั้ง
หลาย แล่นไปทั้งทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.
พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่ง
ใหญ่เจ็ดหมื่นปี พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยังเมฆคือธรรมให้
ตกลง ยังโลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มชื่น ให้ถึงถิ่นอันเกษม
แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อม
ด้วยพระอนุพยัญชนะทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 621
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺฑรีโก ได้แก่ ต้นมะม่วง. บทว่า
ตีณิ โยชนโส ปภา ความว่า พระรัศมีทั้งหลายแล่นไป ๓ โยชน์. บทว่า
ธมฺมเมฆ ได้แก่ ฝนคือธรรม. เมฆคือพระพุทธเจ้า ผู้ยังฝนคือธรรมให้
ตกลงมา. บทว่า เตมยิตฺวา ให้ชุ่ม อธิบายว่า รด ด้วยน้ำคือธรรมกถา.
บทว่า เทวเก ได้แก่ ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลก. บทว่า เขมนฺต ได้แก่
ถิ่นอันเกษม คือพระนิพพาน. บทว่า อนุพฺยญฺชนสมฺปนฺน ความว่า พระ
สรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระนขาแดง พระนาสิกโด่ง และ
พระอังคุลีกลมเป็นต้น. ได้ยินว่า พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม สีลวตีนคร.
สิขีว โลเก ตปสา ชลิตฺวา
สิขีว เมฆาคมเน นทิตฺวา
สิขีว มเหสินฺธนวิปฺปหีโน
สิขีว สนฺตึ สุคโต คโต โส.
พระสิขีพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ในโลกเหมือนดวง
ไฟ ทรงบันลือในนภากาศเหมือนนกยูง.
พระสิขีพุทธเจ้าทรงละพระมเหสี และทรัพย์
สมบัติ พระองค์ถึงความสงบ เสด็จไปดีแล้วเหมือนไฟ.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี มีพระบรมสารีริกธาตุ เป็นแท่ง
เดียว จึงไม่กระจัดกระจายไป. แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีป ช่วยกันสร้างพระสถูป
สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ งามเสมือนภูเขาหิมะ สูง ๓ โยชน์. คำที่เหลือในคาถา
ทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 622
วงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า
[๒๒] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระชินพุทธเจ้า
พระองค์นั้น พระนามว่า เวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มี
ผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
พระองค์ทรงทราบว่า สามโลก ถูกราคะเผาแล้ว
เป็นแว่นแคว้นแห่งตัณหาทั้งหลาย ทรงตัดเครื่อง
พันธนาการเหมือนช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอัน
สูงสุด.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่น
โกฏิ.
เมื่อพระโลกเชษฐ์ ผู้องอาจในนรชน เสด็จหลีก
จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์
เจ็ดหมื่นโกฏิ.
พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิใหญ่หลวงของพวก
เดียรถีย์ ก็ทรงทำปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดาในหมื่น
โลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นความมหัศจรรย์ไม่
เคยมี ขนลุกชัน ก็พากันตรัสรู้หกหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 623
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสัน-
นิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบ
คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๑ ประชุมพระสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้ก้าวล่วงภัยมีชรา
เป็นต้น พระโอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณ
ยิ่งใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีต ที่พระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ทรงประกาศแล้วก็
ชอบใจการบรรพชา.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ ได้บูชา
พระชินพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและ
ผ้า.
เราบำเพ็ญมหาทานแล้ว ไม่เกียจคร้านทั้งกลาง-
คืนกลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณ
จึงบวชในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
เราพรั่งพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและ
ศีล กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็ยินดียิ่งใน
พระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 624
เราเข้าถึงศรัทธาและปีติถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิ-
ญาณนั่นแล.
พระสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย
ก็ทรงพยากรณ์ดั่งนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้น เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศ ทรงทำประทักษิณโพธิ-
มัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อว่าต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 625
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าท่านนี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ-
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา พระ
โคดมผู้มีพระยศ พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระเวสสภู
พุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้ม
ใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้น เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 626
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม-
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
ให้บริบูรณ์.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่ออโนมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกหมื่นปี มี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลังชื่อว่า รุจิ สุรติ และ วัฑฒกะ
มีพระสนมกำนัลสามหมื่นนางถ้วน มีพระอัครมเหสี
พระนามว่า พระนางสุจิตตา พระโอรสพระนามว่า
พระสุปปพุทธะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.
พระมหาวีระ เวสสภู ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ณ อรุณราชอุทยาน.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรง
มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ มี
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอุปสันตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นมหาสาละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 627
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมี และสิริมา.
พระเวสสภูพุทธเจ้าสูง ๖๐ ศอก อุปมาเสมอด้วย
เสาทอง พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือน
ดวงไฟเหนือยอดเขายามราตรี.
พระชนมายุของพระเวสสภู ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
พระองค์นั้น หกหมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึง
เพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำพระธรรมให้แผ่
ขยายไปกว้างขวาง ทรงจำแนกมหาชน เป็นพระอริยะ
ชั้นต่าง ๆ ทรงตั้งธรรมนาวา แล้วก็เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน.
ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถที่น่าดู ทั้ง
นั้นก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชินวรศาสดา ดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม พระบรมสารีริก-
ธาตุ ก็แผ่ไปกว้างขวางเป็นส่วน ในถิ่นนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 628
พรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้าที่ ๒๑
ต่อจากสมัยของพระสุขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระศาสนาของพระ-
องค์อันตรธานแล้ว มนุษย์ที่มีอายุเจ็ดหมื่นปีก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุสิบปี
แล้วเพิ่มขึ้นอีกจนมีอายุนับไม่ได้ แล้วก็ลดลงโดยลำดับ จนมีอายุหกหมื่นปี.
ครั้งนั้นพระศาสดาพระนามว่า เวสสภู เทพเจ้าผู้พิชิต ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง
ผู้เกิดเอง ทรงอุบัติในโลก พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย บังเกิดใน
สวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางยสวดี
ผู้มีศีล อัครมเหสีของพระเจ้าสุปปตีตะ ผู้เป็นที่ยำเกรง กรุงอโนมะ ถ้วน
กำหนดทศมาสพระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมราชอุทยาน
เมื่อสมภพ ก็ยังชนให้ยินดี ทรงบันลือดังเสียงวัวผู้ เพราะฉะนั้นในวันเฉลิม
พระนามของพระองค์ พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า เวสสภู เพราะ
เหตุที่ร้องดังเสียงวัวผู้ พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกพันปี มีปราสาท
๓ หลังชื่อ ๑สุจิ สุรุจิและรติวัฑฒนะ ปรากฏพระสนมกำนัลสามหมื่นนาง มี
พระนางสุจิตตาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระสุปปพุทธกุมาร ของ พระนางสุจิตตาเทวี สมภพ พระ-
องค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จประพาสพระราชอุทยานด้วยพระวอทอง ทรงรับผ้า
กาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช. บุรุษเจ็ดหมื่นบวชตามเสด็จ ลำดับนั้น
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน ใน
วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระพี่เลี้ยงชื่อว่าสิริวัฒนา ผู้ปรากฏตัว
ณ สุจิตตนิคม ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็น ทรงรับหญ้า
๘ กำที่พระยานาคชื่อ นรินทะ ถวาย เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาละ
๑. บาลีเป็นรุจิ สุรติและวัฑฒกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 629
ด้านทิศทักษิณ สาละต้นนั้นมีขนาดเท่าขนาดต้นปาฏลีแคฝอยนั้นแล. ดอกผล
สิริและสมบัติ ก็พึงทราบอย่างนั้นเหมือนกัน. พระองค์เสด็จเข้าไปยังโคนต้น
สาละ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๔๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงได้อนา-
วรณญาณ ที่ปราศจากนิวรณ์ แต่ห้ามกันความเมาในกามทุกอย่าง ทรงเปล่ง
พระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้ง
ณ โพธิพฤกษ์นั้นนั่นแล ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระโสณกุมาร
และพระอุตตรกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่
อรุณราชอุทยาน ใกล้ กรุงอนูปมะ ทรงให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไป
อัญเชิญพระกุมารมาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลางพระกุมารทั้ง
สองพระองค์นั้นทั้งบริวาร. ครั้งนั้นอภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จจาริกไปในชนบท ทรง
แสดงธรรมโปรดในถิ่นนั้น ๆ ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ. นั้น
เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิ [เดียรถีย์]
ล้มธงคือมานะของเดียรถีย์ กำจัดความเมาด้วยมานะ ทรงยกธงคือธรรมขึ้น
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในมนุษยบริษัทกว้างเก้าสิบโยชน์ ในเทวบริษัทประ-
มาณมิได้ ณ กรุงอนูปมะนั่นเอง ยังเทวดาและมนุษย์ให้เลื่อมใสแล้ว ทรงยัง
สัตว์หกหมื่นโกฏิให้อิ่มด้วยอมตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระผู้นำโลกพระนามว่า
เวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบเคียง ก็ทรงอุบัติ
ในโลก.
ทรงทราบว่าโลกสามถูกราคะไหม้แล้ว เป็นถิ่น
ของตัณหาทั้งหลาย พระองค์ก็ทรงตัดเครื่องพันธนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 630
การดุจพระยาช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอัน
สูงสุด.
พระเวสสภูพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระโลกเชษฐ์ผู้องอาจในนรชน ทรงหลีก
จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์
เจ็ดหมื่นโกฏิ.
พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิอย่างใหญ่หลวง
ของเดียรถีย์ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดา
ในหมื่นโลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นมหัศจรรย์ไม่เคยมี
น่าขนชูชัน ก็ตรัสรู้ธรรมถึงหกหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺต ความว่า สิ้นทั้งสามโลกนี้ ถูก
ไฟไหม้แล้ว. บทว่า ราคคฺคิ แปลว่า อันราคะ. บทว่า ตณฺหาน วิชิต ตทา
ความว่า ทรงทราบว่า สามโลก เป็นถิ่นแคว้น สถานที่ตกอยู่ในอำนาจของ
ตัณหาทั้งหลาย. บทว่า นาโคว พนฺธน เฉตฺวา ความว่า ทรงตัดเครื่อง
พันธนาการดุจเถาวัลย์เน่า ประดุจช้าง ทรงบรรลุถึงพระสัมโพธิญาณ. บทว่า
ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิย. บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกทั้งเทวโลก.
บทว่า พุชฺฌเร แปลว่า ตรัสรู้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 631
อนึ่งเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ
วันมาฆบูรณมี ท่ามกลางพระอรหันต์แปดหมื่นที่บวชในสมาคมของ พระ
โสณะ และ พระอุตตระ คู่พระอัครสาวก นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ครั้งภิกษุนับจำนวนได้เจ็ดหมื่น ซึ่งบวชกับพระเวสสภูผู้ครอบงำโลก
ทั้งปวงพากันหลีกไป สมัยที่พระเวสสภูจะหลีกออกจากคณะไป ภิกษุเหล่านั้น
สดับข่าวการประกาศพระธรรมจักรของพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพากัน
มายังนครโสเรยยะ ก็ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุบรรพชาทั้ง
หมด แล้วทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็น
สันนิบาตครั้งที่ ๒.
อนึ่ง ครั้งพระราชบุตรพระนามว่าอุปสันตะ ทรงขึ้นครองราชย์ใน
กรุง นาริวาหนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนครนั้น เพื่ออนุเคราะห์พระ-
ราชบุตรนั้น. แม้พระราชบุตรนั้นทราบข่าวการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารจึงทรงออกไปรับเสด็จ นิมนต์มาถวายมหาทาน ทรงสดับธรรม
ของพระองค์ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงผนวช บุรุษหกหมื่นโกฏิก็บวชตาม
เสด็จภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมกับพระราชบุตรนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเวสสภูนั้น อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรง
มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 632
ประชุมภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ ๑ ประชุมภิกษุสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้กลัวแต่ภัยมีชรา
เป็นต้น โอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่ง
ใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า
สุทัสสนะ ผู้มีทัศนะน่ารักอย่างยิ่ง ณ กรุงสรภวดี เมื่อพระเวสสภูพุทธเจ้า
ผู้นำโลกเสด็จถึงกรุงสรภะ ทรงสดับธรรมของพระองค์ มีพระหฤทัยเลื่อมใส
แล้ว ทรงยกอัญชลีอันรุ่งเรื่องด้วยทศนขสโมธาน เสมือนดอกบัวตูมเกิดใน
น้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกลบกพร่อง ไว้เหนือเศียร ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงสร้างพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่
ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ นครนั้น ทรงสร้างวิหารพันหลังล้อม
พระคันธกุฎีนั้น ทรงบริจาคสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงผนวช ณ สำนักของพระองค์แล้ว ทรงพร้อมด้วยอาจารคุณ
ทรงยินดีในธุดงคคุณ ๑๓ ทรงยินดีในการแสวงหาพระโพธิสมภาร ทรงยินดีใน
พระพุทธศาสนาอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระ-
โพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ นิมนต์
พระมหาวีระ ถวายทานอย่างสมควรยิ่งใหญ่บูชาพระ-
ชินพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและผ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 633
เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีตที่พระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นทรงประกาศแล้วก็
ชอบใจการบรรพชา.
เราบำเพ็ญมหาทาน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
กลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพร้อมพรั่งด้วยคุณ จึง
บรรพชาในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
เราถึงพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและ
ศีล แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงยินดีอยู่ในพระ-
ศาสนา ของพระชินพุทธเจ้า.
เราเข้าถึงศรัทธาและปีติ ถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิ-
ญาณนั่นแล.
พระสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย
จึงทรงพยากรณ์ดังนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ จิตก็ยิ่งเสื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 634
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺก วตฺติต ได้แก่ ธรรมจักร ที่
ทรงประกาศแล้ว. บทว่า ปณิต ธมฺม ได้แก่ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์.
ความว่า เรารู้การบวชว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวช. บทว่า วตฺตสีลสมาหิโต
ได้แก่ ตั้งมั่นในวัตรและศีล อธิบายว่า มั่นคงในการบำเพ็ญวัตรและศีลนั้น ๆ.
บทว่า รมามิ แปลว่า ยินดียิ่งแล้ว. บทว่า สทฺธาปีตึ ได้แก่ เข้าถึง
ศรัทธาและปีติ. บทว่า วนฺทามิ ได้แก่ ถวายบังคมแล้ว. พึงเห็นว่าคำที่
เป็นปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอดีตกาล. บทว่า สตฺถร ก็คือ สตฺถาร.
บทว่า อนิวตฺตมานส ได้แก่ มีใจไม่ท้อถอย.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า อโนมะ
พระชนกมีพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
ยสวดี คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่าพระอุปสันตะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นสาละ พระสรีระสูง ๖๐ ศอก พระชนมายุหกหมื่นปี พระ-
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตาพระโอรสพระนามว่าพระสุปปพุทธะ
เสด็จออกภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่ออโนมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระโสณะและพระอุตตระ พระพุทธ-
อุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 635
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามาและพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นมหาสาละ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าโสตถิกะและรัมมะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมีและสิริมา.
พระเวสสภูพุทธเจ้า สูง ๖๐ ศอก อุปมาเสมอ
ด้วยเสาทอง พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือน
ดวงไฟบนเขายามราตรี.
พระชนมายุของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหา
คุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หกหมื่นปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำธรรมะให้ขยายไป
กว้างขวาง ทรงจำแนกมหาชน ทรงตั้งธรรมนาวาไว้
แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถล้วนน่าดู
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมยูปสมูปโม ความว่า เสมือนเสา
ทอง. บทว่า นิจฺฉรติ ได้แก่ แล่นไปทางโน้นทางนี้. บทว่า รสฺมิ ได้แก่
แสงรัศมี. บทว่า รตฺตึว ปพฺพเต สิขี ความว่า รัศมีส่องสว่างในพระวรกาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 636
ของพระองค์ เหมือนดวงไฟบนยอดเขาเวลากลางคืน. บทว่า วิภชิตฺวา
ความว่า ทำการจำแนก โดยเป็นอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น และโดยเป็นพระโสดาบัน
เป็นอาทิ. บทว่า ธมฺมนาว ความว่า ทรงตั้งธรรมนาวา คือมรรคมีองค์
๘ เพื่อช่วยให้ข้ามโอฆะ ๔. บทว่า ทสฺสนีย ก็คือ ทสฺสนีโย. บทว่า
สพฺพชน ชนทั้งปวงก็คือ สพฺโพชโน อธิบายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก. บทว่า วิหาร ก็คือ วิหาโร พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติทุกแห่ง.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ
เขมมิคทายวัน กรุงอุสภวดี. พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจาย
ไป.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู พระชินะ
ผู้ประเสริฐ. เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพาน ณ พระวิหารใกล้ป่าที่น่ารื่นรมย์ กรุงอุสภวดี-
ราชธานี.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
วงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
ว่าด้วยพระประวัตของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๒๓] ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า ก็
มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่ง
สัตว์สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ
เข้าเฝ้าได้ยาก.
พระองค์ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ทรงถึงฝั่ง
บำเพ็ญบารมี ทรงทำลายกรงคือภพ เหมือนราชสีห์
ทำลายกรงฉะนั้น ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่น
โกฏิ.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ
ภาคพื้นนภากาศ ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
โกฏิให้ตรัสรู้.
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทวยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ทรงมีสันนิบาต
การประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ
คงที่ ครั้งเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของพระผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลสมี
อาสวะเป็นต้น.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ชื่อเขมะ ถวายทาน
จำนวนไม่น้อยในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์
นั้น ได้ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้
จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จัก
ชื่อว่าโคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระ-
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา พระ-
โคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระกกุสันธะพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้คงที่ ก็ปลาบปลื้ม
ใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์
นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่าน
ผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่ง
เลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่าเขมวดี กำลัง
แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนักของ
พระองค์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งให้มีพระ-
ชนก ชื่อว่าอัคคิทัตตพราหมณ์ พระชนนีชื่อว่าวิสาขา.
พระสัมพุทธเจ้ามีพระตระกูลใหญ่ประเสริฐเลิศล้ำ
กว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีชาติสูง มีบริวารมาก อยู่ในกรุง
เขมะนั้น.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สี่พันปี มี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่ากามวัฑฒะ กามสุทธิ
และรติวัฑฒนะ. มีนารีบำรุงบำเรอสามหมื่นนาง มี
เอกภริยาชื่อว่าโรจินี๑ มีโอรสชื่อว่าอุตตระ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษ-
กรมณ์ด้วยยานคือรถ ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือนบริบูรณ์.
๑. บาลีว่า โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
พระมหาวีระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก สูงสุดใน
นรชนอันท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว ก็ทรง
ประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระกกุสันธพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมี
พระอัครสาวกชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ พระ
พุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสามาและพระจันปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก)
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าอัจจุคคตะและสุมนะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทา และ สุนันทา.
พระมหามุนี สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีสีทองแล่น
ไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
องค์พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุสี่หมื่น
ปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยัง
ชนหมู่ใหญ่ให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม
เท่าบุรุษสตรีในโลกทั้งเทวโลก ทรงบันลือดุจราชสีห์
บันลือ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระสุรเสียงมีองค์ ๘
มีศีลไม่ขาดชั่วนิรันดร ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระกกุสันธชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม พระวรสถูป
ของพระองค์ ณ ที่นั้น สูงจดฟ้าคาวุตหนึ่ง
จบวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
พรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
เมื่อพระเวสสภู สยัมภูพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อกัปนั้นล่วงไป
ดวงพระทินกรคือพระชินพุทธเจ้าก็ไม่อุบัติขึ้นถึง ๒๙ กัป ส่วนในภัทรกัปนี้
บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แล้วคอ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ และ พระพุทธเจ้าของเรา. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตรย
จักอุบัติในอนาคตกาล ด้วยประการดังกล่าวมานี้ กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงสรรเสริญว่าเป็นภัทรกัป เพราะประดับด้วยการเกิดพระพุทธเจ้า ๕
พระองค์. ใน ๕ พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ทรง
บำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิ
ในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่าวิสาขา เอกภริยาของปุโรหิตชื่อว่าอัคคิทัตตะ ผู้อนุ
ศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้าเขมังกร กรุงเขมวดี ก็เมื่อใดกษัตริย์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือพราหมณ์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดใน
สกุลพราหมณ์.
ก็เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลาย สักการะเคารพนับถือบูชากษัตริย์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลกษัตริย์. ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพราหมณ์
ทั้งหลายอันกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์ชื่อว่า
กกุสันธะผู้มั่นอยู่ในสัจจะ เมื่อจะยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือหวั่นไหวจึงอุบัติใน
สกุลพราหมณ์ที่ไม่อากูล แต่อากูลด้วยเหตุเกิดสิริสมบัติ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์ดัง
กล่าวมาแล้วในหนหลัง. จากนั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากครรภ์มารดา
ณ เขมวดีอุทยาน เหมือนเปลวไฟแลบออกจากเถาวัลย์ทอง. พระโพธิสัตว์นั้น
ครองฆราวาสวิสัยอยู่สี่พันปี มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่ากามะ กามวัณณะ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
กามสุทธิ ปรากฏมีสตรีบริจาริกาสามหมื่นนาง มีนางโรจินีพราหมณี๑ เป็น
ประมุข.
เมื่อกุมารชื่อว่าอุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมของโรจินีพราหมณ์เกิดแล้ว พระ-
โพธิสัตว์นั้นก็เห็นนิมิต ๔ แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยรถม้าที่จัดเตรียมไว้
แล้ว บวช, บุรุษสี่หมื่นก็บวชตามพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์นั้นอัน
บรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดา วชิรินธพราหมณ์ ณ สุจิรินธนิคม ถวาย พักผ่อน
กลางวัน ณ ป่าตะเคียน เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว
ชื่อ สุภัททะ ถวาย เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ สิริสะ คือต้นซึก ซึ่งมีขนาดเท่า
ต้นแคฝอย มีกลิ่นหอมเมื่อลมโชย ลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๔ ศอก นั่งขัด
สมาธิ บรรลุพระสัมโพธิญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯเปฯ
ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นว่าภิกษุสี่หมื่น
ที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดสัจจะ วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จเข้า
ไปยัง อิสิปตนะมิคทายวัน ซึ่งมีอยู่แล้วใกล้ๆ มกิลนคร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ท่ามกลางบรรพชิตเหล่านั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร. ครั้งนั้น
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตู
กัณณกุชชนคร ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ. นั้นเป็น
อภิสมัยครั้งที่ ๒. ครั้งยักษ์ชื่อ นรเทพ ที่เรียกกันว่าเทพแห่งนรชน ณ เทวาลัย
แห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงเขมวดี ปรากฏตัวเป็นมนุษย์ ยืนอยู่ใกล้สระ ๆ หนึ่ง ซึ่ง
มีน้ำเย็นประดับด้วยบัวต้นบัวสายและอุบล มีน้ำเย็นรสอร่อยอย่างยิ่ง มีกลิ่น
หอมรื่นรมย์สำหรับชนทั้งปวง อยู่กลางทางกันดาร ล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยเป็น
๑ บาลีเป็น โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
คนเก็บบัวต้นบัวสายบัวขาวเป็นต้นแล้วกินมนุษย์เสีย. เมื่อทางนั้น ตัดขาด
ไม่มีคนไปถึง. ยักษ์นรเทพก็เข้าไปดงใหญ่ กินสัตว์ที่ชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เสีย
ทางนั้น โลกรู้จักกันว่า เป็นทางมหากันดาร. เขาว่า หมู่มหาชนยืนชุมนุม
กัน ใกล้ประตูสองข้างทาง เพื่อช่วยข้ามทางกันดาร. ครั้งนั้น พระศาสดา
กกุสันธะผู้ปราศจากกิเลสเครื่องผูกในภพ. วันหนึ่ง เวลาใกล้รุ่ง ทรงออกจาก
มหากรุณาสมาบัติตรวจดูโลก ก็ทรงพบนรเทพยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่และกลุ่มชนนั้น
เข้าไปในข่ายพระญาณ. ครั้นทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จไปทาง
อากาศ ทั้งที่กลุ่มชนนั้นแลเห็นอยู่นั่นเอง ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์หลายอย่าง
เสด็จลงที่ภพของนรเทพยักษ์ นั้น ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันเป็นมงคล.
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้กินคนตนนั้น เห็นพระทินกรผู้มุนี ทรงเปล่งพระ-
ฉัพพรรณรังสี ดังดวงทินกรอันสายฟ้าแลบล้อม กำลังเสด็จมาทางอากาศ ก็มี
ใจเลื่อมใสว่า พระทศพลเสด็จมาที่นี้เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา จึงไปป่าหิมพานต์
ที่มีหมู่มฤคมาก พร้อมด้วยบริวารยักษ์ รวบรวมดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำทั้งที่
เกิดบนบกอันมีสีและกลิ่นต่าง ๆ เลือกเอาเฉพาะที่มีกลิ่นหอมจรุงน่ารื่นรมย์ใจ
อย่างยิ่งมาบูชาพระกกุสันธพุทธเจ้าผู้นำโลกผู้ปราศจากโทษ ซึ่งประทับนั่งเหนือ
บัลลังก์ของตน ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น แล้วร้องเพลง
ประสานเสียงสดุดี ทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการ. แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลาย
เห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็มีจิตใจเลื่อมใส มาประชุมกัน พากันยืนนอบน้อมล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่มีปฏิสนธิ
ทรงยังนรเทพยักษ์ ผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชายิ่งให้อาจหาญ ด้วยทรงแสดง
ความเกี่ยวเนื่องของกรรมและผลของกรรม ให้หวาดสะดุ้งด้วยกถาว่าด้วยนรก
แล้วจึงตรัสจตุสัจกถา. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หาประมาณมิได้.
นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 646
ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า ก็มีพระ-
สัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ
เฝ้าได้ยาก.
ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ถึงฝั่งบำเพ็ญบารมีแล้ว
ทรงทำลายกรงภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง ทรง
บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ธรรมาภิสัยได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ กลางพื้นนภากาศ
ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทพยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺฆาเฏตฺวา แปลว่า ถอนแล้ว. บทว่า
สพฺพภว ได้แก่ ซึ่งภพทั้ง ๙ ภพ. อธิบายว่า กรรมอันเป็นนิมิตแห่งอุปัตติ
ในภพ. บทว่า จริยาย ปารมึ คโต ความว่า ทรงถึงฝั่ง โดยทรงบำเพ็ญ
บารมีทุกอย่าง. บทว่า สีโหว ปญฺชร เภตฺวา ความว่า พระมุนีกุญชร
ทรงทำลายปัญชรคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว ทรงมีสาวกสันนิบาต
ครั้งเดียวเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์สี่หมื่น ซึ่งบวชกับพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมี. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ทรงมีสันนิบาต
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่
ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของท่านผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลส ดัง
ข้าศึกคืออาสวะ.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า เขมะ ทรง
ถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้น แด่
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น สดับ
พระธรรนเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส ก็ทรงผนวชในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคต-
กาล ในกัปนี้นี่แหละ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า เขมะ ถวายทาน
มิใช่น้อย ในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์
นั้น ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้แล ท่าน
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่าเขมวดี
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนัก
ของพระองค์.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น อญฺชน แปลว่า ยาหยอดตา ความชัดแล้ว. บทว่า มธุลฏฺ-
ิก ได้แก่ ไม้เท้าไม้มะซาง. บทว่า อิเมต ตัดบทเป็น อิม เอต. บทว่า ปตฺถิต
แปลว่า ปรารถนาแล้ว. บทว่า ปฏิยาเทมิ แปลว่า ถวาย อธิบายว่า ได้
ถวายแล้ว. บทว่า วร วร หมายความว่า ประเสริฐที่สุด ๆ. ปาฐะว่า ยเทต
ปตฺถิต ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความว่า เราได้ถวายสิ่งที่พระองค์ปรารถนา
ทุกอย่างแด่พระองค์. ความนี้ดีกว่า.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น มีพระนครชื่อ
ว่า เขมะ พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ พระชนนีเป็นพราหมณ์
ชื่อว่า วิสาขา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระ และ พระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และ
พระจัมปา. โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ คือไม้ซึก. พระสรีระสูง ๔๐ ศอก.
พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์. พระชนมายุสี่หมื่นปี
มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี โอรสชื่อว่า อุตตระ ออกอภิเนษกรมณ์
ด้วยรถเทียมม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา ทรงมี
พระชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอัคคิทัตตะ ทรงชนนี
ชื่อว่าวิสาขา.
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลใหญ่
ประเสริฐเลิศล้ำกว่านรชนทั้งหลาย เป็นชาติสูง มี
บริวารยศใหญ่ อยู่ในนครเขมะนั้น.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวก ชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ พระพุทธ-
อุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก).
พระมหามุนีสูง ๔๐ ศอกพระรัศมีสีทองแล่นออก
ไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระชนมายุ
สี่หมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงขยายตลาดธรรมแก่
บุรุษสตรี ในโลกทั้งเทวโลก ทรงบันลือดุจการบันลือ
ของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
พระองค์มีพระสุรเสียง มีองค์ ๘ มีศีลบริบูรณ์
อยู่นิรันดร ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวง
ว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า วสเต ตตฺถ เขเม ปุเร นี้ พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวเพื่อชี้นครที่พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพ. บทว่า มหากุล
ได้แก่ ตระกูลฝ่ายพระชนกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นตระกูลรุ่งเรือง. บทว่า
นราน ปวร เสฏฺ ความว่า ประเสริฐเลิศล้ำกว่ามนุษย์ทั้งหมดโดยชาติ.
บทว่า ชาติมนฺต ได้แก่ มีชาติยิ่ง มีชาติสูง. บทว่า มหายส ได้แก่
มีบริวารมาก. ตระกูลใหญ่นั้นของพระพุทธเจ้าเป็นดังฤา. ในคำนั้น พึงเห็น
การเชื่อมความกับบทว่า มหากุล เขเม ปุเร วสเต ตระกูลใหญ่อยู่ใน
กรุงเขมะ.
บทว่า สมนฺตา ทสโยชน ความว่า พระรัศมีสีทองออกจากพระ.
สรีระเป็นนิตย์ แล่นแผ่ไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ. บทว่า ธมฺมาปณ ได้แก่
ตลาดกล่าวคือธรรม. บทว่า ปสาเรตฺวา ความว่า ขยายตลาดธรรม เหมือน
ตลาดที่คับคั่งด้วยสินค้านานาชนิด เพื่อขายสินค้า. บทว่า นรนารีน ได้แก่
เพื่อประสบรัตนะวิเศษ คือฌานสมาบัติและมรรคผล สำหรับบุรุษสตรีทั้งหลาย.
บทว่า สีหนาท ว ก็คือ สีหนาท วิย ได้แก่ บรรลือเสียงอภัย ไม่น่า
กลัว. บทว่า อฏฺงฺควจนสมฺปนฺโน ได้แก่ พระศาสดาทรงมีพระสุรเสียง
ประกอบด้วยองค์ ๘. บทว่า อจฺฉิทฺทานิ ได้แก่ ศีลที่เว้นจากภาวะมีขาด
เป็นต้น ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ทะลุ ไม่มีช่อง เช่นคู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
พระอัครสาวก. บทว่า นิรนฺตร ได้แก่ เนือง ๆ กาลเป็นนิตย์. บทว่า
สพฺพ ตมนฺตรหิต ความว่า พระศาสดาและคู่พระอัครสาวกเป็นต้นนั้นทั้ง
หมด เข้าถึงความเป็นพระมุนีแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นผู้แลไม่เห็น.
อเปตพนฺโธ กกุสนฺธพุทฺโธ
อทนฺธปญฺโ คตสพฺพรนฺโธ
ติโลกสนฺโธ กิร สจฺจสนฺโธ
เขเม วเน วาสมกปฺปยิตฺถ.
ข่าวว่า พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงปราศจากพันธะ
มีพระปัญญาไม่ชักช้า ไปจากโทษทั้งปวง ทรงตั้งมั่น
ในไตรโลก ทรงมั่นคงในสัจจะ ประทับอยู่ ณ เขมวัน.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล. .
จบพรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
วงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกนาคมนพุทธเจ้า
[๒๔] ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะผู้สูงสุด
แห่งสัตว์สองเท้า ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจใน
นรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ทรงก้าวล่วงกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.
เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษ ทรง
ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์
สามหมื่นโกฏิ.
อนึ่ง เมื่อพระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงแสดง
ปาฏิหาริย์ในการย่ำยีลัทธิวาทของฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัย
ครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ.
แต่นั้น พระชินสัมพุทธเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ
เสด็จไปเทวโลก ประทับอยู่เหนือแท่นบัณฑุกัมพลศิลา-
อาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น อยู่จำพรรษาแสดงพระ-
อภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดา
หมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 653
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพพระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้
ไร้มลทินมีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสาม-
หมื่นโกฏิ ผู้ข้ามโอฆะทั้งหลาย ผู้หักรานมัจจุเสียแล้ว.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าปัพพตะพรั่ง-
พร้อมด้วยมิตรอมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีกำลังพลและ
พาหนะหาที่สุดมิได้.
เราไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอด
เยี่ยม นิมนต์พระองค์ทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรสถวาย
ทาน จนพอแก่ความต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าไหมทำ
ในเมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล และฉลองพระบาท
ประดับทอง แด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
พระมุนีแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
สงฆ์ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 654
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระ-
ชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระ-
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐากชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา พระ-
โคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 655
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระองค์ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้วก็ปลาบ
ปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่ง
เลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทาน
แด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่แล้ว
บวชในสำนักพระชินพุทธเจ้า.
พระนครชื่อโสภวดี มีกษัตริย์พระนามว่าโสภะ
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระ-
นครนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 656
พระโกนาคมนพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา มีพระ
ชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่ายัญญทัตตะ พระชนนีเป็น
พราหมณีชื่อว่าอุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี มี
ปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าตุสิตะ สันดุสิต และ
สันตุฏฐะ มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง ภริยาชื่อว่า
รุจิคัตตา พระโอรสชื่อว่าสัตถวาหะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงบำเพ็ญเพียร ๖
เดือน.
พระมหาวีระ โกนาคมนะ ผู้นำโลก ผู้สูงสุดใน
นรชน อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระอัคร-
สาวก ชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระ พระพุทธ-
อุปัฏฐากชื่อว่าพระโสตถิชะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททาและพระ
อุตตรา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เรียกว่าต้นอุทุมพร.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทวะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า สีวลา และสามา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 657
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก ประดับ
ด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนแท่งทองในเบ้าช่างทอง.
ในยุคนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุสามหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็น
อันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์ที่ประดับ
ด้วยธงผ้าคือธรรม ทรงทำพวงมาลัยดอกไม้คือธรรม
แล้วดับขันธปรินิพพาน.
พระสงฆ์สาวกของพระองค์พิลาสด้วยฤทธิ์ยิ่ง
ใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมอันเป็น
สิริ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่าง
เปล่า แน่แท้
พระโกนาคมนสัมพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระ-
วิหารปัพพตาราม. พระบรมสารีริกธาตุ แผ่กระจาย
ไปเป็นส่วน ๆ ณ ที่นั้น ๆ แล.
จบวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
พรรณาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้าที่ ๒๓
ภายหลังต่อมาจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า กกุสันธะ เมื่อพระ-
ศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมามีอายุสามหมื่นปี.
พระศาสดาพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้มีไม้ดีดพิณมาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
ผู้อื่น ก็อุบัติขึ้นในโลก อีกนัยหนึ่ง พระศาสดาพระนามว่า โกณาคมนะ
เพราะเป็นที่มาแห่งอาภรณ์ทองเป็นต้น อุบัติขึ้นในโลก. ทอง เครื่องประดับมี
ทองเป็นต้น มาตกลง ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงอุบัติพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า โกณาคมนะ โดยนัยแห่งนิรุกติศาสตร์
เพราะอาเทศ ก เป็น โก, อาเทศ น เป็น ณา ลบ ก เสียตัวหนึ่ง ในคำว่า โกณา
คมโน นั้น ก็ในข้อนี้อายุท่านทำให้เป็นเสมือนเสื่อมลงโดยลำดับ แต่มิใช่เสื่อม
อย่างนี้ พึงทราบว่า เจริญแล้วเสื่อมลงอีก. อย่างไร. ในกัปนี้เท่านั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้ากกุสันธะทรงบังเกิดในเวลาที่มนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี แต่อายุนั้นกำลังลด
ลงจนถึงอายุสิบปี แล้วกลับเจริญขึ้นถึงอายุนับไม่ถ้วน (อสงไขย) แต่นั้นก็ลดลง
ตั้งอยู่ในเวลาที่มนุษย์มีอายุสามหมื่นปี ครั้งนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก.
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อ อุตตรา ผู้ยอดเยี่ยม
ด้วยคุณมีรูปเป็นต้น ภริยาของ ยัญญทัตตพราหมณ์ กรุงโสภวดี ถ้วน
กำหนดทศมาส ก็เคลื่อนออกจากครรภ์ของชนนี ณ สุภวดีอุทยาน เมื่อ
พระองค์สมภพ ฝนก็ตกลงมาเป็นทองทั่วชมพูทวีป ด้วยเหตุนั้น เพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 659
ที่ทรงเป็นที่มาแห่งทอง พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า กนกาคมนะ. ก็
พระนามนั้นของพระองค์แปรเปลี่ยนมาโดยลำดับ เป็นโกนาคมนะ. พระองค์
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี มีปราสาท ๓ หลั่งชื่อว่า ดุสิตะ สันดุสิตะ
และสันตุฏฐะ มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนาง มีนางรุจิคัตตาพราหมณี
เป็นประมุข.
เมื่อบุตรชื่อ สัตถวาทะ ของนางรุจิคัตตาพราหมณีเกิด พระองค์
ทรงเห็นนิมิต ๔ ก็ขึ้นคอช้างสำคัญ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง ทรงผนวช
บุรุษสามหมื่นก็บวชตาม พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อม ก็บำเพ็ญ
เพียร ๖ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี ก็เสวยข้าวมธุปายาส ที่อัคคิโสณพราหมณ-
กุมารี ธิดาของอัคคิโสณพราหมณ์ถวาย พักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็น รับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะถวาย จึง
เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร คือไม้มะเดื่อ ซึ่งมีขนาดที่กล่าวแล้วใน
ต้นปุณฑรีกะ ที่พรั่งพร้อมด้วยความเจริญแห่งผล ทางด้านทักษิณ ทรงลาด
สันถัตหญ้ากว้าง ๒๐ ศอก นั่งขัดสมาธิ กำจัดกองกำลังของมาร ทรงได้
ทศพลญาณ ทรงเปล่งอุทานว่าอเนกชาติสสาร ฯเปฯ ตณฺหาน ขยมชฺฌคา
ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุสามหมื่นที่
บวชกับพระองค์ เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่อิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้
กรุงสุทัสสนนคร อยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงประกาศธรรมจักร ครั้งนั้น
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตู
สุนทรนคร ทรงยังสัตว์สองหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม. นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 660
๒ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโปรดเทวดาทั้งหลายที่มา
ประชุมกันในหมื่นจักรวาล มีนางอุตตราพระชนนีของพระองค์เป็นประธาน
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระกกุสันธพุทธเจ้า ก็มีพระ
ชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ สูงสุดแห่ง
สัตว์สองเท้า เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจในนรชน.
ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ก้าวล่วงทางกันดาร
ทรงลอยมลทินทั้งปวง ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูง
สุด.
เมื่อพระโกนาคมนะผู้นำ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ.
และเมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีดำติเตียนของ
ฝ่ายปรปักษ์ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่น
โกฏิ.
ต่อนั้น พระชินสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่างๆ
เสด็จไปยังเทวโลก ประทับอยู่เหนือบัณฑุกัมพลศิลา-
อาสน์ ณ เทวโลกนั้น.
พระมุนีพระองค์นั้น ประทับจำพรรษาแสดง
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่
เทวดาหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 661
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทส ธมฺเม ปูรยิตฺวาน ได้แก่ บำเพ็ญ
บารมีธรรม ๑๐. บทว่า กนฺตาร สมติกฺกมิ ได้แก่ ก้าวล่วงชาติกันดาร.
บทว่า ปวาหิย แปลว่า ลอยแล้ว. บทว่า มล สพฺพ ได้แก่ มลทิน ๓
มีราคะเป็นต้น. บทว่า ปาฏิหีร กโรนฺเต จ ปรวาทปฺปมทฺทเน ความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของฝ่ายปรปักษ์.
บทว่า วิกุพฺพน ได้แก่ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมก-
ปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสุนทรนคร แล้วเสด็จไปเทวโลก จำพรรษาเหนือ
พระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น. ถามว่า ทรงจำพรรษาอย่างไร
ตอบว่า ทรงแสดงอภิธรรม ๗ คัมภีร์. อธิบายว่า ทรงอยู่จำพรรษา แสดง
พระอภิธรรมปิฏก ๗ คัมภีร์แก่เทวดาทั้งหลายในเทวโลกนั้น เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ที่นั้นอย่างนี้ อภิสมัยได้มีแก่เทวดาหมื่นโกฏิ.
แม้พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มาบำเพ็ญบารมีอันบริสุทธิ์ มีสาวก
สันนิบาตครั้งเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทวดีอุทยาน
กรุงสุรินทวดี ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสราช-
โอรส และอุตตรราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมด
ให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ
พระองค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ครั้งเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 662
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกสาม-
หมื่น ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ผู้หักรานมัจจุได้แล้ว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอฆาน ได้แก่ โอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น
คำนี้เป็นซึ่งของโอฆะ ๔. โอฆะเหล่านั้นของผู้ใดมีอยู่. ย่อมคร่าผู้นั้นให้จมลง
ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โอฆะ. โอฆะเหล่านั้น พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติ
ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ ความว่า ผู้ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง แม้ในคำว่า
ภิชฺชิตาน นี้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มจฺจุยา ก็คือ มจฺจุโน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า
ปัพพตะ กรุงมิถิลนคร. ครั้งนั้น พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับ
ข่าวว่า พระโกนาคมนะพุทธเจ้าผู้เป็นที่มาแห่งสรรพสัตว์ผู้ถึงสรณะ เสด็จถึง
กรุงมิถิลนครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ ถวายบังคมนิมนต์พระทศพลถวาย
มหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับจำพรรษา ณ มิถิลนครนั้น
บำรุงพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส ถวายของมีค่ามากเช่น
ผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือก
ไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทอง และบริขารอื่น
เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น
ว่า ในภัทรกัปนี้นี่แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ลำดับนั้นมหาบุรุษนั้นสดับ
คำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่
ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 663
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า ปัพพตะ พรั่ง
พร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ มีกำลังพลและพาหนะหาที่สุด
มิได้.
เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า สดับธรรมอันยอดเยี่ยม
นิมนต์ พระองค์พร้อมทั้งพระสงฆ์พุทธชิโนรส ถวาย
ทานจนพอต้องการ.
ได้ถวายผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำใน
เมืองจีน ผ้าแพร ผ้ากัมพล ฉลองพระบาทประดับทอง
แด่พระศาสดาและพระสาวก.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่ง ณ
ท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราสดับคำของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้บริบูรณ์.
เรากำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ถวายทาน
แด่พระผู้สูงสุดในนรชน สละราชสมบัติยิ่งใหญ่ บวช
ในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 664
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตพลวาหโน ความว่า กำลังพล
และพาหนะ มีช้างม้าเป็นต้นของเรามีมากไม่มีที่สุด. บทว่า สมฺพุทฺธทสฺสน
ก็คือ สมฺพุทฺธทสฺสนตฺถาย เพื่อเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า. บทว่า ยทิจฺฉก
ความว่า จนพอแก่ความต้องการ คือทรงเลี้ยงดูพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน ด้วยอาหาร ๔ อย่าง จนทรงห้ามว่า พอ ! พอ ! เอาพระหัตถ์ปิด
บาตร. บทว่า สตฺถุสาวเก ได้แก่ ถวายแด่พระศาสดาและพระสาวกทั้งหลาย.
บทว่า นรุตฺตเม ก็คือ นรุตฺตมสฺส แด่พระผู้สูงสุดในนรชน. บทว่า โอหาย
ได้แก่ ละ เสียสละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่าโสภวดี
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุต-
ตรา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะ และพระอุตตระพระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระโสตถิชะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสมุททา และพระอุตตรา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นอุทุมพร พระสรีระสูง ๓๐ ศอก พระชนมายุสามหมื่นปี
ภริยาเป็นพราหมณีชื่อ รุจิคัตตา โอรสชื่อ พระสัตถวาหะ ออกอภิเนษกรมณ์
ด้วยยานคือช้าง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระนครชื่อว่า โสภวดี มีกษัตริย์พระนามว่า
โสภะ ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่
อยู่ในนครนั้น.
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา มี
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ พระชนนี
เป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 665
พระโกนาคมนศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระ-
ภิยโยสะและพระอุตตระ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระ-
โสตถิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสมุททา และพระ-
อุตตราโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอุทุมพระ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๓๐ ศอก ประดับ
ด้วยพระรัศมีทั้งหลาย เหมือนทองในเบ้าช่างทอง.
ในยุคนั้น พระชนมายุของพระพุทธเจ้าสามหมื่น
ปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชน
เป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์อัน
ประดับด้วยผ้าธรรม ทรงทำเป็นพวงมาลัยดอกไม้
ธรรมแล้วดับขันธปรินิพพานแล้ว.
พระสาวกของพระองค์พิลาสฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้นก็
อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกามุเข ได้แก่ เตาของช่างทอง.
บทว่า ยถา กมฺพ ก็คือ สุวณิณนิกฺข วิย เหมือนแท่งทอง. บทว่า
เอว รสีหิ มณฺฑิโต ได้แก่ ประดับตกแต่งด้วยรัศมีทั้งหลายอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
บทว่า ธมฺมเจติย สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗. บทว่า ธมฺมทุสฺสวิภูสิต ได้แก่ ประดับด้วยธงธรรมคือ
สัจจะ ๔. บทว่า ธมฺมปุปฺผคุฬ กตฺวา ได้แก่ ทำให้เป็นพวงมาลัยดอกไม้
สำเร็จด้วยธรรม. อธิบายว่า พระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก โปรดให้
ประดิษฐานพระธรรมเจดีย์ เพื่อมหาชนที่อยู่ ณ ลานพระเจดีย์สำหรับบำเพ็ญ
วิปัสสนา จะได้นมัสการ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน. บทว่า มหาวิลาโส
ได้แก่ ผู้ถึงความพิลาสแห่งฤทธิ์ยิ่งใหญ่. บทว่า ตสฺส ได้แก่ ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า ชโน ได้แก่ ชน คือ พระสาวก.
บทว่า สิริธมฺมปฺปกาสโน ความว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกาศ
โลกุตรธรรม พระองค์นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
สุเขน โกนาคมโน คตาสโว
วิกามปาณาคมโน มเหสี
วเน วิเวเก สิรินามเธยฺเย
วิสุทฺธวสาคมโน วสิตฺถ.
พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงมีอาสวะไปแล้วโดย
สะดวก ผู้เป็นที่มาแห่งสัตว์ผู้ปราศจากกาม ผู้แสวงคุณ
ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นที่มาแห่งวงศ์ของพระผู้บริสุทธิ์ ประทับ
อยู่ ณ ป่าอันมีนามเป็นสิริ อันสงัด.
จบพรรณนาวงศ์พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 667
๒๔. วงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระกัสสปพุทธเจ้า
[๒๕] ต่อมาจากสมัยของ พระโกนาคมนพุทธ-
เจ้า ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ผู้สูงสุด
แห่งสัตว์สองเท้า จอมทัพธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนของตระกูล มีข้าวนำโภชนะมาก ก็สลัด
ทิ้งแล้ว ให้ทานแก่พวกยาจก ยังใจให้เต็มแล้วทำลาย
เครื่องผูกพันดังคอก เหมือนโคอุสภะพังคอกฉะนั้น
ก็บรรลุพระสัมโพธิญาณสูงสุด.
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่สัตว์สอง
หมื่นโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเทวโลก ๔ เดือน
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ตัวหนึ่งหมื่นโกฏิ.
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประกาศพระสัพ-
พัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าพันโกฏิ.
พระชินพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ สภา ชื่อ สุธรรมา
ณ ดาวดึงส์เทวโลกทรงประกาศพระอภิธรรม ทรงยัง
เทวดาสามพันโกฏิให้ตรัสรู้.
อีกครั้งหนึ่ง ทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์
อภิสมัยของสัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 668
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น ทรงมีสัน-
นิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ
คงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระภิกษุสาวก
สองหมื่น ผู้เป็นพระขีณาสพล่วงภพ เสมอกันด้วยหิริ
และศีล.
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพ ปรากฏชื่อว่า โชติปาละ
ผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท ถึงฝั่งในลัทธิ
ธรรมของตน ในลักษณศาสตร์ และ อิติหาสศาสตร์
ฉลาดรู้พื้นดินและอากาศ สำเร็จวิชาอย่างสมบูรณ์.
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ชื่อว่า
ฆฏิการะ ผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง อันพระองค์ทรง
แนะนำในอริยผลที่ ๓ [อนาคามีผล]
ท่านฆฏิการอุบาสกพาเราเข้าเฝ้าพระกัสสปชิน-
พุทธเจ้า เราฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรน้อย
ใหญ่ไม่เสื่อมคลาย ไม่ว่าในคุณข้อไหนๆ ยังคำสั่งสอน
ของพระชินพุทธเจ้าให้บริบูรณ์อยู่.
เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ พุทธวจนะตลอด
ทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งามแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 669
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงเห็นความอัศ-
จรรย์ของเรา ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้ ท่านผู้นี้
จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จเข้าไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทัก-
ษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิ-
พฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 670
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อ พระเขมา และพระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะ
อาฬวกะ อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา
พระโคตมะผู้มีพระยศ จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์แลเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบ
ปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวดา พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่
ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ก็ยิ่งเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญ
บารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 671
เราท่องเที่ยวไปอย่างนี้ เว้นเด็ดขาดจากการ
อนาจารเราทำแต่กิจกรรมที่ทำได้ยาก ก็เพราะเหตุ
อยากได้พระโพธิญาณอย่างเดียว.
พระนคร ชื่อว่าพาราณสี มีกษัตริย์พระนามว่า
พระเจ้ากีกิ ตระกูลของพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นตระกูล
ใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระชนก
เป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ พระชนนีเป็น
พราหมณีชื่อว่าธนวดี.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่สองพันปี มีปรา-
สาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าหังสะ ยสะ และ สิริจันทะ
มีนางบำเรอสี่หมื่นปีแปดพันนางมีพระนางสุนันทาเป็น
ประมุข มีพระราชบุตรพระนามว่า วิชิตเสนะ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน.
พระมหาวีระกัสสปะ ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระติสสะ และพระภารทวาชะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระสัพพมิตตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระอนุลา และพระอุรุ
เวลา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
เรียกว่าต้นนิโครธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 672
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่าสุมังคละและฆฏิการะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก เหมือน
สายฟ้าแลบในอากาศ เหมือนดวงจันทร์ทรงกลด.
พระองค์ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุสอง
หมื่นปี พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่
ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ ทรงสร้างสระธรรม ประทานศีลเป็น
เครื่องลูบไล้ ทรงนุ่งผ้าธรรม แจกจ่ายพวงมาลัยธรรม.
ทรงตั้งธรรมอันใสสะอาดเป็นกระจกแก่มหาชน
คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาพระนิพพานก็จักดู
เครื่องประดับของเรา.
ประทานศีลเป็นเสื้อ ฌานเป็นเกราะหนัง ห่ม
ธรรมเป็นหนัง [เสือ] ประทานเกราะสวมอันสูงสุด.
ประทานสติเป็นโล่ ญาณเป็นหอกคมกริบ
ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่อง*
ย่ำยีศัตรู.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผล ๔ เป็น
มาลัยคล้องคอ ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ ธรรม
เป็นดอกไม้ประดับ.
๑. อ. สีลสสคฺคฆทฺทน ศีลเป็นเครื่องย่ำยีความคลุกคลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 673
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรม
เป็นเศวตฉัตรไว้ป้องกันบาป ทรงเนรมิตดอกไม้คือ
ทางอันไม่มีภัย แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
นั่นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณหา
ประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก.
นั่นคือพระธรรมรัตนะ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยมทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระชินศาสดา มหากัสสปพุทธเจ้า ดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหารเสตัพยาราม ชินสถูปของ
พระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูงหนึ่งโยชน์.
จบวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 674
พรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้าที่ ๒๔
ภายหลังต่อมาจากสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคามนะ เมื่อพระศาสนา
ของพระองค์อันตรธานแล้ว สัตว์ที่มีอายุสามหมื่นปี ก็เสื่อมลดลงโดยลำดับจน
ถึงมีอายุสิบปี แล้วเจริญอีก จนมีอายุนับไม่ถ้วน แล้วก็เสื่อมลดลงอีกโดยลำดับ
เมื่อสัตว์เกิดมามีอายุสองหมื่นปี พระศาสดาพระนามว่ากัสสปะ ผู้ปกครอง
มนุษย์เป็นอันมาก ก็อุบัติขึ้นในโลก. พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย แล้ว
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณี
ชื่อว่าธนวดี ผู้มีคุณไพบูลย์ ของพราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะ กรุงพาราณสี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ตลอดออกจากครรภ์ชนนี ณ อิสิปตนะมิคทายวัน แต่ญาติ
ทรงหลายตั้งพระนามของพระองค์โดยโคตรว่า กัสสปกุมาร พระองค์ครอง
ฆราวาสวิสัยอยู่สองพันปี. มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่าหังสวา ยสวา และสิรินันทะ
ปรากฏมีนางบำเรอสี่หมื่นเเปดพันนาง มีนางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
เมื่อบุตรชื่อ วิชิตเสนะ ของ นางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ เกิดความสังเวชสลดใจ เมื่อระหว่างที่พระองค์ทรง
ดำริเท่านั้น ปราสาทก็หมุนเหมือนจักรแห่งแป้นทำภาชนะดิน ลอยขึ้นสู่ท้อง
นภากาศ อันคนหลายร้อยแวดล้อมแล้ว ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท ที่เป็น
กลุ่มทำความงามอย่างยิ่งอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว ลอยไปประหนึ่งประดับท้อง
นภากาศ ประหนึ่งประกาศบุญญานุภาพ ประหนึ่งดึงดูดดวงตาดวงใจของชน
ประหนึ่งทำยอดไม้ทั้งหลายให้งามยิ่ง เอาต้นโพธิ์พฤกษ์ชื่อนิโครธต้นไทรไว้
ตรงกลางแล้วลงตั้งเหนือพื้นดิน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทรงยืน
ที่แผ่นดิน ทรงถือเอาผ้าธงชัยแห่งพระอรหัตที่เทวดาถวาย ทรงผนวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 675
นางบำเรอของพระองค์ก็ลงจากปราสาท เดินทางไปครึ่งคาวุต พร้อมด้วย
บริวารจึงพากันนั่งกระทำให้เป็นดุจค่ายพักของกองทัพ. แต่นั้น คนที่มาด้วย
ก็พากันบวชหมด เว้นนางบำเรอ.
ได้ยินว่า พระมหาบุรุษ อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญ
เพียร ๗ วัน ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุนันทาพราหมณี
ถวายแล้ว ทรงพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่
คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อ โสมะ ถวาย จึงเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนิโครธ
ทรงลาดหญ้ากว้างยาว ๑๕ ศอก ประทับนั่งเหนือสันถัตนั้น บรรลุพระอภิสัม-
โพธิญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสสาร ฯ ล ฯ ตณฺหาน
ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของ
ภิกษุหนึ่งโกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ เสด็จไปทางอากาศ ลงที่อิสิปตนะ
มิคทายวัน กรุงพาราณสี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระ
ธรรมจักร ณ อิสิปตนะมิคทายวันนั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่
สัตว์สองหมื่นโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาจากสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า ก็มี
พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้เป็นราชาแห่งธรรม ผู้ทำพระรัศมี.
เรือนแห่งสกุล มีข้าวน้ำโภชนะ เป็นอันมาก
พระองค์ก็สละเสียแล้ว ทรงให้ทานแก่ยาจกทั้งหลาย
ยังใจให้เต็มแล้ว ทำลายเครื่องผูก ดุจโคอุสภะพังคอก
ฉะนั้น ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 676
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่น
โกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺฉฑฺฑิต ได้แก่ อันเขาละแล้ว ทิ้ง
แล้ว เสียสละแล้ว. บทว่า กุลมูล ความว่า เรือนแห่งสกุล มีกองโภคะ
นับไม่ถ้วน มีกองทรัพย์หลายพันโกฏิ มีโภคะเสมือนภพท้าวสหัสสนัยน์ ที่
สละได้แสนยาก ก็สละได้เหมือนอย่างหญ้า. บทว่า ยาจเก ได้แก่ ให้แก่
ยาจกทั้งหลาย. บทว่า อาฬก ได้แก่ คอกโค. อธิบายว่า โคอุสภะพังคอก
เสียแล้วก็ไปยังที่ปรารถนาได้ตามสบาย ฉันใด แม้พระมหาบุรุษทำลายเครื่อง
ผูกคือเรือนเสียแล้ว ก็ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น.
ต่อมาอีก เมื่อพระศาสดาเสด็จจาริกไปในชนบท อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้
มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ ครั้งพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นประดู่ ใกล้
ประตูสุนทรนคร ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าพันโกฏิ
ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว ประทับนั่ง ณ เทวสภาชื่อสุธัมมา ในภพ
ดาวดึงส์ ซึ่งยากนักที่ข้าศึกของเทวดาจะครอบงำได้ เมื่อทรงแสดงอภิธรรม-
ปิฏก ๗ คัมภีร์ เพื่อทรงอนุเคราะห์เทวดาทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ มีธนวดี
ชนนีของพระองค์เป็นประมุข ทรงยังเทวดาสามพันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้ง พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลก ๔ เดือน
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 677
ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประกาศพระสัพ-
พัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดาห้าพัน
โกฏิ.
พระชินพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ธรรมสภา ชื่อ
สุธัมมา ณ เทวโลกอันน่ารื่นรมย์ [ดาวดึงส์] ทรง
ประกาศพระอภิธรรม ยังเทวดาสามพันโกฏิให้ตรัสรู้.
อีกครั้งทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์ อภิสมัย
ได้มีแก่สัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ได้เลย.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุมาส ก็คือ จาตุมาเส แปลว่า ๔
เดือน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า จรติ ก็คือ อจริ. แปลว่า ได้
เสด็จจาริกไปแล้ว บทว่า ยมก วิกุพฺพน กตฺวา ได้แก่ ทรงทำยมก
ปาฏิหาริย์. บทว่า ญาณธาตุ ได้แก่ สภาพของพระสัพพัญญุตญาณ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สพฺพาณธาตุ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปกิตฺตยิ ได้แก่ ทรง
ประกาศแก่มหาชน. บทว่า สุธมฺมา ความว่า สภาชื่อว่าสุธัมมามีอยู่ใน
ภพดาวดึงส์ พระองค์ประทับนั่ง ณ สภานั้น. บทว่า ธมฺม ได้แก่ พระอภิธรรม.
เขาว่า ครั้งนั้น มียักษ์ชื่อว่า นรเทพ ผู้เป็นนรเทพผู้มีอานุภาพและ
ผู้พิชิต ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่และฤทธิ์มากเหมือนนรเทพยักษ์ที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง.
นรเทพยักษ์นั้น แปลงตัวเหมือนพระราชาในนครหนึ่งในชมพูทวีป ทั้งรูปร่าง
ทรวดทรงสุ้มเสียงท่วงที แล้วฆ่าพระราชาตัวจริงกินเสีย ปฏิบัติหน้าที่พระราชา
พร้อมทั้งในราชสำนัก โปรดเสวยเนื้อไม่จำกัดจำนวน. เขาว่า นรเทวยักษ์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 678
เป็นนักเลงหญิงด้วย แต่คราใดสตรีพวกที่ฉลาดเฉลียว รู้จักเขาว่า ผู้นี้ไม่ใช่
พระราชาของเรา นั่นอมนุษย์ผู้ฆ่าพระราชากินเสีย ครานั้น เขาทำเป็นละอาย
กินสตรีพวกนั้นหมด แล้วก็เดินทางไปนครอื่น. ด้วยประการดังนี้ นรเทว-
ยักษ์นั้นกินมนุษย์แล้วก็มุ่งหน้าไปทางสุนทรนคร พวกมนุษย์ชาวนครเห็นเขา
ถูกมรณภัยคุกคามก็สะดุ้งกลัว พากันออกจากนครของตนหนีชมซานไป.
ครั้งนั้น พระกัสสปทศพล ทรงเห็นพวกมนุษย์พากันหนีไป ก็
ประทับยืนประจันหน้านรเทวยักษ์นั้น นรเทวยักษ์ครั้นเห็นพระเทพแห่งเทพ
ยืนประจันหน้า ก็แผดเสียงกัมปนาทดุดัน ร้ายกาจ แต่ไม่อาจให้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเกิดความกลัวได้ ก็ถึงพระองค์เป็นสรณะ แล้วทูลถามปัญหา เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงฝึกเขา แสดงธรรม อภิสมัยก็ได้มีแก่มนุษย์
และเทวดาที่มาประชุมกัน เกินที่จะนับจำนวนได้ถ้วน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัส
ว่า นรเทวสฺส ยกฺขสฺส เป็นต้น. ในคาถานั้น บทว่า อปเร ธมฺมเทสเน
ได้แก่ ในการแสดงธรรมครั้งอื่นอีก. บทว่า เอเตสาน ก็คือ เอเตส.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้น มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียว
เท่านั้น. มีบุตรปุโรหิตในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ติสสะ เขาเห็นลักษณะสมบัติ
ในพระสรีระของ พระกัสสปโพธิสัตว์ ฟังบิดาพูด ก็คิดว่า ท่านผู้นี้จักออก
มหาภิเนษกรมณ์เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไม่ต้องสงสัย จำเราจักบวชในสำนัก
ของพระองค์พ้นจากสังสารทุกข์ จึงไปยังป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มุนีผู้บริสุทธิ์ บวช
เป็นดาบส. เขามีดาบสสองหมื่นเป็นบริวาร. ต่อมาภายหลัง เขาทราบข่าวว่า
พระกัสสปกุมาร ออกอภิเนษกรมณ์บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ จึงพร้อมด้วย
บริวารมาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ
แล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในวันมาฆบูรณมีในสมาคมนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 679
พระผู้เป็นเทพแห่งเทพแม้พระองค์นั้น ทรงมี
สาวกสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน
คงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกของผู้
เป็นพระขีณาสพ ล่วงอริยบุคคลระดับอื่น เสมอกัน
ด้วยหิริและศีล.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกฺกนฺตภวนฺตาน ได้แก่ ผู้เกินระดับ
ปุถุชนและอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น คือเป็นพระขีณาสพหมดทั้งนั้น.
บทว่า หิริสีเลน ตาทีน ได้แก่ ผู้เสมอกันด้วยหิริและศีล.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ จบไตรเพท
มีชื่อเสียงในการทำนายลักษณะพื้นดิน และลักษณะอากาศ เป็นสหายของ
ฆฏิการะอุบาสก ช่างหม้อ. โชติปาลมาณพนั้น เข้าเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับ
ฆฏิการะอุบาสกนั้น ฟังธรรมกถาของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงปรารภความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว ยังพระ-
พุทธศาสนาให้งามด้วยการปฏิบัติข้อวัตรใหญ่น้อย พระศาสดาแม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์
และอิติหาสศาสตร์ ฉลาดในลักษณะพื้นดินและอากาศ
สำเร็จวิทยาอย่างสมบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 680
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะชื่อว่า
ฆฏิการะ เป็นผู้น่าเคารพ น่ายำเกรง อันพระกัสสป-
พุทธเจ้าทรงสั่งสอนในพระอริยผลที่ ๓ [อนาคามิผล].
ฆฏิการะอุบาสก พาเราเข้าไปเฝ้าพระกัสสปชิน-
พุทธเจ้า เราฟังธรรมของพระองค์แล้วก็บวชในสำนัก
ของพระองค์.
เราปรารภความเพียร ฉลาดในข้อวัตรใหญ่น้อย
จึงไม่เสื่อมคลายในที่ไหนๆ ยังศาสนาของพระชิน-
พุทธเจ้าให้เต็มแล้ว.
เราเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ อันเป็นพระพุทธ
ดำรัสตลอดหมด จึงยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า
ให้งาม.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงเห็นความ
อัศจรรย์ของเรา ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในภัทรกัปนี้
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
๑๐ ให้บริบูรณ์.
เราท่องเที่ยวอย่างนี้ เว้นขาดอนาจาร เราทำ
กิจกรรมที่ทำได้ยาก เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณ
อย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 681
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมนฺตลิกฺขกุสโล ความว่า เป็น
ผู้ฉลาด ในวิชาสำรวจพื้นดิน วิชาดูลักษณะอากาศ วิชาดาราศาสตร์และ
วิชาโหราศาสตร์. บทว่า อุปฏฺโก แปลว่า ผู้บำรุง. บทว่า
สปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้น่าเกรงขาม. บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ อันทรงแนะ
นำแล้ว หรือปรากฏแล้ว. บทว่า ตติเย ผเล เป็นนิมิตสัตตมี ความว่า
อันทรงแนะนำแล้ว เพราะเหตุบรรลุอริยผลที่ ๓. บทว่า อาทาย ได้แก่
พาเอา. บทว่า วตฺตาวตฺเตสุ ได้แก่ ในข้อวัตรน้อยและข้อวัตรใหญ่. บทว่า
โกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในการยังข้อวัตรเหล่านั้นให้เต็ม. ด้วยบทว่า น กฺวจิ
ปริหายามิ ทรงแสดงว่า เราไม่เสื่อมแม้ในที่ไหนๆ แม้แต่ในศีลหรือสมาธิ
สมาบัติเป็นต้นอย่างไหน ๆ ขึ้นชื่อว่า ความเสื่อมของเราในคุณทั้งปวง ไม่มี
เลย. ปาฐะว่า น โกจิ ปริหายามิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า ยาวตา นั้น เป็นคำแสดงขั้นตอน. ความว่า มีประมาณ
เพียงไร. บทว่า พุทฺธภณิต ได้แก่ พระพุทธวจนะ. บทว่า โสภยึ ได้แก่
ให้งามแล้ว ให้แจ่มแจ้งแล้ว. บทว่า มม อจฺฉริย ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงเห็นสัมมาปฏิบัติของเรา ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ น่า
อัศจรรย์ไม่เคยมี. บทว่า สสริตฺวา ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ. บทว่า
อนาจร ได้แก่ อนาจารที่ไม่พึงทำ ไม่ควรทำ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้น ทรงมีนครเกิดชื่อว่าพาราณสี
มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี
มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระติสสะและพระภารทวาชะมีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
พระสัพพมิตตะมีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอนุฬาและอุรุเวฬาโพธิพฤกษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 682
ชื่อว่า นิโครธ ต้นไทร พระสรีระสูง ๒ ศอก พระชนมายุสองหมื่นปี ภริยา
ชื่อว่า สุนันทา บุตรชื่อ วิชิตเสนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือปราสาท.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มีนคร ชื่อว่าพาราณสี มีกษัตริย์พระนามว่า กิกี
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ใน
พระนครนั้น.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีชนก
เป็นพราหมณ์ ชื่อว่าพรหมทัตตะ มีชนนีเป็นพราหมณ์
ชื่อว่า ธนวดี.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระติสสะ และพระภารทวาชะ มี
พุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีอัครสาวกา ชื่อพระอนุฬา และ พระอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
ต้นนิโครธ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสุมังคละ และ ฆฏิการะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๒๐ ศอก เหมือน
สายฟ้าอยู่กลางอากาศ เหมือนจันทร์เพ็ญทรงกลด.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์
นั้น มีพระชนมายุสองหมื่นปี พระองค์ทรงมีพระชนม์
ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 683
ทรงสร้างสระคือธรรม ประทานเครื่องลูบไล้คือ
ศีล ทรงนุ่งผ้าคือธรรม ทรงแจกมาลัยคือธรรม.
ทรงวางธรรมอันใสไร้มลทิน ต่างกระจก ไว้ใน
มหาชน บางพวกปรารถนาพระนิพพาน ก็จงดูเครื่อง
ประดับของเรา.
ประทานเสื้อคือศีล ผูกสอดเกราะ คือฌาน ห่ม
หนังคือธรรม ประทานเกราะชั้นเยี่ยม.
ประทานสติเป็นโล่ ประทานธรรมเป็นพระ-
ขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่องย่ำยีการคลุกคลี.
ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผลทั้ง ๓
เป็นมาลัยสวมศีรษะ ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์
ธรรมเป็นดอกไม้เครื่องประดับ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรม-
เป็นฉัตรขาว กั้นบาป เนรมิตดอกไม้ คือทางที่ไม่มี
ภัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ก็นั่น คือพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้มีพระคุณหา
ประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก นั่นคือพระธรรม.
รัตนะที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยม ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชุลฏฺีว ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบอัน
ตั้งอยู่ โดยเป็นของทึบ. บทว่า จนฺโทว คหปูริโต ได้แก่ ดุจดวงจันทร์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 684
เพ็ญอันทรงกลดแล้ว. บทว่า ธมฺมตฬาก มาปยิตฺวา ทรงสร้างสระ
คือพระปริยัติธรรม. บทว่า ธมฺม ทตฺวา วิเลปน ได้แก่ ประทานเครื่อง
ลูบไล้ เพื่อประดับสันตติแห่งจิต กล่าวคือจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ธมฺม-
ทุสฺส นิวาเสตฺวา ได้แก่ นุ่งผ้าคู่ กล่าวคือธรรม คือหิริ และโอตตัปปะ.
บทว่า ธมฺมมาล วิภชฺชิย ได้แก่ จำแนก คือเปิดพวงมาลัยดอกไม้คือ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.
บทว่า ธมฺมวิมลมาทาส ความว่า วางกระจก กล่าวคือโสดาปัตติ-
มรรคอันไร้มลทิน คือกระจกธรรมใกล้ริมสระธรรมสำหรับมหาชน เพื่อ
กำหนดธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษที่เป็นกุศลและอกุศล. บทว่า มหาชเน
แปลว่า แก่มหาชน. บทว่า เกจิ ก็คือ เยเกจิ. บทว่า นิพฺพาน ปตฺเถนฺตา
ความว่า เที่ยวปรารถนาพระนิพพาน อันกระทำความย่อยยับแก่มลทินคือ
อกุศลทั้งมวล อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ไม่มีทุกข์ สงบอย่างยิ่งมีอันไม่
จุติเป็นรส ชนเหล่านั้นจงดูเครื่องประดับนี้ มีประการที่กล่าวแล้วอันเราแสดง
แล้ว. ปาฐะว่า นิพฺพานมภิปตฺเถนฺตา ปสฺสนฺตุ ม อลงฺกร ดังนี้ก็มี
ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อลงฺกร ท่านทำรัสสะ กล่าว.
บทว่า สีลกญฺจุก ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเสื้อที่สำเร็จด้วยศีล ๕
ศีล ๑๐ และจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ฌานกวจวมฺมิต ได้แก่ ผูกเครื่องผูก
คือเกราะ คือจตุกกฌานและปัญจกฌาน. บทว่า ธมฺมจมฺม ปารุปิตฺวา
ได้แก่ ห่มหนึ่งคือธรรมที่นับได้ว่าสติสัมปชัญญะ. บทว่า ทตฺวา สนฺนา-
หนุตฺตม ความว่า ประทานเครื่องผูกสอดคือวิริยะ ที่ประกอบด้วยองค์ ๔
อันสูงสุด. บทว่า สติผลก ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องป้องกันคือโล่
คือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อป้องกันโทษอริและบาปมีราคะเป็นต้น. บทว่า ติขิณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 685
าณกุนฺติม ได้แก่ หอกคือวิปัสสนาญาณอันคมกริบ คือหอกคมอย่างดีคือ
วิปัสสนาญาณ ที่สามารถแทงตลอดได้. หรือความว่า ทรงตั้งนักรบคือพระ-
โยคาวจร ที่สามารถทำการกำจัดกองกำลังคือ กิเลสได้. บทว่า ธมฺมขคฺควร
ทตฺวา ได้แก่ ประทานพระขรรค์อย่างดีคือมรรคปัญญา ที่มีคมอันลับด้วยกลีบ
อุบลคือความเพียร แก่พระโยควาจรนั้น. บทว่า สีลสสคฺคมทฺทน ความว่า
โลกุตรศีลอันเป็นอริยะ เพื่อย่ำยีการคลุกคลีด้วยกิเลสคือเพื่อฆ่ากิเลส.
บทว่า เตวิชฺชาภูสน ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องประดับสำเร็จ
ด้วยวิชชา ๓. บทว่า อาเวฬ จตุโร ผเล ได้แก่ ทำผล ถ ให้เป็นพวง
มาลัยคล้องคอ. บทว่า ฉฬภิญฺาภรณ ได้แก่ ประทานอภิญญา ๖ เพื่อ
เป็นอาภรณ์ และเพื่อกระทำการประดับ. บทว่า ธมฺมปุปฺผปิลนฺธน ได้แก่
ทำพวงมาลัยดอกไม้ กล่าวคือโลกุตรธรรม ๙. บทว่า สทฺธมฺมปุณฺฑรจฺ-
ฉตฺต ทตฺวา ปาปนิวารณ ได้แก่ ประทานเศวตฉัตรคือวิมุตติอันบริสุทธิ์
สิ้นเชิง เป็นเครื่องกันแดดคืออกุศลทั้งปวง. บทว่า มาปยิตฺวาภย ปุปฺผ
ความว่า ทำดอกไม้คือมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงเมืองที่ไม่มีภัย.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ดับขันธปรินิพพาน ณ เสตัพย-
อุทยาน ใกล้เสตัพยนคร แคว้นกาสี เขาว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
ไม่กระจัดกระจายแพร่หลายไป. มนุษย์ทั่วชมพูทวีป เมื่อสร้างใช้มโนสิลา
หินอ่อนแทนดิน ใช้น้ำมันแทนน้ำ เพื่อก่อภายนอกเป็นแผ่นอิฐทองแต่ละแผ่น
มีค่าเป็นโกฏิ วิจิตรด้วยรัตนะ เพื่อทำภายในให้เต็ม เป็นอิฐทองแต่ละแผ่น
มีค่าครึ่งโกฏิ ช่วยกันสร้างเป็นสถูปสูงหนึ่งโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 686
กสฺสโปปิ ภควา กตกิจฺโจ
สพฺพสตฺตหิตเมว กโรนฺโต
กาสิราชนคเร มิคทาเย
โลกนนฺทนกโร นิวสิ.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป เสด็จกิจแล้วทรง
ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างเดียวทรงทำ
ความร่าเริงแก่โลก ประทับอยู่ประจำ ณ กรุงพาราณสี
ราชธานีแห่งแคว้นกาสีแล.
ในคาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 687
วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕
[๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า
โคตมะ เจริญวัยในศากยสกุล ตั้งความเพียรแล้ว
บรรลุพระโพธิญาณอันอุดม.
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อจากนั้น ในสมาคมแห่ง
มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็กล่าวไม่ได้ถึง
จำนวนผู้บรรลุ.
บัดนี้ ในที่นี้นี่แล เราสั่งสอนราหุลโอรสของ
เรา อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้บรรลุ.
สันนิบาตการประชุมสาวก ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ของเรา เป็นการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ มีครั้งเดียว.
เราไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ ท่ามกลางสงฆ์ก็ให้ทุก
อย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุก
อย่างที่ต้องการ.
อันความกรุณาสัตว์ทั้งหลาย เราประกาศสัจจะ
๔ แก่ผู้จำนงหวังมรรคผล ผู้ประสงค์ละความพอใจ
ในภพ.
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่น สองหมื่น
อภิสมัยของสัตว์ไม่นับจำนวนด้วยหนึ่งคนหรือสองคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 688
ศาสนาของเรา ผู้ศากยมุนีในโลกนี้ บริสุทธิ์ดี
แล้ว แผ่ไปกว้างขวาง คนเป็นอันมากรู้กัน มั่นคง
เจริญออกดอกบานแล้ว.
ภิกษุทั้งหมดหลายร้อย ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจาก
ราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น ย่อมแวดล้อมเราทุกเมื่อ.
บัดนี้ เดี๋ยวนี้ ภิกษุเหล่าใด ละภพมนุษย์ ภิกษุ
เหล่านั้น เป็นเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต วิญญูชน
ก็ติเตียน.
นรชนผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ผู้ยินดีในธรรม
ทุกเมื่อ เมื่อชมเชยอริยมรรค รุ่งเรืองอยู่ ก็จักตรัสรู้.
เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ พระชนก พระนามว่า
พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีเรียกว่า พระนางมายาเทวี.
เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทเยี่ยม
๓ หลัง ชื่อว่าสุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ มีสนม
กำนัลที่แต่งกายงามสี่หมื่นนาง อัครมเหสีพระนามว่า
พระยโสธรา โอรสพระนามว่าพระราหุล.
เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ
ม้า ทำความเพียร ประพฤติทุกกรกิริยา ๖ ปี.
เรา ชินโคตมะสัมพุทธเจ้า ประกาศพระธรรม-
จักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน ณ กรุงพาราณสี เป็น
สรณะของสัตว์ทั้งปวง.
เรามีภิกษุคู่พระอัครสาวก ชื่อว่าโกลิตะ และ
อุปติสสะ มีพุทธอุปัฏฐากประจำสำนักชื่อว่าอานันทะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 689
เรามีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อเขมาและอุบลวรรณา
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ มีอัคร
อุปัฏฐายิกาชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา เราบรรลุสัม-
โพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
เรามีรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๖ ศอก อายุเรา ณ บัดนี้
น้อย ร้อยปี เราดำรงชนม์อยู่เพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็น
อันมากให้ข้ามโอฆะ เราตั้งคบเพลิงคือธรรม ปลุกชน
ที่เกิดมาภายหลังให้ตื่น.
ไม่นานนัก แม้เราพร้อมด้วยสงฆ์สาวกก็จัก
ปรินิพพานในที่นี้นี่แล เพราะสิ้นอาหาร เหมือนดวงไฟ
ดับ เพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.
เดชที่ไม่มีใครเทียบได้เหล่านั้น ทั้งยศพละและ
ฤทธิ์เหล่านี้ เราผู้มีเรือนกายทรงคุณ วิจิตรด้วยมหา-
ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีฉัพพรรณรังสีส่องสว่าง
ทั้งสิบทิศ ดั้งดวงอาทิตย์. ทั้งนั้นก็จักอันตรธานไป
สิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
จบวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 690
พรรณาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕
เรื่องนิทานกาลไกล
เพราะเหตุที่ถึงลำดับการพรรณนาวงศ์ ของพระ-
พุทธเจ้าของเราแล้ว ฉะนั้น บัดนี้จะพรรณาวงศ์
พระพุทธเจ้าของเรานั้น ดังต่อไปนี้.
ในนิทานกาลไกลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทรงทำอธิการในสำนักของ
พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น มาถึงสี่อสงไขย
กำไรแสนกัป แต่ส่วนกาลภายหลังของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะไม่มีพระพุทธ-
เจ้าพระองค์อื่น เว้นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้. ดังนั้น พระโพธิสัตว์
ได้พยากรณ์ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม
มีทานบารมีเป็นต้น ที่พระโพธิสัตว์ ผู้รวบรวมธรรม ๘ ประการ เหล่านี้ว่า
อภินีหาร ย่อมสำเร็จได้ เพราะรวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ
๑. มนุสัตตะ เป็นมนุษย์
๒. ลิงคสัมปัตติ เป็นเพศบุรุษ
๓. เหตุ มีอุปนิสสยสมบัติบรรลุมรรคผลได้
๔. สัตถารทัสสนะ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยัง
ทรงพระชนม์อยู่
๕. ปัพพัชชา บวชเป็นดาบสหรือภิกษุอยู่
๖. คุณสมบัติ ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕
๗. อธิการ อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้
๘. ฉันทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธ-
การกธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 691
แล้วทำอภินีหารแทบเบื้องบาทพระทีปังกรพุทธเจ้า แล้วทำอุตสาหะว่า จำเรา
จะเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม อย่างโน้นอย่างนี้แสดงไว้ว่า ครั้งนั้น เราเมื่อ
เลือกเฟ้นก็ได้เห็นทานบารมีเป็นอันดับแรก ดังนี้ ตราบจนมาถึงอัตภาพเป็น
พระเวสสันดรและเมื่อมาถึงก็มาประสบอานิสงส์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ทำ
อภินีหารไว้แล้ว ที่ทรงสรรเสริญไว้ว่า
พระนิยตโพธิสัตว์ ถึงพร้อมด้วยองค์ครบถ้วน
อย่างนี้ แม้ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนานนับร้อย
โกฏิกัป ก็ไม่เกิดในอเวจีและในโลกันตริกนรก
ไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสิกเปรต กาฬ-
กัญชิกาสูร แม้เข้าถึงทุคติ ก็ไม่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก
เมื่อเกิดในหมู่มนุษย์ ก็ไม่เป็นคนตาบอดแต่กำเนิด
โสตก็ไม่วิกลบกพร่อง ไม่เป็นคนประเภทใบ้ ไม่เป็น
สตรี ไม่เป็นคนสองเพศและไม่เป็นบัณเฑาะก์.
พระนิยตโพธิสัตว์ ไม่เป็นผู้นับเนื่องดังกล่าว
พ้นจากอนันตริยกรรม มีโคจรบริสุทธิ์ในภพทั้งปวง
ไม่เสพมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นว่ากรรมเป็นอันทำมีผล
แม้อยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย ก็ไม่เข้าถึงอสัญญีภพ ทั้ง
ไม่มีเหตุที่ไปเกิดในเทพชั้นสุทธาวาส เป็นผู้น้อมไป
ในเนกขัมมะ เป็นสัตบุรุษ ไม่เกาะเกี่ยวในภพใหญ่
น้อย บำเพ็ญแต่โลกัตถจริยาทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี
ทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 692
เมื่อมาประสบอานิสงส์อย่างนี้ ก็ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ทำบุญยิ่ง
ใหญ่ ที่ทำให้มหาปฐพีไหวเป็นต้นอย่างนี้ว่า
แผ่นปฐพีนี้ไม่มีใจ ไม่รู้สึกสุขทุกข์ แผ่นปฐพี
แม้นั้น ก็ไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา.
ุสุดท้ายแห่งอายุ ก็จุติจากอัตภาพนั้น บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต.
เรื่องนิทานกาลใกล้
เมื่อพระโพธิสัตว์กำลังอยู่ในภพดุสิต ธรรมคำว่าพุทธโกลาหลก็เกิด
ขึ้น. จริงอยู่ เกิดโกลาหลขึ้นในโลก ๓ อย่าง คือ กัปปโกลาหล พุทธโกลาหล
และจักกวัตติโกลาหล บรรดาโกลาหลทั้ง ๓ นั้น เหล่าเทวดาชั้นกามาวจร
ชื่อว่า โลกพยูหะ ทราบว่า ล่วงไปแสนปีกัปจักตั้งขึ้น ดังนี้ ปล่อยผมสยาย
ร้องไห้เอาหัตถ์ฟายน้ำตา นุ่งห่มผ้าแดง ทรงเพศแปลก ๆ อย่างยิ่ง เที่ยวไป
ในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนปีนับ
แต่วันนี้ไปกัปจักตั้งขึ้น โลกนี้จักพินาศไป แม้มหาสมุทรก็จักเหือดแห้ง มหา
ปฐพีแผ่นนี้และขุนเขาสิเนรุ จักมอดไหม้พินาศไป ความพินาศจักมีจนถึง
พรหมโลก ดูก่อนท่านผู้นี้นิรทุกข์ พวกท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขา จงบำรุงมารดาบิดา จงเป็นผู้ยำเกรงในท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ดังนี้
นี้ชื่อว่า กัปปโกลาหล.
เทวดาฝ่ายโลกบาลทราบว่า ล่วงไปพันปี จักเกิดพระสัพพัญญู-
สัมพุทธเจ้าขึ้นในโลก จึงเที่ยวไปโฆษณาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่นี้
ล่วงไปพันปี จักเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก ดังนี้ นี้ชื่อว่า พุทธโกลาหล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 693
พวกเทวดาทราบว่า ล่วงไปร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิราชจักเกิดขึ้น
จึงเที่ยวโฆษณาไปว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ล่วงไปร้อยปี จักเกิด
จักรพรรดิราชขึ้นดังนี้ นี้ชื่อว่า จักกวัตติโกลาหล.
บรรดาโกลาหล ๓ นั้น เทวดาทั่วหมื่นจักรวาลฟังเสียงข่าวพุทธ-
โกลาหล ก็ประชุมพร้อมกัน รู้ว่าสัตว์ชื่อโน้นจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็เข้าไปหา
อ้อนวอน แต่เมื่ออ้อนวอน ก็จะอ้อนวอนเมื่อบุพนิมิตของสัตว์ผู้นั้นเกิดขึ้น.
แต่ในครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ในแต่ละจักรวาล ก็ประชุมกันใน
จักรวาลเดียว พร้อมกับมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ
ท้าวสุนิมมิตะ ท้าววสวัตตีและท้าวมหาพรหม พากันไปยังสำนักพระโพธิสัตว์ผู้
มีนิมิตแห่งการจุติเกิดแล้วในภพดุสิต ช่วยกันอ้อนวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
บารมี ๑๐ ท่านก็บำเพ็ญแล้ว แต่เมื่อบำเพ็ญ ท่านมิใช่บำเพ็ญปรารถนาสมบัติ
ท้าวสักกะ สมบัติพรหมเป็นต้น แต่ท่านบำเพ็ญปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ
เพื่อช่วยโลก. เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า.
ข้าแต่ท่านมหาวีระ บัดนี้เป็นเวลาสมควรสำหรับ
ท่านแล้ว ท่านจงเกิดในพระครรภ์พระชนนี เมื่อจะ
ยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ ท่านจงตรัสรู้อมตบท
เถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อันทวยเทพทูลอ้อนวอนอย่างนั้น มิได้ประ-
ทานปฏิญญา [คำรับรอง] แก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงพิจารณามหาวิโลกนะ
๕ คือ ขั้นตอน ได้แก่ กาละ ทวีป ประเทศ ตระกูล กำหนดพระชนมายุพระชนนี
บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเวลาเป็นอันดับแรกว่า
เป็นกาลสมควรหรือยัง. ในข้อว่ากาลนั้น กาลที่อายุคนเจริญขึ้นเกินแสนปี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 694
ไม่ใช่กาลสมควร. เพราะเหตุไร เพราะว่า ในกาลนั้น [กาลที่มนุษย์มีอายุ
แสนปี] ชาติชรามรณะจักไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และพระธรรมเทศนาของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีพ้นจากไตรลักษณ์ [อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา] เลย
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา อยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่
สำคัญพระพุทธดำรัสที่ควรฟัง ที่ควรเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย กำลังตรัส
เรื่องอะไรกันนั่น. แต่นั้น อภิสมัยการตรัสรู้ ก็จะไม่มี เมื่ออภิสมัยไม่มี คำสั่ง-
สอนก็ไม่เป็นนิยยานิกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการสมควร
แม้กาลที่อายุคนต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่ใช่กาลอันสมควร. เพราะเหตุไร เพราะ
ว่าในกาลนั้น [กาลที่มนุษย์มีอายุต่ำกว่าร้อยปี] สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น
และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ที่มีกิเลสหนาแน่น จะไม่คงอยู่ในฐานะควรโอวาท
จะขาดหายไปเร็วเหมือนรอยไม้ที่ขีดในน้ำ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาลอันสมควร
แต่กาลแห่งอายุต่ำกว่าแสนปีลงมา สูงเกินร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่ากาลอันสมควร
กาลนั้นเป็นเวลาร้อยปี. ดังนั้น พระมหาสัตว์จึงทรงเห็นกาลว่าเป็นกาลที่ควร
บังเกิด.
ต่อแต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาถึงทวีป ก็ทรงพิจารณามหาทวีปทั้ง ๔
พร้อมทั้งทวีปบริวาร ก็ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เกิดในทวีป
ทั้ง ๓ เกิดในชมพูทวีปเท่านั้น.
ต่อแต่นั้น เมื่อทรงสำรวจดูโอกาสว่า ธรรมดาชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่
ขนาดถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเกิดที่ไหนกันหนอ ก็ทรงเห็น
มัชฌิมประเทศ จึงตกลงพระหฤทัยว่า มีนครกบิลพัสดุ์อยู่ จำเราจะพึงเกิด ณ
นครนั้น.
แต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาดูตระกูล ก็ทรงเห็นตระกูลว่าธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เกิดในตระกูลแพศย์หรือตระกูลศูทร แต่บังเกิดใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 695
ตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ที่โลกสมบัติ บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์โลก
สมมติ จำเราจักเกิดในตระกูลนั้น พระเจ้าสุทโทธนะ จักทรงเป็นพระชนก
ของเรา.
แต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาดูพระชนนี ก็ทรงเห็นว่าธรรมดาพระพุทธ-
มารดา มิใช่เป็นสตรีโลเล นักเลงสุรา แต่บำเพ็ญบารมีมาแสนกัป มีศีล
ไม่ขาดวิ่นมาแต่เกิด ก็พระเทวีพระนามว่า พระนางมหามายาพระองค์นี้ เป็น
เช่นนี้ พระนางจักเป็นชนนีของเรา. พระชนมายุของพระนางเท่าไรเล่า. ๑๐
เดือนกับ ๗ วัน.
พระมหาสัตว์ครั้นพิจารณามหาวิโลกนะ ๕ อย่างนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรง
รับปฏิญญาของเทวดาทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เป็นกาลสมควรเป็น
พระพุทธเจ้าสำหรับเราแล้วละ จึงส่งเทวดาเหล่านั้นด้วยพระดำรัสว่า พวกท่าน
ไปกันเถิด อันเทวดาชั้นดุสิตแวดล้อมแล้ว ก็เสด็จเข้าไปยังสวนนันทนวันใน
ชั้นดุสิต. ด้วยว่าในเทวโลกทุกชั้นมีสวนนันทนวันทั้งนั้น. ในสวนนันทนวัน
ในชั้นดุสิตนั้น เทวดาทั้งหลาย เมื่อจะยังพระมหาสัตว์นั้นให้รำลึกถึงโอกาส
แห่งกุศลกรรมที่ทำแต่ปางก่อนว่า ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติ จึงเที่ยวไป
พระมหาสัตว์นั้นอันเทวดาเหล่านั้น ให้ระลึกถึงกุศลแวดล้อมแล้ว ก็เที่ยวไป
ในนันทนวันนั้น ก็จุติไปถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายาเทวี
โดยดาวนักขัตอุตตราสาธ. ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์
ของพระชนนี ทั่วหมื่นโลกธาตุก็ไหวพร้อมกันในคราวเดียวกัน. บุพนิมิต ๓๒
ประการ ก็ปรากฏ.
เทวบุตร ๔ องค์ถือพระขรรค์ ทำหน้าที่อารักขาเพื่อป้องกันอุปัทวเหตุ
แก่พระโพธิสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิ และพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 696
ฉะนี้. ราคจิตในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระ-
ชนนีนั้นประสบลาภอย่างเลิศ ยศอย่างเลิศ มีสุข พระวรกายมิลำบาก พระชนนี
แลเห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งอยู่ในพระครรภ์ของพระนางเอง เหมือนด้ายขาวร้อย
แก้วมณีอันใสฉะนั้น เพราะเหตุที่พระครรภ์ที่พระโพธิสัตว์อยู่ ก็เป็นเสมือน
ห้องพระเจดีย์ สัตว์อื่นไม่อาจอยู่หรือใช้สอยได้ ฉะนั้น พระมารดาของพระ-
โพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดได้ ๗ วัน จึงต้องทำกาละ [ทิวงคต] บังเกิด
ในสวรรค์ชั้นดุสิต. ก็สตรีอื่น ๆ ถึง ๑๐ เดือนก็มี เกินก็มี นั่งคลอดบ้าง
นอนคลอดบ้าง ฉันใด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ๑๐ เดือน
แล้วทรงยืนประสูติ. นี้เป็นธรรมดาของพระมารดาของพระโพธิสัตว์.
แม้พระนางมหามายาเทวี ทรงบริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์
๑๐ เดือนแล้ว มีพระครรภ์บริบูรณ์ มีพระประสงค์จะเสด็จไปเรือนพระญาติ
จึงกราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม เกล้า
หม่อมฉันใคร่จะไปเทวทหนครเพคะ. พระราชาทรงอนุญาตแล้ว โปรดให้ทำ
ทางตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์จนถึงเทวทหนครให้เรียบ ให้ประดับด้วยต้นกล้วย หม้อ
เต็มน้ำ หมาก ธงผ้าเป็นต้น ให้ประทับนั่งในวอท้องใหม่ ทรงส่งไปด้วย
สิริสง่าและด้วยบริพารกลุ่มใหญ่. ระหว่างพระนครทั้งสอง มีมงคลสาลวันชื่อ
ลุมพินี ที่ควรใช้สอยของชาวนครทั้งสอง. มงคลสาลวันนั้น สมัยนั้นออก
ดอกบานสะพรั่งไปหมด ตั้งแต่โคนจนถึงยอด เพราะทรงเห็นวนะ งาม
เสมือนสวนนันทนวัน อันเป็นที่สำเริงสำราญแห่งเทพ ซึ่งหมู่แมลงผึ้งอันผึ้ง
อื่น ๆ เลี้ยงดู ผู้เพลินในรสหวานที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง อันน่ารื่นรมย์ ยินดี
ด้วยความเมา มีรวงรังอันเสพแล้ว ร่ำร้องกระหึ่มอยู่ตามระหว่างกิ่ง และ
ระหว่างดอกทั้งหลาย พระเทวีก็เกิดจิตคิดจะลงเล่นสวนสาลวัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 697
วิภูสิตา พาลชนาติจาลินี
วิภูสิตงฺคี วนิเตว มาลินี
สทา ชนาน นยนาลิมาลินี
วิลุมฺปินีวาติวิโรจิ ลุมฺพินี.
สวนลุมพินี อันธรรมชาติประดับแล้ว เป็นที่
หวั่นไหวของคนปัญญาอ่อน หมู่ภมร แต่งตัวแล้ว
ย่อมชอบชมเชย มีหมู่แมลงผึ้งประหนึ่งดวงตาของชน
ทั้งหลาย คอยรุม จึงรุ่งเรืองทุกเมื่อ.
เหล่าอำมาตย์กราบทูลพระราชาแล้ว พาพระราชเทวีเข้าไปยังลุมพินีวัน
นั้น. พระนางเสด็จไปยังโคนต้นมงคลสาละ มีพระประสงค์จะทรงจับกิ่งใดของ
มงคลสาละนั้น ซึ่งมีลำต้นตรงเรียบและกลม ประดับด้วยดอกผลและใบอ่อน
กิ่งมงคลสาละนั้น ไม่มีแรง รวนเรเหมือนใจชน ก็น้อมลงมาเองถึงฝ่าพระกร
ของพระนาง ลำดับนั้น พระนางกทรงจับกิ่งสาละนั้น ด้วยพระกรที่ทำความ
ยินดีอย่างยิ่ง ข้างขวา ซึ่งงามด้วยกำไลพระกรทองใหม่ มีพระองคุลีกลมกลึงดัง
กลีบบัว อันรุ่งเรืองด้วยพระนขานูนมีสีแดง. พระนางประทับยืนจับกิ่งสาละนั้น
เป็นพระราชเทวีงดงามเหมือนจันทรเลขาอ่อน ๆ ที่ลอดหลืบเมฆสีเขียวคราม
เหมือนแสงเปลวไฟ ซึ่งตั้งอยู่ได้ไม่นาน และเหมือนเทวีที่เกิดในสวนนันทนวัน
ในทันทีนั้นเอง ลมกัมมัชวาตของพระนางก็ไหว ขณะนั้น ชนเป็นอันมาก
ก็กั้นผ้าม่านเป็นกำแพงแล้วหลีกไป. พระนางเมื่อประทับยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่น
เอง พระโพธิสัตว์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางนั้น.
ในทันใดนั้นเอง ท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์ ก็ถือ
ข่ายทองมารองรับพระโพธิสัตว์ด้วยข่ายทองนั้น วางไว้เบื้องพระพักตร์พระชนนี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 698
ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี ขอจงทรงดีพระหฤทัยเถิด พระโอรสของพระองค์มี
ศักดิ์มาก สมภพแล้ว. ก็สัตว์อื่น ๆ เมื่อออกจากครรภ์มารดา ก็เปรอะเปื้อน
ด้วยของปฏิกูลไม่สะอาดออกไป ฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่
พระโพธิสัตว์เหยียดพระหัตถ์ทั้งสอง พระบาททั้งสอง ยืน ไม่เปรอะเปื้อน
ด้วยของไม่สะอาดไร ๆ จากสมภพในพระครรภ์ของพระชนนี หมดจด สดใส
รุ่งเรืองเหมือนมณีรัตนะอันเขาวางไว้บนผ้ากาสี ออกจากพระครรภ์พระชนนี.
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อสักการะแด่พระโพธิสัตว์ และพระชนนีของพระโพธิสัตว์
ท่อธารน้ำสองท่อ ก็ออกมาจากอากาศ โสรจสรงที่พระสรีระของพระโพธิสัตว์
และพระชนนีของพระโพธิสัตว์.
ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็เอาผ้าขนสัตว์ที่มีสัมผัสอัน
สบาย ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคลรับจากพระหัตถ์ของท้าวมหาพรหม ซึ่งยืนรับ
พระโพธิสัตว์นั้นไว้ด้วยข่ายทอง. พวกมนุษย์ก็เอาเบาะผ้าเนื้อดี รับจากพระ-
หัตถ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น พระโพธิสัตว์พ้นจากมือของมนุษย์ ก็ยืนที่
แผ่นดินมองดูทิศบูรพา หลายพันจักรวาลก็มีลานเป็นอันเดียวกัน. เทวดาและ
มนุษย์ ในที่นั้น เมื่อบูชาด้วยของหอมดอกไม้มาลัยเป็นต้น ก็พากันทูลว่า
ข้าแต่พระมหาบุรุษ ผู้ที่เสมือนกับพระองค์ในที่นี้ไม่มี ผู้ที่จะยิ่งกว่า จะมีแต่
ไหน. พระโพธิสัตว์ทรงเหลียวแลดูทิศทั้ง ๑๐ ทิศ ไม่เห็นผู้ที่เสมือนกับพระองค์
จึงบ่ายพระพักตร์มุ่งสู่ทิศอุดร ทรงดำเนินไป ๗ ย่างก้าว. และเมื่อดำเนินไป
ก็ดำเนินไปบนแผ่นดินนั่นแหละ มิใช่ดำเนินไปทางอากาศ ไม่มีผ้า [ปกปิด]
ดำเนินไป มิใช่มีผ้าดำเนินไป เป็นทารกอ่อนดำเนินไป มิใช่ทารกอายุ ๑๖ ขวบ
ดำเนินไป แต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนดำเนินไปทางอากาศ เหมือนประดับ
ตกแต่งพระองค์ และเหมือนมีอายุ ๑๖ ขวบ. แต่นั้น ย่างก้าวที่ ๗ ก็ทรงหยุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 699
เมื่อทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส ดังนี้เป็นต้น ทรงเปล่ง
สีหนาท.
ความจริง พระโพธิสัตว์ พอออกจากครรภ์มารดาก็เปล่งวาจาได้ใน
๓ อัตภาพ คือ อัตภาพเป็นมโหสถ อัตภาพเป็นเวสสันดร อัตภาพนี้ เล่า
กันว่า ในอัตภาพเป็นมโหสถ พอออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราช
ก็เสด็จมาวางแก่นจันทน์ไว้ในพระหัตถ์แล้วเสด็จไป. พระมโหสถนั้น เอา
แก่นจันทน์นั้นไว้ที่หลังแล้วก็คลอดออกมา ขณะนั้น มารดาถามมโหสถนั้นว่า
ลูกเอ๋ย เจ้าถืออะไรมาด้วยนะ. มโหสถตอบว่า โอสถจ้ะแม่ ดังนั้น เพราะ
เหตุที่ถือโอสถมาด้วย มารดาบิดาจึงขนานนามว่า โอสถกุมาร.
ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พอออกจากครรภ์พระมารดา ก็
เหยียดพระหัตถ์ขวาบอกว่า แม่จ๋าในเรือนมีทรัพย์ไร ๆ อยู่หรือ ลูกจักให้
ทานนะ ขณะนั้น พระมารดาเอาหัตถ์พระโอรสไว้ที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์
แล้ว วางถุงทรัพย์นับพันไว้ตรัสว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเกิดมาในตระกูลมีทรัพย์แล้วนะ.
แต่ในอัตภาพนี้ ทรงเปล่งสีหนาท ดังนั้น พระโพธิสัตว์ พอออก
จากครรภ์พระมารดา ก็ทรงเปล่งวาจาใน ๓ อัตภาพ ด้วยประการฉะนี้. แม้
ในพระสมภพบุพนิมิต ๓๒ ก็ปรากฏแก่พระองค์ แต่ว่าในสมัยใดพระโพธิ-
สัตว์ของเราสมภพ ณ ลุมพินีวัน ในสมัยนั้นเหมือนกัน พระเทวีมารดา
พระราหุล อานันทะ ฉันนะ กาฬุทายีอมาตย์ พระยาม้ากัณฐกะ
ต้นมหาโพธิพฤกษ์ และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ก็เกิด. บรรดาขุมทรัพย์
ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ขนาดหนึ่งคาวุต ขุมหนึ่งขนาดครึ่งโยชน์ ขุม
หนึ่งขนาดสามคาวุต ขุมหนึ่งขนาดหนึ่งโยชน์ เหล่านี้ชื่อว่า สหชาตทั้ง ๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 700
ชาวนครทั้งสอง พาพระมหาบุรุษไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ วันนั้นนั่นแล
หมู่เทพในชั้นดาวดึงส์ร่าเริงยินดีว่า โอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชในกรุง
กบิลพัสดุ์จักประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์เป็นพระพุทธเจ้าจึงพากันยกแผ่นผ้า
เป็นต้นขึ้นโบกสะพัดเล่นกรีฑา. สมัยนั้น ดาบสชื่อกาฬเทวละ ผู้ได้สมาบัติ ๘
ผู้ประจำตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนะ ฉันอาหารแล้วก็ไปยังภพดาวดึงส์ เพื่อ
พักกลางวัน นั่งพักกลางวันในที่นั้นแล้ว เห็นเทวดาเหล่านั้นดีใจระเริงเล่นจึง
ถามว่า เหตุไร พวกท่านจึงพากันดีใจเบิกบานใจระเริงเล่น โปรดบอกเหตุนั้น
แก่เราเถิด แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็บอกว่า ท่านผู้นิรทุกข์ โอรสพระเจ้า
สุทโธทนะเกิดแล้ว โอรสพระองค์นั้น จักประทับนั่งที่โพธิมัณฑสถานเป็น
พระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมจักร ด้วยเหตุนี้ เราจึงยินดีต่อพระองค์ว่า พวก
เราจะได้เห็นพุทธลีลาอันไม่มีที่สุด.
ดาบสได้ฟังคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ก็ลงจากเทวโลกอันสว่างไสว
ด้วยรัตนะ น่าดูอย่างยิ่ง เข้าไปยังพระราชนิเวศของนฤบดี นั่งเหนือวรอาสน์
ที่จัดไว้ ทูลพระราชาผู้ทำปฏิสันถารว่า ขอถวายพระพร ได้ข่าวว่าพระโอรส
ของมหาบพิตรสมภพแล้ว อาตมาภาพอยากเห็นพระราชโอรสนั้น พระราชา
โปรดให้นำพระโอรสที่ประดับตกแต่งพระองค์มาแล้ว นำไปใกล้ชิด เพื่อให้
ไหว้เทวลดาบส. พระบาทของพระมหาบุรุษ กลับไปประดิษฐานเหนือชฎา
ของดาบส เหมือนสายฟ้าแลบกำลังอยู่เหนือยอดเมฆสีเขียวคราม แท้จริง
บุคคลอื่นชื่อว่าอันพระโพธิสัตว์พึงไหว้โดยอัตภาพนั้น ไม่มี ดังนั้น ดาบสจึง
ลุกจากอาสนะประคองอัญชลีต่อพระโพธิสัตว์ พระราชาทรงเห็นความอัศจรรย์
นั้นจึงทรงไหว้พระโอรสของพระองค์ ดาบสเห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์
ระลึกว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า หรือไม่เป็นพระพุทธเจ้าหนอ พิจารณา
ทบทวน รู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย จึง
ทำอาการแย้มว่า ผู้นี้เป็นอัจฉริยบุรุษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 701
ต่อนั้น จึงพิจารณาทบทวนว่า เราจะได้เห็นท่านผู้นี้เป็นพระพุทธ-
เจ้าหรือไม่ได้เห็นหนอ เห็นว่าเราไม่ได้เห็นเราจักทำกาละเสียในระหว่างนี่แล
ไปบังเกิดในอรูปภพ ที่พระพุทธเจ้าร้อยพระองค์ พันพระองค์ ไม่อาจเสด็จ
ไปโปรดให้ตรัสรู้ได้ แล้วร้องไห้ว่า เราจักไม่ได้เห็นอัจฉริยบุรุษเช่นนี้เป็น
พระพุทธเจ้า เราจักเสื่อมใหญ่ มนุษย์ทั้งหลายเห็นก็ถามว่า พระผู้เป็นเจ้า
ของเรา เมื่อกี้หัวเราะกลับมาร้องไห้อีก อันตรายไรๆ จักมีแก่พระลูกเจ้าของ
เราหรือ. ดาบสตอบว่า อันตรายไม่มีแก่พระลูกเจ้านั้นดอก พระลูกเจ้าจักเป็น
พระพุทธเจ้า ไม่ต้องสงสัย มนุษย์ทั้งหลายจึงถามอีกว่า เมื่อเป็นดังนี้ เหตุไร
ท่านจึงร้องไห้เล่า ดาบสตอบว่า เราเศร้าใจถึงตัวเราว่า จักไม่ได้เห็นอัจฉริย-
บุรุษเช่นนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักเสื่อมใหญ่ดังนี้ จึงร้องไห้.
ต่อแต่นั้น พระประยูรญาติให้สรงสนานพระเศียรพระโพธิสัตว์ใน
วันที่ ๕ ปรึกษากันว่า จักเฉลิมพระนาม จึงฉาบทาพระราชนิเวศน์ด้วยของหอม
๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกครบ ๕ ให้หุงข้าวมธุปายาสไม่ผสม นิมนต์
พราหมณ์ ๑๐๘ ผู้จบไตรเพท ให้นั่งในราชนิเวศน์ ให้บริโภคข้าวมธุปายาส
กระทำสักการะแล้วให้ตรวจทำนายพระลักษณะว่าจักเป็นอย่างไร บรรดา
พราหมณ์ ๑๐๘ นั้น พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่าน มีรามพราหมณ์เป็นต้น เป็น
ผู้ตรวจทำนายพระลักษณะ บรรดาพราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น ๗ ท่านยกสอง
นิ้ว พยากรณ์เป็นสองส่วนว่า ประกอบด้วยพระลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครอง
ฆราวาสวิสัยจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อผนวชจะเป็นพระพุทธเจ้า บรรดา
พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น พราหมณ์โดยโคตรชื่อโกณฑัญญะ หนุ่มกว่าเขา
หมด เห็นพระวรลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ ยกนิ้วเดียวเท่านั้น พยากรณ์
เป็นส่วนเดียวว่า ท่านผู้นี้ ไม่มีเหตุอยู่ครองฆราวาสวิสัย จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 702
ผู้มีหลังคาอันเปิดแล้วโดยส่วนเดียว. ครั้งนั้น พระประยูรญาติเมื่อถือพระนาม
ของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเฉลิมพระนามว่าสิทธัตถะ เพราะทรงทำความสำเร็จ
ประโยชน์แก่โลกทั้งปวง.
ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้น กลับถึงบ้านเรือนของตนแล้ว ก็เรียก
ลูกๆ มาพูดสั่งอย่างนี้ว่า พ่อแก่แม่เฒ่าแล้วจะได้อยู่ชมพระโอรสของพระเจ้า
สุทโธทนะ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ หรือไม่ได้ชมก็ได้ แต่เมื่อพระโอรส
พระองค์นั้นทรงผนวชบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ลูก ๆ ก็จงบวชในพระ-
ศาสนาของพระองค์นะ. ต่อนั้น ท่านพราหมณ์บัณฑิต ๗ ท่าน อยู่จนตลอด
ชีวิตแล้วก็ไปตามกรรม โกณฑัญญมาณพ ไม่มีโรค แต่ในครั้งนั้น พระราชา
ทรงสดับคำของพราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า ลูกของเราเห็นอะไร
จึงจักผนวช. พราหมณ์เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่เทวะ เห็นบุพนิมิต ๔ พระเจ้าข้า.
ตรัสถามว่า ก็อะไรกันเล่า. ทูลตอบว่า คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย นักบวช.
พระราชาตรัสสั่งว่า นับตั้งแต่นี้ไปพวกเจ้าอย่าให้ คนแก่ คนเจ็บ นักบวชมา
ใกล้ลูกเรานะ แล้วทรงตั้งกองรักษาการณ์ ทุกระยะคาวุตหนึ่งๆ ทั้ง ๔ ทิศ
เพื่อป้องกันคนแก่เป็นต้นมาปรากฏในสายตาพระกุมาร. วันนั้น พระประยูร-
ญาติแปดหมื่นตระกูล ประชุมกันในมงคลสถาน พระญาติแต่ละพระองค์ก็ทูล
ปฏิญญาถวายโอรสแต่ละองค์ว่า พระกุมารนี้จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือจะเป็น
พระราชาก็ตาม พวกเราก็จะถวายโอรสแต่ละองค์ ถ้าพระกุมารจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าไซร้ ก็จักมีขัตติยสมณะคอยแวดล้อมจาริกไป ถ้าจักเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิไซร้ ก็จักมีขัตติยกุมารคอยแวดล้อมตามเสด็จไป. พระราชาพระ-
ราชทาน พระพี่เลี้ยงนางนม ๖๔ นาง ผู้ปราศจากโทษทุกอย่าง ถึงพร้อม
ด้วยรูปสมบัติอย่างยิ่ง แด่พระมหาบุรุษ พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยด้วยบริวาร
ไม่มีที่สุด ด้วยสิริสมุทัยอย่างใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 703
ต่อมา วันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปมงคล วันนั้นพระราชาเสด็จ
ออกจากพระนครโดยสิริสง่ายิ่งใหญ่ด้วยราชบริพารกลุ่มใหญ่ ทรงพาพระโอรส
เสด็จไปด้วย ณ ที่กสิกรรม มีต้นหว้าต้นหนึ่ง มีเงาทึบร่มเย็นน่ารื่นรมย์อย่าง
ยิ่ง. ทรงปูที่บรรทมสำหรับพระกุมารภายใต้ต้นหว้านั้น ผูกเพดานผ้าแดง
ประดับดาวทอง กั้นม่านตั้งกองรักษาการณ์ พระราชาประดับเครื่องอลังการ
ทุกอย่าง อันหมู่อำมาตย์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปเพื่อจรดพระนังคัล ในที่
กสิกรรมนั้น พระราชาทรงถือพระนังคัลทอง อันเป็นมงคลอย่างยิ่ง พวก
อำมาตย์เป็นต้น ถือหางไถเงินเป็นต้น วันนั้น ประกอบพระราชพิธีจรด
พระนังคัลพันหนึ่ง พระพี่เลี้ยงนางนมนั่งล้อมพระโพธิสัตว์ คิดว่าจักดูสมบัติ
ของพระราชา แล้วพากันออกไปนอกม่าน.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใคร ๆ ก็
พลันลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ยังปฐมฌานให้
เกิด พวกพี่เลี้ยงนางนม เตร่ไปในระหว่างอาหาร ชักช้าอยู่เล็กน้อย เงาของ
ต้นไม้ต้นอื่นๆ คล้อยกลับไป แต่เงาของต้นหว้าต้นนั้น ยังเป็นปริมณฑลตั้งอยู่
ในที่นั้นนั่นเอง ฝ่ายพระพี่เลี้ยงนางนมของพระโพธิสัตว์นั้น คิดว่าพระลูกเจ้า
อยู่แต่ลำพังจึงรีบยกม่านขึ้นหา ก็เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนที่
บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้น ไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา พระราชารีบ
เสด็จมา ทรงเห็นปาฏิหาริย์นั้น ทรงไหว้พระโอรสตรัสว่า ลูกพ่อเอย นี่พ่อไหว้
ลูกเป็นหนที่สองนะ.
ครั้งนั้น พระมหาบุรุษ ทรงมีพระชันษา ๑๖ พรรษา ตามลำดับ
พระราชาโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะ และ สุภะ ๙ ชั้นหลัง
หนึ่ง ๗ ชั้นหลังหนึ่ง ๕ ชั้นหลังหนึ่ง อันเหมาะแก่ ๓ ฤดู แก่พระโพธิสัตว์
ปราสาทแม้ทั้ง ๓ หลัง ส่วนสูงมีขนาดเท่ากัน แต่ชั้นต่างกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 704
พระราชาทรงพระดำริว่า ลูกของเราเจริญวัยแล้ว จำเราจะให้ยกฉัตร
แก่ลูก จักเห็นสิริราชสมบัติ ท้าวเธอก็ทรงส่งสาสน์แก่เจ้าศากยะทั้งหลายว่า
ลูกเราเจริญวัยแล้ว เราจักสถาปนาลูกเราไว้ในสิริราชสมบัติ เจ้าศากยะทุก
พระองค์จงส่งทาริกาที่เจริญวัยแล้วในเรือนของตนไปสู่เรือนนี้. เจ้าศากยะ
เหล่านั้น ฟังสาส์นของพระราชา ก็พากันกล่าวว่า พระกุมาร งามแต่รูปอย่าง
เดียว ยังไม่รู้ศิลปะไรๆ เลย จักไม่อาจทำการเลี้ยงภริยาได้ พวกเราจักไม่ให้
ธิดาของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปหาพระโอรส ทรง
บอกเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ควรจะแสดงศิลปะอะไร พระราชา
ตรัสว่าลูกเอ๋ย ควรจะใช้วิชากำลังบุรุษพันคนยกธนูขึ้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
ถ้าอย่างนั้น โปรดให้นำธนูมา พระราชาโปรดให้นำธนูมาพระราชทาน. บุรุษ
พันหนึ่ง ยกธนูนั้นขึ้น บุรุษพันหนึ่งยกลง. พระมหาบุรุษให้นำนั้นมาแล้ว
ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงคล้องหัวสายธนูที่นิ้วแม่พระบาท โน้มขึ้นธนูด้วยนิ้ว
แม่พระบาทนั่นแหละ ทรงถือคันธนูด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วขึ้นสายธนูด้วยพระ-
หัตถ์ขวา. ทั่วพระนคร ก็ถึงอาการดังกึกก้องขึ้น และเมื่อถูกถามว่านั่น
เสียงอะไร ก็ตอบกันว่า เมฆฝนคำรามดั่งนั้น. คนอื่น ๆ จึงบอกว่า พวกท่าน
ไม่รู้ ไม่ใช่เมฆฝนคำรามดอก เมื่อพระกุมารอังคีรส ทรงใช้วิชากำลังบุรุษ
พันคนยกธนูขึ้น ทรงดีดสายธนู นั่นเสียงดีดสายธนูดอกนะ เจ้าศากยะทั้งหลาย
ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็พากันมีจิตคึกคักมีใจยินดี.
ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า ควรทำอะไรต่อไป.
พระราชาตรัสว่า ควรเอาลูกธนูยิงแผ่นเหล็กหนา ๘ นิ้ว. ทรงยิงทะลุ
แผ่นเหล็กนั้นแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 705
พระราชาตรัสว่า ควรยิงทะลุกระดานไม้ประดู่หนา ๔ นิ้ว ทรงยิง
ทะลุแผ่นกระดานไม้ประดู่นั้นแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.
พระราชาตรัสว่า ควรยิงทะลุแผ่นกระดานไม้มะเดื่อหนาคืบหนึ่ง. ทรง
ยิงทะลุแผ่นกระดานไม้มะเดื่อแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.
เจ้าศากยะทั้งหลายตรัสว่า ยิงเกวียนบรรทุกทราย.
พระมหาสัตว์ทรงยิงทะลุเกวียนบรรทุกทรายบ้าง เกวียนบรรทุกฟาง
บ้าง เกวียนบรรทุกไม้เลียบบ้าง ทรงยิงลูกธนูไปในน้ำได้ประมาณอุสภะหนึ่ง
บนบกได้ประมาณแปดอุสภะ.
ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ควรยิงขนทราย
ที่หมายไว้ที่ผลมะอึก.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงผูกผลมะอึก ไกล
ประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วให้ผูกขนทรายที่หมายไว้ที่ผลมะอึก ไกลประมาณ
โยชน์หนึ่ง ทรงยิงลูกธนูไปในทิศที่ปิดด้วยแผ่นเมฆ ในความมืดแห่งราตรี.
ลูกธนูนั้นไปผ่าขนทราย ไกลประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วเข้าไปสู่แผ่นดิน. มิใช่
เพียงเท่านั้นอย่างเดียว วันนั้น พระมหาบุรุษทรงแสดงศิลปะที่ใช้กันอยู่ในโลก
ทุกอย่าง.
ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายประดับธิดาของตนส่งไป สตรีสี่หมื่นนาง
ได้เป็นนางสนมนาฏ ส่วนพระเทวีมารดาพระราหุล ได้เป็นอัครมเหสี. พระ-
มหาบุรุษอันสตรีรุ่นจำเริญแห่งมนุษย์แวดล้อม เหมือนเทวกุมาร อันสตรีรุ่น
จำเริญแห่งเทวดาแวดล้อมฉะนั้น อันดนตรีที่ไร้บุรุษบำเรออยู่ เสวยมหาสมบัติ
ประทับอยู่ ณ ปราสาท ๓ หลังนั้น เปลี่ยนไปตามฤดู.
ต่อมาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภาคพื้นที่พระ-
อุทยาน ทรงเรียกสารถีมาแล้วตรัสสั่งว่า จงเทียมรถไว้ เราจะชมสวน สารถี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 706
นั้นรับพระดำรัสแล้ว ก็ประดับรถอันเป็นพาหนะที่สมควรยิ่งใหญ่ มีทูบและ
สายรัดงามมั่นคง มีกงและดุมมั่นคง มีงอนและหน้าประดับด้วยทองเงินและ
แก้วมณี ข้างกงประดับด้วยดวงดาวทองและเงิน มีสิริสง่าด้วยพวงดอกไม้มี
กลิ่นหอมชนิดต่าง ๆ ที่กำรวมกันไว้ เป็นที่น่าดูเสมือนรถพระอาทิตย์ เทียม
มงคลสินธพ ๔ ตัว ที่เป็นม้าอาชาไนย ฝีเท้าดังพระยาครุฑในอากาศ มีสี
เสมือนดวงจันทร์และดอกกุมุท แล้วทูลให้พระโพธิสัตว์ทรงทราบ พระโพธิ-
สัตว์ เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่งคันนั้น ซึ่งเสมือนเทพพิมาน เสด็จบ่ายพระพักตร์
ไปสู่พระอุทยาน.
ลำดับนั้น เทวดาทั้งหลายดำริกันว่า ใกล้เวลาตรัสรู้ของพระสิทธัตถะ
กุมารแล้ว จำเราจักแสดงบุพนิมิตแด่พระองค์ จึงแสดงเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง
มีสรีระคร่ำคร่าเพราะชรา ฟันหัก ผมหงอก ตัวค้อมลง สั่นเทา. พระโพธิสัตว์
และสารถีต่างก็เห็นคนแก่นั้น. แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสถามโดยนัยที่มาใน
มหาปทานสูตรว่า ดูก่อนสารถี บุรุษนั่นชื่ออะไร แม้แต่ผมของเขาก็ไม่เหมือน
ของคนอื่น ๆ เป็นต้น ครั้นฟังคำของสารถีนั้นแล้ว ก็ทรงสังเวชพระหฤทัยว่า
ท่านเอ๋ย น่าตำหนิชาติจริงหนอ ที่คนเกิดมาแล้ว ต้องปรากฏชราความแก่
ดังนี้ เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วก็เสด็จขึ้นปราสาท.
พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ลูกของเราจึงกลับ. สารถีทูลว่า
เพราะทรงเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า. แต่นั้น พระราชาทรงหวั่นพระหฤทัย ทรง
วางกองรักษาการณ์ไว้ในที่กึ่งโยชน์. วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปพระอุทยาน
ทรงเห็นคนเจ็บ ซึ่งเทวดาเหล่านั้นนั่นแหละเนรมิต ทรงถามเหมือนนัยก่อน
สังเวชพระหฤทัย เสด็จกลับขึ้นปราสาท. พระราชาตรัสถามแล้ว ทรงจัดนัก
ฟ้อนทั้งหลาย ทรงพระดำริว่า จำเราจักทำใจลูกเราให้แยกออกไปจากการบวช
จึงทรงเพิ่มอารักขา ทรงตั้งกองรักษาการณ์ในที่ประมาณสามคาวุตโดยรอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 707
แม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็นคน
ตายที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ทรงถามเหมือนนัยก่อน สังเวชพระ-
หฤทัยแล้วเสด็จกลับขึ้นปราสาทเลย พระราชาตรัสถามถึงเหตุที่เสด็จกลับ ทรง
เพิ่มอารักขาอีก ทรงดังกองรักษาการณ์ไว้ในที่โยชน์หนึ่ง.
แม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็น
นักบวชนุ่งดี ห่มดี ที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ตรัสถามสารถีว่า
สหายสารถี ผู้นั้นชื่ออะไร. สารถีไม่รู้จักนักบวชหรือคุณของนักบวช เพราะ
พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เขาก็ตอบโดยอานุภาพของเทวดา
ว่า ผู้นี้ชื่อนักบวช พระเจ้าข้า. แล้วพรรณาคุณของการบวชแก่พระโพธิสัตว์
นั้น.
แต่นั้น พระโพธิสัตว์เกิดความชอบใจการบวช จึงเสด็จไปพระอุทยาน.
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอายุยืน เมื่อล่วงไปทุกร้อยปี จึงเห็นบุพนิมิตแต่ละอย่าง
บรรดาบุพนิมิต ๔ มีคนแก่เป็นต้น. ส่วนพระโพธิสัตว์ของเรา เพราะอุบัติ
ในยุคที่มนุษย์มีอายุน้อย ล่วงไปทุก ๔ เดือน จึงเสด็จไปพระอุทยาน ทรง
เห็นบุพนิมิตแต่ละอย่างโดยลำดับ. แต่พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าว
ว่า ได้เสด็จไปเห็นนิมิต ๔ วันเดียวกันเท่านั้น. พระโพธิสัตว์ทรงเล่น ณ
พระอุทยานนั้น ตลอดทั้งวัน ทรงชื่นชมรสพระอุทยาน แล้วทรงสรงสนาน
ณ สระมงคลโบกขรณี เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงคต ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่น
มงคลศิลา มีพระประสงค์จะทรงแต่งพระองค์.
ลำดับนั้น วิสสกรรมเทพบุตร อันท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงทราบ
พระหฤทัยของพระโพธิสัตว์ ทรงใช้แล้ว ก็มาเป็นเสมือนช่างกัลบกสำหรับ
พระโพธิสัตว์นั้น ก็ประดับด้วยเครื่องอลังการที่เป็นทิพย์ เมื่อนักดนตรี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 708
สัพพตาลทั้งหลายแสดงปฏิภาณของตน ๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้น ซึ่งประดับด้วย
อลังการทุกอย่างแล้ว และเมื่อพราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญด้วยถ้อยคำเป็นต้นว่า
ชย นรินฺท ข้าแต่พระจอมนระ ขอจงทรงชนะ และเมื่อผู้ถือมงคลมีสุตมัง-
คลิกะเป็นต้น สรรเสริญด้วยคำมงคลและเสียงสดุดีมีประการต่าง ๆ พระโพธิสัตว์
ก็เสด็จขึ้นรถ ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง.
สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงสดับข่าวว่า พระมารดาพระ-
ราหุลประสูติโอรส ก็ทรงส่งข่าวไปว่า พวกเจ้าจงแจ้งความยินดีแก่ลูกของเรา.
พระโพธิสัตว์ฟังข่าวนั้นแล้วตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว. พระราชา
ตรัสถามว่า ลูกของเราพูดอะไร. ทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็น
ต้นไป หลานเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร.
แม้พระโพธิสัตว์ ก็ขึ้นทรงรถนั้นเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วยราชบริพาร
หมู่ใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์อันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก สมัยนั้น นางกษัตริย์ พระนาม
ว่า กีสาโคตมี เพราะไม่ทรามด้วยพระรูปสิริ และพระคุณสมบัติ เสด็จไป
ตามพื้นปราสาทชั้นบน ทรงเห็นพระรูปสิริของพระโพธิสัตว์กำลังเสด็จเข้าสู่
พระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้นเอง ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า
นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา
นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสาย อีทิโส ปติ.
บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาผู้ใด มารดาผู้นั้น
ก็เย็นใจแน่ เป็นบุตรของบิดาผู้ใด บิดาผู้นั้น ก็เย็นใจ
แน่ เป็นสามีของนารีผู้ใด นารีผู้นั้น ก็เย็นใจแน่.
พระโพธิสัตว์ทรงสดับอุทานนั้นแล้ว ทรงดำริว่า สตรีผู้นี้ให้เราได้
ยินถ้อยคำที่น่าฟังอย่างดี ด้วยว่าเราก็กำลังเที่ยวแสวงหานิพพาน วันนี้นี่แหละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 709
ควรที่เราจะละทิ้งฆราวาสวิสัยแล้วออกบวชแสวงหานิพพาน ทรงเปลื้องแก้ว
มุกดาหารออกจากพระศอ ทรงส่งแก้วมุกดาหารที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง มีค่า
นับแสน แด่เจ้าหญิงกีสาโคตมี ด้วยหมายพระหฤทัยว่า แก้วมุกดาหารนี้ จง
เป็นสักการะส่วนบูชาอาจารย์สำหรับเจ้าหญิงพระองค์นี้. เจ้าหญิงกีสาโคตมีนั้น
เกิดโสมนัสว่า สิทธัตถะกุมารมีจิตปฏิพัทธ์ในเรา ทรงส่งบรรณาการมาประทาน
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นปราสาทที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุให้
เกิดสิริยิ่งใหญ่ บรรทมเหนือพระที่บรรทม ในทันใดนั่นเอง เหล่าสตรีรุ่น ๆ
ทั้งหลาย ผู้มีดวงหน้างามเสมือนดวงจันทร์เต็มดวง มีริมฝีปากแดงเสมือนผล
ตำลึงสุก มีฟันขาวสะอาดเรียบมีระเบียบไม่มีร่อง มีดวงตาเขียวคราม มีมวยผม
มีคิ้วโก่งเขียวจัดดังดอกอัญชัน มีเต้านมเอิ่บอิ่มเต็มเสมอเป็นระเบียบ มีตะโพก
ส่วนหน้าส่วนหลังผายคล่องแคล่ว ดังมณีเมขลาประดับด้วยทองและเงิน ทำ
ความรื่นรมย์ มีลำขาทั้งคู่เฉกเช่นงวงกุญชร ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องและ
บรรเลง มีรูปโฉมไฉไลเช่นเทพธิดา ถือดนตรีที่มีเสียงไพเราะ พากันมาห้อม
ล้อมพระมหาบุรุษนั้น ให้ทรงรื่นเริง ประกอบการฟ้อน การขับร้อง และ
บรรเลง. แต่พระโพธิสัตว์ไม่ทรงยินดียิ่งในการฟ้อนการขับร้องเป็นต้น เพราะ
ทรงมีจิตหน่ายในกิเลสทั้งหลาย บรรทมหลับไปครู่หนึ่ง.
สตรีเหล่านั้น เห็นพระโพธิสัตว์นั้น คิดว่า พวกเราประกอบการ
ฟ้อนเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นก็บรรทมหลับไปแล้ว
บัดนี้ พวกเราจะลำบากเพื่อประโยชน์อะไรเล่า แล้วก็นอนทับดนตรีที่ต่างถือกัน
อยู่หลับไป ประทีปน้ำมันหอมก็ยังติดโพลงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม
ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่เหนือหลังพระที่บรรทม ทรงเห็นสตรีเหล่านั้น นอนทับ
เครื่องดนตรี มีน้ำลายไหล มีแก้มและเนื้อตัวสกปรก บางพวกกัดฟัน บาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 710
พวกกรน บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ปรากฏ
ที่น่ากลัวที่คับแคบ บางพวกมีผมปล่อยยุ่ง นอนทรงรูปเหมาะแก่ป่าช้า พระ
มหาสัตว์ทรงเห็นอาการแปลกๆ ของสตรีเหล่านั้น ก็ยิ่งทรงมีจิตหน่ายในกาม
ทั้งหลายสุดประมาณ พื้นปราสาทที่ประดับตกแต่งแม้งดงามเสมือนภพท้าว
สหัสสนัยน์ ก็ปรากฏแก่พระมหาสัตว์นั้น ปฏิกูลอย่างยิ่ง เหมือนป่าช้าผีดิบ
ที่เต็มด้วยซากศพสรีระของคนตายที่เขาทอดทิ้งไว้ แม้ภพทั้งสามก็ปรากฏเสมือน
ภพที่ไฟไหม้ ทรงพร่ำบ่นว่า วุ่นวายจริงหนอ ขัดข้องจริงหนอ พระหฤทัย
ก็น้อมไปเพื่อบรรพชาอย่างยิ่ง พระองค์ทรงดำริว่าวันนี้นี่แหละ เราควรออก
มหาภิเนษกรมณ์ทรงลุกจากที่พระบรรทม เสด็จไปใกล้ประตู ตรัสถามว่าใคร
อยู่ที่นั่น นายฉันนะ นอนศีรษะใกล้ธรณีประตู ทูลว่า ข้าพระบาทฉันนะ
พระลูกเจ้า ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า วันนี้เราประสงค์จะออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ เจ้าอย่าบอกใคร จงเตรียมสินธพเร็วฝีเท้าจัดไว้ตัวหนึ่งนะ นาย
ฉันนะนั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ถือเครื่องประกอบม้าไปยังโรงม้า พบม้าฝีเท้า
ดีชื่อกัณฐกะ ย่ำยีข้าศึกได้ ยืน ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ภายใต้เพดาน
แผ่นดอกมะลิ เมื่อประทีบน้ำมันหอม ยังลุกโพลงอยู่คิดว่า วันนี้เราควรเตรียม
ม้ามงคลตัวนี้ เพื่อพระลูกเจ้าออกอภิเนษกรมณ์ แล้วก็เตรียมม้ากัณฐกะไว้
ม้ากัณฐกะนั้นเมื่อถูกจัดเตรียมไว้ก็รู้ว่า การจัดเตรียมนี้ หนักนัก ไม่เหมือน
การจัดเตรียมในเวลาเสด็จไปเล่นสวน วันอื่น ๆ พระลูกเจ้าจักออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ในวันนี้ ไม่ต้องสงสัยเลย. แต่นั้น ม้ากัณฐกะก็มีใจยินดีร้องดังลั่น เสียง
ร้องนั้น กังวาลไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ แต่เทวดาปิดกั้นไว้ไม่ให้ใครๆ ได้ยิน.
พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักดูลูกเสียก่อน จึงลุกจากที่ประทับยืนอยู่
เสด็จไปยังที่ประทับอยู่ของพระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้อง ขณะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 711
ประทีปน้ำมันหอมในห้อง ยังติดโพลงอยู่. พระมารดาพระราหุล บรรทมวาง
พระหัตถ์ไว้เหนือกระหม่อมพระโอรสบนที่บรรทม อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิ
เป็นต้นเป็นอัมพณะ พระโพธิสัตว์วางพระบาทที่ธรณีประตู ประทับยืนทรง
มองดู ทรงดำริว่า ถ้าเราจักยกพระหัตถ์ของพระเทวีออกไปแล้วจับลูกเรา
พระเทวีก็จักตื่นเมื่อเป็นดั่งนั้น อภิเนษกรมณ์ของเราก็จักเป็นอันตราย เราจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงค่อยมาดูลูกเรา เสด็จลงจากพื้นปราสาทแล้วเสด็จเข้า
ไปใกล้มาตรัสอย่างนี้ว่า พ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าต้องให้เราข้ามไปราตรีหนึ่ง เรา
อาศัยเจ้าแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า ยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ แต่นั้นก็ทรง
โดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ. ม้ากัณฐะ โดยส่วนยาวนับตั้งแต่คอ ก็ยาว ๑๘ ศอก
ประกอบด้วยส่วนสูงพอเหมาะกับส่วนยาวนั้น ถึงพร้อมด้วยรูป ฝีเท้าและกำลัง
อันเลิศ ขาวปลอด สีสรรน่าดูเสมือนสังข์ขัด แต่นั้น พระโพธิสัตว์ ประทับอยู่
บนหลังม้าทรง โปรดให้นายฉันนะจับหางม้า ถึงประตูใหญ่แห่งพระนครตอน
ครึ่งคืน.
ครั้งนั้น แต่ก่อน พระราชาโปรดให้จัดบุรุษไว้คอยเปิดประตู ๆ ละ
พันคน บรรดาบานประตู ๒ ประตู เพื่อห้ามพระโพธิสัตว์เสด็จไป ทรงวาง
บุรุษไว้เป็นอันมาก กองรักษาการณ์ ณ บานประตูนั้น ได้ยินว่า พระโพธิ-
สัตว์ทรงกำลังเท่ากับบุรุษจำนวนแสนโกฏิ เท่ากับช้างจำนวนพันโกฏิ เพราะ
ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงทรงดำริว่า ผิว่า ประตูไม่ยอมเปิด วันนี้เราจะ
นั่งหลังกัณฐกะ ให้นายฉันนะจับหาง เอาสองชาบีบกัณฐกะ โดดขึ้นผ่าน
กำแพง ๑๘ ศอก ไปพร้อมกับฉันนะเลย นายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด
เราก็จะเอาพระลูกเจ้าขึ้นบนคอ เหวี่ยงกัณฐกะด้วยมือขวา หนีบไว้ที่รักแร้จะ
โดดขึ้นผ่านกำแพงไปได้ ม้ากัณฐกะก็คิดว่า เมื่อประตูไม่เปิด เราก็จักประดิษ-
ฐานพระลูกเจ้าตามที่ประทับนั่งอยู่ โดดขึ้นไปพร้อมกับนายฉันนะ ที่จับหางไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 712
โดดไว้ข้ามหน้ากำแพงไป ทั้งสามคนคิดเหมือนกันอย่างนี้ เทวดาที่สิงสถิตอยู่
ที่ประตูก็ช่วยกันเปิดประตูใหญ่.
ขณะนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระมหาสัตว์กลับไป จึงมายืนอยู่
กลางอากาศกล่าวว่า
มา นิกฺขม มหาวีร อิโต เต สตฺตเม ทิเน
ทิพฺพ ตุ จกฺกรตน อทฺธา ปาตุ ภวิสฺสติ.
ท่านมหาวีระ อย่าออกอภิเนษกรมณ์เลย นับแต่
นี้ไป ๗ วัน จักรรัตนะทิพย์จะปรากฏ แก่ท่านแน่นอน.
ท่านจักครองราชย์แห่งทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร กลับ
เสียเถิด ท่านผู้นิรทุกข์. พระมหาบุรุษตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร. มารตอบว่า
เราเป็นผู้มีอำนาจ [มาร] พระมหาบุรุษตรัสว่า
ชานามห มหาราช มยฺห จกฺกสฺส สมฺภว
อนตฺถิโกห รชฺเชน คจฺฉ ตฺว มาร มา อิธ.
ดูก่อนมหาราช เรารู้ว่าจักกรัตนะ จะปรากฏแก่
เรา แต่เราไม่ต้องการจักกวัตติราชย์ ไปเสียเถิดมาร
อย่ามาในที่นี้เลย.
สกล ทสสหสฺสมฺปิ โลกธาตุมห ปน
อุนฺนาเทตฺวา ภวิสฺสามิ พุทฺโธ โลเก วินายโก.
แต่เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษในโลก
บันลือลั่นไปทั่วหมื่นโลกธาตุ.
มารนั้น ก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง.
เวลาที่พระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระมหาสัตว์ทรงทิ้งจักรวรรดิราชย์
ที่ตกอยู่ในพระหัตถ์ ไม่ทรงเยื่อใยเหมือนก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระราชย์-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 713
นิเวศน์อันเป็นสิรินิวาสแห่งจักรพรรดิ เมื่อดาวนักษัตรอุตตราสาฬหะเพ็ญเดือน
อาสาฬหะ เสด็จออกจากพระนคร ได้มีพระประสงค์จะทรงแลดูพระนคร ใน
ลำดับแห่งความตรึกนั่นเอง ภูมิประเทศนั้น ก็แปรเปลี่ยนไปเหมือนจักรแป้น
หมุนทำภาชนะดิน แก่พระองค์ พระมหาสัตว์ทรงยืนอยู่อย่างเดิม ทอดพระเนตร
กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงกระตุ้นม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปตามทางที่พึงไป แสดงเจดีย-
สถาน ชื่อ กัณฐกนิวัตตนะ ที่ม้ากัณฐกะหันหน้ากลับ ณ ภูมิประเทศนั้น
เสด็จไปด้วยสักการะยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุให้เกิดสิริอันโอฬาร.
ครั้งนั้น เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเสด็จไป เทวดาทั้งหลายชูคบเพลิง
จำนวนหกล้านดวงข้างหน้าพระมหาสัตว์นั้น ข้างหลังก็หกล้านดวงเหมือน
กัน ข้างขวาก็หกล้านดวง ช้างซ้ายก็เหมือนกัน เทวดาพวกอื่น ๆ อีก
ก็สักการะด้วยพวงมาลัยดอกไม้หอม จุรณจันทน์ พัดจามรและธงผ้า ห้อม
ล้อมไป สังคีตทิพย์และดนตรีเป็นอันมาก ก็บรรเลงได้เอง.
พระโพธิสัตว์ เสด็จไปด้วยเหตุที่ให้เกิดสิริอย่างนี้ เสด็จหนทาง ๓๐
โยชน์ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร ราตรีเดียวเท่านั้น ก็ถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงยืน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ตรัสถามนายฉันนะว่า
แม่น้ำนี้ชื่อไร ทูลตอบว่า แม่น้ำอโนมา ทรงใช้ส้นพระบาท กระแทกม้าให้
สัญญาณแก่ม้า ม้าก็โดดไปยืนอยู่ริมฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำซึ่งกว้าง ๘ อุสภะ พระ
โพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนที่หาดทรายเสมือนกองแก้วมุกดา เรียก
นายฉันนะมาตรัสสั่งว่า สหายฉันนะ เจ้าจงนำอาภรณ์ของเรากับกัณฐกะกลับไป
เราจักบวช.
นายฉันนะทูลว่า แม้ข้าพระบาทก็จักบวช พระลูกเจ้า. พระโพธิสัตว์
ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม ๓ ครั้งแล้ว ทรงมอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 714
อาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ ไม่เหมาะแก่สมณะ
จำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์
ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศา
สององคุลีเวียนขวา ตัดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จน
ตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุ ก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น แต่พระ-
องค์ไม่มีกิจที่จะต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีกเลยนี้ พระโพธิสัตว์ทรงรวบ
พระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้
จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปใน
อากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะ
ขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์
สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์ ดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า
เฉตฺวาน โมลึ วรคนฺธวาสิต
เวหายส อุกฺขิปิ อคฺคปุคฺคโล
สหสฺสเน โต สิรสา ปฏิคฺคหิ
สุวณฺณจงฺโกฏวเรน วาสโว.
พระผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วย
ของหอมอย่างดี ทรงเหวี่ยงขึ้นสู่อากาศ ท้าววาสวะ
สหัสสนัยน์ ทรงเอาผอบทองอย่างดีรับไว้ด้วยเศียร
เกล้า.
พระโพธิสัตว์ทรงดำริอีกว่า ผ้ากาสีเหล่านั้นมีค่ามาก ไม่เหมาะแก่
สมณะของเรา ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหม สหายเก่าครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 715
ของพระโพธิสัตว์นั้น ดำริโดยมิตรภาพที่ไม่ถึงความพินาศตลอดพุทธันดรหนึ่ง
ว่า วันนี้สหายเราออกอภิเนษกรมณ์ จำเราจักถือสมณบริขารไปเพื่อสหายนั้น
จึงนำบริขาร ๘ เหล่านั้นไปถวาย คือ
ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สูจิ จ พนฺธน
ปริสฺสาวนญฺจ อฏฺเเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.
บริขาร ๘ เหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม
รัดประคด และผ้ากรองน้ำ เป็นของภิกษุผู้ประกอบ
ความเพียร.
พระมหาบุรุษทรงครองผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ถือเพศบรรพชาสูง
สุด ทรงเหวี่ยงคู่ผ้า [นุ่งห่ม] ไปในอากาศ. ท้าวมหาพรหมรับคู่ผ้านั้นแล้ว
สร้างเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะขนาด ๑๒ โยชน์ในพรหมโลก บรรจุคู่ผ้านั้นไว้ข้าง
ใน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะนายฉันนะว่า ฉันนะเจ้าจงบอกแก่พระชนก
พระชนนีตามคำของเราว่า เราสบายดี แล้วทรงส่งไป. แต่นั้น นายฉันนะก็
ถวายบังคมพระมหาบุรุษ ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ส่วนม้ากัณฐกะยืนฟังคำ
ของพระโพธิสัตว์ ผู้ปรึกษากับนายฉันนะ รู้ว่า บัดนี้เราจะไม่เห็นนายของเรา
อีก พอละสายตาของพระมหาบุรุษนั้น ไม่อาจทนวิปโยคทุกข์ได้ ก็หัวใจแตก
ตายไปบังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพที่ข้าศึกของ
เทวดาครอบงำได้แสนยาก การอุบัติของกัณฐกะเทพบุตรนั้น พึงถือเอาตาม
อรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อวิมลัตถวิลาสินี. ความโศกได้มีแก่นายฉันนะเป็นครั้ง
ที่ ๑ เพราะความตายของม้ากัณฐกะ นายฉันนะ ถูกความโศกครั้งที่ ๒ เบียด
เบียน ก็ร้องไห้คร่ำครวญ เดินทางไปด้วยความทุกข์.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงผนวชแล้ว ในประเทศนั้นนั่นแล มีสวน
มะม่วงชื่อ อนุปิยะ อยู่ จึงทรงยับยั้งอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน นั้น ๗ วัน ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 716
ความสุขในบรรพชาภายหลังจากนั้น ก็ทรงสำรวมด้วยผ้ากาสาวะอันดี เหมือน
ดวงรัชนีกรเต็มดวง สำรวมอยู่ในหมู่เมฆที่อาบด้วยแสงสนธยา แม้ลำพัง
พระองค์ก็รุ่งเรืองเหมือนชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงทำบรรพชานั้น
เหมือนน้ำอมฤตต้องของเหล่ามฤคและปักษีที่อยู่ป่า ทรงเที่ยวไป พระองค์
เดียวเหมือนราชสีห์ ทรงเป็นนรสีหะ เหมือนควาญผู้ รู้จักลีลาของช้างตกมัน
ยังแผ่นดินให้เบาด้วยฝ่าเท้า เสด็จเดินทาง ๓๐ โยชน์ วันเดียวเท่านั้น ทรง
ข้ามแม่น้ำคงคา ซึ่งคลั่งด้วยฤดูและคลื่น แต่ไม่ขัดข้อง เสด็จเข้าสู่นครราช-
คฤห์ เรือนหลวงอันแพรวพราวด้วยประกายแสงแห่งรัตนะ ครั้นเสด็จเข้าไป
แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาภิกษาตามลำดับตรอก. ทั่วทั้งนครนั้นก็สะเทือนเพราะการ
เห็นพระรูปของพระโพธิสัตว์ เหมือนนครนั้นสะเทือน เมื่อช้างธนบาลเข้าไป
เหมือนเทวนครสะเทือน เมื่อจอมอสูรเข้าไป. เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จเที่ยวแสวง
หาภิกษา พวกมนุษย์ชาวพระนคร เกิดความอัศจรรย์สำหรับผู้เกิดปีติโสมนัส
เพราะเห็นพระรูปของพระมหาสัตว์ ก็ได้มีใจนึกถึงการเห็นพระรูปของพระ
โพธิสัตว์.
บรรดามนุษย์เหล่านั้น มนุษย์ผู้หนึ่งกล่าวกะมนุษย์ผู้หนึ่งอย่างนี้ว่า
ท่านเอย เหตุอะไรหนอ จันทร์เพ็ญ ที่มีช่อรัศมีที่ถูกภัยคือราหูกำบังแล้ว ยังมาสู่
มนุษยโลกได้. มนุษย์อื่นนอกจากนั้น ก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า พูดอะไรกันสหาย
ท่านเคยเห็นจันทร์เพ็ญมาสู่มนุษยโลกกันเมื่อไร นั่นกามเทพมีดอกไม้เป็นธง
มิใช่หรือ ท่านถือเพศอื่นเห็นความเจริญของลีลาอย่างยิ่งของมหาราชของเรา
และชาวเมือง จึงเสด็จมาเล่นด้วย. คนอื่นนอกจากนั้นก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า ท่าน
เอย ท่านเป็นบ้ากันแล้วหรือ นั่น พระอินทรผู้มีสรีระร้อนเรืองด้วยความ
โหมของเพลิงยัญอันเรืองแรง ผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ เป็นเจ้าแห่งเทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 717
มาในที่นี้ด้วยความสำคัญว่า อมรปุระ คนอื่นนอกจากนั้น หัวร่อนิดหน่อย
แล้วกล่าวว่า ท่านเอย พูดอะไรกัน ท่านผิดทั้งคำต้นคำหลัง ท่านผู้นั้นมี
พันคาที่ไหน มีวชิราวุธที่ไหน มีช้างเอราวัณที่ไหน ที่แท้ ท่านผู้นั้นเป็น
พรหม ท่านรู้ว่าคนที่เป็นพราหมณ์ประมาทกันจึงมาเพื่อประกอบไว้ในพระเวทแล
เวทางค์เป็นต้นต่างหากเล่า. คนอื่นที่เป็นบัณฑิตก็ปรามคนเหล่านั้นทั้งหมดพูด
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่พระจันทร์เพ็ญ มิใช่กามเทพ มิใช่ท้าวสหัสนัยน์ มิใช่
พรหมทั้งนั้น แต่ท่านผู้นี้ เป็นอัจฉริยมนุษย์ จะเป็นศาสดาผู้นำโลกทั้งปวง.
เมื่อชาวนครเจรจากันอยู่อย่างนี้ พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระเจ้าพิมพิสารว่า ข้าแต่สมมุติเทพ เทพ คนธรรพ์ หรือนาคราช ยักษ์ หรือ
ใครหนอเที่ยวแสวงหาภิกษาในนครของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว
ทรงยืน ณ ประสาทชั้นบน ทรงเห็นพระมหาบุรุษเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี ทรงสั่ง
พวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปทดสอบท่านผู้นั้น ถ้าเป็นอมนุษย์ ก็จักออก
จากนครหายไป ถ้าเป็นเทวดา ก็จักไปทางอากาศ ถ้าเป็นนาคราช ก็จักมุดดิน
ถ้าเป็นมนุษย์ ก็จักบริโภคภิกษาตามที่ได้มา.
ฝ่ายพระมหาบุรุษ มีอินทรีย์สงบ มีพระหฤทัยสงบเป็นประหนึ่งดึงดูด
สายตามหาชน เพราะความงามแห่งพระรูป ทรงแลชั่วแอก รวบรวมอาหาร
ระคนกัน พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เสด็จออกจากนครทางประตูที่เสด็จเข้า
มา บ่ายพระพักตร์ไปทางตะวันออกแห่งร่มเงาภูเขาปัณฑวะ ประทับนั่งพิจารณา
อาหาร ไม่มีอาการผิดปกติเสวย. แต่นั้น พวกราชบุรุษก็ไปกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระราชา.
ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ พระนามว่าพิมพิสาร ผู้อัน
เหล่าพาลชนนึกถึงได้ยาก ผู้มีเขาพระเมรุและเขามันทาระเป็นสาระ ผู้ทรงเป็น
แก่นสารแห่งสัตว์ ทรงมีความตื่นเต้นเพราะการเห็น ที่เกิดเพราะได้สดับคุณของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 718
พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ทรงรีบเสด็จออกจากพระนคร บ่ายพระพักตร์ตรงภูเขา
ปัณฑวะ เสด็จไปแล้ว ลงจากพระราชยาน เสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์
อันพระโพธิสัตว์ทรงอนุญาตแล้วประทับนั่งเหนือพื้นศิลา อันเย็นด้วยความรัก
ของชนผู้เป็นพวกพ้องทรงเลื่อมใสในพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ทรงได้รับ
ปฏิสันถารแล้ว ทรงถามถึงนามและโคตร ทรงมอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างแด่
พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉันไม่ประสงค์
ด้วยวัตถุกาม หรือกิเลสกาม หม่อมฉันปรารถนาแต่พระปรมาภิสัมโพธิญาณ
จึงออกบวช. พระราชาแม้ทรงอ้อนวอนหลายประการ ก็ไม่ได้น้ำพระหฤทัย
ของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า จักทรงเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงทูลว่าก็พระ-
องค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นของหม่อมฉันก่อน แล้วเสด็จ
เข้าสู่พระนคร.
อถ ราชคห วรราชคห
นรราชวเร นคร ตุ คเต
คิริราชวโร มุนิราชวโร
มิคราชคโต สุคโตปิ คโต.
เมื่อพระนรราชผู้ประเสริฐ เสด็จสู่กรุงราชคฤห์
ซึ่งมีเรือนหลวงอย่างประเสริฐ พระจอมคีรีผู้ประเสริฐ
พระจอมมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จไปเป็นเช่นพระยามฤค
[ราชสีห์] เสด็จไปแล้ว ชื่อว่าเสด็จไปดีแล้ว.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจาริกไปตามลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ทรง
ดำริว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ ไม่ทรงใส่พระหฤทัยถึงสมาปัตติ-
ภาวนานั้นมีพระประสงค์จะทรงตั้งความเพียร จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาทรงดำริว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 719
ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลนั้น ทรงตั้งความเพียรยิ่งใหญ่.
ชน ๕ คนเหล่านี้คือบุตรของพราหมณ์ผู้ทำนายพระมหาปุริสลักษณะ ๔ คน
และพราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะ บวชคอยอยู่ก่อน เที่ยวภิกษาจารไปในคามนิคม
ราชธานีทั้งหลาย บำรุงพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น เมื่อพากันบำรุงพระ-
โพธิสัตว์ ผู้ตั้งความเพียรยิ่งใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี ด้วยวัตรปฏิบัติมีกวาดบริเวณเป็นต้น
ด้วยหวังอยู่ว่า พระโพธิสัตว์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้ จักทรงเป็นพระพุทธ-
เจ้าบัดนี้ อยู่ประจำสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงยับยั้งอยู่
ด้วยงาและข้าวสารเมล็ดเดียว ด้วยทรงหมายจักทำทุกกรกิริยาอันถึงที่สุด ได้
ทรงตัดอาหารโดยประการทั้งปวง. แม้เทวดาทั้งหลาย ก็นำทิพโอชะใส่ลงตาม
ขุมขนทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระวรกายที่มีสีทองของพระองค์ผู้มีพระกายถึงความซูบผอม
อย่างยิ่ง เพราะไม่มีอาหารนั้นก็มีสีดำ. พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ก็ถูกปกปิด.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ทรงถึงที่สุดแห่งทุกกรกิริยา ทรงดำริว่า นี้ไม่ใช่ทาง
แห่งพระโพธิญาณ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารหยาบ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ณ คามนิคมทั้งหลาย เสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระมหาปุริสลักษณะ
๓๒ ก็กลับเป็นปกติ พระวรกายมีสีเหมือนสีทอง. ขณะนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นพระองค์ ก็คิดว่า ท่านผู้นี้ แม้ทำทุกกรกิริยามา ๖ ปี ก็ไม่อาจแทงตลอด
พระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้ยังเที่ยวบิณฑบาตไปในคามนิคมราชธานีทั้ง
หลาย บริโภคอาหารหยาบ จักอาจได้อย่างไร ท่านผู้นี้มักมากคลายความเพียร
ประโยชน์อะไรของเราด้วยท่านผู้นี้ แล้วก็ละพระมหาบุรุษ พากันไปยัง
ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี.
สมัยนั้น วันวิสาขบูรณมี พระมหาบุรุษเสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งเทวดา
ใส่ทิพโอชะ อันหญิงวัยรุ่นชื่อสุชาดา ผู้บังเกิดในครอบครัวของเสนานีกุฎุมพี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 720
ตำบลอุรุเวลา เสนานิคมถวายแล้ว ทรงถือถาดทองวางลงสู่กระแสแม่น้ำ
เนรัญชรา ปลุกพระยากาฬนาคราชผู้หลับให้ตื่นแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์
ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ซึ่งประดับด้วยดอกไม้หอม มีแสงสีเขียว น่า
รื่นรมย์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเวลาเย็น เสด็จมุ่งตรงไปยังต้นโพธิพฤกษ์ตาม
ทางที่เทวดาทั้งหลายประดับแล้ว. เทวดานาคยักษ์สิทธาเป็นต้น พากัน
บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้. สมัยนั้น คนหาหญ้า ชื่อโสตถิยะ
ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของพระมหาบุรุษ จึงถวายหญ้า ๘ กำ พระ-
โพธิสัตว์ทรงรับหญ้าแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ซึ่ง
เป็นวิชัยพฤกษ์อันรุ่งโรจน์กว่าหมู่ต้นไม้ทั้งหลาย คล้ายอัญชันคิรีสีเขียวคราม
ประหนึ่งช่วยบรรเทาแสงทินกร มีร่มเงาเย็น เย็นด้วยพระกรุณา ดังพระหฤทัย
ของพระองค์ เว้นจากการชุมนุมของวิหคนานาชนิด ประดับด้วยกิ่งอันทึบ
ต้องลมอ่อน ๆ โชยมาประหนึ่งฟ้อนรำ และประดุจยินดีด้วยปีติ ทรงทำประ-
ทักษิณพญาอัสสัตถพฤกษ์ ๓ ครั้ง ประทับยืนทางทิศอีสาน ทรงจับยอดหญ้า
เขย่า. ทันใดนั่นเอง ก็มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก หญ้าเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนจิตรกร
วาดไว้. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้า ๑๔ ศอก ทรง
อธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำลำต้นโพธิพฤกษ์ ๕๐ ศอกไว้
เบื้องหลัง ดังลำต้นเงินที่เขาวางไว้เหนือตั่งทอง กั้นด้วยกิ่งโพธิพฤกษ์เหมือน
ฉัตรมณีไว้เบื้องบน ประทับนั่ง. ก็ยอดอ่อนโพธิพฤกษ์ล่วงลงมาที่จีวรสีทองของ
พระองค์ ก็รุ่งโรจน์เหมือนวางแก้วประพาฬไว้ที่แผ่นทอง.
เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตร
คิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมาร
นั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออก
ไป. ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 721
ข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง ๙ โยชน์.
ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.
สมัยนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่า
สังข์นั้น ยาวสองพันศอก. คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดัง
ผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าว-
สุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสาม
คาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อน ๆ. ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดัง
จันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่
มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย
ยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม
และจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการ.
ลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วย
รัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบ
โยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่าง ๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ.
แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลม
หอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มี
หน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมี
หน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่าง ๆน่ากลัว น่าประหลาด
น่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้
ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมาร.
แต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพ
เหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้. เทพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 722
ทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้า ๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตร-
สังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหม วาง
เศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก. กาฬนาคราชก็ทิ้งนาค-
นาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก ๕๐๐ โยชน์ นอนเอา
มือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้. ส่วน
พระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า. นิมิต
ร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้.
เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระ-
ผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่ อุกกาบาตอัน
ร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควัน.
แผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความ
พลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดิน
ที่ทรงสระต่าง ๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือน
เถาวัลย์ต้องลมพัดแรง.
มหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหล
ทวนกระแส ลำต้นไม้ต่าง ๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่ง
ภูผาทั้งหลาย.
ลมร้ายก็พัดไปรอบ ๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครม
ความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์ ก็เลวร้าย ตัวกะพันธ์
ก็ท่องไปกลางหาว.
เขาว่า ลางร้ายอันพิลึก ดังกล่าวไม่น่าเจริญใจ
ไม่น่าปรารถนา ทั้งที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้นดิน
เป็นอันมาก ก็มีโดยรอบในขณะที่มารมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 723
ส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประ-
หารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดู
พร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หา.
แม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลัง
เป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่
ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไป.
พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจาก
ภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือน
พระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยง
อยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้น.
ครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจ
ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร ๙ ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่อง
ประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับ
หมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จง
จับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือ
คอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้น
ร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์.
ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญ
บารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี. ขณะนั้น
นั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหว
ก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว ๖ ครั้ง. สายฟ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 724
แลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา. ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละ
ก็คุกเข่า. มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน. แม้พรรคพวกของ
มารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้น.
ลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัว
มารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะ
และปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยาม
ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธ-
เจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิด
แล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอด
พระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงเปล่งพระ-
พุทธอุทานว่า
อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส
คหการ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน
คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหิสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ วิสงฺขต
วิสงฺขารคต จิตต ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อ
ไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน
คือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เรา
อีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 725
แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง
วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่
สิ้นตัณหาแล้ว.
เรื่องนิทานใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับนั่งเปล่งพระพุทธอุทานแล้ว ก็ทรงมี
พระดำริว่า เราท่องเที่ยวมา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพราะเหตุแห่งบัลลังก์
นี้ บัลลังก์นี้เป็นวิชัยบัลลังก์ มงคลบัลลังก์ของเรา เรานั่งเหนือบัลลังก์นี้ ความ
ดำริยังไม่บริบูรณ์ตราบใด เราก็จักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ตราบนั้น ทรงเข้า
สมาบัตินับได้หลายแสนโกฏิ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น ๗ วัน ที่ท่านหมาย
ถึงกล่าวไว้ว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข โดย
บัลลังก์เดียว ๗ วัน.
ครั้งนั้น เทวดาบางพวกเกิดปริวิตกว่า แม้วันนี้พระสิทธัตถะ ก็ยังมี
กิจที่จะต้องทำแน่แท้ ด้วยยังไม่ทรงละความอาลัยในพระบัลลังก์ ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ก็เหาะขึ้นสู่เวหาสทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อระงับความวิตกของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงระงับความ
วิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิหาริย์นี้อย่างนี้แล้ว ประทับยืน ณ ส่วนทิศ
อุดรอิงทิศปาจีนนิดหน่อย จากบัลลังก์ ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระ-
สัพพัญญุตญาณ. ณ บัลลังก์นี้แล้วหนอ ทรงสำรวจดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์
อันเป็นสถานที่ทรงบรรลุผาแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่
อสงไขย. กับแสนกัป ด้วยดวงพระนครที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน
สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 726
ลำดับนั้น ทรงเนรมิตที่จงกรม ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน
เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมกลับไปมาจากข้างหน้าข้างหลัง ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน.
สถานที่นั้นชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.
แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายเนรมิตรัตนฆระ เรือนแก้ว ทางทิศ
พายัพแต่โพธิพฤกษ์. ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระ-
อภิธรรมปิฏก ยับยั้งอยู่ ๗ วัน. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์อย่างนี้
แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ
ครั้นแล้ว ก็ประทับนั่งเลือกเฟ้นธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาล-
นิโครธ นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงยับยั้ง ณ ต้นอชปาลนิโครธนั้น ๗ วันแล้ว ก็เสด็จ
ไปยังโคนต้นมุจลินท์ ณ ที่นั้น พระยานาคชื่อ มุจลินท์ เอาขนด ๗ ชั้นวง
ไว้รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น เมื่อเกิดฝนตกพรำ ๗ วัน พระศาสดา
เสวยวิมุตติสุข เหมือนประทับอยู่ในพระคันธกุฎีที่ไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ ณ
โคนต้นมุจลินท์นั้น ๗ วัน จึงเสด็จเข้าไปยังโคนต้นราชายตนะ ประทับนั่ง
เสวยวิมุตติสุข ณ ที่นั้น ๗ วัน. ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีการบ้วนพระโอฐ ไม่มีการปฏิบัติ
สรีรกิจ ไม่มีการเสวยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลอย่างเดียว.
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงชำระพระโอฐด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา และด้วย
น้ำในสระอโนดาต ที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงน้อมถวายในวันที่ ๔๙ วันสุด
ท้ายแห่ง ๗ สัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ นั้นนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 727
สมัยนั้น พาณิชสองคน ชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ อันเทวดาผู้เป็น
ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง
และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย
ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้
อย่างไรหนอ.
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จาก ๔ ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร ๔ บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร ๔
บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ
กรุณาเทวดาทั้ง ๔ องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร
ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง
พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน
ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ
นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ
คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม
นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน
เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว
นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก
พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 728
พระศาสดาประทานปฏิญาณรับแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว ทรง
พระดำริว่า ควรแสดงธรรมโปรดใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า อาฬารดาบสและ
อุททกดาบสทำกาละเสียแล้ว ทรงปรารภภิกษุปัญจวัคคีย์ใส่ไว้ในพระหฤทัยว่า
ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีอุปการะมากแก่เราดังนี้ ทรงนึกว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เหล่านั้น อยู่กันที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า ที่อิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี
ทรงพระดำริว่า เราจักไปที่นั้นประกาศธรรมจักร แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ประทับอยู่ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ ๒ - ๓ วัน ในวันอาสาฬหบูรณมีทรง
พระดำริจักเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงถือบาตรจีวรเดินทางได้ ๑๘ โยชน์ ใน
ระหว่างทาง ทรงพบอาชีวกชื่ออุปกะเดินสวนทางมา ทรงบอกอาชีวกนั้นว่า
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นนั่นเอง เวลาเย็นเสด็จถึงอิสิปตนะ มิคทายวัน
กรุงพาราณสี.
ฝ่ายภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเสด็จมาแต่ไกล จึงทำการนัด
หมายกันว่า ผู้มีอายุ ท่านพระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากด้วย
ปัจจัย มีกายบริบูรณ์มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีผิวพรรณเพียงดังสีทองเสด็จมา เราจัก
ไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแก่ท่านละ เพียงแต่ปูอาสนะไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบวาระจิตของภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทรงย่อเมตตาจิต ที่สามารถแผ่
ไปโดยไม่เจาะจงในสรรพสัตว์ มาเป็นแผ่เมตตาจิต โดยเจาะจง. ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมผัสแล้ว เมื่อพระ-
ตถาคตเสด็จเข้าไปหา ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในข้อนัดหมายของตนได้ พากันทำกิจ
ทุกอย่างมีการกราบไหว้เป็นต้น. ความพิศดาร พึงทราบตามนัย ที่ท่านกล่าว
ไว้ ในมหาวรรค แห่งวินัยเป็นต้น.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นให้เข้าใจ
ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าของพระองค์แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 729
ที่จัดไว้แล้วเมื่อกาลประกอบด้วยนักษัตรเดือนอุตตราสาธอยู่ อันพรหม ๑๘ โกฏิ
แวดล้อมแล้ว ทรงเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มาแล้วทรงแสดงพระธรรมจักกัป-
ปวัตนสูตร บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะส่งญาณไป
ตามกระแสเทศนา จบพระสูตร ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยพรหม ๑๘
โกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บัดนี้เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อโคตมะ ผู้ยังสกุล
ศากยะให้เจริญ ตั้งความเพียรแล้ว บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันอุดม.
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ก็ประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่พรหม ๑๘ โกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อห ทรงแสดงถึงพระองค์เอง. บทว่า
เอตรหิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า สกฺยวฑฺฒโน แปลว่า ผู้ยังสกุลศากยะให้
เจริญ. ปาฐะว่า สกฺยปุงฺคโว ก็มี. ความเพียรท่านเรียกว่า ปธานะ. บทว่า
ปทหิตฺวาน ได้แก่ พากเพียร พยายาม. อธิบายว่า ทำทุกกรกิริยา. บทว่า
อฏฺารสนฺน โกฏีน ความว่า อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิมีพระ-
อัญญาโกณฑัญญะเถระเป็นประธานด้วยการตรัสพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ณ
ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิสมัยอันล่วงมาแล้ว เมื่อจะตรัส
อภิสมัยที่ยังไม่มาถึง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
นอกจากนั้น เมื่อเราแสดงธรรม ในสมาคมแห่ง
มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ ๒ จักมีแก่สัตว์นับ
จำนวนไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 730
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเทวสมาคเม ความว่า สมัยอื่นนอก
จากนั้น ในมหามงคลสมาคม ท่ามกลางเทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาล เวลา
จบมงคลสูตร อภิสมัยได้มีแก่มนุษย์และเทวดา เกินที่จะนับได้. บทว่า ทุติยา-
ภิสมโย อหุ ได้แก่ เหสฺสติ. เมื่อจะพึงกล่าวคำอนาคตกาล [ว่า เหสฺสติ] แต่
ก็กล่าวคำเป็นอดีตกาลว่า อหุ เพราะตกกระแสแล้ว. หรือจะว่ากล่าวเป็นกาล
วิปลาสก็ได้. ในคำนอกจากนี้และคำเช่นนี้ ก็นัยนี้. ต่อมาอีก ในการทรง
แสดงราหุโลวาทสูตร ก็ทรงยังสัตว์เกินที่จะนับให้ดื่มน้ำอมฤตคืออภิสมัย. นี้
เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บัดนี้เราสั่งสอนราหุลลูกของเราในที่นี้นี่แล
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ได้.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีสาวกสันนิบาตประชุมพระสาวก
ครั้งเดียวเท่านั้น คือ การประชุมพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูป เหล่านี้คือ
ชฏิลสามพี่น้องมีพระอุรุเวลกัสสปเป็นต้น ๑,๐๐๐ รูป พระอัครสาวกทั้งสอง ๒๕๐
รูป. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เรามีสันนิบาตประชุมพระสาวกผู้แสวงหาคุณ
ยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียว คือการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป.
แก้อรรถ
บรรดาเหล่านั้น บทว่า เอโกสิ ตัดบทเป็น เอโกว อาสิ มีครั้ง
เดียวเท่านั้น . บทว่า อฑฺฒเตรสสตาน แปลว่า สาวกของเรา ๑,๒๕๐ รูป.
บทว่า ภิกฺขูนาสิ ตัดบทเป็น ภิกฺขูน อาสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในจาตุรงคสันนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 731
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระประวัติของพระองค์
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
เราผู้ไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ อยู่ในท่ามกลางภิกษุ
สงฆ์ ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดา-
มณีให้ทุกอย่างที่ชนปรารถนาฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิโรจมาโน ได้แก่ รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระ-
พุทธสิริอันไม่มีที่สุด. บทว่า วิมโล ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทินคือกิเลสมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า มณีว สพฺพกามโท ความว่า เราให้สุขวิเศษทั้งเป็นโลกิยะ
และโลกุตระทุกอย่างที่สาวกมุ่งมาดปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่
ชนปรารถนา.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความปรารถนาที่สาวกปรารถนา จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า
ด้วยความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย เราจึงประกาศ
สัจจะ ๔ แก่ผู้จำนงหวังผล ผู้ต้องการละความพอใจ
ในภพ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผล ได้แก่ ผล ๔ อย่างมีโสดาปัตติผล
เป็นต้น. บทว่า ภวจฺฉนฺทชเหสิน ได้แก่ ผู้ละภวตัณหา ผู้ต้องการละ
ภวตัณหา. บทว่า อนุกมฺปาย ได้แก่ ด้วยความเอ็นดู.
บัดนี้ ครั้นทรงทำการประกาศสัจจะ ๔ แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอภิสมัย
จึงตรัสว่า ทสวีสสหสฺสาน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 732
สหสฺสาน ได้แก่ หนึ่งหมื่นและสองหมื่น. อธิบายว่า โดยนัยเป็นต้นว่า
หนึ่งหมื่นสองหมื่น. คาถาที่ ๙ และที่ ๑๐ ความง่ายแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ต่อไป. แม้สองศัพท์ว่า อิทา-
เนตรหิ ความก็อันเดียวกัน ท่านกล่าวเหมือนบุรุษบุคคล โดยเป็นเวไนยสัตว์.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทานิ ได้แก่ ในกาลเมื่อเราอุบัติแล้ว. บทว่า เอตรหิ
ได้แก่ ในกาลเมื่อเราแสดงธรรมอยู่. บทว่า อปตฺตมานสา ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตผล. บทว่า อริยญฺชส ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. บทว่า โถมยนฺตา
แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า พุชฺฌิสฺสนฺติ ความว่า จักแทงตลอดสัจธรรม
๔ ในอนาคตกาล. บทว่า สสารสริต ได้แก่ สาครคือสังสารวัฏ.
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงถึงพระนครที่ทรงสมภพเป็นต้นของพระองค์ จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า
เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ มีพระชนกพระนามว่า
พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีพระนามว่าพระนางมายา
เทวี.
เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทอย่าง
เยี่ยม ๓ หลัง ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ.
มีพระสนมกำนัลสี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีโอรสพระนามว่า ราหุล.
เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ
ม้า บำเพ็ญเพียรทำทุกกรกิริยา ๖ ปี.
เราประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะกรุงพาราณ-
สี เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะเป็น
สรณะของสัตว์ทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 733
คู่ภิกษุอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุป-
ติสสะ มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำสำนัก ชื่อว่าพระ-
อานันทะ มีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ
พระอุบลวรรณา.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิ-
พฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ มีรัศมีกายวาหนึ่ง ประจำ กาย
สูง ๖ ศอก.
เรามีอายุน้อย ๑๐๐ ปี ในบัดนี้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่
ประมาณเท่านั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
เราตั้งคบเพลิง คือธรรมไว้ปลุกชนที่เกิดมาภาย
หลังให้ตื่น ไม่นานนัก เราพร้อมทั้งสงฆ์สาวกก็จัก
ปรินิพพานในที่นี้นี่แหละ เพราะสิ้นอาหาร เหมือน
ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ทุกอย่างว่า เรามีปราสาท ๓ หลัง
ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ มี ๙ ชั้น ๗ ชั้น และ ๕ ชั้น มีสนมนาฏกะ
สี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระนามว่า ยโสธรา เรานั้นเห็นนิมิต ๔ ออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า แต่นั้น ก็ตั้งความเพียร ๖ ปี ในวันวิสาขบูรณมีก็
บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดาของ เสนานิกุฎุมพี ณ อุรุเวลาเสนานิคม ชื่อสุชาดา
ผู้เกิดความเลื่อมใสถวายแล้ว พักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่
ค้นหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ถวายแล้ว เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ
กำจัดกองกำลังของมาร ณ ที่นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 734
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ
สาวกสงฺเฆน ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺส ก็คือ
ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา
ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า
แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น
บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น
ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า
ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ
พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ ๖ เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ-
สนฺติ ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์
ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ
เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์
ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย
ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 735
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมในอากาศ ตรัสพุทธ-
วงศ์แม้ทั้งสิ้น กำหนดด้วยกัป นามและชาติเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ยังหมู่พระประยูร-
ญาติให้ถวายบังคมแล้วลงจากอากาศ ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่จัดไว้แล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งแล้ว สมาคมพระประยูรญาติก็ถึงความสูงสุด
ด้วยประการฉะนี้ พระประยูรญาติทุกพระองค์ก็ประทับนั่งมีจิตมีอารมณ์เดียว.
แต่นั้น มหาเมฆก็หลั่งฝนโบกขรพรรษลงมา ขณะนั้นเอง น้ำก็ส่งเสียงร้องไหล
ไปภายใต้ ผู้ต้องการจะเปียกก็เปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก แม้แต่หยาดน้ำ ก็ไม่ตกลง
ที่ตัว พระประยูรญาติทั้งหมดเห็นความอัศจรรย์นั้นก็อัศจรรย์ประหลาดใจ พา
กันกล่าวว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ น่าประหลาดใจหนอ. พระศาสดาทรงสดับคำ
นั้นแล้วตรัสว่า มิใช่ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมพระประยูรญาติในปัจจุบัน
นี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ตกลงมาเหมือนกัน. เพราะเหตุแห่งอัตถุปปัตตินี้ จึง
ตรัสเวสสันดรชาดก. พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แล้ว. ต่อนั้น พระ-
ศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะเข้าพระวิหาร.
จบพรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้า
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิสาสินีด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 736
กัณฑ์ปกิณกะของพระพุทธเจ้า
[๒๗] นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่นับไม่ได้ มีพระ-
พุทธเจ้าผู้นำพิเศษ ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกร
พระเมธังกร พระสรณังกร และพระทีปังกรสัมพุทธเจ้า
พระชินพุทธเจ้าเหล่านั้น มีในกัปเดียวกัน.
ต่อจากสมัยของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
ผู้นำโลก พระนามว่าโกณฑัญญะ มีพระองค์เดียวใน
กัปหนึ่ง ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะระหว่าง
กัปของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร และพระศาสดา
โกณฑัญญะ เป็นอันตรกัป นับไม่ถ้วน.
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ก็มี
พระพุทธเจ้าผู้นำ พระนามว่ามังคละ ระหว่างกัปของ
พระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้น เป็นอันตรกัป นับไม่
ถ้วน.
พระมุนีสุมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ และ
พระโสภิตะ พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ทรงทำแสงสว่าง
แม้เหล่านั้น ก็มีในกัปเดียวกัน.
ต่อจากสมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็มีพระมหา-
มุนีพุทธเจ้า พระนามว่า อโนมทัสสี. ระหว่างกัปของ
พระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้นเป็นอันตรกัปนับไม่ถ้วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 737
พระพุทธเจ้าผู้นำคือ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ
และพระนารทะ พระมุนีพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุดแห่งความ
มืด แม้เหล่านั้น ก็มีในกัปเดียวกัน.
ต่อจากสมัยของพระนารทพุทธเจ้า ก็มีพระ-
พุทธเจ้าผู้นำ พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติในกัป
หนึ่ง ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
ระหว่างกัปของพระผู้มีพระภาคเจ้านารทะ และ
พระศาสดาปทุมุตตระ เป็นอันตรกัป นับไม่ถ้วน.
ในแสนกัป มีพระมหามุนีพระองค์หนึ่ง พระ-
นามว่า ปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้ควรรับของบูชา.
ในสามหมื่นกัป ต่อจากพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือพระสุเมธะ พระสุชาตะ.
ในหนึ่งพันแปดร้อยกัป มีพระพุทธเจ้า ๓ พระ-
องค์ คือพระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี.
ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสาม
พระองค์ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้ไม่มีบุคคลใด
เปรียบในโลก เสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน.
ต่อจากกัปนี้ ในกัปที่เก้าสิบสี่ มีพระมหามุนี
พระองค์เดียวพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้
ยอดเยี่ยมโดยบุญลักษณ์.
ต่อจากกัปที่เก้าสิบสองนับแต่กัปนี้ มีพระผู้นำ ๒
พระองค์ คือพระสัมพุทธเจ้าติสสะ และพระปุสสะ ผู้
ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 738
ต่อแต่กัปนี้ ในกัปที่ ๙๑ มีพระพุทธเจ้าผู้นำโลก
พระนามว่า วิปัสสี พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรง
ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงปลดเปลื้องสัตว์
ทั้งหลายจากเครื่องผูกพันแล้ว.
ต่อจากกัปนี้ในกัปที่ ๓๑ มีพระผู้นำ ๒ พระองค์
คือพระสิขี และพระเวสสภู ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคล
เปรียบ.
ในภัทรกัปนี้ มีพระผู้นำ ๓ พระองค์คือ พระ-
ผู้นำคือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะและพระกัสสปะ
เราผู้เป็นพระสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน และพระเมตไตรย
พระพุทธเจ้าในอนาคต พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้เป็น
ปราชญ์ผู้อนุเคราะห์โลก.
บรรดาพระผู้เป็นธรรมราชาเหล่านั้น พระ-
โคตมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระสาวก บอกทางนั้น
แก่สัตว์เหล่าอื่นหลายโกฏิ ก็ปรินิพพานไปแล้วแล.
จบกัณฑ์กิณกะของพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 739
เรื่องแจกพระบรมสารีริกธาตุ
[๒๘] พระชินวรมหาโคตมพุทธเจ้า ปรินิพพาน
ณ นครกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุก็แผ่ไปกว้าง
ขวางเป็นส่วน ๆ ในประเทศนั้น ๆ.
ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้าอชาตศัตรู ส่วนหนึ่ง
ตกอยู่ในเมืองเวสาลี ส่วนหนึ่งอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์
ส่วนหนึ่งอยู่ในนครอัลลกัปปกะ ส่วนหนึ่งอยู่ในราม-
คาม ส่วนหนึ่งอยู่ในนครเวฏฐทีปกะ
ส่วนหนึ่ง อยู่ที่เจ้ามัลละ ในนครปาวา ส่วน
หนึ่งอยู่ที่เจ้ามัลละ ในนครกุสินารา.
พราหมณ์ชื่อโทณะ สร้างตุมพสถูป. กษัตริย์
โมริยะ ผู้มีพระทัยยินดีสร้างอังคารสถูป. สถูปบรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุมี ๘ แห่ง ตุมพเจดีย์เป็นแห่งที่ ๙
อังคารสถูปเป็นแห่งที่ ๑๐ ประดิษฐานไว้ในกาลนั้น.
พระทาฐธาตุ [พระเขี้ยวแก้ว] องค์หนึ่งอยู่ใน
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ องค์หนึ่งอยู่ที่นาคปุระ องค์หนึ่งอยู่
ที่แคว้นคันธาระ องค์หนึ่งเป็นของพระราชาแคว้น
กาลิงคะ.
พระทันตธาตุ ๔๐ ถ้วน พระเกสาและพระโลมา
เทวดาทั้งหลายนำไปแต่ละอย่างไว้ที่จักรวาลแต่ละ
จักรวาลต่อกัน บาตร ไม้เท้า จีวรของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าอยู่ที่วชิรานคร ผ้าอันตรวาสกอยู่ที่กุลฆรนคร ผ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 740
ปัจจัตถรณะอยู่ที่กปิละ ธมกรกและประคดเอวอยู่ที่
นครปาฏลีบุตร ผ้าสรงน้ำอยู่ที่นครจัมปา พระอุณาโลม
อยู่ที่แคว้นโกศล ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ที่พรหมโลก ผ้าโพก
พระเศียรอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [รอยพระบาทอัน
ประเสริฐติดอยู่ที่แผ่นหิน เหมือนที่ติดอยู่ที่นคร-
กัจฉตปุระ] ผ้านิสีทนะอยู่ที่แคว้นอวันตี ผ้าปูลาดอยู่ที่
เทวโลกในครั้งนั้น . ไม้สีไฟอยู่ที่นครมิถิลา ผ้ากรองน้ำ
อยู่ที่แคว้นวิเทหะ มีด กล่องเข็มอยู่ที่นครอินทปัตถ์
ในครั้งนั้น. บริขารที่เหลืออยู่ในอปรันตกชนบท ใน
ครั้งนั้น. มนุษย์ทั้งหลายจักบูชาพระบริขารที่พระมุนี
ทรงใช้สอยแล้วในครั้งนั้น.
พระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าผู้
แสวงคุณยิ่งใหญ่ แผ่ไปกว้างขวาง พระบรมสารีริก-
ธาตุได้เป็นของเก่าในครั้งนั้น เพื่ออนุเคราะห์สัตว์
ทั้งหลายแล.
จบเรื่องแจกพระบรมสารีริกธาตุ
จบพุทธวงศ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 741
เรื่องเบ็ดเตล็ดของพุทธวงศ์
คาถา ๑๘ คาถา มีว่า อปริเมยฺยิโต กปฺเป จตุโร อาสุ วินายกา
เป็นอาทิ พึงทราบว่าเป็นนิคมคาถา ที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายวางไว้. ใน
คาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
เวมัตตกถา
พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่ชี้แจงไว้ในพุทธวงศ์ทั้งสิ้นนี้ พึงทราบ
ว่า มีเวมัตตะ คือความแตกต่างกัน ๘ อย่างคือ อายุเวมัตตะ ปมาณเวมัตตะ
กุลเวมัตตะ ปธานเวมัตตะ รัศมีเวมัตตะ ยานเวมัตตะ โพธิเวมัตตะ บัลลังก-
เวมัตตะ
อายุเวมัตตะ
บรรดาเวมัตตะเหล่านั้น ชื่อว่า อายุเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่ง
พระชนมายุ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มี
พระชนมายุสั้น.
จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้า ๙ พระองค์เหล่านี้คือ พระทีปังกร พระ-
โกณฑัญญะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระอัตถทัสสี พระ-
ธัมมทัสสี พระสิทธัตถะ พระติสสะ มีพระชนมายุแสนปี.
พระพุทธเจ้า ๘ พระองค์เหล่านี้ คือพระมังคละ พระสุมนะ พระ-
โสภิตะ พระนารทะ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระปุสสะ
มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี.
พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือ พระเรวตะ พระเวสสภู มีพระชนมายุ
หกหมื่นปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 742
พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี มีพระชนมายุแปดหมื่นปี. พระพุทธ-
เจ้า ๔ พระองค์เหล่านี้คือพระสิขี พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ
มีพระชนมายุเจ็ดหมื่นปี, สี่หมื่นปี, สามหมื่นปี, สองหมื่นปี ตาม
ลำดับ.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มีพระชนมายุร้อยปี.
ประมาณอายุ ไม่มีประมาณ โดยยุคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประ-
กอบด้วยกรรมที่ทำให้อายุยืน นี้ชื่อว่าอายุเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕
พระองค์
ปมาณเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งประมาณ ได้แก่
พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์ต่ำ. จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าคือ
พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี พระวิปัสสี
มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก
พระพุทธเจ้าคือพระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ พระสุเมธะ
มีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก.
พระสุมนพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๙๐ ศอก.
พระพุทธเจ้าคือ พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระ-
ปทุมุตตระ พระปุสสะ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระสุชาตพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก.
พระพุทธเจ้าคือพระสิทธัตถะ พระติสสะและพระเวสสภู มีพระวรกาย
สูง ๖๐ ศอก.
พระสิขีพุทธเจ้ามีพระสรีระสูง ๗๐ ศอก. พระพุทธเจ้าคือพระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ พระวรกายสูง ๔๐ ศอก ๓๐ ศอก ๒๐ ศอก
ตามลำดับ. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา สูง ๑๘ ศอก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 743
นี้ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์.
กุลเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งตระกูล ได้แก่ พระพุทธ-
เจ้าบางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ จริง
อย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
และ พระกัสสปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์.
พระพุทธเจ้า ๒๒ พระองค์ที่เหลือมีพระทีปังกรพุทธเจ้า
เป็นต้นมีพระโคดมพุทธเจ้าเป็นที่สุด เกิดในตระกูลกษัตริย์ทั้งนั้น.
นี้ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์.
ปธานเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร
ได้แก่ พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี.
พระสุชาตะ พระสิทธัตถะและพระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.
พระพุทธเจ้าคือพระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะและพระสิขี ทรง
บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน.
พระเรวตพุทธเจ้า ๗ เดือน.
พระโสภิตพุทธเจ้า ๔ เดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปทุมะ พระอัตถทัสสีและพระวิปัสสี ครึ่งเดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและ
พระกัสสปะ ๗ วัน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู และพระ-
โกนาคมนะ ๖ เดือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 744
พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี.
นี้ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ.
รัศมีเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี ได้ยินว่า พระ-
มังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๒ โยชน์.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า แผ่ไป ๗ โยชน์.
พระสิขีพุทธเจ้า แผ่ไป ๓ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๐ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ประมาณหนึ่งวาโดยรอบ.
พระพุทธเจ้านอกนั้น ไม่แน่นอน.
นี้ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ.
ยานเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า ยานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระยาน ได้แก่ พระ-
พุทธเจ้าบางพระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือ
ม้า บางพระองค์ด้วยยานคือรถ ดำเนินด้วยพระบาท ปราสาทและวอเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง.
จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ
พระปุสสะ พระสิขิ และพระโกนาคมนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสี
และพระกกุสันธะ ด้วยยานคือรถ.
พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ และพระโคตมะ
ด้วยยานคือม้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 745
พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ด้วยยานคือวอ.
พระนารทะเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท.
พระโสภิตะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะ ออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.
นี้ชื่อว่า ยานเวมัตตะ.
โพธิรุกขเวมัตตะ
ที่ชื่อว่า โพธิรุกขเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์ ได้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร มีโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นกปิตนะ มะขวิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าโกณฑัญญะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาลกัลยาณี
ขานาง
พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ
ต้นนาคะ กากะทิง.
พระอโนมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ กุ่ม.
พระปทุมะและพระนารทะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นมหาโสณะ อ้อย
ช้างใหญ่.
พระปทุมุตตระ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละหรือสาละ.
พระสุเมธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนีปะ กะทุ่ม.
พระสุชาตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นเวฬุ ไผ่.
พระปิยทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกกุธะ กุ่ม.
พระอัตถทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นจัมปกะ จำปา.
พระธัมมทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นรัตตกุรวกะ๑ ซ้องแมวแดง.
พระสิทธัตถะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกณิการะ กรรณิการ์.
พระติสสะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอสนะ ประดู่.
๑. บาลีในธัมมทัสสีพุทธวงศ์ข้อ ๑๖ เป็นต้นพิมพชาละ มะพลับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 746
พระปุสสะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอาลมกะ มะขามป้อม.
พระวิปัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปาฏลี แคฝอย.
พระสิขี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปุณฑรีกะ กุ่มบก.
พระเวสสภู โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ.
พระกกุสันธะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสรีสะ ซึก.
พระโกนาคมนะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพระ มะเดื่อ.
พระกัสสปะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนิโครธ ไทร.
พระโคตมะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ โพธิใบ.
นี้ชื่อว่า โพธิเวมัตตะ.
ที่ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งบัลลังก์ ได้แก่ พระ
พุทธเจ้า คือ พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี
และพระวิปัสสี มีบัลลังก์ ๕๓ ศอก. พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ
และพระสุเมธะ มีบัลลังก์ ๕๗ ศอก. พระสุมนะ มีบัลลังก์ ๖๐ ศอก.
พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ และพระปุสสะ
มีบัลลังค์ ๓๘ ศอก.
พระสุชาตะ มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.
พระสิทธัตถะ พระติสสะ และพระเวสสภู มีบัลลังก์ ๔๐ ศอก.
พระสิขี มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.
พระกกุสันธะ มีบัลลังก์ ๒๖ ศอก.
พระโกนาคมนะ มีบัลลังก์ ๒๐ ศอก.
พระกัสสปะ มีบัลลังก์ ๑๕ ศอก.
พระโคตมะ มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก.
นี้ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ
เหล่านี้ชื่อว่า เวมัตตะ ๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 747
เรื่องสถานที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ
ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง. จริงอยู่ โพธิ-
บัลลังก์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ เป็นสถานที่แห่งเดียวกันนั่นเอง,
ไม่ทรงละการประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน, ไม่ทรงละสถานที่
เหยียบพระบาทครั้งแรก ใกล้ประตูสังกัสสนคร ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก,
ไม่ทรงละสถานที่วางเท้าเคียง ๔ เท้าแห่งพระคันธกุฎีในพระวิหารเชตวัน.
พระวิหารเล็กก็มี ใหญ่ก็มี ทั้งพระวิหารก็ไม่ละ ทั้งพระนครก็ไม่ละ.
เรื่องการกำหนดสหชาตและกำหนดนักษัตร์
ยังมีอีกข้อหนึ่ง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย แสดงกำหนดสหชาต
และกำหนดนักษัตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเท่านั้น. สิ่งที่เกิดร่วมกัน
กับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรามี ๗ เหล่านี้ คือ พระมารดาพระราหุล ๑
พระอานันทเถระ ๑ พระฉันนะ ๑ พระยาม้ากัณฐกะ ๑ หม้อขุม-
ทรัพย์ ๑ พระมหาโพธิ ๑ พระกาฬุทายี ๑ นี้ชื่อว่ากำหนดสหชาต.
โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนอุตตราสาธ พระมหาบุรุษ ลงสู่
พระครรภ์พระชนนี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงประกาศพระธรรมจักร
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนวิสาขะ ประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพาน, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ พระองค์ทรง
ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนอัสสยุชะ
เสด็จลงจากเทวโลก นี้ชื่อว่า กำหนดนักษัตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 748
เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า
บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ
๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์
ของพระชนนี
๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์
หันพระพักตร์ออกไปภายนอก
๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ
๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น
๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทาง
ทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท
๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออก
มหาภิเนษกรมณ์
๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรง
บำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน
๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
๑๐.ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน
๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร
๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่
วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ
๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 749
๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน
๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวก
ประกอบด้วยองค์ ๔
๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ภพดาวดึงส์
๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ
๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ
๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้
๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้าย
ทุก ๆ วัน
๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน
ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี ๓๐ ถ้วนดังกล่าวมาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 750
เรื่องอนันตรายิกธรรม
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีอนันตรายิกธรรม (คือ ไม่มีอันตรายเป็น
ธรรมดา) ๔ คือ
๑. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่ปัจจัย๔ ที่มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๒. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระชนมายุของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่บุคคลพึงใช้ความพยายามปลงพระชนม์ชีพพระตถาคต
ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาส [คือเป็นไปไม่ได้]
๓. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
และแก่พระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
๔. ใคร ๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระพุทธรังสีได้
เหล่านี้ ชื่อว่า อนันตรายิกธรรม ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 751
นิคมนกถา
คำส่งท้ายเรื่อง
การพรรณนาพุทธวงศ์ อันงดงามด้วยนัยอันวิจิตร
ซึ่งผู้รู้บทพรรณนาให้ง่าย ถึงความสำเร็จด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
ข้าพเจ้ายึดทางแห่งอรรถกถาเก่า อันประกาศ
ความแห่งบาลี เป็นหลักอย่างเดียว แต่งอรรถกถา
พุทธวงศ์
เพราะละเว้นความที่เยิ่นเย่อ ประกาศแต่ความ
อันไพเราะทุกประการ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มธุรัตถวิลาสินี.
เมื่อสาธุชน ผู้มีวาจาไพเราะ ชื่อกัณหทาส สร้าง
วิหาร ที่มีกำแพงและซุ่มประตูอันงามโดยอาการต่างๆ
ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ น่าดู น่ารื่นรมย์ เป็นที่
คับแคบแห่งทุรชนที่ถูกกำจัด เป็นที่สงัดสบาย น่า
เจริญใจ ณ ท่าเรือกาวีระ เป็นพื้นแผ่นดินที่เต็มด้วย
ชุมทางน้ำแห่งแม่น้ำกาวีระ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่น
ด้วยหญิงชายต่าง ๆ.
ข้าพเจ้าอยู่ ณ พื้นปราสาทด้านทิศตะวันออกใน
วิหารนั้น ที่เย็นอย่างยิ่ง แต่งอรรถกถาพรรณนาพุทธ-
วงศ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 752
อรรถกถาพรรณนาพุทธวงศ์นี้ เว้นอันตราย
ข้าพเจ้าแต่งสำเร็จดีแล้ว ฉันใด ขอความตรึกของชน
ทั้งหลาย ที่ชอบด้วยธรรม จงถึงความสำเร็จ โดยเว้น
อันตราย ฉันนั้น.
ข้าพเจ้าผู้แต่งอรรถกถาพุทธวงศ์นี้ ปรารถนา
บุญอันใด ด้วยเทวานุภาพแห่งบุญนั้น ขอโลกจง
ประสบประโยชน์อย่างดี ที่สงบยั่งยืนทุกเมื่อ.
ขอโรคทั้งปวงในมนุษย์ทั้งหลาย จงพินาศไป
แม้ฝนก็จงตกต้องตามฤดูกาล แม้สัตว์นรกก็จงมีสุข
อย่างดีเป็นนิตย์ เหล่าปีศาจทั้งหลาย ก็จงปราศจาก
ความหิวกระหาย.
ขอเทวดาทั้งหลาย กับหมู่อัปสรเป็นต้น จงเสวย
สุขในเทวโลกนาน ๆ. ขอธรรมของพระจอมมุนี จง
ดำรงอยู่ในโลก ยั่งยืนนาน. ขอท่านผู้มีหน้าที่คุ้มครอง
โลก จงปกครองแผ่นดินให้เป็นสุขเถิด.
พระเถระโดยนามที่ท่านครูทั้งหลาย ขนานให้
ปรากฏว่า พุทธทัตตะ แต่งคัมภีร์อรรถกถา ชื่อมธุรัตถ-
วิลาสินี.
ตั้งคัมภีร์นี้ที่นำประโยชน์สืบ ๆ กันมา โดยความ
ที่สังขารตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องตกไปสู่อำนาจมฤตยู
หนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 753
คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี กล่าวโดยภาณวารมี ๒๖ ภาณวาร โดยคันถะ
มี ๖,๕๐๐ คันถะ โดยอักษร มี ๒๐,๓๐๐๐ อักษร.
มธุรัตถวิลาสินีนี้ เข้าถึงความสำเร็จ ปราศจาก
อันตราย ฉันใด ขอความดำริของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัย
ธรรม จงสำเร็จฉันนั้น เทอญ.
จบอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อว่ามธุรัตถวิลาสินี
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ กสารกู้คืน
สมัยนั้น Hพาณิชสองคน ชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ อันเทวดาผู้เป็น
ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง
และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย
ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้
อย่างไรหนอ.
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จาก ๔ ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร ๔ บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร ๔
บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ
กรุณาเทวดาทั้ง ๔ องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร
ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง
พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน
ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ
นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ
คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม
นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน
เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว
นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก
พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.