พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน
เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒
ตอนที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เถรปทาน
สีหาสนิยวรรคที่ ๒
สีหาสนทายกเถรปทานที่ ๑ (๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายราชอาสน์ทองคำ
[๑๓] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์
นิพพานแล้ว เมื่อพระศาสนา (แผ่) กว้างขวาง พระศาสนา
มีท่านผู้รู้ (พระขีณาสพ) มาก.
เรามีจิตผ่องใส ใจผ่องแผ้ว ได้ทำราชอาสน์ทองคำ
ครั้นทำราชอาสน์ทองคำแล้ว ได้ทำตั่งสำหรับรองเท้า.
ได้สร้างเรือนสำหรับเก็บราชอาสน์ทองคำนั้น ในฤดูฝน
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้บังเกิดในภพดุสิต วิมานยาว
๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๔ โยชน์ อันบุญกรรมสร้างอย่างงดงามมี
อยู่ในภพดุสิตนั้นเพื่อเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
นางเทพกัญญา ๗ หมื่นแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ และ
บัลลังก์ทองที่สร้างอย่างวิจิตร มีอยู่ในวิมานของเรา.
ยานช้าง ยานม้า ยาทิพย์ ตั้งไว้คอยรับเรา ปราสาท
และย่อมบังเกิดตามความปรารถนา.
บัลลังก์แก้วมณี และบัลลังก์ไม้แก่นอย่างอื่นเป็นอันมาก
ย่อมเกิดแก่เราทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่ง (การถวาย) ราชอาสน์
ทองคำ.
เราสวมรองเท้าทำด้วยทองคำ ทำด้วยเงิน ทำด้วยแก้ว
ผลึก ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
ผลกรรมนั้น เราไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง พระ-
นามว่าอินท์ ในกัปที่ ๗๒ แต่กัปนี้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
พระนามว่าสุมนะ.
ในกัปที่ ๗๐ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง พระนามว่า
วรุณ. สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระสีหาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสีหาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
วิสุทธชนวิลาสินี
อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เถราปทาน
สีหาสนิยวรรคที่ ๒
๑๑.๑ อรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสีหาสนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้
เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ ท่านบังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่งที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ
สมบูรณ์ด้วยศรัทธา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว จึงได้เกิด พอท่าน
อยู่ในเทวโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านยัง
บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้พบเห็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงคิดน้อยใจว่า เสียดายจริงหนอที่เราไม่ได้มีโอกาสพบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าขณะที่พระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ดังนี้ มีจิตเลื่อมใสใน
องค์พระเจดีย์ เกิดโสมนัสจิต ให้ช่างสร้างอาสนะสีหะบนธรรมาสน์ที่
สำเร็จด้วยแก้วทุกชนิด วิจิตรปานหนึ่งว่าเทพยดาเนรมิต แล้วทำ
๑. เลขข้างหน้าอรรถกถา บอกลำดับอปทานของพระเถระต่อจากเถราปทานวรรคที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
การบูชาแด่พระพุทธเจ้า คล้ายกับว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ให้สร้าง
เรือนยอดงดงามปานดังทิพยวิมานไว้บนธรรมาสน์นั้น. ให้สร้างตั่งรองเท้า
สำหรับ รองเท้า. เขาการทำเทียนธูปดอกไม้และของหอมเป็นต้นนานาชนิด
ให้เป็นเครื่องบูชา จนตลอดชีวิตเห็นปานนี้ จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว
บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติกลับไปกลับมาในกามาวจรสวรรค์
๖ ชั้น เสวยจักรพรรดิสมบัตินับครั้งไม่ถ้วนในมนุษยโลก และได้เสวย
สมบัติคือการเป็นพระราชาในประเทศจนนับครั้งไม่ถ้วน ในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ได้บวชบำเพ็ญ สมณธรรม
ในระหว่างนักท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาท.
กาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งหนึ่ง พอบรรลุนิติ.
ภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีศรัทธาขอบรรพชา
อุปสมบท เรียนกัมมัฏฐาน พากเพียรพยายาม ไม่นานนักก็ได้บรรลุ
พระอรหัต.
ท่านพอได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วอย่างนี้ จึงได้ระลึกถึงบุพกรรม
ของตน เกิดโสมนัสขึ้นแล้ว เมื่อจะประกาศอ้างถึงความประพฤติที่มีใน
กาลก่อน จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมหิ ดังนี้. โลกนาถะ
ในคาถาหมายถึงที่พึ่ง คือประธานของชาวโลก, อธิบายว่า เจ้าของ
แห่งชาวโลกทั้ง ๓. เชื่อมความว่า เมื่อพระโลกนาถเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ปรินิพพานแล้ว. บทว่า วิตฺถาริเต ปาวจเน ความว่า เมื่อปาพจน์คือ
พระไตรปิฎก กว้างขวางออกไป แผ่ไปปรากฏชัดแล้ว. บทว่า พาหุ-
ชญฺมฺหิ สาสเน ความว่า เมื่อหมู่ชนเป็นอันมาก ได้แก่พระขีณาสพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
หลายแสนโกฏิ ได้รู้ ได้บรรลุถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันสงเคราะห์
ด้วยไตรสิกขาแล้ว.
บทว่า ปสนฺนจิตโต สุมโน ความว่า ในกาลนั้น เราไม่มีโอกาส
ได้เกิดพบพระพุทธเจ้าขณะยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อพระองค์ปรินิพพาน
แล้ว จึงได้จุติจากเทวโลกมาบังเกิดในมนุษยโลก ได้พบแต่เจดีย์บรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้มีจิตเลื่อมใส
มีใจประกอบด้วยศรัทธา มีใจดีงาม เกิดความเลื่อมใสและนับถือเป็น
อันมากขึ้นว่า ช่างเป็นบุญเหลือเกิน ที่การมาของเรานับว่าเป็นการมาดี
แล้ว ดังนี้จึงจินตนาการว่า เราสมควรที่จะบำเพ็ญบุญสักอย่างหนึ่งเพื่อ
บรรลุพระนิพพาน จึงได้ใช้เงินทองและแก้วเป็นต้นมาประดับประดา
อาสนะสีหะ อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไว้ใกล้พระเจดีย์ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. และได้ให้คนสร้างตั่งรองเท้าสำหรับรองพระบาท ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งแล้ว บนธรรมาสน์นั้น. และได้ให้คนสร้าง
เรือนยอดไว้บนธรรมาสน์นั้น เพื่อไม่ให้อาสนะสีหะเปียกฝน. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สีหาสนมกาสห ฯ เปฯ ฆร ตตฺถ อกาสห ดังนี้.
บทว่า เตน จิตฺตปฺปสาเทน ความว่า เรามีจิตเลื่อมใสสร้างอาสนะสีหะ
ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าคล้ายกับว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่. บทว่า
ตุสิต อุปปชฺชห ความว่า เราได้บังเกิดในดุสิตภพ.
บทว่า อายาเมน จตุพฺพีส ความว่า วิมานมีส่วนยาวและสูง
๒๔ โยชน์ เกิดปรากฏแก่ข้าพเจ้าผู้เกิดเป็นเทวดาในดุสิตภพนั้น ด้วยบุญ
ที่ ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเป็นอย่างดี และวิมานกว้าง ๑๔ โยชน์ ได้บังเกิดมี
ในขณะที่ข้าพเจ้าได้เกิดแล้วทีเดียว. คำที่เหลือพอรู้ได้ง่ายอยู่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
บทว่า จตุนฺนวุเต อิโต กปฺเป ความว่า เราได้กระทำ คือได้
บำเพ็ญกรรมมาในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้. ความว่า ตั้งแต่นั้นมา ด้วย
พลังแห่งบุญ เราจึงได้ไม่รู้จักทุคติอะไรเลย คือทุคติอะไร ๆ ไม่เคย
ได้มีเลย.
บทว่า เตสตฺตติมฺหิโต กปฺเป ไก้แก่ ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้.
บทว่า อินฺทนามา ตโย ชนา ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์
พระนามว่าอินทะ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าอินทะ ในกัปหนึ่ง
๓ ชาติ. บทว่า เทฺว สตฺตติมหิโต กปฺเป ได้แก่ ในกัปที่ ๗๒ แต่
กัปนี้. คน ๓ คนที่มีชื่อว่าสุมนะ คือได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓ ครั้ง.
บทว่า สมสตฺตติโต กปฺเป ความว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ผู้มีพระนามอย่างนี้คือ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าวรุณ ในกัป
ที่ ๗๐ ไม่หย่อนไม่ยิ่งแต่กัปนี้ คือได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์ด้วยจักรรัตนะ
ทุกอย่างในทวีปทั้ง ๔. คำที่เหลือพอรู้ได้อยู่แล้ว.
จบอรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน
เอกถัมภิกเถราปทานที่ ๒ (๑๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเสาต้นเดียว
[๑๔ ] ได้มีการประชุมมหาอุบาสกของพระผู้พระภาคเจ้า พระ-
พระนามว่าสิทธัตถะ และอุบาสกเหล่านั้นถึงพระพุทธเจ้าเป็น
สรณะ เชื่อพระตถาคต. อุบาสกทั้งหมดมาประชุมปรึกษากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
จะสร้างศาลาถวายแด่พระศาสดา ยังไม่ได้เสาอีกต้นหนึ่ง
จึงพากันเที่ยวหาอยู่ในป่าใหญ่.
เราพบอุบาสกเหล่านั้นในป่าแล้ว จึงเข้าไปหาคณะ
อุบาสก ในเวลานั้น เราประนมอัญชลีสอบถามคณะอุบาสก.
อุบาสกผู้มีศีลเหล่านั้นอันเราถามแล้ว ตอบให้ทราบว่า
เราต้องการจะสร้างศาลา ยังหาเสาไม่ได้อีกต้นหนึ่ง.
ขอท่านจงให้เสากะเราต้นหนึ่งเถิด. ฉันจักถวายแด่พระ-
ศาสดา. ฉันจักนำเสามาให้ ท่านทั้งหลายไม่ต้องขวนขวายหา.
อุบาสกเหล่านั้นเลื่อมใสมีใจยินดีให้เสาแก่เรา แล้วกลับ
จากป่านั้นมาสู่เรือนของตน ๆ.
เมื่อคณะอุบาสกไปแล้วไม่นาน เราได้ถวายเสาในกาลนั้น
เรายินดี มีจิตร่าเริง ยกเสาขึ้นก่อนเขา.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้นเราได้เกิดในวิมาน ภพของเราตั้ง
อยู่โดดเดี่ยว ๗ ชั้น สูงตระหง่าน.
เมื่อกลองดังกระหึ่มอยู่ เราบำเรออยู่ทุกเมื่อ ใน ๕๕ กัป
เราได้เป็นพระราชาพระนามว่ายโสธร.
แม้ในกาลนั้น ภพของเราก็สูงสุด ๗ ชั้น ประกอบด้วย
เรือนยอดอันประเสริฐ มีเสาต้นหนึ่งเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ.
ใน ๒๑ กัป เราเป็นกษัตริย์พระนามว่าอุเทน แม้ในกาล
นั้น ภพของเราก็มี ๗ ชั้น ประดับอย่างสวยงาม.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือควานเป็นเทวดาหรือความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
มนุษย์ เราย่อมเสวยผลนั้น ๆ ทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง
(การถวาย) เสาต้นเดียว.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ในกาลนั้นเราได้ให้เสาใด ด้วยบุญ
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง ( การถวาย) เสา
ต้นเดียว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระเอกถัมภิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกถัมภิกเถราปทาน
๑๒. อรรถกถสเอกถัมเถราปทาน
อปทานแห่ง ท่านพระเอกถัมภิกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ บังเกิดเป็นคนดูแลป่าไม้ ในตระกูลแห่งหนึ่ง ที่เพียบพร้อม
ด้วยทรัพย์สมบัติ. ในสมัยนั้นอุบาสกและอุบาสิกาล้วนมีศรัทธา มีความ
เลื่อมใส มีความพร้อมเพรียงกัน ตั้งใจว่า พวกเราจะสร้างศาลาสำหรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
บำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปสู่ป่าเพื่อต้องการทัพพสัมภาระ ได้
พบเห็นอุบาสกนั้นเข้า จึงอ้อนวอนว่า ท่านจงให้การงานสักอย่างหนึ่ง
แก่พวกเราเถิด. อุบาสกคนนั้น พอทราบความเป็นไปนั้นแล้ว จึงพูดว่า
พวกท่านอยู่คิดไปเลยดังนี้ แล้วได้ส่งเขาเหล่านั้นไป ได้ให้พวกเขา
เหล่านั้นหามเสาไม้แก่นต้นหนึ่งไปแสดงแด่พระศาสดา. ด้วยการให้เสา
ไม้แก่นนั้นนั่นแล เขาเกิดโสมนัสในใจ ทำบุญคือการให้ไม้แก่นนั้นเป็น
ครั้งแรกแล้ว ก็ทำบุญมีการให้ทานเป็นต้นอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก จุติ
จากอัตภาพนั้น ไปบังเกิดบนเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติในกามาวจร
สวรรค์ ๖ ชั้นกลับไปกลับมา ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติในมนุษย์โลกอีก
หลายครั้ง และได้เสวยสมบัติคือเป็นพระราชาปกครองประเทศนับไม่ถ้วน
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่งที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
พร้อมกับมารดาบิดาได้ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มี
ศรัทธาบรรพชาอุปสมบท เล่าเรียนกัมมัฏฐานอย่างตั้งใจ มิช้ามินาน
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านพอได้บรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น จึงได้ระลึกถึงบุพกรรม
ของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงความประพฤติที่มีมาในกาล
ก่อน จงกล่าวคำเริ่มค้นว่า สิทฺธตฺถกสฺสส ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่าสิทธัตถะในคาถานั้น คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์
ด้วยภคธรรม. บทว่า มหาปูคคโณ ความว่า ได้มีหมู่แห่งอุบาสกเป็น
จำนวนมาก. บทว่า สรณ คตา จ เต พุทฺธ ความว่า อุบาสก
เหล่านั้นเข้าถึง คบ หรือทราบว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ดังนี้. บทว่า
ตถคต สทฺธห ความว่า ตั้งพระพุทธคุณไว้ในจิตสันดานของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
บทว่า สพฺเพ สงฺคมฺม มนฺเตตฺวา ความว่า ทั้งหมดพบประชุม
ปรึกษากัน ให้สัญญากันและกัน มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน สร้างโรง
คือศาลาสำหรับบำรุง เพื่อประโยชน์แก่พระศาสดา. เชื่อมความว่า เมื่อยัง
ไม่ได้เสาสักต้นหนึ่ง ในบรรดาทัพพสัมภาระทั้งหลาย จึงพากันเที่ยว
ค้นหาในป่าใหญ่.
บทว่า เตห อรญฺเ ทิสฺวาน เชื่อมความว่า เราได้เห็นพวก
อุบาสกเหล่านั้นในป่า เข้าไปเป็นหมู่ ประคองอัญชลี กระทำอัญชลี
ประชุมนิ้วทั้ง ๑๐ ไว้เหนือเศียร ในกาลนั้นเราจึงถามหมู่อุบาสกว่า พวก
ท่านมายังป่านี้เพื่อต้องการอะไร.
เชื่อมความว่า อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ถูกเราถามแล้ว จึงบอก
เป็นพิเศษว่า เราเป็นผู้มีความประสงค์จะสร้างโรงบำรุง แต่พวกเรายัง
ไม่ได้เสาอีกต้นหนึ่ง.
เชื่อมความว่า พวกท่านจงให้เสาต้นหนึ่งแก่เราเถิด เราเองจักนำ
เสาต้นนั้นไปถวายยังสำนักพระศาสดา, ขอท่านผู้เจริญ อย่าได้พยายาม
ในการนำเอาเสาไปเลย.
บทว่า ย ย โยนุปปชฺชามิ ความว่า เราจะเข้าถึงกำเนิดใด ๆ
คือจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง คำนั้นเป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ, อธิบายว่า ในโลกใด คือจะเป็น
เทวโลก หรือมนุษยโลกก็ตาม. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเอกถัมภิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
นันทเถราปทานที่ ๓ (๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า
[๑๕] เราได้ถวายผ้าทอด้วยเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลกผู้มั่นคง ตรัสรู้เอง
แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงพยา-
กรณ์เรานั้นว่า ด้วยการถวายผ้านี้ ท่านจักเป็นผู้มีผิวพรรณดัง
ทองคำ.
ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักได้.
เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม.
ท่าอันราคะย้อมแล้ว มีปกติสุข ประกอบด้วยความ
กำหนัดในกาม เป็นผู้อันพระพุทธเจ้าตักเตือนแล้ว แต่นั้น
จักบวช.
ครั้นบวชในพระศาสนาของพระโคดมนั้นแล้ว อันกุศลมูล
ตักเตือนแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มีอาสวะ นิพพาน.
ในแสนกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนามว่า
เจละ ใน ๖ ล้านกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนาม
ว่า อุปเจละ.
ใน ๕,๐๐๐ กัป จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้งพระนาม
ว่า เจละเหมือนกัน สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่
ในทวีปทั้ง ๔.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระนันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบนันทเถราปทาน
๑๓. อรรถานันทเถราปทาน
อปทานของท่านพระนันทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็น
อันมาก ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ในพระนครหังสาวดี บรรลุ
นิติภาวะแล้ว ขณะที่ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้พบ
ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งพวกภิกษุ
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ตนเองจึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
บำเพ็ญมหาทานที่มากไปด้วยการบูชาและสักการะ ให้เป็นไปแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์แล้ว ตั้งปณิธานไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์พึงได้เป็นอย่างพระสาวกรูปนั้น ของ
พระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์เถิด.
จำเดิมแต่นั้น ท่านก็ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี เกิดเป็นเต่าใหญ่
ในแม่น้ำชื่อว่า ธัมมตา วันหนึ่งได้พบพระศาสดาประทับยืนอยู่ใกล้ฝั่ง
เพื่อจะข้ามแม่น้ำ ตนเองประสงค์จะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าข้ามฝั่ง จึง
หมอบลงใกล้พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัย
ของเธอแล้ว จึงทรงขึ้นบนหลัง. เธอดีใจมาก รีบแหวกว่ายตัดกระแสน้ำ
ให้ถึงฝั่งโน้นได้รวดเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอนุโมทนาแก่เธอ
ตรัสชี้แจงถึงสมบัติจนแจ่มแจ้งแล้ว เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมอันนั้น ท่านจึงได้ท่องเที่ยวไปในสุคติหลายครั้ง
หลายหนทีเดียว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในพระครรภ์ของพระนาง
มหาปชาบดีโคตมี พระอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในกรุง
กบิลพัสดุ์ ในวันจะขนานนามท่าน หมู่ญาติบังเกิดความยินดี จึงขนาน
พระนามว่า นันทะ. ในเวลาที่นันทกุมารได้เจริญวัยขึ้นแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว ทรง
กระทำการอนุเคราะห์สัตว์โลก เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรง
กระทำฝนโบกขรพรรษให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ในสมาคมแห่งหมู่ญาต
ตรัสเวสสันดรชาดก ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ทรงยังพระชนก
ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลด้วยพระคาถาเป็นต้นว่า อุตฺติฏเ นปฺปมชฺ-
เชยฺย ดังนี้ แล้วเสด็จไปยังพระนิเวศน์ ทรงยังพระนางมหาปชาบดีให้
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล และให้พระราชาดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ด้วย
พระคาถาเป็นต้นว่า ธมฺม. จเร สุจริต ดังนี้. ในวันที่ ๓ เสด็จเข้าไป
บิณฑบาต ในเมื่อวันอาวาหมงคลเป็นที่เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์
เพื่อการอภิเษกของนันทกุมาร กำลังดำเนินไปอยู่. พระศาสดาทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
ประทานบาตรในมือของนันทกุมารแล้ว ตรัสมงคลแล้ว ไม่รับบาตรจาก
มือของนันทกุมารนั้น เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงให้นันทกุมารผู้ถือ
บาตรตามมายังวิหาร ผู้ไม่มีใจปรารถนาจะบวช ให้บวชแล้ว ทรง
ทราบว่า เธอถูกความไม่ยินดีเข้าบีบคั้น เพราะเหตุที่เธอบวชด้วยอาการ
อย่างนั้นนั่นแหละ จึงทรงบรรเทาความไม่ยินดียิ่งนั้นของเธอเสียด้วย
อุบาย. เธอพิจารณาแล้วโดยแยบคาย เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา มิช้ามินานก็
ได้บรรลุพระอรหัต. พอวันรุ่งขึ้น พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้า กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์พ้น
จากข้อประกันที่จะรับนางอัปสร ๕๐๐ นางผู้มีเท้าที่มีสีแดงคล้ายเท้านกพิราบ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอบอกคืนข้อประกันนั้นกะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ ในกาลที่เธอไม่
ยึดมั่น มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายได้ เราก็คุ้มครองรับรองว่า จะ
บอกคืนข้อประกันนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระ-
นันทะมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายได้อย่างวิเศษ เมื่อจะทรง
ประกาศคุณข้อนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นันทะเป็นผู้เลิศแห่ง
พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
ดังนี้แล้ว ทรงตั้งพระนันทะนั้นไว้ในตำแหน่งนั้น โดยความเป็นผู้มีทวาร
อันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย. ก็พระเถระคิดว่า เราอาศัยความไม่
สำรวมอินทรีย์ จึงถึงซึ่งอาการอันแปลกๆ นี้ เราจักข่มอาการอันแปลกๆ
นั้นให้ได้เป็นอย่างดี ดังนี้แล้วเกิดความอุสาหะ มีความละอายและความ
เกรงกลัวต่อบาปเป็นกำลัง และได้บรรลุถึงบารมีอันสูงสุดในการสำรวม
อินทรีย์ เพราะความที่ท่านได้สั่งสมบำเพ็ญมาในการสำรวมอินทรีย์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
ครั้นท่านได้รับตำแหน่งอันเลิศนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้ระลึกถึงบุพ-
กรรมของตน ได้รับความโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงข้อประพฤติของ
พระพุทธเจ้า จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า
วตฺถ โขม มยา ทินฺน ความว่า ผ้าที่เกิดในแคว้นโขนะ คือเรามีจิต
เลื่อมใส มีความเคารพนับถือมาก ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้น้อมถวาย
ผ้าโขนะที่มีเนื้อละเอียดอ่อนยิ่งนัก. บทว่า สยมฺภุสฺส ความว่า พระองค์
นั่นแล เป็นแล้ว เกิดแล้ว คือนิพพานแล้วโดยอริยชาติ. บทว่า มเหสิโน
เชื่อมความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า ค้นหา แสวงหา กองศีล
กองสมาธิ กองปัญญา กองวิมุตติ และกองวิมุตติญาณทัสสนะอย่างใหญ่
หลวงได้, เราได้ถวายผ้าโขมะเพื่อประโยชน์แก่การทำเป็นจีวร แด่พระ-
สยัมภูผู้แสวงหากองแห่งสาระคุณอันใหญ่นั้นแล้ว.
บทว่า ต ในบทว่า ต เม พุทโธ วิยากาสิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ, อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำ คือ
ตรัสแล้วโดยพิเศษ ถึงผลทานของเราผู้ถวายผ้านั้น. บทว่า ชลชุตฺตม-
นามโก ได้แก่ มีพระนามว่า ปทุมุตตระ. ปาฐะว่า ชลรุตฺตมนายโก
ดังนี้ก็มี, ความแห่งปาฐะนั้นว่า ผู้นำชั้นยอด คือประธานแห่งหมู่เทวดา
และพรหมทั้งหลายผู้รุ่งเรื่อง. บทว่า อิมินา วตฺถทาเนน ความว่า ด้วย
ผลแห่งการถวายผ้า ในอนาคตกาล เธอจักเป็นผู้มีวรรณะเพียงดัง
ทองคำ.
บทว่า เทฺว สมฺปตฺตึ อนุโภตฺวา ได้แก่ ได้เสวยสมบัติทั้งสอง คือ
ทิพยสมบัติ และมนุษยสมบัติ. บทว่า กุสลมูเลหิ โจทิโต ความว่า
เป็นผู้อันส่วนแห่งกุศลตักเตือนแล้ว คือส่งไปแล้ว ได้แก่ คล้าย ๆ กับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
ส่งไปว่า ด้วยบุญอันนี้ ขอเธอจงประสบกุศลในสำนักของพระศาสดาเถิด.
เชื่อมความว่า ทรงพยากรณ์ว่า เธอจักได้เป็นพระกนิษฐภาดาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าโคดม.
บทว่า ราครตฺโต สุขสีโล ความว่า มีความกำหนัดเยื่อใยด้วย
กิเลสกามทั้งหลาย มีการเสวยความสุขทางกายและความสุขทางจิตเป็น
สภาพ. บทว่า กาเมสุ เคธมายุโต ความว่า ถูกตัณหา คือความกำหนัด
ในวัตถุกามทั้งหลาย ประกอบผูกพันไว้แล้ว. บทว่า พุทฺเธน โจทิโต
สนฺโต ตทา ตฺว คือ เพราะกำหนัดแล้วในกามทั้งหลาย. เชื่อมความว่า
ฉะนั้น เธอผู้ได้รับการตักเตือนจากพระโคดมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระภาดา
ของตนแล้ว คือส่งเธอไปทางการบวช ก็จักได้บวชในสำนักของพระองค์.
บทว่า ปพฺพชิตฺวาน ตว ตตฺถ ความว่า ในพระศาสนาของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมนั้น เธอบวชแล้ว เป็นผู้มีกุศลมูลเป็นต้น
เหตุ มีบุญสมภารตักเตือนแล้ว บำเพ็ญภาวนา กำหนดรู้ กำหนดละอาสวะ
ทั้งปวงได้เด็ดขาด มีอนามัยดี ไม่มีทุกข์ จักนิพพาน คือจักบรรลุถึง
ความที่มารมองไม่เห็น อธิบายว่า จักถึงภาวะที่ไม่มีบัญญัติ.
บทว่า สตกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในกัปที่ ๑๐,๐๐๐ ในกาลก่อน
แต่กัปนี้ไป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๔ วาระ มีพระนามเดียวคลอด
ว่า เจละ. บทว่า สฏฺิกปฺปสตสหสฺสานิ ความว่า ก็ภายหลังล่วงไปได้
๖ ล้านกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง พระนามว่า อุปเจละ ใน
กัปหนึ่ง ๆ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทุก ๆ ๔ ชาติ
บทว่า ปญฺจกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในกัปที่ ๕,๐๐๐ ได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
พระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง พระนามว่าเจละเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้สมบูรณ์
เพียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ ได้เป็นใหญ่เป็นประธาน ในทวีปทั้ง ๔
ทุกทวีป คือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และปุพพ-
วิเทหทวีป. คำที่เหลือมีเนื้อความดังที่ได้กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถานันทเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
จุลลปันถกเถราปทานที่ ๔ (๑๔)
ว่าด้วยบุพกรรมของพระจุลลปันถกเถระ
[๑๖] เวลานั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรับเครื่อง
บูชาแล้ว พระองค์เสด็จหลีกออกจากหมู่ ประทับอยู่ ณ ภูเขา
หิมวันต์.
แม้เวลานั้นเราก็อยู่ในอาศรมใกล้ภูเขาหิมวันต์ เราได้เข้า
ไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เสด็จมาไม่นาน.
เราถือเอาฉัตรอันประดับด้วยดอกไม้ เข้าไปเฝ้าพระ-
นราสภ เราได้ทำอันตรายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเข้า
สมาธิ.
เราประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสองถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรับแล้ว.
เทวดาทั้งปวงมีใจชื่นบาน เข้ามาสู่ภูเขาหินวันต์ ยังสาธุ-
การให้เป็นไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุทรงอนุโมทนา.
ครั้นเทวดาเหล่านี้กล่าวเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่านระ เมื่อเรากั้นฉัตรดอกบัวอันอุดม
อยู่ในอากาศ.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ดาบสได้ประคองฉัตรดอกบัว
ให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ดาบสนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา
กล่าว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
ดาบสนี้จักเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ตลอด ๒๕ กัป และจัก
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๕ ครั้ง. จะท่องเที่ยวสู่กำเนิดใด ๆ
คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ในกำเนิดนั้น ๆ จักทรงไว้ซึ่ง
ดอกปทุมอันตั้งอยู่ในอากาศ.
ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระศาสนา ดาบสผู้นี้จักได้
ความเป็นมนุษย์ เขาจักเป็นผู้อุดมในกายอันบังเกิดแล้วด้วย
ฤทธิ์อันสำเร็จด้วยใจ.
จักมีพี่น้องชายสองคนมีชื่อว่าปันถก แม้ทั้งสองคนเสวย
ประโยชน์อันสูงสุดแล้ว จักยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง.
เรานั้นมีอายุ ๑๘ ปี ออกบวชเป็นบรรพชิต เรายังไม่ได้
คุณวิเศษในศาสนาของพระศากยบุตร.
เรามีปัญญาเขลา เพราะเราอบรมอยู่ในบุรี พระพี่ชาย
จึงขับไล่เราว่า จงไปสู่เรือนเดี๋ยวนี้.
เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้วน้อยใจ ได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู
สังฆาราม ไม่หวังในความเป็นสมณะ.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา
ทรงจับเราที่แขน พาเข้ารูปในสังฆาราม.
พระศาสดาคุ้มทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาท
ให้แก่เราว่า จงอธิฐานผ้าอันสะอาดอย่างนี้วางไว้ ณ ส่วน
ข้างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
เราจับผ้านั้นด้วยมือทั้งสองแล้วจึงระลึกถึงดอกบัวได้ จิต
ของเราปล่อยไปในดอกบัวนั้น เราจึงได้บรรลุพระอรหัต.
เราถึงที่สุดในฌานทั้งปวง ในกายอันบังเกิดแล้วแต่ฤทธิ์
อันสำเร็จด้วยใจ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระจุลลปันถกะได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจุลลปันถกเถราปทาน
๑๔. อรรถกถาจูฬปันถกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระจูฬปันถกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ เนื้อความที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวด้วยอำนาจอัตถุปปัตติเหตุ
ในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมด ในเรื่องของพระมหาปันถก ในอฏัฐก-
นิบาตนั่นแล. ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีดังนี้ว่า พระมหาปันถกเถระ
บรรลุพระอรหัตแล้ว ยังอยู่ด้วยความสุขอัน เกิดแต่ผลสมาบัติ คิดว่า
๑. บาลีเป็นจุลลปันถกเถระ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะสามารถให้จูฬปันถกะดำรงอยู่ในความสุขอย่างนี้
บ้าง. ท่านจึงเข้าไปหาธนเศรษฐีผู้เป็นตาของตนแล้ว กล่าวว่า โยมมหา-
เศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาภาพก็จะให้จูฬปันถกะบวช. โยมมหาเศรษฐี
พูดว่า ให้เขาบวชเถอะพระคุณเจ้า. พระเถระจึงได้ให้จูฬปันถกะนั้นบวช
แล้ว . จูฬปันถกะนั้น เมื่อดำรงมั่นอยู่ในศีล ๑๐ ได้ดีแล้ว จึงเล่าเรียน
คาถาในสำนักของพี่ชายว่า
ดอกบัวโกกนุทะ กลิ่นหอม บานแต่เช้าตรู่ พึงมีกลิ่น
ยังไม่สิ้นไป ฉันใด เธอจงทอดทัศนาการดูพระอังคีรสผู้
ไพโรจน์อยู่ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในกลางหาว ฉันนั้น ดังนี้.
โดยล่วงไป ๔ เดือน ก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำคำถามได้. แม้ที่
ได้เล่าเรียนแล้ว ก็ยังไม่คิดอยู่ในใจได้. ลำดับนั้น พระมหาปันถกะจึง
กล่าวกะเธอว่า จูฬปันถกะเอ๋ย ! เธอช่างอาภัพในพระศาสนานี้เสียจริง ๆ
เวลาผ่านไปตั้ง ๔ เดือน ก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำแม้คาถาสักคาถาหนึ่ง
ได้ ก็แล้วเธอจักให้กิจแห่งบรรพชิตถึงที่สุดได้อย่างไร ไป ! เธอจง
ออกไปเสียจากที่นี้. พระจูฬปันถกะนั้น พอถูกพระเถระพี่ชายประณาม
ขับไล่ จึงได้ไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้กับซุ้มประตู.
ก็ในสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในชีวกัมพวันวิหาร. ลำดับนั้น
หมอชีวกใช้ให้คนไปนิมนต์ว่า เธอจงไปนิมนต์พระศาสดาพร้อมกับพระ-
ภิกษุ ๕๐๐ รูปมา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระมหาปันถกะกำลังเป็นภัตตุทเทสก์
อยู่. พระมหาปันถกะนั้น พอได้รับนิมนต์จากหมอชีวกว่า ขอท่านจงรับ
ภิกษาเพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป จึงพูดว่า เว้นพระจูฬปันถกะเสีย ภิกษุที่เหลือ
อาตมภาพรับได้. พระจูพปันถกะพอได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้แต่เสียใจเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
อย่างยิ่ง. พระศาสดาได้ทรงทราบถึงความทุกข์ใจของเธอ จึงทรงดำริว่า
เราต้องใช้อุบายแล้ว จูฬปันถกะจึงจักตรัสรู้ได้ ดังนี้ แล้วแสดงพระองค์
ในที่อันไม่ไกลเธอนัก ตรัสถามว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ทำไม ? พระ-
จูฬปันถกะกราบทูลว่า พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า, พระศาสดา
ตรัสว่า ปันถกะเอ๋ย ! อย่าคิดมากไปเลย. เธอบวชในศาสนาของเรา มานี่
มารับผ้าผืนนี้ไป แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณ รโชหรณ (ผ้า
เช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) ดังนี้แล้ว จึงได้ประทานท่อนผ้าสะอาดอันสำเร็จด้วย
ฤทธิ์ให้. ท่านนั่งใช้มือลูบคลำบริกรรมท่อนผ้าที่พระศาสดาทรงประทาน
ให้มาว่า รโชหรณ รโชหรณ ดังนี้. เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำผ้าผืนนั้น
ไปมา ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเศร้าหมอง เมื่อท่านบริกรมลูบคลำไปอีก ผ้า
สะอาดก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะมีญาณอันแก่กล้า ท่าน
จึงคิคอย่างนี้ว่า แต่เดิมมาท่อนผ้าผืนนี้ก็บริสุทธิ์สะอาด. เพราะอาศัย
สรีระอันมีวิญาณครองนี้ จึงได้กลายเป็นอย่างอื่นเศร้าหมองไป ฉะนั้น
ผ้าผืนนี้ เป็นอนิจจังอย่างไร แม้จิตก็คงเป็นอย่างนั้นแน่ จึงเริ่มตั้งความ
สิ้นไปเสื่อมไป ยังฌานในนิมิตนั้นนั่นแลให้เกิดขึ้นแล้ว ทำฌานให้เป็น
บาท เริ่มเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔.
พอท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้วเท่านั้น พระไตรปิฎก และอภิญญา ๕
ก็ติดตามมาแล้ว.
พระศาสดาได้เสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๔๙๙ รูปแล้ว ประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูลาดจัดไว้ในนิเวศน์ของหมอชีวก. แด่พระจูฬปันถกะไม่ได้
ไป เพราะพระพี่ชายของตนไม่ยอมรับนิมนต์เพื่อภิกษาแก่ตน. หมอชีวก
เริ่มจะถวายข้าวยาคู. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตรเสีย เมื่อหมอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
ชีวกกราบทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงได้รับภิกษาพระเจ้าข้า จึง
ได้ตรัสตอบว่า หมอชีวก ภิกษุที่วิหารยังมีอยู่อีกหนึ่งรูป. หมอชีวกนั้น
จึงได้ใช้คนไปว่า พนาย เจ้าจงไปพาพระคุณเจ้าที่นั่งอยู่ในวิหารมา. แม้
พระจูฬปันถกเถระ ก็นั่งเนรมิตภิกษุขึ้น ๑,๐๐๐ รูป แต่ละรูปไม่เหมือน
กัน ด้วยทั้งรูปร่างและกิริยาท่าทาง. พอคนใช้นั้น เห็นว่าภิกษุในวิหาร
มีเป็นจำนวนมาก จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ภิกษุสงฆ์ในวิหาร มีมาก
กว่าภิกษุสงฆ์ที่มาในบ้านนี้ ผมไม่รู้จักพระคุณเจ้าที่ใช้ให้ไปนิมนต์มา.
หมอชีวกกราบทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุที่นั่งอยู่ในวิหารชื่ออะไร
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ชื่อว่า จูฬปันถกะ ชีวก. หมอชีวกจึงใช้
คนไปใหม่ว่า พนาย เธอจงไปถามว่า พระภิกษุรูปไหน ชื่อว่าจูฬปันถกะ
แล้วจงพาภิกษุรูปนั้นมา. คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วถามว่า ท่านขอรับ
ภิกษุรูปไหนชื่อว่าจูฬปันถกะ. ภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ รูปจึงตอบพร้อม ๆ กัน ว่า
เราชื่อจูฬปันถกะ เราชื่อจูฬปันถกะ คนใช้นั้น จึงกลับมาอีกแล้ว บอกให้
หมอชีวกทราบเรื่องนั้น. เพราะค่าที่ตนรู้ตลอดสัจจะ หมอชีวกจึงทราบ
โดยนัยว่า พระคุณเจ้า ชะรอยว่าจะมีฤทธิ์แน่ จึงสั่งคนใช้ว่า พนาย เธอ
จงไปพูดว่า พระศาสดามีรับสั่งให้ท่านทั้งหลาย เฉพาะพระคุณเจ้ารูปที่
ขานรับก่อนมาหา แล้วเธอจงจับที่ชายจีวร. คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วได้
กระทำตามสั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุที่เนรมิตทั้งหลาย ก็อันตรธาน
หายไป. คนใช้จึงได้พาพระเถระไปแล้ว.
ขณะนั้น พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคู. และของอื่นต่างชนิดมี
ของขบเคี้ยวเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึง
ทรงรับสั่งให้ท่านพระจูฬปันถกะ กระทำอนุโมทนา. พระจูฬปันถกหะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา กระทำอนุโมทนาด้วยการยังพระพุทธพจน์
คือพระไตรปิฎกให้กระเพื่อม จับพระอัธยาศัยของพระศาสดา คล้าย ๆ กับ
ว่าจับเอาภูเขาสิเนรุมากวนคนลงไปยังมหาสมุทรฉะนั้น. เมื่อพระทศพล
กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร จึงมีถ้อยคำพูดเกิดขึ้นในโรง
ธรรมสภาว่า ช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่ได้ทรงแสดงฤทธิ์มากมายอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่จูฬปันถกะไม่สามารถจะเรียน
จำคาถาหนึ่ง ในระยะเวลา ๔ เดือนได้ ก็บันดาลให้เป็นไปได้โดยขณะ
รวดเร็วทีเดียว ดังนี้ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในนิเวศน์ของหมอชีวก ทรงทราบว่า จิตของพระจูฬปันถกะ
มั่นคงดีแล้วอย่างนั้น วิปัสสนาดำเนินไปสู่วิถีแล้ว ดังนี้ ทั้ง ๆ ที่ประทับ
นั่งอยู่นั่นแล ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ เมื่อจะแสดงว่า ปันถกะ
ท่อนผ้าเก่าผืนนี้ ยังไม่เศร้าหมองเกลื่อนกล่นด้วยธุลีเท่าไรนัก แต่ว่าสิ่ง
ที่เศร้าหมอง เป็นธุลีในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า ยิ่งไปกว่านี้ยังมี
อยู่อีก ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านั้นว่า
ราคะชื่อว่า ธุลี แต่ละออง ท่านไม่เรียกว่า ธุลี คำว่า
ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ ภิกษุเหล่านั้นละธุลีนั้นได้เด็ดขาด
แล้ว อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงปราศจากธุลี.
โทสะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสดาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง
ปราศจากธุลี.
โมหะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง
ปราศจากธุลี.
ในเวลาจบพระคาถา พระจูฬปันถกะได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
ปฏิสัมภิทา ๔ พระศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำเจรจาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว
เสด็จมาประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
กำลังสนทนาเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกะตั้งอยู่ในโอวาทของเราแล้ว
ได้รับสมบัติคือโลกุตระในบัดนี้ ส่วนในกาลก่อนได้เพียงสมบัติคือโลกิยะ
เท่านั้น ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลอ้อนวอน จึงได้ตรัสจูฬ-
เศรษฐีชาดกไว้แล้ว. ในกาลต่อมา พระศาสดามีหมู่พระอริยเจ้าแวดล้อม
ประทับนั่งบนธรรมาสน์แล้ว ทรงแต่งตั้งพระจูฬปันถกะนั้นไว้ในตำแหน่ง
ที่เลิศแห่งพวกภิกษุผู้เนรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจ และผู้ฉลาดในการเปลี่ยน
แปลงใจ.
พระจูฬปันถกะนั้น พอได้รับตำแหน่งแต่งตั้งอย่างนี้แล้ว จึงระลึก
บุพกรรมของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งปีติและโสมนัส เมื่อจะประกาศ
อ้างถึงความประพฤติที่เคยมีมาในกาลก่อน จึงได้กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า
ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้ . สองบทเบื้องต้นในคาถานั้น ข้าพเจ้าได้
กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า คณมฺหา วูปกฏฺโ โส ความว่า พระศาสดา
ทรงพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น เสด็จหลีกออกจากหมู่ภิกษุหมู่มาก
พระองค์เดียวโดยลำพัง เสด็จเข้าไปยังที่อันสงัด. ในกาลครั้งเมื่อเรายัง
เป็นดาบส ได้อยู่ คือได้สำเร็จการอยู่อาศัย หมายความว่า ได้อยู่ด้วย
อิริยาบถทั้ง ๔ ในหิมวันตประเทศ ได้แก่ที่ใกล้กับภูเขาหิมาลัย.
บทว่า อหมฺปิ ฯ เป ฯ ตทา ความว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เสด็จเข้าไปอยู่อาศัยยังหิมวันตประเทศ. เชื่อมความว่า ใน
ครั้งนั้น ถึงตัวเราก็อยู่ในอาศรมที่ได้สร้างไว้ใกล้กับหิมวันตประเทศ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
ในอรัญวาสีอันได้นามว่า อาศรม เพราะเป็นที่สงบจากอันตราย คือสิ่ง
ที่จะเบียดเบียนทางกายและจิต โดยรอบด้าน. บทว่า อจิราคต มหาวีร
เชื่อมความว่า เราได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้นำ
ชาวโลก คือผู้เป็นประธาน ผู้มีความเพียรมาก ผู้มาแล้วไม่นานนัก,
อธิบายว่า เพิ่งได้เสด็จมาถึงในขณะนั้นนั่นเอง.
บทว่า ปุปฺผฉตฺต คเหตฺวาน ความว่า ก็เมื่อจะเข้าไปหาอย่างนั้น
จึงกันร่มทำด้วยดอกไม้ บุบังด้วยดอกไม้มีดอกปทุมและดอกอุบลเป็นต้น
เข้าไปกั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐแก่นรชนทั้งหลาย คือเข้า
ไปใกล้. บทว่า สนาธึ สาปชฺชนฺต เชื่อมความว่า เราได้กระทำ
อันตรายแก่ผู้นั่งเข้ารูปาวจรสมาธิฌาน.
บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ปคฺคยฺห เชื่อมความว่า เราได้ใช้มือทั้งสอง
ข้างยกฉัตรดอกไม้ อันตกแต่งจัดแจงดีแล้วนั้นขึ้นถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ
ทรงรับ คือทรงเอื้อเฟื้อรับฉัตรดอกไม้ ที่เราได้ถวายแล้วนั้นเป็นอย่างดี.
บทว่า สตปตฺตฉตฺต ปคฺคยฺห ความว่า พระดาบสได้ถือฉัตร
ดอกไม้ ที่บุบังด้วยดอกปทุมทั้งหลาย หลายร้อยกลีบ โดยที่ดอกปทุม
แต่ละดอกมีกลีบนับเป็นร้อยๆ กลีบ ได้ถวายแก่เราโดยอาการอันเอื้อเฟื้อ.
บทว่า ตมห กิตฺตยิสฺสสมิ ความว่า เราจักระบุชื่อดาบสนั้น คือจัก
กระทำให้ปรากฏ. ท่านทั้งหลาย จึงพึงถ้อยคำ คือจงตั้งใจฟังถ้อยคำ
ของเราผู้กำลังพูดอยู่เถิด.
บทว่า ปญฺจวีสติกปฺปานิ เชื่อมความว่า ด้วยการได้ถวายฉัตร
ดอกไม้นี้ จักได้เป็นท้าวสักกะ ครอบครองเทวสมบัติ ในภพดาวดึงส์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
ตลอด ๒๕ ครั้ง. บทว่า จตุตฺตึสติกขตฺตุญฺจ ความว่า จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิในมนุษย์โลกตลอด ๓๔ ครั้ง.
บทว่า ย ย โยนึ ความว่า ย่อมระลึกได้ถึงชาติในกำเนิดมนุษย์
เป็นต้น. อธิบายว่า ดอกปทุมจักทรงไว้ กั้นไว้ซึ่งเธอผู้ทั้งอยู่ คือ นั่งอยู่
หรือยืนอยู่ ในอัพโภกาสคือทที่ว่าง-ในกำเนิดนั้น ๆ. บทว่า ปกาสิเต
ปาวจเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงประกาศ คือแสดง
พระไตรปิฎกทั้งสิ้น จักได้คือเข้าถึงความเป็นมนุษย์คือชาติแห่งมนุษย์.
บทว่า นโนมยมฺหิ กายมฺหิ ความว่า ชื่อว่า มโนมยะ เพราะอรรถว่า
เกิดด้วยใจ คือด้วยฌานจิต อธิบายว่า จิตย่อมเป็นไปด้วยประการใด เขา
จะให้กายเป็นไป คือกระทำให้มีคติจิตเป็นไปอย่างนั้น. ในเพราะกาย
อันสำเร็จด้วยใจนั้น ดาบสนั้น จักมีชื่อว่าจูฬปันถกะผู้สูงสุด คือเป็นผู้เลิศ.
คำที่เหลือเป็นคำที่รู้ได้ง่าย เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า สรึ โกกนท อห ความว่า เราลูบคลำท่อนผ้าที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงนิรมิต ระลึกถึงดอกบัวชื่อโกกนท. บทว่า ตตฺถ จิตฺต
วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราสดชื่นน้อมไปในดอกบัวชื่อว่าโกกนท.
เชื่อมความว่า ลำดับนั้น เราบรรลุพระอรหัตแล้ว.
เชื่อมความว่า บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในกายอันสำเร็จด้วยใจ คือ
อันมีคติแห่งจิต ในที่ทุกสถานคือที่ทั้งปวง. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาจูฬปันถกะเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๕ (๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการไล้ทาของหอม
[๑๗] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสุเมธ เป็นบุคคลผู้เลิศ
นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ทำการบูชา
พระสถูป. ในสมาคมนั้น มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มี
ฤทธิ์มากเท่าใด เรานิมนต์พระขีณาสพเหล่านั้นมาประชุมกัน
ในสมาคมนั้นแล้ว ได้ทำสังฆภัตถวาย.
เราเวลานั้น มีภิกษุอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่าสุเมธ ท่านมีชื่อว่าสุเมธ ได้อนุโมทนาในเวลานั้น.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงวิมาน นางอัปสร
แปดหมื่นหกพันได้มีแก่เรา.
นางอัปสรเหล่านั้น ย่อมอนุวัตรตามความประสงค์ทุก
อย่างของเราเสมอ เราย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น นี้เป็นผล
แห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๒๕ เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่าวรุณ ในกาลนั้น
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยโภชนะอันขาวผ่อง.
ชนเหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนำรถไปไถนา
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบริโภคข้าวสาลีอันเกิดเองสุกเองในที่
ไม่ได้ไถ.
เราเสวยราชสมบัติ ในภพนั้นแล้ว ได้ถึงความเป็นเทวดา
อีก ถึงเวลานั้น โภคสมบัติเช่นนี้ก็บังเกิดแก่เรา.
สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรหรือมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียน
เรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้ให้ทานในกาลนั้น ด้วยการให้ทาน
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไล้ทาด้วยของหอม.
ในภัทรกัปนี้ เราผ้าเดียวได้เป็นอธิบดี องคน ได้เป็นราช-
ฤๅษีผู้มีอานุภาพนาก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพลมาก.
เรานั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ ได้ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ถึงสุคติ
ได้เป็นที่รักของเทวดาทั้งหลาย.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประ-
การฉะนั้นแล.
จบปิลินทวัจฉเถราปทาน
๑๕. อรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน
อปทานของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลมีโภคะ
มาก ในหังสวดีนคร ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา โดยนัยดังกล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ในหนหลัง เห็นพระศาสดาทรงภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
โดยภาวะเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ปรารถนาตำแหน่งนั้น
บำเพ็ญบุญตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านบูชาพระสถูปของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น บำเพ็ญทานให้เป็นไปแด่พระสงฆ์ เคลื่อนจากอัตภาพ
นั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธ-
เจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิให้มหาชนพากันตั้งอยู่ในศีล ๕
ได้กระทำให้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของ
เราทั้งหลายยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล ท่านบังเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกรุงสาวัตถี. ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า ปิลินทะ. บทว่า วจฺโฉ
ได้แก่ โคตร. ครั้นต่อมาท่านได้ปรากฏนามว่า ปิลิทวัจฉะก็เพราะท่าน
เป็นผู้มากไปด้วยการสังเวช ท่านจึงบวชเป็นปริพาชก ยังวิชชา ๓ ชื่อว่า
จูฬคันธาระให้สำเร็จ เป็นผู้เที่ยวไปทางอากาศ และรู้จิตของผู้อื่นด้วย
วิชชานั้น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว
เสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์โดยลำดับ. จำเดิมแต่นั้นมา ด้วยอานุภาพของ
พระพุทธเจ้า วิชชานั้นไม่ได้สำเร็จแก่ท่าน. ท่านไม่ยังกิจของคนให้
สำเร็จ. ท่านดำริว่า ข้อที่ท่านได้สดับมาในสำนักอาจารย์และปาจารย์
คือมหาคันธารวิชชา ซึ่งเป็นที่ ๆ ท่านทรงจำไว้ได้ แต่จูฬคันธารวิชชา
ย่อมไม่สำเร็ว เพราะฉะนั้น ตั้งแต่พระสมโคดมเสด็จมา วิชชาของ
เรานี้ย่อมไม่สำเร็จ พระสมณโคดมย่อมทรงทราบมหาคันธารวิชชาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
ไม่ต้องสงสัย กระไรหนอ เราจะเข้าไปหาท่าน พึงเรียนวิชชานั้นใน
สำนักของพระสมณโคดม. เพราะเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า
ท่านจงบวชในสำนักของเรา. ท่านสำคัญว่า การบริกรรมวิชชาเป็นการ
บรรพชา จึงได้บรรพชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
แก่ท่าน ได้ทรงประทานกัมมัฏฐานอันสมควรแก่จริยา. เพราะท่าน
สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ไม่นานนัก ท่านเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต
แล้ว.
ก็เทวดาเหล่านั้นใด ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านในชาติก่อน เกิดใน
สวรรค์ เทวดาเหล่านั้น อาศัยความเป็นผู้กตัญญู เกิดความนับถือใน
ท่านมาก เข้าไปนั่งใกล้พระเถระทั้งเย็นและเช้า. เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ในความเป็นผู้เลิศ โดยความเป็นที่รักเป็นที่
พอใจของเทวดาทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของ
เรา ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ปิลินทวัจฉะเป็นเลิศ ท่านถึง
ตำแหน่งอันเลิศอย่างนี้แล้ว หวนระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริยาปทาน ด้วยสามารถปีติและโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โลกนาโถ เพราะเป็น
ที่พึ่งคือเป็นประธานของกามโลก รูปโลกและอรูปโลก. ชื่อว่า อคฺคปุคฺคโล
เพราะเป็นผู้มีเมธาดีคือประเสริฐล้ำเลิศ. เชื่อมความว่า เมื่อพระโลกนาถ-
ผู้มีเมธาดีคือบุคคลผู้ล้ำเลิศนั้นปรินิพพาน ด้วยขันธ์ปรินิพพาน. บทว่า
ปสนฺนจิตฺโต สุมโน ความว่า เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสด้วยศรัทธา มีใจดี
ด้วยโสมนัส ให้กระทำการบูชาพระสถูป คือพระเจดีย์ของพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะนั้น. บทว่า เย จ ขีณาสวา ตตฺถ
ความว่า ก็พระขีณาสพ คือผู้ละกิเลสได้แล้ว ผู้ชื่อว่าฉฬภิญญา คือผู้
ประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่า มหิทฺธิกา คือ ผู้ประกอบด้วยฤทธิ์มาก.
อธิบายว่า เรานิมนต์พระขีณาสพทั้งหมดนั้น ให้มาประชุมกันในที่นั้น
นำมาด้วยความเอื้อเฟื้อ ได้กระทำสังฆภัตที่จะพึงถวายแก่สงฆ์ทั้งสิ้น
อธิบายว่า ให้พระขีณาสพนั้นฉัน. บทว่า อุปฏฺาโก ตทา อหุ ความว่า
ในกาลเป็นที่ให้สังฆภัตแก่เราในครั้งนั้น ท่านได้เป็นอุปัฏฐากสาวก
ชื่อว่า สุเมธะ ตามพระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สุเมธะ. อธิบายว่า สาวกนั้นได้อนุโมทนาชื่นชมยินดีบูชาสักการะแก่เรา
แล้วได้แสดงอานิสงส์.
บทว่า เตน จิตฺตปฺปสาเทน เราได้เข้าถึงวิมานในเทวโลก
ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจการกระทำการบูชาพระสถูป
นั้น, อธิบายว่า เราบังเกิดในทิพยวิมานนั้น. บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ
ความว่า นางเทพอัปสรหมื่นหกพันนาง ได้ชื่นชมยินดี ยังจิตของเรา
ให้ยินดีในวิมานนั้น.
บทว่า มเมว อนุวตฺตนฺติ ความว่า เทพอัปสรเหล่านั้น อุปัฏฐาก
ด้วยกามทั้งปวงคือด้วยวัตถุกามมีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์ อนุวัตรตามเรา
เท่านั้น คือกระทำตามคำของเรา ในกาลนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์. คำที่
เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
ราหุลเถราปทานที่ ๖ (๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเครื่องลาด
[๑๘] เราได้ถวายเครื่องลาดในปราสาท ๗ ชั้น แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่
พระมหามุนีผู้เป็นจอมแห่ชน เป็นนระผู้ประเสริฐ อันพระ-
ขีณาสพหนึ่งพันแวดล้อมแล้ว เสด็จเข้าพระคันธกุฏี พระ-
ศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนระผู้องอาจ ทรงยังพระ-
คันธกุฎีให้รุ่งเรื่อง ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า ที่นอนนี้ผู้ใดให้โชติช่วงแล้ว ดังกระจกเงา
อันขัดดีแล้ว เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ปราสาททองอันงดงาม หรือปราสาทแก้วไพฑูรย์เป็นที่รัก
แห่งใจ จักบังเกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดา เสวย
เทวรัชสมบัติอยู่ ๖๔ ครั้ง ในกัปที่ ๒๑ จักได้เป็นกษัตริย์
พระนามว่าวิมละ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงครอบครอง
แผ่นดินสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต พระนครชื่อว่า เรณุวดี
สร้างด้วยแผ่นอิฐ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ สี่เหลี่ยมจตุรัส
ปราสาทชื่อว่าสุทัสนะ อันวิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ประ-
กอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ
วิทยาธรมีเสียงสิบอย่างต่าง ๆ กัน มาเกลื่อนกล่นอยู่ เหมือน
จักเป็นนครชื่อว่าสุทัสนะของเหล่าเทวดา รัศมีแห่งนครนั้น
เปล่งปลั่งดังเมื่อพระอาทิตย์อุทัย นครนั้นจักรุ่งเรืองจ้าโดย
รอบ ๘ โยชน์อยู่เป็นนิจ ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
นามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอก-
กากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักได้เป็นพระราชโอรสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ถ้าจะพึงอยู่ครองเรือน ผู้นั้น
พึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ข้อที่เขาจะถึงความยินดี
ในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เขาจักออกบวชเป็น
บรรพชิต เป็นผู้มีวัตรอันงาม จักได้เป็นพระอรหันต์มีนาม
ว่าราหุล พระมหามุนีทรงพยากรณ์เราว่า มีปัญญา สมบูรณ์
ด้วยศีล เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ ดังจามรีรักษาขนหาง
เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในศาสนา เรา
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้
คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง
ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระราหุลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบราหุลเถราปทาน
๑๖. อรรถกถาราหุลเถราปทาน
อปทานของท่านพระราหุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้.
ท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระบังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้
รู้เดียงสาแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาอยู่ในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดา
ทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในฐานะอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา
เมื่อปรารถนาตำแหน่งนั้นด้วยตนเอง บำเพ็ญบุญอันยิ่งมีการชำระเสนาสนะ
ทำให้สว่างไสวเป็นต้น แล้วได้ตั้งความปรารถนาไว้. ท่านจุติจากอัตภาพ
นั้น แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เพราะอาศัยพระโพธิสัตว์ของเรา จึงบังเกิดใน
พระครรภ์ของพระนางยโสธราเทวี ได้นามว่าราหุลกุมาร ทรงเจริญด้วย
ขัตติยบริวารเป็นอันมาก. วิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในขันธกะนั้นเอง.
ท่านบรรพชาแล้วได้รับพระโอวาทด้วยดี ด้วยสุตตบทเป็นอันมากในสำนัก
พระศาสดา มีญาณแก่กล้า เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ก็ท่านเป็น
พระอรหัต พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผลจึงได้
ภาษิตคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ว่า
ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการคือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิปัตติสมาบัติ ๑
เพราะเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และเป็นผู้มีปัญญาเห็น
ธรรมทั้งหลาย.
อนึ่ง เพราะอาสวะของเราสิ้นไป และภพใหม่ไม่มีต่อไป
เราเป็นพระอรหันต์เป็นพระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา ๓ เป็น
ผู้เห็นอมตธรรม.
สัตว์ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษ
ในก้าน ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมไว้ ถูกหลังคาคือตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
ปกปิด ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก คือประมาท
เหมือนปลาในปากลอบฉะนั้น.
เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว
ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับ
แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยเนว สมปนฺโน ความว่า ผู้
สมบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งสอง คือชาติสมบัติ ๑ ปฏิปัตติ-
สมบัติ ๑. บทว่า ราหุลภทฺโทติ ม วิทู ความว่า เพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย รู้จักเราว่า ราหุลภัททะ. จริงอยู่ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ทรงทราบว่า พระราหุลนั้นประสูติแล้ว ทรงยึดเอาถ้อยคำที่พระโพธิสัตว์
ตรัสว่า ราหุ (เครื่องผูก) เกิดแล้ว เครื่องผูกพันเกิดแล้ว จึงยึดเอา
พระนามว่าราหุลดังนี้. ในข้อนั้น พระองค์ทรงยึดเอาปริยายที่พระบิดา
ตรัสแล้วแต่ต้นนั่งเอง จึงตรัสว่า ราหุลภทฺโทติ ม วิทู ดังนี้. บทว่า
ภทฺโท เป็นคำกล่าวสรรเสริญนั้นเอง. ในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้ง
ท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศ โดยภาวะเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ราหุลนี้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา.
ท่านได้รับตำแหน่งเอทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน
เกิดโสมนัส ประกาศถึงปุพพจริยาปทาน จึงตรัสว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้เป็นอาทิ. บทว่า สตฺตภูมิมฺหิ ปาสาเท ความว่า ชื่อว่า
ปาสาทะ เพราะยังความเลื่อมใสคือยังความโสมนัสให้เกิด. ภูมิทั้ง ๗ ดังอยู่
ในชั้นสูง ๆ ในปราสาทใด ปราสาทนี้นั้น ชื่อว่า สัตตภูมิ ปราสาท ๗
ชั้น บทว่า อาทาส สนฺถรึ อห ความว่า เราได้ทำพื้นแว่นให้สำเร็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
แล้วได้ลาดถวาย อธิบายว่า ได้ลาดบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ
ของโลกผู้คงที่. บทว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ ความว่าเกลื่อนกล่นคือแวดล้อม
ไปด้วยพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์. ชื่อว่า ทฺวิปทินฺโท เป็นจอมแห่งสัตว์
สองเท้า คือเป็นจอม เป็นเจ้าแห่งสัตว์สองเท้า เป็นผู้องอาจกว่านระ
เป็นมหามุนี เข้าไปหาคือเข้าไปยังพระคันธกุฎี พร้อมด้วยสัตว์สองเท้า
เหล่านั้น. บทว่า วิโรเจนฺโต คนฺธกุฏึ ความว่า พระศาสดาผู้ประเสริฐ
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย ชื่อว่า เทวเทโว, ผู้องอาจกว่านระทั้งหลาย
ชื่อว่า นราสโภ ยังพระคันธกุฎีนั้นให้สว่างไสว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสภาษิตพยากรณ์คาถาเหล่านี้. บทว่า เยนาย โชติตา
เสยฺยา ความว่า ที่นอนกล่าวคือปราสาทนี้ อันอุบาสกใดให้โชติช่วง
แล้ว คือสว่างไสวรุ่งเรืองแล้ว. เราได้ลาดด้วยดี คือทำให้เสมอ เหมือน
คันฉ่องทำพื้นให้ใสดุจกระจก อันสำเร็จด้วยสัมฤทธิ์และโลหะฉะนั้น.
อธิบายว่า เราจักยกย่องอุบาสกนั้น คือจักกระทำให้ปรากฏ. คำที่เหลือรู้
ได้ง่ายทั้งนั้น.
บทว่า อฏฺานเมต ย ตาทิ ความว่า เป็นผู้คงที่ด้วยเหตุใด คือ
ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ได้
ประสบคือถึงความยินดี คือไม่เกียจคร้านในเรือนคือในการครองเรือน.
อธิบายว่า แต่เหตุที่เขาจะคงที่ถึงความยินดีในเรือนนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ คือไม่เป็นเหตุ.
บทว่า นิภฺขนิตฺวา อคารสฺมา ความว่า เขาจักออกจากการอยู่
ครองเรือน สละการครองเรือนนั้นเหมือนสละใบหญ้า ออกบวชเป็นผู้มี
วัตรดีศึกษาดีงาม. บทว่า ราหุโล นาม นาเมน ความว่า ชื่อว่า ราหุล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
เพราะเป็นพระนามที่พระสิทธัตถะ พระราชบิดาตรัสว่า ราหุล (เครื่องผูก)
เกิดแล้ว เครื่องผูกเกิดเเล้ว เพราะสดับข่าวว่า พระกุมารประสูติแล้ว
ที่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไป. พึงเห็นว่าพระองค์ตรัส ว่า ราหุล
(เครื่องผูก) เกิดแล้ว โดยประสงค์ว่า พระกุมารนี้เกิดมาเหมือนทำอันตราย
ต่อบรรพชา คือการออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่เป็นต้นของเรา เหมือนราหู
จอมอสูรตั้งขึ้นเคลื่อนไป เพราะกระทำแสงสว่างแห่งวิมานแห่งพระจันทร์
และพระอาทิตย์ให้หม่นหมองฉะนั้น. บทว่า อรหา โส ภวิสฺสติ ความว่า
ท่านคือผู้เช่นนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมอัน เป็นอุปนิสัย ประกอบการ
ขวนขวายในวิปัสสนาจักเป็นพระอรหันตขีณาสพ.
บทว่า กิกีว อณฺฑ รกฺเขยฺย ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษาศีล
เหมือนนกด้อยตีวิดรักษาฟองไข่คือพืชฉะนั้น. บทว่า จามรี วิย วาลธึ
ความว่า พึงสละแม้ชีวิต ไม่ทำลายศีลรักษาไว้ เหมือนจามรีรักษาขนหาง
ไม่ดึงขนหาง คือเมื่อขนหางติดคล้องในท่อนไม้ก็ไม่ดึงมา เพราะกลัวขาด
ยอมตาย. ปัญญาท่านเรียก นิปกะ ในบทว่า นิปโก สีลสมฺปนฺโน นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
รักษาตนนั้น ชื่อว่านิปกะ จักเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะรักษาไว้ไม่ขาด
ไม่ทำลายเป็นต้น. ท่านบรรลุพระอรหัตผลอย่างนี้แล้ว วันหนึ่งนั่งในที่
อันสงัดกล่าวคำมีอาทิว่า เรารักษาพระมหามุนีอย่างนี้ด้วยสามารถแห่ง
โสมนัส. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาราหุลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทานที่ ๗ (๑๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์
[๑๙] เราได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ
เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ประเสริฐ สูงสุดกว่านระ
ประทับนั่งอยู่ที่เงื้อมเขา.
เวลานั้นเราได้เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน จึงเด็ดขั้วมัน
แล้วเอามาประดับที่ฉัตร ยกขึ้นนกั้น ถวายแด่พระพุทธเจ้า.
และเราได้ถวายบิณฑบาตมีข้าวปรุงด้วยน้ำนม ที่จัดว่า
เป็นโภชนะอย่างดี ได้นิมนต์พระ ๘ รูป เป็น ๙ รูป ทั้งพระ-
พุทธเจ้าให้ฉันที่บริเวณนั้น.
พระสยัมภู มหาจีวรเจ้าผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงอนุโมทนา
เพราะการถวายฉัตร กับการถวายข้าวปรุงด้วยน้ำนมนี้ว่า
เพราะความที่ท่านมีจิตเลื่อมใสนั้น ท่านจักเสวยสมบัติ
และจักได้เทวราชสมบัติ คือเป็นพระอินทร์ ๓๐ ครั้ง.
และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง เป็นพระเจ้า
ประเทศราช ผู้ไพบูลย์โดยนับไม่ถ้วน.
ชนทั้งหลายจะเรียกนามผู้ใดว่า สุเมธะ เพราะท่านมี
ปัญญาดังแผ่นดิน มีปัญญาดี.
ในแสนกัปแต่กัปนี้ ผู้นั้นจักสมภพในวงศ์ของพระเจ้า
โอกกากราช จักทรงพระนามว่า โคตมะ ตามพระโคตร
พระองค์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
ในศาสนาอันรุ่งเรืองของพระองค์นั้น. ท่านจักได้กำเนิด
เป็นมนุษย์ มีชื่อว่า อุปเสนะ จักเป็นสาวกของพระศาสดา.
เมื่อชีวิตของเราในภพสุดท้ายเป็นไปอยู่ เราถอนภพขึ้นได้
ทั้งหมด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายอัน
ในที่สุดไว้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอุปเสนวังตปุตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๓
๑๗. อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
ปทุมุตฺตร ภควนฺต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยของพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
หังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว ไปยังสำนักพระศาสดาฟังธรรม เห็น
พระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุผู้น่าเลื่อมใส
ทั้งหลาย กระทำกรรมคือการดูแลพระศาสดา ปรารถนาตำแหน่งนั้น
บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั่งหลาย
บังเกิดในครรภ์ของนางรูปสารีพราหมณี ในนาลันทคาม ในพุทธกาลนี้.
ท่านได้นามว่าอุปเสนะ. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนจบเวท ๓ ฟังธรรมใน
สำนักพระศาสดา กลับได้ศรัทธาบวชแล้ว มีพรรษาเดียวโดยอุปสมบท
คิดว่าเราจะยังห้องแห่งพระอริยะให้เจริญ จึงให้กุลบุตรคนหนึ่งบวช
ในสำนักของคน แล้วไปเฝ้าพระศาสดากับกุลบุตรนั้น. ก็แลพระศาสดา
ทรงสดับว่า ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของเธอผู้ไม่มีพรรษานั้น จึงทรง
ติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเกินไปแล
ท่านคิดว่า บัดนี้ถ้าเราอาศัยบริษัทถูกพระศาสดาทรงติเตียน แต่เราจัก
อาศัยบริษัทนั้น แหละทำความเลื่อมใสในพระศาสดา ดังนี้แล้วจึงบำเพ็ญ
วิปัสสนา ไม่ช้านักก็บรรลุพระอรหัต. ก็ท่านเป็นพระอรหันต์ สมาทาน
ประพฤติธุดงคธรรมทั้งหมดแม้ด้วยตนเอง. ทั้งชวนผู้อื่นให้สมาทานเพื่อ
ธุดงคธรรมนั้นด้วย. ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ใน
ตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้น่าเลื่อมใส. ท่านอันภิกษุรูปหนึ่ง
ประสงค์จะเว้นการทะเลาะกันถามว่า บัดนี้ความทะเลาะเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ-
สงฆ์แตกเป็นสองพวก เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงแสดงข้อปฏิบัติ
แก่ท่านจำเดิมแต่การอยู่สงัด. พระเถระแสดงภาวะที่คนปฏิบัติอย่างนั้น
ด้วยการแสดงอ้างถึงการให้โอวาทแก่ภิกษุนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตผล
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
ท่านได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน
เมื่อจะประกาศอปทานแห่งบุพจริยาด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ปทุมุตฺตร ภควนต ดังนี้. บทว่า ปพฺภารมฺหิ นิสีทนฺต ความว่า
เข้าไปเฝ้ายังที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งที่เงื้อมเขาอันเกิดเอง
ในท่ามกลางป่า ผู้สูงสุดกว่านระ ผู้ปรารถนาเงื้อมเขาที่ชื่อว่าน้อมไป
โอนไป สู่ภาระข้างหน้าว่าเป็นสถานวิเวก.
บทว่า กณิการปุปฺผ ทิสฺวา ความว่า เมื่อเข้าไปใกล้เช่นนั้น
เห็นดอกกรรณิการ์บานสะพรั่งอยู่ในประเทศนั้น. บทว่า วณฺเฏ เฉตฺวานห
ตทา ความว่า เด็ดดอกไม้นั้นที่ขั้วคือที่ก้านให้ขาด ในกาลที่พระตถาคต
ประทับอยู่นั้น. คำว่า อลงฺกริตฺวาน ฉตฺตมฺหิ ความว่า ทำฉัตรให้สำเร็จด้วย
ดอกไม้นั้น. บทว่า พุทฺธสฺส อภิโรปยึ ความว่า ได้ยกขึ้นกั้นไว้เบื้องบน
พระเศียรของพระพุทธเจ้าผู้ประทับอยู่. บทว่า ปิณฺฑปาตญฺจ ปาทาสึ
ความว่า ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ ณที่นั้น
นั่นแลให้เสวยโดยประการทั่วถึง. บทว่า ปรมนฺน สุโภชน ความว่า
เป็นข้าวปรุงด้วยน้ำนม คือเป็นอาหารอันสงสุด กล่าวคือโภชนะอย่างดี
บทว่า พุทฺธน นวเม ตตฺถ ความว่า เราได้นิมนต์พระสมณะคือผู้ลอยบาป
ได้แก่ภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ รูป พร้อมด้วยพระพุทธเจ้าเป็นที่ ๙ ให้ฉันในที่
อันสงัดนั้น.
บทว่า ย วทนฺติ สุเมโธ ความว่า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้โคตมะ ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน (กว้างขวาง) คือผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
คือผู้มีปัญญาดีงาม ผู้มีปัญญามีสัพพัญญุตสญาณเป็นต้น. บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวว่า สุเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาดี สุนฺทรปญฺโ ผู้มีปัญญางาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
เชื่อมความว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ.
ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ คำที่เหลือมีเนื้อความรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน
รัฐปาลเถราปทานที่ ๘ (๑๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายช้าง
[๒๐] เราได้ถวายช้างเชือกประเสริฐ มีงางอนงามควรเป็นราช
พาหนะ พร้อมทั้งลูกช้างอันมีงางอนงามมีความแข็งแรง กั้น
ฉัตรขาว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐ-
บุรุษของโลกผู้คงที่ เราซื้อสถานที่นั้นทั้งหมดแล้ว ได้ให้สร้าง
อารามถวายแก่สงฆ์ ได้ให้สร้างปราสาทไว้ภายในวิหารนั้น
๕๔,๐๐๐ หลัง ได้ทำทานดังห้วงน้ำใหญ่แล้ว มอบถวายแค่
พระพุทธเจ้า.
พระสยัมภูมหาวีรเจ้า ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนา
ทรงยังชนทั้งหมดให้ร่าเริง ทรงแสดงอมตบท พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นนายกพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทำผลบุญทำเราทำแล้ว
ให้แจ้งชัดแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ ว่า ผู้นี้ได้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง เรา
จักแสดงวิบากของผู้นี้ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
กูฏาคารหนึ่งหมื่นแปดพันหลังจักมีแก่ผู้นี้ และกูฏาคาร
เหล่านั้นสำเร็จด้วยทองล้วน เกิดในวิมานอันอุดม ผู้นี้จักเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
จอมเทวดาเสวยเทรัชสมบัติ ๕๐ ครั้งและจักเป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิ ๕๘ ครั้ง.
ในกัปที่หนึ่งแสน พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระ-
โคตรซึ่งมีสภาพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติ
ในโลก.
ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลก ไป
บังเกิดในสกุลที่เจริญมีโภคสมบัติมาก ภายหลัง เขาอันกุศล
มูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา
จักมีนามว่ารัฐปาละ เขามีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียรสูง
ระงับ ไม่มีอุปธิ จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ
นิพพาน.
เราลุกขึ้นแล้ว ละโภคสมบัติออกเหมือนละก้อนเขฬะ
ฉะนั้น ความรักในโภคสมบัติไม่มีแก่เรา เรามีความเพียรอัน
นำธุระไป อันนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ เรา
ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระรัฐปาลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบรัฐปาลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
๑๘. อรรถกถารัฐปาลเถราปทาน
อปทาน ของท่านพระรัฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้.
ท่านผู้มีอายุแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ก่อนแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัตินั่นเอง บังเกิดในตระกูล
คฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง
บิดา ดำรงการครองเรือน ผู้จัดการในเรือนคลังแสดงทรัพย์ที่เป็นมาตาม
วงศ์ตระกูลหาประมาณมิได้ คิดว่าปิยชนมีบิดา ปู่ ตา ยาย ทวด เป็นต้น
ของเรา ไม่สามารถจะถือเอากองทรัพย์มีประมาณเท่านี้ให้เป็นสิทธิ
ของตนไปได้ แต่เราควรจะถือเอาไป ดังนี้แล้วได้ให้มหาทานแก่คน
กำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น. ท่านเข้าไปหาดาบสรูปหนึ่งผู้ได้อภิญญา
ถูกดาบสชักชวนในความเป็นใหญ่ในเทวโลก จึงบำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติดำรงอยู่ใน
เทวโลกนั้นตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดเป็นบุตรคนเดียว
แห่งตระกูลผู้สามารถจะดำรงรัฐที่แตกต่างในมนุษย์โลก. โดยสมัยนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศ
ธรรมจักรอันประเสริฐ ยังสรรพสัตว์ให้ถึงภูมิอันเป็นแดนเกษมกล่าว
คือนิพพานมหานคร. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา
โดยลำดับ วันหนึ่งไปสู่วิหารกับอุบาสกทั้งหลาย เห็นพระศาสดาทรง
แสดงธรรมอยู่ มีจิตเลื่อมใสนั่งอยู่ที่ท้ายบริษัท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
ก็โดยสมัยนั้นแล พระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอัน
เลิศแห่งบรรพชิตผู้บวชด้วยศรัทธา. ท่านเห็นดังนั้นแล้วมีจิตเลื่อมใส ถวาย
มหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แวดล้อมไปด้วยภิกษุแสนรูป ตลอด
๗ วัน แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น. พระศาสดาทรงเห็นความสำเร็จโดย
หาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุนี้จักเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้บวช
ด้วยศรัทธา ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า
โคดม ในอนาคต. ท่านถวายบังคมพระศาสดา และไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น
แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัตรกัปนี้ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าผุสสะ ราชบุตรทั้ง ๓ พระองค์
ผู้ต่างมารดากันอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่ ได้บำเพ็ญกิจเพื่อสหายในบุญกิริยา
แก่ราชบุตรเหล่านั้น. ท่านสั่งสมกุศลเป็นอันมากในภพนั้น ๆ ด้วยอาการ
อย่างนี้ ท่องเที่ยวไปในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
เรือนรัฐปาลเศรษฐี ในถุลลโกฏฐิกนิคมในกุรุรัฐะ. ท่านได้นามตามวงศ์
ตระกูลนั่นแลว่ารัฐปาละ เพราะบังเกิดในตระกูลผ้าสามารถดำรงรัฐที่แตก
ไป. ท่านเจริญด้วยบริวารเป็นอันมาก ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ
ผู้อันมารดาบิดาตบแต่งด้วยภรรยาอันสมควร ให้ตั้งอยู่ในยศใหญ่ เสวย
สมบัติเช่นกับทิพยสมบัติ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบทในกุรุรัฐ
บรรลุถึงถุลลโกฏฐิกนิคม. รัฐปาลกุลบุตรได้ฟังดังนั้นแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระศาสดาฟังธรรมในสำนักพระศาสดา ได้ศรัทธาประสงค์จะบวช
อดอาหาร ๗ วัน มารดาบิดาจึงจำอนุญาตให้แสนยาก จึงเข้าไปเฝ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
พระศาสดา ขอบรรพชา บวชในสำนักของภิกษุรูปหนึ่ง ตามพระดำรัส
สั่งของพระศาสดา กระทำกรรมโดยโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุพระอรหัต. ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ทูลขออนุญาตพระศาสดา
แล้ว ไปยังถุลลโกฏฐิกนิคมเพื่อเยี่ยมมารดา เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ
ตรอกในนิคมนั้น ได้ขนมกุมมาสที่ค้างคืนในนิเวศน์ของบิดา ฉันขนม
กุมมาสนั้น เหมือนฉันน้ำอมฤต ถูกบิดานิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ได้รับ
นิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น ในวันที่ ๒ ฉันบิณฑบาตในนิเวศน์ของบิดา
เข้าไปหาหญิงผู้เป็นนางสนมผู้ประดับตกแต่ง เมื่อนางกล่าวคำมีอาทิว่า
ข้าแด่พระลูกเจ้า นางฟ้าเหล่านั้นชื่อเป็นเช่นไร ท่านประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเหตุแห่งนางฟ้าเหล่านั้นหรือดังนี้แล้ว เมื่อนางสนมนั้นเริ่มเพื่อทำ
กรรมคือการประเล้าประโลม จึงได้เปลี่ยนแปลงความประสงค์เช่นนั้น
แสดงธรรมอันเกี่ยวด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เชิญดูอัตภาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตร มีกายเป็นแผล
อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย คนพาล
พากันดำริหวังมาก อันไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น
เชิญดูรูปอันปัจจัยกระทำให้วิจิตรด้วยตุ้มหูอันสำเร็จด้วย
แก้วมณี หุ้มด้วยหนังมีร่างกระดูกอยู่ภายใน. งามพร้อม
ไปด้วยผ้าต่าง ๆ.
มีเท้าทั้งสองอันฉาบทาด้วยครั่งสด มีหน้าอันไล้ทาด้วย
จุณ สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้
ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
ผมทั้งหลาย อันบุคคลตบแต่งเป็นลอนคลุมด้วยตาข่าย
นัยน์ตาทั้งสองอันหยอดด้วยยาตา สามารถทำให้คนพาล
ลุ่มหลงได้ แต่ไม้สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.
กายอันเปื่อยเน่าอันบุคคลตบแต่งแล้ว เหนือนกล่องยาตา
ใหม่ ๆ วิจิตรด้วยลวดลายต่าง ๆ สามารถทำให้คนพาล
ลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.
นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อนายพราน
เนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป.
บ่วงของนายพรานขาดไปแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อ
นายพรานเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป.๑
ท่านกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส นั่งที่แผ่นศิลาอันเป็น
มงคล ในมิคาวนชินอุทยานของพระเจ้าโกรพยะ. ได้ยินว่า พระบิดาของ
พระเถระได้ให้ใส่กลอนลูกดาลที่ซุ้มประตู ทั้ง ๗ จึงสั่งบังคับนักมวยปล้ำ
ทั้งหลายว่า พวกท่านอย่าให้เพื่อออกไป ให้เปลื้องผ้ากาสยะแล้วให้นุ่ง
ผ้าขาว. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงได้ไปทางอากาศ. ลำดับนั้น พระ-
เจ้าโกรพยะทรงทราบว่าพระเถระนั่งในที่นั้น จึงเสด็จเข้าไปหาท่านให้
ระลึกด้วยสัมโมทนียกถาและสารณียกถาแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านรัฐปาละ
ผู้เจริญ ท่านบวชในพระศาสนานี้ ถึงความเสื่อมเพราะพยาธิหรือ หรือ
เสื่อมเพราะชราโภคะและญาติ จึงบวช ก็ท่านไม่ถึงความเสื่อมอะไร ๆ แล
แต่เหตุไฉนจึงบวชเล่า. ลำดับนั้น พระเถระได้แสดงภาวะที่คนทราบ
ถึงธรรมเทศ ๔ ข้อเหล่านี้แก่พระราชา คือโลกอันชราน้อมเข้าไปใกล้
๑. ม.ม. ๑๓/ข้อ ๔๓๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
ไม่ยั่งยืน, โลกไม่มีที่ต้านทานไม่เป็นอิสระ. โลกไม่มีที่พึ่ง จำต้องละ
สิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา เมื่อ
จะกล่าวตามทัศคติเทศนานั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
เราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ ได้ทรัพย์แล้วไม่
ให้ทาน เพราะควานลุ่มหลง ได้ทรัพย์แล้วทำการสั่งสมไว้
และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไป.
พระราชากดขี่ช่วงชิงเอาแผ่นดิน ครอบครองแผ่นดินอันมี
สาครเป็นที่สุด ตลอดฝั่งสมุทรข้างโน้นแล้ว ไม่รู้จักอิ่ม ยัง
ปรารถนาจักครอบครองฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกต่อไป.
พระราชาก็ดี มนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดี ผู้ยังไม่.
ปราศจากตัณหา ย่อมเข้าถึงความตาย ทั้งยังไม่เต็มความ
ประสงค์ ก็พากันละทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มีในโลกเลย.
หมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้น และ
รำพันว่าทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราจึงจะไม่ตาย ครั้น
พวกญาติตายแล้ว ก็เอาผ้าห่มนำไปเผาเสียที่เชิงตะกอน ผู้ที่
ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาว เผาด้วยไฟ ละโภคะทั้งหลาย
มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัวไป เมื่อบุคคลจะตาย ย่อมไม่มีญาติ
หรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้.
พวกที่รับมรดก ก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไป ส่วน
สัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรม เมื่อตายไม่มีทรัพย์สมบัติ
อะไร ๆ คือพวกบุตร ภริยา ทรัพย์ แว่นแคว้น สิ่งใด ๆ
จะติดตามไปได้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
บุคคลจะอายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่. จะละความแก่ไป
แม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้น
แลว่า เป็นของน้อยไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
ทั้งคนมั่งมีและคนยากจน ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน
ทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ตกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่
คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เพราะควานเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์ถูกผัสสะถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหว.
เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์ เพราะ
ปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่คนพาลไม่ปรารถนาจะ
บรรลุ พากันทำความชั่วต่าง ๆ อยู่ในภพน้อยภพใหญ่เพราะ
ความหลง
ผู้ใดทำกรรมชั่วเพราะหลงแล้ว ผู้นั้นจะต้องเวียนตาย
เวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไป บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อ
ต่อการทำของบุคคลผู้ที่ทำกรรมนั้น ก็จะต้องเวียนตายเวียน
เกิดอยู่ร่ำไปเหมือนกัน.
เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรมมา
มีตัดช่องเป็นต้น ละไปแล้วย่อมเดือดในปรโลกเพราะ
กรรมของตนฉะนั้น.
ฉะนั้น กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลก ๆ ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ
อาตมภาพ ได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
มาณพทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมตกไปเพราะร่างกาย
แตกเหมือนผลไม้หล่นฉะนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ
เห็นความไม่เที่ยงแม้ข้อนี้ ความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั้นแล
ประเสริฐ
อาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธา เข้าถึงการปฏิบัติชอบ
ในศาสนาของพระชินเจ้า บรรพชาของอาตมภาพไม่มีโทษ
อาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะ อาตมภาพเห็นกาม
ทั้งหลายโดยความเป็นของอันไฟติดทั่วแล้ว เห็นทองทั้งหลาย
โดยความเป็นดังศัสตรา เห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงสู่ครรภ์
เห็นภัยในนรกจึงออกบวช.
อาตมภาพเห็นโทษอย่างนี้แล้ว ได้ความสังเวชในกาล
นั้น ในกาลนั้นอาตมภาพเป็นผู้ถูกลูกศร คือราคะเป็นต้น
แทงแล้ว บัดนี้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.๑
พระศาสดาอันอาตมภาพคุ้นเคยแล้ว อาตมาภาพได้ปลง
ภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว.
บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการ
นั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว.
พระเถระแสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรพอย่างนี้แล้ว จึงไปยังสำนัก
พระศาสดานั้นแล. และครั้นกาลภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
ท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งอันเลิศ แห่ง
ภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา.
๑. ม. ม. ๑๓/ข้อ ๔๕๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
พระเถระนั้น ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรม
แล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า วรนาโค มยา ทินฺโน ความว่า เรา
เลื่อมใสในรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ถวายช้างเชือกประเสริฐ
สูงสุด ประเสริฐสุด มีงางอนงามดังงอนไถ มีงาเช่นกับงอนรถ แข็งแรง
ควรเป็นราชพาหนะ หรือควรแก่พระราชา. บทว่า เสตจฺฉตฺโตปโสภิโต
ความว่า กั้นด้วยเศวตฉัตรอันงดงามที่ยกขึ้นบนคอช้าง. ช้างเชือกประเสริฐ
อย่างไรอีก. พร้อมด้วยเครื่องแต่งตัวช้าง คือพร้อมด้วยเครื่องประดับช้าง
เราได้สร้างสังฆาราม ทำวิหารอันน่ารื่นรมย์ เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. บทว่า จตุปญฺาสสหสฺสานิ ความว่า เมื่อ
สร้างวิหารนั้นเสร็จแล้ว เราได้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ ไว้ในระหว่างวิหาร
นั้น. บทว่า มโหฆทาน กริตฺวาน ความว่า เราได้จัดแจงมหาทาน
อันประกอบด้วยสรรพบริขาร อันเสมือนกับท้วงน้ำใหญ่ แล้วมอบถวาย
แด่พระมุนีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.
บทว่า อนุโมทิ มหาวีโร ความว่า ชื่อว่า มหาวีระ เพราะ
ความเพียรกล่าวคือความอุตสาหะอันไม่ขาดสายในสี่อสงไขยแสนกัป เป็น
พระสยัมภู คือพระผู้เป็นเอง ได้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นบุคคลผู้เลิศคือผู้
ประเสริฐ ได้อนุโมทนาคือกระทำอนุโมทนาวิหารทาน. บทว่า สพฺเพ
ชเน หาสยนฺโต ความว่า ทรงกระทำเทวดาและมนุษย์ อันนับไม่ถ้วน
ในจักรวาลทั้งสิ้นให้ร่าเริงยินดีแล้วทรงแสดงประกาศ เปิด เปิดเผยกระทำ
ให้ง่าย พระธรรมเทศนาอริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยอมตนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
บทว่า ต เม วิยากาส ความว่า ได้กระทำความเป็นผู้กตัญญู
แก่เรานั้นให้มีกำลัง คือให้ปรากฏเป็นพิเศษ. บทว่า ชลชุตฺตมนามโก
ได้แก่ ดอกปทุมที่เกิดในน้ำชื่อว่า ชลชะ อธิบายว่า มีนามว่า ปทุมุตฺตระ.
บาลีว่า ชลนุตฺตมนายโก ดังนี้ก็มี. ในบทนั้น ที่ชื่อ ชลนะ เพราะ
รุ่งเรื่องด้วยรัศมีของตน. ได้แก่พระจันทร์เทวบุตรพระสุริยเทวบุตร เทวดา
และพรหม. ชื่อว่า ชลนุตฺตม เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าผู้รุ่งเรื่องเหล่านั้น.
ชื่อว่า นายโก เพราะเป็นผู้นำอันสูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
นายโก เพราะนำไปคือยังสรรพสัตว์ผู้มีสัมภาระให้ถึงนิพพาน. ผู้นำนั้น
ด้วย เป็นผู้สูงสุดแห่งผู้รุ่งเรืองด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชลนุตฺตมนายโก.
บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆ นิสีทิตฺวา ความว่า ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางแห่ง
ภิกษุสงฆ์แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ คือทรงแสดงทำให้ปรากฏ. คำที่
เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถารัฐปาลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
โสปากเถราปทานที่ ๙ (๑๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้
[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จมายังสำนัก
ของเรา ซึ่งกำลังชำระเงื้อมเขาอยู่ที่ภูเขาสูงอันประเสริฐ เรา
เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามา ได้ตกแต่งเครื่องลาดแล้ว ได้
ปูลาดอาสนะดอกไม้ถวายแด่พระโลกเชษฐ์ผู้คงที่ ประทับนั่ง
พระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะนายกของโลก ประทับนั่ง
บนอาสนะดอกไม้ ทรงทราบคติของเรา ได้ตรัสความที่
สังขารไม่เที่ยงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิด
ขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่
สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นสุข.
พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก เป็นพระผู้ประเสริฐ
ทรงเป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นในอากาศ
ดังพระยาหงส์ในอัมพร.
เราละทิฐิของตนแล้ว เจริญอนิจจสัญญา ครั้นเราเจริญ
อนิจจสัญญาได้วันเดียวก็ทำกาละ ณ ที่นั้นเอง เราเสวยสมบัติ
ทั้งสอง อันกุศลมูลตักเตือนแล้วเถิดในภพที่สุด เข้าถึงกำเนิด
พ่อครัว.
เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เรามีกาลฝน ๗ โดย
กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต เราปรารภความเพียร มีใจแน่ว
แน่ตั้งมั่นอยู่ในศีลด้วยดี ยังพระมหานาคให้ทรงยินดีแล้ว ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
อุปสมบท ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
ด้วยผลแห่งกรรนั้นเรา ไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
อาสนะดอกไม้ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้เจริญสัญญาใด
ในกาลนั้น เราเจริญสัญญานั้นอยู่ ได้บรรลุอาสวขัยแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
ได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสปากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบโสปากเถราปทาน
๑๙. อรรถกถาโสปากเถราปทาน
อปทานของท่านพระโสปากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺภาร โสธยนฺ-
ตสฺส ดังนี้.
ท่านพระโสปากะแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะบังเกิดเป็นบุตรแห่ง
กุฎุมพีคนหนึ่ง. วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาแล้วได้น้อมนำผลมะงั่วเข้าไป
ถวายพระศาสดา. พระศาสดาเสวยแล้ว เพราะทรงอาศัยความอนุเคราะห์
แก่ท่าน. ภิกษุนั้นเลื่อมใสยิ่งในพระศาสดาและในพระสงฆ์ เริ่มตั้งสลาก-
ภัต ได้ถวายภัตเจือน้ำมันตลอดอายุแก่ภิกษุ ๓ รูป ด้วยอำนาจสังฆุทเทส.
ท่านเสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ไป ๆ มา ๆ ด้วยบุญเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
ครั้งหนึ่งบังเกิดในกำเนิดมนุษย์ ได้ถวายภัตเจือน้ำนมแก่พระปัจเจก-
พุทธเจ้ารูปหนึ่ง.
ท่านบำเพ็ญบุญในภพนั้น ๆ อย่างนี้ ท่องเที่ยวไปในสุคตินั้นเอง
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงเข็ญใจคนหนึ่งในกรุง-
สาวัตถี ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมในก่อน. นางบริหารครรภ์ตลอด ๑๐
เดือน เมื่อครรภ์แก่ ในเวลาตลอดไม่สามารถจะตลอด ท่านได้ถึงความ
สลบ นอนเหมือนตายไปหลายเวลา. พวกญาตินำนางไปสู่ป่าช้าด้วยสำคัญ
ว่าตายแล้ว ยกขึ้นสู่จิตกาธาร เมื่อพายุฝนตั้งขึ้น ด้วยอานุภาพของเทวดา
จึงไม่ได้จุดไฟ พากันหลีกไป. ทารกเป็นผู้ไม่มีโรคออกจากท้องมารดา
ด้วยอานุภาพแห่งเทวดานั้นเอง เพราะเธอเกิดในภพสุดท้าย. ฝ่ายมารดา
ได้ทำกาละแล้ว. เทวดาเข้ามาด้วยรูปเป็นมนุษย์พาเด็กนั้นไปวางไว้ในเรือน
ของตนเฝ้าป่าช้า เลี้ยงดูด้วยอาหารอันสมควร ตลอดเวลาเล็กน้อย. เบื้อง
หน้าแต่นั้น คนเฝ้าป่าช้ากระทำให้เป็นเหมือนบุตรของตนให้เจริญแล้ว.
ท่านเมื่อเจริญอย่างนั้น เที่ยวเล่นกับเด็กชื่อว่า สุปปิยะ อันเป็นบุตรข้องคน
เฝ้าป่าช้านั้น. เขาได้ชื่อว่า โสปากะ เพราะเกิดเติบโตในป่าช้า.
ภายหลังวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปใน
เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูเฉพาะสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ผู้จะแนะนำได้ จึงทอด
พระเนตรเห็นท่านอยู่ในข่ายคือพระญาณ จึงได้เสด็จไปสู่ที่ป่าช้า. ทารกอัน
บุพเหตุตักเตือน จึงมีใจเลื่อมใสเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมได้ยืน
อยู่แล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เธอ. เธอฟังธรรมแล้วทูลขอ
บรรพชา ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า เธอเป็นผู้อันบิดาอนุญาตแล้วหรือ ?
จึงได้นำบิดาไปยังสำนักพระศาสดา. บิดาของเธอถวายบังคมพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
แล้ว อนุญาตด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดให้
บรรพชาเด็กนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เธอบรรพชาแล้ว ทรง
แนะนำด้วยเมตตาภาวนา เธอกำหนดกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์อยู่ใน
ป่าช้าไม่นานนัก กระทำฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ให้เป็นบาท เจริญ
วิปัสสนาทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. ท่านแม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้
แสดงเมตตาภาวนาวิธีแก่ภิกษุในป่าช้าเหล่าอื่น จึงได้กล่าวคาถาว่า ยถาปิ
เอกปุตฺตสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า มารดาและบิดาพึง
เป็นผู้มีความฉลาด แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียวในบุตรน้อย
คนเดียวผู้เป็นที่รักที่ชอบใจฉันใด พึงเป็นผู้มีความฉลาดในสัตว์ทั้งปวง
ผู้สถิตอยู่ในทิศทั้งปวง ต่างด้วยทิศตะวันออกเป็นต้น หรือในภพทั้งปวง
ต่างด้วยกามภพเป็นต้น แม้ในสถานที่มั่นคงทั้งปวง ต่างด้วยคนหนุ่มเป็นต้น
ฉันนั้น ไม่กระทำเขตแดนว่า มิตร ผู้เป็นกลาง ผ้าเป็นข้าศึก พึงเจริญ
เมตตามีรสเป็นอันเดียวกัน ในที่ทุกสถาน ด้วยอำนาจความแตกต่างแห่ง
เขตแดน ก็แลครั้นกล่าวคาถานี้แล้วได้ให้โอวาทว่า ถ้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พึงเจริญเมตตาอย่างนี้ไซร้ และอานิสงส์เมตตา ๑๑ อย่างที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ย่อมหลับเป็นสุข ดังนี้ ท่านทั้งหลานจงเป็น
ผู้มีส่วนแห่งอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่างนั้นโดยส่วนเดียว.
ท่านได้บรรลุผลอย่างนี้แล้ว พิจารณาบุญที่คนทำแล้วเกิดโสมนัส
เมื่อจะแสดงปุพพจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺภาร โสธยนฺตสฺส
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺภาร ได้แก่ ที่อันสงัดแห่งภูเขาอัน
ล้วนแล้วแต่หิน. ท่านกระทำที่นั่นให้เป็นกำแพงอิฐ เพราะเป็นสถานที่
สมควรแก่บรรพชิต ประกอบบานประตูไว้ ถวายเพื่อเป็นที่อยู่ของพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
ภิกษุ. ชื่อว่า ปพฺภาร เพราะจะต้องปรารถนาภาระหนักโดยประการ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จมา คือเสด็จถึงสำนักของเรา
ผู้ชำระเงื้อมเขานั้นให้สะอาด.
บทว่า พุทธ อุปคต ทิสฺวา ความว่า เราเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จ
มาสู่สำนักของเราอย่างนี้แล้ว ให้ปูลาดเครื่องลาด คือเครื่องหญ้าและใบ
ไม้เป็นต้น เครื่องลาดไม้ให้สำเร็จ ถวายอาสนะดอกไม้ คืออาสนะอัน
สำเร็จด้วยดอกไม้ แต่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นโลกเชษฐ์ ผู้คงที่คือชื่อว่า
ประกอบด้วยดอกเครื่องคงที่ เพราะเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐารมณ์เป็นสภาวะ.
บทว่า ปุปฺผาสเน นิสีทิตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ ที่เขาตบแต่ง
ไว้นั้น. บทว่า มมญฺจ คติมญฺาย ความว่า ทราบคือรู้คติ คือสถานที่
อุบัติต่อไปของเรา แล้วทรงเปล่งคือแสดง อนิจจตา คือภาวะเป็นของ
ไม่เที่ยง.
บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า สังขารทั้งปวงอันอาศัย
ปัจจัยตบแต่งขึ้นโดยส่วนเดียว คือมีความเป็นไปตามปัจจัยเป็นธรรมดา
ชื่อว่าไม่เที่ยงหนอ เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. บทว่า อุปฺปาทวย-
ธมฺมิโน ความว่า สังขารเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว มีความพินาศไปเป็น
สภาวะ คือเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมดับไปคือย่อมพินาศไป. บทว่า
เตส วูปสโม สุโข ความว่า การเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ
เป็นสภาพนำมาซึ่งความสุข. อธิบายว่า พระนิพพานอันกระทำความสงบ
แห่งสังขารเหล่านั้นนั่นแล เป็นสุขโดยส่วนเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
บทว่า อิท วตฺวาน สพฺพฺญู เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้ประเสริฐที่สุดคือเป็นผู้เจริญแห่งโลก เป็นผู้ยิ่งใหญ่
เป็นประธาน เป็นวีรบุรุษแห่งนระ ตรัสคือแสดงพระธรรมเทศนาอัน
เกี่ยวด้วยสภาวะไม่เที่ยงนี้ เหาะไปสู่ท้องฟ้า คือสู่อากาศ เหมือนพญาหงส์
ในอัมพรคือบนอากาศฉะนั้น.
ละ คือทิ้งทิฏฐิของตนคือลัทธิ ความยินดีความชอบใจ ได้แก่
อัธยาศัยของตน. บทว่า ภาวยานิจฺจสญฺห ความว่า เราทำสัญญาอันเป็น
ไปในสภาวะอันไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยงให้เกิดมี คือให้เจริญ ได้แก่ ทำไว้ในใจ.
บทว่า ตตฺ กาล กโต อห ความว่า ทำกาละในชาตินั้น ๆ จากชาตินั้น
คือตักเตือนไป. บทว่า เทฺว สมฺปตฺตี อนุโภตฺวา ความว่า เสวยสมบัติทั้ง ๒
กล่าวคือ มนุษย์สมบัติ และทิพยสมบัติ. บทว่า สุกฺกมูเลน โจทิโต
ความว่า อันกุศลแต่ก่อน หรืออันกุศลมูลอันเป็นเดิม เร้าใจแล้ว
คือทักเตือนแล้ว. บทว่า ปจฺฉิเม ภเว สมฺปตฺเต ความว่า เมื่อภพสุดท้าย
ถึงพร้อมแล้วคือมาถึงแล้ว. บทว่า สปากโยนุปาคมึ ความว่า เข้าถึง
กำเนิดพ่อครัว ทำภัตให้สุกแล้วเอง. ภัตเพื่อสกุลใดอันตนให้สุกแล้ว
สกุลอื่นไม่พึงบริโภค อธิบายว่า เราบังเกิดในตระกูลจัณฑาลนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง สุนัขท่านเรียกว่า สา (หมา). อธิบายว่า เกิดในตระกูล
จัณฑาลผู้บริโภคภัตอันเป็นเดนจากสุนัข. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโสปากเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
สุมังคลเถราปทานที่ ๑๐ (๒๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาหาร
[๒๒] เราประสงค์จะบูชาเครื่องเซ่นสรวง จึงให้ตกแต่งโภชนา-
หาร ยืนอยู่ที่โรงใหญ่ คอยต้อนรับพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้งนั้น
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปิยทัสสี
ทรงมียศมาก ทรงนำโลกทั้งปวงให้วิเศษ เป็นสยัมภู อัคร-
บุคคลผู้โชติช่วง อันพระสาวกทั้งหลายแวดล้อม รุ่งเรืองดัง
พระอาทิตย์ เสด็จดำเนินไปในถนน จึงประนมอัญชลียังจิต
ของตนให้เลื่อมใส นิมนต์ด้วยใจเท่านั้นว่า ขอเชิญพระมหา
มุนีเสด็จมา.
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเรา
เสด็จมาสูประตู. (เรือน) เรากับพระขีณาสพหนึ่งพัน (เรา
ทูลว่า) ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อม
แด่พระองค์ผู้อุดมบุรุษ ขอเชิญเสด็จขึ้นปราสาทประทับนั่งบน
อาสนะอันอุดมเถิด พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกพระองค์แล้ว มีบริวารอันฝึก
แล้ว ทรงข้ามพ้นแล้ว ประเสริฐกว่าบรรดาผู้ข้าม เสด็จขึ้น
ปราสาทแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐ อามิสใด
ที่เรารวบรวมไว้อันมีอยู่ในเรือนตน เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย
อามิสนั้น แด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตนโดยเคารพ
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจผ่องแผ้ว เกิดโสมนัส ประนมอัญชลี
นมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า โอ พระพุทธเจ้าผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
ประเสริฐ ในระหว่างพระอริยบุคคล ๘ นั่งฉันอยู่ ผู้เป็นพระ-
ขีณาสพเป็นอันมาก พระองค์ทรงมีอานุภาพโอฬาร เรา
นับถือพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นสรณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษ
ของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้นิมนต์สงฆ์ผู้ซื่อตรง มีจิตมั่นคง และพระตถาคต
สัมพุทธเจ้าให้ฉัน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง
เรากล่าว
ผู้นั้นจักได้เสวยเทวราชสมบัติ ๒๗ ครั้ง จักยินดียิงใน
กรรมของตน รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก จักได้เป็นพระเจ้าจักร
พรรดิ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอบครองพสุธา
๕๐๐ ครั้ง
เราเข้าป่าไพรวันอันสัตว์ร้าย (เสือโคร่ง) อาศัยอยู่ เริ่ม
ตั้งความเพียรแล้ว เผากิเลสได้ ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ให้
ทานใดในเวลานั้น ด้วยผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้ทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาหาร
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จ
แล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระสุมังคลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสุมังคลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
๒๐. อรรถาถาสุมังคลเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุมังคลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อาหุตึ ยิฏฺฐุ-
กาโมห ดังนี้.
แม้ท่านสุมังคละนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี บังเกิดเป็นรุกขเทวดา.
วันหนึ่งท่านเห็นพระศาสดาทรงสรงสนาน มีจีวรผืนเดียวประทับยืน ถึง
โสมนัสปรบมือ ด้วยบุญนั้นท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งคนเข็ญใจ ด้วยวิบากเครื่องไหล
ออกแห่งกรรมเช่นนั้น ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี.
ท่านได้มีชื่อว่า สุมังคละ ดังนี้ . ท่านเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีเดียว มีไถ. มี
จอบอันเป็นสมบัติของคนค่อมเป็นบริขาร เลี้ยงชีพด้วยการไถ. วันหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปแก่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าและภิกษุสงฆ์ เขาถือหม้อนมส้มเดินรวมกันกับมนุษย์ทั้งหลายผู้ถือเอา
เครื่องอุปกรณ์ทานเดินมา เห็นเครื่องสักการะและสัมมานะของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลาย จึงคิดว่าสมณศากยบุตรเหล่านี้ นุ่งผ้า
เนื้อละเอียด เสวยโภชนะดี ๆ อยู่ในที่สงัดลม ไฉนหนอ แม้เราก็จะพึง
บวช จึงเข้าไปหาพระเถระรูปหนึ่งแล้วแจ้งความประสงค์ของตน. พระ-
มหาเถระนั้นมีความกรุณาท่าน จึงให้ท่านบวชแล้วบอกกรรมฐาน. ท่าน
อยู่ในป่าเบื่อหน่ายกระสันในที่อยู่ผู้เดียว ใคร่จะสึก จึงไปบ้านญาติ เห็น
มนุษย์ในระหว่างทาง ต่างถกกระเบนไถนาอยู่ นุ่งผ้าปอน ๆ มีร่างกาย
เปื้อนด้วยธุลีโดยรอบซูบซีดด้วยลมและแดดไถนาอยู่ จึงได้ความสังเวชว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
สัตว์เหล่านี้เสวยทุกข์มีชีวิตเป็นเครื่องหมายอย่างใหญ่หนอ. ก็เพราะญาณ
ของท่านแก่รอบ กรรมฐานตามที่ท่านถือเอา จึงปรากฏแก่ท่าน. ท่าน
เข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่งได้ความสงัด มนสิการโดยแยบคายอยู่ เจริญ
วิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัตตามลำดับแห่งมรรค.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาหุตึ
ยิฏฺฐุกาโมห ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหุตึ ได้แก่ เครื่อง
อุปกรณ์บูชาและสักการะมิใช่น้อย มีข้าวและน้ำเป็นต้น. บทว่า ยิฏฺฐุกาโม
แปลว่า ผู้ใคร่เพื่อจะบูชา, ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่จะให้ทาน. บทว่า ปฏิยา-
เทตฺวาน โภชน ความว่า จัดแจงอาหารให้สำเร็จ. บทว่า พฺราหฺมเณ
ปฏิมาเนนฺโต ความว่า แสวงหาปฏิคาหกคือบรรพชิตผู้บริสุทธิ์. บทว่า
วิสาเล มาฬเก ิโต ความว่า ยืนอยู่ในโรงอันกว้างขวาง มีพื้นทรายขาว
สะอาดน่ารื่นรมย์ยิ่ง.
บทว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธ เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระ-
สัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศใหญ่ มีบริวารมาก ผู้แนะนำ
โลกทั้งปวง คือสัตว์โลกทั้งสิ้น คือนำไปโดยพิเศษ ให้สัตว์ถึงพระนิพพาน
เป็นพระสยัมภูผู้เป็นเอง ผู้ไม่มีอาจารย์ ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นบุคคล
ประเสริฐ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม ผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มี
ภคยธรรม มีความรุ่งเรือง สมบูรณ์ด้วยรัศมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น
แวดล้อมไปด้วยสาวกทั้งหลาย รุ่งโรจน์งดงามเหมือนพระอาทิตย์ คือ
เหมือนพระสุริโยทัย ดำเนินไปในถนนคือในวิถี. บทว่า อญฺชลึ ปคฺค-
เหตฺวาน ความว่า เราประคองวางหม้อน้ำไว้บนศีรษะประคองอัญชลี
กระทำจิตใจของเราให้เลื่อมใส ในคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเช่นนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
อธิบายว่า ทำจิตให้เลื่อมใส. บทว่า มนสา ว นิมนฺเตสึ แปลว่า ทูล
อาราธนาด้วยใจ. บทว่า อาคจฺฉตุ มหามุนิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่การบูชาในแผ่นดิน เป็นมุนี ขอเชิญเสด็จมาสู่นิเวศน์ของ
ข้าพระองค์เถิด.
บทว่า มม สงฺกปฺปมญฺาย ความว่า พระศาสดา ไม่มีผู้ยิ่งกว่า
คือเว้นจากผู่ยิ่งกว่าในโลก คือในสัตว์โลก ทรงทราบความดำริแห่งจิต
ของเราแล้ว แวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ องค์ คือพระอรหันต์
๑,๐๐๐ องค์ เสด็จเข้าไปใกล้คือเสด็จถึงประตูของเรา คือประตูเรือนของ
เรา. เราได้กระทำนมัสการอย่างนี้แด่พระศาสดาผู้ถึงพร้อมแล้วนั้น ข้าแต่
พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย คือผู้อาชาไนย ผู้ประเสริฐของบุรุษทั้งหลาย
ขอความนอบน้อมของเราด้วยดีจงมีแต่ท่าน. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูง-
สุด คือสูงสุดประเสริฐด้วยคุณยิ่งของบุรุษทั้งหลาย ขอความนอบน้อม
ของเราจงมีแต่ท่าน. อธิบายว่า เราขอเธอเชื้อเชิญ ซึ่งพระองค์ขึ้นสู่ปราสาท
อันเป็นที่น่าเลื่อมใสคือยังความเลื่อมใสให้เกิดแล้วประทับนั่งบนสีหาสนะ
คือบนอาสนะอันสูงสุด.
บทว่า ทนฺ โต ทนฺตปริวาโร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฝึก
พระองค์แล้วด้วยทวารทั้ง ๓ ด้วยพระองค์เอง ทรงแวดล้อมไปด้วย
บริษัท ๔ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา ผู้ฝึกแล้วเหมือนกัน
บทว่า ตณฺโณ ตารยต วโร ความว่า พระองค์เองทรงข้ามแล้ว คือ
ข้ามขึ้นแล้ว จากสงสารออกไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ
สูงสุดกว่าบุรุษผู้วิเศษผู้ข้ามอยู่ เสด็จขึ้นปราสาทด้วยการอาราธนาของเรา
ประทับ นั่งคือสำเร็จการนั่ง บนอาสนะอันประเสริฐ คือสูงสุด.
บทว่า ย เม อตฺถิ สเก เคเห ความว่า อามิสใดที่เรารวบรวมไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
ที่มีปรากฏอยู่ในเรือนตน. บทว่า ตาห พุทธสฺส ปาทาสึ ความว่า เรา
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอามิสนั้นแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดย
เคารพ หรือโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ปสนฺโน เสหิ ปาณิภิ ความว่า เรา
มีจิตเลื่อมใส มีจิตผ่องใสถือเอาอามิสถวายด้วยมือทั้งสองของตน. เรามี
จิตเลื่อมใส มีความดำริแห่งใจอันผ่องใสแล้ว มีใจดี มีใจงาม. อธิบายว่า
เราเกิดความปลื้มใจ เกิดโสมนัสการทำอัญชลี ประคองอัญชลีไว้เหนือ
เศียรเกล้า นอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ. บทว่า อโห พุทธสฺสุฬา-
รตา ความว่า ภาวะที่พระศาสดาผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นภาวะที่ยิ่งใหญ่
น่าอัศจรรย์หนอ.
บทว่า อฏฺนฺน ปยิรุปาสต ความว่า ในระหว่างพระอริยบุคคล ๘
นั่งฉันอยู่ มีพระขีณาสพอรหันต์เป็นอันมาก. บทว่า ตุยฺเหเวโส อานุภาโว
ความว่า พระองค์เท่านั้นมีอานุภาพ คือมีการเที่ยวไปในอากาศและผุดขึ้น
ดำลงเป็นต้น. ไม่ใช่คนเหล่าอื่น. บทว่า สรณ ต อุเปมห ความว่า
เราขอถึง คือถึงหรือทราบว่า ท่านผู้เป็นเช่นนี้นั้นเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้าน
ทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี เป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์โลกเป็นนระผู้องอาจ
ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ภาษิต คือตรัสพยากรณ์คาถาเหล่านี้.
คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุมังคลเถราปทาน
จบอรรถกถาสีหาสนิยวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีหาสนทายกเถราปทาน ๒. เอกถัมภิกเถราปทาน ๓. นันท-
เถราปทาน ๔. จุลลปันถกเถราปทาน ๕. ปิลินทวัจฉเถราปทาน ๖.
ราหุลเถราปทาน ๗. อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน ๘. รัฐปาลเถรา-
ปทาน ๙. โสปากเถราปทาน ๑๐. สุมังคลเถราปทาน.
ในวรรคนี้ท่านประกาศคาถาไว้ ๑๓๗ คาถา.
จบสีหาสนิยวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
สุภูติวรรคที่ ๓
สุภูติเถราปทานที่ ๑ (๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ
[๒๓] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อนิสภะ เราได้สร้าง
อาศรมไว้ที่ภูเขานิสภะนั้นอย่างสวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้.
ในกาลนั้น เราเป็นชฎิลมีนามชื่อว่าโกสิยะ มีเดชรุ่งเรือง
ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ที่ภูเขานิสภะ.
เวลานั้น เราไม่บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ ใน
กาลนั้น เราอาศัยใบไม้เป็นต้นที่เกิดเองและหล่นเองเลี้ยงชีวิต
เราย่อมไม่ยังอาชีพให้กำเริบ แม้จะสละชีวิต ย่อมยังจิต
ของตนให้ยินดี เว้นอเนสนา.
จิตสัมปยุตด้วยราคะเกิดขึ้นแก่เราเมื่อใด เมื่อนั้นเราบอก
ตนเองว่า เราผู้เดียวทรมานจิตนั้น.
ท่านกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ขัดเคือง
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง และหลงใหลในอารมณ์
เป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหล จงออกไปเสียจากป่า.
ที่อยู่นี้เป็นของท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน มีตบะ ท่านอย่า
ประทุษร้ายผู้บริสุทธิ์เลย จงออกไปเสียจากป่าเถิด.
ท่านจักเป็นเจ้าเรือน ได้สิ่งที่ควรได้เมื่อใด ท่านอย่ายินดี
แม้ทั้งสองอย่างนั้นเลย จงออกไปจากป่าเถิด.
เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ไม่ใช่ทำกิจอะไรที่ไหน ๆ ไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
นั้นเขาไม่ได้สมมติว่า เป็นไม้ในบ้านหรือป่าหรือในป่า ฉันใด ท่านก็
เปรียบเหมือนฟืนเผาศพ ฉันนั้น ไม่ใช่คฤหัสถ์ สมณะก็ไม่ใช่
วันนี้ท่านพ้นจากเพศทั้งสอง จงออกจากป่าไปเสียเถิด.
ข้อนี้พึงมีแก่ท่านหรือหนอ ใครจะรู้ข้อนี้ของท่าน ใครจะ
นำธุระของเราไปโดยเร็ว เพราะท่านมากด้วยความเกียจ
คร้าน.
วิญญูชนจักเกลียดท่าน เหมือนชาวเมืองเกลียดของไม่
สะอาดฉะนั้น ฤๅษีทั้งหลาย จักคร่าท่านมาโจทท้วงทุกเมื่อ.
วิญญูชนจักประกาศท่านว่ามีศาสนาอันท่านก้าวล่วงแล้ว ก็
เมื่อ ไม่ได้สังวาส ท่านจักเป็นอยู่อย่างไร.
ช้างมีกำลัง เข้าไปหาช้างกุญชรสกุลช้างมาตังคะตกมัน
ในที่ ๓ แห่ง มีอายุ ๖๐ ถอยกำลังแล้วนำออกจากโขลง มัน
ถูกขับจากโขลงแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุขสำราญ มันเป็นสัตว์
มีทุกข์เศร้าใจ เขาหวั่นไหวอยู่ ฉันใด.
ชฎิลทั้งหลายจักนำ (ขับ) แม้ท่านผู้มีปัญญาทรามออก
ท่านถูกชฎิลเหล่านั้นขับไล่แล้ว จักไม่ได้ความสุขสำราญ
ฉันนั้น.
ท่านเพียบพร้อมแล้วด้วยลูกศร คือความโศก ทั้งกลาง-
วันและกลางคืน จักถูกความเร่าร้อนแผดเผาเหมือนช้างถูก
ขับจากโขลงฉะนั้น.
หม้อน้ำทองย่อมไม่ไปในที่ไหน ๆ ฉันใด ท่านมีศีลอัน
เสื่อมแล้ว ฉันนั้น จักไม่ไปในที่ไหน ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
แม้ท่านอยู่ครองเรือน ก็จักเป็นอยู่อย่างไร ทรัพย์อัน
เป็นของมารดาและแม้ของบิดาที่ฝังไว้ของท่าน ไม่มี.
ท่านจักต้องทำการงานของตน จะต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ จัก
เป็นอยู่ในเรือนอย่างนี้ กรรมที่ดีนั้นท่านไม่ชอบ.
เราห้ามใจอันหมักหมมด้วยสังกิเลสอย่างนี้ ในที่นั้น เรา
ได้ธรรมกถาต่าง ๆ ห้ามจิตจากบาปธรรม.
เมื่อเรามีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้ เวลา ๓
หมื่นปีล่วงเราไปในป่าใหญ่.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเห็นเราผู้ไม่
ประมาท ผู้แสวงหาประโยชน์น่าอันอุดม จึงเสด็จมายังสำนัก
ของเรา.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังสีทองชมพูนุท หาประมาณมิได้
ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เสด็จจงกรมอยู่
ในอากาศในเวลานั้น.
พระพุทธเจ้าไม่มี ใครเสมอด้วยพระญาณ เหมือนพญารัง
มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าในระหว่างกลีบเมฆ พระ-
องค์เสด็จจงกรนอยู่ในอากาศในเวลานั้น.
ดังราชสีห์ผู้ไม่กลัว ดุจพญาช้างร่าเริง เหมือนพญา-
เสือโคร่งผู้ไม่ครั่นคร้าม เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศเวลานั้น.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดังแต่งทองสิงคี เปรียบด้วยถ่าน
เพลิงไม้ตะเคียน มีพระรัศมีโชติช่วงดังดวงแก้วมณี เสด็จ
จงกรมอยู่ในอากาศในกาลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีเปรียบดังเขาไกรลาสอัน บริสุทธิ์
เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศในเวลานั้น ดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ
ดุจพระอาทิตย์เวลาเที่ยง.
เราได้เห็นพระองค์เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ ในเวลานั้น
จงคิดอย่างนี้ว่า สัตว์ผ้านี้เป็นเทวดาหรือว่าเป็นมนุษย์. นระเช่น
นี้ เราไม่เคยได้ฟังหรือเห็นในแผ่นดิน บทมนต์จะมีอยู่บ้าง
กระมัง ผู้นี้จักเป็นพระศาสดา.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เรา
รวบรวมดอกไม้และของหอมต่าง ๆ ไว้ในเวลานั้น.
ได้ปูลาดอาสนะดอกไม้อันวิจิตรดีเป็นที่รื่นรมย์ใจ แล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านระผู้เป็นสารถีว่า
ข้าแต่พระวีรเจ้า อาสนะอันสมควรแก่พระองค์นี้ ข้า-
พระองค์จัดไว้ถวายแล้ว ขอได้โปรดทรงยังจิตของข้าพระองค์
ให้ร่าเริง ประทับนั่ง บนอาสนะดอกโกสุมเถิด.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ทรงหวาด ดังพญาไกรสร
ประทับนั่งบนอาสนะดอกโกสุมอันประเสริฐนั้น ๗ คืน ๗ วัน.
เราก็ได้ยินนมัสการพระองค์ตลอด ๗ คืน ๗ วัน พระ-
ศาสดายอดเยี่ยมในโลก เสด็จออกจากสมาธิแล้ว เมื่อทรง
พยากรณ์กรรมของเรา ได้ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า ทำจงเจริญ
พุทธานุสสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย.
ท่านเจริญพุทธานุสสตินี้แล้ว จักยังใจให้เต็มได้ จัก
รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จัก
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ครั้ง.
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสสติ.
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพใหญ่ จักได้โภคสมบัติเป็นอันมาก
จะไม่มีความบกพร่องด้วยโภคะ นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ)
พุทธานุสสติ.
ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคดม โดยพระ-
โคตร จักยังมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ
อุบัติในโลก
ท่านจักทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก
จักบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
โคดม. จักยังพระสัมพุทธเจ้าโคคมศากยบุตรผู้ประเสริฐให้
ทรงยินดี จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสุภูติ.
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์แล้ว จักทรงตั้งท่านว่าเป็นผู้เลิศใน ๒ ตำแหน่ง.
คือในคณะพระทักขิไณยบุคคล ๑ ในความเป็นผู้มีธรรมเครื่อง
อยู่โดยไม่มีข้าศึก ๑.
พระสัมพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง ทรงเป็นนายกสูงสุด เป็น
นักปราชญ์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ ดัง
พญาหงส์ในอัมพร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
เราอันพระโลกนาถทรงพร่ำสอนแล้ว นมัสการพระตถาคต
มีจิตเบิกบาน เจริญพุทธานุสสติอันอุดมทุกเมื่อ.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำได้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้
เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ได้เป็นจอมเทวดา
เสวยทิพยสมบัติ ๘๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๑,๐๐๐ ครั้ง.
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
ได้เสวยสมบัติเป็นดี นี้เป็นผลแห่ง (การเจริญ) พุทธา-
นุสสติ.
เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราย่อมได้โภค-
สมบัติมา เราไม่มีความบกพร่องโภคะเลย นี้เป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสสติ.
ในแสนกัป แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมอันใดไว้ในกาลนั้น
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นิเป็นผลแห่ง
(การเจริญ) พุทธานุสสติ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนั้นแล.
ทราบว่า ท่านพระสุภูติเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบสุภูติเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
สุภูติวรรคที่ ๓
๒๑. อรรถกถาสุภูติเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุภูติเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร
ดังนี้.
ท่านสุภูติเถระแม้นี้ บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลาย้อนเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก ยังไม่
เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัตทกัปนี้ ท่านเกิดเป็นบุตรน้อยคน
หนึ่งของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในหังสวดีนคร. พราหมณ์ได้ตั้งชื่อท่าน
ว่า นันทมาณพ. นันทมาณพนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็น
สิ่งที่เป็นสาระในไทรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤาษีอยู่ที่เชิงเขาพร้อมด้วยมาณพ
๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของคน ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว.
ทั้งได้บอกกรรมฐานให้แก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิก
เหล่านั้นต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระเสด็จอุบัติ
ขึ้นในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจ
ดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก
ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วย
องค์สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่
ในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุไร ๆ อื่น เป็นดุจสีหะ
เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว ขณะนั้นอันเตวาสิกของนันทดาบสไปหาผลาผล
เมื่อนันทดาบสมองเห็นอยู่นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
พื้นดิน โดยทรงพระดำริว่า ขอนันทดาบสจงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า
ดังนี้.
นันทดาบสเห็นพุทธานุภาพ และความบริบูรณ์แห่งพระลักษณะ
พิจารณาดูมนต์สำหรับทำนายพระลักษณะ แล้วรู้ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ประกอบ
ด้วยลักษณะเหล่านั้น เมื่ออยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อออกบวชจะได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ตัดวัฏฏะโนโลกได้ขาด.
บุรุษอาชาไนยผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย แล้วกระทำการ
ต้อนรับ ไหว้โดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วปูอาสนะถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับนั่งบนอาสนะที่ปลายไว้แล้ว.
ฝ่ายนันทดาบสเลือกอาสนะที่สมควรแก่ตน แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
สมัยนั้น ชฎิล ๔๔,๐๐๐ คนถือเอาผลาผลมีรสโอชาล้วนแต่ประณีต
มายังสำนักของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้าและอาจารย์แล้ว พูด
ว่า ข้าแต่อาจารย์ พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย วิจารณ์กันว่า ในโลกนี้ ไม่มีใคร
ใหญ่กว่าท่าน แต่ชะรอยบุรุษนี้จักใหญ่กว่าท่าน.
นันทดาบสกล่าวว่า พ่อคุณ พวกท่านพูดอะไร (อย่างนั้น) พวก
ท่านประสงค์จะเปรียบเขาสิเนรุราชซึ่งสูง ๖๘๐,๐๐๐ โยชน์ กับเมล็ดพันธุ์
ผักกาด พวกท่านอยู่เอาเราไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย.
ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นคิดว่า ถ้าท่านผู้นี้จักเป็นคนต่ำต้อย อาจารย์
ของพวกเราคงไม่หาข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ บุรุษอาชาไนยนี้ ใหญ่
ขนาดไหนหนอ ดังนี้แล้ว พากันหมอบลงแทบเท้า แล้วนมัสการด้วย
ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย ไทยธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
อันสมควรแด่พระะพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็เสด็จมาในเวลาภิกขาจาร เพราะฉะนั้น พวกเราจักถวายไทยธรรมตาม
กำลัง พวกท่านจงนำเอาผลาผลอันประณีตบรรดามี ที่ท่านทั้งหลาย
นำมาแล้ว มาเถิด ดังนี้แล้ว ให้นำผลาผลมา ล้างมือแล้วใส่ลงในบาตร
ของพระตถาคตเจ้าด้วยตนเอง.
เพียงเมื่อพระศาสดาทรงรับผสาผลเท่านั้น เทวดาทั้งหลายก็ใส่
โอชะอันเป็นทิพย์ลงไป. ดาบสกรองน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.
ลำดับนั้น เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว ดาบสผู้เป็นอาจารย์จึง
เรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา กล่าวสาราณีกถาในสำนักของพระศาสดา นั่ง
แล้ว.
พระศาสดาทรงดำริว่า ขอภิกษุจงมา. ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพระ-
ขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป รู้พระดำริของพระศาสดาแล้ว พากัน
มาถวายบังคมพระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น นันทดาบสเรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า
พ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งก็ต่ำ. อีกทั้ง
อาสนะของพระสมณะ ๑๐๐,๐๐๐ รูปก็ไม่มี วันนี้ท่านทั้งหลายควรกระทำ
สักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ให้โอฬาร ท่านทั้งหลาย
จงนำดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขา. ดาบสทั้งหลายนำ
ดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาโดยครู่เดียวเท่านั้น ปูอาสนะดอกไม้
ประมาณ ๑ โยชน์ ถวายพระพุทธเจ้าแล้ว. เพราะเหตุที่วิสัยของท่านผู้มี
ฤทธิ์ เป็นอจินไตย. สำหรับพระอัครสาวก มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
สำหรับภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้นเป็นประเภท
สำหรับสั่งฆนวกะ ได้มีเนื้อที่ประมาณ ๑ อุสภะ.
เมื่อดาบสทั้งหลายปูอาสนะเสร็จแล้วอย่างนี้ นันทดาบสยืนประคอง
อัญชลีอยู่เบื้องหน้าพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อพระองค์จงเสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้นี้ ประทับนั่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
บนอาสนะดอกไม้แล้ว เมื่อพระศาสดาประทับแล้วอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย
รู้อาการของพระศาสดาแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ.
นันทดาบส ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นไว้เหนือพระเศียรของพระ-
ตถาคตเจ้า. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ขอสักการะนี้ของดาบสทั้งหลายจง
มีผลมากแล้วเข้านิโรธสมาบัติ. แม้ภิกษุทั้งหลายรู้ว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติ
แล้วก็พากันเข้าสมาบัติ. เนื้อพระตถาคตเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ
ตลอด ๗ วัน เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร อันเตวาสิกทั้งหลาย ต่างบริโภคมูล
ผลาผลในป่า ในเวลาที่เหลือ ก็ยืนประคองอัญชลีแด่พระพุทธเจ้า.
ส่วนนันทดาบสไม่ยอมไปภิกขาจาร กั้นฉัตรดอกไม้ ยิ่งเวลาให้
ล่วงไปด้วยปีติสุขอย่างเดียวตลอด ๗ วัน. พระศาสดาตรัสสั่งพระสาวก
รูปหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือองค์ของภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีกิเลส และ
องค์แห่งภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคลว่า เธอจะกระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่
สำเร็จด้วยดอกไม้ แก่หมู่ฤๅษี. ภิกษุรูปนั้น มีใจยินดีแล้วดุจทหารผู้ใหญ่
ได้รับพระราชทานลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ (เลือก
สรร) เฉพาะพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก มาทำอนุโมทนา ในที่สุดแห่ง
เทศนาของภิกษุนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยพระองค์เอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
ในเวลาจบเทศนา ดาบส ๔๔,๐๐๐ ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ออก ตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุ
มาเถิด. ผมและหนวดของดาบสเหล่านั้น อันตรธานไปในทันใดนั่นเอง.
บริขาร ๘ สวมใส่อยู่แล้วในกายครบถ้วน ดาบสเหล่านั้นเป็นดุจพระเถระ
ผู้มีพรรษา ๖๐ แวดล้อมพระศาสดาแล้ว. ส่วนนันทดาบสไม่ได้บรรลุ
คุณพิเศษ เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า นันทดาบสนั้นจำเดิมแต่เริ่มฟัง
ธรรม ในสำนักของพระเถระผู้อยู่อย่างปราศาจากกิเลส ได้เกิดจิตตุปบาท
ขึ้นว่า โอหนอ แม้เราพึงได้คุณอันสาวกนี้ได้แล้ว ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้าองค์หนึ่งผู้จักเสด็จอุบัติในอนาคตกาล.
ด้วย ปริวิตกนั้น นันทดาบสจึงไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรค
และผลได้. แต่ท่านได้ถวายบังคมแด่พระตถาคตเจ้า ประคองอัญชลีแล้ว
ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
ผู้กระทำอนุโมทนาถึงอาสนะที่ทำด้วยดอกไม้ ต่อหมู่ฤๅษีนี้ มีชื่ออย่างไร
ในศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสตอบว่า ภิกษุนั้นชื่อว่าถึงแล้วซึ่ง
ตำแหน่งเอตทัคคะ ในองค์แห่งภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีกิเลส และในองค์แห่ง
ภิกษุผู้เป็นทักขิไณยบุคคล. ท่านได้ทำความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สักการะนี้ใดที่ข้าพระองค์ผู้เข้าไปทรงไว้ซึ่งฉัตรคือดอกไม้ ตลอด
๗ วัน กระทำแล้วด้วยอธิการนั้น ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น
แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงเป็นสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ดุจ
พระเถระนี้ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด.
พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูอยู่ว่า ความปรารถนา
ของดาบสนี้ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงตรวจดูอยู่ ทรงเห็นความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
ปรารถนาของดาบสจะสำเร็จโดยล่วงแสนกัปไปแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน
ดาบส ความปรารถนาของท่านจักไม่เป็นโมฆะ ในอนาคตกาลผ่านแสน-
กัปไปแล้ว. พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้น ความ
ปรารถนาของท่านจักสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม
นั้น แล้วตรัสธรรมกถา ทรงแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์แล้วแล่นไปสู่
อากาศ.
นันทดาบสได้ยืนประคองอัญชลีแล้วอุทิศเฉพาะพระศาสดา และ
ภิกษุสงฆ์จนกระทั่งลับคลองจักษุ. ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดาฟังธรรมตามกาลเวลา. มีฌานไม่เสื่อมแล้วทีเดียว ทำกาละไป
บังเกิดขึ้นพรหมโลก. และจุติจากพรหมโลกนั้นแล้วบวชอีก ๕๐๐ ชาติ
ได้เป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร. แม้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่ากัสสปะ ก็ได้บวชเป็นผู้มีการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจา-
คตวัตร ให้บริบูรณ์แล้ว. ได้ยินว่า ผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญวัตรนี้ ชื่อว่าจะ
บรรลุถึงความเป็นพระมหาสาวกไม่ได้เลย ก็คตปัจจาคตวัตรพึงทราบโดย
นัยที่ท่านกล่าวไว้ ในอรรถกถาที่มาแล้วทั้งหลายนั้นแล บังเกิดในภพ
ดาวดึงส์เทวโลก.
ก็นันทดาบสนั้น เสวยทิพยสมบัติด้วยสามารถแห่งการเกิด สลับ
กันไปในดาวดึงส์พิภพด้วยประการฉะนี้ จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นเจ้าประเทศราชในมนุษย์โลก. นับได้
หลายร้อยครั้ง เสวยมนุษย์สมบัติอันโอฬาร ต่อมาในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. เกิดเป็นน้องชายของท่านอนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐี ในเรือนสุมนเศรษฐี ณ กรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า สุภูติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน
โลก. ทรงประกาศธรรมจักร เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ทรง
กระทำการอนุเคราะห์สัตว์โลก โดยการรับมอบพระวิหารเวฬุวันเป็นต้น
ในกรุงราชคฤห์นั้น อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในป่าสีตวัน. ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ถือเอาเครื่องมือของผู้หมั่นขยันในนครสาวัตถี
สร้างเรือนของเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ สดับข่าวการเสด็จอุบัติแห่งพระ-
พุทธเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. ผู้เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน ดำรง
อยู่แล้วในโสดาปัตติผลโดยการเฝ้าครั้งแรกทีเดียว แล้วทูลขอให้พระ-
ศาสดาเสด็จมากรุงสาวัตถีอีก. ให้สร้างพระวิหาร โดยการบริจาคทรัพย์
๑ แสน ไว้ในที่ห่างกันโยชน์หนึ่ง ๆ ในระยะทาง ๔๕ โยชน์ ถัดจาก
กรุงสาวัตถีนั้น มีที่สวนของพระราชกุมารทรงพระนามว่าเชตะ ประมาณ
๘ กรีส โดยมาตราวัดหลวง ด้วยการเอาทรัพย์ปูลาดไปเป็นโกฏิ ๆ. ใน
วันที่พระศาสดาทรงรับพระวิหาร สุภูติกุฎุมพีนี้ได้ไปพร้อมกับท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟังเทศนา ได้มีศรัทธาบรรพชาแล้ว.
ท่านอุปสมบทแล้วทำมาติกา ๒ ให้คล่องแคล่ว ให้อาจารย์บอก
กรรมฐาน บำเพ็ญสมณธรรมในป่า เจริญวิปัสสนา มีเมตตาฌานเป็น
บาทบรรลุพระอรหันต์แล้ว. ก็เพราะเมื่อท่านแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม
ไม่เจาะจง ตามท่านองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงได้นาน
ว่าเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้อยู่โดยไม่มีข้าศึก. เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็เข้าฌาน
แผ่เมตตาไปทุก ๆ บ้าน ออกจากฌานแล้วจึงรับภิกษา. ด้วยคิดว่า โดย
วิธีนี้ทายกทั้งหลายจักมีผลมาก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นผู้เลิศแห่ง
ทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งลันเลิศ
อันประกอบด้วยองค์ ๒ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่ง
ภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส พระสุภูติเป็นผู้เลิศแห่ง
ภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคลดังนี้.
พระมหาเถระนี้ บรรลุพระอรหัตอันเป็นที่สุดของผลแห่งบารมีที่ตน
ได้บำเพ็ญมา เป็นผู้ฉลาดเปรื่องปราชญ์ในโลก เที่ยวจาริกไปตามชนบท
เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก ถึงกรุงราชคฤห์แล้วโดยลำดับ ด้วย
ประการฉะนี้.
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับการมาของพระเถระแล้ว เสด็จเข้าไป
หา ทรงไหว้แล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้า
จะสร้างที่อยู่ถวายดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป. พระเถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะก็ยัง
กาลให้ผ่านไปในอัพโภกาส (กลางแจ้ง). ด้วยอานุภาพของพระเถระ
ฝนไม่ตกเลย.
มนุษย์ทั้งหลาย ถูกภาวะฝนแล้งปิดกั้นคุกคาม จึงพากันไปทำการ
ร้องทุกข์ ที่ประตูวังของพระราชา. พระราชาทรงใคร่ครวญว่า ด้วยเหตุ
อะไรหนอแล ฝนจึงไม่ตก แล้วทรงพระดำริว่า ชะรอยพระเถระจะอยู่
กลางแจ้ง ฝนจึงไม่ตก แล้วรับสั่งให้สร้างกุฎีมุงด้วยใบไม้ถวายพระเถระ
แล้วรับสั่งว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านอยู่ในบรรณกุฎีนี้แหละ ไหว้แล้ว
เสด็จหลีกไป. พระเถระไปสู่กุฎีแล้วนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ลาดด้วยหญ้า.
ในครั้งนั้น ฝนหยาดเม็ดเล็ก ๆ ตกลงมาทีละน้อย ๆ ไม่ยังสายธารให้
ชุ่มชื่นทั่วถึง.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะบำบัดภัยอันเกิดแต่ฝนแล้ง แก่ชาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
โลก เมื่อจะประกาศความไม่มีอันตราย ที่เป็นวัตถุภายในและภายนอก
ของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ความแห่งคำ
เป็นคาถามั่น ท่านกล่าวไว้แล้วเถรคาถานั่นแล.
ข้อว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหาเถระเหล่านั้น จึงประกาศคุณของ
ตน ความว่า พระอริยะทั้งหลายมักน้อยอย่างยิ่ง พิจารณาถึงโลกุตตร-
ธรรมที่คนบรรลุแล้ว อันสงบประณีตอย่างยิ่ง ลึกซึ่งอย่างยิ่ง ที่ตนไม่
เคยบรรลุโดยกาลนานนี้ จึงประกาศคุณของตน เพื่อแสดงอุทานอันกำลัง
ปีติช่วยกระตุ้นเตือนให้อาจหาญ และเพื่อแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็นธรรม
นำสัตว์ออกจากทุกข์. ด้วยอำนาจอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย พระ-
โลกนาถจึงทรงประกาศคุณของพระองค์ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณ เป็นผู้แกล้วกล่าในเวสารัชชญาณดังนี้
ฉันใด แม้คาถาม ก็เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล ฉนนั้น.
ท่านได้บรรลุพระอรหัตผล และได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้
แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน แล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสวิทูเร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมนฺตสฺส ความว่า ในที่ไม่ไกล คือ
ในที่ใกล้เคียง ได้แก่ ณ เชิงแห่งหิมวันตบรรพต. อธิบายว่า เป็นที่สัญจร
อันสมบูรณ์ด้วยคมนาคมแห่งเหล่ามนุษย์. บทว่า นิสโภ นาม ปพฺพโต
เชื่อมความว่า ได้มีภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหิน ว่าโดยชื่อ ชื่อว่า นิสภะ
เพราะประเสริฐที่สุดกว่าภูเขาทั้งหลาย. บทว่า อสฺสโม สุกโต มยฺห
ความว่า ได้สร้างที่อยู่ด้วยดีให้เป็นอาศรม เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ของ
เราที่ภูเขานั้น. อธิบายว่า สร้างโดยอาการอย่างดี ด้วยสามารถแห่งกุฎีที่พัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
กลางคืน ที่พักกลางวัน มีรั้วล้อมรอบเป็นต้น. บทว่า ปณฺณสาลา
สุมาปิตา ความว่า ศาลาที่มุงด้วยใบไม้ได้สร้างให้สำเร็จด้วยดี เพื่อเป็น
ที่อาศัยของเรา.
บทว่า โกสิโย นาม นาเมน ความว่า โดยนามที่มารดาบิดา
ตั้งให้ว่า โกสิยะ. มีเดชรุ่งเรือง คือมีเดชปรากฏ ได้ก็มีเดชกล้า.
เราผู้เดียวเท่านั้น เพราะไม่มีผู้อื่นเป็นเพื่อนสอง. เชื่อมความว่า เราเป็น
ชฎิลดาบสคือผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา ไม่มีเพื่อนสอง คือเว้น จากดาบสคนที่ ๒
ในกาลนั้นเราอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า นิสภะ. บทว่า ผล มูลญฺจ ปณฺณญฺจ
น ภุญฺชามิ อห ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราอยู่ที่นิสภ-
บรรพตนั้น เราไม่ได้บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ที่เก็บจากต้น. เมื่อ
แสดงถึงข้อนั้นว่า เป็นเช่นนี้ จะเป็นอยู่ได้อย่างไร จึงกล่าวว่า ปวตฺต ว
สุปาตาห ดังนี้. เชื่อมความว่า ในกาลนั้นเราอาศัยใบไม้เป็นต้น ที่หล่น
เองในที่นั้น ๆ คือที่ตกไปตามธรรมดาของตน เป็นอาหารเลี้ยงชีพ อีก
อย่างหนึ่งบาลีว่า ปวตฺตปณฺฑุปณฺณานิ ดังนี้ก็มี. ความว่า เราอาศัยใบ
ไม้เหลืองที่หล่นเองเลี้ยงชีพ.
บทว่า นาห โกเปมิ อาชีว ความว่า เราแม้เมื่อจะสละชีวิต คือ
เมื่อทำการบริจาค ย่อมไม่ยังสัมมาอาชีวะให้กำเริบคือให้พินาศ ในการ
แสวงหาอาหาร มีมูลผลาผลเป็นต้น ด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อาราเธมิ
สก จิตฺต ความว่า ย่อมยังจิตคือใจของคนให้ยินดี คือให้เลื่อมใส ด้วย
ความมักน้อยและสันโดษ. บทว่า วิวชฺเชมิ อเนสน ความว่า เราเว้นการ
แสวงหาอันไม่สมควร ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้น
ให้ห่างไกล. บทว่า ราคูปสหิต จิตฺต ความว่า เมื่อใดคือในกาลใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
จิตของเราสัมปยุตด้วยราคะย่อมเกิดขึ้น ในกาลนั้นเราพิจารณาตนด้วยตน
เอง คือพิจารณาด้วยญาณแล้วบรรเทา. บทว่า เอกคฺโค ต ทเมมห
ความว่า เราเป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่น ในอารมณ์แห่งกรรมฐานอย่างหนึ่ง
ย่อมฝึกคือกระทำการทรมานจิตที่ประกอบด้วยราคะ.
บทว่า รชฺชเส รชฺชนีเย จ ความว่า ท่านกำหนัด คือคิดอยู่ใน
อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือในวัตถุมีรูปอารมณ์เป็นต้น. บทว่า
ทุสฺสนีเย จ ทุสฺสเส ความว่า ท่านขัดเคือง ในอารมณ์อันเป็นที่
ขัดเคือง คือในวัตถุอันกระทำความประทุษร้าย. บทว่า มุยฺหเส โมหนีเย
จ ความว่า ท่านเป็นผู้ลุ่มหลง ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
คือในวัตถุอันกระทำซึ่งความหลง. เชื่อมความว่า เพราะฉะนั้น เราย่อม
ฝึกตนอย่างนี้ว่า ท่านจงออกไปคือหลีกไปจากป่า คือจากการอยู่ป่า.
บทว่า ติมฺพรูสกวณฺณาโภ ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมี
เหมือนผลมะพลับมีสีดังทองคำ. อธิบายว่า มีสีเหมือนทองชมพูนุท. คำ
ที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุภูติเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
อุปวาณเถราปทานที่ ๒ (๒๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธง
[๒๔] พระสัมพุทธชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม
ทั้งปวง ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว.
มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต กระทำจิตกาธาร
อย่างสวยงามแล้วปลงพระสรีระ.
มหาชนทั้งหมดพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทำสรีรกิจเสร็จ
แล้ว รวบรวมพระธาตุไว้ ณ ที่นั้น ได้สร้างพระพุทธสถูปไว้.
ชั้นที่ ๑ แห่งพระพุทธสถูปนั้นสำเร็จด้วยทอง ชั้นที่ ๒
สำเร็จด้วยแก้วมณี ชั้นที่ ๓ สำเร็จด้วยเงิน ชั้นที่ ๔ สำเร็จ
ด้วยแก้วผลึก. ชั้นที่ ๕ ในพระพุทธสถูปนั้น สำเร็จด้วยแก้ว
ทับทิม ชั้นที่ ๖ สำเร็จด้วยแก้วลาย ชั้นบนสำเร็จด้วยรัตนะ
ล้วน.
ทางเดินสำเร็จด้วยแก้วมณี ไพที่สำเร็จด้วยรัตนะ พระ-
สถูปสำเร็จด้วยทองล้วน ๆ สูงสุดหนึ่งโยชน์ เวลานั้น เทวดา
ทั้งหลายมาร่วมประชุมปรึกษากัน ณ ที่นั้นว่า แม้พวกเราก็จัก
สร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่.
พระธาตุจะได้ไม่เรี่ยราย พระสรีระจะรวมเป็นอันเดียวกัน
เราทั้งหลายจักทำกุญแจใส่ในพระพุทธสถูปนี้.
เทวดาทั้งหลายจึงยังโยชน์อื่นให้เจริญด้วยรัตนะ ๗ ประ-
การ (เทวดาทั้งหลายจึงนิรมิตพระสถูปให้สูงเพิ่มขึ้นอีกโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
หนึ่ง ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ) พระสถูปจึงสูง ๒ โยชน์ สว่าง
ไสวขจัดความมืดได้.
นาคทั้งหลายมาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้นในเวลานั้น
ว่า มนุษย์และเทวดาได้สร้างพระพุทธสถูปแล้ว.
เราทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์กับเทวดาไม่
ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถ
ผู้คงที่.
นาคเหล่านั้น จึงร่วมกันรวบรวมแก้วอินทนิล แก้วมหา
นิล และแก้วมณีมีรัศมีโชติช่วงปกปิดพระพุทธสถูป พระ-
พุทธเจดีย์ประมาณเท่านั้น สำเร็จด้วยแก้วมณี ล้วน สงสุด
๓ โยชน์ ส่งแสงสว่างไสวในเวลานั้น.
ฝูงครุฑมาประชุมร่วมปรึกษาในเวลานั้นว่า มนุษย์
เทวดาและนาคได้สร้างพระพุทธสถูปแล้ว. เราทั้งหลายอย่า
ประมาทเลย ดังมนุษย์เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวก
เราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่.
ฝูงครุฑจึงได้สร้างสถูปอันสำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน และ
กุญแจก็เช่นนั้น ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปให้สูงอีก
โยชน์หนึ่ง.
พระพุทธสถูปสูงสุด ๔ โยชน์รุ่งเรืองอยู่ ยังทิศทั้งปวงให้
สว่างไสว ดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น และพวกกุมภัณฑ์ก็มา
ประชุมร่วมปรึกษากันในเวลานั้นว่า พวกมนุษย์และพวกเทวดา
ฝูงนาคและฝูงครุฑ ได้สร้างสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์
เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท.
แม้พวกเราก็จักสร้างสถูป ถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่
พวกเราจักปกปิดพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปด้วยรัตนะ พวก
กุมภัณฑ์ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง.
เวลานั้น พระสถูปสูงสุด ๕ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวก
ยักษ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้นในเวลานั้นว่า
เวลานั้น มนุษย์ เทวดา นาค กุมภัณฑ์ (และ) ครุฑ
ได้พากันสร้างสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่พระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุด พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์เป็นต้น
พร้อมกับเทวดาไม่ประมาท.
แม้พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ พวก
เราจักปกปิดพระพุทธเจดีต่อขึ้นไปด้วยแก้วผลึก พวกยักษ์
จึงสร้างพระพุทธเจดีย์ ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง เวลา
นั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๖ โยชน์ สว่างไสวอยู่.
พวกคนธรรพ์พากันมาประชุมร่วมปรึกษากันในเวลานั้นว่า
สัตว์ทั้งปวง คือ มนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์และ
ยักษ์ พากันสร้างพระพุทธสถูปแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านี้ พวก
เรายังไม่ได้สร้าง แม่พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลก-
นาถผู้คงที่.
พวกคนธรรพ์จึงพากันสร้างไพที ๗ ชั้น ได้สร้างตลอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
ทั้งทางเดิน เวลานั้น พวกคนธรรพ์ได้สร้างสถูปสำเร็จด้วย
ทองคำล้วน.
ในกาลนั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๗ โยชน์ สว่างไสวอยู่
ไม่ปรากฏกลางคืน กลางวัน แสงสว่างมีอยู่เสมอไป.
พระจันทร์พระอาทิตย์พร้อมทั้งดาว ครอบงำรัศมีพระสถูป
นั้นไม่ได้ ก็แสงสว่างโพลงไปไกลร้อยโยชน์โดยรอบ (พระ-
สถูป).
ในเวลานั้น มนุษย์เหล่าใดจะบูชาพระสถูป พวกเขาไม่
ต้องขึ้นพระสถูป พวกเขายกขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์ตนหนึ่ง
ที่พวกเทวดาตั้งไว้ ชื่อว่าอภิสัมมตะ ยกธงหรือพวงดอกไม้
ให้ขึ้นไปในเบื้องสูง.
มนุษย์เหล่านั้นมองไม่เห็นยักษ์ เห็นแต่พวงดอกไม้ขึ้นไป
ครั้นเห็นเช่นนี้แล้วก็กลับไป มนุษย์ทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.
มนุษย์เหล่าใดชอบใจในปาพจน์ และเหล่าใดเลื่อมใส
ในพระศาสนา ต้องการจะเห็นปาหาริย์ ย่อมบูชาพระสถูป.
เวลานั้น เราเป็นคนยากไร้อยู่ในเมืองหังสวดี เราได้เห็น
หมู่ชนเบิกบาน จึงคิดอย่างนี้ในเวลานั้นว่า เรือนพระธาตุ
เช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นี้โอฬาร ก็หมู่ชนเหล่านี้มีใจยินดี ไม่รู้จักอิ่มใน
สักการะที่ทำอยู่.
แม่เราก็จักทำสักการะแด่พระโลกนาถผู้คงที่บ้าง เราจัก
เป็นทายาทในธรรมของพระองค์ในอนาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
เราจึงต้องเอาเชือกผูกผ้าห่มของเราอันซักขาวสะอาดแล้ว คล้อง
ไว้ที่ยอดไม้ไผ่ ยกเป็นธงขึ้นไว้ในอากาศ.
ยักษ์อภิสัมมตะจับธงของเรานำขึ้นไปในอัมพร เราเห็นธง
อันลมสะบัด ได้เกิดความยินดีอย่างยิ่ง เรายังจิตให้เลื่อมใส
ในพระสถูปนั้นแล้ว เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กราบไหว้ภิกษุนั้น
ได้สอบถามถึงผลในถารถวายธง.
ท่านยังความเพลิดเพลินและปีติให้เกิดแก่เรา กล่าวแก่เรา
ว่า ท่านจักได้เสวยวิบากของธงนั้นในกาลทั้งปวง.
จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
จักแวดล้อมท่านอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.
ดนตรี ๖ หมื่นและกลองเภรีอันประดับสวยงามจะประโคม
แวดล้อมท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.
หญิงสาวแปดหมื่นหกพันผู้ประดับงดงาม มีผ้าและ
อาภรณ์วิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล หน้าแฉล้ม แย้มยิ้ม
มีตะโพกผึ่งผาย เอวบาง จักแวดล้อม (บำเรอ) ท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.
ท่านจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักได้เป็น
จอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า-
จักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน
ไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดม ซึ่งทรง
สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช เสด็จอุบัติในโลก ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
อันกุศลมูลตักเตือน เคลื่อนจากทวโลกแล้ว ประกอบด้วย
บุญธรรม จักเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ท่านจักละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ
ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก ออกบวชในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม ท่านจักยังพระสัม-
พุทธเจ้า พระนามว่าโคดมศากยบุตรผู้ประเสริฐให้โปรดปราน
แล้ว จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีชื่อว่า อุปวาณะ.
กรรมที่เราทำแล้วในแสนกัป ให้ผลแก่เราในที่นี้แล้ว
เราเผากิเลสของเราแล้ว ดุจกำลังลูกศรพ้นแล่งไปแล้ว เมื่อ
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ธงทั้งหลาย
จักยกขึ้นโดยรอบ ๓ โยชน์ทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เรา
ได้ทำกรรมใดไว้ ในเวลานั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง
ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอุปวาณเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ
ฉะนี้แล.
จบอุปวาณเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
๒๒. อรรถกถาอุปวาณเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุปวาณเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม
ชิโน ดังนี้.
ท่านอุปวาณเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูล
แห่งคนขัดสน บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน
เมื่อมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์ และคนธรรพ์ทั้งหลาย
ต่างถือเอาพระธาตุของพระองค์มากกระทำพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง
๗ โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตน ซึ่งขาวสะอาดบริสุทธิ์ ผูก
ปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา. ยักษ์เสนาบดี นามว่า อภิสัมมตกะ
อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้ เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์ มีกายไม่
ปรากฏ ถือธงในอากาศการทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ. เขาเห็น
ดังนั้นได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้นามว่า อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวทรง
รับมอบพระเชตวันวิหาร เป็นผู้ได้ศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมใน
วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้อภิญญา ๖. ในกาลใดความ
ไม่ผาสุกได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น พระเถระได้น้อมนำน้ำร้อน
น้ำปานะ และเภสัช เห็นปานนั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วย
เหตุนั้น พระโรคของพระศาสดานั้นจึงสงบ. พระศาสดาได้ทรงกระทำ
อนุโมทนาแก่ท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
ท่านได้บรรลุอรหัตผล ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึก
ถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิ
ว่า ปทุมตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. เชื่อมความว่า พระชินเจ้าคือ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชนะมาร ๕ พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ถึงฝั่งคือ
โลกิยธรรม และโลกุตตธรรมทั้งปวงในที่นั้น บรรลุถึงที่สุดคือพระ-
นิพพาน ทรงโพลงพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ให้สว่างไสวดุจกองเพลิง
ทรงยังสัตว์โลกทั้งปวงให้สว่างไสวด้วยความโชติช่วงคือพระสัทธรรม เป็น
พระสัมพุทธะ คือเป็นผู้ตรัสรู้ดี ทรงปลุกหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในความหลับ
คืออวิชา ให้ตื่นจากกิเลสนิทราพร้อมทั้งวาสนา ทรงมีพระเนตรเบิกบาน
เต็มที่ ดุจดอกบัวแย้มบาน ทรงปรินิพพาน คือปรินิพพานด้วยกิเลส
นิพาน ถึงสถานที่ใคร ๆ ไม่เห็น.
บทว่า ชงฺฆา ความว่า มีบันไดที่ผูกพันไว้ เพื่อประโยชน์แก่อัน
ตั้งไว้ซึ่งอิฐที่จะพึงก่อในเวลากระทำพระเจดีย์.
บทว่า สุโธต รชเกนาห ความว่า เราได้ทำผ้าอุตราสงค์ที่บุรุษผู้
ซักผ้าซักดีแล้วที่ปลายไม้ไผ่ แล้วโยนขึ้นไปให้เป็นธง อธิบายว่า ให้ยก
ขึ้นไว้ในอัมพรอากาศ. คำที่เหลือ รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอุปวสาณเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ตีณิสรณาคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๒๓)
ว่าด้วยผลแห่งการรับสรณะ ๓
[๒๕] เราเป็นคนบำรุงมารดาบิดา อยู่ในนครจันทวดีเวลานั้น
เราเลี้ยงดูมารดาบิดาของเราผู้ตาบอด เรานั่งอยู่ในที่ลับ คิด
อย่างนี้ในเวลานั้นว่า เราเลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ จึงไม่ได้บวช.
โลกทั้งหลายอันความมืดมนอนธการปิดแล้ว ย่อมถูก
ไฟ ๓ กองเผา เมื่อเราเกิดแล้วในภพเช่นนี้ ไม่มีใครจะเป็นผู้
แนะนำ.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก บัดนี้พระพุทธศาสนา
กำลังรุ่งเรือง สัตว์ผู้ใคร่บุญอาจรื้อถอนตนขึ้นได้ เราจะรับ
สรณะ ๓ แล้วจะรักษาให้ บริบูรณ์ ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว
นั้น เราจะพ้นทุคติได้.
เราได้เข้าไปหาท่านพระสมณะชื่อนิสภะ อัครสาวกของ
พระพุทธเจ้าแล้ว ตรัสรณคมน์.
ในครั้งนั้นเรามีอายุได้แสนปี ได้รักษาสรณคมน์ให้บริบูรณ์
ตลอด เวลาเท่านั้น เมื่อกาลที่สุดล่วงไป เราได้ระลึกถึงสรณ-
คมน์ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์.
เมื่อเรายังอยู่ในเทวโลก ประกอบแต่บุญกรรม เราอุบัติ
ณ ประเทศใด ๆ เราย่อมได้เหตุ ๘ ประการ คือในประเทศ
นั้น ๆ เราเป็นผู้อันเขาบูชาทุกทิศ ๑ เป็นผู้มีปัญญาคนกล้า ๑
เทวดาทั้งปวงย่อมประพฤติตามเรา ๑ เราย่อมได้โภคสมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
ไม่ขาดสาย ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง. เป็นผู้มีปฏิภาณใน
ที่ทั้งปวง. เป็นผู้ไม่หวั่นไหวต่อมิตร ๑ ยศของเราสูงสุด ๑.
เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง อัน
นางอัปสรแวดล้อมเสวยสุขอันเป็นทิพย์.
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
เมื่อถึงภพสุดท้าย เราประกอบด้วยบุญกรรม เกิดในสกุล
พราหมณ์มหาศาล มั่งคั่งที่สุดในนครสาวัตถี.
เวลาเย็น (วันหนึ่ง)เราต้องการจะเล่น แวดล้อมด้วยพวก
เด็ก ออกจากนครแล้ว เข้าไปสู่สังฆาราม ณ ที่นั้นเราได้เห็น
พระสมณะผู้พ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอุปธิ ท่านแสดงธรรมแก่เรา
และได้ให้สรณะแก่เรา.
เรานั้นฟังสรณะแล้ว ระลึกถึงสรณะของเราได้ นั่งอยู่บน
อาสนะอันหนึ่งได้บรรลุอรหัต เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้
เจ็ดปี พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงรู้คุณของเราแล้ว ทรง
ประทานอุปสมบท ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราได้ถึง
สรณะ กรรมที่เราทำดีแล้วเพียงนั้น ได้ให้ผลแก่เรา ณ ที่นี้.
สรณะเรารักษาดีแล้ว ความปรารถนาแห่งใจเราตั้งไว้ดี
แล้ว เราได้เสวยยศทุกอย่างแล้ว ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว
ท่านเหล่าใดมีความต้องการฟัง ท่านเหล่านั้นจงฟังเรากล่าว
เราจักบอกความแห่งบทที่เราเห็นเองแก่ท่านทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก ศาสนาของพระชินเจ้า
เป็นไปอยู่ พระองค์ทรงตีกลองอมฤต อันเป็นเครื่องบรรเทา
ลูกศร คือความโศกได้ ท่านทั้งหลายพึงทำสักการะอันยิ่งใน
บุญเขตอันยอดเยี่ยม ตามกำลังของตน.
ท่านทั้งหลายจักพบนิพพาน ท่านทั้งหลายจงรับไตรสรณ-
คมน์ จงรับศีล ๕ ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว จัก
ทำที่สุดทุกข์ได้ ท่านทั้งหลายจงยกเราเป็นสาวกอย่าง รักษาศีล
แล้ว แม้ทุกท่านก็จักได้บรรลุอรหัตโดยไม่นานเลย.
เราเป็นผู้มีวิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธี ฉลาดในเจโตปริยญาณ
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ขอ
ถวายบังคม จรณะของพระศาสดา ในกัปอันประมาณมิได้แต่
กัปนี้เราได้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลในการถึงสรณคมน์.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งขัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระตีณิสรณาคมนิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตีณิสรณาคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
๒๓. อรรถกถาตีณิสรณคมนิยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระตีณิสรณคมนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร
พนฺธุมติยา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพันธุมดีนคร ได้อุปัฏฐาก
มารดาและบิดาผู้บอด. วันหนึ่ง ท่านคิดว่า เราเมื่ออุปัฏฐากมารดาบิดาก็
จะไม่ได้บวช ถ้ากระไร เราจักยึดเอาสรณะ ๓ จักพ้นจากทุคติได้ด้วย
ประการนี้ ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาพระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี ชื่อว่านิสภะแล้วถือเอาสรณะ ๓. ท่านรักษาสรณะ๓นั้น
ตลอดแสนปี ด้วยกรรมนั้นเองจึงบังเกิดในภพชั้นดาวดึงส์ เบื้องหน้าแต่
นั้นได้ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลมหาศาลในกรุงสาวัตถี รู้เดียงสาแล้ว
อายุ ๗ ขวบเท่านั้น แวดล้อมไปด้วยเด็กทั้งหลา ได้ไปยังสังฆารามแห่ง
หนึ่ง. ในที่นั้นพระเถระผู้ขีณาสพรูปหนึ่ง แสดงธรรมแก่ท่านแล้วได้ให้
สรณะทั้งหลาย. ท่านถือเอาสรณะเหล่านั้น ระลึกถึงสรณะที่คนเคยรักษา
มา เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เธอ
ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วอุปสมบท.
ท่านบรรลุพระอรหัตได้อุปสมบทแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของคน.
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจโสมนัส. จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
๑. บาลี เป็น ตีณิสรณาคมนิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
นคเร พนฺธุมติยา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตุปฏฺาโก อหุ
เชื่อมความว่า เราอุปัฏฐากเลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ในพันธุมดีนคร.
บทว่า ตมนฺธการปิหิตา ความว่า ผู้อันความมืดคือโมหะปิดบัง
ไว้. บทว่า ติวิธคฺคีหิ ฑยฺหเร เชื่อมความว่า สัตว์ทั้งปวงถูกไฟ ๓ กอง
คือ ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ เผาผลาญแล้ว
บทว่า อฏฺ เหตู ลภามห ความว่า เราได้เหตุ ๘ ประการ คือ
เหตุอันเป็นปัจจัยแห่งความสุข. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาตีณิสรณคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
[๒๖] เวลานั้น เราเป็นคนทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี เรามัว
ประกอบในการนำมาซึ่งการงานของผู้อื่น จึงไม่ได้บวช โลก
ทั้งหลายถูกความมืดใหญ่หลวงปิดบังแล้ว ย่อมถูกไฟ ๓ กอง
เผา เราควรจะปลีกตัวออกไปด้วยอุบายอะไรหนอ.
ไทยธรรมของเราไม่มี และเราเป็นคนยากไร้ ทำงาน
รับจ้างอยู่ ถ้ากระไร เราพึงรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์เถิด.
เราจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อนี้นสภะ ผู้เป็นสาวกของพระมุนี
พระนามว่าอโนมทัสสี แล้วได้รับสิกขาบท ๕.
เวลานั้น เรานี้อายุแสนปี เรารักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์
ตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อเวลาใกล้ตายมาถึงเข้า ทวยเทพย่อม
ยังเราให้ชื่นชม (เชื้อเชิญเรา) ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียม
ด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏแล้วเพื่อท่าน.
เมื่อจิตดวงสุดท้ายเป็นไป เราได้ระลึกถึงศีลของเรา ด้วย
กรรมดีที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็น
จอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง แวดล้อมด้วย
นางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่.
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเคลื่อนจากเทวโลก มาเถิด
ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครเวสาสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
เมื่อศาสนาของพระชินเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่ มารดาและบิดา
ของเราได้รับสิกขาบท ๕ในเวลาเข้าพรรษา เราฟังเรื่องศีลอยู่
พร้อมกับมารดาบิดา จึงระลึกถึงศีลของเราได้ เรานั่งอยู่
บนอาสนะอันเดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว.
เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้ ๕ ปี พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ
ทรงทราบคุณของเราแล้ว ได้ประทานอุปสมบทให้เรา เรา
รักษาสิกขาบท ๕ ให้บริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลย
ตลอดกัปหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรานั้นได้เสวยยศเพราะ
กำลังแห่งศีลเหล่านั้น.
เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้เสวยแล้ว โดยจะนำมา
ประกาศตลอดโกฏิกัป ก็พึงประกาศได้เพียงส่วนเดียว.
เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือเรา
เป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑.
เมื่อประกาศผลของศีลทั้งปวงกะหมู่มนุษย์อันมีประมาณ
ยิ่ง เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้ฐานะเหล่านี้.
พระสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลาย ประพฤติอยู่ในศีล
หาประมาณมิได้ ถ้าจะพึงยินดีอยู่ในภพ จะพึงมีผลเช่นไร.
เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติแล้ว
เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ด้วยศีลนั้น ในกัปอัน
ประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสันภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้
อภิญญา ๖ เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน
๒๔. อรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน
อปทานแห่งท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า นคเร
จนฺทวติยา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เป็น
คนขัดสนตามสมควรแก่กุศลกรรมที่คนทำไว้ในภพก่อน จึงมีข้าวน้ำและ
โภชนะน้อย ทำการรับจ้างคนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ รู้ถึงโทษในสงสาร แม้
ประสงค์จะบวชก็มิได้บวช สมาทานศีล ๕ ในสำนักของท่านนิสภเถระ
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี. รักษาศีลตลอดแสนปี
เพราะคนเกิดในกาลมีอายุยืน. ด้วยกรรมนั้นท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลมหาศาลในกรุง
สาวัตถี. เห็นมารดาบิดาสมาทานศีล ระลึกถึงศีลของตน เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตบวชแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้.
บทว่า ภตโก อาสห ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราบำเพ็ญบุญ
เราเป็นคนรับจ้างคือเป็นผู้กระทำการงานเพื่อค่าจ้าง. บทว่า ปรกมฺมายเน
ยุตฺโต ความว่า เราประกอบแล้วคือกระทำแล้วซึ่งการทำการงานของผู้อื่น
เพื่อค่าจ้าง จึงไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากสงสาร เพราะ
ไม่มีโอกาส.
บทว่า มหนฺธการปิหิตา ความว่า ผู้อันความมืดคือกิเลสใหญ่
ปิดกันไว้. บทว่า ติวิธคฺคีหิ ฑยฺหเร ความว่า อันไฟ ๓ กองกล่าวคือ
ไฟคือนรก ไฟคือเปรต ไฟคือสงสาร หมกไหม้อยู่. อธิบายว่า เราพึง
เป็นผู้ปลีกตนออกไปด้วยอุบายนั้น คือด้วยเหตุนั้น. อธิบายว่า ไทยธรรม
คือวัตถุที่ควรจะพึงให้มีข้าวและน้ำเป็นต้นของเราไม่มี เพราะไม่มีข้าว
และน้ำเป็นต้นนั้น เราจึงเป็นคนกำพร้าทุกข์ยาก ต้องทำการรับจ้าง
เลี้ยงชีพ. คำว่า ยนฺนูนาห ปญฺจสีล รกฺเขยฺย ปริปูรย ความว่า เราพึง
สมาทานศีล ๕ ให้บริบูรณ์. ถ้ากระไรแล้ว เราพึงรักษา คือคุ้มครองให้ดี
เจริญงาม.
บทว่า สฺวาห ยสมนุภวึ ความว่า เรานั้นเสวยยศใหญ่ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายเนืองๆ ด้วยอานุภาพแห่งศีลเหล่านั้น. อธิบายว่า การ
ยกย่องผลของศีลเหล่านั้นแม้สิ้นโกฏิกัป พึงประกาศทำให้ปรากฏเพียง
ส่วนเดียวเท่านั้น. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๕ (๒๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา
[๒๗] เราได้ปีติอย่างยิ่ง เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มี
พระฉวีวรรณดังทองคำ พระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จดำเนิน
อยู่ในระหว่างตลาด เช่นกับเสาค่ายทอง มีพระลักษณะ
ประเสริฐ ๓๒ ประการ ดังดวงประทีปส่องโลกให้โชติช่วง
หาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ฝึกพระองค์แล้ว ทรงความ
รุ่งเรือง.
เราถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระองค์ผู้มหามุนี
ให้เสวย พระมุนีผู้ประกอบด้วยกรุณาในโลก ทรงอนุโมทนา
แก่เราในกาลนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
พระมหากรุณาพระองค์นั่น ทรงทำความชื่นชมอย่างยิ่งแล้ว
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในเวลานั้น ด้วย
ผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ภิกษา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอันนสังสาวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
๒๕. อรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน
อปทานแห่งท่านพระอันนสังสาวกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณ-
วณฺณ สมฺพุทธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล
แห่งหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้งดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เเละ
มณฑลแห่งพระรัศมีด้านละวา กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส
เชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้านำไปสู่เรือน ให้บริโภคอิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าว
และน้ำอันประเสริฐ. ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้นนั่นแล ท่านจุติจากอัตภาพ
นั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ ต่อจากนั้นเสวยเทวสมบัติและ
มนุษย์สมบัติบ่อยๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เลื่อมใส
ในพระศาสนาแล้วบวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. ท่าน
ได้เป็นมีผู้นามปรากฏว่า อันนสังสาวกเถระ ด้วยอำนาจนามแห่งบุญที่ตน
ทำไว้ในกาลก่อน.
อยู่มาภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพวริตาปทานของตน ด้วยอำนาจอุทานว่า เราบรรลุพระอรหัต
ด้วยอานุภาพแห่งบุญสมภารนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
สุณฺณวณฺณ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด
มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น
ชื่อว่ามีวรรณะเพียงว่าวรรณะแห่งทอง. ซึ่งพระสัมพุทธะคือพระสิทธัตถะ
ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทองพระองค์นั้น. บทว่า คจฺฉนฺต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
อนฺตราปเณ ความว่า ผู้เสด็จไปอยู่ในระหว่างทางแห่งแถวร้านของ
พ่อค้าทั้งหลาย. บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาส เชื่อมความว่า เห็นพระ.
สิทธัตถะเสมือนกับเสาระเนียดอันสำเร็จด้วยทอง มีพระลักษณะ ๓๒ คือ
สมบูรณ์ด้วย พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ผู้ยังโลกให้โชติช่วง คือผู้เป็น
ดุจประทีปส่องโลกทั้งสิ้นไม่มีประมาณคือเว้นจากประมาณ ไม่มีผู้ใดเปรียบ
คือเว้นจากผู้เปรียบเทียบ ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระรัศมี
คือทรงไว้ซึ่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ได้รับปีติอย่างยิ่งคือสูงสุด. คำที่
เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั่นแล.
จบอรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
ธูปทายเถราปทานที่ ๖ (๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธูป
[๒๘] เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายธูปไว้ในพระคันกุฎีของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น ๆ เราย่อมเป็นที่รักของชนแม้ทั้งหมด นี้เป็นผล
แห่งการถวายธูป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายธูปใดในเวลานั้น ด้วย
ผลแห่งการถวายธูปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายธูป.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
ได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระธูปทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบธูปทายกเถราปทาน
๒๖. อรรถกถาธูปทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระธูปทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ดูก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ กระทำการ
บูชาด้วยธูปเป็นอันมาก ที่ตนกระทำด้วยไม้จันทน์ กฤษณา และกระ-
ลำพักเป็นต้น. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสมบัติทั้ง ๒ คือในเทวดาและ
มนุษย์ เป็นผู้ควรบูชาในภพที่บังเกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในเรือนแห่งตระกูลแห่งหนึ่ง บวชในพระศาสนา ด้วยอานุภาพแห่งกุศล
สมภาร เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต โดยชื่อปรากฏในที่ทุกสถาน
ว่า ธูปทายกเถระ เพราะได้กระทำบุญคือการบูชาด้วยธูป. ท่านได้บรรลุ
พระอรหัตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะแสดง
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้. ประโยชน์
กล่าวคือพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด สำเร็จ
บริบูรณ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น พระนามว่าสิตธัตถะ อธิบายว่า
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะพระองค์นั้น ผู้ทรงคุณมีความ
เป็นผู้จำแนกแจกธรรมเป็นต้น ผู้ประเสริฐที่สุดโนโลก ผู้สูงสุดในโลก
ทั้งสิ้น. ผู้คงที่ คือผู้คงที่ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. คำที่
เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบธูปทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
ปุลินปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๗)
ว่าด้วยผลแห่งการเกลี่ยทราย
[๒๙] เราขนเอาทรายเก่าที่โพธิมณฑลอันอุดม แห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสีออกทิ้ง แล้วเกลี่ยทรายอัน
สะอาดไว้.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทรายใด ด้วยผลการ
ถวายทรายนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายทราย.
ในกัปที่ ๕๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาครอบครองคน
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีกำลังมาก มีพระนามว่ามหาปุลินะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปุลินปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุลินปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
๒๗. อรรถกถาปุลินปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปุลินปูชกเถระ มีคำเรื่มค้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง มีจิต
เลื่อมใสในพระศาสนา นำทรายเก่า ๆ ที่เนินแห่งเจดีย์และเนินโพธิ์ออก
แล้วเกลี่ยทรายขาวเสมือนกับเกล็ดแก้วมุกดาใหม่ ๆ แล้วประดับพวงมาลัย.
ด้วยกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพย์สมบัติในวิมานทองหลาย
โยชน์ รุ่งโรจน์ไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์ในที่นั้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เสวยมนุษย์สมบัติ
ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลหนึ่งที่สมบูรณ์
ด้วยสมบัติ เลื่อมใสในพระศาสนาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระ-
อรหัตแล้ว. ท่านปรากฏโดยนามที่เหมือนกันนามแห่งบุญที่ตนกระทำไว้ว่า
ปุลินปูชกเถระ ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเกิดโสมนัส เมื่อจะแสดงปุพพจริตา-
ปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้. ในคำนั้น ชื่อว่า
วิปสฺสี เพราะเห็นต่าง ๆ หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นแจ้งแทงตลอด
หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นประโยชน์ ต่างด้วยประโยชน์ตน และ
ประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้นต่าง ๆ หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นสภาวธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
อันต่างโดยบัญญัติและปรมัตถ์เป็นต้นต่างๆ ที่ขนทรายเก่าๆ ทิ้งเกลี่ยทราย
ใหม่ ๆ อันขาวบริสุทธิ์ ที่ต้นโพธิ์อันสูงสุด คือที่โรงกลมแห่งโพธิพฤกษ์
อันสูงสุด. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปุลินปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
อุตติยเถราปทานที่ ๘ (๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการส่งข้ามฟาก
[๓๐] เวลานั้น เราเป็นจระเข้อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา
ขวนขวายหาเหยื่อของตน ได้ไปยังท่าน้ำ สมัยนั้น พระ-
สยัมภูผู้อัครบุคคลพระนามว่าสิทธัตถะ พระองค์ประสงค์จะ
เสด็จข้ามแม่น้ำ จึงเสด็จเข้ามาสู่ท่าน้ำ.
ก็เมื่อพระสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึง แม้เราก็มาถึงที่ท่าน้ำนั้น
เราได้เข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า เชิญ
เสด็จขึ้น (หลังข้าพระองค์) เถิด พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์
จักข้ามส่งพระองค์ ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์วิสัยของความ
เป็นบิดาแก่ข้าพระองค์เถิด พระมหามุนีเจ้าข้า พระมหามุนี
ทรงสดับคำทูลเชิญของเราแล้วเสด็จขึ้น (หลัง) เราร่าเริง มีจิต
ยินดี ได้ข้ามส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายกของโลก ที่ฝั่ง
แม่น้ำโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสิทธัตถะผู้นายกของโลก ทรง
ยังเราให้พอใจ ณ ที่นั้นว่า ท่านจักได้บรรลุอมตธรรม.
เราเคลื่อนจากกายนั่นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลกแวดล้อมด้วย
นางอัปสร เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ เราได้เป็นจอมเทวดา
เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๗ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็น
ใหญ่ในแผ่นดิน ๓ ครั้ง.
เราขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวมแล้วด้วยดี
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ข้ามส่งพระนราสภ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการข้ามส่งพระ
นราสภ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุตติยเถราปทาน
๒๘. อรรถกถาอุตติยเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุตติยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า จนฺทภาคานทีตีเร
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดเป็นจระเข้ในแม่น้ำ
ชื่อว่าจันทภาคา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ฝั่งแม่น้ำ มีจิต
เลื่อมใส ประสงค์จะนำไปสู่ฝั่ง จึงนอนที่ใกล้ฝั่งนั่นเอง. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าวางพระบาททั้งสองไว้บนหลัง เพื่ออนุเคราะห์แก่จระเข้นั้น. เธอ
ยินดี มีใจฟูขึ้น เกิดความอุตสาหะมากด้วยกำลังแห่งปีติ จึงว่ายตัดกระแส
น้ำ รีบนำพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่ฝั่งโน้น โดยเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความเลื่อมใสแห่งจิตของเธอ จึงทรงพยากรณ์ว่า จระเข้นี้ จุติจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
อัตภาพนี้แล้วจักบังเกิดในเทวโลก จำเดิมแต่นั้น เธอก็ท่องเที่ยวไปใน
สุคตินั่นเอง ในกัปที่ ๘๔ แต่ภัทรกัปนี้ จักบรรลุอมตนิพพาน ดังนี้แล้ว
ก็เสด็จหลีกไป.
เธอท่องเที่ยวไปในสุคตินั้นแหละเหมือนอย่างนั้น ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี. พวกพราหมณ์
ได้ตั้งชื่อเธอว่า อุตติยะ. เธอเจริญวัยแล้ว คิดว่า เราจักแสวงหาอมตธรรม
จึงบวชเป็นปริพาชก วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าถวาย
บังคมแล้วฟังธรรม เป็นผู้ใดศรัทธา บวชในพระศาสนา เพราะความที่
ตนไม่ชำระศีลและทิฏฐิให้หมดจด จึงไม่อาจให้คุณวิเศษบังเกิดได้ เห็น
ภิกษุรูปอื่นยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้น พยากรณ์พระอรหัตผล จึงเข้าไปเฝ้า
พระศาสดาทูลขอโอวาทโดยสังเขป. ฝ่ายพระศาสดา ได้ประทานโอวาทแก่
เธอโดยสังเขปนั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล อุตติยะ เธอ
จงชำระเบื้องต้นนั่นแลให้หมดจด. เธอตั้งอยู่ในโอวาทเริ่มวิปัสสนาแล้ว.
เมื่อเธอเริ่มวิปัสสนาอาพาธเกิดขึ้นแล้ว เมื่ออาพาธเกิดขึ้น เธอเกิดความ
สังเวช ทราบถึงเรื่องการปรารภความเพียร จึงเจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัตแล้ว.
ท่านบรรลุพระอรหัตผล ตามสมควรแก่กุศลสมภารที่ได้บำเพ็ญมา
ด้วยประการฉะนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทภาคานทีตีเร ความว่าชื่อว่า จันทภาคานที
เพราะเปล่งแสงสว่างประกอบด้วยสิริอันกลมกลืนกับแสงสว่างแห่งดวง-
จันทร์ กระทำเสียงไหลไปตามพื้นทรายขาวสะอาด และเพราะสมบูรณ์ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
รัศมี และด้วยน้ำใสและมีรสอร่อย. เชื่อมความว่า เราได้เป็นจระเข้
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำจันทภาคานั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุมาโร
ความว่า ชื่อว่า สุงสุมาระ เพราะกระทำการฆ่าฝูงปลาเล็ก ๆ ให้เป็นชิ้นเล็ก
ชิ้นน้อย ความว่า ปลาร้ายคือจระเข้ บทว่า สโภชนปสุโตห ความว่า
เราขวนขวายคือพยายามในโภชนะของตนคือในที่หาอาหารของตน. บทว่า
นทีติตฺถ อคจฺฉห ความว่า ในกาลเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เรา
ได้ไปถึงท่าแม่น้ำ.
บทว่า สิทฺธตฺโถ ตมฺหิ สมเย ความว่า ในกาลที่เราไปสู่ท่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะเป็นบุคคลเลิศ ประเสริฐสุดในหมู่
สัตว์ทั้งปวง แม้พระสยัมภู คือผู้เป็นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ
แล้ว ปรารถนาจะข้ามฝั่ง คือเข้าถึงฝั่งแม่น้ำ. บทว่า เปตฺติก วิสย มยฺห
ความว่า การที่เรานำพระองค์ให้ข้ามจากแม่น้ำให้อันบิดาและปู่เป็นต้น
นำสืบกันมานั้น เป็นการข้ามไปแห่งมหานุภาพ อันเราให้สำเร็จเรียบ
ร้อยแล้ว. บทว่า มม อุคฺคชฺชน สุตฺวา เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้มหามุนี ทรงสดับคำเชื้อเชิญของเราเสด็จขึ้นแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้ง
นั้นแล.
จบอรรถกถาอุตติยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
เอกัญชลิกเถราปทานที่ ๙ (๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลี
[๓๑] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้นี้พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดัง
ทอง พระนานว่าวิปัสสี เลิศกว่าผู้นำหมู่ เป็นนระผู้แกล้ว-
กล้า ทรงแนะนำดี ทรงฝึกผู้ที่ยังมิได้ฝึก ผู้คงที่ ทรงมี
วาทะมาก มีมติมาก เสด็จดำเนิน ระหว่างตลาด จึงมีจิต
เลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ประนมอัญชลีไหว้.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ประนมอัญชลีไหว้อันใด
เวลานั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การประนมอัญชลีไหว้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกัญชลิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
๒๙. อรรถกถาเอกัญชลิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเอกัญูชลิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณ
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสีกำลังเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ยืน
ประคองอัญชลีอยู่แล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ควรแก่การบูชาในทุกสถาน เสวยสมบัติทั้งสอง ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เลื่อมใสในพระ-
ศาสนา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. ด้วยอำนาจ
แห่งบุญที่บำเพ็ญมาในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า เอกัญชลิกเถระ
ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เห็นบุพกรรมนั้น เหมือนผลมะขาม-
ป้อมอยู่ในฝ่ามือ เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สุวณฺณวณฺณ ดังนี้. บทว่า วิปสฺสึ สตฺถวาหคฺค ความว่า ชื่อว่า
สัตถวาหะ เพราะนำพวกพ่อค้าเกวียนให้ข้ามกันดาร. อธิบายว่า ให้ข้าม
คือให้ข้ามขึ้น ให้ข้ามออก ให้ข้ามพ้น จากวาฬกันดาร โจรกันดาร ทุพ-
ภิกขกันดาร ยักขกันดาร อัปปภักขกันดาร (กันดารมีภักษาน้อย) ให้ถึง
ภูมิอันเป็นแดงเกษม. ใครนั้น ชื่อว่า เป็นหัวหน้าใหญ่แห่งพ่อค้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ชื่อว่าสัตถวาหะ ผู้นำพวกพ่อค้าเกวียน เพราะเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
เสมือนผู้นำพวก. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมยังเหล่าสัตว์ ผู้
ปรารถนาพระโพธิญาณ ๓ อย่าง ผู้ใดสร้างบุญสมภารไว้ให้ข้าม คือให้ขึ้น
ให้ข้ามออก ให้ข้ามพ้น จากชาติกันดาร จากพยาธิกันดาร จากมรณกันดาร
และจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสและอุปายาสกันดาร จากสงสารกันดาร
ทั้งปวง อธิบายว่า ให้ถึงบกคือพระนิพพาน. ชื่อว่า สตฺลวาหคฺโค เพราะ
ท่านเป็นผู้นำหมู่พ่อค้าเกวียนผู้เลิศ ประเสริฐและเป็นประธาน เชื่อมความ
ว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้นำหมู่พ่อค้าเกวียนผู้เลิศนั้น.
บทว่า นรวร วินายก ความว่า ซึ่งเป็นนระผู้แกล้วกล้าเพราะมีความบากบั่น.
ไม่ย่อหย่อน ในระหว่างแห่งนระทั้งหลาย. ซึ่งท่านผู้ชื่อว่านายกะ เพราะนำ
สัตว์ทั้งหลายผู้ได้สร้างบุญสมภารไว้โดยพิเศษ ให้ถึงนครคือนครนิพพานนั้น.
บทว่า อทนฺตทมน คาทึ ซึ่งท่านผู้ชื่อว่า ผู้ฝึกผู้อื่นผู้ยังไม่ฝึก
เพราะฝึกเหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้ฝึก ด้วยกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร
อันประกอบด้วยกิเลสมีราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้น ซึ่งผู้ชื่อว่าคงที่
เพราะประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐา-
รมณ์เป็นต้น. บทว่า มหาวาทึ มหมตึ ความว่า ผู้ชื่อว่า มหาวาที
เพราะมีปกติอยู่ด้วยบุคคลผู้ยิ่งกว่าคน ในระหว่างแห่งบุคคลผู้กล่าวถึงลัทธิ
ของตนและลัทธิของบุคคลอื่น มติอันใหญ่อันเสมอด้วยแผ่นดิน และเสมอ
ด้วยภูเขาสุเมรุของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่ามีมติใหญ่. คำว่า มหามติ นั้น
เป็นตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส โดยนัยมีอาทิว่า มหาวาท มหามตึ
สมฺพุทฺธ ดังนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเอกัญชลิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
โขมทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งกาลถวายผ้าโขมะ
[๓๒] เวลานั้น เราเป็นพ่อค้าอยู่ในนครพันธุมดี ด้วยการค้า
ขายนั้น เราได้เลี้ยงดูภริยา และก่อสร้างกุศลสมบัติ เราต้อง
การกุศล ได้ถวายผ้าโขมะผืนหนึ่งแด่พระศาสดาพระนามว่า
วิปัสสี ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่หลวง เสด็จดำเนินอยู่ในถนน.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เวลานั้น เราได้ถวายผ้าโขมะใด
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการถวายผ้า
โขมะในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่า สินธวสันทนะ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ประการ เป็นใหญ่
ในทวีปทั้ง ๔.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโขมทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโขมทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
๓๐. อรรถกถาโขมทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระโขมทยกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร พนฺธุ-
มติยา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง เจริญวัยเเล้ว เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา นับถือพระรัตนตรัยว่าเป็น
ของของเรา ฟังธรรมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี มีใจ
เลื่อมใส ได้กระทำการบูชาด้วยผ้าไหม. ท่านได้กระทำผ้าไหมนั้นนั่นแล
ให้เป็นมูลค่า ทำบุญตลอดชีวิต จากนั้นก็บังเกิดในเทวโลก. เสวยทิพย-
สุขไปมาในเทวดา ๖ ชั้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยมนุษยสมบัติมี
อย่างต่าง ๆ มีจักรพรรดิเป็นต้น ในมนุษยโลก เมื่อบุญสมภารถึงความแก่
รอบแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล ในพุทธุปบาทกาลนี้เจริญวัยแล้ว ฟัง
ธรรมในสำนักของพระศาสดาได้ศรัทธาแล้วบรรพชา เจริญวิปัสสนา ไม่
นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญที่ตนได้ทำไว้ว่า
โขมทายกเถระ.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของคน เกิดโสมนัส เมื่อจะแสดงปุพพจริตา.
ปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร พนฺธมติยา ดังนี้ . ในคำนั้น ญาติ
ท่านเรียกว่า พันธุ พวกพ้องอยู่สืบต่อกัน มาในนครใด นครนั้นท่านเรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
ว่า พันธุมดี. คำว่า โรเปมิ พีชสมฺปท ความว่า เราปลูก คือเริ่มตั้งพืช-
สมบัติ คือบุญ มีทานและศีลเป็นต้น.
จบอรรถกถาโขมททายกเถราปทาน
จบอรรถกถาสุภูติวรรคที่ ๓
จบอรรถกถาจตุภาณวาร
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุภูติเถราปทาน ๒. อุปวาณเถราปทาน ๓. ตีณิสรณาคมนิย-
เถราปทาน ๔. ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน ๕. อันนสังสาวกเถรา-
ปทาน ๖. ธูปทายกเถราปทาน ๗. ปุลินปูชกเถราปทาน ๘. อุตติ-
เถราปทาน ๙. เอกัญชลิกเถราปทาน ๑๐. โขมทายกเถราปทาน.
คาถารวมทั้งหมดที่ท่านกล่าวไว้มี ๑๘๕ คาถา.
จบสุภูติวรรคที่ ๓
จบภาณวารที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
กุณฑธานวรรคที่ ๔
กุณฑธานเถราปทานที่ ๑ (๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
[๓๓] เรามีจิตเลื่อมใส ได้บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ซึ่งหลีกเร้นอยู่ตลอด ๗ วัน เรา
รู้เวลาที่พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ได้ถือผลกล้วยใหญ่
เข้ารูปถวายพระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพญญูผู้นำของโลก เป็นมหามุนี
ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ทรงรับไว้แล้วเสวย พระสัม-
พุทธเจ้า ผู้ทรงนำหมู่ชั้นยอดเยี่ยมเสวยแล้ว ประทับนั่งบน
อาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ยักษ์เหล่าใดประชุมกันอยู่ที่ภูเขานี้ และคณะภูตในป่า
ทั้งหมดนั้น จงฟังคำเรา ผู้ใดบำรุงพระพุทธเจ้าผู้เที่ยง ดัง
ไกรสรราชสีห์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรา
กล่าว
ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราช ๑๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง ในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนาม
ว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-
ราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นได้ด่าสมณะทั้งหลายผู้มีศีล หาอาสวะมิได้ จักได้ชื่อ
(อันเหมาะสม ) ด้วยวิบากแห่งกรรมอันลามก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
เขาจักได้เป็นโอรสทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์
นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จักเป็นพระสาวกมีชื่อว่ากุณฑธานะ.
เราประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสงัด เพ่งฌาน ยินดีใน
ฌาน ยังพระศาสดาให้ทรงโปรดปราน ไม่มีอาสนะอยู่.
พระชินเจ้าอันพระสาวกทั้งหลายแวดล้อม ห้อมล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงให้เรารับ
การแจกสลาก.
เราห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาผู้นำ
ของโลก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ได้รับสลากที่หนึ่งไว้
ข้างหน้าของผู้ประเสริฐ.
ด้วยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังหนุนโลกธาตุให้
หวั่นไหว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ใน
อัครฐานะ.
เรามีความเพียรอันนำซึ่งธุระ นำความเกษมจากโยคะมา
ให้ เราทรงกายเป็นที่สุดไว้ ในศาสนาของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุณฑธานเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบกุณฑธานเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
กุณฑธานวรรคที่ ๔
๓๑. อรรถกถากุณฑธานเถราปทาน
อปทานของท่านพระกุณฑธานเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตาห
ปฏิสลฺสีน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ใน
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมตตระ ท่านเกิดในเรือนมี
ตระกูลในพระนครหังสวดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นแล. ฟังธรรมอยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงแต่ง
ตั้งไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศแห่งภิกษุผู้จับสลากก่อน ปรารถนาตำแหน่งนั้น
กระทำบุญสมควรแก่ฐานันดรนั้น ท่องเที่ยวไปแล้ว. ครั้นวันหนึ่งเขาได้
น้อมถวาย เครือกล้วยใหญ่สีเหลืองเหมือนจุณแห่งมโนศิลา แค่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว
ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเครือกล้วยนั้นแล้วเสวย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเสวยราชสมบัติทิพย์ในหมู่เทพ ๑๑ ครั้ง ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๔ ครั้ง เขากระทำบุญบ่อย ๆ อย่างนี้ แล้ว
ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นภุมมเทวดา ในกาล
ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ.
ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าผู้ทรงอายุยืนทั้งหลาย. ย่อมไม่มีอุโบสถทุก ๆ
ถึงเดือน จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้
มีอุโบสถในระหว่าง ๖ ปี. ส่วนพระทศพลทรงพระนามว่ากัสสปะ สวด-
ปาติโมกข์ทุก ๆ ๖ เดือน. ในการสวดปาติโมกข์นั้น ภิกษุผู้เป็นสหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
กัน ๒ รูป ผู้อยู่ประจำ เดินไปด้วยคิดว่าจักกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดา
คนนี้ คิดว่าภิกษุ ๒ รูปนี้ รักกันแน่นหนาเหลือเกิน เมื่อมีผู้ทำลาย จะ
แตกกันหรือไม่หนอ. มองหาโอกาสเพื่อภิกษุทั้งสองอยู่ เดินไปไม่ห่างภิกษุ
ทั้งสองนั้นนัก. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ให้พระเถระอีกรูปหนึ่งถือบาตร
และจีวรไว้ เดินไปสู่ที่ ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อขับถ่ายสรีระ ล้างมือล้างเท้า
แล้วออกจากที่ใกล้พุ่มไม้. ภุมมเทวดาแปลงเพศเป็นหญิงรูปงามเดินตาม
หลังพระเถระนั้น ไป ทำประหนึ่งสยายผมแล้วเกล้าใหม่ ทำประหนึ่งว่า
ปัดฝุ่นออกจากข้างหลัง และทำประหนึ่งว่านุ่งห่มผ้าสาฎกใหม่ เดินตาม
หลังพระเถระออกจากพุ่มไม้แล้ว. พระเถระผู้เป็นสหายยืนอยู่ ณ ส่วนช้าง
หนึ่ง เห็นเหตุนั้นแล้วเกิดโทมนัส คิดว่า บัดนี้ความรักที่ติดต่อกันมาเป็น
เวลานาน กับภิกษุนี้ฉิบหายแล้ว ถ้าเราพึงรู้ว่าเธอเป็นผู้มีกิเลสอย่างนี้
เราจักไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ เมื่อ
พระเถระมาถึงเท่านั้นก็กล่าวว่า นิมนต์รับเอาบาตรจีวรองท่านไปเถิด
ผู้อาวุโส เราไม่ปรารถนาจะร่วมทางกับผู้ที่ลามกเช่นท่าน. หทัยของภิกษุ
ผู้ลัชชีนั้น ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ได้เป็นประหนึ่งถูกหอกที่คมกริบเสียบแล้ว.
ลำดับนั้น ลัชชีภิกษุนั้น จึงพูดกับ พระเถระผู้เป็นสหายว่า อาวุโส ท่าน
พูดอะไรเช่นนั้น เรายังไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏตลอดเวลาที่ประมาณ
เท่านี้ ก็วันนี้ท่านกล่าวเราเป็นคนลามก ท่านเห็นอะไรหรือ ? พระเถระ
ผู้เป็นสหายจึงพูดว่า เรื่องอื่นที่เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ท่านออกมาใน
ที่เดียวกัน กับมาตุคามผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วอย่างนี้หรือ. พระเถระผู้
ลัชชีกล่าวว่า อาวุโส เรื่องนี้ไม่มีแก่เราเลย เราไม่เห็นมาตุคามเห็นปานนี้
เลย. แม้เมื่อพระเถระผู้ลัชชีจะกล่าวอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง พระเถระนอกนี้ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
ไม่เชื่อถ้อยคำ ยึดถือเอาเหตุที่คนเห็นแล้วนั้นแหละว่าเป็นเรื่องจริง. ไม่
เดินทางเดียวกับภิกษุนั้น ไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยทางอื่น.
ต่อแต่นั้นมา ถึงเวลาที่ภิกษุสงฆ์เข้าสู่โรงอุโบสถ ภิกษุนั้นเห็น
ลัชชีภิกษุนั้นในโรงอุโบสถ รู้ชัดแล้วก็ออกไปเสียด้วยคิดว่า ภิกษุเช่นนี้
มีอยู่ในโรงอุโบสถนี้ เราจักไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ ดังนี้แล้วได้ยืน
อยู่ในภายนอก. ลำดับนั้น ภุมมเทวดาคิดว่า เราทำกรรมหนักหนอ แล้ว
แปลงเพศเป็นอุบาสกแก่ไปยังสำนักของภิกษุนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ เหตุไฉนพระคุณเจ้า จึงยืนอยู่ในที่นี้. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อน
อุบาสก ภิกษุลามกรูปหนึ่งเข้าไปสู่โรงอุโบสถนี้. เราไม่กระทำอุโบสถ
ร่วมกับเธอ เราคิดดังนี้ จึงออกมายืนอยู่ข้างนอก. ภุนมเทวดา จึงพูดว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอยู่ถืออย่างนี้เลย ภิกษุนี้มีศีลบริสุทธิ์ ชื่อว่า
มาตุคามที่ท่านเห็นแล้ว คือข้าพเจ้าเอง. เพื่อจะทดลองไมตรีของท่าน
ทั้งสองว่า ไมตรีของพระเถระทั้งสองรูปนี้จะมั่นคงหรือไม่มั่นคงหนอดังนี้
ข้าพเจ้าผู้อยากดูความที่ท่านทั้งสองจะแตกไมตรีกันหรือไม่ กระทำกรรม
นั้นแล้ว. ภิกษุนั้นถามว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ก็ท่านเป็นอะไร ภุมมเทวดา
ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นภุมมเทวดาตนหนึ่ง. เทวบุตรเมื่อ
ชี้แจงเสร็จ ก็ไม่ดำรงอยู่ในทิพพานุภาพ หมอบลงแทบเท้าของพระเถระ
อ้อนวอนพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าเถิด
พระเถระไม่รู้โทษนั้น ขอท่านจงทำอุโบสถเถิด ดังนี้แล้วนิมนต์ให้พระ-
เถระเข้าไปสู่โรงอุโบสถ. พระเถระนั้น ได้กระทำอุโบสถในที่เดียวกัน ก่อน
และได้อยู่ในที่เดียวกันกับภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความสนิทสนมอีก ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
ไม่พูดถึงกรรมของพระเถระนี้. ส่วนพระเถระที่ถูกโจทบำเพ็ญวิปัสสนา
บ่อย ๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ภุมมเทวดาไม่รอดพ้นจากภัยในอบายตลอด
ถึงพุทธันครหนึ่ง. ก็ถ้าในเวลาไร มาสู่ความเป็นมนุษย์ โทษที่กระทำ
ไว้ด้วยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น ๆ จะหล่นทับถมเขาทีเดียว ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. เขาเกิดในสกุลพราหมณ์ ในนคร-
สาวัตถี คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า ธานมาณพ. ธานมาณพเจริญวัย
แล้ว เรียนไตรเพทฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาในเวลาแก่. มีศรัทธา
บวชแล้ว. จำเดิมแต่วันที่ท่านอุปสมบทแล้ว สตรีผู้ประดับแล้ว ตกแต่ง
แล้วนางหนึ่งจะปรากฏติดตามท่านอยู่เป็นนิตย์ อย่างนี้คือ เมื่อท่านเข้าบ้าน
ก็เข้าบ้านพร้อมกับท่าน เมื่อท่านออกก็ออกด้วย เมื่อท่านเข้าวิหารก็เข้า
ไปด้วย แม้เมื่อท่านยืนอยู่ก็ยืนอยู่ด้วย.
พระเถระไม่เห็นนางเลย. แต่ด้วยกรรมเก่าของท่าน นางจึงปรากฏ
แก่คนเหล่าอื่น สตรีทั้งหลายเมื่อถวายข้าวยาคู ถวายภิกษาในบ้านจะพากัน
พูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับท่าน อีกกระบวย
หนึ่ง สำหรับหญิงผู้เป็นสหายของเราทั้งหลายคนนี้ ดังนี้แล้ว ทำการ
เย้ยหยัน. เป็นความลำบากอย่างยอดยิ่งแก่พระเถระ. สามเณรและภิกษุ
หนุ่มทั้งหลาย ก็พากัน ห้อมล้อมท่านผู้ไปสู่วิหาร พูดเยาะเย้ยว่า พระธานะ
มีเหี้ยเกิดแล้ว.
ครั้งนั้นท่านจึงเกิดมีนามเพิ่มว่า กุณฑธานเถระ ด้วยเหตุนั้นเอง
ท่านเพียรพยายามแล้วก็ไม่สามารถจะอดกลั้นความเยาะเย้ยอันสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำอยู่ได้ เกิดบ้าขึ้นมาพูดว่า พวกท่านสิเป็นเหี้ย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
อุปัชฌาย์ของพวกท่านก็เป็นเหี้ย อาจารย์ก็เป็นเหี้ย. ลำดับนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลฟ้องแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
กุณฑธานะกล่าวคำหยาบอย่างนี้ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย.
พระศาสดาตรัสสั่งให้เรียกพระกุณฑธานเถระมา ตรัสถามว่า ดูก่อนธานะ
ได้ยินว่า เธอกล่าวคำหยาบกับสามเณรทั้งหลายหรือ เมื่อพระกุณฑธานะ
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นความจริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึง
ตรัสว่า เหตุไฉนเธอจึงกล่าวอย่างนี้. พระกุณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดกลั้นความลำบากเป็นประจำไม่ได้จึงกล่าว
อย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่สามารถจะยังกรรมที่เธอ
ทำไว้ในก่อน ให้สลายไปได้จนถึงวันนี้ เธออย่ากล่าวคำหยาบเห็นปานนี้
อีก ดังนี้แล้วตรัสว่า
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ ผู้ที่เธอกล่าวแล้วพึง
กล่าวตอบเธอ เพราะว่า ถ้อยคำแข่งดีให้เกิดทุกข์ อาชญา
ตอบพึงถูกต้องเธอ ถ้าเธอไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาล
ถูกขจัดแล้ว เธอจักเป็นผู้ถึงพระนิพพาน ความแข่งดีย่อมไม่
มีแก่เธอ ดังนี้.
และชาวเมืองทั้งหลาย ก็กราบทูลความที่พระเถระนั้นท่องเที่ยวไป
กับมาตุคาม แม้แก่พระเจ้าโกศล. พระราชาส่งราชบุรุษไปด้วยตรัสว่า
ดูก่อนพนาย พวกท่านจงไป จงใคร่ครวญดู ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เอง
ก็เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ด้วยบริวารจำนวนน้อย แล้วเสด็จประทับ
ยืนดูอยู่ แม้หญิงนั้นก็ปรากฏ เป็นเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. พระราชา
ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงพระดำริว่า เหตุนี้มีอยู่ จึงเสด็จไปยังที่หญิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
นั้นยืนอยู่ เมื่อพระราชาเสด็จมา หญิงนั้นก็ทำเป็นเหมือนเข้าไปสู่บรรณ-
ศาลา อันเป็นที่อยู่ของพระเถระ.
แม้พระราชา ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลานั้นแหละ พร้อมกับหญิง
นั้น ทรงตรวจดูทั่ว ๆ ไป ก็ไม่เห็น จึงเข้าพระทัยว่า นี้ไม่ใช่มาตุคาม
คงเป็นกรรมวิบากอย่างหนึ่งของพระเถระ แต่ก่อนแม้ถึงจะเสด็จเข้าไปใกล้
พระเถระก็ไม่ไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่าเหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จ
มาไหว้พระเถระแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตบ้างหรือ ? พระเถระ
ทูลว่า พอสนควรอยู่ มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กระผมเข้าใจคำพูดของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้
เศร้าหมองเช่นนี้ ใครเล่าจะเลื่อมใส จำเดิมแต่นี้ไป พระคุณเจ้า ไม่ต้อง
มีกิจที่จะต้องไปในที่ไหนๆ โยมจะบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ขอพระ-
คุณเจ้าจงอยู่ประมาทในโยนิโสมนสิการ ดังนี้แล้ว เริ่มถวายภิกษาเป็น
ประจำ พระเถระได้พระราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะมีโภชนะเป็นที่สบาย เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต จำเดิม
แต่นั้น หญิงนั้นก็หายไป.
ครั้งนั้น มหาสุภัททาอุบาสิกา อยู่ในเรือนแห่งตระกูลที่เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ในอุคคนคร อธิฏฐานอุโบสถด้วยคิดว่า ขอพระศาสดาจงอนุเคราะห์
เราให้เป็นหญิงปราศจากกลิ่นดิบ ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน กระทำ
สัจจกิริยาว่า ขอดอกไม้เหล่านี้ ตั้งอยู่ในภายใน จงตั้งเป็นเพดาน ณ
เบื้องบนพระทศพล. ด้วยสัญญานี้ ขอพระทศพลจงรับ ภิกษาของเรา
พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐รูป ในวันพรุ่งนี้ แล้วเหวี่ยงดอกมะลิไป ๘ กำมือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
ดอกไม้ทั้งหลายลอยไปแล้ว ตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระศาสดา
ในเวลาที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนา. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเพดาน
ดอกมะลินั้นแล้ว ทรงรับภิกษาของนางสุภัททาด้วยใจอย่างเดียว. ใน
วันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณตั้งขึ้นแล้ว จึงตรัสกะพระอานนทเถระว่า ดูก่อน
อานนท์ วันนี้พวกเราจักไปภิกขาจารในที่ไกล. เธออย่าให้สลากแก่ภิกษุ
ที่เป็นปุถุชน จงให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น พระเถระแจ้ง
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระศาสดาจักเสด็จภิกขาจาร
ในที่ไกล ภิกษุที่เป็นปุถุชนอย่ารับสลาก ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้นจง
รับสลากดังนี้ พระกุณฑธานเถระ. เหยียดมือออกไปก่อนทีเดียว โดย
พูดว่า อาวุโส ท่านจงนำสลากมา. พระอานนท์กล่าวว่า พระศาสดาไม่
ตรัสสั่งให้ให้สลากแก่ภิกษุเช่นท่าน ตรัสสั่งให้ให้แก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะ
เท่านั้น ดังนี้แล้วเกิดปริวิตก ไปกราบทูลพระศาสดาแล้ว. พระศาสดา
ตรัสว่า จงให้สลากแก่ผู้ที่ขอ.
พระเถระคิดว่า ถ้าการให้สลากไม่ควรให้แก่พระกุฑธานะ. เมื่อเป็น
เช่นนั้น พระศาสดาพึงห้ามไว้ ในเรื่องนี้ชะรอยจักมีเหตุ จึงย้อนกลับไป
ด้วยคิดว่า เราจักให้สลากแก่พระกุฑธานะ. ก่อนแด่พระอานนท์จะมา
ถึงนั้นแหละ พระกุณฑธานเถระเข้าจุตตถานมีอภิญญาเป็นบาท ยืนอยู่
ในอากาศด้วยฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโส อานนท์ พระศาสดาทรงรู้จักเรา
พระศาสดาไม่ทรงห้ามภิกษุเช่นเรา ผู้จับสลากก่อนหรือหรอก ดังนี้ แล้วยื่น
มือไปจับสลาก, พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัติเหตุ แต่ง-
ตั้งถึงพระเถระไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้จับสลากก่อน.
เพระเหตุที่พระเถระนี้มีพระราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ เพราะได้อาหารอันเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
สบาย จึงมีจิตเป็นสมาธิกระทำกรรมในวิปัสสนา ได้อภิญญา ๖ เพราะ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย. ภิกษุผู้เป็นปุถุชนเหล่าใด เมื่อไม่ได้คุณของ
พระเถระนี้ แม้ผู้เป็นอย่างนี้ว่า ในเวลานั้น ท่านจับสลากนี้ก่อนหรือหนอ.
เพื่อจะกำจัดความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น พระเถระจึงเหาะขึ้นสู่อากาศ
แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ พยากรณ์พระอรหัตผล โดยอ้างพระอรหัตผล จึง
กล่าวคาถาว่า เธอจงตัดเครื่องผูก ๕ ประการ ดังนี้.
ท่านบรรลุพระอรหัต โดยสมควรแก่บุญสมภารที่บำเพ็ญมาแล้ว
อย่างนี้ ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรม เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สตฺตาห ปฏิสลฺลีน ดังนี้. คำที่
เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากุณฑธานเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
สาคตเถราปทานที่ ๒ (๓๒)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
[๓๔] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามชื่อว่า โสภิตะ อัน
บริวารพร้อมด้วยศิษย์แวดล้อมแล้ว ได้ไปยังอาราม สมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อุดมบุรุษ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จ
ออกจากประตูพระอารามแล้วประทับยืนอยู่.
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ฝึกพระองค์แล้ว
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ผู้ฝึกตนแล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อม-
ใสแล้ว เชยชมพระองค์ผู้นำของโลกว่า ต้นไม้ทุกชนิดนั้น
งอกงามนี้แผ่นดิน ฉันใด สัตว์ผู้มีความรู้ ก็ฉันนั้น ย่อมงอก
งามในศาสนาของพระชินเจ้า.
องค์พระสัพพัญญูผู้ทรงนำหมู่แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง
ถอนคนเป็นอันมากออกจากทางผิดแล้ว จรัสบอกทางที่ถูก.
พระองค์ฝึกพระองค์แล้ว แวดล้อมด้วยผู้เพ่งฌาน ทรง
มีความเพียร แวดล้อมด้วยผู้ส่งตนไปแล้ว ผู้สงบระงับและ
ผู้คงที่ ประดับด้วยบริษัท ย่อมงามด้วยพระญาณอันเกิดแต่บุญ
รัศมีของพระองค์รุ่งเรืองดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น.
พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตนะ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่
ทอดพระเนตรเห็นเราผู้มีจิตเลื่อมใส ประทับยืนท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
พราหมณ์ได้ ยังความร่าเริงให้เกิดแล้ว สรรเสริญเรา
พราหมณ์นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากสวรรค์ชั้นดุสิต
แล้วจักบวชในศาสนาของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
โคดม.
ครั้นบวชในศาสนาแล้ว จักได้ความยินดีและความร่าเริง
ก็เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสาคตะ.
เราบวชแล้วเว้นกรรมอันลามกด้วยกาย ละวจีทุจริต ยัง
อาชีพให้บริสุทธิ์ เราเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในเตโชธาตุ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ในมีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสาคตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสาคตเถราปทาน
๓๒. อรรถกถาสาคตเถราปทาน
อปทานของท่านพระสาคตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โสภิโต นาม
นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปะทั้งปวง โดยนาม
ปรากฏนามว่า โสภิตะ ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ ผู้เรียนรู้มาก เรียนไวยากรณ์
แห่งสนิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏุภศาสตร์ พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ
มีอิติหาสศาสตร์เป็นที่ ๕ ผู้ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณ-
ศาสตร์. วันหนึ่ง ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ผู้งดงามด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เสด็จไปอยู่โดยประตูพระอุทยาน
มีใจเลื่อมใสยิ่ง ได้กระทำการชมเชย ด้วยอุบายเป็นอเนก ด้วยการ
สรรเสริญคุณเป็นอเนก. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้น
จึงทรงประทานพยากรณ์ว่า ในอนาคตเธอจักเป็นสาวกนามว่า สาคตะ
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนานว่าโคดม. จำเดิมแต่นั้นท่าน
สั่งสมบุญทั้งหลาย ดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิด
ในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติตลอดแสนกัป เสวยมนุษย์สมบัติในมนุษย์
ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง. มารดา
บิดาของท่านตั้งชื่อว่า สาคตะ เพราะท่านเจริญโสมนัส เกิดดีมาแล้ว.
ท่านเลื่อมใสในพระศาสนา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลโดยสมควรแก่บุญสมภารด้วยประการฉะนี้
แล้ว ได้รับตำแหน่งเอคทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรมของคนแล้ว เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สภิโต นาม นาเมน
ดังนี้.
เชื่อมความว่า ในคำนั้น ในกาลนั้น คือในสมัยที่บำเพ็ญบุญ
สมภาร เราได้เป็นพราหมณ์ โดยชื่อว่า โสภิตะ. บทว่า วิปถา อุทฺธริตฺวาน
ความว่า ยกขึ้น นำออกจากทางผิด คือทางชั่ว หรือจากนอกทาง ให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
คุ้มครองไว้. บทว่า ปถ อาจิกฺขเส ตุว ความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญู
ผู้เจริญ พระองค์ทรงบอกคือตรัสแสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ซึ่งทาง
คือทางแห่งสัตบุรุษ ได้แก่อุบายเป็นเหตุบรรลุพระนิพพาน. คำที่เหลือ
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสาคตเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ (๓๓)
ว่าด้วยผลแห่งการทาทองพระเจดีย์
[๓๕] เราได้ให้ทำแผ่นศิลาไว้แล้ว ได้เอาทองฉาบทาพระเจดีย์
ชื่อปทุม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึงของโลก พระ-
นามว่าปทุมุตตระ และได้กั้นฉัตรอันสำเร็จด้วยแก้ว แล้วเอา
พัดวาลวิชนีพัดถวายพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ผู้
คงที่.
ภุมเทวดามีประมาณเท่าไร มาประชุมกันทั้งหมดในเวลา
นั้น ด้วยความหวังว่า พระศาสดาจักตรัสผลแห่งอาสนะและ
ฉัตรแก้ว.
พวกเราจักฟังพระศาสดาตรัสทั้งหมดนั้น พึงยังคาน
ร่าเริงให้เกิดอย่างยิ่ง ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
พระสยัมภูผู้อัครบุคคล ประทับนั่งบนอาสนะทองแล้ว
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้
ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๑๐ กัป จักมี
รัศมีแผ่ไปโดยรอบตลอดร้อยโยชน์ มาสู้มนุษย์โลกแล้ว จักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า ปภัสสระ จักเป็นผู้มีเดช
อันรุ่งเรือง จักรได้เป็นกษัตริย์มีรัตนะ ๘ ประการโชติช่วงอยู่
โดยรอบ ทั้งกลางคืนกลางวัน ดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น.
ในกัปที่แสน พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพ
ในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
กุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิด จักเป็นบุตร
พราหมณ์ มีนามชื่อว่ากัจจานะ ภายหลังเขาบวชแล้ว จักตรัสรู้
ไม่มีอาสวะอยู่ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติช่วง จักทรงตั้งไว้
ในตำแหน่งอันเลิศ.
ผู้นั้นจักกล่าวปัญหาที่ถูกถามแล้งโดยย่อให้พิสดาร และ
เมื่อกล่าวปัญหานั้น จักยังอัธยาศัยให้เต็ม พราหมณ์ผู้เป็น
อภิชาตบุตรในสกุลอันมั่งคั่ง เรียนจบมนต์ ละทรัพย์และ
ข้าวเปลือกแล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เมื่อถูกถามปัญหาแม้โดยย่อ เราก็กล่าวแก้ได้โดยพิสดาร
เราย่อมยังอัธยาศัยของชนเหล่านั้นให้เต็ม ย่อมยังพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ให้โปรดปราน.
พระมหาวีรเจ้าผู้ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ทรงโปรดปราน
เรา ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงตั้งเราไว้ในเอต-
ทัคคสถาน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล
จบมหากัจจายนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
๓๓. อรรถกถามหากัจจานเถราปทาน
อปทานของท่านพระมหากัจจานเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตระ
นาถสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลคฤห-
บดีมหาศาล เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็น
ภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงคงไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้จำแนก
อรรถแห่งคำที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้พิสดารได้ แม้ตนเองก็ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น ตั้งปณิธานแล้ว บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ท่องเที่ยวไป
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีภาคเจ้าพระนามว่า
สุเมธะ เป็นวิทยาธรไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
ณ ไพรสณฑ์ มีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในสุคตินั่นเอง
ในกาลแห่งพระทศพล พระนามว่ากัสสปะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลใน
กรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้กระทำการบูชา
ด้วยแผ่นอิฐอันสำเร็จด้วยทอง มีค่าแสนหนึ่ง ที่ฐานอันเป็นที่กระทำ
สุวรรณเจดีย์ ดังความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่ง
บุญกรรมนี้ ขอสรีระของเราจงมีวรรณะเพียงดังว่าสีแห่งทอง ในที่ ๆ ตน
เกิดแล้ว. แต่นั้นกระทำกุศลกรรมตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
แห่งปุโรหิต ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ในวันตั้งของท่าน
มารดาคิดว่า บุตรของเรามีวรรณะเพียงดังสีแห่งทอง ถือเอาชื่อของตนมา
จึงตั้งชื่อว่า กาญจนมาณพ นั่นเอง. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท
โดยล่วงไปแห่งบิดา จึงได้ตำแหน่งปุโรหิต. ด้วยอำนาจโคตรท่านปรากฏ
นามว่า กัจจานะ. พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทราบกาลเสด็จอุบัติแห่งพระ
พุทธเจ้า ทรงส่งสาสน์ไปว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านจงไปในที่นั้น
กราบเรียนให้พระศาสาดาทรงทราบ. ท่านมีตนเป็นที่แปดเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสาดา. พระศาสาดาทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว. ในที่สุดแห่งเทศนา
ท่านกับชน ๗ คน ดำรงอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิดดังนี้.
ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุเหล่านั้นมีผมและหนวดเพียงสององคุลี
ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวรอันเสร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระผู้มี
พรรษาตั้งร้อย. พระเถระประนมมือของตนแล้ว กราบทูลพระศาสดา
อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์และฟังธรรม. พระเจ้าจัณฑปัชโชตปรารภจะถวาย
บังคมพระบาทของพระองค์และฟังธรรม. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ เธอ
เท่านั้น จงเป็นผู้มีตนเป็นที่แปดไปในที่นั้น แม้เมื่อเธอไปแล้ว พระ-
ราชาจักเลื่อมใส. พระเถระมีตนเป็นที่แปด ไปในที่นั้น ยังพระ-
ราชาให้เลื่อมใส ให้พระศาสนาประดิษฐานในอวันตีชนบททั้งหลายแล้ว
กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีกตามเดิม.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาได้ทรงตั้งไว้ใน
ตำแหน่งอันเลิศด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของ
เรา ผู้จำแนกอรรถที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารนี้ มหากัจจานะเป็นเลิศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
ท่านได้รับตำแหน่งเอตทัคคะแล้ว ระลึกถึงกรรมของตน เมื่อจะประกาศ
ปุพพวจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรนาถสฺส ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ปทุม นาม เจติย ความว่า เพราะได้ปกปิดด้วย
ดอกปทุม และเพราะการทำด้วยอาการแห่งดอกปทุม วิหารคือพระ-
คันธกุฎีอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล ได้เป็นเจดีย์
โดยเป็นที่ควรบูชา ที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ท่านเรียกว่า
เจดีย์ เหมือนที่เขากล่าวว่า โคตมกเจดีย์ อาฬวกเจดีย์ สถานที่อยู่ของยักษ์
เหล่านั้น ท่านเรียกว่าเจดีย์ เพราะเป็นสถานที่ควรบูชา. พึงทราบว่า
ไม่ใช่เจดีย์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุ. ก็ท่านไม่ได้สร้างธาตุเจดีย์ เพราะ
ไม่มีสรีรธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังไม่ปรินิพพาน. บทว่า สิลาปฏ
การยิตฺวา ความว่า ได้สร้างแผ่นศิลา อันสำเร็จด้วยแก้วผลึก ในภาย
ใต้แห่งพระคันธกุฎี อันมีชื่อว่าปทุมนั้น เพื่อเป็นที่รองรับดอกไม้.
บทว่า สุวณฺเณนาภิเลปยึ ความว่า เราได้ฉาบปกปิดแผ่นศิลานั้นด้วย
อาการพิเศษยิ่ง ด้วยทองชมพูนุท. เราได้ยกฉัตรอันแล้วด้วยรัตนะ คือ
ทำด้วยรัตนะ ๗ แล้วกั้นไว้บนยอด แล้วยกพัดวาลวิชนีและพัดบวรจามรี
ขาว เพื่อพระพุทธเจ้า. บทว่า โลกพนฺสฺส ตาทิโน ความว่า เราได้
กั้นไว้เพื่อพระพุทธเจ้าผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณมีสติเป็นต้น เช่นกับเผ่าพันธุ์
แห่งโลกทั้งสิ้น. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามหากัจจานเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
กาฬุทายีเถราปทานที่ ๔ (๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวชั้นพิเศษ
[๓๖] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่ เสด็จดำเนินทางไกล เที่ยวจาริกไป ในเวลานั้น
เราได้ถือเอาดอกปทุม ดอกอุบล และดอกมะลิซ้อนอัน
บานงาม และถือข้าว (สุก) ชั้นพิเศษมาถวายแด่พระศาสดา.
พระมหาวีรชินเจ้า เสวยข้าวชั้นพิเศษอันเป็นโภชนะ
ดี และทรงรับดอกไม้นั้นแล้ว ทรงยังเราให้รื่นเริงว่า ผู้ใด
ได้ถวายดอกปทุมอันอุดม เป็นที่ปรารถนา เป็นที่ใคร่ในโลกนี้
แก่เรา ผู้นั้นทำกรรมที่ทำได้ยากนัก ผู้ใดได้บูชาดอกไม้ และ
ได้ถวายข้าวชั้นพิเศษแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้ง-
หลาย จงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติ ๑ ครั้ง ดอกอุบล ดอก
ปทุม และดอกมะลิซ้อน จะมีในเบื้องบนผู้นั้น ด้วยผลแห่ง
บุญนั้น ผู้นั้นจักสร้างหลังคาอันประกอบด้วยของหอมอันเป็น
ทิพย์รู้ในอากาศ จักทรงได้ในเวลานั้น จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง จักรดีเป็นพระชาในแผ่นดินครอบครอง
พสุธา ๕๐๐ ครั้ง.
ในกัปที่แสน พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งทรง
สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้น
ปรารถนาในกรรมของตน อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
บุตรผู้มีชื่อเสียง ทำความเพลิดเพลินให้เกิดแก่เจ้าศากยะ
ทั้งหลาย.
แต่ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้วจักบวช จัก
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะนิพพาน พระโคดมผู้
เผ่าพันธุ์ของโลก จักทรงตั้งผู้นั้นซึ่งบรรลุปฏิสัมภิทา ได้ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ในเอตทัคคสถาน.
ผู้นั้นมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าอุทายี เรากำจัด
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะได้แล้ว กำหนดรู้
อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสนะอยู่ เรายังพระสัมพุทธเจ้าให้
ทรงโปรดปราน มีความเพียร มี่ปัญญา และพระสัมพุทธ-
เจ้าทรงเลื่อมใส ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกาฬุทายีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบกาฬทุายีเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
๓๔. อรรถกถากาฬถทายีเถราปทาน
อปทานของท่านพระกาฬุทายีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุคตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน
หังสวดีนคร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้ง
ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศของภิกษุทั้งหลายผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส
กระทำกรรมคือความปรารถนาที่ตั้งใจจริง อันเกิดแต่กรรมนั้น แล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น.
ท่านบำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในวันถือปฏิสนธิในพระครรภ์มารดาแห่งพระโพธิสัตว์ของเรา
ทั้งหลาย ท่านถือปฏิสนธิในเรือนแห่งอำมาตย์ ในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง
เกิดในวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์นั้นเองแล. วันนั้นนั่นเอง เขาให้นอน
บนเทริดผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง แล้วไปสู่ที่บำรุงของพระโพธิสัตว์
สมบัติ ๗ คือ โพธิพฤกษ์ ราหุลมารดา ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ม้ากัณฐกะ
พระอานนท์ นายฉันทะ พระกาฬุทายี กับพระโพธิสัตว์ ได้ชื่อว่า
สหชาต เพราะเกิดขึ้นวันเดียวกัน. ครั้นในวันตั้งชื่อท่าน ญาติทั้งหลาย
ได้ตั้งชื่อท่านว่า อุทายี นั่งเอง เพราะชาวพระนครทั้งสิ้นเกิดความ
เบิกบานใจ. อนึ่ง ท่านปรากฏชื่อว่า กาฬุทายี เพราะมีธาตุดำน้อยหนึ่ง.
ท่านเล่นกับพระโพธิสัตว์มาตั้งแต่เด็กจนถึงความเจริญวัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
ครั้นภายหลัง เมื่อพระโลกนาถเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้า
อาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ทรงสดับข่าวนั้น จึงได้ทรงส่งอำมาตย์คนหนึ่ง มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร
ด้วยรับสั่งว่า จงนำพระลูกเจ้าของเรามาในที่นี้. ท่านไปเฝ้าพระศาสดาใน
เวลาแสดงธรรม ยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมแล้วพร้อมด้วยบริวาร บรรลุ
พระอรหัต.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสกะพวกเขาว่า พวก
เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นนั่งเอง ท่านทั้งหมดนั้น ต่างทรงบาตร
และจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาตั้งร้อย. ก็
จำเดิมแต่กาลที่ท่านเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นพระอริยเจ้าผู้มี
ความวางเฉยเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่กราบทูลข่าวสาสน์ที่พระราชาส่งไป
แด่พระทศพล. พระราชามิได้ทรงสดับข่าวสาสน์. พระองค์จึงทรงส่ง
อำมาตย์อื่นอีกไปกับบุรุษ ๑,๐๐๐ คน. แม้เมื่ออำมาตย์นั้นปฏิบัติเหมือน
อย่างนั้น พระองค์ก็ทรงส่งอำมาตย์ ๘ คนแม้อื่นอีก ไปพร้อมกับบุรุษ
๘,๐๐๐ คน ด้วยอาการอย่างนี้. คนเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตได้เป็นผู้นิ่ง.
ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า คนมีประมาณเท่านี้ ไม่ได้
แจ้งอะไร ๆ เพื่อการเสด็จมาแห่งพระทศพลในที่นี้ เพราะไม่มีความรัก
ในเรา อุทายีนี้แลเป็นผู้มีวัยเสมอกับพระทศพล เคยเป็นเพื่อนแล่นฝุ่นด้วย
กัน และมีความรักในเรา เราจักส่งผู้นี้ไป จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว
ตรัสว่า พ่อ พ่อจงมีบุรุษ ๑,๐๐๐ คนเป็นบริวาร ไปกรุงราชคฤห์นำพระ-
ทศพลมาดังนี้แล้วทรงส่งไป. ท่านทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าหม่อมฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
จักได้บวชไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ หม่อมฉันจะนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามาในที่นี้
เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านจงทำอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนำพระลูกเจ้ามา
ท่านไปกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ที่ท้ายบริษัทในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม
ฟังธรรมไม่แล้ว พร้อมด้วยบริวารบรรลุพระอรหัต ตั้งอยู่ในเอหิภิกขุภาวะ
แล้ว.
ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงรอคอยเวลาอยู่ว่า บัดนี้ไม่เป็น
กาลเพื่อจะเสด็จไปนครแห่งตระกูลของพระทศพลก่อน แต่เมื่อจวนฤดูฝน
ไพรสณฑ์ผลิดอกออกผล จักเป็นกาลไปบนพานภูมิที่มีหญ้าเขียวสดเสมอ
ครั้นถึงฤดูฝน จึงพรรณนาถึงการไปสู่นครแห่งตระกูลของพระศาสดา จึง
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้หมู่ไม้ทั้งหลาย มีดอกและ
ใบมีสีแดงดังถ่านเพลิง ผลิผลผลัดใบเก่าร่วงหล่นไป หมู่ไม้
เหล่านั้นงามรุ่งเรืองดังเปลวไฟ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ใหญ่ เวลานี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่พระญาติ ข้าแต่
พระองค์ผู้แกล้วกล้า หมู่ไม้ทั้งหลายมีดอกบานงามดีน่ารื่นรมย์
ใจ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทั่วทิศ โดยผลัดใบเก่า ผลิ
ดอกออกผล เวลานี้เป็นเวลาสมควรจะหลีกออกไปจากที่นี้
ขอเชิญพระพิชิตมารเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์เถิด ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ฤดูนี้ก็เป็นฤดูที่ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก เป็นฤดูพอ
สบาย มีมรรคาก็สะดวก ขอพวกศากยะและโกลิยะทั้งหลาย
จงได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่แม่น้ำโรหิณีอันมีหน้าในภายหลังเถิด
ชาวนาไถนาด้วยความหวังผล หว่านพืชด้วยความหวังผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
พ่อค้าผู้เที่ยวหาทรัพย์ ย่อมไปสู่สมุทรด้วยความหวังทรัพย์
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยความหวังผลอันใด ขอความหวังผล
อันนั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์เถิด ฤดูนี้ไม่หนาวนัก ไม่ร้อน
นัก ภิกษาหาได้ง่ายไม่อดอยาก พื้นดินก็มีหญ้าแพรกเขียวสด
ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้สมควรแล้วพระเจ้าข้า.
ชาวนาหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนตกบ่อย ๆ ชาวนาไถนาบ่อย ๆ
แว่นแคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อย ๆ
พวกยาจกเที่ยวขอบ่อย ๆ ผู้เป็นทานบดี ให้ทานบ่อย ๆ
ครั้นให้บ่อย ๆ แล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ.
บุรุษผู้มีความเพียรมีปัญญากว้างขวาง เกิดในตระกูลใด
ย่อมยังตระกูลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาดตลอด ๗ ชั่วคน ข้าพระองค์
ย่อมเข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเจ้าประเสริฐกว่าเทพเจ้าทั้ง-
หลาย ย่อมทรงสามารถทำให้สกุลบริสุทธิ์ เพราะพระองค์
เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่าเป็นนักปราชญ์ สมเด็จ
พระบิดาของพระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง
พระนามว่า สุทโธทนะ สมเด็จพระนางเจ้ามายาพระมเหสี
ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระพุทธมารดา ทรงบริหาร
พระองค์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาด้วยพระครรภ์ เสด็จสวรรคต
ไปบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ สมเด็จพระนางเจ้ามายาเทวีนั้น
ครั้นสวรรคตจุติจากโลกนี้แล้ว ทรงพรั่งพร้อมด้วยกามคุณอัน
เป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม บันเทิงอยู่ด้วยเบญจกามคุณ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคาริโน ความว่า ชื่อว่า อังคาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
เพราะเหมือนเปลวเพลิง. ต้นไม้เหล่านั้นมีดอกและผลมีสีดังแก้วประพาฬ
แดงดังเปลวเพลิง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อังคาร. อธิบายว่า เกลื่อน
กล่นไปด้วยดอกคำ และดอกทองหลางมีสีแดงดังเปลวเพลิง คือด้วยฝน
คือเปลวเพลิง. บทว่า ทานิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า ทุมา แปลว่า
ต้นไม้. บทว่า ภทนฺเต ท่านกระทำการลบ ท อักษรตัวหนึ่ง ว่า ภทนฺเต
แล้วกล่าวว่า ภทฺท อนฺเต เอตสฺส พระองค์ผู้มีความเจริญในที่สุด. ผู้
ประกอบด้วยคุณวิเศษ, ก็พระศาสดาผู้เป็นบุคคลผู้เลิศกว่าบุคคลผู้วิเศษ
ด้วยคุณทั้งหลาย เพราะบทว่า ภทนฺเต จึงเป็นอาลปนะ ร้องเรียกพระ-
ศาสดานั้นเอง, บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ เอ การันต์ เหมือน
ในประโยคเป็นต้นว่า สุคเต ปฏิกมฺเม สุเข ทุกเข ชีเว ดังนี้. แต่ในที่นี้
พึงเห็นว่า ลงในอรรถแห่งการตรัสรู้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
บทว่า ภทนฺเต เป็นบทอาลปนะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทอื่นบทเดียว
มีอรรถเสมอด้วยภัททศัพท์. ชื่อว่า ผเลสิโน เพราะผลิผล. จริงอยู่ แม้
ในการไม่ตั้งใจ แต่กล่าวถึงการกระทำที่มีการตั้งใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้อันพระเถระทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว ทรงเห็นการบรรลุคุณวิเศษของคน
เป็นอันมาก ในการเสด็จไปในที่นั้น แวดล้อมไปด้วยพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐
รูป เสด็จจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินสู่ทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ด้วย
สามารถแห่งการเสด็จไม่รีบด่วน. พระเถระไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ด้วยฤทธิ์ ยืน
อยู่บนอากาศข้างหน้าของพระราชา อันพระราชาเห็นเพศที่ไม่เคยเห็นจึง
ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร เมื่อจะแสดงว่า พระองค์ไม่รู้จักอาตมา ผู้เป็น
บุตรแห่งอำมาตย์ที่พระองค์ส่งไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์
จงทรงทราบอย่างนี้แหละ จึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีสิ่งใดจะย่ำยี
ได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย ไม่มีผู้จะเปรียบปาน
ผู้คงที่ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นโยมของพระบิดาแห่ง
อาคมภาพ ดูก่อนมหาบพิตรผู้โคตมะ พระองค์เป็นพระ-
อัยกาของอาคมภาพโดยธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ ความว่า อาตม-
ภาพเป็นบุตรคือโอรสของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า อสยฺหสาหิโน
ความว่า ก่อนแต่ตรัสรู้ยิ่งเอง เพราะเว้นพระมหาสัตว์ คนอื่นไม่สามารถ
จะประกอบการแนะนำได้เพราะพระองค์ไม่มีข้าศึกศัตรูที่จะย่ำยี เป็นพระ-
โพธิสมภาร มีบุญญาธิการประกอบด้วยพระมหากรุณาสามารถอดกลั้นทน
ทาน. แม้อื่นจากนั้นไปคนอื่น ๆ ไม่สามารถจะย่ำยีครอบงำได้ เพราะ
พระองค์ทรงย่ำยีครอบงำข้าศึกคือมารทั้ง ๕ เสียได้ เพราะพระองค์ทรง
ทนทานต่อพุทธกิจ ซึ่งข้าศึกเหล่าอื่นไม่สามารถจะย่ำยีได้ กล่าวคืออนุ-
สาสนี ด้วยทิฏฐธัมนิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถ-
ประโยชน์ แก่เวไนยสัตว์ตามสมควร ด้วยการหยั่งรู้อันเป็นส่วนแห่ง
ธรรมสามัคคี มีการน้อมไปในการประพฤติอาสยานุสยญาณเป็นต้น หรือ
ชื่อว่าผู้ไม่มีผู้ใดจะย่ำยีได้ เพราพระองค์มีปกติกระทำแต่สิ่งที่ยังประโยชน์
ให้สำเร็จในที่นั้น ๆ. บทว่า องฺคีรสสฺส ได้แก่ ผู้มีสมบัติ มีศีลอัน
ประดับแล้วเป็นต้น. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผู้มีรัศมีแลบออก
จากพระอวัยวะน้อยใหญ่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระนามที่ ๒ คือ
อังคีรส และ สิทธัตถะ พระราชบิดานั่นเองทรงประทาน. บทว่า อปฺ-
ปฏิมสฺส แปลว่า ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน. ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ถึงลักษณะคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. บทว่า ปิตุ ปิตา มยห
ตุวสิ ความว่า แม้ท่านก็เป็นบิดาของบิดาของอาตมา ด้วยสามารถแห่ง
อริยชาติ แต่ว่าโดยโวหารของชาวโลกท่านเป็นบิดาของพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า. ท่านเรียกพระราชาด้วยอำนาจชาติว่า สักกะ. บทว่า ธมฺเมน
ความว่า โดยสภาวะ คือโดยประชุมสภาวะแห่งทั้งสอง คือ อริยชาติ
โลกิยชาติ. เรียกพระราชาโดยโคตรว่าโคตมะ. บทว่า อยฺยโกสิ ท่านเป็น
อัยกา. แต่ในบทนี้ว่า พระเถระเมื่อกล่าวว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ เป็นต้น
ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล.
ก็แลพระเถระ ครั้นพระราชาทรงทราบคนอย่างนี้แล้ว อันพระ-
ราชาทรงร่าเริงพอพระทัย ให้นั่งบนบัลลังก์อันควรแก่ค่ามาก บรรจุบาตร
ให้เต็มด้วยโภชนะ มีรสเลิศต่าง ๆ อันเขาจัดแจงไว้เพื่อพระองค์ ในเมื่อ
เขาถวายบิณฑบาตแล้วแสดงอาการที่จะไป. เมื่อถูกถามว่า ท่านขอรับ
เพราะเหตุไรท่านจึงปรารถนาจะไป จงบริโภคดูก่อนเถิด จึงทูลว่า อาตมา
จักไปสำนักพระศาสดาแล้วบริโภค. พระราชาตรัสถามว่า ก็พระศาสดาอยู่
ที่ไหน. ท่านทูลว่า พระศาสดามีภิกษุสองหมื่นรูปเป็นบริวาร เสด็จดำเนิน
ไปตามทางเพื่อทอดพระเนตรพระองค์. พระราชา. ท่านโปรดฉันบิณฑบาต
นี้ จักนำบิณฑบาตอื่นไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระราชาตรัสว่า
ท่านนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายพระองค์ ตลอดเวลาที่บุตรของเราจะถึง
นครนี้ พระเถระกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงธรรมแด่พระราชาและแก่
บริษัท เมื่อกระทำพระราชนิเวศน์ทั้งสิ้น ก่อนแต่พระศาสดาจะเสด็จมา ให้
เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคตและในพระรัตนตรัย เมื่อคนทั้งหมดกำลังเลื่อมใส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
อยู่นั้นแล สละบาตรอันเต็มด้วยภัตที่ตนนำมาถวายแด่พระศาสดาไว้ใน
อากาศแม้ตนเองเหาะขึ้นสู่เวหาส แล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปวางไว้ในพระ-
หัตถ์ของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้ไปสู่ที่ระยะโยชน์หนึ่ง ทุก ๆ วัน ในหนทาง ๖๐ โยชน์จากกรุงราช-
คฤห์ ท่านได้นำบิณฑบาตถวายแด่พระองค์ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า กาฬุทายีนี้ ยังชาวนิเวศน์ทั้งสิ้นแห่งบิดา
ของเราให้เลื่อมใส จึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้ยัง
ตระกูลให้เลื่อมใสว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้ยังตระกูล
ให้เลื่อมใส กาฬุทายีเป็นเลิศ.
ท่านบรรลุพระอรหัตโดยสมควรแก่บุญสมภารที่คนบำเพ็ญด้วยประ-
การฉะนี้ ได้รับเอตทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำนี้อาทิว่า ปทุมุตฺตรสฺส
พุทฺธสฺส ดังนี้. บทว่า อทฺธาน ปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ดำเนินสู่ทางไกล
เพื่อไปสู่รัฐอื่น. บทว่า จรโต จาริก ตทา ความว่า ในกาลนั้นผู้เที่ยว
จาริกไปสู่มณฑลทั่ง ๓ คือ มณฑลภายใน มณฑลกลาง และมณฑล
ภายนอก เชื่อมความว่า ยึดเอาคือถือเอาความสำเร็จด้วยดี คือการตรัสรู้
ด้วยดีของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ไม่ใช่ถือเอาเพียง
ดอกปทุมอย่างเดียว และเรายึดเอาดอกปทุมและดอกมะลิที่แย้มบานแล้ว
ถือเอาด้วยมือทั้งสองให้เต็ม. บทว่า ปรมนฺน คเหตฺวาน ความว่า เรา
ได้ถือเอาข้าวสุกแห่งข้าวสาลี อันสุกดีทั้งหมดมีรสอร่อยอย่างยิ่ง คือสูงสุด
ประเสริฐสุด ถวายให้พระศาสดาเสวย.
บทว่า สกฺยาน นนฺทิชนโน ความว่า ให้ความเพลิดเพลินคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
ความยินดีเกิดขึ้น ด้วยสมบัติในการกล่าวเจรจาปราศรัยถึงการสูงขึ้น การ
แปรไปและความเป็นหนุ่มสาวแห่งรูป แห่งศากยราชตระกูล คือแห่ง
พระญาติทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า าติพนฺธุ ภวิสฺสติ
ความว่า จักเป็นเผ่าพันธุ์อันเขาทราบ คือปรากฏ. คำที่เหลือมีอรรถง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากาฬุทายีเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
โมฆราชเถราปทานที่ ๕ (๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคมพระพุทธเจ้า
[๓๗] ก็พระผู้นี้พระภาคเจ้าผู้สยัมภู พระนามว่าอัตถทัสสี ไม่
ทรงแพ้อะไร ๆ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินไปใน
ถนน เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์ทั้งหลายออกจากเรือนไป
ครั้นแล้วได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลกที่ถนน
นั้น.
เราได้ประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า ถวายบังคมพระ-
สัมพุทธเจ้า ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว เชยชมพระองค์
นายกของโลก.
สัตว์ที่มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี
ประมาณเท่าใด สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายในพระญาณของ
พระองค์ทั้งหมด เปรียบเหมือนสัตว์ในน้ำเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
สัตว์เหล่านั้นย่อมติดอยู่ภายในข่ายของคนที่เอาข่ายตาเล็ก ๆ
เหวี่ยงลงในน้ำฉะนั้น.
อนึ่ง สัตว์ผู้มีเจตนาเหล่าใด คือ สัตว์ที่มีรูป และไม่มีรูป
สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายในญาณของพระองค์ทั้งหมด
พระองค์ทรงถอนโลกอันอากูล ด้วยความมืดนี้ขึ้นได้แล้ว.
สัตว์เหล่านั้นได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมข้าม
กระแสความสงสัยได้ โลกอันอวิชชาห่อหุ้มแล้ว อันความมืด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
ท่วมทับ ทรงกำจัดความมืดได้ ส่องแสงโชติช่วงอยู่ เพราะ
พระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงมีจักษุ เป็นผู้ทรงบรรเทา
ความมืดมนของสัตว์ทั้งปวง.
ชนเป็นอันมากฟังธรรมของพระองค์แล้ว จักนิพพาน
ดังนี้แล้ว เราเอาน้ำผึ้งรวงอันไม่มีตัวผึ้งใส่เต็มหม้อแล้ว ประ-
คองด้วยมือทั้งสอง น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
มหาวีรเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ทรงรับด้วยพระหัตถ์
อันงาม.
ก็พระสัพพัญญูเสวยน้ำผึ้งนั้นแล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่นภา-
กาศ พระศาสดาพระนามว่าอัตถทัสสีนราสภ ประทับอยู่ใน
อากาศ ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ว่า ผู้ใดชมเชยญาณนี้ และชมเชยพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ และผู้นั้น
จักเสวยเทวรัชสมบัติ ๖๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราช
ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรรดิ
๕๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชเสวยสมบัติอยู่ใน
แผ่นดินนับไม่ถ้วน จักเป็นผู้เล่าเรียนทรงจำมนต์ รู้จบ
ไตรเพท.
จักบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม
จักพิจารณาอรรถอันลึกซึ้งอันละเอียดได้ด้วยญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าโมฆราช จัก
ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.
พระโคดมผู้ทรงเป็นยอดของผู้นำหมู่ จักทรงตั้งผู้นั้นไว้
ในเอตทัคคสถาน เราละกิเลสเครื่องประกอบของมนุษย์
ตัคเครื่องผูกพันในภพ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ
อยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธ-
เจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโมฆราชเถราปทาน
อปทานของท่านพระโมฆราชเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ตุ
ภควา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดา
ทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้ทรงจีวรอันเศร้าหมอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
หวังตำแหน่งนั้น จึงกระทำความปรารถนา กระทำบุญในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
อีก ถึงความสำเร็จในวิชาศิลปะ วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าอัคถทัสสี แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปตามถนน มีใจ
เลื่อมใสถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลีเหนือเศียรเกล้า
ชมเชยด้วยอาการ ๖ อย่างมีอาทิว่า ยาวตา รูปิโน สตฺถา บรรจุภาชนะ
ให้เต็มแล้วน้อมน้ำผึ้งเข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงรับน้ำผึ้งแล้ว ได้การทำ
อนุโมทนา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ บังเกิดเป็น
อำมาตย์ของพระราชาพระนามว่า กัฏฐวาหนะ ถูกพระราชานั้นส่งไป
เพื่อนำพระศาสดามา ไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธา บวช
แล้วบาเพ็ญสมณธรรมสิ้นสองหมื่นปี จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยว
ไปในสุคตินั้นเอง สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ ได้นามว่า โมฆราช ได้ศึกษาศิลปะในสำนักพาวรี
พราหมณ์ เกิดความสังเวช บวชเป็นดาบส มีดาบสพันหนึ่งเป็นบริวาร
ถูกส่งไปยังสำนักพระศาสดาพร้อมด้วยอชิตดาบสเป็นต้น เป็นที่ ๑๕ ของ
ดาบสเหล่านั้น ถามปัญหาในที่สุดแห่งการวิสัชนาปัญหาบรรลุพระอรหัต
ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ทรงผ้าบังสุกุลอันประกอบด้วยผ้าเศร้าหมอง
โดยพิเศษทั้ง ๓ อย่าง คือเศร้าหมองด้วยศาสตรา. เศร้าหมองด้วยด้าย ๑
เศร้าหมองด้วยเครื่องย้อม ๑. ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้
ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรงไตรจีวรอันเศร้าหมอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
ท่านบรรลุพระอรหัตผล โดยสมควรแก่ความปรารถนา ด้วย
ประการฉะนั้นแล้ว เห็นบุพสมภารของตน เมื่อจะประกาศปุพพกัมมาปทาน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถทสฺสี ตุ ภควา ดังนี้. คำทั้งหมดนั้น มีอรรถ
ดังทั้งนั้น. ไห หรือหม้อเขาเรียกว่าปุฏกะ ในบทว่า ปุฏก ปูรยิตฺวาน
ดังนี้. เชื่อมความว่า ท่านบรรจุหม้อให้เต็มด้วยน้ำผึ้ง อันปราศจาก
ไข่แมลงวันไม่มีโทษ บริสุทธิ์ ประคองหม้อนั้นด้วยมือทั้งสอง ถือเอา
โดยประการเอื้อเฟื้อ นำเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวง
คุณอันยิ่งใหญ่ คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโมฆราชเถรปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
อธิมุตตกเถราปทานที่ ๖ (๓๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอ้อย
[๓๘] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นอุดมบุคคล
เสด็จนิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส นิมนต์ภิกษุสงฆ์ เรา
ทำมณฑปด้วยอ้อยแล้ว นิมนต์สังฆรัตนะ ผู้ซื่อตรง มีจิต
ตั้งมั่นเป็นสงฆ์ผู้อุดม ให้ฉันอ้อย.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น ๆ เราย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งบุญ
กรรม.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ให้ทานใดในเวลานั้น ด้วยผลแห่ง
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอ้อย.
คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญ-
ญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านอธิมุตตกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอธิมุตตกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
๓๖. อรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน๑
อปทานของพระอธิมุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลก-
นาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ เมื่อพระ
โลกนาถพระนามว่าอัตถทัสสี ปรินิพพานแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เลื่อมใสในพระรัตนตรัย นิมนต์ภิกษุสงฆ์ ให้ทำโรงปะรำด้วย
อ้อยทั้งหลาย แล้วบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไป ในทีได้ปรารถนาสันติบท.
ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เลื่อมใส
ในพระศาสนา เพราะท่านตั้งอยู่ในศรัทธา จึงปรากฏนามว่า อธิมุตตเถระ.
ท่านบรรลุพระอรหัต ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านทำไว้ด้วยลาการ
อย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถฺมหิ ดังนี้. คำ
ที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอธิมุตตเถราปทาน
๑. บาลีเป็นอธิมุตตกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
ลสุณทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกระเทียม
[๓๙] ในกาลนั้น เราเป็นดาบสอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
เราอาศัยกระเทียมเลี้ยงชีวิต กระเทียมเป็นอาหารของเรา
เราใส่กระเทียมเต็มหาบแล้ว ได้ไปสู่อารามสงฆ์ เราร่าเริง
มีจิตโสมนัส ได้ถวายกระเทียมแก่สงฆ์.
ครั้นถวายกระเทียมแก่สงฆ์ ผู้ให้เกิดควานยินดีเหลือเกิน
ในศาสนาพระวีปัสสี ผู้เลิศกว่านรชนแล้ว ได้บันเทิงในสวรรค์
ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ให้กระเทียมใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกระเทียม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา
ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระลสุณทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่า ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบลสุณทานยกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
๓๗. อรรถกถาลุสณทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระลสุณทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
ท่านลสุณทายกเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญทั้งหลาย ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เห็นโทษในการอยู่ครองเรือ ละเรือน
บวชเป็นดาบส อาศัยหิมวันตบรรพตอยู่ในป่า ปลูกกระเทียมเป็นอันมาก
เคี้ยวกินกระเทียมนั้น รากไม้และผลไม้ป่าอยู่. ท่านนำกระเทียมเป็นอันมาก
หาบมาสู่ถิ่นมนุษย์ เลื่อมใสถวายทานเพื่อเป็นเภสัชแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประธานแล้วไป, ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดชีวิตด้วยอาการ
อย่างนี้ ด้วยกำลังแห่งบุญนั้นนั่นแล แล้วท่องเที่ยวไปโนเทวดาและมนุษย์
เสวยสมบัติทั้งสอง เกิดแล้วในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยลำดับ ได้ศรัทธา
บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยอำนาจแห่ง
บุพกรรม ท่านจึงปรากฏนามว่า ลสุณทายกเถระ.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำนี้อาทิว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. ในคำนั้นเชื่อม
ความว่า ในที่เป็นที่สัญจรไปแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ในที่สุดแห่งภูเขาหิมาลัย
ในกาลใดพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงอุบัติขึ้น ในกาลนั้น
เราได้เป็นดาบส. บทว่า ลสุณ อุปชีวามิ ความว่า ข้าพเจ้าได้ปลูก
กระเทียมแดงนั้นนั่นแลให้เป็นอาหารเลี้ยงชีพ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ลสุณ มยฺหโภชน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
บทว่า ขาริโย ปูรยิตฺวาน ความว่า บรรจุภาชนะของดาบสให้
เต็มวัยกระเทียมหาบไป ได้ไปยังสังฆารามคือที่เป็นที่อยู่ของสงฆ์ ได้แก่
ไปสู่วิหารอันเป็นที่อยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ของสงฆ์ ใน ๓ กาล มีฤดูเหมนต์
เป็นต้น. บทว่า หฏฺโ หฏฺเน จิตฺเตน ความว่า เรายินดีได้ถวาย
กระเทียมแก่สงฆ์ ด้วยจิตที่ประกอบด้วยโสมนัส.
บทว่า วิปสฺสิสฺส ฯ เป ฯ นิรตสฺสหในศาสนาของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เลิศคือประเสริฐกว่านระทั้งหลาย. บทว่า
สงฺฆสฺส ฯ เป ฯ โมทห ความว่า ข้าพเจ้าถวายกระเทียมเป็นทาน
แก่สงฆ์แล้ว เสวยทิพยสมบัติตลอดอายุกัป ในเทวโลกอันเลิศด้วยดี.
บันเทิงแล้วในสวรรค์. อธิบายว่า เราเป็นผู้ยินดี. คำที่เหลือรู้ได้ง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาลสุณทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
อายาตทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน
[๔๐] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิขี ผู้ประเสริฐของพวกคน
ผู้กล่าว (ยกย่องตน) นิพพานแล้ว เราร่าเริง มีจิตโสมนัส
ได้ให้พระสถูปอันอุดม.
ในกาลนั้น เราร่าเริงมีจิตโสมนัส ให้คนไปบอกกับนาย
ช่างไม้ ให้ทรัพย์แล้ว จ้างให้ทำศาลาโรงฉัน.
เราอยู่ในเทวโลกตลอด ๘ กัปโดยไม่สับสนกันเลย ใน
กัปที่เหลือ เราท่องเที่ยว ไปสับสนกัน.
ยาพิษย่อมไม่กล้ำกรายในกายเรา และศาสตราไม่กระทบ
กายเรา เราไม่พึงตายในน้ำ นี้เป็นผลแห่งการสร้างศาลา
โรงฉัน.
เราปรารถนาฝนเมื่อใด มหาเมฆย่อมยังฝนให้ตกเมื่อนั้น
แม้เทวดาทั้งหลายก็ตกอยู่ในอำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งบุญ
กรรม.
เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
๓๐ ครั้ง ใคร ๆ ย่อมไม่ดูหมิ่นเรา นี้เป็นผลแห่งการบุญกรรม.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สร้างศาลาโรงฉันใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งกรรมสร้างศาลา
โรงฉัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอายาตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอายาตทายกเถราปทาน
๓๘. อรรถกดถาอายาคทายกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระอายาคทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขีปรินิพพานแล้ว บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เลื่อมใสในพระศาสนา ได้จ้างนายช่างให้สร้างโรงฉันยาวอัน
เป็นที่รื่นรมย์ยิ่งนัก นิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้บริโภคอาหารอันประณีต ถวาย
มหาทานยังจิตให้เลื่อมใส. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดอายุ ท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั่นแล เสวยสมบัติทั้งสอง ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูล ได้ศรัทธาบวชแล้วเพียรพยายามเจริญวิปัสสนา
ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต. ด้วยอำนาจบุญที่ท่านบำเพ็ญไว้ในกาล
ก่อน จึงปรากฏนามว่า อายาคทายกเถระ ดังนี้.
๑. บาลีเป็น อายาตทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ท่านบรรลุพระอรหัต ด้วยอำนาจบุญสมภาร ที่ท่านบำเพ็ญมาด้วย
อาการอย่างนี้ ระลึกถึงกุศลกรรมที่คนบำเพ็ญในกาลก่อน เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺเพเต ความว่า เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้ประเสริฐสูงสุดในระหว่างแห่งศาสดาอื่น
ผู้กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว. บทว่า หฏฺโ
หฏฺเน จิตฺเตน ความว่า เราหรรษาร่าเริง มีจิตร่าเริงเพราะความ
ที่ตนมีจิตสัมปยุตด้วยโสมนัส ได้ไหว้คือนอบน้อมพระสถูปอันสูงสุด คือ
พระเจดีย์อันประเสริฐ.
บทว่า วฑฺฒกีหิ กถาเปตฺวา ความว่า ให้กล่าวประมาณการว่า
โรงฉันนี้มีประมาณเท่าไร. บทว่า มูล ทตฺวานห ตทา ความว่า ใน
ครั้งนั้น คือในกาลนั้น เราได้ให้ค่าจ้างแก่นายช่างไม้เหล่านั้น เพื่อ
ประโยชน์แก่การทำกรรม ยินดีคือมีจิตสัมปยุตด้วยโสมนัส ได้ก่อสร้าง
โรงฉันยาวรี. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอายาคทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
ธัมมจักกิกเถราปทานที่ ๙ (๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการตั้งธรรมจักรบูชา
[๔๑] เราได้ตั้งธรรมจักนี้ ทำอย่างสวยงาม อันวิญญูชนชม
เชย (บูชา) ไว้ข้างหน้าอาสนะอันประเสริฐ แห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ.
เราย่อมรุ่งเรืองกว่าวรรณะทั้งสี่ มีคนใช้ พลทหารและ
พาหนะ คนเป็นอันมากย่อมติดตามห้อมล้อมเราเป็นนิจ
เราแวดล้อมด้วยคนตรีหกหมื่นทุกเมื่อ เราย่อมงามด้วยบริวาร
นี้เป็นผลแห่งบุญธรรม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ตั้งธรรมจักรใดบูชา ด้วย
กรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการตั้งธรรมจักร
บูชา.
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายครั้ง มีพละมาก มีพระนามว่า
สหัสสราชา ผู้เป็นใหญ่กว่าชน ได้มีปรากฏตลอด ๑๑ กัป
แต่กัปนี้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธัมมจักกิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบธัมมจักกิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
๓๙. อรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระธรรมจักกิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา สมบูรณ์ด้วยสมบัติมีโภคะมาก.
ท่านเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เกิดศรัทธา ได้สร้างธรรมจักรสำเร็จด้วย
รัตนะบูชาข้างหลังธรรมาสน์ในธรรมสภา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวย
สักกสมบัติและจักกวัตติสมบัติ ในที่ที่คนเกิดแล้วในเทวดาและมนุษย์. ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เกิด
ศรัทธา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ปรากฏ
โดยนามที่เสมือนกับนามแห่งกุศลที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อนว่า ธัมมจักกก-
เถระ.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลโดยสมควรแก่บุญสมภาร ระลึกถึงบุพกรรม
ของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิ-
ว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า สีหาสนสฺส สมฺมุขา ความว่า
ในที่พร้อมหน้า คือในที่ตรงหน้าพุทธอาสน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ประทับนั่ง. บทว่า ธมฺมจกฺก เม ปิต ความว่า เราได้แสดงรูปสีหะ
ทั้งสองข้าง โดยอาการดุจธรรมจักร สร้างกระทำให้เหมือนกระจกใน
ท่ามกลางตั้งธรรมจักรบูชา. เป็นอย่างไร ? เชื่อมความว่า ธรรมจักรที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
วิญญูชน คือบุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย สรรเสริญ ชมเชย กระทำดีแล้วว่า
งามเหลือเกิน.
บทว่า จารุวณฺโณว โสภามิ ความว่า เราย่อมงาม คือไพโรจน์
ประดุจมีวรรณะดังทองคำ. บาลีว่า จตุวณฺเณหิ โสภามิ ดังนี้ก็มี. อธิบาย
ว่า เราย่อมงดงาม คือไพโรจน์ด้วยวรรณะ กล่าวคือ ชาติแห่งกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร. บทว่า สโยคฺคพลวาหโน ความว่า ประกอบ
ด้วยยานมีวอทองเป็นต้น เสวก คือหมู่พล มีเสนาบดีและอำมาตย์เป็นต้น
และด้วยพาหนะ กล่าวคือรถเทียมช้างและม้าเป็นต้น. เชื่อมความว่า ชน
เป็นอันมาก คือมนุษย์เป็นอันมาก ประกอบตามคือคล้อยตามเราแวดล้อม
ตลอดกาลเป็นนิตย์. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
กัปปรุกขิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๐)
ว่าด้วยผลแห่งการตั้งตนกัลปพฤกษ์บูชา
[๔๒] เราได้คล้องผ้าอันวิจิตรหลายผืนไว้ตรงหน้าพระสถูปอัน
ประเสริฐของพระผู้มีพระภาคเจ้านานว่าสิทธัตถะ แล้วตั้งต้น
กัลปพฤกษ์ไว้.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ในกำเนิดนั้น ๆ ต้นกัลปพฤกษ์อันงาม ย่อมประดิษฐานอยู่
ใกล้ประตูเรา เวลานั้น เราเอง บริษัท เพื่อนและคนคุ้นเคย
ได้ถือเอาผ้าจากต้นกัลปพฤกษ์นั้นมานุ่งห่ม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ตั้งกัลปพฤกษ์ใดไว้ ด้วย
ธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการตั้งต้นกัลป-
พฤกษ์.
และในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่าสุเจละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกัป ปรุกชิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกัปปรุกขิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
๔๐. อรรถกถากัปปรุกขิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกัปปรุกขิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการทั้งหลายในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลหนึ่งอันสมบูรณ์
ด้วยสมบัติ ให้สร้างต้นกัลปพฤกษ์อันสำเร็จด้วยทอง วิจิตรด้วยรัตนะ ๗
วางบูชาไว้ตรงหน้าพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ.
ท่านบำเพ็ญบุญเห็นปานนี้ ดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่อง
เที่ยวไปในสุคตินั่นแล ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลตาม
ลำดับ บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงการครองเรือน เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ฟังธรรมได้ศรัทธา อาราธนาพระศาสดา บวชแล้ว ไม่นานนักก็บรรลุ
พระอรหัต โดยนามแห่งกุศลที่ท่านเคยบำเพ็ญมาก่อน ท่านจึงปรากฏ
นามว่า กัปปรุกขิยเถระ ดังนี้.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า ถูปเสฏฺสฺส สมฺมขา ความว่า ซึ่ง
ผ้าอันวิจิตรในที่เฉพาะหน้าพระสถูปเจดีย์อันประเสริฐสูงสุด ได้แก่ผ้าอัน
เขานำมาแต่เมืองจีน และผ้าอันเขานำมาแต่เมืองแขกเป็นต้น อันน่า
รื่นรมย์ใจ ด้วยจิตอันไม่เสมอเหมือนด้วยสีเป็นอเนก. อธิบายว่า เราได้
ประดิษฐ์ต้นกัลปพฤกษ์ห้อยย้อยลงอยู่. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากัปปรุกขิยเถราปทาน
จบอรรถกถาวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุณฑธานเถราปทาน ๒. สาคตเถราปทาน ๓. มหากัจจายน-
เถราปทาน ๔. กาฬุทายีเถราปทาน ๕. โมฆราชเถราปทาน ๖. อธิมุต-
ตกเถราปทาน ๗. ลสุณทายกเถราปทาน ๘. อายาตทายกเถราปทาน
๙. ธัมมจักกิกเถราปทาน ๑๐. กัปปรุกขิยเถรปทาน
และมีคาถา ๑๑๒ คาถา.
จบกุณฑธานวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
อุปาลิวรรคที่ ๕
อุปาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑)
ว่าด้วยพระบาลีปรารภกรรมของตน
[๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วย
พระขีณาสพหนึ่งพัน พระองค์ทรงประกอบความสงัด เสด็จ
ไปเพื่ออยู่ในที่ลับ เรานุ่งห่มหนังสัตว์ ถือไม้เท้าสามง่าม
เที่ยวไป ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก แวดล้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์.
จึงทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีเหนือ
เศียรเกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วชมเชยพระองค์
ผู้นำของโลกว่า
สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในไข่ เกิดในเถ้าไคล เกิดผุดขึ้น
เกิดในครรภ์ และนกมีกาเป็นต้นทั้งหมด ย่อมเที่ยวไปใน
อากาศทุกเมื่อ ฉันใด
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม
สัตว์เหล่านั้น ก็ฉันนั้น ย่อมเข้าไปภายในพระญาณของพระ
องค์ทั้งหมด.
อนึ่ง กลิ่นหอมอันเกิดที่ภูเขา ณ ภูเขาหิมวันต์อันเป็นภูเขา
สงสุด กลิ่นหอมทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยว ในศีล
ของพระองค์.
โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก แล่นไปสู่ความมืดมนใหญ่ โลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
กำจัดความมืดได้ ส่องแสงโชติช่วงอยู่ เพราะพระญาณของ
พระองค์ เปรียบ เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว โลกก็ถึง
ความมืด ฉันใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ สัตว์โลกก็
ถึงความมืด ฉันนั้น.
เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ย่อมขจัดความมืดได้
ทุกเมื่อ ฉันใด พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอันประเสริฐสุด ก็
ขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันนั้น.
พระองค์ทรงส่งพระองค์ไปเพื่อความเพียร ได้เป็นพระ-
พุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ยินดีด้วยการปรารภกรรมของพระองค์.
พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระผู้เป็นนักปราชญ์ ทรง
สดับคำนั้นแล้ว ทรงอนุโมทนาแล้ว เสด็จเหาะขึ้นในอากาศ
ดังพระยาหงส์ในอัมพร พระสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน
ใหญ่หลวง พระนามว่าปทุมุตตระผู้เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเหาะขึ้นไปประทับอยู่ในอากาศ ได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดชมเชยญาณอันประกอบด้วยข้ออุปมาทั้งหลายนี้ เรา
จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เขาจักได้เป็น
ท้าวเทวราช ๑๘ ครั้ง จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอง
ครองพสุธา ๓๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง
จักรได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณานับมิได้.
ในกัปที่แสน พระศาสดามีพระนาม ชื่อว่าโคดม ซึ่งมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกการาช จักเสด็จอุบัติในโลก เขา
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักเป็นผ้าต่ำ
โดยชาติ [มีชาติต่ำ] มีชื่อว่าอุบาลี.
และภายหลังเขาบวชแล้ว หน่ายกรรมอันลามกกำหนด
รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.
พระโคดมพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร มียศใหญ่ จักทรงโปรด
ดังเขาไว้ในเอตทัคคสถานทางวินัย เราบวชด้วยศรัทธา ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มี
อาสวะอยู่.
และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์เราว่า เราแกล้ว-
กล้าในวินัย เราปรารภในกรรมของตน ไม่มีอาสวะอยู่.
เราสำรวมในพระปาติโมกข์และในอินทรีย์ ๕ ทรงพระ-
วินัยอันเป็นบ่อเกิดรัตนะไว้ได้หมดทั้งสิ้น พระศาสดาผู้ไม่มี
ใครเทียบถึงในโลก ทรงรู้คุณของเราแล้ว ประทับนั่งในท่าม
กลางสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุปาลิเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
อุปาลิวรรคที่ ๕
๔๑. อรรถกถาอุปลาเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระอุบาลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ
ดังนี้.
ก็พระเถระนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั่งหลายในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในการอยู่ครอง
เรือน จึงละเรือนออกบวชเป็นฤๅษี ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘
สำเร็จการอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ. ทรงประสงค์วิเวก จึงเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ. ดาบส
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์เหมือนพระจันทร์เพ็ญแต่ไกลเที่ยว มี
ใจเลื่อมใส กระทำหนังเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี ถวายบังคมแล้วยืนอยู่
นั่นแล ประนมมือไว้เหนือเศียร ชมเชยพระผู่มีพระภาคเจ้าด้วยอุปมา
มากหลาย ด้วยสดุดีเป็นอเนก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว
ทรงประทานพยากรณ์ว่า ในอนาคต ดาบสนี้ จักบวชในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคตมะ จักได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีปัญญา
เฉียบแหลมในทางพระวินัย.
ท่านดำรงอยู่ตลอดอายุ มีฌานไม่เสื่อม บังเกิดในพรหมโลก.
ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เสวยสมบัติ. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นหลานของพระอุบาลีเถระใน
กรุงกบิลพัสดุ์. ท่านถึงความเจริญวัยโดยลำดับ บวชในสำนักของพระ-
อุบาลีเถระผู้เป็นลุง เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้
๑. ม. ภาคิเนยฺยอุปาลิเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
เป็นพระอรหันต์. ท่านเป็นผู้มีญาณเฉียบแหลม เพราะเหตุที่ตนอยู่ในที่
ใกล้อาจารย์. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเราผู้มีปัญญาเฉียบแหลม
ในปัญหาพระวินัยนี้ ภาคิเนยยอุบาลีเป็นเลิศ.
ท่านได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน
เนื้อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จงกล่าวคำมีอาทิว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ
ดังนี้ ในบทเหล่านั้น ชื่อว่าอาสวะ เพราะแล่นไปคือเป็นไปโดยรอบจด
ภวัคคพรหม. ชื่อว่า ขีณาสวา เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น
สิ้นไป เหือดแห้งไป ผากไปแล้ว อันเธอกำจัดแล้ว. ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้น
แล้วเหล่านั้นนั่นแล มีประมาณ ๑,๐๐๐ คือมีพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ รูป
เป็นประมาณ. ด้วยพระขีณาสพประมาณ ๑,๐๐๐ นั้น. เชื่อมความว่า
พระโลกนาถแวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ขีณาสพเหล่านั้น ผู้ยังโลกให้ถึงพระ-
นิพพาน ประกอบเนือง ๆ ซึ่งวิเวก ย่อมเสด็จไปเพื่อหลีกเร้น คือเพื่อ
ความเป็นผู้โดดเดี่ยว.
บทว่า อชิเนน นิวตฺโถห ความว่า เราอัน หนังมฤคปิดบังไว้
อธิบายว่า นุ่งหนังสัตว์. บทว่า ติฑณฺฑปริธารโก ความว่า ถือเอาท่อน
ไม้ ๓ อัน เพื่อวางคนโทน้ำทรงไว้. เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระองค์
ผู้นำโลกผู้แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุปลิเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
โสณโกฏิยเวสสเถราปทานที่ ๒ (๔๒)๒
ว่าด้วยผลแห่งการทำที่จงกรม
[๔๔] เราได้ให้ทำที่จงกรม ซึ่งทำการฉาบทาด้วยปูนขาว ถวาย
แด่พระมุนีพระนามว่าอโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่
เราได้เอาดอกไม้ต่าง ๆ สี ลาดบนที่จงกรม ทำเพดานบน
อากาศ แล้วทูลเชิญพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดให้เสวย.
เวลานั้น เราประนมอัญชลี ถวายบังคมพระองค์ผู้มีวัตร
อันงาม แล้วมอบถวายศาลารีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดายอดเยี่ยมในโลก มี
พระจักษุ ทรงรู้ความดำริของเรา จึงอนุเคราะห์รับไว้.
พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก ครั้นทรงรับแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์
แล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีจิตโสมนัส ได้ถวายศาลารีแก่เรา เราจักพยากรณ์
ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง จักปรากฏแก่ผู้นี้ผู้พร่องเพรียง
ด้วยบุญกรรม ในเวลาใกล้ตาย
ผู้นี้จักไปสู่เทวโลกด้วยยานั้น เทวดาทั้งหลายจักพลอย
บันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี วิมานอันควรค่ามาก เป็น
วิมานประเสริฐ ฉาบทาด้วยเครื่องทาอันสำเร็จด้วยรัตนะ
ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ จักครอบงำวิมานอื่น.
๑. อรรถกถาว่า โสณโกฬิวิสเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น
ท้าวเทวราชตลอด ๒๕ กัป และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ถึง ๗๗ ครั้ง พระเจ้าจักรพรรดินั้นแม้ทั้งหมดมีพระนาม
อย่างเดียวกันว่า ยโสธระ.
ผู้นี้ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว ก่อสร้างสั่งสมบุญ จักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน ๒๗ กัป [อีก]
แม้ในภพนั้น จักมีวิมานอันประเสริฐ ที่วิสสุกรรมเทพ-
บุตรนิรมิตให้ ผู้นี้จักครองบุรีซึ่งมีเสียง ๑๐ อย่างต่าง ๆ กัน.
ในกัปจะนับประมาณมีได้แต่กัปนี้ จักมีพระราชาครอง
แผ่นดิน มีฤทธิ์มากมีพระนามชื่อว่าโอกกากราช อยู่ใน
แว่นแคว้น.
นางกษัตริย์ผู้มีวัยอันประเสริฐ มีชาติสูงกว่าหญิง หนึ่ง
หมื่นหกพันทั้งหมด จักประสูตพระราชบุตรและพระราชบุตรี
๙ พระองค์.
ครั้นประสูติพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙ พระองค์แล้ว
จักสิ้นพระชนม์ พระเจ้าโอกกากราชจักทรงอภิเษกนางกัญญา
ผู้เป็นที่รัก กำลังรุ่นเป็นมเหสี.
พระนางจักยังพระเจ้าโอกกากรา ให้โปรดปรานแล้วได้
พร ครั้นพระนางได้พรแล้ว จักให้ขับไล่พระราชบุตรและ
พระราชบุตรี
พระราชบุตรและพระราบุตรีทั้งหมดนั้น ถูกขับไล่แล้ว
จักไปยังภูเขา เพราะกลัวความแตกชาติ พระราชบุตรทั้งหมด
จักสมสู่กันพระกนิษฐภคินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
ส่วนพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ ทรงเป็นโรคพยาธิ
กษัตริย์ทั้งหลายจักตั้งใจมั่นว่า ชาติของเราอย่าแตกแยกเลย
จึงขุดหลุมให้อยู่.
ได้มีกษัตริย์ ทรงนำพระเชษฐภคินีนั้นไปสมสู่ด้วย เวลา
นั้น ความเกิดแห่งสกุลโอกกากะจักนี้ความแตกแยก โอรส
ของสองพระองค์นั้นจักมีพระนามโดยชาติว่าโกลิยะ จักได้
เสวยโภคสมบัติ อันเป็นของมนุษย์มิใช่น้อยในภพนั้น.
ผู้อันเคลื่อนจากกายนั้นแล้วจักไปสู่เทวโลก แม้ในเทวโลก
นั้น จักได้วิมานอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลกมาสู่
ความเป็นมนุษย์ จักมีชื่อว่าโสณะ
จักปรารภความเพียรมีใจแน่วแน่ ตั้งความเพียรในศาสนา
ของพระศาสดา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ
นิพพาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ผู้ประ-
เสริฐ ผู้รู้วิเศษ เป็นมหาวีระ ทรงเห็นคุณอนันต์จักตั้งไว้
ในตำแหน่งอันเลิศ.
เมื่อฝนตก หญ้าประมาณ ๔ นิ้ว บนเนิน ลมพัดไหวแล้ว
เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ ซึ่งทรงประกอบความเพียร
ถึงฝั่งแล้ว ไม่มีใครเพียรยิ่งขึ้นไปกว่าเขา.
เรามีตนฝึกแล้วในการฝึกอันอุดม เราตั้งจิตไว้ดีแล้ว เรา
ปลงภาระทั้งปวงลงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดับแล้ว พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
อังคีรสมหานาค มีพระชาติสูง ดังพระยาไกรสร ประทับนั่ง
ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสณโกฏิยเวสสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้นด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโสณโกฏิยเวสสเถราปทาน
๔๒. อรรถกถาโสณโฬิวิสเถราปทาน
อปทานของท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนม-
ทสฺสิสฺส มุนิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
ได้สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา สมบูรณ์ด้วยสมบัติ
ได้สร้างที่จงกรมอันงามเพื่อเป็นที่จงกรม ให้กระทำการฉาบโบกด้วย
ปูนขาว กระทำให้รุ่งเรืองเรียบราบดุจพื้นแว่น จัดแจงประทีป ธูป และ
ดอกไม้เป็นต้น มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประธานด้วยอาหารอันประณีต. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอด
ชีวิตด้วยอาการอย่างนี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก. ท่าน
เสวยทิพยสมบัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในพระบาลีนั้น เป็นผู้ขวนขวายใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
ตระกูลที่ปฏิสนธิในระหว่าง เพราะฉะนั้น เรื่องทั้งหมดนั้น พึงทราบโดย
กระแสที่กล่าวแล้วในพระบาลี. [ก็ในภพสุดท้ายท่านเกิดในโกลิยราชวงศ์
เจริญวัยแล้วปรากฏนามว่าโกฏิกัณณะ และว่ากุฏิกัณณะ เพราะทรงไว้ซึ่ง
เครื่องประดับหู มีค่าประมาณโกฏิหนึ่ง.]๑ ท่านเลื่อมใสในพระผู้พระ-
มีภาคเจ้าฟังธรรมได้ศรัทธาแล้ว บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานก็บรรลุ
พรอรหัต.
ท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนม-
ทสฺสิสฺส มุนิโน ดังนี้.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสิสฺส ความว่า
การเห็นอันไม่ทราม ไม่ลามก คือดี ได้แก่พระสรีระ อันเป็นทัสสนียะ
เพราะประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และเพราะงดงามด้วยมณฑลแห่ง
พระรัศมีด้านละวา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใดมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ทรงพระนามว่า อโนมทีสสี อธิบายว่า แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
อโนมทัสสีนั้น. บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้มีความไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์ บทว่า สุธาย เลปน กตฺวา ความว่า กระทำที่จงกรม
ฉาบด้วยปูนขาว และประดับด้วยประทีปธูปดอกไม้ธงชัยและธงแผ่นผ้า
เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถาที่เหลือ มีเนื้อความรู้ได้ง่ายตามกระแส
แห่งพระบาลีทีเดียว. ชื่อว่า ยโสธระ เพราะทรงไว้ซึ่งยศ กล่าวคือ
บริวารสมบัติ และทรัพย์สมบัติ, เชื่อมความว่า พระราชาทั้งหมดนั้น คือ
พระราชาผู้จักรพรรดิทั้ง ๗๗ พระองค์ มีพระนามเป็นอย่างเดียวกัน
ว่า ยโสธระ.
๑. ข้อความในวงเล็บไม่ควรมี เพราะพระเถระองค์นี้เป็นคนละองค์กับพระโสณโกฏิกัณณะ
หรือโสณกฏิกัณณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
บทว่า องฺคีรโส ความว่า รัศมีอันมีอันซ่านออกจากอวัยวะ คือจาก
พระสรีระ ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า
อังคีรส. ชื่อว่า นาคะ เพราะไม่ไปอบายทั้ง ๔ ด้วยฉันทาคติ โทสาคติ
โมหาคติ และภยาคติ หรือด้วยสามารถแห่งบาปสมาจาร. ชื่อว่า มหนาคะ
เพราะอันเขาบูชาใหญ่ และเป็นผู้ประเสริฐ คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโสณโกฬิวิสเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
ภัททิยากาฬิโคธายปุตตเถราปทานที่ ๓ (๔๓)๑
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง
[๔๕] หมู่ชนทั้งปวงเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ. ทรงมีจิตเมตตา เป็นมหามุนีอัครนายกของโลก
ทั้งปวง ชนทั้งปวงย่อมถวายอามิส คือ สัตตุก้อน สัตตุผง
น้ำและข้าวแด่พระศาสดา และในสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ ไม่มี
นาบุญอื่นยิ่งกว่า.
แม้เราก็จักนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด และสงฆ์ผู้
ยอดเยี่ยม แล้วจักถวายทานแด่พระผู้พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดา ผู้คงที่ คนเหล่านี้ เราส่งไปให้นิมนต์พระตถาคต
และภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งว่า.
บัลลังก์ทอง ๑ แสน ลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว
ด้วยเครื่องลาดยัดนุ่น เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ผ้าเปลือกไม้
และผ้าฝ้าย.
เราได้ให้จัดตั้งอาสนะอันควรค่ามาก สมควรแก่พระ-
พุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ประเสริฐกว่าเทวาดา ผู้องอาจกว่าพระแวดล้อม ภิกษุสงฆ์
เสด็จเข้าสู่ประตูบ้านเรา.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงมียศ แล้วนำเสด็จมาสู่เรือนของตน
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส อังคาสภิกษุ ๑ แสนและ
พระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ให้อิ่มหนำด้วยข้าวชั้นพิเศษ.
๑. อรรถกถาว่า กาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรง
รับเครื่องบูชาแล้ว ประทับนั่งในท่านกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดถวายอาสนะทองอันลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว
นี้ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว.
ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราช ๗๔ ครั้ง อันนางอัปสรแวดล้อม
เสวยสมบัติอยู่ จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราช ครอบครอง
พสุธา ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ครั้ง
จักเป็นผู้มีสกุลสูงในกำเนิดและภพทั้งปวง
ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักได้เป็น
พระสาวกของพระศาสดา มีนามว่าภัททิยะ.
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัด
ผลทั้งปวงเราบรรลุแล้ว วันนี้ เราเป็นผู้ไม่มีความเศร้าหมอง
จิต พระสัพพัญญูผู้นายกของโลก ทรงทราบคุณทั้งปวงของเรา
แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอต-
ทัคคสถาน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถระได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบภัททิยกาฬิโคธายปุตตเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
๔๓. อรรถกถากาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกาฬิโคธาปุตตภัตทิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง
อัน สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา เห็นชาว
พระนครพากันทำบุญ แม้ตนเองก็ประสงค์จะทำบุญ จึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้ปูที่นอนอันควรแก่ค่ามาก มีเครื่องปูลาดมี
ลายดอกไม้ติดกันมากเป็นต้นเป็นอเนก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
ในที่นั้นพร้อมด้วยสงฆ์แล้ว จึงให้เสวยพระกระยาหารอันประณีต แล้วได้
ถวายมหาทาน. ท่านบำเพ็ญบุญทั้งหลายจนตลอดอายุด้วยอาการอย่างนี้
เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นต่อมาในพุทธุป-
บาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรแห่งพระนางกาฬิโคธาเทวี. ท่านบรรลุนิติภาวะ
แล้ว ได้ปรากฏนามว่า ภิททิยะ กาฬิโคธาบุตร เพราะเจริญด้วยรูปสมบัติ
คือมือและเท้ายาวและใหญ่ และเพราะเป็นบุตรแห่งพระนางกาฬิโคธาเทวี.
ท่านเลื่อมใสในพระศาสดา ทำให้มารดาบิดาโปรดปราน แล้วบวชไม่นาน
นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธ
ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังท่านกล่าวในหนหลังแล. บทว่า เมตฺตจิตฺต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะรักใคร่ เยื่อใย ยินดีในสัตว์ทุกจำพวก
จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ชื่อว่าเมตตาจิต จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า
ผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผ้มีจิตประกอบ
ด้วยเมตตา บทว่า มหามุนึ ได้แก่ ภิกษุทั้งสิ้น. ชื่อว่า มหามุนิ
เพราะเป็นผู้ใหญ่ เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
นั้น. บทว่า ชนตา สพฺพา ความว่า หมู่ชนทั้งหมด อธิบายว่า
ชาวพระนครทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพโลกคฺคนายก เชื่อมความว่า ประชุม
ชนย่อมเข้าถึง คือเข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เลิศ
ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งสิ้น ชื่อว่า ผู้นำ เพราะนำไปให้ถึงพระนิพพาน.
บทว่า สตฺตุกญฺจ พทฺธกญฺจ ความว่า ได้อามิส กล่าวคือสัตตุก้อน
และสัตตุผง. ก็อีกอย่างเชื่อมความว่า ชนทั้งหลายย่อมถือเอา อามิส
คือปานะ และโภชนะ อันเป็นยาวกาลิก มีภัต ขนม ของเคี้ยว ของบริโภค
และยาคูเป็นต้นแล้ว ถวายแด่พระศาสดาผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า
อาสน พุทธฺยุตฺตก ความว่า ซึ่งอาสนะอันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ อันควร
แก่พระพุทธเจ้า คืออันเหมาะสมแก่พระพุทธเจ้า. คำที่เหลือมีอรรถ
รู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
สันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔ (๔๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลแฟง
[๔๖] เราทำกระท่อมไว้ในป่าอยู่ในระหว่างภูเขา ยินดีด้วยลาภ
และความเสื่อมลาภ ด้วยศเเละควานเสื่อมยศ.
พระผ้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้
ควรรับเครื่องบูชา เสด็จมาในสำนักเราพร้อมด้วยยภิกษุหนึ่ง
แสน.
เมื่อพระมหานาคทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้อุดมเสด็จ
เข้ามา เราได้ปูลาดเครื่องลาดหญ้าถวายแด่พระศาสดา.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลแฟงและ
น้ำฉันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ซื่อตรง ด้วยใจอันผ่องใส.
ในแสนกัปที่แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลแฟง.
ในกัปที่ ๔๑ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง พระนาม
ว่าอรินทมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสันนิฏฐาปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสันนิฏฐานปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
๔๔. อรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสันนิฏฐาปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อรญฺเ
กุฏิก กตฺวา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอัน เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้มีเหย้าเรือน เห็นโทษในการครองเรือน ละวัตถุ-
กามและกิเลสกาม ไปอยู่ป่าระหว่างภูเขาไม่ไกลหิมวันตบรรพต. ในกาล
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จถึงที่นั้น เพราะเป็น
ผู้ใคร่ต่อการสงัด. ลำดับนั้น ดาบสนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจ
ผ่องใส ไหว้แล้ว ได้ลาดหญ้าถวายเพื่อประทับนั่ง. ให้พระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้ประทับนั่งในที่นั้น เสวยผลาผลมีผละพลับเป็นต้นอันมีรสอร่อยเป็น
อเนก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้น แล้ว ท่องเที่ยวไป ๆ
มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลนี้ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้
เป็นพระอรหันต์. ท่านปรากฏนามว่า สันนิฏฐาปกเถระ เพราะตั้งอยู่ด้วยดี
ในพระนิพพาน กล่าวคือสันติบท (บทอันสงบ) โดยปราศจากอุตสาหะ
ทีเดียว เหมือนในเวลาบรรลุพระอรหัตขณะจดมีดโกนปลงผม.
ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อรญฺเ
กุฏิก กตฺวา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺเ ความว่า เพราะ
กลัวแต่สีหะและเสือโคร่งเป็นต้น มนุษย์ทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
ไม่ติดในที่นั้น เหตุนั้นที่นั้นจึงชื่อว่าอรัญ. ในอรัญญะ (ในป่า) นั้น.
บทว่า กุฏิก ความว่า เราการทำกระท่อมมุงด้วยหญ้าอยู่ คือสำเร็จการ
อยู่ในระหว่างภูเขา. เชื่อมความว่า เรายินดีอยู่ ด้วยลาภ และด้วยความ
ไม่มีลาภ ด้วยยศ และด้วยความไม่มียศ.
บทว่า ชลชุตฺตมนามก ความว่า ดอกบัวอันเกิดในน้ำ ชื่อว่า ชละ,
คือปทุม ดอกบัวอันเกิดในน่าอันสูงสุด ชื่อว่า ชลชุตตมะ ชื่ออันเสมอ
ด้วยดอกบัวอันเกิดในป่าอันสูงสุดของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีชื่อเสมือน
ดอกบัวที่เกิดในป่าอันสูงสุด ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระนาม
เสมือนกับด้วยดอกบัวที่เกิดในน้ำอันสูงสุด. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น
เพราะประกอบด้วยนัยอันมาแล้วในพระบาลีแล.
จบอรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
ปัญจหัตถิเถราปทานที่ ๕ (๔๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๕ กำ
[๔๗] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้มีพระจักษุทอดลง
ตรัสพอประมาณ มีพระสติ ทรงสำรวมอินทรีย์ เสด็จมาใน
แถวตลาด.
ดอกอุบล ๕ กำที่เราทำเป็นพวงมาลัยไว้มีอยู่ เราเลื่อมใส
ได้เอาดอกอุบลนั้นบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยมือทั้งสองของตน
และดอกไม้เหล่านั้นเรายกขึ้นเป็นหลังคาแห่งพระศาสดานั้น
เราทรงดอกไม้ถวายพระมหานาค ดังศิษย์กั้นร่มถวายอาจารย์
ฉะนั้น.
ในกัปที่สามหมื่น เราได้ยกดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่สองพันแต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์ ๕ ครั้ง และเป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพละมาก มีพระนามชื่อว่าหัตถิยะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัญจหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัญจหัตถิยเถรปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
๔๕. อรรถกถาปัญตหถิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัญจหัตถิยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า สุเมโธ นาม
สมฺพุทฺธโธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สั่ง
สมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สุเมธะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว
เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอยู่. สมัยนั้น ชนทั้งหลายได้นำดอกอุบล ๕ กำมือ
มา. ท่านถือดอกอุบล ๕ กำมือเหล่านั้น บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ
นามว่าสุเมธะ ผู้กำลังเสด็จเที่ยวไปบนถนน. ดอกอุบลเหล่านั้นได้ลอยไป
เป็นเพดานทำเป็นร่มอยู่ในอากาศไปพร้อมกับพระตถาคตทีเดียว. ท่านเห็น
ดังนั้นเกิดโสมนัส เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว ระลึกถึงบุญนั้นนั่นแล
ตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ
มา ๆ อยู่ ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลบรรลุนิติภาวะ
แล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต.
ท่านปรากฏโดยชื่อตามกุศลที่ตนบำเพ็ญมาว่า ปัญจหัตถิยเถระ ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศทิฏฐปุพพจริตาปทาน
ด้วยปัญญาโดยประจักษ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺโธ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเมโธ เชื่อมความว่า เมธาดี คือ
ปัญญา มีปัญญาเครื่องแตกฉานการแทงตลอดสัจจะ ๔ เป็นต้น มีแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คือพระสัมพุทธะ พระ-
นามว่า สุเมธะ เสด็จไประหว่างถนนในร้านตลาด. บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
แปลว่า มีตาทอดลง. บทว่า มิตภาณี ความว่า มีปกติรู้จักประมาณแล้ว
จึงพูด อธิบายว่า รู้จักประมาณแล้วจึงแสดงธรรม. คำที่เหลือเข้าใจง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัญจหัตถิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
ปทุมัจฉทนิยเถราปทานที่ ๖ (๔๖)
ว่าด้วยผลแห่งการกั้นร่มเป็นพุทธบูชา
[๔๘] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าวิปัสสี ผู้อัครบุคคลนิพพาน
แล้ว เราถือดอกปทุมอันบานดียกขึ้นบูชาที่จิตกาธาร ในเมื่อ
มหาชนยกพระศพขึ้นจิตกาธาร จิตกาธารสูงขึ้นไปจรดนภา-
กาศ เราได้ทำร่มไว้ในอากาศ กั้นไว้ที่จิตกาธาร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ด้วยดอกไม้ใดบูชา ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๔๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
ปทุมเป็นใหญ่มีพละมากครอบครองแผ่นดินมีสมุทรสาคร ๔
เป็นที่สุด.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมัจฉทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทุมัจฉทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
๔๖. อรรถกถาปทุมัจฉาทนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทุมัจฉทนยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสีปรินิพพานแล้ว ท่านบูชาเชิงตะกอนด้วยดอก
ปทุมทั้งหลาย.
ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นนั่นแล ท่านดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติ
จากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในสุคตินั้นแล เสวยสมบัติทั้งสอง คือ ทิพย-
สมบัติและมนุษย์สมบัติหลายครั้ง ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
ทั้งหลายนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อม
ใสในพระศาสดา บวชในพระศาสนา เพียรพยายามอยู่ไม่นานนัก ก็
บรรลุพระอรหัต. เมื่อท่านพักอยู่ในที่นั้น ๆ มีที่พักกลางคืนและที่พัก
กลางวันเป็นต้น วิหารได้ฉาบไปด้วยดอกปทุมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงปรากฏนามว่า ปทุมัจฉทนิยเถระ ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน
ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพุเต ความว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน
แล้ว ด้วยขันธปรินิพพาน เมื่อพระสรีระของพระสัมมาสัมพุทธะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
พระนามว่าวิปัสสี ถูกนำขึ้นสู่เชิงตะกอนอันวิจิตร เราได้ถือเอากลีบปทุม
อันบานดีแล้วยกขึ้นเชิงตะกอนบูชา. คำในคาถาที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น
เพราะนัยอัน ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาปทุมัจฉทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
สยนทายกเถราปทานที่ ๗ (๔๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายที่นอน
[๔๙] เราได้ถวายที่นอนอย่างดีเลิศ ลาดด้วยภัณฑะ คือผ้า แต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีจิตเมตตา ผู้คงที่
พระผู้มีพระภาคชินเจ้า ทรงรับที่นอนอันเป็นกัปปิยะแล้วเสด็จ
ลุกจากที่นอนนั้นเหาะขึ้นสู่อากาศ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายที่นอนใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน.
ในกัปที่ ๕๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนาม
ว่าวรุณเทพ ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ประการ มีพระพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสยนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสยนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
๔๗. อรรถกถาสยนทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสยนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต. ดังนี้
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง บรรลุนิติ-
ภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา สร้างเตียงเพื่อเป็นที่นอน ด้วยทอง
อันเป็นสินไหมของช้าง ลาดด้วยเครื่องลาดอันวิจิตรหาค่ามิได้ บูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงรับแล้วเสวย
ด้วยทรงพระอนุเคราะห์ท่าน. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยทิพยสมบัติและ
มนุษย์สมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสนาของพระศาสดา บวชแล้วเจริญ
วิปัสสนาไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญที่ท่าน
เคยบำเพ็ญแต่ก่อนว่า สยนทายกเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
คำทั้งหมดนั้น มีอรรถรู้ได้ง่ายโดยกระแสแห่งนัยอันมาในพระบาลีแล.
จบอรรถกถาสยนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
จังกมทายกเถรปทานที่ ๘ (๔๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายที่จงกรม
[๕๐] เราได้ให้ทำสถานที่จงกรมก่อด้วยอิฐ ถวายแด่พระมุนี
พระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่.
สถานที่จงกรมสร้างสำเร็จดีแล้ว โดยสูง ๕ ศอกโดยยาว
๑๐๐ ศอก ควรเป็นที่เจริญภาวนา น่ารื่นรมย์ใจ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นพระผู้อุดม
ทรงรับแล้ว ทรงกำทรายด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายทรายนี้ และด้วยการถวายที่จงกรมอันทำ
เสร็จดีแล้ว ผู้นั้นจักได้เสวยผลแต่ทรายอันประกอบด้วยแก้ว
๗ ประการ
จักเสวยเทวรัชสมบัติ ในเทวดาทั้งหลายตลอด ๓ กัป อัน
นางอัปสรแวดล้อมแล้วเสวยสมบัติ
เขามาสู่มนุษยโลกแล้ว จักได้เป็นพระราชาในแว่นแคว้น
และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน ๓ ครั้ง ในกัป
ที่ ๑,๘๐๐ เราได้ทำกรรมใดครั้นเวลานั้น ด้วยกรรมนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายที่จงกรม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
ทราบว่า ท่านพระจังกมทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจังกมทายกเถราปทาน
๔๙. อรรถกถาจังกมนทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระจังกมนทายถเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
มุนิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ได้สร้างที่จงกรม
อันงดงามเสมือนกับกองแห่งเงิน ฉาบด้วยปูนขาวอันเป็นที่สูง แล้วลาด
ทรายขาวเช่นกับสร้อยไข่มุก ได้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ก็แลครั้นทรงรับที่จงกรมแล้ว ทรงเข้าสมาธิ
อันสำเร็จทางกายและจิตอันเป็นสุข. แล้วทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคต
ผู้นี้ จักได้เป็นสาวกในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
โคตมะ. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เสวยสมบัติทั้งสองในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บวชในศาสนา ไม่นานนักก็บรรลุ
พระอรหัต ท่านได้ปรากฏโดยนามแห่งบุญที่ท่านบำเพ็ญมาว่า จังกมน-
ทายกเถระ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุญกรรมที่ตนเคยบำเพ็ญ ในกาลก่อน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถทส-
สิสฺส มุนิโน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถทสฺสิสฺส ความว่า ชื่อว่า
อัตถทัสสี เพราะเห็นประโยชน์ คือความเจริญงดงาม ได้แก่พระนิพพาน,
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอัตถทัสสี เพราะมีปกติรู้เห็นประโยชน์คือพระนิพพาน.
เชื่อมความว่า ข้าพเจ้าได้สร้างที่จงกรมอันน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่หลีกเร้น
เป็นที่เจริญภาวนาพึงกระทำไว้ในใจ ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปกติ
เห็นประโยชน์นั้น ผู้เป็นมุนี คือผู้ประกอบด้วยญาณคือโมนะเครื่องเป็น
ผู้นิ่ง. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น ตามกระแสแห่งนัยที่กล่าวแล้ว
นั้นแล.
จบอรรถกถาจังกมนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
สุภัททเถราปทานที่ ๙ (๔๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยผอบไม้จันทน์
[๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้ควรรับเครื่องบูชา ผู้มียศมาก ทรงถอนหมู่ชนขึ้นแล้ว จะ
เสด็จนิพพาน.
ก็เมื่อพระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว
แล้ว จะเสด็จนิพพาน หมู่ชนและเทวดาเป็นอันมากได้
ประชุมกันในเวลานั้น.
เราเอากฤษณาและดอกมะลิซ้อน ใส่ผอบไม้จันทน์เต็ม
แล้ว ร่าเริง มีจิตโสมนัส ยกขึ้นบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นระอุดม.
พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรง
ทราบความดำริของเรา ทรงบรรทมอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดเอาร่ม กฤษณาและมะลิซ้อน บังร่มให้เราในกาล
ที่สุดเราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
บุคคลผู้นี้เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว จักไปสู่หมู่เทวดาชั้นดุสิต
เขาได้เสวยรัชสมบัติในชั้นดุสิตนั้นแล้ว จักไปสู่ชั้นนิมมา-
นรดี เขาถวายดอกมะลิซ้อนอันประเสริฐสุด ด้วยอุบายนี้แล้ว
จักปรารภกรรมของตนเสวยสมบัติ บุคคลผู้นิจักบังเกิดในชั้น
ดุสิตนั้นอีก เคลื่อนจากชั้นนั้นแล้ว จักไปสู่ความเป็นมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
พระมหานาคศากยบุตรผู้เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้
มีพระจักษุ ทรงยังสัตว์ให้ตรัสรู้เป็นอันมากแล้ว จักเสด็จ
นิพพาน ในกาลนั้น เขาอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเข้าไป
เฝ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักทูลถามปัญหาใน
กาลนั้น
พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก ทรงให้
ร่าเริง ทรงทราบบุพกรรมแล้ว จักทรงเปิดเผย (แสดง)
สัจจะทั้งหลาย เขายินดีว่า ปัญหานี้พระศาสดาทรงปรารภ
แก้แล้ว มีใจชื่นชม ถวายบังคมพระศาสดาแล้วจักทูลขอ
บวช.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงฉลาดในธรรมอันเลิศ ทรง
เห็นว่าเขามีใจเลื่อมใส ยินดีด้วยกรรมของตน จักทรงให้บวช
บุคคลผู้นี้พยายามแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงได้ แล้วจัก
ไม่มีอาสวะ นิพพานในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
จบภาณวารที่ ๕
เราประกอบด้วยบุพกรรม มีจิตชื่นชม ตั้งมั่นด้วยดี เป็น
บุตรผู้เกิดแต่พระหทัยของพระพุทธเจ้า อันธรรมนิรมิตดีแล้ว
เราเข้าไปเฝ้าพระธรรมราชาแล้ว ได้ทูลถามปัญหาอันสูงสุด
และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหาของเรา ได้ตรัส
กระแสธรรม เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีใน
ศาสนาอยู่ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระผู้นายกอุดม ไม่ทรงมีอุปาทาน เสด็จนิพพานแล้ว
ดังประทีปดับเพราะสิ้นน้ำมันฉะนั้น พระสถูปแก้วของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าสูงประมาณ ๗ โยชน์ เราได้ทำธงสวยงาม
กว่าธงทั้งปวงเป็นที่รื่นรมย์ใจ บูชาไว้ที่พระสถูปนั้น พระ-
อัครสาวกชื่อติสสะของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เป็น
บุตรผู้เกิดครั้นหทัยของเรา เป็นทายาทในพระพุทธศาสนา
เรามีใจเลวทราม ได้กล่าววาจาอันไม่เจริญแก่พระอัคร-
สาวกนั้นด้วยผลแห่งกรรมนั้น แต่ในภายหลัง ความเจริญ
จึงได้มีแก่เรา.
พระมุนีมหาวีรชินเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงประทานบรรพชาแก่เราบนที่บรรทมครั้งสุดท้าย ณ สาลวัน
อันเป็นที่เวียนมาแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย
บรรพชาก็มีในวันนี้เดี๋ยวนี้เอง อุปสมบทก็ในวันนี้เอง
ปรินิพพานก็ในวันนี้เอง เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุภัททเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสถภัททเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
๔๙. อรรถกถาสุภัททเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุภัททเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร
โลกวิทู ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ผู้สมบูรณ์
ด้วยสมบัติ เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บรรลุนิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้
มีเหย้าเรือน เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน และเห็นเทวดา
ในหมื่นจักรวาลประชุมกัน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม
มีดอกคนทิสอ ดอกลำเจียก และดอกอโศกเขียว และขาวเป็นต้น เป็นอเนก.
ด้วยบุญกรรมนั้นท่านดำรงอยู่จนสิ้นอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวย
ทิพยสมบัติในภพชั้นดุสิตเป็นต้น จากนั้นเสวยมนุษย์สมบัติในหมู่มนุษย์
ได้เป็นผู้อันเขาบูชาด้วย ดอกไม้ทั้งหลาย อันไปดีในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว.
ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติตระกูลหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว แม้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว ก็ไม่ได้เห็นพระ-
พุทธเจ้า ตราบจนถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจะปรินิพพาน. บวช
ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน
นั้นเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว. ท่านได้ปรากฏโดยนามแห่งบุญที่บำเพ็ญไว้
ในกาลก่อนว่าสุภัททะ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน
ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร โลกวิทู ดังนี้.
คำนี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระทรง
บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพานนั่นแล. ได้พยากรณ์คำนี้ว่า สุณาถ
มม ภาสโต ฯ เป ฯ นิพฺพายิสฺสตินาสโว.
จบอรรถกถาปัญจมภาณวาร
ท่านเมื่อแสดงข้อปฏิบัติของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปุพฺพกมฺเมน
สยุตฺโต ดังนี้. บทว่า เอกคโค แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า
สุสมาหิโต แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี อธิบายว่า ผู้สงบกายและจิต.
บทว่า พุทฺธสฺส โอรโส ปุตโต ความว่า ท่านฟังโอวาทานุสาสนีที่
ออกจากอกคือหทัย บรรลุพระอรหัตผลแล้ว.บทว่า ธมฺมโตมฺหิ สุนิมฺมิโต.
ความว่า เกิดจากธรรม คือจากกรรมฐานกรรม อธิบายว่า เรามีนิมิตดี
โดยอริยชาติ คือเป็นผู้มีกิจทั้งปวงสำเร็จแล้วด้วยดี.
บทว่า ธมฺมราช อุปคมฺม ความว่า เราเข้าไปเฝ้า คือเข้าไปใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระราชา เป็นอิสระกว่าสัตว์ทั้งปวงโดยธรรม.
บทว่า อาปุจฺฉึ ปญฺหมุตฺตม ความว่า เราได้ถามปัญหาอันสูงสุด อันเกี่ยว
ด้วยการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ อายตนะ ธาตุ และสัจจะเป็นต้น. บทว่า กถยนฺโต
จ เม ปญฺห ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายนั้น เมื่อตรัสคือ
เมื่อพยากรณ์ปัญหาแก่เรา. บทว่า ธมฺมโสต อุปานยิ ความว่า ท่าน
ได้เข้าใกล้คือเข้าถึงกระแสธรรม คือห้วงแห่งธรรม กล่าวคืออนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
บทว่า ชลชุตฺตมนายโก ความว่า เป็นโวหารที่สำเร็จแล้ว เป็น
ชื่อของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เพราะกระทำ ม อักษรให้เป็น ย อักษร.
บทว่า นิพฺพายิ อนุปาทาโน ความว่า ดับแล้วเพราะไม่ยึดถือ
ขันธ์ ๕ อันเป็นอารมณ์ของอุปาทานแล้วคือไม่ปรากฏ. ได้แก่ไปสู่ที่
ไม่เห็น อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่แม้ในที่ไหนๆ เช่นในมนุษยโลกเป็นต้น.
บทว่า ทีโป ว เตลสงฺขฺยา เชื่อมความว่า ดับไปดุจประทีปที่ดับไป
เพราะสิ้นไปคือความไม่มีแห่งไส้และน้ำมัน.
บทว่า สตฺตโยชนิก อาสิ ความว่า พระสถูปอันสำเร็จด้วย
รัตนะของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ปรินิพพานแล้วนั้น
ได้สั่งถึง ๗ โยชน์. บทว่า ธช ตตฺถ อปูเชสึ ความว่า เราได้บูชาธง
อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ โดยประการทั้งปวงที่พระเจดีย์นั้น.
บทว่า กสฺสปสฺส จ พุทฺธสฺส ความว่า จำเดิมแต่กาลปรินิพพาน
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เชื่อมความว่า
เราท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ โอรสคือบุตรของเรานามว่าติสสะ
ได้เป็นอัครสาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ คือเป็น
ทายาทในศาสนาของพระชินเจ้า
บทว่า ตสฺส หีเนน มนสา เราผู้มีใจ คือมีจิตอันเลวทรามลามก
ได้กล่าวคือแสดงคำว่า อนฺตโก ปจฺฉิโม ดังนี้ อัน เป็นคำไม่เจริญ ไม่ดี
ไม่เหมาะต่อพระอัครสาวก ชื่อว่า ติสสะ ผู้เป็นบุตรของเรานั้น. บทว่า
เตน กมฺมวิปาเกน ความว่า ด้วยวิบากแห่งอกุศลกรรม คือการกล่าวตู่
พระอรหันต์นั้น. บทว่า ปจฺฉิเม อทฺทส ชิน ความว่า เราได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
พระชินเจ้า คือผู้พึงชนะมาร ได้แก่พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
ผู้บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน อันเป็นที่แวะเวียนแห่งมัลล-
กษัตริย์ทั้งหลายในกาลสุดท้าย คือในกาลเป็นที่ปรินิพพาน. บาลีว่า ปจฺฉา
เม อาสิ ภทฺทก ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เรานั้นได้มีการแทงตลอดสัจจะ ๔
อันเจริญอันดีในกาลอันเป็นภายหลัง แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
โคตมะนั้น คือในกาลเป็นที่สุด ได้แก่ในกาลใกล้ต่อพระนิพพานแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
บทว่า ปพฺพาเชสิ มหาวีโร เชื่อมความว่า พระมหาวีระ ผู้เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทุกจำพวก ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ผู้ชนะมาร
ผู้เป็นมุนี. ทรงบรรทมในที่บรรทม คือบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน
ให้เราบรรพชาในปัจฉิมกาล. ในป่าสาลวโนทยานอันเป็นที่แวะเวียนแห่ง
มัลลกษัตริย์.
บทว่า อชฺเชว ทานิ ปพฺเพชฺชา ความว่า วันนี้แหละคือในวัน
เป็นที่ปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้บรรพชา อนึ่ง วันนี้
แหละเราได้อุปสมบท เชื่อมความว่า วันนี้เราได้ปรินิพพาน ในที่พร้อม
พระพักตร์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า.
จบอรรถกถาสุภัททเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
จุนทเถราปทานที่ ๑๐ (๕๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้
[๕๒] เราได้ให้ทำดอกไม้อันเป็นวัตถุควรบุชา เพื่อถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่ แล้วปกปิดด้วยดอกมะลิ เราให้ทำดอกไม้นั้นสำเร็จ
แล้ว น้อมเข้าไปถวายแด่พระพุทธเจ้า และถือเอาดอกไม้ที่
เหลือไปบูชาพระพุทธเจ้า.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส นำเอาดอกไม้เข้าไปบูชา
พระพุทธเจ้าผู้เช่นกับทองคำมีค่า เป็นอัครนายกของโลก.
พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามความสงสัยแล้ว ผู้ข้ามห้วง
กิเลสได้แล้วแวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ประทับนั่งในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า ผู้ใดได้ถวายดอกไม้มี
ค่า มีกลิ่นหอมฟุ้งแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย
จงฟังเรากล่าว.
บุคคลผู้นี้เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว จักแวดล้อมด้วยหมู่เทวดา
เกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิ จักไปสู่เทวโลก ภพของบุคคลนั้น
สูงเสียดฟ้า สำเร็จด้วยทองและแก้วมณี วิมานทั้งหลาย
อันเกิดด้วยบุญกรรม จักปรากฏ.
เขาจักได้เสวยเทวรัชสมบัติ ๗๔ ครั้ง จักแวดล้อมด้วย
นางอัปสร เสวยสมบัติ จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอบ-
ครองพสุธา ๓๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง จัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ มีนามชื่อว่าทุชชยะ เสวยบุญนั้นประกอบ
ด้วยกรรมของตน ไม่ไปสู่วินิบาต จักไปสู่ความเป็นมนุษย์
เงินที่บุคคลนั้นสั่งสมไว้แล้ว ตั้งร้อยโกฏิมิใช่น้อย.
บุคคลนี้จักบังเกิดในกำเนิดเป็นพราหมณ์ เป็นบุตรผู้มี
ปัญญาของวังคันตพราหมณ์ เป็นโอรสผู้เป็นที่รักของนางสารี-
พราหมณ์.
และภายหลังเขาจักบวชในศาสนาของพระอังคีรส จักได้
เป็นพระสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่า จูฬจุนทะ.
เขาจักได้เป็นพระขีณาสพแต่ยังเป็นสามเณรทีเดียว กำ-
หนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.
เราได้บำรุงพระมหาวีรเจ้าและพระสาวกอื่น ๆ ผู้มีศีลเป็น
อันมาก และบำรุงพระเถระผู้พี่ชายของเราเพื่อบรรลุประโยชน์
อันสูงสุด ครั้นเราบำรุงพระเถระผู้พี่ชายของเราแล้ว ได้เอา
ธาตุใส่ไว้ในบาตร นำเข้าไปถวายพระสัมพุทธเจ้าเชษฐบุรุษ
ของโลก ผู้นราสภ.
พระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทรงรับธาตุนั้นด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง แล้วจักทรงพระโอวาท จึงทรงประกาศพระ-
อัครสาวก จิตของเราพ้นวิเศษแล้ว และศรัทธาของเราตั้งมั่น
ดีแล้ว เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
ทราบว่า ท่านพระจุนทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนั้นแล.
จบจุนทเถราปทาน
๕๐. อรรถกถาจุนทรเถราปทาน
อปทานของท่านพระจุนทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลอันสมบูรณ์
ด้วยสมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ได้ให้สร้างวัตถุ
อันควรมีค่าด้วยทอง ล้วนแล้วด้วยรัตนะ ๗ ฉาบด้วยดอกมะลิ บูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดอกไม้เหล่านั้น ได้ฟังขึ้นสู่อากาศตั้งโดยอาการ
เป็นเพดาน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ท่านว่า ในอนาคต
เธอจักเป็นสาวกนามว่า จุนทะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าโคดม ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก
เสวยสุขในเทวโลกชั้น กามาพจร ๖ ชั้น ตามลำดับ และเสวยจักรพรรดิสมบัติ
เป็นต้น ในมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรแห่งนางรูป-
สารีในตระกูลพราหมณ์ เป็นน้องชายของพระสารีบุตรมหาเถระ. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
ท่านบรรลุนิติภาวะแล้ว ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า จุนทะ เพราะ
แปลง ส อักษร ให้เป็น จ อักษร เพราะทรวดทรงรูปและวัยของท่าน
เป็นสิ่งสวยงาม. ท่านเจริญวัยแล้ว เห็นโทษในการครองเรือน และ
อานิสงส์ในบรรพชา บวชในสำนักของพระเถระผู้เป็นพี่ชาย เจริญ
วิปัสสนาไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.
ท่านบรรลุพระอรหัตผล วันหนึ่ง ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้ คำนั้นมีอรรถอันท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล. แม้
อรรถว่า อคฺฆิย มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า วิติณฺณกงฺโข สมฺพุทฺโธ เชื่อมความว่า ท่านข้ามความ
สงสัยเสียได้ คือเป็นพระสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เพราะท่านให้ความ
สงสัยสิ้นไป โดยการบรรลุมรรคจิต โดยพิเศษ. บทว่า ติณฺโณเฆหิ
ปุรกฺขโต ความว่า ผู้อันพระขีณาสพห้อมล้อมคือแวดล้อม เพราะท่าน
ข้าม คือก้าวล่วงโอฆะ๔ มีกาโมฆะเป็นต้นได้แล้ว. พยากรณ์คาถามีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น.
บทว่า อุปฏฺหึ มหาวีร ความว่า เราได้บำรุง คือได้กระทำการ
บำรุง พระพุทธเจ้าผู้ได้นามว่า มหาวีระ เพราะได้บำเพ็ญบารมี กระทำ
ความเพียรไว้ในสี่อสงไขยกำไรแสนกัป เพื่อบรรลุพระนิพพานอันเป็น
ประโยชน์สูงสุด. บทว่า อญฺเ จ เปสเล พหู ความว่า ไม่ใช่เราได้
บำรุงพระพุทธเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่ เชื่อมความว่า เราได้บำรุงท่าน
ผู้มีศีล และพระสาวกเหล่าอื่นผู้บรรลุธรรมอันเลิศเป็นอันมาก และได้
บำรุงพระสารีบุตรเถระผู้เป็นพี่ชายของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
บทว่า ภาตร เม อุปฏฺหิตวา ความว่า เราได้บำรุงพี่ชายของเรา
แล้วทำวัตรปฏิบัติ ในกาลที่ท่านปรินิพพานแล้ว เพราะท่านปรินิพพาน
ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้า เราก็ถือเอาพระธาตุของท่าน เกลี่ยลงในบาตร
แล้วน้อมเข้าไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าโลก
บทว่า อุโภ อตเถหิ ปคฺคยฺห ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ถือเอาพระธาตุที่เราให้แล้วนั้น โดยประการด้วยมือทั้งสองของพระองค์
เมื่อจะแสดงพระธาตุนั้นด้วยดี จึงระบุคือประกาศความที่พระสารีบุตร
เถระเป็นพระอัครสาวก. คำที่เหลือมีอรรถคนทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจุนทเถราปทาน
จบวรรคที่ ๕
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุปาลิเถราปทาน ๒. โสณโกฏิยเวสสเถราปทาน ๓. ภัททิย-
กาฬิโคธายปุตตเถราปทาน ๔. สันนิฏฐาปกเถราปทาน ๕. ปัญจหัตถิย-
เถราปทาน ๖. ปทุมัจฉทนิยเถราปทาน ๗. สยนทายกเถราปทาน ๘.
จังกมทายกเถราปทาน ๙. สุภัททเถราปทาน ๑๐. จุนทเถราปทาน.
คาถาในวรรคนั้น มี ๑๔๔ คาถา.
จบอุปาลิวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
วีชนีวรรคที่ ๖
วิธูปนทายกเถราปทานที่ ๑ (๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัด
[๕๓] เราได้ถวายพัดเล่มหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์
มั่นคง.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ประนมอัญชลีถวายบังคม
พระสัมพุทธเจ้า บ่ายหน้าไปทางทิศอุดรหลีกไป.
พระศาสดาผู้อัครนายกของโลก ทรงรับพัดวีชนีแล้ว ประ-
ทับยืน ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ ผู้นี้จักไม่ไปสู่
วินิบาตตลอดแสนกัป.
เราปรารภความเพียร มีจิตแน่วแน่ มีใจตั้งมั่นในใจโตคุณ
(คุณคือการกำหนดรู้ใจผู้อื่น) มีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้
บรรลุพระอรหัต.
ใน ๖ หมื่นกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง ทรงมี
พละมาก พระนามเหมือนกันว่า พิชชมานะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวิธูปนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวิธูปนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
วีชนีวรรคที่ ๖
๕๑. อรรถกถาวิธูปนทายกเถราปทาน
อปทานของพระวิธูปนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เกิดศรัทธา
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลเป็นคฤหัสถ์ ได้สร้างพัดวีชนีอัน
สำเร็จด้วยทองเงิน แก้วมุกดา และแก้วมณี ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า,
ด้วยกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั่งหลาย เสวย
สมบัติทั้งสอง ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนี้ เสด็จ
อุบัติแล้ว ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ตบแต่งมีเหย้าเรือนแล้ว
เห็นโทษในการครองเรือน และเห็นอานิสงส์ในบรรพชา เพียบพร้อมด้วย
ศรัทธา บวชในพระศาสนาเจริญวิปัสสนา ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ท่านหวนระลึกถึงบุพกรรมของตน เพราะบุญกรรมนั้น เราได้
โลกุตรสมบัตินี้ รู้กรรมนั้นโดยประจักษ์ เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้. คำนั้นมีอรรถอันท่านกล่าว
ไว้ในหนหลังแล้วแล. บทว่า วีชนิกา มยา ทินฺนา ความว่า ชื่อว่า วีชนี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
เพราะอรรถว่า ยังความเร่าร้อนของสัตว์ทั้งหลายผู้เร่าร้อนอยู่ ให้ดับโดย
พิเศษ คือยังลมอันมีความเยือกเย็นให้เกิด. พัดวีชนีนั้น ชื่อว่า วีชนิกา.
พัด วีชนีนั้นสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ รุ่งโรจน์อยู่ เราได้สร้างถวายแล้ว.
จบอรรถกถาวิธูปนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
สตรังสิยเถราปทานที่ ๒ (๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระโลกนายก
[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ เสด็จขึ้นภูเขาอันสูงสุด
แล้ว ประทับนั่งอยู่ เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบมนต์ อยู่ใน
ที่ไม่ไกลภูเขา.
ได้เช่าไปเผ่าพระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็น
นราสภ ประนมกรอัญชลีแล้ว ชมเชยพระผู้นายกของโลกว่า
พระมหาวีรพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงประกาศกรรมอันประเสริฐ
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงกำเริบดังมหา-
สมุทร หาผู้ต้านทานได้ยากดุจอรรณพ ไม่ทรงครั่นคร้าม
เหมือนราชสีห์ทรงแสดงธรรม
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทราบความดำริ
ของเรา ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ถวายอัญชลีนี้ และเชยชมพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓ หมื่นกัป.
ในแสนกัป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอังคีรส ผู้มีกิเลส
ดังหลังคาเปิด จักเสด็จอุบัติในภพนั้น ผู้นั้น จักเป็นโอรสผู้รู้
มรดกในธรรมของพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต
แล้ว จักเป็นพระอรหันต์มีชื่อว่าสตรังสี.
เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด ออกบวชเป็นบรรพชิตมีชื่อว่า
สตรังสี รัศมีของเราแผ่ออกไป เรามักเพ่งฌาน ยินดีใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ฌานอยู่มณฑปหรือโคนไม้ เราทรงกายอันเป็นที่สุด อยู่ใน
ศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ตลอด ๖ หมื่นกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรง
พระนามว่าโรมะ ทรงสมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสตรังสิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ฉะนี้แล.
จบสตรังสิยเถราปทาน
๕๒. อรรถกถาสตรังสิเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระสตรังสิเถระ มาคำเริ่มต้นว่า อุจฺจิย เสลมารุยฺห
ดังนี้.
พระเถรแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงฝั่งในสักกฏพยากรณ์และในไตรเพท ละการครอง
เรือน เข้าสู่บวชเป็นฤๅษี สำเร็จการอยู่ในหิมวันตประเทศ. ในสมัยนั้น
พระผู้มีภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงลูกหนึ่ง
๑. บาลี สตรังสิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
เพราะความเป็นผู้ใคร่ต่อความสงัด แล้วนั่งดุจกองไฟที่ลุกโพลง. ดาบส
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ประทับนั่งอยู่เช่นนั้น เกิดโสมนัส ประ-
คองอัญชลี ชมเชยด้วยเหตุหลายอย่าง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว เสวยทิพยสมบัติในกามาวจรเทวโลก ๖ ชั้น จากนั้นก็
บังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า สตรังสี ในมนุษยโลก.
ท่านเสวยสมบัติแม้นั้นถึงหลายครั้ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น บรรพชาบรรลุพระอรหัต เพราะ
ความที่ตนมีญาณแก่รอบแล้วด้วยอำนาจบุญสมภารในกาลก่อน. ท่านระลึก
ว่า เพราะกรรมอะไร เรามีอายุ ๗ ขวบเท่านั้น จึงบรรลุสันติบทตาม
ลำดับ เห็นบุพกรรมด้วยญาณโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุจฺจิย เสลมารุยฺห
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจิย เชื่อมความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จขึ้นสู่ภูเขาสูงอันล้วนแล้วแต่หินแล้ว
ประทับนั่ง. บทว่า ปพฺพตสฺสาวิทูรมฺหิ ความว่า ในที่ใกล้แห่งภูเขาที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง. บทว่า พฺราหฺมโณ มนฺตปารคู ความว่า
พราหมณ์คนหนึ่งถึงฝั่ง คือที่สุดแห่งไตรเพทกล่าวคือมนต์. พราหมณ์
ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์นี้แสดงอ้างถึงตนดุจผู้อื่น. บทว่า อุปวิฏฺ มหาวีร
ความว่า ซึ่งพระชินเจ้าผู้มีความเพียร ผู้นั่งอยู่บนภูเขานั้น ผู้ประเสริฐ
เช่นไร. เชื่อมความว่า เราได้ประคองอัญชลี คือประคองกระพุ่มมือ
อัญชลีเหนือเศียร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ ผู้เป็นเทพยิ่ง
กว่าเทพ คือพรหมและเทพชั้นกามาวจรหกชั้นทั้งสิ้น ผู้ชื่อว่านราสภะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
คือผู้องอาจกว่านระทั้งหลาย ผู้ประเสริฐ ผู้นำโลก คือผู้นำสัตว์โลกทั้งสิ้น
ผู้ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไว้เหนือเศียรเกล้า แล้วชมเชย คือสดุดี.
บทว่า อภาสถ ความว่า ได้พยากรณ์ว่า ผู้ใดได้ให้อัญชลีนี้ ฯลฯ
ผู้นี้จัก.... คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสตรังสิเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
สยนทายกเถราปทานที่ ๓ (๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายที่นอน
[๕๕] เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายที่นอนแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งปวงพระองค์นั้น ด้วยการ
ถวายที่นอนนั้น โภคสมบัติย่อมเกิดแก่เรา เปรียบเหมือนพืช
(ข้าวกล้า) สำเร็จในนาดี นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน.
เราย่อมสำเร็จการนอนในอากาศย่อมทรงแผ่นดินนี้ไว้ เรา
เป็นใหญ่ในสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน ใน
๕,๐๐๐ กัปได้เป็นพระเจ้ามหาวีระ ๘ ครั้ง. ในกัปที่ ๓,๔๐๐ ได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีพละมาก ๔ ครั้ง
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสยนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสยนทายกเถราปทาน
๕๓. อรรถกถาสยนทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสยนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตระ-
พุทธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีสกุล
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครองฆราวาส เสวย สุขอยู่ ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระศาสดา เลื่อมใสในพระศาสดา ให้คนทำเตียงอันควรแก่
ค่ามาก สำเร็จด้วย งา ทอง เงิน แก้วมุกดา และแก้วมณี ลาด
แผ่นผ้าอันนำมาแต่เมืองจีน และผ้ากัมพลเป็นต้น ถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เพื่อทรงบรรทม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการอนุเคราะห์
แก่ท่าน แล้วทรงบรรทม ณ ที่นั่น ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไป
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสุขในการไปในอากาศและสุขในการ
นอนเป็นต้น อันสมควรแก่บุญกรรมนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในสกุลแห่งหนึ่ง อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังพระ-
ธรรมเทศนาของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใสบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา ไม่ช้านัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตตรพุทฺธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถ
อัน ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า สุเขตฺเต พีชสมฺปทา ความว่า พืชที่บุคคลหว่านไว้ใน
นาดี อันปราศจากหญ้าและหยากเยื่อ สมบูรณ์ด้วยเปือกตมเป็นต้น ย่อม
ยังผลดีให้สำเร็จฉันใด ทานที่บุคคลหว่านไว้แล้วในนาคือบุญในสันดาน
อัน บริสุทธิ์ อันปราศหญ้าและหยากเยื่อ กล่าวคือ กิเลสพันห้า ราคะ
และโทสะเป็นต้น แม้มีประมาณน้อยก็ย่อมมีผลมาก ฉันนั้น. คำที่เหลือ
มีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสยนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
คันโธทกทายกเถราปทานที่ ๔ (๕๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายหม้อน้ำหอม
[๕๖] (ในกาลนั้น) ได้มีการฉลองพระมหาโพธิ์แห่งพระพุทธเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ เราได้ถือเอาหม้ออันวิจิตร บรรลุเต็มด้วย
น้ำหอมแล้วถวายได้ ก็ในเวลาสรงน้ำไม้โพธิ์ มหาเมฆยังฝน
ให้ตก และได้มีเสียงบันลือดังลั่น ในเมื่อสายฟ้าผ่า.
ด้วยกำลังสายฟ้านั้นแล เราทำกาละ ณ ที่นั้น เราอยู่ใน
เทวโลก ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม
โอ พระคุณสมบัติแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย ซากศพ
ของเราตกลง เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก.
ภพของเรา ๗ ชั้น สูงสุดน่าหวาดเสียว นางเทพกัญญา ๑
แสนแวดล้อมเราเสมอ ความป่วยไข้ไม่มีแก่เรา ความเศร้า.
โศกไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นความเดือดร้อนเลย นี้เป็นผลแห่ง
บุญกรรม ในกัปที่ ๒,๘๐๐ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า
สังวสิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันโธทกทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบคันโธทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
๕๔. อรรถกถาคันโธทกทายกเถรปทาน
อปทานของท่านพระคันโธทกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภาร ในพระมุนีผู้ประเสริฐองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในเรือน
มีสกุล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เห็นชาวเมืองกระทำการ
บูชาต้นโพธิ์ จึงบรรจุหม้ออันวิจิตรด้วยน้าหอมเจือด้วยจันทน์ การบูร
และกลัมพักเป็นต้นให้เต็ม รดต้นโพธิ์ ขณะนั้นฝนตกโดยเป็นสายน้ำ
ใหญ่ ในกาลนั้นท่านทำกาลด้วยอสนีบาต ด้วยบุญกรรมนั้น ๆ เอง
ท่านบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า
อโห พุทโธ อโห ธมฺโม ดังนี้. ท่านเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ เป็นผู้ปราศจากความเร่าร้อนทั้งปวง เข้าถึง
ความผู้เย็นเป็นสุขในที่ ๆ คนเกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในเรือนมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วเริ่ม
กรรมฐานเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยบุญกรรมที่
บำเพ็ญไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า คันโธทกทายกเถระ.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรม องคนเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่าปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถ
ดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า มหาโพธิมโห อหุ ความว่า ได้มีการบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
ต้นโพธิ์ใหญ่แล้ว. บทว่า วิจิตฺต ฆฏมาทาย ความว่า ถือเอาหม้ออัน
เต็มด้วยน้ำหอมอันงามวิจิตรด้วยจิตรกรรมและสุวรรณกรรมเป็นอันมาก.
บทว่า คนฺโธทกมทาสห แปลว่า ได้ให้น้ำหอม อธิบายว่า เราได้รด
ด้วยน้ำหอม.
บทว่า นฺหานกาเล จ โพธิยา ความว่า ในสมัยเป็นที่กระทำการ
บูชาต้นโพธิ์. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาคันโธทกทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
โอปวุยหเถราปทานที่ ๕ (๕๕)๑
ว่าด้วยผลแห่งการถวายม้าอาชาไนย
[๕๗] เราได้ถวายน้ำอาชาไนยแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุ-
มุตตระ ครั้นมอบถวายในพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กลับไปเรือน
ของตน พระอัครสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าเทวิล ผู้เป็น
ทายาทแห่งธรรมอันประเสริฐ ได้มาสู่สำนักของเรา (กล่าวว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำประโยชน์ทั้งปวง ผู้อาชาไนย
ไม่ทรงหวั่นไหว พระองค์ผู้มีจักษุทรงทราบความดำริของท่าน
จงทรงรับไว้.
เราจึงได้ตีราคาม้าสินธพซึ่งมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นพาหนะ
เร็ว แล้วได้ถวายของที่ควรเท่าราคาม้า แด่พระพุทธเจ้าพระ-
นามว่าปทุมุตตระ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดา
หรือมนุษย์ ม้าอาชาไนยอันมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นที่ยินดี
ย่อมเกิดแก่เรา.
(เราดำริว่า) ชนเหล่าใดได้อุปสมบท ชนเหล่านั้นได้ดี
แล้วหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าบ่อย ๆ ถ้าพระพุทธเจ้ามีในโลก.
เราได้เป็นพระราชาผู้มีพละมาก ครอบครองแผ่นดินมี
สมุทรสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป ๒๘ ครั้ง.
ภพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรานี้เป็นครั้งหลังสุด เราละความ
ชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๓,๕๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นกษัตริย์
มีเดชมาก ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
๑. อรรถกาเป็น โอปวัยหเถราปาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโอปวุยหเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ-
ฉะนี้แล ฯ
จบโอปวุยหเถราปทาน
๕๕. อรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน
อปทานของท่านพระโอปวัยหเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภาร ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ เมื่อพระ-
อาทิตย์คือพระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระปรากฏในโลกแล้ว ท่านบังเกิด
ในสกุลอันสมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว มีทรัพย์มากมีโภคะ
มากอยู่ครองฆราวาส เลื่อมใสในพระศาสนามีความเลื่อมใสและนับถือมาก
ในพระศาสดา ได้ทำการบูชาด้วยม้าสินธพตัวอาชาไนย ก็แลครั้นบูชาแล้ว
คิดว่า ช้างและม้าเป็นต้นไม่สมควรแก่สมณะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
เราจักถวายกัปปิยะภัณฑ์ ให้ตีราคากัปปิยภัณฑ์นั้น แล้วได้ถวายจีวรอัน
สำเร็จด้วยผ้าฝ้าย ผ้ากัมพล และโกเชาว์เป็นต้น และถวายเภสัชบริขาร
มีการบูรและเปรียงเป็นต้น อันสมควรด้วยกหาปณะ ซึ่งมีราคาตาม
กัปปิยภัณฑ์นั้น ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
อัตภาพนั้นแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยพาหนะเป็นอันมากมีช้างเละม้าเป็นต้น
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บวชในพระศาสนา
เรียนพระกรรมฐานเจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในพระอรหัต ตามลำดับแห่งมรรค
ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า
โอปวัยหเถระดังนี้.
ท่านใคร่ครวญว่า เพราะกรรมอะไรหนอ เราจึงได้บรรลุสันติบทนี้
รู้บุพกรรมด้วยโดยประจักษ์ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตา-
ปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าว
แล้วนั้นแล. บทว่า อาชานียมทาสห ความว่า เราได้ถวาย คือได้บูชา
ม้าสินธพผู้มีชาติอันสูงสุดอาชาไนย.
บทว่า สปตฺตภาโร๑ ความว่า บริขาร ๘ อัน ถึงแก่ตนนั้น เป็น
ภาระของผู้ใด ผู้นั้นถือว่ามีภาระอันเป็นของตน อธิบายว่า ผู้ประกอบ
ด้วยบริขาร ๘. บทว่า ขมนียนทาสห ความว่า บริขารอันเป็นกัปปิยะ
มีจีวรเป็นต้น อันเหมาะแก่การยังอัตภาพให้เป็นไป. บทว่า จริโม ได้แก่
ภพที่สุด คือภพที่ถึงที่สุด. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโอปวัยหเถราปทาน
๑. บาลี สพฺพตฺถหาโร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
สปริวาราสนเถราปทานที่ ๖ (๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๕๘] เราไปสู่สถานที่อันไม่เศร้าหมอง ประดับด้วยมะลิซ้อน
แล้วได้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ
พระพุทธเจ้าผู้อัครนายกของโลก ผู้ซื่อตรง มี พระหฤทัยมั่นคง
ประทับนั่งบนอาสนะนั้น ทรงประกาศอานิสงส์บิณฑบาตว่า
พืชแม้จะน้อยที่ชาวนาปลูกลงในนาที่ดี มหาเมฆยัง
สายฝนให้ตกเสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ยินดีฉันใด บิณฑบาต
นี้ ท่านปลูกลงในนาดี ผลจักยังท่านให้ยินดี ในภพที่เกิดฉันนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้อุดม ตรัสดังนี้แล้ว
ทรงรับบิณฑบาต แล้วบ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดรเสด็จไป.
เราสำรวมในพระปาติโมกข์และในอินทรีย์ ขวนขวาย
ในวิเวก ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสปริวาราสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสปริวาราสนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
๕๖. อรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน
อปทานของท่านพระสปริวาราสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นั้น ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลอัน
สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา
เชื่อมผลแห่งทาน ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ ก็แลครั้นถวายแล้ว ได้ประดับอาสนะที่นั่งฉัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การนั่งฉันในโรงฉัน ด้วยดอกมะลิและดอกมัลลิกาเป็นต้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้ว ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่างต่าง ๆ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
เจริญวัยแล้ว มีศรัทธามีความเลื่อมใส บรรพชาแล้วไม่นานนักก็ได้เป็น
พระอรหันต์.
ท่านบรรลุบทอันสงบอย่างนี้แล้ว ใคร่ครวญด้วยญาณว่า เพราะ
บุญอะไรหนอ เราจึงบรรลุสันติบทนี้ เห็นบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส
ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้ว. บทว่า ปีณฺฑปาต อทาสห ความว่า
อาหารชื่อว่า บิณฑบาต เพราะกระทำก้อนข้าวที่ได้ในที่นั้น ๆ ให้เป็น
คำ ๆ แล้วกลืนกินคือเคี้ยวกิน เราได้ถวายบิณฑบาตนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า อธิบายว่า ให้พระผู้มีพระภาคเสวย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
บทว่า อกิตฺตยิ ปิณฺฑปาต ความว่า พระองค์ได้ประกาศคุณานิสงส์
แห่งบิณฑบาตที่เราถวายแล้ว.
บทว่า สวุโต ปาฏิโมกฺขสฺมึ ความว่า เราเป็นผู้สำรวมแล้ว ปิด
กั้นแล้วด้วยปาติโมกขสังวรศีล.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ จ ปญฺจสุ ความว่า เราคุ้มครองแล้วจาก
รูปารมณ์เป็นต้นในอินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น และคุ้มครองซึ่ง
อินทริยสังวรศีล. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
ปัญจทีปกเถราปทานที่ ๗ (๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีบ
[๕๙] เราชื่อสนิทในพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีความเห็นตรง
เราได้ถวายประทีป (ทำการบูชาด้วยประทีป) แวดล้อมไว้ที่
ไม้โพธิ์ ในครั้งนั้นเราเชื่อ จึงได้ทำการบูชาด้วยประทีปที่
ไม้โพธิ์.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น ๆ เทวดาทั้งหลายย่อมทรงดวงไฟในอากาศ นี้
เป็นผลแห่งการบูชาด้วยประทีป เราย่อมมองเห็นได้ภายใน
ฝาเรือน ภายในหินล้วน ตลอดล่วงภูเขาในที่ร้อยโยชน์
โดยรอบ.
ด้วยกรรมที่เหลืออยู่นั้น เราเป็นผู้บรรลุความสิ้นอาสวะ
เราทรงกายอันเป็นที่สุดนี้อยู่ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้จอมสัตว์สองเท้า.
ในกัปที่ ๓,๔๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า
สตจักขุ มีพระเดชานุภาพมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ทราบว่า ท่านพระปัจทีปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปัญจทีปกเถราปทาน
๕๗. อรรถกถาปัญจทิปกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัญจทีปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อยู่ครอง
เรือน ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธา
เลื่อมใส เห็นมหาชนทำการบูชาอยู่ แม้ตนเองก็แวดล้อมต้นโพธิ์ ตาม
ประทีปบูชา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นรุ่งเรืองในภพที่ตนเกิดในที่
ทุกสถานนั้นแล อยู่ในวิมานที่เพียง พร้อมด้วยความรุ่งเรืองเป็นต้น ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบรรพชาไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์ ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งการบูชาด้วยประทีป ท่านจึง
ปรากฏนามว่า ทีปกเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า อุชุทิฏฺิ อโหสห ความว่า
เราได้ละทิ้งความคดโกงคือมิจฉาทิฏฐิ ได้เป็นผู้สัมมาทิฏฐิ อันตรง ไม่
คดโกงคือได้บรรลุถึงความเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิแล้ว.
ในบทว่า ปทีปทาน ปาพาสึ มีวินิจฉัยว่า ชื่อว่า ปทีป เพราะ
รุ่งโรจน์โชติช่วงโดยประการ การให้ประทีปนั้น ชื่อว่า ปทีปทาน.
ความว่า เราได้ให้ประทีปนั้น คือได้กระทำการบูชาด้วยประทีป. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.
จบอรรถกถาปัญจทีปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
ธชทายกเถราปทานที่ ๘ (๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธงและบำรุง
[๖๐] เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ยกธงขึ้นปักไว้ที่ไม้โพธิ์ อันเป็น
ต้นไม้อุดม แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เราเก็บ
ใบโพธิ์ ที่หล่นเอาไปทั้งภายนอก ได้ไหว้ไม้โพธิ์ อันอุดม ดัง
ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ผู้หมดจดทั้งภายในภายนอก
ทรงพ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ เหมือนดังเฉพาะพระพักตร์
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่อง
บูชา ประทับยืนท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายธงและด้วยการบำรุงทั้งสองนี้ เขาจะไม่ไป
สู่ทุคติตลอดแสนกัป จักได้เสวยความเป็นเทวดารูปงามไม่
น้อยในเทวดาทั้งหลาย.
จักรได้เป็นพระราชาในแว่นแค้นหลายร้อยครั้ง จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามชื่อว่าอุคคตะ ครั้นเสวยสมบัติแล้ว
อันกุศลมูลตักเตือน จักยินดียิ่งในพระศาสนาของพระผู้มี-
พระภาค เจ้าพระนามว่าโคดม เราเป็นผู้มีจิตแน่วแน่เพื่อความ
เพียรสงบไม่มีอุปธิ.
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในพระศาสนาของพระสัมพุทธเจ้า
ในกัปที่ ๕๑,๐๐๐ ได้เป็นกษัตริย์หลายครั้ง พระนามว่าอุคคตะ
มีเสนามาก ในกัปที่ห้าหมื่นเป็นกษัตริย์พระนามว่าเขมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบธชทายกเถราปทาน
๕๘. อรรถกถาธชทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระธชทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ให้กระทำธงด้วยผ้าดี ๆ
มากมาย คือได้กระทำการบูชาด้วยธง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิด
ในตระกูลสูง เป็นผู้ควรบูชาแล้ว ในภพที่คนเกิดแล้ว ๆ. ครั้นต่อมา
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว
เจริญด้วยบุตรและภรรยา เป็นผู้มีโภคะมาก มียศมี ศรัทธาเลื่อมใสใน
พระศาสดา ละการครองเรือนบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธลฺส
ดังนี้. ความแห่งคำนั้น มีอรรถดังกล่าวในก่อนนั้นแล. บทว่า หฏฺโ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
หฏฺเน จิตฺเตน ความว่า ผู้มีรูปกายอันบริบูรณ์ชื่อว่าร่าเริง เพราะ
ประกอบด้วยจิตอันเกิดพร้อมด้วยโสมนัส ชื่อว่ามีจิตร่าเริง คือมีจิตยินดี
เพราะมีจิตประกอบด้วยศรัทธา. บทว่า ธชมาโรปยึ อห ความว่า ชื่อว่า
ธชะ เพราะอรรถว่า สะบัด คือไหว. เราได้ยกธงนั้นขึ้นคล้องไว้
บนปลายไม้ไผ่แล้วบูชา.
บทว่า ปติตปตฺตานิ คณฺหิตฺวา ความว่า เราถือเอาใบต้นโพธิ์
ที่หล่นแล้วทั้งเสียภายนอก. บทว่า อนฺโตสุทฺธ พหิสุทฺธ ความว่า เราได้
ไหว้ คือได้กระทำการนอบน้อมต้นโพธิ์อันสูงสุดในที่พร้อมหน้า ดุจว่า
ต่อพระพักตร์พระสัมพุทธะ ผู้บริสุทธิ์ภายในจิตตสันดานและนามกาย
และบริสุทธิ์ในภายนอก คือรูปกายมีจักขุปสาทและโสตปสาทเป็นต้น
ผู้หลุดพ้นวิเศษยิ่ง คือหลุดพ้นจากกิเลส ผู้ไม่มีอาสวะ. คำเหลือในที่
ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาธชทายากเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ปทุมเถราปทานที่ ๙ (๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมพร้อมด้วยธง
[๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ กำลังทรง
ประกาศสัจจะ ๔ ทรงยังธรรมอันประเสริฐให้เป็นไป ทรง
ยังสายฝนอมฤตให้ตก ดับความเร่าร้อนมหาชนอยู่.
เรายืนถือดอกปทุมพร้อมด้วยธงอยู่ไม่ไกล ๒๕๐ ชั่วธนู มี
ความโสมนัส ได้โยนดอกปทุมพร้อมด้วยธงขึ้นไปบนอากาศ
เพื่อบูชาพระมุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
และเมื่อดอกปทุมกำลังมา ความอัศจรรย์ก็เกิดมีในขณะ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบรรดาคน ทรงทราบ
ความดำริของเรา ทรงรับไว้.
พระศาสดาทรงรับดอกปทุมอันอุดมด้วยพระหัตถ์อันประ-
เสริฐแล้ว ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า ผู้ใดโยนดอกปทุมนี้มาในพระสัพพัญญูผู้นายกอุดม
เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓๐ กัป
จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอบครองพสุธาอยู่ ๗๐๐ กัป
จักถือเอาอัตภาพในภพนั้นแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ในกาลนั้น สายฝนดอกปทุมจักตกจากอากาศมากมาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ในแสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพ
ในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นจักเป็นโอรส ผู้เป็นทายาทในธรรมของพระศาสดา
พระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
จักไม่มีอาสวะ และนิพพาน เราตลอดจากครรภ์แล้ว มีสติ-
สัมปชัญญะ มีอายุ ๕ ปีโดยกำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปทุมเถราปทาน
๕๙. อรรถกถาปทุมเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทุมเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จตุสจฺจ
ปกาเสนฺโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
เมื่อพระปทุมุตตรมุนี กระทำความโชติช่วงแห่งพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองอยู่
ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ดำรงการครองเรือน ปรากฏว่า
ท่านเพียบพร้อมด้วยโภคทรัพย์. ท่านเลื่อมใสในพระศาสดา ฟังธรรม
อยู่กับมหาชน ได้ยืนถือกำดอกปทุมพร้อมด้วยธง. ท่านได้ขว้างกำดอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
ปทุมนั้นพร้อมด้วยธงขึ้นสู่อากาศ เห็นความอัศจรรย์นั้น จึงเกิดโสมนัส
อย่างยวดยิ่ง. ทำบำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ในที่สุดแห่งชีวิต บังเกิด
ในสวรรค์ ได้ปรากฏและอันเขาบูชา ในฉกามาพจรสวรรค์ดุจธง เสวย
ทิพยสมบัติ และเสวยจักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลสมบูรณ์ด้วยสมบัติ เพียบพร้อมด้วย
ศรัทธา เจริญวัยแล้วเกิดศรัทธา เพียงอายุ ๕ ขวบเท่านั้นได้บรรพชา
แล้ว ไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านปรากฏโดยนามที่ท่านได้บำเพ็ญ
บุญไว้ว่า ปทุมเถระ ดังนี้.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุสจฺจ ปกาเสนฺโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ ความว่า ที่ชื่อว่า สัจจะ เพราะ
แท้ ไม่ผิด ไม่คลาดเคลื่อน. ที่ชื่อว่า จตุสัจจะ เพราะท่านรวบรวม
สัจจะ ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมัคคสัจจะ เมื่อ
ประกาศคือเมื่อกระทำสัจจะ ๔ นั้นให้ปรากฏในโลก. บทว่า อมต วุฏึ
ความว่า เมื่อยังสายน้ำฝนคืออมตมหานิพพานให้ตกอยู่คือหลั่งไหล ยัง
โลกนี้พร้อมด้วยเทวโลกให้ชุ่มอยู่ คือยังความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง
ให้ดับ ชื่อว่าย่อมยังฝน คือพระธรรมให้ตก.
บทว่า สธช ปทุม คยฺห ความว่า ถือดอกปทุม คือกำดอกปทุม
รวมกับธง. บทว่า อฑฺฒโกเส ิโต อห ความว่า ได้ยกดอกปทุมและ
ธงทั้งสองขึ้นยืนอยู่แล้ว. คำที่เหลือในทีทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทุมเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
อสนโพธิยเถราปทานที่ ๑๐ (๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการปลูกไม้โพธิ์
[๖๒] เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
เป็นนายกของโลก เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้เข้า
ไปเฝ้าพระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน เราร่าเริง มีจิตโสมนัส
ได้ปลูกไม้โพธิ์อันอุดม ถวายแด่พระผู้มาพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าติสสะเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ต้นไม้อันงอกขึ้นบนแผ่น
ดิน โดยนามบัญญัติชื่อว่าอสนะ (ประดู่) เราบำรุงโพธิ์ชื่อ
อสนะอันอุดมนี้อยู่ ๕ ปี.
จึงได้เห็นต้นไม้มีดอกบานน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้
ขนพองสยองเกล้า เมื่อจะประกาศกรรมของตน จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
เวลานั้นองค์พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ เป็นสยัมภู
อัครบุคคล ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า.
ผู้ใดปลูกต้นโพธิ์นี้ และกระทำพุทธบูชาโดยเคารพ เรา
จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดาทั้งหลาย ตลอด
๓๐ กัป และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๔ ครั้ง เคลื่อนจาก
ดุสิตพิภพแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว
จักรื่นรมย์อยู่ในความเป็นมนุษย์ ผู้นั้นมีใจแน่วแน่เพื่อความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
เพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสนะทั้งปวงแล้ว
จักไม่มีอาสวะ นิพพาน เราประกอบวิเวกเนือง ๆ เป็นผู้สงบ
ระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดเครื่องผูกดังช้างทำลายปลอกแล้ว ไม่มี
อาสวะอยู่.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ปลูกต้นโพธิ์ในเวลานั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการปลูกต้นโพธิ์.
ในกัปที่ ๗๔ แต่กัปนี้ เวลานั้นได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีนามปรากฏว่าทัณฑเสน.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ผู้เป็นใหญ่ในเผ่นดิน มีพระนามว่าสมันตเนมิ.
ในกัปที่ ๒๐ ถ้วนแต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า
ปุณณกะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอสนโพธิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบแสนโพธิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
๖๐. อรรถกถาอสนโพธิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระอสนโพธิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติยา
สตฺตวสฺโสห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว ได้รับความสุข เลื่อมใสในพระศาสนา ถือเอาผลไม้โพธิ์
ที่ออกจากโพธิพฤกษ์ แล้วถือเอาต้นโพธิ์หนุ่มที่ออกจากต้นโพธิ์นั้น แล้ว
ปลูกเป็นต้นโพธิ์. รักษาไว้บูชาโดยกรรมมีการรดน้ำเป็นต้น โดยประการที่
จะไม่พินาศไป. ด้วยบุญนั้น ท่านจึงเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เพราะท่านมีบุญสมภาร
แก่รอบ ท่านมีอายุ ๗ ขวบท่านบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัตขณะปลงผม
นั้นเอง. ท่านปรากฏโดยชื่อแห่งบุญที่ตนบำเพ็ญไว้ในกาลก่อนว่า อสน-
โพธิยิเถระ. ท่านระลึกถึงบุญสมภารในกาลก่อน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ชาติยา สตฺตวสฺโสห ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติยา ความว่า จำเดิมแต่กาลที่ตน
ตลอดจากครรภ์มารดา. เชื่อมความว่า เรามีอายุ ๗ ขวบมีฤดูสรทะบริบูรณ์
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้นำสัตว์โลก. บทว่า
ปสนฺนจิตฺโต สุมโน ความว่า ผู้มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ไม่หวั่นไหว
โดยประการ อธิบายว่า ผู้มีใจ คือผู้มีใจงาม ได้แก่ผู้มีจิตเกิดพร้อม
กับโสมนัส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
บทว่า ติสฺสสฺสาห ภควโต ความว่า ชื่อว่า ติสสะ เพราะ
เกิด ๓ ครั้ง ท่านเป็นผู้เกิดคือบังเกิดพ้นจากครรภ์ของมารดา จากชาติ
เป็นมนุษย์ และจากเบญจขันธ์ เป็นพระพุทธเจ้า. เชื่อมความว่า เรา
ปลูกต้นอสนโพธิ์อันสูงสุด เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะนั้น
ผู้คงที่ ผู้ประเสริฐกว่าโลก.
บทว่า อสโน นามเธยฺย ความว่า ต้นโพธิ์ ชื่อว่า อสนะ
ได้เป็นต้นโพธิ์โดยนามบัญญัติ คือโดยนามสัญญา. บทว่า ธรณีรุหปาทโป
ความว่า ชื่อว่า ธรณี เพราะทรงไว้ซึ่งเถาวัลย์ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำคงคา
และสาครเป็นต้น, ธรณีนั้นคืออะไร คือแผ่นดิน. ชื่อว่า ธรณีรุหะ งอกขึ้น
คือดังอยู่บนแผ่นดินนั้น, ชื่อว่า ปาทโป เพราะดื่มด้วยเท้า อธิบายว่า
ดื่มน้ำที่รดด้วยรากกล่าวคือเท้า คือย่อมทรงไว้ซึ่งรสแห่งอาโปธาตุ คือความ
สิเนหา. ต้นไม้นั้นด้วย งอกขึ้นบนแผ่นดินด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ธรณีรุหปาทปะ เราได้บำเรอคือได้ปลูกบำรุงต้นโพธิ์ ชื่อว่าอสนะอันสูงสุด
ตลอด ๕ ปี. บทว่า ปุปฺผต ปาทป ทิสฺวา ความว่า เห็นต้นโพธิ์
ชื่อว่า อสนะ ที่เราปลูกไว้นั้นบานแล้ว คือการกระทำการชูชันแห่งขน
อันน่าอัศจรรย์ เพราะมีดอกอันควรแก่สิ่งน่าอัศจรรย์ เมื่อระบุกรรม
ของคน คือเมื่อกล่าวโดยประการ จึงได้ไปสู่สำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอสนโพธิยเถราปทาน
จบอรรถกถาวรรคที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิธูปนทายกเถราปทาน ๒. สตรังสิยเถราปทาน ๓. สยน-
ทายกเถราปทาน ๔. คันโธทกทายกเถราปทาน ๕. โอปวุยหเถราปทาน
๖. สปริวาราสนเถราปทาน ๗. ปัญจทีปกเถราปทาน ๘. ธชทายกเถรา-
ปทาน ๙. ปทุมเถราปทาน ๑๐. อสนโพธิยเถราปทาน.
มีคาถา ๙๒ คาถา.
จบวีชนีวรรคที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
สกจิตตนิยวรรคที่ ๗
สกจิตตนิยเถราปทานที่ ๑ (๖๑)
ว่าด้วยผลแห่งถวายสถูป
[๖๓] เราได้เห็นป่าชัฏใหญ่สงัดเสียง ปราศจากอันตราย เป็น
ที่อยู่อาศัยของพวกฤๅษี ดังกับจะรับเครื่องบูชา เราจึงเอา
ไม้ไผ่มาทำเป็นสถูป แล้วเกลี่ย (โปรย) ดอกไม้ต่าง ๆ ได้
ไหว้พระสถูป ดุจถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ซึ่งยังทรง
พระชนม์อยู่เฉพาะพระพักตร์.
เราได้เป็นพระราชาสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็น
ใหญ่ในแว่นแคว้น ยินดียิ่งในกรรมของตน นี้เป็นผลแห่ง
การบูชาด้วยดอกไม้.
ในกัปที่ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๐ เรา
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มียศอันต์ สมบูรณ์ด้วยแก้ว
ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสกจิตตนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล
จบสกจิตตนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
สกจิตตนิยวรรคที่ ๗
๖๑. อรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสกจิตตนิยเถระ นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปวน
กานน ทิสฺวา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว เกิดขึ้นในกาลเป็นที่สิ้นพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ยังไม่ทันได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังดำรงพระชนมายุ
อยู่. ในกาลที่พระองค์ปรินิพพาน ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ในหิมวันตประเทศ
ถึงป่าแห่งหนึ่งอันวิเวกน่ารื่นรมย์ ก่อเจดีย์ทรายที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง ทีนั้น
เอาใจใส่ดังในพระผู้มีพระภาคเจ้า และเอาใจใส่ดังพระธาตุของพระองค์
บูชาด้วยดอกไม้ในป่า เที่ยวนมัสการอยู่. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่อง
เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสวรรค์สมบัติอันเลิศ ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งสองนั้น และจักรพรรดิสมบัติอันเลิศ ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบิติ เพียบพร้อม
ด้วยศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา บวชได้เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอภิญญา ๖.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวน กานน ทิสฺวา ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ปวน ความว่า ชื่อว่า ปวนะ เพราะอรรถว่า เป็นป่า
โดยประการ ป่าแผ่กว้าง เป็นรกชัฏ. ชื่อว่า กานนะ เพราะอรรถว่า
เป็นคง เป็นป่าทึบ หนาแน่นไปด้วยสัตว์ร้ายเช่น สีหะ เสือโคร่ง ยักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
ผีเสื้อน้ำ ช้างดุ ม้าดุ ครุฑ และงู หรือมากไปด้วยเสียงแห่งหมู่นก ไก่และ
นกดุเหว่า ชื่อว่า กานนะ ป่าใหญ่ กล่าวคือดงนั้น มีเสียงน้อย คือ
ไม่มีเสียง เพราะเว้นจากเสียงมนุษย์. บทว่า อนาวิล ได้แก่ ไม่ขุ่นมัว
อธิบายว่า ปราศจากอันตราย. บทว่า อิสีน อนุจิณฺณ ความว่า อันฤาษี
ทั้งหลาย กล่าวคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต-
ขีณาสพอบรมเนืองๆ คือส้องเสพเสมอ. บทว่า อาหุตีน ปฏิคฺคห ความว่า
เครื่องบูชาและเครื่องสักการะ ท่านเรียกว่า อาหุนะ เครื่องบูชา. อธิบาย
ว่า การต้อนรับ เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านฉะนั้น.
บทว่า ถูป กตฺวาน เวฬุนา ความว่า กระทำเจดีย์ ด้วยชิ้นไม้ไผ่.
บทว่า นานาปุปฺผ สโมกิรึ ความว่า เราเกลี่ยลง คือบูชาด้วยดอกไม้
เป็นอันมาก มีดอกจำปาเป็นต้น. บทว่า สมฺมุขา วิย สมฺพุทฺธ ความว่า
เราได้ไหว้ คือกระทำการนอบน้อม ซึ่งพระเจดีย์อันสร้างขึ้นคือให้เกิดขึ้น
เสมือนเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ โดย
พิเศษยิ่ง. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสกจิตตนิยเถรปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
อาโปปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๖๒)๒
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้บูชา
[๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เสด็จออกจากวิหาร
แล้วขึ้นไปในที่จงกรม ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดง
อมฤตบท ณ ที่จงกรมนั้น.
ข้าพระองค์รู้ (ได้ฟัง) พระสุรเสียงของพระพุทธเจ้า ผู้
ประเสริฐสุด พระนามว่าสิขี ผู้คงที่แล้ว จับดอกไม้ต่าง ๆ
โยนขึ้นไปในอากาศ.
ข้าแด่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ผู้นราสภ
ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ผู้ละความชนะและแพ้แล้ว ได้
บรรลุถึงฐานะอันไม่ไหวหวั่น.
ในกัปที่ ๓ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์โปรยดอกไม้ใด ด้วย
กรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
ด้วยดอกไม้ ในกัปที่ ๒๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า
สุเมธะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ ๗ ประการ
ทรงมีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาโปปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอาโปปุปผิยเถราปทาน
๑. อรรถกถาว่า อโวปุปผิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
๖๒. อรรถกถาอโวปุปผิยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระอโวปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิหารา อภินิกฺ-
ขมฺม ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ผู้ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุเดียงสา
แล้วเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ฟังพระธรรมเกิดความเลื่อมใส ถือเอาดอกไม้
ต่างๆ ด้วยมือทั้งสอง เกลี่ยไว้เบื้องบนพระพุทธเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เสวยสวรรค์สมบัติและจักรพรรดิสมบัติ อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเลื่อมใส
ในพระศาสนา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ชื่อว่า อากาศ
เพราะอรรถว่า ว่างเปล่าคือโล่งแจ้งไปโดยรอบ. เพราะท่านได้โปรยดอกไม้
บนอากาศนั้น ท่านจึงปรากฏนามว่า อโวปุปผิยเถระ ดังนี้.
ท่านบรรลุสันติบทอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิหาร-
อภินิกฺขมฺม ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหารา ความว่า ชื่อว่า วิหาร เพราะ
เป็นที่นำมาโดยพิเศษ คือเป็นที่นำมา ได้แก่ยังอัตภาพอันไม่ตกไปให้
เป็นไปด้วยอิริยาบถ ๔ ในวิหารนั้น. ออกจากวิหารนั้นโดยพิเศษยิ่ง. บทว่า
อพฺภุฏาสิ จ จงฺกเม ความว่า ได้ยืน คือขึ้นไปในที่จงกรม เพื่อจะจงกรม
โดยพิเศษ. บทว่า จตุสจฺจ ปกาเสนฺโต เชื่อมความว่า เมื่อกำลังจงกรม
๑. บาลี อาโปปุปผิยเถรปาทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
ในที่จงกรมนั้นทรงประกาศสัจจะ๔ กล่าวคือทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธ-
สัจจะ และมรรคสัจจะ ทำให้ปรากฏ ได้แก่ แสดง จำแนก กระทำให้ตื้น
ซึ่งอมตบท คือพระนิพพาน. บทว่า สิขิสฺส คิรมญฺาย พุทฺธเสฏสฺส
ตาทิโน ความว่า รู้คือทราบคำที่พึงเปล่ง คือเสียงประกาศของพระ.
พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้ประเสริฐคือผู้ประกอบด้วยคุณ คือคงที่. บทว่า
นานาปุปฺผ คเหตฺวา ความว่า ถือเอาดอกไม้หลายอย่าง มีดอกบุนนาค
อันประเสริฐเป็นต้น. บทว่า อากาสมฺหิ สโมกิรึ ความว่า ข้าพเจ้าได้
โปรยดอกไม้บูชาในอากาศ เหนือพระเศียรพระผู้พระภาคเจ้าผู้จงกรมอยู่.
บทว่า เตน กมฺเมน ทฺวิปทินฺท ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
คือเป็นประธานแห่งสัตว์ ๒ เท้า คือเทวดาพรหมและมนุษย์ ข้าแต่
พระองค์ผู้องอาจกว่านระ คือผู้ประเสริฐกว่านระ. บทว่า ปตโตมฺหิ อจล
าน ความว่า ข้าพระองค์บวชในสำนักพระองค์ บรรลุฐานะอันไม่
หวั่นไหว คือพระนิพพาน. บทว่า หิตฺวา ชยปราชย ความว่า ข้า-
พระองค์ละคือทิ้งชัยชนะ กล่าวคือทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ และความ
ปราชัยกล่าวคือทุกข์ในอบาย ๔ บรรลุนิพพาน. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอโวปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
ปัจจาคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๖๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกสาหร่าย
[๖๕] ในกาลนั้น เราเป็นนกจักรพรากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสินธุ เรามี
สาหร่ายล้วน ๆ เป็นภักษา และสำรวมดีในสัตว์ทั้งหลาย เรา
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีเสด็จไปในอากาศ จึงเอา
จะงอยปากดาบดอกสาหร่าย บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี.
ผู้ใดตั้งศรัทธาอันไม่หวั่นไหวไว้ด้วยดี ในพระตถาคตด้วย
จิตอันเลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติ การที่เราได้มาใน
สำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเป็นการมาดีหนอ เราเป็นนก
จักรพรากได้ปลูกพืชไว้ดีแล้ว.
ในกัปที่ ๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา ในกัปที่ ๑ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง ทรง
มีพละมาก ทรงพระนามเดียวกันว่า สุจารุทัสสนะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ที่พระปัจจาคมนิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบปัจจาคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
๖๓. อรรถกถาปัจจาคมนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัจจาคมนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สินฺธยา
นทิยา ตีเร ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในกำเนิดแห่งนกจักรพราก
ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุคงคา ไม่กินสัตว์มีชีวิต เพราะตนประกอบด้วยบุญ
สมภารในกาลก่อน กินแต่สาหร่ายเท่านั้นเที่ยวไป. สมัยนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เมื่อทรงกระทำอนุเคราะห์แก่สัตว์
ได้เสด็จไปในที่นั้น. ขณะนั้น นกจักรพรากนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
รุ่งเรืองอยู่ มีใจเลื่อมใส เด็ดดอกสาหร่ายจากต้นสาหร่ายมาบูชา ด้วย
ความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นเอง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก
เสวยสมบัติในฉกามาวจรสวรรค์ไป ๆ มา ๆ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน
มนุษยโลก เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญใน
กาลก่อนว่า ปัจจาคมนิยเถระ เพราะเหตุที่คนเป็นนกจักรพราก เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปในที่บางแห่งก็นำดอกไม้มาบูชา.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สินฺธุยา นทิยา ตีเร ความว่า ชื่อว่า
สินธุ เพราะกระทำเสียงว่า สิ ให้เคลื่อนไหวอยู่ ให้หวั่นไหวอยู่. ชื่อว่า
นทิ เพราะกระทำเสียงให้บันลือไป. บทว่า จกฺกวาโก อห ตทา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
ชื่อว่า จักกวากะ เพราะแล่นไป คือไปในน้ำ บนบก หรือบินไปในอากาศ
เร็วเหมือนนกจักรพรากไปได้เร็วฉะนั้น. อธิบายว่า ในกาลนั้น คือในกาล
ที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เราได้เป็นนกจักรพราก.
บทว่า สุทฺธเสวาลภกฺโขห ความว่า ข้าพระองค์เคี้ยวกินเฉพาะสาหร่าย
ที่บริสุทธิ์ เพราะไม่เจือด้วยอาหารอื่นอยู่. บทว่า ปาเปสุ จ สุสญฺโต
ข้าพระองค์เป็นผู้สำรวมด้วยดี คือสำรวมศึกษาด้วยดีในการทำบาป ด้วย
อำนาจวาสนาในกาลก่อน.
บทว่า อทฺทส วิรช พุทฺธ ความว่า ข้าพระองค์ได้เห็น คือได้เฝ้า
พระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีธุลี คือไม่มีกิเลส เพราะเว้นจาก ราคะ โทสะ โมหะ.
บทว่า คจฺฉนฺต อนิลญฺชเส ความว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปอยู่บนทาง
แห่งอากาศอันไม่มีร่องรอย. อธิบายว่า ข้าพระองค์ได้ประคอง คือคาบ
เอาดอกสาหร่ายด้วยปากของข้าพระองค์ ได้ปลูกความยินดียิ่งต่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี คือได้บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. คำที่เหลือ
มีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัจจาคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
ปรัปปสาทกเถราปทานที่ ๔ (๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๖๖] ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้
แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงชนะวิเศษ มีพระฉีวรรณ
ดังทองแล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า.
ใครเห็นพระฌานของพระพุทธเจ้า อันเปรียบเหมือน
ภูเขาหิมวันต์อันประมาณไม่ได้ ดังสาครอันข้ามได้ยาก แล้ว
จะไม่เลื่อมใสเล่า ใครเห็นศีลของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบ
เหมือนแผ่นดินอันประมาณมิได้ ดุจมาลัยประดับศีรษะอัน
วิจิตรฉะนั้นแล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า.
ใครเห็นพระญาณของพระพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบดังอากาศ
อันไม่กำเริบ ดุจอากาศอันนับไม่ได้ฉะนั้นแล้ว จะไม่เลื่อมใส
เล่า.
พราหมณ์ชื่อว่าโสนะ ได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐสุด พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ไม่ทรงแพ้อะไร ด้วยคาถา
๔ คาถานี้แล้ว ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลย ตลอด ๙๔ กัป เราได้
เสวยสมบัติอันดีงามมิใช่น้อยในสุคติทั้งหลาย.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้นำของ
โลกแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ.
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ผู้สูงศักดิทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
คุณสมบัติเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปรัปปสาทกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปรัปสาทกเถราปทาน
๖๔. อรรถกถาปรัปปสาทกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปรัปปสาทกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุสภ ปวร
วีร ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามสิทธัตถะ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ถึงฝั่งแห่ง
ไตรเพท ผู้ชำนาญเวยยากรณ์อันเป็นบทแห่งศาสตร์ทั้งหลา มีอิติหาส-
ศาสตร์เป็นที่ ๕ เป็นผู้ชำนาญในมหาปุริสลักษณะอันเป็นศาสตร์แห่งโลก
อันปรากฏโดยชื่อว่า เสลพราหมณ์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ เห็นพระองค์ทรงงดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการและ
ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีใจเลื่อมใส จึงประกาศชมเชยด้วยเหตุ
หลายอย่าง ด้วยอุปมาหลายอย่าง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงเสวยสมบัติ
ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น มีเป็นท้าวสักกะและเป็นมารเป็นต้นในเทวโลก
เสวยจักรพรรดิสมบัติในมนุษยโลก บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่งซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้วไม่นานนักก็บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ได้เป็นพระขีณาสพ.
เพราะการชมเชยพระพุทธเจ้า เป็นเหตุกระทำความเลื่อมใสแห่งจิตของ
สัตว์ทั้งปวง ท่านจึงปรากฏนามว่า ปรัปปสาทกเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทานของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุสภ ปวร วีร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุสภ ความว่า ผู้เป็นโคผู้ผู้ประเสริฐสุด
๔ คือ วสภะ, นิสภะ. วิสภะ, อาสภะ ใน ๔ ตัวนั้น โคผู้ประเสริฐกว่า
โค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่าวสภะ, ผู้ประเสริฐกว่าโค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า
นิสภะ, ผู้ประเสริฐกว่า ๑๐,๐๐๐ ตัว ชื่อว่าวิสภะ, และผู้ประเสริฐกว่าโค
๑๐๐,๐๐๐ โกฏิตัว ชื่อว่าอาสภะ, พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีพระ-
พุทธพจน์อันสดับแล้วมาก เมื่อจะกล่าวชมเชยท่านผู้ใดผู้หนึ่ง จึงกระทำ
การชมเชยด้วยปัญญาของตน ๆ แต่ผู้สามารถจะชมเชยพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย โดยอาการทั้งปวงย่อมไม่มี. เพราะพระพุทธเจ้ามีพระคุณ
ประมาณไม่ได้. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า
แม้พระพุทธเจ้า พึงกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า หากแม้
สรรเสริญอยู่ กัปอื่น ๆ ฟังสิ้นไปในระหว่างอายุกาลนาน การ
สรรเสริญพระคถาคตหาสิ้นไปไม่.
พราหมณ์แม้นี้ เมื่อควรกล่าว อาสภ ด้วยอำนาจการคล่องปาก
ด้วยการเลื่อมใสโดยส่วนเดียว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุสภ ดังนี้. ชื่อว่า วระ
เพราะอรรถว่า บุคคลพึงปรารถนา คือพึงอยากได้. ชื่อว่า วีระ เพราะ
ได้บำเพ็ญเพียรมาแสนกัปมิใช่น้อย. ชื่อว่า มเหสี เพราะค้นหา คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น. ซึ่งผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
คือพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ชื่อว่า วิชิตาวี เพราะชนะมารมีกิเลสมาร
และขันธมารเป็นต้น โดยพิเศษ. ซึ่งผู้ชำนะพิเศษคือพระสัมพุทธเจ้านั้น
วรรณะของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่าผู้มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่ง
ทอง. สัตว์ชื่อไรเล่า เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่ง
ทองนั้นย่อมไม่เลื่อมใสแล.
จบอรรถกถาปรัปปสาทกกกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
ภิสทายกเถราปทานที่ ๕ (๖๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว
[๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามชื่อว่าเวสสภู เป็นองค์ที่ ๓
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นฤาษีทั้งหลาย พระองค์ผู้เป็น
อุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าชัฏแล้วประทับอยู่.
เราได้ถือเอาเหง้ามัน และรากบัวไปในสำนักพระพุทธเจ้า
และเรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเหง้ามันและรากบัวนั้น แด่
พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน.
ก็ทานที่เราถวายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
เวสสภู ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ทรงลูบคลำด้วยพระหัตถ์
เราไม่รู้สึกว่าจะมีความสุขอื่นเสมอด้วยสุขนั้น ที่ไหนจะมี
ความสุขยิ่งไปกว่านั้น.
อัตภาพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดเครื่องผูกขาดดังช้างทำลายปลอกแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้ามัน
และรากบัว.
ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิรวม ๑๖ ครั้ง
เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภิสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบภิสทายกเถราปทาน
๖๕. อรรถกถาภิสทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระภิสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภู นาม
นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู บังเกิดในกำเนิดช้างในป่าหิมวันต์
อยู่อาศัย ณ ที่นั้น. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภูทรง
ประสงค์วิเวก จึงเสด็จไปหิมวันตประเทศ.ช้างเชือกประเสริฐนั้น เห็นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส ถือเหง้ามันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้เสวย. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากกำเนิดช้างนั้นแล้ว เกิดใน
เทวโลกเสวยกามาวจรสมบัติ ๖ ชั้นในเทวโลกนั้น แล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์
เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
ตระกูลหนึ่งซึ่งมีโภคะมาก เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยกำลังแห่งวาสนา
ในกาลก่อนบวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่านได้ปรากฏ
นามตามกุศลที่คนบำเพ็ญไว้ในกาลก่อนว่า ภิสทายกเถระ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า เวสฺสภู นาม นาเมน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
เวสฺสภู ความว่า ชื่อว่า เวสสภู เพราะล่วงรู้ คือก้าวล่วงวิชชาของแพศย์,
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า เวสสภู เพราะก้าวล่วงคือครอบงำ แพศย์คือวาณิช-
กรรม กิเลสมีกามราคะเป็นต้น กรรมมีกุศลกรรมเป็นต้น หรือวัตถุกาม
และกิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระนามว่าเวสสภู. บทว่า อิสีน
ตติโย อหุ ความว่า ชื่อว่า อิสิ เพราะแสวงหาคือหากุศลธรรมทั้งหลาย.
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นฤษี หรือเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงมีพระนาม ๓ พระนาม เพราะเรียกกันว่า วิปสฺสี สิขี เวสฺสภู.
บทว่า กานน วนโมคฺคยฺหา ความว่า เข้าไปยึดเอาป่า กล่าวคือป่าใหญ่.
บทว่า ภิสมุฬาล คณฺหิตวา ความว่า ชื่อว่า ภิส เพราะเบียดเบียน
คือทำความหิวของสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าให้พินาศ. ภิส นั้นคืออะไร ?
ได้แก่เหง้ามัน, เหง้ามันและรากบัว ชื่อว่า ภิสมุฬาละ ถือเอาเหง้ามัน
และรากบัวนั้น.
บทว่า กเรน จ ปรามฏฺโ ความว่า ทานที่เราให้แล้วนั้น อันพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้มีปัญญาสูงสุดลูบคลำแล้วด้วยพระกร
คือด้วยผ่าพระหัตถ์ ได้เป็นอันพระองค์ทรงสัมผัสแล้ว. บทว่า สุขาห
นาภิชานามิ สม เตน กุโตตฺตรึ ความว่า เราไม่รู้สึกความสุขด้วย
ความสุขนั้น. อธิบายว่า สุขอื่นที่ยิ่งกว่าสุขนั้นจะมีแต่ที่ไหน. คำที่เหลือ
มีอรรถที่พึงรู้ได้ง่ายตามกระแสแห่งนัยแล.
จบอรรถกถาภิสทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
สุจินติตเถราปทานที่ ๖ (๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนื้อดี
[๖๘] เราเป็นพรานผู้เที่ยวอยู่ที่ภูเขา ดังไกรสรราชสีห์ผู้เป็น
อภิชาสัตว์ เราฆ่าหมู่เนื้อเลี้ยงชีวิตอยู่ระหว่างภูเขา.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สัพพัญญูพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้
ประเสริฐกว่าบรรดาคนผู้รู้พระองค์ทรงประสงค์จะถอนเราขึ้น
จงเสด็จนายังภูเขาสูง.
เราฆ่าเนื้อฟานแล้วนำมาเพื่อกิน สมัยนั้น พระผู้มีพร-
ภาคเจ้าเสด็จเข้ามาภิกษาจาร.
เราได้เลือกหยิบเอาเนื้อดี ถวายแด่พระศาสดาพระองค์นั้น
ในกาลนั้น พระมหาวีรเจ้าจะทรงยังเราให้เย็น จึงทรง
อนุโมทนา ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราเข้าไปในระหว่างภูเขา
ยังปีติให้เกิดขึ้นแล้ว ทำกาละ ณ ที่นั้น.
ด้วยการถวายเนื้อนั้น และด้วยการตั้งจิตไว้ดี เรารื่นรมย์
อยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๕๐๐ กัป.
ในกัปทั้งหลายที่เหลือ เราทำกุศลด้วยการถวายเนื้อนั้น
และด้วยการอนุสรณ์ถึงพระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๘ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง พระนามว่า
ทีฆายุ ในกัปที่ ๖,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒ ครั้ง พระนามว่าสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุจินติตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุจินติตเถราปทาน
๖๖. อรรถกถาสุจินติตเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุจินติตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คิริทุคฺคจโร
อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ.
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี เกิดในตระกูลแห่งพราหมณ์ หิมวันต-
ประเทศ ฆ่าเนื้อและสุกรเป็นต้น เคี้ยวกินอยู่. ในกาลนั้น พระโลกนาถเจ้า
ทรงสงเคราะห์สัตว์โลกและมีพระทัยเอ็นดูสัตว์จึงเสด็จไปสู่หิมวันต์. ใน
กาลนั้น นายพรานนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิตเลื่อมใส ได้ให้เนื้อ
ล่ำอันอร่อย ที่เขานำมาเพื่อประโยชน์ให้พระองค์ทรงเสวย. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงรับแล้ว เพื่อความอนุเคราะห์แก่เธอ. พระองค์ทรงเสวย
เนื้อนั้นแล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้นนั่งเอง ท่านจุติจากอัตภาพนั้น
ด้วยความโสมนัสนั่นแล ท่องเที่ยวไปในสุคติเสวยสมบัติในกามาวจร-
สวรรค์ ๖ ชั้น เสวยจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในมนุษยโลก ในพุทธุปบาท-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
กาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ ระลึกถึง
บุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า คิริทุคฺคจโร อาสึ ดังนี้. ชื่อว่า คิริ เพราะอรรถว่า เปล่ง
คือกระทำเสียง. คิรินั้นคืออะไร ? คือภูเขาอันล้วนแล้วแต่สิลาและฝุ่น.
ทางที่บุคคลดำเนินไปด้วยยากคือลำบาก ชื่อว่า ทุคคะ ทางที่ไปยาก
ลำบาก ชื่อว่า คิริทุคคะ ได้แก่ทางที่บุคคลดำเนินไปได้ยาก. เราเป็นพราน
ผู้เที่ยวไป คือมีปกติเที่ยวไปในทางที่ผู้เปล่งเสียงดำเนินไปได้โดยยาก คือ
ในระหว่างภูเขา. บทว่า อภิชาโตวา เกสรี ความว่า เราเกิดคือบังเกิด
โดยพิเศษยิ่ง เที่ยวไปในทางที่ผู้ดำเนินไปได้โดยยาก เหมือนไกรสรราชสีห์
ฉะนั้น.
บทว่า ศิริทุคฺค ปวิสึ อห ความว่า ในกาลนั้น เราเกิดปีติ
โสมนัส เพราะการถวายเนื้อนั้นแล้ว ได้เข้าไประหว่างภูเขา. คำที่เหลือ
มีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุจินติตเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
วัตถทายกเถราปทานที่ ๗ (๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าผืนหนึ่ง
[๖๙] ในกาลนั้นเราเกิดเป็นพระยาครุฑสุบรรณ เราได้เห็น
พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เสด็จไปสู่เขาคันธมาทน์
เราละเพศนกครุฑแล้วแปลงเป็นมาณพ เราถวายผ้าผืน
หนึ่งแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่.
พระพุทธเจ้าผู้ศาสดาอัครนายกของโลก ทรงรับผ้าผืนนั้น
แล้ว ประทับยืนอยู่ในอากาศได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ด้วยการถวายผ้านี้และด้วยการตั้งจิตไว้ (ดี) ผู้นี้กำเนิด
นกครุฑแล้ว จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าอัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ผู้นราสภ ทรง
สรรเสริญการถวายผ้าเป็นทานแล้ว บ่ายพระพักตร์ทางทิศ
อุดรเสด็จไป.
ในภพที่เราเกิด เรามีผ้าสมบูรณ์ ผ้าเป็นหลังคาบังร่มอยู่
ในอากาศ นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า.
ในกัปที่ ๓๖ แค่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
มีพระนามว่าอรุณสะ มีพละมาก เป็นใหญ่กว่ามนุษย์.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
ทราบว่า ท่านพระวัตถุทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวัตถทายกเถราปทาน
๖๗. อรรถกถาวัตถทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระวัตถทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปกฺขิชาโต
ตทา อสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี บังเกิดในกำเนิดแห่งสุบรรณ
(ครุฑ) เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี กำลังเสด็จไปสู่
ภูเขาคันธมาทน์ มีใจเลื่อมใส ละเพศสุบรรณ นิมิตเป็นเพศมาณพน้อย ถือ
เอาผ้าทิพย์มีค่ามาก บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับแล้วตรัสอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป. ท่านให้กาลล่วงไปด้วย
โสมนัสนั่นเอง ดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น แล้วบังเกิดใน
เทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ในเทวโลกนั้น เสวยบุญทั้งหลาย จากนั้น
เสวยมนุษยสมบัติในมนุษย์ จากอัตภาพที่ตนเกิดนั้น ได้ผ้าและเครื่อง
อาภรณ์มีค่ามากในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้ แล้วอยู่ในที่ ๆ ตนไปถึงแล้ว
ด้วยเงาผ้าในภพที่คนเกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน
มีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้ว
ไม่นานนักก็ได้บรรลุอภิญญา ๖ เป็นพระขีณาสพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของคน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปกฺขิชาโต ตทา อาสึ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขิชาโต ความว่า ชื่อว่า ปักขะ (ปีก)
เพราะเป็นเครื่องแล่นไป คือบินไปแห่งนก. ชื่อว่า ปักขี เพราะนกนั้นมีปีก
อธิบายว่า เกิดคือบังเกิดในกำเนิดแห่งนก. บทว่า สุปณฺโณ ความว่า
ปีกของนกในดี นกนั้นชื่อว่า มีปีกดี. อธิบายว่า นกนั้นมีปีกอันรุ่งเรื่อง
ด้วยสีทองสำหรับรับลมเป็นภาระใหญ่. บทว่า ครุฬาธิโป ความว่า
ชื่อว่าครุฬะ (ครุฑ-สัตว์ผู้จับงู) เพราะกลืนกินซึ่งแผ่นหินอันหนักเพื่อ
ต้องจับนาค, ชื่อว่า ครุฬาธิโป เพราะเป็นราชาธิบดีแห่งครุฑทั้งหลาย.
เชื่อมความว่า เราได้เห็นท่านผู้ปราศจากธุลี คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
จบอรรถกถาวัตทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
อัมพทายกเถราปทานที่ ๘ (๖๘)
ว่าด้วยผลการถวายมะม่วงสุก
[๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้ไม่มีมีอุปธิ
ประทับนั่งอยู่ ณ ระหว่างภูเขา ได้ทำการแผ่เมตตาไปในโลก
อันมีสัตว์หาประมาณมิได้.
ในกาลนั้น เราเป็นพญาวานรอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์อันสูงสุด
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณไม่ทราม ผู้ยิ่งใหญ่ จึงยังจิต
ให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า.
เวลานั้นต้นมะม่วงกำลังเผล็ดผล มีอยู่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
เราได้ไปเก็บผลมะม่วงสุกจากต้นนั้นมาถวายพร้อมด้วยน้ำผึ้ง.
พระมหามุนีพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ทรงพยากรณ์
เรานั้นว่า ด้วยการถวายน้ำผึ้ง และด้วยการถวายน้ำมะม่วง
ทั้งสองนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๕๗ กัป ในกัป
ทั้งหลายที่เหลือ จักท่องเที่ยวสับเปลี่ยนกันไป.
จักใช้กรรมอันลามกให้สิ้นแล้ว เมื่อความเจริญสุกงอม
จักมาจากทุคติมีนิบาตเป็นต้นแล้ว จักเผากิเลสให้ไหม้
หมดไป.
เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรง
ฝึกแล้วด้วยการฝึกอันอุดม เราเป็นผู้ละความชนะและความ
แพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๗,๗๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๔ ครั้ง ทุก
ครั้งมีพระนามว่าอัมพัฏฐชยะ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอัพทายกเถราปทาน
๖๘. อรรถกถาอัมพทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอัมพทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนมทสฺสี
ภควา ดังนี้.
พรเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี บังเกิดในกำเนิดแห่งวานร
ได้เป็นพญาลิงอาศัยเจ้าในป่าหิมพานต์. สมัย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
นามว่า อโนมทัสสี ได้เสด็จไปป่าหิมพานต์เพื่ออนุเคราะห์แก่ท่าน.
ลำดับนั้น พญาลิงนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวาย
ผลมะม่วงมีรสอร่อยดี พร้อมน้ำผึ้งเล็กน้อย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อท่านกำเฝ้าอยู่แล ได้เสวยสิ่งทั้งหมดนั้น แล้วตรัส
อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป. ลำดับนั้น ท่านมีหทัยเพียบพร้อมด้วยโสมนัส
ดำรงอยู่จนตลอดอายุ เพราะมีปีติและโสมนัสนั้นนั่นเอง จุติจากอัตภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
นั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสุข ไป ๆ มา ๆ ในเทวโลกนั้น
และเสวยมนุษยสมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
เรือนมีตระกูลอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เลื่อมใสในพระศาสดา บวช
แล้วไม่นานนักก็บรรลุอภิญญา ๖ ท่านปรากฏตามนามแห่งบุญที่บำเพ็ญไว้
ในกาลก่อนว่าอัมพทายกเถระ ดังนี้.
ครั้นต่อมา ท่านได้เห็นพืชแห่งกุศลที่คนบำเพ็ญมา เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทสฺสี
ภควา ดังนี้. บทว่า เมตฺตาย อผริ โลเก อปฺปมาเณ นิรูปธิ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีเมตตา คือมีจิตประกอบด้วย เมตตา ทรง
นำสัตว์โลกทั้งปวง คือสัตว์หาประมาณมิได้ ให้ปราศจากอุปธิกิเลสคือให้
เว้นจากอุปธิกิเลส โดยนัยมีอาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข แล้วแผ่
คือแผ่ออกเจริญด้วยเมตตาคือเมตตาจิต. บทว่า กปิ อห ตถา อาสึ
ความว่า ในกาลนั้นคือในกาลที่พระองค์เสด็จมา เราได้เป็นพญาลิง.
จบอรรถกถาอัมพทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
สุมนเถราปทานที่ ๙ (๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ
[๗๑] ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีชื่อว่าสุมนะ ได้
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ทรงสมควรรับเครื่องบูชาของ
โลก จึงเอามือทั้งสองประคองดอกมะลิที่บานดี บูชาแด่พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
ด้วยการบูชาดอกไม้นี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ผู้มีพระยศมาก ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุมนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
แล.
จบสุมนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
๖๙. อรรถกถาสุมนเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุมนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุมโน นาม
นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญโพธิสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งนายมา-
ลาการ เจริญวัยแล้วเกิดศรัทธา มีใจเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถือ
เอากำดอกมะลิบูชาด้วยมือทั้งสอง ด้วยบุญกรรมนั้นท่านเสวยสมบัติทั้งสอง
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูล เจริญด้วยบุตรและภรรยา ท่านปรากฏโดยชื่อว่าสุมนะ เลื่อมใส
ในพระศาสดาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุมโน นาม
นาเมน ดังนี้. ใจคือจิตของผู้ใดดี ผู้นั้นชื่อว่ามีใจดี ในกาลนั้นเราประกอบ
ด้วยศรัทธาความเลื่อมใสและนับถือมาก ได้เป็นนายมาลาการโดยมีชื่อว่า
สุมนะ.
บทว่า สิขิโน โลกพนฺธุโน ความว่า ชื่อว่า สิขี มีเปลวไฟสว่าง
เพราะเปลวไฟที่โพลงแล้วย่อมมีสว่าง สิขีนั้นคืออะไร คือเปลวไฟ. ที่ชื่อ
ว่า สิขี เพราะส่องแสงดุจเปลวไฟ เปลวไฟย่อมไหม้ใบไม้ หญ้า ไม้ และ
ฟางเป็นต้น ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ก็ฉันนั้น ย่อมโชติช่วงด้วย
รัศมีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น ปรากฏในโลกสันนิวาสทั้งสิ้น. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้นามบัญญัติ นามกรรม นามไธยเพราะอรรถว่า ทำกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
ทั้งปวงอันตกอยู่ในสันดานคนให้เหือดแห้ง กำจัดเผาให้ไหม้เสีย. บทว่า
สกลโลกสฺส พนฺธุาตโก ได้แก่ เป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก อธิบายว่า
เราได้ยกดอกมะลิขึ้นบูชาพระภาคเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก
พระนามว่า สิขี นั้น.
จบอรรถกถาสุมนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ปุปผจังโกฏิยเถราปทานที่ ๑๐ (๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผอบดอกอังกาบ
[๗๒] ข้าพระองค์เอาดอกอังกาบอันบานดี ใส่ในผอบจนเต็ม
แล้ว ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีผู้ประเสริฐสุด ผู้ไม่
ทรงครั่นคร้ามดังสีหะ เสมือนพญาครุฑ งามประเสริฐ
ดุจพญาเสือโคร่ง มีพระชาติดีเหมือนไกรสรราชสีห์ เป็น
สรณะของโลกสาม ผู้ไม่หวั่นไหว ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ ผู้เลิศ
กว่าบรรดาผู้ฆ่ากิเลส ประทับนั่ง แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
พร้อมทั้งผอบใหญ่.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์สองเท้า ผู้นราสภ ด้วยจิตอัน
เลื่อมใสนั้น ข้าพระองค์เป็นผู้ละความชนะและความแพ้แล้ว
บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ทำกรรมใด ในกาล
นั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๐ ถ้วนแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพระนานว่าเทวภูติเหมือนกัน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
ทราบว่า ท่านพระปุปผจังโกฏิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบปุปผจังโกฏิยเถรปทาน
๗๐. อรรถกถาปุปผจังโกฏิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปุปผจังโกฏิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อภีตรูป
สีหว ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก เลื่อมใสในพระ-
ศาสดา แสดงอาการที่น่าเลื่อมใส เก็บดอกอังกาบมีสีดังทองคำบรรจุ
ผอบให้เต็ม บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกนี้ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มี
วรรณะดังทองคำ เป็นผู้ควรบูชาในที่ ๆ คนเกิดแล้ว ๆ พึงบรรลุพระ-
นิพพาน.
ด้วยบุพกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
ผู้อันเขาบูชาแล้วในที่ทุกสถาน เป็นผู้มีวรรณะงามดังทองคำ. ครั้นต่อมา
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์
ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้วเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้ว. เจริญ
วิปัสสนาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
ท่านบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อภีตรูป
สีหว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีห ความว่า เพราะครอบงำ
ท่วมทับสัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าเป็นต้น เชื่อมความว่า
มีรูปน่าชมเชยคือมีอัตภาพน่าชมเชยยิ่ง ข้าพเจ้าได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ผู้น่าชมเชยอย่างยิ่ง ผู้ประทับนั่งดุจสีหะฉะนั้น, ซึ่งพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐ คือสูงสุดกว่านระทั้งหลาย ผู้เกิด
โดยพิเศษยิ่ง ดุจพญาเสือโคร่ง ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ดุจไกรสร-
ราชสีห์ วิเศษกว่าราชสีห์ทั้งปวงฉะนั้น. เกิดเป็นอย่างไร ? เชื่อม
ความว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยี่ยวน
คือปราศจากกิเลส อันขันธมารเป็นต้น ให้แพ้มิได้ประทับนั่งอยู่. บทว่า
มารณานคฺค ความว่า เป็นผู้เลิศในการยังกิเลสทั้งปวงให้ตาย ให้เหือด
แห้งและกำจัดเสีย อธิบายว่า บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวก
ทั้งหลายผู้ฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายแม้มีอยู่ พระองค์ประเสริฐกว่าท่านเหล่า
นั้น. เชื่อมความว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้อันภิกษุสงฆ์
แวดล้อมแล้ว คือผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่แล้ว.
บทว่า จงฺโกฏเก เปตฺวาน ความว่า เราได้โปรยดอกอังกาบ
อันสูงสุดบรรจุในขวดให้เต็ม บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐ.
จบอรรถกถาปุปผจังโกฏิยเถราปทาน
จบอรรถกถาสกจิตตนิยวรรคที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สกจิตตนิยเถราปทาน ๒. อาโปปุปผิยเถราปทาน
๓. ปัจจาคมนิยเถราปทาน ๔. ปรัปปสาทกเถราปทาน
๕. ภิสทายกเถราปทาน ๖. สุจินติตเถราปทาน
๗. วัตถทายกเถราปทาน ๘. อัมพทายกเถราปทาน
๙. สุมนเถราปทาน ๑๐. ปุปผจังโกฏิยเถราปทาน
คาถาอันแสดงอรรถที่ท่านกล่าวแล้วนับได้ ๗๑ คาถา ฉะนี้แล.
จบสกจิตตนิยวรรคที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
นาคสมาลวรรคที่ ๘
นาคสมาลเถราปทานที่ ๑ (๗๑)
[๗๓] เราถือเอาดอกแคฝอยไปบูชาที่พระสถูป ซึ่งมหาชนสร้าง
ไว้ที่หนทางใหญ่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เผ่า
พันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ-
สถูป.
ในกัปที่ ๑๕. แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ พระนามว่าปุปผิยะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนาคสมาลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบนาคสมาลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
นาคสมาลุวรรคที่ ๘
๗๑. อรรถกถานาคสมาลเถราปทาน
อปทานของท่านพระนาคสมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อาปาฏลึ
อห ปุปฺผ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครอบครองเรือน กระทำกรรมคือการเห็นการได้ยิน
และการบูชา ในกาลที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ เพราะไม่ได้ความ
คลุกคลีเกี่ยวข้องด้วยรูปเห็นปานนั้น ในกาลแห่งพระศาสดาปรินิพพาน
แล้ว จัดแจงพระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ยังจิตให้เลื่อมใส
แม้ในเจดีย์ที่ตนกระทำแล้ว บูชาดอกแคฝอย ยังโสมนัสให้เกิด ดำรงอยู่
จนตลอดอายุ ด้วยโสมนัสนั้นนั่นเอง. ท่านทำกาละจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงเสวยสุขในเทวโลก ๖ ชั้น มีชั้นดุสิตเป็นต้น ครั้นต่อมาเสวยสมบัติใน
มนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล มีนามา-
ภิไธยอันมารดาบิดาตั้งให้ว่า นาคสมาละ เพราะมีร่างกายเสมือนกับใบ
อ่อนแห่งไม้กากะทิง เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า บวชไม่นานนักก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
ภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประ-
กาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาปาฏลึ อห ปุปฺผ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาปาฏลึ ความว่า เราได้ถือเอาดอกแคฝอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
โดยรอบหรือโดยเอื้อเฟื้อ ยกขึ้นบูชาบนพระสถูป. บทว่า อุชฺฌิต
สุมหาปเถ ความว่า ได้ยกขึ้นในหนทางใหญ่ คือในถนนท่ามกลางพระ-
นครเพื่อเป็นที่ไหว้และบูชาของชาวพระนครทั้งปวง อธิบายว่า ให้สำเร็จ
ด้วยกรรมคือการก่อด้วยอิฐ และฉาบด้วยปูนขาวเป็นต้น. คำที่เหลือมี
อรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง และมีอรรถ
ตื้นแล.
จบอรรถกถานาคสมาลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
ปทสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๗๒)
ว่าด้วยผลแห่งการเสื่อมใสรอยพระบาท
[๗๔] ก็เราได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรงเหยียบไว้ เป็นผู้มีใจ
ร่าเริงโสมนัส ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในรอย
พระบาท.
ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนานว่าสุเมธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
๗๒. อรรถกถาปทสัญญากเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทสญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อกฺกนตฺจ
ปท ทิสฺวา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนแห่งอุบาสกอัน
สมบูรณ์ด้วยศรัทธาแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
เห็นพระเจดีย์ คือรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้เพื่ออนุ-
เคราะห์แก่เธอเลื่อมใสแล้ว เกิดขนชูชัน ได้กระทำการนับถือเป็นอันมาก
มีการไหว้ และการบูชาเป็นต้น. ด้วยบุญกรรมที่คนทำดีแล้วในเขตอันดี
นั้น ๆ แล. จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ เสวยทิพยสุขในสวรรค์
นั้น. ครั้นเสวยทิพยสุขแล้ว ภายหลังเกิดในมนุษย์ เสวยมนุษย์สมบัติ
ทั้งสิ้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนที่สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ.
เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่าน
ได้ปรากฏนามตามบุญที่ท่านทำไว้ในกาลก่อนว่า ปทสัญญกเถระ ดังนี้.
วันหนึ่งท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตา
ปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อกฺกนฺตญฺจ ปท ทิสฺวา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺกนฺต แปลว่า ได้ทรงเหยียบไว้
คือได้ทรงแสดงไว้. การไปของพระพุทธเจ้าทั้งปวงในที่ทุกสถาน เป็น
การเสด็จไปเหนือพื้นประมาณสี่องคุลี ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
ทรงทราบความที่ท่านสมบูรณ์ด้วยศรัทธา จึงทรงแสดงพระเจดีย์คือรอย
พระบาทว่า ขอผู้นี้จงเห็นพระเจดีย์คือรอยพระบาทนี้ อธิบายว่า เพราะ-
ฉะนั้น ท่านเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว จึงได้กระทำ
สักการะมีการไหว้และบูชาเป็นต้น. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
สุสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุลจีวร
[๗๕] เราได้เห็นผ้านุ่งสุกุลจีวรของพระศาสดาห้อยอยู่บนยอดไม้
แล้วได้ประนมอัญชลีไปทางนั้นไหว้บังสุกุลจีวร ในกัปที่ ๙๒
แต่กัปนี้ ๔ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในบังสุกุลจีวร.
ในกัปที่ ๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีจอมกษัตริย์
พระนามว่าทุมหระ๑ ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรสาคร ๔
เป็นที่สุด มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ประการ-
ฉะนี้แล.
จบสุสัญญกเถราปทาน
๗๓. อรรถกถาพุทธสัญญากเถราปทาน๒
อปทานของท่านพระพุทธสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ทุมคฺเค
ปสุกูลิก ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
๑. ม. ทุมสาระ. ๒. บาลีว่า สุสัญญกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัย
แล้ว เกิดศรัทธา เห็นผ้าบังสุกุลจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าคล้องไว้ที่
ปลายไม้ มีจิตเลื่อมใสคิดว่า นี้เป็นธงแห่งพระอรหันต์ จึงได้ทำสักการะ
มีการไหว้ และบูชาเป็นต้น. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจงเสวยเทวสมบัติ
และมนุษย์สมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เกิดศรัทธาแล้ว บรรพชา ไม่นานนัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุญกรรมของตนเกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน. จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทุมคฺเค ปสุกูลิก
เป็นต้น ในที่เหล่านั้นมีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ทุมะ เพราะอรรถว่า
กำจัดคือหวั่นไหว. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ทุมะ เพราะอรรถว่า ทำพื้นแห่ง
อากาศให้เต็ม. ชื่อว่าทุมัคคะ เพราะเป็นที่สุดคือปลายแห่งไม้. ในที่ปลาย
แห่งไม้นั้น. ชื่อว่า บังสุกุล เพราะอรรถว่า ไป คือถึงภาวะที่น่าเกลียด
คือภาวะที่น่าไม่พอใจ ประดุจกับฝุ่นฉะนั้น. บังสุกุลนั้นแล เป็นบังสุกูลิกะ
อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาที่คล้องไว้ที่ปลายไม้
ประคองอัญชลี ได้ไหว้คือกระทำความนอบน้อมผ้าบังสุกุลนั้น. บทว่า ต
เป็นเพียงนิบาต. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบพุทธสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
ภิสาลุวทายกเถราปทานที่ ๔ (๗๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันผลไม้และน้ำ
[๗๖] เราเข้าไปยังป่าชัฏ อยู่ในป่าใหญ่ ได้พบพระพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี ผู้สมควรรับเครื่องบูชาจึงได้ถวายเหง้ามัน
ผลไม้ และน้ำสำหรับล้างพระหัตถ์ ถวายบังคมพระบาทด้วย
เศียรเกล้าแล้ว มุ่งหน้าทางทิศอุดรหลีกไป.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเหง้ามันและผลไม้ใน
กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
บุญกรรม.
และในกัปที่ ๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ พระนามว่าภิสสัมมตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประ-
การ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภิสาลุวทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบภิสาลุวทายกเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
๗๔. อรรถกถาภิสาลุวทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระภิสาลุวทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กานน
วนโมคฺคยห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี อยู่ในป่าใกล้หิมวันต-
ประเทศ มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหาร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าวิปัสสี เสด็จมาด้วยอำนาจวิเวก มีจิตเลื่อม ได้ถวายเหง้าบัวทั้งห้า.
พระภาคเจ้าได้เสวยทั้งที่เธอได้เฝ้าอยู่นั้นแหละ เพื่อจะยังจิตของ
เธอให้เลื่อมใส ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น เธอทำกาละแล้ว เสวย
สมบัติในเทวดาชั้นดุสิตเป็นต้น และเสวยมนุษย์สมบัติ ในพุทธุปบาทกาล
นี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ได้รับทรัพย์สมบัติ ละสมบัตินั้น
แล้วบวชในศาสนา. ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์.
แต่นั้นท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กานน วนโมคฺคยฺห ดังนี้ คำนั้น
มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. บทว่า วสามิ วิปิเน อห เชื่อม
ความว่า เราได้อยู่อย่างสงัด. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาภิสาลุวทายกเถราปทาน
จบอรรถกถาภาณวารที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
เอกสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๗๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
[๗๗] ข้าพระองค์ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แก่พระอัครสาวกของ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี มีนามชื่อว่าขัณฑะ ผู้สมควร
รับเครื่องบูชาของโลก ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์นราสภ ด้วย
จิตอันเลื่อมใสนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง.
ในกัปที่ ๔๐ แต่กัปนี้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่าวรุณะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกสัญญกเถราปทาน
๗๕. อรรถกถาเอกสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเอกสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ขณฺโฑ
นามาสิ นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่ง
สมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว มีใจเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระอัครสาวกนามว่า
ขัณฑะของพระศาสดานั้น กำลังเที่ยวภิกษาจาร ได้จัดแจงถวายบิณฑบาต
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติ. ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ บังเกิดในเรือนมีสกุลแห่งหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้ศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
วันหนึ่งท่านมนสิการสัญญาแห่งบิณฑบาตแล้ว จึงปรากฏโดยชื่อว่า
เอกสัญญกเถระ เพราะเหตุที่ท่านกลับได้คุณวิเศษ.
ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน. จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ขณฺโฑ นามาสิ นาเมน
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ขณฺโฑ เป็นชื่อของพระอัครสาวก
องค์นั้น เพราะท่านทำลายกิเลสได้เด็ดขาด. คำที่เหลือในบททั้งปวงมี
อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเอกสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
ติณสันถารทายกเถราปทานที่ ๖ (๗๖)
ว่าด้วยผลแห่งการเกี่ยวหญ้ามาลาดถวาย
[๗๘] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่ง ดาดาษ
ไปด้วยดอกปทุม เป็นที่อาศัยของนกต่าง ๆ เราอาบและดื่ม
น่าในสระนั้นแล้ว อยู่ในที่ไม่ไกล ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
กว่าสมณะเสด็จไปในอากาศ.
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเรา
เสด็จลงจากอากาศแล้ว ประทับยืนอยู่ที่พื้นดิน ในขณะนั้น
เราได้เกี่ยวหญ้ามาลาดถวายเป็นที่ประทับนั่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่ในโลก ๓ เป็นนายก ประทับนั่งบนนั้น.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายบังคมพระองค์
ผู้นายกของโลก นั่งกระโหย่งเพ่งดูพระมหามุนีไม่กะพริบตา
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั่น เราเข้าถึงภพชั้นนิมานรดี เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเครื่องลาดหญ้า.
ในกัปที่ ๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่ามิตตสัมมตะ ทรงสมบูรณด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จ ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติณสันถารทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติณสันถารทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
๗๖. อรรถกถาติณสันถรทายกเถรปทาน
อปทานของท่านพระติณสันถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสวิทูเร
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอนเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง ละการครองเรือน เพราะท่านเกิดก่อนแต่พุทธุปบาทกาล บวช
เป็นดาบสอาศัยสระแห่งหนึ่ง ไม่ไกลป่าหิมพานต์อยู่. สมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ เสด็จไปทางอากาศเพื่ออนุเคราะห์ท่าน.
ครั้งนั้นแล ดาบสนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากอากาศประทับยืน
อยู่นั้น มีใจเลื่อมใส เกี่ยวหญ้าทำเป็นสันถัตหญ้า ให้พระองค์ประทับนั่ง
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ โดยการนับ ถือและการเอื้อเฟื้อเป็น
อันมาก โค้งกายแล้วหลีกไป. ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพ
นั่นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่าง
มิใช่น้อย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญ
วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. ก็ในบทว่า มหาชาตสฺสโร
นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สระ เพราะเป็นที่เที่ยวไปแห่งสัตว์๒ เท้า
และสัตว์ ๘ เท้า เป็นต้น ผู้ต้องการด้วยน้ำดื่ม. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สระ
๑. บาลีว่า ติณสันถารทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
เพราะเป็นที่ไหลมาแห่งแม่น้ำและลำธารเป็นต้น. สระนั้นใหญ่ด้วย เพราะ
เกิดเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สระใหญ่. พึงเห็นว่าท่านกล่าว
มหาชาตสระ เพราะไม่ปรากฏชื่อเหมือนสระอโนดาต และสระชื่อว่า
ฉัททันตะเป็นต้น. บทว่า สปตฺเตหิ สญฺฉนฺโน ความว่า ในดอกแต่
ละดอก มีกลีบ ๑๐๐ กลีบ ด้วย สามารถดอกละร้อยกลีบ. ดาดาษคือ
เป็นรกชัฏไปด้วยดอกปทุมขาว ๑๐๐ กลีบ. บทว่า นานาสกุณมาลโย
ความว่า สัตว์หลายชนิด เช่น หงส์ ไก่ นกเขา และงูน้ำ เป็นต้น
แต่ละตัวย่อมร้องคือทำเสียง เพราะฉะนั้น สระนั้นจึงเป็นที่อยู่ คือเป็น
ที่รองรับของนกทั้งหลาย อันได้นามว่า สกุณะ ดังนี้. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติณสันถรทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
สูจิทายกเถราปทานที่ ๗ (๗๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเข็ม
[๗๙] ในกัปที่สามหมื่นแต่กัปนี้ เราได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม แด่
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก มีพระนามชื่อว่าสุเมธะ มี
พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีพระฉวีวรรณดัง
ทองคำ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่ เพื่อต้องการเย็บจีวร.
ด้วยการถวายเข็มนั้นแล ญาณเป็นเครื่องเห็นแจ้ง อรรถ
อันละเอียดคมกล้า รวดเร็วและสะดวกเกิดขึ้นแก่เรา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นแล้ว เรา
ทรงกายครั้งที่สุดอยู่ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่าทิปทา-
ธิบดี ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสูจิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสูจิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
๗๗. อรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสูจิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ตึสกปฺป-
สหสฺสมหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านบังเกิด ในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม เพื่อทำจีวรกรรม
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย บุญกรรมนั้น ท่านเสวยบุญในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ ปรากฏเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ในภพที่ตน
เกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญ
วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บรรพชาบรรลุพระอรหัตในขณะปลง
ผมนั้นเอง เพราะท่านมีปัญญาเฉียบแหลม.
ครั้นภายหลัง ท่านพิจารณาเห็นบุญนั้น เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตึสกปฺปสหสฺสมฺหิ ดังนี้.
ก็คำอันเป็นลำดับในบทนี้ มีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น. ในบทว่า
ปญฺจ สูจี มยา ทินฺนา มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สูจิ เพราะย่อมเย็บ
คือทำช่อง คือเจาะ. อธิบายว่า เข็มประมาณ ๕ เล่ม ชื่อว่าเข็ม ๕ เล่ม
เราถวายแล้ว. คำทีเหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๗๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกแคฝอย
[๘๐] ในกาลนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐสุขุมาลชาติ ตั้งอยู่ในป่า
ความสุข ได้เอาดอกแคฝอยห่อพกไปบูชาพระสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ เช่นกับแท่งทองอันมีค่า มีพระ-
ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ กำลังเสด็จดำเนินอยู่ใน
ละแวกตลาด.
เราร่าเริง มีจิตโสมนัส บูชาพระองค์ด้วยดอกไม้
ถวายนมัสการพระพุทธเจ้าพระนานว่าติสสะ ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นนาถะของโลก ประเสริฐกว่านระ.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย
ดอกไม้ ในกัปที่ ๖๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มี
พระนามว่าอภิสมมต ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ ๗ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
๗๘. อรรถกถาปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า สุวณฺณ-
วณฺณ สมฺพุทฺธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บังเกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เป็นผู้รู้จักกุศลและอกุศล
เลื่อมใสในพระศาสดา ถือเอาดอกแคฝอยบูชาพระศาสดา. ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านเสวยสุขสมบัติเป็นอันมาก ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสใน
พระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณ สมพุทฺธ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตราปเณ ความว่า ชื่อว่า
อาปณะ เพราะเป็นที่ทุบแผ่ไปซึ่งภัณฑะ มีแผ่นเงินและทองโดยรอบใน
ที่นี้. ชื่อว่า อันตราปณะ เพราะมีถนนผ่านไปในระหว่างแห่งร้านตลาด
นั้น. อธิบายว่า เราเห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีวรรณะเพียงดังวรรณะแห่งทอง
คล้ายกับแท่งแห่งทอง มีลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ จึงบูชาด้วย
ดอกแคฝอย. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี
[๘๑] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าชัฏ ได้พบพระสัม-
พุทธเจ้าผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ในป่านั้น
ณ ที่นั้น เราประนมกรอัญชลีแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศ
ปราจีน ขณะเมื่อเรานั่งอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ที่เรานำมาในที่
ไม่ไกล.
อสนีบาตตกลงบนกระหม่อมของเราในเวลานั้น ในเวลา
ใกล้ตายเราได้ประนมกรอัญชลีอีกครั้งหนึ่ง.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำอัญชลีในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทำอัญชลี.
ในกัปที่ ๕๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนาม
ว่า มิคเกตุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ ๗ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระฐิตัญชลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบฐิตัญชลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
๗๙. อรรถกถาฐิติญชลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระฐิตัญชลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโธ
ปุเร อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพที่ตนเกิดนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในกำเนิดนายพราน
เพราะกรรมอย่างหนึ่งที่ตนกระทำไว้ในก่อนตัดรอน จึงสำเร็จการอยู่ป่า.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ได้เสด็จไปเพื่ออนุเคราะห์
แก่ท่าน. ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้รุ่งเรืองด้วยพระลักษณะ ๓๒
ประการ และด้วยพระรัศมีแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการด้านละวา เกิด
โสมนัสกระทำการนอบน้อม เสด็จไปประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้.
ขณะนั้นฝนตกฟ้าร้องกระหึ่มผ่าลงมา. แต่นั้นในสมัยใกล้ตาย ทานระลึกถึง
พระพุทธเจ้า ได้กระทำอัญชลีอีก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงห้ามอกุศล-
วิบาก เพราะเหตุที่ตนกระทำกุศลไว้ในเขตดี จึงบังเกิดในสวรรค์ เสวย
สมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ และเสวยมนุษย์สมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย
ครั้นภายหลังในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยวาสนาที่คนกระทำไว้ในกาลก่อน บวชแล้ว
ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึ
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโธ ความว่า ชื่อว่า มิคลุทฺโธ
เพราะเข้าถึงการฆ่าเนื้อ. ชื่อว่า มิคา เพราะไป คือแล่นไปโดยเร็วคือด้วย
กำลังเร็วราวกับลม. ชื่อว่า มิคทุธะ เพราะในการฆ่าเนื้อเหล่านั้น นาย
พรานได้เป็นผู้มีความทารุณ อธิบายว่า เรานั้นได้เป็นพรานในกาลก่อนคือ
ในสมัยที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อรญฺเ กานเน ความว่า
ชื่อว่า อรัญญะ เพราะเป็นที่เที่ยวไปของหมู่เนื้อ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
อรัญญะ เพราะเป็นที่ยินดีโดยทั่วไป คือโดยรอบแห่งสัตบุรุษผู้ถึงธรรม
อันเป็นสาระใหญ่ มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ยินดีใน
วิเวก อีกอย่างหนึ่ง กาทั้งหลายย่อมบันลือคือกระทำเสียง เพลิดเพลินยินดีใน
ด้วยอาการที่น่าเกลียด หรือด้วยอาการที่น่ากลัว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กานนะ. เชื่อมความว่า นายพรานได้มีในป่าคือกานนะนั้นในกาลก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทส สมฺพุทฺธ ความว่า ข้าพเจ้า
เห็น คือได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปในที่นั้นคือป่านั้น. ได้เห็น
คือได้มีอยู่เบื้องหน้าไม่ไกล เพราะฉะนั้น จึงยังจักขุวิญญาณให้สำเร็จ
เป็นปุเรจาริกเที่ยวไปในเบื้องหน้า พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ตาม
กระแสแห่งมโนทวาร. บทว่า ตโต เม อสนีปาโต ความว่า
ชื่อว่า อสนี เพราะบันลือกระหึ่มตกไปโดยรอบ. การตกลงแห่งสายฟ้า
ชื่อว่า อสนีปาโต ได้แก่ เทวทัณฑ์. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาฐิตัญชลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
ตีณิปทุมยเถราปทานที่ ๑๐ (๘๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม ๓ ดอก
[๘๒] ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้
ธรรมทั้งปวง ทรงฝึกพระองค์เองแล้ว ทรงแวดล้อมด้วยพระ-
สาวกผู้ฝึกตนแล้ว เสด็จออกจากนคร.
เวลานั้น เราเป็นช่างดอกไม้ อยู่ในพระนครหังสวดี เรา
ถือดอกปทุม ๓ ดอกอย่างดีเลิศ (จะไป) ในพระนครนั้น ได้
พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เสด็จดำเนินอยู่ในละแวก
ตลาด พร้อมกับได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า เราได้คิดอย่างนี้ใน
กาลนั้นว่า
จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยดอกไม้เหล่านี้ ที่เราบำรุง
พระราชา เราจะพึงได้บ้านหรือคามเขตหรือทรัพย์พันหนึ่ง
(เท่านั้น) เราบูชาพระพุทธเจ้าผู้ฝึกคนที่มิได้ฝึกตน ผู้แกล้ว
กล้า ทรงนำสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวง เป็นนาถะของโลกแล้ว
จักได้ทรัพย์อันไม่ตาย.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส แล้ว
จับดอกปทุม ๓ ดอกโยนขึ้นไปบนอากาศ ในกาลนั้น พอ
เราโยนขึ้นไป ดอกปทุมเหล่านั้นก็แผ่ (บาน) อยู่ในอากาศ
มีขั้วขึ้นข้างบน ดอกลงข้างล่าง ลอยอยู่เหนือพระเศียรใน
อากาศ.
มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเห็นแล้วพากันโห่ร้องเกรียวกราว
ทวยเทพเจ้าในอากาศพากันซ้องสาธุการว่า ความอัศจรรย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
เกิดขึ้นแล้วในโลก เราทั้งหลายจักนำดอกไม้มาบูชาพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทั้งหมดจักฟังธรรม จักนำดอกไม้
มาบูชา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงสมควรรับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ที่ถนนนั่นเอง ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า มาณพใดได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว
แดง เราจักพยากรณ์มาณพนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
มาณพนั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัปและ
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๓๐ ครั้ง จักมีวิมาน
ชื่อว่ามหาริตถาริกะในเทวโลกนั้น สูง ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๑๕๐
โยชน์ พวงดอกไม้ ๔๐๐,๐๐๐ พวงที่เทวดานิรมิตอย่างสวย
งานห้อยอยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐ และประดับที่ที่นอนใหญ่.
นางอัปสรแสนโกฏิ มีรูปอุดม ฉลาดในการฟ้อน การ
ขับรำและการประโคม จักแวดล้อมอยู่โดยรอบ.
ในกาลนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์มีสีแดง จักตกลงในวินาน
ประเสริฐ อันเกลื่อนกล่นด้วยหมู่เทพนารีเช่นนี้ แก้วปัทม-
ราคโตประมาณเท่าจักร จักห้อยอยู่ที่ตะปูฝาไม้พ้นนาค ที่
บานประตู และที่เสาระเนียด ที่วิมานนั้น.
นางเทพอัปสรทั้งหลายจักลาด จักห่มด้วยใบบัว นอนอยู่
ภายในวิมานอันประเสริฐที่ดาดาษด้วยใบบัว ดอกบัวแดงล้วน
เหล่านั้น แวดล้อมภพ ส่งกลิ่นหอมตลบไปประมาณร้อย
โยชน์โดยรอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
มาณพนี้จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง จักได้เป็น
พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ ได้เสวย
สมบัติทั้งสองแล้ว หากังวลมิได้ ไม่มีอันตราย เมื่อกาลเป็น
ที่สุดมาถึงแล้ว จักได้บรรลุนิพพาน.
พระพุทธเจ้าเราได้เห็นดีแล้วหนอ การค้าเราประกอบแล้ว
เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกบัว ๓ ดอกแล้ว ได้เสวย
สมบัติ ๓.
ดอกบัวแดงอันบานงาม จักทรงไว้บนกระหม่อมของเรา
ผู้บรรลุธรรม พ้นวิเศษแล้วโดยประการทั้งปวงในวันนี้.
เมื่อพระปทุมุตตระบรมศาสดาตรัสกรรมของเราอยู่ ธรรมา-
ภิสมัยได้มีแก่สัตว์หลายแสน ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ เรา
ได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่ง (การบูชาด้วย) ดอกบัว ๓ ดอก เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นแล้ว อาสวะทั้งหมด
สิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตีณิปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบตีณิปทุมิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
๘๐. อรรถกถาติปทุมิยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระติปทุมิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม
ชิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลของ
นายมาลาการ ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว กระทำกรรมแห่งนายมาลาการ
อยู่ วันหนึ่ง ถือเอาดอกไม้ที่เกิดในน้ำและเกิดบนบกมากมาย ประสงค์
จะเฝ้าพระราชา คิดอย่างนี้ว่า พระราชาเห็นดอกไม้นี้ก่อนแล้วเลื่อมใส
พึงประทานทรัพย์พันหนึ่งหรือบ้านเป็นต้น ส่วนเราเห็นพระโลกนาถ
ย่อมได้ทรัพย์คืออมตนิพพาน อะไรจะเป็นความดีในทรัพย์เหล่านั้นของเรา
เพราะเหตุนั้น จึงคิดว่า การที่เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังสวรรค์-
สมบัติและนิพพานสมบัติให้สำเร็จ ย่อมควรดังนี้แล้ว จึงถือเอาดอกไม้
แดง ๓ ดอกอันมีสีดียิ่งบูชาแล้ว. ดอกไม้เหล่านั้นลอยไป กั้นลาดบน
อากาศได้ตั้งอยู่แล้ว. ชาวพระนครเกิดอัศจรรย์จิตซึ่งไม่เคยมี ซัดแผ่นผ้า
๑,๐๐๐ ผืนให้เป็นไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดังนั้น จึงได้ทรงกระทำ
อนุโมทนา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน ดังนี้. ความแห่งคำนั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคู ความว่า ท่านถึงฝั่งแห่งโลกุตรธรรม ๙
๑. บาลี ตีณิปทุมิยเถระ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
ทั้งหมด คือพระนิพพาน ได้แก่กระทำให้ประจักษ์แล้ว. บทว่า ทนฺต-
ปริวุโต ความว่า ฝึกกายและวาจาเป็นต้นด้วยตนเอง แวดล้อมไปด้วย
สาวกทั้งหลายผู้ที่พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. คำที่เหลือ
ด้วยอำนาจสัมพันธ์ในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติปทุมิยเถราปทาน
จบอรรถกถานาคสมาลวรรคที่ ๘
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นาคสมาลเถราปทาน ๒. ปทสัญญกเถราปทาน ๓. สุสัญญก-
เถราปทาน ๔. ภิสาลุวทายกเถราปทาน ๕. เอกสัญญกเถราปทาน
๖. ติณสันถารทายกเถราปทาน ๗. สูจิทายกเถราปทาน ๘. ปาฏลิ-
ปุปผิยเถราปทาน ๙. ฐิตัญชลิยเถราปทาน ๑๐. ตีณิปทุมิยเถราปทาน.
มีคาถารวม ๗๕ คาถา.
จบนาคสมาลวรรคที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี
[๘๓] เรา (เที่ยว) ไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้
เห็นพระสมณะซึ่งประทับนั่งอยู่ ผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เรายังจิต
ให้เลื่อมใสในพระสมณะนั้น แล้วได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข้ามพ้นด้วยพระองค์เองแล้ว จักทรง
ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น ทรงทรมานเองแล้ว จักทรงทรมาน
สรรพสัตว์
ทรงเบาพระทัยเองแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้เบาใจ
ทรงสงบเองแล้ว จังทรงยังสรรพสัตว์ให้สงบ ทรงพ้นเองแล้ว
จักทรงยังสรรพสัตว์ให้พ้น ทรงดับเองแล้ว จักทรงยัง
สรรพสัตว์ให้ดับ.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ถือเอาดอกดีหมี นาโปรยลง
เบื้องบนพระเศียรแห่งพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่
พระนามว่าสิทธัตถะ บูชาในกาลนั้น แล้วประนมอัญชลี ทำ
ประทักษิณพระองค์ และถวายบังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว
กลับไปทางทิศอื่น.
พอเราไปแล้วไม่นาน พญาเนื้อได้เบียดเบียนเรา เรา
เดินไปตามริมเหว ได้ตกลงในเหวนั้นนั่นเอง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
ในกัปที่ ๕๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
พระนามว่ามหารหะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติมิรปุปผิยเถราปทาน
ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
๘๑. อรรถกถาติมิรปุปผิยเถราหทาน
อปทานของท่านพระติมิรปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคา-
นทีตีเร ดังนี้.
อะไรเป็นอุปัตติเหตุ ? พระเถระนี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระ-
พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสับแก่พระนิพพานใน
ภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย ละการครองเรือน บวชเป็นดาบส อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคานที.
เพราะท่านเป็นผู้ใคร่วิเวก ไปสู่ป่าหิมพานต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ประทับอยู่แล้ว ถวายบังคม เลื่อมใสคุณของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถือเอาดอกดีหมีบูชา. ด้วยบุพกรรมนั้น ท่าน
เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริ้วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
ความแห่งคำนั้น ท่านกล่าวแล้วในหนหลังแล. บทว่า อนุโสต วชามห
ความว่า เราได้ไปอยู่ในที่นั้น ๆ ตามกระแสภายใต้แม่น้ำคงคา เพราะ
เป็นที่น่ารื่นรมย์ในที่ทุกสถาน เคยเป็นที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคา. บทว่า
นิสินฺน สมณ ทิสฺวา ความว่า เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าว
คือพระสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป คือเพราะเป็นผู้ทำบาปให้เหือดแห้ง.
บทว่า เอว จินฺเตสห ตทา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้
พระองค์เองข้ามพันแล้ว จักยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพันจากสงสาร คือ
พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์ทรงฝึกพระองค์เองด้วยกายทวารแล้ว ทรง
ฝึกสัตว์เหล่าอื่นด้วย.
นี้เป็นอรรถที่น่าโปร่งใจ คือถึงความโปร่งใจ. พระองค์พ้นแล้ว
จากความเร่าร้อนคือกิเลส ยังสัตว์ทั้งปวงให้โปร่งใจ คือ ให้ถึงความสงบ.
พระองค์ทรงสงบแล้ว คือมีกายจิตสงบแล้ว ย่อมยังกายจิตของสัตว์เหล่า
อื่นให้ถึงความสงบ. พระองค์พ้นแล้ว คือพ้นจากสงสาร จักให้สัตว์
เหล่าอื่นพ้นจากสงสาร. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นพระองค์เองดับสนิทแล้ว
คือดับจากไฟคือกิเลสทั้งหลาย จักให้สัตว์เหล่าอื่นดับจากไฟคือกิเลส
เพราะฉะนั้น ในกาลนั้น เราจึงคิดอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
บทว่า คเหตฺวา ติมิรปุปฺผ ความว่า ชื่อว่าดอกดีหมี เพราะทำ
ชายป่าทั้งสิ้นให้เป็นดุจอาการมืด ด้วยรัศมีเขียวและดำครอบคลุม เราได้
ถือเอาดอกดีหมีแล้ว ถือขั้วดอกกรรณิการ์ แล้ว โปรยที่เบื้องบน คือเหนือ
พระเศียร บนอากาศบูชา. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติมิรปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
คตสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๘๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์ ๗ ดอก
[๘๔] เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด บรรพชาเป็นสามเณร มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดา ได้โยน
ดอกไม้กรรณิการ์ ๗ ดอกขึ้นไปในอากาศ อุทิศเฉพาะพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงพระคุณอนันต์ดังสาคร.
มีใจยินดีและเลื่อมใส บูชาหนทางที่พระสุคตเสด็จดำเนิน
ได้กระทำอัญชลีด้วยมือทั้งสองของตน.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรคิ ๓ ครั้ง มี
พระนามว่าอัคคิสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบคตสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
๘๒. อรรถกถาคตสัญยกเถราปทาน
อปทานของท่านพระคตสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติยา
สตฺตวสฺโสห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
ได้ศรัทธาด้วยอำนาจวาสนาที่คนทำไว้ในกาลก่อน บวชในกาลที่ตนมีอายุ
๗ ขวบนั้นแล ได้ปรากฏโดยการกระทำการนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้นเอง. วันหนึ่งท่านถือเอาดอกไม้ ๗ ดอกที่ตั้งขึ้นในที่ที่เขาไถด้วยไถ
มีสีเขียวดุจสีแก้วมณีฉะนั้นเทียวบูชาบนอากาศ. ท่านการทำสมณธรรมจน
ตลอดอายุ ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั่งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะ
แล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดศรัทธา เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สตฺตวสฺโสห ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติยา สตฺตวสฺโส ความว่า ตั้งแต่
เวลาที่ออกจากท้องมารดา จนอายุครบ ๗ ขวบ. บทว่า ปพฺพชึ อนคาริย
ความว่า ชื่อว่า อนคาริยะ เพราะกรรมอันเป็นประโยชน์แก่เรือน คือ
กสิกรรมและวาณิชกรรมไม่มี, ความว่า เราได้บวชในพระพุทธศาสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
บทว่า สุคตานุคต มคฺค ความว่า ทางอันพระพุทธเจ้าทรงดำเนิน
ไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ทางอันพระองค์แสดงแล้ว เชื่อมความว่า เรามีใจ
ร่าเริงคือมีจิตยินดีบูชา ด้วยอำนาจบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่
ธรรม. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาคตสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส
[๘๕] เราเป็นไข้หนักนั่งอยู่ที่โคนไม้ในป่าชัฏใหญ่ เป็นผู้ควร
ได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง.
พระศาสดาพระนามว่าติสสะ ทรงอนุเคราะห์เสด็จมาหา
เรา เรานั้นนอนอยู่ ได้ประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า.
เรามีจิตเลื่อมใส มีจิตโสมนัส ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า
ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แล้วได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้อุดม
บุรุษ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายบังคม.
ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง
มีพระนามว่า มหาสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ.
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิปันนัญชลิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
๘๓. อรรถกถานิปันนัญชลิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระนิปันนัญชลิกเถระ มีคำเริมต้นว่า รุกขมูเล
นิสินฺโนห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เจริญวัยแล้วบวชบำเพ็ญรุกขมูลิกังค-
ธุดงค์อยู่ในป่า. สมัยนั้นอาพาธกล้าเกิดขึ้น ท่านถูกอาพาธนั้นบีบคั้น
เป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป ณ ที่นั้น
ด้วยมีพระกรุณาแก่ท่าน. ขณะนั้นท่านนอนอยู่นั่นแล ไม่สามารถจะลุกได้
จึงประคองอัญชลีเหนือเศียรแล้ว ได้กระทำการนอบน้อมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในภพชั้นดุสิต เสวยสมบัติใน
ภพนั้น แล้วเสวยสมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นด้วยอาการอย่างนี้
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ด้วย
อำนาจบุญกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏโดยนามว่า นิปัน-
นัญชลิกถระ ดังนี้.
ครั้นภายหลัง ท่านตรวจดูบุญสมบัติของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รุกฺขมูเล นิสินฺโนห
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกคือ
ชูขึ้นเบื้องบน ๆ อธิบายว่า ที่โคนคือที่ใกล้แห่งควงต้นไม้นั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
พฺยาธิโต ปรเมน จ ความว่า ถูกโรคคือพยาธิอย่างแรงกล้าอย่างยิ่ง
เบียดเบียน คือเราประกอบด้วยพยาธิ. บทว่า ปรมการฺุปฺปตโตมฺหิ
เชื่อมความว่า เป็นผู้ถึงความน่าสงสาร ความเข็ญใจ ความทุกข์ยากอย่างยิ่ง
ในป่านั้น.
บทว่า ปญฺเจวาสุ มหาสิขา ความว่า มวยผมท่านเรียกว่า สิขา
เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องประดับศีรษะ อธิบายว่า สิขะ เพราะท่านมี
มกุฎโชติช่วงด้วยแก้วมณี ท่านเป็นจักรพรรดิ ๕ ครั้ง มีพระนาม
อย่างเดียวกันว่า จักรพรรดิ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น
แล.
จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
อโปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๘๔)
ว่าด้วยผลการโปรยดอกไม้บูชา
[๘๖] ภิกษุชื่ออภิภู เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี มีอานุภาพมาก บรรลุวิชชา ๓ เข้ามาสู่ภูเขาหิมวันต์
ในกาลนั้น แม้เราก็เป็นฤาษีผู้ชำนาญในอัปปมัญญาและ
ฤทธิ์ อยู่ในอาศรม รมณียสถาน ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เรา
ปรารถนาภูเขาอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนนกในอากาศปรารถนา
อากาศฉะนั้น เราเก็บดอกไม้ที่เชิงเขาแล้ว มาสู่ภูเขา.
หยิบดอกไม้ ๗ ดอกโปรยลงเบื้องบนพระเศียร เราอัน
พระวีรเจ้าแลดูแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน.
เรามุ่งไปสู่ที่อยู่ ถ้งอาศรมแล้วเก็บหาบเครื่องบริขาร แล้ว
เดินไปตามระหว่างภูเขา.
งูเหลือมเป็นสัตว์ร้ายกาจ มีกำลังมาก รัดเรา เราระลึก
ถึงบุพกรรม ได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอโธปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอโธปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
๘๔. อรรกถาอโธปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระอโธปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อภิภู นาม
โส ภิกฺขุ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั่งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพเป็นอันมาก ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว
อยู่ครองเรือน ครั้นภายหลังท่านเห็นโทษในกามทั้งหลาย ละการอยู่
ครองเรือนนั้นแล้ว บวชเป็นฤาษี ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ และถึง
ความเป็นผู้ชำนาญ อาศัยอยู่ในป่าหิมวันต์. พระอัครสาวกชื่อว่า อภิภู
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี นั้น ยินดียิ่งในวิเวก ได้ไปสู่
ป่าหิมวันต์. ครั้งนั้น เราเห็นพระอัครสาวกเถระนั้นแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาที่พระ-
เถระยืนอยู่ ถือเอาดอกไม้ ๗ ดอกสมบูรณ์ด้วยสี มีกลิ่นหอม จากพื้น
ภายใต้แห่งภูเขามาบูชา. ครั้งนั้นพระเถระนั้น ได้กระทำอนุโมทนาแก่ท่าน.
ฝ่ายดาบสนั้นก็ได้ไปยังอาศรมของตน. ท่านถูกงูเหลือมตัวหนึ่งในที่นั้น
รัดเอา ภายหลังท่านมีฌานไม่เสื่อม ถูกอันตรายนั้นนั่นรบกวนกระทำ
กาละแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เสวยพรหมสมบัติ
และฉกามาวจรสมบัติ และยังมนุษยสมบัติทั้งหลายให้สิ้นไป ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ฟังธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์. ภายหลังท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญกรรมที่ตนทำไว้ว่า อโธ-
ปุปผิยเถระ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
วันหนึ่งท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อภิภู นาม โส ภิกฺขุ ดังนี้.
ในบทเหล่านี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ
คนเหล่าอื่นด้วยศีลและสมาธิ, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ
คือท่วมทับมารมีขันธมารเป็นต้น อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ
คือกำจัดกิเลสที่อยู่ในสันดานของตนและของตนเหล่าอื่น. ชื่อว่า ภิกขุ
เพราะมีปกติขอ คือมีการขอเป็นปกติ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ภิกขุ เพราะ
ทรงไว้ซึ่งแผ่นผ้าที่ถูกตัดถูกทำลาย อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นพระอัครสาวกนั้น
ชื่อว่า อภิภู. เชื่อมความว่า พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าสิขี.
บทว่า อชคโร ม ปิเฬสิ๑ ความว่า งูเหลือมใหญ่เบียดเบียน
พระดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเห็นปานนั้น ท่านถูกอันตรายนั้นนั่นแลรบกวน
มีฌานไม่เสื่อม ทำกาละแล้ว มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอโธปุปผิยเถราปทาน
๑. บาลีว่า อชคโรปิ บีเฬสิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
รังสิสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๘๗] เมื่อก่อน เราสำเร็จการอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ เรานุ่งห่มหนัง
สัตว์อยู่ในระหว่างภูเขา เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระ-
ฉวีวรรณดังทองคำ ดุจพระอาทิตย์แผดแสง เสด็จเข้าป่า
งามเหมือนพญารังมีดอกบาน.
จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมี แล้วนั่งกระโหย่งประนม
อัญชลี ถวายบังคมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ด้วยเศียรเกล้า.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระรัศมี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมก ์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรังสิสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบรังสิสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
๘๕. อรรถกถารังสิสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระรังสิสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต
หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
พระเถรแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนเห็นโทษในกามทั้งหลาย ละการครองเรือน
บวชเป็นดาบส ทรงหนังเสือเหลือง สำเร็จการอยู่ในหิมวันตบรรพต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จไปยังหิมวันตบรร-
พต. ลำดับนั้น ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จเข้าหิมวันต-
บรรพตนั้น เลื่อมใสในพุทธรังสีมีวรรณะ๖ อันซ่านออกจากพระวรกาย
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประคองอัญชลี ได้การทำนอบน้อมด้วยองค์ ๕
ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นเอง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยทิพยสมบัติใน
เทพชั้นดุสิตเป็นต้น ครั้นภายหลังเสวยมนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน เห็นโทษ
ในการอยู่ครองเรือนนั้น ละเรือนบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพเต ความว่า ชื่อว่า ปัพพตะ
เพราะพอกพูนคือเจริญโดยประการ ชื่อว่า หิมวันตะ เพราะภูเขานั้นมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
หิมะ, ภูเขานั้นด้วย หิมวันต์ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หิมวันต-
บรรพต เมื่อจะกล่าว หิมวนฺตปพฺพโต ท่านกล่าวเสียว่า ปพฺพเต หิม-
วนฺตมฺหิ เพื่อสะดวกแก่คำเป็นคาถา. เชื่อมความว่า ในกาลก่อนเรา
สำเร็จการอยู่ ณ บรรพต ชื่อว่า หิมวันต์นั้น. คำที่เหลือมีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล.
จบรังสิสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
รังสิสัญญิกเถราปทาน
ว่าด้วยผลแห่งการทำจิตใจให้เลื่อมใสในพระพุทธรัศมี
[๘๘] เราทรงผ้าเปลือกไม้กรองอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ขึ้นสู่ที่จงกรม
แล้ว นั่งผินหน้าไปทางทิศปราจีน เราได้เห็นพระสุคตเจ้า
พระนามว่าผุสสะ ผู้ยินดีในฌานทุกเมื่อ (เสด็จมา) บนภูเขา
จึงประนมอัญชลีแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมี.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระรัศมี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรังสิสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบรังสิสัญญิกเถราปทาน
๘๖. อรรถกถาทุติยรังสิสัญญกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระทุติยรังสิสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต
หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลาย อันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพที่ตนเกิดแล้ว ๆ
๑. บาลี รังสิสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนเห็นโทษในการครองเรือนนั้น ละการ
ครองเรือนนั้นบวชเป็นดาบส อยู่ที่หิมวันตบรรพต นุ่งห่มเปลือกปอ
อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่วิเวก. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ผุสสะ เสด็จถึงประเทศนั้น เห็นพระพุทธรังสีมีพรรณะ ๖ อันซ่าน
ออกจากพระสรีระของพระองค์ ซ่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่ เหมือนแผ่
ซ่านออกแห่งไฟชนวน เลื่อมใสในพระองค์ ประคองอัญชลีถวายบังคม
ยังจิตให้เลื่อมใส กระทำกาละด้วยปีติและโสมนัสนั้น ๆ เอง บังเกิดใน
เทพชั้นดุสิตเป็นต้น เสวยกามาพจร ๖ ชั้น ในภพเหล่านั้น และครั้น
ภายหลังเสวยมนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว บวช ด้วยอำนาจวาสนาในกาลก่อน ไม่นานนัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนตฺมหิ ดังนี้.
คำนั้นทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยรังสิสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
ผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๙] เราทรงหนังสัตว์หยาบอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ได้เห็นพระ-
ชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าผุสสะ จึงถือผลไม้ไปถวาย เรา
มีใจผ่องใส ได้ถวายผลไม้ใด ผลไม้นั้นบังเกิดแก่เราในภพ
ที่เราเกิดแล้ว.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
๘๗. อรรถกถาผลทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระผลทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต หิม-
วนฺตมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
พุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ได้รับ
ความสุข ละสิ่งทั้งปวงออกบวชเป็นดาบส นุ่งหนังสัตว์กระด้างอยู่. ก็
สมัยนั้น ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะ. เสด็จถึง ณ ที่นั้น
มีใจเลื่อมใส ถือเอาผลไม้มีรสอร่อยถวายให้เสวย เพราะกุศลนั้น ๆ เอง
ท่านจึงเสวยบุญสมบัติ ในเทวโลกเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดาบวชแล้ว
ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้. คำนั้น
ทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
สัททสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการเลื่อมใสตามเสียงแสดงธรรม
[๙๐] เราอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ ณ ภูเขาหิมวันต์ ได้ยังจิตให้
เลื่อมใสในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ผุสสะ ผู้กำลังทรงแสดงธรรม.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั่น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๗ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัททสัญญกเถราปทาน
๘๘. อรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสัททสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต
หิมวนฺตมิหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนตระกูลแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธา บวชเป็นดาบสอยู่ในป่าหิมวันต์ ได้สดับธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปใกล้เพื่ออนุเคราะห์ตน ยังจิตให้เลื่อม-
ใสในธรรมทั้งหลาย ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ภายหลังทำกาลแล้ว เสวย
กามาพจรสมบัติในสวรรค์ ๖ ชั้น มีชั้นดุสิต เป็นต้น และเสวยสมบัติใน
มนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
คำนั้น ทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
โพธสิญจกเถราปทานที่ ๙ (๘๙)
ว่าด้วยผลแห่งการรดน้ำโพธิพฤกษ์
[๙๑] ได้มีการฉลองพระมหาโพธิ์ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่าวิปัสสี ในกาลนั้น เราบวชอยู่ได้ถือเอาดอกโกสุมเข้า
ไปบูชา แล้วเอาน้ำเข้าไปรดที่โพธิพฤกษ์ด้วยกล่าวว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพ้นแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้พ้น ทรง
ดับแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้ดับหนอ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้รดน้ำโพธิพฤกษ์ใด ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการรดน้ำไม้โพธิ์ ใน
กัปที่ ๓๓ อันกำลังเป็นไป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็น
จอมชนรวม ๘ ครั้ง ทรงพระนามว่าอุทกาเสจนะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโพธิสิญจกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโพธิสัญจกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
๘๙. อรรถกถาโพธิสิญจกเถราปทาน
อปทาของท่านพระโพธิสิญจกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในอเนกชาติ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บวชในพระศาสนา ยังพระศาสนาให้งามด้วยวัตรปฏิบัติ เห็นมหาชน
พากันบูชาต้นโพธิ์ จึงให้คนถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นอันมากบูชา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก เสวยกามาพจรสมบัติ ๖ ชั้น
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีสกุลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิด
ศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ให้กาลล่วงไปด้วยสุขอันเกิดแต่ผลแห่ง
ฌาน ระลึกถึงบุพกรรม เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้.
ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นคุณ
วิเศษ คืออรรถอย่างยิ่ง ได้แก่พระนิพพาน อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิปัสสี
เพราะเห็นชนผู้ควรและไม่ควรแก่การตรัสรู้โดยวิเศษ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วิปัสสี เพราะเห็นแจ้งชัด คือมีปกติเห็นสัจจะ ๔ เชื่อมความว่า เราได้เป็น
ผู้บูชาต้นมหาโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนั้น. ในคาถา
นั้น ญาณในมรรคทั้ง ๔ ท่านเรียกว่า โพธิ ในบทว่า มหาโพธิ นี้.
แม้ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ต้นโพธิ์นั้น ตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
สัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น แม้ต้นกรรณิการ์ ท่านก็เรียกว่าโพธิ์เหมือน
กัน, โพธิ์นั้นอันเทพ พรหม นระ และอสูรบูชาแล้ว เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่ามหาโพธิ์ อีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียกว่าโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ได้มีการบูชาใหญ่แด่พระผู้มีพระภาค-
เจ้านั้น. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโพธิสิญจกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
ปทุมปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๙๐)
ว่าด้วยผลแห่งการโยนดอกปทุมขึ้นบูชา
[๙๒] เราเข้าไปยังป่าบัว บริโภคเหง้าบัวอยู่ ได้เห็นพระสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒
ประการ.
เราจับดอกปทุมโยนขึ้นไปในอากาศ เราระลึกถึงกรรมอัน
ลามกแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต.
ครั้นบวชแล้ว มีกายและใจอันสำรวมแล้ว ละวจีทุจริต
ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกไม้
ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน (จักรพรรดิ) ๑๘ ครั้ง ทรงพระนาม
เหมือนกันว่า ปทุมภาสะ ในกัปที่ ๑๘ ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
๔๘ ครั้ง.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทุมปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
๙๐. อรรถกถาปทุมปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทุมปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โปกฺบรวน
ปวิฏฺโ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ. ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
เจริญวัยแล้ว เข้าไปสู่สระโบกขรณีแห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยดอกปทุม กัด
กินเหง้าบัว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะเสด็จไป ณ ที่ไม่ไกล
แห่งสระโบกขรณี มีใจเลื่อมใส เก็บดอกปทุมจากสระขว้างไปบนอากาศ
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้กระทำดอกไม้เหล่านั้นให้เป็นเพดานในอากาศ.
ท่านมีใจเสื่อมใสโดยประมาณยิ่ง บวชแล้ว มีวัตรปฏิบัติเป็นสาระ
บำเพ็ญสมณธรรม จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นเหมือนกระทำมละใน
ภพชั้นดุสิต เกิดในที่นั้น และเสวยกามาพจร ๖ ชั้น ตามลำดับ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิด
ศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โปกฺขรวน ปวิฏฺโ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ชื่อว่า โปกขระ เพราะ
กล้าแข็งกว่า ก้าน ใบ ของไม้อ้อโดยประการ ชื่อว่า โปกขรวนะ
เพราะเป็นที่ประชุม เพราะรถว่า ตั้งขึ้นแห่งใบบัว. อธิบายว่า ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
ได้เข้าไปสู่ท่ามกลาง อันประดับด้วยกอและกองแห่งปทุม. คำที่เหลือใน
บททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทุมปุปผิยเถราปทาน
จบอรรถกถาติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติมิรปุปผิยเถราปทาน ๒. คตสัญญกเถราปทาน ๓. นิปัน-
นัญชลิกเถราปทาน ๔. อโธปุปผิยเถราปทาน ๕. รังสิสัญญกเถราปทาน
๖. รังสิสัญญิกเถราปทาน ๗. ผลทายกเถราปทาน ๘. สัททสัญญกเถรา-
ปทาน ๙. โพธิสิญจกเถราปทาน ๑๐. ปทุมปุปผิยเถราปทาน.
ในวรรคนี้ท่านประกาศคาถาไว้ ๕๖ คาถา.
จบติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
สุธาวรรคที่ ๑๐
สุธาปิณฑิยเถราปทานที่ ๑ (๙๑)
ว่าด้วยผลบุญของผู้บูชาบุคคลผู้ควรบูชาไม่อาจนับได้
[๙๓] ใครๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาพระพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก ผู้สมควรบูชา ผู้ล่วงธรรม
เครื่องให้เนิ่นช้า ผู้ข้ามความโศกและความร่ำไรแล้ว ว่าบุญ
นี้มีประมาณเท่านี้ได้.
ใคร ๆ ไม่อาจจะนับบุญของบุคคล ผู้บูชาปูชารหบุคคล
เหล่านั้น เช่นนั้น ผู้ดับแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ว่าบุญนี้
มีประมาณเท่านี้ได้.
การที่บุคคลในโลกนี้ ฟังให้ทำความเป็นใหญ่ในทวีป
ทั้ง ๔ นี้ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการบูชานี้.
เรามีใจผ่องใส ได้ใส่ก้อนปูนขาวในระหว่างแผ่นอิฐ ที่
พระเจดีย์ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เลิศ
กว่านระ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการปฏิสังขรณ์.
ในกัปที่ ๓๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่าปฏิสังขาระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
ทราบว่า ท่านพระสุธาปิณฑิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประ-
การฉะนี้แล.
จบสุธาปิณฑิยเถราปทาน
สุธาวรรคที่ ๑๐
๙๑. อรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุธาปิณฑิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปูชารเห
ปูชยโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสนภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรง
พระชนม์อยู่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญบุญได้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนพากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านใส่ก้อนปูนขาวก่อเจดีย์นั้น. ด้วยบุญกรรมนั้น
ท่านไม่เห็นอบาย ๔ ในระหว่างนี้ จำเดิมแต่กัป ๙๔ เสวยเทวสมบัติ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นาน ก็เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทานของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปูชารเห ปูชยโต
ดังนี้
ในคำเหล่านี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
พุทธเจ้า พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา และครู
เป็นต้น ชื่อว่าปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา) ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำ
การนับส่วนแห่งบุญที่บุคคลบูชาแล้วในปูชารหบุคคลเหล่านั้น ด้วยสักการะ
มีระเบียบดอกไม้ดอกปทุม ผ้า เครื่องอาภรณ์และปัจจัย ๔ เป็นต้น ด้วย
ทรัพย์ตั้งแสนเป็นต้น แม้ด้วยอานุภาพอันใหญ่ได้ มิใช่เพียงบูชาพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาใน
พระเจดีย์ พระปฏิมา และต้นโพธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้
ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน
เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุนฺนมฺปิ จ ทีปาน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺนมฺปิ ทีปาน ความว่า พึงรวม
ทวีปทั้ง ๔ กล่าวคือ ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และ
บุพพวิเทหทวีป และทวีปน้อย ๒ ,๐๐๐ อันรวมอยู่ในทวีปทั้ง ๔ นั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน แล้วพึงกระทำความอิสระ คือความเป็นพระราชา
ผู้จักรพรรดิในห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น. บทว่า เอกิสฺสา ปูชนาเยต
ความว่า นี้เป็นทรัพย์ทั้งสิ้น มีรัตนะ ๗ เป็นต้น ในชมพูทวีปทั้งสิ้น
แห่งการบูชาอันหนึ่ง ที่กระทำไว้ในห้องพระธาตุคือพระเจดีย์. บทว่า
กล นาคฺฆติ โสฬสึ ความว่า ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ ที่จำแนกไว้ ๑๖ ครั้ง
แห่งการบูชาที่กระทำไว้ในพระเจดีย์.
บทว่า สิทฺธตฺถสฺส ฯ เป ฯ ผลิตนฺตเร ความว่า ในระหว่าง คือ
ในท่ามกลางแห่งแผ่นอิฐทั้งสองที่กำหนด ที่มหาชนพากันฉาบด้วยปูนขาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
ที่ห้องเป็นที่บรรจุพระธาตุ ในพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้เลิศประเสริฐกว่านระ. อีกอย่างหนึ่งเชื่อมความว่า เราได้ใส่
ก้อนปูนขาวลงในระหว่างที่เป็นที่ถวายดอกไม้. คำที่เหลือในบททั้งปวงมี
อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
สุปีฐิยเถราปทานที่ ๒ (๙๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั้ง
[๙๔] เรายินดีมีจิตโสมนัส ได้ถวายตั่งอันสวยงามแด่พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้เป็นนาถะของโลก เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์.
ในกัปที่ ๓๘ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาพระนามว่า
มหารุจิ โภคสมบัติอันไพบูลย์และที่นอนมิใช่น้อย ได้มี
แล้วแก่เรา เรามีใจผ่องใสได้ถวายตั่งแด่พระพุทธเจ้า ย่อม
เสวยกรรมของตน ที่ตนได้ทำไว้ดีแล้วในกาลก่อน.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายตั่งใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่ง.
ในกัปที่ ๓๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ พระนามว่ารุจิ ครั้งที่ ๒ พระนามว่าอุปรุจิ และ
ครั้งที่ ๓ พระนามว่ามหารุจิ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้
ทราบว่า ท่านพระสุปีฐิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุปีฐิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
๙๒. อรรถกถาสุปีฐิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุปีฐิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส
โลกนาถสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานในอเนกชาติ ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัย
แล้วเลื่อมใสในพระศาสดา ได้ถวายตั่งอันมีค่าแล้วด้วยไม้บริสุทธิ์สละสลวย
เพื่อเป็นที่ประทับนั่งแห่งพระศาสดา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสุข
ในสุคติ ท่องเที่ยวไปในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน
มีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นาน
นัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรม เกิดโสมนัส เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติสฺสสฺส โลกนาถสฺส
ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุปีฐิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
อัฑฒเจลกเถราปทานที่ ๓ (๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าครึ่งท่อน
[๙๕] เราเป็นคนเข็ญใจ สมควรได้รับความการุณอย่างยิ่ง ได้
ถวายผ้าครึ่งท่อนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าติสสะ
ครั้นถวายผ้าครึ่งท่อนแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
และเราได้ทำกุศล ในกัปทั้งหลายที่เหลือ
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า.
ในกัปที่ ๕๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายครั้ง
พระนามว่าสมันตาโอทนะ เป็นกษัตริย์จอมชน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัฑฒเจลกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัฑฒเจลกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
๙๓. อรรถกถาอัฑฒเจลกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอัฑฒเจลกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺสาห
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ. ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนของสกุลคนเข็ญใจ
เพราะอกุศลกรรมอย่างหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ฟังพระสัทธรรมเทศนา มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายผ้ากึ่งส่วนหนึ่งเพื่อทำจีวร. ด้วยปีติและโสมนัส นั้น ๆ เอง
ท่านทำกาละแล้วบังเกิดขึ้นสวรรค์ เสวยกามาพจรสมบัติ ๖ ชั้น จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว เสวยจักรพรรดิสมบัติอันเป็นยอดแห่งมนุษยสมบัติใน
มนุษย์ทั้งหลาย. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดขึ้นสกุลมั่งคั่งสกุลหนึ่ง เจริญ
วัยแล้วฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามีใจเลื่อมใส บวชแล้วไม่นาน
นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติสฺสสฺสาห ภควโต ดังนี้. คำทั้งหมด
นั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอัฑฒเจลกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
สูจิทายกเถราปทานที่ ๔ (๙๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเข็ม
[๙๖] เมื่อก่อนเราเป็นช่างทองอยู่ในพระนครพันธุมะ อันประ-
เสริฐสุด เราได้ถวายเข็มแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ญาณของเราเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็นเช่นนี้นั้นเพราะ
กรรม เราเป็นผู้ปราศจากราคะ พ้นวิเศษแล้วบรรลุถึงธรรม
เป็นที่สิ้นอาสวะ ภพทั้งปวงทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน
เราค้นคว้า (พิจารณา) ได้ด้วยญาณ นี้เป็นผลแห่งการถวาย
เข็ม ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ทรงพระนามว่า วชิราสมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระสูจิตายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสูจิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
๙๔. อรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสูจิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กมฺมาโรห ปุเร
อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
บำเพ็ญพืชคือกุศลในระหว่าง ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า วิปัสสี บังเกิดในตระกูลแห่งช่างทอง เพราะถูกกรรมอย่างหนึ่งที่ตน
กระทำไว้ในระหว่าง ๆ ตัดรอน. เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปะ
ด้วยตนเอง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วมีใจเลื่อมใสได้ถวาย
เข็มสำหรับเย็บจีวร. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยทิพยสมบัติ ครั้นภายหลัง
เกิดในมนุษย์ เสวยสมบัติทั้งหลายมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้น เป็นผู้มีปัญญา
หลักแหลม มีญาณดังเพชรในภพที่คนเกิดแล้ว ๆ. ในพุทธุปบาทกาลนี้
ท่านบังเกิดโดยลำดับ เจริญวัยแล้วมีทรัพย์มาก เกิดศรัทธามีปัญญา
หลักแหลม. วันหนึ่งท่านฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ส่งญาณไป
ตามกระแสแห่งธรรม ได้เป็นพระอรหันต์บนอาสนะที่ตนนั่งนั่นแล.
ท่านเป็นพระอรหันต์แล้วระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กมฺมาโรห ปุเร อาสึ
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมาโร ความว่า ช่างทองเป็นอยู่
งอกงาม ถึงความเจริญไพบูลย์ด้วยการงาน มีการงานที่ทำด้วยเหล็กและ
การงานที่ทำด้วยโลหะเป็นต้น ความว่า ในกาลก่อน คือในกาลบำเพ็ญบุญ
เราได้เป็นช่างทอง. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
คันธมาลิยเถราปทานที่ ๕ (๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายสถูปไม้หอม
[๙๗] เราได้ทำสถูปไม้หอมคลุม (ปิด) ด้วยดอกมะลิ อันสมควร
แก่พระพุทธเจ้า ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าอัครนายกของโลก เช่น
กับทองคำนี้ค่า ผู้รุ่งเรืองดังนิลอุบล แผดแสงดังพระอาทิตย์
ผู้องอาจดังพญาเสือโคร่ง ผู้ประเสริฐ มีชาติยิ่งเหมือนไกรสร
ผู้เลิศกว่าสมณะทั้งหลาย ประทับนั่งแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เราถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้าทางทิศ
อุดรหลีกไป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายของหอมและดอกไม้
ด้วยผลแห่งสักการะที่ทำแล้วในพระพุทธเจ้าโดยพิเศษนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
พระเจ้าจักรพรรดิเหล่านั้น มีพระนามเหมือนกันว่าเทวคันธะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันธมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคันธมาลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
๙๕. อรรถกถาคันธมาลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระคันธมาลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
ได้เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. ท่านเลื่อมใสในพระศาสดา พอกพูน
ของหอมเป็นอันมาก มีจันทน์ กำยาน การบูร และกฤษณาเป็นต้น สร้าง
สถูปหอมถวายพระศาสดา. ฉาบดอกมะลิไว้บนคันธสถูป และกระทำการ
นอบน้อมพระพุทธเจ้าด้วยองค์ ๘. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงเสวยสมบัติ
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดขึ้นเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสใน
พระศาสดา บวชแล้วไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน จึงเกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
คำนั้น ทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาคันธมาลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
ติปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการเก็บในแคฝอยทิ้ง
[๙๘] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในชัฏใหญ่ เราเห็นไม้แค-
ฝอยอันเขียวสด อันเป็นโพธิ์ ของพระผู้มีระภาคเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี จึงบูชาด้วยดอกไม้ ๓ ดอก.
เวลานั้น เราเก็บใบแคฝอยที่แห้ง ๆ ไปทิ้งในภายนอก
เรากราบไหว้ไม้แคฝอย เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี นายกของโลก ผู้บริสุทธิ์ทั้งภายในภายนอก
ผู้พ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ เฉพาะพระพักตร์ แล้วทำกาละ
ณ ที่นั้นเอง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาไม้โพธิ์ใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาไม้โพธิพฤกษ์ ใน
กัปที่ ๓๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓ ครั้ง ทรง
พระนามว่าสมันตปาสาทิกะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบติปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
๙๖. อรรถกถาติปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระติปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโธ ปุเร
อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองก์ก่อน ๆ
เพราะอกุศลบางอย่างตัดรอน ท่านจึงเกิดเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในตระกูล
นายพรานในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ในกาลนั้น
นายพรานนั้นเห็นต้นโพธิ์ ชื่อว่า ปาฏลิ (ไม้แคฝอย) ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี มีใบอ่อนพร้อมพรั่ง มีสีเขียวสด มีรัศมีเขียวน่า
รื่นรมย์ใจ จึงบูชาด้วยดอกไม้ ๓ ดอก เก็บใบเก่าทิ้งเสีย ไหว้ไม้แคฝอย
มหาโพธิ์ ดุจไหว้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบุญกรรม
นั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติแล้ว ๆ
เล่า ๆ ในเทวโลกนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในมนุษย์ เสวย
จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์นั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลเจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้หทัยประกอบ
ด้วยโสมนัส ละเรือนออกบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านครั้นบรรลุความสำเร็จอย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคลุทฺโธ
ปุเร อาสึ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า มิคะ เพราะไปคือถึงโดยมรณะ. อีกอย่าง
หนึ่ง ชื่อว่า มิคะ เพราะค้นหาไปคือเป็นไป. ชื่อว่า มิคลุทธะ เพราะ
อยากได้ มักได้ ติดอยู่ในการฆ่าเนื้อ. เชื่อมความว่า เราได้เป็นพราน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
เนื้อในป่าใหญ่ กล่าวคือ หมู่ไม้ ในกาลก่อน คือในสมัยที่เราบำเพ็ญ
บุญ. บทว่า ปาฏลึ หริต ทิสฺวา ความว่า ชื่อว่า ปาฏลิ ไม้แคฝอย เพราะ.
ในต้นไม้นั้นมีพื้นมีสีแดงเป็นประการ. เรียกว่า ปาฏลิ เพราะมีดอกสีแดง.
อธิบายว่า เห็นต้นโพธิ์ ชื่อว่า ปาฏลิ มีสีเขียว เพราะมีใบเขียว คือมี
สีเขียว. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
มธุปิณฑิกเถราปทานที่ ๗ (๙๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๙๙] ความยินดีเป็นอันมากแก่เรา เพราะได้เห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ประเสริฐกว่าบรรดาฤาษี
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ผู้ดับแล้ว เป็นมหานาค ผู้องอาจดัง
ม้าอาชาไนย ผู้รุ่งโรจน์เหมือนดาวประกายพฤกษ์ อันหมู่
เทวดานมัสการอยู่.
ในป่าชัฏสงัดเสียงไม่อากูล ญาณเกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น
เราได้ถวายน้ำผึงแด่พระศาสดาผู้เสด็จอออกจากสมาธิ.
เรามีใจผ่องใส ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระนามว่าสิทธัตถะด้วยเศียรเกล้า แล้วบ่ายหน้ากลับไป
ทางทิศประจิม.
ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาพระนามว่า
สุทัสสนะ ในกาลนั้น น้ำผึ้งออกจากรากไม้ไหลลงในโภชนา-
หารของเรา ฝนน้ำผึ้งตกลง นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำผึ้งใด ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง.
ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
มีพระนามว่าสุทัสสนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
ทราบว่า ท่านพระมธุปิณฑิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบมธุปิณฑิกเถราปทาน
๙๗. อรรถกถามธุปิณฑิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมธุปิณฑิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิวเน กานเน
ทิสฺวา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในกำเนิดนายพราน
อาศัยอยู่ในป่าใหญ่. ในกาลนั้น ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดียิ่งในวิเวก ได้ถวายน้ำผึ้งมีรสอร่อย
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ออกจากสมาธิ. ก็ท่านมีใจเลื่อมใสในพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถวายบังคมแล้วหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวย
สมบัติ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้ว ไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิวเน กานเน ทิสฺวา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวเน ความว่า ป่าที่แผ่ไปโดยพิเศษ
ชื่อว่า วิวนะ อธิบายว่า ป่าที่ไปปราศ คือที่ปราศจากเสียง ช้าง ม้า รถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
และเสียงกลอง และปราศจากวัตถุกามและกิเลสกาม. เชื่อมความว่า ในป่า
ใหญ่ กล่าวคือป่าดงดิบ. บทว่า โอสธึว วิโรจนฺต ความว่า ชื่อว่า โอสธะ
เพราะยังความอยากได้ปรารถนาของผู้ก่อสร้างภพให้สำเร็จ. ชน
ทั้งหลายอาศัยเหตุเกิดแห่งความรุ่งเรือง แล้วยกขึ้นให้สูง ย่อมถือเอาด้วย
การขึ้นของดวงดาวใด ดาวนั้น ชื่อว่า โอสธิ เมื่อควรจะกล่าวว่า
โอสธิตารกา อิว วิโรจนฺติ ย่อมไพโรจน์ดุจดวงดาวประจำรุ่ง แต่ท่านกล่าว
เสียว่า โอสธึว วิโรจนฺต เพื่อสะดวกแก่การประพันธ์คาถา. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามธุปิณฑิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
เสนาสนทายกเถราปทานที่ ๘ (๙๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเครื่องลาดใบไม้
[๑๐๐] เราได้ถวายเครื่องลาดใบไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่า สิทธัตถะ และได้เอาเครื่องอุปการะและดอกโกสุม
โปรยลงโดยรอบ.
เราได้เสวยผลอยู่ในถ้ำ (ห้อง) อันรื่นรมย์ควรค่ามากใน
ปราสาท ดอกไม้มีค่ามากได้ตกลงบนที่นอนของเรา.
เราย่อมนอนบนที่นอนอันวิจิตรลาดด้วยดอกไม้ และฝน
ดอกไม้ตกลงบนที่นอนของเราในกาลนั้น.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเครื่องลาดใบไม้ใด
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
เครื่องลาด ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง พระนามว่าฐิตา-
สันถารกะ เป็นจอมแห่งชน อุบัติแล้วในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเสนาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเสนาสนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
๙๘. อรรถกถาเสนาทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเสนาสนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺ-
ถสฺส ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา กระทำการนอบน้อมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้เสด็จถึงระหว่างป่า อันเป็นที่อยู่ของตน ได้ลาดเครื่องลาด
หญ้าถวาย. กระทำเขตกำหนดฝาโดยรอบแห่งที่ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่ง ได้กระทำการบูชาด้วย ดอกไม้. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่อง
เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระ-
ศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของคน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
คำทั้งหมดนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาเสนาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
เวยยาวัจจกเถราปทานที่ ๙ (๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นไวยาวัจกร
[๑๐๑] ได้มีการประชุมใหญ่ (มหาสันนิบาต) แห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เราได้เป็นไวยาวัจกรผู้รับใช้ในกิจ
ทุกอย่าง ก็ไทยธรรมที่จะถวายแด่พระสุคตเจ้า ผู้แสวงหา
คุณใหญ่ของเราไม่มี เรามีจิตผ่องใส ได้ถวายบังคมพระบาท
ของพระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้กระทำไวยาวัจกร ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทำไวยาจักร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่าสุจินติยะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระเวยยาวัจจกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเวยยาวัจจกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
๙๙. อรรถกถาเวยยาวัจจกรเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระเวยยาวัจจกรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต ดังนี้.
อุบัติเหตุเป็นต้นของอปทานนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาเวยยาวัจจกรเถราปทาน
๑. บาลีว่า เวยยาวัจจกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
พุทธุปัฏฐากเถราปทานที่ ๑๐ (๑๐๐)
ว่าด้วยผลแห่งการเป่าสังข์บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๑๐๒] เราเป็นผู้เป่าสังข์บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี เป็นผู้ประกอบการบำรุงพระสุคตเจ้า ผู้แสวงหาคุณ
ใหญ่เป็นนิตย์.
เราเห็นผลการบำรุงพระโลกนาถผู้คงที่ ดนตรี ๖ หมื่น
ห้อมล้อมเราทุกเมื่อ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวง
หาคุณใหญ่ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการบำรุง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
ทรงพระนามว่ามหานิโฆสะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพุทธุปัฏฐากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพุทธุปัฏฐากเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
๑๐๐. อรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน
อปทานของท่านพระพุทธุปัฏฐากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในตระกูลคนป่าสังข์ เจริญ
วัยแล้วได้เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือในการเป่าสังข์ของตน. ท่านเป่าสังข์
ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วบูชาด้วยเสียงสังข์นั่งเอง.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านได้
มีชื่อเสียงกึกก้องบันลือลั่นปรากฏไปทั่วทุกสถาน. ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในตระกูลที่ปรากฏแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า
มธุสสระ ดังนี้ เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์. ภายหลังท่านปรากฏชื่อว่า มธุรัสสรเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้. คำนั้น
ท่านได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า อโหสึ สงฺขธมโก ความว่า
ชื่อว่า สังขะ เพราะขุดด้วยดีไป. อธิบายว่า เที่ยวไปในที่สุดแห่งน้ำใน
สมุทร. ชื่อว่า สังขธมกะ ผู้เป่าสังข์นั้นทำเลียงให้กึกก้อง อธิบายว่า
เรานั้นได้เป็นผู้เป่าสังข์นั้นเอง. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน
จบอรรถกถาสุธาวรรคที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุธปิณฑิยเถราปทาน ๒. สุปีฐิยเถราปทาน ๓. อัฑฒเจลก-
เถราปทาน ๔. สูจิตายกเถราปทาน ๕. คันธมาลิยเถราปทาน ๖. ติปุป-
ผิยเถราปทาน ๗. มธุปิณฑิกเถราปทาน ๘. เสนาสนทายกเถราปทาน
๙. เวยยาวัจจกเถราปทาน ๑๐. พุทธุปัฏฐากเถราปทาน
ท่านประกาศคาถาไว้ ๖๐ คาถาถ้วน.
จบสุธาวรรคที่ ๑๐
อนึ่ง รวมวรรคมี ๑๐ วรรค คือ
พุทธวรรคที่ ๑ สีหาสนิยวรรคที่ ๒ สุภูติวรรคที่ ๓ กุณฑธาน-
วรรคที่ ๔ อุปาลิวรรคที่ ๕ วีชนีวรรคที่ ๖ สกจิตคนิยวรรคท ๗
นาคสมาลวรรคที่ ๘ ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙ เป็น ๑๐ ทั้งสุธาวรรค.
รวมคาถาได้ ๑,๔๕๕ คาถา.
จบหมวด ๑๐ แห่งพุทธวรรค
จบหมวด ๑๐๐ ที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ภิกขทายิวรรคที่ ๑๑
ภิกขทายกเถราปทานที่ ๑ (๑๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
[๑๐๓] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง สมควร
รับเครื่องบูชา เสด็จออกจากป่าอันสงัด จากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัดมาสู่ความดับ จึงถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง แด่พระพุทธ-
เจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีปัญญา ผู้สงบระงับ ผู้แกล้วกล้า
มาก ผู้คงที่.
เราตามเสด็จพระองค์ ผู้ทรงยังมหาชนให้ดับ เรามีความ
ยินดีเป็นอันมาก ในพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษา.
ในกัปที่ ๘๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง มี
พระนามเหมือนกันว่ามหาเรณุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภิกขทายกเถระได้กล่าวคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบภิกขทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ภิกขทายิวรรคที่ ๑๑
๑๐๑. อรรถกถาภิกขาทายกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระภิกขาทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณ
สมพุทฺธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ เกิดศรัทธา
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ออกจากวิหารเสด็จเที่ยว
บิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใสได้ถวายอาหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
อาหารนั้นแล้ว ตรัสอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยกุศลนั้นนั่นแล
ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในที่สุดแห่งอายุ บังเกิดในเทวโลก เสวย
กามาวจรสมบัติ ๖ ชั้นในเทวโลกนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
เรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณ สมฺพุทฺธ
ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า ปวรา อภินิกขนฺต
ความว่า ชื่อว่า ปวระ เพราะพึงยินดี คือพึงปรารถนา อธิบายว่า
ออกจากที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ คือจากที่อันเป็นที่สงัดโดยพิเศษ. ตัณหา
ท่านเรียกว่า วานะ ในบทว่า วานา นิพฺพานมากต นี้ ชื่อว่า นิพพาน
๑. บาลีว่า ภิกขทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
เพราะออกจากตัณหา ชื่อว่า วานะ นั้น อธิบายว่า กระทำตัณหาชื่อว่า
วานะ แล้วละกิเลสทั้งปวงบรรลุพระนิพพาน. บทว่า กฏจฺฉุภิกฺข ทตฺวาน
ความว่า ทัพพีอันบุคคลพึงถือเอาตัวฝ่ามือ. ชื่อว่า ภิกขา เพราะขอ
เอาด้วยทัพพี, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภิกขา เพราะอันบุคคลพึงกิน คือ
พึงภิกษาโดยพิเศษ. ภิกษาอันบุคคลถือเอาด้วยทัพพี ชื่อว่า กฏัจฉุภิกขา
อธิบายว่า ให้ภัตด้วยทัพพี. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาภิกขาทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
ญาณสัญญิกเถราปทานที่ ๒ (๑๐๒)
ว่าด้วยผลแห่งการยังจิตให้เลื่อมใสถวายบังคม
[๑๐๔] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง ผู้
องอาจดุจม้าอาชาไนย ดังช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง ผู้แสวง
หาคุณยิงใหญ่ ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือนพญารัง
มีดอกบาน เป็นเชษฐบุรุษของโลก สูงกว่านระ เสด็จดำเนิน
ไปในถนน.
ยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ประนมอัญชลี มีจิตเลื่อม.
ใส มีใจโสมนัส ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม
ว่าสิทธัตถะ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระ-
ญาณ.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
มีพระนามว่านรุตตมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรารู้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระญาณสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบญาณสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
๑๐๒. อรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระญาณสัญญิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณ
สมพุทฺธ ดังนี้.
อะไรเป็นอุบัติเหตุ ? พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภาใน
พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน
ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเกิดศรัทธา มีความเอื้อเฟื้อ มีความ
อาลัยในการฟังพระสัทธรรม ส่งญาณไปตามกระแสพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เลื่อมใสญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่
ตนเป็นผู้หนักในเสียง กระทำการนอบน้อมด้วยองค์ ๕ และองค์ ๘ แล้ว
หลีกไป. ท่านจุติจากอัตภาพนั่นแล้ว เกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ
ในฉกามาวจรเทวโลกนั้น จุติจากเทวโลกนั้น เกิดในมนุษยโลก เสวย
จักรพรรดิสมบัติเป็นต้น อันเป็นเลิศในมนุษย์โลกนั้น ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญ
วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณ สมพุทฺธ
ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า นิสภาชานิย ยถา
ความว่า เป็นโคผู้องอาจประเสริฐกว่าโคตั้งแสนตัว. ชื่อว่า นิสภาชานิยะ
เพราะเป็นโคผู้ประเสริฐและสูงสุด. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
เป็นเหมือนโคผู้ตัวประเสริฐฉะนั้น. ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น ด้วยอำนาจ
บัญญัติ รู้กันตามวิสัยแห่งโลก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เปรียบมิได้.
คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
อุปปลหัตถิยเถราปทานที่ ๓ (๑๐๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง
[๑๐๕] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อาศัยอยู่ในนครติวรา ได้
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี พระนามว่าสิทธัตถะ อัน
ชาวโลกบูชา.
มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง เรา
อุบัติในภพใด ๆ เพราะผลของกรรมนั้น.
เราได้เสวยผลอันน่าปรารถนา ที่ตนทำไว้แล้วในปาง
ก่อน แวดล้อมด้วยพวกนักมวยชั้นเยี่ยม นี้เป็นผลแห่งสัญญา
ของตน.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปใกล้เคียงที่ ๙๔ เว้นกัปปัจจุบัน. ได้เป็นพระราชา
๕๐๐ ครั้ง มีพระนามเหมือนกันว่านัชชุปมะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุปปลหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอุปปลหัตถิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
๑๐๓. อรรถกถาอุปปลหัตถิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุปปลหัตถิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติวราย
นิวาสีห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลไว้ในพระชินวรพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดขึ้นตระกูลแห่งช่าง
ดอกไม้ เจริญวัยแล้ว ขายดอกไม้เป็นอันมาก เลี้ยงชีพด้วยการงานแห่ง
ช่างดอกไม้เป็นอยู่. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านถือเอาดอกไม้เที่ยวไป เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จเที่ยวไป เหมือนแก้วมณีที่มีค่ามาก บูชาด้วย
ดอกอุบลแดง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นเอง เสวย
บุญสมบัติในสุคติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญ
วัยแล้ว เกิดศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติวราย นิวาสีห ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติวรา ความว่า นครที่สร้างโดยปิดการ
สัญจรไปมา รวม ๓ ครั้ง เราอยู่ในติวรานครนั้น คือมีการอยู่เป็นปกติ
นั้น หรืออยู่ในเรือน อันเป็นที่อยู่ของตน. บทว่า อโหสึ มาลิโก ตทา
ความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยเป็นที่บำเพ็ญบุญสมภารเพื่อประโยชน์
แก่พระนิพพาน กระทำการค้าขายเลี้ยงชีพ เหมือนช่างดอกไม้ คือนาย
มาลาการ เก็บดอกไม้ฉะนั้น. บทว่า ปุปฺผหตฺถมทาสห ความว่า เรา
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ได้ถวายกำดอกอุบลบูชา.
คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอุปปลหาตถิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ปทปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๐๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ
[๑๐๖] เราได้ถวายดอกมะลิแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
สิทธัตถะ ดอกมะลิ ๗ ดอกเราโปรยลงใกล้พระบาทด้วย
ความยินดี.
ด้วยกรรมนั้น วันนี้เราได้ครอบงำทั้งนระและเทวดาแล้ว เรา
ทรงกายอันมีในที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย
ดอกไม้.
ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓ ครั้ง
มีพระนามว่าสมันตคันธะ ครอบครองแผ่นดินมีสมุทรสาคร ๔
เป็นที่สุด เป็นจอมหมู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปทปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
๑๐๔. อรรถกถาปทปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่ง-
สมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง
หนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บูชาแทบบาทมูลของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกมะลิ. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสักกสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวช
แล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติปุปฺผมทาสห ความว่า เมื่อควร
จะกล่าวว่า ชาติสุมนปุปฺผ อทาสิ อห ให้ลบ สุมนศัพท์เสีย เพื่อสะดวก
แก่การประพันธ์คาถา. ท่านบังเกิดโดยชาติในที่นั้น เบิกบานอยู่ ชื่อว่า
สุมนะ เพราะทำความดีใจ คือโสมนัสแก่ชนทั้งหลาย ชื่อว่า ปุปผะ
เพราะอรรถว่า แย้มบาน คือคลี่บาน ชื่อว่า สุมนปุปผะ เพราะเป็นดอก
ไม้ที่แย้มบานด้วยดี อธิบายว่า เราได้บูชาดอกมะลิเหล่านั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
มุฏฐิปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๐๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิ
[๑๐๗] ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีชื่อว่าสุทัสสนะ ได้
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศอากธุลี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ.
เรามีจักษุบริสุทธิ์ มีใจโสมนัส ถือดอกมะลิไปบูชาพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุทิพย์ มีมัธยัสถ์.
ด้วยพุทธบูชานี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ เราไม่เข้าถึง
ทุคติเลย ตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๓๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
มีพระนามเหมือนกันว่าเทพอุตตระ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมุฏฐิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมุฏฐิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
๑๐๕. อรรถกถามุฏฐิปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระมุฏฐิปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุทสฺสโน
นาม นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลช่างดอกไม้
เจริญวัยแล้วถึงความสำเร็จในศิลปะของตน วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วมีใจเลื่อมใส โปรยดอกมะลิซ้อน แทบบาทมูลของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยมือทั้งสอง ด้วยกุศลสมภารนั้น ท่านท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
ด้วยอำนาจวาสนาในกาลก่อน บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวว่า สุทสฺสโน นาม นาเมน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺสโน ความว่า ชื่อว่า สุทัสสนะ
เพราะอรรถว่า ดูงดงามด้วยความงามแห่งรูปสัณฐาน ที่สูงและอ้วนผอม
อธิบายว่า เราได้เป็นนามาลาการ (ช่างดอกไม้) นามว่า สุทัสสนะ
ตามนาม ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ด้วย
ดอกมะลิซ้อน. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามุฏฐิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
อุทกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๐๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ
[๑๐๘] ข้าพระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทอง
ผู้รุ่งเรืองดังกองไฟ เหมือนพระอาทิตย์ เป็นที่รองรับเครื่อง
บูชาเสด็จไปในอากาศ.
จึงเอามือทั้งสองกอบน้ำแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระ-
พุทธเจ้ามหาวีระมีพระกรุณาในข้าพระองค์ ทรงรับไว้.
พระศาสดามีพระนามว่าปทุมุตตระ ประทับยืนอยู่ใน
อากาศทรงทราบความดำริของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายน้ำนี้และด้วยเกิดปีติ เขาจะไม่เข้าถึงทุคติ
เลยในแสนกัป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ เชษฐบุรุษ
ของโลกผู้นราสภ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความแพ้
และความชนะแล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๖,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
มีพระนามว่าสหัสสราช เป็นจอมชน ปกครองแผ่นดิน
มีสมุทรสาคร ๔ เป็นที่สุด.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุทกปูชกเถราปทาน
๑๐๖. อรรถกถาอุทกปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุทกปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณ
สมฺพุทธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้สั่งสมกุศลที่ตนบำเพ็ญในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
บำเพ็ญบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล
แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว รู้ถึงกุศลกรรมและอกุศลกรรม เลื่อมใส
ในพระรัศมีมีวรรณะ ๖ ที่ซ่านออกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ กอบน้ำบูชาด้วยมือทั้งสอง. ท่านเลื่อมใสยิ่ง บังเกิดในเทพ
ชั้นดุสิตเป็นต้น ด้วยโสมนัสนั่นแล เสวยทิพยสมบัติ และภายหลังเสวย
มนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ
นิภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุญกรรมของตน เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณ สมฺพุทิธ ดังนี้.
คำนั้นท่านได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. เนยใสท่านเรียกว่า ฆตะ ใน
บทว่า ฆตาสนว ชลิต นี้. ที่เคี่ยวกลั่น คือที่รองรับเปรียง เพราะ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
ฉะนั้น ชื่อว่า ฆตาสนะ ได้แก่ ไฟ. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมกิน
คือบริโภคสิ่งนั้น เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า ฆตาสน คือ ไฟนั้นเอง
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุ่งเรืองอยู่ดุจกองเพลิง เหมือน
เมื่อไฟลุกลามมา เปลวไฟก็รุ่งโรจน์อย่างยิ่งฉะนั้น. บทว่า อาทิตฺตว
หุตาสน ความว่า เครื่องสักการบูชา ท่านเรียกว่า หุตะ ที่เป็น
ที่รองรับวัตถุที่เขานำมาบูชา คือบูชาสักการะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
หุตาสนะ เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีวรรณะ
ดุจวรรณะแห่งทอง รุ่งโรจน์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ มีมณฑลแห่ง
รัศมีด้านละวา เหมือนพระอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ เสด็จไปอยู่ในกลางหาว
อันหาร่องรอยมิได้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุทกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
นฬมาลิยเถราปทานที่ ๗ (๑๐๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัดดอกอ้อ
[๑๐๙] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนานว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่ สงบระงับ มั่นคง ประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้า.
เราเอาดอกอ้อมาผูกเป็นพัด แล้วน้อมถวายแด่พระพุทธ-
เจ้าผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.
พระสัพพัญญูผู้นายกของโลก ทรงรับพัดแล้ว ทรงทราบ
ความดำริของเรา ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
กายของเรา ดับ (ร้อน) แล้ว ความเร่าร้อนไม่มี ฉันใด
จิตของท่านจงหลุดพ้นจากกองไฟ ๓ กอง ฉันนั้น.
เทวดาบางเหล่าที่อาศัยต้นไม้อยู่ มาประชุมกันทั้งหมด
ด้วยหวังว่าจักได้ฟังพระพุทธพจน์อันยังทายกให้ยินดี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น แวดล้อมด้วยหมู่
เทวดา เมื่อจะทรงยังทายกให้รื่นเริง จึงได้ตรัสพระคาถา
เหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วยการตั้งจิตไว้ ผู้นี้จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามชื่อว่าสุพพตะ ด้วยกรรมที่เหลือ
นั้น อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
มีพระนามว่ามาลุตะ.
ด้วยการถวายพัดนี้ และด้วยการนับถืออันไพบูลย์ ผู้นี้จะ
ไม่เข้าถึงทุคติในแสนกัป ในกัปที่ ๓ หมื่นจักเป็นพระเจ้าจักร-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
พรรดิ ๓๘ ครั้ง มีพระนามว่าสุพพตะ ใน ๒๙,๐๐๐กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง มีพระนามว่ามาลุตะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบนฬมาลิยเถราปทาน
จบภารวารที่ ๗
๑๐๗. อรรถกถานฬมาลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระนฬมาลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตร-
พุทฺธสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นั้น ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในชาติเป็น
อเนก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เห็นโทษในกาม
ละเรือนบวชเป็นดาบสอยู่ในป่าหิมวันต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต
ก็เลื่อมใส ลาดเครื่องลาดหญ้า กระทำพัดวิชนีด้วยดอกไม้อ้อพัดถวาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
แล้ว ได้กระทำอนุโมทนา เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่ท่าน. ด้วยบุญกรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
นั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ละเว้นความกระวน
กระวายและความเร่าร้อนในภพที่ตนเกิดแล้ว ๆ ได้รับความสุขทางกาย
และทางจิต เสวยสุขเป็นอเนก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน
มีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดาด้วยกำลังแห่ง
วาสนาในกาลก่อน บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศปุพพจริตาปทาน จงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.
คำนั้นท่านกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล้ว.
บทว่า นฬะ ในบทว่า นฬมาล คเหตฺวาน เชื่อมความว่า ชื่อว่า
นฬะ เพราะไม่มีแก่นเป็นไม้น้อยเบาพร้อมกว่าลำไม้ไผ่ ระเบียบคือดอก
แห่งไม้อ้อ ชื่อว่า นฬมาละ เราได้สร้างพัดวิชนีด้วยระเบียบไม้อ้อนั้น.
ชื่อว่า วิชนี เพราะเป็นเครื่องพัดให้เกิดลม. เราได้น้อมนำพัดวิชนีนั้นเข้า
ไปถวายพระพุทธเจ้าแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถานฬมาลิยเถราปทาน
จบอรรถกถาภาณวารที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
อาสนุปัฏฐายกเถราปทานที่ ๘ (๑๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง
[๑๑๐] ข้าพระองค์เข้าป่าชัฏสงัดเสียง ไม่อากูล ได้ถวายอาสนะ
ทองแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้คงที่.
ข้าพระองค์ถือดอกไม้กำมือหนึ่ง แล้วทำประทักษิณพระ-
องค์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กลับมุ่งหน้าไปทางทิศอุดร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประ-
เสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ย่อมยังตนให้ดับ
ถอนภพได้ทั้งหมดแล้ว.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ ข้าพระองค์ได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
อาสนะทอง.
ในกัปที่ ๗๐๐ กัปแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักร-
พรรดิจอมกษัตริย์ พระนามว่าสันนิพาปกะ ทรงสมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาสนุปัฏฐายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอาสนุปัฏฐายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
๑๐๘. อรรถกถาอาสนุปัฏฐาหกเถราททาน๑
อปทานของท่านพระอาสนุปัฏฐาหกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กานน
วนโมคฺคยฺห ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
อยู่ครองเรือน เห็นโทษในการอยู่ครองเรือน ละการครองเรือนออกบวช
เป็นดาบส อยู่ ณ ป่าหิมวันต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงที่นั้น
เลื่อมใส ได้ถวายสีหาสนะ. ถือเอากำดอกไม้ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ประทับนั่ง ณ ที่นั้น กระทำประทักษิณพระองค์แล้วหลีกไป. ด้วย
บุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มี
ตระกูลสูงได้เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ในภพที่ตนเกิดแล้ว ๆ ในกาล
อื่นคือในพุทธุปปาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญ
วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส
เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กานน วนโมคฺคยฺห
ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอาสนุปัฏฐาหกเถราปทาน
๑. บาลีว่า อาสนุปัฏฐายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
พิฬาลิทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๐๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมันมือเสือ
[๑๑๑] เราอยู่ในเครื่องลาดใบไม้ ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ใน
กาลนั้น (ถ้า) เราอยากอาหารก็มักนอนเสีย เราขุดจาวมะพร้าว
มันอ้อน มันมือเสือ และมันนกมาไว้ เรานำเอาผลพุทรา
ไม้รักดำ ผลมะตูม มาจัดแจงไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จ
มาสู่สำนักของเรา เราได้เห็นพระองค์ผู้มหานาค ประเสริฐ
กว่าเทวดา เป็นนราสภ เสด็จมาแล้ว จึงหยิบเอามันมือเสือ
มาใส่ลงในบาตร.
ในกาลนั้น พระสัพพัญญูมหาวีรเจ้า จะทรงยังเราให้
ยินดีจึงเสวย ครั้นเสวยเสร็จแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ท่านยังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายมันมือเสือแก่เรา
ท่านจะไม่เข้าถึงทุคติตลอดแสนกัป.
ภพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรา เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
เราทรงกายที่สุดไว้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๕๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่าสุเมขลิมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ทราบว่า ท่านพระพิฬาลิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพิฬาลิทายกเถราปทาน
๑๐๙. อรรถกถาพิลาลิทายกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระพิลาลิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺ-
สาวิทูเร ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครองเรือน เห็นโทษในการ
อยู่ครองเรือนนั้น ละการครองเรือน บวชเป็นดาบสอยู่ ณ ป่าหิมวันต์
เป็นผู้มักน้อยสันโดษอย่างยิ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยกรรมอันขุ่นมัว
อยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังป่าหิมวันต์นั้น เพื่อ
อนุเคราะห์ท่าน. ท่านเห็นพระองค์แล้วเลื่อมใส ถวายบังคมแล้วถือเอา
เกลือที่เกิดใกล้ฝั่งทะเลเกลี่ยลงในบาตร. พระตถาคตเมื่อยังท่านให้โสมนัส
เพื่ออนุเคราะห์แก่ท่าน จึงได้เสวยสิ่งนั้น. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่าน
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา บวชในพระศาสนา ไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์.
๑. บาลีว่า พิฬาลิทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงกุศลกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อ
จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้
คำนั้นทั้งหมดมีอรรถง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
เหง้ามันและมันอ้อนเป็นต้น เป็นชื่อของเหง้าในดินนั้น ๆ นั่นเองแล.
จบอรรถกถาพิลาลิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
เรณุปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาดอกกระถินพิมาน
[๑๑๒] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทองคำ มี
พระรัศมีเปล่งปลั่ง ดุจพระอาทิตย์ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว
ดังพระจันทร์วันเพ็ญ.
อันพระสาวกทั้งหลายแวดล้อม ดุจแผ่นดินอันแวดล้อม
ด้วยสาคร จึงถือเอาดอกกระถินพิมานไปบูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก
กระถินพิมานใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๔๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์มีพระนามว่า เรณุ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเรณุปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเรณุปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
๑๑๐. อรรถกถาเรณุปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเรณุปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณ
สมฺพุทฺธ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมี
ตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บรรลุนิติภาวะ
แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าโชติช่วงอยู่ประดุจกองเพลิง มีใจเลื่อมใส
ถือเอาเกสรดอกกระถินพิมานบูชา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
กระทำอนุโมทนา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง เป็นผู้อันเขาบูชาแล้ว ในที่
ทั้งปวง ในภพที่ตนเกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดขึ้นเรือนมี
ตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยกำลังแห่งวาสนา
ของตน บวชในพระศาสนาไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์ เห็นบุพ-
กรรมของตนด้วยทิพยจักษุ เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณ สมฺพุทฺธ ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังกล่าว
แล้วในหนหลังแล. บทว่า สตรสีว ภาณุม ความว่า รังสี คือรัศมี มี
ประมาณ ๑๐๐ คือมีร้อยเป็นประมาณ ของพระอาทิตย์ใดมีอยู่ พระอาทิตย์
นั้น ชื่อว่า มีรัศมีกำหนดตั้งร้อย. ท่านกล่าว สตรสี เพื่อสะดวกแก่
การประพันธ์คาถา. อธิบายว่า มีรัศมีหลายร้อยหลายแสน รัศมีท่านเรียกว่า
ภาณุ (พระอาทิตย์), แสงคือ รัศมีของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีรัศมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
ความว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นดัง
พระอาทิตย์ กล่าวคือผู้มีรัศมี ถือเอาเกสรดอกกระถินพิมาน ปลูกสร้าง
ทำการบูชา. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเรณุปูชกเถราปทาน
จบอรรถกถาวรรคที่ ๑๑
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
๑. ภิกขาทายกเถราปทาน ๒. ญาณสัญญิกเถราปทาน ๓. อุปล-
หัตถิยเถราปทาน ๕. ปทปูชกเถราปทาน ๕. มุฏฐิปุปผิยเถราปทาน
๖. อุทกปูชกเถราปทาน ๗. นฬมาลิยเถราปทาน ๘. อาสนุปัฏฐาย-
เถราปทาน ๙. พิฬาลิทายกเถราปทาน ๑๐. เรณุปูชกเถราปทาน.
มีคาถา ๖๖ คาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
มหาปริวารวรรคที่ ๑๒
มหาปริวารเถราปทานที่ ๑ (๑๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าทิพย์
[๑๑๓] ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เชษฐ-
บุรุษของโลก เป็นนระผู้องอาจ กับภิกษุสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ เสด็จ
เข้าไปสู่พันธุมวิหาร.
เราออกจากนครแล้ว ได้ไปที่ทีปเจดีย์ ได้เห็นพระพุทธ-
เจ้าผู้ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่องบูชา.
พวกยักษ์ในสำนักของเรา มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ บำรุงเรา
โดยเคารพ ดังหมู่เทวดาชาวไตรทศบำรุงพระอินทร์โดยเคารพ
ฉะนั้น.
เวลานั้น เราถือผ้าทิพย์ออกจากที่อยู่ ไปถวายอภิวาท
ด้วยเศียรเกล้า และได้ถวายผ้าทิพย์นั้น แด่พระพุทธเจ้า.
โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ พวกเราถึงพร้อมด้วย
พระศาสดาหนอ แผ่นดินนี้หวั่นไหวแล้ว ด้วยอานุภาพแห่ง
พระพุทธเจ้า.
เราเห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยมี ขนพองสยองเกล้านั้น
แล้ว จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้
คงที่.
เรานั้นครั้นยังจิตให้เลื่อมใส และถวายผ้าทิพย์แด่พระ-
ศาสดาแล้ว พร้อมทั้งอำมาตย์และบริวารชน ยอมนับถือ
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ได้เห็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง มี
พระนามว่าวาหนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมหาปริวารเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบมหาปริวารเถราปทาน
มหาปริวารวรรคที่ ๑๒
๑๑๑. อรรถกถามหาปริวารกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระมหาปริวารกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสี
นาม ภควา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น
๑. บาลีเป็น มหาปริวารเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
ประจำเสมอ ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี บังเกิด
ขึ้น ท่านได้เกิดในกำเนิดยักษ์ มียักษ์จำนวนหลายแสนเป็นบริวาร เสวย
ทิพยสุขอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง. ก็แลที่เกาะนั้น มีวิหารอันประดับ
ประดางดงามด้วยพระเจดีย์อยู่หลังหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปที่
วิหารนั้น. ครั้งนั้นแล หัวหน้ายักษ์มองเห็นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เสด็จไปที่วิหารนั้น จึงถือผ้าทิพย์หลายผืน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว บูชาด้วยผ้าทิพย์ทั้งหลาย ยักษ์พร้อมด้วยบริวารได้ถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะแล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาพร้อมด้วยบริวารจุติจากที่นั้นแล้ว
ได้ไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง มนุษยโลกบ้าง เสวยความสุขอันมีใน
กามาวจร ๖ ชั้น ในกาลต่อมา คือในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาเกิดในเรือน
ที่มีสกุล พอบรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดาจึงบวช ไม่นาน
เท่าไรนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนเองแล้ว บังเกิด
ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสี นาม ภควา ดังนี้. ในคำเริ่มต้น
นั้น มีอรรถาธิบายว่า ชื่อว่า วิปัสสี เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นพระ-
ปรมัตถธรรมอย่างพิเศษ คือพระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิปัสสี
เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน
เป็นต้น ทุกอย่างได้ชัดเจน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิปัสสี เพราะอรรถว่า
ย่อมเห็นสัตว์ที่ควรเพื่อการตรัสรู้มีประการต่าง ๆ มากมาย แยกเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
พวก ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสีพระองค์นั้น ได้
เสด็จไปยังพระวิหาร อันเป็นสถานที่ที่ควรแก่การบูชา ประจำเกาะ. คำ
ที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถามหาปริวารเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
สุมังคลเถราปทานที่ ๒ (๑๑๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดนตรีเครื่อง ๕
[๑๑๔] พระชินวรพระนามว่าอัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ เสด็จออกจากพระวิหารแล้ว เสด็จเข้าไป
ใกล้สระน้ำ พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้าทรงสรงสนานและ
ดื่มแล้ว ทรงห่มจีวรผืนเดียวเฉวียงพระอังสะ ประทับยืน
เหลียวดูทิศน้อยใหญ่อยู่ ณ ที่นั้น ในกาลนั้น เราเข้าไปใน
ที่อยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของโลก เรามีจิต
ร่าเริงโสมนัส ได้ปรบมือ เราประกอบการฟ้อน การขับร้อง
และดนตรีเครื่อง ๕ ถวายพระองค์ผู้โชติช่วงดังดวงอาทิตย์
ส่องแสงเรืองเหลืองดังทองคำ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ
ความเป็นเทวดา หรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ ย่อมครอบงำ
สัตว์ทั้งปวง ยศของเรามีไพบูลย์ ขอนอบน้อมแด่พระองค์
ผู้บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ผู้อุดมบุรุษ พระองค์
ผู้เป็นมุนี ทรงยังพระองค์ให้ยินดีแล้ว ทรงยังผู้อื่นให้ยินดีอีก
เล่า เรากำหนดถือเอาแล้ว นั่งแล้ว ทำความร่าเริง มีวัตร
อันดี บำรุงพระสัมพุทธเจ้าแล้ว เข้าถึงชั้นดุสิต ในกัปที่
๑,๖๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายครั้ง มีพระนาม
เหมือนกันว่า ทวินวเอกจินติตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประ-
การ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุมังคลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุมังคลเถราปทาน
๑๑๒. อรรถกถาสุมังคลเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุมังคลเถระมีคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ชินวโร
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสร้างสมอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้เกิดเป็น
รุกขเทวดาประจำอยู่ ณ ที่ใกล้สระแห่งหนึ่ง. สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากพระวิหาร มีพระประสงค์จะสรงน้ำ จึงเสด็จไปยังฝั่งแห่ง
สระนั้น ทรงสรงน้ำที่สระนั้นแล้ว มีจีวรห่มชั้นเดียว ประทับยืนคล้าย
พรหม งามรุ่งโรจน์ คล้ายพระอาทิตย์ทอแสง และคล้ายรูปเปรียบที่ทำ
ด้วยทองคำฉะนั้น. ครั้งนั้น เทวบุตรนั้น เกิดความโสมนัสยกมือประนม
กระทำความชื่นชมแล้ว และได้นำเพลงและดนตรีทิพย์ของตนมาทำการ
บรรเลงถวาย ด้วยบุญกรรมนั้น เทพบุตรนั้นจึงได้เสวยสวรรค์สมบัติ
และมนุษย์สมบัติมากมาย ในกาลอื่นต่อมา คือในพุทธุปบาทกาลนี้ จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
ได้บังเกิดในเรือนที่มีสกุล พอบรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
จึงได้บวช ไม่นานเท่าไรนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ภายหลังท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว เกิดความโสมนัส เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้พระพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ชินวโร ดังนี้. ในคำเริ่มต้นนั้น มีอรรถาธิบายว่า
ชื่อว่า อัตถทัสสี เพราะอรรถว่า เห็น คือเห็นแจ้งซึ่งปรมัตถธรรม ได้แก่
พระนิพพาน. หรืออีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัตถทัสสี เพราะอรรถว่า มีปกติ
เล็งเห็นประโยชน์คืออริยสัจ ๔ ที่มีแก่สัตว์ทั้งปวง. ชื่อว่า ชินะ เพราะ
อรรถว่า ได้ชนะแล้ว กำลังชนะ และจักชนะกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า วระ
เพราะอรรถว่า อันปวงสัตว์อยากได้ คือปรารถนาที่จะได้, พระะผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ชื่อว่า อัตถทัสสี ด้วย ชื่อว่า ชินะ ด้วย ชื่อว่า วระ ด้วย
ดังนั้นจึงรวมเรียกว่า อัตถทัสสีชินวระ. บทว่า โลกเชฏฺโ มีวิเคราะห์
ว่า ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า ย่อมแตกสลาย คือเสื่อมไป, อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า ผู้ที่จะบรรลุถึงฝั่ง พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อม
เห็น คือ ปรากฏได้ชัด (แก่พระพุทธเจ้า). โลกทั้ง ๓ อย่าง รวม
เรียกว่าโลก. ว่าด้วยอำนาจเอกเสสสมาส ควรจะเรียกว่า โลกา แต่ท่าน
เรียกว่า โลโก พระพุทธเจ้า ชื่อว่า โลกเชษฐ์ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ
ของชาวโลก, พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐของชาวโลก คือ
เป็นผู้องอาจ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสุมังคลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๑๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงศาสดาเป็นสรณะ
[๑๑๕] สงครามปรากฏแก่ท้าวเทวราชทั้งสอง (พญายักษ์) กอง
ทัพประชิดกันเป็นหมู่ ๆ เสียงอันดังกึกก้องได้เป็นไป.
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงยังมหาชนให้เกิด
สังเวช.
เทวดาทั้งปวงมีใจยินดีต่างวางเกราะและอาวุธ ถวาย
บังคมพระสัมพุทธเจ้า รวมเป็นอันเดียวกันได้ในขณะนั้น.
พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงทราบ
ความดำริของเราแล้ว ทรงเปล่งวาจาสัตบุรุษ ทรงยังมหาชน
ให้เย็นใจว่า
ผู้เกิดเป็นมนุษย์มีจิตประทุษร้าย เบียดเบียนสัตว์เพียง
ตัวหนึ่ง จะต้องเข้าถึงอบายเพราะจิตประทุษร้ายนั้น.
เปรียบเหมือนช้างในค่ายสงคราม เบียดเบียนสัตว์เป็น
อันมาก ท่านทั้งหลายจงดับ (ระงับ) จิตของตน อย่าเดือด
ร้อนบ่อย ๆ เลย.
แม้พวกเสนาของพญายักษ์ทั้งสอง ได้ประชุมกัน นับถือ
พระโลกเชษฐ์ผู้คงที่เป็นอันดี เป็นสรณะ.
ส่วนพระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงยังหมู่ชนให้ยินยอมแล้ว
ทรงเพ่งดูในเบื้องบนจากเทวดาทั้งหลาย บ่ายพระพักตร์ทาง
ทิศอุดรเสด็จกลับไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
เราได้นับถือพระองค์ผู้จอมสัตว์ผู้คงที่เป็นสรณะก่อนใคร ๆ
เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ใน ๓ หมื่นกัปแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
มีพระนามว่ามหาจุนทภิ และพระนามว่ารเถสภะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสรณคมนิยเถราปทาน
๑๑๓. อรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสรณคมนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุภินฺน
เทวราชูน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดขึ้น ท่านรูปนี้ได้เกิดเป็นจอมเทพประจำป่าหิมวันต์.
สมัยหนึ่ง เมื่อจอมเทพนั้น ตระเตรียมเพื่อจะทำสงครามระหว่างยักษ์กับ
จอมเทพฝ่ายอื่น พวกบริวารของยักษ์มากมายประมาณได้ ๒,๐๐๐ ตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
ต่างก็ถือโล่และอาวุธเป็นต้นเข้าประชิดเพื่อจะทำสงครามกัน. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ได้ทรงบังเกิดความกรุณา
ในสัตว์เหล่านั้น จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้นโดยทางอากาศ แล้วทรงแสดง
ธรรมให้แก่หมู่จอมเทพพร้อมด้วยบริวาร ในกาลนั้น หมู่จอมเทพทั้งปวง
นั้น ต่างก็พากันทิ้งโล่และอาวุธ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก แล้วได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ. หมู่
จอมเทพเหล่านั้นได้ถึงสรณะที่ ๑ คือพระพุทธเจ้านี้แล. ด้วยบุญอันนั้น
เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกหลายครั้ง ได้เสวยสมบัติ
ทั้งสองแล้ว ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดมาในเรือนที่มีสกุล
เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงกุศลในกาลก่อนได้ เกิดความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า อุภินฺน เทวราชูน ดังนี้. ในคำเริ่มต้นนั้นมีอรรถาธิบายว่า
จอมยักษ์ทั้งสอง ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เหมือนสุจิโลมยักษ์ ชรโลม-
ยักษ์ อาฬวกยักษ์ ท้าวกุมภีร์ และท้าวกุเวรเป็นต้น เมื่อจะแสดงอ้างถึง
โดยประการอื่น ท่านจึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุภินฺน เทวราชูน ดังนี้.
บทว่า สงฺคามิ สมุปฏฺิโต ความว่า ชื่อว่า สงคราม เพราะ
อรรถว่า เป็นสถานที่กลืนกินชั้นดี คือเข้าไปประชิดเพื่อการทะเลาะวิวาท
สงครามนั้นมีการตระเตรียม (ล่วงหน้า) เป็นอย่างดี คือตระเตรียมที่จะยึด
ในสถานที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อโหสิ สมุปพฺยูฬฺโห ความว่า เป็นกอง
เข้าไปประชิดใกล้อย่างพร้อมเพรียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
บทว่า สเวเชสิ มหาชน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง
ในอากาศแล้วยังหมู่ยักษ์เหล่านั้น ให้เกิดความสลดใจด้วยพระธรรมเทศนา
อริยสัจ ๔ ได้แก่ทรงให้ถือเอา คือให้ทราบ ให้ตรัสรู้ ด้วย ทรงชี้แจง
ถึงโทษ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
เอกาสนิยเถราปทานที่ ๔ (๑๑๔)
ว่าด้วยผลแห่งการเอาดนตรีประโคมบูชาไม้โพธิ์
[๑๑๖] ในกาลนั้น เราเป็นท้าวเทวราชมีนามชื่อว่าวรุณะ พร้อม
ด้วยยาน พลทหารและพาหนะ บำรุงพระสัมพุทธเจ้า.
เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์
เสด็จนิพพานแล้ว เราได้ถือเอาดนตรีทั้งปวงไปประโคมไม้
โพธิ์อันอุดม.
เราประกอบด้วยการประโคม การฟ้อนรำ และกังสดาล
ทุกอย่าง บำรุงไม้โพธิ์พฤกษ์อันอุดมดังบำรุงพระสัมพุทธเจ้า
เฉพาะพระพักตร์.
ครั้นบำรุงโพธิ์พฤกษ์อันงอกขึ้นที่ดินดื่มรสด้วยรากนั้นแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ แล้วทำกาลกิริยา ณ ที่นั่นเอง.
เราปรารภด้วยกรรมของตน เลื่อมใสในโพธิพฤกษ์อันอุดม
ได้อุบัติยังชั้นนิมมานรดีด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น.
นักดนตรี ๖ หมื่น แวดล้อมเราทุกเมื่อ เป็นไปในภพน้อย
ใหญ่ ทั้งในมนุษย์และในเทวดา.
ไฟ ๓ กองของเราดับแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นได้แล้ว
เราทรงกายอันมีในที่สุดไว้ ในศาสนาของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์ ๓๔ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าสุพาหุ ทรงสมบูรณ์ด้วย
แก้ว ๗ ประการ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกาสนิยเถราปทาน
๑๑๔. อรรถกถาเอกานิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระเอกาสนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม
นาเมน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านได้เกิดเป็นจอมเทพชื่อว่า วรุณะ. วรุณเทพนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว มีจิตใจเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยบริวาร พากันบำรุงบูชาด้วยของหอม
และระเบียบดอกไม้เป็นต้น และด้วยเพลงขับ. ในกาลอื่นต่อจากนั้นมา
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว เขาพร้อมด้วยบริวารได้นำ
เครื่องดนตรีทุกชิ้นและผู้แสดงดนตรีมา ทำการแสดงยังที่ต้นมหาโพธิ์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คล้ายกับแสดงต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า
ฉะนั้น. ด้วยบุญนั้นเขาจุติจากเทวโลกชั้นนั้นแล้ว มาบังเกิดในนิมมาน-
รดีเทวโลก. ครั้นเขาได้เสวยสวรรค์สมบัติอย่างนี้แล้ว ต่อมาได้เป็นมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
ในหมู่มนุษย์ ก็ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติอีก พอมาในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงได้บวชในพระศาสนา
ของพระศาสดา ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์.
ภายหลังท่านได้ระลึกถึงกรรมของตน รู้ถึงกรรมนั้นตามความเป็น
จริงแล้ว เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ
มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม นาเมน ดังนี้.
ในคำเริ่มต้นนั้น มีการเชื่อมความว่า ในเวลาที่เราได้บูชาพระพุทธเจ้า
และต้นโพธิ์เพื่อการตรัสรู้พร้อมนั้น เราได้เป็นจอมเทพนามว่า วรุณะ.
พึงทราบอรรถวิเคราะห์ในบทว่า ธรณีรุหปาทป ดังนี้ ชื่อว่า ธรณี
เพราะรองรับซึ่งต้นไม้ เครือเถา ภูเขาและรัตนะ ๗ ประการเป็นต้นไว้ได้,
ชื่อว่า ธรณีรุหะ. เพราะงอกงามตั้งมั่นอยู่บนพื้นแผ่นดินนั้น, ชื่อว่า ปาทโป
เพราะดูดน้ำได้จากทางราก, อธิบายว่า ย่อมดูดกินน้ำที่รดแล้วทางราก
ได้แก่ย่อมแผ่รสแห่งอาโปไปตามลำต้น กิ่งและก้านของต้นไม้. เชื่อม
ความว่า ต้นโพธิ์นั้นดูดกินน้ำทางรากงอกงามตั้งอยู่บนแผ่นดิน. บทว่า
สกกมฺมาภิรทฺโธ มีการเชื่อมความว่า ด้วยกุศลกรรมของตน จึงยินดี
เลื่อมใส คือเลื่อมใสในต้นโพธิ์อันอุดมแล. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาเอกาสนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
สุวรรณปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้ทอง ๖ ดอก
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งแสดงอมตบทแก่หมู่ชนอยู่.
เราฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่แล้ว ได้
โปรยดอกไม้ทอง ๔ ดอก บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ดอกไม้ทองนั้น กลายเป็นหลังคาทองบังร่มตลอดทั่วบริษัท
ในกาลนั้น รัศมีของพระพุทธเจ้าและรัศมีทองรวมเป็นแสง
สว่างอันไพบูลย์.
เรามีจิตเบิกบานดใจ เกิดโสมนัส ประนมกรอัญชลี
เกิดปีติ เป็นผู้นำความสุขในปัจจุบันมาให้แก่ชนเหล่านั้น.
เราทูลวิงวอนพระสัมพุทธเจ้า และถวายบังคมพระองค์
ผู้มีวัตรอันงาม ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว กลับเข้า
สู่ภพของตน.
ครั้นกลับเข้าสู่ภพแล้ว ยังระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐสุดอยู่ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ทองใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
ทรงพระนามว่าเนมิสมมต มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุวรรณปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสุวรรณปุปผิยเถราปทาน
๑๑๕. อรรถกถาสุวรรณปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุวรรณปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสี
นาม ภควา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้เกิดเป็นภุมัฏฐกเทพบุตร ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ได้ฟังธรรมของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยดอกไม้ ๔ ดอก
ดอกไม้เหล่านั้น ได้กลายเป็นเพดานทองคำปกคลุมบนอากาศ รัศมี
แห่งทองคำ กับรัศมีแห่งพระสรีระของพระพุทธเจ้า ได้รวมเป็นอัน
เดียวกันแล้ว กลายเป็นแสงสว่างอย่างมหาศาล. เทพบุตรนั้นมีความ
เลื่อมใสเป็นยิ่งนัก แม้ไปถึงภพที่อยู่ของตนแล้ว ก็ยังระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์
ด้วยบุญกรรมนั้น เทพบุตรนั้นท่องเที่ยวไปในสุคติทั้งหลาย มีสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
ชั้นดุสิตเป็นต้นอยู่นั่นแหละ ได้เสวยทิพยสมบัติแล้ว มาในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้เกิดในเรือนที่มีสกุล พอได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระศาสดา ได้บวชถวายชีวิตในพระศาสนา ไม่นานนัก
ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า วิปสฺสี นาม ภควา ดังนี้. คำเริ่มต้นนั้นได้มีเนื้อความ
ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า ปาโมชฺช ชนยิตฺวาน ความว่า ยังปีติอันมีกำลังให้เกิด
ขึ้นแล้ว คือ ให้เกิดความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ดุจในประโยคเป็นต้นว่า
ความปราโมทย์ ความรื่นเริง ความบันเทิง การยิ้ม การยิ้มแย้ม ความ
ปลื้มใจ ความยินดี ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสุวรรณปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดนตรีและดอกไม้
[๑๑๘] ข้าพระองค์เป็นรุกขเทวดา พร้อมด้วยอำมาตย์และบริวาร
อยู่ที่ไม้เกด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์ของโลก ปรินิพพานแล้ว.
ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ไปสู่พระจิตกาธาร
ประโคมดนตรี ณ ที่นั้น โปรยของหอมและดอกไม้บูชา.
ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ทำการบูชาที่พระจิต-
กาธาร ไหว้พระจิตกาธารแล้วกลับมาสู่ภพของตน.
ข้าพระองค์เข้าไปในภพแล้ว ยังระลึกถึงการบูชาพระ-
จิตกาธาร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น.
ข้าพระองค์ได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์แล้ว ละ
ความชนะและความแพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์บูชาพระจิตกาธารด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการบูชาพระจิตกาธาร.
ในกัปที่ ๒๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
มีพระนามชื่อว่าอุคคตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจิตกปูชกเถราปทาน
๑๑๖. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระจิตกปูชกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วสามิ
ราชายตเน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ เบื้องหน้าแต่ที่ได้เกิดแล้วในภพ จะสร้างสมแต่บุญอัน
เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่า สิขี ได้เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ประจำไม้เกด ในระหว่างนั้น ได้ฟังธรรม
ร่วมกับพวกเทวดา เลื่อมใสแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว
ตนพร้อมกับบริวารช่วยกันถือของหอม เทียน ธูป ดอกไม้ และเภรี
เป็นต้น ไปยังสถานที่ประชุมเพลิงพระบรมศพของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว บูชาด้วยเทียนเป็นต้นแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ด้วยดนตรีและสังคีตนานาชนิด. ตั้งแต่นั้นมา ถึงตนเองจะกลับไปยังภพ
ของตนแล้วก็ตาม ยังคงระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเดิม คล้ายกับ
ว่ากำลังถวายบังคมอยู่เฉพาะพระพักตร์. ด้วยบุญนั้นนั่นแหละ เทพบุตร
นั้นมีจิตเลื่อมใส จุติจากต้นเกดไปเกิดยังภพมีภพดุสิตเป็นต้น เสวย
ทิพยสมบัติแล้ว ต่อแต่นั้น (ก็ได้มาเกิด) ในมนุษย์ เสวยมนุษยสมบัติ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล พอบรรลุนิติภาวะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบวชในพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความ
โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วสามิ ราชายตเน ดังนี้. บทว่า ราชายตเน
ได้แก่ ที่อยู่ของพวกเทวดา ชื่อราชายตนะ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า
ราชายตนะนั้น เป็นชื่อของต้นไม้. บทว่า ปรินิพฺพุเต ภควติ เชื่อมความ
ว่า ในเวลาดับขันธปรินิพพานไม่มีอะไรเหลือโดยรอบ แห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก พระนามว่า สิขี ผู้ปรินิพพานแล้ว. บทว่า
จิตก อคมาสห วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า จิตะ เพราะเป็นสถานที่ที่พวก
คนก่อทำให้เป็นกองด้วยไม้หอม มีไม้จันทน์ ไม้กฤษณา ไม้เทพทาโร
ไม้การบูร และไม้กระวานเป็นต้น. จิตะนั่นแหละ เป็นจิตกะ. อธิบายว่า
ข้าพเจ้าได้ไปยังที่ใกล้จิตกาธาร เพื่อบูชาจิตกาธารด้วยความเคารพใน
พระพุทธเจ้า. เมื่อจะแสดงถึงหน้าที่ที่ตนไปกระทำในที่นั้น จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า ตุริย ตตฺถ วาเทตฺวา ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้น บัณฑิต
พอจะรู้ได้เองโดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
พุทธสัญญาเถราปทานที่ ๗ (๑๑๗)
ว่าด้วยผลแห่งประกาศพุทธานุภาพ
[๑๑๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เลิศในโลก
ทรงปลงพระชนมายุสังขารนั้น พื้นแผ่นดินและน้ำก็หวั่นไหว
ฟ้าก็คะนอง แม้ภพของเรา ที่ทั้งสูงใหญ่และกว้างขวางอัน
ประดับตกแต่งดีแล้ว ก็หวั่นไหว ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรง
ปลงพระชนมายุ.
เมื่อภพหวั่นไหวแล้ว ความสะดุ้งกลัวก็เกิดขึ้นแก่เราว่า
ความหวั่นไหวเกิดขึ้นเพื่ออะไรหนอ แสงสว่างอันไพบูลย์
ได้มีแล้ว.
ท้าวเวสวัณมา ณ ที่นี้แล้ว ยังเทพบุตรให้หายความเศร้า
โศกว่า สัตว์ไม่มีภัย ท่านทั้งหลายจงมีความตั้งใจเคารพ
เถิด.
และกล่าวว่า โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ
พวกเราถึงพร้อมด้วยสัตถุศาสน์หนอ เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติ
แผ่นดินก็หวั่นไหวดังนี้ ครั้นประกาศพระพุทธานุภาพแล้ว
ให้เทพบุตรบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป เราได้ทำกุศลแล้ว.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาใน
พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประเสริฐ
มีนามชื่อว่าสมิตะ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพุทธสัญญกเถราปทาน
๑๑๗. อรรถกถาพุทธสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระพุทธสัญญกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ยทา
วิปสฺสี โลกคฺโค ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี ท่านได้เกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในภุมัฏฐกวิมานแห่งหนึ่ง. เวลานั้น
เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ทรงปลงอายุสังขาร.
ครั้งนั้นหมื่นแห่งโลกธาตุทั้งสิ้น พร้อมทั้งสาครและภูเขา ก็เกิดการ
หวั่นไหวเลื่อนลั่น. ในครั้งนั้น ถึงภพของเทพบุตรนั้นก็พลอยหวั่นไหว
ไปด้วย. ในขณะนั้น เทพบุตรองค์นั้นเกิดความสงสัยคิดว่า ปฐพีเกิด
ความหวั่นไหวเพราะอะไรหนอ ก็ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร
จึงเกิดความเศร้าโศกโทมนัสเป็นการใหญ่. ครั้งนั้น ท้าวเวสวัณ
มหาราช จึงเสด็จมาปลอบใจเทพบุตรนั้นว่า อย่าคิดไปเลย. ด้วยบุญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
อันนั้น พอเทพบุตรนั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนที่มีสกุล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว จึงละเพศฆราวาสบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนเองได้ เกิดความ
โสมนัส เมื่อประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ยทา วิปสฺส โลกคฺโค ดังนี้. บทว่า อายุสงฺขาร-
โมสฺสชฺชิ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าอายุ เพราะคุ้มครองรักษาสัตว์ทั้งหลาย
ไว้รอบด้าน, สังขารของอายุ คือความเป็นกอง ชื่อว่าอายุสังขาร. ความว่า
สละ ละ วาง อายุสังขารนั้นเสียได้. ในการปลงอายุสังขารนั้น. เชื่อม
ความว่า แผ่นดินแสนจักรวาลทั้งสิ้น อันประกอบด้วยน้ำและประดับ
ด้วยสาครแห่งน้ำ ได้หวั่นไหวแล้ว.
บทว่า โอตต วิตฺถต มยฺห ความว่า ภพของข้าพเจ้าสูงใหญ่
กว้างขวาง สวยงาม วิจิตร สะอาด บริสุทธิ์เป็นอย่างดี งดงามประดับ
ด้วยรัตนะ ๗ ประการมากมาย ได้หวั่นไหวแล้ว คือหวั่นไหวไปทั่ว.
คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาพุทธสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
มัคคสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๑๑๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบอกทางให้แก่พระสาวก
[๑๒๐] พระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เที่ยวไปในป่า เป็นผู้หลงทางเหมือนคนตาบอดเที่ยวอยู่ในป่า
ใหญ่.
บุตรของพระมุนีเหล่านั้นผู้หลงทางอยู่ในป่าใหญ่ ระลึกถึง
พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก.
ข้าพระองค์ (เป็นเทพบุตร) ลงจากภพมาในสำนักของ
พระภิกษุ บอกทางให้แก่พระสาวกเหล่านี้ และได้ถวาย
โภชนาหาร.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัตแต่อายุ
๗ ปีโดยกำเนิด.
ในกัปที่ ๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๒ ครั้ง
มีพระนามชื่อว่าสจักขุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมัคคสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมัคคสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
๑๑๘. อรรถกถามัคคสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมัคคสัญญกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺ-
ตรพุทฺธสฺส ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นเทพบุตรประจำอยู่หิมวันตประเทศ ไปป่าชี้ทางแก่
พวกพระสาวกผู้หลงทางกำลังค้นหาทางออก และให้พระสาวกทั้งหลาย
บริโภค แล้วบอกทางให้. ด้วยบุญอันนั้น เทพบุตรนั้นจึงได้เสวยสวรรค์-
สมบัติ และมนุษย์สมบัติ ทุก ๆ ภพที่เกิดแล้วทั้งหมด ไม่เคยหลง
มีสัญญาแม่นยำ. ต่อมาในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล
พอบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ติดใจในฆราวาส จึงบวช ไม่นานก็ได้เป็น
พระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน แล้วเกิดความ
โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้. บทว่า สาวกา วนจาริโน
เชื่อมความว่า ชื่อว่า สาวก เพราะตั้งใจฟังคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแสดงโดยชอบคือโดยความเอื้อเฟื้อ หรืออีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาวก
เพราะตั้งใจฟังพระสัทธรรม โดยส่งญาณไปตามแนวพระธรรมเทศนาของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความว่า พระสาวกทั้งหลายผู้เที่ยวจาริกไปในป่า
หลงทางคล้ายกับคนตาบอดปราศจากดวงตา ฉะนั้น จึงได้แต่เที่ยวหา
ช่องทาง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถามัคคสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙)
ว่าด้วยผลแห่งการทากรรมที่ได้โดยยาก
[๑๒๑] ในลำดับกาล เมื่อพระสุคตเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จนิพพาน ในกาลนั้น ข้าพระองค์เข้าถึงกำเนิดยักษ์และ
บรรลุถึงยศ.
ข้าพระองค์คิดว่า ความได้ด้วยยาก แสงสว่างได้ด้วยยาก
การตั้งขึ้นยาก ได้มีแก่เราแล้วหนอ เมื่อโภคสมบัติของเรา
มีอยู่ พระสุคตเจ้าผู้มีพระจักษุปรินิพพานเสียแล้ว ดังนี้.
พระสาวกนามว่าสาคระ รู้ความดำริของข้าพระองค์ ท่าน
ต้องการจะสอนข้าพระองค์ จึงมาในสำนักของข้าพระองค์
กล่าวว่า
จะโศกเศร้าทำไมหนอ อย่ากลัวเลย จงประพฤติธรรม
เถิดท่านผู้มีเมธาดี พระพุทธเจ้าทรงส่งเสริมวิทยาสมบัติของ
ชนทั้งปวงว่า
ผู้ใดพึงบูชาพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรง
พระชนม์อยู่ก็ดี พึงบูชาพระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด
ของพระพุทธเจ้า แม้นิพพานแล้วก็ดี.
เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมาก
เสมอกัน เพราะฉะนั้น ท่านจงทำสถูปบูชาพระธาตุของพระ-
ชินเจ้าเถิด.
ข้าพระองค์ได้ฟังวาจาของท่านสาคระแล้ว ได้ทำพุทธ-
สถูป ข้าพระองค์บำรุงพระสถูปอันอุดมของพระมุนีอยู่ ๕ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์เสวยสมบัติแล้วได้บรรลุ
อรหัต.
ในกัปที่ ๗๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
มีพระนามว่าภูริปัญญา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัจจุปัฏฐานสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัจจุปัฏฐานสัญญกเถรา
๑๑๙. อรรถกถาปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัจจุปัฏฐานสัญญกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า
อตฺถทสฺสิมฺหิ สุคเต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
อัตถทัสสี ท่านได้บังเกิดในกำเนิดยักษ์ เพราะความที่ไม่ได้เข้าเฝ้าในขณะ
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้ว เขาจึงได้รับความเศร้าโศกเป็นอย่างมาก. จริงอยู่ ใน
ครั้งนั้น อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า สาวก
เมื่อจะพร่ำสอนเขาจึงกล่าวว่า การบูชาพระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระ-
พระภาคเจ้า ย่อมมีผลมาก คล้ายกับทำการบูชาในขณะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่ อำนาจแห่งจิตที่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
มีผลมากมาย จึงชักชวนเขาให้สร้างสถูปด้วยคำว่า ท่านจงสร้างสถูปเถิด.
ครั้นเขาได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จุติจากกำเนิดยักษ์
นั้นแล้ว ได้เสวยสวรรค์สมบัติในเทวโลก และจักรพรรดิสมบัติใน
มนุษยโลกแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่ง
หนึ่งในพระนครสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวช
แล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเองได้ เกิดความ
โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสิมฺหิ สุคเต ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. ส่วนในบทว่า ยกฺขโยนึ อุปปชฺชึ
นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ยักษ์ เพราะเมื่อจะเคี้ยวกินเพื่อนบ้านของตน
หรือสัตว์ทั้งหลายที่มาถึงเข้า ย่อมวิ่งไล่ขับจับ. กำเนิด คือชาติของพวก
ยักษ์ ชื่อว่า กำเนิดยักษ์. อธิบายว่า เกิดในกำเนิดยักษ์.
บทว่า ทุลฺลทฺธ วต เม อาสิ ความว่า ยศที่เราได้รับแล้ว
นับว่าเป็นยศที่ได้มาโดยยาก. เราได้รับความล้มเหลว เพราะไม่ได้ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
สักการะแด่พระศาสดาผู้เป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า ทุปฺปภาต ความว่า
ราตรีนั้นรุ่งสว่างได้โดยยาก, คือกระทำราตรีให้สว่างได้ยาก อธิบายว่า
เราทำปัญญาให้สว่างได้ยาก. บทว่า ทุรุฏฺิต แปลว่า ขึ้นได้ยาก. อธิบายว่า
การขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์ยาก หรือการลุกขึ้นทำความเพียร ของเราก็ยาก
คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
ชาติปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๒๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระชาติ
[๑๒๒] เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ แสงสว่าง
ได้มีอย่างไพบูลย์ และพื้นแผ่นดิน พร้อมทั้งสมุทรสาครและ
ภูเขาก็หวั่นไหว.
อนึ่ง พวกหมอดูพยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าจักมีในโลก
เป็นผู้เลิศกว่าสรรพสัตว์ จักรื้อถอนหมู่ชน (จากสังสารทุกข์).
เราได้ฟังคำของพวกหมอดูแล้ว ได้ทำการบูชาพระชาติ
ด้วยความดำริว่า การบูชาพระชาติเช่นนั้นไม่มี (อีก).
เรารวบรวมกุศลแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ครั้น
เราทำการบูชาพระชาติแล้วพำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ในกำเนิดนั้น ๆ เราย่อมล่วงสรรพสัตว์ นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระชาติ.
แม่นมทั้งหลายผู้เป็นไปตามอำนาจจิตของเราย่อมบำรุงเรา
เขาไม่อาจยังเราให้โกรธเคือง นี้เป็นผลการบูชาพระชาติ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำการบูชาใดในกาลนั้น
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลการบูชา
พระชาติ.
ในกัปที่ ๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง
เป็นจอมแห่งชน มีพระนามว่าสุปาริจริยะ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระชาติปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบชาติปูชกเถราปทาน
๑๒๐. อรรถกถาชาติปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระชาติปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาย ตสฺส
วิปสฺสิสฺส ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสร้างแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้เกิดในเรือนที่มีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ยินพวกหมอดูทานาย
ลักษณะของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ว่า ได้ยินว่า กุมารนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นผู้เลิศประเสริฐกว่าชาวโลกทั้งหมด จักขนสรรพสัตว์ออกจากสงสาร
แน่นอน ครั้นได้ยินแล้ว จึงได้ทำการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น เริ่มแต่ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก ๆ คล้ายกับทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้า
ฉะนั้น. ภายหลัง ครั้นทำการบูชาอย่างใหญ่ แม้ในพระพุทธเจ้าผู้ประสูติ
แล้ว ตลอดทั้ง ๓ คราว คือคราวเป็นเด็ก คราวเป็นพระราชกุมาร
และคราวที่ได้ครองราชสมบัติตามลำดับ พอจุติจากอัตภาพนั้น ได้บังเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
ในสวรรค์ชั้นดุสิตเป็นต้น เสวยทิพยสุขแล้ว ภายหลังได้เกิดขึ้นมนุษย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือน
อันมีสกุล ในเวลาที่มีอายุได้ ๘๗ ปีนั่นแล ได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า บวชแล้วเจริญวิปัสสนาไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลอื่น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง
กล่าวคำเริ่มต้นว่า ชาย ตสฺส วิปสฺสิสฺส ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
ในบทว่า เนมิตฺตาน สุณิตฺวาน นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า เนมิตฺตา
เพราะย่อมรู้นิมิตเหตุการณ์ ได้แก่เหตุที่จะได้รับความสุขและความทุกข์.
อธิบายว่า ได้ยินคำทำนายของพวกหมอดูเหล่านั้นแล้ว. คำที่เหลือในที่
ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาชาติปูชกเถราปทาน
จบอรรถกถามหาปริวารวรรคที่ ๑๒
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาปริวารเถราปทาน ๒. สุมังคลเถราปทาน ๓. สรณคม-
นิยเถราปทาน ๔. เอกาสนิยเถราปทาน ๕. สุวรรณปุปผิยเถราปทาน
๖. จิตกปูชกเถราปทาน ๗. พุทธสัญญกเถราปทาน ๘. มัคคสัญญก-
เถราปทาน ๙. ปัจจุปัฏฐานเถราปทาน ๑๐. ชาติปูชกเถราปทาน.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวรวมคาถาไว้ ๙๐ คาถา ฉะนี้แล.
จบมหาปริวารวรรคที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
เสเรยยวรรคที่ ๑๓
เสเรยยกเถราปทานที่ ๑ (๑๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกหงอนไก่
[๑๒๓] เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท ยืน
อยู่ที่โอกาสแจ้ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก
เสด็จเที่ยวอยู่ในป่า ดังราชสีห์ ไม่ทรงสะดุ้งกลัวดังพญา
เสือโคร่ง ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ดังช้างมาตังคะ
ซับมัน ๓ ครั้ง.
เราจึงหยิบเอาดอกหงอนไก่โยนขึ้นไป (บูชา) ในอากาศ
ด้วยพุทธานุภาพ ดอกหงอนไก่ทั้งหลายแวดล้อมอยู่ โดย
ประการทั้งปวง.
พระสัพพัญญูมหาวีรเจ้าผู้นำของโลก ทรงอธิษฐานว่า
จงเป็นหลังคาดอกไม้โดยรอบ ชนทั้งหลายได้บูชาพระนราสภ.
ในลำดับนั้น แผ่นดอกไม้นั้นมีขั้วข้างใน มีดอกข้างนอก
เป็นเพดานบังร่มอยู่ตลอด ๗ วันแล้วหายไปจากที่นั้น.
เราได้เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยมี น่าขนพองสยอง
เกล้านั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธสุคตเจ้าผู้เป็น
นายกของโลก.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่ได้
เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
ในกัปที่ ๑๕,๐๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง ทรง
พระนามเหมือนกันว่าวิลามาลา๑ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเสเรยยกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเสเรยยกเถราปทาน
เสเรยยวรรคที่ ๑๓
๑๒๑. อรรถกถาเสเรยยกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเสเรยยกเลระ มีคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก
มนฺตธโร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานใน
พ้นอัตภาพอื่นที่แล้วมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ได้ไปเรียน
ไตรเพท จนจบมนต์สำหรับพราหมณ์ทั้งสิ้นมีอิติหาสะเป็นต้น วันหนึ่ง
พร้อมด้วยบริวารไปยืนอยู่ในที่แจ้ง ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีจิต
เลื่อมใส จึงถือดอกหงอนไก่โยนขึ้นบนอากาศบูชาแล้ว. ดอกไม้เหล่านั้น
ก็กลายเป็นเพดานบนอากาศ ดำรงอยู่ได้ ๗ วัน แล้วภายหลังก็อันตรธาน
๑. ม. เป็น วีตมาลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
หายไป เขาได้เห็นความอัศจรรย์เช่นนั้นแล้ว มีความเลื่อมใสเป็นยิ่งนัก
ตายไปในขณะที่มีปีติและโสมนัสนั้นนั่นแหละ ได้ไปบังเกิดในสวรรค์
ชั้นดุสิตเป็นต้น ได้เสวยทิพยสุขในสวรรค์ชั้นนั้นแล้ว ต่อจากนั้นได้มา
เกิดเป็นมนุษย์ เสวยความสุขในมนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
มาบังเกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ด้วยพลังแห่ง
วาสนาที่ได้สั่งสมมาในครั้งก่อน มีความเลื่อมใสแล้วในพระศาสดา จึง
ได้บวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนเคยสั่งสมมาในครั้งก่อน
ได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา
แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้. ถ้อย
คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า เสเรยฺยก คเหตฺวาน มีวิเคราะห์ว่า บุปผชาติที่มีหงอน
ชื่อว่า เสเรยยะ, เสเรยยะนั่นแหละเป็นเสเรยยกะ เชื่อมความว่า ถือเอา
ดอกหงอนไก่นั้น, อธิบายว่า เขาเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า วาง
ดอกไม้มีดอกมะลิและดอกจำปาตูมเป็นต้นเพื่อบูชา แต่เพราะไม่มีเวลา
จึงเก็บเอาแต่ดอกหงอนไก่ที่พบในที่นั้นมาบูชา. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาเสเรยยกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
ปุปผถูปิยเถราปทานที่ ๒ (๑๒๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยสถูปดอกไม้
[๑๒๔] มีภูเขาชื่อกุกกุระอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีพราหมณ์
ผู้จบมนต์อยู่ในท่ามกลางภูเขานั้น.
ศิษย์ ๕,๐๐๐คน แวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ และเขาเหล่านั้น
เป็นผู้ลุกขึ้นก่อน (นอนที่หลัง) แกล้วกล้าในมนต์ทั้งหลาย.
พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์ ได้ฟังคำของพวกศิษย์ว่า พระ-
พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ขอท่านจงรู้เรื่องพระพุทธเจ้า
นั้น ว่ามีจริงหรือไม่ พระองค์มีอนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระ-
ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ.
พระชินวรมีพระรัศมีแผ่ไปข้างละวา ย่อมรุ่งโรจน์ดัง
พระอาทิตย์ ดังนี้ พราหมณ์ออกจากอาศรมแล้ว ถามถึงทิศ
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ว่า พระมหาวีรเจ้าผู้นำของโลก
ประทับอยู่ ณ ประเทศใด.
เราเห็นประเทศนั้นแล้ว จักนมัสการพระชินเจ้า ผู้ไม่มี
บุคคลเปรียบ เรามีจิตเบิกบาน มีใจโสมนัส บูชาพระ-
ตถาคตนั้น.
มาเถิดศิษย์ทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระตถาคต จักถวาย
บังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว จักฟังคำสั่งสอนของ
พระองค์.
เราออกจากอาศรมไปได้วันหนึ่งก็ได้ป่วยไข้ เป็นผู้ถูก
ความป่วยไข้เบียดเบียน จึงไปนอน ณ ที่สุดใกล้ต้นสาละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
ประชุมศิษย์ทั้งปวงแล้ว ได้ถามเขาเหล่านั้นถึงพระตถาคต
ว่า พระคุณของพระโลกนาถผู้มีปัญญาเครื่องตรัสรู้อย่างยิ่ง
เป็นเช่นไร.
พวกศิษย์เหล่านั้นอันเราถามแล้ว พยากรณ์เหมือนบุคคล
ผู้เห็นแจ้ง แสดงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐนั้นแก่เราดุจมีอยู่
ตรงหน้าโดยเคารพ.
เราฟังคำของศิษย์เหล่านั้นแล้ว ทำจิตของตนให้เลื่อมใส
บูชาพระสถูปด้วยดอกไม้แล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
ศิษย์เหล่านั้นเผาสรีระของเราแล้ว ได้ไปในสำนักของ
พระพุทธเจ้า ประนมอัญชลีถวายบังคมพระศาสดา.
เราเอาดอกไม้ทำสถูปแห่งพระสุคตผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
หลวงแล้ว ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลย ในแสนกัป.
ในกัปที่ ๔๐,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ ๑๖ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าอัคคิสมะ มีพละมาก.
ใน ๒ หมื่นกัปแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๘
ครั้ง เป็นใหญ่รนแผ่นดิน พระนามว่าฆฏาสนสมะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุปผถูปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุปผถูปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
๑๒๒. อรรถกถาปุปผถูปิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปุปผถูปิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺส
อวิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ศึกษา
ศิลปะไว้ประจำตัวจนสำเร็จ แต่ก็มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น ตนเอง
พร้อมกับศิษย์ ๕,๐๐๐ คน จึงพากันละบ้านเรือนร่วมเดินทางไปยังป่า
หิมพานต์ ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นแล้ว สร้างบรรณ-
ศาลาอยู่อาศัยใกล้ภูเขาชื่อกุกกุระ. ครั้งนั้นเขาได้ทราบว่า พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติขึ้นแล้ว มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกศิษย์
แต่ถูกโรคภัยบางอย่างเบียดเบียน จึงเข้าไปยังบรรณศาลา ได้ทราบ
อานุภาพและลักษณะของพระพุทธเจ้าจากสำนักของศิษย์ แล้วมีใจเลื่อม-
ใส ให้พวกศิษย์นำเอาดอกไม้นานาชนิดเช่น ดอกจำปา ดอกอโศก และ
ยอดหมากเม่าเป็นต้นมาจากหิมวันตประเทศแล้ว ก่อสถูป บูชาพระสถูป
คล้ายบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว เขากระทำกาละแล้ว ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก.
ลำดับนั้น พวกศิษย์เหล่านั้น จึงพากันกระทำฌาปนกิจท่าน เสร็จงาน
แล้ว พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ ก็ทรงทราบ
ชัดด้วยพระอนาคตังสญาณ. ในชาติต่อมา คือในพุทธุปบาทกาลนี้ เขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
ได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี พอบรรลุนิติภาวะแล้ว ด้วย
พลังแห่งวาสนาที่ตนได้สั่งสมมาในกาลก่อน จึงมีความเลื่อมใสในพระ-
ศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ต่อมาท่านระลึกถึงกุศลกรรมของตนในชาติก่อนได้ มีความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง
กล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้า
ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุโร นาม
ปพฺพโต ความว่า ยอดแห่งภูเขาที่เรียกกันว่า กุกกุรบรรพต เพราะ.
ตั้งตระหง่านมีลักษณาการคล้ายกับสุนัข. อธิบายว่า สร้างบรรณศาลาอยู่
ร่วมกับดาบส ๕,๐๐๐ คน ใกล้ ๆ กับภูเขาลูกนั้น. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
จะว่าโดยเนื้อความแล้ว มีเนื้อความง่าย ๆ ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปุปผถูปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
ปายาสทายกเถราปทานที่ ๓ (๑๒๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวปายาสใส่ถาดสำริด
[๑๒๕] เราต้องการบวงสรวงบูชายัญ จึงคดข้าวปายาสใส่ในถาด
สำริดด้วยมือของตน แล้วไปสู่ป่างิ้ว ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
มีพระฉวีวรรณดังทองคำ มีพระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จออกจากป่าใหญ่.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเชษฐบุรุษของโลกประเสริฐ
กว่านระ เสด็จขึ้นเดินจงกรมในอากาศอันเป็นทางลม เรา
เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยเป็นขนลุกชูชันนั้นแล้ว วางถาด
สำริดลง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.
ทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์เป็นพระสัพพัญญู
พุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลกและมนุษย์โลก ขอจงทรง
อนุเคราะห์รับข้าวปายาสของข้าพระองค์เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพัญญูผู้นำของโลก เป็นศาสดา
ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าว
ปายาส.
ในกัปที่ ๔๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่าพุทโธ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปายาสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปายาสทายกเถราปทาน
๑๒๓. อรรถกถาปายาสทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปายาสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณ-
วณฺโณ สมฺพุทฺโธ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติ-
ภาวะแล้ว อยู่ครอบครองเรือน ก็สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เช่น ช้าง ม้า
เงิน ธัญญชาติ และรัตนะ ๗ ประการเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อ
กรรมและผลแห่งกรรม สั่งให้คนใช้ทำถาดทองคำประมาณ ๑,๐๐๐ ถาด
แล้วให้เขาบรรจุนมสดและข้าวปายาสจนเต็มในถาด ๑,๐๐๐ ถาดนั้น แล้ว
ให้ถือถาดทั้งหมดนั้นไปยังป่าไม้งิ้ว. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
พระนามว่า วิปัสสี ทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ เนรมิตที่จง
กรมในอากาศ เสด็จจงกรมอยู่. ฝ่ายเศรษฐีนั้นได้มองเห็นความอัศจรรย์
นั้นแล้วเลื่อมใสยิ่งนัก จึงวางถาดทั้งหมดลงถวายบังคมแล้ว กราบทูล
เพื่อให้ทรงรับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์
รับแล้ว ก็แลครั้นทรงรับแล้ว เพื่อจะให้เศรษฐีนั้นเกิดความโสมนัส
พระองค์พร้อมกับภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑,๐๐๐ รูป จึงได้เสวย ภิกษุ
หลายพันรูปฉันอาหารนั้นไม่เหลือเลย ด้วยบุญนั้น เศรษฐีนั้นจึงได้ท่อง
เที่ยวไปในสุคติภพทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมี
สกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านพิจารณาถึงกุศลกรรมของตน ระลึกถึงกุศลนั้น
ได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา
แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺโณ สมฺพุทฺโธ ดังนี้.
ถ้อยคำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า จงฺกม
สุสมารุฬฺโห มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า จังกมะ เพราะเปล่งรัศมีการทำการ
ย่างเท้า ก้าวไปคือเดินไป, อธิบายว่า ประเทศแห่งแผ่นดินเป็นที่รองรับ
ย่างเท้าก้าวไป ชื่อว่า การจงกรม เชื่อมความว่า การจงกรมนั้น เป็น
ศัพท์รู้ได้ง่าย. บทว่า อมฺพเร อนิลายเน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วระ
เพราะเป็นเครื่องป้องกันปกปิด ชื่อว่า อัมพระ เพราะไม่มีเครื่องป้องกัน
ปกปิด, อธิบายว่า อากาศคล้ายกับผ้าสีขาว. ชื่อว่า อนิละ เพราะไม่มี
ที่แอบซ่อน ป้องกัน, ชื่อว่า อายนะ เพราะมีฤทธิ์เป็นเครื่องไปได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
รอบด้าน, อนิละด้วย อายนะนั้นด้วย รวมเรียกว่า อนิลายนะ อธิบายว่า
ทรงเนรมิตที่จงกรมในอากาศอันเป็นทางลมนั้น. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปายาสทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
คันโธทกิยเถราปทานที่ ๔ (๑๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการประพรมน้ำหอม
[๑๒๖] เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้เห็นพระชินเจ้า
พระนามว่า วิปัสสี งามดังไม้รกฟ้า ผู้กำจัดความมืด ผู้เป็น
สัพพัญญู เป็นผู้นำอันอุดม.
พระองค์ผู้นำของโลก เสด็จดำเนินในที่ไม่ไกลปราสาท
รัศมีของพระองค์สว่างไสว ในเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว.
เราประคองน้ำหอม ประพรม (บูชา) พระพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐสุด ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ประพรมน้ำหอมใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่าสุคันธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันโธทกิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคันโธทกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
๑๒๔. อรรถกถาคันโธทกิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระคันโธทถิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิสชฺช
ปาสาทวเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่าน
ได้เกิดในตระกูลเศรษฐี บรรลุนิติภาวะแล้ว มีทรัพย์มากมาย มีโภคสมบัติ
มากมาย เสวยความสุขในโลกมนุษย์ คล้ายกับเสวยความสุขอันเป็นทิพย์
ฉะนั้น วันหนึ่งนั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ. ในกาลนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เสด็จดำเนินไปตามถนน คล้ายกับเสด็จดำเนินไปบนภูเขา
ทองลูกใหญ่ฉะนั้น เขาได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จดำเนินไปนั้นแล้ว
มีใจเลื่อมใส เข้าไปถวายบังคมแล้ว ประคองน้ำหอมอย่างดี ประพรม
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยบุญนั้น เขาได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ
มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ติดใจในทางฆราวาส ได้บวชในสำนักของพระ-
ศาสดา เรียนกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมในครั้งก่อนของตนได้ เกิด
ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิสชฺช ปาสาทวเร ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า ปาสาโท มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ปราสาท เพราะให้
ความเลื่อมใส คือความดีใจเกิดขึ้น คืออุบัติขึ้น, อธิบายว่า ทำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
เลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นแก่มวลชน ผู้เข้าไปเห็นความวิจิตรต่าง ๆ เช่น
มาลากรรม จิตรกรรม และสุวรรณกรรม เป็นต้น ในปราสาทนั้น.
ปราสาทด้วย ความประเสริฐ เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงปรารถนานั้น
ด้วย รวมเรียกว่า ปาสาทวระ, เชื่อมความว่า เรานั่งอยู่ในปราสาทอัน
ประเสริฐนั้น ได้เห็นพระชินวรพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. คำที่เหลือ
ในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาคันโธทกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
สัมมุขาถวิกเถราปทานที่ ๕ (๑๒๕)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า
[๑๒๗] เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์ประสูติ เราได้พยากรณ์นิมิตว่า
จักยังหมู่ชนให้ดับทุกข์ จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ หมื่นโลกธาตุ
ย่อมหวั่นไหว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ได้มีแสงสว่าง
อันไพบูลย์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา
ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ แม่น้ำทั้งหลาย
ไม่ไหล บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาผู้มี
พระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ไฟในอเวจีนรก
ไม่ลุกโพลง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา
ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ หมู่นกไม่
สัญจรไป บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา
ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ลมย่อมไม่พัด
ฟุ้งไป บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดา
ผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ แก้วทุกชนิด
ส่องแสงโชติช่วง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดประสูติ ทรงย่างพระ-
บาทก้าวไป ก้าว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมอยู่.
พอพระสัมพุทธเจ้าประสูติแล้วเท่านั้น ก็ทรงเหลียวแลดู
ทิศทั้งปวง ทรงเปล่งอาสภิวาจา นี้เป็นธรรมดาของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย.
เรายังหมู่ชนให้เกิดสังเวช ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นำของโลก ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว บ่ายหน้ากลับ
ไปทางทิศปราจีน.
ในกัปที่ ๙๑ เเต่กัปนี้ เราชมเชยพระพุทธเจ้าใด ด้วยการ
ชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการชมเชย.
ในกัปที่ ๙๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
สัมมุขาถวิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๙๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนาม
ว่าปฐวีทุนทุภิ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๙๘ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์มีนามว่าโอภาสะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
ในกัปที่ ๙๘ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
สริตเฉทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๖ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
อัคคินิพพาปนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
วาตสมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีนามว่าคติปัจเฉทนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
ในกัปที่ ๘๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
รัตนปัชชละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๒ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
ปทวิกกมนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๑ เเต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีนามว่าวิโลกนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
ในกัปที่ ๘๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
คิริสาระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
ทราบว่า ท่านพระสัมมุขาถวิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัมมุขาถวิกเถราปทาน
๑๒๕. อรรถกถาสัมมุขาวิกเถราปทาน
อปทาของท่านพระสัมมุขาถวิกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ชายมาเน
วิปสฺสิมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ ขณะที่มีอายุได้เพียง ๗ ปีเท่านั้น ก็ได้ศึกษาศิลปะประจำ
ตัวจนสำเร็จแล้ว ดำรงเพศอยู่ในทางฆราวาส เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์
อุบัติขึ้นแล้ว ก็ลักษณะของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ จะมีปรากฏอยู่
ในคัมภีร์ไตรเพท เขาได้พยากรณ์ถึงลักษณะ และความเป็นพระพุทธเจ้า
ของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ผู้เป็นประมุขของพระราชา คือเป็นหัวหน้า
คนว่า จะทำใจของหมู่คนให้ดับ (คือนิพพาน). และได้ประกาศถ้อยคำ
ชมเชยไว้มากมาย. ด้วยกุศลกรรมอันนั้น เขาจึงได้เสวยกามาวจรสมบัติ
๖ ชั้น และได้เสวยจักรพรรดิสมบัติในหมู่มนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เกิดมีความ
ศรัทธาจึงได้บวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่านได้ปรากฏชื่อว่า
สัมมุขาถวิกเถระ ดังนี้ ตามชื่อแห่งกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
ชายมาเน วิปสฺสิมฺหิ ดังนี้. ในคาถานั้นมีอธิบายว่า เมื่อพระวิปัสสี
สัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว คือประสูติจากพระครรภ์มารดา เราได้กล่าว
พยากรณ์ตามเครื่องหมายที่ปรากฏ คือเหตุที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า, ความ
อัศจรรย์มากมายได้ปรากฏมีขึ้นแล้ว. คำที่เหลือบัณฑิตพอจะรู้ได้โดยง่าย
ตามลำดับแห่งเนื้อความตามที่ได้กล่าวแล.
จบอรรถกถาสัมมุขาถวิกถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
กุสุมสนิยเถราปทานที่ ๖ (๑๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งกาสรถวายอานิสแด่พระพุทธเจ้า
[๑๒๘] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์อยู่ในนครธัญญวดี รู้จบ
ไตรเพท เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ เป็นผู้ฉลาด
ในตำราทำนายลักษณะ คัมภีร์อิติหาส และตำราทำนายนิมิต
พร้อมทั้งคำภีร์สนิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ บอกมนต์กะศิษย์
ทั้งหลาย เราวางดอกอุบล ๕ กำไรเบื้องบน เราประสงค์จะ
บวงสรวงบูชายัญในสมาคมบิดามารดา.
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีผู้ประ-
เสริฐกว่านระ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงยังทิศทั้งปวงให้
สว่างไสวเสด็จมา.
เราปูลาดอาสนะแล้วลาดดอกอุบลนั้น แล้วนิมนต์พระ-
มหามุนี นำมาสู่เรือนของตน.
อามิสอันรดที่เราตระเตรียมไว้ มีอยู่ในเรือนของตน เรา
เลื่อมใสได้ถวายอามิสนั้น แต่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสอง
ของตน.
เราทราบเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ได้ถวาย
ดอกอุบลกำหนึ่ง พระสัพพัญญูทรงอนุโนทนาแล้ว บ่าย
พระพักตร์กลับไปยังทิศอุดร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายดอกไม้นั่น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายดอกไม้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
ในกัปลำดับต่อแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชพระ-
นามว่า วรทัสสนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุสุมาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉันแล.
จบกุสุมาสนิยเถราปทาน
๑๒๖. อรรถกถากุสุมาสนิยเถราปทาน
เรื่องราวของท่านพระกุสุมาสนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร ธญฺ-
วติยา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นผู้มี
ทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ไปเรียนไตรเพท จนจบศิลปศาสตร์ชั้นสูง
ของพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิของคนและของผู้อื่น มีความประสงค์
จะบูชามารดาบิดา จึงวางกำดอกบัว ๕ กำไว้ข้าง ๆ ตัว แล้วนั่งลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี มีหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม
กำลังเสด็จผ่านมา และได้พบเห็นกลุ่มแห่งพระพุทธรัศมีมีสีเขียวและ
เหลืองเป็นต้นพวยพุ่งออกมา เขามีใจเลื่อมใส จัดแจงปูลาดอาสนะ
เกลี่ยลาดดอกไม้เหล่านั้นบนอาสนะนั้น แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้นั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ถือเอาของควรเคี้ยวและควรบริโภคทั้งหมดใน
เรือนของตน ที่ตระเตรียมไว้เพื่อมารดา มาถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมด้วยบริวารฉันจนอิ่มแล้ว. ในเวลาที่พระองค์ฉันเรียบร้อยแล้ว ยัง
ได้ถวายดอกอุบลอีกกำมือหนึ่ง. ด้วยบุญวิธีอันนั้น เรามีความโสมนัส
ได้ตั้งความปรารถนาไว้แล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนา
แล้ว ก็เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสวรรค์สมบัติและ
มนุษย์สมบัติจนครบทั้ง ๒ อย่าง ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้เกิดในตระกูล
แห่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็เจริญ
รุ่งเรืองไปด้วยโภคสมบัติและยศศักดิ์ เพราะมองเห็นโทษในกามทั้งหลาย
จึงละเพศฆราวาสบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้กระทำแล้วในกาล
ก่อนได้ ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง
ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นคเร
ธญฺวติยา ดังนี้. คำว่า ธญฺวติยา นั้น มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ธัญญวดี
เพราะเป็นที่เกิดแห่งตระกูลขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหปติ-
มหาศาล มากมายหลายตระกูล ซึ่งล้วนแต่มีโชคมีบุญ, อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ธัญญวดี เพราะเป็นแหล่งแห่งรัตนะ ๗ ประการ มีมุกดาและแก้ว
มณีเป็นต้น อันเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคชั้นดี ๗ อย่าง, อีกอย่างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ชื่อว่า ธัญญวดี เพราะเป็นแหล่งที่เกิดแห่งวัดวาอารามเป็นต้น ซึ่งเป็น
สถานที่อยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพผู้มีบุญ
จำนวนมากมาย. ชื่อว่า นคระ เพราะเป็นที่ปรารถนาต้องการของเหล่าชน
ผู้ต้องการเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นคะ
เพราะไม่ไปไหน, คือ สถานที่ประทับอยู่ของพระราชา พระยุพราช
และหมู่อำมาตย์เป็นต้น. ชื่อว่า นคร เพราะย่อมยึดครอบครองไว้, อธิบาย
ว่า สถานที่ที่กำหนดหมาย แวดล้อมกั้นเป็นเขตด้วยกำแพงเป็นต้น อัน
เป็นหมวดหมู่แห่งที่ประทับ (พระมหาราชวัง) ของพระราชาเป็นต้น
ชื่อว่า พระนคร. เชื่อมความว่า ในพระนครนั้น เราได้รับพยากรณ์
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ในกาลใด ในกาล
นั้น เราได้เป็นพราหมณ์อยู่ในพระนครธัญญวดีนั้นแล. คำที่เหลือในที่
ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถากุสุมาสนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
ผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๒๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเมล็ดบัว
[๑๒๙] เรา (เป็นพราหมณ์) ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท
อยู่ในอาศรมในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์.
เครื่องบูชาไฟเมล็ดบัวขาวของเรามีอยู่ เราใส่ไว้ในห่อ
แล้วห้อยไว้บนยอดไม้.
เรามีจิตเสื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระ-
พุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดัง
ทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังให้เกิดแก่เรา ทรง
นำสุขให้เราในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศได้ตรัส
คาถาพระนี้ว่า
เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระ-
พุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดัง
ทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังปีติให้เกิดแก่เรา ทรง
นำสุขมาให้เราในปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศได้ตรัส
คาถาพระนี้ว่า
ด้วยการถวายเมล็ดบัวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้
จะไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ด้วยกุศลมูลนั้นนั่นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ละความ
ชนะและความแพ้ บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๗๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีนามว่าสุมังคละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
๑๒๗. อรรถกถาผลทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระผลทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก
มนฺตธโร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ หลาย ๆ ภพที่ผ่านมาจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัย
แห่งพระนิพพานเป็นประจำเมื่อ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว
ศึกษาจบศิลปศาสตร์ของตนคือไตรเพท เป็นอาจารย์ของพวกพราหมณ์
จำนวนหลายพันคน (ต่อมา) มองไม่เห็นที่สุดแห่งศิลปะทั้งหลายของตน
และมองไม่เห็นสาระประโยชน์ในศิลปะนั้น จึงละเพศฆราวาสบวชเป็น
ฤๅษี สร้างอาศรมอยู่ไม่ไกลจากหิมวันต์ประเทศนัก เลี้ยงชีวิตอยู่ร่วมกับ
พวกศิษย์. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
เสด็จไปภิกขาจารถึงยังประเทศถิ่นนั้น เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา. ดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเมล็ดบัวชนิด
อร่อย ที่เก็บไว้ในห่อเพื่อส่วนตัวแล้ว คล้องไว้ที่ปลายไม้ ถวายพร้อม
กับน้ำผึ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยในขณะที่เขากำลังมองดูอยู่นั้นแล
เพื่อให้เขาเกิดความโสมนัสแล้ว ประทับยืนในอากาศ ตรัสแสดงอานิสงส์
แห่งผลทานแล้วก็เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญอันนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลกแลมนุษยโลก ได้เสวย
สมบัติทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล
แห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ เพียงอายุได้ ๗ ปีเท่านั้นก็บรรลุ
พระอรหัต ได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่คนเคยทำไว้ในปางก่อนไค้ เกิดความ
โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์
ในบทนั้นดังนี้ ชื่อว่า อชฺฌายิ เพราะย่อมศึกษา คือ ย่อมคิด, อชฺฌายิ
ก็คือ อชฺฌายโก แปลว่า ผู้ศึกษาเล่าเรียน. จริงอยู่ อ อักษรในบทว่า
อชฺฌายโก นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถ ๑๐ ประการ ดังที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า อ อักษรเป็นไปในอรรถปฏิเสธ ในความเจริญ ในความเป็น
เช่นนั้น ฯลฯ ในความว่างเปล่า และในอรรถว่า เล็กน้อย. อธิบายว่า
อชฺฌายโก ก็คือ เป็นคนช่างคิด เพราะอรรถว่า ย่อมศึกษาเล่าเรียน
ย่อมคิดถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ย่อมทำการสาธยาย ด้วยวิธีฟังและ
จำเป็นต้นของพวกศิษย์. ชื่อว่า มันตธโร เพราะอรรถว่า ย่อมทรงจำ
ทบทวนร่ายมนต์ทั้งหมดตามที่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักของอาจารย์ได้จนขึ้น
ใจ. บทว่า ติณฺณ เวทาน ปารคู ความว่า ญาณท่านก็เรียกอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
เหมือนกัน, ที่เรียกว่า เวท เพราะพึงทราบ คือ พึงตรัสรู้ได้ด้วยเวท,
คัมภีร์ทั้ง ๓ คือ อิรุพเวท ยชุรเวท สามเวท, ชื่อว่าปารคู เพราะบรรลุ
ถึงฝั่ง คือที่สุดยอดแห่งเวททั้ง ๓ เหล่านั้น . คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏ
ชัดแล้วทั้งหมดแล.
จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
ญาณสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๑๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญา
[๑๓๐] เราอยู่ในระหว่างภูเขาใกล้ภูเขาหิมวันต์ ได้เห็นกองทราย
อันงามแล้ว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ไม่มีอะไร
เปรียบได้ในพระญาณ สงครามไม่มีแก่พระศาสดา พระ-
ศาสดาทรงรู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวงแล้ว ทรงน้อมไป (หลุดพ้น)
ด้วยญาณ.
ข้าแต่บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่
อุดมบุรุษ ขอนอบน้อมแด่พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยพระญาณ
ของพระองค์ พระญาณสูงสุดประมาณไม่ได้.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณแล้ว บันเทิงอยู่ในสรรรค์
ตลอดกัป ในกัปทั้งหลายที่เหลือเราทำกุศลแล้ว.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย. นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระญาณ.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
องค์หนึ่งมีนามว่าปุฬินปุปผิยะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
ทราบว่า ท่านพระญาณสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัญญกเถรปทาน
๑๒๘. อรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน
อปทานของท่านพระญาณสัญญิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต
หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพที่เกิดแล้ว จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล พอเจริญวัยแล้ว ละเพศฆราวาส
ออกบวชเป็นดาบส สร้างบรรณศาลาอยู่ระหว่างภูเขาไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นแล้ว วันหนึ่งมองเห็นกองทราย
อันบริสุทธิ์ขาวสะอาด จึงนึกชมเชยพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็บริสุทธิ์เช่นนี้ และนึกชมเชยพระญาณของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า
พระญาณของพระพุทธเจ้าก็คงบริสุทธิ์เช่นนี้เหมือนกันแล.
ด้วยบุญอันนั้น ดาบสนั้นได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติทั้งสองครบแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มาเกิดในเรือน
อันมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้บวชในพระศาสนา ไม่นาน
นักก็ได้สำเร็จพระอรหัต ระลึกถึงบุญที่ได้กระทำไว้ในปางก่อนได้ เกิด
๑. บาลี เป็น ญาณสัญญกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้. บทว่า
ปุลิน โสภณ ทิสฺวา มีวิเคราะห์ว่า ปุลินะ เพราะเป็นไปอยู่โดยอาการ
อย่างทราย คือโดยอาการที่บริสุทธิ์สะอาด คล้าย ๆ กับว่ามีคนทำให้
บริบูรณ์แล้วฉะนั้น อธิบายว่า เราได้เห็นกองทรายอันงดงามแล้ว ได้
อนุสรณ์ถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่าย
แล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
คันธปุปผิยเถราปทานที่ (๑๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ต่าง ๆ
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี มีพระฉวีวรรณดัง
ทองคำ ผู้ควรแก่ทักษิณา แวดล้อมด้วยพระสาวกเป็นอันมาก
เสด็จออกจากพระอาราม.
เราได้เห็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หาอาสวะ
มิได้ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาทางที่เสด็จดำเนิน.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นจอมสัตว์
ผู้คงที่นั้น เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ถวายบังคมพระตถาคตอีก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๔๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ มีนามว่าวรุณะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันธปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคันธปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
๑๒๙. อรรถกถาคันธปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระคันธปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณ วณฺโณ
สมฺพุทฺโธ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญไว้ในหลายชาติที่ผ่านมาแล้ว ในกาลแห่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง
สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคและบริโภค ไม่บกพร่อง วันหนึ่ง ได้พบเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี พร้อมด้วยหมู่คณะแล้ว มีจิต
เลื่อมใส น้อมบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลายอันมีข้าวตอกเป็นที่ห้า. ด้วยจิต
ที่เลื่อมใสนั้นนั่นแล เขาดำรงอยู่จนตลอดอายุ ตายจากมนุษยโลกไปเกิด
ในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติแล้ว ในชาติต่อมาเกิดเป็นมนุษย์ เสวย
สมบัติในมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล
แห่งหนึ่ง ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุญที่ได้บำเพ็ญมาในชาติก่อนได้ เกิดความ
โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
ว่า ด้วยกุศลกรรมอันนี้ เราจึงได้ถึงพระนิพพานดังนี้. จึงกล่าวคำเริ่มต้น
ว่า สุวณฺณวณฺโณ สมฺพุทฺโธ ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมดมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้น เพราะได้กล่าวเนื้อความไว้แล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาคันธปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว
[๑๓๒] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อโคตมะ ดาดาษ
ด้วยต้นไม้ต่างชนิด เป็นที่อยู่ของหมู่มหาภูต (ยักษ์).
ในท่ามกลางภูเขานั้นมีอาศรมที่เราสร้างไว้ เราแวดล้อม
ด้วยพวกศิษย์ของตน อยู่ในอาศรมนั้น ได้สั่งศิษย์ทั้งหลาย
ว่า
คณะศิษย์ของเรา (เมื่อมาหาเรา) ขอจงนำเอาดอกบัวมา
ให้เรา เราจักทำพุทธบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้จอมสัตว์
ผู้คงที่.
ศิษย์เหล่านั้นรับคำที่เราสั่งอย่างนี้แล้ว นำเอาดอกบัวมา
ให้เรา เรากระทำเครื่องหมายอย่างนั้นบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกาลนั้น เราประชุมศิษย์ทั้งหลายแล้ว พร่ำสอนด้วยดี
ว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาทนะ เพราะว่าความไม่ประมาท
นำสุขมาให้.
ครั้นเราพร่ำสอนบรรดาศิษย์ของตน ผู้อดทนต่อคำสอน
อย่างนี้แล้ว ประกอบตนในคุณ คือความไม่ประมาท ได้ทำ
กาละในกาลนั้น.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
ในกัปที่ ๕๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีนามว่าชลุตตมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบปทุมปูชกเถราปทาน
๑๓๐. อรรถกถาปทุมปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปทุมปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญบุญมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว สำเร็จการศึกษา
ในศิลปะของตน แต่มองไม่เห็นสาระประโยชน์ในศิลปะนั้น ไม่ได้รับ
การแนะนำพร่ำสอน เพราะค่าที่ตนเกิดมาก่อนแต่ที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นฤๅษี สร้างอาศรมอาศัยบรรพตชื่อโคตมกะ
ซึ่งไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์นัก ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น
แล้ว เป็นอยู่ด้วยความสุขในฌานนั่นแล. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เป็นพระพุทธเจ้า ทรงรื้อขนสัตว์ทั้งหลาย
ออกจากสงสาร ได้เสด็จไปยังหิมวันตประเทศเพื่ออนุเคราะห์เขา. ดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีจิตเลื่อมใส ให้ศิษย์ของตนทั้งหมดมาประชุม
พร้อมกันแล้ว ก็ให้ศิษย์เหล่านั้นนำเอาดอกปทุมทั้งหลายมาบูชาแล้ว. ด้วย
บุญอันนั้น ดาบสนั้นได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวย
สมบัติจนครบทั้ง ๒ แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือน
อันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี มีศรัทธาเลื่อมใสได้บวชแล้ว ไม่นานนัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศ
เรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. บทว่า โคตโม นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขา
ที่ได้ปรากฏ ชื่อว่า โคตมะ เพราะเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์และเทวดาเป็น
อันมาก และเพราะเป็นที่อยู่ของท่านโคตมะด้วยอำนาจแรงอธิษฐาน. ชื่อว่า
บรรพต เพราะเป็นไปมั่นคง. บทว่า นาครุกฺเขหิ สญฺฉนฺโน มีวิเคราะห์
ว่า ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกขึ้นตั้งอยู่, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า รุกขะ
เพราะแทงแผ่นดินงอกขึ้น. ต้นไม้ทั้งหลายเช่นต้นจำปา การบูร กากะทิง
กฤษณา และต้นจันทน์เป็นต้น หลายชนิดหลายอย่าง รวมเรียกว่า
นานารุกขะ, เชื่อมความว่า ภูเขาโคตมะนั้น ดารดาษเกลื่อนกล่นไปด้วย
ต้นไม้นานาชนิดเหล่านั้น. บทว่า มหาภูตคณาลโย มีวิเคราะห์ว่า
ชื่อว่า ภูตะ เพราะมีขึ้นเกิดขึ้นอุบัติขึ้นและเจริญ, สัตว์เหล่านั้นมีมากด้วย
เป็นภูตด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ. คณะคือหมู่ของมหาภูตทั้งหลาย
ชื่อว่า มหาภูตคณะ, ที่อยู่ที่อาศัยของหมู่มหาภูต ชื่อว่า มหาภูตคณาลัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
บทว่า เอวมชฺฌิมฺหิ จ ตสฺสาสิ ความว่า อาศรมที่พระดาบส
เนรมิต สร้างจนสำเร็จนั้นอยู่ในระหว่างท่ามกลางภูเขาโคตมะนั้น. คำที่
เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทุมปูชกเถราปทาน
จบอรรถกถาเสเรยยวรรคที่ ๑๓
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เสเรยยกเถราปทาน ๒. ปุปผถูปิยเถราปทาน ๓. ปายาสทายก-
เถราปทาน ๔. คันโธทกิยเถราปทาน ๕. สัมมุขาถวิกเถราปทาน
๖. กุสุมาสนิยเถราปทาน ๗.ผลทายกเถราปทาน ๘. ญาณสัญญกเถราปทาน
๙. คันธปุปผิยเถราปทาน ๑๐. ปทุมปูชกเถราปทาน. บัณฑิตผู้เห็นแจ้ง
อรรถ รวมคาถาไว้ ๑๐๕ คาถา.
จบเสเรยยวรรคที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
โสภิตวรรคที่ ๑๔
โสถิตเถราปทานที่ ๑ (๑๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังอาสภิวาจา
[๑๓๓] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ ทรงแสดงอมตบทแก่หมู่ชนเป็นอันมาก.
เวลานั้น เราได้ฟังพระดำรัสอาสภิวาจาที่พระองค์เปล่ง
แล้ว ประนมกรอัญชลี เป็นผู้มีใจเป็นอารมณ์เดียว (กล่าว)
สมุทรเลิศกว่าทะเลทั้งหลาย เขาสุเมรุประเสริฐ
กว่าเขาทั้งหลาย เป็นที่สั่งสมหิน ฉันใด ชนเหล่าใด
ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิต ชนเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึง
เสี้ยวแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น.
พระพุทธเจ้าทรงเป็นฤาษีประกอบด้วยพระกรุณา ทรงหยุด
การแสดงธรรม ประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์แล้ว ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดสรรเสริญพระญาณในพระพุทธเจ้าผู้นำของโลก ผู้นั้น
จะต้องไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป.
ผู้นั้นจักเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว จักเป็นผู้มีอารมณ์เดียว
มีจิตมั่นคง จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าโสภิตะ.
เราเผากิเลสได้แล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว วิชชา ๓
เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
ในกัปที่ ๕๐,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๗ ครั้ง ทรงพระนามว่าสมุคคตะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสภิตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโสภิตเถราปทาน
อรรถกถาโสภิตวรรคที่ ๑๔
๑๓๑. อรรถกถาโสภิตเถราปทาน
อปทานของท่านพระโสภิตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว
ดำรงเพศเป็นฆราวาส วันหนึ่ง เมื่อพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา
เขามีใจเลื่อมใสด้วยความโสมนัส จึงชมเชยโดยประการต่าง ๆ ด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
โสมนัสนั้นนั่นแล. เขากระทำกาละแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก เสวย
ที่สุดในเทวโลกนั้นแล้ว เเละได้มาเกิดในมนุษยโลก เสวยความสุขใน
มนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มาบังเกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุง
สาวัตถี เขามีอายุได้เพียง ๗ ปีเท่านั้นก็บวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์ มีอภิญญา ๖.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว ในกาลก่อน จึง
กล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมด
มีเนื้อความพอรู้ได้ง่ายทั้งสิ้น เพราะได้กล่าวเนื้อความไว้แล้วในหนหลัง
แล.
จบอรรถกถาโสภิตเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
สุทัสสนเถราปทานที่ ๒ (๑๓๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกการะเกด
[๑๓๔] ไม้การะเกดกำลังมีดอก มีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกว้าง ข้าพระ-
องค์แสวงหาต้นการะเกดนั้นอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นำของโลก.
ในกาลนั้น ข้าพระองค์เห็นการะเกดมีดอกบาน จึงตัดที่ขั้ว
แล้วบูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของ
โลก.
ข้าแต่พระมหามุนีพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงบรรลุ
อมตบทอันไม่เคลื่อนด้วยพระญาณใด ข้าพระองค์บูชาพระ-
ณาณนั้น ข้าพระองค์ทำการบูชาพระญาณแล้ว ได้เห็น
ดอกการะเกด ข้าพระองค์เป็นผู้ได้สัญญานั้น นี้เป็นผลแห่ง
การบูชาพระญาณ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์บูชาพระพุทธญาณด้วย
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการบูชาพระญาณ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๒ ครั้ง
ทรงพระนามว่าพลุคคตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
ทราบว่า ท่านพระสุทัสสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุทัสสนเถราปทา
๑๓๒. อรรถกถาสุทัสสนเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุทัสสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิตฺถตาย
นทีตีเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธ-
เจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญไว้ในทุก ๆ ภพนั้น ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล
เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส (วันหนึ่ง) กำลังเดินหาต้นการะเกด
ที่มีดอกบาน ใกล้กับฝั่งแม่น้ำชื่อวิตถตะ (แม่น้ำกว้าง) เผอิญได้พบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้งดงามเปรียบปานกองไฟที่กำลัง
ลุกโพลง ประทับนั่งใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำนั้น มีใจเลื่อมใส เด็ดดอกการะเกด
พร้อมทั้งขั้วมาเเล้ว เมื่อจะบูชาจึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงมีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ มีด้วย
พระญาณใด, ข้าพระองค์ขอบูชาซึ่งพระญาณนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ด้วยบุญอันนั้น เขาได้บังเกิด
ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติทั้งสองจนครบถ้วนแล้ว ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง เลื่อมใสใน
พระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ของตนแล้ว เกิดความโสมนัส
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า วิตฺถตาย นทีตีเร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
วิตฺถตาย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิตฺถตา เพราะเป็นแม่น้ำที่แผ่ขยายกว้าง
ออกไป. ชื่อว่า นที เพราะเปล่งเสียง ส่งเสียงหลั่งไหลไปแล้ว. ชื่อว่า
ตีร เพราะคนที่จะข้ามแม่น้ำ ถึงที่นั้นก่อนแล้ว จึงจะชื่อว่าข้ามไปได้,
อธิบายว่า ใกล้ฝั่งแม่น้ำที่กว้างนั้น. บทว่า เกตกึ ปุปฺผิต ทิสฺวา
มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า เกต เพราะมีหนามที่จะทิ่มแทงมือของผู้จะเด็ด
ทั้งหลาย โดยอาการอันน่าเกลียด, เชื่อมความว่า เห็นดอกการะเกดของ
ต้นการะเกดนั้นแล้ว จึงเด็ดไปทั้งขั้ว.
บทว่า สิขิโน โลกพนฺธุโน มีวิเคราะห์ว่า ไฟท่านเรียกว่าสิขี.
หมู่รัศมีมีพรรณ ๖ ประการ ต่างชนิดมีสีเขียวและเหลืองเป็นต้นเช่นกับไฟ
เปล่งปลั่งโชติช่วง มีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นคือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี
พระองค์เป็นโลกพันธุ์ เพราะเป็นเผ่าพันธุ์เป็นญาติของชาวโลก คือของ
โลก ๓ ทั้งหมด. เชื่อมความว่า เราเด็ดดอกการะเกดพร้อมทั้งขั้วมาบูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของชาวโลกพระองค์นั้น
แล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุทัสสนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
จันทนปูชกเถราปทานที่ ๓ (๑๓๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยแก่นจันทน์หอม
[๑๓๕] เวลานั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา และเรามี
ดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่า
นรชน เสด็จเหาะไปบนยอดไม้ในป่า ดังพญาหงส์ในอัมพร
(เรากล่าวว่า)
ขอความนอบน้อมจงมี แด่พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย จิต
ของพระองค์บริสุทธิ์ดี พระองค์มีสีพระพักตร์ผ่องใส.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาดังแผ่นดิน มีเมธาดี
เสด็จลงจากอากาศ ทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว ประทับนั่งโดย
บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).
เราถือเอาแก่นจันทน์หอมไปในสำนักพระชินเจ้า เรามี
จิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้า ถวายบังคม
พระสัมพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ยังความ
ปราโมทย์ให้เกิดแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
แก่จันทน์ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑,๔๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
มีพระนามชื่อว่าโรหิณี มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระจันทนปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจันทนปูชกเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๘
๑๓๓. อรรถกถาจันทนปูชนกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระจันทนปูชนกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺท-
ภาคานทีตีเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านได้บังเกิดในกำเนิดกินนร อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคาในป่าหิมพานต์
มีดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ประดับด้วยดอกไม้มีไม้จันทน์และ
ไม้กฤษณาเป็นต้น เสวยความสุขนานัปการมีการเล่นในสวนและการเล่น
ในน้ำเป็นต้น สำเร็จชีวิตอยู่ได้ คล้ายภุมเทวดา เสวยความสุขอยู่ในป่า
หิมพานต์ฉะนั้น. ในกาลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี
เพื่อจะทำการอนุเคราะห์แก่เธอ จึงเสด็จไปยังป่าหิมพานต์ ลงจากอากาศ
แล้ว ให้ภิกษุปูลาดผ้าสังฆาฏิประทับนั่งแล้ว. กินนรนั้นได้พบพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รุ่งโรจน์ประทับนั่งในที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส
๑. บาลีเป็น จันทนปูชกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
ได้บูชาด้วยดอกไม้จันทน์หอมแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ
อนุโมทนาแก่เธอแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เธอผู้มีจิตใจประกอบด้วยความโสมนัส ดำรงอยู่
จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติ
ในกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ไป ๆ มา ๆ เสร็จแล้วได้เสวยจักรพรรดิสมบัติ
รัชสมบัติ และประเทศรัชสมบัติ ในเมืองมนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็บวช ไม่นานนัก
ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้. ที่ชื่อว่า จันทะ ในคำนั้น หมายถึง
เกิดขึ้นแล้วคล้ายกับว่ารู้พระจันทร์ ใจ ความพอใจ อัธยาศัย, อธิบายว่า
ชื่อว่า จันทภาคา เพราะเป็นเช่นกับส่วนแห่งพระจันทร์ เพราะที่ข้าง
ทั้งสองประกอบด้วยพื้นทรายสีขาวเกลี่ยลาด เช่นกับลาดด้วยพื้นแก้วมุกดา
มีน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน เหมือนมณฑลพระจันทร์. คือ ใกล้ฝั่ง
แม่น้ำจันทภาคานั้น. คำที่เหลือทั้งหมด มีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่าย เพราะ
ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาจันทนปูชนกเถราปทาน
จบอรรถกถาภาณวารที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
ปุปผฉทนิยเถราปทานที่ ๔ (๑๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้เป็นหลังคา
[๑๓๖] (เราเป็น) พราหมณ์มีนามชื่อว่าสุนันทะ ผู้รู้จบมนต์
เป็นผู้เล่าเรียน เป็นผู้ควรขอ ได้บูชายัญชื่อวาชเปยยะ.
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้
ทรงรู้แจ้งโลกผู้เลิศ เป็นพระฤาษีกอปรด้วยพระกรุณา ทรง
เอ็นดูหมู่ชน เสด็จจงกรมอยู่ในอากาศ.
พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก เสด็จจงกรม
แล้ว ทรงแผ่เมตตาไปในบรรดาสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มี
อุปธิ.
พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์ เด็ดดอกไม้ที่ขั้วแล้ว ประชุมศิษย์
ทั้งหมด ให้ศิษย์ช่วยกันโยนดอกไม้ขึ้นไปในอากาศ.
ในกาลนั้น หลังคาดอกไม้ได้มีตลอดทั่วพระนครไม่หายไป
(คงมีอยู่) ตลอด ๗ วัน ด้วยพุทธานุภาพ.
ด้วยกุศลมูลนั้น พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์ได้เสวยสมบัติแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ข้ามโลก ๓ และตัณหาได้แล้ว.
ในกัปที่ ๑,๑๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ ๓๕ ครั้ง มีพระนามเหมือนกันว่าอัมพรังสะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
ทราบว่า ท่านพระปุปผฉทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุปผฉทนิยเถราปทาน
๑๓๔. อรรถกถาปุปผฉทนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปุปผฉทนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุนนฺโท
นาม นาเมน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ หลายภพที่ผ่านมา จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว สำเร็จการศึกษา
ในศิลปะประจำตัวแล้ว เป็นผู้มีโภคะมาก มียศยิ่งใหญ่ ยินดียิ่งในการ
บริจาคทาน วันหนึ่ง ท่านสละมหาทานด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกยาจก
เหล่านี้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น อย่าได้วัตถุด้วยคิดว่า เราไม่ได้สิ่งของเลย.
ในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เสด็จไป
ทางอากาศพร้อมด้วยบริวาร. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส ให้เรียกพวกศิษย์ของตนมาแล้ว ให้นำเอาดอกไม้
ทั้งหลายมาแล้ว โยนขึ้นบูชาในอากาศ. ดอกไม้เหล่านั้นได้ปกคลุมนคร
ทั้งสิ้น ตั้งอยู่ได้ตลอด ๗วัน.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้เสวยความสุขในเทวโลกและในมนุษย-
โลกแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
มีศรัทธาบวชแล้ว พอจรดปลายมีดโกนเท่านั้นก็บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึก
ถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตน
เคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุนนฺโท นาม
นาเมน ดังนี้. ถ้อยคำที่เหลือทั้งหมดนั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะ
ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาปุปผฉทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
รโหสัญญิกเถราปทานที่ ๕ (๑๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในการเลื่อมใส
[๑๓๗] ภูเขาชื่อวสภะมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ที่เชิงเขา
วสภะนั้น มีอาศรมที่เราสร้างไว้ในกาลนั้น.
เราเป็นพราหมณ์บอกมนต์กะศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ เรา
สั่งสอนศิษย์เหล่านั้นแล้วเข้าอยู่ (ในที่สงัด) ณ ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์ นั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้ว ระลึกถึงพระญาณของพระพุทธเจ้าแล้วยังจิตให้เลื่อม-
ใสในพระญาณ ครั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์อยู่บนสันถัตใบไม้ กระทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญา.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระ-
นามว่าสิรีธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรโหสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบรโหสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
๑๓๕. อรรถกถารโหสัญญกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระรโหสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺ-
ตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้ากาลหนึ่ง เขาได้บังเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ ในมัชฌิมประเทศ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษา
ในศิลปะของตนแล้ว มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น อย่างดีก็เพียงยัง
ท้องให้เต็มเท่านั้น มองเห็นแต่อกุศลมีโกธะ มทะ และมานะเป็นต้น จึง
ละเพศฆราวาส เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤาษี มีดาบสหลายร้อยคนเป็น
บริวาร สร้างอาศรมอยู่ใกล้ภูเขาวสภะ อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์เท่านั้น จน
ตลอด ๓,๐๐๐ ปี มีความคิดว่า เราเป็นอาจารย์ของพวกศิษย์มีประมาณ
เท่านี้ เป็นครุฐานียะควรแก่ความเคารพ ควรแก่การกราบไหว้โดยชอบ
แต่เสียใจว่า อาจารย์ของเราไม่มี จึงให้ประชุมพวกศิษย์ทั้งหมดนั้นแล้ว
ประกาศความไม่มีการบรรลุพระนิพพาน เพราะความไม่มีพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ตนเองผู้เดียวนั่งในที่ลับอันสงัด กระทำความสำคัญว่าพระ-
พุทธเจ้าไว้ในใจ คล้ายนั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าฉะนั้น เกิด
ความปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ นั่งคู้บัลลังก์ในศาลากระทำกาละแล้ว
ได้เกิดในพรหมโลก.
ในชาตินั้น ท่านอยู่ได้นานเพราะมีฌานเป็นประธาน ในพุทธุปบาท
กาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล มีความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย
พอมีอายุได้ ๗ ปีก็บวช พอปลายมีดโกนจรดที่ผมเท่านั้น ก็ได้บรรลุ
๑. บาลีว่า รโหสัญญิกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
พระอรหัต เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ด้วยปุพเพ-
นิวาสญาณ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้
ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
บทว่า วสโภ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่ถึงการนับว่า วสภะ
เพราะสูงที่สุด เพราะประเสริฐที่สุดกว่าภูเขาที่เหลือทั้งหลาย เว้นภูเขา
หิมวันต์. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถารโหสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
๖. จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๓๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจำปา
[๑๓๘] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้
โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ระหว่างภูเขา ทรง
ยังทิศทั้งปวงให้สว่างดังดาวประกายพรึก.
มีมาณพ ๓ คนเป็นผู้ศึกษาดีในศิลปะของตน หาบสิ่งของ
เต็มหาบไปตั้งข้างหลังเรา เราผู้มีกระบะใส่ดอกจำปา ดอก
ไว้ในห่อ ถือดอกจำปาเหล่านั้นบูชา ในพระญาณของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าเวสสภู.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธญาณด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
บูชาพระญาณ.
ในกัปที่ ๒๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
วิหตาภา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจัมปกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
๑๓๖. อรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระจัมปกปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กณิการว
โชตนฺต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ในทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เสมอมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเวสสภู ท่าน
ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาศิลปะของตน
แต่มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นฤาษีใน
ระหว่างป่า นำเอาดอกจำปาที่พวกศิษย์นำมาแล้ว บูชาเฉพาะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ
อนุโมทนาแล้ว. ด้วยกุศลกรรมนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติทั้งสองครบถ้วนแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว มีความเบื่อหน่ายใน
เพศฆราวาส เพราะกำลังแห่งวาสนาที่ตนได้อบรมมาในกาลก่อน จึงได้
บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุญกรรมในครั้งก่อนของตนได้ เกิด
ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว
ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า กณิการว โชตนฺต ดังนี้ บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า กณิการ ความว่า ชื่อว่า กณิการ์ เพราะในเวลาที่
ใบเหลืองทั้งหมดร่วงหล่นลงแล้ว ก็ออกดอก เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกับ
ต้นกัณณิการ์ คือ เพราะเก็บเอาแต่ดอกที่ตูม ซึ่งมีปกติอาการคล้ายดอก
กัณณิการ์, บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ว่ากณิการ์ เพราะทำการลบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
ณ อักษรตัวหน้าเสียตัวหนึ่ง โดยนัยแห่งนิรุตติปกรณ์แล้วควรจะกล่าวว่า
กัณณิการ์. อธิบายว่า เราได้พบเห็นพระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง คล้ายต้น
ดอกกัณณิการ์ที่บานแล้วนั้นฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
อรรถกถาอัตถสันทัสสกเถราปทานที่ ๗ (๑๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า ๓ คาถา
[๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
ผู้บรรลุพลธรรม แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖
มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ใครเห็นแล้วจะไม่
เลื่อมใสเล่า.
ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ ในพระ-
ญาณของพระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุดแล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า.
ชนทั้งหลายไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดง
พระธรรมกาย และความเป็นหน่อเนื้อแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้
กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า.
พราหมณ์นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถานี้แล้ว เดินไปข้างหน้า.
ด้วยจิตอันเลื่อมใส และด้วยการชมเชยพระพุทธเจ้านั้น
เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๓,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัตถสันทัสสกเถราปทาน
๑๓๗. อรรถกถาอัตถสันทัสสกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอัตถสันทัสสกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วิสาล-
มาเฬ อาสีโน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ หลายอัตภาพที่ผ่านมาจะสั่งสมแต่บุญไว้ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูล
พราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปะประจำตัวแล้ว แต่มอง
ไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น จึงละเรือนไปยังหิมวันตประเทศ สร้างบรรณ-
ศาลาอยู่อาศัยในที่อันน่ารื่นรมย์ใจ. ในคราวนั้น เขาได้พบพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้เสด็จมายังหิมวันต์ประเทศ เพื่อทรง
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ (เขา) มีใจเลื่อมใส ไหว้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๕
และทำการชมเชยด้วยถ้อยคำอันชมเชยมากมาย. ด้วยบุญอันนั้นเขาดำรง
ชีวิตอยู่ได้จนตลอดอายุ กระทำกาละแล้ว (ตายแล้ว) ได้ไปเกิดยังพรหม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
โลก. ในชาติต่อมา คือ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอัน
มีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา
ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประ-
กาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้น
ว่า วิสาลมาเฬ อาสีโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาลมาเฬ
เชื่อมความว่า โรงอันไพศาล กว้าง แผ่กว้างใหญ่ เรียกว่า โรงอันกว้าง
ใหญ่ คือ เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น
นายกของชาวโลกแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายแล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาอัตถสันทัสสกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
เอกรังสนิยเถราปทานที่ ๘ (๑๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการเลื่อมใสในการฟังธรรม
[๑๔๐] เราชื่อว่านารทะ แต่ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าเกสวะ เรา
แสวงหากุศลและอกุศลอยู่ ได้ไปอยู่สำนักพระพุทธเจ้า.
พระมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี ทรงมีจิตเมตตา ประ-
กอบด้วยกรุณา พระองค์ผู้มีจักษุ เมื่อทรงปลอบสัตว์ทั้งหลาย
ให้เบาใจ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร
เกล้าถวายบังคมพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศ
ประจิม.
ในกัปที่ ๑,๗๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็น
ใหญ่ในแผ่นดิน พระนามว่าอมิตตตปนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกรังสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกรังสนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
๑๓๘. อรรถกถาเอกปสาทนิยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระเอกปสาทนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นารโท
อิติ เม นาม ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ในหลายชาติที่ผ่านมาจะสั่งสมแต่กุศลกรรมไว้ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้บังเกิดขึ้น
ตระกูลพราหมณ์ ปรากฏชื่อว่า เกสวะ บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงละเพศ
ฆราวาสออกบวช วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีใจ
เลื่อมใส ประคองอัญชลี เกิดปีติโสมนัสอย่างเหลือล้นแล้วหลีกไป. เขา
ดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จึงกระทำกาละแล้ว เพราะความโสมนัส
นั้นนั่นแล จึงได้ไปเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกนั้นแล้ว
ได้ไปบังเกิดในมนุษยโลก เสวยสมบัติในมนุษยโลกนั้นแล้ว ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว
เลื่อมใสในพระศาสดา ได้บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่สร้างไว้ของตนได้ เกิด
ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นารโท อิติ เม นาม ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า นารโท มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า นารทะ เพราะ
ละออง ธุลี มลทินของเขาไม่มี เพราะเขามีสรีระบริสุทธิ์ด้วยอำนาจแห่ง
ชาติ จึงได้รับชื่อจากตระกูลว่า นารทะ เพราะทำการแปลง ช อักษร
๑. บาลีว่า เอกรังสนิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
เป็น ท อักษร. บทว่า เกสโว ความว่า ชนทั้งหลายผู้รู้ ย่อมรู้จักเราว่า
เกสวะ คือนารทเกสวะ เพราะเราได้เกิดมาในกิสวจัฉโคตร. คำที่เหลือ
ปรากฏชัดแล้วทั้งหมดแล.
จบอรรถกถาเอกปสาทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
สาลทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง
[๑๔๑] เวลานั้น เราเป็นราชสีห์พญาเนื้อมีสกุล เราแสวงหา
ห้วง (บ่อ) น้ำบนเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายก
ของโลก.
จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระองค์นี้ ย่อมยังมหาชน
ให้ดับได้ ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ประเสริฐ
ว่าเทวดา ผู้องอาจกว่านระเถิด.
เราจึงหักกิ่งรัง แล้วนำเอาดอกมาพร้อมด้วยกระออมน้ำ
(ใส่กระออมน้ำมา) เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ถวาย
ดอกรังอันงาม.
ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกไม้.
ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่าวิโรจนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสาลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
๑๓๙. อรรถกถาสาลทายกเถราปทานที่ ๑๐
อปทานของท่านพระสาลทายถเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคราช
ตทา อาสึ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่กุศลกรรมไว้เป็นประจำเสมอ
แต่เพราะถูกกรรมบางอย่างตัดรอน จึงได้บังเกิดในกำเนิดราชสีห์อยู่ในป่า
หิมวันต์มีราชสีห์หลายตัวเป็นบริวาร. ในคราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่าสิขี ได้เสด็จไปยังป่าหิมวันต์เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่เขา ราชสีห์
นั้น พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหา ก็มีใจเลื่อมใส หักกิ่งไม้
แล้ว เลือกเก็บเอาแต่ดอกสาละพร้อมทั้งดอกกรรณิการ์มาบูชาแล้ว. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.
ด้วยบุญนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้
เสวยสมบัติในโลกทั้งสองเสร็จแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิด
ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิด
ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า มิคราชา ตทา อาสึ ดังนี้. พึงทราบ
วิเคราะห์ในคำว่า มิคราชา นั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มิคะ เพราะย่อมไปสู่
ความตาย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิคะ เพราะย่อมค้นหา คือแสวงหาอาหาร,
ราชาแห่งมิคะทั้งหลาย ชื่อว่า มิคราชา แม้เมื่อราชาแห่งสัตว์สี่เท้าทั้งสิ้น
มีอยู่ แต่ท่านเรียกว่า มิคราชา ก็เพราะทำมิคะให้เป็นประธานเพื่อสะดวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
แก่กาลผูกคาถา. อธิบายว่า ในคราวที่เราได้เป็นมิคราชา ได้พบเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้หักกิ่งไม้สาละพร้อมทั้งดอกไม้มาบูชาแล้ว.
บทว่า สโกส ปุปฺผมาหรึ ความว่า เราได้นำเอาดอกสาละพร้อมทั้งดอก
กรรณิการ์มาบูชาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสาลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
ผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๔๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะหาด
[๑๔๒] ในกาลนั้น เราเป็นพรานเที่ยวฆ่าสัตว์อื่นเป็นอย่างมาก
สำเร็จการนอนอยู่ที่เงื้อมเขา ไม่ไกลพระศาสดาพระนามว่าสิขี.
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าอัครนายกของโลก ทั้งเวลาเย็น
เวลาเช้า ก็เราไม่มีไทยธรรมสำหรับถวายแด่พระศาสดาผู้
จอมสัตว์ ผู้คงที่.
เราได้ถือเอาผลมะหาดไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเชษฐบุรุษของโลกผู้ประเสริฐกว่านระทรงรับ.
ต่อแต่นั้น เราได้ถือเอาผลมะหาดไป ทูลถวายพระองค์
ผู้นำวิเศษ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น
เอง.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลมะหาดใด ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่ามาลภิ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
๑๔๐. อรรถกถาปิยาลผลทายกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระปิยาลผลทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปโรธโก
ตทา อาสึ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี
ท่านได้บังเกิดในตระกูลนายพราน ฆ่าเนื้อทั้งหลายที่เงื้อมเขาแห่งหนึ่งใน
ป่าหิมวันต์ เลี้ยงชีวิตอยู่ ในกาลนั้น เขาได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิขี เสด็จไปยังที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส นมัสการอยู่ทั้งเวลา
เย็นและเวลาเช้า มองไม่เห็นไทยธรรมอะไร ๆ จึงได้เลือกเก็บผลไม้
หวาน ๆ ไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยผลไม้เหล่านั้นแล้ว. นาย
พรานนั้น มีสรีระอันปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์กระทบถูกต้องแล้ว
หาระหว่างมิได้ มีจิตอันงดเว้นแล้วจากบาปกรรม มีเหง้าไม้และผลไม้
เป็นอาหาร ไม่นานนักก็ได้ทำกาละไปบังเกิดในเทวโลก.
เขาได้เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในมนุษยโลก
เสวยสมบัติอีกหลายอย่างในมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดใน
ตระกูลคฤหบดี บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส แต่ไม่มี
ความยินดีในเพศฆราวาสนั้น จึงละเรือนออกบวชในสำนักของพระ-
ศาสดา เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงกรรม
คือการถวายผลไม้ที่ตนบำเพ็ญไว้ได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึง
เรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
๑. บาลี เป็น ผลทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
ปรโธโก ตทา อาสึ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในคราวที่เราเป็น
พรานเที่ยวฆ่าสัตว์อื่น ได้ถวายผลมะหาดแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส. บทว่า
ปโรธโก ได้แก่ เป็นผู้ฆ่าสัตว์อื่น คือเป็นผู้เบียดเบียน (สัตว์อื่น). ใน
เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรโรธโก แต่ท่านกล่าวว่า ปโรธโก เพราะทำการ
ลบ ร อักษรตัวต้นเสีย. บทว่า ปริจารึ วินายก ความว่า เราได้ปวารณา
นิมนต์ อาราธนาพระศาสดาผู้บรรลุพระนิพพานนั้นด้วยคำว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงบริโภคผลไม้นี้เถิด. คำที่เหลือมีเนื้อความ
พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.
จบอรรถกถาปิยาลผลทายกเถราปทาน
จบอรรถกถาโสภิตวรรคที่ ๑๔
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสภิตเถราปทาน ๒. สุทัสสนเถราปทาน ๓. จันทนปูชก-
เถราปทาน ๔. ปุปผฉทนิยเถราปทาน ๕. รโหสันทัสสกเถราปทาน
๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน ๗. อัตถสันทัสสกเถราปทาน ๘. เอกรัง-
สนิยเถราปทาน ๙. สาลทายกเถราปทาน ๑๐. ผลทายกเถราปทาน.
บัณฑิตทั้งหลายรวมคาถาได้ ๗๒ คาถา ฉะนี้แล.
จบโสภิตวรรคที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
ฉัตตวรรคที่ ๑๕
อธิฉัตติยเถราปทานที่ ๑ (๑๔๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตร
[๑๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้สูงสุด
กว่านระปรินิพพานแล้ว เราให้ช่างทำฉัตรเป็นชั้น ๆ บูชา
ไว้ที่พระสถูป.
ได้มานมัสการพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ตามกาล
อันสมควร (และ) ได้ทำหลังคาดอกไม้บูชา (ยกขึ้น) ไว้ที่
ฉัตร.
ใน ๑,๗๐๐ กัป เราได้เสวยเทวรัชสมบัติ ไม่ไปสู่ความ
เป็นมนุษย์เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูป.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอธิฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอธิฉัตติยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
อรรถกถาฉัตตวรรคที่ ๑๕
๑๔๑. อรรถกถาอติฉัตติยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระอติฉัตติยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปรินิพฺพุเต
ภควติ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง เพราะไม่ได้เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าขณะยังทรงพระชนม์อยู่ ในกาลที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว จึงคิด
ว่า โอ้ เราเสื่อมแล้วหนอ แล้วทำการตกลงใจว่า เราจักทำชาติคือความ
เกิดของเราให้มีผล แล้วให้ช่างทำฉัตรซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บูชาห้องบรรจุ
พระธาตุ อันเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ในกาลต่อมา ให้ช่างทำฉัตรดอกไม้ บูชาห้องพระธาตุนั้นนั่นแล. ด้วย
บุญกรรมนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้
เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบถ้วนแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้
เกิดในตระกูลคฤหบดี บรรลุนิติภาวะแล้ว มีความเลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้วเล่าเรียนกรรมฐาน พยายามอยู่ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระ-
อรหัต.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
๑. บาลี เป็น อธิฉัตติยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
ปรินิพฺพุเต ภควติ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉตฺตาติฉตฺต
ความว่า ชื่อว่า ฉัตร เพราะย่อมปกปิด ป้องกันแดดเป็นต้นได้, ฉัตร
ยิ่งกว่าฉัตร คือฉัตรที่ทำไว้บนฉัตร ชื่อว่า ฉตฺตาติฉตฺต อธิบายว่า
ฉัตรที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ. บทว่า ถูปมฺหิ อภิโรปยึ ความว่า ชื่อว่า ถูโป
เพราะเขาก่อขึ้น คือทำให้เป็นกอง, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ถูโป เพราะ
เขาก่อขึ้น คือ ตั้งขึ้นจนถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยความมั่นคง,
อธิบายว่า ฉัตรที่เราทำไว้บนสถูปแล้ว เราก่อขึ้นบูชาโดยพิเศษ ด้วยวิธี
การซ้อนกันเป็นชั้น ๆ. บทว่า ปุปฺผจฺฉทน กตฺวาน ความว่า เราทำ
เครื่องมุงด้วยดอกไม้หลาย ๆ ชนิดมีกลิ่นหอมอย่างดี ที่แย้มบานแล้ว ให้
เป็นเพดานเบื้องบนฉัตรแล้วบูชา. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอติฉัตติยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
ถัมภาโรปกเถราปทานที่ ๒ (๑๔๒)
ว่าด้วยผลแห่งการยกเสาธง
[๑๔๔] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าธัมมทัสสี ผู้ประเสริฐกว่า
นระนิพพานแล้ว เราได้ยกเสาธงขึ้นไว้ที่เจดีย์ แห่งพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ให้นายช่างสร้างบันไดสำหรับประชาชน จะได้ขึ้นสู่สถูป
อันประเสริฐ แล้วถือเอาดอกมะลิไปโปรยบูชาที่พระสถูป โอ
พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ ความถึงพร้อมแห่งพระ-
ศาสดาหนอ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระ-
สถูป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐
ครั้ง ทรงพระนามว่า ถูปสิขะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระถัมภาโรปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบถัมภาโรปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
๑๔๒. อรรถกถาถัมภาโรปกเถราปทาน
อปทานของท่านพระถัมภาโรปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ธัมมทัสสี
ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล มีศรัทธาเลื่อมใส เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปรินิพพานแล้ว ได้ปักเสายกธงไว้ที่ห้องพระบรมธาตุ (พระเจดีย์) ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ร้อยดอกมะลิเป็นอันมาก ขึ้นไปบนบันไดแล้ว
บูชา.
เขาดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ ทำกาละแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบถ้วนแล้ว
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มเป็น
หนุ่มมา ก็เป็นผู้ควรแก่การบูชา มีศรัทธาเกี่ยวเนื่องกับพระศาสนา จึง
ได้บวชแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ระลึกถึง
บุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตน
เคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลก-
นาถมฺหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ความว่า
ก็เมื่อพระศาสดาผู้ทรงเป็นนาถะ ทรงเป็นประธาน ทรงเป็นที่พึ่ง
อาศัยของชาวโลกทั้งสิ้น ปรินิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน ล่วงลับ
ดับไปมองไม่เห็น คล้ายกับแสงประทีปที่ดับไปแล้วฉะนั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
ธมฺมทสฺสีนราสเภ มีรูปวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ธัมมทัสสี เพราะย่อมได้
เห็นสัจธรรม ๔ ประการ (อริยสัจ ๔), อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธัมมทัสสี
เพราะมีปกติได้เห็น ได้เห็นประจักษ์แจ้งซึ่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ชื่อว่า นราสโภ เพราะอาจหาญ ประเสริฐสูงสุด
กว่านรชนทั้งหลาย, ธัมมทัสสีศัพท์ ๑ นราสภศัพท์ ๑ รวมเป็น ธัมม-
ทัสสีนราสภะ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ธัมมทัสสี ผู้
ประเสริฐกว่านรชนพระองค์นั้น. บทว่า อาโรเปสึ ธช ถมฺภ ความว่า
เราได้ปักเสาที่ห้องพระเจดีย์ ยกธงไว้ที่เสานั้น ผูกประดิษฐานไว้แล้ว.
บทว่า นิสฺเสณึ มาปยิตฺวาน มีรูปวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมไป
ย่อมเดินไป ย่อมขึ้นไปอาศัยบนสิ่งนั้น เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่า บันได.
เชื่อมความว่า เราได้ให้ช่างสร้างบันไดสำหรับประชาชนจะได้ขึ้นไปยัง
สถูปอันประเสริฐได้.
บทว่า ชาติปุปฺผ คเหตฺวาน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ชาติสุมนะ
เพราะเมื่อดอกไม้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำความดีใจให้แก่ชนทั้งหลาย, คือ
ดอกมะลินั่นเอง ในเมื่อควรจะกล่าวว่า ชาติสุมนปุปผะ เพื่อสะดวกแก่
การผูกคาถา ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ชาติปุปผะ เพราะลบสุมนะศัพท์ออกเสีย
ความว่า เก็บดอกมะลินั้นร้อยแล้วยกขึ้นไว้บนสถูป, ครั้นยกขึ้นแล้วก็บูชา.
คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้เองแล.
จบอรรถกถาถัมภาโรปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
เวทิการกเถราปทานที่ ๓ (๑๔๓)
ว่าด้วยผลแห่งการกระทำที่บูชา
[๑๔๕] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าปิยทัสสี ผู้สูงสุดกว่านระ
นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้กระทำที่บูชา
พระพุทธเจ้าแวดล้อมด้วยแก้วมณีแล้ว ได้กระทำการฉลอง
อย่างมโหฬาร ครั้นทำการฉลองที่บูชาแล้ว เราได้ทำกาล-
กิริยา ณ ที่นั้น.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ในกำเนิดนั้น ๆ เทวดาทั้งหลายย่อมทรงแก้วมณีไว้ในอากาศ
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
๓๒ ครั้ง ทรงพระนามว่ามณิปภา มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเวทิการกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ-
ฉะนี้แล.
จบเวทิการกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
๑๔๓. อรรถกถาเวทิการกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเวทิการกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลก-
นาถมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า ปิยทัสสี ท่านได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความ
สมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ในเพศฆราวาส
เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มีความเลื่อมใสในพระศาสดา จึงให้ช่าง
สร้างแก้วมณีแวดล้อมพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ใส่
แก้วมณี ๗ ประการจนเต็มแล้ว ทำการบูชาเป็นการใหญ่. ด้วยบุญกรรม
นั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในหลายแสนชาติ
ที่ผ่านมา เป็นผู้ควรแก่การบูชา มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ได้
เสวยความสุขในโลกทั้งสองจนครบแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิด
ในเรือนอันมีสกุล อันสมบูรณ์ด้วยสมบัติ (ต่อมา) บวชแล้ว พยายาม
อยู่ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงกุศลที่ทำไว้ในกาลก่อนของตนได้ เกิดความ
โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้. คำนั้น มี
เนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า ปิยทสฺสีนรุตฺตเม มี
วิเคราะห์ว่า การแสดงถึงความรัก คืออาการอันประกอบด้วยความโสมนัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
มีอยู่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี อธิบายว่า พระองค์เป็นผู้ดีด้วยมหาปุริสลักษณะ
๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และมณฑลแห่งรัศมีที่แผ่ออก
ข้างละวาประกอบกันทำให้เจริญขึ้น คือย่อมยังดวงตาของมหาชนผู้เห็นอยู่
ให้เกิดความเลื่อมใส ชื่อว่า นรุตตมะ เพราะสูงสุดกว่านรชนทั้งหลาย.
ปิยทัสสีศัพท์ ๑ นรุตตมะนั้นศัพท์ ๑ รวมกันเป็น ปิยทัสสีนรุตตมะ.
เชื่อมความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สูงสุดกว่า
นรชนพระองค์นั้น ปรินิพพานแล้ว เราได้กระทำที่บูชาพระพุทธเจ้า
แวดล้อมด้วยแก้วมณี ณ ที่ห้องบรรจุพระบรมธาตุ. ความว่า เราได้
กระทำวลัยแวดล้อมแท่นบูชาในที่สุด เพื่อรองรับดอกไม้. บทว่า มณีหิ
ปริวาเรตฺวา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มณิ เพราะเปล่งปลั่ง โชติช่วง
สว่างไสว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณิ เพราะบันดาลใจของชนทั้งหลาย
ให้เต็มเปี่ยม ทำให้เกิดความดีใจ เป็นไปทั่วถึง, อธิบายว่า เราได้นำ
มณีเป็นจำนวนมาก เช่นแก้วมณีสีแดง และแก้วไพฑูรย์เป็นต้น มาทำ
เป็นวลัยวงกลมล้อมแท่นบูชาแล้ว จึงทำการบูชาอย่างสูงสุดใหญ่ยิ่ง. คำ
ที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเวทิการกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
สปริวาริยเถราปทานที่ ๔ (๑๔๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายไพรทีไม้จันทน์
[๑๔๖] พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเชษฐบุรุษของ
โลกผู้ประเสริฐกว่านระ รุ่งเรืองดังกองอัคคี ปรินิพพานแล้ว.
เมื่อพระมหาวีรเจ้านิพพานแล้ว ได้มีสถูปอันกว้างใหญ่
ชนทั้งหลายเอาสิ่งของอันจะพึงถวายเข้าไปตั้งไว้ที่สถูป ใน
ห้องพระธาตุอันประเสริฐสุด.
ในกาลนั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ทำไพรที
ไม้จันทน์อันหนึ่ง อันสมบูรณ์แก่สถูปและถวายธูปและของ
หอม.
ในภพที่เราเกิด คือ ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เรา
ไม่เห็นความที่เราเป็นผู้ต่ำทรามเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๑,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
ทรงพระนามว่าสมัตตะทุกครั้ง มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสปริวาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสปริวาริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
๑๔๔. อรรถกถาสปริวาริยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสปริวาริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานตั้งหลายชาติเป็น
ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นผู้มีทรัพย์มาก มี
โภคสมบัติมาก. ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ปรินิพพานแล้ว มหาชนเก็บพระบรมธาตุของพระองค์ไว้แล้ว ช่วยกัน
สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ไว้บูชา ในเวลานั้น อุบาสกคนนี้ได้มีส่วนสร้าง
เรือนครอบพระเจดีย์ด้วยแก่นไม้จันทร์ไว้เป็นบนพระเจดีย์นั้นแล้ว ได้
ทำการบูชาอย่างใหญ่ยิ่ง ด้วยบุญอันนั้นนั่นแหละ เขาจึงได้ท่องเที่ยวไป
ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบถ้วน ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว สร้างแต่
กุศลกรรม ต่อมาได้บวชในพระศาสนาด้วยความศรัทธา ไม่นานนักก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัส
ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า โอมตฺต ความว่า เราไม่เห็น คือไม่รู้จักความเลวทรามต่ำช้า
หรือว่าความเป็นผู้ถึงทุกข์เลย ได้แก่เราไม่เคยเห็นว่าเราต่ำช้าเลย. คำที่
เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแจ้งแล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาสปริวาริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
อุมมาปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๔๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกผักตบ
[๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงเกื้อ
กูลแก่โลก สมควรรับเครื่องบูชา นิพพานแล้ว.
ได้มีการฉลองพระสถูปอย่างมโหฬาร เมื่อการฉลอง
พระสถูปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้แสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่เป็นไปอยู่ เราเอาดอกผักตบไปบูชาที่พระ-
สถูป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระสถูปด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระสถูปด้วยดอกไม้.
ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๕ ครั้ง
ทรงพระนามเหมือนกันว่าโสมเทวะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุมมาปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุมมาปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
๑๔๕. อรรถกถาอุมาปุปผิยเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระอุมาปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกมหิเต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนามว่า สิทธัตถะ
ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส
เมื่อเขากำลังทำการฉลองเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิพพานแล้วอยู่ ตน
เก็บเอาดอกผักตบสีแก้วมรกตมาบูชาแล้ว. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่อง
เที่ยวไปในเฉพาะสุคติทั้งหลายเท่านั้น ได้เสวยทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ
แล้ว ในทุกภพที่เกิดแล้วได้มีผิวพรรณสีเขียว สมบูรณ์ด้วยชาติ เพียบ
พร้อมด้วยสมบัติ. ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุลแห่ง
หนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว
ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกมหิเต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกม-
หิเต มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โลกมหิตะ เพราะอันชาวโลกทั้งหลายยกย่อง
บูชาแล้ว. เชื่อมความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
ผู้อันชาวโลกบูชาแล้วพระองค์นั้น ปรินิพพานแล้ว. บทว่า อาหุตีน
ปฏิคฺคเห มีวิเคราะห์ว่า เครื่องบูชาและสักการะท่านเรียกว่า อาหุติโน,
๑. บาลีว่า อุมมาปุปผิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
ชื่อว่า อาหุตีน ปฏิคฺคโห เพราะสมควรเพื่อจะรับเครื่องบูชา และสักการะ
ทั้งหลายเหล่านั้น. ศัพท์นี้ เป็นอลุตตสมาส, ความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้ควรเพื่อจะรับเครื่องบูชาและสักการะพระองค์นั้น ปรินิพพาน
แล้ว. บทว่า อุมาปุปฺผ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อุมาปุบผะ เพราะเบ่งบาน
เปล่งปลั่งด้วยสีเขียวข้างบน. ความว่า เราได้เก็บเอาดอกผักตบนั้นมา
กระทำการบูชาที่พระเจดีย์. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุมาปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
อนุโลมทายกเถราปทานที่ ๖ (๑๔๖)
ว่าด้วยผลแห่งการกระทำไพรทีที่โพธิพฤกษ์
[๑๔๘] เราได้ทำไพรทีที่โพธิพฤกษ์แห่งพระมุนีพระนามว่าอโนม-
ทัสสี เราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว ได้ทำกรรมด้วยมือตนเอง.
พระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้อุดมกว่านระ ทอด
พระเนตรเห็นกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น ประทับอยู่ในท่าม-
กลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ด้วยกรรม คือ การ
ใส่ปูนขาวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้จะได้เสวยสมบัติ
แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้.
เราเป็นผู้มีสีหน้าผ่องใส มีอารมณ์เดียว มีจิตมั่นคง ทรงกาย
อันมีในที่สุดไว้ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๑๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
พระนามว่าสัมปัสสนะ๑ บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอนุโลมทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอนุโลมทายกเถราปทาน
๑. ม. อิ. สัพพัคฆนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
๑๔๖. อรรถกถาอนุโลมทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอนุโลมทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนม-๑
ทสฺสีมุนิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น
ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี
ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ได้
ให้ช่างทำวงกลมแท่นบูชาที่ต้นโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
และให้ทำการโบกฉาบด้วยปูนขาว ให้ทำการเกลี่ยทรายจนเสมอแน่น
คล้ายกับวิมานเงินฉะนั้น. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ประสบแต่ความสุข
ในทุกภพที่เกิดแล้ว ได้เสวยความสุขในวิมานเงิน เรือนเงิน และปราสาท
เงินจำนวนมาก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุ
นิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นาน
นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกได้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณตามลำดับ
ว่า เราได้ถึงคุณวิเศษนี้ได้เพราะทำกุศลอะไรไว้หนอ ดังนี้ แล้วรู้ถึงกุศล
ที่ตนกระทำไว้ในกาลก่อน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง
ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อโน-
มทสฺสีมุนิโน ดังนี้. ในบทนั้นมีอรรถวิเคราะห์ว่า การเห็นที่ไม่ต่ำทราม
ไม่ลามก คือเป็นสรีระที่น่าดูน่าชม มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงพระนามว่า อโนมทสฺสี, อธิบายว่า
๑. บาลีว่า อโนมทสฺสิสฺส มุนิโน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
พระองค์เป็นผู้น่าดูงดงาม เพราะมีพระสรีระประกอบด้วยพระมหาปุริส-
ลักษณะ ๓๒ ประการ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และมีพระรัศมี
แผ่ออกข้างละวารุ่งเรืองส่องสว่างไสวแล้ว. บทว่า สุธาย ปิณฺฑ ทตฺวาน
ความว่า ให้ช่างทำแท่นบูชาเป็นวงกลมที่เรือนต้นโพธิ์แล้ว ทำการฉาบ
ทาปูนขาวที่เรือนต้นโพธิ์ทั้งสิ้น. บทว่า ปาณิกมฺม อกาสห ความว่า
เราได้กระทำแผ่นกระดานอย่างมั่นคงด้วยมือของตน แล้วได้ใช้มือของ
ตนเองทำจนเกลี้ยงเกลา. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายเองทีเดียว.
จบอรรถกถาอนุโลมทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
มัคคทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๔๗)
ว่าด้วยผลแห่งการกระทำหนทาง
[๑๔๙] พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุเสด็จขึ้นสู่ท่าน้ำแล้ว เสด็จ
ดำเนินไปสู่ป่า เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
สิทธัตถะ มีพระลักษณะอันประเสริฐพระองค์นั้น.
จึงได้ถือเอาจอบและปุ้งกี๋มาปราบหนทางให้ราบเรียบ เรา
ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
ประชาชนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่าสุปปพุทธะ เป็นผู้นำ
เป็นใหญ่กว่านระ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมัคคทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมัคคทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
๑๔๗. อรรถกถามัคคทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมัคคทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุตฺตริตฺวาน
นทิก ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญเพื่อจะบรรลุพระนิพพานไว้เป็นเวลาหลาย
ภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ท่านได้
เกิดในตระกูลที่ชาวโลกยกย่องนับถือ เจริญวัยแล้ว ก็คงยังอยู่ในฆราวาส
วิสัย วันหนึ่ง เขาได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่ง
แล้ว จะเสด็จไปป่า มีความเลื่อมใสว่า เวลานี้ ควรที่เราจะปราบหนทาง
ให้ราบเสมอเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว จึงถือจอบและปุ้งกี๋มา
ทำหนทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จผ่านมาให้ราบเรียบเสมอ เกลี่ย
ทรายลงแล้ว ก็ไปไหว้ที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งความ
ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการที่ได้ปรับหนทาง
ให้สวยงามนี้ ขอให้ข้าพระองค์จงได้เป็นผู้ควรแก่การบูชาในทุก ๆ ที่ที่ได้
ไปเกิดแล้วเถิด อนึ่ง ขอให้ข้าพระองค์จงได้บรรลุพระนิพพานด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาด้วยพระดำรัสว่า เธอปรารถนา
อย่างใด ขอจงสำเร็จอย่างนั้นเถิด แล้วก็เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ทุก ๆ ภพได้เป็นผู้มีคนบูชาแล้ว. ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดใน
ตระกูลแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียง (ต่อมา) เลื่อมใสในพระศาสดา จึงได้บวช
เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ทราบถึงบุพกรรมของ
ตนได้โดยประจักษ์ชัด เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุตฺตริตฺวาน
นทิก ดังนี้. ในบทนั้นมีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า นที เพราะเปล่งเสียง ส่ง
เสียงไป, นทีนั่นแลเป็นนทิกา, อธิบายว่า ขึ้นคือข้ามแม่น้ำนั้น. บทว่า
กุทาลปิฏกมาทาย ความว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า กุ ชื่อว่า กุทาล
เพราะเป็นไปในการทำลาย ถาก ฟัน ซึ่งแผ่นดินนั้น, หาบสำหรับหาบ
ดินฝุ่นและทรายเป็นต้น คือภาชนะที่ทำด้วยใบตาล หวายและเครือเถา
เป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิฏกะ, จอบและปุ้งกี๋ ชื่อว่า จอบและปุ้งกี๋ ความว่า
ถือเอาจอบและภาชนะ (ปุ้งกี๋) นั้นมาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามัคคทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
ผลทายกเถราปทานที่ ๘ (๑๔๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายแผ่นกระดาน
[๑๕๐] เราเป็นนายช่างทำยานอยู่ในเมือง เป็นผู้ศึกษาดีในกรรม
ของช่างไม้ เราได้ทำแผ่นกระดานด้วยไม้จันทน์ ถวายแด่
พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
วิมานอันบุญกรรมนิรมิตดีแล้วด้วยทองคำนี้ ย่อมสว่าง
ไสว ยานช้าง ยานม้า อันเป็นยานทิพย์ ปรากฏแก่เรา
ปราสาทและวอ และแก้วอันประมาณมิได้ ย่อมบังเกิดแก่
เราตามปรารถนา นี้เป็นผลแห่งการถวายแผ่นกระดาน.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายแผ่นกระดานใด ด้วย
การถวายแผ่นกระดานนั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายแผ่นกระดาษ.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ทรงพระนามว่าภวนิมมิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลกทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
๑๔๘. อรรถกถาผลกทายกเถราปทาน
อปานของท่านพระผลกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยานกาโร ปุเร
อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญมาแล้วในหลายอัตภาพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ท่านได้เกิดในตระกูลช่างไม้ เลื่อมใส
ในพระรัตนตรัย ได้กระทำแผ่นกระดานด้วยไม้จันทน์ ถวายแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
เป็นผู้มีความสุขเอิบอิ่มใจในกาลทั้งปวง ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงบวชแล้ว
พากเพียรพยายามอยู่ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิ-
สัมภิทา ๔ แล้วระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า ยานกาโร ปุเร อาสึ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาน-
กาโร มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ยาน เพราะเป็นเครื่องทำให้ถึงยังสถานที่ที่
ตนปรารถนาแล้วได้. ชื่อว่า ยานกาโร เพราะย่อมกระทำซึ่งยานนั้น.
อธิบายว่า เราได้กระทำยานในสมัยที่ได้พบเห็นพระพุทธเจ้าในเมือง.
บทว่า จนฺทน ผลก กตฺวา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า จันทนะ เพราะย่อม
ให้เกิดความสุข คือระงับเสียได้ซึ่งความเร่าร้อน, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
จันทนะ เพราะเป็นเครื่องทำให้สวยงาม คือเป็นเครื่องชโลมร่างกาย
เพื่ออบให้มีกลิ่นหอมฟุ้ง. กระทำแผ่นกระดานด้วยไม้จันทน์นั้น. บทว่า
โลกพนฺธุโน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โลกพันธุ เพราะทรงเป็นเผ่าพันธุ์
คือทรงเป็นญาติของชาวโลกทั้งสิ้น, อธิบายว่า เราได้ถวายแด่พระศาสดา
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์ของชาวโลกพระองค์นั้นแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความ
พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
วฏังสกิยเถราปทานที่ ๙ (๑๔๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัย
[๑๕๑] พระสยัมภูผู้ไม่พ่ายแพ้ มีพระนามชื่อว่าสุเมธะ เมื่อ
ทรงเพิ่มพูนวิเวก จึงเสด็จเข้าป่าใหญ่ เราเห็นดอกไม้ช้างน้าว
กำลังบาน จึงเอามาร้อยเป็นพวงมาลัย บูชาแด่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นนายกของโลกเฉพาะพระพักตร์.
ในสามหมื่นกัปแต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑,๙๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖
ครั้ง ทรงพระนามว่านิมมิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านั้น คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวฏังสกิยเถระได้กล่าวคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสฏังสกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
๑๔๙. อรรถกถาวฏังสกิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสฏังสกิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม
นาเมน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนินทพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สุเมธะ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่
ในเพศฆราวาส แต่เพราะมองเห็นโทษในเพศฆราวาสนั้น จึงละเรือน
ออกบวชเป็นฤๅษี อยู่ในป่ามหาวัน. ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า สุเมธะ. ได้เสด็จมาถึงป่านั้น เพื่อประสงค์ความสงัด.
ครั้งนั้น ดาบสนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส เก็บเอา
ดอกช้างน้าวซึ่งกำลังแย้มบานมาร้อยเป็นพวงมาลัย วางบูชาที่บาทมูลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการอนุโมทนาแล้ว
เพื่อให้เขามีจิตเลื่อมใส. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
เขาได้เกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส
จึงได้บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสม-
นัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม นาเมน ดังนี้. บทว่า วิเวกมนุพฺรูหนฺโต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
ความว่า ทรงละความระคนด้วยหมู่ชน เมื่อจะเพิ่มพูนเจริญความสงัดจาก
หมู่ชน และความสงัดจิต จึงได้เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่แล. คำที่เหลือมี
เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวฏังสกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
ปัลลังกทายกเถราปทาน ๑๐ (๑๕๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบัลลังก์
[๑๕๒] ก็เราได้ถวายบัลลังก์พร้อมทั้งผ้า สำหรับปิดเบื้องบน
(เพดาน) แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ เชษฐบุรุษ
ของโลก ผู้คงที่.
ในกาลนั้น บัลลังก์นั้น ได้เป็นบัลลังก์ประกอบด้วยแก้ว
๗ ประการ รู้ความดำริของเรา ย่อมเกิดขึ้นแก่เราทุกเมื่อ.
ในสามหมื่นกัปแต่กัปนี้ เราได้ถวายบัลลังก์ใดในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการถวาย
บัลลังก์.
ในกัปที่สองหมื่นแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่าสุวรรณาภา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัลลังกทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัลลังก์ทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
๑๕๐. อรรถกถาปัลลังกทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัลลังกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุเมธสฺส
ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานไว้ตั้งหลายภพ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ท่านได้เกิดในตระกูล
คฤหบดี เจริญวัยแล้ว สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติมากมาย เลื่อมใส
ในพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้ว ให้คนทำบัลลังก์อันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗
ประการถวายแด่พระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว ได้กระทำการบูชาเป็นการ
ใหญ่. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เป็นผู้อันคนทั้งหลายบูชาแล้วในที่ทั้งปวง โดยลำดับ ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติ-
ภาวะแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้ว เกิดความเลื่อมใสบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต
ได้ปรากฏชื่อว่าปัลลังกทายกเถระ ตามชื่อแห่งบุญที่ตนได้ทำไว้ในกาลก่อน.
ชื่อของพระเถระทั้งหลาย ที่มีชื่อตามชื่อแห่งบุญที่ตนได้ทำไว้ในกาลก่อน
แม้ในเรื่องข้างหน้า ก็พึงทราบเหมือนในเรื่องที่แล้วมาอย่างนั้นเหมือนกัน.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า สุเมธสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า ปลฺลงฺโก หิ มยา
ทินฺโน ความว่า ชนทั้งหลายย่อมเข้าไปนั่งในที่ซึ่งกระทำบัลลังก์ คือ
อาสนะบุหนังเสมอขาอ่อน ที่ท่านเรียกว่าบัลลังก์ อธิบายว่า บัลลังก์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
ทำด้วยรัตน ๗ ประการ เราได้บูชาถวายแล้ว. บทว่า สอุตฺตรสปจฺฉโท
ความว่า ชื่อว่า สอุตฺตรสปจฺฉโท คือ พร้อมทั้งผ้าสำหรับปิดเบื้องบนและ
เบื้องล่าง. ได้ผูกเป็นเพดานไว้เบื้องบนแล้วเอาผ้าอย่างดีคลุมอาสนะไว้.
คำที่เหลือมีเนื้อความชัดแจ้งอยู่แล้วแล.
จบอรรถกถาปัลลังกทายกเถราปทาน
จบอรรถกถาฉัตตวรรคที่ ๑๕
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อธิฉัตตยเถราปทาน ๒. ถัมภาโรปกเถราปทาน ๓.เวทิการก-
เถราปทาน ๔. สปริวาริยเถราปทาน ๕. อุมมาปุปผิยเถราปทาน
๖. อนุโลมทายกเถราปทาน ๗. มัคคทายกเถราปทาน ๘. ผลกทายกเถรา-
ปทาน ๙. วฏังสกิยเถราปทาน ๑๐. ปัลลังกทายกเถราปทาน.
บัณฑิตประกาศคาถาไว้ ๕๖ คาถา.
จบฉัตตวรรคที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พันธุชีวกเถราปทานที่ ๑ (๑๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัยดอกชบา
[๑๕๓] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้ปราศจาก
มลทิน บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวดังพระจันทร์ มีความเพลิด
เพลินและมีภพสิ้นแล้ว ทรงข้ามตัณหาในโลกแล้ว.
ผู้ยังหมู่ชนให้ดับ ทรงข้ามเองแล้วยังหมู่ชนให้ข้าม เป็น
มุนี เพ่งฌานอยู่ในป่า มีจิตเป็นอารมณ์เดียว ตั้งมั่นด้วยดี.
เราร้อยดอกชบาหลายดอกไว้ในเส้นด้ายแล้ว บูชาพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระ-
นามว่าสมันตจักษุ เป็นจอมมนุษย์ มีบริวารมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพันธุชีวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบพันธุชีวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
อรรถกถาพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
๑๕๑. อรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน
อปทานของท่านพระพันธุชีวกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺท ว วิมล
สุทฺธ ดังนี้.
แม้ท่านพระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงอยู่ใน
เพศฆราวาส ได้เห็นพระรูปกายสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
สิขีแล้ว มีจิตเลื่อมใส เก็บเอาดอกชบาหลายดอกมาบูชาที่แทบพระบาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า. เพื่อจะทรงทำจิตของเขาให้เกิดความเลื่อมใส พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เขา. เขาดำรงชีวิตอยู่จนตลอด
อายุขัย ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยกามาวจร-
สมบัติ ๖ ชั้นแล้ว ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในมนุษยโลกอีก
ในกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราพระองค์นี้อุบัติขึ้นแล้ว เขาได้
เกิดในตระกูลคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดศรัทธา
ละเรือนออกบวช ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ท่านระลึกถึงกุศลกรรม ที่ตนได้กระทำไว้ในกาลก่อนได้ ด้วย
ปุพเพนิวาสญาณแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่
ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า จนฺท ว วิมล
สุทฺธ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺท ว วิมล สุทฺธ เชื่อม
ความว่า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสิขี พระองค์ผู้ผ่องใส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
บริสุทธิ์ เพราะไม่มีกิเลส ทรงปราศจากมลทิน เพราะละมลทินคืออุปกิเลส
๑,๕๐๐ เสียได้ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากมลทิน คืออุปกิเลสเหล่านี้คือ เมฆ
หมอก น้ำค้าง ควัน ธุลี ราหู ดังนี้. ชื่อว่า ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มี
เปือกตมคือกิเลส. ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพสิ้นไปแล้ว เพราะ
ความเสน่หาอันมีกำลัง คือความเพลิดเพลินและภพ สิ้นไปแล้วโดยรอบ
ด้าน. บทว่า ติณฺณ โลเก ความว่า ข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้ง ๓ ได้แล้ว
บทว่า วิสตฺติก ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า วิสตฺติ, นิตฺตณฺห แปลว่า
ไม่มีตัณหา. บทว่า นิพฺพาปยนฺต ชนต ความว่า พระองค์ทรงอยู่ในธรรม.
ทรงยังหมู่ชนให้ดับ สงบระงับได้ด้วยความไม่มีความเร่าร้อน คือกิเลส.
เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี พระองค์ทรงข้ามจาก
สงสารแล้ว ทรงชักชวนสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากสงสารบ้าง ทรง
เป็นมุนีเพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ. บทว่า วนสฺมึ ฌายมาน ความ
ว่า ทรงเพ่ง คิด ทรงอบรมจิตด้วยอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน
ในกลางป่า. เชื่อมความว่า เห็นแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรง
เป็นมุนีผู้มีจิตเป็นอารมณ์เดียว มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในอารมณ์เดียว. บทว่า
พนฺธุชีวกปุปฺผานิ ความว่า เป็นที่ดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์คือหมู่ญาติ คือ
เป็นที่อาศัยเป็นอยู่เป็นที่รวมพันธุชีวกะ คือหัวใจ เนื้อและโลหิต เก็บ
เอาดอกชบาที่มีสีดอกเสมอเหมือนกับหัวใจ เนื้อและโลหิต มาบูชาพระ-
พุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก. คำที่เหลือมีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
ตัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๑๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาต้นโพธิ์
[๑๕๔] เราเป็นผู้ประกอบในการทำการงานของบุคคลอื่น ได้ทำ
ความผิดเพียบพร้อมด้วยภัยและเวร จึงวิ่งหนีไปตามชายป่า.
ได้เห็นต้นไม้มีดอกเป็นกลุ่มก้อนบานสะพรั่ง จึงถือเอา
ดอกมีสีแดง ไปเกลี่ยลงที่โพธิพฤกษ์.
ได้กวาดไม้แคฝอย อันเป็นไม้โพธิ์อันอุดมนั้นแล้ว เข้า
ไปนั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ที่โคนโพธิ์.
ชนทั้งหลายแสวงหาทางไปอยู่ ได้มาสู่ที่ใกล้เรา และเรา
เห็นชนเหล่านั้น ณ ที่นั้นแล้ว คำนึงถึงโพธิพฤกษ์อันอุดม.
และเรามีใจผ่องใส ไหว้โพธิพฤกษ์แล้ว ตกลงในเหวที่
น่ากลัว อันลึกหลายชั่วลำตาล.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาโพธิพฤกษ์ด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
โพธิพฤกษ์.
และในกัปที่ ๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
ทรงพระนามว่าสัมมสิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
ทราบว่า ท่านพระตัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตัมพปุปผิยเถราปทาน
๑๕๒. อรรถกถาตัมพปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระตัมพปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปรกมฺมายเน
ยุตฺโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ท่านก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปิยทัสสี เพราะอกุศลกรรมบางอย่างที่ท่านกระทำไว้ในปางก่อน จึงได้
มาเกิดในตระกูลเข็ญใจ เจริญวัยแล้ว ก็ทำการงานรับจ้างคนอื่นเลี้ยง
ชีวิต. เขาอยู่ด้วยความทุกข์ยากอย่างนี้ ยังได้ทำความผิดกับคนอื่นอีก
เพราะความกลัวตาย จึงหนีเข้าป่า. เขาได้เห็นต้นแคฝอยและต้นโพธิ์
ในที่ที่ไปแล้วนั้น จึงได้ไหว้แล้ว กวาดเสร็จแล้วมองเห็นดอกไม้มีสีแดง
ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง จึงเลือกเก็บเอาดอกกรรณิการ์มาทำการบูชาต้นโพธิ์
ทั้งหมดนั้น. เขาทำจิตให้เลื่อมใสในต้นโพธิ์นั้น ไหว้แล้วก็นั่งคู้บัลลังก์.
ในขณะนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นไล่ติดตามมาตามรอยเท้า ได้มาถึงในที่นั้น
แล้ว. เขาพอได้เห็นคนเหล่านั้นแล้ว ก็รำพึงถึงต้นโพธิ์พลางวิ่งหนี
ตกลงไปตายในเหวลึกแห่งภูเขาอันน่ากลัวแล้ว.
ด้วยปีติและโสมนัสเพราะระลึกถึงการบูชาต้นโพธิ์นั้นนั่นแล เขาจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
ได้ไปเกิดในสวรรค์มีชั้นดาวดึงส์เป็นต้น ได้เสวยสมบัติในกามาวจร ๖ ชั้น
แล้ว ได้มาเกิดในมนุษย์ เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นแล้ว ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้มาเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใสได้บวชแล้ว ไม่
นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความ
โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปรกมฺมายเน ยุตฺโต ดังนี้. พึงทราบ
เนื้อความในบทเหล่านั้นว่า การงานของคนเหล่าอื่น ชื่อว่า การงานของ
คนอื่น. เราได้เป็นผู้ประกอบตระเตรียมแล้ว ในทางการงานของคนอื่น.
คำที่เหลือปรากฏชัดแจ้งแล้วแล.
จบอรรถกถาตัมพปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
วีถิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๓ (๑๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการกวาดถนนและยกธง
[๑๕๕] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้นำของโลก เป็นจอมสัตว์
ประเสริฐกว่านระ มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังพระอาทิตย์อุทัย
เหลืองอร่ามเหมือนพระจันทร์ เสด็จดำเนินไปเหมือนพระ-
จันทร์ในวันเพ็ญ.
ภิกษุสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ ล้วนเป็นพระขีณาสพแวดล้อม เราจึง
กวาดถนนนั้น ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลกเสด็จไป
ได้ยกธงขึ้นที่ถนนนั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใส.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ยกธงใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง ในกัปที่ ๔ แต่กัปนี้
เราได้เป็นพระราชามีพละมาก สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ปรากฏพระนามว่าสุธชะ.
คุณสมบัติเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวีถิสัมมัชชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบสัมมัชชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
๑๕๓. อรรถกถาวีถิสัมมัชชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระวีถิสัมมัชชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุเทนฺต
สตรสึว ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ท่านก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญไว้เป็นเวลาหลายร้อยชาติ ในกาลแห่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล อยู่
เป็นฆราวาส ได้ร่วมกับชาวเมืองพากันกวาดถนน ได้พบเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้อันคนนำเสด็จไปอยู่ จึงมีใจเลื่อมใส ปรับผิวถนนให้เสมอแล้ว
ช่วยกันยกธงขึ้นในที่นั้น.
ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-
โลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธา มีใจเคารพมาก บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อระลึกบุพกรรมของตน ก็ได้ทราบ
โดยชัดแจ้ง เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุเทนฺต สตรสึว ดังนี้. ในบทนั้นมี
ความว่า พระอาทิตย์มีรัศมีหนึ่งร้อย คือมีแสงสว่างหนึ่งร้อยอุทัยพวยพุ่งขึ้น.
คำว่า สตรสี นี้ เป็นเพียงหัวข้อเทศนา, ความว่า ดังพระอาทิตย์มีแสง
สว่างหลายแสนฉะนั้น. บทว่า ปิตรสึว ภาณุม ความว่า ได้เห็นพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 515
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้งดงามคล้ายพระจันทร์ มีรัศมีส่องสว่าง คือ
มณฑลพระจันทร์ มีรัศมีสีเหลือง ส่องสว่างเป็นกลุ่มก้อน. คำที่เหลือ
มีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาวีถิสัมมัชชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
กักการุปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๕๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกฟักทิพย์
[๑๕๖] เราเป็นเทพบุตร ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายก
พระนามว่าสิขี ได้ถือเอาดอกฟักทิพย์ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
และในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีพระนามว่าสัตตุคตมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกักการุปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกักการุปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
๑๕๔. อรรถกถากักการุปุปผปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระกักการุปุปผปูชกเถระมีคำเริ่มต้นว่า เทวปุตฺโต
อห สนฺโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ท่านก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญเป็นประจำเสมอ ในกาล
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดเป็นภุมมัฏฐเทวดา
ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี แล้ว ได้เก็บเอาดอกฟักทิพย์
มาบูชาแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยความสุขในโลกทั้งสอง ในระหว่างกัปที่ ๓๑ ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสใน
พระศาสดาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ทราบบุพกรรม
ของคนได้โดยประจักษ์ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราว
ที่คนเคยไค้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า เทวปุตฺโต
อห สนฺโต ดังนั้น. พึงทราบวิเคราะห์ในบทนั้นว่า ชื่อว่า เทวา
เพราะย่อมร่าเริงสนุกด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ทั้ง ๕ บุตรของเทวะทั้ง-
หลาย, เทวะและบุตรรวมเป็นเทพบุตร. เราเป็นเทพบุตรประคองดอก
ฟักทิพย์ถือมายกขึ้นบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขีแล้ว. คำที่เหลือ
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากักการุปุปผปูชกเถราทาน
๑. บาลีว่า กักการุปูชเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
มันทารวปุปผปูชกเถราปทานที่ ๕ (๑๕๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมณฑารพ
[๑๕๗] เราเป็นเทพบุตร ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายก
พระนามว่าสิขี ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้าด้วยดอกมณฑารพ.
พวงมาลัยทิพย์เป็นหลังคาบังร่มในพระตถาคตตลอด ๗ วัน
ชนทั้งปวงมาประชุมกันนมัสการพระตถาคต.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนาม
ว่าชุตินธระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมันทารวปุปผปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมันทารวปุปผปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
๑๕๕. อรรถกถามันทารวปุปผปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมันทารวปุปผปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เทว-
ปุตฺโต อห สนฺโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี
ท่านได้เป็นภุมมัฏฐกเทพบุตร ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิขี แล้ว มีใจเลื่อมใสได้บูชาด้วยดอกมณฑารพทั้งหลายแล้ว.
คำทั้งหมดตั้งแต่คำว่า โส เตน ปุญฺเน ดังนี้เป็นต้นไป บัณฑิต
พึงทราบได้ตามนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาอปทาน ของพระ-
อนันตรเถระนั้นนั่นแล.
จบอรรถกถามันทารวปุปผปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม
[๑๕๘] มีภูเขาชื่อกุกกุฏะอยู่ในที่ไม่ไกลแต่ภูเขาหิมวันต์ พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ๗ พระองค์อยู่ใกล้เชิงภูเขานั้น.
เราเห็นต้นกระทุ่มมีดอกบาน ดังพระจันทร์ขึ้นไปใน
ท้องฟ้า จึงประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้ง ๗ พระองค์.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ทรงพระนามว่าปุปผะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกทัมพปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
๑๕๖. อรรถกถากทัมพปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกทัมพปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺ-
ตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ เมื่อโลกกำลังสูญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน มองเห็นโทษ
ในการอยู่ครองเรือนนั้น จึงละเพศฆราวาสบวชเป็นดาบส สร้างอาศรมอยู่
ที่ภูเขาชื่อว่า กุกกุฏะ ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เขาได้พบเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
๗ พระองค์ในสถานที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส เลือกเก็บเอาดอกกระทุ่มที่
บานแล้วมาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น ก็ได้กระทำอนุโมทนาแล้วด้วยดีว่า อิจฺฉิต ปตฺถิต ดังนี้
เป็นต้น.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือน
อันมีสกุลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึก
ถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราว
ที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺ-
สาวิทูเร ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า
กุกฺกุโฏ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่เรียกกันว่า กุกกุฏะ เพราะยอด
ภูเขาทั้งหลายมีลักษณะคล้ายกับหงอนไก่ ตรงที่ข้างทั้งสองของภูเขานั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
ชื่อว่า ปัพพตะ เพราะตั้งมั่นโดยอาการปิดขวาง. บทว่า ตมฺหิ ปพฺพต-
ปาทมฺหิ แปลว่า ในที่ใกล้ภูเขาลูกนั้น. บทว่า สตฺต พุทฺธา วสนฺติ
ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์นั้น ย่อมอยู่ ณ บรรณศาลา
ใกล้เชิงภูเขากุกกุฏะนั้น. บทว่า ทีปราชว อุคฺคต ได้แก่ พระราชาแห่ง
ทวีปทั้งหลาย ชื่อว่า ทีปราชา อธิบายว่า พระราชา เป็นใหญ่แห่ง
ทวีปทั้งสิ้น แต่พระจันทร์เป็นใหญ่แห่งหมู่ดาวที่ส่องแสงทั้งหมด จึง
เรียกว่า ทีปราชา อีกอย่างหนึ่ง พระราชาเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ คือ
ชมพูทวีป ปุพพวิเทหทวีป อปรโคยานทวีป และอุตตรกุรุทวีป กับทวีป
เล็ก ๆ อีก ๒,๐๐๐ ทวีป อธิบายว่า เราได้เห็นต้นกระทุ่มซึ่งมีดอกเบ่งบาน
สะพรั่ง คล้ายกับพระจันทร์ลอยเด่นท่ามกลางท้องฟ้าฉะนั้น แล้วเลือก
เก็บดอกไม้จากต้นกระทุ่มนั้นแล้ว เอามือทั้งสองข้างประคอง คือถือเอา
โดยวิธีอย่างหนึ่ง เกลี่ยด้วยดี คือได้บูชาโดยเอื้อเฟื้อซึ่งพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์นั้นแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากทัมพปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
ติณสูลกเถราปทานที่ ๗ (๑๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อน
[๑๕๙] มีภูเขาชื่อภูตคณะอยู่ในที่ไม่ไกลแต่ภูเขาหิมวันต์ พระ-
ชินพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สละโลกแล้วมาอยู่ ณ ภูเขานั้น เราถือ
เอาดอกมะลิซ้อนไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า เราไม่ตกลงใน
จตุราบายตลอด ๙๙,๙๙๙ กัป.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
องค์หนึ่ง มีพระนามว่าธรณีรุหะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติณสูลกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบติณสูลกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
๑๕๗. อรรถกถาติณสูลกเถราปทาน
อปทานของท่านพระติณสูลกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพที่เกิดแล้วจะสั่งสมไว้แต่กุศลเป็นประจำเสมอ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมี
ตระกูล ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส เห็นโทษในเพศฆราวาสนั้น จึงละเพศ
ฆราวาสนั้นแล้วบวชเป็นดาบสอยู่ (วันหนึ่ง) พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า สิขี พระองค์กำลังเพิ่มพูนวิเวกอยู่เพียงพระองค์เดียว ประทับ
อยู่ที่ภูเขาชื่อภูตคณะ ใกล้กับภูเขาหิมวันต์แล้ว มีใจเลื่อมใส ถือเอาดอก
มะลิซ้อนไปบูชาที่บาทมูล (ของพระพุทธเจ้า). แม้พระพุทธเจ้าก็ทรง
ทำการอนุโมทนาแก่เขา.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิด
ในตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยสมบัติ ในกรุงสาวัตถี เจริญวัย
แล้วเลื่อมใสพระศาสนา จึงได้บวชแล้ว เพราะเขาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
อุปนิสัย ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้
เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว
ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. บทว่า
ภูตคโณ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาชื่อว่า ภูตคณะ เพราะเป็นที่อยู่
ของหมู่ภูต คือ หมู่แห่งเทวดาและยักษ์ เพราะเป็นเช่นกับภพ และเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
เป็นไปโดยความไม่งอกงามเจริญ. พระชินเจ้าคือพระพุทธเจ้าผู้ทรงชำนะ
มารได้แล้ว พระองค์เดียวคือไม่มีสอง ย่อมประทับอยู่ที่ภูเขานั้น คือ
ย่อมประทับอยู่ด้วยทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร และอิริยาบถ-
วิหารแล. บทว่า เอกูนสตสหสฺส กปฺป น วินิปาติโก ความว่า ด้วย
ผลที่ทำการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกมะลิซ้อนนั้น เราจึงไม่ต้องตกลงไป
ในอบาย พ้นจากอบายทั้ง ๔ ได้ เข้าถึงเฉพาะแต่ภพคือสวรรค์สมบัติ
อย่างเดียว ตลอด ๙๙,๙๙๙ กัปหาระหว่างมิได้. คำที่เหลือมีเนื้อความ
พอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาติณสูลกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกสารภีที่ทางเสด็จ
[๑๖๐] (เราเป็น) พราหมณ์มีนามชื่อว่าสุวัจฉะ เป็นผู้รู้จบมนต์
แวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตนอยู่ ณ ระหว่างภูเขา พระชินเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา พระองค์ทรง
ประสงค์จะรื้อถอน (ช่วยเหลือ) เรา จึงเสด็จมายังสำนักเรา.
เสด็จจงกรมอยู่บนเวหาส เหมือนประทีปอันโพลงฉะนั้น
ทรงทราบว่าเรายินดีแล้ว บ่ายพระพักตร์กลับไปทางทิศประ-
จิม.
เราได้เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยเป็น มีขนพองสยอง
เกล้านั้นแล้ว ได้เก็บเอาดอกสารภีไปโปรยลงที่ทางเสด็จไป.
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยจิต
อันเลื่อมใสนั้น เราไม่เข้าถึงทุคติเลย.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชมี
พระนามว่ามหารถะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบนาคปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 527
๑๕๘. อรรถกถานาคปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระนาคปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวจฺโฉ
นาม นาเมน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุดพระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัย
แห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จ
การศึกษาในศิลปะประจำตัวมีไตรเพทเป็นต้น แต่มองไม่เห็นสาระใน
ศิลปะนั้น จึงเข้าไปยังป่าหิมวันต์ บวชเป็นดาบส ปล่อยเวลาให้ล่วงไป
ด้วยความสุขในฌานและสมาบัติ. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จไปฝั่งสถานที่นั้น เพื่อทรงอนุเคราะห์
แก่เธอ. ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว เพราะเหตุที่ตน
ฉลาดในตำราลักษณะศาสตร์ มีความเลื่อมใสในพระลักษณะ และพระ-
รูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถวายบังคม ได้ยืนประคองอัญชลี
แล. เพราะมิได้เสด็จลงจากอากาศ เมื่อเขาไม่ได้กระทำบูชาและสักการะ
พระองค์เสด็จหลีกไปทางอากาศนั่นแล. ลำดับนั้น ดาบสนั้นพร้อมกับ
ศิษย์ จึงเก็บดอกสารภีบูชาตามหนทางทิสาภาคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ไปแล้ว ด้วยดอกไม้นั้น.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
เสวยสมบัติในโลกทั้งสอง ได้รับการบูชาแล้วในที่ทั้งปวง ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว สมบูรณ์
ด้วยศรัทธา บวชแล้วทำพระศาสนาให้งอกงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติอยู่ ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 528
นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อระลึกถึงกรรมในอดีตว่า ด้วยกุศล-
กรรมอะไรหนอ เราจึงได้รับโลกุตตรสมบัติอันนี้ ดังนี้ ก็ทราบได้ชัดแจ้ง
ถึงบุพกรรมนั้น จึงเกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตน
เคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุวจฺโฉ
นาม นาเมน ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ในบทนั้นว่า ชื่อว่า วจฺโฉ
เพราะเกิดแล้วในวัจฉโคตร วัจฉะนั้นด้วย ดีด้วย รวมเป็นสุวัจฉะ แปลว่า
วัจฉโคตรที่ดี. อธิบายว่า พราหมณ์มีชื่อว่า สุวัจฉะ ถึงฝั่งแห่งมนต์
คือถึงที่สุดทางมนตศาสตร์ทั้งสิ้นมีไตรเพทเป็นต้น. คำที่เหลือมีเนื้อความ
ง่ายทั้งนั้น เพราะเนื้อความนั้นได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมดในหนหลังแล.
จบอรรถกถานาคปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 529
ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๑๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบุนนาค
[๑๖๑] เราเป็นนายพรานเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ได้เห็นดอกบุนนาค
กำลังบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้น อันมีกลิ่นหอมตลบอบอวล
แล้ว ได้ก่อสถูปที่กองทรายบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง
มีนามว่าตโมนุทะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 530
๑๕๙. อรรถกถาปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กานน
วนโมคยฺห ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ผุสสะ เขาได้เกิดในตระกูลนายพรานป่า (เจริญวัยแล้ว) เข้าไปยังป่าใหญ่
เห็นดอกบุนนาคอันบานสะพรั่งในที่นั้นแล้ว เพราะเหตุที่ตนสมบูรณ์ด้วย
เหตุ จึงน้อมนึกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจปีติมีพระพุทธเจ้า
เป็นอารมณ์ จึงเก็บดอกไม้นั้นพร้อมด้วยดอกกรรณิการ์ทั้งหลายมาแล้ว
ก่อพระเจดีย์ทรายบูชา.
ด้วยบุญอันนั้น ในกัปที่ ๙๒ เขาจึงได้เสวยสมบัติในเทวโลกและ
มนุษยโลกนั้นนั่นแลหาระหว่างมิได้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาเกิดใน
ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว ด้วยกำลังแห่ง
บุญที่อบรมมาในกาลก่อน (เขา) จึงได้เลื่อมใสในพระศาสนา ออกบวช
แล้ว พยายามอยู่ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงกุศลกรรมที่ทำ
ไว้ในกาลก่อนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคย
ได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า กานน วนโมคยฺห
ดังนี้. ถ้อยคำทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะได้กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังแล.
จบอรรถกถาปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 531
กุมุททายกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกโกมุท
[๑๖๒] ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่สระหนึ่ง (สระธรรม-
ชาติ) ดาดาษด้วยดอกปทุม (บัวหลวง) และดอกอุบล
(บัวเขียว) สะพรั่งด้วยดอกปุณฑริก (บัวขาว).
ในกาลนั้น เราเป็นนกมีนามชื่อว่ากุกกุฏะ อาศัยอยู่ใกล้
สระนั้น เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร ฉลาดในบุญและมิใช่
บุญ.
พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตตระ สมควรรับเครื่อง
บูชา เสด็จสัญจรในที่ไม่ไกลสระนั้น.
เราหักดอกบัวโกมุทน้อมถวายแด่พระองค์ พระองค์ทรง
ทราบความดำริของเราแล้วทรงรับไว้.
ครั้นเราถวายทานนั้นแล้ว และอันกุศลมูลตักเตือน เรา
ไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๑,๖๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
พระเจ้าจักรพรรดิเหล่านี้มีพระนามว่าวรุณะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุมุททายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบกุมุททายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 532
๑๖๐. อรรถกถากุมุททายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระกุมุททายกเถระ. มีกำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้หลายภพ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดเป็นนก
ชื่อว่า กุกุตถะ๑ อยู่ใกล้สระใหญ่อันใกล้ภูเขาหิมวันต์ ที่ได้เกิดเป็นนก
ก็เพราะอกุศลกรรมบางอย่าง แต่เพราะมีกุศลกรรมที่คนทำไว้ในกาลก่อน
จึงได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ฉลาดในบุญและบาป มีศีล งดเว้น จาก
อาหารที่เนื่องด้วยชีวิตสัตว์. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ เสด็จมาทางอากาศ เสด็จจงกรมใกล้กับนกนั้น. ลำดับนั้น
นกนั้นได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส คาบเอาดอกโกมุทมา
บูชาที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับดอก
โกมุทนั้นไว้ เพื่อจะให้เธอเกิดความโสมนัสใจแล้ว ทรงกระทำอนุ-
โมทนา.
ด้วยบุญอันนั้น นกนั้นจึงได้เสวยความสุขคือสมบัติในโลกทั้งสอง
คือในเทวโลกและมนุษยโลกเสร็จแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาเกิดใน
ตระกูลแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีทรัพย์มาก มีโภค-
สมบัติมาก เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ทราบ
๑. บาลี กุกกุฏะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 533
ถึงบุพกรรมของคนได้โดยประจักษ์ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ
ถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
หิมสนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. ในบทว่า ปทุมุปฺปลสญฺฉนโน นี้ เชื่อมความว่า
ดอกปทุมสีขาวสมบูรณ์ด้วยใบบัว และดอกปทุมและอุบล สีเขียว สีแดง
และสีขาว ๓ อย่าง รวมเรียกว่าดอกปทุมและดอกอุบล สระใหญ่นั้น
ได้ดารดาษเป็นป่าเต็มไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบลเหล่านั้น. บทว่า ปุณฺ-
ฑรีกสโมตฺถโฏ ความว่า ดารดาษเต็มไปด้วยดอกปุณฑริก (บัวขาว)
และดอกปทุมสีแดงมากมาย. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายแล.
จบกุมุททายกเถราปทาน
จบอรรถกถาพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 534
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พันธุชีวกเถราปทาน ๒. ตัมพปุบผิยเถราปทาน ๓. วีถิสัมมัชชก-
เถราปทาน ๔. กักการุปูชกเถราปทาน ๕. มันทารวปุปผปูชกเถราปทาน
๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน ๗. ติณสูลกเถราปทาน ๘. นาคปุปผิยเถรา-
ปทาน ๙. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน ๑๐. กุมุททายกเถราปทาน
บัณฑิตกล่าวคาถาไว้ ๕๖ คาถา.
จบพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 535
สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
สุปาริจริยเถราปทานที่ ๑ (๑๖๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระศาสนา
[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมสัตว์ ประเสริฐกว่านระ
มีพระนามว่าปทุม (ปทุมุตตระ) ผู้มีพระจักษุ เสด็จออกจาก
ป่าใหญ่แล้วทรงแสดงธรรมอยู่.
ในขณะนั้น ได้มีการประชุมแห่งเทวดาทั้งหลาย ในที่
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันด้วย
กิจบางอย่าง ได้เห็นอย่างแจ้งชัด.
เราได้ทราบ (ได้ยิน) พระสุรเสียงที่ทรงแสดงอมฤตธรรม
ของพระพุทธเจ้า มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ปรบมือแล้วเข้าไป
บำรุง.
เราเห็นผลแห่งการบำรุงพระศาสดาที่ประพฤติด้วยดี ใน
๓๐,๐๐๐ กัป เราไม่เข้าถึงทุคติเลย.
ในกัปที่ ๒๙,๙๙๙ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า
สมลังกตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณสมบัติเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 536
ทราบว่า ท่านพระสุปาริจริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุปาริจริยเถราปทาน
อรรถกถาสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
๑๖๑. อรรถกถาสุปาริจริยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุปาริจริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุโม นาม
นาเมน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนีเจ้าผู้ประ-
เสริฐพระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัย
แห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในกำเนิดยักษ์ ไปยังสมาคมยักษ์ใน
หิมวันต์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จากพวกเทวดา
ยักษ์ คนธรรพ์ และนาคแล้ว มีใจเลื่อมใส คู้แขนทั้งสองเข้า ปรบมือ
นมัสการแล้ว. ด้วยบุญอันนั้น เขาจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิด
ในเทวโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ได้เสวยทิพยสุขในเทวโลกนั้นแล้ว และได้
บังเกิดในมนุษยโลก เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในหมู่มนุษย์
แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลคฤหบดีในพระนครสาวัตถี
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนัก
ก็ได้บรรลุพระอรหัต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 537
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเองได้ เกิดความโสมนัสใจ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า ปทุโม นาม นาเมน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปทุโม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงการนับว่า ปทุมะ เพราะ
สัญญาในเวลาที่จะวางพระบาทลง จะมีดอกบัวแทรกแผ่นดินโผล่ขึ้นมา
รองรับพื้นพระบาทของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ พระอรรถกถาจารย์ประสงค์ในบทว่า ปทุโม นี้. เชื่อม
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จออกจากพระวิหารที่
ประทับ แล้วเสด็จเข้าไปยังท่ามกลางป่า ทรงแสดงธรรมแล้วแล. บทว่า
ยกฺขาน สมโย ความว่า ได้มีสมาคมของเทวดาทั้งหลายแล้ว. บทว่า
อชฺฌาเปกฺขึสุ ตาวเท ความว่า ได้เห็นแจ้งชัดในเวลาแสดงธรรมนั้น,
คือได้มีปกติเห็นชัดโดยพิเศษ. คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแล้วที
เดียวแล.
จบอรรถกถาสุปาริจริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 538
กณเวรปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๑๖๒)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกชบาถวาย
[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ แวดล้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย
เสด็จดำเนินไปสู่พระนคร.
เราเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ เป็นผู้คุ้มครอง ในภายในพระ-
ราชวัง เราเข้าไปในปราสาท ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นำของโลก.
จึงถือ (เก็บ) เอาดอกชบาไปโปรยลงในภิกษุสงฆ์ แยก
พระพุทธเจ้าไว้แผนกหนึ่ง โปรยดอกชบาลงบูชายิ่งกว่านั้น.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๘๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ทรงพระนามว่ามหิทธิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 539
ทราบว่า ท่านพระกณเวรปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกณเวรปุปผิยเถรปทาน
๑๖๒. อรรถกถากณเวรปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกณเวรปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺโถ
นาม ภควา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร เจริญวัยแล้ว ได้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัยภายในพระราชวัง. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ-
นามว่า สิทธัตถะ มีหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จพระราชดำเนินไปตาม
ทางถนนหลวง. ลำดับนั้น คนผู้รักษาความปลอดภัยในพระราชวังนั้น
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไป มีใจเลื่อมใส บูชาพระผู้มี-
พระภาคเจ้าด้วยดอกชบา ได้ยืนนมัสการอยู่แล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยแต่สมบัติในสุคติโลกสวรรค์อย่างเดียว
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วได้ฟัง
พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนัก
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 540
ท่านเป็นผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงกุศลกรรมที่ทำไว้ใน
กาลก่อนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้
ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺโต นาม ภควา
ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะได้กล่าวไว้แล้ว
ในหนหลังแล.
จบอรรถกถากณเวรปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 541
ขัชชททายกเถราปทานที่ ๓ (๑๖๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะพร้าว
[๑๖๕] ในปางก่อน เราได้ถวายผลไม้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าติสสะ และได้ถวายมะพร้าวที่สมมติกันว่าควร
เคี้ยว.
ครั้นถวายผลมะพร้าวนั้นแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า
ติสสะ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว ย่อมบันเทิง มีความ
ประสงค์สิ่งที่ต้องการ ก็เข้าถึง (ได้) ตามปรารถนา.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระ-
นามว่าอินทสมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระขัชชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบขัชชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 542
๑๖๓. อรรถกถาขัชชกทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระขัชชกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส
โข ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ติสสะ ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายผลไม้น้อยใหญ่อันมีรสอร่อยอย่างละ ๑ ผล มีผลมะม่วง
และผลชมพู่เป็นต้น มะพร้าวและขนมที่ควรเคี้ยว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้เสวยแล้ว ในขณะที่เขามองดูอยู่นั่นแล ก็เพื่อจะเจริญความเลื่อมใส
แก่เขา ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยแต่สมบัติในสุคติโลกสวรรค์
อย่างเดียว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุง
สาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว
เกิดศรัทธา มีความเลื่อมใสและนับถือมาก บวชแล้วทำพระศาสนาให้
งดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ มีศีลเป็นอลังการเครื่องประดับ ไม่นานนัก
ก็ได้บรรลุพระอรหัต.
เมื่อท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนทราบว่า เราได้ทำกุศลอันดีงาม
ไว้ในที่ดีในกาลก่อน ดังนี้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง
ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส
โข ภควโต ดังนี้ พึงทราบความหมายในบทนั้นว่า ชื่อว่า ติสสะ
ด้วยอำนาจเป็นชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้ เพราะตั้งแต่เกิดขึ้นมา มีแต่จะให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 543
สมบัติในภพทั้งสาม. อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า ติสสะ เพราะทรงเป็น
พระพุทธเจ้าแล้ว ทรงยังมหาชนให้สบายใจด้วยไตรสรณคมน์ ทรงโอวาท
พร่ำสอนให้หมู่คนผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุตั้งอยู่ในสมบัติทั้งสอง คือสวรรค์-
สมบัติและนิพพานสมบัติ ชื่อว่า ภควา เพราะทรงประกอบไปด้วยภคธรรม
ทั้งหลาย มีสมาบัติคุณเป็นต้น, อธิบายว่า ในกาลก่อน เราได้ถวาย
ผลมะพร้าวและผลไม้อื่นนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ
พระองค์นั้นแล้ว. บทว่า นาฬิเกรญฺจ ปาทาสึ ความว่า เราได้ถวาย
ผลไม้อันเป็นไปโดยอาการแห่งต้นมะพร้าวชื่อว่า นาฬิเถระ นั้น. บทว่า
ขชฺชก อภิสมฺมต ความว่า เราได้ถวายของที่ควรเคี้ยวที่สมมติกัน รู้กัน
อย่างดียิ่งว่าขนมมีรสอร่อยดี ที่สำเร็จแล้วเพราะปรุงผสมกับน้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างพิเศษ. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้
โดยง่ายทีเดียว.
จบอรรถกถาขัชชกทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
เทสปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถานที่
[๑๖๖] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี เชษฐบุรุษ
ของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ เสด็จขึ้นสู่เวหาส เสด็จไป
ในอากาศ.
พระศาสดามหามุนี เหาะขึ้นไปประทับอยู่ ณ ประเทศใด
เรามีจิตเลื่อมใสได้บูชาไปทางประเทศนั้น ด้วยมือทั้งสอง
ของตน.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เห็นพระมหามุนีใด ด้วย
การเห็นนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
ประเทศ.
ในกัปที่ ๑,๑๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
นามว่าโคสุชาต ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเทสปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเทสปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 545
๑๖๔. อรรถกถาเทสปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเทสปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี
ตุ ภควา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
อัตถทัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส
ได้เป็นพุทธมามกะ ธัมมามกะ สังฆมามกะ. ในคราวนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี มีหมู่แห่งภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
เสด็จไปทางอากาศ ดุจพระจันทร์และดุจพระอาทิตย์โคจรไปในอากาศ
ฉะนั้น. อุบาสกคนนั้นได้เอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น มาบูชา
ทางทิศาภาคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้ว ได้ยืนประคองอัญชลี
นมัสการแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ไปเกิดในเทวโลก ได้เสวยสวรรค์สมบัติ
แล้ว มาเกิดในมนุษยโลก ได้เสวยมนุษยสมบัติแล้ว ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ เขาได้มาเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ไม่ติดใจในเพศฆราวาส บวชแล้ว เป็นพระที่
สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของ
ตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประ-
พฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ตุ ภควา ดังนี้.
ถ้อยคำนั้น มีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 546
อนิลญฺชเส ความว่า ชื่อว่า อนิลัญชสะ เพราะอัญชสะ ได้แก่ทางเป็น
ที่ไปแห่งอนิละ คือลม เพราะคำว่าทางท่านกล่าวไว้โดยปริยายว่า มคฺโค
ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชส วฏุม อายน (ศัพท์ทั้งหมดนี้แปลว่า ทาง,
หนทาง, ถนน.) ดังนี้. ความว่า ในทางแห่งลมนั้น คือในอากาศ.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเทสปูชกเถรปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 547
กณิการฉทนิยเถราปทานที่ ๕ (๑๖๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยร่มดอกกรรณิการ์
[๑๖๗] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู เชษฐบุรุษของโลก
ผู้ประเสริฐกว่านระ เป็นมุนี เสด็จเข้าป่าใหญ่เพื่อทรงพัก
กลางวัน.
เวลานั้น เราเก็บเอาดอกกรรณิการ์มาทำเป็นร่ม ได้ทำ
หลังคา (เพดาน) ดอกไม้บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
ในกัปที่ ๒๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
๘ ครั้ง ทรงพระนามว่าโสณณาภา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกณิการฉทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกณิการฉทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 548
๑๖๕. อรรถกถากณิการฉทนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกณิการฉทนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภู
นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
เวสสภู ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยศรัทธา. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
เวสสภู ทรงมีพระประสงค์จะเพิ่มพูนความวิเวก จึงเสด็จเข้าไปประทับ
นั่งยังป่าใหญ่. ลำดับนั้น แม้อุบาสกคนนั้น ก็ไปในป่าใหญ่นั้นด้วย
การงานบางอย่าง ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโพลงดุจกองไฟ
ฉะนั้น มีใจเลื่อมใส เก็บดอกกรรณิการ์มาทำเป็นฉัตรแล้ว กั้นเป็นเพดาน
บูชาเบื้องบนพระแท่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแล้ว ด้วยอานุภาพ
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เพดานดอกไม้นั้น ตั้ง ๗ วันผ่านมาก็ยังไม่
เหี่ยวแห้ง คงดำรงอยู่เหมือนเดิมทุกอย่าง. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังคง
เข้าผลสมบัติและนิโรธสมาบัติอยู่. เขามองเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว เกิด
ความโสมนัสใจ ไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนประคองอัญชลีอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติแล้ว ได้เสด็จไปยังพระวิหารเดิม
นั้นนั่นแล.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลกเสร็จ
แล้ว ในพุทธุปนาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี
เจริญวัยแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 549
ศาสดาแล้ว ไม่ติดใจในเพศฆราวาส บวชแล้ว ทำพระศาสนาของ
พระชินเจ้าให้งดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์
ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง
ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั้น จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
เวสฺสภู นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสภู
มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า เวสสภู เพราะย่อมข่มคือครอบงำพวกแพศย์ ได้
แก่ผู้เป็นพ่อค้าได้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เวสสภู เพราะย่อมครอบงำ
ท่วมทับพวกแพศย์ คือมารทั้ง ๕ อย่างเสียได้. ชื่อว่า สัมพุทธะ เพราะ
ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง, อธิบายว่า พระสัมพุทธเจ้าทรง
พระนามว่า เวสสภู. โดยพระนาม. บทว่า ทิวาวิหาราย มุนี มีวิเคราะห์
ว่า ชื่อว่า ทิวา เพราะย่อมรุ่งเรือง ส่องสว่าง คือทำวัตถุนั้น ๆ ให้
ปรากฏชัดเจน. การอยู่คือความเป็นไปด้วยอิริยบถ ๔ ชื่อว่า วิหาร
กำหนดเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน, การอยู่ในเวลา
กลางวัน ชื่อว่า ทิวาริหาร, อธิบายว่า พระพุทธมุนีเจ้าผู้องอาจกว่านระ
ประเสริฐที่สุดในโลก เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่เพื่อประทับในเวลากลางวัน.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากณิการฉทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 550
สัปปิทายกเถราปทานที่ ๖ (๑๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส
[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะ ผู้สมควรรับเครื่อง
บูชา ผู้ประเสริฐ ทรงยังมหาชนให้ดับ เสด็จดำเนินไปตาม
ถนน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงสำนักของเราโดยลำดับ
ลำดับนั้น เรารับบาตรแล้ว ได้ถวายเนยใสและน้ำมัน.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเนยใสใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายเนยใสนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายเนยใส.
ในกัปที่ ๕๖ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
องค์หนึ่งพระนามว่าสโมทกะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัปปิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-
การฉะนี้แล.
จบสัปปิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
๑๖๖. อรรถกถาสัปปิทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสัปปิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ผุสฺโส นามาถ๑
ภควา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยพระนิพพานเป็นประจำเสมอไว้ตั้ง
หลายภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผุสสะ ท่าน
ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล. ในกาลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระภิกษุสงฆ์
แวดล้อมเสด็จไปตามหนทาง ถึงประตูเรือนของอุบาสกคนนั้นแล้ว. ครั้น
พออุบาสกนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีใจเลื่อมใส ถวายบังคมแล้ว
ได้ถวายเนยใส และน้ำมันจนเต็มบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป ด้วยความโสมนัสนั้นนั่นแล เขาดำรงชีวิต
อยู่จนตลอดอายุขัย จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว. ด้วยบุญอันนั้นจึงได้ไปเกิด
ในเทวโลก ได้เสวยทิพยสุขแล้ว และได้บังเกิดในหมู่มนุษย์ ทุก ๆ ภพ
ที่เขาเกิดแล้ว ก็ได้เสวยแต่ความสุขเพียบพร้อมไปด้วยอาหารมีรสอร่อย
เช่นเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขา
ได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาถึงพร้อม
ด้วยปัญญา ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส บวช
แล้วเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
เมื่อระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า ผุสฺโส นามาถ ภควา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุสฺโส
๑. บาลีว่า นามาสิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
ความว่า ผุสสะ เป็นพระนามที่พระมารดาและพระบิดาทรงตั้งให้ เพราะ
พระองค์ประสูติโดยประกอบไปด้วยผุสสนักขัตฤกษ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ผุสสะ เพราะพระองค์ กระทบถูก เห็นชัด คือได้กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่ง
พระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผุสสะ เพราะพระองค์ กระทบถูก
เห็นชัด คือได้ทราบแล้ว ซึ่งพระบารมีธรรม ๑๐ ทัศ โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการอย่างบริบูรณ์ และพระปริยัติธรรม คือพระไตรปิฎกทั้งสิ้น.
ชื่อว่า ภควา เพราะพระองค์เพียบพร้อมไปด้วยส่วนแห่งบุญ เช่น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบด้วยความเป็นผู้มีโชค เป็นต้น. บทว่า
อาหุตีน ปฏิคฺคโห ความว่า เครื่องบูชาและสักการะท่านเรียกว่า อาหุติ,
ชื่อว่า อาหุตีน ปฏิคคฺโห เพราะพระองค์สมควรเพื่อจะรับเครื่องบูชา
และสักการะเหล่านั้น. เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า ผุสสะ ผู้แกล้วกล้า ทรงยังมหาชนให้ดับ เสด็จดำเนินไปในถนนใน
ครั้งนั้นแล. คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาสัปปิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
ยุทธิกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๑๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเข็ม
[๑๖๙] เราเที่ยวไปตานกระแสน้ำ ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ณ
ที่นั้นเราได้เห็นพระสยัมภูผู้ดังพญาไม้รังกำลังมีดอกบาน.
เราจึงถือเอาดอกเข็มเข้าไปเฝ้าพระมหามุนี เรามีจิต
เลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใดด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
บูชา.
ในกัปที่ ๖๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่งพระนามว่า สามุทธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยุธิกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบยุทธิกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
๑๖๗. อรรถกถายุทธิกปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระยุทธิกปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคา-
นทีตีเร ดังนี้.
ท่านพระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนินทพุทธ-
เจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้หลาย
ชาติเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ผุสสะ นั้นนั่นแล ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร เจริญวัยแล้ว ท่องเที่ยว
ไปตามกระแสน้ำ ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ด้วยการงานบางอย่าง ได้พบ
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผุสสะ ซึ่งพระองค์ประสงค์
จะสรงสนาน ช่างงดงามรุ่งเรืองประดุจกองไฟ เกิดความโสมนัสใจ
เลือกเก็บดอกเข็มที่เกิดในที่นั้นมาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.
ด้วยส่วนแห่งบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ
มนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใส บวชแล้ว ทำพระศาสนาให้งดงาม
ด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรม
ของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้
ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถายุทธิกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
ทุสสทายกเถราปทานที่ ๘ (๑๖๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า
[๑๗๐] ในกาลนั้น เป็นพระราชโอรสอยู่ในพระนครอันรื่นรมย์
ชื่อว่า ติวรา เราได้ผ้าอันเป็นเครื่องบรรณาการแล้ว ได้ถวาย
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สงบระงับ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงรับแล้ว ทรง
ลูบคลำด้วยพระหัตถ์ ครั้นทรงรับแล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่
นภากาศ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ผ้าตามไปเบื้องพระ-
ปฤษฎางค์ เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ว่า พระพุทธเจ้า
เป็นอัครบุคคล.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายผ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า.
ในกัปที่ ๖๗ แต่กัปนี้ ในกาลนั้น ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ผู้เป็นจอมมนุษย์มีนามว่าบริสุทธะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระทุสสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบทุสสทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
๑๖๘. อรรถกถาทุสสทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระทุสสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติวราย ปุเร
รมฺเม ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ ท่านได้เกิดในราชสกุล พอทรงเจริญวัยแล้ว ได้รับตำแหน่ง
เป็นพระยุพราช มีชื่อเสียง ได้รับชนบทแห่งหนึ่ง เป็นใหญ่ปกครอง
ชนบทนั้น ทรงบำเพ็ญสังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถ-
จริยา และสมานัตตตา แก่ชาวชนบททั้งหมด. ในสมัยนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ พระองค์ได้เสด็จไปถึงยังชนบท
นั้นแล้ว. ครั้งนั้น พระยุพราชพระองค์นั้น ทรงได้รับเครื่องบรรณาการ
แล้ว ทรงบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยผ้าเนื้อละเอียดในที่นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเอาพระหัตถ์ลูบคลำผ้าผืนนั้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่อากาศ. แม้
ผ้าผืนนั้นก็ลอยติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปมิขาด ครั้นพอพระยุพราช
พระองค์นั้นทอดพระเนตรเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว เลื่อมใสยิ่งนัก ได้
ประทับยืนประคองอัญชลีแล้ว ในสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป
ถึงแล้ว ประชาชนทั้งหมดมองเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว พากันคิด
อัศจรรย์ใจ ได้ยืนประคองอัญชลีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป
เฉพาะวิหารนั้นแล้ว ด้วยกุศลนั้นนั่นแล พระยุพราชนั้นจุติจากอัตภาพ
นั้นแล ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกนั้นแล้ว เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
ในมนุษย์โลก ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นแล้ว ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติมากมาย
บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว
พยายามอยู่ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
วันหนึ่งท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อ
จะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า ติวราย ปุเร รมฺเม ดังนี้. อธิบายว่า เราเป็นพระราชโอรส
อยู่ในพระนครอันน่ารื่นรมย์ใจชื่อว่า ติวรา นั้น ได้นำเอาผ้าไปบูชาพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะแล้วแล. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้
ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาทุสสทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 558
สมาทปกเถราปทานที่ ๙ (๑๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเรือนยอด
[๑๗๑] ได้มีการประชุมอุบาสกเป็นอันมากในพระนครพันธุมดี
เราเป็นหัวหน้าของอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกเหล่านั้นประพฤติ
ตามปรารถนาของเรา.
เราประชุมอุบาสกทั้งหมดนั้น แล้วชักชวนในการทำบุญ
ว่า เราทั้งหลายจักทำเรือนยอดเดียว (ศาลา) ถวายแก่สงฆ์ผู้
เป็นบุญเขตอันสูงสุด.
เขาเหล่านั้นรับคำแล้ว ได้กระทำไปตามอำนาจความพอใจ
ของเรา เราทั้งหลายช่วยกันสร้างเรือนยอดเดียวนั้นสำเร็จ
แล้ว ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเรือนยอดเดียวใดใน
กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายเรือนยอดเดียว.
ในกัปที่ ๕๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็น
จอมชนพระองค์หนึ่ง มีพระนามชื่อว่า อาเวละ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสมาทปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสมาทปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
๑๖๙. อรรถกถาสมาทปกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสมาทปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา
นคเร ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลสมภารมาแล้ว ในสำนักของ
พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานไว้ในหลายภพเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว
ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส ตั้งใจบำเพ็ญบุญเป็นนิตย์ มีศรัทธาเลื่อมใส สั่ง
ให้ประชุมพวกอุบาสกเป็นจำนวนมากแล้ว ตนเองเป็นหัวหน้าคณะ
(อุบาสก) ปรึกษาหารือกันว่า พวกเราจักช่วยกันสร้างเรือนยอดเดียว
(ศาลา) แล้วชักชวนคนทั้งหมดเหล่านั้นให้ทำพื้นเรือนยอดหลังหนึ่งให้
เรียบเสมอ เกลี่ยทรายขาวสะอาดลงไปแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติใน
กามาวจร ๖ ชั้นแล้ว ได้เกิดในมนุษยโลก ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติ
เป็นต้นในหมู่มนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล
บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังธรรมแล้ว มี
ใจเลื่อมใส เกิดศรัทธาบวชแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร-
ปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนกระทำไว้ได้ เกิดความ
โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา นคเร ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
ในบทนั้นว่า ชื่อว่า พนฺธุ เพราะคนทั้งหลายผูกพันเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียว
กัน ด้วยอำนาจแห่งชาติและโคตรเป็นต้น คือเป็นชาวพระนครเดียวกัน
ทั้งหมด. ชื่อว่า พันธุมดี เพราะเป็นพวกพ้องกันมีอยู่ในพระนครนั้น,
อธิบายว่า พวกอุบาสกหมู่ใหญ่ได้มีในพระนครชื่อว่า พันธุมดีนั้น. ใน
บทว่า มาฬ กสฺสาม สงฺฆสฺส๑ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มาฬ เพราะ
ย่อมนับถือกำหนดใจของพวกชนที่มาถึงแล้วทุก ๆ คน. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า มาฬ เพราะเป็นสถานที่เหมาะในการทำใจให้สงบสงัดแก่หมู่ภิกษุ
ที่มาถึงแล้ว, มาฬ นั่นแหละเป็น มาฬก, อธิบายว่า พวกเราจักสร้าง
เรือนยอดเพื่อความอยู่สุขสบายถวายแด่ภิกษุสงฆ์. คำที่เหลือมีเนื้อความ
ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาสมาทปกเถราปทาน
๑. บาลีว่า มาฬ กริสฺสาม สงฺฆสฺส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
ปัญจังคุลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๑๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม
[๑๗๒] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนี พระนามว่าติสสะ
ผู้เป็นนาถะของโลก ประเสริฐกว่านระ กำลังเสด็จเข้าพระ-
คันธกุฎี อันเป็นพระวิหารสวยงาม.
จึงถือเอาของหอมและพวงดอกไม้ไปสู่สำนักพระชินเจ้า
และเราเป็นผู้มีศรัทธาน้อยในพระสัมพุทธเจ้า ได้ถวายบังคม.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยของ
หอมใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายบังคม.
ในกัปที่ ๗๒ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
มีนามว่าสยัมปกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัญจังคุลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปัญจังคุลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
๑๗๐. อรรถกถาปัญจังคุลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระปัญจังคุลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺโส นามาสิ
ภควา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น
ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ
ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส
สมบูรณ์ด้วยสมบัติ มีศรัทธาเลื่อมใส เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
พระราชดำเนินไปตามหนทางเข้าไปยังพระวิหาร ได้ถือเอาดอกไม้ที่มีกลิ่น
หอมหลากชนิดเช่นดอกมะลิเป็นต้น และเครื่องลูบไล้มีผงไม้จันทร์เป็นต้น
แล้ว ไปยังพระวิหาร เอาดอกไม้ทั้งหลายบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เอานิ้วทั้ง ๕ แตะเครื่องลูบไล้ ลูบทาที่พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ถวายบังคมหลีกไป.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสมบัติทั้งสองในเทวโลกและมนุษย-
โลกแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์
ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มี
ใจเลื่อมใส บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อจะระลึกถึงบุพกรรม
ของตน ก็ทราบได้อย่างแจ่มชัด เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้
ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนว่า เราได้บำเพ็ญกุศลกรรมชื่อนี้ไว้ จึงได้รับ
โลกุตรสมบัติเช่นนี้แล จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ติสฺโส นามาสิ ภควา ดังนี้.
คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัญจังคุลิยเถราปทาน
จบอรรถกถาสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุปาริจริยเถราปทาน ๒. กณเวรปุปผิยเถราปทาน ๓. ขัชช-
ทายกเถราปทาน ๔. เทสปูชกเถราปทาน ๕. กณิการฉทนิยเถราปทาน
๖. สัปปิทายกเถราปทาน ๗. ยุธิกปุปผิยเถราปทาน ๘. ทุสสทายก-
เถราปทาน ๙. สมาทปกเถราปทาน ๑๐. ปัญจังคุลิยเถราปทาน.
มีคาถา ๕๔ คาถา ฉะนี้แล.
จบสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
กุมุทวรรคที่ ๑๘
กุมุทมาลิยเถราปทานที่ ๑ (๑๗๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกโกมุท
[๑๗๓] ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง (ตาม
ธรรมชาติ) เราเป็นผีเสื้อน้ำที่ดุร้ายมีกำลังมาก อยู่ในสระ
ใหญ่นั้น.
ดอกโกมุทอันบานโตประมาณเท่าจักร เกิดอยู่ในสระใหญ่
นั้น และในกาลนั้น เราเก็บดอกโกมุท (ที่มีเมล็ดไว้) อัน
เป็นที่ประชุมแห่งเมล็ดไว้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้จอมสัตว์
ประเสริฐกว่านระ ทรงเห็นดอกโกมุทอันหดหู่ (งอ) จึงเสด็จ
มาในสำนักของเรา.
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
เสด็จเข้ามา จึงหยิบดอกโกมุททั้งหมดบูชา (ถวาย) แด่
พระพุทธเจ้า.
ในกาลนั้น ดอกไม้มีอยู่เท่าใด พระตถาคตประกอบด้วย
ดอกไม้เท่านั้นเป็นหลังคาบังร่มเสด็จไปที่ภูเขาหิมวันต์.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบุชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 565
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นจอม
ชน ทรงพระนามว่า สหัสสรถะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุมุทมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบกุมุทมาลิยเถราปทาน
กุมุทวรรคที่ ๑๘
๑๗๑. อรรถกถากุมุทมาลิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระกุมุทมาลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต
หิมวนตมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ท่านได้เกิดเป็นผีเสื้อน้ำอยู่ที่สระใหญ่ใกล้กับภูเขาหิมวันต์ พบเห็นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี ซึ่งเสด็จไปในที่นั้นแล้ว มีใจ
เลื่อมใส เก็บดอกโกมุทไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 566
ด้วยบุญอันนั้น เขาจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังเทวโลก
เสวยสมบัติในกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นแล้ว เกิดในมนุษย์ ได้เสวยสมบัติ
มีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือน
อันมีสกุล เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บวชแล้วพยายามอยู่
ก็ได้บรรลุพระอรหัตอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ระลึกถึงบุพกรรมของ
ตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ
มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถโช รกฺขโส อาสึ ความว่า เราได้เป็น
ผีเสื้อน้ำเกิดใกล้สระใหญ่นั้น คือได้เป็นยักษ์เคี้ยวกินเลือดและเนื้อคนอื่น
ไร้ความกรุณา มีรูปร่างน่าเกลียด มีสภาพน่ากลัว มีกำลังมาก มีเรี่ยว
แรงมาก กักขฬะ. บทว่า กุมุท ปุปฺผิเต ตตฺถ ความว่า เมื่อไม่มีแสง
พระอาทิตย์ส่องลงไปในสระใหญ่นั้น พอถึงเวลาเย็นดอกก็จะหุบ ไม่มี
รัศมี ไม่มีสี มีแต่อาการเหี่ยวงอ คือดอกไม้อันได้นามว่า กุมุท ที่กำลัง
แย้มบานอยู่. บทว่า จกฺกมตฺตานิ ชายเร ความว่า ดอกไม้เหล่านั้น
เกิดมีประมาณเท่ากงจักรรถ. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่าย
ทีเดียวแล.
จบอรรถกถากุมุทมาลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 567
นิสเสณีทายกเถราปทานที่ ๒ (๑๗๒)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบันได
[๑๗๔] เราได้สร้างบันไดสำหรับเสด็จขึ้นปราสาท ถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ผู้เป็นนาถะของ
โลก ผู้คงที่.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เสวยสมบัติแล้ว ทรงกาย
อันเป็นที่สุดไว้ในพระพุทธศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑,๐๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓ ครั้ง ทรง
พระนามว่าสัมพหุละ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิสเสณีทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนิสเสณีทายกเถราปทาน
๑๗๒. อรรถกถานิสเสณิทายกเถราปทาน๑
อปทานของท่านพระนิสเสณิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โกณฺ-
ฑญฺญสฺส ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอมาหลายชาติ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
๑. บาลีว่า นิสเสณีทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 568
พระนามว่า โกณฑัญญะ ท่านได้เกิดในตระกูลช่างไม้ มีศรัทธา
เลื่อมใส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส
สร้างบันไดทำด้วยไม้แก่น เพื่อสำหรับขึ้นไปยังปราสาท ที่ประทับของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกพาดไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จ
ขึ้นไปยังปราสาท ในขณะที่เขากำลังมองเห็นอยู่นั่นแหละ เพื่อเป็นเครื่อง
เจริญปสาทะแก่เขา. เขามีความเลื่อมใสยิ่งนัก ด้วยปีติโสมนัสอันนั้น
นั่นแหละ กระทำกาละแล้ว ได้ไปเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติใน
เทวโลกนั้น เมื่อจะเกิดในหมู่มนุษย์ ก็ได้เกิดในตระกูลอันสูงส่ง เพราะ
ผลที่ได้สร้างบันได ได้เสวยความสุขในมนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว
เกิดศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า โกณฺฑฺสฺส ภควโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
โกณฺฑญฺสฺส มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า โกณฑะ เพราะเป็นผู้คลอดจากครรภ์
แล้วเป็นไป ได้แก่ลามกสัตว์. ชื่อว่า โกณฑัญญะ เพราะเป็นผู้อื่นจากคน
ที่ต่ำช้าเลวทรามคือ โกณฑะ อธิบายว่า ไม่เป็นผู้ลามก แต่เป็นบุรุษผู้สูง
สุด. อีกอย่างหนึ่ง โกณฑัญญะนั้นเป็นชื่อโดยโคตร เพราะในบรรดาโคตร
ของพราหมณ์ทั้งหลาย พระองค์ประสูติในโกณฑัญญโคตร. คำที่เหลือ
มีเนื้อความปรากฏชัดแล้วแล.
จบอรรถกถานิสเสณิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 569
รัตติยปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๑๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายถวายดอกอัญชัน
[๑๗๕] ในกาลก่อน เราเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ได้
เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ
มนุษย์.
เราเห็นต้นอัญชันเขียวขึ้นอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานอยู่
กลางคืน จึงถอนขึ้นพร้อมทั้งราก น้อมเข้าไปถวายแด่พระ-
พุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราถวายดอกไม้ใด ด้วยการถวาย
ดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกไม้.
และในกัปที่ ๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรง
พระนามว่าสุปปสันนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรัตติยปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบรัตติยปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 570
๑๗๓. อรรถกถารัตติยปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระรัตติยปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท
ปุเร อาสึ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี
ท่านได้เกิดในตระกูลของนายพราน เที่ยวฆ่าเนื้อในป่า ได้พบเห็นพระผู้
มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ซึ่งเสด็จเที่ยวไปในป่าเพราะความกรุณา
แก่เขาแล้ว มีใจเลื่อมใส เก็บเอาดอกไม้ชื่อว่าราตรีซึ่งบานแล้ว และดอก
อัญชันพร้อมทั้งขั้วมาบูชา ด้วยจิตอันประกอบไปด้วยโสมนัส. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ก็เสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย-
โลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้
เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มองเห็นโทษในกามทั้งหลาย
แล้วออกบวช ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตน
ได้ เกิดความโสมนัสใจว่า เราเป็นนายพราน ได้ทำกุศลกรรมไว้ดีหนอ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว
คำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ในคำนั้น
ว่า ชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นคนโหดร้าย ป่าเถื่อน ฆ่าเนื้อทั้งหลาย,
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นพรานมีความโลภในหมู่เนื้อ
อธิบายว่า ในครั้งก่อนเราได้เป็นนายพราน. บทว่า รตฺติก ปุปฺผิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 571
ทิสฺวา ความว่า ดอกไม้หลายชนิดมีดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานในเวลา
กลางวันเพราะต้องแสงพระอาทิตย์ และหุบในเวลาราตรี อธิบายว่า
ดอกไม้หลายชนิดมีดอกมะลุลีและดอกมะลิซ้อนเป็นต้น เป็นดอกไม้บาน
ในเวลาราตรี ไม่บานในเวลากลางวัน, เพราะฉะนั้น เราจึงเก็บเอา
ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด อันมีชื่อว่าดอกราตรี เพราะบานในเวลา
กลางคืน และเก็บดอกอัญชันมาบูชาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถารัตติยปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 572
อุทปานทายกเถราปทานที่ ๔ (๑๗๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบ่อน้ำ
[๑๗๖] เราได้ทำ (ขุด) บ่อน้ำถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
นามว่าวิปัสสี และในกาลนั้น เราได้ถือเอาบิณฑบาตไปมอบ
ถวาย.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบ่อน้ำ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุทปานทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้ แล.
จบอุทปานทายกเถราปทาน
๑๗๔. อรรถกถาอุทปานทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระอุทปานทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน
ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนีวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้บำเพ็ญสั่งสมไว้ในหลายภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอนมีตระกูล เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 573
วัยแล้ว คิดว่าเราควรถวายน้ำดื่ม. และควรทำน้ำดื่มให้เป็นไปไม่ขาดสาย
ดังนั้นแล้วจึงช่วยกันขุดบ่อน้ำไว้แห่งหนึ่ง ในเวลาที่มีน้ำสมบูรณ์ดี ก็ช่วย
กันก่ออิฐกั้นไว้ทำให้มั่นคงดีแล้ว ได้มอบถวายบ่อน้ำนั้น ซึ่งเต็มเปี่ยม
ด้วยน้ำที่ขึ้นเต็มในบ่อน้ำนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำการอนุโมทนาแสดงถึงอานิสงส์แห่งการ
ถวายน้ำดื่ม (แก่เขา) แล้ว. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลก ทุก ๆ ที่ที่เขาได้เกิดแล้ว ก็มีสระโบกขรณี บ่อน้ำ
และน้ำดื่มเป็นต้นเพียบพร้อมบริบูรณ์ ได้เสวยแต่ความสุขแล้ว ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว มีศรัทธา
เลื่อมใส บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดความ
โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน ภควโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุทปาโน กโต มยา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อุทปานะ เพราะ
เป็นสถานที่ที่ดื่มน้ำแห่งชนทั้งหลาย. คำว่าอุทปานะนั่นเป็นชื่อของบ่อน้ำ
สระโบกขรณี และบึง อธิบายว่า เราได้ทำการขุดบ่อน้ำนั้น เพื่อประโยชน์
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. คำที่เหลือมีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุทปานทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 574
สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๗๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาของหอมและถวายอาสนะทอง
[๑๗๗] เมื่อพระโลกนาถผู้เป็นนายกพระะนามว่าปทุมุตตระ เสด็จ
นิพพานไปแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายอาสนะ
ทอง.
และได้บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นอันมาก ด้วย
คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำสุขในปรโลกมาให้ ชนเป็น
อันมากทำการบูชาในพระองค์แล้ว ย่อมดับ (เย็น).
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ไหว้โพธิพฤกษ์อันอุดมแล้ว
มิได้เข้าถึงทุคติเลย ตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๑,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
พระเจ้าจักรพรรดิราชเหล่านั้น ทรงพระนามเหมือนกันว่า
สิลุจจยะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสีหาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสีหาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 575
๑๗๕. อรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระสีหาสนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต
โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะทำบุญสร้างไว้เพื่อต้องการจะได้บรรลุพระ-
นิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่าน
ได้เกิดในตระกูลคฤหบดี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นปรินิพพานแล้ว ได้ช่วยกันสร้างอาสนะสีหะที่ขจิตไปด้วยรัตนะ ๗ ประ-
การไว้แล้ว บูชาต้นโพธิ์แล้ว และได้บูชาด้วยมาลาของหอมและธูปเป็น
จำนวนมากมาย.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ได้รับแต่การบูชาในที่ทั้งปวง ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว
อยู่เป็นฆราวาส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส
จึงละหมู่ญาติออกบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงกุศล
สมภารที่ตนได้สั่งสมไว้ในปางก่อนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ
ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีหาสนมทาสห
มีวิเคราะห์ว่า อาสนะที่ขจิตไปด้วยรูปราชสีห์ เงิน ทองและรัตนะทั้งหลาย
ชื่อว่า อาสนะสีหะ, อีกอย่างหนึ่ง อาสนะที่สมควรประทับนั่งของพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 576
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่กลัวต่อราชสีห์ ชื่อว่า อาสนะสีหะ, อีกอย่างหนึ่ง
อาสนะสีหะก็คืออาสนะที่ประเสริฐสูงสุด ดังนั้นจึงชื่อว่า อาสนะสีหะ
อธิบายว่า เราได้ถวายอาสนะสีหะนั้นแล้ว เราได้บูชาต้นโพธิ์แล้ว. คำที่
เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 577
มัคคทัตติกเถราปทานที่ ๖ (๑๗๖)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็น
จอมสัตว์ ประเสริฐกว่านระ เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง เพื่อ
ประโยชน์สุขในปัจจุบัน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายกพระบาทขึ้น ดอกไม้ตั้งอยู่
เบื้องบนแห่งพระพุทธเจ้าผู้งาม เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ถวายบังคมแล้วโปรยดอกไม้.
ในกัปที่ ๒๐,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๕ ครั้ง ทรงพระนามว่า ปุปผฉทนิยะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมัคคทัตติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมัคคทัตติกเถราปทาน
๑๗๖. อรรถกถามัคคทัตติกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมัคคทัตติกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนมทสฺสี
ภควา ดังนี้.
แม้ท่านพระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 578
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
อโนมทัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ใน
เพศฆราวาส ได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี
กำลังเสด็จจงกรมท่ามกลายอากาศ และได้พบเห็นความอัศจรรย์ในที่ที่ย่าง-
พระบาทจงกรม จะเรี่ยรายได้ด้วยดอกไม้มากมายแล้ว มีใจเลื่อมใส
โยนดอกไม้ทั้งหลายขึ้นไปบนอากาศ, ดอกไม้เหล่านั้นก็ได้กลายเป็นเพดาน
ปรากฏแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะสุคติทั้งหลายเท่านั้น
ได้รับแต่การบูชาในที่ทั้งปวง ได้เสวยความสุขแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับแล้ว เกิดศรัทธา
บวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ปรากฏชื่อว่า มัคคทัตติกเถระ เพราะได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้เสด็จจงกรม
อยู่แล้ว. ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ
เริ่มต้นว่า อโนมทสฺสี ภควา ดังนี้. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขตฺถาย ความว่า
ด้วยการจงกรมในอัตภาพนี้ ทำให้ได้รับความสุขทำให้เบาสรีระเป็นต้น.
บทว่า อพฺโภกาสมฺหิ จงฺกมิ ความว่า ได้เสด็จจงกรมในที่แจ้ง คือ
ที่พระลานหลวง, ได้แก่ได้ทำการย่างพระบาทสัญจรไป. บทว่า อุทฺธเต
ปาเท ปุปฺผานิ ความว่า เมื่อยกพระบาทขึ้นด้วยการจงกรม ดอกไม้
ทั้งหลาย มีดอกปทุมและดอกอุบลเป็นต้น ผุดขึ้นจากแผ่นดิน เรี่ยราย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 579
แล้วในที่จงกรม. บทว่า โสภ มุทฺธนิ ติฏฺเร ความว่า ดอกไม้ทั้งหลาย
เหล่านั้น ตั้งอยู่เบื้องบนของพระพุทธเจ้าผู้งดงามอยู่. คำที่เหลือมี
เนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถามัคคทัตติกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 580
เอกทีปิยเถราปทานที่ ๗ (๑๗๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป
[๑๗๙] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายประทีปดวงหนึ่ง
ไว้ที่ไม้สน อันเป็นโพธิพฤกษ์อันอุดม ของพระมุนีพระนามว่า
ปทุมุตตระ.
ในภพที่เกิด เมื่อการสั่งสมบุญเกิดแล้ว เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.
ในกัปที่ ๑๖,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ทรงพระนามว่าจันทาภา มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกทีปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกทีปิยเถราปทาน
๑๗๗. อรรถกถาเอกทีปิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระเอกทีปิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
มุนิโน ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้สั่งสมกุศลกรรมทำไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 581
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลคฤหบดี เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส
ได้บูชาประทีปดวงหนึ่งไว้ที่ไม้สนอันเป็นโพธิพฤกษ์ แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้เริ่มตั้งน้ำมันและไส้(ประทีป) ทำเป็นการถาวร เพื่อบูชาด้วย
ประทีปดวงหนึ่งเป็นนิตย์. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทว-
โลกและมนุษยโลก เป็นผู้รุ่งเรืองในที่ทุกแห่ง มีดวงตาแจ่มใสดี ได้
เสวยความสุขในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดใน
ตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะ
แล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บวชแล้วไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต
ปรากฏชื่อว่า เอกทีปิยเถระ เพราะบรรลุคุณวิเศษได้ด้วยการบูชาประทีป.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส
ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง
กล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตรสฺส มุนิโน ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมี
เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเอกทีปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 582
มณิปูชกเถราปทานที่ ๘ (๑๗๘)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๐] แม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่านไปภายในภูเขาหิมวันต์ ในกาล
นั้น พระสยัมภูพุทธเจ้าประทับอยู่ในเขตใกล้แม่น้ำนั้น.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้เอาบัลลังก์แก้วอันวิจิตร
ด้วยดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาบัลลังก์แก้วใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
และในกัปที่ ๑๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
ทรงพระนามเหมือนกันว่าสตรังสี มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมณิปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบมณิปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 583
๑๗๘. อรรถกถามณิปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระมณิปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โอเรน หิมวนฺ-
ตสฺส ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น
ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส เห็นโทษในเพศ
ฆราวาสนั้น จึงละเพศฆราวาสออกบวชเป็นดาบส สร้างบรรณศาลาอยู่
ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง ในส่วนภายใต้ภูเขาหิมวันต์ ได้พบพระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งเสด็จเข้าไปในที่นั้น เพราะทรงมีพระประสงค์
จะสงบสงัด และเพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่เขา มีใจเลื่อมใส ได้
เอาบัลลังก์แก้วมณีบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
นั่งบนบัลลังก์นั้น เพื่อจะทรงเจริญความเลื่อมใสแก่เขา เขามีความ
เลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง ได้กระทำความปรารถนาเพื่อบรรลุพระนิพพาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุโมทนาแล้วก็เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น
เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้รับแต่การบูชาในที่
ทั้งปวง ได้เสวยความสุขแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูล
ที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส วันหนึ่ง ได้
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นาน
นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
วันหนึ่ง ท่านได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนกระทำไว้ได้ เกิดความ
โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 584
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า โอเรน หิมวนฺตสฺส ดังนี้. บรรดาบทเหล่า-
นั้น บทว่า โอเรน ความว่า ภายใต้ส่วนอื่นแห่งภูเขาหิมวันต์, คำนั้น
เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ได้แก่ ในทิสาภาคภายใต้.
บทว่า นทิกา สมฺปวตฺตถ ความว่า แม่น้ำสายหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อ
ไหลเป็นไป คือได้หลั่งไหลไปเป็นสายด้วยดี. บทว่า ตสฺสา จานุปเขตฺ-
ตมฺหิ ความว่า ในเขตใกล้แม่น้ำนั้น คือ ใกล้ฝั่ง. บทว่า สยมฺภู วสเต
ตทา ความว่า ในคราวใดเราเอาบัลลังก์แก้วมณีบูชา ในคราวนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มีอาจารย์ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระองค์เอง
ทีเดียวประทับอยู่. บทว่า มณี ในบทว่า มณึ ปคฺคยฺห ปลฺลงิก นี้ มี
วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มณี เพราะทำให้เกิดความดีใจ คือทำความโสมนัสใจให้,
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณี เพราะนับประมาณค่า ทำให้เป็นเครื่องอาภรณ์
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มณี เพราะอิสรชนมีพระราชาและพระยุพราชเป็นต้น
ถึงแม้จะตายก็ไม่ยอมสละแก้วมณีนั้น คือย่อมทำสงครามกันเพื่อต้องการ
แก้วมณีอันนั้น. อธิบายว่า เราได้ประคองบัลลังก์ที่ทำด้วยแก้วมณี อัน
น่ารื่นรมย์ใจวิจิตรงดงามอย่างดีนั้น ยกขึ้นบูชาแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามณิปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 585
ติกิจฉกเถราปทานที่ ๙ (๑๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายยา
[๑๘๑] เราเป็นหมอผู้ศึกษาดี อยู่ในนครพันธุมดี เป็นผู้นำสุขมา
ให้แก่มหาชนผู้ได้รับความทุกข์เดือดร้อน (กระสับกระส่าย)
ในกาลนั้น เราเห็นพระสมณะผู้มีศีล ผู้รุ่งเรืองใหญ่
ป่วยไข้ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายยาบำบัดไข้
พระสมณะผู้สำรวมอินทรีย์.
อุปัฏฐากของพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามชื่อว่า
พระอโศก หายจากโรคด้วยยานั้นแล.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายยาใด ด้วยการถวายยา
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายยา.
และในกัปที่ ๘ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ถึงพร้อมด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก พระนามว่าสัพโพสถ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติกิจฉกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบติกิจฉกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 586
๑๗๙. อรรถกถาติกิจฉกเถราปทาน
อปทานของท่านพระติกิจฉกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร พนฺธุมติยา
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-
นิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี ท่านได้เกิดในตระกูลหมอ ในพระนครพันธุมดี เป็นพหูสูต
ศึกษาเล่าเรียนมาเป็นอย่างดี ฉลาดในเวชกรรม เยียวยารักษาโรคได้
หลายชนิด ได้รักษาให้แก่พระเถระชื่อว่า อโสก ผู้เป็นอุปัฏฐากของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้เสวย
แต่ความสุข ไป ๆ มา ๆ ในเทวโลกและมนุษยโลก ทุก ๆ ภพที่เขา
ได้เกิดแล้ว ได้เป็นผู้ไม่มีโรค มีอายุยืน มีสรีระร่างกายสวยงามดังทองคำ.
ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูลคหบดี ในกรุงสาวัตถี
เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในทางศิลปศาสตร์ทุกแขนง ไม่มีโรคภัย
มีแต่ความสุข เพียบพร้อมด้วยสมบัติมากมาย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธา ละเพศฆราวาส
บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้
เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา
แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นคเร พนฺธุมติยา ดังนี้. คำที่
เหลือทั้งหมดนั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะได้กล่าวเนื้อความไว้แล้ว
ในหนหลังแล.
จบอรรถกถาติกิจฉกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 587
สังฆุปัฏฐากเถราปทานที่ ๑๐ (๑๘๐)
ว่าด้วยผลแห่งการอุปัฏฐาก
[๑๘๒] เราเป็นคนรักษาอาราม ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่าเวสสภู เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้อุปัฏฐาก
พระสงฆ์ผู้อุดม.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการอุปัฏฐาก.
ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
พระนามว่า สโมตถกะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสังฆุปัฏฐากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสังฆุปัฏฐากเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 588
๑๘๐. อรรถกถาสังฆุปัฏฐากเถราปทาน
อปทานของท่านพระสังฆุปัฏฐากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภุมฺหิ
ภควติ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลสมภารมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้หลาย
ภพเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
เวสสภู เขาได้เกิดเป็นลูกชายของคนรักษาสวน พอได้บรรลุนิติภาวะ
แล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส ทำสวนเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจในพระวิหารหลายแห่ง
ได้บำรุงพระสงฆ์ด้วยความเคารพ. ด้วยกุศลกรรมอันนั้นนั่นแหละ เขา
จึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสอง
แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูลคหบดีในกรุงสาวัตถี
เจริญวัยแล้ว เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ สมบูรณ์ด้วยความสุข มีชื่อ
เสียง ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา
บวชแล้ว สมบูรณ์ด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ทำพระศาสนาให้งดงาม เจริญ
วิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔ ได้
อภิญญา ๖ ด้วยอำนาจกุศลกรรมที่ท่านได้ทำไว้ในปางก่อน จึงได้ปรากฏ
ชื่อว่า สังฆุปัฏฐากเถระแล.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนว่า เราได้ทำกรรมอะไรไว้
ในปางก่อนหนอ จึงได้โลกุตตรสมบัตินี้ ก็ทราบชัดได้โดยประจักษ์ เกิด
ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน
กาลก่อนให้ปรากฏ จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภุมฺหิ ภควติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโหสารามิโก อห ความว่า เราได้เป็นคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 589
รักษาอารามในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าเวสสภู,
คำที่เหลือพอจะรู้ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหน
หลัง และเพราะมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสังฆุปัฏฐากเถราปทาน
จบอรรถกถากุมุทวรรคที่ ๑๘
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุมุทมาลิยเถราปทาน ๒. นิสเสณีทายกเถราปทาน ๓. รัตติย-
ปุปผิยเถราปทาน ๔. อุทปานทายกเถราปทาน ๕. สีหาสนทายกเถราปทาน
๖. มัคคทัตติกเถราปทาน ๗. เอกทีปิยเถราปทาน ๘. มณิปูชกเถรา-
ปทาน ๙. ติกิจฉกเถราปทาน ๑๐. สังฆุปัฏฐากเถราปทาน.
มีคาถา ๔๙ คาถา ฉะนี้แล.
จบกุมุทวรรคที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 590
กุฏชปุปผิยวรรคที่ ๑๙
กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๑๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๓] เราเห็นพระผุสสสัมพุทธเจ้าผู้มีรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ
สว่างไสวไปทั่วทิศดังพระอาทิตย์อุทัย๑ เสด็จไปในอากาศ.
จึงเลือกเก็บดอกโมกหลวงที่บาน ทั้งดอกใหญ่และเล็กจาก
ต้น มาบูชาแด่พระองค์.
เพราะเราเอาดอกไม้บูชา ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
พระนามว่าปุปผิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกุฏชปุปผิยเถราปทา
๑. ยุ. อุคฺคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 591
พันธุชีวกเถราปทานที่ ๒ (๑๘๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกชบา
[๑๘๔] พระสยัมภูสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ ผู้อันสัตบุรุษ
สรรเสริญ พระองค์ประทับนั่งเข้าสมาธิอยู่ ณ ระหว่างภูเขา.
เราแสวงหาดอกบัวอย่างดีอยู่ในสระ ได้เห็นดอกชบา
อยู่ในที่ใกล้ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ยกมือทั้งสอง
ประคองเข้าไปเฝ้าพระโสภิตมหามุนี แล้วบูชาแด่พระองค์.
เพราะเราได้เอาดอกไม้บูชา ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เรา
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง ผู้เป็นจอมคน มีพละมาก พระนามว่าสมุททกัปปะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพันธุชีวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบพันธุชีวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 592
โกตุมพริยเถราปทานที่ ๓ (๑๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๕] เรามีจิตร่าเริงยินดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดม
กว่านรชน ซึ่งประทับนั่งอยู่ ณ ระหว่างภูเขา โชติช่วงดัง
ดอกกรรณิการ์ มีพระคุณประมาณมิได้เหมือนทะเล กว้างขวาง๑
ดุจแผ่นดิน.
เรามีจิตเลื่อมใส เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านระ
อันหมู่เทวดาแวดล้อมแล้วผู้เสมือนโคนิสภะและม้าอาชาไนย
อันฝูงโคและฝูงม้าแวดล้อมแล้วฉะนั้น.
เราถือดอกไม้ ๗ ดอกและผ้าขนสัตว์อย่างดี เข้าไปบูชา
แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก.
เพราะเราได้เอาดอกไม้บูชา ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เรา
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง มีนามว่ามหาเนละ มีเดชมาก มีกำลังมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโกตุมพริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโกตุมพริยเถราปทาน
๑. ม. วิตฺถต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
ปัญจหัตถิยเถราปทานที่ ๔ (๑๘๔)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่า
นรชน พระนามว่าติสสะ แวดล้อมด้วยพระสาวก เสด็จ
ดำเนินอยู่ในถนน.
เราถือดอกอุบล ๕ ดอกยืนอยู่ที่ทางสี่แยก ประสงค์จะ
ถวายเป็นเครื่องบูชา ประคองบูชาเพื่อความสำเร็จประโยชน์.
อันพระพุทธรัศมีถูกต้องแล้ว ได้บูชาพระสัมพุทธเจ้าผู้
อุดมกว่าสัตว์ มีพระรัศมีดังทองคำ กำลังเสด็จดำเนินอยู่
ระหว่างตลาด.
เพราะเราเอาดอกไม้บูชา ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราจึง
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง
พระนามว่าสุลภสมมตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
กำลังมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัญจหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปัญจหัตถิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 594
อิสิมุคคทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๑๘๗] เราแม้จะอยู่ในปราสาท ก็นิมนต์พระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังพระอาทิตย์อุทัย มี
พระรัศมีเหลืองอร่ามเหมือนพระจันทร์ สุกสกาวราวกับดอก
กุ่ม ให้เสวยถั่วฤๅษี ซึ่งบดผสมกับน้ำผึ้งอันไม่มีตัว ถวาย
แด่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
เอาน้ำผึ้งใส่บาตรของพระสาวกแห่งพระพุทธเจ้าซึ่งมีประ-
มาณแปดแสน จนเต็มทุก ๆ รูป ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้า
มากกว่านั้น.
เราอันกุศลมูล คือความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ตักเตือน ไม่
เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ในกัปที่ ๔๓,๘๐๐ ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่ามหิสมันตะ ผู้มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอิสิมุคคทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอิสิมุคคทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 595
โพธิอุปัฏฐายกเถราปทานที่ ๖ (๑๘๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงไม้โพธิ์
[๑๘๘] เราเป็นคนตีตะโพนอยู่ในนครรัมมวดี เป็นผู้ไปประกอบ
การบำรุงไม้โพธิ์อันอุดมเป็นนิตย์.
เราบำรุง ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า อันกุศลมูลตักเตือน
แล้ว ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด ๑,๘๐๐ กัป.
ในกัปที่ ๑,๕๐๐ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นอธิบดี
แห่งชน มีพระนามว่าทมถะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโพธิอุปัฏฐายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโพธิ์อุปัฏฐายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 596
เอกจินติเถราปทานที่ ๗ (๑๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการที่กุศลตักเตือน
[๑๘๙] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทพเพราะสิ้นอายุ ใน
กาลนั้น เทวดาผู้พลอยยินดีย่อมเปล่งเสียงออก ๓ ประการว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านจากที่นี่จงไปสู่สุคติ จงได้ความ
เป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาชั้นเยี่ยมในสัทธรรม.
ศรัทธาของท่านผู้ตั้งมั่นแล้วนั้นจงมั่นคงเป็นมูลไว้ อย่า
คลอนแคลนในสัทธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศดีแล้ว ตลอด
ชีวิต.
ท่านจงกระทำกุศลอันไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีอุปธิ
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ให้มาก.
แต่นั้นท่านก่อสร้างบุญ ทำบุญนั้นด้วยทานให้มาก จง
แนะนำแม้สัตว์อื่น ๆ ให้ตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ในสัทธรรม.
สัตว์อื่น ๆ ผู้รู้ตามเป็นจริง พลอยยินดีตามท่าน ผู้เป็น
เทวดาล่วงเทวดา เพราะความอนุเคราะห์นี้ ขอท่านจงกลับมา
บ่อย ๆ นะ.
ในกาลนั้น เราเป็นผู้สลดใจอยู่ในหมู่เทวดาที่มาประชุมกัน
ด้วยคิดว่า เราเป็นอะไรเล่า จุติจากที่นี่แล้วจึงจักไปยังกำเนิด
มนุษย์ได้.
ในกาลนั้น พระสมณะสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ผู้อบรมอินทรีย์แล้ว มีนามชื่อว่าสุมนะ รู้ความ
สลดใจของเรา ปรารถนาจะช่วยเหลือเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 597
ท่านจึงมาในสำนักของเรา พร่ำสอนอรรถธรรมแล้ว ยัง
เราให้สลดใจ.
เราได้ฟังคำของท่านแล้ว ทำให้จิตเลื่อมใสในพระพุทธ-
เจ้า เราเพียงแต่ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ทำกาล-
กิริยา ณ ที่นั้น.
เรานั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ได้อุบัติในเทวโลกนั้นเอง
ไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกจินติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกจินติกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 598
ติกัณณิปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเจตพังคี
[๑๙๐] เราเป็นเทวดาแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร ระลึกถึงบุพ-
กรรมได้ จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส ถือดอกเจตพังคี ๓ ดอก ไป
บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่านรชน.
เพราะเราได้เอาดอกไม้บูชา ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เรา
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
เป็นผู้อุดม ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำได้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติกัณณิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติกัณณิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 599
เอกจาริยเถราปทานที่ ๙ (๑๘๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมณฑารพ
[๑๙๑] ในกาลนั้น ได้มีเสียงประกาศกึกก้องในเทวดาชั้นดาว-
ดึงส์ว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานในโลก และพวกเราก็
ยังมีราคะ.
ในเทวดาผู้เกิดความสังเวช เพียบพร้อมด้วยลูกศร คือ
ความโศกเหล่านั้น เราเป็นผู้มีใจแข็งด้วยกำลังของตน ได้
ไปในสำนักพระพุทธเจ้า.
เราถือดอกมณฑารพที่นิรมิตรวบรวมไว้ไปบูชาแด่พระพุทธ-
เจ้า ในเวลาใกล้จะปรินิพพาน.
ในกาลนั้น เทวดาและนางอัปสรทั้งปวงอนุโมทนาเรา
เราไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ในหกหมื่นกัปแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
พระนามว่ามหามัลลชนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกจาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกจาริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 600
ติวัณฏิปุปเถราปทานที่ ๑๐ (๑๙๐)
ว่าด้วยผลแห่งถวายการดอกไม้
[๑๙๒] เราทุกคนนั้นประชุมกัน เข้าไปเพ่งโทษพระเถระชื่อ
อภิภู ความเร่าร้อนได้เกิดแก่พวกเราผู้เข้าไปเพ่งโทษ.
ในกาลนั้น พระเถระมีนามชื่อว่าสุนันทะ เป็นสาวกของ
พระพุทธเจ้า พระนามว่าธรรมทัสสีผู้เป็นมุนี มาในสำนัก
ของเรา.
ในกาลนั้น ชนทั้งหลายที่อยู่ในสำนักของเรา ได้เอา
ดอกไม้มาให้เรา เราได้เอาดอกไม้นั้นบูชาพระสาวกทั้งหลาย.
เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น แล้วก็เกิดขึ้นอีก เราไม่ได้ไป
สู่วินิบาตเลยตลอด ๑,๘๐๐ กัป.
ในกัปที่ ๑,๓๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
พระนามว่าธูมเกตุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติวัณฏิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติวัณฏิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 601
อรรถกถากุฏชปุปผิยวรรคที่ ๑๙
๑๘๑. อรรถกถากุฏชปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระเถระ ๑๐ รูปมีพระเถระชื่อว่า กุฏชปุปผิยเถระ
เป็นต้น เหล่านั้นที่มาแล้วในอรรถกถาวรรคที่ ๑๙ เรื่องถัดจากเรื่องนี้ไป
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแรกไม่มีปรากฏ เพราะว่า ชื่อ ที่อยู่ และเมืองเป็นต้น
ของพระเถระเหล่านั้น ปรากฏแล้วด้วยอำนาจแห่งบุญสมภารที่ทำไว้ใน
สำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ. ทุก ๆ เรื่องที่เหลือบัณฑิตพึงทราบ
ตามเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ดังนั้น อปทานที่เหลือ
นั้นทั้งหมด จึงมีเนื้อความพอที่จะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถากุฏชปุปผิยเถราปทาน
จบอรรถกถากุฏชปุปผิยวรรคที่ ๑๙
รวมอปทานในวรรคนี้ คือ
๑. กุฏชปุปผิยเถราปทาน ๒. พันธุชีวกเถราปทาน ๓. โกตุม-
พริยเถราปทาน ๔. ปัญจหัตถิยเถราปทาน ๕. อิสิมุคคทายกเถราปทาน
๖. โพธิอุปัฏฐากเถราปทาน ๗. เอกจินติกเถราปทาน ๘. ติกัณณิ-
ปุปผิยเถราปทาน ๙. เอกจาริยเถราปทาน ๑๐. ติวัณฏิปุปผิยเถราปทาน
ท่านประกาศคาถาไว้ ๖๐ คาถา.
จบกุฏชปุปผิยวรรคที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 602
ตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐
ตมาลปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๑๙๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคูณ
[๑๙๓] วิมานของเราที่บุญกรรมนิรมิตให้ เปรียบด้วยหน่อไม้
ทิพย์ มีเสาทอง ๘๔,๐๐๐ เสา.
เรามีจิตผ่องใส ถือเอาดอกคูนไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่าจันทติตตะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตมาลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตมาลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 603
อรรถกถาตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐
๑๙๑. อรรถกถาตมาลปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระเถระรูปที่ ๑ ในวรรคที่ ๒๐ นี้ มีเนื้อความ
ง่ายทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 604
ติณสันถารทายกเถราปทานที่ ๒ (๑๙๒)
ว่าด้วยผลแห่งการทำหลังคา
[๑๙๔] ในกาลเมื่อเราบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า ได้เกี่ยวหญ้าถวาย
แด่พระศาสดา หญ้าทั้งหมดนั้นเวียนไปทางเบื้องขวาแล้ว
ตกลงที่แผ่นดิน.
เราถือเอาหญ้านั้นมาลาดลงที่แผ่นดินดอน ๆ และนำเอา
ใบตาล ๓ ใบมาทำเป็นหลังคา ถวายแด่พระศาสดาพระนามว่า
สิทธัตถะ เทวดาและมนุษย์ ณ ที่นั้นทรง (บูชา) พระศาสดา
ตลอด ๗ วัน.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายหญ้าใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายหญ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
หญ้า.
ในกัปที่ ๖๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรง
พระนามว่ามหัทธนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติณสันถารทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติณสันถารทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 605
๑๙๒. อรรถกถาติณสันถารทายกเถราปทาน
พึงทราบอปทานของท่านพระเถระรูปที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ย ทายวาสิโก๑ อิสิ ความว่า พระเถระที่ถึงการนับว่า
ทายวาสิโก อิสิ เพราะท่านได้บวชเป็นฤาษีในป่า ได้เกี่ยวได้ตัดหญ้าเพื่อ
มุงมณฑปที่ประทับของพระศาสดาพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เสด็จไปเข้าจำ
พรรษายังป่านั้น เพื่ออนุเคราะห์ตน อธิบายว่า เราได้กระทำทัพพสัมภาระ
เครื่องมุง และได้ทำมณฑปด้วยท่อนไม้เล็ก ๆ แล้ว เอาหญ้ามุงมณฑป
นั้นแล้ว ได้ถวายบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ. บทว่า
สตฺตาห ธารยุ ตตฺถ ความว่า พวกเทวดาและมนุษย์ที่สถิตอยู่ ณ มณฑป
นั้น ต่างพากันบูชาพระศาสดาผู้ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติณสันถารทายกเถราปทาน
๑. บาลีว่า วนวาสิโก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 606
ขัณฑผุลลิยเถราปทานที่ ๓ (๑๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการทำที่ขรุขระให้เรียบ
[๑๙๕] พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะ มีอยู่
ที่ป่ามหาวัน ในกาลนั้น ต้นไม้งอกขึ้น ณ ที่นั้น ฝูงช้างพากัน
มาหักกิน.
เราได้ทำที่ขรุขระให้ราบเรียบ แล้วได้ใส่ก้อนปูนขาว
เรายินดีด้วยคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นที่
เคารพของโลกทั้ง ๓.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการใส่ก้อน
ปูนขาว.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
ทรงพระนามว่าชิตเสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระขัณฑผุลลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบขัณฑผุลลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 607
๑๙๓. อรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน
พึงทราบอปทานของท่านพระเถระรูปที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขณฺฑ ในบทว่า ขณฺฑผุลฺลิยตฺเถโร นี้ หมายถึงสถานที่
ที่ขรุขระผุพังเพราะไม้ทั้งหลายเก่าชำรุด. บทว่า ผุลฺล หมายถึงที่ตรงที่
แตกออก เช่นตามมุมที่ประดับประดาพื้นที่และฉัตรเป็นต้น ในที่ที่ไม้
ทั้งหลายผุพังไป. ขณฺฑ และ ผุลฺล รวมกันเป็น ขณฺฑผุลฺลานิ การ
ซ่อมแซมไม้ที่ชำรุดผุพัง คือย้ำทำให้มั่นคงแข็งแรง รวมเรียกว่าปฏิสังขรณ์
สิ่งที่ชำรุดผุพัง. ก็ในเวลาที่พระเถระรูปนี้บำเพ็ญบุญสมภาร ทำการฉาบทา
ปูนขาวตรงที่ชำรุดผุพัง ที่พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ผุสสะ ให้มั่นคงแข็งแรง ชื่อว่าปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง. เพราะฉะนั้น
พระเถระรูปนั้นจึงได้ปรากฏชื่อว่าขัณฑผุลลิยเถระ.
จบอรรถกถาขัณฑผุลลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 608
อโสกปูชกเถราปทาหที่ ๔ (๑๙๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกอโศก
[๑๙๖] ในกาลนั้น มีพระราชอุทยานอยู่ในพระนครติปุระอัน
น่ารื่นรมย์ เราเป็นคนรักษาพระราชอุทยานอยู่ในนครนั้น เป็น
คนรับใช้ของพระราชา.
พระสมัยภูมีพระนามว่าปทุม ผู้ทรงมีพระปัญญาฉลาด
หลักแหลม พระฉายไม่ละพระองค์ผู้เป็นมุนี ซึ่งประทับนั่ง
บนดอกบัวขาว.
เราเห็นอโศกมีดอกบานเป็นกลุ่มๆ (พวงช่อ) น่าดูนัก จึง
(หัก) บูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมผู้อุดม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง
พระนามว่าอรณัญชหะสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอโสกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอโสกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 609
๑๙๔. อรรถกถาอโสกปูชกเถราปทาน
พึงทราบอปทานของท่านพระเถระรูปที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รญฺโ ปฏฺจโร อห ความว่า เราได้เป็นคนรับใช้
คือเป็นคนทำงานของพระราชา (ข้าราชการ). บทว่า ชลชุตฺตมนามิโน
ความว่า ดอกไม้ที่เกิดในชลธารคือในน้ำ ชื่อว่า ชลชะ, ดอกไม้
ชนิดนั้นทำไมถึงชื่อว่าดอกปทุม เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ มีพระนามเสมอด้วยดอกปทุม. อีกอย่างหนึ่ง มี
อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า ปทุมะ ซึ่งเป็น
ดอกไม้สูงสุด.
จบอรรถกถาอโสกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 610
อังโกลกเถราปทานที่ ๕ (๑๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกปรู
[๑๙๗] เราเห็นต้นปรูมีดอกบาน ดอกสวยงามเป็นพวง ๆ จึง
ได้เก็บดอกไม้นั้นไปในสำนักพระพุทธเจ้า.
สมัยนั้น พระมหามุนีพระนามว่าสิทธัตถะทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่ลับ เราจึงบูชาด้วยเครื่องบูชาแล้ว โปรยดอกไม้ลงในถ้ำ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่าเทวคัชชิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอังโกลกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอังโกลกเถราปทาน
๑๙๕. อรรถกถาอังโกลกเถราปทาน
เรื่องที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอังโกลกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 611
กิสลยปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกย่างทราย
[๑๙๘] สวนดอกไม้ของเรามีอยู่ในนครทวารวดี ในสวนดอกไม้
นั้นมีบ่อน้ำ และเป็นที่งอกงามแห่งต้นไม้ทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้กล้าแข็งด้วย
กำลังของพระองค์ ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ พระองค์จะทรง
อนุเคราะห์เรา จึงเสด็จไปในอากาศ.
เราไม่เห็นอะไร ๆอื่นอันควรจะบูชาแด่พระองค์ผู้แสวงหา
คุณอันใหญ่หลวง เห็นแต่ใบอ่อนของต้นอโศก จึงเอาโยน
ขึ้นไปในอากาศ.
ก้าน ขั้ว ใบอ่อนเหล่านั้น ตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์
ของพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จไป เราเห็นดังนั้นแล้วเกิดตื่นเต้นว่า
โอ พระพุทธเจ้ามีพระคุณใหญ่หลวง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยใบไม้อ่อน
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่าเอกิสสระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 612
ทราบว่า ท่านพระกิสลยปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบกิสลยเถราปทาน
๑๙๖. อรรถกถากิสลยปูชกเถราปทาน
บทว่า ฉฏฺเ นคเร ทฺวารวติยา ความว่า ทวารวดีนคร เพราะ
เป็นพระนครที่สมบูรณ์ด้วยประตูใหญ่ บานหน้าต่าง และแผ่นกระดานมาก
มาย และสมบูรณ์ด้วยรั้ว กำแพง หอคอย ซุ้มประตู และคูน้ำที่มีโคลน
เลน, ที่ท่านเรียกว่า นคเร ทฺวารวติยา เพราะประชาชนทั้งหลายย่อม
เรียกกันว่า นครทวารวดี เพราะกำหนดประตูและรั้วของพระนครขึ้น
เป็นประธาน, อธิบายว่า สวนดอกไม้ได้มีแก่เราแล้ว. บทว่า เต กิสลยา
ได้แก่ ใบอ่อนของต้นอโศกเหล่านั้น.
จบอรรถกถากิสลยปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 613
ตินทุกทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๙๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะพลับ
[๑๙๙] เราเป็นลิงมีกำลังแข็งแรง เที่ยวไปตามซอกห้วยและ
ธารแห่งภูเขา ได้เห็นต้นมะพลับอันมีผล จึงระลึกถึงพระพุทธ-
เจ้าผู้ประเสริฐสุด.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ออกค้นหาพระพุทธเจ้า
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นนายกของโลกถึงที่สุดภพสาม
สิ้น ๒-๓ วัน.
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเรา
จึงเสด็จมาในสำนักของเรา พร้อมด้วยพระขีณาสพหลายพัน.
เราเกิดความปราโมทย์แล้ว ถือผลมะพลับเข้าไปเฝ้าถวาย
พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าบรรดาเจ้าลัทธิ
พระองค์ทรงรับแล้ว
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่าอุปนันทะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 614
ทราบว่า ท่านพระตินทุกทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตินทุกทายกเถราปทาน
คิริเนลมุฏฐิปูชกเถราปทานที่ ๘ (๑๙๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้
[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ เชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ ทรงตั้งความเพียรเพื่อทรงอนุเคราะห์
หมู่ชนผู้เกิดภายหลัง.
เราบูชาดอกไม้หลายกำแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็น
จอมสัตว์ ผู้คงที่ ไม่มีโทษดังภูเขา กำลังจงกรมอยู่.
เรามีจิตเลื่อมใส อันกุศลมูลตักเตือนแล้วไม่ได้เข้าถึง
ทุคติเลยตลอด ๓ หมื่นกัป.
ในกัปที่ ๒,๓๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
องค์หนึ่ง พระนามว่าสุเนละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 615
ทราบว่า ท่านพระคิริเนลมุฏฐิปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคิริเนลมุฏฐิปูชกเถราปทาน
ติกัณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๑๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคล้า
[๒๐๑] พระสยัมภูชินเจ้าผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ มีพระนามว่า
สุมังคละ เสด็จออกจากป่าใหญ่ เข้าสู่พระนคร.
พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีพระองค์นั้น เสด็จเที่ยวบิณฑ-
บาตแล้วเสด็จออกจากนคร ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ประทับ
อยู่ในระหว่างป่า.
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ถือดอกคล้า ๓ ดอกไปบูชา
แด่พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๘๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (พระ-
องค์หนึ่ง) ทรงพระนามว่าอปเสละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประ-
การ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 616
ทราบว่า ท่านพระติกัณฑิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบติกัณฑิปุปผิยเถราปทาน
ยูถิกปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๐๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคัดเค้า
[๒๐๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้สมควรรับเครื่อง
บูชา มีพระจักษุ ทรงออกจากป่าใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่
พระวิหาร.
เราเอามือทั้งสองประคองดอกคัดเค้า (เข็ม) อันสวยงาม
ไปบูชาแด่พระพุทธเจ้าผู้มีพระหฤทัยเมตตา ผู้คงที่.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราเสวยสมบัติแล้ว ไม่ได้เข้าถึง
ทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๕๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน พระนามว่าสมิตนันทนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยุถิกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบยูถิกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 617
อรรถกถาตินทุกทายกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเถระ ๗, ๘, ๙ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
แม้ในอปทานเรื่องที่ ๑๐ เรื่องสุดท้ายไม่มีความยากแล.
จบอรรถกถาตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตมาลปุปผิยเถราปทาน ๒. ติณสันถารทายกเถราปทาน
๓. ขัณฑผุลลิยเถราปทาน ๔. อโสกปูชกเถราปทาน ๕. อังโกลกเถราปทาน
๖. กิสลยปูชกเถราปทาน ๗. ตินทุกทายกเถราปทาน ๘. คิริเนลมุฏฐิ-
ปูชกเถราปทาน ๙. ติกัณฑิปุปผิยเถราปทาน ๑๐. ยูถิกปุปผิยเถราปทาน
และมีคาถา ๕๘ คาถา.
จบตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐
และรวมวรรคมี ๑๐ วรรค คือ
๑. ภิกขทายิวรรค ๒. มหาปริวารวรรค ๓. เสเรยยวรรค
๔. โสภิตวรรค ๕. ฉัตตวรรค ๖. พันธุชีวกวรรค ๗. สุปาริจริยวรรค
๘. กุมุทวรรค ๙. กุฏชปุปผิยวรรค ๑๐. ตมาลปุปผิยวรรค
ท่านทำไว้ใน ๑๐ วรรคนี้มีคาถา ๖๖๖ คาถา.
จบหมวด ๑๐ แห่งภิกขวรรค เป็นหมวด ๑๐๐ ที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 618
กณิการปุปผิยวรรคที่ ๒๑
กณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๒๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์
[๒๐๓] ในกาลนั้น เราเห็นต้นกรรณิการ์มีดอกบาน จึงเก็บมา
บูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ติสสะ ผู้ข้ามโอฆะ
แล้ว ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปรากฏ
พระนามว่า อรุณปาละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกณิการปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกณิกการปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
มิเนลปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๒๐๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเทียนขาว
[๒๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี มีพระฉวีวรรณดัง
ทอง มีพระรัศมีอันประเสริฐดังพระอาทิตย์ มีพระหฤทัย
เมตตา มีพระสติ เสด็จขึ้นจงกรม.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ชมเชยพระญาณอันอุดมแล้ว
ถือดอกเทียนขาวไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก-
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนาม
ว่า สุเมฆฆนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมิเนลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมิเนลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 620
กิงกณิกปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๒๐๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกหงอนไก่
[๒๐๕] พระสัพพัญญูเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก ผู้รุ่งเรืองเช่นกับ
ทองคำมีค่า พระองค์ผู้นำของโลกร้อนพระกาย จึงเสด็จลง
น้ำสรงสนานอยู่.
เรามีจิตเบิกบานมีใจโสมนัส ได้ถือเอาดอกหงอนไก่ไป
บูชาแด่พระสัพพัญญูพระนามว่าวิปัสสี ผู้จอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
ภิมรถะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกิงกณิกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกิงกณิกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 621
ตรณิยเถราปทานที่ ๔ (๒๐๔)
ว่าด้วยผลแห่งการข้ามส่งพระพุทธเจ้า
[๒๐๖] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้จอมสัตว์
ประเสริฐกว่านระ แวดล้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย เสด็จไป
สู่ฝั่งแม่น้ำคงคา.
แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาวักน้ำดื่มได้ ข้าม
ได้ยาก เราข้ามส่งพระพุทธเจ้าผู้สั่งสุดกว่าสัตว์และภิกษุ
สงฆ์.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการข้ามส่ง
พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๑,๓๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง
ทรงพระนามว่า สัพโพภวะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบตรณิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 622
นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๒๐๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกย่างทราย
[๒๐๗] เราเป็นคนเฝ้าพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า วิปัสสี ได้ถือเอาดอกไม้ย่างทราย ไปบูชาแด่พระ-
พุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๓๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง
เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า มหาปตาปะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิคคุณฑิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
อุทกทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๐๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ
[๒๐๘] เราเห็นสมณะผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว กำลังบริโภคอยู่
ได้เอาน้ำในหม้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
สิทธัตถะ วันนี้ (นั้น) เราเป็นผู้ไม่เศร้าหมอง ปราศจาก
มลทินสิ้นสงสัย ผลย่อมเกิดแก่เราในภพที่เกิดอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 623
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำในกาลนั้น ด้วย
การถวายน้ำนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
น้ำ.
ในกัปที่ ๖๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง
ทรงพระนามว่า วิมละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุทกทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุทกทายกเถราปทาน
สลฬมาลิยเถราปทานที่ ๗ (๒๐๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้พร้อมทั้งขั้ว
[๒๐๙] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เห็น
สารถีฝึกนระ ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งใน
ระหว่างภูเขา ยังทิศทั้งปวงให้สว่างอยู่.
ในกาลนั้น เราเอาธนูพาดสายแล้ว ยิงลูกธนูไป ตัด
ดอกไม้พร้อมทั้งขั้ว บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 624
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๕๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง
ทรงพระนามว่า ชุตินธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสลฬมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสลฬมาลิยเถราปทาน
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๒๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกหงอนไก่พร้อมทั้งราก
[๒๑๐] เราได้เห็นรอยพระบาท อันประดับด้วยจักรและเครื่อง
อลังการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้แสวงหา
คุณใหญ่ทรงเหยียบไว้ จึงเดินตามรอยพระบาทไป.
เราได้เห็นต้นหงอนไก่มีดอกบาน จึงเอาบูชาพร้อมทั้งราก
เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ไหว้รอยพระบาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 625
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชารอยพระพุทธบาทด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๕๗ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง ทรง
พระนามว่า วีตมละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
อาธารทายกเถราปทานที่ ๙ (๒๐๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเชิงรองบาตร
[๒๑๑] เราได้ถวายเชิงรองบาตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า สิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก เราทรง (ครอบครอง) พื้น
แผ่นสุธานี้ทั้งหมดสิ้น.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว เรา
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 626
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ทรงมีพระนามว่า สมันตวรุณา มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาธารทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอาธารทายกเถราปทาน
ปาปนิวาริยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายร่ม
[๒๑๒] ก็เรามีใจผ่องใส ได้ถวายร่มคันหนึ่งแด่พระผู้มีพระ-
เจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้คงที่
เราห้ามบาปแล้ว ก่อสร้างกุศล เทวดาทั้งหลายกั้นร่มไว้
ในอากาศ นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม.
ภพที่สุด ย่อมเป็นไปแก่เรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายร่มใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายร่มนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ร่ม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 627
ในกัปที่ ๗๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอม
แห่งชน ๘ ครั้ง มีพระนามว่า มหานิทานะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปาปนิวาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปาปนิวาริยเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กณิการปุปผิยเถราปทาน ๒. มิเนลปุปผิยเถราปทาน ๓. กิงกณิก-
ปุปผิยเถราปทาน ๔. ตรณิยเถราปทาน ๕. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
๖. อุทกทายกเถราปทาน ๗. สลฬมาลิยเถราปทาน ๘. โกรัณฑปุปผิย-
เถราปทาน ๙. อาธารทายกเถราปทาน ๑๐. ปาปนิวาริยเถราปทาน
มีคาถา ๘๘ คาถา.
จบกณิการปุปผิยวรรคที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 628
หัตถิวรรคที่ ๒๒
หัตถิทายกเถราปทานที่ ๑ (๒๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายช้างงา
[๒๑๓] เราได้ถวายช้างตัวประเสริฐ มีงาอันงอนงาม เจริญด้วย
กำลังเร็วและกล้าแข็ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.
เราได้เสวยสันติบทอันเป็นประโยชน์สูงสุดเยี่ยม (เพราะ)
เราได้ถวายช้างแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหาประโยชน์
ให้แก่โลกทั้งปวง.
ในกัปที่ ๔๙ แต่กัปนี้ เราได้ถวายช้างใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายช้างนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายช้าง.
ในกัปที่ ๗๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
๑๖ ครั้ง ทรงพระนามว่า สมันตปาสาทิกะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระหัตถิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบหัตถิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 629
ปานธิทายกเถราปทานที่ ๒ (๒๑๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายรองเท้า
[๒๑๔] ข้าพระองค์ได้ถวายรองเท้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
ประทับอยู่ในป่า เพ่งฌาน มีพระหฤทัยเมตตา มีเดช ทรง
ธรรม อบรมพระองค์แล้ว.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้เสวยยานทิพ นี้เป็นผล
แห่งบุพกรรม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ทำกรรมใดในกาลนั้น
เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายรองเท้า.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
๘ ครั้ง มีพระนามว่า สุยานะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปานธิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 630
สัจจสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๒๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งสัจสัญญา
[๒๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู ทรงแวดล้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์ เมื่อทรงยังมหาชนให้ดับ (ร้อน) จึงแสดง
อริยสัจ.
เราเป็นผู้สมควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง ได้ไปสู่ที่
ประชุม เรานั้นได้นั่งฟังธรรมของพระศาสดา ครั้นเราฟัง
ธรรมของพระศาสดานั้นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลก เราได้อยู่ ใน
เทพบุรีนั้นตลอด ๓๐ กัป.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
การได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัจ-
สัญญา.
ในกัปที่ ๒๖ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า เอกผุสสิตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัจจสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสัจจสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 631
เอกสัญญาเถราปทานที่ ๔ (๒๑๔)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุล
[๒๑๖] เราได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาห้อยอยู่บนยอดไม้
จึงได้ประนมกรอัญชลีไหว้ผ้าบังสุกุล.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
การได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า อมิตาภะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบเอกสัญญกเถราปทาน
รังสิสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๒๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า
[๒๑๗] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าสว่างจ้าดังพระอาทิตย์อุทัย เปล่ง
ปลั่งดังพระจันทร์ องอาจดังเสือโคร่ง ประเสริฐ มีสกุล ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 632
ระหว่างภูเขา อานุภาพของพระพุทธเจ้ารุ่งเรืองอยู่ในระหว่าง
ภูเขา.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมีแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์
ตลอดกัป ในกัปที่เหลือเราก่อสร้างกุศล ด้วยจิตเลื่อมใสนั้น
และด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้า.
ใน ๓ หมื่นกัป แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
การได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการได้
สัญญาในพระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า สุชาตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรังสิสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบรังสิสัญญกเถราปทาน
สันธิตเถราปทานที่ ๖ (๒๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า
[๒๑๘] เรามีสติเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้สัญญาอันไปในพระ-
พุทธเจ้าอย่างหนึ่ง ที่ไม้อัสสัตถพฤกษ์ อันมีรัศมีเขียวสด
งดงามดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 633
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น เพราะ
การได้สัญญานั้นเป็นเหตุนำมา เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.
ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่า วนิทธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสันธิตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสันธิตเถราปทาน
ตาลวัณฏทายกเถราปทานที่ ๗ (๒๑๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัดใบตาล
[๒๑๙] เราได้ถวายพัดใบตาลแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ
ผู้มีจักษุทิพย์ เพื่อต้องการให้ระงับร้อนในฤดูร้อน เพื่อระงับ
ความเร่าร้อน.
เราดับได้สนิทซึ่งไฟ คือ ราคะ ไฟ คือ โทสะ และ
ดับได้สนิทซึ่งไฟ คือ โมหะ อันยิ่งกว่าความร้อนนั้น นี้เป็น
ผลของการถวายพัดใบตาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 634
เราเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว
ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายพัด
ใบตาล.
ในกัปที่ ๖๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่า มหารามะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระตาลวัณฏทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตาลวัณฏทายกเถราปทาน
อักกันตสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๒๑๘)
ว่าด้วยผลแห่งการปูผ้าให้ทรงเหยียบ
[๒๒๐] เราถือผ้าสาฎกผืนน้อย ในผ้าห่มของท่านอุปัชฌาย์
พร่ำศึกษามนต์อยู่ เพื่อบรรลุถึงประเภทวิชาลูกศร.๑
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่องบูชา
ผู้องอาจ ประเสริฐ เลิศ พระนามว่า ติสสะ ผู้ตรัสรู้แล้ว
๑. ม. คนฺถาโทสสฺส ปตฺติยา เพื่อบรรลุถึงความไม่มีโทษแห่งคันถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 635
ดังคชสารตัวประเสริฐ ผู้สูงสุดกว่านระ ผู้เลิศลอย เป็น
มหาวีระ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ.
ทรงเหยียบผ้าสาฎกผืนน้อยที่เราลาดไว้ ครั้นเราได้เห็น
พระองค์ผู้ส่องแสงสว่างในโลก ปราศจากมลทินเช่นกับพระ-
จันทร์ มีใจผ่องใส ได้ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าสาฎกผืนน้อยใด
ด้วยการถวายผ้าสาฎกนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายผ้าสาฎกผืนน้อย.
ในกัปที่ ๓๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า สุนันทะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอักกันสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอักกันตสัญญกเถราปทาน
สัปปิทายกเถราปทานที่ ๙ (๒๑๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน
[๒๒๑] เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ แวดล้อมด้วยหมู่นารี
ได้เห็นพระสมณะผู้ทรงประชวร จึงน้อมนมัสการพระมหา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 636
วีรเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ประเสริฐกว่านระ ซึ่งเสด็จ
เข้ามาสู่เรือน (ของเรา) เราได้ถวายเนยใสและน้ำมันแด่พระ-
พุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้คงที่.
เราได้เห็นพระองค์ผู้มีความกระวนกระวาย สงบระงับ มี
อินทรีย์ คือ พระพักตร์ผ่องใส จึงถวายบังคมพระบาทของ
พระศาสดา แล้วให้ประกาศไปในบุรี พระวีรเจ้าผู้ถึงที่สุด
แห่งฤทธิ์ ทรงเห็นเราผู้เลื่อมใสดี จึงเสด็จเหาะขึ้นสู่นภา-
กาศ ดังพญาหงส์บินไปในอัมพรฉะนั้น.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใส
และน้ำมัน.
ในกัปที่ ๑๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่า ทุติเทพ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัปปิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัปปิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
ปาปนิวาริยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๒๐)
ว่าด้วยผลแห่งการแต่งที่จงกรม
[๒๒๒] เราแผ้วถางที่จงกรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปิยทัสสี มุงบังด้วยไม้อ้อ ป้องกันลมและแดด.
เราก่อสร้างกุศลเพื่อต้องการเว้นบาป ตั้งความเพียรใน
ศาสนาของพระศาสดา เพื่อละกิเลสทั้งหลาย.
ในกัปที่ ๑๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ปรากฏพระนามว่า อัคคิเตชะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปาปนิวาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปาปนิวาริยเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. หัตถิทายกเถราปทาน ๒. ปานธิทายกเถราปทาน ๓. สัจจ-
สัญญกเถราปทาน ๔. เอกสัญญกเถราปทาน ๕. รังสิสัญญกเถราปทาน
๖. สันธิตเถราปทาน ๗. ตาลวัณฏทายกเถราปทาน ๘. อักกันตสัญญก-
เถราปทาน ๙. สัปปิทายกเถราปทาน ๑๐. ปาปนิวาริยเถราปทาน.
มีคาถา ๕๔ คาถาฉะนี้แล.
จบหัตถิวรรคที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
อาลัมพนทายกวรรคที่ ๒๓
อาลัมพนทายกเถราปทานที่ ๑ (๒๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายราวสะพาน
[๒๒๓] เราได้ถวายที่หน่วงเหนี่ยว (ราวสะพาน) แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ผู้
คงที่ เป็นจอมของสัตว์สองเท้า.
เราเดินไป (ปกครอง) ตลอดแผ่นดินอันกว้างขวางจดฝั่ง
สาคร ยังความเป็นอิสระให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายและใน
แผ่นดิน.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว วิชชา ๓
เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
ในกัปที่ ๖๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
๓ ครั้ง ทรงพระนามว่า เอกาทัสสิตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาลัมพนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอาลัมพนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
อชินทายกเถราปทานที่ ๒ (๒๒๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายท่อนหนัง
[๒๒๔] ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์เป็นคนคอยต้อนรับ
หมู่คณะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่อง
บูชา.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ข้าพระองค์ได้ถวายท่อนหนังแด่พระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า สิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์
เสวยสมบัติแล้ว เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ข้าพระองค์ทรงกาย
อันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายหนังสัตว์ใด
ด้วยการถวายหนังสัตว์นั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายหนังสัตว์.
ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระนามว่า สุทายกะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอชินทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอชินทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
เทวรัตนิยเถราปทานที่ ๓ (๒๒๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนื้อ
[๒๒๕] เมื่อก่อนนี้เราเป็นพรานเนื้อ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้
ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่องบูชา ในป่าใหญ่.
เราจึงถวายชิ้นเนื้อแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ผู้
แสวงหาคุณใหญ่ เราได้เสวยอิสริยยศในโลก (นี้) พร้อมทั้ง
เทวโลก ด้วยการถวายเนื้อนี้.
รัตนะย่อมบังเกิดแก่เรา รัตนะ ๒ ประการ เกิดแก่เรา
ในโลก เพื่อบรรลุธรรมในปัจจุบัน เราย่อมเสวยรัตนะทั้งหมด
นั้น เพราะผลแห่งการถวายเนื้อ ตัวของเราอ่อนและปัญญา
ของเรารู้ได้ละเอียดละออ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเนื้อใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายเนื้อนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
เนื้อ.
ในกัปที่ ๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีพระนามว่า มหาโรหิตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเทวรัตนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเทวรัตนิยเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
อารักขทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างไพรที
[๒๒๖] เราได้สร้างไพรทีถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า สิทธัตถะ และได้ถวายอารักขาแด่พระสุคตเจ้า ผู้แสวง
หาคุณอันใหญ่หลวง.
ด้วยกรรมพิเศษนั้น เราไม่เห็นภัยที่น่าหวาดเสียวเลย
ความสะดุ้งกลัวไม่มีแก่เราผู้เกิดแล้วในภพไหน ๆ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ให้สร้างไพรทีใดในกาลก่อน
ด้วยการสร้างไพรทีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การสร้างไพรทีถวาย.
ในกัปที่ ๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
อปัสเสนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอารักขทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอารักขทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
อพยาธิกเถราปทานที่ ๕ (๒๒๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายโรงไฟ
[๒๒๗] เราได้ถวายโรงไฟแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี ได้ถวายอาวาสและเครื่องรองรับน้ำร้อนแด่ภิกษุอาพาธ
ด้วยกรรมนั้น อัตภาพของเราอันผู้มีฤทธิ์นิรมิตดีแล้ว เราไม่
รู้จักป่วยไข้เลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายโรงไฟใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายโรงไฟนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายโรงไฟ และในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิพระองค์หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน สมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอพยาธิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอพยาธิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
วกุลปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๒๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกพิกุล
[๒๒๘] ชนทั้งหลายรู้จักชื่อเราว่า นารทะ รู้จักเราว่า กัสสปะ
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้เลิศกว่าบรรดา
สมณะ อันเทวดาสักการะ ทรงไว้ซึ่งอนุพยัญชนะ สมควร
รับเครื่องบูชา เราถือเอาดอกพิกุลไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า
โรมสะ ทรงสวมพวงดอกไม้เป็นอาภรณ์ มียาน พลและ
พาหนะพรั่งพร้อม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวกุลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวกุลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
โสวัณณวฏังสกิยเถราปทานที่ ๗ (๒๒๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัย
[๒๒๙] เราเดินอยู่ตามพื้นที่สวน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น
นายกของโลก เราได้ถือมาลัยประดับศีรษะที่ทำด้วยทอง อัน
สร้าง (ตกแต่ง) อย่างดี ขึ้นคอช้างไปอย่างรีบด่วน บูชาแด่
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใดด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า มหาปตาปะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสวัณณวฏังสกิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโสวัณณวฏังสกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
มิญชวฏังสกิยเถราปทานที่ ๘ (๒๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาโพธิพฤกษ์
[๒๓๐] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐกว่าบรรดา
เจ้าลัทธิ เสด็จนิพพานแล้ว เราได้ทำการบูชาโพธิพฤกษ์ อัน
เกลื่อนกล่นด้วยมาลัยประดับศีรษะ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำการบูชาใดในกาลนั้น
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
โพธิพฤกษ์.
ในกัปที่ ๒๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่า เมฆัพภะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมิญชวฏังสกิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมิญชวฏังสกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 646
สุกตาเวฬิยเถราปทานที่ ๙ (๒๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพวงมาลัย
[๒๓๑] ในกาลนั้น เราเป็นนายมาลาการมีนามชื่อว่า อสิตะ ได้
ถือเอาพวงมาลัยไปเพื่อน้อมเกล้าถวายแด่พระราชา ยังไม่ทัน
ถึงพระราชา ก็ได้พบพระพุทธเจ้าผู้นำของโลก พระนามว่า
สิขี เราร่าเริงมีจิตโสมนัส ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มี
กำลังมาก มีพระนามว่า เวภาระ มีกำลังมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุกตาเวฬิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสุกตาเวฬิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
เอกวันทนิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๒๓๒] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายบังคมพระพุทธ-
เจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่าเวสสภู ผู้องอาจ สามารถ มี
ความเพียร ผู้ทรงชนะวิเศษ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบังคม.
ในกัปที่ ๒๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรง
พระนามว่า วิคตานันทะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกวนทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกวันทนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
อรรถกถาวรรคที่ ๒๑ เป็นต้น
เบื้องหน้าต่อแต่นี้ไป ทุก ๆ เรื่องทั้งหมด ข้าพเจ้าจักทำการ
พรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น ส่วนในวรรคที่ ๒๑, ๒๒, และ ๒๓ ชื่อ
ของพระเถระทั้งหมดได้แล้วด้วยบุญที่ตนเองได้กระทำไว้, จะต่างกันก็แต่
เพียงบุญที่กระทำไว้เท่านั้น, ชื่อและพระนครที่ประทับอยู่ของพระพุทธเจ้า
ทุก ๆ พระองค์ ผู้ทรงให้พยากรณ์เหล่านั้น แม้ทั้งหมดก็ง่ายทั้งนั้นแล
เพราะมีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลังแล. ส่วนเนื้อความ
แห่งคาถาอปทาน บัณฑิตก็พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว ด้วยการประกอบ
เทียบกับเนื้อความแล.
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาลัมพนทายกเถราปทาน ๒. อชินทายกเถราปทาน ๓.
เทวรัตนิยเถราปทาน ๔. อารักขทายกเถราปทาน ๕. อพยาธิกเถราปทาน
๖. วกุลปุปผิยเถราปทาน ๗. โสวัณณวฏังสกิยเถราปทาน ๘. มิญช-
วฏังสกิยเถราปทาน ๙. สุกตาเวฬิยเถราปทาน ๑๐. เอกวันทนิยเถรา-
ปทาน.
ท่านผู้เห็นประโยชน์ทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.
จบอาลัมพนทายกวรรคที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
อุทกาสนทายิวรรคที่ ๒๔
อุทกาสนทายกเถราปทานที่ ๑ (๒๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะตั้งน้ำ
[๒๓๓] เราออกจากประตูอารามแล้ว ได้ลาดแผ่นกระดาน
(สำหรับนั่ง) ไว้ และได้ตั้งน้ำ (ฉันน้ำใช้) ไว้ เพื่อบรรลุ
ประโยชน์อันสูงสุด.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะการลาดอาสนะ
และตั้งน้ำ.
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
อภิสามะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุทกาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุทกาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
ภาชนทายกเถราปทานที่ ๒ (๒๓๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภาชนะ
[๒๓๔] ในกาลนั้น เราเป็นช่างหม้ออยู่ในนครพันธุมดี เราได้
แบ่งภาชนะถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในนครนั้นเสมอ ๆ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้แบ่งภาชนะถวายภิกษุสงฆ์
แล้ว เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายภาชนะ.
ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
อนันตชลิ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภาชนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบภาชนทายกเถราปทาน
อุทกาสนทายิวรรคที่ ๒๔
๒๓๑. อรรถกถาอุทกาสนทายกเถราปทาน
อปทานเรื่องที่ ๑, ๒ ในวรรคที่ ๒๔ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
สาลปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๒๓๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง
[๒๓๕] ในกาลนั้น เราเป็นคนทำขนมขายอยู่ในนครอรุณวดี
เราได้เห็นพระชินเจ้าพระนามว่าสิขีเสด็จไปทางประตูบ้านเรา.
เรามีใจผ่องใสรับบาตรของพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จมาถึงพอดี
แล้วได้ถวายดอกรังแด่พระองค์.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใด ด้วยการ
ถวายดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกรัง.
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า
อมิตัญชละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสาลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบสาลปุปผิยเถราปทาน
๒๓๓. อรรถกถาสาลปุปผิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อรุณวติยา นคเร มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อรุณ เพราะผุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
ขึ้นกระทำแสงสว่างไปรอบด้าน, ชื่อว่า อรุณวดี เพราะอรุณนั้นมีอยู่ใน
พระนครนั้น อธิบายว่า พระอาทิตย์โผล่ขึ้นทำแสงสว่างไปทั่วพระนคร
นั้น. แม้ในพระนครที่เหลือก็มีพระอาทิตย์ขึ้นเหมือนกัน แต่พึงทราบว่า
ท่านมุ่งกล่าวให้เป็นคำพิเศษ ดุจคำว่า ชื่อว่า มหึส (กระบือ) เพราะ
ย่อมนอนบนแผ่นดิน ทั้ง ๆ ที่สัตว์สี่เท้าทั้งหมดก็นอนบนแผ่นดินเหมือน
กัน แต่พึงทราบว่าท่านมุ่งกล่าวด้วยอำนาจรุฬหีศัพท์. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า อรุณวดี อันมีแสงสว่างดุจการขึ้นไปแห่งอรุณ ประกอบด้วยแสง
สว่างแห่งรัตนะ ๗ ประการ เช่น ทองคำ เงิน แก้วมณีและแก้วมุกดา
เป็นต้น ส่องสว่างไปในที่เช่น กำแพง ปราสาท และถ้ำเป็นต้น, อธิบาย
ว่า ข้าพเจ้าได้เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการทำขนมขาย อยู่ในพระนครอรุณวดี
นั่นแล.
จบอรรถกถาสาลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 653
กิลัญชทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการให้เสื่อลำแพน
[๒๓๖] ในกาลนั้น เราเป็นช่างสาน อยู่ในนครติวราอันน่า
รื่นรมย์ หมู่ชนในนครนั้นเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้ส่องโลกให้สว่างไสว.
หมู่ชนเที่ยวแสวงหาเสื่อลำแพน เพื่อบูชาพระโลกนาถ
เราได้ให้เสื่อลำแพนแก่ชนทั้งหลายผู้ทำพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้เสื่อ
ลำแพน.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่า ชลันธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกิลัญชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกิลัญชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 654
๒๓๔. อรรถกถากิลัญชทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ติวราย ปุเร รมฺเม มีวิเคราะห์ว่า ติวรา เพราะแวดล้อม
ป้องกันด้วยกำแพงถึง ๓ ชั้น. ชื่อว่า รัมมะ เพราะเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
เพราะประกอบด้วยเครื่องอุปโภคมีของเคี้ยวและของกินเป็นต้น ประกอบ
ด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น และประกอบด้วยการฟ้อนและการ
ขับร้องเป็นต้น, เชื่อมความว่า เราได้เป็นช่างสานอยู่ในพระนครติวรา
อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น.
จบอรรถกถากิลัญชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 655
เวทิทายกเถราปทานที่ ๕ (๒๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างไพรที
[๒๓๗] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ให้ช่างก่อสร้างไพรที
ไว้ที่ไม้โพธิพฤกษ์ อันเป็นไม้อุดมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า วิปัสสี.
เพราะเราได้ให้ช่างก่อสร้างไพรที ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพรที.
ในกัปที่ ๑๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนาม
ว่า สูริยสมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเวทิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเวทิทายกเถราปทาน
๒๓๕. อรรถกถาเวทิทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 656
วัณณการกเถราปทานที่ ๖ (๒๓๖)
ว่าด้วยผลแห่งการให้สี
[๒๓๘] ในกาลนั้น เราเป็นช่างย้อมอยู่ในนครอรุณวดี เราย้อม
ภัณฑะ คือ ผ้าที่พระเจดีย์ให้มีสีต่าง ๆ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราย้อมสีใดในกาลนั้น ด้วยการย้อม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้สี.
ในกัปที่ ๒๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่า จันทสมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวัณณการกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวัณณการกเถราปทาน
๒๓๖. อรรถกถาวัณณการกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วณฺณกาโร อห ตทา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วัณณการ
เพราะย่อมทำคือย้อมผ้าทั้งหลายด้วยสี มีสีเขียว เหลืองและแดง เป็นต้น.
เราเป็นช่างย้อมผ้า ในเวลาที่จะเอาผ้าทั้งหลายห่มพระเจดีย์ ก็ย้อมผ้า
ทั้งหลายให้มีสีต่าง ๆ.
จบอรรถกถาวัณณการกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 657
ปิยาลปุปผิยเถราปททานที่ ๗ (๒๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมะหาด
[๒๓๙] ในกาลก่อน เราเป็นพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าชัฏ
เราเห็นต้นมะหาดมีดอกบาน จึงเก็บมาโยน โรยลงที่ทางเดิน.
เรามีใจผ่องใส รับบาตรของพระพุทธเจ้าซึ่งกำลังเสด็จ
ดำเนินอยู่ที่ทาง แล้วได้ถวายดอกมะหาดแด่พระองค์.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปิยาลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปิยาลปุปผิยเถราปทาน
๒๓๗. อรรถกถาปิยาลปุปผิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิยาล ปุปฺผิต ทิสฺวา ได้แก่ เห็นต้นมะหาดมีดอกบานดี.
บทว่า คตมคฺเค ขิปึ อห ความว่า เราเป็นพรานเนื้อ เก็บเอาดอก
มะหาดมาโยนบูชาที่หนทางเสด็จดำเนินของพระพุทธเจ้า.
จบอรรถกถาปิยาลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
อัมพยาคทายกเถราปทานที่ ๘ (๒๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะม่วง
[๒๔๐] เราเป็นผู้ฉลาดในศิลปะของตน ได้ไปสู่ป่าชัฏ ได้พบ
พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดำเนินอยู่ จึงถวายผลมะม่วง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลมะม่วง.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพยาคทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัมพยาคทายกเถราปทาน
๒๓๘. อรรถกถาอัมพยาคทายกเถราปทาน
บทว่า สเก สิปฺเป อปตฺถทฺโธ ความว่า เราเป็นผู้ไม่กระด้าง
เย่อหยิ่ง ตั้งมั่นฉลาดในศิลปะของตัวเอง เช่น ตักกศาสตร์ และพยากรณ-
ศาสตร์เป็นต้น ได้ไปยังป่าชัฏ. บทว่า สมฺพุทฺธ ยนฺต ทิสฺวาน ได้แก่
พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี กำลังเสด็จไปยังละแวกป่า.
บทว่า อมฺพยาค อทาสห ความว่า เราได้ถวายผลมะม่วงแล้ว.
จบอรรถกถาอัมพยาคทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 659
ชคติการกเถราปทานที่ ๙ (๒๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างลานดิน
[๒๔๑] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้สูงสุดกว่านระ
เสด็จนิพพานแล้ว เราได้ให้สร้างลานดินไว้ที่พระสถูปอันอุดม
ของพระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสร้าง
ลานดิน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระชคติการกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบชคติการกเถราปทาน
๒๓๙. อรรถกถาชคติการกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชคตี การิตา มยฺห ความว่า เราได้สร้าง คือให้เขาช่วย
สร้างลานดิน คือระเบียงที่วางดอกไม้อันจัดเป็นสัดส่วน ที่พระเจดีย์
บรรจุพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี.
เรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาชคติการกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 660
วาสิทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๒๔๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมีด
[๒๔๒] ในกาลก่อน เราเป็นช่างทอง อยู่ในติวรานครอันอุดม
เราได้ถวายมีดเล่มหนึ่งแด่พระสยัมภู ผู้ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายมีดใดในกาลนั้น ด้วย
การถวายมีดนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
มีด.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวาสิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวาสิทายกเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุทกาสนทายกเถราปทาน ๒. ภาชนทายกเถราปทาน ๓.
สาลปุปผิยเถราปทาน ๔. กิลัญชทายกเถราปทาน ๕. เวทิทายกเถรา-
ปทาน ๖. วัณณการกเถราปทาน ๗. ปิยาลปุปผิยเถราปทาน ๘. อัม-
พยาคทายกเถราปทาน ๙. ชคติการกเถราปทาน ๑๐. วาสิทายกเถรา-
ปทาน.
และมีคาถา ๓๘ คาถา ฉะนี้แล.
จบอุทกาสนทายิวรรคที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 661
ตุวรทายิวรรคที่ ๒๕
ตุวรัฏฐิทายกเถราปทานที่ ๑ (๒๔๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดินแดง
[๒๔๓] ในกาลก่อน เราเป็นนายพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าใหญ่
เราเห็นดินแดง จึงได้ถือเอามาถวายแก่สงฆ์.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายก้อนดิน
แดง.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตุวรัฏฐิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตุวรัฏฐิทายกเถราปทาน
ตุวรทายกวรรคที่ ๒๕
๒๔๑. อรรถกถาตุวรัฏฐทายกเถราปทาน๑
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ ในวรรคที่ ๒๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภริตฺวา ตุวรมาทาย ความว่า เราได้ถือเอาดินแดงด้วย
ภาชนะ แล้วได้ถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่ในท่ามกลางป่า.
จบอรรถกถาตุวรัฏฐทายกเถราปทาน
๑. บาลีว่า ตุวรัฏฐิทายกเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 662
นาคเกสริยเถราปทานที่ ๒ (๒๔๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบุนนาค
[๒๔๔] เราใส่ลูกธนูไว้ในแล่งแล้ว เข้าไปยังท่ามกลางป่า ได้
เห็นต้นบุนนาคมีดอกเป็นพวง อันขึ้นอยู่ใกล้ทางเดิน จึง
ประคองด้วยมือทั้งสอง ประนมกรอัญชลีบนเศียรเกล้า บูชา
แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
สโมกขรณะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนาคเกสริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนาคเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 663
๒๔๒. อรรถกถานาคเกสริยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธนุ อเทฺวชฺฌ กตฺวา ความว่า ใส่ลูกธนูเที่ยวไปเพื่อ
ฆ่าสัตว์มีเนื้อเป็นต้น. บทว่า เกสร โอคต ทิสฺวา ความว่า เห็น
ต้นบุนนาคที่ดอกบานสะพรั่งเป็นพวง. บทว่า พุทฺธสฺส อภิโรเปสึ ความว่า
เรามีจิตเลื่อมใส ยกขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ติสสะ
ผู้เสด็จไปถึงป่า.
จบอรรถกถานาคสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 664
นฬินเกสริยเถราปทานที่ ๓ (๒๔๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว
[๒๔๕] เราเป็นนกกาน้ำ เที่ยวอยู่ในท่ามกลางชาตสระ ครั้งนั้น
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เสด็จไปใน
อากาศ เรามีใจผ่องใส เอาจะงอยปากคาบดอกบัว บูชาแด่
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
สัตตปัตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนฬินเกสริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนฬินเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 665
๒๔๓. อรรถกถานฬินเกสริยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชลกุกฺกุโฏ ได้แก่ นกกาน้ำเที่ยวอยู่ในชาตสระ. บทว่า
ตุณฺเฑน เกสรึ คยฺห ความว่า เราได้เอาจะงอยปากคาบดอกบัว
ยกขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้เสด็จไปทางอากาศ.
จบอรรถกถานฬินเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
วิรวิปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเท้ายายม่อม
[๒๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก เสด็จดำเนินไปพร้อม
ด้วยพระขีณาสพหลายพัน เราเก็บดอกเท้ายายม่อมบูชาแด่
พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวิรวิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวิรวิปุปผิยเถราปทาน
๒๔๔. อรรถกถาวิรวปุปผิยเถราปทาน๑
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิรวปุปฺผมาทาย ความว่า เราได้ถือเอากลุ่มดอกไม้
อันได้นามว่า วิรว (ดอกเท้ายายม่อม) เพราะเบ่งบานในเวลาที่นก
ส่งเสียงร้องดัง เพราะร้องได้หลายเสียง คือส่งเสียงดังแล้ว ยกขึ้นบูชา
แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ.
จบอรรถกถาวิรวปุปผิยเถราปทาน
๑. บาลีว่า วิรวิปุปผิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 667
กุฏิธูปกเถราปทานที่ ๕ (๒๔๕)
ว่าด้วยผลแห่งการให้เครื่องอบ
[๒๔๗] เราเป็นคนรักษาพระคันธกุฎี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ เรามีจิตเลื่อมใส อบพระคันธกุฎีให้
หอมด้วยมือทั้งสองของตน ตามกาลอันสมควร.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้เครื่อง
อบกลิ่นหอม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุฏิธูปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกุฏิธูปกเถราปทาน
๒๔๕. อรรถกถากุฏิธูปกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุฏิโคปโก คือ เป็นคนรักษาเสนาสนะ. บทว่า กาเลน
กาล ธูเปสิ ความว่า เราได้อบพระคันธกุฎีให้หอมตามกาลอันสมควรที่
มาถึงเข้า, อธิบายว่า เราทำพระคันธกุฎีให้มีกลิ่นหอมด้วยธูป. อธิบายว่า
เราได้อบกลิ่นหอมด้วยธูป ที่พระคันธกุฎีตามกาลอันสมควร แด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ.
จบอรรถกถากุฏิธูปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 668
ปัตตทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๔๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบาตร
[๒๔๘] ด้วยการฝึกอย่างดีเยี่ยม เราได้ถวายบาตรแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ผู้ตรง ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบาตร.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัตตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัตตทายกเถราปทาน
ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๔๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระธาตุ
[๒๔๙] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้สูงสุดกว่านระ
เสด็จนิพพานแล้ว เราได้พระธาตุองค์หนึ่ง ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจอมสัตว์ ผู้คงที่.
เราเก็บพระธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-
อาทิตย์นั้นไว้บูชาตลอด ๕ ปี ดังพระองค์ผู้สูงสุดกว่านระ
ยังดำรงอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 669
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะบำรุงพระธาตุ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบธาตุปูชกเถราปทาน
๒๔๖. อรรถกถาปัตตทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๖ และที่ ๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 670
สัตตสัตตลิปุปผปูชกเถราปทานที่ ๘ (๒๔๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมะลิ
[๒๕๐] ในกาลนั้น เราได้วางดอกมะลิซ้อน ๗ ดอกไว้บนศีรษะ
บูชาแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า เวสสภู ผู้สูงสุดกว่านระ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาดอกไม้ใด ด้วยการบูชา
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระสัตตสัตตลิปุปผปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสัตตสัตตลิปุปผปูชกเถราปทาน
๒๔๘. อรรถกถาสัตตสัตตลิปุปผปูชกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺต สตฺตลิปุปฺผานิ ความว่า เราได้วางดอกไม้ ๗ ดอก
คือดอกมะลิซ้อนไว้บนศีรษะ ยกขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
เวสสภู.
จบอรรถกถาสัตตสัตตลิปุปผปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 671
พิมพิชาลปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๒๔๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมะกล่ำหลวง
[๒๕๑] พระสยัมภูชินเจ้าผู้อัครบุคคลพระนามว่า ปทุมุตตระ
ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบท ในกาลนั้น เราทำดอก
มะกล่ำหลวงให้แน่น บูชาแด่พระพุทธเจ้าผู้จอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๖๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง
ทรงพระนามว่า กิญชไกรสร ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพิมพิชาลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพิมพิชาลปุปผิยเถราปทาน
๒๔๙. อรรถกถาพิมพิชาลปุปผิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พิมฺพิชาลกปุปฺผานิ ความว่า เราได้เอาดอกมะกล่ำหลวง
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ.
จบอรรถกถาพิมพิชาลปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 672
อุททาลทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๒๕๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคูน
[๒๕๒] พระสยัมภูผู้ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ มีพระนามชื่อว่า กุกกุธะ
เสด็จออกจากป่าชัฏ เสด็จถึงแม่น้ำใหญ่.
ในกาลนั้นเรามีใจเลื่อมใส ได้ถือเอาดอกคูนมาถวาย
แด่พระสยัมภู ผู้สำรวมอินทรีย์เป็นอันดี ผู้ซื่อตรง.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วยการ
บูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายดอกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุททาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุททาลทายกเถราปทาน
๒๕๐. อรรถกถาอุททาลทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทฺทาลก คเหตฺวาน ความว่า เราได้เก็บเอาดอกคูนที่
เกิดใกล้ชาตสระ มาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ.๑ คำที่
เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาอุททาลทายกเถราปทาน
จบอรรถกถาตุวรทายิวรรคที่ ๒๕
๑. บาลี กุกกุธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 673
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตุวรัฏฐิทายกเถราปทาน ๒. นาคเกสริยเถราปทาน ๓.นฬิน-
เกสริยเถราปทาน ๔. วิรวิปุปผิยเถราปทาน ๕. กุฏิธูปกเถราปทาน
๖. ปัตตทายกเถราปทาน ๗. ธาตุปูชกเถราปทาน ๘. สัตตสัตตลิปุปผปูชก-
เถราปทาน ๙. พิมพิชาลปุปผิยเถราปทาน ๑๐. อุททาลทายกเถราปทาน.
บัณฑิตทั้งหลายนับคาถาได้ ๓๗ คาถาฉะนี้แล.
จบตุวรทายิวรรคที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 674
โถมกวรรคที่ ๒๖
โถมกเถราปทานที่ ๑ (๒๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๒๕๓] เราอยู่ในเทวโลก ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงแล้วเบิกบานใจ ได้กล่าว
คำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอ
นอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด พระ-
องค์ทรงแสดงอมฤตบท ทรงยังชนเป็นมากให้ข้ามได้.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้กล่าวาจาใดในกาลนั้น ด้วย
การกล่าววาจานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโถมกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโถมกเถราปทาน
อรรถกถาโถมกวรรคที่ ๒๖
อปทานที่ ๑ ในวรรคที่ ๒๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 675
เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๒ (๒๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๒๕๔] เรากับภริยา ต้องการจะก่อสร้างกุศลสมภาร ในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด จึงละเพศเทวดามาในมนุษย-
โลกนี้.
เรามีใจผ่องใสได้ถวายภิกษาแก่พระเถระ ผู้เป็นสาวก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีนามชื่อว่า เทวละ.
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
บิณฑบาต.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกาสนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 676
๒๕๒. อรรถกถาเอกาสนทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิชหิตฺวา นาม สมฺพุทฺโธ ความว่า ละทิ้งร่างเทวดา
แปลงเพศเป็นมนุษย์. บทว่า อธิการ กตฺตุกาโม ความว่า เราเป็น
เทวราชา นามว่า เทวระ พร้อมด้วยภริยา มีความประสงค์จะทำบุญ
สมภารให้ยิ่งขึ้นไป เพราะมีความเอื้อเฟื้อในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ จึงได้พากันมาในมนุษยโลกนี้. บทว่า ตสฺส ภิกฺขา มยา
ทินฺนา ความว่า เรามีใจเลื่อมใสได้ถวายภิกษาคือบิณฑบาตแด่สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ซึ่งท่านมีชื่อว่า เทวละ.
จบอรรถกถาเอกาสนทายกเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 677
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๓ (๒๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการทำพุทธบูชา
[๒๕๕] พระสยัมภูสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่แพ้อะไร ๆ พระนามว่า
อานันทะ เสด็จปรินิพพานแล้วในป่าชัฏ อันปราศจากมนุษย์.
ในกาลนั้นเราจากเทวโลกมาในมนุษย์โลกนี้ ได้ทำจิตกา-
ธารแล้วถวายพระเพลิงพระสรีระ ณ ที่นั้น และได้ทำสักการะ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจิตกปูชกเถราปทาน
๒๕๓. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อานนฺโท นาม สมฺพุทฺโธ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระนามว่า อานันทะ เพราะยังความเพลิดเพลิน คือความยินดีให้เกิดขึ้น
(แก่มหาชน). บทว่า อมนุสฺสมฺหิ กานเน ความว่า เสด็จปรินิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 678
แล้วในป่าชัฏ คือป่าใหญ่ มีพวกอมนุษย์ยึดครอง คืออันตรธานไปแล้ว
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ถึงการมองไม่เห็น. บทว่า สรีร
ตตฺถ ฌาเปสึ ความว่า เราจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้แล้ว ได้ทำจิต-
กาธารแล้ว ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ในป่านั้นแล.
จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 679
จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๒๕๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจำปา
[๒๕๖] มีภูเขาชื่อว่าวิกนะ อยู่ในที่ไม่ไกลแต่เขาหิมวันต์ พระ-
สมณเจ้า ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ประทับอยู่ ณ ท่ามกลาง
ภูเขานั้น เราได้เห็นพระองค์ท่านสงบระงับ มีใจผ่องใส
ได้ถือเอาดอกจำปา ๓ ดอกโปรยลงบูชา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจัมปกปุปผิยเถราปทาน
สัตตปาฏลิยเถราปทานที่ ๕ (๒๕๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกแคฝอย
[๒๕๗] เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้รุ่งเรืองโชติช่วง ดังดอก
กรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ระหว่างภูเขา จึงได้เก็บดอกแคฝอย
มาบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 680
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัตปาฏลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัตตปาฏลิยเถราปทาน
อรรถกถาอปทานที่ ๔ และที่ ๕
อปทานที่ ๔ และที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 681
อุปาหนทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายรองเท้า
[๒๕๘] ในกาลนั้นเราชื่อว่า จันทนะ เป็นบุตรของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า เราได้ถวายรองเท้าคู่หนึ่ง (ด้วยความปรารถนาว่า)
ท่านจงยังความตรัสรู้ให้สำเร็จแก่เรา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายรองเท้าใด ในกาลนั้น
ด้วยการถวายรองเท้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายรองเท้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุปาหนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุปาหนทายกเถราปทาน
๒๕๖. อรรถกถาอปาหนทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโหสึ จนฺทโน นาม ได้แก่ชื่อว่า จันทนะ ก็ด้วย
อำนาจนามบัญญัติ. บทว่า สมฺพุทฺธสฺสตฺรโช ความว่า ในกาลก่อน
เราเป็นบุตรของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เกิดแต่อกของท่าน. บทว่า เอโก-
ปาหโน มยา ทินฺโน ความว่า เราได้ถวายรองเท้าคู่หนึ่ง. บทว่า
โพธึ สมฺปชฺช เม ตุว ความว่า ด้วยการที่เราได้ถวายรองเท้าคู่หนึ่ง
นั้น ขอท่านจงให้เราได้บรรลุสำเร็จพระสาวกโพธิญาณเถิด.
จบอรรถกถาอุปาหนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 682
มัญชริปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ต่าง ๆ
[๒๕๙] เราทำพุ่มดอกไม้แล้ว เดินไปในถนน ได้เห็น
พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสมณะทั้งหลาย แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส และมีปีติอย่างยิ่ง จึง
ประคองดอกไม้ด้วยมือทั้งสอง บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
บูชาด้วยดอกไม้.
ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพระนามว่า โชติยา มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมัญชริปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมัญชริปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 683
๒๕๗. อรรถกถามัญชริปูชกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มญฺชริก กริตฺวาน ความว่า เราถือพุ่มดอกไม้คือผอบ
ดอกไม้สด เดินไปตามถนนแล้วแล. บทว่า ภิกฺขุ สงฺฆปุรกฺขต ได้แก่
แวดล้อมด้วยหมู่แห่งภิกษุ. บทว่า สมณานคฺค เชื่อมความว่า เราได้
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เลิศประเสริฐกว่าเหล่าภิกษุสมณะทั้งหลาย.
บทว่า พุทฺธสฺส อภิโรปยึ ความว่า ก็ครั้นเราได้เห็นแล้ว ได้เอามือ
ทั้งสองประคองยกดอกไม้นั้นขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ผุสสะ.
จบอรรถกถามัญชริปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 684
ปัณณทายกเถราปทานที่ ๘ (๒๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายใบไม้
[๒๖๐] เราเป็นผู้ทรง(นุ่งห่ม) ผ้าเปลือกไม้กรองอยู่ที่ภูเขาหิม-
วันต์ เป็นผู้มีของไม่เค็มและใบไม้เป็นอาหาร และสำรวม
ในศีลทั้งหลาย.
เมื่อถึงเวลาอาหารเช้า พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
เสด็จมาหาเรา เราเลื่อมใส ได้ถวายอาหารนั้นแด่พระ-
พุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายใบไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายใบไม้.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช
พระนามว่า ยทัตถิยะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัณณทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบปัณณทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 685
๒๕๘. อรรถกถาปัณณทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโลณปณฺณภกฺโขมฺหิ ความว่า เรานำเอาน้ำมันและใบไม้
เป็นต้นมาเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงชีพ ต้มใบไม้ที่ปราศจากรสเค็มกินเป็น
อาหาร. อธิบายว่า เรามีใบไม้รสไม่เค็มเป็นอาหารเลี้ยงชีพ. บทว่า
นิยเมสุ จ สวุโต ความว่า สำรวมในศีล ๕ มีปาณาติปาตา เวรมณี
เป็นต้นเป็นนิตย์ ที่ชาวโลกกำหนดนิยมสำรวมกันแล้ว. บทว่า ปาตราเส
อนุปฺปตฺเต คือ เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารตอนเช้า. บทว่า สิทฺธตฺโถ
อุปคจฺฉิ ม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จ
มาหาใกล้เราแล้ว. บทว่า ตาห พุทฺธสฺส ปาทาสึ ความว่า เราได้
ถวายใบไม้ที่ไม่เค็มนั้นแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล.
จบอรรถกถาปัณณทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 686
กุฏิทายกเถราปทานที่ ๙ (๒๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกุฏี
[๒๖๑] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวไปสู่ป่า ประทับ
อยู่ที่โคนไม้ เราได้สร้างบรรณศาลาถวายแด่พระองค์ผู้ไม่
ทรงแพ้อะไร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายกุฎีใบไม้ใด ด้วยการ
ถวายกุฎีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎี.
ในกัปที่ ๓๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๖ ครั้ง
มหาชนขนานพระนามว่า สัพพัตถอภิวัสสี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุฏิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบกุฏิทายกเถราปทาน
๒๕๙. อรรถกถากกุฏิทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๙ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากุฏิทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 687
อัคคปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคันทรง
[๒๖๒] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี มีพระฉวีวรรณ
ดังทองคำ ประทับนั่งอยู่ในระหว่างภูเขา รุ่งเรืองด้วยพระ-
รัศมีดังกองเพลิง เราถือเอาดอกคันทรง เข้าไปเฝ้าพระองค์
ผู้อุดมกว่านระ มีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส บูชาแด่พระ-
พุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระ-
นามว่า มิตตฆาตกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัคคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัคคปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 688
๒๖๐. อรรถกถาอัคคปุปผิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สิขิน สิขิน ยถา ความว่า เราได้พบเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ รุ่งโรจน์สว่างไสวด้วย
พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระสรีระ คล้ายกับกองไฟที่ลุกโพลง
ฉะนั้น. บทว่า อคฺคช ปุปฺผมาทาย ความว่า เราได้ถือเอาดอกคันทรง
ยกขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี แล.
อรรถกถาอัคคปุปผิยเถราปทาน
จบอรรถกถาโถมกวรรคที่ ๒๖
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โถมกเถราปทาน ๒. เอกาสนทายกเถราปทาน ๓. จิตกปูชก-
เถราปทาน ๔. จัมปกปุปผิยเถราปทาน ๕. สัตตปาฏลิยเถราปทาน
๖. อุปาหนทายกเถราปทาน ๗. มัญชริปูชกเถราปทาน ๘. ปัณณทายก-
เถราปทาน ๙. กุฏิทายกเถราปทาน ๑๐. อัคคปุปผิยเถราปทาน.
และในวรรคนี้ นับคาถาได้ ๔๑ คาถาเท่านั้น.
จบโถมวรรคที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 689
ปทุมุกเขปวรรคที่ ๒๗
อากาสุกขิปิยเถราปทานที่ ๑ (๒๖๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว
[๒๖๓] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ มีพระ-
ฉวีวรรณดังทองคำ เสด็จดำเนินอยู่ในระหว่างตลาด จึงถือ
เอาดอกบัวงาม ๒ ดอกเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ประเสริฐกว่านระ
เราวางดอกบัวดอกหนึ่งไว้แทบพระบาทของพระพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐสุด อีกดอกหนึ่ง เราหยิบโยนขึ้นไปในอากาศ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายดอกไม้.
ในกัปที่ ๓๒ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระนามว่า อันตลิกขกร มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอากาสุกขิปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอากาสุกขิปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 690
ปทุมุกเขปวรรคที่ ๒๗
๒๖๑. อรรถกถาอากาสุขิปิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๒๗ ดังต่อไปนี้
บทว่า ชลชคฺเค ทุเว คยฺห ความว่า ข้าพเจ้าได้ถือเอาดอกบัว
เป็นต้น ๒ ดอก ซึ่งเกิดในน้ำแล้ว ไปใกล้พระพุทธเจ้า วางบูชาที่แทบ
พระบาท ๑ ดอก, อธิบายว่า อีกดอกหนึ่งก็โยนขึ้นไปในอากาศ.
จบอรรถกถาอากาสุกขิปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 691
เตลมักขยิเถราปทานที่ ๒ (๒๖๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยการทาน้ำมัน
[๒๖๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ประเสริฐ
กว่านระนิพพานแล้ว ในกาลนั้น เราเอาน้ำมันทาที่ไพรทีแห่ง
โพธิพฤกษ์.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทาน้ำมันใดในกาลนั้น ด้วย
การทาน้ำมันนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทา
น้ำมัน.
ในกัปที่ ๒๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์พระนามว่า สุฉวี ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเตลมักขิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเตลมักขิยเถราปทาน
๒๖๒. อรรถกถาเตลมักขิยเถราปทาน
อปทานที่ ๒ มีเนื้อความปรากฏชัดแล้วทั้งหมดแล.
จบอรรถกถาเตลมักขิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 692
อัฑฒจันทิยเถราปทานที่ ๓ (๒๖๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาโพธิพฤกษ์
[๒๖๕] เราได้ถวายอัฒจันทร์ไว้ที่ไม้โพธิพฤกษ์อันอุดม แห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาไม้โพธิพฤกษ์ด้วยอัฒ-
จันทร์ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการบูชาโพธิพฤกษ์.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์พระนามว่าเทวละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ นี้
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัฑฒจันทิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัฑฒจันทิยเถราปทาน
๒๖๓. อรรถกถาอัฑฒจันทิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โพธิยา ปาทปุตฺตเม ได้แก่ ไม้โพธิพฤกษ์อันอุดม. บทว่า
อฑฺฒจนฺท มยา ทินฺน ความว่า เราได้เอาดอกไม้เป็นจำนวนมากมาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 693
บูชา ด้วยวิธีการทำเป็นอัฑฒจันทร์ที่ไม้โพธิพฤกษ์นั้น. บทว่า ธรณีรุห-
ปาทเป ความว่า ที่ชื่อว่า ธรณี เพราะรองรับไว้ซึ่ง ต้นไม้ ภูเขา และ
รัตนะเป็นต้นมากมาย. ธรณี คือ ปฐพี. ชื่อว่า ธรณีรุหะ เพราะงอก
ขึ้นตั้งมั่นบนแผ่นดิน. ชื่อว่า ปาทปะ เพราะดูดน้ำทางราก คือโคนต้น
แล้วจึงแผ่ส่งไปตามลำต้นและค่าคบเป็นต้น, ธรณีรุหะ ศัพท์ กับ ปาทปะ
ศัพท์รวมกันเป็น ธรณีรุหปาทปะ อธิบายว่า เราได้เอาดอกไม้บูชาแล้ว
ที่ต้นโพธิพฤกษ์นั้นแล.
จบอรรถกถาอัฒจันทิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 694
ทีปทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป
[๒๖๖] ในกาลนั้น เราเป็นเทพบุตร ลงมาสู่แผ่นดิน มีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายประทีป ๕ ดวงด้วยมือทั้งสองของตน.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายประทีปใด ในกาลนั้น
ด้วยการถวายประทีปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายประทีป.
ในกัปที่ ๕๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีนามว่าสมันตจักษุ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระทีปทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบทีปทายกเถราปทาน
๒๖๔. อรรถกถาทีปทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๔ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 695
วิฬาลิทายกเถราปทานที่ ๕ (๒๖๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมันมือเสือ
[๒๖๗] มีภูเขาชื่อว่าโรมสะ อยู่ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์
พระสมณเจ้าผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว อยู่ที่เชิงเขานั้น เราได้
ถือเอามันมือเสือไปถวายแด่พระสมณเจ้า พระสยัมภูมหา-
วีรเจ้าผู้ไม่แพ้อะไร ๆ ตรัสอนุโมทนา ว่าท่านมีใจผ่องใส
ถวายมันมือเสือแก่เรา ผลจะบังเกิดแก่ท่านในภพที่ท่านเกิด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายมันมือเสือใด ด้วยทาน
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายมันมือเสือ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวิฬาลิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวิฬาลิทายกเถราปทาน
๒๖๕. อรรถกถาวิฬาลิทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ได้แก่ ใกล้หิมวันตบรรพต. บทว่า
โรมโส นาม ปพฺพโต ความว่า ได้มีภูเขาชื่อว่า โรมสะ เพราะดาดาษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 696
ไปด้วยหญ้าแพรกเป็นต้นล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ เถาวัลย์ปกคลุม. บทว่า
ตมฺหิ ปพฺพตปาทมฺหิ ได้แก่ ที่เชิงเขาลูกนั้น. บทว่า สมโณ ภาวิตินฺทฺริโย
ความว่า สมณะผู้มีบาปอันสงบระงับแล้ว ผู้เข้าไปสงบกิเลสได้แล้ว มี
อินทรีย์อันเจริญแล้ว คือรักษาอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้นได้เป็นอย่างดี.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า สมณะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว คือเจริญอินทรีย์มี
สัทธินทรีย์เป็นต้นได้เป็นอย่างดี. อธิบายว่า เราได้ถือเอามันมือเสือถวาย
แด่พระสมณเจ้ารูปนั้นแล.
จบอรรถกถาวิฬาลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 697
มัจฉทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายปลา
[๒๖๘] ในกาลนั้น เราเป็นนกออกอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา
ได้คาบปลาตัวใหญ่มาถวายแด่พระมุนี พระนามว่าสิทธัตถะ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายปลาใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายปลา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ เเละ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมัจฉทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมัจฉทายกเถราปทาน
ชวหังสกเถราปทานที่ ๗ (๒๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๒๖๙] ในกาลนั้น เราเป็นพรานป่าอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จไปในอากาศ
เราประนมมืออัญชลีแลดูพระมหามุนีอยู่ ได้ยังจิตของตนให้
เลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมพระผู้นำโลก.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายบังคมพระนราสภใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 698
ด้วยการถวายบังคมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายบังคม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระชวหังสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบชวหังสกเถราปทาน
สลปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๒๖๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกสน
[๒๗๐] ในกาลนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้รุ่งเรืองผ่องใส
ด้วยรัศมี เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส และมีปีติอย่างยิ่ง ถือ
เอาดอกสนมาโปรยลงบูชาแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 699
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสลฬปุปผิยเถราปทาน
อุปาคตหาสนิยเถราปทานที่ ๙ (๒๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม
[๒๗๑] มีสระที่สร้างอย่างดีอยู่ที่ท่ามกลางภูเขาหิมวันต์ เราเป็น
ผีเสื้อน้ำ มีศีรษะอยู่เบื้องล่างน่ากลัว อยู่ในสระนั้น.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้อนุเคราะห์ ประกอบ
ด้วยพระกรุณาผู้นำของโลก พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา
จึงเสด็จมาในสำนักของเรา.
เราได้เห็นพระมหาวีรเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เลิศกว่า
นระ เสด็จเข้ามา จึงออกจากที่อยู่อาศัยแล้ว ได้ถวายบังคม
แด่พระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายบังคมพระศาสดา ผู้
เป็นอุดมบุรุษใด ด้วยการถวายบังคมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบังคม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 700
ทราบว่า ท่านพระอุปาคตหาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุปาคตหาสนิยเถราปทาน
ตรณิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งการข้ามส่ง
[๒๗๒] พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี มี
พระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้นำโลก แวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
ประทับยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ เรือสำหรับจะข้ามในห้วงมหรรณพ
นั้นไม่มี เราจึงออกจากแม่น้ำ ข้ามส่งพระศาสดาผู้เป็น
นายกของโลก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราข้ามส่งพระศาสดาผู้สูงสุดกว่า
นระใด ด้วยการข้ามส่งนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งการข้ามส่ง.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบตรณิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 701
๒๖๖. อรรถกถามัจฉทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐. มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทุมุกเขปวรรคที่ ๒๗
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อากาสุกขิปิยเถราปทาน ๒. เตลมักขิยเถราปทาน ๓.อัฑฒ-
จันทิยเถราปทาน ๔. ทีปทายกเถราปทาน ๕. วิฬาลิทายกเถราปทาน
๖. มัจฉทายกเถราปทาน ๗. ชวหังสกเถราปทาน ๘. สลฬปุปผิยเถรา-
ทาน ๙. อุปาคตหาสนิยเถราปทาน ๑๐. ตรณิยเถราปทาน.
และในวรรคนี้นับคาถาได้ ๔๑ คาถา.
จบปทุมุเขปวรรคที่ ๒๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 702
สุวัณณพิพโพหนวรรคที่ ๒๘
สุวัณณพิพโพหนิยเถราปทานที่ ๑ (๒๗๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายหมอน
[๒๗๓] เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายอาสนะหนึ่งอาสนะ และได้
ถวายหมอนด้วยมือทั้งสองของตน เพื่อบรรลุประโยชน์อัน
สูงสุด.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายหมอน.
ในกัปที่ ๖๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์พระนามว่า อสมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุวัณณพิพโพหนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสุวัณณพิพโพหนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 703
สุวัณณพิพโพหนวรรคที่ ๒๘
๒๗๑. อรรถกถาสุวัณณพิพโพหนเถราปทาน๑
อปทานที่ ๑ วรรคที่ ๒๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุวัณณพิพโพหนเถราปทาน
๑. บาลีว่า สุวัณณพิพโพหนิยเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 704
ติลมุฏฐิยเถราปทานที่ ๒ (๒๗๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายงา
[๒๗๔] พระศาสดาอัครนายกของโลก ทรงทราบความดำริของ
เรา มีพระกายอันสำเร็จด้วยพระทัย เสด็จเข้ามาด้วยฤทธิ์
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถวายบังคมพระศาสดาผู้อุดมบุรุษ
ซึ่งเสด็จเข้ามา แล้วได้ถวายงากำมือหนึ่ง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายงากำมือ
หนึ่ง.
ในกัปที่ ๑๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่า คันธิยะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติลมุฏฐิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบติลมุฏฐิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 705
๒๗๒. อรรถกถาติลมุฏฐิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มโนมเยน กาเยน ความว่า มีพระกายอันเป็นไปตาม
อำนาจพระหทัย.
จบอรรถกถาติลมุฏฐิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 706
จังโกฏกิยเถราปทานที่ ๓ (๒๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผอบดอกไม้
[๒๗๕] พระศาสดาพระนามว่า สิทธัตถะ ประทับอยู่ในระหว่าง
ภูเขาใกล้มหาสมุทร เราเข้าไปเฝ้าแล้ว ทำบุญมีการกราบไหว้
เป็นต้น ได้ถวายผอบดอกไม้.
ครั้นเราถวายผอบดอกไม้แด่พระสยัมภู พระนามว่า สิท-
ธัตถะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้อนุเคราะห์แล้ว บันเทิง
อยู่ในสวรรค์ตลอดหนึ่งกัป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผอบดอกไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ผอบดอกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจังโกฏกิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจังโกฏกิยเถราปทาน
๒๗๓. อรรถกถาจังโกฏกิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาสมุทฺท นิสฺสาย ความว่า ประทับอยู่ระหว่างภูเขาซึ่ง
ตั้งอยู่ใกล้มหาสาคร, อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 707
เสด็จประทับอยู่ก็เพราะทรงพระประสงค์ความสงบวิเวก. บทว่า ปจฺจุคฺ-
คนฺตฺวานกาสห ความว่า เราได้ต้อนรับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นแล้ว ก็ได้บำเพ็ญบุญมีการกราบไหว้เป็นต้น. บทว่า จงฺโกฏกมทาสห
ความว่า เราได้ถวายบูชาด้วยผอบเต็มด้วยดอกไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ แล.
จบอรรถกถาจังโกฏกิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 708
อัพภัญชนทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๗๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายยาหยอดตา
[๒๗๖] เราได้ถวายยาหยอดตาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
โกณฑัญญะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ร้ายกาจ
ไม่ทรงมีธรรมเครื่องเนิ่นช้า มีปกติเพ่งฌาน เป็นไปล่วงโมหะ
ทั้งปวง ทรงแสวงหาประโยชน์แก่โลกทั้งมวล ผู้เป็นจอมสัตว์
ผู้มั่นคง.
ในกัปอันหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราได้ถวายยาหยอดตา
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายยา
หยอดตา.
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม-
กษัตริย์พระนามว่า วิรัปปะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัพภัญชนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัพภัญชนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 709
๒๗๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อกกฺกสจิตฺตสฺสาถ คือ มีพระหฤทัยไม่หยาบคาย, อถ
ศัพท์ เป็นเพียงปทปูรณะ (คือให้ครบอักษรตามคณะฉันท์เท่านั้น).
จบอรรถกถาอัพภัญชนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 710
เอกัญชลิยเถราปทานที่ ๕ (๒๗๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเครื่องลาด
[๒๗๗] เมื่อเรามอบถวายเครื่องลาดใบไม้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งประทับอยู่ที่โคนต้นมะเดื่อ แล้วถวายโอกาสที่อยู่แด่พระ-
สมณะผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
เราประนมอัญชลีแล้วลาดเครื่องลาดดอกไม้ถวายแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้เป็นจอมสัตว์ เป็นนาถะ
ของโลก ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำเครื่องลาดใบไม้ใด
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
เครื่องลาด.
ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็น
จอมมนุษย์ พระนามว่า เอกอัญชลิกะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกัญชลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 711
๒๗๕. อรรถกถาเอกัญชลิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทุมฺพเร วสนฺตสฺส ความว่า แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ติสสะ ซึ่งประทับอยู่ที่โคนต้นมะเดื่อ คือที่เงาของต้นไม้.
บทว่า นิยเต ปณฺณสนฺถเร ได้แก่ เมื่อเรามอบถวายเครื่องลาดใบไม้
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งบนอาสนะกิ่งไม้. บทว่า วุตฺโถกาโส
มยา ทินฺโน ความว่า เราได้มอบถวายโอกาสคือที่อยู่อันสงัด ได้แก่
มณฑปที่มีประตูเปิดปิดได้.
จบอรรถกถาเอกัญชลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 712
โปตถทายกเถราปทานที่ ๖ (๒๗๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าเปลือกไม้
[๒๗๘] เราปรารภพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ ถวาย
ผ้าเปลือกไม้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
เป็นทักขิเณยยบุคคลผู้เลิศ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า
เปลือกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโปตถทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโปตถทายกเถราปทาน
๒๗๖. อรรถกถาโปตถทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โปตฺถทาน มยา ทินฺน ความว่า เราได้ทุบเปลือกไม้ทำ
ให้เป็นผ้าเปลือกไม้ คือ ทำผ้าสาฎกที่ไม่เสมอ ด้วยวิธีการทุบแล้ว ถือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 713
เอาด้ายที่ตระเตรียมไว้มากรอ แล้วให้ทอเป็นผ้าสาฎกสำหรับปูนั่ง หรือ
สำหรับลาดพื้น ด้วยทานนั้น ก็เราได้ถวายผ้าเปลือกไม้นั้นแด่พระรัตน-
ตรัยแล้วแล.
จบอรรถกถาโปตถทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 714
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๗๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาจิตกาธาร
[๒๗๙] เราเที่ยวไปตามกระแสน้า ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา
เก็บดอกย่างทราย ๗ ดอก มาบูชาจิตกาธาร.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาจิตกาธารใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาร.
ในกัปที่ ๖๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนาม
ว่า ปฏิชัคคะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบจิตกปูชกเถราปทาน
๒๗๗. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จนฺทภาคานที ตีเร เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งปัญจมี-
วิภัตติ แปลว่า แต่ฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อว่า จันทภาคา. บทว่า อนุโสต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 715
ความว่า เราเที่ยวไปตามกระแสน้ำ คือ ใต้กระแสน้ำไหล. บทว่า สตฺต
มาลุวปุปฺผานิ จิตมาโรปยึ อห ความว่า เราเก็บเอาดอกย่างทราย ๗ ดอก
เอาทรายก่อเป็นสถูปแล้ว ทำการบูชาที่กองทรายอันวิจิตรนั้นแล้ว.
จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 716
อาลุวทายกเถราปทานที่ ๘ (๒๗๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามัน
[๒๘๐] มีแม่น้ำใหญ่อันสวยงามน่าดู อยู่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ที่
ใกล้แม่น้ำนั้น เราได้เห็นพระอรหันต์ผู้ปราศจากราคะ มีรัศมี
สุกใสน่าทัศนา.
เราเห็นท่านประกอบในความสงบระงับอย่างยิ่งแล้ว มีใจ
ชื่นบาน เลื่อมใส ได้ถวายเหง้ามันแก่ท่านด้วยมือทั้งสอง
ของตน.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเหง้ามันใด ด้วยทาน
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้ามัน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาลุวทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอาลุวทายกเถราปทาน
๒๗๘. อรรถกถาอาลุวทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาสินฺธุ สุทสฺสนา ความว่า ได้มีแม่น้ำชื่อว่า มหาสินธุ
งดงามเป็นที่จับใจอย่างดียิ่ง เพราะงดงามน่าดูน่าชม มีน้ำใส มีทราย
ขาวสะอาด. อธิบายว่า ณ ที่ใกล้แม่น้ำสินธุนั้น เราได้เห็นพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 717
ผู้ปราศราคะ มีรัศมีสุกใส น่าใคร่ที่จะได้เห็นอีก มีรูปร่างงดงาม ท่าน
ประกอบในความสงบระงับเป็นอย่างยิ่งแล้ว คือเป็นผู้พรั่งพร้อมทุกอย่าง.
บทว่า ทิสฺวาห วิมฺหิตาสโย ความว่า มีใจชื่นบาน คือเกิดความอัศจรรย์
ใจว่า มาถึงภูเขาหิมวันต์อันน่ากลัวถึงเพียงนี้ได้อย่างไร.
บทว่า อาลุว ตสฺส ปาทาสึ ความว่า เรามีใจเลื่อมใสแล้ว ได้
ถวายเหง้ามันโดยความเอื้อเฟื้อ แด่พระอรหันต์นั้นแล้วแล.
จบอรรถกถาอาลุวทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 718
ปุณฑรีกเถราปทานที่ ๙ (๒๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบัวขาว
[๒๘๑] ในกาลนั้น พระสยัมภูผู้มีรัศมี มีพระนามว่า โรมสะ เรา
มีจิตผ่องใส ได้ถวายดอกบัวขาวแด่ท่าน.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกบัวขาวในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกบัวขาว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุณฑรีกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุณฑรีกเถราปทาน
ตรณิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๘๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายสะพาน
[๒๘๒ ] เรามีใจเลื่อมใส ได้ทำสะพานด้วยมือทั้งสองของตน
ไว้ที่ทางใหญ่อันไม่ราบเรียบ เพื่อต้องการให้ชาวโลกข้าม.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำสะพานใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้สะพาน.
ในกัปที่ ๕๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง พระนามว่า สโมคตะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 719
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล
จบตรณิยเถราปทาน
๒๘๐. อรรถกถาตรณิยเถราปทาน
อปทานที่ ๙, ๑๐. มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสุวัณณพิพโพหนวรรคที่ ๒๘
รวมอปทานในวรรคนี้ คือ
๑. สุวัณณพิพโพหนิยเถราปทาน ๒. ติลมุฏฐิยเถราปทาน ๓.
จังโกฏกิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน ๕. เอกัญชลิย-
เถราปทาน ๖. โปตถทายกเถราปทาน ๗. จิตกปูชกเถราปทาน ๘.
อาลุวทายกเถราปทาน ๙. ปุณฑรีกเถราปทาน ๑๐. ตรณิยเถราปทาน.
บัณฑิตนับคาถาได้ ๔๒ คาถา.
จบสุวัณณพิพโพหนวรรคที่ ๒๘
จบภาณวารที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 720
ปัณณทายกวรรคที่ ๒๙
ปัณณทายกเถราปทานที่ ๑ (๒๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผัก
[๒๘๓] เรานั่งอยู่ในบรรณศาลา บริโภคโภชนะ คือ ผัก พระ-
มหาฤๅษีพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้ส่องโลกให้สว่าง ทรงเยียวยา
โลกทั้งปวง เสด็จมาหาเราผู้เข้าไปอยู่ในบรรณศาลา เราได้
ถวายผักแด่พระองค์ ซึ่งประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผักใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผัก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัณณทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัณณทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 721
ปัณณทายกวรรคที่ ๒๙
๒๘๑. อรรถกถาปัณณทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปณฺณโภชนโภชโน ความว่า เรานั่งอยู่ในบรรณศาลา
เพื่อบริโภคโภชนะมีน้ำนมและผักเป็นต้น. บทว่า อุปวิฏฺญฺจ ม สนฺต
ความว่า เราผู้เข้าไปอยู่ในบรรณศาลา. บทว่า อุปาคจฺฉิ มหาอิสิ ความว่า
ที่ชื่อว่า มหาอิสิ เพราะแสวงหากองแห่งคุณอันยิ่งใหญ่มีศีลเป็นต้น,
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้ส่องโลกให้
สว่างไสว เป็นประทีปของชาวโลก ได้เสด็จมาคือเสด็จมาใกล้เรา. บทว่า
นิสินฺนสฺส ปณฺณสนฺถเร เชื่อมความว่า เราได้เข้าไปถวายผักซึ่งนึ่งแล้ว
เพื่อเคี้ยวกิน แด่พระองค์ผู้ประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้แล้ว.
จบอรรถกถาปัณณทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 722
ผลทายกเถราปทานที่ ๒ (๒๘๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ทรงสันโดษ
เสมอด้วยเขาสิเนรุ ทรงไว้เช่นกับธรณี เสด็จออกจากสมาธิ
แล้ว เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา.
เรามีใจผ่องใส ได้ถวายผลสมอ มะขามป้อม มะม่วง
ชมพู่ สมอพิเภก กระเบา กระบาก มะตูม และผลมะปราง
ทั้งหมดนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้
แสวงคุณอันใหญ่หลวง ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งปวง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ผลไม้.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่า เอกัชฌะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 723
๒๘๒. อรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงสันโดษ
เสมอด้วยภูเขาสิเนรุ ทรงมั่นคงเช่นกับธรณี. บทว่า วุฏฺหิตฺวา สมาธิมฺหา
ความว่า เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว คือเสด็จอยู่เป็นแผนกหนึ่ง.
บทว่า ภิกฺขาย มมุปฏฺิโต ความว่า ใกล้เวลาภิกขาจารทรงพระดำริว่า
วันนี้ใครคนใดคนหนึ่ง ได้ถวายทานเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่เรา ผลเป็นอันมาก
จะพึงมีแก่เขาผู้นั้น ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเข้ามาหาเราผู้นั่งอยู่ คือเข้ามาใกล้
เรา. บทว่า หรีตก ฯ เป ฯ ผารุสกผลานิ จ ความว่า เรามีใจ
เลื่อมใส ได้ถวายผลไม้นั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอนุเคราะห์ชาวโลกทั้งปวง
พระองค์นั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 724
ปัจจุคคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๒๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับ
[๒๘๕] เรามีใจผ่องใส ได้ทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ประเสริฐกว่านระ ส่องโลกให้สว่างไสว
ทรงเยียวยาสัตว์โลกทั้งปวง เสด็จเที่ยวอยู่ในป่าดังราชสีห์
องอาจดังม้าอาชาไนย สวยงามดังต้นรกฟ้า ซึ่งกำลังเสด็จมา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการต้อนรับ.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
องค์หนึ่ง เป็นจอมแห่งชน มีนามว่า ปริวาระ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัจจุคคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัจจุคคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 725
๒๘๓. อรรถกถาปัจจุคคมนิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีห ยถา วนจร เชื่อมความว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เสด็จเที่ยวไปอยู่ ดุจราชสีห์เที่ยวไปในป่า
ฉะนั้น. บทว่า นิสภาชานิย ยถา ความว่า โคที่ประเสริฐที่สุดมี ๔
คือ วสภะ นิสภะ วิสภะ อาสภะ บรรดาโคที่ประเสริฐที่สุดทั้ง ๔ เหล่า
นั้น ที่ชื่อว่า วสภะ คือ ประเสริฐที่สุดของโคร้อยตัว. ที่ชื่อว่า นิสภะ
คือ ประเสริฐที่สุดของโคพันตัว ที่ชื่อว่า วิสภะ คือ ประเสริฐที่สุด
ของโคแสนตัว. ที่ชื่อว่า อาสภะ คือ ประเสริฐที่สุดของโคแสนโกฏิตัว.
อธิบายว่า แต่ในที่นี้ อาสภะ ท่านเรียกว่า นิสภะ ได้แก่ม้าอาชาไนย
ซึ่งคล้ายกับโคอุสภราชที่ไม่กลัว ไม่หวั่นไหวฉะนั้น. บทว่า กกุธ
วิลสนฺต ว ความว่า เรามีใจเลื่อมใสเพราะสัมปยุตด้วยศรัทธา พอได้
พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้องอาจผู้สูงสุดกว่า
นรชนทั้งหลาย งดงามปานประหนึ่งต้นรกฟ้า ที่สมบูรณ์ด้วยดอกและ
ใบอ่อนฉะนั้น กำลังเสด็จมาจึงได้กระทำการต้อนรับ.
จบอรรถกถาปัจจุคคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 726
เอกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๒๘๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้
[๒๘๖] ในกาลนั้น เราเป็นปิศาจอยู่ที่ประตูเมืองด้านทิศทักษิณ
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี มีรัศมีสุกใสดังพระ-
จันทร์.
เราได้ถวายดอกไม้ดอกหนึ่ง แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี ผู้เลิศกว่านระ ทรงแสวงหาประโยชน์ให้แก่โลกทั้งปวง
เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๑๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกปุปผิยเถราปทาน
๒๘๔. อรรถกถาเอกปุปผิยเถราปทาน
ตั้งแต่อปทานที่ ๔ เป็นต้นไป จนถึงอปทานที่ ๑๐ เป็นสุดท้าย
มีเนื้อความง่ายพอจะรู้ได้ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัณณทายกวรรคที่ ๒๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 727
มฆวปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๒๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกดีหมี
[๒๘๗] พระสยัมภูผู้ไม่แพ้อะไร ๆ ทรงมีอินทรีย์ผ่องใส ไม่ขุ่น
มัว เข้าสมาธิอยู่ในที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนัมมทานที.
ในกาลนั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่แพ้อะไร ๆ
แล้ว เกิดเลื่อมใสโสมนัส ได้บูชาองค์พระสยัมภูด้วยดอก
ดีหมี.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมฆวปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบมฆวปุปผิยเถราปทาน
อุปัฏฐายิกเถราปทานที่ ๖ (๒๘๖)
ว่าด้วยการบูชาด้วยการถวายคนอุปัฏฐาก
[๒๘๘] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้ควร
รับเครื่องบูชา เป็นจอมสัตว์ เป็นมหานาคเชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ เสด็จดำเนินอยู่ที่ถนน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 728
เราได้ถวายคนอุปัฏฐากแก่พระองค์ ผู้ทรงแสวงหาประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
ซึ่งเราให้คนไปทูลเชิญเสด็จมา.
พระมหามุนีสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้วมอบ (คืน) ให้ เสด็จ
ลุกขึ้นจากอาสนะนั้นแล้ว เสด็จกลับมุ่งตรงไปทางทิศประจิม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายคนอุปัฏฐากในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายคน
อุปัฏฐาก.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า
พลเสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุปัฏฐายิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอุปัฏฐายิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 729
อปทานิยเถราปทานที่ ๗ (๒๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๒๘๙] เรามีใจเลื่อมใส ได้สรรเสริญบุพจรรยาของพระสุคต
เจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง และได้ถวายบังคม
พระบาทด้วยเศียรเกล้า และด้วยมือทั้งสองของตน.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญบุพจรรยาของ
พระสุคต ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอปทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอปทานิยเถราปทาน
สัตตาหปัพพชิตเถราปทานที่ ๘ (๒๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบวช
[๒๙๐] พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
อันมหาชนสักการะนับถือ ในกาลก่อนเราถึงความวิบัติ แตก
จากญาติ ด้วยความใคร่ในสัตถุศาสนา เราจึงเข้าบวชใน
ศาสนาเพื่อระงับความวิบัติ ยินดีอยู่ในการบวช ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 730
กัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บวชในกาลนั้น ด้วยการ
บวชนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบวช.
ในกัปที่ ๖๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ปรากฏพระนามว่า สุเนกขัมมะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัตตาหปัพพชิตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัตตาหปัพพชิตเถราปทาน
พุทธุปัฏฐายิกเถราปทานที่ ๙ (๒๘๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุง
[๒๙๑] ในกาลนั้น ชื่อของเราว่า เวธัมภินี (และ) เป็นชื่อบิดา
ของเรา (ด้วย) บิดาจับมือของเราพาไปมอบถวายพระมหามุนี
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นอัครนายกของโลกเหล่านี้ ทรง
มุ่งหมายเอาเรา เรามีจิตเลื่อมใส ได้บำรุงพระพุทธเจ้าเหล่า
นั้นโดยเคารพด้วยมือของตน.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บำรุงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การบำรุง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 731
ในกัปที่ ๒๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่า สมณุปัฏฐาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพุทธุปัฏฐายิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพุทธุปัฏฐายิกเถราปทาน
ปุพพังคมนิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๙๐)
ว่าด้วยผลแห่งการสำรวม
[๒๙๒] พวกเรา ๘๔,๐๐๐ คน ไม่มีความกังวลจึงออกบวช เพื่อ
บรรลุประโยชน์อันสูงสุด เราเป็นหัวหน้าของพวกเรานั้น
ศิษย์เหล่านั้นยังมีราคะและโมหะ แต่จิตผ่องใสไม่ขุ่นมัว มี
จิตเลื่อมใสบำรุงเราโดยเคารพด้วยมือทั้งสองของตน ๆ.
พระสยัมภูผู้ขีณาสพทั้งหลายคายโทสะแล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่แพ้อะไร ๆ แผ่เมตตาจิตไป
พวกเราบำรุงพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้มีสติทำกาลกิริยา
แล้ว ได้ไปสู่ความเป็นเทวดา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้รักษาศีลใด ด้วยการรักษาศีล
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสำรวม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 732
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุพพังคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุพพังคมนิยเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปัณณทายกเถราปทาน ๒. ผลทายกเถราปทาน ๓. ปัจจุคคม-
นิยเถราปทาน ๔. เอกปุผิยเถราปทาน ๕. มฆวปุปผิยเถราปทาน
๖. อุปัฏฐายิกเถราปทาน ๗. อปทานิยเถราปทาน ๘. สัตตาหปัพพ-
ชิตเถราปทาน ๙. พุทธุปัฏฐายิกเถราปทาน ๑๐. ปุพพังคมนิยเถราปทาน
และท่านได้กล่าวคาถาไว้ ๓๘ คาถา.
จบปัณณทายกวรรคที่ ๒๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 733
จิตกปูชกวรรคที่ ๓๐
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๑ (๒๙๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ต่าง ๆ
[๒๙๓] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์ มีนามชื่อว่า อชิตะ
เราประสงค์จะทำการบูชา จึงรวบรวมดอกไม้ต่าง ๆ ไว้.
เราได้เห็นจิตกาธารของพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้
เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกอันรุ่งเรืองอยู่ จึงนำเอาดอกไม้นั้นมา
บูชาที่จิตกาธาร.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์
๗ ครั้ง ทรงพระนามว่า สุปัชชลิตะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 734
จิตกปูชกวรรคที่ ๓๐
๒๙๑. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๓๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาหุตึ ยิฏฺกาโมห ความว่า เรามีความประสงค์จะทำ
การบูชาสักการะ. บทว่า นานาปปฺผ สมานยึ ความว่า เราได้นำเอาดอกไม้
เช่นดอกจำปาและดอกช้างน้าวเป็นต้นต่าง ๆ หลายชนิดมารวมไว้เป็นอย่าง
ดี คือทำเป็นกอง.
บทว่า สิขิโน โลกพนฺธุโน ความว่า เราได้เห็นจิตกาธารอันมี
กองฟืนรุ่งเรืองลุกโพลง ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์ คือเป็นญาติของชาวโลกทั้ง ๓ ทั้งหมดแล้วจึงได้นำเอาดอกไม้
นั้นมาทำการบูชาที่จิตกาธารแล.
จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 735
ปุปผธารกเถราปทานที่ ๒ (๒๙๒)
ว่าด้วยผลแห่งการยกดอกไม้ขึ้นบูชา
[๒๙๔] เราเป็นผู้นุ่งเปลือกไม้กรอง ห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่า
ข้างซ้าย ยังอภิญญา ๕ ให้บังเกิดแล้ว เป็นผู้ลูบคลำพระจันทร์
ได้.
เราได้เห็นพระศาสดา พระนามว่า วิปัสสี ผู้ส่องโลก
ให้สว่างไสว ซึ่งเสด็จมาถึงสำนักเรา เราจึงยกดอกแคฝอย
ขึ้นบูชาแด่พระองค์.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ยกดอกไม้ใดขึ้นบูชา ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการยกดอกไม้
ขึ้นบูชา.
ในกัปที่ ๘๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระนามว่า สมันตธรณะ มีพละ
มาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุปผธารกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุปผธารกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 736
๒๙๒. อรรถกถาปุปผธารกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชินุตฺตรวาสโน ความว่า นุ่งห่มหนังเสือเหลืองและหนัง
มิคะเฉวียงบ่าข้างซ้าย. บทว่า อภิญฺา ปญฺจ นิพฺพตฺตา ความว่า
ทำอภิญญา ๕ คือ ญาณ ๕ มีอิทธิวิธญาณเป็นต้น ให้บังเกิดขึ้น คือให้สำเร็จ
ขึ้นแล้ว. บทว่า จนฺทสฺส ปริมชฺชโก ความว่า เราได้เป็นผู้ลูบคลำ
ถูกต้องมณฑลพระจันทร์ได้โดยรอบ. บทว่า วิปสฺสี โลกปชฺโชต ความว่า
เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสฺสี ผู้เช่นกับประทีปส่อง
สว่างไสวไปในโลกทั้ง ๓ จนทั่วถึง ได้เสด็จมาใกล้เรา คือได้เสด็จมาถึง
เป็นพิเศษ. บทว่า ปาริจฺฉตฺตกปุปฺผานิ ความว่า เราได้นำเอาดอก
ปาริฉัตตกะมาจากเทวโลกแล้วยกขึ้นบูชาโดยอาการดุจฉัตร เบื้องบนของ
พระศาสดา พระนามว่า วิปัสสี.
จบปุปผธารกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 737
ฉัตตทายกเถราปทานที่ ๓ (๒๙๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายฉัตร
[๒๙๕] ในกาลนั้น บุตรของเราบวชแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ
แล้ว ท่านนั้นบรรลุถึงความเป็นพระพุทธะ อันโลกบูชา
นิพพานแล้ว.
เราค้นหาบุตรของตน ไปตามเบื้องหลังอาราม ได้ไปถึง
จิตกาธารแห่งนครของเราผู้ดับแล้ว เป็นผู้มีคุณใหญ่ เรา
ประนมกรอัญชลี ไหว้จิตกาธารที่ป่าช้านั้น และยกฉัตร
ขาวขึ้นตั้งประดิษฐานไว้ (บูชา) ในกาลนั้น.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ยกฉัตรขึ้น (บูชา) ใด ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายฉัตร.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
เป็นจอมแห่งชน มีพระนามว่า มหารหะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระฉัตตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบฉัตตทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 738
๒๙๓. อรรถกถาฉัตตทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุตฺโต มม ปพฺพชิโต ความว่า บุตรของเราบวชแล้ว
ด้วยความศรัทธา. บทว่า กาสายวสโน ตทา ความว่า ในเวลาที่ได้
บวชแล้วนั้น ก็นุ่งห่มด้วยผ้ากาสายะ, คือมิได้บวชเป็นบรรพชิตนอก
ศาสนา. บทว่า โส จ พุทฺธตฺต สมฺปตฺโต ความว่า บุตรของเรานั้น
ได้บรรลุความเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ในพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ด้วยดี คือบรรลุพระอรหัต. บทว่า นิพฺพุโต โลกปูชิโต ความว่า
ปรินิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน มีสักการะอันชาวโลกทั้งหมดกระทำ
การบูชาแล้ว. บทว่า วิจินนฺโต สก ปุตฺต ความว่า เราได้ถามถึงที่
บุตรนั้นไปแล้ว จึงได้ค้นหาบุตรของตน ติดตามไปข้างหลัง คือเป็นผู้
ติดตามไป. บทว่า นิพฺพุตสฺส มหนฺตสฺส ความว่า เราได้ไปถึงที่
จิตกาธาร ในที่ประชุมเพลิงแห่งบุตรของเรานั้นผู้เป็นพระอรหันต์ยิ่งใหญ่
เพราะประกอบด้วยคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นอันยิ่งใหญ่. บทว่า ปคฺคยฺห อญฺชลึ
ตฺตถ ความว่า เราได้ประคองอัญชลี คือประชุมนิ้วมือทั้ง ๑๐ ไว้เหนือ
ศีรษะ ตรงที่จิตกาธารนั้นแล้วไหว้นอบน้อมกองไฟแล้ว. บทว่า เสตจฺ-
ฉตฺตญฺจ ปคฺคยฺห ความว่า มิใช่แต่เราจะได้ไหว้อย่างเดียวเท่านั้น ยัง
ได้ประคองฉัตรอันสะอาดยกขึ้นตั้งประดิษฐานไว้อีกด้วย.
จบอรรถกถาฉัตตทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 739
สัททสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๒๙๔)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัททสัญญา
[๒๙๖] เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ความเลื่อมใสของเรามีอย่าง
ไพบูลย์ ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้แสวง
หาคุณใหญ่ ได้มีในโลก.
เราได้ฟังเสียงในความปรากฏนั้น แต่ไม่ได้เห็นพระ-
ชินเจ้า เมื่อเราจะทำกาลกิริยา ได้ระลึกถึงความจำหมายใน
พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด ในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัททสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 740
๒๙๔. อรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุคฺคตมฺหิ อาทิจฺเจ ความว่า เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น
คือเมื่อกาลปัจจุสมัยยังไม่ปรากฏ. บทว่า ปสาโท วิปุโล อหุ ความว่า
ความเลื่อมใสแห่งใจของเราผู้ถูกโรคภัยเบียดเบียน ได้มีอย่างไพบูลย์มาก
มายด้วยการระลึกถึงแต่พระพุทธเจ้า. เชื่อมความว่า ความปรากฏแห่ง
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้มีแล้วในโลก.
บทว่า โฆสมสฺโสสห ตตฺถ ความว่า เมื่อความปรากฏนั้นกำลังเป็น
ไปอยู่ เราได้ยินเสียงกึกก้องว่า เราเป็นไข้. พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
แล้ว. บทว่า น จ ปสฺสามิ ต ชิน ความว่า เราไม่ได้เห็นพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงชนะมารทั้ง ๕ พระองค์นั้น คือเพราะเราเป็น
ไข้หนัก จึงไม่สามารถจะไปเห็นได้. บทว่า มรณญฺจ อนุปฺปตฺโต ความว่า
ถึงเวลาใกล้จะตาย คือเป็นผู้จวนจะตาย. บทว่า พุทฺธสญฺมนุสฺสรี
ความว่า เราได้ระลึกถึงพระนามว่า พระพุทธเจ้า คือได้ตั้งใจระลึกถึง
พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 741
โคสีสนิกเขปกเถราปทานที่ ๕ (๒๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว
[๒๙๗] เราออกจากประตูพระอารามแล้ว ได้ลาด (ทอด) ไม้
จันทน์ขาวไว้ (เพื่อให้สงฆ์เดิน) เราได้เสวยกรรมของตน
นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม.
ม้าสินธพอาชาไนย มีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นพาหนะเร็ว
เราได้เสวยผลนั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว
โอ กุศลสมภารน้อย (กลับ) ให้ผลมากมาย เราทำดีในเขตดี
ผลอื่นไม่ได้เสี้ยวแห่งกุศลสมภารที่เราทำในสงฆ์.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ลาดไม้จันทน์ขาว ด้วยกรรม
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว.
ในกัปที่ ๗๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์
หนึ่ง มีพระนามว่า สุปติฏฐิตะ มีเดชมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโคสีสนิกเขปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโคสีสนิกเขปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 742
๒๙๕. อรรถกถาโคสีสนิกเขปกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อารามทฺวารา นิก ขมฺม ความว่า ที่หนทางประตูออก
ของพระสงฆ์ จากประตูพระอาราม. บทว่า โคสีส สนฺถต มยา
ความว่า ที่หนทางประตูออกนั้น เราได้ลาดไม้จันทร์ขาวไว้เพื่อสำหรับ
เหยียบเดิน ด้วยมีเจตนาว่า คู่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า และคู่
เท้าของภิกษุสงฆ์ อย่าได้เหยียบลงไปที่โคลนเลย. บทว่า อนุโภมิ สก
กมฺม ความว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมคือการลาดไม้จันทน์ขาวของตน เรา
จึงได้เสวยผล มีม้าอาชาไนย ที่เร็วไวดุจสายลม มีม้าสินธพซึ่งเป็น
พาหนะที่เร็วพลันเป็นต้น. บทว่า อโห การ ปรมการ ความว่า กิจ
แม้เล็กน้อยที่เรากระทำไว้ด้วยดีในพระสงฆ์ซึ่งเป็นเขตที่ดี เพราะทานที่มี
ผลมากมาย จึงให้ผลอันยิ่งคือสูงสุด จัดเป็นความอัศจรรย์จริง. ท่าน
กล่าวคำอธิบายไว้ว่า เราได้กระทำกรรมดคือการลาดไม้จันทน์ขาวไว้ในเขต
แห่งพระสงฆ์ผู้มีกายสมาจารและวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ปราศจากโทษมี
ราคะและโทสะเป็นต้น การกระทำเช่นนี้ ย่อมให้ผลมากมาย เปรียบเหมือน
ดังข้าวสาลีที่บุคคลหว่านลงในนาทั้งหลาย ที่ปราศจากโทษมีหญ้าเป็นต้น
ย่อมให้ผลมากมายฉะนั้นแล. บทว่า น อญฺ กลมคฺฆติ เชื่อมความว่า
กรรมอื่นที่ทำในศาสนาอื่นภายนอก มีผลไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ส่วนที่ ๑๖
แห่งการบูชาสักการะที่บุคคลทำแล้วในพระสงฆ์เลย.
จบอรรถกถาโคสีสนิกเขปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 743
ปทปูชกเถราปทานที่ ๖ (๒๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระบาท
[๒๙๘] ในกาลนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ เราได้เห็น
พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี มีรัศมีผุดผ่องดังพระจันทร์.
เวลานั้น เราได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้
นำโลก แล้วได้เอา (น้ำ) แก่นจันทน์และกฤษณารดลงที่
พระบาท.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระบาทใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระบาท.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปทปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 744
เทสกิตติกเถราปทานที่ ๗ (๒๙๗)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๒๙๙] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่า อุปสาลหกะ เรา
เข้าไปยังป่าชัฏ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก
ประเสริฐกว่านระ ผู้ควรรับเครื่องบูชาของโลก.
แล้วได้ถวายบังคมแทบพระบาท พระพุทธเจ้าทรงทราบ
ว่า เรามีจิตเลื่อมใสแล้ว ทรงหายไป เราออกจากป่าแล้ว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราสรรเสริญประเทศนั้น
แล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญประเทศใด ด้วย
การสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเทสกิตติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเทสกิตติกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 745
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๘ (๒๙๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงสรณะ
[๓๐๐] ในกาลนั้น เราเป็นพรานอยู่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เราได้
เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประ-
เสริฐกว่านระ.
ได้เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ทำหน้าที่ไวยาวัจกร ได้
เข้าถึงพระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่ เป็นสรณะ.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถึงสรณะใด ด้วยการถึงสรณะ
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถึงสรณะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสรณคมนิยเถราปทาน
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ ๙ (๒๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะม่วง
[๓๐๑] เมื่อครั้งเราเป็นทานพ (อสูร) มีนามชื่อว่า โรมสะ เรา
ได้ถวายผลมะม่วงแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ผู้แสวง
หาคุณใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 746
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลมะม่วงใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผล
มะม่วง.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัมพปิณฑิยเถราปทาน
อนุสังสาวกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๐๐)
ว่าด้วยผลแห่งการประกาศคุณวิเศษ
[๓๐๒] เราได้เห็นพระชินเจ้า พระนามว่า วิปัสสี กำลังเสด็จ
เที่ยวบิณฑบาต จึงได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระองค์ผู้เป็น
จอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกาลนั้น เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายบังคม (และ)
ได้ประกาศพระพุทธเจ้าให้มหาชนทราบ เพื่อบรรลุประโยชน์
อันสูงสุด.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ประกาศให้มหาชนทราบ
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการประกาศ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 747
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอนุสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอนุสังสาวกเถราปทาน
๓๐๐. อรรถกถาอนุสังสาวกเถราปทาน
อปทานที่ ๖, ๗, ๘, ๙, และ ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจิตกปูชกวรรคที่ ๓๐
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จิตกปูชกเถราปทาน ๒. ปุปผธารกเถราปทาน ๓. ฉัตตทายก-
เถราปทาน ๔. สัททสัญญกเถราปทาน ๕. โคสีสนิกเขปกเถราปทาน
๖. ปทปูชกเถราปทาน ๗. เทสกิตติกเถราปทาน ๘. สรณคมนิยเถรา-
ปทาน ๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน ๑๐. อนุสังสาวกเถราปทาน.
บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๔๗ คาถา.
จบจิตกปูชกวรรคที่ ๓๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 748
อนึ่ง รวมวรรคได้ ๓๐ วรรค คือ
๑. กณิการปุปผิยวรรค ๒. หัตถิวรรค ๓. อาลัมพนทายกวรรค
๔. อุทกาสนทายิวรรค ๕. ตุวรทายิวรรค ๖. โถมกวรรค ๗. ปทุมุก-
เขปวรรค ๘. วัณณพิพโพหนวรรค ๙. ปัณณทายกวรรค ๑๐. จิตก-
ปูชกวรรค.
คาถาทั้งหมดมี ๔๕๑ คาถา บัณฑิตผู้แสดงอรรถ คำนวณบท
ทั้งหมดได้ ๕,๕๗๒ บท.
จบหมวดร้อยที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 749
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
ปทุมเกสริยเถราปทานที่ ๑ (๓๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยการโปรยเกสรดอกบัว
[๓๐๓] ในกาลก่อน เราเป็นช้างพลายมาตังคะ อยู่ในที่ใกล้
หมู่ฤๅษีปัจเจกพุทธเจ้า เรามีความเลื่อมใส ได้เอาเกสรดอก
บัว โปรยลงบูชาแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
กำจัดราคะแล้ว ผู้คงที่เหล่านั้น บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้โปรยเกสรดอกบัวบูชา ใน
กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมเกสริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทุมเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 750
ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
๓๐๑. อรรถกถาปทุมเกสริยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๓๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิสิส เฆ อห ปุพฺเพ เชื่อมความว่า ในกาลก่อน คือใน
เวลาบำเพ็ญโพธิสมภาร เราได้เป็นช้างชนิดดุร้าย ในตระกูลช้างมาตังคะ
อยู่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ใกล้กับหมู่ฤาษีปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า วารณะ
เพราะห้ามมนุษย์เป็นต้นได้. อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า วารณะ เพราะ
ร้อง คือบันลือโกญจนาทออกทางวาจาได้. บทว่า มเหสีน ปสาเทน
ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.
บทว่า ปจฺเจกชินเสฏฺเสุ ธุตราเคสุ ตาทิสุ เชื่อมความว่า เราได้โปรย
เกสรดอกบัว บูชาในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ไม่หวั่นไหวด้วย
โลกธรรมทั้งหลาย.
จบอรรถกถาปทุมเกสริยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 751
สัพพคันธิยเถราปทานที่ ๒ (๓๐๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายของหอมและดอกไม้
[๓๐๔] เราได้ถวายของหอมและดอกไม้แด่พระพุทธเจ้า พระ-
นามว่า วิปัสสี ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้ถวายผ้าโกไสยอย่างดี
แก่พระองค์ผู้ซื่อตรง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายของหอมใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายของ
หอม.
ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอม-
กษัตริย์ พระนามว่า สุเวละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประ-
การ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัพพคันธิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสัพพคันธิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 752
ปรมันนทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๐๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวอย่างดี
[๓๐๕] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้โชติช่วงดัง
ดอกกรรณิการ์ มีรัศมีรุ่งเรืองดังอาทิตย์อุทัย เชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ.
เราประนมกรอัญชลีแล้ว นำเสด็จมาสู่เรือนของตน ครั้น
นำเสด็จพระสัมพุทธเจ้ามาถึงแล้ว ได้ถวายข้าวอย่างดีเยี่ยม.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายข้าวอย่างดีเยี่ยม ในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายข้าวอย่างดีเยี่ยม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปรมันนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปรมันนทายกเถราปทาน
๓๐๓. อรรถกถาปรมันนทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๒, ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปรมันนทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 753
ธัมมสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๓๐๔)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[๓๐๖] ได้มีการฉลองพระมหาโพธิ์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
นามว่า วิปัสสี พระสัมพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ปรากฏเหมือนว่าประทับอยู่ ณ โคนไม้โพธิ์.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรง
ประกาศ (อริย) สัจจะ ๔ ทรงเปล่งอาสภิวาจา พระสัมพุทธ-
เจ้าผู้มีกิเลสดังหลังคาเปิดแล้ว ทรงแสดงโดยย่อ และทรง
แสดงโดยพิสดารแล้ว ทรงยังมหาชนให้ดับร้อน.
เราได้ฟังธรรมของพระองค์ผู้เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่
ถวายบังคมแทบพระบาทของพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้ากลับ
ไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ฟังธรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
การฟังธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฟัง
ธรรม.
ในกัปที่ ๓๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
องค์หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพระนามว่า สุตวา มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธัมมสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบธัมมสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 754
๓๐๔. อรรถกถาธัมมสัญญกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาโพธิมโห อหุ ความว่า ได้มีการบูชาต้นไม้ที่ได้นาม
ว่า ต้นโพธิ์ เพราะเป็นสถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี ผู้ทรงไว้ซึ่งจตุมรรคญาณ. บทว่า รุกฺขฏฺสฺเสว สมฺพุทฺโธ
พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้องอาจกว่านรชน ย่อมปรากฏ
เหมือนว่าประทับอยู่ ณ โคนไม้โพธิ์ ของมหาชนผู้ประชุมกันแล้วใน
สมัยที่บูชาต้นโพธิ์นั้น. บทว่า ภควา ตมฺหิ สมเย ความว่า ในสมัยนั้น
คือในเวลาที่ทำการบูชาต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระภิกษุสงฆ์
แวดล้อมข้างหน้า. บทว่า วาจาสภิมุทีรย ความว่า เมื่อจะทรงเปล่งเสียง
อันอ่อนสละสลวยหวานและสูงสุด จึงทรงประกาศ คือแสดงสัจจะ ๔ ไว้.
บทว่า สงฺขิตฺเตน จ เทเสนฺโต ความว่า เมื่อจะทรงแสดงคล้อยตาม
อัธยาศัยของเวไนสัตว์และบุคคล จึงทรงแสดงไว้โดยย่อบ้าง โดยพิสดาร
บ้าง. บทว่า วิวฏฺฏจฺฉโท ความว่า พระสัมพุทธเจ้าผู้มีกิเลสดังหลังคา
อันเปิดแล้ว เพราะหลังคาที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้คือ ราคะเป็นหลังคา,
โทสะเป็นหลังคา, โมหะเป็นหลังคา, กิเลสทั้งหมดเป็นหลังคา ดังนี้ ถูก
เปิดแล้ว ถูกเพิกแล้ว ถูกกำจัดแล้ว, อธิบายว่า ทรงยังมหาชนนั้นให้
ดับร้อนด้วยเทศนาพิเศษ คือระงับความเร่าร้อนลงได้. บทว่า ตสฺสาห
ธมฺม สุตฺวาน ได้แก่ ได้ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงแสดงอยู่.
จบอรรถกถาธัมมสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 755
ผลทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๐๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้
[๓๐๗] ในกาลนั้น มีอาศรมอยู่ในที่ฝั่งแม่น้ำ ภาคีรสี เราถือ
ผลไม้เดินมาสู่อาศรมนั้นช้า ๆ ณ ที่นั้น เราได้พบพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองดังพระจันทร์ เราได้
ถวายผลไม้ของเราที่มีอยู่ทั้งหมด แด่พระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผลทายกเถราปทาน
๓๐๕. อรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ผลหตฺโถ อเปกฺขวา ความว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า วิปัสสี แล้ว จึงได้ถือเอาผลไม้รสอร่อยหวาน ค่อย ๆ เดิน
ไปสู่อาศรมอย่างช้า ๆ.
จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 756
สัมปสาทิกเถราปทานที่ ๖ (๓๐๖)
ว่าด้วยผลแห่งความเลื่อมใสคุณวิเศษ
[๓๐๘] ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์
พ้นแล้วในที่ทั้งปวง ข้าพระองค์เป็นผู้ถึงความวิบัติ ขอพระ-
องค์ได้โปรดเป็นที่พึ่ง ของข้าพระองค์นั้นเถิด.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เป็นบุคคลไม่มีใคร
เปรียบในโลก ผู้เป็นเจ้าหมู่ เสมอด้วยมหาสมุทร หา
ประมาณมิได้ ผู้สูงสุด ทรงพยากรณ์แก่เราว่า
ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสในพระผู้เป็นเจ้าหมู่นั้น ผู้ปราศจาก
ธุลี ผู้เป็นเขตบุญที่ให้ผลไม่สิ้นสุด ดังปลูกพืชที่ดีไว้ฉะนั้น.
พระสัพพัญญู ผู้เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ
ครั้นตรัสดังนี้ ทรงพร่ำสอนเราอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่
เวหาส เมื่อพระสัพพัญญู ผู้ประเสริฐกว่านระ เสด็จไปไม่นาน
เราก็ถึงกาลกิริยา แล้วได้อุบัติยังชั้นดุสิตในกาลนั้น.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระผู้เป็นเจ้าหมู่ ผู้ปราศจากธุลี
เป็นบุญเขตที่ให้ผลไม่สิ้นสุด แล้วบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ความเลื่อมใส ในกาลนั้น
ด้วยความเลื่อมใสนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
ความเลื่อมใส.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 757
ทราบว่า ท่านพระสัมปสาทิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัมปสาทิกเถราปทาน
อารามทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๐๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาราม
[๓๐๙] เราได้ปลูกสร้างอาราม ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ใกล้หมู่ไม้มีเงาร่มเย็น มีฝูงนกเข้าอยู่
อาศัย เราได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี สมควรรับเครื่อง
บูชา.
เราจึงน้อมถวายอารามกะพระองค์ ผู้เป็นเชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ เรามีจิตโสมนัสยินดี ได้ถวายผลไม้
และดอกไม้.
และลำดับนั้น เราเกิดความเลื่อมใส น้อมถวายทานนั้น
เราได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า ด้วยใจอันผ่องใส ผลย่อม
บังเกิดแก่เราในภพที่เกิด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายอารามใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอาราม.
ในกัปที่ ๓๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ทรงพระนามว่า มุทุสีตละ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 758
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอารามทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอารามทายกเถราปทาน
๓๐๖. อรรถกถาสัมปสาทิกเถราปทานที่ ๖ เป็นต้น
อปทานที่ ๖ ที่ ๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอปทานที่ ๖ และที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 759
อนุเลปทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการฉาบสี
[๓๑๐] เราได้เห็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถ-
ทัสสี ผู้เป็นมุนี เราได้เข้าไปหาท่านซึ่งกำลังทำนวกรรมอยู่
ที่สีมา และเมื่อนวกรรมสำเร็จแล้ว เราได้ให้การไล้ทา
(เราได้ให้สีสำหรับทา) เรามีจิตเลื่อมใสใสมนัสในพระผู้เป็น
บุญเขตอันยอดเยี่ยม.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น
ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฉาบทาสี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอนุเลปทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอนุเลปทายกเถราปทาน
๓๐๘. อรรถกถาอนุเลปทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิฏฺิเต นวกมฺเม จ ความว่า เมื่อนวกรรมที่สีมาดำเนิน
ไปเสร็จสิ้นลงแล้ว. อนุเลปมทาสห ความว่า เราได้ให้การไล้ทาด้วย
ปูนขาวในภายหลัง, คือใช้ปูนขาวฉาบทาทับ.
จบอรรถกถาอนุเลปทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 760
พุทธสัญญิกเถราปทานที่ ๙ (๓๐๙)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๑๑] เราได้ฝันเห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เปล่ง
ปลั่งดังอาทิตย์อุทัย มีรัศมีรุ่งเรืองดังพระจันทร์ เป็นเชษฐบุรุษ
ของโลก ประเสริฐกว่านระ เป็นนายกของโลก กำลังเสด็จ
ดำเนินไปในละแวกป่า จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์แล้ว
ได้เข้าถึงสุคติ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด ในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญาใน
พระพุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบพุทธสัญญิกเถราปทาน
๓๑๑. อรรถกถาพุทธสัญญิกเถราปทาน
อปทานที่ ๙, ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 761
ปัพภารทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการชำระและตั้งหม้อน้ำ
[๓๑๒] เราได้ชำระ (กวาด ล้าง ถู) ถ้ำของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ปิยทัสสี และได้ตั้งหม้อน้ำสำหรับฉันไว้ถวาย
แด่พระองค์ผู้คงที่.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มหามุนี ทรงพยากรณ์
เราว่า ลูกศรพันหนึ่ง ลูกคลีร้อยหนึ่ง คนถือธงสีเหลือง
ปราสาทและแก้วอันนับประมาณมิได้ จักบังเกิด ครั้นเราถวาย
ทานและการชำระถ้ำแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๓๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่า สุพุทธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปัพภารทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัพภารทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 762
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปทุมเกสริยเถราปทาน ๒. สัพพคันธิยเถราปทาน ๓. ปรมันน-
ทายกเถราปทาน ๔. ธัมมสัญญกเถราปทาน ๕. ผลทายกเถราปทาน
๖. สัมปสาทิกเถราปทาน ๗. อารามทายกเถราปทาน ๘. อนุเลปทายก-
เถราปทาน ๙. พุทธสัญญิกเถราปทาน ๑๐. ปัพภารทายกเถราปทาน
และท่านกล่าวคาถาไว้ ๕๑ คาถา.
จบปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 763
อารักขทายกวรรคที่ ๓๒
อารักขทายกเถราปทานที่ ๑ (๓๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอารักขา
[๓๑๓] เราได้ให้ทำรั้วถวายแด่พระมุนี พระนามว่า ธัมมทัสสี
และได้ถวายอารักขาแด่พระองค์ผู้จอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น
ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น เราได้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอารักขทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอารักขทายกเถราปทาน
โภชนทายกเถราปทานที่ ๒ (๓๑๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายโภชนะ
[๓๑๔] พระชินเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ทุกเมื่อ ดังหน่อไม้รังที่เกิดดี
เช่นไม้อัญชันกำลังขึ้นงาม เหมือนสายรุ้งในอากาศฉะนั้น.
เรามีใจผ่องใส ได้ถวายโภชนะแด่พระองค์ ผู้เป็นเทวดา
ล่วงเทวดา พระนามว่า เวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
พระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่แพ้อะไร ทรงอนุโมทนาทานของ
เรานั้นว่า ผลจงเกิดแก่ท่านในภพที่เกิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 764
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายโภชนะ.
ในกัปที่ ๒๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระ-
องค์หนึ่ง พระนานว่า อมิตตกะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้สำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโภชนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโภชนทายกเถราปทาน
คตสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๓๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๑๕] ในอากาศไม่มีรอยเท้า เราได้เห็นพระชินเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ เสด็จไปสู่หมู่ไตรทิพย์ทางอากาศ เรามีความปลื้มใจ
เป็นอันมาก เพราะได้เห็นจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอัน
สะบัดชายพลิ้วด้วยลม เท่ากับได้เห็นพระมุนีเสด็จไป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด ในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระ-
พุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 765
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบคตสัญญกเถราปทาน
อรรถกถาอารักขทายกเถราปทานที่ ๑
อปทานที่ ๑, ๒, ๓ ในอารักขทายกวรรคที่ ๓๒ มีเนื้อความ
พอจะรู้ได้ง่ายทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 766
สัตตปทุมิยเถราปทานที่ ๔ (๓๑๔)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๓๑๖] เราเป็นพราหมณ์นามว่า เนสาทะ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เรา
กวาดอาศรมด้วยดอกไม้ (ดอกปทุม) มีกลีบ ๗ กลีบ ความ
ชื่นชมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า พระนาม
ว่า สิทธัตถะ ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้เป็นนายกของโลก
กำลังเสด็จไปทางป่า.
เราต้อนรับพระสัมพุทธเจ้าผู้เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ นำพระองค์มายังอาศรมแล้ว บูชาด้วยดอกบัวอัน
สวยงาม.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๔ ครั้ง
ร่าเริงยังหนุ่มอยู่ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัตตปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัตตปทุมิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 767
๓๑๔. อรรถกถาสัตตปทุมิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชลชคฺเคหิ โอกิรึ ความว่า เราได้เอาดอกไม้ทั้งหลาย
มีดอกอุบลและดอกปทุมเป็นต้น ที่สูงสุด เกิดในน้ำมาเกลี่ยบูชาแล้วแล.
จบอรรถกถาสัตตปทุมิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 768
ปุปผาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้
[๓๑๗] เราได้ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ
ผู้ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ มีพระฉวีวรรณดังทองคำ พระรัศมีเปล่ง
ปลั่งดังพระจันทร์ เสด็จดำเนินอยู่ในที่ไม่ไกล.
เชิญเสด็จให้เข้ามายังอาศรมแล้ว ได้ถวายอาสนะดอกไม้
ด้วยใจอันผ่องใส ในกาลนั้น เราประนมกรอัญชลีแล้ว เกิด
ความปลื้มใจ ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว น้อมกรรม
นั้นไปด้วยความปรารถนาว่า บุญกุศลอันใดมีอยู่ ที่เราได้ทำ
กะพระสยัมภูผู้ไม่แพ้อะไร ๆ ด้วยบุญกุศลทั้งปวงนั้น ขอเรา
จงเป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายอาสนะดอกไม้ ในกาล
นั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุปผาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุปผาสนทายกเถราปทาน
๓๑๕. อรรถกถาปุปผาสนทายกเถราปทาน
อปทานที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 769
อาสนถวิกเถราปทานที่ ๖ (๓๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๓๑๘] ในกาลนั้น เราเที่ยวค้นหาพระเจดีย์ อันชื่อว่า อุตตมะ
ของพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก
ในไพรวันอันเป็นป่าใหญ่.
เราออกจากป่าใหญ่ จึงได้พบพระที่นั่งทอง เราประนมกร
อัญชลีเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง สรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้นายกของ
โลก.
ครั้นสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอัครนายกของโลก ใน
ส่วนกลางวันแล้ว มีจิตโสมนัสยินดี ได้เปล่งวาจานี้ว่า
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ผู้บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่
พระองค์ ผู้อุดมบุรุษ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของ
โลก ผู้ประเสริฐกว่านระ พระองค์เป็นสัพพัญญู.
ครั้นเราสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ด้วยการ
ทำนิมิตกราบไหว้อาสนะแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ประ-
เสริฐกว่าชน ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการสรรเสริญ.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง
ทรงพระนามว่า อตุลยะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 770
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาสนถวิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอาสนถวิกเถราปทาน
๓๑๖. อรรถกถาอาสนวิกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจติย อุตฺตม นาม สิขิโน โลกพนฺธุโน ได้แก่พระ-
เจดีย์อันชื่อว่า อุตตมะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์คือเป็นญาติของชาวโลกหมดทั้ง ๓ โลก. เชื่อมความว่า ได้มี
ในทุ่งที่ไร้ประโยชน์ คือปราศจากผู้คนสัญจรไปมา เป็นป่าใหญ่ปราศจาก
ความสับสนอลหม่านแห่งหมู่มนุษย์. บทว่า อนฺธาหิณฺฑามห ตทา
ความว่า ในกาลนั้น เราเป็นผู้มืดเพราะหลงทางในป่า. มิใช่มืดเพราะ
ตาบอด จึงกล่าวว่า เราเที่ยวไปค้นหาหนทางดังนี้. บทว่า ปวนา
นิกฺขมนฺเตน ความว่า เราออกจากป่าใหญ่ จึงได้พบสีหาสนะ คืออาสนะ
ชั้นยอดเยี่ยม. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า เราได้เห็นอาสนะของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สีหะ. บทว่า เอกส อญฺชลึ กตฺวา
ความว่า เราทำการเฉวียงบ่าข้างหนึ่งด้านซ้าย แล้วประคองอัญชลีไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 771
เหนือเศียร. บทว่า สนฺถวึ โลกนายก ความว่า เราได้ทำการชมเชย
สรรเสริญพระผู้นำของชาวโลกพระองค์นั้น ผู้ยังชาวโลกทั้ง ๓ โลก ให้
บรรลุถึงพระนิพพานได้.
จบอรรถกถาอาสนถวิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 772
สัททสัญญกเถราปทานที่ ๗ (๓๑๗)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๑๙] พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระรูปพระโฉมสวยงามน่าดู ทรง
แสดงอมตบทอยู่ พระองค์แวดล้อมด้วยหมู่พระสาวก ประทับ
อยู่ ณ วิหารอันอุดม.
ทรงสงเคราะห์มหาชนด้วยพระวาจาอันไพเราะ ได้มีเสียง
กึกก้องแผ่ไปกว้างขวาง แผ่ไปในเทวดาและมนุษย์ เราได้
ฟังเสียงนฤโฆษแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงของ
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้
ถวายบังคมพระองค์ ผู้เป็นนายกของโลก.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระ-
พุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัททสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 773
๓๑๗. อรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุทสฺสโน มหาวีโร เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ทรงมีพระรูปโฉมน่าดูสวยงาม คือน่าดูอย่างจับใจ
เพราะทรงมีพระสรีระเพียบพร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
ทรงมีพระวิริยภาพมากมาย. บทว่า วสติ ฆรมุตฺตเม ความว่า ประทับ
อยู่ ณ พระวิหารอันอุดมสูงสุด.
จบอรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 774
ติรังสิยเถราปทานที่ ๘ (๓๑๘)
ว่าด้วยผลแห่งความสรรเสริญ
[๓๒๐] ปีติเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ ผู้องอาจดังพญาราชสีห์ ประทับนั่งอยู่ ณ ระหว่าง
ภูเขา ยังทิศให้สว่างไสว ดังกองไฟที่ภูเขา และเพราะได้
เห็นแสงสว่างของพระอาทิตย์ แสงสว่างของพระจันทร์ และ
แสงสว่างของพระพุทธเจ้า.
ครั้นเราได้เห็นแสงสว่าง ๓ ประการ และเห็นพระสาวก
อันอุดมแล้ว จึงทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์
และพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ๓ อย่างนี้แล.
ส่องแสงสว่างในโลก เป็นผู้บรรเทาความมืดของโลก
เรายกข้ออุปมาขึ้นสรรเสริญพระมหามุนี ครั้นเราสรรเสริญ
พระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด
ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ.
ในกัปที่ ๖๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่าญาณวระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 775
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติรังสิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
นาติรังสิยเถราปทาน
นาลิปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๓๑๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบัว ๙ ดอก
[๓๒๑] ในกาลนั้น เราเป็นชาวนาอยู่ ณ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
ประกอบในแหล่งการงานของผู้อื่น อาศัยอาหารของผู้อื่น เรา
เที่ยวไปตามแม่น้ำสินธุ ได้เห็นพระชินเจ้าพระนามว่าสิท-
ธัตถะ กำลังประทับนั่งเข้าสมาธิอยู่ ดังดอกบัวบานฉะนั้น.
ในกาลนั้น เราจึงเด็ดดอกบัว ๗ ดอกที่ขั้วโปรยบูชาที่
พระเศียรของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.
เราเข้าเฝ้าองค์พระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
มีพระหฤทัยมั่นคงในการอนุกูล ยากที่จะเข้าใกล้ได้ ดังช้าง
มาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง มีพระปัญญา ทรงอบรมอินทรีย์แล้ว
ได้ประนมกรอัญชลีถวายบังคมแด่พระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 776
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนาลิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนาลิปุปผิยเถราปทาน
กุมุทมาลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๒๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงโกมุท
[๓๒๒] เราได้เห็นพระมหาวีรเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ผู้ประ-
เสริฐแกล้วกล้า ทรงชนะวิเศษ แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
องอาจดังพญาราชสีห์ ผู้ควรรับเครื่องบูชา เสด็จดำเนินอยู่ใน
ถนน เราจึงถือเอาพวงโกมุท ไปบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 777
ทราบว่า ท่านพระกุมุทมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกุมุทมาลิยเถราปทาน
๓๒๐. อรรถกถากุมุทมาลิยเถราปทาน
อปทานที่ ๘, ๙, ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอารักขทายกวรรคที่ ๓๒
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อารักขทายกเถราปทาน ๒. โภชนทายกเถราปทาน ๓. คต-
สัญญกเถราปทาน ๔. สัตตปทุมิยเถราปทาน ๕. ปุปผาสนทายกเถรา-
ปทาน ๖. อาสนถวิกเถราปทาน ๗. สัททสัญญกเถราปทาน ๘. ติรัง-
สิยเถราปทาน ๙. นาลิปุปผิยเถราปทาน ๑๐. กุมุทมาลิยเถราปทาน.
มีคาถา ๕๗ คาถา.
จบอารักขทายกวรรคที่ ๓๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 778
อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
อุมมาปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๓๒๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกผักตบ
[๓๒๓] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ไม่แพ้
อะไร ๆ สูงสุดกว่านระ มีพระหทัยมั่น ไม่หวั่นไหว กำลัง
เข้าสมาธิ เราจึงได้ถือเอาดอกผักตบไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า
ดอกผักตบทั้งหมดมียอดรวมกัน มีขั้วข้างบน มีหน้าข้างล่าง
เป็นเหมือนมีจิตดี เป็นเครื่องลาดดอกไม้ ประดิษฐานอยู่ใน
อากาศ ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๕๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมันตฉทนะ มี
พละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุมมาปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุมมาปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 779
ปุฬินปูชกเถราปทานที่ ๒ (๓๒๒)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยทราย
[๓๒๔] เราได้เห็นพระศาสดาผู้ประเสริฐกว่านระ สวยงามดัง
ดอกรกฟ้า องอาจเหมือนโคนิสภะและม้าอาชาไนย รุ่งเรือง
สว่างไสวดังดาวประกายพฤกษ์.
เราจึงได้ประนมกรอัญชลี ถวายบังคมแด่พระศาสดา เรา
สรรเสริญพระศาสดา ยินดีอยู่ด้วยกรรมของตน.
เรามีใจผ่องใส เอาทรายขาวบริสุทธิ์กำมือหนึ่ง ห่อพก
มาโปรยลง ที่ทางเสด็จดำเนิน ของพระศาสดา พระนามว่า
วิปัสสี ผู้แสวงหาคุณใหญ่ แต่นั้น เราเอาทรายครึ่งหนึ่ง
โปรยลงในที่พักกลางวันของพระองค์ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้โปรยทรายใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุฬินปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุฬินปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 780
หาสชนกเถราปทานที่ ๓ (๓๒๓)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๕] เราได้เห็นผ้าบังสุกุลของพระศาสดาห้อยอยู่ที่ยอดไม้
จึงประนมกรอัญชลี แล้วเปล่งวาจาดัง ๆ ความยินดีเกิดขึ้นแก่
เราเพราะได้เห็นแต่ไกล เราประนมกรอัญชลีแล้ว ยังจิตให้
เลื่อมใสโดยยิ่ง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระ-
พุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระหาสชนกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบหาสชนกเถราปทาน
ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ (๓๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๖] เรามีอายุได้ ๗ ปีแต่กำเนิด เป็นผู้รู้จบมนต์ ได้ดำรง
วงศ์สกุล เราตระเตรียมพิธีบูชายัญในกาลนั้น เราจะฆ่าสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 781
เลี้ยง ๘๔,๐๐๐ ตัว และให้ผูกเข้าไว้ที่หลักไม้แก่น ตระเตรียม
เพื่อประโยชน์แก่ยัญ.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ มีพระประสงค์
สำเร็จทุกอย่าง ทรงมีประโยชน์ใหญ่หลวงแก่โลก ๓ ร่าเริง
ดังปากเบ้า มีพระรัศมีสุกสกาวเช่นกับถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
ดังพระอาทิตย์อุทัย เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ.
เสด็จเข้ามาหา (เรา) แล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อน
กุมาร ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง การงดเว้นจากความ
เป็นขโมย การประพฤตินอกใจและการดื่มน้ำเมา
ความยินดีในการประพฤติสม่ำเสมอ พาหุสัจจะ และ
ความเป็นผู้กตัญญู เราชอบใจธรรมเหล่านี้ บัณฑิตพึงสรร-
เสริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต.
ท่านเจริญธรรมเหล่านี้ ยินดีในความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง
ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้วจงเจริญมรรคอันสูงสุด.
พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ตรัส
ดังนี้ ครั้นทรงพร่ำสอนเราอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่เวหาส
ไป.
เราชำระจิตให้บริสุทธิ์ก่อนแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในภาย
หลัง ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เรายังจิตให้เลื่อมใสในกาลใด
ด้วยกรรมในกาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญา
ในพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 782
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยัญญสามิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบยัญญสามิกเถราปทาน
นิมิตตสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๓๒๕)
ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า
[๓๒๗] เราอยู่ในอาศรมใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เราได้เห็น
กวางทองกำลังเที่ยวเดินอยู่ในไพรวัน จึงยังจิตให้เลื่อมใสใน
กวางทอง แล้วจึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เจริญที่สุดในโลก
เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่าอื่น คือ พระพุทธเจ้าในอดีต
ในปัจจุบัน และในอนาคต ด้วยจิตเลื่อมใสนั้นว่า พระพุทธ-
เจ้า ๓ จำพวกนั้นย่อมไพโรจน์ ดังพญาเนื้อฉะนั้น.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระ-
พุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพระนามว่าอรัญญสัตตะ มี
พละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 783
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิมิตตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนิมิตตสัญญกเถราปทาน
อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๖ (๓๒๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา
[๓๒๘] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง เช่น
กับแท่งทองคำอันมีค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
เสด็จดำเนินอยู่ระหว่างตลาด เราจึงนมัสการพระสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีพระประสงค์สำเร็จทุกอย่าง ไม่ทรง
หวั่นไหว ไม่ทรงแพ้อะไร แล้วนิมนต์พระมหามุนีนั้นให้เสวย
โภชนาหาร ในกาลนั้น พระมุนีผู้มีพระกรุณาในโลกได้ตรัส
กะเรา เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว บันเทิงอยู่
ในสวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 784
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอันนสังสาวกเถราปทาน
๓๒๖. อรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน
อปทานที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖ ในวรรคที่ ๓๓ มีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 785
นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๒๗)
ว่าด้วยผลแห่งกรรมดี
[๓๒๙] เมื่อใดเทวดาจะจุติจากหมู่เทวดา เพราะสิ้นอายุ เมื่อนั้น
เทวดาทั้งหลาย ผู้พลอยยินดี ก็เปล่งเสียง ๓ ประการว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านจากภพนี้ จงไปสู่สุคติ สู่ความเป็นสหาย
ของมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอันยอดเยี่ยมใน
พระสัทธรรม.
ศรัทธาของท่านตั้งมั่นแล้ว จะเกิดเป็นมูลเค้าเป็นที่พึ่ง
จงมั่นคงในพระสัทธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศดีแล้ว
ตลอดชีวิต.
จงทำกุศลด้วยกาย จงทำกุศลด้วยวาจา จงทำกุศลด้วยใจ
ให้มาก จงทำความไม่เบียดเบียน จงทำความไม่มีอุปธิ.
จงทำบุญให้ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการให้ทานให้มาก จง
ชักชวนผู้อื่นให้ตั้งมั่นในพรหมจรรย์ อันเป็นสัทธรรมอย่าง
ประเสริฐ.
หมู่เทวดาย่อมอนุโมทนากะเทวดาผู้จุติ ด้วยความ
อนุเคราะห์นี้ สั่งว่า จงมาบ่อย ๆ นะเทวดา ดังท่านผู้รู้แจ้ง
อนุโมทนากะพระพุทธเจ้าฉะนั้น.
ในกาลนั้น เมื่อหมู่เทวดามาประชุมกัน ข้าพระองค์เกิด
ความสลดใจว่า เราจุติจากภพนี้แล้ว จักไปสู่กำเนิดอะไรหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 786
พระสมณะ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ท่านมีนามชื่อว่า
สุมนะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ รู้
ความสลดใจของข้าพระองค์ ประสงค์จะช่วยเหลือ จึงมาสู่
สำนักของข้าพระองค์ พร่ำสอนอรรถธรรมแล้ว ยัง
ข้าพระองค์ให้สังเวชในกาลนั้น.
จบภาณวารที่ ๑๒
ข้าพระองค์ฟังคำของท่านแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระ-
พุทธเจ้า อภิวาทท่านผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ทำกาลกิริยา
ณ ที่นั้น.
ข้าพระองค์นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว อุบัติในภพนั้นแล
อยู่ในครรภ์มารดา ทรงอยู่ในครรภ์มารดาอีก.
ข้าพระองค์จุติจากกายนั้นแล้ว ได้อุบัติในไตรทศ (ดาว-
ดึงส์) ในเวลานี้ ข้าพระองค์ไม่เห็นความโทมนัสในกาลนั้น
เลย.
ข้าพระองค์เคลื่อนจากดาวดึงส์แล้ว ลงสู่ครรภ์มารดา
ออกจากครรภ์มารดาแล้ว ไม่รู้ทุกข์อะไร ๆ.
ข้าพระองค์มีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้เข้าสู่อารามของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ผู้คงที่.
ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา ใน
ศาสนาอันเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 787
พระนครชื่อว่า สาวัตถี พระเจ้าโกศลเป็นใหญ่ในนครนั้น
พระองค์เสด็จไปสู่โพธิพฤกษ์ อันอุดม ด้วยรถเทียมด้วย
ช้างพลาย.
ข้าพระองค์เห็นช้างพลายของพระเจ้าโกศลนั้นแล้ว ระลึก
ถึงบุรพกรรม ประนมกรอัญชลีแล้ว ได้ไปสู่ที่ประชุม.
ข้าพระองค์มีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้บวชเป็นบรรพชิต
พระเถระชื่ออานนท์ เป็นพระสาวกอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า.
ท่านมีคติ มีธิติ มีสติ เป็นพหูสูต มีความรุ่งเรืองมาก
ยังจิตของพระราชาให้ทรงเลื่อมใสส่งกลับไป.
ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมของท่านพระอานนท์แล้ว ระลึกถึง
บุรพกรรมอยู่ในที่นั้นเอง ได้บรรลุอรหัต.
ข้าพระองค์ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมกรอัญชลีบนเศียร
เกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เปล่งวาจานี้.
ข้าพระองค์ถือเอาดอกไม้ย่างทราย ไปวางไว้ที่อาสนะทอง
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและความ
แพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๒๕,๐๐๐ (แต่กัปนี้) ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมกษัตริย์ ๘ ครั้ง ซึ่งมีพระชนมายุยืนยาวถึงอัพพุทะก็มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 788
ถึงนิรัพพุทะก็มี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนิคคุณฑิปปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบนิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
๓๒๗. อรรถกถานิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมย อคมาสห ความว่า เราได้ไปหาหมู่เพื่อสมาคมกัน
บทว่า อพฺพุทนิรพฺพุทานิ ความว่า ใน ๒๕,๐๐๐ กัป (แต่กัปนี้ไป)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์กัปละ ๘ ครั้ง ซึ่งมีพระชนมายุมาก
ถึงอัพพุทะก็มี นิรัพพุทะก็มี ตามอายุ เพราะท่านได้กล่าวไว้ว่า ๑๐๐ แสน
ปโกฏิ เป็น ๑ อัพพุทะ, ๑๐๐ แสนอัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ ดังนี้.
จบอรรถกถานิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 789
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ ๘ (๓๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวกมาลัยดอกมะลิ
[๓๓๐] ชนทั้งปวงมาประชุมกันทำการบูชาใหญ่ แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่.
ในกาลนั้นเราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว รางพวงมาลัยดอกมะลิ
ไว้บูชา ข้างหน้าแห่งอาสนะทอง.
ชนทั้งปวงมามุงดูดอกไม้อันอุดม ด้วยดำริว่า ใครบูชา
ดอกไม้นี้แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่.
เราได้เข้าถึงชั้นนิมมานรดี เพราะจิตอันเลื่อมใสนั้น ได้
เสวยกรรมของตน ที่ตนทำไว้ดีในกาลก่อน.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ย่อมเป็นที่รักของปวงชน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.
เราไม่รู้จักทุคติด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจเลย เรา
ทำการบำรุงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ.
ด้วยความประพฤติชอบนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เรา
เป็นผู้ที่รักของปวงชนบูชา นี้เป็นผลแห่งการไม่ด่า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 790
ในกัปที่ ๑๑แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
ทรงพระนามว่า สหัสสาระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุมนาเวฬิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสุมนาเวฬิยเถราปทาน
ปุปผฉัตติยเถรปาทานที่ ๙ (๓๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว
[๓๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เชษฐ-
บุรุษของโลก ผู้คงที่ ทรงประกาศสัจจะ ยังสัตว์ทั้งหลาย
ให้ดับอยู่.
เรานำดอกบัวซึ่งเกิดในน้ำ เป็นที่รื่นรมย์ใจ มาทำเป็นฉัตร
ดอกไม้ บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
พระศาสดาพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงรู้แจ้งโลก เป็น
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ได้ตรัสคาถานี้ว่า
ผู้ใดยังจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตรดอกไม้ให้เรา ด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 791
เลื่อมใสแห่งจิตนั้น จะไม่ไปสู่ทุคติเลย.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เป็นนายกของ
โลก ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงส่งบริษัทไปแล้ว เสด็จเหาะขึ้น
นภากาศ.
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านระ เสด็จลุกขึ้น แม้
ฉัตรขาวก็ตั้งขึ้น ฉัตรอันอุดมไปข้างหน้าแห่งพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยฉัตรใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระพุทธเจ้าด้วยฉัตรดอกไม้.
ในกัปที่ ๗๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
ทรงมีพระนามว่า ชลสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุปผฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุปผฉัตติยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 792
สปริวารฉัตตทายกเถราปทานที่ ๑๐(๓๓๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายฉัตร
[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้ง
โลก สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่
เหมือนน้ำฝนในอากาศ.
ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดง
อมตบทอยู่ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้วได้ไปสู่เรือนของตน.
ข้าพระองค์ถือเอาฉัตรที่ประดับแล้ว เข้าไปเฝ้าพระสัม-
พุทธเจ้าผู้อุดมกว่านระ ข้าพระองค์มีจิตโสมนัสยินดีโยนฉัตร
ขึ้นไปบนอากาศ.
พระสาวกผู้อุดมฝึกตนแล้ว เสมือนยานที่สงเคราะห์ดีแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ตั้งฉัตรไว้เหนือพระเศียร.
พระพุทธเจ้าผู้อนุเคราะห์ กอปรด้วยพระกรุณา อัครนายก
ของโลก ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดถวายฉัตรอันประดับแล้วเป็นที่รื่นรมย์ใจนี้ ด้วยจิตที่
เลื่อมใสนั้น ผู้นั้นจะไม่ไปสู่ทุคติเลย.
จักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดา ๗ ครั้ง และจักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๓๒ ครั้ง.
ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 793
ผู้นั้นจักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรมของพระศาสดาพระ-
องค์นั้น อันธรรมนิรมิต จักรู้ทั่วถึงพระดำรัสที่พระพุทธเจ้า-
เปล่งเป็นอาสภิวาจา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้
ไม่มีอาสวะ นิพพาน ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ยัง
ความยินดีให้เกิดโดยยิ่ง.
ข้าพระองค์ละกำเนิดมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่กำเนิดทิพย์
วิมานของข้าพระองค์สวยงาม สูงเยี่ยม เป็นที่รื่นรมย์ใจ.
เมื่อข้าพระองค์ออกจากวิมาน เทวดาทั้งหลายย่อมกั้นฉัตร
ขาวให้ ข้าพระองค์กลับได้สัญญาในกาลนั้น นี้เป็นผลแห่ง
บุรพกรรม.
ข้าพระองค์จุติจากเทวโลกแล้ว ได้มาสู่ความเป็นมนุษย์
ในกัปที่ ๗๐๐ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๓๖ ครั้ง
จุติจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่ไตรทศบุรี ท่องเที่ยวไปโดย
ลำดับแล้ว ได้มาสู่ความเป็นมนุษย์อีก.
ชนทั้งหลายได้กั้นฉัตรขาวให้ข้าพระองค์ผู้ลงสู่ครรภ์มารดา
ข้าพระองค์มีอายุ ๗ ปี แต่กำเนิด ออกบวชเป็นบรรพชิต.
พราหมณ์มีนามว่า สุนันทะ รู้จบมนต์ เขาได้ถือเอา
ฉัตรมีสีดังแก้วผลึกมาถวายแก่พระอัครสาวก.
พระสารีบุตรมหาวีระ ผู้มีวาจาน่าบูชา อนุโมทนา
ข้าพระองค์ฟังอนุโมทนาของท่านแล้วระลึกถึงบุรพกรรมได้.
จึงประนมกรอัญชลี ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ระลึกถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 794
กรรมเก่าได้แล้ว ได้บรรลุถึงพระอรหัต.
ลุกจากอาสนะนั้นแล้ว ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร ถวาย
บังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว เปล่งวาจานี้ว่า
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายฉัตรอันวิจิตร
ประดับสวยงามแด่พระพุทธเจ้า ผู้ยอดเยี่ยมในโลก พระนาม
ว่า ปทุมตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา.
พระสยัมภูอัครบุคคล ทรงรับฉัตรอันวิจิตรตกแต่งดีแล้ว
ที่ข้าพระองค์ถวายแด่พระองค์ ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง.
โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรมเจ้า โอ ความถึงพร้อม
แห่งพระศาสดา ได้มีแก่ข้าพระองค์ ด้วยการถวายฉัตรคันหนึ่ง
ข้าพระองค์ไม่เข้าถึงทุคติเลย.
ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้
แล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่แล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสปริวารฉัตตทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 795
๓๓๐. อรรถกถาปริวารฉัตตทายกเถราปทานที่ ๑๐ เป็นต้น
อปทานที่ ๘, ๙, ๑๐ มีเนื้อความปรากฏชัดดีแล้วทีเดียวแล.
จบอรรถกถาอุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุมมาปุปผิยเถราปทาน ๒. ปุฬินปูชกเถราปทาน ๓. หาสชนก-
เถราปทาน ๔. ยัญญสามิกเถราปทาน ๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน
๖. อันนสังสาวกเถราปทาน ๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน ๘.สุมนาเวฬิย-
เถราปทาน ๙. ปุปผฉัตติยเถราปทาน ๑๐. สปริวารฉัตตทายกเถราปทาน
มีคาถา ๑๐๗ คาถา.
จบอุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 796
คันโธทกวรรคที่ ๓๔
คันธธูปิยเถราปทานที่ ๑ (๓๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธูปหอม
[๓๓๓] เราได้ถวายธูปหอมอันหุ้มด้วยดอกมะลิ สมควรแก่
พระพุทธเจ้า แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ.
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า เช่นกับแท่งทองคำอันมีค่า อัคร-
นายกของโลก รุ่งเรืองดังดอกอุบลเขียว เหมือนดวงไฟใหญ่.
องอาจยิ่งดังเสือโคร่ง มีสกุลดังไกรสรราชสีห์ เลิศกว่า
สมณะทั้งหลาย ประทับนั่ง แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส ประนมกรอัญชลี ถวายบังคม
แทบบาทพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายธูปหอมใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย
ธูปหอม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันธธูปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคันธธูปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 797
อุทกปูชกเถราปทานที่ ๒ (๓๓๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ
[๓๓๔] ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีรรณดังทอง
เสด็จไปในอากาศ เหมือนดังไฟลุกโพลง เหมือนดวง
อาทิตย์.
ข้าพระองค์จึงเอาฝ่ามือกอบน้ำโยนขึ้นไปในอากาศ พระ-
พุทธเจ้าผู้มหาวีระ ทรงประกอบด้วยพระกรุณา เป็นฤาษี
ทรงรับแล้ว.
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ประทับยืนอยู่ในอากาศ
ทรงทราบความดำริของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ด้วยการถวายน้ำ และด้วยการยังปีติให้เกิดขึ้น ท่าน
จะไม่ต้องเข้าถึงทุคติเลย แม้ตลอดแสนกัป.
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ
กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและแพ้แล้ว
บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่ ๖๕๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง มีพระ-
นามว่า สหัสสราช มีสมุทรสาครสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่กว่าชน.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 798
ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุทกปูชกเถราปทาน
ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๓๓๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบุนนาค
[๓๓๕] เราเป็นพรานเข้าไป (หยั่งลง) ยังป่าใหญ่ เราได้พบต้น
บุนนาคมีดอกบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ได้เลือกเก็บดอกบุนนาคนั้น เอาแต่ที่มีกลิ่นหอมสวยงาม
แล้วก่อสถูปบนเนินทราย บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
หนึ่งทรงพระนามว่า ตโมนุทะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 799
ทราบว่า ท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปุนนาคปุปผิยเถราปทาน
เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๓๓๖] เราเป็นคนเกี่ยวหญ้าขาย อยู่ในพระนครหังสวดี เลี้ยง
ชีวิตและเลี้ยงภรรยาด้วยการเกี่ยวหญ้าขายนั้น.
พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นทำลายความมืดมนให้พินาศ.
ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในเรือนของตน คิดอย่างนี้ว่า พระ-
พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว แต่ไทยธรรมของเราไม่มี.
เรามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้ ไม่มีใครให้ ( อะไร ) แก่เรา
การถูกต้องนรกเป็นทุกข์ เราจักปลูกฝังทักษิณาทาน.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส ได้ถือ
เอาผ้าสาฎกผืนเดียว ไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ครั้นถวายผ้าผืนหนึ่งแล้ว ได้ประกาศก้องขึ้นว่า ข้าแต่
พระมหามุนีวีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ขอได้ทรง
โปรดช่วยข้าพระองค์ให้ข้ามฝั่งได้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 800
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา เมื่อทรงสรรเสริญทานของเรา ได้ทรงทำอนุ-
โมทนาแก่เราว่า
ด้วย (การถวาย) ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้ และด้วยการตั้งจิต
มั่น ผู้นี้จะไม่ไปสู่ทุคติเลยตลอดแสนกัป.
จักได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ ๓๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิราช ๓๓ครั้ง จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์
โดยคณนานับมิได้ ท่านเมื่อท่องเที่ยวอยู่ ในเทวโลกหรือใน
มนุษยโลก จักเป็นผู้มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ มีกายน่า
ใคร่ยิ่งนัก ผ้าอันหาประมาณมิได้ จักมีตามความปรารถนา.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนักปราชญ์
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่นภากาศ ดังพระยาหงส์
ในอัมพร.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผ้าสาฎกผืนเดียว.
ผ้าย่อมบังเกิดแก่เราสำหรับรองเท้าทุก ๆ ย่าง เราประ-
ดิษฐานอยู่บนผ้า ผ้าเป็นหลังคาอยู่เบื้องบนเรา.
วันนี้ ถ้าเราปรารถนาจะถือเอาจักรวาลพร้อมทั้งป่า พร้อม
ทั้งภูเขา ก็พึงปกปิดด้วยผ้าทั้งหลายได้.
ด้วย (การถวาย) ผ้าสาฎกผืนเดียวนั้นนั่นแล เมื่อเรา
ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 801
ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่.
ผลแห่งผ้าผืนเดียว ไม่ถึงความสิ้นไปในที่ไหน ๆ ชาตินี้
เป็นชาติที่สุดของเรา ผ้าย่อมให้ผลแก่เราแม้ในชาตินี้.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าสาฎก
ผืนเดียว
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกขาดดังช้างตัดเชือกแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณสมบัติเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกทุสสทายกเถราปทาน
ผุสสิตกัมมิยเถราปทานที่ ๕ (๓๓๕)
ว่าด้วยผลแห่งการตักน้ำในบึงถวาย
[๓๓๗] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เชษฐ-
บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ พร้อมด้วยพระขีณาสพ
ทั้งหลาย ประทับอยู่ ณ สังฆาราม.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 802
พระองค์เสด็จออกจากประตูอาราม พร้อมด้วยพระขีณาสพ
๘ แสน.
เรานุ่งหนังสัตว์ และห่มผ้าเปลือกไม้กรอง ตักเอาน้ำ
ในบึงแล้ว เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.
ยังจิตของตนให้เลื่อมใส เกิดโสมนัส ประนมกรอัญชลี
ตักเอาน้ำในบึงไปประพรมพระพุทธเจ้า.
ด้วยกรรมนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ
ผู้อุดม ทรงสรรเสริญกรรมของเราแล้ว ได้เสด็จไปตามพระ-
ประสงค์.
เราได้บูชาพระชินเจ้าด้วยน้ำอันกำหนดว่า ๕,๐๐๐ หยด
เราได้เสวยเทวรัชสมบัติเพราะน้ำ ๒,๕๐๐ หยด.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพราะน้ำ ๒,๕๐๐ หยด เราได้
บรรลุอรหัตด้วยกรรมที่เหลือ.
เมื่อใด เราเป็นท้าวเทวราช เมื่อใด เราได้เป็นอธิบดีของ
มนุษย์ ชื่อว่า ผุสสิตะ นั้นแลเป็นชื่อของเรา.
เมื่อเราเป็นเทวดาหรือแม้เป็นมนุษย์ เมล็ดฝนย่อมตก
โดยรอบข้างละวา.
เราถอนภพทั้งหลายขึ้นได้แล้ว เผากิเลสทั้งหลายเสียแล้ว
เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว นี้เป็นผลแห่งหยาดน้ำฝน.
น้ำฝนของเรามีกลิ่นเสมือนกลิ่นจันทน์ กลิ่นย่อมฟุ้งไป
เหมือนอย่างนั้น กลิ่นหอมซ่านออกจากสรีระของเรา ฟุ้งไป
๒๕๐ ชั่วธนู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 803
ชนทั้งหลายสูดกลิ่นหอมอบอวลอันประกอบด้วยบุญกรรม
แล้ว ย่อมรู้ทันทีว่า พระเจ้าผุสสะเสด็จมา ณ ที่นี้.
กิ่งไม้ ใบไม้ ท่อนไม้ และแม้หญ้า ทุกชนิด (ดังจะ)
รู้ความดำริของเรา ย่อมสำเร็จเป็นกลิ่นหอมทันที.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยไม้จันทน์ ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วย
หยาดน้ำ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผัสสิตกัมมิยเถระได้กล่าวคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบผุสสิตกัมมิยเถราปทาน
ปภังกรเถราปทานที่ ๖ (๓๓๖)
ว่าด้วยผลแห่งการชำระพระสถูป
[๓๓๘] พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ มีอยู่ในป่าชัฏ อันเกลื่อนกล่นด้วย
เนื้อร้าย.
ใคร ๆ ไม่อาจจะไปเพื่อกราบไหว้พระเจดีย์ พระเจดีย์
อันหญ้าต้นและเถาวัลย์ปกคลุม หักพัง.
ในกาลนั้น เราเป็นคนทำการงานในป่า ด้วยการงานของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 804
บิดาและปู่ เราได้เห็นพระสถูปอันหักพัง หญ้าและเถาวัลย์
ปกคลุมในป่าใหญ่.
ครั้นได้เห็นพระสถูปแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ตั้งจิตเคารพ
ไว้ว่า พระสถูปนี้แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หักพังอยู่
ในป่า.
พระสถูปไม่มีอะไรบังแดดฝน ไม่สมควรแก่คนที่รู้คุณ
และมิใช่คุณ เราได้แผ้วถางพระสถูปแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงจะประกอบการงานอื่น.
ครั้นเราแผ้วถางหญ้าต้นไม้และเถาวัลย์ที่พระเจดีย์ ไหว้
ครบ ๘ ครั้งแล้ว กลับไปยังที่อยู่ของตน ด้วยกรรมที่เราทำดี
แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนามั่น เราละกายมนุษย์แล้ว ได้
ไปสู่ชั้นดาวดึงส์.
วิมานทองอันบุญกรรมทำไว้ในชั้นดาวดึงส์นั้น สวยงาม
เลื่อมประภัสสร สูง ๖ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์.
เราได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง.
ครั้งเมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภค-
สมบัติมาก ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย นี้เป็น
ผลแห่งการแผ้วถาง
เมื่อเราไปในป่าใหญ่ด้วยคานหามหรือด้วยคอช้าง เรา
ไปสู่ทิศใด ๆ ในทิศนั้น ๆ ป่าย่อมสำเร็จเป็นที่พึ่งพักได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 805
เราไม่เห็นตอหรือแม้หนามด้วยจักษุเลย เราประกอบด้วย
บุญกรรม บุญกรรมย่อมนำปราศไปเอง.
โรคเรื้อน ฝี กลาก โรคลมบ้าหมู่ คุดทะราด หิดเปื่อย
และหิดด้าน ไม่มีแก่เรา นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง.
เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์
อย่างอื่นยังมีอีก เราไม่รู้สึกว่า ต่อมฝีมีหยาดน้ำเหลืองเกิด
ในกายของเราเลย เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า.
ความอัศจรรย์อย่างอื่นยังมีอีก เราได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพ
๒ ภพ คือ ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์.
เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์
อย่างอื่นยังมีอีก เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง เป็นผู้มีรัศมี
ในที่ทั้งปวง.
เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์
อย่างอื่นยังมีอีก สิ่งที่ไม่ชอบใจไม่มี สิ่งที่ชอบใจเข้ามาตั้งไว้.
เพราะเราแผ้วถางที่พระสถูปพระพุทธเจ้า ความอัศจรรย์
อย่างอื่นยังมีอีก เรานั่งบนอาสนะเดียว ได้บรรลุอรหัต.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการแผ้วถาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 806
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปภังกรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปภังกรเถราปทาน
ติณกุฏิทายกเถราปทานที่ ๗ (๓๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า
[๓๓๙] เราเป็นคนรับจ้างทำการงานของคนอื่น ขวนขวาย
ในทางเกิดการงานของคนอื่น อาศัยอาหารของผู้อื่น อยู่ใน
นครพันธุมดี.
ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับแล้ว คิดอย่างนี้ว่า พระ-
พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก แต่การก่อสร้างบุญกุศล
ของเราไม่มี.
บัดนี้เป็นเวลาสมควรที่เราจะชำระคติ ถึงเวลาของเราแล้ว
การถูกต้องนรกเป็นทุกข์แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีบุญเป็นแน่แท้.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของงาน ขอหยุด
การงานวันหนึ่ง แล้วเข้าป่าใหญ่.
ในกาลนั้น เราขนเอาหญ้า ไม้และเถาวัลย์มาแล้ว ตั้ง
เสาไม้ขึ้น ๓ ต้น ได้สร้างเป็นกุฎีหญ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 807
เราได้มอบถวายกุฎีนั้นเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ แล้วกลับ
มาหาเจ้าของการงานในวันนั้นนั่นแล.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ดาวดึงส์ วิมาน
อันบุญกรรมสร้างให้แก่เราอย่างดีในดาวดึงส์นั้น นิรมิตให้
เพราะกุฎีหญ้า.
เครื่องประดับพันหนึ่ง ลูกคลีหนัง ๑๐๐ ลูก ธงสีเขียว
พวงดอกไม้แสนพวง ปรากฏอยู่ในวิมานของเรา.
เราอุบัติ ณ กำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ในกำเนิดนั้น ๆ ปราสาท (ดังจะ) รู้ความดำริของเรา ผุดขึ้น
ตั้งอยู่.
ความกลัว ความครั่นคร้าม หรือขนลุกชูชัน ย่อมไม่มี
แก่เรา เราไม่รู้สึกความสะดุ้งหวาดเสียวเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายกุฎีหญ้า.
ราชสีห์ เสื่อโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า และเสือดาว
ทั้งปวง ย่อมละเว้นเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า.
สัตว์เสือกคลาน ภูตผี ปีศาจ งู กุมภัณฑ์ และผีเสื้อยักษ์
แม้เหล่านั้น ก็ย่อมละเว้นเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า.
เราระลึกไม่ได้ว่า ได้ฝันเห็นลามกเลย สติของเราตั้งมั่น
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า.
เราได้เสวยสมบัติ เพราะการถวายกุฎีหญ้านั้นแล้ว ได้
กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม ให้
แจ้งชัดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 808
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีหญ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติณกุฏิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติณกุฏิทายกเถราปทาน
อุตตเรยยทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า
[๓๔๐] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์
รู้จบไตรเพท อยู่ในนครหังสวดี.
เวลานั้น เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตน เป็นคนมี
ตระกูล ศึกษาดี ออกไปจากนคร เพื่อต้องการจะรดน้ำ.
พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลภ ทรงรู้
จบมนต์ทั้งปวง เสด็จเข้ามายังพระนคร พร้อมกับพระขีณาสพ
หลายพัน.
เราเห็นพระองค์มีพระรูปงามยิ่งนัก ไม่หวั่นไหวเหมือนเขา
ทำ (หล่อ) ไว้ แวดล้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้นแล้ว
ได้ยังจิตให้เลื่อมใส เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 809
ประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า นมัสการพระองค์ผู้มีวัตร
อันงาม ได้ถวายผ้าห่ม เราประคองผ้าสาฎกด้วยมือทั้งสอง
แล้วยกขึ้น ผ้าสาฎกปกปิด (บังแดดฝน) ตลอดทั่วพุทธ-
บริษัท.
เมื่อหมู่ภิกษุเป็นต้น เป็นอันมาก เที่ยวจาริกไปบิณฑบาต
เวลานั้น ผ้าสาฎกได้กั้นเป็นหลังคายังเราให้เกิดโสมนัส.
เมื่อหมู่ภิกษุเป็นต้นจะออกจากเรือน พระศาสดาผู้สยัมภู
เป็นบุคคลผู้เลิศ ประทับยืนอยู่ที่ถนน ได้ทรงทำอนุโมทนาว่า
ผู้ใดมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายผ้าสาฎกแก่เรา เรา
จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักเป็น
จอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๕๐ ครั้ง.
เมื่อเขาผู้พร้อมพรั่งด้วยบุญกรรม อยู่ในเทวโลก จักมีผ้า
เป็นหลังคาบังแดดฝนตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ.
และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๖ ครั้ง จักได้เป็น
พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณนานับมิได้.
เมื่อเขาผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม ท่องเที่ยวอยู่ในภพ สิ่ง
ที่เขาปรารถนาด้วยใจทุกอย่าง จักบังเกิดขึ้นทันที.
คนผู้นี้จักได้ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ (ผ้าป่าน)
ผ้าฝ้าย และผ้าทั้งหลายอันมีค่ามาก คนผู้นี้จักได้สิ่งที่ตน
ปรารถนาด้วยใจทุกอย่าง จักเสวยวิบากแห่งผ้าผืนเดียว ใน
กาลทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 810
ภายหลัง เขาอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักกระทำ
ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม ให้แจ้งชัด.
โอ กุศลกรรมเราได้ทำแล้วแด่พระสัมพุทธเจ้า เราได้
บรรลุอมฤตบท เพราะได้ถวายผ้าสาฎกผืนเดียว ผ้าเป็น
หลังคากันแดดฝนให้แก่เรา ผู้อยู่ในมณฑป ที่โคนไม้ หรือ
ในเรือนว่าง โดยรอบข้างละวา.
เรานุ่งห่มปัจจัย คือจีวรอันไม่ได้ทำวิญญัติ และได้ข้าว
และน้ำ นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าห่ม.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุตตเรยยทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุตตเรยยทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 811
ธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[๓๔๑] พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น (ทุกข์)
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอันสูงเด่น สลัดผ้าเปลือกไม้
กรอง (ผ้าคากรอง) เหาะไปในอัมพรในบัดนั้น.
แต่เราไม่อาจจะไปในเบื้องบนแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุดได้ เวลานั้น เราเป็นเหมือนนกกระทบหินไปไม่ได้.
ความเป็นไปที่ผิดแปลกเช่นนี้ ไม่เคยมีแก่เราเลย เรา
เหาะไปในอัมพร เหมือนดังหลังคาไปในน้ำ.
ก็มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ จักมีอยู่ภายใต้นี้กระมังหนอ
ถ้าเช่นนั้น เราจักค้นหาเขา บางทีจะพึงได้ประโยชน์บ้าง.
เมื่อเราลงจากอากาศ ได้ฟังเสียงของพระศาสดาซึ่งกำลัง
ตรัสอนิจจตาอยู่ เราจึงเรียนอนิจจตานั้นในขณะนั้น.
ครั้นเรียนอนิจจสัญญาแล้ว ได้กลับไปสู่อาศรมของเรา
เราอยู่ตลอดกำหนดอายุแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
เมื่อภพที่สุดยังเป็นไปอยู่ เราระลึกถึงการฟังธรรมนั้นได้
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราไปสู่ดาวดึงส์.
เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป ได้เสวยรัช-
สมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณนานับมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 812
พระสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งบนเรือนของบิดา
แสดงคาถาเปล่งวาจาถึงความไม่เที่ยง.
เราระลึกถึงสัญญานั้นได้ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ยังไม่ได้แทงตลอดซึ่งที่สุด คือนิพพานอันเป็นบทไม่เคลื่อน.
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป
เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น
สงบระงับเป็นสุข.
เราระลึกถึงบุรพกรรมได้ พร้อมกับได้ฟังคาถา เรานั่งอยู่
บนอาสนะเดียวนั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัต.
เรามีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธเจ้า
ผู้มีพระจักษุทรงรู้คุณแล้ว ให้เราอุปสมบท.
กิจอะไรที่เราพึงทำในวันนี้ ในศาสนาของพระศากยบุตร
เรายังเป็นเด็กอยู่เทียว ได้ทำกิจที่พึงทำนั้นสำเร็จแล้ว.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะการฟังธรรม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธัมมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบธัมมสวนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 813
อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐)
ว่าด้วยผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว
[๓๔๒] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อยู่ในพระนครหังสวดี
เราลงสู่สระปทุมเลือกเก็บดอกบัวอยู่.
พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
เป็นอุดมบุรุษ ทรงแสวงหาความเจริญแก่เรา จึงเสด็จมา
พร้อมด้วยพระขีณาสพตั้งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่
บริสุทธิ์ ได้อภิญญา ๖ เพ่งฌาน.
เราได้เห็นพระสยัมภู ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนายก
ของโลก จึงเก็บดอกบัวที่ก้านแล้วโยนขึ้นไป [ บูชา ] ใน
อากาศ.
ในขณะนั้น [ด้วยเปล่งวาจาว่า] ข้าแต่พระธีรเจ้า ถ้าพระ-
องค์เป็นพระพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระไซร้
ขอดอกบัวจงไปตั้งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้าเองเถิด.
พระมหาวีรเจ้า เชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ
ทรงอธิษฐานแล้ว ดอกบัวเหล่านั้นได้ตั้งอยู่เหนือพระเศียรด้วย
พระพุทธานุภาพ.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำมาแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น
เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์.
ในชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานของเราบุญกรรมสร้างให้อย่าง
สวยงาม เรียกชื่อว่า สัตตปัตตะ สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง
๓๐ โยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 814
เราได้เป็นจอมเทวดา เสวยรัชสมบัติ ในเทวโลกพันครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง.
และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับ
มิได้ เราเสวยกรรมของตนที่ทำไว้ดีแล้วในปางก่อน.
ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนั้นแล เราได้เสวยสมบดีแล้ว ได้
กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม ให้
แจ้งชัดแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว เรา
ตัดกิเลสเครื่องผูกขาดเหมือนช้างตัดเชือกได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
อยู่.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอก
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
ดอกปทุมดอกเดียว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุกขิตตปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุกขิตตปทุมิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 815
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คันธธูปิยเถราปทาน ๒. อุทกปูชกเถราปทาน ๓. ปุนนาค-
ปุปผิยเถราปทาน ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน ๕. ผุสสิตกัมมิยเถราปทาน
๖. ปภังกรเถราปทาน ๗. ติณกุฎิทายกเถราปทาน ๘. อุตตเรยยทายก-
เถราปทาน ๙. ธัมมสวนิยเถราปทาน ๑๐. อุกชิตตปทุมิยเถราปทาน
ท่านรวบรวมคาถาทั้งหมดได้ ๑๔๘ คาถา.
จบคันโธทกวรรคที่ ๓๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 816
เอกปทุมวรรคที่ ๓๕
เอกปทุมิยเถราปทานที่ ๑ (๓๔๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว
[๓๔๓] พระชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม
ทั้งปวง ทรงทำให้แจ้งซึ่งภพน้อยภพใหญ่ ทรงยังประชุมชน
เป็นอันมากให้ข้าม [ทุกข์] ได้.
ในกาลนั้นเราเป็นพญาหงส์ ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย
เราโผลงยังสระน้ำแล้ว เล่นน้ำอยู่อย่างสำราญใจ.
ในขณะนั้น พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้ง
โลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จ [เหาะ] มาเหนือสระน้ำ.
เราได้เห็นพระสยัมภู ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้เป็นนายก
ของโลก จึงหักดอกบัวหลวงอันเป็นที่รื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว.
เอาจะงอยปากคาบ โยนขึ้นไปในอากาศ ได้บูชาพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยใจอันเลื่อมใสยิ่งนัก.
พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้
สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ในอากาศ ได้ทรงทำ
อนุโมทนาว่า
ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนี้ และด้วยการตั้งจิตมั่น ท่านจะ
ไม่ต้องไปสู่วินิบาตตลอดแสนกัป.
พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้อุดม ครั้น
ตรัสอย่างนี้ ทรงสรรเสริญกรรมของเราแล้ว ได้เสด็จไปตาม
พระประสงค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 817
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกปทุมิยเถราปทาน
ติณุปปลมาลิยเถราปทานที่ ๒ (๓๔๒)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกอุบล ๓ ดอก
[๓๔๔] ในกาลนั้น เราเป็นวานร อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ประทับนั่งอยู่
ณ ระหว่างภูเขา.
ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพญารังมีดอกบาน
ประกอบด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ ครั้นได้เห็นแล้ว
มีความปลื้มใจ.
มีจิตเบิกบานโสมนัส มีใจร่าเริงด้วยปีติ ได้โปรยดอก
อุบล ๓ ดอก เหนือพระเศียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 818
ครั้นเราบูชาดอกไม้แด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เคารพนบนอบแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทาง
ทิศอุดร.
เมื่อเรากำลังเดินกลับ ด้วยใจอันผ่องใส ตกลงใน
ระหว่างภูเขาหิน ถึงความสิ้นชีวิต.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น
เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์.
เราได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตีณุปปลมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 819
ธชทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๔๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายธง
[๓๔๕] เราเห็นความสิ้นไปแห่งอุปธิทั้ง ๓ จึงให้ยกธงขึ้นบูชา
พระศาสดาพระนามว่า ติสสะ เชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐ
กว่านระ.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น
เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง.
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับ
มิได้ เราได้เสวยกรรมของตน ที่ตนทำไว้ดีแล้วในกาลก่อน.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.
วันนี้ถ้าเราปรารถนา ก็พึงเอาผ้าโขมะปกปิดแผ่นดินพร้อม
ทั้งป่าและภูเขาได้ นี่เป็นผลแห่งกรรมที่เราทำในกาลนั้น.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบธชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 820
ตีณิกิงกณิปูชกเถราปทานที่ ๔ (๓๔๔)
ว่าด้วยผงแห่งดอกไม้ ๓ ดอก
[๓๔๖] มีภูเขาชื่อว่าภูตคณะ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ที่
ภูเขานั้น เราได้เห็นผ้าบังสุกุลเเขวนห้อยอยู่บนยอดไม้ ขณะ
นั้นเราได้เลือกเก็บเอาดอกหงอนไก่ ๓ ดอก มาบูชาผ้าบังสุกุล
ด้วยจิตโสมนัสยินดี.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งดอกไม้ ๓ ดอก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตีณิกิงกณิปูชกเถราปทาน
นฬาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๔๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายที่จงกรม
[๓๔๗] มีภูเขาชื่อว่าหาริกะ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ พระ-
ภิกษุมีนามสยัมภู๑ อยู่ที่โคนไม้ในกาลนั้น.
๑. ม. ยุ. สยัมภู นารทะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 821
เราได้ทำเรือนไม้อ้อ (ไม้รวก) มุงบังด้วยหญ้า แผ้วถาง
ที่จงกรมแล้ว ได้ถวายแด่พระสยัมภู.
ในกัปที่ ๑๔ เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ได้เสวยรัชสมบัติ
ในเทวโลก ๗๔ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ครั้ง และ
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
ภพของเราสูงเยี่ยม เหมือนไม้เท้าพระอินทร์ วิมานของ
เรามีเสาพันต้น ไม่มีวิมานอื่นเปรียบได้ มีสีเลื่อมประภัสสร.
เราเสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จึงออก
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม.
เราเป็นผู้ทำความเพียร มีตนส่งไปแล้ว สงบระงับ ไม่มี
อุปธิ ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือนช้างตัดเชือกแล้วฉะนั้น ไม่มี
อาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนฬาคาริกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบนฆาคาริกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 822
จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๓๔๖)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๓๔๘] มีภูเขาชื่อว่าฉาปละ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุทัสสนะ ประทับอยู่ในระหว่างภูเขา.
เราถือดอกจำปาเหาะไปทางอากาศ ได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากกิเลส ธุลี ผู้ข้ามพ้นโอฆะ ไม่มีอาสวะ.
ขณะนั้นเราวางดอกจำปา ๗ ดอกไม้บนศีรษะ บูชาแด่
พระพุทธเจ้าผู้สยัมภู ผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจัมปกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 823
ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๗ (๓๔๗)
ว่าด้วยผลแห่งพุทธบูชา
[๓๔๙] มีภูเขาชื่อว่าโรมสะ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ก็เวลา
นั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โสภิตะ ประทับอยู่ ณ ที่แจ้ง.
เราออกจากที่อยู่มากั้นดอกบัวหลวง (บังแดด) ถวาย ครั้น
กั้นอยู่วันหนึ่งแล้ว จึงกลับมาสู่ที่อยู่อีก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอก
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปทุมปูชกเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 824
ติณมุฏฐิทายกมณิเถราปทานที่ ๘ (๓๔๘)
ว่าด้วยผลแห่งหญ้ากำมือเดียว
[๓๕๐] มีภูเขาชื่อว่าลัมพกะ อยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ พระ-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า อุปติสสะ เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง.
ในกาลก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ (เที่ยวไป) ในป่าใหญ่
ได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็น
สยัมภูผู้ไม่แพ้อะไร ๆ.
ขณะนั้น เรามีจิตเลื่อมใสยิ่งนัก ได้ถวายหญ้ากำมือหนึ่ง
สำหรับประทับนั่ง แด่พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
พระองค์นั้น.
ครั้นถวายแด่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาแล้ว ยังจิตให้
เลื่อมใสอย่างยิ่ง ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วบ่ายหน้า
กลับไปทางทิศอุดร.
พอเราไปได้ไม่นาน สีหะได้เบียดเบียนเรา เราถูกสีหะ
ทำให้ล้มลงแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
(เพราะ) กรรมที่เราทำแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐไม่มีอาสวะ เราได้ไปสู่เทวโลก เหมือนกำลังลูกศร
พ้นจากแล่ง.
ในเทวโลกนั้น มีปราสาทงามอันบุญกรรมนิรมิต (ใน
ปราสาทนั้น) มีเครื่องประดับพันหนึ่ง ลูกคลีหนัง ๗ ลูก
ธงสีเขียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 825
รัศมีของปราสาทนั้นพุ่งออก ขึ้นไปสูงเหมือนพระจันทร์
เราเกลื่อนกล่นด้วยนางเทพกัญญา เบิกบานด้วยวัตถุกามและ
กิเลสกาม.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจากเทวโลกมาสู่ความ
เป็นมนุษย์แล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายที่นั่ง ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งหญ้ากำมือเดียว.
คุณวิเศษเหล่านั้น คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
ตินทุกผลทายกเถราปทานที่ ๙ (๓๔๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะพลับ
[๓๕๑] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ปราศ-
จากกิเลสธุลี ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ประทับนั่ง
ในระหว่างภูเขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 826
เราเห็นต้นมะพลับกำลังมีผล จึงหักเอามาพร้อมทั้งก้าน
มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า
เวสสภู.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ผลไม้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตินทุกผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตินทุกผลทายกเถราปทาน
เอกัญชลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๕๐)
ว่าด้วยผลแห่งการทำอัญชลี
[๓๕๒] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เรวตะ ประทับ
อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี
มีรัศมีรุ่งเรืองดังพระจันทร์.
มีพระพักตร์เบิกบานดังปากเบ้า มีรัศมีสุกสกาวเช่นกับ
ถ่านเพลิงไม้ตะเคียน รุ่งโรจน์เหมือนดาวประกายพรึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 827
เราได้ประนมกรอัญชลี.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ประนมกรอัญชลีใด ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการประนมกร
อัญชลี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกัญชลิยเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอกปทุมิยเถราปทาน ๒. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน ๓. ธชทายก-
เถราปทาน ๘. ตีณิกิงกณิปูชกเถราปทาน ๕. นฬาคาริกเถราปทาน
๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน ๗. ปทุมปูชกเถราปทาน ๘. ติณมุฏฐิ-
ทายกเถราปทาน ๙. ทินทุกผลทายกเถราปทาน ๑๐. เอกัญชลิยเถราปทาน
บัณฑิตทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๖๖ คาถา
จบเอกปทุมวรรคที่ ๓๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 828
สัททสัญญิกวรรคที่ ๓๖
สัททสัญญิกเถราปทานที่ ๑ (๓๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งความเลื่อมใส
[๓๕๓] ครั้งก่อน เราเป็นพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าใหญ่ ได้
พบพระสัมพุทธเจ้าแวดล้อมด้วยสงฆ์สองฝ่ายในป่านั้น.
ซึ่งกำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงรื้อถอน (ช่วยเหลือ)
มหาชน เราได้ฟังพระวาจาอันไพเราะเปรียบด้วยเสียงนก
การเวกของพระมหามุนี พระนามว่า สิขี มีพระสำเนียงดัง
พรหม เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระ-
สำเนียงแล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งความเลื่อมใส.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัททสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 829
ยวกลาปิยเถราปทาที่ ๒ (๓๕๒)
ว่าด้วยผลแห่งการลาดหญ้า
[๓๕๔] ในกาลนั้น เราเป็นคนเกี่ยวหญ้าอยู่ในนครอรุณวดี ได้
เห็นพระสัมพุทธเจ้าที่หนทาง จึงลาดกำหญ้าถวาย (ให้
ประทับ)
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงมี
พระกรุณาเป็นอัครนายกของโลก ทรงทราบความดำริของเรา
จึงประทับนั่งบนลาดหญ้า.
เราเห็นพระองค์ผู้ปราศจากมลทิน ผู้เพ่งพินิจมาก เป็น
ผู้แนะนำดี เกิดความปราโมทย์แล้วทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการลาดหญ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยวกลาปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบยวกลาปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 830
กิงสุกปูชกเถราปทานที่ ๓ (๓๕๓)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกทองกวาว
[๓๕๕] เราได้เห็นต้นทองกวาวกำลังมีดอกบาน จึงประนมกร
อัญชลี ระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ แล้วบูชา
ในอากาศ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบกิงสุกปูชกเถราปทาน
สโกฏกโกรัณฑทายกเถราปทานที่ ๔ (๓๕๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาจักรที่รอยพระบาท
[๓๕๖] เราได้พบรอยพระบาท ที่พระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกทรงเหยียบไว้ จึงห่มหนังเสือเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ได้ไหว้รอยพระพุทธบาทอันประเสริฐแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 831
เห็นต้นหงอนไก่ อันขึ้นอยู่บนดินมีดอกบาน จึงถือเอา
มาพร้อมทั้งก้าน ได้บูชาลายจักรที่รอยพระบาท.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสโกฏกโกรัณฑทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสโกฏกโกรัณฑยายกเถราปทาน
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๕๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายไม้ขอ
[๓๕๗] ในกาลนั้น เราเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ตัดไม้ไผ่ ได้ถือเอา
ไม้ขอสำหรับห้อยสิ่งของมาถวายแก่สงฆ์ เรากราบไหว้ภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีวัตรงาม.
ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นและครั้นถวายไม้ขอสำหรับ
ห้อยแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายไม้ขอใดในกาลนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 832
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ไม้ขอ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบทัณฑทายกเถราปทาน
อัมพยาคุทายกเถราปทานที่ ๖ (๓๕๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะม่วงและยาคู
[๓๕๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่า สตรังสี ผู้ไม่แพ้อะไร ๆ
ออกจากสมาธิแล้ว เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา.
เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใสยิ่งนัก
ได้ให้คนเอามะม่วงและข้าวยาคูไปถวาย แด่ท่านผู้ผ่องใส
ไม่มีที่สุด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายมะม่วง
และยาคู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 833
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพยาคุทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอัมพยาคุทายกเถราปทาน
ปุฏกปูชกเถราปทานที่ ๗ (๓๕๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกวัว
[๓๕๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก
เสด็จออกจากที่พักกลางวันแล้ว พระองค์เสด็จเที่ยวภิกษาเข้า
มาถึงสำนักเรา.
ลำดับนั้น เรามีปีติโสมนัส ถวายกระเทียมห่อหนึ่งแด่
พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่แล้ว บันเทิงอยู่ใน
สวรรค์ตลอดกัป.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายห่อกระเทียมใด ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายกระเทียม
ห่อหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 834
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุฏกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุฏกปูชกเถราปทาน
วัจฉทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกวัว
[๓๖๐] เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายลูกวัวตัวหนึ่งด้วยมือของตน
เอง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เชษฐบุรุษ
ของโลก ผู้คงที่ เราถึงพร้อม (ด้วย) ยานช้าง ยานม้า
และยานทิพย์ เพราะการถวายลูกวัวนั้น เราได้บรรลุถึงความ
สิ้นอาสวะ.
กัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายลูกวัวใด ในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายลูกวัว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 835
ทราบว่า ท่านพระวัจฉทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวัจฉทายกเถราปทาน
สรณาคมนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๕๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงสรณะ
[๓๖๑] ในกาลนั้น พระภิกษุและเราผู้เป็นอาชีวก ขึ้นเรือไปด้วย
กัน เมื่อเรือกำลังจะแตก พระภิกษุได้ให้สรณะแก่เรา.
ในกัปที่ ๔๑ แต่กัปนี้ พระภิกษุได้ให้สรณะใดแก่เรา ด้วย
สรณะนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถึงสรณะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสรณาคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสรณาคมนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 836
ปิณฑปาติกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๖๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๓๖๒] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ประทับ
อยู่ในป่าใหญ่ เราจากดุสิตพิภพมาในมนุษยโลกนี้ ได้ถวาย
บิณฑบาต.
ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้มียศ
ใหญ่ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว กลับไปยังภพดุสิต.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
บิณฑบาต.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปิณฑปาติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปิณฑปาติกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 837
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัททสัญญิกเถราปทาน ๒. ยวกลาปิยเถราปทาน ๓. กิงสุก-
ปูชกเถราปทาน ๔. สโกฎกโกรัณฑทายกเถราปทาน ๕. ทัณฑทายก-
เถราปทาน ๖. อัมพยาคุทายกเถราปทาน ๗. ปุฏกปูชกเถราปทาน
๘. วัจฉทายกเถราปทาน ๙. สรณาคมนิยเถราปทาน ๑๐. ปิณฑปาติก-
เถราปทาน.
และมีคาถา ๔๐ คาถา.
จบสัททสัญญิกวรรคที่ ๓๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 838
มันทารวปุปผิยวรรคที่ ๓๗
มันทารวิยเถราปทานที่ ๑ (๓๖๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมนทารพ
[๓๖๓] เรา (แปลงเพศ) เป็นมาณพชื่อมงคล มาจากดาวดึงส์
ถึงในมนุษยโลกนี้ ถือเอาดอกมนทารพมากั้นแดดลมไว้เหนือ
พระเศียรแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้แสวงหาคุณ
ใหญ่ ประทับนั่งสมาธิอยู่ เรากั้นอยู่ตลอด ๗ วันแล้วกลับมา
สู่เทวโลก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมันทารวิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบมันทาวิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 839
กักการุปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๓๖๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกฟักทิพย์
[๓๖๔] เราจากเทวโลกชั้นยามามาในมนุษยโลกนี้ เพื่อมาเฝ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้า
สิริสุทโธทนะ ได้ถือเอาดอกฟักทิพย์มาบูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า.
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกักการุปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกักการุปุปผิยเถราปทาน
ภิสมุฬาลทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๖๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว
[๓๖๕] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ ทรงรู้จบธรรม
ทั้งปวง ผู้ใคร่ในวิเวก มีพระปัญญา เสด็จมาในสำนักของเรา.
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ชินเจ้า ผู้ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 840
พระมหากรุณา ได้ถือเอาเหง้ามันและรากบัวมาถวายแด่
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเหง้ามันและรากบัวใด
ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายเหง้ามันและรากบัว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระภิสมุฬาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบภิสมุฬาลทายกเถราปทาน
เกสรปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๓๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๓ ดอก
[๓๖๖] ในกาลนั้น เราเป็นวิทยาธร อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ได้พบ
พระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี มียศมาก กำลังเสด็จ
จงกรมอยู่.
ในกาลนั้น เราวางดอกบัว ๓ ดอกไว้บนศีรษะ แล้วเข้า
ไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เวสสภู แล้วได้บูชา.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 841
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเกสรปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบภิสมุฬาลทายกเถราปทาน
อังโกลปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๓๖๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๓ ดอก
[๓๖๗] ฝนกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมะ ประทับ
อยู่ที่ภูเขาจิตกูฏ เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.
ขณะนั้น เราได้เห็นต้นปรูมีดอกบาน จึงเลือกเก็บแล้ว
เอาเข้ามาบูชาพระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมะ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 842
ทราบว่า ท่านพระอังโกลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอังโกลปุปผิยเถราปทาน
กทัมพปุปผิยเภราปทานที่ ๖ (๓๖๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม
[๓๖๘] เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง เช่นกับทองคำอันมีค่า มีพระลักษณะ
อันประเสริฐ ๓๒ ประการ.
เป็นนายกของโลก เสด็จในระหว่างตลาด เราจึงถือเอา
ดอกกระทุ่มไปบูชาพระพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกทัมพปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 843
วุททาลกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกคูณ
[๓๖๙] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุชาตะ ประทับ
อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา เราได้ถือเอาดอกคูนไปบูชาพระองค์
ผู้ไม่แพ้อะไร ๆ.
ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกทัมพปุปผิยเถราปทาน
เอกจัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๓๖๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจำปา
[๓๗๐] ก็พระสัมพุทธเจ้าผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา
เราถือเอาดอกจำปาดอกหนึ่ง เข้าไปหาท่านผู้สูงสุดกว่านระ.
มีจิตเลื่อมใสโสมนัสประคองดอกจำปาด้วยมือทั้งสอง
บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีอันอุดม ผู้ไม่แพ้อะไร ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 844
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบเอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๓๖๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกดีหมี
[๓๗๑] เราเที่ยวไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาดา ได้
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปราศจากกิเลสธุลี เหมือนพญารัง
มีดอกบาน.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถือเอาดอกดีหมีมาโปรยลง
เหนือศีรษะ บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีอันอุดม.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย
ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 845
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติมิรปุปผิยเถราปทาน
สลฬปุปผิยเถราปทานที่๑๐ (๓๗๐)
ว่าด้วยผลแห่งกาลบูชาด้วยดอกช้างน้าว
[๓๗๒] ในกาลนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านระเสด็จจงกรม
อยู่.
เราได้เลือกเก็บดอกไม้ช้างน้าวมาถวาย แด่พระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรเจ้าทรงสูดกลิ่นดอกช้างน้าวมีกลิ่น
หอมดังดอกไม้ทิพย์.
เมื่อขณะที่เราดูอยู่นั้น พระมหาวีรสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
วิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ทรงรับแล้ว ทรงสูดกลิ่น.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถวายบังคมพระองค์ผู้อุดมกว่า
สัตว์ ประนมกรอัญชลีแล้ว กลับขึ้นสู่ภูเขาอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 846
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำได้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสลฬปุปผิยเถราปทาน
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มันทารวิยปุปผิยเถราปทาน ๒. กักการุปุปผิยเถราปทาน ๓.
ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน ๔. เกสรปุปผิยเถราปทาน ๕. อังโกลปุปผิย-
เถราปทาน ๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน ๗. อุททาลกปุปผิยเถราปทาน
๘. เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน ๙. ติมิรปุปผิยเถราปทาน ๑๐. สลฬ-
ปุปผิยเถราปทาน.
และมีคาถา ๔๐ คาถา.
จบมันทารวปุปผิยวรรคที่ ๓๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 847
โพธิวันทนวรรคที่ ๓๘
โพธิวันทกเถราปทานที่ ๑ (๓๗๑)
ว่าด้วยผลแห่งการไหว้
[๓๗๓] เราได้เห็นต้นแคฝอยอันงอกขึ้นบนพื้นดินงามรุ่งเรือง จึง
ประนมกรอัญชลีเฉวียงบ่าเบื้องซ้าย ตั้งใจเคารพไหว้ต้นแค
ฝอย เปรียบเหมือนว่าได้ถวายบังคมเฉพาะพระพักตร์พระ-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้บริสุทธิ์ทั้งภายในภายนอก
หลุดพ้นด้วยดี ไม่มีอาสวะ ทรงเกื้อกูลโลก มีพระกรุณา
ญาณดังสาคร.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ไหว้ไม้โพธิใด ด้วยกรรมนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไหว้.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโพธิวันทกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโพธิวันทกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 848
ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๒ (๓๗๒)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดกแคฝอย ๓ ดอก
[๓๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีผู้สยัมภู เป็นบุคคล
ผู้เลิศ ทรงชนะมาร แวดล้อมด้วยบรรดาศิษย์ของพระองค์
เสด็จเข้าสู่พันธุมดีนคร.
เราห่อดอกแคฝอย ๓ ดอกไว้ในพก ประสงค์จะอาบน้ำ
ดำเกล้า จึงได้ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของ
โลก ทรงรุ่งเรื่องดังดอกราชพฤกษ์ รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์และ
ดวงไฟ องอาจดังเสือโคร่งตัวประเสริฐ ทรงมีสกุลดังพญา-
ราชสีห์ เลิศกว่าบรรดาสมณะทั้งหลาย แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จดำเนินออกจากนครพันธุมดี.
เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ผู้ชำระมลทิน คือกิเลสพระองค์
นั้น จึงถือเอาแคฝอย ๓ ดอก มาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
สุด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 849
ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่๓ (๓๗๓)
ว่าด้วยผลแห่งกาลโปรยดอกอุบล ๓ ดอก
[๓๗๕] ในกาลนั้น เราเป็นวานรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี ประทับนั่งอยู่ใน
ระหว่างภูเขา
ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพญารังมีดอกบานสะพรั่ง
ทรงประกอบด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ.
เราเห็นแล้วดีใจ มีใจเบิกบานโสมนัส มีใจร่าเริงเพราะ
ปิติ จึงโปรยดอกอุบล ๓ ดอกลงเบื้องบนพระเศียร (บูชา).
ครั้นบูชาดอกไม้แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ ผู้แสวง
หาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว เป็นผู้มีความเคารพ บ่ายหน้ากลับ
ไปทางทิศอุดร.
เมื่อเรากับไปด้วยใจอันเลื่อมใสยิ่งนัก ได้ตกลงใน
ระหว่างซอกหินถึงความสิ้นชีวิต.
ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนามั่น
เราละชาติเดิมแล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์
ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระ-
เจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชา เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 850
ทราบว่า ท่านพระตีณุปปลมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
ปัตติปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๓๗๔)
ว่าด้วยผลแห่งกาลบูชาด้วยดอกประดู่
[๓๗๖] ในกาลเมื่อพระสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ พระนามว่า
ปทุมุตตระ เสด็จไปนิพพานแล้ว คนทั้งปวงมาประชุมกันนำเอา
พระสรีระไป.
เมื่อนำเอาพระสรีระไป เขาประโคมกลองเภรีอยู่ เรา
มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้บูชาด้วยดอกประดู่.๑
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะ
บูชาพระสรีระ.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดี
แล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกรัดดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
๑. ปฏฺฏิปุปฺม แปลว่า ไม้โลทแดงหรือไม้แสม อภิธาน ฯ ๕๖๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 851
ทราบว่า ท่านพระปัตติปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปัตติปุปผิยเถราปทาน
สัตตปัณณิยเถราปทานที่ ๕ (๓๗๕)
ว่าด้วยผลแห่งกาลบูชาด้วยต้นตีนเป็ด
[๓๗๗] พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า สุมนะ
เสด็จอุบัติแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้บูชาต้นตีนเป็ด
(อันเป็นไม้โพธิ์).
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาต้นตีนเป็ด ด้วยการบูชา
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาต้นตีนเป็ด.
การที่เราได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัตตปัณณิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัตติปัณณิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 852
คันธมุฏฐิยเถราปทานที่ ๖ (๓๗๖)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาจิตกาธาร
[๓๗๘] เมื่อมหาชนช่วยกันทำจิตกาธารอยู่ เมื่อมีการรวบรวม
ของหอมต่าง ๆ กันแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้บูชา
(จิตกาธาร) ด้วยของหอมกำมือหนึ่ง.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาจิตกาธาร ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาร.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเราทำให้แจ้งชัดแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรา ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคันธมุฏฐิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคันธมุฏฐิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 853
จิตตกปูชกเถราปทานที่ ๗ (๓๗๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกรัง
[๓๗๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้สูงสุด
ปรินิพพานแล้ว มหาชนช่วยกันยกขึ้นบนจิตกาธาร เราบูชา
ด้วยดอกรัง.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาจิตกาธารด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
จิตกาธาร.
การที่เราได้มาในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบจิตกปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 854
สุมนตาลวัณฏิยเถราปทานที่ ๙ (๓๗๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัดใบตาล
[๓๘๐] เราได้ถวายพัดใบตาลอันหุ้มห่อด้วยดอกมะลิ แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เราทรงไว้ซึ่งยศใหญ่.
ในกัปที่๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายพัดใบตาล ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดใบตาล.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดี
แล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำได้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุมนตาลวัณฏิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 855
สุมนทามิยเถราปทาน ๙ (๓๗๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมะลิ
[๓๘๑] เราได้ร้อยพวงมาลัยดอกมะลิแล้ว ยืนทรง (ถือ) ไว้ตรง
พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้
บริสุทธิ์ (ชำระกิเลส) มีตบะ.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยพวง
มาลัยใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การบูชาด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดี
แล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสุมนทามิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสุมนทามิยเถระปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 856
กาสุมาริผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๓๘๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะรื่น
[๓๘๒] เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี โชติช่วง
ดังดอกกรรณิการ์ เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านระ ประ
ทับอยู่ในระหว่างภูเขา.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ประนมกรอัญชลีแล้ว ได้ถือ
เอาผลมะรื่นไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในศาสนาพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ในภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๘ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้
ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบกาสุมาริผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 857
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โพธิวันทกเถราปทาน ๒. ปาฏลิปุปผิยเถราปทาน ๓. คีณุปปล-
มาลิยเถราปทาน. สัตตปุปผิยเถราปทาน ๕. สัตตปัณณิเถราปทาน
๖. คันธมุฏฐิเถราปทาน ๗. จิตกปูชกเถราปทาน ๘. สุมนคาลวัณฎิย-
เถราปทาน ๙. สุมนทามิยเถราปทาน ๑๐. กาสุมาริผลทายกเถราปทาน-
มีคาถา ๕๙ คาถา.
จบโพธิวันทนวรรณที่ ๓๘
อรรถกถาวรรคที่ ๓๔ เป็นต้น
วรรคที่ ๓๔, วรรคที่ ๓๕. วรรคที่ ๓๖, วรรคที่ ๓๗, และ
วรรคที่ ๓๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 858
อัมพฏผลทายกวรรคที่ ๓๙
อัมพ๑ฏผลทายกเถราปทานที่ ๑ (๓๘๑)
ว่าด้วยผลการถวายผลมะกอก
[๓๘๓] พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสตรังสี ผู้เป็นเอง
ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ ทรงใคร่ความสงัด เสด็จออกโคจร
บิณฑบาต.
เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นพระองค์ มีจิตเลื่อมใสโสมนัส
จึงเข้าไปเฝ้าพระนราสภแล้ว ได้ถวายผลมะกอก.
ในกัปที่ ๙๔ แค่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
กาลที่เราได้มาในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขั้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัมพฏผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
อัมพฏผลทายกเถราปทาน
๑. อภิธานฯ ๕๕๔. อัมพาฏกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 859
ลพุชทายกเถราปทานที่ ๒ (๓๘๒)
ว่าด้วยผลการถวายผลขนุนสำมะลอ
[๓๘๔] ในกาลนั้น เราเป็นคนรักษาสวนอยู่ในพระนครพันธุมดี ได้
เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี กำลังเสด็จเหาะไปในอากาศ.
เราได้ถือเอาผลขนุนสำมะลอไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุด พระองค์ผู้มียศมากประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรง
รับทานของเรา.
นั่นเป็นเหตุให้ปีติเกิดแก่เรา เป็นเครื่องนำสุขมาให้ใน
ปัจจุบัน ครั้นได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอันผ่องใสแล้ว.
เราได้บรรลุถึงปีติและอุดมสุขอันไพบูลย์ในกาลนั้น แก้ว
ย่อมเกิดขึ้นแก่เราในภพที่เราเกิด.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระลพุชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบลพุชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 860
อุทุมพรทายกเถราปทานที่ ๓ (๓๘๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะเดื่อ
[๓๘๕] พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนินนคา-๑
นที เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี มีพระ-
หฤทัยมั่นคง ไม่ระส่ำระสาย.
เรามีใจเลื่อมใสในพระองค์ผู้ชำระมลทิน คือ กิเลส จึง
ได้ถือเอาผลมะเดื่อไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ โมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุทุมพรทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอุทุมพรทายกเถราปทาน
๑. อิ. ม. วินตานที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 861
มิลักขุผลทายกเถราปทาน ๔ (๓๘๔)
ว่าด้วยผลแหงการถวายผลไม้ป่า
[๓๘๖] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้มียศมาก
ในระหว่างป่า เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายผลไม้ป่า.
ในกัปที่ ๑๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ผลไม้.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมิลักขุผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมิลักขุผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 862
ผารุสผลทายกเถราปทานที่ ๕ (๓๘๕)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะปราง
[๓๘๗] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณ ดังทองคำ
สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จดำเนินอยู่ในถนน จึงได้ถวายผล
มะปราง แด่พระองค์.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระผารุสผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบผารุสผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 863
วัลลิผลทายกเถราปทานที่ ๖ (๓๘๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลวัลลิ
[๓๘๘] ในกาลนั้น ชนทั้งปวงชักชวนกันมาสู่ป่าเขาเหล่านั้น
แสวงหาผลไม้ ก็หาผลไม้ได้ในกาลนั้น.
ในป่านั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้สยัมภูไม่แพ้อะไร ๆ
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัสได้ถวายผลวัลลิ.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระวัลลิผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวัลลิผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 864
ปนสผลทายกเถราทานที่ ๘ (๓๘๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
[๓๘๙] เราได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก ทรงรุ่งเรือง
ดังดอกกรรณิการ์ โชติช่วงเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญและดัง
ดวงประทีป.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถือเอาผลกล้วยไปถวายแด่
พระศาสดา ถวายบังคมแล้วกลับไป.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มารในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปนสผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปนสผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 865
ปนสผลทายกเถราปทานที่ ๘ (๓๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลขนุนสุก
[๓๙๐] ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อัชชุนะ ทรงถึง
พร้อมด้วยจรณะ และเป็นมุนีผู้ฉลาดในสมาธิ ประทับอยู่ที่
ภูเขาหิมวันต์.
เราถือเอาผลขนุนอันสุกสด โตประมาณเท่าหม้อ วางไว้
ที่ต้นตีนเป็ดแล้ว ได้ถวายแด่พระศาสดา.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การดีแล้วหนอ วิชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปนสผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปนสผลทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 866
อัมพฏผลวรรคที่ ๓๙
อรรถกถาอปทานที่ ๑ เป็นต้น
อปทานที่ ๑ เป็นต้นถึงอปทานที่ ๘ ในวรรคที่ ๓๙ ก็มีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้นเหมือนกันแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 867
โสณโกฏิวิสเถราปทานที่ ๙ (๓๘๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายถ้ำ
[๓๙๑] ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี เราได้
สร้างถ้ำ (วิหาร) ถ้ำหนึ่ง ถวายแด่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้งสี่ ใน
พันธุมาราชธานี.
เราบริจาคผ้าหลายผืนไว้ลาดพื้นถ้ำ ในกาลนั้น เรามีจิต
เบิกบานโสมนัส ได้ทำความปรารถนาว่า
ขอเราพึงได้พบพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงโปรดปราน พึงได้
บรรพชา และพึงถูกต้อง (บรรลุ) นิพพานอันยอดเยี่ยม เป็น
อุดมสันติ.
ด้วยกุศลมูลนั้นนั้นแล เราระลึกชาติได้ตลอด ๙๐ กัป
เราเป็นเทวดาก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นผู้ก่อสร้างบุญรุ่งเรืองนัก.
ด้วยกรรมอันเหลือจากนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราเกิดเป็น
บุตรคนเดียวของอัครเศรษฐีในจัมปานคร.
พอบิดาของเราได้ฟังว่าเราเกิดแล้ว ก็ได้มีความพอใจว่า
เราจะให้ทรัพย์ ๒๐๐ ล้านแก่กุมารไม่ให้หย่อนเลย.
ขนยาวประมาณ ๔ นิ้ว เส้นละเอียด มีสัมผัสอ่อนนุ่ม
เสมอเหมือนปุยนุ่นงาม เกิดที่พื้นเท้าทั้งสองของเรา.
ตลอด ๙๐ กัปที่ล่วงมา อาการนี้ เป็นอาการพิเศษยิ่งอย่าง
หนึ่ง คือ เราไม่รู้สึกในเมื่อเท้าวางลงบนภาคพื้นที่ไม่มีเครื่อง
ลาด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 868
พระสัมพุทธเจ้ายังเราให้พอใจแล้ว เราได้บวชเป็นบรรพ-
ชิตแล้ว เราบรรลุอรหัตแล้ว และเป็นผู้เย็น เป็นผู้ดับแล้ว.
พระศาสดาผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง ทรงแสดงเราว่า เป็น
ผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุผู้ปรารภความเพียร เราเป็นพระอรหันต-
ขีณาสพ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย
ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายถ้ำ.
การที่เราได้มาในพระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรา เป็น
การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้หมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
พระโสณโกฏิวิสเถระ โดยฐานะเป็นหัวหน้าของภิกษุ
สงฆ์ ถูกถามปัญหาแล้วได้พยากรณ์ที่สระใหญ่ชื่ออโนดาต
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโสณโกฏิวิสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบโสณโกฏิวิสเถรปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 869
๓๘๙. อรรถกถาโสณโกฏิวิสเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระโสณโกฏิวิสเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน
ปาวจเน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากมาย
ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ท่าน
(รูปนี้) ได้เกิดในตระกูลเศรษฐีมีสมบัติมากมาย พอเจริญวัยแล้ว ก็ได้
เป็นเศรษฐี (วันหนึ่ง) พร้อมกับพวกอุบาสกได้ไปพระวิหาร ฟังพระ-
ธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ช่วยกันฉาบทาปูนขาว
ในที่จงกรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า และช่วยกันสร้างที่เร้น (ที่สงบ)
แห่งหนึ่ง ได้ลาดพื้นที่เร้นด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ และทำเพดานไว้ข้างบน มอบ
ถวายแด่พระสงฆ์ที่มาแต่ทิศทั้ง ๔ ได้ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน (และ)
ได้กระทำการตั้งปณิธานไว้. พระศาสดาได้ทรงกระทำอนุโมทนา. ด้วย
กุศลกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้
เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ ในกัปนี้ เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรายังไม่ทรงอุบัติ ท่านได้บังเกิดในเรือน
แห่งตระกูล ในกรุงพาราณสี พอได้เจริญวัยแล้ว ได้สร้างบรรณศาลา
ไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งซึ่งอยู่ประจำ
ด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๓ เดือนโดยความเคารพ. พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น
พอออกพรรษาแล้ว มีบริขารครบบริบูรณ์ ได้ไปยังภูเขาคันธมาทน์นั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 870
กุลบุตรคนนั้น ได้ทำบุญไว้เป็นอันมากในมนุษยโลกนั้นจนตลอดชีวิต
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก พอถึง
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เขาได้ถือปฏิสนธิในเรือนของ
อัครเศรษฐีในนครจัมปา. ตั้งแต่เวลาที่เขาถือปฏิสนธิมา กองแห่งโภค-
สมบัติเป็นอันมาก ก็เจริญขึ้นแก่ท่านเศรษฐี. ในวันที่เขาคลอดออกจาก
ท้องของมารดา ลาภสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก ก็ได้บังเกิดมีทั่ว
พระนคร. (ด้วยผลบุญ) ที่ได้บริจาคผ้ากัมพลสีแดงมีค่าตั้งแสนแด่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งก่อน เขาจึงได้มีวรรณดุจทองคำ และมีอัตภาพ
สุขุมละเอียดอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พวกญาติจึงตั้งชื่อเขาว่า โสณะ. เขา
เจริญวัยแล้ว มีบริวารมากมาย. ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเขาได้มีเป็นรูป
ดอกหงอนไก่, ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเขาทุกข้าง ได้มีสัมผัสอันอ่อนนิ่ม
นวลคล้ายกับปุยฝ้ายที่ปั่นแล้วตั้งร้อยครั้ง. เฉพาะที่ฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้าง ได้
เกิดมีโลมชาติเป็นรูปวงกลมคล้ายกับต่างหูแก้วมณี. พวกญาติได้สร้าง
ปราสาท ๓ หลังอันเหมาะสมกับฤดูทั้ง ฤดูให้แก่เขาผู้เจริญวัยแล้ว และ
ได้มีพวกหญิงนักฟ้อนพากันบำรุงบำเรอ เขาได้เสวยสมบัติอันใหญ่หลวง
ในปราสาทหลังนั้น ๆ อยู่อย่างเทพกุมาร.
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ได้บรรลุพระสัพพัญญุต-
ญาณแล้ว ประทับอยู่อาศัยในพระนครราชคฤห์ แสดงพระธรรมจักร
อันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว พระเจ้าพิมพิสารมีพระบรมราชโองการให้
บุรุษไปเรียกตัวเขามา เขามายังพระนครราชคฤห์ พร้อมกับพวกชาวบ้าน
๘๐,๐๐๐ คน แล้วไปยังสำนักของพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้ว ได้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 871
ศรัทธา ขออนุญาตมารดาบิดาแล้วบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พอได้อุปสมบทแล้วเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว
ได้อยู่ที่สีตวัน เพื่อหลีกจากการคลุกคลีด้วยหมู่ชน, ขณะที่พระโสณะอยู่
ในที่นั้นได้มีจินตนาการว่า สรีระของเราละเอียดสุขุม ด้วยความสุข
ทางกายอย่างเดียวเท่านั้น เราจึงไม่สามารถจะบรรลุความสุขใจที่แท้จริง
ได้, เอาละแม้เราจะลำบากกาย ก็ควรที่จะบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้แล้ว
จึงอธิษฐานที่จงกรม เริ่มประกอบความเพียร เมื่อฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้าง บวม
จนพองขึ้นก็ตาม ก็ไม่คำนึงถึงทุกขเวทนา กระทำความเพียรอย่างแรง
กล้า แต่ก็ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นได้ คงเป็นเพราะ
ปรารภความเพียรหนักไป จึงคิดว่า เราพยายามถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่
สามารถจะทำมรรคและผลให้บังเกิดขึ้นได้, เราจะบวชอยู่ทำไม สึกไป
เสวยสมบัติดีกว่า และเราจักทำบุญให้มาก ดังนี้. ลำดับนั้น พระศาสดา
ได้ทรงทราบวาระจิตของเขา จึงเสด็จไปยังที่นั้น ทรงประทานพระโอวาท
อุปมาด้วยสายพิณ เมื่อจะทรงแสดงถึงวิธีประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ
ยังกัมมัฏฐานให้หมดจดแล้ว จึงเสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ. แม้พระ-
โสณะแล ได้รับพระโอวาทจากสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบ
ความเพียรให้สม่ำเสมอ พยายามเจริญวิปัสสนา ก็ได้ดำรงอยู่ในพระ-
อรหัต.
พระโสณะนั้น เป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน
ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ
มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิโน ปาวจเน ดังนี้. คำว่า
วิปัสสี ในคำนั้นหมายความว่า เห็นโดยพิเศษ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 872
วิปัสสี เพราะเห็นได้หลายอย่าง. บทว่า ปาวจเน ได้แก่ชื่อว่า ปาพจน์
คือ พระไตรปิฎก เพราะท่านเรียกโดยประการอย่างหนึ่ง, อธิบายว่า
ในปาพจน์ของพระวิปัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า เลณ ความว่า
ชื่อว่า เลณะ คือวิหาร เพราะเป็นที่เร้น อันปลอดภัย (สงบ). บทว่า
พนฺธุมาราชธานิยา แยกวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า พันธุ คือ หมู่ญาติ เพราะ
เกี่ยวพัน คือผูกพันซึ่งกันและกันมา ด้วยอำนาจการสืบต่อจากตระกูล.
ชื่อว่า พันธุมา เพราะย่อมอยู่ประจำในที่นั่น, อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า
พันธุมา เพราะเขามีความเกี่ยวข้องกัน. ชื่อว่า ราชธานี เพราะเป็นที่
ประทับอยู่ของพระราชาทั้งหลาย, พันธุมา ศัพท์ และ ราชธานี ศัพท์นั้น
รวมกันเป็นพันธุมาราชธานี เชื่อมความว่า เราได้สร้างที่เร้น (วิหาร)
ที่ราชธานีของพระเจ้าพันธุมานั้น. คำที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโสณโกฏิวิสเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 873
๑พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระพุทธองค์
[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณีย-
สถาน โชติช่วงด้วยแก้วต่าง ๆ ในละแวดป่าอันมีกลิ่นหอม
ต่าง ๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของ
พระองค์ ณ ที่นั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงกรรมที่เราทำแล้ว
ของเรา เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้
ถวายผ้าเก่า.
เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่า
ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า.
ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็น
แม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะ
กระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา.
ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าว
ตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลา
นาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก.
๑. อรรถกถาว่า ปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 874
ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำ
กล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.
เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่า นันทะ สาวกของพระ-
พุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรก
สิ้นกาลนาน.
เราท่องเที่ยว อยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความ
เป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก.
ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกามากันหมู่ชน
ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง.
เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุตวา อันชนทั้งหลาย
สักการะบูชา สอนมนต์ให้กันมาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่า
ใหญ่.
ก็เราได้เห็นฤๅษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มากมา
ในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้
บอกกะพวกศิษย์ของเราว่า
ฤๅษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวก
มาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวง เที่ยวไปเพื่อภิกษาใน
สกุล ๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกาม.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ได้คำกล่าวตู่
ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา.
ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุ
แห่งทรัพย์ จับใส่ลงในซอกเขาและบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 875
วิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงทุ่มก้อนหิน ก้อนหินกลิ้ง
ลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด.
ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก) ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบาก
กรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนู
ผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา.
ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัด
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนี แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วย
วิบากแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่งไล่ (เรา) เข้า
ไปในพระนครราชคฤห์.
ในกาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษ
เป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้
อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก.
ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้
ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป.
ในกาลก่อน เราเป็นเด็ก ลูกของชาวประมง อยู่ในบ้าน
เกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศีรษะ)
ได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน
พระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว.
เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธ-
เจ้า พระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 876
ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เรา
อันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดง
ตลอด ๓ เดือน ในกาลนั้น.
เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวย
ปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)
ได้มีแล้วแก่เรา.
เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร
(ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.
เราชื่อว่า โชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า
กัสสปะในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณ
ท่านได้ยากอย่างยิ่ง.
ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยาก
มาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่
นั้น จึงได้บรรลุโพธิญาณ.
แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอัน
บุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด.
(บัดนี้) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อน
ทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
จักนิพพาน.
พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรง
พยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่
ชื่อว่า อโนดาต ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 877
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธา-
ปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติอันเป็นความประพฤติในกาลก่อนของพระองค์
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
๓๙๐. อรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธาปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโนตตฺตสราสนฺน ความว่า ชื่อว่า อโนตตฺโต เพราะ
น้ำที่ถูกความร้อนแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์แผ่ปกคลุมไปไม่ถึง เพราะ
มียอดภูเขาหลายยอดช่วยปิดบังไว้. ชื่อว่าสระ เพราะเป็นแดนไหลไป
คือเป็นแดนเกิดก่อน หลงใหลไปแห่งแม่น้ำใหญ่, อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่
ที่ไหลออกจากช่องมีช่องสีหะเป็นต้นแล้ว ไหลวนไปทางขวา ๓ รอบ จึง
ไหลไปทางทิสาภาคที่ไหลออกแล้ว ๆ แต่เดิม. อโนตัตตะศัพท์ กับ
สระศัพท์ รวมกันเป็น อโนตัตตสระ อธิบายว่า ที่อยู่ใกล้กับสระนั้น
คือใกล้กับสระอโนดาต ได้แก่ ตรงที่ใกล้สระอโนดาตนั้น. บทว่า
รมณีเย ความว่า ในสถานที่อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น ชื่อว่า รมณีย
เพราะเป็นสถานที่อันเทวดา ทานพ คนธรรพ์ กินนร งู พระ
พุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น พึงรื่นรมย์ใจ คือพึงติดใจ.
บทว่า สิลาตเล ความว่า พื้นแห่งศิลาเป็นภูเขาลูกเดียว. บทว่า นานา-
รตนปชฺโชเต ความว่า โชติช่วงเปล่งปลั่งด้วยแก้วมากมายหลายประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 878
มีแก้วทับทิม และไพฑูรย์ เป็นต้น. บทว่า นานาคนฺธวนนฺตเร เชื่อม
ความว่า ที่พื้นศิลา (หิน) ในละแวกป่าอันเป็นชัฏดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
นานาชนิด เช่นไม้จันทน์ กฤษณา การบูร คูน หมากหอม อโศก
กากะทิง บุนนาค และ การะเกด เป็นต้น มีประการต่าง ๆ.
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของชาวโลก เป็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าของชาวโลกทั้ง ๓ ทรงมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม เพราะ
ยิ่งใหญ่ด้วยพระคุณ และเพราะยิ่งใหญ่ด้วยการนับ ประทับนั่งเหนือ
อาสนะศิลานั้นแล้ว ตรัสชี้แจงถึงกรรม คือการถวายดอกไม้ของพระองค์
คือได้ทรงกระทำให้ปรากฏชัดเป็นพิเศษ. คำที่เหลือในข้อความนั้น มี
เนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทั้งหมด เพราะได้กล่าวไว้แล้วในพุทธาปทานใน
หนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้
รวบรวมกุศลกรรมและอกุศลกรรมไว้ในอปทานนี้ ทั้งที่มีปรากฏอยู่ใน
พุทธาปทานแล้ว ก็ด้วยมุ่งที่จะรวมไว้ในวรรค เพราะจะได้ชี้แจงแสดง
เฉพาะกรรมแล.
จบอรรถกถาปุพพกัมมปิโลติกพุทธปทาน
จบอรรถกถาอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 879
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน ๒. ลพุชทายกเถราปทาน ๓.
อุทุมพรผลทายกเถราปทาน ๔. มิลักขุผลทายกเถราปทาน ๕. ผารุสผล-
ทายกเถราปทาน ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน ๗. กทลิผลทายกเถรา-
ปทาน ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน ๙. โสณโกฏิวิสเถราปทาน ๑๐.
พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ.
บัณฑิตทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๙๑ คาถา.
จบอัมพฏผลวรรคที่ ๓๙
จบภาณวารที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 880
ปิลินทวรรคที่ ๔๐
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร
[๓๙๓] เราเป็นนายประตูอยู่ที่นครหังสวดี เรารวบรวมโภคสมบัติ
เก็บไว้ในเรือนมากมายนับไม่ถ้วน.
ในกาลนั้น เราอยู่ในที่ลับทำใจให้รื่นเริง นั่งอยู่ในปราสาท
อันประเสริฐแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า
โภคสมบัติของเรามีมากมายแพร่หลายไปภายในบุรี แม้
พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพระนามว่าอานนท์ ก็ทรงเชื้อ
เชิญเรา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นมุนี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน
โลกนี้ และโภคสมบัติของเราก็มีอยู่ เราจักถวายทานแด่
พระศาสดา.
พระราชบุตรพระนามว่าปทุม ทรงถวายทานอันประเสริฐ
คือ ช้างตัวประเสริฐ พร้อมด้วยบัลลังก์และพนักพิง มี
ประมาณไม่น้อย ในพระชินเจ้า.
แม้เราก็จักถวายทานในสงฆ์ อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐ
สูงสุด ทานอันประเสริฐที่ใครยังไม่เคยถวาย เราจักเป็นคน
แรกในทานนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 881
เราคิดที่จะถวายทานหลายวิธี สุขเป็นผลเพราะการบูชา
ทานใด จึงได้เห็นการถวายบริขารนั้น อันจะเป็นเครื่องทำ
ความดำริของเราให้เต็ม.
เราจักถวายบริขาร ในสงฆ์อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
การถวายบริขารที่คนอื่นยังไม่เคยถวาย เราจักทำเป็นคนแรก.
ในขณะนั้นเราจึงเข้าไปหาช่างจักสาน จ้างให้ทำฉัตร
ได้รวบรวมฉัตรไว้หนึ่งแสนคัน ได้รวบรวมผ้าไว้หนึ่งแสน
ผืน ให้ทำบาตรหนึ่งแสนใย รวบรวมไว้.
จ้างช่างให้ทำมีด [โกน] พร้า เข็ม และมีสำหรับตัด
เล็บ อันสมควรแล้ว ให้วางไว้ภายใต้ฉัตรทั้งหลาย.
จ้างช่างให้ทำพัดใบตาล พัดขนปีกนกยูง พัดจามร ผ้า
กรองน้ำ และภาชนะน้ำมัน อันสมควร.
จ้างช่างให้ทำ กล่องเข็ม ผ้าอังสะ ประคดเอว และ
เชิงรองบาตรที่ทำอย่างสวยงาม อันสมควร.
ให้เอาเภสัชใส่ในภาชนะสำหรับใส่ของบริโภคและในขัน
สำริดให้เต็มแล้ว ให้วางไว้ภายใต้ฉัตร.
ให้ใส่ว่านน้ำ หญ้าคา ชะเอม ดีปลี พริก ผลสมอ
และขิงสด ให้เต็มไว้ภาชนะทุก ๆ อย่าง.
จ้างให้ทำรองเท้า เขียงเท้า ผ้าสำหรับ เช็ดน้ำ และ
ไม้เท้าคนแก่ ให้ทำอย่างสวยงาม อันสมควร.
จ้างช่างให้ทำหลอดใส่ยาหยอดตา ไม้ป้ายยาตา ธรรม-
กุตตรา กุญแจ และแเม่กุญแจ อันเย็บท่อด้วยผ้า ๕ สี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 882
สายโยก กล้องเป่าควันไฟ ตะเกียงตั้ง คนโทน้ำ และ
ผอบ อันสมควรกัน.
จ้างช่างให้ทำคีม กรรไกร ผ้าสำหรับเช็ดขัดสนิม และ
ถุงสำหรับเภสัช อันสมควรกัน.
จ้างช่างให้ทำเก้าอี้นอน ตั่ง บัลลังก์อันมีเท้าสี่เท้าให้
สมควรแล้ว ให้ตั้งไว้ภายใต้ฉัตร.
จ้างช่างให้ทำฟูกยัดด้วยขนสัตว์และยัดด้วยนุ่น ฟูกนั่ง
และให้ทำหมอนอย่างดี อันสมควรกัน.
จ้างช่างให้ทำผงผสมน้ำอาบ ขี้ผึ้งทาตัว น้ำมันทามือและ
เท้าอันสะอาดใส่ในภาชนะเล็ก ๆ เตียงพร้อมด้วยเครื่องลาด
เสนาสนะ ผ้าสำหรับเช็ดเท้า ที่นอน ที่นั่ง ไม้เท้า ไม้ชำระฟัน
[แปรงฟัน] กระเบื้อง ของหอมสำหรับไล้ทาศีรษะ.
ไม้สีไฟ ตั่งแผ่นกระดาน ฝาบาตร ถุงบาตร กระบวย
ตักน้ำ ผงย้อมผ้า รางย้อมผ้า.
ไม้กวาด ขันน้ำ๑ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้านิสีทนะ ผ้าปิดฝี
ผ้าอันตรวาสก ผ้าอุตราสงค์ ผ้าสังฆาฏิ ยานัตถุ์ ผ้าเช็ดหน้า
น้ำส้ม น้ำเกลือ น้ำผึ้ง นมส้ม น้ำปานะ.
ขี้ผึ้ง ผ้าเก่า ผ้าเช็ดปาก ด้าย สิ่งใดชื่อว่าเป็นของ
ควรให้ทานมีอยู่ และสมควรแด่พระศาสดา.
เรารวบรวมสิ่งนั้นทั้งหมดแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าอานนท์ ครั้น
เข้าไปเฝ้าพระราชาผู้นำหมู่ชน ผู้มียศมากแล้ว.
๑. ม. อุทปตฺต ขันน้ำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 883
ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลว่า เราทั้งสอง
เจริญโดยชาติร่วมกัน มียศร่วมกัน มีความเท่าเทียมกันในสุข
ในทุกข์ และประพฤติตามกัน.
ทุกข์ทางใจมีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบข้าศึก ข้าพระองค์
พึงทรงไว้ซึ่งทุกข์ของพระองค์ ข้าแต่กษัตริย์ ถ้าพระองค์
สามารถ ก็ขอได้ทรงพระกรุณาบรรเทาทุกข์นั้นเถิด.
พระราชาตรัสว่า ทุกข์ของท่าน ก็เป็นทุกข์ของเรา เรา
ทั้งสองมีใจร่วมกัน ท่านย่อมรู้ว่าสำเร็จได้ ถ้าท่านพึงเปลื้อง
ทุกข์นั้น.
ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ขอจงทรงทราบ ทุกข์ของข้า-
พระองค์บรรเทาได้ยาก.
ท่านร่ำร้องมากไป สิ่งที่มีอยู่ในแว่นแคว้นประมาณเท่าใด
ชีวิตของเราประมาณเท่าใด สิ่งนั้น [แม้] เป็นทรัพย์ที่ท่าน
สละได้ยาก.
ถ้าท่านต้องการด้วยสิ่งเหล่านี้ เราก็ไม่หวั่นไหวจักให้
เที่ยว ขอเดชะ พระองค์ทรงร่ำร้องแล้ว การร่ำร้องมากนั้นผิด.
ข้าพระองค์จักทราบด้วยเกล้าว่า วันนี้ พระองค์ทรงดำรง
อยู่ในธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงให้การบีบคั้นหนักนัก เมื่อ
ข้าพระองค์ขอ.
ท่านจะต้องการด้วยการพูดไปทำไม ท่านปรารถนาสิ่งใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 884
จงบอกแก่เรา ข้าแต่พระราชาผู้พระ ข้าพระองค์ปรารถนา
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่ง.
ข้าพระองค์จักนิมนต์พระสัมพุทธเจ้าให้เสวย ชีวิตของ
ข้าพระองค์อย่าเป็นโทษ พระองค์ตรัสว่า เราจะให้พรอย่างอื่น
แก่ท่าน ท่านอย่าขอพระตถาคตเลย.
ใครไม่พึงให้พระพุทธเจ้า ผู้เปรียบเหมือนแก้วมณี มี
รัศมีรุ่งเรือง, ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้วมิใช่หรือว่า
ตลอดถึงชีวิตอันมีอยู่ เมื่อพระองค์ประทานชีวิตได้ ก็ควร
พระราชทานพระตถาคตได้.
พระมหาวีรเจ้าควรงดไว้ เพราะใคร ๆ ไม่พึงให้พระชิน-
เจ้า พระพุทธเจ้าเรารับให้ไม่ได้ ท่านจงรับเอาทรัพย์จนนับ
ไม่ถ้วนเถิด.
เราจะต้องถึงการวินิจฉัย จักถามผู้วินิจฉัยทั้งหลาย ผู้
วินิจฉัยจักตัดสินละเอียด ฉันใด เราจักสอบถามข้อนั้น ฉันนั้น
เราได้จับที่พระหัตถ์ของพระราชา พากันไปสู่ศาลที่พิจารณา
พิพากษา.
เราได้กล่าวคำนี้ตรงหน้าของตุลาการและผู้พิพากษาทั้ง-
หลายว่า ขอตุลาการและผู้พิพากษาจงฟังเรา พระราชาได้
พระราชทานพรแก่เราว่า
เราไม่ยกเว้นอะไร ๆ แม้ชีวิตก็ปวารณาให้ได้ เมื่อเราขอ
พระราชทานพร เราจึงขอพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.
พระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอันพระองค์พระราชทานแก่เราด้วยดี
ท่านทั้งหลาย จงตัดความสงสัยของเรา เราทั้งหลายจะเชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 885
ฟังคำท่านผู้เป็นพระราชารักษาแผ่นดิน เราทั้งหลายฟังคำของ
ทั้งสองฝ่ายแล้ว จักตัดความสงสัยในข้อนี้.
ขอเดชะ พระองค์พระราชทานสิ่งทั้งปวง ท่านผู้นี้ ก็เป็น
อันถือเอาสิ่งทั้งปวงหรือพระเจ้าข้า.
เราไม่ยกเว้นอะไร ๆ ปวารณาแม้ชีวิต เป็นผู้ถึงความยาก
ตลอดชีวิตเป็นอย่างยิ่งเทียว เรารู้ว่าผู้นี้มีทุกข์ด้วยดี จึงได้ให้
ถือเอาสิ่งทั้งปวง.
ขอเดชะ พระองค์เป็นผู้แพ้ ควรพระราชทานพระตถาคต
เราตัดความสงสัยของทั้งสองฝ่ายแล้ว ท่านทั้งสองจงตั้งอยู่
ในคำมั่นอย่างนั้น.
พระราชาประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้ตรัสกะตุลาการและ
ผู้พิพากษาว่า ท่านทั้งหลายพึงให้แม้แก่เราโดยชอบ เราพึง
ได้พระพุทธเจ้าอีก ท่านยังความดำริของท่านให้เต็ม นิมนต์
พระตถาคตให้เสวยแล้ว พึงคืนพระสัมพุทธเจ้าให้แก่พระเจ้า
อานนท์ผู้มียศอีก.
เราไหว้ตุลาการและผู้พิพากษา และถวายบังคมพระเจ้า
อานนท์จอมกษัตริย์ เป็นผู้ยินดีปราโมทย์ เข้าไปเฝ้าพระ-
สัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะ ผู้ไม่
มีอาสวะ.
ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ขอ
พระองค์ผู้มีจักษุพร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน โปรดทรงรับ
นิมนต์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 886
ขอจงทรงยังจิตของข้าพระองค์ให้รื่นเริง เสด็จเข้านิเวศน์
ของข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้
แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา.
พระผู้มีจักษุทรงรู้ความดำริของเรา จึงทรงรับนิมนต์ (ด้วย
ดุษณีภาพ) เราทราบว่า พระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว ถวาย
บังคมแด่พระศาสดา.
มีจิตร่าเริงเบิกบาน เข้ามายังนิเวศน์ของตน ประชุมมิตร
และอำมาตย์แล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า เราได้สิ่งที่ได้โดยยากนัก
แล้ว เปรียบเหมือนแก้วมณีมีรัศมีโชติช่วง เราจักบูชาองค์
พระพุทธเจ้าด้วยอะไร พระชินเจ้ามีคุณหาประมาณมิได้ หา
ที่เปรียบมิได้ ผู้มีพระคุณอันชั่งไม่ได้ ไม่มีใครเสมอเหมือน
เป็นนักปราชญ์ ไม่มีบุคคลเปรียบ หาผู้เสมอเหมือนเช่นนั้น
มิได้ ไม่มีที่สอง ประเสริฐกว่านระ.
ก็อธิการอันสมควรแด่พระพุทธเจ้า เราทำได้โดยยาก เรา
ทั้งหลายจงรวบรวมดอกไม้ต่าง ๆ เอามาทำมณฑปดอกไม้เถิด.
สิ่งนี้ย่อมสมควรแด่พระพุทธเจ้า จักเป็นอันบูชาด้วยสิ่ง
ทั้งปวง เราจึงให้ทำดอกบัวเผื่อน ดอกบัวหลวง ดอกมะลิ
ดอกลำดวน ดอกจำปา ดอกกระถินพิมานให้เป็นมณฑป ปูลาด
อาสนะหนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร.
อาสนะของเรามีค่ายิ่งกว่าร้อยมีอยู่เบื้องหลัง ปูลาดอาสนะ
หนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 887
จัดแจงข้าวและน้ำเสร็จแล้ว ให้คนไปทูลเวลาภัตกาล
เมื่อคนไปทูลภัตกาลแล้ว พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
พร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน เสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของเรา
ฉัตรทรงอยู่ในเบื้องบน ในมณฑปดอกไม้อันบานดี.
พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์
หนึ่งแสน (เราทูลว่า) ขอพระองค์ผู้มีจักษุ โปรดทรงรับฉัตร
หนึ่งแสนและอาสนะหนึ่งแสน อันควรและไม่มีโทษเถิด.
พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร
รับเครื่องบูชา พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงทรงรับไว้.
เราได้ถวายบาตรแก่ภิกษุแต่ละรูป รูปละหนึ่งบาตร ภิกษุ
ทั้งหลายละบาตรที่จัดเอง ทรงบาตรเหล็ก พระพุทธเจ้า
ประทับนั่งอยู่ในมณฑปดอกไม้ตลอด ๗ คืน ๗ วัน.
ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ตรัสรู้ ทรงประกาศพระธรรม-
จักร เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้.
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ เมื่อถึง
วันที่ พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตตระ ประทับนั่งอยู่
ภายในเงาฉัตร ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
มาณพผู้ใดได้ถวายทานอันประเสริฐไม่พร่องแก่เรา เราจัก
พยากรณ์มาณพนั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว.
จตุรงคินีเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.
ยานช้าง ยานม้า วอ จะไหลมาเทมา ชนทั้งหลายจัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 888
บำรุงมาณพนั้นเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.
รถหกหมื่นคัน อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง จัก
แวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.
ดนตรีหกหมื่น กลองเภรีทั้งหลายอันประดับดีแล้ว จัก
ประโคมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.
นารี ๘๖,๐๐๐ นาง อันประดับประดาสวยงาม มีผ้าและ
อาภรณ์อย่างวิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม
ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอาเล็กเอวบาง จักแวดล้อมมาณพ
นั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.
มาณพนั้น จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป
จักได้เป็นเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง และ
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้.
เมื่อมาณพนี้อยู่ในเทวโลก พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
เทวดาจักทรงฉัตรแก้วไว้ในที่สุดแห่งเทวโลก มาณพนี้จัก
ปรารถนาเมื่อใด ฉัตรอันเกิดแต่ผ้าและดอกไม้ (ดังจะ) รู้จิต
ของมาณพนี้ จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น.
มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลตักเตือนประกอบ
ด้วยบุญกรรม จักเกิดในตระกูลพราหมณ์.
ใน (อีก) แสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 889
สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติในโลก พระ-
ศากยโคดมผู้ประเสริฐ ทรงทราบคุณข้อนี้ทั้งหมดแล้ว.
จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในเอคทัคค-
สถาน มาณพผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระศาสดา มีชื่อว่า
ปิลินทวัจฉะ.
จักเป็นผู้อันเทวดา อสูร คนธรรพ์ ภิกษุ ภิกษุณี และ
คฤหัสถ์ทั้งหลาย สักการะ จักเป็นที่รักของคนทั้งปวง จัก
ไม่มีอาสวะ นิพพาน กรรมที่เราทำแล้วในแสนกัป ได้ให้ผล
แก่เราแล้วในภพนี้.
เราหลุดพ้นดี ดังกำลังลูกศร เผากิเลสทั้งหลายแล้ว โอ
กุศลกรรมเราได้ทำแล้ว ในบุญเขตอันยอดเยี่ยมอันเป็นฐานะ
ที่เราทำกุศลกรรมแล้ว ได้บรรลุผลอันไม่หวั่นไหว.
ก็มาณพใดได้ให้ทานอันประเสริฐไม่บกพร่อง มาณพนั้น
ได้เป็นหัวหน้า นี้เป็นผลแห่งทานนั้น.
เราได้ถวายฉัตร ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เราไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑ ละอองและ
ธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑
อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ เป็น
ผู้มีใจสร้างขวาง ๑.
เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ฉัตรหนึ่งแสนคัน อันประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 890
ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เว้นชาตินี้แล้ว ทรงไว้เหนือศีรษะ
ของเรา เพราะผลแห่งกรรมนั้น.
เพราะเหตุไร๑ ในชาตินี้การทรงฉัตรจึงไม่มีแก่เรา กรรม
ทั้งปวงที่เราทำแล้ว เพราะผลบุญแห่งฉัตรหลุดพ้นรูปแล้ว.
เราได้ถวายผ้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ ๑ ปราศจาก
ธุลี ๑ มีรัศมีผ่องใส ๑ มีเดช ๑ ตัวของเราละเอียดอ่อน ๑
เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ มีผ้าขาวแสนผืน ๑ สีเหลืองแสน
ผืน ๑ สีแดงแสนผืน ๑ ทรงอยู่เหนือศีรษะของเรา นี้เป็นผล
แห่งการถวายผ้า.
เราย่อมได้ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน และผ้าฝ่าย ใน
ที่ทุกแห่ง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งการถวายผ้านั้น.
เราได้ถวายบาตร ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมบริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ ภาชนะ
แก้วมณี ภาชนะเงิน และภาชนะที่ทำด้วยทับทิมในกาล
ทั้งปวง ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชน
ยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนเป็น
๑. ม. กสฺมา เพราะเหตุไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 891
ปกติ ๑ โภคสมบัติของเราไม่พินาศ. เราเป็นผู้มีจิตมั่นคง ๑
เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้ไม่มีกิเลส ๑ ไม่มีอาสวะ ๑.
คุณเหล่านี้ ติดตามเราไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
ย่อมไม่ละเราในที่ทุกแห่ง เปรียบเหมือนเงาไม่ละรูปฉะนั้น.
เราได้ถวายมีดโกน ที่ทำอย่างสวยงาม อันเนื่องด้วยเครื่อง
ผูกอย่างวิจิตรมากมาย แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดและ
แก่พระสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ๑ ถึง
ที่สุดในเวสารัชธรรม ๑ เป็นผู้มีธิติ ๑ มีความเพียร ๑ มีใจ
อันประคองไว้ทุกเมื่อ ๑ ย่อมได้ญาณอันสุขุมเครื่องตัดกิเลส ๑
ความบริสุทธิ์อันชั่งไม่ได้ ๑ ในที่ทั้งปวง เพราะผลอันหลั่ง
ออกแห่งกรรมของเรานั้น.
เรามีจิตเลื่อมใสได้ถวายพร้า อันราบเรียบ ไม่หยาบ ไม่
ต้องขัดถู เป็นอันมากในพระพุทธเจ้าและในสงฆ์แล้ว ย่อม
ได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้ความเพียรอันเป็นกัลยาณมิตร ๑ ขันติ ๑
ศัสตราคือความไมตรี ๑ ศัสตราคือปัญญาอันยิ่ง เพราะตัด
ลูกศรคือตัณหา ๑ ญาณอันเสมอด้วยแก้ววิเชียร ๑ เพราะ
ผลอันหลั่งออกแห่งกรรมเหล่านั้น.
เราได้ถวายเข็ม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 892
คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อมเป็นผู้อัน
มหาชนนอบน้อม ๑ ตัดความสงสัย ๑ มีรูปงาม ๑ มีโภค-
สมบัติ ๑ มีปัญญากล้า ๑ ทุกเมื่อ.
เราพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้ง ด้วยญาณ
ญาณของเราอันเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็นเครื่องกำจัด
ความมืด.
เราได้ถวายมีดตัดเล็บ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้ทาสชายหญิง วัวและม้า ลูกจ้าง คน
ฟ้อนรำ ช่างตัดผม พ่อครัวทำอาหารเป็นอันมาก ในที่
ทั้งปวง.
เราได้ถวายพัดใบตาลอันงาม ในพระสุคตเจ้าแล้ว ย่อมได้
เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑ ความเร่าร้อน
ไม่มีแก่เรา ไม่รู้สึกความกระวนกระวาย ๑ ไม่รู้สึกความ
เดือดร้อนจิตของเรา ๑ เราดับไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ และไฟทั้งปวงได้แล้ว เพราะผลอันหลั่งออก
แห่งกรรมนั้นของเรา.
เราได้ถวายพัดจามรี มีขนนกยูงเป็นด้าม ในคณะสงฆ์ผู้
สูงสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกิเลสสงบระงับ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่ว
ยวนอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 893
เราได้ถวายผ้ากรองน้ำ และ ธมกรก ในพระสุคตเจ้า
แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
ของเรา
คือ เราก้าวล่วงอันตรายทั้งปวง ๑ ย่อมได้อายุอันเป็น
ทิพย์ ๑ เป็นผู้อันโจรหรือข้าศึกไม่ข่มขี่ในกาลทุกเมื่อ ๑ ศัสตรา
หรือยาพิษย่อมไม่ทำความเบียดเบียนเรา ๑ ไม่มีความตาย
ในระหว่าง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้นของเรา.
เราได้ถวายภาชนะน้ำมัน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีรูปสวยงาม ๑ มีความเจริญดี ๑ มีใจเบิก
บาน มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้อันอารักขาทั้งปวงรักษาแล้ว ๑.
เราได้ถวายกล่องเข็ม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้คุณทั้งหลายนี้ คือความสุขใจ ๑ ความ
สุขกาย ๑ ความสุขอันเกิดแต่อิริยาบถ ๑ เพราะผลอันหลั่ง
ออกแห่งกรรมนั้น.
เราได้ถวายผ้าอังสะ ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้ความหนักในพระสัทธรรม ๑ ย่อมระลึกถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 894
ภพที่สองได้ ๑ เป็นผู้มีฉวีวรรณงามในที่ทั้งปวง ๑ เพราะผล
อันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น.
เราได้ถวายประคดเอว ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ เป็นผู้มีความชำนาญ
ในสมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือ
ทุกเมื่อ ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ ความสะดุ้งกลัวไม่มีแก่เรา ๑ คุณ
เหล่านี้ ติดตามเราไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก.
เราได้ถวายเชิงรองบาตร ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีภัยในเพราะวรรณะ ๕ ไม่
หวั่นไหวด้วยอะไร ๆ ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งอันเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ด้วยสติและญาณ เราฟังแล้ว ธรรมที่เราทรงไว้ย่อม
ไม่พินาศ เป็นอันวินิจฉัยดีแล้ว.
เราได้ถวายภาชนะและเครื่องบริโภค ในพระพุทธเจ้าและ
ในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ
อันสมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะ
แก้วผลึก และภาชนะแก้วทับทิม ๑ ภริยา ทาสชายหญิง
พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า และหญิงมีวัตรยำเกรง
นาย ๑ ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๑ วิชาในบทมนต์ และใน
อาคมต่าง ๆ เป็นอันมาก เราย่อมใคร่ครวญศิลปะทั้งปวง ใช้
ได้ทุกเวลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 895
เราได้ถวายขัน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรม
ของเรา
คือ เราย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี ขันแก้วผลึก และ
ขันแก้วทับทิม ย่อมได้ขันทำด้วยแผ่นไม้โพธิ์ ขันมีรูปใบบัว
และขันที่ทำด้วยสังข์ ทำน้ำดื่มให้หวาน ย่อมได้คุณเหล่านี้
คือ ข้อปฏิบัติในวัตรอันงาม ในอาจาระและกิริยา เพราะ
ผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น.
เราได้ถวายเภสัช ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑ มีปัญญา ๑ มีวรรณะ ๑
มียศ ๑ มีสุข ๑ ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชน
ยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เราไม่มีความพลัดพรากจากของที่รัก ๑
เพราะกรรมนั้นให้ผลแก่เรา.
เราได้ถวายรองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
คือ ยานช้าง ยานม้า วอ ย่อมไหลมาเทมา ๑ รถหกหมื่น
คันแวดล้อมเราทุกเมื่อ ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ รองเท้า
แก้วมณี รองเท้าทองแดง รองเท้าทองคำ รองเท้าเงิน ย่อม
เกิดขึ้นในขณะที่ยกเท้าขึ้น ๑ บุญกรรมทั้งหลาย ย่อมช่วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 896
ชำระอาจารคุณให้สะอาดแน่นอน เราย่อมได้คุณเหล่านี้
เพราะกรรมนั้นให้ผล.
เราได้ถวายเขียงเท้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ได้สวมเขียงเท้ามีฤทธิ์แล้วอยู่ได้ตามปรารถนา.
เราได้ถวายผ้าเช็ดหน้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๑ มีรัศมี
ผ่องใส ๑ มีเดช ตัวของเราละเอียดอ่อน ๑ ฝุ่นละอองไม่
ติดตัวเรา ๑ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล.
เราได้ถวายไม้เท้าคนแก่ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เรามีบุตรมาก ๑ เราไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑ เป็น
ผู้อันอารักขาทุกอย่างรักษาไว้ ใคร ๆ ข่มขี่ไม่ได้ทุกเมื่อ ๑
ย่อมไม่รู้สึกความพลั้งพลาด ๑ ใจของเราไม่ขลาดกลัว ๑.
เราได้ถวายหยอดตา ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีนัยน์ตากว้างใหญ่ ๑ มีสีขาวมีสีเหลือง ๑
มีสีแดง ๑ เป็นผู้มีนัยน์ตาไม่มัว ๑ มีนัยน์ตาแจ่มใส ๑ เว้น
จากโรคตาทั้งปวง ๑ ย่อมได้ตาทิพย์ ๑ ได้ปัญญาจักษุอันสูง
สุด ๑ เราได้คุณเหล่านี้ เพราะกรรมนั้นให้ผล.
เราได้ถวายลูกกุญแจ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 897
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้ลูกกุญแจ คือ ญาณอันเป็นเครื่อง
เปิดทวารธรรม.
เราได้ถวายแม่กุญแจ ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา
คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ เป็นผู้มีความโกรธน้อย ๑
ไม่มีความคับแค้นใจ ๑.
เราได้ถวายสายโยก ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑ มีความชำนาญใน
สมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือทุก
เมื่อ ๑ โภคสมบัติย่อมเกิดแก่เรา เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพ ๑.
เราได้ถวายกล้องเป่าควัน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ สติของเราเป็นธรรมชาติตรง ๑ เส้นเอ็นของเราต่อ
เนื่องกันดี ๑ เราย่อมได้ตาทิพย์ เพราะกรรมนั้นให้ผล.
เราได้ถวายตะเกียงตั้ง ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีสกุล ๑ มีอวัยวะสมบูรณ์ ๑ มีปัญญาอัน
พระพุทธเจ้าสรรเสริญ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 898
เราได้ถวายคนโทน้ำและผอบ ในพระพุทธเจ้าและใน
คณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ ในกาลนั้น เราได้รับการคุ้มครองดีแล้ว ๑ พร้อมพรั่ง
ด้วยสุข ๑ มียศมาก มีคติ ๑ ไม่มีความวิบัติ ๑ เป็น
สุขุมาลชาติ ๑ เว้นจากจัญไรทั้งปวง ๑ เป็นผู้ได้คุณอัน
ไพบูลย์ ๑ หวั่นไหวด้วยความนับถือ ๑ มีความหวาดเสียว
อันดีแล้ว ๑ เพราะการถวายคนโทน้ำและผอบ เราได้วรรณะ ๔
ช้างแก้ว และม้าแก้ว คุณของเราเหล่านั้นไม่พินาศ ผลนี้
เพราะถวายคนโทน้ำและผอบ.
เราได้ถวายผ้าสำหรับเช็ดขัดสนิม ในพระพุทธเจ้าและ
ในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง ๑ มีอายุยืน ๑
มีปัญญา ๑ จิตมั่นคง ๑ กายของเราพ้นแล้วจากความยาก
ลำบากทุกอย่างในกาลทั้งปวง ๑.
เราได้ถวายมีดบางอันลับคมดีและกรรไกร ในสงฆ์แล้ว
ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส อันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด.
เราได้ถวายคีม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
สุดแล้ว ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลสอันหาน้ำหนักมิได้
สะอาด.
เราได้ถวายยานัตถุ์ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 899
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑
จาคะ ๑ ขันติ ๑ และปัญญาเป็นคุณข้อที่ ๘ ของเรา.
เราได้ถวายตั่ง ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ประการ อันสมควรแก่กรรม
ของเรา
คือ เราย่อมเกิดในสกุลสูง เป็นผู้มีโภคสมบัติมาก ๑ ชน
ทั้งปวงยำเกรงเรา ๑ ชื่อเสียงของเราฟุ้งไป ๑ บัลลังก์สี่เหลี่ยม
จตุรัส ย่อมแวดล้อมเราเป็นนิตย์ตลอดแสนกัป ๑ เราเป็น
ผู้ยินดีในการจำแนกทาน ๑.
เราได้ถวายที่นอน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เรามีร่างกายสมส่วน อันบุญกรรมก่อให้ ๑ เป็นผู้
อ่อนโยน มีรูปงาม น่าดู เราย่อมได้ญาณอันประเสริฐ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน เราย่อมได้นวม ผ้าลาดลายรูป
สัตว์ ผ้าลาดทอด้วยพรหม ผ้าลาดอันจิตร ผ้าลาดอย่างดี
และผ้ากัมพลต่าง ๆ เป็นอันมาก ๑ ย่อมได้ผ้าปวารกะมีขน
อ่อนนุ่ม ผ้าทำด้วยขนสัตว์อ่อนนุ่ม ในที่ต่าง ๆ ๑ นี้เป็นผล
แห่งการถวายที่นอน เมื่อใด เราระลึกถึงตน เมื่อใด เราเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 900
ผู้รู้เดียงสา เมื่อนั้น เราเป็นผู้ไม่เปล่า มีฌานเป็นเตียง
นอน ๑ นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน.
เราได้ถวายหมอน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-
เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
คือ เราย่อมวางศีรษะของเรา หนุนบนหมอนอันยัดด้วย
ขนสัตว์ หมอนยัดด้วยเกสรบัวหลวง และยัดด้วยจันทน์แดง
ทุกเมื่อ ๑ เรายังญาณให้เกิดในอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ
และในสามัญผล ๔ เหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑
ยังญาณให้เกิดในทาน ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา และ
รูปฌานเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้
เกิดในวัตรคุณ รูปปฏิมาและรนอาจารกิริยาแล้ว ย่อมอยู่ใน
กาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในการจงกรม ความเพียรอัน
เป็นประธาน และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่
ตามปรารถนา ๑ ยังญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ๑.
เราได้ถวายตั่งแผ่นกระดาน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้บัลลังก์อันประเสริฐ อันทำด้วยทองคำ
แก้วมณี และทำด้วยงาช้างสารเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายตั่งแผ่นกระดาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 901
เราได้ถวายตั่งรองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้
ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อัน
สมควรแก่กรรมของเรา
คือ เราย่อมได้ยวดยานเป็นอันมาก ๑ นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายตั่งรองเท้า ทาสหญิงชาย ภรรยา และคนอาศัยเลี้ยง
ชีวิตเหล่าอื่น ย่อมบำเรอเราโดยชอบ ๑ นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายตั่งรองเท้า.
เราได้ถวายน้ำมันสำหรับทาเท้า ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
ของเรา
คือ ความที่เราเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ ๑ มีรูปงาม ๑ เส้นเอ็น
ประสาทรับรสได้เร็ว ๑ ความได้ข้าวและน้ำ ๑ ได้อายุยืน
นานเป็นที่ห้า
เราได้ถวายเนยใสและน้ำมัน ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
ของเรา
คือ เราเป็นผู้มีกำลัง ๑ มีรูปสมบูรณ์ ๗ เป็นผู้ร่าเริงทุก
เมื่อ ๑ มีบุตรทุกเมื่อ ๑ และเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ทุกเมื่อ ๑ นี้
เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน.
เราได้ถวายน้ำบ้วนปาก ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 902
คือ เราเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑ มีเสียงไพเราะ ๑ เว้น
จากโรคไอ โรคหืด ๑ กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของ
เราทุกเมื่อ ๑.
เราได้ถวายนมส้มอย่างดี ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้บริโภคภัตอันไม่ขาดสาย คือ กายคตา-
สติอันประเสริฐ.
เราได้ถวายน้ำผึ้งอันประกอบด้วยสีกลิ่นและรสดี ในพระ-
ชินเจ้าและในคณะสงฆ์แล้ว ย่อมได้รส คือ วิมุตติอันไม่มี
รสอื่นเปรียบ ไม่เป็นอย่างอื่น.
เราได้ถวายรสตามเป็นจริง ในพระพุทธเจ้าและในคณะ
สงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยผล ๔ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา.
เราได้ถวายข้าวและน้ำ ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์
ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควร
แก่กรรมของเรา
คือ เราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑ เป็นนักปราชญ์ ๑
มีวรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ น้ำ ๑ เป็น
คนกล้า ๑ มีญาณรู้ทั่ว ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ย่อม
ได้คุณเหล่านี้.
เราได้ถวายธูป ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่
กรรมของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 903
คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ เป็นผู้มีกลิ่นตัว
หอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑ มีปัญญาเร็ว ๑ มีชื่อเสียง ๑ มีปัญญา
คมกล้า ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑ มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญา
ลึกซึ้ง ๑ มีปัญญาเครื่องแล่นไปไพบูลย์ ๑ เพราะผลการ
ถวายธูปนั้น บัดนี้ เราเป็นผู้บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข ๑.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดุจช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปิลินทวัจฉเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 904
ปิลินทวัจฉวรรคที่ ๔๐
๓๙๑. อรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๐ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร หสวติยา
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากใน
ภพนั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้
บังเกิดในตระกูลนายประตู ในหังสวดีนคร ได้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติ
มาก เขาแลดูกองทรัพย์สมบัติที่สั่งสมไว้เป็นจำนวนโกฏิแล้ว จึงไปนั่งใน
ที่ลับ ๆ คิดว่า เราควรจะถือเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ไว้ในทางที่ถูกแล้วจึงไป
ดังนี้แล้ว จึงตกลงใจว่า ควรที่เราจะถวายบริขารทั้งหมดแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงให้ช่างกระทำเริ่มต้นแต่ฉัตรแสนคัน จนถึง
เครื่องบริโภคและบริขารทั้งหมดอย่างละแสนชิ้นแล้ว นิมนต์พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข ครั้นถวายทานได้ ๗ วันอย่างนี้แล้ว ในวันสุดท้าย
เขาได้ปรารถนาที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเสร็จแล้ว ก็ทำแต่บุญเป็นอัน
มากจนตลอดชีวิต สิ้นชีวิตแล้ว ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพย-
สมบัติมากมายในกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น และได้เสวยสมบัติ มีจักรพรรดิ-
สมบัติเป็นต้นในมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 905
พราหมณ์ เรียนจบศิลปศาสตร์ทุกสาขาแล้ว ได้ปรากฏชื่อว่า ปิลินทวัจฉะ
ด้วยอำนาจแห่งโคตร.
วันหนึ่ง ปิลินทวัจฉะนั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนาในสำนักของ
พระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์
(ท่าน) ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ
เรื่องราวอันนั้นด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นคเร หสวติยา
ดังนี้ เนื้อความแห่งอุทานนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวได้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า อาสึ โทวาริโก อห ความว่า เราได้เป็นนายประตู รักษาประตู
พระราชวังของพระราชาในหังสวดีนครแล้ว. บทว่า อกฺโขภ อมิต โภค
ความว่า เพราะค่าที่ตนเป็นราชวัลลภ คนอื่นจึงไม่สามารถจะทำทรัพย์ให้
หวั่นไหว ให้เคลื่อนจากที่ได้ ทรัพย์ที่หาประมาณมิได้ จึงได้มีอยู่ใน
เรือนของเราเป็นกอง. บทว่า พหู เมธิคตา โภคา ความว่า โภคะเป็น
จำนวนมากมาย ได้ถึง ได้มีแก่เราแล้ว. ชื่อของบริขารทั้งหลายมีมีดน้อย
เป็นต้น ก็พอจะรู้ได้โดยง่ายด้วยการประกอบไปตามลำดับเนื้อความ. และ
อานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขาร ก็พอจะรู้ได้ง่ายเหมือนกันแล.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 906
เสลเถราปทานที่ ๒ (๓๙๒)
ว่าด้วยการประพฤติธรรม
[๓๙๔] ข้าพระองค์เป็นเจ้าของถนนอยู่ในนครหังสวดี ได้ประชุม
บรรดาญาติของข้าพระองค์แล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก เป็นบุญเขตอันสูง
สุด พระองค์เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลกทั้งปวง.
กษัตริย์ก็ดี ชาวนิคมก็ดี พราหมณ์มหาศาลก็ดี ล้วนมี
จิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.๑
พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า ล้วนมีจิตเลื่อมใส
โสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
คนอุคคชาติ (พ่อเป็นกษัตริย์แม่เป็นศูทร) ก็ดี ราชบุตรก็ดี
พ่อค้าก็ดี พราหมณ์ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากัน
ประพฤติปูคธรรม.
พ่อครัวก็ดี คนรับจ้างก็ดี คนรับใช้อาบน้ำก็ดี ช่างกรอง
ดอกไม้ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูค-
ธรรม.
ช่างย้อมก็ดี ช่างหูกก็ดี ช่างเย็บผ้าก็ดี ช่างกัลบกก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
ช่างศรก็ดี ช่างกลึงก็ดี ช่างหนังก็ดี ช่างถากก็ดี ล้วน
มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
๑. ปูคธรรม คือ ธรรมของแต่ละประชุมชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 907
ช่างเหล็กก็ดี ช่างทองก็ดี ช่างดีบุกและช่างทองแดงก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้พากันประพฤติปูคธรรม.
ลูกจ้างก็ดี ช่างซักรีดก็ดี ทาสและกรรมกรก็ดี เป็น
อันมาก ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตน ๆ.
คนตักน้ำขายก็ดี คนขนไม้ก็ดี ชาวนาก็ดี คนเกี่ยวหญ้า
ก็ดี ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตน ๆ.
คนขายดอกไม้ คนขายพวงมาลัย คนขายใบไม้และคน
ขายผลไม้ ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตน ๆ.
หญิงแพศยา นางกุมภทาสี คนขายขนม และคนขาย
ปลา ได้พากันประพฤติปูคธรรมตามกำลังของตน ๆ.
เราทั้งหมดนี้มาประชุมร่วมเป็นพวกเดียวกันแล้ว จักทำ
บุญกุศล ในพระพุทธเจ้าผู้เป็นเขตบุญอย่างยอดเยี่ยม.
ญาติเหล่านั้นฟังคำของข้าพระองค์แล้ว ร่วมกันเป็นคณะ
ในขณะนั้นกล่าวว่า พวกเราควรให้สร้างโรงฉันอันทำอย่าง
สวยงามถวายแก่ภิกษุสงฆ์.
ข้าพระองค์ให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จแล้ว มีใจเบิกบาน
ยินดี แวดล้อมด้วยญาติทั้งหมดนั้น เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธ-
เจ้า.
ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลกผู้ประเสริฐ
กว่านระ ถวายบังคมแทบพระบาทของพระศาสดา ได้กราบทูล
ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 908
ข้าแต่พระวีรมุนี บุรุษประมาณ ๓๐๐ คนนี้ ร่วมกันเป็น
คณะเดียว ขอมอบถวายโรงฉันอันสร้างอย่างสวยงามแด่
พระองค์.
ขอพระองค์ผู้มีจักษุ ผู้เป็นประธานของภิกษุสงฆ์ โปรด
ทรงรับเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ต่อ
หน้าบุรุษ ๓๐๐ คนว่า
บุรุษทั้ง ๓๐๐ คนและผู้เป็นหัวหน้า ร่วมกันประพฤติตาม
ครั้นท่านทั้งปวงพากันทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติ เมื่อถึงภพ
หลังสุด ท่านทั้งหลายจักเห็นนิพพาน อันเป็นแดนเกษม
อันเป็นภาวะเย็นยอดเยี่ยม ไม่แก่ ไม่ตาย.
พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าผู้รู้ธรรมทั้งปวง ทรงพยากรณ์
อย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังพระพุทธพจน์แล้ว ได้เสวย
โสมนัส.
ข้าพระองค์รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป เป็น
ใหญ่กว่าเทวดา เสวยรัชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๕๐๐ กัป.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
ในรัชสมบัติในมนุษย์นี้ มีพวกญาติเป็นบริษัท ในภพ
สุดท้ายที่ถึงนี้ ข้าพระองค์เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวาเสฏฐะ
ผู้สั่งสมสมบัติไว้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ข้าพระองค์มีชื่อว่าเสละ
ถึงซึ่งบารมีอันประกอบด้วยองค์ ๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 909
แวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตน เดินไปตามระเบียงวิหาร
ได้เห็นดาบสชื่อเกนิยะ ผู้เต็มไปด้วยภาระคือชฎา จัดแจง
เครื่องบูชา จึงได้ถามดังนี้ว่า ท่านจักทำอาวาหมงคล วิวาห-
มงคลหรือ ท่านจะเชื้อเชิญพระราชาหรือ.
เกนิยดาบส๑ตอบว่า
เราใคร่จะบวงสรวงเครื่องบูชา ในพราหมณ์ที่สมมติกันว่า
ประเสริฐ เราไม่ได้เชื้อเชิญพระราชา ไม่มีการบวงสรวง
อาวาหมงคลของเราไม่มี และวิวาหมงคลของเราไม่มี พระ-
พุทธเจ้าผู้ให้เกิดความยินดีแก่ศากยะทั้งหลาย ประเสริฐที่สุด
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง นำสุขมาให้แก่
สรรพสัตว์ วันนี้ เรานิมนต์พระองค์ เราจัดแจงเครื่องบูชานี้
เพื่อพระองค์.
พระพุทธเจ้ามีพระรัศมี ดุจสีผลมะพลับ มีพระคุณหา
ประมาณมิได้ ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระรูป เรา
นิมนต์เพื่อเสวย ณ วันพรุ่งนี้ และพระองค์มีพระพักตร์ร่าเริง
ดังสีทองคำปากเบ้า สุกใสเช่นกับสีถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
เปรียบด้วยสายฟ้า เป็นพระมหาวีระ เป็นนาถะของโลก เรา
นิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เปรียบเหมือนไฟบนยอดภูเขา
ดังดวงจันทร์วันเพ็ญ เช่นกับสีแห่งไฟไหม้ป่าอ้อ เรานิมนต์
แล้ว.
๑. วินัยปิฎก เป็น เกณิยชฎิล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 910
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงครั่นคร้าม ล่วงภัยได้
แล้ว ทรงทำที่สุดแห่งภพ เป็นมุนี เปรียบด้วยสีหะ เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในธรรมของผู้ตรัสรู้
ผู้อื่นข่มขี่ไม่ได้ เปรียบด้วยช้างตัวประเสริฐ เป็นพระมหาวีระ
เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในฝั่งคือสัทธรรม เป็น
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ไม่มีใครเปรียบ เปรียบด้วยโค-
อุสภราช เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีวรรณะไม่มีที่สุด มียศนับมิได้
มีลักษณะทั้งปวงวิจิตร เปรียบด้วยท้าวสักกะ เป็นพระมหาวีระ
เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีความชำนาญ เป็นผู้นำหมู่
มีตบะ มีเดชคร่าได้ยาก เปรียบด้วยพรหม เป็นพระมหาวีระ
เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรลุธรรมแล้ว๑ เป็นพระ-
ทศพล ถึงที่สุดกำลังล่วงกำลัง เปรียบด้วยแผ่นดิน เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเกลื่อนกล่นด้วยศีลและ
ปัญญา มากด้วยการทรงรู้แจ้งธรรม เปรียบด้วยทะเล เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
๑. ฉ. ปตฺตธมฺโม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 911
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ยากที่จะคร่าไปได้ ยากที่จะ
ข่มขี่ ไม่ทรงหวั่นไหว เลิศกว่าพรหม เปรียบด้วยเขาสุเมรุ
เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีญาณไม่สิ้นสุด ไม่มีผู้เสมอ
ไม่มีผู้เทียบเท่า ถึงความเป็นยอด เปรียบด้วยท้องฟ้า เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
จบภาณวารที่ ๑๕
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่พึ่งของบรรดาผู้กลัวภัย
เป็นที่ต้านทานของบรรดาผู้ถึงสรณะ เป็นที่เบาใจ เป็นพระ-
มหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นที่อาศัยแห่งมนต์คือความรู้
เป็นบุญเขตของผู้แสวงหาสุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ให้เบาใจ เป็นผู้ทำให้
ประเสริฐ เป็นผู้ประทานสามัญผลเปรียบด้วยเมฆ เป็นพระ-
มหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระวีระที่เขายกย่องในโลก
เป็นผู้บรรเทาความมืดทั้งปวง เปรียบด้วยดวงอาทิตย์ เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นมุนี ทรงแสดงสภาวะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 912
ในธรรมที่มีวิมุตติเป็นอารมณ์ เปรียบด้วยดวงจันทร์ เป็น
พระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เขายกย่องในโลก
ประดับด้วยลักษณะทั้งหลาย ผู้หาประมาณมิได้ เป็นพระ-
มหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระญาณหาประมาณมิได้ มี
ศีลไม่มีเครื่องเปรียบ มีวิมุตติ ไม่มีอะไรเทียมทัน เรานิมนต์
แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีธิติไม่มีอะไรเหมือน มีกำลัง
อันไม่ควรคิด มีความบากบั่นอันประเสริฐสุด เรานิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงถอนราคะ โทสะ โมหะ
และยาพิษทั้งปวงแล้ว เปรียบด้วยยา เป็นพระมหาวีระ เรา
นิมนต์แล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบรรเทาพยาธิคือกิเลสและ
ทุกข์เป็นอันมาก เปรียบเหมือนโอสถ เปรียบด้วยสายฟ้า
เป็นพระมหาวีระ เรานิมนต์แล้ว.
เกนิยดาบสกล่าวประกาศว่า พุทโธ เสียงประกาศนั้น
ข้าพระองค์ได้แสนยาก เพราะได้ฟังเสียงประกาศว่า พุทโธ
ปีติย่อมเกิดแก่ข้าพระองค์.
ปีติของข้าพระองค์ไม่จับอยู่เฉพาะภายใน แผ่ซ่านออก
ภายนอก ข้าพระองค์เป็นผู้มีใจปีติ ได้กล่าวดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 913
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านระ ประทับอยู่ที่ไหน เราจักไปนมัสการ
พระองค์ผู้ประทานสามัญผล ณ ที่นั้น.
ขอท่านผู้เกิดโสมนัสประนมกรอัญชลี โปรดยกหัตถ์เบื้อง
ขวาขึ้นชี้บอกพระธรรมราชาผู้บรรเทาลูกศร คือความโศกเศร้า
แก่ข้าพเจ้าเถิด.
ท่านย่อมเห็นป่าที่ใหญ่อันเขียวขจี ดังมหาเมฆที่ขึ้นลอยอยู่
เสมอด้วยดอกอัญชัน ปรากฏดุจสาคร.
พระพุทธเจ้าผู้ฝึกบุคคลที่ยังมิได้ฝึก เป็นมุนี ทรงแนะนำ
เวไนยสัตว์ ให้ตรัสรู้ในโพธิปักขิยธรรม พระองค์นั้น ประทับ
อยู่ที่นั่น.
ข้าพระองค์ค้นหาพระชินเจ้า เปรียบเหมือนคนระหายน้ำ
หาน้ำ เช่นคนหิวข้าวหาข้าว ปานดังแม่โครักลูกค้นหาลูก
ฉะนั้น.
ข้าพระองค์ผู้รู้อาจาระและอุปจาระ สำรวมตามสมควรแก่
ธรรม ให้พวกศิษย์ของตนผู้จะไปยังสำนักพระชินเจ้าศึกษาว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ใคร ๆ คร่าไปได้ยาก เสด็จ
เที่ยวอยู่พระองค์เดียว เปรียบเหมือนราชสีห์ฉะนั้น ท่าน
มาณพทั้งหลายควรเดินเรียงลำดับกันมา.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายยากที่ใคร ๆ จะคร่าไป เปรียบ
เหมือนอสรพิษร้าย ดุจไกรสรมฤคราช ดังช้างกุญชรที่ตกมัน
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 914
ท่านมาณพทั้งหลายจงอย่าจาม และอย่าไอ เดินเรียง
ลำดับกันเข้าไปสู่สำนักของพระพุทธเจ้าเถิด.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นผู้หนักในการอยู่ในที่เร้น
ชอบเสียงเงียบ ยากที่จะคร่าไปได้ ยากที่จะเข้าเฝ้า เป็น
ครูในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
เราทูลถามปัญหาใด หรือได้ปราศรัยโต้ตอบอยู่ ขณะนั้น
ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียงหยุดนิ่งอยู่.
พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรม อันเป็นแดนเกษม เพื่อ
บรรลุนิพพาน ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
นั้น เพราะการฟังสัทธรรมเป็นความงาม.
ข้าพระองค์ได้เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ได้ปราศรัยกับ
พระมุนี ครั้นผ่านการปราศรัยไปแล้ว จึงตรวจดูพระลักษณะ
ทั้งหลาย.
ไม่เห็นพระลักษณะ ๒ ประการ เห็นแต่พระลักษณะ ๓๐
ประการ พระมุนีทรงแสดงพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝักด้วย
ฤทธิ์.
และพระชินเจ้าทรงแสดงพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณ
และพระนาสิก ทรงแผ่พระชิวหาปกปิดถึงที่สุดพระนลาฏ
ทั้งสิ้น.
ข้าพระองค์ได้เห็นพระลักษณะของพระองค์ บริบูรณ์พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 915
ด้วยพยัญชนะ จึงลงความสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธเจ้าแน่
แล้วบวชพร้อมด้วยพวกศิษย์.
ข้าพระองค์พร้อมด้วยศิษย์ ๓๐๐ คน ออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายบวชแล้วยังไม่ถึงกึ่งเดือน ได้บรรลุ
ถึงความดับทุกข์ทั้งหมด.
ข้าพระองค์ทั้งหลายร่วมกันทำกรรมในบุญเขตอันยอดเยี่ยม
ท่องเที่ยวไปร่วมกัน คลายกิเลสได้ร่วมกัน.
เพราะได้ถวายไม้กลอนทั้งหลาย ข้าพระองค์จึงตั้งอยู่ใน
ปูคธรรม เพราะกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้
เหตุ ๘ ประการ
คือ ข้าพระองค์เป็นผู้อันเขาบูชาในทิศทั้งหลาย ๑ โภค-
สมบัติของข้าพระองค์นับไม่ถ้วน ๑ ข้าพระองค์เป็นที่พึ่งของ
คนทั้งปวง ๑ ความสะดุ้งหวาดเสียวไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑.
ความป่วยไข้ไม่มีแก่ข้าพระองค์ ๑ ข้าพระองค์ย่อมรักษา
อายุยืนนาน ๑ ข้าพระองค์เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียดอ่อน
เมื่ออยู่ย่อมได้อยู่ในที่ที่ตนปรารถนา ๑ เพราะได้ถวายไม้
กลอน ๘ อัน ข้าพระองค์จึงได้อยู่ในหมวดธรรมอีกข้อหนึ่ง คือ
ปฏิสัมภิทาและอรหัต นี้เป็นข้อที่ ๘ ของข้าพระองค์.
ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบ
หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นบุตรของพระองค์
ชื่อว่าอัฏฐโคปานสี เพราะได้ถวายเสา ๕ ต้น ข้าพระองค์จึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 916
ได้อยู่ในปูคธรรม ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์
ย่อมได้เหตุ ๕ ประการ
คือ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยเมตตา ๑ มีโภค-
สมบัติไม่รู้จักพร่อง ๑ มีถ้อยคำควรเชื่อได้ โดยข้าพระองค์ไม่
เสียถ้อยคำ ๑ จิตของข้าพระองค์ไม่หวาดกลัว ๑ ข้าพระองค์
ไม่เป็นเสี้ยนหนามต่อใคร ๆ ๑ ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น
ข้าพระองค์เป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนา.
ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ภิกษุสาวกของพระองค์มีความ
เคารพ มีความยำเกรงได้ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ถวาย
บังคมพระองค์.
ข้าพระองค์ได้ทำบัลลังก์อันสวยงามแล้ว จัดตั้งไว้ใน
ศาลา ด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ย่อมได้เหตุ ๕
ประการ
คือ ย่อมเกิดในสกุลสูง มีโภคสมบัติมาก ๑ เป็นผู้มี
สมบัติทั้งปวง ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑ เมื่อข้าพระองค์
ปรารถนาจะไป บัลลังก์ย่อมตั้งรออยู่ ๑ ย่อมไปสู่ที่ปรารถนา
พร้อมด้วยบัลลังก์อันประเสริฐ ๑.
เพราะการถวายบัลลังก์นั้น ข้าพระองค์กำจัดความมืดได้
ทั้งหมด ข้าแต่พระมหามุนี พระเถระผู้บรรลุอภิญญาและพละ
ทั้งปวง ถวายบังคมพระองค์.
ข้าพระองค์ทำกิจทั้งปวง อันเป็นกิจของผู้อื่นและของตน
สำเร็จแล้วด้วยกุศลกรรมที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าไปสู่
บุรีอันไม่มีภัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 917
ข้าพระองค์ได้ถวายเครื่องบริโภคในศาลาที่สร้างสำเร็จแล้ว
ด้วยบุญกุศลที่ทำแล้วนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึงความเป็นผู้
ประเสริฐ.
ผู้ฝึกเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ผู้ฝึกเหล่านั้น ย่อม
ฝึกช้างและม้า ย่อมให้ทำเหตุต่าง ๆ นานาแล้ว ย่อมฝึกด้วย
ความทารุณ.
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์หาได้ฝึกชายและหญิง
เหมือนอย่างนั้นไม่ พระองค์ทรงฝึกในวิธีฝึกอันสูงสุด ด้วย
ไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา.
พระมุนีทรงสรรเสริญคุณแห่งทาน ทรงฉลาดในเทศนา
และพระมุนีตรัสปัญหาข้อเดียวยังคน ๓๐๐ คน ให้ตรัสรู้ได้.
ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกแล้ว พ้น
วิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ บรรลุอภิญญาและพละทั้งปวง ดับ
แล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายทานใด ใน
กาลนั้น ด้วยทานนั้น ภัยทั้งปวงล่วงพ้นไปแล้ว นี้เป็นผล
แห่งการถวายศาลา.
การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักพระพุทธเจ้านี้เป็นการมาดี
แล้วหนอ วิชชา ๓ ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว.
ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 918
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเสลเถระพร้อมกับบริษัทได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
จบเสลเถราปทาน
สัพพกิตติกเถราปทานที่ ๓ (๓๙๓)
ว่าด้วยอานิสงส์การสรรเสริญธรรม
[๓๙๕] เราเป็นพราหมณ์ผู้ทรงชฎาและหนังสัตว์ เป็นผู้ซื่อตรง
มีตบะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ทรงรุ่งเรืองดัง
ดอกกรรณิการ์ โชติช่วงดังดวงรูปรุ่งโรจน์ดังดาวประกายพรึก
เปรียบเหมือนสายฟ้าในอากาศ ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรง
สะดุ้งกลัว ดังพญาไกรสรราชสีห์ ทรงประกาศแสงสว่างแห่ง
พระญาณ ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์ ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกนี้
ทรงตัดความสงสัยทั้งปวง ไม่ทรงหวาดหวั่นดังพญาเนื้อฉะนั้น
จึงถือเอาผ้าเปลือกไม้กรองลาดลง ถ ที่ใกล้พระบาท.
หยิบเอากลัมพักมาชโลมทาพระตถาคต ครั้นชโลมทา
พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ชมเชยพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก
ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 919
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ทรงข้ามพ้นโอฆะแล้ว ทรง
ยังโลกนี้ให้ข้ามพ้น ทรงยังพระญาณอันประเสริฐสูงสุดให้
โชติช่วงด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ.
ทรงประกาศธรรมจักร ทรงย่ำยีเดียรถีย์อื่น ทรงเป็นผู้
กล้าหาญ ทรงชนะสงครามแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว.
คลื่นในมหาสมุทรย่อมแตกในที่สุดฝั่ง ฉันใด ทิฏฐิทั้งปวง
ย่อมแตกทำลายในเพราะพระญาณของพระองค์ ฉันนั้น.
ข่ายตาเล็ก ๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว สัตว์ทั้งหลาย
ที่อยู่ภายในข่าย เป็นผู้ถูกบีบคั้นในขณะนั้น ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเดียรถีย์ในโลก เป็นผู้หลงงมงายไม่
อาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณอันประเสริฐของ
พระองค์ ฉันนั้น.
พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ว่ายอยู่ในห้วงน้ำ เป็น
นาถะของผู้ไม่มีความผูกพัน เป็นสรณะของผู้ที่ตั้งอยู่ในภัย
เป็นผู้นำหน้าของผู้ต้องการความพ้น.
เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน ทรงประกอบด้วย
พระเมตตากรุณา ทรงมีปัญญา ประกอบการเสียสละ มี
ความชำนาญ คงที่ เป็นที่อยู่แห่งคุณ เป็นนักปราชญ์
ปราศจากความหลง ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย เป็น
ผู้พอพระทัย มีโทสะอันคายแล้ว ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม
มีความสะอาด ล่วงธรรมเครื่องข้อง มีความเมาไปปราศแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 920
ได้วิชชา ๓ ถึงความเจริญ ทรงถึงเขตแดน เป็นผู้หนักใน
ธรรม มีประโยชน์อันถึงแล้ว ทรงหว่านประโยชน์.
ทรงยังสัตว์ให้ข้ามเปรียบเหมือนเรือ ทรงมีขุมทรัพย์
ทรงทำความเบาใจ ไม่ทรงครั่นคร้ามดังราชสีห์ ทรงฝึก
พระองค์แล้ว เหมือนพญาคชสารอันฝึกแล้ว.
ในกาลนั้น ครั้นเราสรรเสริญพระมหามุนี พระนามว่า
ปทุมุตตระด้วยคาถา ๑๐ คาถา ถวายบังคมพระบาทพระศาสดา
แล้ว ได้ยืนนั่งอยู่.
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา ประทับอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดสรรเสริญศีล ปัญญา และธรรมของเรา เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป จักเสวย
ความเป็นอิสระครอบงำเทวดาเหล่าอื่น.
ภายหลัง อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักออกบวชใน
พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่าโคดม.
ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมด้วยภาย กำหนดรู้อาสวะ
ทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.
เมฆครางกระหึ่ม ย่อมยังพื้นดินนี้ให้อิ่ม ฉันใด ข้าแต่
พระมหาวีรเจ้า พระองค์ทรงยังข้าพระองค์ ให้อิ่มด้วยธรรม
ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 921
ครั้นเราเชยชมศีล ปัญญา ธรรมและพระนายกของโลก
แล้ว ได้บรรลุนิพพานอันเป็นธรรมระงับอย่างยิ่ง เป็นบทไม่
เคลื่อน.
โอหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุพระองค์นั้นพึงดำรง
อยู่นานแน่ เราก็พึงรู้แจ้งธรรมที่ยังไม่รู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท.
ชาตินี้เป็นชาติที่สุดของเรา เราถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์
ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญ.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านั้น คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัพพกตติกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบสัพพกิตติกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 922
มธุทายกเถราปทานที่ ๔ (๓๙๔)
ว่าด้วยอานิสงส์การถวายน้ำผึ้งและลาดหญ้า
[๓๙๖] เราได้สร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ เรา
บอกคัมภีร์อิติหาสะพร้อมทั้งตำราทายลักษณะ กะพวกศิษย์ที่
อาศรมนั้น.
ศิษย์เหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ธรรม เราแนะนำดี เป็นผู้ใคร่ฟัง
คำสั่งสอนดี ถึงบารมีอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ อยู่
ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ เป็นผู้ฉลาดในการทำนายการเกิดการตาย
และในลักษณะทั้งหลาย แสวงหาประโยชน์อันสูงสุดอยู่ใน
ป่าใหญ่ในกาลนั้น.
ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ เสด็จอุบัติขึ้น
ในโลก พระองค์ทรงนำดีจะทรงอนุเคราะห์พวกเรา จึง
เสด็จเข้ามา.
เราได้เห็นพระมหาวีระพระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายกของ
โลก เสด็จเข้ามา จึงได้เอาหญ้าลาดถวายแด่พระองค์ผู้เป็น
เชษฐบุรุษของโลก.
เราถือเอาน้ำผึ้งจากป่าใหญ่ มาถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุด พระสัมพุทธเจ้าเสวยแล้ว ได้ตรัสพระดำรัส
นี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้ถวายน้ำผึ้งแก่เราด้วยมือทั้งสอง
ของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 923
ด้วยการถวายน้ำผึ้ง และด้วยการลาดหญ้าถวายนี้ ผู้นั้น
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป ในสามหมื่นกัป
พระศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นจักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น จัก
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะแล้ว นิพพาน.
เมื่อเราจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้ ถือปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดา เมล็ดฝนน้ำผึ้งได้ตกปกปิดแผ่นดินด้วยน้ำผึ้ง.
แม้ในขณะเมื่อเราคลอดจากครรภ์นั้น ฝนน้ำผึ้งก็ตกให้
แก่เรา เต็มเปี่ยมหม้อตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อเราออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ย่อมได้ข้าวและน้ำ นี้เป็นผล
แห่งการถวายน้ำผึ้ง.
เราเกิดในเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยกามทั้งปวง
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะเพราะการถวายน้ำผึ้งนั้นแล.
เมื่อฝนตกแล้ว หญ้างอกยาว ๔ นิ้ว เมื่อต้นไม้ในแถว
ฝั่งน้ำมีดอกบานสะพรั่ง เราผู้ไม่มีอาสวะเป็นสุขอยู่เป็นนิตย์
ในเรือนว่างเปล่า ที่มณฑปและโคนไม้.
เราก้าวล่วงภพเหล่าใด คือภพในท่ามกลาง ภพเบื้องบน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 924
และภพเบื้องต่ำเหล่านั้น อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วใน
วันนี้ บัดนี้ภพใหม่มิได้มีอีก.
ในสามหมื่นกัป (แต่กัปนี้) เราได้ถวายทานใด ในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
น้ำผึ้ง.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา
ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระมธุทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบมธุทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 925
ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ (๓๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการทำพุทธบูชา
[๓๙๗] พระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สยัมภูเป็น
นายกของโลก ตรัสรู้แล้วเอง ทรงใคร่ในวิเวก ฉลาดใน
สมาธิ เป็นมุนี.
พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้อุดมบุรุษ เสด็จไปสู่
ไพรสณฑ์ ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่งอยู่.
ในกาลก่อน เราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ในกาลนั้น
เราเที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ในป่านั้น.
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ
เปรียบเหมือนพญารังมีดอกบาน เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.
ครั้นเห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศมากแล้ว
เราจึงลงไปสู่สระบัว นำดอกปทุมมาในขณะนั้น.
ครั้นนำเอาดอกปทุมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจมาแล้ว จึงสร้าง
เรือนมียอด (ปราสาท) แล้ว มุงบังด้วยดอกปทุม.
พระพุทธชินเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เป็นมหามุนี ทรง
อนุเคราะห์ประกอบด้วยพระกรุณา ประทับอยู่ในกูฏาคาร ๗
คืน ๗ วัน.
เราเก็บดอกปทุมที่เก่า ๆ ทิ้งเสียแล้ว มุงบังด้วยดอกปทุม
ใหม่ ขณะนั้น เราได้ยืนประนมกรอัญชลีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 926
พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก
เสด็จออกจากสมาธิแล้วประทับนั่งเหลียวแลดูทิศอยู่.
ในกาลนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่า สุทัสสนะ มีฤทธิ์
มาก รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้ศาสดา.
ผู้อันภิกษุ หมื่นแวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นนายกของโลก ซึ่งประทับนั่งทรงสำราญอยู่ที่ชายป่า.
และในกาลนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์ประมาณ
เท่าใด เทวดาเหล่านั้นทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมา
ประชุมทั้งหมด
เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำ มาพร้อมกัน
และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว พระชินเจ้าได้ตรัสพระ-
คาถาว่า
ผู้ใดบูชาเราตลอด ๗ วัน และได้สร้างอาวาสถวายเรา
เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว
เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก ลึกซึ้ง
ปรากฏดีด้วยญาณ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกตลอด ๑๔ กัป เทวดา
ทั้งหลายจักเนรมิตกูฏาคารอันประเสริฐ ที่มุงบังด้วยดอกปทุม
ให้แก่ผู้นั้น กั้นไว้ในอากาศ.
นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม เขาจักท่องเที่ยววนเวียนอยู่
ตลอด ๑,๔๐๐ ๑ กัป.
๑. ม. ยุ. ๒๔ กัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 927
ใน ๑,๔๐๐ กัปนั้น วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ น้ำ
ย่อมไม่ติดในใบบัว ฉันใด กิเลสก็ไม่คิดอยู่ในญาณของผู้นั้น
ฉันนั้น ผู้นี้กำจัดนิวรณ์ ๕ ออกไปจากใจ.
ยังจิตให้เกิดในเนกขัมมะแล้ว จักออกบวช ในกาลนั้น
วิมานดอกไม้อันทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย.
เมื่อผู้นั้นผู้มีปัญญา มีสติ อยู่ที่โคนไม้ ที่โคนไม้นั้น
วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะ.
ผู้นั้นจักถวายจีวร บิณฑบาตคิลานปัจจัย ที่นอนและที่นั่ง
แก่ภิกษุสงฆ์แล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.
เมื่อผู้นั้นเที่ยวไปพร้อมด้วยกูฏาคารออกบวชแล้ว กูฏาคาร
ย่อมทรงผู้นั้นแม้อยู่ที่โคนไม้.
เจตนาในจีวรและบิณฑบาตย่อมไม่มีแก่เรา เราประกอบ
ด้วยบุญกรรม จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกล่วงเราไปเปล่า ๆ พ้นไป
แล้วด้วยดีตลอดโกฏิกัปเป็นอันมากโดยจะนับจะประมาณมิได้.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราจึงได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
พระนามว่าปิยทัสสี ผู้แนะนำให้วิเศษ แล้วจึงเข้าถึงกำเนิดนี้.
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมะ ผู้มีจักษุ
ได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 928
พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้ ทรงแสดงพระสัท-
ธรรม เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุบทอันไม่
หวั่นไหว.
เรายังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคคมศากยบุตร ให้
ทรงโปรด กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย
ธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะ
ทั้งปวงของเราสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
อรรถกถาปิลินทวรรคที่ ๔๐
อปทานที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 929
พักกุลเถราปทานที่ ๖ (๓๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายยา
[๓๙๘] ภูเขาชื่อโสภิตะมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ พวกศิษย์
ของเราช่วยกันสร้างอาศรมอย่างสวยงามให้เราที่ใกล้ภูเขานั้น.
ที่ใกล้อาศรมนั้น มีมณฑปเป็นอันมาก ไม้ย่างทราย
กำลังมีดอกบาน ไม้มะขวิด ต้นจำปา ไม้กากะทิง ไม้เกด
มีเป็นอันมาก.
มีไม้ย่างทราย ต้นพุทรา และต้นมะขามป้อมเป็นอันมาก
มีต้นมะปราง น้ำเต้า และบัวขาวกำลังมีดอกบาน.
มีต้นรักขาว ต้นมะตูม ต้นกล้วย และต้นมะงั่ว ต้น
สะท้อน ต้นรกฟ้าขาว และต้นประยงค์ มีอยู่มาก.
มีต้นคำ ไม้สน ต้นกระทุ่ม ต้นไทร และมะกอก อาศรม
ของเราเป็นเช่นนี้ เราพร้อมด้วยศิษย์อยู่ที่อาศรมนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภูพระนามว่า อโนมทัสสี เป็น
นายกของโลก ทรงแสวงหาที่เร้น เสด็จเข้าสู่อาศรมของเรา.
และเมื่อเราเข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระนามว่า อโนมทัสสี
ผู้มียศมาก โรคลมก็เกิดขึ้นแก่พระโลกนาถโดยฉับพลัน.
เราเที่ยวไปในป่า ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของ
โลก ผู้มีจักษุ มียศมาก จึงได้เข้ารูปเฝ้า.
ครั้นได้เห็นพระอิริยาบถเข้าก็เข้าใจได้ในทันทีว่า โรคเกิด
ขึ้นแก่พระพุทธเจ้าแน่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 930
เราจึงรีบกลับอาศรม ในสำนักของพวกศิษย์เรา ขณะนั้น
เราปรึกษาศิษย์ว่า เราต้องการทำยา.
ศิษย์ทั้งหมดผู้มีความเคารพ รับคำของเราแล้วร่วมประชุม
กันเพราะเคารพในเราผู้เป็นครู.
เรารีบขึ้นไปบนภูเขาเก็บยาทุกสิ่งมาปรุง ได้ปรุงเป็นยา
ต้มแล้ว รินเอาน้ำยามาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
เมื่อพระมหาวีระผู้สัพพัญญู เป็นนายกของโลก เสียแล้ว
โรคลมของพระสุคตเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ก็สงบลงฉับพลัน.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้มียศมาก ทรงเห็น
ความกระวนกระวายสงบแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะของ
พระองค์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้ถวายยาแก่เรา และระงับโรคของเราได้ เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป ผู้นั้นจักบันเทิง
อยู่ในเทวโลกนั้น อันมีดนตรีประโคมอยู่ทุกเมื่อ.
มาใส่มนุษยโลกแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ใน ๕๕ กัป จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า อโนมิ ทรง
ชนะวิเศษ มีสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต เป็นใหญ่ในชมพู-
ทวีป.
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพล
มาก จักยังดาวดึงส์ให้กระฉ่อนแล้ว จักเสวยความเป็นใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 931
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีอาพาธน้อย จักเว้น
ความเร่าร้อนแล้ว ข้ามพ้นความป่วยไข้ได้ในโลก.
ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า
โคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติ
ในโลก.
เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็น
โอรสอันธรรมนิรมิต กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้
ไม่มีอาสวะ นิพพาน.
จักเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ข้ามพ้นกระแสตัณหาได้ จักมี
ชื่อว่า พักกุละ เป็นสาวกของพระศาสดา.
พระโคดมศากยบุตร ทรงรู้คุณทั้งปวงนี้แล้ว ประทับนั่ง
ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคสถาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อโนมทัสสี ผู้สยัมภู
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้ต้องการความวิเวก เสด็จมายังอาศรม
ของเรา.
เรามีความเลื่อมใส ได้ยังพระมหาวีระผู้สัพพัญญู เป็น
นายกของโลก ซึ่งเสด็จเข้ามา ให้อิ่มหนำด้วยโอสถทั้งปวง
ด้วยมือของตน.
เรานั้นได้ทำกรรมดีแล้วในเขตที่ดี สมบูรณ์ด้วยพืช ก็ใน
กาลนั้น เราไม่อาจให้กรรมที่เราทำแล้วสิ้นไปได้เลย.
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกนั้น เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 932
ลาภที่เราได้ดีแล้ว ด้วยกรรมอันเหลือนั้น เราได้บรรลุบทอันไม่
หวั่นไหว.
พระโคดมศากยบุตรทรงทราบคุณทั้งหมดนี้ ประทับนั่ง
ในท่านกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.
ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาล
นั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายยา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว มี
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ของเรามิได้มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพักกุลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบพักกุลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 933
๓๙๖. อรรถกถากุลเถราปทาน๑
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระพากุลเถระ. มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
เล่ากันมาว่า พระเถระรูปนี้ในอดีตกาล ตั้งแต่กาลที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ในที่สุดแห่งอสงไขย
กำไรแสนกัปแต่นี้ไป ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ก่อนกว่าใคร
เจริญวัยแล้ว ได้เรียนจบไตรเพท มองไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น คิดว่า
เราจักแสวงหาประโยชน์ในภพหน้า จึงบวชเป็นฤาษีอยู่ที่เชิงเขา เป็นผู้
ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ อยู่มาได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น
จึงไปยังสำนักของพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้ว ดำรงมั่นอยู่ในไตรสรณะ
เมื่อพระศาสดาเกิดการอาพาธเนื่องด้วยโรคลม จึงไปนำเอาเภสัชมาจากป่า
ระงับโรคลมนั้นจนสงบดี น้อมใจนึกไปถึงบุญอันนั้น ก็เพื่อประโยชน์
แห่งความเป็นผู้ไม่มีโรคภัย พอจุติจากโลกมนุษย์นั้น ก็ได้ไปบังเกิดใน
พรหมโลก ได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดอสงไขยหนึ่ง
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูล
แห่งหนึ่ง ในพระนครหังสาวดี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรง
สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งที่เลิศแห่งพวกภิกษุผู้มีอาพาธน้อย ตนเองหวัง
จะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ตั้งปณิธานไว้แล้ว ได้สั่งสมแต่กุศลกรรมจน
ตลอดชีวิตแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปในสุคติอย่างเดียว ตั้งแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงอุบัติขึ้นแล้ว ท่านก็ได้บังเกิดในตระกูลของ
๑. บาลีว่า พักกุลเถราปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 934
พราหมณ์ ในนครพันธุมดีก่อนกว่าใครหมด พอเรียนจบศิลปศาสตร์ทุก
สาขาแล้ว มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น จึงได้ออกบวชเป็นฤาษี เป็นผู้
ได้ฌานและอภิญญา อยู่ที่เชิงเขา ได้สดับว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว
จึงได้ไปยังสำนักของพระศาสดา ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณะ เมื่อภิกษุทั้งหลาย
เกิดความป่วยไข้เพราะหญ้าเป็นเหตุ จึงช่วยรักษาโรคนั้นจนสงบ ดำรง
อยู่ในอัตภาพนั้นจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดใน
พรหมโลก ตั้งแต่นั้นในกัปที่ ๙๑ ท่านได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ
มนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้
บังเกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงพาราณสี อยู่เป็นฆราวาส ได้มองเห็น
มหาวิหารหลังหนึ่งซึ่งคร่ำคร่าทรุดโทรม จึงให้ช่างจัดการสร้างที่อยู่อาศัย
ทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น ในมหาวิหารนั้น ได้จัดแจงถวายเภสัชทุกชนิด
แก่ภิกษุสงฆ์ในที่นั้นด้วย ได้สร้างกุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว ก็ได้ท่อง
เที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าของพวกเราทรงอุบัติขึ้นแล้ว เขาบังเกิดแล้วในตระกูลเศรษฐี
ในกรุงโกสัมพีก่อนกว่าใครหมด.
เขาคลอดออกจากครรภ์ของมารดาแล้ว พวกพี่เลี้ยงนำไปอาบน้ำที่
แม่น้ำยมุนา เพื่อความไม่มีโรค หลุดจากมือของพวกพี่เลี้ยง ได้ถูกปลาฮุบ
ไป พวกชาวประมงเอาข่ายจับปลานั้นมาได้แล้ว ขายให้กับภริยาของท่าน
เศรษฐีชาวกรุงพาราณสี. นางรับปลานั้นไปแล้ว ขณะที่กำลังทำการผ่า
ได้มองเห็นทารกผู้ไม่มีโรค เพราะผลบุญที่เขาได้ทำไว้ในปางก่อน จึง
เอ่ยว่า เราได้ลูกชายแล้ว จึงรับเลี้ยงไว้ เขาได้ทราบเรื่องราวนี้แล้ว
จากมารดาบิดาบังเกิดเกล้า ผู้มาแล้วกล่าวว่า เด็กคนนี้เป็นลูกของพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 935
เรา, จงให้ลูกคืนแก่พวกเราเถิด ดังนี้ เมื่อพระราชาทรงซักถามแล้ว
จึงทรงตัดสินว่า เด็กคนนี้ จงเป็นของทั่วไปแก่ตระกูลทั้งสอง เพราะว่า
เขาดำรงอยู่โดยความเป็นทายาทของตระกูลทั้งสอง จึงได้นามว่า พากุละ
เจริญวัยแล้ว ได้เสวยสมบัติมากมาย อยู่ในตระกูลเศรษฐี ๒ ตระกูล
ตระกูลละ ๖ เดือน เศรษฐีทั้งสองตระกูลเหล่านั้น เมื่อถึงวาระของตน
แล้ว ก็ต่อเรือพ่วงกัน ให้ช่างทำเป็นมณฑปรัตนะไว้บนเรือนนั้น ให้
ตระเตรียมดนตรีอันประกอบด้วยองค์ ๕ แล้วให้กุมารนั่งในเรือนนั้นแล้ว
ก็พากันมาทางแม่น้ำคงคาจนถึงที่ท่ามกลาง (จุดศูนย์กลาง) พระนคร
ทั้งสอง แม้พวกคนของท่านเศรษฐีอีกคนหนึ่ง ก็ได้ตระเตรียมไว้เช่นนั้น
เหมือนกัน ไปยังสถานที่นั้นแล้ว ยกกุมารขึ้นบนเรือนั้นแล้วพาไป กุมาร
คนนั้น เจริญอยู่อย่างนั้น เป็นผู้มีอายุ ๘๐ ปี ปรากฏมีชื่อว่า อุภยเศรษฐี-
บุตร เขาได้ไปยังสำนักของพระศาสดาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว
พยายามอยู่ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา ๔.
ครั้นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้
เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว
ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. เนื้อความ
แห่งคำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. เนื้อความแห่งบาลีแห่ง
อปทาน ก็พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว พระพากุลเถระนั้นบรรลุพระ-
อรหัตแล้ว มีชีวิตอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่วิมุตติ เป็นผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี
จึงได้ปรินิพพานแล.
จบอรรถกถาพากุลเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 936
คิริมานันทเถราปทานที่ ๗ (๓๙๗)
ว่าด้วยผลแห่งการทำพุทธบูชา
[๓๙๙] ภริยาของเราทำกาละแล้ว บุตรของเราก็ไปสู่ป่าช้า มารดา
บิดา และพี่ชายก็ตายแล้ว เราจึงเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน.
เพราะความเศร้าโศกนั้น เราเป็นผู้เร่าร้อน เป็นผู้ผอม
เหลือง จิตของเราฟุ้งซ่าน เพราะเราประกอบด้วยความเศร้า
โศกนั้น.
เรามากด้วยลูกศรคือความโศกจึงเข้าไปสู่ชายป่า บริโภค
ผลไม้ที่หล่นเองอยู่ที่โคนต้นไม้.
พระสัมพุทธชินเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้กระทำที่สุดทุกข์
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จมาในสำนักของเรา.
เราได้ยินเสียงพระบาทของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ จึงชะเง้อศีรษะดูพระมหามุนี.
พระมหาวีรเจ้าเสด็จเข้ามา ปีติเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้น
เราได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนายกของโลกแล้วมีใจไม่ฟุ้งซ่าน.
กลับได้สติแล้ว ได้ถวายใบไม้กำมือหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ประทับนั่งบนใบไม้นั้นด้วยความอนุ-
เคราะห์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้เป็นนายกของโลก
ผู้ตรัสรู้แล้ว ครั้นประทับนั่งบนใบไม้นั้นแล้ว ทรงแสดงธรรม
เครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศกแก่เราว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 937
ชนเหล่านั้น ใครมิได้เชื้อเชิญให้มาก็มาจากปรโลกนั้นเอง
ใครมิได้อนุญาตให้ไป ก็ไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว เขามาแล้ว
อย่างใด ก็ไปอย่างนั้น จะคร่ำครวญไปทำไมในการตาย
ของเขานั้น.
สัตว์มีเท้า เมื่อฝนตกลงมา เขาก็เข้าไปอาศัยในโรง
เพราะฝนตก เมื่อฝนหายแล้ว เขาก็ไปตามปรารถนา ฉันใด
มารดาบิดาของท่าน ก็ฉันนั้น จะคร่ำครวญไปทำไมในการตาย
ของเขานั้น.
แขกผู้จรมา เป็นผู้สั่นหวั่นไหว ฉันใด มารดาบิดาของ
ท่าน ก็ฉันนั้น คร่ำครวญไปทำไมในการตายของเรานั้น.
งูละคราบเก่าแล้ว ย่อมไปสู่กายเดิม ฉันใด มารดา
บิดาของท่าน ก็ฉันนั้น จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของ
เขานั้น.
เราได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสแล้ว เว้นลูกศรคือความโศกได้
ยังความปราโมทย์ให้แล้ว ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด.
ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ล่วงพ้นภูเขา
คือกิเลส เป็นพระมหานาค ทรงสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอมอัน
เป็นทิพย์ พระนามว่า สุเมธ เป็นนายกของโลก.
ครั้นบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ประนมกรอัญชลีขึ้นเหนือ
เศียร อนุสรณ์ถึงคุณอันเลิศแล้ว ได้สรรเสริญพระองค์ผู้เป็น
นายกของโลกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 938
ข้าแต่พระมหามุนีมหาวีรเจ้า พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู
เป็นนายกของโลก ทรงข้ามพ้นแล้ว ยังทรงรื้อขนสรรพสัตว์
ด้วยพระญาณว่า
ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระจักษุ พระองค์ตัดความเคลือบ
แคลงสงสัยแล้ว ยังทรงยังมรรคให้เกิดแก่ข้าพระองค์ ด้วย
พระญาณของพระองค์.
พระอรหันต์ผู้ถึงความสำเร็จ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
เที่ยวไปในอากาศได้ เป็นนักปราชญ์ ห้อมล้อมอยู่ทุกขณะ.
พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ และผู้ตั้งอยู่ในผล เป็นสาวก
ของพระองค์ สาวกทั้งหลายของพระองค์ย่อมบาน เหมือน
ดอกปทุมเมื่ออาทิตย์อุทัย.
มหาสมุทรประมาณไม่ได้ ไม่มีอะไรเหมือน ยากที่จะ
ข้ามได้ ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ พระองค์ทรงสมบูรณ์
ด้วยพระญาณ ก็ประมาณไม่ได้ ฉันนั้น.
เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ชนะโลก มีพระจักษุ มียศ
มาก นมัสการทั่ว ๔ ทิศแล้วได้กลับไป.
เราเคลื่อนจากเทวโลกแล้ว รู้สึกตัว กลับมีสติ ท่องเที่ยว
อยู่ในภพน้อยใหญ่แล้ว ลงสู่ครรภ์มารดา.
ออกจากเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีความเพียร
มีปัญญา มีการหลีกเร้นอยู่เป็นอารมณ์ ตั้งความเพียร ยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 939
พระมหามุนีให้ทรงโปรดปราน พ้นแล้วจากกิเลส ดังดวง-
จันทร์พ้นแล้วจากกลีบเมฆ อยู่ทุกเมื่อฉะนั้น.
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปบัติ กำหนด
รู้อาสนะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
ในกัปที่สามหมื่น แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระคิริมานันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบคิริมานันทเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 940
๓๙๗. อรรถกถาคิริมานันทเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระคิริมานันทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ภริยา เม
กาลงฺกตา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งนิพพานไว้มากมายในภพ
นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ ท่านได้บังเกิด
ในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส อยู่มาเมื่อภริยา
และบุตรของตนกระทำกาละแล้ว ถูกลูกศรคือความเศร้าโศกปักแล้ว จึง
เข้าป่า บริโภคผลไม้มีชีวิตเป็นไปอยู่ที่โคนต้นไม้. ในกาลนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธ ได้เสด็จไปในที่นั้นเพื่อทรงอนุเคราะห์เขา
ทรงแสดงธรรมถอนลูกศรคือความเศร้าโศกขึ้นได้ เขาฟังธรรมแล้ว มี
ใจเลื่อมใส เอาดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมๆ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบ
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ชมเชยแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เสวยความสุขในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดเป็นลูกชาย
ปุโรหิตของพระเจ้าพิมพิสารในกรุงราชคฤห์. เขาได้มีชื่อว่า คิริมานนท์
คิริมานนท์นั้น บรรลุนิติภาวะแล้ว เห็นอานุภาพของพระพุทธเจ้า ใน
คราวที่พระศาสดาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์แล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 941
บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในอาวาสใกล้บ้านได้ ๒-๓ วัน ก็ได้ไปยังกรุง
ราชคฤห์เพื่อถวายบังคมพระศาสดา. พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทราบว่าท่าน
มา จึงเสด็จเข้าไปหาท่านแล้ว ตรัสว่า นิมนต์ท่านอยู่ในที่นี้เถิด, โยม
จะบำรุงด้วยปัจจัย ๔ ดังนี้ ปวารณาเรียบร้อยแล้ว พอเสด็จไปแล้ว
ก็มิได้ทรงอนุสรณ์ถึงพระราชดำรัสนั้น เพราะมีพระราชกรณียกิจมาก.
พระเถระจึงได้อยู่ในที่กลางแจ้งนั่นแล พวกเทวดาพากันห้ามฝนไม่ให้ตก
เพราะกลัวพระเถระจะเปียก พระราชาทรงใคร่ครวญถึงเหตุที่ฝนไม่ตก
ทรงทราบแล้ว จึงทรงมีรับสั่งให้พวกช่างสร้างกุฏิถวายพระเถระ พระเถระ
อยู่ในกุฏิได้ความตั้งมั่นแห่งจิต เพราะได้เสนาสนะสัปปายะ ประกอบ
ความเพียรให้สม่ำเสมอ ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.
เมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้
เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว
ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ภริยา เม กาลงฺกตา ดังนี้. การ
ประกาศเรื่องราวของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คำสั่งสอนที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงกระทำไว้แล้ว และเรื่องราวแห่งการบรรลุมรรคผล ทั้งหมด
นักศึกษาพอจะกำหนดรู้ได้โดยง่าย ตามลำดับแห่งบาลีนั่นแล.
จบอรรถกถาคิริมานันทเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 942
สลฬมัณฑปิยเถราปทานที่ ๘ (๓๙๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกสน
[๔๐๐] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ มีพระชาติเป็น
พราหมณ์ มีธรรมอยู่จบแล้ว นิพพานแล้ว เราได้เก็บเอาพวง
ดอกสนมาทำเป็นมณฑป.
เราเป็นผู้ไปสู่ดาวดึงส์ ย่อมได้วิมานอันอุดม ย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่น นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
เราเดินจงกรม และขึ้นอยู่ในเวลากลางวันหรือกลางคืน
เป็นผู้อันดอกสนกำบังไว้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
ในกัปนี้เองเราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสลฬมัณฑปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสลฬมัณฑปิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 943
สัพพทายกเถราปทานที่ ๙ (๓๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายทานทุกสิ่งทุกอย่าง
[๔๐๑] ภพของเราหยั่งลงถึงมหาสมุทร ตกแต่งดีแล้ว สระ
โบกขรณี ตกแต่งสวยงาม มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่.
ดารดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงและอุบล ในสระ
นั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ.
มีปลาและเต่าชุกชุม มีเนื้อต่าง ๆ ลงกินน้ำ มีนกยูง
นกกระเรียนและนกดุเหว่าเป็นต้นร่ำร้องด้วยเสียงไพเราะ นก
เขา นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นก
สาลิกา นกค้อนหอย นกโพระดก หงส์ นกกระเรียน นก
แสก ช้างตระกูลปิงคลา เที่ยวอยู่มากมาย สระโบกขรณี
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแก้วมณี ไข่มุกและทราย.
ต้นไม้ทั้งหลายเป็นสีทองทั้งหมด มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้ง
ขจรไป ส่องภพของเราให้สว่างไสวตลอดกาลทั้งปวง ทั้ง
กลางวันกลางคืน.
นักดนตรีหกหมื่น ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า หญิง
๑,๖๐๐ คนห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
เราออกจากภพแล้ว ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ
ผู้นำของโลก มีจิตเลื่อมรสโสมนัส ได้ถวายบังคมพระองค์
ผู้มียศมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 944
ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ทูลนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยศิษย์
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ พระนามว่า สุเมธ ผู้นำของ
โลก ทรงรับ.
พระมหามุนีทรงกระทำธรรมกถาแก่เราแล้วทรงส่งเราไป
เราถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้วกลับเข้าสู่ภพของเรา.
เราเรียกบริวารชนมากว่า ท่านทั้งหมดจงมาประชุมกัน
เวลาเช้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาสู่ภพของเรา.
การที่เราทั้งหลายจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์ เป็นลาภ
ที่เราทั้งหลายได้ดีหนอ แม้เราทั้งหลายจักทำการบูชาแด่พระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้ศาสดา.
เราตระเตรียมข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลภัตกาล
พระพุทธเจ้าผู้นำของโลก เสด็จเข้ามาพร้อมด้วยพระอรหันต์
หนึ่งแสน.
เราได้ทำการต้อนรับด้วยสังคีตและดนตรี พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับนั่งบนตั่งทองคำล้วน.
ในกาลนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุงด้วยทองคำล้วน ๆ คน
ทั้งหลายโบกพัดถวายในระหว่างภิกษุสงฆ์.
เราได้อังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำเพียงพอ
ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์รูปละ ๑ คู่.
พระพุทธเจ้าที่เขาเรียกพระนามว่า สุเมธ ผู้สมควรรับ
เครื่องบูชาของโลก ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 945
ผู้ใดอังคาสเราให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำทั้งปวง เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ผู้นั้นจะเข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น หลังคาทองคำล้วน ๆ จักกั้นร่มให้ในทุกขณะ.
ในสามหมื่นกัป พระศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม ซึ่งมี
สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นจักเป็นทายาทในธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน.
จักนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้วบันลือสีหนาท ชนทั้ง-
หลายจะกั้นฉัตรไว้ที่เชิงตะกอน จักเผาภายใต้ฉัตร.
สามัญผลเราบรรลุแล้วโดยลำดับ กิเลสทั้งหลายเราเผา
แล้ว ความเร่าร้อนไม่มีแก่เราที่มณฑปหรือที่โคนไม้.
ในกัปที่สามหมื่น แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น
ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทานทุกสิ่ง.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 946
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสัพพทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสัพพทายกเถราปทาน
อชิตเถราปทานที่ ๑๐ (๔๐๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป
[๔๐๒] พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง
ผู้นายกของโลก เสด็จสู่ภูเขาหิมวันต์ แล้วประทับนั่งอยู่.
เราไม่ได้ (เคย) เห็นพระสัมพุทธเจ้า แม้เสียงของ
พระองค์ เราก็ไม่เคยได้ฟัง เราเที่ยวแสวงหาอาหารของเรา
อยู่ในป่า.
ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒
ประการในป่านั้น ครั้นเห็นแล้วจึงได้คิดว่า สัตว์นี้ชื่อว่า
อะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 947
เรามองดูลักษณะทั้งหลายแล้ว ระลึกถึงความรู้ของเราได้
ความจริงเราได้ยินมาว่า ลักษณะนี้เป็นของพระพุทธเจ้า
บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวไว้.
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าจริงเหมือนคำของบัณฑิตเหล่านั้น
ถ้าเป็นนั้น เราควรสักการะพระองค์ พระองค์จะชำระคติของ
เราได้.
เราจึงรีบกลับมาสู่อาศรม ถือเอาน้ำผึ้งและน้ำมัน ถือ
เอาหม้อแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงแนะนำให้วิเศษ.
ถือเอาไม้ ๓ ท่อนไปวางไว้ที่กลางแจ้ง ก่อไฟให้ลุกโพลง
แล้วได้ถวายบังคม ๘ ครั้ง.
พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน
พระพุทธเจ้าผู้นำโลกเสด็จลุกขึ้น ในเมื่อราตรีนั้นปราศไป.
เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ตามประทีปถวายแด่พระ-
พุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน ตลอด ๗ คืน ๗ วัน.
กลิ่นหอมทุกอย่างอันมีอยู่ในป่าที่ภูเขาคันธมาทน์ มา
หอมพุ่งอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าด้วยพุทธานุภาพ.
เวลานั้นต้นไม้มีดอกหอมทุกชนิด ดอกบานสะพรั่ง โชย
กลิ่นมาหอมตลบพร้อมกัน ด้วยพุทธานุภาพ.
นาคและครุฑทั้งสองพวกที่ภูเขาหิมวันต์มีประมาณเท่าใด
นาคและครุฑเหล่านั้นต้องการจะฟังธรรม จึงพากันมาในสำนัก
พระพุทธเจ้า.
พระสมณะนามว่าเทวละ เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 948
ท่านพร้อมด้วยพระอรหันต์หลายแสน เข้ามาสู่สำนักพระ-
พุทธเจ้า.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร
รับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ตามประทีปถวายเราด้วยมือทั้งสอง
ของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.
เขาจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป และจักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
จบภาณวารที่ ๑๖
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๖ ครั้ง
จักได้เสวยรัชสมบัติอันไพบูลย์ในปฐพี ๓๐๐ ครั้ง.
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
ด้วยการตามประทีปถวายนี้ จักเป็นผู้มีทิพยจักษุ.
ผู้นี้จักมองเห็นไกล ๒๕๐ ชั่วธนูโดยรอบทุกเมื่อ เมื่อเขา
จุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นคน.
ประทีปจักทรงอยู่ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อผู้นี้เกิด
พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม.
ตลอดทั่วนครจักโชติช่วง ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็น
เทวดาหรือมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 949
เพราะผลแห่งการตามประทีปถวาย ๘ ดวงนั้น ชนทั้งหลาย
จักบำรุงผู้นี้ นี้เป็นผลแห่งการตามประทีปถวาย.
ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น จัก
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน.
ยังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้ทรง
โปรดปรานแล้ว จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่า
อชิตะ.
เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดหกหมื่นกัป แม้ในเทวโลก
นั้น ประทีป ๑๐๐ ดวงส่องสว่างให้แก่เราเป็นนิตยกาล.
รัศมีของเราพุ่ง (โพลง) ออกไปในเทวโลกและมนุษยโลก
เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดแล้ว ยังความโสมนัส
ให้เกิดยิ่ง.
เราจุติจากเทวโลกชั้นดุสิตแล้ว ลงสู่ครรภ์มารดา เมื่อ
เราเกิด ได้มีแสงสว่างอย่างไพบูลย์.
เราออกจากเรือนแล้ว บวชเป็นบรรพชิต ได้เข้าไปหา
พราหมณ์พาวรี ยอมตนเข้าเป็นศิษย์.
เมื่อเราอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าผู้นำ
ของโลก เราแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด จึงเข้าไปเฝ้า
พระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 950
พระพุทธเจ้าผู้ฝึกพระองค์แล้ว ทรงฝึกแม้ผู้อื่น ทรงข้าม
โอฆะแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิ ตรัสบอกนิพพานเครื่องพ้นจาก
ทุกข์ทั้งปวง.
กรรมของเรานั้นสำเร็จประโยชน์ เรายังพระมหามุนีให้
ยินดี วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายประทีปใด ในกาลนั้น
ด้วยการถวายประทีปนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เห็นผลแห่ง
การถวายประทีป.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขั้นรู้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอชิตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอชิตเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 951
อรรถกถาปทานที่ ๘-๑๐
อปทานที่ ๘, ๙, ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปิลินทวรรคที่ ๔๐
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปิลินทวัจฉถราปทาน ๒. เสลเถราปทาน ๓. สัพพกิตติก-
เถราปทาน ๔. มธุทายกเถราปทาน ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
๖. พักกุลเถราปทาน ๗. คิริมานันทเถราปทาน ๘. สลฬมัณฑปิย-
เถราปทาน ๙. สัพพทายกเถราปทาน ๑๐. อชิตเถราปทาน.
ท่านนับคาถาได้ ๒๕๐ คาถา.
จบปิลินทวรรคที่ ๔๐
และรวมวรรคได้ ๑๐ วรรค คือ
๑. ปทุมเกสริยวรรค ๒. อารักขทายกวรรค ๓. อุมมาปุปผิยวรรค
๔. คันโธทกวรรค ๕. เอกปทุมวรรค ๖. สัททสัญญิกวรรค ๗.
มันทารวปุปผิยวรรค ๘. โพธิวันทนวรรค ๙. อัมพฏผลวรรค ๑๐.
ปิสินทวรรค และคำนวณคาถาได้ ๑,๑๗๔ คาถา
จบหมวด ๑๐ แห่งปทุมวรรค
จบหมวด ๑๐๐ ที่ ๔ (๔๐๐ อปทาน)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 952
เมตเตยยวรรคที่ ๔๐
ติสสเมตเตยเถราปทานที่ ๑ (๔๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีปและผลมะพลับ
[๔๐๓] ดาบสชื่อว่า โสภิตะ บริโภคแต่ผลไม้ที่หล่นเอง อาศัย
ยอดเงื้อมเขา ประทับอยู่ในระหว่างแห่งภูเขา.
ในกาลนั้น เราแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด เพื่อเข้าถึง
พรหมโลก จึงนำเอาฟืนสำหรับติดไฟมาสุมไฟให้ลุกโพลง.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้
สมควรรับเครื่องบูชา พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือเรา
จึงเสด็จมาในสำนักเรา ตรัสถามว่า
ทำอะไรหรือท่านผู้มีบุญหนัก ขอจงให้ฟืนสำหรับติดไฟ
แก่เรา เราจะบำเรอไฟ เพราะการบำเรอไฟนั้น ความบริสุทธิ์
จักมีแก่เรา.
เราทูลว่า
ดูก่อนท่านผู้เป็นมนุษย์ ท่านเป็นผู้เจริญดี ท่านเข้าใจ
เทวดาดี เชิญท่านบำเรอไฟ เชิญท่านเอาฟืนสำหรับติดไฟไป.
ลำดับนั้น พระชินเจ้าทรงถือเอาฝืนจะติดไฟให้ลุกโพลง
ไฟไม่ติดฟืนในกองฟืนนั้น เพราะพระผู้แสวงหาคุณใหญ่
ทรงทำปาฏิหาริย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 953
พระปทุมุตตรพุทธเจ้าตรัสว่า
ไฟของท่านไม่ลุกโพลง เครื่องบูชาของท่านไม่มี การ
บำเรอไฟของท่านไร้ประโยชน์ เชิญท่านบำเรอไฟของเรา
บ้างซิ.
เราทูลถามว่า
ดูก่อนท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ไฟของท่านเป็นเช่นไร
ขอจงบอกไฟของท่าน เมื่อบอกแก่เราแล้ว เราทั้งสองจะ
บำเรอไฟนั่น.
พระองค์ตรัสว่า
การบูชาของเรามี ๓ ประการ คือ เพื่อดับธรรมอันเป็น
เหตุ ๑ เพื่อเผากิเลส ๑ เพื่อละความริษยาและความ
ตระหนี่ ๑.
เราทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นเช่นไร มีโคตร
อย่างไร อาจาระและข้อปฏิบัติของท่านเราชอบใจนัก.
พระองค์ตรัสตอบว่า
เราเกิดในสกุลกษัตริย์ ถึงที่สุดแห่งอภิญญา มีอาสวะ
ทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
ข้าแต่พระองค์ผู้ส่องแสงสว่าง ทรงบรรเทาความมืด ถ้า
พระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าพระองค์จักขอนมัส-
การพระองค์ พระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 954
เราได้เอาหนังสัตว์ลาดถวาย เป็นที่ประทับนั่ง พระสัพ-
พัญญู ประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น เราอุปัฏฐากพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนหนังสัตว์ที่เราลาดถวาย
นั้น เรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปสู่ภูเขา.
เก็บผลมะพลันใส่หาบจนเต็ม นำมาคลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้ง
แล้ว ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้า.
เมื่อเรามองดูอยู่ พระชินเจ้าก็เสวยในขณะนั้น เรา
มองดูพระองค์ผู้นำของโลก ยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา ประทับนั่งอยู่ในอาศรมของเรา ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้อังคาสเราให้อิ่มหนำ ด้วยผล
มะพลับด้วยมือของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย
จงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๒๕ ครั้ง และจักได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนอันสมควรแก่ค่ามาก ประกอบ
ด้วยบุญกรรม (ดังจะ) รู้ความดำริของผู้นั้นผู้พร้อมเพรียงด้วย
บุญกรรม จักบังเกิดขึ้นในทันที ผู้นี้จักเป็นผู้บันเทิงพร้อม
และผู้มีความสบายทุกเมื่อ.
ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน
กำเนิดนั้น จักเป็นผู้มีสุขทุกแห่ง จักได้เป็นมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 955
ผู้นั้นเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ได้เข้า
เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักเป็นพระอรหันต์.
เราระลึกถึงตนได้ในกาลใด ถึงความเป็นผู้รู้แจ้ง ในกาล
ใด ในกาลนั้น ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
เราบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐแล้ว ถอนราคะและโทสะ
ขึ้นได้แล้ว เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่
มิได้มี.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติสสเมตเตยยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบติสสเมตเตยยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 956
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑
๔๐๑. อรรถกถาติสสเมตเตยยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๑ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระติสสเมตเตยยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺ-
ภารกูฏ นิสฺสาย ดังนี้.
ในเรื่องนั้น มีข้อแตกต่างกันแต่เพียงว่า ท่านบวชเป็นดาบสแล้ว
ได้ถวายหนังเสือเพื่อเป็นที่ประทับนั่ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ เท่านั้น. คำที่เหลือพอจะรู้ได้โดยง่าย ตามบาลีอปทานนั่นแล.
จบอรรถกถาติสสเมตเตยยเถราปทาน
ปุณณกเถราปทานที่ ๒ (๔๐๒)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
[๔๐๔] พระพุทธเจ้าผู้สยัมภู ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ ทรงพระประชวร
ทรงอาศัยยอดเงื้อมเขา ประทับอยู่ในระหว่างแห่งภูเขา.
ขณะนั้นได้มีเสียงบันลือลั่นโดยรอบอาศรมของเรา เมื่อ
พระพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ได้มีแสงสว่างในขณะนั้น.
หมี หมาป่า เสือดาว เนื้อร้าย และราชสีห์ มีอยู่ใน
ไพรสณฑ์ประมาณเท่าใด ทั้งหมดนั้นได้พากันส่งเสียงร้องขึ้น
ในขณะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 957
เราเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้ไปสู่เงื้อมเขา ณ ที่นั้น
เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่แพ้อะไร ๆ นิพพานแล้ว.
เหมือนพญารังมีดอกบานสะพรั่ง เช่นดวงอาทิตย์อุทัย
ดังถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ ผู้ดับสนิทแล้ว ไม่แพ้อะไร ๆ.
เรานำเอาหญ้าและไม้ มากองให้เต็มแล้ว ได้ทำจิตกาธาร
ขึ้นบนนั้น ครั้นทำจิตกาธารดีแล้ว ได้ถวายพระเพลิงพระ-
พุทธสรีระ.
ครั้นถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้เอาน้ำอบประพรม
ในขณะนั้นเทวดายืนอยู่ในอากาศ ได้ระบุชื่อว่า
ท่านผู้เป็นมุนี ในกาลใด ท่านมีนามชื่อว่า ปุณณกะ
ในกาลนั้น ท่านบำเพ็ญกิจนั้นแด่พระพุทธเจ้าผู้สยัมภู ผู้แสวง
หาคุณใหญ่.
เราจุติจากกายนั้นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลก ในเทวโลกนั้น
กลิ่นอันสำเร็จด้วยทิพย์ ย่อมตกลงจากอากาศ.
แม้ในเทวโลกนั้น เราก็มีชื่อว่า ปุณณกะ ในกาลนั้น
เราเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมยังความดำริให้บริบูรณ์.
ภพนี้เป็นภพที่สุดของเรา ภพที่สุดย่อมเป็นไป แม้ใน
ภพนี้ นามของเราก็ยังปรากฏชื่อว่า ปุณณกะ.
เรายังพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้
ทรงโปรดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
อยู่.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 958
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายพระ-
เพลิงพระพุทธสรีระ.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสนะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณสมบัติเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุณณกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุณณกเถราปทาน
๔๐๒. อรรถกถาปุณณกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระปุณณกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺภารกูฏ
นิสฺสาย ดังนี้.
ในเรื่องนั้น มีความแตกต่างกันแต่เพียงว่า ท่านเป็นเสนาบดียักษ์อยู่
ในป่าหิมวันต์ ได้สร้างที่ประชุมเพลิง เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพาน
แล้วเท่านั้น. คำที่เหลือพอจะรู้ได้โดยง่าย ตามลำดับบาลีนั่นแล.
จบอรรถกถาปุณณกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 959
เมตตคูเถราปทานที่ ๓ (๔๐๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส
[๔๐๕] ภูเขาชื่อว่า อโสก มีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ วิสสุ-
กรรมเทพบุตร นิรมิตอาศรมให้แก่เราที่ภูเขาอโสกนั้น.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้เลิศ ประกอบด้วย
พระกรุณา เป็นมุนี เวลาเช้าทรงครองผ้าแล้ว เสด็จเข้ามา
ในสำนักเราเพื่อบิณฑบาต.
เราได้เห็นพระมหาวีรเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของโลก
เสด็จเข้ามาแล้ว รับบาตรของพระสุคตแล้วเอาเนยใสและ
น้ำมันใส่ให้เต็ม.
ถวายในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า สุเมธ ผู้
นำของโลก ประนมกรอัญชลีแล้ว ยังความโสมนัสให้เกิดโดย
ยิ่ง.
ด้วยการถวายเนยใส (และน้ำมัน) นี้ และด้วยการตั้งจิต
ไว้มั่น เราเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ ย่อมได้สุขอันไพบูลย์.
เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ เว้นภพวินิบาต ตั้ง
จิตมั่นไว้ในพระพุทธเจ้านั้น. ย่อมได้บทอันไม่หวั่นไหว.
ดูก่อนพราหมณ์ การที่ท่านได้เห็นเรานั้น เป็นลาภที่ท่าน
ได้ดีแล้ว ด้วยว่า บุคคลอาศัยการเห็นเราแล้ว จักบรรลุถึง
พระอรหัต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 960
ท่านจงเป็นผู้เบาใจ ไม่ต้องกลัว บรรลุถึงยศใหญ่ ท่าน
ถวายเนยใสแก่เราแล้ว จักพ้นจากชาติทุกข์ได้.
ด้วยการถวายเนยใสนี้ และด้วยการตั้งจิตไว้มั่น ท่านเป็น
เทวดาหรือมนุษย์ ย่อมได้สุขอันไพบูลย์
ด้วยอธิการนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา ผู้นั้นจักรื่น
รมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป จักได้เป็นท้าวเทวราช
๑๘ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนา
นับมิได้.
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร
สาคร ๔ เป็นที่สุด มีความชนะวิเศษ เป็นใหญ่ในชมพูทวีป
อันรุ่งเรือง ๕๑ ครั้ง.
มหาสมุทรกระเพื่อมไม่หยุด และแผ่นดินทรงไว้ยาก
ฉันใด โภคสมบัติของเราจักนับประมาณมิได้ ฉันนั้น เรา
ถวายเงิน ๖๐๐ ล้านแล้ว ออกบวชแสวงหากุศลอะไรอยู่ จึง
เข้าไปหาพราหมณ์พาวรี.
เราเล่าเรียนลักษณะมีองค์ ๖ ในมนต์นั้นอยู่ ข้าแต่พระ-
มหามุนี พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นกำจัดความมืดนั้นแล้ว ข้าแต่
พระมหามุนี ข้าพระองค์ประสงค์จะเฝ้าพระองค์จึงมา ได้ฟัง
ธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุผลอันไม่หวั่นไหว.
ในกัปที่สามหมื่นแต่กัปนี้ เราได้ถวายเนยใสแด่พระ-
พุทธเจ้า ในระหว่างนี้ เราไม่รู้จักทุคติเลย เราให้ขอเนยใส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 961
แล้ว เนยใสดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิดตามปรารถนา
รู้ความดำริแล้วเกิดขึ้น เราอังคาสภิกษุทั้งปวงให้อิ่มหนำ.
โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ ความที่เราถึงพร้อม
ด้วยพระศาสดา ก็เราถวายเนยใสหน่อยเดียวแล้ว ย่อมได้
เนยใสหาประมาณมิได้.
น้ำในมหาสมุทรมีประมาณถึงยอดเขาเนรุ เมื่อเทียบกับ
เนยใสของเรา จักไม่เท่าส่วนแห่งเสี้ยว.
โอกาสแห่งจักรวาลที่เขาทำให้เป็นกองประมาณเท่าใด
โอกาสนั้น ย่อมไม่สมกับกองผ้าทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่เรา.
ขุนเขาหิมวันต์ ล้วนแต่หินแม้จะสูงสุด ก็จักไม่เท่าเครื่อง
หอมสำหรับไล้ทาของเรา.
ผ้า ของหอม เนยใส และสิ่งอื่นอันเกิดในปัจจุบันและ
นิพพานอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ย่อมเกิดแก่เรา นี้เป็นผลแห่ง
การถวายเนยใส.
เราเป็นผู้มีสติปัฏฐานเป็นที่นอน มีสมาธิและฌานเป็น
อารมณ์ วันนี้เราเป็นผู้ยังโพชฌงค์ให้เกิด นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายเนยใส.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่อาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 962
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเมตตคูเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเมตตคูเถราปทาน
๔๐๓. อรรถกถาเมตตคูเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระเมตตคูเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺส
อวิทูเร ดังนี้.
ท่านเป็นพระดาบสอยู่ในบรรณศาลา ที่ภูเขาชื่อว่า อโสก ใกล้ป่า
หิมวันต์นั้น ได้พบเห็นพระสุเมธสัมพุทธเจ้าแล้ว รับบาตรเอาเนยใสใส่
ถวายจนเต็ม (ดังนี้) เป็นความแตกต่างกัน. คำที่เหลือ และผลบุญ
นักศึกษาพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว. และเนื้อความแห่งคาถาอปทาน ก็
ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาเมตตคูเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 963
โธตกเถราปทานที่ ๔ (๔๐๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายสะพาน
[๔๐๖] ในกาลนั้น แม่น้ำคงคาชื่อว่า ภาคีรสี๑ ไหลมาจากภูเขา
หิมวันต์ ไหลผ่านไปทางประตูพระนครหังสวดี.
อารามชื่อว่า โสภิคะ มหาชนสร้างไว้อย่างสวยงามใกล้ฝั่ง
แม่น้ำ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้นำของโลก
ประทับอยู่ในอารามนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่มนุษย์แวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง
ในอารามนั้น ดังพระอินทร์จากดาวดึงส์ ไม่ครั่นคร้ามดุจ
ไกรสรสีหราช.
ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ มีนามชื่อว่า
ฉฬังคะ อยู่ในนครหังสวดีมีชื่ออย่างนั้น.
ในกาลนั้น ศิษย์ ๑,๘๐๐ คนแวดล้อมข้าพระองค์ ข้า-
พระองค์พร้อมด้วยศิษย์เหล่านั้นเข้าไปสู่ฝั่งแม่น้ำ.
ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นพระหลายรูป ผู้ไม่คดโกง ผู้
ชำระบาปแล้ว กำลังข้ามแม่น้ำภาคีรสีอยู่ ขณะนั้นข้าพระองค์
คิดอย่างนี้ว่า
บุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้มียศมากเหล่านี้ ข้ามแม่น้ำทั้งเย็น
และเช้า ย่อมทำตนให้ลำบาก ย่อมทำตนให้เดือดร้อน.
บัณฑิตย่อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศของ
๑. อรรถกถาว่า ภาคีรถี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 964
โลก พร้อมทั้งเทวโลก เครื่องสักการะสำหรับชำระทางคือ
คติในทักษิณาของเราไม่มี.
ถ้าเช่นนั้น เราพึงทำสะพานข้ามแม่น้ำถวายแด่พระพุทธ-
เจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้นเราให้ทำสะพานนี้แล้วจะข้ามภพนี้ได้.
ข้าพระองค์ได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง แล้วให้ทำ
สะพาน ด้วยข้าพระองค์เชื่อว่า กุศลที่เราทำแล้วนี้จักไพบูลย์.
ข้าพระองค์ให้ทำสะพานนั้นเสร็จแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระ-
พุทธเจ้าผู้นำของโลก ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร แล้วได้
กราบทูลดังนี้ว่า
ข้าพระองค์ให้ทรัพย์ ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง แล้วให้ทำ
สะพานนี้.
ข้าแต่พระมหามุนี ขอได้โปรดทรงรับสะพานใหญ่ เพื่อ
ประโยชน์แก่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร
รับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้ให้ทำสะพานด้วยมือของตนให้
แก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว
ผู้นี้แม้ตกลงในเหวก็ดี จากภูเขาก็ดี จากต้นไม้ก็ดี แม้
จุติแล้ว จักได้ที่ตั้งมั่น นี้เป็นผลแห่งการให้สะพาน.
ศัตรูทั้งหลายย่อมข่มขี่ไม่ได้ เปรียบเหมือนลมข่มขู่ต้นไทร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 965
อันมีรากและย่านงอกงามไม่ได้ฉะนั้น นี้เป็นผลแห่งการถวาย
สะพาน.
พวกโจรย่อมข่มเหงไม่ได้ กษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมไม่ดูหมิ่น
ผู้นี้จักข้ามพ้นศัตรูทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน.
ผู้นี้ประกอบด้วยบุญกรรม ถึงจะอยู่ในโอกาสกลางแจ้ง
ถูกแดดกล้าจัดแผดเผา ก็จักไม่มีเวทนา.
ในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลกก็ดี ยานช้างอันตกแต่งดี
แล้ว ดังจะรู้ความดำริของผู้นั้น จักบังเกิดในทันที.
ม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ม้าอันเป็นพาหนะมีกำลังวิ่งเร็วดังลม จัก
คอยรับใช้ทั้งเวลาเย็นและเช้า นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน.
ผู้นี้มาเกิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีความสุข แม้ในการเกิด
เป็นมนุษย์นี้ ก็จักมียานช้าง.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม
ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรม ของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน.
โอ เราได้ทำกุศลกรรมแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ เราเป็นผู้บรรลุความสิ้นอาสวะ เพราะได้ทำกุศล-
กรรมในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 966
เราเป็นผู้ทำความเพียร มีตนส่งไปแล้ว สงบระงับ ไม่
มีอุปธิ ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มี
อาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโธตกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโธตกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 967
๔๐๔. อรรถกถาโธตกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระโธตกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คงฺคา ภาคีรถี
นาน ดังนี้.
แม้ในเรื่องนั้น ท่านเป็นพราหมณ์ ได้พบเห็นพวกภิกษุ กำลัง
ข้ามแม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีแล้ว มีใจเลื่อมใส ให้ช่างช่วยกันสร้างสะพาน
ข้าม เสร็จแล้วก็มอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เท่านั้น
เป็นความแตกต่างกันแล. เนื้อความแห่งคาถาอันแสดงถึงเรื่องผลบุญ
นักศึกษาก็พอจะรู้ได้โดยง่ายตามลำดับแห่งเนื้อความนั่นแล.
จบอรรถกถาโธตกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 968
อุปสีวเถราปทานที่ ๕ (๔๐๕)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างอาศรม
[๔๐๗] เราสร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาอย่างสวยงาม ณ ที่ใกล้
ภูเขาชื่อว่า อโนมะ อันมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์.
ณ ที่นั้นมีแม่น้ำไหลอยู่ มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
กอปทุมและกออุบลเป็นอันมาก ย่อมเกิดที่ท่าน้ำอันชุ่มชื้นใน
แม่น้ำนั้น.
มีปลาฉลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา
ตะเพียน และเต่าชุกชุม มีน้ำไหลอยู่ในกาลนั้น.
มีต้นดีหมี ต้นอโศก ต้นเข็ม ต้นชาตบุษย์ มะงั่ว และ
มะนาว มีดอกบาน ขึ้นอยู่รอบอาศรมของเรา.
มีอัญชันเขียว มะลิซ้อน ต้นรัง ต้นสน ต้นจำปา ขึ้น
อยู่เป็นหมู่ ๆ มากด้วยกัน มีดอกบาน.
ต้นกุ่ม ต้นอุโลก สลัดได มีดอกบาน ต้นประดู่ และ
มะซางหอม มีดอกบาน มีอยู่ในที่ใกล้อาศรมของเรา.
ต้นราชพฤกษ์ แคฝอย ต้นคัดเค้า ต้นประยงค์ มะกล่ำ-
หลวง ไม้ช้างน้าว มีดารดาษอยู่โดยรอบกึ่งโยชน์.
มาตกรา๑ ต้นชบาซ้อน ต้นโลดแดง ขึ้นเป็นหมู่อยู่ใกล้
แม่น้ำ ไม้ปรู สมอพิเภก กำลังมีดอกบาน มีอยู่มาก ต้น
๑. ม. ว่า มาตคฺคารา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 969
สมอมีอยู่มาก กำลังมีดอกบาน อยู่ใกล้อาศรมของเรา.
เมื่อต้นไม้เหล่านี้มีดอก ต้นไม้ทั้งหลายก็งานมาก โดย
รอบที่อาศรมของเรา ย่อมหอมตลบไปด้วยกลิ่นดอกไม้นั้น.
มีต้นสมอไทย มะขามป้อม มะม่วง ไม้หว้า สมอพิเภก
ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม ต้นมะปราง.
ต้นมะพลับ ต้นมะหาด ต้นมะซาง ต้นมะดูก ต้นขนุน-
สำมะลอ ต้นขนุน ต้นกล้วย ต้นพุทรา
ต้นมะกอก ต้นวลฺลิการผลานิ มีมากมาย ผลกำลังสุก
งอม หล่นอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
อาฬกา อิสิมุคฺคา จ ตโต โสรผลา พหู อวฏา ปกฺกภริตา
มิลกฺขุทุมฺพรานิ จ.
เถาดีปลี กระวาน ต้นไทร ต้นมะขวิด ต้นมะเดื่อ
มีมากมาย มีผลสุก ปาริโย.
ต้นไม้เหล่านี้และชนิดอื่นมีมากมาย กำลังมีผลใกล้อาศรม
ของเรา แม้ต้นไม้ดอกก็มีมาก กำลังบานใกล้อาศรมของเรา.
เช่นมะลิวัลย์ ต้นกระทุ่ม ต้นนมแมว และคนทา อาลกา
และต้นปาล์ม มีอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรานั้น มีสระใหญ่ที่เกิดเองสระ
หนึ่ง มีน้ำใสแจ๋ว จืด เย็นสนิท ทีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ.
๑. ม. ว่า โมทผลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 970
ในสระนั้น มีกอปทุม กออุบล และกอบุณฑริก มากมาย
ดาดาษด้วยบัวขาวและบัวเผื่อน ลมพัดพากลิ่นหอมต่าง ๆ มา.
กอปทุมกอหนึ่งกำลังตูม กออื่น ๆ มีดอกบาน ดอกปทุม
บานแล้ว ร่วงหล่นลง คงมีแต่ฝักบัวเป็นอันมาก.
น้ำหวานที่ไหลออกจากรากเหง้าบัว รสหวานปานดังน้ำผึ้ง
นมสด และเนยใส ดอกโกมุท มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ด้วย
กลิ่นหอมนั้น มีดอกบานมากมาย.
ดอกโกมุท และมะม่วงสุกส่งกลิ่นหอม เราเห็นอยู่โดย
รอบเสมอ ที่ใกล้ขอบสระ มีไม้เกดเป็นอันมากมีดอกบาน.
ต้นชะบาดอกบานสะพรั่ง อัญชันขาว ดอกมีกลิ่นหอม
จระเข้ ตะโขง คหกา ย่อมเกิดอยู่ในสระนั้น ในสระ
นั้น มีอุคฺคาหกา งูเหลือมมาก ปลาฉลาด ปลากระบอก
ปลาสวาย ปลาตะเพียน เต่า มากมาย อโถ สปฏเกหิ จ.
นกพิราบ นกคับแค นกกวัก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด
นกสาลิกา นกค้อนหอย นกโพระดก กระรอก นกเขา เหยี่ยว
อุทฺธรา มีอยู่มาก.
หมาจิ้งจอก ลูกนกแขกเต้า ไก่ป่า ฟาน มีอยู่มาก
กาเสนิยา จ ติลกา ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต.
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 971
ลิง กินนร ปรากฏอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
เราสูดกลิ่นหอมเหล่านั้น บริโภคผลไม้ และดื่มน้ำหอม
อยู่ใกล้อาศรมของเรา.
เนื้อทราย หมู เนื้อฟาน ขุทฺทรูปกา อัคคิกา (นกเขาไฟ)
นกโชติกร หงส์ นกกะเรียน นกยูง และประกอบด้วย
นกดุเหว่า อยู่ใกล้อาศรมของเรา หน่อไม้ ไม้กำคูน ต้น
โปตฺถสีสกา มีอยู่มาก.
พวกปีศาจ อสูร กุมภัณฑ์ ผีเสื้อน้ำ มีมาก พวกนก
ครุฑ งู ย่อมอยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ฤาษีทั้งหลายมีอานุภาพมาก มีจิตสงบระงับมั่นคง ทั้ง
หมดล้วนทรงคนโทน้ำ นุ่งหนังสัตว์ทั้งเล็บ สวมชฎา และมี
หาบ อยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ทอดตาดูประมาณชั่วแอก มีปัญญา มีความประพฤติสงบ
สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ อยู่ใกล้อาศรมของเรา.
ฤๅษีเหล่านั้นสลัดผ้าเปลือกไม้กรอง เคาะหนังสัตว์ แข็ง-
แรงด้วยกำลังของตน ย่อมเหาะได้ในอากาศในกาลนั้น.
นำเอาน้ำใหม่และไม้สำหรับทำฟืนใส่ไฟมา และบวชเอา
เอง นี้เป็นผลแห่งปาฏิหาริย์ของตน ๆ.
ฤๅษีเหล่านั้นถือหม้อโลหะ อยู่ในท่ามกลางป่า เปรียบ
เหมือนช้างกุญชรมหานาค และไกรสรราชสีห์ผู้ไม่ครั่นคร้าม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 972
ฤๅษีพวกหนึ่งไปสู่อปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปสู่ปุพพ-
วิเทหทวีป พวกหนึ่งไปสู่อุตตรกุรุทวีปต่าง ๆ ตามกำลังของ
ตน ๆ.
ฤๅษีเหล่านั้นต่างนำเอาอาหารจากทวีปนั้น ๆ มาบริโภค
ร่วมกัน เมื่อฤๅษีทั้งหมดผู้มีเดชรุ่งเรื่อง ผู้คงที่ หลีกไป.
ด้วยเสียงหนังสัตว์ ป่าย่อมมีเสียงดังลั่นในกาลนั้น ข้าแต่
พระมหาวีระ พวกศิษย์ของข้าพระองค์เหล่านั้นมีเดชรุ่งเรือง
เช่นนี้.
ข้าพระองค์แวดล้อมด้วยฤๅษีเหล่านั้น อยู่ในอาศรมของ
ข้าพระองค์ ฤๅษีเหล่านี้ยินดีด้วยกรรมของเรา ข้าพระองค์
แนะนำแล้วมาประชุมกัน.
เพลิดเพลินในกรรมของตน ยังข้าพระองค์ให้ยินดี และ
เป็นผู้มีศีล มีปัญญาฉลาดในอัปปมัญญา.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร
รับเครื่องบูชา เป็นผู้นำวิเศษ ทรงทราบเวลาแล้ว เสด็จเข้ามา
ใกล้.
ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นมุนี
เสด็จมาใกล้ จึงทรงถือบาตร แล้วเสด็จเข้ามาเพื่อภิกษา.
ข้าพระองค์ได้เห็นพระมหาวีระ พระนามว่า ปทุมุตตระ
เสด็จเข้ามา จึงปูลาดเครื่องลาดหญ้าแล้วเกลี่ยด้วยดอกรัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 973
ทูลเชิญพระสัมพุทธเจ้าประทับนั่งแล้วทั้งดีใจและสลดใจ
ได้รีบขึ้นไปบนภูเขา นำเอากฤษณามา.
ได้เก็บเอาขนุนอันมีกลิ่นหอม ผลโต ประมาณ
เท่าหม้อ ยกขึ้นบ่าแบกมา เข้ารูปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้นำ
ชั้นพิเศษ.
ได้ถวายผลขนุนแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ไล้ทากฤษณา ข้า-
พระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางพวกฤาษี ได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้ถวายผลขนุน กฤษณาและอาสนะแก่เรา เรา
จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
โภชนาหารดังจะรู้จิตคนผู้นี้ จักเกิดขึ้นทั้งในบ้าน ในป่า
ที่เงื้อมเขาหรือในถ้ำ คนผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษย-
โลก จักอิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยโภชนาหารและผ้าทั้งหลาย.
คนผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็น
ผู้มีโภคสมบัติร้อยล้านแสนโกฏิท่องเที่ยวไป.
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 974
จักเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
ในแสนกัป จักมีการสมภพในสกุลโอกกากราช พระ-
ศาสดามีพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา
โดยมีนามชื่อว่า อุปสีวะ จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้
ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกนี้ เป็นลาภที่เรา
ได้ดีแล้ว วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
ในบ้านก็ตาม ในป่าก็ตาม ที่เงื้อมเขาก็ตาม ในถ้ำก็ตาม
โภชนาหารดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมมีแก่เราทุกเมื่อ.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 975
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุปสีวเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุปสีวเถราปทาน
๔๐๕. อรรถกถาอุปสีวเถราปทาน
พึงทราบวินิฉัยในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระอุปสีวเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากมายใน
ภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่าน
ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ละเพศฆราวาสบวชเป็นฤๅษี
อยู่ในป่าหิมวันต์ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ลาด
เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกสาละแด่พระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 976
พระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งบนเครื่องลาดอันนั้น ดังนี้ นี้จัดว่าเป็นความ
แตกต่างกัน. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุปสีวเถราปทาน
นันทกเถราปทานที่ ๕ (๔๐๖)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายมณฑป
[๔๐๘] ในกาลก่อน เราได้เป็นพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าใหญ่
เที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ ได้พบพระสยัมภู.
ในกาลนั้น พระสยัมภูสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่แพ้อะไร ๆ
พระนามว่า อนุรุทธะ ผู้เห็นนักปราชญ์ ทรงพระประสงค์
วิเวก จึงเสด็จเข้าป่า.
เราถือเอาท่อนไม้ ๔ ท่อนมาปักลงในที่ ๔ มุม ทำเป็น
มณฑปเรียบร้อยแล้ว มุงด้วยดอกปทุม.
ครั้นมุงมณฑปแล้ว ได้ถวายบังคมพระสยัมภู ทิ้งธนูไว้
ณ ที่นั้นเอง แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.
เมื่อเราบวชแล้วไม่นาน โรคก็เกิดขึ้นแก่เรา เราระลึกถึง
บุรพกรรมได้ ได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.
เราประกอบด้วยบุรพกรรม จึงได้ไปสู่เทวโลกชั้นดุสิต ใน
ชั้นดุสิตนั้น วิมานทองย่อมเกิดขึ้นแก่เราตามปรารถนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 977
เราอธิฐานยานอันเป็นทิพย์ อันเทียมด้วยม้าพันตัว
ขึ้นบนยานนั้นแล้ว ย่อมไปตามความปรารถนา.
เมื่อเราอันบุญกรรมนำจากมนุษยโลกนั้น มาเป็นเทวดา
มณฑปย่อมทรงไว้แก่เราในที่ร้อยโยชน์โดยรอบ.
เรานั้นนอนอยู่บนที่นอนที่ไม่มีเครื่องมุง ลาดด้วยดอกไม้
ดอกปทุมทั้งหลายย่อมตกลงมาจากอากาศเป็นนิตยกาล.
เมื่อพยับแดดเต้นไหวอยู่ เมื่อแดดแผดเผาอยู่ แดดย่อม
ไม่แผดเผาเรา นี้เป็นผลแห่งการทำมณฑปถวาย.
เราล่วงพ้นทุคติแล้ว ปิดอบายทั้งหลาย (เมื่อเราอยู่) ที่
มณฑปหรือที่โคนไม้ ความร้อนย่อมไม่มีแก่เรา.
เราอธิษฐานกำหนดว่าเป็นแผ่นดินแล้ว ข้ามทะเลไปก็ได้
เรานั้นได้ทำกุศลกรรมแล้วหนอ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราทำทางในอากาศแล้ว เหาะไปในอากาศก็ได้ โอ เรา
ได้ทำกุศลกรรมแล้ว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราย่อมระลึกชาติก่อน ๆ ได้ ชำระทิพยจักษุแล้ว อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ชาติก่อน ๆ เราละได้แล้ว เราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า
และทายาทในสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
เราเป็นผู้ยังพระสุคตเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้
โปรดปรานแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม เป็นทายาทในธรรม นี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 978
ผลแห่งพุทธบูชา.
เราบำรุงพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร
แล้วได้ทูลถามพระองค์ผู้นำของโลกถึงทางที่จะไปสู่นิพพาน.
พระพุทธเจ้าอันเราทูลถามแล้ว ได้ตรัสบอกบทอันลึกซึ้ง
ละเอียด เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุความสิ้น
อาสวะ.
โอ เราทำกรรมดีแล้ว เราพ้นจากชาติทุกข์แล้ว มีอาสวะ
ทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นให้หมดแล้ว ตัด
กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบนันทกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 979
๔๐๖. อรรถกถานันทกเถราปทาน
พึงทราบวินิจฉัยในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระนันทกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร
อาสึ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ-
นามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้ (เกิด) เป็นนกการเวก ทำการเปล่งเสียง-
ร้องอันไพเราะ ได้กระทำประทักษิณพระศาสดาแล้ว ในชาติต่อมา ท่าน
ได้เกิดเป็นนกยูง อยู่ ณ ที่ประตูถ้ำ อันเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
องค์หนึ่ง มีใจเลื่อมใส ได้เปล่งเสียงร้องอันไพเราะวันละ ๓ ครั้ง ได้
ทำบุญไว้มากมายในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของพวกเรา ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า
นันทกะ ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว บวช เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส
ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง
กล่าวคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้ ในเรื่องนั้นข้อความ
แปลกกันตรงที่ว่า สร้างมณฑปแล้ว เอาดอกปทุมทั้งหลายมามุงถวายแด่
พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นแล.
จบอรรถกถานันทกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 980
เหมกเถราปทานที่ ๗ (๔๐๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่งแก้ว
[๔๐๙] ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่ออโนมะ ทำอาศรมอย่าง
สวยงามไว้ใกล้ยอดเงื้อมเขา อยู่ในบรรณศาลา.
กรรมคือตบะของเรานั้นสำเร็จแล้ว เราถึงความสำเร็จใน
กำลังของตน กล้าหาญในสามัญของตน มีความเพียร มี
ปัญญา เป็นมุนี.
แกล้วกล้าในลัทธิสมัยของตน ฉลาดในการโต้ตอบ ไปได้
ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ฉลาดในลางร้ายดี.
ปราศจากความเศร้าโศก ไม่แข่งดี มีอาหารน้อย ไม่โลภ
จัด ยินดีทั้งด้วยลาภและความเสื่อมลาภ มีปรกติเพ่ง ยินดี
ในฌาน เป็นมุนี.
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้เลิศ
มีพระกรุณา เป็นมุนี พระองค์ทรงประสงค์จะขนสัตว์ให้ข้าม
จึงทรงแผ่พระกรุณาไป.
พระมหานุมีพระนามว่า ปิยทัสสี ทรงพิจารณาเห็นตน
ผู้ควรตรัสรู้แล้ว ก็เสด็จไปประทานโอวาทในพันแห่งจักรวาล.
พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จเข้ามาสู่
อาศรมเรา พระชินเจ้าเราไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่เคยได้ฟัง
มาแต่ใคร ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 981
แม้แต่การฝันเห็นก็ไม่เคยเกิดแก่เรา แต่ลักษณะทั้งหลาย
เรารู้ดี เราไปได้ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ฉลาดในบท
นักษัตร.
เรานั้นได้ฟังข่าวพระพุทธเจ้าแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสใน
พระพุทธองค์ จะยืนหรือนั่งอยู่ก็ตาม ย่อมระลึกถึงเป็นนิตย-
กาล.
เมื่อเราระลึกอยู่อย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงระลึก
ถึง เมื่อเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ปีติย่อมมีแก่เราทุกขณะ.
พระมหามุนี ทรงรอเวลาอีกหน่อยแล้ว จึงเสด็จเข้ามาหา
เรา แม้เมื่อพระองค์เสด็จถึง เราก็ไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้า
ผู้มหามุนี.
พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สงเคราะห์ ประกอบ
ด้วยพระกรุณา ทรงยัง (เรา) ให้ทราบว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า
ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ครั้นเรารู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มหามุนี
แล้ว ยังจิตของตนให้เสื่อมใส ได้กราบทูลดังนี้ว่า
ขอภิกษุทั้งปวงจงนั่งบนตั่งบนบัลลังก์และบนอาสันทิ ส่วน
พระองค์ผู้มีพระกรุณาในสัตว์ทั้งปวง เชิญประทับบนอาสนะ
ทอง.
ในขณะนั้น เรานิรมิตตั่งอันสำเร็จด้วยแก้วล้วน ๆ และ
นิรมิตอาสนะด้วยฤทธิ์ ถวายแด่พระมุนีพระนามว่า ปิยทัสสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 982
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนตั่งแก้วที่เรานิรมิตด้วยฤทธิ์
แล้ว เราได้ถวายผลหว้าโตประมาณเท่าหม้อข้าวทันที.
พระมหามุนีทรงยังความยินดีให้เกิดแก่เราแล้ว เสวย
ผลหว้าในกาลนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ถวายบังคม
พระศาสดา.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เชษฐบุรุษของ
โลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งอยู่บนอาสนะแก้ว ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดได้ถวายตั่งแก้วและผลหว้าแก่เรา เราจักพยากรณ์
ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง.
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๒ ครั้ง
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.
จักได้บัลลังก์ทองคำและบัลลังก์อันงาม บัลลังก์แก้วทับทิม
และบัลลังก์รัตนะเป็นอันมากที่ทำอย่างสวยงาม.
บัลลังก์มากมายอันเป็นที่ชอบใจ จักแวดล้อมผู้นี้ ผู้พรั่ง
พร้อมด้วยบุญกรรม แม้เดินอยู่ทุกเมื่อ.
ปราสาทอันเป็นเรือนยอดและที่นอนอันควรค่ามาก ดังจะรู้
จิตของผู้นี้ จักบังเกิดขึ้นทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 983
ช้างพลายหกหมื่น ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มี
สายประคนพานหน้าและพานหลังแล้วด้วยทอง กอปรด้วย
เครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนเป็นทอง อันควาญช้างผู้ถือ
หอกซัดและขอขึ้นอยู่บนคอ ช้างเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้ นี้เป็น
ผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.
ม้าสินพอาชาไนยโดยกำเนิดหกหมื่น ม้าเป็นพาหนะ
วิ่งเร็ว อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันหมอม้ามีมือถือ
ธนูสวมเกราะหนังขึ้นขี่อยู่ ม้าเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้ นี้เป็น
ผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.
รถหกหมื่น อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง หุ้มด้วย
หนังเสือเหลืองบ้าง หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง สอดใส่เครื่อง
รบ ปักธงหน้ารถ อันนายสารถีมีมือถือสวมเกราะขึ้น
ประจำรถอยู่ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายตั่งแก้ว.
แม่โคนมและโคผู้ตัวงามหกหมื่นตัว จักยังลูกโคให้เกิด
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.
หญิง ๑๖,๐๐๐ คน อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร ประดับประดาด้วยมณีและกุณฑล
มีหน้าเบิกบานยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง จัก
แวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ จักมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ผู้มี
จักษุ กำจัดความมืดมนอันธการในโลก จักทรงอุบัติขึ้นในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 984
ผู้นี้อาศัยการได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั่น จักตัดความ
กังวลออกบวช จักยังพระศาสดาให้โปรดปรานแล้ว ยินดียิ่ง
อยู่ในศาสนา ได้ฟังธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว จัก
เผากิเลสทั้งหลาย จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี
อาสวะ นิพพาน.
ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำไปซึ่งธุระ นำมาซึ่งความ
เกษมจากโยคะ เราปรารถนาประโยชน์อันสูงสุด อยู่ใน
พระศาสนา.
ภพนี้เป็นภพที่สุดของเรา ภพต่อไปย่อมไม่มี เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่อง
ผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเหมกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเหมกเถราปทาน
จบภาณวารที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 985
๔๐๗. อรรถกถาเหมกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระเหมกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺภารกูฏ นิสฺสาย
ดังนี้.
แม้ในเรื่องนั้น ท่านก็ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ที่ป่าหิมวันต์ ได้พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ซึ่งเสด็จเข้าไปหาจึงได้ลาดตั่งที่
ทำด้วยแก้วถวายแล้ว ได้ยืนอยู่แล้ว ท่านได้นำเอาขนมกุมมาส และผล
หว้ามาถวาย แด่พระพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งบนเครื่องสาดนั้น เพื่อจะให้
เขามีใจเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสวยผลไม้นั้น ความแปลกกันมี
เพียงเท่านี้นั้นแล.
จบอรรถกถาเหมกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 986
โตเทยยเถรปทานที่ ๘ (๔๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
[๔๑๐] ในกาลนั้น (เราเห็น) พระราชพระนามว่าวิชิตชัย เป็นผู้
กล้า ทรงถึงพร้อมด้วยความกล้าใหญ่ ประทับอยู่ในท่ามกลาง
พระนครเกตุมดีอันอุดม.
ในกาลนั้น เมื่อพระราชาพระองค์นั้นประมาท โจรผู้
ประทุษร้ายแว่นแคว้นก็ตั้งขึ้น และโจรผู้หยาบช้าทางทิศเหนือ
ก็กำจัดแว่นแคว้น.
เมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระราชาจึงสั่งให้พลรบและ
ทหารรักษาพระองค์ประชุมกัน รับสั่งให้ใช้อาวุธบังคับข้าศึก.
ในกาลนั้น พลช้าง พลม้า ทหารเสื้อเกราะผู้กล้าหาญ พล
ธนูและพลรถมาประชุมกันทั้งหมด พวกพ่อครัว พนักงาน
เครื่องต้น พนักงานสรงสนาน ช้างดอกไม้ผู้กล้าหาญ เคย
ชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
พวกชายฉกรรจ์ผู้ถือดาบ ถือธนู สวมเกราะหนัง เป็น
คนแข็งกล้าเคยชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
ช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง มีอายุ ๖๐ ปี มีสายประคน
พานหน้าพานหลัง และเครื่องประดับล้วนทอง มาประชุมกัน
ทั้งหมด.
นักรบอาชีพ อดทนต่อหนาว ร้อน อุจจาระ ปัสสาวะ มี
กรรมอันทำเสร็จแล้ว มาประชุมกันทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 987
ทหารเหล่านั้นยินดีด้วยเสียงสังข์ เสียงกลองและด้วย
เสียงแตกตื่น มาประชุมกันทั้งหมด.
ทหารเหล่านั้นตีกันด้วยหลาว หอก แหลน ธนู และ
ตรีศูล (สามง่าม) ล้มลงรวมกันทั้งหมด.
ในกาลนั้น เราสวนเกราะแล้ว สั่งให้จับพลรบ หกหมื่น
พร้อมทั้งพระราชาผู้พ่ายแพ้ขึ้นเสียบหลาว.
พลรบเหล่านั้นพากันส่งเสียงร้องว่า พุทโธ่ พระราชา
อาธรรม์ เมื่อถูกไฟไหม้อยู่ในนรก เมื่อไรจักมีที่สุด.
ในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอน ย่อมเห็นไฟนรก เรา
นอนไม่หลับตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง พวกนายนิริยบาลขู่เรา
ด้วยหลาว.
(เราคิดว่า) ความมัวเมารัชสมบัติ สัตว์พาหนะ และ
พลรบจะเป็นประโยชน์อะไร สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถทรงไว้ได้
ย่อมยังเราให้สะดุ้งทุกเมื่อ.
บุตร ภรรยา และรัชสมบัติทั้งสิ้น จะเป็นประโยชน์อะไร
แก่เรา ถ้าเช่นนั่น เราพึงบวช พึ่งชำระทางแห่งคติ.
เราไม่มีความห่วงใย ปล่อยช้างมาตังคะ หกหมื่นเชือก
อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีรัตนประคนพานหน้า
พานหลัง เครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนเป็นทอง อัน
ควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอประจำคอ ไว้ที่ในสนามรบ
เร่าร้อนด้วยกรรมของตน จึงออกบวชเป็นบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 988
เราทิ้งม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด หกหมื่นม้า อัน
ประกอบด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นพาหนะวิ่งเร็ว อันนาย
น้ำมือถือธนูสวมเกราะหนัง ขึ้นประจำหลังเสียทั้งหมดแล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต.
เราสละรถ หกหมื่นคัน อันประดับด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวง หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองบ้าง ด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง
สอดเครื่องรบมีธงปักไว้หน้ารถ ทั้งหมดนี้แล้ว บวชเป็น
บรรพชิต.
เราทิ้งแม่โคนม หกหมื่นตัว อันรองน้ำนมด้วยขันสำริด
ทั้งหมดเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เราสละหญิง หกหมื่นคน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการ
ทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล
มีหน้าเบิกบาน ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง
ทุกคนคร่ำครวญอยู่แล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เราทิ้งบ้าน หกหมื่นหลัง อันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง
ซึ่งเป็นรัชสมบัตินั้นเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เราออกจากพระนครแล้ว เข้ารูปสู่ภูเขาหิมวันต์ ได้สร้าง
อาศรมไว้ ณ ที่ใกล้แม่น้ำภาคีรสี.๑
ทำกรรณศาลาเสร็จแล้ว ทำเรือนสำหรับบูชาไฟ เรา
ปรารถนาความเพียรมีใจแน่วแน่ อยู่ในอาศรม.
๑. ภาคีรถี แม่น้ำคงคา อภิธาน. ๖๘๑/๑๙๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 989
เมื่อเราเพ่งฌานอยู่ในมณฑปก็ดี ที่โคนไม่ก็ดี ในเรือน
ว่างก็ดี ความสะดุ้งย่อมไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นภัยที่น่าหวาด
กลัวเลย.
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้เลิศ
กอปรด้วยพระกรุณา เป็นมุนี ทรงยังแสงสว่างแห่งญาณให้
โชติช่วง เสด็จอุบัติในโลก.
โดยรอบอาศรมของเรา มียักษ์ ( เทวดา) ผู้มีฤทธิ์อยู่
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐอุบัติชั้นแล้ว ยักษ์บอกกะเราใน
กาลนั้นว่า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้มีพระจักษุ เสด็จ
อุบัติแล้วในโลก ทรงยังหมู่สัตว์ทั้งปวงให้ข้าม แม้ท่าน
พระองค์ก็จักทรงให้ข้ามได้.
ขณะนั้นเราฟังคำของยักษ์แล้วมีความสลดใจ คิดอยู่ว่า
พุทโธ พุทโธ เก็บอาศรมไว้ ทิ้งฟืนสำหรับบูชาไฟ และ
เก็บสันถัต ไหว้อาศรมแล้ว ออกจากป่าใหญ่.
เราถือเอาไม้จันทน์จากที่นั้น จากบ้านนี้ไปบ้านโน้น จาก
เมืองนี้ไปเมืองโน้น แสวงหาพระพุทธเจ้าอยู่ ได้เข้าไปเฝ้า
พระองค์.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของ
โลก ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ตรัสรู้อยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 990
เราประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า กระทำวันทนาการ
ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เมื่อต้นมะลิซ้อนดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปในที่ใกล้ ข้าแต่
พระวีรเจ้า พระองค์มีกลิ่นคือคุณ หอมขจรไปทั่วทิศ.
เมื่อต้นจำปา ต้นกระถิ่นพิมาน ต้นอุโลก ต้นการะเกด
และต้นรังกำลังดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม.
ข้าพระองค์สูดกลิ่นของพระองค์จากภูเขาหิมวันต์มาจนถึง
ที่นี่ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก ทรงมียศมาก
ข้าพระองค์ขอบูชาพระองค์.
เราไล้ทาพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของโลก
ด้วยแก่นจันทน์อันประเสริฐ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว
ได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ เชษฐบุรุษของโลก
ผู้ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้
ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดสรรเสริญคุณของเรา และได้บูชาเราด้วยแก่นจันทน์
เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจึงฟังเรากล่าว
ผู้นี้จักเป็นผู้กล่าวถ้อยคำที่ควรเชื่อถือได้ เป็นพรหม เป็น
ผู้ซื่อตรง มีตบะ จักมีรัศมีอันสว่างไสวตลอด ๒๕ กัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 991
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอค ๒๖,๐๐๐ กัป จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ก็ได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๓ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
คนผู้นี้จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์
ประกอบด้วยบุญกรรม จักเป็นบุตรพรหมณ์.
จักได้เป็นศิษย์ของพราหมณ์ชื่อว่าพาวรี ผู้เล่าเรียนทรง
จำมนต์ ถึงที่สุดแห่งไตรเพท ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ.
จักเป็นผู้รู้จบมนต์ จักได้เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า โคดมศากยบุตร.
ได้ทูลถามปัญหาอันละเอียด ยังใจให้โสมนัส กำหนดรู้
อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
เราดับไฟ ๓ กองได้สิ้นแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 992
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโตเทยยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโตเทยยเถราปทาน
๔๐๘. อรรถกถาโตเทยยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระโตเทยยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ วิชโย
นาม ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาสิ วิชโย นาม ความว่า ตั้งแต่
เวลาเป็นหนุ่ม คือ ตั้งแต่เวลาที่ชนะสงครามทุกอย่าง ได้เป็นพระราชา
พระนามว่า วิชัย เพราะทรงทำประชาชนให้ยินดี คือให้ติดใจ ด้วยสังคห-
วัตถุ ๔ ประการแล. บทว่า เกตุมตีปุรุตฺตเม ความว่า ธงแผ่นผ้า
ท่านเรียกว่า เกตุ, อีกความหมายหนึ่ง เสาหลักอันมีค่ามากดุจรัตนะ ที่
เขายกขึ้นปักไว้ตรงท่ามกลางพระนคร เพื่อให้พระนครสวยงาม ธงเหล่า
นั้น เขายกขึ้นเป็นประจำ สวยงาม ย่อมมีแก่เนืองนั้น เหตุนั้น จึงชื่อ
ว่า เมืองเกตุมดี. ชื่อว่า ปุร เพราะทำใจของประชาชนทั้งหมดให้เต็ม
อิ่มด้วยทรัพย์และธัญชาติ เกตุมตีศัพท์ ๑ ปุระนั้นศัพท์ ๑ และอุตตมะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 993
ศัพท์ที่หมายความว่าประเสริฐศัพท์ ๑ รวมกันเป็น เกตุมตีปุรุตฺตม. ใน
ท่ามกลางพระนครเกตุมดีอันอุดมนั้น. บทว่า สุโร วิกฺกมสมฺปนฺโน เชื่อม
ความว่า พระราชาพระนามว่า วิชัย ทรงเป็นผู้กล้าหาญ สมบูรณ์ด้วย
พระวิริยภาพ ประทับอยู่แล้ว เรื่องที่พระราชาทรงละทิ้งเมืองที่เป็นเช่นนี้
วัตถุและพาหนะทั้งหมด เข้าป่าหิมวันต์ บวชเป็นฤาษีอยู่ ได้พบเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ เกิดความโสมนัสใจ ทำการบูชา
ด้วยไม้จันทร์ นี้เท่านั้นเป็นเรื่องที่แปลกกัน.
จบอรรถกถาโตเทยยเถราปทาน
ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ (๔๐๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระพุทธองค์
[๔๑๑] ในกาลนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐีอยู่ในนครหังสวดี เพียบ
พร้อมแวดล้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้งหลาย.
ในกาลนั้น เราขึ้นอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ใช้สอยโภค-
สมบัติมากมาย แวดล้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในปราสาท
นั้น.
นักดนตรีอันประกอบด้วยเครื่องประโคมอย่างดีมาประโคม
เรา หญิงทั้งปวงบำเรอมา นำเอาใจของเราไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 994
นักเจลาวกา นักวามนิกา กุญชวาสีหิมัชฌิตา๑ นักห้อย-
โหน นักจำอวด ย่อมแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
คนเฝ้ายาม คนตีกลอง นักเต้นรำ นักฟ้อนรำ ละคร และ
พวกดีดสีตีเป่าเป็นอันมาก แวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
นายภูษามาลา คนรับใช้เมื่ออาบน้ำ พ่อครัว ช่างดอกไม้
สุปาสกา ช่างกัลบกและนักมวย ทั้งหมดแวดล้อมเราอยู่ทุก
เมื่อ.
เมื่อคนเท่านั้นแสดงกีฬาอยู่ เมื่อเราชื่นชมการบำเรอที่
คนเหล่านั้นทำ เราย่อมไม่รู้คืนและวัน เปรียบเหมือนพระ-
อินทร์ในดาวดึงส์.
คนเดินทาง คนกำพร้า คนขอทาน นักสู้ (นักเที่ยว)
เป็นอันมาก ย่อมเข้ามาของเราจนถึงเรือนเป็นนิตย์.
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นบุญเขตอย่างยิ่ง เมื่อ
จะยังบุญของเราให้เจริญ ย่อมมาจนถึงเรือนเรา.
พวกนิครนถ์นุ่งผ้าลฏุกา เอาดอกไม้กรองนุ่ง ถือไม้ ๓ อัน
ขมวดผมรวมกัน ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
พวกอาชีวกถอนผม ถือว่าตนประเสริฐ เกลือกลั้วด้วย
ละอองธุลีเหล่านี้ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
๑. ม. กุญฺชวาสี ติมชฺฌิกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 995
ปริวตฺตกา สิทฺธิปตฺตา โกธปุคฺคนิกา พหู ตปสี วนจารี
จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
คนตาบอด คนทมิฬ สากุฬา มลยาฬกา สวรา โยนกา
เจว ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
คนฺธกา มุณฺฑกา สพฺเพ กุฏฺลา สานุวินฺทกา อาราว-
จีนรฏฺา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
อลสนฺทกา ปลฺลวกา ปพฺพตานคฺคมารุหา พาหิกา เจต-
ปุตฺตา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
ชาวมธุรรัฐ ชาวโกศลรัฐ ชาวกาสี ชาวหัตถิบุรี ชาว-
อิสินทรัฐ ชาวมักกลรัฐ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
เจลาวกา อารมฺพา จ โอภาสา เมฆลา พหู ขุทฺทกา
สุทฺทกา เจว ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
โรหกา สินฺธวา เจว จิตฺตกา เอกกณฺณิกา สุรฏฺา
อปรนฺตา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
ช่างสาน ช่างหูก ช่างหนัง ช่างถาก คนงาน และ
ช่างหม้อ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
ช่างแก้ว ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างเย็บผ้า และช่างดีบุก
ทั้งหมดนั้น ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 996
ช่างศร ช่างกลึง คนรับใช้ส่งของ ช่างปรุงของหอม
ช่างย้อม และช่างชุน ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
คนขายน้ำมัน คนหาฟืน คนหาบน้ำ คนรับใช้ คนหุงต้ม
คนตักน้ำ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
คนเฝ้าประตู ทหารช่างกรองดอกไม้ คนทิ้งดอกไม้
ควาญช้าง คนเลี้ยงช้าง ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.
เราได้ถวายแด่พระราชาพระนามว่า อานันทะ ทุกอย่าง
เรายังความพร่องด้วยรัตนะมีวรรณะ ประการให้เต็ม.
คนทั้งหมดมากด้วยกัน มีวรรณะต่างกันเหล่าใด ที่เรา
ตั้งไว้แล้ว เรารู้จิตของคนเหล่านั้นแล้ว ให้เขาอิ่ม (พอใจ)
แม้ด้วยรัตนะ.
เมื่อดนตรีมีเสียงไพเราะบรรเลงอยู่ เมื่อกลองดังก้องอยู่
เมื่อสังข์เขาเป่าอยู่ เรารื่นรมย์อยู่ในเรือนของตน.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระองค์ผู้มีจักษุ พร้อมด้วยภิกษุขีณาสพประมาณแสนรูป
เสด็จดำเนินรูปตามถนนด้วยกัน ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่าง
โชติช่วง เหมือนต้นไม้ประจำทวีป.
เมื่อพระองค์ผู้นำของโลกกำลังเสด็จไป กลองทั้งปวง
ยังดังก้องอยู่ รัศมีของพระองค์สว่างไสวดุจพระอาทิตย์อุทัย
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 997
ขณะนั้น แสงสว่างจ้าส่องเข้ารูปภายในเรือนของเรา ด้วย
พระรัศมีที่ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่าง เราเห็นพระรัศมีของ
พระพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวกะพวกบริษัทว่า พระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐสุด เสด็จมาถึงถนนนี้แน่แล้ว.
เรารีบลงจากปราสาทแล้ว ได้รูปสู่ระหว่างถนน ถวาย
บังคมพระสัมพุทธเจ้า รู้ทราบทูลดังนี้ว่า
ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอนุเคราะห์
ข้าพระองค์ พระมุนีพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระอรหันต์แสน
รูป ทรงรับนิมนต์.
ครั้นเรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้นำพระองค์มาสู่
เรือนของตน อังคาสพระมหามุนีให้ทรงอิ่มหนำ ด้วยข้าวและ
น้ำในเรือนนั้น.
เรารู้เวลาที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่ กำลังเสวย
ได้บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยการขับร้องและดนตรี.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งอยู่ภายในเรือน ได้ตรัสพระ
คาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดบำรุงเราด้วยดนตรี และได้ถวายข้าวน้ำแก่เรา เราจัก
พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว คนผู้นี้จักเป็นผู้
มีอาหารมากมาย มีเงิน มีโภชนะ เสวยรัชสมบัติผู้เดียวใน
ทวีปทั้งสี่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 998
จักสมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐ ครั้นสมาทานแล้ว
ก็ประพฤติ ยังบริษัทให้ศึกษา.
สตรีสาวแสนคน อันประดับประดาสวยงาม จักบรรเลง
ดนตรีบำเรอผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบำรุง.
ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น
จอมเทวดา เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๖๔ ครั้ง.
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า
ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม
จักทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากรา เสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักมีโภคะ
ไม่บกพร่อง.
จักเป็นผู้เล่าเรียน รู้จบไตรเพท จักเที่ยวแสวงหา
ประโยชน์อันสูงสุดอยู่ในแผ่นดินในกาลนั้น.
และภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จัก
ยินดียิ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม.
ผู้นี้จักยังพระสัมพุพธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้
โปรดปราน เผากิเลสทั้งหลายแล้ว จักได้เป็นพระอรหันต์.
วันนี้ เราเป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามอยู่ในศาสนาของพระศากย-
บุตร เปรียบเหมือนพญาเสือโคร่ง และพญาไกรสรราชสีห์
ในป่าใหญ่ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 999
เราไม่เห็นการบังเกิดของเราในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลก
ก็ดี เป็นคนยากจนหรือเข็ญใจเลย นี้เป็นผลแห่งการบำรุง.
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดกิเลส
เครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนขึ้นรู้ทั้งหมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระชตุกัณณิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบชตุกัณณิกเถราปทาน
๔๐๙. อรรถกถาชตุกัณณิกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระชตุกัณณิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร
หสวติยา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1000
ในเรื่องนั้น ท่านเป็นบุตรของเศรษฐี การได้อยู่ในสุวรรณ-
ปราสาท การได้อยู่เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ การได้รู้ถึงศิลปะทุกอย่าง
ของผู้อยู่ในทุกถิ่น และการมาคบหาสมาคมกัน (ทั้งหมด) จัดว่าเป็น
ความแปลกกันแล.
จบอรรถกถาชตุกัณณิกเถราปทาน
อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ (๔๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัวบาน
[๔๑๒] ภูเขาชื่อปทุม ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ เราทำ
อาศรม สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้ใกล้ภูเขาปทุมนั้น.
ที่ใกล้ภูเขานั้น มีแม่น้ำท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ น้ำ
ใสแจ๋ว เย็นจืดสนิท น้ำไหลอยู่เป็นนิตย์.
ในกาลนั้น ปลาฉลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า
และปลาตะเพียน อยู่ในแม่น้ำ ย่อมทำแม่น้ำให้งาม.
ดาดาษไปด้วยต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นกุ่ม ต้นหมากเม่า
ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
ต้นปรู ต้นมะกล่ำหลวง ต้นกระทุ่ม ต้นกาหลง ดอกกำลัง
บาน กลิ่นหอมฟุ้งไป ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
ต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม หตฺถปาตา๑ จ กำลังดอกบาน
กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
๑. ม. อฏฺงฺคาปิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1001
ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นนะม่วง ต้นหว้า ต้นสมอ-
พิเภก ต้นพุทรา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม มีผลมากอยู่ใกล้อาศรม
ของเรา.
ต้นอ้อย ต้นกล้วย กำลังผลิดอกออกผลใกล้อาศรมของเรา
นั้น ไม้กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ต้นอโสก ต้นวรี และต้นสะเดา กำลังดอกบานกลิ่นหอม
ตลบหอมอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ต้นมะนาว ต้นมะงั่ว ต้นดีหมี มีดอกบาน หอมตลบอบอวล
ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ไม้ยางทราบ ต้นคณฑีเขมา และต้นจำปา มีดอกบาน
กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ในที่ไม่ไกลมีสระบัว มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่ ดา-
ดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวง และอุบล มีน้ำใสแจ๋ว
เย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ น้ำใสสะอาด
เสมอด้วยแก้วผลึก ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ในสระนั้น บัวหลวง บัวขาว บัวอุบล บัวขม และ
บัวเผื่อน ดอกบานสะพรั่ง ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.
ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า และปลา
ตะเพียนว่ายอยู่ในสระนั้น ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
จระเข้ ปลาฉลาม เต่า คหา โอคหา และงูเหลือมเป็น
อันมาก ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1002
นกพิราบ นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด
และนกสาลิกา ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.
มะม่วงหอมน่าดุ ต้นลำเจียก ดอกกำลังบาน มีกลิ่นหอม
อบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หมาป่า หมาใน สัญจรอยู่ในป่าใหญ่ ย่อม
ทำอาศรมของเราให้งาม.
ฤๅษีทั้งหลาย (เกล้าผมเป็นเซิง) สวมชฎา มีหาบเต็ม
นุ่งห่มหนังสัตว์ สัญจรอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมทำอาศรมของเรา
ให้งาม.
บางพวกทรงหนังเสือ มีปัญญา มีความประพฤติสงบ และ
บริโภคอาหารแต่น้อย ทั้งหมดนั้น ย่อมทำอาศรมของเรา
ให้งาม.
ในกาลนั้น ฤๅษีทั้งหลายเอาหาบใส่บ่าเข้าสู่ป่า กินเหง้า
มันและผลไม้ อยู่ในอาศรมในกาลนั้น.
ฤๅษีเหล่านั้นรู้ต้องนำฟืนมา น้ำสำหรับล้างเท้าก็ไม่ต้อง
นำมา ด้วยอานุภาพแห่งฤๅษีทั้งปวง ฟืนและน้ำย่อมนำตัว
มาเอง.
ฤๅษี ๘๔,๐๐๐ ตน ประชุมกันอยู่ในอาศรมนั้น ทั้งหมด
นี้เป็นผู้เพ่งฌาน แสวงหาประโยชน์อันสูงสูด.
ฤๅษีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์ ตักเตือน
กันและกัน เป็นผู้แน่นแฟ้น เหาะไปในอากาศได้ทุกคน อยู่
ในอาศรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1003
ประชุมกันทุก ๕ วัน ไม่ระส่ำระสาย มีความประพฤติ
สงบระงับ อภิวาทกันและกันแล้ว จึงบ่ายหน้ากลับไปตามทิศ
(ที่ตนอยู่).
ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบ
ธรรมทั้งปวง พระองค์เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดโดยรอบ
อาศรมของเรา.
มียักษ์ (เทวดา) ผู้มีฤทธิ์อยู่ ยักษ์ตนนั้นได้บอกข่าว
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระแก่เราว่า พระพุทธเจ้า
องค์นี้พระนามว่า ปทุมุตตระ เป็นมหามุนี เสด็จอุบัติแล้ว
จงรีบไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าเถิด ท่านผู้เนียรทุกข์.
เราได้ฟังคำของยักษ์แล้วมีใจเลื่อมใสยิ่งนัก เก็บอาศรม
แล้ว ออกจากป่าใหญ่ในขณะนั้น.
เมื่อไฟกำลังไหม้ผ้าอยู่ เราออกจากอาศรม พักอยู่กลาง
ทางคืนหนึ่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ แสดง
อมตบทอยู่.
เราถือดอกปทุมอันบานเต็มที่ เข้ารูปเฝ้าพระองค์แล้ว มี
จิตเลื่อมใสโสมนัส ถวายบังคมพระพุทธเจ้า บูชาพระสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ แล้วเอาหนังสัตว์ห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง สรรเสริญพระองค์ผู้นำของโลกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1004
พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ประทับนั่งอยู่ที่นี้ ด้วยพระ-
ญาณใด เราจักสรรเสริญพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา
กล่าว
พระสัมพุทธเจ้าทรงตัดกระแสสงสารแล้ว ทรงยังสรรพ-
สัตว์ให้ข้าม สรรพสัตว์นั้นฟังธรรมของพระองค์แล้ว ย่อม
ข้ามกระแสตัณหาได้.
พระองค์เป็นศาสดา เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็นที่ยึดหน่วง
เป็นที่พึ่ง และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย สูงสุดกว่าสัตว์.
คณาจารย์ผู้นำหมู่ประมาณเท่าใด ที่ท่านกล่าวในโลก
พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเลิศกว่าคณาจารย์เหล่านั้น คณาจารย์
เหล่านั้นนับเป็นภายในของพระองค์.
พระองค์ผู้มีปัญญา ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น
ด้วยพระญาณของพระองค์ หมู่ชนอาศัยการได้เฝ้าพระองค์
แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ คันธชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่งหอมฟุ้ง
ไปในโลก ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นนาบุญ คันธชาติเหล่านั้น
ที่จะเสมอด้วยกลิ่นหอมของพระองค์ไม่มี.
พระองค์ผู้มีจักษุ ขอจงทรงเปลื้องกำเนิดดิรัจฉาน นรก
พระองค์ทรงแสดงบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สงบระงับ.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1005
สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้บูชาญาณของเรา ด้วยมือทั้งสอง
ของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
เราเป็นผู้ได้ลาภอันได้ดีแล้ว เรายังพระพุทธเจ้าผู้มีวัตร
งานให้ทรงโปรด กำหนดอาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี
อาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว
ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ
มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุเทนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอุเทนเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 1006
๔๑๐. อรรถกถาอุเทนเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระอุเทนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสา-
วิทูเร ดังนี้
ในเรื่องนั้น ท่านได้บวชเป็นพระดาบส อาศัยภูเขาปทุมใกล้ป่า
หิมวันต์อยู่ ได้ถือเอาดอกปทุมมาบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็น
ความแปลกกันแล คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล
จบอรรถกถาอุเทนเถราปทาน
จบอรรถกถาเมตเตยยวรรค ที่ ๔๑
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน ๒. ปุณณกเถราปทาน ๓. เมตตคู-
เถราปทาน ๔. โธตกเถราปทาน ๕. อุปสีวเถราปทาน ๖. นันทก-
เถราปทาน ๗. เหมกเถราปทาน ๘. โตเทยยเถราปทาน ๙. ชตุกัณณิก-
เถราปทาน ๑๐. อุเทนเถราปทาน และในวรรคนี้มีคาถา ๓๘๓ คาถา.
จบเมตเตยยวรรคที่ ๔๑