ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อปทาน

เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๑

ตอนที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พุทธวรรคที่ ๑

๑. พุทธาปทาน

ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

[๑] พระอานนท์ เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูล

ถามพระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารว่า ได้ทราบว่า

พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีอยู่หรือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้น

เป็นนักปราชญ์ได้เพราะเหตุอะไร.

ในกาลนั้น พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหา

คุณใหญ่ ได้ตรัสกะพระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงอัน

ไพเราะว่า ชนเหล่าใดได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้า

ทุกพระองค์ ผู้ไม่ได้ความหลุดพ้นกิเลสในศาสนาของพระ-

ชินเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

โดยที่มีพระสัมโพธิญาณนั้นนั่นแลเป็นประธาน มีพระ-

อัธยาศัยอันเข้มแข็ง มีพระปัญญาแก่กล้า อาจบรรลุความ

เป็นพระสัพพัญญูได้ ด้วยเดชแห่งพระปัญญา.

แม้เราก็ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในพระพุทธเจ้า

แต่ปางก่อนทั้งหลาย บารมี ๓๐ ถ้วน ที่จะให้เป็นพระธรรม.

ราชา เราก็ได้บำเพ็ญมานับไม่ถ้วน.

เราประนมนิ้วทั้ง ๑๐ นมัสการพระโลกนายก พร้อมทั้ง

พระสงฆ์ กราบไหว้พระสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐด้วยเศียรเกล้า.

ในพุทธเกษตรทั้งหลาย มีรัตนะทั้งที่อยู่ในอากาศและอยู่

บนภาคพื้นแผ่นดินมีประมาณเท่าใด ที่ใจจะนึกนำมาได้ ทั้ง-

หมด ณ ภาคพื้นอันมีรูปิยะมีประมาณเท่านั้น.

เราได้สร้างปราสาทอันล้วนแล้วด้วยรัตนะสูงจรดฟ้า ตลอด

ภาคพื้นมิใช่น้อย

ซึ่งมีเสาอันวิจิตรงดงาม สร้างจัดจำแนกไว้อย่างดีมีค่า

มาก ซึ่งมีคันทวยหาด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกะเรียน

และฉัตร.

พื้นชั้นแรกเป็นแก้วไพฑูรย์งดงามปราศจากไฝฝ้าคือมลทิน

เกลื่อนกลาดด้วยกอบัวหลวง มีพื้นทองคำอย่างดี.

พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬเป็นกิ่งก้านน่ายินดี สีแดง

งดงาม เปล่งรัศมีดังสีแมลงค่อมทองสว่างไสวไปทั่วทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

มีหน้ามุข ประตู หน้าต่าง จัดไว้อย่างดี มีไพที ๔ ชั้น

มีชวาลา มีพวงอุบะหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

บางชั้น มีสีเขียว เหลือง แดง ขาว และดำล้วน

ประกอบด้วยเรือนยอดประดับด้วยรัตนะ ๗.

มีปทุมบานสะพรั่ง งดงามด้วยเนื้อและนก ดารดาษด้วย

ดาวนักษัตร ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์.

ปกคลุมด้วยตาข่ายทองคำ ห้อยย้อยด้วยกระดิ่งทองคำ

ตาข่ายทองคำน่ารื่นรมย์ใจ เปล่งเสียงได้ด้วยแรงลม.

มีหน้าต่างงดงามด้วยสีต่าง ๆ คือสีชมพู สีแดง สีเหลือง

และสีทอง มีธงปักไว้เป็นทิวแถว

แผ่นกระดานต่าง ๆ มากมายหลายร้อย ทำด้วยเงิน ทำ

ด้วยแก้วมณี ทับทิม และทำด้วยแก้วลาย วิจิตรด้วยที่นอน

ต่าง ๆ ปูด้วยผ้าจากแคว้นกาสีเนื้อละเอียด.

มีผ้าห่มสีเหลืองทำด้วยผ้ากัมพล ผ้าทุกุลพัสตร์ ผ้าเมือง

จีน ผ้าเมืองปัตตุณณะ เราปูเครื่องลาดทุกชนิดด้วยใจ. ใน

ชั้นนั้น ๆ ประดับยอดด้วยรัตนะ มีคนยืนถือประทีปแก้วสว่าง

ไสว.

มีเสาระเนียด เสาซุ้มประตู ทำด้วยทองชมพูนุท ทำด้วย

ไม้แก่น และทำด้วยเงิน.

มีที่ต่อหลายแห่งจัดไว้เรียบดี วิจิตรด้วยบานประตูและ

กลอน ทำปราสาทให้งดงามอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

สองข้างปราสาทมีกระถางน้ำเต็มเปี่ยมหลายกระถาง ปลูก

ปทุมและอุบลไว้.

เรานิรมิตพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้เป็นนายกของโลกทุก

พระองค์ พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ด้วยวรรณะและรูปตามปกติ.

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พร้อมทั้งพระสาวกเสด็จเข้า และ

เข้าไปทางประตูนั้น. หมู่พระอริยเจ้านั่งบนตั่งอันล้วนแล้วด้วย

ทองคำล้วน ๆ.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีอยู่ในบัดนี้ก็ดี

ที่ล่วงไปแล้วก็ดี ที่จะมีมาก็ดี ทุกพระองค์ได้ขึ้นปราสาทของ

เรา.

พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ผู้ไม่พ่ายแพ้

ทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งหมด ได้ขึ้นปราสาทของเรา.

มีต้นกัลปพฤกษ์มากมายทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของ

มนุษย์ เรานำเอาผ้าทุกอย่างจากต้นกัลปพฤกษ์นั้นนาทำจีวร

ให้ท่านเหล่านั้นครอง.

ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้ำและข้าวมีสมบูรณ์ เรา

รสอาหารเต็มบาตรงาม อันล้วนแล้วด้วยแก้วมณีแล้วถวาย.

พระอริยเจ้าทั้งหลายครองผ้าทิพย์ ครองจีวรเนื้อเกลี้ยง

อิ่มหนำสำราญ ด้วยน้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

มีรสหวานฉ่ำ และด้วยข้าวปายาส.

หมู่พระอริยเจ้าผู้อิ่มหนำด้วยข้าวปายาสแล้วเข้าห้องแก้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอันควรค่ามาก ดังไกรสรราชสีห์

นอนในถ้ำที่อยู่ฉะนั้น.

มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวอยู่ สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนแล้ว

ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิบนที่นอน.

เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌาน อันเป็นโคจรของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บางพระองค์แสดงธรรม บางพระองค์

แผลงฤทธิ์ บางพระองค์เข้าอัปปนาฌาน และบางพระองค์

เจริญอภิญญาวสี.

ฝ่ายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แผลงฤทธิ์เป็นหลายร้อยหลาย

พันองค์ ถามอารมณ์คือพระสัพพัญญุตญาณกะพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ท่านเหล่านั้น ตรัสรู้ฐานะอันละเอียดลึกซึ้งด้วย

ปัญญา.

พระสาวกทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามพระ-

สาวก. ท่านเหล่านั้นคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระสาวกผู้เป็นศิษย์ ต่างถามกันและกัน ต่างพยากรณ์

กันและกัน. ท่านเหล่านั้นยินดีอยู่ด้วยความยินดีอันนี้ อภิรมย์

อยู่ในปราสาทของเรา มีฉัตรซ้อน ๆ กันซึ่งมีสีเปล่งปลั่งดัง

แก้วไพฑูรย์ตั้งอยู่.

ทุก ๆ องค์ทรงฉัตรอันห้อยย้อยด้วยข่ายทอง ขจิตด้วย

ข่ายเงิน แสดงด้วยข่ายมุกดา บนพระเศียร. มีเพดานผ้า

แวววาวด้วยดาวทอง ห้อยพวงมาลัยไว้ทั้งงดงามตระการตา

ทุก ๆ พระองค์ทรงไว้เหนือพระเศียร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

มีพวงมาลัยเต็มไปหมด งดงามด้วยพวงของหอม เกลื่อน

กลาดด้วยพวงผ้า ประดับประดาด้วยพวงแก้ว.

เกลื่อนด้วยดอกไม้ งดงามยิ่งนัก อบด้วยของหอมที่น่า

ยินดี เจิมด้วยของหอม มุงด้วยเครื่องมุงอันเป็นทอง.

ในทิศทั้ง ๔ มีสระโบกขรณี เต็มด้วยปทุมและอุบล หอม

ตลบด้วยเกสรดอกปทุม ปรากฏดังสีทองคำ. ต้นไม้ทุกต้น

รอ ๆ ปราสาทออกดอก และดอกมันเองก็หล่นลงโปรย-

ปรายปราสาทของเรา.

ในปราสาทนั้น มีนกยูงรำแพนหาง หงส์ทิพย์ส่งเสียง

ร่ำร้อง และหมู่นกการวิกก็ขับขานอยู่โดยรอย.

กลองทุกอย่างดังขึ้นเอง พิณทุกชนิดก็ดีดขึ้นเอง เครื่อง

สังคีตทุกชนิดก็ขับขานไปรอบปราสาท.

บัลลังก์ทองใหญ่สมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่อง ล้วนแล้ว

ด้วยแก้ จงตั้งอยู่ในกำหนดพุทธเจ้าและในหมื่นจักรวาล

ต้นไม้ประจำทวีปก็ส่องแสงสว่าง เป็นต้นไม้สว่างไสวเป็น

อย่างเดียวกันสืบต่อกันไปตั้งหมื่นต้น.

หญิงเต้นรำ หญิงขับร้อง ก็เต้นรำขับร้องไป หมู่นาง

อัปสรผู้มีสีต่างๆ กัน ปรากฏอยู่รอบปราสาท.

เราให้ชักธงทุกชนิดมี ๕ สี งามวิจิตรไว้บนยอดไม้ ยอด

ภูเขา และบนยอดเขาสิเนรุ.

หมู่คน นาค คนธรรพ์ และเทวดาทุกองค์เข้ามา ท่าน

เหล่านั้นประนมมือไหว้แวดล้อมปราสาทอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

กุศลกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นกิริยาที่เราจะพึงกระทำ

ด้วยกาย วาจา และใจ กุศลกรรมนั้นเรากระทำแล้ว ได้

ไปในไตรทศ.

สัตว์เหล่าใดผู้มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม สัตว์

เหล่านั้นทั้งหมดจงเป็นผู้มีส่วนแห่งผลบุญที่เราได้กระทำแล้ว.

สัตว์เหล่าใดทราบบุญที่เรากระทำแล้ว เราให้ผลบุญแก่

สัตว์เหล่านั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอ

ทวยเทพจงไปบอกแก่สัตว์เหล่านั้นให้รู้.

ปวงสัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเป็นอยู่ทุกจำพวก ของได้

อาหารอันพึงใจ ด้วยใจของเรา.

เราให้ทานด้วยใจ เรายึดถือเอาความเลื่อมใสด้วยใจ เรา

บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ แล้วบูชาแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.

เพราะกรรมที่เรากระทำดีแล้วนั้น และเพราะการตั้งเจตนา

ไว้ เราละร่างกายมนุษย์แล้วได้ไปยังดาวดึงส์พิภพ.

เราย่อมรู้จักภพทั้งสอง คือความเป็นเทวดาและมนุษย์

ไม่รู้จักคติอื่นเลย นี้เป็นผลแห่งความปรารถนาด้วยใจ.

เราเป็นใหญ่กว่าเทวดา เป็นใหญ่ในมนุษย์ เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยรูปลักษณะไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา.

โภชนะต่าง ๆ อย่างประเสริฐ รัตนะมากมาย และผ้า

ชนิดต่าง ๆ ย่อมจากฟากฟ้าเข้ามาหาเราพลัน. เราชี้มือไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ และในป่า

อาหารทิพย์ย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา ในน้ำ และ

ในป่า รัตนะทุกอย่างย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ

และในป่า ของหอมทุกอย่างย่อมมาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ

ในน้ำ และในป่า. ยวดยานทุกชนิดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน

น้ำ และในป่า ดอกไม้ทุกชนิดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน

น้ำ และในป่า เครื่องประดับย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ

และในป่า ปวงนางกัญญาย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ

และในป่า น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรดย่อมเข้ามาหาเรา.

เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำ

และในป่า ของเคี้ยวทุกอย่างย่อมเข้ามาหาเรา.

เราให้ทานอันประเสริฐนั้นในคนไม่มีทรัพย์ คนเดินทาง

ไกล ยาจกและคนเดินทางเปลี่ยว เพื่อต้องการบรรลุพระ-

สัมโพธิญาณอันประเสริฐ.

เรายังภูเขาหินให้บันลืออยู่ ขังเขาอันหนาแน่นให้กระหึ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

อยู่ ยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริงอยู่ จะเป็น

พระพุทธเจ้าในโลก. ทิศทั้ง ๑๐ มีอยู่ในโลก ที่สุด ย่อมไม่มี

แก่ผู้ไปอยู่ ก็ในทิศาภาคนั้น มีพุทธเขตนับไม่ถ้วน.

รัศมีของเราปรากฏเปล่งออกเป็นคู่ ๆ ข่ายรัศมีมีอยู่ใน

ระหว่างนี้ เราเป็นผู้มีแสงสว่างมากมาย.

ปวงชนโลกธาตุมีประมาณเท่านี้จงเห็นเรา ปวงชน

ทั้งหมดจงมีใจดี จงอนุวัตรตามเราทั้งหมด.

เราตีกลองอมฤตมีเสียงบันลือไพเราะ สละสลวย ปวงชน

ในระหว่างนี้ จงได้ยินเสียงอันไพเราะของเรา.

เมื่อเมฆฝนคือธรรมตกลง ปวงชนจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

บรรดาชนเหล่านั้น สัตว์ผู้เกิดสุดท้ายภายหลัง จงได้เป็น

พระโสดาบัน.

เราให้ทานที่ควรให้ บำเพ็ญศีลโดยไม่เหลือ ถึงเนก-

ขัมมบารมีแล้วบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม เราสอบถาม

บัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่างสูงสุด ถึงขันติบารมีแล้ว

บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.

เรากระทำอธิษฐานมั่นคง บำเพ็ญสัจบารมี ถึงเมตตา-

บารมีแล้วบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม เราเป็นผู้สม่ำเสมอ

ในอารมณ์ทั้งปวง คือในลาภ ความไม่มีลาภ สุข ทุกข์

สรรเสริญ และการดูหมิ่น บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านโดยเป็นภัย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

เห็นความเพียรโดยเป็นความเกษม จงปรารภความเพียรเถิด

นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยเป็นภัย และเห็นความ

ไม่วิวาทโดยเป็นความเกษม จงสมัครสมานกัน กล่าววาจา

อ่อนหวานแก่กัน นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยเป็นภัย และเห็น

ความไม่ประมาทโดยเป็นความเกษมแล้ว จงเจริญอัฏฐังคิก-

มรรค นี้เป็นอนุสาสนีของพระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์มากมาย มาประชุมกันโดย

ประการทั้งปวง ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้พระพุทธเจ้าและ

พระอรหันต์ทั้งหลายเถิด.

ด้วยประการอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย

พระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย เมื่อบุคคล

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรมอันเป็นอจินไตย ย่อม

มีวิบากเป็นอจินไตยแล.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะให้พระอานนท์รู้พุทธจิตของ

พระองค์ จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อว่า พุทธาปทานิยะ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

พุทธาปาทานจบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

วิสุทธชนวิลาสินี

อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พุทธวรรคที่ ๑

คาถาเริ่มต้นพระคัมภีร์

ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด หาบุคคล

เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นสู่สาครคือไญยธรรม ผู้ข้ามสาคร

คือสงสารได้แล้ว ด้วยเศียรเกล้า. ขอไหว้พระธรรมอันยอด

เยี่ยมสงบละเอียดลึกซึ้ง เห็นได้แสนยาก อันกระทำภพน้อย

และภพใหญ่ให้บริสุทธิ์ ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าบูชาแล้ว ด้วย

เศียรเกล้า. ขอไหว้พระสงฆ์ผู้ปราศจากทุกข์ ไม่มีเครื่องข้อง

คือกิเลส ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลผู้สูงสุด มีอินทรีย์สงบ ผู้

ปราศจากอาสวะ ด้วยเศียรเกล้า. ด้วยการนอบน้อมพระรัตน-

ตรัยอันวิเศษซึ่งข้าพเจ้าได้ตั้งใจกระทำโดยพิเศษนั้น ข้าพเจ้า

อันพระเถระทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์ยิ่งกว่าปราชญ์ ผู้รู้อาคมคือ

พระปริยัติ ผู้เป็นวิญญูชนมียศใหญ่ ได้ขอร้องด้วยการเอื้อ

เฟื้อแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นพิเศษว่า ท่านขอรับ ท่านควรแต่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

อรรถกถาอปทาน ว่าด้วยเรื่องราวที่เคยประพฤติมาในกาล

ก่อน. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแสดงอรรถสังวรรณนา

อันงดงามแห่งอปทาน ว่าด้วยเรื่องราวที่เคยประพฤติมา

ในกาลก่อน ซึ่งแสดงข้อแนะนำอันพิเศษในพระไตรปิฎก

ที่ยังเหลืออยู่ตามนัยแห่งพระบาลีทีเดียว โดยกล่าวถึงด้วยวิธี

นี้ว่า เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าว กล่าวไว้ที่ไหน เมื่อไร

และเพื่ออะไร. เพราะฉะนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิทาน

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีนั้น ๆ อันแปลกจากกันตามที่

เกิดก่อนหลัง จะเป็นเครื่องทำให้การเล่าเรียนและทรงจำได้

ง่ายขึ้น.

ในชั้นเดิม เรื่องราวนั้นท่านรจนาไว้ในภาษาสิงหล และ

ในอรรถกถาของเก่า ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุ-

ชนต้องการ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยนัยตามอรรถกถาของ

เก่านั้น เว้นข้อความที่คลาดเคลื่อนเสีย ประกาศแต่เนื้อความ

ที่พิเศษออกไป จักกระทำการพรรณนาเนื้อความที่แปลกและ

ดีที่สุดแล.

นิทานกถา

ก็เพราะเหตุที่ได้ปฏิญาณไว้ว่า "เรื่องราวอันดีเยี่ยม ใครกล่าว

กล่าวไว้ที่ไหน และกล่าวไว้เมื่อไร" และว่า "ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนา

เนื้อความ" ดังนี้ การพรรณนาเนื้อความแห่งอปทานนี้นั้น เมื่อข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

แสดงนิทานทั้งสามนี้ คือ ทูเรนิทาน (นิทานในกาลไกล) อวิทูเรนิทาน

(นิทานในกาลไม่ไกล) สันติเกนิทาน (นิทานในกาลใกล้) พรรณนาอยู่

จักทำให้เข้าใจได้แจ่มเเจ้งดี เพราะผู้ฟังอปทานั้น เข้าใจแจ่มแจ้งมาแต่

เริ่มต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงจักแสดงนิทานเหล่านั้น แล้วจึงจะ

พรรณนาอปทานนั้นต่อไป.

บรรดานิทานนั้น เบื้องต้นพึงทราบปริเฉทคือการกำหนดขั้นตอน

ของนิทานเหล่านั้นเสียก่อน. ก็กถามรรคที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระมหาสัตว์

กระทำอภินิหาร ณ เบื้องบาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกรจนถึงจุติจากอัตภาพ

พระเวสสันดรบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน. กถามรรคที่

เล่าเรื่องตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่

ควงไม้โพธิ์จัดเป็นอริทูเรนิทาน. ส่วนสันติเกนิทาน จะหาได้ในที่นั้น ๆ

แห่งพระองค์เมื่อประทับอยู่ในที่นั้น ๆ แล.

ทูเรหิทานกถา

ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อว่าทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้

เล่ากันมาว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัปนับแต่ภัทรกัป

นี้ไป ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้น มีพราหมณ์ชื่อสุเมธ

อาศัยอยู่ เขามีกำเนิดมาดีทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา

มีครรภ์อันบริสุทธิ์นับได้เจ็ดชั่วตระกูล ใคร ๆ จะคัดค้านดูถูกเกี่ยวกับ

เรื่องชาติมิได้ มีรูปสวยน่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง

เขาไม่กระทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์เท่านั้น.

มารดาบิดาของเขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขายังรุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ผู้จัดการผลประโยชน์ของเขานำเอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องอันเต็ม

ด้วยทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น แล้วบอกให้ทราบถึง

ทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สินเท่านี้ เป็นของมารดา

เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวด แล้วเรียนว่า ขอท่านจง

ครอบครองทรัพย์สินมีประมาณเท่านี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า บิดาและปู่

เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว เมื่อไปสู่ปรโลกจะถือเอาแม้ทรัพย์

กหาปณะหนึ่งไปด้วยก็หามิได้ แต่เราควรจะทำเหตุที่จะถือเอาทรัพย์ไป

ให้ได้ ครั้นคิดแล้วเขาจึงกราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปใน

พระนคร ให้ทานแก่มหาชนแล้วบวชเป็นดาบส. ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความ

นี้แจ่มแจ้ง ควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้ ณ ที่นี้ด้วย. แต่สุเมธกถานี้นั้นมีมา

แล้วในพุทธวงศ์โดยสิ้นเชิงก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่ค่อยจะปรากฏชัดแจ้งนัก

เพราะมีมาโดยเป็นคาถาประพันธ์ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวสุเมธกถา

นั้น พร้อมทั้งคำที่แสดงคาถาประพันธ์ไว้ในระหว่าง ๆ ด้วย.

สุเมธกถา

ก็ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรอีกแสนกัป ได้มีพระนครได้

นามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ

ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า

ในสื่อสงไขยยิ่งด้วยกำไรแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า

อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ใจ สมบูรณ์ด้วยข้าว

และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ได้เป็นเมืองอึกทึกด้วยเสียงทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ เสียงช้าง เสียงม้า

เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์

เสียงสัมมตาล (ดนตรีชนิดหนึ่งทำด้วยไม้) และเสียงที่ ๑. ว่า เชิญกิน

เชิญดื่ม เชิญขบเคี้ยว. ก็ท่านถือเอาเพียงเอา เทศของเสียง ๑๐ ประการ

นั้นเท่านั้น แล้วกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์

เสียงรถ และเสียงเชิญด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญกิน เชิญดื่ม.

แล้วจึงกล่าวต่อไปว่า

พระนครอันสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกประการ เพียบ

พร้อมด้วยกิจการทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ขวักไขว่

ไปด้วยเหล่าชนนานาชาติ มั่งคั่งประหนึ่งเทพนคร เป็นที่อยู่

อาศัยของคนมีบุญ.

ในนครอมรวดี พราหมณ์นามว่า สุเมธ มีสมบัติสะสม

ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากหลาย เป็นผู้คงแก่

เรียน ทรงจำมนต์ได้ เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จใน

ลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และธรรมเนียมพราหมณ์

ของตน.

อยู่มาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้นอยู่ในที่ลับ ณ พื้นปราสาทชั้นบน

อันประเสริฐ นั่งขัดสมาธิคิดอยู่อย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ธรรมดาว่าการถือ

ปฏิสนธิในภพใหม่เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้ว ๆ

ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน อันตัวเราย่อมมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้

ความตายเป็นธรรมดา เราผู้เป็นอย่างนี้ ควรแสวงหาอมตมหานิพพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีทุกข์ มีความสุข เยือกเย็น

เป็นทางสายเดียวที่พ้นจากภพ มีปกตินำไปสู่พระนิพพาน จะพึงมีแน่นอน.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ตอนนั้น เราอยู่ในที่สงบนั่งคิดอย่างนี้ว่า การเกิดในภพ

ใหม่ และการแตกทำลายของสรีระเป็นทุกข์. เรานั้นมีความ

เกิด ความแก่ ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จักแสวงหาพระ-

นิพพาน อันไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม.

ไฉนหนอ เราพึงไม่เยื่อใย ไร้ความต้องการ ละทิ้งร่างกาย

เน่า ซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิดนี้เสีย แล้วไปเสีย

ทางนั้นมาอยู่ และจักมี ทางนั้น ไม่อาจเป็นเหตุหามิได้

เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพให้ได้.

ต่อแต่นั้น ก็คิดให้ยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุข

เป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์ ย่อมมีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่ แม้สิ่งที่ปราศจาก

ภพอันเป็นปฏิปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเมื่อความร้อนมีอยู่

แม้ความเย็นอันเป็นเครื่องสงบควานร้อนนั้น ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด แม้

พระนิพพานอันเป็นเครื่องสงบระงับไฟคือราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น

แม้ธรรมอันงดงาม ไม่มีโทษ เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปลามก

ก็ย่อมมีอยู่ ฉันใด เมื่อความเกิดอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือ

การไม่เกิด เพราะความเกิดทั้งปวงหมดสิ้นไป ก็พึงมี ฉันนั้น. เพราะ-

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า.

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้สุขก็ย่อมมี ฉันใด เมื่อภพมีอยู่

แม้ความไม่มีมีภพ ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่าง ก็ต้องมี ฉันใด

เมื่อไฟสามกองมีอยู่ แม้ความดับเย็น ก็พึงปรารถนาได้

ฉันนั้น.

เมื่อความชั่วมีอยู่ ความดีงาม ก็ต้องมี ฉันใด เมื่อความ

เกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็พึงปรารถนาได้ ฉันนั้น.

ท่านคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า บุรุษผู้ตกลงไปในหลุมคูถ. เห็นสระใหญ่

ดาดาษด้วยดอกปทุม ๕ สีแต่ไกล ควรแสวงหา (ทางไป) สระนั้นว่า

เราจะไปยังสระใหญ่นั้นทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็น

โทษผิดของสระไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระน้ำ

คือพระอมตมหานิพพานอันเป็นเครื่องชำระมลทิน คือกิเลส มีอยู่ การ

ไม่แสวงหาสระน้ำ คืออมมหานิพพานนั้น หาได้เป็นโทษผิดของสระน้ำ

คืออมตมหานิพพานไม่ เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือน

ดัน. อนึ่ง บุรุษถูกพวกโจรล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป

ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น

ฉันใด บุรุษผู้ถูกกิเลสทั้งหลายห่อหุ้มยึดไว้ เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่

ไปสู่พระนิพพานมีอยู่ แต่ไม่แสวงหาทาง หาเป็นโทษผิดของทางไม่ แต่

เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง บุรุษผู้ถูกพยาธิ-

เบียดเบียน เมื่อหมอผู้เยียวยาพยาธิมีอยู่ ถ้าไม่หาหมอให้เยียวยาพยาธินั้น

ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอไม่ แต่เป็นโทษผิดของบุรุษเท่านั้น ฉันใด

ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลสเบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางเป็น

ที่เขาไปสงบกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็นโทษผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

โทษผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษผู้ตกอยู่ในหลุมคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไปหา

สระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระไม่ ฉันใด เมื่อสระคือ

อมตะสำหรับเป็นเครื่องชำมลทินคือกิเลสมีอยู่ เขาไม่ไปหา

สระนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระคืออมตะไม่ ฉันนั้น

คนเมื่อถูกศัตรูรุมล้อม เมื่อทางหนไปมีอยู่ ก็ไม่หนีไป

ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่ ฉันใด คนที่ถูกกิเลสกลุ้มรุม

เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ ไม่ไปหาทางนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษ

ผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น.

คนผู้เจ็บป่วย เมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้หมอ

รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของหมอนั้นไม่

ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย คือกิเลสเบียดเบียน

แล้วไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของอาจารย์ผู้

แนะนำไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ท่านยังคิดข้ออื่นต่อไปอีกว่า คนผู้ชอบแต่งตัว พึงทิ้งซากศพที่

คล้องคออยู่แล้วไปสบาย ฉันใด แม้เราก็พึงทิ้งร่างกายเปื่อยเน่านี้เสีย ไม่

มีอาลัยห่วงใยเข้าไปยังนครคือนิพพาน ฉันนั้น.

อนึ่ง ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรดบนพื้นอันสกปรก

ย่อมไม่เก็บอุจจาระหรือปัสสาวะนั้นใส่พก หรือเอาชายผ้าห่อไป ต่าง

รังเกียจ ไม่มีความอาลัยเลยกลับทิ้งไปเสีย ฉันใด แม้เราก็เป็นผู้ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ความอาลัย ควรละทิ้งร่างกายอันเปื่อยเน่า เข้าไปยังนครคือพระอมต-

นิพพาน ฉันนั้น.

อนึ่ง ธรรมดานายเรือไม่มีความอาลัยทิ้งเรือลำเก่าคร่ำคร่าไป ฉันใด

แม้เราก็ละทิ้งร่างกายนี้อันมีของไม่สะอาดไหลออกทางปากแผลทั้ง ๙ แห่ง

ไม่มีความห่วงใย เข้าไปยังนิพพานบุรี ฉันนั้น.

อนึ่ง บุคคลพกพาเอารัตนะต่าง ๆ เดินทางไปกับพวกโจร เพราะ

กลัวรัตนะของตนจะฉิบหาย จึงทั้งพวกโจรนั้นเสีย แล้วเดินทางที่ปลอดภัย

ฉันใด กรัชกายแม้นี้ก็เป็นเสมือนโจรปล้นรัตนะ ฉันนั้น.

ถ้าเราจักกระทำความอยากไว้ในกรัชกายนี้ ธรรมรัตนะคืออริยมรรค

กุศลของเราจักพินาศไป เพราะฉะนั้น เราละทิ้งกายนี้อันเสมือนกับโจร

แล้วเข้าไปยังนคร คือพระอมตมหานิพพาน จึงจะควร. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้ที่คอออกเสีย

แล้วไป มีความสุขอยู่อย่างเสรีโดยลำพังตนเองได้ฉันใด คน

ก็ควรละทิ้งร่างกายเน่าที่มากมูลด้วยซากศพนานาชนิด ไม่มี

อาลัย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันนั้น.

ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระ เป็นผู้ไม่

อาลัย ไม่ต้องการไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะ

ละทิ้งร่างกายนี้ อันเต็มด้วยซากศพนานาชนิด แล้วไปเสีย

เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น.

เจ้าของละทิ้งเรือเก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไปได้ ไม่มี

ความอาลัย ไม่มีความต้องการไปเสีย ฉันใด เราก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

เหมือนกัน จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีช่องเก้าช่องหลั่งไหลออก

เป็นนิจไปเสีย เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไปฉะนั้น.

บุรุษเดินไปกับพวกโจร ถือห่อของไปด้วย เห็นภัยที่จะ

เกิดจาการตัดห่อของ จึงทิ้งพวกโจรไป แม้ฉันใด กายนี้ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน เสมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเสีย

เพราะกลัวแต่การตัดกุศลให้ขาด.

สุเมธบัณฑิต คิดเนื้อความอันประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมา

ชนิดต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว สละกองโภคทรัพย์นัยไม่ถ้วนในเรือนของตน

แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว

ในหนหลัง ให้มหาทาน ละวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย แล้ว

ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์

สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาและที่จงกรมใกล้อาศรมนั้น เพื่อจะละโทษ

คือนิวรณ์ ๕ และเพื่อจะนำมาซึ่งพละกล่าวคืออภิญญาอันประกอบด้วยคุณ

อันเป็นเหตุ ๘ ประการ ซึ่งท่านกล่าวได้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตตั้งมั่น

แล้วอย่างนี้ ดังนี้ จึงละทิ้งผ้าสาฏกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ใน

อาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ

บวชเป็นฤๅษี. ท่านบวชอย่างนี้แล้ว ละทิ้งบรรณศาลานั้นอันเกลื่อนกล่น

ด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ

เลิกละธัญญวิกัติ ข้าวชนิดต่าง ๆ ทุกชนิด หันมาบริโภคผลไม้ป่า เริ่ม

ดังความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ภายใน ๗ วัน

นั่นเอง ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ท่านได้บรรลุอภิญญาพละ

ตามที่ปรารถนา ด้วยประการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

เราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิแก่คนยาก

จนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์. ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์

มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ สร้างบรรณ-

ศาลาอย่างดีไว้ ทั้งยังสร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการ

ไว้ใกล้อาศรมนั้น เราได้อภิญญาพละอันประกอบด้วยคุณ ๘

ประการ.

เราเลิกใช้ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หัน

มานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ.

เราละทิ้งบรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๑๐ ประการ เข้า

ไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าว

ที่หว่านที่ปลูกโดยสิ้นเชิง หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่

สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความเพียรในที่

นั่งที่ยืนและที่จงกรม ในอาศรมบทนั้น ภายใน ๗ วัน เรา

ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

ก็ด้วยบาลีว่า อสฺสโม สุกโค มยฺห ปณฺณสาลา สุมาปิตา นี้ ใน

คาถานั้นท่านกล่าวถึงอาศรม บรรณศาลา และที่จงกรม ไว้ราวกะว่า

สุเมธบัณฑิตสร้างด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้ มีเนื้อความดัง-

ต่อไปนี้ :-

ท้าวสักกะทรงเห็นพระมหาสัตว์ว่า เข้าป่าหิมพานต์แล้ว วันนี้จัก

เข้าไปถึงธรรมิกบรรพต จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า นี่แน่ะ

พ่อ สุเมธบัณฑิตออกไปด้วยคิดว่า จักบวช เธอจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่

สุเมธบัณฑิตนั้น. วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นรับพระดำรัสของท้าวสักกะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

แล้ว จึงเนรมิตอาศรมอันน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาอันสนิทดี และที่จงกรม

อันรื่นรมย์ใจ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาอาศรมบทนั้นอัน

สำเร็จด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร

ที่ภูเขาธรรมิกบรรพตนั้น.

อาศรมเราได้สร้างได้ดีแล้ว บรรณศาลาเราได้สร้างไว้

อย่างดี เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ใกล้

อาศรมนั้นด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺห แปลว่า เราสร้างอาศรม

ไว้ดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาลา สุมาปิตา ความว่า แม้ศาลามุงด้วยใบไม้

เราก็ได้สร้างไว้อย่างดี.

บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิต ความว่า ชื่อว่า โทษของที่จงกรมมี ๕

อย่าง เหล่านี้ คือ แข็งและขรุขระ ๑ มีต้นไม้ภายใน ๑ ปกคลุมด้วย

รกชัฏ ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑.

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีจงกรมบนที่จงกรม มีพื้นดินแข็งและขรุขระ

เท้าทั้งสองจะเจ็บปวดเกิดการพองขึ้น จิตไม่ได้ความแน่วแน่ กัมมัฏฐาน

จะวิบัติ แต่กัมมัฏฐานจะถึงพร้อม ก็เพราะได้อาศัยการอยู่ผาสุกในพื้นที่

อ่อนนุ่มและเรียบ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งและขรุขระเป็น

โทษประการที่ ๑.

เมื่อมีต้นไม้อยู่ภายใน หรือท่ามกลาง หรือที่สุดของที่จงกรม เมื่อ

อาศัยความประมาทเดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะย่อมกระทบ เพราะ-

ฉะนั้น ที่จงกรมมีต้นไม้อยู่ภายใน จึงเป็นโทษประการที่ ๒

พระโยคีเมื่อจงกรมอยู่ในที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏหญ้าและเถาวัลย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

เป็นต้น ในเวลามืดค่ำก็จะเหยียบงูเป็นต้นตาย หรือถูกงูเป็นต้นนั้นกัดได้

รับทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น ที่จงกรมอันปกคลุมด้วยชัฏ (รกรุงรัง) จึง

เป็นโทษประการที่ ๓

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมแคบเกินไป โดยความกว้าง

ประมาณศอกหนึ่งหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ่วบ้าง จะสะดุดขอบจงกรม

เข้าแล้วจะแตก เพราะฉะนั้น ที่จงกรมแคบเกินไป จึงเป็นโทษประการ

ที่ ๔

เมื่อพระโยคีจงกรมอยู่ในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ไม่

ได้ความแน่วแน่ เพราะฉะนั้น ความที่จงกรมกว้างเกินไป จึงเป็นโทษ

ประการที่ ๕.

ก็ที่อนุจงกรม ส่วนกว้างประมาณศอกหนึ่งในด้านทั้งสอง ประมาณ

ด้านละหนึ่งศอก. ที่จงกรมส่วนยาว ประมาณ ๖๐ ศอก พื้นอ่อนนุ่ม

เกลี่ยทรายไว้เรียบ ย่อมควร เหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้

ทำชาวเกาะให้เลื่อมใสในเจติยคีรีวิหาร ที่จงกรมของท่านได้เป็นเช่นนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่จงกรมอันเว้นจากโทษ ๕

ประการ ไว้ใกล้อาศรมนั้น.

บทว่า อฏฺคุณสมุเปต ได้แก่ ประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ

ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการ เหล่านี้ คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์และข้าว-

เปลือก ๑ แสวงหาบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ ๑ บริโภคบิณฑบาตที่เย็น ๑

ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุบีบคั้นชาวรัฐ ในเมื่อราชสกุลบีบคั้นชาวรัฐถือเอา

ทรัพย์ที่มีค่า หรือดีบุกและกหาปณะเป็นต้น ๑ ปราศจากความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ๑ ไม่กลัวโจรปล้น ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ไม่ต้องคลุกคลีกับพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา ๑ ไม่ถูกขัด

ขวางในทิศทั้งสี่ ๑. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถ

ได้รับความสุขทั้ง ๘ ประการนี้ เราจึงสร้างอาศรมนั้นอันประกอบด้วย

คุณ ๘ ประการนี้.

บทว่า อภิญฺาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรม

นั้นกระทำกสิณบริกรรม แล้วเริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง

และโดยความเป็นทุกข์ เพื่อต้องการให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้น แล้ว

จึงได้วิปัสสนาพละอันทรงเรี่ยวแรง อธิบายว่า เราอยู่ในอาศรมนั้น

สามารถนำเอาพละนั้นมาได้ ด้วยประการใด เราได้สร้างอาศรมนั้นให้

สมควรแก่วิปัสสนาพละ เพื่อต้องการอภิญญา ด้วยประการนั้น.

ในคำว่า สาฏก ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคต นี้ มีคำที่จะกล่าวไป

โดยลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตอาศรมที่ประกอบ

ด้วยกระท่อมที่เร้น และที่จงกรมเป็นต้น ดารดาษด้วยไม้ดอกและได้ผล

น่ารื่นรมย์ มีบ่อน้ำมีรสอร่อย ปราศจากเนื้อร้ายและนกที่มีเสียงร้องน่า

สะพรึงกลัว ควรแก่ความสงบสงัด จัดพนักพิงไว้ในที่สุดทั้งสองด้านแห่งที่

จงกรมอันตกแต่งแล้ว เนรมิตศิลามีสีดังถั่วเขียว มีพื้นเรียบ ไว้ในท่าม

กลางที่จงกรม เพื่อจะได้นั่ง สำหรับภายในของบรรณศาลา ได้เนรมิต

สิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่บรรพชิตอย่างนี้ คือบริขารดาบส

มีชฎาทรงกลม ผ้าเปลือกไม้ ไม้สามง่าม และคนโทน้ำเป็นต้น ที่

ปะรำมีหม้อน้ำ สังข์ตักน้ำดื่ม และขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกระเบื้อง

รองถ่านและฟืนเป็นต้น ที่ฝาบรรณศาลาได้เขียนอักษรไว้ว่า ใคร ๆ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ประสงค์จะบวช จงถือเอาบริขารเหล่านี้แล้วบวชเถิด เสร็จแล้วกลับไป

ยังเทวโลก สุเมธบัณฑิตตรวจที่อันผาสุกอันสมควรแก่การอยู่อาศัยของตน

ตามแนวซอกเขา ณ เชิงเขาหิมพานต์ ได้เห็นอาศรมอันน่ารื่นรมย์ซึ่งท้าว

สักกะประทาน อันวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ ณ ที่แม่น้ำไหลกลับ จึง

ไปยังท้าวที่จงกรม มิได้เห็นรอยเท้า จึงคิดว่าบรรพชิตทั้งหลายแสวงหา

ภิกษาหารในหมู่บ้านใกล้ เหน็ดเหนื่อยมาแล้ว จักเข้าไปบรรณศาลาแล้ว

นั่งอยู่เป็นแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งแล้วคิดว่า ชักช้าเหลือเกิน เรา

อยากจะรู้นัก จึงเปิดประตูบรรณศาลาเข้าไปข้างในแล้วมองดูรอบ ๆ ได้

อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่ แล้วคิดว่า กัปปิยบริขารเหล่านี้เป็นของเรา

เราจักถือเอากัปปิยบริขารเหล่านี้บวช จึงเปลื้องคูผ้าสาฎกที่ตนนุ่งห่มทิ้ง

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราละทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้วเปลื้อง

ผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น.

ด้วยบทว่า นวโทหสมุปาคต นี้ ท่านแสดงว่า เราเมื่อจะละทิ้งผ้า

สาฎก เพราะได้เห็น โทษ ๙ ประการ จึงได้ละทิ้งไปเสีย. จริงอยู่ สำหรับ

ผู้บวชเป็นดาบส โทษ ๙ ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือความเป็น

ของมีค่ามาก เป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น เป็น

โทษอันหนึ่ง, เศร้าหมองเร็วเพราะการใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะ

ว่าผ้าสาฎกเศร้าหมองแล้ว จะต้องซักต้องย้อม. การที่เก่าไปเพราะการ

ใช้สอย เป็นโทษอันหนึ่ง, จริงอยู่ สำหรับผ้าที่เก่าแล้ว จะต้องทำการ

ชุนหรือทำการปะผ้า. แสวงหาใหม่กว่าจะได้ก็แสนยาก เป็นโทษอันหนึ่ง,

ไม่เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง, เป็นของทั่วไปแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ศัตรู เป็นโทษอันหนึ่ง, เพราะว่า จะต้องคุ้มครองไว้โดยประการที่ศัตรู

จะถือเอาไปไม่ได้. การอยู่ในฐานะเป็นเครื่องประดับของผู้ใช้สอย เป็น

โทษอันหนึ่ง เป็นความมักมากในของใช้ประจำตัวสำหรับผู้ถือเที่ยวไป

เป็นโทษอันหนึ่ง.

บทว่า วากจีร นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้น

เราเห็นโทษ ๙ ประการเหล่านี้ จึงละทิ้งผ้าสาฎกแล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้

คือถือเอาผ้าเปลือกไม้ซึ่งเอาหญ้ามุงกระต่ายมาทำให้เป็นชิ้น ๆ แล้วถักทำ

ขึ้น เพื่อต้องการใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.

บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคต แปลว่า ประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒

ประการ. จริงอยู่ ผ้าเปลือกไม้ มีอานิสงส์ ๑๒ ประการ คือ

ข้อว่า มีราคาถูก็ ดี สมควร นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ก่อน

ข้อว่า สามารถทำด้วยมือของตนเองได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ข้อที่ว่า จะค่อย ๆ สกปรกเพราะการใช้สอย แม้เมื่อจะซักก็ไม่

เนิ่นช้าเสียเวลา นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓

แต่เมื่อเก่าก็ไม่มีการจะต้องเย็บ เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

เมื่อแสวงหาใหม่ก็การทำได้ง่าย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

เหมาะสมแก่การบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖

พวกศัตรูไม่ต้องการใช้สอย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๗

ไม่อยู่ในฐานะเป็นเครื่องประคบสำหรับผู้ใช้สอย เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๘

ในเวลาครองเป็นของเบา เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙

ความเป็นผู้มักน้อยในปัจจัยคือจีวร เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

การเกิดขึ้นแห่งผ้าเปลือกไม้เป็นของชอบธรรมและไม่มีโทษ เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๑

เมื่อผ้าเปลือกไม้หายไปก็ไม่เสียดาย เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒.

ในบทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณ ปชหึ ปณฺณสาลก นี้มีคำถาม

สอดเข้ามาว่า เราละทิ้งอย่างไร ? ตอบว่า ได้ยินว่า สุเมธบัณฑิตนั้น

เปลื้องคู่ผ้าสาฎกอย่างดีออก แล้วถือเอาผ้าเปลือกไม้สีแดง เช่นกับ

พวงดอกอโนชา ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวรเอามานุ่ง แล้วห่มผ้าเปลือกไม้

อีกผืนหนึ่ง ซึ่งมีสีดุจสีทอง ทับลงบนผ้าเปลือกไม้ที่นุ่งนั้น แล้ว

กระทำหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เช่นกับสัณฐานดอกบุนนาคให้เป็นผ้าเฉวียง

บ่า สวมชฎากลมแล้วสอดปิ่นไม้แก่นเข้ากับมวยผม เพื่อกระทำให้

แน่น วางคนโทน้ำซึ่งมีสีดังแก้วประพาฬไว้ในสาแหรก เช่นกับข่าย

แก้วมุกดา ถือหาบซึ่งโค้งในที่สามแห่ง แล้วคล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ

ข้างหนึ่ง คล้องขอ กระเช้าและไม้สามง่ามเป็นต้นที่ปลายหาบข้างหนึ่ง

แล้วเอาหาบซึ่งบรรจุบริขารดาบสวางลงบนบ่า มือขวาถือไม้เท้าออกจาก

บรรณศาลา เดินจงกรมกลับไปกลับมาในที่จงกรมใหญ่ประมาณ ๖๐ ศอก

แลดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของ

เรางดงามหนอ ชื่อว่าการบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นวีรบุรุษทั้งหลายทั้งปวง

มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว

เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์เราละได้แล้ว เราเป็นผู้ออกเนกขัมมะแล้ว การ

บรรพชาอันยอดเยี่ยม เราได้แล้ว เราจักกระทำสมณธรรม เราจักได้สุข

ในมรรคและผล ดังนี้แล้วเกิดความอุตสาหะ วางหาบดาบสบริขารลง

แล้วนั่งบนแผ่นศิลามีสีดังถั่วเขียวในท่ามกลางที่จงกรม ประหนึ่งดังรูปปั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ทองคำฉะนั้น. ได้ยับยั้งอยู่ตลอดส่วนของวัน ในเวลาเย็นจึงเข้าบรรณศาลา

นอนบนเสื่อที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศอันสดชื่น

แล้วตื่นขึ้นตอนใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในการ

ครองเรือน จึงสละโภคทรัพย์นับไม่ถ้วน และยศอันหาที่สุดมิได้ เข้า

ป่าบวชแสวงหาเนกขัมนะ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะประพฤติด้วยความ

ประมาทย่อมไม่ควร ด้วยว่าแมลงวันคือมิจฉาวิตกย่อมกัดกินผู้ที่ละความ

สงัดเที่ยวไป เราพอกพูนความสงัดในบัดนี้ จึงจะควร เพราะเราเห็น

การครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวล จึงออกบวช ก็บรรณศาลานี้

น่าพอใจ พื้นที่ก็ทำการปรับไว้ดี มีสีดังผลมะตูมสุก ฝาผนังขาวมีสีดังเงิน

หลังคามุงด้วยใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีดังเครื่องปูลาดอัน

ตระการตา สถานที่อยู่เป็นที่อยู่ได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่งเรือน

ของเรา เสมือนว่าจะยิ่งไปกว่าบรรณศาลานี้ ไม่ปรากฏให้เห็น จึงเมื่อ

จะค้นหาโทษของบรรณศาลา ก็ได้เห็นโทษ ๘ ประการ.

จริงอยู่ ในการใช้สอยบรรณศาลา มีโทษ ๘ ประการ คือการ

แสวงหาด้วยการรวบรวมทัพพสัมภาระกระทำด้วยการเริ่มอย่างใหญ่หลวง

เป็นโทษข้อที่ ๑.

การจะต้องซ่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า ใบไม้ และ

ดินเหนียวร่วงหล่นลงจะต้องเอาสิ่งเหล่านั้นมาวางไว้ ณ ที่เดิมแล้ว ๆ เล่า ๆ

เป็นโทษข้อที่ ๒.

ธรรมดาเสนาสนะจะต้องถึงแก่ท่านผู้แก่กว่า เมื่อเราถูกปลุกให้ลุกขึ้น

ในคราวที่มิใช่เวลา ความแน่วแน่ของจิตก็จะมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น

การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

การกระทำร่างกายให้อ่อนแอ โดยกำจัดความหนาวและความร้อน

เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๔.

ผู้เข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะเหตุนั้น

การปกปิดข้อครหาได้ เป็นโทษข้อที่ ๕.

การทำความหวงแหนว่า "เป็นของเรา" เป็นโทษข้อที่ ๖.

ธรรมดามีเรือนแสดงว่าต้องมีคู่ เป็นโทษข้อที่ ๗.

การเป็นของสาธารณ์ทั่วไปแก่คนมาก เพราะเป็นของสาธารณ์

สำหรับสัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแกเป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๘.

พระมหาสัตว์เห็นโทษ ๘ ประการนี้ จึงละทิ้งบรรณศาลาเสีย

ด้วยประการฉะนี้ . เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า เราละทิ้ง

บรรณศาลาอันเกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๔ ประการ ดังนี้.

บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูล คุเณ ทสหุปาคต ความว่า

พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ

๑๐ ประการ.

ในการอยู่โคนไม้นั้น มีคุณ ๑๐ ประการนี้ คือ

มีความริเริ่มน้อย เป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะเพียงแต่เข้าไปเท่านั้น

ก็อยู่ที่นั้นได้.

การปฏิบัติรักษาน้อย เป็นคุณข้อที่ ๒ เพราะโคนไม้นั้น จะ

กวาดหรือไม่กวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้สบายเหมือนกัน.

การที่ไม่ต้องถูกปลุกให้ลุกขึ้น เป็นคุณข้อที่ ๓.

ไม่ปกปิดข้อครหา เมื่อจะทำชั่วที่โคนไม้นั้นย่อมละอายใจ เพราะ

เหตุนั้น การปกปิดข้อครหาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ไม่ทำร่างกายให้อึดอัด เหมือนกับอยู่กลางแจ้ง เพราะเหตุนั้น

การที่ร่างกายไม่อึดอัด เป็นคุณข้อที่ ๕.

ไม่มีการต้องทำความหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ ๖.

ห้ามความอาลัยว่าเป็นบ้านเรือนเสียได้ เป็นคุณข้อที่ ๗.

ไม่มีการไล่ไปด้วยคำว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถูที่นั้น พวกท่านจง

ออกไป เหมือนดังในบ้านเรือนอันทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เป็นคุณ

ข้อที่ ๘.

ผู้อยู่ก็มีความปีติอิ่มเอิบใจ เป็นคุณข้อที่ ๙.

การไม่มีความห่วงใย เพราะเสนาสนะคือโคนไม้หาได้ง่ายในที่

ที่ผ่านไป เป็นคุณข้อที่ ๑๐.

พระมหาสัตว์เห็นคุณ ๑๐ ประการเหล่านี้ จึงกล่าวว่า เราเข้าหา

โคนไม้ ดังนี้.

พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้ เหล่านี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น

จึงเข้าไปภิกขาจารยังหมู่บ้าน. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในหมู่บ้านที่ท่านไปถึง

ได้ถวายภิกษาด้วยความอุตสาหะใหญ่. ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม

นั่งลงแล้วคิดว่า เรามิได้บวชด้วยหวังใจว่าจะได้อาหาร ธรรมดาอาหาร

อันละเอียดนี้ ย่อมเพิ่มพูนความเมาเพราะมานะ และความเมาในความเป็น

บุรุษ และที่สุดทุกข์อันมีอาหารเป็นมูล ย่อมมีไม่ได้ ถ้ากระไร เราพึง

เลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่านและปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง.

จำเดิมแต่นั้น พระมหาสัตว์ก็ได้กระทำตามนั้น พากเพียรพยายามอยู่ ใน

ภายในสัปดาห์เดียวเท่านั้น ก็ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้บังเกิดได้.

เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้

ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียร

ในการนั่ง การยืน และการเดินจงกรมอย่างนั้น ในภายใน

สัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาขาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วย

ความสุขอันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร ได้เสด็จอุบัติ

ขึ้นในโลก. ในการถือปฏิสนธิ การประสูติ การตรัสรู้ และการประกาศ

พระธรรมจักรของพระศาสดาพระองค์นั้น หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นสะเทือน

เลื่อนลั่นหวั่นไหวร้องลั่น บุพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธ-

ดาบสยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในสมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้น และไม่ได้เห็น

บุพนิมิตเหล่านั้นด้วย. เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุถึงความสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระศาสนา

อย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายก ทรงพระนามว่าทีปังกร

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จอุบัติ ประสูติ ตรัสรู้และ

แสดงพระธรรมเทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินในฌาน

มิได้เห็นนิมิตทั้ง ๔ ประการแล.

ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสน

ห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปถึงรัมมนคร เสด็จประทับอยู่ในสุทัสสนมหา-

วิหาร. ชนชาวรัมมนครได้ทราบข่าวว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้า

พระนานว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ

อันยิ่งยอด ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ

๑. บางแห่งเป็นรัมมกนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

เสด็จถึงรัมมนครของพวกเราแล้ว เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหา-

วิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม

ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ก็พากันหลั่งไหลไปจนถึงที่พระพุทธเจ้า

พระธรรมและพระสงฆ์ประทับ เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชา

ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง สดับพระธรรม

เทศนา ทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น แล้วพากันลุกจากอาสนะหลีกไป.

ในวันรุ่งขึ้น ชนเหล่านั้นต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับ

พระนครตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาแห่งพระทศพล ในที่มีน้ำขังก็เอาดินถม

ทำพื้นที่ดินให้ราบเรียบ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรดข้าวตอกและ

ดอกไม้ เอาผ้าย้อมสีต่าง ๆ ยกเป็นธงชายและธงแผ่นผ้า ตั้งต้นกล้วย

และแถวหม้อน้ำเต็ม. ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมของตนขึ้นสู่

อากาศ แล้วเหาะไปทางส่วนเบื้องบนของคนเหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริง

ยินดีกัน จึงคิดว่ามีเหตุอะไรหนอ จึงลงจากอากาศยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง

ถามคนทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาหนทาง

อันไม่สม่ำเสมอในที่นี้ เพื่อใครกัน . เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า

ในเขตแดนอันเป็นปัจจันตประเทศ พวกมนุษย์มีใจยินดี

นิมนต์พระตถาคต แล้วชำระแผ้วถางหนทางสำหรับเสด็จ

ดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้น เราออกไปจากอาศรมของ

ตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ (ให้เรียบร้อย) แล้ว ที่นั้น

เหาะไปในอัมพร เราได้เห็นตนเกิดความยินดี ต่างร่าเริง

ดีใจปราโมทย์ จึงลงจากท้องฟ้า ไต่ถามคนทั้งหลายทันทีว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

มหาชนเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริงปราโมทย์ พวกเขาชำระ

แผ้วถางถนนหนหางเพื่อใครกัน.

มนุษย์ทั้งหลายจึงเรียนว่า ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบหรือ

พระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร บรรลุพระสัมโพธิญาณ

แล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเรา

เสด็จประทับอาศัยอยู่ในสุทัสสนมหาวิหาร พวกเราทูลนิมนต์พระผู้มี-

พระภาคเจ้านั้นมา จึงพากันตกแต่งทางเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า แม้เพียงคำประกาศว่า

พุทโธ ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระ-

พุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับคนเหล่านี้ตกแต่งทาง เพื่อพระทศพลด้วย.

ท่านจึงกล่าวกะคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านทั้งหลายตกแต่งทางนี้

เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านจงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา

ก็จักตกแต่งทางพร้อมกับพวกท่าน. คนเหล่านั้นรับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้

กันอยู่ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดเอาโอกาสที่น้ำขังให้ไปด้วยคำว่า

ท่านจงตกแต่งที่นี้. สุเมธดาบสถือเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์แล้ว

คิดว่า เราสามารถจะตกแต่งโอกาสนี้ด้วยฤทธิ์ได้ โอกาสคือที่ว่างซึ่งเรา

ตกแต่งด้วยฤทธิ์อย่างนี้ จะไม่ทำเราให้ดีใจนัก วันนี้ เราควรกระทำการ

ขวนขวายด้วยกาย จึงขนดินมาถมลงในสถานที่นั้น.

เมื่อสถานที่นั้น ของสุเมธดาบสยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทีปังกร

ทศพลห้อมล้อมด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมากสี่แสน

เมื่อเหล่าเทวดาบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์เป็นต้น บรรเลงดนตรี

ทิพย์ ขับสังคีตทิพย์ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ต้น และดนตรีอันเป็นของมนุษย์ พระองค์ได้เสด็จดำเนินตามทางที่ตกแต่ง

ประดับประดานั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาอุปมามิได้ ประดุจราชสีห์เยื้อง

กรายบนมโนศิลาฉะนั้น. สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของ

พระทศพล ผู้เสด็จดำเนินมาตารมทางที่ตกแต่งไว้ ซึ่งถึงความงามด้วย

พระรูปโฉม อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วย

พระอนุยัญชนะ ๘๐ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา เปล่งพระพุทธรัศมี

อันหนาทึบมีพรรณ ๖ ประการ เป็นวง ๆ และเป็นคู่ ๆ เหมือนสาย

ฟ้าแลบมีประการต่าง ๆ ในพื้นท้องฟ้าซึ่งมีสีดังแก้วมณีฉะนั้น จึง

คิดว่า วันนี้ เราควรบริจาคชีวิตเพื่อพระทศพล พระผู้มีพระภาคเจ้า

อย่าทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงเหยียบบนหลังเราเสด็จไปพร้อมกับ

พระขีณาสพสี่แสนองค์ เหมือนกับเหยียบสะพานแผ่นแก้วมณีฉะนั้น

ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและสุขแก่เราตลอดกาลนาน ครั้นคิดแล้ว

จึงสยายผม แล้วเอาหนึ่งเสือ ชฎามณฑลและผ้าเปลือกไม้ปูลาดลง

เปือกตมอันมีสีดำ แล้วนอนลงบนหลังเปือกตม ประหนึ่งว่าสะพานแผ่น

แก้วมณีฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้ว ต่างยืนยันว่า พระ-

พุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะ โลกนายก พระนามว่า

ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก คนทั้งหลายชำระแผ้วถาง

ถนนหนทาง เพื่อพระพุทธเจ้านั้น.

ทันใดนั้น ปีติเกิดขึ้นแก่เราเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ

เรากล่าวว่า พุทโธ พุทโธ อยู่ ก็ได้เสวยโสมนัส. เรายืนอยู่

ในที่นั้นยินดีแล้ว กลับสลดใจคิดว่าเราจักปลูกพืชลงไว้ในที่นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ขณะอย่าได้ล่วงเลยไปเสียเปล่า (แล้วกล่าวว่า) ถ้าท่านทั้ง-

หลายชำระแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จงให้โอกาสที่ว่าง

แห่งหนึ่งแก่เรา แม้เราก็จะชำระแผ้วถางถนนหนทาง ทีนั้น

คนเหล่านั้นได้ให้ที่ว่างแก่เรา เพื่อชำระแผ้วถางหนทาง.

เวลานั้นเราคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ พลางแผ้วถางหนทาง.

เมื่อที่ว่างของเรายังแผ้วถางไม่เสร็จ พระชินเจ้ามหามุนี-

ทีปังกรพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน ผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่

ปราศจากมลทิน ได้เสด็จดำเนินทางมา การต้อนรับก็มีขึ้น

กลองมากมายก็บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาต่างร่าเริง

พากันประกาศสาธุการ เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์ แม้พวก

มนุษย์ก็เห็นเหล่าเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประคอง

อัญชลีเดินตามพระตถาคต.

แม้ทั้งสองพวกนั้น คือพวกเทวดาบรรเลงดนตรีทิพย์

พวกมนุษย์บรรเลงดนตรีของมนุษย์ เดินตามพระตถาคต.

เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศ ก็โปรยปรายดอกมณฑารพ

ดอกปทุม และดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ. เหล่า

เทวดาที่เหาะมาทางอากาศ โปรยผงจันทน์ และของหอม

อย่างดีล้วนเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ.

เหล่าคนผู้อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอกช้างน้าว

ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว

ทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

เราสยายผมออก แล้วลาดผ้าเปลือกไม้คากรองและ

หนังเสือบนเปือกตมนั้นแล้ว นอนคว่ำลงด้วยความปรารถนา

ว่า

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จงทรงเหยียบ

เราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่เปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไป

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองขึ้นอีก

เห็นพระพุทธสิริของพระทีปังกรทศพล จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็

พึงเผากิเลสทั้งปวงเป็นสังฆนวกะเข้าไปสู่รัมมนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วย

การเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุพระนิพพาน ถ้ากระไรเรา

พึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้ว

ขึ้นสู่ธรรมนาวาให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้ว จึงปรินิพพานภายหลัง

ข้อนี้สมควรแก่เรา. ต่อจากนั้น จึงประมวลธรรม ๘ ประการ การทำ

ความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วจึงนอนลง.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเรานอนบนแผ่นดิน ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้

เราเมื่อปรารถนาอยู่ ก็จะพึงเผากิเลสของเราได้.

จะมีประโยชน์อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมใน

ที่นี้ ด้วยเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ข้ามฝั่งไปผู้เดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จักให้

มนุษย์พร้อมทั้งเทวดา ข้ามฝั่งไปด้วย.

ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้ ที่เรากระทำแล้วด้วยความ

เป็นลูกผู้ชายผู้ยอดเยี่ยม เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

จักให้เหล่าชนมากมายข้ามฝั่งไปด้วย.

เราตัดกระแสคือสงสาร ทำลายภพทั้งสามแล้วขึ้นสู่

ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามไปด้วย ดังนี้.

ก็เพราะเหตุที่เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า

ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จะสำเร็จได้ เพราะประชุมธรรม

๔ ประการไว้ได้ คือความเป็นมนุษย์ . ความถึงพร้อมด้วย

เพศ เหตุ การได้เห็นพระศาสดา การได้บรรพชา ๑

ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๑ การกระทำอันยิ่งใหญ่ ๑ ความเป็นผู้

มีฉันทะ ๑.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในอัตภาพมนุษย์เท่านั้น แล้วประกาศ

ความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของ

นาค ครุฑ เทวดา หรือท้าวสักกะ หาสำเร็จไม่.

แม้ในอัตภาพมนุษย์ เมื่อเขาดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้น ความ

ปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิง หรือของบัณเฑาะก์

กะเทยและอุภโตพยัญชนก หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับบุรุษ เมื่อเขาสมบูรณ์ด้วยเหตุ ที่จะบรรลุพระอรหัตใน

อัตภาพนั้นเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ นอกนี้หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุ เมื่อปรารถนาในสำนักของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

พุทธเจ้าผู้ยังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อ

พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อเขาปรารถนาในที่ใกล้พระเจดีย์หรือที่

โคนต้นโพธิ์ ก็หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ดำรงอยู่ใน

เพศพรรพชาเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้ดำรงอยู่ใน

เพศคฤหัสถ์ หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้บวชแล้ว เมื่อได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เท่านั้น

ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้ หาสำเร็จไม่.

แม้ผู้ที่สมบูรณ์แล้วด้วยคุณก็ตาม ผู้ใดได้บริจาคชีวิตของตนแก่

พระพุทธเจ้า สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้นั้นเท่านั้น

ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ สำหรับคนนอกนี้ หาสำเร็จไม่.

แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยการการทำอันยิ่งใหญ่ ความปรารถนา

ย่อมจะสำเร็จแก่ผู้มีฉันทะ อุตสาหะ ความพยายาม และการแสวงหาอัน

ยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น

คนนอกนี้หาสำเร็จไม่.

ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้อความอุปมาดังต่อไปนี้ :-

ก็ถ้าจะพึงเป็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้าม

ห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเป็นน้ำผืนเดียวกันหมด จนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อม

บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่าผู้ใดจะสามารถกวาดห้องจักรวาล

ทั้งสิ้น ซึ่งปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วเหยียบย่ำไปด้วยเท้าจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้น

ย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. หรือว่าผู้ใดสามารถเอาหอกปักห้อง

จักรวาลทั้งสิ้น แล้วเอาเท้าเหยียบห้องจักรวาลซึ่งเต็มด้วยใบหอกติด ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

กันจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้, ก็หรือว่า ผู้ใด

สามารถเอาเท้าทั้งสองเหยียบท้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงอัน

ปราศจากเปลวจนถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้. ผู้

ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้สักเหตุเดียวว่าเป็นของที่ตนทำได้ยาก แต่เป็น

ผู้ที่ประกอบด้วยฉันทะ อุตสาหะ วายามะ และการแสวงหาอันยิ่งใหญ่

อย่างนี้ว่า เราจักข้ามแม้สิ่งนี้หรือไปจนถึงฝั่งให้ได้ ความปรารถนาของ

ผู้นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. เพราะฉะนั้น สุเมธ-

ดาบสได้ประชุมธรรม ๘ ประการนี้ไว้ได้หมด จึงกระทำความปรารถนา

อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงนอนลง.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้ว ทรงยืนที่เบื้องศีรษะ

ของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาท มี

วรรณะ ๕ ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธ-

ดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม จึงทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความ

ปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความ

ปรารถนาของดาบสนี้จะสำเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ

ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป

ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ทั้งที่ทรงประทับยืนอยู่

นั่นแหละ ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายเห็นดาบส

ผู้มีตบะสูงผู้นี้ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนา

อันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของ

ดาบสนี้จักสำเร็จ ด้วยว่า ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม, ก็ในอัตภาพนั้น พระ-

นครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา พระเทวีพระนามว่ามายา

จักเป็นพระมารดา พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา พระ-

เถระนามว่าอุปติสสะจักเป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่าโกลิตะจัก

เป็นทุติยสาวก พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก พระเถรี

นามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติย-

สาวิกา ดาบสนี้มีญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียร

ใหญ่ รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา

แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร

รับเครื่องบูชา ทรงยืน ณ เบื้องศีรษะ ได้ตรัสคำนี้กะเรา

ว่า

พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฎิลผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูง เขาจัก

ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปที่นับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ไป.

เขาจักเป็นพระตถาคต จักออกจากนครชื่อกบิลพัสดุ์ อัน

น่ารื่นรมย์ เริ่มตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคตจะนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ประคองข้าว-

ปายาสไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญราช ณ ที่นั้น.

พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวปายาสที่ฝั่งแม่น้ำเนรัณชรา แล้ว

เสด็จไปยังควงไม้โพธิ์ ตามทางที่เขาตกแต่งไว้ดีแล้ว

ลำดับนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ทรงกระทำประทักษิณโพธิมัณฑ์แล้ว จักตรัสรู้ที่ควงไม้

อัสสัตถพฤกษ์.

พระมารดาผู้เป็นชนนีของท่านผู้นี้ จักมีนามว่ามายา

พระบิดาจักมีนามว่าสุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าโคดม.

พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ จักเป็นพระอัครสาวกผู้หา

อาสวะมิได้ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น พระอุปัฏฐาก

นามว่าอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านั้น.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา จักเป็นอัครสาวิกาผู้หา

อาสวะมิได้ ปราศจากราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้

ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่าต้นอัสสัตถ-

พฤกษ์ ดังนี้.

สุเมธดาบสได้ฟังดังนั้น ได้มีความโสมนัสว่า นัยว่า ความปรารถนา

ของเราจักสำเร็จ. มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว

ต่างพากันร่าเริงยินดีว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็น

หน่อแห่งพระพุทธเจ้า และพวกเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า

มนุษย์เมื่อจะข้ามแม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามตามท่าตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่า

ข้างใต้ ฉันใด แม้เราทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผล

ในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ก็พึงสามารถทำให้แจ้งมรรคและผล

ต่อหน้าท่าน ในกาลที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังนี้แล้ว

พากันดังความปรารถนาไว้.

ฝ่ายพระทศพลทีปังกรสรรเสริญพระโพธิสัตว์แล้ว บูชาด้วยดอกไม้

๘ กำมือ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พระขีณาสพนับได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

สี่แสนแม้เหล่านั้น ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและดอกไม้ กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็บูชาอย่างนั้น

เหมือนกัน ไหว้แล้วพากันหลีกไป.

ในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงลุกขึ้นจากที่นอน

แล้วคิดว่า เราจักเลือกเฟ้นหาบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิบนยอด

กองดอกไม้. เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งอย่างนี้แล้ว เทวดาทั้งหลายในหมื่น

จักรวาลทั้งสิ้นให้สาธุการแล้วกล่าวกันว่า ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า ใน

กาลที่พระโพธิสัตว์ครั้งเก่าก่อนนั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า จักเฟ้นหาบารมี

ทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตอันใดย่อมปรากฏ แม้บุรพนิมิตเหล่านั้นทั้งหมด

ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวก

เราก็รู้ข้อนั้นว่า นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดย

แน่แท้ ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่นคงเถิด แล้วกล่าว

สรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยคำสรรเสริญนานัปการ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

คนและเทวดาได้ฟังพระดำรัสนี้ของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้

เสมอ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ต่างยินดีว่า นัยว่าดาบสนี้

เป็นพืชของพระพุทธเจ้า.

เสียงโห่ร้องดังลั่นไป มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาในหมื่นโลก-

ธาตุ ต่างปรบมือหัวเราะเริงร่า ประคองอัญชลีนมัสการอยู่.

ถ้าพวกเราจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้

จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

มนุษย์ทั้งหลายเมื่อข้ามน้ำ พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า

จะยึดท่าข้างใต้ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.

พวกเราแม้ทั้งหมด ก็ฉันนั้น ถ้าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้

ก็จักอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้นี้ ในอนาคตกาลอันยาวนาน.

พระทีปังกรผู้รู้แจ้งโลกผู้ควรรับเครื่องบูชา ทรงระบุกรรม

ของเราแล้ว จึงทรงยกพระบาทเบื้องขวาเสด็จไป.

พระชินบุตรทั้งหมดที่มีอยู่ในที่นั้น ได้กระทำประทักษิณ

เรา คน นาค คนธรรพ์ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป.

เมื่อพระโลกนายกพร้อมทั้งพระสงฆ์เสด็จล่วงทัศนวิสัย

ของเราแล้ว เรามีจิตร่าเริงยินดี ลุกขึ้นจากอาสนะในขณะ

นั้น.

ครั้งนั้น เรามีความสุขด้วยความสุข มีความปราโมทย์

ด้วยความปราโมย์ ท่วมท้นด้วยความปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่.

ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้

ชำนาญในฌาน บรรลุถึงอภิญญาบารมีแล้ว.

ในหมื่นโลกธาตุ พระฤาษีผู้จะเสมอเหมือนเราย่อมไม่มี

เราเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนในธรรมคือฤทธิ์ จึงได้ความสุข

เช่นนี้.

ในการนั่งขัดสมาธิของเรา เทวดาและมนุษย์ผู้อยู่ในหมื่น

โลกธาตุ เปล่งเสียงบันลือลั่นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

นิมิตใด จักปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้วในวันนี้.

ความหมายก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ นิมิตเหล่านั้น

ก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

หมื่นโลกธาตุปราศจากเสียง ไม่มีความยุ่งเหยิง นิมิต

เหล่านั้นปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้.

พายุใหญ่ก็ไม่พัด น้ำก็ไม่ไหล นิมิตเหล่านั้นปรากฏแล้ว

ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ดอกไม้ที่เกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ทั้งหมดต่างบานใน

ทันใดนั้น ดอกไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็บานแล้วในวันนี้ ท่าน

จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

เครือเถาหรือต้นไม้ที่ทรงผลในขณะนั้น เครือเถาและ

ต้นไม้ทั้งหมดแม้เหล่านั้น ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจักได้เป็น

พระพุทธเจ้าแน่แท้.

รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ในภาคพื้นดินต่าง

ส่องแสงโชติช่วงอยู่ในทันใดนั้น รัตนะแม้เหล่านั้นต่างส่อง

แสงอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ดนตรีทั้งของมนุษย์ และของทิพย์บรรเลงอยู่ในขณะนั้น

ดนตรีทั้งสองชนิดแม้นั้นก็ขับขานขึ้นในวันนี้ ท่านจักได้เป็น

พระพุทธเจ้าแน่แท้.

ท้องฟ้ามีดอกไม้งดงาม ย่อมตกเป็นฝนในทันใด ท้องฟ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

แม้เหล่านั้นก็ตกลงเป็นฝนในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้.

มหาสมุทรก็ม้วนตัว หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ทั้งสองอย่าง

แม้นั้นก็มีเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ไฟแม้ในนรก ในหมื่นโลกธาตุก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้

นั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระอาทิตย์ปราศจากมลทิน สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏใน

ขณะนั้น แม้สิ่งเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น

พระพุทธเจ้าแน่แท้.

น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินในทันทีทันใด โดยที่ฝนมิได้ตกเลย

แม้น้ำก็พุ่งขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่แท้.

หมู่ดาวนักขัตฤกษ์ก็สว่างไสวในมณฑลท้องฟ้า พระจันทร์

ก็ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง ที่อาศัยอยู่ในซอกเขา ก็ออก

จากที่อยู่ของตน ๆ สัตว์แม้เหล่านั้นก็ทั้งที่อยู่อาศัยในวันนี้

ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ความไม่ยินดีย่อมไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย

ต่างมีความยินดีด้วยกันในขณะนั้น สัตว์แม้เหล่านั้นต่างก็ยินดี

ด้วยกันในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

โรคทั้งหลายสงบลงในขณะนั้น และความหิวก็พินาศไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่แท้.

คราวนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะ ก็พินาศไป

ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปราศจากไปแล้ว

ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้

ในกาลนั้น ภัยก็ไม่มี แม้ในวันนี้ความไม่มีภัยนั้นก็

ปรากฏแล้ว พวกเรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่แท้.

ธุลีย่อมไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้ในวันนี้ ข้อนั้นก็ปรากฏ

แล้ว พวกเรารู้ด้วยนิมิตนั้นว่า ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้.

กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็ถอยห่างไป กลิ่นทิพย์ก็ฟุ้งตลบอยู่

กลิ่นแม้นั้นก็ฟุ้งตลบอยู่ในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้.

เทวดาทั้งปวง ยกเว้นพวกอรูปพรหมย่อมปรากฏ เทวดา

ทั้งปวงแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่แท้.

ชื่อว่านรกมีเพียงใด นรกทั้งหมดย่อมปรากฏในขณะนั้น

นรกทั้งหมดแม้เหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็น

พระพุทธเจ้าแน่แท้.

ในคราวนั้น ฝาผนัง บานประตู และแผ่นหิน ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

เครื่องกีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นที่ว่างไปในวันนี้

ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ในขณะนั้น ไม่มีการจุติและอุปบัติ แม้ข้อนั้นก็ปรากฏ

แล้วในวันนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่น อย่าหวนกลับ จง

ก้าวหน้าไป แม้เราทั้งหลายก็ย่อมรู้แจ้งข้อนี้ว่า ท่านจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพล และเทวดา

ในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะยิ่งกว่าประมาณ จึงคิดว่า ธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าไม่

เป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตกแน่

นอน สัตว์เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ก็คลอดขึ้น

ราชสีห์ออกจากที่อยู่ก็จะต้องบันลือสีหนาท หญิงมีครรภ์แก่ก็จะต้องคลอด

เป็นของมีแน่นอน ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ก็นั้นเหมือนกัน เป็นของแน่นอนไม่เปล่า. เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า

แน่แท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของเทวดาในหมื่น

จักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริงยินดีปราโมทย์ จึงคิด

อย่างนี้ในเวลานั้นว่า

พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง มีพระ-

ดำรัสไม่เปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสเป็นสอง

เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอน

ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็ฉันนั้น

เหมืนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ไม่มีพระดำรัสอันไม่เป็นจริง เราจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่

แท้.

ความตายของสัตว์ทั้งมวลเป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง

แม้ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย

เป็นของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

เมื่อถึงเวลาสิ้นราตรี พระอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็นของ

แน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

ราชสีห์ลุกขึ้นจากที่นอน จะต้องบันลือสีหนาทแน่นอน

ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป็น

ของแน่นอนและเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

หญิงทั้งหลายผู้มีครรภ์จะต้องคลอดแน่นอน ฉันใด พระ-

ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ก็เป้นของแน่นอน-

และเที่ยงตรง ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงอย่างนี้ว่า เราจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

จึงคิดว่า ธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ อยู่เบื้องบน

หรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้น

ไปโดยลำดับ ก็ได้เห็นทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธ-

บัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์

เหมือนอย่างว่า หม้อน้ำที่คว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไป

ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยา

หรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึง

กระทำมิให้มีส่วนเหลือ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้น

กล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทานบารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธ-

เจ้า ทั้งทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้ง

สิบทิศตลอดถึงธรรมธาตุ.

ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี

ข้อที่ ๑ เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน

ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาแล้ว.

ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึง

ความเป็นทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.

หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อม

ไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น แม้ฉันใด

ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง

และปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำ

ปากลงไว้ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น

พระพุทธเจ้า จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก

ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้มีความคิดอันนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต

จาเดิมแต่นี้ไป แม้ศีลบารมี ท่านก็ต้องบาเพ็ญให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า

ธรรมดาว่าเนื้อทรายจามรี ไม่เห็นแก่ชีวิต รักษาเฉพาะขนหางของตน

เท่านั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น จำเดิมแต่นี้ไป อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต

รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้อธิษฐานศีลบารมี

ข้อที่ ๒ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีประมาณเท่านี้ เรา

จักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระ-

โพธิญาณ.

จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลดขนหางออก

ไม่ได้ ก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด

ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้ง ๔ จงรักษาศีลไว้

ทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย

จะไม่พึงมีประมาณเท่านี้เลย จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็น

เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

แต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้เนกขัมมบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า

บุรุษผู้อยู่ในเรือนจำมาเป็นเวลานาน มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย

โดยที่แท้รำคาญอย่างเดียว ไม่อยากอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพ

ทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ คือการออกจากกามเท่านั้น ท่านจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าด้วยอาการอย่างนี้ แล้วได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓

กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจัก

เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ในก่อนถือปฏิบัติเป็นประจำแล้ว.

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่น

ก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุ

พระโพธิญาณ.

บุรุษอยู่มานานในเรือนจำ ลำบากเพราะความทุกข์ มิได้

ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นออกไป

อย่างเดียว ฉันใด

ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ เป็นผู้มุ่งหน้าออก

บวช เพื่อพ้นจากภพนั้นเถิด.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ

ไม่พึงมีเพียงเท่านี้ จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นปัญญาบารมี

ข้อที่ ๔ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

พึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลย ไม่ว่า

จะเป็นคนชั้นต่ำชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตแม้ทั้งหมด

ไต่ถามปัญหา. เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่

ละเว้นตระกูลไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาต

ตามลำดับ ได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เข้า

ไปหาบัณฑิตทั้งปวง ได้ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้ว

จึงอธิษฐานปัญหาบารมีข้อที่ ๔ กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้ เราจักเฟ้นหาธรรม

แม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

เราเมื่อค้นหาอยู่ในคราวนั้น ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

จงถึงความเป็นปัญญาบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระ-

โพธิญาณ.

ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกูลต่ำ สูง และปานกลาง ย่อม

ได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด

ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็น

ปัญญาบารมี จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณฉะนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่

พึงมีเพียงเท่านั้น จึงใคร่ควรให้ยิ่งขึ้นไปอีก ได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

จึงได้มีความคิคฃดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง

บำเพ็ญแม้วิริยบารมีให้บริบูรณ์ เหมือนอย่างว่า พญาราชสีห์มฤคราช

เป็นผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น เป็น

ผู้มีความเพียรมั่นในอิริยาบถทั้งปวง ในภพทุกภพ เป็นผู้มีความเพียร

ไม่ย่อหย่อน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานวิริยบารมี

ข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเฟ้น

หาธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น วิริยบารมีข้อที่ ๕ ที่

ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จง

ถึงความเป็นวิริยบารมี ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ.

พญาราชสีห์มฤคราช เป็นผู้มีความเพียรไม่ย่อหย่อนใน

การนั่ง การยืน และการเดิน ประคองใจไว้ในกาลทุกเมื่อ

แม้ฉันใด

ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงประคองความเพียรไว้ให้มั่น

ตลอดทุกภพ ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัม-

โพธิญาณได้.

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะ

ไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นขันติบารมี

ข้อที่ ๖ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป

ท่านพึงบำเพ็ญแม้ขันติบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้อดทนทั้งในการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ยกย่องนับถือและในการดูถูกดูหมิ่น. เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของ

สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็มิได้กระทำความรัก

และความขัดเคืองเพราะการกระทำอันนั้น ย่อมอด ย่อมทน ย่อมกลั้น

ไว้ได้ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนได้ทั้งในการ

นับถือ ทั้งในการดูหมิ่น จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐาน

ขันติบารมีข้อ ที่ ๖ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก

เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ในคราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ชั้นก่อน ๆ ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

มีใจไม่ลังเลในขันติบารมีนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลงสะอาด

บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง เพราะการกระทำ

นั้น แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการนับถือ

และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จัก

บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง

มีเพียงนี้เท่านั้น แล้วใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗

จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง

บำเพ็ญแม้สัจจบารมีให้บริบูรณ์ แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ก็ตาม ท่านอย่าได้กล่าวมุสาวาททั้งรู้อยู่ ด้วยอำนาจฉันทะเป็นต้น เพื่อ

ต้องการทรัพย์เป็นต้น. เหมือนอย่างว่าธรรมดาคาวประกายพรึก ในฤดู

ทั้งปวง หาได้ละวิถีโคจรของตนโคจรไปในวิถีอื่นไม่ ย่อมจะโคจรไปใน

วิถีของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ละสัจจะ

กล่าวมุสาวาทเลย จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานสัจจ-

บารมีข้อที่ ๗ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลาย จะไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจัก

เลือกเฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นสัจจบารมีข้อที่ ๗ ที่

ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

มีคำพูดไม่เป็นสองในข้อนั้น จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ธรรมดาดาวประกายพรึกเป็นดุจคันชั่ง คือเที่ยงตรงใน

โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในสมัย ฤดู หรือปีก็ตาม ย่อม

ไม่โคจรและเวียนออกนอกวิถีโคจร แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ออกไปนอกทางสัจจะ

ทั้งหลาย ถึงความเป็นสัจจบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิ-

ญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่พึง

มีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมี

ข้อที่ ๘ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน

จงบำเพ็ญแม้อธิษฐานบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อธิษฐานที่ได้อธิษฐานไว้. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาถูกลมพัดใน

ทิศทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ไม่เขยื้อน คงตั้งอยู่ในที่ของตน ฉันใด แม้

ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่น

ของตน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานซึ่งอธิษฐาน-

บารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมทั้งหลายจักไม่พึงมีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก

เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ในคราวนั้นเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่น

ก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุ

พระสัมโพธิญาณได้.

ภูเขาหินไม่หวั่นไหว คงตั้งอยู่ตามเดิม ไม่สะเทือนเพราะ

ลมแรงกล้า คงตั้งอยู่ในที่ของตนเอง แม้ฉันใด

แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษ-

ฐาน ในกาลทั้งปวง ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ

พระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่

พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงใคร่ครวญให้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ได้เห็นเมตตาบารมี

ข้อที่ ๙ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป

ท่านพึงบำเพ็ญแม้เมตตาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านพึงเป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียว

กัน ทั้งในสิ่งที่เป็นประโยชน์และในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ธรรมดาน้ำย่อมไหลแผ่ความเย็นเป็นเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดี

ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีจิตเป็นอย่างเดียวด้วยเมตตาจิต

ในสัตว์ทั้งปวงอยู่ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นคิดแล้วจึงอธิษฐานเมตตา-

บารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก

เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ ที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยเมตตา ถ้าท่านปรารถนา

เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ.

ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดย

เสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ แม้ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้สม่ำเสมอ

ในชนที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล ท่านถึงความเป็นเมตตาบารมี

แล้วจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ลำดับนั้น สุเมธดาบสนั้นคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย จะไม่

พึงมีเพียงนี้เท่านั้น จึงพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไป ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อ

ที่ ๑๐ แล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป

ท่านจงบำเพ็ญแม้อุเบกขาบารมีให้บริบูรณ์ พึงวางใจเป็นกลางทั้งในสุข

และทั้งในทุกข์. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดินเมื่อคนทิ้งของสะอาด

บ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมทำใจเป็นกลางอยู่ ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

เหมือนกัน วางใจเป็นกลางอยู่ในสุขและทุกข์ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ครั้นคิดแล้ว จึงอธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ กระทำให้มั่นแล้ว. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีเพียงนี้เท่านั้น เราจักเลือก

เฟ้นธรรมแม้ข้ออื่น ๆ อันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

คราวนั้นเรา เลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในก่อน ถือปฏิบัติเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่น

ก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉย ในของไม่สะอาดและของ

สะอาดที่คนทิ้งลง เว้นจากความโกรธและความยินดีทั้งสอง

นั้น ฉันใด

แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเป็นประดุจตราชั่งในสุข

และทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นอุเบกขาบารมีแล้ว จัก

บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ต่อแต่นั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า พุทธการกธรรมทั้งหลายอันเป็น

เครื่องบ่มพระโพธิญาณ ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงปฏิบัติในโลกนี้ มี

เพียงนี้เท่านั้น เว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นย่อมไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ นี้

แม้ในอากาศเบื้องบนก็ไม่มี แม้ในแผ่นดินเบื้องล่างก็ไม่มี แม้ในทิศ

ทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ไม่มี แต่จะตั้งอยู่เฉพาะในภายในหทัย

ของเราเท่านั้น. ครั้นได้เห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่เฉพาะในหทัยอย่างนั้น

จึงอธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้น

ทวนให้ถึงตอนปลาย ยึดเอาตอนกลางให้จบลงตอนสุดข้างทั้งสอง ยึดเอา

ที่สุดจากข้างทั้งสองให้จบลงตอนกลาง.

การบริจาคสิ่งของภายนอก จัดเป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะ

น้อยใหญ่ จัดเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิต จัดเป็นทานปรมัตถบารมี

เพราะเหตุนั้น ท่านสุเมธดาบส จึงพิจารณาสมติงสบารมี คือบารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ประดุจคนหมุนเครื่องยนต์หีบน้ำมันไป

มา และเหมือนเอาเขามหาเมรุให้เป็นโม่กวนมหาสมุทรในจักรวารฉะนั้น.

เมื่อสุเมธดาบสนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่อย่างนั้น ด้วยเดชแห่งธรรม มหา-

ปฐพีนี้ หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ร้องลั่น สะท้านเลื่อนลั่นหวั่นไหว

เหมือนมัดไม้อ้อที่ถูกช้างเหยียบ และเหมือนเครื่องยนต์หีบอ้อยที่กำลังหีบ

อ้อยอยู่ หมุนคว้างไม่ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อ และวงล้อเครื่อง

ยนต์หีบน้ำมัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณในโลก มีเพียงเท่านี้

นั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี นอกไปจากนี้ก็ไม่มี ท่านจงตั้งมั่น

อยู่ในธรรมนั้น.

เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งสภาวะ รส และ

ลักษณะ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหว.

แผ่นดินไหว ร้องลั่น ดังเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่

เมทนีดลเลื่อนลั่น เหมือนวงล้อเครื่องยนต์หีบน้ำมันฉะนั้น.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครไม่สามารถจะทรง

ตัวอยู่ได้ ต่างสลบล้มลง ประหนึ่งว่าศาลาใหญ่ถูกลมยุคันตวาตโหมพัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ฉะนั้น. ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น กลิ้งกระทบกันและกันแตกละเอียด

มหาชนสะดุ้งกลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบข้อนี้เลยว่า แผ่นดินนี้นาคทำให้หมุน

หรือว่าบรรดาภูต ยักษ์ และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ทำให้หมุน อีก

ประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ ถูกทำให้เดือดร้อน ความชั่วหรือ

ความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้ง-

หลายด้วยเถิด. ลำดับนั้น พระศาสดาครั้นได้ทรงสดับถ้อยคำของชน

เหล่านั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยอันมี

ต้นเหตุมาจากเหตุนี้ ไม่มีแก่พวกท่าน ผู้ที่เราพยากรณ์ให้ไว้ในวันนี้ว่า

สุเมธบัณฑิตจักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคตนั้น บัดนี้

พิจารณาบารมี ๑๐ เมื่อเขาพิจารณาไตร่ตรองอยู่ เพราะเดชแห่งธรรม

โลกธาตุตลอดทั้งหมื่นหนึ่ง จึงไหวและร้องลั่นไปพร้อมกันทีเดียว. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด บริษัท

มีประมาณเท่านั้น ในที่นั้น ต่างตัวสั่นเป็นลมล้มลงบน

แผ่นดิน.

หม้อนำหลายพัน และหม้อข้าวหลายร้อย ในที่นั้น

กระทบกันและกันแตกละเอียด.

มหาชนหวาดเสียวสะดุ้งกลัวหัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึง

ประชุมกัน แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธทีปังกร.

กราบทูลว่า อะไรจักมีแก่โลก ดีหรือชั่ว หรือชาวโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อนวุ่นวาย ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-

จักษุ ขอจงทรงบรรเทาเหตุนั้น.

คราวนั้น พระมหามุนีทีปังกรทรงให้พวกเขาเข้าใจด้วย

พระดำรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้กลัวเลย ใน

การไหวของแผ่นดินนี้.

วันนี้ เราได้พยากรณ์บุคคลใดว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

บุคคลนั้นพิจารณาธรรมเก่าก่อนที่พระชินเจ้าเคยถือปฏิบัติมา.

เมื่อเขาพิจารณาถึงธรรมอันเป็นพุทธภูมิโดยไม่เหลืออยู่.

ด้วยเหตุนั้น โลกธาตุหนึ่งหมื่นนี้ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จึง

ได้ไหว.

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้ว ต่างร่าเริงยินดี พากัน

ถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระ-

โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไหว้แล้วกระทำประ-

ทักษิณแล้วเข้าไปยังรัมมนครตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์พิจารณาบารมี

๑๐ อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วลุกจากอาสนะไป. ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ทันใดนั้น ใจของพวกเขาก็เย็น เพราะได้ฟังพระดำรัส

ของพระพุทธเจ้า ทุกคนจึงพากันเข้าไปหาเรากราบไหว้อีก.

เรายึดมั่นพระพุทธคุณ กระทำใจให้มั่น แล้วนมัสการ

พระพุทธเจ้าทีปังกร ลุกขึ้นจากอาสนะไปในคราวนั้น.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ประชุมกันบูชาพระ-

โพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้

เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระ-

ทีปังกรทศพล ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้

ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อย

จงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้ง

พระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่เผล็ดดอกออกผลย่อมเผล็ดดอกและออกผล

ตามฤดูกาล ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อย่าได้ล่วงเลยฤดูกาลนั้น

จงได้สัมผัสพระสัมโพธิญาณอันอุดมโดยพลัน ก็แหละครั้นป่าวประกาศ

อย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตน ๆ ตามเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์

ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้

บริบูรณ์เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้แล้ว

อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์

ทันที. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้

ทิพย์และดอกไม้อันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ.

เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประกาศความ

สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่ง

นั้น ตามความปรารถนา.

ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรค

จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้

สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน.

เมื่อถึงฤดูกาล ต้นไม้ทั้งหลายที่มีดอก ย่อมผลิดอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ

ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐

ให้บริบูรณ์ ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐

ให้บริบูรณ์ ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่ต้นโพธิมณฑล

ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นโพธิของพระ-

ชินเจ้า ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ประกาศพระธรรมจักร

ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร

ฉันนั้นเถิด.

พระจันทร์บริสุทธิ์ไพโรจน์ในวันเพ็ญ ฉันใด ขอท่านจง

มีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด.

พระอาทิตย์พ้นจากราหู ย่อมสว่างจ้าด้วยความร้อน ฉันใด

ขอท่านจงพ้นจากโลก ไพโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้นเถิด.

แม่น้ำสายใดสายหนึ่ง ย่อมไหลลงยังทะเลใหญ่ ฉันใด

ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก จงประชุมกันในสำนักของท่าน

ฉันนั้นเถิด.

ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้นอันเทวดาและมนุษย์ชมเชย

และสรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะ

บำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้ว.

จบสุเมธกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

สุรุจิพราหมณกถา

ฝ่ายชนชาวรัมมนคร ครั้นเข้าไปยังนครแล้ว ก็ได้ถวายมหาทานแก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่

พวกเขา ให้มหาชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้น แล้วเสด็จออกจากรัมมนคร

ต่อจากนั้น พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ ทรงกระทำ

พุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดย

ลำดับ. คำทั้งหมดที่ควรจะกล่าวในเรื่องนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย

ที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์แล. จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า

ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนายกพร้อมทั้งพระ-

สงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาที่ปังกรพระองค์นั้นเป็นสรณะ.

พระตถาคตทรงยังบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางคน

ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ อีกพวกให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐.

ทรงประทานสามัญผลอันสูงสุดทั้ง ๔ แก่บางคน ทรง

ประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิสัมภิทาแก่บางคน.

บางคน พระนราสภก็ทรงประทานสมาบัติ ๘ อันประเสริฐ

บางคนก็ทรงมอบให้วิชชา ๓ และอภิญญา ๖.

พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชน ด้วยความพยายามนั้น

เพราะเหตุนั้น ศาสนาของพระโลกนาถจึงได้แผ่ไพศาลไป.

พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าทีปังกร ผู้มีพระหนุใหญ่ มี

ต้นพระศอดังคอของโคผู้ ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น

ทรงปลดเปลื้องทุคติให้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

พระมหามุนีทรงเห็นชนที่พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ แม้

ในที่แสนโยชน์ ก็เสด็จเข้าไปหาโดยครู่เดียว ให้เขาตรัสรู้ได้.

ในการตรัสรู้มรรคผลครั้งแรก พระพุทธเจ้าให้สัตว์ร้อย-

โกฏิได้ตรัสรู้ ในการตรัสรู้มรรคผลครั้งที่สอง พระนาถะให้

สัตว์เก้าโกฏิได้ตรัสรู้.

ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมในเทวพิภพ

ในกาลนั้น การตรัสรู้มรรคผลครั้งที่สาม ได้มีแก่สัตว์เก้า

หมื่นโกฏิ.

การประชุมของพระศาสดาทีปังกรได้มี ๓ ครั้ง การประ-

ชุมครั้งแรกมีชนแสนโกฏิ.

อีกครั้ง เมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอดเขานารทะ

พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิประชุมกัน.

ในกาลใด พระมหาวีระประทับอยู่บนยอดเขาสุทัสสนะ

ในกาลนั้น พระมหามุนีทรงห้อมล้อมด้วยพระขีณาสพเก้า-

หมื่นโกฏิ.

สมัยนั้นเราเป็นชฎิลมีตบะกล้า สำเร็จอภิญญา ๕ เหาะ

ไปกลางอากาศ.

การตรัสรู้ธรรม โดยการนับว่า ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่น สอง

หมื่น การตรัสรู้ธรรมมิได้นับว่า ได้มีแก่หนึ่งคนหรือสองคน

ในกาลนั้น ศาสนานี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร แผ่ไป

กว้างขวาง ชนรู้กันมากมาย แพร่หลายบริสุทธิ์ผุดผ่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

พระขีณาสพสี่แสนได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ห้อมล้อม

พระทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกอยู่ทุกเมื่อ.

สมัยนั้น ใคร ๆ ก็ตาม จะละภพมนุษย์ไป เขาเหล่านั้น

มิได้บรรลุพระอรหัต ยังเป็นเสขบุคคล จะต้องถูกเขาตำหนิ

ติเตียน.

พระพุทธศาสนาก็เบิกบานไปด้วยพระอรหันต์ผู้คงที่ เป็น

พระขีณาสพ ปราศจากมลทิน งดงามอยู่ในกาลทุกเมื่อ.

พระศาสดาทีปังกร มีนครนามว่ารัมมวดี มีกษัตริย์นามว่า

สุเทวะเป็นพระชนก มีพระเทวีนามว่าสุเมธาเป็นพระชนนี.

พระองค์ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุด

สามหลัง ชื่อว่าหังสา โกญจา และมยุรา.

มีเหล่านารีแต่งตัวสวยงามจำนวนสามแสน มีจอมนารี

นามว่า ปทุมา มีพระโอรสนามว่า อุสภักขันธะ.

พระองค์หรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกบวชด้วยยาน

คือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งปธานความเพียรอยู่ ๑๐ เดือนถ้วน.

พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจได้ตรัสรู้แล้ว พระมหามุนี

ทีปังกรผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว.

พระมหาวีระ ทรงประกาศพระธรรมจักร ในตำหนักอัน

ประกอบด้วยสิริในนันทาราม ประทับนั่งที่โคนต้นซึก ได้ทรง

กระทำการย่ำยีพวกเดียรถีย์.

มีพระอัครสาวก คือพระสุมังคละและพระติสสะ พระ-

ศาสดาทีปังกรมีพระอุปัฏฐากนามว่าสาคตะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

มีพระอัครสาวิกา คือพระนางนันทาและพระนางสุนันทา

ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกกันว่าต้น-

ปิปผลิ.

มีอัครอุปัฏฐากนามว่าตปุสสะ และภัลลิกะ นางสิริมา

และนางโกณาเป็นอุปัฏฐากยิกาของพระศาสดาที่ปังกร.

พระมหามุนีทีปังกรมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ทรงงดงาม

ประดุจต้นไม้ประจำทวีป และดุจต้นพญาไม้สาละมีดอกบาน

สะพรั่ง.

รัศมีของพระองค์วิ่งวนไปรอบ ๆ ๑๒ โยชน์ พระมเหสีเจ้า

พระองค์นั้นมีพระชนมายุได้แสนปี พระองค์ดำรงอยู่เพียงนั้น

ทรงยังชุมชนเป็นอันมากให้ข้ามได้แล้ว.

พระองค์พร้อมทั้งสาวกทรงยังพระสัทธรรมให้สว่างไสว

ยังมหาชนให้ข้ามได้แล้ว ทรงรุ่งโรจน์ดุจกองไฟแล้วนิพพาน

ไป.

พระฤทธิ์ พระยศ และพระจักรรัตนะที่พระบาททั้งสอง

ทั้งหมดนั้นอันตรธานหายไปแล้ว สังขารทั้งปวงเป็นของ

ว่างเปล่าแน่แท้ ดังนี้.

พระชินเจ้าผู้ศาสดา พระนามว่าทีปังกร เสด็จนิพพานที่

นันทาราม ณ ที่นั้นมีพระชินสถูปของพระองค์สูง ๓๖ โยชน์

แล.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไข

พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้น. แม้พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

พระองค์นั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาตครั้งแรก มีพระ-

สาวกแสนโกฏิ สันนิบาตครั้งที่ ๒ มีพระสาวกพันโกฏิ สันนิบาตครั้ง

ที่ ๓ มีพระสาวกเก้าสิบโกฏิ.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรติพระนามว่า วิชิตาวี

ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนโกฏิมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระ-

ศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรง

แสดงธรรม. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว

สละราชสมบัติออกบวช เรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕

ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อม ไปเกิดในพรหมโลก.

ก็พระโกณฑัญญพุทธเจ้า มีนครชื่อว่า รัมมวดี กษัตริย์พระนามว่า

สุนันทะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระชนนี

พระเถระทั้งสอง คือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ เป็นพระอัครสาวก

พระเถระนามว่า อนุรุทธะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง คือ

พระติสสา และ พระอุปติสสา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นขานาง

เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีรกายสูง ๘๘ ศอก ประมาณพระชนมายุได้

แสนปี.

ต่อจากพระทีปังกร ก็มีพระนายกพระนามว่าโกณฑัญญะ

มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศนับไม่ได้ มีพระคุณหา

ประมาณมิได้ เข้าถึงได้แสนยาก.

ในกาลต่อจากพระโกณฑัญญะพุทธเจ้านั้น ล่วงไปหนึ่งอสงไขย

ในกัปเดียวกันนั่งเอง มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้ว คือ

พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

พระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก ๓ครั้ง ในการประชุมครั้งแรก

มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ แสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ เก้าสิบโกฏิ.

ได้ยินว่า พระภาคาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า

อานันทกุมาร ได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรม

พร้อมกับบริษัทนับได้เก้าสิบโกฏิ พระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์

พระองค์พร้อมกับบริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระ-

ศาสดาทรงตรวจดูบุพจริยาของกุลบุตรเหล่านั้น ทรงเห็นอุปนิสัยแห่ง

บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสว่า

พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและ

จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษา

ได้ ๖๐ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ห้อมล้อมอยู่. นี้ได้เป็นการประชุม

พระสาวกครั้งที่ ๓ ของพระองค์. ก็พระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ได้มีพระ-

รัศมีจากพระสรีระโดยรอบประมาณ ๘๐ ศอกเท่านั้น ฉันใด แต่ของ

พระมังคละนั้น หาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่ ก็พระรัศมีจากพระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็นนิตยกาล.

ต้นไม้ แผ่นดิน ภูเขา และทะเล เป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าว

เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ.

อนึ่ง ประมาณพระชนมายุของพระองค์ได้เก้าหมื่นปี. ตลอดเวลา

ประมาณเท่านี้ พระจันทร์และพระอาทิตย์เป็นต้น ไม่สามารถจะส่องแสง

ด้วยรัศมีของตน การกำหนดกลางคืนและกลางวันไม่ปรากฏมี ตอน

กลางวัน เหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้านั่นแหละ

เหมือนกับ แสงสว่างของพระอาทิตย์ ชาวโลกกำหนดขั้นตอนของกลางคืน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

และกลางวัน ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในตอนเย็น และนกร้อง

เป็นต้นในตอนเช้า.

ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ไม่มีอานุภาพนี้หรือ ?

ตอบว่า ไม่มีหามิได้.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวัง จะพึงแผ่พระ-

รัศมีไปตลอดหมื่นโลกธาตุหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ามังคละ ได้แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุตั้งอยู่

เป็นนิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีด้านละวาของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ

ด้วยอำนาจความปรารถนาในกาลก่อน.

ได้ยินว่า ในคราวยังประพฤติจริยาของพระโพธิสัตว์ พระองค์

ดำรงอยู่ในอัตภาพ เช่นกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา อยู่

ที่ภูเขาเช่นกับเขาวังกบรรพต. ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ

ได้ทราบว่าพระมหาบุรุษมีอัธยาศัยในการให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศของ

พราหมณ์ ขอทารกทั้งสองกะพระมหาสัตว์. พระมหาสัตว์ตรัสว่า

พราหมณ์ เราให้บุตรน้อยทั้งสอง ดังนี้แล้วร่าเริงบันเทิงใจ ได้ให้ทารก

ทั้งสอง ทำให้แผ่นดินมีน้ำเป็นขอบเขตหวั่นไหว. ยักษ์ยืนพิงพนักพิงใน

ที่สุดของที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเห็นอยู่นั่นแหละ ได้กินทารก

ทั้งสองเหมือนกำรากไม้ แม้เพราะมองดูยักษ์ ได้เห็นปากของมันกำลัง

หลั่งสายเลือดออกมาประดุจเปลวไฟ ในปากที่พออ้าขึ้น ความโทมนัส

แม้เท่าปลายผมมิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ ก็เมื่อพระมหาสัตว์นั้นคิดอยู่

ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงก็เกิดขึ้นใน

สรีระ เขาปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

รัศมีจงฉายออกจากสรีระโดยทำนองนี้ทีเดียว เพราะอาศัยความปรารถนา

รัศมีทั้งหลายจึงฉายออกจากพระสรีระของพระองค์ตอนเป็นพระพุทธเจ้า

แผ่ซ่านไปตลอดที่ประมาณเท่านี้.

บุรพจริตของพระองค์แม้อื่นอีกก็ยังมี. ได้ยินว่า พระองค์ในกาล

เป็นพระโพธิสัตว์ ได้เห็นพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง คิดว่า

เราควรบริจาคชีวิตแก่พระพุทธองค์นี้ จึงพันสรีระทั้งสิ้น โดยทำนอง

อย่างพันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่เต็มถาดทองคำมีค่าหนึ่งแสน สูง

ประมาณศอกกำ จุดไส้พันไส้ในถาดทองนั้น เอาถาดทองนั้นทูนศีรษะ

แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณพระเจดีย์ให้เวลาล่วงไปตลอดทั้ง

คืน เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นแม้จะพยายามอยู่อย่างนั้นจนอรุณขึ้น ความ

ร้อนก็มิได้ระคายเคืองแม้สักว่าขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปยังห้อง

ดอกปทุม. จริงอยู่ ชื่อว่า ธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตน. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติ

ดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประ-

พฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดังนี้.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น จึงได้แผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เป็นพราหมณ์นามว่า

สุรุจิ คิดว่าจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะ

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของ

ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสถามว่า พราหมณ์ ท่านต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

ภิกษุเท่าไร ? พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็น

บริวารของพระองค์มีประมาณเท่าไร. ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการ

ประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มีภิกษุแสนโกฏิ.

พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหมด จงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาทรงรับนิมนต์

แล้ว.

พราหมณ์ทูลนิมนต์เพื่อให้เสวยในวันพรุ่งนี้แล้ว จึงไปเรือนคิดว่า

เราอาจถวายยาคู. ภัต และผ้าเป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายประมาณเท่านี้ได้

แค่ที่สำหรับนั่งจักมีได้อย่างไร.

ความคิดนั้นของเขา ทำให้เกิดความร้อนแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ของท้าวเทวราชผู้ประทับอยู่ในที่สุดแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรง

ดำริว่า ใครหนอมีความประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่นี้ จึงทรงตรวจดู

ด้วยทิพยจักษุ ก็ได้เห็นพระมหาบุรุษ จึงทรงดำริว่า พราหมณ์นามว่าสุรุจิ

นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วคิดเพื่อต้องการที่นั่ง แม้

เราก็ควรไปในที่นั้นแล้วถือเอาส่วนบุญ จึงทรงนิรมิตร่างเป็นช่างไม้ ถือ

มีดและขวานไปปรากฏเบื้องหน้าของมหาบุรุษกล่าวว่า ใคร ๆ มีกิจที่จะ

ต้องทำด้วยการจ้างบ้าง.

พระมหาบุรุษเห็นช่างไม้นั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจักทำงานอะไร.

ท้าวสักกะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราจะไม่รู้ ย่อมไม่มี ผู้ใดจะให้ทำงาน

ใด จะเป็นบ้านหรือมณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะให้งานนั้นแก่ผู้นั้น. พระ-

มหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรามีงาน. ท้าวสักกะตรัสถามว่า งาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

อะไรนาย พระมหาบุรุษกล่าวว่า เรานิมนต์ภิกษุแสนโกฏิมาฉันพรุ่งนี้

เราจักกระทำมณฑปสำหรับนั่งของภิกษุเหล่านั้น. ท้าวสักกะตรัสว่า

ธรรมดาเรากระทำได้ ถ้าท่านสามารถให้ค่าจ้างเรา. พระมหาบุรุษกล่าวว่า

เราสามารถ พ่อ. ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทำ แล้วไปแลดู

สถานที่แห่งหนึ่ง. สถานที่ประมาณสิบสองสิบสามโยชน์ได้มีพื้นที่ราบเรียบ

เสมือนมณฑลกสิณ. ท้าวสักกะนั้นทรงแลดูแล้วคิดว่า ในที่มีประมาณ

เท่านี้ มณฑปอันล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงผุดขึ้น. ทันใดนั้น มณฑป

ก็ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา.

มณฑปนั้น ที่เสาอันล้วนด้วยทองคำ มีปุ่มแล้วด้วยเงิน ที่เสาอัน

ล้วนด้วยเงิน มีปุ่มล้วนด้วยทองคำ ที่เสาอันล้วนด้วยแก้วมณี มีปุ่มล้วน

ด้วยแก้วประพาฬ ที่เสาล้วนด้วยแก้วประพาฬ มีปุ่มล้วนด้วยแก้วมณี ที่

เสาอันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีปุ่มล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗. ต่อจากนั้น จึง

ทรงแลดูด้วยพระดำริว่า ตาข่ายกระดึงจงห้อยย้อยในระหว่าง ๆ ของ

มณฑป. พร้อมกับทรงมองดูเท่านั้น ตาข่ายก็ห้อยย้อยลง เสียงอันไพเราะ

ของตาข่ายกระดึงซึ่งถูกลมอ่อนรำเพยพัดก็เปล่งเสียงออกมา ดุจเสียงดนตรี

อันประกอบด้วยองค์ ๕ ดูราวกับเวลาที่สังคีตทิพย์บรรเลงอยู่ฉะนั้น.

เมื่อท้าวสักกะทรงพระดำริว่า ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้

จงห้อยย้อยลงในระหว่าง ๆ พวงดอกไม้ทั้งหลายก็ห้อยย้อยลง. พระองค์

ทรงพระดำริว่า ขออาสนะและแท่นรองนั่งของภิกษุนับได้แสนโกฏิ จง

ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา ในทันใดนั้น สิ่งเหล่านั้นก็ผุดขึ้นมา. ทรง

พระดำริว่า ที่ทุก ๆ มุม ขอให้ตุ่มน้ำผุดขึ้นมามุมละใบ ตุ่มน้ำทั้งหลาย

ก็ผุดขึ้นมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ท้าวสักกะทรงนิรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้เสร็จแล้ว จึงไปยัง

สำนักของพราหมณ์กล่าวว่า มาเถิด เจ้า ท่านจงตรวจดูมณฑปของท่าน

แล้วจงให้ค่าจ้างเรา. พระมหาบุรุษจึงไปตรวจดูมณฑป และเมื่อกำลัง

ตรวจดูอยู่นั้นแล สรีระทั้งสิ้นได้สัมผัสกับปีติมีวรรณะ ๕ ชนิดตลอดเวลา

ลำดับนั้น เขามองดูมณฑปแล้วได้มีความคิดดังนี้ว่า มณฑปนี้ ผู้

ที่เป็นมนุษย์กระทำไม่ได้ แต่เพราะอัธยาศัยของเรา คุณของเรา ภพ

ของท้าวสักกะจักร้อนขึ้นเป็นแน่ แต่นั้น ท้าวสักกะเทวราชจักสร้าง

มณฑปนี้ขึ้น. เขาคิดว่า การถวายทานเพียงวันเดียวเท่านั้น ในมณฑป

เห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายสัก ๗ วัน. จริงอยู่ ทาน

ภายนอกแม้มีประมาณเท่านั้น ย่อมไม่สามารถทำความยินดีให้แก่พระ-

โพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความยินดีจะมีได้ เพราะอาศัยการบริจาคของ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในคราวตัดศีรษะที่ประดับแล้ว ควักนัยน์ตาทั้งสอง

ข้างที่หยอดแล้ว หรือเพิกเนื้อหทัยให้ไป.

จริงอยู่ เมื่อพระโพธิสัตว์แม้ของพวกเราสละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะ

ทุกวัน ให้ทานที่ประตูทั้ง ๔ ประตู และที่ท่ามกลางนคร ในเรื่อง

สีวิราชชาดก ทานนั้นไม่สามารถทำความยินดีในการบริจาคให้เกิดขึ้นได้

แต่ในกาลใด ท้าวสักกเทวราชแปลงตัวมาในรูปของพราหมณ์ ขอนัยน์ตา

ทั้งสองข้าง ในกาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ควักนัยน์ตาเหล่านั้น ให้ไป

นั่นแหละ ความร่าเริงจึงจะเกิดขึ้น จิตมิได้มีความเป็นอย่างอื่น แม้

สักเท่าปลายผม ขึ้นชื่อว่าความอิ่มใจเพราะอาศัยทานที่ให้แล้วอย่างนี้

มิได้มีแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเลย. เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ก็คิดว่า เราควรถวายทานแก่ภิกษุนับได้แสนโกฏิ ตลอด ๗ วัน จึงนิมนต์

ให้นั่งในมณฑปนั้น แล้วได้ถวายทานชื่อว่าควปานะ ตลอด ๗ วัน.

ที่เรียกว่าควปานะนั้น ได้แก่โภชนะที่เขาใส่นมสดจนเต็มหม้อ

ใหญ่ ๆ แล้วตั้งบนเตา ใส่ข้าวสารนิดหน่อยลงในนมสดที่เคี่ยวจนงวด

แล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลป่น และเนยใสที่เคี่ยวแล้ว. แต่เฉพาะมนุษย์

เท่านั้นไม่อาจอังคาสได้ แม้เทวดา ทั้งต้องสลับกันจึงจะอังคาสได้. แม้

ที่ประมาณ ๑๒-๑๓ โยชน์ก็ไม่อาจจุภิกษุทั้งหลายได้เพียงพอ แต่ภิกษุ

เหล่านั้นนั่งได้ด้วยอานุภาพของตน.

ก็ในวันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้ล้างบาตรของภิกษุทุกรูป แล้ว

บรรจุเต็มด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เพื่อต้องการ

ให้เป็นเภสัช แล้วได้ถวายพร้อมกับไตรจีวร ผ้าสาฎกที่เป็นจีวรที่ภิกษุ

ผู้เป็นสังฆนวกะได้รับ มีราคาถึงหนึ่งแสน.

พระศาสดา เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า

บุรุษนี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ เขาจักได้เป็นอะไรหนอ ได้ทรงเห็น

ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแห่งสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เขาจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จึงตรัสเรียกพระมหาบุรุษมาแล้ว

ทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลชื่อมีประมาณเท่านี้ตัวท่านจักได้เป็นพระพุทธ-

เจ้ามีนามว่า โคตมะ พระมหาบุรุษได้ฟังพยากรณ์นั้นแล้ว คิดว่า นัยว่า

เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เราจะต้องการอะไรด้วยการอยู่ครองเรือน เรา

จักบวช จึงละทิ้งสมบัติเห็นปานนั้น ประหนึ่งก้อนเขฬะ แล้วบวชใน

สำนักของพระศาสดา เรียนเอาพุทธพจน์ได้แล้ว ทำอภิญญาและสมาบัติ

ให้บังเกิด ในเวลาสิ้นอายุได้บังเกิดในพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้มีนครชื่อว่า อุตตระ แม้บิดาก็

เป็นกษัตริย์พระนามว่าอุตตระ แม้พระมารดาก็เป็นพระเทวีพระนามว่า

อุตตรา พระเถระทั้งสองคือ พระสุเทวะ และพระธรรมเสนะ ได้เป็น

พระอัครสาวก พระเถระนามว่า ปาลิตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรี

ทั้งสอง คือ พระนางสีวลี และพระนางอโสกา ได้เป็นพระอัครสาวิกา

ต้นกากะทิงเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก. เมื่อพระองค์

ดำรงพระชนมายุอยู่เก้าหมื่นปีแล้วปรินิพพาน จักรวาลทั้งหมื่นหนึ่งได้มืด

หมด โดยพร้อมกันทีเดียว. มนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้น ได้ร้องไห้

ปริเทวนาการอย่างใหญ่หลวง.

กาลภายหลังของพระโกณฑัญญะ พระนายกพระนามว่า

มังคละ ทรงถือดวงประทีปคือพระธรรม กำจัดความมืด

ในโลก ฉะนี้แล.

ในกาลหลังแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสด็จปรินิพพาน

กระทำหมื่นโลกธาตุให้มืดด้วยประการอย่างนี้แล้ว พระศาสดาพระนามว่า

สุมนะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก แม้พระองค์ก็มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง.

ในการประชุมครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่กาญจนบรรพต

มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

คราวนั้นพระมหาสัตว์ได้เป็นพญานาคนามว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก. พระมหาสัตว์นั้นได้สดับว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว อันหมู่ญาติห้อมล้อมออกจากนาคพิภพ ให้กระทำการบรรเลงด้วย

ดนตรีทิพย์ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

เป็นบริวาร ยังมหาทานให้เป็นไป ถวายผ้าองค์ละคู่แล้วตั้งอยู่ในสรณ-

คมน์ทั้งสาม.

พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าใน

อนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้มีนครชื่อว่า เมขละ

พระราชาพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สิริมา

เป็นพระมารดา พระเถระทั้งสอง คือ พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ

เป็นพระอัครสาวก พระเถระนามว่า อุเทนะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระ-

เถรีทั้งสอง คือ พระนางโสณา และพระนางอุปโสณา เป็นพระอัครสาวิกา

ต้นกากะทิงเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๙๐ ศอก ประมาณพระชนมายุ

ได้เก้าหมื่นปีพอดี.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ มีพระ-

นายกพระนามว่าสุมนะ หาผู้เสมอมิได้โดยธรรมทั้งปวง

ทรงสูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระสุมนะพระองค์นั้น พระศาสดาพระนามว่า

เรวตะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น. สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ได้มี ๓ ครั้ง

ในสันนิบาตครั้งแรก นับไม่ได้ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ก็

เช่นกัน.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะ ฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะทั้งสาม ประคอง

อัญชลีไว้เหนือศีรษะ ได้ฟังพระคุณในการละกิเลสของพระศาสดาพระ-

องค์นั้น จึงได้บูชาด้วยผ้าอุตราสงค์คือผ้าห่ม. แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์

เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีพระนครชื่อว่า สุธัญญวดี กษัตริย์

พระนามว่า วิปุละ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า วิปุลา เป็น

พระมารดา พระเถระทั้งสอง คือ พระวรุณะ และพระพรหมเทวะ เป็น

พระอัครสาวก พระเถระนามว่า สัมภวะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง

คือ พระนางภัททา และพระนางสุภัททา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิง

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระชนมายุหกหมื่นปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ มีพระ-

นายกพระนามว่าเรวตะ หาผู้เปรียบปานมิได้ หาผู้เสมอ

เหมือนมิได้ ไม่มีผู้เทียมทัน เป็นพระชินเจ้าผู้สูงสุด ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระเรวตะนั้น พระศาสดาพระนามว่า โสภิตะ

ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์นามว่า อชิตะ ฟังพระ-

ธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วตั้งอยู่ในสรณะสาม ได้ถวายมหาทานแก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีพระนครชื่อว่า สุธรรม พระราชา

พระนามว่า สุธรรม เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุธรรมา เป็น

พระมารดา พระเถระทั้งสองคือ พระอสมะ และพระสุเนตตะ เป็นพระ-

อัครสาวก พระเถระชื่อว่า อโนมะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสองคือ

พระนางนกุลา และพระนางสุชาดา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกากะทิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระองค์มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีประมาณพระชนมายุ

เก้าหมื่นปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าเรวตะ ก็มีพระนายกพระ-

นามว่าโสภิตะ มีพระทัยตั้งมั่น มีพระทัยสงบ ไม่มีผู้เสมอ

หาคนเปรียบมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระโสภิตะนั้น ล่วงไปได้อสงไขยหนึ่ง ใน

กัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสี

พระปทุมะ และ พระนารทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี มีสาวกสันนิบาต

๓ ครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุแปดแสน ครั้งที่ ๒ เจ็ดแสน ครั้งที่ ๓ หกแสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นเสนาบดีของยักษ์ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก. เป็นอธิบดีของยักษ์หลายแสนโกฏิ พระโพธิสัตว์นั้นได้

สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงได้มาถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ได้มีพระนครชื่อว่า

จันทวดี พระราชาพระนามว่า ยสวา เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า

ยโสธรา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระนิสภะ

และพระอโนมะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์

คือ พระนางสุนทรี และพระนางสุมนา ต้นรกฟ้าเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้

มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุประมาณได้แสนปีแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ในกาลภายหลังพระโสภิตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าอโนมทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า มีพระยศ

นับไม่ได้ มีพระเดชยากที่ใคร ๆ จะก้าวล่วงได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มีพระศาสดาพระนามว่า

ปทุมะ เสด็จอุบัติขึ้น แม้พระองค์ก็มีสาวกสันตนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุสามแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ

สองแสน ผู้อยู่ในชัฏป่ามหาวัน ในป่าไม่มีบ้าน.

ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้นนั่นเอง พระ-

โพธิสัตว์เป็นราชสีห์ เห็นพระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติ มีจิตเลื่อมใส

จึงไหว้แล้วทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัสบันลือสีหนาทขึ้น ๓ ครั้ง ตลอด

๗ วันมิได้ละปีติอันมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะสุขอันเกิดจากปีติ

นั่นเอง จึงไม่ออกไปหากิน กระทำการบริจาคชีวิต ได้เข้าไปยืนเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. เมื่อล่วงไปได้ ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจาก

นิโรธ ทอดพระเนตรเห็นราชสีห์ ได้ทรงดำริว่า เขายังจิตให้เลื่อมใส

แม้ในภิกษุสงฆ์ ก็จักไหว้พระสงฆ์ แล้วทรงดำริว่า ขอภิกษุสงฆ์จงมา.

ทันใดนั่งเอง ภิกษุทั้งหลายก็มา ฝ่ายราชสีห์ก็ทำจิตให้เลื่อมใสในพระ-

ภิกษุสงฆ์. พระศาสดาทรงตรวจดูใจของราชสีห์นั้นแล้วทรงพยากรณ์

ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมะ

ได้มีนครชื่อว่า จัมปกะ พระราชาพระนามว่า อสมะ เป็นพระบิดา

พระเทวีพระนามว่า อสมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์

คือ พระสาละ และพระอุปสาละ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วรุณะ

มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางรามา และพระนางสุรามา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่าโสณพฤกษ์ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มีพระชนมายุ

แสนปีแล.

กาลภายหลังแห่งพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธ-

เจ้า พระนามว่าปทุมะโดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า

ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบปานได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะนั้น มีพระศาสดา

พระนามว่า นารทะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต

๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าหมื่นโกฏิ

ครั้งที่ ๓ แปดหมื่นโกฏิ

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤๅษี เป็นผู้ปฏิบัติชำนาญใน

อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน ได้กระทำการบูชาด้วยจันทน์แดง. พระศาสดาแม้พระองค์

นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต-

กาล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่าธัญญวดี มี

กษัตริย์พระนามว่า สุเทวะ เป็นพระบิดา มีพระเทวีพระนามว่า อโนมา

เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระภัททสาละ และ

พระชิตมิตตะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า วาเสฏฐะ มีพระอัครสาวิกา

๒ องค์ คือ พระนางอุตตรา และพระนางผัคคุนี ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อว่า

นหาโสณพฤกษ์ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ พระสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

พระนามว่านารทะโดยพระนาม เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า

ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบปานได้ ฉะนี้แล.

ก็ในกาลต่อจากพระนารทะพุทธเจ้า ในที่สุดแสนกัปแต่กัปนี้ไป

ในกัปเดียวมีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว เเม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก

มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่เวภารบรรพต มีภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓

มีภิกษุแปดหมื่นโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นผู้ครองแคว้นใหญ่ชื่อว่า ชฏิละ ได้ถวาย

ทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระศาสดา

แม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ในอนาคตกาล. ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ มิได้มีในกาลแห่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าปทุมุตตระ. เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น

เป็นสรณะ

พระองค์ได้มีนครชื่อว่า หังสวดี กษัตริย์พระนามว่า อานันทะ

เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระมารดา มีพระ-

อัครสาวก ๒ องค์ คือ พระเทวละ และพระสุชาตะ มีพระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า สุมนะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางอมิตา และ

พระนางอสมา มีต้นสาละเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก

รัศมีจากพระสรีระแผ่ไปจดที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ มีพระชนมายุแสนปีแล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ พระชินสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ผู้ไม่กระเพื่อม

ไหว มีอุปมาดังสาคร ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระนั้น ล่วงไปได้

สามหมื่นกัป ในกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสุเมธะ

และพระสุชาตะ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว. แม้พระสุเมธพุทธเจ้าก็มีสาวก-

สันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรกในสุทัสสนนคร มีพระขีณาสพ

ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ครั้งนั้น

พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อว่า อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝังเก็บไว้

นั่นแล ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ฟังธรรม

แล้วตั้งอยู่ในสรณะสาม แล้วออกบวช. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรง

พยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้มีนครชื่อว่า สุทัสสนะ พระ-

ราชาพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระบิดา แม้พระมารดาก็ได้เป็นพระเทวี

พระนามว่า สุทัตตา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระสรณะ และ

พระสัพพกามะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์

คือ พระนางรามา และพระนางสุรามา ต้นสะเดาเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้

มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีพระ-

นายกพระนามว่าสุเมธะ ผู้ที่ใคร ๆ จะเข้าถึงได้ยาก มีพระ-

เดชกล้า เป็นพระมุนีผู้สูงสุดในโลกทั้งปวง ฉะนี้แล.

กาลต่อจากพระสุเมธพุทธเจ้า มีพระศาสดาพระนามว่า สุชาตะ

อุบัติขึ้น. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ

หกล้าน ครั้งที่ ๒ ห้าล้าน ครั้งที่ ๓ สี่ล้าน. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ได้สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ฟังธรรม จึงถวายราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมกับรัตนะทั้ง ๗ แก่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา.

ชาวรัฐทั้งสิ้นต่างถือเอาเงินที่เกิดขึ้นในรัฐ จัดการกิจของตนผู้ทะนุบำรุง

วัดให้สำเร็จ แล้วได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

ตลอดกาลเป็นนิจ. พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ-

สัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ได้มีนครชื่อว่าสุมังคละ พระราชาพระนามว่า อุคคตะ

เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ปภาวดี เป็นพระมารดา มีพระอัคร-

สาวก ๒ องค์ คือ พระสุทัสสนะ และ พระสุเทวะ มีพระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า นารทะ มีพระอัครสาวิกา ๒ พระองค์ คือพระนางนาคา และ

พระนางนาคสมานา มีต้นไผ่ใหญ่ เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้. ได้ยินว่า ต้นไผ่

ใหญ่นั้นมีช่องกลวงน้อย มีลำต้นทึบ มีกิ่งใหญ่ ๆ พุ่งขึ้นข้างบนแลดูเจิดจ้า

ประดุจกำหางนกยูง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีพระสรีระสูง ๕๐

ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล มีพระนายกพระนามว่า สุชาตะ มี

พระหนุดังคางราชสีห์ มีลำพระศอดังคอโคผู้ หาผู้ประมาณ

มิได้ อันใคร ๆ เข้าถึงได้ยาก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า ในที่สุดหนึ่งพันแปดร้อยกัป

แต่กัปนี้ไป ในกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ๓ พระองค์ คือพระ-

ปิยทัสสี พระอรรถทัสสี และพระธรรมทัสสี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ปิยทัสสี ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒

มีภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อว่า กัสสป เป็นผู้เรียนจบ

ไตรเพท ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว จึงให้สร้างสังฆาราม

โดยบริจาคทรัพย์แสนโกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. ลำดับนั้นพระศาสดา

ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ต่อล่วงไปหนึ่งพันแปดร้อยกัป จักได้

เป็นพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนครชื่อว่าอโนมะ. พระราชา

พระนามว่า สุทินนะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า จันทา เป็น

พระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระปาลิตะ และพระสรรพ-

ทัสสี มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า โสภิตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ

พรนางสุชาตา และพระนางธรรมทินนา มีต้นกุ่มเป็นไม้ตรัสรู้ มี

พระสรีระสูง ๘๐ ศอก มีพระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสยัมภูพระนามว่า

ปิยทัสสี ผู้นำโลก อันใคร ๆ เข้าถึงได้ยาก ผู้เสมอกับ

พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระยศใหญ่ ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระปิยทัสสีพุทธเจ้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่า อรรถทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต

๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ มีภิกษุเก้าล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแปดล้าน

แปดแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุเท่านั้นเหมือนกัน. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

เป็นดาบสมีฤทธิ์มากชื่อว่า สุสีมะ นำเอาฉัตรที่ทำด้วยดอกมณฑารพมา

จากเทวโลก แล้วบูชาพระศาสดา. แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ-

สัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น มีนครชื่อว่า โสภณะ พระราชาพระนามว่า สาคระ เป็นพระบิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

พระเทวีพระนามว่า สุทัสสนา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์

คือ พระสันตะ และพระอุปสันตะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า อภยะ มี

พระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางธรรมา และพระนางสุธรรมา ต้น

จำปาเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก รัศมีจากพระสรีระ ได้

แผ่ไปตั้งอยู่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ มีพระชนมายุแสนปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระอรรถทัสสีผู้องอาจในหมู่ชน

ขจัดความมืดอย่างใหญ่แล้ว ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม

ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระอรรถทัสสีพุทธเจ้านั้น พระศาสดาพระนามว่า

ธรรมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง

ครั้งที่ ๑ มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุ

แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช ได้

กระทำการบูชาด้วยดอกไม้หอมอันเป็นทิพย์ และดนตรีทิพย์. พระศาสดา

แม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ในอนาคตกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนครชื่อว่า สรณะ

พระราชาพระนามว่า สรณะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุนันทา

เป็นพระมารดา พระเถระ ๒ องค์ คือ พระปทุมะ และพระผุสสเทวะ

เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า สุเนตตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระ-

เถรี ๒ องค์ คือ พระนางเขมา และพระนางสัพพกามา เป็นพระ-

อัครสาวิกา ต้นรัตตังกุรพฤกษ์เป็นไม้ที่ตรัสรู้ ต้นมะกล่ำเครือก็เรียก

ก็พระสรีระของพระองค์สูงได้ ๘๐ ศอก พระชนมายุได้แสนปีแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระธรรมทัสสีผู้มีพระยศใหญ่

ทรงกำจัดความมืดมนอนธการแล้วรุ่งโรจน์อยู่ในโลก พร้อม

ทั้งเทวโลก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้านั้น ในที่สุดเก้าสิบสี่กัปแต่นี้

ไป ในกัปเดียวมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ พระองค์

เดียวเท่านั้น เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง

สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบ

โกฏิ. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสชื่อว่า มังคละ มีเดชกล้า

สมบูรณ์ด้วยอภิญญาพละ นำเอาผลหว้าใหญ่มาถวายพระคถาคต. พระ-

ศาสดาเสวยผลหว้านั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดเก้าสิบสี่กัป จักได้

เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนครชื่อว่า เวภาระ พระราชา

พระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สุผัสสา เป็น

พระมารดา พระเถระ ๒ องค์ คือ พระสัมพละ และพระสุมิตตะ เป็น

พระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า เรวตะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรี ๒ องค์

คือ พระนางสีวลา และพระนางสุรามา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นกรรณิการ์

เป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุได้แสนปีแล.

หลังจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า พระโลกนายกพระนาม

ว่าสิทธิธัตถะ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เหมือนพระอาทิตย์

โผล่ขึ้นแล้ว ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสิทธัตถพุทธเจ้านั้น ในที่สุดเก้าสิบสองกัปแต่นี้

ไป มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์บังเกิดในกัปเดียวกัน คือ พระติสสะ

และพระผุสสะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าติสสะ มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปด-

สิบโกฏิ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์พระนามว่า สุชาตะ มีโภค-

สมบัติมาก มียศยิ่งใหญ่ บวชเป็นฤๅษี ได้ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก

สดับว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงถือเอาดอกมณฑารพ ดอกปทุม

และดอกปาริฉัตร อันเป็นทิพย์ ไปบูชาพระตถาคตผู้เสด็จดำเนินไปใน

ท่ามกลางบริษัท ๔ ได้กระทำเพดานดอกไม้ในอากาศ. พระศาสดาแม้

พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในที่สุด ๙๒ กัปแต่นี้ไป

จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า

เขมะ กษัตริย์พระนามว่า ชนสันธะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า

ปทุมา เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระพรหมเทวะ

และพระอุทยะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สุมนะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์

คือ พระนางผุสสา และพระนางสุทัตตา ต้นประดู่ลายเป็นไม้ที่ตรัสรู้

มีพระสรีระสูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุแสนปีแล.

กาลต่อจากพระสิทธัตถพุทธเจ้า ก็มีพระติสสพุทธเจ้าซึ่ง

ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบปาน มีเดชหาที่สุดมิได้ มี

พระยศนับมิได้ เป็นนายกผู้เลิศในโลกแล.

กาลต่อจากพระติสสพุทธเจ้านั้นไป พระศาสดาพระนามว่า ผุสสะ

ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุหกล้าน ครั้งที่ ๒ ห้าล้าน ครั้งที่ ๓ สามล้านสองแสน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า วิชิตาวี ทรงละ

๑. บางแห่งเป็นปุสสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

ราชสมบัติใหญ่ บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระไตรปิฎกแล้ว

แสดงธรรมกถาแก่มหาชน และบำเพ็ญศีลบารมี. พระศาสดาแม้พระองค์

นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า กาสี พระราชาพระนามว่า ชยเสนะ

เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า สิริมา เป็นพระมารดา มีพระอัคร-

สาวก ๒ องค์ คือ พระสุรักขิตะ และ พระธรรมเสนะ มีพระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า สภิยะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางจาลา และพระนาง

อุปจาลา มีต้นมะขามป้อมเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก มี

พระชนมายุเก้าหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล ได้มีพระศาสดาพระนามว่า ผุสสะ

เป็นผู้ยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ เป็นผู้เสมอด้วยพระพุทธ-

เจ้าซึ่งหาผู้เสมอมิได้ ทรงเป็นนายกผู้เลิศในโลก ฉะนี้แล.

กาลต่อจากพระผุสสะพระองค์นั้น ในกัปที่ ๙๑ แต่นี้ไป พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวก

สันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุหกล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒

หนึ่งแสน ครั้งที่ ๓ แปดหมื่น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นนาคราช

ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งใหญ่ทำด้วยทอง ขจิต

ด้วยแก้ว ๗ ประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์

เขาว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่นี้ไป จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น มีนครชื่อว่า พันธุมดี พระราชาพระนามว่า พันธุมะ เป็น

พระบิดา พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระมารดา มีพระอัคร-

สาวก ๒ องค์ คือ พระขัณฑะ และพระติสสะ มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

พระอโสกะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางจันทา และพระนาง

จันทมิตตา มีต้นแคฝอยเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก พระ-

รัศมีจากพระสรีระได้เเผ่ไปตั้งอยู่ ๗ โยชน์ ในกาลทุกเมื่อ มีพระชนมายุ

แปดหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระผุสสพุทธเจ้า มีพระสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่าริปัสสีโดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ผู้มีจักษุญาณ

ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระวิปัสสีพระองค์นั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป ได้มี

พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสิขี และ พระเวสสภู. แม้พระสิขี

ผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้งแรก มีภิกษุ

หนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ แปดหมื่น ครั้งที่ ๓ เจ็ดหมื่น

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาพระนามว่า อรินทมะ ได้

ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้ว

ถวายช้างแก้ว ซึ่งประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วได้ถวายกัปปิยภัณฑ์

ให้มีขนาดเท่าตัวช้าง พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิ-

สัตว์นั้นว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีนครชื่อว่า อรุณวดี กษัตริย์พระนามว่า

อรุณ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ปภาวดี เป็นพระมารดา มี

พระอัครสาวก ๒ องค์ คือ พระอภิภู และพระสัมภวะ มีพระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า เขมังกร มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนางขสิลา และ

พระนางปทุมา มีต้นบุณฑริก (ต้นมะม่วง) เป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

สูง ๗๐ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระได้แผ่ไปตั้งอยู่ ๓ โยชน์ มีพระชน-

มายุเจ็ดหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระวิปัสสี ได้มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระชินเจ้าซึ่งไม่มีผู้เสมอ

หาบุคคลเปรียบปานมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระสิขีพระองค์นั้น พระศาสดาพระนามว่า เวสสภู

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง สันนิบาตครั้ง

แรก มีภิกษุแปดหมื่น ครั้งที่ ๒ เจ็ดหมื่น ครั้งที่ ๓ หกหมื่น.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาพระนามว่า สุทัสสนะ

ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

แล้วบวชในสำนักของพระเวสสภูนั้น สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ มากไปด้วย

ความยำเกรงและความปีติในพระพุทธรัตนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระ-

องค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในกัปที่ ๓๑ แต่นี้ไป จักได้

เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า อโนมะ

พระราชาพระนามว่า สุปปตีตะ เป็นพระบิดา พระเทวีพระนามว่า ยสวดี

เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระโสณะ และ พระอุตตระ

มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า อุปสันตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์ คือ พระนาง

รามา และพระนาง สุรามา มีตันสาละเป็นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง

๖๐ ศอก มีพระชนมายุหกหมื่นปีแล.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระชินเจ้าพระองค์นั้น พระนามว่า

เวสสภู โดยพระนาม ไม่มีผู้เสมอ หาบุคคลเปรียบปานมิได้

เสด็จอุบัติแล้วในโลก ฉะนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ในกาลต่อจากพระเวสสภูนั้น ในกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และ

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะมีสาวก-

สันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้น มีภิกษุสี่หมื่น.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชานามว่าเขมะ ถวาย

มหาทานพร้อมทั้งจีวร และเภสัชมียาหยอดตาเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน พึงพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วบวช

พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็น

พระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะมีนครชื่อว่า เขมะ พราหมณ์นามว่า

อัคคิทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า วิสาขา เป็นพระมารดา

มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระวิธุระ และพระสัญชีวะ มีพระอุปัฏฐาก

ชื่อว่า พุทธิชะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนางสามา และพระ-

นางจัมปา มีต้นซึกใหญ่เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระสูง ๔๐ ศอก มี

พระชนมายุสี่หมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระเวสสภู มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ โดยพระนาม ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ประมาณ

ไม่ได้ เข้าถึงได้โดยยาก ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระกกุสันธะนั้น พระศาสดาพระนามว่า โกนา-

คมนะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น

ในสาวกสันนิบาตนั้น มีภิกษุสามหมื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาพระนามว่า ปัพพตะ อันหมู่

อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนา

แล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ยังมหาทานให้เป็นไป

แล้ว ถวายผ้าปัตตุณณะ (ผ้าไหมที่ซักแล้ว) ผ้าจีนปฏะ (ผ้าขาวในเมือง

จีน) ผ้าโกไสย (ผ้าทอด้วยไหม) ผ้ากัมพล (ผ้าทำด้วยขนสัตว์) ผ้าทุกูละ

(ผ้าทำด้วยเปลือกไม้) และเครื่องลาดขนสัตว์ทำด้วยทอง แล้วบวชใน

สำนักของพระศาสดา. พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์พระ-

โพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนครชื่อว่า โสภวดี พราหมณ์

นามว่า ยัญญทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า อุตตรา เป็นพระ-

มารดา มีพระอัครสาวก ๒ องค์คือ พระภิยยสะ และพระอุตตระ มี

พระอุปัฏฐากชื่อว่า โสตถิชะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนาง

สมุททา และพระนางอุตตรา มีต้นมะเดื่อเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ

สูง ๓๐ ศอก มีพระชนมายุสามหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระกกุสันธะ มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

โกนาคมนะ. ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระชินเจ้าผู้โลก-

เชษฐ์องอาจในหมู่คน ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระโกนาคมนะนั้น พระศาสดาพระนามว่า กัสสปะ

อุบัติขึ้นแล้ว แม้พระองค์ก็มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น, ในสาวก

สันนิบาตนั้น มีภิกษุสองหมื่น. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมาณพ

ชื่อว่า โชติปาละ สำเร็จไตรเพท เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและ

กลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ พระโพธิสัตว์นั้นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

เฝ้าพระศาสดาพร้อมกับช่างหม้อนั้น ได้ฟังธรรมกถาแล้วบวช ลงมือทำ

ความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎกทำพระพุทธศาสนาให้งดงาม เพราะถึง

พร้อมด้วยวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ พระศาสดาแม้พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์นั้นว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

นครที่ประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีนามว่า พาราณสี

พราหมณ์นามว่า พรหมทัตตะ เป็นพระบิดา พราหมณีนามว่า ธนวดี

เป็นพระมารดา มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระติสสะ และพระภารทวาชะ

มีพระอุปัฏฐากชื่อว่า สรรพมิตตะ มีพระอัครสาวิกา ๒ องค์คือ พระนาง

อนุฬา และพระนาง อุรุเวฬา มีต้นนิโครธเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ มีพระสรีระ

สูง ๒๐ ศอก มีพระชนมายุสองหมื่นปีแล.

กาลต่อจากพระโกนาคมนะ พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะโดยพระโคตร ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า เป็นพระ-

ธรรมราชา ผู้ทรงทำแสงสว่าง ฉะนี้แล.

ก็ในกัปที่พระทีปังกรทศพลเสด็จอุบัติขึ้นนั้น แม้จะมีพระพุทธเจ้า

องค์อื่น ๆ ถึง ๓ พระองค์ แต่พระโพธิสัตว์มิได้รับการพยากรณ์ในสำนัก

ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายนั้นไว้ในที่นี้ แต่ในอรรถกถา เพื่อที่จะแสดงพระพุทธเจ้าแม้

ทั้งหมด ตั้งแต่พระทีปังกรไป จึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ คือพระตัณหังกร พระเมธังกร

พระสรณังกร พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า พระโกณฑัญญะผู้

สูงสุดกว่านระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตมุนี

พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ พทุมมุตตระ

พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่

พระอัตถทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะผู้โลกนายก

พระติสสะ พระผุสสสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี

พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ

ผู้นายก

ล้วนปราศจากราคะ มีพระหทัยตั้งมั่น ทรงบรรเทาความ

มืดอย่างใหญ่ได้ เหมือนพระอาทิตย์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ-

สัมพุทธเจ้าเหล่านั้นพร้อมทั้งพระสาวก ลุกโพลงแล้วประดุจ

กองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว.

บรรดาพระพุทธเจ้าเหล่านั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย ได้

กระทำอธิการไว้ในสำนักของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกร

เป็นต้น มาตลอดสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. ก็กาลต่อจากพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้แล้ว ไม่มี

พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. ก็พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ในสำนักของ

พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น ดังพรรณนา

มาฉะนี้แล้ว จึงทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมมีความเป็นผู้มีทานบารมีเป็นต้น

ที่พระโพธิสัตว์นี้ประมวลธรรม ๘ ประการนี้ที่ว่า

อภินีหารคือความปรารถนาอย่างจริงจัง ย่อมสำเร็จเพราะ

ประมวลธรรม ๘ ประการเข้าไว้คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความ

สมบูรณ์ด้วยเพศ ( ชาย) ๑ เหตุ (ที่จะได้บรรลุพระอรหัต) ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

ได้พบเห็นพระศาสดา ๑ ได้บรรพชา ๑ สมบูรณ์ด้วยคุณ

(คือได้อภิญญาและสมาบัติ) การกระทำอันยิ่ง (สละชีวิต

ถวายพระพุทธเจ้า)๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ (อุตสาหะพากเพียร

มาก) ๑.

แล้วกระทำอภินีหารไว้ที่บาทมูลของพระทีปังกร แล้วกระทำความ

อุตสาหะว่า เอาเถอะ เราจะค้นหาธรรม อันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า

ทั่วทุกด้าน ซึ่งได้เห็นแล้วว่า ครั้งนั้น เราค้นหาอยู่ ก็ได้พบเห็นทาน-

บารมีข้อแรก บำเพ็ญมาจนกระทั่งอัตภาพเป็นพระเวสสันดร และเมื่อ

ดำเนินมา ก็ดำเนินมาเพราะได้ประสบอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ผู้ที่ได้

กระทำอภินิหารไว้ ซึ่งท่านพรรณนาไว้ว่า

นรชนผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทุกประการ ผู้เที่ยงต่อพระ-

โพธิญาณอย่างนี้ ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนานแท้ด้วยร้อย

โกฏิกัป

จะไม่เกิดในอเวจีมหานรก และในโลกันตรนรกก็เช่นกัน

แม้เมื่อเกิดในทุคติ จะไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิ-

ปาสาเปรต และกาลกัญชิกาสูร

ไม่เป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ เมื่อเกิดในมนุษย์ก็จะไม่เป็นคน

ตาบอดแต่กำเนิด

ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เกิดเป็นสตรี ไม่

เป็นอุภโตพยัญชนกะและกะเทย.

นรชนผู้เที่ยงต่อพระโพธิญาณ จะไม่ติดพันในสิ่งใด

พ้นจากอนันตริยกรรม เป็นผู้มีโคจรสะอาดในที่ทุกสถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ไม่ซ่องเสพมิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นกรรมและผลของการ

กระทำ แม้จะไปเกิดในสวรรค์ก็จะไม่เกิดเป็นอสัญญีสัตว์

ในเหล่าเทพชั้นสุทธาวาส ก็ไม่มีเหตุที่จะไปเกิด. เป็น

สัตบุรุษ น้อมใจไปในเนกขัมมะ พรากจากภพน้อยใหญ่

ประพฤติแต่ประโยชน์แก่โลก บำเพ็ญบารมีทั้งปวง ดังนี้.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอยู่ ไม่มีปริมาณของ

อัตภาพที่บำเพ็ญเพื่อความเป็นผู้มีทานบารมี คือกาลเป็นพราหมณ์ชื่อว่า

อกิตติ กาลเป็นพราหมณ์ชื่อ สังขะ กาลเป็นพระเจ้าธนัญชัย กาลเป็น

พระเจ้ามหาสุทัสสนะ กาลเป็นมหาโควินทะ กาลเป็นพระเจ้านิมิมหา-

ราช การเป็นพระจันทกุมาร กาลเป็นวิสัยหเศรษฐี กาลเป็นพระเจ้า

สีวิราช กาลเป็นพระเวสสันดรราชา ก็โดยแท้จริง ในสสบัณฑิตชาดก

ความเป็นทานบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคคนอย่างนี้ว่า

เราเห็นเขาเข้ามาเพื่อภิกษา จึงบริจาคตนของตน ผู้เสมอ

ด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นผู้มีศีลบารมี คือใน

กาลเป็นสีลวนาคราช กาลเป็นจัมเปยยนาคราช กาลเป็นภูริทัตตนาคราช

กาลเป็นพญาช้างฉัตทันต์ กาลเป็นชัยทิสราชบุตร กาลเป็นอลีน-

สัตตุกุมาร ก็เหลือที่จะนับได้. ก็โดยที่แท้ ในสังขปาลชาดก ความ

เป็นผู้มีศีลบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคคนอยู่อย่างนี้ว่า

เราถูกแทงด้วยหลาวก็ดี ถูกแทงด้วยหอกก็ดี มิได้โกรธ

พวกลูกของนายบ้านเลย นี้เป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์สละราชสมบัติใหญ่ บำเพ็ญความเป็น

ผู้มีเนกขัมมบารมี คือในกาลเป็นโสมนัสสกุมาร กาลเป็นหัตถิปาลกุมาร

กาลเป็นอโยฆรบัณฑิต จะนับประมาณมิได้. ก็โดยที่แท้ ในจูฬสุตโสม-

ชาดก ความเป็นเนกขัมมบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้สละราชสมบัติออก

บวช เพราะความเป็นผู้ไม่มีความติดข้องอย่างนี้ว่า

เราสละราะสมบัติใหญ่ที่อยู่ในเงื้อมมือ ประดุจก้อนเขฬะ

เมื่อละทิ้ง ไม่มีความข้องเลย นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา

ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นผู้มีปัญญาบารมี คือ

ในกาลเป็นวิธุรบัณฑิต กาลเป็นมหาโควินทบัณฑิต กาลเป็นกุททาล-

บัณฑิต กาลเป็นอรกบัณฑิต กาลเป็นโพธิปริพาชก กาลเป็นมโหสถ-

บัณฑิต จะนับประมาณมิได้. ก็โดยที่แท้ ในสัตตุภัสตชาดก ความเป็น

ปัญญาบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้แสดงงูที่อยู่ในกระสอบ ในคราวเป็น

เสนกบัณฑิตว่า

เราใช้ปัญญาใคร่ครวญอยู่ ได้ช่วยปลดเปลื้องพราหมณ์

ให้พ้นจากทุกข์ ผู้เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้เป็นปัญญา

บารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อัตภาพที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญความเป็นวิริยบารมีเป็นต้น ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

เหลือที่ประมาณได้. ก็โดยที่แท้ ในมหาชนกชาดก ความเป็นวิริยบารมี

ของพระโพธิสัตว์ผู้ว่ายข้ามมหาสมุทรอยู่อย่างนี้ว่า

ในท่ามกลางน้ำ เราไม่เห็นฝั่งเลย พวกมนุษย์ถูกฆ่าตาย

หมด เราไม่มีจิตเป็นอย่างอื่นเลย นี้เป็นวิริยบารมีของเรา

ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในขันติวาทีชาดก ความเป็นขันติบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้อดกลั้น

มหันตทุกข์ได้ เหมือนไม่มีจิตใจอย่างนี้ว่า

เมื่อพระเจ้ากาสีฟาดฟันเราผู้เหมือนไม่มีจิตรใจ ด้วยขวาน

อันคมกริบ เราไม่โกรธเลย นี้เป็นขันติบารมีของเรา ดังนี้ .

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในมหาสุตโสมชาดก ความเป็นสัจบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้สละ

ชีวิตตามรักษาสัจจะอยู่อย่างนี้ว่า

เราเมื่อจะตามรักษาสัจวาจา ได้สละชีวิตของเราปลด-

เปลื้องกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้แล้ว นี้เป็นสัจบารมีของเรา

ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในมูคปักขชาดก ความเป็นอธิษฐานบารมี ของพระโพธิสัตว์ ผู้

สละแม้ชีวิตอธิษฐานวัตรอยู่อย่างนี้ว่า

มารดาบิดาได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศใหญ่ก็มิได้

เป็นที่เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา

เพราะฉะนั้น เราจึงอธิษฐานวัตร ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในสุวรรณสามชาดก ความเป็นเมตตาบารมี ของพระโพธิสัตว์

ผู้ไม่เหลียวแลแม้แต่ชีวิต มีความเมตตาอยู่อย่างนี้ว่า

ใคร ๆ ก็ทำให้เราสะดุ้งไม่ได้ ทั้งเราก็มิได้หวาดกลัวต่อ

ใคร ๆ เราอันกำลังเมตตาค้ำชู จึงยินดีอยู่ในป่าได้ทุกเมื่อ

ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ในโลมหังสชาดก ความเป็นอุเบกขาบารมี ของพระโพธิสัตว์ผู้เมื่อ

พวกเด็กชาวบ้านยังความสุขและความทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยการถ่มน้ำลายใส่

เป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้และของหอมเข้ามาบูชาเป็นต้น ก็ไม่

ประพฤติล่วงเลยอุเบกขาอย่างนี้ว่า

เราหนุนซากศพเหลือแต่กระดูก สำเร็จการนอนในป่าช้า

พวกเด็กชาวบ้านพากันเข้ามาแสดงรูป (อาการ) นานัปการ

ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

นี้เป็นความสังเขปในที่นี้ ส่วนข้อความพิสดารนั้น พึงถือเอาจาก

จริยาปิฎก. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่

ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร กระทำบุญใหญ่ อันเป็นเหตุให้แผ่นดิน

ใหญ่ไหวเป็นต้น อย่างนี้ว่า

แผ่นดินนี้หาจิตใจมิได้ ไม่รู้สึกสุขและทุกข์ แม้แผ่นดิน

นั้นก็ได้ไหวแล้วถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา ดังนี้.

ในเวลาสิ้นสุดแห่งอายุ จุติจากอัตภาพนั้นได้ไปเกิดในดุสิตพิภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ฐานะมีประมาณเท่านี้ จำเดิมแต่บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกร จนถึง

พระโพธิสัตว์นี้บังเกิดในดุสิตบุรี พึงทราบว่า ชื่อทูเรนิทาน ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบทูเรนิทานกถา

อวิทูเรนิทานกถา

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในดุสิตบุรีนั้นแล ชื่อว่าความโกลาหล คือ

ความแตกตื่นเรื่องพระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นแล้ว. จริงอยู่ ในโลกย่อมมี

ความโกลาหล ๓ ประการเกิดขึ้น คือ โกลาหลเรื่องกัป ๑ โกลาหลเรื่อง

พระพุทธเจ้า ๑ โกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ ๑.

บรรดาโกลาหลทั้งสามนั้น เทพชั้นกามาวจรชื่อว่าโลกพยูหะทราบว่า

ล่วงไปแสนปี เหตุเกิดตอนสิ้นกัปจักมี จึงปล่อยศีรษะสยายผม มีหน้า

ร้องไห้เอามือทั้งสองเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง ทรงเพศผิดรูปร่างเหลือเกิน

เที่ยวบอกกล่าวไปในถิ่นมนุษย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

ล่วงแสนปีจากนี้ไป เหตุเกิดตอนสิ้นกัปจักมี โลกนี้จักพินาศ แม้มหา-

สมุทรจะเหือดแห้ง มหาปฐพีนี้กับขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้ จักพินาศ

โลกาวินาศ จักมีจนกระทั่งพรหมโลก ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอพวก

ท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จงบำรุงมารดาบิดา จง

ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เป็นใหญ่ในตระกูล นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องกัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

เหล่าโลกบาลเทวดาทราบว่า ก็เมื่อล่วงไปพันปี พระสัพพัญญู-

พุทธเจ้าจักอุบัติขึ้นในโลก จึงเที่ยวป่าวร้องว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

ทั้งหลาย เมื่อล่วงพันปีแต่นี้ไป พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้นใน

โลก นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้า.

เทวดาทั้งหลายทราบว่า ล่วงไปร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักอุบัติ

ขึ้น จึงเที่ยวป่าวร้องว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยล่วงร้อยปีแต่

นี้ไป พระเจ้าจักรพรรดิจักอุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระเจ้า-

จักรพรรดิ.

โกลาหลทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นเรื่องใหญ่.

บรรดาโกลาหลทั้งสามนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ได้ฟัง

เสียงโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้าแล้วจึงร่วมประชุมกัน ได้ทราบว่า สัตว์

ชื่อโน้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปหาเขาแล้วพากันอ้อนวอน และ

เมื่ออ้อนวอนอยู่ ก็จะอ้อนวอนในเพราะบุรพนิมิตทั้งหลาย.

ก็ในครั้งนั้น เทวดาแม้ทั้งปวงนั้น พร้อมกับท้าวจาตุมหาราช

ท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวสุนิมมิต ท้าววสวัตดี และ

ท้าวมหาพรหม พากันประชุมในจักรวาลเดียวกัน แล้วไปยังสำนักของ

พระโพธิสัตว์ในดุสิตพิภพ ต่างอ้อนวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่าน

บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ มา หาได้ปรารถนาสักกสมบัติ มารสมบัติ พรหม-

สมบัติ และจักรพรรดิสมบัติบำเพ็ญไม่ แต่ท่านปรารถนาพระสัพพัญญุต-

ญาณบำเพ็ญ เพื่อต้องการจะรื้อขนสัตว์ออกจากโลก ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

บัดนี้นั้นเป็นกาลที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นสมัยที่ท่านจะเป็น

พระพุทธเจ้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์มิได้ให้ปฏิญญาแก่เทวดาทั้งหลายทันที จะ

ตรวจดู ปัญจมหาวิโลกนะ คือสิ่งที่จะต้องเลือกใหญ่ ๕ ประการ คือ

กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และกำหนดอายุของมารดา.

ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาลข้อแรกว่า เป็น

กาลสมควรหรือกาลไม่สมควร. ในเรื่องกาลนั้น กาลแห่งอายุที่เจริญเกิน

กว่าแสนปี ชื่อว่าเป็นกาลไม่สมควร. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ในกาล

นั้น ชาติ ชรา และมรณะของสัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏ และพระธรรม-

เทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อ

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวกเขาจะคิดว่า

พระองค์ตรัสข้อนี้ชื่ออะไร จึงย่อมไม่เห็นสำคัญว่า จะควรฟัง และควร

เชื่อ แต่นั้น การตรัสรู้มรรคผลก็จะมีไม่ได้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้มรรคผล

ศาสนาคือคำสอนจะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. เพราะฉะนั้น กาลนั้น

จึงเป็นกาลไม่สมควร. แม้กาลแห่งอายุหย่อนกว่าร้อยปี ก็ชื่อว่าเป็นกาล

ไม่สมควร เพราะเหตุไร ? เพราะว่าในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา

และโอวาทที่ให้แก่สัตว์ผู้มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฐานเป็นโอวาท จะ

ปราศจากไปเร็วพลัน เหมือนรอยไม้ขีดในน้ำ เพราะฉะนั้น แม้กาลนั้น

ก็เป็นกาลไม่สมควร. กาลแห่งอายุตั้งแต่แสนปีลงมา และตั้งแต่ร้อยปีขึ้น

ไป ชื่อว่าเป็นกาลสมควร และกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งอายุร้อยปี ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์ก็มองเห็นกาลว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

จากนั้น เมื่อจะตรวจดูทวีป ได้ตรวจดูทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีป

บริวาร จึงเห็นทวีปหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บังเกิดในทวีปทั้งสาม

บังเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

จากนั้น ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณ

หมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศไหนหนอ จึงตรวจดู

โอกาสก็ได้เห็นมัชฌิมประเทศ. ชื่อว่ามัชฌิมประเทศ คือประเทศที่ท่าน

กล่าวไว้ในวินัยอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออกมีนิคมชื่อกชังคละ ถัดจากนั้น

ไป เป็นมหาสาลประเทศ ถัดจากมหาสาลประเทศนั้นไป เป็นปัจจันต-

ชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ มี

แม่น้ำชื่อว่าสัลลวดี ถัดจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วม

ในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศใต้ มีนิคมชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัด

จากเสตกัณณิกนิคมนั้นไป เป็นปัจจัย ชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิม-

ประเทศ. ในทิศตะวันตก มีพราหมณคามชื่อว่าถูนะ ถัดจากนั้นไป

เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามาเป็นมัชฌิมประเทศ. ในทิศเหนือ มี

ภูเขาชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้า

มา เป็นมัชฌิมประเทศ. มัชฌิมประเทศนั้นยาวสามร้อยโยชน์ กว้าง

สองร้อยห้าสิบโยชน์ วัดโดยรอบได้เก้าร้อยโยชน์ ดังนี้ ในประเทศนั้น

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาสาวก

พระเจ้าจักรพรรดิ และขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหบดี

มหาศาล ผู้มเหสักข์เหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น และนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์นี้ก็ตั้ง

อยู่ในมัชฌิมประเทศนี้ พระโพธิสัตว์จึงได้ถึงความตกลงใจว่า เราควร

บังเกิดในนครนั้น.

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะเลือกดูตระกูล จึงเห็นตระกูลว่า

ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดในตระกูลแพศย์หรือตระกูลศูทร

แต่จะบังเกิดในตระกูลทั้งสองเท่านั้น คือตระกูลกษัตริย์หรือตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

พราหมณ์ที่โลกยกย่องแล้ว ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลก

ยกย่องแล้ว เราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่า

สุทโธทนะ จักเป็นพระบิดาของเรา.

ต่อจากนั้น จึงเลือกดูมารดาได้เห็นว่า ธรรมดามารดาของพระ-

พุทธเจ้า ย่อมไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลงสุรา แต่จะเป็นผู้ได้

บำเพ็ญบารมีมาแสนกัป เป็นผู้มีศีลห้าไม่ขาดเลย จำเดิมแต่เกิดมา. ก็

พระเทวีพระนามว่ามหามายานี้ ทรงเป็นเช่นนี้ พระนางมหามายานี้ จัก

เป็นพระมารดาของเรา เมื่อตรวจดูว่า พระนางจะมีพระชนมายุเท่าไร

ก็เห็นว่า หลังจาก ๑๐ เดือนไปแล้ว จะมีพระชนมายุได้ ๗ วัน.

พระโพธิสัตว์ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ด้วยประการดังนี้

แล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถึงกาลที่เราจะเป็นพระ-

พุทธเจ้าแล้ว เมื่อจะกระทำการสงเคราะห์เทวดาทั้งหลาย จึงได้ให้ปฏิญญา

แล้วส่งเทวดาเหล่านั้นไปด้วยคำว่า ขอพวกท่านไปได้ อันเทวดาชั้นดุสิต

ห้อมล้อมแล้วเข้าไปสู่นันทนวัน ในดุสิตบุรี จริงอยู่ ในเทวโลกทุกชั้น

มีนันทนวันทั้งนั้น ในนันทนวันนั้น เทวดาทั้งหลายจะเที่ยวคอยเตือน

ให้พระโพธิสัตว์นั้นระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน

ว่า ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติเถิด ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติเถิด.

พระโพธิสัตว์นั้นอันเทวดาทั้งหลาย ผู้เตือนให้ระลึกถึงกุศลอย่างนี้ ห้อม

ล้อมเที่ยวไปอยู่ในนันทนวันนั่นแล ได้จุติแล้วถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระนางมหามายาเทวี. เพื่อที่จะให้เรื่องการถือปฏิสนธินั้นชัดแจ้ง จึงมี

ถ้อยคำบรรยายโดยลำดับ ดังต่อไปนี้:-

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ในนครกบิลพัสดุ์ได้มีการนักขัตฤกษ์เดือน ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

อย่างเอิกเกริก มหาชนเล่นงานนักขัตฤกษ์กัน. ฝ่ายพระนางมหามายาเทวี

ตั้งแต่วันที่ ๗ ก่อนวันเพ็ญ ทรงร่วมเล่นงานนักขัตฤกษ์ที่เพียบพร้อมด้วย

ดอกไม้เเละของหอมอันสง่าผ่าเผย ไม่มีการดื่มสุรา ในวันที่ ๗ ตั้งแต่เช้า

ตรู่ สรงสนานด้วยน้ำเจือน้ำหอม ทรงสละพระราชทรัพย์สี่แสน ถวายมหา-

ทานแล้ว ทรงประดับด้วยเครื่องราชอลังการทั้งปวง เสวยพระกระยาหาร

อย่างดี ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าห้องอันมีสิริที่ประดับตกแต่ง

แล้ว บรรทมเหนือพระสิริไสยาสน์ ก้าวลงสู่ความหลับ ได้ทรงพระสุบิน

ดังนี้ว่า

นัยว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ยกพระนางขึ้นไปพร้อมกับ

พระที่ไสยาสน์ แล้วนำไปยังป่าหิมพานต์วางลงบนพื้นมโนศิลามีประมาณ

๖๐ โยชน์ ภายใต้ต้นสาละใหญ่มีขนาด ๗ โยชน์ แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วน

สุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น เหล่าพระเทวีของท้าวมหาราชเหล่านั้น พากัน

มานำพระเทวีไปยังสระอโนดาต ให้สรงสนาน เพื่อที่จะชำระล้างมลทิน

ของมนุษย์ออก แล้วให้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ ให้ทรงลูบไล้ด้วยของหอม

ให้ทรงประดับดอกไม้ทิพย์ ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น มีภูเขาเงินลูกหนึ่ง

ภายในภูเขาเงินนั้นมีวิมานทอง พวกเขาให้ตั้งพระที่ไสยาสน์อันเป็น

ทิพย์ มีเบื้องพระเศียรอยู่ทางทิศตะวันออก ในวิมานทองนั้น แล้วให้

บรรทม. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างตัวประเสริฐสีขาว ท่องเที่ยว

ไปในภูเขาทองลูกหนึ่งซึ่งมีอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น ได้ลงจากภูเขาทอง

นั้นแล้วขึ้นไปยังภูเขาเงิน เดินมาทางทิศเหนือ ได้เอาวงซึ่งมีสีดังพวง

เงินจับดอกปทุมสีขาว เปล่งเสียงโกญจนาทเข้าไปยังวิมานทอง กระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ประทักษิณพระที่ไสยาสน์ของพระมารดา ๓ ครั้ง ได้เป็นเสมือนผ่าพระ-

ปรัศว์เบื้องขวาเข้าสู่พระครรภ์. พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิด้วยนักขัตฤกษ์

เดือน ๘ หลัง ด้วยประการฉะนี้.

วันรุ่งขึ้น พระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้วกราบทูลพระสุบินนั้นแด่

พระราชา พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้าประมาณ ๖๔ คน

เข้าเฝ้า ให้ปูลาดอาสนะอันควรค่ามากบนพื้นที่ฉาบทาด้วยโคมัยสด มี

เครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น ให้ใส่ข้าวปายาส

ชั้นเลิศที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเต็มถาดทองและเงิน

เอาถาดทองและเงินนั่นแหละ ครอบแล้วได้ประทานแก่เหล่าพราหมณ์ผู้นั่ง

อยู่บนอาสนะนั้น และทรงให้พราหมณ์เหล่านั้นอิ่มหนำด้วยสิ่งของอื่น ๆ

มีการประทานผ้าใหม่ และแม่โคแดงเป็นต้น ทีนั้น จึงรับสั่งให้บอก

พระสุบินแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง แล้ว

ตรัสถามว่า จักมีเหตุการณ์อะไร. พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงพระปริวิตกเลย พระเทวีทรงตั้งพระ-

ครรภ์แล้ว และพระครรภ์ที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นครรภ์บุรุษ มิใช่ครรภ์สตรี

พระองค์จักมีพระโอรส ถ้าพระโอรสนั้นทรงครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้า-

จักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกจากเรือนทรงผนวช จักได้เป็นพระพุทธเจ้ามี

กิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก.

ก็ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา

นั่นแหละ เหมือนโลกธาตุทั้งสิ้นได้สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวขึ้นพร้อมกัน

ทันที. ปุพพนิมิต ๓๒ ประการ ได้ปรากฏขึ้นแล้วในหมื่นจักรวาล ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

แสงสว่างหาประมาณมิได้แผ่ซ่านไป, พวกคนตาบอดกลับได้ดวงตา ประ-

หนึ่งว่ามีความประสงค์จะดูพระสิรินั้นของพระโพธิสัตว์นั้น. พวกคน

หูหนวกได้ยินเสียง, พวกคนใบ้พูดจาได้, พวกคนค่อมก็มีตัวตรง, พวก

คนง่อยก็กลับเดินได้ด้วยเท้า, สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำก็หลุดพ้นจากเครื่อง

จองจำมีขื่อคาเป็นต้น ไฟในนรกทั้งปวงก็ดับ, ในเปรตวิสัย ความหิว

กระหายก็ระงับ. เหล่าสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีความกลัว. โรคของสัตว์ทั้งปวง

ก็สงบ. สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็พูดจาด้วยถ้อยคำอันน่ารัก, ม้าทั้งหลาย

ต่างหัวเราะด้วยอาการอันไพเราะ, ช้างทั้งหลายต่างก็ร้อง. ดนตรีทุกชนิด

ต่างก็เปล่งเสียงกึกก้องของตน ๆ, เครื่องอาภรณ์ที่สวมอยู่ในมือเป็นต้น

ของพวกมนุษย์ ไม่กระทบกันเลย ก็เปล่งเสียงได้, ทั่วทุกทิศแจ่มใส,

สายลมอ่อนเย็น ทำความสุขให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายก็รำเพยพัด, เมฆ

ฝนที่มิใช่กาลก็ตกลงมา, น้ำก็พุแม้จากแผ่นดินไหลไป. พวกนกก็งด

การบินไปในอากาศ, แม่น้ำทั้งหลายก็หยุดนิ่งไม่ไหล. มหาสมุทรมีน้ำ

มีรสหวาน, พื้นน้ำก็ดาดาษด้วยปทุม ๕ สี มีทั่วทุกแห่ง, ดอกไม้ทุกชนิด

ทั้งที่เกิดบนบกและเกิดในน้ำก็เบ่งบาน, ดอกปทุมชนิดลำต้นก็บานที่ลำต้น,

ดอกปทุมชนิดกิ่งก็บานที่กิ่ง. ดอกปทุมชนิดเครือเถาก็บานที่เครือเถา,

ดอกปทุมชนิดก้านก็ชำแรกพื้นศิลาทึบ เป็นดอกบัวซ้อน ๆ กัน ออกมา,

ดอกปทุมชนิดห้อยในอากาศก็บังเกิดขึ้น. ฝนดอกไม้ก็ตกลงมารอบด้าน,

ดนตรีทิพย์ต่างก็บรรเลงในอากาศ, โลกธาตุทั่วทั้งหมื่น ได้เป็นประหนึ่ง

พวงมาลัยที่เขาหมุนแล้วขว้างไป เป็นประหนึ่งกำดอกไม้ที่เขาบีบแล้วผูก

มัดไว้ เป็นเสมือนอาสนะดอกไม้ที่เขาตกแต่งประดับประดาไว้ และเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

เสมือนพัดวาลวิชนีที่กำลังโบก ซึ่งมีระเบียบดอกเป็นอันเดียวกัน จึงได้

อบอวลไปด้วยความหอมของดอกไม้เเละธูป ถึงความโสภาคย์ยิ่งนัก.

จำเดิมแต่การถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ผู้ถือปฏิสนธิแล้ว อย่างนี้

เพื่อที่จะป้องกันอันตรายแก่พระโพธิสัตว์ และมารดาของพระโพธิสัตว์

เทวบุตร ๔ องค์ถือพระขรรค์คอยให้การอารักขา. ความคิดเกี่ยวกับราคะ

ในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดขึ้นแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระนางมี

แต่ถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยศ มีความสุข มีพระวรกายไม่

ลำบาก และทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในภายในพระครรภ์

เหมือนเส้นด้ายสีเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีใสฉะนั้น. ก็เพราะเหตุที่ครรภ์ที่

พระโพธิสัตว์อยู่ เป็นเสมือนห้องพระเจดีย์ สัตว์อื่นไม่อาจอยู่หรือใช้สอย

ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้๗ วัน พระมารดาของ

พระโพธิสัตว์จึงสวรรคตแล้วไปอุบัติในดุสิตบุรี. เหมือนอย่างว่า หญิง

อื่น ๆ ไม่ถึง ๑๐ เดือนบ้าง เลยไปบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง ตลอดบุตร

ฉันใด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือนอย่างนั้นไม่. ก็พระมารดา

ของพระโพธิสัตว์นั้น บริหารพระโพธิสัตว์ไว้ด้วยพระครรภ์ตลอด ๑๐

เดือน แล้วประทับยืนประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระมารดาแห่ง

พระโพธิสัตว์.

ฝ่ายพระมหามายาเทวีทรงบริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ตลอด

๑๐ เดือน ประดุจบริหารน้ำมันด้วยบาตรฉะนั้น มีพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว

มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยังเรือนแห่งพระญาติ จึงกราบทูลแด่พระ-

เจ้าสุทโธทนมหาราชว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันปรารถนาจะไปยัง

เทวทหนครอันเป็นของตระกูล. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงรับว่าได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

แล้วรับสั่งให้ทำหนทางจากนครกบิลพัสดุ์ จนถึงนครเทวทหะให้ราบเรียบ

ให้ประดับด้วยเครื่องประดับมีต้นกล้วย หม้อน้ำเต็ม ธงชาย และธง

แผ่นผ้าเป็นต้น ให้พระเทวีประทับนั่งในสีวิกาทอง ให้อำมาตย์พันคน

หาม ทรงส่งไปด้วยบริวารมากมาย. ก็ป่าสาลวันอันเป็นมงคลชื่อว่า

ลุมพินีวัน แม้ของชนชาวพระนครทั้งสอง ได้มีอยู่ในระหว่างนครทั้งสอง.

สมัยนั้น ป่าสาลวันทั้งสิ้น มีดอกบานเป็นถ่องแถวเดียวกัน ตั้งแต่โคน

จนถึงปลายกิ่ง. ตามระหว่างกิ่งและระหว่างดอก มีหมู่ภมร ๕ สี และ

หมู่นกนานัปการ เที่ยวร้องอยู่ด้วยเสียงอันไพเราะ ลุมพินีวันทั้งสิ้นได้

เป็นเสมือนจิตรลดาวัน เป็นประหนึ่งสถานที่มาดื่ม ซึ่งเขาจัดไว้อย่างดี

สำหรับพระราชาผู้มีอานุภาพมาก. พระเทวีทอดพระเนตรเห็นดังนั้น เกิด

มีพระประสงค์จะทรงเล่นในสาลวัน. อำมาตย์ทั้งหลายจึงพาพระเทวีเข้า

ไปยังสาลวัน. พระนางเสด็จเข้าถึงโคนต้นสาละอันเป็นมงคลแล้ว ได้มี

พระประสงค์จะจับกิ่งสาละ กิ่งสาละได้น้อมลงเข้าไปใกล้พระหัตถ์ของพระ-

เทวี ประหนึ่งยอดหวายที่ทอดลงอย่างอ่อนช้อยฉะนั้น. พระนางทรง

เหยียดพระหัตถ์จับกิ่ง. ก็ในขณะนั้นเอง ลมกัมมัชวาตของพระเทวีเกิด

ปั่นป่วน ลำดับนั้น มหาชนจึงวงม่านเพื่อพระนางแล้วถอยออกไป ก็

เมื่อพระนางทรงยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่นแล ได้ประสูติแล้ว

ในขณะนั้นนั่นเอง ท้าวมหาพรหมผู้มี้จิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์

ก็ถือข่ายทองคำมาถึง ท้าวมหาพรหมเหล่านั้นเอาข่ายทองคำนั้นรับพระ-

โพธิสัตว์วางไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาพลางทะลว่า ข้าแต่พระเทวี

ขอพระองค์ทรงดีพระทัยเถิด พระราชบุตรของพระองค์มีศักดาใหญ่อุบัติ

ขึ้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

เหมือนอย่างว่า สัตว์เหล่าอื่นออกจากท้องมารดาแล้ว เปื้อนด้วยสิ่ง

ปฏิกูลไม่สะอาดคลอดออกมาฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่.

ก็พระโพธิสัตว์นั้นเหยียดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองยืนอยู่ ดุจพระธรรม-

กถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได ไม่แปดเปื้อนด้วย

ของไม่สะอาดใด ๆ ซึ่งมีอยู่ในครรภ์ของมารดา เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์

โชติช่วงอยู่ประดุจแก้วมณีที่เขาวางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์ฉะนั้น ตลอดออก

จากครรภ์พระมารดา. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ตาม เพื่อจะสักการะพระโพธิสัตว์

และพระมารดาของพระโพธิสัตว์ สายธารน้ำสองสายจึงพลุ่งจากอากาศ

ทำให้ได้รับ ความสดชื่นในร่างกายของพระโพธิสัตว์ และพระมารดา

ของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้รับพระโพธิสัตว์นั้น จากหัตถ์

ของท้าวมหาพรหมผู้ยืนเอาข่ายทองคำรับอยู่ ด้วยเครื่องลาดทำด้วยหนัง

เสือดาวอันมีสัมผัสสบาย ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคล พวกมนุษย์เอา

พระยี่ภู่ทำด้วยผ้าทุกูลพัสตร์รับจากหัตถ์ของท้าวมหาราชเหล่านั้น พอพ้น

จากมือของพวกมนุษย์ พระโพธิสัตว์ก็ประทับยืนบนแผ่นดินทอดพระ-

เนตรดูทิศตะวันออก จักรวาลหลายพันได้เป็นลานอันเดียวกัน เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น พากันบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น

กล่าวกันว่า ข้าแต่มหาบุรุษ คนอื่นผู้จะเสมอเหมือนท่าน ไม่มีในโลกนี้

ในโลกนี้ จักมีผู้ยิ่งกว่ามาแต่ไหน พระโพธิสัตว์มองตรวจไปโดยลำดับ

ตลอดทั้ง ๑๐ ทิศ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศ ทิศน้อย ๔ ทิศ เบื้องล่างและ

เบื้องบน ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงเห็นใคร ๆ ผู้แม้นเหมือน

กับตน ทรงดำริว่านี้ทิศเหนือ จึงเสด็จโดยย่างพระบาทไป ๗ ก้าว มีท้าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

มหาพรหมคอยกั้นเศวตฉัตร ท้าวสุยามะถือพัดวาลวิชนี และเทวดาอื่น ๆ

ถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือ เดินตามเสด็จ. จากนั้นประทับยืน ณ พระ-

บาทที่ ๗ ทรงบันลือสีหนาทเปล่งอาสภิวาจาเป็นต้นว่า เราเป็นผู้เลิศ

ของโลก ดังนี้.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์พอคลอดออกมาจากครรภ์ของพระมารดา

เท่านั้น เปล่งวาจาได้ใน ๓ อัตภาพ คือ อัตภาพเป็นมโหสถ อัตภาพ

เป็นพระเวสสันดร และอัตภาพนี้.

ได้ยินว่า ในอัตภาพเป็นมโหสถ เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น จะ

ตลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาวางแก่นจันทน์

ลงในมือแล้วเสด็จไป พระโพธิสัตว์นั้นกำแก่นจันทน์นั้นไว้แล้วจึงคลอด

ออกมา. ลำดับนั้น มารดาถามพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าถือ

อะไรมาด้วย ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า โอสถจ้ะแม่ ดังนั้น บิดามารดาจึง

ดังชื่อเขาว่า โอสถกุมาร เพราะถือโอสถมา. บิดามารดาเอาโอสถนั้น

ใส่ไว้ในตุ่ม โอสถนั้นนั่นแหละได้เป็นยาระงับสารพัดโรค แก่คนตาบอด

หูหนวกเป็นต้นที่ผ่านมา ๆ. ต่อมา เพราะอาศัยคำพูดที่เกิดขึ้นว่า โอสถนี้

โอสถนี้มีคุณมหันต์ จึงได้เกิดมีชื่อว่า มโหสถ.

ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์เมื่อจะประสูติจาก

พระครรภ์มารดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาประสูติแล้วตรัสว่า พระมารดา

อะไร ๆ ในเรือนมีไหม ลูกจักให้ทาน. ลำดับนั้น พระมารดาของพระ-

องค์ตรัสว่า พ่อ ลูกบังเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์ แล้วให้วางถุงทรัพย์หนึ่ง

พันไว้ จึงวางมือของพระโอรสไว้เหนือผ้าพระหัตถ์ของพระนาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ส่วนในอัตภาพนี้ พระโพธิสัตว์บันลือสีหนาทนี้ พระโพธิสัตว์

พอประสูติจากพระครรภ์มารดาเท่านั้น ก็ทรงเปล่งพระวาจาได้ ในอัตภาพ

ทั้ง ๓ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็แม้ในขณะที่พระโพธิสัตว์นั้นประสูติ ได้มีบุรพนิมิต ๓๒ ประ-

การปรากฏขึ้น เหมือนในขณะถือปฏิสนธิ ก็สมัยใด พระโพธิสัตว์ของ

เราทั้งหลายประสูติในลุมพินีวัน สมัยนั้นนั่นแหละ พระเทวีมารดาพระ-

ราหุล พระอานันทเถระ ฉันนอำมาตย์ กาฬุทายีอำมาตย์ กัณฐกะ

อัศวราช มหาโพธิพฤกษ์ และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ขุม ก็เกิดขึ้น

พร้อมกัน ในหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดคาวุต

หนึ่ง ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดกึ่งโยชน์ ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาด

๓ คาวุต ขุมทรัพย์หม้อหนึ่งมีขนาดหนึ่งโยชน์ โดยส่วนลึก ไปจดที่สุด

ของแผ่นดินทีเดียว เพราะเหตุนั้น ทั้ง ๗ เหล่านี้จึงจัดเป็นสหชาต.

ชนชาวเมืองทั้งสองนครได้พาพระโพธิสัตว์ไปยังนครกบิลพัสดุ์เลย

ทีเดียว ก็วันนั้นเอง หมู่เทพในภพดาวดึงส์ต่างร่าเริงยินดีว่า พระราชบุตร

ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชในนครกบิลพัสดุ์ ประสูติแล้ว พระราชกุมาร

นี้จักนั่งที่ควงไม้โพธิ์ แล้วจักได้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพากันโบกสะบัดผ้า

เป็นต้นเล่นสนุกกัน.

สมัยนั้น ดาบสชื่อว่ากาฬเทวิล ผู้คุ้นเคยกับราชสกุลของพระเจ้า

สุทโธทนมหาราช เป็นผู้ได้สมาบัติ ๘ การทำภัตกิจแล้วไปยังดาวดึงส์

พิภพ เพื่อต้องการพักผ่อนกลางวัน นั่งพักผ่อนกลางวันอยู่ในดาวดึงส์

พิภพนั้น เห็นเทวดาเหล่านั้นเล่นสนุกกันอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า เพราะ

เหตุไร ท่านทั้งหลายจึงมีใจร่าเริงเล่นสนุกกันอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

บอกเหตุนั้นแก่เราบ้าง. เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชประสูติแล้ว พระราชบุตรนั้น

จักประทับที่โพธิมัณฑ์เป็นพระพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมจักร พวกเรา

จักได้เห็นพระพุทธลีลาอันหาประมาณมิได้ของพระองค์ และจักได้ฟัง

ธรรม เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงได้เป็นผู้ยินดีด้วยเหตุนี้. พระดาบส

ได้ฟังคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงรีบลงมาจากเทวโลก เข้าไปยัง

พระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้วทูลว่า มหาบพิตร ได้ยิน

ว่าพระราชบุตรของพระองค์ประสูตรแล้ว อาตมภาพอยากจะเห็นพระราช-

บุตรนั้น. พระราชาทรงให้นำพระกุมารผู้แต่งตัวแล้วมา เริ่มที่จะให้ไหว้

พระดาบส พระบาททั้งสองของพระโพธิสัตว์ กลับไปประดิษฐานบน

ชฎาของพระดาบส จริงอยู่ บุคคลอื่นชื่อว่าผู้สมควรที่พระโพธิสัตว์จะพึง

ไหว้โดยอัตภาพนั้น ย่อมไม่มี ก็ถ้าผู้ไม่รู้ จะพึงวางศีรษะของพระ-

โพธิสัตว์ลงแทบบาทมูลของพระดาบส ศีรษะของพระดาบสนั้นจะแตก

ออก ๗ เสี่ยง. พระดาบสคิดว่า เราไม่ควรจะทำตนของเราให้พินาศ จึง

ลุกขึ้นจากอาสนะ ประคองอัญชลีแก่พระโพธิสัตว์. พระราชาทรงเห็น

ความอัศจรรย์ข้อนั้น จึงทรงไหว้พระราชบุตรของพระองค์.

พระดาบสระลึกได้ ๘๐ กัป คือในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป

เห็นลักษณะสมบัติของพระโพธิสัตว์แล้วรำพึงว่า เธอจักได้เป็นพระพุทธ-

เจ้าหรือไม่หนอ จึงใคร่ครวญดูรู้ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้อง

สงสัย จึงได้กระทำการยิ้มแย้มอันเป็นเหตุให้รู้ว่า พระราชบุตรนี้เป็น

อัจฉริยบุรุษ แต่นั้นจึงใคร่ครวญดูว่า เราจักได้เห็นอัจฉริยบุรุษผู้นี้เป็น

พระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ได้เห็นว่าเราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ระหว่างนั้นแหละ จักบังเกิดในอรูปภพที่พระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์

ก็ดี ไม่อาจเสด็จไปให้ตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่า เราจักไม่ได้ทันเห็นอัจฉริย-

บุรุษชื่อผู้เห็นปานนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักมีความเสื่อมอย่างมหันต์หนอ

จึงได้ร้องไห้แล้ว.

คนทั้งหลายเห็นแล้วจึงเรียนถามท่านว่า พระคุณเจ้าของพวกเรา

หัวเราะอยู่เมื่อกี้ กลับร้องไห้อีกเล่า ท่านผู้เจริญ อันตรายไร ๆ จักมีแด่

พระลูกเจ้าของพวกเราหรือหนอ ? พระดาบสบอกว่า พระราชบุตรนี้ไม่

มีอันตราย จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย. คนทั้งหลายจึง

เรียนถามว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้

เล่า พระดาบสบอกว่า เราโศกเศร้าถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นบุรุษ

ผู้เห็นปานนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักมีความเสื่อมอย่างมหันต์หนอ จึงได้

ร้องไห้.

ลำดับนั้น ท่านจึงใคร่ครวญดูว่า บรรดาพวกญาติของเรา ญาติ

ไรๆ จักได้ทันเห็นบุรุษนี้เป็นพระพุทธเจ้าบ้างไหม ก็ได้เห็นนาลกทารก

ผู้เป็นหลานของตน. ท่านจึงไปยังเรือนของน้องสาวแล้วถามว่า นาลกะ

บุตรของเจ้าอยู่ไหน. น้องสาวตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เขาอยู่ในเรือน

เจ้าค่ะ. พระดาบสกล่าวว่า จงไปเรียกเขามา ครั้นให้เรียกมาแล้ว จึงพูด

กะกุมารผู้มายังสำนักของตนว่า นี่แน่ะพ่อหลานชาย พระราชบุตรประสูติ

ในราชสกุลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระราชบุตรนั่นเป็นหน่อเนื้อ

พุทธางกูร ล่วงไป ๓๕ ปีจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เจ้าจักได้ทันเห็น

พระองค์ เจ้าจงบวชเสียในวันนี้ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ฝ่ายทารกผู้เกิดในตระกูลมีทรัพย์ ๘๗ โกฏิคิดว่า หลวงลุงจักไม่

ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ทันใดนั้นเองจึงให้คนไปซื้อผ้ากาสายะ

และบาตรดินมาจากตลาด แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ

ประคองอัญชลีมุ่งหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ โดยคิดว่า เราบวชอุทิศท่าน

ผู้อุดมบุคคลในโลก ดังนี้แล้วกราบไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตร

ใส่ถุงคล้องจะงอยบ่า เข้าป่าหิมพานต์ กระทำสมณธรรม.

ท่านนาลกะนั้น เข้าไปเฝ้าพระตถาคตผู้ได้บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิ-

ญาณแล้ว ขอให้ตรัสนาลกปฏิปทา แล้วกลับเข้าป่าหิมพานต์อีก บรรลุ

พระอรหัตแล้วปฏิบัติปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ รักษาอายุอยู่ได้ ๗ เดือนเท่านั้น

ยืนพิงภูเขาทองลูกหนึ่ง อยู่ท่าเดียว ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพ-

พานธาตุ.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล พระประยูรญาติทั่งหลายให้สนานพระเศียร

ในวันที่ ๕ แล้วคิดกันว่า จักเฉลิมพระนาม จึงให้ฉาบทาพระราช-

มณเฑียรด้วยคันธชาติ ๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้จัด

ข้าวปายาสล้วน ๆ แล้วเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ผู้เรียนจบไตรเพท ให้นั่ง

ในพระราชมณเฑียร ให้ฉันโภชนะอย่างดี กระทำสักการะอย่างมากมายแล้ว

ให้ทายพระลักษณะว่า อะไรจักเกิดมีหนอแล. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น

ครั้งนั้น พราหมณ์ ๘ คนนั้น คือรามพราหมณ์ ธชพราหณ์

ลักขณพราหมณ์ มันตีพราหมณ์ ยัญญพราหมณ์ สุโภช-

พราหมณ์ สุยามพราหมณ์ และสุทัตตพราหมณ์ เป็นผู้

จบเวทางคศาสตร์มีองค์ ๖ กระทำให้แจ้งซึ่งมนต์แล้ว ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

พราหมณ์เฉพาะ ๘ คนนี้นี่แล ได้เป็นผู้ทำนายพระลักษณะ. แม้

พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนี้นั่นแหละ ก็ได้ทำนาย

แล้ว. บรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น ๗ คนชูขึ้น ๒ นิ้ว ทำนายพระ-

โพธิสัตว์นั้นเป็น ๒ สถานว่า ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะเหล่านี้ ถ้า

อยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าบวชจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้า แล้วบอกสิริสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหมด. แต่มาณพชื่อ

โกณฑัญญะ โดยโคตร เป็นหนุ่มกว่าพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ตรวจดู

ลักษณสมบัติอันประเสริฐของพระโพธิสัตว์แล้ว ชูขึ้นนิ้วเดียว พยากรณ์

โดยสถานเดียวเท่านั้นว่า พระกุมารนี้ไม่มีเหตุที่จะดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน

พระกุมารนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้ว โดย

ส่วนเดียว. อันโกณฑัญญมาณพนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ เป็นสัตว์ผู้จะ

เกิดในภพสุดท้าย มีปัญญาเหนือคนทั้ง ๗ นอกนี้ ได้เห็นคติเดียวเท่านั้น

กล่าวคือ พระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้จะเป็นพระพุทธเจ้า

โดยแน่นอน เพราะเหตุนั้น จึงชูขึ้นนิ้วเดียวแล้วพยากรณ์อย่างนั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์ทั้งหลายเมื่อจะเฉลิมพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น จึง

ขนานพระนามว่า สิทธัตถะ เพราะกระทำให้สำเร็จความต้องการแก่โลก

ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงไปยังเรือนของตน ๆ เรียกลูก ๆ

มาบอกว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกเราเป็นคนแก่ จะอยู่ถึงพระราชบุตร

ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชบรรลุพระสัพพัญญุตญาณหรือไม่ (ก็ไม่รู้)

เมื่อพระราชกุมารนั้นบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พวกเจ้าพึงบวชใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

สำนักของพระองค์. พราหมณ์ทั้ง ๗ คนนั้นดำรงอยู่ตราบชั่วอายุแล้วได้

ไปตามกรรม ส่วนโกณฑัญญมาณพเท่านั้นยังมีชีวิตอยู่.

โกณฑัญญมานพนั้น เมื่อพระมหาสัตว์อาศัยความเจริญแล้วออก

มหาภิเนษกรมณ์บวชแล้ว เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศโดยลำดับ ทรงพระ-

ดำริว่า ภูนิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ที่นี้สมควรที่จะบำเพ็ญเพียรของ

กุลบุตรผู้มีความต้องการจะบำเพ็ญเพียร จึงเสด็จเข้าไปอยู่ ณ ที่นั้น เขา

ได้ฟังข่าวว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรของ

พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินข่าวว่า พระสิทธัตถกุมารทรง

ผนวชแล้ว พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของ

ท่านทั้งหลายยังมีชีวิตอยู่ ก็จะพึงออกบวชวันนี้ ถ้าแม้ท่านทั้งหลายจะต้อง

การจงมาซิ พวกเราจักบวชตามพระมหาบุรุษนั้น. พวกเขาทั้งหมดไม่

สามารถจะมีฉันทะเป็นอันเดียวกันได้ บรรดาชนทั้ง ๗ นั้น ๓ คนไม่บวช

๔ คนนอกนี้บวช โดยตั้งให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า พราหมณ์ทั้ง

๕ คนนั้น จึงมีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ.

ก็ในครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนะตรัสถามว่า บุตรของเราเห็นอะไร

จึงจักบวช พวกอำมาตย์กราบทูลว่า เห็นบุพนิมิตทั้ง ๔. ตรัสถามว่า

บุพนิมิตอะไรบ้าง. กราบทูลว่า คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต.

พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกท่านอย่าได้เห็นปานนี้เข้าไป

ยังสำนักแห่งบุตรของเรา เราไม่มีกิจกรรมที่จะให้บุตรของเราเป็นพระ-

พุทธเจ้า เรามีความประสงค์จะเห็นบุตรของเราครอบครองราชสมบัติจักร-

พรรดิ อันมีความเป็นอิสริยาธิบดีในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็น

บริวาร ห้อมล้อมด้วยบริษัทอันมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์ ท่องเที่ยวไปในพื้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ท้องฟ้า ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อที่จะห้ามมิให้บุพนิมิตทั้ง ๔

ประการนี้ มาสู่คลองจักษุพระกุมาร จึงทรงตั้งการอารักขาไว้ในที่ทุก ๆ

คาวุตในทิศทาง ๔.

ก็วันนั้น เมื่อตระกูลพระญาติแปดหมื่นตระกูลประชุมกันในมงคล

สถานแล้ว พระญาติองค์หนึ่ง ๆ ได้อนุญาตบุตรคนหนึ่ง ๆ ว่า พระราช-

กุมารนี้ จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระราชาก็ตาม พวกเราจักให้บุตร

คนละคน ถ้าแม้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า จักเป็นผู้อันหมู่ขัตติยสมณะห้อม

ล้อมเที่ยวไป ถ้าแม้จักเป็นพระราชา จักเป็นผู้อันขัตติยกุมารห้อมล้อม

กระทำไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป. ฝ่ายพระราชาก็ทรงตั้งนางนมผู้ปราศจาก

สรรพโรค สมบูรณ์ด้วยรูปอันอุดมแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญ

ด้วยบริวารใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์อันยิ่งใหญ่.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงมีงานพระราชพิธีชื่อว่า วัปปมงคล.

วันนั้น ประชาชนต่างประดับประดาพระนครทั้งสิ้น ประดุจเทพนคร

คนทั้งหมดมีทาสและกรรมกรเป็นต้น นุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับด้วยของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในราชสกุล เทียมไถถึงพันคันใน

งานพระราชพิธี. ก็ในวันนั้น ไถ ๑๐๘ คัน หย่อนไว้คันหนึ่ง (คือ

๑๐๗ คัน) พร้อมทั้งโคผู้ผูกเชือกสายตะพาย หุ้มด้วยเงิน. ส่วนไถที่พระ-

ราชาทรงถือ หุ้มด้วยทองคำสุกปลั่ง. แม้เขา เชือกสายตะพา และ

ปฏักของโคผู้ทั้งหลาย หุ้มด้วยทองคำทั้งนั้น.

พระราชาเสด็จออกด้วยบริวารใหญ่ ได้ทรงพาพระราชบุตรไปด้วย.

ในสถานที่ประกอบพระราชพิธี มีต้นหว้าต้นหนึ่ง มีใบหนาแน่น มีร่มเงา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ชิดสนิท. พระราชาทรงให้ปูลาดพระที่บรรทมของพระกุมาร ณ ภายใต้

ต้นหว้านั้น ให้ผูกเพดานขจิตด้วยดาวทองไว้เบื้องบน ให้แวดวงด้วย

ปราการคือพระวิสูตร วางการอารักขาเสร็จแล้ว พระองค์ทรงประดับ

เครื่องราชอลังการทั้งปวง ห้อมล้อมด้วยหมู่อำมาตย์เสด็จไปยังสถานที่

จรดพระนังคัล ณ ที่นั้นพระราชาทรงถือพระนังคัลทองคำ อำมาตย์

ทั้งหลายถือไถเงิน ๑๐๗ คัน พวกชาวนาถือไถที่เหลือ. พวกเขาถือไถ

เหล่านั้นไถไปรอบ ๆ ส่วนพระราชาทรงไถจากด้านในไปสู่ด้านนอก ไถ

จากด้านนอกไปสู่ด้านใน. ในที่แห่งหนึ่ง มีมหาสมบัติ. พวกนางนมที่

นั่งห้อมล้อมพระโพธิสัตว์ คิดว่าจักไปดูสมบัติของพระราชา จึงออกจาก

พระวิสูตรไปข้างนอก.

พระโพธิสัตว์ทรงแลดูไปรอบ ๆ ไม่เห็นมีใครเลย จึงเสด็จลุกขึ้น

โดยเร็ว ทรงนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออก ทำปฐมฌานให้เกิดขึ้น

แล้ว. พวกนางนมเที่ยวไปในระหว่างเวลากินอาหาร จึงชักช้าไปหน่อย

หนึ่ง. เงาของต้นไม้ที่เหลือคล้อยไป แต่เงาของต้นหว้านั้นคงตั้งอยู่เป็น

ปริมณฑล. พวกนางนมคิดได้ว่า พระลูกเจ้าประทับอยู่พระองค์เดียว

จึงรีบยกพระวิสูตรขึ้นเข้าไปภายใน เห็นพระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิบน

พระที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้น จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า

ข้าแต่สมมติเทพ พระกุมารประทับนั่งอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่น ๆ คล้อย

ไปแล้ว แต่เงาของต้นหว้าคงตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระราชารีบเสด็จมา

ทรงเห็นปาฏิหาริย์ จึงทรงไหว้พระโอรสโดยตรัสว่า นี่แนะพ่อ นี้เป็นการ

ไหว้เจ้าครั้งที่สอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษาโดยลำดับ. พระ-

ราชาให้สร้างปราสาทสามหลัง อันเหมาะสมแต่ฤดูทั้งสาม เพื่อพระโพธิ-

สัตว์ คือหลังหนึ่งมี ๙ ชั้น หลังหนึ่งมี ๗ ชั้น หลังหนึ่ง ๕ ชั้น และ

ให้หญิงฟ้อนรำสี่หมื่นนางคอยบำเรอรับใช้. พระโพธิสัตว์อันหญิงฟ้อนรำ

ผู้ประดับกายงดงามห้อมล้อม เหมือนเทพบุตรอันหมู่นางอัปสรห้อมล้อมอยู่

ฉะนั้น ถูกบำเรออยู่ด้วยดนตรีไม่มีบุรุษเจือปน เสวยมหาสมบัติอยู่ใน

ปราสาททั้งสามตามคราวแห่งฤดู. ส่วนพระเทวีมารดาพระราหุลเป็นพระ-

อัครมเหสีของพระองค์.

เมื่อพระองค์เสวยสมบัติอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง ได้มีการพูดกันขึ้น

ในระหว่างหมู่พระญาติดังนี้ว่า พระสิทธัตถะทรงเที่ยวขวนขวายอยู่แต่การ

เล่นเท่านั้น ไม่ทรงศึกษาศิลปศาสตร์อะไร ๆ เมื่อมีสงครามมาประชิด

เข้า จักกระทำอย่างไร. พระราชารับสั่งให้เรียกพระโพธิสัตว์มาแล้ว

ตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ พวกญาติ ๆ ของลูกพากันพูดว่า สิทธัตถะไม่ศึกษา

ศิลปศาสตร์อะไร ๆ ขวนขวายแต่การเล่นเท่านั้นเที่ยวไป ในเรื่องนี้ ลูก

จะเข้าใจอย่างไร ในเวลาประจวบกับพวกศัตรู พระโพธิสัตว์ทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ ขอพระองค์

ได้โปรดให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องไปในพระนคร เพื่อให้มาดูศิลปะของข้า

พระองค์ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จักแสดงศิลปศาสตร์แก่หมู่

พระญาติ. พระราชาได้ทรงกระทำตามนั้น พระโพธิสัตว์ให้ประชุมนัก

แม่นธนูผู้สามารถยิงอย่างสายฟ้าแลบ และผู้สามารถยิงขนหางสัตว์ แล้ว

ทรงแสดงศิลปะทั้ง ๑๒ ชนิดแก่พระญาติ ซึ่งไม่ทั่วไปกับพวกนักแม่นธนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

อื่น ๆ ในท่ามกลางมหาชน. เรื่องนั้นพึงทราบตามนัยที่มีมาในสรภังค-

ชาดกนั่นแล. ครั้งนั้น หมู่พระญาติของพระองค์ได้หมดข้อสงสัย

อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จไปยังอุทยานภูมิ

จึงตรัสเรียกนายสารถีมาแล้วตรัสว่า จงเทียมรถ. นายสารถีนั้นรับพระ-

บัญชาแล้ว ประดับรถชั้นสูงสุดอันควรค่ามาก ด้วยเครื่องประดับทั้งปวง

แล้วเทียมม้าสินธพที่เป็นมงคล ๔ ตัว มีสีดังกลีบดอกโกมุท เสร็จแล้ว

จึงทูลบอกแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันเป็นเช่นกับเทพ-

วิมาน ได้เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปทางอุทยาน. เทวดาทั้งหลายคิดว่า กาล

ที่จะตรัสรู้พร้อมเฉพาะของพระสิทธัตถกุมาร ใกล้เข้ามาแล้ว พวกเราจัก

แสดงบุพนิมิต จึงแสดงเทวบุตรองค์หนึ่ง ให้เป็นคนแก่ชรา มีฟันหัก

ผมหงอก หลังโกง มีร่างกายค้อมลง ถือไม้เท้า สั่นงก ๆ เงิน ๆ

พระโพธิสัตว์และนายสารถีก็ได้ทอดพระเนตรเห็น และแลเห็นคนแก่ชรา

นั้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ตรัสถามนายสารถี โดยนัยอันมาใน

มหาปทานสูตรว่า นี่แน่ะสหาย บุรุษนั่นชื่อไร แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือน

คนอื่น ๆ ดังนี้ ได้ทรงสดับคำของนายสารถีนั้นแล้วทรงดำริว่า แน่ะผู้

เจริญความเกิดนี้ น่าติเตียนจริงหนอ เพราะชื่อว่าความแก่จักปรากฏแก่

สัตว์ผู้เกิดแล้วดังนี้ มีพระทัยสลด เสด็จกลับจากที่นั้นขึ้นสู่ปราสาททันที

พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร บุตรของเราจึงกลับเร็ว ? นายสารถี

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เพราะเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสว่า พวกเขาพูดกันว่า เพราะเห็นคนแก่จักบวช เพราะเหตุไร พวก

เจ้าจึงจะทำเราให้ฉิบหายเสียเล่า จงรีบจัดนางฟ้อนรำให้ลูกเราดู เธอเสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

สมบัติอยู่ จักไม่ระลึกถึงการบวช แล้วทรงเพิ่มการอารักขาให้มากขึ้น

วางการอารักขาไว้ในที่ทุก ๆ กึ่งโยชน์ ในทิศทั้งปวง.

วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังอุทยานเหมือนอย่างเดิม ทอด

พระเนตรเห็นคนเจ็บที่เทวดานิมิตขึ้น จึงตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ

มีพระทัยสลด เสด็จกลับขึ้นสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรง

จัดแจงโดยนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแหละ แต่เพิ่มการอารักขาขึ้นอีก

ทรงวางการอารักขาไว้ในที่มีประมาณ ๓ คาวุตโดยรอบ.

ต่อมาอีกวัน พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุทยานเหมือนเดิม ทอดพระ-

เนตรเห็นคนตายที่เทวดานิมิตขึ้น ตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ มีพระ-

ทัยสลด หวนกลับขึ้นสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัดแจง

โดยนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแหละ จึงทรงเพิ่มการอารักขาขึ้นอีก ทรง

วางการอารักขาไว้ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ.

วันรุ่งขึ้นต่อมา พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุทยาน ทอดพระเนตรเห็น

บรรพชิตนุ่งห่มเรียบร้อยที่เทวดานิมิตไว้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงตรัสถาม

นายสารถีว่า สหาย ผู้นี้ชื่อไร ? สารถีไม่รู้จักบรรพชิตหรือคุณธรรม

ของบรรพชิต เพราะยังไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็จริง ถึงกระนั้น เพราะ

อานุภาพของเทวดา เขากล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผู้นี้ชื่อว่าบรรพชิต

แล้วพรรณนาคุณของการบวช. พระโพธิสัตว์ยังความพอพระทัยให้เกิดขึ้น

ในการบวช ได้เสด็จไปยังอุทยานตลอดวันนั้น. ฝ่ายพระทีฆภาณกาจารย์

ทั้งหลายกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปเห็นนิมิตทั้ง ๔ โดยวันเดียว

เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรง

สนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ประทับ

นั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล มีพระประสงค์จะให้เขาแต่งพระองค์. ทีนั้น

พวกบริจาริกาของพระองค์ถือเอาผ้าสีต่าง ๆ เครื่องอาภรณ์หลายชนิดนา-

นัปการ และดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ มายืนห้อมล้อมอยู่โดยรอบ.

ขณะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง ได้มีความร้อนขึ้น ท้าวสักกะนั้น

ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า ใครหนอ มีความต้องการจะให้เราเคลื่อนจากที่นี้

ทรงทราบว่าพระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะให้ตกแต่งพระองค์ จึงตรัส

เรียกพระวิสสุกรรมมาตรัสว่า นี่แน่ะวิสสุกรรมผู้สหาย วันนี้ สิทธัตถกุมาร

จักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในเวลาเที่ยงคืน การประดับนี้เป็นการ

ประดับครั้งสุดท้ายของพระองค์ ท่านจงไปยังอุทยานประดับตกแต่งพระ-

มหาบุรุษ ด้วยเครื่องประดับอันเป็นทิพย์. พระวิสสุกรรมนั้นรับเทวบัญชา-

แล้ว เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ทันที ด้วยเทวานุภาพเป็นเหมือนกับช่าง

กัลบกของพระองค์ทีเดียว เอาผ้าทิพย์พันพระเศียรของพระโพธิสัตว์.

โดยการสัมผัสมือเท่านั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทราบว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้

เป็นเทวบุตร. เมื่อพอเขาเอาผ้าพันผืนพันพระเศียรเข้า ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น

โดยอาการคล้ายแก้วมณีบนพระโมลี เมื่อเขาพันอีก ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น

เพราะเหตุนั้น เมื่อเขาพัน ๑๐ ครั้ง ผ้าหมื่นผืนก็นูนสูงขึ้น. ใคร ๆ

ไม่ควรคิดว่า พระเศียรเล็ก ผ้ามาก พอนูนขึ้นได้อย่างไร. เพราะ

บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าที่ใหญ่กว่าทุกผืน มีขนาดเท่าดอกมะขามป้อม

ผ้าที่เหลือมีขนาดเท่าดอกกระทุ่ม พระเศียรของพระโพธิสัตว์ได้เป็น

เหมือนดอกสารภีที่หนาแน่นด้วยเกสรฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ลำดับนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงแล้ว

เมื่อพวกนักดนตรีทั้งปวงแสดงปฏิภาณของตน ๆ เมื่อพวกพราหมณ์สรร-

เสริญด้วยคำมีอาทิว่า ขอพระองค์จงทรงยินดีในชัยชนะ เพราะพวกคนที่

ถือการได้ยินได้ฟังว่าเป็นมงคลเป็นต้น สรรเสริญด้วยการประกาศสดุดี

ด้วยคำอันเป็นมงคลนานัปการ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันประเสริฐซึ่ง

ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช

ทรงสดับว่า มารดาราหุลประสูติพระโอรส จึงส่งสาสน์ไปว่า ท่านทั้งหลาย

จงบอกความดีใจของเราแก่ลูกของเราด้วย. พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับข่าว

สาสน์นั้นแล้วตรัสว่า ราหุ (ห่วง) เกิดแล้ว เครื่องจองจำเกิดแล้ว. พระ-

ราชาตรัสถามว่า บุตรของเราได้พูดอะไรบ้าง ครั้นได้สดับคำนั้นแล้วจึง

ตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป หลานของเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ เสด็จเข้าสู่พระนคร

ด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ ด้วยพระสิริโสภาคย์อันรื่นรมย์ใจยิ่งนัก. สมัยนั้น

นางขัตติยกัญญาพระนามว่า กีสาโคตมี เสด็จอยู่ ณ พื้นปราสาทชั้นบน

อันประเสริฐ เห็นความสง่าแห่งพระรูปโฉมของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำ

ประทักษิณพระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัส จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้นก็ดับได้แน่

เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นก็ดับได้แน่ เป็นสามีของนารีใด

นารีนั้นก็ดับได้แน่.

พระโพธิสัตว์สดับคำอันเป็นคาถานั้น ทรงดำริว่า พระนางกีสาโคตมี

นี้ตรัสอย่างนี้ว่า หทัยของมารดา หทัยของบิดา หทัยของภริยา ผู้เห็นอัตภาพ

เห็นปานนี้ ย่อมดับทุกข์ได้ เมื่ออะไรหนอดับ หทัยจึงชื่อว่าดับทุกข์ได้.

๑. หมายถึงสมายใจ, เย็นใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ผู้มีหทัยคลายความกำหนัดในกิเลสทั้งหลาย

ได้มีพระดำริดังนี้ว่า เมื่อไฟคือราคะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือ

โทสะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือโมหะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี

เมื่อความเร่าร้อนเพราะกิเลสทั้งปวงมีมานะทิฏฐิเป็นต้นดับ หทัยชื่อว่า

ดับก็มี พระนางให้เราฟังคำที่ดี ความจริง เรากำลังเที่ยวแสวงหาความ

ดับอยู่ วันนี้แล เราควรทิ้งการครองเรือนออกไปบวชแสวงหาความดับ.

นี้จงเป็นส่วนแห่งอาจารย์สำหรับพระนางเถิด แล้วปลดแก้วมุกดาหารมีค่า

หนึ่งแสนจากพระศอ ส่งไปประทานแก่พระนางกีสาโคตมี. พระนางเกิด

ความโสมนัสว่า สิทธัตถกุมารมีจิตปฏิพัทธ์เราจึงส่งเครื่องบรรณาการมาให้.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของพระองค์ ด้วยพระสิริโสภาคย์

อันยิ่งใหญ่ เสด็จบรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ในทันใดนั้นเอง เหล่าสตรี

นักฟ้อนผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ผู้ศึกษามาดีแล้วใน

การฟ้อนและการขับเป็นต้น ทั้งงามเลิศด้วยรูปโฉม ประดุจนางเทพ.

กัญญา ถือดนตรีนานาชนิดมาแวดล้อมทำพระโพธิสัตว์ให้อภิรมย์ยินดี

ต่างพากันประกอบการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง. พระโพธิสัตว์ไม่

ทรงอภิรมย์ยินดีในการฟ้อนรำเป็นต้น เพราะทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายใน

กิเลสทั้งหลาย ครู่เดียวก็เสด็จเข้าสู่นิทรา. ฝ่ายสตรีเหล่านั้นคิดกันว่า

พวกเราประกอบการฟ้อนรำเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชกุมารใด

พระราชกุมารนั้นเสด็จเข้าสู่นิทราแล้ว บัดนี้พวกเราจะลำบากไปเพื่ออะไร

ต่างพากันวางเครื่องดนตรีที่ถือไว้ๆ แล้วก็นอนหลับไป ดวงประทีป

น้ำมันหอมยังคงลุกสว่างอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม ทรงนั่งขัดสมาธิบนหลังพระที่บรรทม

ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีเหล่านั้นนอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางพวก

มีน้ำลายไหล มีตัวเปรอะเปื้อนน้ำลาย บางพวกกัดฟัน บางพวกนอนกรน

บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าหลุดลุ่ยปรากฏอวัยวะเพศอัน

น่าเกลียด. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นอาการผิดแผกของสตรีเหล่า-

นั้น ได้ทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายในกามทั้งหลายยิ่งกว่าประมาณ พื้น

ใหญ่นั้นตกแต่งประดับประดาไว้แม้จะเป็นเช่นกับภพของท้าวสักกะ ก็

ปรากฏแก่พระองค์ประหนึ่งว่า ป่าช้าผีดิบซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิด

ภพทั้ง ๓ ปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ จึงเปล่งอุทานว่า วุ่นวายจริง

หนอ ขัดข้องจริงหนอ. พระทัยของพระองค์ทรงน้อมไปเพื่อบรรพชา

ยิ่งขึ้น.

พระโพธิสัตว์นั้นทรงดำริว่า เราออกมหาภิเนษกรมณ์เสียในวันนี้

ทีเดียว จึงเสด็จลุกขึ้นจากพระที่บรรทม เสด็จไปใกล้ประตูตรัสว่า ใคร

อยู่ที่นั่น. นายฉันนะนอนเอาศีรษะหนุนธรณีประตูอยู่กราบทูลว่า ข้าแต่

พระลูกเจ้า ข้าพระองค์ ฉันนะ. ตรัสว่า วันนี้เรามีประสงค์จะออกมหา-

ภิเนษกรมณ์ จงจัดหาม้าให้เราตัวหนึ่ง. เขาทูลรับว่า ได้ พระเจ้าข้า แล้ว

ถือเอาเครื่องม้าไปยังโรงม้า เมื่อดวงประทีปน้ำมันหอมยังลุกโพลงอยู่

เห็นหญ้าม้ากัณฐกะยืนอยู่บนภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ภายใต้เพดานแผ่น

ดอกมะลิ คิดว่า วันนี้ เราควรจัดม้าตัวนี้แหละถวาย จึงได้จัดม้ากัณฐกะ.

มากัณฐกะนั้นเมื่อนายฉันนะจัดเตรียมอยู่ ได้รู้ว่าการจัดเตรียมคราวนี้

กระชับแน่นจริง ไม่เหมือนการจัดเตรียมในคราวเสด็จประพาสเล่นในสวน

เป็นต้น ในวันอื่น ๆ วันนี้พระลูกเจ้าของเรา จักมีพระประสงค์เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ออกมหาภิเนษกรมณ์. ทีนั้นก็มีใจยินดีจึงร้องดังลั่น เสียงนั้นจะพึงกลบ

ไปทั่วทั้งพระนคร แต่เทวดาทั้งหลายกั้นเสียงนั้นไว้มิให้ใคร ๆ ได้ยิน.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงใช้นายฉันนะไปแล้วทรงดำริว่า เราจักเยี่ยม

ดูลูกเสียก่อน จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ที่ประทับ เสด็จไปยังที่อยู่ของ

พระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้อง ขณะนั้นดวงประทีปน้ำมันหอม

ยังลุกไหม้อยู่ในภายในห้อง พระมารดาพระราหุลทรงบรรทมวางพระหัตถ์

เหนือเศียรพระโอรส บนที่บรรทมอันเกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิซ้อนและ

ดอกมะลิลาเป็นต้น. พระโพธิสัตว์ประทับยืนวางพระบาทบนธรณีประตู

ทอดพระเนตรดูแล้วทรงดำริว่า ถ้าเราจักเอามือพระเทวีออกแล้วจับลูก

ของเราไซร้ พระเทวีก็จักตื่นบรรทม เมื่อเป็นอย่างนั้น อันตรายจักมี

แก่เรา เราจักเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อนจึงจักมาเยี่ยมดูลูก ครั้นทรงดำริ

แล้วจึงเสด็จลงจากพื้นปราสาทไป. ก็คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาชาดกว่า

ตอนนั้น พระราหุลกุมารประสูติได้ ๗ วัน ดังนี้ ไม่มีอยู่ในอรรถกถา

ที่เหลืออยู่ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาคำนี้แหละ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากพื้นปราสาทอย่างนี้แล้ว เสด็จเข้าไปใกล้

ม้าตรัสอย่างนี้ว่า นี่แน่ะพ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าจงให้เราข้ามฝั่งสักคืน

หนึ่งเถิด เราอาศัยเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ให้ข้ามฝั่งด้วย. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็กระโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ.

ม้ากัณฐกะโดยความยาวเริ่มแต่คอวัดได้ ๑๘ ศอก ประกอบด้วยส่วนสูง

อันเหมาะสมกับความยาวนั้น สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเร็ว ตัวขาว

ปลอดประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว. ถ้าม้ากัณฐกะนั้นพึงร้องหรือกระทำเสี่ยงที่เท้า

เสียงก็จะพึงกลบไปทั่วทั้งพระนคร เพราะฉะนั้น เทวดาทั้งหลายจึงปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

เสียงร้องของม้านั้น โดยประการที่ใคร ๆ จะไม่ได้ยิน ด้วยอานุภาพของ

คน แล้วเอาฝ่ามือเข้าไปรองรับในวาระที่ม้าก้าวเท้าเหยียบไป ๆ. พระ-

โพธิสัตว์เสด็จอยู่ท่ามกลางหลังม้าตัวประเสริฐ ให้นายฉันนะจับหางม้า

เสด็จถึงยังที่ใกล้ประตูใหญ่ตอนเที่ยงคืน.

ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงให้การทำบานประตูสองบาน แต่ละบาน

จะต้องใช้บุรุษหนึ่งพันคนเปิด ด้วยทรงพระดำริว่า เมื่อเป็นอย่างนี้

บุตรของเราจักไม่อาจเปิดประตูเมืองออกไปได้ ไม่ว่าเวลาไหน ๆ. แต่

พระโพธิสัตว์ทรงสมบูรณ์ด้วยพละกำลัง เมื่อเทียบกับช้าง ทรงกำลังเท่า

ช้างถึงพันโกฏิเชือก เมื่อเทียบกับบุรุษ ทรงกำลังเท่าบุรุษถึงหมื่นโกฏิ

พระองค์จึงทรงดำริว่า ถ้าใครไม่เปิดประตู วันนี้เรานั่งอยู่บนหลังม้า

กัณฐกะนี่แหละ จักเอาขาอ่อนหนีบม้ากัณฐกะพร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับ

หางอยู่ โดดข้ามกำแพงสูง ๑๘ ศอกไป. ฝ่ายนายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตู

ไม่เปิด เราจักให้พระลูกเจ้าผู้เป็นนายของตนประทับนั่งบนคอ เอาแขน-

ขวาโอบรอบท้องม้ากัณฐกะกระทำให้อยู่ในระหว่างรักแร้ โดดข้ามกำแพง

ออกไป. ฝ่ายม้ากัณฐกะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักยกนายของตน

ทั้งที่นั่งอยู่บนหลัง พร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับหางอยู่ โดดข้ามกำแพง

ออกไป. ถ้าประตูไม่เปิด ชนทั้งสามนั้นคนใดคนหนึ่งพึงทำให้สำเร็จตาม

ที่คิดไว้ได้แน่ แต่เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูเปิดประตูให้.

ในขณะนั้นนั่นเอง มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระโพธิสัตว์กลับ จึง

มายืนอยู่ในอากาศแล้วทูลว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าออกเลย ในวันที่ ๗

แต่วันนี้ไป จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน ท่านจักครอบครองราชสมบัติ

ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร จงกลับเถิด ท่านผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

นิรทุกข์. พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ? มารตอบว่า เรา

เป็นวสวัตดีมาร. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาร เรารู้ว่าจักรรัตนะจะ

ปรากฏแก่เรา เราไม่มีความต้องการราชสมบัติ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า

ทำหมื่นโลกธาตุให้บันลือ. มารกล่าวว่า จำเดิมแต่บัดนี้ไป ในเวลาที่

ท่านคิดถึงกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกก็ตาม เราจักรู้ ดังนี้

คอยหาช่องติดตามไปเหมือนเงาฉะนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไม่ทรงห่วงใยละทิ้งจักรพรรดิราชสมบัติอันอยู่ใน

เงื้อมพระหัตถ์ ประหนึ่งทิ้งก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระนครด้วยสักการะ

ยิ่งใหญ่ ก็ในวันเพ็ญเดือน ๘ เมื่อนักขัตฤกษ์ในเดือน ๘ หลังกำลัง

ดำเนินไปอยู่ พระโพธิสัตว์เสด็จออกไปแล้ว มีพระประสงค์จะแลดูพระ-

นครอีกครั้ง ก็แหละเมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมีความคิดพอเกิดขึ้นอย่างนี้เท่า

นั้น มหาปฐพีเหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบุรุษ พระองค์ไม่ต้องหัน

กลับมาทำการทอดพระเนตรดอก ได้แยกขาออกหมุนกลับให้ ประดุจ

วงล้อของนายช่างหม้อ. พระโพธิสัตว์ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทาง

พระนคร ทอดพระเนตรดูพระนครแล้วทรง แสดงเจดีย์สถานที่กลับม้า-

กัณฐกะ ณ ปฐพีประเทศนั้น แล้วทรงกระทำม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปใน

ทางที่จะเสด็จ ได้เสด็จไปแล้วด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่ ด้วยความงามสง่า

อันโอฬาร.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นเทวดาทั้งหลายชูคบเพลิงไปข้างหน้าพระโพธิ-

สัตว์นั้นหกหมื่นดวง ข้างหลังหกหมื่นดวง ข้างขวาหกหมื่นดวง และ

ข้างซ้ายหกหมื่นดวง. เทวดาอีกพวกหนึ่งชูคบเพลิงหาประมาณมิได้ที่ขอบ

ปากจักรวาล. เทวดากับนาคและครุฑเป็นต้นอีกพวกหนึ่ง เดินบูชาด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ของหอม ดอกไม้ จุณและธูปอันเป็นทิพย์. ท้องฟ้านภาดลได้เนืองแน่น

ไปด้วยดอกปาริฉัตรและดอกมณฑารพ เหมือนเนืองแน่นด้วยสายธารน้ำ

ในเวลามีเมฆฝนอันหนาทึบ. ทิพยสังคีตทั้งหลายได้บรรเลงแล้ว ดนตรี

หกล้านแปดแสนชนิดได้บรรเลงโดยรอบ ๆ คือด้านหน้าแปดแสนด้านข้าง

และด้านหลังด้านละสองล้าน เสียงดนตรีเหล่านั้นย่อมเป็นไป เหมือนเวลา

ที่เมฆคำรามในท้องมหาสมุทร และเหมือนเวลาที่สาครมีเสียงกึกก้องใน

ท้องภูเขายุคนธร.

พระโพธิสัตว์เสด็จไปด้วยสิริโสภาคย์นี้ ล่วงเลยราชอาณาจักร-

ทั้ง ๓ โดยราตรีเดียวเท่านั้น บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ในที่สุด ๓๐

โยชน์. ถามว่า ก็สามารถไปเกินกว่านั้นได้หรือไม่ ? ตอบว่า ไม่สามารถ

หามิได้ เพราะม้านั้นเที่ยวไปทางชาย ๆ ขอบท้องจักรวาลหนึ่ง เหมือนเหยียบ

ขอบกงของวงล้อที่อยู่ในดุม สามารถจะกลับมาก่อนอาหารเช้าตรู่ แล้ว

บริโภคอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน. ก็ในกาลนั้น ม้าต้องดึงร่างที่ทับถม

ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ที่เทวดา นาค และครุฑเป็นต้น ยืน

โปรยอยู่ในอากาศจนกระทั่งอุรุประเทศขาอ่อน แล้วตะลุยชัฏแห่งของหอม

และดอกไม้ไป จึงได้มีความล่าช้ามาก เพราะฉะนั้น จึงไปได้เพียง ๓๐

โยชน์เท่านั้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำตรัสถามนาย

ฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่ออะไร ? นายฉันนะทูลว่า ชื่ออโนมานที พระเจ้าข้า.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า การบรรพชาของเราจักไม่ทราม จึงเอาส้นพระ-

บาทกระตุ้นให้สัญญาณม้า และม้าก็ได้กระโดดไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นของ

แม่น้ำอันกว้าง ๘ อุสภะ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนเนินทรายอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

เสมือนแผ่นเงิน แล้วตรัสเรียกนายฉันนะมาตรัสว่า นี่แน่ะฉันนะผู้สหาย

เธอจงพาเอาอาภรณ์และม้ากัณฐกะของฉันไป ฉันจักบวช. นายฉันนะทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ แม้ข้าพระองค์ก็จักบวช. พระโพธิสัตว์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง

ว่า เธอยังบวชไม่ได้ เธอจะต้องไป จึงทรงมอบอาภรณ์และม้าให้แล้ว

ทรงดำริว่า ผมทั้งหลายของเรานี้ไม่สมควรแก่สมณะ ผู้อื่นที่สมควรจะตัด

ผมของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่มี. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า เราจักเอา

พระขรรค์ตัดด้วยตนเองทีเดียวจึงเอาพระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์ เอาพระ-

หัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา (จุก) พร้อมกับพระเมาลี (มวยผม) แล้วจึงตัด

พระเกสาเหลือประมาณ ๒ องคุลี เวียนขวาแนบติดพระเศียร. พระเกสา

เหล่านั้น ได้มีอยู่ประมาณนั้นเท่านั้น จนตลอดพระชนม์ชีพ. และพระมัสสุ

ก็ได้มีพอเหมาะกับพระเกสานั้น. ชื่อว่ากิจในการปลงพระเกศาและพระ-

มัสสุ ไม่มีอีกต่อไป. พระโพธิสัตว์ถือพระจุฬากับพระเมาลีแล้วทรง

อธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระสัมพุทธเจ้า จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าจักไม่

ได้เป็น จงตกลงบนแผ่นดิน แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ พระจุฬานั้น

ลอยขึ้นไปถึงที่มีประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วได้ตั้งอยู่ในอากาศ. ท้าวสักกะ

เทวราชทรงตรวจดูด้วยทิพยจักษุ แล้วทรงเอาผอบแก้วมีประมาณโยชน์

หนึ่งรับไว้ ให้ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ชื่อว่า จุฬามณีเจดีย์ ในดาวดึงส์

พิภพ.

พระศากยะผู้ประเสริฐ ได้ตัดพระเมาลีอันอบด้วยกลิ่น-

หอมอันประเสริฐ แล้วโยนขึ้นไปยังเวหาส ท้าววาสวะผู้มี

พระเนตรตั้งพัน เอาผอบแก้วอันประเสริฐทูนพระเศียรรับไว้

แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

พระโพธิสัตว์ทรงดำริสืบไปว่า ผ้ากาสิกพัสตร์เหล่านี้ไม่สมควรแก่

สมณะสำหรับเรา. ครั้งนั้น ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายเก่าของพระโพธิ-

สัตว์ ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า มีความเป็นมิตรยังไม่เสื่อมคลายตลอด

พุทธันดรหนึ่ง คิดว่า วันนี้ สหายเราออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักถือเอา

สมณบริขารของสหายเรานั้นไป จึงนำเอาบริขาร ๘ เหล่านี้มาถวายคือ

บริขารเหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด

เป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ ย่อมสมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความ

เพียร.

พระโพธิสัตว์นุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์ ทรงถือเพศบรรพชิตอัน

อุดม แล้วตรัสว่า ฉันนะ เธอจงกราบทูลถึงความสบายไม่ป่วยไข้แก่พระ-

ชนกและพระชนนีตามคำของเรา ดังนี้แล้วทรงส่งไป. นายฉันนะถวาย

บังคมพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนม้ากัณฐกะได้ยิน

พระดำรัสของพระโพธิสัตว์ผู้ตรัสอยู่กับนายฉันนะ คิดว่า บัดนี้เราจะไม่

ได้เห็นนายของเราอีกต่อไป เมื่อละคลองจักษุไป ไม่อาจอดกลั้นความโศก

ไว้ได้ มีหทัยแตกตายไป บังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์.

ครั้งแรก นายฉันนะได้มีความโศกเพียงอย่างเดียว แต่เพราะม้ากัณฐกะ

ตายไปถูกความโศกครั้งทีสองบีบคั้น จึงได้ร้องไห้ร่ำไรไปยังพระนคร.

พระโพธิสัตว์ครั้นบวชแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ในอนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่

ในประเทศนั้น ๗ วัน ด้วยความสุขอันเกิดจากบรรพชา แล้วเสด็จดำเนิน

ด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ โดยวันเดียวเท่านั้น ได้เสด็จเข้าไปยัง

กรุงราชคฤห์. ก็ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ

ตรอก. พระนครทั้งสิ้นได้ถึงความตื่นเต้น เพราะได้เห็นพระรูปโฉมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

พระโพธิสัตว์เท่านั้น เหมือนกรุงราชคฤห์ ตื่นเต้นในเมื่อช้างธนปาลกะ

เข้าไป และเหมือนเทพนครตื่นเต้นในเมื่ออสุรินทราหูเข้าไป. ราชบุรุษ

ทั้งหลายไปกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลชื่อเห็นปานนี้ เที่ยว

บิณฑบาตในพระนคร ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ทราบเกล้าว่า ผู้นี้ชื่ออะไร

จะเป็นเทพหรือมนุษย์ นาคหรือครุฑ. พระราชาประทับยืนที่พื้นปราสาท

ได้ทรงเห็นพระมหาบุรุษ อัศจรรย์พระหฤทัยไม่เคยเป็น ทรงสั่งพวก

ราชบุรุษว่า นี่แน่ะพนาย พวกท่านจงไปพิจารณาดู ถ้าจักไม่ใช่มนุษย์

เขาจักออกจากพระนครหายไป ถ้าจักเป็นเทวดา เขาจักไปทางอากาศ

ถ้าจักเป็นนาค เขาจักดำดินไป ถ้าจักเป็นมนุษย์เขาจักบริโภคภิกษาหาร

ตามที่ได้.

ฝ่ายพระมหาบุรุษรวบรวมภัตอันสำรวมกัน รู้ว่า ภัตมีประมาณ

เท่านี้ เพียงพอแก่เรา เพื่อที่จะยังอัตภาพให้เป็นไป จึงเสด็จออกจาก

พระนครทางประตูที่เสด็จเข้ามานั้นแหละ บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวัน-

ออก ประทับนั่งใต้ร่มเงาแห่งภูเขา ปัณฑวะ เริ่มเสวยพระกระยาหาร.

ลำดับนั้น พระอันตะไส้ใหญ่ของพระมหาบุรุษนั้น ได้ถึงอาการจะกลับ

ออกทางพระโอษฐ์ ลำดับนั้นพระองค์แม้จะทรงอึดอัดด้วยอาหารอันปฏิกูล

นั้น เพราะด้วยทั้งพระอัตภาพนั้น ไม่ทรงเคยเห็นอาหารนั้นแม้ด้วยพระ-

จักษุ จึงทรงโอวาทคนด้วยพระองค์เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสิทธัตถะ เธอ

แม้เกิดในสถานที่ที่บริโภคโภชนะแห่งข้าวสาลีหอมเก็บไว้ ๓ ปี มีรสเลิศ

ต่าง ๆ ในตระกูลที่หาข้าวและน้ำได้ง่าย ได้เห็นท่านผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็น

วัตรรูปหนึ่งจึงคิดว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จะเป็นผู้เห็นปานนี้ เที่ยว

บิณฑบาตบริโภค กาลนั้นจักมีแก่เราไหมหนอ ดังนี้จึงออกบวช บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

เธอจะกระทำข้อที่คิดไว้นั่นอย่างไร ครั้นทรงโอวาทพระองค์อย่างนี้แล้ว

ไม่มีพระอาการอันผิดเเผกเสวยพระกระยาหาร.

ราชบุรุษทั้งหลายเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชา

พระราชาทรงสดับคำของทูตแล้ว จึงรีบเสด็จออกจากพระนคร เสด็จไป

ยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสเฉพาะในพระอิริยาบถ จึงทรงยก

ความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหา-

บพิตร อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยวัตถุกามหรือกิเลสกาม อาตมภาพ

ปรารถนาพระอภิสัมโพธิญาณอันยอดยิ่ง จึงออกบวช. พระราชาแม้จะ

ทรงอ้อนวอนเป็นอเนกประการ ก็ไม่ทรงได้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์

จึงถือเอาปฏิญญาว่า พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็พระองค์

เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พึงเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน. นี้เป็น

ความสังเขปในที่นี้ ส่วนความพิสดารพึงตรวจดูปัพพัชชาสูตรนี้ว่า เรา

จักสรรเสริญการบวช เหมือนท่านผู้มีจักษุบวชแล้ว ดังนี้ พร้อมทั้ง

อรรถกถาแล้วพึงทราบเถิด.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงให้ปฏิญญาแก่พระราชาแล้ว เสด็จเที่ยวจาริกไป

โดยลำดับ เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร

ทำสมาบัติให้เกิดแล้ว คิดว่า นี้ไม่ใช่ทางเพื่อการตรัสรู้ จึงยังไม่พอ

พระทัยสมาบัติภาวนาแม้นั้น เพื่อจะทรงแสดงเรี่ยวแรงและความเพียร

ของพระองค์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงมีพระประสงค์จะเริ่มตั้งความ

เพียรใหญ่ จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ทรงพระดำริว่า ภูมิภาคนี้น่า

รื่นรมย์จริงหนอ จึงเสด็จเข้าอย่ในอุรุเวลาประเทศนั้น เริ่มตั้งมหาปธาน

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ความเพียรใหญ่ พระปัญจวัคคีย์มีพระโกณฑัญญะเป็นประธานแม้เหล่านั้น

เที่ยวไปเพื่อภิกษาหารในคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย ได้ไปประจวบ

กับพระโพธิสัตว์ ณ ตำบลอุรุเวลาประเทศนั้น. ลำดับนั้น พระปัญจ-

วัคคีย์เหล่านั้นได้อยู่ในสำนักคอยดูอุปัฏฐากพระโพธิสัตว์ ผู้เริ่มตั้งมหา-

ปธานความเพียรตลอด ๖ พรรษา ด้วยวัตรปฏิบัติมีการกวาดบริเวณ

เป็นต้น ด้วยหวังใจว่า เดี๋ยวจักได้เป็นพระพุทธเจ้า เดี๋ยวจักได้เป็น

พระพุทธเจ้า. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจักทำทุกรกิริยาให้ถึงที่สุด

จึงทรงยับยั้งอยู่ด้วยข้าวสารเมล็ดงาหนึ่งเป็นต้น ได้ทรงกระทำการตัด

อาหารแม้โดยประการทั้งปวง. ฝ่ายเทวดาทั้งหลายก็นำเอาโอชะทั้งหลาย

เข้าไปแทรกทางขุมขน.

ลำดับนั้น พระวรกายของพระโพธิสัตว์นั้น แม้จะมีวรรณะดังสีทอง

ก็ได้มีวรรณะคำคล้ำไป เพราะไม่มีพระกระยาหาร และเพราะได้รับความ

กะปลกกะเปลี้ยอย่างยิ่ง พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการก็มิได้ปรากฏ

ออกมา. บางคราวเมื่อทรงเพ่งอานาปานกฌาน คือลมหายใจเข้าออก

ถูกเวทนาใหญ่ครอบงำ ถึงกับสลบล้มลงในที่สุดที่จงกรม. ลำดับนั้น

เทวดาบางพวกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์นั้นว่า พระสมณโคดมทำกาลกิริยา

แล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอรหันต์

เท่านั้น. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาผู้มีความสำคัญว่า พระสมณโคดม

ทำกาลกิริยาแล้ว ได้ไปกราบทูลแก่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า พระราช-

โอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัสว่า บุตร

ของเรายังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า จะยังไม่ตาย. เทวดาเหล่านั้นกราบทูล

ว่า พระโอรสของพระองค์ไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงล้มที่พื้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

บำเพ็ญเพียรอยู่สวรรคตแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสห้ามว่า

เราไม่เชื่อ บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณ จะไม่ทำกาลกิริยา.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ ตอบว่า เพราะได้ทรง

เห็นปาฏิหาริย์ในวันที่ให้ไหว้พระกาลเทวิลดาบส และที่โคนต้นหว้า.

เมื่อพระโพธิสัตว์กลับได้สัญญาเสด็จลุกขึ้น เทวดาเหล่านั้นได้ไป

กราบทูลแก่พระราชาอีกว่า ข้าแต่มหาราช โอรสของพระองค์ไม่มีพระ-

โรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เรารู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย. เมื่อพระมหาสัตว์

ทรงทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลาได้เป็นเหมือนขอดปมไว้ใน

อากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ย่อมไม่

เป็นทางเพื่อที่จะตรัสรู้ จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาทในคามและนิคม เพื่อ

จะนำอาหารหยาบมาแล้วเสวยพระกระยาหาร. ครั้งนั้น มหาปุริสลักษณะ

๓๒ ประการของพระมหาสัตว์ก็ได้กลับเป็นปกติ. แม้พระกายก็มีวรรณดุจ

ทองคำ. ภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษนี้แม้ทรงทำทุกรกิริยา

อยู่ถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ บัดนี้เที่ยวบิณฑบาตใน

คามนิคมเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักอาจตรัสรู้ได้อย่างไร พระมหา-

บุรุษนี้คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว การที่พวกเราคิด

คาดคะเนเอาคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้ เหมือนคนผู้ประสงค์

จะสนานศีรษะคิดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไร

ด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือบาตรและจีวรของตนๆ

เดินทางไป ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.

ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพี

ในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ไทรต้นหนึ่งว่า ถ้าข้าพเจ้าไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายใน

ครรภ์แรกไซร้ ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่าน

ทุกปี ๆ. ความปรารถนานั้นของนางสำเร็จแล้ว นางมีความประสงค์จะ

ทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ เมื่อครบปีที่ ๖ แห่งพระมหาสัตว์ผู้ทรง

ทำทุกรกิริยามา และก่อนหน้านั้นแหละ ได้ปล่อยแม่โคนมพันตัวให้เที่ยว

ไปในป่าชะเอม ให้แม่โคนม ๕๐๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑,๐๐๐ ตัว

นั้น แล้วให้แม่โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๕๐๐ ตัวนั้น

รวมความว่า นางต้องการความข้นความหวาน และความมีโอชะของน้ำนม

จึงได้กระทำการหมุนเวียนไป จนกระทั่งแม่โคนม ๘ ตัวดื่มน้ำนมของแม่

โคนม ๑๖ ตัว ด้วยประการฉะนี้. ในวันเพ็ญเดือน ๖ นางคิดว่า จักทำ

พลีกรรมตั้งแต่เช้าตรู่ จึงลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งของราตรี แล้วให้รีดนม

แม่โคนม ๘ ตัวนั้น ลูกโคทั้งหลายยังไม่ทันมาใกล้เต้านมของแม่โคนม

แต่เมื่อพอนำภาชนะใหม่เข้าไปที่ใกล้เต้านม ธารน้ำนมก็ไหลออกโดย

ธรรมดาของคน. นางสุชาดาเห็นความอัศจรรย์ดังนั้น จึงตักน้ำนมด้วย

มือของตนเองใส่ลงในภาชนะใหม่ แล้วรีบก่อไฟด้วยมือของตนเอง

เมื่อนางกำลังหุงข้าวปายาสนั้นอยู่ ฟองใหญ่ ๆ ผุดขึ้นไหลวนเป็น

ทักษิณาวัฏ น้ำมันแม้จะแตกออกสักหยาดเดียว ก็ไม่กระเด็นออกไปข้าง

นอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ตั้งขึ้นจากเตาไฟ. สมัยนั้น ท้าว-

จตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตาไฟ ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะ

ทรงนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่ เทวดาทั้งหลายรวบรวมเอาโอชะที่

สำเร็จแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพัน

เป็นบริวารมาใส่ลงในข้าวปายาสนั้น ด้วยเทวานุภาพของตน ๆ เสมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

คั้นรวงผึ้งซึ่งคิดอยู่ที่ท่อนไม้ถือเอาแต่น้ำหวานฉะนั้น. จริงอยู่ ในเวลา

อื่น ๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในทุก ๆ คำข้าว แต่ในวันบรรลุพระ-

สัมโพธิญาณ และวันปรินิพพาน ใส่ลงในหม้อเลยทีเดียว. นางสุชาดา

ได้เห็นความอัศจรรย์มิใช่น้อย ซึ่งปรากฏแก่ตน ณ ที่นั้น ในวันเดียว

เท่านั้น จึงเรียกนางปุณณาทาสีมาพูดว่า นี่แน่ะแม่ปุณณา วันนี้เทวดา

ของพวกเราน่าเลื่อมใสยิ่งนัก เพราะว่าเราไม่เคยเห็นความอัศจรรย์เห็น

ปานนี้ ในเวลามีประมาณเท่านี้ เธอจงรีบไปปัดกวาดเทวสถานโดยเร็ว.

นางปุณณาทาสีรับคำของนางแล้วรีบด่วนไปยังโคนไม้.

ในตอนกลางคืนวันนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเห็นมหาสุบิน ๕

ประการ เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจัก

ได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรง

กระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร พอเช้าตรู่ จึงเสด็จ

มาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีของ

พระองค์. ลำดับนั้น นางปุณณาทาสีนั้นนาได้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่ง

ที่โคนไม้ มองดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่. และต้นไม้ทั้งสิ้นมีวรรณ

ดุจทองคำ เพราะพระรัศมีอันซ่านออกจากพระสรีระของพระองค์. นาง-

ปุณณาทาสีนั้นได้เห็นแล้วจึงมีความคิดดังนี้ว่า วันนี้ เทวดาของเราเห็นจะ

ลงจากต้นไม้มานั่งเพื่อคอยรับพลีกรรมด้วยมือของตนเอง จึงเป็นผู้มีความ

ตื่นเต้น รีบมาบอกเนื้อความนั้นแก่นางสุชาดา.

นางสุชาดาได้ฟังคำของนางปุณณาทาสีนั้นแล้วมีใจยินดีพูดว่า ตั้งแต่

วันนี้ไป เจ้าจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นธิดาคนโตของเรา แล้วได้ให้เครื่อง

อลังการทั้งปวงอันสมควรแก่ธิดา. ก็เพราะเหตุที่ในวันจะได้บรรลุความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

เป็นพระพุทธเจ้า ควรจะได้ถาดทองใบหนึ่งซึ่งมีราคาหนึ่งแสน ฉะนั้น

นางสุชาดานั้นจึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักใส่ข้าวปายาสในถาดทอง

นางมีความประสงค์จะให้นำถาดทองราคาหนึ่งแสนมาเพื่อใส่ข้าวปายาสใน

ถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่สุกแล้ว ข้าวปายาสทั้งหมดได้กลิ้งมาตั้ง

อยู่เฉพาะในถาด เหมือนน้ำกลิ้งมาจากใบปทุมฉะนั้น ข้าวปายาสนั้นได้มี

ปริมาณเต็มถาดหนึ่งพอดี นางจึงเอาถาดใบอื่นครอบถาดใบนั้นแล้วเอา

ผ้าขาวพันห่อไว้ ส่วนตนประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง

เสร็จแล้ว ทูนถาดนั้นบนศีรษะของคนไปยังโคนต้นไทรด้วยอานุภาพใหญ่

เห็นพระโพธิสัตว์แล้วเกิดความโสมนัสเป็นกำลัง สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา

จึงโน้มตัวเดินไปตั้งแต่ที่ที่ได้เห็น ปลงถาดลงจากศีรษะแล้วเปิด (ผ้าคลุม)

ออก เอาสุวรรณภิงคาร คนโทน้ำทองคำ ตักน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอม

แล้วได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ยืนอยู่. บาตรดินที่ฆฏิการมหาพรหมถวาย

ไม่ได้ห่างพระโพธิสัตว์มาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ขณะนั้นได้หายไป

พระโพธิสัตว์ไม่ทรงเห็นบาตร จึงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับน้ำ นาง-

สุชาดาจึงวางข้าวปายาสพร้อมทั้งถาดลงบนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ ๆ

ทรงแลดูนางสุชาดา ๆ กำหนดพระอาการได้ทูลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า

ดิฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ท่านจงถือเอาถาดนั้นไปกระทำตามความชอบใจ

เถิด ถวายบังคมแล้วทูลว่า มโนรถของดิฉันสำเร็จแล้ว ฉันใด แม้

มโนรถของท่านก็จงสำเร็จ ฉันนั้น นางบริจาคถาดทองซึ่งมีราคาตั้งหนึ่ง

แสน เหมือนบริจาคใบไม้เก่าไม่เสียดายเลย แล้วหลีกไป

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับนั่ง ทรงทำประทักษิณ

ต้นไม้ แล้วทรงถือถาดเสด็จไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในวันที่พระโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

สัตว์หลายแสนพระองค์จะตรัสรู้ มีท่าเป็นที่เสด็จลงสรงสนานชื่อว่า สุปติฏ-

ฐิตะ จึงทรงวางถาดที่ฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น แล้วเสด็จลงสรงสนาน

ที่ท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะ แล้วทรงนุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์อันเป็นเครื่อง

นุ่งห่มของพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ ประทับนั่งบ่ายพระพักตร์ไป

ทางทิศตะวันออก เสวยข้าวมธุปายาสน้ำน้อยทั้งหมด ที่ทรงกระทำให้เป็น

ปั้น ๔๙ ปั้น ปั้นหนึ่งมีประมาณเท่าจาวตาลสุก ข้าวมธุปายาสนั้นแล

ได้เป็นพระกระยาหารอยู่ได้ ๔๙ วัน สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธ-

เจ้าแล้วประทับอยู่ที่โพธิมัณฑ์ตลอด ๗ สัปดาห์. ตลอดกาลมีประมาณ

เท่านี้ ไม่มีพระกระยาหารอย่างอื่น ไม่มีการสรงสนาน ไม่มีการชำระ

พระโอษฐ์ ไม่มีการถ่ายพระบังคนหนัก ทรงยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน

และความสุขในผลสมาบัติ. ก็ครั้นเสวยข้าวมธุปายาสนั้นแล้ว ทรงถือถาด

ทองตรัสว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ ถาดนี้จงทวนกระแส

น้ำไป ถ้าจักไม่ได้เป็น จงลอยไปตามกระแสน้ำ ครั้นตรัสแล้วทรงลอย

ไปในกระแสแม่น้ำ.

ถาดนั้นกระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ ตรงสถานที่กลางแม่น้ำ

นั่นแหละ ได้ทวนกระแสน้ำไปสิ้นที่ประมาณ ๘๐ ศอก เสมือนม้าตัวที่

สมบูรณ์ด้วยความเร็วฉะนั้น แล้วจมลง ณ ที่นำวนแห่งหนึ่งไปถึงภพของ

พญากาฬนาคราช กระทบถาดเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓

พระองค์ ส่งเสียงดังกริ๊ก ๆ แล้วได้รองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น. พญากาฬ-

นาคราชได้ยินเสียงนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เมื่อวาน พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

องค์หนึ่ง วันนี้ บังเกิดขึ้นอีกหนึ่งองค์ แล้วลุกขึ้นกล่าวสรรเสริญด้วย

บทหลายร้อยบท. ได้ยินว่า เวลาที่แผ่นดินใหญ่งอกขึ้นเต็มท้องฟ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ประมาณ ๑ โยชน์ ๓ คาวุต ได้เป็นเสมือนวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ สำหรับ

พญากาฬนาคราชนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ในสาลวันอันมีดอกบาน

สะพรั่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ครั้นเวลาเย็น ในเวลาดอกไม้ทั้งหลายหล่นจาก

ขั้ว จึงเสด็จบ่ายพระพักตร์ไปทางต้นโพธิ์ ตามหนทางกว้าง ๘ อุสภะ

ที่เทวดาทั้งหลายประดับประดาไว้ เหมือนราชสีห์เยื้องกรายฉะนั้น. พวก

นาค ยักษ์ และครุฑ เป็นต้น บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น

อันเป็นทิพย์ บรรเลงสังคีตทิพย์เป็นต้น หมื่นโลกธาตุได้มีกลิ่นหอมเป็น

อันเดียวกัน มีดอกไม้เป็นอันเดียวกัน และมีเสียงสาธุการเป็นอย่าง

เดียวกัน.

สมัยนั้น คนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ หาบหญ้าเดินสวนทางมา รู้

อาการของพระมหาบุรุษ จึงได้ถวายหญ้า ๘ กำมือ. พระโพธิสัตว์ทรงถือ

หญ้าเสด็จขึ้นยังโพธิมัณฑ์ ประทับยืนอยู่ ณ ด้านทิศใต้ บ่ายพระพักตร์ไป

ทางทิศเหนือ ขณะนั้น จักรวาลด้านทิศใต้ได้จมลงเป็นเสมือนจรดถึง

อเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศเหนือได้ลอยขึ้นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหม

เบื้องบน. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า สถานที่นี้เห็นจักไม่เป็นสถานที่ที่จะ

ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จไปยังด้านทิศ

ตะวันตก ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออก ลำดับนั้น จักร-

วาลด้านตะวันตกจมลงเป็นเสมือนจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้าน

ตะวันออกได้ลอยขึ้นเป็นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหมเบื้องบน. ได้ยินว่า ใน

ที่ที่พระโพธิสัตว์นั้นประทับยืนแล้ว ๆ มหาปฐพีได้ยุบลงและนูนขึ้น

เหมือนวงล้อของเกวียนใหญ่ซึ่งสอดใส่อยู่ในดุม ถูกเหยียบที่ชายขอบของกง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แม้สถานที่นี้ ก็เห็นจักไม่เป็นสถานที่

ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จไปยังด้านทิศ.

เหนือ ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศใต้. ลำดับนั้น จักรวาลด้าน

ทิศเหนือได้ทรุดลงเป็นประหนึ่งจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาลด้านทิศใต้ได้

ลอยขึ้นเป็นเสมือนจรดถึงภวัคคพรหมเบื้องบน. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า

แม้สถานที่นี้ ก็เห็นจักไม่เป็นสถานที่ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงทรง

กระทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันออกประทับยืนบ่ายพระพักตร์

ไปด้านทิศตะวันตก. ก็ในด้านทิศตะวันออก ได้มีสถานที่ตั้งบัลลังก์ของ

พระพุทธเจ้าทั้งปวง สถานที่นั้นจึงไม่หวั่นไหวไม่สั่นสะเทือน. พระโพธิ-

สัตว์ทรงทราบว่า สถานทีนี้อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละ เป็นสถานที่

ไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่กำจัดกรงคือกิเลส จึงทรงจับปลายหญ้าเหล่านั้น

เขย่า. ทันใดนั้นเอง ได้มีบัลลังก์สูง ๑๔ ศอก หญ้าแม้เหล่านั้นก็ตั้งอยู่

โดยสัณฐาน เห็นปานที่ช่างเขียนหรือช่างโบกฉาบผู้ฉลาดยิ่งก็ไม่สามารถจะ

เขียนหรือโบกฉาบได้. พระโพธิสัตว์ทรงกระทำลำต้นโพธิ์ไว้เบื้องปฤษ-

ฎางค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงมีพระมนัสมั่นคง ทรง

นั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ ซึ่งแม้ฟ้าจะผ่าลงมาถึงร้อยครั้งก็ไม่แตกทำลาย โดย

ทรงอธิษฐานว่า

เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปหมดสิ้น จะเหลือ

แต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที เรายังไม่บรรลุพระ-

สัมมาสัมโพธิญาณ จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้.

สมัยนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า สิทธัตถกุมารต้องการจะล่วงพ้นอำนาจ

ของเรา บัดนี้ เราจักไม่ให้สิทธัตถกุมารนั้นล่วงพ้นไปได้ จึงไปยังสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ของพลมาร บอกเนื้อความนั้นแล้ว ให้ทำการประกาศชื่อมารโฆษณา

แล้วพาพลมารออกไป. เสนามารนั้นได้มีอยู่ข้างหน้าของมาร ๑๒ โยชน์

ข้างขวาและข้างซ้ายข้างละ ๑๒ โยชน์ ข้างหลังตั้งอยู่จรดชายขอบเขต

จักรวาลสูงขึ้นเบื้องบน ๙ โยชน์ซึ่งเมื่อโห่ร้อง เสียงโห่ร้องจะได้ยินเหมือน

เสียงแผ่นดินทรุดตั้งแต่พันโยชน์ไป. ครั้งนั้น เทวบุตรมารขี่ช้างคิริเมขล์

สูงร้อยห้าสิบโยชน์ นิรมิตแขนหนึ่งพันถืออาวุธนานาชนิด บริษัทมาร

แม้ที่เหลือ ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะเป็นเหมือนคนเดียวกันถืออาวุธอย่าง

เดียวกันหามีไม่ ต่างมีรูปร่างต่าง ๆ กัน มีหน้าคนละอย่างกัน ถืออาวุธ

ต่างชนิดกัน พากันมาจู่โจมพระโพธิสัตว์.

ส่วนเทวดาในหมื่นจักรวาลกำลังยืนกล่าวสดุดีพระมหาสัตว์อยู่. ท้าว

สักกเทวราชยืนเป่าสังข์วิชยุตร ได้ยินว่าสังข์นั้นมีขนาดประมาณ ๑๒๐ ศอก

เมื่อเป่าให้กินลมไว้คราวเดียว จะมีเสียงอยู่ตลอด ๔ เดือน ไม่หมดเสียง

พญามหากาฬนาค ยืนพรรณนาพระคุณเท่านั้นเกินกว่าร้อยบาท ท้าว-

มหาพรหมยืนกั้นเศวตฉัตร. ก็เมื่อพลมารเข้าไปใกล้โพธิมัณฑ์ บรรดา

เทพเหล่านั้นแม้องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ต่างพากันหนีหน้าไป

จากที่ที่อยู่ตรงหน้า ๆ แม้พญากาฬนาคราชก็ดำดินไปมัญเชริกนาคพิภพ

ซึ่งมีขนาด ๕๐๐ โยชน์ นอนเอามือทั้งสองปิดหน้า แม้ท้าวสักกเทวราช

ก็ลากสังข์วิชยุตรไปยืนที่ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหมจับยอดเศวต-

ฉัตรเสด็จไปยังพรหมโลกทันที. แม้เทวดาองค์หนึ่งชื่อว่าผู้สามารถยืนอยู่

มิได้มีเลย แต่พระมหาบุรุษพระองค์เดียวเท่านั้นประทับอยู่.

ฝ่ายมารกล่าวกะบริษัทของตนว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย ชื่อว่าบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

อื่นผู้จะเสมอเหมือนพระสิทธัตถะโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ย่อมไม่มี

พวกเราจักไม่อาจทำการรบต่อหน้า พวกเราจักทำการรบทางด้านหลัง.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงมองทั้งสามด้านได้เห็นแต่ความว่างเปล่า เพราะ

เทวดาทั้งปวงพากันหนีไปหมด. พระองค์ทรงเห็นพลมารจู่โจมเข้ามาทาง

ด้านเหนืออีก จึงทรงดำริว่า ชนมีประมาณเท่านี้กระทำความพากเพียร

ใหญ่โต เพราะมุ่งหมายเอาเราผู้เดียว ในที่นี้เราไม่มีบิดา มารดา พี่น้อง

หรือญาติไร ๆ อื่น แต่บารมี ๑๐ นี้เท่านั้น เป็นเสมือนบริวารชนที่เรา

ชุบเลี้ยงไว้ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น เราควรทำบารมีเท่านั้นให้เป็น

ยอดของหมู่พล เอาศาสตราคือบารมีนั่นแหละประหาร กำจัดหมู่พลนี้

เสีย ดังนี้แล้ว จึงทรงนั่งรำพึงถึงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารคิดว่า จักบันดาลให้พระสิทธัตถกุมารหนีไป

เฉพาะด้วยลม จึงบันดาลมณฑลของลมให้ตั้งขึ้น. ขณะนั้นเอง ลมทั้งหลาย

อันต่างด้วยลมด้านทิศตะวันออกเป็นต้นก็ตั้งขึ้นมา แม้สามารถจะทำลาย

ยอดภูเขาซึ่งมีประมาณกึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์ สามโยชน์

กระทำป่า กอไม้ และต้นไม้เป็นต้นให้มีรากขึ้นข้างบน แล้วทำคามนิคม

รอบ ๆ ให้ละเอียดเป็นจุณวิจุณ แต่มีอานุภาพถูกเดชแห่งบุญของพระ-

มหาบุรุษกำจัดเสียแล้ว พอมาถึงพระโพธิสัตว์ก็ไม่สามารถที่จะทำแม้มาตร

ว่าชายจีวรของพระโพธิสัตว์ให้ไหวได้.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารจึงคิดว่า จักเอาน้ำมาท่วมทำพระสิทธัตถะ

ให้ตาย จึงบันดาลฝนห่าใหญ่ให้ตั้งขึ้น, ด้วยอานุภาพของเทวบุตรมารนั้น

เมฆฝนอันมีร้อยหลืบพันหลืบเป็นต้นเป็นประเภทตั้งขึ้นซ้อน ๆ กัน แล้ว

ตกลงมา. ด้วยกำลังแห่งสายธารของน้ำฝน แผ่นดินได้เป็นช่องน้อยช่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ใหญ่. มหาเมฆที่ลอยมาทางส่วนเบื้องบนของป่าและต้นไม้เป็นต้น ไม่

อาจให้น้ำแม้เท่าก้อนหยาดน้ำค้างเปียกที่จีวรของพระมหาสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนหินให้ตั้งขึ้น ยอดภูเขายอดใหญ่ ๆ คุ

กรุ่นเป็นควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลาย

เป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเครื่องประหารให้ตั้งขึ้น เครื่องประหาร

มีดาบ หอก และลูกศร เป็นต้น มีคมข้างเดียว มีคมสองข้าง คุเป็น

ควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็น

ดอกไม้ทิพย์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนถ่านเพลิงให้ตั้งขึ้น ถ่านเพลิงทั้งหลาย

มีสีดังดอกทองกวาว ลอยมาทางอากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็น

ดอกไม้ทิพย์ โปรยปรายลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเถ้ารึงให้ตั้งขึ้น เถ้ารึงมีสีดังไฟร้อน

อย่างยิ่ง ลอยมาทางอากาศก็กลายเป็นจุณของจันทน์ตกลงแทบบาทมูล

ของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนทรายให้ตั้งขึ้น ทรายทั้งหลายละเอียด

ยิบ คุเป็นควัน ไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์

ตกลงแทบบาทมูลของพระมหาสัตว์.

ลำดับนั้น จึงบันดาลห่าฝนเปือกตมให้ตั้งขึ้น เปือกตมนั้นคุเป็น

ควันไฟลุกโพลง ลอยมาทางอากาศ ก็กลายเป็นเครื่องลูบไล้อันเป็นทิพย์

ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารได้บันดาลความมืดให้ตั้งขึ้น ด้วยคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

เราจักทำให้พระสิทธัตถะกลัวด้วยความมืดนี้แล้วหนีไป. ความมืดนั้นเป็น

ความมืดตื้อ เหมือนความมืดอันประกอบด้วยองค์ ๔ (คือแรม ๑๔ ค่ำ

ป่าชัฏ เมฆทึบ และเที่ยงคืน) พอถึงพระโพธิสัตว์ก็อันตรธานหายไป

เหมือนความมืดที่ถูกกำจัดด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ฉะนั้น.

มารนั้นเมื่อไม่สามารถทำให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยลม ฝน ห่าฝน-

หิน ห่าฝนเครื่องประหาร ห่าฝนถ่านเพลิง ห่าฝนเถ้ารึง ห่าฝนทราย

ห่าฝนเปือกตม และห่าฝนคือความมืด ทั้ง ๙ ประการนี้ ด้วยประการ

อย่างนี้ได้ จึงสั่งบริษัทของตนว่า พนาย พวกท่านจะหยุดอยู่ทำไม จง

จับพระสิทธัตถะกุมารนี้ จงฆ่า จงให้หนีไป แม้ตนเองก็นั่งอยู่บนคอช้าง

คิริเมขล์ ถือจักราวุธเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า สิทธัตถะ ท่าน

จงลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ บัลลังก์นี้ไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เรา. พระ-

มหาสัตว์ได้ฟังคำของมารนั้นแล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนมาร ท่านไม่ได้บำเพ็ญ

บารมี ๑๐ ทัศ ไม่ได้บำเพ็ญอุปบารมี ๑๐ ไม่ได้บำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐

มหาบริจาค ๕ ก็ไม่ได้บำเพ็ญ ท่านไม่ได้บำเพ็ญญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา

พุทธัตถจริยา ทั้งหมดนั้น เราเท่านั้นบำเพ็ญมาแล้ว เพราะฉะนั้น

บัลลังก์นี้จึงไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เราเท่านั้น.

มารโกรธ อดกลั้นกำลังของความโกรธไว้ไม่ได้ จึงขว้างจักราวุธ

ใส่พระมหาบุรุษ จักราวุธนั้น เมื่อพระมหาบุรุษรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศ

อยู่นั้นแล ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ ณ ส่วนเบื้องบน. ได้ยินว่า

จักราวุธนั้นคมกล้านัก มารโกรธแล้วขว้างไปในที่อื่น จะตัดเสาหินอัน

เป็นแท่งเดียวทึบขาดไป เหมือนตัดหน่อไม้ไผ่. แต่บัดนี้ เมื่อจักราวุธ

นั้นกลายเป็นเพดานดอกไม้ตั้งอยู่ บริษัทมารที่เหลือจึงพากันปล่อยยอดเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

หินใหญ่ ให้กลิ้งมา ด้วยคิดว่า พระสิทธัตถะจักลุกจากบัลลังก์หนีไปใน

บัดนี้. ยอดเขาหินแม้เหล่านั้น เมื่อพระมหาบุรุษรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศอยู่

ก็กลายเป็นกลุ่มดอกไม้ตกลงบนภาคพื้น เทวดาทั้งหลายที่อยู่ ณ ขอบปาก

จักรวาลก็ยืดคอเงยศีรษะขึ้นแลดูด้วยคิคว่า โอ ! อัตภาพอันถึงความเลิศ

ด้วยพระรูปโฉมของพระสิทธัตถกุมร ฉิบหายเสียแล้วหนอ พระสิทธัตถ-

กุมารนั้น จักทรงกระทำอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า บัลลังก์ที่ถึงในวันนี้เป็นที่ตรัสรู้ของ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ย่อมถึงแก่เรา จึงตรัส

กะมารผู้ยืนอยู่ว่า ดูก่อนมาร ในภาวะที่ท่านได้ให้ทาน ใครเป็นสักขี

พยาน มารเหยียดมือไปตรงหน้าพลมารโดยพูดว่า คนเหล่านี้มีประมาณ

เท่านี้แล เป็นสักขีพยาน. ขณะนั้น เสียงของบริษัทมารได้ดังขึ้นว่า เรา

เป็นสักขีพยาน เราเป็นสักขีพยาน ได้เป็นเหมือนเสียงแผ่นดินทรุด.

ลำดับนั้น มารกล่าวกะพระมหาบุรุษว่า สิทธัตถะ ในภาวะที่ท่าน

ให้ทานไว้แล้ว ใครเป็นสักขีพยาน. พระมหาบุรุษตรัสว่า ในภาวะที่เรา

ให้ทาน ตนผู้มีจิตใจเป็นพยานก่อน แต่ในที่นี้ เราไม่มีใคร ๆ ที่มีจิตใจ

เป็นสักขีพยานให้ได้ ทานที่เราให้ในอัตภาพอื่น ๆ จงยกไว้ก่อน เอาแค่

ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วได้ให้สัตตสดกมหา-

ทานก่อน ปฐพีอันหนาใหญ่นี้แม้จะไม่มีจิตใจก็เป็นสักขีพยานได้ จึงทรง

นำออกเฉพาะพระหัตถ์เบื้องขวา จากภายในกลีบจีวร แล้วทรงชี้ไปตรง

หน้ามหาปฐพี โดยตรัสว่า ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวส-

สันดรแล้วให้สัตตสดกมหาทาน ท่านเป็นสักขีพยานหรือไม่ได้เป็น. มหา-

ปฐพีได้บันลือขึ้นเหมือนจะท่วมทับพลมาร ด้วยร้อยเสียง พันเสียง แสน

เสียงว่า ในกาลนั้น เราเป็นสักขีพยานท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

แต่นั้น เมื่อพระมหาบุรุษทรงพิจารณาถึงทานที่ให้ในอัตภาพเป็น

พระเวสสันดรอยู่ว่า สิทธัตถะ มหาทาน อุดมทาน ท่านได้ให้แล้ว ดังนี้

ช้างคิริเมขล์สูง ๑๕๐ โยชน์ คุกเข่าลงบนแผ่นดิน บริษัทมารพากันหนีไป

ยังทิศานุทิศ มาร ๒ ตนชื่อว่าหนีไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี พากันทิ้ง

อาภรณ์ที่ศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่ม แล้วหนีไปทางทิศที่ตรงหน้า ๆ นั่งเอง.

แต่นั้น หมู่เทพได้เห็นพลมารหนีไป พวกเทวดา จึงประกาศแก่พวก

เทวดา พวกนาคจึงประกาศแก่พวกนาค พวกครุฑจึงประกาศแก่พวก

ครุฑ พวกพรหมจึงประกาศแก่พวกพรหมว่า ความปราชัยเกิดแก่มาร

แล้ว ชัยชนะเกิดแก่สิทธัตถกุมารแล้ว พวกเราจักทำการบูชาชัยชนะ

ดังนี้ ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมายังโพธิบัลลังก์อันเป็นสำนัก

ของพระมหาบุรุษ.

ก็เมื่อพลมารเหล่านั้นหนีไปอย่างนี้แล้ว

ในกาลนั้น หมู่เทพมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ

พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี

ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่นาคมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ

พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมีชัย

ชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่ครุฑมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ

พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี

ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.

ในกาลนั้น หมู่พรหมมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ ทรง

มีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว ฉะนั้นแล.

เทวดาในหมื่นจักรวาลที่เหลือ ได้บูชาด้วยดอกไม้ของหอมและ

เครื่องลูบไล้ กับได้กล่าวสดุดีนานัปการอยู่. เมื่อพระอาทิตย์ยัง

ทอแสงอยู่อย่างนี้นั้นแล พระมหาบุรุษทรงกำจัดมารและพลมารได้ อันกาบ

ใบมหาโพธิพฤษ์ซึ่งตกลงเบื้องบนจีวร ประหนึ่งกลีบแก้วประพาฬแดง

บูชาอยู่ ทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณได้ในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุได้

ในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาทได้ในปัจฉิมยาม.

ครั้งเมื่อพระมหาบุรุษนั้นทรงพิจารณาปัจจยาการ อันประกอบด้วยบท ๑๒

บท โดยอนุโลมและปฏิโลม ด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ หมื่นโลกธาตุ

ได้ไหวถึง ๑๒ ครั้ง จนจรดน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด.

ก็เมื่อพระมหาบุรุษทรงยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ทรงรู้แจ้ง

แทงตลอดพระสัพพญัญญุญาณในเวลาอรุณขึ้น หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นก็ได้มี

การตกแต่งประดับประดาแผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักร-

วาลทิศตะวันออก กระทบขอบปากจักรวาลทิศตะวันตก. อนึ่ง แผ่นผ้าของ

ธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันตก กระทบขอบปากจักร-

วาลทิศตะวันออก. แผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบปากจักรวาลทิศใต้

กระทบขอบปากจักรวาลทิศเหนือ แผ่นผ้าของธงทั้งหลายที่ยกขึ้นที่ขอบ

ปากจักรวาลทิศเหนือ กระทบขอบปากจักรวาลทิศใต้. แผ่นผ้าของธง

ทั้งหลายที่ยกขึ้นที่พื้นแผ่นดิน ได้ตั้งจรดถึงพรหมโลก แผ่นผ้าของธง

ทั้งหลายที่ยกขึ้นที่พรหมโลก ก็ตั้งอยู่จรดถึงบนพื้นแผ่นดิน. ต้นไม้ดอกไม้

ในหมื่นจักรวาลก็ออกดอก ต้นไม้ผลก็เต็มไปด้วยพวงผล. ปทุมชนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ลำต้นก็ออกดอกที่ลำต้น ปทุมชนิดกิ่งก็ออกดอกที่กิ่ง ปทุมชนิดเครือเถา

ออกดอกที่เครือเถา ปทุมชนิดที่ห้อยในอากาศก็ออกดอกในอากาศ

ปทุมชนิดเป็นก้านก็ทำลายพื้นศิลาทึบเป็นดอกบัวตั้งขึ้นซ้อนๆ กัน. หมื่น

โลกธาตุได้เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้ เหมือนกลุ่มดอกไม้ที่เขาวน ๆ แล้ว

โยนไป และเหมือนเครื่องลาดดอกไม้ที่เขาลาดไว้อย่างดี. โลกันตริกนรก

กว้าง ๘ พันโยชน์ในระหว่างจักรวาลทั้งหลาย ไม่เคยสว่างแม้ด้วย แสง

อาทิตย์ ๗ ดวง ในกาลนั้นได้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. มหาสมุทรลึก

๘๔,๐๐๐ โยชน์ ได้กลายเป็นน้ำหวาน. แม่น้ำทั้งหลายไม่ไหล คนบอด

แต่กำเนิดแลเห็นรูป คนหนวกแต่กำเนิดได้ยินเสียง. คนง่อยเปลี้ยแต่

กำเนิดก็เดินได้ เครื่องจองจำคือขื่อคาเป็นต้นก็ขาดตกไปเอง.

พระมหาบุรุษอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอยู่ด้วยสิริสมบัติ

หาประมาณมิได้ ด้วยประการอย่างนี้ เมื่ออัจฉริยธรรมทั้งหลายมีประการ

มิใช่น้อยปรากฏแล้ว ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานที่พระพุทธเจ้าทั้งปวงมิได้ทรงละว่า

เราเมื่อแสวงหานายช่างผู้การทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้

ท่องเที่ยวไปยังสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์.

นี่แน่ะนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักรไม่ได้

กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว

ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเราถึงวิสังขารคือพระนิพพาน

แล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้.

ฐานะมีประมาณเท่านี้ โดยเริ่มตั้งแต่พิภพดุสิตจนกระทั่งบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

พระสัพพัญญุตญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอวิทูเรนิทานกถา

สันติเกนิทานกถา

ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า ย่อมได้เฉพาะในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันอันเป็นอารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี" ดังนี้ และว่า " ประทับอยู่

ในกูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี" ดังนี้, ท่านกล่าวไว้อย่างนี้.

ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทานแม้นั้น พึงทราบตั้งแต่ต้นอย่างนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนชยบัลลังก์ ทรงเปล่งอุทาน

แล้วได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราแล่นไปถึงสื่อสงไขยแสนกัป ก็เพราะเหตุ

บัลลังก์นี้ เพราะเหตุบัลลังก์นี้แหละ เราได้ตัดศีรษะอันประดับแล้วที่คอ

ให้ไปแล้ว ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว และ

เชือดหทัยให้ไปแล้ว ให้บุตรเช่นกับชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินา

กุมารีและให้ภริยาเช่นกับพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของคนอื่น ๆ บัลลังก์

ของเรานี้ เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์มั่นคง เมื่อเรานั่งบนบัลลังก์นี้แล้ว

ความดำริเต็มบริบูรณ์ เราจักไม่ออกจากบัลลังก์นี้ก่อน ดังนี้ พระองค์จึง

ประทับนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ซึ่งท่านหมายกล่าวได้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวย

วิมุตติสุข โดยบัลลังก์เดียวตลอดสัปดาห์.

ครั้งนั้น เทวดาบางพวก เกิดความปริวิตกขึ้นว่า แม้วันนี้ พระ-

สิทธัตถะก็ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นแน่ เพราะยังไม่ละความอาลัยใน

บัลลังก์ พระศาสดาทรงทราบความปริวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะทรง

ระงับความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์. จริงอยู่ ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่มหาโพธิมัณฑ์ก็ดี ปาฏิ-

หาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมพระญาติก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคม

ชาวปาตลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเช่นกับยมกปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำที่ควง

ไม้คัณฑามพพฤกษ์.

พระศาสดาครั้นทรงระงับความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิ-

หาริย์นี้อย่างนี้แล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศเหนือติดกับทิศตะวันออก

เยื้องจากบัลลังก์ไปเล็กน้อย ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระสัพพัญ-

ญุตญาณ ที่บัลลังก์นี้หนอ จึงทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และต้นโพธิ์

อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาสี่อสงไขย-

แสนกัป ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. สถานที่นั้นจึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์กับ

สถานที่ที่ประทับยืน ทรงจงกรมอยู่บนรัตนจงกรมอันยาวจากทิศตะวันออก

จรดทิศตะวันตก ยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ สถานที่นั้นจึงชื่อว่า รัตนจงกรม-

เจดีย์.

ก็ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วทางด้านทิศพายัพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

จากต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วนั้น ทรง

พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก และพระสมันตปัฏฐานอนันตนัยในพระ-

อภิธรรมปิฎกนั่นโดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์. ส่วนนักอภิธรรม

ทั้งหลายกล่าวว่า ที่ชื่อว่าเรือนแก้ว ไม่ใช่เรือนที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ

แต่สถานที่ที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ เรียกว่าเรือนแก้ว. แต่เพราะเหตุที่

ท่านประยุกต์เรื่องทั้งสองนั้นเข้าไว้ในที่นี้โดยปริยาย เพราะฉะนั้น ควร

ถือเอาทั้งสองเรื่องนั้นนั่นแหละ. ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้นจึงชื่อว่า

รัตนฆรเจดีย์.

พระศาสดาทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์เฉพาะบริเวณใกล้ต้นโพธิ์เท่านั้น

ด้วยประการอย่างนี้ ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากควงไม้โพธิ์ไปยังไม้

อชปาลนิโครธ ประทับนั่งพิจารณาพระธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้น

อชปาลนิโครธแม้นั้น.

สมัยนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า เราติดตามอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

แม้จะเพ่งมองหาช่องอยู่ ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไร ๆ ของสิทธัตถะ

นี้ บัดนี้ สิทธัตถะนี้ก้าวล่วงพ้นอำนาจของเราเสียแล้ว จึงถึงความโทมนัส

นั่งอยู่ในหนทางใหญ่ เมื่อคิดถึงเหตุ ๑๖ ประการ จึงขีดเส้น ๑๖ เส้น

ลงบนแผ่นดิน คือคิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญทานบารมีเหมือนสิทธัตถะนี้

เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือนสิทธัตถะนี้ ดังนี้ แล้วขีดลงไปเส้น

หนึ่ง. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญศีลบารมี ฯลฯ เนกขัมบารมี ปัญญา-

บารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี

อุเบกขาบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือน

สิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น (ที่ ๒ ถึงเส้น ) ที่ ๑๐. อนึ่ง คิดว่า เราไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอินทริยปโรปริยัตติ-

ญาณอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่

ได้เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้วขีดเส้น ที่ ๑๑. อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้

บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอดอาสยานุสยญาณ ฯลฯ

มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณอนาวรณญาณและสัพพัญญุต-

ญานอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เหมือนดังสิทธัตถะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึง

ไม่เป็นเช่นกับสิทธัตถะนี้ ดังนี้แล้ว ขีดเส้นที่ ๑๒ ถึงเส้นที่ ๑๖. มารนั่ง

ขีดเส้น ๑๖ เส้นอยู่ที่หนทางใหญ่ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็สมัยนั้นธิดาของมาร ๓ นาง คือ นางตัณหา นางราคา และ

นางอรดี คิดว่า บิดาของพวกเราไม่ปรากฏ บัดนี้ อยู่ที่ไหนหนอ จึงพา

กันมองหา ได้เห็นบิดาผู้มีความโทมนัสนั่งขีดแผ่นดินอยู่ จึงพากันไปยัง

สำนักของบิดาแล้วถามว่า ท่านพ่อ เพราะเหตุไร ท่านพ่อจึงเป็นทุกข์

หม่นหมองใจ. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ ล่วงพ้นอำนาจของ

เราเสียแล้ว พ่อคอยดูอยู่ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ไม่อาจได้เห็นช่องคือ

โทษของมหาสมณะนี้ เพราะเหตุนั้น พ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. ธิดา

มารกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านพ่ออย่าเสียใจเลย ลูก ๆ จักทำ

มหาสมณะนั้นไว้ในอำนาจของตน ๆ แล้วพามา. มารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย

มหาสมณะนี้ ใคร ๆ ไม่อาจทำไว้ในอำนาจได้ บุรุษผู้นี้ตั้งอยู่ในศรัทธา

อันไม่หวั่นไหว. ธิดามารกล่าวว่า ท่านพ่อ พวกลูกชื่อว่าเป็นสตรี

ลูก ๆ จักเอาบ่วงคือราคะเป็นต้น ผูกมหาสมณะนั้น นำมาเดี๋ยวนี้แหละ.

ท่านพ่ออย่าคิดไปเลย ครั้นกล่าวแล้วจึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า

ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจะบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

พระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่ใจถึงคำของพวกนาง ทรงไม่ทรงลืมพระเนตรแลดู

ทรงนั่งเสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกอย่างเดียว เพราะทรงน้อมพระทัยไปใน

ธรรมเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยียม.

ธิดามารคิดกันอีกว่า ความประสงค์ของพวกผู้ชายเอาแน่ไม่ได้ บาง

พวกมีความรักหญิงเด็ก ๆ บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปฐมวัย บางพวกรัก

หญิงผู้อยู่ในมัชฌิมวัย บางพวกรักหญิงผู้อยู่ในปัจฉิมวัย ถ้ากระไร พวก

เราควรเอารูปต่างอย่างเข้าไปล่อแล้วยึดเอา จึงนางหนึ่ง ๆ นิรมิตอัตภาพ

ของตนๆ โดยเป็นรูปหญิงวัยรุ่นเป็นต้น คือเป็นหญิงวัยรุ่นเป็นหญิงยังไม่

คลอด เป็นหญิงคลอดคราวเดียว เป็นหญิงคลอดสองคราว เป็นหญิง

กลางคน และเป็นหญิงผู้ใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ๖ ครั้ง

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระบาททั้งหลาย จะบำเรอบาทของ

พระองค์ แม้ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัย โดยปะ-

การที่ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธิดามาร

เหล่านั้นเข้าไปหา โดยเป็นหญิงผู้ใหญ่ จึงทรงอธิษฐานว่า หญิงเหล่านี้

จงเป็นคนฟันหักมีผมหงอก. คำของเกจิอาจารย์นั้น ไม่ควรเชื่อถือ. เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงกระทำอธิษฐานเห็นปานนั้นก็หามิได้ แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงหลีกไป พวกเธอเห็นอะไรจึงพยายาม

อย่างนี้ ควรทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ เบื้องหน้าของคนผู้ยังไม่ปราศจาก

ราคะเป็นต้น ก็ตถาคตละราคะ โทสะ โมหะแล้ว จึงทรงปรารภถึงการ

ละกิเลสของพระองค์ ทรงแสดงธรรมตรัสคาถา ๒ คาถา ในพุทธวรรค

ธรรมบท ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ความชนะอันผู้ใดชนะแล้วไม่กลับแพ้ ใคร ๆ จะนำความ

ชนะของผู้นั้นไปไม่ได้ในโลก ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วย

ร่องรอยอะไร.

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่มีตัณหาดุจข่าย ส่ายไปใน

อารมณ์ต่าง ๆ เพื่อจะนำไปในที่ไหน ท่านทั้งหลายจักนำ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย

ไปด้วยร่องรอยอะไร ดังนี้.

ธิดามารเหล่านั้นพากันกล่าวคำนั้นอาทิว่า นัยว่า เป็นความจริง บิดา

ของพวกเราได้กล่าวไว้ว่า พระอรหันต์สุคตเจ้าในโลก ใคร ๆ จะนำไป

ง่าย ๆ ด้วยราคะ. หาได้ไม่ ดังนี้แล้วพากันกลับมายังสำนักของบิดา.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่อชปาลนิโครธนั้นนั่นแหละ

ตลอดสัปดาห์ แต่นั้นได้เสด็จไปยังโคนไม้มุจลินท์. ณ ที่นั้น เกิดฝน

พรำอยู่ตลอด ๗ วัน เพื่อจะป้องกันความหนาวเป็นต้น พญานาค ชื่อ

มุจลินท์ เอาขนดวง ๗ รอบ ทรงเสวยวิมุตติสุขอยู่เหมือนประทับอยู่ใน

พระคันธกุฎีอันไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ตลอดสัปดาห์ แล้วเสด็จเข้าไป

ยังต้นราชายตนะ แม้ ณ ที่นั้นก็ทรงยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอดสัปดาห์.

โดยลำดับกาลเพียงเท่านี้ก็ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์.

ในระหว่างนี้ไม่มีการสรงพระพักตร์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่มี

กิจด้วยพระกระยาหาร แต่ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขและผลสุขเท่านั้น.

ครั้นในวัน ที่ ๔๙ อัน เป็นที่สุดของ ๗ สัปดาห์นั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าประทับนั่งอยู่ที่ต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่าจักสรงพระพักตร์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงนำผลสมออันเป็นยาสมุนไพรมาถวาย. พระ-

ศาสดาเสวยผลสมอนั้น ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้มีการถ่ายพระบังคน

หนัก. ลำดับนั้น ท้าวสักกะนั้นแลได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ ชื่อนาคลดา

และน้ำบ้วนพระโอษฐ์ น้ำสรงพระพักตร์แก่พระองค์ พระศาสดาทรง

เคี้ยวไม้ชำระพระทนต์นั้น แล้วบ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ด้วย

น่าจากสระอโนดาต เสร็จแล้วยังคงประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ราชายตนะนั้น

นั่นแหละ.

สมัยนั้น พาณิช ๒ คนชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ เดินทางจาก

อุกกลชนบท จะไปยังมัชฌิมประเทศ ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ผู้อันเทวดา

ผู้เป็นญาติสายโลหิตของตนในชาติก่อน กั้นเกวียนไว้ ให้มีความอุตสาหะ

ในการจัดพระกระยาหารถวายแด่พระศาสดา จึงถือเอาข้าวตูก้อนและขนม

น้ำผึ้ง (ขนมหวาน) แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับพระกระยาหารของ

ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้แล้วน้อมถวายพระศาสดาแล้วยืนอยู่ เพราะ

บาตรได้อันตรธานหายไปในวันรับข้าวปายาส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

ดำริว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รับที่มือ เราจะรับที่อะไรหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์จากทิศทั้ง ๔ รู้พระดำริของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงน้อมถวายบาตรทั้งหลายอันแล้วด้วยแก้วอินทนิล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงรับบาตรเหล่านั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงน้อมถวาย

บาตร ๔ ใบ อันแล้วด้วยศิลามีสีดังถั่วเขียว เพื่อจะทรงอนุรักษ์ศรัทธา

ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทรงรับบาตรแม้ทั้ง ๔ ใบ ทรงวางซ้อน ๆ

กัน แล้วทรงอธิษฐานว่า จงเป็นบาตรใบเดียว บาตรทั้ง ๔ ใบจึงมีรอย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ปรากฏอยู่ที่ขอบปาก รวมเข้าเป็นใบเดียวกัน โดยประมาณบาตรขนาด

กลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกระยาหารที่บาตรอันล้วนด้วยศิลา

มีค่ามากนั้น เสวยแล้วได้ทรงกระทำอนุโมทนา. พาณิชพี่น้องสองคนนั้น

ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ได้เป็น ทเววาจิกอุบาสก

คืออุบาสกผู้กล่าวถึงสรณะสอง. ลำดับนั้น พาณิชทั้งสองคนนั้นกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานฐานะ อันควร

ที่จะพึงปรนนิบัติแก่ข้าพระองค์ทั้งสองด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

จงเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรของพระองค์ แล้วได้ประทานพระเกศธาตุ

ทั้งหลายให้ไป. พาณิชทั้งสองนั้นบรรจุพระเกศธาตุเหล่านั้นไว้ภายใน

ผอบทองคำ ประดิษฐานพระเจดีย์ไว้ในนครของตน.

ก็จำเดิมแต่นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังต้นอชปาล-

นิโครธอีก แล้วประทับนั่งอยู่ที่ควงต้นนิโครธ. ครั้นเมื่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้านั้นพอประทับนั่งที่ควงต้นนิโครธนั้นเท่านั้น ทรงพิจารณาถึง

ความที่ธรรมอันพระองค์ทรงบรรลุแล้วเป็นธรรมลึกซึ้ง ความตรึกอัน

พระพุทธเจ้าทั้งปวงเคยประพฤติกันมา ถึงอาการคือความไม่ประสงค์จะ

ทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น บังเกิดขึ้นว่า ธรรมนี้เราบรรลุได้โดยยาก

แล.

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า ท่านผู้เจริญ โลกจัก

พินาศหนอ ท่านผู้เจริญ โลกจักพินาศหนอ จึงทรงพาท้าวสักกะ ท้าว-

สุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าววสวัตดี และท้าวมหาพรหม

ทั้งหลาย จากหมื่นจักรวาล เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา ทูลอาราธนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม.

พระศาสดาทรงให้ปฏิญญาแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น แล้วทรงดำริ

อยู่ว่า เราควรแสดงธรรมกัณฑ์แรก แก่ใครหนอ ทรงยังพระดำริให้เกิด

ขึ้นว่า อาฬารดาบส เป็นบัณฑิต เธอจักรู้ธรรมนี้ได้เร็วพลัน จึงทรง

ตรวจดูอีก ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้นกระทำกาละได้ ๗ วันแล้ว จึง

ทรงรำพึงถึง อุทกดาบส ได้ทรงทราบว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็ได้กระทำ

กาละเสียเมื่อพลบคำวานนี้ จึงทรงมนสิการปรารภถึง พระปัญจวัคคีย์

ว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมากมายแก่เรา จึงทรงรำพึงว่า บัดนี้ ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น อยู่ที่ไหนหนอ ได้ทรงทราบว่า อยู่ในป่าอิสิปตนมิค-

ทายวัน แขวงเมืองพาราณสี จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปรอบ ๆ โพธิ-

มัณฑ์ประทับอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วทรงดำริว่า ในวันเพ็ญเดือน ๘ เราจัก

ไปเมืองพาราณสี ประกาศพระธรรมจักร จึงในคิถีที่ ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์

เวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างตั้งขึ้นแล้ว พอเช้าตรู่ ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จดำเนินสิ้นหนทาง ๑๘ โยชน์ ในระหว่างทาง ทรงพบ

อุปกอาชีวก จึงตรัสบอกถึงความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแก่อุปก-

อาชีวกนั้น แล้วเสด็จถึงป่าอิสิปตนะในเวลาเย็นวันนั้นเอง.

พระปัญจวัคคีย์เห็นพระตถาคตเสด็จมาแค่ไกล ได้กระทำกติกากัน

ว่า นี่แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ในปัจจัย มีร่างกายสมบูรณ์ มีอินทรีย์ผ่องใส มีวรรณดุจทอง กำลัง

เสด็จมา พวกเราจักไม่ทำสามีจิกรรม มีการไหว้เป็นต้นแก่พระสมณโคดม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

นี้ แต่เธอประสูติในตระกูลใหญ่ ย่อมควรจัดอาสนะไว้ ด้วยเหตุนั้น

พวกเราปูลาดเพียงอาสนะไว้เพื่อเธอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรำพึงว่า ภิกษุปัจวัคคีย์เหล่านี้ คิดกัน

อย่างไรหนอ.ก็ได้ทราบวาระจิตด้วยพระญาณ อันสามารถทรงทราบอาจาระ

แห่งจิตของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงประมวล

เมตตาจิต อันสามารถแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ในเทวดา

และมนุษย์ทั้งมวล แล้วทรงแผ่เมตตาจิตไปในพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น

ด้วยอำนาจการแผ่โดยเจาะจง. พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าให้สัมผัสด้วยเมตตาจิตแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปใกล้

ไม่อาจดำรงอยู่ตามกติกาของตน ได้พากันลุกขึ้นทำกิจทั้งปวงมีการอภิวาท

เป็นต้น แต่ไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงร้อง

เรียกพระองค์โดยพระนามและโดยวาทะว่า "อาวุโส" ทั้งสิ้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นรู้ว่า

พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า โดยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่า

เรียกตถาคตโดยชื่อและโดยวาทะว่า "อาวุโส" เลย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์

อันประเสริฐที่ปูลาดไว้ เมื่อประจวบกับดาวนักษัตรแห่งเดือน ๘ หลัง

กำลังดำเนินไป อันพรหม ๑๘ โกฏิห้อมล้อมแล้ว จึงตรัสเรียกพระเถระ

ปัญจวัคคีย์มา ทรงแสดง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันยอดเยี่ยม

เพริศแพร้วด้วยญาณ ๖ มีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒. บรรดาพระเถระ

ปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พระโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไปตามกระแสแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

เทศนา ในเวลาจบพระสูตร ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับ

พรหม ๑๘ โกฏิ.

พระศาสดา ทรงเข้าจำพรรษาอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น

นั่นเอง ในวันรุ่งขึ้น ประทับนั่งทรงโอวาทพระวัปปเถระ อยู่ในวิหาร

นั่นแล พระเถระที่เหลือทั้ง ๔ รูปเที่ยวบิณฑบาต. ในเวลาเช้านั่นเอง

พระวัปปเถระ ก็บรรลุพระโสดาปัตติผล โดยวิธีนี้นั่นแล ทรงให้พระเถระ

ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล คือวันรุ่งขึ้น ให้พระภัตทิยเถระ

บรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระมหานามเถระบรรลุ วันรุ่งขึ้น ให้พระอัสสชิ-

เถระบรรลุ ครั้นในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ให้พระเถระทั้ง ๕ ประชุมกัน

แล้วทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ในเวลาจบเทศนา พระเถระทั้ง ๕

ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร ตรัสเรียก

เขาผู้เบื่อหน่ายละเรือนออกไปในตอนกลางคืนว่า มานี่เถิด ยสะ ทรง

ให้เขาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นแหละ แล้วให้ดำรง

อยู่ในพระอรหัตในวันรุ่งขึ้น แล้วทรงให้ชน ๕๔ คนแม้อื่นอีก ผู้เป็น

สหายของพระยสะนั้นบรรพชา ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา แล้วทรงให้บรรลุ

พระอรหัต.

ก็เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์เกิดขึ้นในโลก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว

พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ ๖๐ รูปไปในทิศ

ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป

ดังนี้เป็นต้น ส่วนพระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ในระหว่างทาง

ทรงแนะนำ ภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คนในชัฏป่าฝ้าย บรรดาภัททวัคคีย์กุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เหล่านั้น คนสุดท้ายเขาทั้งหมดได้เป็นพระโสดาบัน คนเหนือกว่าเขา

ทั้งหมดได้เป็นพระอนาคามี พระองค์ทรงให้ภัททวัคคีย์กุมารทั้งหมด

แม้นั้นบรรพชา ด้วยความเป็นเอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วทรงส่งไปในทิศ

ทั้งหลาย แล้วพระองค์เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ ทรงแสดงปาฏิหาริย์

๓,๕๐๐ ปาฏิหาริย์ ทรงแนะนำชฎิลสามพี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น

มีชฎิลหนึ่งพันเป็นบริวาร ทรงให้บรรพชาด้วยความเป็นเอหิภิกขุแล้ว ให้

นั่งที่คยาสีสประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วย อาทิตตปริยายเทศนา

อันพระอรหันต์หนึ่งพันองค์ห้อมล้อม แล้วได้เสด็จไปยังอุทยานลัฏฐิวัน

ณ ชานพระนครราชคฤห์โดยพระประสงค์ว่า จักทรงเปลื้องปฏิญญาที่ให้ไว้

กับพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาทรงสดับข่าวจากสำนักของนายอุยยานบาลว่า

พระศาสดาเสด็จมา จึงทรงห้อมล้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี ๑๒ นหุต

(คือ ๑๒ หมื่น) เสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทรงซบพระเศียรลงที่พระบาท

ของพระตถาคต อันมีฝ่าพระบาทวิจิตด้วยลายจักร กำลังเปล่งรัศมีสุก

สกาวขึ้น ประดุจเพดานอันดาดด้วยแผ่นทองคำ แล้วประทับนั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง พร้อมทั้งบริษัท.

ลำดับนั้น พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระ-

มหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในพระอุรุเวลกัสสปะ หรือว่าพระอุรุเวล-

กัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบความปริวิตกแห่งใจของพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ด้วยพระหทัย

จึงตรัสกะพระอุรุเวลกัสสปะ ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนกัสสปะ เธออยู่ในตำบลอุรุเวลามานาน ซูบผอม

เพราะกำลังพรต เป็นผู้กล่าวสอนประชาชน เห็นโทษอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

หรือจึงละไปเสีย เราถามเนื้อความนี้กะเธอ อย่างไรเธอจึง

ละการบูชาไฟเสียเล่า.

ฝ่ายพระเถระก็ทราบความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าว

คาถานี้ว่า

ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส

ที่น่าใคร่ และหญิงทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า นี้เป็นมลทิน

ในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการ

เซ่นสรวงและการบูชา ดังนี้.

เพื่อจะประกาศความที่ตนเป็นสาวก จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาท

ของพระตถาคตแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่

เวหาส ๗ ครั้ง คือ ๑ ชั่วลำตาล ๒ ชั่วลำตาล ๓ ชั่วลำตาล จนกระทั่ง

ประมาณ ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต แล้วนั่ง ณ ที่

ควรข้างหนึ่ง.

มหาชนได้เห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น จึงกล่าวเฉพาะกถาสรรเสริญพระ-

คุณของพระศาสดาเท่านั้นว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทรงมีอานุภาพมาก

เพราะแม้พระอุรุเวลกัสสปะ ชื่อว่า ผู้มีทิฏฐิจัดอย่างนี้ สำคัญตนว่าเป็น

พระอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรมาน ทำลายข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่ได้ทรมานอุรุเวลกัสสปะแต่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาล อุรุเวลกัสสปะนี้เราก็ได้ทรมานแล้ว เพราะ

เหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น จึงตรัส มหานารทกัสสปชาดก แล้วทรงประกาศ

สัจจะ ๔. พระราชาพร้อมกับบริวาร ๑๑ นหุต ดำรงอยู่ในพระโสดา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ปัตติผล บริวาร ๑ นหุตประกาศความเป็นอุบาสก. พระราชาประทับ

นั่งอยู่ในสำนักของพระศาสดานั่นเอง ทรงประกาศความสบายพระทัย ๕

ประการแล้วทรงถึงสรณะ ทรงนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้วเสด็จ

ลุกขึ้นจากอาสน์ กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จหลีกไป.

วันรุ่งขึ้น พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ทั้งสิ้นนับได้ ๑๘ โกฏิ ทั้งที่

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเมื่อวันวาน กับทั้งที่ไม่ได้เห็น ต่างมีความ

ประสงค์จะเห็นพระตถาคต จึงพากันจากเมืองราชคฤห์ไปยังลัฏฐิวันอุทยาน

แต่เช้าตรู่. หนทาง ๓ คาวุตไม่พอจะเดิน. ลัฏฐิวันอุทานทั้งสิ้นแน่น

ขนัด. มหาชนแม้เห็นพระอัตภาพอันถึงความงามเลิศแห่งพระรูปโฉมของ

พระทศพล ก็ไม่อาจกระทำให้อิ่ม. นี้ชื่อว่า ภูมิของการพรรณนา. จริงอยู่

ในฐานะเห็นปานนี้ พึงพรรณนาความสง่าแห่งพระรูปกายแม้ทั้งหมด อัน

มีประเภทแห่งพระลักษณะ และพระอนุพยัญชนะเป็นต้น ของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. เมื่ออุทยานและทางเดินแน่นขนัด ด้วยมหาชนผู้จะดูพระ-

สรีระของพระทศพล อันถึงความงามเลิศด้วยพระรูปโฉมอย่างนี้ แม้ภิกษุ

รูปเดียวก็ไม่มีโอกาสออกไปได้. นัยว่า วันนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง

ขาดพระกระยาหาร เพราะฉะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง จึงแสดง

อาการร้อน อันมีเหตุให้รู้ว่า ข้อนั้นอย่าได้มีเลย. ท้าวสักกะทรงรำพึงดู

รู้เหตุนั้นแล้ว จึงนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อย กล่าวคำสดุดีอันประกอบด้วย

พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เสด็จลงเบื้องพระพักตร์ของพระ-

ทศพล กระทำที่ว่างด้วยเทวานุภาพ เสด็จไปเบื้องหน้ากล่าวคุณของ

พระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้ทรงฝึก

แล้ว ทรงหลุดพ้นแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ

พระปุราณชฎิลผู้ฝึกตนได้แล้ว ผู้หลุดพ้นแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้หลุดพ้น

แล้ว ทรงข้ามได้แล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ

พระปุราณชฎิลผู้พ้นแล้ว ผู้ข้ามได้แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้สงบ

แล้ว ทรงสงบแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พร้อมกับ

พระปุราณชฎิล ผู้สงบแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเครื่องอยู่ ๑๐ มีพระ-

กำลัง ๑๐ ทรงรู้แจ้งธรรม ๑๐ และประกอบด้วยพระคุณ ๑๐

มีบริวารหนึ่งพัน เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์แล้ว ดังนี้.

ในกาลนั้น มหาชนเห็นความสง่าแห่งรูปของมาณพน้อยแล้วคิดว่า

มาณพน้อยผู้นี้ มีรูปงามยิ่งหนอ ก็พวกเราไม่เคยเห็นเลย จึงกล่าวว่า

มาณพน้อยผู้นี้มาจากไหน หรือว่ามาณพน้อยผู้นี้เป็นของใคร. มาณพ

ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

พระสุคตเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นปราชญ์ ทรงฝึกพระ-

องค์ได้ในที่ทั้งปวง บริสุทธิ์ ไม่มีบุคคลเปรียบปาน เป็น

พระอรหันต์ในโลก เราเป็นคนรับใช้ของพระสุคตเจ้าพระองค์

นั้น ดังนี้.

พระศาสดาเสด็จดำเนินตามทาง ซึ่งมีช่องว่างที่ท้าวสักกะกระทำไว้

อันภิกษุหนึ่งพันแวดล้อมเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์. พระราชาถวายมหาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่อาจอยู่ โดยเว้นพระรัตนตรัย หม่อมฉันจักมา

ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่เวลาบ้าง ก็อุทยาน

ชื่อว่าลัฏฐิวันไกลเกินไป แต่อุทยานชื่อว่าเวฬุวันของหม่อมฉันแห่งนี้

ไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไป สมบูรณ์ด้วยการไปและการมา เป็น

เสนาสนะสมควรแก่พระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรับอุทยานเวฬุวันของหม่อมฉันนี้เถิด แล้วทรงเอาพระ-

สุวรรณภิงคารตักน้ำอันมีสีดังแก้วมณีอบด้วยดอกไม้หอม เมื่อจะทรง

บริจาคพระเวฬุวันอุทยาน จึงทรงหลั่งน้ำให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระ-

ทศพล. เมื่อทรงรับพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล มหาปฐพีได้หวั่นไหว

ซึ่งมีอันให้รู้ว่า มูลรากของพระพุทธศาสนาได้หยั่งลงแล้ว. จริงอยู่

ในพื้นชมพูทวีป ยกเว้นพระเวฬุวันเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่ทรงรับแล้ว

มหาปฐพีไหว ไม่มีเลย. แม้ในตามพปัณณิทวีป คือเกาะลังกา ยกเว้น

มหาวิหารเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่รับแล้วแผ่นดินไหว ก็ย่อมไม่มี.

พระศาสดาครั้นทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแก่

พระราชาแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จไป

ยังพระเวฬุวัน.

ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกสองคน คือ สารีบุตร และ โมคคัลลานะ

อาศัยกรุงราชคฤห์แสวงหาอมตธรรมอยู่. ในปริพาชกสองคนนั้น สารีบุตร

ปริพาชกเห็นพระอัสสชิเถระเข้าไปบิณฑบาตมีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปนั่ง

ใกล้ฟังคาถามีอาทิว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ดังนี้ ได้ตั้งอยู่ในพระ-

โสดาปัตติผล แล้วได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ แก่โมคคัลลานปริพาชก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ผู้เป็นสหายของตน แม้โมคคัลลานปริพาชกนั้น ก็ได้ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล. ปริพาชกทั้งสองนั้นจึงอำลาสัญชัยปริพาชกไปบวชใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัทของตน. บรรดาท่าน

ทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตโดย ๗ วัน พระสารีบุตร

บรรลุพระอรหัตโดยกึ่งเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระทั้งสองนั้นไว้ใน

ตำแหน่งอัครสาวก และในวันที่พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัตนั่น

แหละ ได้ทรงกระทำสันนิบาตคือประชุมพระสาวก

ก็เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล พระ-

เจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทรงสดับว่า ข่าวว่าบุตรของเราประพฤติทุกรกิริยา

อยู่ ๖ ปี จึงบรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้วประกาศพระธรรมจักร

อันบวร เข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ในพระเวฬุวันดังนี้ จึงตรัส

เรียกอำมาตย์คนหนึ่งมาตรัสว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านมีบุรุษพันหนึ่งเป็น

บริวารเดินทางไปกรุงราชคฤห์ กล่าวตามคำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทน-

มหาราชพระราชบิดาของพระองค์ มีพระประสงค์จะพบ ดังนี้แล้วจงพา

บุตรของเรามา.

อำมาตย์ผู้นั้นรับพระราชดำรัสของพระราชาใส่เศียรเกล้าว่า พระ-

พุทธเจ้าข้า แล้วมีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร รีบเดินทางไปสิ้นหนทาง

๖๐ โยชน์ แล้วเข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่ง

แสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔. อำมาตย์นั้นคิดว่า พระราชสาสน์

ของพระราชาที่ส่งมาจงงดไว้ก่อน จึงยืนอยู่ท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแล ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษ

พันหนึ่ง จึงทูลขอบรรพชา. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้นเอง คนทั้งหมดได้เป็นผู้

ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็นดุจพระเถระมีพรรษา ๖๐

พรรษา.

ก็ตามธรรมดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกลายเป็นผู้มัธยัสถ์ไปตั้ง

แต่เวลาที่ได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น พระผู้เป็นอำมาตย์นั้นจึง

มิได้กราบทูลข่าวที่พระราชาส่งมาแด่พระทศพล. พระราชาทรงดำริว่า

อำมาตย์ผู้ที่ไปยังไม่กลับมา ข่าวสาสน์ก็ไม่ได้ฟัง จึงส่งอำมาตย์คนอื่น

ไปโดยทำนองนั้นนั่นแลว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์แม้

คนนั้นไปแล้วได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งบริษัทก็ได้เป็นผู้นิ่งเสีย โดยนัย

อันมีในก่อนนั่นแหละ. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์อื่นไปอีก ๗ คน โดย

ทำนองนี้แหละว่า มานี่แน่ะพนาย ท่านจงไป. อำมาตย์ที่พระราชาทรง

ส่งไปนั้นทั้งหมด เป็นบุรุษบริวาร ๙ พันคน เป็นอำมาตย์ ๙ คน ทำ

กิจของตนเสร็จแล้ว เป็นผู้นิ่งเสีย อยู่แต่ในกรุงราชคฤห์นั้นเท่านั้น.

พระราชาไม่ทรงได้อำมาตย์ผู้จะนำ แม้แต่ข่าวสาสน์มาบอก จึง

ทรงพระดำริว่า ชนแม้มีประมาณเท่านี้ ไม่นำกลับมาแม้แต่ข่าวสาสน์ เพราะ

ไม่มีความรักในเรา ใครหนอจักกระทำตามคำสั่งของเรา เมื่อทรงตรวจดู

พลของหลวงทั้งหมดก็ได้ทรงเห็นกาฬุทายีอำมาตย์. ได้ยินว่า กาฬุทายี

อำมาตย์นั้นเป็นผู้จัดราชกิจทั้งปวง เป็นคนภายใน เป็นอำมาตย์ผู้มีความ

คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เกิดวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ เป็นสหายเล่นหัว

กันมา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกกาฬุทายีอำมาตย์นั้นมาว่า นี่แน่ะ

พ่อกาฬุทายี ฉันอยากจะเห็นบุตรของฉัน จึงส่งอำมาตย์ ๙ คนกับบุรุษ

ผู้เป็นบริวาร ๙ พันไป บรรดาคนเหล่านั้นแม้คนเดียวชื่อว่าผู้จะมาบอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เพียงแต่ข่าวสาสน์ก็ไม่มี ก็อันตรายแห่งชีวิตของเรารู้ได้ยาก เรายังมีชีวิต

อยู่ปรารถนาจะเห็นบุตร เธอจักอาจแสดงบุตรแก่เราหรือหนอ กาฬุทายี

อำมาตย์กราบทูลว่า จักอาจพระเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจักได้บวช.

พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอจะบวชหรือไม่บวชก็ตาม จงแสดงบุตร

แก่เรา. กาฬุทายีอำมาตย์ทูลรับพระบัญชาว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วถือ

พระราชสาสน์ไปยังกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ท้ายบริษัทในเวลาที่พระศาสดา

ทรงแสดงธรรม ฟังธรรมแล้ว พร้อมทั้งบริวารบรรลุพระอรหัตแล้ว

บวชด้วยความเป็นเอหิภิกขุอยู่.

พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตลอดภายในพรรษาแรก

ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ออกพรรษาปวารณาแล้วเสด็จไปยัง

ตำบลอุรุเวลา ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลานั้นตลอด ๓ เดือน ทรงแนะ

นำชฎิลสามพี่น้องแล้ว มีภิกษุหนึ่งพันเป็นบริวาร ในวันเพ็ญเดือนยี่

เสด็จไปกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ๒ เดือน. โดยลำดับกาลมีประมาณเท่านี้

เมื่อพระองค์เสด็จออกจากเมืองพาราณสีเป็นเวลา ๕ เดือน. ฤดูเหมันต์

ทั้งสิ้นได้ล่วงไปแล้ว. ตั้งแต่วันที่พระกาฬุทายีเถระมาถึง เวลาได้ล่วงไป

แล้ว ๗-๘ วัน ในวันเพ็ญเดือน ๔ พระเถระคิดว่า บัดนี้ฤดูเหมันต์

ล่วงไปแล้ว วสันตฤดูกำลังย่างเข้ามา พวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าเป็นต้น

เสร็จแล้ว ให้หนทางตามที่ตรงหน้าๆ (หมายความว่าบ่ายหน้าไปทางไหน

มีทางไปได้ทั้งนั้น ) แผ่นดินก็ปกคลุมด้วยหญ้าเขียวขจี ราวป่ามีดอกไม้

บานสะพรั่ง หนทางเหมาะแก่การที่จะเดินทาง เป็นกาลที่พระทศพลจะ

กระทำการสงเคราะห์พระญาติ. ลำดับนั้น ท่านพระกาฬุทายีจึงเข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

พระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาการเสด็จดำเนินไปยังนครแห่งราชสกุลของ

พระทศพล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลายมีสีแดง กำลัง

ทรงผลสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่านั้น สว่างโพลงดุจมีเปลวไฟ

ข้าแต่มหาวีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่น

รมย์ ฯลฯ

สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยากนัก

ฟื้นภูมิภาคมีหญ้าแพรกเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้

เป็นกาลสมควรที่จะเสด็จไป ดังนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระกาฬุทายีเถระว่า ดูก่อนอุทายี เพราะ

เหตุไรหนอ เธอจึงพรรณนาการไป ด้วยเสียงอันไพเราะ พระกาฬุทายี

เถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช

พระบิดาของพระองค์ ทรงมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์

จงทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติทั้งหลายเถิด. พระศาสดาตรัสว่า

ดีละอุทายี เราจักกระทำการสังเคราะห์พระญาติทั้งหลาย เธอจงบอก

แก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้ทำคมิกวัตร คือระเบียบของผู้จะไปให้

บริบูรณ์. พระเถระรับพระดำรัสว่า ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้ว

บอกแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยพระภิกษุขีณาสพสองหมื่นองค์

คือ ภิกษุกุลบุตรชาวเมืองอังคะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุกุลบุตร

ชาวเมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์เสด็จดำเนินวัน

ละโยชน์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จากเมืองราชคฤห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ถึงเมืองกบิลพัสดุ์ประมาณ ๖๐ โยชน์ เราจักถึงได้โดย ๒ เดือน จึง

เสด็จออกหลีกจาริกไปโดยไม่รีบด่วน. ฝ่ายพระเถระคิดว่า เราจักกราบทูล

ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมาแล้ว แก่พระราชา จึงเหาะขึ้นสู่

เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์.

พระราชาทรงเห็นพระเถระแล้วมีพระทัยยินดี จึงนิมนต์ให้นั่งบน

บัลลังก์อันควรค่ามาก บรรจุบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่

เขาจัดเพื่อพระองค์แล้วได้ถวาย. พระเถระแสดงอาการจะลุกขึ้นไป. พระ-

ราชาตรัสว่า จงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาราชบพิตร อาตภาพ

จักไปยังสำนักของพระศาสดาแล้ว จักฉัน. พระราชาตรัสถามว่า ก็พระ-

ศาสดาอยู่ที่ไหนล่ะพ่อ. พระเถระทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระศาสดา

มีภิกษุสองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกมาแล้ว เพื่อต้องการจะเฝ้า

พระองค์. พระราชาทรงมีพระมนัสยินดีตรัสว่า ท่านจงฉันบิณฑบาตนี้

แล้วนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของโยม

จะถึงนครนี้. พระเถระรับพระดำรัสแล้ว.

พระราชาทรงอังคาสพระเถระ แล้วให้ขัดถูบาตด้วยผงเครื่องหอม

บรรจุให้เต็มด้วยโภชนะชั้นดี แล้วให้ตั้งไว้ในมือของพระเถระโดยตรัสว่า

ขอท่านจงถวายแด่พระตถาคต. พระเถระเมื่อคนทั้งหลายเห็นอยู่ทีเดียว

ได้โยนบาตรไปในอากาศ ฝ่ายตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหา นำบิณฑบาต

มาวางถวายที่พระหัตถ์ของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น.

พระเถระนำบิณฑบาตมาทุกวัน ๆ โดยอุบายนั้นแหละ.

ฝ่ายพระศาสดาก็เสวยบิณฑบาตของพระราชาเท่านั้น ในระหว่าง

ทาง. ในเวลาเสร็จภัตกิจทุกวัน ๆ แม้พระเถระก็กล่าวว่า วันนี้ พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ วันนี้มีประมาณเท่านี้

และได้กระทำราชสกุลทั้งสิ้น ให้เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา โดยเว้น

การได้เห็นพระศาสดา ด้วยกถาอันประกอบด้วยพระพุทธคุณ. เพราะ-

เหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสถาปนาพระเถระให้เป็นเอต-

ทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาฬุทายีนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ

สาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส.

ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจวนถึง ต่าง

คิดกันว่า จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกันพิจารณา

สถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดเอาว่า อารามของ

เจ้าศากยนิโครธ น่ารื่นรมย์ จึงให้กระทำวิธีการซ่อมแซมทุกอย่างใน

อารามนั้น มีมือถือของหอมและดอกไม้ เมื่อจะทำการต้อนรับ จึงส่งเด็ก

ชายและเด็กหญิงชาวเมืองผู้ยังเด็ก ๆ แต่งตัวด้วยเครื่องประดับทุกอย่างไป

ก่อน ต่อจากนั้น ส่งราชกุมารและราชกุมารีไป ตนเองบูชาอยู่ด้วยของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น ในระหว่างราชกุมารและราชกุมารีเหล่านั้น ได้

พาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังนิโครธารามทีเดียว. ณ นิโครธารามนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระขีณาสพสองหมื่นแวดล้อม ประทับนั่งบนบวร-

พุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้.

ธรรมดาว่าเจ้าศากยะทั้งหลายมีมานะในเรื่องชาติ ถือตัวจัด เจ้า

ศากยะเหล่านั้นคิดกันว่า สิทธัตถกุมารเป็นเด็กกว่าพวกเรา เป็นพระ-

กนิษฐา เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระนัดดาของพวกเรา

จึงได้ตรัสกะราชกุมารทั้งหลายที่หนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงพากันถวายบังคม

เราทั้งหลายจักนั่งข้างหลังของพวกเธอ. เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ไม่ถวายบังคมนั่งอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของ

เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า พระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอา

เถอะ เราจะให้พวกเขาไหว้ในบัดนี้ จึงทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาท

แห่งอภิญญา แล้วออกจากจตุตถฌานนั้นเหาะขึ้นสู่อากาศ ทำทีโปรยธุลี

พระบาทลงบนพระเศียรของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์

เช่นเดียวกับยมกปาฏิหาริย์ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์. พระราชาทรงเห็น

ความอัศจรรย์นั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวันที่พระองค์

ประสูติ หม่อมฉันได้เห็นพระบาทของพระองค์ ผู้ซึ่งเขานำเข้าไปเพื่อให้

ไหว้กาฬเทวิลดาบส กลับไปตั้งอยู่บนกระหม่อมของพราหมณ์ จึงได้ไหว้

พระบาทของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งแรก ของหม่อมฉัน. ในวัน

วัปปมงคลแรกนาขวัญ หม่อมฉันก็ได้เห็นร่มเงาไม้หว้าของพระองค์ผู้

บรรทมอยู่บนพระที่สิริไสยาสน์ในร่มเงาไม้หว้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

(ไปตามตะวัน) ก็ได้ไหว้พระบาท นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สอง ของหม่อม-

ฉัน. ก็บัดนี้ หม่อมฉันได้เห็นปาฏิหาริย์ที่ไม่เคยเห็นนี้ จึงไหว้พระบาท

ของพระองค์ นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สาม ของหม่อมฉัน.

ก็เมื่อพระราชาถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะแม้องค์เดียว ชื่อว่าเป็น

ผู้สามารถทรงยืนอยู่โดยไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้มีเลย เจ้า-

ศากยะทั้งปวงพากันถวายบังคมทั้งสิ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคมด้วยประการ

ฉะนี้แล้ว เสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว ได้มีการประชุมพระญาติอันถึงจุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

สุดยอด เจ้าศากยะทั้งปวงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น

มหาเมฆได้ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา น้ำสีแดงไหลไปข้างล่าง ผู้

ต้องการให้เปียกเท่านั้น จึงจะเปียก สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะให้เปียก น้ำ

แม้แต่หยาดเดียวก็ไม่ตกลงบนร่างกาย. เจ้าศากยะทั้งปวงเห็นดังนั้น เป็น

ผู้มีจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงสั่งสนทนากันขึ้นว่า โอ ! น่าอัศจรรย์ โอ !

ไม่เคยมี.

พระศาสดาตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมแห่งพระญาติ

ของเราแต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ได้ตกแล้ว จึงตรัส

เวสสันดรชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น. เจ้าศากยะทั้งปวงได้ฟังพระ-

ธรรมกถาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคมแล้วเสด็จหลีกไป. พระราชาหรือ

มหาอำมาตย์ของพระราชาแม้แต่ผู้เดียว ชื่อว่ากราบทูลว่า พระองค์ทั้งหมด

ขอจงรับภิกษาของข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ แล้วจึงไป ย่อมไม่มี.

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาอันภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เสด็จเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ใครๆ ไม่ไปนิมนต์พระองค์ หรือไม่รับบาตร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ธรณีประตูนั้นแล ทรงพระรำพึงว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองของสกุลอย่างไร

หนอ คือเสด็จไปยังเรือนของพวกอิสรชนโดยข้ามลำดับ หรือว่าเสด็จ

เที่ยวไปตามลำดับตรอก ลำดับนั้น ไม่ได้ทรงเห็นแม้พระพุทธเจ้าสักองค์

หนึ่งเสด็จไปโดยข้ามลำดับ จึงทรงดำริว่า บัดนี้ แม้เราก็ควรประคับ

ประคองวงศ์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เฉพาะบัดนี้เท่านั้น และต่อไป

สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อสำเหนียกตามเราอยู่นั่นแล จักได้บำเพ็ญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ปิณฑจาริกวัตร คือถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ดังนี้แล้วจึงเสด็จ

เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก เริ่มตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป. มหา-

ชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อน

ข้าว จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้

ขวนขวายเพื่อจะดู.

ฝ่ายพระเทวีพระมารดาของพระราหุล ทรงดำริว่า นัยว่า พระลูกเจ้า

เสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่ง

ใหญ่ มาบัดนี้ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ. ถือกระเบื้องเสด็จ

เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตร

ดู ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระ-

รัศมีแห่งพระสรีระอันเรื่องรองด้วยแสงสีต่างๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธ-

สิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สดใส

ด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้าน

ละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จน

ถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา ๑๐ คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้น

พระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้ง

อ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป ดังนี้.

แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไป

เพื่อก้อนข้าว. พระราชาสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อย

พลางรีบด่วนเสด็จออก รีบเสด็จดำเนินไปประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร

พระองค์จึงทรงกระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไรจึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อ

ก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงทรงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุมีประมาณ

เท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร.

พระศาสดาตรัสว่า. มหาบพิตร นี้เป็นการประพฤติตามวงศ์ของ

อาตมภาพ

พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่าวงศ์ของเราทั้งหลาย

เป็นวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราช ก็วงศ์กษัตริย์มหาสมมตราชนี้ ย่อมไม่มี

กษัตริย์สักพระองค์เดียว ชื่อว่าผู้เที่ยวไปเพื่อภิกษา.

พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์กษัตริย์นี้ เป็นวงศ์ของ

พระองค์ ส่วนชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ ฯลฯ

พระกัสสปเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้และอื่นๆ

นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงพระชนมชีพด้วยการเที่ยวภิกขาจาร

เท่านั้น ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ พึง

ประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อม

อยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.

ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ได้ทรง

สดับคาถานี้ว่า

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้น

ให้ทุจริตผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

ได้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามิผล ทรงสดับมหาธัมมปาลชาดก ได้ดำรง

อยู่ในพระอนาคามิผล ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่

สิริไสยาสน์ภายใต้เศวตฉัตรนั้นแล ได้บรรลุพระอรหัต. กิจในการตาม

ประกอบปธานความเพียรด้วยการอยู่ป่า มิได้มีแก่พระราชา.

ก็พระราชานั้น ครั้นทรงกระทำให้แจ้งพระโสดาปัตติผลแล้วแล

ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง

บริษัทขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงพากันมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ยกเว้นพระมารดาพระราหุล. ก็พระมารดาพระราหุลนั้น แม้ปริวาร-

ชนจะกราบทูลว่า ขอพระองค์จงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า ก็ตรัสว่า

ถ้าคุณความดีของเรามีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเราด้วย

พระองค์เอง พระองค์เสด็จมานั้นแหละ เราจึงจะถวายบังคม ครั้นตรัส

ดังนี้แล้วก็มิได้เสด็จไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้พระราชารับบาตรแล้ว ได้เสด็จไป

ยังห้องอันมีสิริ ของพระราชธิดา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว

ตรัสว่า พระราชธิดาเมื่อไหว้ตามชอบใจอยู่ ไม่ควรกล่าวอะไร แล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย. พระราชธิดารีบเสด็จมาแล้วจับข้อ

พระบาท กลิ้งเกลือกพระเศียรที่หลังพระบาทแล้ว ถวายบังคมตามพระ-

อัธยาศัย. พระราชาตรัสคุณสมบัติมีความรักและความนับถือมากเป็นต้น

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ของพระราชธิดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธิดา

ของหม่อมฉันได้สดับว่า พระองค์ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ตั้งแต่นั้นก็เป็น

ผู้นุ่งห่มผ้าสายะ ได้สดับว่า พระองค์เสวยพระกระยาหารหนเดียว ก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ผู้เสวยภัตหนเดียวบ้าง ได้สดับว่า พระองค์ละเลิกที่นอนใหญ่ ก็บรรทม

บนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า ทราบว่า พระองค์ทรงเว้นจากดอกไม้และ

ของหอมเป็นต้น ก็งดเว้นดอกไม้และของหอมบ้าง เมื่อพระญาติทั้งหลาย

ส่งข่าวมาว่า เราทั้งหลายจักปรนนิบัติ ก็มิได้เหลียวแลพระญาติเหล่านั้น

แม้พระองค์เดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธิดาของหม่อมฉันเพียบพร้อม

ด้วยคุณสมบัติอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ข้อที่พระราชธิดา

ที่พระองค์รักษาอยู่ในบัดนี้ รักษาตนได้ในเมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่น่า

อัศจรรย์ เมื่อก่อน พระราชธิดานี้ไม่มีการอารักขา เที่ยวอยู่ที่เชิงเขาก็

ยังรักษาตนได้ ในเมื่อญาณทั้งที่ยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้วตรัส จันทกินรี-

ชาดก แล้วทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป.

ก็ในวันรุ่งขึ้น เมื่องานวิวาหมงคลเนื่องในการเสด็จเข้าพระตำหนัก

อภิเษกของนันทราชกุมารกำลังเป็นไปอยู่ พระศาสดาเสด็จไปยังตำหนัก

ของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร มีพระประสงค์จะให้

บวช ตรัสเรื่องมงคลแล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. นางชนบท-

กัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอ

พระองค์จงกลับมาโดยด่วน แล้วชะเง้อแลดู. นันทกุมารนั้นไม่อาจทูลกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร จึงได้เสด็จไปยังพระ-

วิหารเหมือนกัน. นันทกุมารไม่ปรารถนาเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง

ให้บวชแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงให้นันทะ

บวชในวันที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

ในวันที่ ๗ แม้พระมารดาของพระราหุล ก็ทรงแต่งองค์พระกุมาร

แล้วส่งไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงดูพระสมณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

นั้น ซึ่งมีวรรณแห่งรูปดังรูปพรหม มีวรรณดังทองคำ ห้อมล้อมด้วย

สมณะสองหมื่นรูป พระสมณะนี้เป็นบิดาของเจ้า พระสมณะนั่นมีขุมทรัพย์

ใหญ่ จำเดิมแต่พระสมณะนั้น ออกบวชแล้ว แม่ไม่เห็นขุมทรัพย์เหล่านั้น

เจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้นว่า ข้าแต่พระบิดา ข้าพระองค์เป็น

กุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักได้เป็นจักรพรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์

ขอพระองค์จงประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์ เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของ

ทรัพย์มรดกของบิดา และพระกุมารก็ได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั่นแล ได้ความรักในฐานเป็นบิดา มีจิตใจร่าเริง กราบทูลว่า ข้าแต่

พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุข แล้วได้ยืนตรัสถ้อยคำอื่น ๆ และ

ถ้อยคำอันสมควรแก่ตนเป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจแล้ว

ตรัสอนุโมทนาเสร็จแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. ฝ่ายพระกุมาร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่

ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่

ข้าพระองค์ แล้วติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ให้

พระกุมารกลับ แม้ปริวารชนก็ไม่อาจยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าให้กลับได้. พระกุมารนั้นได้ไปยังพระอารามนั้นแล พร้อม

กับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า กุมารนี้ปรารถนา

ทรัพย์อันเป็นของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะ มีแต่ความคับแค้น เอาเถอะ

เราจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้

เราจะทำกุมารนั้นให้เป็นเจ้าของทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ จึงตรัสเรียก

ท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงให้ราหุลกุมารบวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

พระเถระให้ราหุลกุมารนั้นบวชแล้ว ก็แหละเมื่อพระกุมารบวชแล้ว ความ

ทุกข์มีประมาณยิ่งเกิดขึ้นแก่พระราชา. พระองค์เมื่อไม่อาจทรงอดกลั้น

ความทุกข์นั้นได้ จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสขอพรว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังหม่อมฉันขอโอกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึง

บวชบุตรที่บิดามารดายังไม่อนุญาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พรแก่ท้าว

เธอ ในวันรุ่งขึ้นทรงกระทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์ เมื่อพระราชา

ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวที่

พระองค์ทรงทำทุกรกิริยา เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาหม่อมฉัน กล่าวว่า

พระโอรสของพระองค์สวรรคตแล้ว หม่อมฉันไม่เชื่อคำของเทวดานั้น

ได้ห้ามเทวดานั้นว่า บุตรของเรา ยังไม่บรรลุพระสัมโพธิญาณจะยังไม่

ตาย ดังนี้ จึงตรัสว่า บัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในกาล

ก่อน คนเอากระดูกมาแสดงแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านตายแล้ว พระองค์

ก็ยังไม่ทรงเชื่อ ดังนี้แล้วตรัส มหาธรรมปาลชาดก เพราะเหตุเกิด

เรื่องนี้ขึ้น ในเวลาจบพระกถา พระราชาทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผลทั้ง ๓ ด้วยประการ

ดังนี้แล้ว อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมแล้วเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์อีก ทรง

ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน. สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เอาเกวียน

๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้าไปยังกรุงราชคฤห์ ได้ไปยังเรือนของเศรษฐีผู้เป็น

สหายรักของคน ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในกรุง-

ราชคฤห์นั้น ในเวลาใกล้รุ่งจัด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทางประตูที่เปิด

ด้วยเทวานุภาพ ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันที่สองได้ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

มหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ได้กราบทูลขอให้

พระศาสดาทรงรับปฏิญญา เพื่อต้องการเสด็จมายังนครสาวัตถี ในระหว่าง

ทางในที่ ๔๕ โยชน์ ได้ให้ทรัพย์หนึ่งแสนสร้างวิหารในที่ทุก ๆ หนึ่ง

โยชน์ แล้วซื้อสวนของเจ้าเชตด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ โดยเอาเงินโกฏิปูจน

เต็มเนื้อที่ แล้วเริ่มการก่อสร้าง. ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นให้สร้าง

วิหารอันเป็นที่รื่นรมย์ใจในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการบริจาคเงิน ๑๘

โกฏิ คือให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระทศพลในท่ามกลาง ให้สร้างเสนา-

สนะที่เหลือ เช่นกุฎีเดี่ยว กุฎีคู่ กุฎีทรงกลม ศาลาหลังยาว ศาลาสั้น

และปะรำเป็นต้น และสระโบกขรณี ที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พัก

กลางวัน ในอาวาสอันเป็นที่อยู่แห่งหนึ่ง โดยแยกเป็นส่วนบุคคลสำหรับ

พระมหาเถระ ๘๐ รายล้อมพระคันธกุฎีนั้น เสร็จแล้วส่งทูตไปนิมนต์

พระทศพลให้เสด็จมา. พระศาสดาทรงสดับคำของทูตนั้นแล้ว มีภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงนครสาวัตถีโดย

ลำดับ.

ฝ่ายท่านมหาเศรษฐี ก็ตระเตรียมการฉลองพระวิหาร ในวันที่

พระตถาคตเสด็จเข้าพระเชตวัน ได้แต่งตัวบุตรด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง

แล้วส่งไปพร้อมกับกุมาร ๕๐๐ คน ผู้ตกแต่งประดับประดาแล้วเหมือนกัน

บุตรของเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยบริวาร ถือธง ๕๐๐ คันอันเรืองรองด้วยผ้า

๕ สี อยู่ข้างหน้าของพระทศพล ธิดาของเศรษฐี ๒ คน คือนางมหา

สุภัททา และนางจูฬสุภัททา พร้อมกับกุมาริกา ๕๐๐ นาง ถือหม้อเต็ม

น้ำ ออกเดินไปข้างหลังของกุมารเหล่านั้น ภริยาของเศรษฐีประดับด้วย

เครื่องอลังการทั้งปวง พร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง ถือถาดมีของเต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ออกเดินไปข้างหลังของกุมาริกาเหล่านั้น. ท่านมหาเศรษฐีนุ่งห่มผ้าใหม่

พร้อมกับเศรษฐี ๕๐๐ คน ผู้นุ่งห่มด้วยผ้าใหม่เหมือนกัน มุ่งไปเฉพาะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เบื้องหลังของคนทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

กระทำอุบาสกบริษัทนี้ไว้เบื้องหน้า อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรง

กระทำระหว่างป่าให้เป็นดุจราดรดด้วยการราดด้วยน้ำทอง ด้วยพระรัศมี

จากพระสรีระของพระองค์ จึงเสด็จเข้าพระเชตวันวิหาร ด้วยพุทธลีลา

อันหาที่สุดมิได้ ด้วยพุทธสิริอันหาประมาณมิได้.

ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะปฏิบัติในวิหารนี้อย่างไร ? พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงให้ประดิษฐานวิหาร

นี้ เพื่อภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ท่านมหา-

เศรษฐีรับพระพุทธฎีกาว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วถือเต้าน้ำทองคำหลั่งน้ำ

ให้ตกลงเหนือพระหัตถ์ของพระทศพล แล้วได้ถวายด้วยคำว่า ข้าพระองค์

ขอถวายพระเชตวันวิหารนี้แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานซึ่งอยู่

ในทิศทั้ง ๔ ผู้มาแล้วและที่ยังไม่ได้มา. พระศาสดาทรงรับพระวิหารแล้ว

เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา ได้ตรัสอานิสงส์การถวายวิหารว่า

เสนาสนะย่อมป้องกันความหนาวและความร้อน แต่นั้น

ย่อมป้องกันเนื้อร้าย งู ยุง น้ำค้าง และฝน แต่นั้นย่อมป้องกัน

ลม และแดดอันกล้า ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมบรรเทาไป. การถวาย

วิหารแก่สงฆ์เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และ

เพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์

ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ถวายให้เป็นที่อยู่ในภิกษุผู้

เป็นพหูสูตเถิด.

อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่านเหล่า

นั้น ด้วยใจอันเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง. เขาผู้ถวายวิหาร

รู้ธรรมใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่าน

เหล่านั้นย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง

แก่เขา.

จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เริ่มการฉลอง

วิหาร. การฉลองวิหารของนางวิสาขา ๔ เดือนเสร็จ ส่วนการฉลองวิหาร

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๙ เดือนเสร็จ. แม้ในการฉลองวิหาร ก็สิ้น

ทรัพย์ไปถึง ๑๘ โกฏิทีเดียว. เฉพาะวิหารอย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้

บริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

เศรษฐีชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ สร้างสังฆา-

รามประมาณหนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เศรษฐีชื่อ สิริ-

วัฑฒะ ซื้อที่โดยการปูลาดผาลทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามมีประมาณ ๓

คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู เศรษฐีชื่อว่า

โสตถิยะ ซื้อที่โดยปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมี

ประมาณกึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ เศรษฐีชื่อว่า

อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณหนึ่ง

คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ เศรษฐี

ชื่อว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ

กึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เศรษฐีชื่อว่า

สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดไม้เท้าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ

๖ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

แต่ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีชื่อว่า

อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่โดยการปูลาดทรัพย์โกฏิกหาปณะ แล้วสร้างสังฆาราม

มีประมาณ ๘ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่

ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มิได้ทรงละเลยทีเดียว.

ตั้งแต่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึงเตียง

มหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สถานที่ใด ๆ สถานที่

นี้นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้.

จบนิทานกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

พรรณนาอัพภันตรนิทาน

ศัพท์ว่า อถ ในคาถานี้ว่า

ลำดับนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์ จงสดับพุทธาปทาน

ว่า เราเป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน ซึ่ง

ใคร ๆ นับไม่ได้ ดังนี้.

เป็นบทนิบาตใช้ในอรรถว่า แสดงลำดับแห่งอธิการ คือ เป็นบทนิบาต

ที่ประกอบด้วยวิภัตติ ในบรรดานิบาตทั้งสอง ที่ประกอบด้วยวิภัตติ และ

ไม่ประกอบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง

อถ ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า อธิการ, มงคล, อรรถว่า

สำเร็จ, อวธารณะ, อรรถว่า ต่อเนื่องกันไป, และอรรถว่า

ปราศจากไป.

จริงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

อธิการย่อมบ่งบอกถึงกิจอันยิ่ง ฐานะอันยิ่ง และอรรถ

อันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด

ดังนี้.

(เชื่อมความว่า) ท่านทั้งหลายจงฟังอปทาน (คือเหตุ) อันประกอบ

ด้วย อถ ศัพท์อันมีอธิการเป็นอรรถ โดยเป็นกิจอันยิ่งแห่งบารมีธรรม

๓๐ ถ้วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญ

ที่สุด. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ

ศัพท์ซึ่งมีมงคลเป็นอรรถ โดยพระบาลีว่า การบูชาผู้ควรบูชา นั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

เป็นมงคลอันสูงสุด เพราะการบูชาพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเป็นมงคลโดย

สภาพ. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานที่ประกอบด้วย อถ

ศัพท์อันมีความสำเร็จเป็นอรรถ เพราะกิจแห่งสมบัติของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าเป็นต้น สำเร็จแล้วด้วยพระอรหัตมรรค. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลาย

จงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ คือมี

การห้ามเป็นอรรถ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มีกุศลอื่นจากกุศลมี

อรหัตมรรคเป็นต้น. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบ

ด้วย อถ ศัพท์อันมี อนันตระ ความต่อเนื่องกันเป็นอรรถ เพราะท่าน

ร้อยกรองไว้ติดต่อกับการร้อยกรองขุททกปาฐะ. เชื่อมความว่า ท่าน

ทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์ ซึ่งมีการจากไปเป็นอรรถ

เพราะเริ่มจากขุททกปาฐะนี้ไป.

ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีตนอื่นแนะนำ.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณอันยอดเยี่ยม.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัด

ความไม่รู้เสียได้.

บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้า

เราเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด.

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า

ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ญาณในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า โพธิ, ญาณที่เรียกว่า

โพธิ เพราะทำหมู่กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้นให้สิ้นไป ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ

แล้วบรรลุพระนิพพาน. สมังคีบุคคลผู้ประกอบพร้อมด้วยญาณนั้น ชื่อว่า

เป็นพระพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วย

ญาณนั้นเหมือนกัน แล้วจึงบรรลุพระนิพพาน. ก็ญาณนั้นเท่านั้นเป็น

อปทาน คือเป็นเหตุของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเป็นญาณอันยิ่งเฉพาะ.

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่า พุทธาปทาน เพราะพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยแสนกัป จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ

และเพราะทรงบรรลุอสาธารณญาณ มีอินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณา-

สมาบัติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ

อาสยานุสยญาณเป็นต้น และเพราะทรงให้หมู่สัตว์นับไม่ถ้วนดื่มอมตธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ด้วยพระธรรมเทศนา แม้กัณฑ์เดียวแล้วให้บรรลุพระนิพพาน.

ก็พุทธาปทานนั้นมี ๒ อย่าง โดยเป็นกุศลและอกุศล แต่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ แม้เมื่อจะทำการสงเคราะห์

ทายกผู้ถวายปัจจัย มีข้าวเป็นต้น ก็แสดงธรรมด้วยคาถา ๒ คาถานี้

เท่านั้นแหละว่า

ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย

เร็วพลัน ความดำริไว้ในใจจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์

ในวันเพ็ญฉะนั้น.

ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย

เร็วพลัน ความดำริในใจจงเต็มที่ เหมือนแก้วมณี ชื่อโชติรส

ฉะนั้น ดังนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้จะแสดงธรรม ก็ไม่อาจทำหมู่สัตว์

นับไม่ถ้วนให้ตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นเหมือนพระสัพพัญญู-

พุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เฉพาะโดยโดดเดี่ยว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า. อปทาน คือเหตุแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า

ปัจเจกพุทธาปทาน.

ชื่อว่า เถระ เพราะดำรงอยู่นาน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ มีศีล อาจาระ

และมัทวะความอ่อนโยนเป็นต้น อันมั่นคงกว่า.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ คือศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ อันมั่นคงและประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะบรรลุพระนิพพาน คือสันติ

ที่นับว่ามั่นคงกว่า ประณีต และยอดเยี่ยม.

อปทานของพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่า เถราปทาน.

ชื่อว่า เถรี เพราะประกอบด้วยตาทิคุณทั้งหลายเหมือนพระเถระ.

อปทานของพระเถรีทั้งหลาย ชื่อว่า เถรีปทาน.

ในอปทานเหล่านั้น พุทธาปทานมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๑ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า

พุทธาปทาน โดยอนุโลม.

แม้ปัจเจกพุทธาปทานก็มี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร. ด้วยเหตุ

นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๒ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า

ปัจเจกพุทธาปทาน โดยอนุโลม.

เถราปทานมี ๕๑๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑ วรรค. ด้วยเหตุ

นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๓ ซึ่งมี ๕๐๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑

วรรค นี้ชื่อว่า เถราปทาน โดยอนุโลม.

เถรีอปทานมี ๔๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๔ วรรค. ด้วยเหตุนั้น

พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

อปทานที่ ๔ ซึ่งมี ๔๐ อปทาน และมีวรรค ๔ วรรค นี้

ชื่อว่า เถรีปทาน โดยอนุโลม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

อปทาน ศัพท์ ในบทว่า อปทาน นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมาย

มีอาทิว่า การณะ คหณะ อปคมนะ ปฏิปาฏิ และอักโกสนะ.

จริงอย่างนั้น อปทาน ศัพท์นี้ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ

คือเหตุ ได้ในประโยคมีอาทิว่า ขตฺติยาน อปทาน, พฺราหฺมณาน อปทาน

อธิบายว่า เหตุแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย เหตุแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า คหณะ คือการถือ ได้ในประโยคมี

อาทิว่า อุปาสกาน อปทาน อธิบายว่า อุบาสกทั้งหลายถือเอาด้วยดี.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อปคมนะ คือการจากไป ได้ใน

ประโยคมีอาทิว่า วาณิชาน อปทาน สุทฺทาน อปทาน อธิบายว่า พวก

พ่อค้าและพวกศูทรเหล่านั้น พากันจากไปแต่ที่นั้น ๆ.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า ปฏิปาฏิ คือตามลำดับ ได้ในประโยค

มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว โดย

เที่ยวไปตามลำดับ อธิบายว่า เที่ยวไปตามลำดับเรือน.

ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อักโกสนะ คือ การด่า ได้ใน

ประโยคมีอาทิว่า ย่อมด่าว่า ชนเหล่านี้ไปปราศ จากความเป็นสมณะ ชน

เหล่านั้นไปปราศ จากความเป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ย่อมด่า ย่อมบริภาษ.

แต่ในที่นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ คือเหตุ เพราะ-

ฉะนั้น อปทานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า พุทธาปทาน อธิบายว่า

เหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พึงเห็นว่า บารมี ๓๐ ถ้วนมีทานบารมี

เป็นต้น เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดังเมล็ดทราย

ในแม่น้ำคงคา. มีการเชื่อมความว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

จงสดับอปทานที่ประกอบในความหมายมีความหมายว่า อธิการคือคุณที่

กระทำไว้ยิ่งใหญ่เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทฺธมานสา ความว่า ท่านทั้งหลาย

ผู้เป็นพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ชื่อว่าสุทธมานสา คือมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง

มีหฤทัยสะอาด เพราะทำกิเลส ๑,๕๐๐ ให้สิ้นไปด้วยอรหัตมรรคญาณ

แล้วดำรงอยู่ จงนั่งประชุมกันฟังอปทานในโรงธรรมนี้ อธิบายว่า ท่าน

ทั้งหลายจงเงี่ยโสดลงฟังกระทำไว้ในใจ.

ก็ในข้อนี้พึงเห็นว่า แม้เมื่อปัจเจกพุทธาปทาน เถราปทาน และ

เถรีอปทานจะมีอยู่ ท่านก็ไม่กล่าวว่า อปทานานิ กลับกล่าวคำว่า อถ

พุทธาปทานานิ เหมือนเมื่อขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก

สังขารยมก และอนุสยยมก แม้จะมีอยู่ก็กล่าวว่า มูลยมก ด้วยอำนาจที่เป็น

ประธาน และด้วยอำนาจที่เป็นเบื้องต้น และเหมือนเมื่อสังฆาทิเสส ๑๓

อนิยต ๒ และนิสสัคคิยะ ๓๐ แม้จะมีอยู่ ก็กล่าวว่า ปาราชิกกัณฑ์ ด้วย

อำนาจที่เป็นประธาน และด้วยอำนาจทีเป็นเบื้องต้น แม้ในที่นี้ ท่านก็

กล่าวไว้โดยที่เป็นประธานและเป็นเบื้องต้น.

เมื่อควรจะกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาปทานานิ แต่ท่านทำการลบ

บทนิบาตว่า สมฺมา ซึ่งบ่งบอกอรรถที่เป็นตติยาวิภัตติ และบทอุปสรรค

ว่า ส ซึ่งบ่งบอกอรรถของศัพท์ว่า สย โดยนิรุตตินัยว่า วณฺณาคโม

ฯ เป ฯ ปญฺจวิธ นิรุตฺต = นิรุตต์มี ๕ ชนิด คือ ลงตัวอักษร ฯลฯ

หรือโดยสูตรว่า เตสุ วุทฺธิโลปาคมวิการวิปรีตาเทสา จ = ก็ในสนธิ-

กิริโยปกรณ์เหล่านั้น มีพฤทธิ์ ลบ ลงตัวอักษร ทำให้ผิดจากของเดิม

และแปลงให้ผิดตรงกันข้าม ดังนี้ แล้วถือเอาเฉพาะศัพท์ว่า พุทฺธ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

บ่งว่าเป็นกิตก์ แล้วกล่าวว่า พุทฺธาปทานานิ เพื่อสะดวกในการประพันธ์

คาถา. เพราะฉะนั้น บทว่า พุทฺธาปทานานิ มีความหมายว่า อปทาน

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้.

พรรณนาอัพภันตรนิทาน

ในวิสุทธขนวิลาสินี อรรถกถาอทาน

จบเพียงเท่านี้

๑. พรรณนาพุทธาปทาน

บัดนี้ พระเถระมีความประสงค์จะกล่าวอรรถกถาอปทาน ในลำดับ

อัพภันตรนิทาน จึงกล่าวไว้ว่า

อปทาน คืออปทานใด แสดงนัยอันวิจิตร พระอรหันตเจ้า

ทั้งหลาย สังคายนาไว้ในขุททกนิกาย บัดนี้ ถึงลำดับแห่ง

การสังวรรณนา เนื้อความแห่งอปทานั้น ดังนี้.

ก่อนอื่น อปทานใดในคาถานั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในรส

อันเดียวกัน เพราะท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธพจน์ทั้งสิ้นมีรสคือวิมุตติ

เป็นอันเดียวกัน, ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในธรรมที่ท่านสงเคราะห์ไว้ ๒

ส่วน ด้วยอำนาจธรรมและวินัย, ในบรรดาปฐมพุทธพจน์ มัชฌิม-

พุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในมัชฌิม-

พุทธพจน์, ในบรรดาพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรม-

ปิฎก ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในพระสุตตันตปิฎก, ในบรรดานิกาย ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

คือ ทีฆนิกา มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททก-

นิกาย ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย, ในบรรดานวังคสัตถุศาสน์

คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูต-

ธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์ลงในคาถา. ในบรรดาธรรมขันธ์

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งท่านพระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใดที่คล่องปากขึ้นใจของข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น

มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือที่ข้าพเจ้าเรียกจากพระพุทธเจ้า

๘๒,๐๐๐ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้.

เป็นอันสงเคราะห์ลงใน ๒-๓ พระธรรมขันธ์.

บัดนี้ ท่านเมื่อจะแสดงอปทานนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็น

พระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนี้.

ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บารมี ๑๐ ถ้วนนั่นเอง จัดเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ด้วยอำนาจบารมี

๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ โดยเป็นอย่างต่ำ อย่างกลาง

และอย่างสูง. ผู้บริบูรณ์ดี คือผู้สมบูรณ์ ประกอบ พร้อมพรั่ง บรรลุ

ประกอบพร้อมด้วยบารมี ๑๐ ถ้วนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สมบูรณ์

ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน. ชื่อว่า ราชา เพราะยังหมู่สัตว์ผู้อยู่ในสกลโลกทั้ง ๓

และกายของตนให้ยินดี คือไห้ยึดติดด้วยพรหมวิหารสมาบัติ ๔ คือ

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือด้วยความเป็นผู้มีจิตเป็นอันเดียว

ด้วยธรรมเครื่องอยู่แห่งผลสมาบัติ, พระราชาโดยธรรม ชื่อว่า

พระธรรมราชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนี้. อธิบายว่า พระพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

เจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาที่ล่วงไปแล้ว คือ จากไปแล้ว ดับแล้ว ถึงการ

ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว มีจำนวนนับไม่ได้ คือเว้นจากการนับ ด้วยอำนาจจำนวน

สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปโกฏิ นหุต นินนหุต

อักโขภินี พินทุ อัพพุทะ นิรัพพุทะ อหหะ อพพะ อฏฏะ โสคันธิกะ

อุปปละ กุมุทะ ปุณฑริกะ ปทุมะ กถามะ มหากถานะ และอสัง-

เขยยะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระอานนทเถระทูลถามถึงอธิการที่พระองค์

ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ทรงทำไว้ ในอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น และสมภาร

ที่พระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงทำไว้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สมฺโพธึ

พุทฺธเสฏฺาน ดังนี้. อธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ผู้เจริญ เธอจงฟังอปทาน

ของเรา. เชื่อมความว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลก่อน คือในกาลบำเพ็ญ

โพธิสมภาร เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อภิวาทด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระ-

สัมโพธิญาณ คือจตุสัจมรรคญาณ หรือพระสัพพัญญุตญาณ ของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประเสริฐ คือผู้แทงตลอดสัจจะ ๔. อธิบายว่า เราเอา

นิ้ว ๑๐ นิ้ว คือฝ่ามือทั้งสองนมัสการ คือไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็น

นายกของโลก คือผู้เป็นใหญ่ในโลก พร้อมทั้งพระสงฆ์ คือเป็นไปกับ

สงฆ์สาวก แล้วอภิวาทด้วยเศียร คือด้วยศีรษะ คือกระทำการสรรเสริญ

ด้วยความเต็มใจ แล้วกระทำการนอบน้อมอยู่.

บทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺเตสุ ความว่า รัตนะทั้ง ๗ มีแก้วไพฑูรย์

เป็นต้นที่ตั้งอยู่ในอากาศ คือที่อยู่ในอากาศ ที่ตั้งอยู่บนภาคพื้น คือที่อยู่

บนพื้นของแผ่นดิน นับไม่ถ้วน คือนับไม่ได้ มีอยู่เพียงใด คือมีประมาณ

๑. เป็นวิธีนับในคัมภีร์ทางศาสนา โปรดดูคำอธิบายในหนังสือภิธานัปปทีปิกา หน้า ๑๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

เท่าใด ในพุทธเขตในหมื่นจักรวาล เราเอาใจคือจิตประมวลมาซึ่งรัตนะ

ทั้งหมดนั้น คือจักอธิษฐานจิตนำมาด้วยดี อธิบายว่า เราจะกระทำให้

เป็นกองรอบ ๆ ปราสาทของเรา.

บทว่า ตตฺถ รูปิยภูมิย ความว่า นิรมิตพื้นอันสำเร็จด้วยรูปิยะ คือ

สำเร็จด้วยเงิน ในปราสาทหลายชั้นนั้น, อธิบายว่า เรานิรมิตปราสาท

หลายร้อยชั้นอันล้วนแล้วด้วยรัตนะ คือสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สูงคือพุ่งขึ้น

เด่นอยู่ในท้องฟ้า คือโชติช่วงอยู่ในอากาศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะพรรณนาปราสาทนั้นเท่านั้น จึงตรัสว่า

วิจิตฺตถมฺภ ดังนี้ เป็นต้น. เชื่อมความว่า ปราสาทให้ยกเสามีสีดังแก้วลาย

เป็นต้นมิใช่น้อย วิจิตรงดงาม ทำไว้อย่างดี คือสร้างไว้ดีถูกลักษณะ

จัดแบ่งไว้เรียบร้อยโดยเป็นส่วนสูงและส่วนกว้าง ชื่อว่า ควรมีค่ามาก

เพราะนิรมิตเสาค่ายอันมีค่าหลายร้อยโกฏิไว้. ปราสาทวิเศษอย่างไรอีก

บ้าง? คือปราสาทมีขื่ออันสำเร็จด้วยทอง ได้แก่ ประกอบด้วยขื่อและ

คันทวยอันทำด้วยทอง ประดับแล้ว คืองดงามด้วยนกกะเรียนและฉัตร

ที่ยกขึ้นในปราสาทนั้น.

เมื่อจะทรงพรรณนาความงามของปราสาทโดยเฉพาะซ้ำอีก จึงตรัส

ว่า ปมา เวฬุริยา ภูมิ ดังนี้ เป็นต้น . ความว่า ปราสาทซึ่งมีพื้นหลาย

ร้อยชั้นนั้นงดงาม คือน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เสมอเหมือนหมอก

คือ เช่นกับหลืบเมฆฝน ปราศจากมลทิน คือไม่มีมลทิน มีสีเขียว สำเร็จ

ด้วยแก้วไพฑูรย์ อธิบายว่า พื้นชั้นแรกดารดาษ คือสะพรั่งด้วยกอบัว

และดอกปทุมที่เกิดในน้ำ งดงามด้วยกาญจนภูมิ คือพื้นทองอันประเสริฐ

คือสูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

อธิบายว่า พื้นปราสาทนั้นนั่นแล บางชั้นเป็นส่วนของแก้ว

ประพาฬ คือเป็นโกฏฐาสของแก้วประพาฬ มีสีดังแก้วประพาฬ พื้นบาง

ชั้นแดง คือมีสีแดง พื้นบางชั้นงาม คือเป็นที่ดื่มด่ำใจ มีแสงสว่างดังสี

แมลงค่อมทอง คือเปล่งรัศมีอยู่ พื้นบางชั้นส่องแสงไปทั้ง ๑๐ ทิศ.

ในปราสาทนั้น มีป้อมและศิลาติดหน้ามุขที่จัดไว้ดีแล้ว คือจัดไว้

เรียบร้อย มีสีหบัญชรและสีหทวารที่ทำไว้เป็นแผนก ๆ ตามส่วน. บทว่า

จตุโร เวทิกา ความว่า ที่วลัยของชุกชีและหน้าต่างมีตาข่าย ๔ แห่ง มีพวง

ของหอมและช่อของหอมอันเป็นที่รื่นรมย์ใจ คือเป็นที่จับใจ ห้อยย้อยอยู่.

ในปราสาทนั้นแหละ มีเรือนยอดประดับด้วยรัตนะ ๗ คืองดงาม

ด้วยรัตนะ ๗. มีสีเป็นอย่างไร ? คือเป็นสีเขียว คือมีสีเขียว เป็นสีเหลือง

คือมีสีเหลือง ได้แก่ มีสีเหลืองทอง เป็นสีแดง คือมีสีเหมือนโลหิต

ได้แก่ มีสีแดง เป็นสีขาว คือมีสีขาว ได้แก่ เป็นสีเศวต มีสีดำล้วน

คือมีสีดำไม่มีสีอื่นเจือ อธิบายว่า ปราสาทนั้นประกอบด้วยเรือนยอด

คือประกอบด้วยเรือนยอดอย่างดี และด้วยเรือนยอดมีช่อฟ้าอย่างดี.

ในปราสาทนั้นแหละ มีดอกปทุมชูดอก คือมีดอกตั้งบาน ได้แก่

ดอกปทุมบานสะพรั่งงดงาม อธิบายว่า ปราสาทนั้นงดงามด้วยหมู่เนื้อร้าย

มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น และงดงามด้วยหมู่ปักษี มีหงส์ นกกะเรียน

และนกยูงเป็นต้น. หมายความว่า ปราสาทนั้นสูงลิ่ว เพราะสูงจรดท้องฟ้า

จึงเกลื่อนกล่นด้วยนักษัตรและดวงดาว ประดับด้วยพระจันทร์ พระ-

อาทิตย์ และรูปพระจันทร์พระอาทิตย์.

อธิบายว่า ปราสาทของพระเจ้าจักรพรรดิหลังนั้นนั่นแหละ ดาดาษ

ด้วยข่ายเหม คือข่ายทอง ประกอบด้วยกระดิ่งทอง คือประกอบด้วยข่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

กระดิ่งทอง. หมายความว่า ระเบียบดอกไม้ทอง คือถ่องแถวของดอกไม้

ดอกเป็นที่รื่นรมย์ใจ คือเป็นที่จับใจ ย่อมเปล่งเสียง คือย่อมส่งเสียง

เพราะแรงลม คือเพราะลมกระทบ.

ปักธงซึ่งย้อมสี คือระบายด้วยสีต่าง ๆ คือมีสีมิใช่น้อย คือธงสี

หงสบาท ได้แก่ สีฝาง สีแดง คือสีโลหิต เป็นสีเหลือง คือมีสีเหลือง

และธงสีทองและสีเหลืองแก่ ได้แก่ มีสีดังทองชมพูนุท และมีสีเหลืองแก่

คือปักธงสีต่าง ๆ ไว้ในปราสาทนั้น. คำว่า ธชมาลินี นี้ ท่านกล่าว

โดยเป็นลิงควิปลาส อธิบายว่า ปราสาทนั้นประกอบด้วยระเบียบธง.

พระองค์เมื่อจะทรงพรรณนาเครื่องลาดเป็นต้นในปราสาทนั้น จึง

ตรัสว่า น น พหู ดังนี้ เป็นต้น. อธิบายว่า ปราสาทนั้นชื่อว่าจะไม่มี

สิ่งของโดยมาก ย่อมไม่มีในปราสาทนั้น. ที่นอนมีเตียงและตั่งเป็นต้น

วิจิตด้วยที่นอนต่าง ๆ คือวิจิตรงดงามด้วยเครื่องลาดมิใช่น้อย มีจำนวน

หลายร้อย คือนับได้หลายร้อย. มีเป็นอย่างไร. คือที่นอนเป็นแก้วผลึก

ได้แก่ ทำด้วยแก้วผลึก ที่สำเร็จด้วยเงิน คือทำด้วยเงิน สำเร็จด้วยแก้ว

มณี คือทำด้วยแก้วมณีเขียว ทำด้วยทับทิม คือทำด้วยแก้วมณีรัตนชาติ

สีแดงโดยกำเนิด สำเร็จด้วยแก้วลาย คือทำด้วยแก้วมณีด่าง คือเพชร

ตาแมว ลาดด้วยผ้ากาสีเนื้อดี คือลาดด้วยผ้ากาสีเนื้อละเอียดอ่อน.

ผ้าห่มชื่อว่า ปาวุรา. ผ้าห่มเป็นเช่นไร ? คือผ้ากัมพล ได้แก่

ผ้าที่ทอด้วยผม ผ้าทุกุละ ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยผ้าทุกุละ ผ้าจีนะ ได้แก่ ผ้า

ที่ทอด้วยฝ้ายจีน ผ้าปัตตุณณะ ได้แก่ ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายอันเกิดมีในประเทศ

ปัตตุณณะ เป็นผ้าสีเหลือง คือมีสีเหลือง. อธิบายว่า เราให้ปูลาดเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ลาดอันวิจิตร คือที่นอนทั้งหมดอันวิจิตด้วยเครื่องลาด และผ้าห่มมิใช่

น้อยด้วยใจ คือด้วยจิต.

เมื่อจะทรงพรรณนาปราสาทนั้นโดยเฉพาะ จึงตรัสว่า ตาสุ ตาเสฺวว

ภูมีสุ ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตนกูฏลงฺกต ความว่า

ประดับ คือ งามด้วยยอดอันล้วนด้วยแก้ว คือ ช่อฟ้าแก้ว. บทว่า

มณิเวโรจนา อุกฺกา ความว่า คบเพลิง คือประทีปมีด้ามอันกระทำด้วย

แก้วมณีอันรุ่งเรือง คือแก้วมณีแดง. บทว่า ธารยนฺตา สุติฏฺเร

ความว่า คนหลายร้อยยืนทรงไว้ คือถือชูไว้ในอากาศอย่างเรียบร้อย.

เมื่อจะทรงพรรณนาปราสาทนั้นนั่นแหละซ้ำอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า

โสภนฺติ เอสิกาถมฺภา ดังนี้. เสาที่เขาปักไว้ที่ประตูเมือง เพื่อต้องการ

ความงาม ชื่อว่า เสาระเนียด ในคำว่า โสภนฺติ เอสิกาถมฺภา นั้น. ซุ้ม

ประตูงาม คือน่าพึงใจ เป็นซุ้มประตูทอง คือสำเร็จด้วยทอง เป็นทอง

ชมพูนุท คือล้วนแล้วด้วยทองชมพูนุท สำเร็จด้วยไม้แก่น คือทำด้วย

แก่นไม้ตะเคียน และทำด้วยเงิน. อธิบายว่า เสาระเนียดและซุ้มประตู

ทำปราสาทนั้นให้งดงาม.

อธิบายว่า ในปราสาทนั้น มีที่ต่อหลายแห่งจัดไว้เรียบร้อย วิจิตร

คืองามด้วยบานประตูและกลอน เป็นวงรอบของที่ต่องดงามอยู่. บทว่า

อุภโต ได้แก่ สองข้างปราสาทนั้น มีหม้อเต็มน้ำ ประกอบคือเต็มวัย

ปทุมมิใช่น้อย และอุบลมิใช่น้อย ทำปราสาทนั้นให้งดงาม.

ครั้นทรงพรรณนาความงามของปราสาทอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรง

ประกาศปราสาทที่ทำด้วยรัตนะ และสักการะสัมมานะ การนับถือยกย่อง

จึงตรัสคำมีอาทิว่า อตีเต สพฺพพุทฺเธ จ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีเต ความว่า ในกาลอันล่วงไปแล้ว

คือผ่านไปแล้ว เรานิรมิตพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกทุกองค์ พร้อม

ทั้งพระสงฆ์ คือเป็นไปกับหมู่สาวกที่เกิดมีมาแล้ว และพระพุทธเจ้า

พร้อมทั้งสาวก คือมีพระสาวก โดยมีวรรณ รูปโฉมและทรวดทรงตาม

ปกติโดยสภาวะ พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกทุกพระองค์ เสด็จเข้าไป

ยังปราสาททางประตูที่จะต้องเสด็จเข้าไป ประทับนั่งบนตั่งอันทำด้วยทอง

ล้วน ๆ คือล้วนแล้วด้วยทองทั้งหมด เป็นอริยมณฑล คือเป็นหมู่พระ-

อริยะ.

อธิบายว่า ในบัดนี้ คือในปัจจุบัน เราได้ให้พระพุทธเจ้าผู้ยอด

เยี่ยม คือไม่มีผู้ยิ่งกว่าซึ่งมีอยู่ และพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยองค์ผู้

เป็นสยัมภู คือผู้เป็นเองไม่มีคนอื่นเป็นอาจารย์ ผู้ไม่พ่ายแพ้ คือผู้อัน

ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวบุตรมารทำให้

แพ้ไม่ได้ ผู้บรรลุชัยชนะ ให้อิ่มหนำแล้ว. พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน

อดีตกาลและปัจจุบันกาล พากันเสด็จขึ้น อธิบายว่า พากันเสด็จขึ้นสู่

ภพ คือปราสาทของเราอย่างดี.

เชื่อมความว่า ต้นกัลปพฤกษ์เหล่าใดที่เป็นทิพย์ คือเกิดในเทวโลก

มีอยู่มาก และต้นกัลปพฤกษ์เหล่าใดที่เป็นของมนุษย์ คือเกิดในมนุษย์

มีอยู่เป็นอันมาก เรานำเอาผ้าทั้งหมดจากต้นกัลปพฤกษ์เหล่านั้น แล้ว

ให้ทำเป็นไตรจีวร แล้วให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นครองไตรจีวร.

ครั้นให้นุ่งห่มไตรจีวรอย่างนี้แล้ว เอาของเคี้ยวคือของอย่างใด

อย่างหนึ่งมีขนมเป็นต้นที่ควรเคี้ยว อันถึงพร้อมแล้วคือมีรสอร่อย ของควร

บริโภคคืออาหารที่ควรบริโภคอันอร่อย ของควรลิ้มคือของที่ควรเลียกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

อันอร่อย ของควรดื่มคือน้ำปานะ ๘ อย่างที่สมบูรณ์คืออร่อย และโภชนะ

คืออาหารที่ควรกิน บรรจุให้เต็มที่ในบาตรมณีมัย คือทำด้วยศิลาอันงาม

คือดี แล้วถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้นั่งลงแล้ว อธิบายว่า

นิมนต์ให้รับเอาแล้ว.

อริยมณฑลทั้งหมดนั้น คือหมู่พระอริยเจ้าทั้งหมดนั้น เป็นผู้มี

ทิพยจักษุเสมอกัน เป็นผู้เกลี้ยงเกลา อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย

ทิพยจักษุ เป็นผู้เกลี้ยงเกลา คือเป็นผู้สละสลวย คืองดงาม เพราะเว้น

จากกิเลสทั้งปวง ครองจีวร คือเป็นผู้พรั่งพร้อมกันด้วยไตรจีวร เป็น

ผู้อันเราให้อิ่มหนำสำราญบริบูรณ์ด้วยของหวาน น้ำตาลกรวด น้ำมัน

น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และข้าวชั้นดี.

หมู่พระอริยเจ้าเหล่านั้นอันเราให้อิ่มหนำอย่างนี้แล้ว เข้าสู่ห้องแก้ว

คือเรือนมีห้องอันนิรมิตด้วยรัตนะทั้ง ๗ แล้วสำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอัน

มีค่ามาก คือบนเตียงอันหาค่ามิได้ ดุจไกรสรราชสีห์มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย

คือนอนอยู่ในถ้ำฉะนั้น อธิบายว่า สีหมฤคราชนอนตะแคงข้างขวา

ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า เอาเท้าขวาทำเป็นที่หนุนศีรษะ วางเท้าซ้ายทอดไป

ตรง ๆ เอาหางซุกไว้ในระหว่างหัวไส้ แล้วนิ่ง ๆ ฉันใด หมู่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายก็สำเร็จ คือกระทำการนอน ฉันนั้น.

อธิบายความว่า หมู่พระอริยเจ้าเหล่านั้น ครั้นสำเร็จสีหไสยาอย่าง

นี้แล้ว รู้ตัวอยู่คือสมบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ ลุกขึ้นแล้วคือลุกขึ้นอย่าง

เรียบร้อย แล้วคู้บัลลังก์บนที่นอน คือทำการนั่งทำขาอ่อนให้แนบ

ติดกันไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

บทว่า โคจร สพฺพพุทฺธาน ความว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย

ความยินดีในฌาน คือเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความยินดีในฌาน อันเป็น

โคจร คืออารมณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งปวงทั้งที่ล่วงไปแล้วและที่ยังไม่มา.

บทว่า อญฺเ ธมฺมานิ เทเสนฺติ ความว่า บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าพวกหนึ่ง คือบางพวกแสดงธรรม อีก

พวกหนึ่งเล่นคือรื่นรมย์ด้วยฤทธิ์ คือด้วยการเล่นฌานมีปฐมฌานเป็นต้น.

ความอธิบายต่อไปว่า บางพวกอบรมอภิญญา คืออภิญญา ๕

ให้เชี่ยวชาญ คือทำให้ชำนาญ คือบรรดาอภิญญา ๕ ย่อมถึง คือเข้า

อภิญญาอันไปคือถึง บรรลุความชำนาญ ด้วยความชำนาญ ๕ ประการ

กล่าวคือการนึก การเข้า การออก การหยุดยืน และการพิจารณา.

บางพวกแผลงฤทธิ์ คือทำการแผลงฤทธิ์ให้เป็นหลายพันคน ได้แก่

แผลงฤทธิ์มีอาทิอย่างนี้ คือแม้คนเดียวทำให้เป็นหลายคน แม้หลายคน

ทำให้เป็นคนเดียวก็ได้.

บทว่า พุทฺธาปิ พุทฺเธ ความว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ประชุมกันอย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมถามพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ถึงปัญหาอันเป็นวิสัย คือเป็นอารมณ์ของพระสัพพัญพัญญุตญาณ พระ-

พุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมตรัสรู้แจ้งจริง คือตรัสรู้โดยพิเศษไม่มีส่วนเหลือ ซึ่ง

ฐานะคือเหตุ ที่ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกซึ่งโดยอรรถ อันละเอียดคือสุขุมด้วย

พระปัญญา.

ในกาลนั้น แม้พระสาวกทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่ในปราสาทของเรา

ย่อมถามปัญหากะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ปัญหากะสาวกดือศิษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกเหล่านั้น ต่าง

ถามปัญหากันและกัน ต่างพยากรณ์คือแก้ปัญหากันและกัน.

เมื่อจะทรงแสดงพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น โดยมีภาวะเป็นอย่างเดียว

กันอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า พุทฺธา ปจฺเจกพุทฺธา จ ดังนี้. ในคำนั้น

มีอธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสาวกคือศิษย์ และผู้ปรนนิบัติคือนิสิต ทั้งหมดนี้ยินดีอยู่ด้วยความ

ยินดีของตน ๆ เร้นอยู่ ย่อมอภิรมย์อยู่ในปราสาทของเรา.

พระเจ้าติโลกวิชัยจักรพรรดิราชนั้น ครั้นทรงแสดงอาจารสมบัติ

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวชยันตปราสาทของพระองค์อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอานุภาพของพระองค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ฉตฺตา ติฏฺนฺติ รตนา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ฉัตรแก้ว อัน

ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพวงมาลัยทองเป็นทิวแถว คือห้อย

ตาข่ายทองอยู่ประจำ. ฉัตรทั่งหลายวงด้วยข่ายแก้วมุกดา คือล้อมด้วย

ข่ายแก้วมุกดา เพียงแต่คิดว่า ฉัตรทุกชนิดจงกั้นอยู่เหนือกระหม่อมคือ

ศีรษะเรา ก็ย่อมปรากฏขึ้น.

เพดานผ้าวิจิตด้วยดาวทอง คือแวววาวด้วยดาวทองจงมี คือจง

บังเกิดขึ้น. อธิบายว่า เพดานมิใช่น้อยทุกชนิด วิจิตรคือมีสีหลายอย่าง

ดาษด้วยมาลัย คือแผ่ไปด้วยดอกไม้ จงกั้นอยู่เหนือกระหม่อม คือส่วน

เบื้องบนแห่งที่เป็นที่นั่ง.

เชื่อมความว่า สระโบกขรณีดาดาษ คือกลาดเกลื่อนด้วยพวงดอกไม้

คือพวงของหอมและดอกไม้หลายอย่าง งดงามด้วยพวงของหอม คือ

พวงสุคนธชาติมีจันทน์ หญ้าฝรั่นและกฤษณาเป็นต้น. อธิบายว่า สระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

โบกขรณีเกลื่อนกล่นด้วยพวงผ้า คือพวงผ้าอันหาด่ามิได้ มีผ้าปัตตุณณะ

และผ้าจีนะเป็นต้น ประดับตกแต่งด้วยพวงรัตนะทั้ง ๗. ดาดาษด้วย

ดอกไม้ คือดาดาษด้วยดอกไม้หอมมีจำปา สฬละ และจงกลนีเป็นต้น

วิจิตรงดงามด้วยดี. สระโบกขรณีมีอะไรอีกบ้าง ? คือสระโบกขรณีอบ

อวลด้วยสุคนธชาติอันมีกลิ่นหอมน่าพอใจยิ่ง. เจิมด้วยของหอมไว้โดยรอบ

คือประดับด้วยของหอมที่เอานิ้วทั้ง ๕ ไล้ทาไว้ สระโบกขรณีอันมีอยู่ใน

ทิศทั้ง ๔ ของปราสาท มุ่งด้วยเครื่องมุงเหมคือมุงด้วยเครื่องมุงอันเป็น

ทอง และเพดานทอง ดาดาษแผ่เต็มไปด้วยปทุมและอุบล ปรากฏเป็น

สีทองในรูปทอง สระโบกขรณีฟุ้งไปด้วยละอองเรณูของดอกปทุม คือ

ขจรขจายไปด้วยละอองธุลีของดอกปทุม งดงามอยู่.

รอบ ๆ เวชยันตปราสาทของเรา มีต้นไม้มีต้นจำปาเป็นต้นออก

ดอกทุกต้น นี้เป็นต้นไม้ดอก. ดอกไม้ทั้งหลายหล่นมาเองแล้วลอยไป

โปรยปราสาท อธิบายว่า โปรยลงเบื้องบนปราสาท.

มีอธิบายว่า ในเวชยันตปราสาทของเรานั้น มีนกยูงฟ้อน มีหมู่

หงส์ทิพย์ คือหงส์เทวดาส่งเสียงร้อง หมู่นกการวิก คือโกกิลาที่มีเสียง

เพราะขับขาน คือทำการขับร้อง และหมู่นกอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ ก็ร่ำร้อง

ด้วยเสียงอัน ไพเราะอยู่โดยรอบปราสาท.

รอบ ๆ ปราสาท มีกลองขึงหนังหน้าเดียวและกลองขึงหนังสอง-

หน้าเป็นต้นทั้งหมดได้ดังขึ้น คือได้ตีขึ้น พิณนั้นทั้งหมดซึ่งมีสายมิใช่น้อย

ได้ดีดขึ้น คือส่งเสียง. สังคีตทุกชนิด คือเป็นอเนกประการ จงเป็นไป

คือจงบรรเลง อธิบายว่า จงขับขานขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ในพุทธเขตมีกำหนดเพียงใด คือในที่มีประมาณเท่าใด ได้แก่

ในหมื่นจักรวาล และในจักรวาลอื่นจากหมื่นจักรวาลนั้น บัลลังก์ทอง

สมบูรณ์ด้วยความโชติช่วง คือสมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่องว่าง ใหญ่โต

สำเร็จด้วยรัตนะทั่วทุกด้าน คือเขาทำขจิตด้วยรัตนะทั้ง ๗ จงตั้งอยู่ ต้นไม้

ประดับประทีป คือต้นไม้มีน้ำมันตามประทีปจงลุกเป็นไฟโพลงอยู่ คือ

สว่างด้วยประทีปรอบ ๆ ปราสาท. เป็นไม้ประทีปติดต่อกันไปเป็นหมื่นดวง

คือเป็นหมื่นดวงติดต่อกันกับหมื่นดวง จงเป็นประทีปรุ่งเรื่องเป็นอัน

เดียวกัน คือเป็นประดุจประทีปดวงเดียวกัน อธิบายว่า จงลุกโพลง.

หญิงคณิกาคือหญิงฟ้อนผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับ หญิงขับร้อง

คือผู้ทำเสียงด้วยปาก จงฟ้อนไปรอบ ๆ ปราสาท. หมู่นางอัปสรคือหมู่

หญิงเทวดา จงฟ้อนรำ. สนามเต้นรำต่าง ๆ คือมณฑลสนามเต้นรำ

ต่าง ๆ มีสีเป็นอเนกประการ จงฟ้อนรำรอบ ๆ ปราสาท ชื่อว่าเขา

เห็นกันทั่วไป อธิบายว่า จงปรากฏ.

อธิบายว่า ในครั้งนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่าติโลกวิชัย

ให้ยกธงทั้งปวงมี ๕ สี คือมีสี ๕ สี มีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น วิจิตร

คืองดงามด้วยสีหลายหลาก บนยอดไม้ บนยอดเขา คือยอดเขาหิมพานต์

และเขาจักรวาลเป็นต้น บนยอดเขาสิเนรุ และในที่ทั้งปวง ในจักรวาล

ทั้งสิ้น.

อธิบายว่า พวกคนคือคนจากโลกอื่น พวกนาคจากโลกนาค

พวกคนธรรพ์และเทวดาจากเทวโลก ทั้งหมดจงมาคือจงเข้ามา. พวก

คนเป็นต้นเหล่านั้นนมัสการ คือทำการนอบน้อมเรา กระทำอัญชลี คือ

ทำกระพุ่มมือ แวดล้อมเวชยันตปราสาทของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

พระเจ้าจักรพรรดิติโลกวิชัยนั้น ครั้นพรรณนาอานุภาพปราสาท

และอานุภาพของตนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะให้ถือเอาผลบุญที่คนทำไว้

ด้วยสมบัติ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ย กิญฺจิ กุสล กมฺม ดังนี้. อธิบายว่า

กิริยากล่าวคือกุศลกรรมอย่างไดอย่างหนึ่งที่จะพึงการทำมีอยู่ กุศลกรรม

ที่จะพึงทำทั้งหมดนั้น เราทำแล้วด้วยกาย วาจา และใจ คือด้วยไตร-

ทวาร ให้เป็นอันทำดีแล้ว คือให้เป็นอันทำด้วยดีแล้วในไตรทศ อธิบายว่า

กระทำให้ควรแก่การเกิดขึ้นในภพดาวดึงส์.

เมื่อจะให้ถือเอาอีกจึงกล่าวว่า เย สตฺตา สญฺณิโน ดังนี้เป็นต้น

ในคำนั้นมีอธิบายว่า สัตว์เหล่าใด จะเป็นมนุษย์ เทวดาหรือพรหมก็ตาม

ที่มีสัญญา คือประกอบด้วยสัญญามีอยู่ และสัตว์เหล่าใดที่ไม่มีสัญญา คือ

เว้นจากสัญญา ได้แก่สัตว์ผู้ไม่มีสัญญาย่อมมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดจง

เป็นผู้มีส่วนบุญที่เรากระทำแล้ว คือจงเป็นผู้มีบุญ

พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้ถือเอาแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เยส กต

ดังนี้. อธิบายว่า บุญที่เราทำแล้วอันชน นาค คนธรรพ์และเทพเหล่าใด

รู้ดีแล้วคือทราบแล้ว เราให้ผลบุญแก่นรชนเป็นต้นเหล่านั้น นรชน

เป็นต้นเหล่าใด ไม่รู้ว่าเราให้บุญที่เราทำแล้วนั้น เทพทั้งหลายจงไปแจ้ง

ให้รู้ อธิบายว่า จงบอกผลบุญนั้นแก่นรชนเป็นต้นเหล่านั้น.

สัตว์เหล่าใดในโลกทั้งปวงผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีวิต สัตว์เหล่านั้น

ทั้งหมดจงได้โภชนะอันพึงใจทุกอย่างด้วยใจของเรา คือด้วยจิตของเรา

อธิบายว่า จงได้ด้วยบุญฤทธิ์ของเรา.

ทานใดเราได้ให้แล้ว ด้วยจิตใจอันเลื่อมใส เรานำมาแล้ว คือยัง

ความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแล้ว ในทานนั้นด้วยจิตใจ. พระสัมพุทธเจ้าทุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

พระองค์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวกของพระชินเจ้า เราผู้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บูชาแล้ว.

ด้วยกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น คือด้วยกุศลกรรมที่เราเชื่อแล้วกระทำ

ไว้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ คือด้วยความปรารถนาที่ทำไว้ด้วยใจ เรา

ละคือทิ้งร่างกายมนุษย์ ได้แก่สรีระของมนุษย์ แล้วได้ไปสู่ดาวดึงส-

เทวโลก อธิบายว่า เราได้เกิดขึ้นในดาวดึงสเทวโลกนั้น เหมือนหลับ

แล้วตื่นขึ้นฉะนั้น.

แต่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิติโลกวิชัยได้สวรรคตแล้ว จำเดิมแต่นั้น

เรารู้จักภพ ๒ ภพ คือชาติ ๒ ชาติที่มาถึง คือความเป็นเทวดา ได้แก่

อัตภาพของเทวดา และความเป็นมนุษย์ คืออัตภาพของมนุษย์. นอกจาก

๒ ชาติ เราไม่รู้จัก คือไม่เห็นคติอื่น คือความอุปบัติอื่น อันเป็นผลแห่ง

ความปรารถนาด้วยใจคือด้วยจิต อธิบายว่า เป็นผลแห่งความปรารถนา

ที่เราปรารถนาแล้ว.

บทว่า เทวาน อธิโก โหมิ ความว่า ถ้าเกิดในเทวดา เราได้

เป็นผู้ยิ่งคือเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาทั้งหลาย ด้วย

อายุ วรรณะ พละ และเดช. ถ้าเกิดในมนุษย์ เราย่อมเป็นใหญ่ใน

มนุษย์ คือเป็นอธิบดี เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นพระ-

ราชาผู้เพียบพร้อม คือสมบูรณ์ด้วยรูปอันยิ่ง คือด้วยรูปสมบัติ และด้วย

ลักษณะ คือลักษณะส่วนสูงและส่วนใหญ่ ไม่มีผู้เสมอ คือเว้นคนผู้เสมอ

ด้วยปัญญา ได้แก่ปัญญาเครื่องรู้ปรมัตถ์ในภพที่เกิดแล้ว ๆ อธิบายว่า

ไม่มีใคร ๆ เสมอเหมือนเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

เพราะผลบุญอันเป็นบุญสมภารที่เรากระทำไว้แล้ว โภชนะอัน

ประเสริฐอร่อยมีหลายอย่างคือมีประการต่าง ๆ รัตนะทั้ง ๗ มากมายมี

ประมาณไม่น้อย และผ้าปัตตุณณะและผ้าโกเสยยะเป็นต้นหลายชนิด คือ

เป็นอเนกประการ จากฟากฟ้าคือนภากาศมา คือเข้ามาหาเรา ได้แก่สำนัก

เราโดยเร็วพลัน ในภพที่เกิดแล้ว ๆ.

เราเหยียดคือชี้มือไปยังที่ใด ๆ จะเป็นที่แผ่นดิน บนภูเขา บน

อากาศ ในน้ำ และในป่า ภักษาทิพย์คืออาหารทิพย์ย่อมเข้ามา คือ

เข้ามาหาเรา ได้แก่สำนักเราจากที่นั้น ๆ อธิบายว่า ย่อมปรากฏขึ้น.

อนึ่ง รัตนะทั้งปวง ของหอมมีจันทน์เป็นต้นทุกอย่าง ยานคือพาหนะ

ทุกชนิด มาลาคือดอกไม้ทั้งหมดมีจำปา กากะทิงและบุนนาคเป็นต้น

เครื่องอลังการคือเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด นางทิพกัญญาทุกนาง น้ำผึ้ง

และน้ำตาลกรวดทุกอย่าง ของเคี้ยวคือของควรเคี้ยวมีขนมเป็นต้นทุกชนิด

ย่อมเข้ามา คือย่อมเข้ามาหาเราคือสำนักเราโดยลำดับ.

บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา แปลว่า เพื่อต้องการบรรลุมรรคญาณ

ทั้ง ๔ อันสูงสุด. อธิบายว่า เราได้กระทำ คือบำเพ็ญอุดมทานใด เพราะ

อุดมทานนั้น เรากระทำภูเขาหินให้บันลือเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น ให้

กระหึ่มเสียงดัง คือเสียงกึกก้องมากมาย ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ได้แก่

มนุษยโลกและเทวโลกทั้งสิ้นให้ร่าเริง คือทำให้ถึงความโสมนัส จะได้

เป็นพระพุทธเจ้าผู้มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก คือในสกลโลก

ทั้ง ๓.

บทว่า ทิสา ทสวิธา โลเก ความว่า ในจักรวาลโลก มีทิศ

อยู่ ๑๐ อย่าง คือ ๑๐ ส่วน ที่สุดย่อมไม่มีแก่ผู้ไป คือผู้ดำเนินไปอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ในส่วนนั้น. ครั้งเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในที่ที่เราไปแล้ว ๆ หรือใน

ทิศาภาคนั้น มีพุทธเขตคือพุทธวิสัยนับไม่ถ้วน คือยกเว้นการนับ.

บทว่า ปภา ปกิตฺติตา ความว่า ในกาลเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ครั้งนั้น รัศมีของเรา รัศมีคือแสงสว่างของจักรแก้ว และแก้วมณีเป็นต้น

นำรัศมีมา คือเปล่งรัศมีเป็นคู่ ๆ ปรากฏแล้ว ในระหว่างนี้ คือใน

ระหว่างหมื่นจักรวาล มีข่ายคือหมู่รัศมีได้มีแสงสว่างกว้างขวาง คือ

มากมาย.

บทว่า เอตฺตเก โลกธาตุมฺหิ ความว่า ในหมื่นจักรวาล ชนทั้งปวง

ย่อมดู คือเห็นเรา. เทวดาทั้งปวงจนกระทั่งเทวโลกจงอนุวรรตน์ตาม คือ

เกื้อกูลเรา.

บทว่า วิสิฏฺมธุนาเทน แปลว่า ด้วยเสียงบันลืออันไพเราะสละ

สลวย. บทว่า อมตเภริมาหนึ แปลว่า เราตีกลองอมตเภรี ได้แก่

กลองอันประเสริฐ. ชนทั้งปวงในระหว่างนี้ คือระหว่างหมื่นจักรวาลนี้

จงฟัง คือจงใส่ใจวาจาที่เปล่งคือเสียงอันไพเราะของเรา.

เมื่อฝนคือธรรมตกลง คือเมื่อฝนมีอรรถอันเป็นปรมัตถ์ ลึกซึ้ง

ไพเราะ สุขุม อันเป็นโวหารของพระธรรมเทศนานั้น ตกลงมาด้วยการ

บันลืออันล้วนแล้วด้วยพระธรรนเทศนา ภิกษุและภิกษุณีเป็นต้นทั้งหมด

จงเป็นผู้ไม่มีอาสวะคือไม่มีกิเลส ด้วยอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า เยตฺถ ปจฺฉิมกา สตฺตา มีอธิบายว่า บรรดาสัตว์คือบริษัท ๔

อันเป็นหมวดหมู่นี้ สัตว์เหล่าใดเป็นปัจฉิมกสัตว์ คือเป็นผู้ต่ำสุดด้วย

อำนาจคุณความดี สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นพระโสดาบัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

ในคราวเป็นพระเจ้าจักรพรรดิโลกวิชัยนั้น เราได้ให้ทานที่ควร

ให้ บำเพ็ญศีลบารมีโดยไม่เหลือ บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในเนกขัม

คือเนกขัมมบารมี พึงเป็นผู้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด คือมรรคญาณ

ทั้ง ๔.

เราสอบถามบัณฑิต คือนักปราชญ์ผู้มีปัญญา คือถามว่า ท่านผู้

เจริญ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล

คนทำอะไรจึงจะเป็นผู้มีส่วนแห่งสวรรค์และนิพพานทั้งสอง อธิบายว่า

บำเพ็ญปัญญาบารมี ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า กตฺวา วีริยมุตฺตม

ได้แก่ การทำความเพียรอันสูงสุด คือ ประเสริฐสุด ได้แก่ ไม่ขาดตอน

ในการยืนและการนั่งเป็นต้น อธิบายว่า บำเพ็ญวิริยบารมี. เราถึงบารมี

คือที่สุดแห่งอธิวาสนขันติที่คนร้ายทั้งสิ้นไม่ทำความเอื้อเฟื้อ คือได้บำเพ็ญ

ขันติบารมีแล้ว พึงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด คือความเป็นพระ-

พุทธเจ้าอันอุดม.

บทว่า กตฺวา ทฬฺหมธิฏฺาน ความว่า เรากระทำอธิษฐานบารมี

มั่นโดยไม่หวั่นไหวว่า แม้เมื่อสรีระและชีวิตของเราจะพินาศไป เราจัก

ไม่งดเว้นบุญกรรม บำเพ็ญที่สุดแห่งสัจบารมีว่า แม้เมื่อศีรษะจะขาด เรา

จักไม่กล่าวมุสาวาท ถึงที่สุดแห่งเมตตาบารมี โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์

ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข ไม่มีโรคป่วยไข้ แล้วบรรลุพระสัม-

โพธิญาณอันสูงสุด.

เราเป็นผู้เสมอ คือมีใจเสมอในอารมณ์ทั้งปวง คือในการได้สิ่งมี

ชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ในการไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ในสุขทางกายและทางใจ

ในทุกข์เช่นนั้นคือที่เป็นไปทางกายและทางใจ ในการยกย่องที่ชนผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ความเอื้อเฟื้อกระทำ และในการดูหมิ่น บำเพ็ญอุเบกขาบารมี บรรลุแล้ว

อธิบายว่า พึงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

ท่านทั้งหลายจงเห็นคือรู้ความเกียจคร้าน คือความเป็นผู้เกียจคร้าน

โดยความเป็นภัย คือโดยอำนาจว่าเป็นภัยว่า มีส่วนแห่งอบายทุกข์ เห็น

คือรู้ความไม่เกียจคร้าน คือความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ความประพฤติอัน

ไม่หดหู่ ชื่อว่าความเพียรโดยความเกษม คือโดยอำนาจความเกษมว่า มี

ปกติให้ไปสู่นิพพาน แล้วจงเป็นผู้ปรารภความเพียร. นี้เป็นพุทธานุสาสนี

คือนี้เป็นความพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า.

บทว่า วิวาท ภยโต ทิสฺวา ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาท

คือการทะเลาะโดยความเป็นภัย เห็นคือรู้ว่า ความวิวาทมีส่วนแห่งอบาย

และเห็นคือรู้ความไม่วิวาท คือความงดเว้นจากการวิวาทว่าเป็นเหตุให้

บรรลุพระนิพพาน แล้วจงเป็นผู้สมัครสมานกัน คือมีจิตมีอารมณ์เลิศ

เป็นอันเดียว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน คือสละสลวย งดงามด้วยเมตตา

อันดำเนินไปในธุระหน้าที่. กถาคือการเจรจา การกล่าวนี้เป็นอนุสาสนี

คือเป็นการให้โอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ท่านทั้งหลายจงเห็น คือจงรู้ความประมาท คือการอยู่โดยปราศจาก

สติ ในการยืนและการนั่งเป็นต้น โดยความเป็นภัยว่า เป็นเหตุให้เป็นไป

เพื่อความทุกข์ ความเป็นผู้มีรูปชั่วและความเป็นผู้มีข้าวน้ำน้อยเป็นต้น

และเป็นเหตุให้ไปสู่อบายเป็นต้น ในสถานที่เกิดแล้ว ๆ แล้วจงเห็นคือ

จงรู้อย่างชัดแจ้งถึงความไม่ประมาท คือการอยู่ด้วยสติในอิริยาบถทั้งปวง

โดยเป็นความเกษม คือโดยความเจริญว่า เป็นเหตุเครื่องบรรลุพระ-

นิพพาน แล้วจงอบรม คือจงเจริญ จงใส่ใจถึงมรรคมีองค์ ๘ คือมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ได้แก่อุบายเครื่องบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันมีองค์ประกอบ ๘ อย่าง

คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ. กถาคือการกล่าว ได้แก่การ

เจรจา การเปล่งวาจา นี้เป็นพุทธานุสาสนี อธิบายว่า เป็นความพร่ำสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า สมาคตา พหู พุทฺธา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

นับได้หลายแสนมาพร้อมกันแล้ว คือเป็นผู้ประชุมกันแล้ว และพระ-

อรหันตขีณาสพทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว คือเป็นผู้ประชุมกันแล้วโดย

ประการทั้งปวง ได้แก่โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย

จงนอบน้อม คือจงนมัสการกราบไหว้ ด้วยการกระทำความนอบน้อม

ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นผู้ควร

แก่การกราบไหว้.

ด้วยประการฉะนี้ คือด้วยประการดังเรากล่าวมาแล้วนี้ พระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย คือใคร ๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะคิด. ธรรมทั้งหลาย

มีอาทิ คือสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ เหตุปัจจัย

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า พุทธธรรม. อีกอย่างหนึ่ง สภาวะแห่งพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย คือใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะคิด วิบากกล่าวคือ

เทวสมบัติ มนุษย์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เป็นอจินไตย คือในสิ่งที่พ้นจากวิสัยของการคิด

ย่อมเป็นอันใคร ๆ ไม่อาจคิด คือล่วงพ้นจากการที่จะนับจำนวน.

ก็ด้วยลำดับคำมีประมาณเท่านี้ อุปมาเหมือนคนเดินทาง เมื่อใครๆ

ถูกเขาถามว่า ขอจงบอกทางแก่เรา ก็บอกว่า จงละทางซ้ายถือเอาทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ขวา ดังนี้แล้วก็ทำกิจที่ควรทำในคามนิคม และราชธานีให้สำเร็จโดยทาง

นั้น แม้จะไปใหม่อีกตามทางซ้ายมือสายอื่นที่เขาไม่ได้เดินกัน ก็ย่อม

ทำกิจที่ควรทำในคามและนิคมเป็นต้นให้สำเร็จได้ ฉันใด พุทธาปทาน

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นให้สำเร็จได้ด้วยอปทานที่เป็นฝ่ายกุศลแล้ว เพื่อ

ที่จะให้พุทธาปทานนั้นนั่นแลพิสดารออกไป ด้วยอำนาจอปทานที่เป็น

ฝ่ายอกุศลบ้าง จึงตั้งหัวข้อปัญหาไว้ดังนี้ว่า

การทำทุกรกิริยา ๑ การกล่าวโทษ ๑ การด่าว่า ๑ การ

กล่าวหา ๑ การถูกศิลากระทบ ๑ การเสวยเวทนาจากสะเก็ด

หิน ๑

การปล่อยช้างนาฬาคิรี ๑ การถูกผ่าตัดด้วยศัสตรา ๑ การ

ปวดศีรษะ ๑ การกินข้าวแดง ๑ ความเจ็บปวดสาหัสที่

กลางหลัง ๑ การลงโลหิต ๑ เหล่านี้เป็นเหตุฝ่ายอกุศล.

บรรดาข้อปัญหาเหล่านั้น ปัญหาข้อที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา ชื่อว่า ทำทุกรกิริยา. ในกาล

แห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นพราหมณ์

มาณพชื่อว่า โชติปาละ โดยที่เป็นชาติพราหมณ์จึงไม่เลื่อมใสในพระ-

ศาสนา เพราะวิบากของกรรมเก่าแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เขาได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ. จึงได้กล่าวว่า การตรัสรู้ของ

สมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้เป็นของที่ได้โดยยากยิ่ง เพราะ

วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้เสวยทุกข์มีนรกเป็นต้นหลาย

ร้อยชาติ ถัดมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแหละ เขาทำ

ชาติสงสารให้สิ้นไปด้วยกรรมที่ได้พยากรณ์ไว้นั้นนั่นแล ในตอนสุดท้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ได้อัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในภพดุสิต.

จุติจากภพดุสิตนั้นด้วยการอาราธนาของเหล่าเทวดา บังเกิดในสักยตระกูล

เพราะญาณแก่กล้าจึงละทิ้งราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเสีย แล้วตัดกำ

พระเกศาให้มีปลายเสมอกัน ด้วยดาบที่ลับไว้อย่างดี ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที

รับบริขาร ๘ อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ซึ่งเกิดขึ้นกลีบปทุม ในเวลาที่กัปยังตั้ง

อยู่ซึ่งพระพรหมนำมาให้แล้วบรรพชา เพราะญาณทัสสนะคือพระโพธิ-

ญาณยังไม่แก่กล้าก่อน จึงไม่รู้จักทางและมิใช่ทางแห่งความเป็นพระ-

พุทธเจ้า เป็นผู้มีสรีระเช่นกับเปรตผู้ไม่มีเนื้อและเลือด เหลือแต่กระดูก

หนังและเอ็น ด้วยอำนาจที่บริโภคอาหามื้อเดียว คำเดียว เป็นผู้เดียว

ทางเดียว และนั่งผู้เดียว บำเพ็ญทุกรกิริยามหาปธานความเพียรใหญ่

โดยนัยดังกล่าวไว้ในปธานสูตรนั่นแล ณ อุรุเวลาชนบทถึง ๖ พรรษา.

พระโพธิสัตว์นั้นนึกถึงทุกรกิริยานี้ว่า ไม่เป็นทางแห่งการตรัสรู้ จึงกลับ

เสวยอาหารประณีตในคาม นิคม และราชธานี มีอินทรีย์ผ่องใส มี

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ครบบริบูรณ์ เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑ์โดยลำดับ

ชนะมารทั้ง ๕ ได้เป็นพระพุทธเจ้า.

ก็ในกาลนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว

กะพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีนาแต่

ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง.

เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมาย

อยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ.

เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยหนทางนั้น เรา

ถูกกรรมเก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

เรามีบุญและบาปสิ้นไปหมดแล้ว เว้นจากความเร่าร้อน

ทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ

จักปรินิพพานแล.

ในปัญหาข้อที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกล่าวยิ่ง คือการคำว่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ใน

อดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลศูทร เป็นนักเลงชื่อ มุนาฬิ ผู้ไม่

มีชื่อเสียง ไม่มีความชำนาญอะไรอาศัยอยู่. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธ-

เจ้านามว่า สุรภิ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากไปถึงที่ใกล้ของเขาด้วยกิจ

บางอย่าง. เขาพอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ได้ด่าว่าด้วยคำ

เป็นต้นว่า สมณะนี้ทุศีล มีธรรมลามก. เพราะวิบากของอกุศลนั้น เขา

จึงได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้น หลายพันปี ในอัตภาพครั้งสุดท้ายนี้ ใน

ตอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในภพดุสิต พวกเดียรถีย์ปรากฏขึ้น

ก่อน เที่ยวแสดงทิฏฐิ ๖๒ หลอกลวงประชาชนอยู่นั้น จึงได้จุติจาก

ดุสิตบุรี บังเกิดในสกุลสักยราช แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ.

พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เสมือนหิ่งห้อยในตอนพระอาทิตย์ขึ้น จึง

ผูกความอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าเที่ยวไปอยู่. สมัยนั้น เศรษฐีใน

กรุงราชคฤห์ผูกตาข่ายในแม่น้ำคงคาแล้วเล่นอยู่ เห็นปุ่มไม้จันทร์แดง

จึงคิดว่า ในเรือนของเรามีไม้จันทร์มากมาย จะให้เอาปุ่มไม้จันทร์แดง

นี้เข้าเครื่องกลึง แล้วให้ช่างกลึงกลึงบาตรด้วยปุ่มไม้จันทร์แดงนั้น แล้ว

แขวนที่ไม้ไผ่ต่อ ๆ ลำกัน ให้ตีกลองป่าวร้องว่า ผู้ใดมาถือเอาบาตรใบนี้

ได้ด้วยฤทธิ์ เราจักเป็นผู้จงรักภักดีต่อผู้นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ในกาลนั้น พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว

บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวกะบริษัทของตนอย่างนี้

เราจะไปใกล้ๆ ไม้ไผ่ ทำอาการดังว่าจะเหาะขึ้นในอากาศ พวกท่านจง

จับบ่าเราแล้วห้ามว่า ท่านอย่ากระทำฤทธิ์เพราะอาศัยบาตรที่ทำด้วยไม้

เผาผีเลย เดียรถีย์เหล่านั้นพากันไปอย่างนั้น แล้วได้กระทำเหมือน

อย่างนั้น.

ครั้งนั้น พระปิณโฑลภารทวาชะ และพระโมคคัลลานะ ยืนอยู่บน

ยอดภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต กำลังห่มจีวรเพื่อต้องการจะรับบิณฑบาต

ได้ยินเสียงโกลาหลนั้น. บรรดาพระเถระทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานะ

ได้กล่าวกะพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านจงเหาะไปเอาบาตรนั้น. พระ-

ปิณโฑลภารทวาชะนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเท่านั้นที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเลิศของท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ท่านนั่นแหละ

จงถือเอา. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านถูกพระโมคคัลลานะบังคับว่า ท่าน

นั่นแหละผมสั่งแล้ว จงถือเอาเถิด จึงทำภูเขาหินประมาณ ๓ คาวุต ที่

ตนยืนอยู่ ให้ติดที่พื้นเท้าแล้วให้ปกคลุมนครราชคฤห์เสียทั้งสิ้น เหมือน

ฝาปิดหม้อข้าวฉะนั้น. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครแลเห็นพระเถระนั้น ดุจ

ด้ายแดงที่ร้อยในภูเขาแก้วผลึก พากันตะโกนว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ

ขอท่านจงคุ้มครองพวกกระผมด้วย ต่างก็กลัว จึงได้เอากระด้งเป็นต้น

กั้นไว้เหนือศีรษะ. ทีนั้น พระเถระได้ปล่อยภูเขานั้นลงไว้ในที่ที่ตั้งอยู่

แล้วไปด้วยฤทธิ์ถือเอาบาตรนั้นมา. ครั้งนั้น ชนชาวพระนครได้กระทำ

ความโกลาหลดังขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระเวฬุวนาราม ได้ทรงสดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

เสียงนั้น จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า นั้นเสียงอะไร ? พระอานนท์

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระภารทวาชะถือเอาบาตรมา

ได้ ชนชาวพระนครจึงยินดีได้กระทำเสียงโห่ร้อง. ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เพื่อที่จะทรงปลดเปลื้องการกล่าวร้ายผู้อื่นต่อไป จึงทรงให้

นำบาตรนั้นมาทุบให้แตก แล้วทำการบดให้ละเอียดสำหรับเป็นยาหยอดตา

แล้วทรงให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แหละครั้นทรงให้แล้ว จึงทรงบัญญัติ

สิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรทำการแสดงฤทธิ์ ภิกษุใด

ทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ.

ลำดับนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ข่าวว่าพระสมณโคดม

บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย สาวกเหล่านั้นย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท

ที่บัญญัติไว้นั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต พวกเราจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ จึง

พากันเป็นหมวดหมู่ทำความโกลาหลอยู่ในที่นั้น ๆ ครั้งนั้น พระเจ้า-

พิมพิสารได้ทรงสดับดังนั้น จึงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงไหว้

แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเดียรถีย์บ่าวร้องว่า จักทำอิทธิปาฏิหาริย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร แม้อาตมภาพก็จักทำ.

พระราชาตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติสิกขาบท

แก่สาวกทั้งหลายไว้แล้วมิใช่หรือ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักถามเฉพาะ

พระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงตั้งสินไหมสำหรับผู้กินผลมะม่วงเป็นต้น

ในอุทยานของพระองค์ว่า สินไหมมีประมาณเท่านี้ แม้สำหรับพระองค์ก็

ทรงตั้งรวมเข้าด้วยหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

พระราชาทูลว่า ไม่มีสินไหมสำหรับข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร สิกขาบทที่

บัญญัติไว้แล้ว ย่อมไม่มีสำหรับอาตมภาพ.

พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาฏิหาริย์จักมีที่ไหน

พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่โคนต้นคัณฑามพพฤกษ์ ใกล้เมือง

สาวัตถี มหาบพิตร.

พระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย

จักคอยดูปาฏิหาริย์นั้น.

ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ได้ฟังว่า นัยว่าปาฏิหาริย์จักมีที่โคนต้น

คัณฑามพพฤกษ์ จึงให้ตัดต้นมะม่วงรอบ ๆ พระนคร. ชาวพระนคร

ทั้งหลาย จึงพากันผูกมัดเตียงซ้อน ๆ กัน และหอคอยเป็นต้น ในสถาน

ที่อันเป็นลานใหญ่ ชาวชมพูทวีปเป็นกลุ่ม ๆ ได้ยืนแผ่ขยายไปตลอด

๑๒ โยชน์ เฉพาะในทิศตะวันออก แม้ในทิศที่เหลือ ก็ประชุมกันอยู่

โดยอาการอันสมควรแก่สถานที่นั้น.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกาลเวลาถึงเข้าแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๘

ทรงทำกิจที่ควรทำให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วเสด็จไปยังที่นั้นประทับนั่งอยู่

แล้ว. ขณะนั้น นายคนเฝ้าอุทยานชื่อว่าคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกดีในรัง

มดแดง จึงคิดว่า ถ้าเราจะถวายมะม่วงนี้แก่พระราชา ก็จะได้ทรัพย์อัน

เป็นสาระมีกหาปณะเป็นต้น แต่เมื่อน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

สมบัติในโลกนี้และโลกหน้าก็จักเกิดมี ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงน้อมถวายแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับมะม่วงนั้นแล้ว ดำรัสสั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

พระอานนทเถระว่า เธอจงคั้นผลมะม่วงนี้ทำให้เป็นน้ำปานะ. พระเถระ

ได้กระทำตามพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่ม (น้ำ) ผลมะม่วง

แล้ว ประทานเมล็ดมะม่วงแก่นายคนเฝ้าอุทยานแล้วตรัสว่า จงเพาะเมล็ด

มะม่วงนี้. นายอุยยานบาลนั้นจึงคุ้ยทรายแล้วเพาะเมล็ดมะม่วงนั้น พระ-

อานนทเถระเอาคนโทตักน้ำรด. ขณะนั้น หน่อมะม่วงก็งอกขึ้นมา เมื่อ

มหาชนเห็นอยู่นั่นแหละ ก็ปรากฏเต็มไปด้วยกิ่ง ค่าคบ ดอก ผล และ

ใบอ่อน. ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นเคี้ยวกินผลมะม่วงที่หล่นลงมา ไม่อาจให้

หมดสิ้นได้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตรัตนจงกรมบนยอดเขา

มหาเมรุในจักรวาลนี้ จากจักรวาลทิศตะวันออกจนกระทั่งถึงจักรวาลทิศ

ตะวันตก เมื่อจะทรงยังบริษัทมิใช่น้อยให้บันลือสีหนาท จึงทรงกระทำ

มหาอิทธิปาฏิหาริย์ โดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาธรรมบท ทรงย่ำยี

พวกเดียรถีย์ทำให้พวกเขาถึงประการอันผิดแผกไปต่าง ๆ ในเวลาเสร็จ

ปาฏิหาริย์ ได้เสด็จไปยังภพดาวดึงส์ โดยพุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าใน

ปางก่อนทรงประพฤติมาแล้ว ทรงจำพรรษาอยู่ในภพดาวดึงส์นั้น ทรง

แสดงพระอภิธรรมติดต่อกันตลอดไตรมาส ทรงทำเทวดามิใช่น้อยมีพระ-

มารดาเป็นประธาน ให้บรรลุพระโสดาปัตติมรรค ออกพระพรรษาแล้ว

เสด็จลงจากเทวโลก อันหมู่เทวดาและพรหมมิใช่น้อยห้อมล้อม เสด็จลง

ยังประตูเมืองสังกัสสะ ได้ทรงกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลกแล้ว. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีลาภสักการะท่วมท้นท่ามกลางชมพูทวีป ประดุจ

แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย (คือ คงคา อจิรวดี ยมุนา สรภู มหี) ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ เป็นทุกข์ เสียใจ คอตก

นั่งก้มหน้าอยู่. ในกาลนั้น อุบาสิกาของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ชื่อนาง

จิญจมาณวิกา ถึงความเป็นผู้เลอเลิศด้วยรูปโฉม เห็นพวกเดียรถีย์

เหล่านั้นนั่งอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย

จึงนั่งเป็นทุกข์ เสียใจอยู่อย่างนี้ ? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า น้องหญิง ก็เพราะ

เหตุไรเล่า เธอจึงได้เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย. นางจิญจมาณวิกาถามว่า

มีเหตุอะไร ท่านผูเจริญ. เดียรถีย์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่กาลที่

พระสมณโคดมเกิดขึ้นมา พวกเราเสื่อมลาภสักการะหมด ชาวพระนคร

ไม่สำคัญอะไร ๆ พวกเรา. นางจิญจมาณวิกาถามว่า ในเรื่องนี้ ดิฉันควร

จะทำอะไร. เดียรถีย์ตอบว่า เธอควรจะยังโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้นแก่พระ-

สมณโคดม. นางจิญจมาณวิกานั้นกล่าวว่า ข้อนั้น ไม่เป็นการหนักใจสำหรับ

ดิฉันดังนี้แล้ว เมื่อจะทำความอุตสาหะในการนั้น จึงไปยังพระเชตวันวิหาร

ในเวลาวิกาล แล้วอยู่ในสำนักของพวกเดียรถีย์ ครั้นตอนเช้า ในเวลาที่

ชนชาวพระนครถือของหอมเป็นต้นไปเพื่อจะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-

เจ้า จึงออกมา ทำทีเหมือนออกจากพระเชตวันวิหาร ถูกถามว่า นอน

ที่ไหน จึงกล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยที่ที่เรานอนแก่พวกท่าน ดังนี้

แล้วก็หลีกไปเสีย. เมื่อกาลเวลาดำเนินไปโดยลำดับ นางถูกถามแล้ว

กล่าวว่า เรานอนในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วออกมา

พวกปุถุชนผู้เขลาเชื่อดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่เชื่อ.

วันหนึ่ง นางผูกท่อนไม้กลมไว้ที่ท้องแล้วนุ่งผ้าแดงทับไว้ แล้วไปกล่าว

กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งเพื่อทรงแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

พระราชาอย่างนี้ว่า พระสมณะผู้เจริญ ท่าน (มัวแต่) แสดงธรรม ไม่

จัดแจงกระเทียมและพริกเป็นต้น เพื่อเราผู้มีครรภ์ทารกที่เกิดเพราะอาศัย

ท่าน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนน้องหญิง ท่านกับเราเท่านั้น

ย่อมรู้ภาวะอันจริงแท้. นางจิญจมาณวิกากล่าวว่า อย่างนั้นทีเดียว เรา

กับท่าน ๒ คนเท่านั้น ย่อมรู้คราวที่เกี่ยวข้องกันด้วยเมถุน คนอื่นย่อม

ไม่รู้.

ขณะนั้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการเร่าร้อน.

ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงรู้เหตุนั้น จึงตรัสสั่งเทวบุตร ๒ องค์ว่า

บรรดาท่านทั้งสอง องค์หนึ่งนิรมิตเพศเป็นหนู กัดเครื่องผูกท่อนไม้กลม

ของนางให้ขาด องค์หนึ่งทำมณฑลของลมให้ตั้งขึ้น พัดผ้าที่นางห่มให้

เวิกขึ้นเบื้องบน. เทวบุตรทั้งสองนั้นได้ไปกระทำอย่างนั้นแล้ว. ท่อนไม้

กลมตกลง ทำลายหลังเท้าของนางแตก. ปุถุชนทั้งหลายผู้ประชุมกันอยู่

ในโรงธรรมสภา ทั้งหมดพากันกล่าวว่า เฮ้ย! นางโจรร้าย เจ้าได้ทำการ

กล่าวหาความเห็นปานนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้าของโลกทั้ง ๓ ผู้เห็นปานนี้

แล้วต่างลุกขึ้นเอากำปั้นประหารคนละที นำออกไปจากที่ประชุม เมื่อ

นางล่วงพ้นไปจากทัสสนะคือการเห็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่นดินได้

ให้ช่อง. ขณะนั้น เปลวไฟจากอเวจีนรกตั้งขึ้น หุ้มห่อนางเหมือนหุ้มด้วย

ผ้ากัมพลแดงที่ตระกูลให้ แล้วซัดลงไปในอเวจีนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้มีลาภสักการะอย่างล้นเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระพุทธเจ้าผู้ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง มีสาวกชื่อว่านันทะ

เรากล่าวตู่พระสาวกชื่อว่านันทะนั้น จึงได้ท่องเที่ยวไปใน

นรก สิ้นกาลนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

เราท่องเที่ยวไปในนรกตลอดกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความ

เป็นมนุษย์แล้ว ได้รับการกล่าวตู่มากมาย.

เพราะกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกาได้กล่าวตู่เรา

ด้วยคำอันไม่เป็นจริงต่อหน้าหมู่ชน.

ในปัญหาข้อที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกล่าวยิ่ง คือ การด่า ชื่อว่า อัพภักขานะ. ได้ยินว่า ในอดีต

กาล พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดที่ไม่ปรากฏชื่อเสียง เป็นนักเลงชื่อว่า

มุนาฬิ เพราะกำลังแรงที่คลุกคลีกับคนชั่ว จึงได้ด่าพระปัจเจกพุทธเจ้า

นามว่า สุรภิ ว่า ภิกษุนี้ทุศีล มีธรรมอันลามก. เพราะวจีกรรมอันเป็น

อกุศลนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้อยู่ในนรกหลายพันปี ในอัตภาพครั้ง

สุดท้ายนี้ เกิดเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยกำลังแห่งความสำเร็จบารมี ๑๐ ได้

เป็นผู้ถึงลาภอันเลิศและยศอันเลิศ. พวกเดียรถีย์กลับเกิดความอุตสาหะขึ้น

อีก คิดกันว่า พวกเราจักยังโทษมิใช่ยศ ให้เกิดแก่พระสมณโคดมได้

อย่างไรหนอ พากันนั่งเป็นทุกข์เสียใจ.

ครั้งนั้น ปริพาชิกาผู้หนึ่งชื่อว่า สุนทรี เข้าไปหาเดียรถีย์เหล่านั้น

ไหว้แล้วยืนอยู่ เห็นเดียรถีย์ทั้งหลายพากันนิ่งไม่พูดอะไร จึงถามว่า ดิฉัน

มีโทษอะไรหรือ ? พวกเดียรถีย์กล่าวว่า พวกเราถูกพระสมณโคดม

เบียดเบียนอยู่ ท่านกลับมีความขวนขวายน้อยอยู่ ข้อนี้เป็นโทษของท่าน

นางสุนทรีกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ดิฉันจักกระทำอย่างไรในข้อนั้น

เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจักอาจหรือที่จะทำโทษมิใช่คุณให้เกิดขึ้น

แก่พระสมณโคดม. นางสุนทรีกล่าวว่า จักอาจซิ พระผู้เป็นเจ้า ครั้น

กล่าวแล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ก็กล่าวแก่พวกคนที่ได้พบเห็นว่า ตนนอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมแล้วจึงออกมา ดังนี้ โดยนัย

ดังกล่าวมาแล้วด่าบริภาษอยู่ ฝ่ายพวกเดียรถีย์ก็ด่าบริภาษอยู่ว่า ผู้เจริญ

ทั้งหลาย จงเห็นกรรมของพระสมณโคดม. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า

ในชาติอื่นๆ ในครั้งก่อน เราเป็นนักเลงชื่อว่ามุนาฬิ ได้

กล่าวตู่พระสุรภิปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่ประทุษร้าย.

เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้น

กาลนาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี.

ด้วยเศษกรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับ

การกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.

ในปัญหาข้อที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การด่า การบริภาษโดยยิ่ง คือโดยพิเศษ ชื่อว่า อัพภักขานะ.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นผู้ศึกษา

เล่าเรียนมาก คนเป็นอันมากสักการบูชา ได้บวชเป็นดาบส มีรากเหง้า

และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร สอนมนต์พวกมาณพจำนวนมาก สำเร็จการ

อยู่ในป่าหิมพานต์. ดาบสรูปหนึ่งได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ได้มา

ยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์นั้นพอเห็นพระดาบสนั้น

เท่านั้น ถูกความริษยาครอบงำ ได้คำว่าพระฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นว่า

ฤๅษีนี้หลอกลวง บริโภคกาม และบอกกะพวกศิษย์ของตนว่า ฤๅษีนี้

เป็นผู้ไม่มีอาจาระเห็นปานนี้. ฝ่ายศิษย์เหล่านั้นก็พากันด่า บริภาษอย่าง

นั้นเหมือนกัน. ด้วยวิบากของอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงได้

เสวยทุกข์ในนรกอยู่พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้เป็นพระพุทธเจ้า ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ปรากฏดุจพระจันทร์เพ็ญในอากาศ

ฉะนั้น.

แม้ด้วยการด่าว่าถึงอย่างนั้น พวกเดียรถีย์ก็ยังไม่พอใจ ให้นาง

สุนทรีทำการด่าว่าอีก ให้เรียกพวกนักเลงสุรามาให้ค่าจ้างแล้วสั่งว่า พวก

ท่านจงฆ่านางสุนทรีแล้วปิดด้วยขยะดอกไม้ในที่ใกล้ประตูพระเชตวัน พวก

นักเลงสุราเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น แต่นั้น พวกเดียรถีย์จึงกราบทูล

แก่พระราชาว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่พบเห็นนางสุนทรี. พระราชา

รับสั่งว่า พวกท่านจงค้นดู เดียรถีย์เหล่านั้นจึงเอามาจากที่ที่ตนให้โยน

ไว้แล้วยกขึ้นสู่เตียงน้อยแสดงแก่พระราชา แล้วเที่ยวโฆษณาโทษของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ในพระนครทั้งสิ้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน

ทั้งหลายจงเห็นการกระทำของพระสมณโคดมและของพวกสาวก. แล้ว

วางนางสุนทรีไว้บนแคร่ในป่าช้าผีดิบ. พระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย

จงค้นหาคนฆ่านางสุนทรี.

ครั้งนั้น พวกนักเลงดื่มสุราแล้วทำการทะเลาะกันว่า เจ้าฆ่านาง-

สุนทรี เจ้าฆ่า. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงจับพวกนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่

พระราชา พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพนาย พวกเจ้าฆ่านางสุนทรีหรือ?

นักเลงเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัส

ถามว่า พวกใครสั่ง ? นักเลงทูลว่า พวกเดียรถีย์สั่ง พระเจ้าข้า. พระราชา-

จึงให้นำพวกเดียรถีย์มาแล้วให้จองจำพันธนาการแล้วรับสั่งว่า แน่ะพนาย

พวกเจ้าจงไปป่าวร้องว่า เราทั่งหลายให้ฆ่านางสุนทรีเองแหละ โดยความ

จะให้เป็นโทษแก่พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลายของ

พระองค์ไม่ได้เป็นผู้กระทำ. พวกเดียรถีย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

พระนครทั้งสิ้นต่างเป็นผู้หมดความสงสัย. พระราชาทรงให้ฆ่าพวกเดียรถีย์

และพวกนักเลงแล้วให้ทิ้งไป. แต่นั้น ลาภสักการะเจริญพอกพูนแก่

พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยยิ่งกว่าประมาณ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจงตรัสว่า

เราเป็นพราหมณ์เรียนจบแล้ว เป็นผู้อันมหาชนสักการะ

บูชา ได้สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่.

พระฤๅษีผู้กล้า สำเร็จอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในที่นี้

นั้น และเราได้เห็นพระฤๅษีนั้นมาแล้ว ได้กล่าวตู่ว่าท่านผู้ไม่

ประทุษร้าย.

แต่นั้น เราได้บอกกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤๅษีนี้เป็นผู้บริโภค

กาม แม้เมื่อเราบอกอยู่ มาณพทั้งหลายก็พลอยยินดีตาม.

แต่นั้น มาณพทุกคนเที่ยวภิกขาไปทุก ๆ ตระกูล ก็บอก

กล่าวแก่มหาชนว่า ฤๅษีนี้บริโภคกาม.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้จึงได้รับการ

กล่าวตู่ด้วยกันทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.

ปัญหาข้อที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สิลาเวโธ ได้แก่ ผู้มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว กลิ้งศิลาทับ.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์และน้องชายเป็นลูกพ่อเดียวกัน เมื่อ

บิดาล่วงลับไปแล้ว พี่น้องทั้งสองนั้น ทำการทะเลาะกัน เพราะอาศัย

พวกทาส จึงได้คิดร้ายกันและกัน พระโพธิสัตว์กดทับน้องชายไว้ด้วย

ความที่ตนเป็นผู้มีกำลัง แล้วกลิ้งหินทับลงเบื้องบนน้องชายนั้น. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้นหลาย

พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า.

พระเทวทัตผู้เป็นพระมาตุลาของพระราหุลกุมาร ในชาติก่อนได้

เป็นพ่อค้ากับพระโพธิสัตว์ ในครั้งเป็นพ่อค้าชื่อว่า เสริพาณิช พ่อค้า

ทั้งสองนั้นไปถึงปัฏฏนคาม บ้านอันตั้งอยู่ใกล้ท่าแห่งหนึ่ง จึงตกลงกันว่า

ท่านจงถือเอาถนนสายหนึ่ง แม้เราก็จะถือเอาถนนสายหนึ่ง แล้วทั้งสอง

คนก็เข้าไป. บรรดาคนทั้งสองนั้น ในถนนสายที่พระเทวทัตเข้าไป

ได้มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยาของเศรษฐีเก่าคนหนึ่ง หลานสาวคนหนึ่ง

ถาดทองใบใหญ่ของคนทั้งสองนั้น ถูกสนิมจับ เป็นของที่เขาวางปนไว้

ในระหว่างภาชนะ. ภรรยาของเศรษฐีเก่านั้นไม่รู้ว่าภาชนะทอง จึงกล่าว

กะท่านเทวทัตนั้นว่า ท่านจงเอาถาดใบนี้ไปแล้วจงให้เครื่องประดับมา.

เทวทัตนั้นจับถาดใบนั้นแล้วเอาเข็มขีดดู รู้ว่าเป็นถาดทอง แล้วคิดว่า

เราจักให้นิดหน่อยแล้วถือเอา จึงไปเสีย.

ลำดับนั้น หลานสาวเห็นพระโพธิสัตว์มายังที่ใกล้ประตู จึงกล่าวว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้เครื่องประดับ กัจฉปุฏะ แก่ดิฉัน. ภรรยา

เศรษฐีเท่านั้นจึงให้เรียกพระโพธิสัตว์นั้นมา ให้นั่งลงแล้วจึงให้ภาชนะ

นั้นแล้วจึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาภาชนะนี้แล้วจงให้เครื่องประดับกัจฉปุฏะ

แก่หลานสาวของข้าพเจ้า. พระโพธิสัตว์จับภาชนะนั้น รู้ว่าเป็นภาชนะ

ทอง และรู้ว่า นางถูกเทวทัตนั้นลวง จึงเก็บ ๘ กหาปณะไว้ในถุง

เพื่อตน และให้สินค้าที่เหลือ ให้ประดับเครื่องประดับ กัจฉปุฏะ ที่มือ

ของนางกุมาริกาแล้วก็ไป. พ่อค้านั้นหวนกลับมาถามอีก. ภรรยาเศรษฐี

นั้นกล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ ท่านไม่เอา บุตรของเราให้สิ่งนี้ ๆ แล้วถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ถาดใบนั้นไปเสียแล้ว. พ่อค้านั้นพอได้ฟังดังนั้น มีหทัยเหมือนจะแตก

ออก จึงวิ่งติดตามไป. พระโพธิสัตว์ขึ้นเรือแล่นไปแล้ว. พ่อค้านั้น

กล่าวว่า หยุด! อย่าหนี อย่าหนี แล้วได้ทำความปรารถนาว่า เราพึง

สามารถทำให้มันฉิบหายในภพที่เกิดแล้ว ๆ.

ด้วยอำนาจความปรารถนา พ่อค้านั้นเบียดเบียนกันและกันหลาย

แสนชาติ ในอัตภาพนี้ บังเกิดในสักยตระกูล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ได้

ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น แล้ว

บวช เป็นผู้ได้ฌานปรากฏแล้ว ทูลขอพรพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง จงสมาทานธุดงค์ ๑๓ มีเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นจงเป็นภาระของข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระเทวทัตผูกเวร จึงเสื่อมจากฌาน

ต้องการจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า วันหนึ่ง ยืนอยู่เบื้องบน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอยู่ที่เชิงเขาเวภาระ กลิ้งยอดเขาลงมา ด้วย

อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยอดเขายอดอื่นรับเอายอดเขานั้นที่กำลัง

ตกลงมา. สะเก็ดหินที่ตั้งขึ้นเพราะยอดเขาเหล่านั้นกระทบกัน ปลิวมา

กระทบหลังพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เมื่อชาติก่อน เราฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์ เราใส่ลงในซอกหิน และบดขยี้ด้วยหิน

เพราะวิบากของกรรมนั้น พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน ก้อนหิน

บดขยี้นิ้วหัวแม่เท้าของเรา.

๑. ที่อื่นเป็น เขาคิชฌกูฏ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ปัญหาข้อที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สะเก็ดหินกระทบ ชื่อว่า สกลิกาเวธะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล

พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง ในเวลาเป็นเด็ก กำลังเล่นอยู่ที่ถนน

ใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในถนนคิดว่า สมณะโล้น

นี้จะไปไหน จึงถือเอาสะเก็ดหินขว้างไปที่หลังเท้าของท่าน. หนังหลังเท้า

ขาด โลหิตไหลออก. เพราะกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้

เสวยทุกข์อย่างมหันต์ในนรกหลายพันปี แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เกิด

การห้อพระโลหิตขึ้น เพราะสะเก็ดหินกระทบที่หลังพระบาท ด้วยอำนาจ

กรรมเก่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าในหนทาง จึงขว้างสะเก็ดหินใส่.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัต

จึงประกอบนายขมังธนูเพื่อฆ่าเรา.

ปัญหาข้อที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ช้างธนปาลกะที่เขาส่งไปเพื่อต้องการให้ฆ่า ชื่อว่า ช้างนาฬาคิรี.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคนเลี้ยงช้าง ขึ้นช้าง

เที่ยวไปอยู่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในหนทางใหญ่ คิดว่า คนหัวโล้น

มาจากไหน เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบแล้ว เกิดเป็นดุจตะปูตรึงใจ ได้

ทำช้างให้ขัดเคือง. ด้วยกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยทุกข์ในอบาย

หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า. พระเทวทัต

กระทำพระเจ้าอชาตศัตรูให้เป็นสหายแล้วให้สัญญากันว่า มหาบพิตร

พระองค์ปลงพระชนม์พระบิดาแล้วจงเป็นพระราชา อาตมภาพฆ่าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

พุทธเจ้าแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อยู่มาวันหนึ่ง ไปยังโรงช้างตาม

ที่พระราชาทรงอนุญาต แล้วสั่งคนเลี้ยงช้างว่า พรุ่งนี้ ท่านจงให้ช้าง

นาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ แล้วจงปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต. พระนครทั้งสิ้นได้มีเสียงเอิกเกริกมากมาย. ชน

ทั้งหลายกล่าวกันว่า เราจักดูการต่อยุทธ์ของนาคคือช้าง กับนาคคือ

พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพากันผูกเตียงและเตียงซ้อน ในถนนหลวง จาก

ด้านทั้งสอง แล้วประชุมกันแต่เช้าตรู่.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแล้ว อัน

หมู่ภิกษุห้อมล้อมเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ขณะนั้น พวก

คนเลี้ยงช้างปล่อยช้างนาฬาคิรี โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ช้าง

นาฬาคิรีทำลายถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้นเดินมา ครั้งนั้น หญิงผู้หนึ่งพา

เด็กเดินข้ามถนน ช้างเห็นหญิงนั้นจึงไล่ติดตาม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

นี่แน่ะนาฬาคิรี เธอถูกเขาส่งมาเพื่อจะฆ่าหญิงนั้นก็หามิได้ เธอจงมาทางนี้.

ช้างนั้นได้ฟังเสียงนั้นแล้ว ก็วิ่งบ่ายหน้ามุ่งไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาอันควรแก่การแผ่ในจักรวาล อันหา

ประมาณมิได้ ในสัตว์อันหาที่สุดมิได้ ไปในช้างนาฬาคิรีตัวเดียวเท่านั้น.

ช้างนาฬาคิรีนั้นอันพระเมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว กลาย

เป็นช้างที่ไม่มีภัย หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงวางพระหัตถ์ลงบนกระหม่อมของช้างนาฬาคิรีนั้น. ครั้งนั้น

เทวดาและพรหมเป็นต้นเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงพากันบูชาด้วย

ดอกไม้และเกสรดอกไม้เป็นต้น. ในพระนครทั้งสิ้น ได้มีกองทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ประมาณถึงเข่า. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้อง ทรัพย์ที่ประตู

ด้านทิศตะวันตกจงเป็นของชาวพระนคร ทรัพย์ที่ประตูด้านทิศตะวันออก

จงนำเข้าท้องพระคลังหลวง. คนทั้งปวงกระทำอย่างนั้นแล้ว. ในครั้งนั้น

ช้างนาฬาคิรีได้มีชื่อว่า ธนบาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังพระ-

เวฬุวนาราม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.

ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ได้ทำช้างให้โกรธ

พระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตรอยู่นั้น.

เพราะวิบากของกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายหมุนเข้า

มาประจัญในบุรีอันประเสริฐ ชื่อว่า คิริพพชะ คือกรุง

ราชคฤห์.

ปัญหาข้อที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การผ่าฝีด้วยศัสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจ-

เฉทะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันต-

ประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว

และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจัยตประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง

ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเนือง ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด

ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน

นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก

ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนึ่งก็ได้เกิดห้อพระ-

โลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว

ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม.

การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก

ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.

ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา

เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.

ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน

ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง

ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย

นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น

เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔

ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น

แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ

เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด

ในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา

ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา

แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ)

แล้ว.

ปัญหาข้อที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การกินข้าวสารแห่งข้าวแดงในเมืองเวสาลี ชื่อว่า ยวขาทนะ การ

กินข้าวแดง. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง

เพราะอำนาจชาติและเพราะความเป็นอันธพาล เห็นสาวกทั้งหลายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ ฉันข้าวน้ำอันอร่อย และโภชนะแห่งข้าวสาลี

เป็นต้น จึงด่าว่า เฮ้ย ! พวกสมณะโล้น พวกท่านจงกินข้าวแดงเถอะ

อย่ากินโภชนะแห่งข้าวสาลีเลย. เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมนั้น พระ-

โพธิสัตว์จึงเสวยทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้

ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ เมื่อทรงกระทำความอนุเคราะห์ชาว

โลก เสด็จเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานีทั้งหลาย. สมัยหนึ่ง เสด็จ

ถึงโคนไม้สะเดาอันสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ ณ ที่ใกล้เวรัญชพราหมณ-

คาม. เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่อาจเอาชนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้โดยเหตุหลายประการ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จเข้าจำพรรษาในที่นี้แหละ

ย่อมควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ.

ครั้นจำเดิมแต่วันรุ่งขึ้นไป มารผู้มีบาปได้กระทำการดลใจชาวบ้าน

เวรัญชพราหมณคามทั้งสิ้น ไม่ได้มีแม้แต่คนเดียวผู้จะถวายภิกษาสักทัพพี

หนึ่ง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เพราะเนื่องด้วยมาร

ดลใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีบาตรเปล่า อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

กลับมา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จกลับมาอย่างนั้น พวกพ่อค้าม้า

ที่อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ถวายทานในวันนั้น จำเดิมแต่วันนั้นไป ได้

นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร แล้วทำการแบ่งจาก

ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาในพันจักรวาลแห่งจักรวาลทั้งสิ้น พากันใส่ทิพโอชะ

เหมือนในวันที่นางสุชาดาหุงข้าวปายาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว

พระองค์เสวยข้าวแดงตลอดไตรมาส ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อล่วงไป ๓

เดือน การดลใจของมารก็หายไปในวันปวารณา เวรัญชพราหมณ์ระลึก

ขึ้นได้ถึงความสลดใจอย่างใหญ่หลวง จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายบังคมแล้วขอให้ทรงอดโทษ ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระ-

พุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่า พวกท่านจงเคี้ยว จงกินแต่

ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย

ด้วยวิบากของกรรมนั้น เราจึงได้เคี้ยวกินข้าวแดงตลอด

ไตรมาส เพราะว่า ในคราวนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว

จึงได้อยู่ในบ้านเวรัญชา.

ปัญหาข้อที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อาพาธที่หลัง ชื่อว่า ปิฏิทุกขะ ทุกข์ที่หลัง. ได้ยินว่า ในอดีต-

กาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี สมบูรณ์ด้วยกำลัง ได้เป็นคน

ค่อนข้างเตี้ย. สมัยนั้น นักต่อสู้ด้วยการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำคนหนึ่ง เมื่อ

การต่อสู้ด้วยมวยปล้ำกำลังดำเนินไปอยู่ในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทำพวกบุรุษล้มลง ได้รับชัยชนะ มาถึงเมืองอัน

เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์เข้าโดยลำดับ ได้ทำพวกคนในเมืองแม้นั้นให้

ล้มลงแล้ว เริ่มจะไป. คราวนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้ได้รับชัยชนะ

ในที่เป็นที่อยู่ของเราแล้วก็จะไป จึงมายังบริเวณพระนครในที่นั้น ปรบ

มือแล้วกล่าวว่า ท่านจงมา จงต่อสู้กับเราแล้วค่อยไป นักมวยปล้ำนั้น

หัวเราะแล้วคิดว่า พวกบุรุษใหญ่โตเรายังทำให้ล้มได้ บุรุษผู้นี้เป็นคนเตี้ย

มีธาตุเป็นคนเตี้ย ย่อมไม่เพียงพอแม้แก่มือข้างเดียว จึงปรบมือบันลือ

แล้วเดินมา. คนทั้งสองนั้นจับมือกันและกัน พระโพธิสัตว์ยกนักมวยปล้ำ

คนนั้นขึ้นแล้วหมุนในอากาศ เมื่อจะให้ตกลงบนภาคพื้น ได้ทำลาย

กระดูกไหล่แล้วให้ล้มลง. ชาวพระนครทั้งสิ้นทำการโห่ร้อง ปรบมือ

บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยผ้าและอาภรณ์เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ให้นักต่อสู้

ด้วยมวยปล้ำนั้นตรง ๆ กระทำกระดูกไหล่ให้ตรงแล้วกล่าวว่า ท่านจงไป

ตั้งแต่นี้ไปท่านจงอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วส่งไป ด้วยวิบากของ

กรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ที่ร่างกายและศีรษะเป็นต้น ในภพ

ที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุด แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เสวยทุกข์

มีการเสียดแทงที่หลังเป็นต้น. เพราะฉะนั้น เมื่อความทุกข์ที่เบื้องพระ-

ปฤษฎางค์เกิดขึ้นในกาลบางคราว พระองค์จึงตรัสกะพระสารีบุตรและ

พระโมคคัลลานะว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกเธอจงแสดงธรรม แล้วพระองค์

ทรงลาดสุคตจีวรแล้วบรรทม. ขึ้นชื่อว่ากรรมเก่า แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่พ้น

ไปได้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อการปล้ำกันดำเนินไปอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนัก-

มวยปล้ำ (ให้ลำบาก)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ด้วยวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)

จึงได้มีแก่เรา.

ปัญหาข้อที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม

พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ

จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร

เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก

ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระ-

โพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ใน

อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระ-

โลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม

กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง

ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประ-

ทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย

ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง.

แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย

วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

พระชินเจ้าทรงบรรลุอภิญญาพละทั่งปวง ทรงพยากรณ์

ต่อหน้าภิกษุสงฆ์ ณ อโนดาตสระใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล.

อปทานฝ่ายอกุศล ชื่อว่าเป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยการตั้งหัวข้อ

ปัญหาที่ท่านให้ปฏิญญาไว้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อิตฺถ สุท อธิบายว่า ด้วยประการฉะนี้ คือ ด้วยนัยที่กล่าวไว้

ในหนหลัง โดยประการนี้. ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาต มาในอรรถว่า

ทำบทให้เต็ม. พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหา-

กรุณาพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยภาคยธรรม เป็นพระมหาสัตว์

ผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ทรงประกอบด้วยคุณ มีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคบุญ คือโชค ผู้หักราน

กิเลส ผู้ประกอบด้วยภาคธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงด้วยภาคธรรม

ทั้งหลาย ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้คบแล้ว ผู้คายการไปในภพ

ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็น

พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อจะทรง

ยกย่อง คือทำให้ปรากฏซึ่งพุทธจริยา คือเหตุแห่งพระพุทธเจ้าของ

พระองค์ จึงได้ภาษิตคือตรัสธรรมบรรยาย คือพระสูตรธรรมเทศนา

ชื่อว่า พุทธาปทานิยะ คือ ชื่อว่า ประกาศเหตุแห่งพระพุทธเจ้าแล.

พรรณนาพุทธาปทาน

ในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน

จบบริบูรณ์เท่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

๒. ปัจเจกพุทธาปทาน

ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

[๒] ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ปัจเจกสัมพุทธาปทาน.

พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถาม

พระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้น

จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู ผู้ประ-

เสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่านพระอานนท์ผู้เจริญ

ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสร้าง

บุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมใน

ศาสนาของพระชินเจ้า.

ด้วยมุขคือความสังเวชนั้นนั่นแล ท่านเหล่านั้นเป็น

นักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อม

บรรลุปัจเจกโพธิญาณได้ แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย.

ในโลกทั้งปวง เว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอกับพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่าน

เหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี.

ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถวิเศษ

จงมีใจผ่องใส ฟังถ้อยคำอันดีอ่อนหวานไพเราะ ของพระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้ด้วยตนเองเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

คำพยากรณ์โดยสืบ ๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุปราศจากราคะ

และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุพระโพธิญาณ ด้วย

ประการใด.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะ

ว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัด ในโลกอันกำหนัด

ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า ชนะทิฏฐิอันดิ้นรน แล้วได้บรรลุ

พระโพธิสัตว์ ณ สถานที่นั้นเอง.

ท่านวางอาญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์

แม้ตนเดียว ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา

หวังประโยชน์เกื้อกูล พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรด

ฉะนั้น.

ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งใน

บรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนา

สหาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

ความมีเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความ

เสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

บุคคลผู้อนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตใจผูกพัน ย่อมทำ

ประโยชน์ให้เสื่อมไป ท่านเล็งเห็นภัยในความสนิทสนมข้อนี้

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่

กอไผ่เกี่ยวพันกันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภรรยา ดัง

หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

เนื้อในป่าไม้ถูกมัด เที่ยวหาเหยื่อด้วยความปรารถนา

ฉันใด ท่านเป็นวิญญูชนมุ่งความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เช่นกับนอแรด ฉันนั้น.

ในท่ามกลางหมู่สหาย ย่อมจะมีการปรึกษาหารือกัน ทั้ง

ในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่หากิน ท่านเล็งเห็นความไม่

ละโมบ ความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นเดียวกับนอแรดฉะนั้น.

การเล่นในท่ามกลางหมู่สหาย เป็นความยินดีและความ

รักในบุตรภรรยา เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล ท่านเกลียด

ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เสมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่มีความโกรธเคือง ยินดี

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลายได้ ไม่

หวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

แม้คนผู้บวชแล้วบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน

สงเคราะห์ได้ยาก ท่านจึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตร

ของคนอื่น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เป็นผู้กล้าหาญ ตัด

เครื่องผูกของคฤหัสถ์ เสมือนต้นทองหลางมีใบขาดมาก

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียว

กัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย

ทั้งปวง มีใจดี มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้อยู่ด้วยกรรมดี เป็น

นักปราชญ์ ไว้เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว

ไป เหมือนพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยว

ไปพระองค์เดียว ดังช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงอยู่ในป่าฉะนั้น.

ความจริง เราย่อมสรรเสริญความถึงพร้อมด้วยสหาย พึง

คบหาสหายผู้ประเสริฐกว่า หรือผู้ที่เสมอกัน เมื่อไม่ได้สหาย

เหล่านั้น ก็พึงคบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่อง ที่นายช่างทองทำ

เสร็จแล้ว กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง (เกิดความเบื่อหน่าย)

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับ

เพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ

ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่าง ๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ภัยนี้ของเรา ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียว

เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน

ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์

เลื้อยคลาน แล้วพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ท่านพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือน

ช้างมีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว สีกายดังดดอกปทุมใหญ่โต ละโขลง

อยู่ในป่าตามชอบใจฉะนั้น.

ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันเกิดเอง นี้มิใช่ฐานะ

ของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ

นอแรดฉะนั้น.

ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มี

มรรคอันได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันคนอื่นไม่ต้อง

แนะนำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่ระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน

มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก

ทั่งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

กุลบุตรพึงละเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความฉิบหาย

ตั้งอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหายผู้ขวนขวาย ผู้

ประมาทด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี

ปฏิภาณ รู้ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก

ไม่ห่วงใย งดเว้นจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก

พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามที่มีอยู่มากมาย พึงเป็นผู้เดียว

เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

นี้เป็นความเกี่ยวข้อง ในความเกี่ยวข้องนี้ มีสุขนิดหน่อย

มีความพอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า

ความเกี่ยวข้องนี้ดุจลูกธนู พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ

นอแรดฉะนั้น.

กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลา

ทำลายข่ายแล้วไม่กลับมา ดังไฟไม้เชื้อลามไปแล้วไม่กับ

มา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว

รักษาใจไว้ได้ อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึง

เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง

มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ท่านไม่กระทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยง

ผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวใน

สกุล ฟังเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลส

เสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา

แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านทำสุข ทุกข์ โทมนัส และโสมนัสก่อน ๆ ไว้เบื้อง

หลัง ได้อุเบกขา สมถะ และความหมดจดแล้ว พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านปรารภความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพาน มีจิตไม่หดหู่

ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความเพียรมั่น ประกอบด้วยกำลัง

เรี่ยวแรง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร

แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด

เฉียบแหลม เป็นผู้สดับตรับฟัง มีสติ มีธรรมอันพิจารณา

แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่น

กับนอแรดฉะนั้น.

ท่านไม่สะดุ้งเพราะเสียง ดุจสีหะ ไม่ข้องอยู่ในตัณหา

และทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอก

ปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ท่านเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็น

กำลัง เป็นราชาของหมู่เนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำ

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และ

อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งปวง พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

ท่านละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย

เสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ

นอแรดฉะนั้น.

ชนทั้งหลาย มีเหตุเป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน

มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากในวันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมี

ปัญญามองประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด ฟังเป็นผู้เดียว

เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิต

ตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม

พิเศษ รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยองค์มรรค และโพชฌงค์.

เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิต-

วิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า

นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า.

มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วง

ทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง

อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอันทรีย์สงบ มีใจสงบ

มีใจตั้งมั่น มีปกติประพฤติกรุณาในสัตว์ ในปัจจันตชนบท

เกื้อกูลแก่เหล่าสัตว์ รุ่งเรื่องอยู่ในโลกนี้และโลกหน้า เช่น

กับดวงประทีปฉะนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวง

หมดแล้ว เป็นจอมชน เห็นประทีปส่องโลกให้สว่าง มีรัศมี

เช่นรัศมีแห่งทองคำแท่ง เป็นพระทักขิไณยบุคคลชั้นดีของ

ชาวโลก โดยไม่ต้องสงสัย เป็นผู้เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ.

คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไป

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้วไม่

กระทำเหมือนอย่างนั้น ชนเหล่านั้นท่องเที่ยวไปในสังสาร-

ทุกข์บ่อย ๆ.

คำสุภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำ

ไพเราะ. ดังน้ำผึ้งรวงอันไหลออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว

ประกอบการปฏิบัติเช่นนั้น ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีปัญญา

เห็นสัจจะ.

คาถาอันโอฬารที่พระปัจเจกสัมพุทธชินเจ้า ออกบวช

กล่าวไว้แล้ว คาถาเหล่านั้นอันพระศากยสีหะผู้สูงสุดกว่า

นรชนทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม.

คำที่เป็นคาถาเหล่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

รจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก อันพระสยัมภู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อเพิ่มพูนความสังเวช ความไม่

คลุกคลี และปัญญา ฉะนี้แล.

ปัจเจกพุทธาปทาน จบบริบูรณ์

จบอปทานที่ ๒

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน

พระอานนทเถระเมื่อจะสังคายนาอปทาน ต่อจากพุทธาปทานนั้น

ต่อไป อันท่านพระมหากัสสปเถระถามว่า นี่แน่ะท่านอาวุโสอานนท์

ปัจเจกพุทธาปทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน จึงกล่าวว่า

ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัจเจกพุทธาปทาน ดังนี้. อรรถแห่ง

อปทานของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง

นั้นแล.

พระเถระเมื่อจะประกาศบทที่กล่าวว่า สุณาถ ด้วยอำนาจการ

บังเกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตถาคต เชตวเน วสนฺต

พระตถาคตประทับอยู่ในพระเชตวัน ดังนี้. ในคำว่า ตถาคต เชตวเน

วสนฺต นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ผู้ประทับอยู่ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น เนื่องด้วยพระนามของ

เชตกุมาร โดยอิริยาบถวิหารทั้ง ๔ หรือโดยทิพวิหาร พรหมวิหาร

และอริยวิหาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่มีในกาลก่อน มีพระวิปัสสีเป็นต้น

ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ แล้วเสด็จมาโดยประการใด พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า พระตถาคต. เชื่อมความหมายว่า พระตถาคตพระองค์นั้น

ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร.

บทว่า เวเทหมุนี ความว่า พระเทวีผู้เกิดแคว้นเวเทหะ จึงชื่อว่า

เวเทหี, โอรสของพระนางเวเทหี จึงชื่อว่า เวเทหิบุตร.

ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ท่านผู้ไป คือดำเนินไป ได้แก่ เป็น

ไปด้วยโมนะนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มุนี. มุนีนั้นด้วย โอรสของ

พระนางเวเทหีด้วย เพราะเหตุนั้น ควรจะกล่าวว่า เวเทหิปุตตมุนี กลับ

กล่าวว่า เวเทหมุนี เพราะแปลง อิ เป็น และลบ ปุตฺต ศัพท์เสีย

โดยนิรุกตินัย มีอาทิว่า วณฺณาคโม ลงตัวอักษรใหม่. เชื่อมความว่า

ท่านพระอานนท์ผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้มีสติ มีธิติ

มีคติ เป็นพหูสูต เป็นผู้อุปัฏฐาก ดังนี้ น้อมองค์ลง คือน้อมองค์

คือกาย กระทำอัญชลี ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร พระเจ้าข้า ? พระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมมี คือย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร คือการณ์อะไร.

พระเถระทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า วีระ.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงอาการที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงวิสัชนา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ดังนี้. ชื่อว่า

สัพพัญญู เพราะทรงรู้สิ่งทั้งปวงต่างด้วยสิ่งที่เป็นอดีตเป็นต้น ประดุจ

ผลมะขามป้อมในมือ. ชื่อว่า พระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เพราะพระสัพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

พัญญูองค์นั้น ประเสริฐคือสูงสุด. ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ เพราะ

ทรงหา คือแสวงหาคุณคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณ-

ทัสสนะอันใหญ่. เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือ ในกาลที่ถูกถามนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส คือตรัสบอกพระอานนท์ผู้เถระ ด้วยพระสุรเสียง

อันไพเราะ. อธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ผู้เจริญ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

เหล่าใด กระทำบุญญาธิการไว้ คือกระทำบุญสมภารไว้ ในพระพุทธเจ้า

ปางก่อนทั้งหลาย คือในอดีตพุทธเจ้าทั่งหลายปางก่อน ยังไม่ได้ความ

หลุดพ้นในศาสนาของพระชินเจ้า คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน พระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นนักปราชญ์ กระทำบุคคลผู้หนึ่ง

ให้เป็นประธาน โดยมุขคือความสังเวช จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ในโลกนี้. ผู้มีปัญญากล้าแข็งดี คือมีปัญญากล้าแข็งด้วยดี. แม้เว้นจาก

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ แม้เว้นจากโอวาทานุสาสนีของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมบรรลุคือย่อมรู้แจ้งปัจเจกสัมโพธิ คือโพธิเฉพาะผู้เดียว

ได้แก่ โพธิอันต่อเนื่อง (รอง) จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วย

อารมณ์แม้นิดหน่อย คือแม้มีประมาณน้อย.

ในโลกทั้งปวงคือในไตรโลกทั้งสิ้น เว้นเรา (คือพระพุทธเจ้า)

คือละเว้นเราเสีย บุคคลผู้เสมอ คือแม้นเหมือนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมไม่มี. เราจักกล่าว อธิบายว่า จักบอกคุณนี้ ของพระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนีเหล่านั้น เพียงบางส่วน คือเพียงสังเขป ให้

สำเร็จประโยชน์ คือให้ดีแก่ท่านทั้งหลาย.

ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนา คืออยากได้พระนิพพาน คือเภสัช ได้แก่

โอสถอันยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า มีจิตผ่องใส คือมีใจใสสะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

จงฟัง อธิบายว่า จงใส่ใจ ถ้อยคำ คือคำอุทานอันอร่อย คืออันหวาน

เหมือนน้ำผึ้งเล็ก คือเหมือนรวงน้ำผึ้งเล็ก ของพระฤาษีใหญ่ในระหว่าง

ฤาษีทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง คือรู้แจ้งด้วยตนเอง.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธาน สมาคตาน ได้แก่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว. อธิบายว่า คำพยากรณ์สืบ ๆ

กันมา คือเฉพาะองค์หนึ่ง ๆ เหล่าใดอันเป็นอปทานของพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์ มีอาทิ คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระ-

ตครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ พระ-

ปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวะ พระภาวิตัตตะ

พระสุมภะ พระสุภะ พระเมถุละ พระอัฏมะ พระสุเมธะ พระอนีฆะ

พระสุทาฐะ พระหิงคุ พระหิงคะ พระทเวชาลินะ พระอัฏฐกะ พระ-

โกสละ พระสุพาหุ พระอุปเนมิสะ พระเนมิสะ พระสันจิตตะ พระ-

สัจจะ พระตถะ พระวิรชะ พระปัณฑิตะ พระกาละ พระอุปกาละ

พระวิชิตะ พระชิตะ พระอังคะ พระปังคะ พระคุตติชชิตะ พระปัสสี

พระชหี พระอุปธิ พระทุกขมูละ พระอปราชิตะ พระสรภังคะ

พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ พระอสิตะ พระอนาสวะ พระมโนมยะ

พระมานัจฉิทะ พระพันธุมะ พระตทาธิมุตตะ พระวิมละ พระเกตุมะ

พระโกตุมพรังคะ พระมาตังคะ พระอริยะ พระอัจจุตะ พระอัจจุตคามี

พระพยามกะ พระสุมังคละ และพระทิพพิละ อาทีนพโทษใด วิราควัตถุ

คือเหตุเป็นเครื่องไม่ยึดติดใด และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุ

ตามโพธิ คือกระทำจตุมรรคญาณให้ประจักษ์ได้ด้วยเหตุใด, พระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้คลายสัญญาในวัตถุที่มีราคะ คือในวัตถุที่พึงยึดติด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

แน่น ได้แก่ ในวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย มีจิตปราศจากกำหนัดใน

โลกอันกำหนัดแล้ว คือในโลกอันมีสภาวะเป็นเครื่องยึดติด ละกิเลสเครื่อง

เนิ่นช้าทั้งหลายได้แล้ว คือละกิเลส กล่าวคือ เครื่องเนิ่นช้า คือเครื่อง

เนิ่นช้าคือราคะ เครื่องเนิ่นช้าคือโทสะ เครื่องเนิ่นช้าคือโมหะ เครื่องเนิ่นช้า

คือกิเลสทั้งปวง ชนะความดิ้นรน คือชนะทิฏฐิ ๖๒ อันดิ้นรน บรรลุตาม

โพธิอย่างนั้น คือกระทำปัจเจกโพธิญาณให้ประจักษ์แล้วด้วยเหตุนั้น.

บทว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑ ความว่า วาง คือเว้นการ

ขู่ การทำลาย การฆ่า และการจองจำ ไม่เบียดเบียนสัตว์ตัวใดตัวหนึ่ง

คือสัตว์ไร ๆ แม้ตัวเดียวในระหว่างสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น คือไม่ทำให้

ลำบาก มีจิตเมตตา คือมีจิตสหรคตด้วยเมตตาว่า สัตว์ทั้งปวงจงมีความ

สุข เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือมีความอนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูลเป็นสภาพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพสุ นี้ ในคำว่า

สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฑ เป็นบทบอกการถือเอาหมดโดยประการ

ทั้งปวง คือหมดสิ้นไม่มีเศษ. ในบทว่า ภูเตสุ นี้ สัตว์ที่สะดุ้งและมั่นคง

เรียกว่า ภูตะ สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหาไม่ได้ ทั้งละภัยและ

ความกลัวไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้สะดุ้ง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า

ผู้สะดุ้ง ? สัตว์เหล่าใดย่อมสะดุ้ง คือสะดุ้งขึ้น สะดุ้งรอบ ย่อมกลัว

ย่อมถึงความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า

ผู้สะดุ้ง. สัตว์เหล่าใดละความอยากคือตัณหา ทั้งภัยและความกลัวได้

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้มั่นคง. เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าผู้มั่นคง ? สัตว์เหล่าใด

ย่อมมั่นคง คือไม่สะดุ้ง ไม่สะดุ้งขึ้น ไม่สะดุ้งรอบ ไม่กลัว ไม่ถึง

ความสะดุ้งพร้อม เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่าผู้มั่นคง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

อาชญา ๓ คืออาชญาทางกาย อาชญาทางวาจา อาชญาทางใจ.

กายทุจริต ๓ ชื่อว่า อาชญาทางกาย, วจีทุจริต ๔ ชื่อว่า อาชญาทาง

วาจา, มโนทุจริต ๓ ชื่อว่า อาชญาทางใจ. วาง คือตั้งลง ยกลง ยก-

ลงพร้อม วางไว้ คือระงับอาชญา ๓ อย่างนั้นในภูตคือสัตว์ทั้งปวง คือ

ทั้งสิ้น ได้แก่ ไม่ถือเอาอาชญา เพื่อจะเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อวิเหย อญฺตรมฺปิ เตส

ความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่ง ๆ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน ท่อน-

ไม้ ศัสตรา ขื่อคา หรือเชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ทุกชนิดด้วยฝ่ามือ

หรือก้อนดิน ท่อนไม้ ศาสตรา ชื่อคา หรือเชือก คือไม่เบียดเบียนสัตว์

เหล่านั้นแม้ตัวใดตัวหนึ่ง.

ศัพท์ว่า ในคำว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหาย เป็นศัพท์

ปฏิเสธ. บทว่า ปุตฺต ความว่า บุตร ๔ ประเภท คือ บุตรที่เกิดในตน ๑

บุตรที่เกิดในภริยา ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรคืออันเตวาสิก ๑.

บทว่า สหาย ความว่า การมา การไป การยืน การนั่ง การ

ร้องเรียก การเจรจา การสนทนากับผู้ใด เป็นความผาสุก ผู้นั้นท่าน

เรียกว่า สหาย.

บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหาย ความว่า ไม่อยากได้ คือ

ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ทะเยอทะยาน ไม่รำพันถึงแม้แต่บุตร จะ

อยากได้ยินดี ปรารถนา ทะเยอทะยาน รำพันถึงมิตร เพื่อนเห็น เพื่อน-

คบ หรือสหาย มาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ไม่อยากได้แม้แต่บุตร

จะอยากได้สหายมาแต่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บทว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า พระปัจเจกพุทธ-

เจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะการบรรพชา.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโทสะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะหมดกิเลสแน่นอน.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว.

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ

อันยอดเยี่ยมผู้เดียว.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างไร ?

คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดปลิโพธกังวลในการครองเรือน

เสียทั้งหมด ตัดปลิโพธกังวลในลูกเมีย ตัดปลิโพธกังวลในญาติมิตร

อำมาตย์ และการสั่งสม ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกจาก

เรือนบวชไม่มีเรือน เข้าถึงความไม่มีกังวล ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป คือ

อยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้ไป เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน

อย่างไร ? คือท่านเป็นผู้บวชอย่างนั้นอยู่ผู้เดียว เสพอาศัยเสนาสนะอัน

สงัด อันเป็นอรัญ ป่า และไหล่เขา ไม่มีเสียงอึกทึก ปราศจากลมอัน

เกิดจากชน อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

ท่านยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว ผู้เดียวเข้าไป

บิณฑบาตยังบ้าน ผู้เดียวกลับมา ผู้เดียวนั่งในที่ลับ ผู้เดียวเดินจงกรม

ผู้เดียวเที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้เป็นไป ท่าน

ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อน อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาเป็น

อย่างไร ?

คือท่านผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา

กิเลสให้เร่าร้อน มีใจสงบอยู่ เริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ กำจัด

มารพร้อมทั้งเสนามารแล้วละบรรเทา ทำให้พินาศไป ทำให้ถึงการไม่

เกิดอีกต่อไป ซึ่งตัณหาอันมีข่าย คือตัณหาอันฟุ้งไปในอารมณ์ต่าง ๆ.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน

ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารซึ่งมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น

โดยประการอื่น.

ภิกษุรู้โทษข้อนี้ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่นมีสติ

พึงเว้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา

ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดย

ส่วนเดียว เป็นอย่างไร ?

คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าปราศจากราคะโดยส่วนเดียว

เพราะละราคะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ปราศจาก

โทสะโดยส่วนเดียว เพราะละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้เดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะละโมหะได้ เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งหลาย

ได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า

ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไป

สำหรับคนผู้เดียว เป็นอย่างไร ?

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านเรียกว่า เอกายนมรรค ทางเป็นที่

ไปสำหรับคนผู้เดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่ง

ชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงรู้ชัดทางเป็น

ที่ไปสำหรับคนผู้เดียว ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะไป

แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตจักข้ามด้วยทางนี้ และปัจจุบันนี้

ก็กำลังข้ามโอฆะด้วยทางนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่

ไปสำหรับคนผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ

พระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว เป็นอย่างไร ?

ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-

เจ้านั้น ตรัสรู้ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เทียง ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ตรัสรู้

ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า วิญญาณมีเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า

สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ตัณหามี

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตรัสรู้ว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชาติมีเพราะภพเป็น

ปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย.

ตรัสรู้ว่า สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ ตรัสรู้ว่า วิญญาณดับ

เพราะสังขารดับ ฯลฯ ตรัสรู้ว่า ชาติดับ เพราะภพดับ ตรัสรู้ว่า

ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย

ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า

เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้อาสวสมุทัย ฯลฯ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทา.

ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ

ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ

ตรัสรู้การเกิดการดับไป ความเพลิดเพลิน โทษ และการสลัดออกแห่ง

ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้การเกิด ฯลฯ การสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

ตรัสรู้การเกิด การดับไป ความเพลิดเพลินโทษ และการสลัดออกแห่ง

มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา.

อีกอย่างหนึ่ง ตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม บรรลุ

ถูกต้อง กระทำให้แจ้ง ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ ควรรู้ตาม ควรรู้เฉพาะ ควรรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจก-

โพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้

พร้อมเฉพาะซึ่งพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว อย่างนี้ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ คือ อิริยาบถจริยา ๑ อายตน-

จริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติ-

จริยา ๑ และโลกัตถจริยา ๑.

จริยาในอิริยาบถทั้ง ๔ ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.

จริยาในอายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ชื่อว่า อายตนจริยา.

จริยาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่า สติจริยา.

จริยาในฌาน ๔ ชื่อว่า สมาธิจริยา.

จริยาในอริยสัจ ๔ ชื่อว่า ญาณจริยา.

จริยาในอริยมรรค ๔ ชื่อว่า มรรคจริยา.

จริยาในสามัญญผล ๔ ชื่อว่า ปัตติจริยา.

จริยาในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถอริยา.

อิริยาบถจริยาย่อมมีแก่ผู้เพียบพร้อมด้วยปณิธิการดำรงตน, อาตน-

จริยาย่อมมีแก่ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาย่อมมีแก่ผู้ปกติ

อยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาย่อมมีแก่ผู้ประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต,

ญาณจริยาย่อมมีแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยพุทธิปัญญา, มรรคจริยาย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติ

โดยชอบ, ปัตติจริยาย่อมมีแก่ผู้บรรลุผล และโลกัตถจริยาย่อมมีแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน

แก่พระสาวกทั้งหลายบางส่วน นี้จริยา ๘ ประการ.

จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเมื่อน้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย

ศรัทธา, เมื่อประคองอยู่ย่อมประพฤติด้วยความเพียร. เมื่อเข้าไปตั้งมั่น

ย่อมประพฤติด้วยสติ. เมื่อกระทำความไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ,

เมื่อรู้ชัดย่อมประพฤติไปด้วยปัญญา. เมื่อรู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ-

จริยา, ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา เพราะมนสิการว่า กุศลธรรม

ทั้งหลายย่อมมาถึงแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา เพราะ

มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ. นี้จริยา ๘ ประการ.

จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง จริยาในทัสสนะ สำหรับสัมมาทิฏฐิ จริยา

ในการยกจิต สำหรับสัมมาสังกัปปะ จริยาในการกำหนด สำหรับสัมมา-

วาจา จริยาในความหมั่น สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยาในความบริสุทธิ์

สำหรับสัมมาอาชีวะ จริยาในการประคองไว้ สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยา

ในการปรากฏ สำหรับสัมมาสติ และจริยาในความไม่ฟุ้งซ่าน สำหรับ

สัมมาสมาธิ นี้จริยา ๘ ประการ.

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียวเท่านั้น

ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เหมือนกับนอแรดนั้น เช่นเดียวกับนอแรดนั้น มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด

นั้น, ของเค็มจัด เรียกว่าเหมือนเกลือ ของขมจัด เ รียกว่าเหมือนของขม

ของหวานจัด เรียกว่าเหมือนน้ำหวาน ของร้อนจัด เรียกว่าเหมือนไฟ

ของเย็นจัด เรียกว่าเหมือนหิมะ ลำน้ำใหญ่ เรียกว่าเหมือนทะเล พระ-

สาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาพละ เรียกว่าเหมือนพระศาสดา ฉันใด พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเหมือนนอแรด เช่นกับ

นอแรด มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน หลุดพ้นกิเลส

เครื่องผูกพัน เที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ คุ้มครองอยู่ ไปอยู่

ให้ไปอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน

นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

บุคคลวางอาชญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น

แม้ตัวหนึ่ง ไม่ปรารถนาบุตร จะปรารถนาสหายแต่ที่ไหน

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่

อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย. บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดจาก

ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ผู้ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตพัวพันอยู่ ย่อมทำ

ประโยชน์ให้เสื่อมไป บุคคลมองเห็นภัยในความสนิทสนมนี้

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความอาลัยในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่ใหญ่

เกี่ยวเกาะกันอยู่ บุคคลไม่ข้องอยู่ในบุตรและภรรยาเหมือน

หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

วิญญูชนหวังความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน

นอแรดดังเนื้อในป่าไม่ถูกผูก ย่อมเที่ยวไปหาเหยื่อได้ตาม

ความปรารถนาฉะนั้น.

ในท่ามกลางสหาย ย่อมจะต้องมีการปรึกษาหารือกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

บุคคลเล็งเห็นความเสรี อันไม่เพ่งเล็งไปในการอยู่ การยืน

การเดิน และการเที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน

นอแรดฉะนั้น.

การเล่นในท่ามกลางสหายเป็นความยินดี และความรัก

ในบุตรภรรยาเป็นเรื่องกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเกลียดความ

พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน

นอแรดฉะนั้น.

พึงแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วย

ปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ที่ครองเรือนก็

สงเคราะห์ได้ยาก พึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในบุตรของคนอื่น

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย เป็นผู้กล้าหาญ

ตัดเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางขาดใบ พึง

เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน พึงเที่ยวไป

กับสหายผู้เป็นนักปราชญ์มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พึง

ครอบงำอันตรายทั้งมวล พึงดีใจ มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เป็นนักปราชญ์

มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้เที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้

เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่พระองค์

ชนะแล้ว และเหมือนช้างชื่อมาตังคะในป่าฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

อันที่แท้ พวกเราสรรเสริญสหายสมบัติ พึงคบหาสหาย

ผู้ประเสริฐกว่าหรือผู้เสมอกัน บุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึง

คบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลเห็นกำไลมือทองคำอันสุกปลั่ง อันช่างทองทำสำเร็จ

อย่างดี กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรดฉะนั้น.

การกล่าวด้วยวาจา หรือการติดข้องของเรา จะพึงมีกับ

เพื่อนอย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ ต่อไปภายหน้า พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ก็กามทั้งหลายงดงาม หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ

ย่อมย่ำยีจิตใจด้วยรูปแปลก ๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ

ทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ความจัญไร หัวฝี อันตราย โรค บาดแผล และภัย นี้

จะพึงมีแก่เรา บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเที่ยว

ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงครอบงำอันตรายนี้ทั้งหมด คือความหนาว ความร้อน

ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์

เลื้อยคลาน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด หรือเหมือน

ช้างเกิดร่างกายใหญ่โต มีสีดังดอกปทุม ละโขลงอยู่ในป่า

ตามชอบใจฉะนั้น.

ท่านใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจพันธุ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ว่า ข้อที่บุคคลผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ จะพึงบรรลุวิมุตติอัน

เกิดขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรดฉะนั้น.

เราเป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ถึงความแน่นอน มีมรรค

อันได้แล้ว มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีคนอื่นแนะนำ พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่

คุณท่าน มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นที่มา

นอน ครอบงำโลกทั้งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน

นอแรดฉะนั้น.

บุคคลพึงเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความพินาศ ตั้งมั่น

อยู่ในฐานะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ซ่องเสพผู้ขวนขวาย ผู้ประมาท

ด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ

รู้ทั่วถึงประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยได้ พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก

ไม่อาลัยคลายความยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวแต่

คำสัตย์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก

พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

นี้เป็นกิเลสเครื่องข้อง ในกิเลสเครื่องข้องนี้ มีความสุข

นิดหน่อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มากยิ่ง ผู้มีความคิดรู้ว่า

เครื่องข้องนี้เป็นดุจขอ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่าย

ไม่หวนกลับมาอีก เหมือนไฟไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า คุ้มครองอินทรีย์ รักษา

มนัส อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเป็นผู้

เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงละเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองกวาวมีใบขาด

แล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรดฉะนั้น

ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น

เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั่น.

พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลสเสีย

ทั้งหมด ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา

ได้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

กระทำสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสในก่อนไว้เบื้อง

หลัง ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

พึงปรารภความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่

หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ประกอบ

ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร

แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้า

น้ำลาย มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณาแล้ว เป็นผู้เที่ยงมี

ปธานความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดุจสีหะ มีข้องอยู่ เหมือนลม

ไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียว

เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนสีหะผู้เป็นราชาของ

พวกเนื้อ มีเขี้ยวเป็นกำลัง ประพฤติข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย

ฉะนั้น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุติ และ

อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งมวล พึงเป็นผู้

เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย

ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ชนทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบหาสมาคมกัน

บุคคลผู้ไม่มีเหตุ จะมาเป็นมิตรกันในทุกวันนี้หาได้ยาก พวก

มนุษย์ผู้ไม่สะอาดมักเห็นแก่ประโยชน์ตน พึงเป็นผู้เดียว

เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

คำว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ในคาถานั้น คือพระสูตรว่าด้วยขัคค-

วิสาณปัจเจกสัมพุทธาปทาน.

พระสูตรนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสูตรทั้งปวง มีเหตูเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือเกิดโดยอัธยาศัย

ของตนเอง ๑ เกิดโดยอัธยาศัยของผู้อื่น เกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น ๑

และเกิดโดยอำนาจการถาม ๑

ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น ขัคควิสาณสูตรเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม

โดยไม่พิเศษ. แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เพราะเหตุที่คาถาบางคาถาในสูตรนี้

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ถูกเขาถามจึงกล่าวไว้ บางคาถาไม่ถูก

ถาม แต่เมื่อจะเปล่งเฉพาะอุทานอันเหมาะสมแก่นัยแห่งมรรคที่คนบรรลุ

จึงได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้น บางคาถาจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม บาง

คาถาเกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยของตน. ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น เหตุเกิดด้วย

อำนาจการถามโดยไม่พิเศษนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้นไป.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนครสาวัตถี ครั้งนั้น

ท่านพระอานนท์ อยู่ในที่ลับเร้นอยู่ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า

ความปรารถนาและอภินีหารของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏ ของ

พระสาวกทั้งหลายก็ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายยังไม่ปรากฏ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ทูลถาม. ท่านพระอานนท์นั้นจึงออกจากที่เร้น ทูลถามถึงเรื่องราวนั้น

โดยลำดับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตร

แก่ท่านพระอานนท์นั้นว่า

ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ คือย่อมทำ

ผู้หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน ให้พลันบรรลุพระอรหัต-

ผลในปัจจุบัน ๑ ถ้ายังไม่ให้บรรลุพระอรหัตผลในปัจจุบัน

เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมให้บรรลุพระอรหัตผลในเวลาจะตาย ๑

ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตผล ๑ ถ้า

ไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่

ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะ

เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าในกาลสุดท้ายภายหลัง ๑

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า

ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย อภินีหาร หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน

เพราะฉะนั้น ความปรารถนาและอภินิหารของพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งมวล จึงจำปรารถนา.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยกำหนดอย่างต่ำ ย่อมเป็นไป ๔ อสงไขย

แสนกัป โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป ๘ อสงไขยแสนกัป โดย

กำหนดอย่างสูง ย่อมเป็นไป ๑๖ อสงไขยแสนกัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ก็ความแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบโดยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นปัญญาธิกะยิ่งด้วยปัญญา สัทธาธิกะยิ่งด้วยศรัทธา และวิริยาธิกะ

ยิ่งด้วยความเพียร.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นปัญญาธิกะ มีศรัทธาอ่อน มีปัญญา

กล้าแข็ง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัทธาธิกะ มีปัญญาปานกลาง มีศรัทธา

กล้าแข็ง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นวิริยาธิกะ มีศรัทธาและปัญญาอ่อน มีความ

เพียรกล้าแข็ง.

ก็ฐานะนี้ที่ว่ายังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เมื่อให้ทานทุกวัน ๆ เช่น

การให้ทานของพระเวสสันดร และการสั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้นอัน

สมควรแก่ทานนั้น ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่างได้ ดังนี้ ย่อมจะมี

ไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง

ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่กล้า. ฐานะนี้ที่ว่า ข้าวกล้าที่จะ

เผล็ดผลต่อเมื่อล่วงไป ๓ เดือน ๔เดือน และ ๕ เดือน ยังไม่ถึงเวลานั้น ๆ

จะอยากได้ก็ดี จะเอาน้ำรดก็ดี สักร้อยครั้งพันครั้งทุกวัน ๆ จัก ให้เผล็ด

ผลโดยปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งในระหว่าง ดังนี้ ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะข้าวกล้ายังไม่ท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยัง

ไม่แก่ ดังนี้ชื่อฉันใด ฐานะนี้ว่า ยังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป จักได้

เป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ ย่อมไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึง

กระทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ เพื่อต้อง

การให้ญาณแก่กล้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

อนึ่ง ผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้

ก็จำต้องปรารถนาสมบัติ ๘ ประการในการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่

อภินีหารนี้ย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม ๘ ประการไว้ได้

คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ เหตุ ๑

การได้พบพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึงพร้อมด้วย

คุณ ๑ การกระทำอันยิ่ง ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑.

คำว่า อภินีหาร นี้ เป็นชื่อของความปรารถนาเดิมเริ่มแรก. ใน

ธรรม ๘ ประการนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่าความเป็นมนุษย์.

จริงอยู่ เว้นจากกำเนิดมนุษย์ ความปรารถนาย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้ดำรงอยู่

ในกำเนิดที่เหลือ แม้แต่กำเนิดเทวดา อันผู้ดำรงอยู่ในกำเนิดอื่นนั้น

เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ต้องกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น

แล้วปรารถนาเฉพาะความเป็นมนุษย์ (ให้ได้ก่อน) ครั้นดำรงอยู่ในความ

เป็นมนุษย์แล้วจึงค่อยกระทำความปรารถนา (ความเป็นพระพุทธเจ้า).

เมื่อกระทำอย่างนี้แหละ ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ.

ความเป็นบุรุษ ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยเพศ. จริงอยู่ มาตุคาม

กะเทย และคนสองเพศ แม้จะดำรงอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ก็ปรารถนาไม่

สำเร็จ. อันผู้ดำรงอยู่ในเพศมาตุคามเป็นต้น นั้น เมื่อปรารถนาความเป็น

พระพุทธเจ้า พึงกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น แล้วจึงปรารถนาเฉพาะ

ความเป็นบุรุษ ครั้นได้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษแล้ว จึงพึงปรารถนา

ความเป็นพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จ.

ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อว่าเหตุ. ก็บุคคลใด

เพียรพยายามอยู่. ในอัตภาพนั้นสามารถบรรลุพระอรหัต ความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของบุคคลนอกนี้ย่อมไม่สำเร็จ

เหมือนดังสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้น ได้พบพระทีปังกร-

พุทธเจ้าในที่พร้อมพระพักตร์แล้วจึงการทำความปรารถนา.

ความเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ชื่อว่าการบรรพชา. ก็ความเป็นผู้ไม่มี

เหย้าเรือนนั้น ย่อมควรในพระศาสนา หรือในนิกายของดาบสและ

ปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่

ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส นามว่าสุเมธ ได้กระทำความปรารถนา

แล้ว.

การได้เฉพาะคุณมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยคุณ.

จริงอยู่ แต่เมื่อบวชแล้วก็เฉพาะสมบูรณ์ด้วยคุณเท่านั้น ความปรารถนา

จึงจะสำเร็จ ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังสุเมธบัณฑิต.

จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีอภิญญา ๕ และเป็นผู้ได้สมาบัติ ๘

ได้ปรารถนาแล้ว.

การกระทำอันยิ่ง อธิบายว่า การบริจาคชื่อว่า อธิการ. จริงอยู่

เมื่อบุคคลบริจาคชีวิตเป็นต้นแล้วปรารถนานั้นแหละ ความปรารถนาย่อม

สำเร็จ ไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่าน

สุเมธบัณฑิตนั้นกระทำการบริจาคตน แล้วตั้งความปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า

พระพุทธเจ้าพร้อมกับศิษย์ทั้งหลายจงเหยียบเราไป อย่า

ทรงเหยียบเปือกตมเลย ข้อนี้จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่เรา ดังนี้.

แล้วจึงได้ปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่าความเป็นผู้มีฉันทะ. ความเป็น

ผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ย่อมมีกำลังแก่ผู้ใด ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่

ผู้นั้น. อธิบายว่า ก็ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า

ใครอยู่ในนรก ๔ อสงไขยแสนกัป แล้วปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า

ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจกล่าวว่า เรา ดังนี้ พึงทราบว่ามีกำลังแก่ผู้นั้น.

อนึ่ง ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า ใครเหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเต็มด้วยถ่าน

เพลิงปราศจากเปลว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใคร

เหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเกลื่อนกลาดด้วยหอกและหลาวพ้นไปได้ ย่อม

ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครข้ามจักรวาลทั้งสิ้นอันมีน้ำเต็ม

เปี่ยมไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครเดินย่ำจักรวาล

ทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่ไม่มีช่องว่างพ้นไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็น

พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจสามารถพูดว่า เรา ดังนี้ พึงทราบ

ว่าผู้นั้นมีความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำมีกำลัง. ก็สุเมธบัณฑิตประกอบด้วย

ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำเห็นปานดังกล่าวมา จึงปรารถนาแล้ว.

ก็พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินีหารอันสำเร็จแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่เข้าถึง

อภัพพฐานะ คือฐานะอันไม่ควร ๑๘ ประการเหล่านี้.

อธิบายว่า จำเดิมแต่สำเร็จอภินีหารแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นไม่เป็น

คนบอดไม่เป็นคนหนวกมาแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้๑.

ไม่เป็นง่อยเปลี้ย ไม่เกิดขึ้นในหมู่คนมิลักขะ คือคนป่าเถื่อน ๑ ไม่เกิด

ในท้องนางทาสี ๑ ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิคือคนมีมิจฉาทิฏฐิอันดิ่ง ๑ ท่าน

จะไม่กลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรมห้า ๑ ไม่เป็นคนมีโรคเรื้อน ๑

ในกำเนิดดิรัจฉานจะไม่มีร่างกายเล็กกว่านกกระจาบ จะไม่ใหญ่โตกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ช้าง ๑ จะไม่เกิดขึ้นในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑ จะ

ไม่เกิดขึ้นในพวกกาลกัญชิกาสูร ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดใน

โลกันตนรก ๑ อนึ่ง จะไม่เป็นมาร ๑ ในชั้นกามาวจรทั้งหลาย ใน

ชั้นรูปาวจรทั้งหลาย จะไม่เกิดในอสัญญีภพ ๑ ไม่เกิดในชั้นสุทธาวาส ๑

ไม่เกิดในอรูปภพ ไม่ก้าวล้ำไปยังจักรวาลอื่น ๑.

พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยพุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ คือ อุสสาหะ

ความอุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ปัญญา ๑ อวัตถานะ ความตั้งใจมั่น ๑

หิตจริยา การประพฤติประโยชน์เกื้อกูล ๑ ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น

พึงทราบว่า

ความเพียร เรียกว่าอุสสาหะ ปัญญา เรียกว่าอุมมัคคะ

อธิษฐานความตั้งมั่น เรียกว่าอวัตถานะ การประพฤติประ-

โยชน์เกื้อกูลที่เรียกว่าหิตจริยา เรียกว่า เมตตาภาวนา.

อนึ่ง อัชฌาสัย ๖ ประการนี้ใด คืออัชฌาสัยในเนกขัมมะ ๑

อัชฌาสัยในปวิเวก ๑ อัชฌาสัยในอโลภะ ๑ อัชฌาสัยในอโทสะ ๑

อัชฌาสัยในอโมหะ ๑ และอัชฌาสัยในนิสสรณะ การสลัดออกจากภพ ๑

ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มพระโพธิญาณ. และเพราะประกอบด้วยอัชฌาสัยเหล่า

ใด ท่านจึงเรียกพระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่า ผู้มีเนกขัมมะเป็นอัธยาศัย

เห็นโทษในกามทั้งหลาย, ว่าผู้มีปวิเวกเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในการ

คลุกคลี, ว่าผู้มีอโลภะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในความโลภ, ว่าผู้มีอโทสะ

เป็นอัธยาศัย เห็นโทษในโทสะ, ว่าผู้มีอโมหะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษใน

โมหะ, ว่าผู้มีการสลัดออกจากภพเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในภพทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

พระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จอภินิหาร ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น

ด้วย.

ถามว่า ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไป

นานเพียงไร ? ตอบว่า ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมเป็นไป ๒ อสงไขยแสนกัป ไม่อาจต่ำกว่านั้น พึงทราบเหตุในความ

ปรารถนานั้น โดยนัยดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ก็ว่าโดยกาลแม้มี

ประมาณเท่านี้ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จำต้อง

ปรารถนาสมบัติ ๕ ประการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธ-

เจ้าเหล่านั้น

มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความ

ถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑

การกระทำอันยิ่งใหญ่ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ

ได้แก่ การได้เห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวก

ของพระพุทธเจ้า ท่านใดท่านหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอถามว่า ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย

เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร ?

ตอบว่า ความปรารถนาของพระอัครสาวกเป็นไป ๑ อสงไขย

แสนกัป ของพระอสีติมหาสาวกเป็นไปแสนกัปเท่านั้น. ความปรารถนา

ของพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธอุปัฏฐาก และพระ-

พุทธบุตร ก็แสนกัปเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจต่ำกว่านั้น

เหตุในความปรารถนานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

แต่พระสาวกเหล่านี้ ทุกองค์มีอภินิหารเฉพาะสองข้อเท่านั้น คือ

อธิการ การกระทำอันยิ่ง และ ฉันทตา ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำ.

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลซึ่งมีประ

เภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินิหารนี้ อย่างนี้

แล้ว เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์หรือสกุล

พราหมณ์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์ สกุล

พราหมณ์หรือสกุลคหบดี สกุลใดสกุลหนึ่ง.

ส่วนพระอัครสาวกย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ ในสกุลกษัตริย์ และ สกุล

พราหมณ์ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า.

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในสังวัฏฏกัปคือกัปเสื่อม ย่อม

เกิดขึ้นในวิวัฏฏกัปคือกัปเจริญ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน.

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายบังเกิดขึ้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และยัง

ให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เฉพาะตนเอง แต่ไม่

ยังให้ผู้อื่นรู้. พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่แทง

ตลอดธรรมรส. เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรม

ขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีการตรัสรู้ธรรม

เหมือนคนใบ้เห็นความฝัน และเหมือนพรานป่าลิ้มรสกับข้าวในเมือง

ฉะนั้น. ท่านบรรลุประเภทแห่งความแตกฉานในอิทธิฤทธิ์และสมาบัติ

ทั้งปวง เป็นผู้ต่ำกว่าพระพุทธเจ้า สูงกว่าพระสาวก โดยคุณวิเศษ.

ให้คนอื่นบวชไม่ได้ แต่ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตรได้ กระทำอุโบสถด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

อุเทศนี้ว่า พึงทำการขัดเกลาจิต ไม่พึงถึงอวสานคือจบ หรือกระทำ

อุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ

ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาฬกะโรงแก้ว ณ ควงต้นไม้สวรรค์ บนภูเขา

คันธมาทน์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปรารถนา และอภินิหารอัน

บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระ-

อานนท์ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกพระปัจเจก-

พุทธเจ้านั้น ๆ ผู้เป็นไปพร้อมด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินีหารนี้

จึงได้ตรัสขัคคิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง

ดังนี้ นี้เป็นเหตุเกิดแห่งขัคควิสาณสูตรด้วยอำนาจการถาม โดยไม่พิเศษ

ก่อน.

บัดนี้ จะได้กล่าวการเกิดขึ้นแห่งขัคควิสาณสูตร โดยพิเศษ. ใน

ข้อนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน :-

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ หยั่งลงสู่ภูมิปัจเจกโพธิสัตว์

บำเพ็ญบารมีอยู่สองอสงไขยแสนกัป บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้ากัสสปะ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรให้

บริบูรณ์ ได้กระทำสมณธรรมแล้ว. เขาว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ไม่บำเพ็ญวัตรให้

บริบูรณ์อย่างนี้แล้วบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ย่อมไม่มี. ก็วัตรอะไรที่

ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. อธิบายว่า การนำไปและนำกลับมา. เรา

ทั้งหลายจักกล่าวโดยประการที่วัตรจะแจ่มแจ้ง.

ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้นำไปแต่ไม่นำกลับมา บางรูปนำกลับ

มา แต่ไม่นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ไม่นำกลับมา บางรูปทั้งนำไปและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

นำกลับมา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำวัตร

ที่ลานพระเจดีย์ และลานโพธิ์ รดน้ำที่ต้นโพธิ์ ทำหม้อน้ำดื่มให้เต็มแล้ว

ตั้งไว้ในโรงน้ำดื่ม กระทำอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตร สมาทานขันธก-

วัตร ๘๒ และมหาวัตร ๑๔ ประพฤติอยู่. ภิกษุนั้นกระทำบริกรรม

ร่างกายแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ยับยั้งอยู่ในที่นั่งอันสงัดจนถึงเวลาภิกขาจาร

รู้เวลาแล้ว นุ่งสบง ผูกรัดประคด ห่มจีวรเฉวียงบ่า เอาสังฆาฏิพาดไหล่

คล้องบาตรที่บ่า ใส่ใจถึงกรรมฐาน เดินไปลานพระเจดีย์ ไหว้พระเจดีย์

และต้นโพธิ์ แล้วห่มจีวรในที่ใกล้บ้าน แล้วถือบาตรเข้าบ้านไปบิณฑบาต

ก็ภิกษุผู้เข้าไปแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มีลาภ มีบุญ อันพวกอุบาสกอุบาสิกา

สักการะเคารพ กลับมาที่ตระกูลของอุปัฏฐากหรือโรงเป็นที่กลับ ถูกพวก

อุบาสกและอุบาสิกาถามปัญหานั้น ๆ อยู่ ย่อมละทิ้งมนสิการนั้นแล้วออก

ไป เพราะตอบปัญหาของอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น และเพราะความฟุ้งซ่าน

อันเกิดจากการแสดงธรรม แม้มายังวิหาร ถูกพวกภิกษุถามปัญหา ก็จะ

ต้องตอบปัญหา กล่าวธรรมะ และถึงการขวนขวายนั้น ๆ จะชักช้าอยู่

กับภิกษุเหล่านั้นด้วยประการอย่างนี้ ตลอดทั้งเวลาหลังภัต ทั้งปฐมยาม

และมัชฌิมยาม ถูกความชั่วหยาบทางกายครอบงำ แม้ในตอนปัจฉิมยาม

ก็จะนอนเสีย, ไม่ใส่ใจถึงกรรมฐาน. ภิกษุนี้เรียกว่า นำไป แต่ไม่นำ

กลับมา.

ส่วนภิกษุใดเป็นผู้มีความป่วยไข้มากมาย ฉันภัตตาหารแล้ว ในเวลา

ใกล้รุ่งก็ยังย่อยไม่เรียบร้อย ในเวลาเช้ามืด ไม่อาจลุกขึ้นกระทำวัตรตาม

ที่กล่าวได้ หรือไม่อาจมนสิการกรรมฐานได้ โดยที่แท้ ต้องการยาคู

ของเคี้ยว เภสัชหรือภัต พอได้เวลาเท่านั้น ก็ถือบาตรและจีวรเข้าบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ได้ยาคูของเคี้ยว เภสัชหรือภัตในบ้านนั้นแล้ว นำบาตรออกมา ทำภัตกิจ

ให้เสร็จแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ กระทำไว้ในใจซึ่งพระกรรมฐาน

จะบรรลุคุณวิเศษหรือไม่ก็ตาม กลับมายังวิหารแล้วอยู่ด้วยมนสิการนั้นนั่น

แหละ ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับมาแต่ไม่ได้นำไป. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

ผู้เช่นนี้ ดื่มยาคูแล้วเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา

ล่วงพ้นคลองแห่งการนับ. ในโรงฉันในบ้านนั้น ๆ ในเกาะสิงหล อาสนะ

ที่ภิกษุทั้งหลายนั่งดื่มข้าวยาคูแล้วไม่บรรลุพระอรหัต ย่อมไม่มี.

ส่วนภิกษุใด เป็นผู้มักอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลาย

วัตรทั้งปวงเสีย มีจิตถูกผูกด้วยเครื่องผูกดุจตะปูตรึงใจ ๕ อย่างอยู่ ไม่

หมั่นประกอบมนสิการกรรมฐาน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ก็เนิ่นช้าด้วย

การกล่าวกับพวกคฤหัสถ์ เป็นคนเปล่า ๆ ออกมา ภิกษุนี้เรียกว่า ไม่นำ

ไปทั้งไม่นำกลับมา.

ส่วนภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้ามืด ทำวัตรทุกอย่างให้ครบบริบูรณ์โดย

นัยอันมีในก่อนนั่นแหละ ขัดสมาธิ มนสิการถึงกรรมฐานจนถึงเวลา

ภิกขาจาร. ธรรมดากรรมฐานมี ๒ อย่าง คือสัพพัตถกรรมฐาน คือ

กรรมฐานที่ใช้ทั่วทุกที่ และปาริหาริยกรรมฐาน กรรมฐานที่จะต้อง

บริหาร. ในกรรมฐาน ๒ อย่างนั้น เมตตา และมรณานุสสติ ชื่อว่า

สัพพัตถกรรมฐาน เพราะกรรมฐานดังกล่าวนั้น จำต้องการ จำต้อง

ปรารถนาในที่ทุกแห่ง เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า สัพพัตถกกรรมฐาน.

ธรรมดาเมตตาจำปรารถนาในที่ทั้งปวงมีอาวาสเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุผู้มี

ปกติอยู่ด้วยเมตตาในอาวาสทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น ย่อมอยู่เป็นผาสุก ไม่กระทบกระทั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

กัน. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย จะเป็นผู้อันเหล่าเทวดา

รักษาคุ้มครองอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในพระราชาและมหา

อำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น จะเป็นผู้อันพระราชาและมหาอำมาตย์

เหล่านั้นรักใคร่หวงแหนอยู่เป็นสุข. ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาในคาม

และนิคมเป็นต้น จะเป็นผู้อันคนทั้งหลายในที่เที่ยวภิกขาจารเป็นต้นในที่

ทุกแห่ง สักการะ เคารพ ย่อมอยู่เป็นสุข. ภิกษุละความชอบใจในชีวิต

เสียด้วยการเจริญมรณานุสสติ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่.

ส่วนกรรมฐานที่จะต้องบริหารทุกเมื่อ อันพระโยคีเรียนเอาแล้ว

ตามสมควรแก่จริตนั้น เป็นกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอสุภ ๑๐

กสิณ ๑๐ และอนุสสติ ๑๐ หรือเป็นเฉพาะจตุธาตุววัตถานการกำหนด

ธาตุ ๔ เท่านั้น กรรมฐานนั้นเรียกว่าปาริหาริยกรรมฐาน เพราะจำต้อง

บริหาร จำต้องรักษา และจำต้องเจริญอยู่ทุกเมื่อ ปาริหาริยกรรมฐาน

นั้นนั่นแล เรียกว่ามูลกรรมฐานก็ได้. อันกุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์บวชใน

พระศาสนาอยู่ร่วมกัน ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง

๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายมิได้บวชเพราะเป็นหนี้ ไม่ได้บวชเพราะมีภัย ไม่ได้บวชเพราะ

จะทำการเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้

เพราะฉะนั้น กิเลสที่เกิดในตอนเดิน ท่านทั้งหลายจงข่มเสียเฉพาะใน

ตอนเดิน กิเลสที่เกิดในตอนยืน จงข่มเสียเฉพาะในตอนยืน กิเลสที่เกิด

ในตอนนั่ง จงข่มเสียในตอนนั่ง กิเลสที่เกิดในตอนนอน จงข่มเสีย

เฉพาะในตอนนอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

กุลบุตรเหล่านั้นครั้นกระทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว เมื่อจะไปภิกขาจาร

ในระหว่างทางกึ่งอุสภะ หนึ่งอุสภะ กึ่งคาวุต และหนึ่งคาวุต มีหินอยู่ ก็

กระทำไว้ในใจถึงกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเดินไปอยู่. ถ้าในตอนเดินไป

กิเลสเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นเสียในตอนเดินนั่นแหละ

เมื่อไม่อาจอย่างนั้นจึงยืนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้

นั้นก็จะต้องหยุดยืนอยู่. ผู้นั้นจะโจทท้วงตนขึ้นว่า ภิกษุนี้ย่อมรู้ความ

ดำริที่เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ข้อนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ดังนี้แล้วเจริญวิปัสสนา

ย่อมก้าวลงสู่อริยภูมิในตอนยืนนั้นนั่นเอง เมื่อไม่อาจอย่างนั้น จึงนั่งอยู่

นัยนั้นเหมือนกันว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านผู้มาข้างหลังของผู้นั้นก็จะ

ต้องนั่ง ดังนี้. เมื่อไม่อาจก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นแล้วใส่ใจถึงกรรม-

ฐานเท่านั้นเดินไป (ถ้า) มีจิตเคลื่อนจากกรรมฐานอย่ายกเท้าไป ถ้าจะยก

เท้าไป ต้องกลับมายืน ณ ที่เดิมให้ได้. เหมือนพระมหาผุสสเทวเถระ

ผู้อยู่ในอาลินทกะ.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรเท่านั้นอยู่ถึง ๑๙ ปี

ฝ่ายคนทั้งหลาย ไถนา หว่านข้าว นวดข้าว และทำการงานอยู่ในระหว่าง

ทาง เห็นพระเถระเดินไปอย่างนั้น จึงเจรจากันว่า พระเถระเดินกลับ

มาบ่อย ๆ ท่านหลงทางหรือว่าลืมอะไร. พระเถระไม่สนใจข้อนั้น มีจิต

ประกอบด้วยกรรมฐานอย่างเดียว การทำสมณธรรมอยู่ ภายใน ๒๐ ปีก็

ได้บรรลุพระอรหัต. ในวันที่พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตนั่นแล เทวดา

ผู้สิงอยู่ท้ายที่จงกรม ได้ยืนเอานิ้วทั้งหลายทำแสงสว่างให้โพลงขึ้น ท้าว

มหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมต่างมายังที่

บำรุง และพระมหาติสสเถระผู้อยู่ในป่า ได้เห็นแสงสว่างนั้น ในวันที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

สองจึงถามท่านว่า ในตอนกลางคืน ได้มีแสงสว่างในสำนักของท่านผู้มี

อายุ แสงสว่างนั้น คือแสงอะไร ? พระเถระเมื่อจะทำความสับสนคือ

พรางเรื่อง จึงกล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง เป็นแสงของ

ประทีปก็มี เป็นแสงของแก้วมณีก็มี ท่านถูกแค่นไค้ว่า พระคุณเจ้า

ปกปิดหรือ จึงรับว่าครับ แล้วจึงได้บอก.

และเหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวิลลิมัณฑปะ. ได้ยินว่า

พระเถระแม้นั้น เมื่อจะบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร จึงคิดว่า เบื้องต้น เรา

จักบูชาพระมหาปธานความเพียรใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน แล้ว

จึงอธิษฐานการยืนและการจงกรมเท่านั้นถึง ๗ ปี ได้บำเพ็ญคตปัจจาคต-

วัตรอีก ๑๖ ปีจึงบรรลุพระอรหัต. พระเถระมีจิตประกอบตามกรรมฐาน

อยู่อย่างนี้ทีเดียว จึงยกเท้าไป เมื่อมีจิตพรากจากกรรมฐาน ยกเท้าจะ

หวนกลับมา ท่านไปจนใกล้บ้านแล้วยืนอยู่ในสถานที่อันน่าสงสัยว่า จะเป็น

แม่โคหรือบรรพชิตหนอ จึงห่มสังฆาฏิถือบาตรไปถึงประตูบ้าน แล้วเอา

น้ำจากคนโทน้ำที่หนีบรักแร้มาอม แล้วจึงเข้าบ้านด้วยคิดว่า ความ

สับสนแห่งกรรมฐานของเราอย่าได้มี แม้ด้วยเหตุสักว่าการกล่าวกะพวกคน

ผู้เข้าไปหาเพื่อถวายภิกษาหรือเพื่อจะไหว้ว่า จงมีอายุยืนเถิด. ก็ถ้าพวกเขา

ถามท่านถึงวันว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ ๗ ค่ำ หรือ ๘ ค่ำ ท่านจะกลืนน้ำแล้ว

จึงบอก ถ้าผู้ถามถึงวันไม่มี ในเวลาออกไป ท่านจะบ้วนทั้งที่ประตูบ้าน

แล้วจึงไป.

และเหมือนภิกษุ ๕๐ รูป จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถวิหาร ใน

เกาะสิงหล. ได้ยินว่า ในวันอุโบสถใกล้เข้าพรรษา ภิกษุเหล่านั้นได้

กระทำกติกวัตรกันว่า เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดกะกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

และกัน. และเมื่อจะเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต อมน้ำที่ประตูบ้านแล้วจึงเข้า

ไป. เมื่อเขาถามถึงวัน ก็กลืนน้ำแล้วจึงบอก เมื่อไม่มีผู้ถาม ก็บ้วนที่

ประตูบ้านแล้วกลับมายังวิหาร. คนทั้งหลายในที่นั้นเห็นที่ที่บ้วนน้ำก็รู้ได้

ว่า วันนี้ มารูปเดียว วันนี้มาสองรูป. และพากันคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุ

เหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราหรือว่าไม่พูดแม้กะกันและกัน. ถ้าไม่พูดแม้กะกัน

และกัน จักเกิดวิวาทกันแน่แท้ เอาเถอะ พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้น

ขอโทษกะกันและกัน. คนทั้งปวงได้พากันไปยังวิหาร. เมื่อภิกษุ ๕๐ รูป

ในวิหารนั้นเข้าพรรษาแล้ว จึงไม่ได้เห็นภิกษุ ๒ รูปในที่เดียวกัน. ลำดับ

นั้น บรรดาคนเหล่านั้น บุรุษผู้มีดวงตากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย โอกาสของตนผู้ทำการทะเลาะกัน ย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลาน

พระเจดีย์ ลานโพธิ์ เกลี้ยงเกลา ไม้กวาดก็เก็บไว้เรียบร้อย น้ำดื่มน่าใช้

ก็ตั้งไว้ดี แต่นั้นคนเหล่านั้นจึงพากันกลับ. ภิกษุแม้เหล่านั้นเจริญวิปัสสนา

ภายในพรรษาเท่านั้น ได้บรรลุพระอรหัต ในวันมหาปวารณา จึง

ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา.

ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เหมือนพระมหานาคเถระ

ผู้อยู่ในกาฬวัลลิมัณฑปะ และเหมือนภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในกลัมพติตถ-

วิหาร ด้วยประการอย่างนี้ ย่างเท้าไปใกล้บ้านจึงอมน้ำ กำหนดถนน

ในถนนใดไม่มีคนก่อการทะเลาะมีนักเลงสุราเป็นต้น หรือช้างดุม้าดุเป็น

ต้น จึงดำเนินไปตามถนนนั้น. และเมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปในถนนนั้น

ก็รีบร้อนไปโดยรวดเร็ว. ชื่อว่าธุดงค์ของภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตโดย

รวดเร็วเป็นวัตรย่อมไม่มี. อนึ่ง ไปถึงภูมิภาคอันไม่สม่ำเสมอ ก็เป็นผู้

นิ่งเดินไป เหมือนเกวียนเต็มน้ำ และเข้าไปตามลำดับบ้าน เพื่อที่จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

กำหนดผู้ใคร่จะให้หรือไม่ให้ จึงรอเวลาอันเหมาะสมแก่กิจนั้น รับภิกษา

ได้แล้วนั่งอยู่ในโอกาสอันสมควร เมื่อมนสิการกรรมฐาน จึงเข้าไปยัง

ความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร พิจารณาโดยเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา

ทายาแผล และเนื้อของบุตร บริโภคอาหารอันประกอบด้วยองค์ ๘ ว่า

มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ และบริโภคแล้วทำกิจด้วยน้ำ บรรเทา

ความลำบากเพราะภัตครู่หนึ่ง แล้วกระทำไว้ในใจถึงกรรมฐาน ตลอด

กาลภายหลังภัต ตลอดยามแรกและยามสุดท้าย เหมือนกาลก่อนภัต. ภิกษุ

นี้เรียกว่า นำไปและนำกลับมาด้วย. การนำไปและนำกลับมานี้ด้วย

ประการอย่างนี้ เรียกว่าคตปัจจาคตวัตร.

ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตรนี้อยู่ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุ

พระอรหัตในปฐมวัยทีเดียว ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัย ก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย

ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะบรรลุในเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่บรรลุใน

เวลาใกล้จะตาย ก็จะเป็นเทวบุตรแล้วบรรลุ ถ้าเป็นเทวบุตรไม่บรรลุ ก็จะ

ได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน. ถ้าไม่ได้เป็นพระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าปรินิพพาน ก็จะได้เป็นผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน ในความเป็นผู้พร้อม

หน้าต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยเถระ หรือจะเป็นผู้มีปัญญา

มากเหมือนพระสารีบุตรเถระ.

พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป

เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนี้อยู่สองหมื่นปี กระทำ

กาละแล้วบังเกิดขึ้นในกามาวจรเทวโลก. จุติจากนั้นแล้วได้ถือปฏิสนธิ

ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. สตรีทั้งหลายผู้ฉลาด

ย่อมรู้การตั้งครรภ์ได้ในวันนั้นเอง. ก็พระอัครมเหสีนั้นเป็นสตรีคนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

บรรดาสตรีเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสีแม้นี้ก็กราบทูลการตั้ง

ครรภ์นั้นแด่พระราชา. ข้อที่เมื่อสัตว์ผู้มีบุญเกิดขึ้นในครรภ์ มาตุคาม

ย่อมได้การบริหารครรภ์นั้น เป็นของธรรมดา. เพราฉะนั้น พระราชา

จึงได้ประทานการบริหารครรภ์แก่พระอัครมเหสีนั้น. จำเดิมแต่นั้น

พระนางไม่ได้กลืนกินอะไร ๆ ที่ร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ด

จัด และขมจัด. เพราะเมื่อมารดากลืนกินของที่ร้อนจัด สัตว์ที่เกิดใน

ครรภ์ย่อมเป็นเหมือนอยู่ในโลหกุมภี เมื่อกลืนกินของเย็นจัด ย่อมเป็น

เหมือนอยู่ในโลกันตนรก เมื่อบริโภคของเปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ขม

จัด อวัยวะของทารกย่อมมีเวทนากล้า เหมือนถูกผ่าด้วยมีดแล้วราดด้วย

ของเปรี้ยวเป็นต้น. ผู้บริหารครรภ์ทั้งหลายย่อมห้ามพระนางจากการเดิน

มาก ยืนมาก นั่งมาก และนอนมาก ด้วยหวังใจว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์

อย่าได้มีความลำบากเพราะการเคลื่อนไหว. พระนางได้การเดินเป็นต้น

บนภาคพื้นที่ลาดด้วยเครื่องอันนุ่มโดยพอประมาณ ย่อมได้เสวยข้าวน้ำที่

เป็นสัปปายะ อร่อย สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น ผู้บริหารครรภ์

กำหนดให้พระนางเดิน ให้ประทับนั่งและให้ออกไป.

พระนางอันเขาบริหารอยู่อย่างนี้ ในเวลาพระครรภ์แก่ เสด็จเข้า

เรือนประสูติ ในเวลาใกล้รุ่ง ประสูติพระโอรสผู้เช่นกับก้อนมโนศิลาที่

เคล้าด้วยน้ำมันที่หุงแล้ว ประกอบด้วยธัญญลักษณะ และบุญลักษณะ.

ในวันที่ ๕ จากวันนั้น พระญาติทั้งหลายจึงแสดงพระโอรสนั้น ผู้ตกแต่ง

ประดับประดาแล้วแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ให้บำรุงด้วย

แม่นม ๖๖ นาง. พระราชโอรสนั้นเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง ไม่นานนัก

ก็ทรงบรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสา. พระราชาทรงอภิเษกพระโอรสนั้นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

พระชนม์ ๑๖ พรรษาด้วยราชสมบัติ และให้บำรุงบำเรอด้วยนางฟ้อน

ต่าง ๆ พระราชโอรสผู้อภิเษกแล้ว ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต

โดยพระนาม ครองราชสมบัติในสองหมื่นนครในสกลชมพูทวีป. ได้ยินว่า

ในชมพูทวีป เมื่อก่อน ได้มีนครอยู่แปดหมื่นสี่พันนคร นครเหล่านั้น

เสื่อมไปเหลืออยู่หกหมื่นนคร แต่นั้น เสื่อมไปเหลืออยู่สี่หมื่นนคร ก็ใน

เวลาเสื่อมหมดมีเหลืออยู่สองหมื่นนคร. ก็พระเจ้าพรหมทัตนี้อุบัติขึ้นใน

เวลาเสื่อมหมด เพราะเหตุนั้น พระเจ้าพรหมทัตจึงได้มีสองหมื่นนคร

มีปราสาทสองหมื่นองค์ มีพลช้างสองหมื่นเชือก มีพลม้าสองหมื่นตัว

มีพลรถสองหมื่นคัน มีพลเดินเท้าสองหมื่นคน มีสตรีสองหมื่นนาง คือ

นางในและหญิงฟ้อน มีอำมาตย์สองหมื่นคน.

พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงครองมหาราชสมบัติอยู่นั่นแล ทรง

การทำกสิณบริกรรม ทรงทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว

ก็เพราะเหตุว่าพระราชาผู้อภิเษกแล้ว ต้องประทับนั่งในศาลเป็นประจำ

ฉะนั้น วันหนึ่งเวลาเช้าตรู่ เสวยพระกระยาหารเข้าแล้ว ประทับนั่งใน

ที่วินิจฉัย. พวกคนได้กระทำเสียงดังลั่นเอ็ดอึงในที่นั้น. พระองค์ทรง

ดำริว่า เสียงนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมาบัติ จึงเสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาทประทับ

นั่งด้วยหวังว่าจะเข้าสมาบัติ ก็ไม่อาจเข้าได้ สมาบัติเสื่อมไปเพราะความ

สับสนในตอนเป็นพระราชา. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า ราชสมบัติประเสริฐ

หรือสมณธรรมประเสริฐ. แต่นั้น ทรงทราบว่า ความสุขในราชสมบัติ

นิดหน่อย มีโทษมาก แต่ความสุขในสมณธรรมไพบูลย์ มีอานิสงส์

มิใช่น้อย และบุรุษชั้นสูงเสพแล้ว จึงทรงสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เธอจง

ปกครองราชสมบัตินี้โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ อย่าครอบครองโดยไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ธรรม ดังนี้แล้ว ทรงมอบสมบัติทั้งปวงให้แก่อำมาตย์นั้น แล้วเสด็จขึ้น

ปราสาท ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ใคร ๆ จะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ ยกเว้น

แต่ผู้จะถวายน้ำสรงพระพักตร์และไม้ชำระฟัน กับคนผู้จะนำพระกระ-

ยาหารไปถวายเป็นต้น.

ลำดับนั้น เมื่อเวลาล่วงไปประมาณกึ่งเดือน พระมเหสีตรัสถามว่า

พระราชาไม่ปรากฏในที่ไหนๆ ในการเสด็จไปอุทาน การทอดพระเนตร

กำลังพล และการฟ้อนเป็นต้น พระราชาเสด็จไปไหน. อำมาตย์ทั้งหลาย

จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระมเหสี. พระนางทรงให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์

(ผู้รับมอบราชสมบัติ) ว่า เมื่อท่านรับมอบราชสมบัติ แม้เราก็เป็นอัน

ท่านรับมอบด้วย ท่านจงมาสำเร็จการอยู่ร่วมกับเรา. อำมาตย์นั้นปิดหู.

ทั้งสองข้างเสีย แล้วห้ามว่า คำนี้ไม่น่าฟัง. พระนางจึงให้ส่งข่าวไปอีก

๒-๓ ครั้ง ให้คุกคามเขาผู้ไม่ปรารถนาว่า ถ้าท่านไม่ทำ เราจะปลดท่าน

แม้จากตำแหน่ง จะให้ปลงแม้ชีวิตท่าน. อำมาตย์นั้นกลัวคิดว่า ธรรมดา

มาตุคามเป็นผู้ตัดสินใจได้เด็ดเดี่ยว บางครั้งจะให้กระทำแม้อย่างที่ตรัสนั้น.

วันหนึ่งไปที่ลับสำเร็จการอยู่ร่วมกันบนพระที่สิริไสยากับพระนาง. พระ-

นางเป็นหญิงมีบุญ มีสัมผัสสบาย อำมาตย์นั้นกำหนัดแล้วด้วยความกำหนัด

ในสัมผัสของพระนาง ทั้งระแวงทั้งสงสัยนั่นแหละก็ได้ไปในที่นั้นเนือง ๆ

ต่อมาหมดความระแวงสงสัย เริ่มเข้าไปโดยลำดับดุจเจ้าของเรือนของตน.

ลำดับนั้น คนของพระราชาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา.

พระราชาไม่ทรงเชื่อ. จึงพากันกราบทูลแม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม.

ลำดับนั้น พระราชาทรงแอบไป ได้ทรงเห็นด้วยพระองค์เอง จึงรับสั่ง

ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหมดแล้วแจ้งให้ทราบ. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

อำมาตย์ผู้นี้ผิดต่อพระราชา ควรตัดมือ ควรตัดเท้า ดังนี้แล้ว ชี้กรรมกรณ์

การลงโทษทางกายทั้งหมดจนกระทั่งถึงการเสียบหลาว. พระราชาตรัสว่า

ในการฆ่า การจองจำ และการทุบตีผู้นี้ การเบียดเบียนก็จะพึงเกิดขึ้น

แก่เรา ในการปลงชีวิต ปาณาติบาตก็จะพึงเกิด ในการริบทรัพย์ อทินนา-

ทานก็จะพึงเกิดขึ้น ไม่ควรทำกรรมเห็นปานนี้ พวกท่านจงขับไล่อำมาตย์

ผู้นี้ออกไปเสียจากอาณาจักรของเรา. อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเขาให้เป็น

คนไม่มีเขตแดน. เขาจึงพาเอาทรัพย์และบุตรของตนที่พอจะนำเอาไปได้

ไปยังเขตแดงของพระราชาอื่น. พระราชาในเขตแดนนั้นได้ทรงทราบ

เข้าจึงตรัสถามว่า ท่านมาทำไม ? อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ข้าพระองค์ปรารถนาจะคอยรับใช้พระองค์. พระราชานั้นจึง

รับเอาไว้. พอล่วงไป ๒-๓ วัน อำมาตย์ได้ความคุ้นเคยแล้วได้กราบ

ทูลคำนี้กะพระราชานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เห็นน้ำผึ้งไม่มี

ตัวอ่อน คนผู้จะเคี้ยวกินน้ำผึ้งนั้นก็ไม่มี. พระราชาทรงดำริว่า อะไรนี่

คนที่จะประสงค์จะเย้ยจึงจะกล่าว จึงไม่ทรงเชื่อฟัง. อำมาตย์นั้นได้ช่อง

จึงได้กราบทูลพรรณนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไร ?

อำมาตย์นั้น กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติในเมืองพาราณสี

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านประสงค์จะนำเราไปฆ่าให้ตายหรือ.

อำมาตย์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น

ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อ ขอพระองค์จงส่งคนไป. พระราชาจึงทรงส่งคน

ทั้งหลายไป คนเหล่านั้นไปถึงแล้ว จึงขุดซุ้มประตูแล้วโผล่ขึ้นในตำหนัก

ที่บรรทมของพระราชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

พระราชาทรงเห็นแล้วตรัสถามว่า พวกท่านพากันมาเพื่ออะไร ?

คนเหล่านั้นกราบทูลว่า พวกข้าพระองค์เป็นโจร พระเจ้าข้า พระราชา

ได้ให้ทรัพย์แก่คนเหล่านั้นแล้วตรัสสอนว่า พวกท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้

อีกแล้วปล่อยตัวไป คนเหล่านั้นจึงมากราบทูลให้พระราชานั้นทรงทราบ.

พระราชานั้นทรงทดลองอย่างนั้นแหละครั้งที่สองอีก ทรงทราบว่า พระ-

ราชาทรงมีศีล จึงคุมกองทัพมีองค์ ๔ เช้าประชิดนครหนึ่งในระหว่าง

แดน แล้วให้ส่งข่าวแก่อำมาตย์ในนครนั้นว่า ท่านจะให้นครแก่เราหรือว่า

จะรบ. อำมาตย์นั้นจึงให้คนกราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระเจ้าพรหมทัตว่า

ขอพระองค์ผู้สมมติเทพจงสั่งมาว่า จะรบหรือจะให้นคร. พระราชาทรง

ส่งข่าวไปว่า ไม่จำต้องรบ ท่านจงให้นครแล้วจงมาในนครพาราณสีนี้.

อำมาตย์นั้นได้กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น ฝ่ายพระราชาที่เป็นข้าศึกยึดนคร

นั้นได้แล้ว ทรงส่งทูตทั้งหลายไปแม้ในนครที่เหลือเหมือนอย่างนั้นแหละ

อำมาตย์แม้เหล่านั้นก็กราบทูลแก่พระเจ้าพรหมทัตอย่างนั้นเหมือนกัน อัน

พระเจ้าพรหมทัตนั้นตรัสว่า ไม่จำต้องรบ พึงมา ณ ที่นี่ จึงพากันมายัง

เมืองพาราณสี.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์จักรบกับพระราชานั้น. พระราชาทรงห้ามว่า

ปาณาติบาตจักมีแก่เรา. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พวกข้าพระองค์จักจับเป็นพระราชานั้น แล้วนำมาในที่นี้ทีเดียว ทำให้

พระราชาทรงยินยอมด้วยอุบายต่าง ๆ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้แล้วเริ่มจะไป พระราชาตรัสว่า ถ้าท่านทั้งหลาย

จะไม่กระทำสัตว์ให้ตาย ด้วยการประหารและปล้น เราก็จะไป. อำมาตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จะไม่ทำ พวก

ข้าพระองค์จะแสดงภัยแล้วให้หนีไป ดังนี้แล้วจึงคุมจตุรงคินีเสนา ใส่

ดวงประทีปในหม้อแล้วไปในตอนกลางคืน. วันนั้น พระราชาที่เป็น

ข้าศึกยึดนครในที่ใกล้เมืองพาราณสีได้แล้ว ทรงดำริว่า บัดนี้จะมีอะไร

จึงให้ปลดเครื่องผูกสอดในตอนกลางคืน เป็นผู้ประมาท จึงก้าวลงสู่ความ

หลับพร้อมกับหมู่พล.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายได้พาพระเจ้าพรหมทัตไปถึงค่ายของ

พระราชาผู้เป็นข้าศึก จึงให้นำดวงประทีปออกจากหม้อทุกหม้อ ทำให้

โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน แล้วกระทำการโห่ร้อง อำมาตย์ของพระราชาที่

เป็นข้าศึก เห็นหมู่พลมากมายก็กลัว จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาของตนแล้ว

ได้กล่าวเสียงดังลั่นว่า ขอพระองค์จงลุกขึ้นเคี้ยวกินน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวอ่อนเถิด.

แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม ก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชาผู้เป็น

ข้าศึกทรงตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ถึงความกลัวหวาดสะดุ้ง. เสียงโห่ร้อง

ตั้งร้อยลั่นไปแล้ว. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราเชื่อคำของคนอื่น จึงตก

ไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู ทรงบ่นถึงเรื่องนั้น ๆ ไปตลอดทั้งคืน ในวัน

รุ่งขึ้น ทรงดำริว่า พระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม คงไม่ทำการขัดขวาง

เราจะไปให้พระองค์อดโทษ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา คุกเข่าลงแล้วกราบ

ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงอดโทษผิดของหม่อมฉัน. พระ-

ราชาทรงโอวาทพระราชาที่เป็นข้าศึกนั้น ตรัสว่า จงลุกขึ้นเถิด หม่อมฉัน

อดโทษแก่พระองค์. พระราชาข้าศึกนั้น เมื่อพระราชาสักว่า ตรัสอย่างนั้น

เท่านั้น ก็ได้ถึงความโล่งพระทัยอย่างยิ่ง ได้ราชสมบัติในชนบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ใกล้เคียงพระเจ้าพาราณสีนั่นเอง พระราชาทั้งสองนั้นได้เป็นพระสหายกัน

และกัน.

ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเสนาทั้งสองฝ่ายรื่นเริง

บันเทิงยืนร่วมกันได้ จึงทรงดำริว่า เพราะเราผู้เดียวเท่านั้นตามรักษาจิต

หยาดโลหิตสักเท่าแมลงวันตัวเล็ก ๆ ดื่มได้ จึงไม่เกิดขึ้นในหมู่มหาชนนี้

โอ สาธุ โอ ดีแล้ว ! สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุข อย่าได้มีเวรกัน

อย่าเบียดเบียนกัน แล้วทรงทำเมตตาฌานให้เกิดขึ้น ทรงทำเมตตาฌาน

นั้นนั่นแหละให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย กระทำให้แจ้งปัจเจก-

โพธิญาณ บรรลุความเป็นพระสยัมภูแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายหมอบกราบ

ลงแล้ว กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตผู้มีความสุขด้วยสุขในมรรคและผล ผู้

ประทับนั่งอยู่บนคอช้างว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า การที่จะเสด็จไป พึงทำ

สักการะแก่หมู่พลผู้ชนะ พึงให้เสบียงคือภัตแก่หมู่พลผู้แพ้. พระเจ้า

พรหมทัตนั้นตรัสว่า นี่แน่ะพนา เราไม่ได้เป็นพระราชา เราชื่อว่า

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระองค์ผู้ประเสริฐ

ตรัสอะไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้. พระ-

ราชาตรัสว่า พนายทั้งหลาย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร.

อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีผม

และหนวดยาวสองนิ้ว ประกอบด้วยบริขาร ๘. พระราชาจึงเอาพระหัตถ์

ขวาลูบพระเศียร. ทันใดนั้นเพศคฤหัสถ์อันตรธานหายไป เพศบรรพชิต

ปรากฏขึ้น. พระองค์มีพระเกสาและพระมัสสุประมาณสองนิ้ว ประกอบ

ด้วยบริขาร ๘ เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาหนึ่งร้อย. พระราชาทรง

เข้าจตุตถฌานเหาะจากคอช้างขึ้นสู่เวหาส ประทับนั่งบนดอกปทุม. อำมาตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ทั้งหลายถวายบังคมแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็น

กรรมฐาน พระองค์บรรลุได้อย่างไร ? พระราชานั้น เพราะเหตุที่

พระองค์มีกรรมฐานมีเมตตาฌานเป็นอารมณ์ และทรงเห็นแจ้งวิปัสสนา

นั้น จึงได้บรรลุ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสคาถา

นี้แหละอันเป็นอุทานคาถา และพยากรณ์คาถาว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย

ทณฺฑ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ แปลว่า ไม่เหลือ. บทว่า

ภูเตสุ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย. ในที่นี้มีความสังเขปเท่านี้ ส่วนความ

พิสดาร ข้าพเจ้าจักกล่าวในอรรถกถารัตนสูตร. บทว่า นิธาย แปลว่า

วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑ ได้แก่ อาชญาทางกาย วาจา และใจ. คำนี้

เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ กายทุจริตชื่อว่าทัณฑ์ เพราะย่อม

ลงโทษ อธิบายว่า เบียดเบียน คือทำให้ถึงความพินาศฉิบหาย. วจีทุจริต

และมโนทุจริต ก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ทัณฑ์ได้แก่ทัณฑ์คือการ

ประหาร อธิบายว่า วางทัณฑ์คือการประหารนั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า

อวิเหย แปลว่า ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺตรมฺปิ ได้แก่ คนใด

คนหนึ่ง คือแม้คนหนึ่ง. บทว่า เตส โยคว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น.

บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาบุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง

ในบรรดาบุตร ๔ จำพวกนี้ คือบุตรที่เกิดแต่ตน บุตรเกิดแต่ภริยา บุตร

ที่เขาให้ และอันเตวาสิก คือลูกศิษย์. บทว่า กุโต สหาย ความว่า

แต่สหายควรปรารถนา เพราะเหตุนั้น จะปรารถนาสหายนั้นแต่ไหนเล่า.

บทว่า เอโก ความว่า ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา, ชื่อว่า

ผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อน, ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว, ชื่อว่าผู้เดียว

เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว. จริงอยู่ ท่านเป็น

ไปอยู่ในท่ามกลางสมณะตั้งพันองค์ ก็ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตัดความเกี่ยว

ข้องกับคฤหัสถ์เสีย. ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชาอย่างนี้ . ยืนผู้เดียว

เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว ไปอยู่คือเป็นไปผู้เดียว เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนด้วยประการอย่างนี้.

บุคคลมีตัณหาเป็นเพื่อน จึงท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอัน

ยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีภาวะเป็นอย่างนี้ และมี

ภาวะเป็นอย่างอื่น. ภิกษุรู้โทษนี้แล้วปราศจากตัณหา ไม่ล้อ

มั่น มีสติ พึงงดเว้นตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์เสีย.

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหาได้ด้วย

ประการอย่างนี้. กิเลสทั้งปวงเป็นอันท่านละได้แล้ว มีมูลรากขาดแล้ว

ทำให้เป็นดุจวัตถุคือที่ตั้งของต้นตาล ทำให้ถึงความไม่มีต่อไป มีอัน

ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า

ปราศจากกิเลสโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้. ท่านไม่มีอาจารย์ เป็น

สยัมภู. ตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง เพราะ.

เหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณ

ผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ เหล่านี้ใด คืออิริยาบถจริยาใน

อิริยาบถ ๔ ของผู้ที่สมบูรณ์ด้วยปณิธิ. อายตนจริยาในอายตนะภายใน

และภายนอก ๖ ของผู้ที่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. สติจริยาใน

สติปัฏฐาน ๔ ของผู้ที่มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาในฌาน ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ของผู้ที่ประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต. ญาณจริยาในอริยสัจ ๔ ของผู้ที่สมบูรณ์

ด้วยพุทธิปัญญา. มรรคจริยาในอริยสัจ ๔ ของผู้ที่ปฏิบัติชอบ. ปัตติ-

จริยาในสามัญญผล ๔ ของผู้ที่บรรลุผล. และโลกัตถจริยาในสรรพสัตว์

ของพระพุทธเจ้า ๓ จำพวก. บรรดาจริยาเหล่านั้น จริยาของพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าโดยบางส่วน. เหมือนดังท่านกล่าว

ไว้ว่า บทว่า จริยา ได้แก่ จริยา ๘ คืออิริยบถจริยา. ความพิสดาร

แล้ว. พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า

จริยา ๘ แม้อื่นอีกท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย

ศรัทธา ผู้ประคองไว้ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่นย่อม

ประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้อยู่ย่อมพระพฤติ

ด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งอยู่ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ย่อมประพฤติอายตน-

จริยาโดยมนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้.

ย่อมประพฤติวิเสสจริยาโดยมนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ

พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยา ๘ แม้เหล่านั้น. ในคำว่า ขคฺควิสาณกปฺโป

นี้ เขาของแรดชื่อว่านอแรด. ความหมายของกัปปศัพท์ ข้าพเจ้าจัก

ประกาศในอรรถกถามงคลสูตร. แต่ในที่นี้กัปปศัพท์นี้ พึงทราบว่า

ให้พิสดาร เช่น ดังในประโยคว่า ผู้เจริญทั้งหลาย นัยว่า พวกเราปรึกษา

หารืออยู่กับพระสาวกผู้เช่นกับพระศาสดา. บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ท่าน

จึงอธิบายว่า เช่นกันนอแรด. พรรณนาความโดยบทในที่นี้ เพียง

เท่านี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าด้วยความเกี่ยวเนื่องกันโดยอธิบาย พึงทราบอย่างนี้.

อาชญามีประการดังกล่าวนี้ใด อันบุคคลให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลาย ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เราปล่อยวางอาชญานั้นให้สัตว์ทั้งมวล โดยไม่

ให้อาชญาเป็นไปในสัตว์เหล่านั้น และโดยนำเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูล

แก่สัตว์อื่น ด้วยเมตตาอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับอาชญานั้น และเพราะเป็น

ผู้ปล่อยวางอาชญาเสียแล้ว จึงไม่เบียดเบียนโดยประการที่พวกสัตว์ผู้ที่

ยังไม่วางอาชญาเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยท่อนไม้ ศัสตรา ฝ่ามือ

หรือก้อนดิน อาศัยเมตตากรรมฐานนี้แม้ข้อหนึ่ง บรรดาพรหมวิหาร ๔

เหล่านั้น เห็นแจ้งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในกรรมฐานนั้น

และสังขารอื่นจากนั้น ตามแนวของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

นั้นนั่นแล จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณนี้ อธิบายว่า ดังกล่าวมานี้

เพียงเท่านี้ก่อน.

ส่วนเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกันมีดังต่อไปนี้. เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้

แล้ว อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระองค์

จะเสด็จไปไหน. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์ทรงรำพึงว่า พระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อยู่ ณ ที่ไหน ทรงรู้แล้วจึงตรัสว่า เราจะ

อยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จึงไม่พึงประสงค์พวก

ข้าพระองค์. ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสคำทั้งปวงว่า

ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีอธิบายว่า บัดนี้ เราไม่ปรารถนา

แม้บุตรชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดในตนเป็นต้น จะปรารถนา

สหายผู้เช่นท่าน แต่ที่ไหนเล่า. เพราะฉะนั้น บรรดาพวกท่าน ผู้ใด

ปรารถนาจะไปกับเรา หรือจะเป็นเช่นกับเรา ผู้นั้นพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรด. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะละพวกข้าพระองค์ จะไม่ต้องการ

พวกข้าพระองค์. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงตรัสว่า บุคคลไม่ปรารถนา

บุตร จะปรารถนาสหายมาแต่ไหนเล่า ได้เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว

โดยเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว จึงร่าเริง เกิดปีติโสมนัส เปล่งอุทานนี้ว่า

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้. ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อ

มหาชนเห็นอยู่นั่นแล ได้เหาะขึ้นในอากาสไปยังภูเขาคันธมาทน์.

ชื่อว่าภูเขาคันธมาทน์นี้ได้มีอยู่เลยภูเขา ๗ ลูกไป คือจูฬกาฬบรรพต

มหากาฬบรรพต นาคปลิเวฐนบรรพต จันทคัพภบรรพต สุริยคัพภบรรพต

สุวัณณปัสสบรรพต และหินวันตบรรพต ในป่าหิมพานต์. ณ ภูเขาคันธ-

มาทน์ มีเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ เป็นสถานที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย และมีคูหา ๓ คูหา คือสุวรรณคูหา ๑ มณิคูหา ๑ รัชตคูหา ๑

บรรดาคูหาทั้ง ๓ นั้น ที่ประตูมณิคูหา มีต้นไม้ชื่อว่ามัญชูสกะ ต้นไม้

สวรรค์ สูงหนึ่งโยชน์ กว้างหนึ่งโยชน์. ต้นไม้นั้นย่อมเผล็ดดอกในน้ำ

หรือบนบกทั่วไป โดยพิเศษ ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมา. เบื้อง

บนต้นไม้นั้น มีโรงรัตนะทุกชนิด ในโรงรตนะนั้น ลมที่กวาดก็ปัดกวาด

หยากเยื่อทิ้ง ลมที่กระทำที่ให้เรียบ ก็กระทำทรายอันล้วนแล้วด้วยรัตนะ

ทั้งปวงให้เรียบ ลมที่รดน้ำก็นำน้ำจากสระอโนดาตมารดน้ำ ลมที่ทำให้มี

กลิ่นหอม ก็นำกลิ่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมาจากป่าหิมพานต์ ลมที่

โปรยก็โปรยดอกไม้ทั้งหลายให้ตกลงมา ลมที่ลาดก็ลาดที่ทั้งปวง และใน

โรงนั้นปูลาดอาสนะไว้เรียบร้อยเป็นประจำ สำหรับเป็นที่ที่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งปวงนั่งประชุม ในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และในวัน

อุโบสถ. นี้เป็นปกติในที่นั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ไปในที่นั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว. ลำดับนั้น ถ้าในเวลานั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้า

อื่น ๆ อยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะประชุมกันในทันทีนั้น

แล้วต่างก็นั่งบนอาสนะที่ลาดไว้แล้ว ก็แลครั้นนั่งแล้ว จะพากันเข้า

สมาบัติบางสมาบัติแล้วจึงออกจากสมาบัติ แต่นั้น เพื่อที่จะให้พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งปวงอนุโมทนา พระสังฆเถระจะถามกรรมฐานกะพระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้มาไม่นานอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอย่างไร. แม้ในกาลนั้น พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าผู้มายังไม่นานนั้น ก็จะกล่าวอุทานคาถาและพยากรณ์คาถา

ของตนนั้นนั่นแหละ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกท่านพระอานนท์ถาม

ก็ตรัสคาถานั้นนั่นแหละซ้ำอีก แม้พระอานนท์ก็กล่าวคาถานั้นนั่นแหละใน

คราวสังคายนา รวมความว่า คาถาหนึ่ง ๆ ย่อมเป็นอันกล่าว ๔ ครั้ง

คือในที่ที่ตรัสรู้พระปัจเจกสัมโพธิญาณ ๑ ในโรงบนต้นไม้สวรรค์ ๑

ในเวลาที่พระอานนท์ทูลถาม ๑ ในคราวสังคายนา ๑ ด้วยประการ

อย่างนี้แล.

จบพรรณนาคาถาที่ ๑

พรรณนาสังสัคคคาถา

คาถาว่า สสคฺคชาตสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ ก็กระทำสมณธรรมโดยนัยเรื่องก่อนนั้น

แล ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป สองหมื่นปี กระทำกสิณ-

บริกรรมยังปฐมฌานให้บังเกิดแล้ว กำหนดนามและรูป พิจารณาลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ยังไม่บรรลุอริมรรค จึงบังเกิดในพรหมโลก. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น

จุติจากพรหมโลกนั้นแล้ว อุบัติในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้า.

พาราณสี เจริญวัยขึ้นโดยนัยก่อนนั่นแล อาศัยกาลจำเดิมแต่ที่ได้รู้ความ

แปลกกันว่า ผู้นี้เป็นหญิง ผู้นี้เป็นชายแล้ว ไม่ชอบอยู่ในมือของพวก

ผู้หญิง ไม่ยินดีแม้มาตรว่าการอบ การอาบน้ำ และการประดับเป็นต้น

บุรุษเท่านั้นเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ในเวลาจะให้ดื่มนม แม่นม

ทั้งหลายสวมเสื้อปลอมเพศเป็นชายให้ดื่มนม. พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้นได้

สูดกลิ่นหรือได้ยินเสียงของหญิงทั้งหลายเข้าก็ร้องไห้ แม้รู้เดียงสาแล้วก็ไม่

ปรารถนาจะพบเห็นผู้หญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงให้สมญา-

นามพระโพธิสัตว์นั้นว่า อนิตถิคันธกุมาร.

เมื่ออนิตถิคันธกุมารนั้นมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา พระราชาทรงดำริ

ว่า จักให้ดำรงวงศ์สกุล จึงให้นำสาวน้อยผู้เหมาะสมแก่พระกุมารนั้นมา

แล้วทรงสั่งอำมาตย์ผู้หนึ่งว่า ท่านจงทำให้พระกุมารยินดี. อำมาตย์มีความ

ประสงค์จะให้พระกุมารนั้นยินดีด้วยอุบาย จึงให้เเวดวงปราการม่านในที่

ไม่ไกลพระกุมารนั้น แล้วให้พวกหญิงฟ้อนรำประกอบการแสดง. พระ-

กุมารได้ฟังเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรี จึงตรัสถามว่า นี้เสียงของ

ของใคร. อำมาตย์กราบทูลว่า นี้เป็นเสียงของพวกหญิงฟ้อนรำของ

พระองค์ ผู้มีบุญทั้งหลายจึงจะมีการฟ้อนรำเช่นนี้ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์

จงอภิรมย์เถิด พระองค์เป็นผู้มีบุญมาก. พระกุมารให้เฆี่ยนอำมาตย์

ด้วยไม้แล้วให้ลากตัวออกไป. อำมาตย์นั้นจึงกราบทูลแก่พระราชา พระ-

ราชาเสด็จไปพร้อมกับพระชนนีของพระกุมาร ให้พระกุมารขอโทษ

แล้วทรงสั่งอำมาตย์อีก. พระกุมารถูกพระบิดาเป็นต้นเหล่านั้นบีบคั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

หนักเข้า จึงให้ทองคำเนื้อดีเยี่ยมแล้วสั่งพวกช่างทองว่า พวกท่านจงทำ

รูปหญิงให้งดงาม. ช่างทองเหล่านั้นกระทำรูปหญิงประดับด้วยเครื่อง

อลังการทุกอย่าง ประดุจพระวิสสุกรรมเทวบุตรเนรมิตแล้วให้ทอดพระ-

เนตร. พระกุมารทรงเห็นแล้ว ทรงสั่นพระเศียรด้วยความประหลาด

พระทัย แล้วให้ส่งไปถวายพระชนกและพระชนนีด้วยคำทูลว่า ถ้าหม่อมฉัน

ได้สตรีผู้เช่นนี้ จักรับเอา. พระชนกและชนนีตรัสกันว่า บุตรของเรามีบุญ

มาก ทาริกาบางนางผู้ได้ทำบุญร่วมกับบุตรของเรานั้น จักเกิดขึ้นในโลก

แล้วอย่างแน่นอน จึงให้ยกรูปทองนั้นขึ้นรถได้สั่งไปแก่พวกอำมาตย์ว่า

ท่านทั้งหลายจงไปเที่ยวแสวงหาทาริกาผู้เช่นรูปทองนี้. อำมาตย์เหล่านั้น

พารูปทองนั้นเที่ยวไปในชนบทใหญ่ ๆ ๑๖ ชนบท ไปถึงบ้านนั้น ๆ

เห็นหมู่ชนในที่ใด ๆ มีท่าน้ำเป็นต้น จึงตั้งรูปทองเหมือนหนึ่งเทวดาไว้

ในที่นั้น ๆ ทำการบูชาด้วยดอกไม้ ผ้า และเครื่องประดับต่าง ๆ ดาด

เพดานแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งด้วยหวังใจว่า ถ้าใคร ๆ จักเคยเห็น

ทาริกาเห็นปานนี้ เขาจักสั่งสนทนาขึ้น. อำมาตย์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปทั่ว

ทุกชนบทโดยอุบายนั้น ยกเว้นแคว้นมัททราฐ ดูหมิ่นแคว้นมัททราฐนั้น

ว่าเป็นแคว้นเล็ก ครั้งแรกจึงไม่ไปในแคว้นนั้น พากันกลับเสีย

ลำดับนั้น อำมาตย์เหล่านั้นได้ความคิดดังนี้ว่า ก่อนอื่น แม้

มัททราฐ พวกเราก็จะไป เราทั้งหลายแม้เข้าไปยังเมืองพาราณสีแล้ว

พระราชาจะได้ไม่ส่งไปอีก ครั้นคิดกันดังนี้ แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นจึงได้

ไปยังสาคลนครในแคว้นมัททราฐ. ก็ในสาคลนครมีพระราชาพระนามว่า

มัททวะ. ธิดาของพระองค์ พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีพระรูปโฉม

งดงาม. พวกนางวัณณทาสีของพระราชธิดานั้น พากันไปท่าน้ำเพื่อต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

การจะอาบน้ำ เห็นรูปทองนั้นที่พวกอำมาตย์ตั้งไว้ที่ท่าน้ำนั้นแต่ไกล พา

กันกล่าวว่า พระราชบุตรีส่งพวกเรามาเพื่อต้องการน้ำ แล้วยังเสด็จมา

ด้วยพระองค์เอง จึงไปใกล้ ๆ แล้วกล่าวว่า นี้ไม่ใช่เจ้านายหญิง เจ้า

นายหญิงของพวกเรามีรูปโฉมงดงามกว่านี้. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้น

จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลขอทาริกา โดยนัยอันเหมาะสม แม้พระราชา

ก็ได้ประทานให้. อำมาตย์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่พระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้นางกุมาริกาแล้ว พระองค์จะเสด็จมาเอง

หรือจะให้ข้าพระองค์ทั้งหลายนำมา พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปว่า

เมื่อเรามาความลำบากในเพราะชนบทจักเกิดมี พวกท่านนั่นแหละจงนำมา.

ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายพานางทาริกาออกจากนคร แล้วส่งข่าวแก่

พระกุมารว่า ได้นางกุมาริกาผู้เช่นกับรูปทองแล้ว. พระกุมารพอได้ฟัง

เท่านั้นถูกราคะครอบงำก็เสื่อมจากปฐมฌาน. พระกุมารนั้นจึงส่งข่าวไป

โดยทูตสืบ ๆ กัน (คือทยอยส่งทูตไปเรื่อย ๆ) ว่าพวกท่านจงรีบนำมา

พวกท่านจงรีบนำมา โดยการพักแรมอยู่ในที่ทุกแห่งคืนเดียว อำมาตย์

เหล่านั้นก็ถึงเมืองพาราณสี จึงตั้งอยู่ภายนอกพระนคร ส่งข่าวถวายพระ-

ราชาว่า ควรจะเข้าไปวันนี้หรือไม่. พระราชาตรัสว่า กุมาริกานำมาจาก

สกุลอันประเสริฐ พวกเรากระทำมงคลกิริยาแล้วจักให้เข้าไปด้วยสักการะ

ยิ่งใหญ่ ท่านทั้งหลายจงนำนางไปยังอุทยานก่อน. อำมาตย์เหล่านั้นได้

กระทำตามรับสั่งอย่างนั้น. กุมาริกานั้นเป็นหญิงละเอียดอ่อนเกินไปบอบ-

ช้ำเพราะยานกระแทก เกิดโรคลมเพราะความลำบากในหนทางไกล เป็น

ประหนึ่งดอกไม้เหี่ยว จึงได้ตายไปในเวลาตอนกลางคืน. อำมาตย์ทั้งหลาย

พากันปริเทวนาการว่า พวกเราเป็นผู้พลาดจากสักการะเสียแล้ว. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ราชาและชาวพระนครต่างร่ำไรว่า สกุลวงศ์พินาศเสียแล้ว. พระนครทั้งสิ้น

ได้เป็นโกลาหลวุ่นวาย ในเพราะเพียงแต่ได้ฟังข่าวเท่านั้น ความโศก

อย่างมหันต์ก็เกิดขึ้นแก่พระกุมารแล้ว.

ลำดับนั้น พระกุมารเริ่มขุดรากของความโศก พระองค์ทรงดำริ

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าความโศกนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด แต่สำหรับผู้เกิดแล้ว

ย่อมมีความโศก เพราะฉะนั้น ความโศกมี เพราะอาศัยชาติ ก็ชาติมี

เพราะอาศัยอะไร ทรงรู้ว่า ชาติมีเพราะอาศัยภพ. เมื่อทรงมนสิการโดย

แยบคาย ด้วยอานุภาพของการอบรมภาวนาในกาลก่อนด้วยประการอย่าง

นี้ จึงได้เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม และเมื่อกลับพิจารณา

สังขารทั้งหลายเป็นอนุโลมอีก ประทับนั่งอยู่ในที่นั้นแหละ ได้กระทำให้

แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. อำมาตย์ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้น มีความ

สุขด้วยสุขในมรรคและผล มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบประทับนั่งอยู่ จึง

กระทำการหมอบกราบแล้วทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ทรง

เศร้าโศกเลย ชมพูทวีปใหญ่โตข้าพระองค์ทั้งหลายจักนำนางกัญญาอื่นซึ่ง

งามกว่านั้นมาถวาย. พระกุมารนั้นตรัสว่า เรามิได้เศร้าโศก เราหมดโศก

เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไปเรื่องทั้งปวงเป็นเช่นกับ

คาถาแรกที่กล่าวมาแล้วนั่นแล ยกเว้นการพรรณนาคาถา.

ก็การพรรณนาคาถาพึงทราบอย่างนี้.

บทว่า สสคฺคชาตสฺส แปลว่า ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง. ในบทว่า

เกิดความเกี่ยวข้อง นั้น ความเกี่ยวข้องมี ๕ อย่าง ด้วยอำนาจการเกี่ยว-

ข้องด้วยการเห็น เกี่ยวข้องด้วยการฟัง เกี่ยวข้องด้วยกาย เกี่ยวข้องด้วย

การเจรจา และเกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในการเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

นั้น ราคะเกิดทางจักขุวิญญาณวิถี เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสน-

สังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเห็น. ในข้อนั้น มีธิดาของกุฎุมพีชาวกาฬ-

ทีฆวาปี ในเกาะสิงหล เห็นภิกษุหนุ่มผู้กล่าวทีฆนิกายผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร

ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้นด้วยอุบาย

อะไร ๆ จึงตายไป และภิกษุหนุ่มรูปนั้นแหละ เห็นท่อนผ้านุ่งห่มของนาง

คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งห่มผ้าเห็นปานนี้ มีหทัยแตกตายเป็น

ตัวอย่าง.

ราคะเกิดทางโสตวิญญาณวิถี เพราะได้ฟังรูปสมบัติเป็นต้นที่คน

อื่นกล่าว หรือได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงเจรจา และเสียงขับร้องด้วยตนเอง

ชื่อว่า สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการฟัง. แม้ในข้อนั้น ก็มีพระภิกษุหนุ่ม

ชื่อติสสะผู้อยู่ในปัญจัคคฬเลนะ ได้ยินเสียงของธิดาช่างทองผู้อยู่ในคิริคาม

ไปสระปทุมพร้อมกับนางกุมาริกา ๕๐๐ นาง อาบน้ำ เก็บดอกไม้แล้ว

ขับร้องด้วยเสียงสูง (ท่าน) กำลังไปทางอากาศ เสื่อมจากคุณวิเศษเพราะ

กามราคะ จึงถึงความพินาศ เป็นตัวอย่าง.

ราคะที่เกิดขึ้นเพราะการลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่ากาย-

สังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย. ก็ภิกษุหนุ่มผู้กล่าวธรรมะและราชธิดา

เป็นตัวอย่างในข้ออื่น. ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มในมหาวิหารกล่าวธรรมะ มหาชน

พากันมาในวิหารนั้น แม้พระราชากับพระอัครมเหสีและราชธิดาก็ได้เสด็จ

มา. แต่นั้น เพราะอาศัยรูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น. ราคะกล้าจึงเกิด

ขึ้นแก่ราชธิดา ทั้งเกิดแก่ภิกษุหนุ่มนั้นด้วย. พระราชาทอดพระเนตรเห็น

ดังนั้น ทรงกำหนดรู้ได้ จึงให้วงปราการคือม่าน. คนทั้งสองนั้นจับต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

สวมกอดกันและกัน. คนทั้งหลายจึงเอาปราการคือม่านออกแล้วมองดูอีก

ก็ได้เห็นคนทั้งสองตายเสียแล้ว.

ก็ราคะเกิดขึ้น เพราะอำนาจการเรียกหาและการเจรจากันและกัน

ชื่อว่าสมุลลปนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเจรจากัน. ราคะที่เกิดขึ้น

เพราะกระทำการบริโภคร่วมกับนางภิกษุณีทั้งหลาย ชื่อว่าสัมโภคสังสัคคะ

เกี่ยวข้องด้วยการกินร่วมกัน. ในสังสัคคะการเกี่ยวข้องกันทั้งสองนี้ มีภิกษุ

และภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิกเป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในคราวฉลอง

มหาวิหารชื่อว่ามริจวัฏฏิ พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยทรงตระเตรียมมหาทาน

แล้วอังคาสพระสงฆ์สองฝ่าย. เมื่อเขาถวายยาคูร้อนในมหาทานนั้น สาม-

เณรีผู้ใหม่ในสงฆ์ ได้ถวายกำไลงาแก่สามเณรผู้ใหม่ในสงฆ์ซึ่งไม่มีเชิงรอง

แล้วกระทำการเจรจาปราศรัยกัน. คนทั้งสองนั้นได้อุปสมบทแล้ว มีพรรษา

๖๐ ไปยังฝั่งอื่น กลับได้สัญญาเก่าก่อน เพราะการเจรจาปราศรัยกันและกัน

ทันใดนั้นจึงเกิดความสิเนหา ได้ล่วงละเมิดสิกขาบท เป็นปาราชิก.

ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดการเยวข้อง ด้วยการเกี่ยวข้องอย่างใด

อย่างหนึ่งในบรรดาการเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. ราคะกล้า

อันมีราคะเดิมเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น. แต่นั้น ความทุกข์นี้อันเป็นไปตาม

ความเสน่หาย่อมมีมา คือความทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ มีโสกะ และปริเทวะ

เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในสัมปรายภพ ซึ่งติดตามความ

เสน่หานั้นนั่นแหละ ย่อมมีมา คือย่อมมีทั่ว ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การปล่อยจิตในอารมณ์ ชื่อว่าสังสัคคะ.

แต่นั้นเป็นเสน่หา และทุกข์อันเกิดจากความเสน่หานี้ ฉะนี้แล. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้านั้นกล่าวถึงคาถานี้ ซึ่งมีประเภทแห่งเนื้อความอย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

จึงกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้นั้น ขุดรากเหง้าของทุกข์ซึ่งมีโศกทุกข์

แล้วเป็นต้น อันไปตามความเสน่หานั้นนั่นแหละ ได้บรรลุปัจเจกโพธิ-

ญาณแล้วแล.

เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะควรกระทำอย่างไร. ลำดับ

นั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายหรือคนใดคนหนึ่ง มีความประสงค์

จะพ้นจากทุกข์นี้ คนแม้ทั้งหมดนั้น เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. ก็ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านหมาย

เอาคำที่กล่าวว่า ทุกข์นี้อันไปตามความเสน่หาย่อมมีมาก ดังนี้นั้นนั่น-

แหละ จึงกล่าวคำนี้ว่า เห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง

เชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกิดความเกี่ยวข้องด้วยความ

เกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้เป็นไปตามความเสน่หา. ย่อมมีมาก

เราเห็นโทษอันเกิดจากความเสน่หา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงได้บรรลุ

ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า ท่านกล่าวบาทที่ ๔ ด้วยอำนาจความเสน่หา

โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น. เบื้องหน้าแต่นั้นไป บททั้งปวงเป็นเช่น

กับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก ฉะนี้แล.

จบพรรณนาสังสัคคคาถา

พรรณนามิตตสุหัชชคาถา

คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ? มีเรื่อง

เกิดขึ้นว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์นี้อุบัติขึ้นแล้วโดยนัยดังกล่าวในคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

แรกนั้นแล ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี ทำปฐมฌานให้

บังเกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า สมณธรรมประเสริฐ หรือราชสมบัติ

ประเสริฐ จึงมอบราชสมบัติแก่อำมาตย์ทั้งหลายแล้วได้กระทำสมณธรรม.

อำมาตย์ทั้งหลายแม้อันพระปัจเจกโพธิสัตว์ตรัสว่า พวกท่านจงกระทำโดย

ธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนกระทำโดยไม่เป็นธรรม. อำมาตย์

เหล่านั้นรับสินบนแล้ว ทำเจ้าของทรัพย์ให้แพ้ คราวหนึ่งทำราชวัลลภ

คนหนึ่งให้แพ้. ราชวัลลภนั้นจึงเข้าไปพร้อมกับพวกปรุงพระกระยาหาร

ของพระราชา แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ. ในวันที่สอง

พระราชาจึงได้เสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง. ลำดับนั้น

พวกมหาชนส่งเสียงอื้ออึงขึ้นว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกอำมาตย์กระทำ

เจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ พระเจ้าข้า แล้วได้กระทำเหมือนจะรบเป็นการ

ใหญ่. ลำดับนั้น พระราชาจึงเสด็จลุกขึ้นจากที่วินิจฉัยแล้วเสด็จขึ้นยัง

ปราสาท ประทับนั่งเข้าสมาบัติ มีจิตฟุ้งซ่านเพราะเสียงนั้น ไม่อาจเข้า

สมาบัติได้. พระราชานั้นทรงดำริว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ

สมณธรรมประเสริฐ จึงทรงสละราชสมบัติ ทำสมาบัติให้บังเกิดขึ้นอีก

แล้วเจริญวิปัสสนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล กระทำให้แจ้งพระ-

ปัจเจกโพธิญาณแล้ว และถูกพระสังฆเถระถามกรรมฐานแล้วจึงได้กล่าว

คาถานี้.

บรรดามิตรและสหายนั้น ชื่อว่า มิตร เพราะอำนาจของไมตรีจิต.

ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี. คนบางพวกเป็นเพียงมิตร เพราะ

เป็นผู้หวังเกื้อกูลอย่างเดียว ไม่เป็นสหาย. บางพวกเป็นเพียงสหาย โดย

ทำความสุขใจให้เกิดในการไป การมา การยืน การนั่ง และการโอภา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

ปราศรัย แต่ไม่ได้เป็นมิตร. บางพวกเป็นทั้งสหายและเป็นทั้งมิตร ด้วย

อำนาจการกระทำทั้งสองอย่างนั้น.

มิตรนั้นมี ๒ พวก คือ อคาริยมิตร และ อนคาริยมิตร.

บรรดามิตร ๒ พวกนั้น อคาริยมิตรมี ๓ คือ มิตรมีอุปการะ ๑

มิตรร่วมสุขและร่วมทุกข์ ๑ มิตรผู้มีความเอ็นดู ๑. อนคาริยมิตร โดย

พิเศษเป็นแต่ผู้บอกประโยชน์ให้เท่านั้น. มิตรเหล่านั้นเป็นผู้ประกอบด้วย

องค์ ๔ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนคฤหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี มีอุปการะโดย

สถาน ๔ คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ ป้องกันทรัพย์

สมาบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อเพื่อนมีภัย เป็นที่พึ่ง

พำนักได้ ๑ เมื่อกิจจำต้องทำเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเพิ่มโภคทรัพย์

ให้สองเท่าของจำนวนนั้น ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี เป็นผู้ร่วมสุข

และร่วมทุกข์โดยสถาน ๔ คือบอกความลับของตนแก่เพื่อน

ปกปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ แม้

ชีวิตก็ย่อมสละให้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า :-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้มีความรักใคร่

โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีเพราะความเสื่อมเสียของเพื่อน ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ยินดีเพราะความเจริญของเพื่อน ๑ ห้ามคนผู้กล่าวโทษของ

เพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน ๑

อนึ่ง เหมือนอย่างทีตรัสไว้ว่า:-

ดูก่อนคหบดีบุตร พึงทราบมิตรผู้มีหทัยดี ผู้แนะประโยชน์

ให้โดยสถาน ๔ คือห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ

ดีงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์

ให้ ๑.

บรรดามิตร ๒ พวกนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาอคาริยมิตร แต่โดย

ความ ย่อมรวมเอามิตรแม้ทั้งหมด. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน

ได้แก่ เอ็นดูมิตรสหายเหล่านั้น คือต้องการนำสุขเข้าไปให้มิตรเหล่านั้น

และต้องการบำบัดทุกข์ออกไป.

บทว่า หาเปติ อตฺคถ ความว่า ย่อมทำประโยชน์ ๓ คือ

ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์

อนึ่ง ทำประโยชน์ ๓ คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์

ทั้งของตนและของคนอื่น ให้เสื่อม คือให้พินาศไปโดยส่วนทั้งสอง

คือ โดยทำสิ่งที่ได้แล้วให้พินาศไป ๑ โดยทำสิ่งที่ยังไม่ได้มิให้เกิดขึ้น ๑.

ผู้มีจิตพัวพัน คือแม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่ต่ำอย่างนี้ว่า เว้นผู้นี้เสียเรา

เป็นอยู่ไม่ได้ ผู้นี้เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า

เป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. แม้จะตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้

ปราศจากเราเสียเป็นอยู่ไม่ได้ เราเป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของคน

เหล่านั้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตพัวพันแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์

เอาผู้มีจิตพัวพันอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

บทว่า เอตฺ ภย ได้แก่ ภัยคือการทำประโยชน์ให้เสื่อมไปนี้ คำนี้

พระราชาตรัสหมายเอาความเสื่อมสมาบัติของพระองค์.

บทว่า สนฺถเว ความว่า สันถวะมี ๓ อย่าง คือตัณหาสันถวะ

ทิฏฐิสันถวะ และมิตตสันถวะ ในสันถวะ ๓ อย่างนั้น ตัณหาทั้ง ๑๐๘

ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ชนิด ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ

การอนุเคราะห์มิตรด้วยความเป็นผู้มีจิตผูกพัน ชื่อว่า มิตตสันถวะ. บรรดา

สันถวะ ๓ เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอามิตตสันถวะนั้น. จริงอยู่ สมาบัติ

ของพระราชานั้นเสื่อม เพราะมิตตสันถวะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม จึงได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเช่นกับที่

กล่าวแล้วแล.

จบพรรณนามิตตสุหัชชคาถา

พรรณนาวังสกฬีรคาถา

คาถาว่า วโส วิสาโล ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๓ องค์ บวชใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรสิ้นสองหมื่น

ปี แล้วเกิดขึ้นในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้น บรรดาปัจเจกโพธิสัตว์

เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ บังเกิดในราชสกุลของพระเจ้า

พาราณสี พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์นี้ บังเกิดในราชสกุลชายแดน.

พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสองนั้น เรียนกรรมฐานแล้ว สละราชสมบัติออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

บวช ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าโดยลำดับ อยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ วันหนึ่ง

ออกจากสมาบัติแล้วรำพึงว่า เราทั้งหลายทำกรรมอะไรไว้ จึงได้บรรลุ

โลกุตรสุขนี้โดยลำดับ พิจารณาอยู่ก็ได้เห็นจริยาของตน ๆ ในกาลแห่ง

พระกัสสปพุทธเจ้า. แต่นั้น จึงรำพึงว่า องค์ที่ ๓ อยู่ที่ไหน ก็ได้เห็น

ครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี ระลึกถึงคุณทั้งหลายของพระ-

ปัจเจกโพธิสัตว์องค์นั้น คิดว่า พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้ประกอบ

ด้วยคุณมีความมักน้อยเป็นต้นตามปกติทีเดียว เป็นผู้โอวาทกล่าวสอน

เฉพาะพวกเรา อดทนต่อถ้อยคำ มีปกติติเตียนบาป เอาเถอะ เราจะ

แสดงอารมณ์นั้นแล้วจึงจะบอก จึงหาโอกาสอยู่ วันหนึ่ง เห็นพระราชา

นั้นทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสด็จไปยังอุทยาน จึงมาทาง

อากาศแล้วได้ยืนอยู่ที่ควงพุ่มไม้ไผ่ใกล้ประตูอุทยาน. มหาชนไม่อิ่ม แหงน

ดูพระราชา โดยการมองดูพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า

มีไหมหนอ ใคร ๆ ไม่กระทำความขวนขวายในการดูเรา จึงตรวจดูอยู่

ก็ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง ก็ความเสน่หาในพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งสองนั้น เกิดขึ้นแก่พระองค์ พร้อมกับการเห็นทีเดียว. พระองค์จึง

เสด็จลงจากคอช้าง เสด็จเข้าไปหาด้วยมารยาทอันเรียบร้อย แล้วตรัส

ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายชื่ออะไร ? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง

ทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพทั้งสองชื่ออสัชชมานะ. พระราชาตรัสถามว่า

ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า อสัชชมานะ นี้ มีความหมายอย่างไร ? พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทูลว่า มีความหมายว่า ไม่ข้อง ถวายพระพร.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงชี้ที่กอไม้ไผ่แล้วทูลว่า มหาบพิตร

กอไม้ไผ่นี้เอารากลำต้น กิ่งใหญ่ และกิ่งน้อยเกี่ยวก่ายกันอยู่โดยประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

ทั้งปวง บุรุษผู้มีดาบในมือเมื่อตัดรากแล้วดึงออกอยู่ ก็ไม่อาจถอนออก

มาได้ แม้ฉันใด พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกชัฏภายในและภายนอก

ทำให้พันกันนุง พัวพันติดข้องอยู่ในอารมณ์นั้น ก็หรือว่า หน่อไม้ไผ่นี้

แม้จะอยู่ท่ามกลางกอไผ่นั้น ตั้งอยู่อันอะไร ๆ ไม่รัดติด เพราะยังไม่เกิดกิ่ง

ก็แต่ว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะตัดยอดหรือโคนต้นแล้วดึงออกมา แม้ฉันใด

อาตมภาพทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ข้องอยู่ในอะไร ๆ ไปได้ทั่วทุก

ทิศ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ทันใดนั้นจึงเข้าจตุตถฌาน เมื่อพระราชา

ทอดพระเนตรดูอยู่นั่นแล ได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่า นันทมูลกะ ทางอากาศ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จะเป็นผู้ไม่

ข้องอย่างนี้ ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้

กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ท่านถูกถามกรรมฐานโดยนัยอัน

มีในก่อนนั่นแหละ จึงได้กล่าวคาถานี้.

ไม้ไผ่ ชื่อว่า วังสะ ในคาถานั้น. บทว่า วิสาโล ได้แก่ แผ่

ออกไป. ว อักษร มีอรรถว่าห้ามเนื้อความอื่น อีกอย่างหนึ่ง อักษร

นี้ คือ เอว อักษร. ในที่นี้ เอ อักษรหายไป ด้วยอำนาจสนธิการต่อ

เอ อักษรนั้น เชื่อมเข้ากับบทเบื้องปลาย. เราจักกล่าวข้อนั้นภายหลัง.

บทว่า ยถา ใช้ในการเปรียบ. บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติด นุงนัง

เกี่ยวพัน. บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ได้แก่ ในบุตร ธิดา และภรรยา.

บทว่า ยา เปกฺขา ได้แก่ ความอยากใด คือ ความเสน่หาอันใด. บทว่า

วสกฺกฬีโรว อสชฺชมาโน ความว่า ไม่ติดอยู่ ดังหน่อไม้ไผ่. ท่าน

อธิบายไว้อย่างไร ? (ท่านอธิบายไว้ว่า) ไม้ไผ่แผ่กว้างย่อมเป็นของเกี่ยวพัน

กันแท้ ฉันใด ความห่วงใยในบุตรธิดาและภรรยาแม้นั้น ก็ฉันนั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ติดข้องวัตถุเหล่านั้น เพราะเป็นสิ่งรึงรัดไว้. เรานั้นมีความห่วงใย ด้วย

ความห่วงใยนั้น จึงติดข้องอยู่ เหมือนไม้ไผ่ซึ่งแผ่กว้างไปฉะนั้น เพราะ

เหตุนั้น เราเห็นโทษในความห่วงใยอย่างนี้ จึงตัดความห่วงใยนั้นด้วย

มรรคญาณ ไม่ข้องอยู่ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

ในอิฐผลมีลาภเป็นต้น หรือในภพมีกามภพเป็นต้น เหมือนหน่อไม้ไผ่นี้

จึงได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

จบพรรณนาวังสกฬีรคาถา

พรรณนามิโคอรัญญคาถา

คาถาว่า มิโค อรญฺมฺหิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจรในศาสนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า กัสสป กระทำกาละแล้ว เกิดขึ้นในสกุลเศรษฐีในเมือง

พาราณสี ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาได้เป็นผู้ถึงความงาม

แต่นั้นได้เป็นผู้ผิดภรรยาของคนอื่น กระทำกาละแล้วบังเกิดในนรก ไหม้

อยู่ในนรกนั้น ด้วยวิบากของกรรมที่เหลือ จึงถือปฏิสนธิเป็นหญิงในท้อง

ของภรรยาเศรษฐี. สัตว์ทั้งหลายที่มาจากนรก ย่อมมีความร้อนอยู่ด้วย.

ด้วยเหตุนั้น ภรรยาของเศรษฐี มีครรภ์ร้อน ทรงครรภ์นั้นโดยยาก

ลำบาก คลอดทาริกาตามเวลา. ทาริกานั้นจำเดิมแต่วันที่เกิดมาแล้ว เป็น

ที่เกลียดชังของบิดามารดา และของพวกพ้องกับปริชนที่เหลือ และพอ

เจริญวัยแล้ว บิดามารดายกให้ในตระกูลใด ได้เป็นที่เกลียดชังของสามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

พ่อสามี และแม่สามีในตระกูลแม้นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจเลย.

ครั้งเมื่อเขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ บุตรของเศรษฐีไม่ปรารถนาจะเล่น

กับทาริกานั้น จึงนำหญิงแพศยามาเล่นด้วย. นางทาริกานั้นได้ฟังข่าวนั้น

จากสำนักของพวกทาสี จึงเข้าไปหาบุตรของเศรษฐี และแนะนำด้วย

ประการต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาหญิง ถ้าแม้เป็น

พระกนิษฐาของพระราชา ๑๐ พระองค์ หรือเป็นพระธิดาของพระเจ้า

จักรพรรดิก็ตาม แม้ถึงอย่างนั้น จะต้องทำการรับใช้สามี เมื่อสามีไม่เรียก

หา ก็ย่อมจะได้เสวยความทุกข์ เหมือนถูกเสียบไว้บนหลาว ถ้าดิฉันควร

แก่การอนุเคราะห์ ก็ควรจะอนุเคราะห์ ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็ควร

ปล่อยไป. ดิฉันจักได้ไปยังสกุลแห่งญาติของตน. บุตรของเศรษฐีกล่าวว่า

ช่างเถอะ นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจจงตระเตรียมการเล่นเถิด พวกเรา

จักเล่นงานนักขัตฤกษ์. ธิดาของเศรษฐีเกิดความอุตสาหะด้วยเหตุสักว่า

การเจรจามีประมาณเท่านั้น คิดว่า จักเล่นงานนักขัตฤกษ์พรุ่งนี้ จึง

จัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคมากมาย. ในวันที่สอง บุตรของเศรษฐี

ไม่ได้บอกเลย ได้ไปยังสถานที่เล่น. นางนั่งมองดูหนทางด้วยหวังใจว่า

ประเดี๋ยวเขาจักส่งคนมา เห็นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว จึงส่งคนทั้งหลายไป.

คนเหล่านั้นกลับมาแล้วบอกว่า บุตรของเศรษฐีไปแล้ว. ธิดาของเศรษฐี

นั้นจึงถือเอาสิ่งของทั้งหมดนั้น ซึ่งจัดเตรียมไว้หมดแล้วยกขึ้นบรรทุกยาน

เริ่มไปยังอุทยาน.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะ ในวันที่ ๗ ออก

จากนิโรธสมาบัติ เคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา ล้างหน้าที่สระอโนดาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

แล้วรำพึงว่า วันนี้ เราจักเที่ยวภิกขาจารที่ไหน ได้เห็นธิดาของเศรษฐี

นั้นรู้ว่า กรรมนั้นของธิดาเศรษฐีนี้จักถึงความสิ้นไป เพราะได้ทำสักการะ

ด้วยศรัทธาในเรา จึงยืนที่พื้นมโนศิลาประมาณ ๖๐ โยชน์ในที่ใกล้เงื้อม

แล้วถือบาตรจีวรเข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท แล้วมาทางอากาศลงที่หน

ทาง นางเดินสวนทางมา ได้บ่ายหน้าไปยังนครพาราณสี. พวกทาสีเห็น

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้า จึงบอกแก่ธิดาเศรษฐี นางจึงลงจากยาน

ไหว้โดยเคารพ บรรจุบาตรให้เต็มด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภค อัน

สมบูรณ์ด้วยรสต่าง ๆ แล้วเอาดอกปทุมปิด เอามือถือกำดอกปทุม โดย

ให้ดอกปทุมอยู่เบื้องล่าง ถวายบาตรในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว

ไหว้ มือถือกำดอกปทุมอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ

ดิฉันอุบัติในภพใด ๆ พึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนในภพนั้น ๆ

เหมือนดอกปทุมนี้. ครั้นปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึงปรารถนาครั้งที่สองว่า

ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์ลำบาก พึงปฏิสนธิในดอกปทุมเท่านั้น โดย

ไม่ต้องเข้าถึงการอยู่ในครรภ์ ปรารถนาแม้ครั้งที่สามว่า มาตุคามน่า

รังเกียจ แม้ธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังจะต้องไปสู่อำนาจของผู้อื่น

เพราะฉะนั้น ดิฉันอย่าได้เข้าถึงความเป็นหญิง พึงเป็นบุรุษ. แม้ครั้งที่สี่

ก็ปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันพึงล่วงพ้นสังสารทุกข์นี้ ในที่สุด พึง

บรรลุอมตธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วนี้. นางกระทำความปรารถนา ๔

ประการอย่างนี้แล้ว บูชาดอกปทุมกำหนึ่งนั้นแล้วไหว้ด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาครั้งที่หนึ่งนี้ว่า กลิ่นและผิวพรรณ

ของดิฉันจงเป็นเหมือนดอกไม้เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้วยืนใน

อากาศ กระทำอนุโมทนาแก่ธิดาของเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า

สิ่งที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดยเร็ว

พลัน ความดำริทั้งปวงจงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ

ฉะนั้น.

แล้วอธิษฐานว่า ธิดาเศรษฐีจงเห็นเราไปอยู่ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขา

นันทมูลกะทางอากาศ. เมื่อธิดาของเศรษฐีเห็นดังนั้น เกิดความปีติมาก

มาย. อกุศลกรรมที่นางกระทำไว้ในระหว่างภพ หมดสิ้นไป เพราะไม่มี

โอกาส นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงอันเขาขัดด้วยความเปรี้ยว

ของมะขามฉะนั้น. ทันใดนั้นเอง ชนทั้งปวงในตระกูลสามีและตระกูล

ญาติของนางยินดีแล้ว. ส่งคำอันน่ารักและบรรณาการไปว่า พวกเราจะ

ทำอะไร (จะให้พวกเราทำอะไรบ้าง). แม้สามีก็ส่งคนไปว่า ท่านทั้งหลาย

จงรีบนำเศรษฐีธิดามา เราลืมแล้วมาอุทยาน. ก็จำเดิมแต่นั้นมา มหาชน

รักใคร่คอยบริหารดูแลนาง ดุจจันทน์อันไล้ทาที่น่าอก ดุจแก้วมุกดาหาร

ที่สวมใส่ และดุจระเบียบดอกไม้ฉะนั้น. นางเสวยสุขอันประกอบด้วย

ความเป็นใหญ่และโภคทรัพย์ ตลอดชั่วอายุ ตายแล้วเกิดในดอกปทุมใน

เทวโลก โดยภาวะเป็นบุรุษ. เทวบุตรนั้น แม้เมื่อเดินก็เดินไปในห้อง

ดอกปทุมเท่านั้น จะยืนก็ดี จะนั่งก็ดี จะนอนก็ดี ก็ยืน นั่ง นอน

เฉพาะในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น. และเทวดาทั้งหลายพากันเรียกเทว-

บุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร. มหาปทุมเทวบุตรนั้นท่องเที่ยวไปใน

เทวบุตรทั้ง ๖ ชั้นเท่านั้น เป็นอนุโลมและปฏิโลม ด้วยอิทธานุภาพนั้น

ด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพาราณสีมีสตรีสองหมื่นนาง บรรดาสตรีเหล่านั้น

แม้สตรีนางหนึ่งก็ไม่ได้บุตรชาย. อำมาตย์ทั้งหลายจึงทำพระราชาให้แจ้ง

พระทัยว่า ข้าแต่สมมติเทพ ควรปรารถนาพระโอรสผู้รักษาสกุลวงศ์

เมื่อพระโอรสผู้เกิดในพระองค์ไม่มี แม้พระโอรสที่เกิดในเขต ก็เป็นผู้

ธำรงสกุลวงศ์ได้. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า หญิงที่เหลือ ยกเว้น

พระมเหสี จงกระทำการฟ้อนรำโดยธรรมตลอด ๗ วัน ดังนี้แล้วรับสั่ง

ให้เที่ยวไปภายนอกได้ตามความปรารถนา. แม้ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้พระ-

โอรส. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดา

พระมเหสี เป็นผู้เลิศกว่าหญิงทั้งปวง ด้วยบุญและปัญญา ชื่อแม้ไฉน

เทพพึงได้พระโอรสในพระครรภ์ของพระมเหสี. พระราชาจึงแจ้งเนื้อ

ความนี้แก่พระมเหสี. พระมเหสีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สตรีผู้มี

ศีลมีปกติกล่าวคำสัจ พึงได้บุตร สตรีผู้ปราศจากหิริโอตตัปปะ จะมีบุตร

มาแต่ไหน จึงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท สมาทานศีลห้า แล้วรำพึงถึงบ่อย ๆ.

เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีลรำพึงถึงศีลห้าอยู่ พระทัยปรารถนาบุตรสักว่าเกิด

ขึ้นแล้ว อาสนะของท้าวสักกะจึงสั่นไหว.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงรำพึงไป ได้ทรงรู้แจ้งเรื่องราวนั้นแล้ว

ทรงดำริว่า เราจะให้บุตรผู้ประเสริฐแก่พระราชธิดาผู้มีศีล จึงเสด็จมา

ทางอากาศ ประทับยืนอยู่ตรงหน้าพระเทวีแล้วตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เธอ

จะปรารถนาอะไร. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันปรารถนา

พระโอรส. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะเทวี เราจะให้โอรสแก่เธอ อย่าคิด

ไปเลย แล้วเสด็จไปเทวโลก ทรงรำพึงว่า เทวบุตรผู้จะหมดอายุใน

เทวโลกนี้ มีหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตรนี้ จักเป็นผู้ใคร่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

จะไปยังเทวโลกเบื้องบนด้วย จึงไปยังวิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้นแล้ว

อ้อนวอนว่า พ่อมหาปทุม เธอจงไปยังมนุษยโลกเถิด. มหาปทุมเทวบุตร

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าตรัสอย่างนี้ ข้าพระองค์

เกลียดมนุษยโลก. ท้าวสักกะตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ เธอกระทำบุญไว้ใน

มนุษยโลก จึงได้อุบัติในเทวโลกนี้ เธอตั้งอยู่ในมนุษยโลกนั้นนั่นแหละ

จะพึงบำเพ็ญบารมีได้ ไปเถอะพ่อ. มหาปทุมเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่มหา-

ราชเจ้า การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในครรภ์นั้น.

ผู้อันท้าวสักกะตรัสอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า นี่แน่ะพ่อ การอยู่ในครรภ์จะ

ไม่มีแก่เธอ เพราะเธอได้กระทำกรรมไว้ โดยประการที่จักบังเกิดเฉพาะ

ในห้องแห่งดอกปทุมเท่านั้น จงไปเถอะพ่อ ดังนี้ จึงรับคำเชิญ.

มหาปทุมเทวบุตรนั้นจุติจากเทวโลก. แล้วบังเกิดในห้องแห่งดอก

ปทุม ในสระโบกขรณีอันดาดด้วยแผ่นศิลา ในอุทยานของพระเจ้า

พาราณสี. และคืนนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระมเหสีทรงพระสุบินไปว่า พระ-

องค์แวดล้อมด้วยสตรีสองหมื่นนาง เสด็จไปอุทยาน ได้พระโอรสในห้อง

ปทุมในสระโบกขรณีอันดาดด้วยศิลา. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระนาง

ทรงศีลอยู่ ได้เสด็จไปในพระอุทยานนั้นทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง.

ดอกปทุมนั้นไม่ได้อยู่ริมตลิ่งทั้งไม่ได้อยู่ในที่ลึก. ก็พร้อมกับที่พระนาง

ทรงเห็นเท่านั้น ความรักประดุจดังบุตรเกิดขึ้นในดอกปทุมนั้น. พระ-

นางเสด็จลงด้วยพระองค์เอง ได้เด็ดเอาดอกปทุมนั้นมา. เมื่อดอกปทุม

พอสักว่าพระนางทรงจับเท่านั้น กลีบทั้งหลายก็แย้มบาน. พระนางได้ทรง

เห็นทารกดุจรูปปฏิมาทองคำในดอกปทุมนั้น. ครั้นทรงเห็นเท่านั้นก็ทรง

เปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้ลูกชายแล้ว. มหาชนได้เปล่งเสียงสาธุการถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

พันครั้ง ทั้งได้ส่งข่าวแด่พระราชาด้วย. พระราชาทรงสดับแล้วตรัส

ถามว่า ได้ที่ไหน ได้ทรงสดับถึงสถานที่ได้ จึงตรัสว่า อุทยานและดอก

ปทุมเป็นของเรา เพราะฉะนั้น บุตรนี้ชื่อว่าบุตรผู้เกิดในเขต เพราะเกิด

ในเขตของเรา จึงให้เข้ามายังนคร ให้สตรีสองหมื่นนางกระทำหน้าที่เป็น

แม่นม. สตรีใด ๆ รู้ว่าพระกุมารชอบ ก็ให้เสวยของเคี้ยวที่ทรงปรารถนา

แล้ว ๆ สตรีนั้น ๆ ย่อมได้ทรัพย์หนึ่งพัน. เมืองพาราณสีทั้งสิ้นร่ำลือกัน

ชนทั้งปวงได้ส่งบรรณาการตั้งพันไปถวายพระกุมาร. พระกุมารไม่ทรง

สนพระทัยถึงบรรณาการนั้น ๆ อันพวกนางนมทูลว่า จงเคี้ยวกินสิ่งนี้ จง

เสวยสิ่งนี้ ทรงเบื่อระอาการเสวย จึงเสด็จไปยังซุ้มประตู ทรงเล่นลูก

กลมอันทำด้วยครั้ง.

ในครั้งนั้น มีพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยเมืองพาราณสี

อยู่ในป่าอิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นแต่เช้ามืด กระทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร

บริกรรมร่างกาย และมนสิการกรรมฐานเป็นต้น แล้วออกจากที่เร้น

รำพึงอยู่ว่า วันนี้เราจักรับภิกษาที่ไหน ได้เห็นคุณสมบัติของพระกุมาร

จึงใคร่ครวญว่า พระกุมารนี้เมื่อชาติก่อน ได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ทราบ

ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่คนเช่นกับเรา แล้วปรารถนาความ

ปรารถนา ๔ ประการ ในความปรารถนา ๔ ประการนั้น ๓ ประการ

สำเร็จแล้ว ความปรารถนาอีกข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จ เราจักให้อารมณ์แก่

พระกุมารนั้นด้วยอุบาย ครั้นคิดแล้วจึงได้ไปยังสำนักของพระกุมารนั้น

ด้วยการภิกขาจาร พระกุมารเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้วตรัสว่า ข้าแต่

พระสมณะ ท่านอย่ามาที่นี้ เพราะคนเหล่านี้จะกล่าวแม้กะท่านว่า จง

เคี้ยวกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้. โดยการกล่าวคำเดียวเท่านั้น พระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

พุทธเจ้าก็กลับจากที่นั้น ได้ไปยังเสนาสนะของตน พระกุมารจึงกล่าว

กะบริวารนั้นว่า พระสมณะนี้เพียงแต่เรากล่าวเท่านั้นก็กลับไป ท่านโกรธ

เรากระมังหนอ. พระกุมารนั้นอันพวกบริวารชนเหล่านั้นทูลว่า ธรรมดา

บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่มุ่งหน้าที่จะโกรธ คนอื่นมีใจเลื่อมใสถวายสิ่งใด

ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น จึงทรงดำริว่า สมณะชื่อเห็นปานนี้

โกรธแล้ว เราจักให้ท่านอดโทษ จึงกราบทูลแก่พระชนกชนนี แล้ว

เสด็จขึ้นทรงช้างไปยังป่าอิสิปตนะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ทอดพระ-

เนตรเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า พวกเหล่านี้ ชื่ออะไร ? บริวารชนทูลว่า

ข้าแต่เจ้านาย สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเนื้อ. พระกุมารตรัสว่า พวกคนผู้กล่าวแก่

เนื้อเหล่านี้ว่า จงกินสิ่งนี้ จงบริโภคสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้วปรนนิบัติ

อยู่ มีอยู่หรือ. บริวารชนทูลว่า ไม่มีพระเจ้าข้า เนื้อเหล่านี้มันอยู่ในที่

ที่มีหญ้าและน้ำอันหาได้ง่าย. พระกุมารดำริว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็ควร

จะอยู่เหมือนพวกเนื้อเหล่านั้น ไม่มีใครรักษาเลยอยู่ในที่ที่ปรารถนา แล้ว

ถือเอาเรื่องนี้ให้เป็นอารมณ์. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่า พระกุมาร

เสด็จมา จึงกวาดทางไปเสนาสนะและที่จงกรมทำให้เกลี้ยง แล้วเดิน

จงกรม ๑-๒-๓ ครั้ง แสดงรอยเท้าไว้ แล้วกวาดสถานที่พักกลางวัน

และบรรณศาลา กระทำให้เกลี้ยงแสดงรอยเท้าเข้าไป ไม่แสดงรอยเท้า

ที่ออกแล้วได้ไปเสียที่อื่น. พระกุมารเสด็จไปที่นั้น ทรงเห็นสถานที่นั้น

เขากวาดไว้เกลี้ยง ได้ทรงสดับบริวารชนกล่าวว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้น เห็นจะอยู่ที่นี่ จึงตรัสว่า สมณะนั้นแม้เช้าก็โกรธ ยิ่งมาเห็นสถานที่

ของตนถูกช้างและม้าเป็นต้นเหยียบย่ำ จะโกรธมากขึ้น พวกท่านจงยืน

อยู่ที่นี้แหละ แล้วเสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเสด็จเข้าไปยังเสนาสนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ทรงเห็นรอยเท้าในสถานที่ที่กวาดไว้อย่างดี โดยถูกต้องตามระเบียบ จึง

ทรงดำริว่า บัดนี้ สมณะนี้นั้นจงกรมอยู่ในที่นี้ ไม่คิดเรื่องการค้าขาย

เป็นต้น สมณะนี้เห็นจะคิดประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนถ่ายเดียวเป็นแน่ มี

พระมนัสเลื่อมใส เสด็จขึ้นที่จงกรม ทรงทำวิตกอันแน่นหนาให้ออก

ห่างไกล เสด็จไปประทับนั่งบนแผ่นหิน ทรงเกิดอารมณ์แน่วแน่เสด็จ

เข้าไปยังบรรณศาลา ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ถูกปุโรหิตถามกรรมฐาน

โดยนัยก่อนนั่นแหละ จึงประทับนั่งบนพื้นท้องฟ้า ได้ตรัสพระคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ เนื้อ

ทราย ๑ เนื้อเก้ง ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้า

ที่อยู่ในป่าทั้งหมด. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาเนื้อเก้ง เกจิอาจารย์ท่านกล่าว

ไว้ดังนี้ . บทว่า อรญฺมฺหิ ความว่า เว้นบ้านและอุปจารของบ้าน ที่

เหลือจัดเป็นป่า แต่ในที่นี้ประสงค์เอาอุทยาน เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวอธิบายว่าในอุทยาน ศัพท์ ยถา ใช้ในอรรถว่า เปรียบเทียบ.

บทว่า อพทฺโธ แปลว่า ไม่ถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือเชื่อกเป็นต้น. ด้วย

คำนี้ ท่านแสดงถึงจริยาอันปราศจากความน่ารังเกียจ. บทว่า เยนิจฺฉก

คจฺฉติ โคจราย ความว่า ไปหาเหยื่อโดยทิสาภาคที่คนปรารถนาจะไป

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในอรัญเที่ยวไปในอรัญป่าใหญ่

เดินอย่างวางใจ ยืนอย่างวางใจ นั่งอย่างวางใจ นอนอย่าง

วางใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่

อยู่ในสายตาของนายพราน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึง

ปฐมฌานอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า กระทำ

มารให้ตามหาร่องรอยไม่ได้ เธอกำจัดดวงตาของมารได้แล้ว

ไปยังที่ที่มารผู้มีจักษุมองไม่เห็น.

เนื้อความพิสดารแล้ว. บทว่า เสริต ได้แก่ ความเป็นไปที่มีความ

พอใจหรือความเป็นผู้เกี่ยวเนื่องกับคนอื่น. ท่านกล่าวอธิบายว่า เนื้อ

ไม่ถูกผูกในป่าย่อมไปหาเหยื่อตามความปรารถนา ฉันใด เมื่อไรหนอ

แม้เราก็พึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา เที่ยวไปอย่างนั้น ฉันนั้น. วิญญูชน

คือคนผู้เป็นบัณฑิตหวังความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว ฉะนั้นแล.

จบพรรณนามิโคอรัญญคาถา

พรรณนาอามันตนาคาถา

คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า อำมาตย์ทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ของ

พระเจ้าพาราณสี. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่งกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ มีสิ่งที่ควรจะทรงสดับ จึงทูลขอให้เสด็จไป ณ ส่วนข้าง

หนึ่ง. พระราชาได้เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะแล้วเสด็จไป. อีกคนหนึ่งทูล

ขอให้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก. อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบน

คอช้าง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งบนหลังม้า. อำมาตย์คนหนึ่ง

ทูลขอให้ประทับนั่งในรถทอง อำมาตย์คนหนึ่งทูลขอให้ประทับนั่งวอเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ไปอุทาน. พระราชาได้เสด็จลงจากวอนั้นเสด็จไป. อำมาตย์อื่นอีกทูลขอ

ให้เสด็จจาริกในชนบท. พระราชาทรงสดับคำของอำมาตย์แม้นั้น จึง

เสด็จลงจากคอช้าง แล้วได้เสด็จไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อเป็นอย่างนั้น

พระองค์ทรงระอาพวกอำมาตย์เหล่านั้น จงทรงผนวช. อำมาตย์ทั้งหลาย

จึงเจริญ ด้วยความเป็นใหญ่. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง

ไปกราบทูลพระราชาว่าข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดประทานชนบท

ชื่อโน้นแก่ข้าพระบาท. พระราชาตรัสกะอำมาตย์นั้นว่า คนชื่อโน้นกินอยู่.

อำมาตย์นั้นไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชากราบทูลว่า ข้าพระบาทจะ

ไปยึดเอาชนบทนั้นกิน ดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นก่อการทะเลาะกัน คน

ทั้งสองพากันมายังสำนักของพระราชาอีก แล้วกราบทูลโทษของกันและกัน.

พระราชาทรงดำริว่า เราไม่อาจให้พวกอำมาตย์เหล่านั้นยินดีได้ ทรงเห็น

โทษในความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น เห็นแจ้งอยู่กระทำให้แจ้งพระ-

ปัจเจกโพธิญาณ. พระองค์ได้กล่าวอุทานนี้ โดยนัยอันมีในก่อน.

ความหมายของอุทานนั้นว่า. บุคคลผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสหาย ย่อม

จะมีการเรียกร้องโดยประการนั้นโดยนัยมีอาทิว่า จะฟังเรื่องนี้ จงให้

สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในการอยู่กล่าวคือการนอนกลางวัน ในการยืนกล่าวคือ

ที่บำรุงให้ ในการไปกล่าวคือการไปอุทาน และในการจาริกกล่าว

คือการจาริกไปในชนบท เพราะฉะนั้น เราจึงระอาในข้อนั้น การคบ

หาอริยชนนี้ มีอานิสงส์มิใช่น้อยเป็นสุขโดยส่วนเดียว แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น

คนเลวทุกคนผู้ถูกความโลภครอบงำ ก็ไม่ปรารถนาการบรรพชา เราเห็น

ความไม่โลภนั้น และความประพฤติตามความพอใจตน ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

ภัพพบุคคล โดยไม่ตกอยู่ในอำนาจของคนอื่น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึง

บรรลุพระปัจเจกโพธิญาณโดยลำดับ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

จบพรรณนาอมันตนาคาถา

พรรณนาขิฑฑารติคาถา

คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า เอกปุตตก-

พรหมทัต พระราชานั้นมีพระโอรสน้อยผู้เดียวเป็นที่โปรดปรานเสมอด้วย

ชีวิต. พระราชาจะทรงพาเอาแต่พระโอรสน้อยเสด็จไปในทุกพระอิริยาบถ

วันหนึ่งเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ทรงเว้นพระโอรสนั้นเสีย เสด็จไป

แล้ว. ฝ่ายพระกุมารสิ้นพระชนม์ด้วยพยาธิอันเกิดขึ้นแล้วในวันนั้นเอง.

อำมาตย์ทั้งหลายปรึกษากันว่า แม้พระทัยของพระราชาก็จะแตกเพราะ

ความเสน่หาในพระโอรส จึงไม่กราบทูลให้ทรงทราบ พากันเผาพระ-

กุมารนั้น. พระราชาทรงเมาน้ำจัณฑ์อยู่ในพระราชอุทยาน ไม่ได้ระลึก

ถึงพระโอรส แม้ในวันที่ ๒ ก็เหมือนกัน ในเวลาสรงสนานและเวลา

เสวยก็มิได้ทรงระลึกถึง. ลำดับนั้น พระราชาเสวยแล้วประทับนั่งอยู่ ทรง

ระลึกชนได้จึงรับสั่งว่า พวกท่านจงนำลูกชายของเรามา. อำมาตย์

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา โดยวิธีอันเหมาะสม. ลำดับ

นั้น พระองค์ถูกความโศกครอบงำประทับนั่ง ทรงทำไว้ในพระทัยโดย

อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

จึงเกิด พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมโดย

ลำดับอยู่อย่างนี้ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. คำที่เหลือ

เช่นกับที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งสังสัคคคาถานั่นแหละ. เว้นพรรณนา

ความในคาถา.

ก็พรรณนาความมีว่า. การเล่นชื่อว่า ขิฑฺฑา. การเล่นนั้นมี ๒ อย่าง

คือเล่นหางกาย ๑ เล่นทางวาจา ๑. บรรดาการเล่น ๒ อย่างนั้น การเล่น

มีอาทิอย่างนี้ คือเล่นช้างบ้าง เล่นม้าบ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง

เล่นคาบบ้าง ชื่อว่าเล่นทางกา . การเล่นมีอาทิอย่างนี้คือ การขับร้อง

การกล่าวโศลก เอาปากทำกลอง และเปิงมาง ชื่อว่าการเล่นทางวาจา

ความยินดีในกามคุณ ๕ ชื่อว่า รติ. บทว่า วิปุล ได้แก่ เอิบอาบไป

ทั่วอัตภาพ โดยการตั้งอยู่จนกระทั่งจรดเยื่อในกระดูก. คำที่เหลือปรากฏ

ชัดแล้ว. ก็แม้วาจาประกอบความอนุสนธิในคาถานี้ ก็พึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั่นแล. และเบื้องหน้าแต่นั้นไป เรื่องราว

ทั้งปวงก็เหมือนกัน.

จบพรรณนาขิฑฑารติคาถา

พรรณนาจาตุททิสคาถา

คาถาว่า จาตุทฺทิโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๔ องค์ บวชใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่นปี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

แล้วบังเกิดในเทวโลก. จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาพระปัจเจก-

โพธิสัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์ใหญ่ ได้เป็นพระเจ้าพาราณสี.

พระปัจเจกโพธิสัตว์ที่เหลือได้เป็นพรราชาตามปกติ. ฝ่ายพระราชาทั้ง

๕ องค์นั้น เรียนกรรมฐานแล้วทรงสละราชสมบัติออกบวช ได้เป็นพระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยลำดับ แล้วอยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ วันหนึ่ง ออกจาก

สมาบัติแล้วรำพึงถึงกรรมและสหายของตน โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสก-

ฬีรคาถา ครั้นรู้แล้วจึงหาโอกาสเพื่อจะแสดงอารมณ์แก่พระเจ้าพาราณสี

ด้วยอุบาย. ก็พระราชานั้นตกพระทัยในเวลากลางคืนถึง ๓ ครั้ง ทรง

กลัวจึงทรงร้องด้วยความระทมพระทัย เสด็จวิ่งไปที่พื้นใหญ่. แม้ถูก

ปุโรหิตผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ทูลถามถึงการบรรทมเป็นสุขสบายก็ตรัสว่า ท่าน

อาจารย์ เราจะมีความสุขมาแต่ไหน แล้วทรงบอกเรื่องราวทั้งหมดนั้น

ฝ่ายปุโรหิตคิดว่า โรคนี้ใคร ๆ ไม่อาจแนะนำด้วยเภสัชกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่ง มีการถ่ายยาเบื้องสูงเป็นต้น แต่อุบายสำหรับจะกินเกิดขึ้น

แก่เราแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นี้เป็นบุพนิมิตแห่งความ

เสื่อมราชสมบัติและอันตรายแห่งพระชนม์ชีพเป็นต้น ทำให้พระราชา

ตกพระทัยมากขึ้น แล้วกราบทูลว่า เพื่อจะให้บุพนิมิตนั้นสงบ พระองค์

พึงประทานช้าง ม้า และรถเป็นต้นมีประมาณเท่านี้ ๆ กับทั้งเงินและ

ทองไห้เป็นทักษิณาบูชายัญ ดังนี้แล้วให้จัดแจงการบูชายัญ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เห็นสัตว์มีปราณ-

หลายพันที่เขาประมวลมาเพื่อประโยชน์แก่ยัญ จึงคิดว่า เมื่อพระราชา

ทรงกระทำกรรมนี้ พระองค์จักเป็นผู้อันใคร ๆ ให้ตรัสรู้ได้ยาก เอาเถอะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

เราทั้งหลายจะล่วงหน้าไปคอยดูพระราชานั้น จึงมาเที่ยวบิณฑบาต ได้

ไปที่พระลานหลวงตามลำดับ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถา.

พระราชาประทับยืนที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรพระลานหลวง ได้เห็น

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น และพร้อมกับการเห็นนั่นแหละ ความ

เสน่หาได้เกิดขึ้นแก่พระองค์. ลำดับนั้น จึงรับสั่งให้นิมนต์พระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าเหล่านั้นมา นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ณ พื้นกลางแจ้ง

ให้ฉันโดยเคารพ แล้วตรัสถามพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้กระทำภัตกิจเสร็จ

แล้วว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร ? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร

พวกอาตมาชื่อว่า จาตุทิศ. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริ้ญ ความหมายของคำ

ว่าจาตุทิศนี้เป็นอย่างไร ? พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าตอบว่า มหาบพิตร พวก

อาตมาไม่มีความกลัว หรือความสะดุ้งใจในที่ไหน ๆ จากที่ไหน ๆ ในทิศ

ทั้ง ๔. พระราชาถามว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ความกลัวนี้จึงไม่มี

แก่ท่านทั้งหลาย. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าถวายพระพรว่า มหาบพิตร อาตมา

ทั้งหลายเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ด้วยเหตุนั้น ความกลัวนั้นจึง

ไม่มีแก่พวกอาตมา ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า สมณะเหล่านี้พากันกล่าวว่า ไม่

มีความกลัว เพราะเจริญเมตตาเป็นต้น แต่พวกพราหมณ์พากันพรรณนา

การฆ่าสัตว์หลายพันตัว คำของพวกไหนหนอเป็นคำจริง. ลำดับนั้นพระ-

องค์ได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะทั้งหลายล้างของไม่สะอาดด้วยของสะอาด

แต่พวกพราหมณ์ล้างของไม่สะอาด ด้วยของไม่สะอาด ก็ใคร ๆ ไม่อาจ

ล้างของไม่สะอาดด้วยของไม่สะอาด คำของบรรพชิตเท่านั้นเป็นคำสัจจริง.

พระองค์จึงเจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข ๆ เถิด ทรงมีพระทัยแผ่ประโยชน์เกื้อกูล ทรงสั่ง

อำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงปล่อยสัตว์ทั้งหมด สัตว์ทั้งหมดจงดื่มน้ำ

เย็น กินหญ้าเขียวสด และลมเย็นจงรำเพยพัดสัตว์เหล่านั้น. อำมาตย์

เหล่านั้นได้กระทำตามรับสั่งทุกประการ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราพ้นจากกรรมชั่ว เพราะคำ

ของกัลยาณมิตร จึงประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง เจริญวิปัสสนา ได้

ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ก็ในเวลาเสวย เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเสวย ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า พระองค์

ได้ตรัสคำทั้งปวงโดยนัยก่อนนั่นแลว่า เรามิใช่พระราชา ดังนี้เป็นต้น

แล้วได้ตรัสอุทานคาถาและพยากรณ์คาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุทฺทิโส ความว่า มีปกติอยู่ตาม

สบายในทิศทั้ง ๔ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จาตุทิศ เพราะมีทิศทั้ง ๔ อัน

แผ่ไปด้วยพรหมวิหารภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า

ผู้ไม่มีปฏิฆะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์หรือสังขารในที่ไหนๆ ในทิศทั้ง ๔

นั้น เพราะความกลัว. บทว่า สนฺตุสฺสมาโน ได้แก่ ผู้สันโดษด้วย

อำนาจสันโดษ ๑๒ อย่าง. บทว่า อิตรีตเรน ได้แก่ ด้วยปัจจัยสูง ๆ ต่ำๆ

ในคำว่า ปริสฺสยาน สหิตา อฉมฺภี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า ปริสสยะ

เพราะเบียดเบียนรอบกายและจิต หรือยังสมบัติแห่งกายและจิตให้เสื่อมไป

รอบ หรืออาศัยกายและจิตนั้นนอนอยู่. คำว่า ปริสสยะ นี้ เป็นชื่อของ

อุปัทวันตรายทางกายและจิต ที่เป็นภายนอก มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น

ที่เป็นภายใน มีกามฉันทะเป็นต้น. ชื่อว่าอดกลั้นอันตรายอันเบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

เหล่านั้น ด้วยอธิวาสนขันติ และด้วยธรรมทั้งหลายมีวิริยะเป็นต้น. ชื่อว่า

ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่มีความกลัวอันทำให้ตัวแข็ง. ท่านกล่าว

อธิบายไว้อย่างไร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม

ได้ เหมือนสมณะ ๔ จำพวกเหล่านั้น ดำรงอยู่ในสันโดษอันเป็นปทัฏ-

ฐานของการปฏิบัตินี้ ชื่อว่าอยู่ตามผาสุกในทิศ ๔ เพราะเจริญเมตตา

เป็นต้นในทิศทั้ง ๔ และชื่อว่าเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เพราะไม่มีความกลัวแต่

การเบียดเบียนในสัตว์และสังขารทั้งหลาย. ผู้นั้นชื่อว่าผู้อดกลั้นอันตราย

อันเบียดเบียน เพราะเป็นผู้อยู่ตามความสบายในทิศทั้ง ๔ และชื่อว่าเป็น

ผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะความเป็นผู้ไม่ขัดเคือง เราเห็นคุณของการปฏิบัติ

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วปฏิบัติโดยแยบคาย ได้บรรลุพระปัจเจก-

โพธิญาณแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า เรารู้ว่า บุคคลผู้สันโดษ

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เป็นผู้อยู่ตามความสบายใน ๔ ทิศ โดยนัย

ดังกล่าวแล้ว เหมือนพระสมณะเหล่านั้น จึงปรารถนาความเป็นผู้อยู่ตาม

สบายในทิศ ๔ อย่างนั้น ปฏิบัติโดยแยบคายจึงได้บรรลุ เพราะฉะนั้น

แม้ผู้อื่นเมื่อปรารถนาฐานะเช่นนี้ พึงเป็นผู้อดทนอันตรายอันเบียดเบียน

โดยความเป็นผู้อยู่ตามสบายในทิศ ๔ และเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง โดยความ

เป็นผู้ไม่ขัดเคือง เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

จบพรรณนาจาตุททิสคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

พรรณนาทุสสังคหคาถา

คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสีสวรรคตแล้ว แต่นั้น

เมื่อวันโศกเศร้าล่วงเลยไปแล้ว วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า

ธรรมดาพระราชาทั้งหลายจำต้องปรารถนาพระอัครมเหสีในราชกิจนั้น ๆ

อย่างแน่นอน ดังพวกข้าพระบาทขอโอกาส ขอสมมติเทพทรงนำพระเทวี

องค์อื่นมา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงรู้

กันเองเถิด. อำมาตย์เหล่านั้นพากันแสวงหาอยู่ พระราชาในราชอาณาจักร

ใกล้เคียงสวรรคต พระเทวีของพระราชานั้นปกครองราชสมบัติ และ

พระเทวีนั้นได้มีพระครรภ์. อำมาตย์ทั้งหลายระว่าพระเทวีนี้เหมาะสมแก่

พระราชา จึงทูลอ้อนวอนพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมี

ครรภ์ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย ถ้าพวกท่านจะรอจนกว่าเราจะ

คลอด เมื่อเป็นอย่างนั้น ย่อมเป็นการดี ถ้าไม่รอ พวกท่านก็จงหาหญิง

อื่นเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลความนั้นแม้แก่พระราชา. พระราชา

ตรัสว่า พระนางแม้จะมีครรภ์ก็ช่างเถอะ พวกท่านจงนำมาเถิด. อำมาตย์

เหล่านั้นจึงนำมา. พระราชาทรงอภิเษกพระเทวีนั้นแล้ว ได้ประทาน

เครื่องใช้สอยสำหรับพระมเหสีทุกอย่าง. ทรงสงเคราะห์พระนางและ

บริวารชน ด้วยเครื่องบรรณาการมีอย่างต่าง ๆ. พระมเหสีนั้นประสูติ

พระโอรสตามกาลเวลา. พระราชาทรงกระทำโอรสของพระนางนั้นไว้ที่

พระเพลา และพระอุระในพระอิริยาบถทั้งปวง ดุจพระโอรสของพระองค์.

ครั้งนั้น บริวารชนของพระเทวีนั้นพากันคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

อย่างยิ่ง ทรงกระทำความคุ้นเคยเป็นล้นพ้นในพระกุมาร เอาเถอะพวก

เราจักยุยงพระกุมารนั้นให้แตกกัน.

แต่นั้น จึงพากันทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พ่อ พระองค์เป็นโอรส

แห่งพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย ไม่ได้เป็นพระโอรสของพระราชา

องค์นี้ พระองค์อย่าทรงไว้วางพระทัยพระราชาองค์นี้. ทีนั้น พระกุมาร

อันพระราชาตรัสว่า มาซิลูก ดังนี้ก็ดี เอาพระหัตถ์ดึงมาก็ดี ก็ไม่ติด

พระราชาเหมือนแต่ก่อน. พระราชาทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุอะไรกัน

ทรงทราบเรื่องราวนั้น ทรงเบื่อหน่ายว่า คนเหล่านั้นแม้เราจะสงเคราะห์

อยู่ ก็ยังมีความประพฤติวิปริตอยู่นั่นเอง จึงทรงละราชสมบัติออกทรง

ผนวช. ฝ่ายอำมาตย์และบริวารชนทั้งหลายทราบว่า พระราชาทรงผนวช

ก็พากันบวชเป็นอันมาก. พระราชาพร้อมด้วยบริวารชน แม้บวชแล้ว

คนทั้งหลายก็ยังน้อมนำปัจจัยอันประณีตเข้าไปถวาย. พระราชาทรงให้

ปัจจัยอันประณีต ตามลำดับคนผู้แก่กว่า. บรรดาคนเหล่านั้น คนที่ได้

ของดีก็พากันยินดี คนที่ได้ของไม่ดีก็พากันยกโทษว่า พวกเรากวาด

บริเวณเป็นต้น กระทำกิจการทั้งปวงอยู่ ก็ได้ภัตตาหารเศร้าหมองและ

ผ้าเก่า. พระราชานั้นทรงทราบแม้ดังนั้น จึงทรงดำริว่า พวกเหล่านี้แม้

เราให้อยู่ตามลำดับผู้แก่กว่า ก็ยังยกโทษอยู่ โอ ! บริษัทสงเคราะห์ยาก

จึงทรงถือบาตรและจีวร พระองค์เดียวเสด็จเข้าป่า ปรารภวิปัสสนา ได้

ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. และถูกชนผู้มาในที่นั้นถามถึงกรรม-

ฐาน จึงได้ตรัสคาถานี้. คาถานั้นปรากฏชัดแล้วโดยอรรถ แต่มีวาจา

ประกอบความดังนี้ แม้บรรพชิตบางพวก ผู้ถูกความไม่สันโดษครอบงำ

ก็สงเคราะห์ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อย่างนั้นเหมือนกัน. เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

เกลียดความเป็นผู้สงเคราะห์ยากนี้ จึงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำ

ที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

จบพรรณนาทุสสังคหคาถา

พรรณนาโกวิฬารคาถา

คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสี พระนามว่า จาตุมาสิก-

พรหมทัต เสด็จไปพระราชอุทยานในเดือนแรกของฤดูคิมหันต์ ทรง

เห็นต้นทองหลางเต็มไปด้วยใบเขียวและแน่นทึบ ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์

ในพระราชอุทยานนั้น จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปูลาดที่นอนของเราที่

โคนต้นทองหลาง แล้วทรงเล่นในพระราชอุทยาน เวลาเย็น ทรงสำเร็จ

การบรรทมอยู่ ณ ที่โคนต้นทองหลางนั้น. ในเดือนกลางฤดูคิมหันต์ ได้

เสด็จไปยังพระราชอุทยานอีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางกำลังออกดอก

แม้ในคราวนั้น ก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นแหละ. ในเดือนท้ายฤดู

คิมหันต์ ได้เสด็จไปแม้อีก ในคราวนั้น ต้นทองหลางสลัดใบ เป็น

เหมือนต้นไม้แห้ง. แม้ในคราวนั้น พระราชาก็ไม่ทันดูต้นไม้นั้น ด้วย

ความคุ้นเคยในกาลก่อน จึงรับสั่งให้ปูลาดที่บรรทม ณ ที่โคนต้นทองหลาง

นั้นนั่นเอง. อำมาตย์ทั้งหลายแม้จะรู้อยู่ ก็ให้ปูลาดที่บรรทมที่โคนต้น

ทองหลางนั้น ตามคำสั่งของพระราชา. พระองค์ทรงเล่นในพระราช-

อุทยาน พอเวลาเย็น เมื่อจบรรทม ณ ที่นั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

จึงทรงดำริว่า ร้ายจริง ต้นไม้นี้ เมื่อก่อนมีใบเต็ม ได้เป็นต้นไม้งาม

น่าดู ประดุจสำเร็จด้วยแก้วมณี จากนั้น ได้มีสง่าน่าดูด้วยดอกทั้งหลาย

เช่นกับหน่อแก้วประพาฬอันวางอยู่ระหว่างกิ่งมีสีแดงแก้วมณี และภูมิภาค

ภายใต้ต้นไม้นี้ ก็เกลี่ยด้วยทราย เช่นกับข่ายแก้วมุกดา ดาดาษด้วยดอก

อันหล่นจากขั้ว ได้เป็นดุจลาดไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง วันนี้ ต้นไม้ชื่อนั้น

เหมือนต้นไม้แห้ง เหลือสักว่ากิ่งยืนต้นอยู่ โอ! ต้นทองหลางก็ยิ่งถูกชรา

ทำร้ายแล้ว ทรงได้เฉพาะอนิจจสัญญาว่า แม้สิ่งที่ไม่มีวิญญาณครอง ก็

ยังถูกชรานั้นเบียดเบียน จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่งที่มีวิญญาณเล่า พระองค์

ทรงเห็นแจ้งสังขารทั้งปวงตามแนวนั้นนั่นแล โดยความเป็นทุกข์ และ

โดยความเป็นอนัตตา ทรงปรารถนาอยู่ว่า โอหนอ ! แม้เราก็พึงเป็น

ผู้ปราศจากเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรง

บรรทมอยู่โดยข้างเบื้องขวา ณ พื้นที่บรรทมนั้น โดยลำดับ เจริญวิปัสสนา

ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในเวลาเสด็จไปจากที่นั้น เมื่อ

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้เวลาเสด็จไปแล้วพระเจ้าข้า

จึงตรัสคำมีอาทิว่า เราไม่ใช่พระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยก่อน

นั่นแหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอโรปยิตฺวา แปลว่า นำออกไป.

บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ ได้แก่ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้

ของหอม เครื่องลูบไล้ บุตร ภรรยา ทาสี และทาสเป็นต้น. สิ่งเหล่านี้

ทำความเป็นคฤหัสถ์ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า คิหิพฺยญฺชนานิ.

บทว่า สนฺฉินฺนปตฺโต แปลว่า มีใบร่วงไปแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน ได้แก่

ตัดด้วยมรรคญาณ. บทว่า วีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเพียรใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

มรรค. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. จริงอยู่ กาม

ทั้งหลายเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เนื้อความของบทเพียงเท่านี้ก่อน.

ส่วนอธิบายมีดังนี้ พระราชาทรงดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ ! แม้เราก็พึง

ปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น

ทรงปรารภวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั้นแล.

จบพรรณนาโกวิฬารคาถา

พรรณนาสหายคาถา

คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในปางก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์ บวชใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่สองหมื่น

ปีแล้วบังเกิดขึ้นในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดาปัจเจกโพธิ-

สัตว์เหล่านั้น พระปัจเจกโพธิสัตว์องค์พี่ใหญ่ได้เป็นโอรสของพระเจ้า-

พาราณสี องค์น้องชายได้เป็นบุตรของปุโรหิต. พระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งสอง

นั้นถือปฏิสนธิวันเดียวกัน ออกจากท้องมารดาวันเดียวกัน ได้เป็นสหาย

เล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตได้เป็นผู้มีปัญญา เขากราบทูลพระราชบุตรว่า

ข้าแต่พระสหาย เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว พระองค์จักได้ราชสมบัติ

ข้าพระองค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต อันคนผู้ศึกษาดีแล้ว อาจปกครอง

ราชสมบัติได้ พระองค์จงมา พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ แต่นั้น คน

ทั้งสองได้เป็นผู้สร้างสมยัญ เที่ยวภิกขาไปในคามและนิคมเป็นต้น ไป

๑. คล้องสายยัญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ถึงบ้านปัจจันตชนบท. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ เข้าไปยังบ้านนั้น

ในเวลาภิกขาจาร. คนทั้งหลายในบ้านนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

แล้ว เกิดความอุตสาหะ พากันปูลาดอาสนะ น้อมของเคี้ยวและของ

บริโภคอันประณีตเข้าไปบูชาอยู่. คนทั้งสองนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ชื่อว่า

คนผู้มีตระกูลสูงเช่นกับพวกเรา ย่อมไม่มี ก็อีกอย่างหนึ่ง คนเหล่านี้

ถ้าต้องการ ก็จะให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ต้องการ ก็จะไม่ให้ จะ

กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้ย่อมรู้ศิลป-

ศาสตร์ไร ๆ เป็นแน่ เอาเถอะ พวกเราจักเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของ

บรรพชิตเหล่านี้. เมื่อพวกคนกลับไปแล้ว คนทั้งสองนั้นได้โอกาส จึง

พูดอ้อนวอนว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงให้พวกกระผมศึกษา

ศิลปะที่ท่านทั้งหลายทราบเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พวก

เราไม่อาจให้คนที่มิใช่บรรพชิตศึกษา. คนทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้ว

บวช. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงบอกอภิสมาจาริกวัตร

แก่คนทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่าทั้งหลายพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่ม

อย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ความยินดีในความเป็นผู้เดียว เป็นความสำเร็จ

แห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งผู้เดียว พึงจงกรมผู้เดียว พึงยืนผู้เดียว

พึงนอนผู้เดียว ดังนี้ แล้วได้ให้บรรณศาลาแยกกัน. แต่นั้น บรรพชิต

ทั้งสองนั้น จึงเข้าไปยังบรรณศาลาของตน ๆ แล้วนั่งอยู่. จำเดิมแต่กาล

ที่นั่งแล้ว บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต ได้ฌานแล้ว. พอชั่วครู่เดียว

พระราชบุตรรำคาญ จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิต. บุตรปุโรหิตนั้นเห็น

ดังนั้นจึงถามว่า อะไรกันสหาย ? ราชบุตรกล่าวว่า เรารำคาญเสียแล้ว.

บุตรปุโรหิตกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งที่นี้. ราชบุตรนั้นนั่งในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

นั้นได้ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า นี่แนะสหาย ได้ยินว่า ความยินดีในความเป็น

ผู้เดียว เป็นความสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิตกล่าวว่า อย่างนั้น

สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปยังโอกาสที่ตนนั่งเท่านั้น เราจักเรียนเอา

ความสำเร็จของศิลปะนี้. ราชบุตรนั้นจึงไป พอครู่เดียวเท่านั้นก็รำคาญ

อีก จึงกลับมาโดยนัยก่อนนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น บุตรปุโรหิตจึงส่งราชบุตรนั้นไปเหมือนอย่างเดิม เมื่อ

ราชบุตรนั้นไปแล้ว จึงคิดว่า ราชบุตรนี้ทำกรรมของตนและกรรมของ

เราให้เสื่อมเสีย มาในที่นี้เนือง ๆ. บุตรปุโรหิตนั้นจึงออกจากบรรณศาลา

เข้าป่า. ฝ่ายราชบุตรนั่งอยู่ในบรรณศาลานั่นแหละ พอชั่วครู่เดียวก็รำคาญ

ขึ้นอีก จึงมายังสำนักของบุตรปุโรหิตนั้น แม้หาไปรอบ ๆ ก็ไม่เห็นบุตร

ปุโรหิตนั้น จึงคิดว่าผู้ใดแม้พาเอาเครื่องบรรณาการในคราวเป็นคฤหัสถ์

มา ก็ไม่ได้เห็นเรา บัดนี้ ผู้นั้น เมื่อเรามาแล้วประสงค์จะไม่ให้แม้แต่

การเห็น จึงได้หลีกไป โอ เจ้าจิตร้าย เจ้าไม่ละอาย เราถูกเจ้านำมาที่นี้

ถึง ๔ ครั้ง บัดนี้ เราจักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า โดยที่แท้ เราจักให้

เจ้านั่นแหละเป็นไปในอำนาจิตของเรา ดังนี้ แล้วเข้าไปยังเสนาสนะของตน

เริ่มวิปัสสนาทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ

ทางอากาศ. ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกนี้เข้าป่าแล้ว เริ่มวิปัสสนา ทำให้แจ้ง

ปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ไปที่นั้นเหมือนกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งสอง

นั้นนั่งอยู่ที่พื้นมโนศิลา ได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้โดยแยกกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปก ได้แก่ ผู้มีปัญญารักษาตนตาม

ปกติ คือเป็นบัณฑิต ได้แก่ ผู้ฉลาดในการบริกรรมกสิณเป็นต้น. บทว่า

สาธุวิหาร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องอยู่อันแนบแน่น หรือด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ธรรมเครื่องอยู่อย่างเฉียด ๆ. บทว่า ธีร คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่อง

ทรงจำ. ในข้อนั้น ท่านกล่าวธิติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่อง

ทรงจำ ด้วยความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน. แต่ในที่นี้ หมายความว่า ผู้

สมบูรณ์ด้วยธิติเท่านั้น. ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า ธิติ. คำนี้เป็น

ชื่อของความเพียรซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กาม ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือ

แต่หนังและเอ็นก็ตาม ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ เพราะเกลียดชัง

บาป ดังนี้ก็มี บทว่า ราชาว รฏฺ วิชิตฺ ปหาย ความว่า พึงละสหาย

ผู้เป็นพาลเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาตามปกติรู้ว่า แว่นแคว้นที่เรา

ชนะแล้ว นำอนัตถพินาศมาให้ จึงละราชสมบัติเที่ยวไปพระองค์เดียว

ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺ นั้น มีความแม้ดังนี้ว่า

ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระเจ้าสุตโสม ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว

เที่ยวไปพระองค์เดียว และเหมือนพระเจ้ามหาชนกฉะนั้น. คำที่เหลือ

อาจรู้ได้ตามแนวที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดาร

ฉะนี้แล.

จบพรรณนาสหายคาถา

พรรณนาอัทธาปสังสาคาถา

เหตุเกิดคาถาว่า อทฺธา ปสสาม ดังนี้เป็นต้น เหมือนกับเหตุเกิดขึ้น

แห่งจาตุททิสคาถา คราบเท่าที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่

ลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

พระราชานี้ไม่ตกพระทัย เหมือนพระราชานั้นตกพระทัยถึง ๓ ครั้ง

ในตอนกลางคืน. พระราชานี้มิได้ทรงเข้าไปตั้งยัญ พระองค์นิมนต์

ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ในพื้นที่โล่งแจ้ง

แล้วตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร ? พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่าอนวัชชโภชี. พระราชาตรัสถาม

ว่า ท่านผู้เจริญ คำว่า อนวัชชโภชี นี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า มหาบพิตร พวกอาตมาได้ของดีหรือ

ไม่ดี ไม่มีอาการผิดแผกบริโภคได้. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงได้

มีพระดำริดังนี้ว่า ถ้ากระไร เราควรจะได้พิสูจน์ดูท่านเหล่านี้ว่า เป็นผู้

เช่นนี้หรือไม่. วันนั้น พระองค์จึงทรงอังคาสด้วยข้าวปลายเกรียน มีน้ำ

ผักดองเป็นที่สอง. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีอาการผิดแผก ฉัน

ข้าวปลายเกรียนนั้นดุจเป็นของอมฤต. พระราชาทรงพระดำริว่า ท่านเหล่า

นี้เป็นผู้ไม่มีอาการผิดแผกในวันเดียว เพราะปฏิญญาไว้ พรุ่งนี้ เราจักรู้อีก

จึงนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. แม้ในวันที่สอง ก็ได้ทรงกระทำเหมือน

อย่างนั้น. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็ฉันเหมือนอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า เราจักถวายของดีทดลองดู จึง

นิมนต์อีก ทรงทำมหาสักการะถึง ๒ วัน วันอังคาสด้วยของเคี้ยวของ

ฉันอันประณีตวิจิตรยิ่ง. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ไม่มีอาการผิด

แผก ฉันเหมือนอย่างนั้นแหละ กล่าวมงคลแก่พระราชาแล้วหลีกไป.

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน พระราชาทรงดำริว่า ท่าน

เหล่านี้เป็นอนวัชชโภชีมีปกติฉันหาโทษมิได้ โอหนอ ! แม้เราก็ควรเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

อนวัชชโภชีบ้าง จึงสละราชสมบัติใหญ่ สมาทานการบรรพชา เริ่ม

วิปัสสนาแล้ว ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะชี้แจงอารมณ์ของตน

ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์ ได้กล่าว

คาถานี้. คาถานั้นโดยใจความของบทง่ายมาก แต่ในบทว่า สหายสมฺปท

นี้ สหายผู้เพียบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้นอันเป็นอเสขะ พึงทราบว่าสหาย-

สัมปทาทั้งสิ้น.

ส่วนวาจาประกอบความในคำว่า สหายสมฺปท นี้ มีดังต่อไปนี้:-

เราสรรเสริญสหายสัมปทาที่กล่าวแล้วนั้นโดยแท้ อธิบายว่า เราชมเชยโดย

ส่วนเดียวเท่านั้น. สรรเสริญอย่างไร ? สรรเสริญว่า ควรคบหาสหายผู้

ประเสริฐกว่า หรือผู้เสมอกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่อบุคคลคบหาผู้

ที่ประเสริฐกว่าด้วยคุณ มีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

เมื่อคบหาคนผู้เสมอกัน ธรรมที่ได้แล้วก็ไม่เสื่อม เพราะเสมอเท่ากัน

และกัน ทั้งเพราะบรรเทาความรำคาญใจเสียได้. ก็กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์

ไม่ได้สหายเหล่านั้นผู้ประเสริฐกว่าและเสมอกัน แล้วละมิจฉาชีพมีการ

หลอกลวงเป็นต้น บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรม โดยเสมอ และไม่

ทำความยินดียินร้ายให้เกิดขึ้นในโภชนะนั้น เป็นผู้มีปกติบริโภคโดยหา

โทษมิได้ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. แม้เราก็ประพฤติอยู่อย่าง

นี้ จึงได้บรรลุสมบัตินี้แล.

จบพรรณนาอัทธาปสังสาคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

พรรณนาสุวัณณวลยคาถา

คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺถเสฺส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาในนครพาราณสีองค์หนึ่ง ได้เสด็จเข้าบรรทม

กลางวันในฤดูร้อน และนางวัณณทาสีในสำนักของพระราชานั้น กำลัง

บดจันทน์แดงอยู่ ที่แขนข้างหนึ่งของนางวัณณทาสีนั้น มีกำไลมือทองคำ

อันหนึ่ง ที่แขนอีกข้างหนึ่งมีสองอัน. กำไลทอง ๒ อันนั้นกระทบกัน

กำไลทองอันเดียวนอกนั้น ไม่กระทบ (อะไร). พระราชาทรงเห็นดังนั้น

จึงดำริว่า ในเพราะการอยู่เป็นคณะอย่างนี้แหละ จึงมีการกระทบกัน

ในเพราะการอยู่โดดเดี่ยว จึงไม่มีการกระทบกัน แล้วทอดพระเนตรดู

นางทาสีบ่อย ๆ. ก็สมัยนั้น พระเทวีประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุก

ชนิด ยืนถวายการพัดอยู่ พระเทวีนั้นทรงดำริว่า พระราชาเห็นจะมี

พระทัยปฏิพัทธ์นางวัณณทาสี จึงรับสั่งให้นางทาสีนั้นลุกขึ้น แล้วเริ่มบด

ด้วยพระองค์เอง. ก็ครั้งนั้น ที่พระพาหาทั้งสองของพระนางมีกำไลทองคำ

มิใช่น้อย กำไลทองเหล่านั้นกระทบกัน ทำให้เกิดเสียงดังลั่น. พระราชา

ทรงเบื่อระอายิ่งนัก จึงทรงบรรทมโดยพระปรัศว์เบื้องขวาเท่านั้น ทรง

เริ่มวิปัสสนาแล้วกระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ. พระเทวีถือจันทน์

เข้าไปหาพระราชานั้นผู้บรรทมสบายด้วยสุขอันยอดเยี่ยม แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช พระองค์จงทรงลูบไล้. พระราชานั้นตรัสว่า จงหลีกไป

อย่าลูบไล้. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันจะลูบไล้ให้แก่

ใคร. พระราชาตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชา. อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟัง

ถ้อยคำปราศรัยของพระราชาและพระเทวีนั้นอย่างนั้น จึงพากันเข้าไปเฝ้า.

พระองค์ แม้อำมาตย์เหล่านั้นร้องทูลด้วยวาทะว่าพระราชา ก็ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

เราไม่ใช่พระราชาดอกพนาย. คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาแรก

นั่นแหละ.

ส่วนการพรรณนาคาถามีดังต่อไปนี้ :- บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ทิสฺวา แปลว่า ทรงแลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส แปลว่า ทองคำ.

บาลีที่เหลือว่า วลยานิ. ก็อรรถะพร้อมทั้งอรรถะของบทที่เหลือมีเพียง

เท่านี้. บทว่า ปภสฺสรานิ แปลว่า มีแสงสุกปลั่งเป็นปกติ มีอธิบายว่า

โชติช่วงอยู่ คำที่เหลือมีอรรถะของบทง่ายทั้งนั้น. ส่วนวาจาประกอบ

ความมีดังต่อไปนี้ :- เราเห็นกำไลทองที่แขนจึงคิดอย่างนี้ว่า เมื่อมีการ

อยู่เป็นคณะ การกระทบกันย่อมมี เมื่ออยู่ผู้เดียว ก็ไม่มีการกระทบกัน

จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาสุวัณณวลยคาถา

พรรณนาอายติภยคาถา

คาถาว่า เอว ทุติเยน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง ยังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี

พระประสงค์จะทรงผนวช จึงสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงพา

พระเทวีมาแล้วให้ทรงบริหารราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลาย

ทูลให้ทรงทราบว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่อาจรักษา

ราชสมบัติที่หาพระราชามิได้ พระราชาใกล้เคียงทั้งหลายจักพากันมาปล้น

ชิงเอา ขอพระองค์จงทรงรอจนตราบเท่าพระโอรสสักองค์หนึ่งเสด็จอุบัติ

ขึ้น. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อนจึงทรงรับคำ. ลำดับนั้น พระเทวีทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

ตั้งครรภ์. พระราชาทรงสั่งอำมาตย์เหล่านั้นอีกว่า พระเทวีทรงมีพระครรภ์

ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระโอรสผู้ประสูติแล้วในราชสมบัติ แล้วจงบริหาร

ราชสมบัติ เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายทูลพระราชาให้ทรงทราบแม้อีกว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้อที่พระเทวีจักประสูติพระโอรสหรือพระธิดานั้นรู้ได้

ยาก เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์จงทรงรอเวลาประสูติก่อน. ทีนั้นพระเทวี

ได้ประสูติพระโอรส. แม้คราวนั้น พระราชาก็ทรงสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย

เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. อำมาตย์ทั้งหลายพากันทูลพระราชาให้ทรง

ทราบด้วยเหตุมากมายแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองจงทรงรอ

จนกว่าพระโอรสจะเป็นผู้สามารถ. ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารเป็นผู้สามารถ

แล้วพระราชารับสั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายประชุมกันแล้วตรัสว่า บัดนี้ พระ-

กุมารนี้เป็นผู้สามารถแล้ว ท่านทั้งหลายจงอภิเษกพระกุมารนั้นในราชสมบัติ

แล้วปรนนิบัติ ครั้นตรัสแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่พวกอำมาตย์ ให้นำบริขาร

ทั้งปวงมีผ้ากาสายะเป็นต้นมาจากตลาด ทรงผนวชในภายในบุรีนั่นเอง

แล้วเสด็จออกไปเหมือนพระมหาชนก. ปริชนทั้งปวงพากันร่ำไรมีประการ

ต่าง ๆ ติดตามพระราชาไป. พระราชาเสด็จไปตราบเท่ารัชสีมาของ

พระองค์ แล้วเอาไม้เท้าขีดรอยพลางตรัสว่า ไม่ควรก้าวล่วงรอยขีดนี้

มหาชนนอนลงบนแผ่นดินทำศีรษะไว้ที่รอยขีดร่ำไรอยู่ กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ

บัดนี้ อาชญาของพระราชาจะทำอะไรแก่พระองค์ได้ จึงให้พระกุมาร

ก้าวล่วงรอยขีดไป. พระกุมารทูลว่า พระเจ้าพ่อ พระเจ้าพ่อ แล้ววิ่ง

ไปทันพระราชา. พระราชาทรงเห็นพระกุมารแล้วทรงดำริว่า เราบริหาร

มหาชนนครองราชสมบัติ บัดนี้ เราไม่อาจบริหารทารกคนเดียวได้หรือ

จึงพาพระกุมารเข้าป่า ทรงเห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ก่อนทั้งหลายอยู่มาแล้วในป่านั้น จึงสำเร็จการอยู้พร้อมกับพระโอรส.

ลำดับนั้น พระกุมารทรงทำความคุ้นเคยในที่นอนอย่างดีเป็นต้น

เมื่อมานอนบนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า หรือบนเตียงเชือก จึงทรงกันแสง.

เป็นผู้อันความหนาวและลมเป็นต้นถูกต้องเข้าก็ทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อน

เสด็จพ่อ ยุงกัดเสด็จพ่อ หิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ. พระราชามัวแต่ทรง

ปลอบโยนพระกุมารอยู่นั่นแล ทำให้เวลาล่วงไปตลอดราตรี แม้

เวลากลางวันทรงเที่ยวบิณฑบาตแล้วนำภัตตาหารเข้าไปให้พระกุมารนั้น.

ภัตตาหารสำรวม มากไปด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือย และถั่วเขียวเป็นต้น แม้

ไม่ชอบใจก็เสวยภัตตาหารนั้นด้วยอำนาจของความหิว พอล่วงไป ๒-๓ วัน

ก็ทรงซูบซีดเหมือนปทุมที่วางไว้ในที่ร้อน ส่วนพระราชาไม่ทรงมีประการ

อันแปลก เสวยได้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา. ลำดับนั้น พระราชา

เมื่อจะทรงให้พระกุมารยินยอมจึงตรัสว่า นี่แนะพ่อ ในนคร ย่อมจะหา

อาหารประณีตได้ พวกเราจงพากันไปในนครนั้นเถิด. พระกุมารรับว่า

ดีละเสด็จพ่อ. แต่นั้น พระราชาทรงให้พระกุมารอยู่ข้างหน้า แล้วพา

กันกลับมาตามทางที่มาแล้วนั่นแหละ. ฝ่ายพระเทวีชนนีของพระกุมาร

ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชาจักไม่ทรงพาพระกุมารไปอยู่ป่านาน พอล่วง

ไป ๒-๓ วันเท่านั้นก็จักเสด็จกลับ จึงให้กระทำรั้วไว้ในที่ที่พระราชา

เอาไม้เท้าขีดไว้นั่นแหละ แล้วสำเร็จการอยู่. พระราชาประทับยืนอยู่ในที่

ไม่ไกลจากรั้วของพระเทวีนั้น แล้วทรงส่งพระกุมารไปว่า ดูก่อนพ่อ

มารดาของเจ้านั่งอยู่ที่นี้ เจ้าจงไป. พระองค์ได้ประทับยืนดูด้วยหวังพระทัย

ว่าใคร ๆ อย่าได้เบียดเบียนเขาเลย จนกระทั่งพระกุมารนั้นถึงที่นั้น พระ-

กุมารได้วิ่งไปยังสำนักของพระมารดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พวกบุรุษผู้ทำการอารักขาเห็นพระกุมารนั้นเสด็จมา จึงกราบทูล

พระเทวี. พระเทวีห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนางต้อนรับเอาไว้แล้ว

และตรัสถามถึงความเป็นไปของพระราชา ได้ทรงสดับว่า เสด็จมาข้างหลัง

จึงทรงสั่งคนไปคอยรับ ฝ่ายพระราชาได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ใน

ทันใดนั้นเอง. คนทั้งหลายไม่พบพระราชจึงพากันกลับมา. ลำดับนั้น

พระเทวีทรงหมดหวัง จึงพาพระโอรสไปยังพระนครอภิเษกไว้ในราช-

สมบัติ. ฝ่ายพระราชาประทับนั่งอยู่ในที่อยู่ของพระองค์ ทรงเห็นแจ้งบรรลุ

พระโพธิญาณแล้ว ได้กล่าวอุทานคาถานี้ ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ณ ควงต้นไม้สวรรค์. อุทานคาถานั้น โดยใจความง่ายทั้งนั้น.

ก็ในอุทานคาถานี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. การเปล่งวาจาสนทนาหรือ

วาจาเครื่องเกี่ยวข้องด้วยอำนาจความเสน่หาในกุมารนั้นนี้ใด เกิดแล้วแก่

เราผู้ยังกุมารนั้นให้ยินยอมอยู่ โดยการอยู่ร่วมกับกุมารคนหนึ่งผู้เป็นเพื่อน.

ผู้ประกาศให้ทราบความหนาวและความร้อนเป็นต้น. ถ้าเราไม่สละกุมาร

นั้นไซร้ แม้กาลต่อจากนั้นไป การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจาเครื่อง

เกี่ยวข้องนั้น ก็จักมีอยู่เหมือนอย่างนั้น. การเปล่งวาจาสนทนาหรือวาจา

เครื่องเกี่ยวข้องกับเพื่อนจะพึงมีแก่เราจนถึงในบัดนี้. เราเล็งเห็นภัยนี้ต่อ

ไปข้างหน้าว่า การเปล่งวาจาสนทนาและวาจาเครื่องเกี่ยวข้องทั้งสองนี้

จะกระทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ จึงทิ้งกุมารนั้นแล้วปฏิบัติโดย

แยบคาย จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอายติภยคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

พรรณนากามคาถา

คาถาว่า กามา หิ จิตฺรา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า บุตรของเศรษฐีในนครพาราณสี ยังหนุ่มแน่นทีเดียว

ได้ตำแหน่งเศรษฐี. เขามีปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓. เขาให้

บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวงดุจเทพกุมาร. ครั้งนั้น เขายังเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว

คิดว่าจักบวช จึงลาบิดามารดา. บิดามารดาห้ามเขาไว้ เขาก็ยังรบเร้าอยู่

เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บิดามารดาจึงห้ามเขาแม้อีกโดยประการต่าง ๆ

ว่า พ่อเอย เจ้าเป็นคนละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เช่นกับการ

การเดินไป ๆ มา ๆ บนคมมีดโกน. เขาก็ยังรบเร้าอยู่เหมือนเดิมนั่นแหละ

บิดามารดาจึงคิดว่า ถ้าลูกคนนี้บวช ความโทมนัสย่อมเกิดมีแก่พวกเรา

ห้ามเขาได้ ความโทมนัสย่อมจะเกิดมีแก่เขา. เออก็ความโทมนัสจงมีแก่

พวกเราเถิด จงอย่ามีแก่เขาเลย จึงอนุญาตให้บวช. แต่นั้น บุตรของ

เศรษฐีนั้นไม่สนใจปริชนทั้งปวงผู้ปริเทวนาการอยู่ ไปยังป่าอิสิปตนะ

บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. เสนาสนะอันประเสริฐยัง

ไม่ถึงเขา เขาจึงลาดเสื่อลำแพนบนเตียงน้อยแล้วนอน. เขาเคยชินที่นอน

อย่างดีมาแล้ว จึงได้มีความลำบากยิ่งตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อราตรีสว่างแล้ว

เขาทำบริกรรมสรีระแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าผู้แก่กว่า ได้เสนาสนะเลิศและโภชนะเลิศ. พระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้เป็นนวกะ ได้อาสนะและโภชนะอันเศร้าหมอง อย่างใดอย่าง

หนึ่งเท่านั้น. เขาได้เป็นผู้มีความทุกข์อย่างยิ่ง แม้เพราะโภชนะอันเศร้า-

หมองนั้น. พอล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น เขาก็ซูบผอมมีผิวพรรณหมอง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

คล้ำเบื่อหน่าย ในเพราะสมณธรรมยังไม่ถึงความแก่กล้านั้น. แต่นั้น จึง

สั่งทูตให้บอกแก่บิดามารดาแล้วสึก. พอ ๒ - ๓ วัน เขาได้กำลังแล้ว

ประสงค์จะบวชแม้อีก. แต่นั้น เขาจึงบวชเป็นครั้งที่สอง แล้วก็สึกไปอีก

ในครั้งที่สามเขาบวชอีก ปฏิบัติโดยชอบเห็นแจ้งแล้ว กระทำให้แจ้ง

ปัจเจกโพธิญาณแล้วกล่าวอุทานคาถานี้ ได้กล่าวแม้พยากรณ์คาถานี้แหละ

ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายซ้ำอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามา ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ

วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ธรรมคืออารมณ์มีปิยรูป

เป็นต้น ชื่อว่าวัตถุกาม ประเภทของราคะทั้งหมด ชื่อว่ากิเลสกาม. ก็

ในที่นี้ ประสงค์เอาวัตถุกาม. กามทั้งหลายวิจิตรงดงามโดยอเนกประการ

มีรูปเป็นต้น. ชื่อว่าอร่อย เพราะเป็นที่ชอบใจของชาวโลก. ชื่อว่าเป็น

ที่รื่นรมย์ใจ เพราะทำใจของพาลปุถุชนให้ยินดี. บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่

ด้วยรูปต่าง ๆ. ท่านกล่าวอธิบายว่า ด้วยสภาวะหลายอย่าง. จริงอยู่ กาม

เหล่านั้นวิจิตรงดงามด้วยอำนาจรูปเป็นต้น มีรูปต่าง ๆ ชนิด ด้วยอำนาจ

สีเขียวเป็นต้นในรูปเป็นต้น. อธิบายว่า กามทั่งหลายแสดงความชอบใจ

โดยประการนั้น ๆ ด้วยรูปต่าง ๆ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่ำยีจิตอยู่คือไม่ให้ยินดี

ในการบวช. คำที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้ว แม้บทสรุป ก็พึง

ประกอบด้วยบท ๒ บท หรือ ๓ บท แล้วพึงทราบโดยนัยดังกล่าวใน

คาถาแรกนั้นแล.

จบพรรณนากามคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

พรรณนาอีติคาถา

คาถาว่า อีติ จ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า หัวฝีเกิดขึ้นแก่พระเจ้าพาราณสี เวทนากล้าได้เพิ่มมาก

ขึ้น หมอทั้งหลายทูลว่า เว้นสัตถกรรมการผ่าตัด จะไม่มีความผาสุก

พระราชาทรงให้อภัยหมอเหล่านั้น แล้วให้กระทำการผ่าตัด. หมอเหล่า-

นั้นผ่าหัวฝีนั้นแล้ว นำหนองและเลือดออกมา กระทำให้ไม่มีเวทนาแล้ว

เอาผ้าพันแผล. และถวายคำแนะนำพระราชาใน (การเสวย) เนื้อและ

พระกระยาหารอันเศร้าหมอง. พระราชาทรงมีพระสรีระซูบผอม เพราะ

โภชนะเศร้าหมอง. และหัวฝีของพระราชานั้นก็แห้งไป. พระราชาทรงมี

สัญญาว่าทรงผาสุก จึงเสวยพระกระยาหารอันสนิท. ด้วยเหตุนั้น จึงทรง

เกิดพละกำลัง ทรงเสพเฉพาะในการเสพเท่านั้น. หัวฝีของพระราชานั้น

ก็ถึงสภาวะอันมีในก่อนนั่นแหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์จึงให้ทำการ

ผ่าตัดจนถึง ๓ ครั้ง อันหมอทั้งหลายละเว้นแล้ว (จากการรักษา) จึงทรง

เบื่อหน่าย ละราชสมบัติใหญ่ออกบวชเข้าป่า เริ่มวิปัสสนา ๖ พรรษาก็

ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ ได้กล่าวอุทานคาถานี้แล้วไปยังเงื้อม

เขานันทมูลกะ.

ที่ชื่อว่า อีติ จัญไรในคาถานั้น เพราะอรรถว่า มา. คำว่า อีติ

นี้ เป็นชื่อของเหตุแห่งความฉิบหายอันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะ-

ฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านี้ก็ชื่อว่าจัญไร เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งความ

ฉิบหายมิใช่น้อย และเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมอนัตถพินาศ. แม้หัวฝี

ก็หลั่งของไม่สะอาดออกมา เป็นของบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก

เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่าดุจหัวฝี เพราะหลั่งของไม่สะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

คือกิเลสออกมา และเพราะมีภาวะบวมขึ้น แก่จัด และแตกออก โดย

การเกิดขึ้น การคร่ำคร่า และแตกพังไป. ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะอรรถว่า

รบกวน. อธิบายว่า ทำอนัตถพินาศให้เกิดครอบงำ ท่วมทับไว้. คำว่า

อุปัทวะนี้เป็นชื่อของหัวฝีคือราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ

เหล่านี้ ก็ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะนำมาซึ่งความพินาศคือการไม่รู้แจ้งพระ-

นิพพานเป็นเหตุ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งโดยรอบแห่งอุปัทวกรรมทุกชนิด.

ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านี้ ทำความกระสับกระส่ายเพราะกิเลสให้เกิด

ทำความไม่มีโรคกล่าวคือศีล หรือความโลภให้เกิดขึ้น ปล้นเอาความไม่

มีโรคซึ่งเป็นไปตามปกติ ฉะนั้น กามคุณเหล่านั้นจึงชื่อว่าดุจโรค เพราะ

อรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้. อนึ่ง ชื่อว่าดุจลูกศร เพราะอรรถว่า

เข้าไปเรื่อย ๆ ในภายใน เพราะอรรถว่า เสียบเข้าในภายใน และเพราะ

อรรถว่า ถอนออกยาก. ชื่อว่าเป็นภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในปัจจุบันและ

ภัยในภายหน้า. ชื่อว่า เมต เพราะตัดบทออกเป็น เม เอต. คำที่เหลือใน

คาถานี้ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอีติคาถา

พรรณนาสีตาลุกคาถา

คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่าสีตาลุก-

พรหมทัต พระราชานั้นทรงผนวชแล้วอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยหญ้าในป่า

ก็ในสถานที่นั้น ในฤดูหนาวก็หนาวจัด ในฤดูร้อนก็ร้อนจัด เพราะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

สถานที่โล่งแจ้ง. ในโคจรคาม ก็ไม่ได้ภิกษาเพียงพอแก่ความต้องการ

แม้น้ำดื่มก็หาได้ยาก. ทั้งลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน

พระราชานั้นได้มีพระดำริดังนี้ว่า ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากที่นี้ไป มีถิ่น

ที่สมบูรณ์ อันตรายอันเบียดเบียนเหล่านั้นแม้ทุกชนิดก็ไม่มี ในถิ่นที่นั้น

ถ้ากระไรเราพึงไปในถิ่นที่นั้น เราอยู่ผาสุกอาจได้บรรลุความสุข. พระ-

องค์ได้ทรงดำริต่อไปอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้มักมาก

ในปัจจัย และย่อมทำจิตเห็นปานนี้ ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ย่อมไม่

ตกอยู่ในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาอย่างนี้แล้ว

จึงไม่เสด็จไป. พระองค์ทรงพิจารณาจิตที่เกิดขึ้นอย่างนี้จนถึงครั้งที่สาม

ทำจิตให้กลับแล้ว แต่นั้นพระองค์ก็ประทับอยู่ในที่เดิมนั่นแหละ ถึง

๗ พรรษา ปฏิบัติชอบอยู่ กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ

ตรัสอุทานคาถานี้ แล้วได้เสด็จไปยังเงื้อมเขานนัทมูลกะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีตญฺจ ความว่า ความหนาวมี ๒ อย่าง

คือความหนาวมีธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย และความหนาวมีธาตุภายนอก

กำเริบเป็นปัจจัย. แม้ความร้อนก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน. แมลงวันสีน้ำตาล

ชื่อว่าเหลือบ. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่ง

เลื้อยคลานไป. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้บทสรุปพึงทราบโดยนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณาสีตาลุกคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

พรรณนานาคคาถา

คาถาว่า นาโคว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาองค์หนึ่งครองสมบัติอยู่

๒๐ ปี สวรรคตแล้วไหม้อยู่ในนรก ๒๐ ปีเหมือนกัน แล้วเกิดในกำเนิด

ช้างในหิมวันตประเทศ มิสกนธ์กายเกิดพร้อมแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นดุจสี

ปทุม ได้เป็นช้างใหญ่จ่าโขลงตัวประเสริฐ. เฉพาะลูกช้างทั้งหลายย่อม

กินกิ่งไม้หักที่ช้างนั้นหักลงแล้ว ๆ แม้ในการหยั่งลงน้ำ พวกช้างพังก็เอา

เปือกตมมาไล้ทาช้างนั้น. เรื่องทั้งหมดได้เป็นเหมือนเรื่องของช้างปาลิ-

ไลยกะ. ช้างนั้นเบื่อหน่ายจึงหลีกออกไปจากโขลง. แต่นั้น โขลงช้างก็

ติดตามช้างนั้นไปตามแนวของรอยเท้า. ช้างนั้นแม้หลีกไปอย่างนั้นถึงครั้ง

ที่ ๓ โขลงช้างก็ยังติดตามอยู่นั่นแหละ. ลำดับนั้น ช้างนั้นจึงคิดว่า

บัดนี้ หลานของเราครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ถ้ากระไรเราพึง

ไปยังอุทยาน ตามชาติกำเนิดอันมีในก่อนของตน หลานนั้นจักรักษาเรา

ไว้ในอุทยานนั้น. ลำดับนั้น เมื่อโขลงช้างพากันหลับในตอนกลางคืน

ช้างนั้นจึงละโขลงเข้าไปยังอุทยานนั้นนั่นแหละ. พนักงานรักษาอุทยาน

เห็นเข้า จึงกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงแวดล้อมด้วยเสนา โดย

หวังพระทัยว่าจักจับช้าง. ช้างบ่ายหน้าไปเฉพาะพระราชา. พระราชา

ทรงดำริว่า ช้างมาตรงหน้าเรา จึงผูกสอดลูกศรประทับยืนอยู่. ลำดับนั้น

ช้างคิดว่า พระราชานี้คงจะยิงเรา จึงกล่าวด้วยถ้อยคำมนุษย์ว่า ข้าแต่

ท่านพรหมทัต พระองค์อย่ายิงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์เป็นพระอัยกา

ของพระองค์. พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร แล้วตรัสถามเรื่องราว

ทั้งปวง. ฝ่ายช้างก็กราบทูลเรื่องทั้งปวงในราชสมบัติ ในนรก และใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

กำเนิดช้าง. ให้ทรงทราบ. พระราชาตรัสว่า ดีละ ท่านอย่ากลัว และอย่าให้

ใคร ๆ กลัว แล้วให้เข้าไปตั้งเสบียง คนอารักขา และสิ่งของสำหรับช้าง

แก่ช้าง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จบนคอช้างตัวประเสริฐทรงดำริว่า

พระอัยกานี้ครองราชสมบัติอยู่ ๒๐ ปี แล้วไหม้ในนรก แล้วเกิดใน

กำเนิดดิรัจฉานด้วยเศษแห่งวิบากที่เหลือ แม้ในกำเนิดนั้นก็อดกลั้นการ

กระทบกระทั่งในการอยู่เป็นหมู่คณะไม่ได้ จึงมาที่นี้. โอ ! การอยู่เป็นหมู่

คณะลำบากหนอ. แต่ความเป็นผู้เดียวอยู่เป็นสุขแล. จึงทรงเริมวิปัสสนา

บนคอช้างนั้นนั่นเอง ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว.พระราชา

นั้นทรงมีความสุขด้วยโลกุตรสุข พวกอำมาตย์เข้าไปหมอบกราบแล้ว

ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้เวลาเสด็จไปแล้ว พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น

พระราชาตรัสว่า เราไม่ได้เป็นพระราชา แล้วได้ตรัสคาถานี้ โดยนัยอัน

มีในก่อนนั่นแล. คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบท ปรากฏชัดแล้ว.

ก็ในที่นี้ ประกอบคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้. ก็คาถานั้นท่านกล่าว

โดยความถูกต้อง มิใช่กล่าวตามที่ได้ฟังกันมา. ช้างนี้ชื่อว่านาคะ เพราะ

ไม่มาสู่ภูมิที่ตนยังมิได้ฝึก เพราะเป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะ

ใคร่หรือเพราะเป็นผู้มีร่างกายใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ แม้เรา

ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่านาค เพราะไม่มาสู่ภูมิที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะ

เป็นผู้ฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้าใคร่ เพราะไม่กระทำบาป และ

เพราะไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเป็นผู้มีสรีระคุณใหญ่. อนึ่ง

ช้างนี้ละโขลง อยู่ในป่าตามความชอบใจ ด้วยความสุขในความเป็นผู้เดียว

เที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

แม้เราก็ฉันนั้น พึงเว้นหมู่คณะเสีย อยู่ในป่าตามความชอบใจด้วยความ

สุขในการอยู่ผู้เดียว คืออาศัยในป่าตลอดกาลที่ปรารถนา โดยประการที่

จะมีความสุขแก่ตน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด อธิบายว่า

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็น

ผู้มีขันธ์ซึ่งตั้งอยู่ถูกที่ใหญ่โต ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น

เป็นผู้ชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะเป็นผู้มีขันธ์คือกองแห่งศีลอันเป็น

ของพระอเสขะอันยิ่งใหญ่. อนึ่ง ช้างนี้ชื่อว่าปทุมี มีสีเหมือนปทุม เพราะ

มีตัวเช่นกับปทุม หรือเพราะเกิดในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อว่าใน

กาลไหน ๆ แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ชื่อว่าปทุมี เพราะเป็นผู้ซื่อตรง

เช่นกับปทุม หรือเพราะเป็นผู้เกิดในปทุมคืออริยชาติ. อนึ่ง ช้างนี้เป็น

ผู้โอฬารยิ่งด้วยเรี่ยวแรงและกำลังเป็นต้น ฉันใด ชื่อว่าในกาลไหน ๆ

แม้เรา ก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์

เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เป็นเครื่องชำแรกกิเลสเป็นต้น.

เราคิดอยู่อย่างนี้ จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วได้บรรลุพระปัจเจกสัมโพธิญาณ

ฉะนี้แล.

จบพรรณนานาคคาถา

พรรณนาอัฏฐานคาถา

คาถาว่า อฏฺาน ต ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสียังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว มี

พระประสงค์จะผนวช จึงทูลอ้อนวอนพระชนกชนนี. พระชนกชนนีทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ห้ามพระโอรสนั้น. พระโอรสนั้นแม้จะถูกห้ามก็ยังทรงรบเร้าอยู่นั่นแหละว่า

จักบวช. แต่นั้น พระชนกชนนีได้ตรัสคำทั้งปวงแล้วทรงอนุญาต เหมือน

บุตรเศรษฐีที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น. และทรงให้พระโอรสปฏิญาณว่า บวช

แล้วต้องอยู่ในพระอุทยานเท่านั้น. พระโอรสได้ทรงการทำอย่างนั้นแล้ว.

พระมารดาของพระองค์ทรงห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนาง เสด็จไป

พระอุทยานแต่เช้าตรู่ ให้พระโอรสดื่มยาคู และในระหว่างก็ทรงให้เคี้ยว

ของควรเคี้ยวเป็นต้น ทรงสนทนาอยู่กับพระโอรสนั้นจนกระทั่งเที่ยง จึง

เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระบิดาก็เสด็จมาในเวลาเที่ยง ให้พระโอรสนั้น

เสวย แม้พระองค์ก็เสวยด้วย ทรงสนทนากับพระโอรสนั้นตลอดวัน ใน

เวลาเย็น ทรงวางคนผู้ปรนนิบัติไว้ แล้วเสด็จเข้าพระนคร. พระโอรส

นั้นไม่เงียบสงัดอยู่ตลอดทั้งวันและคืนด้วยประการอย่างนี้.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอาทิจจพันธุ์ อยู่ใน

เงื้อมเขานันทมูลกะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงรำพึงอยู่ได้เห็น

พระกุมารนั้นว่า กุมารนี้อาจบวชได้ แต่ไม่อาจตัดชัฏได้. เบื้องหน้าแต่นั้น

ทรงรำพึงต่อไปว่า พระกุมารจักเบื่อหน่ายโดยธรรมดาของตนได้หรือ

ไม่หนอ. ลำดับนั้น ทราบว่า พระกุมารเมื่อทรงเบื่อหน่ายเองโดยธรรมดา

จักเป็นเวลานานมาก จึงดำริว่า เราจักให้อารมณ์แก่พระกุมารนั้นดังนี้

แล้วมาจากพื้นมโนศิลาโดยนัยก่อน แล้วได้ยืนอยู่ในอุทยาน. บริษัท

ของพระราชาเห็นเข้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

เสด็จมา. พระราชาทรงมีพระทัยปราโมทย์ว่า บัดนี้โอรสของเราจะไม่

รำคาญ จักอยู่กับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าโดยเคารพ แล้วขอให้อยู่ในอุทยานั้น รับสั่งให้กระทำทุกสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

มีบรรณศาลา ที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น เสร็จแล้วนิมนต์ให้อยู่.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้โอกาสจึงถามพระกุมาร

ว่าพระองค์เป็นอะไร ? พระกุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต. พระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นผู้เช่นนี้.

ลำดับนั้น เมื่อพระกุมารตรัสว่า ท่านผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย

เป็นผู้เช่นไร อะไรไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

ท่านไม่เพ่งดูการกระทำอันไม่สมควรแก่ท่าน พระมารดาของท่านเสด็จ

มาในเวลาเช้า พร้อมกับพวกสตรีสองหมื่นนาง กระทำอุทยานให้

ไม่เงียบสงัด อนึ่ง พระบิดาของท่านก็เสด็จมาพร้อมกับหมู่พลใหญ่ ทำ

ให้ไม่เงียบสงัดในตอนเย็น บริษัทผู้ปรนนิบัติทำให้ไม่เงียบสงัดตลอด

ราตรีทั้งสิ้น มิใช่หรือ ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่เป็นเช่นกับท่าน

แต่ท่านเป็นผู้เป็นเช่นนี้ ดังนี้แล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง

ในหิมวันตประเทศด้วยฤทธิ์แก่พระกุมาร ผู้ยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละ.

พระกุมารเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในหิมวันตประเทศนั้น ผู้ยืน

พิงแผ่นกระดานสำหรับยึด ผู้กำลังจงกรม และผู้กำลังทำการย้อม

และการเย็บเป็นต้น จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่ได้มาในที่นี้ แต่

การบรรพชาท่านทั้งหลายอนุญาตแล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า

เจริญพร ท่านอนุญาตการบรรพชาจำเดิมแต่กาลที่บวชแล้ว ชื่อว่าสมณะ

ทั้งหลายย่อมได้เพื่อจะกระทำการออกไปจากทุกข์แก่ตน และเพื่อจะไปยัง

ถิ่นที่ต้องการที่ปรารถนา กรรมมีประมาณเท่านี้แหละย่อมควร ครั้นกล่าว

แล้วจึงยืนอยู่ในอากาศ กล่าวกึ่งคาถานี้ว่า ข้อที่จะได้สัมผัสวิมุตติอันเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะของผู้ยินดีในการคลุกคลีดังนี้ เป็นผู้ที่ใคร ๆ

ยังเห็นอยู่นั้นแล ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะทางอากาศ.

เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสด็จไปอย่างนั้นแล้ว พระกุมารนั้นเสด็จ

เข้าไปยังบรรณศาลาของตนแล้วก็นอน. ฝ่ายบุรุษผู้อารักขาประมาทเสียว่า

พระกุมารนอนแล้ว บัดนี้จักไปไหนได้ จึงก้าวลงสู่ความหลับ. พระ-

กุมารรู้ว่าบุรุษนั้นประมาทแล้ว จึงถือบาตรจีวรเข้าไปป่า. ก็พระกุมารนั้น

ยืนอยู่ในที่นั้นเริ่มวิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้วไป

ยังสถานที่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. และในที่นั้น ถูกถามว่า บรรลุ

ได้อย่างไร จึงกล่าวกึ่งคาถาที่พระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้

ให้ครบบริบูรณ์.

ความของคาถานั้นว่า บทว่า อฏฺาน ต ตัดเป็น อฏฺาน ต

ท่านอธิบายว่า อการณ ต แปลว่า ข้อนั้นมิใช่เหตุ. ท่านลบนิคคหิต.

เหมือนในคำมีอาทิว่า อริยสจฺจาน ทสฺสน ดังนี้. บทว่า สงฺคณิกา-

รตสฺส แปลว่า ผู้ยินดีในหมู่คณะ. บทว่า ย เป็นคำกล่าวเหตุ ดุจใน

คำมีอาทิว่า ย หิรียติ หิรียิตพฺเพน แปลว่า เพราะละอายด้วยสิ่งที่ควร

ละอาย. บทว่า ผสฺเส ได้แก่ พึงบรรลุ. บทว่า สามยิก วิมุตฺตึ

ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ สมาบัติอันเป็นฝ่ายโลกิยะนั้น ท่านเรียกว่า

สามยิกา วิมุตฺติ เพราะหลุดพ้นจากข้าศึกทั้งหลายในสมัยที่แน่วแน่ ๆ

เท่านั้น. ซึ่ง สามยิกวิมุตติ นั้น. พระกุมารตรัสว่า เราใคร่ครวญคำ

ของพระอาทิจจพันธุปัจเจกสัมพุทธเจ้าดังนี้ว่า บุคคลพึงบรรลุวิมุตติด้วย

เหตุใด เหตุนั้นมิใช่ฐานะ คือเหตุนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ยินดีในการคลุกคลี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ดังนี้ จึงละความยินดีในการคลุกคลี ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุแล้ว.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอัฏฐานคาถา

จบวรรคที่ ๒

พรรณนาทิฏฐิวิสูกคาถา

คำว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งไปในที่ลับแล้วทรงดำริว่า ความ

ร้อนเป็นต้นอันกำจัดความหนาวเป็นต้น มีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะอันกำจัดวัฏฏะ

มีอยู่ฉันนั้นหรือไม่หนอ. พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวก

ท่านรู้จักวิวัฏฏะไหม ? อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

รู้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า วิวัฏฏะนั้นคืออะไร ? แต่นั้นอำมาตย์

ทั้งหลายจึงกล่าวถึงความเที่ยงและความขาดสูญ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมี

ที่สุด. พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ไม่รู้ อำมาตย์พวกนี้ทั้งหมด

เป็นไปในคติของทิฏฐิ ทรงเห็นความที่พระองค์เองทรงเป็นที่ขัดกัน

และไม่เหมาะสมกันแก่อำมาตย์เหล่านั้น แล้วทรงดำริว่า วิวัฏฏะอันกำจัด

วัฏฏะย่อมมี ควรแสวงหาวิวัฏฏะนั้น จึงทรงละราชสมบัติออกผนวชเจริญ

วิปัสสนาอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว. ได้ตรัสอุทาน

คาถานี้ และพยากรณ์คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ความของคาถานั้นว่า บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒.

จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึก เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

อรรถว่า เป็นเครื่องแทง และเพราะอรรถว่า ทวนต่อมรรคสัมมาทิฏฐิ เมื่อ

เป็นอย่างนั้น ข้าศึกของทิฏฐิ หรือข้าศึกคือทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐีวิสูกะ. บทว่า

อุปาติวตฺโต แปลว่า ก้าวล่วงแล้วด้วยมรรคคือทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต

นิยาม ความว่า บรรลุถึงนิยตภาวะความเป็นผู้แน่นอน โดยความเป็น

ผู้ไม่ตกไปเป็นธรรมดา และโดยความเป็นผู้มีสัมโพธิญาณเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า อีกอย่างหนึ่ง บรรลุปฐมมรรคกล่าวคือสัมมัตตนิยาม. ท่าน

กล่าวความสำเร็จกิจในปฐมมรรค และการได้เฉพาะปฐมมรรคนั้น ด้วย

ลำดับคำมีประมาณเท่านี้. บัดนี้ ท่านแสดงการได้เฉพาะมรรคที่เหลือ ด้วย

คำว่า ปฏิลทฺธมคฺโค นี้. บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้

มีพระปัจเจกสัมโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. ท่านแสดงผล ด้วยบทว่า อุปฺปนฺน-

าโณมฺหิ นี้. บทว่า อนญฺเนยฺโย ความว่า อันคนเหล่าอื่นไม่ต้อง

แนะนำว่า นี้จริง. ท่านแสดงความเป็นพระสยัมภู ด้วยบทว่า อนญฺ-

เนยฺโย นี้. อีกอย่างหนึ่ง แสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง เพราะไม่

มีความเป็นผู้อันคนอื่นจะพึงแนะนำในพระปัจเจกสัมโพธิญาณที่ได้บรรลุ

แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ด้วยสมถะและ

วิปัสสนา บรรลุถึงความแน่นอน ด้วยมรรคเบื้องต้น มีมรรคอันได้แล้ว

ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ด้วยผลญาณ ชื่อว่าอันคน

อื่นไม่ได้แนะนำ เพราะได้บรรลุธรรมทั้งหมดนั้นด้วยตนเอง. คำที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนาทิฏกฐีวิสูกคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

พรรณนานิลโลลุปคาถา

คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พ่อครัวของพระเจ้าพาราณสีหุงพระกระยาหารในระหว่าง

(เสวย) เห็นเป็นที่พอใจมีรสอร่อย แล้วน้อมเข้าไปถวายด้วยหวังใจว่า

ชื่อแม้ไฉน พระราชาคงจะประทานทรัพย์ให้แก่เรา. พระกระยาหารนั้น

โดยเฉพาะกลิ่นเท่านั้น ก็ทำความเป็นผู้ใคร่เสวยให้เกิดแก่พระราชา ทำ

พระเขฬะในพระโอฐให้เกิดขึ้น ก็เมื่อคำข้าวคำแรกสักว่าใส่เข้าในพระโอฐ

เอ็นหมื่นเจ็ดพันเอ็นได้เป็นประหนึ่งน่าอมฤตถูกต้องแล้ว. พ่อครัวคิดว่า

จักประทานเราเดี๋ยวนี้ จักประทานเราเดี๋ยวนี้. ฝ่ายพระราชาทรงดำริว่า

พ่อครัวสมควรแก่การสักการะ. แล้วทรงดำริต่อไปว่า ก็เราได้ลิ้มรสแล้ว

สักการะ เกียรติศัพท์อันเลวก็จะแพร่ไปว่า พระราชาองค์นี้เป็นคนโลภ

หนักในรส ดังนี้ จึงมิได้ตรัสคำอะไร ๆ. เมื่อเป็นอย่างนั้น พ่อครัว

ก็ยังคงคิดอยู่ว่า ประเดี๋ยวจักประทาน ประเดี๋ยวจักประทาน จนกระทั่ง

เสวยเสร็จ. ฝ่ายพระราชาก็มิได้ตรัสอะไร ๆ เพราะกลัวต่อการติเตียน.

ลำดับนั้น พ่อครัวคิดว่า ชิวหาวิญญาณของพระราชานี้ เห็นจะไม่มี

ในวันที่สอง จึงน้อมพระกระยาหารอันมีรสไม่อร่อยเข้าไปถวาย. พระ-

ราชาพอได้เสวยแม้ทรงทราบอยู่ว่า แน่ะผู้เจริญ วันนั้นพ่อครัวควรแก่

การตำหนิหนอ แต่ก็ทรงพิจารณาเหมือนในครั้งก่อน จึงมิได้ตรัสอะไรๆ

เพราะกลัวการติเตียน. ลำดับนั้นพ่อครัวคิดว่า พระราชา ดีก็ไม่ทรงทราบ

ไม่ดีก็ไม่ทรงทราบ จึงถือเอาเครื่องเสบียงทุกชนิดด้วยตัวเอง แล้วหุง

ต้มเฉพาะบางอย่างถวายพระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า โอหนอ

ความโลภ ชื่อว่าเราผู้กินบ้านเมืองถึงสองหมื่นเมือง ยังไม่ได้แม้สักว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ข้าวสวย เพราะความโลภของพ่อครัวนี้ ทรงเบื่อหน่ายละราชสมบัติออก

ผนวชเห็นแจ้งอยู่ ได้ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ ได้ตรัสคาถานี้

โดยนัยก่อนนั่นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลฺโลลุโป แปลว่า ไม่มีความโลภ.

จริงอยู่ บุคคลใด ถูกความอยากในรสครอบงำ บุคคลนั้นย่อมโลภจัด

โลภแล้ว ๆ เล่า ๆ.เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โลลุปะ ผู้โลภ. เพราะ-

ฉะนั้น พระราชานี้เมื่อจะทรงห้ามความเป็นผู้ถูกเรียกว่าเป็นคนโลภ จึง

ตรัสว่า นิลโลลุปะ ผู้ไม่มีความโลภ. ในบทว่า นิกฺกุโห นี้ มีอธิบาย

ดังต่อไปนี้. เรื่องสำหรับหลอกลวง ๓ อย่าง ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า

ผู้ไม่หลอกลวง ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ ชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง

เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในโภชนะอันเป็นที่พอใจเป็นต้น. ในบทว่า

นิปฺปิปาโส นี้ ความอยากจะดื่ม ชื่อว่าความกระหาย, ชื่อว่าผู้ไม่

กระหาย เพราะไม่มีความอยากจะดื่มนั้น อธิบายว่า ผู้เว้นจากความ

ประสงค์จะบริโภคเพราะความโลภในรสอร่อย. ในบทว่า นิมฺมกโข นี้

มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน มีลักษณะทำคุณความดีของคนอื่นให้ฉิบหาย.

ชื่อว่าผู้ไม่มีความลบหลู่คูณท่าน เพราะไม่มีมักขะนั้น. ท่านกล่าวหมายเอา

ความไม่มีการลบหลู่คุณของพ่อครัว ในคราวที่พระองค์ทรงเป็นคฤหัสถ์.

ในบทว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห นี้ ธรรม ๖ ประการ คือกิเลส ๓ มีราคะ

เป็นต้น และทุจริต ๓ มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า กสาวะ น้ำฝาด

เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใสตามที่เกิดมี เพราะอรรถว่า ให้ละภาวะของตน

แล้ว ให้ถือภาวะของผู้อื่น และเพราะอรรถว่า ดุจตะกอน. เหมือนดังท่าน

กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด ๓ เป็นไฉน ? กิเลส

ดุจน้ำฝาก ๓ เหล่านี้ คือกิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะ โทสะ

และโมหะ บรรดาธรรมเหล่านั้น กิเลสดุจน้ำฝาด ๓ แม้อื่น

อีกเป็นไฉน ? คือกิเลสดุจน้ำฝาดทางกาย ทางวาจา และ

ทางใจ ดังนี้.

บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดเหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัด

แล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด ๓ เว้นโมหะ และเพราะเป็นผู้

ขจัดโมหะอันเป็นมูลรากของกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหมดนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะดุจน้ำฝาดอันขจัดแล้ว เพราะเป็นผู้ขจัดกิเลสดุจน้ำฝาด

ทางกาน วาจา ใจ ๓ นั่นแหละ และชื่อว่าเป็นผู้มีโมหะ. อันขจัดแล้ว

เพราะเป็นผู้ขจัดโมหะแล้ว. บรรดากิเลสดุจน้ำฝาดนอกนี้ ความ

ที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือราคะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็นผู้ไม่มีความโลภ

เป็นต้น ความที่กิเลสดุจน้ำฝาดคือโทสะถูกขจัด สำเร็จแล้วด้วยความเป็น

ผู้ไม่มีการลบหลู่คุณท่าน. บทว่า นิราสโย แปลว่า ผู้ไม่มีตัณหา. บทว่า

สพฺพโลเก ภวิตฺวา ความว่า เป็นผู้เว้นจากภวตัณหาและวิภวตัณหาใน

โลกทั้งสิ้น คือในภพทั้ง ๓ หรือในอายตนะ ๑๒. คำที่เกลือพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง กล่าวบาททั้ง ๓ แล้วพึงทำการ

เชื่อมความในบทว่า เอโก จเร นี้ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเป็นผู้เดียว

เที่ยวไป ดังนี้.

จบพรรณนานิลโลลุปคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

พรรณนาปาปสหายคาถา

คาถาว่า ปาป สหาย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในพระนครพาราณสี ทรงทำประทักษิณ

พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทรงเห็นคนทั้งหลายนำข้าวเปลือก

เก่าเป็นต้นออกจากฉางไปภายนอก จึงตรัสถามอำมาตย์ว่า พนาย นี้

อะไรกัน ? เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า บัดนี้ข้าว

เปลือกใหม่เป็นต้นจักเกิดขึ้น คนเหล่านี้จึงทิ้งข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นเสีย

เพื่อจะทำที่ว่างแก่ข้าวเปลือกใหม่เป็นต้นเหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า

นี่แน่ะพนาย เสบียงของพวกหมู่พลในตำหนักในฝ่ายหญิงเป็นต้น ยังเต็ม

บริบูรณ์อยู่หรือ. เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ยังเต็ม

บริบูรณ์อยู่พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่าน

ทั้งหลายจงก่อสร้างโรงทาน เราจักให้ทาน ข้าวเปลือกเหล่านี้จงอย่าได้

เสียหายไปโดยไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลเลย. ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มีคติใน

ความเห็นผิดคนหนึ่งปรารภว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานที่ให้แล้วไม่มี

ผลดังนี้ แล้วจึงกราบทูลพระราชาต่อไปว่า คนทั้งที่เป็นพาลและเป็น

บัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง ดังนี้แล้ว

ทูลห้ามเสีย. พระราชาทรงเห็นคนทั้งหลายแย่งฉางข้าวกันแม้ครั้งที่สอง

แม้ครั้งที่สาม ก็ตรัสสั่งเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ครั้งที่สาม อำมาตย์

ผู้มีคติในความเห็นผิดแม้นั้น ก็กล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ทานนี้คนโง่บัญญัติ แล้วทูลห้ามพระราชานั้น. พระองค์ตรัสว่า แน่ะเจ้า

แม้ของของเราก็ไม่ได้เพื่อจะให้หรือ เราจะได้ประโยชน์อะไรจากพวก

สหายลามกเหล่านี้ ทรงเบื่อหน่าย จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ. และเมื่อจะทรงติเตียนสหายลามก

ผู้นั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความย่อแห่งอุทานคาถานั้น มีดังต่อไปนี้. สหายนี้ใดชื่อว่า

ผู้ลามก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิลามกอันมีวัตถุ ๑๐ ประการ, ชื่อว่า

ผู้มักเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะเห็นความฉิบหายมิใช่ประโยชน์

แม้ของคนเหล่าอื่น และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันไม่สม่ำเสมอมีกาย

ทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงงดเว้นสหายผู้ลามกนั้น ผู้มัก

เห็นแต่ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันสม่ำเสมอ.

บทว่า สย น เสเว ได้แก่ ไม่พึงซ่องเสพสหายนั้น ด้วยอำนาจ

ของตน. ท่านอธิบายว่า ก็ถ้าคนอื่นมีอำนาจจะอาจทำอะไรได้. บทว่า

ปสุต ได้แก่ ผู้ขวนขวาย อธิบายว่า ผู้คิดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยอำนาจ

ทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺต ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ ผู้เว้นจากการทำกุศลให้เจริญ. ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงคบหา ไม่

พึงเข้าไปนั่งใกล้สหายนั้น คือผู้เห็นปานนั้น โดยที่แท้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว

ไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาปาปสหายคาถา

พรรณนาพหุสสุตคาถา

คาถาว่า พหุสฺสุต ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

คำทั้งปวงมีอาทิว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อนพระปัจเจกโพธิสัตว์ ๘ องค์

บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

อุบัติขึ้นในเทวโลกดังนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วในอนวัชชโภชีคาถา

นั่นแหละ, ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระราชานิมนต์ให้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว จึงตรัส

ถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นใคร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทูลว่า

มหาราชเจ้า อาตมาทั้งหลายชื่อว่าพหุสุตะ. พระราชาทรงดำริว่า เรา

ชื่อว่าสุตพรหมทัต ย่อมไม่อิ่มการฟัง, เอาเถอะ เราจักฟังธรรมเทศนา

ซึ่งมีนัยอันวิจิตรในสำนักของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นดำริ

แล้ว ทรงดีพระทัย ถวายน้ำทักษิโณทกแล้วทรงอังคาส ในเวลาเสร็จ

ภัตกิจ จึงประทับนั่งในที่ใกล้พระสังฆเถระแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอ

ท่านได้โปรดกล่าวธรรมกถาเถิด. ท่านกล่าวว่า ขอมหาราชเจ้า จงทรงมี

พระเกษมสำราญ จงมีความสิ้นไปแห่งราคะเถิด แล้วลุกขึ้น. พระราชา

ทรงดำริว่า ท่านผู้นี้มิได้เป็นพหูสูต ท่านองค์ที่สองคงจักเป็นพหูสูต,

พรุ่งนี้เราจักได้ฟังธรรมเทศนาอันวิจิตรในสำนักของท่าน จึงนิมนต์ฉัน

ในวันพรุ่งนี้. พระองค์ทรงนิมนต์จนถึงลำดับแห่งพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ทุกองค์ ด้วยประการอย่างนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแม้ทั้งหมดนั้น

ก็กล่าวบทที่เหลือให้เป็นเช่นกับองค์ที่ ๑ ทำบทหนึ่ง ๆ ให้แปลกกัน

อย่างนี้ว่า จงสิ้นโทสะเถิด จงสิ้นโมหะเถิด จงสิ้นคติเถิด จงสิ้นภพเถิด

จงสิ้นวัฏฏะเถิด จงสิ้นอุปธิเถิด แล้วก็ลุกขึ้น.

ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า ท่านเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราเป็น

พหูสูต แต่ท่านเหล่านั้นไม่มีกถาอันวิจิตร ท่านเหล่านั้นกล่าวอะไร จึง

ทรงเริ่มพิจารณาอรรถแห่งคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ครั้น

เมื่อทรงพิจารณาอรรถของคำว่า จงสิ้นราคะเถิด จึงได้ทรงทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

เมื่อราคะสิ้นไป โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสอื่น ๆ ก็ดี ย่อมเป็นอันสิ้นไป

ได้ ทรงดีพระทัยว่า สมณะเหล่านี้เป็นพหูสูตโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างว่า

บุรุษผู้เอานิ้วมือชี้มหาปฐพีหรืออากาศ ย่อมเป็นอันชี้เอาพื้นที่ประมาณ

เท่าองคุลีเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ ย่อมเป็นอันชี้เอามหาปฐพีทั้งสิ้น

อากาศก็เหมือนกัน แม้ฉันใด พระสมณะเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อชี้แจงอรรถ

หนึ่ง ๆ ย่อมเป็นอันชี้แจงอรรถทั้งหลายอันหาปริมาณมิได้. จากนั้น

พระองค์ทรงดำริว่า ชื่อว่าในกาลบางคราว แม้เราก็จักเป็นพหูสูตอย่างนั้น

เมื่อทรงปรารถนาความเป็นพหูสูตเห็นปานนั้น จึงทรงสละราชสมบัติออก

ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้ว

ได้ตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความย่อในอุทานคาถานี้มีดังต่อไปนี้.

บทว่า พหุสฺสุต ความว่า พหูสูตมี ๒ อย่าง คือปริยัติพหูสูต

ทั้งมวล โดยใจความในพระไตรปิฎก และปฏิเวธพหูสูต โดยแทงตลอด

มรรค ผล วิชชา และอภิญญา. ผู้มีอาคมอันมาแล้ว ชื่อว่า ธมฺมธโร

ผู้ทรงธรรม, อนึ่ง ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

อันยิ่งใหญ่ ชื่อว่า อุฬาโร ผู้ยิ่งใหญ่. ผู้มียุตตปฏิภาณ มีมุตตปฏิภาณ

และมียุตตมุตตปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณวา ผู้มีปฏิภาณ. อีกอย่างหนึ่ง

พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ อย่าง โดยปริยัติ ปริปุจฉาและอธิคม. จริงอยู่

ปริยัติย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นผู้มีปริยัติปฏิภาณ แจ่มแจ้งในปริยัติ.

การสอบถามย่อมแจ่มแจ้งแก่ผู้ใดซึ่งสอบถามถึงอรรถ ญาณ ลักษณะ ฐานะ

และอฐานะ ผู้นั้นเป็นผู้มีปริปุจฉาปฏิภาณ แจ่มแจ้งในการถาม. มรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

เป็นต้นอันผู้ใดแทงตลอดแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้มีอธิคมปฏิภาณ แจ่มแจ้งใน

การบรรลุ. บุคคลคบมิตรนั้นคือเห็นปานนั้น ผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม

ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณ. แต่นั้นพึงรู้ทั่วถึงประโยชน์มีประการมิใช่น้อย โดย

ชนิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยชนิด

ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอานุภาพ

ของมิตรนั้น แต่นั้นบรรเทาความกังขา คือบรรเทา ได้แก่ทำให้พินาศไป

ซึ่งความลังเลสงสัยในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอาทิว่า ในอดีต-

กาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ เป็นผู้ทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว

อย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาพหุสสุตคาถา

พรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา

คาถาว่า ขิฑฑ รตึ ดังนี้เป้นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต ในนครพาราณสี

เสวยยาคูหรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วให้ช่างประดับพระองค์ด้วย

เครื่องประดับนานาชนิด แล้วทรงดูพระสรีระทั้งสิ้นในพระฉายใหญ่

ไม่โปรดสิ่งใด ก็เอาสิ่งนั้นออก แล้วให้ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น.

วันหนึ่งเมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น เวลาเสวยพระกระยาหารเป็น

เวลาเที่ยงพอดี. พระองค์ทรงประดับค้างอยู่ จึงทรงเอาแผ่นผ้าพันพระ-

เศียรเสวยแล้ว เสด็จเข้าบรรทมกลางวัน. เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ทรงกระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแลซ้ำอีก พระอาทิตย์ก็ตก. แม้วันที่สอง

แม้วันที่สามก็อย่างนั้น. ครั้นเมื่อพระองค์ทรงขวนขวายแต่การประดับ

ประดาอยู่อย่างนั้น โรคที่พระปฤษฎางค์ได้เกิดขึ้น พระองค์ได้มีพระดำริ

ดังนี้ว่า พุทโธ่เอ๋ย เราแม้เอาเรี่ยวแรงทั้งหมดมาประดับประดาก็ยังไม่พอใจ

ในการประดับที่สำเร็จแล้วนี้ ทำความดิ้นรนให้เกิดขึ้น ก็ขึ้นชื่อว่าความ

ดิ้นรนเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการไปอบาย เอาเถอะ เราจักข่มความดิ้นรน

เสีย จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง

พระปัจเจกสัมโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

การเล่นและความยินดีในอุทานคาถานั้นได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น.

บทว่า กามสุข ได้แก่ ความสุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกาม

ทั้งหลายท่านก็เรียกว่าสุข เพราะเป็นอารมณ์เป็นต้นของความสุข. เหมือน

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูปเป็นสุข ตกไปตามความสุข มีอยู่ดังนี้ . เมื่อเป็น

อย่างนั้น ไม่ทำให้พอใจ คือไม่ทำว่าพอละ. ซึ่งการเล่น ความยินดี

และความสุขนี้ในโลกพิภพนี้ ได้แก่ ไม่ถือเอาการเล่นเป็นต้นนี้อย่างนี้ว่า

เป็นที่อิ่มใจ หรือว่าเป็นสาระ. บทว่า อนเปกฺขมาโน ได้แก่ ผู้มีปกติ

ไม่เพ่งเล็งคือไม่มักมาก ไม่มีความอยาก เพราะการไม่ทำให้พอใจนั้น.

ในคำว่า วิภูสฏานา วิรโต สจฺจวาที นั้น การประดับมี ๒ อย่าง

คือการประดับของคฤหัสถ์ และการประดับของบรรพชิต. การประดับ

ด้วยผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้ และของหอมเป็นต้น ชื่อว่าการประดับ

ของคฤหัสถ์ การประดับด้วยเครื่องประดับคือบาตรเป็นต้น ชื่อว่าการ

ประดับของบรรพชิต. ฐานะที่ประดับก็คือการประดับนั่นเอง. ผู้คลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ความยินดีจากฐานะที่ประดับนั้นด้วยวิรัติ ๓ อย่าง. พึงเห็นเนื้อความ

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์ เพราะกล่าวคำจริงแท้.

จบพรรณนาวิภูสัฏฐานคาถา

พรรณนาปุตตทารคาถา

คาถาว่า ปุตฺตญฺจ ทาร ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า โอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงอภิเษกครองราชสมบัติ

ในเวลายังทรงเป็นหนุ่มอยู่ทีเดียว. พระองค์เสวยสิริราชสมบัติ ดุจพระ-

ปัจเจกโพธิสัตว์ที่กล่าวแล้วในคาถาที่หนึ่ง วันหนึ่งทรงดำริว่า เราครอง

ราชสมบัติอยู่ ย่อมกระทำความทุกข์ให้แก่คนเป็นอันมาก เราจะประ-

โยชน์อะไรด้วยบาปนี้ เพื่อต้องการภัตมื้อเดียว เอาเถอะ เราจะทำความ

สุขให้เกิดขึ้น จึงทรงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรง

ทำให้แจ้งพระปัจเจกสัมโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะทั้งหลายมีแก้ว

มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินและทอง

เป็นต้น. บทว่า ธญฺานิ ได้แก่ บุพพัณชาติ ๗ ชนิด มีข้าวสาลี ข้าว

เปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้

เป็นต้น และอปรัณชาติที่เหลือ (มีถั่ว งา เป็นต้น ). บทว่า พนฺธวานิ

ได้แก่ เผ่าพันธุ์ ๔ อย่าง มีเผ่าพันธุ์คือญาติ เผ่าพันธุ์คือโคตร เผ่าพันธุ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

คือมิตรและเผ่าพันธุ์คือศิลป. บทว่า ยโถธิกานิ ได้แก่ ซึ่งตั้งอยู่ตามเขต

ของตน ๆ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาปุตตทารคาถา

พรรณนาสังคคาถา

คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า ปาทโลล-

พรหมทัต พระองค์เสวยยาคูและพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ แล้วทอด

พระเนตรละคร ๓ อย่าง ในปราสาททั้ง ๓. การฟ้อนชื่อว่ามี ๓ อย่าง

คือการฟ้อนอันมาจากพระราชาองค์ก่อน ๑ การฟ้อนอันมาจากพระราชา

ต่อมา ๑ การฟ้อนอันตั้งขึ้นในกาลของตน ๑. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จ

ไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนสาวแต่เช้าตรู่. หญิงฟ้อนเหล่านั้นคิดว่า จักทำ

พระราชาให้ยินดี จึงพากันประกอบการฟ้อน การขับ และการประโคม

เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง ประดุจนางอัปสรประกอบถวายแก่ท้าวสักกะผู้

เป็นจอมเทวดาฉะนั้น. พระราชาไม่ทรงยินดีด้วย ดำริว่า นี้ไม่น่าอัศจรรย์

สำหรับคนสาว จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีนางฟ้อนปูนกลาง. หญิงฟ้อน

แม้เหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระองค์ก็ไม่ทรงยินดี

เหมือนอย่างนั้น แม้ในหญิงฟ้อนปูนกลางนั้น จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มี

หญิงฟ้อนเป็นคนแก่. แม้หญิงฟ้อนเหล่านั้นก็ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.

พระราชาทรงเห็นการฟ้อนเสมือนกระดูกเล่นแสดง และได้ทรงฟังการขับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

ไม่ไพเราะ เพราะหญิงฟ้อนเหล่านั้นเป็นไปล่วง ๒-๓ ชั่วพระราชาแล้ว

จึงเป็นคนแก่ จึงเสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงฟ้อนสาว ๆ ซ้ำอีก แล้ว

เสด็จไปยังปราสาทที่มีหญิงปูนกลางช้ำอีก พระองค์ทรงเที่ยวไปแม้อย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่ทรงยินดีในปราสาทไหน ๆ จึงทรงดำริว่า หญิง

ฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะยังเราให้ยินดี จึงเอาเรี่ยวแรงทั้งหมดประกอบ

การฟ้อน การขับ และการประโคม ประดุจนางอัปสรทั้งหลาย ประสงค์

จะให้ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงยินดี จึงประกอบถวายฉะนั้น. เรานั้นไม่

ยินดีในที่ไหน ๆ ทำให้รกโลก. ก็ขึ้นชื่อว่าความโลภนี้ เป็นธรรมที่ตั้ง

แห่งการไปสู่อบาย เอาเถอะ เราจักข่มความโลภเสีย จึงสละราชสมบัติ

แล้วทรงผนวช เจริญวิปัสสนาแล้วได้ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้

ตรัสอุทานคาถานี้.

เนื้อความแห่งอุทานคาถานั้นว่า :- พระราชาทรงชี้แจงเครื่องใช้

สอยของพระองค์ด้วยบทว่า สงฺโค เอโส นี้. เพราะเครื่องใช้สอยนั้น

ชื่อว่า สังคะ เพราะเป็นที่ข้องอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ดุจช้างเข้าไป (ติด)

อยู่ในเปือกตมฉะนั้น. ในบทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย นี้ ความสุขชื่อว่า

นิดหน่อย เพราะอรรถว่า ต่ำช้า โดยจะต้องให้เกิดขึ้นด้วยสัญญาวิปริต

ในเวลาใช้สอยกามคุณ ๕ หรือโดยนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร

คือเป็นของชั่วครู่เหมือนความสุขในการเห็นการฟ้อนด้วยแสงสว่างแห่งแสง

ฟ้าแลบ อธิบายว่า เป็นไปชั่วคราว. ก็ในบทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกฺข-

เมเวตฺถ ภิยฺโย นี้ ความยินดีใดที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข-

โสมนัสอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นใด นี้เป็นความยินดีในกามทั้งหลาย

ความยินดีนั้น คือทุกข์ ในความเกี่ยวข้องนี้ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษของกามทั้งหลายเป็นอย่างไร ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในพระศาสนานี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยฐานะแห่งศิลปะ

ใด คือด้วยการตีตรา หรือด้วยการคำนวณดังนี้ ว่าด้วยการเทียบเคียงกัน

ทุกข์นั้นมีน้อย ประมาณเท่าหยาดน้ำ โดยที่แท้ ทุกข์เท่านั้นมีมากยิ่ง

เช่นกับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในความ

เกี่ยวข้องนี้ มีความยินดีน้อย ทุกข์เท่านั้นมากยิ่ง. บทว่า คโฬ เอโส

ความว่า ความเกียวข้องคือกามคุณ ๕ นี้ เปรียบดังเบ็ด โดยแสดงความ

ยินดีแล้วฉุดลากมา. บทว่า อิติ ตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้มีความรู้

คือ เป็นบัณฑิต รู้อย่างนี้แล้ว พึงละความเกี่ยวข้องทั้งหมดนั้นแล้วเที่ยว

ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้นแล.

จบพรรณนาสังคคาถา

พรรณนาสันทาลคาถา

คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี ได้มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตต-

พรหมทัต พระราชานั้นเข้าสู่สงความไม่ชนะ หรือทรงปรารภกิจอื่นไม่

สำเร็จจะไม่กลับมา. เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพระองค์อย่างนั้น.

วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปพระราชอุทยาน.

ก็สมัยนั้น ไฟป่าเกิดขึ้น ไฟนั้นไหม้ไม้เเห้งและหญ้าสดเป็นต้น

ลามไปไม่กลับเลย. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีไฟป่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

นั้นเป็นเครื่องเปรียบให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ ๑๑ กองก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ไหม้สัตว์ทั้งปวงลามไปไม่กลับมา ทำมหันตทุกข์ให้เกิดขึ้น.

ชื่อว่าเมื่อไร เพื่อให้ทุกข์นี้หมดสิ้น แม้เราก็จะเผากิเลสทั้งหลายไม่ให้กลับมา

ด้วยไฟคืออริมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไหม้ลามไปไม่พึงหวนกลับมา ฉะนั้น.

แต่นั้น พระองค์เสด็จไปครู่หนึ่ง ได้ทรงเห็นชาวประมงกำลังจับ

ปลาในน้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งเข้าไปถวายในแหของชาวประมงเหล่านั้น ได้

ทำลายแหหนีไป. ชาวประมงเหล่านี้จึงพากันส่งเสียงว่า ปลาทำลายแห

หนีไปแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น จึงทรงทำนิมิตอันมีปลานั้น

เป็นข้อเปรียบเทียบว่า ชื่อว่าเมื่อไร แม้เราก็จะทำลายข่ายคือตัณหาและ

ทิฏฐิ ด้วยอริมรรคญาณ พึงไปไม่ติดข้องอยู่. พระองค์จึงทรงสละ

ราชสมบัติผนวช ปรารภวิปัสสนา ได้ทรงทำให้เเจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ

และได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ในบทที่สองของคาถานั้น สิ่งที่ทำด้วยด้ายเรียกว่า ชาละ. น้ำ

เรียกว่า อัมพุ. ชื่อว่าอัมพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. คำว่า อัมพุจารี

นั้นเป็นชื่อของปลา. ปลาในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี. อธิบายว่า เหมือน

ปลาทำลายแหไปในแม่น้ำนั้น. ในบาทที่สาม สถานที่ที่ถูกไฟไหม้เรียกว่า

ทัฑฒะ อธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว คือจะมาเกิดที่

นั้นไม่ได้ ฉันใด เราก็จะไม่หวนกลับมายังสถานที่ คือกามคุณที่ถูกเผา

ไหม้ด้วยไฟคือมรรคญาณ คือจะไม่มาในกามคุณนั้นต่อไปฉันนั้น. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาสันทาลคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

พรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา

คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลลพรหม-

ทัต เป็นผู้ทรงขวนขวายการดูละคร เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต.

ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.

พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตนั้น เป็นผู้ไม่สันโดษเสด็จไปในที่นั้น ๆ

ส่วนพระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตพระองค์นี้ ทอดพระเนตรการละครนั้น ๆ

ทรงเพลิดเพลินอย่างยิ่ง เสด็จเที่ยวเพิ่มความอยาก โดยผลัดเปลี่ยนหมุน

เวียนทอดพระเนตรการแสดงละคร. ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภรรยา

ของกุฎุมพีนางหนึ่งซึ่งมาดูการแสดง ได้ยังความกำหนัดรักใคร่ให้เกิดขึ้น.

แต่นั้นทรงถึงความสลดพระทัยขึ้นมา จึงทรงดำริว่า เฮ้อ! เราทำความ

อยากนี้ให้เจริญอยู่ จักเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย เอาละ เราจักข่มความอยาก

นั้น จึงออกผนวชแล้วได้เห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ

เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติแรก ๆ ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้

อันแสดงคุณซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัตินั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ แปลว่า ผู้มีจักษุทอด

ลงเบื้องล่าง. ท่านอธิบายไว้ว่า วางกระดูกคอ ๗ ข้อไว้โดยลำดับแล้ว

เพ่งดูชั่วแอก เพื่อจะดูสิ่งที่ควรเว้นและสิ่งที่ควรจะถือเอา. แต่ไม่ใช่เอา

กระดูกคางจรดกระดูกหทัย เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็นผู้มีจักษุ

ทอดลงก็ย่อมจะไม่เป็นสมณสารูป.

บทว่า น จ ปาทโลโล ความว่า ไม่เป็นเหมือนคนเท้าคัน โดย

ความเป็นผู้ใคร่จะเข้าไปท่ามกลางคณะ ด้วยอาการอย่างนี้ คือเป็นคนที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ของคนคนเดียว เป็นคนที่ ๓ ของคน ๒ คน คือเป็นผู้งดเว้นจากการ

เที่ยวจาริกไปนานและเที่ยวจาริกไปไม่กลับ.

บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย ความว่า เป็นผู้มีอินทรีย์อันคุ้มครองด้วย

อำนาจอินทรีย์ที่เหลือดังกล่าวแล้ว เพราะบรรดาอินทรีย์ทั้ง ๖ ในที่นี้

ท่านกล่าวมนินทรีย์ไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.

บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานสาน ก็คือ มานส นั่นเอง.

ชื่อว่า ผู้รักษาใจ เพราะรักษาใจนั้นไว้ได้. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้รักษา

จิตไว้ได้โดยประการที่ไม่ถูกกิเลสปล้น. บทว่า อนวสฺสุโต ความว่า ผู้

เว้นจากการถูกกิเลสรั่วรดในอารมณ์นั้น ๆ ด้วยกายปฏิบัตินี้.

บทว่า อปริฑยฺหมาโน ได้แก่ ไม่ถูกไฟกิเลสเผา. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ ไม่ถูกกิเลสรั่วรดภายนอก ไม่ถูกไฟกิเลสเผาในภายใน. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาโอกขิตตจักขุคาถา

พรรณนาปาริจฉัตตกคาถา

คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในนครพาราณสี มีพระราชาอีกองค์พระนามว่า จาตุ-

มาสิกพรหมทัต เสด็จไปเล่นอุทยานทุก ๆ ๔ เดือน วันหนึ่ง พระองค์

เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในเดือนกลางของฤดูคิมหันต์ ทรงเห็นต้นทองหลาง

ดารดาษด้วยใบ มีกิ่งและค่าคบประดับด้วยดอก ที่ประตูอุทยาน ทรงถือ

เอาหนึ่งดอกแล้วเสด็จเข้าไปยังอุทยาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ลำดับนั้น อำมาตย์คนหนึ่งผู้อยู่บนคอช้าง คิดว่า พระราชาทรง

ถือเอาดอกชั้นเลิศไปแล้ว จึงได้ถือเอาหนึ่งดอกเหมือนกัน. หมู่พล

ทั้งหมดต่างได้ถือเอาโดยอุบายเดียวกัน. พวกที่ไม่ชอบดอก แม้ใบก็ถือ

เอาไป.

ต้นไม้นั้นไม่มีใบและดอก ได้มีอยู่สักว่าลำต้นเท่านั้น. เวลาเย็น

พระราชาเสด็จออกจากอุทยาน ทรงเห็นดังนั้น จึงทรงดำริว่า ทำไมคน

จึงทำกับต้นไม้นี้ ตอนเวลาที่เรามา ต้นไม้นี้ยังประดับด้วยดอก เช่นกับ

แก้วประพาฬที่ระหว่างกิ่งอันมีสีดุจแก้วมณี มาบัดนี้ กลับไม่มีใบและดอก

เมื่อกำลังทรงดำริอยู่ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ไม่มีดอก มีใบสะพรั่ง

ในที่ไม่ไกลต้นทองหลางนั้นเอง และพระองค์ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้มี

พระดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ของชนเป็นอันมาก

เพราะมีกิ่งเต็มด้วยดอก ด้วยเหตุนั้น จึงถึงความพินาศไปโดยครู่เดียว

เท่านั้น ส่วนต้นไม้อื่นต้นนี้ คงตั้งอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ความอยากได้ ก็ราชสมบัตินี้เล่า ก็เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน

ต้นไม้มีดอกฉะนั้น ส่วนภิกขุภาวะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความอยากได้ เหมือน

ต้นไม้ที่ไม่มีดอก. เพราะฉะนั้น ตราบใด ที่ราชสมบัติแม้นี้ยังไม่ถูกชิง

เหมือนต้นไม้นี้ ตราบนั้น เราจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะบวช เหมือนต้นทอง-

หลางต้นอื่นนี้ที่ไม่มีใบดารดาษอยู่ฉะนั้น. พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติ

ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส

อุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา นี้

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เสด็จออกจากตำหนักเป็นผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

คำที่เหลืออาจรู้แจ้งได้โดยนัยดังกล่าวแล้วแล เพราะเหตุนั้น จึงไม่ต้อง

กล่าวให้พิสดาร.

จบพรรณนาปาริจฉัตตกคาถา

จบวรรคที่ ๓

พรรณนารสเคธคาถา

คาถาว่า รเสสุ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง อันบุตรอำมาตย์ทั้งหลายห้อม

ล้อมอยู่ในอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในสระโบกขรณีอันมีแผ่นศิลา. พ่อครัว

ของพระองค์เอารสของเนื้อทุกชนิดมาหุงอันตรภัต (อาหารว่าง) อันปรุง

อย่างดีเยี่ยม ประดุจอมฤตรสแล้วน้อมเข้าไปถวาย. พระองค์ทรงคิดใน

รสนั้น ไม่ทรงประทานอะไร ๆ แก่ใคร ๆ เสวยเฉพาะพระองค์เท่านั้น.

ทรงเล่นน้ำอยู่ จึงเสด็จออกไปในเวลาพลบค่ำเกินไป แล้วรีบ ๆ เสวย.

บรรดาคนที่พระองค์เคยเสวยร่วมด้วยในกาลก่อนนั้น พระองค์มิได้ทรง

ระลึกถึงใคร ๆ. ครั้นภายหลัง ทรงยังการพิจารณาให้เกิดขึ้น ทรงทราบ

ว่า โอ ! เราถูกความอยากในรสครอบงำ ลืมชนทั้งปวงเสีย บริโภค

เฉพาะคนเดียวนั้น ได้กระทำกรรมอันลามกแล้ว เอาเถอะ เราจักข่ม

ความอยากในรสนั้น ครั้นทรงดำริแล้วจึงสละราชสมบัติผนวช เจริญ

วิปัสสนากระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงติเตียนการปฏิบัติ

อันมีในก่อนของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงคุณตรงกัน

ข้ามกับการปฏิบัตินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รเสสุ ได้แก่ ในของควรลิ้มอันต่าง

ตัวรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสแสบ และรสฝาด

เป็นต้น. บทว่า เคธ อกร แปลว่า ไม่กระทำความอยากได้ อธิบายว่า

ไม่ยังตัณหาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อโลโล ไม่หมกมุ่นในความวิเศษของรสทั่งหลายอย่างนี้ว่า

เราจักลิ้มสิ่งนี้ เราจักลิ้มสิ่งนี้.

บทว่า อนญฺโปสี ได้แก่ ผู้เว้นจากสัทธิวิหาริกที่จะต้องเลี้ยงดู

เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้สันโดษด้วยเหตุสักว่าทรงร่างกายไว้. อีกอย่าง

หนึ่ง อธิบายว่า ชื่อว่าผู้ไม่เลี้ยงดูคนอื่น เพราะไม่เป็นเหมือนเมื่อก่อน

ที่เรามีปกติกระทำความอยากในรสทั้งหลายในอุทยาน เลี้ยงคนอื่น ละ

ตัณหาอันเป็นเหตุให้โลภกระทำความอยากในรสทั้งหลายนั้นเสีย แล้วไม่

ทำอัตภาพอื่นซึ่งมีตัณหาเป็นมูลรากให้บังเกิดต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง ใน

บทนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า กิเลสทั้งหลายเรียกว่าอัญญะ เพราะอรรถว่า ยัง

อัตภาพให้เกิด, ชื่อว่า อันญญโปสี เพราะไม่เลี้ยงดูกิเลสเหล่านั้น.

บทว่า สปทานจารี ได้แก่ มีปกติเที่ยวไปไม่แวะออก (นอกทาง)

คือมีปกติเที่ยวไปโดยลำดับ อธิบายว่า ไม่ละลำดับเรือน เข้าไปบิณฑบาต

ติดต่อกันไป ทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลเข็ญใจ.

บทว่า กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตโต ได้แก่ มีจิตไม่ข้องอยู่ใน

ตระกูลกษัตริย์เป็นต้นตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ด้วยอำนาจกิเลส, อธิบายว่า

เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ อุปมาดังพระจันทร์. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

จบพรรณนารสเคธคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

พรรณนาอาวรณคาถา

คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี เป็นผู้ได้ปฐมฌาน.

เพื่อจะทรงอนุรักษ์ฌานนั้น พระองค์จึงทรงละราชสมบัติออกผนวช เห็น

แจ้งอยู่ จึงทรงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปัตติสัมปทา

ของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาวรณานิ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ นั่นเอง.

นิวรณ์ ๕ นั้น โดยใจความ ได้กล่าวไว้แล้วใน อุรคสูตร. ก็เพราะเหตุ

ที่นิวรณ์เหล่านั้นกั้นจิตไว้ เหมือนหมอกเป็นต้นกั้นดวงจันทร์และดวง

อาทิตย์ฉะนั้น จึงเรียกว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. อธิบายว่า พึงละ คือละขาด

ซึ่งนิวรณ์เหล่านั้น ด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ.

บทว่า อุปกฺกิเลเส ได้แก่ อกุศลธรรมซึ่งเข้าไปเบียดเบียนจิต.

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อภิชฌาเป็นต้นซึ่งกล่าวไว้ในวัตโถปมสูตรเป็นต้น.

บทว่า พฺยปนุชฺช แปลว่า บรรเทา อธิบายว่า ละขาดด้วย

วิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือ. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

สมถวิปัสสนาอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละ

ทิฏฐินิสัยได้แล้วด้วยปฐมมรรค, ตัดโทษคือความเสน่หา อธิบายว่า

ตัณหาและราคะอันเป็นไปในไตรธาตุ ด้วยมรรคที่เหลือ. จริงอยู่ ความ

เสน่หาเท่านั้นท่านเรียกว่า สิเนหโทษ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณ. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบพรรณนาอาวรณคาถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

พรรณนาวิปิฏฐิคาถา

คาถาว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ได้เป็นผู้ได้จตุตถ-

ฌาน. แม้พระราชานั้น เพื่อจะอนุรักษ์ฌาน ก็ทรงสละราชสมบัติออก

ผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้เเจ้งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดง

ปฏิปัตติทิสัมปทาของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาน แปลว่า กระทำไว้ข้าง

หลัง อธิบายว่า ทิ้ง คือละ. บทว่า สุขญฺจ ทุกฺข ได้แก่ ความยินดี

และความไม่ยินดีทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺส ได้แก่ ความยินดี

และความไม่ยินดีทางใจ. บทว่า อุเปกฺข ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน.

บทว่า สมถ ได้แก่ สมาธิในจตุตถฌานเท่านั้น. บทว่า วิสุทฺธ ความว่า

ชื่อว่า บริสุทธิ์ยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือ

นิวรณ์ ๕ และวิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจ

ทองคำอันขัดแล้ว.

ส่วนวาจารวบรวมความมีดังต่อไปนี้. กระทำสุขและทุกข์ในกาล

ก่อนเท่านี้ไว้ข้างหลัง อธิบายว่า กระทำทุกข์ไว้ข้างหลังในอุปจารแห่ง

ปฐมฌาน กระทำสุขไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ อักษรที่

กล่าวไว้เบื้องต้นกลับไปไว้เบื้องปลาย สำเร็จรูปว่า โสมนสฺส โทมนสฺสญฺจ

วิปิฏฺิกตฺวาน ปุพฺเพว ทำโสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ ไว้ข้างหลัง ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า ทำโสมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งจตุตถ-

ฌาน และทำโทมนัสไว้ข้างหลังในอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌาน

เหล่านั้นเป็นฐานสำหรับละโสมนัสและโทมนัสโดยอ้อม. แต่เมื่อว่าโดยตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ปฐมฌานเป็นฐานสำหรับละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานสำหรับละสุข จตุตถ-

ฌานเป็นฐานสำหรับละโสมนัส. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำทั้งปวง

มีอาทิว่า พระโยคีเข้าถึงฌานที่หนึ่งอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วในฌาน

ที่หนึ่งนี้ ย่อมดับสิ้นเชิง. กระทำทุกข์โทมนัสและสุขไว้ข้างหลังในฌาน ๓

มีปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ในกาลก่อน ฉันใด ในที่นี้ก็ฉันนั้น กระทำ

โสมนัสไว้ข้างหลังในจตุตถฌาน ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ด้วย

ปฏิปทานี้ แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล

จบพรรณนาวิปัฏฐิคาถา

พรรณนาอารัทธวีริยคาถา

คาถาว่า อารทฺธวีริโย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาปัจจันตประเทศองค์หนึ่ง มีทหารหนึ่งพันเป็น

กำลัง เป็นผู้มีราชสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่เป็นผู้มีพระปัญญามาก. วันหนึ่ง

พระองค์ทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีราชสมบัติน้อยก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น

เรามีปัญญาอาจสามารถเพื่อยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ จึงทรงส่งทูตไปยัง

พระราชาใกล้เคียงว่า ภายใน ๗ วันพระเจ้าสามันตราชจงมอบราช-

สมบัติให้แก่เรา หรือว่าจะทำการรบกับเรา.

จากนั้น พระองค์ก็ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้วตรัสว่า

เรายังมิได้บอกกล่าวท่านทั้งหลายเลย กระทำกรรมไปโดยพลการ เรา

ส่งสารอย่างนี้ไปให้แก่พระราชาโน้นแล้ว เราควรกระทำอย่างไร. เหล่า

อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองก์อาจให้ทูตนั้นกลับได้หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ไม่อาจ ทูตจักไปแล้ว. อำมาตย์กราบทูล

ว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงทำพวกข้าพระบาทให้พินาศเสีย

แล้ว เพราะการตายด้วยศัสตราของคนอื่นลำบาก เอาเถิดพวกข้าพระบาท

จะฆ่ากันและกันตาย จะฆ่าตัวตาย จะแขวน (คอตาย) จะกินยาพิษ (ตาย).

บรรดาอำมาตย์เหล่านั้นคนหนึ่ง ๆ พรรณนาเฉพาะความตายเท่านั้น ด้วย

ประการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอำมาตย์

เหล่านี้ นี่แน่ะพนาย ทหารทั้งหลายของเรามีอยู่. ลำดับนั้น ทหารพันคน

ก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาทเป็นทหาร ข้าแต่มหาราช

ข้าพระบาทเป็นทหาร. พระราชาทรงดำริว่า เราจักทดลองทหารเหล่านี้

จึงรับสั่งให้จัดแจงเชิงตะกอนใหญ่แล้วตรัสว่า นี่แนะพนาย เรื่องนี้เรา

กระทำลงไปด้วยความผลุนผลัน อำมาตย์ทั้งหลายคัดค้านเราเรื่องนั้น เรา

นั้นจักเข้าสู่เชิงตะกอน ใครจักเข้าไปกับเรา ใครจะเสียสละชีวิตเพื่อเรา.

เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ทหาร ๕๐๐ คนก็ลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

พวกข้าพระบาทจักเข้าไปพระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสกะทหารอีก ๕๐๐ คนนอกนี้ว่า พ่อ

ทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายจักทำอะไร. ทหารเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช นี้มิใช่การกระทำเยี่ยงลูกผู้ชาย อันนี้เป็นจริยาของผู้หญิง

อีกอย่างหนึ่ง มหาราชก็ได้ส่งทูตไปแก่พระราชาฝ่ายข้าศึกแล้ว พวก

ข้าพระบาทนั้นจักรบกับพระราชานั้นจนตาย. แต่นั้นพระราชาจึงตรัสว่า

พวกท่านบริจาคชีวิตเพื่อเรา จึงจัดกองทัพอันประกอบด้วยองค์ ๕ อัน

ทหารพันคนนั้นห้อมล้อม เสด็จไปประทับนั่งในเขตแดนแห่งราชอาณาจักร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

พระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ทรงพระพิโรธ

ว่า ชะช้า ! พระราชาน้อย ๆ นั้น ไม่เพียงพอแม้เเก่ทาสของเรา จึงพา

หมู่พลทั้งปวงออกไปเพื่อจะสู้รบ.

พระราชาน้อยนั้นทรงเห็นพระราชาฝ่ายข้าศึกยกออกมา จึงตรัส

กะหมู่พลว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมีไม่มาก ท่านทั้งหมดจงรวมกัน

ถือดาบและโล่ รีบไปตรงหน้าพระราชานี้. ทหารเหล่านั้นได้กระทำ

เหมือนอย่างนั้น.

ที่นั้น กองทัพของพระราชานั้น ได้แยกออกเป็นสองฝ่ายให้ระหว่าง

ทหารเหล่านั้น จึงจับเป็นพระราชานั้นได้ แล้วถวายแก่พระราชาของตน

ผู้เสด็จมาด้วยหวังพระทัยว่า จักฆ่าพระรานั้น. พระราชาฝ่ายข้าศึก

ทูลขออภัยพระราชาน้อยนั้น. พระราชาทรงให้อภัยแก่พระราชาฝ่ายข้าศึก

แล้วให้ทรงกระทำการสบถ ทรงทำไว้ในอำนาจของพระองค์แล้วทรงมุ่ง

เข้าหาพระราชาอื่นพร้อมกับพระราชาฝ่ายข้าศึกนั้น ทรงตั้งอยู่ในเขต-

แดนแห่งราชอาณาจักรของพระราชานั้นแล้วทรงส่งสารไปว่า จะให้

ราชสมบัติแก่เราหรือว่าจะรบ. พระราชานั้นทรงส่งสารมาว่า หม่อมฉัน

ย่อมทนไม่ได้แม้แต่การรบครั้งเดียว แล้วมอบถวายราชสมบัติ. พระราชา

น้อยทรงจับพระราชาทั้งปวงได้โดยอุบายนี้ แล้วได้ทรงจับเอาแม้พระเจ้า-

พาราณสีไว้ในภายใน.

พระราชาน้อยนั้น อันพระราชา ๑๐๑ องค์ห้อมล้อม ทรง

ครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น จึงทรงดำริว่า เมื่อก่อนเราเป็น

พระราชาน้อย แต่บัดนี้ เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งมณฑลใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้น เพราะญาณสมบัติของตน ก็ญาณของเรานั้นแลประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ด้วยความเพียรอันเป็นโลกิยะ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย

กำหนัด ไฉนหนอ เราพึงแสวงหาโลกุตรธรรมด้วยญาณนี้.

ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าพาราณสี และ

ตั้งบุตรและทาระไว้ในชนบทของพระองค์ ทรงละสิ่งทั้งปวง เสด็จออก

ผนวช ปรารภวิปัสสนาแล้วทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรง

แสดงวิริยสมบัติของพระองค์ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ในอุทานคาถานั้น พึงทำวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่าผู้ปรารภ

ความเพียรเพราะมีความเพียรอันปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้ทรงแสดงถึงความ

ทีพระองค์เป็นผู้มีความเพียรใหญ่. พระนิพพานท่านเรียกว่า ปรมัตถะ

การบรรลุพระนิพพานนั้น ชื่อว่าปรมัตถปัตติ. เพื่อบรรลุพระนิพพาน

อันชื่อว่าปรมัตถะนั้น. ด้วยบทนี้ ทรงแสดงถึงผลที่พึงบรรลุด้วยการ

ปรารภความเพียรนั้น.

ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต นี้ ทรงแสดงถึงความไม่หดหู่ของจิตและ

เจตสิกซึ่งมีความเพียรเป็นผู้อุปถัมภ์. ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ นี้ ทรงแสดง

ถึงการไม่จมลงแห่งกาย ในการยืนและการจงกรมเป็นต้น.

ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ ทรงแสดงถึงความเพียรที่เริ่มตั้งไว้

ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า กาม ตโจ จ นหารุ จ จะเหลือแต่หนังและเอ็นก็

ตามดังนี้. ซึ่งบุคคลเริ่มตั้งไว้ในอนุบุพสิกขาเป็นต้น ท่านเรียกว่า กระทำ

ให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้

ทรงแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วยมรรค. ก็ความเพียรนั้น ชื่อว่ามัน

เพราะถึงความบริบูรณ์แห่งการอบรม ชื่อว่าเป็นเครื่องก้าวออก เพราะ

ออกจากปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้พร้อมพรั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

ด้วยความเพียรนั้น ท่านเรียกว่า ทัฬหนิกมะ เพราะมีความเพียรเครื่อง

ก้าวออกอันมั่น.

บทว่า ถามพลูปปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังแรงกายและ

กำลังญาณในขณะมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพละกำลังอัน

เป็นเรี่ยวแรง ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังญาณอันมั่นคง.

ด้วยบทว่า ถามพลูปปนฺโน นี้ ท่านแสดงถึงความประกอบพร้อม

ด้วยวิปัสสนาญาณแห่งความเพียรนั้น จึงทำปธานคือความเพียรเครื่อง

ประกอบให้สำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาททั้ง ๓ ด้วยความเพียร

อันเป็นชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอารัทธวีริยคาถา

พรรณนาปฏิสัลลานคาถา

คาถาว่า ปฏิสลฺลาน ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ เหมือนดังอาวรณคาถาไม่มีความพิเศษไร ๆ.

ส่วนพรรณนาอรรถแห่งคาถานี้มีความว่า การกลับเฉพาะจากหมู่สัตว์และ

สังขารนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ ชื่อว่า ปฏิสัลลานะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีปกติ

เสพ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง คือความเป็นผู้เดียว ได้แก่ กายวิเวก สงัดกาย.

จิตตวิเวก สงัดจิต ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกและ

เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ.

ในคำว่า ฌาน นั้น สมาบัติ ๘ เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

มีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนา

มรรค ผล ก็ เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกมีสัตตสัญญาความสำคัญ

ว่าสัตว์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์

เอาอารัมมณูปนิชฌานการเข้าไปเพ่งอารมณ์เท่านั้น. ไม่ละ คือไม่ทิ้ง ได้แก่

ไม่สละ การหลีกเร้นและฌานนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า ธมฺเมสุ

ได้แก่ ในธรรมคือเบญจขันธ์เป็นต้นอันเข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจ

แปลว่า ติดต่อ คือไปเสมอ ๆ ได้แก่ ไม่เกลื่อนกล่นแล้ว.

บทว่า อนุธมฺมจารี ได้แก่ ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปแล้ว

เนือง ๆ โดยปรารภธรรมนั้น ๆ เป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ธมฺเมสุ

นี้ โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธรรม. ชื่อว่า อนุธรรม เพราะธรรมอัน

อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น. คำว่า อนุธรรม นี้ เป็นชื่อของวิปัสสนา.

ในคาถานั้น ควรจะกล่าวว่า ธมฺมาน นิจฺจ อนุธมฺมจารี มีปกติ

ประพฤติธรรมอนุโลมแก่ธรรมเป็นนิจ แต่เพื่อสะดวกในการประพันธ์

คาถา จึงเป็นอันกล่าวว่า ธมฺเมสุ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิภัตติ.

ในบทว่า อาทีนว สมฺมสิตา ภเวสุ นี้ พึงทราบวาจาประกอบ

ความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นในภพทั้ง ๓ ด้วย

วิปัสสนากล่าวคือความเป็นผู้มีปกติประพฤติอันเป็นอนุโลมนั้น พึงกล่าว

ว่า เป็นผู้บรรลุด้วยปฏิปทา คือวิปัสสนาอันถึงยอดแห่งกายวิเวกและ

จิตตวิเวกนี้ด้วยอาการอย่างนี้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป.

จบพรรณนาปฏิสัลลานคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

พรรณนาตัณหักขยคาถา

คาถาว่า ตณฺหกฺขย ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่งกระทำประทักษิณพระนคร

ด้วยราชานุภาพอันใหญ่ยิ่ง. คนทั้งหลายผู้มีหทัยรำพึงถึงความงามแห่ง

พระสรีระของพระราชานั้น แม้ไปข้างหน้า ก็ยังกลับมาแหงนดูพระองค์

แม้ไปข้างหลังก็ดี ไปทางข้างทั้งสองก็ดี ก็ยังหันกลับมาแหงนดูพระองค์.

ก็ตามปกติทีเดียวชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดู

พระจันทร์เพ็ญ มหาสมุทรและพระราชา.

ครั้งนั้น ฝ่ายภรรยาของกุฎุมพีนางหนึ่ง อยู่ในปราสาทชั้นบนได้เปิด

หน้าต่างยืนแลดูอยู่. พระราชาทรงเห็นนางนั้น มีพระทัยปฏิพัทธ์รักใคร่

จึงสั่งอำมาตย์ว่า แน่ะพนาย เธอจงรู้ว่า หญิงนี้มีสามีหรือไม่มีสามีเท่านั้น.

อำมาตย์นั้นรู้แล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ หญิงนี้มีสามีพระเจ้าข้า.

ที่นั้น พระราชาจึงทรงดำริว่า หญิงฟ้อนรำสองหมื่นนางเหล่านี้

เปรียบปานดังนางเทพอัปสร ยังเราคนเดียวเท่านั้นให้อภิรมย์ บัดนี้ เรา

นั้นไม่ยินดีหญิงแม้เหล่านี้ มาทำตัณหาให้เกิดขึ้นในหญิงของชายอื่น

ตัณหานั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมคร่าไปสู่อบายถ่ายเดียว ดังนี้ ทรงเห็นโทษ

ของตัณหาแล้ว ทรงดำริว่า จักข่มตัณหานั้น จึงละทิ้งราชสมบัติผนวช

ทรงเห็นแจ้งอยู่ จึงได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัส

อุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขย ได้แก่ พระนิพพาน อีก

อย่างหนึ่ง ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งตัณหาซึ่งมีโทษอันเห็นแล้วอย่างนั้น.

บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ มีปกติกระทำโดยติดต่อ คือมีปกติ

กระทำโดยเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ผู้ไม่มีน้ำลายที่ปาก. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าและคนใบ้ ท่านอธิบายว่า เป็นบัณฑิตเป็นผู้เฉียบ

แหลม.

ชื่อว่า ผู้มีสุตะ เพราะมีสุตะอันยังหิตสุขให้ถึงพร้อม ท่านอธิบายว่า

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติ.

บทว่า สติมา ได้แก่ เป็นผู้ระลึกถึงสิ่งที่ได้กระทำไว้นานเป็นต้นได้.

บทว่า สงฺขาตธมฺโม ได้แก่ ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้วด้วยการ

เข้าไปพิจารณาธรรม.

บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้เที่ยงด้วยอริยมรรค

บทว่า ปธานวา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นเครื่องตั้ง

ไว้โดยชอบ. พึงประกอบปาฐะนี้โดยนอกลำดับ.

ผู้ประกอบด้วยธรรมมีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น ด้วย

ประการอย่างนี้นั่นแล เป็นผู้มีปธานความเพียรด้วยปธานความเพียรอัน

ให้ถึงความแน่นอน เป็นผู้เที่ยงแท้แล้วโดยความแน่นอนที่ถึงพร้อมด้วย

ปธานความเพียรนั้น แต่นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว

เพราะได้บรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายท่านเรียกว่า

ผู้มีธรรมอันพิจารณาเสร็จแล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะต้องพิจารณาอีก.

เหมือนดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ใดเป็นผู้มีธรรมอันพิจารณาแล้ว ผู้ใดยังเป็น

พระเสขะ และผู้ใดยังเป็นปุถุชน ในพระศาสนานี้ดังนี้. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วเช่นเดียวกันแล.

จบพรรณนาตัณหักขยคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

พรรณนาสีหทิคาถา

คาถาว่า สีโหว ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า อุทยานของพระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง มีอยู่ในที่ไกล

พระองค์ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่เสด็จไปอุทยาน ในระหว่างทางเสด็จลงจาก

พระยานเสด็จเข้าไปยังที่ที่มีน้ำด้วยหวังพระทัยว่า จักชำระล้างพระพักตร์.

ก็ในถิ่นนั้น มีนางสีหะคลอดลูกสีหะแล้วตนก็ไปหาเหยื่อ. ราชบุรุษเห็น

ลูกสีหะนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลูกสีหะ พระเจ้าข้า

พระราชาทรงดำริว่า เขาว่าสีหะไม่กลัวใคร เพื่อจะทดลองลูกสีหะนั้น

จึงให้ตีกลองเป็นต้นขึ้น ลูกสีหะแม้ได้ยินเสียงนั้น ก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น

แหละ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระราชาจึงทรงตีกลองจนถึงครั้งที่สาม ในครั้ง

ที่สาม ลูกสีหะนั้นยกศีรษะขึ้นแลดูบริษัททั้งหมด แล้วก็นอนอยู่เหมือน

อย่างนั้นนั่นแหละ.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พวกเราจงไปตราบเท่าที่แม่ของมัน

ยังไม่มา เมื่อกำลังเสด็จไปก็ทรงดำริว่า ลูกสีหะแม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่

สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงทิ้งความสะดุ้ง คือตัณหาและ

ทิฏฐิ แล้วไม่สะดุ้ง ไม่กลัว.

พระองค์ทรงถือเอาเรื่องนั้นให้เป็นอารมณ์เสด็จไป ทรงเห็นชาว-

ประมงจับปลาแล้วผูกไว้ที่กิ่งไม้ แล้วไป เหมือนลมไม่ติดตาข่ายที่ขึงไว้

ได้ทรงถือเอานิมิตในเรื่องนั้นอีกว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็พึงฉีกข่าย

คือตัณหา ทิฏฐิและโมหะ แล้วไม่ข้องอยู่อย่างนั้นไปเสีย.

ครั้งนั้น พระราชาเสด็จไปยังอุทยานประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมี

แผ่นศิลา ทรงเห็นดอกปทุมที่ถูกลมกระทบจึงน้อมลงแตะน้ำ แล้วกลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ตั้งอยู่ในที่เดิมในเมื่อปราศจากลม อันน้ำไม่ฉาบทา ได้ทรงถือเอานิมิตใน

ข้อนั้นว่า ชื่อว่ากาลไรเล่า แม้เราก็เกิดแล้วในโลก อันโลกฉาบทาไม่ได้

ตั้งอยู่ เหมือนปทุมเหล่านี้เกิดแล้วในน้ำ อันน้ำฉาบทาไม่ได้ตั้งอยู่ฉะนั้น.

พระองค์ทรงดำริบ่อย ๆ ว่า เราพึงเป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้องอยู่ ไม่ถูก

ฉาบทา เหมือนสีหะ ลม และปทุมฉะนั้น จึงทรงละราชสมบัติผนวช

เห็นแจ้งอยู่ ทรงทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถา

นี้.

ชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น สีหะมี ๔ จำพวก คือติณสีหะ ปัณฑุสีหะ

กาฬสีหะและไกรสรสีหะ. บรรดาสีหะเหล่านั้น ไกรสรสีหะ ท่านกล่าวว่า

เป็นเลิศ ไกรสรสีหะนั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ลม มีหลายอย่างเช่นลมทิศตะวันออกเป็นต้น.

ปทุม ก็มีหลายอย่างเช่นสีแดงและสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและ

ปทุมเหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง และปทุมชนิดใดชนิดหนึ่งย่อมควร

ทั้งนั้น.

เพราะเหตุว่า บรรดาความสะดุ้งกลัวเป็นต้นนั้น ชื่อว่าความสะดุ้ง

กลัวย่อมมีเพราะรักตน อันธรรมดาความรักตนเป็นการฉาบทาด้วยตัณหา

แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีเพราะความโลภ อันประกอบด้วยทิฏฐิหรือ

ปราศจากทิฏฐิก็ตาม และความรักตนแม้นั้นก็คือตัณหานั่นเอง.

อนึ่ง ความข้องย่อมมีแก่บุคคลผู้เว้น จากการเข้าไปพิจารณาเป็นต้น

ในอารมณ์นั้น เพราะโมหะ. และโมหะ ก็คืออวิชชา. ในตัณหาและ

อวิชชานั้น ละตัณหาด้วยสมถะ ละอวิชชาด้วยวิปัสสนา.

เพราะฉะนั้น พึงละความรักตนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ทั้งหลายมีลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวใน

เสียงทั้งหลาย ละโมหะด้วยวิปัสสนา ไม่ข้องอยู่ในขันธ์และอายตนะเป็นต้น

เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ละโลภะและทิฏฐิอันประกอบด้วยโลภะ ด้วยสมถะ

เหมือนกัน ไม่ติดเปื้อนด้วยความโลภในภวสมบัติทั้งปวง เหมือนปทุม

ไม่ติดน้ำฉะนั้น.

ก็บรรดาธรรมเหล่านี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะเป็น

ปทัฏฐานของสมาธิ สมาธิเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา รวมความว่า เมื่อ

ธรรม ๒ ประการสำเร็จแล้ว ขันธ์คือคุณทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันสำเร็จได้แท้

บรรดาขันธ์คือคุณเหล่านั้น บุคคลย่อมเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์ คุณคือ

ศีล.

บุคคลนั้นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เหมือนสีหะไม่สะดุ้งกลัวในเสียงทั้งหลาย

เพราะความที่มันเป็นสัตว์ที่ต้องโกรธ ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ,

บุคคลผู้มีสภาวะอันแทงตลอดแล้วด้วยปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา ย่อมไม่

ข้องอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ขังอยู่ในตาข่าย

เป็นผู้มีราคะไปปราศแล้วด้วยสมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ ย่อมไม่แปดเปื้อน

ด้วยราคะ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.

เมื่อเป็นอย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบบุคคลผู้ไม่สะดุ้ง ไม่ข้อง และ

ไม่แปดเปื้อน ด้วยอำนาจการละตัณหา อวิชชา และอกุศลมูล ๓ ตามที่มี

ด้วยสมถะกับวิปัสสนา และด้วยคุณคือศีล สมาธิและปัญญา. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาสีหาทิคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

พรรณนาทาฐพลีคาถา

คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีองค์หนึ่ง เพื่อที่จะยังชนบทชายแดนที่

กำเริบให้สงบ จึงทรงละหนทางเป็นที่ไปตามลำดับแห่งหมู่บ้านเสีย ถือ

เอาทางลัดในดง อันเป็นทางตรง เสด็จไปด้วยกองทัพใหญ่.

ก็สมัยนั้น ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีราชสีห์นอนผิงความร้อนของ

พระอาทิตย์อ่อน ๆ อยู่. ราชบุรุษทั้งหลายเห็นราชสีห์นั้น จึงกราบทูลแด่

พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า นัยว่าราชสีห์ไม่สะดุ้งกลัว จึงให้กระทำ

เสียงกลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม แม้

ครั้งที่สองก็ทรงให้กระทำ ราชสีห์ก็คงนอนอยู่เหมือนอย่างเดิม ทรงให้

กระทำแม้ครั้งที่สาม. ในกาลนั้น ราชสีห์คิดว่า สีหะผู้เป็นศัตรูเฉพาะต่อเรา

คงจะมี จึงยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท. ควาญช้างเป็นต้น

ได้ฟังเสียงสีหนาทนั้น จึงลงจากช้างเป็นต้นแล้วเข้าไปยังพงหญ้า. หมู่

ช้างและม้าต่างๆ หนีไปยังทิศใหญ่ทิศน้อย แม้ช้างของพระราชาก็พา

พระราชาไปกระทบหมู่ไม้หนีไป.

พระราชาไม่อาจทรงช้างนั้นได้จึงทรงโหนกิ่งไม้ไว้ แล้วจึงปล่อยให้

ตกลงยังพื้นดิน แล้วเสด็จไปตามทางที่เดินได้คนเดียว ถึงสถานที่เป็นที่

อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในที่นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ยินเสียงบ้างไหม ? พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า ขอถวายพระพร ได้ยิน มหาบพิตร.

พระราชา. เสียงของใคร ท่านผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

พระปัจเจกพุทธเจ้า. ครั้งแรก เสียงของกลองและสังข์เป็นต้น

ภายหลังเสียงของราชสีห์.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายไม่กลัวหรือ.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. มหาบพิตร พวกอาตมาไม่กลัวต่อเสียงไร ๆ.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านอาจทำแม้ข้าพเจ้าให้เป็นเช่นนี้ได้

ไหม.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. อาจ มหาบพิตร ถ้าพระองค์จักผนวช.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะบวช.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั่งหลายให้พระราชานั้นผนวชแล้ว

ให้ศึกษาอาภิสมาจาริกวัตร โดยนัยดังกล่าวแล้วในเบื้องหน้านั่นแหละ. แม้

พระราชานั้นก็ทรงเห็นแจ้งอยู่โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนเหมือนกัน จึง

ทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

ทีชื่อว่า สีหะ ในคาถานั้น เพราะอดทน เพราะการฆ่า และ

เพราะแล่นไปรวดเร็ว. ในที่นี้ ประสงค์เอาไกรสรราชสีห์เท่านั้น. ชื่อว่า

ทาฐพลี เพราะราชสีห์นั้นมีเขี้ยวเป็นกำลัง.

บททั้งสองว่า ปสยฺห อภิภุยฺย พึงประกอบกับศัพท์ จารี ว่า

ปสยฺหจารี อภิภุยฺยจารี. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่า ปสัยหจารี เพราะ

พระพฤติข่ม คือข่มขี่ ชื่อว่า อภิภุยยจารี เพราะประพฤติครอบงำ คือ

ทำให้สะดุ้งกลัว ได้แก่ ทำให้อยู่ในอำนาจ. ราชสีห์นี้นั้นมีปกติประพฤติ

ข่มขี่ด้วยกำลังกาย และมีปกติประพฤติครอบงำด้วยเดช.

ในข้อนั้น หากใคร ๆ จะกล่าวว่า ราชสีห์มีปกติประพฤติข่มขี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติว่า มิคาน ลงในอรรถ

แห่งทุติยาวิภัตติ แล้วพึงกล่าวเฉพาะว่า มีปกติประพฤติข่มขี่ครอบงำมฤค

ทั้งหลาย.

บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ สถาน

ที่อยู่. คำที่เหลือออาจรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล เพราะเหตุนั้น จึง

ไม่ต้องให้พิสดารแล.

จบพรรณนาทาฐพลีคาถา

พรรณนาอัปปมัญญาคาถา

คาถาว่า เมตฺต อุเปกฺข ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่ง ทรงได้เมตตาฌานเป็นต้น. พระองค์

ทรงดำริว่า ราชสมบัติเป็นอันตรายต่อความสุขในฌาน เพื่อจะทรง

อนุรักษ์ฌาน จึงสละราชสมบัติออกผนวช เห็นแจ้งอยู่ ได้ทรงทำให้แจ้ง

พระปัจเจกโพธิญาณ แล้วได้ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาเมตตาเป็นต้นนั้น ความเป็นผู้ใคร่จะนำเข้าไปซึ่งหิตสุข

โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า

เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบำบัดสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ โดย

นัยมีอาทิว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายพึงพ้นจากทุกข์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา

ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข โดยนัยมีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

สัตว์ทั้งหลายผู้เจริญ จงยินดีหนอ จงยินดีด้วยดี ดังนี้ ชื่อว่า มุทิตา

ความพลอยยินดี.

ความวางเฉยในสุขและทุกข์ โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายจัก

ปรากฏตามกรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา ความวางเฉย

ก็เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านกล่าวเมตตา แล้วจึง

กล่าวอุเบกขา และมุทิตาทีหลัง โดยสับลำดับกัน.

บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า อัปปมัญญา แม้ทั้ง ๔ นี้ ชื่อว่า วิมุตติ

เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า พึงเจริญเมตตาวิมุตติ อุเบกขาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ และมุทิตาวิมุตติ

ในลำดับกาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า เจริญเมตตา

กรุณา มุทิตา ทั้ง ๓ ด้วยอำนาจติกฌานและจตุกฌาน เจริญอุเบกขา

ด้วยอำนาจจตุกฌาน.

บทว่า กาเล ความว่า เจริญเมตตา ออกจากเมตตานั้นแล้วเจริญ

กรุณา ออกจากกรุณาแล้วเจริญมุทิตา ออกจากกรุณา หรือจากฌานที่

ไม่มีปีตินอกนี้ แล้วเจริญอุเบกขานั่นแล ท่านเรียกว่าเจริญในลำดับกาล

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ เจริญในเวลามีความผาสุก.

บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่พิโรธสัตว์โลก

ทั้งปวงใน ๑๐ ทิศ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายไม่วุ่นวาย เพราะเจริญเมตตา

เป็นต้น และปฏิฆะอันเป็นตัวข้าศึกในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พิโรธด้วยสัตว์โลกทั้งปวง.

ความสังเขปในที่นี้เพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวกถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ด้วยเมตตาเป็นต้นไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่อว่า อัฏฐสาลินี. คำที่

เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วแล.

จบพรรณนาอัปปมัญญาคาถา

พรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถาว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า มาตังคะ อาศัยนครราชคฤห์

อยู่ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หลังสุดแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง

บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาทั้งหลาย

มาเพื่อจะบูชาพระโพธิสัตว์ เห็นพระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้า จึงพากัน

กล่าวว่า นี่แนะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น กำลังออกจากนิโรธ ได้ฟังดังนั้น

เห็นตนจะสิ้นชีวิต จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อมหาปปาตะในหิมวันตประเทศ

อันเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโยนร่างกระดูก

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว แล้วตนเอง

ก็นั่งบนพื้นศิลา ได้กล่าวอุทานคาถานี้.

ราคะ โทสะ โมหะ ในคาถานั้นได้กล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร.

บทว่า สโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. ทำลายสังโยชน์ทั้ง ๑๐

นั้น ด้วยมรรคนั้น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

บทว่า อสนฺตส ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า ความแตกหมดแห่ง

จุติจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ก็ชื่อว่าผู้ไม่สะดุ้งกลัวในความสิ้นชีวิตนั้น

เพราะละความใคร่ในชีวิตได้แล้ว.

โดยลำดับคำเพียงเท่านี้ ท่านแสดงสอุปาทิเสสนิพพานของตน ใน

เวลาจบคาถา จึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฉะนี้แล.

จบพรรณนาชีวิตสังขยคาถา

คาถามีอาทิว่า

คนทั้งหลายมุ่งประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน, ในทุกวันนี้

มิตรทั้งหลายผู้ไม่มุ่งประโยชน์หาได้ยาก ดังนี้.

คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาองค์หนึ่งในนครพาราณสี ทรงปกครองราช-

อาณาจักรอันรุ่งเรื่อง มีประการดังกล่าวแล้วในคาถาต้นนั่นแหละ อาพาธ

กล้าเกิดขึ้นแก่พระองค์ ทุกขเวทนาทั้งหลายย่อมเป็นไป. สตรีสองหมื่น

นางห้อมล้อมพระองค์ กระทำการนวดฟั้นพระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น.

พวกอำมาตย์คิดกันว่า พระราชาจักสวรรคตในบัดนี้ ช่างเถอะ

พวกเราจะแสวงหาที่พึ่งของตน จึงไปยังสำนักของพระราชาองค์หนึ่ง ทูล

ขออยู่รับใช้. อำมาตย์เหล่านั้นรับใช้อยู่ในที่นั้น ไม่ได้อะไรๆ. พระราชา

ทรงหายจากประชวรแล้วตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้ ๆ ไปไหน ? จากนั้น

ได้ทรงสดับเรื่องราวนั้น ได้ทรงสั่นพระเศียรนิ่งอยู่.

ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า พระราชาทรงหายประชวรแล้ว

๑. พรรณนาคาถาที่เหลือ ที่ไม่มีชื่อ รวม ๑๐ คาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

ทั้งไม่ได้อะไรในที่นั้น ถูกความเสื่อมอย่างยิ่งบีบคั้น จึงกลับมาอีก ถวาย

บังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. และถูกพระราชานั้น

ตรัสถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปไหน จึงพากันกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นสมมติเทพทรงทุรพล จึงพากันไปยังชนบทชื่อโน้น

เพราะความกลัวอันเกิดจากการเลี้ยงชีพ. พระราชาทรงสั่นพระเศียรแล้ว

ดำริว่า ถ้ากระไร เราจักแสดงอาพาธนั้นอีก พวกอำมาตย์จักกระทำอย่าง

นั้นอีกครั้งหรือไม่. พระราชาเมื่อจะทรงแสดงเวทนากล้า เหมือนโรคถูก

ต้องแล้วในกาลก่อน จึงได้ทรงกระทำการลวงว่าเป็นไข้. เหล่าสตรีพากัน

ห้อมล้อม ได้กระทำกิจทั้งปวงเช่นกับครั้งก่อนนั่นแล.

ฝ่ายพวกอำมาตย์ก็พาชนมากกว่าก่อน หลีกไปอีกเหมือนอย่างนั้น

นั่นแหละ. พระราชาทรงกระทำกรรมทุกอย่างเช่นกับครั้งก่อน จนถึงครั้งที่

สาม ด้วยอาการอย่างนี้ ฝ่ายอำมาตย์เหล่านั้นก็พากันหลีกไปเหมือนอย่าง

นั้นนั่นแล. แม้ครั้งที่สี่จากนั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้นมา

ทรงดำริว่า พุทโธ่เอ๋ย พวกอำมาตย์ผู้ละทิ้งเราผู้ป่วยไข้ไม่ห่วงใยหลีกไป

จำพวกนี้ ได้กระทำกรรมที่ทำได้ยาก จึงทรงเบื่อหน่าย ได้ละราชสมบัติ

ผนวช ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งพระปัจเจกโพธิญาณ จึงได้

ตรัสอุทานคาถานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภชนฺติ ความว่า เข้าไปนั่งชิดร่างกาย.

บทว่า เสวนฺติ ความว่า บำเรออัญชลีกรรมเป็นต้น โดยคอยฟัง

ว่าจะให้ทำอะไร ชื่อว่าผู้มุ่งประโยชน์ เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. ท่าน

อธิบายว่า การคบหาสมาคมไม่มีเหตุอื่น ประโยชน์เท่านั้นเป็นเหตุของคน

เหล่านั้น คนทั้งหลายคบหากันเพราะประโยชน์เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ไม่มุ่ง

ประโยชน์ เพราะประโยชน์ที่ได้เฉพาะแก่ตนอย่างนี้ว่า พวกเราจักได้

อะไรๆ จากคนนี้. มิตรทุกวันนี้ผู้ประกอบด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐ

ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยสิ้นเชิงอย่างนี้ว่า

มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรผู้แนะประโยชน์

มิตรมีความเอ็นดู ดังนี้.

บทว่า อตฺตฏฺปญฺา ความว่า ปัญญาของชนเหล่านี้ตั้งอยู่ในตน

อธิบายว่า เห็นแก่ตน ไม่เห็นแก่คนอื่น. บาลีว่า อตฺตตฺถปญฺา ดังนี้

ก็มี บาลีนั้นมีความว่า เห็นแก่ประโยชน์ของตนเท่านั้น ไม่เห็นประโยชน์

ของคนอื่น. ได้ยินว่า บาลีว่า ทิฏฺตฺถปญฺา แม้นี้ เป็นบาลีเก่า. บาลี

นั้นมีใจความว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาในประโยชน์เดี๋ยวนี้ คือในปัจจุบัน

ไม่มีปัญญาในอนาคต ท่านอธิบายว่า เห็นแก่ประโยชน์ปัจจุบัน ไม่เห็น

แก่ประโยชน์ภายหน้า.

บทว่า อสุจินา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และ

มโนกรรมอันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ.

บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ชื่อว่ามีเขาดังมีด เพราะเที่ยว

ทำภูเขาเป็นต้นให้เป็นจุณวิจุณ ด้วยเขาของตน เหมือนคนเอามีดดาบ

ตัดต้นไม้ฉะนั้น. ชื่อว่าวิสาณะ เพราะมีอำนาจเช่นกับยาพิษ. ชื่อว่าขัคคะ

เพราะดุจมีดดาบ. มฤคใดมีเขาดุจมีดดาบ มฤคนี้นั้น ชื่อว่าขัคควิสาณะ

มีเขาดุจมีด. นอของมฤคที่มีเขาดุจมีดนั้น ชื่อว่าขัคควิสาณกัปปะ คือ

นอแรด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

อธิบายว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเปรียบเสมือนนอแรดฉะนั้น องค์เดียว

ไม่มีเพื่อน ไม่มีสหาย เที่ยวไป คืออยู่ เป็นไป ดำเนินไป ให้ดำเนินไป.

บทว่า วิสุทฺธสึลา แปลว่า ผู้มีศีลหมดจดโดยพิเศษ คือผู้มีศีล

หมดจดด้วยความบริสุทธิ์ ๔ ประการ.

บทว่า วิสุทฺธปญฺา แปลว่า ผู้มีปัญญาบริสุทธิ์ด้วยดี คือ

ชื่อว่ามีปัญญา คือความแตกฉานในมรรคและผลอันบริสุทธิ์ เพราะเว้น

จากราคะเป็นต้น.

บทว่า สมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นดี คือด้วยดี ได้แก่ มีจิตั้งอยู่

ในที่ใกล้.

บทว่า ชาคริยานุยุตฺตา ความว่า ความตื่น ชื่อว่าชาคระ, อธิบายว่า

ก้าวล่วงความหลับ. ความเป็นแห่งความตื่นอยู่ ชื่อว่าชาคริยะ, ผู้หมั่น

ประกอบในความตื่นอยู่ ชื่อว่าผู้ประกอบตามในความตื่นอยู่.

บทว่า วิปสฺสกา ได้แก่ ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษว่า อนิจจัง ทุกขัง

อนัตตา อธิบายว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอยู่.

บทว่า ธมฺมวิเสสทสฺสี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นโดยพิเศษซึ่งกุศล

ธรรม ๑๐ ซึ่งสัจธรรม ๔ หรือโลกุตรธรรม ๙.

บทว่า มคฺคงฺคโพชฺฌงฺคคเต ได้แก่ อริยธรรมอันถึง คือประกอบ

ด้วยองค์แห่งมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และด้วยโพชฌงค์มีสติสัมโพชฌงค์

เป็นต้น.

บทว่า วิชญฺา แปลว่า รู้ อธิบายว่า รู้โดยพิเศษ.

บทว่า สุญฺตาปฺปณิหิตญฺจานิมิตฺต ได้แก่ ซึ่งสุญญตวิโมกข์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

อนัตตานุปัสสนา ซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ด้วยทุกขานุปัสสนา และซึ่งอนิมิตต-

วิโมกข์ด้วยอนิจจานุปัสสนา.

บทว่า อาเสวยิตฺวา ได้แก่ เจริญแล้ว. ธีรชนเหล่าใดกระทำบุญ-

สมภารไว้ ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาแห่ง

พระชินเจ้า ธีรชนเหล่านั้นได้กระทำบุญสมภารไว้ ย่อมเป็นพระปัจเจก-

ชินเจ้า คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สยัมภู คือผู้เป็นเอง.

ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่

คือมีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมีสภาวธรรม

มิใช่น้อยเป็นร่างกาย. ถามว่า ท่านเป็นอย่างไรอีก ? ตอบว่า ท่านมีจิต

เป็นอิสระ คือเป็นไปในคติของจิต อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยฌาน.

ผู้ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวล คือข้าม ได้แก่ ก้าวล่วงโอฆะ คือสงสาร

ทั้งมวล มีจิตเบิกบาน คือมีจิตโสมนัส อธิบายว่า มีใจสงบ เพราะเว้น

จากกิเลสมีโกธะ และมานะเป็นต้น.

ผู้มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือมีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ

ประโยชน์สูงสุด เช่นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ อาการ ๓๒ สัจจะ ๔ และ

ปฏิจจสมุปบาท. เปรียบด้วยราชสีห์ฉะนั้น อธิบายว่า ประดุจราชสีห์

เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและไม่กลัว. ผู้เช่นกับนอแรด อธิบายว่า

ชื่อว่า ผู้เช่นกับนอของแรด เพราะไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่.

บทว่า สนฺตินฺทฺริยา ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีสภาวะอันสงบแล้ว

เพราะจักขุนทรีย์เป็นต้น ไม่ดำเนินไปในอารมณ์ของตน ๆ.

บทว่า สนฺตมนา แปลว่า มีจิตสงบ, อธิบายว่า มีความดำริ

แห่งจิตมีสภาวะสงบแล้ว เพราะความเป็นผู้หมดกิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

บทว่า สมาธี ได้แก่ ผู้มีจิตเป็นเอกัคคตาด้วยดี

บทว่า ปจฺจนฺตสตฺเตสุ ปติปฺปจารา ความว่า มีปกติประพฤติ

ด้วยความเอ็นดู และความกรุณาเป็นต้นในเหล่าสัตว์ในปัจจันตชนบท

บทว่า ทีปา ปรตฺถ อิธ วิชฺชลนฺตา ความว่า เป็นดวงประทีป

คือเป็นเช่นกับดวงประทีป อันโพลงอยู่ในโลกหน้าและโลกนี้ ด้วยการ

กระทำความอนุเคราะห์แก่ชาวโลกทั้งสิ้น.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตต หิตาเม ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านี้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ติดต่อกัน คือตลอดกาล.

บทว่า ปหีนสพฺพาวรณา ชนินฺทา ความว่า พระปัจเจกสัม-

พุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นใหญ่ คือเป็นผู้สูงสุดแห่งมวลชน ชื่อว่าผู้ละเครื่อง

กั้นทั้งปวงได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละเครื่องกั้น ๕ ประการทั้งหมด มีกาม-

ฉันทนิวรณ์เป็นต้น.

บทว่า ฑนกญฺจนาภา ความว่า ผู้มีรัศมีเช่นกับความสุกสกาวแห่ง

ทองสีแดงและทองชมพูนุท.

บทว่า นิสฺสสย โลกสุทกฺขิเณยฺยา ได้แก่ เป็นผู้ควร คือสมควร

เพื่อรับทักษิณาชั้นดี คือทานชั้นเลิศของชาวโลกโดยส่วนเดียว อธิบายว่า

ชื่อว่าเป็นผู้ควรรับสุนทรทาน เพราะเป็นผู้ไม่มีกิเลส.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธา สตตปฺปิตาเม ความว่า พระพุทธะผู้บรรลุ

ปัจเจกญาณเหล่านี้เป็นผู้แนบแน่น คืออิ่มหนำบริบูรณ์เป็นนิตย์ คือเป็น

นิตยกาล อธิบายว่า แม้จะไม่มีอาหารตลอด ๗ วัน ก็บริบูรณ์อยู่ได้ด้วย

อำนาจนิโรธสมาบัติและผลสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

อสาธารณพุทธะทั้งหลายเป็นใหญ่เป็นเอก คือเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่

ไม่เหมือน เป็นอย่างอื่น จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า

อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ปติ ศัพท์เป็นอุปสรรคในความว่าเป็นเอก ท่าน

กล่าวไว้ว่า

ศัพท์ทั้ง ๓ นี้ คืออุปสรรค นิบาตและปัจจัย นักนิรุตติ-

ศาสตร์ทั้งหลายกล่าวว่า มีวิสัยแห่งอรรถมิใช่น้อย.

ท่านจึงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานเป็นเจ้าของ เพราะรับอาหาร

มีประมาณน้อยของเหล่าทายกมากมาย แล้วให้ได้บรรลุถึงสวรรค์ และ

นิพพาน. จริงอย่างนั้น ท่านเป็นใหญ่เป็นประธานโดยรับส่วนแห่งภัตของ

คนหาบหญ้า ชื่อว่าอันนภาระ เมื่อเขามองเห็นอยู่ ก็ฉันให้ดู ยังเหล่าเทวดา

ให้ให้สาธุการ แล้วทำนายอันนภาระผู้เข็ญใจให้ได้รับตำแหน่งเศรษฐี แล้ว

ยังทรัพย์นับด้วยโกฏิให้เกิดขึ้น และโดยรับบิณฑบาตที่พระโพธิสัตว์เหยียบ

ฝักปทุมอันผุดขึ้นในหลุมถ่านเพลิง ไม้ตะเคียนที่มารนิรมิตขึ้นถวาย เมื่อ

พระโพธิสัตว์นั้นมองเห็นอยู่นั่นแหละ ได้ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นด้วย

การเหาะไป (ดังกล่าวไว้)ในขทิรังคารชาดกและโดยที่พระปัจเจกสัมพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระอัครมเหสีอรุณวตี ยังความโสมนัสให้เกิด

ขึ้นแก่มหาชนกโพธิสัตว์และเทวี ด้วยการเหาะมาจากเขาคันธมาทน์ ด้วย

การอาราธนาของพระเทวีแห่งพระเจ้ามหาชนกแล้วรับการถวายทาน.

อนึ่ง ในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น เมื่อฉาตกภัยเกิดขึ้น

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น พาราณสีเศรษฐีทำข้าวเปลือกในฉางหกหมื่นฉางซึ่ง

บรรจุไว้เต็มรักษาไว้ให้หมดไป เพราะอาศัยฉาตกภัย ทำข้าวเปลือกที่ฝั่งไว้

ในแผ่นดินและข้าวเปลือกที่บรรจุไว้ในตุ่มหกพันตุ่มให้หมดไป และทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ข้าวเปลือกที่ขยำกับดินเหนียวแล้วทาไว้ที่ฝาปราสาททั้งสิ้นให้หมดไป ใน

คราวนั้นเหลือข้าวเพียงทะนานเดียวเท่านั้น จึงนอนทำความคิดให้เกิด

ขึ้นว่า เราจักกินข้าวนี้แล้วตายวันนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

มาจากเขาคันธมาทน์ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. เศรษฐีเห็นท่านเข้าจึงเกิด

ความเลื่อมใส เมื่อจะบริจาคชีวิตถวาย จึงเกลี่ยภัตตาหารลงในบาตร

ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังที่อยู่

เมื่อเศรษฐีมองเห็นอยู่นั่นแล ได้ฉันพร้อมกับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

๕๐๐ องค์ ด้วยอานุภาพของตน. ในคราวนั้นท่านเศรษฐีและภรรยาได้

ปิดหม้อข้าวที่หุงภัตแล้วตั้งไว้.

เมื่อความหิวเกิดขึ้นแก่เศรษฐีผู้กำลังหลับ เขาจึงลุกขึ้นกล่าวกะ

ภรรยาว่า นางผู้เจริญ เธอจงดูสักว่าภัตอันเป็นข้าวตังในภัต. นางผู้มีการ

ศึกษาดีไม่กล่าวว่า ให้หมดแล้วมิใช่หรือ (นาง) เปิดฝาหม้อข้าว (ดู).

ทันใดนั้นหม้อข้าวนั้นได้เต็มด้วยภัตแห่งข้าวสาลี มีกลิ่นหอม เช่นกับดอก

มะลิตูม. นางกับเศรษฐีดีใจ ตนเอง คนที่อยู่ในเรือนทั้งสิ้น และชาวเมือง

ทั้งสิ้นพากันบริโภค. ที่ที่คนตักเอา ๆ ด้วยทัพพีกลับเต็มอยู่. ข้าวสาลี

มีกลิ่นหอม เต็มในฉางทั้งหกหมื่นฉาง. ชนชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นถือเอา

พืชข้าวเปลือกจากเรือนของเศรษฐีนั่นแหละ จึงพากันมีความสุข พระ-

พุทธเจ้าเป็นใหญ่ คือเป็นเจ้าของในการก้าวลงสู่ความสุข การบริบาล

รักษาและการให้บรรลุสวรรค์และนิพพานในสัตตนิกายมิใช่น้อย มีอาทิ

อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธาน สุภาสิตานิ ได้แก่ คำที่พระปัจเจกสัมพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย ภาษิตคือกล่าวไว้ดีแล้ว ด้วยอำนาจโอวาทและอนุสาสนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

บทว่า จรนฺติ โลกมฺหิ สเทวโลกมฺหิ ความว่า ย่อมเที่ยวไป คือ

เป็นไปในสัตว์โลก อันเป็นไปกับเทวโลก.

บทว่า สุตฺวา ตถา เย น กโรนฺติ พาลา ความว่า พาลชน

เหล่าใดไม่กระทำ คือไม่ใส่ใจถึงคำภาษิตของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้ง-

หลายเห็นปานนั้น พาลชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวไปคือเป็นไป อธิบายว่า

แล่นไปในกองทุกข์ คือในสงสารทุกข์ ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นบ่อย ๆ.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธาน สุภาสิตานิ ความว่า คำที่พระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คือกล่าวเพื่อต้องการความหลุดพ้นจากอบายทั้ง ๔.

ถ้อยคำเป็นอย่างไร ? เป็นดุจรวงน้ำผึ้งอันหลั่งออก คือกำลังไหลออก

อธิบายว่า เป็นคำหวานเหมือนน้ำผึ้ง. ความว่า แม้บัณฑิตชนเหล่าใด

ผู้ประกอบด้วยการปฏิบัติ ปฏิบัติอยู่ในข้อปฏิบัติทั้งหลายตามแนวที่กล่าว

แล้ว ได้ฟังคำอันไพเราะเห็นปานนั้นแล้วกระทำตามถ้อยคำ บัณฑิต-

ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้เห็นสัจจะ คือมีปกติเห็นสัจจะทั้ง ๔ เป็นผู้มีปัญญา

คือเป็นไปกับด้วยปัญญา.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺเธหิ ชิเนหิ ภาสิตา ความว่า ชื่อว่าชินะ เพราะ

ชนะ คือได้ชนะกิเลส กถาที่พระชินปัจเจกสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าว

คือภาษิตไว้ กล่าวไว้ เป็นคำโอฬาร คือมีโอชะปรากฏอยู่ คือเป็นไปอยู่.

เชื่อมความว่า กถาเหล่านั้น คือกถาอันพระศากยสีหะ ได้แก่พระตถาคต

ผู้เป็นสีหะในวงศ์แห่งศากยราช ผู้ออกบวชแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น

นระชั้นสูง คือเป็นผู้สูงสุดประเสริฐกว่านรชนทั้งหลาย ทรงประกาศไว้

คือทรงทำให้ปรากฏ ได้แก่ตรัสเทศนาไว้แล้ว. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ทรงประกาศไว้เพื่ออะไร จึงตรัสว่า เพื่อให้รู้แจ้งธรรม. อธิบายว่า

เพื่อให้รู้โลกุตรธรรม ๙ โดยพิเศษ.

บทว่า โลกานุกมฺปาย อิมานิ เตส ความว่า เพราะความเป็นผู้

อนุเคราะห์โลก คือเพราะอาศัยความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก พระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงกล่าวคำเหล่านี้ คือคาถาเหล่านี้ให้วิเศษ คือแต่งไว้

กล่าวไว้โดยพิเศษ.

บทว่า สเวคสงฺคมติวฑฺฒนตฺถ ความว่า เพื่อเพิ่มพูนความ

สังเวช เพื่อเพิ่มพูนความไม่คลุกคลี คือเพื่อเพิ่มพูนความเป็นผู้เดียว

และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ คือเพื่อเพิ่มพูนปัญญา พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นสยัมภูสีหะ คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็นแล้ว เกิดแล้ว แทงตลอดแล้ว

เฉพาะพระองค์เอง เป็นดุจสีหะไม่กลัว ได้ประกาศคำเหล่านี้ อธิบายว่า

ประกาศ เปิดเผย ทำให้คนซึ่งความเหล่านี้.

ศัพท์ว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถจบข้อความ.

พรรณนาปัจเจกพุทธาปทาน

ในวิสุทธชนวิลบาสินี อรรถกถาอปทาน

จบบริบูรณ์เท่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

๓. เถราปทาน

สารีปุตตเถราปทานที่ ๓ (๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร

ลำดับนี้ขอเชิญฟังเถราปทาน

[๓] ในที่ไม่ไกลแต่หิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เรา

สร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น

อาศรมของเราไม่ไกลจากแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบเรียบ

เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาวสะอาด.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวดตลิ่งไม่ชัน

น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลาม และเต่า ว่ายเล่นอยู่ในแม่น้ำ

นั้น แม่น้ำไหลไปทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา

ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโดดอยู่ ทำให้อาศรมของ

เรางาม.

ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่

ทั้งสองฝั่ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย

ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิ บุนนาค

และลำเจียก มีกลิ่นหอมฟุ้งเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรม

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ไม้ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบบานสะพรั่ง ไม้ปรู

และมะกล่ำหลวง ดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

การะเกด พะยอมขาว พิกุลและมะลิซ้อน มีดอกหอมอบอวล

ทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้เจตพังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันมีมาก

ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

บุนนาค บุนนาคเขา และแคฝอย ดอกบานสะพรั่ง

หอมตลบอบอวล ทำให้อาศรมของเรางาม. ไม้ราชพฤกษ์

อัญชันเขียว ไม้กระทุ่มและพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป

ทำให้อาศรมของเรางาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด งอกงามด้วยน้ำหอม

ออกผลสะพรั่ง.

ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอกบัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัว

หลวงชนิดหนึ่งดอกร่วงพรู บานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวก็เลื้อยไป กระจับเกลื่อนด้วยใบ

งามอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ไม้เตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรา และชบา กลิ่นหอม

ตลบไป ดอกบานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา

ตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน มีอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ฝูงจระเข้ ปลาสลาด ปลาฉนาก ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือม

ใหญ่ อยู่ในบึงนั้นในกาลนั้น. ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

นกจากพรากที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า และสาลิกา อาศัย

สระนั้นเลี้ยงชีวิต.

ฝูงนกกวัก ไก่ฟ้า ฝูงนกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า

ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต. ฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูง

นกดุเหว่า ไก่ นกค้อนหอย และนกโพระดก ย่อมอาศัย

เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขา เหยี่ยวและนกกาน้ำ

จำนวนมาก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงเนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอก ละมั่ง

และเนื้อทรายมากมาย ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว

โขลงช้าง แยกกันเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้

สระนั้น.

เหล่ากินนร วานร แม้คนทำงานในป่า หมาไล่เนื้อ

และนายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ต้นมะพลับ มะหาด มะซาง หมากเม่า เผล็ดผลอยู่

เป็นประจำในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

ต้นคำ ต้นสน กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน เผล็ดผล

ทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา.

ต้นสมอ มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก กระเบา

ไม้รกฟ้า และมะตูม เผล็ดผลเป็นนิจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

เหง้ามัน มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก กะเม็ง และคัดมอน

มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ไม่ไกลอาศรมของเรานั้น มีสระขุดไว้อย่างดี มี

น้ำรสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

ดาดาษด้วยบัวหลวง อุบล และบัวขาว เกลื่อนกลาด

ด้วยบัวขม บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์

ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ บรรลุ

อภิญญาพละ ๕ อยู่ในอาศรมที่สร้างเรียบร้อยน่ารื่นรมย์ ใน

ป่าอันมีไม้ดอก ไม้ผล สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งปวงด้วย

ประการอย่างนี้.

ศิษย์ของเรา ๒๔,๐๐๐ คนนี้เป็นพราหมณ์ทั้งหมด ผู้มีชาติ

มียศ บำรุงเราอยู่.

มวลศิษย์ของเรานี้เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์

ในตำราทำนายลักษณะและในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์

นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ถึงความเต็มเปี่ยมในธรรมของตน.

เหล่าศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย. ในนิมิต และ

ในลักษณะ ศึกษาดีแล้วในแผ่นดิน ในพื้นที่และอากาศ.

ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้มักน้อย มีปัญญา มีอาหารน้อย ไม่โลภ

สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ

มีจิตตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

เป็นผู้ถึงความยอดเยี่ยมแห่งอภิญญา ยินดีในโคจรคือ

อาหารอันเป็นของบิดา เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์

ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

ศิษย์ของเราเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ สำรวมทวาร ๖ ไม่

หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ หาผู้ทัดเทียม

ได้ยาก.

ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ตลอดราตรี ด้วยการนั่งคู้

บัลลังก์ ด้วยการยืนและการเดินจงกรม หาผู้ทัดเทียมได้

ยาก.

เหล่าศิษย์ของเรา ไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่

หลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง หาผู้ทัดเทียมได้ยาก.

ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ประพฤติอยู่เป็นนิจ-

กาล บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใครจะแข่งได้.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น เมื่อจะเล่น ย่อมเล่นฌาน นำผล

หว้าจากต้นหว้ามา หาผู้ทัดเทียมมิได้.

พวกหนึ่งไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพ-

วิเทหทวีป พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา

ยากที่ผู้อื่นจะทัดเทียมได้ด้วยการแสวงหา.

ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ตนเองไปข้างหลัง

ท้องฟ้าถูกดาบส ๒๔,๐๐๐ ปกปิดแล้ว. ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ด้วยไฟแล้วกิน บางพวกก็กินดิบๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟัน

แทะเปลือกออกแล่วจึงกิน.

บางพวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกทุบด้วยหินกิน

บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง บางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำ

ทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวกเอาน้ำราดตัว ศิษย์ของเราหา

ผู้ทัดเทียมได้ยาก.

ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ เล็บเท้า และขนรักแร้ออกยาว

ขี้ฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้ทัดเทียม

ได้ยาก.

ชฏิลทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกันในเวลาเช้า

แล้วไปประกาศลาภมากในอากาศในกาลนั้น. เมื่อดาบส

เหล่านี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็นไป เทวดาทั้งหลายย่อม

ยินดีด้วยเสียงหนังเสือ.

ฤๅษีเหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ

ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา.

ปวงฤๅษีนี้แลทำแผ่นดินให้หวั่นไหว เที่ยวไปในอากาศ

มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ อันคนอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้

ดังสาครอันใคร ๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้ฉะนั้น.

ฤๅษีศิษย์ของเรา บางพวกประกอบการยืนและเดิน บาง

พวกไม่นอน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอ

ได้ยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ท่านเหล่านี้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา แสวงหาประโยชน์เกื้อ-

กูลแก่สรรพสัตว์ ไม่ยกตนทั้งหมด ไม่ติเตียนใคร ๆ ทั้งนั้น.

เป็นผู้ไม่สะดุ้งดังพญาราชสีห์ มีกำลังดังพญาคชสาร ยาก

ที่จะข่มได้ดังเสือโคร่ง ย่อมมาในสำนักของเรา.

พวกวิชาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสื้อน้ำ กุมภัณฑ์

อสูร และครุฑ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทรงชฎา สมบูรณ์ด้วยหาบบริขาร-

ดาบส นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศได้ทุกคน อาศัย

เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้เหมาะสม มีความเคารพกัน

และกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง ๒๔,๐๐๐ ย่อมไม่มี.

ท่านเหล่านี้ซ้อนเท้าบนเท้า เงียบเสียง สังวรดี ทั้งหมด

นั้น เข้ามาไหว้เราด้วยเศียรเกล้า.

เราเป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในณาน อันศิษย์เหล่านั้นผู้สงบ

ผู้มีตบะ ห้อมล้อมอยู่ในอาศรมนั้น.

อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่นศีลของเหล่าฤๅษี และ

ด้วยกลิ่นดอกไม้และกลิ่นผลไม้ทั้งสองอย่าง.

เราไม่รู้จักคืนและวัน ความไม่พอใจ ย่อมไม่มีแก่เรา

เราสั่งสอนบรรดาศิษย์ของตน ย่อมได้ความร่าเริงอย่างยิ่ง.

เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และเมื่อผลไม้ทั้งหลายสุก

กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

เราออกจากสมาธิแล้ว มีความเพียร มีปัญญา ถือเอา

บริขารดาบสเข้าไปป่า.

ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีร้าย ในการทำนาย

ฝัน และตำราทำนายลักษณะ ทรงบทมนต์อันกำลังเป็นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้ประเสริฐ

ในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่ความวิเวก เป็นพระ-

สัมพุทธเจ้า เข้าไปยังเขาหิมวันต์.

พระองค์ผู้เลิศ เป็นมุนี ประกอบด้วยพระกรุณา เป็น

อุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมพานต์แล้ว ทรงนั่งขัดสมาธิ.

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระรัศมีสว่างจ้า

น่ารื่นรมย์ใจ ดุจดอกบัวเขียว ควรบูชา ทรงรุ่งเรื่องดังกองไฟ.

เราได้เห็นพระนายกของโลก ทรงรุ่งโรจน์ดุจต้นไม้

ประดับด้วยประทีป ดุจสายฟ้าในท้องฟ้า ดุจพญารังอันบาน

สะพรั่ง.

เพราะอาศัยการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้

เป็นมหาวีระ ทรงทำที่สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์

ทั้งปวงได้.

ครั้นเราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดา

แล้ว ได้ตรวจดูลักษณะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่.

เอาเถอะ เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ เราได้

เห็นจักรมีกำพันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะ

ของพระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงใจในพระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั้น แล้วได้นำเอา

ดอกไม้ ๘ ดอก มาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ครั้นบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ

หนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของโลก.

พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วยพระญาณใด

เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคำเรากล่าว.

ข้าแต่พระสยัมภู ผู้เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งพระคุณหาประ-

มาณมิได้ ขอพระองค์จงรื้อถอนสัตว์โลกนี้ สัตว์โลกเหล่านั้น

อาศัยการได้เห็นพระองค์ ย่อมข้ามกระแสคือความสงสัย

เสียได้.

พระองค์ทรงเป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก

เป็นที่อาศัย เป็นที่พึ่งพิง เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เป็นพระพุทธ-

เจ้าของสัตว์ทั้งหลาย.

น้ำในมหาสมุทรอาจประมาณได้ด้วยมาตราตวง แต่

ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้

เลย.

เอาดินมาชั่งดูแล้ว อาจประมาณแผ่นดินได้ แต่ใคร ๆ

ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

อาจวัดอากาศได้ด้วยเชือกหรือนิ้วมือ แต่ใคร ๆ ไม่อาจ

ประมาณพระสัพพัณญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

พึงอาจประมาณน้ำในมหาสมุทร และแผ่นดินทั้งหมดได้

แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมาประมาณนั้นไม่ควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ จิตของสัตว์เหล่าใดย่อมเป็น

ไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก สัตว์เหล่านี้ย่อมอยู่ในภายในข่าย

คือพระญาณของพระองค์.

พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดสิ้นเชิง ด้วย

พระญาณใด พระสัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ ด้วยพระ-

ญาณนั้น. สุรุจิดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ปูลาด

หนังเสือบนแผ่นดินแล้วนั่ง.

ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขาสูงหยั่งลงในห้วงมหรรณพ

๘๔,๐๐๐ โยชน์ ขุนเขาสิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูง

เพียงนั้น ทำให้ละเอียดถึงแสนโกฏิ ด้วยชนิดแห่งการนับ.

เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ย่อมถึงความหมดสิ้นได้ แต่

ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

ผู้ใดพึงเอาข่ายตาถี่ ๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่าพึง

เข้าไปในภายในข่ายของผู้นั้น.

ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนาบางพวกก็ฉันนั้น

แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วยการลูบคลำ.

เดียรถีย์เหล่านี้เข้าไปภายในข่าย ด้วยพระญาณอัน

บริสุทธิ์ มีปกติทรงเห็นได้โดยไม่ติดขัด ไม่ล่วงพ้นพระญาณ

ของพระองค์ไปได้.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี

ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงชำนะกิเลส เสด็จออกจากสมาธิแล้ว

ทรงตรวจดูทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

พระอัครสาวกนามว่า นิสภะ ของพระอโนมทัสสีมุนี อัน

พระขีณาสพหนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบมั่นคง บริสุทธิ์สะอาด ได้

อภิญญา ๖ ผู้คงที่ แวดล้อมอยู่ ทราบพระดำริของพระ-

พุทธเจ้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก.

ท่านเหล่านั้นอยู่ในอากาศ ได้กระทำประทักษิณพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว ลงมาประนมอัญชลีนมัสการอยู่ในสำนัก

ของพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นโลก-

เชษฐ์ เป็นนระผู้องอาจ ทรงชำนะกิเลสแล้ว ประทับนั่งใน

ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ทรงกระทำการแย้มพระโอฐ.

พระภิกษุนามว่า วรุณะ อุปัฏฐากของพระศาสดาอโนมทัสสี

ทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระโลกนายกว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดา

ทรงกระทำการแย้มหนอ เพราะเมื่อไม่มีเหตุ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายย่อมไม่ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก เป็น

นระผู้องอาจ ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา

นี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้ ทั้งชมเชยญาณของเรา เรา

จักประกาศผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

เทวดาทั้งปวงพร้อมทั้งมนุษย์ ทราบพระดำรัสของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

พุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้า

พระสัมพุทธเจ้า.

หมู่ทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟัง

พระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.

จตุรงคเสนา คือพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า

จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

ดนตรีหกหมื่น กลองที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็น

นิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

หญิงล้วนแต่สาว ๆ หกหมื่นนาง ประดับประดาสวยงาม

มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตรตระการตา สวมกุณฑลแก้วมณี มี

หน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผาย ไหล่ผึ่ง เอวกลม จักห้อม

ล้อมผู้นี้เป็นนิจ.

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ใน

เทวโลกตลอดแสนกัป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน

พันครั้ง จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง

จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับไม่ถ้วน.

เมื่อถึงภพสุดท้าย ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจากครรภ์

นางพราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อและโคตรของ

มารดา โดยชื่อว่า สารีบุตร จักมีปัญญาคมกล้า จักหากังวล

มิได้ ละทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหา

สันติบททั่วแผ่นดินนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ในกัปอันประมาณมิได้ แต่กัปนี้ไป พระศาสดาทรง

พระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ทรงสมภพในสกุล

พระเจ้าโอกกากราช จักมีขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาท

ในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จัก

ได้เป็นพระอัครสาวกมีนามว่า สารีบุตร.

แม่น้ำคงคาชื่อว่า ภาคีรสี นี้ ไหลมาแต่ประเทศหิมวันต์

ไหลไปถึงมหาสมุทร ยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม ฉันใด พระสารี-

บุตรนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญแกล้วกล้าในเวททั้งสาม ถึงที่สุด

แห่งปัญญาบารมี จักยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ.

ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึงมหาสมุทรสาคร ในระหว่างนี้

ว่าถึงการนับทรายนี้ใดนับไม่ถ้วน การนับทรายแม้นั้น ก็อาจ

นับได้โดยไม่เหลือ ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร

จักไม่มี ฉันนั้นเลย.

เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป

แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่เป็นเหมือนอย่าง

นั้นเลย.

คลื่นในมหาสมุทร เมื่อจะว่าโดยการนับ ก็นับไม่ถ้วน

ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักนับไม่ได้ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

พระสารีบุตรจักยังพระสัมพุทธเจ้า ผู้ศากยโคดม ผู้ประ-

เสริฐให้ทรงโปรด แล้วจักได้เป็นพระอัครสาวกถึงความยอด

เยี่ยมแห่งปัญญา จักประกาศตามได้โดยชอบ ซึ่งพระธรรม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

จักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรทรงประกาศแล้ว จักยังเมล็ด

ฝน คือธรรมให้ตกลาง.

พระโคดมผู้เป็นศากยะ ผู้ประเสริฐ ทรงทราบข้อนั้น

ทั้งหมดแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จักทรงตั้งไว้

ในตำแหน่งอัครสาวก.

โอ ! กรรมเราได้ทำไว้อย่างดีแล้ว แก่พระศาสดาพระ-

นามว่า อโนมทัสสี. เราได้กระทำอธิการคือบุญอันยิ่งใหญ่

แก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ถึงที่สุดในที่ทั้งปวง พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้น่าอัศจรรย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรรมที่เรากระทำไว้ใน

กาลอันนับไม่ได้ว่าเป็นวิบากของกรรมในภพสุดท้ายนี้แก่เรา.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เหมือนกำลังแห่งลูกศรอันพ้น

ดีแล้ว(จากแล่ง). เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้

ดับสนิท ไม่หวั่นไหว พิจารณาเดียรถีย์ทั้งปวง ท่องเที่ยว

ไปแล้วในภพ.

คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ ต้องสะสมทรัพย์ไว้ทุกอย่าง

เพื่อปลดเปลื้องความป่วยไข้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อ

แสวงหาอมตบทคือพระนิพพาน อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้

บวชเป็นฤๅษี ๕๐๐ ชาติ โดยไม่ปะปนกัน.

เราทรงชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ

ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว ได้ไปสู่พรหมโลก. ความบริสุทธิ์ในลัทธิ

ภายนอก ย่อมไม่มี ยกเว้นแต่ศาสนาของพระชินเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีปัญญา ย่อมบริสุทธิ์ได้ใน

ศาสนาของพระชินเจ้า. เพราะฉะนั้น เราจึงไม่นำตัวเรานี้

ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ไปในลัทธิภายนอก, เราเมื่อแสวงหาบท

อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จึงท่องเที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด.

บุรุษผู้ต้องการแก่น พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก จะไม่ได้

แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น ฉันใด คน

เป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์ มีทิฏฐิต่าง ๆ กันในโลก ก็ฉันนั้น

แล.

คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือนต้นกล้วย

ว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น. เมื่อถึงภพสุดท้ายแล้ว เราได้เป็น

เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ละทิ้งโภคสมบัติเป็นอันมาก ออกบวช

เป็นบรรพชิตแล้ว.

จบปฐมภาณวาร

ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของพราหมณ์นามว่า สัญชัย ซึ่ง

เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ

พราหมณ์ชื่อ อัสสชิ สาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก

มีเดชรุ่งเรื่อง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น.

ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้มีปัญญาเป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นใน

ความเป็นมุนี มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดัง

ดอกปทุม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ครั้นข้าพระองค์เห็นท่านผู้มีอินทรีย์อันฝึกดีแล้ว มีใจ

บริสุทธิ์ องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า จึงเกิดความคิดว่า

ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์.

ท่านผู้มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส มีรูปงาม สำรวมดี จักเป็น

ผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอันสูงสุด จักเป็นผู้เห็นอมตบท

เราถามแล้ว ท่านจักตอบ เราจักสอบถามท่านอีก.

ข้าพระองค์ได้ตามไปข้างหลังของท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑ-

บาต รอคอยโอกาสอยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท.

ข้าพระองค์เข้าไปหาท่านซึ่งพักอยู่ในระหว่างถนน แล้ว

ได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีความเพียร ท่านมีโคตร

อย่างไร ท่านเป็นศิษย์ของใคร.

ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้วไม่ครั่นคร้าม ดังพญาไกรสร

ได้พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อาตมา

เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้เป้นอนุชาตบุตร มียศมาก

ศาสนธรรมแห่งพระพุทธเจ้าของท่าน เป็นเช่นไร ขอได้

โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุก

อย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศรคือตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความ

ทุกข์ทั้งมวลว่า

ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระ

มหาสมณเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้.

เมื่อท่านพระอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุ

ผลที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้ฟัง

คำสอนของพระชินเจ้า.

ครั้นข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระมุนี ได้เห็นธรรม

อันสงสุด จึงหยั่งลงสู่พระสัทธรรม แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า

ธรรมนี้เท่านั้น ถ้ามีเพียงเท่านั้น พระองค์ทรงทำให้แจ้ง

บทอันไม่เศร้าโศก ที่ข้าพเจ้าไม่ได้พบเห็น ล่วงเวลาไปหลาย

หมื่นกัป.

ข้าพระองค์แสวงหาธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด

ประโยชน์นั้นอันข้าพระองค์ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ กาลนี้

มิใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์อันพระอัสสชิให้ยินดี

แล้ว เพราะได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว.

ข้าพระองค์เมื่อจะแสวงหาสหาย จึงได้ไปยังอาศรม

สหายของข้าพระองค์ สหายเห็นข้าพระองค์จากที่ไกลทีเดียว

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า

ท่านเป็นผู้มีหน้าตาผ่องใส ความเป็นมุนีคงจะปรากฏแน่

ท่านได้บรรลุอมตบทอันดับสนิท ไม่มีการเคลื่อนแลหรือ.

ท่านได้เป็นผู้เหมาะสมแก่ความงามมาแล้ว เหมือนช้างถูก

แทงด้วยหอกซัดไม่หวั่นไหฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

เป็นเหมืนฝึกตนแล้ว เป็นผู้สงบระงับในธรรมเครื่องฝึกที่ได้

ฝึกมาแล้ว.

เราได้บรรลุอมตบทอันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศก

ได้แล้ว แม้ตัวท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น พวกเราจงไปยัง

สำนักของพระพุทธเจ้ากันเถิด.

สหายอันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว รับคำแล้ว ได้จูงมือ

พากันเข้ามายังสำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากย-

บุตร ข้าพระองค์ทั้งสองจักบวชในสำนักของพระองค์ จัก

อาศัยคำสอนของพระองค์ แล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ท่านโกลิตะ เป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์ถึงที่สุด

แห่งปัญญา ข้าพระองค์ทั้งสองจะร่วมกันทำศาสนาให้งาม

ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด จึงเที่ยวไปในลัทธิผิด

เพราะได้อาศัยทัสสนะของพระองค์ ความดำริของข้าพระองค์

จึงเต็ม.

ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งกลิ่น

หอมตลบ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระ-

ศากยบุตร ผู้มียศใหญ่ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ใน

ศาสนธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมเบ่งบานในสมัย.

ข้าพระองค์แสวงหาดอกไม้คือวิมุตติ เป็นที่พ้นภพสงสาร

ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ด้วยการได้ดอกไม้ คือวิมุตติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ เว้นพระมหามุนีเสีย ตลอดพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

เขต ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญาแห่งข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของ

พระองค์.

ศิษย์และบริษัทของพระองค์ พระองค์ทรงแนะนำดีแล้ว

ให้ศึกษาดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกจิตอันสูงสุด ย่อม

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นเพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์

มีจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี ย่อม

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาน้อย มีปัญญา เป็น

นักปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้งลาภ และความ

เสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน

มีจีวรเศร้าหมอง ยินดียิ่งในวิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อม

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติมรรค ๔ ตั้งอยู่ในอรหัตผล เป็น

เสขะพรั่งพร้อมด้วยผลเบื้องต่ำ ๓ หวังประโยชน์อันสูงสุด

ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ทั้งท่านผู้เป็นพระโสดาบัน ทั้งท่านที่เป็นพระสกทาคามี

พระอนาคามี และพระอรหันต์ปราศจากมลทิน ย่อมแวดล้อม

พระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาดในสติปัฏฐาน ยินดี

ในโพชฌงคภาวนา ทุกท่านย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา

หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุก

เมื่อ.

ท่านเหล่านั้นมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์

และปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้

แลหนอ ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง

แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

พระองค์ อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวมดีแล้ว มีตบะ แวดล้อม

แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ดุจพญาราชสีห์ ย่อมงดงามดุจ

พระจันทร์.

ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินย่อมงาม ถึงความไพบูลย์ และ

ย่อมเผล็ดผล ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระยศ

ใหญ่ พระองค์ก็เป็นเช่นกับแผ่นดิน ฉันนั้น ศิษย์ทั้งหลายตั้ง

อยู่ในศาสนาของพระองค์ ย่อมได้อมตผล.

แม่น้ำสินธุ สรัสสดี จันทภาคา คงคา ยมุนา สรภู

และแม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านี้ไหลมา สาครย่อมรับไว้หมด

แม่น้ำเหล่านี้ย่อมละชื่อเดิม ย่อมปรากฏว่าเป็นสาครเท่านั้น

ฉันใด วรรณ ๔ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น ในสำนักของพระองค์

แล้ว ทั้งหมดย่อมละชื่อเดิม ปรากฏว่าพุทธบุตร.

เปรียบเหมือนดวงจันทร์อันปราศจากมลทิน โคจรอยู่ใน

อากาศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงหมู่ดาวทั้งหมดในโลก ด้วยรัศมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ ก็ฉันนั้น อันศิษย์

ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว ย่อมรุ่งเรืองล้นเหล่าเทวดาและมนุษย์

ตลอดพุทธเขตในกาลทุกเมื่อ.

คลื่นตั้งขึ้นในน้ำลึก ย่อมล่วงเลยฝั่งไปไม่ได้ คลื่นเหล่า

นั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็นระลอกเล็กน้อยละลายหายไป

ฉันใด ชนในโลกเป็นส่วนมากที่เป็นเดียรถีย์ ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิ

ต่าง ๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของพระองค์ แต่ก็ไม่ล่วง

เลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าชนเหล่านั้นมาถึงพระ-

องค์ด้วยความประสงค์จะคัดค้าน พากันเข้ามายังสำนักของ

พระองค์แล้ว ย่อมกลายเป็นจุณไฟ.

เปรียบเหมือนโกมุท บัวขมและบัวเผื่อนเป็นอันมาก ที่

เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบอยู่ด้วยน้ำเปือกตมและโคลน ฉันใด

สัตว์เป็นอันมาก ก็ฉันนั้น เกิดแล้วในโลก อันราคะและโทสะ

เบียดเบียนแล้วงอกงามอยู่ เหมือนโกมุทงอกงามอยู่ใน

เปือกตมฉะนั้น.

ปทุมเกิดในน้ำ ย่อมไพโรจน์อยู่ในท่ามกลางน้ำ มันมี

เกสรบริสุทธิ์ ไม่ติดด้วยน้ำ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า

พระองค์ ก็ฉันนั้น เป็นมหามุนีเกิดในโลก แต่ไม่ติดโลก

เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.

ดอกไม้อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือนจิตร-

มาส ย่อมไม่ล่วงพ้นเดือนนั้น สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

บาน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ ก็ฉันนั้น

เป็นผู้บานแล้วด้วยวิมุตติของพระองค์.

สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลยศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัว

เกิดในน้ำ ย่อมบานไม่พ้นเดือนกัตติกาฉะนั้น.

พญาไม้รังดอกบานสะพรั่ง กลิ่นหอมตลบ อันไม้รังต้นอื่น

แวดล้อม ย่อมงามยิ่ง ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์

ฉันนั้น บานแล้วด้วยพุทธญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว

ย่อมงาม เหมือนพญาไม้รังฉะนั้น.

ภูเขาหินชื่อว่าหิมวันต์เป็นที่เกิดโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่

อยู่ของพวกนาค อสูร และเทวดาทั้งหลาย ฉันใด ข่าแต่

พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ ฉันนั้น เป็นดังโอสถของมวลสัตว์.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุวิชชา ๓ และอภิญญา ๖

ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาพร่ำสอนแล้ว

ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ

พระองค์.

ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ออกจากถ้ำที่อยู่เหลียวดูทิศทั้ง ๔

แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เมื่อราชสีห์คำราม มฤคทั้งปวง

ย่อมสะดุ้งกลัว.

อันที่จริง ราชสีห์ผู้มีชาติกำเนิดนี้ ย่อมยังปศุสัตว์ให้

สะดุ้งกลัวทุกเมื่อ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์

ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อมหวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อม

ตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้งกลัว ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ ปวงเดียรถีย์

ย่อมสะดุ้งกลัว ดังฝูงกา เหยี่ยว และเนื้อ วิ่งกระเจิงเพราะ

ราชสีห์ฉะนั้น.

ผู้เป็นเจ้าคณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชาวโลกเรียกกันว่าเป็น

ศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันนำกันสืบ ๆ มา

แก่บริษัท.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ส่วนพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมแก่

มวลสัตว์เหมือนอย่างนั้น พระองค์ตรัสรู้สัจจะและโพธิปัก-

ขิยธรรม ด้วยพระองค์เอง ทรงทราบอัธยาศัยกิเลส และ

อินทรีย์มีกำลังและไม่มีกำลัง ทรงทราบภัพพบุคคลและ

อภัพพบุคคล แล้วจึงทรงบันลือประดุจมหาเมฆ.

บริษัทจะพึงนั่งเต็มรอบจักรวาล เขาเหล่านั้นมีทิฏฐิต่างกัน

คิดต่างกัน เพื่อทรงตัดความสงสัยของสัตว์เหล่านั้น พระองค์

ผู้เป็นมุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมา ทรงทราบจิตของสัตว์ทั้งปวง

เมื่อได้ทรงแก้ปัญหาข้อเดียวเท่านั้น ก็ตัดความสงสัยของสัตว์

ทั้งหลายได้.

แผ่นดินพึงเต็มด้วยคนเช่นกับจอกแหนในน้ำ คนทั้งหมด

นั้นประนมอัญชลีสรรเสริญพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก หรือ

ว่าคนเหล่านั้นสรรเสริญอยู่ตลอดกัป ฟังสรรเสริญพระคุณ

ต่าง ๆ ก็ไม่ทำพระคุณให้สิ้นสุดประมาณได้ พระตถาคตมี

พระคุณหาประมาณมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

ด้วยว่าพระมหาชินเจ้า เป็นผู้อันเราสรรเสริญแล้วตาม

กำลังของตนเท่านั้นฉันใด คนทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อสรรเสริญ

อยู่ถึงโกฏิกัป ก็จะพึงสรรเสริญอย่างนี้ ๆ.

ก็ถ้าใคร ๆ จะเป็นเทพหรือมนุษย์ก็ตาม ผู้ศึกษามาดีแล้ว

จะสรรเสริญคุณให้สุดประมาณได้

ผู้นั้นก็จะได้แต่ความลำบากเท่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้

ศากยบุตร มีพระยศมาก ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในศาสนาของ

พระองค์ ถึงที่สุดแห่งปัญญาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้อยู่.

ข้าพระองค์จะย่ำยีพวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้า

ให้เป็นไป จะเป็นธรรมเสนาบดีในศาสนาของพระศากยบุตร

ในวันนี้ไป.

กรรมที่ข้าพระองค์กระทำแล้ว ในกาลอันหาประมาณมิได้

แสดงผลแก่ข้าพระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสแล้ว ดุจ

ลูกศรอันหมดกำลังแล้ว.

มนุษย์คนใดคนหนึ่งทูนของหนักไว้บนศีรษะทุกเวลา ต้อง

ลำบากด้วยภาระ ฉันใด อันภาระที่เราแบกอยู่ ก็ฉันนั้น. เรา

ถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่ เป็นผู้แบกภาระคือภพ เหมือนถอน

เขาสิเนรุวางไว้บนศีรษะ ท่องเที่ยวไปในภพ.

บัดนี้ เราปลงภาระแล้ว เพิกภพทั้งหลายเสียแล้ว กิจที่

ควรทาทุกอย่างในศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว.

ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระศากยบุตร เราเป็นเลิศด้วย

ปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

เราเป็นผู้ฉลาดดีในสมาธิ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์วันนี้ เรา

ปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันก็ได้.

พระมหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม ตรัส

คำสอนแก่เรา นิโรธเป็นที่อยู่ของเรา.

ทิพยจักษุของเราหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่น

ประกอบในสัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์.

ก็กิจทุกอย่างที่สาวกจะพึงทำ เราทำเสร็จแล้ว เว้นพระ-

โลกนาถ ไม่มีใครเสมอเรา.

เราเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้ฌานและวิโมกข์รวดเร็ว

ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ.

เราทั้งหลายเป็นผู้เคารพในบุรุษผู้สูงสุด ด้วยการสัมผัส

สาวกคุณ และด้วยปัญญาจิตของเรา สงเคราะห์เพื่อน

พรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ.

เรามีความเย่อหยิ่งด้วยมานะอันวางแล้ว ดุจงูถูกถอนเขี้ยว

และเหมือนโคเขาหักฉะนั้น เข้าไปหาหมู่คณะด้วยความ

เคารพหนัก.

ถ้าปัญญาของเราจะมีรูปร่าง ก็จะเสมอด้วยพระเจ้า-

แผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี.

เราย่อมยังพระธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคศากยบุตร

ผู้คงที่ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ นี้เป็นผล

แห่งการชมเชยพระญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

คนที่มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน ละความเพียร

มีสุตะน้อย และไม่มีอาจาระ อย่าได้สมาคมกับเราในที่ไหนๆ

ในกาลไร ๆ.

ส่วนคนผู้มีสุตะมาก มีปัญญา ตั้งมั่นดีแล้วในศีล และ

เป็นผู้ประกอบด้วยความสงบใจ ขอจงตั้งอยู่บนกระหม่อม

ของเรา.

ด้วยเหตุนั้น เราจึงขอบอกกล่าวท่านทั้งหลาย ขอความ

เจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในสมาคมนี้.

ขอท่านทั้งหลายจงมีความปรารถนาน้อย สันโดษ และ

ให้ทานทุกเมื่อ.

เราเป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้เห็น

พระอัสสชิก่อน ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชินั้น เป็นอาจารย์

ของเรา เป็นนักปราชญ์.

เราเป็นสาวกของท่าน วันนี้ เป็นธรรมเสนาบดี ถึงที่สุด

ในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิผู้เป็นอาจารย์ของเรา อยู่ใน

ทิศใด เราย่อมทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น.

พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ ทรงระลึกถึงกรรมของเรา

แล้วประทับนั่งอยู่ในหมู่ภิกษุ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ.

คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ

เสร็จแล้วฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตเถราปทาน

พรรณนาเถราปทาน

๑. พรรณนาสารีปุตตเถราปทาน

ต่อจากนั้น เพื่อจะสังวรรณนาคาถารวบรวมเถราปทาน ท่าน

จึงกล่าวว่า อถ เถราปทาน สุณาถ ดังนี้.

อรรถแห่ง อถ ศัพท์ และ อปทาน ศัพท์ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น.

ก็บรรดาศัพท์เหล่านี้ เถร ศัพท์นี้ เป็นไปในอรรถมิใช่น้อย มี

อรรถว่า กาล มั่นคง บัญญัติ ชื่อ และใหญ่ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เถรศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า กาล เช่นในประโยค

มีอาทิว่า เถโรวสฺสิกานิ ปูตีนิ จุณฺณกชาตานิ แปลว่า ท่อนกระดูก

ทั้งหลาย ที่ฝนตกชะอยู่เกินเวลานานปีแล้ว ผุป่นละเอียดไป. อธิบายว่า

ฝนตกชะอยู่นาน คือตกเป็นเวลานาน.

ใช้ในความหมายว่า มั่นคง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโรปิ ตาว

มหา แปลว่า เพียงเป็นผู้มั่นคง เป็นใหญ่ก่อน. อธิบายว่า เป็นผู้มีศีล

มั่นคง.

ใช้ในความหมายว่า บัญญัติ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโร

อยมายสฺมา มหลฺลโก แปลว่า ท่านผู้มีอายุนี้เป็นคนแก่คนเฒ่า, อธิบายว่า

เป็นเพียงโลกบัญญัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

ใช้ในความหมายว่า ชื่อ เช่นในประโยคมีอาทิว่า จุนฺทตฺเถโร

ผุสฺสตฺเถโร พระจุนทเถระ พระผุสสเถระ อธิบายว่า เขาตั้งชื่อไว้อย่างนี้.

ใช้ในความหมายว่า คนใหญ่ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโร จาย

กุมาโร มม ปุตฺเตสุ บรรดาลูก ๆ ของข้าพเจ้า กุมารนี้เป็นคนใหญ่

(คนหัวปี) อธิบายว่า เด็กคนโต.

แต่ในที่นี้ เถระ ศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่า กาล และ มั่นคง.

เพราะฉะนั้น ชื่อว่า เถร เพราะดำรงอยู่มาสิ้นกาลนาน, อีกอย่างหนึ่ง

ท่านผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล อาจาระ และมัทวะ อันมั่นคงยิ่ง เรียกว่า

เถระ. พระเถระและเถระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระเถระทั้งหลาย,

อปทานคือเหตุแห่งพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่าเถราปทาน, เชื่อมความว่า

ท่านทั้งหลายจงฟังเถราปทานนั้น.

คำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ลมฺพโก นาม ปพฺพโต ดังนี้

เป็นอปทานของท่านพระสารีบุตร, เรื่องของท่านผู้มีอายุนั้น และของ

พระมหาโมคคัลลานเถระ พึงทราบอย่างนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในที่สุดหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่าน

พระสารีบุตรบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นผู้ชื่อว่า สรทมาณพ

โดยชื่อ, ท่านพระมหาโมคคัลลานะบังเกิดในตระกูลคหบดีมหาศาล โดย

ชื่อ มีชื่อว่า สิริวัฑฒนกุฏุมพี.

คนทั้งสองนั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน บรรดาคนทั้งสองนั้น

สรทมาณพ เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว ได้ครอบครองทรัพย์อันเป็นของ

ตระกูล วันหนึ่ง อยู่ในที่ลับคิดว่า ชื่อว่าความตายของสัตว์เหล่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

สิ่งที่แน่นอน เพราะฉะนั้น เราควรเข้าถือการบวชอย่างหนึ่ง แสวงหา

ทางหลุดพ้น จึงเข้าไปหาสหายแล้วกล่าวว่า สหาย เราอยากบวช ท่าน

จักอาจบวชไหม. เมื่อสหายนั้นกล่าวว่า ไม่อาจ จึงกล่าวว่า ช่างเถอะ

เฉพาะเราเท่านั้นจักบวช แล้วให้เปิดคลังรัตนะให้มหาทานแก่คนกำพร้า

และคนเดินทางเป็นต้น แล้วไปยังเชิงเขาบวชเป็นฤาษี. เมื่อสรทมาณพ

นั้นบวช ได้มีเหล่าบุตรพราหมณ์ประมาณ ๗๔,๐๐๐ คนบวชตาม. สรท-

ดาบสนั้นทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด แล้วจึงบอกกสิณ-

บริกรรมแก่ชฎิลเหล่านั้น. ชฎิลทั้งหมดนั้นก็ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘

ให้บังเกิดขึ้น.

สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติ

ขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ได้ยังเหล่าสัตว์ให้

ข้ามจากโอฆะสงสารใหญ่ วันหนึ่ง มีพระประสงค์จะสงเคราะห์สรทดาบส

และเหล่าอันเตวาสิก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน ทรงถือบาตรและจีวร

เสด็จไปทางอากาศ ทรงดำริว่า จงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อสรทดาบส

นั้นเห็นอยู่นั่นแล จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนแผ่นดิน.

สรทดาบส พิจารณามหาบุรุษลักษณะในพระสรีระของพระศาสดา

แล้วลงสันนิษฐานว่า ท่านผู้นี้เป็นพระสัพพัญญูพุทธะแท้เทียว จึงได้

กระทำการต้อนรับ ให้ปูลาดอาสนะถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูลาดแล้ว สรทดาบสนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในสำนัก

ของพระศาสดา.

สมัยนั้น ชฎิลประมาณ ๗๔,๐๐๐ ผู้เป็นอันเตวาสิกของสรทดาบส

นั้น ถือผลไม้น้อยใหญ่อันประณีต ๆ มีโอชะมาอยู่ ได้เห็นพระศาสดาเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

ความเลื่อมใส แลดูอาการนั่งแห่งอาจารย์ของตนและพระศาสดา แล้วพา

กันกล่าวว่า ท่านอาจารย์ เมื่อก่อนพวกข้าพเจ้าสำคัญว่า ใคร ๆ ผู้จะใหญ่

กว่าท่านไม่มี ก็บุรุษนี้เห็นจะใหญ่กว่าท่าน. สรทดาบสกล่าวว่า พ่อ

ทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร พวกเธอปรารถนาจะกระทำเขาสิเนรุอันสูง

หกล้านแปดแสนโยชน์ ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พวกเธออย่า

กระทำเราให้เท่ากับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย. ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้น

ครั้นได้ฟังคำของอาจารย์แล้ว พากันคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุดมบุรุษผู้ยิ่งใหญ่

ทีเดียวหนอ ทั้งหมดจึงหมอบลงที่พระบาทไหว้พระศาสดา.

ทีนั้น อาจารย์จึงกล่าวกะพวกศิษย์นั้นว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย ไทย-

ธรรมของพวกเราอันสมควรแก่พระศาสดา ไม่มี และพระศาสดาก็เสด็จมา

ณ ที่นี้ในเวลาภิกขาจาร เอาเถอะ พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลัง

ผลาผลอันประณีตใด ๆ พวกเธอได้นำมาแล้ว พวกเธอก็จงนำเอาผลาผลไม้

นั้น ๆ มาเถิด ครั้นให้นำมาแล้ว จึงล้างมือทั้งสอง ให้ตั้งผลาผลไม้

ลงในบาตรของพระตถาคตด้วยตนเอง เมื่อพระศาสดาสักว่าทรงรับผลา-

ผลไม้ เทวดาทั้งหลายได้ใส่ทิพโอชาเข้าไป. แม้น้ำพระดาบสก็ได้กรอง

ถวายด้วยตนเองเหมือนกัน.

จากนั้น เมื่อพระศาสดาทรงทำกิจด้วยโภชนะให้เสร็จแล้วประทับ

นั่ง ดาบสให้เรียกเหล่าอันเตวาสิกทั้งหมดมา แล้วนั่งกล่าวสาราณียกถา

อยู่ในสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงดำริว่า อัครสาวกทั้งสองจง

มาพร้อมกับหมู่ภิกษุ. ทันใดนั้น พระอัครสาวกมีพระขีณาสพหนึ่งแสน

เป็นบริวาร ก็มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ลำดับนั้น สรทดาบสจึงเรียกเหล่าอันเตวาสิกมาว่า พ่อทั้งหลาย

ควรทำการบูชาด้วยอาสนะดอกไม้ แก่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ เพราะ-

ฉะนั้น พวกเธอจงนำดอกไม้มา. ทันใดนั้น เหล่าอันเตวาสิกจึงนำดอกไม้

ทั้งหลายอันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาด้วยฤทธิ์ แล้วปูลาดอาสนะดอกไม้

ประมาณหนึ่งโยชน์แก่พระพุทธเจ้า ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณ ๓ คาวุต

แก่พระอัครสาวกทั้งสอง ปูลาดอาสนะดอกไม้ชนิดกึ่งโยชน์เป็นต้น แก่

เหล่าภิกษุที่เหลือ ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณอุสภะแก่ภิกษุผู้ใหม่

ในสงฆ์.

ครั้นปูลาดอาสนะทั้งหลายอย่างนี้แล้ว สรทดาบสจึงประคองอัญชลี

ตรงพระพักตร์ของพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์เสด็จขึ้นยังอาสนะดอกไม้นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์. พระผู้-

มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว

พระอัครสาวกทั้งสองและเหล่าภิกษุที่เหลือ ก็นั่งบนอาสนะอันถึงแก่ตนๆ.

พระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติด้วยพระประสงค์ว่า ผลใหญ่จงมี

แก่ดาบสเหล่านั้น. ฝ่ายพระอัครสาวกทั้งสองและภิกษุที่เหลือ รู้ว่าพระ-

ศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงพากันเข้านิโรธสมาบัติ. พระดาบสได้ยืน

กั้นฉัตรดอกไม้แด่พระศาสดาสิ้นกาลหาระหว่างมิได้ตลอด ๗ วัน. พระ-

ดาบสนอกนี้ฉันมูลผลาหารจากป่าแล้ว ในเวลาที่เหลือก็ได้ยืนประคอง

อัญชลีอยู่.

พอล่วงไปได้ ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติ แล้ว

ตรัสเรียกพระนิสภเถระอัครสาวกว่า เธอจงกระทำอนุโมทนาอาสนะดอก-

ไม้แก่ดาบสทั้งหลาย. พระเถระตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณ ได้กระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

อนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสทั้งหลายเหล่านั้น ในเวลาจบเทศนาของ

พระนิสภเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอโนมเถระทุทิยอัครสาวกว่า

แม้เธอก็จงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น. ฝ่ายพระอโนมเถระพิจารณา

พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก แล้วกล่าวธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น

ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม มิได้มีด้วยเทศนาของพระอัครสาวกทั้งสอง.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัย แล้วทรงเริ่มพระ-

ธรรมเทศนา. ในเวลาจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันที่เหลือแม้ทั้งหมด

เว้นสรทดาบสบรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

ตรัสกะชฎิลเหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้น ชฎิล

เหล่านั้นมีเพศดาบสอันตรธานหายไป ได้เป็นผู้ทรงบริขาร ๘ ดุจพระเถระ

มีพรรษา ๖๐ ฉะนั้น.

ส่วนสรทดาบส เพราะความที่ตนเป็นผู้เกิดปริวิตกขึ้นเวลาแสดง

ธรรมว่า โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งใน

อนาคต เหมือนพระนิสภเถระนี้ ได้มีจิตส่งไปอื่น จึงไม่ได้อาจเพื่อจะทำ

ให้รู้แจ้งมรรคผล. ลำดับนั้น จึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้กระทำ

ความปรารถนาเหมือนอย่างนั้น.

พระศาสดาทรงเห็นว่าจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์

ว่า ล่วงไปหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. แต่กัปนี้ไป อัครสาวกของพระ-

โคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า จักมีนามว่าสารีบุตร ดังนี้แล้วตรัสธรรมกถา มี

ภิกษุสงฆ์เป็นบริวารแล่นไปยังอากาศแล้ว.

ฝ่ายสรทดาบสก็ได้ไปยังสำนักของสิริวัฑฒกุฎุมพีผู้สหาย แล้วกล่าว

ว่า สหาย เราปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ผู้จะอุบัติขึ้นในอนาคต ณ ที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

อโนมทัสสี แม้ท่านก็จงปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวกของพระโคดมสัมมา-

สัมพุทธเจ้านั้น.

สิริวัฑฒกุฎุมพีได้ฟังการชี้แจงดังนั้น จึงให้กระทำที่ประมาณ ๘

กรีสที่ประตูนิเวศน์ของตนให้มีพื้นราบเรียบ แล้วโรยดอกไม้มีข้าวตอก

เป็นที่ ๕ ให้สร้างมณฑปมุงด้วยอุบลเขียว ให้ลาดอาสนะสำหรับพระ-

พุทธเจ้า ให้ลาดอาสนะสำหรับภิกษุทั้งหลาย แล้วตระเตรียมเครื่อง

สักการะและสัมมานะมากมาย แล้วให้สรทดาบสไปนิมนต์พระศาสดามา

ยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แล้วให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน ครองผ้าทั้งหลายอันควรค่ามาก แล้วได้กระทำความปรารถนา

เพื่อความเป็นทุติยสาวก.

พระศาสดา ทรงเห็นความสำเร็จของสิริวัฑฒกุฎุมพีนั้นโดยหา

อันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทรงทำอนุโมทนาภัต

แล้วเสด็จหลีกไป. สิริวัฑฒกุฎุมพีร่าเริงแจ่มใส กระทำกุศลกรรมตลอด

ชั่วอายุ แล้วบังเกิดในกามาวจรเทวโลก ในวาระจิตที่ ๒ สรทดาบส

เจริญพรหมวิหาร ๔ แล้วบังเกิดในพรหมโลก.

จำเดิมแต่นั้น ท่านไม่กล่าวถึงกรรมในระหว่างของสหายทั้งสอง.

ก็สรทดาบสถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางรูปสารีพราหมณี ในอุปติสสคาม

ไม่ไกลนครราชคฤห์ ก่อนกว่าการอุบัติขึ้นแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา

ทั้งหลาย. ในวันนั้นเอง แม้สหายของสรทดาบสนั้น ก็ถือปฏิสนธิใน

ครรภ์ของนางโมคคัลลีพราหมณี ในโกลิตคาม ไม่ไกลนครราชคฤห์

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

เพราะฉะนั้น โมคคัลลานะ ชื่อว่า โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตร

ของนางโมคคัลลีพราหมณี, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะ

เกิดโดยโมคคัลลีโคตร. อีกอย่างหนึ่ง ในเวลาที่มารดายังเป็นกุมาริกา

บิดามารดาของนางกุมาริกานั้นเรียกชื่อว่า มุคคลี เพราะถือเอาคำว่า มา

อุคฺคลิ มา อุคฺคลิ อย่ากลืน อย่ากลืน. ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะเป็น

บุตรของนางมุคคลีนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะเป็น

ผู้อาจ คือสามารถในการได้ ในการถือเอา ในการรู้แจ้งมรรคมีโสดา-

ปัตติมรรคเป็นต้น.

ได้ยินว่า ตระกูลทั้งสองนั้น เป็นสหายเนื่องกันมา ๗ ชั่วสกุล.

บิดามารดาได้ให้การบริหารครรภ์แก่คนทั้งสองนั้นในวันเดียวกัน. พอล่วง

ไปได้ ๑๐ เดือน บิดามารดาก็เริ่มตั้งแม่นม ๖๖ คน แก่คนทั้งสองนั้น

แม้ผู้เกิดแล้ว. ในวันตั้งชื่อ บิดามารดาตั้งชื่อบุตรของนางรูปสารีพราหมณี

ว่า อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของตระกูลผู้เป็นหัวหน้าในอุปติสสคาม.

ตั้งชื่อของบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะเป็นบุตรของตระกูลผู้เป็นหัวหน้า

ในโกลิตคาม. คนทั้งสองนั้นเจริญอยู่ด้วยบริวารใหญ่ อาศัยความเจริญ

เติบโตแล้ว ได้ถึงความสำเร็จศิลปะทั้งปวง.

อยู่มาวันหนึ่ง คนทั้งสองนั้นกำลังดูมหรสพบนยอดเขาในกรุงราช-

คฤห์ เห็นมหาชนประชุมกัน เพราะญาณถึงความแก่กล้า จึงเกิดความคิดขึ้น

โดยแยบคายได้ความสังเวชว่า คนเหล่านี้ทั้งหมด ภายในร้อยปีเท่านั้น ก็จะ

เข้าไปยังปากของมัจจุราช จึงทำการตัดสินใจว่า เราทั้งหลายควรแสวงหา

โมกขธรรม และเมื่อจะแสวงหาโมกขธรรมนั้น ควรได้การบรรพชาอย่าง-

หนึ่ง จึงพากันบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

จำเดิมแต่คนทั้งสองนั้นบวชแล้ว สัญชัยปริพาชกได้เป็นผู้ถึงลาภ

อันเลิศและยศอันเลิศ. โดย ๒-๓ วัน เท่านั้น คนทั้งสองนั้นก็เรียนลัทธิของ

สัญชัยได้ทั้งหมด ไม่เห็นสาระในลัทธินั้น ได้เหนื่อยหน่ายลัทธินั้น จึง

ถามปัญหากะสมณพราหมณ์ที่เขาสมมติกันว่า เป็นบัณฑิตในที่นั้นๆ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น ผู้ถูกคนทั้งสองถามแล้ว ไม่ยังการแก้ปัญหาให้สำเร็จ

ได้ โดยที่แท้ คนทั้งสองนั้นนั่งเอง พากันแก้ปัญหาไห้แก่สมณพราหมณ์

เหล่านั้น. เมื่อเป็นอย่างนั้น คนทั้งสองนั้น เมื่อจะแสวงหาโมกขธรรม

(ต่อไป) จึงได้ทำกติกาว่า ในเราทั้งสอง คนใดบรรลุอมตะก่อน คนนั้น

จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.

ก็สมัยนั้น เมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายทรงบรรลุพระปฐมาภิ-

สัมโพธิญาณแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงทรมานชฎิล

พันคนมีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ

วันหนึ่ง อุปติสสปริพาชกไปยังปริพาชการาม เห็นท่านพระอัสสชิเถระ

เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ คิดว่า บรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท

เห็นปานนี้ เราไม่เคยเห็น ชื่อว่าธรรมอันละเอียดจะพึงมีในบรรพชิตนี้

จึงเกิดความเลื่อมใส มองดูท่านผู้มีอายุเพื่อจะถามปัญหา ได้ติดตามไป

ข้างหลัง.

ฝ่ายพระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ไปยังโอกาสอันเหมาะสม เพื่อจะ

บริโภค. ปริพาชกได้ลาดตั่งปริพาชกของตนถวาย และในเวลาเสร็จภัตกิจ

ได้ถวายน้ำในคนโทของตนแก่พระเถระ. ปริพาชกนั้นกระทำอาจริยวัตร

อย่างนี้แล้ว กระทำปฏิสันถารกับพระเถรผู้กระทำภัตกิจเสร็จแล้วจึงถามว่า

ใครเป็นศาสดาของท่านหรือ หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร ? พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

เถระอ้างเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันปริพาชกนั้นถามอีกว่า ก็ศาสดา

ของท่านผู้มีอายุมีวาทะอย่างไร คิดว่า เราจักแสดงความที่พระศาสนานี้

เป็นของลึกซึ้ง จึงประกาศว่าตนยังเป็นผู้ใหม่ และเมื่อจะแสดงธรรมใน

พระศาสนาแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า เย ธมฺมา

เหตุปฺปภวา เป็นต้น.

ปริพาชกได้ฟังเฉพาะสองบทแรกเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระโสดา-

ปัตติมรรคและโสดาปัตติผลอันสมบูรณ์ด้วยนัยพันหนึ่ง สองบทหลังจบลง

ในเวลาเขาเป็นพระโสดาบัน. ก็ในเวลาจบคาถา เขาเป็นพระโสดาบัน

เมื่อคุณวิเศษในเบื้องบนยังไม่เป็นไป จึงกำหนดว่า เหตุในพระศาสนานี้

จักมี จึงกล่าวกะพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าขยายธรรมเทศนาให้

สูงเลย เท่านี้แหละพอแล้ว พระศาสดาของเราทั้งหลายอยู่ที่ไหน. พระ-

อัสสชิกล่าวว่า อยู่ทีพระเวฬุวัน. ปริพาชกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจง

ล่วงหน้าไป ข้าพเจ้าจะเปลื้องปฏิญญาที่ทำไว้แก่สหายของข้าพเจ้าแล้วจัก

พาสหายนั้นมาด้วย แล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณ

สั่งพระเถระแล้วได้ไปยังปริพาชการาม.

โกลิตปริพาชกเห็นอุปติสสปริพาชกนั้นกำลังมาแต่ไกล คิดว่า สีหน้า

ไม่เหมือนวันอื่น อุปติสสะนี้จักบรรลุอมตธรรมเป็นแน่จึงยกย่องการบรรลุ

คุณวิเศษของอุปติสสะนั้น โดยอาการนั้นแหละ แล้วถามถึงการบรรลุ

อมตธรรม. ฝ่ายอุปติสสะนั้นก็ปฏิญญาแก่โกลิตะนั้นว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้า

บรรลุอมตธรรมแล้ว จึงได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ.

ในเวลาจบคาถา โกลิตะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวว่า

พระศาสดาของพวกพวกเราอยู่ที่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

อุปติสสะกล่าวว่า อยู่ที่พระเวฬุวัน.

โกลิตะกล่าวว่า ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น พวกเราจงมา จักเฝ้าพระ-

ศาสดา.

อุปติสสะเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ตลอดกาลทั้งปวงทีเดียว เพราะฉะนั้น

จึงได้เป็นผู้ใคร่จะประกาศคุณของพระศาสดาแก่สัญชัย แล้วนำสัญชัย

แม้นั้นไปยังสำนักของพระศาสดาด้วย.

สัญชัยปริพาชกนั้นถูกความหวังในลาภครอบงำ ไม่ปรารถนาจะ

เป็นอันเตวาสิก จึงปฏิเสธว่า เราไม่อาจเป็นตุ่มสำหรับตักวิดน้ำ คน

ทั้งสองนั้นเมื่อไม่อาจให้สัญชัยปริพาชกนั้นยินยอมได้ด้วยเหตุหลายประการ

จึงได้ไปยังพระเวฬุวันพร้อมกับอันเตวาสิก ๒๕๐ คน ผู้พระพฤติตาม

โอวาทของตน.

พระศาสดาทรงเห็นคนเหล่านั้นมาจากที่ไกล จึงตรัสว่า นี้จักเป็น

คู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญเลิศ แล้วทรงแสดงธรรมตามจริยาแห่ง

บริษัทของคนทั้งสองนั้น ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต แล้วได้ประทาน

อุปสมบทด้วยความเป็นเอหิภิกขุ บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ได้มา

แม้แก่พระอัครสาวก เหมือนมาแก่ภิกษุเหล่านั้น แต่กิจแห่งมรรคสาม

เบื้องบนของพระอัครสาวกยังไม่สำเร็จ เพราะเหตุไร ? เพราะสาวก-

บารมีญาณเป็นคุณยิ่งใหญ่.

บรรดาพระอัครสาวกนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ในวันที่ ๗

แต่บวชแล้วกระทำสมณธรรมอยู่ที่บ้านกัลลวาลคาม ในมคธรัฐ เมื่อถีน-

มิทธะก้าวลงอยู่ อันพระศาสดาให้สังเวชแล้ว บรรเทาถีนมิทธะ (ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

โงกง่วง) ได้ กำลังฟังธาตุกรรมฐานอยู่ทีเดียว ได้บรรลุมรรคเบื้องบน

ทั้ง ๓ ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ.

ท่านพระสารีบุตรล่วงไปได้กึ่งเดือนแต่การบรรพชา อยู่ในถ้ำสุกร-

ขตะ ในกรุงราชคฤห์กับพระศาสดา เมื่อพระศาสดาทรงแสดงเวทนา

แนวแห่งปริคคหสูตร แเก่ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลานของตน ส่งญาณ

ไปตามพระธรรมเทศนา จึงถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ เหมือนบุคคล

บริโภคภัตที่เขาคดมาเพื่อผู้อื่นฉะนั้น ดังนั้น สาวกบารมีญาณของพระ-

อัครสาวกทั้งสองได้ถึงที่สุดในที่ใกล้พระศาสดาทีเดียว.

ท่านพระสารีบุตรบรรลุสาวกบารมีญาณอย่างนี้แล้วจึงรำพึงว่า

สมบัตินี้เราได้ด้วยกรรมอะไร ได้รู้กรรมนั้นแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานด้วย

อำนาจความปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ในที่ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เราสร้าง

อาศรมไว้อย่างดี (และ) สร้างบรรณศาลาไว้อย่างดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตสฺส ความว่า ที่ชื่อว่า หิมวา

เพราะประเทศนั้นมีหิมะ, ในที่ไม่ไกล คือในที่ใกล้หิมวันตประเทศนั้น

อธิบายว่า ในป่าอันเนื่องกับเขาหิมาลัย.

บทว่า ลมฺพโก นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาเจือด้วยดินร่วน

อันมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า อสฺสโม สุกโต มยฺห ความว่า อาศรม คืออรัญวาส

ที่ทำไว้เพื่อเรา คือเพื่อประโยชน์แก่เรา ณ ที่ภูเขาชื่อลัมพกะนั้น ชื่อว่า

อาศรม เพราะสงบเงียบโดยทั่วไป คือโดยรอบ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

๑. ที่ปรากฏโดยมากกว่า สุกรขาตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

อาศรม เพราะเป็นที่ไม่มีความดิ้นรน คือความกระวนกระวาย แก่ผู้เข้า

ไปแล้ว, อรัญวาสอันเป็นอย่างนี้ เราทำไว้ดีแล้ว. อธิบายว่า สร้างไว้

ด้วยอาการอันดี เช่นที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน กุฎี และปะรำเป็นต้น.

บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ บรรณศาลาสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ มุง

ด้วยใบไม้มีแฝกและหญ้าปล้องเป็นต้น.

แม่น้ำมีฝั่งตื้น มีท่าดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วย

ทรายขาวสะอาด มีอยู่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตานกูลา ได้แก่ แม่น้ำไม่ลึก.

บทว่า สุปติตฺถา แปลว่า มีท่าดี.

บทว่า มโนรมา ได้แก่ ประทับใจ คือเป็นที่ยังใจให้เอิบอาบ,

บทว่า สุสุทฺธปุลินากิณฺณา ได้แก่ เกลื่อนกลาดด้วยทราย ปาน

ประหนึ่งว่ากลีบแก้วมุกดาขาวดี อธิบายว่า เป็นต้องทราย.

อธิบายว่า แม่น้ำคือแม่น้ำน้อยที่เป็นอย่างนี้นั้น ได้มีอยู่ในที่ไม่ไกล

คือในที่ใกล้อาศรมของเรา. ก็บทว่า อสฺสม พึงทราบว่า เป็นทุติยาวิภัตติ

ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ตลิ่งไม่

ชัน น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไหลไป ทำให้อาศรมของ

เรางาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขรา ความว่า ชื่อว่าไม่มีกรวด

คือเว้นจากกรวด เพราะท่านกล่าวว่า เกลื่อนกลาดด้วยทราย.

บทว่า อปพฺภารา แปลว่า เว้นจากเงื้อม อธิบายว่า ฝั่งไม่ลึก.

บทว่า สาทุ อปฺปฏิคนฺธิกา ความว่า แม่น้ำ คือแม่น้ำน้อย มีน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

มีรสอร่อย เว้นจากกลิ่นเหม็น ไหลไป คือเป็นไป ทำอาศรมบทของเรา

ให้งาม.

ฝูงจระเข้ มังกร ปลาร้าย และเต่าว่ายน้ำเล่นอยู่ในแม่น้ำ

นั้น แม่น้ำไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า จระเข้ มังกร ปลาฉลาม คือปลาร้าย

และเต่า ได้เล่นอยู่ในแม่น้ำนี้. เชื่อมความว่า แม่น้ำ คือแม่น้ำน้อยไหล

คือไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา

ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโลดโดดอยู่ ย่อมทำให้

อาศรมของเรางาม.

อธิบายว่า ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา

ตะเพียน และปลานกกระจอก มัจฉาชาติทั้งหมดนี้ โดดไปข้างโน้นข้าง

นี้ คือไหลไปกับแม่น้ำ ทำให้อาศรมบทของเรางาม.

ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่

ทั้งสองฝั่ง ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภ กูเลสุ ความว่า ที่ข้างทั้งสอง

ของแม่น้ำนั้น มีต้นไม้ที่มีดอกประจำ มีผลประจำ ห้อยอยู่ทั้งสองฝั่ง

คือน้อมลงเบื้องล้างที่ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำ ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย

บานอยู่เป็นนิจ มีกลิ่นหอมดุจกลิ่นทิพย์ ฟุ้งตลบไปในอาศรม

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพา เป็นต้น ความว่า มะม่วงเป็น

พวงมีรสหวานอร่อย ต้นรัง ต้นหมากเม่า ต้นแคฝอย ต้นย่างทราย ต้นไม้

เหล่านี้ มีดอกบานอยู่เป็นนิจ. มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นทิพย์ ฟุ้ง คือฟุ้ง

ตลบไปรอบ ๆ อาศรมของเรา.

ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิง บุนนาค

และลำเจียก บานสะพรั่งมีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ ฟุ้งไปใน

อาศรมของเรา.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่มมีดอก

เหมือนวงกลมทองคำ ไม้กากะทิง ไม้บุนนาค และไม้ลำเจียกหอม ไม้

ทั้งหมดนี้ มีดอกบาน คือบานสะพรั่ง กลิ่นตลบ คือส่งกลิ่นหอมฟุ้งไป

ในอาศรมของเรา เหมือนกลิ่นทิพย์.

ต้นลำดวน ต้นอโศก ต้นกุหลาบ ไม้ปรู และไม้มะกล่ำ

หลวง มีดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ต้นลำดวนดอกบาน ต้นอโศกดอก

บาน ต้นกุหลาบดอกบาน ต้นปรูดอกบาน และมะกล่ำหลวงดอกบาน

ไม้เหล่านี้บานสะพรั่งงดงามอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

การะเกด พะยอมขาว พิกุล และมะลิซ้อน ส่งกลิ่นหอม

อบอวล ทำอาศรมของเราให้งดงาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกตกา ได้แก่ กอสุคนธการะเกด.

อธิบายว่า ต้นพะยอมขาว พิกุล กอมะลิซ้อน รุกขชาติทั้งหมดนี้ส่งกลิ่น

หอมตลบ ทำให้อาศรมของเรางามไปทั่ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ไม้เจตพังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันเป็น

อันมาก ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

เชื่อมความว่า ไม้ทั้งหลายมีเจตพังคีเป็นต้นเหล่านี้ ทำอาศรมของ

เราให้งามไปทั่ว ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่.

บุนนาค บุนนาคเขา และต้นโกวิฬาร์ (ไม้สวรรค์) ดอก

บานสะพรั่ง หอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม.

อธิบายว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีบุนนาคเป็นต้น ส่งกลิ่นหอมตลบ ทำ

ให้อาศรมของเรางาม.

ไม้ราชพฤกษ์ อัญชันเขียว ไม้กระทุ่ม และพิกุล มีมาก

ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำอาศรมของเราให้งาม.

เชื่อมความว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นราชพฤกษ์เป็นต้น ส่งกลิ่นหอม

ตลบ ทำให้อาศรมของเรางาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด เจริญเติบโตด้วย

น้ำหอม ออกผลสะพรั่ง.

ในคาถานั้น มีใจความว่า พุ่มถั่วดำเป็นต้นเหล่านี้ เจริญเติบโต

ด้วยน้ำหอมแห่งเครื่องหอมมีจันทน์เป็นต้น ทรงผลดุจทอง ทำให้อาศรม

ของเรางดงาม.

ปทุมอย่างหนึ่งบาน ปทุมอย่างหนึ่งกำลังเกิด ปทุมอย่าง

หนึ่งดอกร่วง บานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเ ปุปฺผนฺติ ปทุมา ความว่า ใน

บึง ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา ปทุมอย่างหนึ่ง คือบางพวกบาน ปทุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

บางพวกเกิดอยู่ คือบังเกิดอยู่ ปทุมบางพวกมีดอกร่วง คือมีเกสรใน

กลีบโรยไป.

ปทุมกำลังเผล็ดดอกตูม เหง้าบัวไหลไป กระจับเกลื่อน

ด้วยใบ งามอยู่ในบึง ในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คพฺภ คณฺหนฺติ ปทุมา ความว่า ใน

กาลนั้น คือในสมัยที่เราเป็นดาบสอยู่ ปทุมบางเหล่ากำลังเผล็ดดอกตูมอยู่

ในภายในบึง เหง้าบัว คือรากปทุม กำลังไหลไป คือไหลไปจากภายใน

เปือกตมนี้เหมือนงาช้าง. ความว่า กระจับทั้งหลายเป็นกอ ดาดาษด้วย

ใบและดอก งดงามอยู่.

ไม้ตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรี และชบา บานอยู่ในบึง

ส่งกลิ่นหอมตลบอยู่ในกาลนั้น.

อธิบายความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ ณ ที่ใกล้บึง กอ-

ตาเสือ กอจงกลนี กอชื่ออุตตรี และกอชบา กอไม้ทั้งหมดนี้บาน คือ

ออกดอก พาเอากลิ่นหอมมา ทำบึงให้งดงาม.

ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา

ตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน ย่อมอยู่ในบึง ใน

กาลนั้น.

เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ หมู่ปลามีปลาสลาด

เป็นต้น ไม่กลัวย่อมอยู่ในบึง.

ฝูงจระเข้ ปลาฉลาม ปลาฉนาก ผีเสื้อน้ำ เต่า และงู

เหลือม ย่อมอยู่ในบึง ในกาลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ ฝูงปลามีจระเข้เป็นต้น

เหล่านั้น ไม่กลัว ไม่มีอันตราย ย่อมอยู่ในบึง ใกล้อาศรมของเรา.

ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพรากที่เที่ยวไปในน้ำ

นกดุเหว่า นกแขกเต้า และนกสาลิกา ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต

อยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า นกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพราก

ที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า นกแขกเต้า และนกสาลิกา อาศัยสระใกล้

อาศรมของเรา คือเข้าไปอาศัยสระนั้นเป็นอยู่.

ฝูงนกกวัก ไก่ฟ้า นกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า

ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกุตฺถกา ได้แก่ นกที่มีชื่ออย่างนั้น

บทว่า กุฬีรกา ได้แก่ นกที่มีชื่ออย่างนั้น. เชื่อมความว่า นกกะลิงป่า

นกต้อยตีวิด และนกแขกเต้า นกทั้งหมดนี้ ย่อมอาศัยสระใกล้อาศรม

ของเรานั้นเป็นอยู่.

ฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูง นกดุเหว่า ไก่ นกค้อนหอย

นกโพระดก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

อธิบายว่า ฝูงนกมีหงส์เป็นต้นเหล่านี้ทั้งหมด เข้าไปอาศัยสระนั้น

เป็นอยู่ คือเลี้ยงชีวิตอยู่.

ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขาเหยี่ยว และนกกาน้ำ

นกมากมาย เข้าไปอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า นกแสก นกหัวขวาน นกเขา นกเหยี่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

และนกกาน้ำ นกมากมายบนบก ย่อมเป็นอยู่ คือสำเร็จความเป็นอยู่ ณ

สระนั้น คือ ณ ที่ใกล้สระนั้น.

เนื้อฟาน หมู จามรี กวาง ละมั่ง เนื้อทราย เป็น

อันมาก เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น มีใจความว่า มฤคเหล่านั้นมีเนื้อฟานเป็นต้น เลี้ยง

ชีวิตอยู่ ณ สระนั้น คือใกล้สระนั้น. ทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมี-

วิภัตติ.

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมู หมาใน เสือดาว

โขลงช้าง แยกกันเป็น ๓ พวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระ

นั้น.

เชื่อมความว่า สัตว์จตุบทมีสีหะเป็นต้นเหล่านี้ เว้นจากอันตราย

เป็นอยู่ใกล้สระนั้น.

พวกกินนร วานร คนทำงานในป่า สุนัขไล่เนื้อ และ

นายพราน ย่อมอาศัยเป็นอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานี้ มีความหมายว่า สัตว์เหล่านี้มีกินนรเป็นต้นซึ่งมีชื่อ

อย่างนี้ ย่อมอยู่ใกล้สระนั้น.

มะพลับ มะหาด มะซาง หมากเม่า เผล็ดผลอยู่เป็น

นิจ ในที่ไม่ไกลจากอาศรมของเรา.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ไม้ทั้งหลายมีมะพลับเป็นต้นเหล่านี้

เผล็ดผลมีรสอร่อย ในที่ไม่ไกลจากอาศรมของเรา ตลอดกาลทั้ง ๓ คือ

ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เป็นประจำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ต้นคำ ต้นสน ต้นสะเดา สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน

เผล็ดผลเป็นประจำอยู่ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

ในคาถานั้น มีความว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นคำเป็นต้นเหล่านี้ มี

ผลเป็นสำคัญ มีผลอร่อย มีผลอันอุดมมาร่วมกัน คือประกอบพร้อมดี

ได้แก่ สะพรั่งพร้อม เผล็ดผลเป็นประจำ งดงามอยู่ในที่ใกล้อาศรมของเรา.

ต้นสมอ มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก กระเบา

ไม้รกฟ้า และมะตูม ต้นไม้เหล่านั้นเผล็ดผลอยู่.

เชื่อมความว่า ต้นไม้มีสมอเป็นต้นเหล่านั้น เกิดอยู่ในที่ใกล้อาศรม

ของเรา เผล็ดผลอยู่เป็นนิจ.

เหง้ามัน มันอ้อน นมแมว มันนก กะเม็ง และคัดมอน

มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

เชื่อมความว่า มูลผลทั้งหลายมีเหง้ามันเป็นต้นเหล่านี้ หวาน มีรส

อร่อย มีอยู่เป็นอันมาก ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีสระน้ำสร้างไว้ดีแล้ว มีน้ำ

ใสเย็น มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่รื่นรมย์ใจ.

ในคาถานั้น มีความว่า ในที่ไม่ไกลอาศรม คือในที่ใกล้อาศรม

ได้มีสระน้ำสร้างไว้ดีแล้ว คือเขาสร้างให้ควรแก่การขึ้นและการลงด้วยดี

มีน้ำใส คือมีน้ำใสแจ๋ว น้ำเย็น มีท่าราบเรียบ คือมีท่าดี เป็นที่รื่นรมย์

ใจ คือกระทำความโสมนัสให้.

ดารดาษด้วยปทุมและอุบล สะพรั่งด้วยบุณฑริก ปกคลุม

ด้วยบัวขมและเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในคาถานั้น มีความว่า สระทั้งหลายดารดาษ คือบริบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ปทุมบัวหลวง และอุบลบัวขาว ประกอบคือสะพรั่งด้วยบุณฑริกบัวขาว

เกลื่อนกลาด คือเป็นกลุ่ม ๆ ด้วยบัวขมและบัวเผื่อน กลิ่นหอมฟุ้งตลบ

คือฟุ้งไปรอบด้าน.

ในกาลนั้น เราอยู่ในอาศรมที่สร้างไว้อย่างดี น่ารื่นรมย์

ในป่าที่มีดอกไม้บาน สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งมวลอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว สพฺพงคสมฺปนฺเน ความว่า ใน

กาลนั้น คือในกาลเป็นดาบสอยู่ในอาศรม คือในอรัญวาส อันน่ารื่นรมย์

ที่สร้างอย่างดี ในป่าอันเป็นชัฏด้วยไม้ดอกและไม้ผล สมบูรณ์ คือบริบูรณ์

ด้วยองค์ประกอบมีแม่น้ำเป็นต้นทุกชนิด.

พระดาบสครั้นแสดงสมบัติแห่งอาศรมของตน ด้วยลำดับคำมี

ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงคุณสมบัติมีศีลเป็นต้นของตน จึง

กล่าวว่า

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร

เพ่งฌาน ยินดีในฌาน บรรลุอภิญญาพละ ๕.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวา ความว่า สมบูรณ์ด้วยศีล ๕

เช่นปาริสุทธิศีล ๔ อันประกอบพร้อมด้วยฌาน.

บทว่า วตฺตสมฺปนฺนา ความว่า บริบูรณ์ด้วยการสมาทานวัตรว่า

ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่เสพฆราวาสและกามคุณ ๕.

บทว่า ฌายี ได้แก่ ผู้มีปกติเพ่ง คือมีการเพ่งเป็นปกติ ด้วย

ลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน.

บทว่า ฌานรโต ความว่า ยินดีแล้ว คือเร้นอยู่ ได้แก่ สมบูรณ์

อยู่ทุกเมื่อในฌานทั้งหลายเหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

บทว่า ปญฺจาภิญฺาพลสมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์ด้วยพละ

อธิบายว่า บริบูรณ์ด้วยอภิญญา คือปัญญาพิเศษ ๕ ประการ คือออิทธิวิธะ

แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ ปรจิตตวิชานนะ รู้ใจคนอื่น ปุพพ-

นิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนได้ ทิพพจักขุ ตาทิพย์. เชื่อมความว่า เรา

เป็นดาบส โดยชื่อว่า สุรุจิ อยู่.

ครั้นแสดงคุณสมบัติของตนด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว เมื่อจะ

แสดงปริสสมบัติ คือความสมบูรณ์ด้วยบริษัท จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ศิษย์ของเราทั้งหมดนี้ เป็นพราหมณ์ ๒๔,๐๐๐ คน มีชาติ

มียศ บำรุงเราอยู่.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ศิษย์ของเราทั้งหมดนี้ เป็นพราหมณ์

๒๔,๐๐๐ คน มีชาติ คือสมบูรณ์ด้วยชาติกำเนิด มียศ คือสมบูรณ์ด้วย

บริวารบำรุงเราอยู่.

มวลศิษย์ของเรานี้ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์

ในตำราทำนายลักษณะ และในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้ง

คัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ถึงความเต็มเปี่ยมในธรรม

ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขเณ ได้แก่ ในตำราทำนายลักษณะ.

ย่อมรู้ลักษณะของสตรีและบุรุษชาวโลกีย์ทั้งปวงว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ

เหล่านี้ จะมีทุกข์ ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้จะมีสุข. ตำราอัน

ประกาศลักษณะนั้น ชื่อว่า ลักขณะ. ในตำราทายลักษณะนั้น.

บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในทำราอันแสดงเฉพาะคำที่พูดว่า เรื่องนี้

เป็นแล้วอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นแล้วอย่างนี้. เชื่อมความว่า ถึงความเต็มเปี่ยม

คือที่สุดในตำราทายลักษณะ และตำราอิติหาสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

ตำราอันประกาศชื่อต้นไม้เเละภูเขาเป็นต้น เรียกว่า นิฆัณฑุ.

บทว่า เกฏุเภ ได้แก่ ตำราว่าด้วยการกำหนดใช้คำกิริยา อันเป็น

อุปการะแก่กวีทั้งหลาย. ชื่อว่า สนิฆัณฑุ เพราะเป็นไปกับด้วยคัมภีร์

นิฆัณฑุ. ชื่อว่า สเกฏุกะ เพราะเป็นไปกับด้วยคัมภีร์เกฏุภะ, เชื่อม

ความว่า ถึงความสำเร็จในไตรเพทอันเป็นไปกับด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุและ

เกฏุภะนั้น.

บทว่า ปทกา ได้แก่ ผู้ฉลาดในบทนาม สมาส ตัทธิต อาขยาต

และกิตก์เป็นต้น.

บทว่า เวยฺยากรณา ได้แก่ ผู้ฉลาดในพยากรณ์มีจันทปาณินีย-

กลาปะ เป็นต้น.

อธิบายว่า สธมฺเม ปารมึ คตา ความว่า ถึง คือบรรลุความเต็มเปี่ยม

คือที่สุดในธรรมของตน คือในธรรมของพราหมณ์ ได้แก่ ไตรเพท.

ศิษย์ทั้งหลายของเรา เป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย ในนิมิต

และในลักษณะ ศึกษาดีแล้วในแผ่นดิน พื้นที่และอากาศ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป :- เป็นผู้ฉลาด คือเฉลียวฉลาด

ในลางดีร้ายมีอุกกาบาต คือดวงไฟตกและแผ่นดินไหวเป็นต้น ในนิมิต

ดีและนิมิตร้าย และในอิตถีลักษณะ ปุริสลักษณะ และมหาปุริสลักษณะ.

ศิษย์ทั้งหลายของเราศึกษาดีแล้วในสิ่งทั้งปวง คือในแผ่นดิน ใน

พื้นที่ และในกลางหาว คืออากาศ.

ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้มักน้อย มีปัญญา มีอาหารน้อย ไม่

โลภ สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ ห้อมล้อมเราอยู่

ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺฉา ได้แก่ ผู้ยังอัตภาพให้เป็น

ไปด้วยอาหารแม้มีประมาณน้อย.

บทว่า นิปกา คือ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือปัญญาเครื่อง

รักษาตน.

บทว่า อปฺปาหารา ได้แก่ มีอาหารมื้อเดียว อธิบายว่า บริโภค

ภัตมื้อเดียว.

บทว่า อโลลุปา ได้แก่ เป็นผู้ไม่เป็นไปด้วยตัณหาคือความอยาก.

บทว่า ลาภาลาเภน ความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเราเหล่านี้สันโดษ

คือมีความพอใจด้วยลาภ และความไม่มีลาภ ห้อมล้อม คือบำรุงเราอยู่

ทุกเมื่อ คือเป็นนิตยกาล.

(ศิษย์ของเรา) เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนัก-

ปราชญ์ มีจิตสงบ มีใจตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล

ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายี คือ ประกอบด้วยลักขณูปนิชฌาน

และในอารัมมณูปนิชฌาน. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ผู้มีปกติเพ่ง.

บทว่า ฌานรตา ได้แก่ เป็นผู้ยินดี คือแนบแน่นในฌานเหล่านั้น.

บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา เครื่องทรงจำ.

บทว่า สนฺตจิตฺตา แปลว่า ผู้มีใจสงบ.

บทว่า สมาหิตา ได้แก่ ผู้มีจิตแน่วแน่.

บทว่า อากิญฺจญฺ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีปลิโพธกังวล.

บทว่า ปตฺถยนฺตา แปลว่า ปรารถนาอยู่. เชื่อมความว่า ศิษย์

ทั้งหลายของเราถึงซึ่งความเป็นอย่างนี้ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

(ศิษย์ของเรา) บรรลุอภิญญาบารมี คือความยอดเยี่ยม

แห่งอภิญญา ยินดีในโคจร คืออาหารอันเป็นของมีอยู่ของ

บิดา ท่องเที่ยวไปในอากาศ มีปัญญา ห้อมล้อมเราอยู่

ทุกเมื่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺาปารมิปฺปตฺตา ความว่า บรรลุ

ความเต็มเปี่ยม คือที่สุดในอภิญญา ๕ ได้แก่ ทำให้บริบูรณ์แล้ว.

บทว่า เปตฺติเก โคจเร รตา ความว่า ยินดีแล้วในอาหารที่ได้ด้วย

การไม่วิญญัติ คือการไม่ขอ อันเป็นพุทธานุญาต.

บทว่า อนฺตลิกฺขจรา ความว่า ไปและมาทางห้วงเวหา คือ

อากาศ.

บทว่า ธีรา ความว่า เป็นผู้มั่นคง คือมีสภาวะไม่หวั่นไหวใน

อันตรายมีสีหะ และพยัคฆ์เป็นต้น. อธิบายความว่า หมู่ดาบสของเรา

เป็นแล้วอย่างนี้ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

หมู่ศิษย์ของเราเหล่านั้นสำรวมทวาร ๖ ไม่หวั่นไหว

รักษาอินทรีย์ ไม่คลุกคลี เป็นนักปราชญ์ หาผู้ทัดเทียม

ได้ยาก.

ในคาถานั้น มีความว่า สำรวมแล้ว คือกั้นแล้ว ได้แก่ปิดแล้ว

ในทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น และในอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น

อธิบายว่า เป็นผู้รักษาและคุ้มครองทวาร.

บทว่า ทุราสทา แปลว่า เข้าถึงยาก อธิบายว่า ไม่อาจ คือไม่

สมควรเข้าไปใกล้ คือกระทบกระทั่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

ศิษย์ของเราเหล่านั้นหาผู้ทัดเทียมได้ยาก ยับยั้งอยู่ตลอด

ราตรี ด้วยการนั่งคู้บัลลังก์ ด้วยการยืน และการจงกรม.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเรายังราตรีทั้งสิ้นให้

น้อมล่วงไป คือให้ก้าวล่วงไปโดยพิเศษ ด้วยการนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่ง

ให้ขาอ่อนเนื่องกัน เว้นการนอน ด้วยการยืน และด้วยการจงกรม.

ศิษย์ทั้งหลายของเราเข้าใกล้ได้ยาก ไม่กำหนัดในอารมณ์

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง.

อธิบายความในคาถานั้นว่า หมู่ศิษย์ของเรา คือดาบสเหล่านั้น

ถึงซึ่งอาการอย่างนี้ ย่อมไม่กำหนัดคือไม่ทำความกำหนัดให้เกิดขึ้นใน

วัตถุอันน่ากำหนัด คืออันควรกำหนัด, ไม่ขัดเคือง คือไม่ทำความขัดเคือง

ในวัตถุที่น่าขัดเคือง คือควรขัดเคือง ได้แก่ ควรทำความขัดเคืองให้

เกิดขึ้น, ไม่หลง คือไม่ทำความหลงในวัตถุอันน่าหลง คือควรให้หลง

อธิบายว่า เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา.

ศิษย์เหล่านั้นทดลองการแผลงฤทธิ์ ประพฤติอยู่ตลอด

กาลเป็นนิจ ศิษย์เหล่านั้นทำแผ่นดินให้ไหว ยากที่ใครจะ

แข่งได้.

เชื่อมความว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทดลองประพฤติอยู่เป็น

นิตยกาล ซึ่งการแผลงฤทธิ์ มีอาทิว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลาย

คนเป็นคนเดียวก็ได้.

อธิบายว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นนิรมิตแผ่นดินในอากาศบ้าง ใน

น้ำบ้าง แล้วทำอิริยาบถให้สั่นไหว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

อธิบาย (บท สารมฺเภน) ว่า อันใคร ๆ ไม่พึงได้ด้วยการแข่งดี

คือด้วยการถือเอาเป็นคู่ คือด้วยการกระทำการทะเลาะ.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น เมื่อจะเล่นย่อมเล่นฌาน ไปนำ

เอาผลหว้าจากต้นหว้ามา หาผู้เข้าถึงได้ยาก.

อธิบายว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเมื่อเล่นกีฬา คือเล่น ได้แก่ ยินดี

การเล่นปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า ชมฺพุโต ผลมาเนนฺติ ความว่า ไปด้วยฤทธิ์แล้วนำเอา

มาซึ่งผลหว้าประมาณเท่าหม้อ จากต้นหว้าสูงร้อยโยชน์ ในหิมวันต-

ประเทศ.

ศิษย์พวกหนึ่งไปอปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปปุพพวิเทห-

ทวีป พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป ศิษย์เหล่านั้นไม่มีผู้ทัดเทียม

ด้วยการแสวงหา.

เชื่อมความในคาถาว่า ระหว่างศิษย์ของเราเหล่านั้น ศิษย์อื่นคือ

พวกหนึ่งไปทวีปโคยาน คืออปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป

พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป, ศิษย์เหล่านั้นหาผู้เข้าถึงได้ยาก ย่อมไปหา

คือแสวงหา ได้แก่แสวงหาปัจจัยในสถานที่เหล่านี้.

ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ส่วนตนเองไปข้างหลัง

ท้องฟ้าถูกดาบส ๒๔,๐๐๐ บดบังไว้.

ความในคาถาว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเมื่อไปทางอากาศ ส่งหาบ

คือกระเช้าอันเต็มด้วยบริขารดาบส ก็ครั้นส่งหาบนั้นไปข้างหน้าก่อนแล้ว

ตนเองไปข้างหลังหาบนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

เชื่อมความ (ในบาทคาถาต่อมา) ว่า ท้องฟ้าคือพื้นอากาศมี

ดาบส ๒๔,๐๐๐ ผู้ไปอยู่อย่างนั้น บดบังไว้ คือปิดบังไว้.

ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุกด้วยไฟ บางพวกกินดิบ ๆ บาง

พวกเอาฟันแทะกิน บางพวกซ้อมด้วยครกกิน บางพวกทุบ

ด้วยหินกิน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง.

ในคาถานั้น มีการเชื่อมความว่า ศิษย์ของเราบางเหล่าคือบางพวก

ปิ้งไฟ คือเผาผลาผลและผักเป็นต้นแล้วจึงกิน, บางพวกไม่ปิ้งไฟ

คือไม่ปิ้งให้สุกด้วยไฟ กินทั้งดิบ ๆ. บางพวกเอาฟันนั่นแหละแทะ

เปลือกกิน. บางพวกตำด้วยครก คือใช้ครกตำกิน บางพวกทุบด้วยหิน

คือเอาหินทุบกิน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง.

ศิษย์ของเราบางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำทั้งเช้าและ

เย็น บางพวกเอาน้ำราดรดตัว หาผู้เข้าถึงได้ยาก.

ความของคาถาว่า ศิษย์ทั้งหลายของเราหาผู้เข้าถึงได้ยาก บางพวก

ชอบสะอาด คือต้องการความบริสุทธิ์ ลงอาบน้ำ คือเข้าไปในน้ำทั้งเช้า

และเย็น.

บางพวกเอาน้ำราดรดตัว อธิบายว่า ทำการรดที่ตัวด้วยน้ำ.

ศิษย์ทั้งหลายของเราหาผู้ทัดเทียมมิได้ ปล่อยเล็บมือ

เล็บเท้าและขนรักแร้งอกยาว ขี้ฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร แต่

หอมด้วยกลิ่นศีล.

ความในคาถามันว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นหาผู้ทัดเทียมมิได้ มีเล็บ

และขนยาวงอกคือเกิดที่รักแร้ทั้งสอง และที่มือและเท้า, อธิบายว่า ไม่

ประดับไม่ตกแต่ง เพราะเว้นจากขุรกรรม คือโกนด้วยมีดโกน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

บทว่า ปงฺกทนฺตา ความว่า มีมลทินจับที่ฟัน เพราะไม่ได้กระทำ

ให้ขาวด้วยผงอิฐหรือผงหินน้ำนม.

บทว่า รชสฺสิรา ได้แก่ มีศีรษะเปื้อนธุลี เพราะเว้นจากการ

ทาน้ำมันเป็นต้น.

บทว่า คนฺธิตา สีลคนฺเธน ความว่า เป็นผู้มีกลิ่นหอมไปในที่

ทุกแห่งด้วยกลิ่นโลกียศีล เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลอันประกอบด้วย

ฌาน สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย.

ในบทว่า มม สิสฺสา ทุราสทา มีความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเรา

ใคร ๆ ไม่อาจเข้าถึง คือกระทบได้ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมี

ประการดังกล่าวแล้วนี้.

ชฏิลทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกันเวลาเช้าแล้วไป

ประกาศลาภน้อยลาภมากในท้องฟ้าในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ปาโตว สนฺนิปติตฺวา นี้ โต

ปัจจัยลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่า เป็นหมวดหมู่กันอยู่ใน

สำนักของเราในเวลาเช้าตรู่ทีเดียว.

ชฎิล คือดาบสผู้สวมชฏา มีตบะกล้า คือมีตบะปรากฏ ได้แก่

มีตบะแผ่ไปแล้ว.

เชื่อมความในตอนนี้ว่า ชฎิลทั้งหลายประกาศลาภน้อยลาภใหญ่

คือกระทำลาภเล็กและลาภใหญ่ให้ปรากฏ ในครั้งนั้น คือในกาลนั้น จึงไป

ในอัมพรคือพื้นอากาศ.

สุรุจิดาบสเมื่อจะประกาศคุณทั้งหลาย เฉพาะของดาบสเหล่านั้นอีก

จึงกล่าวคำว่า เอเตส ปกฺกมนฺตาน ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

เสียงดังอันเกิดจากผ้าคากรองของดาบสเหล่านี้ ผู้หลีกไป คือผู้ไปอยู่ใน

อากาศหรือบนบก ย่อมสะพัดไป.

ในบทว่า มุทิตา โหนฺติ เทวตา นี้ เชื่อมความว่า เพราะเสียง

หนังเสือของเหล่าดาบสผู้ทำเสียงดังให้สะพัดไปอยู่อย่างนั้น เทวดาทั้งหลาย

จึงยินดี เกิดความโสมนัสว่า สาธุ สาธุ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้

ยินดี คือพอใจด้วย.

ในบทว่า ทิโส ทิส นี้ เชื่อมความว่า ฤๅษีเหล่านั้นไปในห้อง

กลางหาว คือเที่ยวไปในอากาศเป็นปกติ ย่อมหลีกไป คือไปยังทิศใหญ่

และทิศน้อย.

ในบทว่า สเก พเลนุปตฺตทฺธา นี้ เชื่อมความว่า เป็นผู้ประกอบ

ด้วยกำลังร่างกาย และกำลังฌานของตน ย่อมไปในที่ที่ประสงค์จะไปตาม

ความต้องการ.

เมื่อจะประกาศอานุภาพเฉพาะของดาบสเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า ปวี กมฺปกา เอเต ดังนี้.

ในกาลนั้น ดาบสเหล่านั้น มีความต้องการเที่ยวไปในที่ทุกแห่ง

ทำแผ่นดินให้ไหว คือทำเมทนีให้เคลื่อนไหว มีปกติเที่ยวไปในท้องฟ้า

คือมีปกติเที่ยวไปในอากาศ.

บทว่า อุคฺคเตชา เป็นต้น ความว่า มีเดชพลุ่งขึ้น คือมีเดช

แพร่สะพัดไป ผู้ข่มขี่ได้ยาก คือไม่อาจข่มขี่ คือครอบงำเป็นไป เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ข่มได้ยาก.

ในบทว่า สาคโรว อโขภิยา นี้ เชื่อมความว่า เป็นผู้อันคนอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ให้กระเพื่อมไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหวได้ เหมือนสาคร คือเหมือน

สมุทรอันคนอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้ คือให้ขุ่นไม่ได้.

ในบทว่า านจงฺกมิโน เกจิ นี้ เชื่อมความว่า ในระหว่างศิษย์

ของเราเหล่านั้น ฤๅษีบางพวกถึงพร้อมด้วยอิริยาบถยืน และอิริยาบถ

จงกรม ฤๅษีบางพวกถือการนั่งเป็นวัตร คือถึงพร้อมด้วยอิริยาบถนั่ง

ฤๅษีบางพวกกินปวัตตโภชนะ คือกินใบไม้ที่หล่นเอง ชื่อว่ายากที่จะหา

ผู้ทัดเทียม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้.

เมื่อจะชมเชยดาบสทั้งหมดนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เมตฺตาวิหาริโน

ดังนี้.

ในคำนั้น มีเนื้อความว่า ศิษย์ของเราเหล่านี้ ชื่อว่ามีปกติอยู่ด้วย

เมตตา เพราะแผ่เมตตาอันมีความเสน่หาเป็นลักษณะโดยนัยมีอาทิว่า สัตว์

หาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ จงเป็นสุขเถิด ดังนี้

แล้วอยู่ คือยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่. อธิบายว่า ฤๅษีเหล่านั้นทั้งหมดเป็น

ผู้แสวงหาประโยชน์ คือแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ คือสัตว์

ทั้งปวง ไม่ยกตน คือไม่ถือตัว ไม่ข่มใคร ๆ คือคนไร ๆ ได้แก่

ไม่สำคัญโดยทำให้เป็นคนต่ำกว่า.

เชื่อมความ (ในคาถานี้ ) ว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเป็นผู้ไม่สะดุ้ง

คือไม่กลัวดุจราชสีห์ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณคือศีล สมาธิ และ

สมาบัติ มีเรี่ยวแรง คือถึงพร้อมด้วยกำลังกาย และกำลังฌาน ดุจคชราช

คือดุจพญาช้าง ยากที่จะเข้าถึง คือไม่อาจกระทบ ดุจพญาเสือโคร่ง

ย่อมมาในสำนักของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

ลำดับนั้น พระดาบสเมื่อจะประกาศโดยเลศ คือการแสดงอานุภาพ

ของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิชฺชาธรา ดังนี้. ในคำนั้น มีการเชื่อม

ความว่า วิชาธรมีการท่องมนต์เป็นต้น ภุมเทวดาผู้อยู่ที่ต้นไม้และภูเขา

เป็นต้น นาคผู้ตั้งอยู่ในภาคพื้น และผู้ตั้งอยู่บนบก คนธรรพ์เทพ รากษส

ผู้ดุร้าย กุมภัณฑเทพ ทานพเทพ และครุฑผู้สามารถนิรมิตสิ่งที่ปรารถนา

แล้ว ๆ ย่อมเข้าไปอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต, อธิบายว่า อยู่ที่สระนั้น คือ

ที่ใกล้สระ.

เมื่อจะพรรณนาคุณทั้งหลาย ของเหล่าดาบสผู้เป็นศิษย์ของตนนั้น

แหละแม้อีก จึงกล่าวคำว่า เต ชฏา ขาริภริตา ดังนี้เป็นต้น. คำทั้งหมด

นั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. บทว่า ขาริภาร ได้แก่ บริขารของดาบสมี

กระบวยตักน้ำ และคนโทน้ำเป็นต้น.

เมื่อจะประกาศคุณทั้งหลายของตนแม้อีก จึงกล่าวคำว่า อุปฺปาเต

สุปิเน จาปิ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เพราะถึงความ

สำเร็จในศิลปะของพราหมณ์ และเพราะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องราวของ

นักษัตร เราถูกใคร ๆ ถามถึงความเป็นไปในลักษณะแห่งอุปบาตและ

ในสุบินว่า นักขัตฤกษ์ที่ราชกุมารนี้เกิดงามหรือไม่งาม เราเป็นผู้ศึกษามา

ดีแล้วในการบอกถึงความสำเร็จแห่งสุบินว่า สุบินนี้งาม สุบินนี้ไม่งาม

และในการบอกลักษณะมือเท้าของสตรีและบุรุษทั้งปวง ชื่อว่าทรงไว้ซึ่ง

บทมนต์ คือโกฏฐาสของมนท์ทำนายลักษณะทุกอย่าง ซึ่งเป็นไปอยู่ใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้นในกาลนั้น คือในกาลที่เราเป็นดาบส.

เมื่อจะประกาศการพยากรณ์ของตน ให้มีพุทธคุณเป็นเบื้องหน้า

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทัสสี ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ที่ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

อโนมะ เพราะไม่ต่ำทราม. การเห็นสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยมังสจักษุ

ทิพยจักษุ สมันตจักษุ ธรรมจักษุ และพุทธจักษุ ชื่อว่าทัสสนะ

ทัศนะของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ต่ำทราม พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ชื่อว่า อโนมทัสสี. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุทั้งหลาย

มีความเป็นผู้มีภาคยะคือบุญเป็นต้น ชื่อว่า โลกเชษฐ์ เพราะเป็นผู้เจริญ

ที่สุดและประเสริฐสุดของโลก โคผู้เจริญที่สุดมี ๓ พวก คือโคอุสภะ

โคนิสภะ และโคอาสภะ ในโค ๓ พวกนั้น โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคร้อยตัว

ชื่ออุสภะ โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคพันตัว ชื่อว่านิสภะ โคผู้นำบุรุษ

ที่ประเสริฐสุด โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคแสนตัว ชื่อว่าอาสภะ โคผู้ยิ่งใหญ่,

นระผู้ยิ่งใหญ่แห่งนรชนทั้งหลาย ชื่อว่านราสภะ, นระผู้แทงตลอดธรรม

ทั้งปวง ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ, นระผู้ทรงใคร่ความวิเวก คือผู้ปรารถนา

ความเป็นผู้เดียว เสด็จเข้าไปยังหิมวันค์คือเขาหิมาลัย.

บทว่า อชโฌคาเหตฺวา หิมวนฺต ความว่า หยั่งลง คือเสด็จ

เข้าไปใกล้เขาหิมวันต์. คำที่เหลืออง่ายทั้งนั้น.

เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระโลกนายกผู้ประทับนั่งอยู่ รุ่งเรือง

คือโชติช่วงดุจดอกบัวเขียว เป็นตั่งแห่งเครื่องบูชายัญ คือเป็นตั่งแห่ง

เครื่องบูชาเทพคือเครื่องสังเวย สว่างจ้า คือประกอบด้วยรัศมีดังกองไฟ

โพลงอยู่ในอากาศดุจสายฟ้า บานสะพรั่งดุจพญารัง.

เทพของเทพทั้งหลาย ชื่อว่าเทวเทวะ, เพราะได้เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้น ผู้เป็นเทพของเทพ เราจึงตรวจคือพิจารณาพระลักษณะ คือ

เหตุเป็นเครื่องให้รู้มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของพระองค์ว่า จะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

พระพุทธเจ้าหรือไม่หนอแล. เชื่อมความว่า เราเห็นพระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ

คือผู้มีพระจักษุ ๕ ด้วยเหตุอะไร.

ความในคาถานี้ว่า กำหนึ่งพัน คือจักรลักษณะปรากฏที่พระบาท

อันอุดม คือที่พื้นฝ่าพระบาทอันอุดม, เราได้เห็นลักษณะเหล่านั้น ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงได้ตกลงคือถึงสันนิษฐาน อธิบายว่า

เป็นผู้หมดความสงสัยในพระตถาคต. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

ความในคาถานี้ว่า พระสยัมภู คือพระผู้เป็นเอง. ผู้เป็นแดนเกิด

แห่งพระคุณนับไม่ได้ คือเป็นแดนเกิดขึ้น ได้แก่ เป็นฐานที่ตั้งขึ้นแห่ง

พระคุณทั้งหลายนับไม่ได้ คือประมาณไม่ได้, บททั้งสองนี้เป็นอาลปนะ

ทั้งนั้น พระองค์ทรงรื้อขนชาวโลกนี้ คือสัตว์โลกนี้ด้วยดี คือทรงขน

ขึ้นจากสังสารให้ถึงบนบก คือนิพพาน.

เชื่อมความว่า มวลสัตว์เหล่านั้นมาสู่ทัสสนะของพระองค์แล้ว ย่อม

ข้ามคือก้าวล่วงกระแสคือความแคลงใจ ได้แก่โอฆะใหญ่ คือวิจิกิจฉา.

พระดาบสเมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ตุว สตฺถา ดังนี้ ในคำนั้นเชื่อมความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ

พระองค์เป็นศาสดาคือเป็นอาจารย์ของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก. พระ-

องค์เท่านั้นชื่อว่าเป็นเกตุ คือเป็นของสูง เพราะอรรถว่า สูงสุด, พระองค์

เท่านั้นชื่อว่าเป็นธง เพราะอรรถว่า ปรากฏในโลกทั้งสิ้น, พระองค์เท่านั้น

ชื่อว่าเป็นเสา คือเป็นเช่นกับเสาที่ปักไว้ เพราะอรรถว่า สูงขึ้น, พระองค์

เท่านั้นเป็นที่อาศัย คือเป็นฐานะที่จะพึงถึงชั้นสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย คือ

ของสรรพสัตว์ พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่ง คือเป็นฐานที่พึ่งพิง พระองค์

เท่านั้นชื่อว่าเป็นประทีป คือเป็นดุจประทีปน้ำมัน เพราะกำจัดความมืด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

คือโมหะของสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า คือเป็นผู้สูงสุด

ประเสริฐสุดแห่งเหล่าเทพ พรหม และมนุษย์ผู้มี ๒ เท้า.

เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สกฺกา สมุทฺเท อุทก ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า ใคร ๆ อาจ

ประมาณ คือนับน้ำในมหาสมุทรอันลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ได้ด้วยเครื่องตวง

ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์ใคร ๆ ไม่อาจเลยที่จะ

ประมาณ คือนับว่า มีประมาณเท่านี้.

เชื่อมความว่า ใคร ๆ วางที่มณฑลตราชั่ง คือที่ช่องตราชั่งแล้วอาจ

ชั่งปฐพีคือดินได้ ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์

ใคร ๆ ไม่อาจชั่งได้เลย.

ความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ อากาศคือห้วงเวหา

ทั้งสิ้น ใคร ๆ อาจนับได้ด้วยเชือกหรือนิ้วมือ แต่ญาณได้แก่อากาศ

คือญาณของพระองค์ ใคร ๆ ไม่อาจประมาณ คือนับไม่ได้เลย.

ในบทว่า มหาสมุทฺเท อุทก นี้ ความว่า พึงละ คือทิ้ง ได้แก่

ก้าวล่วงน้ำทั้งสิ้นในสาคร ลึก ๘๔๐๐๐ โยชน์ และแผ่นดินทั้งสิ้นหนาได้

๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ คือพึงทำให้เสมอได้ จะถือเอาพระญาณของพระพุทธเจ้า

มาชั่งคือทำให้เสมอ ย่อมไม่ควรด้วยอุปมา คือด้วยอำนาจอุปมา พระ-

ญาณเท่านั้นเป็นคุณชาติอันยิ่ง.

ข้าแต่พระผู้มีจักษุ คือข้าแต่พระผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕ คำนี้เป็น

อาลปนะคือคำร้องเรียก. โลกเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย คำนี้เป็น

ฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เชื่อมความว่า จิตของสัตว์

ทั้งหลายเหล่าใด คือมีประมาณเท่าใด ย่อมเป็นไปในระหว่างโลกพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ทั้งเทวโลก สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเหล่านั้น คือมีประมาณเท่านั้น อยู่ใน

ภายในข่ายคือญาณของพระองค์ คือเข้าไปในภายในข่ายคือพระญาณ

อธิบายว่า ทรงเห็นสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยข่ายคือพระญาณ.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระสัพพัญญู คือผู้รู้ธรรมทั้งปวง

ผูเจริญ พระองค์ทรงถึง คือบรรลุพระโพธิญาณ คือพระนิพพานทั้งสิ้น

ด้วยพระญาณใด อันสัมปยุตด้วยมรรค ทรงย่ำยี คือครอบงำเดียรถีย์

เหล่าอื่น คืออันเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.

พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อจะประกาศอาการที่ดาบสนั้น

สรรเสริญ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อิมา คาถา ถวิตฺวาน ดังนี้. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อิมา คาถา ความว่า ดาบสชื่อว่าสุรุจิโดยชื่อ แต่มาใน

อรรถกถาที่เหลือว่า สรทมาณพ สรรเสริญ คือทำการสรรเสริญด้วยคาถา

ทั้งหลายเหล่านี้. บาลีตามอรรถกถานัยนั้น เป็นประมาณ, อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าสุรุจิ เพราะมีความชอบใจ คืออัธยาศัย ได้แก่นิพพานาลัยงาม,

ชื่อว่า สรทะ เพราะแล่น คือไป ได้แก่ เป็นไปในการฝึกอินทรีย์,

ดังนั้น แม้ทั้งสองอย่างก็เป็นชื่อของดาบสนั้น. สุรุจิกาบสนั้นลาดหนังเสือ

แล้วนั่งบนแผ่นดิน อธิบายว่า สรทดาบสนั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖

ประการ มีใกล้เกินไปเป็นต้น.

พระดาบสนั่งในที่นั้นแล้ว เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระญาณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเท่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จุลฺลาสีติสหสฺสานิ

ดังนี้.

ในบทว่า จุลฺลาสีติสหสฺสานิ ในคาถานั้น มีการเชื่อมความว่า

ขุนเขาคือขุนเขาเมรุ หยั่ง คือหยั่งลง ได้แก่ ลงไปในห้วงมหรรณพ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ในสาครลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงคือพุ่งขึ้น ๘๔,๐๐๐ โยชน์เพียงนั้น คือ

มีประมาณเท่านั้น อันท่านกล่าวไว้ในบัดนี้.

เขาเนรุสูงเพียงนั้น คือสูงขึ้นไปอย่างนั้น เขามหาเนรุนั้น คือขุนเขา

เนรุใหญ่อย่างนั้น โดยส่วนยาว ส่วนสูง และส่วนกว้าง เป็นขุนเขาถูก

ทำให้ละเอียด คือถูกทำให้แหลกละเอียดถึงแสนโกฏิ โดยส่วนแห่ง

การนับ.

เชื่อมความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์เมื่อ

ตั้งคะแนนนับไว้ คือเมื่อทำร้อย พัน หรือแสนก็ตาม ให้เป็นหน่วยหนึ่ง ๆ

แล้วตั้งไว้ในพระญาณ จุณแห่งเขาเนรุใหญ่นั้นนั่นแหละพึงสิ้นไป พระ-

ญาณของพระองค์ใคร ๆ ไม่อาจประมาณคือทำการประมาณได้เลย.

อธิบายความในคาถานี้ว่า บุคคลใดพึงล้อม คือพึงทำการล้อมไว้

โดยรอบ ซึ่งน้ำในมหาสมุทรทั้งสิ้น ด้วยตาข่ายตาถี่ ๆ คือมีช่องละเอียด

เมื่อบุคคลนั้นล้อมน้ำไว้อย่างนี้ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เกิดในน้ำ สัตว์

ทั้งหมดนั้นจะต้องถูกกักไว้ในภายในข่าย.

พระดาบสเมื่อจะแสดงความอุปไมยนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตเถว

หิ ดังนี้. ในข้อที่กล่าวมานั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในน้ำ ย่อมอยู่ในภาย

ในข่าย ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ คือผู้กระทำความ

เพียรเพื่อบรรลุพระมหาโพธิญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เดียรถีย์ คือเจ้า

ลัทธิผิดเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก คือไม่ใช่น้อย ผู้แล่นไปในการถือผิด

คือผู้เข้าไปสู่การยึดถือกล่าวคือทิฏฐิ เป็นผู้ถูกปรามาสคือการยึดมั่น ได้แก่

ถูกทิฏฐิอันมีลักษณะยึดถือไปข้างหน้าโดยสภาพ ให้ลงอยู่คือปิดกั้นไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

เชื่อมความในคาถานี้ว่า เดียรถีย์เหล่านี้ทั้งหมด อยู่ในข่าย หรือ

เข้าไปในภายในข่ายแห่งพระญาณ ด้วยพระญาณอันบริสุทธิ์ คือไม่มีกิเลส

ของพระองค์ อันมีปกติเห็นโดยไม่ติดขัด คือเห็นธรรมทั้งปวงเว้นจาก

เครื่องกั้นเป็นปกติ อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า าณ เต นาติวตฺตเร

ความว่า พวกเดียรถีย์เหล่านั้นไม่ล่วงพ้นพระญาณของพระองค์ไปได้.

ในเวลาเสร็จสิ้นการสรรเสริญที่ล่วงแล้วอย่างนี้ เพื่อจะแสดงการ

เริ่มพยากรณ์ของตน พระดาบสจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ภควา ตมฺหิ สมเย

ดังนี้ ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในสมัยใด ดาบสสรรเสริญพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ในสมัยนั้น คือกาลเสร็จสิ้นการสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าอโนมทัสสี ชื่อว่าผู้มีพระยศใหญ่ เพราะทรงมีบริวารล่วงพ้น

การนับ ชื่อว่าพระชินะ เพราะทรงชนะกิเลสมารเป็นต้น ทรงออกจาก

สมาธิ คือจากอัปปนาสมาธิ ทรงตรวจดูสกลชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วยทิพย-

จักษุ.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า พระสาวกนามว่านิสภะ ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสีนั้น ผู้เป็นมุนี คือผู้ประกอบด้วยพระญาณ

กล่าวคือโมนะ อันพระขีณาสพหนึ่งแสนผู้มีจิตสงบ คือมีกิเลสในใจอัน

สงบระงับ ผู้เป็นตาที่บุคคล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้มีสภาพไม่หวั่นไหว

ในสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ผู้บริสุทธิ์ คือผู้ประกอบด้วยกาย-

กรรมเป็นต้นอันบริสุทธิ์ มีอภิญญา ๖ ผู้คงที่ คือมีสภาวะอันไม่หวั่นไหว

ด้วยโลกธรรม ๘ ห้อมล้อมแล้ว รู้คือทราบพระดำริของพระพุทธเจ้า

จึงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก คือได้ไปยังที่ใกล้ในทันใดนั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้มาแล้วอย่างนั้น ณ ที่นั้น คือ ณ ที่ใกล้พระผู้มี

พระภาคเจ้า. ทั้งที่ยังอยู่ในกลางหาว คือในอากาศ ได้กระทำประทักษิณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. เชื่อมความว่า ท่านเหล่านั้นทั้งหมดประคอง

อัญชลีนมัสการอยู่ จากอากาศลงมาในสำนักของพระพุทธเจ้า.

พระดาบส เมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการให้การ

พยากรณ์อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิต ปาตุกริ ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมี

เนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า โย ม ปุปฺเผน ความว่า ดาบสใดยังจิตให้เลื่อมใสในเรา

แล้วบูชาเราด้วยดอกไม้มิใช่น้อย และสรรเสริญคือชมเชยญาณของเรา

เนือง ๆ คือบ่อย ๆ. บทว่า ตมห ความว่า เราจักประกาศ คือจัก

กระทำดาบสนั้นให้ปรากฏ. ท่านทั้งหลายจงฟัง คือจงกระทำอารมณ์

ในการที่จะฟัง คือจงใส่ใจคำเรากล่าว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประทานการพยากรณ์ จึงตรัสว่า

ปจฺฉิเม ภวสมฺปตฺเต ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า เมื่อภพอันมีใน

สุดท้าย คือเป็นที่สุดถึงพร้อมแล้ว ดาบสนี้จักถึงความเป็นมนุษย์ คือชาติ

กำเนิดมนุษย์ ได้แก่ จักเกิดขึ้นในมนุษยโลก. นางพราหมณีชื่อว่าสารี

เพราะเป็นผู้มีสาระด้วยสาระทั้งหลาย มีสาระคือรูปทรัพย์ตระกูลโภคทรัพย์

และสาระคือบุญเป็นต้น จักตั้งครรภ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มมูลพยากรณ์ว่า อปริเมยฺเย อิโต กปฺเป

ดังนี้. ในมูลพยากรณ์นี้ พึงเห็นว่า พระอัครสาวกทั้งสอง บำเพ็ญ

บารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัปก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น เพื่อความสะดวกในการ

ประพันธ์คาถา ท่านจึงถือเอาอันตรกัปแล้วกล่าวไว้อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพยากรณ์ว่า จักได้เป็นพระอัครสาวก

โดยชื่อว่า สารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นครั้นประทานพยากรณ์แล้ว

เมื่อจะสรรเสริญดาบสนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อย ภาคีรถี ดังนี้. อธิบายว่า

ระหว่างแม่น้ำ ๕ สายนี้ คือ คงคา ยมุนา สรภู มหี อจิรวดี แม่น้ำ

ใหญ่สายที่หนึ่งชื่อว่าภาคีรถีนี้ เกิดจากเขาหิมวันต์ คือไหลมาจากเขา

หิมวันต์ คือเกิดจากสระอโนดาต ไหลไปถึงทะเลใหญ่ คือห้วงน้ำใหญ่

ย่อมถึง คือเข้าไปยังมหาสมุทร คือมหาสาคร ฉันใด สารีบุตรนี้ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เป็นผู้อาจหาญในเวททั้งสามของตน คือเป็นผู้กล้าหาญมีญาณ

ไม่พลั้งพลาด คือมีญาณแผ่ไปในเวททั้งสามอันเป็นไปอยู่ในตระกูลของ

ตน ถึงความเต็มเปี่ยมด้วยปัญญา คือถึงที่สุดแห่งสาวกญาณของตน จัก

ยังสัตว์ทั้งหลาย คือสัตว์ทั้งมวลให้อิ่ม คือให้อิ่มหนำ คือจักกระทำความ

อิ่มหนำให้.

บทว่า หิมวนฺตมุปาทาย ความว่า กระทำภูเขาหิมาลัยให้เป็นต้น

แล้วกระทำห้วงน้ำใหญ่คือมหาสมุทร ได้แก่สาครอันมีน้ำเป็นภาระให้เป็น

ที่สุด ในระหว่างนี้ คือในท่ามกลางภูเขาและสาครนี้ ทรายใด คือ

กองทรายประมาณเท่าใดมีอยู่ ว่าด้วยการนับ คือว่าด้วยอำนาจการนับ

ทรายนั้นนับไม่ถ้วน คือล่วงพ้นการนับ.

บทว่า ตมฺปิ สกฺกา อเสเสน ความว่า แม้ทรายนั้น ใคร ๆ

อาจคือพึงอาจนับได้หมด, เชื่อมความว่า การนับนั้นย่อมมีได้ด้วยประการ

ใด. ที่สุดคือปริโยสานแห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่มีเลย ด้วย

ประการนั้น.

๑. บาลีว่า ภาคีรสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

บทว่า ลกฺเข ฯ เป ฯ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อคะแนน ได้แก่คะแนน

แห่งญาณ คือเวลาหนึ่งของญาณ ที่ใคร ๆ วางคือตั้งไว้มีอยู่ ทรายใน

แม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป คือพึงถึงความหมดสิ้นไป.

ในบทว่า มหาสมุทฺเท นี้ เชื่อมความว่า คลื่นทั้งหลายคือกลุ่ม

คลื่นชนิดหนึ่งคาวุตเป็นต้น ในมหาสาครทั้ง ๔ อันลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์

ว่าถึงการนับ นับไม่ถ้วน คือเว้นจากการนับ ย่อมมีด้วยประการใด

ที่สุดคือความสิ้นสุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่มีด้วยประการนั้น.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า พระสารีบุตรนั้นมีปัญญาอย่างนี้ ยังพระ-

สัมพุทธเจ้า ชื่อว่าโคตมะ เพราะเป็นโคตมโคตร ผู้เป็นใหญ่ในศากย-

ตระกูล ชื่อว่าผู้เป็นศากยะผู้ประเสริฐ ให้ทรงโปรดแล้ว คือทำความ

ยินดีแห่งจิตด้วยวัตรปฏิบัติ ศีลและอาจาระเป็นต้น ถึงความเต็มเปี่ยม คือ

ที่สุดแห่งสาวกญาณด้วยปัญญา จักเป็นอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น.

อธิบายความในคาถานี้ว่า พระสารีบุตรนั้นได้รับตำแหน่งอัครสาวก

อย่างนี้แล้ว จักประกาศตามพระธรรมจักร คือพระสัทธรรม อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าศากยบุตรทรงประกาศแล้ว คือทรงทำให้ปรากฏแล้ว ด้วย

สภาวะอันไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ คือจักทรงจำไว้

ไม่ให้พินาศ. จักยังฝนคือธรรม ได้แก่ฝนคือพระธรรมเทศนาให้ตกลง

ได้แก่จักแสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื่นเป็นไป.

เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมศากยะผู้ประเสริฐ ทรง

รู้ยิ่งสิ่งทั้งหมดนั้น คือทรงรู้ด้วยญาณวิเศษ ประทับนั่งในหมู่ภิกษุ คือ

ในท่ามกลางพระอริยบุคคล จักทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

ในตำแหน่งอันสูง อันเป็นที่อภิรมย์แห่งหมู่ของคุณความดีมีปัญญาทั้งสิ้น

เป็นต้น.

ดาบสนั้นได้รับพยากรณ์อย่างนี้แล้ว ถึงความโสมนัส เมื่อจะเปล่ง

อุทานด้วยอำนาจปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโห เม สุกต กมฺม

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อโห เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าน่า

อัศจรรย์. อธิบายว่า กรรมคือโกฏฐาสแห่งบุญ ที่เราทำดีแล้ว คือทำ

ด้วยดีแล้ว ได้แก่เชื่อแล้ว กระทำแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

อโนมทัสสี ผู้เป็นศาสดาคือเป็นครู เป็นกรรมน่าอัศจรรย์ คือน่าพิศวง

มีอานุภาพเป็นอจินไตย.

เชื่อมความว่า เราได้ทำอธิการคือบุญสมภารแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์ใด ถึงความเต็มเปี่ยมคือที่สุด ได้แก่ถึงพร้อมซึ่งที่สุดอันยอด

เยี่ยมในที่ทั้งปวง คือในคณะแห่งคุณทั้งสิ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นเป็นผู้น่าอัศจรรย์ คือน่าพิศวง.

บทว่า อปริเมยฺเย เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงกุศลกรรมที่ทำไว้ ในกาลอันล่วงพ้นการนับ ว่ามีผลคือวิบากใน

อัตภาพหลังสุดนี้แก่เรา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วด้วยผลแห่งบุญนั้น

เหมือนกำลังเร็วแห่งศรอันพ้นดีแล้ว คือหลุดไปดีแล้ว ได้แก่ที่นายขมังธนู

ผู้ฉลาดยิ่งไปแล้วฉะนั้น. ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะประกาศความเพียร

เฉพาะของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสงฺขต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสงฺขต แปลว่า ปรุงแต่งไม่ได้

อธิบายว่า อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันทำไม่ได้. เชื่อมความว่า เรานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

แสวงหานิพพานที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้นั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะไม่มี

ความปฏิกูลด้วยกิเลส ชื่อว่าบท เพราะเป็นที่ตั้งแห่งบุญสมภารที่ทำไว้

แล้ว ค้นหาคือเข้าไปพิจารณาพวกเดียรถีย์ทั้งปวง คือเจ้าลัทธิทั้งสิ้น

ได้แก่บุคคลผู้ก่อให้เกิดทิฏฐิ จึงท่องเที่ยว คือวนเวียนไปในภพมีกามภพ

เป็นต้น.

เมื่อจะประกาศความประสงค์ของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ

พฺยาธิโต โปโส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยาธิโต เชื่อมความว่า ชาย คือบุรุษ

ถูกพยาธิเบียดเบียนจะต้องแสวงหาโอสถฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อจะแสวง

หาอมตบทคือนิพพานอันปรุงแต่งไม่ได้ จึงบวชเป็นฤๅษี ๕๐๐ ชาติ

คือในอัตภาพ ๕๐๐ ชาติ อันไม่ปะปนกันคือไม่ขาดสาย ติดต่อกันไป.

บทว่า กุติตฺเถ สฺจรึ อห ความว่า เราท่องเที่ยวไปในท่าคือ

ทางไปอันลามก. ชายผู้ต้องการแก่น คือบุรุษผู้แสวงหาแก่น. บทว่า

กทลึ เฉตฺวาน ผาลเย ความว่า พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออกสองซีก.

บทว่า น ตตฺถ สาร วินฺเทยฺย ความว่า ก็แหละครั้นผ่าออกแล้ว

ไม่พึงประสบ คือไม่พึงได้แก่นในต้นกล้วยนั้น, เชื่อมความว่า บุรุษนั้น

เป็นผู้ว่าง คือเปล่าจากแก่น.

เชื่อมความว่า ต้นกล้วยว่างเปล่า คือเปล่าจากแก่น ฉันใด พวก

เดียรถีย์ คือชนมากผู้มีทิฏฐิคติต่าง ๆ ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็น

ผู้ว่างคือเปล่าจากพระนิพพานอันเป็นอสังขตะ. ศัพท์ว่า เส เป็นเพียง

นิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

อธิบายในคาถานี้ว่า ในภพหลังสุดคือในชาติสุดท้าย เราได้เป็น

เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ คือเกิดในตระกูลพราหมณ์. บทว่า มหาโภค

ฉฑฺเฑตฺวาน ความว่า เราทิ้งกองโภคทรัพย์ใหญ่ เหมือนก้อนเขฬะ

บวชคือปฏิบัติเป็นบรรพชิต ได้แก่เป็นผู้เว้นจากกรรมมีกสิกรรมและ

พาณิชกรรมเป็นต้น คือบวชเป็นดาบส.

พรรณนาปฐมภาณวารจบบริบูรณ์

บทว่า อชฺฌายโก ฯ เป ฯ มุนึ โมเน สมาหิต ความว่า ญาณ

เรียกว่าโมนะ, ผู้ประกอบด้วยโมนะนั้น ชื่อว่ามุนี, ผู้มีจิตตั้งคือตั้งลง

โดยชอบ ชื่อว่าตั้งมั่นในโมนะนั้น. ชื่อว่านาค เพราะไม่กระทำบาปคือ

โทษ ได้แก่พระอัสสชิเถระ, ซึ่งพระมหานาคนั้นผู้ไพโรจน์ เหมือนดอก

ปทุมอันแย้มบานดีแล้วฉะนั้น.

บทว่า ทิสฺวา เม ฯ เปฯ ปุจฺฉิตุ อมต ปท มีเนื้อความง่ายๆ

ทั้งนั้น.

บทว่า วีถินฺตเร เชื่อมความว่า เราเข้าไป คือไปใกล้พระเถระนั้น

ผู้ถึงแล้วโดยลำดับ คือผู้ถึงพร้อมแล้ว ได้แก่เข้าไปแล้วในระหว่างถนน

แล้วจึงถาม.

บทวา กีทิส เต มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่มหาวีระผู้บรรลุ

พระอรหัต ในการประกาศพระธรรมจักรครั้งแรก ในระหว่างพระ-

อรหันต์ทั้งหลายในศาสนาของบุรุษผู้มีปัญญาทรงจำได้ทั้งสิ้น ข้าแต่ท่านผู้

มียศใหญ่ เพราะเป็นผู้มากด้วยบริวารอันเกิดตามมา พระพุทธเจ้าของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

มีศาสนธรรม คือศาสนา กล่าวคือธรรมเทศนาเป็นเช่นไร อธิบายว่า

ท่านผู้เจริญ คือท่านผู้มีหน้าอันผ่องใส ขอท่านจงบอก คือจงกล่าวคำสอน

อันดีคือเจริญแก่ข้าพเจ้า.

ลำดับนั้น พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงอาการที่ถาม จึงกล่าวคำมีอาทิ

ว่า โส เม ปุฏฺโ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โยค อสฺสชิตฺเถโร. พระอัสสชิเถระ

อันเราถามแล้ว คือกล่าวว่า คำสอนเป็นเช่นไร ? จึงกล่าวถ้อยคำทั้งหมด.

เชื่อมความในตอนนี้ว่า คำสอนทั้งหมด ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกโดยอรรถ

ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกโดยเทศนา ธรรม และปฏิเวธ เป็นบทอันละเอียด

คือเป็นพระนิพพาน เพราะประกาศปรมัตถสัจเป็นต้น เป็นธรรมฆ่า

ลูกศรคือกิเลส ได้แก่กระทำให้พินาศ เป็นเครื่องบรรเทาสังสารทุกข์

ทั้งปวง คือเป็นธรรมทำความสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง.

เมื่อแสดงอาการที่พระอัสสชิเถระกล่าว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย

ธมฺมา ดังนี้. เชื่อมความว่า ธรรมเหล่าใด คือสภาวธรรมเหล่าใด

พร้อมทั้งปัจจัย มีเหตุเป็นแดนเกิด คืออุบัติ เกิด เป็น เกิดพร้อม บังเกิด

บังเกิดเฉพาะ จากเหตุ คือจากการณ์ มีอยู่ มีพร้อม ได้อยู่, พระ-

ตถาคตตรัสเหตุคือการณ์ของธรรมเหล่านั้น. บทว่า เตสฺจ โย นิโรโธ

ได้แก่ ความดับ คือสภาวะแห่งการดับอันใด แห่งธรรมอันมีเหตุเหล่านั้น

บทว่า เอววาที มหาสมโณ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า

มหาสมณะ เพราะเป็นผู้ใหญ่ด้วยบริวารคือคุณมีศีล สมาธิ ปัญญาเป็นต้น

และเพราะเป็นผู้กำจัดบาปได้แล้ว มีปกติตรัสอย่างนี้ คือตรัสการสงบ

ระงับเหตุเป็นต้น เป็นปกติ ตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ครั้นฟังธรรมที่พระเถระกล่าวแล้ว แต่นั้น เมื่อจะแสดงประการที่

ตนกระทำให้ประจักษ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสห ดังนี้. คำนั้นง่าย

ทั้งนั้น.

บทว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว ความว่า แม้ถ้าว่า ไม่มี

ยิ่งไปกว่านี้ไซร้ ก็พึงบรรลุเฉพาะเท่านี้ คือเฉพาะโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น.

ก็เหมือนอย่างนั้น คือพึงบรรลุธรรมนี้แหละ. พระองค์รู้แจ้งคือแทง

ตลอดบทคือพระนิพพานอันไม่เศร้าโศก. บทนี้ ชื่อว่าอันข้าพระองค์

ทั้งหลายไม่ได้เคยพบเห็น ล่วงเลยไปหลายหมื่นกัป.

บทว่า ยฺวาห ธมฺม คเวสนฺโต ความว่า ข้าพระองค์ใด เมื่อ

แสวงหา คือเสาะหาธรรมคือสันติบท จึงท่องเที่ยวไป คือวนเวียนไปใน

ท่าที่ผิด คือท่าอันน่าเกลียด ได้แก่ท่าอันควรตำหนิ. บทว่า โส เม อตฺโถ

อนุปฺปตฺโต ความว่า ประโยชน์ที่ควรแสวงหานั้นข้าพระองค์ถึงแล้วโดย

ลำดับ คือถึงพร้อมแล้ว ก็บัดนี้เป็นกาลที่ข้าพระองค์ไม่ประมาท คือ

เป็นผู้ไม่ประมาท.

อธิบายว่า ข้าพระองค์อันพระอัสสชิเถระให้ยินดีแล้ว คือทำความ

โสมนัสให้แล้ว ถึงคือบรรลุบทคือนิพพานอันไม่หวั่นไหวคือไม่เคลื่อนไหว

เมื่อแสวงหา คือไปหาสหาย คือโกลิตมาณพ จึงได้ไปยังอาศรมบท.

บทว่า ทูรโตว มม ทิสฺวา ความว่า สหายของข้าพระองค์สำเหนียกดี

เห็นข้าพระองค์มาแต่ที่ไกลจากอาศรมบท เขาเป็นผู้สมบูรณ์ คือพรั่งพร้อม

ด้วยอิริยาบถ มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ได้กล่าว คือพูดคำที่จะกล่าว

ต่อไปข้างหน้านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

อธิบายว่า นี่แน่ะสหายผู้เจริญ ท่านเป็นผู้มีหน้าตาผ่องใส คือเป็น

ผู้ประกอบด้วยหน้าและตาผ่องใส คืองดงาม ได้แก่โชติช่วง. ราวกะว่า

ความเป็นมุนีท่านเห็นได้คือปรากฏแก่ท่าน. ท่านถึงความเป็นอย่างนี้ ได้

บรรลุอมตนิพพานแล้ว ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านได้บรรลุบทคือพระ-

นิพพานอันไม่จุติแลหรือ.

บทว่า สุภานุรูโป อายาสิ ความว่า ท่านเป็นผู้สมควรแก่ความ

งาม คือวรรณะอันผ่องใสมาแล้ว. ด้วยบทว่า อาเนญฺชการิโต วิย นี้

โกลิตมาณพถามว่า นี่แน่ะท่านผู้ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว

ท่านเป็นเหมือนผู้ฝึกมาแล้ว คือเหมือนได้ศึกษามาอย่างดีถึง ๓ เดือน

เหมือนช้างถูกแทงด้วยหอกซัดเป็นต้นก็ไม่หวั่นไหว ผู้มีการฝึกอันฝึกแล้ว

คือมีสิกขาอันได้ศึกษาแล้ว เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วในบท คือพระนิพพาน.

อุปติสสมาณพถูกโกลิตมาณพนั้นถาม จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อมต

มยา ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า อปริโยสิตสงฺกปฺโป ความว่า ผู้มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด

แห่งความปรารถนาที่ปรารถนาไว้ว่า เราพึงเป็นอัครสาวกของพระพุทธ-

เจ้าองค์หนึ่งในอนาคต. เราท่องเที่ยว คือหมุนไปรอบ ๆ ในท่าอันผิด

คือในทางที่ไม่ควรไป. อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คือข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญที่สุดในโลก เพราะอาศัยคือเพราะได้บรรลุทัสสนะของ

พระองค์ ความดำริของข้าพระองค์ คือความปรารถนาของข้าพระองค์จึง

เต็มแล้ว คือบริบูรณ์แล้ว ด้วยการบรรลุอรหัตมรรค คือด้วยการบรรลุ

สาวกบารมีญาณ. บทว่า ปวิย ปติฏฺาย ความว่า ต้นไม้ที่เกิดบน

แผ่นดิน ย่อมบานคือแย้มบานในสมัย คือในฤดูเหมันต์, กลิ่นทิพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

คือกลิ่นหอมย่อมฟุ้ง คือฟุ้งตลบไป ย่อมยังสัตว์ทั้งปวง คือยังเทวดาและ

มนุษย์ทั้งปวงให้ยินดี คือกระทำให้ประกอบด้วยโสมนัส ฉันใด.

ในบทว่า ตเถวาห มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีความ

เพียรใหญ่ คือผู้มีพระโอรสในศากยตระกูลเป็นมหาบริวาร ข้าพระองค์

ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว ในศาสนาของพระองค์ จึงหาคือแสวงหาสมัย คือกาล

เพื่อจะบาน คือเพื่อแย้มบานด้วยอรหัตมรรคญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า วิมุตติปุปฺผ ความว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นหรือหลุดพ้น,

หาอยู่ คือแสวงหาดอกไม้ กล่าวคืออรหัตผลวิมุตติ อันเป็นที่พ้นจากภพ

สงสารนั้น คือการท่องเที่ยว คือการไปในภพมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่า

ภวสังสาระ, การพ้นจากภวสังขาระนั้น ชื่อว่าภวสังสารโมจนะ. บทว่า

วิมุตฺติปุปฺผลาเภน ความว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าวิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นแห่งบุคคลผุ้มีบุญสมภารอันทำไว้

แล้ว คืออัครผล ได้แก่พระอรหัตผล. ชื่อว่า ปุปฺผ ดอกไม้ เพราะ

เป็นเครื่องบานคือแย้มบานแห่งเวไนย. ดอกไม้คือวิมุตติ ชื่อว่าวิมุตติ-

ปุปผะ. การได้ ชื่อว่าลาภะ, การได้ดอกไม้คือวิมุตติ ชื่อว่าวิมุตติปุปผลาภะ,

ข้าพระองค์ยังสัตว์ทั้งปวง คือเหล่าสรรพสัตว์ให้ยินดี คือให้ถึงความ

โสมนัส ด้วยการได้ดอกไม้คือวิมุตติ ได้แก่ด้วยการบรรลุนั้น.

ในบทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ ดังนี้เป็นต้น เชื่อมความว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ คือมีจักษุด้วยจักษุ ๕. อาณา คืออานุภาพแห่ง

พระปริตรมีรัตนสูตรเป็นต้น ย่อมเป็นไปในที่ประมาณเท่าใดในพุทธเขต

กล่าวคือในที่แสนโกฏิจักรวาลมีประมาณเท่านั้น เว้นพระมหามุนี คือเว้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ใคร ๆ อื่นผู้จะเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

คือเสมอด้วยปัญญาแห่งบุตรของพระองค์ คือข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของ

พระองค์ย่อมไม่มี. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ปฏิปนฺนา เป็นต้น ความว่า พระอริยภิกษุทั้ง ๘ เหล่านี้

คือท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ๔ ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล คือตั้งอยู่ในอรหัต-

ผล และพระเสขะผู้พรั่งพร้อมด้วยผล คือท่านผู้ประกอบด้วยผลทั้ง ๓

เบื้องต่ำ หวังคือแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด คือพระนิพพาน แวดล้อม

พระองค์ผู้มีปัญญา คือเสวนา คบหา เข้าไปนั่งใกล้อยู่ทุกเมื่อ คือตลอด

กาลทั้งปวง.

เป็นผู้ฉลาด คือเฉลียวฉลาดในสติปัฏฐาน ๔ กล่าวคือ กายานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ยินดีติดแน่นใน

การอบรม คือการเจริญโพชฌงค์ทั้ง ๗ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น.

พระองค์ย่อมงดงามเหมือนอุฬุราชา คือเหมือนราชาแห่งดาวคือ

พระจันทร์.

ชื่อว่า ธรณี เพราะทรงต้นไม้ ภูเขา รัตนะ และสัตว์เป็นต้น.

ต้นไม้ทั้งหลาย ชื่อว่า ธรณีรุหา เพราะงอกขึ้นคือเกิด, และเจริญบน

ธรณี. ต้นไม้ทั้งหลายตั้งอยู่บนปฐพี ย่อมงอกและย่อมเจริญ คือย่อมถึง

ความเจริญงอกงาม ชื่อว่าย่อมถึงความไพบูลย์ คือความบริบูรณ์, ต้นไม้

เหล่านั้นย่อมแสดงผล คือย่อมทรงผลโดยลำดับ.

เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สินฺธุ สรสฺสตี ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นต่อไป. แม้น้ำชื่อว่าสินธุวาทิ แม่น้ำชื่อว่า

สรัสสดี แม่น้ำชื่อว่านันทิยะ แม่น้ำชื่อว่าจันทภาคา แม่น้ำชื่อว่าคงคา แม่น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ชื่อว่ายมุนา แม่น้ำชื่อว่าสรภู และแม่น้ำชื่อว่ามหี. สาครเท่านั้น คือ

มหาสมุทรเท่านั้นย่อมรับ คือรับเอา ได้แก่ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำเหล่านี้ซึ่งไหล

ไปคือกำลังไปอยู่. ในกาลนั้น แม่น้ำทั้งหมดเหล่านั้นย่อมละคือทิ้งชื่อเดิม

ได้แก่ชื่อและบัญญัติโวหารเดิมมีแม่น้ำสินธุวาทิเป็นต้น ย่อมรู้ คือย่อม

ปรากฏชื่อว่า สาคร เท่านั้น ฉันใด. วรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือตระกูลทั้ง ๔

คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พากัน

บวชในสำนักของพระองค์ คือในสำนักได้แก่ในที่ใกล้พระองค์ ทรง

บาตรและผ้ากาสายจีวรบำเรออยู่ ย่อมละคือย่อมสละชื่อเดิม คือบัญญัติ

โวหารอันมีชื่อว่ากษัตริย์เป็นต้น พึงรู้กัน คือเป็นผู้ปรากฏว่าพุทธบุตร

คือว่าพุทธโอรส.

พระจันทร์ คือดวงจันทร์ชื่อว่าปราศจากมลทิน คือมีมลทินไป

ปราศแล้ว ได้แก่ไม่มีมลทิน เพราะปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๕ ประการ

คือหมอก น้ำค้าง ธุลี ควัน และราหู โคจรไปอยู่ในอากาศธาตุ คือ

ท้องฟ้า ย่ำยีหมู่ดาวทั้งหมดด้วยรัศมี ไพโรจน์ คือสว่างจ้าอยู่ในโลก

ฉันใด พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ.

บัวขาวและบัวเผื่อนเกิดในน้ำ คือเจริญในน้ำมีมากมาย คือล่วง

พ้นการนับ ไม่เปื้อนคือไม่ติดด้วยน้ำ เปือกตมและโคลน ฉันใด สัตว์

เป็นอันมาก คือสัตว์ไม่มีประมาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดคือเจริญอยู่ใน

โลก อันราคะและโทสะเบียดเบียน คือผูกพันไว้ ย่อมงอกงาม เหมือน

โกมุทงอกงาม คือเกิดในเปือกตมฉะนั้น. ปทุม ชื่อว่า เกสรี.

บทว่า รมฺมเก มาเส ได้แก่ ในเดือน ๑๒ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

ในวันเพ็ญแห่งเดือนทั้ง ๔ อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท. เชื่อมความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ดอกไม้เป็นอันมากเกิดในน้ำ ได้แก่ดอกปทุมเป็นต้นย่อมบาน คือแย้ม

ขยาย ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ ย่อมล่วงเลยเดือนนั้น คือเดือน ๑๒ นั้น

ไปไม่ได้. บทว่า สมโย ปุปฺผนาย โส ความว่า เดือน ๑๒ นั้นเป็น

สมัยคือเวลาแห่งการบาน คือแย้มบาน. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน ฉันใด

ข้าแต่พระศากยบุตร พระองค์ทรงเป็นผู้บาน คือแย้มบานแล้ว ฉันนั้น

เหมือนกัน. บทว่า ปุปฺผิโต เต วิมุตฺติยา ความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น

ศิษย์ของพระองค์ กระทำบุญสมภารไว้แล้ว เป็นผู้บานแล้ว คือเป็นผู้

แย้มบานแล้วด้วยวิมุตติ คือด้วยญาณในอรหัตผล. อธิบายว่า ปทุมที่เกิด

ในน้ำ ย่อมไม่ล่วงพ้นเวลาที่บาน ฉันใด สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ล่วงเลย คือ

ไม่ล่วงพ้นคำสอนคือโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ฉันนั้น.

บทว่า ยถาปิ เสโล หิมวา ได้แก่ ภูเขาล้วนแล้วด้วยหินชื่อว่า

หิมวันต์. ภูเขาหิมวันต์นั้น มีโอสถ คือมีโอสถสำหรับสัตว์ทั้งปวง คือ

สำหรับสัตว์ผู้ป่วยไข้ทั้งหมด เป็นที่อยู่ คือเป็นบ้านเรือนของเหล่านาค

อสูร และเทวดาทั้งปวงฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ทรงเป็นประดุจโอสถ เพราะทรงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวงให้

พ้นจากชรา พยาธิ และมรณะเป็นต้น. เชื่อมความว่า ภูเขาหิมวันต์นั้น

เป็นที่อยู่ของพวกนาคเป็นต้น ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึง คือผู้บรรลุความ

เต็มเปี่ยม คือที่สุดแห่งวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และอิทธิฤทธิ์ ก็ย่อมอาศัย

พระองค์อยู่ ฉันนั้น. นัยที่คาถาทั้งหลายเนื่องสัมพันธ์กันด้วยอุปมาและ

อุปไมย ในหนหลังหรือในเบื้องหน้า บัณฑิตพึงเข้าใจได้ดีทีเดียว.

ในคำว่า อาสยานุสย ตฺวา นี้ อัธยาศัยคือจริยา ชื่อว่า อาสยะ,

กิเลสอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อนุสยะ. อธิบายว่า ทรงทราบอัธยาศัยและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

อนุสัยคือความเป็นของกิเลส โดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้เป็นราคจริต ผู้นี้เป็น

โทสจริต ผู้นี้เป็นโมหจริต. บทว่า อินฺทฺริยาน พลาพล ความว่า ทรง

รู้อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้นมีกำลังและไม่มีกำลังอย่างนี้ว่า มีอินทรีย์

แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการไม่ดี ให้รู้ได้ง่าย ให้รู้ได้

ยาก. บทว่า ภพฺพาภพฺเพ วิทิตฺวาน ความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ

พระองค์ทรงรู้แจ้ง คือทรงทำให้ประจักษ์ว่า บุคคลนี้ควร คือสามารถ

บุคคลนี้ไม่ควรเพื่อรู้แจ้งธรรมที่เราแสดงแล้ว จึงทรงบันลือ คือทรง

กระทำจักรวาลทั้งสิ้นให้มีการบันลือเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยการบันลืออัน

ไม่หวาดกลัว ด้วยการบันลือดุจสีหะในการแสดงธรรม เหมือนมหาเมฆ

อันตั้งขึ้นในทวีปทั้ง ๔ บันลืออยู่ฉะนั้น.

บทว่า จกฺกวาฬปริยนฺตา ความว่า บริษัทพึงนั่งเต็มห้องจักรวาล

โดยรอบ. พวกเขานั่งอยู่อย่างนั้น มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน คือมีการถือทัสสนะ

มิใช่น้อย กล่าวต่าง ๆ กัน เกิดแคลงใจ วิวาทกันอยู่ เพื่อจะตัดความ

สงสัย คือเพื่อต้องการจะตัดความรู้ผิดของพวกเขา พระองค์ผู้เป็นมุนี

ทรงฉลาดในข้ออุปมา คือทรงมีความชำนาญในอุปมาอุปไมย ทรงทราบจิต

คือทรงทราบการเที่ยวไปแห่งจิตของสัตว์ทั้งปวง ตรัสปัญหาเดียวเท่านั้น

ก็ตัดความเคลือบแคลงสงสัยของสัตว์ทั้งหลายผู้นั่งอยู่ในห้องแห่งจักรวาล

ทั้งสิ้นเสียได้ คือทรงกระทำให้หมดความสงสัย โดยการตรัสปัญหาเดียว

เท่านั้น.

บทว่า อุปทิสสทิเสเหว นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อุปทิสะ

เพราะเขาเห็นกัน คือเป็นของปรากฏอยู่บนน้ำ ได้แก่พวกจอกแหน.

ผู้เช่นกับพวกจอกแหน ชื่อว่า อุปทิสสทิสา ได้แก่ พวกมนุษย์. เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

อย่างว่า อุปทิสะ คือจอกแหนทั้งหลาย ทำน้ำไม่ให้ปรากฏ แผ่ตั้งอยู่

บนน้ำนั้น ฉันใด พสุธา คือแผ่นดิน ก็ฉันนั้น พึงเต็มด้วยพวกมนุษย์

ผู้เช่นกับจอกแหนนั้นนั่นแหละ ผู้ยืนแผ่ติด ๆ กันไป. มนุษย์ทั้งหมดนั้น

ยืนเต็มปฐพี ประนมอัญชลี คือประคองอัญชลีไว้บนศีรษะ พึงประกาศ

คุณพระโลกนายก คือพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้าผู้โลกนายก.

หรือว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหมดนั้นประกาศอยู่ คือแม้จะกล่าว

พระคุณอยู่ตลอดกัป คือตลอดกัปทั้งสิ้น ก็จะพึงประกาศด้วยพระคุณ

ต่าง ๆ คือด้วยพระคุณมีประการต่าง ๆ แม้ถึงอย่างนั้น เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหมดนั้น ก็จะไม่พึงถึง คือจะไม่ถึงพร้อม คือจะไม่อาจเพื่อจะ

นับประมาณ คือเพื่อจะกล่าวประมาณพระคุณได้. พระตถาคตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าประมาณไม่ได้ คือมีพระคุณล้นเหลือ จนนับประมาณไม่ได้. ท่าน

แสดงความเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ด้วยคำว่า อปฺปเมยฺโย นี้.

อธิบายในคาถานี้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงชนะแล้ว คือผู้ทรงชนะ

กิเลส เป็นผู้อันเราประกาศ คือชมเชยแล้ว ด้วยเรี่ยวแรงของตน คือ

ด้วยกำลังของตน โดยอุปมา อุปไมย ในหนหลัง ฉันใด เทวดาและ

มนุษย์ทั้งปวงประกาศอยู่โกฏิกัปก็ดี ร้อยโกฏิกัปก็ดี ก็จะพึงประกาศ คือ

พึงกล่าว ฉันนั้นเหมือนกัน.

เพื่อจะแสดงพระคุณทั้งหลายหาประมาณมิได้ ซ้ำอีก จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า สเจ หิ โกจิ เทโว วา ดังนี้. บทว่า ปูริต ปริกฑฺเฒยฺย

ความว่า บุคคลใดจะพึงชักน้ำอันเต็มในมหาสมุทรรอบทุกด้าน บุคคล

นั้นพึงได้ คือพึงถึงความคับแค้น คือความทุกข์เท่านั้น.

บทว่า วตฺเตมิ ชินสาสน ความว่า เราย่อมประพฤติปฏิบัติ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

รักษาพระไตรปิฎกทั้งสิ้นอันพระชินเจ้าตรัสแล้ว. บทว่า ธมฺมเสนาปติ

ความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมเสนาบดี เพราะเป็นใหญ่ คือเป็นประธานใน

บริษัทกล่าวคือบริษัท ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยธรรม คือด้วย

ปัญญา. อธิบายว่า ในศาสนาของพระศากยบุตร คือของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เราจะรักษาพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นในวันนี้ คือในกาลที่กำลัง

เป็นไปอยู่นี้ เหมือนเชษฐโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น.

เมื่อจะแสดงความหมุนเวียนไปในสงสารของตน จึงกล่าวคำมีอาทิ

ว่า โย โกจิ มนุโช ภาร ดังนี้. เชื่อมความในคำนี้ว่า มนุษย์คนใดคน

หนึ่งพึงวางภาระ คือภาระบนศีรษะไว้บนกระหม่อม คือบนศีรษะแล้ว

ทูนไว้ คือพึงนำไป มนุษย์นั้นพึงมีความลำบากเพราะภาระนั้น คือพึง

เป็นผู้ถูกภาระนั้นเบียดเบียน ครอบงำอยู่ทุกเมื่อ คือตลอดกาล. ภาระ

ได้แก่ภาระที่แบก เราแบกไว้แล้ว คือแบกไว้มากยิ่งนัก. เราถูกไฟ ๓ กอง

กล่าวคือไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เผาอยู่อย่างนั้น คือโดย

ประการนั้น แบกคือเป็นทุกข์ด้วยภาระคือภพ ได้แก่ภาระคือการเข้าถึง

ภพสงสาร เหมือนถอนภูเขา คือเหมือนถอนคือยกเขามหาเมรุบรรพตขึ้น

วางไว้บนศีรษะ ท่องเที่ยวคือหมุนไปรอบ ๆ ในภพทั้งหลาย.

บทว่า โอโรปิโต จ เม ภาโร ความว่า บัดนี้ เราปลงคือวางภาระ

คือภพนั้น ตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว. บทว่า ภวา อุคฺฆาฏิตา มยา ความว่า

ภพใหม่ทุกภพเรากำจัดแล้ว. กรณียะ คือกรรมในการกำจัดกิเลสโดย

ลำดับ มรรคที่จะต้องกระทำอันใด มีอยู่ในศาสนาของพระศากยบุตร คือ

พระผู้มีพระภาคเจ้า กรณียะทั้งหมดนั้นเราทำเสร็จแล้ว.

เมื่อจะแสดงความวิเศษของตนอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยาวตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

พุทฺธเขตฺตมฺหิ ดังนี้. ในคำนั้น ท่านแสดงว่า ในพุทธเขต กล่าวคือ

หมื่นจักรวาลมีกำหนดเพียงใด คือมีประมาณเท่าใด เว้นพระศากยะ

ผู้ประเสริฐ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญที่สุดในศากยตระกูล บรรดา

สัตว์ที่เหลือทั้งหลาย สัตว์แม้ไร ๆ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาย่อมไม่มี. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา

ดังนี้.

เมื่อจะแสดงอานุภาพของตนอีก จึงกล่าวคำ สมาธิมฺหิ ดังนี้

เป็นต้น. คำนั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ฌานวิโมกฺขานขิปฺปปฏิลาภี ความว่า เป็นผู้พลันได้ฌาน

มีปฐมฌานเป็นต้น และวิโมกข์อันเป็นโลกุตระ ๘ อันถึงการนับว่า

วิโมกข์ เพราะพ้นจากโลก ชื่อว่าย่อมบรรลุได้เร็ว.

เมื่อจะประกาศความที่ตนแม้มีอานุภาพมากอย่างนั้น ก็เป็นผู้มีความ

นับถือมาก ด้วยความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า อุทฺธตวิโสว ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. บัดนี้ เราเป็น

ผู้มีความหยิ่งด้วยมานะอันวางลงแล้ว คือเป็นผู้มีความหยิ่งด้วยมานะ มี

ความเมาเพราะโคตรเป็นต้นอันทิ้งเสียแล้ว เหมือนงูถูกถอนพิษเสียแล้ว

คือมีพิษกล้าอันเพิกทิ้งแล้ว (และ) เหมือนโคเขาขาด คือถูกตัดเขาเสีย

แล้ว ย่อมเข้าไป คือเข้าถึงคณะคือสำนักสงฆ์ ด้วยความเคารพหนัก

คือด้วยความนับถือมากด้วยความเต็มใจ.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศความใหญ่แห่งปัญญาของตน จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า ยทิรูปินี ดังนี้. อธิบายว่า ปัญญาใหญ่ของเราเห็นปานนี้เป็นของ

ไม่มีรูปร่าง ถ้าจะพึงมีรูปร่าง ในกาลนั้น ปัญญาของเราก็จะสม คือจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

เสมอกับพระเจ้าแผ่นดิน คือพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน. ครั้นแสดง

ความเป็นใหญ่แห่งปัญญาของตนอย่างนี้แล้ว แต่นั้น ได้ระลึกถึงบุพ-

กรรมด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทสฺสิสฺส

ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ความเป็นใหญ่แห่งปัญญาของเรานี้ เป็น

ผลแห่งการสรรเสริญญาณอันเรากระทำแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า อโนมทัสสี.

ก็ จักก ศัพท์ ในคำว่า ปวตฺติต ธมฺมจกฺก นี้ ย่อมเป็นไปใน

อรรถว่า พาหนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า จตุจกฺกยาน ยานมีล้อ ๔ ล้อ.

เป็นไปในอรรถว่า เทศนา เช่นในประโยคว่า ปวตฺติเต จ ปน

ภควตา ธมฺมจกฺเก ก็แหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศจักรคือ

ธรรม.

เป็นไปในอรรถว่า บุญกิริยาวัตถุ คือทานมัย เช่นในประโยค

มีอาทิว่า จงยังจักรคือทานให้เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง.

เป็นไปในอรรถว่า อิริยาบถ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ย่อมยัง

จักรคืออิริยาบถให้เป็นไปตลอดวันและคืน.

เป็นไปในอรรถว่า จักรกรด เช่นในประโยคมีอาทิว่า จักรย่อม

หมุนอยู่บนกระหม่อมของคนผู้ถูกความอยากครอบงำ.

เป็นไปในอรรถว่า จักรรัตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระเจ้า

จักรพรรดิทรงเป็นไปด้วยอานุภาพแห่งจักร.

ก็ในที่นี้ จักก ศัพท์นี้ย่อมเป็นไปใน เทศนา. เชื่อมความว่า เรา

ประกาศตาม คือประกาศไปตามได้โดยชอบ คือโดยไม่ผิดแผก ได้แก่

แสดง คือกระทำการแสดงพระธรรมจักร กล่าวคือพระไตรปิฎก อัน

พระศากยบุตร คือพระโคดมสัมพุทธเจ้าผู้คงที่ คือผู้ประกอบด้วยตาทิคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ทรงประกาศ คือทรงแสดงไว้แล้ว. การประกาศตาม คือการแสดงภพ

ไปตามพระธรรมจักรที่ทรงแสดงแล้วนี้ เป็นผลของการสรรเสริญพระ-

ญาณที่เรากระทำแล้วแก่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงผลแห่งบุญ มีสัปปุริสูปนิสสยะ และโยนิโส-

มนสิการะเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ ดังนี้.

ในคำนั้น เชื่อมความว่า บุคคลผู้มีความปรารถนาลามก คือผู้ประกอบ

ด้วยความอยากอันลามก ได้แก่มีปกติประพฤติลามก ผู้เกียจคร้านในการ

กระทำวัตรปฏิบัติ ในการยืนและการนั่งเป็นต้น ผู้มีความเพียรเลวในการ

เจริญฌาน สมาธิและมรรคเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีสุตะน้อย เพราะเว้นจาก

คันถธุระและวิปัสสนาธุระ และชื่อว่าผู้ไม่มีอาจาระ เพราะเว้นจากอาจาระ

ในอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น จงอย่าได้มาร่วมคือสมาคมกับเรา ในที่

ไหน ๆ ในกาลไร ๆ เลย.

บทว่า พหุสฺสุโต ได้แก่ บุคคลผู้เป็นพหูสูต ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ

ปริยัติและปฎิเวธ. บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยเมธาคือปัญญา.

บทว่า สีเลสุ สุสมาหิโต ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือมีจิตตั้งมั่นแล้วใน

ปาริสุทธิศีล ๔ ศีลอันสัมปยุตด้วยมรรคและอุโบสถศีลมีองค์ ๘ เป็นต้น.

บทว่า เจโตสมถานุยุตฺโต ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบเอกีภาพแห่งจิต.

อธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้ จงตั้งอยู่บนกระหม่อมโดยแท้ คือจงตั้งอยู่

แม้บนศีรษะอันเป็นกระหม่อมของเรา.

พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวผลานิสงส์ที่ตนได้แล้ว เมื่อจะชักชวน

คนอื่นในข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ต โว วทามิ ภทฺทนฺเต ดังนี้.

คำนั้นเข้าใจดีแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

บทว่า ยมห ความว่า พระอัสสชิเถระใด เราเห็นครั้งแรกคือ

เบื้องต้น ได้เป็นผู้ปราศจากมลทิน คือเว้นจากมลทิน เพราะละกิเลส

ทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น โดยการได้โสดาปัตติมรรค พระอัสสชิเถระ

นั้นเป็นอาจารย์เรา คือเป็นผู้ให้สำเหนียกโลกุตรธรรม. เราได้เป็นธรรม-

เสนาบดีในวันนี้ เพราะการได้ฟัง คือเพราะการพร่ำสอนของพระอัสสชิ-

เถระนั้น. เราถึงความเต็มเปี่ยม คือถึงที่สุดในที่ทั้งปวง คือในคุณทั้งปวง

เป็นผู้ไม่มีอาสวะคือไม่มีกิเลสอยู่.

เมื่อจะแสดงความมีความเคารพในอาจารย์ของตน จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า โย เม อาจริโย ดังนี้. เชื่อมความว่า พระเถระใดชื่อว่าอัสสชิ

ผู้เป็นสาวกของพระศาสดา ได้เป็นอาจารย์ของเรา พระเถระนั้นย่อมอยู่

ในทิศใด คือในทิศาภาคใด เราทำทิศาภาคนั้นไว้เหนือศีรษะเรา คือ

เหนือส่วนเบื้องบนแห่งศีรษะ.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงถึงความที่คนเป็นผู้ได้ฐานันดร จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า นม กมฺม ดังนี้. เชื่อมความว่า พระโคดมคือพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นศากยะผู้ประเสริฐ คือผู้เป็นเกตุของศากยตระกูล ทรงระลึกคือทรง

ทราบกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อนของเรา ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ประทับ-

นั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คือตำแหน่ง

พระอัครสาวก.

ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ คืออรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความแตกต่างแห่งปฏิสัมภิทา

เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในปฏิสัมภิทามรรค วิโมกข์ ๘ ว่าด้วยมรรค ๔

และผล ๔ หรือว่าด้วยรูปฌานและอรูปฌาน ได้แก่ธรรมเครื่องหลุดพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

จากสงสาร และอภิญญา ๖ มีอิทธิวิธะการแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เป็นต้น

เรากระทำให้แจ้งแล้ว คือกระทำให้ประจักษ์แล้ว. บทว่า กต พุทฺธสฺส

สาสน ความว่า การพร่ำสอน ได้แก่คำสั่งสอน กล่าวคือโอวาทของ

พระพุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว คือให้สำเร็จแล้วด้วยอรหัตมรรคญาณ.

ศัพท์ว่า อิตฺถ ในคำว่า อิตฺถ สุท นี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า

ชี้แจง อธิบายว่า โดยประการนี้. ด้วยคำนั้น ท่านบ่งถึงอปทานของ

พระสารีบุตรทั้งสิ้น. ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม.

บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกด้วยความเคารพหนัก. บทว่า สาริปุตฺโต

ได้แก่ พระเถระที่เขาตั้งชื่อตามนามของมารดา. บทว่า อิมา คาถาโย

ความว่า ได้ภาษิต คือกล่าวคาถาว่าด้วยอปทานของพระสารีบุตรเถระ

ทั้งมวลเหล่านี้. อิติ ศัพท์ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า จบบริบูรณ์ อธิบายว่า

อปทานของพระสารีบุตรทั้งมวลจบแล้ว.

จบพรรณนาสารีปุตตเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

มหาโมคคัลลานเถราปทานที่ ๔ (๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาโมคคัลลานะ

[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่าอโนมทัสสี ผู้ประเสริฐสุด

ในโลก เป็นนระผู้องอาจ อันหมู่เทพแวดล้อมประทับอยู่ ณ

ประเทศหิมวันต์.

เวลานั้น เราเป็นนาคราชมีนามว่า วรุณ แปลงรูปอันน่า

ใคร่ได้ต่าง ๆ อาศัยอยู่ในทะเลใหญ่.

เราละหมู่นาคซึ่งเป็นบริวารทั้งสิ้น มาตั้งวงดนตรี ในกาล

นั้น หมู่นางนาคแวดล้อมพระสัมพุทธเจ้าประโคมดนตรีอยู่.

เมื่อดนตรีของมนุษย์และนาคประโคมอยู่ ดนตรีของ

เทวดาก็ประโคมอยู่ ฝ่ายพระพุทธเจ้าได้ทรงสดับเสียงดนตรี

ของทั้งสองฝ่ายทรงตื่นบรรทม.

เรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จเข้าไปยังภพของเรา

เราปูลาดอาสนะแล้วกราบทูลเวลาเสวยพระกระยาหาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายกของโลก อันพระขีณาสพ

หนึ่งพันแวดล้อม ทรงยังทิศทุกทิศให้สว่างไสว เสด็จมายัง

ภพของเรา.

เวลานั้น เราอังคาสพระมหาวีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าเทวดา

เป็นนระผู้องอาจผู้เสด็จเข้ามา พร้อมกับภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำ

ด้วยข้าวและน้ำ.

พระมหาวีรเจ้าผู้เป็นสยัมภูอัครบุคคล ทรงอนุโมทนาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้บูชาพระสงฆ์และได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก

ของโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใส ผู้นั้นจักไปสู่เทวโลก.

จักเสวยเทวรัชสมบัติ ๗๗ ครั้ง จักเสวยราชสมบัติใน

แผ่นดิน ครอบครองพสุธา ๑๐๘ ครั้ง

และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๕ ครั้ง โภคทรัพย์นับไม่

ถ้วน จักเกิดแก่ผู้นั้นในทันทีทันใด.

ในกัปที่นับไม่ถ้วนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคตมะ

โดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก.

ผู้นั้นเคลื่อนจากนรกแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็น

เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ นามว่า โกลิตะ โดยนาม.

ภายหลังอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เขาจักบวช. จักได้เป็น

พระสาวกที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม.

จักปรารภความเพียร มีจิตอันส่งไปในพระนิพพาน ถึงที่

สุดแห่งฤทธิ์ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

นิพพาน.

(เมื่อก่อน) เราอาศัยมิตรผู้ลามก ตกอยู่ในอำนาจกาม-

ราคะ มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว ได้ฆ่าทั้งมารดาและบิดา.

เราเข้าถึงกำเนิดอันเป็นนรกหรือมนุษย์อันพรั่งพร้อมด้วย

กรรมลามก ยังต้องศีรษะแตกตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

นี้เป็นกรรมครั้งหลังสุดของเรา ภพครั้งสุดท้ายยังเป็นไป

อยู่ กรรมเช่นนี้จักมีแก่เราในเวลาใกล้จะตายแม้ในที่นี้.

เราหมั่นประกอบวิเวก ยินดีในสมาธิภาวนา กำหนดรู้

อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

แม้แผ่นดินอันลึกหนา ใคร ๆ กำจัดได้ยาก เราผู้ถึงที่สุด

แห่งฤทธิ์ พึงให้ไหวได้ด้วยนิ้วหัวแม่เท้าซ้าย.

เราไม่เห็นอัสมิมานะ เราไม่มีมานะ เรากระทำความ

ยำเกรงอย่างหนักแม้ชั้นที่สุดในสามเณร.

ในกัปหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราสั่งสมกรรมใดไว้ เรา

ได้บรรลุถึงภูมิแห่งกรรมนั้นโดยลำดับ เป็นผู้บรรลุถึงธรรม

เครื่องสิ้นอาสวะแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมหาโมคคัลลานเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

๒. พรรณนามหาโมคคัลลานเถราปทาน

อปทานของ ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ มีคำเริ่มต้นว่า

อโนมทสฺสี ภควา ดังนี้เป็นต้น.

คำมีอาทิว่า ก็พระเถระนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้า

ปางก่อนทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพ

นั้น ๆ ครั้นในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีดังนี้ ได้

กล่าวไว้แล้วในเรื่องของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ.

ความพิสดารว่า จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว ในวันที่ ๗ พระเถระ

เข้าไปอาศัยบ้าน กัลลวาลคาม ในมคธรัฐ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ เมื่อ

ถีนมิทธะคือความโงกง่วงครอบงำ อันพระศาสดาทรงให้สลดใจด้วยพระ-

ดำรัสมีอาทิว่า โมคคัลลานะ ความพยายามของเธออย่าได้ไร้ผลเสียเลย เมื่อ

ได้ฟังธาตุกรรมฐานอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรเทาความโงกง่วงแล้ว

ตรัสให้ฟังอยู่ ได้บรรลุมรรคทั้ง ๓ เบื้องบน โดยลำดับแห่งวิปัสสนา

แล้วถึงที่สุดแห่งสาวกญาณในขณะแห่งผลอันเลิศคือพระอรหัตผล.

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ครั้นได้บรรลุความเป็นทุติยสาวก

อย่างนี้แล้ว ได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานอัน

เป็นบุพจริยาด้วยอำนาจความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทสฺสี

ภควา ดังนี้. ในคำนั้น ที่ชื่อว่าอโนมทัสสี เพราะมีทัสสนะคือความ

เห็นไม่ต่ำทราม คือไม่เลวทราม. จริงอยู่ พระองค์มีการเห็นอันการทำ

ความไม่อิ่มแก่คนผู้มองดูพระองค์อยู่ตลอดทั้งวัน ตลอดทั้งเดือน ตลอด

ทั้งปี แม้ตลอดแสนปี เพราะพระองค์เป็นผู้มีพระสรีระประดับด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอโนมทัสสี อีกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

หนึ่ง ชื่อว่าอโนมทัสสี เพราะมีปกติเห็นพระนิพพานอันไม่ต่ำทรามคือไม่

เลวทราม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้พระนามว่า อโนมทัสสี เพราะเหตุ

ทั้งหลายมีความเป็นผู้มีภาคยะคือบุญเป็นต้น. บทว่า โลกเชฏฺโ ได้แก่

เป็นใหญ่ คือเป็นประธานแห่งสัตว์โลกทั้งมวล. ชื่อว่า อาสภะ เพราะ

เป็นเช่นกับวัวผู้ ผู้ยิ่งใหญ่, ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนระทั้งหลาย ชื่อว่า นราสภะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสีผู้เป็นใหญ่แห่งโลก ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนระพระ-

องค์นั้น อันหมู่แห่งเทพกระทำไว้ในเบื้องหน้า คืออันหมู่เทพทั้งหลาย

ห้อมล้อมแล้ว. เชื่อมความต่อกันไปว่า ประทับอยู่ในหิมวันตประเทศ.

อธิบายความว่า ในคราวที่ได้กระทำความปรารถนาในวาระที่สอง

เพื่อเป็นทุติยสาวกนั้น เราได้บั้งเกิดเป็นนาคราชมีนามชื่อว่าวรุณ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในกาลนั้น เราเป็นนาคราชมีนามชื่อว่าวรุณ

ดังนี้. บทว่า กามรูปี ได้แก่ มีปกตินิรมิตสิ่งที่ใคร่ได้ตามปรารถนา.

บทว่า วิกุพฺพามิ แปลว่า กระทำการแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ. บทว่า

มโหทธินิวาสห ความว่า ในระหว่างนาคเหล่านี้ คือมัญเชริกนาค ๑

นาคที่อยู่บนแผ่นดิน ๑ นาคที่อยู่บนภูเขา ๑ นาคที่อยู่ในแม่น้ำ ๑ นาค

ที่อยู่ในสมุทร ๑ เราเป็นนาคอยู่ในสมุทร อาศัยอยู่ อธิบายว่า สำเร็จการ

อยู่ในห้วงน้ำใหญ่คือในสมุทร.

บทว่า สงฺคณิย คณ หิตฺวา ความว่า ละ คือเว้นหมู่นาคซึ่ง

เป็นบริวารประจำ คือซึ่งเป็นบริวารของตน. บทว่า ตุริย ปฏฺเปสห

ความว่า เราเริ่มตั้งดนตรี อธิบายว่า ให้บรรเลงดนตรี. บทว่า สมฺพุทฺธ

ปริวาเรตฺวา ความว่า ในกาลนั้น เหล่านางอัปสร คือนางนาคมาณวิกา

ทั้งหลาย แวดล้อมพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้าบรรเลงแล้ว คือขับร้องด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

คำอันไพเราะ บรรเลงด้วยคำพากย์เป็นต้น ได้แก่บรรเลงตามความ

เหมาะสมที่ตนมีอยู่.

บทว่า วชฺชมาเนสุ ตุริเยสุ ความว่า เมื่อดนตรีมนุษย์และดนตรี

นาคอันประกอบด้วยองค์ ๕ บรรเลงอยู่. บทว่า เทวตุริยานิ วชฺชยุ

ความว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชก็บรรเลง คือประโคมดนตรีทิพย์.

บทว่า อุภินฺน สทฺท สุตฺวาน ความว่า ได้ทรงฟังเสียงกลองเทวดา

และมนุษย์ทั้งสองฝ่าย. อธิบายว่า พระพุทธเจ้าแม้ผู้ทรงเสมอด้วยครูของ

โลกทั้งสามก็ทรงรู้พร้อม คือทรงทราบ ทรงสดับ.

บทว่า นิมนฺเตตฺวาน สมฺพุทฺธ ความว่า นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า

พร้อมทั้งหมู่สาวก เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้วแวดล้อม. บทว่า สกภวน

ได้แก่ เข้าไปยังนาคพิภพของตน. บทว่า คนฺตฺวา จ อาสน ปญฺา-

เปตฺวาน ความว่า ให้ปูลาด คือตระเตรียมที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน

กุฎี มณฑป ที่นอน และที่นั่ง. บทว่า กาลมาโรจยึ อห ความว่า เรา

กระทำวิธีเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ให้กราบทูล คือให้ทรงทราบเวลาว่า ได้

เวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

บทว่า นขีณาสวสหสฺเสหิ ความว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น อันพระอรหันต์หนึ่งพันห้อมล้อมแล้ว เป็นนายกของโลก

ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เสด็จเข้าไป คือเสด็จถึงภพของเรา.

เมื่อจะแสดงอาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จเข้าไปยังภพของ

ตนแล้ว ให้เสวย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุปวิฏฺ มหาวีร ดังนี้. คำนั้น

เข้าใจได้ง่ายมาก.

บทว่า โอกฺกากกุลสมฺภโว ความว่า พระศาสดาพระนามว่าโคดม

โดยพระโคตร คือโดยอำนาจพระโคตร ทรงอุบัติในราชสกุลอันมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

โดยสืบ ๆ กันแห่งพระเจ้าโอกกากราช หรืออุบัติในราชสกุลอันปรากฏ

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักเกิดมีในมนุษยโลก.

ด้วยบทว่า โส ปจฺฉา ปพฺพชิตฺวาน นี้ พระศาสดาได้ทรงกระทำ

การพยากรณ์ว่านาคราชนั้นอันกุศลมูลคือบุญสมภารตักเตือน คือส่งเสริม

ในภายหลังคือภพสุดท้าย จึงบวชในพระศาสนา จักเป็นทุติยอัครสาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม.

บทว่า อารทฺธวีริโย ได้แก่ มีความเพียรในอิริยาบถทั้งหลายมีการ

ยืนและการนั่งเป็นต้น. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีจิตส่งไปแล้วใน

พระนิพพาน. บทว่า อิทฺธิยา ปารมึ คโต ความว่า ถึง คือบรรลุถึง

ความเต็มเปี่ยม คือที่สุดในอธิษฐานฤทธิ์ วิกุพพนฤทธิ์ กัมมวิปากชฤทธิ์

เป็นต้น ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโมคคัลลานะนี้เป็น

ยอดแห่งภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์. บทว่า สพฺพาสเว ความว่า กำหนดรู้

คือรู้ทั่ว ได้แก่รอบด้าน คือละธรรมคือกาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา

ทั้งหมด อันได้ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไป คือเป็นไปทั่ว คือรอบด้าน

เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือไม่มีกิเลส. บทว่า นิพฺพายิสฺสติ เชื่อมความว่า

จักนิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานและขันธปรินิพพาน.

พระเถระ ครั้นกล่าวถึงการพยากรณ์ที่ได้ด้วยอำนาจบุญของตนอย่าง

นี้แล้ว เมื่อจะประกาศจริยาอันลามกอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปาปมิตฺโต-

ปนิสฺสาย ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า เข้าไปอาศัย คือกระทำปาปมิตร

คือมิตรผู้มีบาปคือผู้ลามก ให้เป็นที่อาศัย ได้แก่ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับ

ปาปมิตรเหล่านั้น.

ในข้อนั้น มีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้. สมัยหนึ่ง พวกเดียรถีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

ประชุมกันปรึกษากันว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านรู้ไหม เพราะเหตุไร

ลาภสักการะจึงบังเกิดมากมายแก่พระสมโคดม. พวกเดียรถีย์กล่าวว่า

พวกเราไม่รู้ ก็ท่านเล่า ไม่รู้หรือ. พวกเดียรถีย์กล่าวว่า เออ เรารู้

ลาภสักการะเกิดขึ้น เพราะอาศัยภิกษุรูปหนึ่งชื่อโมคคัลลานะ. ด้วยว่า

พระโมคคัลลานะนั้นไปยังเทวโลก ถามถึงกรรมที่เหล่าเทวดากระทำ แล้ว

กลับมาบอกแก่พวกมนุษย์ว่า พวกเขาทำกรรมชื่อนี้ จึงได้สมบัติเห็นปานนี้

และถามกรรมแม้ของพวกที่เกิดในนรก แล้วกลับมาบอกแก่พวกมนุษย์ว่า

พวกเขาทำกรรมชื่อนี้จึงได้เสวยทุกข์เห็นปานนี้.

มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของพระมหาโมคคัลลานะแล้ว จึงนำไป

เฉพาะซึ่งลาภสักการะใหญ่. เดียรถีย์ทั้งหมด ได้มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน

ว่า ถ้าพวกเราอาจฆ่าพระโมคคัลลานะนั้น ลาภสักการะนั้นจักบังเกิดแก่

พวกเรา อุบายนี้มีประโยชน์ แล้วคิดกันว่า พวกเราจักกระทำอุบาย

อย่างใดอย่างหนึ่ง ฆ่าพระโมคคัลลานะนั้นเสีย จึงชักชวนพวกอุปัฏฐาก

ของตน ได้กหาปณะหนึ่งพัน แล้วให้เรียกโจรนักฆ่าคนมาแล้วพูดว่า

ชื่อว่าพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสมณโคดม

อยู่ ณ กาฬศิลาประเทศ ท่านจงไป ณ ที่นั้น แล้วฆ่าพระโมคคัลลานะ

นั้นเสีย ครั้นกล่าวแล้วได้ให้กหาปณะหนึ่งพันนั้นแก่โจรเหล่านั้น.

พวกโจรรับคำเพราะได้ทรัพย์ พากันกล่าวว่า พวกเราจักฆ่าพระ-

เถระ จึงไปล้อมสถานที่อยู่ของพระเถระนั้น. พระเถระรู้ว่าพวกโจร

เหล่านั้นล้อมตนอยู่ จึงหนีออกไปทางช่องกุญแจ. พวกโจรไม่เห็นพระ-

เถระในวันนั้น จึงพากันล้อมสถานที่อยู่ข้องพระเถระนั้นในวันรุ่งขึ้น.

พระเถระรู้แล้วจึงทำลายมณฑลช่อฟ้าแล้วเหาะไป. เมื่อเป็นอย่างนั้น พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

โจรเหล่านั้นจึงไม่อาจจับพระเถระทั้งในเดือนต้นและเดือนกลาง แต่เมื่อ

ถึงเดือนหลัง พระเถระรู้ว่ากรรมที่ตนกระทำไว้ชักพามา จึงไม่หลบหนี.

พวกโจรประหารพระเถระ ทุบทำลายการทำกระดูกทั้งหลายให้มีขนาดเมล็ด

ข้าวสารเป็นประมาณ. ทีนั้น พวกโจรสำคัญพระเถระนั้นว่าตายแล้ว จึง

โยนไปบนหลังพุ่มไม้แห่งหนึ่ง แล้วพากันหลีกไป.

พระเถระคิดว่า เราจักเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้วทีเดียวจึงจัก

ปรินิพพาน แล้วประสานอัตภาพด้วยเครื่องประสานคือฌาน แล้วเหาะ

ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพาน. พระศาสดาตรัสว่า เธอจัก

ปรินิพพานหรือโมคคัลลานะ. พระเถระกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ.

พระศาสดา. เธอจักไปปรินิพพานที่ไหน.

พระเถระ. จะไปยังกาฬศิลาประเทศ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. โมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอกล่าวธรรมแก่เราแล้ว

จงไปเถิด. เพราะตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่มีการเห็นสาวกเช่นท่าน (อีก

ต่อไป).

พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทำ

อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมพระศาสดา เหาะขึ้นสู่อากาศ

กระทำฤทธิ์มีประการต่าง ๆ เหมือนพระสารีบุตรเถระ กระทำในวัน

ปรินิพพาน แล้วกล่าวธรรม ถวายบังคมลาพระศาสดา ไปยังกาฬศิลา-

ประเทศแล้วปรินิพพาน. เรื่องราวนี้ว่า เขาว่า พวกโจรฆ่าพระเถระ

ดังนี้ ได้แพร่สะพัดไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงประกอบพวกจารบุรุษ เพื่อให้แสวงหา

พวกโจร. เมื่อโจรเหล่านั้นดื่มสุราในโรงดื่มสุราอยู่เมาเหล้า โจรคนหนึ่ง

ประหารหลังของโจรคนหนึ่งให้ล้มลงไป. โจรคนนั้นเมื่อจะคุกคามโจรที่

ประหารตนนั้น จึงกล่าวว่า แน่ะเจ้าคนแนะนำยาก เหตุไร เจ้าจึง

ประหารหลังของเราทำให้ล้มลง เฮ้ย ! เจ้าโจรร้าย ก็พระมหาโมคคัลลาน-

เถระน่ะ เจ้าประหารก่อนหรือ. โจรผู้ประหารกล่าวว่า ก็เจ้าไม่รู้ว่าข้า

ประหารก่อนหรือ. เมื่อโจรเหล่านั้นพูดกันอยู่อย่างนี้ว่า ข้าประหาร, ข้า-

ประหาร ดังนี้ จารบุรุษเหล่านั้นได้ฟังแล้วจึงจับโจรเหล่านั้นทั้งหมด แล้ว

กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งให้เรียกโจรเหล่านั้นมา

แล้วตรัสถามว่า พวกเจ้าฆ่าพระเถระหรือ? พวกโจรกราบทูลว่า พระเจ้าข้า

ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชา. ใครส่งพวกเจ้ามา. พวกโจร. พวกสมณะ

เปลือย พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้จับพวกสมณะเปลือยทั้ง ๕๐๐ คน

แล้วให้ฝังในหลุมประมาณเพียงสะดือที่ท้องสนามหลวง พร้อมกับพวกโจร

ทั้ง ๕๐๐ คน แล้วให้เอาฟางสุมแล้วให้จุดไฟ. ครั้นทรงทราบว่า คน

เหล่านั้นถูกเผาแล้วให้เอาไถเหล็กไถ ให้ทำคนทั้งหมดให้เป็นท่อนน้อย

ท่อนใหญ่. ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายสั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า

พระมหาโมคคัลลานเถระถึงแก่ความตายไม่เหมาะสมแก่ตน. พระศาสดา

เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน

เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ความตายของโมคคัลลานะ ไม่เหมาะสมแก่อัตภาพนี้เท่านั้น

แต่เหมาะสมแท้แก่กรรมที่โมคคัลลานะนั้นทำไว้ในชาติก่อน อันภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรพกรรมของพระเถระนั้น

เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า จึงตรัสบุรพกรรมนั้นโดยพิสดารว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีกุลบุตรคนหนึ่งในนคร

พาราณสี กระทำการงานมีการซ้อมข้าวและหุงข้าวเป็นต้นด้วยตนเอง

ปฏิบัติบิดามารดา. ทีนั้น บิดามารดาของเขาจึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย เจ้า

ผู้เดียวกระทำการงานทั้งในบ้านและในป่าลำบาก เราจักนำนางกุมาริกา

คนหนึ่งมาให้เจ้า แม้ถูกกุลบุตรนั้นห้ามว่า ข้าแต่คุณพ่อและคุณแม่

ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ตราบใด ลูกจักบำรุงคุณพ่อและคุณแม่ด้วยมือของ

ตนเองตราบนั้น ดังนี้ ก็ยังอ้อนวอนอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วนำนางกุมาริกา

มาให้. กุมาริกานั้นบำรุงบิดามารดาของเขาได้ ๒-๓ วันเท่านั้น ภายหลัง

ไม่ปรารถนาแม้จะเห็นคนทั้งสองนั้น จึงยกโทษว่า ดิฉันไม่อาจอยู่ในที่

เดียวกันกับบิดามารดาของท่าน เมื่อกุลบุตรนั้นไม่เชื่อถือถ้อยคำของตน

ในเวลาเขาออกไปข้างนอก จึงเอาชิ้นเปลือกปอและฟองข้าวยาคูมาโรย

ในที่นั้น ๆ อันกุลบุตรนั้นมาแล้วถามว่า นี้อะไรกัน นางจึงกล่าวว่า นี่

เป็นกรรมของคนทั้งแก่ทั้งบอดเหล่านี้ เขาเที่ยวกระทำให้สกปรกไปทั่ว

เรือน ฉันไม่อาจอยู่ในที่เดียวกันกับคนเหล่านี้ เมื่อนางกล่าวอยู่บ่อย ๆ

อย่างนี้ สัตว์ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว แม้เห็นปานนี้ ก็แตกกับบิดา

มารดา. กุลบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ช่างเถอะ เราจักรรู้กรรมที่จะทำแก่คน

เหล่านั้น จึงให้บิดามารดาบริโภคแล้วกล่าวว่า ข้าแต่คุณพ่อคุณแม่ พวก

ญาติของท่านทั้งสองในที่ชื่อโน้น หวังการมา พวกเราจักไปในที่นั้น

ดังนี้ แล้วยกบิดามารดาขึ้นยานน้อยพาไป ในเวลาถึงท่ามกลางดง จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

กล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงถือเชือก พวกโคจะเดินไปตามความสำคัญ

ของอาญา ในที่นี้มีพวกโจรอยู่ ฉันจะลงเดินไป แล้วให้เชือกในมือของ

บิดา ตนเองลงเดินไป ได้เปลี่ยนเสียงกระทำให้เป็นเสียงพวกโจรตั้งขึ้น.

บิดามารดาได้ยินเสียง สำคัญว่าโจรตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า พ่อ พวกโจรตั้ง

ขึ้นแล้ว พวกเราเป็นคนแก่ พ่อจงรักษาเฉพาะตนเองเถิด. บิดามารดา

แม้จะร้องอยู่ เขาก็กระทำเสียงโจร ทุบให้ตายแล้ว โยนทิ้งไปในดงแล้ว

กลับมา.

พระศาสดาครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของพระเถระแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะกระทำกรรมมีประมาณเท่านี้ ไหม้อยู่ในนรก

หลายแสนปี ด้วยผลวิบากที่เหลือเพียงนั้น จึงเป็นผู้แหลกละเอียดเพราะ

ทุบอย่างนั้นแหละ แล้วถึงความตายสิ้นร้อยอัตภาพ โมคคัลลานะได้

ความตายอันสมควรแก่กรรมของตนอย่างนี้ทีเดียว ฝ่ายพวกเดียรถีย์ ๕๐๐

กับโจร ๕๐๐ ประทุษร้ายบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้ความตายอัน

สมควรเหมือนกัน. เพราะผู้ประทุษร้ายในคนผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมถึง

ความพินาศเพราะเหตุ ๑๐ ประการนั่นเทียว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

บุคคลใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่มีอาชญา

ด้วยอาชญา บุคคลนั้นย่อมพลันเข้าถึงฐานะ ๑๐อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ

ย่อมถึงเวทนาอันหยาบ ๑

ความเสื่อม ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

ความแตกทำลายแห่งสีรระ ๑

อาพาธหนัก ๑

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑

ความขัดข้องแต่พระราชา ๑

การกล่าวต่ออย่างร้ายแรง๑

ความสิ้นญาติ ๑

ความผุพังแห่งโภคทรัพย์ ๑

อีกอย่างหนึ่ง ไฟผู้ชำระย่อมไหม้เรือนของเขา ๑ เพราะ

กายแตกทำลาย คนปัญญาทรามนั้น ย่อมเข้าถึงนรก ดังนี้.

บทว่า ปวิเวกมนุยุตฺโต ความว่า ประกอบเนือง ๆ คือ

ประกอบแล้ว ได้แก่ ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วซึ่งความสงัด คือ

ความเป็นผู้เดียวโดยอาการ. บทว่า สมาธิภาวนารโต ความว่า ยินดี

แล้ว คือติดแน่นแล้วในการเจริญปฐมฌานเป็นต้น. เชื่อมความว่า จัก

กำหนดรู้ คือรู้แล้ว ได้แก่ ละแล้วซึ่งอาสวะทั้งปวงได้แก่กิเลสทั้งสิ้น

เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือไม่มีกิเลสอยู่.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงบุพจริตด้วยอำนาจบุญสมภารของตน จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า ธรณิมฺปิ สุคมฺภีร ดังนี้.

ในคำนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้. บทว่า ปุพฺเพน โจทิโต

ความว่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตักเตือนแล้ว คือทรงส่งไปแล้ว.

บทว่า ภิกฺขุสงฺฆสฺส เปกฺขโต ความว่า เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เห็นอยู่.

บทว่า มิคารมาตุปาสาท ปาทงฺคุฏฺเน กมฺปยิ ความว่า เราทำมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ปราสาทอันประดับด้วยเสาพันต้น ซึ่งนางวิสาขามหาอุบาสิกาให้สร้างไว้

ในบุพพาราม ให้หวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้าของตน. ก็สมัยนั้น เมื่อพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในปราสาทตามที่กล่าวแล้วในบุพพาราม พวก

ภิกษุมากหลายนั่งในปราสาทชั้นบน ไม่คำนึงถึงแม้แต่พระศาสดา เริ่ม

กล่าวเดรัจฉานกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับดังนั้น ทรงพระ

ประสงค์จะให้พวกภิกษุเหล่านั้นสลดใจแล้ว กระทำให้เป็นภาชนะรองรับ

พระธรรมเทศนาของพระองค์ จึงตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ

มาว่า โมคคัลลานะ เธอจงเห็นพวกภิกษุใหม่ผู้ประกอบเดรัจฉานกถา.

พระเถระได้ฟังพระดำรัสนั้น ทราบพระอัธยาศัยของพระศาสดา จึงเข้า

จตุตถฌาน มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ มีอภิญญาเป็นบาท แล้วออกจาก

จตุตถฌาน อธิษฐานว่า โอกาสที่ปราสาทตั้งอยู่จงเป็นน้ำ แล้วเอานิ้ว

หัวแม่เท้าประหารจอมยอดปราสาท. ปราสาทได้เอนตะแคงไปข้างหนึ่ง

พระเถระประหารซ้ำอีก ปราสาทได้ตะแคงไปข้างอื่น. ภิกษุเหล่านั้น

กลัวตื่นเต้น เพราะกลัวตกปราสาท จึงออกจากปราสาทนั้นแล้วได้ยืนอยู่

ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของภิกษุ

เหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรม. เพราะได้ฟังพระธรรมนั้น บรรดาภิกษุ

เหล่านั้น บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล บางพวกตั้งอยู่ในสกทาคามิผล

บางพวกตั้งอยู่ในอนาคามิผล บางพวกตั้งอยู่ในอรหัตผล. เนื้อความนี้นั้น

พึงแสดงด้วยปาสาทกัมปนสูตร.

บทว่า เวชยนฺตปาสาท ความว่า เวชยันตปราสาทนั้นสูงพันโยชน์

ประดับด้วยป้อมและเรือนยอดหลายพันผุดขึ้น ในตอนเนื้อท้าวสักกะจอม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

เทพ ชนะพวกอสูรในเทวาสุรสงครามแล้วประทับอยู่ในท่ามกลางนคร

ในภพดาวดึงส์ เป็นปราสาทอันได้นามว่า เวชยันต์ เพราะบังเกิดตอน

ที่สุดชัยชนะ, ท่านหมายเอาปราสาทนั้น จึงกล่าวว่า เวชยนฺตปาสาท

ดังนี้ พระเถระทำเวชยันตปราสาทแม้นั้น ให้ไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. ก็

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพาราม ท้าวสักกเทวราช

เข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามถึงวิมุตติ คือธรรมเครื่องสิ้นตัณหา. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงวิสัชนาแก่ท้าวเธอ. ท้าวเธอได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดีพระทัย

ร่าเริง ทรงอภิวาทแล้วกระทำประทักษิณ เสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์

ทันที.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดอย่างนี้ว่า ท้าวสักกะเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาอันประกอบด้วยพระนิพพาน

อันลึกซึ้งเห็นปานนี้ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงแก้ปัญหาแล้ว ท้าว

สักกะรู้แล้วจึงเสด็จไป หรือว่าไม่รู้ได้เสด็จไปแล้ว. ถ้ากระไรเราควรไป

ยังเทวโลกแล้วพึงรู้ความนั้น.

ในทันใดนั้น พระเถระได้ไปยังภพดาวดึงส์ ทูลถามเนื้อความนั้น

กะท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ. ท้าวสักกะเป็นผู้ประมาทมัวเมาในทิพสมบัติ

จึงได้กระทำให้สับสน. เพื่อจะให้เกิดความสลดใจแก่ท้าวเธอ พระเถระ

จึงทำเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า

พระเถระผู้มั่นคงด้วยกำลังฤทธิ์ ทำเวชยันตปราสาทให้

ไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า และทำเทวดาทั้งหลายให้สลดใจแล้ว

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

ก็เนื้อความนี้พึงแสดงด้วยจูฬตัณหาสังขยวิมุตติสูตร. อาการที่ไหว

ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังหมดแล้ว. คำว่า พระเถรนั้นสอบถามท้าวสักกะ

ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการที่พระเถระถามวิมุตติ คือธรรมเครื่องสิ้น

ตัณหา ตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้มี-

อายุ ท่านทราบตัณหาขยวิมุตติบ้างไหม ดังนี้. ท้าวสักกะได้พยากรณ์แก่

พระเถระนั้นแล้ว. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาว่า เมื่อพระเถระกระทำปราสาท

ให้ไหวแล้ว ท้าวเธอสลดพระทัย ทรงละความประมาทแล้วทรงใส่ใจโดย

แยบคายแล้วจึงทรงพยากรณ์ปัญหา. ก็ในกาลนั้น ท้าวเธอตรัสตาม

ทำนองที่พระศาสดาทรงเทศนาเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ท้าวเธอถูกพระเถระถามแล้วจึงพยากรณ์ปัญหาตามเป็นจริง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺก โส ปริปุจฺฉติ ความว่า พระ-

มหาโมคคัลลานเถระถามถึงความที่ตัณหาสังขยวิมุตติ ที่พระศาสดาทรง

แสดงแล้ว เป็นอันรับมาถูกต้อง กะท้าวสักกเทวราช. ก็คำนี้เป็นคำ

กล่าวในกาลปัจจุบัน ใช้ในอรรถเป็นอดีตกาล. บทว่า อปาวุโส ชานาสิ

ความว่า ผู้มีอายุ พระองค์ทราบบ้างไหม คือทรงทราบหรือ. ด้วยบทว่า

ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโย นี้ พระเถระทูลถามว่า พระศาสดาทรงแสดงตัณหา

สังขยวิมุตติแก่พระองค์ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ย่อมทรงทราบหรือ

อีกอย่างหนึ่ง ด้วย บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุติติโย นี้ พระเถระทูลถามถึงการ

แสดงตัณหาสังขยวิมุตติสูตร.

บทว่า พฺรหฺมาน ได้แก่ ท้าวมหาพรหม. บทว่า สุธมฺมายาภิโต

สภ ได้แก่ ในสุธรรมาสภา. ก็สุธรรมาสภานี้เป็นสุธรรมาสภาในพรหม-

โลก ไม่ใช่ในภพดาวดึงส์. ธรรมดาเทวโลกที่เว้นจากสุธรรมาสภา ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ไม่มี. บทว่า อชฺชาปิ เต อาวุโส สา ทิฏฺิ, ยา เต ทิฏฺิ ปุเร อหุ

ความว่า สมณะหรือพราหมณ์ไร ๆ ผู้สามารถเพื่อจะเข้าไปยังพรหมโลก

นี้ ย่อมไม่มี ในกาลก่อนแต่พระศาสดาเสด็จมาในที่นี้ ทิฏฐิใดได้มีแล้ว

แก่ท่าน ทำไม แม้วันนี้ คือแม้บัดนี้ ทิฏฐินั้นจึงไม่ปราศจากไป.

บทว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนต พฺรหฺมโลเก ปภสฺสร ความว่า ท่าน

เห็นโอภาสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งสาวก อันพระสาวกทั้งหลายมี

พระมหากัปปินะ และพระมหากัสสปเป็นต้นห้อมล้อม ประทับนั่งเข้า

เตโชธาตุ แผ่ไปในพรหมโลก.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบความคิดของพรหมผู้นั่งประชุม

อยู่ในสุธรรมสภาในพรหมโลกผู้กำลังคิดอยู่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ไรๆ

ผู้มีฤทธิ์อย่างนี้ มีอยู่หรือหนอ สมณะหรือพราหมณ์นั้น พึงสามารถมา

ในที่นี้ พระองค์จึงเสด็จไปในพรหมโลกนั้น ประทับนั่งในอากาศเหนือ

กระหม่อมของพรหม ทรงเข้าเตโชธาตุ เปล่งโอภาสอยู่ ทรงดำริให้

พระมหาโมคคัลลานะเป็นต้นมา. พระมหาโมคคลัลานะเป็นต้นแม้เหล่านั้น

ก็ได้ไปในที่นั้นพร้อมกับทรงดำริ ถวายบังคมพระศาสดา รู้อัธยาศัยของ

พระศาสดาแล้ว จึงนั่งเข้าเตโชธาตุอยู่ในทิศละองค์ แล้วเปล่งโอภาสไป.

พรหมทั้งสิ้นได้มีโอภาสเป็นอันเดียวกัน. พระศาสดาทรงทราบว่า พรหม

เป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งแล้ว จึงทรงแสดงธรรมประกาศสัจจะ ๔.

ในเวลาจบเทศนา พรหมหลายพันได้ตั้งอยู่ในมรรคและผลทั้งหลาย.

ท่านหมายถึงข้อนั้น เมื่อจะทักท้วง จึงกล่าวคาถาว่า อชฺชาปิ เต อาวุโส

สา ทิฏฺิ ดังนี้. ก็เนื้อความนี้พึงแสดงด้วยพกพรหมสูตร. สมจริงดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน

อันเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งเกิดทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ว่า

สมณะหรือพราหมณ์ผู้จะพึงมาในที่นี้ ย่อมไม่มี. ลำดับนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพรหม

นั้นด้วยใจ จึงทรงอันตรธานหายจากพระเชตวัน ไปปรากฏขึ้น

ในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป

หรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ ในอากาศเบื้องบนของ

พรหมนั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งขัดสมาธิ

เข้าเตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ด้วยจักษุทิพย์

อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้นเห็นแล้ว จึงอันตรธาน

หายจากพระเชตวัน ไปปรากฏขึ้นในพรหมโลกนั้น เหมือน

บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดเข้ามา

ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อาศัยทิศตะวัน-

ออก นั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น

แต่ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั่นแล ท่านพรมหากัสสปะ ได้มีความคิดดังนี้ว่า

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

มหากัสสปะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิเข้า

เตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ด้วยจักษุทิพย์อัน

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นได้เห็นแล้วจึงอันตรธานหาย

จากพระเชตวันไปปรากฏขึ้นในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มี

แขนที่เหยียดออกเข้ามาฉะนั้น. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา

กัสสปะอาศัยทิศใต้นั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบน

ของพรหมนั้น แต่ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะ ได้มีความคิดดังนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระมหา-

กัปปินะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งขัดสมาธิเข้า

เตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ด้วยจักษุทิพย์อัน

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นได้เห็นแล้วจึงอันตรธานหาย

จากพระเชตวัน ไปปรากฏขึ้นในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้

มีกำลัง ฯ ล ฯ คู้แขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท่าน

พระมหากัปปินะอาศัยทิศตะวันตก นั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ

ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น แต่ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ได้มีความคิดดังนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ. ท่านพระอนุรุทธะ

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ

ณ เวหาสเบื้องบนของพรหมนั้น ด้วยจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วง

จักษุของมนุษย์ ครั้นเห็นแล้วจึงอันตรธานหายจากพระเชตวัน

ไปปรากฏขึ้นในพรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

คู้แขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น. ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ

อาศัยทิศเหนือ นั่งขัดสมาธิเข้าเตโชธาตุ ณ เวหาสเบื้องบน

ของพรหมนั้น แต่ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะพรหมนั้น ด้วย

คาถาว่า

ผู้มีอายุ แม้ทุกวันนี้ ท่านก็ยังมีทิฏฐิที่ได้มีมาแล้วในกาล

ก่อน ท่านย่อมเห็นรัศมีมีสีเลื่อมพรายแผ่ไปในพรหมโลก.

(พรหมกล่าวว่า) ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐิ ที่

ข้าพเจ้าได้เคยมีมาแล้วในกาลก่อน ข้าพเจ้าเห็นรัศมีสีเลื่อม

พรายอันแผ่ไปในพรหมโลก. วันนี้ข้าพเจ้านั้น ขอกล่าว

ถ้อยคำว่า เป็นผู้เที่ยงยั่งยืน ดังนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทำพรหมนั้นให้

สลดใจแล้ว ทรงอันตรธานหายจากพรหมโลกนั้น ไปปรากฏ

ในพระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ฯ ล ฯ ฉะนั้น. ครั้งนั้นแล

พรหมนั้นเรียกพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งมาว่า นี่แน่ะท่านผู้.

เช่นกับเรา ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นเข้ไปหาแล้ว จงกล่าวกะท่านพระมหา-

โมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์

หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้เหล่าอื่นผู้มีฤทธิ์มาก

อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เหมือนพระมหาโมคคัลลานะ

ท่านพระกัสสปะท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ ยังมี

อยู่หรือ. พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำพรหมนั้นว่า ได้ ท่านผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

นิรทุกข์ แล้วเข้าไปหาท่านพระมหาโมคลัลลานะจนถึงที่อยู่

ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงกล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคัลลานะ

ว่า ข้าแต่พระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าสาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้เหล่าอื่น ผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้

มีอานุภาพมากอย่างนี้ เหมือนท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ท่านพระกัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ

ยังมีอยู่หรือ. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะนั้นด้วยคาถาว่า

เหล่าสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

มีวิชชา ๓ บรรลุอิทธิฤทธิ์ ฉลาดในการกำหนดจิตของผู้อื่น

มีมากหลาย ดังนี้.

ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น เพลิดเพลินอนุโมทนา

ภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วเข้าไปหาพรหมนั้น

จนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วกล่าวคำนั้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์

พระมหาโมคคัลลานะผู้มีอายุกล่าวอย่างนี้ว่า

เหล่าสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

มีวิชชา ๓ บรรลุอิทธิฤทธิ์ ฉลาดในการกำหนดจิตของผู้อื่น

มีมากหลาย ดังนี้.

พรหมปาริสัชชะนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว และพรหมนั้นดีใจ เพลิด

เพลินภาษิตของพรหมปาริสชัชะนั้น ฉะนี้แล.

ท่านหมายถึงเรื่องราวดังกล่าวนี้ จึงกล่าวว่า ก็เนื้อความนี้ พึง

แสดงโดยพกพรหมสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

ด้วย บทว่า มหาเนรุโน กูฏ นี้ ท่านกล่าวถึงขุนเขาสิเนรุทั้งสิ้น

ทีเดียว โดยจุดเด่นคือยอด.

บทว่า วิโมกฺเขน อปสฺสยิ มีอธิบายว่า เห็นแล้วด้วยวิโมกข์

อันสัมปยุตด้วยฌาน คืออภิญญาอันเป็นที่อาศัย.

บทว่า วน ได้แก่ ชมพูทวีป. จริงอยู่ ชมพูทวีปนั้น ท่านเรียก

วนะ เพราะมีป่ามากหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชมฺพุมณฺ-

ฑสฺส อิสฺสโร ผู้เป็นใหญ่แห่งชมพูมัณฑประเทศ.

บทว่า ปุพฺพวิเทหาน ได้แก่ ปุพพวิเทหสถาน คือปุพพวิเทหทวีป.

บทว่า เย จ ภูมิสยา นรา ความว่า พวกมนุษย์ชาวอปรโคยาน-

ทวีป และอุตตรกุรุทวีป ชื่อว่านระผู้นอนบนพื้นดิน. จริงอยู่ นระเหล่านั้น

ท่านเรียกว่าภูมิสยะ นอนบนพื้นดิน เพราะไม่มีเรือน. เชื่อมความว่า

นรชนแม้เหล่านั้นทั้งหมดไม่เห็นอยู่. ก็เนื้อความนี้พึงแสดงด้วยการทรมาน

นันโทปนันทนาคราช.

ได้ยินว่า สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมเทศนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์จงรับภิกษาหารในเรือนของข้าพระองค์ พร้อมกับภิกษุสงฆ์ ๕๐๐

ในวันพรุ่งนี้ ดังนี้ แล้วหลีกไป. ก็ในวันนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุในเวลาใกล้รุ่ง นาคราชชื่อว่านันโทปนันทะมาสู่

คลองในมุขแห่งพระญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า นาคราช

นี้มาสู่คลองในมุขแห่งญาณของเรา จักมีอะไรหนอ ก็ได้ทรงเห็นอุปนิสัย

แห่งสรณคมน์ จึงทรงรำพึงว่า นาคราชนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

ในพระรัตนตรัย ใครหนอจะพึงปลดเปลื้องนาคราชนี้จากมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้

ก็ได้ทรงเห็นพระมหาโมคคัลลานะ.

ลำดับนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์ทรงกระทำการปฏิบัติ

พระสรีระแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท์ผู้มีอายุมาว่า อานนท์ เธอจงบอก

ภิกษุทั้ง ๕๐๐ ว่า พระตถาคตจะเสด็จจาริกไปในเทวโลก. ก็วันนั้น

พวกนาคจัดแจงพื้นที่สำหรับดื่มของนันโทปนันทนาคราช. นาคราชนั้น

เขาเอาเศวตฉัตรทิพย์กางบนรัตนบัลลังก์ทิพย์ อันนาคนักฟ้อน ๓ ประเภท

และนาคบริษัทห้อมล้อม กำลังนั่งคอยข้าวและน้ำที่เขาจะให้เอาเข้าไปตั้ง

ในภาชนะทิพย์ทั้งหลาย. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำโดย

ประการที่นาคราชจะแลเห็น จึงเสด็จมุ่งพระพักตร์ไปยังดาวดึงส์เทวโลก

ทางเหนือวิมานทองนาคราชนั้นนั่นแหละ พร้อมกับภิกษุ ๕๐๐.

ก็สมัยนั้น นันโทปนันทนาคราช เกิดทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ว่า

ก็พวกสมณะโล้นชื่อเหล่านี้ เข้าไปยังภพของเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็ดี ทาง

เบื้องบนภพของเรา บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่ให้พวกสมณะโล้นเหล่านี้

โปรยละอองเท้าบนกระหม่อมของเราทั้งหลายไป. จึงลุกขึ้นไปยังเชิงภูเขา

สิเนรุ ละอัตภาพนั้น เอาขนดวงภูเขาสิเนรุ ๗ รอบ แผ่พังพานไว้เบื้องบน

แล้วเอาพังพานคว่ำลงยึดภพดาวดึงส์ไว้ ให้ถึงการแลไม่เห็น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระรัฏฐปาละ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน ข้าพระองค์ยืนที่ประเทศนี้

แลเห็นภูเขาสิเนรุ แลเห็นภูเขาล้อมเขาสิเนรุ เห็นภพดาวดึงส์ เห็นเวช-

ยันตปราสาท เห็นธงในเบื้องบนเวชยันตปราสาท, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย แห่งการที่ข้าพระองค์ไม่เห็นเขาสิเนรุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

ฯ ล ฯ ไม่เห็นธงในเบื้องบนเวชยันตปราสาท ในบัดนี้. พระศาสดา

ตรัสว่า รัฏฐปาละ นาคราชชื่อนันโทปนันทะนี้โกรธพวกเธอ จึงเอา

ขนดวงภูเขาสิเนรุ ๗ รอบ ให้ปิดเบื้องบนด้วยพังพาน กระทำให้มืด

พระรัฏฐปาละกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทรมาน

นาคราชนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตพระรัฏฐปาละนั้น. ครั้ง

นั้นแล ภิกษุแม้ทั้งปวง คือท่านพระภัททิยะ ท่านพระราหุล ต่างลุกขึ้น

โดยลำดับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต.

ในที่สุด พระมหาโมคคัลลานเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทรมานนาคราชนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตว่า โมคคัลลานะ เธอจงทรมาน. พระเถระละอัตภาพนั้น แล้ว

นิรมิตเพศนาคราชใหญ่ แล้วเอาขนดวงนันโทปนันทนาคราช วางพังพาน

ของตนเหนือพังพานของนาคราชนั้น แล้วกดเข้าไปกับภูเขาสิเนรุ.

นาคราชบังหวนควัน. ฝ่ายพระเถระก็กล่าวว่า ไม่ใช่จะมีควันในสรีระ

ของท่านเท่านั้น แม้ของเราก็มี จึงบังหวนควัน. ควันของนาคราชไม่

เบียดเบียนพระเถระ แต่ควันของพระเถระเบียดเบียนนาคราช ลำดับนั้น

นาคราชจึงโพลงเป็นไฟ. ฝ่ายพระเถระก็กล่าวว่า ไม่ใช่จะมีไฟในสรีระ

ของท่านเท่านั้น แม้ของเราก็มี แล้วโพลงไฟ. ไฟของนาคราชไม่เบียด

เบียนพระเถระ แต่ไฟของพระเถระเบียดเบียนนาคราช. นาคราชคิดว่า

สมณะนี้กดเรากับภูเขาสิเนรุ บังหวนควันและโพลงไฟ จึงสอบถามว่า

ผู้เจริญ ท่านเป็นใคร ? พระเถระตอบว่า นันทะ เราแลเป็นโมคคัลลานะ.

นาคราช กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงดำรงอยู่โดยภิกขุภาวะแห่งตนเถิด.

พระเถระจึงละอัตภาพนั้นแล้ว เข้าไปทางช่องหูขวาของนาคราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

นั้นแล้วออกทางช่องหูซ้าย เข้าทางช่องหูซ้ายแล้วออกทางช่องหูขวา. อนึ่ง

เข้าทางช่องจมูกขวา แล้วออกทางช่องจมูกซ้าย เข้าทางช่องจมูกซ้าย

แล้วออกทางช่องจมูกขวา. ลำดับนั้น นาคราชอ้าปาก พระเถระจึงเข้า

ทางปากแล้วเดินจงกรมอยู่ในท้อง ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมคคัลลานะ เธอจงมนสิการ นาคมีฤทธิ์

พระเถระกราบทูลคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิบาท ๔

ข้าพระองค์แลเจริญกระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็น

ดังวัตถุที่ตั้ง ปฏิบัติแล้ว สะสมแล้ว เริ่มดีแล้ว ช้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นันโทปนันทนาคราชจงยกไว้ นาคราชเช่นกับนันโทปนันทะ ๑๐๐ ก็ดี

๑,๐๐๐ ก็ดี ข้าพระองค์พึงทรมานได้.

นาคราชคิดว่า เบื้องต้น เมื่อเข้ามา เราไม่เห็น ทีนี้ ในเวลา

ออก เราจะใส่พระสมณะนั้นในระหว่างเขี้ยวแล้วจักเคี้ยวกินเสีย ครั้นคิด

แล้วจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงออกมาเถิด อย่าเดินจงกรมไป ๆ

มา ๆ ภายในท้อง เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย. พระเถระได้ออกมายืนอยู่

ข้างนอก. นาคราชเห็นว่า องค์นี้คือเขาล่ะ จึงพ่นลมทางจมูก, พระเถระ

เข้าจตุตถฌาน, แม้ขุมขนของพระเถระนั้น ลมก็ไม่อาจทำให้สั่นได้.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ อาจทำปาฏิหาริย์ทั้งปวงได้ จำเดิมแต่ต้น.

แต่ถึงฐานะนี้แล้ว จักไม่อาจเพื่อเป็นผู้ใส่ใจสังเกตได้รวดเร็วอย่างนี้แล้ว

เข้าฌาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงอนุญาตการทรมาน

นาคราชแก่ภิกษุเหล่านั้น.

นาคราชคิดว่า เราไม่ได้อาจเพื่อจะทำแม้แต่ขุมขนของสมณะนี้ให้

เคลื่อนไหวด้วยลมจมูก สมณะนั้นมีฤทธิ์มาก พระเถระเปลี่ยนอัตภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

นั้นแล้วนิรมิตรูปสุบรรณ เมื่อจะแสดงลมของสุบรรณ จึงติดตามนาคราช.

นาคราชเปลี่ยนอัตภาพนั้น แล้วนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อยกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นสรณะ ดังนี้แล้วไหว้เท้าทั้งสองของพระ-

เถระ.

พระเถระกล่าวว่า นันทะ พระศาสดาของเราเสด็จมาด้วย ท่าน

จงมา เราไปกัน แล้วทรมานนาคราชกระทำให้หมดพยศ แล้วได้พาไป

ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

นาคราชถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์เป็นสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า นาคราช เธอจงเป็นสุขเถิด อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม ได้เสด็จไปยัง

นิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี.

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไร

พระองค์จึงเสด็จมาสายพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะได้

มีสงครามของโมคคัลลานะกับนันโทปนันทนาคราช ท่านอนาถบิณฑิก-

เศรษฐีทูลถามว่า ก็ใครชนะ ใครปราชัย พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า โมคคัลลานะชนะ นันทะปราชัย. อนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับภัตตาหารโดยลำดับ

เดียวตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์จักกระทำสักการะแก่พระเถระตลอด ๗ วัน

ดังนี้ แล้วให้กระทำสักการะใหญ่แก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

ตลอด ๗ วัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พึงแสดงเนื้อความนี้ ด้วย

การทรมานนันโทปนันทนาคราชดังนี้.

ก็สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในปราสาทอันประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ด้วยห้องพันห้อง ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างไว้ในบุพพาราม ฯลฯ

และให้เทวดาทั้งหลายสลดใจแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราถึงที่สุดแห่งอิทธิฤทธิ์ ยังแม้ธรณีอันลึก หนาที่ใคร ๆ

กำจัดได้ยาก ให้ไหวแล้ว ด้วยนิ้วหัวแม่เท้าซ้าย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิยา ปารมึ คโต ความว่า ถึง คือ

บรรลุถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ มีแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เป็นต้น.

บทว่า อสฺมิมาน ความว่า เราย่อมไม่พบ คือไม่เห็นอัสมิมานะ

มีอาทิว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ศีล และสมาธิ เมื่อจะแสดงข้อ

นั้นเท่านั้นจึงกล่าวว่า มาโน มยฺห น วิชฺชติ ดังนี้.

บทว่า สามเณเร อุปาทาย ความว่า เรากระทำจิตเคารพ คือ

จิตคารวะ ได้แก่ ความนับถือมากโดยเอื้อเฟื้อ ในภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น กระทำ

สามเณรให้เป็นต้นไป.

บทว่า อปริเมยฺเย อิโต กปฺเป ความว่า ในที่สุดหนึ่งอสงไขย

แสนกัปอันนับไม่ได้ แต่กัปที่เราเกิดแล้วนี้ คือแต่อันตรกัปเป็นต้น

บทว่า ย กมฺมมภินีหรึ ความว่า เราบำเพ็ญบุญสมบัติอันเป็นเหตุให้ถึง

ความเป็นอัครสาวก.

บทว่า ตาห ภูมิมนุปฺปตฺโต ความว่า เราเป็นผู้ถึงโดยลำดับซึ่ง

สาวกภูมินั้น คือเป็นผู้ถึงพระนิพพานกล่าวคือความสิ้นอาสวะ.

ปฏิสัมภิทา ๔ มีอัตถปฏิสัมภิทาเป็นต้น วิโมกข์ ๘ มีโสดาปัตติ-

มรรคเป็นต้น อภิญญา ๖ มีอิทธิวิธะแสดงฤทธิ์ได้เป็นต้น เรากระทำ

ให้แจ้งแล้ว คือทำให้เห็นประจักษ์แล้ว. คำสอนกล่าวคือโอวาทานุสาสนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ของพระพุทธเจ้า คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า เรากระทำแล้ว อธิบายว่า

ให้เสร็จแล้วด้วยการยังข้อปฏิบัติในศีลให้สำเร็จ.

บทว่า อิตฺถ แปลว่า โดยประการนี้ คือโดยลำดับดังกล่าวไว้ใน

หนหลัง. พระมหาโมคคัลลานเถระได้รับพยากรณ์ ๒ ครั้ง ในสำนักของ

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าเฉพาะองค์เดียว ด้วยประการอย่างนี้. ถามว่า ได้

อย่างไร ? ตอบว่า เป็นเศรษฐีได้รับพยากรณ์ในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง จุติจากอัตภาพนั้น บังเกิด

ในนาคภพอันตั้งอยู่ในสมุทร ได้ทำการบูชาในสำนักของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้นนั่นแหละ เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอายุยืน ได้นิมนต์ให้

เสวยแล้วกระทำการมหาบูชา. แม้ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้

ตรัสพยากรณ์.

ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ทำบาทให้เต็ม.

คำว่า อายสฺมา เป็นคำกล่าวด้วยความรัก คือเป็นคำเรียกด้วย

ความเคารพหนัก. พระมหาโมคคัลลานเถระได้ภาษิต คือกล่าวอปทาน

คาถาเหล่านี้ ศัพท์ว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า จบข้อความ.

จบพรรณนามหาโมคคัลลานเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

มหากัสสปเถราปทานที่ ๕ (๓)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์

[๕] ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ

เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นนาถะของโลก นิพพานแล้ว

ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา.

หมู่ชนมีจิตร่าเริงเบิกบานบันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิด

ความสังเวช ปีติย่อมเกิดแก่เรา.

เราประชุมญาติและมิตรแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า พระมหา-

วีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญพวกเรามาทำการบูชากันเถิด.

พวกเขารับคำว่าสาธุแล้ว ทำความร่าเริงให้เกิดแก่เรา

อย่างยิ่งว่า พวกเราจักทำการก่อสร้างบุญในพระพุทธเจ้า

ผู้เป็นนาถะของโลก.

ได้ให้สร้างเจดีย์อันมีค่าทำอย่างเรียบร้อย สูง ๑๐๐ ศอก

กว้าง ๑๕๐ ศอก พุ่งขึ้นในท้องฟ้า ดุจวิมาน.

ครั้นสร้างเจดีย์อันมีค่างดงามด้วยระเบียบอันดี ไว้ในที่

นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใสบูชาเจดีย์อันอุดม.

เจดีย์นั้นย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลงอยู่ในอากาศ ดัง

เช่นพญารังดอกบานสะพรั่ง ย่อมสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ เหมือน

สายฟ้าในอากาศ.

เรายังจิตให้เลื่อมใสในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศล

เป็นอันมาก ระลึกถึงกรรมเก่าแล้วได้เข้าถึงไตรทศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

เราอยู่บนยานทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมาน

ของเราสูงตระหง่าน สูงสุด ๗ ชั้น.

กูฏาคาร (ปราสาท) พันหนึ่ง สำเร็จด้วยทองคำล้วน ย่อม

รุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสวด้วยเดชของตน.

ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี

มีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้น โชตช่วงด้วยรัศมีทั่ว ๔ ทิศ

โดยรอบ.

กูฏาคารอันบังเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม อันบุญกรรมนิรมิตไว้

เรียบร้อย สำเร็จด้วยแก้วมณี โชติช่วงทั่วทิศน้อยทิศใหญ่

โดยรอบ.

โอภาสแห่งกูฏาคารอันโชติช่วงอยู่เหล่านั้น เป็นสิ่ง

ไพบูลย์ เราครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.

เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่า อุพพิทธะ ครอบครอง

แผ่นดินมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต ในหกหมื่นกัป.

ในภัทรกัปนี้ เราได้เป็นเหมือนอย่างนั้น ๓๐ ครั้ง คือ

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีในกรรมของตน.

สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔

ในครั้งนั้น ปราสาทของเราสว่างไสวดังสายฟ้า ด้านยาว ๒๔

โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์.

นครชื่อรัมมกะ มีกำแพงและค่ายมั่นคง ด้านยาว ๕๐๐

โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือน

เทพนครของชาวไตรทศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

เข็ม ๒๕ เล่ม เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ย่อมกระทบกัน

และกัน เบียดเสียดกันเป็นนิจ ฉันใด แม้นครของเรา ก็

ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้างม้าและรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์ น่า

รื่นรมย์ เป็นนครอันอุดม.

เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็นเทวดาอีก

กุศลสมบัติได้มีแก่เราในภพสุดท้าย.

เราสมภพในสกุลพราหมณ์ สั่งสมรัตนะไว้มาก สละ

ทรัพย์ ๘๐ โกฏิแล้วออกบวช. คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิ-

สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมหากัสสปเถราปทาน

๓. พรรณนามหากัสสปเถราปทาน

คำว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต เป็นต้น เป็นอปทานของท่านพระ-

มหากัสสปเถระ.

แม้พระมหากัสสปเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ สั่งสมบุญสมภารอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เป็นกุฎุมพีมีทรัพย์

สมบัติ ๘๐ โกฏิ มีนามว่า เวเทหะ อยู่ในนครหังสวดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

กุฎุมพีนั้น เป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ว่าเป็นของเราอยู่ ในวันอุโบสถวันหนึ่ง บริโภคโภชนะดีแต่เช้าตรู่

ธิษฐานองค์อุโบสถแล้ว ถือของหอมและดอกไม้ไปวิหาร บูชาพระศาสดา

นมัสการแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่สามนามว่า มหานิสภ-

เถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสภะนี้เป็นเลิศ

แห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์.

อุบาสกได้ฟังดังนั้นก็เลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกไปแล้ว

จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสว่า

อุบาสก ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาก. อุบาสกทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์มีประมาณ

เท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มีภิกษุประมาณหกล้านแปดแสน.

อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของ

ข้าพระองค์ อย่าให้เหลือแม้สามเณรรูปเดียวไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรง

รับนิมนต์แล้ว. อุบาสกรู้ว่า พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือน

ตระเตรียมมหาทาน ในวันรุ่งขึ้น ใช้ให้คนไปกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหาร

แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ

ไปยังเรือนของอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ในเวลา

เสร็จการถวายน้ำทักษิโณทก ทรงรับข้าวยาคูเป็นต้น ได้ทรงกระทำการ

สละภัตตาหารเสีย. แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา.

ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ได้ดำเนิน

ไปยังถนนนั้นเหมือนกัน. อุบาสกเห็น จึงลุกไปไหวพระเถระแล้วกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร. พระเถระจึงได้ให้บาตร. อุบาสกกล่าว

ว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้เถิด แม้พระศาสดาก็ประทับนั่ง

อยู่ในเรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรดอก อุบาสก. เขาจึงถือเอาบาตร

ของพระเถระบรรจุให้เต็มด้วยบิณฑบาตแล้วถวาย. แต่นั้นเขาตามส่งพระ-

เถระแล้วกลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระ แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้

พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน ดังนี้ ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหา-

นิสภเถระนี้ มีคุณยิ่งกว่าคุณทั้งหลายของพระองค์หรือ. อันธรรมดาว่า

วรรณมัจฉริยะ การตระหนี่คุณความดี ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก เราทั้งหลาย

นั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน ภิกษุนั้นไม่นั่งมองดูภิกษาอย่างนั้น เราทั้งหลาย

อยู่เสนาสนะใกล้บ้าน ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะในป่าเท่านั้น. เราทั้งหลายอยู่ใน

ที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ

ของพระนิสภเถระว่า คุณของเธอดังนี้และดังนี้ ประหนึ่งจะทำมหาสมุทร

ให้เต็ม.

ฝ่ายอุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งขึ้น เหมือนประทีปที่ลุกโพลงอยู่ตาม

ปกติ ถูกราดด้วยน้ำมันฉะนั้น จึงคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติ

อย่างอื่น ถ้ากระไรเราจักกระทำความปรารถนา เพื่อความเป็นผู้เลิศแห่ง

ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ ในศาสนาของพระพุทธเจ้า

องค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. เขาจึงนิมนต์พระศาสดาอีกครั้ง แล้วถวาย

มหาทานโดยทำนองนั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ถวายไตรจีวร

แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

พระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์

ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม

เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตา-

มโนกรรมอันนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น จะเป็นเทวสมบัติ

หรือสักกสมบัติ มารสมบัติ และพรหมสมบัติก็ตาม. ก็กรรมของข้า-

พระองค์นี้ จงเป็นอธิการความดีแก่ความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรง

ธุดงค์ ๑๓ เพื่อต้องการถึงฐานันดรที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสำนัก

ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. พระศาสดาทรงตรวจดูว่า

อุบาสกนี้ปรารถนาตำแหน่งใหญ่หลวง จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่า

สำเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า ท่านปรารถนาตำแหน่งอันเป็นที่ชื่นใจ, ใน

อนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักอุบัติขึ้น

ท่านจักเป็นพระสาวกที่สามของพระพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้ชื่อว่า มหา-

กัสสปเถระ, อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงมนสิการว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่มีพระดำรัสเป็นสอง ได้สำคัญสมบัตินั้น ประหนึ่งจะพึงได้ใน

วันรุ่งขึ้น. เขาให้ทาน สมาทานศีล แล้วรักษาไว้ ตลอดชั่วอายุ กระทำ

บุญกรรมมีประการต่าง ๆ กระทำกาละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์.

จำเดิมแต่นั้น อุบาสกนั้น เสวยสมบัติอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัย

พันธุมดีนคร ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน จึงจุติจากเทวโลก บังเกิด

ในตระกูลพราหมณ์แก่ตระกูลหนึ่ง.

ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีตรัสธรรม ใน

ปีที่ ๗. ได้มีความโกลาหลอย่างใหญ่หลวง. เหล่าเทวดาในชมพูทวีป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

ทั้งสิ้น บอกกันว่า พระศาสดาจักตรัสธรรม. พราหมณ์ได้ยินข่าวนั้น.

พราหมณ์นั้นมีผ้าสาฎกสำหรับนุ่งผืนเดียวเท่านั้น นางพราหมณีก็มีผ้าสาฎก

สำหรับนุ่งผืนเดียวเหมือนกัน. แต่คนทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น.

พราหมณ์นั้นจึงปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎกพราหมณ์.

พราหมณ์นั้น เมื่อมีการประชุมพวกพราหมณ์ด้วยกิจเฉพาะบางอย่าง

จึงเว้นนางพราหมณีไว้ในเรือน ตนเองห่มผ้าผืนนั้นไป. เมื่อมีการประชุม

พวกนางพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีจึงห่มผ้าผืนนั้นไป.

ก็ในวันนั้น พราหมณ์นั้นกล่าวกะนางพราหมณีว่า นี่แน่ะนาง

ผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือกลางวัน. นางพราหมณีกล่าวว่า

นาย ดิฉันเป็นมาตุคามมีชาติขลาดกลัว ไม่อาจฟังธรรมในตอนกลางคืน

ดิฉันจักฟังกลางวัน จึงเว้นพราหมณ์นั้นไว้ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหาร

พร้อมกับเหล่าอุบาสิกา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ฟังธรรมแล้วได้ไปกับพวกอุบาสิกา. ทีนั้น พราหมณ์จึงเว้นนางพราหมณี

ไว้ในเรือน แล้วห่มผ้านั้นไปวิหาร.

ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับประดา อยู่

ในท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดอันวิจิตรตรัสธรรมกถา เสมือนทำคงคา

ในอากาศให้หลั่งลง และดุจกระทำเขาสิเนรุให้เป็นโม่แล้วกวนสาคร

ฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ท้ายสุดบริษัทฟังธรรมอยู่ ปีติมีวรรณะ ๕

ประการ ทำสรีระให้เต็มเกิดขึ้น ในเวลาปฐมยามทีเดียว. เขาจึงพับผ้าที่

ห่มแล้วคิดว่า จักถวายแด่พระทศพล. ทีนั้น ความตระหนี่อันแสดงโทษ

ตั้งพันเกิดแก่พราหมณ์นั้น เขาคิดว่า นางพราหมณีและเรามีผ้าห่มผืน

เดียวเท่านั้น ชื่อว่าผ้าห่มไร ๆ อื่น ย่อมไม่มี เราไม่อาจะเพื่อจะไม่ห่มผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

เที่ยวไปข้างนอกได้ ดังนี้ จึงได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายแม้โดยประการ

ทั้งปวง. ครั้นเมื่อปฐมยามล่วงไป แม้ในมัชฌิมยาม ปีติก็เกิดแก่เขา

เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. เขาคิดเหมือนอย่างนั้น ได้เป้นผู้ประสงค์จะ

ไม่ถวายอย่างนั้นเหมือนกัน. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเกิดขึ้นแก่เขา

แม้ในปัจฉิมยามเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ในกาลนั้น เขาชนะความ

ตระหนี่ พับผ้าแล้ววางไว้แทบพระบาทของพระศาสดา แต่นั้น จึงงอ

มือซ้าย เอามือขวาปรบบันลือ ๓ ครั้ง ว่า ชิต เม ชิต เม เราชนะ

แล้ว ๆ.

สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราช ประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายในม่าน

หลังธรรมาสน์ ก็ธรรมดาพระราชาย่อมไม่ทรงโปรดเสียงว่า ชิต เม เรา

ชนะ. พระราชาจึงทรงสั่งบุรุษว่า พนาย เธอจงไปถามพราหมณ์นั้นว่า

เขาพูดอะไร. พราหมณ์อันบุรุษนั้นมาถามแล้ว จึงกล่าวว่า พวกคนที่เหลือ

ขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบและโล่เป็นต้น จึงชนะเสนาของพระราชาอื่น

ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราชนะจิตอันตระหนี่ ได้ถวายผ้าห่มแด่พระ-

ทศพล เหมือนคนเอาค้อนทุบหัวโคโกงที่เดินตามมาข้างหลัง ทำให้มัน

หนีไปฉะนั้น. ความตระหนี่ที่เราชนะนั้นน่าอัศจรรย์. บุรุษนั้นจึงกลับมา

กราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย เรา

ทั้งหลายไม่รู้ความเหมาะสมแก่พระทศพล พราหมณ์ย่อมรู้ ดังนี้. ทรง

เลื่อมใสพราหมณ์นั้นได้ทรงส่งคู่ผ้าไปให้.

พราหมณ์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระราชา ไม่ทรงประทานอะไร ๆ

ครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง แล้วได้ประทานแก่เราผู้กล่าวคุณทั้งหลายของ

พระศาสดา ผ้าคู่นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณทั้งหลายของพระศาสดา จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

สมควรแก่พระศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดแล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระ-

ทศพล. พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์กระทำอย่างไร. ทรงสดับว่า

เขาถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระตถาคตเท่านั้น จึงให้ส่งคู่ผ้า ๒ คู่แม้อื่นไปให้.

พราหมณ์ก็ได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้นแก่พระศาสดา. พระราชาทรงให้ส่ง

คู่ผ้า ๔ คู่แม้อื่นอีกไปประทาน รวมความว่า ตรัสอย่างนั้นแล้วทรงให้ส่ง

คู่ผ้าไปจนกระทั่ง ๓๒ คู่.

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การกระทำดังนี้ ย่อมเป็นเสมือนจะให้

เพิ่มขึ้น ๆ (มาก ๆ) แล้วจึงรับเอา คือรับเอาคู่ผ้า ๒ คู่ คือคู่หนึ่งเพื่อตน

คู่หนึ่งเพื่อนางพราหมณี แล้วได้ถวายเฉพาะตถาคต ๓๐ คู่ และตั้งแต่นั้น

เขาเป็นผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา.

ครั้นวันหนึ่ง ในฤดูหนาวเย็น พระราชาทอดพระเนตรเห็น

พราหมณ์นั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา จึงประทานผ้ากัมพลแดง

ที่พระองค์ห่มอันมีค่าแสนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้า

กัมพลนี้ฟังธรรม. พราหมณ์คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้

อันจะนำเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึงกระทำเพดานในเบื้องบนเตียง

ของพระตถาคตในภายในพระคันธกุฎีแล้วก็ไป.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่ง

ในสำนักของพระศาสดา ในภายในพระคันธกุฎี. ขณะนั้น พระพุทธรัศมี

มีพรรณะ ๖ ประการ กระทบที่ผ้ากัมพล. ผ้ากัมพลเปล่งแสงเจิดจ้า.

พระราชาทรงแหงนดู ทรงจำได้ รับสั่งว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่ผ้า

กัมพลของกระหม่อมฉัน ๆ ให้เอกสาฎกพราหมณ์. พระศาสดาตรัสว่า

มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์บูชาเราตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

พระราชาทรงดำริว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่ควร เราไม่รู้จึงทรงเลื่อมใส

ได้ทรงกระทำสิ่งที่เป็นอุปการะแก่หมู่คนทั้งหมดนั้น ให้เป็น ๘ หมวด

หมวดละ ๘ สิ่ง ทรงให้ทานชื่อว่าสัพพัตถกะ (สารพัดประโยชน์ ) แล้ว

ทรงตั้งพราหมณ์ไว้ในตำแหน่งปุโรหิต. ฝ่ายพราหมณ์นั้นเข้าไปตั้ง

สลากภัต ๖๔ ที่ คือชื่อว่าหมวดละแปด ๘ ที่ เป็น ๖๔ ที่ แล้วให้ทาน

รักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์.

จุติจากสวรรค์นั้นอีก ในกัปนี้บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในนคร

พาราณสี ระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่าโกนาคมนะและพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. เขาอาศัย

ความเจริญอยู่ครองเรือน วันหนึ่ง เสด็จเที่ยวพักผ่อนอยู่ในป่า. ก็สมัยนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทำจีวรกรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ เมื่อผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ

จึงเริ่มพับเก็บไว้. เขาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร

ท่านจึงพับเก็บไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ.

เขาจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทำด้วยผ้านี้ แล้วถวายผ้าห่ม ได้

กระทำความปรารถนาว่า ความเสื่อมไร ๆ จงอย่าใดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที่

เกิดแล้ว ๆ.

เมื่อภรรยากับน้องสาวก่อการทะเลาะกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไป

บิณฑบาตแม้ในเรือนของเขา. ครั้งนั้น น้องสาวของเขาได้ถวายบิณฑบาต

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วหมายเอาภรรยาของเขาตั้งความปรารถนาว่า

เราพึงเว้นหญิงพาลเห็นปานนี้ ๑๐๐ โยชน์. นางยืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยิน

เข้าจึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้จงอย่าได้บริโภคภัตที่หญิงนี้ถวาย จึง

รับบาตรเทภัตทิ้งเสีย แล้วได้บรรจุให้เต็มด้วยเปือกตมถวาย. น้องสาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

ของเขาเห็นจึงกล่าวว่า นางหญิงพาล เจ้าจงด่าหรือจงประหารเราก่อนเถอะ

ก็การทิ้งภัตจากบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาสอง

อสงไขยเห็นปานนี้ แล้วให้เปือกตม ไม่ควร.

ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดการพิจารณาขึ้นมาได้. นางจึงกล่าวว่า

โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมทิ้ง ล้างบาตรแล้วระบมด้วยผง

เครื่องหอม บรรจุให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยของมีรสอร่อยทั้งสี่

ให้เต็ม แล้ววางบาตรอันแพรวพราวด้วยเนยใสมีสีดังกลีบปทุมลาดไว้

ข้างบน ลงในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้กระทำความปรารถนา

ว่า บิณฑบาตนี้เกิดโอภาสได้ ฉันใด ร่างกายของเราจงเกิดโอภาส ฉันนั้น

เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะไปยังอากาศ.

ผัวเมียทั้งสองแม้นั้นดำรงอยู่ตลอดชั่วอายุ เคลื่อนจากอัตภาพนั้น

แล้วบังเกิดในสวรรค์. จุติจากสวรรค์นั้นอีก เกิดเป็นอุบาสกในตระกูล

ที่สมบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนครพาราณสี ในกาลแห่ง

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐี ผู้เช่น-

นั้นเหมือนกัน. เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว บิดามารดาจึงนำธิดาของเศรษฐีนั้น

นั่นแหละมา. ด้วยอานุภาพของกรรมอันลามก ซึ่งมีวิบากอันไม่น่า

ปรารถนาในชาติก่อน เมื่อนางสักว่าเข้าไปยังตระกูลสามี เรือนทั้งสิ้น

จำเดิมแต่ระหว่างธรณีประตูเข้าไป เกิดกลิ่นเหม็นประดุจหลุมคูถที่เขา

เปิดไว้ฉะนั้น. กุมารถามว่า นี่กลิ่นของใคร ได้ฟังว่า ของธิดาเศรษฐี

จึงกล่าวว่า จงนำนางออกไป แล้วให้ส่งไปยังเรือนตระกูลของนางทันที.

นางกลับมาโดยทำนองนั้นนั่นแล ๗ ฐานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว. ชนทั้งหลายก่อพระ-

เจดีย์ของพระองค์สูงโยชน์หนึ่ง ด้วยอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง. เมื่อเขา

กำลังพากันก่อเจดีย์นั้นอยู่ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า เรากลับแล้วในฐานะ

ทั้ง ๗ เราจะประโยชน์อะไรด้วยชีวิต จึงให้หักยุบสิ่งของเครื่องประดับของ

ตนให้กระทำเป็นอิฐทองคำ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง ๔ นิ้ว. แต่นั้น

จึงถือเอาก้อนหรดาลและมโนศิลา แล้วถือดอกอุบล ๘ กำ ไปยังที่ที่ก่อ

พระเจดีย์. ก็ขณะนั้น แถวอิฐแห่งหนึ่งวงมาขาดอิฐสำหรับเชื่อมต่อ. ธิดา-

เศรษฐีจึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่านจงวางอิฐของเราก้อนนี้ลงในที่นี้.

นายช่างกล่าวว่า แม่นาง ท่านมาได้เวลาพอดี ท่านจงวางด้วยตัวเองเถิด.

นางจึงขึ้นไปเอาน้ำมันเคลือบก้อนหรดาลและมโนศิลาแล้ว เอาเครื่อง-

เชื่อมนั้นตั้งติดอิฐ. แล้วทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำนั้นในเบื้องบน

ไหว้แล้วทำความปรารถนาว่า ในที่ที่เกิดแล้ว ๆ ขอให้กลิ่นจันทน์ฟุ้งออก

จากกายของข้าพเจ้า ขอให้กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก เสร็จแล้วไหว้พระ-

เจดีย์ กระทำประทักษิณแล้วได้กลับไปเรือน ขณะนั้นเอง สติปรารภถึง

นางเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีผู้ที่นำนางไปเรือนครั้งแรก. แม้ในพระนคร

ก็มีการป่าวร้องการนักขัตฤกษ์. บุตรเศรษฐีนั้นกล่าวกะพวกอุปัฏฐากว่า

ธิดาเศรษฐีที่นำมาที่นี้ อยู่ไหน. พวกอุปัฏฐากกล่าวว่า อยู่ที่เรือนของ

ตระกูลครับนาย. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงไปนำนางมา เราจัก

เล่นนักขัตฤกษ์. อุปัฏฐากเหล่านั้นไปไหว้นางแล้วยืนอยู่. ผู้อันนางถามว่า

นี่แนะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน จึงพากันบอกเรื่องราวนั้นแก่

นาง. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาสิ่งของเครื่องประดับบูชาพระ-

เจดีย์เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้น จึงไปบอกแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

บุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนำนางมาเถอะ นางจัก

ได้เครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงนำนางมา. พร้อมกับให้นางเข้าไป

ยังเรือน กลิ่นจันทน์และกลิ่นอุบลฟุ้งไปตลอดทั้งเรือน. บุตรเศรษฐีถาม

นางว่า นางผู้เจริญ ทีแรก กลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ แต่

บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก,

นี่อะไรกัน ? นางจึงบอกกรรมที่ตนกระทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีคิดว่า

พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์หนอ จึงเลื่อมใส ให้เอาเสื้อ

ที่ทำด้วยผ้ากัมพลหุ้มพระเจดีย์ทองอันสูงหนึ่งโยชน์ แล้วได้ประดับประดา

ด้วยปทุมทอง ขนาดเท่าล้อรถในที่นั้น ๆ เหล่าปทุมทองที่ห้อยมี

ประมาณ ๑๒ ศอก.

บุตรเศรษฐีนั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพ

นั้นไปบังเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์นั้นอีก แล้วมาบังเกิดในตระกูล

อำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์จากนครพาราณสี. ส่วน

ภรรยาของเขาจุติจากเทวโลกเกิดเป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ในราชสกุล

เมื่อคนทั้งสองนั้นถึงความเจริญวัยแล้ว เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ในบ้าน

ที่อยู่ของกุมาร. กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน

ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาจึงได้นำผ้าที่ซักแล้วมาให้. กุมารกล่าว

ว่า แม่จ๋า ผ้าผืนนี้หยาบ. มารดาจึงได้นำผ้าผืนอื่นมาให้. แม้ผ้าผืนนั้น

เขาก็ปฏิเสธเสีย. ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า นี่แน่ะพ่อ พวกเราเกิด

ในเรือนเช่นไร พวกเราไม่มีบุญเพื่อจะได้ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้. กุมาร

กล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย

แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้ราชสมบัติในนครพาราณสี ในวันนี้ทีเดียว. กุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. มารดากล่าวว่า ไปเถอะพ่อ. ก็

กุมารนั้นออกไปตามกำหนดของบุญ ไปถึงนครพาราณสี แล้วนอน

คลุมโปงอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลในอุทยาน. ก็วันนั้นเป็นวันที่ ๗

ที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคต.

อำมาตย์ทั่งหลายทำการถวายพระเพลิงแล้ว นั่งอยู่ที่พระลานหลวง

ปรึกษากันว่า พระราชาทรงมีแต่พระธิดาองค์เดียว ไม่มีพระโอรส

ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครควรเป็นพระราชา. พวกอำมาตย์

ต่างกล่าวว่า ท่านจงเป็น ท่านจงเป็น. ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก

พวกเราจักปล่อยผุสสรถ. อำมาตย์เหล่านั้นจึงเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสี

ดังดอกโกมุท แล้ววางราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง และเศวตฉัตรไว้บนผุสส-

รถนั้น แล้วปล่อยรถไป ให้ประโคมดนตรีตามหลังไป รถออกทางประตู

ด้านทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปยังอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถ

บ่ายหน้ามุ่งไปอุทยาน เพราะความคุ้นเคย พวกเราจงให้รถกลับ. ปุโรหิต

กล่าวว่า พวกท่านอย่าให้รถกลับ. รถไปกระทำประทักษิณกุมารแล้วทำท่า

จะเกยขึ้นก็หยุดอยู่. ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่มตรวจดูพื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้

จงยกไว้ ผู้นี้สมควรครองราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพัน

เป็นบริวาร แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรี แล้วให้ประโคม

ดนตรี ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูอยู่พลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพากัน

มาด้วยกรรมอะไร. อำมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ราชสมบัติถึงแก่

พระองค์. กุมารกล่าวว่า พระราชาของพวกท่านไปไหน. พวกอำมาตย์

กล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาเสด็จไปสู่ความเป็นเทวดาเสียแล้ว. กุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

กล่าวว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์. วันนี้เป็นวันที่ ๗. กุมาร. พระโอรส

หรือพระธิดาไม่มีหรือ. พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ พระธิดามี, พระโอรส

ไม่มี. กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักครองราชสมบัติ. อำมาตย์

เหล่านั้นจึงให้สร้างมณฑปสำหรับอภิเษกขึ้นในทันใดนั้น แล้วประดับ-

ประดาพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง พาไปอุทยาน ได้กระทำ

การอภิเษกแก่กุมาร. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงนำผ้ามีค่าแสนหนึ่ง

เข้าไปเพื่อกุมารผู้ทำการอภิเษกแล้ว. พระกุมารตรัสว่า พ่อทั้งหลาย นี้

อะไรกัน.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะห ผ้าสำหรับนุ่ง.

พระกุมาร. พ่อทั้งหลาย ผ้าเนื้อหยาบมิใช่หรือ.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ บรรดาผ้าสำหรับใช้สอยของมนุษย์ ผ้า

ที่เนื้อนุ่มกว่านี้ไม่มี.

พระกุมาร. พระราชาของท่านทั้งหลาย ทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ พระเจ้าข้า.

พระกุมารตรัสว่า พระราชาของท่านทั้งหลาย เห็นจะไม่มีบุญ แล้ว

ให้นำพระสุวรรณภิงคารมาด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงนำสุวรรณ-

ภิงคารมา เราจักได้ผ้า แล้วเสด็จลุกขึ้นไปล้างพระหัตถ์ บ้วนพระโอฐ

แล้วเอาพระหัตถ์วักน้ำประพรมไปในทิศตะวันออก ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น

ชำแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้น. ทรงวักน้ำประพรมไปในทิศใต้ ทิศตะวันตก

และทิศเหนืออีก รวมความว่าทรงประพรมไปทั้ง ๔ ทิศ. ต้นกัลปพฤกษ์

๓๒ ต้น ผุดขึ้น โดยทำให้มีทิศละ ๘ ต้น ๆ ในทิศทั้งปวง. พระกุมาร

นั้นทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

เที่ยวตีกลองป่าวร้องอย่างนี้ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช สตรี

ทั่งหลายผู้กรอด้าย อย่ากรอด้ายเลย แล้วให้ยกฉัตร ประดับตกแต่งเสด็จ

ไปบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหา-

สมบัติอยู่.

เมื่อเวลาดำเนินไปอยู่อย่างนี้ พระเทวีเห็นสมบัติของพระราชาแล้ว

ทรงแสดงอาการของผู้มีความสงสารว่า โอ น่าสงสารหนอ ท่านผู้มีตบะ,

ถูกพระราชาตรัสถามว่า เทวี นี้อะไรกัน ? จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ สมบัติของ

พระองค์ใหญ่ยิ่งนัก ผลแห่งกรรมดีที่พระองค์ทรงเชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

แล้วกระทำไว้ในอดีต แต่เดี๋ยวนี้ พระองค์ไม่ทรงกระทำบุญอันเป็นปัจจัย

แก่อนาคต.

พระราชาตรัสว่า เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า

เทวะ ชมพูทวีปไม่สูญจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. เทวะ ขอพระองค์จง

ตระเตรียมทานไว้ หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์.

ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศ

ตะวันออก. พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ นอนพังพาบ

บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ปราสาทชั้นบน แล้วกล่าวว่า ถ้าพระ-

อรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ ขอจงมารับภิกษาของข้าพเจ้าทั้งหลาย

ในทิศนั้น ไม่มีพระอรหันต์ จึงได้ประทานสักการะนั้นแก่คนกำพร้าและ

ยาจกทั้งหลาย.

ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศใต้ ไม่ได้พระ-

ทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้นแหละ. แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ทรงตระเตรียมไว้

ที่ประตูด้านทิศตะวันตก ก็ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้นนั่น-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

แหละ. แต่ในวันที่ได้ตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศเหนือ เมื่อพระเทวี

นิมนต์เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็น

พี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ผู้เป็นโอรสของพระนางปทุมวดี ซึ่ง

อยู่ในหิมวันตประเทศ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นน้องชายมาว่า

ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระเจ้านันทราชนิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว

ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาตแล้ว เหาะมาทางอากาศลงที่ประตูด้าน

ทิศเหนือ. คนทั้งหลายเห็นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่

เทวะ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์มาแล้ว.

พระราชาพร้อมกับพระเทวีพากันไปไหว้แล้วนำขึ้นสู่ปราสาท ถวาย

ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ณ ปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตกิจ

พระราชาทรงหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆเถระ พระเทวีทรงหมอบลง

แทบเท้าพระสังฆนวกะ แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลายจักไม่ลำบากเรื่องปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ

ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้าทั่งหลาย เพื่อจะอยู่ในที่นี้ตลอด-

ชั่วอายุ. ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทำปฏิญญาแล้ว ทำที่อยู่อาศัยให้

พร้อมเสร็จด้วยอาการทุกอย่าง คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ ใน

พระอุทยาน แล้วให้อยู่ในที่นั้น.

เมื่อกาลเวลาล่วงไปอย่างนี้ เมื่อปัจจันตชนบทของพระราชาเกิด

จลาจลขึ้น พระราชาตรัสว่า เราจะไปปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบ

ราบคาบ เธออย่าประมาทพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายดังนี้ ทรงโอวาท

พระเทวีแล้วเสด็จไป. เมื่อพระราชายังไม่ทันจะเสด็จกลับมา อายุสังขาร

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สิ้นไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดนั่นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

ปรินิพพานแล้ว ด้วยประการดังนี้ คือ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า

เล่นฌานอยู่ตลอดยามสามแห่งราตรี ในเวลาอรุณขึ้น ได้ยืนเหนี่ยวแผ่น

กระดานสำหรับเหนี่ยว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฝ่าย

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือ ก็ปรินิพพานโดยอุบายนั้น. วันรุ่งขึ้น

พระเทวีจัดแจงที่นั่งสำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโปรยดอกไม้

อบธูป ประทับนั่งแลดูการมาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นไม่

เห็นมา จึงส่งพวกบุรุษไปด้วยพระดำรัสว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจงไป จงรู้พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่ผาสุกอย่างไร. บุรุษเหล่านั้น

พากันไป แล้วเปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุม เมื่อไม่เห็นท่าน

ในที่นั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับเหนี่ยว

จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว. สรีระของท่านผู้ปรินิพพานแล้ว

จักพูดได้อย่างไร. บุรุษเหล่านั้นกล่าวว่า เห็นจะหลับ จึงเอามือลูบที่

หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสองเย็นและแข็ง จึงไปยัง

สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สอง รู้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงไป

ยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สาม เขาแม้ทั้งหมดรู้ว่าท่านปริ-

นิพพานแล้ว อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงพากันกลับมายังราชสกุล อัน

พระเทวีตรัสถามว่า พ่อทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าไปไหน จึงกราบทูล

ว่า ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า. พระเทวีทรงกันแสงคร่ำครวญ เสด็จ

ออกไป ณ ที่นั้นพร้อมกับพวกชาวเมือง ทรงให้การทำสาธุกีฬา แล้วทรง

ให้ทำฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วให้เอาพระธาตุ

ทั้งหลายมาก่อพระเจดีย์ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

พระราชาทรงปราบปรามปัจ จันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จ

กลับมา จึงตรัสถามพระเทวีผู้เสด็จมาต้อนรับว่า พระนางผู้เจริญ เธอ

ไม่ประมาทในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

สบายดีหรือ. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

ปรินิพานเสียแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า ความตายยัง

เกิดขึ้นแก่บัณฑิตทั้งหลายแม้เห็นปานนี้ ความพ้นจากความตาย จักมี

แก่พวกเรามาแต่ไหน. พระองค์ไม่เสด็จเข้าพระนคร เสด็จไปยังพระ-

อุทยานทันที แล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มา ทรงมอบราชสมบัติ

ให้แก่พระโอรสนั้นแล้ว ทรงผนวชเป็นสมณะด้วยพระองค์เอง. ฝ่าย

พระเทวีทรงดำริว่า เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไร จึง

ทรงผนวชในพระอุทยานเหมือนอย่างนั้นแหละ. ทั้งสองพระองค์ทรง

ทำฌานให้เกิดแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ไปบังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้น อยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแหละ

พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรม-

จักรอันบวรแล้ว เสด็จถึงนครราชคฤห์โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาเสด็จ

อาศัยอยู่ในนครราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้บังเกิดในท้องของภรรยา

กบิลพราหมณ์ ในพราหมณคามชื่อว่ามหาติตถะ. นางภัททกาปิลานี นี้

บังเกิดในท้องของภรรยาพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร แคว้น

มัททราฐ. เมื่อคนทั้งสองนั้นเติบโตโดยลำดับ เมื่อปิปผลิมาณพบรรลุวัย

ที่ ๒๐ นางภัททาบรรลุวันที่ ๑๖ บิดามารดาแลดูบุตรแล้วจึงคาดคั้นว่า

นี่แน่ะพ่อ เจ้าก็เจริญวัยแล้ว สมควรดำรงวงศ์สกุล. มาณพกล่าวว่า

คุณพ่อคุณแม่ อย่าได้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ในคลองแห่งโสตของผมเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

กระผมจักปฏิบัติทราบเท่าที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่

ล่วงลับไปแล้ว กระผมจักออกบวช. ล่วงไปได้ ๒-๓ วัน บิดามารดา

ก็กล่าวอีก. ฝ่ายมาณพนั้นก็ปฏิเสธอีก. ตั้งแต่นั้น มารดาคงกล่าวอยู่

เนือง ๆ ทีเดียว.

มาณพคิดว่า จักให้มารดายินยอม จึงให้ทองคำสีสุกปลั่งพันลิ่ม

แล้วให้พวกช่างทองทำรูปหญิง ในเวลาเสร็จกรรมมีการขัดและการบุรูป

นั้นเป็นต้น จึงให้รูปนั้นนุ่งผ้าแดง ให้ประดับดอกไม้และเครื่องอลังการ

ต่าง ๆ อัน เพียบพร้อมไปด้วยทอง แล้วกล่าวว่า คุณแม่ ผมได้อารมณ์

เห็นปานนี้จึงจักอยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้ก็จักไม่อยู่. นางพราหมณีผู้มี

ปัญญาคิดว่า บุตรของเรามีบุญ ได้ให้ทานสร้างอภินีหารไว้แล้ว เมื่อ

ทำบุญทั้งหลายในชาติก่อน คงจะไม่ได้ทำคนเดียว. หญิงผู้ทำบุญร่วมกับ

บุตรของเรานี้ จักเป็นหญิงเปรียบปานรูปทองเป็นแน่. นางจึงให้เชิญ

พราหมณ์ ๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยโภคะทั้งปวงแล้ว ยกรูปทอง

ขึ้นบนรถ แล้วส่งไปด้วยคำว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงพากันไป เห็น

ทาริกาเห็นปานนี้ ในตระกูลที่มีชาติ โคตร และโภคะ เป็นต้น เสมอกัน

กับเราทั้งหลายในที่ใด จงให้รูปทองนี้แหละให้เป็นอาการแสดงความ

สัตย์จริงไว้ในที่นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้นพากันออกไปด้วยคิดว่า นี่เป็นการงานของพวก

เรา แล้วปรึกษากันว่า พวกเราจักได้ที่ไหน ขึ้นชื่อว่ามัททราฐเป็น

ตำหนักฝ่ายใน พวกเราจักไปยังมัททราฐ แล้วได้ไปยังสาคลนครใน

มัททราฐ. ตั้งรูปทองนั้นไว้ที่ท่าสำหรับอาบน้ำ ในแคว้นมัททราฐนั้น

แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น แม่นมของนางภัททาให้นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

ภัตทาอาบน้ำ แต่งตัวแล้ว ตนเองไปท่าน้ำเพื่อจะอาบ เห็นรูปทองจึงคิด

ว่า แม่ภัททานี้แนะนำไม่ได้ มายืนอยู่ที่นี้เพื่ออะไร จึงตีที่ข้างหลัง รู้ว่า

เป็นรูปทองจึงกล่าวว่า เราทำความสำคัญให้เกิดขึ้นว่า เป็นธิดาแห่งเเม่

เจ้าของเรา หญิงนี้ เมื่อธิดาแห่งแม่เจ้าแม้รับเอาผ้านุ่งแล้ว ก็จะไม่

เหมือน. ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงถามแม่นมนั้นว่า ได้ยินว่า ธิดา

แห่งนายของท่านเห็นปานนี้. แม่นมนั้นกล่าวว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา

เป็นหญิงมีรูปงามกว่ารูปเปรียบทองนี้ ร้อยเท่า พันเท่า จริงอย่างนั้น

เธอนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก แม้จะไม่มีประทีป ก็กำจัดความมืด

ได้ด้วยแสงสว่างจากร่างกาย. พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรา

ทั้งหลายจะไปยังสำนักแห่งบิดามารดาของนาง แล้วยกรูปทองขึ้นรถตาม

แม่นมนั้นไป แล้วยืนอยู่ที่ประตูเรือนให้บอกถึงการมา.

พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมาจากไหน ?.

พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เราทั้งหลายมาจากเรือนของกบิลพราหมณ์

ณ บ้านมหาติตถคามในแคว้นมคธ ด้วยเหตุชื่อนี้. พราหมณ์กล่าวว่า ดีละ

พ่อ พราหมณ์นั้นมีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติเสมอกับเรา เราจักให้

ทาริกา แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้. พราหมณ์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่

กบิลพราหมณ์ว่า ทาริกาชื่อว่าภัททา พวกเราได้แล้ว ท่านจงรู้กิจที่ควร

กระทำต่อไป. บิดามารดาได้ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงบอกแก่ปิปผลิมาณพว่า

ได้นางทาริกาแล้ว. ปิปผลิมาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ พราหมณ์

เหล่านี้ส่งข่าวมาว่าได้แล้ว, เราไม่มีความต้องการ จักส่งหนังสือไป แล้ว

ไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้สามีผู้สมควรแก่ชาติโคตรและ

โภคทรัพย์ของตนเถิด เราจักออกบวช ท่านอย่าได้ร้อนใจในภายหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ฝ่ายนางภัททาได้ฟังว่า นัยว่า บิดามารดาประสงค์จะให้เราแก่ผู้โน้น จึง

ไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า ลูกเจ้าจงได้ทาริกาผู้เหมาะสมแก่ชาติโคตร

และโภคทรัพย์ของตน เราจักบวช ท่านจงอย่าได้ร้อนใจภายหลัง. หนังสือ

ทั้งสองฉบับมาประจวบกันระหว่างทาง. พวกนางภัททาถามว่า นี้หนังสือ

ของใคร. พวกปิปผลิมาณพตอบว่า หนังสือนี้ปิปผลิมาณพส่งไปให้

นางภัททา. เมื่อพวกปิปผลิมาณพกล่าวว่า นี้หนังสือของใคร และเมื่อ

พวกนางภัตทากล่าวว่า หนังสือนี้นางภัททาส่งไปให้ปิปผลิมาณพ คน

เหล่านั้นจงอ่านหนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวกันว่า ท่านทั้งหลายจงดูการ

การทำของพวกเด็ก ๆ ดังนี้ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า แล้วเขียนหนังสือฉบับ

อื่นซึ่งเสมอเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปทั้งข้างนี้และข้างนี้. ดังนั้น

หนังสือของกุมารและกุมาริกาจึงเหมือนกัน เป็นหนังสือเอื้อเฟื้อและ

เกื้อกูลแก่ทางโลกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้นแม้จะไม่ต้องการ

ก็ได้มาร่วมกัน.

ในวันนั้นเอง ฝ่ายปิปผลินาณพก็ให้นางภัททาถือดอกไม้พวงหนึ่ง.

ฝ่ายนางภัททาก็วางดอกไม้เหล่านั้นไว้ท่ามกลางที่นอน. คนทั้งสองบริโภค

อาหารเย็นแล้วเริ่มเข้านอน. ในสองคนนั้น มาณพขึ้นที่นอนทางด้านขวา

นางภัททาขึ้นทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า พวกเราจักรู้ชัดแจ้งว่า ดอกไม้

ในด้านของผู้ใดเหี่ยว ราคะจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ใคร ๆ ไม่พึงติด

พวงดอกไม้นี้. ก็คนทั้งสองนั้นไม่หลับเลยตลอดราตรีทั้งสิ้น เพราะกลัว

จะถูกต้องร่างกายของกันและกัน ให้เวลาล่วงไปแล้ว. ก็ในเวลากลางวัน

แม้แต่ความยิ้มแย้มก็ไม่ได้กระทำ. คนทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันด้วยอามิส

ทางโลก ไม่จัดแจงการงานตราบเท่าที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

มารดากระทำกาละแล้ว จึงจัดแจง. สมบัติของมาณพมีมากมาย. ผงทองคำ

ที่เขาเพิกออกจากร่างกายแล้วทิ้งไปในวันหนึ่งเท่านั้น ควรได้ประมาณ

๑๒ ทะนาน โดยทะนานมคธ. มาณพมีบึงใหญ่ติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง

มีเนื้อที่ทำงาน ๒ โยชน์ มีบ้าน ๔ บ้าน ขนาดเมืองอนุราธปุระ มี

พลช้าง ๑๔ กอง พลม้า ๑๔ กอง และพลรถ ๑๔ กอง.

วันหนึ่ง เขาขี่ม้าตัวที่ประดับแล้วอันมหาชนแวดล้อม ไปยังสถาน

ที่ทำการงานยืนอยู่ปลายนา เห็นพวกนกมีกาเป็นต้น ดึงสัตว์ทั้งหลาย

มีไส้เดือนเป็นต้น ขึ้นมาจากที่แบะออกด้วยไถแล้วกินอยู่ จึงถามว่า พ่อ

ทั้งหลาย นกเหล่านี้กินอะไร. บริวารชนบอกว่า ข้าแต่เจ้า มันกินไส้เดือน.

มาณพกล่าวว่า บาปที่พวกนกทำจะมีแก่ใคร. บริวารชนตอบว่า ข้าแต่เจ้า

จะมีแก่ท่าน. เขาจึงคิดว่า ถ้าบาปที่นกเหล่านี้ทำมีแก่เราละก็ ทรัพย์

๘๗ โกฏิจักทำอะไรแก่เรา การงาน ๑๒ โยชน์ จักทำอะไร บึงติด

เครื่องยนต์จักทำอะไร และบ้าน ๑๔ บ้าน จักทำอะไร, เราจักมอบสมบัติ

ทั้งหมดนี้แก่นางภัตทาถาปิลานี แล้วจักออกบวช.

ขณะนั้น นางภัททากาปิลานีหว่านเมล็ดงา ๓ หม้อในระหว่างไร่

พวกแม่นมแวดล้อมนั่งอยู่ เห็นพวกกากินสัตว์ในเมล็ดงา จึงถามว่า

แม่ทั้งหลาย กาเหล่านี้กินอะไร ? พวกแม่นมกล่าวว่า กินสัตว์จ้ะ แม่เจ้า.

นางภัททาถามว่า อกุศลจะมีแก่ใคร ? พวกแม่นมตอบว่า มีแก่ท่านจะ

แม่เจ้า. นางจึงคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอกและภัตสักว่าข้าวสุกทะนานหนึ่ง

ย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่สัตว์เหล่านี้ทำจะเป็นของเรา แม้พันภพ เราก็ไม่

อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะได้ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึงเท่านั้น เราจักมอบสมบัติ

ทั้งหมดแก่ลูกเจ้าแล้วจักออกบวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

มาณพมาแล้วอาบน้ำขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามาก.

ลำดับนั้น บริวารชนน้อมนำโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิเข้า

ไปให้แก่มาณพ. คนทั้งสองบริโภคแล้ว เมื่อบริวารชนออกไปแล้ว จึง

ไปในที่ลับนั่งในที่ผาสุก.

ลำดับนั้น มาณพจึงกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา เธอเมื่อมา

ยังเรือนนี้ นำทรัพย์มีประมาณเท่าไรมา. นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า นำมา

ห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน. มาณพกล่าวว่า ทรัพย์ทั้งหมดนั้น และสมบัติ

อันมีประเภทอาทิอย่างนี้ คือทรัพย์ ๘๗ โกฏิในเรือนนี้ และบึงติดเครื่อง

ยนต์ ๖๐ บึง ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดนั้น ฉันขอมอบแก่เธอเท่านั้น. นางภัททา

กล่าวว่า ข้าแต่เจ้า ก็ท่านเล่าจะไปไหน. มาณพกล่าวว่า ฉันจักบวช.

นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า แม้ฉันก็นั่งคอยการมาของท่าน แม้ฉัน

ก็จักบวช. ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีใบไม้ถูกไฟติด

ทั่วแล้วฉะนั้น. คนทั้งสองนั้นกล่าวว่า เราทั้งสองจักบวช จึงให้คนไป

นำจีวรที่ย้อมด้วยรสน้ำฝาด และบาตรดินมาจากร้านตลาด แล้วให้กัน

และกันปลงผมแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใดมีอยู่ในโลก เราทั้งหลาย

บวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้นดังนี้ แล้วบวช ใส่บาตรในถุงคล้องที่ไหล่

แล้วลงจากปราสาท. บรรดาทาสและกรรมกรในเรือน ใคร ๆ

จำไม่ได้.

ครั้งนั้น คนทั้งสองนั้นออกจากบ้านพราหมณ์ไปทางประตูบ้านทาส

พวกชาวบ้านทาสจำได้ ด้วยอำนาจอาการและท่าทาง. ทาสเหล่านั้นร้องไห้

หมอบลงที่เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เหตุไรท่านทั้งหลายจึงกระทำพวก

ข้าพเจ้าให้เป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้. คนทั้งสองกล่าวว่า นี่แน่ะพนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

เราทั้งสองบวชด้วยเห็นว่า ภพทั้งสามเป็นประดุจบรรณศาลาอันไฟติด

ทั่วแล้ว ถ้าเราทั้งสองจะทำท่านทั้งหลาย แต่ละคนให้เป็นไทไซร้ แม้

ร้อยปีก็ไม่พอ ท่านทั้งหลายจงชำระศีรษะของพวกท่าน แล้วจงเป็นไทเลี้ยง

ชีวิตอยู่เถิด เมื่อทาสเหล่านั้นร้องไห้อยู่นั่นแหละได้พากันหลีกไปแล้ว.

พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมามองดู พลางคิดว่า นางภัททา-

กาปิลานีนี้ เป็นหญิงมีค่าควรแก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้างหลังเรา.

ก็ข้อที่ใคร ๆ จะพึงคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านั้นแม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจเว้น

จากกัน การทำกรรมอันไม่สมควร เป็นฐานะที่จะมีได้. จึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า ใคร ๆ พึงประทุษร้ายด้วยใจอันลามกอย่างนี้แล้ว พึงทำ

อบายให้เต็ม ดังนี้ พลางเดินไปข้างหน้า เห็นทางสองแพร่ง จึงได้

หยุดอยู่ที่ต้นทางนั้น . ฝ่ายนางภัททามาถึงจึงไหว้แล้วได้ยืนอยู่.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา มหาชน

เห็นหญิงผู้เช่นท่านเดินมาข้างหลังเรา มีจิตคิดประทุษร้ายในพวกเราว่า

คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้นจากกัน จะพึงเป็นผู้ยังอบายให้เต็ม.

ในทางสองแพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางหนึ่ง เราจักไปโดยทางหนึ่ง.

นางภัททากล่าวว่า เจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มาตุคามเป็นปลิโพธ

กังวลของบรรพชิตทั้งหลาย, คนทั้งหลายจะพึงแสดงโทษแก่พวกเราว่า

คนเหล่านี้แม้บวชแล้วก็ไม่เว้นจากกัน ดังนี้แล้ว ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง

ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง แล้วประคองอัญชลีอันรุ่งเรือง

ด้วยการประชุมนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมโดยความเป็น

มิตรที่ทำไว้ในกาลนานประมาณแสนกัป แตกในวันนี้ ท่านนั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ชื่อว่าเป็นเบื้องขวา ทางขวาย่อมควรแก่ท่าน ดิฉันชื่อว่ามาตุคาม เป็น

ผู้มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายย่อมควรแก่ดิฉัน ดังนี้ จึงไหว้แล้วเดินทางไป.

ในเวลาที่ชนทั้งสองนั้นเป็นสองฝ่าย มหาปฐพีนี้ได้ไหวครวญครางประ-

หนึ่งจะกล่าวว่า เราแม้สามารถรองรับเขาจักรวาลและเขาสิเนรุเป็นต้น

ก็ไม่สามารถรองรับคุณทั้งหลายของท่านทั้งสองได้. เหมือนเสียงสายฟ้า

ดังอยู่ในอากาศ เขาจักรวาลบันลือลั่น.

ฝ่ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี ในพระ-

เวฬุวันมหาวิหาร ทรงสดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงรำพึงว่า ปฐพีไหวเพื่อ

อะไรหนอ ทรงทราบว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททากาปิลานี ละสมบัติ

ประมาณไม่ได้ บวชอุทิศเรา, เพราะกำลังแห่งคุณความดีของตนทั้งสอง

การไหวแห่งปฐพีนี้จึงเกิดในที่ที่คนทั้งสองนั้นพรากจากกัน, แม้เราก็ควร

ทำการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงถือบาตร

และจีวรเอง ไม่บอกใคร ๆ ในบรรดาพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ทรงทำ

การต้อนรับสิ้นหนทาง ๓ คาวุต ทรงนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ควงไม้พหุปุตต-

นิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ก็พระองค์ประทับนั่ง

มิได้ทรงนั่งอย่างภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศ

ของพระพุทธเจ้า แล้วประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีประมาณ ๘๐ ศอก.

ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีขนาดเท่าร่มใบไม้ ล้อเกวียน และเรือนยอดเป็น

ต้น แผ่ฉวัดเฉวียนไปรอบ ๆ กระทำให้เหมือนเวลาที่พระจันทร์พันดวง

และพระอาทิตย์พันดวงขึ้นอยู่ฉะนั้น ได้ทำระหว่างป่านั้นให้มีแสงสว่าง

เป็นอันเดียวกัน. ระหว่างป่าไพโรจน์ด้วยสิริแห่งพระมหาปุริสลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

๓๒ ประการ เหมือนท้องฟ้าไพโรจน์ด้วยหมู่ดาวอันโชติช่วง และเหมือน

น่าไพโรจน์ด้วยกอบัวอันบานสะพรั่งฉะนั้น. ตามปกติลำต้นนิโครธขาว

ใบเขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธทั้งต้น ได้มีสีเหมือนสีทองไป

หมดทั้งต้น.

พระมหากัสสปเถระเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ผู้นี้จักเป็นพระศาสดาของ

เราทั้งหลาย เราบวชอุทิศพระศาสดาพระองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินไป

จำเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไหว้ในที่ ๓ แห่งแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์

เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของ

ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะพระมหากัสสปเถระนั้นว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าเธอพึงทำความเคารพ

นับถือนี้แก่แผ่นดิน แผ่นดินแม้นั้นก็ไม่พึงอาจรองรับไว้ได้ ความเคารพ

นับถืออันเธอผู้รู้ความที่พระตถาคตเป็นผู้มีคุณมากอย่างนี้กระทำแล้ว ย่อม

ไม่อาจทำแม้ขนของเราให้ไหว ดูก่อนกัสสป เธอจงนั่ง เราจะให้ทรัพย์

มรดกแก่เธอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทแก่พระมหา-

กัสสปเถระนั้น ด้วยโอวาท ๓ ข้อ. ก็ครั้นให้แล้วจึงเสด็จออกจากควงไม้

พหุปุตตนิโครธ ทรงทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะแล้วทรงเดินทางไป.

พระสรีระของพระองค์งดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ของ

พระมหากัสสปปะดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ, พระเถระนั้น

ติดตามรอยพระบาทของพระศาสดา เหมือนเอาเรือทองพ่วงไปฉะนั้น.

พระศาสดาเสด็จไปตามทางได้หน่อยหนึ่ง แล้วทรงแวะลงจากทาง ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

แสดงพระอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระรู้ว่า พระศาสดา

ประสงค์จะประทับนั่ง จึงลาดสังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าของคน ทำให้เป็น

๔ ชั้น.

พระศาสดาประทับนั่งบนสังฆาฏินั้น เอาพระหัตถ์ลูบคลำผ้าพลาง

ตรัสว่า กัสสป สังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ อ่อนนุ่ม. พระ-

เถระนั้นรู้ว่า พระศาสดาตรัสความที่สังฆาฏิของเราอ่อนนุ่ม จักประสงค์

จะทรงห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงห่มผ้าสังฆาฏิเถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอจักห่ม

อะไร. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อได้

ผ้าสำหรับห่มของพระองค์จึงจักห่ม พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป

ก็เธอจักอาจครองผ้าบังสุกุลอันเก่าเพราะการใช้สอยผืนนี้ได้หรือ เพราะว่า

ในวันที่เราถือเอาผ้าบังสุกุลผืนนี้ มหาปฐพีกระทำน้ำเป็นที่สุดรอบหวั่น-

ไหวแล้ว ธรรมดาว่าจีวรเก่า อันเป็นเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้าผืนนี้

บุคคลผู้มีคุณนิดหน่อยไม่อาจครองได้ จีวรนี้อันภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร

มาแต่กำเนิด ผู้ฉลาดสามารถในการบำเพ็ญปฏิบัติเท่านั้นครอง จึงจะควร

ดังนี้ แล้วทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ครั้นทรงเปลี่ยนจีวรกันอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มจีวร

ของพระเถระ พระเถระห่มจีวรของพระศาสดา. ขณะนั้น มหาปฐพีนี้

แม้จะไม่มีจิตใจ ก็หวั่นไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด ประหนึ่งจะ

พูดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก, ชื่อว่าจีวร

ที่ห่มของพระองค์เคยแลกเปลี่ยนกับสาวก ไม่ได้มีแล้ว ข้าพระองค์ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

อาจรองรับพระคุณของพระองค์ไว้ได้. ฝ่ายพระเถระมิได้ทำความถือตัวว่า

เราได้จีวรเครื่องบริโภคใช้สอยของพระพุทธเจ้า บัดนี้ เราจะทำอะไรให้

ยิ่งขึ้น ได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ ในสำนักของพระศาสดาเท่านั้น ได้เป็น

ปุถุชนอยู่ประมาณ ๗ วัน. ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสรรเสริญพระเถระนั้น โดยนัยมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเปรียบเสมอด้วยพระจันทร์ เข้าไป

ยังตระกูลทั้งหลาย ไม่คะนองกาย ไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์

ไม่เย่อหยิ่งในตระกูลทั้งหลาย ดังนี้, ในกาลต่อมา เมื่อประทับนั่งใน

ท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุ

ทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ และกล่าวสอนธุดงค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้

เลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ทรงธุดงค์ และกล่าวสอนธุดงค์ ดังนี้.

ท่านพระมหากัสสป อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ได้รับความเป็นพระมหาสาวกแล้ว ระลึกถึงบุพ-

กรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติในชาติก่อน ด้วย

ความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ความว่า ได้ยิน

ว่า จำเดิมแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จออกจากพระครรภ์ของ

พระมารดา ในสมัยที่ย่างพระบาท ปทุมแสนกลีบทำลายแผ่นดินผุดขึ้น

ณ พระบาทที่ทรงเหยียบแล้ว ๆ เพราะฉะนั้น คำว่า ปทุมุตฺตรสฺส นั้น

จึงได้เป็นพระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

เพราะสัตว์หนึ่ง ๆ ในบรรดาสัตตนิกายทั้งสิ้น กระทำบุญคนละร้อย

(พระองค์) ทรงกระทำบุญได้ร้อยเท่าของบุญนั้น.

บทว่า โลกเชฏฺสฺส ตาทิโน ความว่า ผู้เป็นประธานของสัตว์-

โลก ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะทรงถึงความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์.

บทว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ปรินิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน อธิบายว่า

เสด็จไปสู่ที่แลไม่เห็น.

ด้วยบทว่า ปูช กุพฺพนฺติ สตฺถุโน นี้ เชื่อมความว่า เล่นสาธุกีฬา

กระทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ใดพระนามว่า พระศาสดา เพราะ

ทรงสั่งสอนชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ด้วยบทว่า อคฺคึ จินนฺตี ชนตา นี้ เชื่อมความว่า หมู่ชนก่อไฟ

ทำให้เป็นกองเพื่อต้องการจะเผา ร่าเริง ยินดี โดยทั่วกัน คือโดยรอบๆ

ร่าเริง ยินดี โดยปการะคือแต่ละอย่าง ๆ กระทำบูชาอยู่.

บทว่า เตสุ สเวคชาเตสุ ความว่า เมื่อหมู่ชนเหล่านั้นถึงความ

สังเวช ได้ความสะดุ้ง ความปีติ คือความร่าเริงเกิดขึ้น คือปรากฏแก่เรา.

บทว่า าติมิตฺเต สมาเนตฺวา ความว่า ประชุมเผ่าพันธุ์และสหาย

ของเรา คือทำให้เป็นกลุ่ม. เชื่อมความว่า เราได้กล่าว คือพูดคำนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่หลวงปรินิพพานแล้ว คือได้เสด็จ

ไปสู่ที่ที่ไม่เห็นแล้ว.

ศัพท์ว่า หนฺท ในคำว่า หนฺท ปูช กโรม เส นี้ เป็นนิบาตบอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

อรรถ คือการสละ. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น พวกเราทุกคนผู้มาประชุม

กัน จงทำการบูชา. ศัพท์ว่า เส เป็นนิบาต.

บทว่า สาธูติ เต ปฏิสฺสุตฺวา ความว่า ญาติและมิตรของเรา

เหล่านั้น ฟังตอบแล้ว คือรับคำเราว่า สาธุ คือดี ได้แก่ เจริญ ทำ

ความร่าเริง คือปีติ อย่างยิ่ง คืออย่างเหลือล้นให้เกิดแล้ว คือให้เกิดขึ้น

แล้วแก่เรา.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงการก่อสร้างบุญที่ตนได้ทำไว้ จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า พุทฺธสฺมึ โลกนาถมฺหิ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เรา

สร้างเอง และให้คนอื่นสร้างเจดีย์อันพุ่งขึ้น คือสูงขึ้น ๑๐๐ ศอก กว้าง

๑๕๐ ศอก สูงขึ้นในท้องฟ้าคือในอากาศดุจวิมาน ให้เป็นการสร้างอย่างดี

คือให้เป็นการสร้างด้วยอาการอันดี มีค่า แล้วกระทำ คือได้กระทำการ

สะสมบุญ ได้แก่บุญราศีคือกองบุญ.

บทว่า กตฺวาน อคฺฆิย ตตฺถ ความว่า ทำเองและให้คนอื่นทำให้

มีค่าวิจิตร คืองดงาม ด้วยถ่องแถวแห่งตาล คือด้วยแนวแห่งต้นตาล

ยังจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาพระเจดีย์ชั้นสูงสุด ด้วยบทว่า เจติย

ปูชยุตฺตม เชื่อมความว่า เราบูชาพระเจดีย์อันสูงสุด คือที่เขาบรรจุพระ-

ธาตุของพระพุทธเจ้าไว้.

เมื่อจะแสดงความใหญ่มหึมาของพระเจดีย์นั้น จึงกล่าวคำว่า

อคฺคิกฺขนฺโธว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิกฺขนฺโธว

เชื่อมความว่า พระเจดีย์นั้นย่อมส่องแสงด้วยรัตนะ ๗ ประการ เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

กองไฟโพลงอยู่ในอากาศ สว่างไสว คือโชติช่วงตลอดจตุรทิศ คือทิศ

ทั้งสี่ เหมือนต้นพญารังบาน คือมีดอกบาน และเหมือนสายรุ้งในอากาศ.

บทว่า ตตฺถ จิตฺต ปสาเทตฺวา เชื่อมความว่า เรายังจิตคือใจให้

เลื่อมใส คือทำความโสมนัสในห้องบรรจุพระธาตุอันโชติช่วงอยู่นั้น แล้ว

ทำกุศลคือบุญเป็นอันมาก คือมีประการต่าง ๆ ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิต

นั้น ได้ระลึกถึงบุญกรรมอย่างนี้ว่า เราได้ทำบุญมีประมาณเท่านี้ ในห้อง

บรรจุพระธาตุ และในพระศาสนา ตายแล้วจึงเข้าถึง คือเกิดยังไตรทศ

คือภพดาวดึงส์เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น.

เมื่อจะประกาศสมบัติของคนที่ได้ในเทวโลกที่เกิดขึ้น จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า สหสฺสยุตฺต ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราอยู่ยังยานอันเทียม

ด้วยม้า คือรถทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว. เรามีภพ คือมีวิมาน

สูงตระหง่าน ๗ ชั้น.

อธิบายว่า ในวิมานนั้น ได้มีกูฏาคารพันหลังสำเร็จด้วยทองคำ

ทั้งสิ้น. เชื่อมความว่า ด้วยเดชของตน คือด้วยอานุภาพของตน เรา

ย่อมรุ่งเรือง คือโชติช่วง ทำทิศทั้งปวง คือทั้งสิบทิศให้สว่างไสวอยู่.

ในวิมานที่ปรากฏแก่เรานั้น มีหอคอย คือศาลาหน้ามุขแม้หลังอื่น

อยู่. ศาลาหน้ามุขเป็นอย่างไร ? เชื่อมความว่า ในกาลนั้น หอคอยแม้

เหล่านั้นสำเร็จด้วยทับทิม คือสำเร็จด้วยแก้วมณีแดง โชติช่วงไปตลอด

๔ ทิศ ด้วยแสงสว่าง คือรัศมี.

อธิบายว่า เราครอบงำเทวดาทั้งปวง คือเทวดาในเทวโลก ๖ ชั้น

ทั้งสิ้น. หากจะมีผู้ถามว่า เป็นผลของอะไร ? ขอตอบว่า นี้เป็นผล

แห่งบุญกรรมที่เราทำไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

แต่นั้น เมื่อจะแสดงมนุษย์สมบัติ จึงกล่าวคำว่า สฏฺิกปฺป-

สหสฺสมฺหิ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในที่สุดหกหมื่นกัป

ภายหลังกัปนี้ไป เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่า อุพพิทธะ มีมหาสมุทร ๔

เป็นขอบเขต คือมีมหาทวีป เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะ คือชนะข้าศึกทั้งปวง

ครอบครองแผ่นดิน คือครองราชสมบัติ.

บทว่า ตเถว ภทฺทเก กปฺเป คือในกัปชื่อว่า ภัททกะ เพราะเป็น

กัปที่ประดับด้วยพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์. เชื่อมความในตอนนี้ว่า เราได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในทวีปทั้งสี่ ๓๐ ครั้ง คือ

๓๐ ชาติ สมบูรณ์ คือพรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีจักรรัตนะ

เป็นต้น ยินดีในกรรมของตน คือยินดี ได้แก่ ยึดแน่นอยู่ในกรรมของ

ตน ได้แก่ ทศพิธราชธรรม.

เมื่อจะแสดงสมบัติที่เสวยในคราวที่ตนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จึง

กล่าวคำว่า ตตฺถาปิ ภวน มยฺห ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า

ในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ภพของเรา คือปราสาทของเรา สูง

ขึ้นเหมือนสายรุ้งกินน้ำ คือสูงขึ้นไปโดยชนิดเป็นชั้น ๗ ชั้นเป็นต้น

เหมือนสายฟ้า ตั้งสว่างจ้าอยู่ในอากาศ ว่าโดยส่วนยาว และส่วนสูง

๒๔ โยชน์ ว่าโดยส่วนกว้าง ๑๒ โยชน์.

อธิบายว่า ได้มีนครชื่อว่ารัมมณะ เพราะเป็นที่ติดใจของชน

ทั้งปวง. ท่านแสดงว่า นครที่สมบูรณ์ด้วยกำแพงและเสาระเนียดมั่นคง

สูงประมาณ ๑๒ หรือ ๓๐ ศอก.

ตทฑฺฒก ตัดบทเป็น ตโต อฑฺฒก อธิบายว่า ประมาณ ๒๕๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

โยชน์. บทว่า ปกฺขิตตา ปณฺณวีสตี ความว่า จัดร้านขายของ ๒๐ ร้าน

คือเขตกำหนดถนนคิด ๆ กัน. บทว่า พฺรหมญฺกุลสมฺถูฌต แปลว่า

เกิดในตระกูลพราหมณ์. คำที่เหลือ เข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดัง

กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนามหากัสสปเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

อนุรุทธเถราปทานที่ ๖ (๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป

[๖] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธเชษฐบุรุษ

ของโลก เป็นนระผู้องอาจ ผู้นายกของโลก เสด็จออกเร้น

อยู่.

จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้าผู้นายกของโลก แล้ว

ได้ประคองอัญชลีทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้

องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีป

แก่พระองค์ผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้.

พระสยัมภูผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ทรง

รับคำแล้ว เราจึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ประกอบยนต์ ในกาลนั้น.

ได้ถวายไส้ตะเกียงพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์

ของโลก ประทีปโพลงอยู่ตลอด ๗ วันแล้ว ดับไปเอง.

ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละ

กายมนุษย์แล้วได้เข้าถึงวิมาน.

เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมานอันกุศลบุญนิรมิตไว้

ดีแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ครั้ง เวลานั้นเรามอง

เห็นได้ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน.

ในกาลนั้น เราย่อมไพโรจน์ไปทั่วโยชน์หนึ่งโดยรอบ

ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

เราได้เป็นจอมเทวดา ครองราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๓๐

กัป ใคร ๆ ดูหมิ่นเราไม่ได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

เราได้บรรลุทิพยจักษุในพระพุทธศาสนา ย่อมมองเห็น

ตลอดพันโลกด้วยญาณ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ เสด็จอุบัติใน

สามหมื่นกัปแต่กัปนี้ เรามีจิตผ่องใส ได้ถวายประทีปแก่

พระองค์.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา

ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ-

ฉะนี้แล.

จบอนุรุทธเถราปทาน

๔. พรรณนาอนุรุทธเถราปทาน

คำมีอาทิว่า สุเมธ ภควนฺตาห ดังนี้ เป็นอปทานของท่านพระ-

อนุรุทธเถระ.

แม้ ท่านพระอนุรุทธเถระ นี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไวในพระ-

พุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระ-

นิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ. พอ

เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ไปวิหารฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็น

พระภิกษุรูปหนึ่ง พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย

ผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงยังมหาทานให้เป็นไป

๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้

ถวายผ้าชั้นสูงสุดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทำความ

ปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดา ก็ได้ทรงเห็นความสำเร็จของเขาโดยไม่มี

อันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้เลิศแห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ใน

ศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. แม้เขาก็กระทำ

บุญทั้งหลายในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการ

บูชาด้วยประทีปอันโอฬารที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ ด้วยประทีปต้นและ

ประทีปกระเบื้องกับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุป-

นิสัยแก่ทิพยจักษุญาณ เขากระทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ด้วยประการ

อย่างนี้ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสป บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาในเรือนของกุฎุมพี ณ นคร

พาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด ๑ โยชน์สำเร็จ

แล้ว จึงเอาถาดสำริดจำนวนมากมาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใสอันใสแจ๋ว

และให้วางก้อนน้ำอ้อยงบก้อนหนึ่ง ๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบ

ปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์. ให้เอาถาดสำริดที่คนถือบรรจุด้วย

เนยใสอันใสแจ๋วให้เต็ม จุดไฟพันไส้แล้ววางไว้บนศีรษะ เดินเวียนพระ-

เจดีย์อยู่ตลอดคืน.

ในอัตภาพแม้นั้น ก็กระทำกุศลอย่างนั้นจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

ในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากเทวโลกนั้น

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้บั้งเกิดในตระกูลเข็ญใจ ในนคร-

พาราณสีนั่นแหละ. เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. นายอันนภาระนั้นกระทำ

การงานเลี้ยงชีวิตอยู่ในเรือนของเศรษฐีชื่อว่า สุมนะ. วันหนึ่ง เขาเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้านานว่า อุปริฏฐะ ออกจากนิโรธสมาบัติ เหาะมาจาก

ภูเขาคันธมาทน์ ลงที่ประตูเมืองพาราณสี ห่มจีวรแล้วบิณฑบาตในนคร

มีใจเลื่อมใส จึงรับบาตรแล้วใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งที่เขาเก็บไว้เพื่อประ-

โยชน์แก่ตน เริ่มประสงค์จะถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาของ

เขาก็ใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งของตนลงในบาตรนั้นเหมือนกัน เขาจึงนำ

บาตรนั้นไปวางไว้ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ารับ

บาตรนั้น กระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป.

วันนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐี อนุโมทนาด้วยเสียง

อันดังว่า โอ! ทาน เป็นทานอย่างยิ่ง อันนายอันนภาระประดิษฐานไว้

ดีแล้วในพระอุปริฏฐะ. สุมนเศรษฐีได้ฟังดังนั้นคิดว่า ทานนี้เท่านั้นอัน

เทวดาอนุโมทนาอย่างนี้ ย่อมเป็นอุดมทาน จึงขอส่วนบุญในทานนั้น.

ฝ่ายนายอันนภาระ ก็ได้ให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีนั้น ด้วยเหตุนั้น สุมน-

เศรษฐีจึงมีใจเลื่อมใสให้ทรัพย์เขาพันหนึ่ง แล้วกล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ไป

กิจด้วยการทำการงานด้วยมือของตน ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านจงกระทำ

เรือนให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจำเถิด.

เพราะเหตุที่บิณฑบาต อันบุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออก

จากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบากอันโอฬารในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ได้พาเอานายอันนภาระนั้นไปด้วย.

ฝ่ายพระราชา ทอดพระเนตรดูนายอันนภาระนั้นโดยเอื้อเฟื้อ. เศรษฐี

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายอันนภาระนี้ เป็นผู้ควรจะทอดพระ-

เนตรดูทีเดียว แล้วกราบทูลกรรมที่นายอันนภาระทำในคราวนั้น และ

ความที่แม้ตนก็ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น

ทรงยินดีแก่เขา ได้ประทานทรัพย์พันหนึ่ง แล้วทรงสั่งสถานที่สร้างเรือน

แก่เขาว่า เธอจงสร้างเรือนอยู่ในที่โน้น. เมื่อนายอันนภาระนั้นให้ชำระ

สถานที่นั้นอยู่ หม้อขุมทรัพย์ใหญ่ ๆ หลายหม้อผุดขึ้นแล้ว. เขาเห็น

ดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์ทั้งหมดขึ้นมา

ทรงเห็นเขาทำเป็นกองไว้ จึงตรัสถามว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ มีใน

เรือนของใครในนครนี้บ้าง. ประชาชนพากันกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ในเรือนของใครไม่มี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นาย

อันนภาระนี้ จงเป็นเศรษฐีชื่อว่า อันนภารเศรษฐี ในนครนี้ แล้วทรง

ให้ยกฉัตรเศรษฐีแก่เขาในวันนั้นเอง.

เขาเป็นเศรษฐีแล้วกระทำกรรมอันงามอยู่ชั่วอายุ แล้วบังเกิดใน

เทวโลกท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน ในกาลแห่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น จึงถือปฏิสนธิในวังของพระ-

เจ้าสุกโกทนศากยะในนครกบิลพัสดุ์. พระญาติทั้งหลายได้ขนานนามแก่เขา

ผู้เกิดแล้วว่า อนุรุทธะ เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐภาดาของพระเจ้า

มหานามศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้

ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เป็นผู้มีปัญญามาก. ก็พระกระยาหารของพระองค์

เกิดขึ้นเฉพาะในถาดทองเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาของพระองค์ทรงดำริว่า บุตรของ

เราย่อมไม่รู้บทว่า " ไม่มี " เราจักให้เขารู้ จึงเอาถาดทองใบหนึ่งปิด

ถาดทองเปล่า ๆ ใบหนึ่ง แล้วส่งไปให้แก่เธอ, ในระหว่างทาง เทวดา

ทั้งหลายทำถาดทองนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์. เจ้าอนุรุทธะนั้นมีบุญมาก

อย่างนี้ อันเหล่าหญิงฟ้อนรำผู้ประดับประดาแวดล้อม เสวยสมบัติใหญ่

อยู่ในปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ประดุจเทวดา.

พระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรีในสมัยนั้น บังเกิด

ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงถึง

ความเจริญวัยโดยลำดับ ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน ๒๙ พรรษา แล้วเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรง

ยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ แล้วทรงประกาศพระธรรมจักรที่

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อจะทรงกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลก จึงเสด็จ

ไปยังนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน. ในกาลนั้น พระเจ้า-

สุทโธทนมหาราช ทรงส่งอำมาตย์ ๑๐ คน มีบริวารคนละพันไปด้วย

พระดำรัสว่า ได้ยินว่า บุตรของเราถึงนครราชคฤห์โดยลำดับแล้ว นี่แน่ะ

นาย ท่านทั้งหลายจงไปนำบุตรของเรามา. อำมาตย์เหล่านั้นทั้งหมด

พากันบรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าอันพระอุทายีเถระทูลอาราธนาขอให้เสด็จจาริกไป ทรงแวด-

ล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น เสด็จออกจากนครราชคฤห์ถึงกบิลพัสดุ์บุรี

แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์มิใช่น้อยในสมาคมพระญาติ แล้วตรัสธรรม-

เทศนาอันวิจิตรงดงามด้วยปาฏิหาริย์ ยังมหาชนให้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว ใน-

วันที่สอง ทรงถือบาตรและจีวรประทับยืนที่ประตูพระนคร ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

รำพึงว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เสด็จมาถึงนครของตระกูลแล้ว ทรง

ประพฤติอย่างไรหนอ ทรงทราบว่า ประพฤติเที่ยวบิณฑบาตไปตาม

ลำดับตรอก จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก. พระราชาทรง

ทราบว่า พระโอรสของพระองค์เที่ยวบิณฑบาตจึงรีบด่วนเสด็จมา ได้ทรง

สดับธรรมในระหว่างถนน จึงนิมนต์ให้เสด็จเข้าในนิเวศน์ของพระองค์

ได้ทรงกระทำสักการะสัมมานะใหญ่หลวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ

การอนุเคราะห์พระญาติอันจะพึงทรงกระทำในที่นั้น แล้วทรงให้ราหุล-

กุมารบรรพชา ไม่นานนัก พระองค์เสด็จเที่ยวจาริกจากนครกบิลพัสดุ์

ไปในมัลลรัฐ เสด็จถึงอนุปิยอัมพวัน.

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชรับสั่งให้ประชุมหมู่เจ้าศากยะแล้ว

ตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจักครองเรือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหมู่กษัตริย์เป็นบริวาร, ราหุลกุมารแม้เป็นหลาน

ของเรา ก็จักได้เที่ยวห้อมล้อมบุตรของเราพร้อมกับหมู่กษัตริย์ แม้ท่าน

ทั้งหลายก็ย่อมรู้เรื่องราวอันนี้ ก็บัดนี้ บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

กษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้นจงเป็นบริวารของบุตรของเรา ท่านทั้งหลายจงให้

ทารกคนหนึ่ง ๆ จากตระกูลหนึ่ง ๆ. เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัส

อย่างนี้แล้ว ขัตติยกุมารแปดหมื่นสองพันองค์ พากันบวชพร้อมกัน.

สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะ ทรงเป็นเจ้าทรัพย์ ท้าวเธอจึงเสด็จ

เข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นพระกนิษฐาของพระองค์ แล้วได้ตรัส

คำนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ ศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงปรากฏพากันบวชตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว ก็ใคร ๆ จากตระกูลของพวกเรา ผู้

จะออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ย่อมไม่มี ถ้าอย่างนั้น เธอจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

บวช หรือพี่จักบวช. เจ้าอนุรุทธะได้ฟังดังนั้น ไม่ยินดีในการครองเรือน

มีตนเป็นที่ ๗ ออกจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน. ลำดับแห่งการบรรพชา

ของเจ้าอนุรุทธะนั้น มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะนั่นแล. ก็บรรดาเจ้าศากยะ

เหล่านั้นผู้ไปยังอนุปิยอัมพวันแล้วบวชอย่างนั้น พระภัททิยเถระบรรลุ

พระอรหัตในภายในพรรษานั้นนั่นเอง. พระอนุรุทธเถระทำทิพยจักษุให้

บังเกิด พระเทวทัตทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด พระอานนทเถระตั้งอยู่ใน

พระโสดาปัตติผล พระภคุเถระ และพระกิมพิลเถระ บรรลุพระอรหัตใน

ภายหลัง. อภินิหารแห่งความปรารถนาในชาติก่อน ของพระเถระแม้

ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งในอาคตสถานของตน ๆ. พระอนุรุทธเถระนี้

เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดี แล้วไปยังปาจีน-

วังสทายวัน ในเจติยรัฐ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ตรึกมหาปุริสวิตกได้ ๗

ข้อ ลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘. พระศาสดาทรงทราบว่า พระ-

อนุรุทธะลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ จึงทรงดำริว่า เราจักทำความดำริ

ของอนุรุทธะให้บริบูรณ์ จึงเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธ-

อาสน์ที่เขาลาดไว้ ตรัสอริยวังสปฏิปทาอันประดับด้วยการอบรมสันโดษใน

ปัจจัย ๔ เป็นที่มายินดี ทรงทำมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ แล้ว

เหาะขึ้นสู่อากาศเสด็จไปเฉพาะเภสกลาวันนั่นแล.

พระเถระ พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วเท่านั้น ได้เป็นพระมหา

ขีณาสพมีวิชชา ๓ คิดว่า พระศาสดาทรงทราบใจของเรา จึงได้เสด็จมา

ประทานมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ก็มโนรถของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว

ได้ปรารภพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และปฏิเวธธรรมของตน

จึงได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงรู้ความดำริของเรา

ได้เสด็จเข้าไปหาด้วยพระฤทธิ์ทางกายอันสำเร็จด้วยใจ เรา

ได้มีความดำริในกาลใด ในกาลนั้น ได้ทรงแสดงให้ยิ่งกว่า

นั้น. พระพุทธเจ้าผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า ได้

ทรงแสดงธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า เรารู้ทั่วถึงธรรมของ

พระองค์ ยินดีในพระศาสนาอยู่ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ทรงตั้งพระอนุรุทธเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่า อนุรุทธะเป็นเลิศ

แห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์.

พระอนุรุทธเถระนั้น ครั้นได้ตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์

จากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน

เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติก่อน ด้วยอำนาจความโสมนัส

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุเมธ ภควนฺตาห ดังนี้. ในคำนั่น เชื่อมความว่า

เมธาดีกล่าวคือปัญญาในการให้เข้าไปคอยปฏิบัติ ปัญญาในมรรคผล

ปัญญาในวิปัสสนา และปฏิสัมภิทาเป็นต้น มีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าใด

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่าสุเมธะผู้มีปัญญาดี, เราได้เห็นพระสุเมธะ

นั้นชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงถึงพร้อมด้วยภาคยะคือบุญ ผู้

เจริญที่สุด คือประเสริฐสุด ได้แก่เป็นประธานของโลก คือทรงออกจาก

สงสารก่อน ผู้องอาจคือไปเบื้องหน้าแห่งนรชนทั้งหลาย ผู้หลีกออก

คือเป็นผู้สงัด ได้แก่ผู้ปราศจากความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่.

ความว่า เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ชื่อว่า สัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ทั้งปวงด้วยพระองค์เอง. บทว่า อญฺชลึ ปคฺคเหตฺวาน ความว่า ประนม

นิ้วทั้ง ๑๐ ไว้เหนือศีรษะ. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ทิวา รตฺติญฺจ ปสฺสามิ ความว่า ในกาลนั้น คือในกาล

เกิดขึ้นในเทวโลกและมนุษยโลก เราย่อมมองเห็นได้โยชน์หนึ่งโดยรอบ

ด้วยมังสจักษุ.

บทว่า สหสฺสโลก าเณน ความว่า เราแลเห็นตลอดพันจักรวาล

ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า สตฺถุ สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ณ บัดนี้. นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป คือ

บูชาด้วยประทีป อธิบายว่า ด้วยผลนี้ เราจึงบรรลุ คือได้ทำทิพยจักษุ

ให้เกิดขึ้น.

จบพรรณนาอนุรุทธเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

ปุณณมันตานีปุตตเถราปทานที่ ๗ (๕)

ว่าด้วยผลแห่งการแสดงธรรม

[๗] เราเป็นพราหมณ์ผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พวก

ศิษย์ห้อมล้อม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบุคคล

ชั้นสูงสุด.

พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก ทรงรับ

เครื่องบูชาแล้ว ทรงประกาศกรรมของเราโดยย่อ.

เราได้ฟังธรรมนั้นแล้วถวายอภิวาทพระศาสดา ประคอง

อัญชลี แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศทักษิณหลีกไป.

เราได้ฟังมาโดยย่อ แล้วแสดงได้โดยพิสดาร ศิษย์

ทั้งหมดดีใจฟังเรากล่าวอยู่.

บรรเทาทิฏฐิของตนได้แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระ-

พุทธเจ้า เหมือนเราแม้ฟังโดยย่อ ก็แสดงได้โดยพิสดาร

ฉะนั้น.

เราเป็นผู้ฉลาดในนัยแห่งพระอภิธรรม เป็นผู้ฉลาดด้วย

ความหมดจดในกถาวัตถุ ยังปวงชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มี

อาสวะอยู่.

ในกัปที่ ๕๐๐ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ พระ-

องค์ ผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็น

ใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ

เสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน

๕. พรรณนาปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน

คำมีอาทิว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน

พระปุณณมันตานีบุตรเถระ.

แม้พระเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน

ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระนิพพานใน

ภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในนครหังสวดี ก่อนหน้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติขึ้น แล้วถึงความเป็นผู้รู้

เดียงสาขึ้นโดยลำดับ ในกาลต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่เหล่าสัตว์ผู้ควรแก่การตรัสรู จึงไปยัง

พระวิหารพร้อมกับมหาชน โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั่งอยู่ท้าย

บริษัทแล้วฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นผู้เห็น

ปานนี้ในอนาคต. ในเวลาจบเทศนา เมื่อบริษัทลุกขึ้นแล้ว จึงเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

เฝ้าพระศาสดา ทูลนิมนต์แล้วกระทำมหาสักการะ โดยนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลัง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ด้วยการกระทำอันยิ่งนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น

ก็ภิกษุนั้น พระองค์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็น

ธรรมกถึก ในที่สุดของวันที่ ๗ ฉันใด แม้ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น พึงเป็น

ผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระ-

องค์หนึ่งในอนาคตกาลดังนี้ ได้ทำความปรารถนาแล้ว. พระศาสดาทรง

ตรวจดูอนาคต ทรงเห็นว่าความปรารถนาของเขาจะสำเร็จ จึงทรง

พยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม

จักอุบัติขึ้น เธอบวชในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้เลิศ

แห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระธรรมกถึก.

เขากระทำกรรมอันงามตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้น เก็บรวม

บุญสมภารอยู่แสนกัป ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดเป็นหลานของพระ-

อัญญาโกณฑัญญเถระ ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์

ชื่อว่าโทณวัตถุ ไม่ไกลนครกบิลพัสดุ์ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า ปุณณะ

นายปุณณะนั้น เมื่อพระศาสดาบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรง

ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยนครราชคฤห์ประทับอยู่

โดยลำดับ จึงบวชในสำนักของพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้อุปสมบทแล้ว

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร ทำกิจแห่งบรรพชิตทั้งปวงให้ถึงที่สุดแล้ว

มายังสำนักของพระศาสดากับพระเถระผู้เป็นลุง ด้วยหวังใจว่า จักไปเฝ้า

พระศาสดา ล่าช้าอยู่ใกล้ ๆ นครกบิลพัสดุ์ กระทำกรรมอยู่ในโยนิโส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

มนสิการไม่นานนัก ยังวิปัสสนาให้ขวนขวายแล้วได้บรรลุพระอรหัต.

ก็พระปุณณเถระนั้น ได้มีกุลบุตร ๕๐๐ คนบวชอยู่ในสำนัก. พระ-

เถระกล่าวสอนกุลบุตรเหล่านั้นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ. แม้กุลบุตร

เหล่านั้นทั้งหมดก็กล่าวสอนด้วยกถาวัตถุ ๑๐ และตั้งอยู่ในโอวาทของ

พระปุณณเถระนั้นได้บรรลุพระอรหัต ครั้นรู้ว่ากิจแห่งบรรพชิตของตน

ถึงที่สุดแล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พวกกระผมถึงที่สุดแห่งกิจบรรพชิตแล้ว และเป็นผู้มีปกติได้กถาวัตถุ ๑๐

บัดนี้เป็นสมัยเพื่อจะเข้าเฝ้าพระทศพลแห่งพวกกระผม. พระเถระได้ฟัง

คำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงคิดว่า พระศาสดาย่อมทรงทราบว่าเราเป็นผู้

ได้กถาวัตถุ ๑๐ เราเมื่อแสดงธรรมก็ไม่ทิ้งกถาวัตถุ ๑๐ นั้นแสดง ก็เมื่อ

เราไป ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดจักแวดล้อมเราไป เมื่อเป็นอย่างนั้น เราไม่

ควรจะไปเฝ้าพระทศพลพร้อมกับคณะ ภิกษุเหล่านี้จงไปเฝ้าพระทศพล

ก่อน. ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พวกเธอจงไปเฝ้าพระทศพลก่อน จงถวายบังคมพระบาทของ

พระตถาคต ตามคำของเรา, แม้เราก็จักไปตามทางที่พวกท่านไป. พระ-

เถระแม้เหล่านั้น ทั้งหมดอยู่ในรัฐอันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทั้งหมด

เป็นพระขีณาสพ ทั้งหมดได้กถาวัตถุ ๑๐ ไม่ตัดทิ้งโอวาทของพระ-

อุปัชฌาย์ ไหว้พระเถระแล้วเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ล่วงหนทางไปได้

๖๐ โยชน์ แล้วไปยังพระเวฬุวันวิหาร ในเมืองราชคฤห์ ถวายบังคม

พระบาทของพระทศพล แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ก็การปราศรัยกับ

อาคันตุกภิกษุทั้งหลายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรงประพฤติสืบกัน

มา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำปฏิสันถารอันไพเราะกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

ภิกษุเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสบายดีหรือ

ดังนี้ แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากไหน เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลอีกว่า มาจากชาติภูมิ พระเจ้าข้า จึงตรัสถึงภิกษุ

ผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ว่า ภิกษุทั้งหลาย ใครหนออันเหล่าภิกษุเพื่อน

พรหมจารีชาวชาติภูมิ ในแคว้นชาติภูมิยกย่องอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย

ด้วยตนเอง และกล่าวถ้อยคำชักนำในความมักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย. แม้

ภิกษุเหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านผู้มีอายุชื่อว่า

ปุณณะ บุตรของนางมันตานี พระเจ้าข้า.

ท่านพระสารีบุตรได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น ได้มีความประสงค์

เพื่อจะได้เห็นพระเถระ. ลำดับนั้น พระศาสดาได้เสด็จจากเมืองราชคฤห์

ไปยังเมืองสาวัตถี. แม้พระปุณเถระก็ได้ฟังว่า พระทศพลเสด็จไปใน

เมืองสาวัตถีนั้น จึงไปด้วยหวังว่า จักเฝ้าพระศาสดา มาทันพระตถาคต

ในภายในพระคันธกุฎีนั่นเอง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระเถระ.

พระเถระฟังธรรมแล้ว ถวายบังคมพระทศพล เพื่อต้องการจะหลีกเร้นจึง

ไปยังอันธวัน นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ฝ่ายพระสารีบุตร

เถระได้ทราบการมาของท่าน จึงตรวจดูหัวข้อธรรมแล้วไป กำหนดโอกาส

แล้วเข้าไปหาพระเถระผู้นั่งอยู่ ณ โคนไม้นั้น ปราศรัยกับพระเถระแล้ว

จึงถามลำดับแห่งวิสุทธินั้น . ฝ่ายพระเถระนั้นก็พยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้ว ๆ

แก่พระสารีบุตรเถระ ทำจิตให้ยินดียิ่งด้วยการเปรียบด้วยรถ ๗ ผลัด.

พระเถระทั้งสองนั้นต่างอนุโมทนาสุภาษิตของกันและกัน.

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์

ทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

นี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นพระธรรมกถึก. พระเถระ

นั้นระลึกถึงกรรมในก่อนของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความพระพฤติ

ในชาติก่อนด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อชฺฌายโก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌายโก ได้แก่ บอก คือสอน

พวกพราหมณ์มิใช่น้อย. บทว่า มนฺตธโร แปลว่า ผู้ทรงจำมนต์ ท่าน

กล่าวอธิบายว่า ทรงจำพระเวทที่ ๔ กล่าวคือคัมภีร์พระเวท ด้วยอำนาจ

การท่อง การฟัง และการให้. บทว่า ติณฺณ เวทาน ความว่า ผู้ถึง

ฝั่ง คือที่สุดในคัมภีร์พระเวททั้ง ๓ อันได้นามว่าผู้มีเวท เพราะเป็นผู้

ทรงจำเวททั้ง ๓ คืออิรุพเวท ยชุรเวท และสามเวท ด้วยญาณความรู้.

บทว่า ปุรกฺขโตมฺหิ สิสฺเสหิ ความว่า เราเป็นผู้อันเหล่าศิษย์ผู้เป็น

บริวารประจำของเราห้อมล้อมอยู่. บทว่า อุปคจฺฉึ นรุตฺตม ความว่า

เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุดแห่งนรชน อธิบายว่า เข้าไป

ใกล้ๆ. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า อภิธมฺมนยญฺญูห ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลของ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราเป็นผู้ฉลาดในอภิธรรมนัย. บทว่า กถา-

วตฺถุวิสุทฺธิยา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดด้วยความหมดจดในกถาวัตถุปกรณ์ อีก

อย่างหนึ่ง ความว่า เป็นผู้ฉลาดในกถาวัตถุ ๑๐ มีกถาว่าด้วยความมัก-

น้อยและสันโดษเป็นต้น. เราให้ชนผู้สำรวมอินทรีย์ คือบัณฑิตทั้งปวง

รู้แจ้ง คือตรัสรู้ด้วยความหมดจดในกถาวัตถุนั้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือ

ไม่มีกิเลสอยู่ ได้แก่ สำเร็จการอยู่.

บทว่า อิโต ปญฺจสเต กปฺเป ความว่า ใน ๕๐๐ กัปแต่กัป

ชื่อภัทรกัป เพราะประดับด้วยพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้มีพระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

จักรพรรดิ ๔ พระองค์ผู้ประกาศดี คือผู้ปรากฏด้วยดี ทรงสมบูรณ์ด้วย

รัตนะ ๗ มีจักรรัตนะเป็นต้น ทรงเป็นใหญ่ คือเป็นประธานในทวีป

ทั้ง ๔ มีชมพูทวีปเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนาปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

อุปาลีเถราปทานที่ ๘ (๖)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างสังฆาราม

[๘] ในพระนครหังสวดี มีพราหมณ์ชื่อว่า สุชาต สั่งสมทรัพย์

ไว้ประมาณ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย.

เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ถึงที่สุดในคัมภีร์

ทำนายลักษณะ คัมภีร์อิติหาสะ และคัมภีร์พราหมณ์.

ในกาลนั้นปริพาชกผู้มุ่นผมเป็นชฎา สาวกของพระพุทธ-

เจ้าพระนามว่าโคดม ผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ และดาบส

ผู้ท่องเที่ยว พากันท่องเที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน.

แม้พวกเขาก็ห้อมล้อมข้าพระองค์ด้วยคิดว่า เป็นพราหมณ์

มีชื่อเสียง ชนเป็นอันมากบูชาข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ไม่

บูชาใคร ๆ.

เพราะข้าพระองค์ไม่เห็นคนที่ควรจะบูชา เวลานั้น ข้า-

พระองค์มีมานะจัด คำว่า พุทโธ ยังไม่มี ตลอดเวลาที่พระ-

ชินเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.

โดยกาลล่วงวันและคืนไป พระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระผู้เป็นนายก ทรงบรรเทาความมืดทั้งปวงแล้ว เสด็จ

อุบัติขึ้นในโลก.

ในศาสนาของพระองค์ มีหมู่ชนแพร่หลายมากมาย

หนาแน่น เวลานั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปสู่พระนคร-

หังสวดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์

แก่พระพุทธบิดา ในกาลนั้นบริษัทโดยรอบมีประมาณโยชน์

หนึ่ง.

ในกาลนั้น ดาบสชื่อว่าสุนันทะ อันหมู่มนุษย์สมมติแล้ว

ว่าเลิศ ได้เอาดอกไม้ทำร่มบังแดดให้ทั่วพุทธบริษัท.

พระพุทธเจ้าทรงประกาศสัจจะ ๔ ภายใต้มณฑปดอกไม้

อันประเสริฐ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณแสนโกฏิ.

พระพุทธเจ้าทรงยังฝนคือธรรมให้ตกตลอด ๗ คืน ๗ วัน

เมื่อถึงวันที่ ๘ พระชินเจ้าทรงพยากรณ์สุนันทดาบสว่า ท่าน

ผู้นี้เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกหรือมนุษยโลก จักเป็นผู้

ประเสริฐกว่าเขาทั้งหมด ท่องเที่ยวไปในภพ.

ในแสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ผู้สมภพใน

วงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก.

บุตรของนางมันตานีชื่อว่าปุณณะ จักเป็นสาวกของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรมทั้งหลาย

อันธรรมนิรมิตแล้ว.

เวลานั้น พระสัมพุทธเจ้าทรงยังชนทั้งปวงให้ร่าเริง ทรง

แสดงพระกำลังของพระองค์ ทรงพยากรณ์สุนันทดาบสด้วย

ประการอย่างนี้.

ชนทั้งหลายประนมอัญชลีนมัสการสุนันทดาบสในครั้งนั้น

ครั้นสุนันทดาบสกระทำสักการะในพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ทำ

คติของตนให้หมดจด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

เพราะข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี จึงได้มี

ความดำริ ณ ที่นั้นว่า เราจักก่อสร้างบุญสมภาร ด้วยประการ

ที่จะได้เห็นพระโคดม.

ครั้นข้าพระองค์คิดอย่างนี้แล้ว จึงคิดถึงบุญกิริยาของ

ข้าพระองค์ว่า จะประพฤติกรรมอะไร ในบุญเขตอัน

ยอดเยี่ยม.

ก็ภิกษุนี้ชำนาญบาลีทั้งปวงในศาสนา พระศาสดาทรงตั้ง

ไว้ในตำแหน่งอันเลิศฝ่ายพระวินัย ข้าพระองค์จึงได้ปรารถนา

ตำแหน่งนั้น.

โภคสมบัติของข้าพระองค์ประมาณมิได้ เปรียบดังสาคร

อันอะไรให้กระเพื่อมไม่ได้.

ข้าพระองค์ได้สร้างอารามถวายแด่พระพุทะเจ้า ด้วย

โภคสมบัตินั้น.

ได้ซื้ออารามนามว่าโสภณ ณ เบื้องหน้าพระนคร ด้วย

ทรัพย์แสนหนึ่ง ถวายให้เป็นสังฆาราม

ข้าพระองค์ได้สร้างเรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น

และถ้ำอย่างสวยงามไว้ ในที่จงกรมใกล้สังฆาราม.

ได้สร้างเรือนไฟ โรงไฟ และห้องอาบน้ำ แล้วได้ถวาย

แก่ภิกษุสงฆ์.

ได้ถวายเก้าอี้นอน ตั่ง ภาชนะเครื่องใช้สอย คนเฝ้า

อารามและเภสัชทุกอย่างนั้น.

ได้ตั้งอารักขาไว้ แล้วให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

หวังว่า ใคร ๆ อย่าเบียดเบียนสังฆารามของท่านผู้มีจิตสงบ

ผู้คงที่.

ได้ให้สร้างกุฎีที่อยู่แสนหลังไว้ในสังฆาราม ครั้นให้สร้าง

สำเร็จพร้อมไพบูลย์แล้ว จึงน้อมถวายแด่พระสันพุทธเจ้าว่า

ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์สร้างอารามสำเร็จแล้ว ขอ

พระองค์โปรดทรงรับเถิด ข้าแต่พระธีรเจ้า ข้าพระองค์ขอ

มอบถวายแด่พระองค์ ขอได้โปรดรับไว้เถิดพระเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้เเจ้งโลก เป็น

นายกของโลก ผู้ควรแก่การรับเครื่องบูชา ทรงทราบความ

ดำริของข้าพระองค์แล้ว ได้ทรงรับสังฆาราม.

ข้าพระองค์ทราบว่า พระสัพพัญญูผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่ทรงรับแล้ว จึงให้ตระเตรียมโภชนะเสร็จแล้วกราบทูล

เวลาเสวย.

เมื่อข้าพระองค์กราบทูลเวลาเสวยแล้ว พระปทุมุตตระผู้

นายกของโลก เสด็จมาสู่อารามของข้าพระองค์พร้อมด้วย

พระขีณาสพพันหนึ่ง.

ข้าพระองค์ทราบเวลาว่า พระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้

เลี้ยงดูให้อิ่มหนาด้วยข้าวน้ำ ครั้นได้ทราบเวลาเสวยเสร็จแล้ว

ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ซื้ออารามชื่อ

โสภณ ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง ได้สร้างจนเสร็จด้วยทรัพย์

เท่านั้นเหมือนกัน ขอได้โปรดทรงรับเถิด.

ด้วยการถวายอารามนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

ข้าพระองค์เกิดอยู่ในภพ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนา.

พระสัมพุทธเจ้าทรงรับสังฆาราม ที่ข้าพระองค์สร้างเสร็จ

แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

ผู้ใดได้ถวายสังฆารามที่สร้างสำเร็จแล้ว แด่พระพุทธเจ้า

เราจะพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

จตุรงคเสนา คือพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า

จะแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

ดนตรีหกหมื่น และกลองอันประดับสวยงาม จะแวดล้อม

ผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

นารีแปดหมื่นหกพันนาง ตกแต่งงดงาม มีผ้าและอาภรณ์

อันวิจิตร สวมสอดแก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม

ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง จะแวดล้อมผู้นี้อยู่

เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป จักเป็น

จอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักได้ของทุก

อย่างที่ท้าวเทวราชจะพึงได้ จักเป็นผู้มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง

เสวยเทวราชสมบัติอยู่.

จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้นพันครั้ง จักเป็น

พระราชาอันไพบูลย์ในแผ่นดิน โดยคณนานับไม่ถ้วน

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร

ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก

ผู้นี้จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

เป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรม อันธรรมเนรมิต มีนามชื่อว่า

อุบาลี.

จักถึงที่สุดในพระวินัย ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ

ดำรงพระศาสนาของพระชินเจ้า ไม่มีอาสวะอยู่.

พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ ได้ทรงทราบข้อนี้ทั้งสิ้น แล้ว

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ.

ข้าพระองค์อาศัยบุญกุศลอันหาประมาณมิได้ ย่อม

ปรารถนาศาสนาของพระองค์ ประโยชน์คือธรรมเครื่องสิ้น

แห่งสังโยชน์ทั้งปวงนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้ว.

อุปมาเหมือนคนอันพระราชอาญาคุกคาม ถูกเสียบด้วย

หลาว ไม่ได้ความสุขที่หลาว ปรารถนาจะพ้นไปอย่างเดียว

ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น อันอาญาคือ

ภพคุกคาม ถูกเสียบด้วยหลาวคือกรรม ถูกเวทนาคือความ

กระหายบีบคน.

ไม่ได้ความสุขในภพ ถูกไฟ ๓ กองแผดเผาอยู่ ย่อม

แสวงหาอุบายเครื่องพ้น ดังคนแสวงหาอุบายเพื่อฆ่ายาพิษ.

พึงแสวงหายา เมื่อแสวงหาอยู่ พึงพบยาสำหรับฆ่ายาพิษ

ดื่มยานั้นแล้วพึงมีความสุข เพราะพ้นจากพิษ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ก็เหมือนคนอันถูกยาพิษ

บีบคั้น ฉันนั้น ถูกอวิชชาบีบคั้นแล้ว พึงแสวงหายาคือ

พระสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

เมื่อแสวงหายาคือพระสัทธรรมอยู่ ได้พบศาสนาของ

พระองค์ผู้ศากยบุตร อันเป็นของจริงอย่างเลิศสุดยอดของ

โอสถ เป็นเครื่องบรรเทาลูกศรทั้งปวง.

ข้าพระองค์ดื่มยาคือธรรมแล้ว ถอนยาพิษคือสังสารทุกข์

ได้หมดแล้ว ข้าพระองค์ได้พบนิพพานอันไม่แก่ไม่ตาย เป็น

ธรรมชาติเย็นสนิท.

อุปมาเหมือนคนถูกผีคุกคาม ได้รับทุกข์เพราะผีสิง พึง

แสวงหาหมอผีเพื่อจะพ้นจากผี เมื่อแสวงหาไป ก็พึงพบ

หมอผู้ฉลาดในวิชาไล่ผี หมอนั้นพึงขับผีให้แก่คนนั้น และพึง

ให้ผีพินาศไปพร้อมทั้งต้นเหตุ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ได้รับทุกข์

เพราะความมืดเข้าจับ จึงต้องแสวงหาแสงสว่างคือญาณ เพื่อ

จะพ้นจากความมืด ทีนั้น ได้พบพระศากยมุนีผู้ชำระความ

มืดคือกิเลสให้หมดจด. ได้ทรงบรรเทาความมืดให้ข้าพระองค์

แล้ว ดังหมอผีขับผีไปฉะนั้น.

ข้าพระองค์ตัดกระแสสงสารได้แล้ว ห้ามกระแสตัณหา

ได้แล้ว ถอนภพได้สิ้นเชิง เหมือนหมอผีขับผีพร้อมทั้งถอน

รากฉะนั้น.

อุปมาเหมือนพญาครุฑ โฉบลงเพื่อจับนาคอันเป็นเหยื่อ

ของตน ย่อมทำน้ำในสระใหญ่ให้กระเพื่อมตลอดร้อยโยชน์

โดยรอบ ครั้นจับนาคได้แล้ว ห้อยหัวนาคไว้เบื้องต่ำทำให้

ลำบาก ครุฑนั้นพาเอานาคไปได้ตามปรารถนา ฉันใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น แสวงหา

อสังขตธรรม เหมือนครุฑมีกำลัง บินแสวงหานาคฉะนั้น

ข้าพระองค์ได้คายโทษทั้งหลายแล้ว ข้าพระองค์เห็นธรรมอัน

ประเสริฐ เป็นสันติบท ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ข้าพระองค์ถือ

ธรรมนี้อยู่ เหมือนครุฑจับนาคบินไปฉะนั้น.

เถาวัลย์ชื่ออาสาวดี เกิดในสวนจิตรลดา ต่อเมื่อล่วงไป

พันปี จึงเผล็ดผลหนึ่งผล. เหล่าเทวดาเข้าไปนั่งใกล้เถาวัลย์

ชื่ออาสาวดีนั้น ซึ่งมีผลคราวหนึ่งนานเพียงนั้น เถาวัลย์

อาสาวดีนั้น เป็นเลิศแห่งไม้เถา เป็นที่รักของเทวดาทั้งหลาย

อย่างนี้.

ข้าพระองค์อาศัยเวลาเป็นแสนปี จึงได้เที่ยวมาใกล้พระ-

องค์ผู้เป็นมุนี ได้นมัสการทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า เหมือน

เทวดาเชยชมผลอาสาวดีฉะนั้น.

การบำเรอพระพุทธเจ้าไม่เป็นหมัน และการนมัสการไม่

เป็นโมฆะ แม้ข้าพระองค์จะมาแต่ที่ไกล ขณะก็ไม่ล่วงเลย

ข้าพระองค์ไป ข้าพระองค์ค้นหาปฏิสนธิในภพ ก็ไม่เห็น

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่มีอุปธิ พ้นวิเศษแล้ว สงบ

ระงับเที่ยวไป.

ธรรมดาดอกปทุม ย่อมบานเพราะแสงอาทิตย์ แม้ฉันใด

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บานแล้ว

เพราะรัศมีของพระพุทธเจ้า.

๑. บาลีเป็น ผลุตฺตมา, ม. ยุ. เป็นลตุตฺตมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

นกยางตัวผู้ ย่อมไม่มีในกำเนิดนกยางทุกเมื่อ เมื่อเมฆ

ร้องกระหึ่ม นกยางย่อมมีครรภ์ทุกเมื่อ พวกมันย่อมทรงครรภ์

อยู่แม้นานตลอดเวลาที่สายฝนยังไม่ตก พวกมันย่อมพ้นจาก

การทรงครรภ์ เมื่อเวลาที่สายฝนตก ฉันใด.

ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงประกาศกึกก้องด้วยเมฆฝนคือธรรม ได้ถือเอา

ครรภ์คือธรรม ด้วยเสียงแห่งเมฆฝนคือธรรม ข้าพระองค์

อาศัยแสนกัป ทรงครรภ์คือบุญอยู่ ยังไม่พ้นจากภาระคือ

สงสารตลอดเวลาที่สายฝนคือธรรมยังไม่ตก.

ข้าแต่พระศากยมุนี เมื่อเวลาที่พระองค์ทรงประกาศ

กึกก้องด้วยสายฝนคือธรรม ในนครกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์

ข้าพระองค์จึงได้พ้นจากภาระคือสงสาร.

ข้าพระองค์สะสาง (ชำระ) ธรรมคือสุญญตวิโมกข์ อนิ-

มิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และผล ๔ ทั้งหมดแม้นั้น

ให้สะอาดได้แล้ว.

จบทุติยภาณวาร

ข้าพระองค์ปรารถนาคำสอนของพระองค์ ตั้งต้นแต่กัป

อันหาประมาณมิได้ ประโยชน์อันนั้น ข้าพระองค์ได้ถึงแล้ว

สันติบทอันยอดเยี่ยม ข้าพระองค์บรรลุแล้ว.

ข้าพระองค์ถึงความยอดเยี่ยมในพระวินัย เหมือนภิกษุ

ผู้ชำนาญพระบาลีฉะนั้น ไม่มีใครเสมอเหมือนข้าพระองค์

ข้าพระองค์ทรงคำสอนไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในวินัย (คืออุภโตวิภังค์)

ขันธกะ (คือมหาวรรคและจุลวรรค) ในติกเฉท (คือติก-

สังฆาทิเสส และติกปาจตตีย์) และในคัมภีร์ที่ ๕ (คือปริวาร)

เหล่านี้ ทั้งในอักขระหรือแม้พยัญชนะ.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิคคหกรรม การลงโทษ ใน

ปฏิกรรม การทำคืนอาบัติ ในฐานะและไม่ใช่ฐานะ ในการ

ชักเข้าหมู่ และในการให้ออกจากอาบัติ ถึงความยอดเยี่ยม

ในวินัยกรรมทั้งปวง.

ข้าพระองค์ตั้งบทไว้ในวินัย ขันธกะ และอุภโตวิภังค์

แล้วพึงชักเข้าหมู่ตามกิจ.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ และเฉียบแหลมใน

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ สิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้ ย่อมไม่มี

ข้าพระองค์ผู้เดียวเป็นเลิศแห่งพระวินัยธรในพระพุทธศาสนา.

วันนี้ข้าพระองค์บรรเทาความเคลือบแคลงได้ทั้งสิ้น ตัด

ความสงสัยได้ทั้งหมด ในคราวตัดสินวินัย ในศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยบุตร.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในฐานะทั้งปวง คือบัญญัติ อนุ-

บัญญัติ อักขระ พยัญชนะ นิทาน และปริโยสาน.

เปรียบเหมือนพระราชาผู้ทรงพระกำลัง ทรงกำจัดเสนา

ของพระราชาอื่นแล้วพึงทำให้เดือดร้อน ชนะสงครามแล้วจึง

ให้สร้างนครไว้ในที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

ทรงให้สร้างกำแพง คู เสาระเนียด ซุ้มประตูและป้อม

ต่าง ๆ ไว้ในนครเป็นอันมาก ทรงให้สร้างถนน วงเวียน

ร้านตลาด อันจัดไว้เป็นระเบียบ และสภาไว้ในนครนั้น เพื่อ

วินิจฉัยคดีและมิใช่คดี.

เพื่อจะป้องกันพวกศัตรู เพื่อจะรู้จักโทษและมิใช่โทษ

และเพื่อจะรักษาพลกาย พระองค์จึงโปรดตั้งเสนาบดีไว้.

เพื่อประสงค์จะทรงรักษาสิ่งของ จึงโปรดตั้งขุนคลังไว้

ในหน้าที่รักษาสิ่งของ ด้วยทรงหวังว่า สิ่งของของเราอย่า

ฉิบหายเสียเลย.

ผู้ใดเป็นผูสมัครสมานกับพระราชา ปรารถนาความเจริญ

แก่พระราชานั้น ๆ ย่อมประทานการตัดสินอธิกรณ์แก่ผู้นั้น

เพื่อปฏิบัติต่อมิตร.

พระราชานั้นโปรดตั้งคนผู้ฉลาดในลางดีลางร้าย ในนิมิต

และในตำราทำนานลักษณะ ผู้สั่งสอนมนต์ ทรงจำมนต์ ไว้ใน

ตำแหน่งปุโรหิต.

พระราชานั้นทรงสมบูรณ์ด้วยองค์เหล่านี้ มหาชนย่อม

เรียกว่ากษัตริย์.

เสนาบดีเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมรักษาพระราชาอยู่ทุกเมื่อ

ดังนกจากพรากรักษาญาติของตนผู้มีทุกข์ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น มหาชนย่อมกล่าว

ว่า เป็นพระธรรมราชาของโลกพร้อมทั้งเทวโลก เช่นพระ-

ราชาทรงกำจัดศัตรูได้แล้ว มหาชนเรียกว่ากษัตริย์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

พระองค์ทรงปราบพวกเดียรถีย์ ทรงกำจัดมารพร้อมทั้ง

เสนามาร และความมืดมนอนธการแล้ว ได้ทรงสร้างนคร

ธรรมไว้.

ข้าแต่พระธีรเจ้า ในนครธรรมนั้น มีศีลเป็นดังกำแพง

พระญาณของพระองค์เป็นดังซุ้มประตู ศรัทธาของพระองค์

เป็นดังเสาระเนียด และสังวรของพระองค์เป็นดังนายประตู.

ข้าแต่พระมุนี สติปัฏฐานของพระองค์เป็นดังป้อม ปัญญา

ของพระองค์เป็นดังทางสี่แพร่ง อิทธิบาทเป็นดังทางสาน

แพร่ง.

ธรรมวิถีพระองค์ทรงสร้างไว้สวยงาม พระวินัย พระสูตร

พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้นนี้ เป็น

ดังธรรมสภาในนครธรรมของพระองค์.

วิหารธรรม คือสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต-

วิโมกข์ อเนญชสมาบัติ และนิโรธนี้ เป็นดังธรรมกุฎีในนคร

ธรรมของพระองค์.

พระธรรมเสนาบดีของพระองค์มีนามว่า สารีบุตร ทรงตั้ง

ไว้ว่า เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา และว่าเป็นผู้ฉลาดในปฏิภาณ.

ข้าแต่พระมุนี ปุโรหิตของพระองค์มีนามว่า โกลิตะ ผู้ฉลาด

ในจุติและอุปบัติ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์.

ข้าแต่พระมุนี พระมหากัสสปเถระผู้ดำรงวงศ์โบราณ

มีเดชรุ่งเรือง หาผู้เทียบถึงได้ยาก เลิศในธุดงคคุณ เป็นผู้

พิพากษาของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

ข้าแต่พระมุนี พระเถระขุนคลังธรรมของพระองค์ มีนาม

ว่าพระอานนท์ เป็นพหูสูต ทรงธรรม และชำนาญพระบาลี

ทั้งปวง ในพระศาสนา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่แก่ข้าพระองค์ ทรง

ละเว้นพระเถระเหล่านี้ทั้งหมดเสีย แล้วทรงประทานการ

วินิจฉัยวินัย อันผู้รู้แจ้งแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์.

ภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้าบางรูป ถามปัญหาในวินัย

ในปัญหานั้น ข้าพระองค์ไม่ต้องคิด ย่อมแก้เนื้อความนั้นได้

ทันที.

ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระมหามุนีเสีย ไม่มีใครเสมอ

กับข้าพระองค์ในเรื่องพระวินัย จักมีใครยิ่งกว่ามาแต่ไหน.

พระโคดมประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วทรง

ประกาศอย่างนี้ว่า ไม่ใครจะเสมอกับพระอุบาลี ในวินัยและ

ขันธกะ.

นวังคสัตถุศาสน์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มีกำหนดเพียง

ใด ทั้งหมดนั้นเรากล่าวไว้แล้วในวินัย แก่บุคคลผู้เห็นว่า

มีวินัยเป็นมูลราก.

พระโคดมศากยบุตรผู้ประเสริฐ ทรงระลึกถึงกรรมของ

เรา ประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ.

เราได้ปรารถนาตำแหน่งนี้ไว้ ตั้งต้นแต่แสนกัป ประโยชน์

นั้นเราได้ถึงแล้ว เราถึงที่สุดในพระวินัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

เมื่อก่อนเราเป็นช่างกัลบก ผู้ยังความยินดีให้เกิดแก่เจ้า-

ศากยะทั้งหลาย เราละชาตินั้นแล้วเกิดเป็นบุตรของพระผู้

แสวงหาคุณใหญ่.

ในกัปที่สองแต่ภัทรกัปนี้ พระมหากษัตริย์เจ้าแผ่นดิน

พระนามว่าอัญชสะ มีพระเดชานุภาพสูงสุด มีบริวารประมาณ

มิได้ มีทรัพย์มากมาย.

เราเป็นกษัตริย์นามว่าจันทนะ เป็นโอรสของพระราชา

องค์นั้น เป็นคนกระด้างเพราะความเมาในชาติ และเพราะ

ความเมาในยศและโภคะ.

ช้างแสนหนึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เป็นช้าง

ตกมันโดยฐานะสาม เกดในตระกูลช้างมาตังคะ ห้อมล้อมเรา

อยู่ทุกเมื่อ.

เราห้อมล้อมด้วยพลของตน ประสงค์จะประพาสอุทยาน

จึงขึ้นช้างชื่อว่าสิริ แล้วออกจากพระนครในกาลนั้น

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่าเทวละ สมบูรณ์ด้วยจรณะ

คุ้มครองทวาร และสำรวมเป็นอันดี เดินมาข้างหน้าเรา.

เวลานั้นเราได้ไสช้างสิรินาคไปให้ทำร้ายพระปัจเจกพุทธ-

เจ้า. เพราะการบังคับไสไปนั้น ช้างเกิดความโกรธ (ในเรา)

จึงไม่ยกเท้าขึ้น.

เราเห็นช้างร้องไห้ จึงได้กระทำความโกรธในพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า เราเบียดเบียนพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วไปยัง

อุทยาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

ณ ที่นั้น เราไม่ได้ความสุขเสียเลย เหมือนไฟลุกโพลง

อยู่บนศีรษะ ย่อมร้อนด้วยความเร่าร้อน เหมือนปลาติดเบ็ด.

แผ่นดินมีสมุทรสาครเป็นที่สุด ปรากฏแก่เราเหมือนไฟ

ติดทั่วแล้ว เราเข้าไปเฝ้าพระชนกแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า

หม่อมฉันได้ทำพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์ใดผู้เป็นสยัมภู

ผู้เดินมา เหมือนอสรพิษโกรธ ดุจกองฟางไหม้โพลง

ประหนึ่งช้างกุญชรตัวฝึกแล้วซึ่งตกมันให้ขัดเคือง พระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น หม่อมฉันให้ขัดเคืองแล้ว เป็นผู้

พึงกลัวมีเดชกล้า เป็นพระชินเจ้า.

(พระชนกตรัสว่า) พวกเราชาวบุรีทั้งหมดจักพินาศ เรา

จักขอขมาพระมุนีนั้น ถ้าเราจะไม่ขอขมาท่านผู้มีตนอันฝึกแล้ว

มีจิตตั้งมั่น ภายใน ๗ วัน แว่นแคว้นของเราจักพินาศ.

สุเมขลราชา โกสิยราชา สิคควราชา และสัตตกราชา

ได้รุกรานฤๅษีทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นพร้อมทั้งเสนาเป็นผู้ตก

ยากแล้ว.

ฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ โกรธ

เคืองเมื่อใด เมื่อนั้นท่านย่อมยังมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก

ทั้งสาครและภูเขาให้พินาศ.

เราจึงสั่งให้บุรุษทั้งหลายประชุมกัน ในประเทศประมาณ

สามพันโยชน์ เพื่อต้องการแสดงโทษ จึงได้เข้าไปหาพระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

เราทั้งหมดมีผ้าเปียก มีศีรษะเปียก ประนมอัญชลี พา

กันหมอบลงแทบเท้า ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า แล้วได้

เรียนท่านดังนี้ว่า

ข้าแต่พระมหาวีระ ขอเจ้าประคุณได้อดโทษเถิด มหา-

ชนอ้อนวอนเจ้าประคุณ ขอเจ้าประคุณได้โปรดบรรเทาความ

เร่าร้อน และขออย่าให้แว่นแคว้นพินาศเลย มนุษย์พร้อม

ทั้งเทวดา อสูรและผีเสื้อน้ำทั้งหมด พึงต่อยศีรษะของกระผม

ด้วยค้อนเหล็กทุกเมื่อ.

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ไฟไม่ตั้งอยู่ในน้ำ พืช

ไม่งอกบนหินล้วน ๆ กิมิชาติไม่ดำรงอยู่ในยาพิษ ฉันใด

ความโกรธย่อมไม่เกิดในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ฉันนั้น.

อนึ่ง พื้นดินไม่หวั่นไหว สมุทรสาครประมาณไม่ได้ และ

อากาศไม่มีที่สุด ฉันใด พระพุทธะอันใคร ๆให้กำเริบไม่ได้

ฉันนั้น.

พระมหาวีรเจ้าทั้งหลายมีตนฝึกแล้ว อดทน และมีตบะ

เจ้าประคุณทั้งหลายผู้อดทน ประกอบด้วยความอดทน ย่อม

ไม่มีการลุแก่อคติ.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้บรรเทา

ความเร่าร้อนให้หมดไป ในกาลนั้นเราได้เหาะขึ้นสู่อากาศ

ข้างหน้ามหาชน กล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึง

ความเลวทราม พ้นจากชาตินั้นแล้ว จึงได้เข้าสู่บุรีอันไม่มีภัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า แม้ในกาลนั้น พระองค์ก็ได้บรรเทา

ความเร่าร้อนอันตั้งอยู่ดี ให้แก่ข้าพระองค์ผู้เดือดร้อนอยู่ และ

ข้าพระองค์ก็ได้ขอขมาพระสยัมภูเจ้าแล้ว.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า แม้วันนี้พระองค์ได้ดับไฟ ๓ กอง

ให้แก่ข้าพระองค์ ผู้ถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่ และข้าพระองค์

ได้ถึงความเย็นแล้ว.

ท่านเหล่าใดมีการเงี่ยโสตลงฟัง ขอท่านเหล่านั้นจงฟัง

เรากล่าว เราจักบอกเนื้อความแก่ท่าน ตามบทที่เราเห็นแล้ว.

เราดูหมิ่นพระสยัมภูผู้เป็นเอง ผู้มีจิตสงบ มีใจมั่นคง

นั้นแล้ว เพราะกรรมนั้น วันนี้เราจึงเกิดในกำเนิดต่ำทราม.

ขณะอย่าพลาดท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้ที่ล่วงขณะ

ย่อมเศร้าโศก ท่านทั้งหลายจงพยายามในประโยชน์ของตน

ท่านทั้งหลายจงยังขณะให้สำเร็จ.

ยาสำรอกของบุคคลบางพวก เป็นยาถ่ายของบุคคลบาง

พวก ยาพิษร้ายของบุคคลบางพวก เป็นยาของบุคคลบาง

พวก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกการเปลื้องสงสารแก่ผู้

ปฏิบัติ ตรัสบอกการออกจากสงสารแก่ผู้ตั้งอยู่ในผล ตรัส

บอกโอสถแก่ผู้ได้ผล ตรัสบอกบุญเขตแก่ผู้แสวงหา ตรัสบอก

ยาพิษอันร้ายแรงแก่บุคคลผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนา ยาพิษ

อันร้ายแรงย่อมเผานระนั้น เหมือนอสรพิษมีพิษร้ายฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

ยาพิษอันกล้าแข็งที่บุคคลดื่มแล้ว ย่อมยังชีวิตให้พินาศ

ได้ครั้งเดียว แต่คนที่ผิดในพระศาสนาแล้ว ย่อมถูกเผาใน

โกฏิกัป.

พระศาสนานั้นย่อมข้ามโลกพร้อมทั้งเทวโลกได้ เพราะ

ขันติ อวิหิงสา และเพราะมีจิตเมตตา เพราะฉะนั้น พระ-

พุทธะเหล่านั้นอันใคร ๆ ให้พิโรธไม่ได้.

พระมุนี มีจิตเสมอในสรรพสัตว์ คือในพระเทวทัต

นายขมังธนู องคุลิมาลโจร พระราหุล และในช้างธนบาล.

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความกำหนัด

เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงมีจิตเสมอในชนทั้งปวง คือ

ในผู้ฆ่าและพระโอรส.

ใคร ๆ เห็นผ้ากาสาวะอันเขาทิ้งไว้ที่หนทาง เปื้อนของ

ไม่สะอาด เป็นธงชัยของฤาษี พึงยกกรอัญชลีบนเศียรเกล้า

ไหว้.

พระพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี อนาคตก็ดี

ย่อมบริสุทธิ์ด้วยธงชัยนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่า

นั้น ควรนมัสการ.

เราย่อมทรงพระวินัยอันงาม เช่นกับพระศาสดา ไว้ด้วย

หทัย เราจักนมัสการพระวินัยในกาลทุกเมื่อ.

พระวินัยเป็นที่อาศัยของเรา พระวินัยเป็นที่ยืนเดินของ

เรา เราจะสำเร็จการอยู่ในพระวินัย พระวินัยเป็นโคจรของ

เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระอุบาลีผู้ถึงที่สุดในพระวินัย

และฉลาดในสมถะ ขอถวายบังคมที่พระบาทของพระองค์

ผู้เป็นพระศาสดา.

ข้าพระองค์นั้นจะไปจากบ้านนี้สู่บ้านโน้น จากบุรีนี้สู่บุรี

โน้น เที่ยวนมัสการพระสัมพุทธเจ้า และพระธรรม อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว.

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมด

แล้ว อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าพระองค์

ได้ดีแล้วหนอ ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

วิชชา ๓ ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพระองค์กระทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพระองค์ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอุปาลีเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

๖. พรรณนาอุปาลีเถราปทาน

คำมีอาทิว่า นคเร หสวติยา ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน

พระอุบาลีเถระ.

แม้พระเถระนี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง

ก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระ-

นิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

ปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ใน

นครหังสวดี. วันหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา ได้

เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศแห่งพระวินัยธร

ทั้งหลาย จึงกระทำกรรม คือการการทำอันยิ่งแด่พระศาสดา แล้ว

ปรารถนาฐานันดรนั้น.

เขาทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนของช่างกัลบก ญาติ

ทั้งหลายตั้งชื่อเขาว่า อุบาลี. อุบาลีนั้นเจริญวัยแล้วได้เป็นสหายรักแห่ง

กษัตริย์ ๖ พระองค์ มีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่

ในอนุปิยอัมพวัน ได้ออกบวชพร้อมกับกษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ผู้เสด็จออก

ทรงผนวช. วิธีการบรรพชาของพระอุบาลีนั้น มาในพระบาลีทีเดียว.

พระอุบาลีนั้น บรรพชาอุปสมบทแล้ว เรียนพระกรรมฐาน

ในสำนักของพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ขอพระ-

องค์จงทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่ข้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ เมื่ออยู่ป่า ธุระอย่างเดียวเท่านั้น จักเจริญงอกงาม แต่เมื่อ

อยู่ในสำนักของเรา วิปัสสนาธุระและคันถธุระจักบริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กระทำวิปัสสนา-

กรรมอยู่ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต. แม้พระศาสดาก็ทรงให้

พระอุบาลีนั้นเรียนพระวินัยปิฏกทั้งสิ้น ด้วยพระองค์เอง กาลต่อมา ท่าน

ได้วินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่องนี้ คือเรื่องภารุกัจฉะ เรื่องอัชชุกะ และเรื่อง

กุมารกัสสปะ. พระศาสดาทรงประทานสาธุการ ในการวินิจฉัยแต่ละเรื่อง

ทรงกระทำวินิจฉัยทั่ง ๓ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงตั้งพระเถระไว้ใน

ตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นวินัยธร.

พระเถระนั้นครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพ-

กรรมของตนขึ้นมาก็เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความ

ประพฤติในกาลก่อนนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร หสวติยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หสวติยา ความว่า รั้ว คือการล้อม

กำแพง โดยอาการอย่างหงส์วน มีอยู่ในนครใด นครนั้นชื่อว่า หังสวดี.

อีกอย่างหนึ่ง พวกหงส์นับไม่ถ้วนอยู่อาศัยในบึงโบกขรณี สระ และ

เปือกตม เป็นต้น บินแล่นอยู่รอบ ๆ ในนครนั้น เพราะเหตุนั้น นคร

นั้นจึงชื่อว่า หังสวดี, ในนครหังสวดีนั้น.

บทว่า สุชาโต นาม พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าสุชาต เพราะ

เกิดดี อธิบายว่า เกิดมาเป็นผู้ไม่ถูกติเตียนโดยคำว่า ไม่ถูกดูถูก ไม่ถูก

ตำหนิ. บทว่า อสีติโกฏินิจโย เชื่อมความว่า พราหมณ์นามว่าสุชาต

มีกองทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่ามีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ คือมีทรัพย์

และข้าวเปลือกนับไม่ถ้วน.

เมื่อจะแสดงว่า พราหมณ์สุชาตนั้นนั่นแหละเป็นคนใหญ่โตแม้อีก

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อชฺฌายโก ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

อชฺฌายโก ความว่า เป็นผู้บอกไตรเพทเป็นต้นแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า

มนฺตธโร ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า มันตา มีปัญญารู้การพยากรณ์

อถรรพณเวทเป็นต้น. บทว่า ติณฺณ เวทาน ปารคู ความว่า ถึงที่สุด

(คือเรียนจบ) ไตรเพทกล่าวคือ อิรุพเพท ยชุพเพท และสามเพท.

บทว่า ลกฺขเณ ได้แก่ คัมภีร์ทายลักษณะ. อธิบายว่า ในคัมภีร์อัน

ประกาศลักษณะที่ปรากฏอยู่ในมือและเท้าเป็นต้น ของบุรุษผู้จะเป็น

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย. บทว่า

อิติหาเส ความว่า ในคัมภีร์อันประกาศเรื่องราวครั้งโบราณ ว่าเป็น

อย่างนี้ ๆ. บทว่า สธมฺเม ความว่า ผู้ถึงบารมี คือถึง ได้แก่ บรรลุ

ถึงปริโยสาน คือที่สุดในธรรมของตน คือธรรมของพราหมณ์.

บทว่า ปริพฺพาชก เชื่อมความว่า พวกสาวกของนิครนถ์ทั้งหมด

นั้น มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน ในครั้งนั้น พากันเที่ยวไปบนแผ่นดิน คือบน

พื้นปฐพี.

อธิบายว่า พระชินเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นตราบใด คือตลอดกาลมีประมาณ

เท่าใด คำว่า พุทฺโธ ย่อมไม่มีตราบนั้น คือตลอดกาลมีประมาณ

เท่านั้น.

บทว่า อจฺจเยน อโหรตฺต ความว่า วันและคืน ชื่อว่าอโหรัตตะ,

โดยปีล่วงไปมากมาย. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า มนฺตานิปุตฺโต ความว่า บุตรของธิดาช่างกัลบก ชื่อว่า

มันตานี, ได้นามว่า ปุณณะ เพราะครบเดือน ครบวัน. เชื่อมความว่า

จักได้เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

บทว่า เอว กิตฺตยิ โส พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าปทุมุตตระนั้นทรงประกาศ คือได้ทรงประทานการพยากรณ์อัน

น่ายินดีด้วยดี คืออันให้ความโสมนัสด้วยอาการอันดี ด้วยประการอย่างนี้

คือด้วยประการนี้. เชื่อมความว่า ยังชนทั้งปวง คือหมู่ชนทั้งสิ้นให้ยินดี

ด้วยดี คือกระทำให้โสมนัส เมื่อจะแสดงกำลังของตน คือเมื่อจะทำให้

ปรากฏ.

ลำดับต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตนโดยอ้างผู้อื่น จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า กตญฺชลี ดังนี้. เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในกาล

ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัตินั้น ชนทั้งปวงกระทำกระพุ่มอัญชลี นมัสการ

สุนันทดาบสอยู่. บทว่า พุทฺเธ การ กริตฺวาน ความว่า สุนันทดาบส

นั้น แม้เป็นผู้อันชนทั้งปวงบูชาแล้วอย่างนี้ ก็ไม่กระทำการถือตัวว่าเป็น

ผู้ที่เขาบูชา ได้กระทำกิจอันยิ่งในพระพุทธศาสนา ทำคติคือการเกิดของ

ตนให้หมดจด คือได้กระทำให้บริสุทธิ์.

บทว่า สุตฺวาน มุนิโน วจ ได้แก่ พระวาจาของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น, เพื่อสะดวกในการผูกคาถา ท่านกล่าวว่า วจ โดย

รัสสะ อา อักษร. เชื่อมความว่า เราได้มีความดำริ คือได้มีมนสิการด้วย

เจตนาว่า เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีดังนี้ว่า ในอนาคตกาลอัน

ยาวนาน พระศาสดาพระนามว่าโคดม โดยพระนาม จักเกิดมีในโลก

เราจักเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม โดยประการใด จักกระทำ

สักการะคือกิจอันยิ่ง ได้แก่ บุญสมภาร โดยประการนั้น.

บทว่า เอวาห จินฺตยิตฺวาน ได้แก่ คิดอย่างนี้ว่า เราจักทำสักการะ.

บทว่า กิริย จินฺตยึ มม ความว่า เราคิดถึงการกระทำ คือกิจที่จะพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ทำว่า เราจะพึงทำบุญเช่นไรหนอ. บทว่า กฺยาห กมฺห อาจรามิ

ความว่า เราจะประพฤติ คือบำเพ็ญบุญกรรมเช่นไร บทว่า ปุญฺกฺ-

เขตฺเต อนุตฺตเร ความว่า ในพระรัตนตรัยอันเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า คือเป็น

ภาชนะแห่งบุญทั้งสิ้น.

บทว่า อยญฺจ ปาิโก ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนี้เป็นภิกษุผู้ได้นาม

ว่า ปาฐิกะ เพราะสวดพระบาลีในคัมภีร์ คือกล่าวด้วยอำนาจสรภัญญะ.

พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศ คือทรงตั้งว่าเป็นผู้เลิศ ในระหว่าง

แห่งภิกษุผู้ชำนาญบาลี คือผู้สวดและกล่าวสอนทั้งหมด และในพระวินัย

ในพระศาสนา, เราปรารถนาฐานะนั้น คือฐานันดรที่ภิกษุนั้นได้รับ.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงอุบายในการทำบุญของตน จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อิท เม อมิต โภค ดังนี้. เชื่อมความในคำนั้นว่า กอง

แห่งโภคทรัพย์ของข้าพระองค์นับไม่ได้ คือเว้นจากการนับประมาณ อัน

ใคร ๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้ คือไม่อาจให้กระเพื่อมได้ อุปมาดังสาคร คือ

เช่นกับสาคร ข้าพระองค์ให้สร้างอารามแก่พระพุทธเจ้าด้วยโภคะนั้น

คือด้วยทรัพย์เช่นนั้น คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

เชื่อมความว่า พระสัมพุทธเจ้าประทับนั่งในหมู่ภิกษุ ทรงรับ

สังฆารามที่ดาบสนั้นสร้าง คือให้ทำดีแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ อันแสดง

อานิสงส์แห่งอารามนั้น.

เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ได้ตรัสอานิสงส์ไว้อย่างไร ? จึงตรัสว่า

โย โส ดังนี้ อธิบายว่า ดาบสใดผู้ถวายสังฆาราม มอบถวายสังฆาราม

ที่สร้างไว้ดีแล้ว คือที่จัดแจงไว้เรียบร้อยโดยนัยมีกุฎี ที่เร้น มณฑป

ปราสาท เรือนโล้น และกำแพงเป็นต้น แก่พระพุทธเจ้า คือได้ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

โดยประการ คือโดยจิตอันประกอบด้วยความโสมนัส. บทว่า ตมห

กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า เราจักกระทำดาบสนั้นให้ปรากฏ คือจักกระทำให้

แจ้ง. บทว่า สุณาถ มม ภาสโต ความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคำ

ของเรา อธิบายว่า จงเงี่ยโสตลง คือจงมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน กระทำไว้ในใจ.

เมื่อจะทรงแสดงผลของอารามที่ดาบสนั้นถวาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า

หตฺถี อสฺสา รถา ปตฺตี ดังนี้. คำนั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า สงฺฆารามสฺสิท ผล ความว่า อิฐผลกล่าวคือสมบัติที่จะ

พึงเสวยต่อไปนี้ เป็นผลคือเป็นวิบากของการถวายสังฆาราม.

บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า เหล่านารี คือสตรีแปดหมื่น

หกพันนางตกแต่งงดงาม คือประดับตกแต่งสวยงาม มีผ้าและอาภรณ์

อันวิจิตร อธิบายว่า ประกอบด้วยผ้าและอาภรณ์ทั้งหลายอันวิจิตร คือ

มีรูปมิใช่น้อย. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ห้อยต่างหูแก้ว

มุกดาหารและแก้วมณี.

เมื่อจะแสดงถึงความประเสริฐ คือความงามแห่งรูปร่างของหญิง

เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาฬารปมฺหา ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดัง

ต่อไปนี้. นัยน์ตาทั้งหลายของหญิงเหล่าใด กว้างคือใหญ่ เหมือนลูกแก้ว

มณีกลม หญิงเหล่านั้นชื่อว่ามีตากลม อธิบายว่า มีดวงตาใสเหมือนตา

ภมรทั้งหลาย. ผู้มากด้วยความร่าเริง คือมีความร่าเริงเป็นปกติ อธิบายว่า

ผู้งดงามด้วยการเยื้องกราย. บทว่า สุสญฺา ได้แก่ ผู้มีอวัยวะแห่ง

ร่างกายที่พึงสำคัญว่างาม. บทว่า ตนุมชฺฌิมา ได้แก่ ผู้มีส่วนแห่งท้อง

เล็ก คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ตสฺส ธมฺเมสุ ทายาโท ได้แก่ เป็นทายาทในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ทั้งหลาย คือเป็นผู้มีส่วนแห่งโกฏฐาสในธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า โคตมะนั้น. บทว่า โอรโส แปลว่า เกิดในอก. อธิบายว่า

เป็นบุตรเกิดในอก เพราะได้ฟังธรรมที่ทรงแสดงกระทบฐานทั้ง ๕ มี คอ

เพดาน และริมฝีปากเป็นต้น อันสมบูรณ์ด้วยความรู้ในพยัญชนะ ๑๐

อย่าง มีสิถิล และธนิตเป็นต้น แล้วทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป โดยลำดับ

มรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น แล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต.

บทว่า ธมฺมนิมฺมิโต ความว่า ท่านจักเป็นผู้ถูกเนรมิต คือจักเป็น

ผู้ปรากฏโดยธรรม คือโดยสม่ำเสมอ โดยไม่มีอาชญา โดยไม่มีศัสตรา.

บทว่า อุปาลิ นาม นาเมน ความว่า ผู้นั้นชื่อว่า มันตานีบุตร ตามชื่อ

ของมารดา ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น จักเป็นสาวกของพระศาสดาโดยชื่อว่า

อุบาลี เพราะยึดติด คือประกอบ พรั่งพร้อมด้วยกายและจิต ในที่ใกล้

กษัตริย์ทั้งหลาย เพราะออกไปบวชพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น.

บทว่า วินเย ปารมึ คโต ความว่า บรรลุ คือถึงที่สุด ได้แก่การ

จบในพระวินัยปิฎก. บทว่า านาฏฺาเน จ โกวิโท ความว่า เป็นผู้

ฉลาด คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า ชินสาสน

ธาเรนฺโต ความว่า ทรงอนุสาสนีที่พระชินเจ้าตรัสไว้ ได้แก่พระไตร-

ปิฎกของพระชินเจ้า โดยการสอน การฟัง การคิด และการทรงจำ

เป็นต้น อธิบายว่า กำหนดไว้ได้. บทว่า วิหริสฺสตินาสโว ความว่า

เป็นผู้ไม่มีกิเลส จักนำอัตภาพไปมิให้ตกหล่น คือจักยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔.

บทว่า อปริเมยฺยุปาทาย ได้แก่ กระทำแสนมิใช่น้อยให้เป็นต้น

ไป. บทว่า ปตฺเถมิ ตว สาสน ความว่า เราปรารถนา คืออยากได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ศาสนาของพระองค์ว่า พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นวินัยธร ในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม. บทว่า โส เม อตฺโถ ความ

ว่า ประโยชน์กล่าวคือตำแหน่งเอตทัคคะนั้น เราได้บรรลุแล้ว. บทว่า

สพฺพสโยชนกฺขโย เชื่อมความว่า ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราได้บรรลุ

แล้ว อธิบายว่า บรรลุพระนิพพานแล้ว.

เชื่อมความว่า ผู้ชาย คือบุรุษ ถูกคุกคาม คือถูกบีบคั้นด้วยราช-

อาญา ถูกเสียบหลาว คือถูกร้อยไว้ที่หลาว ไม่ได้ประสบ คือไม่ได้

เสวยความยินดี คือความสุขอันอร่อยที่หลาว ย่อมต้องการพ้น คือการ

หลุดพ้นไป ฉันใด.

เชื่อมความ (ในตอนต่อมา) ว่า ข้าแต่พระมหาวีระ คือข้าแต่

พระวีระผู้สูงสุดในระหว่างวีรชนทั้งหลาย ข้าพระองค์ถูกคุกคาม คือถูก

บีบคั้นด้วยอาญาคือภพ ได้แก่อาญาคือชาติ ถูกเสียบที่หลาวคือกรรม

ได้แก่ถูกเสียบที่หลาว คือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ถูกเวทนาคือความ

ระหาย ได้แก่ความกระสับกระส่าย เพราะความระหายเบียดเบียน คือ

ครอบงำทำให้มีทุกข์ ไม่ประสบ คือไม่ได้ความยินดีในภพ ได้แก่ความ

สุขอันอร่อยในสงสาร. ข้าพระองค์ถูกเผาด้วยไฟ ๓ กอง กล่าวคือไฟคือ

ราคะ ไฟคือโทสะ และไฟคือโมหะ หรือไฟในนรก ไฟอันตั้งขึ้นในกัป

และไฟคือทุกข์ จึงหา คือแสวงหาความหลุดพ้น คืออุบายเครื่องหลุดพ้น

ฉันนั้น. เชื่อมความว่า บุคคลผู้ถึง คือต้องราชอาญา ย่อมแสวงหาความ

หลุดพ้น ฉันใด ข้าพระองค์ผู้ต้องการอาญาคือภพ ย่อมแสวงหาความ

หลุดพ้น ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

เมื่อจะแสดงความหลุดพ้นจากสงสาร โดยอุปมาอุปไมยอีก จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า ยถา วิสาโท ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

ที่ชื่อว่า วิสาทะ เพราะถูกพิษคืองูพิษกัด คือขบกัดเข้าแล้ว อธิบายว่า

ถูกงูกัด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสาทะ เพราะกินคือกลืนกินพิษคือยาพิษ

อย่างแรง อธิบายว่า กินยาพิษ. เชื่อมความว่า บุรุษใดถูกงูพิษกัด คือ

ถูกงูพิษนั้น คือเช่นนั้นเบียดเบียน พึงหาคือแสวงหายาคือโอสถอันเป็น

อุบายเพื่อฆ่าพิษ คือเพื่อขจัดพิษให้พินาศ เมื่อแสวงหายานั้น พึงพบ

คือพึงเห็นยา คือโอสถสำหรับฆ่าพิษ คือสำหรับขจัดพิษให้พินาศ บุรุษ

นั้นดื่มโอสถที่ตนพบเห็นแล้ว พึงเป็นผู้มีความสุขสบายเพราะพ้น คือ

เพราะเหตุที่พ้นจากพิษ ฉันใด.

บทว่า ตเถวาห ความว่า นระนั้นถูกพิษเบียดเบียน คือถูกงูมีพิษ

กัด หรือผู้กินยาพิษเข้าไป ดื่มโอสถแล้วพึงมีความสุขโดยประการใด

เราถูกอวิชชาคือโมหะบีบคั้นหนักโดยประการนั้น. บทว่า สทฺธมฺมา-

คทเมสห ความว่า เราหา คือแสวงหาอยู่ซึ่งโอสถ กล่าวคือพระสัท-

ธรรม.

บทว่า ธมฺมาคท คเวสนฺโต ความว่า แสวงหาโอสถ คือธรรม

เพื่อกำจัดพิษคือสังสารทุกข์ให้พินาศ. บทว่า อทฺทกฺขึ สกฺยสาสน

ความว่า เราได้พบเห็นศาสนาของพระโคดม ผู้ทรงเกิดจากศากยตระกูล

บทว่า อคฺค สพฺโพสธาน ต ความว่า ในระหว่างบรรดาโอสถเหล่านั้น

ธัมโมสถ กล่าวคือคำสอนของพระศากยโคดมนั้นเป็นเลิศ คือเป็นชั้นสูง

สุด. บทว่า สพฺพสลฺลวิโนทน เชื่อมความว่า เราดื่มธรรมโอสถ ได้เเก่

โอสถคือธรรม อันเป็นเครื่องบรรเทา คือเป็นเครื่องทำความสงบลูกศร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

ทั้งปวง มีลูกศรคือราคะเป็นต้น ได้ถอนพิษทั้งปวง ได้แก่พิษคือสังสาร-

ทุกข์ทั้งสิ้น คือทำให้พินาศไป. บทว่า อชรามร เชื่อมความว่า เรา

ถอนพิษคือทุกข์นั้นแล้ว ได้ถูกต้อง คือได้ทำให้ประจักษ์ซึ่งพระนิพพาน

อันไม่แก่ คือเว้นจากความแก่ อันไม่ตาย คือเว้นจากความตาย เป็น

ภาวะเย็น คือเป็นของเย็น เพราะเว้นจากความเร่าร้อน เพราะราคะ

เป็นต้น.

เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบความมืดคือกิเลสอีก จึงกล่าวคำมีอาทิ

ว่า ยถา ภูตฏฺฏิโต ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บุคคลคือบุรุษ

ถูกภูตผีเบียดเบียน คือถูกภูตผีได้แก่ยักษ์เบียดเบียนคือบีบคั้น ถึงการ

บีบคั้น คือถึงความทุกข์ เพราะภูตผีสิง คือเพราะยักษ์จับ พึงแสวงหา

หมอภูตผี เพื่อจะพ้น คือเพื่อต้องการจะพ้นจากภูตผี คือจากยักษ์จับ

ฉันใด คือโดยประการใด.

เชื่อมความในคาตอนนี้ว่า ก็เมื่อแสวงหาหมอผีนั้น พึงพบหมอผี

ผู้ฉลาดดี คือผู้เฉลียวฉลาดในวิชาไล่ผี หมอผีนั้นพึงกำจัดภูตผีที่สิงบุรุษ

ผู้ที่ถูกยักษ์จับนั้น คือพึงทำให้พินาศไป คือพึงกำจัดเสียพร้อมทั้งมูลราก

คือพร้อมทั้งมูลเหตุ กระทำไม่ให้สิงอีกต่อไป.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษสูงสุด

ข้าพระองค์ถูกบีบคั้นเพราะความมืดจับ คือเพราะความมืดคือกิเลสจับ

จึงแสวงหาแสงสว่างคือญาณ ได้แก่แสงสว่างคือปัญญาเพื่อจะพ้น คือ

เพื่อต้องการจะพ้นไปจากความมืด ได้แก่จากความมืดคือกิเลส ฉันนั้น

เหมือนกัน คือโดยประการนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

ในคาถานี้มีความว่า ครั้งนั้น คือในลำดับนั้น เราได้เห็นพระ-

ศากยมุนีผู้ทรงทำความมืดคือกิเลสให้หมดจด คือผู้ทรงทำความมืดคือ

กิเลสให้พินาศ. เชื่อมความว่า พระศากยมุนีนั้นได้ทรงบรรเทา คือได้

ทรงทำให้ไกลซึ่งความมืด คือความอันธการ ได้แก่ความมืดคือกิเลส

ให้แก่เรา เหมือนหมอภูตผีขับไล่ภูตผี คือเหมือนหมอผีบรรเทาคนที่ถูก

ยักษ์จับให้คลายฉะนั้น.

ความในคาถามนี้ว่า เรานั้นหลุดพ้นอย่างนี้แล้ว ตัดได้ด้วยดีซึ่ง

กระแสตัณหา คือความหลั่งไหลไปในสงสาร เราห้ามกระแสตัณหา ได้แก่

โอฆะใหญ่คือตัณหา คือได้กระทำให้หมดไป คือให้เป็นไปไม่ได้. บทว่า

ภว อุคฺฆาฏยึ สพฺพ ความว่า เราถอนภพใหม่ทั้งหมดมีกามภพเป็นต้น

คือทำให้พินาศไป. เชื่อมความว่า เราถอนได้ทั้งราก เหมือนหมอผีไล่ผี

พร้อมทั้งมูลเหตุ.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบการแสวงหาพระนิพพาน จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า ยถา ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ที่ชื่อว่า ครุฑ

เพราะกลืนกินของหนักคือนาค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ครุฑ เพราะจับ

คือถือเอาของหนักคือนาค, ได้แก่พญาครุฑ. ครุฑนั้นโผลง คือโฉบลง

เพื่อต้องการจับนาคอันเป็นภักษาของตน คือเป็นเหยื่อของตน ได้นามว่า

ปันนคะ เพราะไม่ไปสู่เงื้อมมือของผู้อื่นโดยปการะชนิดไร ทำสระใหญ่

คือมหาสมุทรร้อยโยชน์ คือมีประมาณร้อยโยชน์โดยรอบ คือรอบด้าน

ให้กระเพื่อม คือให้กระฉอกด้วยลมปีกของตน ฉันใด.

เชื่อมความในคาถาตอนนี้ว่า ครุฑนั้นบินไปในเวหา คือมีปกติบิน

ไปในเวหาส จับนาคได้แล้วทำให้ห้อยหัวลง ทำให้ลำบากอยู่ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

เบียดเบียนอยู่โดยการเบียดเบียนต่าง ๆ ในที่นั้น ๆ จับเอาคือจับอย่าง

มั่นคงแล้วหลีกไป คือบินไปตามที่ต้องการ คือในที่ที่ตนต้องการไป.

ในตอนนี้ เชื่อมความว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เจริญ ครุฑผู้มีพละ

กำลังจับนาค ได้แล้วย่อมบินไป ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

แสวงหาพระนิพพานอันเป็นอสังขตะ คืออันปัจจัยทั้งหลายกระทำไม่ได้

ได้แก่แสวงหาโดยการยังข้อปฏิบัติให้บริบูรณ์ คายโทษทั้งหลายได้แก่

กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้น คือข้าพระองค์ทำให้หมดจดโดยวิเศษ ด้วยสมุจเฉท-

ปหาน.

เชื่อมความในคาถาว่า ครุฑจับนาคกินอยู่ ฉันใด ข้าพระองค์ ก็

ฉันนั้น เห็นแล้ว คือเห็นอยู่ซึ่งธรรมอันประเสริฐ ได้แก่ธรรมอันสูงสุด

ถือเอาสันติบท คือนิพพานบทอันเอก ยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า

ด้วยมรรคและผลทั้งหลาย ใช้สอยอยู่.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่พระนิพพานเป็นของได้โดยาก จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อาสาวตี นาม ลตา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า เครือเถา

ชื่อว่า อาสาวดี เพราะเทวดาทั้งปวงมีความหวัง คือความอยากได้ใน

เครือเถานี้. เครือเถานั้นเกิด คือบังเกิดขึ้นในจิตรลดาวัน คือในวนะ

ได้แก่ในอุทยานอันเป็นดงเครือเถาที่วิจิตรตระการตามิใช่น้อย. ต่อพันปี

คือต่อล่วงไปพันปี เครือเถานั้นจึงเกิดผลหนึ่งผล คือเผล็ดผล ๆ เดียว.

บทว่า ต เทวา เชื่อมความว่า เครือเถาอาสาวดีนั้น มีผลนานถึง

เพียงนั้น เมื่อล่วงกาลนานเท่านั้นจึงเผล็ดผลคือจึงจะมีผล เหล่าเทวดา

คือเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมเข้าไปนั่งใกล้คือคบหา, เครือเถาชื่อว่าอาสาวดีนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

เป็นเครือเถาชั้นสูง คือเป็นเครือเถาชั้นสูงในระหว่างเครือเถาทั้งหลาย ได้

เป็นที่รักของเหล่าเทวดาอย่างนี้.

บทว่า สตสหสฺสุปาทาย ความว่า กระทำเวลาแสนปีให้เป็นต้น

ไป. บทว่า ตาห ปริจเร มุนิ ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ข้าแต่

พระมุนี คือพระผู้มีญาณ ได้แก่พระสัพพัญญูผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเรอ

คือเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า สาย ปาต นมสฺสามิ

ความว่า ข้าพระองค์นมัสการ คือกระทำการนอบน้อม ๒ ครั้ง คือเวลา

เย็นและเวลาเช้า. เชื่อมความว่า เหมือนเทวดาทั้งหลาย คือเหมือนเหล่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าไปนั่งใกล้เครือเถาอาสาวดีทั้งเย็นและเช้า.

บทว่า อวญฺฌา ปาริจริยา ความว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นพระ-

พุทธเจ้า การบรรลุถึงพระนิพพานจึงได้มี เพราะฉะนั้น การบำเรอ

พระพุทธเจ้า คือการกระทำวัตรปฏิบัติจึงไม่เป็นหมัน คือไม่สูญเปล่า

และการนมัสการคือกิริยาประณาม จึงไม่เป็นโมฆะ คือไม่สูญเปล่า. จริง

อย่างนั้น เรามาแต่ที่ไกล คือแม้มาจากที่ไกล คือจากทางไกลคือสงสาร

มีปรากฏอยู่ขณะนี้ คือขณะที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นนี้ไม่พลาดไป คือไม่

ล่วงเลยไป อธิบายว่า ยังไม่ล่วงเลยเราไป.

เชื่อมความว่า เราบรรลุถึงพระนิพพาน เหตุได้เห็นพระพุทธเจ้า

จึงค้นหา คือพิจารณาปฏิสนธิของเราในภพที่จะเกิดต่อไปก็ไม่เห็น. เชื่อม

ความว่า เราไม่มีอุปธิ คือเว้นจากอุปธิคือขันธ์และอุปธิคือกิเลสทั้งหลาย

เป็นผู้หลุดพ้น คือเป็นผู้เว้นจากกิเลสทั้งปวง สงบ คือมีใจสงบ เพราะ

ไม่มีความเร่าร้อนเพราะกิเลส เที่ยวไปอยู่.

เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบการเห็นพระพุทธเจ้าของตนอีก จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

กล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ ปทุม นาม ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า

ธรรมดาปทุมย่อมบาน คือย่อมแย้มบานเพราะแสงอาทิตย์ คือเพราะ

สัมผัสแสงอาทิตย์ แม้ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า คือข้าแต่พระผู้สูงสุด

กว่าวีรชน ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้บานแล้ว เพราะรัศมี

ของพระพุทธเจ้า คือเพราะเกิดรัศมี คือพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว.

เมื่อจะแสดงการเห็นพระนิพพาน เพราะการได้เห็นพระพุทธเจ้าอีก

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถา พลากา ดังนี้. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทั้งปวง นกยางตัวผู้ย่อมไม่มีในกำเนิดนกยาง

คือในชาตินกยาง ฉันใด.

หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า เมื่อไม่มีตัวผู้ พวกนกยางจะตั้งครรภ์

ได้อย่างไร ?

ตอบว่า เมื่อเมฆครางกระหึ่ม คือทำเสียง นางนกยางเหล่านั้นได้

ฟังเสียงเมฆร้องย่อมตั้งครรภ์ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทั้งปวง อธิบายว่า

ย่อมทรงฟองไข่ไว้. เมฆยังไม่ครางกระหึ่ม คือเมฆยังไม่ทำเสียงเพียงใด

คือตลอดกาลมีประมาณเท่าใด นางนกยางทั้งหลายก็ทรงครรภ์คือฟองไข่

ไว้เป็นเวลานาน คือโดยกาลนานเพียงนั้น คือตลอดกาลมีประมาณ

เท่านั้น. เมื่อใดคือกาลใด เมฆฝนตกลงมา คือร้องครางโดยปการะชนิด

ต่าง ๆ แล้วตกลงมา คือหลั่งสายฝนตกลงมา เมื่อนั้น คือกาลนั้น นาง-

นกยางทั้งหลายย่อมพ้นจากภาระ คือการทรงครรภ์ อธิบายว่า ตกฟอง

(ออกไข่).

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงข้อความอุปไมยให้ถึงพร้อม จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

กล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เมื่อ

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงประกาศกึกก้อง คือทรงแสดงด้วย

เมฆ คือพระธรรม คือด้วยเมฆกล่าวคือโวหารปรมัตถเทศนา ในกาลนั้น

ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ได้ถือเอาครรภ์คือพระธรรม ได้แก่ครรภ์คือ

บุญสมภารมีทานและศีลเป็นต้น อันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระนิพพาน.

เชื่อมความว่า ข้าพระองค์อาศัยแสนกัป คือทำแสนกัปให้เป็น

เบื้องต้น ทำครรภ์คือบุญ ได้แก่ทำบุญสมภารมีทานและศีลเป็นต้น ให้

ทรงอยู่ คือให้เต็มอยู่. ธรรมเมฆ คือพระธรรมเทศนายังไม่ครางกระหึ่ม

คือพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงแสดง เพียงใด ข้าพระองค์ก็ยังไม่พ้น คือยังไม่

เปลื้อง ได้แก่ยังไม่เป็นคนละแผนกจากภาระ คือจากครรภ์ภาระ คือ

สงสาร เพียงนั้น.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระศากยมุนี คือข้าแต่พระองค์

ผู้สมภพในศากยวงศ์ผู้เจริญ ในกาลใด พระองค์ทรงกระหึ่ม คือทรง

ประกาศธรรมเมฆในนครกบิลพัสดุ์ คือในนครอันมีนามว่ากบิลพัสดุ์ อัน

น่ายินดี คือน่ารื่นรมย์ แห่งพระบิดาของพระองค์ทรงพระนามว่า

สุทโธทนมหาราช ในกาลนั้น ข้าพระองค์พ้นแล้ว คือได้พ้นแล้วจาก

ภาระ คือจากคัพภภาระคือสงสาร.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงมรรคผลที่ตนได้บรรลุ จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า สุญฺต ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ข้าพระองค์บรรลุ

คือเจริญอริยมรรค ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นตน

และเป็นของตน ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ

และกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะไม่มีปณิธิคือตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

บทว่า จตุโร จ ผเล สพฺเพ ความว่า ได้ทำให้แจ้งสามัญผล ๔ ทั้งหมด.

บทว่า ธมฺเมว วิชฏยึ อห ความว่า ข้าพระองค์สะสาง คือขจัดชัฏ คือ

รกชัฏในธรรมทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้.

จบพรรณนาทุติยภาณวาร

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงเฉพาะคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า อปริเมยฺยุปาทาย ดังนี้. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่าอปริเมยยะ เพราะประมาณไม่ได้ อธิบายว่า ไม่อาจจะประมาณ

คือจะนับ โดยนับเป็นปี. ข้าพระองค์อาศัยคือกระทำกัปอันหาประมาณ

มิได้นั้นให้เป็นเบื้องต้นมา ปรารถนาศาสนาของพระองค์อย่างนี้ว่า ข้า-

พระองค์พึงเป็นเลิศแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคต. คำว่า ปตฺเถมิ เป็นคำปัจจุบัน

ใช้ในอรรถเป็นอดีต. อธิบายว่า ปตฺเถสึ ปรารถนาแล้ว. บทว่า โส เม

อตฺโถ ความว่า ประโยชน์คือปรารถนานั้น เราได้บรรลุแล้ว คือทำให้

สำเร็จแล้ว. เชื่อมความว่า ข้าพระองค์ได้ถึง คือได้บรรลุสันติบท คือ

พระนิพพานอันยอดเยี่ยม.

ข้าพระองค์นั้นถึงความยอดเยี่ยม คือถึงที่สุดในพระวินัย คือใน

พระวินัยปิฎก เพราะเป็นผู้บรรลุแล้ว. บทว่า ยถาปิ ปาิโก อิสิ ความ

ว่า ฤาษีคือภิกษุผู้เป็นเลิศแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญพระบาลี คือเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

ปรากฏแล้ว ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า น เม สมสโม

อตฺถิ ความว่า เพราะความเป็นผู้มีปกติทรงพระวินัย คนอื่นซึ่งจะเป็นผู้

เสมอเหมือนข้าพระองค์จึงไม่มี. อธิบายว่า ข้าพระองค์ยังศาสนาคือคำสอน

กล่าวคือโอวาทานุสาสนีให้ดำรงอยู่ คือให้บริบูรณ์อยู่.

เมื่อจะแสดงความวิเศษของตนช้ำอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วินเย

ขนฺธเก จาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินเย ได้แก่ ในอุภโต-

วิภังค์. บทว่า ขนฺธเก ได้แก่ ในมหาวรรคและจูฬวรรค. บทว่า

ติกจฺเฉเท ได้แก่ ในติกสังฆาทิเสสและติกปาจิตตีย์เป็นต้น. บทว่า

ปญฺจเม ได้แก่ ในบริวาร. ในวินัยเป็นต้นนี้ คือในวินัยปิฎกทั้งสิ้นนี้

ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย คือไม่มีความลังเลใจ. บทว่า อกฺขเร ได้แก่

ในอักขระมี อ อักษรเป็นต้น อันนับเนื่องในพระวินัยปิฏก. บทว่า

พฺยญฺชเน เชื่อมความว่า หรือว่าในพยัญชนะมี อักษรเป็นต้น ข้า-

พระองค์ก็ไม่มีความเคลือบแคลง คือความสงสัย.

บทว่า นิคฺคเห ปฏิกมฺเม จ ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือเป็นผู้

เฉลียวฉลาด ในนิคคหะการลงโทษพวกภิกษุลามก ในการทำคืนอาบัติ

มีการให้ปริวาสเป็นต้นแก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว ในฐานะและมิใช่ฐานะคือ

ในเหตุและมิใช่เหตุ. เชื่อมความว่า เป็นผู้ฉลาดในโอสารณะ คือในการ

ให้กลับเข้าหมู่ ได้แก่ในการให้เข้าหมู่ด้วยการระงับกรรมมีตัชชนียกรรม

เป็นต้น และในวุฏฐาปนะ คือในการให้ออกจากอาบัติ ได้เเก่ในการกระทำ

ให้ไม่มีอาบัติ. บทว่า สพฺพตฺถ ปารมึ คโต ความว่า ถึงที่สุดในวินัย-

กรรมทุกอย่าง. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เฉลียวฉลาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

บทว่า วินเย ขนฺธเก จาปิ ความว่า วาง คือตั้งบท ได้แก่สุตบท

ในวินัย และขันธกะซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อุภโต วินิเว-

เตฺวา ความว่า ปฏิบัติ คือชำระสะสาง นำนัยมาจากทั้งสองอย่าง คือ

จากวินัยและจากขันธกะ. บทว่า รสโต คือ โดยกิจ. พึงเรียกเข้าหมู่

อธิบายว่า กระทำการเรียกให้เข้าหมู่.

บทว่า นิรุตฺติยา จ กุสโล ความว่า เป็นผู้เฉลียวฉลาดในโวหาร

คือถ้อยคำมีอาทิว่า รุกขะ ต้นไม้, ปฏะ แผ่นผ้า, กุมภะ หม้อ, มาลา

ดอกไม้, จิตตะ จิต. บทว่า อตฺถานตฺเถ จ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด

คือเชี่ยวชาญในอัตถะ คือความเจริญ และในอนัตถะ คือความเสื่อม.

บทว่า อนญฺาต มยา นตฺถิ ความว่า สิ่งไร ๆ ที่ข้าพระองค์ไม่รู้ คือ

ไม่รู้แจ้ง ไม่ปรากฏชัดในวินัยปิฎกหรือในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น ย่อมไม่มี.

บทว่า เอกคฺโค สตฺถุ สาสเน ความว่า ข้าพระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเป็น

ผู้เลิศ คือเป็นผู้ประเสริฐ สูงสุดแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในพระพุทธ-

ศาสนา.

บทว่า รูปทกฺเข อห อชฺช เชื่อมความว่า วันนี้ คือในกาลบัดนี้

ข้าพระองค์บรรเทา คือทำให้พินาศ ซึ่งความเคลือบแคลงทั้งปวง คือ

ความสงสัยทั้งสิ้น เพราะชำนาญในรูป คือเพราะเห็นรูป ได้แก่การ

วินิจฉัยวินัย ในพระศาสนา คือปาพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

ศากยบุตร.

บทว่า ฉินฺทามิ สพฺพสสย ความว่า ข้าพระองค์ตัด คือสงบระงับ

ได้แก่ขจัดให้หมดซึ่งความสงสัยทั้งหมด ๑๖ ประการ อันเกิดขึ้นปรารภ

กาลทั้งสาม มีอาทิว่า ในอดีตเราได้มีหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

บทว่า ปท อนุปทญฺจาปิ ความว่า ได้แก่ บท คือบทหน้า อนุบท

คือบทปลาย. อักขระ คืออักขระตัวหนึ่ง ๆ และพยัญชนะ คือวิธีของ

พยัญชนะ ๑๐ อย่าง มีสิถิล ธนิต เป็นต้น. บทว่า นิทาเน ได้แก่ ใน

นิทาน มีอาทิว่า เตน สมเยน ดังนี้. บทว่า ปริโยสาเน ได้แก่ ใน

บทส่งท้าย. บทว่า สพฺพตฺถ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในฐานะ

ทั้งหมด ๖ ประการ.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เมื่อจะประกาศพระคุณทั้งหลายเฉพาะของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ ราชา พลวา ดังนี้. ในคำนั้น

มีอธิบายว่า พระราชาผู้มีพระกำลัง คือทรงสมบูรณ์ด้วยกำลัง คือเรี่ยว-

แรง หรือทรงสมบูรณ์ด้วยกำลังเสนา ทรงข่มเสนาของพระราชาอื่น คือ

พระราชาฝ่ายตรงข้าม คือจับได้หมดหรือขับไล่ให้หนีไปหมด แล้วพึงทำ

ให้เร่าร้อน คือให้เดือดร้อน ให้ลำบาก ฉันใด. บทว่า วิชิตฺวาน สงฺคาม

ความว่า ทรงชนะวิเศษ คือทรงชนะโดยวิเศษซึ่งสงคราม คือการถึง

กันเข้า ได้แก่การรบกับเสนาของพระราชาอื่น คือทรงได้ชัยชนะแล้ว.

บทว่า นคร ตตฺถ มาปเย ความว่า จึงให้สร้าง คือให้กระทำนคร คือ

สถานที่อยู่อันประดับด้วยปราสาทและเรือนโล้นเป็นต้นลงในที่นั้น คือใน

ที่ที่ทรงชนะนั้น.

บทว่า ปาการ ปริขญฺจาปิ เชื่อมความว่า ให้ทำกำแพง คือ

กำแพงอิฐอันขาวด้วยปูนขาว ในนครที่สร้างไว้นั้น. และให้ทำแม้คู คือ

แม้คูเปือกตม คูน้ำ คูแห้ง. บทว่า เอสิก ทฺวารโกฏฺก ได้แก่ ให้ทำ

เสาระเนียด ตั้งซุ้มใหญ่ และซุ้มประตู ๔ ชั้น เป็นต้น เพื่อความงดงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ของพระนคร. บทว่า อฏฺฏาลเก จ วิวิเธ เชื่อมความว่า และให้ทำ

คือให้สร้างป้อมสูงลิ่วอันต่างด้วยป้อม ๔ ชั้นเป็นต้นต่างๆ คือมีประการ

ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก.

บทว่า สิงฺฆาฏก จจฺจรญฺจ เชื่อมความว่า ให้สร้างกำแพงเป็นต้น

อย่างเดียวก็หามิได้ ให้สร้างทางสี่แพร่ง คือทางสี่แยก และทางแยก คือ

ถนนในระหว่าง. บทว่า สุวิภตฺตนฺตราปณ ความว่า ให้สร้างระหว่าง

ร้านค้า คือร้านค้าหลายพันอันจัดไว้เป็นระเบียบ คือมีส่วนโดยจัดแบ่ง

เป็นส่วน ๆ. บทว่า การเยยฺย สภ ตตฺถ ความว่า ให้สร้างสภา คือ

ศาลสำหรับตัดสินคดีโดยธรรม (ศาลสถิตยุติธรรม) ไว้ในนครที่สร้าง

นั้น. เชื่อมความว่า ให้สร้างสถานที่วินิจฉัยคดีและมิใช่คดี คือศาลเป็น

ที่ตัดสิน เพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินความเจริญและความเสื่อม.

บทว่า นิคฺฆาตตฺถ อมิตฺตาน ความว่า เพื่อป้องกันพระราชาฝ่าย

ตรงข้าม. บทว่า ฉิทฺทาฉิทฺทญฺจ ชานิตุ ได้แก่ เพื่อจะได้รู้โทษและมิใช่

โทษ. บทว่า พลกายสฺส รกฺขาย ความว่า เพื่อต้องการจะรักษาพลกาย

คือหมู่เสนา อันได้แก่พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า พระราชา

ผู้เป็นเจ้าของนครนั้น จึงทรงตั้ง คือทรงสถาปนาเสนาบดี คือมหา-

อำมาตย์ผู้นำกองทัพไว้ในฐานันดร คือลำดับยศและบรรดาศักดิ์.

บทว่า อารกฺขตฺถาย ภณฺฑสฺส เชื่อมความว่า เพื่อจะอารักขา

คือเพื่อจะรักษาโดยรอบด้านซึ่งของหลวง มีทอง เงิน แก้วมุกดา และ

แก้วมณีเป็นต้น พระราชานั้นจึงทรงตั้งคนคือบุรุษผู้ฉลาดในการเก็บ คือ

ผู้เฉลียวฉลาดในการรักษา ให้เป็นภัณฑรักษ์คือผู้รักษาสิ่งของไว้ในเรือน

คลัง ด้วยหวังพระทัยว่า สิ่งของของเราอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

บทว่า มมตฺโต โหติ โย รญฺโ ความว่า ผู้ใดเป็นบัณฑิต เป็น

ผู้รักใคร่ คือตกอยู่ในฝ่ายของพระราชา. บทว่า วุฑฺฒึ ยสฺส จ อิจฺฉติ

เชื่อมความว่า และผู้ใดย่อมปรารถนา คือย่อมต้องการความเจริญงอกงาม

แด่พระราชานั้น พระราชาย่อมประทานความเป็นใหญ่ในการวินิจฉัย

อธิกรณ์แก่ผู้นั้น ผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เพื่อปฏิบัติต่อมิตร คือต่อความ

เป็นมิตร.

บทว่า อุปฺปาเตสุ ได้แก่ ในลางทั้งหลายมีอุกกาบาต คือดวงไฟ

ตกลงมา และทิสาฑาหะ คือทิศถูกไฟไหม้เป็นต้น. บทว่า นิมิตฺเตสุ

ได้แก่ ในศาสตร์อันว่าด้วยการรู้นิมิตอย่างนี้ว่า นี้นิมิตดี นี้นิมิตไม่ดี มี

ถูกหนูกัดเป็นต้น. บทว่า ลกฺขเณสุ จ เชื่อมความว่า อนึ่ง พระราชา

นั้นทรงตั้งคนผู้ฉลาด คือผู้เฉลียวฉลาดในศาสตร์อันว่าด้วยการรู้นิมิตที่

มือและเท้าของชายหญิง ผู้สั่งสอนคือผู้บอกการพยากรณ์แก่ศิษย์มิใช่น้อย

ผู้ทรงจำมนต์ คือทรงจำมนต์กล่าวคือไตรเพท ผู้เป็นบัณฑิต ไว้ใน

ความเป็นปุโรหิต คือในฐานันดรที่ปุโรหิต.

บทว่า เอเตหงฺเคหิ สมฺปนโน เชื่อมความว่า พระราชานั้นผู้ถึง

พร้อม คือพร้อมพรั่งด้วยองค์ คือองค์ประกอบ ซึ่งมีประการดังกล่าว

แล้วนี้ เขาเรียก คือกล่าวว่า กษัตริย์. บทว่า สทา รกฺขนฺติ ราชาน

ความว่า อำมาตย์มีเสนาบดีเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมรักษาคือคุ้มครองพระราชา

นั้นทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง.

ถามว่า เหมือนอะไร ?

ตอบว่า เหมือนนกจากพราก อธิบายว่า เหมือนนกจากพราก

รักษาญาติของตนผู้มีทุกข์ คือผู้ถึงความทุกข์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

บทว่า ตเถว ตว มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่พระวีรบุรุษผู้สูงสุด

พระราชานั้นทรงสมบูรณ์ด้วยองค์มีองค์แห่งเสนาบดีเป็นต้น ปิดกั้นประตู

พระนครทรงอาศัยอยู่ ฉันใด พระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นพระธรรม-

ราชา คือเป็นพระราชาโดยธรรม โดยเสมอ ของชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก

คือของชาวโลกผู้เป็นไปกับทั้งเทวดาทั้งหลาย ดุจกษัตริย์กำจัดอมิตรได้

คือกำจัดข้าศึกได้แล้ว มหาชนเรียกว่า คือกล่าวว่า พระธรรมราชา

เพราะทรงเป็นพระราชาโดยทรงบำเพ็ญธรรมคือบารมี ๑๐ ทัศให้บริบูรณ์.

บทว่า ติตฺถิเย นีหริตฺวาน ความว่า เพราะความเป็นพระธรรม-

ราชา จึงทรงนำออก คือนำไปโดยไม่เหลือซึ่งพวกเดียรถีย์ทั้งสิ้นซึ่งเป็น

ปฏิปักษ์ กระทำให้หมดพยศ และแม้มารพร้อมทั้งเสนา คือแม้วสวัตดี-

มารพร้อมทั้งเสนาก็ทรงนำออกหมด. บทว่า ตมนฺธการ วิธมิตฺวา ความว่า

ขจัด คือกำจัดความมืดคือโมหะ กล่าวคือความมืด. อธิบายว่า ทรงให้

สร้าง คือทรงนิรมิต ได้แก่ทรงประดิษฐานธรรมนคร คือนครกล่าวคือ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือกล่าวคือธรรม คือขันธ์ อายตนะ

ธาตุ ปฏิจจสมุปบาท พละ โพชฌงค์ และสมันตปัฏฐานอันมีนัยลึกซึ้ง.

บทว่า สีล ปาการก ตตฺถ ได้แก่ ในธรรมนครที่ให้ประดิษฐาน

ไว้นั้น มีปาริสุทธิศีลเป็นกำแพง. บทว่า าณ เต ทฺวารโกฏฺก

ความว่า ญาณของพระองค์ มีพระสัพพัญญุตญาณ อาสยานุสยญาณ

อนาคตังสญาณ และอตีตังสญาณเป็นต้นนั่นแหละ เป็นซุ้มประตู. บทว่า

สทฺธา เต เอสิกา วีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบากบั่นไม่ย่อหย่อน

ผู้เจริญ ศรัทธาคือความเชื่อของพระองค์ อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

เหตุ เริ่มแต่บาทมูลของพระพุทธทีปังกร เป็นเสาอันประดับประดาด้วย

เครื่องอลังการที่ยกขึ้นตั้งไว้. บทว่า ทฺวารปาโล จ สวโร ความว่า

ความสังวรอันเป็นไปในทวาร ๖ ของพระองค์ คือการรักษา การป้องกัน

และคุ้มครอง เป็นนายทวารบาล คือเป็นผู้รักษาประตู.

บทว่า สติปฏฺานมฏฺฏาล ความว่า พระองค์มีสติปัฏฐาน ๔

เป็นป้อมซึ่งมีเครื่องมุงเกลี้ยงๆ. บทว่า ปญฺา เต จจฺจร มุเน ความว่า

ข้าแต่พระมุนีผู้มีพระญาณผู้เจริญ ปัญญาของพระองค์มีอย่างต่าง ๆ มี

ปาฏิหาริยปัญญาเป็นต้น เป็นทางสี่แพร่ง คือเป็นที่ชุมทาง ได้แก่เป็น

ทางไปสู่พระนคร. บทว่า อิทฺธิปาทญฺจ สิงฺฆาฏ ความว่า อิทธิบาท ๔

กล่าวคือฉันทะ วีริยะ จิตตะ และวีมังสา ของพระองค์เป็นทางสี่แยก

คือเป็นที่ต่อของทาง ๔ สาย. บทว่า ธมฺมวีถิ สุมาปิต ความว่า ธรรม-

นครนั้น พระองค์ทรงสร้างคือตกแต่งไว้เรียบร้อย ด้วยถนนกล่าวคือ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.

บทว่า สุตฺตนฺต อภิธมฺมญฺจ ความว่า ในธรรมนครนี้ของ

พระองค์ มีพระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก และพระวินัยปิฎก

คือพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะเป็นต้นทั้งหมด คือทั้งสิ้น

เป็นธรรมสภา คือเป็นศาลตัดสินอธิกรณ์โดยธรรม.

บทว่า สุญฺต อนิมิตฺตญฺจ ความว่า สุญญตวิหารธรรมที่ได้ด้วย

อำนาจอนัตตานุปัสสนา และอนิมิตตวิหารธรรมที่ได้ด้วยอำนาจอนิจจา-

นุปัสสนา. บทว่า วิหารญฺจปฺปณิหิต ได้แก่ อัปปณิหิตวิหารธรรมที่ได้

ด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนา. บทว่า อาเนญฺชญฺจ ได้แก่ อาเนญชวิหาร-

ธรรม กล่าวคือสามัญผล ๔ อันไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

นิโรโธ จ ได้แก่ พระนิพพานอันเป็นที่ดับทุกข์ทั้งมวล. บทว่า เอสา

ธมฺมกุฏี ตว ความว่า นี้กล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ทั้งหมด เป็นธรรมกุฎี

คือเป็นเรือนที่อยู่ของพระองค์.

บทว่า ปญฺาย อคฺโค นิกฺขิตฺโต ความว่า พระเถระที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ คือทรงตั้งไว้ว่า เป็นผู้เลิศ แห่งภิกษุทั้งหลาย

ผู้มีปัญญาด้วยอำนาจปัญญา ผู้ฉลาดคือเฉลียวฉลาดในปฏิภาณ คือในกิจ

ที่จะพึงทำด้วยปัญญา หรือว่าในยุตตมุตตปฏิภาณการโต้ตอบ ปรากฏ

โดยนามว่าสารีบุตร เป็นธรรมเสนาบดีของพระองค์ คือเป็นใหญ่

เป็นประธาน โดยการทรงจำกองธรรมคือพระไตรปิฎกที่พระองค์ทรง

แสดงแล้ว ย่อมกระทำกิจของกองทัพ.

บทว่า จุตูปปาตกุสโล ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้เจริญ พระ-

โมคคัลลานเถระเป็นผู้ฉลาด คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในจุตูปปาตญาณ คือใน

จุติและอุบัติ. บทว่า อิทฺธิยา ปารมึ คโต เชื่อมความว่า พระ-

โมคคัลลานเถระชื่อว่าโกลิตะโดยชื่อ ผู้ถึงคือบรรลุบารมี คือที่สุดแห่ง

ความแตกฉานด้วยฤทธิ์ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า แม้คนเดียวก็เป็น

หลายคนได้ แม้หลายคนก็เป็นคนเดียวได้ เป็นโปโรหิจจะ คือเป็นปุโรหิต

ของพระองค์.

บทว่า โปราณกสธโร ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้มีพระญาณผู้

เจริญ พระมหากัสสปเถระผู้ทรงไว้ หรือผู้รู้สืบ ๆ มาซึ่งวงศ์เก่าก่อน

เป็นผู้มีเดชกล้า คือมีเดชปรากฏ หาผู้เทียมถึงได้ยาก คือยาก ได้แก่

ไม่อาจทำให้ขัดเคืองคือกระทบกระทั่ง. บทว่า ธุตวาทีคุเณนคฺโค ความว่า

พระมหากัสสปเถระเป็นผู้เลิศ คือประเสริฐด้วยธุตวาทีคุณ เพราะกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

คือกล่าวสอนธุดงค์ ๑๓ มีเตจีวริกังคธุดงค์เป็นต้น และด้วยธุดงคคุณ เป็น

ผู้พิพากษาของพระองค์ คือเป็นประธานในการกระทำตามบัญญัติ คือ

การตัดสิน.

บทว่า พหุสฺสุโต ธมฺมธโร ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้เจริญ

พระอานนท์ ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะได้ฟังพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ เป็น

อันมาก คือเพราะได้เรียนมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าและจากภิกษุสงฆ์

ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะทรงธรรมคือนิกายนับได้หกแสนมิใช่น้อย และ

ปรมัตถธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.

บทว่า สพฺพปาลี จ สาสเน ความว่า พระเถระมีนามชื่อว่า

อานนท์ ชื่อว่าผู้ชำนาญพระบาลีทั้งปวง เพราะเป็นผู้เลิศคือเป็นผู้

ประเสริฐแห่งภิกษุทั้งปวง ผู้กล่าวคือผู้สาธยายพระบาลีทั้งปวงในพระ-

พุทธศาสนา. บทว่า ธมฺมารกฺโข ตว ความว่า เป็นผู้อารักขา คือ

เป็นผู้รักษา ปกครองธรรม ได้แก่ภัณฑะ คือพระไตรปิฎกธรรมของ

พระองค์ อธิบายว่า เป็นคลังธรรม.

บทว่า เอเต สพฺเพ อติกฺกมฺม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีภัคยะคือบุญ ทรงละคือทรงเว้นพระเถระ

ทั้งหลายแม้ผู้มีอานุภาพมากมีพระสารีบุตรเป็นต้นเหล่านี้เสีย ทรงประมาณ

คือได้ทรงกระทำประมาณ ได้แก่ ได้ทรงใส่พระทัยเฉพาะเราเท่านั้น.

บทว่า วินิจฺฉย เม ปาทาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบ คือได้

ทรงประทานโดยปการะแก่เรา ซึ่งการวินิจฉัย คือการพิจารณาโทษใน

พระวินัย อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้วินัยแสดงไว้แล้ว คือประกาศไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

บทว่า โย โกจิ วินเย ปญฺห ความว่า ภิกษุพุทธสาวกรูปใด

รูปหนึ่งถามปัญหาอันอิงอาศัยวินัยกะเรา, เราไม่ต้องคิด คือไม่เคลือบ

แคลงสงสัยในปัญหาที่ถามนั้น. เชื่อมความว่า เรากล่าวเนื้อความนั้น

เท่านั้น คือความที่ถามนั้นเท่านั้น.

บทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ เชื่อมความว่า ในพุทธอาณาเขต

ในที่มีกำหนดเพียงไร คือมีประมาณเท่าไร (ก็ตาม) เว้นพระมหามุนี คือ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเสีย ไม่มีบุคคลผู้เหมือนเรา คือเช่นกับเรา

ในเรื่องวินัยหรือในการกระทำวินิจฉัยพระวินัยในพระวินัยปิฎก เราเท่านั้น

เป็นผู้เลิศ, ผู้ยิ่งกว่าคือยิ่งกว่าเรา จักมีมาแต่ไหน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ประทับนั่งในหมู่ภิกษุ คือ

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วทรงประกาศอย่างนี้ คือทรงกระทำ

สีหนาท. ทรงประกาศอย่างไร ? ทรงประกาศอย่างนี้ว่า ไม่มีผู้เสมอ

คือแม้นเหมือนอุบาลี ในเรื่องวินัยคืออุภโตวิภังค์ในขันธกะทั้งหลาย คือ

มหาวรรคและจูฬวรรค และในบริวาร ด้วย จ ศัพท์.

บทว่า ยาวตา ความว่า นวังคสัตถุศาสน์ มีสุตตะ เคยยะ

เป็นต้น มีประมาณเท่าใดอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือทรงแสดงไว้ทั้งหมด

พระศาสดาทรงประกาศแก่ผู้มีปกติเห็น คือเห็นอยู่อย่างนี้ว่า นวังคสัตถุ-

ศาสน์นั้น หยั่งลงในพระวินัย คือเข้าอยู่ภายในพระวินัย มีพระวินัยเป็น

มูลราก.

บทว่า มม กมฺม สริตฺวาน เชื่อมความว่า พระโคดมศากยะ

ผู้ประเสริฐ คือผู้เป็นประธานในศากยวงศ์ ทรงระลึกคือทรงรู้ประจักษ์

แจ้งกรรมของเรา คือความปรารถนาในกาลก่อนของเรา ด้วยพระอตีตังส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

ญาณ เสด็จไปในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีนี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา

ผู้เป็นวินัยธร ดังนี้.

บทว่า สตสหสฺสุปาทาย ความว่า เราได้ปรารถนาตำแหน่งนี้ใด

เริ่มมาแสนกัป ประโยชน์ของเรานั้น เราถึงแล้วโดยลำดับ คือบรรลุแล้ว

ได้เฉพาะแล้ว ถึงความยอดเยี่ยมคือถึงที่สุดในพระวินัย.

เมื่อก่อน คือในกาลก่อน เราได้เป็นช่างกัลบก ทำความยินดี

ให้เกิด คือทำความโสมนัสแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย คือแก่พระราชาใน

ศากยวงศ์ทั้งหลาย. เราละคือละทิ้งโดยวิเศษซึ่งชาตินั้น คือตระกูลนั้น

ได้แก่ กำเนิดนั้น เกิดเป็นบุตรของพระมเหสีเจ้า คือของพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า อธิบายว่า ถึงการนับว่าเป็นศากยบุตร เพราะทรงคำสอน

ไว้ได้.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงอปทานแห่งกาลบังเกิดในตระกูล

ทาสของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อิโต ทุติยเก กปฺเป ดังนี้. ในคำนั้น

เชื่อมความว่า ในกัปที่สองภายหลังภัทรกัปนี้ไป มีขัตติยราชพระองค์หนึ่ง

พระนามว่าอัญชสะโดยพระนาม มีพระเดชานุภาพหาที่สุดมิได้ คือมี

พระเดชานุภาพล่วงพ้นจากการนับ มีพระยศนับไม่ได้ คือมีบริวารพ้นจาก

นับประมาณ มีทรัพย์มาก คือมีทรัพย์หลายแสนโกฏิ ทรงเป็นภูมิบาล

คือทรงปกครองรักษาปฐพี.

บทว่า ตสฺส รญฺโ เชื่อมความว่า เราเป็นโอรสของพระราชา

นั้นคือผู้เช่นนั้น ได้เป็นกษัตริย์ คือเป็นขัตติยกุมารนามว่า จันทนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

อธิบายว่า เรานั้นเป็นคนกระด้าง คือแข็งกร้าว ถือตัว ด้วยความเมา

เพราะชาติ ยศ และโภคะ.

บทว่า นาคสตสหสฺสานิ เชื่อมความว่า ช้างแสนเชือกเกิดใน

ตระกูลมาตังคะ แตกมันโดยส่วนสาม คือมันแตก ได้แก่มันไหลจากที่ ๓

แห่ง คือ ตา หู และอัณฑะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง คือประดับ

ด้วยเครื่องประดับสำหรับช้างทุกชนิด ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ คือตลอด

กาลทั้งปวง.

บทว่า สพเลหิ ปเรโตห เชื่อมความว่า ในกาลนั้น เราอันพล

ของตน คืออันพลแห่งกองทัพของตนห้อมล้อม ประสงค์จะไปอุทยาน

จึงขึ้นขี่ช้างชื่อว่า สิริกะ ออกจากพระนครไป.

บทว่า จรเณน จ สมฺปนฺโน ความว่า พระสัมพุทธเจ้า คือ

พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าเทวละ ประกอบด้วยจรณธรรม ๑๕ มีศีลสังวร

เป็นต้น คุ้มครองทวาร คือปิดทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น สำรวม

เรียบร้อย คือรักษากายและจิตไว้ด้วยดี มาคือถึงเบื้องหน้าคือตรง

หน้าเรา.

บทว่า เปเสตฺวา สิริก นาค ความว่า เราเห็นพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้านั้นมาแล้ว จึงไสช้างชื่อว่าสิริกะไปตรงหน้า ให้ขัดเคือง

คั่งแค้น คือให้ทำร้ายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. บทว่า ตโต สญฺชาตโกโป

โส ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะบีบบังคับไสไปนั้น ช้างนั้นได้

เกิดความโกรธในเรา จึงไม่ยอมย่างเท้า อธิบายว่า เป็นช้างหยุดนิ่งอยู่.

บทว่า นาค ทุฏฺมน ทิสวา ความว่า เราเห็นช้างมีใจประทุษร้าย

คือมีจิตโกรธ จึงได้กระทำความโกรธ คือยังโทสะให้เกิดขึ้นในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ปัจเจกสัมพุทธเจ้า. บทว่า วิเหสยิตฺวา สมฺพุทฺธ เชื่อมความว่า เรา

ทำร้ายคือเบียดเบียนพระเทวละปัจเจกพุทธะแล้ว ได้ไปยังอุทยาน.

บทว่า สาต ตตฺถ น วินฺทามิ ความว่า เราไม่ได้ประสบความ

ยินดีในการทำให้ขัดเคืองนั้น. อธิบายว่า เราไม่ได้สุขอันอร่อย ซึ่งมีการ

ให้ขัดเคืองเป็นเหตุ. บทว่า สิโร ปชฺชลิโต ยถา ความว่า หัวคือ

ศีรษะของเราเป็นเหมือนลุกโพลงแล้ว คือเป็นเหมือนลุกโพลงอยู่. บทว่า

ปริฬาเหน ฑยฺหามิ ความว่า เราทำความโกรธในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ย่อมเร่าร้อน คือมีจิตร้อนด้วยความเร่าร้อนอันตามเผาอยู่ในภายหลัง.

บทว่า สาครนฺตา ความว่า เพราะกำลังของกรรมอันลามกนั้น

นั่นเอง มหาปฐพีทั้งสิ้นอันมีสาครเป็นที่สุด คือมีสาครเป็นที่สุดรอบ

ย่อมเป็นคือยอมปรากฏแก่เรา เสมือนไฟติดทั่วแล้ว คือเสมือนไฟลุกโพลง

แล้ว. บทว่า ปิตุ สนฺติกุปาคมฺม ความว่า เมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้

เราจึงเข้ามา คือเข้าไปยังสำนักแห่งพระราชบิดาของตน แล้วได้กล่าว

คือกราบทูลคำนี้.

บทว่า อาสีวิสว กุปิต เชื่อมความว่า หม่อมฉันทำพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้าองค์ใดผู้เป็นสยัมภู คือเป็นพุทธะด้วยตนเอง ผู้เดินมาเหมือน

อสรพิษทั้งปวงโกรธ ดุจกองไฟไหม้โพลง และประหนึ่งกุญชรคือช้าง

ชั้นสูง ที่ฝึกมาแล้วซึ่งตกมัน คือแตกมัน ๓ แห่ง ให้ท่านขัดเคือง คือ

ให้ขุ่นเคือง.

บทว่า อาสาทิโต มยา พุทฺโธ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

องค์นั้น ผู้อันหม่อมฉันทำให้ขัดเคืองคือให้ขุ่นเคือง เป็นผู้น่ากลัว คือ

ชื่อว่าน่ากลัว เพราะคนอื่น ๆ ไม่อาจต่อตีได้ ผู้มีตบะยิ่งใหญ่คือมีตบะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

ปรากฏ ผู้ชนะคือผู้ชนะมารทั้ง ๕ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณอย่างนี้ หม่อมฉันกระทบกระทั่งแล้ว. บทว่า ปุรา

สพฺเพ วินสฺสาม ความว่า เพราะกระทำความไม่เอื้อเฟื้อในพระปัจเจก-

สัมพุทธเจ้านั้น พวกเราทั้งหมดจักพินาศ คือจักฉิบหายโดยอาการต่าง ๆ

อธิบายว่า จะเป็นเหมือนเถ้าธุลี. บทว่า ขมาเปสฺสาม ต มุนึ ความว่า

พวกเราจักให้พระปัจเจกสัมพุทธมุนีนั้นอดโทษ ตราบเท่าที่จักไม่ฉิบหาย.

บทว่า โน เจ ต นิชฺฌาเปสฺสาม ความว่า หากเราทั้งหลาย

จักไม่ยังพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ผู้ฝึกตนแล้ว คือผู้ฝึกจิตแล้ว ผู้มีจิต

ตั้งมั่น คือมีจิตแน่วแน่ ให้ยกโทษคือให้อดโทษ. ภายใน ๗ วัน คือ

ในส่วนภายใน ๗ วัน ได้แก่ ไม่เกิน ๗ วัน แว่นแคว้นอันสมบูรณ์

ของเรา จักทำลายคือจักฉิบหายหมด.

บทว่า สุเมขโล โกสิโย จ ความว่า พระราชา ๔ พระองค์

มีพระเจ้าสุเมขละเป็นต้นเหล่านี้ รุกรานคือกระทบกระทั่งพระฤๅษีทั้งหลาย

ได้แก่ กระทำความไม่เอื้อเฟื้อ พร้อมทั้งชาวรัฐ คือพร้อมกับชาว

ชนบทในแว่นแคว้น กลายเป็นคนเข็ญใจ คือพากันถึงความพินาศ.

บทว่า ยทา กุปฺปนฺติ อิสโย เชื่อมความว่า ในกาลใด พระ-

ฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวม คือผู้สำรวมด้วยการสำรวมทางกายเป็นต้น เป็นผู้

สงบมีปกติประพฤติพรหมจรรย์ คือมีปกติประพฤติสูง ได้แก่มีปกติ

ประเสริฐ พากันโกรธคือเป็นผู้โทมนัส ในกาลนั้น จักทำโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก พร้อมทั้งสาครภูเขา ให้พินาศ.

บทว่า ติโยชนสหสฺสมฺหิ เชื่อมความว่า เรารู้อานุภาพของ

ฤๅษีเหล่านั้น จึงให้ประชุมเหล่าบุรุษในประเทศประมาณสามพันโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

เพื่อขอให้ท่านอดโทษ คือเพื่อต้องการแสดง คือเพื่อต้องการประกาศ

โทษในความล่วงเกินคือความผิด. บทว่า สยมฺภุ อุปสงฺกมึ ความว่า

ข้าพเจ้าเข้าไปหา คือเข้าไปใกล้พระสยัมภู คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

บทว่า อลฺลวตฺถา ความว่า ชนทั้งปวงเป็นหมวดหมู่พร้อมกับเรา

มีผ้าเปียก คือมีผ้าอุตราสงค์เปียกน้ำ มีหัวเปียก คือมีผมเปียก กระทำ

อัญชลี คือกระทำพุ่มแห่งอัญชลีไว้เหนือศีรษะ หมอบลง คือนอนลงที่เท้า

คือใกล้เท้าของพระพุทธะ คือพระปัจเจกมุนี ได้กล่าวคำนี้ อธิบายว่า

ได้กล่าวคือกล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงอดโทษเถิด.

ข้าแต่พระมหาวีระ คือข้าแต่พระองค์ผู้เป็นวีรบุรุษชั้นสูง ได้แก่

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษคือจงบรรเทาโทษผิด

ที่ข้าพระองค์กระทำในพระองค์ เพราะความไม่รู้ อธิบายว่า ขออย่าทรง

ใส่ใจเลย. ชนคือหมู่ชนวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า ขอพระองค์จง

บรรเทาความเร่าร้อน คือความเร่าร้อนเพราะทุกข์ทางจิตที่ทำด้วยโทสะ

และโมหะ แก่พวกข้าพระองค์ คือขอจงกระทำให้เบาบาง อธิบายว่า

ขอพระองค์อย่าทรงทำแว่นแคว้น คือชาวชนบทในแว่นแคว้นทั้งสิ้นของ

พวกข้าพระองค์ ให้พินาศเลย.

บทว่า สเทวมานุสา สพฺเพ ความว่า หมู่มนุษย์ทั้งปวงพร้อม

ทั้งเทพทั้งทานพ คือพร้อมทั่งเหล่าอสูรมีปหาราทะอสูรเป็นต้น พร้อม

ทั้งรากษส จะเอาค้อนเหล็ก คือค้อนใหญ่ต่อยคือทำลายหัวของเรา คือ

กระหม่อมของเราอยู่ทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะประกาศความที่พระพุทธะทั้งหลายอดโทษ

และไม่โกรธ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทเก อคฺคิ น สณฺาติ. ในคำนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่ตั้งคือไม่ตั้งอยู่เฉพาะในน้ำ ฉันใด พืชย่อมไม่งอก

บนหิน คือบนเขาหิน ฉันใด หนอนคือสัตว์มีชีวิต ย่อมไม่ตั้งอยู่ในยาคือ

โอสถ ฉันใด ความโกรธคือจิตโกรธ ได้แก่ ความมีใจประทุษร้าย

ย่อมไม่เกิด คือย่อมไม่เกิดขึ้นในพระพุทธะ คือในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

ผู้แทงตลอดสัจจะได้แล้ว ฉันนั้น.

เมื่อจะประกาศอานุภาพของพระพุทธะทั้งหลายซ้ำอีก จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า ยถา จ ภูมิ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า

ภาคพื้นคือปฐพีไม่หวั่นไหว คือนิ่ง ฉันใด พระพุทธะเป็นผู้นิ่ง ฉันนั้น.

อธิบายว่า สาครคือมหาสมุทรประมาณไม่ได้ คือไม่อาจประมาณ คือถือเอา

ประมาณ ฉันใด พระพุทธะก็ประมาณไม่ได้ ฉันนั้น. อธิบายว่า

อากาศคืออากาศที่ถูกต้องไม่ได้ ไม่มีที่สุด คือเว้นที่สุดรอบ ฉันใด พระ-

พุทธะ ก็ฉันนั้น อันใคร ๆ ให้กำเริบไม่ได้ คือใคร ๆ ไม่อาจให้กำเริบ

คือให้วุ่นวาย.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงคำขอขมาต่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สทา ขนฺตา มหาวีรา ดังนี้. ในคำนั้น มีการเชื่อม

ความว่า พระมหาวีรเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธะทั้งหลายผู้มีวิริยะสูงสุด

มีตบะ คือประกอบด้วยวิริยะอันได้นามว่า ตบะ เพราะเผาบาปทั่งหลาย

ผู้อดทนคือถึงพร้อมด้วยขันติ และเป็นผู้อดโทษ คืออดกลั้นความผิด

ของผู้อื่นทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า ขนฺตาน ขมิตานญฺจ

ความว่า พระพุทธะเหล่านั้นผู้อดทน คือประกอบด้วยขันติและอดโทษ

คืออดกลั้นความผิดของผู้อื่น ย่อมไม่มีการถึง คือถึงอคติมีฉันทาคติ

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

อธิบายในตอนนี้ว่า พระสัมพุทธเจ้า คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้น

กล่าวคำนี้ ด้วยประการดังนี้แล้ว เมื่อจะบรรเทาคือคลายความเร่าร้อน

คือความร้อนที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงเหาะขึ้นยังนภากาศในกาลนั้น

ต่อหน้ามหาชนคือต่อหน้าชนหมู่ใหญ่พร้อมทั้งพระราชาผู้มาประชุมกันอยู่.

บทว่า เตน กมฺเมนห ธีร ความว่า ข้าแต่พระธีรเจ้า คือข้าแต่

พระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยธิติ เพราะกรรมนั้น คือเพราะกรรมคือความไม่

เอื้อเฟื้อที่ได้กระทำไว้ในพระปัจเจกพุทธเจ้า ในอัตภาพสุดท้ายนี้ ข้า-

พระองค์จึงเข้าถึง คือถึงพร้อมซึ่งความเลวทราม คือความลามก ได้แก่

ความเกิดในการทำการงานเป็นช่างกัลบกของพระราชาทั้งหลาย.

บทว่า สมติกฺกมฺม ต ชาตึ ความว่า ล่วง คือล่วงพ้นไปด้วยดี

ซึ่งความเกิด อันเนื่องด้วยผู้อื่นนั้น. บทว่า ปาวิสึ อภย ปุร ความว่า

ข้าพระองค์เข้าไปแล้ว คือเป็นผู้เข้าไปสู่นิพพานบุรี คือนิพพานมหานคร

อันปลอดภัย.

บทว่า ตทาปิ ม มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นวีรบุรุษ

ผู้สูงสุด แม้ในกาลนั้น คือแม้ในสมัยที่ทำพระปัจเจกพุทธเจ้าให้ขัดเคือง

นั้น พระสยัมภู คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ทรงบรรเทาคือทรงทำให้ห่าง

ไกล ซึ่งความเร่าร้อน คือความกระวนกระวายทางกายและจิตอันเกิดขึ้น

เพราะเหตุแห่งความขัดเคือง. เชื่อมความว่า พระสยัมภูทรงเห็นโทษอัน

ตั้งอยู่ดีแล้ว คือตั้งอยู่ด้วยดีในการแสดงความเป็นโทษ จึงอดโทษเรา

ผู้เร่าร้อน คือเดือนร้อนอยู่ด้วยความเดือดร้อนในภายหลัง คือด้วยความ

รำคาญใจนั้นนั่นแหละ คืออดกลั้นความผิดนั้น.

บทว่า อชฺชาปิ ม มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

วีรชน แม้วันนี้ คือแม้ในกาลที่พระองค์มาประชุมกัน พระผู้มีพระภาค-

เจ้าได้ทำข้าพระองค์ผู้ถูกไฟ ๓ กอง คือถูกไฟ ๓ กอง คือราคะ โทสะ

และโมหะ หรือไฟ คือนรก เปรต และสังสาระแผดเผาอยู่ คือได้เสวย

ทุกข์อยู่ ให้ถึงคือให้ถึงพร้อมด้วยความเย็น ได้แก่ความเย็น กล่าวคือความ

สงบกายและจิต เพราะโทมนัสพินาศไป หรือพระนิพพานนั่นเอง. เชื่อม

ความว่า ทรงทำไฟ ๓ กอง คือไฟ ๓ กองนั้น ซึ่งมีประการดังกล่าว

แล้วให้ดับ คือให้เข้าไปสงบ.

ครั้นแสดงอปทานอันเลวของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกล่าวชักชวนแม้คนอื่น ๆ ให้ฟังอปทานอันเลวนั้น

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เยส โสตาวธานตฺถิ ดังนี้. ในคำนั้น มีใจความว่า

ท่านเหล่าใดมีการเงี่ยโสต คือการตั้งโสตลง ท่านเหล่านั้นจงฟัง คือจง

ใส่ใจคำของเราผู้กล่าวอยู่. บทว่า อตฺถ ตุมฺห ปวกฺขามิ เชื่อมความว่า

เราเห็นบทคือพระนิพพานโดยประการใด เราจักกล่าวปรมัตถ์กล่าวคือ

พระนิพพานแก่ท่านทั้งหลายโดยประการนั้น.

เมื่อจะแสดงข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สยมฺภุ ต วิมาเนตฺวา ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นดังต่อไปนี้ :- เราดูหมิ่น คือการทำความไม่เอื้อ-

เฟื้อพระสยัมภู คือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเอง คือผู้เกิดในอริยชาติ ผู้มี

จิตสงบ มีใจมั่น เพราะกรรมนั้น คือเพราะอกุศลที่ทำแล้วนั้น จึงเป็น

ผู้เกิด คือเป็นผู้บังเกิดในชาติต่ำ คือในชาติที่เนื่องกับคนอื่น คือใน

ชาติเป็นช่างกัลบก ในวันนี้ คือในปัจจุบันนี้.

บทว่า มา โข ขณ วิราเธถ ความว่า ท่านทั้งหลายอย่าพลาด คือ

อย่าทำให้พลาดขณะที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น, จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ล่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

พ้นขณะ คือก้าวล่วงขณะที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ย่อมเศร้าโศก อธิบายว่า

ย่อมเศร้าโศกอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นผู้ไม่มีบุญ มีปัญญาทราม ดังนี้.

ท่านทั้งหลายจงพยายาม คือจงกระทำความเพียรในประโยชน์ของตน คือ

ในความเจริญของตน. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงทำขณะคือสมัยที่พระ-

พุทธเจ้าอุบัติขึ้นให้ถึงเฉพาะ คือให้สำเร็จ ได้แก่ถึงแล้ว.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงโทษของผู้ที่ไปในสงสาร โดยอุปมา

อุปไมย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอกจฺจานญฺจ วมน ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อม

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกยาสำรอก คือยาทำให้อาเจียนแก่

บุคคลบางพวก ยารุ คือยาถ่ายแก่บุคคลบางพวก ยาพิษร้าย คือยาพิษ

อันทำให้สลบแก่บุคคลบางพวก และยาคืออุบายสำหรับรักษาแก่บุคคลบาง

พวกโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า วมน ปฏิปนฺนาน เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

บอกการสำรอก คือการทิ้งสงสาร ได้แก่การพ้นสงสารแก่คนผู้ปฏิบัติ

คือผู้มีความพร้อมพรั่งด้วยมรรค. เชื่อมความว่า ตรัสบอกการถ่าย คือ

การไหลออกจากสงสารแก่ผู้ตั้งอยู่ในผล. ตรัสบอกโอสถคือพระนิพพาน

แก่ผู้มีปกติได้ผล คือได้ผลแล้วดำรงชีวิตอยู่. ตรัสบอกพระสงฆ์ผู้เป็น

บุญเขต แก่ผู้แสวงหา คือผู้แสวงหามนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และนิพพาน

สมบัติ.

บทว่า สาสเนน วิรุทฺธาน เชื่อมความว่า ตรัสบอกยาพิษอันร้าย

แรง คือความแตกตื่น ได้แก่บาปอกุศล แก่คนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระ-

ศาสนา. บว่า ยถา อาสีวิโส เชื่อมความว่า ยาพิษอันร้ายแรงย่อมเผา

คือเผาลนนระนั้น คือนระผู้ไม่มีศรัทธาทำแต่บาปนั้น ได้แก่ทำให้ซูบซีด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ในอบายทั้ง ๔ เช่นกับอสรพิษ คือเหมือนอสรพิษ คืองูชื่อว่าทิฏฐวิสะ

เพราะกระทำให้เป็นเถ้าธุลีโดยสักแต่ว่าเห็น ย่อมแผดเผานระที่คนเห็นคือ

ทำให้ลำบากฉะนั้น.

บทว่า สกึ ปีต หลาหล ความว่า ยาพิษอันร้ายแรงที่ดื่มเข้าไป

ย่อมเข้าไปปิดกั้นชีวิต คือทำชีวิตให้พินาศไปคราวเดียว คือวาระเดียว

แต่บุคคลผิดแล้ว คือทำความผิดในพระศาสนา ย่อมถูกเผา คือย่อมถูก

แผดเผาในโกฏิกัป คือในกัปนับด้วยโกฏิ.

ครั้นแสดงผลวิบากของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

จะแสดงอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ขนฺติยา

ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสบอกการสำรอกเป็นต้น

นั้น ย่อมยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก คือเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย ให้

ข้าม คือก้าวพ้น ได้แก่ให้ดับด้วย ขันติ คือความอดทน ด้วยอวิหิงสา

คือการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และด้วยความมีเมตตาจิต คือมีจิต

เมตตา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันพวกท่านไม่ควรผิด

พลาด คือไม่อาจผิดพลาด อธิบายว่า พึงปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา.

อธิบายในคาถาต่อไปว่า ย่อมไม่ข้อง คือไม่คบ ไม่ติดในลาภ

และในการไม่มีลาภ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่หวั่นไหว ในการนับถือ

คือในการกระทำความเอื้อเฟื้อ และในการดูหมิ่น คือการกระทำความไม่

เอื้อเฟื้อ ย่อมเป็นเช่นกับแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

ท่านทั้งหลายไม่ควรคิดร้าย คือไม่พึงมุ่งร้าย คือไม่อาจมุ่งร้าย.

เมื่อจะแสดงความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายพระองค์เป็นกลาง จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า เทวทตฺเต ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระมุนี คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

พระพุทธมุนี เป็นผู้เสมอ คือมีพระมนัสเสมอในสัตว์ทั้งปวงทั้งผู้ฆ่าและ

ผู้ไม่ฆ่า.

บทว่า เอเตส ปฏิโฆ นตฺถิ เชื่อมความว่า ปฏิฆะ คือความดุร้าย

ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยโทสะ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

ราคะย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น อธิบายว่า แม้ราคะคือความกำหนัด

ได้แก่การติดใจย่อมไม่มี คือย่อมไม่ได้แก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะ-

เหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้เสมอ คือมีพระทัยเสมอต่อสัตว์ทั้งปวง

คือต่อผู้ฆ่าและพระโอรส.

เมื่อจะแสดงอานุภาพเฉพาะของพระพุทธเจ้าทั้งหลายซ้ำอีก จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า ปนฺเถ ทิสฺวาน กาสาว ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า

ใคร ๆ เห็นผ้ากาสาวะ คือจีวรย้อมด้วยน้ำฝาดอันเปื้อนคูถ คือระคนด้วย

คูถ อันเป็นธงชัยของพระฤๅษี ได้แก่เป็นธงคือบริขารของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย ที่เขาทิ้งไว้ในหนทาง จึงกระทำอัญชลี คือกระทำการประชุม

นิ้วทั้ง๑๐ ได้แก่กระพุ่มอัญชลีเหนือศีรษะแล้วพึงไหว้ด้วยเศียรเกล้า คือ

พึงไหว้ พึงนับถือ พึงบูชา ธงของฤๅษีคือ ธงของพระอรหัต ได้แก่

จีวรอันแสดงความเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก.

บทว่า อพฺภตีตา ความว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใดอัสดงคตไปยิ่งแล้ว

คือดับไปแล้ว พระพุทธเจ้าเหล่าใดกำลังเป็นไปอยู่ คือเกิดแล้วในบัดนี้

และพระพุทธเจ้าเหล่าใดยังไม่มีมา คือยังไม่เกิด ไม่เป็น ไม่บังเกิด คือ

ยังไม่ปรากฏ. บทว่า ธเชนาเนน สุชฺฌนฺติ ความว่า พระพุทธเจ้าเหล่านี้

ย่อมหมดจด คือบริสุทธิ์ งดงามด้วยธงของฤๅษี คือด้วยจีวรนี้ เพราะ-

เหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงควรนอบน้อม นมัสการ กราบไหว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

บาลีว่า เอต นมสฺสิย ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีใจความว่า พึงนมัสการธง

ของฤๅษีนั้น.

เบื้องหน้าแต่นั้นไป เมื่อจะแสดงคุณของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สตฺถุกปฺป ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราทรงจำไว้ด้วยหทัยคือด้วยจิต

ได้แก่เราพิจารณาด้วยการฟังและการทรงจำเป็นต้น ซึ่งพระวินัยอันถูก

ต้อง คือพระวินัยอันดีงาม ได้แก่การฝึกไตรทวารด้วยอาการอันงาม

เหมือนกับพระศาสดา คือเหมือนกับพระพุทธเจ้า. อธิบายว่า เรานมัส-

การ คือไหว้พระวินัย ได้แก่พระวินัยปิฎก จักกระทำความเอื้อเฟื้อ

ในพระวินัยอยู่ คือสำเร็จการอยู่ทุกกาล ได้แก่ในกาลทั้งปวง.

บทว่า วินโย อาสโย มยฺห ความว่า พระวินัยปิฏกเป็นโอกาส

คือเป็นเรือนของเรา ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ การมนสิการ การ

เล่าเรียน การสอบถาม และการประกาศ. บทว่า วินโย านจงฺกม

ความว่า พระวินัยเป็นฐานที่ยืน และเป็นฐานที่จงกรม ด้วยการทำกิจ

มีการฟังเป็นต้นของเรา. บทว่า กปฺเปมิ วินเย วาส ความว่า เราสำเร็จ

คือกระทำการอยู่ คือการนอนในพระวินัยปิฎก คือในแบบแผนแห่ง

พระวินัย ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ และการประกาศ. บทว่า

วินโย มม โคจโร ความว่า พระวินัยปิฎกเป็นโคจร คือเป็นอาหาร

ได้แก่เป็นโภชนะของเราด้วยอำนาจการทรงจำ และการมนสิการเป็นนิจ.

บทว่า วินเย ปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงความยอดเยี่ยม คือที่สุดใน

วินัยปิฎกทั้งสิ้น. บทว่า สมเถ จาปิ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ

เป็นผู้เฉลียวฉลาดในการระงับ คือในการสงบระงับ และการออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

กองอาบัติทั้ง ๗ มีปาราชิกเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็นผู้ฉลาดยิ่ง

คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในอธิกรณสมถะ คือในอธิกรณ์ที่ท่านกล่าวว่า

ท่านรู้กันว่า อธิกรณ์มี ๔ คือวิวาทาวิกรณ์ อนุวาทาวิกรณ์

อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์.

และในอธิกรณสมถะ ๗ ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ

เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ.

บทว่า อุปาลิ ต มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญผู้มีความ

เพียรใหญ่ยิ่ง คือผู้มีความเพียร เพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ในสี่-

อสงไขยแสนกัป พระอุบาลีภิกษุย่อมไหว้ คือย่อมกระทำความนอบน้อม

ที่พระบาท คือที่พระบาทยุคลของพระองค์ผู้เป็นศาสดา คือผู้พร่ำสอน

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

เชื่อมความว่า ข้าพระองค์นั้นบวชแล้วนมัสการอยู่ คือกระทำการ

นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าอยู่ และรู้ว่าพระธรรมคือโลกุตรธรรม ๙ ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงแล้ว เป็นธรรมดี คือว่าเป็นธรรมงาม

จึงนมัสการพระธรรมอยู่ จักเที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากบุรีสู่บุรี คือจาก

นครสู่นคร.

บทว่า กิเลสา ฌาปิตา มยฺห ความว่า กิเลสทั้งหมดนับได้ ๑,๕๐๐

ซึ่งอยู่ในจิตตสันดานของข้าพระองค์ อันข้าพระองค์เผา คือทำให้ซูบซีด

เหือดแห้ง พินาศไปแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณที่แทงตลอดแล้ว. บทว่า

ภวา สพฺเพ สมูหตา ความว่า ภพทั้งหมด ๙ ภพ มีกามภพเป็นต้น

ข้าพระองค์ถอนแล้ว คือถอนหมดแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นแล้ว ขจัดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

บทว่า สพฺพาสวา ปริกฺขีณา ความว่า อาสวะทั้งหมด ๔ อย่าง คือ

กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ สิ้นไปรอบแล้ว คือถึง

ความสิ้นไปโดยรอบ. อธิบายว่า บัดนี้ คือในกาลที่บรรลุพระอรหัตแล้วนี้

ภพใหม่ คือภพกล่าวคือการเกิดอีก ได้แก่การเป็น การเกิด ย่อมไม่มี.

เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยความโสมนัสอย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สฺวาคต ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า การที่ข้าพระองค์มาในสำนัก

คือในที่ใกล้หรือในนครเดียวกันแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คือแห่ง

พระพุทธเจ้าผู้สงสุด เป็นการมาดีแล้ว คือเป็นการมาดี เป็นการมาอย่าง

งดงามโดยแท้ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา ความว่า ข้า-

พระองค์บรรลุ คือถึงพร้อม ได้แก่ทำให้ประจักษ์วิชชา คือบุพเพ-

นิวสญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ. บทว่า กต พุทฺธสฺส สาสน

ความว่า คำสั่งสอนคือคือการพร่ำสอนอันพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าพระองค์กระทำแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว ได้แก่ยัง

วัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์ มนสิการกรรมฐานแล้วให้สำเร็จด้วยการบรรลุ

อรหัตมรรคญาณ.

บทว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส ความว่า ปัญญา ๔ ประการ มี

อัตถปฏิสัมภิทาเป็นต้น ข้าพระองค์ทำให้แจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว.

บทว่า วิโมกฺขาปิ จ อฏฺิเม เชื่อมความว่า วิโมกข์คืออุบายเครื่องพ้น

จากสงสาร ๘ ประการเหล่านี้ คือมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ข้าพระองค์

ทำให้แจ้งแล้ว.

บทว่า ฉฬภิญฺา สจฺฉิกตา ความว่า อภิญญา ๖ เหล่านี้ คือ

อิทธิวิธะ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ เจโตปริยะญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

กำหนดใจคนอื่นได้ ปุพเพนิวาสญาณ ระลึกชาติได้ ทิพพ-

จักขุ ตาทิพย์ และอาสวักขยญาณ ความรู้ในการทำอาสวะ

ให้สิ้นไป.

ข้าพระองค์ทำให้เเจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว, คำสอนของ

พระพุทธเจ้าชื่อว่าทำเสร็จแล้ว เพราะการทำให้เเจ้งญาณเหล่านี้.

บทว่า อิตฺถ ได้แก่ ด้วยประการดังกล่าวในหนหลังนี้. ศัพท์ว่า

สุท เป็นนิบาตใช้ในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า อายสฺมา อุปาลิ

เถโร ความว่า สาวกผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลอันมั่นคงเป็นต้น ได้ภาษิต

คือกล่าวคาถาเหล่านี้ อันแสดงอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อน.

จบพรรณนาอุบาลีเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ ๙ (๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายปฐมภัตแก่พระพุทธเจ้า

[๙] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐ-

บุตรของโลก เป็นนายกอย่างวิเศษ ทรงบรรลุพุทธภูมิแล้ว

เป็นครั้งแรก.

เทวดาประมาณเท่าใด มาประชุมกันที่ควงไม้โพธิ์ทั้งหมด

แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ประนมกรอัญชลีไหว้อยู่.

เทวดาทั้งปวงนั้นมีใจยินดี เที่ยวประกาศไปในอากาศว่า

พระพุทธเจ้านี้ทรงบรรเทาความมืดมนอนธการแล้ว ทรงบรรลุ

แล้วโดยลำดับ.

เสียงบันลือลั่นของเทวดาผู้ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้น

ได้เป็นไปว่า เราจักเผากิเลสทั้งหลายในศาสนาของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า. เรารู้เสียงอันเทวดาทั้งหลายเปล่งแล้วด้วย

วาจา ร่าเริง มีจิตยินดี ได้ถวายภิกษาก่อน.

พระศาสดาผู้สูงสุดในโลก ทรงทราบความดำริของเรา

แล้วประทับนั่ง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า

เราออกบวชได้ ๗ วัน จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ ภัตอัน

เป็นปฐมของเรานี้ เป็นเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปของผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ เทพบุตรใดจากภพดุสิตมา ณ ที่นี้ ได้ถวายภิกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

แก่เรา เราจักพยากรณ์เทพบุตรนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา

กล่าว.

ผู้นั้นจักเสวยเทวราชสมบัติอยู่ประมาณ ๓ หมื่นกัป จัก

ครอบครองไตรทิพย์ ครอบงำเทวดาทั้งปวง เคลื่อนจากเทวโลก

แล้วจักถึงความเป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย

ราชสมบัติในมนุษยโลกนับพันครั้ง.

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร

ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.

ผู้นั้นเคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จัก

ออกบวชเป็นบรรพชิตอยู่ ๖ ปี แต่นั้น ในปีที่ ๗ พระพุทธ-

เจ้าจักตรัสสัจจะ ๔ ภิกษุมีนามชื่อว่า โกณฑัญญะ จักทำให้

แจ้งเป็นครั้งแรก.

เราบวชตามพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จออกบวช ความเพียรเรา

ทำดีแล้ว เราบวชเป็นบรรพชิต เพื่อต้องการเผากิเลส.

พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ตีกลองอมฤตในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก ในป่าใหญ่กับด้วยเรานี้.

บัดนี้ เราบรรลุอมตบทอันสงบระงับ อันยอดเยี่ยมนั้นแล้ว

เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา

ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

ทราบว่า ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน

๗. พรรณนาอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน

คำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธ ดังนี้ เป็นอปทานของท่านพระ-

อัญญาโกณฑัญณะเถระ.

ได้ยินว่า พระเถระนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน

ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูล

ของคฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว. วันหนึ่ง

ฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง

ไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้รัตตัญญูรู้แจ้งธรรมก่อน ในพระ-

ศาสนาของพระองค์ แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงยังมหาทาน

ให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุหนึ่งแสนเป็นบริวาร

แล้วได้กระทำความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดาทรงเห็นว่าความ

ปรารถนาของเขานั้นไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์สมบัติอันจะมี. เขาทำบุญ

ทั่งหลายตลอดชั่วชีวิต เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนชวน

กันให้ประดิษฐานพระเจดีย์ เขาให้สร้างเรือนแก้วไว้ในภายในพระเจดีย์

และให้สร้างเรือนแก้วอันมีค่าจำนวนหนึ่งพัน รายล้อมพระเจดีย์.

เขาทำบุญทั้งหลายอย่างนี้ จุติจากชาตินั้นท่องเที่ยวไปในเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

และมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

เป็นกุฎุมพีชื่อว่า มหากาล ให้ฉีกท้องข้าวสาลีในนามีประมาณ ๘ กรีส

แล้วให้จัดปรุงข้าวปายาสน้ำมัน ไม่เจือด้วยข้าวสาลีที่ถือเอาแล้ว ใส่น้ำผึ้ง

เนยใส และน้ำตาลกรวดลงในข้าวปายาสนั้น แล้วได้ถวายแก่พระสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ที่ที่เขาฉีกท้องข้าวสาลีถือเอาแล้ว ๆ คงเต็ม

บริบูรณ์อยู่ตามเดิม. ในเวลาข้าวสาลีเป็นข้าวเม่า ได้ให้ทานชื่อว่าเลิศด้วย

ข้าวเม่า, ในเวลาเกี่ยว ได้ให้ทานเลิศในกาลเกี่ยว, ในคราวทำขะเน็ด ได้ให้

ทานอันเลิศในคราวทำขะเน็ด, ในคราวทำให้เป็นฟ่อนเป็นต้น ได้ให้ทาน

อันเลิศในคราวทำเป็นฟ่อน, ได้ให้ทานอันเลิศในคราวขนเข้าลาน, ได้ให้

ทานอันเลิศในคราวทำให้เป็นลอม, ได้ให้ทานอันเลิศในคราวตวง, และ

ได้ให้ทานอันเลิศในคราวขนขึ้นฉาง, ได้ให้ทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในหน้า

ข้าวกล้าครั้งหนึ่ง ๆ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. ข้าวกล้าแม้นั้นก็ได้สมบูรณ์

ยิ่ง ๆ ขึ้น.

เขาทำบุญทั้งหลายตลอดชั่วชีวิตด้วยอาการอย่างนี้ จุติจากชาตินั้น

บังเกิดในเทวโลก. ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้มาบังเกิด

ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์ชื่อว่าโทณวัตถุ ในที่ไม่

ไกลจากนครกบิลพัสดุ์ ก่อนหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายอุบัติ

ขึ้น. เขาได้มีนามอันมาตามโคตรว่า โกณฑัญญะ. เขาเจริญวัยแล้ว

เรียนจบไตรเพท และได้ถึงความสำเร็จในลักษณมนต์ทั้งหลาย. สมัยนั้น

พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรี บังเกิดในพระราชมณเฑียร

ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในกบิลพัสดุ์บุรี. ในวันเฉลิมพระนามของ

พระราชกุมารนั้น เมื่อเขาเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนเข้ามา พราหมณ์ ๘ คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

เหล่าใดอันเขาเชิญเข้าไปยังท้องพระโรง เพื่อพิจารณาพระลักษณะ ใน

บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น โกณฑัญญพราหมณ์เป็นผู้หนุ่มกว่าพราหมณ์

ทั้งหมด เห็นความสำเร็จแห่งพระลักษณะของพระมหาบุรุษ ตกลงใจว่า

ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยแน่แท้ จึงเที่ยวคอยดูการออกเพื่อคุณอัน

ยิ่งใหญ่ของพระมหาสัตว์.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เจริญด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ถึงความเจริญโดยลำดับ

ถึงความแก่กล้าแห่งพระญาณแล้ว จึงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในพรรษา

ที่ ๒๙ ทรงผนวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาโดย

ลำดับ แล้วเริ่มบำเพ็ญเพียร. ในกาลนั้น โกณฑัญญมานพรู้ว่าพระมหา-

สัตว์ทรงผนวชแล้ว จึงพร้อมกับพวกลูกของพราหมณ์ผู้ท่านายพระลักษณะ

มีวัปปมาณพเป็นต้น มีตนเป็นที่ ๕ พากันบวชแล้ว เข้าไปยังสำนักของ

พระโพธิสัตว์โดยลำดับ บำรุงพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ ๖ พรรษา เกิดเบื่อ

ระอาเพราะพระโพธิสัตว์นั้นเสวยพระกระยาหารหยาบ จึงได้หลีกไปยังป่า

อิสิปตนมิคทายวัน. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้พระกำลังกายเพราะทรง

บริโภคพระอาหารหยาบ จึงประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ที่ควงไม้โพธิ์

ในวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเหยียบย่ำกระหม่อมแห่งมารทั้ง ๓ เป็นพระอภิ-

สัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ ๗ สัปดาห์

ทรงทราบความแก่กล้าแห่งญาณของพระปัญจวัคคีย์แล้ว จึงเสด็จไปยัง

อิสิปตนมิคทายวันในวันเพ็ญเดือน ๘ แล้วตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตน-

สูตรแก่พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พระโกณ-

ฑัญญเถระพร้อมกับพรหม ๑๘ โกฏิ ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ท่านได้ทำให้แจ้งพระอรหัตด้วยอนัตตลักขณสูตร

เทศนา.

พระโกณฑัญญเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้วคิดว่า เรา

ทำกรรมอะไรจึงได้บรรลุโลกุตรสุข เมื่อใคร่ครวญดู ก็ได้รู้บุพกรรมของ

ตนโดยประจักษ์ เมื่อจะแสดงอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อนด้วย

อำนาจอุทาน ด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธ

ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า

โลกเชฏฺ วินายก ความว่า ทรงเป็นหัวหน้า คือเป็นประธานแห่ง

สัตว์โลกทั้งสิ้น. ชื่อว่าทรงนำไปให้วิเศษ เพราะทรงนำไปโดยวิเศษ คือ

ทรงยังเหล่าเวไนยสัตว์ให้ถึงฝั่งอื่นแห่งสงสารสาคร คือพระอมตมหา-

นิพพาน. ซึ่งพระสัมพุทธเจ้านั้นผู้ทรงนำไปโดยวิเศษ. บทว่า พุทฺธ-

ภูมิมนุปฺปตฺต ความว่า ที่ชื่อว่าพุทธภูมิ เพราะเป็นภูมิ คือเป็นสถานที่

ประดิษฐานแห่งพระพุทธเจ้า, ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ. ที่ชื่อว่า

บรรลุถึงพุทธภูมิ เพราะบรรลุถึง คือแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณนั้น.

ซึ่งพระสัมพุทธเจ้านั้น ผู้บรรลุถึงพุทธภูมิแล้ว. อธิบายว่า บรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณ คือเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า ปม อทฺทส อห ความ

ว่า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งคืนวันเพ็ญเดือน ๖ เราได้เห็นพระปทุมุตตร-

สัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก.

บทว่า ยาวตา โพธิยา มูเล เชื่อมความว่า ยักษ์ทั้งหลายมี

ประมาณเท่าใดมาประชุมกันแล้ว คือเป็นหมวดหมู่อยู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์

กระทำอัญชลี วางกระพุ่มอัญชลีอันเป็นที่ประชุมนิ้วทั้ง ๑๐ ไว้เหนือเศียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ไหว้คือนมัสการพระสัมพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ได้เป็น

พระพุทธเจ้า.

บทว่า สพฺเพ เทวา ตุฏฺมนา เชื่อมความว่า เทวดาทั้งหมดนั้น

มาสู่สถานที่แห่งพระสัมพุทธะผู้เป็นพระพุทธเจ้า ต่างมีจิตยินดีท่องเที่ยว

ไปในอากาศ. บทว่า อนฺธการตโมนุโท ความว่า พระพุทธเจ้า-

พระองค์นี้ทรงบรรเทา คือทำความมืดตื้อคือโมหะให้สิ้นไป ทรงบรรลุ

แล้วโดยลำดับ.

บทว่า เตส หาสปเรตาน เชื่อมความว่า เสียงบันลือลั่น คือเสียง

กึกก้องของเทวดาเหล่านั้นผู้ประกอบด้วยความร่าเริง คือปีติโสมนัส ได้

เป็นไปแล้ว คือแพร่ไปว่า พวกเราจักเผากิเลส คือสังกิเลสธรรมใน

ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า เทวาน คิรมญฺาย เชื่อมความว่า เรารู้เสียงของเหล่า

เทวดาซึ่งเปล่งพร้อมกับคำชมเชยด้วยวาจาจึงร่าเริง ได้ถวายภิกษาครั้งแรก

คืออาหารทีแรกแก่พระผู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยจิตอันร่าเริงคือด้วยจิตอัน

ประกอบด้วยโสมนัส.

บทว่า สตฺตาห อภินิกฺขมฺม ความว่า เราออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่

แล้วกระทำความเพียรอยู่ ๗ วัน จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ กล่าวคือ

อรหัตมรรคญาณอันเป็นปทัฏฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อิท

เม ปม ภตฺต ความว่า ภัตนี้เป็นเครื่องยังสรีระให้เป็นไป เป็นภัตอัน

เทวบุตรนี้ให้ครั้งแรกแก่เราผู้เป็นพรหมจารี คือผู้ประพฤติธรรมสูงสุด.

บทว่า ตุสิตา หิ อิธาคนฺตฺวา ความว่า เทวบุตรใดจากภพดุสิต

มาในมนุษยโลกนี้ น้อมเข้ามา คือได้ถวายภิกษาแก่เรา เราจักประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

คือจักกล่าว ได้เเก่จักทำเทวบุตรนั้นให้ปรากฏ. เชื่อมความว่า ท่าน

ทั้งหลายจงฟังคำเราผู้จะกล่าวอยู่. เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักพรรณนา

เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า ติทสา ได้แก่ จากภพดาวดึงส์. บทว่า อคารา เชื่อม

ความว่า จักออกจากเรือนพราหมณ์อันเกิดขึ้นแก่ตนแล้วบวชอยู่กับพระ-

โพธิสัตว์ ผู้กระทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี.

บทว่า ตโต สตฺตมเก วสฺเส ได้แก่ ในปีที่ ๗ จำเดิมแต่กาลที่

บวชแล้วนั้น. บทว่า พุทฺโธ สจฺจ กเถสฺสติ ความว่า ทรงกระทำ

ทุกรกิริยาได้ ๖ ปีแล้ว ในปีที่ ๗ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วตรัสสัจจะ

ทั้ง ๔ กล่าวคือทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ ด้วยพระ-

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี.

บทว่า โกณฺฑญฺโ นาม นาเมน ความว่า ชื่อว่าโกณฑัญญะโดยนาม

คือโดยอำนาจชื่อของโคตร. บทว่า ปม สจฺฉิกาหิติ ความว่า จัก

กระทำให้แจ้ง คือจักทำให้ประจักษ์ ซึ่งพระโสดาปัตติมรรคญาณก่อน

คือแต่ต้นทีเดียว ในระหว่างพระปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย.

บทว่า นิกฺขนฺเตนานุปพฺพชึ ความว่า ออกบวชตามพร้อมกับพระ-

โพธิสัตว์ผู้เสด็จออกเเล้ว. อธิบายว่า เราบวชตามอย่างนั้นกระทำปธาน

คือความเพียรดีแล้ว คือกระทำด้วยดี ได้แก่กระทำให้มั่นแล้วกระทำ.

บทว่า กิเลเส ฌาปนตฺถาย ความว่า เพื่อต้องการทำกิเลสทั้งหลายให้

เหือดแห้ง คือเพื่อต้องการกำจัดกิเลส เราจึงบวชคือปฏิบัติศาสนาเป็นผู้

ไม่มีเรือน คือไม่มีประโยชน์แก่เรือน ได้แก่เว้นจากกรรมมีการทำนาและ

การค้าเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

บทว่า อภิคนฺตฺวาน สพฺพญฺญู ความว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต

อนาคตและปัจจุบัน หรือไญยธรรมที่ควรรู้กล่าวคือสังขาร วิการ ลักษณะ

นิพพาน และบัญญัติ เสด็จไปเฉพาะ คือเสด็จเข้าไปยังป่าเป็นที่อยู่

ของมฤค คือวิหารเป็นที่ให้อภัยแก่มฤค ได้ประหารคือตี ได้แก่ทรง

แสดงอมตเภรี ได้แก่เภรีคืออมตมหานิพพาน ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ

นี้ ที่เรากระทำให้เเจ้งแล้วในสัตว์โลกอันเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย.

บทว่า โส ทานิ ความว่า เรานั้นเป็นพระโสดาบันองค์แรก บัดนี้

ได้ถึงคือบรรลุอมตนิพพานอันสงบ คือมีสภาวะสงบระงับ เป็นบทคือพึง

ถึง ได้แก่พึงบรรลุอันยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า ด้วยอรหัตมรรคญาณ.

บทว่า สพฺพาสเว ปริญฺาย ความว่า เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงมี

กามาสวะเป็นต้น คือละอาสวะทั้งปวงด้วยปหานปริญญา เป็นผู้ไม่มี

อาสวะ คือไม่มีกิเลสอยู่ คือสำเร็จการอยู่ด้วยอิริยาบถวิหาร. คาถาทั้งหลาย

มีคำว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส เป็นต้น มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

ครั้นกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาด

ไว้ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงแสดง

ความที่พระเถระเป็นผู้รู้แจ้งธรรมก่อนเพื่อน จึงทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ใน

เอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะนี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุ

สาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน. พระอัญญาโกณฑัญญ-

เถระนั้น ประสงค์จะหลีกเลี่ยงความพินอบพิเทาที่พระอัครสาวกทั้งสอง

กระทำในตน และการอยู่เกลื่อนกล่นในเสนาสนะใกล้บ้าน และมีความ

ประสงค์จะอยู่ด้วยความยินดีในวิเวก สำคัญแม้แต่การทำปฏิสันถารแก่

๑. ไญยธรรม ธรรมที่ควรรู้มี ๕ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้เข้ามายังสำนักของตน ว่าเป็นเหตุเนิ่นช้า

จึงทูลลาพระศาสดาเข้าไปยังหิมวันตประเทศ อันช้างฉัททันต์ทั้งหลาย

บำรุงอยู่ ได้อยู่ที่ฝั่งสระฉัททันต์ถึง ๑๒ พรรษา. พระเถระอยู่ที่นั่นด้วย

อาการอย่างนี้ วันหนึ่งท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปหา ทรงไหว้แล้วยืน

อยู่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดังจะขอโอกาส ขอพระผู้เป็นเจ้า

จงแสดงธรรมแก่กระผม. พระเถระจึงแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะนั้นอันมี

ห้องแห่งอริยสัจ ๔ ถูกไตรลักษณ์กระทบประกอบด้วยสุญญตา วิจิตร

ด้วยนัยต่าง ๆ หยั่งลงสู่อมตะ ด้วยพุทธลีลา. ท้าวสักกะทรงสดับธรรม

นั้นแล้ว เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของพระองค์ จึงได้ทรงกระทำการ

สรรเสริญว่า

เรานี้ได้ฟังธรรมอันมีรสใหญ่ยิ่ง จึงเลื่อมใสยิ่งนัก พระ-

เถระแสดงธรรมอันคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่นโดยประการ

ทั้งปวง ดังนี้.

พระเถระอยู่ที่ฝั่งสระฉัททันต์ ๑๒ พรรษา เมื่อกาลจะปรินิพพาน

ใกล้เข้ามา จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ขอให้ทรงอนุญาตการปรินิพพาน

แล้วไป ณ ที่เดิมนั่นแหละ ปรินิพพานแล้วแล.

จบพรรณนาอัญญโกณฑัญญเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ปิณโฑลภารทวาชเถราปทานที่ ๑๐ (๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม

[๑๐] พระสยัมภูชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เป็นบุคคลผู้เลิศ

ประทับอยู่บนยอดเขาจิตตกูฏข้างหน้าหิมวันต์ เราเป็นพญาเนื้อ

ผู้ไม่มีความกลัว สามารถจะไปได้ในทิศทั้ง ๔ พำนักอยู่ ณ

ที่นั้น.

สัตว์เป็นอันมากได้ฟังเสียงของเราแล้ว ย่อมครั่นคร้าม

เราคาบดอกปทุมที่บาน เข้าไปหาพระนราสภ ได้บูชาพระ-

พุทธเจ้าซึ่งเสด็จออกจากสมาธิ.

เวลานั้น เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุดกว่า

นระใน ๔ ทิศ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้วได้บันลือสีหนาท.

พระปทุมุตตรพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา

ของเราแล้วประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ ทวยเทพทั้งปวงได้ทราบพระดำรัสของพระ-

พุทธเจ้าแล้ว มาประชุมกันแล้งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐจักเสด็จมา เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น.

พระมหามุนีผู้ทรงเห็นกาลไกล ผู้เป็นนายกของโลก ทรง

ประกาศเสียงบันลือของเรา เบื้องหน้าทวยเทพและมนุษย์ผู้

ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้นว่า ผู้ใดได้ถวายปทุมนี้ และ

ได้บันลือสีหนาท เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง

เรากล่าว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

ในกัปที่ ๘ แต่ภัทรกัปนี้ ผู้นั้นจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ จัก

เสวยความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ๖๔ ชาติ จักเป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิทรงกำลัง มีพระนามชื่อว่าปทุม.

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร

ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้น ทรงประกาศพระศาสนาแล้ว

พญาสีหะนี้จักเป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ จักออกจากสกุล-

พราหมณ์แล้วบวชในพระศาสนาของพระศาสดาพระองค์นั้น.

เขามีตนอันส่งไปแล้วเพื่อความเพียร เป็นผู้สงบระงับไม่

มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน

ณ เสนาสนะอันสงัดปราศจากชน แต่คลาคล่ำด้วยเนื้อร้าย.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนั้นแล.

จบปิณโฑลภารทวารชเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

๘. พรรณนาปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน

คำว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้เป็นต้น เป็นอปทานของ

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ.

แม้พระเถระนี้ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในกำเนิดราชสีห์อยู่ในถ้ำ

ที่เชิงภูเขา. เพื่อจะทรงกระทำความอนุเคราะห์แก่ราชสีห์นั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปยังถ้ำเป็นที่อยู่ของราชสีห์นั้น ในเวลาที่ออกไป

หาเหยื่อ ทรงนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่. ราชสีห์จับเหยื่อแล้วกลับมายืนอยู่ที

ประตูถ้ำ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทั้งร่าเริงและยินดี จึงบูชาด้วยดอกไม้

ที่เกิดในน้ำและบนบก ทำจิตให้เลื่อมใส. เพื่อต้องการจะอารักขาพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงบันลือสีหนาท ๓ เวลา เพื่อให้เนื้อร้ายอื่น ๆ หนีไป

ได้ยืนอยู่ด้วยสติอันไปแล้วในพระพุทธเจ้า. บูชาอยู่ตลอด ๗ วัน เหมือน

ในวันแรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อล่วง ๗ วันแล้ว ควร

ออกจากนิโรธสมาบัติ ส่วนแห่งบุญมีประมาณเท่านี้จักเป็นอุปนิสัยแก่.

ราชสีห์นี้ ดังนี้ เมื่อราชสีห์นั้นเห็นอยู่นั่นแหล่ะ จึงเหาะขึ้นไปสู่อากาศ

เสด็จไปยังพระวิหารทีเดียว.

ราชสีห์ไม่อาจอดกลั้นความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากพระพุทธเจ้า

จึงกระทำกาละแล้วบังเกิดในตระกูลมีโภคะมากในนครหังสวดี พอเจริญวัย

แล้ว ได้ไปยังพระวิหารกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา

แล้วเลื่อมใส ยังมหาทานให้เป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน ตลอด ๗ วัน ทำบุญทั้งหลายจนชั่วชีวิต ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย

จึงบังเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตแห่งพระเจ้าอุเทน. เขาได้มีชื่อว่า ภารทวาชะ.

ภารทวาชะนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพทสอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ คน

เพราะความที่ตนเป็นผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสม โดยความเป็นผู้กินจุ

ถูกพวกมาณพเหล่านั้นละทิ้ง จึงไปยังนครราชคฤห์ ได้เห็นลาภสักการะ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จึงบวชในพระศาสนา เป็นผู้ไม่รู้

ประมาณในการบริโภคอยู่. พระศาสดาทรงให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้จัก

ประมาณด้วยอุบาย ท่านจึงเริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนัก ก็ได้อภิญญา ๖.

ก็ครั้นเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว จึงบันลือสีหนาทว่า ผู้ใดมีความสงสัย

ในมรรคและผล ผู้นั้นจงถามเราดังนี้ ทั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าและในหมู่ภิกษุ ด้วยคิดว่า สิ่งใดที่สาวกทั้งหลายพึงบรรลุ

สิ่งนั้นเราบรรลุแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้

ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิณโฑลภารทวาชะนี้ เป็นเลิศแห่ง

ภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้บันลือสีหนาท.

พระเถระนั้นครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุญ-

สมภารที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อน เมื่อจะทำให้แจ้งซึ่งอปทานแห่งบุญ-

กรรมของตนด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร ดังนี้.

เนื้อความแห่งคำนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า ปุรโต หิมวนฺ-

ตสฺส ความว่า ในส่วนแห่งทิศตะวันออกของภูเขาหิมาลัย. บทว่า จิตฺตกูเฏ-

วสี ตทา เชื่อมความว่า ในกาลใด เราเป็นราชสีห์ คือเป็นพญาเนื้อ

อยู่ ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ในกาลนั้น พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

ประทับอยู่ที่เขาชื่อว่าจิตตกูฏ คือที่ยอดเขาชื่อว่าจิตตบรรพต เพราะเป็น

ภูเขาที่งดงามหลากสีด้วยโอสถ และรัตนะทั้งหลายมิใช่น้อย.

บทว่า อภีตรูโป ตตฺถาสึ ความว่า เราได้เป็นพญาเนื้อผู้ไม่กลัว

เป็นสภาวะ คือเป็นผู้ไม่มีความกลัวเป็นสภาวะอยู่ในที่นั้น. บทว่า จตุกฺกโม

ได้แก่ เป็นผู้ก้าวไป คือสามารถจะไปได้ทั้ง ๔ ทิศ. บทว่า ยสฺส สทฺท

สุณิตฺวาน ความว่า ชนมาก คือสัตว์เป็นอันมากได้ฟังสีหนาทของ

พญาเนื้อใด ย่อมข่ม คือย่อมขัดขวางโดยพิเศษ ได้แก่ย่อมกลัว.

บทว่า สุผุลฺล ปทุม คยฺห ความว่า มีความเลื่อมใสในพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้คาบดอกปทุมที่บานดีแล้ว ได้เข้าไปหาคือได้เข้าไปใกล้

พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนราสภ คือผู้องอาจ สูงสุด คือประเสริฐสุดแห่ง

นระทั้งหลาย. บทว่า วุฏฺิตสฺส สมาธิมฺหิ ความว่า เราปลูก คือบูชา

ดอกไม้นั้นแด่พระพุทธเจ้าผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ.

บทว่า จตุทฺทิส นมสฺสิตฺวา ความว่า เรานมัสการทั้ง ๔ ทิศ

แล้วทำจิตของตนให้เลื่อมใส คือให้ตั้งอยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อ ได้บันลือ

สีหนาท คือการบันลืออย่างไม่เกรงกลัว ได้แก่ทำสีหนาทให้กึกก้องแล้ว.

ลำดับนั้น เมื่อจะประกาศการพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า วทต เสฏฺโ เชื่อมความว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

คือสูงสุดแห่งพวกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า ๆ

ดังนี้ เสด็จมาแล้ว. อธิบายว่า เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้นของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้เสด็จมาแล้วนั้น.

บทว่า เตส หาสปเรตาน ความว่า ของเทวดาและมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

เหล่านั้นผู้ห้อมล้อม คือครอบงำ ได้แก่ ผู้ประกอบความร่าเริง คือ

ด้วยความโสมนัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า พระมหามุนี คือพระมุนี

ผู้ยิ่งใหญ่ในระหว่างมุนีทั้งหลาย ผู้ทรงเห็นกาลไกล คือผู้ทรงเห็นอนาคต-

กาล ผู้เป็นนายกของโลก คือผู้ทรงยังชาวโลกให้ถึงสวรรค์และนิพพาน

ทรงแสดง คือทรงประกาศ ได้แก่ตรัสถึงเสียงของเรา คือเสียงบันลือ

อย่างราชสีห์ของเรา. คาถาที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

คาถาต่อไปมีความว่า ราชสีห์จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า

ปทุม โดยพระนาม จักครองความเป็นใหญ่ คืออิสรภาพ ได้แก่

ราชสมบัติ ๖๔ ชาติ.

บทว่า กปฺปสตสหสฺสมฺหิ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่ง

ฉัฏฐีวิภัตติ. อธิบายว่า ในที่สุดแสนกัป.

บทว่า ปกาสิเต ปาวจเน ความว่า ในพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่าโคดมนั้นทรงประกาศแล้ว คือทรงแสดงแล้ว. บทว่า

พฺรหมฺพนฺธุ ภวิสฺสติ ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลแห่งพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อนี้จักบังเกิดในตระกูล

พราหมณ์. บทว่า พฺรหฺมญฺา อภินิกฺขมฺม เชื่อมความว่า จักออก

จากตระกูลพราหมณ์บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

บทว่า ปธานปหิตตฺโต ได้แก่ มีจิตส่งไปเพื่อกระทำความเพียร

ชื่อว่าผู้ไม่มีอุปธิ เพราะไม่มีกิเลสทั้งหลายกล่าวคืออุปธิ ชื่อว่าผู้สงบระงับ

เพราะไม่มีความกระวนกระวายเพราะกิเลส กำหนดรู้ คือละอาสวะ

ทั้งปวง ได้แก่อาสวะทั้งสิ้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือไม่มีกิเลส จักนิพพาน

อธิบายว่า จักเป็นผู้นิพพานด้วยขันธปรินิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

บทว่า วิชเน ปนฺตเสยฺยมฺหิ ความว่า ในเสนาสนะป่าไกลเว้น

จากความแออัดด้วยหมู่ชน. บทว่า วาฬมิคสมากุเล ความว่า อากูล

คือเกลื่อนกล่นด้วยการเกี่ยวข้องกับเนื้อร้ายมีกาฬราชสีห์เป็นต้น. คำที่

เหลือมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนาปิณโฑลภารทวาาชเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ขทิรวนิยเรวตเถราปทานที่ ๑๑ (๙)

ว่าด้วยผลแห่งการจัดเรือนำข้ามฝาก

[๑๑] แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถี เกิดแต่ประเทศหิมวันต์ เราเป็น

นายเรืออยู่ที่ท่าอันขรุขระ ข้ามส่งคนจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น.

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้นายกของโลก

สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ กับพระขีณาสพหนึ่งแสน จักข้าม

กระแสแม่น้ำคงคา.

เรานำเรือมารวมไว้เป็นอันมาก แล้วทำประทุนเรือที่

นายช่างตกแต่งเป็นอันดี ไว้ต้อนรับพระนราสภ.

ก็พระสัมมาพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วเสด็จขึ้นเรือ พระ-

ศาสดานี้ประทับยืน ณ ท่ามกลางน้ำ ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า

ผู้ใดให้พระสัมพุทธเจ้า และพระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะข้าม

ฟาก ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น.

วิมานอันบุญกรรมทำไว้อย่างสวยงาม มีสัณฐานดังเรือ

จักเกิดแก่ท่าน หลังคาดอกไม้จักกั้นอยู่บนอากาศทุกเมื่อ.

ในกัปที่ ๕๘ ผู้นี้จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า ตารณะ

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร

สาครเป็นที่สุด.

ในกัปที่ ๕๗ จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า จัมพกะ ทรง

มีพระกำลังมาก จักรุ่งเรืองดังพระอาทิตย์อุทัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร

ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้

เคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นเผ่าพันธุ์

พราหมณ์ มีนามชื่อว่า เรวตะ.

อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักออกจากเรือนบวชในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม.

ภายหลังเขาบวชแล้ว จักประกอบความเพียร เจริญ

วิปัสสนา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน.

เรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ อันเป็นเครื่องนำมาซึ่ง

ธรรมเป็นแดงเกษมจากโยคะ เราทรงร่างกายอันมีในที่สุดไว้

ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบขทิรวนิยเรวตเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

๙. พรรณนาขทิรวนิยเรวตเถราปทาน

คำมีอาทิว่า คงฺคา ภาคีรถี นาม ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน

พระขทิรวนิยเถระ.

แม้พระเถระนี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อนๆ ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลของ

นายท่าเรือในนครหังสวดี กระทำการงานอยู่ที่ท่าเรือชื่อว่า ปยาคติตถะ

ใกล้แม่น้ำใหญ่. วันหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยหมู่สาวก

เสด็จเข้าไปยังฝั่งแม่น้ำ มีใจเลื่อมใส จึงประกอบเรือขนาน ส่งให้ถึง

ฝั่งอื่นด้วยบูชาสักการะอันยิ่งใหญ่ ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรง

ตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่า จึงปรารถนาฐานันดรนั้น

ได้ยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วกระทำ

ความปรารถนาไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ความปรารถนา

ของเขาไม่เป็นหมัน.

จำเดิมแต่นั้น เขาสั่งสมบุญทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสองอยู่ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน

ครรภ์ของพราหมณี ชื่อว่า รูปสารี ในบ้านนาลกะแคว้นมคธ. เขาเจริญ

วัยแล้ว มารดาบิดาประสงค์จะตกแต่งให้มีเหย้าเรือน จึงบอกเขา. เขา

ได้ฟังว่า พระสารีบุตรเถระบวชแล้ว จึงคิดว่า อุปติสสะผู้เป็นพี่ชายใหญ่

ของเรา ละทิ้งทรัพย์สมบัตินี้บวชแล้ว เราจักเสวยก้อนเขฬะที่พี่ชายใหญ่

นั้นบ้วนแล้วได้อย่างไร เกิดความสลดใจ ลวงญาติทั้งหลายประดุจเนื้อ

ไม่เข้าไปสู่บ่วง ผู้อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ จึงไปยังสำนักของภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

ทั้งหลาย แล้วแจ้งให้ทราบว่าตนเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี แล้ว

บอกถึงความพอใจในการบรรพชาของตน. ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชา

พอมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ให้อุปสมบท แล้วชักชวนให้ขวนขวายในกรรม-

ฐาน. ท่านเรียนกรรมฐานแล้ว เข้าไปยังป่าไม้ตะเคียนพักผ่อนอยู่ เพียร

พยายามอยู่ เพราะเป็นผู้ถึงความแก่กล้าแห่งญาณ ไม่นานนักก็ได้เป็น

พระอรหันต์มีอภิญญา ๖. ครั้นท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะถวาย

บังคมพระศาสดาและไหว้พระธรรมเสนาบดี จึงเก็บงำเสนาสนะแล้วถือ

บาตรจีวรออกไป ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ จึงเข้าไปยังพระเชตวัน

ถวายบังคมพระศาสดาและไหว้พระธรรมเสนาบดีแล้ว อยู่ในพระเชตวัน

๒-๓ วัน. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า

ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ด้วย

พระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรวตะนี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวก

ทั้งหลายของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร.

พระเถระครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรม

ของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อนของตน

ด้วยอำนาจความปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า คงฺคา ภาคีรถี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คงฺคา ความว่า ที่ชื่อว่า คงคา เพราะ

ขับกล่อมคือกระทำเสียงกึกก้องไหลไป. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ปฐพี

เขาเรียกกันว่า โค, ที่ชื่อว่าคงคา เพราะวนรอบไหลไปในปฐพีนั้น. แม่น้ำ

คงคา ณ ที่ที่กระทำการวนรอบสระอโนดาต ๓ รอบแล้วไหลไป ชื่อว่า

อาวัฏฏคงคา. ณ ที่ที่ไหลไปทางยอดเขา ชื่อว่า พหลคงคา, ณ ที่ที่เซาะเขา

ขวางทะลุไหลไป ชื่อว่า อุมังคคงคา, ณ ที่ที่กระทบเขาหนาจากเขาขวาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

นั้น แล้วไหลพลุ่งขึ้นไปทางอากาศห้าโยชน์ ชื่อว่า อากาสคงคา, และ ชื่อว่า

ภาคีรถี เพราะทำลายที่ที่น้ำตกลง แล้วทำลายฝั่งสระโบกขรณีที่เกิดเอง

ห้าโยชน์ ณ ที่นั้นแหละ เป็นแม่น้ำ ๕ สาย เหมือนนิ้วมือ ๕ นิ้ว มีชื่อ ๕

ชื่อคือ คงคา ยมุนา สรภู มหี และอจิรวดี แล้วกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้

เป็น ๕ ภาค ๕ ส่วนแล้วไป คือไหลไปยัง ๕ ภาค ๕ ส่วน. แม่น้ำนั้นด้วย

มีทางไหลไป ๕ ส่วนด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าแม่น้ำคงคาภาคีรถี.

พึงเห็นว่า เมื่อควรจะกล่าวว่า ภาคีรถี คงคา เพื่อสะดวกในการประพันธ์

คาถา จึงกล่าวดังเคยประพฤติมา. บทว่า หิมวนฺตา ปภาวิตา ความว่า

ที่ชื่อว่า หิมะ เพราะเบียดเบียนเหล่าสัตว์ คือเบียดเบียนรบกวน ทำให้

วุ่นวายด้วยความหนาว. ชื่อว่า หิมวา เพราะเขานั้นมีหิมะ. ชื่อว่า

หิมวนฺตปภาวิตา เพราะเกิด คือเป็นไป ได้แก่ไหลไปจำเดิมแต่ภูเขา

หิมวันต์นั้น. บทว่า กุติตฺเถ นาวิโก อาสึ ความว่า เราเกิดในตระกูล

ชาวประมง ได้เป็นนายเรืออยู่ที่ท่าไม่เรียบ ประกอบด้วยกระแสอันเชี่ยว

ของแม่น้ำคงคานั้น. บทว่า โอริเม จ ตรึ อห ความว่า เราให้

พวกคนผู้มาถึงแล้ว ๆ ข้ามจากฝั่งนอกไปยังฝั่งใน.

บทว่า ปทุมุตฺตโร นายโก ความว่า พระปทุมุตตรพุทธเจ้าผู้สูงสุด

แห่งเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ทรงนำ คือทรงยังเหล่าสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน

ทรงทำบุญ สมบัติของเราให้สำเร็จ. เชื่อมความว่า พระองค์มีพระผู้ชำนะ

ตนหนึ่งแสน คือมีพระขีณาสพหนึ่งแสน ถึงท่าน้ำ เพื่อจะข้ามกระแสน้ำ

คงคา.

บทว่า พหู นาวา สมาเนตฺวา ความว่า เราเห็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้านั้นผู้เสด็จถึงแล้ว จึงนำเรือหลาย ๆ ลำมาเทียบกัน คือกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

เรือ ๒ ลำให้ติดกัน แล้วทำหลังคาด้วยปะรำที่พวกช่างปรุง คือทำเสร็จ

อย่างดีไว้เบื้องบนเรือนั้น แล้วนับถือ บูชาพระนราสภ คือพระสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ.

บทว่า อาคนฺตฺวาน จ สมฺพุทฺโธ เชื่อมความว่า เมื่อเอาเรือ

ขนานกันอย่างนั้นแล้ว พระสัมพุทธเจ้าเสด็จมา ณ ที่นั้น แล้วเสด็จขึ้น

ยังเรือ คือนาวาอันเลิศลำนั้น. บทว่า วาริมชฺเฌ ิโต สตฺถา เชื่อม

ความว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นเรือแล้ว กำลังประทับอยู่ท่ามกลางน้ำ

ในแม่น้ำคงคา ได้ภาษิตคือตรัสพระคาถาอันประกอบด้วยความโสมนัส

เหล่านี้.

บทว่า โย โส ตาเรสิ สมฺพุทฺธ ความว่า นายเรือนั้นใด

นิมนต์พระสัมพุทธเจ้า ให้ข้ามกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา. บทว่า สงฺฆญฺ-

จาปิ อนาสว ความว่า นายเรือนั้น มิใช่นิมนต์พระสัมพุทธเจ้าให้

ข้ามน้ำอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระสงฆ์ผู้ไม่มีอาสวะหมดกิเลส ก็นิมนต์

ให้ข้ามไปด้วย. บทว่า เตน จิตฺตปสาเทน ความว่า มีจิตเลื่อมใส

อันประกอบด้วยความโสมนัส ซึ่งเกิดขึ้นในกาลขับเรือนั้น จักยินดี คือ

จักเสวยทิพยสมบัติในเทวโลก คือในกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น.

บทว่า นิพฺพตฺติสฺสติ เต พฺยมฺห ความว่า พยัมหะ คือวิมาน

ที่ทำไว้เรียบร้อย คือบังเกิดเสร็จแล้ว ตั้งอยู่เหมือนเรือ คือมีสัณฐาน

เหมือนเรือ จักบังเกิด คือจักปรากฏแก่ท่านผู้เกิดขึ้นในเทวโลก. บทว่า

อากาเส ปุปฺผฉทน เชื่อมความว่า เพราะวิบากของกรรมที่ได้ทำปะรำไว้

ปะรำเรือหลังคาดอกไม้ จักกางกั้นในอากาศในกาลทุกเมื่อ คือในที่

ที่ไปแล้ว ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

บทว่า อฏฺปญฺาสกปฺปมฺหิ เชื่อมความว่า ล่วงไป ๕๘ กัป

ตั้งแต่กาลที่ทำบุญนี้ จักเป็นกษัตริย์จักรพรรดิ มีนามชื่อว่า ตารกะ จัก

เป็นใหญ่ คือเป็นผู้มีชัยชนะในทวีปทั้ง ๔. คาถาที่เหลือมีเนื้อความง่าย

ทั่งนั้น.

บทว่า เรวโต นาม นาเมน ความว่า จักเป็นเผ่าพันธุ์พรหม

ได้แก่เป็นบุตรพราหมณ์ คือจักเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่า เรวตะ.

เพราะเกิดในเรวดีฤกษ์.

บทว่า นิพฺพายิสฺสินาสโว ความว่า เป็นผู้หมดกิเลสจักนิพพาน

ด้วยขันธปรินิพพาน.

บทว่า วิริย เม ธุรโธรุยฺห ความว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าปทุมุตตระทรงพยากรณ์อย่างนี้แล้ว ความเพียรของเราถึงที่สุด

แห่งบารมีโดยลำดับ เป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน เป็นความเพียรนำธุระ

ไป คือเป็นที่รองรับธุระ เป็นเครื่องนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นแดน

เกษม จากโยคะทั้งหลาย. บทว่า ธาเรมิ อนฺติม เทห เชื่อมความว่า

บัดนี้ เราทรงสรีระสุดท้ายไว้ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกาลต่อมา พระเถระนั้นไปยังบ้านเกิดของตน นำหลาน ๓ คน

คือนายจาลา นายอุปจาลา และนายสีสูปจาลา ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาว

๓ นาง คือนางจาลา นางอุปจาลา และนางสีสูปจาลา มาให้บวชแล้ว

แนะนำกรรมฐานให้. หลาน ๆ เหล่านั้น ขวนขวายประกอบตามพระ-

กรรมฐานอยู่.

ก็สมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดขึ้นแก่พระเถระ. พระสารีบุตรเถระ

ได้ฟังดังนั้น จึงเข้าไปหาด้วยหวังใจว่า จักทำการถามถึงความป่วยไข้เและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

ถามถึงการบรรลุมรรคผลของพระเรวตะ. พระเรวตะเถระเห็นพระธรรม-

เสนาบดีเดินมาแต่ไกล เมื่อจะโอวาทโดยการทำสติให้เกิดขึ้นแก่สามเณร

เหล่านั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า จาเล ดังนี้. คำว่า จาเล อุปจาเล สีสูป-

จาเล ในคาถานั้น เป็นคำร้องเรียกสามเณรเหล่านั้น. ก็เด็กทั้ง ๓ คน

ซึ่งได้ชื่อเป็นเพศหญิงว่า จาลา อุปจาลา และสีสูปจาลา แม้จะบวชแล้ว

เขาก็ยังเรียกชื่ออยู่อย่างนั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า เด็กเหล่านั้นชื่อว่า จาลี

อุปจาลี สีสูปจาลี ดังนี้ก็มี. พระเรวตเถระเมื่อจะแสดงประโยชน์ที่กระทำ

การเรียกมาด้วยคำมีอาทิว่า จาลา ดังนี้. จึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มี

สติอยู่เถิด ดังนี้ แล้วกล่าวเหตุในการเรียกมานั้นว่า พระเถระผู้เป็นลุง

ของพวกท่านประหนึ่งนักแม่นธนู เดินมาแล้ว ดังนี้. บทว่า ปติสฺสตา

แปลว่า เป็นผู้มีสติ. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอวธารณะห้ามความหมายอย่าง

อื่น. บทว่า อาคโต แปลว่า มาแล้ว. บทว่า โว แปลว่า ของพวก

ท่าน. บทว่า วาล วิย เวธิ แปลว่า เหมือนนักแม่นธนู. ก็ในคำนี้มี

ความย่อดังต่อไปนี้. พระเถระผู้เป็นลุงของพวกท่านมีสภาพเหมือนนัก

แม่นธนู คือคล้ายกับพระศาสดา เพราะมีปัญญากล้า มีปัญญาไว และ

มีปัญญาชำแรกกิเลส มาแล้ว, เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงเข้าไป

ตั้งสมณสัญญา คือจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอยู่เถิด คือจงเป็นผู้

ไม่ประมาทในธรรมเครื่องอยู่ตามที่ได้บรรลุแล้วเถิด.

สามเณรเหล่านั้นได้ฟังดังนั้น จึงกระทำวัตรมีการต้อนรับเป็นต้น

แก่พระธรรมเสนาบดี แล้วนั่งเข้าสมาธิอยู่ในที่ไม่ไกลเกินไป ในเวลาที่

พระเถระผู้เป็นลุงทั้งสองปฏิสันถารกัน. พระธรรมเสนาบดีกระทำปฏิ-

สันถารกับพระเรวตเถระแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปหาสามเณรเหล่านั้น เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

พระเถระเข้าไปหา สามเณรเหล่านั้นได้ลุกขึ้นไหว้แล้วยืนอยู่ เพราะได้ทำ

กำหนดเวลาไว้อย่างนั้น. พระเถระถามว่า พวกเธออยู่ด้วยธรรมเครื่อง

อยู่อย่างไหน ? เมื่อสามเณรเหล่านั้นบอกให้ทราบแล้ว จึงแนะนำแม้เด็ก

ทั้งหลายอย่างนั้น พลางสรรเสริญพระเถระว่า น้องชายของเรามีปกติ

กล่าวคำสัจจริงถึงผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้แล้วหลีกไป.

คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาขทิรวนิยเรวตเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

อานันทเถราปทานที่ ๑๒ (๑๐)

ว่าด้วยผลแห่งการกางฉัตรถวายพระพุทธเจ้า

[๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จออกจากประตู

พระอารามแล้ว ทรงเมล็ดฝนอมฤตให้ตก ยังมหาชนให้เย็น

สบาย.

พระขีณาสพผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น ประมาณหนึ่งแสน

ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดุจพระฉายาตามพระองค์ไปฉะนั้น.

เวลานั้น เราอยู่บนคอช้าง กั้นฉัตรขาวอันประเสริฐ ปีติ

เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระรูปโฉมงาม.

เราลงจากคอช้างแล้วเข้าไปเฝ้าพระนราสภ ได้กั้นฉัตร

แก้วของเราถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

พระมหาฤๅษีพระนามว่าปทุมุตตระ. ทรงทราบความดำริ

ของเราแล้ว ทรงหยุดกถานั้นไว้ แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้กั้นฉัตรอันประดับด้วยเครื่องอลังการทอง เราจัก

พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

บุรุษผู้นี้ไปจากมนุษยโลกแล้ว จักครอบครองภพดุสิต จัก

เสวยสมบัติ มีนางอัปสรทั้งหลายแวดล้อม.

จักเสวยเทวราชสมบัติ ๓๔ ครั้ง จักเป็นอธิบดีแห่งชน

ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘

ครั้ง จักเสวยราชสมบัติในประเทศราชอันไพบูลย์ในแผ่นดิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร

ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก

ผู้นี้จักเป็นโอรสแห่งพระญาติของพระพุทธเจ้าผู้เป็นธงชัยแห่ง

สกุลศากยะ จักรได้เป็นพุทธอุปัฏฐาก มีนามชื่อว่า อานนท์

จักมีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา ฉลาดในพาหุสัจจะ มี

ความประพฤติอ่อนน้อม ไม่กระด้าง ชำนาญในบาลีทั้งปวง.

พระอานนท์นั้น มีจิตส่งไปเพื่อความเพียร สงบระงับ

ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน.

มีช้างกุญชรอยู่ในป่าอายุ ๖๐ ปี ตกมัน ๓ แห่ง (คือที่

ตา หู และอัณฑะ) เกิดในตระกูลช้างมาตังคะ มีงางอนงาม

ควรเป็นราชพาหนะ ฉันใด แม้บัณฑิตทั้งหลาย ก็ฉันนั้น

ประมาณได้หลายแสน มีฤทธิ์มาก บัณฑิตทั้งหมดนั้นของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้ไม่มีกิเลส.

เรานมัสการอยู่ทั้งในยามต้น ในยามกลาง และในยาม

สุดท้าย เรามีจิตเลื่อมใส ปลื้มใจ บำรุงพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐสุด เรามีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา มีสติ

สัมปชัญญะ บรรลุโสดาปัตติผล ฉลาดในเสขภูมิ.

ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราก่อสร้างกรรมใดไว้ เราได้บรรลุ

ถึงภูมิแห่งกรรมนั้นแล้ว ศรัทธาตั้งมั่นแล้วมีผลมาก การมา

ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดของเรา เป็นการมาดีแล้ว

หนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา

ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอานนทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอานันทเถราปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พุทธาปทาน ๒. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓. สารีปุตตเถรา-

ปทาน ๔. มหาโมคคัลลานเถราปทาน ๕. มหากัสสปเถราปทาน ๖.

อนุรุทธเถราปทาน ๗. ปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน ๘. อุปาลีเถรา-

ปทาน ๙. อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน ๑๐. ปิณโฑลภารทวาชเถรา-

ปทาน ๑๑. ขทิรวนิยเรวตเถราปทาน ๑๒. อานันทเถราปทาน. รวม

คาถาทั้งหมดได้ ๖๕๐ คาถา.

จบอปทานพุทธวรรคที่ ๑

๑๐. พรรณนาอานันทเถราปทาน

คำมีอาทิว่า อารามทฺวารา นิกฺขมฺม ดังนี้. เป็นอปทานของท่าน

พระอานนทเถระ.

แม้พระเถระนี้ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดเป็นน้องชายต่างมารดากับ

พระศาสดา ในนครหังสวดี. เขาได้มีชื่อว่า สุมนะ. ก็พระบิดาของ

สุมนะนั้น เป็นพระราชาพระนามว่า นันทะ, พระเจ้านันทราชนั้น เมื่อ

สุมนกุมารผู้เป็นโอรสของพระองค์เจริญวัยแล้ว จึงได้ประทานโภคนคร

ให้ในที่ประมาณ ๒๐ โยชน์ จากนครหังสวดีไป. สุมนกุมารนั้นมาเฝ้า

พระศาสดาและพระบิดาในบางครั้งบางคราว ครั้งนั้น พระราชาทรงบำรุง

พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสนโดยเคารพด้วยพระองค์เอง ไม่

ยอมให้คนอื่นบำรุง.

สมัยนั้น ปัจจันตชนบทกำเริบขึ้น. พระกุมารไม่กราบทูลพระราชา

ถึงความที่ปัจจันตชนบทกำเริบ เสด็จไประงับเสียเอง. พระราชาได้สดับ

ดังนั้นดีพระทัยตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ พ่อจะให้พรเจ้า เจ้าจงรับเอา. พระ-

กุมารกราบทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อจะบำรุงพระศาสดาและภิกษุ

สงฆ์ กระทำชีวิตไม่ไห้เป็นหมัน. พระราชาตรัสว่า ข้อนั้นเจ้าไม่อาจได้

จงบอกอย่างอื่นเถิด. พระกุมารกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาว่า

กษัตริย์ทั้งหลาย ไม่มีพระดำรัสเป็นสอง ขอพระองค์จงประทานการบำรุง

พระศาสดานั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่ต้องการอย่างอื่น. ถ้าพระ-

ศาสดาทรงอนุญาต ก็เป็นอันทรงประทานเถิดพระเจ้าข้า. พระกุมารนั้น

จึงเสด็จไปยังพระวิหารด้วยทรงหวังว่า จักหยั่งรู้น้ำพระทัยของพระศาสดา.

ก็สมัยนั้น พระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี. พระกุมารเสด็จ

เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ โยมมาเพื่อจะเฝ้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

ศาสดา ขอท่านทั้งหลายจงแสดงพระศาสดาแก่โยมด้วยเถิด. ภิกษุทั้งหลาย

ทูลว่า พระเถระชื่อว่าสุมนะเป็นพระอุปัฏฐากของพระศาสดา พระองค์จง

เสด็จไปยังสำนักของพระเถระนั้น. พระกุมารจึงเสด็จไปยังสำนักของพระ-

เถระแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดา.

ลำดับนั้น พระเถระ เมื่อพระกุมารทรงเห็นอยู่นั่นเอง ได้ดำดิน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระราชบุตรเสด็จมาเพื่อจะขอเฝ้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ ถ้าอย่างนั้นเธอจงปูลาดอาสนะไว้ข้างนอก. พระเถระถือเอาพุทธ-

อาสน์อีกที่หนึ่ง แล้วดำลงในภายในพระคันธกุฎี เมื่อพระกุมารนั้นทรง

เห็นอยู่ ก็ปรากฏขึ้น ณ ที่บริเวณภายนอก แล้วปูลาดอาสนะในบริเวณ

พระคันธกุฎี. พระกุมารเห็นดังนั้น จึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า ภิกษุนี้

ยิ่งใหญ่หนอ.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้. พระราชบุตรถวายบังคมพระศาสดา ทรงทำปฏิสันถาร

แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระนี้เห็นจะเป็นที่โปรดปราน

ในพระศาสนาของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ถวายพระพร พระกุมาร

เธอเป็นที่โปรดปราน. พระราชบุตรทูลถามว่า พระเถระนี้เป็นที่โปรด-

ปราน เพราะกระทำกรรมอะไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เพราะ

ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น. พระราชบุตรนั้นทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้กระหม่อมฉันก็ใคร่จะเป็นที่โปรดปรานในศาสนาของพระพุทธเจ้าใน

อนาคต เหมือนพระเถระนี้ แล้วถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ-

เจ้าเป็นประธาน ณ ที่กองค่ายพัก ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กระหม่อมฉันได้พรสำหรับปรนนิบัติพระองค์ ๓

เดือน จากสำนักพระราชบิดา ขอพระองค์จงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา

เพื่อหม่อมฉันตลอด ๓ เดือน ทรงทราบว่าพระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว

จึงพาพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวารไป แล้วให้สร้างวิหารทั้งหลาย

อันเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่ของพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ ไว้ในที่ระยะหนึ่ง

โยชน์ๆ แล้วนิมนต์ให้ประทับอยู่ในวิหารนั้น ๆ แล้วนิมนต์ให้เสด็จเข้า

ไปประทับยังวิหารที่สร้างด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง ในอุทยานชื่อว่า โสภณะ

ซึ่งซื้อไว้ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง ณ ที่ใกล้สถานที่ประทับของพระองค์ แล้ว

หลั่งน้ำให้ตกลงด้วยพระดำรัสว่า

ข้าแต่พระมหามุนี อุทยานชื่อว่าโสภณะนี้ กระหม่อมฉัน

ซื้อไว้ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง แล้วให้สร้างด้วยทรัพย์อีกแสนหนึ่ง

ขอพระองค์ได้โปรดรับไว้เถิด.

ในวันใกล้วันเข้าพรรษา พระราชบุตรได้ยังมหาทานให้เป็นไปแด่

พระศาสดา แล้วทรงชักชวนโอรส พระชายา และเหล่าอำมาตย์ ในการ

ให้ทาน และการกระทำกิจการว่า ท่านทั้งหลายพึงให้ทานโดยวิหารนี้

ส่วนพระองค์เองประทับอยู่ที่ใกล้ ๆ กับสถานที่อยู่ของพระสุมนเถระ ทรง

บำรุงพระศาสดาตลอดไตรมาส ณ สถานที่ประทับอยู่ของพระองค์ ด้วย

ประการอย่างนี้. ก็เมื่อจวนจะใกล้วันปวารณา จึงเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้าน

ยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ทรงวางไตรจีวรไว้แทบ

บาทมูลของพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ ทรงนมัสการแล้วได้ทรงกระทำ

ความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญที่กระหม่อมฉันทำเริ่มมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

ตั้งแต่กองค่ายนั้น จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สักกสมบัติเป็นต้นก็หามิได้

โดยที่แท้ กระหม่อมฉันพึงเป็นอุปัฏฐากที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้า

องค์หนึ่งในอนาคต เหมือนพระสุมนเถระนี้. พระศาสดาทรงเห็นว่า

ความปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้วเสด็จหลีกไป.

ในพุทธุปบาทกาลนั้น เขาทำบุญอยู่ถึงแสนปี แม้ต่อจากพุทธุปบาท-

กาลนั้นไป ก็ได้สั่งสมบุญกรรมไว้เหลือหลายในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไป

ในเทวดาและมนุษย์ ครั้นในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป

จึงมาเกิดในเรือนของผู้มีสกุล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ได้เอาผ้า

อุตราสงค์มาทำการบูชา เพื่อจะรับบาตรของพระเถระรูปหนึ่งผู้กำลังเที่ยว

บิณฑบาตอยู่. เขากลับไปเกิดในสวรรค์อีก จุติจากสวรรค์แล้วมาเป็น

พระเจ้าพาราณสี ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ จึงนิมนต์ให้พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้ฉัน เสร็จแล้วให้สร้างบรรณศาลา ๘ หลังไว้ใน

อุทยานอันเป็นมงคลของพระองค์ แล้วมอบถวายตั่งอันสำเร็จด้วยรัตนะ

ทั้งหมด กับเชิงรองอันเป็นแก้วมณี ๘ สำรับ เพื่อให้เป็นที่นั่งของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วทำการอุปัฏฐากอยู่ถึงหมื่นปี. การกระทำ

ดังนี้ ได้ปรากฏแล้ว.

เขาก่อสร้างบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ถึงแสนกัป ได้บังเกิดใน

สวรรค์ชั้นดุสิต พร้อมกับพระโพธิสัตว์ของพวกเราทั้งหลาย จุติจากภพ

ดุสิตนั้นแล้วมาบังเกิดในพระราชมณเฑียรของ พระเจ้าอมิโตทนศากยะ

ได้นามว่า อานนท์ เพราะเกิดมาทำพวกพระญาติให้ยินดี. อานนท์

นั้นเจริญวัยขึ้นโดยลำดับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการเสด็จออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

อภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงประกาศพระ-

ธรรมจักรอันประเสริฐ แล้วเสด็จไปยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก เสร็จ

แล้วเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์นั้น จึงออกไปพร้อมกับเจ้าภัททิยะเป็นต้น

ผู้เสด็จออกบวชเพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แล้วบวชใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ฟังธรรมกถาในสำนักของท่านพระ-

ปุณณมันตานีบุตร จึงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ก็สมัยนั้น ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่มีอุปัฏฐาก

ประจำเป็นเวลา ๒๐ พรรษา. บางคราวท่านพระนาคสมาละถือบาตรจีวร

เที่ยวไป. บางคราวพระนาคิตะ, บางคราวพระอุปวาณะ, บางคราวพระ-

สุนักขัตตะ, บางคราวพระจุนทะสมณุทเทส, บางคราวพระสาคิตะ, บาง

คราวพระเมฆิยะ ท่านเหล่านั้น โดยมากพระศาสดาไม่ทรงโปรด. อยู่มา

วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่บนบวร-

พุทธอาสน์อันเขาปูลาดไว้บนบริเวณพระคันธกุฎี ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราเป็นคนแก่แล้ว. ภิกษุบางพวก

เมื่อเรากล่าวว่า จะไปทางนี้ กลับไปทางอื่น บางพวกวางบาตรจีวรของ

เราไว้ที่พื้น พวกท่านจงเลือกภิกษุสักรูปหนึ่งให้เป็นอุปัฏฐากประจำตัว

เรา. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้นเกิดธรรมสังเวช. ลำดับนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรลุกขึ้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักบำรุงพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ห้ามท่านเสีย. โดยอุบายนี้ พระมหาสาวกทั้งปวงมีพระมหาโมคคัลลานะ

เป็นต้น ยกเว้นท่านพระอานนท์ ต่างลุกขึ้นกราบทูลว่า ข้าพระองค์จัก

อุปัฏฐาก ๆ แม้พระมหาสาวกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงห้ามเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

ส่วนพระอานนท์คงนั่งนิ่งอยู่. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าว

กะท่านพระอานนท์ว่า ท่านผู้มีอายุ แม้ตัวท่านก็จงทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐาก

พระศาสดาเถิด. พระอานนท์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการอุปัฏฐากที่ได้มาด้วย

การขอ จะเป็นเช่นไร ถ้าทรงชอบพระทัย พระศาสดาก็จักตรัสบอกเอง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนอื่น ๆ

ไม่ต้องให้กำลังใจอานนท์ เธอรู้ตัวเองแล้วจักอุปัฏฐากเราเอง. ลำดับนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงพากันกล่าวว่า ลุกขึ้นเถิด อาวุโสอานนท์ ท่านจงขอ

ตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระศาสดาเถิด. พระเถระลุกขึ้น แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีต

ที่ทรงได้แก่ข้าพระองค์ ๑ จักไม่ทรงประทานบิณฑบาตอันประณีต ๑ จักไม่

ประทานให้อยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกัน ๑ จักไม่ทรงพาไปยังที่นิมนต์ ๑ เมื่อ

เป็นอย่างนี้ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า. การปฏิเสธ ๔

ข้อนี้ เพื่อจะปลดเปลื้องการติเตียนที่ว่า เมื่อได้คุณประโยชน์มีประมาณ

เท่านี้ การอุปัฏฐากพระศาสดาจะหนักหนาอะไร. (พระอานนท์กราบทูล

ว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปยังที่นิมนต์ที่

ข้าพระองค์ได้รับไว้ ๑ ข้าพระองค์จะได้นำบุคคลผู้มาแล้ว ๆ จากประเทศ

อื่นเข้าเฝ้าในทันทีทันใด ๑ เมื่อใด ข้าพระองค์เกิดความสงสัย ขอให้ได้

เข้าเฝ้าถามพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เมื่อนั้น ๑ ถ้าพระองค์จักทรงพยากรณ์

ธรรม ที่ทรงแสดงในที่ลับหลังแก่ข้าพระองค์อีก ๑ เมื่อเป็นอย่างนี้

ข้าพระองค์จักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า. การขอ ๔ ข้อนี้ เพื่อจะ

ปลดเปลื้องคำติเตียนที่ว่า แม้เรื่องเท่านี้ พระเถระก็ไม่ได้การอนุเคราะห์ใน

สำนักพระศาสดา และเพื่อจะทำธรรมภัณฑาคาริกขุนคลังธรรมให้บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

รวมความว่า พระเถระได้พร ๘ ประการนี้ จึงจะเป็นอุปัฏฐากประจำ.

พระเถระได้บรรลุผลแห่งบารมีทั้งหลายที่ได้บำเพ็ญมาแสนกัป ก็เพื่อต้อง-

การฐานันดรนั้นเท่านั้น.

ตั้งแต่วันที่ได้ตำแหน่งอุปัฏฐาก พระเถระได้อุปัฏฐากพระทศพล

ด้วยกิจมีอาทิอย่างนี้ คือถวายน้ำสรง ๒ ครั้ง ถวายไม้ชำระพระทนต์ ๓ ครั้ง

บริกรรมพระหัตถ์และพระบาท บริกรรมพระปฤษฎางค์ และกวาด

บริเวณพระคันธกุฎี เป็นผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสำนักตลอดภาคกลางวัน ด้วย

หวังใจว่า เวลาชื่อนี้ พระศาสดาควรได้สิ่งชื่อนี้ เราควรทำกรรมชื่อนี้

ส่วนในภาคกลางคืน ได้ถือเอาประทีปด้ามดวงใหญ่ เดินไปรอบ ๆ

บริเวณพระคันธกุฎี ๙ ครั้ง เพื่อจะได้ถวายคำตอบในเมื่อพระศาสดาตรัส

เรียก และเพื่อบรรเทาความง่วงเหงาหาวนอน. ลำดับนั้น พระศาสดา

ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าในพระเชตวัน ตรัสสรรเสริญ

พระอานนทเถระโดยอเนกปริยาย แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้เป็นพหูสต มีสติ มีคติ มีธิติ และ เป็นอุปัฏฐาก.

พระเถระนี้ อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ ในฐานะ ๕

ฐานะ ด้วยประการอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ไม่

เคยมี ๔ ประการ เป็นผู้รักษาคลังธรรมของพระศาสดา ทั้งที่ยังเป็นพระ-

เสขะอยู่ทีเดียว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว อันภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ

ขึ้น และอันเทวดาให้สังเวชสลดใจโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง คิดว่า

ก็บัดนี้ พรุ่งนี้แล้วหนอ จะทำสังคายนาพระธรรม ก็ข้อที่เรายังเป็น

พระเสขะมีกรณียะที่จะพึงทำ จะไปยังที่ประชุมเพื่อสังคายนาพระธรรมกับ

พระเถระผู้เป็นอเสขะ ไม่สมควรเลย จึงเกิดความอุตสาหะ เริ่มตั้ง

วิปัสสนา กระทำวิปัสสนากรรมอยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ไม่ได้ความเพียรอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

สม่ำเสมอในการจงกรม แต่นั้น จึงเข้าไปยังวิหารแล้วนั่งบนที่นอน มี

ความประสงค์จะนอน จึงเอนกายลง. ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน, และ

เท้าพอพ้นจากพื้น ในระหว่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยไม่

ถือมั่น ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖.

พระเถระประกอบด้วยคุณ มีอภิญญา ๖ เป็นต้นอย่างนี้ บรรลุ

ตำแหน่งเอตทัคคะโดยคุณมีความเป็นอุปัฏฐากเป็นต้น ระลึกถึงบุพกรรม

ของตน เมื่อจะแสดงอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อนด้วยความ

โสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อารามทฺวารา นิกฺขมฺม ดังนี้. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อารามทฺวารา ความว่า พระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จออกจากประตูพระวิหาร แล้วประทับนั่งบน

บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้เรียบร้อย ที่เขาทำไว้ท่ามกลางมณฑป ใกล้ประตู

ด้านนอก เพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งปวง. บทว่า วสฺสนฺโต อมต

วุฏฺึ ความว่า หลังฝนคือธรรมด้วยสายธารแห่งมหาอมตะคือพระธรรม-

เทศนา. บทว่า นิพฺพาเปสิ มหาชน ความว่า ทรงทำไฟคือกิเลสอัน

อยู่ในจิตสันดานของมหาชนให้ดับ คือให้สงบระงับ อธิบายว่า ทรง

ยังมหาชนให้ถึงความสงบคือความเย็น ด้วยการดื่มน้ำอมฤตคือพระ-

นิพพาน.

เมื่อจะแสดงบริวารสมบัติจึงกล่าวว่า สตสหสฺส เต ธีรา ดังนี้.

อธิบายว่า นักปราชญ์เหล่านั้นเป็นพระขีณาสพประมาณหนึ่งแสน ประ-

กอบด้วยอภิญญา ๖ คือส่วนแห่งญาณ มีอิทธิวิธญาณเป็นต้น ชื่อว่ามีฤทธิ์

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยฤทธิ์ทั้งหลาย อันสามารถไปในหลายแสน

จักรวาลได้โดยทันที พากันแวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น ประดุจเงาไม่ไปปราศในที่ไหน ๆ

อธิบายว่า แวดล้อมฟังธรรมอยู่.

บทว่า หตฺถิกฺขนฺธคโต อาสึ ความว่า ในกาลนั้น คือในสมัย

แสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้นั่งอยู่บนหลังช้าง. บทว่า

เสตจฺฉตฺต วรุตฺตม ความว่า เรานั่งบนหลังช้างกั้นเศวตฉัตรชั้นสูงที่พึง

ต้องการไว้เหนือกระหม่อมของเรา. บทว่า สุจารุรูป ทิสฺวาน ความว่า

ความปลื้มใจ คือความยินดี ได้แก่ความโสมนัสเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้

เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระรูปงดงามเป็นที่จับใจ กำลังทรงแสดงธรรมอยู่.

บทว่า โอรุยฺห หตฺถิกฺขนฺธมฺหา ความว่า เราเห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นประทับนั่ง จึงลงจากหลังช้างแล้วเข้าไปเฝ้า คือไปสู่ที่ใกล้

พระนราสภ คือพระผู้ประเสริฐแห่งนระ. บทว่า รตนมยฉตฺต เม เชื่อม

ความว่า เรากั้นฉัตรของเราอันประดับด้วยรัตนะ เหนือพระเศียรแห่ง

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

บทว่า มม สงฺกปฺปมญฺาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าปทุมุตตระนั้นทรงเป็นใหญ่ในระหว่างฤาษีทั้งหลาย ทรงทราบ

ความดำริอันเกิดขึ้นด้วยความเลื่อมของเรา. บทว่า ต กต ปยิตฺวาน

ความว่า พระองค์ทรงหยุดพระธรรมกถาที่พระองค์กำลังทรงแสดงอยู่นั้น.

แล้วได้ภาษิตคือตรัสคาถาเหล่านี้ เพื่อต้องการพยากรณ์เรา.

หากจะมีคำถามว่า ทรงพยากรณ์อย่างไร ? จึงตรัสคำมีอาทิว่า โย

โส ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า พระราชกุมารนั้นใดทรงกั้นฉัตร

อันประดับด้วยเครื่องอลังการอันเป็นทอง เหนือกระหม่อมของเราตถาคต.

บทว่า ตมห กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า เราจักประกาศคือจักกระทำพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

ราชกุมารนั้นให้ปรากฏ. บทว่า สุโณถ มม ภาสโต ความว่า ท่าน

ทั้งหลายจงฟัง คือจงเงี่ยโสตลงมนสิการคำของเราผู้จะกล่าวอยู่.

บทว่า อิโต คนฺตฺวา อย โปโส ความว่า พระราชกุมารนี้จุติ

จากมนุษยโลกนี้ จักไปยังภพดุสิตแล้วอยู่ คือจักอยู่ในภพดุสิตนั้น. ใน

คำนั้นเชื่อมเนื้อความว่า อันนางอัปสรทั้งหลายกระทำไว้ในเบื้องหน้า คือ

แวดล้อม จักเสวยสมบัติอยู่ในภพดุสิต.

บทว่า จตุตฺตึสกฺขตฺตุ เชื่อมความว่า จุติจากภพดุสิตแล้วบังเกิด

ขึ้นในภพดาวดึงส์ จักเป็นจอมเทวดาครองเทวราชสมบัติอยู่ ๓๔ ครั้ง.

บทว่า พลาธิโป อฏฺสต ความว่า จุติจากภพดาวดึงส์มาบังเกิดใน

มนุษยโลก จักเป็นใหญ่ในกองทัพ คือเป็นใหญ่เป็นประธานในกองทัพ

อันประกอบด้วยองค์ ๔ จักเป็นเจ้าประเทศราช ๑๐๘ ชาติ จักอยู่ครอง

พสุธาคือปฐพีอันประเสริฐด้วยรัตนะมิใช่น้อย คือจักอยู่ในแผ่นดิน.

บทว่า อฏฺปญฺาสกฺขตฺตุ ความว่า จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘

ชาติ. จักครองความเป็นเจ้าประเทศราชอันกว้างใหญ่คือนับไม่ถ้วน ใน

แผ่นดิน คือในแผ่นดินชมพูทวีปทั้งสิ้น.

บทว่า สกฺยาน กุลเกตุสฺส ความว่า จักได้เป็นญาติของพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นธงชัยแห่งสักยราชสกุล.

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. บทว่า นิปโก ได้แก่

เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือปัญญารู้รอบคอบ. เป็นผู้เฉลียวฉลาด

ในพาหุสัจจะ คือความเป็นพหูสูต ได้แก่ในการทรงจำพระไตรปิฎก.

เชื่อมความว่า จักเป็นผู้มีความประพฤติในการถ่อมตน คือเป็นผู้ไม่ดูหมิ่น

ผู้อื่น เป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง คือเว้นจากความกระด้างมีความคะนองทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

กายเป็นต้น จักเป็นผู้ชำนาญบาลีทั้งปวง คือจักเป็นผู้มีปกติทรงจำพระ-

ไตรปิฎกทั้งสิ้นได้.

บทว่า ปธานปหิตตฺโต โส ความว่า พระอานนทเถระนั้น เป็น

ผู้มีจิตส่งไปเพื่อกระทำความเพียร. บทว่า อุปสนฺโต นิรูปธิ ความว่า

เป็นผู้เว้นอุปธิคือ ราคะ โทสะ และโมหะ. เป็นผู้สงบ คือเป็นผู้มีกาย

และจิตสงบ เพราะละเหล่ากิเลสที่จะพึงละด้วยโสดาปัตติมรรค.

บทว่า สนฺติ อารญฺกา ความว่า มีในอรัญ คือเกิดในป่าใหญ่.

บทว่า สฏฺิหายนา ความว่า ในเวลามีอายุ ๖๐ ปี มีกำลังเสื่อมไป.

บทว่า ติธา ปภินฺนา ความว่า ตกมัน ๓ แห่ง กล่าวคือที่ตา หู และ

อัณฑะ. บทว่า มาตงฺคา แปลว่า เกิดในตระกูลช้างชื่อมาตังคะ. บท

ว่า อีสาทนฺตา แปลว่า มีงาเหมือนงอนรถ. เป็นช้างทรงคือเป็นราช-

พาหนะ. ช้างตัวประเสริฐ ได้แก่พญาช้าง กล่าวคือช้างกุญชรมีปรากฏ

อยู่ ฉันใด บัณฑิตกล่าวคือพรขีณาสพ ได้แก่พระอรหันตนาคผู้มีฤทธิ์

นับด้วยแสน ย่อมมีอยู่ ฉันนั้น. พระอรหันตนาคทั้งหมดนั้น ของพญาช้าง

ตัวประเสริฐคือพระพุทธเจ้า. บทว่า น โหนฺติ ปณิธิมฺหิ เต ความ

ว่า บัณฑิตเหล่านั้นย่อมไม่เป็นเช่นนั้นในความปรารถนา อธิบายว่า

บัณฑิตทั้งหมดนั้นพึงกลัวภัย ไม่อาจดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้อย่างไร.

คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วฉะนี้แล.

จบพรรณนาอานันทเถราปทาน

จบพรรณนาพุทธวรรคที่ ๑ ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้

จบอรรถกถาอปทานภาคที่ ๑