พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาวรรค ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๒๙๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิ-
เท่าไร ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ทิฏฐิ
คือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ?
ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ถามว่า
ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ ถามว่า
ทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ ๑๖ ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า
ความถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๓๐ ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ตอบว่า
โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.
[๒๙๕] คำว่า ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ?
ตอบว่า ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา เราเป็น
นั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
ความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๖] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่งจักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลบคลำด้วย
ความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโน-
สัมผัสสชาเวทนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๗] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา
สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ว่า นั่น
ของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย
ความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา
โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ว่า นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ว่า นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๘] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ
อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๒๙๙] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด
ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๓๐๐] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ
รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ
รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ
รูปธาตุ จักขุวิญญาธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ
คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๓๐๑] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
[๓๐๒] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเปกขา-
เจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญาย-
ตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นตัวตนของเรา.
[๓๐๓] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ
ชราและมรณะ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้.
[๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เป็นไฉน ? แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้ง
แห่งทิฏฐิ แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว
เสียงแต่ที่อื่น ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.
ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ...
อวิชชา... ผัสสะ... สัญญา... วิตก... อโยนิโสมนสิการ... มิตรชั่ว... เสียง
แต่ที่อื่น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย
ตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เหล่านี้.
[๓๐๕] ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน ? ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ
ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์
ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
ผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็น
เหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุ
ให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เหล่านี้.
[๓๐๖] ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน ? คือ อัสสาททิฏฐิ ๑ อัตตานุทิฏฐิ ๑
มิจฉาทิฏฐิ ๑ สักกายทิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อุจเฉท-
ทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อันตคาทิกทิฏฐิ ๑ ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑ อปรัน-
ตานุทิฏฐิ ๑ สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑ ทิฏฐิ
อันผูกพันด้วยมานะว่าของเรา ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๑ ทิฏฐิอัน
สัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๑ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิ ๑๖ เหล่านี้.
[๓๐๗] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ...
มิจฉาทิฏฐิ... สักกายทิฏฐิ... สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อุจเฉททิฏฐิ
อันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อันตคาหิกทิฏฐิ... ปุพพันตานุทิฏฐิ... อปรันตานุ
ทิฏฐิ... สังโยชนิกาทิฏฐิ... ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา... ทิฏฐิอันกางกั้น
ด้วยมานะว่าของเรา... ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ... ภวทิฏฐิ... วิภวทิฏฐิ
มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร ?
[๓๐๘] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ อัตตานุทิฏฐิ...
๒๐ มิจฉาทิฏฐิ... ๑๐ สักกายทิฏฐิ... ๒๐ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ...
๑๕ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... ๕ อันตคาหิกทิฏฐิ... ๕๐ ปุพพัน-
ตานุทิฏฐิ... ๑๘ อปรันตานุทิฏฐิ... ๔๔ สังโยชนิกาทิฏฐิ... ๑๘ ทิฏฐิอัน
กางกั้นด้วยมานะว่าเรา... ๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา... ๑๘ ทิฏฐิ
อันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ... ๒๐ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ... ๘ ภวทิฏฐิ
... ๑๙ วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
[๓๐๙] อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน ? ทิฏฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยถือความผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะ (ความยินดี) แห่งรูป ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะมิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ
เป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะ นี้ท่านกล่าวว่า
อัสสาททิฏฐิ อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วย
ทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ
ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด
ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วย
ทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีใน
ทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง บุรุษ
บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ สมาทาน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
ให้บริบูรณ์ตามที่ทิฏฐิ ธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
และสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม
ทีเขาฝั่งลงในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้นย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีพืชเลว ฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
ตามทิฏฐิ ธรรมทั้งปวงคือเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขาร
เหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น
มีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ
ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ.
[๓๑๐] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส
อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฆาน-
สัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัส-
สชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชา-
เวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา
ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ
ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุม เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ
ด้วยอาการ ๑๘ นี้.
[๓๑๑] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์
และทิฏฐิเป็นไฉน ? ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพต
ปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิเป็นไฉน
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์
อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
[๓๑๒] อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็น
รูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนใน
รูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง
เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง.
[๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อม
เห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและ
ตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูป
เป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยอัตตานุทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น
โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฏฐิ คือ ความ
ลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุ-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้.
[๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือน
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็น
อย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า
ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่
วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้.
[๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลใน
ตัวตนนี้ มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้
มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้
อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้
ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุรุษบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูป
เช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชน
ย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.
[๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณี
ที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี
เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นในรูป ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.
[๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัส-
สชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่
เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชา-
เวทนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็น
เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่าง
อันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชา
เวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด
มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิ
ไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
อย่างนี้.
[๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้
ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา
อย่างนี้.
[๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และใน
ตัวตนนี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้
มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้
เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็เเลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่
วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น
เวทนาในตนอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
[๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบ
เหมือน ฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฏฐิ คือความลูบคลำ
ด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ
เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุ-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น
ตนในเวทนาอย่างนี้.
[๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา. . .มโนสัมผัส-
สชาสัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่
เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัส-
สชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อม
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง . . . ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชา-
สัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือ
ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่าง
หนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น
สัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
[๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาเปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา...ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความ
เป็นตน...นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้.
[๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม...
ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน...
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้.
[๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบ
เหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานี้ทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนใน
สัญญาอย่างนี้.
[๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา...มโนสัมผัส-
สชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่
เป็นสอง มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชา-
เจตนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อม
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง. . . ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน...นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีสังขารเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่
ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้.
[๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้อย่างนี้. . . ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นว่า
ต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ
รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน. . . ต้นเป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ
ที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
ปุถุชน ย่อมเห็นคนว่ามีสังขารอย่างนี้.
[๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย
ความเป็นคน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่น-
หอม...ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ
รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน. . .นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ
ที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้.
[๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือน
แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด...ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความ
เป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารเหล่านี้.
[๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ... มโนวิญญาณ โดย
ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณ
อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีป
น้ำมันอันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง . . .
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดย
ความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นตนอย่างนี้.
[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา
นี้นั้นแลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความ
เป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ
อย่างนี้.
[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้
มีวิญญาณ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
...ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชน
ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้.
[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย
ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบ
เหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฏฐิ
มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๓๓๓] มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึง
วัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ
เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด
ที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญ
ที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคล
ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุด
เกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฏฐิ
ไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคล
ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่
ทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.
[๓๓๔] สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น
สัปบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น
ตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
บ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง.
ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิน ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเห็น
โอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๓๓๕] สัสสตทิฏฐิมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ
๑๕ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น
ตนในรูปบ้าง เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามี
สังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนใน
วิญญาณบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นคน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่า
ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้
เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา...โดยความเป็นตน นี้เป็นสัลสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็น
วัตถุที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ
มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.
[๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วย
อาการ ๑๕ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดย
ความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็น
วิญญาณโดยความเป็นตน.
ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน
ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูป
โดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความ
ถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.
[๓๓๗] อันตคาหิกทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มี
ที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
แล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร.
ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฏฐิ
อันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕.
[๓๓๘] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่
วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๑
อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ
สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ
วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ... นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
ว่าโลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์
แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
[๓๓๙] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของ
ไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ
ถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและ
เป็นของไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคา-
หิกทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่
ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
[๓๔๐] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕
เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ
คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่อง
ที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ ๑
อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ บุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
บางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสง-
สว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม
ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือ
ผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็น
โลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
[๓๔๑] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๕ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลก
ไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุ
และเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...
นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่าง
แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้
ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ
ถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและ
เป็นโลกทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
[๓๔๒] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิด
ด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ
ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนา
เป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็น
สรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือ
เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอา
ที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
[๓๔๓] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อม
ถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ
รูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่
ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคา-
หิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ
สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ
ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิ
อันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระเป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
[๓๔๔] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก
ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา
ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง
เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้อง
ตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ
สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอัน
ถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๕ เหล่านี้.
[๓๔๕] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่
เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา
ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายเเตกแล้วย่อมขาดสูญ. ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . .นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร
ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ
สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
แล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ?
[๓๔๖] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น
อีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา
ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . .นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร
ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ
สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินี้ถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วย
อาการ ๕ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
[๓๔๗] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา
ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หา
มิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร
ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้
แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่
วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑
อันคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ
อันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ อันตคาหิกทิฏฐิ ย่อมถือผิด
ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.
[๓๔๘] ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิด
ด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
สัสสตทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิ
ว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด
และหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจ-
สมุปปันนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฏฐิ
ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ?
[๓๔๙] อปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือ
ผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน ?
สัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๗ อสัญญีวาททิฏฐิ
(ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตน
เมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่า
สัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่านิพพานเป็น
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๔ อปรันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๔๔ เหล่านี้.
[๓๕๐] สังโยนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อม
ถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิ
เป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.
[๓๕๑] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๑๘ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่
ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะวาเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
หูเป็นเรา ฯลฯ จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจ
เป็นเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโน-
วิญญาณเป็นเรา ฯลฯ ความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๘ มานวินิพันธา-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ เเต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้น
ด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ .
[๓๕๒] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๑๘ เป็นไฉน ?
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่
ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ
ว่า หูของเรา ฯลฯ จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ
ใจของเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโน-
วิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ ๘ มานวินิ-
พันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอัน
กางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.
[๓๕๓] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๒๐ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็น
รูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตน
ในวิญญาณบ้าง ฯลฯ
ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น
โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่
บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิ
อันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุคด้วยอัตตวาทะ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุต
ด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๓๕๔] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ
๘ เป็นไฉน ?
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฏฐิอันปฏิ-
สังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . . นี้เป็นทิฏฐิอัน
ปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.
ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลก
เที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลก
มีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและ
โลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภ-
โลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . . นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะ
ปรารภโลกที่ ๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก
ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.
[๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วย
ความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็น
ภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐
เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภ-
โลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร.
อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภว-
ทิฏฐิก็มี อัตตานุทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภว-
ทิฏฐิ ๕ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด สักกาย
ทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ สัสสตทิฏฐิ
อันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิ
ทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕
เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วย
อาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มี
ที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอัน
ถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระอันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น มีความ
ถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิด
ด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕
เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔
เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี สังโยชนิกาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘
เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา
มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า
ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันปฏิสังยุต
ด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ
๕ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุต
ด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ ชนเหล่าใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตวโลกนี้ยึดถือในทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มี
สัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น.
[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่าง
กลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ
จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อม
ไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์
พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไปอย่างไร
ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความ
ปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด คนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ
ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น
ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
ย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล.
ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง
และก้าวล่วงความเป็นสัตว์แล้วย่อมน้อมใจไปในธรรม
ตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุ
นั้น กำหนดรู้ ความเป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหา
ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความ
ไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้.
[๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ.
บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑
บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นมีทิฏฐิวิบัติ.
บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระ-
ตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฏฐิสมบัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความ
ลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้น
ว่าเป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูก-
โกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิ-
สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ
ดังนี้.
[๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓.
ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้.
ทิฏฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้.
[๓๕๙] ทิฏฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า เราเป็นนั่น เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร
ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร.
ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า เราเป็นนั่น เป็น
ทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า
นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกาย-
ทิฏฐิเป็นประธานทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.
[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ใน
เรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ใน
ธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้
คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกลโสดาบัน ๑ เอกพิชีโสดาบัน ๑
พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้.
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล
๕ จำพวกนี้ คือ อันตรายปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี
บุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี-
บุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรม
นี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.
[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเรา
อย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น
รวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้น
สุทธาวาสในธรรมนี้.
บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้
คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ใน
ธรรมนี้.
บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ ...
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่าง
แน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น
รวมเป็น ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพ
สุทธาวาสในธรรมนี้ ฉะนี้แล.
จบทิฏฐิกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค
ชื่อว่าสัทธัมมปกาสินี ในขุททกนิกาย
ภาคที่ ๒
ทิฏฐิกถาในมหาวรรค
๑. อรรถกถาอัสสาทสทิฏฐินิเทศ
บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาความตามลำดับแห่งทิฏฐิกถา อันท่าน
กล่าวแล้วในลำดับแห่งญาณกถา. จริงอยู่ ทิฏฐิกถานี้ชำระมลทินคือมิจฉาทิฏฐิ
ของผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ ซึ่งสะสมญาณที่ทำไว้แล้ว ด้วยญาณกถาเป็นอันทำไว้
ด้วยดี. อนึ่ง สัมมาทิฏฐิท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งญาณกถาว่า เป็นความ
บริสุทธิ์ด้วยดี. ในทิฏฐิกถานั้นมีอยู่ ๔ ปริเฉท คือ คำถามมีอาทิว่า ทิฏฐิ
คืออะไร ๑. การตอบคำถามที่ถามมีอาทิว่า คำว่า ทิฏฐิ คืออะไร คือการ
ลูบคลำด้วยความถือผิด ๑ แสดงถึงความพิสดารของการตอบ ที่ตอบมีอาทิว่า
ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความถือผิด เป็นอย่างไร ๑ การเปรียบเทียบกับ
ทิฏฐิสูตรมีอาทิว่า ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเป็นอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความ
พอใจ) ๑. ใน ๔ ปริเฉทนั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุจฉาปริเฉทก่อน. ถามว่า
ทิฏฐิเป็นอย่างไร เป็นธรรมปุจฉา (ถามธรรมดา) เป็นสภาวปุจฉา (ถาม
ตามสภาพ).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นเหตุปุจฉา (ถามตามเหตุ) เป็น
ปัจจยปุจฉา (ถามตามปัจจัย). อธิบายว่า เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลายมีเท่าไร.
ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นสมุทาจารปุจฉา (ถามตาม
ความปรากฏ) เป็นวิการปุจฉา (ถามทำให้แปลกไป). จริงอยู่ ทิฏฐิทั้งหลาย
นั่นแล ชื่อว่า ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ) เพราะตั้งขึ้น
หุ้มห่อจิตด้วยอำนาจแห่งความปรากฏ.
ถามว่า ทิฏฐิเท่าไร เป็นสังขยาปุจฉา (ถามตามจำนวน) เป็น
คณนาปุจฉา (ถามตามคำนวณ) แห่งทิฏฐิทั้งหลาย.
ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นทิฏฐิปเภทปุจฉา (ถาม
ตามประเภทของทิฏฐิ) ด้วยประเภทแห่งวัตถุ ด้วยความต่างกันแห่งอารมณ์.
เพราะว่า ทิฏฐิทั้งหลายนั่นแล ย่อมยึดถือ ย่อมลูบคลำวัตถุนั้น ๆ อารมณ์นั้นๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิปรามาส (ลูบคลำทิฏฐิ).
ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน เป็นปฏิปักขปุจฉา
(คำถามเป็นปฏิปักษ์กัน ) เป็นปหานูปายปุจฉา (คำถามหาอุบายที่จะละ) แห่ง
ทิฏฐิทั้งหลาย จริงอยู่เหตุแห่งทิฏฐิเหล่านั้นมีขันธ์เป็นต้น เป็นเหตุแห่งทิฏฐิ จึง
เป็นไปไม่ได้ด้วยการถอนทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็นอันต้องถอนเหตุ
เหล่านั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิฐานสมุคฆาตะ (ถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)
เพราะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นเหตุเบียดเบียนอย่างร้ายกาจ.
บัดนี้พึงทราบคำตอบ ๖ ข้อ มีอาทิว่า ทิฏฐิเป็นอย่างไร ของคำถาม
ทั้ง ๖ ข้อเหล่านั้น. ในคำถามเหล่านั้น พึงทราบคำถามที่ควรตอบว่า ทิฏฐิ
เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้.
คำตอบว่า ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความเห็นผิด. ก็ทิฏฐินั้นชื่อว่า
อภินิเวสะ เพราะยึดถือ ตั้งมั่น ถือมั่น ด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
ในวัตถุอันไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะก้าวล่วงอาการไม่เที่ยง
เป็นต้น แล้วลูบคลำยึดถือต่อไป เป็นไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นของเที่ยง
เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะลูบคลำยึดถือสิ่งอื่น มีอาทิ
ว่าเป็นของเที่ยง ว่าเป็นของจริงอย่างสูงสุด. ความยึดถือและการลบคลำนั้น
ชื่อว่า อภินิเวสปรามาสะ. พระสารีบุตรเถระย่อมตอบสภาวะของทิฏฐิโดย
กิจว่า ทิฏฐิมีประการอย่างนี้ ดังนี้.
บทว่า ตีณิ สต คือ ๓๐๐* เป็นความคลาดเคลื่อนของวจนะ. ถามว่า
การถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน เป็นการยกคำถามขึ้นแล้ว ตอบว่า โสดา-
ปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.
บัดนี้ พึงทราบการแสดงโดยพิสดารของบทมีอาทิว่า กถ อภินิเวส-
ปรามาโส การลูบคลำด้วยการถือผิดเป็นอย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป เป็นทุติยาวิภัตติ. เชื่อมความว่า การ
ลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป. อนึ่ง ในบทว่า รูป นี้ ได้แก่ รูปูปาทานขันธ์
และกสิณรูป. ทิฏฐิคือการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นตัวตนของเรา พึงประกอบเฉพาะอย่าง.
บทว่า เอต เป็นสามัญวจนะ. ด้วยบทนั้นท่านทำให้เป็นนปุงสกวจนะ
และเอกวจนะว่า นั่นเวทนาของเรา นั่นสังขารของเรา. แต่บทว่า เอโส
ท่านเพ่งถึงสิ่งที่ควรกล่าวถึง จึงทำให้เป็นปุลลิงควจนะ.
พระสูตรเป็น ตึสสต (๑๓๐) แต่อรรถกถาใช้คำว่า ตีณิสต (๓๐๐) เป็นวจนะวิปลาส นับ
จำนวนดังนี้คือ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, วิญญาณ ๖, จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๖, สัญญา ๖
สัญเจตนา ๖, ตัณหา ๖, วิตก ๖, วิจาร ๖, ธาตุ ๖, กสิณ ๑๐, โกฏฐาส ๓๒, อายตนะ ๑๒,
ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๑๕, ธาตุ ๒๓, ปฏิจจะ ๑๒, รวม ๑๙๓ นับที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ความกลุ้มรุม
ทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิ ๑๖, ทิฏฐิอีก ๓ (คือนั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา) และทิฏฐิ
๖๒ รวมทั้งหมด ๓๐๐ พอดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
บทว่า เอต มม (นั่นของเรา) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะตัณหา
เป็นมูล.
บทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะ
มานะเป็นมูล.
บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) มีความสำคัญ
เพราะทิฏฐินั่นเอง.
ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความแห่งคำทั้ง ๓ เหล่านี้ว่า ความดำริ
ด้วยมมังการ (ความถือว่าเป็นของเรา) ว่านั่นเป็นของเรา ความดำริด้วย
อหังการ (ความถือว่าเป็นเรา) ว่าเราเป็นนั่น และการถือมั่นตัวตนอันดำริ
ด้วยอหังการ มมังการว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา. อนึ่ง การยกย่องด้วยมานะ
อาศัยตัณหาเป็นมูลตามลำดับ อันมานะยกย่องแล้วอาศัยตัณหาเป็นมูล และ
การยึดถือตัวตน. การไม่เห็นลักษณะที่เป็นทุกข์แห่งสังขารทั้งหลาย การไม่
เห็นลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และการยึดถือตัวตนอันเป็น
เหตุไม่เห็นพระไตรลักษณ์แห่งสังขารทั้งหลาย การยึดถือตัวตนของผู้ที่ถึงความ
วิปลาสในความทุกข์ว่าเป็นความสุข ในความไม่งามว่าเป็นความงาม ในความ
เป็นของไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง และผู้ถึงความวิปลาส ๔ อย่าง. ความดำริ
ด้วยอาการแห่งปุพเพนิวาสญาณ ความดำริ เพื่อจะได้ในอนาคตแห่งทิพยจักษุ
ญาณ และการยึดถือตัวตนของผู้อาศัยความดำริในธรรมทั้งหลายอันเป็น
อิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) และปฏิจจสมุปบาททั้งส่วนเบื้องต้น
และส่วนเบื้องปลาย คำนึงถึงอดีตด้วยความพอใจ หวังอนาคตด้วยความพอใจ
หมกมุ่นอยู่ในปัจจุบัน ชื่อว่ายึดถือตัวตน. ทิฏฐิมีความไม่รู้เป็นเหตุในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย และการยึดถือตัวตนมีความไม่รู้เป็นเหตุ ในธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
ทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตา และปฏิจจสมุปบาทในส่วนเบื้องต้นและส่วน
เบื้องปลาย.
อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายในทิฏฐิกถานี้ มีขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นที่หนึ่ง.
แต่นั้นท่านกล่าวถึงทิฏฐิทั้งหลาย มีอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ วิญญาณ
กายสัมผัส กายเวทนา กายสัญญา กายเจตนา กายตัณหา กายวิตกวิจารธาตุ
กสิณ ๑๐ อาการ ๓๒ เป็นวัตถุ.
อนึ่ง ในอาการ ๓๒ พึงทราบว่า ไม่ควรยึดถือไว้แผนกหนึ่ง ทำการ
ยึดถือดุจยึดถือไว้แผนกหนึ่ง โดยยึดถือสรีระทั้งสิ้น แต่นั้นก็ประกอบด้วย
อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๑๙ ประกอบอินทรีย์อันเป็นโลกุตระโดย
ส่วนเดียว ๓ เพราะทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่มีโลกุตระเป็นวัตถุ. อนึ่ง ในธรรม
ทั้งหลายที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งปวง พึงถือเอาโลกิยะอย่างเดียว
ยกเว้นโลกุตระ และไม่ควรถือรูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เท่านั้น แต่นั้นก็
ประกอบด้วยธาตุ ๓ ภพ ๙ อย่าง ฌาน พรหมวิหารสมาบัติ และองค์แห่ง
ปฏิจจสมุปบาท. การบริหารในการถือเอาชาติ ชรา และมรณะไว้ต่างหาก
มีนัยดังได้กล่าวแล้ว. บททั้งหลายมีรูปเป็นต้นเท่านี้ทั้งหมด อันมีชราและ
มรณะเป็นที่สุด มีอยู่ ๑๙๘ บท.
พึงทราบวินิจฉัยในที่ตั้งแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า ขนฺธาปิ
ทิฏฺิฏฺาน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ความว่า อุปาทานขันธ์ ๕
ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะสักกายทิฏฐิแม้มีวัตถุ ๒๐ อย่าง ก็เป็น
วัตถุแห่งขันธ์ ๕ และเพราะเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง เมื่อพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมพิจารณา
เห็นตนเสมอ ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าทั้งหมด ย่อมพิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
เสมอ ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล หรือขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งขันธ์ ๕
เท่านั้น.
บทว่า อวิชฺชาปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้อวิชชาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)
ความว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นความเกิดขึ้น
แห่งทิฏฐิของคนบอดทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในท่านผู้ที่มิได้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ดังนี้ ทิฏฐินี้ย่อมปรากฏ เพราะอาศัยอะไร พระเจ้าข้า. ดูก่อนกัจจานะ ธาตุ
นี้ใหญ่นักแล คือ อวิชชาธาตุ ดูก่อนกัจจานะ สัญญาเลว ทิฏฐิเลว ย่อม
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุเลว.
บทว่า ผสฺโสปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้ผัสสะก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า
ผัสสะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความกระทบด้วยผัสสะนั้นเป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทิฏฐิ และเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์
เหล่าใด ดำริส่วนเบื้องต้น มีความเห็นตามส่วนเบื้องต้น ย่อมกล่าวถึงบทที่
พอใจหลาย ๆ อย่าง ปรารภส่วนเบื้องต้น แม้ข้อนั้นก็เป็นปัจจัยแห่งผัสสะ.
บทว่า สญฺาปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้สัญญาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า
สัญญาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความที่สัญญาเป็นเหตุถือเอาตามสภาพ
ที่ไม่เป็นจริง โดยถือเอาเพียงอาการ เพราะคำอันสภิยปริพาชกทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอ
ด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดทิฏฐิ ๓ และ ๖๐ ที่
อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะเป็นประธานของสมณะผู้ถือ
ลัทธิอื่นที่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน [ว่าหญิงว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
ชาย) และสัญญาอันวิปริต ทรงก้าวล่วงความมืดคือ
โอฆะได้แล้ว.
และเพราะบาลีว่า ธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้.
บทว่า วิตกฺโกปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้วิตกก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า
วิตกเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยวิตกถึงอาการและ
เพราะบาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
สัจจะมากหลายต่าง ๆ กัน เว้นจากสัญญาว่า
เที่ยงเสียหาใช่มีในโลกไม่. ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา
กำหนดความคาดคะเนทิฏฐิทั้งหลายแล้ว จึงกล่าว
ทิฏฐิอันเป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ.
บทว่า อโยนิโสมนสิกาโรปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้อโยนิโสมนสิการ
ก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า อโยนิโสมนสิการเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย
เพราะอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุทั่วไปแห่งอกุศลทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า
เมื่อพระโยคาวจรนั้นกระทำไว้ในใจ โดยอุบายไม่แยบคาย ทิฏฐิ ๖ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า ปาปมิตฺโตปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้มิตรชั่วก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)
ความว่า มิตรชั่วเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะมิตรชั่ว เป็นความเกิดแห่ง
ทิฏฐิ ด้วยการคล้อยตามไปกับความเห็น และเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่นในภายนอกแม้องค์เดียวที่จะเป็นไปเพื่อความฉิบหาย
อันใหญ่อย่างนั้นเหมือนความมีมิตรชั่วนี้เลย.
บทว่า ปรโต โฆโสปิ ทิฏิฏฺาน (แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้ง
แห่งทิฏฐิ) ความว่า เสียงทำให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ที่อื่นกถาประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
มิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยการฟัง
ธรรมที่กล่าวไม่ดีและเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ อย่าง ปัจจัย
๒ อย่าง เหล่านี้คือเสียงแต่ที่อื่น และอโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิด
มิจฉาทิฏฐิ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะไขความแห่งบทว่า ทิฏฺฐิฏฺาน ที่
ตั้งแห่งทิฏฐิ จึงกล่าวคำมีอาทิว่าขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัยดังนี้. อธิบายว่า
ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นเป็นเหตุเกิดและเป็นปัจจัยอุปถัมภ์เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย.
บทว่า สมุฏฺานตฺเถน (เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น) ความว่า ชื่อว่า
สมุฏฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้น คือ เกิดขึ้น. อธิบายว่า เป็นเหตุ เพราะ
อรรถว่าตั้งขึ้นนั้น คือเพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงประเภทของทิฏฐิโดย
ประเภทแห่งกิจ จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า กตมานิ อฏฺารส ทิฏฺิปริยุฏฺ-
านานิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยา ทิฏฺิ เป็นบทต้นเหตุอันทั่วไปแก่บท
ทั้งหลาย ๑๘ บทซึ่งจะกล่าวในบัดนี้. พึงทำการเชื่อมด้วยบททั้งปวงว่า ทิฏฐิ
คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ เป็นต้น. ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะอรรถว่าไม่เห็นตามความ
เป็นจริง. การเห็นไปในทิฏฐิทั้งหลายนั้นนั่นแล ชื่อว่าทิฏฐิคตะ เพราะหยั่งลง
ภายในทิฏฐิ ๖๒. ท่านกล่าวความแห่งทิฏฐิคตะนั่นแล้วแม้ในหนหลัง แม้เพราะ
ที่สุดสองอย่างไปโดยส่วนเดียวก็เป็นทิฏฐิคตะ.
ทิฏฐินั้นชื่อว่า ทิฏฐิรกชัฏ เพราะอรรถว่าก้าวไปได้ยาก ดุจรกด้วย
หญ้า ป่าและภูเขา. ชื่อว่าทิฏฐิกันดาร เพราะอรรถว่า มีความรังเกียจ และ
มีภัยเฉพาะหน้า ดุจกันดารเพราะโจร เพราะสัตว์ร้าย เพราะไม่มีน้ำ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
หาภิกษาได้ยาก. ในธรรมสังคณีมาแล้วโดยลิงค์ว่า ทิฏิกนฺตาโร (กันดาร
ด้วยทิฏฐิ) ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าเสียดแทงและตรงข้าม
กับสัมมาทิฏฐิ.
จริงอยู่ การเห็นผิดย่อมเจาะทะลุและตรงข้ามกับการเห็นชอบซึ่ง
เกิดขึ้น. ในธรรมสังคิณีมาแล้วว่า เป็นข้าศึกของทิฏฐิ. ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ
เพราะเป็นทิฏฐิปรวนแปรผิดรูปโดยที่บางครั้งถือเอาสัสสตทิฏฐิ บางครั้งถือเอา
อุจเฉททิฏฐิ.
จริงอยู่ เจ้าทิฏฐิไม่สามารถตั้งอยู่ในทิฏฐิเดียวได้ บางครั้งระลึกถึง
สัสสตทิฏฐิ บางครั้งระลึกถึงอุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าทิฏฐิเป็นสังโยชน์ เพราะทิฏฐิ
นั่นแลประกอบในสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นลูกศร เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นลูกศร เพราะ
อรรถว่า เจาะเข้าไปในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นความคับแคบ เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าคับแคบ เพราะ
ทำการบีบคั้น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องกังวล
เพราะปิดกั้นความพ้น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกพัน
เพราะแก้ได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหว เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเหว เพราะขึ้น
ได้ยาก.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นอนุสัย เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นอนุสัย เพราะไป
ด้วยเรี่ยวแรง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน เพราะทิฏฐินั่นแล ทำตนให้เดือด-
ร้อน.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน เพราะทิฏฐินั่นแล ตามเผาผลาญตน.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะทิฏฐินั่นแล ร้อยรัดกายด้วย
กิเลส.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น เพราะทิฏฐินั่นแล ยึดถือไว้อย่างมั่น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด เพราะถือผิดด้วยการยึดว่า เป็นจริง
เป็นต้น.
ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ เพราะทิฏฐินั่นแล ย่อมลูบคลำว่านี้
เป็นอื่น หรือลูบคลำจากอื่น.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้ถึงทิฏฐิ ๑๖ ด้วยอำนาจแห่งหมู่
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน.
พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิ ๑๖ นั้นดังต่อไปนี้. ทิฏฐิในความพอใจ คือ
สุขและโสมนัส ชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ ทิฏฐิอันไปตามตนชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ-
ทิฏฐิอันวิปริต เพราะเป็นไปว่าไม่มี ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ. ทิฏฐิในกายอันมีอยู่
หรือทิฏฐิอันมีอยู่ในกาย ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ. อนึ่ง ในบทว่า กาโย นี้ คือ
ขันธปัญจก. ทิฏฐิชื่อว่า สกฺกายวตฺถุกา เพราะมีสักกายะคือขันธบัญจก
เป็นวัตถุคือเป็นที่ตั้ง. ทิฏฐิอันเป็นไปแล้วว่าเที่ยง ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ. ทิฏฐิ
อันเป็นไปแล้วว่าสูญ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าอันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือ
เอาที่สุดมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น หรือเพราะมีการถือเอาที่สุด. ทิฏฐิอันไปตามที่สุด
เบื้องต้นคืออดีต ชื่อว่าปุพพันตานุทิฏฐิ. ทิฏฐิอันไปตามที่สุดเบื้องปลายคือ
อนาคต ชื่อว่าอปรันตานุทิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชนิกาทิฏฐิ เพราะประกอบในสิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
ไม่มีประโยชน์. ทิฏฐิอันผูกพัน สืบต่อให้เกิดขึ้นด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่าเป็นเรา
ด้วยการถือตัว อันเป็นมูลแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา.
อนึ่ง ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่า ของเราด้วยการถือว่าเป็นของเรา
ชื่อว่าทิฏฐิผูกพันด้วยมานะว่า ของเรา. การพูด การกล่าวของตน ชื่อว่า
อัตตวาทะ. ทิฏฐิอันสัมปยุตเกี่ยวข้องด้วยอัตตวาทะนั้นชื่อว่าทิกฐิอันสัมปยุตด้วย
อัตตวาทะ. การพูดการกล่าวว่าโลกของตน ชื่อว่า โลกวาทะ. ทิฏฐิอันสัมปยุต
ด้วยโลกวาทะนั้น ชื่อว่าทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ความเที่ยงท่านกล่าวว่า
ภพ. ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความเที่ยง ชื่อว่าภวทิฏฐิ. ความสูญท่านกล่าวว่า
วิภวะ. ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความสูญ ชื่อว่าวิภวทิฏฐิ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความถือผิดด้วยทิฏฐิ
๓๐๐ จึงถามว่า การถือผิดด้วยทิฏฐิ ๓๐๐ เป็นไฉน. ไม่แก้ความถือผิด
เหล่านั้น ประสงค์จะแก้โดยแก้ความถือผิดไว้แผนกหนึ่ง จึงถามถึงอาการ
ถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วย
อาการเท่าไร แล้วแก้การนับอาการถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างเท่านั้นมีอาทิ
ว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ ต่อไป เมื่อจะแก้การนับเหล่านั้น
อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป ปฏิจฺจ คืออาศัยรูปขันธ์. บทว่า
อุปฺปชฺชติ สุข โสมนสฺส (สุข โสมนัสเกิดขึ้น) ความว่า สุข โสมนัส
สัมปยุตด้วยราคะ อาศัยเรือน ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสมบัติว่า กายของ
เรานี้ เป็นเช่นนี้ดังนี้. สุขและโสมนัสโดยอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
บทว่า รูปสฺส อสฺสาโท (อัสสาทะแห่งรูป) คือ ความยินดีอาศัยรูป.
ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะยินดีเสวยสุขนั้นด้วยอำนาจแห่งตัณหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
บทว่า อภินิเวสปรามาโส ทิฏฺิ (ทิฏฐิคือการลูบคลำด้วยความ
ถือผิด) ความว่า ความยินดีนั้นเป็นการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เที่ยงก็ดี
จักสูญก็ดี ย่อมทำคนเที่ยงหรือสูญให้มีความสุขก็ดี. เพราะฉะนั้น บทว่า
ยา จ ทิฏฺิ โย จ อสฺสาโท (ทิฏฐิและอัสสาทะ) คือทิฏฐินั้นเว้นอัสสาทะ
จะมีไม่ได้ แม้อัสสาทะจะมีและไม่มีทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น ทั้งสองอย่างจึงทำ
รวมกัน.
บทว่า อสฺสาททิฏฺิ ท่านอธิบายว่า ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปในความ
ยินดี.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นเทียบเคียงด้วยสูตรต่าง ๆ แล้วประสงค์
ติเตียนมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิวิปตฺติ ได้แก่ วิบัติด้วยทิฏฐิ คือ
มิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ. บทว่า ทิฏฺิวิปนฺโน บุคคลผู้มีทิฏฐิ-
วิบัติ อธิบายว่า ชื่อว่า ทิฏฺิวิปนฺโน เพราะมีสัมมาทิฏฐิวิบัติคือพินาศ
หรือวิบัติพินาศด้วยทิฏฐิ. บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัตินั้นไม่ควรเสพด้วยการเข้าไปหา
ไม่ควรคบด้วยจิต ไม่ควรนั่งใกล้ด้วยการเข้าไปหาแล้วนั่งลง.
บทว่า ต กิสฺส เหตุ (ข้อนั้น เพราะเหตุไร) เป็นการณปุจฉา (ถาม
ถึงเหตุ) ของบุคคลนั้นว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรทำการเสพเป็นต้นนั้น.
ตอบถึงเหตุว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ฉะนั้นจึงไม่ควรทำการเสพ
เป็นต้นนั้น.
บทว่า ทิฏฺิ โย ราโค (ทิฏฐิราคะใด) ความว่า ราคะเกิดขึ้นด้วย
ทิฏฐิปรารภทิฏฐิว่า ทิฏฐิของเราดี ดังนี้. บทว่า ทิฏฺิราครโต (เป็นผู้ยินดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
ในทิฏฐิราคะ) ความว่า เป็นผู้ยินดีด้วยทิฏฐิราคะนั้นดุจผ้าย้อมด้วยสี. บทว่า
น มหปฺผล (เป็นทานไม่มีผลมาก) คือ ด้วยผลอันเป็นวิบาก. บทว่า น
มหานสส (เป็นทานไม่มีอานิสงส์มาก) คือ ด้วยผลอันหลั่งไหลหรือผลลัพธ์.
บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส คือแห่งบุรุษบุคคล. เพราะโดยโวหารของชาวโลก
สรีระท่านเรียกว่า ปุ. ชื่อ ปุริส เพราะนอนคือเป็นไปในสรีระนั้น. นรก
ท่านเรียกว่า ปุ. ชื่อ ปุคฺคล เพราะไปสู่นรกนั้น. จริงอยู่ โดยมากสัตว์ทั้งหลาย
จุติจากสุคติแล้ว ย่อมเกิดในทุคติทั้งนั้น.
บทว่า ต กิสฺส เหตุ คือความที่ไม่มีผลมากนั้น เป็นเพราะเหตุไร.
บทว่า ทิฏฺิ หิสฺส ปาปิกา ความว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ฉะนั้น
จึงไม่มีผลมาก. บทว่า เทฺวว คติโย มีคติเป็น ๒ คือ มีคติเป็น ๒ ในคติ ๕
เป็นนรกเพราะทิฏฐิวิบัติ เป็นกำเนิดดิรัจฉานเพราะทิฏฐิสมบัติ.
บทว่า ยญฺเจว กายกมฺม คือ กายกรรมมีดำรงเพศของตนประกอบ
ข้อปฏิบัติ อภิวาท บำรุง และทำอัญชลีเป็นต้น.
บทว่า ยญฺจ วจีกมฺม คือ วจีกรรมมีการเล่าเรียน ท่อง แสดง
ชักชวนในลัทธิของตนเป็นต้น.
บทว่า ยญฺจ มโนกมฺม คือ มโนกรรมประกอบด้วยความคิด คำนึง
ถึงโลกนี้โลกหน้า และสิ่งที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ. กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ในหญ้า ขอนไม้ ข้าวเปลือก พืชทั้งหลาย และในการมอบให้รับ
บริโภคทานของสัตว์ผู้มีทิฏฐิ. บทว่า ยถาทิฏฺิ (ตามทิฏฐิ) คือ สมควรแก่ทิฏฐิ
นั้น. บทว่า สมตฺต คือ ให้บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺน (สมาทาน) คือ
ถือเอา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า กายกรรมนั้นมี ๓ อย่าง คือ กายกรรม
ตั้งไว้ตามทิฏฐิ ๑ กายกรรมเกิดร่วมกับทิฏฐิ ๑ กายกรรมอนุโลมตามทิฏฐิ ๑.
ในกายกรรม ๓ อย่างนั้น กายกรรมกล่าวคือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ
มิจฉาจารของผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามไม่มี
บาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า กายกรรมตั้งอยู่ตาม
ทิฏฐิ. กายกรรมเกิดร่วมกันด้วยความเห็นตามทิฏฐินี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ผู้ลักทรัพย์
ผู้ประพฤติผิดในกามไม่มีบาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า
กายกรรมเกิดร่วมกันกับทิฏฐิ. กายกรรมนั้นนั่นแลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
สมาทานแล้ว ถือเอาแล้ว ลูบคลำแล้วให้บริบูรณ์ ชื่อว่า กายกรรมอนุโลม
ตามทิฏฐิ. แม้ในวจีกรรม มโนกรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในวจีกรรม
มโนกรรมนี้พึงประกอบว่า ผู้พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
มีความโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดไม่มีบาป อันมีวจีกรรม มโนกรรม
นั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง ดังนี้. อนึ่ง นัยที่กล่าวด้วยการดำรงเพศ การ
เล่าเรียน และความคิดของชาวโลกเป็นต้น เป็นนัยที่ดีในข้อนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้นดังต่อไปนี้. ความคิดอันเกิดร่วมกับ
ทิฏฐิ ชื่อว่า เจตนา. ความต้องการอันเกิดร่วมกับทิฏฐิ ชื่อว่า ความปรารถนา.
การตั้งจิตด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาด้วยความตั้งใจ ชื่อว่า ความตั้งใจ.
ธรรมทั้งหลาย อันเนื่องด้วยสังขารขันธ์มีผัสสะเป็นต้น สัมปยุตด้วยเจตนา
เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร.
ด้วยบทมีอาทิว่า อนิฏฺาย (เพื่อผลไม่น่าปรารถนา) ท่านกล่าวถึง
ทุกข์ทั้งนั้น. เพราะทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ชื่อว่า ไม่ปรารถนาเพราะ
ไม่แสวงหา ชื่อว่า ไม่น่าใคร่ เพราะไม่เป็นที่รัก ชื่อว่า ไม่น่าพอใจ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
ไม่ทำให้เจริญใจ และเพราะไม่สบอารมณ์ ชื่อว่า ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพราะไม่เจริญต่อไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะบีบคั้น.
บทว่า ต กิสฺส เหตุ ความว่า การเป็นไปอย่างนั้นเพราะเหตุไร.
แสดงถึงเหตุนั้นว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก. อธิบายว่า เพราะทิฏฐิของ
บุคคลนั้นเลวทราม ลามก ฉะนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น.
บทว่า อลฺลาย ปวิยา นิกฺขิตฺต (ฝังลงในแผ่นดินเปียก) คือ
ปลุกลงไปในแผ่นดินที่ชุ่มด้วยน้ำ. บทว่า ปวีรส อาโปรส (รสแผ่นดิน
รสน้ำ) ความว่า ในที่นั้นๆ สมบูรณ์ด้วยแผ่นดินและน้ำ. เพราะในที่ที่ฝังพืช
แผ่นดินทั้งหมดและน้ำทั้งหมด ไม่ยังพืชและผลให้ผลิตได้. ส่วนพื้นที่ของ
แผ่นดินและน้ำเหล่านั้นเท่านั้นที่สัมผัสพืช ย่อมให้พืชผลผลิตได้. เพราะฉะนั้น
พื้นที่นั้นจึงเป็นปัจจัยเพื่อเลี้ยงพืช พึงทราบว่าเป็นรสแผ่นดิน เป็นรสน้ำ.
เพราะรสศัพท์มีความสมบูรณ์ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่ารส ท่านกล่าว
ด้วยความสมบูรณ์ด้วยกิจ อนึ่ง เมื่อชาวโลกกล่าวว่า คนธรรพ์มีเสียงดี ย่อม
รู้ความว่า คนธรรพ์สมบูรณ์ดีแล้ว.
บทว่า อุปาทิยติ คือ ถือเอา. เพราะพืชได้พื้นที่ที่เป็นปัจจัย ย่อม
ผลิตได้. บทว่า สพฺพนฺต คือรสทั้งปวงนั้น. บทว่า ติตฺตกตฺตาย (เพื่อ
ความเป็นของมีรสขม) ความว่า รสแผ่นดิน และรสน้ำนั้น แม้ไม่มีรสขม
อาศัยพืชที่ขม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขมแห่งต้นสะเดาเป็นต้น และผล
เท่านั้น. บทว่า กฏุกตฺตาย (มีรสปร่า) นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นเอง.
พึงทราบว่ารสขมในที่นี้ชื่อว่า รสปร่า เพราะไม่เป็นที่ชอบใจดุจในอาคตสถานว่า
มะม่วงนี้เมื่อก่อนได้รับความนิยมมีสีกลิ่นและ
รส เพราะเหตุไร มะม่วงจึงมีรสปร่าไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
บทว่า อสารตาย เพื่อความไม่เป็นสาระ คือ ไม่มีรสหวาน. ปาฐะว่า
อสาทุตฺตาย บ้าง ความว่า มีรสไม่อร่อย. เพราะบทว่า สาทุ แปลว่า
อร่อย. บทว่า พีช หิสฺส ได้แก่พืชของสะเดาเป็นต้นนั้น. บทว่า เอวเมว
ตัดบทเป็น เอว เอว. เพราะสุขเวทนาเป็นความยินดีอย่างยิ่ง. ฉะนั้นท่าน
จึงแสดงถึงโทษแห่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งทุกขเวทนา. พระสารีบุตรเถระ
เพื่อแสดงถึงโทษแห่งทิฏฐิโดยประเภท ๑๘ อย่าง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาท-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ. บทนั้นมีความดังได้กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า อิเมหิ อฏฺารสหิ อากาเรหิ ปริยฏิตจิตฺตสฺส สโย-
โค (ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุมด้วยอาการ ๑๘ อย่างเหล่านี้) ท่าน
แสดงถึงความผูกพันในสงสารด้วยทิฏฐินั่นเอง.
ก็เพราะสังโยชน์แม้เป็นทิฏฐิก็มี แม้ไม่เป็นทิฏฐิก็มี ฉะนั้น พระสารี-
บุตรเถระเมื่อจะแสดงประเภทนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถิ สโชนานิ
เจว สังโยชน์มีอยู่ดังนี้.
ในบทนั้น เพราะกามราคสังโยชน์มีที่มาว่า อนุนยสฺโชน คือ
สังโยชน์ที่มีนัยตามกัน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุนยสฺโชน พึงทราบว่า
อนุนยสังโยชน์นี้ ท่านกล่าวหมายถึงความโลภที่เป็นไป ยังไม่ถึงความเป็น
กามราคสังโยชน์. ในวาระแม้เป็นมูลเหตุ มีขันธ์และอายตนะที่เหลือเป็นต้น
ก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง เพราะอัสสาทะมีเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงทำเทศนา มีเวทนา
เป็นที่สุด ไม่ถือเอาสัญญาเป็นต้น.
บทว่า อิเมหิ ปฺจตฺตึสาย อากาเรหิ (ด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้)
คือ ด้วยอาการ ๓๕ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ คือ อัสสาทะอันเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยวัตถุ ๓๕ เหล่านี้ คือ เบญจขันธ์ ๕ และอายตนะภายในเป็นต้น ๖ หมวด.
จบอรรถกถาอัสสาททิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
อรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ
(แสดงถึงอัตตานุทิฏฐิ)
พึงทราบวินิจฉัยในอัตตานุทิฏฐิ ดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสุตวา
ปุถุชฺชโน. (ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ) คือ ผู้ควรรู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษา
เล่าเรียนและการบรรลุ. ผู้ที่ชื่อว่าไม่มีการศึกษา ทำการปฏิเสธอัตตานุทิฏฐิ
เพราะปราศจากการเล่าเรียน การสอบถามและการวินิจฉัย ในขันธ์ ธาตุ
อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการและสติปัฏฐานเป็นต้น. และผู้ที่ชื่อว่าไม่บรรลุ เพราะ
ไม่บรรลุข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ. ชื่อว่าเป็นไญยบุคคลผู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มี
การศึกษาและการบรรลุ.
จริงอยู่ บทว่า สุต (สดับแล้ว) คือ มีการศึกษาพุทธวจนะ และบรรลุ
ด้วยการกล่าวถึงเหตุ เพราะมีสุตะเป็นผล ชื่อว่า สุตวา ผู้สดับเพราะมีสุตะ
นั้น ผู้ไม่มีสุตะ ชื่อว่าผู้ไม่ได้สดับ. บุคคลผู้ไม่ได้สดับนี้นั้น
เป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น
ชนนี้เป็นผู้ชื่อว่า มีกิเลสหนาเพราะเป็นผู้ยังกิเลสหนา
ให้เกิดขึ้นหยั่งลงถึงภายใน.
จริงอยู่ ชนนั้นเป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้น อันหนามีประการ
ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนา
ให้เกิดขึ้น, เพราะกำจัดสักกายทิฏฐิอันหนาไม่ได้, เพราะเห็นแก่หน้าของศาสดา
ทั้งหลายเป็นอันมาก, เพราะร้อยรัดไว้ด้วยคติต่าง ๆ เป็นอันมาก เพราะปรุง
แต่งอภิสังขารต่าง ๆ มาก, เพราะถูกห้วงคือกิเลสต่าง ๆ มากพัดพาไป เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก, เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ
เป็นอันมากเผาผลาญ, เพราะกำหนัดอยากยินดี สยบ ซบ ติด คล้อง พัวพัน
ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก, เพราะกั้น ล้อม ขัดขวาง ปิด ปกปิด ครอบ
ด้วยนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นชนมีความประพฤติธรรมต่ำหยั่ง
ลงในภายใน มีการเบือนหน้าจากอริยธรรม จะเลยการนับครั้งที่หนึ่งเป็นอันมาก
หรือเพราะชนนี้มากแยกพวกออกไปไม่สมาคมกับพระอริยะผู้ประกอบด้วยคุณ
มีศีลและสุตะเป็นต้น.
ด้วยบท ๒ บทเหล่านั้นว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวปุถุชน
๒ จำพวกว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึง
ปุถุชนไว้ ๒ จำพวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.
ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน. บทว่า
อริยา ในบทมีอาทิว่า อริยาน อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและพระพุทธสาวกทั้งหลายท่านกล่าวว่า
เป็นอริยะ ในที่นี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นเป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจาก
กิเลส เพราะไม่ทรงนำไปในทางเสื่อม เพราะทรงนำไปในทางเจริญ เพราะ
ยังโลกพร้อมด้วยเทวโลกให้พ้นทุกข์. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เรากล่าวว่า ตถาคตเป็น
อริยะ.
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระตถาคต พึงทราบว่า
เป็นสัตบุรุษ ในบทว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นสัตบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
เพราะเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น
ทั้งหมด ท่านก็กล่าวไว้ทั้งสองอย่าง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลาย แม้พระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นทั้งพระอริยะและเป็นทั้ง
สัตบุรุษ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์
เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำ
กิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ
ในบทนี้ ท่านกล่าวพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้กตัญญูกตเวทีเป็น
นักปราชญ์ ท่านกล่าวพระพุทธสาวกว่าเป็น กัลยาณมิตรและเป็นผู้มีความ
ภักดีมั่นคง กล่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ย่อมทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยความ
เคารพ.
บัดนี้ พึงทราบว่า ผู้ที่ปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้น และไม่ทำความดี
ในการเห็นว่า เป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย. อนึ่ง ผู้นั้นมี ๒ อย่างคือ
ไม่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์
เอาไม่เห็นด้วยญาณ. จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลาย แม้เห็นด้วยมังสจักษุ หรือ
ด้วยทิพยจักษุก็ไม่เป็นอันเห็น เพราะจักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี เพราะไม่เป็น
อารมณ์แห่งความเป็นอริยะ. เพราะว่า แม้สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น
ก็เห็นพระอริยะด้วยจักษุ. ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะ. เพราะฉะนั้น
การเห็นด้วยจักษุ จึงไม่เป็นการเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น จึงเป็นการเห็น.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอ
เห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วยจักษุ ก็มิได้เห็นด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น
ที่พระอริยะเห็นแล้วด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึง
ทราบว่า ชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นความเป็นอริยะของ
ธรรมอันทำให้เป็นอริยะ.
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในธรรมของอริยะ
คือไม่ฉลาดในอริยธรรม อันมีสติปัฏฐานเป็นต้น. อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยใน
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้
ดังต่อไปนี้
ชื่อว่าวินัยนี้ ๒ อย่าง ในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัย
ข้อหนึ่ง ๆ มี ๕ อย่าง เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึง
กล่าวว่าผู้นี้ไม่ได้รับแนะนำ.
จริงอยู่ วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. ในวินัยแม้
๒ อย่างนี้วินัยข้อหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง.
แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ศีลสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑
ขันติสังวร ๑ วีริยสังวร ๑.
แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน ๑ วิกขัมภนปหาน ๑
สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณปหาน ๑.
ในสังวรวินัยนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุเข้าถึง เข้าถึง
พร้อมด้วยปาฏิโมกขสังวร นี้ ชื่อว่า ศีลสังวร. ภิกษุ รักษาจักขุนทรีย์ถึงความ
สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ ชื่อว่า สติสังวร.
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติ
ว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นย่อม
ปิดได้ด้วยปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. เป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน นี้ ชื่อว่า ขันติสังวร
ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วทับถมได้ นี้ชื่อว่า วีริยสังวร.
สังวรแม้ทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวว่า สวร เพราะสำรวมกายทุจริตเป็นต้น
ที่ควรสำรวม และที่ควรกำจัดออกไปตามหน้าที่ของตน. ท่านกล่าวว่า วินัย
เพราะกำจัดออกไป. พึงทราบสังวรวินัยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วนด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง การละสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น ๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะ
เป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณมีกำหนดนามรูปเป็นต้น ดุจละความมืดด้วยแสง
ประทีปฉะนั้น เช่นการละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดนามรูป ละความเห็นว่า
ไม่มีเหตุและเป็นเหตุลุ่ม ๆ ดอน ๆ ด้วยกำหนดปัจจัย ละความสงสัยด้วย
ข้ามพ้นความสงสัย ละการถือว่า เป็นเรา เป็นของเราด้วยพิจารณาเป็นกอง ๆ
ละความสำคัญในสิ่งไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและมิใช่มรรค
ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม ละความ
สำคัญในสิ่งมีภัยว่า ไม่มีภัย ด้วยการเห็นภัย ละความสำคัญในสิ่งที่น่าพอใจ
ด้วยการเห็นโทษ ละความสำคัญในสิ่งที่น่ายินดีด้วยการพิจารณาเห็นความ
เบื่อหน่าย ละความใคร่ในอันที่จะไม่พ้นไป ด้วยญาณคือความใคร่ในอันที่จะ
พ้นไป ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละความโต้แย้งต่อสิ่งที่ตั้งอยู่
โดยธรรมและโต้แย้งนิพพาน ด้วยอนุโลมญาน (กำหนดรู้ด้วยการคล้อยตาม)
ละความยึดถือในนิมิตสังขาร ด้วยโคตรภูญาณ (ญาณข้ามพ้นโคตรปุถุชน)
นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้น ๆ เพราะป้องกันความเป็นไป
ด้วยสมาธิอันเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจทำลายสาหร่ายบนหลังน้ำ
ด้วยการเกลี่ยให้กระจายไป นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตน ๆ โดยมรรคนั้น ๆ เพราะเจริญ
อริยมรรค ๔ แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุง-
แต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่าปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย
เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย. อีก
อย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้น ๆ เพราะมีวินัยนั้น ๆ.
แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง อย่างนี้ และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง
ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรแสะเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น
ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่าไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทว่า
สปฺปุริสาน อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม
อวินีโต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษนี้ก็มีนัยนี้. โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุ
ต่างกันเลย.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น
สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม
ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย
นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ
พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
สัตบุรุษก็ดี วินัยของอริยะก็ดี วินัยของสัตบุรุษก็ดีเหล่านั้น เป็นอันเดียวกัน
ตั้งอยู่ในที่เดียวกันเสมอกันเสมอภาคกัน เกิดในที่นั้นเหมือนกันด้วยประการ
ฉะนี้.
ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามว่า อัตตานุทิฏฐิมีความเห็นผิดด้วย
อาการ ๒๐ เป็นไฉน แล้วไม่เเก้คำถามนั้นกลับอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ปุถุชน
ในโลกนี้ไม่ได้สดับดังนี้. พึงทราบว่า พระเถระเพื่อจะทำความนั้นให้แจ่มแจ้ง
ด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงอ้างถึงปุถุชนก่อน.
พระเถระครั้นอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงถึงอุเทศ
แห่งการถือผิด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ปุถุชนย่อม
เห็นรูปโดยความเป็นตนดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า รูป อตฺตโต
สมนุปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นรูปขันธ์และกสิณรูปโดยเห็นด้วยทิฏฐิว่าเป็น
ตัวตน. แต่ในนิเทศพึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงรูปนั้นว่า การถือผิดใน
รูปขันธ์ของปุถุชนนั้นปรากฏเพราะอธิการแห่งเบญจขันธ์ แล้วกล่าวถึงกสิณรูป
โดยเป็นสามัญว่า รูป.
บทว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน (เห็นตนว่ามีรูป) คือถือสิ่งไม่มีรูปว่า
ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นว่ามีรูป.
บทว่า อตฺตนิ วา รูป (เห็นรูปในตน) คือถือสิ่งไม่มีรูปนั่นแลว่า
ตัวตน แล้วเห็นรูปในตนนั้น.
บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตาน (เห็นตนในรูป ) คือถือสิ่งไม่มีรูป
นั่นแลว่า ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นในรูป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ เป็นรูปอย่างเดียว
ท่านกล่าวว่าเป็นตัวตน. สิ่งไม่ใช่รูปในฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ เห็นตนว่ามีรูป ๑
เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนา ๑ สัญญา สังขาร ๑ วิญญาณ ๑
โดยความเป็นตน ท่านกล่าวว่า เป็นตัวตน.
ท่านกล่าวถึงตัวตนปนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ อย่างด้วยอำนาจ
แห่งเวทนา ๓ ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน
เห็นตนในเวทนา อนึ่ง ทิฏฐิแม้ ๒๐ เหล่านั้น ห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์
ทำลายเสียด้วยโสดาปัตติมรรค.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะชี้แจงถึงรูปนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถ รูป
เห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวีกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณอันเป็นปฏิภาค
นิมิตให้เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีมณฑล โดยการแผ่ไปทั่ว. บทว่า อห ท่าน
หมายถึงตนนั่นเอง. บทว่า อตฺต คือตน. บทว่า อทฺวย ไม่เป็นสอง คือ
หนึ่งนั่นเอง. บทว่า เตลปฺปทีปสฺส คือประทีปมีน้ำมัน. บทว่า ฌายโต
คือ ลุกโพลงอยู่. บทมีอาทิว่า ยา อจฺฉิ โส วณฺโณ เปลวไฟอันใด
แสงสว่างก็อันนั้น ท่านกล่าวเพราะปราศจากเปลวไฟเสียเเล้วก็ไม่มีแสงสว่าง.
บทว่า ยา จ ทิฏฺิ ยญฺจ วตฺถุ ทิฏฐิและวัตถุ อธิบายว่า
ท่านทำทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ.
อาโปกสิณเป็นต้น เป็นกสิณนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยน้ำเป็นต้น. อนึ่ง
อากาศกสิณที่กำหนดไว้ แม้เป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน เมื่อท่านกล่าวว่าเป็น
อากาศกสิณ เป็นอันระคนแล้วด้วยอารมณ์แห่งอรูปฌาน อันเป็นกสิณุคฆาฏิมากาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ท่านจึงไม่ถือเอา. เพราะอธิการแห่งรูปจึงไม่ควร
ถือเอาวิญญาณกสิณโดยแท้ฉะนี้แล.
บทว่า อิเธกฺจโจ เวทน สญฺ สงฺขาเร วิญฺาณ อตฺตโต
สมนุปสฺสติ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ โดยความเป็นตน ท่านไม่แยกขันธ์ แล้วกล่าวด้วยสามารถการถือ
รวมกัน. จริงอยู่ เพราะไม่สามารถแยกจิตและเจตสิกไว้ต่างหากกันได้ จึงทำ
ขันธ์ทั้งหมดรวมกันแล้วถือเอาว่าเป็นตัวตน.
ในบทว่า อิมินา รูเปน รูปวา มีรูปด้วยรูปนี้ ย่อมได้สรีรรูปบ้าง
กสิณรูปบ้าง. บทว่า ฉายาสมฺปนฺโน (ต้นไม้มีเงา) คือต้นไม้ไม่งอกงาม
ถึงพร้อมด้วยเงา. ศัพท์ว่า เอน ในบทนี้ว่า ตเมน เป็นเพียงนิบาต เป็น
ตเมต บ้าง. บทว่า ฉายาว คือมีเงา. ท่านกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็น
วัตถุ เพราะแม้เมื่อไม่ถือว่ารูปเป็นตัวตนก็ไม่ปล่อยรูป จึงเกิดขึ้นด้วยทิฏฐิ.
บทว่า อตฺตนิ รูป สมนุปสฺสติ คือเห็นรูปนั้นในตนอันเป็นกอง
แห่งอรูปนั้น เพราะสรีรรูปและกสิณรูปอาศัยจิต. บทว่า อย คนฺโธ นี้
กลิ่นหอม กล่าวถึงกลิ่นที่สูดเข้าไป. บทว่า อิมสฺมึ ปุปเผ ในดอกไม้นี้
กล่าวอย่างนี้เพราะกลิ่นหอมอาศัยดอกไม้.
บทว่า รูปสฺมึ อตฺตาน สมนุปสฺสติ เห็นตนในรูป คือรูปไป
ณ ที่ใด จิตย่อมไป ณ ที่นั้น. เพราะฉะนั้นยึดจิตอาศัยรูปแล้ว เห็นตนอัน
เป็นกองอรูปนั้น ในรูปนั้น. ท่านกล่าวถึงหีบรองรับของหยาบ เพราะรูปเป็น
ของหยาบ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิเธกฺจโจ จกฺขุสมฺผสฺสช เวทน
(บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา) ความว่า แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
เมื่อไม่มีการยึดถือทิฏฐิในเวทนาต่างหากกัน ก็ยึดถือโดยถือเป็นอันเดียวกันว่า
เวทนา เพราะเวทนาทั้งปวงหยั่งลงในภายใน จึงเป็นอันถือเอาต่างหากกัน
เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านประกอบไว้ต่างหากกัน. เพราะปุถุชนนั้น
ย่อมถือเวทนานั่นแลว่าเป็นตัวตน เพราะเวทนาเป็นของหยาบด้วยอำนาจการ
เสวย.
บทว่า สญฺ สงฺขาเร วิญฺาณ รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ปุถุชนย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน ความว่า
ทำอรูปธรรม มีสัญญาเป็นต้น และรูปรวมกันแล้วเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะ
ปุถุชนย่อมถือตามที่ปรากฏ ดุจคนบ้าฉะนั้น.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสช สญฺ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อม
ถือสัญญาว่าเป็นตัวตน เพราะสัญญาปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งการรู้พร้อม. บท
ที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเวทนา.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสช เจตน มีอธิบายว่า ท่านแสดงถึง
เจตนาเท่านั้น เพราะเจตนาเป็นประธานและปรากฏในธรรมทั้งหลาย อันเนื่อง
ด้วยสังขารขันธ์. แม้ขันธ์นอกนี้ก็เป็นอันว่าท่านแสดงด้วยเจตนานั้น. ส่วนปุถุชน
นั้นย่อมถือเจตนาว่าเป็นตัวตน เพราะปรากฏด้วยความเป็นเจตสิก. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุวิญฺาณ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อมถือจิตว่าเป็น
ตัวตน เพราะจิตปรากฏด้วยอำนาจแห่งการรู้แจ้ง. บทที่เหลือแม้ในที่นี้ก็มีนัยดัง
กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ
มิจฉาทิฏฐิมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่น
ดังต่อไปนี้.
บทว่า นตฺถิ ทินฺน ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คือปฏิเสธผลของทาน
เพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ยิฏฺ การบูชายัญในบทว่า นตฺถิ ยิฏฺ
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย. บทว่า หุต เซ่นสรวงเป็นมหายัญ.
ปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง.
บทว่า นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏาน กมฺมาน ผล วิปาโก ผลวิบาก
แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี คือปฏิเสธผลแห่งบุญกรรม มีศีลเป็นต้น
เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า
นตฺถิ อย โลโก โลกนี้ไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในก่อน. บทว่า นตฺถิ
ปโร โลโก โลกหน้าไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้. บทว่า นตฺถิ มาตา
นตฺถิ ปิตา มารดาไม่มี บิดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดา
บิดาเหล่านั้น. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ผู้ผุดขึ้นก็ไม่มี คือ
ปฏิเสธการผุดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ. บทว่า นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา
ฯลฯ ปเวเทนฺติ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ
ปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญา เพื่อเห็นในโลกนี้และโลกหน้า.
แต่ในบาลีนี้ บทว่า นตฺถิ ทินฺน ได้แก่ วัตถุ คือ ทานที่ท่าน
กล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. อธิบายว่า วัตถุแห่งทิฏฐินั้น.
บทว่า เอววาโท มิจฺฉา วาทะอย่างนี้ผิด คือ วาทะคำพูดว่าทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผลอย่างนี้ผิด คือ วิปริต.
จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ
บทว่า สกฺกายทิฏฺิ คืออัตตานุทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวไว้เพื่อแสดงคำโดยปริยายอันมาแล้วในที่อื่น.
จบอรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ
อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ
บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย สสฺสตทิฏฺิยา สัสสตทิฏฐิมีสักกายะเป็น
วัตถุ เป็นกัมมธารยสมาส.
พึงเชื่อมบทว่า สมนุปสฺสติ ย่อมเห็นไว้ในท้ายคำ ๑๕ คำ
มีอาทิว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน. เพราะจะได้ไม่ลืมตัวด้วยอย่างอื่น ทิฏฐิ
ที่เหลือ ๑๔ อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน
สมนุปสฺสติ เห็นตนว่ามีรูปด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
อรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ
บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย อุจเฉททิฏฺิยา อุจเฉททิฏฐิมิสักกายะ
เป็นวัตถุ คือทิฏฐิที่เหลือ ๔ อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า เห็นรูป
โดยความเป็นตน ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ
อรรถกถาอันตคาหิกทิฏฐิ
บทว่า อนฺตคาหิกาย ทิฏฺิยา ทิฏฐิอันถือเอาที่สุด เป็นการถาม
ตามอาการในวาระที่หนึ่ง ถือเอาตามอาการในวาระที่สอง กล่าวแก้อาการ
ในวาระที่สาม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก คือ ตัวตน. บทว่า โส อนฺโต
โลกนั้น มีที่สุด คือ ในที่สุดของความเที่ยงและความสูญอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
ที่สุดของความเที่ยง ในการถือว่าเที่ยงที่สุดของความสูญในการถือว่าไม่เที่ยง.
บทว่า ปริตฺต โอกาส สู่โอกาสนิดหน่อย คือ สู่ที่เล็กน้อยเพียงกระด้งหรือ
ชาม. บทว่า นีลกโต ผรติ ทำสีเขียวแผ่ไป คือ เป็นอารมณ์ว่า สีเขียว.
บทว่า อย โลโก โลกนี้ ท่านกล่าวหมายถึงตน. บทว่า ปริวฏุโม
โลกกลม คือ มีกำหนดไว้โดยรอบ. บทว่า อนฺตสญฺี คือ มีความสำคัญ
ว่ามีที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
บทว่า ย ผรติ คือ กสิณรูปแผ่ไป. บทว่า ตวตฺถุ เจว โลโก จ
วัตถุและโลก คือกสิณรูปนั้นเป็นอารมณ์และโลกด้วยอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า
เยน ผรติ คือแผ่ไปด้วยจิต. บทว่า โส อตฺตา เจว โลโก จ ได้แก่
ตนและโลกทำให้เป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งตน. ท่านอธิบายว่า ตนนั่นแล คือ
จิตและชื่อว่าโลก เพราะอรรถว่า พึงมองดู.
บทว่า อนฺตวา คือ มีที่สุด. บทว่า โอภาสกโต ผรติ ทำ
แสงสว่างแผ่ไป คือ แสงสว่างด้วยอาโลกกสิณ เตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ
แผ่ไป. เพราะยึดกสิณมีแสงสว่าง ๕ ชนิด มีนีลกสิณเป็นต้น จึงควรถือว่า
ไม่มีการถือผิดตนด้วยอำนาจปฐวีกสิณ อาโปกสิณและวาโยกสิณ. บทว่า วิปุล
โอภาส สู่โอภาสอันกว้าง คือสู่ที่ใหญ่โดยมีประมาณบริเวณลานเป็นต้น.
บทว่า อนนฺตวา ไม่มีที่สุด คือไม่มีที่สุดกว้างขวาง. บทว่า อปริยนฺโต
หาที่สุดมิได้ คือหาที่สุดอันกว้างขวางมิได้. บทว่า อนนฺตสญฺี คือมีความ
สำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด.
บทว่า ต ชีว คือชีพอันนั้น. อนึ่ง บทว่า ชีโว คือตัวตนนั้นเอง.
แม้ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ก็ชื่อว่าสรีระ เพราะอรรถว่ามีความหมุนไป. บทว่า
ชีว น สรีร ชีพไม่ใช่สรีระ คือ ชีพได้แก่ตน ไม่ใช่สรีระอันได้แก่รูป.
ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้.
บทว่า ตถาคโต คือ สัตว์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า พระอรหันต์.
บทว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตาย คือในโลกอื่น. บทว่า รูป อิเธว
มรณธมฺม รูปมีความตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ คือการถือเบญจขันธ์
โดยหัวข้อของขันธ์ที่ปรากฏแก่ตน. อธิบายว่า รูปนั้นปกติสูญหายไปใน
โลกนี้แหละ. แม้ในขันธ์ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า กายสฺส เภทา แต่กายแตก คือเบื้องหน้าแต่กายคือขันธ์ ๕
แตก. ท่านกล่าวความของอุเทศนี้ว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตายด้วยคำนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
บทว่า โหติ ในบทมีอาทิว่า โหติปิ เป็นอยู่บ้าง เป็นบทหลัก.
อปิ ศัพท์ แม้ในบททั้ง ๔ เป็นสมุจจยัตถะมีความรวม. บทว่า ติฏฺติ คือ
คงอยู่ เพราะเป็นของเที่ยง อธิบายว่า ไม่จุติ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า
ท่านกล่าวบทว่า ติฏฺติ เพื่อความต่างแห่งความของบทว่า โหติ. บทว่า
อุปฺปชฺชติ อุบัติขึ้นคือ อุบัติขึ้นด้วยเข้าไปสู่กำเนิดที่เป็นอัณฑชะ (เกิดแต่ไข่)
และชลาพุชะ (เกิดแต่น้ำ). บทว่า นิพฺพตฺติ เกิด คือเกิดด้วยเข้าไปสู่
กำเนิดที่เป็นสังเสทชะ (เกิดแต่เหงื่อไคล) โอปปาติกะ (ผุดเกิดขึ้น). พึง
ทราบการประกอบความดังนี้แล. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ ย่อมขาดสูญ คือด้วย
ไม่มีการเกี่ยวเนื่องกัน. บทว่า วินสฺสติ ย่อมพินาศไป คือด้วยการแตก
ทำลายไป. บทว่า น โหติ ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก
เป็นการขยายความของบทก่อน. อธิบายว่า เบื้องหน้าแต่จุติแล้ว ย่อมไม่
เป็นอีก.
บทว่า โหติ จ น จ โหติ สัตว์เบื้องหน้าแต้ตายแล้ว ย่อมเป็น
อีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี เป็นทิฏฐิของพวกถือว่า เที่ยงบางอย่าง ความย่อมเป็น
โดยปริยายเดียว ไม่เป็นโดยปริยายเดียว. ท่านอธิบายว่า ย่อมเป็นเพราะความ
เป็นชีพ ไม่เป็นเพราะไม่มีชีพมาก่อน.
บทว่า เนว โหติ น น โหติ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อม
เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เป็นทิฏฐิของพวกอมราวิกเขปิกา
(ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว). อธิบายว่า มีก็หามิได้ ไม่มีก็หามิได้ ย่อมทำเพียง
ปฏิเสธนัยที่ท่านกล่าวไว้ก่อน เพราะกลัวถูกติเตียนและเพราะกลัวพูดเท็จ
เพราะความมีปัญญาอ่อนและเพราะความงมงาย.
บทว่า อิเมหิ ปญฺาสาย อากาเรหิ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้
คือด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ หมวดละ ๑๐ ตามที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาอันตคหาหิกทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
อรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ
เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะกล่าวถึงความเที่ยงใน ปุพพัน-
ตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ในส่วนอดีต) และอปรันตานุทิฏฐิ (ความตาม
เห็นขันธ์ส่วนอนาคต). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เป็นเหตุกล่าว. บทนี้
เป็นชื่อของเจ้าทิฏฐิ. แม้วาทะว่าเที่ยง ก็ชื่อว่า สสัสตะ เพราะประกอบด้วย
สัสสตทิฏฐิ. ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง. อนึ่ง วาทะว่า
เที่ยงเป็นบางอย่างชื่อว่า เอกัจจสัสสตะ ชื่อว่า เอกัจจสัสสติกา เพราะ
มีทิฏฐิว่า เที่ยงเป็นบางอย่างนั้น. อนึ่ง วาทะเป็นไปว่า โลกมีที่สุด ไม่มีที่สุด
ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ชื่อว่า อันตานันตะ
ชื่อว่า อันตานันติกา เพราะมีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด. ชื่อว่า อมรา
เพราะไม่ตาย. อะไรไม่ตาย. ทิฏฐิและวาจาของเจ้าทิฏฐิผู้ปราศจากที่สุดโดยนัย
มีอาทิว่า แม้อย่างนี้ก็ไม่มีแก่เรา. ความซัดส่ายไปมี ๒ อย่าง คือ ซัดส่ายไป
ด้วยทิฏฐิหรือวาจาอันไม่ตายตัว ชื่อว่า อมราวิกเขปะ. ชื่อว่า อมราวิกเข-
ปิกา เพราะมีทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว.
บทว่า อธิจฺจสมุปปนฺโน เกิดขึ้นลอย ๆ คือความเห็นว่า ตนและ
โลกเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนะ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกา
เพราะมีทิฏฐิว่า ตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ.
จบอรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
อรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ
เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะกล่าวตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา.
ชื่อว่า อสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา. ชื่อว่า
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่.
อีกอย่างหนึ่ง วาทะอันเป็นไปว่ามีสัญญา ชื่อว่า สัญญีวาทะ เจ้าทิฏฐิ
เท่านั้นชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะมีวาทะว่ามีสัญญา. อสัญญีวาทะและ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะก็เหมือนอย่างนั้น.
เจ้าทิฏฐิชื่อว่า อุจเฉทวาทะ เพราะกล่าวว่าสูญ. บทว่า ทิฏฺธมฺโม
คือ ธรรมที่เห็นประจักษ์หมายถึงธรรมเป็นปัจจุบัน. บทนี้เป็นชื่อของอัตภาพ
ที่ได้ในปัจจุบันนั้น ๆ. นิพพานในปัจจุบันชื่อว่าทิฏฐิธรรมนิพพาน. ความว่า
การเข้าไปสงบทุกข์ในอัตภาพนี้แล. ชื่อว่า ทิฏฐิธรรมนิพพานวาทะ เพราะ
กล่าวถึงนิพพานเป็นปัจจุบันธรรมนั้น.
อนึ่ง เมื่อบทนี้พิสดารในนิเทศนี้ จึงควรกล่าวถึงพรหมชาลสูตร
ทั้งสิ้นพร้อมด้วยอรรถกถา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ย่อมช้าเกินไป เพราะฉะนั้นจึง
ไม่ให้พิสดาร. ผู้มีความต้องการสูตรนั้น ควรค้นคว้าหาดูเอาเอง.
จบอรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
เพราะสังโยชนิกทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) เป็น
ทิฏฐิทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด. ฉะนั้น ท่านจึงแสดงความทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด
เพราะสังโยชนิกทิฏฐินั้นเป็นเครื่องประกอบทิฏฐิไว้ทั้งหมด. พึงทราบความนั้น
โดยการครอบงำทิฏฐิ ดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ
อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ
ในมานวินิพันธทิฏฐิ (ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ) ทั้งหลายพึงทราบ
วินิจฉัยดั่งต่อไปนี้. การลูบคลำด้วยการถือผิดว่าตาเป็นเรา ชื่อว่า ลูบคลำด้วย
การถือผิด มีมานะเป็นเบื้องต้น. เพราะทิฏฐิไม่ได้สัมปยุตด้วยมานะ. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มานวินิพนฺธา ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะ. ความว่า
ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะมีมานะเป็นมูล.
แม้ในบทนี้ว่า จกฺขุ มมนฺติ อภินิเวสปรามาโส การลูบคลำ
ด้วยความถือผิดว่า ตาของเราก็มีนัยนี้. อนึ่ง ในบท จกฺขุ มมนฺต นี้
ควรกล่าวว่า มมาติ พึงทราบว่าลงนิคหิตอาคมเป็น มมนฺติ. พึงทราบ
อายตนะภายในมีรูปเป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมไม่
ถืออายตนะภายนอกว่า เป็นเราเว้นกสิณรูป. แม้อายตนะภายนอกก็ย่อมได้
ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา เพราะย่อมถือแม้อายตนะภายนอกว่า
ของเรา. ก็เพราะทุกขเวทนาไม่เป็นวัตถุของมานะ เพราะเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา
ฉะนั้น เวทนา ๖ และผัสสะ ๖ จึงไม่ถือเอาเป็นมูลปัจจัยของเวทนาเหล่านั้น.
แต่สัญญาเป็นต้น พึงทราบว่าท่านไม่ถือเอาในที่นี้ เพราะตัดขาดแล้ว.
จบอรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภตน) ได้แก่
อัตตานิทิฏฐินั่นเอง. ท่านกล่าวถึงทิฏฐิอย่างนี้อีก เพราะปฏิสังยุตด้วยวาทะว่า
ตัวตน ดังนี้.
จบอรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ
อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ
(ทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยปรารภโลก)
บทว่า อตฺตา จ โลโก จ ตนและโลก ความว่า ตนนั้นนั่นแลและ
ชื่อว่าโลกเพราะอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า สสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าเที่ยง.
บทว่า อสสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าสูญ. บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต
จ คือทิฏฐิของผู้เห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง. บทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต
ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ คือทิฏฐิของผู้ซัดส่ายไม่ตายตัว.
บทว่า อนฺตวา มีที่สุด คือ ทิฏฐิของผู้หลอกลวงและของนิครนถ์อาชีวกผู้ได้
กสิณนิดหน่อย. อีกอย่างหนึ่ง พวกอุจเฉทิฏฐิย่อมกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วน
อดีตโดยกำเนิด มีขันธ์ส่วนอนาคตโดยความตาย. พวกเห็นว่าตนและโลก
เกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด. บทว่า อนนฺตวา
ไม่มีที่สุด คือทิฏฐิของผู้ได้กสิณหาประมาณมิได้. แต่พวกมีวาทะว่าเที่ยงย่อม
กล่าวว่า สัตว์ไม่มีขันธ์ส่วนอดีตและส่วนอนาคต ด้วยเหตุนั้นจึงไม่มีที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
พวกเห็นว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า ไม่มีที่สุดด้วยขันธ์ส่วนอนาคต.
บทว่า อนฺตวา จ อนนฺตวา จ มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี คือทิฏฐิของ
ผู้มีกสิณขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่เจริญ เจริญไปอย่างขวาง ๆ. บทว่า เนว อนฺตวา
น อนนฺตวา มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ต่อทิฏฐิของผู้มีความซัดส่าย
ไม่ตายตัว.
จบอรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ
อรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ
พระสารีบุตรเถระ ไม่ทำการนิเทศภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ต่างหาก
เพราะไม่มีการถือผิดต่างหากจากทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว และไม่ทำการถามเพื่อ
แสดงอาการอย่างหนึ่ง ๆ คือ ความติดอยู่ ความแล่นเลยไป ด้วยอำนาจแห่ง
ทิฏฐิตามที่กล่าวแล้วนั่นแล แล้วจึงกล่าวว่า ความถือผิดด้วยความติดอยู่เป็น
ภวทิฏฐิ. ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไปเป็นวิภวทิฏฐิ ดังนี้.
พึงทราบความในบทนั้นดังต่อไปนี้. การถือผิดด้วยความติดอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของ
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ความว่า การถือผิดด้วยความเบื่อหน่าย
จากนิพพาน ด้วยความสำคัญว่าเที่ยง. การถือผิดด้วยความแล่นเลยไป ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชัง
ด้วยภพนั่นเเล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญ ความว่า การถือผิดด้วยความ
ละเลยปฏิปทาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ ด้วยสำคัญว่าสูญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อแสดงประกอบภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ในทิฏฐิ
ทั้งปวง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสฺสาททิฏฺิยา ดังนี้. ในบทนั้น เพราะผู้มี
อัสสาททิฏฐิอาศัยความเที่ยง หรือความสูญ ย่อมถือว่าโทษในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่มี ดังนี้. ฉะนั้น แม้อัสสาททิฏฐิมีอาการ ๓๒ ท่านก็กล่าวว่า เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี.
ในบทนั้นทิฏฐิแม้อย่างหนึ่ง ๆ ก็เป็นภวทิฏฐิด้วยการถือว่าเที่ยง. เป็น
วิภวทิฏฐิด้วยการถือว่าสูญ. ด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นวิภวทิฏฐิ
๕ เพราะถือว่าเมื่อขันธ์ ๕ เหล่านั้นสูญเพราะความที่ตนไม่เป็นอื่นจากรูปเป็นต้น
ตนจึงสูญ. เมื่อฐานะ ๑๕ ที่เหลือสูญเพราะความที่ตนเป็นอย่างอื่นจากรูป
เป็นต้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เพราะถือว่าตนเที่ยง.
ผู้ได้ทิพยจักษุได้ฌานอันเป็นปริตตารมณ์และอัปปมาณารมณ์ ใน
ทิฏฐิมีที่สุดและไม่มีที่สุด เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความ
สูญว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ ครั้นจุติจากรูปธาตุ แล้วเห็นสัตว์ทั้งหลาย
เกิดในที่อื่นไม่เห็นภวทิฏฐิ ย่อมถือเอาวิภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น
ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ดังนี้.
บทว่า โหติ จ ในบทนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ มีและไม่มี
เป็นภวทิฏฐิ. บทว่า น จ โหติ ไม่มีเป็นวิภวทิฏฐิ.
บทว่า เนว โหติ ในบทนี้ว่า เนว โหติ น น โหติ มีก็หา
มิได้ ไม่มีก็มิได้ เป็นวิภวทิฏฐิ. บทว่า น น โหติ ไม่มีก็หามิได้ เป็น
ภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา พึงเป็น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
พวกที่เห็นว่าเที่ยงเป็นบางส่วนแห่งการตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต ย่อม
บัญญัติว่าเที่ยง และบัญญัติว่าไม่เที่ยง. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้ง
ภวทิฏฐิ ทั้งวิภวทิฏฐิ. พวกที่เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ จำพวก ย่อม
บัญญัติตนว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้งภวทิฏฐิ
ทั้งวิภวทิฏฐิเช่นเดียวกับอัตตานุทิฏฐิ. พวกที่มีความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว ๔
จำพวก อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านทางวาจา ส่วนที่เหลือ
เป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สิยา หมายถึง ทิฏฐินั้น ๆ
พวกที่กล่าวว่าสูญ ๗ จำพวกแห่งความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต เป็นวิภวทิฏฐิ
ที่เหลือเป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา เพราะหมายถึงทิฏฐิ
นั้น ๆ. ท่านกล่าวว่า สิยา แห่งสัญโญชนิกทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิทั้งปวง.
ตัวตนเป็นอันพินาศไปในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะถือจักษุ
เป็นต้นว่า เป็นเรา ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ.
ตนย่อมไม่พินาศไปแม้ในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะ
ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ดุจอัตตานุทิฏฐิเป็นอื่นจากจักษุเป็นต้น
ของตน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทั้งหมดเป็นทิฏฐิ.
ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิแห่งทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกปรากฏแล้ว
เพราะท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ตนและโลกเที่ยง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เป็นอันท่านแสดงถึงความถือผิดทิฏฐิ ๑๖ และ ๓๐ มีอัสสาททิฏฐิเป็นเบื้องต้น
มีวิภวทิฏฐิเป็นที่สุด. อัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ
ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน โดยปริยายมี ๓ อย่าง. แต่ทิฏฐิแม้ทั้งหมด
โดยมีประเภทไม่แน่นอน เป็นสัญโญชนิกทิฏฐิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
บัดนี้ บทมีอาทิว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺฐิโย อสฺสาททิฏฺิโย ทิฏฐิทั้งหมด
นั้นเป็นอัสสาททิฏฐิ เป็นการเทียบเคียงทิฏฐิ ตามที่ประกอบไว้โดยปริยายอื่น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺิโย ทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น
ได้แก่ ทิฏฐิที่ไม่มีเหลือตามที่กล่าวแล้ว. ทิฏฐิอันสงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด
๗ เหล่านี้คือ ชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ เพราะยินดีด้วยทิฏฐิราคะ และเพราะอาศัย
ความพอใจด้วยตัณหา ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ เพราะไปตามความเสน่หาในตน
ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความเห็นวิปริต ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งขันธ์ ชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือเอาที่สุดอย่างหนึ่ง ๆ
ชื่อว่า สังโยชนิกทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ ชื่อว่าอัตต-
วาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยอัตตวาทะ ส่วนทิฏฐิ ๙ ที่เหลือ
ไม่สงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระย่อทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดที่กล่าวไว้โดยพิสดาร
ลงในทิฏฐิ ๒ อย่าง เมื่อจะแสดงถึงธรรมเป็นที่อาศัยของทิฏฐิ ๒ หมวดแก่
สัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ภวญฺจ ทิฏฺึ. จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดเป็นทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ.
จ ศัพท์ในบทนี้ว่า ภวญฺจ ทิฏฺึ วิภวญฺจ ทิฏฺึ รวมทิฏฐิ
เท่านั้น ไม่รวมธรรมที่อาศัย. เพราะธรรมอันหนึ่ง มิได้อาศัยภวทิฏฐิและ
วิภวทิฏฐิ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้อาศัยภวทิฏฐิก็ดีเป็น
ผู้อาศัยวิภวทิฏฐิก็ดีดังนี้.
บทว่า ตกฺกิกา ชื่อว่า ตกฺกิกา เพราะกล่าวด้วยความตรึกตรอง.
เพราะเจ้าทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นไปด้วยความตรึกตรองอย่างเดียว เพราะไม่มี
ปัญญาแทงตลอดความเป็นจริง อนึ่ง ชนเหล่าใดได้ฌานก็ดี ได้อภิญญาก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
ย่อมถือทิฏฐิ แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นตักกิกา เพราะตรึกแล้วถือเอา. บทว่า
นิสฺสิตา เส ความว่า อาศัยแล้ว. บทว่า เส บทเดียวเท่านั้นเป็นเพียง
นิบาต. บทว่า เตส นิโรธมฺหิ น หตฺถิ าณ ญาณในนิโรธย่อม
ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น นี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งทิฏฐินิสัย. ความว่า เพราะ
ญาณในการดับสักกายทิฏฐิ คือนิพพานไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ฉะนั้นชนทั้งหลาย
จึงยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้. หิ อักษรในบทว่า น หิ อตฺถิ าณ นี้เป็น
นิบาตลงในความแสดงถึงเหตุ.
บทว่า ยตฺถาย โลโก วิปรีตสญฺี สัตว์โลกนี้ยึดถือทิฏฐิใดก็เป็น
ผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น ความว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้เป็นผู้มีสัญญา
วิปริตในนิโรธอันเป็นสุขใด ว่าเป็นทุกข์ พึงเชื่อมว่าญาณในนิโรธนั้นย่อม
ไม่มี. เพราะเป็นผู้มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์
ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด
โลกกล่าวว่ามีอยู่. อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้ โลกพร้อม
ทั้งเทวโลก สมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับ
อารมณ์ ๖ เหล่านี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่าเป็นทุกข์.
ความดับแห่งเบญจขันธ์พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็น
ความสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อม
มีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่. ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุ-
กามใด โดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว
วัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์ ชนเหล่าอื่นกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
นิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข. ท่านจง
พิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง
พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชน
พาลทั้งหลาย ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้วผู้ไม่เห็นอยู่.
ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่
เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้น
คว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่.
ในที่ใกล้. ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่น
ไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วง
แห่งมารเนือง ๆ ไม่ตรัสรู้ธรรมมิได้โดยง่าย. นอกจาก
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ
นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้า
ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้โดยชอบ ย่อม
ปรินิพพาน.
บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงทิฏฐิทั้งหมดเป็น ๒ อย่าง
และการถอนทิฏฐิโดยพระสูตร จึงนำพระสูตรมาว่า ทฺวีหิ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น แม้พรหมทั้งหลายท่านก็เรียกว่าเทว. บทว่า โอลียนฺติ
ย่อมติด คือ กำไว้. บทว่า อติธาวนฺติ คือล่วงเลยไป. บทว่า จกฺขุมนฺโต
คือมีปัญญา. จ ศัพท์มีเนื้อความเป็นอติเรก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
บทว่า ภวารามา ผู้ชอบภพ คือมีภพเป็นที่อภิรมย์. บทว่า ภวรตา
คือยินดีในภพ. บทว่า ภวสมฺมุทิตา คือพอใจด้วยภพ. บทว่า เทสิยมาเน
คือเมื่อธรรมอันพระตถาคตหรือพระสาวกของพระตถาคตแสดงอยู่. บทว่า น
ปกฺขนฺทติ ไม่แล่นไป คือไม่เข้าถึงพระธรรมเทศนา หรือการดับภพ. บทว่า
น ปสีทติ ไม่เลื่อมใส คือไม่ถึงความเลื่อมใสในธรรมนั่น. บทว่า น สนฺติฏฺติ
ไม่ตั้งอยู่ คือ ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. บทว่า นาธิมุจฺจติ ไม่น้อมไป คือ ไม่ถึง
ความแนบแน่นในธรรมนั้น. ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
บทว่า อฏฺฏียมานา อึดอัด คือ ถึงความทุกข์. บทว่า หรายมานา
ระอา คือ ถึงความละอาย. บทว่า ชิคุจฺฉมานา คือ ถึงความเกลียดชัง.
บทว่า วิภว อภินนฺทนฺติ ยินดีความปราศจากภพ คือ ยินดีอาศัยความสูญ
หรือปรารถนาความสูญ. บทว่า กิร ได้ยินว่า เป็นนิบาตลงในอรรถอนุสสวนะ
(การได้ยินมา). บทว่า โภ เป็นคำร้องเรียก. บทว่า สนฺต คือ ดับแล้ว.
บทว่า ปณีต ความว่า ชื่อว่าประณีตเพราะไม่มีทุกข์ หรือเพราะนำไปสู่ความ
เป็นประธาน. บทว่า ยถาภว คือ ตามความเป็นจริง. ท่านแสดงอุจเฉททิฏฐิ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ภูต ความจริง คือ
ทุกข์อันได้แก่ขันธ์ ๕ อันเกิดแต่เหตุ. บทว่า ภูตโต ปสฺสติ เห็นโดยความ
เป็นจริง คือ เห็นความจริงนี้ว่าเป็นทุกข์. บทว่า นิพฺพิทาย เพื่อความ
เบื่อหน่าย คือ เพื่อความเห็นแจ้ง. บทว่า วิราคาย เพื่อคลายกำหนัด คือ
เพื่ออริยมรรค. บทว่า นิโรธาย เพื่อดับ คือ เพื่อนิพพาน.
บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ คือเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพาน
นั้น. บทว่า เอว ปสฺสนฺติ ผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้ คือ เห็นด้วยโลกิยญาณใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
ส่วนเบื้องต้น ด้วยโลกุตรญาณในกาลแทงตลอดด้วยประการฉะนี้. ท่านกล่าว
สัมมาทิฏฐิด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐินั้น ด้วยคาถา ๒
คาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ภูต ภูตโต ทิสฺวา เห็นความเป็นสัตว์
โดยความเป็นจริง ความว่า ตรัสรู้ทุกข์โดยตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้. บทว่า
ภูตสฺส จ อติกฺกมน ก้าวล่วงความเป็นสัตว์ ความว่า ตรัสรู้การดับทุกข์
โดยตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. บทว่า ยถาภูเตธิมุจฺจติ ย่อมน้อมใจไปใน
ธรรมตามที่เป็นจริง คือ น้อมใจไปในความดับทุกข์ตามความเป็นจริงด้วย
อำนาจแห่งการตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาว่า นี้สงบ นี้ประณีต. บทว่า ภวตณฺหา
ปริกฺขยา เพื่อความสิ้นไปแห่งภวตัณหา ความว่า ด้วยการละเหตุให้เกิด
ทุกข์.
อนึ่ง เมื่อไม่มีการตรัสรู้ต่าง ๆ ของสัจจธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าว
คำในตอนต้นว่า ทิสฺวา ด้วยโวหารพร้อมกับปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
เพราะเห็นก่อนแล้วภายหลังไม่น้อมใจไป. การตรัสรู้อริยสัจ ๔ ย่อมมีได้
ตลอดกาลเสมอทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งหลายที่กล่าวไว้ในตอนต้น ย่อมมี
ได้แม้ในกาลอันเสมอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่เป็นโทษ.
บทว่า ส เว คือ พระอรหันต์นั้นโดยส่วนเดียว. บทว่า ภูตปริญฺาโต
กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว คือ กำหนดรู้ทุกข์. บทว่า วีตตณฺโห คือมี
ตัณหาไปปราศแล้ว. บทว่า ภวาภเว คือ ในภพน้อยภพใหญ่. บทว่า
อภโว คือภพใหญ่ เพราะมี อ อักษรเป็นไปในอรรถว่าเจริญ. พึงทราบ
ภพน้อยภพใหญ่นั้นเพราะความเปรียบเทียบกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า วิภเว ได้แก่
อุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าปราศจากตัณหา เพราะไม่มีทิฏฐิราคะแม้ในสองอย่างนั้น.
บทว่า ภูตสฺส วิภวา เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ คือ เพราะสูญ
วัฏทุกข์. บทว่า นาธิคจฺฉติ ปุนพฺภว ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ท่านกล่าวถึง
ปรินิพพานแห่งพระอรหันต์.
บทมีอาทิว่า ตโย ปุคฺคลา บุคคล ๓ จำพวก ท่านกล่าวเพื่อติเตียน
ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และเพื่อสรรเสริญผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่ามีทิฏฐิวิบัติ
เพราะมีทิฏฐิถึงคือไปสู่ความน่าเกลียด. ชื่อว่ามีทิฏฐิสมบัติ เพราะมีทิฏฐิถึง
คือไปสู่ความดี.
บทว่า ติตฺถิโย ทิฏฐิท่านกล่าวลัทธิ เพราะปฏิบัติทิฏฐินั้นเป็น
ความดีในลัทธิ หรือชื่อว่า ติตถิยะ เพราะมีลัทธิ เข้าถึงการบรรพชาภายนอก
ลัทธินั้น. บทว่า ติตฺถิยสาวโก สาวกเดียรถีย์ คือ คฤหัสถ์ผู้ถึงทิฏฐานุคติ
ของสาวกเดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า โย จ มิจฺฉาทิฏฺิโก บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด
คือ ผู้เข้าถึงทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ตถาคโต คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน. บทว่า ตถาคตสาวโก คือผู้บรรลุมรรค
และผู้บรรลุผล. บทว่า โย จ สมฺมาทิฏฺิโก ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ผู้พ้น
จากทิฏฐิสองอย่างนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิของชาวโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า โกธโน เป็น
คนมักโกรธ คือ คนที่มักโกรธเนือง ๆ. บทว่า อุปนาหี มักผูกโกรธ คือ
มีปกติเพิ่มความโกรธนั้นแล้วผูกไว้. บทว่า ปาปมกฺขี มีความลบหลู่ลามก
คือมีความลบหลู่อันเป็นความลามก. บทว่า วสโล เป็นคนเลว คือมีชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
แห่งคนเลว. บทว่า วิสุทฺโธ เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยญาณ-
ทัศนวิสุทธิ. บทว่า สุทฺธต คโต ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ คือถึงความเป็น
ผู้บริสุทธิ์อันได้แก่มรรคผล. บทว่า เมธาวี คือ ผู้มีปัญญา. ด้วยคาถานี้
ท่านสรรเสริญผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกุตระ.
บทว่า วิปนฺนทิฏฺิโย สมฺปนฺนทิฏฺิโย ทิฏฐิวิบท ทิฏฐิสมบัติ
พระสารีบุตรละโวหารว่าบุคคล กล่าวติเตียน และสรรเสริญธรรม. บทว่า เอต
มม นั่นของเรา คือทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งความสำคัญตัณหา. บทว่า เอโส-
หมสฺมิ เราเป็นนั่นคือทิฏฐิมีความสำคัญด้วยมานะเป็นมูล. บทว่า เอโส เม
อตฺตา นั่นเป็นตัวตนของเรา คือมีความสำคัญด้วยทิฏฐินั่นเอง.
ท่านถามการจำแนก การนับ และการสงเคราะห์กาลแห่งทิฏฐิวิบัติ ๓
ด้วยบทมีอาทิว่า เอต มมนฺติ กา ทิฏฺิ ทิฏฐิอะไรว่านั่นของเราแล้วแก้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กา ทิฏฺิ ความว่า บรรดาทิฏฐิมากมาย ทิฏฐิอะไร.
บทว่า กตมนฺตานุคฺคหิตา ตามถือส่วนสุดอะไร ความว่า ในสองกาล คือ
กาลมีขันธ์เป็นส่วนอดีต และกาลมีขันธ์เป็นส่วนอนาคต ตามถือโดยกาลไหน.
อธิบายว่า ติดตาม.
เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นของเรา อ้างถึงวัตถุในอดีตว่า นั่นได้เป็น
ของเราแล้ว ได้เป็นของเราแล้วอย่างนี้ ได้เป็นของเราแล้วประมาณเท่านี้
แล้วลูบคลำ ฉะนั้น จึงเป็นปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต).
และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิตามถือขันธ์ส่วนอดีต.
เพราะเมื่อลูบคลำว่า เราเป็นนั่นย่อมลูบคลำอาศัยผลในอนาคตว่า
เราจักบริสุทธิ์ได้ด้วย ศีล พรต ตบะ พรหมจรรย์นี้. ฉะนั้น จึงเป็น
อปรันตานุทิฏฐิ ตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต. และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิ
ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา อาศัยความสืบต่ออันเกิด
ขึ้นในอดีตและอนาคต ย่อมลูบคลำว่านั่นเป็นตัวตนของเรา และย่อมลูบคลำ
ด้วยสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นจึงเป็นสักกายทิฏฐิ. และทิฏฐิเหล่านั้นเป็นปุพพันตา-
ปรันตานุคคหิตา ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.
อนึ่ง เพราะทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน และทิฏฐิ ๖๒ ย่อม
ถึงการถอนด้วยการถอนสักกายทิฏฐินั่นแล ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิ ๖๒
โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ย่อมมีโดยทวารแห่ง
สักกายทิฏฐิ อันมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน. ปาฐะว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ
ดังนี้ดีกว่า. ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ เพราะมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน
คือเป็นเบื้องต้น. สักกายทิฏฐิเหล่านั้น คืออะไร คือทิฏฐิ ๖๒.
อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิอะไร แก้ว่า คือ สักกาย-
ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิเท่าไร แก้ว่า ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิ
เป็นประธาน. อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้นแล ท่านกล่าวว่าอัตตานุทิฏฐิโดยคำสามัญ
ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อกล่าวถึงอัตตานุทิฏฐินั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้
ทิฏฐิที่ปฏิสังยุตด้วยอัตตวาท.
เพื่อแสดงการจำแนกบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ โดยสัมพันธ์กับบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ท่านจึงนำพระสูตรมามีอาทิว่า เย เกจิ ภิกฺขเว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิฏฺ คตา
คือ ถึงความเชื่อ คือเชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
ด้วยสามารถแห่งมรรคญาณ ความว่า หมดความสงสัย. ปาฐะว่า นิฏฺาคตา
เป็นบทสมาส ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺนา คือถึงความงาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
ด้วยทิฏฐิ. บทว่า อิธ นิฏฺา เชื่อแน่ในธรรมนี้ คือการดับด้วยกามธาตุนี้.
บทว่า อิธ วิหาย นิฏฺา เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ คือ ละกาม
ภพนี้แล้ว ปรินิพพานพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.
บทว่า สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส คือ พึงถืออัตภาพเกิดในภพ ๗ ครั้ง
คือ ๗ คราวเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า สตฺตกฺขตฺตุปรโม คือไม่ถือเอาภพที่ ๘ อื่น
ไปจากภพที่อุบัติถืออัตภาพนั้น. ได้แก่พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น. บทว่า
โกลงฺโกลสฺส ชื่อว่า โกลังโกละ เพราะไปสู่ตระกูลจากตระกูล. ความว่า
เพราะไม่เกิดใน ตระกูลต่ำจำเดิมแต่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ย่อมเกิดในตระกูล
โภคสมบัติมากเท่านั้น. ได้แก่พระโกลังโกลโสดาบัน. บทว่า เอกพีชิสฺส ท่าน
กล่าวพืชคือขันธ์. โสดาบันมีพืชคือขันธ์หนึ่งเท่านั้น ถืออัตภาพหนึ่งชื่อว่า
เอกพีชี. ได้แก่พระเอกพีชีโสดาบัน. ชื่อของบุคคลเหล่านั้น เป็นชื่อที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงตั้งไว้. เพราะบุคคลผู้ถึงฐานะประมาณเท่านี้ ชื่อว่า สัตตักขัตตุ-
ปรมะ ประมาณเท่านี้ชื่อโกลังโกละ ประมาณเท่านี้ชื่อว่าเอกพีชี เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งให้แก่บุคคลเหล่านี้ . จริงอยู่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงรู้ว่า บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้ บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณ
เท่านี้แล้วจึงทรงตั้งชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลเหล่านั้น.
จริงอยู่ พระโสดาบันมีปัญญาอ่อนเกิด ๗ ภพ จึงชื่อว่าสัตตักขัตตุ-
ปรมะ มีปัญญาปานกลาง เกิดอีกไม่เกินภพที่ ๖ จึงชื่อว่าโกลังโกละ มีปัญญา
กล้าเกิดภพเดียว จึงชื่อว่าเอกพีชี. การที่พระโสดาบันเหล่านั้น มีปัญญาอ่อน
ปานกลางและกล้านี้นั่น ย่อมกำหนดเพราะบุรพเหตุ. พระโสดาบันแม้ ๓ เหล่า
นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามภพ แต่ในรูปภพและอรูปภพย่อมถือปฏิสนธิ
แม้มาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
บทว่า สกทาคามิสฺส ชื่อว่า สกทาคามี เพราะมาสู่กามภพ
คราวเดียว ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ. ได้แก่พระสกทาคามีนั้น . บทว่า ทิฏฺเว
ธมฺเม อรหา พระอรหันต์ในปัจจุบัน คือพระอรหันต์ในอัตภาพนี้แล. ปาฐะว่า
อรห ดังนี้บ้าง. บทว่า อิธ นิฏฺา เชื่อในธรรมนี้ ท่านกล่าวหมายถึงผู้
ท่องเที่ยวไปสู่กามภพ. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายเกิดในรูปภพและอรูปภพ
ย่อมไม่เกิดในกามภพ ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.
บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายิสฺส ชื่อว่า อนฺตราปรินิพฺพายี เพราะ
จะปรินิพพานด้วยการดับกิเลสในระหว่างกึ่งอายุ. อนึ่ง พระอนาคามีนั้นมี ๓
จำพวก คือ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างใกล้เกิด ๑ ท่านผู้จะปรินิพพาน
ในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง ๑ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุถึงกึ่ง ๑. ได้แก่
พระอันตราปรินิพพายีอนาคามีนั้น.
บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้พ้นอายุกึ่ง
หรือใกล้จะถึงกาลกิริยา แล้วนิพพานด้วยการดับกิเลส.
บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้ไม่ต้องทำ
ความเพียรมากนัก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส โดยไม่ต้องใช้ความเพียร
นัก.
บทว่า สสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีผู้ต้องทำความเพียร
มาก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส ต้องใช้ความเพียรยากลำบาก.
บทว่า อิทฺธโสตสฺส อกนิฏฺคามิโน ได้แก่ พระอนาคามีผู้มีกระแส
เบื้องบน ต่อกระแสตัณหา กระแสวัฏฏะในเบื้องบน เพราะนำไปในเบื้องบน
หรือมีกระแสในเบื้องบน คือ กระแสมรรคในเบื้องบน เพราะไปในเบื้องบน
แล้วพึงได้. ชื่อว่า อกนิฏฺคามี เพราะไปสู่อกนิฏฐา. ได้เเก่พระอนาคามี
อุทธังโสตอกนิฏฐคามีนั้น. นี้ คือพระอนาคามี ๔ ประเภท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
ท่านผู้ยังพรหมโลก ๔ ตั้งแต่อวิหา ให้บริสุทธิ์แล้วไปสู่อกนิฏฐาจึง
ปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ยังพรหมโลก ๓ เบื้องต่ำให้บริสุทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในสุทัสสีพรหม-
โลก จึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐาจากนี้แล้วปรินิพพาน ไม่ชื่อว่า อุทธังโสโต ชื่อว่า
อกนิฏฐคามี.
ท่านผู้ปรินิพพานในที่นั้น ๆ ในพรหมโลก ๔ เบื้องต่ำ ไม่ชื่อว่า
อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.
พระอนาคามี ๕ เหล่านี้ ท่านกล่าวถือเอาสุทธาวาส. ส่วนพระอนาคามี
ทั้งหลาย. เพราะยังละรูปราคะอรูปราคะไม่ได้ ยังหวังอยู่ย่อมเกิดในรูปภพและ
อรูปภพที่เหลือ แต่พระอนาคามีทั้งหลายเกิดในสุทธาวาสไม่เกิดในที่อื่น.
บทว่า อเวจฺจปฺปสนฺนา เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น คือ รู้ตรัสรู้ด้วย
อริยมรรคแล้ว เลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว. บทว่า โสตาปนฺนา
คือท่านผู้ถึงกระแสอริยมรรค. แม้บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยผลทั้งปวง ท่านก็ถือเอา
ด้วยบทนี้.
จบอรรถกถาภววิภวทิฏฐิกถา
แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
มหาวรรค อานาปานกถา
ว่าด้วยเรื่องอานาปานสติสมาธิ
[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี
วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณ
ในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพ-
พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑.
[๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็น
อุปการะ ๘ เป็นไฉน ?
กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถิ่น-
มิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ. อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็น
อันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ. วิจิกิจฉาเป็นอันตราย
แก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่
สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์
เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรม
ทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณใน
ธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านั้น จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่
ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
[๓๖๔] ความเป็น ธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน?
เนกขัมมะ ความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความ
กำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอย่างเดียว
(แต่ละอย่าง).
นิวรณ์นั้นเป็นไฉน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง).
[๓๖๕] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่ากระไร
ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก.
ธรรมเครื่องนำออกเป็นไฉน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำออกของ
พระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยเนกขัมมะนั้น
กามฉันทะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักเนกขัมมะอัน
เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้น
กั้นไว้ เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริย
เจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่พยาบาทนั้น ความพยาบาทเป็นเครื่องกั้น
ธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักความไม่พยาบาทอันเป็นธรรมเครื่องนำ
ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกความพยาบาทนั้นกั้นไว้ เพราะ
เหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อาโลกสัญญาเป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำ
ออกด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และ
บุคคลย่อมไม่รู้จักอาโลกสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้ง
หลาย เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องนำออกของ
พระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
นั้น อุทธัจจะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความไม่
ฟุ้งซ่านอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูก
อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกันธรรมเครื่อง
นำออก การกำหนดธรรมเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และ
พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยการกำหนดธรรมนั้น วิจิกิจฉาเป็นเครื่อง
กั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักการกำหนดธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุ
นั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก.
ญาณเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริย
เจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
และบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณอันเป็นเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้น
ธรรมเครื่องนำออก ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้า
ทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความปราโมทย์นั้น อรติเป็น
เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความปราโมทย์อันเป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก กุศลธรรมแม้
ทั้งปวงก็เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้ง
หลายย่อมนำออกด้วยกุศลกรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นเครื่องกั้น
ธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมอันเป็นธรรมเครื่องนำออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุ
นั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้น ธรรมเครื่องนำออก ก็แลเมื่อ
พระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอา-
นาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้.
[๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม
หายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคล
ใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก จิตถึงความฟุ้ง-
ซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายเเก่สมาธิ ความพอใจคือความปรารถนา
ลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความพอใจคือ
ความปรารถนาลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ
ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าเข้าครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูก
ลมหายใจครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ.
สติที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ไปตามลมหายใจ
ออก ที่ฟุ้งซ่านในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความ
ปรารถนาลมหายใจเข้า และความปรารถนาลมหายใจ
ออก อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิ
อันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้า
จิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้น
ไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อ
ต่อผู้อื่น ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
[๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ
เข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิต
กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต
จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจร
คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อ
พระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น
อันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่
ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ.
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ
เข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ
คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดเเกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อ
คำนึงถึงลมหายใจเข้า ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-
ใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแต่สมาธิ
อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้า
จิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้น
ไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อ
ต่อผู้อื่น ฉะนี้แล.
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
แก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่
สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
ถือจัด ตกไปข้าฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่น้อมเกินไป
ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่น้อม ตกไป
ข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ.
[๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนา
อนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้
ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น
ย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัด
ซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล.
[๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
แห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่าม
กลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า
เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ
ดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออก เพราะความ
เที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน
เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงไหลในการได้
ลมหายใจออก กายและจิตมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
ความที่พระโยคาวจรถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลม-
หายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
ที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและ
จิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ
หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัด
แกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน
เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-
โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิต
ย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร
คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความ
ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่าย
ความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต
หวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่น
ไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมี
ความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไป
ข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ
จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท.
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ กายและ
จิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญ
อานาปานสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว
ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ
ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น.
[๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ?
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจรเว้นจิต
นั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานะหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
อาการอย่างนี้ จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจร
เว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้
ด้วยอาการอย่างนี้ จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจร
ประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย
อาการอย่างนี้ จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสีย
แล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตรู้เกินไป
ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย
จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความ
พยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อม
ขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว.
[๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ?
ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความ
เป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ความเป็นธรรมอย่างเดียว
ในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
ปรากฏแห่งนิโรธ ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
ปรากฏแห่งสมถนิมิต ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย ความเป็น
ธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญ
วิปัสสนาทั้งหลาย และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ
ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวโดยฐานะ ๔
เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และ
ถึงความร่าเริงด้วยญาณ.
[๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน.
[๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
แห่งเบื้องต้นเท่าไร.
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไป
ในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตที่ดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑ จิตแล่น
ไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
เบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
[๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
แห่งท่ามกลางเท่าไร.
ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไป
สู่สมถะวางเฉยอยู่. จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏ
ในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
แห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ.
[๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร.
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความ
ที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌาน
มีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.
[๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ . . . และถึงพร้อมด้วยปัญญา.
[๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งตติยฌาน
ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข. . .และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา.
[๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน
ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ
อย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.
[๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.
[๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
นุปัสสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร...และถึง
พร้อมด้วยปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิ-
สสัคคานุปัสสนา ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุ-
ปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา
ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสสนา ปฎิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา
โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค.
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค.
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
เบื้องต้นเท่าไร.
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไป
ในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทา
เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึง
พร้อมด้วยลักษณะ.
[๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค
ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่
สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑
เพราะเหตุที่จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความ
ปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ.
[๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
เท่าไร ?
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุด
แห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ
อธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และพร้อมด้วยปัญญา.
นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่ง
จิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้
ภาวนา นิมิตลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่ง
จิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา
ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
[๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตควงเดียว เป็น
ธรรมไม่ปรากฏ ก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน
จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษอย่างไร ?
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อย
ต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้
บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏ
ก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษ
ความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลม
อัสสาสปัสสาสะ เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก
ไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะเข้าหรือออก ลมอัสสาสปัสสาสะเข้าหรือออกจะ
ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุ
ถึงผลวิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้
ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้
จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น
[๓๘๕] ประธานเป็นไฉน ? แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยคเป็นไฉน ? ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค
ผลวิเศษเป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อม
ถึงความพินาศไป นี้เป็นผลวิเศษ ก็ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์
แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และธรรม ๓ ประการนี้ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึง
ความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธาน ยังประโยคให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์
ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.
ลมอัสสาสะ ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะ ชื่อว่า
อปานะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาละ ย่อม
ปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก.
คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ
ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ.
ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่
ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา ๗ ประการนี้ เป็นอรรถอัน
ภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอ
ดีแล้ว.
คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วย
มนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็น
ดังยาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใด ๆ สติย่อม
ปรากฏดีในวัตถุนั้น ๆ ก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตย่อมมั่นคงดีใน
วัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง.
คำว่า อนฺฏฺิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุน
ไปตาม (คุมอยู่) ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิต
ก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป.
คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่า
รวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะอกุศล-
ธรรมอันลามกได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรม.
คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือ
ปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่ง
ความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์
ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น ๑.
คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอ
เป็นไฉน ? กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความ
ตรัสรู้ นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ? ความดับอารมณ์แห่งธรรม
เหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้
ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ความเพียร ภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบ
ปรารภแล้ว จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภ
แล้วเสมอดี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
คำว่า อนุปุพฺพ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติ
ข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ
อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ก็อบรมอานา-
ปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถ
ลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติ
ข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ
ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจ
ออก ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ แม้
ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรมตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่าอบรมแล้วตามลำดับ.
คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี ๑๐ คือ ความฝึกตน ๑
ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑
ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตน
ให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑.
คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มี
อาจารย์ ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน
ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความ
ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.
คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ
เพราะอรรถว่ากระไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระ-
สัพพัญญู เพราะความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะความที่พระองค์
มีเนยยบทไม่เป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่า
พระองค์สิ้นอาสวะ เพราะนับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรง
ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว
เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์
ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่ง
บุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว
เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้.
พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง
น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้
แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิด
ในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้
โพธิพฤกษ์.
คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถ
เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน . . . ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ
ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคล
เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้ว
พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง
ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘.
คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตน
ให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์
เป็นอรรถทุกประการ.
คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลส
เหมือนหมอก อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุ
พ้นจากกิเลสทั้งปวง แล้วย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก พ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือ
ราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓
ประการนี้.
จบภาณวาร
[๓๘๗] ญาณในความทำสติ ๓๒ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจเข้า
เป็นผู้มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขาร
หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับ
จิตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จัก
รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้หายใจเข้า ย่อมศึกษา
ว่า จักตั้งจิตไว้หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความ
คลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า ก็พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก.
[๓๘๘] คำว่า อิธ ความว่า ในทิฏฐินี้ ในความอดทนนี้ ในความ
ชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้
ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในธรรมวินัยนี้.
คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ตาม เป็นพระเสขะ
ก็ตาม เป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริมก็ตาม.
คำว่า อรญฺ ความว่า สถานที่ทุกแห่งนอกเสาเขื่อนไป สถานที่
นั้นป่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
คำว่า รุกฺขมูล ความว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้นั้น คือ
เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้
หรือเครื่องลาดทำด้วยฟาง ภิกษุ เดิน ยืน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น.
คำว่า สุญฺ ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใคร ๆ เป็น
คฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม.
คำว่า อาคาร คือ วิหาร โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น
ถ้ำ.
คำว่า นิสีทติ ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่ง
คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง คือ กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้งวางไว้ตรง.
ศัพท์ว่า ปริ ในคำว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา มีความกำหนด
ถือเอาเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุข มีความนำออกเป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มี
ความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า.
[๓๘๙] คำว่า เป็นผู้มีสติหายใจเข้า ความว่า ภิกษุอมรมสติโดย
อาการ ๓๒ คือ ภิกษุเป็นผู้ตั้งสติมั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว...เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ...เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้
ความที่มีจิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ชื่อว่า
เป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจเข้า ... เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ...เป็น
ผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น.
[๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก
ยาว ก็รู้ว่า หายใจออกยาว อย่างไร ?
ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก
ยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว ย่อม
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อ
หายใจเข้าหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะนั้นนับยาว
เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่
นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออก
ในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ
ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิด
ขึ้นแก่ภิกษุเมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่า
นั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่
นับยาว เมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์
ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ
เข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจเข้าบ้าง
หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าใจออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ยาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจเข้าลมหายใจเข้ายาวด้วยอาการ
๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็น
กายในกาย.
[๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ?
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา
ไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อ
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต-
สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้
ภิกษุพิจารณากายนั้น อย่างนี้.
[๓๙๒] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความ
ที่ธรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับไป.
[๓๙๓] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับ อย่างไร ?
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด
เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิด
เวทนาจึงเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อม
ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างนี้.
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความ
เข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างนี้.
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งเวทนา
ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ
เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับ
เวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปเเห่ง
เวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
[๓๙๔] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับ อย่างไร ?
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด
... ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้.
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ. . . ความเข้าไป
ตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้.
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งสัญญา
ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ. . .
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
เข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.
[๓๙๕] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป อย่างไร ?
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ
ความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ
อย่างนี้.
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
เป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้ง
อยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างนี้.
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งวิตกย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะ
ตัณหาดับวิตกจึงดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ
แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.
[๓๙๖] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร
และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลาย
ประชุมกัน รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์.
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคล
ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ?
บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยิน-
ทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้า
ไปตั้งไว้ ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้
ประชุมลงด้วยความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งบุคคลนั้น รู้จักโคจรแห่งบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งบุคคลนั้น บุคคล
ความรู้ ปัญญา.
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ.
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรม
อันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
ประเสริฐเป็นประโยชน์.
คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทง
ตลอดความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิต
ผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์.
[๓๙๗] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้
พละทั้งหลายประชุมลงอย่างไร ?
บุคคลย่อมยังสัทธาพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความ
ไม่มีศรัทธา ยังวิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
ยังสมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้
ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคลนี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้
ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละทั้งหลาย
ให้ประชุมลง.
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
[๓๙๘] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า
บุคคลย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ?
บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยัง
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพขฌงค์ให้
ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่
ซ่านไป ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบ ยังสมาธิสัมโพชฌงค์
ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความ
วางเฉย บุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุ
ดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง.
คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๓๙๙] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อม
ยังมรรคให้ประชุมลงอย่างไร ?
บุคคลย่อมยังสัมมาทิฏฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้
ประชุมลงด้วยความยกขึ้นสู่อารมณ์ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความกำหนด
ยังสัมมากันมันตะให้ประชุมลงด้วยความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุม
ลงด้วยความผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยัง
สัมมาสติให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุ
ดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า
บุคคลย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง อย่างไร ?
บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละ
ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง
ด้วยความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยัง
สติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วย
ความเริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลง
ด้วยความถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้
ประชุมลงด้วยความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความ
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน
ยังสีลวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความสำรวม ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ยังทิฏฐิวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วย
ควานหลุดพ้น ยังวิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด ยังวิมุตติให้ประชุม
ลงด้วยความสละรอบ ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด ยัง
ญาณในความไม่เกิดขึ้นให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ ยังฉันทะให้ประชุม
ลงด้วยความเป็นมูลเหตุ ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน ยัง
ผัสสะให้ประชุมลงด้วยความประสบ ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก ยัง
สมาธิให้ประชุมลงด้วยความเป็นประธาน ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่
ยังสติสัมปชัญญะให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ยังวิมุตติให้ประชุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
ลงด้วยความเป็นสาระ ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความ
เป็นที่สุด บุคคลนี้ย่อมยังธรรมเหล่านั้นให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุ
ดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง.
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้นบุคคล
ความรู้ปัญญา.
คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ.
คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรม
อันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
ประเสริฐเป็นประโยชน์.
คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอด
ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๐๑] บุคคลเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสิ้น เมื่อหายใจออก
สั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น อย่างไร.
บุคคลเมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย
เมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้า
หายใจออกสั้น ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย
ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าหายใจออกสั้น หายใจเข้าบ้าง หายใจ
ออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ
ฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
กว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจ
เข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจ
ออกบ้างในขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจเข้า
หายใจออกละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความ
ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียด
กว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย
เมื่อหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อม
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อ
หายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์หายใจเข้าบ้าง
หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสปัสสาสะสั้น
อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัว
สติด้วย บุคคลพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย.
[๔๐๒] คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้น
อย่างไร ฯลฯ พิจารณากายนั้นอย่างนี้.
ภาวนาในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพเมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
สั้น เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกสั้น ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และย่อมแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์.
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกอย่างไร ?
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
เป็นไฉน ? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน ?
มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสปัสสาสะ นิมิต และท่าน
กล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย.
[๔๐๔] กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏ อย่างไร ?
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต
มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น. . . เมื่อรู้ความที่จิต
มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น. . . เมื่อคำนึงถึงกาย
เหล่านั้นย่อมปรากฏเมื่อรู้. . . เมื่อเห็น. . . เมื่อพิจารณา. . . เมื่ออธิษฐานจิต. . .
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา. . . เมื่อประคองความเพียร. . . เมื่อตั้งสติไว้มั่น . . .
เมื่อตั้งจิตมั่น. . . เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง. . . เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
. . . เมื่อละธรรมที่ควรละ. . . เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ. . . เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ กาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
คือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุ-
ปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคล
ย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย.
[๔๐๕] คำว่า ย่อมพิจารณา ฯลฯ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็น
ผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่า
ไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความระวังในสีลวิสุทธินั้นเป็นอธิสีล-
สิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ
นั้นเป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลคำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษา
เห็นศึกษา พิจารณาศึกษา อธิษฐานศึกษา น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาศึกษา
ประคองความเพียรศึกษา ดำรงสติไว้มั่นศึกษา ตั้งจิตมั่นศึกษา รู้ชัดด้วย
ปัญญาศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษา
และธรรมที่ควรละศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ
เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง
กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษา
ว่าจักระงับกายสังขารหายใจออก อย่างไร ?
กายสังขารเป็นไฉน ? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
ศึกษาอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
หายใจเข้า เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคล
ระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป
ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง
แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย
สังขารหายใจเข้า ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ความไม่อ่อนไป
ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความ
ไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็น
ปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับ กายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ศึกษา
อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคล
ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขาร
หายใจออก เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่
ปรากฏ อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิต
ทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษา
อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาน-
สติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อม
ออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อม
เป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดัง
ค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิต
แห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออกที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่ง
นิมิตแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่หยาบ เมื่อลมหายใจเข้าและลม
หายใจออกที่หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ละเอียด ย่อม
เป็นไปในภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออกที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ละเอียดเบาลง
อีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่ง
ลมหายใจเข้าลมหายใจออกที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลม
ก็ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติ
สมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้น ๆ กายคือความ
ที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ
กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณา
กายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน-
ภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย.
[๔๐๗] คำว่า พิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้น
อย่างไร ? ฯลฯ ย่อมพิจารณากายนั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่า ความเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ
ออก จิตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น ความ
ระวังในศีลวิสุทธินั้น เป็นอธิศีลสิขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้น เป็น
อธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
คำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ปะชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์อนุปัสสนาญาณ
[ญาณในการพิจารณา] ๘ อุปัฏฐานานุสติ [อนุสติที่ปรากฏ] ๘ และ
สุตันติกวัตถุ [เรื่องอันมีมาในพระสูตร] ในการพิจารณากายในกาย ๔.
จบภาณวาร
[๔๐๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งปีติหายใจออกอย่างไร ?
ปีติเป็นไฉน ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่
จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและ ปราโมทย์
ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง
กายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วย
สามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับ
กายสังขารหายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ
ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต
ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
สามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วย
สามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก
สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อรู้...เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจ
ไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น
เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรรู้ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมปรากฏ เวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง
ปีติหายใจเข้าหายใจออกอย่างนี้นั้นปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนา
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนา
นั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน
ภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย.
คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาความนั้นอย่างไร ? ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งปีติระวังลมหายใจออก ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติ
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้รู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์
[๔๐๙] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งสุขหายใจออก อย่างไร ?
สุข ในคำว่า สุข มี ๒ คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
กายิกสุขเป็นไฉน ? ความสำราญทางกาย ความสุขที่ได้เสวยทางกาย
สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดในกายสัมผัสเป็นกายิกสุข.
เจตสิกสุขเป็นไฉน ? ความสุขทางจิต ความสุขที่ได้เสวยเป็นความ
สำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัสนี้
เป็นเจตสิกสุข.
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้น ย่อมปรากฏ
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมคงมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สุขเหล่านั้นย่อม
ปรากฏ สุขเหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างนั้น.
เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ
สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ
ด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนาอย่างไร ? ย่อม
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้น อย่างนี้
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งสุขระงับ ลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้ แจ้งสุขหายใจ
เข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ.
[๔๑๐] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม
ศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก อย่างไร ?
จิตสังขารเป็นไฉน ? สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจเข้า
ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร สัญญาและเวทนา
ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิต.
สังขาร ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า
ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขาหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วย
จิต เป็นจิตสังขาร นี้เป็นจิตสังขาร.
จิตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ?
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า
ยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตสังขารเหล่านี้ ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น จิตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตสังขารเหล่านั้น ย่อมปรากฏ จิตสังขาร
เหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างนี้.
เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย.
คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ? ย่อม
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งจิต สังขารระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิต-
สังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุม
ลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์.
[๔๑๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม
ศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก อย่างไร ?
จิตสังขารเป็นไฉน ? สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจเข้า
ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตสังขาร บุคคลระงับ คือ
ดับสงบจิตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจออก
ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร บุคคลระงับ
คือ ดับ สงบจิตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
เป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร
หายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร บุคคล
ระงับ คือ ดับ สงบจิตสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ เวทนา ด้วยสามารถความ
เป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ
เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาเวทนา
นั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา
คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ระงับจิตสังขาร ระวังลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ.
ความเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ ย่อมยัง
อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณา) ๘
อุปัฏฐานานุสติ (อนุสติที่ปรากฏ) ๘ สุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีมาในพระสูตร)
ในการพิจารณาเวทนาในเวทนา ๔.
จบภาณวาร
[๔๑๒] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักรู้แจ้งจิตหายใจออกอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
จิตนั้นเป็นไฉน ? วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว จิต
คือ มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออก
ยาว ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า จิต คือ มนะ...
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต.
จิตปรากฏอย่างไร ? บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมัน จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏ
อย่างนี้ วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจเข้าหายใจออก
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นต้น
สติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้
นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
ย่อมพิจารณาจิตอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายเข้าลมหายใจออก ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิต
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๑๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจเข้า ย่อมศึกษา
ว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจออกอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
ก็ความเบิกบานแห่งจิตเป็นไฉน ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความ
เบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต
ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลม
หายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง
ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ
เข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อม
เกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต
ความปลื้มจิต ความดีใจ นี้เป็นความเบิกบานแห่งจิต วิญญาณจิต ด้วย
สามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจเขาหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุ-
ปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล
ย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ? ฯลฯ
ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบาน ระวังลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยัง
อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
[๔๑๔ ] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
จักตั้งจิตมั่นหายใจออกอย่างไร ?
ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออก เป็นสมาธิ ความตั้งอยู่ ความ
ตั้งอยู่ดี ความตั้งมั่น ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีใจ
ไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ วิญญาณจิต
ด้วยความสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้าหายใจออกนี้ ปรากฏ สติเป็น
อนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล
ย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ? ฯลฯ
ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ
ออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๑๕] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักเปลื้องจิตหายใจเข้าอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า จักเปลื้องจิต
จากราคะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโทสะ
หายใจออก จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก
ฯลฯ จักเปลื้องจิตจากมานะ จักเปลื้องจิตจากทิฏฐิ จักเปลื้องจิตจากวิจิกิจฉา
จักเปลื้องจิตจากถิ่นมิทธะ จักเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ จักเปลื้องจิตจากความไม่
ละอายบาป จักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจเข้า จักเปลื้องจิต
จากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจออก วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้
เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ ฯลฯ
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ
ออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้
เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้
ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
เป็นอรรถ อนุปัสสนาญาณ ๔ อุปัฏฐานานุสติ ๘ สุตตันติกวัตถุในการ
พิจารณาจิตในจิต ๔.
[๔๑๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกอย่างไร ?
คำว่า อนิจฺจ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
เพราะอรรถว่ากระไร ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ?
บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้
บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า
จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่
เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชรา
และมรณะ หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและ
มรณะหายใจออก ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง
หายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การ
พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?
ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง ระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้
ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทง
ตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
[๔๑๗] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก อย่างไร ?
บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในรูป
น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคล้าย
กำหนัดในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัด ในรูป
หายใจออก บุคคลเห็นโทษในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน
จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัด ในชรา
และมรณะ และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดใน
ชราและมรณะหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชรา
และมรณะหายใจออกธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความคลาย
กำหนัดหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา
คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?
ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น อย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัด ระวังลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนดหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้
ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทง
ตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
[๔๑๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจเข้า ย่อม
ศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจออก อย่างไร ?
บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับในรูป น้อมใจ
ไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูป
หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจออก เห็นโทษใน
เวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในภิกษุ ฯลฯ โนชรา และมรณะ
แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคับในชราและมรณะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจ
เข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก.
[๔๑๙] โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อวิชชาย่อมดับด้วย
อาการเท่าไร ? โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ ๘.
โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ? โทษในอวิชชาย่อมมี
ด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑ โทษใน
อวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
อวิชชาย่อมดับไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน? อวิชชาย่อมดับด้วยนิทาน
ดับ ๑ ด้วยสมุทัยดับ ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยอาหารดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑
ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยวิญญาณเกิดขึ้น ๑ ด้วยนิโรธปรากฏ ๑ อวิชชาย่อมดับ
ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.
บุคคลเห็นโทษในอวิชชาด้วยอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะ
ในความดับแห่งอวิชชาด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
ตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า ย่อมศึกษา
ว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจออก.
[๔๒๐] โทษในสังขารย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สังขารย่อมดับด้วย
อาการเท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณย่อมมีด้วยอาการเท่าไร วิญญาณย่อมดับ
ด้วยอาการเท่าไร โทษในนามรูปย่อมมีด้วยอาการเท่าไร นามรูปย่อมดับด้วย
อาการเท่าไร โทษในสฬายตนะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สฬายตนะย่อมดับด้วย
อาการเท่าไร โทษในสัมผัสย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ผัสสะย่อมดับด้วยอาการ
เท่าไร โทษในเวทนาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร เวทนาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร
โทษในตัณหาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ตัณหาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน
อุปาทานย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อุปาทานย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน
ภพย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ภพย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชาติย่อมมี
ด้วยอาการเท่าไร ชาติย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะย่อมมี
ด้วยอาการเท่าไร ชราและมรณะย่อมดับ ด้วยอาการเท่าไร ? โทษในชราและ
มรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘.
โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ? โทษในชรา
และมรณะย่อมมีด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่า
เป็นอนัตตา ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑
โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.
ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ? ชราและมรณะย่อม
ดับด้วยนิทานดับ ๑ ด้วยสมุทัย ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยภพดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑
ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยญาณเกิด ๑ ด้วยนิโรธเกิดขึ้น ๑ ชรามรณะย่อมดับ
ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
บุคคลเห็นโทษด้วยชราและมรณะในอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิด
ฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วย
ศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะ
หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก
ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับหายใจเข้าหายใจออก
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ
ด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
นั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณา
ธรรมในธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?
ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่า เป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับ ระวังลมหายใจเข้า
ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ
เป็นผู้พิจารณาความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์
ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอัน
มีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๒๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจเข้า
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจออก อย่างไร ?
ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ ความสละคืนด้วยการบริจาค ๑ ความ
สละคืนด้วยความแล่นไป ๑ จิต (คิด) สละรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละ
คืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
ความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืน
ในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจออก จิต
(คิด) สละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็น
ที่ดับชราและมรณะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคล
ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจเข้า ย่อม
ศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะหายใจออกธรรมทั้งหลาย
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ
สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรม
ในธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณา ธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?
ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมสละความถือมั่นได้ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายอันเกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเกินกันฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณา ความสละคืนระวังลมหายใจเข้าลม
หายใจออก จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความ
สำรวมในสีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้น เป็น
อธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
ถึงสิกขา ๓ประการนี้ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ ศึกษาอยู่ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจเข้า
หายใจออก เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา
ความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลาย
ให้ประชุมลงย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
ย่อมยังพละทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อม
ยังมรรคให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมรู้จักโคจร และ
แทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า ย่อมยัง
อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ?
ย่อมยังสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสสนา
ญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ในการพิจารณาธรรมในธรรม
ทั้งหลาย ๔ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ นี้.
[๔๒๒] ญาณด้วยสามารถแห่งสมาธิ ๒๔ เป็นไฉน ?
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น
ผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ญาณด้วยสามารถของสมาธิ ๒๔
เหล่านี้.
ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเข้าหายใจออก โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความ เป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเช้า
หายใจออก โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า ความเป็นผู้เปลื้องจิต
พิจารณาลมหายใจเข้าหายใจออก โดยความเป็นอนัตตา ญาณด้วยสามารถ
แห่งวิปัสสนา ๗๒ เหล่านี้.
นิพพิทาญาณ ๘ เป็นไฉน ? ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถ
ว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็น
ตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาลมหายใจออก
โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริง ฯลฯ ญาณชื่อว่านิพพิทา-
ญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลพิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้า
รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาความ
สละคืนลมหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง นิพพิทาญาณ ๘ เหล่านี้.
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เป็นไฉน ? ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลม
หายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็น
นิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออก โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ
ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาสละคืนลมหายใจเข้าปรากฏ โดยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
เป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความ
สละคืนลมหายใจออกปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เหล่านี้.
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เป็นไฉน ? ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณา
ลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็น
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออกโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เหล่านี้.
ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เป็นไฉน ? ญาณในวิมุตติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะ
ละเพราะตัดขาดซึ่งสักกายทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาด
ซึ่งวิจิกิจฉาด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งสีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่ง
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ
ด้วยสกทาคามิมรรค . . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-
สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ด้วยอนาคามิมรรค
ญาณในวิมุตติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ด้วยอรหัตมรรค
ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ เหล่านี้ อันสัมปยุตด้วยสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น.
จบอานาปานกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
อานาปานสติกถา ในมหาวรรค
๑. อรรถกถาคณนวาร
บัดนี้ ถึงลำดับที่จะพรรณนาความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งอานา-
ปานสติกถาที่ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถา.
จริงอยู่ อานาปานสติกถานี้ เป็นสมาธิภาวนาอันทำได้ง่ายเพื่อตรัสรู้
ตามความเป็นจริง แห่งโทษของทิฏฐิที่กล่าวไว้ดีแล้ว ในทิฏฐิกถา แห่งจิต
บริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการชำระมลทินแห่งมิจฉาทิฏฐิ. อนึ่ง ในสมาธิภาวนาทั้งปวง
อานาปานสติกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถาว่าเป็นสมาธิภาวนาและ
เป็นประธาน เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธินี้ ณ
โพธิมูล ของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในอานาปานสติกถานั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โสฬส-
วตฺถุก อนาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต สมธิกานิ เทฺว าณสตานิ
อุปฺปชฺชนฺติ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มี
วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นการยกขึ้นแสดง
จำนวนญาณ. บทมีอาทิว่า อฏฺ ปริปนฺเถ าณานิ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย ๘ เป็นการชี้แจงจำนวนญาณ. บทต้นว่า กตมานิ อฏฺ ปริปนฺเถ
าณานิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ เป็นไฉน. บทสุดท้ายว่า อิมานิ
เอกวีสติ วิมุตฺติสุเข าณานิ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เหล่านี้ เป็นการชี้แจง
ความพิสดารของญาณทั้งปวง. พึงทราบการกำหนดบาลีก่อนอย่างนี้ว่า บทมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
อาทิว่า โสฬสวตฺถุก อานาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต เมื่อพระโยคาวจร
เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มีวัตถุ ๑๖ เป็นบทสรุปในที่สุด.
พึงทราบวินิจฉัยในการยกแสดงจำนวน ในการนับจำนวนว่า อานา-
ปานสติสมาธิ มีวัตถุ ๑๖ ก่อนดังต่อไปนี้. ชื่อว่า โสฬสวตฺถุโก เพราะมีวัตถุ
เป็นที่ตั้ง คือมีอารมณ์ ๑๖ ด้วยสามารถแห่งจตุกะ ละ ๔ เหล่านี้ คือ ลมหายใจ
ยาว สั้นกำหนดรู้กองลมทั้งปวง สงบกายสังขาร ชื่อว่า กายานุปัสสนาจตุกะ ๑
กำหนดรู้ปีติ สุข จิตสังขาร สงบจิตสังขาร ชื่อว่า เวทนานุปัสสนาจตุกะ ๑
กำหนดรู้จิต จิตยินดียิ่ง จิตตั้งมั่น จิตพ้น ชื่อว่า จิตตนุปัสสนาจตุกะ ๑
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความคลายกำหนัด การดับทุกข์ การสละ ชื่อว่า
ธัมมานุปัสสนาจตุกะ ๑. อานาปานสติสมาธิ มีวัตถุ ๑๖ นั้น. ก็ในบทนี้
ลบวิภัตติด้วยวิธีของสมาส.
บทว่า อาน ได้แก่ ลมหายใจเข้าในภายใน. บทว่า อปาน ได้แก่
ลมหายใจออกในภายนอก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยตรงกันข้าม เพราะ
หายใจออกท่านกล่าวว่า อปานะ เพราะปราศจากการหายใจเข้า. แต่ในนิเทศ
ท่านกล่าวว่า อาปาน เพราะเพ่งถึงทีฆะ น อักษร. เมื่อมีอานาปาน นั้น
ชื่อว่า อานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติกำหนดอัสสาสะ ปัสสาสะ
(ลมหายใจเข้าและหายใจออก) สมาธิประกอบด้วยอานาปานสติ หรือสมาธิ
ในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ.
บทว่า ภาวยโต คือเจริญนิพเพธภาคี (ธรรมเป็นส่วนแห่งการ
แทงตลอด). บทว่า สมาธิกานิ อันเนื่องมาแต่สมาธิ คือ เป็นไปกับด้วย
ความยิ่ง ความว่า มีความยิ่งเกิน. ในบทว่า สมาธิกานิ นี้ ม อักษรเป็น
บทสนธิ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ส อธิกานิ. เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
ความว่า ญาณ ๒๐๐ ด้วย ยิ่งด้วย. ข้อนั้นไม่ถูก เพราะญาณ ๒๐๐ เหล่านี้
ก็จะเกินไป ๒๐.
บทว่า ปริปนฺเถ าณานิ ญาณในธรรมเป็นอันตราย คือญาณ
อันเป็นไป เพราะทำอันตรายให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอุปการะ
ในอุปกิเลส. บทว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทาน (ความผ่องแผ้ว)
คือ ชื่อว่า โวทาน เพราะจิตผ่องแผ้วบริสุทธิ์ด้วยญาณนั้น. ควรกล่าวว่า
โวทานาณานิ ท่านกล่าวว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทานดุจใน
บทมีอาทิว่า สุตมเย าณ ญาณในสุตมยปัญญา. ชื่อว่า สโตการี เพราะ
มีสติสัมปชัญญะทำ ญาณของผู้มีสติทำนั้น.
บทว่า นิพฺพิทาาณานิ คือญาณอันเป็นนิพพิทา (เบื่อหน่าย).
บทว่า นิพฺพิทานุโลเม าณานิ คือญาณเกื้อกูลนิพพิทา. ปาฐะว่า
นิพฺพิทานุโลมิาณานิ บ้าง. ความว่า ชื่อว่า นิพพิทานุโลมี เพราะ
มีญาณเกื้อกูลแก่นิพพิทา. บทว่า นิพฺพิทาปฏิปฺปสฺสทฺธิาณานิ คือญาณ
ในความสงบนิพพิทา. บทว่า วิมุตฺติสุเข าณานิ คือญาณสัมปยุตด้วย
วิมุตติสุข.
ด้วยบทมีอาทิว่า กตมานิ อฏฺ(๘)เป็นไฉน ท่านแสดงถึงญาณร่วม
กันในธรรมอันตรายและในธรรมเป็นอุปการะเหล่านั้น เพราะญาณในธรรม
เป็นอันตราย และในธรรมเป็นอุปการะเป็นคู่ ตรงกันข้ามและเป็นข้าศึกกัน.
บทมีอาทิว่า กามจฺฉนฺทเนกฺขมฺมา มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง
บทว่า อุปการ เป็นนปุงสกลิงค์ โดยเป็นลิงควิปลาส.
บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง คืออกุศล
ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง กุศลธรรมทั้งปวงเป็นฝ่าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
แห่งการแทงตลอด. บทว่า ปริปนฺโถ และอุปการ เป็นเอกวจนะ เพราะ
เพ่งถึงบทนั้น ๆ นั่นเอง. พระสารีบุตรเถระ ครั้นถามถึงญาณในธรรมเป็น
อันตราย และญาณในธรรมเป็นอุปการะนี้แล้ว แก้อารมณ์แห่งญาณเหล่านั้น
แล้วแสดงสรุปญาณอันมีญาณนั้นเป็นอารมณ์ว่า เป็นอันแก้ญาณเหล่านั้นด้วย
ธรรมเป็นปริปันถะ และอุปการะเหล่านั้นแล้ว. แม้ในบทมีอาทิว่า ญาณใน
อุปกิเลสก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาคณนวาร
๒. อรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ
บทว่า โสฬสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านั้น คือด้วยส่วน
แห่งญาณ ๑๖ ดังได้กล่าวแล้วโดยเป็นฝ่ายทั้งสอง. บทว่า อุทุปิตจิตฺต สมุทุ-
ปิตจิตฺต จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ความว่า ในอุปจารภูมิ จิตสะสม
ไว้เบื้องบน สะสมไว้เบื้องบนโดยชอบ ทำการสะสมสูงขึ้น ๆ ทำการสะสม
สูงขึ้น ๆ โดยชอบ. ปาฐะว่า อุทุชิต จิตต สุมุชิต บ้าง. ความว่า จิตชนะ
เพราะความสูง หรือชนะด้วยญาณอันทำความสูง.
บทว่า สุมุทุชิต คือชนะเพราะความสูงเสมอ หรือชนะด้วยญาณ
อันทำความสูง เป็นอันปฏิเสธความไม่เสมอ ในบทนี้ว่า สมา เสมอ. ใน
ปาฐะนี้มีอุปสรรค ๒ตัว คือ อุ. ทุ. ปาฐะว่า อุรูชิต จิตฺต สมฺมารูชิต
บ้าง. แม้ในปาฐะนี้ก็มีความว่าชนะแล้วเหมือนกัน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
บทว่า อุรู อรู นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
ในอรรถกถาวีโณปมสูตรท่านกล่าวความว่า ตชฺชิต และ สุตชฺชิต
คือ คุกคามแล้ว คุกคามด้วยดีแล้ว . ความนั้นไม่สมควรในที่นี้. บทว่า เอกตฺเต
สนฺติฏฺติ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียว คือ ย่อมตั้งอยู่ในความ
เป็นธรรมอย่างเดียวในอุปจารภูมิ โดยไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ.
ในบทนี้ว่า นิยฺยานาวรณฏฺเน นีวรณา ชื่อว่า นิวรณ์เพราะ
อรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ท่านกล่าวว่า แม้ความไม่ยินดี แม้
อกุศลทั้งปวงก็ชื่อว่า นิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้น. บทว่า นิยฺยานา-
วรณฏฺเน ชื่อว่า นิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องปิดทางมาแห่งธรรมเครื่อง
นำออก. ปาฐะว่า นิยฺยานาวารณฏฺเน บ้าง. ความว่า ชื่อว่า นิวรณ์
เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องห้ามธรรมเครื่องนำออก.
บทว่า เนกฺขมฺม อริยาน นิยฺยาน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำ
ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือที่ตั้งแห่งมรรค ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องนำ
ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยผลูปจาร เพราะเป็นเหตุแห่งอริยมรรค กล่าว
คือเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อม
นำออกคือเข้าถึงในขณะแห่งมรรค ด้วยผลูปจารนั้นเป็นเหตุ. ส่วนอาจารย์
บางพวกกล่าวว่า บทว่า นิยฺยาน คือมรรค ข้อนั้นไม่ถูก เพราะในที่นี้
ท่านประสงค์เอาอุปจาร และเพราะไม่มีอาโลกสัญญาและกุศลธรรมทั้งปวงใน
ขณะแห่งมรรค. บทว่า นิวุตตฺตา เพราะถูกอกุศลธรรมกันไว้คือปกปิดไว้.
บทว่า นปฺปชานาติ ย่อมไม่รู้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคล. บทว่า
วิสุทฺธิจิตฺตสฺส ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ได้แก่ ในอุปจารภูมินั่นเอง.
บทว่า ขณิกสโมธานา ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ ความว่า
ชื่อว่า ขณิกา เพราะมีขณะ เพราะเกิดขึ้นในขณะจิต ในขณะจิต ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
อุปกิเลส การตั้งมั่น การประชุม การรวบรวมจิตเป็นไปชั่วขณะ ชื่อว่า ขณิก-
สโมธาน เพราะฉะนั้น จึงมีความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ. ท่านอธิบายไว้
ว่า อุปกิเลสทั้งหลายเมื่อเกิด ย่อมเกิดด้วยการเกี่ยวเนื่องกันชั่วขณะ ด้วยการ
สืบต่อกันมาชั่วขณะ คือ ไม่เกิดด้วยอำนาจแห่งขณะจิตดวงหนึ่ง.
จบอรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ
๓. อรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ
ปฐมฉักกะ (ฉักกะที่๑)
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสาสาทิมชฺฌ-
ปริโยสาน เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจเข้า คือ ปลายจมูก หรือ
นิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็น
ที่สุด. เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม
หายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง
จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ใน
อารมณ์เดียว.
บทว่า ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสาน เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของ
ลมหายใจออก คือ สะดือเป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็น
ท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอกเป็นที่สุด. ในที่นี้พึง
ทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
บทว่า อสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ตณฺหาจริยา ความในใจ คือ
ความปรารถนาลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา ความว่า การกำหนดว่า
กรรมฐานเนื่องด้วยลมจมูกแล้วพอใจ คือปรารถนาลมหายใจเข้าอันหยาบและ
หยาบ ความเป็นไปด้วยตัณหา. เมื่อมีความเป็นไปแห่งตัณหา ชื่อว่า เป็น
อันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว.
บทว่า ปสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ความปรารถนาความพอใจ
ลมหายใจออก ความว่า ความพอใจคือความปรารถนาลมหายใจออก ซึ่งเป็น
ไปก่อนลมหายใจเข้า. บทที่เหลือพึงประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า
อสฺสาเสนาภิตุนฺนสฺส แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ความว่า เมื่อ
ลมหายใจเข้ายาวเกินไป หรือสั้นเกินไป ถูกลมหายใจเข้าทำลายเบียดเบียน
เพราะมีความลำบากแห่งกายและจิตอันมีลมหายใจเข้าเป็นมูล.
บทว่า ปสฺสาสปฏิลาเภ มุจฺฉนา ความหลงในการได้ลมหายใจ
ออก คือเพราะถูกลมหายใจเข้าบีบคั้น ผู้มีความสำคัญในความพอใจในลม
หายใจออก ปรารถนาลมหายใจออก ยินดีในการได้ลมหายใจออกนั้น. แม้ใน
ลมหายใจออกเป็นมูลก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว เพื่อพรรณนาตามความ
ดังที่ได้กล่าวแล้วดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุคจฺฉนา คือไปตาม. บทว่า สติ คือสติอันเป็นเหตุ
ฟุ้งซ่านในภายในและภายนอก. ชื่อว่า วิกฺเขโป. เพราะจิตฟุ้งซ่านด้วยลมหาย-
ใจนั้น. ความฟุ้งซ่านในภายใน ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิกเขโป. ความปรารถนา
ความฟุ้งซ่านในภายในนั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิเขปากงฺขณา ท่านอธิบายว่า
ความปรารถนาลมหายใจเข้าอันฟุ้งซ่านในภายใน ด้วยการไม่มีใจชอบ. พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยหิ
คือด้วยอุปกิเลสเหล่าใด. บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่าน
ถึงความฟุ้งซ่าน.
บทว่า โน เจ จิตฺต วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไป
ในอารมณ์อันเป็นอัสสาสปัสสาสะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก. พึง
ทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า วิโมกฺข
อปฺปชานนฺตา ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อัน
เป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก
อย่างนี้. บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณ
ที่ประจักษ์แก่ตน เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่านกล่าว ปรปตฺติยา.
ความอย่างเดียวกัน.
จบปฐมฉักกะ
ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๒)
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า นิมิตฺต ที่สัมผัส
แห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสปัสสาสะกระทบดั้งจมูกของผู้
มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึง
นิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-
ใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่ง
นั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่าง
เดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
ใน จิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิต. เพราะฉะนั้น จิตย่อมกวัดแกว่งในนิมิต โดยนัย
นี้พึงทำการประกอบแม้ในบทที่เหลือ. บทว่า วิกมฺปติ ในคาถาทั้งหลาย
ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน คือถึงความฟุ้งซ่าน.
จบทุติยฉักกะ
ตติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๓)
พึงทราบวินิจฉัยในตติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อตีตานุธาวน จิตฺต
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ คือจิตที่ไปตามอัสสาสะ หรือปัสสาสะอันล่วงเลย
ที่สัมผัสไป.
บทว่า วิกฺเขปานุปติต ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามด้วยความ
ฟุ้งซ่าน หรือตกไป คือไปตามความฟุ้งซ่านเอง. บทว่า อนาคตปฏิกงฺขณ
จิตฺต จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ คือจิตที่ปรารถนา คือหวังอัสสาสะหรือ
ปัสสาสะอันยังไม่ถึงที่สัมผัส. บทว่า วิกมฺปิต หวั่นไหว คือหวั่นไหวด้วย
ความฟุ้งซ่านอันไม่ตั้งอยู่ในอัสสาสะและปัสสาสะนั้น. บทว่า ลีน จิตหดหู่
คือจิตท้อแท้ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น. บทว่า โกสชฺชานุ-
ปติต จิตตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน คือไปตามความเกียจคร้าน. บทว่า อติป-
คฺคหต จิตที่ประคองไว้จัด คือจิตที่มีความอุตสาหะจัดด้วยปรารภความเพียร
จัด. บทว่า อุทฺธจฺจานุปติต จิตตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามความ
ฟุ้งซ่าน. บทว่า อภินต จิตที่น้อมเกินไป คือจิตที่น้อมไปยิ่ง คือติดอยู่ใน
วัตถุแห่งอัสสาสะทั้งหลาย. บทว่า อปนต จิตที่ไม่น้อมไป คือจิตกระทบใน
วัตถุแห่งความไม่ยินดี หรือจิตปราศจากวัตถุแห่งความยินดีนั้น หรือยังไม่
ปราศจากไป ความว่า ไม่ปราศจากไปจากวัตถุนั้น. บทว่า ราคานุปตต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
จิตตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด คือเมื่อพระโยคาวจรกำหนดไว้ในใจถึงอัสสาส-
ปัสสาสนิมิต ความกำหนัดตกไปในปีติและสุข หรือในวัตถุที่รื่นเริง รำพัน
และการเล่นในก่อน. บทว่า พฺยาปาทานุปติต จิตตกไปข้างฝ่ายพยาบาท
คือเมื่อพระโยคาวจรมีจิตไม่ยินดีในการกำหนดไว้ในใจ ความพยาบาทย่อมตก
ไปตามอำนาจแห่งความโทมนัสที่เกิดขึ้นแล้ว หรือในอาฆาตวัตถุ (วัตถุแห่ง
ความอาฆาต) ที่ประพฤติมาในกาลก่อน.
บทว่า น สมาธิยติ ในคาถาทั้งหลาย ได้แก่ จิตไม่ตั้งมั่น. บทว่า
อธิจิตฺต อธิจิต คือสมาธิอันยิ่ง ท่านแสดงโดยจิตเป็นประธาน.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงอุปกิเลส ๑๘ ด้วย
ฉักกะ ๓ แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษแห่งอุปกิเลสเหล่านั้นโดยให้สำเร็จความ
เป็นอันตรายแก่สมาธิ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสาน
ดังนี้อีก ความว่า เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโยปิ จิตฺตมฺปิ สารทฺธา จ โหนฺติ กาย
และจิตย่อมมีความปรารภ ความว่า แม้รูปกาย ด้วยอำนาจเเห่งรูปอันมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นสมุฏฐาน แม้จิตด้วยอำนาจแห่งความฟุ้งซ่านเป็นการสืบต่อ ย่อม
เป็นอันยุ่งยากด้วยความลำบากและมีความกระวนกระวาย โดยความอ่อนกว่า
นั้นก็ตื่นเต้นหวั่นไหว โดยความอ่อนกว่านั้นก็ดิ้นรนวุ่นวาย ย่อมมีความ
ยุ่งยาก มีกำลังบ้าง ปานกลางบ้าง อ่อนบ้าง. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะ
ไม่ให้ยุ่งยากได้.
บทว่า จิตฺต วิกมฺปิตตฺตาปิ คือเพราะจิตหวั่นไหว. บทว่า ปริปุณฺณา
อภาวิตา ในคาถาทั้งหลาย คือไม่เจริญเหมือนอย่างที่บำเพ็ญไว้. บทว่า
อิญฺชิโต คือหวั่นไหว. บทว่า ผนฺทิโต ดิ้นรน คือหวั่นไหวอย่างอ่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
เพราะความที่นิวรณ์ทั้งหลายในเบื้องต่ำไม่มีลำดับ ท่านจึงแสดงด้วยอัจจันตสมี-
ปะ (ใกล้ที่สุด) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านี้. แต่ใน
ที่นี้ เพราะนิวรณ์ทั้งหลายมีลำดับในบทสรุป ท่านจึงแสดงเป็นปรัมมุขา (ลับ
หลัง) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.
จบอรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ
๔. อรรถกถาโวทานญาณนิเทศ
บทว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทาน คือญาณบริสุทธิ์.
บทว่า ต วิชยิตฺวา เว้นจิตนั้นเสีย พึงเชื่อมความว่า เว้นจิตแล่นไปตาม
อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ดังกล่าวแล้วในก่อนเสีย. บทว่า เอกฏฺาเน
สมาทหติ ย่อมตั้งมั่นจิตไว้ในฐานะหนึ่ง คือ ตั้งมั่นไว้เสมอในที่สัมผัสแห่ง
อัสสาสะและปัสสาสะ. บทว่า ตตฺเถว อธิโมกฺเขติ น้อมจิตไปในฐานะนั้นแล
เมื่อท่านกล่าวว่า เอกฏฺาเน ในฐานะหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมทำความตกลง
ในที่สัมผัสแห่งอัสสาสะและปัสสาสะ.
บทว่า ปคฺคณฺหิตฺวา ประคองจิตไว้แล้ว คือ ประคองจิตไว้ด้วย
เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า วินิคฺคณฺหิตฺวา
ข่มจิตนั้นเสีย คือ ข่มจิตไว้ด้วยการเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ประคองจิตไว้ด้วย
สตินทรีย์และวีริยินทรีย์ ข่มจิตไว้ด้วยสตินทรีย์และสมาธินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
บทว่า สมฺปชาโน หุตฺวา พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้น คือรู้ทันด้วย
อสุภภาวนาเป็นต้น อีกอย่างหนึ่งรู้ทันด้วยเมตตาภาวนาเป็นต้น พึงทราบความ
เชื่อมว่า พระโยคาวจรย่อมละราคะพยาบาทที่จิตตกตามไป. ความว่า เมื่อรู้ทันว่า
จิตนั้นเป็นเช่นนี้ ย่อมละราคะพยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อจิตนั้น. บทว่า
ปริสุทฺธ บริสุทธิ์คือไม่มีอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาต ขาวผ่อง คือ ประภัสสร.
บทว่า เอกตฺตคต โหติ จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อพระโยคาวจร
ถึงความวิเศษนั้น ๆ จิตนั้น ๆ ก็ย่อมถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว.
บทว่า กตเม เต เอกตฺตา ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้น
เป็นไฉน. พระสารีบุตรเถระ เมื่อถามความเป็นธรรมอย่างเดียว แม้ประกอบ
และยังไม่ประกอบ ย่อมถามทำรวมกัน. บทว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺาเนกตฺต
ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน คือ การบริจาค
การสละทานอันเป็นทานวัตถุ ชื่อว่า ทานูปสคฺโค ได้แก่ เจตนาบริจาคทาน
วัตถุ. การเข้าไปตั้งความปรากฏแห่งทานนั้นด้วยทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า
ทานูปสคฺคุปฏฺาน ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน. อีกอย่างหนึ่งความเป็น
ธรรมอย่างเดียว ในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ชื่อว่า ทานุปสคฺคุปฏฺ-
าเนกตฺต. ปาฐะว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺาเนกตฺต ดีกว่า ความอย่างเดียวกัน.
ด้วยบทนี้ท่านกล่าวจาคานุสติสมาธิด้วยการยกบทขึ้น. อนึ่ง แม้ท่าน
กล่าวจาคานุสติสมาธินั้น ด้วยการยกบทก็เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งความเป็นธรรม
อย่างเดียวกัน แม้ ๓ อย่างนอกนี้ เพราะฉะนั้น อาจารย์พวกหนึ่งจึงกล่าว
ไว้ในที่นี้ว่า ท่านชี้แจงไว้แล้วดังนี้. จริงอยู่ แม้นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ยัง
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาในทิศทั้งหลาย
ในศาสนานี้จักมาสู่กรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระมีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
พระภาคเจ้าแล้วจักทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อมรณภาพแล้ว
ภิกษุนั้นจักมีคติอย่างไร อภิสัมปรายภพจักเป็นอย่างไรดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
จักทรงพยากรณ์ถึงคติและสัมปรายภพนั้นในโสดาปัตติผลก็ดี ในสกคาทามิผล
ก็ดี ในอนาคามิผลก็ดี ในอรหัตผลก็ดี. ข้าพเจ้าเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วจัก
ถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถีหรือหนอ.
หากภิกษุทั้งหลายจักกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ภิกษุรูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถี. ข้าพเจ้า
จักตัดสินใจถวายวัสสิกสาฏก อาคันตุกภัตร คมิกภัตร คิลานภัตร คิลานุปัฏ-
ฐากภัตร คิลานเภสัช หรือธุวยาคู (ข้าวยาคูเป็นประจำ) ให้พระคุณเจ้ารูปนั้น
บริโภคโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงดังนั้น จักเกิดความปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วจักเกิดปีติ เมื่อมีใจปีติ กายจักสงบ เมื่อกายสงบจักเสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตจักตั้งมั่น อินทรียภาวนา พลภาวนา โพชฌงคภาวนา นั้นจักมี
แก่ข้าพเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในความเป็นธรรมอย่างเดียวทั้งหลาย
ท่านกล่าวถึงธรรมที่หนึ่งด้วยอุปจารสมาธิ ธรรมที่สองด้วยอัปปนาสมาธิ
ธรรมที่สามด้วยวิปัสสนาสมาธิ ธรรมที่สี่ด้วยมรรคและผล. นิมิตแห่งสมถะ
ชื่อว่าสมถนิมิต. ลักษณะอันเป็นความเสื่อมความทำลาย ชื่อว่า วยลักษณะ.
บทว่า นิโรโธ คือนิพพาน. บทที่เหลือ พึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
๓ บทเหล่านี้. บทว่า จาคธิมุตฺตาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะ คือ
คือน้อมไปในทาน. บทว่า อธิจิตฺต ได้แก่ สมาธิอันเป็นบทแห่งวิปัสสนา.
บทว่า วิปสฺสกาน ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย คือ ของผู้เห็นแจ้ง
สังขารด้วยอนุปัสสนา ๓ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับสังขาร).
บทว่า อริยปุคฺคลาน คือพระอริยบุคคล ๘. ความเป็นธรรมอย่างเดียว
๓ มีธรรมที่ ๒ เป็นต้น ย่อมประกอบด้วยอานาปานสติ และด้วยกรรมฐาน
ที่เหลือ. บทว่า จตูหิ าเนหิ คือด้วยเหตุทั้งหลาย ๔. บทที่ยกขึ้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ เป็นจิตเจริญ
งอกงามด้วยอุเบกขา และเป็นจิตร่าเริงด้วยญาณดังนี้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ-
วิปัสสนามรรคและผล. บทขยายความอันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถามเพราะใคร่จะ
ทำเพื่อความพิสดารแห่งบทที่ยกขึ้นเหล่านั้นมีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่ง
ปฐมฌาน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปทาวิสุทฺธิปสนฺนญฺเจว ย่อมเป็นจิต
ที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส คือปฏิปทานั่นเองชื่อว่า วิสุทธิ เพราะชำระมลทิน
คือนิวรณ์ จิตแล่นไป คือ เข้าไปสู่ปฏิปทาวิสุทธินั้น. บทว่า อุเปกฺขานุพฺ-
รูหิตญฺจ คือ เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา คือความเป็นกลางนั้น. บทว่า
าเณน จ สมฺปหสิต ร่าเริงด้วยญาณ คือ ร่าเริง ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์
ด้วยญาณอันขาวผ่อง. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า อุปจาระพร้อม
ด้วยการสะสม ชื่อว่า ปฏิปทาวิสุทธิ อัปปนาชื่อว่าการเจริญงอกงามด้วย
อุเบกขา ปัจจเวกขณะชื่อว่า ความร่าเริง.
อนึ่ง เพราะท่านกล่าวบทมีอาทิว่า จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว
เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ฉะนั้นพึงทราบปฏิปทาวิสุทธิด้วยการมาแห่ง
อัปปนาภายใน การเจริญงอกงามด้วยอุเบกขาด้วยกิจแห่งอุเบกขา คือ ความ
เป็นกลางนั้น การร่าเริงด้วยการสำเร็จกิจแห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความ
ไม่ล่วงไปแห่งธรรมทั้งหลาย. เป็นอย่างไร เพราะจิตย่อมบริสุทธิ์จากหมู่กิเลส
คือ นิวรณ์อันเป็นอันตรายแก่ฌานนั้นในวาระที่อัปปนาเกิด. เพราะจิตบริสุทธิ์
จิตปราศจากเครื่องกีดกันย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง สมาธิคือ
อัปปนาไปเสมอชื่อว่าสมถนิมิต อันเป็นท่ามกลาง.
แต่ปุริมจิต (จิตดวงก่อน) ในลำดับแห่งอัปปนาสมาธินั้นเข้าถึงความ
เป็นของแท้โดยนัยแห่งความปรวนแปรสันตติอย่างเดียว ชื่อว่าย่อมดำเนินสู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะดำเนินไปอย่างนี้ จิตจึงชื่อว่าแล่นไปใน
สมถนิมิตนั้นโดยเข้าถึงความเป็นของแท้.
พึงทราบปฏิปทาวิสุทธิ อันสำเร็จอาการมีอยู่ในปุริมจิตอย่างนี้ก่อนด้วย
อำนาจแห่งการมาในขณะปฐมฌานเกิดนั่นเอง. อนึ่ง เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว
ไม่ทำความขวนขวายในการชำระจิต เพราะไม่มีสิ่งที่ควรชำระอีก ชื่อว่า
จิตหมดจดวางเฉยอยู่. เมื่อดำเนินสู่สมถะด้วยการเข้าถึงความเป็นสมถะแล้ว
ไม่ทำความขวนขวายในการสมาทานอีก ชื่อว่า จิตดำเนินสู่สมถะวางเฉยอยู่.
เพราะดำเนินสู่สมถะเมื่อจิตละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลสแล้วปรากฏด้วยความเป็น
ธรรมอย่างเดียว ไม่ทำความขวนขวายในการปรากฏแห่งความเป็นธรรมอย่าง
เดียวอีก ชื่อว่า จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่.
พึงทราบความพอกพูนอุเบกขาด้วยอำนาจกิจของความวางเฉยเป็นกลางนั้น.
ธรรมเทียมคู่ คือ สมาธิและปัญญาเหล่าใดเกิดแล้วในจิตนั้น อัน
พอกพูนด้วยอุเบกขาอย่างนี้ เมื่อยังไม่ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ได้เป็นไปแล้ว.
อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้นเหล่าใด มีรสอันเดียวกันด้วยรสคือวิมุตติเพราะพ้น
จากกิเลสต่าง ๆ เป็นไปแล้ว พระโยคาวจรนั้นนำความเพียงใด อันเข้าถึง
วิมุตตินั้น สมควรแก่ความเป็นรสเดียวด้วยความไม่เป็นไป แห่งอินทรีย์เหล่านั้น.
การเสพใดเป็นไปแล้วในขณะของพระโยคาวจรนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
เพราะเห็นโทษและอานิสงส์นั้น ๆ ในความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วด้วย
ญาณแล้วสำเร็จเพราะเป็นจิตร่างเริง เป็นจิตผ่องใส ฉะนั้นพึงทราบว่า ความ
ร่าเริงด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จกิจ แห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความไม่-
ล่วงเกินกันเป็นต้นแห่งธรรมทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
ในบทนั้นมีความดังนี้ เพราะญาณปรากฏด้วยสามารถแห่งอุเบกขา
สมดังที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉย
ด้วยดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา
จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเขกขา ปัญญินทรีมีประมาณ
ยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้น
ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญิน-
ทรีย์มีประมาณยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งภาวนา เพราะ
อรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความร่าเริง
อันเป็นกิจของญาณเป็นที่สุด.
บทมีอาทิว่า เอวติวตฺตคต จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
เป็นคำสรรเสริญจิตนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวติวยตฺตคต ได้แก่ จิต
ถึงความเป็นไป ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งความแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ความ
พอกพูนอุเบกขาและความร่าเริงด้วยญาณ. บทว่า วิตกฺกสมฺปนฺน เป็นจิต
ถึงพร้อมด้วยวิตก คือ ถึงความเป็นจิตงามด้วยวิตก เพราะปราศจากความ
กำเริบแห่งกิเลส.
บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานสมฺปนฺน ถึงพร้อมด้วยการอธิษฐาน
แห่งจิต คือ จิตสมบูรณ์ไม่ย่อหย่อนด้วยการอธิษฐาน กล่าวคือเป็นไปตามลำดับ
แห่งจิตในอารมณ์นั้นนั่นเอง ความเป็นไปแห่งฌานชื่อว่าอธิษฐาน ในเพราะ
ความชำนาญแห่งอธิษฐาน ฉันใด แม้ในที่นี้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ก็
ชื่อว่า อธิษฐานจิตย่อมควร ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น จิตย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว
เท่านั้น แต่เพราะกล่าวว่า สมาธิสมฺปนฺน ถึงพร้อมด้วยสมาธิไว้ต่างหาก
จึงควรถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสงเคราะห์สมาธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
เข้าไว้ในองค์ฌาน จึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานสมฺปนฺน ด้วยสามารถ
แห่งหมวด ๕ ขององค์ฌาน. บทว่า สมาธิสมฺปนฺน ท่านกล่าวด้วยสามารถ
แห่งหมวด ๕ ของอินทรีย์ เพราะสงเคราะห์สมาธิเข้าไว้ในอินทรีย์.
แต่ในทุติยฌานเป็นต้น ท่านละบทที่ยังไม่ได้แล้วกล่าวว่า ปีติสมฺ-
ปนฺน ถึงพร้อมด้วยปีติ ด้วยสามารถแห่งการได้.
ในมหาวิปัสสนา ๑๘ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น วิตกเป็นต้นต้น บริบูรณ์
แล้วเพราะมหาวิปัสสนาเหล่านั้นเป็นกามาวจร. อนึ่ง เพราะในมหาวิปัสสนาเหล่า
นั้นไม่มีอัปปนา จึงควรประกอบปฏิปทาวิสุทธิเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ
ชั่วขณะ. ท่านกล่าววิตกเป็นต้นบริบูรณ์ ด้วยสามารถการได้เพราะได้วิตกเป็นต้น
ด้วยปฐมฌานิก (ผู้ได้ปฐมฌาน) ในมรรค ๔ เพราะวิตกเป็นต้นในมรรค
มีผู้ได้ทุติยฌานเป็นต้น ย่อมเสื่อมดุจในฌานทั้งหลาย.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงโวทานญาณ (ญาณบริสุทธิ์)
๑๓ โดยพิสดาร. แสดงอย่างไร ท่านแสดงญาณ ๑๓ เหล่านี้ก็คือ ญาณทั้งหลาย
๖ สัมปยุตด้วยการตั้งมั่นในที่เดียวกัน ด้วยการน้อมไปในความตั้งมั่นนั้นเอง
ด้วยการละความเกียจคร้าน ด้วยการละความฟุ้งซ่าน ด้วยการละราคะ ด้วย
การละพยาบาท ญาณ ๔ สัมปยุต ด้วยความเป็นธรรมอย่างเดียว ๔ ญาณ ๓
สัมปยุตด้วยปฏิปทาวิสุทธิ การพอกพูนอุเบกขาและความร่าเริง.
แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความสำเร็จแห่ง
ญาณเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ ไม่สรุปญาณ
เหล่านั้น แล้วแสดงวิธีเจริญอานาปานสติสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งการท้วง
โดยนัยมีอาทิว่า นิมิตฺต อสฺสาสปสฺสาสา นิมิตลมอัสสาสปัสสาสะ แล้ว
แสดงสรุปญาณในที่สุด. นิมิตในญาณนั้นท่านกล่าวไว้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
บทว่า อนารมฺมณาเมกจิตฺตสฺส คือ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวง
เดียว. ในบทนี้ ม อักษรเป็นบทสนธิ. ปาฐะว่า อนารมฺมณเมกจิตฺตสฺส
บ้าง ความว่า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว. บทว่า ตโย ธมฺเม ธรรม
๓ ประการ คือ ธรรม ๓ ประการมีนิมิตเป็นต้น. บทว่า ภาวนา ได้แก่
อานาปานสติสมาธิภาวนา. บทว่า กถ อย่างไร เป็นคำถามใคร่จะกล่าวความ
แห่งคาถาแก้ ดังกล่าวแล้วในลำดับแห่งคาถาท้วงดังกล่าวแล้วครั้งแรก. บทว่า
น จิเม ตัดบทเป็น น จ อิเม ปาฐะว่า น จ เม ดังนี้บ้าง. ปาฐะนั้น
เป็นปาฐะกำหนดบท.
พึงประกอบ กถ ศัพท์ด้วยบทแม้ที่เหลือ ๕ อย่างนี้ว่า กถ น จ
อวิทิตา โหนฺติ กถ น จ จิตฺต วิกฺเขป คจฺฉติ เป็นธรรมไม่ปรากฏ
ก็หามิได้อย่างไร และจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านอย่างไร. บทว่า ปธานญฺจ
ปญฺายติ จิตปรากฏเป็นประธาน คือ ความเพียรปรารภการเจริญอานา-
ปานสติสมาธิปรากฏ เพราะว่าวีริยะท่านกล่าวว่าเป็น ปธาน เพราะเป็นเหตุ
เริ่มตั้ง. บทว่า ปโยคญฺจ สาเธติ จิตให้ประโยชน์สำเร็จ คือ พระโยคาวจร
ยังฌานนั้นนิวรณ์ให้สำเร็จ เพราะว่า ฌานท่านกล่าวว่า ปโยค เพราะประกอบ
ด้วยการข่มนิวรณ์. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ บรรลุผลวิเศษ คือ ได้มรรค
อันทำการละสังโยชน์ เพราะว่า มรรคท่านกล่าวว่า วิเสส เพราะเป็นอานิสงส์
แห่งสมถะและวิปัสสนา. อนึ่ง เพราะมรรคเป็นประธานแห่งความวิเศษ จึง
ไม่ทำการสะสมด้วยการทำ.
บัดนี้ พระสตรีบุตรเถระยังความที่ถามนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ รุกฺโข เปรียบเหมือนต้นไม้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาทำพื้นที่ให้เรียบ
เหมาะที่จะทำงานเพื่อเลื่อยด้วยเลื่อย เพื่อไม่ให้กลิ้งไปมา ในเวลาเอามีดถาก
และผ่า. บทว่า กกเจน คือเลื่อยด้วยมือ. บทว่า อาคเต คือฟันเลื่อยที่
เลื่อยต้นไม้มาใกล้ตน. บทว่า คเต คือฟันเลื่อยที่เลื่อยต้นไม้ไปส่วนอื่น. วา
ศัพท์เป็นสมุจจยัตถะ ลงในอรรถรวบรวม. บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ
ไม่ปรากฏก็หามิได้ คือ ฟันเลื่อยแม้ทั้งหมดที่บุรุษเลื่อยต้นไม้ แม้ไม่ถึงที่มองดู
ก็ย่อมปรากฏ เพราะไม่ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป. บทว่า ปธาน เป็น
ประธาน คือความเพียรในการตัดต้นไม้. บทว่า ปโยค ประโยค คือ
กิริยาที่ตัดต้นไม้. บทว่า วเสสมธิคจฺฉติ ถึงความวิเศษไม่มีด้วยอุปมา.
บทว่า อุปนิพนฺธนา นิมิตฺต ความเนื่องกันเป็นนิมิต คือปลาย
จมูกก็ดี ริมฝีปากก็ดี เป็นนิมิต คือ เป็นเหตุแห่งสติอันเนื่องกัน. สติชื่อว่า
อุปนิพนฺธา เพราะเป็นเครื่องผูกจิตไว้ในอารมณ์. บทว่า นาสิกคฺเควา คือ
ผู้มีจมูกยาวตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก. บทว่า มุขนิมิตฺเต วา คือผู้มีจมูกสั้นตั้งสติ
ไว้ที่ริมฝีปากบน เพราะริมฝีปากบนเป็นนิมิตแห่งสติที่ปาก เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มุขนิมิตฺต ริมฝีปาก. บทว่า อาคเต คือลมอัสสาสะ
ปัสสาสะที่มาในภายในจากที่สัมผัส. มทว่า คเต คือลมอัสสาสปัสสาสะที่ไป
ภายนอกจากที่สัมผัส. บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ ลมอัสสาสปัสสาสะไม่
ปรากฏก็หามิได้ คือ ลมอัสสาสปัสสาสะแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ยังไม่ถึงที่สัมผัส
ก็ย่อมปรากฏ. เพราะไม่ใส่ใจถึงการมาการไปของลมอัสสาสปัสสาสะ. บทว่า
กมฺมนีย โหติ ย่อมควรแก่การงาน คือ ทั้งกาย ทั้งจิต ย่อมควรแก่การงาน
เหมาะแก่ภาวนากรรม สมควรแก่ภาวนากรรม. ความเพียรนี้ชื่อว่า ปธาน
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงเหตุด้วยผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
บทว่า อุปกฺกิเลสา ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละ
อุปกิเลสได้ คือละนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้. บทว่า วิตกฺกา วูปสมนฺติ วิตก
ย่อมสงบไป คือ วิตกไม่ตั้งมั่นแล้ว เที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมถึงความสงบ
ภิกษุปรารภความเพียรละอุปกิเลสได้ด้วยฌานใด วิตกทั้งหลายย่อมสงบด้วย
ฌานนั้น. บทว่า อย ปโยโค ท่านทำเป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งถึงประโยค.
บทว่า สญฺโชนานิ ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้
คือ ละสังโยชน์อันมรรคนั้น ๆ ทำลายด้วยสมุจเฉทปหาน. บทว่า อนุสยา
พฺยาสนฺติ อนุสัยย่อมถึงความพินาศ คือ เพราะอนุสัยที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีก
จึงชื่อว่า พยนฺตา เพราะมีเกิดหรือเสื่อมปราศจากไปแล้ว. ชื่อว่า พฺยนฺติ
โหนฺติ เพราะไม่เสื่อมมาก่อน ย่อมาเสื่อม ความว่า พินาศ. เพื่อแสดงว่า
การละสังโยชน์ย่อมมีได้ด้วยการละอนุสัย มิใช่ด้วยอย่างอื่น ท่านจึงกล่าวถึง
การละอนุสัย. ความว่า ละสังโยชน์ได้ด้วยมรรคใด อนุสัยย่อมพินาศไปด้วย
มรรคนั้น นี้เป็นความวิเศษ.
ในจตุกะที่ ๔ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคไว้ในที่นี้ เพราะแม้อริยมรรค
ท่านก็ได้ชี้แจงไว้แล้ว แม้เมื่อไม่กล่าวถึงความไม่มีอารมณ์เป็นสองแห่งจิต
ดวงเดียว เพราะสำเร็จแล้วท่านจึงไม่แก้จิตดวงนั้นแล้วสรุปว่า ธรรม ๓ อย่าง
เหล่านั้นไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะสรรเสริญพระโยคาวจร ผู้สำเร็จภาวนา
นั้นจึงกล่าวคาถาว่า อานาปานสฺสติ ยสฺส แล้วกล่าวนิเทศแห่งคาถานั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้ ภิกษุใดเจริญอานาปานสติให้
บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุ
นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนอะไร เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
หมอกฉะนั้น. พึงทรามความเชื่อมด้วยคาถาว่า พระโยคาวจรนั้น ยังโลกมี
ขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกเป็นต้น
ยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสวฉะนั้น. พึงทราบว่าในบทนี้ ท่านทำการลบอาทิ
ศัพท์เพราะท่านกล่าวถึง แม้น้ำค้างเป็นต้นในนิเทศแห่งบทว่า อพฺภา มุตฺโตว
จนฺทิมา เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.
ในคาถานิเทศท่านกล่าวแปลกออกไปโดยปฏิเสธความนั้นว่า โน
ปสฺสาโส โน อสฺสาโส ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ. บทว่า
อุปฏฺาน สติ สติเข้าไปตั้งอยู่ ความว่า ชื่อว่าสติเข้าไปตั้งลมอัสสาสะนั้น
เพราะความไม่หลง. ลมปัสสาสะก็เหมือนกัน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่าน
กล่าวความว่า สติในลมหายใจเข้าและหายใจออกชื่อว่า อานาปานสติ. บัดนี้
ประสงค์จะชี้แจงถึงบุคคลที่ท่านกล่าวว่า ยสฺส ด้วยอำนาจแห่งสติเท่านั้น จึง
กล่าวว่า สติย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก. ความว่า ผู้ใด
หายใจเข้า สติของผู้นั้นย่อมกำหนดลมอัสสาสะ. ผู้ใดหายใจออก สติของผู้นั้น
ย่อมกำหนดลมปัสสาสะ.
บทว่า ปริปุณฺณา คือ บริบูรณ์ด้วยบรรลุอรหัตมรรค อันสืบ
มาจากมรรคในฌานและวิปัสสนา พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า ปริคฺค-
หฏเน ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ หมายถึงธรรมคือมรรคฌานและวิปัสสนาฌาน.
เพราะธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ปริคฺคหา เพราะอันพระโยคาวจรนี้ถือเอารอบ.
ชื่อว่า ปุริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าถือเอารอบนั้น. ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วย
อรรถว่าเป็นบริวาร เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงเป็นบริวารของกันและกัน
ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าบริบูรณ์ ด้วยความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
บทมีอาทิว่า จตสฺโส ภาวนา ภาวนา ๔ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
บทที่กล่าวแล้วว่า สุภาวิตา เจริญแล้ว. ภาวนา ๔ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
บทว่า ยานีกตา ทำให้เป็นดังยาน คือทำเช่นกับยานเทียมแล้ว. บทว่า
วตฺถุกตา ทำให้เป็นที่ตั้ง คือทำเช่นกับวัตถุ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า
อนุฏฺิตา น้อมไปคือปรากฏแล้ว. บทว่า ปริจิตา อบรม คือ ตั้งสะสมไว้
โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธา. ปรารภดีแล้ว คือ ปรารภด้วยดี ทำด้วยดี.
บทว่า ยตฺถ ยตฺถ อากงฺขติ ภิกษุจำนงหวังในที่ใด ๆ คือ หาก
ภิกษุปรารถนาในฌานใด ๆ ในวิปัสสนาใด ๆ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ คือ
ในฌานนั้น ๆ ในวิปัสสนานั้น ๆ. บทว่า วสิปฺปตฺโต เป็นผู้ถึงความชำนาญ
ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ คือความเป็นผู้มีวสีมาก. บทว่า พลปฺปตฺโต
ถึงกำลัง คือถึงกำลังสมถะและวิปัสสนา. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ถึงความ
แกล้วกล้าคือ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ความเป็นผู้ฉลาด. บทว่า เต ธมฺมา
ได้แก่ ธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา. บทว่า อาวชฺชนปฏิพทฺธา เป็นธรรม
เนื่องด้วยความคำนึง คือเพราะเนื่องด้วยความคำนึง ความว่า เพียงภิกษุนั้น
คำนึงเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการประกอบพร้อมด้วยสันดาน หรือด้วย
ญาณ. บทว่า อากงฺขณฺปฏิพทฺธา เนื่องด้วยความหวัง คือเพราะเนื่องด้วย
ความชอบใจ ความว่า เพียงภิกษุชอบใจเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการ
ประกอบพร้อมโดยนัยดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง มนสิการในบทว่า มนสิการปฏิพทฺ-
ธา นี้ เป็นจิตตุปบาทแห่งความคำนึง. ท่านกล่าวเพื่อขยายความด้วยสามารถแห่ง
ไวพจน์ของความหวัง. บทว่า เตน วุจฺจติ ยานีกตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่าทำให้เป็นดังยาน อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นทำให้เป็นเช่นกับยาน
เพราะทำแล้วอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
บทว่า ยสฺมึ ยสฺมึ วตฺถุสฺมึ ในวัตถุใด ๆ คือ ในวัตถุหนึ่ง ๆ
ในวัตถุ ๑๖. บทว่า สฺวาธิฏฺิต มั่นคงดีแล้ว คือ ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า
สุปติฏฺิตา ปรากฏดีแล้ว คือ เข้าไปตั้งไว้ด้วยดี. ท่านแสดงธรรม ๒ อย่าง
เหล่านั้น ประกอบด้วยอนุโลมปฏิโลมเพราะทำกิจของตน ๆ ร่วมกันแห่งสติ
อันมีจิตสัมปยุตเเล้ว. บทว่า เตน วุจฺจติ วตฺถุกตา ด้วยเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า เพราะความเป็นอย่างนี้ ธรรมทั้งหลาย
จึงทำให้เป็นที่ตั้ง.
บทว่า เยน เยน จิตฺต อภินีหรติ จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ
คือ จิตนำออกจากความเป็นไปในก่อนแล้วน้อมเข้าไปในภาวนาวิเศษใด ๆ.
บทว่า เตน เตน สติ อนุปริวตฺตติ สติก็หมุนไปตามด้วยอาการนั้น ๆ
คือ สติช่วยเหลือในภาวนาวิเศษนั้น ๆ หมุนไปตาม เพราะเป็นไปแต่ก่อน.
ในบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบว่าเป็นสัตตมีวิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด เข้าไปหา
ณ ที่นั้นดังนี้. บทว่า เตน วุจฺจติ อนุฏฺิตา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
น้อมไป คือ เพราะทำอย่างนั้นนั่นแล ท่านอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายไปตาม
ภาวนานั้น ๆ ตั้งอยู่ เพราะอานาปานสติเป็นประธานของสติ พึงทราบว่า
ท่านทำการประกอบพร้อมกับสติในบทว่า วตฺถุกตา และอนุฏฺิตา.
อนึ่ง เพราะสติอันภิกษุอบรมให้บริบูรณ์แล้ว เป็นอันงอกงามแล้ว
ได้อาเสวนะแล้ว ฉะนั้น อรรถทั้ง ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ปริปุณฺณา
เป็นอันกล่าวแม้ในบทว่า ปริจิตา ด้วย. ท่านกล่าวอรรถที่ ๔ เป็นอรรถ
วิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
ในบทเหล่านั้น บทว่า สติยา ปริคฺคณฺหนฺโต ภิกษุกำหนดถือ
เอาด้วยสติ คือ พระโยคาวจรกำหนดถือเอาสิ่งที่ควรถือเอาด้วยสติอันสัมปยุต
แล้ว หรือเป็นบุพภาค. บทว่า ชินาติ ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ภิกษุ
ย่อมชนะอกุศลธรรมอันลามกได้ คือ ย่อมชนะ ย่อมครอบงำ กิเลสอันลามก
ด้วยการตัดขาด. ธรรมเทศนานี้เป็นบุคลาธิษฐาน เพราะเมื่อธรรมทั้งหลาย
ชนะ แม้บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมนั้น ก็ชื่อว่าย่อมชนะด้วย. อนึ่ง
ธรรมเหล่านั้นไม่ละสติปรารภเพื่อจะชนะในขณะที่ยังเป็นไปของตน ท่านกล่าว
ว่าชนะแล้ว เหมือนที่ท่านกล่าวว่า บุคคลปรารภเพื่อจะบริโภค ก็เป็นอัน
บริโภคแล้ว. อนึ่ง พึงทราบลักษณะในบทนี้โดยอรรถแห่งศัพท์.
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า ปริชิตา ท่านแปลง ช
อักษรเป็น จ อักษรกล่าวว่า ปริจิตา. ท่านทำโดยลักษณะของภาษา แปลง
ท เป็น ต ในอรรถวิกัปว่า สมฺมา คโท อสฺสาติ สุคโต ชื่อว่า สุคต
เพราะมีพระวาจาชอบ ฉันใด แม้ในบทนี้ก็พึงทราบฉันนั้น. บทว่า ปริจิตา
ในอรรถวิกัปนี้เป็นกัตตุสาธนะ ๓ บทก่อนเป็นกัมมสาธนะ.
บทว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว
ท่านอธิบายว่า ธรรม ๔ อย่างมีอรรถอันภิกษุปรารภดีแล้ว. พึงเห็นว่าลบ
อตฺถ ศัพท์. แม้อรรถแห่งบทว่า สุสมารทฺธา พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า
สุสมารทฺธา ในที่นี้ หรือ สุสมารทฺธธมฺมา มีธรรมอันภิกษุปรารภดีแล้ว.
พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า จตฺตาโร โดยประเภทแห่งอรรถ มิใช่โดยประเภท
แห่งธรรม. อนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายอันภิกษุเจริญแล้วเป็นอันชื่อว่า ปรารภ
ดีแล้ว มิใช่ธรรมเหล่าอื่น ฉะนั้นท่านกล่าวอรรถแห่งความเจริญ ๓ อย่าง
ไว้แม้ในที่นี้. แม้อรรถแห่งอาเสวนะ (การเสพ) ท่านก็กล่าวในอรรถแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
ความเจริญ ๓ อย่างที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งธรรมนั้น
เป็นอันกล่าวถึงอรรถแห่งกิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้นที่ถอนแล้ว เพราะที่สุด
แห่งการปรารภย่อมปรากฏโดยการถอนกิเลสอันเป็นข้าศึก ด้วยเหตุนั้นเป็น
อันท่านกล่าวถึงอรรถอันถึงยอดแห่งธรรมที่ปรารภดีแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตปฺปจฺจนีกาน กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น คือ กิเลสเป็นข้าศึกแก่ฌานวิปัสสนาและมรรคเหล่านั้น. บทว่า
กิเลสาน แห่งกิเลสทั้งหลาย คือ แห่งกิเลสทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น
และสักกายทิฏฐิ อันสัมปยุตด้วยนิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า สุสมุคฺฆาตตฺตา
เพราะเพิกถอนด้วยดี คือ เพราะถอนด้วยดี เพราะพินาศไปด้วยสามารถแห่ง
วิกขัมภนะ ตทังคะและสมุจเฉทะ. แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย พวกอาจารย์เขียน
ไว้ว่า สุสมคฺฆาตตฺตา บทนั้นไม่ดี.
พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงอรรถวิกัปแม้อื่นแห่งบทนั้นอีก จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า สุสม ความเสมอดี. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ชาตา
กุสลธรรมทั้งหลายเกิดในธรรมนั้น คือ เกิดในภาวนาวิเศษอันถึงยอดนั้น.
บทว่า อนวชฺชา ไม่มีโทษ คือ ปราศจากโทษ คือ กิเลสด้วยการไม่เข้าถึง
ความที่กิเลสทั้งหลายเป็นอารมณ์. บทว่า กุสลา ได้แก่ กุศลโดยกำเนิด.
บทว่า โพธิปกฺขิยา เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ คือ ชื่อว่า โพธิปกฺขิยา
เพราะเป็นฝ่ายแห่งพระอริยเจ้าอันได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าตรัสรู้. บทว่า
ปกฺเข ภวตฺตา เพราะเป็นในฝ่าย คือ เพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ
อนึ่ง ธรรม ๓๗ เหล่านั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘. บทว่า อิท สม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
นี้เป็นความเสมอ คือชื่อว่า เสมอ เพราะธรรมชาติในขณะมรรคนี้ย่อมยัง
กิเลสทั้งหลายให้สงบคือ ให้พินาศไปด้วยการตัดขาด. บทว่า นิโรโธ นิพฺพาน
ความดับเป็นนิพพาน คือชื่อว่า นิโรธ เพราะดับทุกข์ ชื่อว่า. นิพพาน
เพราะไม่มีตัณหา กล่าวคือเครื่องร้อยรัด. บทว่า อิท สุสม นี้เป็นความ
เสมอดี คือนิพพานนี้ ชื่อว่า เสมอดี เพราะเสมอด้วยดี เพราะปราศจาก
ความไม่เสมอ คือ สังขตธรรมทั้งปวง. บทว่า าต รู้แล้ว คือ รู้เสมอ
กล่าวคือโพธิปักขิยธรรมด้วยญาณ เพราะไม่หลง รู้เสมอดี กล่าวคือนิพพาน
ด้วยญาณโดยความเป็นอารมณ์ เห็นทั้งสองนั้นดุจเห็นด้วยตานั้นนั่นเอง.
บทว่า วิทิต ทราบแล้ว คือ ได้ทั้งสองอย่างนั้นด้วยเกิดขึ้นสันดานและด้วย
ทำเป็นอารมณ์ ทำให้แจ้งแล้วและถูกต้องแล้วด้วยปัญญาดุจรู้แล้ว ประกาศ
อรรถแห่งบทก่อน ๆ ว่าไม่ย่อหย่อน ไม่หลงลืม ไม่ปั่นป่วน มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธ ปรารภแล้ว คือปรารถนาแล้ว.
บทว่า อลฺลีน ไม่ท้อถอย. บทว่า อุปฏฺิตา ตั้งมั่นแล้ว คือ เข้าไปตั้ง
ไว้แล้ว. บทว่า อสมฺมุฏฺา ไม่หลงลืม คือ ไม่หายไป. บทว่า ปสฺสทฺโธ
สงบแล้วคือดับแล้ว. บทว่า อสารทฺโธ ไม่ปั่นป่วน คือ ไม่กระวนกระวาย.
บทว่า สมาหิต ตั้งมั่นแล้ว คือ ตั้งไว้เสมอ. บทว่า เอกคฺค มีอารมณ์เดียว
คือ ไม่ฟุ้งซ่าน.
บทมีอาทิว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภ
ดีแล้ว มีอรรถเป็นมูลรากของคำ สุสมารทฺธา ทั้งสิ้น. ส่วนบทมีอาทิว่า
อตฺถิ สม ความเสมอก็มี มีอรรถเป็นมูลรากของสุสม. บทมีอาทิว่า าต
มีอรรถเป็นวิกัปของคำ อารทฺธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบอรรถแห่งบท เมื่อควรจะกล่าวว่า สมา
จ สุสมา จ สมสุสมา เสมอและเสมอดี ชื่อว่า สมสุสมา ท่านทำเป็น
เอกเสสสมาสมีรูปเป็นเอกเทศ แล้วกล่าวว่า สุสมา เหมือนกล่าวว่า นามญฺ
จ รูปญฺจ นามรูปญฺจ นามรูป นาม รูป และนามรูป ชื่อว่า นามรูป.
บทว่า อิท สม อิท สุสม นี้เสมอ นี้เสมอดี ท่านทำเป็นคำนปุงสกลิงค์
เพราะไม่เพ่งเป็นอย่างอื่น. อนึ่ง เพราะแม้ าต รู้แล้วท่านกล่าวว่า ทิฏฺ
เห็นแล้ว. เห็นแล้ว และปรารภแล้วโดยอรรถเป็นอันเดียวกัน. ส่วนบทว่า
วิทิต รู้แล้ว สจฺฉิกต ทำให้แจ้งแล้ว ผสฺสิต ถูกต้องแล้ว เป็นไวพจน์
ของบทว่า าต รู้แล้ว. ฉะนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวอรรถแห่ง อารทฺธ
ปรารภแล้วว่า าต รู้แล้ว. บทว่า อารทฺธ โหติ วีริย อลฺลีน ความ
เพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน มีอรรถตรงกับคำว่า อารทฺธ แต่บท
มีอาทิว่า อุปฏฺิตา สติตั้งมั่น ท่านกล่าวเพื่อแสดงธรรมอันเป็นอุปการะ
แก่ความเพียรอันสัมปยุตแล้ว มิได้กล่าวเพื่อแสดงอรรถแห่งคำว่า อารทฺธ
ชื่อว่า สุสมารทฺธา เพราะปรารภแล้วด้วยดี โดยอรรถก่อน และชื่อว่า
สุสมารทฺธา เพราะเริ่มเสมอดี ด้วยอรรถนี้เมื่อท่านทำเป็นเอกเสสสมาส
จึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา. ท่านกำหนดถือเอาอรรถนี้ แล้วกล่าวด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา ปรารภแล้วเสมอดี.
บทว่า อนุปุพฺพ คือตามลำดับ. อธิบายว่าก่อน ๆ หลัง. บทว่า
ทีฆอสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว คือด้วยสามารถลมหายใจ
เข้าที่ท่านกล่าวว่า ทีฆ ยาว. บทว่า ปุริมา ปุริมา ข้างต้น ๆ คือ สติ
สมาธิ ข้างต้น ๆ. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า ปุพฺพ ด้วยบทนั้น. บทว่า
ปจฺฉิมา ปจฺฉิมา ข้างหลัง ๆ คือสตินั่นเอง. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
อนุ ด้วยบทนั้น. ด้วยบททั้งสองนั้น เป็นอันได้ความว่า อบรม อานาปานสติ
ก่อนและหลัง. เพราะกล่าวยังวัตถุ ๑๖ อย่างข้างบนให้พิสดาร ในที่นี้ท่านจึงย่อ
แล้วแสดงบทสุดท้ายว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความสละคืน
ดังนี้.
เพราะอานาปานสติ แม้ทั้งปวงภิกษุอบรมตามลำดับ เพราะเป็นไป
ตามความชอบใจ บ่อย ๆ แห่งการเจริญถึงยอด. เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
อญฺมญฺปริจิตา เจว โหนฺติ อนุปริจิตา จ อาศัยกันภิกษุนั้นอบรม
แล้วและอบรมตามลำดับแล้ว ดังนี้.
บทว่า ยถตฺถา อรรถแห่ง ยถาศัพท์ คืออรรถตามสภาวะ. บทว่า
อตฺตทมถฏฺโ ความฝึกตน คือความหมดพยศของตนในขณะอรหัตมรรค.
บทว่า สมถฏฺโ ความสงบตน คือความเป็นผู้เยือกเย็น. บทว่า ปรินิพฺ-
พาปนฏฺโ ความยังตนให้ปรินิพพาน คือด้วยการดับกิเลส. บทว่า อภิญฺ
ฏฺโ ความรู้ยิ่ง คือด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า ปริญฺฏฺโ
ความกำหนดรู้เป็นต้น คือด้วยอำนาจแห่งกิจคือมรรคญาณ. บทว่า สจฺจาภิ-
สมยฏฺโ ความตรัสรู้สัจจะ คือด้วยอำนาจแห่งการเห็นแจ้งแทงตลอด
อริยสัจ ๔. บทว่า นิโรเธ ปติฏฺาปกฏฺโ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ใน
นิโรธ คือด้วยอำนาจแห่งการกระทำอารมณ์. ท่านประสงค์จะชี้แจงว่า พุทฺโธ
ในบทว่า พุทฺเธน แม้ไม่มีบทว่า พุทฺธสฺส จึงกล่าวว่า พุทฺโธ. บทว่า
สยมฺภู พระผู้เป็นเอง คือเป็นเองปราศจากการแนะนำ. บทว่า อนาจริยโก
ไม่มีอาจารย์ คือ ขยายอรรถแห่งบทว่า สยมฺภู. เพราะว่าผู้ใดแทงตลอด
อริยสัจปราศจากอาจารย์ ผู้นั้นเป็นพระสยัมภู. แม้บทมีอาทิว่า ปุพฺเพ
อนนุสฺสุเตสุ ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาแต่กาลก่อน เป็นการประกาศอรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
แห่งความไม่มีอาจารย์. บทว่า อนนุสฺสุเตสุ คือไม่เคยสดับมาแต่อาจารย์.
บทว่า สาม คือ เอง. บทว่า อภิสมฺพุชฺฌิ ตรัสรู้ คือ แทงตลอดโดย
ชอบอย่างยิ่ง. บทว่า ตตฺถ จ สพฺพญฺญุต ปาปุณิ คือ บรรลุความเป็น
พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น. ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะแทงตลอดสัจจะโดยที่
พระสัพพัญญูทั้งหลายเป็นผู้แทงตลอดสัจจะ ปาฐะว่า สพฺพญฺญุต ปตฺโต
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูบ้าง. บทว่า พเลสุ จ วสีภาว เป็นผู้มีความ
ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย คือ บรรลุความเป็นอิสระในกำลังของพระตถาคต
๑๐. ผู้ใดเป็นอย่างนั้น ท่านกล่าวผู้นั้นว่าเป็น พุทธะ ในบทว่า พุทฺโธ
นั้นเป็นบัญญัติ หมายถึง ขันธสันดานที่อบรมบรรลุความหลุดพ้นอันยอดเป็น
นิมิตแห่งญานอันอะไรๆ ไม่กระทบแล้วในธรรมทั้งปวง หรือพุทธเจ้าผู้วิเศษ
กว่าสัตว์เป็นบัญญัติ หมายถึง การตรัสรู้ยิ่งสัจจะ อันเป็นปทัฏฐานแห่งสัพพัญ-
ญุตญาณ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงการชี้แจง บทว่า พุทธะ
โดยอรรถ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงโดยพยัญชนะ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
พุทฺโธติ เกนฏฺเน พุทฺโธ บทว่า พุทฺโธ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ
นามว่า พุทธะด้วยอรรถว่ากระไร ในบทนั้นท่านกล่าวว่า อรคโต เพราะ
ตรัสรู้ในโลกตามเป็นจริง ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้สัจธรรม ชื่อว่า
พุทฺโธ ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ใบไม้แห้ง
เพราะลมกระทบ. บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะความ
เป็นพระสัพพัญญู. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะมีปัญญาสามารถ
ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ ทรง
เห็นธรรมทั้งปวง. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง
ด้วยญาณจักษุ. บทว่า อนฺเนยฺยตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
ไม่มีผู้อื่นแนะนำ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยไม่ตรัสรู้ด้วยผู้อื่น. บทว่า วิสวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ
เพราะมีพระสูติไพบูลย์ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าแย้ม
ดุจดอกบัวแย้มโดยที่ทรงแย้มด้วยคุณต่าง ๆ. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการนอนหลับด้วยกิเลสทั้งปวงด้วยละธรรม
อันทำจิตให้ท้อแท้โดยปริยาย ๖ มีอาทิว่า ขีณาสวงฺขาเตน พุทฺโธ ชื่อว่า
พุทฺโธ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ ดุจบุรุษผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการ
นอนหลับ. เพราะบทว่า สงฺขา สงฺขาต โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน
ความว่า โดยส่วนแห่งคำว่า สงฺขาเตน. ชื่อว่า เพราะนับว่าไม่มีเครื่องลูบไล้
เพราะไม่มีเครื่องลูบไล่ต่อตัณหาและเครื่องลูบไล้ต่อทิฏฐิ. ท่านอธิบายบทมีอาทิ
ว่า เอกนฺตวีตราโค ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียวให้แปลกด้วยคำว่า
โดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาได้แล้ว. บทว่า เอกนฺ-
ตนิกฺกิเลโส พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว คือ ไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวง
อันเหลือจาก ราคะ โทสะ และโมหะ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปแล้วสู่
หนทางไปแห่งบุคคลผู้เดียว แม้อรรถแห่งการตรัสรู้ ก็ชื่อว่า เป็นอรรถแห่ง
การไปสู่ธาตุทั้งหลาย เพราะอรรถแห่งการตรัสรู้อันเป็นอรรถแห่งการไปถึง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปสู่หนทางที่ไปแห่ง
บุคคลผู้เดียว.
อนึ่ง ในบทว่า เอกายนมคฺโค นี้ ท่านกล่าวชื่อของทางไว้ในชื่อ
เป็นอันมากกว่า
มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ
อายนะ นาวา อุตตรสตุ (สะพานข้าม) กุลล (แพ)
สังกมะ (ทางก้าวไป).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
เพราะฉะนั้นทางจึงมีทางเดียว ไม่เป็นทาง ๒ แพร่ง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลเดียวพึงไป. บทว่า เอเกน
ผู้เดียว คือ ด้วยจิตสงัดเพราะละความคลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า อยิตพฺโพ พึงไป
คือพึงปฏิบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะเป็นเหตุไป. ความว่า ไปจาก
สงสารสู่นิพพาน. การไปของผู้ประเสริฐ ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอเก
คือผู้ประเสริฐ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง. เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทางอันเป็นทางไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ชื่อว่า เอกายนมรรค หรือชื่อว่า อยโน เพราะไป ความว่า ย่อมไป
ย่อมเป็นไป. ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางไปในทางเดียว. ท่าน
อธิบายว่า ทางเป็นไปในพระพุทธศาสนาทางเดียวเท่านั้น มิใช่ในทางอื่น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายโน เพราะไปทางเดียว ท่านอธิบายว่า
ในเบื้องต้นแม้เป็นไป ด้วยความเป็นมุขต่าง ๆ และนัยต่าง ๆ ในภายหลัง ก็ไป
นิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า เอกายนมคฺโค ความว่า
ทางไปนิพพานทางเดียว. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อย่างเยี่ยมผู้เดียว ไม่เป็น พุทฺโธ เพราะตรัสรู้ด้วยคนอื่น ท่านอธิบายว่า
ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม ด้วยพระองค์
เองเท่านั้น. บทว่า อพุทฺธิริหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ ชื่อว่า
พุทฺโธ เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญา
เครื่องตรัสรู้. บทนี้ว่า พุทฺธิ พุทฺธ โพโธ เป็นคำบรรยาย. ในบทนั้น
ท่านกล่าวไว้เพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะประกอบด้วยพุทธคุณ ดุจกล่าวว่า
ผ้าสีเขียว สีแดง เพราะประกอบด้วยชนิดของสีเขียวสีแดง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
ต่อจากนั้นไป บทมีอาทิว่า พุทฺโธติ เนต นาม บทว่า พุทฺโธ นี้
มิใช่ชื่อที่มารดาเป็นต้นตั้งให้ ท่านกล่าวเพื่อให้รู้ว่า นี้เป็นบัญญัติไปตามอรรถ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตา คือ สหาย. บทว่า อมจฺจา คือคน
รับราชการ. บทว่า าตี คือญาติฝ่ายบิดา. บทว่า สาโลหิตา คือญาติ
ฝ่ายมารดา. บทว่า สมณา คือผู้เป็นบรรพชิต. บทว่า พฺราหฺมณา คือ
ผู้มีวาทะว่าเป็นผู้เจริญ หรือผู้มีบาปสงบมีบาปลอยแล้ว. บทว่า เทวตา คือ
ท้าวสักกะเป็นต้นและพรหม. บทว่า วิโมกฺขนฺติก พระนามที่เกิดในที่สุด
แห่งพระอรหัตผลคือวิโมกขะ ได้แก่อรหัตมรรค ที่สุดแห่งวิโมกขะ คือ
อรหัตผล ความเกิดในที่สุดแห่งวิโมกขะนั้น ชื่อว่า วิโมกขันติกะ.
จริงอยู่ ความเป็นพระสัพพัญญู ย่อมสำเร็จด้วยอรหัตมรรค เป็นอัน
สำเร็จในการเกิดอรหัตผล. เพราะฉะนั้น ความเป็นพระสัพพัญญูจึงเป็นความ
เกิดในในที่สุดแห่งอรหัตผล แม้เนมิตตกนามนี้ก็ชื่อว่า เป็นการเกิดในที่สุด
แห่งอรหัตผล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นวิโมกขันติกนาม พระนาม
ที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว.
บทว่า โพธิยามูเล สห สพฺพญฺญุตาณสฺส ปฏิลาภา เกิด
ขึ้นพร้อมกับการได้พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ คือ พร้อมกับ
การได้พระสัพพัญญุตญาณในขณะตามที่ได้กล่าวแล้ว ณ ควงไม้มหาโพธิ.
บทว่า สจฺฉิกา ปญฺตฺติ สัจฉิกาบัญญัติ คือ ด้วยทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล
หรือบัญญัติเกิดด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง. บทว่า ยทิท พุทฺโธ บัญญัติ
ว่า พุทฺโธ นี้ เป็นการประกาศความเป็นพุทธะ โดยพยัญชนะ.
การเทียบเคียงกันนี้ โดยอรรถดังที่กล่าวแล้ว ในบทภาชนีย์นี้แห่ง
บาทคาถาว่า ยถา พุทฺเธน เทสิตา อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
โดยประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอานาปานสติแล้ว โดยประการที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดง ยถา ศัพท์เป็นอรรถ ๑๐ อย่าง สงเคราะห์ด้วย ยถา
ศัพท์ ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสด้วย ด้วยอำนาจแห่ง
เอกเสสสมาสสรุป ยถาศัพท์ มีปการศัพท์ เป็นอรรถ และยถาศัพท์ มีสภาว
ศัพท์เป็นอรรถ แล้วกล่าวว่า ยถา. แต่ในบทภาชนีย์ท่านทำให้เป็นเอกวจนะ
ว่า เทสิโต ด้วยการประกอบศัพท์หนึ่ง ๆ ใน ยถา ศัพท์นั้น. แม้ในบทต้น
เพราะท่านกล่าวว่า โหติ คหฏฺโ วา โหติ ปพฺพชิโต วา เหมือนบุคคล
เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ท่านกล่าวว่า ยสฺส คหฏฺสฺส วา
ปพฺพชิตสฺส วา แห่งคฤหัสถ์ก็ตาม แห่งบรรพชิตก็ตาม ท่านกล่าวถึง
อรรถแห่งโลก. บทว่า ปภาเสติ ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ทำให้ปรากฏ
แก่ญาณของตน. บทว่า อภิสมฺพุทฺธตฺตา เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ คือ
เพราะแทงตลอดด้วยสาวกปารมิญาณ. บทว่า โอภาเสติ ย่อมยังโลกนี้ให้
สว่างไสว คือ โลกอันเป็นกามาวจร. บทว่า ภาเสติ ยังโลกให้สว่างไสว คือ
โลกเป็นรูปาวจร. บทว่า ปภาเสติ ยังโลกนี้ให้สว่างไสว คือ โลกเป็นอรูปาวจร.
บทว่า อริยาณ คืออรหัตมรรคญาณ. บทว่า มหิกมุตฺโต คือพ้นจากน้ำค้าง.
น้ำค้างท่านเรียกว่า มหิก. ปาฐะว่า มหิยา มุตฺโต บ้าง. บทว่า ธูมรชา
มุตฺโต คือพ้นจากควันและธุลี. บทว่า ราหุคหณา วิปฺปมุตฺโต คือพ้น
จากการจับของราหู ท่านกล่าวให้แปลกด้วยอุปสรรค ๒ อย่าง เพราะราหูเป็น
ภาวะทำให้ดวงจันทร์เศร้าหมองเพราะใกล้กัน. บทว่า ภาสติ คือ ให้สว่างไสว
ด้วยมีแสงสว่าง. บทว่า ตปเต ได้แก่ ให้เปล่งปลั่งด้วยมีเดช. บทว่า วิโรจเต
คือให้ไพโรจน์ด้วยมีความรุ่งเรือง. บทว่า เอวเมว ตัดบทเป็น เอว เอว. อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
เพราะแม้ดวงจันทร์เมื่อสว่างไสวไพโรจน์ ย่อมยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสว
และภิกษุเมื่อสว่างไสว เปล่งปลั่ง ไพโรจน์ด้วยปัญญา ย่อมยังโลกมีขันธโลก
เป็นต้น ให้สว่างไสวด้วยปัญญา ฉะนั้น แม้ในบททั้งสองท่านไม่กล่าวว่า ภาเสติ
แต่กล่าว ภาสเต ดังนี้ เพราะเมื่อกล่าวอย่างนั้นก็เป็นอันกล่าวแม้อรรถแห่ง
เหตุด้วย. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่อุปมาด้วยพระอาทิตย์ซึ่งมีแสงกล้า
ยิ่งนัก กลับไปอุปมาด้วยพระจันทร์. ตอบว่า พึงทราบว่าที่ถืออย่างนั้นเพราะ
การอุปมาด้วยดวงจันทร์ อันประกอบด้วยคุณสมบัติเยือกเย็น เป็นการสมควร
แก่ภิกษุผู้สงบ ด้วยการสงบความเร่าร้อน เพราะกิเลสทั้งปวง.
พระสารีบุตรเถระครั้นสรรเสริญพระโยคาวจร ผู้ยังสิทธิในการเจริญ
อานาปานสติให้สำเร็จ แล้วแสดงสรุปญาณเหล่านั้นว่า อิมานิ เตรส โวทาเน
าณานิ ญาณในโวทาน ๑๓ เหล่านี้แล.
จบอรรถกถาโวทานญาณนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
๕. อรรถกถาสโตการิญาณนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในสโตการิญาณนิเทศ (ญาณในการทำสติ) ดังต่อ
ไปนี้. ในมาติกา บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือภิกษุในศาสนานี้. จริงอยู่ อิธ ศัพท์
ในบทนี้ นี้แสดงถึงคำสอนอันเป็นนิสัยของบุคคลผู้ยังอานาปานสติสมาธิ มี
ประการทั้งปวงให้เกิด และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นของศาสนาอื่น. ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น
ฯลฯ ลัทธิของศาสนาอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง. บทว่า อรญฺคโต วา
รุกฺขมูลคโต วา สุญฺาคารคโต วา อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่
ในเรือนว่างก็ดี นี้แสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญ
อานาปานสติสมาธิของภิกษุนั้น. จิตของภิกษุนั้นคุ้นในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูป
เป็นต้นตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะพอกพูนอารมณ์ อันเป็นอานาปานสติ
สมาธิ จิตย่อมแล่นไปนอกทางทีเดียว ดุจรถเทียมด้วยโคโกง เพราะฉะนั้น
เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค ประสงค์จะผูกลูกโคโกงที่ดื่มน้ำมันทั้งหมดของแม่โค
นมโกงให้เจริญ จึงนำออกจากแม่โคนม ฝังเสาใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง เอาเชือกผูก
ไว้ที่เสานั้น ทีนั้นลูกโคของเขาไม่อาจดิ้นจากที่นั้น ๆ หนีไปได้ จึงหมอบ
นอนนิ่งอยู่กับเสานั้นเอง ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะฝึก
จิตที่ประทุษร้ายให้เจริญ ด้วยการดื่มรสมีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน จึง
นำออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้น แล้วเข้าไปยังป่าก็ดี โคนไม่ก็ดี เรือนว่างก็ดี
ผูกด้วยเชือกคือสติ ที่เสาคือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น จิตของภิกษุนั้นแม้ดิ้น
รนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่สะสมไว้ในกาลก่อน ก็ไม่สามารถจะตัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
เชือกคือสติหนีไปได้ จึงนั่งสงบ นอนนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถ
แห่งอุปจารและอัปปนา. ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
นรชนพึงผูกลูกโคที่ควรฝึกไว้ที่เสานี้ ฉันใด
ภิกษุพึงผูกจิตของตนไว้ในอารมณ์ ด้วยสติให้มั่นคง
ฉันนั้น.
เสนาสนะนั้นของภิกษุนั้นสมควรแก่ภาวนา ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นปทัฏฐานแห่ง
สุขวิหารธรรมในปัจจุบันของการบรรลุคุณวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจก-
พุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นยอดในประเภทของ
กรรมฐานนี้ อันพระโยคาวจรไม่สละท้ายบ้าน อันวุ่นวายไปด้วยเสียงหญิง
บุรุษ ช้างและม้าเป็นต้น ทำได้ไม่ง่ายนักเพื่อเจริญ เพราะฌานมีเสียงเสียบแทง
ส่วนพระโยคาวจรกำหนดถือเอากรรมฐานนี้ในป่ามิใช่หมู่บ้าน ยังอานาปานสติ
จตุตถฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นการทำ
ได้ง่ายเพื่อบรรลุพระอรหัตอันสมเป็นผลเลิศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงอ้างถึงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า
อรญฺคโต วา ดังนี้. พระเถระก็เหมือนอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดุจอาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่. จริงอยู่ อาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่นั้นเห็น
พื้นที่สร้างนครแล้วกำหนดไว้ด้วยดี แนะนำว่า พวกท่านจงสร้างนคร ณ พื้นที่
นี้เถิด เมื่อนครสำเร็จลงด้วยดี ย่อมได้สักการะใหญ่ ฉันใด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจร
แล้วทรงแนะนำว่าควรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคาวจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
ประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้น บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงได้รับสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าหนอ ดังนี้.
อนึ่ง ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่าเป็นเช่นกับเสือเหลือง. พึงทราบว่าเหมือน
อย่างพญาเสือเหลืองซุ่มอาศัยหญ้ารกชัฏ ป่ารกชัฏ ภูเขารกชัฏ ในป่าจับเนื้อ
มีควายป่า กวาง สุกรเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบ
กรรมฐานในป่าเป็นต้น ถือเอาโสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตมรรคและอริยผลทั้งหลายตามลำดับ. ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวไว้ว่า
ธรรมดาเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อทั้งหลาย ฉันใด
พระพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบความ
เพียร เจริญวิปัสสนาเข้าไปสู่ป่า ย่อมถือเอาผลอันสูง
สุด.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะในป่าอัน
เป็นพื้นที่ประกอบความเพียรอย่างไวจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺคโต
วา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺคโต อยู่ป่า คือ อยู่ป่าอันเป็นความสุข
เกิดแต่ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะดังกล่าวแล้วในตอนก่อน. บทว่า
รุกฺขมูลคโต อยู่โคนไม้ คือ อยู่ใกล้ต้นไม้. บทว่า สุญฺาคารคโต
อยู่เรือนว่าง คือ อยู่โอกาสสงัดว่างเปล่า.
อนึ่ง ในบทนี้แม้อยู่เสนาสนะ ๗ อย่างที่เหลือเว้นป่าและโคนไม้ก็ควร
กล่าวว่า สุญฺาคารคโต อยู่เรือนว่างได้. จริงอยู่เสนาสนะมี ๙ อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
ดังนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุนั้นเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า ที่แจ้ง กองฟาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
ทรงแนะนำ เสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานสติกรรมฐาน อันเกื้อกูล
ด้วย ๓ ฤดูและเกื้อกูลด้วยธาตุจริยาแก่ภิกษุนั้น แล้วเมื่อจะทรงแนะนำถึง
อิริยาบถอันสงบอันเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และไม่ฟุ้งซ่านจึงตรัสว่า นิสีทติ
นั่ง ครั้นแล้วเมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นนั่งได้มั่นคง ความที่ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะเป็นไปปกติและอุบายกำหนดถือเอาอารมณ์ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า
ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา คู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺก คือนั่งพับขาโดยรอบ. บทว่า
อาภุชิตฺวา คู้ คือ พับ. บทว่า อุช กาย ปณิธาย ตั้งกายตรง คือ ตั้ง
สรีระเบื้องบนให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อนจดกัน เพราะเมื่อนั่งอย่างนี้
หนัง เนื้อ เอ็น จะไม่น้อมลง เวทนาที่เกิดขึ้นทุก ๆ ขณะเพราะหนัง เนื้อ
และเอ็นน้อมลงเป็นเหตุจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเวทนาไม่เกิดจิตก็มี
อารมณ์เดียว กรรมฐานไม่ตก ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงาม. บทว่า ปริมุข
สตึ อุปฏฺเปตฺวา ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือ ดำรงสติเฉพาะกรรมฐาน.
บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติหายใจเข้า
เป็นผู้มีสติหายใจออก คือ ภิกษุนั้นครั้นนั่งอย่างนี้และดำรงสติไว้อย่างนี้ เมื่อ
ไม่ละสตินั้น ชื่อว่าเป็นต้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. ท่านอธิบายว่า
เป็นผู้ทำสติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประการที่ภิกษุทำสติ จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว
คือ ลมหายใจเข้าเป็นไปยาว. หายใจเข้าสั้นก็เหมือนอย่างนั้น. อนึ่ง พึงทราบ
ความที่ลมหายใจเข้าหายใจออกยาวและสั้นโดยกาล.
จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายบางครั้งหายใจเข้าและหายใจออกยาว เหมือน
ช้างและงูเป็นต้น บางครั้งสั้นเหมือนสุนัขและกระต่ายเป็นต้น. ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะที่เหน็ดเหนื่อยยุ่งยากด้วยประการอื่นไม่มียาวและสั้น. เพราะฉะนั้นลม
อัสสาสปัสสาสะเมื่อเข้าและออกตลอดกาลนานพึงทราบว่ายาว เมื่อเข้าและออก
ตลอดกาลสั้นพึงทราบว่าสั้น. ในเรื่องนี้ ภิกษุนี้ เมื่อหายใจเข้า และหายใจ
ออกยาวโดยอาการ ๙ อย่างดังกล่าวแล้วในตอนก่อนย่อมรู้ว่าเราหายใจเข้า
หายใจออกยาว. สั้นก็เหมือนกัน อนึ่ง
วรรณะ ๔ คือ ยาว สั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ
เช่นนั้นย่อมเป็นไป บนปลายจมูกของภิกษุผู้รู้อยู่
อย่างนั้น.
พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานย่อมสมบูรณ์แก่ภิกษุ
นั้นด้วยอาการหนึ่งแห่งอาการ ๙ อย่าง.
บทว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สพฺพกาย-
ปฏิสเวที ปสฺสสีสฺสามีติ สิกฺขติ ภิกษุย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลม
ทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก คือ
ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของกองลมอัสสาสะทั้งสิ้น
ให้รู้แจ้ง ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดของกองลมปัสสาสะทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง ให้ปรากฏหายใจออก. ภิกษุทำให้
รู้แจ้งให้ปรากฏอย่างนี้ หายใจเข้าและหายใจออกด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อสฺสสิสฺสามิ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อม
ศึกษาว่าเราจักหายใจเข้า เราจักหายใจออก. จริงอยู่เบื้องต้นในกองลมอัสสาสะ
หรือในกองลมปัสสาสะที่เป็นของละเอียด ๆ ไหลไปของภิกษุนั้นย่อมปรากฏ
แต่ท่ามกลางที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุนั้นย่อมอาจเพื่อกำหนดถือเอาเบื้องต้นเท่านั้น
ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด. ภิกษุรูปหนึ่งท่ามกลางปรากฏ เบื้องต้นและ
ที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุรูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาท่ามกลางเท่านั้น ย่อม
ลำบากในเบื้องต้นและที่สุด. รูปหนึ่งที่สุดปรากฏ เบื้องต้นและท่ามกลาง
ไม่ปรากฏ. รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้น
และท่ามกลาง. รูปหนึ่งปรากฏทั้งหมด รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาแม้ทั้งหมด
ได้ ไม่ลำบากในที่ไหน ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ควรเป็น
เช่นนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสเวที ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ย่อมศึกษา คือ เพียรพยายามอย่างนี้.
พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมศึกษา ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อม
ทำให้มากซึ่งสิกขา ๓ เหล่านี้ คือ ความสำรวมของผู้เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าอธิศีล-
สิกขา สมาธิของผู้เป็นอย่างนั้น ชื่อว่า อธิจิตสิกขา ปัญญาของผู้เป็น
อย่างนั้นชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ในอารมณ์นั้น ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น.
ในบทนั้นควรหายใจเข้าและควรหายใจออกอย่างเดียวโดยนัยก่อน
ไม่ควรทำอะไร ๆ อย่างอื่น แต่จำเดิมแต่นั้นควรทำความเพียรในการให้ญาณ
เกิดขึ้นเป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอาการอันยังญาณให้เกิดขึ้น ซึ่งท่าน
กล่าวถึงบาลีด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาลว่า อสฺสสามีติ ปชานาติ ปสฺสสามีติ
ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ว่า เราหายใจออกแล้วควรทำ
ตั้งแต่นี้ไป พึงทราบว่าท่านยกบาลีขึ้นด้วยอำนาจแห่งอนาคตกาลโดยนัยมีอาทิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
ว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง
หายใจเข้า ดังนี้.
บทว่า ปสฺสมฺภย กายสงฺขาร ฯลฯ สิกฺขติ ย่อมศึกษาว่าจัก
ระงับกายสังขาร ฯลฯ คือย่อมศึกษาว่า เราระงับ สงบ ดับ และเข้าไป
สงบกายสังขาร กล่าวคือลมอัสสาสปัสสาสะอย่างหยาบ หายใจเข้าหายใจออก.
ในบทนั้นพึงทราบถึงความหยาบ ความละเอียด และความสงบด้วยประการ
อย่างนี้.
ในกาลที่ภิกษุนี้มิได้กำหนดถือเอาก่อน กายและจิตย่อมกระวนกระวาย
และเป็นของหยาบ เมื่อกายและจิตหยาบไม่สงบ แม้ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะก็
หยาบด้วย ลมอัสสาสะลมปัสสาสะมีกำลังกว่ายังเป็นไป จมูกไม่เพียงพอ ต้อง
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก อนึ่ง เมื่อใดกายบ้าง จิตบ้าง อัน
ภิกษุนั้นกำหนดถือเอา เมื่อนั้นลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นสงบระงับ เมื่อลม
อัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นสงบ ลมอัสสาสปัสสาสะละเอียดยังเป็นไป ย่อม
ถึงอาการที่ควรค้นคว้าว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือไม่มี. เหมือนอย่างว่าเมื่อ
บุรุษวิ่งลงจากภูเขาหรือยกภาระหนักลงจากศีรษะยืนอยู่ ลมอัสสาสปัสสาสะ
ก็หยาบ จมูกไม่เพียงพอ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก.
อนึ่ง เมื่อใดบุรุษนั้นบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยนั้น อาบน้ำ ดื่มน้ำ
เอาผ้าสาฎกเปียกปิดอก นอนใต้ร่มเงาเย็น เมื่อนั้นลมอัสสาสปัสสาสะของ
บุรุษนั้นละเอียด ย่อมถึงอาการที่ควรค้นคว้าดูว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือ
ไม่มี ฉันใด พึงให้พิสดารว่า ในกาลที่ภิกษุที่กำหนดถือเอาอย่างนั้นก็ฉันนั้น.
จริงอย่างนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นไม่กำหนดถือเอาก่อน การผูกใจ การ
รวบรวมและการใส่ใจว่า เราย่อมสงบกายสังขารหยาบ ๆ ดังนี้ย่อมไม่มี. แต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
ในกาลที่กำหนดถือเอาย่อมมี. ด้วยเหตุนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นกำหนดถือเอาจาก
กาลที่มิได้กำหนดถือเอา กายสังขารเป็นของละเอียด. ดังที่พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายกล่าวว่า
เมื่อกายและจิตปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไป
รุนแรง. เมื่อกายไม่ปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไป
อย่างสุขุม.
แม้ในกาลกำหนดถือเอา กายสังขารหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน
กายสังขารสุขุม. แม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น กายสังขารก็ยังหยาบ ใน
ปฐมฌานจึงสุขุม. ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌาน กายสังขารก็ยัง
หยาบ ในทุติยฌานจึงสุขุม ในทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ
ในตติยฌานจึงสุขุม. ในตติยฌานและในอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ใน
จตุตถฌานจึงสุขุมยิ่งนัก ย่อมถึงการไม่เป็นไปอีกเลย. นี้เป็นมติของท่านผู้กล่าว
ทีฆภาณกสังยุต.
ส่วนท่านมัชฌิมภาณกาจารย์ย่อมปรารถนาความสุขุมกว่าแม้ในอุปจาร
แห่งฌานสูง ๆ จากฌานต่ำ ๆ อย่างนี้ว่า ในปฐมฌานยังหยาบ ในอุปจาร
แห่งทุติยฌานจึงสุขุม. ตามมติของท่านภาณกาจารย์ทั้งปวง กายสังขารที่เป็น
ไปแล้วในกาลมิได้กำหนดถือเอา ย่อมสงบในกาลที่กำหนดถือเอา กายสังขาร
ที่เป็นไปแล้วในกาลกำหนดถือเอา ย่อมสงบในอุปจารแห่งปฐมฌาน ฯลฯ
กายสังขารที่เป็นไปแล้วในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมสงบในจตุตถฌาน. นี้
เป็นนัยในสมถะเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
ส่วนในวิปัสสนา กายสังขารที่เป็นไปแล้วในกาลที่มิได้กำหนดถือเอา
ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอามหาภูตรูปจึงสุขุม. แม้กายสังขารนั้นก็ยังหยาบ
ในกาลกำหนดถือเอาอุปาทารูปจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอา
รูปทั้งสิ้นจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปจึงสุขุม. แม้นั้น
ก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปและอรูปจึงสุขุม. แม้นนั้นก็ยังหยาบ ใน
กาลกำหนดถือเอาปัจจัยจึงสุขุม. แม้นนั้นก็ยังหยาบ ในการเห็นนามรูปพร้อมกับ
ปัจจัยจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาอันมีลักษณะ. เป็นอารมณ์จึงสุขุม.
แม้นนั้นก็ชื่อว่ายังหยาบ เพราะเป็นวิปัสสนายังอ่อน ในวิปัสสนามีกำลังจึง
สุขุม. พึงทราบความสงบแห่งกายสังขารก่อน ๆ ด้วยกายสังขารหลัง ๆ
โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ในบทนี้พึงทราบความที่กายสังขารหยาบ
และสุขุม และความสงบอย่างนี้. นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับแห่งปฐม
จตุกะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งกายานุปัสสนาในที่นี้
ก็เพราะในที่นี้ท่านกล่าวจตุกะนี้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมฐานแห่งอาทิ-
กรรมิก. ส่วนจตุกะ ๓ นอกนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งเวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา. ฉะนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิก
ประสงค์จะเจริญกรรมฐานนี้ แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แห่ง
วิปัสสนาอันเป็นปทัฏฐานของจตุกฌาน ทำกิจทั้งปวงมียังศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้น
โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค แล้วพึงเรียนกรรมฐานอันมีสันธิ (การ
ติดต่อ) ๕ ในสำนักของอาจารย์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗.
สันธิ ๕ เหล่านี้ คือ การเรียน ๑ การสอบถาม ๑ ความปรากฏ ๑
ความแนบแน่น ๑ ลักษณะ ๑.
ในสันธิเหล่านั้น การเรียนกรรมฐานชื่อว่า อุคคหะ. การสอบถาม
กรรมฐานชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐานชื่อว่า อุปัฏฐานะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
ความแนบแน่นแห่งกรรมฐานชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า
ลักษณะ. ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมฐานเป็นลักษณะอย่างนี้ ได้แก่การ
ไตร่ตรองสภาพของกรรมฐาน.
กุลบุตรผู้เรียนกรรมฐาน มีสันธิ ๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก
แม้อาจารย์ก็ไม่ลำบาก. เพราะฉะนั้น ให้อาจารย์ยกขึ้นหน่อยหนึ่งแล้วใช้เวลา
ท่องให้มาก เรียนกรรมฐานมีสันธิ ๕ อย่างนี้ เว้นที่อยู่อันประกอบด้วยโทษ
๑๘ อย่าง ในสำนักของอาจารย์หรือในที่อื่น แล้วอยู่ในเสนาสนะประกอบด้วย
องค์ ๕ ตัดกังวลเล็กน้อย บริโภคเสร็จแล้วบรรเทาความมัวเมาอาหาร นั่งให้
สบาย ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทำจิตให้ร่าเริง ไม่ให้เสื่อมแม้แต่บทเดียว
จากการเรียนจากอาจารย์ พึงทำอานาปานสติกรรมฐานนี้ไว้ในใจ
ต่อไปนี้เป็นวิธีมนสิการกรรมฐาน คือ
คณนา (การนับ) อนุพัธนา (การติดตาม) ผุสนา
(การสัมผัส) การตั้งไว้ ความเห็นแจ้ง ความเจริญ
ความบริสุทธิ์ การพิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คณนา คือการนับนั่นเอง. บทว่า อนุพนฺธนา
คือการไปตาม. บทว่า ผุสนา คือการถูกต้อง. บทว่า ปนา คือการ
แนบแน่น. บทว่า สลฺลฺกขณา คือการเห็นแจ้ง. บทว่า วิวฏฺฏนา คือ
มรรค. บทว่า ปาริสุทฺธิ คือผล. บทว่า เตสญฺจ ปฏิปสฺสนา คือการ
พิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.
ในบทนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมนี้ พึงใส่ใจกรรมฐานนี้ด้วยการนับ
ก่อน. เมื่อนับไม่ควรให้ต่ำกว่า ๕ ไม่ควรสูงกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดงเป็น ตอนๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
ในระหว่าง เมื่อนับต่ำกว่า ๕ จิตตุปบาท ย่อมดิ้นรนในโอกาสคับแคบ ดุจ
ฝูงโคที่ถูกขังไว้ในคอกอันคับแคบ เมื่อนับเกิน ๑๐ จิตตุปบาทอาศัยการนับ
เท่านั้น เมื่อแสดงเป็นตอน ๆ ในระหว่าง จิตย่อมหวั่นไหวว่า กรรมฐาน
ของเราถึงยอดแล้วหรือยังหนอ เพราะฉะนั้น ควรนับเว้นโทษเหล่านี้เสีย.
อนึ่ง เมื่อนับควรนับเหมือนการตวงข้าวเปลือกนับช้า ๆ ก่อน เพราะ
ตวงข้าวเปลือกให้เต็มทะนาน แล้วนับหนึ่ง แล้วเกลี่ยลง เมื่อเต็มอีก ครั้นเห็น
หยากเยื่อไร ๆ ก็ทิ้งเสียนับหนึ่ง หนึ่ง. แม้ในการนับสอง สอง ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
ผู้ใดกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ แม้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ กำหนดนับว่า
หนึ่ง หนึ่ง ไปจนถึง สิบ สิบ เมื่อผู้นั้นนับอย่างนี้ ลมอัสสาสปัสสาสะทั้งเข้า
และออกย่อมปรากฏ. ต่อแต่นั้นกุลบุตรควรละการนับเหมือนตวงข้าวเปลือกที่
นับช้า ๆ นั้นเสีย แล้วนับด้วยการนับของคนเลี้ยงโคคือนับเร็ว เพราะโคบาล
ผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก ถือเชือกและไม้ไปคอกแต่เช้าตรู่ ตีที่หลังโค
นั่งบนปลายเสาเขื่อนดีดก้อนกรวด นับโคที่ไปถึงประตูว่า หนึ่ง สอง. โคที่
อยู่อย่างลำบากในที่คับแคบมาตลอด ๓ ยาม จึงออกเบียดเสียดกันและกัน
รีบออกเป็นหมู่ ๆ. โคบาลนั้นรีบนับว่า สาม สี ห้า สิบ. เมื่อโคบาลนับ
โดยนัยก่อน ลมอัสสาสปัสสาสะปรากฏสัญจรไปเร็ว ๆ บ่อย ๆ.
แต่นั้น โคบาล ครั้นรู้ว่าลมอัสสาสปัสสาสะสัญจรบ่อย ๆ จึงไม่นับ
ทั้งภายในทั้งภายนอก นับเฉพาะที่ถึงประตูเท่านั้น แล้วรีบนับเร็ว ๆ ว่า ๑
๒ ๓ ๔ ๕, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗, ๘ ๙ ๑๐.
จริงอยู่ ในกรรมฐานอันเนื่องด้วยการนับจิต ย่อมอารมณ์เป็นหนึ่ง
ด้วยกำลังการนับ ดุจจอดเรือไว้ที่กระแสเชี่ยว ด้วยความค้ำจุนของถ่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
เมื่อกุลบุตรนับเร็วๆ อย่างนี้ กรรมฐานย่อมปรากฏดุจเป็นไปติดต่อกัน
เมื่อรู้ว่า กรรมฐานเป็นไปติดต่อกันแล้วไม่กำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก
รีบนับโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อจิตเข้าไปพร้อมกับลมเข้าไปภายใน จิตกระทบกับ
ลมภายใน ย่อมเป็นดุจเต็มด้วยมันข้น เมื่อนำจิตออกพร้อมกับลมออกภายนอก
จิตย่อมฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ของความหนาในภายนอก. อนึ่ง เมื่อเจริญเว้นสติ
ในโอกาสสัมผัส ภาวนาย่อมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พึง
กำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก แล้วรีบนับโดยนัยก่อนนั้นแล.
ก็จิตนี้ควรนับนานเพียงไร ตลอดเมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสปัสสาสะ
ยังมีอยู่ เว้นการนับจิตย่อมดำรงอยู่ เมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสปัสสาสะยังมีอยู่
การนับเพื่อให้จิตดำรงอยู่ ทำการตัดวิตกอันซ่านไปในภายนอกเสีย ควรทำไว้
ในใจ ด้วยการนับอย่างนี้แล้วทำไว้ในใจด้วยการติดตาม. การรวบรวมการนับ
แล้วติดตามลมอัสสาสปัสสาสะในลำดับแห่งสติ ชื่อว่า อนุพนฺธนา (การ
ติดตาม). การนับนั้นมิใช่ด้วยอำนาจแห่งการติดตามในเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด. เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด และโทษในการติดตามการนับนั้น
ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
เพราะฉะนั้น เมื่อมนสิการด้วยการติดตาม ไม่ควรใส่ใจด้วยอำนาจ
แห่งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ควรใส่ใจด้วยอำนาจแห่ง
การสัมผัสและด้วยอำนาจแห่งการแนบแน่น เพราะว่าไม่มีการใส่ใจไว้ต่างหาก
ด้วยอำนาจแห่งการสัมผัสและแนบแน่น ดุจด้วยอำนาจแห่งการนับและการ
ติดตาม. อนึ่ง เมื่อนับในที่สัมผัสย่อมใส่ใจด้วยการนับ และด้วยการสัมผัส
รวบรวมการนับในที่สัมผัสนั้นแล้วติดตามการนับและการสัมผัสเหล่านั้นด้วยสติ
และดำรงจิตไว้ด้วยสามารถแห่งอัปปนา ท่านกล่าวว่า ย่อมใส่ใจด้วยการติดตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
ด้วยการสัมผัสและด้วยการแนบแน่น. พึงทราบความนี้นั้นด้วยการอุปมา ด้วย
คนพิการและคนเฝ้าประตู ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย และด้วย
อุปมาด้วยเลื่อย ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในบาลีนี้แหละ. ต่อไปนี้เป็นอุปมาด้วย
คนพิการ. เปรียบเหมือนคนพิการแกว่งชิงช้าแก่มารดาและบุตรผู้เล่นอยู่ที่ชิงช้า
นั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้านั้นเอง ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองและท่ามกลางของกระดาน
ชิงช้าที่แกว่งไปมาตามลำดับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองและท่ามกลาง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันอยู่ที่โคนเสา คือการติดตามด้วยอำนาจแห่งสติ
แล้วนั่งแกว่งชิงช้าคือลมอัสสาสและปัสสาสะด้วยสติ ในนิมิตนั้นติดตามเบื้องต้น
ท่ามกลางและที่สุดของลมอัสสาสเเละปัสสาสะในที่สัมผัสทั้งไปและมาด้วยสติ
ดำรงจิตไว้ ณ ที่นั้นนั่นแลย่อมเห็น และไม่ขวนขวายเพื่อจะดูลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะเหล่านั้น นี้อุปมาด้วยคนพิการ.
ส่วนอุปมาด้วยคนเฝ้าประตูมีดังนี้ เปรียบเหมือนคนเฝ้าประตู. ย่อม
ไม่ตรวจสอบคนภายในและภายนอกนครว่า ท่านเป็นใคร มาแต่ไหน จะไปไหน
อะไรในมือของท่าน เพราะคนเหล่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของเขา แต่เขาตรวจสอบ
เฉพาะคนที่มาถึงประตูแล้วเท่านั้น ฉันใด ลมเข้าไปภายใน และลมออกไป
ภายนอกไม่ใช่ภาระของภิกษุนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ลมที่ถึงทวารเท่านั้น จึง
เป็นภาระ นี้เป็นอุปมาด้วยคนเฝ้าประตู.
ส่วนอุปมาด้วยเลื่อยได้กล่าวไว้แล้วในอานาปานสติกถาโดยนัยมีอาทิว่า
นิมิตฺต อสฺสาสปสฺสาสา นิมิต ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ. แต่ในที่นี้พึง
ทราบว่า เป็นการประกอบเพียงความไม่ใส่ใจด้วยสามารถแห่งการมาและการ
ไปของเลื่อยเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
เมื่อใคร ๆ มนสิการกรรมฐานนี้ไม่ช้านิมิตย่อมเกิด. และการแนบ
แน่นกล่าว คือ อัปปนา ประดับด้วยองค์ฌานที่เหลือย่อมสมบูรณ์. จำเดิมแต่
กาลมนสิการด้วยการนับของใคร ๆ เปรียบเหมือนผู้มีกายปั่นป่วนนั่งบนเตียง
หรือตั่ง เตียงและตั่งย่อมน้อมลงย่อมมีเสียงเอี้ยดอ้าด เครื่องปูลาดย่อมย่นยับ
ส่วนผู้มีกายไม่ปั่นป่วนนั่ง เตียง และตั่งย่อมไม่น้อยลง ไม่ส่งเสียงเอี้ยดอ้าด
เครื่องปูลาดไม่ย่นยับ เตียงและตั่งย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น เพราะ
เหตุไร เพราะผู้มีกายไม่ปั่นป่วนเบา ฉันใด จำเดิมแต่กาลมนสิการด้วยการ
นับอย่างนั้นก็ฉันนั้น เมื่อความกระวนกระวายกายสงบด้วยอำนาจแห่งการดับ
ลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบตามลำดับ กายก็ดี จิตก็ดีเป็นของเบา ร่าง
กายเป็นดุจลอยไปบนอากาศ.
เมื่อลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบของภิกษุนั้นดับแล้ว จิตมีลมอัส-
สาสปัสสาสะละเอียดเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ย่อมเป็นไป. แม้เมื่อจิตนั้นดับ ลม
อัสสาสปัสสาสะอันเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ละเอียดกว่า ละเอียดกว่านั้นยังเป็น
ไป ๆ มา ๆ อยู่นั่นเอง. พึงทราบความนี้ด้วยอุปมาด้วยถาดโลหะดังกล่าวแล้ว
ในตอนก่อน.
กรรมฐานนี้ไม่เหมือนกรรมฐานเหล่าอื่น ซึ่งแจ่มแจ้งแล้วยิ่งๆ ขึ้นไป
อนึ่ง กรรมฐานนี้ ย่อมถึงความละเอียดแก่ผู้เจริญยิ่ง ๆ แม้ความปรากฏก็ไม่ถึง
เมื่อกรรมฐานนั้นไม่ปรากฏอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรลุกจากอาสนะไป ด้วยคิดว่า
เราจักถามอาจารย์หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราฉิบหายเสียแล้ว ดังนี้ เพราะ
เมื่อภิกษุยังอิริยาบถให้กำเริบแล้วไป กรรมฐานย่อมมีใหม่ ๆ โดยแท้ เพราะ
ฉะนั้น ควรนำกรรมฐานมาจากที่ตามที่นั่งแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
ต่อไปนี้เป็นอุบายนำกรรมฐานมา ภิกษุนั้นรู้ความที่กรรมฐานไม่
ปรากฏ พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้มีอยู่ที่ไหน
ไม่มีที่ไหน มีแก่ใคร หรือไม่มีแก่ใคร. ครั้นภิกษุสำเหนียกอย่างนี้รู้ว่า ลมอัส-
สาสะ ปัสสาสะเหล่านี้ไม่มีแก่คนอยู่ในครรภ์มารดา ไม่มีแก่คนดำน้ำ แก่อสัญญี
สัตว์ คนตาย ผู้เข้าจตุตถฌาน ผู้รวมอยู่ในรูปภพ อรูปภพ ผู้เข้านิโรธ
แล้วพึงเตือนคนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ท่านมิได้อยู่ในครรภ์มารดา
มิได้ดำน้ำ มิได้เป็นอสัญญีสัตว์ มิได้ตาย มิได้เข้าจตุตถฌาน มิได้รวม
อยู่ในรูปภพ อรูปภพ มิได้เข้านิโรธมิใช่หรือ. ลมอัสสาสปัสสาสะของท่าน
ยังมีอยู่แน่ ๆ แต่ท่านไม่สามารถกำหนดถือเอาได้ เพราะท่านมีปัญญาน้อย.
ครั้นแล้วภิกษุนั้นควรตั้งจิต ด้วยสัมผัสเป็นปกติแล้วยังมนสิการให้
เป็นไป. เพราะว่าลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้กระทบดั้งจมูกของผู้มีจมูกยาว
เป็นไป กระทบริมฝีปากของผู้มีจมูกสั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นควรตั้ง
นิมิตว่า ลมอัสสาสปัสสาสะกระทบที่นี้. จริงอยู่ พระผ้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัย
อำนาจแห่งประโยชน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวถึงการเจริญอานาปาน-
สติของผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีความรู้สึกดังนี้. จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมสมบูรณ์แก่ผู้มีสติ ผู้มีสัมปชัญญะโดยแท้ แต่เมื่อมนสิการอื่นจากนี้
กรรมฐานก็ยังปรากฏ.
อนึ่ง อานาปานสติกรรมฐานนี้ เป็นการเจริญอย่างหนัก ๆ เป็นภูมิ
แห่งมนสิการของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรผู้เป็น
มหาบุรุษนั่นเอง มิได้เป็นนอกไปจากนี้ ทั้งสัตว์นอกนี้มิได้เสพ. กรรมฐาน
เป็นอันสงบและสุขุม โดยประการที่ทำไว้ในใจ เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึง
ปรารถนาสติและปัญญามีกำลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
เหมือนอย่างว่า ในเวลาเย็บผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง พึงต้องการแม้เข็มที่
ละเอียด แม้ด้ายร้อยเข็มก็ยังต้องการละเอียดกว่านั้น ฉันใด ในเวลาเจริญ
กรรมฐานนี้เช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ฉันนั้นเหมือนกัน แม้สติเปรียบด้วย
เข็ม ปัญญาสัมปยุตด้วยสตินั้นเปรียบด้วยการร้อยเข็ม ก็พึงปรารถนาที่มีกำลัง.
ก็แลภิกษุผู้ประกอบด้วยสติปัญญาเหล่านั้น ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสปัสสาสะ
เหล่านั้น นอกจากโอกาสที่สัมผัสตามปกติ.
เหมือนอย่างว่า ชาวนาไถนาแล้วปล่อยโคผู้ไป แล้วนั่งพักบริโภค
อาหาร. ลำดับนั้น โคผู้เหล่านั้นของเขาวิ่งเข้าดงไป. ชาวนาที่เป็นคนฉลาด
ประสงค์จะจับโคเหล่านั้นเทียมไถ ไปเที่ยวตามรอยเท้าของโคเหล่านั้นไปยังดง.
เขาถือเชือกและปฏักไปยังท่าน้ำที่โคเหล่านั้นลงโดยตรง นั่งบ้าง นอนบ้าง.
ครั้นเขาเห็นโคเหล่านั้นเที่ยวไปตลอดวันแล้ว ลงสู่ท่าที่เคยลงอาบและดื่มแล้ว
ขึ้นยืนอยู่ จึงเอาเชือกล่ามเอาปฏักแทงนำมาเทียมไถทำงานต่อไปฉันใด ภิกษุ
นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้น นอกจาก
โอกาสที่สัมผัสตามปกติ พึงถือเชือกคือสติและปฏัก คือ ปัญญาตั้งจิตไว้ใน
โอกาสที่สัมผัสตามปกติ แล้วยังมนสิการให้เป็นไป. ก็เมื่อภิกษุมนสิการ
อย่างนี้ ไม่ช้าลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นก็ปรากฏดุจโค ปรากฏที่ท่าที่เคยลง
แต่นั้น ภิกษุนั้น พึงผูกด้วยเชือกคือสติประกอบไว้ในที่นั้นแล้วแทงด้วยปฏักคือ
ปัญญา พึงประกอบกรรมฐานบ่อย ๆ เมื่อประกอบอย่างนี้ไม่ช้านัก นิมิตย่อม
ปรากฏ ก็นิมิตนี้นั้น มิได้เป็นเช่นเดียวกันแห่งนิมิตทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง
นิมิตยังสุขสัมผัสให้เกิดขึ้นแก่ใครๆ ย่อมปรากฏ ดุจปุยนุ่น ปุยป้ายและสายลม
อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. จริงอยู่ นิมิตนี้มีรูป
คล้ายดาวปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจก้อนแก้วมณี และดุจก้อนแก้วมุกดา เป็นสัมผัส
แข็งปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น ปรากฏแก่ใคร ๆ
ดุจสายสังวาลยาว ดุจพวงดอกไม้และดุจเปลวควัน ปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจใย
แมลงมุมอันกว้าง ดุจกลุ่มเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ ดุจมณฑลดวงจันทร์
และดุจมณฑลดวงอาทิตย์. ก็แลนิมิตนั้น เมื่อภิกษุหลายรูปนั่งท่องพระสูตร
เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า พระสูตรนี้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลายเช่นไร ภิกษุรูปหนึ่ง
กล่าวว่า ปรากฏแก่ผมดุจแม่น้ำใหญ่ไหลจากภูเขา. อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ปรากฏ
แก่ผมดุจแนวป่าแห่งหนึ่ง. รูปอื่นกล่าวว่า ปรากฏแก่ผมดุจต้นไม้มีร่มเงาเย็น
สมบูรณ์ด้วยกิ่งเต็มด้วยผล. สูตรเดียวเท่านั้นปรากฏแก่ภิกษุเหล่านั้น โดย
ความต่างกัน เพราะสัญญาต่างกัน. กรรมฐานเดียวเท่านั้นย่อมปรากฏโดยความ
ความต่างกันเพราะสัญญาต่างกันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะกรรมฐานนั้นเกิดแต่สัญญา
มีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญาเป็นแดนเกิด ฉะนั้นพึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดย
ความต่างกันเพราะสัญญาต่างกัน.
อนึ่ง เมื่อนิมิตปรากฏ ภิกษุนั้นพึงไปหาอาจารย์แล้วบอกให้ทราบว่า
ท่านอาจารย์ขอรับ นิมิตปรากฏเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผม. ส่วนอาจารย์ควร
กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นี้เป็นนิมิต ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านจงทำกรรมฐานไว้ในใจ
บ่อย ๆ เถิด แต่นั้นพึงตั้งจิตไว้ในนิมิตเท่านั้น.
จำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุนั้นย่อมมีภาวนาด้วยความแนบแน่นด้วยประการ
ฉะนั้น. สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
ผู้มีปัญญายังจิตให้แนบแน่นในนิมิต เจริญอาการ
ต่าง ๆ ย่อมผูกจิตของตนในลมอัสสาสะและปัสสาสะ
ดังนี้.
จำเดิมแค่ความปรากฏแห่งนิมิตอย่างนี้ เป็นอันภิกษุนั้นข่มนิวรณ์ทั้ง
หลายได้แล้ว. กิเลสทั้งหลายสงบ. จิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ ครั้นแล้วภิกษุนั้น
ไม่ควรใส่ใจถึงนิมิตนั้นโดยความเป็นสี ไม่ควรพิจารณาโดยความเป็นลักษณะ.
แต่แล้วภิกษุควรเว้นอสัปปายะ ๗ มีอาวาสเป็นต้น แล้วเสพสัปปายะ ๗ เหล่านั้น
ควรรักษาไว้ให้ดีดุจขัตติยมเหสีรักษาครรภ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจ
ชาวนารักษาท้องข้าวสาลีและข้าวเหนียวฉะนั้น. ต่อแต่นั้น พึงรักษานิมิตนั้น
ไว้อย่างนี้แล้ว ถึงความเจริญงอกงามด้วยมนสิการบ่อย ๆ ยังความเป็นผู้ฉลาด
ในอัปปนา ๑๐ อย่างให้ถึงพร้อม พึงประกอบภาวนาโดยมีความเพียรสม่ำเสมอ
เมื่อภิกษุพยายามอยู่อย่างนี้ จตุกฌานและปัญจกฌานย่อมเกิดในนิมิตนั้น
ตามลำดับ ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ภิกษุผู้มีจตุกฌานเกิด
แล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐานด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและมรรคแล้ว
บรรลุความบริสุทธิ์จงทำฌานนั้นให้คล่องแคล่วถึงความชำนาญด้วยอาการ ๕
อย่างแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสสนา.
อย่างไร เพราะภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรชกายและ
จิตเป็นเหตุเกิดลมอัสสาสปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า ลมย่อมสัญจรเพราะอาศัย
เครื่องสูบของช่างทองและความพยายาม เกิดแต่การสูบเครื่องของบุรุษฉันใด
ลมอัสสาสปัสสาสะย่อมสัญจรเพราะอาศัยกาย และจิตฉันนั้นเหมือนกัน แต่นั้น
ย่อมกำหนดกายว่า เป็นรูปในเพราะอัสสาสปัสสาสะ และกำหนดจิตว่าเป็น
อรูปในเพราะธรรมอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
ครั้นภิกษุกำหนดนามรูปอย่างนี้ แล้วแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น
เมื่อแสวงหา ครั้นเห็นปัจจัยนั้นแล้ว ปรารภถึงความเป็นไปแห่งนามรูปในกาล
แม้ ๓ แล้วจึงข้ามความสงสัยได้ ข้ามความสงสัยได้แล้ว จึงยกขึ้นสู่พระไตร-
ลักษณ์ว่า อนิจฺจ ทุกข อนตฺตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเป็นกลาปะ
(กอง) เมื่อส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพพยานุปัสสนาเกิด จึงละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐
มีโอภาสเป็นต้น แล้วกำหนดอุทยัพพยานุปัสสนาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสว่า
มรรค ละความเกิด ถึงภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับ) เมื่อสังขาร
ทั้งปวงปรากฏโดยความเป็นภัย ด้วยภังคานุปัสสนาเป็นลำดับ จึงเบื่อหน่าย
พ้นบรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ตั้งอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณา-
ญาณ ๑๙ เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ด้วยเหตุ
ประมาณเท่านี้ การเจริญอานาปานสติสมาธิ ตั้งต้นแต่การนับลมอัสสาสะ
ปัสสาสะนั้น มีวิปัสสนาเป็นที่สุด เป็นอันครบบริบูรณ์. นี้เป็นการพรรณนา
ปฐมจตุกะโดยอาการทั้งปวง ดังนี้แล.
อนึ่ง ในจตุกะ ๓ นอกนี้ เพราะไม่มีนัยแห่งกรรมฐานภาวนาไว้
ต่างหาก ฉะนั้น พึงทราบความอย่างนี้แห่งจตุกะเหล่านั้นโดยนัยแห่งการ
พรรณนาอนุบทนั่นเเล.
บทว่า ปีติปฏิสเวที รู้แจ้งปีติ คือ ย่อมศึกษาว่าเราทำปีติให้รู้แจ้ง
ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า หายใจออก. ในบทนั้นเป็นอันรู้แจ้งปีติโดยอาการ
๒ คือ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง.
รู้แจ้งปีติโดยอารมณ์เป็นอย่างไร. ภิกษุย่อมเข้าฌาน ๒ อย่าง
พร้อมด้วยปีติ ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้แจ้งปีติโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะ
สมาบัติ เพราะรู้แจ้งอารมณ์แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
รู้แจ้งโดยความไม่หลงเป็นอย่างไร. ภิกษุเข้าฌาน ๒ อย่าง ครั้น
ออกแท้ย่อมพิจารณาปีติอันสัมปยุตด้วยฌานโดยความเป็นของสิ้นไปโดยความ
เป็นของเสื่อมไป เป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งปีติโดยความไม่หลง ด้วยการแทงตลอด
ลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา. โดยนัยนี้แลพึงทราบแม้บทที่เหลือโดยอรรถ.
แต่ในบทนี้มีเนื้อความสักว่าต่างกันนี้ พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุรู้แจ้งสุขด้วย
สามารถแห่งฌาน ๓ รู้แจ้งจิตสังขารด้วยสามารถแห่งฌานแม้ ๔.
บทว่า จิตฺตสงฺขาโร จิตสังขาร คือ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์.
บทว่า ปสฺสมฺภย จิตฺตสงฺขร ระงับจิตสังขาร ความว่า ระงับจิต
สังขารหยาบ ๆ คือ ดับ. พึงทราบจิตสังขารนั้นโดยพิสดารตามนัยดังกล่าว
แล้วในกายสังขาร.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ปีติ นี้ท่านกล่าวเวทนาโดยหัวข้อแห่งปีติ.
ในบทว่า สุข ท่านกล่าวเวทนาโดยสรุป. ในบทแห่ง จิตสังขาร ทั้งสอง
เวทนาสัมปยุตด้วยสัญญาเพราะบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรม
เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขารด้วย เหตุนั้นพึงทราบว่าท่านกล่าวจตุกะ
นี้โดยนัยแห่งเวทนานุปัสสนาอย่างนี้. แม้ในจตุกะที่ ๓ ก็พึงทราบความเป็นผู้
รู้แจ้งจิตด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
บทว่า อภิปฺปโมทย จิตฺต ทำจิตให้บันเทิง คือ ภิกษุย่อมศึกษา
ว่าเรายังจิตให้บันเทิง ให้ปราโมทย์ ให้ร่าเริง ให้รื่นเริง จักหายใจเข้า
จักหายใจออก. ในบทนั้น ภิกษุเป็นผู้บันเทิงด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วย
สามารถแห่งสมาธิ และด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอย่างไร. ภิกษุเข้าถึงฌานสองอย่างพร้อม
ด้วยปีติ ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาปีติสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไปโดยความ
เสื่อมไป. ภิกษุทำปีติสัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนี้ ให้เป็น
อารมณ์ ยังจิตให้ชื่นชมบันเทิง ปฏิบัติอย่างนี้ท่านกล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า
เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า หายใจออก.
บทว่า สมาทห จิตต ตั้งจิตไว้ คือ ตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌานเป็นต้น หรือเข้าฌานเหล่านั้น ครั้นออกแล้ว จิต
สัมปยุตด้วยฌานย่อมเกิดขึ้นโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ด้วยการ
แทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะจิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ เมื่อจิต
มีอารมณ์เดียวชั่วขณะเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์
แม้ด้วยอำนาจท่านก็กล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจเข้า
หายใจออก.
บทว่า วิโมจย จิตฺต เปลื้องจิต คือ เปลื้องปล่อยจิตจากนิวรณ์
ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน เปลื้องปล่อยจิตจากวิตกวิจารด้วยทุติฌาน จากปีติ
ด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน หรือเข้าฌานทั้งหลายเหล่านั้น
ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาจิตสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อม
ไป ภิกษุนั้นเปลื้องปล่อยจิตจากนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนาในขณะแห่ง
วิปัสสนา เปลื้องปล่อยจิตจากสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา จากอัตตสัญญา
ด้วยอนัตตานุปัสสนา จากความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสสนา จากราคะ
ด้วยวิราคานุปัสสนา จากสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา จากความถือมั่น ด้วย
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อมหายใจเข้า และย่อมหายใจออก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิโมจย จิตฺต อสฺสสิสฺ-
สามิ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า
หายใจออก. พึงทราบว่าจตุกะนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในจตุกะที่ ๔ ดังต่อไปนี้. พึงทราบ อนิจฺจ ใน
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงนี้ก่อน. พึงทราบอนิจจตา
พึงทราบอนิจจานุปัสสนา พึงทราบอนิจจานุปัสสี.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจ ความไม่เที่ยง ได้แก่ ขันธ์ ๕.
เพราะเหตุไร. เพราะเบญจขันธ์มีเกิด เสื่อมและเป็นอย่างอื่น.
บทว่า อนิจฺจตา ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ความที่เบญจขันธ์
เหล่านั้นเกิดเสื่อมและเป็นอย่างอื่น หรือเป็นแล้วไม่เป็น ความว่า การไม่
ตั้งอยู่โดยอาการนั้นของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแตกไปโดยการทำลายแห่งขณะ.
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ พิจารณา
เห็นว่าไม่เที่ยง ในรูปเป็นต้นด้วยสามารถแห่งความไม่เที่ยงนั้น.
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ ประกอบ
ด้วยอนุปัสสนานั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุเป็นอย่างนั้นหายใจเข้า
และหายใจออก ย่อมศึกษาในที่นี้ว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
และหายใจออก ดังนี้.
ในบทว่า วิราคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดนี้ ความ
คลายกำหนัด มี ๒ อย่าง คือ ความคลายกำหนัดเพราะสิ้นไป และความคลาย
กำหนัดเพราะล่วงส่วน. ใน ๒ บทนั้น บทว่า ขยวิราโค ความคลายกำหนัด
เพราะสิ้นไป ได้แก่ ความทำลายขณะแห่งสังขารทั้งหลาย. บทว่า อจฺจนฺตวิ-
ราโค ความคลายกำหนัดเพราะล่วงส่วนได้แก่ นิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
บทว่า วิราคานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด ได้แก่
วิปัสสนาและมรรคอันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นทั้งสองอย่างนั้น.
พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้สองอย่างหายใจเข้า และ
หายใจออก ย่อมศึกษาว่าเราจักพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้าหายใจออก
ดังนี้. แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ความสละคืนในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความ
สละคืนนี้ มี ๒ อย่าง คือ สละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะการแล่นไป.
ความพิจารณาเห็นความสละคืนชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนา. บทนี้เป็น
ชื่อของวิปัสสนามรรค เพราะวิปัสสนาย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธา-
ภิสังขารด้วยสามารถแห่งตทังคะ ย่อมแล่นไปเพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม
และเพราะน้อมไปในนิพพานอันตรงกันข้ามกับโทษแห่งสังขตธรรมนั้น เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะแล่นไป.
มรรคย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจแห่งการ
ตัดขาด ย่อมแล่นไปในนิพพานด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค สละคืนเพราะแล่นไป. แม้ทั้งสองบท
นั้น ท่านก็กล่าวว่าเป็น อนุปัสสนา เพราะความเห็นญาณก่อน ๆ พึงทราบว่า
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความสละคืน)
แม้สองอย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า หายใจออก.
อนึ่ง พึงทราบว่า ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ ท่านกล่าวด้วย
อำนาจแห่งวิปัสสนาอ่อน. บทว่า วิราคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง
วิปัสสนาอันสามารถคลายความกำหนัด ในสังขารทั้งหลายได้ เพราะมีกำลังมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
กว่านั้น. บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา
อันกล้าแข็ง ใกล้มรรคเข้าไปแล้ว.
แม้มรรคก็มิได้ทำลายไปในวิปัสสนาที่ได้ ท่านกล่าวจตุกะนี้ด้วย
อำนาจแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์ แต่ ๓ อย่างข้างต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
สมถะและวิปัสสนา.
จบอรรถกถาอาปานสติมาติกกา
บัดนี้ เพื่อแสดงจำแนกมาติกาตามที่วางไว้โดยลำดับ จึงเริ่มบทมีอา-
ทิว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺิยา. บทว่า อิธ คือในทิฏฐินี้. ในบทเหล่านั้น
ท่านกล่าวถึงคำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อันได้แก่ไตรสิกขาด้วยบท
๑๐ บทมีอาทิว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา ในทิฏฐินี้ เพราะคำสอนนั้นท่านกล่าวว่า
ทิฏฐิ เพราะพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงเห็นแล้ว ท่านกล่าวว่า ขันติ
ด้วยสามารถความอดทน กล่าวว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ กล่าวว่า
เขต ด้วยสามารถการถือเอา กล่าวว่า ธรรม ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวธรรม
กล่าวว่า วินัย ด้วยอรรถว่าควรศึกษา กล่าวว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถ
ทั้งสองนั้น กล่าวว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถธรรมที่ตรัส กล่าวว่า
พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐ กล่าวว่า สัตถุ-
ศาสน์ ด้วยสามารถให้คำสั่งสอน.
เพราะฉะนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้นพึงทราบ
ความว่า ในความเห็นของพระพุทธเจ้านี้ ในความอดทนของพระพุทธเจ้านี้
ในความชอบใจของพระพุทธเจ้านี้ ในเขตของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมของ
พระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมและวินัยของพระพุทธเจ้านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้านี้ ในพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้านี้ ในสัตถุศาสน์
ของพระพุทธเจ้านี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปาพจน์ทั้งสิ้น อันได้แก่ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะเป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ และ
เพราะมีสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมถึงก่อน ชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถความอดทนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถความพอใจ ชื่อว่า อาทาย
ด้วยสามารถการถือเอา ชื่อว่า ธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติของตนมิให้
ตกไปในอบาย ชื่อว่า วินัย เพราะขจัดฝ่ายเศร้าหมองออกไป ธรรมและ
วินัยนั้นชื่อว่าธรรมวินัย หรือชื่อว่าธรรมวินัย เพราะขจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย
ด้วยกุศลธรรม ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโคตมี
ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่
เป็นไปเพื่อมีความกำหนัด ฯลฯ ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงไว้โดยส่วนเดียว
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ หรือชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะ
เป็นข้อบังคับโดยธรรม มิใช่ข้อบังคับโดยอาชญาเป็นต้น. สมดังที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ชนบางพวกฝึกด้วยอาชญา ด้วยขอ และด้วย
หวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ไม่ใช่
อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา ฝึกผู้ประเสริฐ.
อนึ่ง ชื่อว่าธรรมวินัยเพราะแนะนำโดยธรรม ว่าอะไรเป็นความริษยา
ของผู้รู้ หรือปฏิบัติโดยธรรม. จริงอยู่วินัยนั้นเพื่อธรรมไม่มีโทษ มิใช่เพื่อ
อานิสงส์แห่งโภคสมบัติในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้มิใช่อยู่เพื่อหลอกลวงคน. แม้พระปุณณเถระ
ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส การประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อ
อนุปาทาปรินิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะนำไปให้บริสุทธิ์ การ
นำไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมวินัย. วินัยนั้นย่อมนำไปจากธรรมคือสงสาร หรือ
จากธรรมมีความโศกเป็นต้น สู่นิพพานอันบริสุทธิ์ หรือการนำไปสู่ธรรม
มิใช่นำไปสู่พวกเจ้าลัทธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย. จริงอยู่ พระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นผู้ทรงธรรม วินัยนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั้นแล ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ ควรละ
ควรเจริญ และควรทำให้แจ้ง ฉะนั้น วินัยนั้นเป็นการนำไปในธรรมทั้งหลาย
มิใช่นำไปในสัตว์ และในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย.
คาเป็นประธานเพราะคำของคนอื่นโดยพร้อมด้วยอรรถและพร้อมด้วย
พยัญชนะ ชื่อว่าคาเป็นประธาน คำเป็นประธานนั้นแล ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า
พรหมจรรย์ เพราะมีความประพฤติประเสริฐด้วยจริยาทั้งปวง. ชื่อว่าสัตถุศาสน์
เพราะเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย หรือคำสอนอันเป็นของพระศาสดา ชื่อว่า สัตถุศาสน์. เพราะ
พระธรรมวินัยนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นศาสดาในพระบาลีว่า
ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ธรรมและวินัย
นั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยล่วงเราไป. พึงทราบความแห่งบททั้งหลาย
เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง เพราะภิกษุผู้ยังอานาปานสติสมาธิให้เกิด
โดยอาการทั้งปวงมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่น ฉะนั้น ในบทนั้น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ท่านจึงกำหนดความแน่นอนลงไปว่า อิมสฺส แห่งศาสนานี้ และ อิมสฺมึ
ในศาสนานี้. นี้เป็นอรรถแห่งการชี้แจงของมาติกาว่า อิธ.
อนึ่ง ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งคำของ ภิกฺขุ ศัพท์ด้วยคำมีอาทิว่า
ปุถุชฺชนกลฺยาณโก ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน แล้วแสดงถึงภิกษุที่ประสงค์
เอาในที่นี้เท่านั้น. ในบทนั้นชื่อว่าปุถุชน เพราะเป็นผู้ยังตัดกิเลสไม่ได้ และ
ชื่อว่ากัลยาณชน เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนั่นแล ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณโก.
ชื่อว่า เสกฺโข เพราะยังศึกษาอธิศีลเป็นต้น ได้แก่ พระโสดาบัน
พระสกทาคามี หรือพระอนาคามี.
ชื่อว่า อกุปฺปธมฺโม เพราะมีธรรมคืออรหัตผล ไม่กำเริบคือไม่
อาจให้หวั่นไหวได้. จริงอยู่ แม้ผู้มีธรรมไม่กำเริบนั้นก็ยังเจริญสมาธินี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอรัญญนิเทศดังต่อไปนี้. โดยปริยายแห่งวินัย คำว่า
ป่า มาในบทมีอาทิว่า ป่าที่เหลือนอกจากบ้านและอุปจารแห่งบ้าน. โดยปริยาย
แห่งพระสูตร หมายถึงภิกษุผู้อยู่ป่า มาแล้วในบทมีอาทิว่า เสนาสนะท้ายสุด
ชั่ว ๕๐๐ ธนู ชื่อว่า ป่า. พระวินัยและพระสูตรแม้ทั้งสองเป็นปริยายเทศนา
(เทศนาแบบบรรยาย) เพื่อแสดงป่าโดยปริยายเเห่งอภิธรรมว่า พระอภิธรรมเป็น
นิปริยายเทศนา (เทศนาไม่อ้อมค้อม) จึงกล่าวว่า ป่าคือออกนอกเสาเขื่อนไป.
ปาฐะว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ อินฺทขีล ท่านกล่าวว่า เลยเสาเขื่อนออกไป.
อนึ่ง ในบทว่า อินฺทขีโล นี้ คือ ธรณีประตูบ้านหรือนคร.
พึงทราบวินิจฉัยในรุกขมูลนิเทศดังต่อไปนี้. เพราะโคนไม้ปรากฏแล้ว.
ท่านจึงไม่กล่าวถึงโคนไม้นั้น กล่าวคำมีอาทิว่า ยตฺถ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
บทว่า ยตฺถ คือที่โคนไม้ใด. ชื่อว่า อาสนะ เพราะเป็นที่นั่ง. บทว่า
ปญฺตฺต คือตั้งไว้แล้ว. บทว่า มญฺโจ วา เป็นอาทิ เป็นคำกล่าวถึงประเภท
ของอาสนะ. จริงอยู่ แม้เตียงท่านก็กล่าวไว้ในอาสนะทั้งหลาย ในบทนี้เพราะ
เป็นโอกาสนั่งก็ได้. อนึ่ง เตียงนั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาเตียงพิเศษ
คือมสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าไปในขา) พุนทิกาพัทธ์ (เตียงติดกันเป็น
แผง) กุฬีรปาทกะ (เตียงมีเท้าดังตีนปู) อาหัจจปาท (เตียงมีขาจดแม่แคร่).
บรรดาตั่งเหล่านั้น ตั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน.
บทว่า ภิสิ ฟูก ได้แก่ฟูกอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาฟูกทำด้วยขนแกะ
ฟูกทำด้วยผ้า ฟูกทำด้วยเปลือกไม้ ฟูกทำด้วยหญ้า ฟูกทาด้วยใบไม้. บทว่า
ตฏฺฏิกา เสื่อ คือเสื่อทอด้วยใบตาลเป็นต้น. บทว่า จมฺมขณฺโฑ ท่อนหนัง
คือท่อนหนังอย่างใดอย่างหนึ่งอันสมควรเป็นที่นั่ง. เครื่องลาดทำด้วยหญ้า
เป็นต้น คือ เอาหญ้าเป็นต้นสุมกันเข้า. บทว่า ตตฺถ คือ ที่โคนไม้นั้น.
ด้วยบทมีอาทิว่า จงฺกมติ วา เดินท่านกล่าวถึงความที่โคนไม้ใช้เป็นที่ยัง
อิริยาบถ ๔ ให้เป็นไปได้. ด้วยบททั้งปวงมี บทว่า ยตฺถ เป็นอาทิ ท่าน
กล่าวถึงความที่โคนไม้มีร่มเงาหนาทึบ และเพราะเป็นที่สงัดจากผู้คน. บทว่า
เกนจิ ด้วยหมู่ชนใด ๆ. ท่านแยกหมู่ชนนั้นให้พิสดารออกไปจึงกล่าวว่า
คหฏฺเน วา ปพฺพชิเตน วา เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม.
บทว่า อนากิณฺณ ไม่เกลื่อนกล่น คือไม่มั่วสุม ไม่คับแคบ. เสนาสนะใด
เป็นที่รกชัฎด้วยภูเขา รกชัฏด้วยป่า รกชัฏด้วยแม่น้ำ คาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์
บ้างโดยรอบ ใคร ๆ ไม่อาจเข้าไป โดยมิใช่เวลาอันควรได้ เสนาสนะนี้
ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นแม้ในที่ใกล้. ส่วนเสนาสนะใดอยู่กึ่งโยชน์หรือโยชน์หนึ่ง
เสนาสนะนี้ ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นเพราะอยู่ไกล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
บทว่า วิหาโร วิหาร ได้แก่ที่อยู่อันเหลือพ้นจากโรงมีหลังคาครั้งหนึ่ง
เป็นต้น.
บทว่า อฑฺฉโยโค โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ได้แก่เรือนปีกครุฑ.
บทว่า ปาสาโท ปราสาท ได้แก่ ปราสาทยาวมีช่อฟ้าสอง.
บทว่า หมฺมิย เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทมีเรือนยอดตั้งอยู่ ณ พื้น
อากาศเบื้องบน.
บทว่า คุหา ถ้ำ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะอย่างนี้ คือ ถ้ำอิฐ
ถ้ำหิน ถ้ำไม้ ถ้ำดิน. ส่วนในอรรถกถาวิภังค์ ท่านกล่าวถึงเสนาสนะที่ทำ
แสดงทางบริหารโดยรอบ และที่พักกลางคืนและกลางวันไว้ในภายในว่าวิหาร.
บทว่า คุหา ได้แก่ ถ้ำพื้นดิน ควรได้พักอาศัยตลอดคืนและวัน.
ท่านกล่าวบททั้งสองนี้ให้ต่างกัน คือ ถ้ำภูเขาหรือถ้ำพื้นดิน ท่านทำให้เป็น
วัตตมานาวิภัตติว่า นิสีทติ ย่อมนั่งด้วยอำนาจแห่งลักษณะทั่วไปแก่กาลทั้งปวง
แห่งมาติกา แต่ท่านทำเป็นรูปสำเร็จว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว เพื่อแสดงการ
เริ่มและการสุดท้ายของการนั่ง เพราะมีการเริ่มภาวนาของภิกษุผู้นั่ง ณ ที่นี้.
อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุนั่งตั้งกายตรง กายย่อมตรง ฉะนั้นท่านไม่เอื้อ
ในพยัญชนะ เมื่อจะแสดงถึงความประสงค์อย่างเดียว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อุชุโก ตรง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ิโต สุปณิหิโต กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้ง
ไว้ตรง ความว่า เป็นกายตั้งไว้ตรง เพราะตั้งตรงอยู่แล้ว มิใช่ตั้งไว้ตรงด้วย
ตนเอง. บทว่า ปริคฺคหฏฺโ คือมีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ. กำหนด
ถือเอาอะไร. ถือการนำออก. นำอะไรออก. นำอานาปาสติสมาธิตลอดถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
อรหัตมรรคออก ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิยฺยานฏฺโ มีความนำออก
เป็นอรรถ. ท่านกล่าวมีการนาออกเป็นอรรถ จากสงสารด้วยสามารถแห่งอรรถ
อันเจริญของมุขศัพท์.
บทว่า อุปฏฺานตโถ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ คือ มีสภาวธรรม
เป็นอรรถ. ด้วยบทเหล่านี้ทั้งหมดเป็นอันท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำออก
กำหนดถือเอา. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาว่า บทว่า ปริคฺคหฏฺโ คือ
มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถด้วยสติ. บทว่า นิยฺยานฏฺโ คือมีทวารเข้า
ออกของลมอัสสาสปัสสาสะ. ท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำลมอัสสาสะ
ปัสสาสะที่กำหนดถือเอาออก.
บทว่า พตฺตึสาย อาการหิ ด้วยอาการ ๓๒ ท่านกล่าวด้วยสามารถ
การถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลื่อ ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับตามลำดับ ในสิ่งที่ไม่
แน่นอนนั้น ๆ. บทว่า ทีฆ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว
คือ ด้วยสามารถลมอัสสาสะที่กล่าวแล้วว่า ยาว ในมาติกา. ในบทที่เหลือ
ก็อย่างนี้. บทว่า เอกคฺคต คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า อวิกฺเขปน
ไม่ฟุ้งซ่าน คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวท่านกล่าวว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะจิตไม่
ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ. บทว่า ปชานโต รู้อยู่ คือรู้ รู้ชัดด้วยความ
ไม่หลง หรือรู้ด้วยทำให้เป็นอารมณ์ว่า เราได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว. บทว่า
ตาย สติยา คือด้วยสติที่เข้าไปตั้งไว้แล้ว. บทว่า เตน าเณน คือด้วย
ญาณรู้ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น. ในบทว่า สโตการี โหติ เป็นผู้ทำสตินี้ เพราะ
สติสัมปยุตด้วยญาณนั่นแล ท่านประสงค์เอาสติ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ว่า ภิกษุประกอบสติและปัญญาอย่างยิ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ฉะนั้นแม้
ญาณท่านก็ถือเอาด้วยคำว่า สโต มีสติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
บทว่า อทฺธานสงฺขาเต คือในกาลที่นับยาว. ทางยาวท่านก็เรียกว่า
อทฺธาโน. แม้กาลนี้ท่านก็กล่าวว่า อทฺธาโน เพราะยาวดุจทางยาว แม้กล่าว
ลมอัสสาสะ และลมปัสสาสะต่างหากกันว่า อสฺสสติ หายใจเข้าบ้าง และ
ปสฺสติ หายใจออกบ้าง เพื่อแสดงความเป็นไปตามลำดับแห่งภาวนา ท่าน
จึงกล่าวย่ออีกว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง. บทว่า ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิด คือ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความยิ่ง ๆ ในรูปแห่งความเจริญยิ่งของ
ภาวนา. บทว่า สุขุมตร ละเอียดกว่า ท่านกล่าวเพราะมีความสงบ. บทว่า
ปามุชฺช อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิด คือปีติย่อมเกิด เพราะความ
บริบูรณ์แห่งภาวนา.
บทว่า อสฺสาสปสฺสาสาปิ จิตฺต วิวฏฺฏติ จิตย่อมหลีกออกจาก
ลมอัสสาสปัสสาสะ คือ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิด เพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะ
จิตย่อมกลับจากลมอัสสาสปัสสาสะปกติ. บทว่า อุเปกฺขา สณฺาติ อุเบกขา
ย่อมตั้งอยู่ คือในปฏิภาคนิมิตนั้น มัชฌัตตุเบกขาอันเป็นอุปจาระและอัปปนา
ย่อมตั้งอยู่ เพราะไม่มีความขนขวายในการตั้งไว้ซึ่งการบรรลุสมาธิ.
บทว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ อาการ ๙ อย่าง
คือ อาการ ๓ ท่านกล่าวว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง ก่อนแต่ฉันทะเกิด
ตั้งแต่เริ่มภาวนา อาการ ๓ ก่อนความปราโมทย์เกิดตั้งแต่ฉันทะเกิด อาการ
๓ ตั้งแต่ความปราโมทย์เกิด. บทว่า กาโย กาย ชื่อว่า กาย เพราะประชุม
ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นของละเอียด ๆ ขึ้นไป. แม้นิมิตที่เกิดเพราะอาศัย
ลมอัสสาสะปกติปัสสาสะปกติ ก็ย่อมได้ชื่อว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ.
บทว่า อุปฏฺาน สติ สติปรากฏ ชื่อว่า สติปรากฏ เพราะสติ
กำหนดอารมณ์นั้นตั้งอยู่. บทว่า อนุปสฺสนาาณ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
ความว่า กายานุปัสสนาเป็นนิมิตด้วยสามารถสมถะอนุปัสสนา คือ นามกาย
รูปกาย เป็นญาณด้วยสามารถวิปัสสนา.
บทว่า กาโยอุปฏฺาน กายปรากฏ คือ ชื่อว่า ปรากฏ เพราะกายมี
สติเข้าไปตั้งอยู่. บทว่า โน สติ ไม่ใช่สติ ความว่า กายนั้นไม่ใช่สติ.
บทว่า ตาย สติยา คือ สติที่กล่าวแล้วในบัดนี้. บทว่า เตน าเณน
ด้วยญาณนั้น คือ ด้วยญาณที่กล่าวในบัดนี้เหมือนกัน. บทว่า ต กาย อนุปสฺ-
สติ พิจารณาเห็นกายนั้น คือ ไปตามกายตามที่กล่าวด้วยอำนาจแห่งสมถะและ
วิปัสสนา แล้วเห็นด้วยญาณสัมปยุตด้วยฌาน หรือด้วยวิปัสสนาญาน. แม้ใน
ความไม่มีบทมี กาย เป็นต้น ในมาติกา ก็ควรกล่าวในบัดนี้เพราะจตุกะนี้
ท่านกล่าวด้วยสามารถกายานุปัสสนา ท่านชี้แจงบทแห่ง กาย หมายถึงคำว่า
กาเย กายานุปสฺสนา สติปฏฺานภาวนา สติปัฏฐานภาวนา คือ การ
พิจารณาเห็นภายในกาย.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสนา คือ การพิจารณาเห็นกายนั้น ๆ ใน
กายหลายอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายในกาย
มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอื่น มิใช่พิจารณาเห็นความเที่ยงความเป็นทุกข์ความงาม
ในกายอันเป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม โดยที่แท้การ
พิจารณาเห็นกายเท่านั้น โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม. อีก
อย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายสักแต่ว่ากาย เพราะไม่เห็น
ใคร ๆ ที่ควรถือในกายว่า เรา ของเรา หญิง หรือชาย.
แม้ใน ๓ บท มีอาทิว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา ข้างต้นก็มี
นัยนี้เหมือนกัน. สตินั่นแลปรากฏชื่อว่า สติปัฏฐาน สติปัฏฐานสัมปยุตด้วย
กายานุปัสสนา ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏ-
ฐานนั้น ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
บทว่า ต กาย ท่านกล่าวทำดุจว่าแสดงแล้วเพราะกายนั้น ท่าน
สงเคราะห์ด้วย กาย ศัพท์ ในนามกาย รูปกาย แม้ยังมิได้แสดงไว้ เพราะ
อนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ย่อมได้ในนามกายและรูปกายนั่นเอง ไม่ได้ในกาย
นิมิต อนุปัสสนาและภาวนาย่อมได้เพราะท่านกล่าวไว้แล้ว.
บทมีอาทิว่า ทีฆ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจ
เข้า ลมหายใจออกยาว ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์แห่งอานาปานสติภาวนา
เพราะความที่สติไพบูลย์และญาณไพบูลย์เป็นอานิสงส์อานาปานสติภาวนานั้น.
บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคต อวิกฺเขป ปชานโต เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์
เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ท่านกล่าวหมายถึงความที่จิตมีอารมณ์เดียวในกาลเห็นแจ้งฌาน
ที่ได้แล้ว. บทว่า วิทิตา เวทนา คือเวทนาซึ่งปรากฏด้วยเห็นการเกิดขึ้น
จากความเป็นสามัญ. บทว่า วิทิตา อุปฏฺหนฺติ ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ คือ
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป โดยความสูญ. บทว่า
วิทิตา อพฺภตฺถ คจฺฉนติ ปรากฏถึงความดับไป คือ ปรากฏถึงความพินาศ
ด้วยเห็นความเสื่อมโดยความเป็นสามัญ อธิบายว่า ทำลาย. แม้ในสัญญาและ
วิตกก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อท่านกล่าว เวทนา สัญญาและวิตก ๓ อย่างเหล่านี้ แม้รูป
ธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวไว้ด้วย. เพราะเหตุไรจึงกล่าว ๓ อย่างเท่านั้น.
เพราะกำหนดถือเอาได้ยาก สุขทุกข์ปรากฏในเวทนาก่อน แต่อุเบกขา สุขุม
กำหนดถือเอาได้ยาก ไม่ปรากฏด้วยดี แม้อุเบกขาก็ยังปรากฏแก่ภิกษุนั้น.
สัญญาถือเอาตามสภาวะ. ไม่ปรากฏเพราะถือเอาเพียงอาการ. อนึ่ง สัญญานั้น
สัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณถือเอาลักษณะเป็นสามัญตามสภาวะไม่ปรากฏอย่างยิ่ง
แม้สัญญาจะปรากฏแก่ภิกษุนั้น วิตกทำไว้ต่างหากจากญาณ เพราะเป็นญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
ปฏิรูป จึงกำหนดถือเอายาก เพราะญาณปฏิรูปเป็นวิตก. สมดังที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมคือ สัมมาทิฏฐิและสัมมา-
สังกัปปะสงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์.
แม้วิตกนั้นก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อกล่าวถึงการกำหนด
ถือเอายากอย่างนี้ รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวแล้วด้วย. ในนิเทศแห่งบทเหล่า
นี้ ท่านถามว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้นอย่างไร ไม่แก้บทนั้นแก้เพียงปรากฏแห่ง
เวทนาที่เกิดขึ้น จึงเป็นอันแก้ความที่เวทนาปรากฏ เพราะเหตุนี้ จึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า กถ เวทนาย อุปฺปาโท วิทิโต โหติ ความเกิดแห่งเวทนาปรากฏ
อย่างไร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมุทยา อวิชฺชานิโรธา เพราะอวิชชาเกิด
เพราะอวิชชาดับ มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. แม้สัญญาและวิตก
ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. ในวิตักกวาระ ท่านมิได้กล่าวว่า เพราะผัสสะดับ
แล้วกล่าวในที่แห่งผัสสะว่า เพราะสัญญาเกิด เพราะสัญญาดับ. หากถามว่า
ที่กล่าวดังนั้นเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะวิตกมีสัญญาเป็นมูล เพราะท่าน
กล่าวไว้ว่า ความต่างกันแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา.
อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง พึงประกอบธรรมนั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า เวทน
อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการเวทนาโดยความไม่เที่ยง ก็เพราะ
เวทนาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา เพราะไม่สามารถ
ในการทำกิจแห่งวิปัสสนาได้ ฉะนั้นนั่นเอง เวทนาจึงไม่มาในโพธิปักขิยธรรม
กิจแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น สัญญานั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
จึงเป็นอุปการะส่วนเดียวของวิปัสสนา แต่กิจแห่งการเห็นแจ้งเว้นวิตกย่อม
ไม่มี เพราะวิปัสสนามีวิตกเป็นสหายย่อมทำกิจของตน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ปัญญาตามธรรมดาของตนย่อมไม่สามารถจะตัดสินอารมณ์ว่า อนิจฺจ
ทุกฺข อนตฺตาได้ แต่เมื่อวิตกกระทบแล้ว กระทบแล้วให้อารมณ์ จึง
สามารถตัดสินได้ เหมือนเหรัญญิกวางกหาปณะไว้ที่มือ แม้ประสงค์จะตรวจดู
ในส่วนทั้งหมดก็ไม่สามารถจะพลิกกลับด้วยสายตาได้ แต่ครั้นเอานิ้วมือพลิก
กับไปมาข้างโน้นข้างนี้ ก็สามารถตรวจดูได้ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ตามธรรมดาของตนไม่สามารถวินิจฉัยอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง
เป็นต้นได้ แต่สามารถวินิจฉัยอารมณ์อันวิตกมีการยกขึ้นเป็นลักษณะ มีการ
กระทบและการจดจ่อเป็นรสอันมาแล้ว ๆ ให้ได้ ดุจกระทบและพลิกกลับไปมา
ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเพียงลักษณะเพราะเวทนาและสัญญาทั้งหลาย
เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา ท่านจึงชี้แจงด้วยเอกวจนะในบทนั้น ๆ ว่า เวทนาย
สญฺาย ดังนี้.
บทว่า ทีฆ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลม
หายใจออกยาวเป็นอาทิ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความถึงพร้อมแห่งอานาปานสติ-
ภาวนา และผลแห่งภาวนา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สโมธาเนติ ให้ประชุมลง ความว่า ตั้งไว้
ซึ่งอารมณ์หรือยังอารมณ์ให้ดังไว้ ชื่อว่า บุคคลย่อมตั้งอารมณ์ เพื่อความ
บริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ในความไม่มีความตั้งมั่น และความขวนขวาย. บทว่า
โคจร อารมณ์ คือ สังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็น
อารมณ์ในขณะแห่งมรรคและขณะแห่งผล. บทว่า สมตฺถ คือความสงบเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
ประโยชน์ หรือชื่อว่า สมตฺโถ เพราะประโยชน์ของความสงบ ซึ่งธรรมมี
ความสงบเป็นประโยชน์นั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า มคฺค สโมธาเนติ ยังมรรคให้ประชุมลง คือนิพพานนั่นเอง
เป็นโคจรในขณะมรรคและผล. บทว่า อย ปุคฺคโล บุคคลนี้คือพระโยคาวจร
ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอานาปานสติภาวนา. ในบทว่า อิมสฺมึ อารมฺมเณ
ในอารมณ์นี้ คือในอารมณ์อันเป็นสังขตะ กล่าวคือ นามกาย รูปกาย ที่ท่าน
สงเคราะห์ ด้วยบทว่า กาเย และในนิพพานเป็นอารมณ์อันเป็นมรรคโดยลำดับ
นั้น. ท่านกล่าวศัพท์ว่า อารัมมณะ และ โคจร มีความอันเดียวกันด้วย
บทว่า ยนฺตสฺส เป็นอาทิ. บทว่า ตสฺส คือ แห่งบุคคลนั้น. บทว่า
ปชานาตีติ ปุคฺคโล ปชานนา ปญฺา ท่านอธิบายว่า บุคคลย่อมรู้ด้วย
ปัญญา. บทว่า อารมฺมณสฺส อุปฏฺาน ความปรากฏซึ่งอารมณ์ คือ สติ
เป็นความปรากฏแห่งสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็น
อารมณ์ในขณะแห่งมรรคผล. ในบทที่ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในกรรม(ทุติยาวิภัตติ)
เหมือนกล่าวว่าบำรุงซึ่งพระราชา. บทว่า อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน คือสมาธิ.
บทว่า อธิฏฺาน ความตั้งมั่น คือมีสังขารตามที่กล่าวแล้วเป็นอารมณ์และมี
นิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อธิฏฺาน เพราะอารมณ์มีจิตตั้งมั่. บทว่า
โวทาน ความผ่องแผ้ว คือ ญาณ ชื่อว่า โวทาน เพราะอารมณ์เป็น
เหตุให้ผ่องแผ้วบริสุทธิ์.
สมาธิอันเป็นฝ่ายหดหู่ ชื่อว่า สงบ เพราะเป็นความสงบด้วยการถึง
ความไม่หดหู่. ญาณอันเป็นฝ่ายฟุ้งซ่านชื่อว่า สงบ เพราะเป็นความสงบ
ด้วยภาวะความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยเหตุนั้นเป็นอันกล่าวถึงความที่สมถะและ
วิปัสสนาเป็นธรรมเทียมคู่ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล แต่สติ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
สงบ เพราะมีอุปการะแก่ความสงบทั้งสองนั้น เพราะมีประโยชน์ทั้งหมด
อารมณ์ชื่อว่าสงบเพราะตั้งมั่นด้วยสมถะ. บทว่า อนวชฺชฏฺโ ธรรมอันไม่มี
โทษเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งวิปัสสนาไม่มีโทษ. บทว่า นิกฺกิเลสฏฺโ
ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งมรรคไม่มีกิเลส. บทว่า
โวทานฏโ ธรรมมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งผลบริสุทธิ์
บทว่า ปรมฏฺโ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งนิพพาน
เป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. บทว่า ปฏิวิชฺฌติ ย่อมแทงตลอด คือ
แทงตลอดสภาวะนั้น ๆ โดยความไม่หลง. ในบทนี้ท่านกล่าวถึงการแทงตลอด
โดยชอบด้วยบทมีอาทิว่า อารมฺณสฺส อุปฏฺาน ปรากฏซึ่งอารมณ์. อนึ่ง
ในบทนี้นั่นแหละ เพราะท่านกล่าวถึงการเเทงตลอดธรรมอันมีความผ่องแผ้ว
เป็นประโยชน์ จึงเป็นอันกล่าวถึงธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอัน
ไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ และธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ มีลักษณะอย่าง
เดียวกัน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ธรรมเครื่องนำไปมีลักษณะดังที่ท่านกล่าวว่า
เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างเดียวกัน เป็นอันกล่าวถึงธรรม
บางอย่างทั้งหมดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่เศร้า-
หมองเป็นประโยชน์ ชื่อว่า เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะเป็น
ประโยชน์ของความสงบกล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่าน. ธรรมอันผ่องแผ้วเป็น
ประโยชน์ ชื่อว่า เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะความสงบ
นั่นเเหละหมายถึงความผ่องแผ้วแห่งมรรควิปัสสนาเป็นประโยชน์. ชื่อว่า เป็น
ธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะเป็นประโยชน์แห่งความสงบกล่าวคือความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ผ่องแผ้วแห่งมรรค หมายถึงความผ่องแผ้วแห่งผล. ส่วนธรรมอันประเสริฐเป็น
ประโยชน์เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะมีความสงบนั่นแลเป็น
ประโยชน์ หรือเพราะเป็นประโยชน์แห่งความสงบทั้งหมด เพราะประกอบ
ด้วยนิพพานความสงบเเละธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์มีประการดังกล่าว
แล้วนั้นท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสสรุปเป็นเอกเทศ แล้วจึงกล่าวว่า สมตฺถญฺจ
ปฏิวิชฺฌติ แทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์. ธรรม คือ อินทรีย์
พละและโพชฌงค์ย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล.
มรรคและวิสุทธิ ๓ ย่อมได้ในขณะมรรคผลนั่นเอง. วิโมกข์วิชชา
และความรู้ในความสิ้นไปย่อมได้ในขณะมรรคนั่นเอง. วิมุตติและความรู้ในการ
ไม่เกิด ย่อมได้ในขณะผลนั่นเอง. ทำเหลือย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมวารดังต่อไปนี้ บทว่า อิเม ธมฺเม อิมสฺมึ
อารมฺมเณ สโมธาเนติ ยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ พึงทราบ
ธรรมที่เหลือตามความประกอบเว้นนิพพาน. ท่านกล่าวบทนี้ด้วยสามารถเป็น
เยภุยนัย (เป็นส่วนมาก) อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวอรรถทียังไม่ได้กล่าวไว้แล้ว
ในหนหลัง. แม้เมื่อท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกด้วยจตุกะหนึ่ง ๆ ก็เป็น
อันแสดงถึงธรรมเป็นเครื่องนำออกโดยส่วนหนึ่งๆ เพราะความที่ส่วนแม้หนึ่งๆ
มีการหยั่งลงไปในที่สุดแห่งจตุกะเป็นอุปนิสัยแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก
เพราะเว้นส่วนหนึ่ง ๆ เสียไม่เป็นการนำออก.
จบอรรถกถาแสดงลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
พึงทราบวินิจฉัยในรัสสนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า วิตฺตรสงฺขาเต
ในขณะที่นับได้นิดหน่อย คือ ในกาลที่นับได้เล็กน้อย. บทที่เหลือพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้วในนิเทศนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัพพกายปฏิสังเวทินิเทศ ดังต่อไปนี้. เพื่อถือ
เอาความสุขเพราะเวทนาในอรูปธรรมหยาบ ท่านจึงกล่าวถึงเวทนาเสวย
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ก่อน แต่นั้นกล่าวถึงสัญญาถือเอาอาการแห่งอารมณ์
ของเวทนาอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมรู้พร้อมถึงเวทนาทีเสวย แต่นั้นกล่าวถึงเจตนา
อันเป็นอภิสังขารด้วยอำนาจแห่งสัญญา แต่นั้นกล่าวถึงผัสสะ เพราะบาลีว่า
สัมผัสแล้วย่อมเสวยอารมณ์ สัมผัสแล้วย่อมรู้เวทนา สัมผัสแล้วย่อมคิดถึง
เวทนา แต่นั้นกล่าวถึงมนสิการอันมีลักษณะทั่วไปแห่งเวทนาทั้งปวง กล่าวถึง
สังขารขันธ์ด้วยเจตนาเป็นต้น เมื่อท่านกล่าวถึงขันธ์ ๓ อย่าง อย่างนี้เป็นอัน
กล่าวถึงวิญญาณขันธ์อาศัยขันธ์นั้น. บทว่า นามญฺจ ได้แก่ นามมีประการ
ดังกล่าวแล้ว. บทว่า นามกาโย จ นี้ ท่านกล่าวเพื่อนำนามนั้น ออก เพราะ
ท่านสงเคราะห์นิพพานเข้าโดยนาม และเพราะโลกุตรธรรมไม่เข้าถึงวิปัสสนา
เป็นอันท่านนำเอานิพพานออกด้วยคำว่า กาโย เพราะนิพพานพ้นจากกอง.
บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ จิตฺตสงฺขารา ท่านกล่าวจิตสังขารว่าเป็นนามกาย
คือ ท่านกล่าวว่าจิตสังขาร แม้กล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตสังขาร ก็สงเคราะห์เข้าด้วยนามกายในที่นี้.
บทว่า มหาภูตา มหาภูตรูป ชื่อว่า มหาภูตา เพราะเป็นใหญ่
โดยความปรากฏใหญ่ โดยความสามัญเป็นของใหญ่ โดยบริหารใหญ่ โดย
ผิดปกติใหญ่. มหาภูตรูปมี ๔ อย่าง คือ ปวี อาโป เตโช วาโย.
บทว่า จตุนฺนญจ มหาภูตาน อุปาทายรูป รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ ความว่า รูปที่ยังไม่ละยังเป็นไป
เพราะอาศัยซึ่งมหาภูตรูป ๔. ก็อุปาทายรูปนั้นมี ๒๔ อย่าง คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส หญิง ชาย ชีวิต หทัยวัตถุ โอชะ กายวิญญัติ
วจีวิญญัติ อากาศธาตุ รูปเบา อ่อน ควรแก่การงาน การสะสม การสืบต่อ
ความคร่ำคร่า ความไม่เที่ยง.
บทว่า อสฺสาโส จ ปสฺสาโส จ คือ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะตาม
ปกตินั่นเอง. แม้ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะก็ได้ชื่อนั้น
ดุจปฐวีกสิณเป็นต้น. อนึ่ง เพราะเห็นคล้ายรูปปฏิภาคนิมิต จึงได้ชื่อว่า รูป
ดุจในประโยคมีอาทิว่า เห็นรูปในภายนอก. บทว่า นิมิตฺตญฺจ อุปนิพนฺธนา
คือ ที่สัมผัสลมอัสสาสปัสสาสะเป็นนิมิตแห่งการเนื่องกันด้วยสติ.
บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ กายสงฺขารา ท่านกล่าวกายสังขารว่าเป็น
รูปกาย คือ ท่านกล่าวว่า กายสังขารแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเป็น
ไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ก็สงเคราะห์เข้าด้วยรูปกาย
ในที่นี้.
บทว่า เต กายา ปฏิวิทิตา โหนฺติ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ
คือ กายมีลมอัสสาสปัสสาสะเป็นนิมิต ในขณะแห่งฌาน กายมีรูปและไม่มีรูป
ที่เหลือในขณะแห่งวิปัสสนาย่อมปรากฏโดยอารมณ์ ในขณะแห่งมรรคย่อม
ปรากฏโดยความไม่หลง. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทีฆ อสฺสาสปญฺาสวเสน
ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสปัสสาสะยาวหมายถึง แม้ในวิปัสสนามรรคเกิดขึ้น
แล้วแก่พระโยคาวจร ผู้ได้ฌานด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสปัสสาสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
บทมีอาทิว่า อาวชฺชโต ปชานโต เมื่อคำนึงถึง เมื่อรู้มีความดัง
ได้กล่าวแล้วในศีลกถา. ท่านทำกายทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น
ไว้ในภายในแล้วกล่าวว่า สพฺพกายปฏิสเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง
ในบทมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสาสปญฺาน สวรฏฺเน
ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง ระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ความสำรวมในฌานวิปัสสนามรรคอันเกิดขึ้นแล้ว
แต่ลมอัสสาสปัสสาสะดังท่านกล่าวว่า สพฺพกายปฏิสเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลม
ทั้งปวง เป็นศีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าระวัง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นจิตวิสุทธิด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญานั่นแลเป็นทิฏฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น เพียงความ
ไม่มีบาป แม้ในความไม่มีวิรัติในฌานและวิปัสสนาก็พึงทราบว่าชื่อว่าสำรวม.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภย ระงับ ดังต่อ
ไปนี้. บทว่า กายิกา เป็นไปทางกาย คือ มีในรูปกาย. บทว่า กายปฏิพทฺธา
คือ เนื่องด้วยกาย อาศัยกาย. เมื่อกายมี ลมอัสสาสปัสสาสะก็มี เมื่อกายไม่มี
ลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะจึงชื่อว่ากายสังขาร
เพราะลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นปรุงขึ้นด้วยกาย. บทว่า ปสฺสมฺเภนฺ โต
ระงับ คือ ให้ดับให้สงบ. ความระงับกายสังขารอย่างหยาบ สำเร็จด้วยคำว่า
ปสฺสมฺภน. บทว่า นิโรเธนฺโต ดับ คือ ดับด้วยไม่ให้กายสังขารอย่างหยาบ
เกิดขึ้น บทว่า จูปสเมนฺโต สงบ คือ นำความสงบโดยนัยแห่งการ
แปรปรวนสันตติอย่างหนึ่งในกายสังขารอย่างหยาบนั่นแล. บทว่า สิกฺขติ
ย่อมเชื่อมความว่า ย่อมศึกษาว่า เราจักหายใจเข้าด้วยสามารถแห่งอธิการ
(หน้าที่) หรือย่อมศึกษาไตรสิกขา. บัดนี้เพื่อแสดงถึงความระงับกายสังขาร
อย่างหยาบ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถารูเปหิ เพราะกายสังขารเห็นปานใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
บทว่า อานมนา ความอ่อนไป คือ อ่อนไปข้างหลัง. บทว่า วินมนา
ความน้อมไป คือ น้อมไปทั้งสองข้าง. บทว่า สนฺนมนา ความเอนไป คือ
เอนไปเป็นอย่างดีของกายสังขารที่เอนไปแม้โดยข้างทั้งปวง. บทว่า ปณมนา
ความโอนไป คือ โอนไปข้างหน้า. บทว่า อิญฺชนา ความหวั่นไหว คือ
สั่นไป. บทว่า ผนฺทนา ความดิ้นรน คือ ส่ายไปนิดหน่อย. บทว่า ปกมฺปนา
ความโยก คือ โคลงไปมามาก. พึงทำการเชื่อมว่า ความอ่อนไป ฯลฯ ความ
โยกกายด้วยกายสังขารเห็นปานใด ระงับกายสังขารเห็นปานนั้น และความ
อ่อนไป ฯลฯ ความโยกใดแห่งกาย ระงับความอ่อนไปเป็นต้นนั้น เพราะความ
กายสังขารระงับ ก็เป็นอันระงับความอ่อนไปเป็นต้นของกาย. พึงทราบโดย
การเชื่อมความว่า กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้น ด้วยกายสังขารเห็นปานใด
ระงับกายสังขารแม้ละเอียดสุขุมเห็นปานั้นได้. กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้นใด
ระงับกายกายสังขารอันละเอียดสุขุมนั้นได้. บทว่า สนฺต สุขุม ละเอียด
สุขุมนี้เป็นภาวนปุงสกะ (เป็นนปุงสกลิงค์) ในบทว่า อิติ กิร นี้ บทว่า
อิติ มาในความว่า เอว อย่างนี้. บทว่า กิร มาในความว่า ยทิ ผิว่า
คือ ผิว่า เล่าลือกันมาว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักระงับลมอัสสาสปัสสาสะ.
แม้สุขุมอย่างนี้หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กิร ท่านอธิบายว่า เพราะเป็นคำเล่าลือ
จึงควรลงในอรรถว่า ไม่น่าเชื่อ ไม่น่าอดกลั้น และคนอื่นเขาพูดมา เราจึง
ไม่เชื่อ ไม่อดกลั้น ไม่ประจักษ์แก่เราว่า ภิกษุย่อมศึกษาความระงับกายสังขาร
แม้สุขุมด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.
บทว่า เอว สนฺเต เมื่อเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อระงับกายสังขารอันสุขุม
อย่างนี้มีอยู่. บทว่า จาตูปลทฺธิยา จ ปภาวนา น โหติ ความได้ลม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
ก็ไม่ปรากฏ คือ ได้ลมอัสสาสปัสสาสะ. บทว่า อุปลทฺธิ ความได้ คือ
ความรู้สึก ความว่า ความรู้สึกในการภาวนาอันมีลมอัสสาสปัสสาสะนั้นเป็น
อารมณ์ ซึ่งได้รับลมอัสสาสปัสสาสะมาย่อมไม่ปรากฏ คือ ไม่เกิด อารมณ์
นั้นไม่มีภาวนา.
บทว่า อสฺสาสปสฺสาสานญฺจ ปภาวนา น โหติ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ ความว่า เพราะดับลมอัสสาสปัสสาสะแม้สุขุมด้วยภาวนา
ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้นั้นก็ไม่เกิด ไม่ปรากฏ.
บทว่า อานาปานสติยา จ ปภาวนา น โหติ อานาปานสติ
ก็ไม่ปรากฏ คือสติสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนา อันมีอานาปานสตินั้นเป็น
อารมณ์ เพราะไม่มีลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การเจริญ
อานาปานสติสมาธิอันสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนานั้นย่อมไม่มี. บทว่า จ น
ในบทนี้ว่า น จ น ต เป็นเพียงนิบาตดุจในบทว่า ภิกฺขุ จ น เป็นอาทิ.
เชื่อมความว่า บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าสมาบัติอย่างที่กล่าวแล้วนั้นก็หามิได้ แม้
จะออกจากสมาบัตินั้น ก็หามิได้.
บทว่า อิติ กิร คือด้วยประการอย่างนี้ โดยเป็นถ้อยคำของฝ่าย
เล่าลือ. พึงเห็นว่า กิร ศัพท์ในบทนี้ลงในอรรถว่า ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า เอว สนฺเต คือเมื่อความระงับมีอยู่อย่างนี้. บทว่า ยถา กต วิย
ข้อนั้นเหมือนอะไร คือ ถามความเปรียบเทียบว่า ข้อนั้นเหมือนวิธีที่กล่าวไว้
อย่างไร ท่านแสดงความเปรียบเทียบนั้น ด้วยบทว่า เสยฺยถาปิ เหมือน
อย่างว่า. บทว่า กเส กังสดาล คือ ภาชนะทำด้วยโลหะ. บทว่า นิมิตฺต คือ
อาการแห่งเสียงเหล่านั้น. อนึ่ง บทว่า นิมิตฺต เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถ
แห่งฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า แห่งนิมิต นิมิตแห่งเสียงไม่ใช่อื่นจากเสียง. บทว่า
สุคฺคหิตตฺตา คือ เพราะถือเอาด้วยดี. บทว่า สุมนสิกตตฺตา คือเพราะนึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
ด้วยดี. บทว่า สุปธาริตตฺตา เพราะทรงจำไว้ด้วยดี คือตั้งไว้ในจิตด้วยดี.
บทว่า สุขุมสทฺทนิมิตฺตารมฺมณตฺตาปิ แม้นิมิตแห่งเสียงค่อยเป็น
อารมณ์ คือ เพราะเสียงแม้ค่อยในกาลนั้นดับไป จิตแม้มีนิมิตแห่งเสียงเป็น
อารมณ์ค่อยกว่าย่อมเป็นได้ เพราะทำนิมิตแห่งเสียงค่อยกว่า แม้ไม่เป็นอารมณ์
แห่งนิมิตเสียงตามที่หมายไว้. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความเป็นนิมิตแห่งเสียง
ค่อยกว่าเป็นอารมณ์. พึงทราบความแม้ในอัปปนาโดยในนี้แล.
ในบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภย พึงทราบการประกอบว่า ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ ท่านกล่าวว่า ระงับกายสังขาร คือ กาย หรือลมอัสสาสปัสสาสะ
ในบทนี้ว่า ระงับกายสังขาร คือกาย. เมื่อพระโยคาวจรมีความคิดคำนึงว่า
เมื่อกายสังขารแม้ระงับไปด้วยภาวนาวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งภาวนา)เราจะ
ระงับกายสังขารอย่างหยาบ ดังนี้ ชื่อว่าระงับอย่างยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่นั้น
ความหายใจอย่างสุขุมก็ยังไม่ปรากฏ.
บทว่า อฏอนุปสฺสเน าณานิ ญาณในการพิจารณา ๘ ได้แก่
อนปัสสนาญาณ ๘ คือ เมื่อกล่าววัตถุ ๔ ว่า เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง ยาว
สั้น ระงับกายสังขาร ด้วยอำนาจลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจลมปัสสาสะ ๔.
บทว่า อฏฺ จ อุปฏฺานานุสสติโย อนุสติที่ปรากฏ ๘ ได้แก่
อุปัฏฐานานุสติ ๘ คือ เมื่อท่านกล่าวถึงวัตถุ ๔ โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อรู้ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจแห่งลมปัสสาสะ ๔.
บทว่า จตฺตาริ สุตฺตนฺติกวตฺถูนิ เรื่องอันมีมาในพระสูตร ๔ คือ
สุตตันติกวัตถุ ๔ ด้วยสามารถแห่งจตุกะที่ ๑ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้แล้วในอานาปานสติสูตร.
จบอรรถกถาปฐมจตุกนิเทศ
จบภาณวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
พึงทราบวินิจฉัยในปีติปฏิสังเวทินิเทศแห่งจตุกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้ ใน
บทว่า อุปฺปฺชชติ ปีติปามุชฺช ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดนี้. บทว่า ปีติ
เป็นมูลบท. บทว่า ปามุชฺช เป็นบทขยายความ คือความปราโมทย์. ใน
บทมีอาทิว่า ยา ปีติ ปามุชฺช ท่านกล่าวว่า ปีติย่อมได้ชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า
ปีติและปราโมทย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ. ความ
เป็นแห่งความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺช. อาการแห่งความเบิกนาน ชื่อว่า
อาโมทนา. อาการแห่งความบันเทิง ชื่อว่า ปโมทนา. อีกอย่างหนึ่งการทำ
เภสัช น้ำมัน หรือน้ำร้อนน้ำเย็นให้รวมเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่า โมทนา
ฉันใด แม้ด้วยการทำธรรมทั้งหลายให้รวมเป็นอันเดียวกัน ก็เรียกว่า โมทนา
ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา เพราะเพิ่มบทอุปสรรคลงไป.
ชื่อว่า หาโส เพราะอรรถว่า ความหรรษา. ชื่อว่า ปหาโส เพราะอรรถว่า
ความรื่นเริง. บทนี้เป็นชื่อของความหรรษาร่าเริง. ชื่อว่า วิตฺติ เพราะความ
ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. อนึ่ง ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่ง
โสมนัส เพราะทำให้เกิดความสบายใจ. เหมือนอย่างว่า ความโสมนัสย่อมเกิด
แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดแม้แก่คนมี
ปีติ เพราะอาศัยปีติฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิตฺติ ความปลื้มใจ
จริงอยู่ บทนี้เป็นชื่อของปีติอันดำรงสภาวะแห่งความยินดีไว้. อนึ่ง บุคคลผู้มี
ปีติท่านเรียกว่า อุทคฺโค ผู้ยินดี เพราะเป็นผู้มีกายและใจสูง สูงยิ่ง. ส่วน
แห่งความเป็นผู้มีใจสูง ชื่อว่า โอทคฺย. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า
อตฺตมนตา ความดีใจ. จริงอยู่ ใจของผู้ไม่ยินดี เพราะมีทุกข์เป็นเหตุ ไม่
ชื่อว่า มีใจของตน. ใจของผู้ยินดี เพราะสุขเป็นเหตุ ชื่อว่า มีใจของตน.
ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตฺตมนตา ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ไม่ใช่ของใคร ๆ อื่น ความเป็นแห่งจิต
นั่นแล ชื่อว่า เจตสิกธรรม ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อตฺตมนตา จิตฺตสส
ความที่จิตเป็นของตน. บทที่เหลือพึงทราบประกอบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในที่นี้ ในตอนก่อนและตอนหลัง.
พึงทราบวินิจฉัยใน สุขปฏิสเวทินิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า เทฺว
สุขานิ สุขมี ๒ อย่าง ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงภูมิของสมถะ และวิปัสสนา.
เพราะกายิกสุข (สุขทางกาย) เป็นภูมิของวิปัสสนา. เจตสิกสุข (สุขทางใจ)
เป็นภูมิของสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า กายิก กายิกสุข ชื่อว่า กายิก เพราะประกอบแล้วในกาย
โดยเกิดขึ้นตามลำดับเว้นประสาทกาย. บทว่า เจตสิก เจตสิกสุข ชื่อว่า เจตสิก
เพราะประกอบไว้ในใจโดยไม่พรากไป. ในสองบทนั้นปฏิเสธเจตสิกสุข ด้วย
บทว่า กายิก. ปฏิเสธกายิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข. อนึ่ง ปฏิเสธกายิกสุข
ด้วยบทว่า เจตสิก ปฏิเสธเจตสิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข. บทว่า สาต
ความสำราญ คือความหวาน หวานด้วยดี. บทว่า สุข คือสุขนั่นเอง มิใช่
ทุกข์. บทว่า กายสมฺผสฺสช คือ เกิดในกายสัมผัส. บทว่า สาต สุข เวทยิต
ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญ คือ ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญ
ที่ไม่ได้เสวยไม่เป็นความสำราญ ความสุขที่ได้เสวย มิใช่ความทุกข์ที่ได้เสวย
๓ บทต่อไป ท่านกล่าวด้วยเป็นอิตถีลิงค์. ความในบทนี้มีว่า สาตา เวทนา
น อสาตา สุข เวทนา น ทุกฺขา สุขเวทนาเป็นความสำราญ มิใช่ความ
ไม่สำราญ เวทนาเป็นสุข มิใช่เป็นทุกข์.
พึงประกอบเจตสิกสุขนิเทศ โดยนัยตรงข้ามกับที่ที่กล่าวแล้ว. บทว่า
เต สุขา สุขเหล่านั้นเป็นลิงควิปลาส. ท่านกล่าวว่า ตานิ สุขานิ. บทที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
เหลือในนิเทศนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปฐมจตุกะหลังในจตุกะ
พึงทราบสุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีในพระสูตร) ด้วยอำนาจแห่งทุติยจตุกะ.
จบอรรถกถาทุติยจตุกนิเทศ
จบภาณวาร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยจตุกนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า จิตฺต เป็น
มูลบท. บทว่า วิญฺาณ เป็นบทขยายความ. บทมีอาทิว่า ย จิตฺต จิตใด
พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปีติ ในบทอาทิว่า จิตฺต นั้น ชื่อว่า จิตฺต
เพราะวิจิตรด้วยจิต. ชื่อว่า มโน เพราะรู้กำหนดอารมณ์. บทว่า มานส คือ
ใจนั่นเอง. ท่านกล่าวธรรมอันสัมปยุตแล้วว่า มานโส ในบทนี้ว่า บ่วงใด
มีใจเที่ยวไปในอากาศ ดังนี้เป็นต้น พระอรหัตท่านกล่าว มานส ในบทนี้ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปรากฏในหมู่ชน
สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุ
พระอรหัต ยังเป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงทำกาละ
เสียเล่า.
บทว่า หทย คือจิต. อุระท่านกล่าวว่า หทัย ในบทมีอาทิว่า เราจัก
ทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกอกของท่าน ท่านกล่าวว่า จิตในบท
มีอาทิว่า เห็นจะถากจิตจากจิตด้วยความไม่รู้. ท่านกล่าวหทยวัตถุ ในบทว่า
ม้าม หทัย. แต่ในที่นี้ จิต ท่านกล่าวว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน.
จิตนั้นชื่อว่า ปณฺฑร ขาว เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์ ท่านกล่าวหมายถึง
ภวังคจิต. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้
ประภัสสร แต่จิตนั้นถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาจึงเศร้าหมอง. อนึ่ง แม้จิตอกุศล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
ท่านก็กล่าวว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะอกุศลออกจากจิตนั้นแล้ว ดุจแม่น้ำ
คงคาไหลออกจากแม่น้ำคงคา และดุจแม่น้ำโคธาวรี ไหลออกจากแม่น้ำโคธาวรี
ฉะนั้น. อนึ่ง เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความเศร้าหมอง
โดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลสจิตจึงเศร้าหมอง
แม้เพราะเหตุนั้นจึงควรเพื่อกล่าวว่า ปัณฑระ ( ขาวผ่อง). อนึ่ง การถือเอา
มโน ในบทนี้ว่า มโน มนายตน เพื่อแสดงถึงความเป็นอายตนะของใจ.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงถึงบทว่า มนายตนะ นี้ ว่ามิใช่ชื่อว่ามนายตนะ.
เพราะเป็นอายตนะของใจ ดุจเทวายตนะ (ที่อยู่ของเทวดา) ที่แท้ใจนั่นแหละ
เป็นอายตนะ. จึงชื่อว่า มนายตนะ. อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้ในหนหลัง
แล้ว. ชื่อว่า มโน เพราะรู้ ความว่า รู้แจ้ง. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ชื่อว่า มโน เพราะรู้แจ้งอารมณ์ ดุจตวงด้วยทะนานและดุจทรงชั่ง
ด้วยเครื่องชั่งใหญ่. ชื่อว่า อินฺทฺริย เพราะทำประโยชน์ให้ในลักษณะรู้.
ใจนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์. ชื่อว่า วิญฺาณ เพราะอรรถ
ว่ารู้แจ้ง. วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวว่า
ขันธ์งอกขึ้น วิญญาณหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง.
เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่า บุคคลเมื่อตัดส่วนหนึ่งของต้นไม้ชื่อว่า
ตัดต้นไม้ ฉันใด วิญญาณแม้หนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านจึงกล่าวว่า วิญญาณขันธ์งอกขึ้น. อนึ่ง เพราะอรรถแห่งกอง
มิใช่เป็นอรรถแห่งขันธ์ อรรถแห่งส่วนจึงเป็นอรรถแห่งขันธ์เท่านั้น ฉะนั้น
จึงมีความว่า วิญฺาณโฏฺาโส ส่วนแห่งวิญญาณดังนี้บ้าง เพราะเป็น
อรรถแห่งส่วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่
จิตนั้น คือ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่สัมปยุตธรรมมีผัสสะเป็นต้น
เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวโดย ๓ ชื่อคือชื่อว่า
มโน เพราะอรรถว่า นับ ชื่อว่า วิญฺาณ เพราะอรรถว่า รู้แจ้ง ชื่อว่า
ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ หรือเพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์. บทว่า
อภิปฺปโมโท ความเบิกบาน คือความยินดียิ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธินิเทศดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ีติ ความตั้งอยู่
เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสรรคเข้า
ชื่อว่า สณฺิติ ความตั้งอยู่ดี เพราะประมวลสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์
แล้วตั้งอยู่ ชื่อว่า อวฏฺิติ ความตั้งมั่นเพราะเข้าไปเหนี่ยวอารมณ์ตั้งอยู่.
ธรรม ๔ อย่างในฝ่ายกุศลคือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อม
เหนี่ยวอารมณ์ไว้. ด้วยเหตุนั้นศรัทธาท่านจึงกล่าวว่า โอกปฺปนา ความ
เชื่อถือ. สติท่านกล่าวว่า อปิลาปนตา ความไม่ใจลอย. สมาธิท่านกล่าวว่า
อวฏฺิติ ความตั้งมั่น. ปัญญาท่านกล่าวว่า ปริโยคาหนา การหยั่งลง.
ส่วนธรรม ๓ อย่างในฝ่ายอกุศล คือ ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชา ย่อม
เหนี่ยวอารมณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวธรรมเหล่านั้น ว่า โอฆะ ห้วง. ชื่อว่า
อวิสาหาโร ความไม่กวัดแกว่ง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความกวัดแกว่งอันเป็น
ไปแล้วด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตไปด้วยอำนาจแห่งความ
ฟุ้งซ่านและความสงสัย ชื่อว่า ย่อมฟุ้งซ่าน. สมาธินี้ไม่เป็นอย่างนั้นจึงชื่อว่า
อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน. จิตชื่อว่า กวัดแกว่งด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะ
และวิจิกิจฉา ย่อมส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. แต่สมาธินี้มีใจไม่กวัดแกว่ง จึงชื่อว่า
อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่กวัดแกว่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
บทว่า สมโถ ความสงบ ได้แก่ ความสงบ ๓ อย่าง คือ จิตสงบ
๑ อธิกรณ์สงบ ๑ สังขารทั้งปวงสงบ ๑. ในความสงบ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่า
จิตสงบ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียวในสมาบัติ ๘ เพราะความหวั่นไหว
แห่งจิต ความดิ้นรนแห่งจิตย่อมสงบ ย่อมเข้าไปสงบเพราะอาศัยจิตสงบนั้น
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า จิตฺตสมโถ จิตสงบ.
ชื่อว่า อธิกรณ์สงบ อธิกรณ์มี ๗ อย่าง มีสัมมุขาวินัยเป็นต้น
เพราะอธิกรณ์เหล่านั้นสงบ เข้าไปสงบเพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า อธิกรณสมโถ อธิกรณ์สงบ.
อนึ่ง เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวง สงบ เข้าไปสงบ เพราะอาศัย
นิพพาน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า สพฺพสงฺขารสมโถ สังขารทั้งปวง
สงบ. ในอรรถนี้ท่านประสงค์เอาจิตสงบ. ชื่อว่า สมาธินฺทฺริย เพราะทำ
ความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งสมาธิ. ชื่อว่า สมาธิพล เพราะไม่หวั่นด้วย
อุทธัจจะ บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธิทำให้พ้นทุกข์
กุศลสมาธิ ท่านกล่าวถึงการเปลื้องจิตจากวัตถุแห่งกิเลส ๑๐ อย่าง มีอาทิว่า
ราคโต วโมจย จิตฺต เปลื้องจิตจากราคะ. อนึ่ง ในบทนี้ท่านรวมมิทธ
ศัพท์ด้วยถีนศัพท์ และรวม กุกกุจจ ศัพท์ด้วย อุทธัจจ ศัพท์ด้วย เหตุนั้น
ท่านจึงอธิบายถึงการเปลื้องจากนิวรณ์เป็นต้น ด้วยปฐมฌานเป็นต้น ด้วยกล่าว
ถึงการเปลื้องจากวัตถุอันเป็นกิเลส เพราะไปร่วมกันในปาฐะเหล่าอื่น และการ
เปลื้องจากนิจจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.
อนึ่ง ในไปยาลนี้ว่า กถ ต จิตฺต อนุปสฺสติ ย่อมพิจารณาจิตนั้น
อย่างไร เป็นอันท่านกล่าวถึงการละนิจจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสสนา.
พึงทราบเรื่องมาในพระสูตร ๔ ด้วยสามารถแห่งตติยจตุกะด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาตติยจตุกนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถจตุกนิเทศดังต่อไปนี้. ท่านตั้งคำถามด้วย
คำเป็นนปุงสกลิงค์ว่า อนิจฺจนฺติ กึ อนิจฺจ บทว่า อนิจฺจ อะไรไม่เที่ยง.
บทว่า อุปฺปาทวยฏฺเน เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นและเสื่อมไป
ความว่า เพราะสภาวะคือ ความเกิดและความเสื่อม. ในบทนี้ เบญจขันธ์
เป็นสภาวลักษณะความเกิดและความเสื่อมของเบญจขันธ์เป็นวิการลักษณะ
(ลักษณะความเปลี่ยนแปลง) ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง
เพราะเป็นแล้วไม่เป็น ส่วนในอรรถกถาแม้ท่านกล่าวว่า ความไม่เที่ยงด้วย
อำนาจแห่งสังขตลักษณะ. และว่าความที่เบญจขันธ์เหล่านั้นมีเกิดเสื่อมและเป็น
อย่างอื่น ก็ยังกล่าวว่า ความเป็นแล้วไม่เป็นดังนี้. ด้วยบทนี้ อาการคือ เป็น
แล้วไม่เป็น ท่านกล่าวว่าเป็น อนิจจลักษณะ. ท่านกล่าวทำไปยาลว่า เมื่อเห็น
ความเกิดและความเสื่อมแห่งเบญจขันธ์ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ เหล่านี้. บทว่า
ธมฺมา คือธรรมตามที่ท่านกล่าวแล้วมีรูปขันธ์เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในวิราคานุปัสสีนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า รูเป
อาทีนว ทิสฺวา เห็นโทษในรูป คือเห็นโทษในรูปขันธ์ด้วยการตั้งอยู่ในความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ดังที่ท่านกล่าวแล้วข้างหน้าตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ. บทว่า
รูปวิราโค ในความคลายกำหนัดในรูป คือนิพพาน เพราะบุคคลอาศัยนิพพาน
คลายกำหนัดรูป ย่อมดับด้วยการถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า คลายความกำหนัด ในรูป. บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ เป็นผู้เกิด
ฉันทะ คือมีฉันทะในธรรมอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการฟัง. บทว่า
สทฺธธิมุตฺโต น้อมใจไปด้วยศรัทธาคือน้อมไป ตัดสินใจไปในนิพพานนั้น.
ด้วยศรัทธา. บทว่า จิตฺตญฺจสฺสสฺยาธิฏฺีต และมีจิตตั้งมั่นดี พึงทราบ
โดยเชื่อมความว่า จิตของพระโยคาวจรนั้นตั่งมั่นด้วยดี ประดิษฐานไว้ด้วยดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ในการทำลายรูปอันได้แก่ ความคลายกำหนัดในความ
สิ้นไปด้วยสามารถแห่งการได้ยินได้ฟัง นิพพานอันคลายความกำหนัดในรูป
กล่าวคือ คลายความกำหนัดหมดสิ้น.
บทว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความคลายกำหนัดในรูป
ท่านกล่าวความคลายกำหนัดในความสิ้นไปแห่งรูปด้วยสัตตมีวิภัตติว่า รูเป
วิราโค ความคลายกำหนัดในรูป. ท่านกล่าวความคลายกำหนัดหมดสิ้นแห่ง
รูปด้วยสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตว่า รูเป วิราโค ความคลายกำหนัด
ในเพราะรูป. ท่านกล่าวความคลายกำหนัดแม้ทั้งสองอย่างนั้น มีการพิจารณา
โดยอารมณ์และโดยอัธยาศัยเป็นปกติว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความ
คลายกำหนัดในรูป. ในเวทนาเป็นต้นมีนัยนี้. แม้ในนิเทศแห่งบทว่า
นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ในบทนี้ว่า กตีหากาเรหิ ด้วยอาการเท่าไร มีความพิเศษดังต่อ
ไปนี้. ท่านแสดงถึงการดับโทษ แม้แห่งรูปเป็นต้นด้วยการเห็นการดับโทษ
แห่งองค์ของปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านั้น
ไม่ล่วงองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทไปได้ ด้วยคำพิเศษนี้แหละเป็นอันท่านกล่าวถึง
ความพิเศษแห่งนิโรธานุปัสสนา เพราะพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด. ใน
บทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจฏฺเน ด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป
หรือด้วยอรรถว่า เป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ทุกฺขฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์
คือด้วยอรรถว่า น่ากลัว หรือด้วยอรรถว่าบีบคั้น. บทว่า อนตฺตฏฺเน
ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา คือด้วยอรรถว่า หาสาระมิได้ หรือด้วยอรรถว่า
ไม่เป็นไปในอำนาจ. บทว่า สนฺตาปฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน
คือด้วยอรรถว่ากิเลสเป็นเหตุให้เดือดร้อน. บทว่า ปริณามฏฺเน ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
อรรถว่า แปรปรวน คือด้วยอรรถว่า แปรปรวนโดย ๒ ส่วน ด้วยอำนาจแห่ง
ชรา และภังคะ (ความดับ). บทว่า นิทานนิโรเธน ด้วยนิทานดับ
คือด้วยไม่มีเหตุปัจจัย. บทว่า นิรุชฺฌติ ย่อมดับคือไม่มี. บทว่า สมุทย-
นิโรเธน ด้วยสมุทัยดับ คือด้วยความไม่มีปัจจัยอันใกล้. เพราะเหตุปัจจัย
ท่านกล่าวว่า นิทาน ดุจโภชนะไม่เป็นที่สบายแก่คนเจ็บป่วย ปัจจัยอันใกล้
ท่านกล่าว สมุทัย ดุจลมน้ำดีและเสมหะของคนเจ็บป่วย. เพราะ นิทาน ย่อม
ให้ผลด้วยการวินิจฉัย สมุทัยเป็นเหตุเกิดผลด้วยดี. บทว่า ชาตินิโรเธน
ด้วยชาติดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัย. บทว่า ปภวนิโรเธน ด้วยภพ
ดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัยอันใกล้ (อาสันนปัจจัย) ควรกล่าวว่า ชื่อว่า
ภพ เพราะชาติเป็นเหตุให้เกิดทุกข์. บทว่า เหตุนิโรเธน ด้วยเหตุดับคือ
ด้วยไม่มีปัจจัยให้เกิดชนกปัจจัย. บทว่า ปจฺจยนิโรเธน ด้วยปัจจัยดับ
คือด้วยไม่มีปัจจัยอุปถัมภ์ แม้เหตุปัจจัยก็เป็นทั้งอาสันนปัจจัย ชนกปัจจัย
และอุปถัมภกปัจจัยนั่นเอง. ด้วยปัจจัยเหล่านั้น ที่กล่าวการดับชั่วคราว
ในขณะวิปัสสนากล้าแข็ง. การดับเด็ดขาดในขณะแห่งมรรค. บทว่า าณุ-
ปฺปาเทน ด้วยญาณเกิด คือ ด้วยความเกิดแห่งวิปัสสนาญาณกล้าแข็ง หรือ
แห่งมรรคญาณ. บทว่า นิโรธุปฏฺาเนน ด้วยนิโรธปรากฏ คือด้วยความ
ปรากฏแห่งนิพพาน กล่าวคือนิโรธด้วยอำนาจแห่งการได้ฟังถึงการดับความ
สิ้นไปโดยประจักษ์ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยความปรากฏแห่งนิพพาน
โดยประจักษ์ในขณะแห่งมรรค. ด้วยบทเหล่านี้เป็นอันท่านทำความแน่นอน
ด้วยอินทรีย์อันเป็นวิสัย และท่านกล่าวถึงความดับชั่วคราวและดับเด็ดขาด.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี (พิจารณา
ความสละคืน) ดังต่อไปนี้. บทว่า รูป ปริจฺจชติ สละรูป คือสละรูปขันธ์
เพราะไม่เพ่งถึงด้วยการเห็นโทษ. บทว่า ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺโค สละคืน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
ด้วยการบริจาค ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏินิสฺสคโค เพราะอรรถว่า สละ.
ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอรรถแห่งการบริจาคแห่งบทว่า ปฏินิสสัคคะ
เพราะฉะนั้น อธิบายว่า ได้แก่ การละกิเลสทั้งหลาย อนึ่ง ในบทนี้ วิปัสสนา
อัน เป็นวุฏฐานคามินี (ญาณเป็นเครื่องออกไป) ย่อมสละกิเลสทั้งหลายได้โดย
ชั่วคราว มรรคย่อมสละได้โดยเด็ดขาด.
บทว่า รูปนิโรเธ นิพฺพาเน จิตฺต ปกฺขนฺทติ จิตย่อมแล่นไปใน
นิพพานอันเป็นทีดับรูป คือ วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีย่อมแล่นไปเพราะ
น้อมไปในนิพพานนั้น มรรคย่อมแล่นไปด้วยการทำให้เป็นอารมณ์.
บทว่า ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคโค ความสละคืนด้วยการแล่นไป
ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะอรรถแล่นไป. ด้วยบทที่ท่าน
กล่าวถึงอรรถแห่งความแล่นไปของบทว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะฉะนั้น จึงมี
ความว่า ได้แก่ การสละจิตลงในนิพพาน. พึงทราบเรื่องอันมาในพระสูตร
๔ เรื่อง ด้วยสามารถแห่งจตุตถจตุกะ. ในจตุกะนี้ พึงทราบถึงบทที่ควร
กล่าวถึงชราและมรณะโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
อนึ่ง ในสติปัฏฐานทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านทำการชี้แจงเป็น
เอกวจนะโดยกล่าวถึงกายและจิตเป็นอย่างเดียวว่า กาเย กายานุปสฺสนา
พิจารณากายในกาย จิตฺเต จิตตานุปสฺสนา พิจารณาจิตในจิต ทำการ
ชี้แจงเป็นพหุวจนะ โดยกล่าวถึงความต่าง ๆ กันของเวทนาและธรรมว่า
เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ธมฺเมสุ
ธมฺมานุปสฺสนา พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจตุตถจตุกนิเทศ และ
จบอรรถกถาสโตการญาณนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
อรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ
บัดนี้ เป็นสมาธิ ๒๔ ในวัตถุ ๑๒ คือสมาธิละสอง คือ สมาธิหนึ่งด้วย
สามารถลมอัสสาสะ สมาธิหนึ่งด้วยสามารถลมปัสสาสะ ในวัตถุละหนึ่งๆ แห่ง
วัตถุ ๑๒ ด้วยสามารถจตุกะ ๓ มีกายานุปัสสนาเป็นต้น ในสมาธิญาณนิเทศ
๒๔ ในญาณที่ท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยกองทั้ง ๖ กอง. ญาณสัมปยุตด้วยสมาธิ
เหล่านั้น ในขณะฌานด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔.
พึงทราบวินิจฉัยในวิปัสสนาญาณนิเทศ ๗๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า ทีฆ
อสฺสาสา เพราะลมอัสสาสะที่ท่านกล่าวแล้วว่า ยาว ท่านกล่าวไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิปสฺสนา เพราะอรรถว่า พิจารณาเห็นโดยความไม่
เที่ยงในขณะวิปัสสนาด้วยจิตตั้งมั่น เพราะได้ฌาน เพราะเหตุลมหายใจเข้ายาว.
แม้ในอรรถอื่นก็มีนัยนี้. ในวัตถุ ๑๒ คืออนุปัสสนาอย่างละ ๖ อนุปัสสนา ๓
ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะ. อนุปัสสนา ๓ ด้วยสามารถแห่งลมปัสสาสะในวัตถุ
ละหนึ่ง ๆ แห่งวัตถุ ๑๒ เหล่านั้น รวมเป็นอนุปัสสนา ๗๒. อนุปัสสนา ๗๒
เหล่านั้นแลเป็นญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒.
พึงทราบวินิจฉัยในนิพพิทาญาณนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจานุ-
ปสฺสี อสฺสาส พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า คือ
พิจารณาหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความว่า พิจารณาเป็นไปโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง. อนึ่ง คำว่า อสฺสาส นี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถแห่ง
เหตุ.
บทว่า ยถาภูต ปชานาติ ปสฺสตีติ นิพฺพิทาาณ ชื่อว่า
นิพพิทาญาณ เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตั้งแต่พิจารณาเป็นกอง ๆ ไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
จนถึงพิจารณาเห็นความดับ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย ย่อม
เห็นด้วยญาณจักษุนั้นดุจเห็นด้วยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพิทาญาณ.
ท่านอธิบายว่าชื่อว่านิพพิทาญาณในสังขารทั้งหลาย. พึงทราบว่าวิปัสสนาญาณ
เป็นนิพพิทาญาณตามที่ได้กล่าวแล้วในนิเทศนี้ เพราะญาณทั้งหลายมีภยตูปัฏ-
ฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ) เป็นต้น และมุญจิตุ-
กัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไป) เป็นต้นเป็นธรรมต่างกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทานุโลมญาณดังต่อไปนี้. บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาส พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า คือ พิจารณา
หายใจเข้าโดยเป็นของไม่เที่ยง. บทว่า ภยตุปฏฺาเน ปญฺา ปัญญาใน
ความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอันท่านกล่าวถึง ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีน-
วานุปัสสนาญาณ และนิพพิทานุปัสสนาญาณ ด้วยคำนั้นแล เพราะญาณทั้ง ๓
มีลักษณะอย่างเดียวกัน. ญาณ ๓ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า นิพพิทานุโลมญาณ
เพราะอนุโลมโดยความอนุกูลของนิพพิทาญาณดังที่กล่าวแล้วโดยลำดับ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณดังต่อไปนี้.บทว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาส เช่นเดียวกับที่กล่าวมาตามลำดับนั่นแหละ. บทว่า
ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา ปญฺา ปัญญาพิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็น
อันท่านกล่าวถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงถึง
ด้วยพิจารณาหาทาง) สังขารอุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยอยู่)
ด้วยคำนั้นเอง เพราะญาณทั้ง ๓ มีลักษณะอย่างเดียวกัน. แม้อนุโลมญาณ
และมรรคญาณท่านก็รวมไว้ด้วยคำว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา นั่นแหละ.
แม้สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณก็ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณด้วยละ
ความขวนขวายในการเกิดนิพพิทา เพราะนิพพิทาถึงยอดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
ส่วนมรรคญาณ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเกิดในที่สุด
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเหตุนั้น จึงควรอย่างยิ่ง. การไม่ถือเอามุญจิตุ-
กัมยตาญาณอันเป็นเบื้องต้นดุจในนิพพิทานุโลม. แล้วถือเอาญานสองหมวด
ในที่สุดว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา เพื่อสงเคราะห์เข้าในมรรคญาณ. เพราะ
เมื่อท่านกล่าวว่า มุญฺจิตุกมฺยตา ย่อมสงเคราะห์เอาอนุโลมญาณด้วย มิได้
สงเคราะห์เอามรรคญาณ. เพราะมรรคญาณมิได้ชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตา. อนึ่ง
ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺนา เพราะวางเฉยอยู่ในความสำเร็จกิจ.
อนึ่ง แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวว่า บทว่า ผุสนา ความถูกต้อง
คือ อปฺปนา ความแนบแน่น. ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺนา ความวางเฉย
เพราะทำมรรคญาณนี้เป็นอัปปนาในนิพพาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์
แม้มรรคญาณ ด้วยคำว่า สนฺติฏฺนา แม้นิพพิทานุโลมญาณ โดยอรรถ
ก็เป็นนิพพิทาญาณนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์นิพพิทานุโลมญาณ
เหล่านั้นด้วยนิพพิทาญาณแล้วใช้ศัพท์ นิพพิทา ว่า นิพฺพิทาปฏิปสฺสทฺธิ
าณานิ ดังนี้ ไม่ใช่ศัพท์ว่า นิพฺพิทานุโลม. ในวัตถุ ๔ คือ ญาณละ
๒ คือ ญาณหนึ่งด้วยสามารถแห่งลมอัสสะ ญาณหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งลม
ปัสสาสะในวัตถุหนึ่ง แห่งวัตถุ ๔ ที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอานาจแห่งธรรมานุปัสส-
นาจตุกะที่ ๔ ในญาณัฏฐกนิเทศ ๓ เหล่านี้ จึงรวมเป็นญาณ ๘.
พึงทราบวินิฉัยในวิมุตติสุขญาณนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระ
ครั้นแสดงการละด้วยบทว่า ปหีนตฺตา เพราะละแล้วเมื่อจะแสดงการละนั้น
ด้วยสมุจเฉทปหาน จึงกล่าวว่า สมุจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดขาด.
บทว่า วิมุตฺติสุเข าณ ญาณในวิมุติสุข คือ ญาณสัมปยุต
ด้วยวิมุตติสุขอันเป็นผล และญาณคือการพิจารณาวิมุตติสุขอันเป็นผลเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
อารมณ์. เพื่อแสดงว่า การละวัตถุทุจริตที่กลุ้มรุมด้วยการละกิเลสอันเป็นวัตถุ
นอนเนื่องในสันดาน ท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันเป็นอนุสัยอีก. ท่านทำการ
คำนวณญาณด้วยการคำนวณกิเลสที่ละได้แล้ว หมายถึงผลญาณ ๒๑. และท่าน
คำนวณปัจจเวกขณญาณอันเป็นผลด้วยการคำนวณพิจารณาถึงกิเลสที่ละได้แล้ว
หมายถึงปัจจเวกขณญาณ.
จบอรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ
จบอรรถกถาอานาปานสติกถาแห่งอรรถกถา
ปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่าสัมธัมมปกาสินี
มหาวรรค อินทริยกถา
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕
ประการนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
[๔๒๔] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ?
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เมื่อบุคคลงดเว้น
พวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สันธินทรีย์ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา
นั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ) พิจารณาสัมมัปธาน วิริยินทรีย์
ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืม
สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ) พิจารณาสติปัฏฐาน
สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีใจ
ไม่มั่นคง สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ) พิจารณาฌาน
และวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้น
พวกบุคคลทรามปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ)
พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้
เมื่อบุคคลงดเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก
(และ) พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้
ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.
[๔๒๕] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญ
อินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ?
บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ เจริญอินทรีย์ ๕ ย่อม
ด้วยอาการ ๑๐ บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาชื่อว่าเจริญสันธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้
เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญวิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
เกียจคร้าน เมื่อละความประมาท ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์
ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญ
สมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินทรีย์
เจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐
เหล่านั้น การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.
[๔๒๖] อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วย
อาการเท่าไร ?
อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐
คือ สัทธิทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้ว
ละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว
ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
เป็นคุณชาติอันเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้ว
ซึ่งความประมาท ความประมาทเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอัน
บุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ
อุทธัจจะเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว
อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรม
แล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทษชาติอัน
บุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.
[๔๒๗] อินทรีย์ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร เป็นอินทรีย์อัน
บุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วย อาการ ๔ เป็นอินทรีย์อันบุคคล
เจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ อินทรีย์ ๕
บุคคลย่อมเจริญในขณะโสดาปัตติมรรค เป็นอินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว
อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕
บุคคลย่อมเจริญในขณะสกทาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรม
แล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคล
ย่อมเจริญในขณะอนาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว
ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะ
อรหัตมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และ
ระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล.
มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔
ด้วยประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ เป็น
อินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ
๔ เหล่านี้.
[๔๒๘] บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว.
บุคคล ๘ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์ ? พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑
บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์.
บุคคล ๓ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์แล้ว ? พระขีณาสพสาวกพระตถาคต
ชื่อว่าพุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
พระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่ามีพระคุณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ประมาณไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วย
ประการดังนี้.
สาวัตถีนิทาน
[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?
คือสัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นหาได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือได้รับยกย่องว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้งซึ่งสามัญผล
หรือพรหมัญผลด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ไม่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดซึ่งเหตุ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านี้
ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้ได้รับยกย่องว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และ
ท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลและพรหมัญผล ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง
เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
[๔๓๐] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้เหตุเกิด
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการเท่าไร
บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วย
อาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มี
โทษด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้อุบายเป็น
เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ?
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้ความดับ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ บุคคลย่อม
รู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ บุคคล
ย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัด
ออกไปด้วยอาการ ๑๘๐ บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๑๘๐.
[๔๓๑ ] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อม
รู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ?
เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจ เชื่อเป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็น
เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธิน-
ทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์
แก่ความประคองไว้ เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถ
ความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถ
ความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่าง
เดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง
ความคานึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิด
แห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
มนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏ
ธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นเหตุแห่งสตินทรีย์ เหตุ-
เกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์
เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ
เห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น
เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็น เป็น
เหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.
เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ
ประคองไว้ เป็นเหตุแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อ
ประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง
เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิด
แห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุ
เกิดแห่งฉันทะความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น เป็นเหตุเกิด แห่งปัญญินทรีย์
เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
สัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็น
เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็น
เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ
สัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียว
ด้วยสามารถวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรม
อย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็น
ธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความ
ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญิน-
ทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.
[๔๓๒] อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อม
รู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ?
ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การน้อมใจเชื่อ เป็นความ
ดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ
เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อ
ประโยชน์แก่ความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่ง
ฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับ
แห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความ
ไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
วิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั่งมั่น เป็น
ความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็น
ความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น
เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ
สตินทรีย์เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์
แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย
สามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการ
ด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏ
เป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์
ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับ
แห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.
ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ
ประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อ
ประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความ
คำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์
ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความประคองไว้
เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย สามารถแห่งความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
ตั้งมั่นเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย
สามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่ง
มนสิการ ด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์
ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น
เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่าง
เดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏ
เป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นความดับแห่งสตินทรีย์
ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญิน-
ทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐.
เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.
[๔๓๓] อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้คุณ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน ?
ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่ง
สัทธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณ
แห่งสัทธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่
ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความประคองไว้เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสุขความ
โสมนัสอันอาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏ
แห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน
เพราะความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติ
ด้วยการตั้งมั่นเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม
เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณ
แห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณเเห่งสมาธินทรีย์ ความไม่
ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความ
ไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความ
แกล้ากล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสุข
ความโสมนัสอันอาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่
ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน
เพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติ
ด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม
เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น
เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคล
ย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.
[๔๓๔] อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้
โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
ความปรากฏแห่งอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏ
แห่งความเร่าร้อนเพราะอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์
มีโทษ เพราะความไม่เที่ยง... เป็นทุกข์... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่ง
ความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อน
เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษ แห่งวิริยินทรีย์ วิริยินทรีย์มีโทษเพราะ
ความไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งความประมาท
เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะควานประมาท
เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ สตินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง... เป็นทุกข์...
เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏ
แห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ สมาธินทรีย์มีโทษ
เพราะความไม่เทียง... เป็นทุกข์... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งอวิชชา
เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็น
โทษแห่งปัญญินทรีย์ ปัญญินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...
เป็นอนัตตา อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้โทษแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.
[๔๓๕] อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ ๑๘๐
เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไป แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๑๘๐ เป็นไฉน ?
สัทธิทรีย์ด้วยอรรถว่าความน้อมใจเชื่อ สลัดออกไปจากความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากเหล่า
กิเลสทีเป็นไปตามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก
๑ จากสัทธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ วิริยิน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สลัดออกไปจากความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากความ
เร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้
เกียจคร้าน ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่
ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สลัด
ออกไปจากความประมาท ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความประมาท ๑ จากเหล่า
กิเลสที่เป็นไปตามความประมาท ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑
จากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ทีประณีตกว่านั้น ๑ สมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ ๑ จากความเร่าร้อนเพราะ
อุทธัจจะ ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากสมาธินทรีย์ชึ่งมีอยู่ก่อน
แต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น สลัด
ออกไปจากอวิชชา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไป
ตามอวิชชา จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่
ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถปฐมฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน
ส่วนเบื้องต้น อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถทุติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕
ในปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถตติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕
ในทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถจตุตถฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕
ในตติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัด
ออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจาก
อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณญัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
ยตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนิจานุปัสสนา สลัดออกไปจาก
อินทรีย์ ๕ ในแนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง
ทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕
ด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน
อนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิราคานุปัสสนา สลัดออกไป
จากอินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิโรธา-
นุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วย
สามารถแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฎิ-
นิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวยานุปัสสนา สลัดออกไปจาก
อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิปริณามานุปัสสนา
สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง
อนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์
๕ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน
อนิมิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสุญญตานุปัสสนา สลัดออก
ไปจากอินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งยถาภูตญาณทัสนะ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอาทีนวานุปัสสนา สลัด
ออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง
ปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
ด้วยสามารถแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขา-
นุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติมรรค สลัดออกไปจาก
อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติผล
สมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถ
แห่งสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติผลสมาบัติ
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิมรรค สลัดออกไป
จากอินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิผล
สมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถ
แห่งอรหัตมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕
ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลสมาบัติสลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค.
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกไปจากกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ใน
อัพยาบาท สลัดออกไปจากพยาบาท อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกไปจาก
ถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ อินทรีย์ ๕ ใน
ธรรมววัตถาน สลัดออกไปจากวิจิกิจฉา อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกไป
จากอวิชชา อินทรีย์ ๕ ในความปราโมทย์ สลัดออกจากอรติ อินทรีย์ ๕
ในปฐมฌาน สลัดออกไปจากนิวรณ์ อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกไป
จากวิตกวิจาร อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกไปจากปีติ อินทรีย์ ๕ ใน
จตุตถฌาน สลัดออกไปจากสุขและทุกข์ อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ สลัดออกไปจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา อินทรีย์ ๕
ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากาสานัญจายตนสัญญา อินทรีย์
๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากิญจัญญาย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
ตนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิจจสัญญา อินทรีย์
๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากสุขสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา
สลัดออกไปจากอนัตตสัญญา อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไป
จากความเพลิดเพลิน อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากราคะ
อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากสมุทัย อินทรีย์ ๕ ในปฏิ-
นิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่น อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา
สลัดออกไปจากฆนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากการ
ประมวลอายุ อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากธุวสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิมิต อินทรีย์ ๕ ในอัปป-
ณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากปณิธิ อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา
สลัดออกไปจากความถือมั่น อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออก
ไปจากความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นแก่นสาร อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ
สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะความหลง อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา
สลัดออกไปจากความถือมั่นด้วยความอาลัย อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา
สลัดออกไปจากการไม่พิจารณาหาทาง อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา
สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ อินทรีย์ ๕ ในโสดา-
ปัตติมรรค สลัดออกไปจากกิเลสซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิ อินทรีย์ ๕ ใน
สกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนหยาบ ๆ อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค
สลัดออกไปจากกิเลสส่วนละเอียด อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค สลัดออกไป
จากกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ เป็นคุณชาติอันพระขีณาสพ
ทั้งปวงเทียวสลัดออกแล้ว สลัดออกดีแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้ว อินทรีย์
๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้อุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้.
จบภาณวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยประเภทของอินทรีย์ ๕
[๔๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕
เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญิ-
นทรีย์ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในโส-
ดาปัตติยังคะ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
สัมมัปปธาน ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในสติ-
ปัฏฐาน ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
ฌาน ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน
อริยสัจ ๔.
[๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔
จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน
๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน
๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริย-
สัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐.
[๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึง
เห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดา-
ปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ
การฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์
ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง
สตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน?
พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปป-
ธาน ๔ คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
ในสัมมัปปธาน คือ การยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปป-
ธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์
ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาตินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น.
[๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน จะพึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน
คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตใน
จิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคอง ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
สามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ใน
ปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯสฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุต-
ถฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ คือ
ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่า
เป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็น
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น.
[๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ?
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ใน
สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะ
พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐.
[๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
น้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วย
อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ใน
ความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
ปัตติยังคะ คือ การทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ
คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๕ ] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน. จะพึงเห็น
ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง
วิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ใน
สัมมัปปธาน คือ การบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ใน
สัมมัปปธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความ
ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
[๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติ
แห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่ง
สตินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน
๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า
เห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถที่น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๘ จะพึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ
เห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึง
เห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ
ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจ
เชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๔๔๙] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอด
แล้ว เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่
ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑
อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑
ปัตติจริยา ๑ โลกัตถจริยา ๑.
ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติใน
อายตนภายในภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติใน
อริยสัจ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา
ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่งเป็น
ประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจก-
พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา
เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้ อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครอง
อินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยา
เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว
และโลกัตถจริยาเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจก
พุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วน จริยา ๘ เหล่านี้.
จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติ
ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น
ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด
ย่อมประพฤติด้วย ปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมพระพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบว่า ท่าน
ปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
ว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อม
ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้.
จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฏฐิ ๑ อภิโรปน-
จริยาแห่งสัมมาสังกับปะ ๑ ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา ๑ สมุฏฐานจริยา
แห่งสัมมากัมมันตะ ๑ โวทานจริยาแห่งสัมมาอาชีวะ. ปัคคหจริยาแห่ง
สัมมาวายามะ ๑ อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ ๑ อวิกเขปจริยาแห่งสัมมาสมาธิ ๑
จริยา ๘ เหล่านี้.
[๔๕๐] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วย
ศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ
ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา.
คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความ
ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
สมาธินทรีย์ ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้ตามแล้ว.
คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์...
ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว.
คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้.
คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ...ด้วยปัญญาอย่างนี้.
คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้.
คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศ
อย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา
ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสฺ าเนสุ.
คำว่า โอกปฺเปยยุ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ.
คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่
สงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสอง
เป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่อง
กล่าวโดยหลักฐาน.
คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
ด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง.
คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คาว่า หรือว่าจักบรรลุ
ความว่า จักถึงทับ.
จบนิทานบริบูรณ์
[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ๕ เป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล.
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ ๖
พึงเห็นด้วยอรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระ
ในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่า
ครอบงำ ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.
[๔๕๒] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ?
พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่ง
บุคคลและความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความ
เกียจคร้าน พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วย
อรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น แห่งบุคคลผู้ละความประมาท พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า
เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละอุทธัจจะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธิ
นทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น แห่งบุคคลผู้ละ
อวิชชา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็น
ใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ
ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วย
สามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วย
สามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.
พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย
อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วย
สามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อม
ใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท แห่งบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วย
สามารถแห่งอาโลกสัญญา แห่งบุคคลผู้ละถีนมิทธะ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค แห่ง
บุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึง
เห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึง
เห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างนี้.
[๔๕๓] พึงเห็นอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น
อย่างไร.
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวัง
ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น แห่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความเกียจคร้าน เป็น
เครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็น
สีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความประมาท เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่ง
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ด้วย
อรรถว่าเห็น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังอวิชชา เป็นเครื่องชำระใน
เบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถ
ว่าระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ อินทรีย์ ๕
ในความไม่พยาบาท เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังพยาบาท เป็นเครื่อง
ชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค เป็นสีล-
วิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์
๕ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นอย่างนี้.
[๔๕๔] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับ
ทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ
ความปราโมทย์เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ปีติเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
ความปราโมทย์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ
แห่งปีติ ปัสสัทธิเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปีติ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุขเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
ปัสสัทธิ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่ง
ความสุข โอภาสเกิดขึ้นด้วยสามารถความสุข สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจโอภาส สังเวชเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโอภาส
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสังเวช จิตสังเวช
แล้วย่อมตั้งมั่น สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ
สมาธิ จิตมั่นคงอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจการประคองไว้ จิตประคองแล้วอย่างนั้นย่อม
วางเฉยดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธาด้วยอำนาจอุเบกขา
จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา สัทธินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นมีกิจ
เสมอกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจ
เสมอกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
เป็นธรรมที่เจริญแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วย
อำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมที่หลีกไปแล้ว
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม
ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยไปแล้ว สัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วย
สามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ ๑ ความปล่อย
ด้วยความแล่นไป ๑ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลส
และขันธ์ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปใน
นิพพานธาตุเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการนี้.
[๔๕๕] ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญวิริยินทรีย์ เพื่อละความ
เกียจคร้าน เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่
ร่วมกันกับทิฏฐิ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญ
สตินทรีย์ เพื่อละความประมาท เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฯลฯ
เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสมาธินทรีย์ เพื่อละ
อุทธัจจะ เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญปัญญินทรีย์ เพื่อละอวิชชา เพื่อละความเร่าร้อน
เพราะอวิชชา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ
เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย
สามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ
ฉันทะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณ
ยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปีติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุข
ย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่ง
ปัญญา ด้วยอำนาจความสุข โอภาสย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความสุข ปัญญิน-
ทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชย่อม
เกิดด้วยสามารถแห่งโอภาส ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา
ด้วยอำนาจความสังเวช จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจสมาธิจิตตั้งมั่น แล้วอย่างนั้น ย่อมประคอง
ไว้ดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความประคอง
ไว้ จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉยด้วยดี
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจอุเบกขา
จิตย่อมหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีย์มีประ-
มาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมมี
กิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรม
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีต
กว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา
ด้วยอำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม
ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยแล้ว ปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วยอำนาจ
แห่งความดับมี ๒ ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ๑ ความปล่อยด้วยความ
แล่นไป ๑ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุ
อันเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการนี้ พึงเห็น
อินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างนี้.
จบภาณวาร
[๔๕๖] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างไร.
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วย
สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ
แห่งฉันทะ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ฯลฯ จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างนี้.
[๔๕๗] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างไร.
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ย่อมครอบงำความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา วิริยินทรีย์
ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมครอบงำความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำ
ความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมครอบงำ
ความประมาท ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความประมาท สมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ย่อมครอบงำความเร่าร้อน
เพราะอุทธัจจะ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมครอบงำอวิชชา ย่อม
ครอบงำความเร่าร้อนเพราะอวิชชา อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ย่อมครอบงำ
กามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่พยาบาท ย่อมครอบงำพยาบาท อินทรีย์ ๕
ในอาโลกสัญญา ย่อมครอบงำถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค ย่อมครอบงำกิเลส
ทั้งปวง จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
[๔๕๘] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างไร.
ผู้มีศรัทธา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ ผู้มีความเพียรย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความเพียร ย่อมให้ตั้งอยู่
ในความประคองไว้ ผู้มีสติย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์
ของผู้มีสติ ย่อมให้ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้ง-
ซ่าน ผู้มีปัญญาย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มี
ปัญญา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความเห็น พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ใน
เนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พระ
โยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระ-
โยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕
ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในอาโลก-
สัญญา พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์ ๕
ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พระโยคาวจรย่อม
ให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้
ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างนี้.
[๔๕๙] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗
พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ ท่านผู้ปราศ-
จากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐.
[๔๖๐] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๗ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้มีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๑ เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ๑ เป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ๑ ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ เหล่านี้.
พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘
เป็นไฉน ?
พระเสขะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
อารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว พระเสขะผู้เจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๑๐ เป็นไฉน ?
ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ท่านผู้
ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.
[๔๖๑] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญ-
วิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร.
ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ท่านผู้
ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒.
[๔๖๒] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๙ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน ?
ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็น
สุข ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความเสื่อมไป ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑ เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย
ความยั่งยืน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย
ความยึดมั่น ๑ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๙ เหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้.
พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐
เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ?
พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่
ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ?
ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง
ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่ง
มิใช่ญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
ในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย
๑๒ เหล่านี้ บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร
และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
[๔๖๓] คำว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลง ความว่า ย่อมให้
อินทรีย์ประชุมลงอย่างไร ย่อมให้สัทธินทรีย์ประชุมลงด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ
เป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วย
สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ความสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
โดยความเป็นทุกข์ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ
เป็นสุข ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ด้วย
สามรถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้ง
ไว้โดยความเสื่อมไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ
ประมวลมา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความแปรปรวน
ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นสภาพที่หานิมิตมิได้ ด้วยสามารถ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยเป็นสภาพมีนิมิต ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยสภาพมีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความเป็นสภาพสูญ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึด
มั่น ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความดับ
ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๖๔] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ด้วยอาการ
๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึง
ฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร.
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อัญญตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑
คือ อรหัตผล.
[๔๖๕] ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็น
บริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
โสมนัสสินทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการ
สืบต่อแห่งความเป็นไปเป็นบริวารธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค
เว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็น
ธรรมที่นำออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วน
เป็นธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์มีอินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร
มีธรรมที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น
สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น
แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา-
ปัตติผล ฯลฯ.
ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
เชื่อเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความ
เป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิต
เป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นอพัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ
ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์
๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
เป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็นอินทรีย์ ๖๔
ด้วยประการฉะนี้.
[๔๖๖] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ
เหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ
ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะ
สกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะ
ทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไป
เพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ
และอวิชชาทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน
ขณะอรหัตมรรคนี้.
บทธรรมที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีโนโลกนี้ อนึ่ง บทธรรม
อะไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงทราบแล้ว ไม่พึงทรงทราบมิได้มี พระตถาคต
ทรงทราบธรรมที่ควรนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าเป็น
พระสมันตจักษุ.
คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถว่า
กระไร.
พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ฯลฯ
สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณ ๑๔ นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
ในพระพุทธญาณ ๑๔ นี้ ญาณ ๘ ข้างต้นทั่วไปกับพระสาวก ญาณ ๖ ข้าง
หลังไม่ทั่วไปกับพระสาวก.
[๔๖๗] พระตถาคตทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก
ตลอดหมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า
สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์
ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่
ทนได้ยาก พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรง
ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ
สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง
ฯลฯ สภาพแห่งอรรถปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ
สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่ง
นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
ทั้งหลาย ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น
ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ
โนโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วย
ปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่าสมันตจักษุ สมันตจักษุ
เป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ...สมาธินทรีย์ด้วยอรรถ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อม
ตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคอง
ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อ
ตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง
ใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติ
มั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ย่อมประคองไว้ เมื่อประคอง
ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น
ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้
ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั่งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อรู้ชัด
ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด
เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง
ใจมั่นย่อมรู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคอง
ไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้ประ
คองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
เป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัด จึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประ-
คองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็น
ผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง
สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงรู้ชัด พระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณเป็นพระจักษุ อัน
เป็นเครื่องให้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุก็มี
มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มี
อาการดีก็มี มีอาการชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดย
ยากก็มี บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย.
[๔๖๘] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก
ในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร...ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
สติตั้งมั่น...ผู้มีจิตตั้งมั่น...ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
บุคคลผู้เกียจคร้าน...ผู้มีสติหลงลืม...ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ.
คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ
ผู้มีปัญญา ชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน.
คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
ชื่อว่าผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่า
ผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว.
คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงให้ฝึกให้รู้ได้โดยยาก
ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มี
ปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก.
คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บาง
พวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.
คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาการ ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะ
ภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙
คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.
คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ
อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความ
สำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้า
ปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาต ซึ่งกำลังแกว่งดาบ
เข้ามาโดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรง
รู้ชัดแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.
จบตติยภาณวาร
จบอินทริยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
๔. อินทริยกถา
๑. อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ
บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาในอินทริย-
กถา ซึ่งกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา.
จริงอยู่ อินทริยกถานี้ท่านกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา เพื่อแสดง
วิธีมีการชำระอินทรีย์ อันเป็นอุปการะแก่อานาปานสตินั้น เพราะไม่มี
อานาปานสติภาวนา ในเพราะความไม่มีอินทรีย์ทั้งหลายอันเป็นอุปการะแก่
อานาปานสติภาวนา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะทำอินทริยกถา
ที่ควรกล่าวนั้น อันเป็นเทศนาที่มีมาในพระสูตร โดยประสงค์จะให้รู้ซึ่งตน
ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นเบื้องต้นจึงกล่าวคำ
เป็นอาทิว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นบทนิบาต. บททั้งหลายมีอาทิว่า เม
เป็นบทนาม. บทว่า วิ ในบทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ
เป็นบทอาขยาย. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้.
แต่โดยอรรถ เอว ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถแห่งนิทัศนะการชี้แจง
และในอรรถแห่งอวธารณะ (การรับรอง) ในการถือเอาคาอันเป็นอุปมาการอ้าง
การติเตียน การสรรเสริญและอาการ. แต่ เอว ศัพท์ในที่นี้วิญญูชนบัญญัติ
ลงในอรรถแห่งอาการและในอรรถแห่งนิทัศนะ และในอรรถแห่งอวธารณะ
ก็เหมือนอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
ในอรรถเหล่านั้น ท่านแสดงความนี้ด้วย เอว ศัพท์ อันมีอาการเป็น
อรรถ แปลว่า ด้วยอาการอย่างนี้. ใคร ๆ สามารถจะรู้พระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น อันมีนัยต่าง ๆ ละเอียด มีอัธยาศัยไม่น้อยเป็นสมุฏฐาน
สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์หลายอย่างลึกซึ้งด้วยเหตุผลเทศนา
และปฏิเวธอันมาสู่คลองโสตโดยสมควรแก่ภาษาของตน ๆ แห่งสัตว์ทั้งปวงได้
โดยทุกประการ แม้ยังผู้ประสงค์จะพึงให้เกิดด้วยกำลังทั้งปวง จึงกล่าวว่า
เอว เม สุต คือแม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วด้วยอาการหนึ่งดังนี้. พระสารีบุตร
เถระ เมื่อจะออกตัวว่า เรามิใช่พระสยัมภู สิ่งนี้เรายังมิได้ทำให้แจ้ง ด้วย เอว
ศัพท์อันมีนิทัศนะเป็นอรรถ จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอว เม
สุต แม้เราก็สดับมาแล้วอย่างนี้ดังนี้. ด้วยมีอวธารณะเป็นอรรถ พระสารีบุตร
เถระ เมื่อจะแสดงกำลังอันทรงไว้ของตน สมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรง
สรรเสริญ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
สาวกของเรา มีปัญญามาก สารีบุตรเป็นผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายัง
ไม่พิจารณาเห็นบุคคลอื่นแม้สักคนเดียว ซึ่งเป็นผู้ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่
ตถาคตประกาศไปแล้วอย่างนี้ ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้องเหมือนสารีบุตร
เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศ
แล้ว ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้อง จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิดแก่สัตว์
ทั้งหลายว่า เราสดับมาแล้วอย่างนี้ พระธรรมจักรนั้นแลไม่บกพร่องไม่เกิน
โดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นเป็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็น
อย่างอื่น.
เม ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติและฉัฏฐี-
วิภัตติ. แต่ในที่นี้ย่อมควรในสองอรรถว่า มยา สุต อันเราสดับแล้ว และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
มม สุต สดับแล้วแก่เราดังนี้. ศัพท์ว่า สุต นี้เป็นทั้งอุปสรรคและมิใช่อุปสรรค
ย่อมปรากฏในการฟังชัด การไป การชุ่มชื้น การสะสม การประกอบ การ
รู้แจ้งทางหู และเมื่อจะรู้ ย่อมปรากฏด้วยการแล่นไปตามโสตทวาร. แต่ในที่นี้
สุต ศัพท์นั้นมีความว่า เข้าไปทรงไว้หรือการเข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตาม
โสตทวาร.
เมื่อ เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยา ย่อมควรว่า อันเราสดับแล้ว
อย่างนี้ คือ เข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตามโสตทวาร. เมื่อมีอรรถว่า มม ย่อม
ควรว่า การฟังคือการเข้าไปทรงไว้โดยตามแล่นไปทางโสตทวารของเราอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่รู้ความที่การฟังอันตนให้เกิดแล้วว่า เราสดับ
มาแล้วอย่างนี้ เมื่อจะเปิดเผยการฟังอันมีมาก่อน ย่อมยังความไม่เชื่อถือใน
ธรรมนี้ให้พินาศไปว่า คำนี้เรารับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าด้วยเวสารัชธรรม ๔ ผู้ทรงกำลัง ๑๐ ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ
อันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นอิสระในธรรม
ผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้เป็นธรรมประทีป ผู้เป็นธรรมสรณะ
ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ควรทำความเคลือบแคลงสงสัย ในอรรถ ในธรรม ในบท ในพยัญชนะ
นี้เลย ยังสัทธาสัมปทาให้เกิด. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
สาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า เราสดับ
มาแล้วอย่างนี้ ย่อมยังผู้ไม่เชื่อให้พินาศไป ยังผู้เชื่อ
ให้เจริญในพระศาสนา ดังนี้.
บทว่า เอก แสดงจำนวน. บทว่า สมย แสดงกำหนด. บทว่า เอก
สมย แสดงความไม่แน่นอน. สมย ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
ในการประชุม ขณะ กาล หมู่ เหตุ ทิฏฐิ
การได้ การละ และการแทงตลอด.
แต่ในที่นี้ สมย ศัพท์ เอาความว่า กาล. ด้วยเหตุนั้นท่านแสดงว่า เอก
สมย โนสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย้อนเป็นประเภทแห่งกาล มีปี ฤดู
เดือน กึ่งเดือน คืน วัน เช้า เที่ยง เย็น ยามต้น ยามกลาง ยามสุด
และครู่ เป็นต้น.
ในกาลทั้งหลายมีปีเป็นต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร
ใด ๆ ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ กลางคืนหรือกลางวันใด ๆ พระสูตรนั้น
ทั้งหมด พระเถระรู้แล้วเป็นอย่างดี กำหนดแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาโดยแท้.
แต่เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น
เดือนโน้น ปักษ์โน้น กลางคืนวันโน้น หรือกลางวันวันโน้น ไม่สามารถ
จะทรงจำได้ จะยกขึ้นแสดงได้ หรือให้ยกขึ้นแสดงได้โดยง่าย ควรจะกล่าว
ให้มาก ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประมวลความนั้นลงด้วยบทเดียวเท่านั้นแล้ว
กล่าวว่า เอก สมย.
ในบรรดาสมัยอันมีประเภทมากมาย ตามประกาศไว้ในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยลงสู่พระครรภ์
สมัยประสูติ สมัยเกิดสังเวช สมัยเสด็จทรงผนวช สมัยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
สมัยชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยเสวยสุขในทิฏฐิธรรม สมัยเทศนา สมัยปรินิพพาน
แสดงถึงสมัยหนึ่ง คือ สมัยเทศนา. ท่านกล่าวว่า เอก สมย หมายถึง
สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยอันเป็นสมัยทรงบำเพ็ญกิจด้วยพระกรุณาใน
สมัยทรงบำเพ็ญพระญาณกรุณา อันเป็นสมัยทรงปฏิบัติประโยชน์ เพื่อผู้อื่น
ในสมัยที่ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์เพื่อผู้อื่น อันเป็นสมัยแสดง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
ธรรมิกถาในสมัยที่ทรงกระทำกิจแก่ผู้มาประชุมกัน อันเป็นสมัยทรงประกาศ
พระศาสนา.
อนึ่ง เพราะบทว่า เอก สมย เป็นอัจจันตสังโยคะ คือ เป็นทุติยา-
วิภัตติลงในอรรถว่า สิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้หรือพระสูตร
อื่นสิ้นสมัยใด ทรงอยู่ด้วยพระกรุณาวิหาร สิ้นสมัยนั้นตลอดกาล ฉะนั้น
เพื่อส่องความนั้น ท่านจึงทำให้เป็นทุติยาวิภัตติ ดังที่ท่านกล่าวว่า
ท่านเพ่งถึงอรรถนั้น ๆ แล้วจึงกล่าว สมย ศัพท์
ในที่อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ ในที่นี้กล่าว
ด้วยทุติยาวิภัตติ.
ส่วนพระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาว่า สมย ศัพท์นี้มีความ
ต่างกันเพียงคำพูดว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น เตน สมเยน ด้วยสมัย
นั้น หรือ ต สมย สินสมัยนั้น ในที่ทั้งปวงมีความเป็นสัตตมีวิภัตติทั้งนั้น.
เพราะฉะนั้น แม้เมื่อกล่าวว่า เอก สมย ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย
ในสมัยหนึ่ง.
บทว่า ภควา คือครู. เพราะชนทั้งหลายในโลกเรียกครูว่า ภควา
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วย
คุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทว่า ภควา ต่อไป. แม้พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายก็ยังกล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงที่สุด พระตถาคตนั้นทรงเป็นผู้ควรแก่ความ
เคารพ คารวะ ด้วยเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า ภควา.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความโดยพิสดารแห่งบทนั้นด้วยคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงมีภาคยธรรม ๑
ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๑ ทรง
จำแนกธรรม ๑ ทรงมีผู้ภักดี ๑ ทรงคายการไปในภพ
ทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับการขนานพระนามว่า ภควา.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ท่านกล่าวไว้ในพุทธานุสติ
นิเทศ ในวิสุทธิมรรคแล้ว.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ในนิเทศนี้ท่านแสดงเทศนาสมบัติด้วยคำว่า เอว
แสดงสาวกสมบัติ ด้วยบทว่า เม สุต แสดงกาลสมบัติว่า เอก สมย
แสดงเทศกสมบัติด้วยบทว่า ภควา.
อนึ่ง ในบทว่า สาวตฺถิย นี้ ชื่อว่า สาวตฺถี เป็นนครอันเป็นที่อยู่
ของฤษีชื่อว่า สวัตถะ. นักอักษรศาสตร์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า เหมือนนครกากันที
มากันที. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า สาวตฺถี เพราะมนุษย์
ทั้งหลายมีเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างโดอย่างหนึ่งทั้งหมด. อนึ่ง เมื่อพวกกอง-
เกวียนถามว่า มีสินค้าอะไร ชาวกรุงสาวัตถีตอบว่า มีทุกอย่าง.
เครื่องอุปกรณ์ทุกชนิด รวมอยู่ในกรุงสาวัตถี
ตลอดทุกกาล เพราะฉะนั้น อาศัยเครื่องอุปกรณ์
ทั้งหมด จึงเรียกว่า สาวัตถี.
ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น. บทว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า
ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้แสดงการพร้อมด้วยการอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดา
การอยู่ด้วยอิริยาบถ และการอยู่อันเป็นของทิพย์ ของพรหม ของพระอริยะ
โดยไม่พิเศษ. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งใน
บรรดาอิริยาบถทั้งหลาย อันมีประเภทเช่นยืน เดิน นั่งและนอน. ด้วยเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ประทับยืน แม้ทรงดำเนิน แม้ประทับนั่ง แม้บรรทม
ก็พึงทราบว่า วิหรติ ประทับอยู่นั่นแล.
ในบทว่า เชตวเน นี้ ชื่อ เชตะ เพราะทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู
ของพระองค์ หรือชื่อ เชตะ เพราะเกิดเมื่อชนะชนผู้เป็นศัตรูของพระราชา
ของตน หรือชื่อ เชตะ เพราะตั้งชื่ออย่างนี้แก่พระกุมาร เพราะทำให้เป็น
มงคล. ชื่อว่า วน เพราะปรารถนา ความว่า เพราะทำความยินดีแก่สัตว์
ทั้งหลาย เพื่ออัตตสมบัติ เพราะยังความสิเนหาให้เกิดในตน. หรือชื่อว่า
วน เพราะเชิญชวน ความว่า ดุจขอร้องสัตว์ทั้งหลายว่า จงมาใช้สอยกะ
เราเถิด มีทั้งลมไหวอ่อน ๆ ต้นไม้ กิ่งไม้ คบไม้ หน่อไม้ ใบไม้ ซึ่งทำ
ให้เกิดความเพลิดเพลินด้วยความหอมของดอกไม้นานาชนิด และเป็นที่ยินดี
ของวิหคมีนกดุเหว่าเป็นต้น.
สวนของเจ้าเชต ชื่อว่า เชตวัน เพราะสวนนั้น พระราชกุมารพระ-
นามว่า เชตะ ทรงปลูก ทำให้งอกงาม ทรงดูแลรักษาอย่างดี. อนึ่ง เจ้าเชต
นั้นเป็นเจ้าของสวนนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เชตวน สวนของเจ้าเชต.
ในเชตวันนั้น ชื่อว่า วน มีสองอย่าง คือ สวนปลูกและเกิดเอง. เชตวันนี้
และเวฬุวันเป็นต้นเป็นสวนปลูก. อันธวัน มหาวันเป็นต้นเกิดเอง.
บทว่า อนาถปณฺฑิกสฺส อาราเม อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี
มารดาบิดาตั้งชื่อว่า สุทัตตคหบดี. อนึ่ง เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความประสงค์
ทุกประการ เพราะปราศจากความตระหนี่และเพราะเพียบพร้อมด้วยคุณมีกรุณา
เป็นต้น ได้บริจาคก้อนข้าวแก่คนอนาถาตลอดกาล ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่า
อนาถบิณฑิกะ ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่มายินดีของสัตว์หรือโดยเฉพาะ
บรรพชิต. บรรพชิตทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ ย่อมยินดี ย่อมยินดียิ่ง เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
อารามนั้นงามด้วยดอกไม้และผลไม้เป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์แห่ง
เสนาสนะ ๕ อย่างมีไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น ความว่า เป็นผู้ไม่
รำคาญอาศัยอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะแม้เมื่อชนไปในที่นั้น ๆ
มาในระหว่างของตนแล้วให้ยินดีด้วยสมาบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว เพราะ
อารามนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ซื้อด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ จากพระหัตถ์ของ
พระราชกุมารเชตะเพื่อเกลี่ยพื้นที่ แล้วให้สร้างเสนาสนะด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ
สร้างทางไปสู่วิหารด้วยเงิน ๑๘ โกฏิแล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขด้วยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นจึงเรียกว่าอาราม
ของอนาถปิณฑิกะ. อารามของอนาถปิณฑิกะนั้น.
อนึ่ง คำว่า เชตวเน ประกาศเจ้าของเดิม. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ประกาศเจ้าของหลัง. ประโยชน์อะไรในการประกาศชนเหล่านั้น.
เป็นการนึกถึงทิฏฐานุคติของผู้ประสงค์บุญทั้งหลาย. เจ้าเชตทรงบริจาคเงิน
๑๘ โกฏิ ที่ได้จากการขายพื้นที่ในสร้างซุ้มประตูและปราสาท และต้นไม้
มีค่าหลายโกฏิ อนาถปิณฑิกบริจาค ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการ
ประกาศชื่อชนเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่า ผู้ใคร่บุญ
ทั้งหลายย่อมทำบุญอย่างนี้ ย่อมชักชวนผู้ใคร่บุญแม้เหล่าอื่น ในการนึกถึง
ทิฏฐานุคติของท่านเหล่านั้น.
ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุง
สาวัตถี ก็ไม่ควรกล่าวว่า เชตวเน อนาถปิณฺทิกสฺส อาราเม ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้นประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ก็ไม่
ควรกล่าวว่า สาวัตฺถิย ใกล้กรุงสาวัตถี เพราะสมัยเดียวไม่สามารถจะประทับ
อยู่ในที่สองแห่งได้. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า
บทว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ คือ ใกล้กรุงสาวัตถี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
เพราะฉะนั้น เหมือนฝูงโคทั้งหลายเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนา
เป็นต้น ก็เรียกว่า ฝูงโคเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา
ฉันใด แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุง
สาวัตถี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็กล่าวว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้กรุงสาวัตถี เพราะคำว่า กรุงสาวัตถี
ของบทนั้นเพื่อแสดงถึงโคจรคาม คำที่เหลือเพื่อแสดงถึงที่อยู่อันสมควรแก่
บรรพชิต.
ในบทเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงถึงการทำความอนุเคราะห์
คฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประกาศชื่อกรุงสาวัตถี แสดงถึงการทำ
ความอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยประการชื่อเชตวัน เป็นต้น อนึ่ง ด้วยบทต้น
แสดงถึงการเว้นการประกอบอัตตกิลมถานุโยค เพราะได้รับปัจจัย ด้วยบท
หลังแสดงถึงอุบายเป็นเครื่องเว้นการประกอบกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ
วัตถุกาม.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทก่อนแสดงถึงการประกอบธรรมเทศนา ด้วย
บทหลังแสดงถึงการน้อมไปเพื่อวิเวก. ด้วยบทก่อนแสดงถึงการเข้าถึงด้วย
พระกรุณา ด้วยบทหลังแสดงถึงการเข้าถึงด้วยปัญญา. ด้วยบทต้นแสดงถึง
ความเป็นผู้น้อมไปเพื่อยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยบทหลัง
แสดงถึงความไม่เข้าไปติดในการทำประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น. ด้วยบทต้นแสดง
ถึงการอยู่ผาสุก มีการไม่สละสุขอันประกอบด้วยธรรมเป็นนิมิต ด้วยบทหลัง
แสดงถึงการอยู่ผาสุก มีการประกอบธรรมอันยอดเยี่ยมของมนุษย์. ด้วยบทต้น
แสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยบทหลังแสดงถึง
ความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่ทวยเทพ. ด้วยบทต้นแสดงถึงความที่พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
อุบัติขึ้นในโลกเป็นผู้เจริญในโลก ด้วยบทหลังแสดงถึงความเป็นผู้ไม่ถูกโลก
ฉาบทา. ด้วยบทต้นแสดงการชี้แจงถึงประโยชน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอุบัติ
ขึ้นแล้ว เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อ
อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลหนึ่งคือใคร คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยบทหลังแสดงถึงการอยู่อันสมควรในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในสวนทั้งนั้น ทั้งโลกิยอุบัติ
และโลกุตรอุบัติ คือ ครั้งแรกทรงอุบัติ ณ ลุมพินีวัน ครั้งที่สองทรงอุบัติ
ณ โพธิมณฑล ด้วยเหตุนั้นพึงทราบการประกอบความในบทนี้ โดยนัยมี
อาทิอย่างนี้ว่า พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงถึงการประทับอยู่ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในสวนทั้งนั้น.
บทว่า ตตฺร ณ ที่นั้น เป็นบทแสดงถึงเทศะและกาละ. ท่านแสดงว่า
ในสมัยที่ประทับอยู่ และในพระวิหารเชตวันที่ประทับอยู่ หรือแสดงถึงเทศะ
และกาละอันควรกล่าว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงแสดงธรรม
ในเทศะหรือกาละอันไม่สมควร ดังตัวอย่างในข้อนี้ว่า ดูก่อนพาหิยะ ยังไม่
ถึงเวลาก่อน.
บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอวธารณะ เพียงทำบทให้เต็ม
หรือในอรรถแห่งกาลต้น. บทว่า ภควา คือแสดงถึงความเป็นผู้เคารพของ
โลก. บทว่า ภิกฺขุ เป็นคำกล่าวถึงบุคคลที่ควรฟังพระดำรัส. อีกอย่างหนึ่ง
ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะ
เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะเป็นผู้ออกเที่ยวเพื่อขอ. บทว่า อามนฺเตสิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
คือตรัสเรียก ได้ตรัสให้รู้ นี้เป็นความในบทว่า อามนฺเตสิ นี้ แต่ในที่อื่น
เป็นไปในความให้รู้บ้าง ในการเรียกบ้าง. บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการเรียก.
ด้วยบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงความประพฤติที่คบคน
เลวและคนดี ด้วยพระดำรัสอันสำเร็จด้วยการประกอบคุณ มีความเป็นผู้ขอ
เป็นปกติ ความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดา และความเป็นผู้ทำความดีในการขอ
เป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงกระทำการข่มความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน และความ
หดหู่. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภิกษุเหล่านั้น
ให้หันหน้าเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ด้วยพระดำรัสอันเปี่ยมไปด้วยพระ-
กรุณาอย่างกว้างขวาง พระหฤทัยและพระเนตรสุภาพ ทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้
เกิดความสนใจเพื่อจะฟังด้วยพระดำรัส แสดงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว
นั้นนั่นเอง.
อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นั้นทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้น แม้
ตั้งใจฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัสอันเป็นประโยชน์ในการตรัสรู้. จริงอยู่ ความ
เป็นผู้ตั้งใจฟังด้วยดีเป็นสมบัติของพระศาสนา. หากมีคำถามว่า เมื่อมีเทวดา
และมนุษย์เหล่าอื่นอยู่ด้วย เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียก
เฉพาะภิกษุทั้งหลายเท่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด
ประเสริฐที่สุด เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้เตรียมแล้วทุกเมื่อ และเป็นดุจภาชนะ
อันที่จริง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั่วไปแก่บริษัททั้งปวง. อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัทเพราะเข้าไปถึงก่อน ชื่อว่าเป็น
ผู้ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจริยาของพระศาสดา ตั้งแต่ความ
เป็นผู้ไม่ครองเรือนเป็นต้น และเพราะเป็นผู้รับคำสอนไว้ทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็น
ผู้ใกล้ เพราะเมื่อนั่ง ณ ที่นั้น ก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเป็นผู้เตรียมไว้
ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในสำนักของพระศาสดา และชื่อว่าเป็นดุจ
ภาชนะของพระธรรมเทศนา เพราะเป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมไปเลยเพื่ออะไร. เพื่อให้ตั้งสติ
เพราะภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั่งคิดอย่างอื่นบ้าง จิตฟุ้งซ่านบ้าง พิจารณา
ธรรมบ้าง มนสิการกรรมฐานบ้าง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ตรัสเรียก แล้วทรงแสดงธรรมไปเลย ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้
มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยมีเรื่อง
เกิดขึ้นอย่างไรพึงถึงความฟุ้งซ่าน หรือพึงถือเอาผิด ๆ ด้วยเหตุนั้น เพื่อให้
ภิกษุเหล่านั้นตั้งสติ จึงตรัสเรียกก่อนแล้วทรงแสดงธรรมในภายหลัง.
บทว่า ภทนฺเต นี้เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการให้คำรับ
ต่อพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภทนฺเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
ตรัสว่า ภิกฺขโว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า
ภทนฺเต ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกฺขโว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า ภทนฺเต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ภิกษุทั้งหลายให้
คำรับว่า ภิกฺขโว. ภิกษุทั้งหลายทูลให้คำรับว่า ภทนฺเต. บทว่า เต ภิกฺขู
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียก. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ คือภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับการตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
หันหน้า ฟัง รับ ถือเอา. บทว่า ภควา เอตทโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนั้นที่ควรตรัสในบัดนี้.
อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวถึงนิทานใด
อันประดับด้วยการอ้างถึงกาละ เทศะ ผู้แสดง และบริษัท เพื่อความสะดวก
แห่งพระสูตรนี้ อันส่องถึงความลึกซึ้งของเทศนาและญาณ ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย อันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ดุจท่าน้ำอันเป็นภูมิภาคที่สะอาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
เกลื่อนกลาดด้วยทรายเช่นกับลาดไว้ด้วยตาข่ายแก้วมุกดา มีบันไดแก้ววิลาส
โสภิตขจิตด้วยพื้นศิลาราบรื่น เพื่อข้ามไปได้สะดวก ณ สระโบกขรณี มีน้ำ
รสอร่อยใสสะอาดดาดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว ดุจบันไดงดงามรุ่งเรื่อง
ผุดขึ้นด้วยแสงสว่างแห่งมวลแก้วมณี อันผูกติดไว้กับแผ่นกระดานอันละ-
เอียดอ่อนทำด้วยงาและลดาทอง เพื่อขึ้นสะดวกยังปราสาทอันประเสริฐ ตกแต่ง
ไว้อย่างรุ่งโรจน์ ล้อมด้วยฝาที่จัดไว้เป็นอย่างดี และเวทีอันวิจิตร ดุจเพราะ
ใคร่จะสัมผัสทางแห่งนักษัตร ดุจมหาทวารอันมีประตูและหน้าต่างไพศาล
รุ่งโรจน์ โชติช่วง บริสุทธิ์ด้วยทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ว
ประพาฬเป็นต้น เพื่อเข้าไปสะดวกยังเรือนใหญ่ อันงดงามด้วยอิสริยสมบัติ
อันโอฬาร อันเป็นหลักการประพฤติของชน ในเรือนซึ่งมีเสียงไพเราะด้วย
การพูด การหัวเราะเจือไปด้วยเสียงกระทบ มีกำไรมือและกำไรเท้าทองคำ
เป็นต้น การพรรณนาความแห่งนิทานนั้นสมบูรณ์แล้ว.
บทว่า ปญฺจ ในพระสูตรเป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า อิมานิ
อินฺทริยานิ อินทรีย์เหล่านี้ เป็นบทชี้แจงธรรมที่กำหนดไว้แล้ว. อรรถแห่ง
อินทรีย์ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว มีพระประสงค์
จะแสดงวิธีเจริญความบริสุทธิ์แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ที่ได้ตรัสไว้ในพระสูตรนี้
และความระงับอินทรีย์ที่เจริญแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อิมานิ ปญฺจินฺ-
ทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสุชฺฌนฺติ คือย่อมถึงความหมดจด. บทว่า
อสฺสทฺเธ ผู้ไม่มีศรัทธา คือ ผู้ปราศจากความเชื่อในพระรัตนตรัย. บทว่า
สทฺเธ ผู้มีศรัทธา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย. บทว่า เสวโต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
สมาคม คือ เสพด้วยจิต. บทว่า ภชโต คบหา คือ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า
ปยิรุปาสโต นั่งใกล้ คือ เข้าไปนั่งด้วยความเคารพ. บทว่า ปาสาทนีเย
สุตตนฺเต พระสูตรอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วยพระ
รัตนตรัยอันให้เกิดความเลื่อมใส. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า กุสีทา
เพราะจมลงด้วยอาการเกียจคร้าน. กุสีทา นั่นแล คือ ผู้เกียจคร้าน. บุคคล
ผู้เกียจคร้านเหล่านั้น. บทว่า สมฺมปฺปธาเน ความเพียรชอบ คือ พระสูตร
ปฏิสังยุคด้วยความเพียรชอบอันให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง. บทว่า มุฏฺสฺสติ
ผู้มีสติหลงลืม คือ ผู้มีสติหายไป. บทว่า สติปฏฺาเน สติปัฏฐาน คือ
พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วยสติปัฏฐาน. บทว่า ฌานวิโมกฺเข ฌานและวิโมกข์
คือ พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วย จตุตถฌาน วิโมกข์ ๘ และวิโมกข์ ๓ อย่าง. บท
ว่า ทุปฺปญฺเ บุคคลปัญญาทราม คือไม่มีปัญญา หรือชื่อว่า ทุปฺปญฺา
เพราะเป็นผู้มีปัญญาทรามเพราะไม่มีปัญญา ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น.
บทว่า คมฺภีราณจริย ญาณจริยาอันลึกซึ้ง คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วย
อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือ เช่นกับญาณกถา. บทว่า สุตฺต-
นฺตกฺขนฺเธ จำนวนพระสูตร คือ ส่วนแห่งพระสูตร.
บทว่า อสฺสทฺธิย ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในบทมีอาทิว่า อสฺส-
ทฺธิย คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา บุคคลเห็นโทษในความไม่มีศรัทธา ละ
ความไม่มีศรัทธา ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ บุคคลเห็นอานิสงส์ในสัทธินทรีย์
เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.
บทว่า โกสชฺช คือความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า ปมาท คือ
การอยู่ปราศจากสติ. บทว่า อุทฺธจฺจ คือความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ได้แก่ ซัด
จิตไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
บทว่า ปหีนตฺตา เพราะเป็นผู้ละแล้ว คือเพราะเป็นผู้ละการบำเพ็ญ
ฌานด้วยสามารถแห่งอัปปนา. บทว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะความเป็นผู้ละ
ดีแล้ว คือเพราะความเป็นผู้ละแล้วด้วยดี ด้วยการบำเพ็ญวิปัสสนา ด้วย
สามารถแห่งวุฏฐานคามินี. บทว่า ภาวิต โหติ สุภาวิต อันบุคคลเจริญแล้ว
อบรมดีแล้ว พึงประกอบตามลำดับดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. จริงอยู่ เพราะละ
ด้วยสามารถตรงกันข้ามกับวิปัสสนา จึงควรกล่าวว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะ
ฉะนั้น จึงควรกล่าวว่า สุภาวิต ไม่ใช่ด้วยฌาน. อนึ่ง เพราะการสำเร็จ
ภาวนาด้วยการละสิ่งที่ควรละ เป็นอันสำเร็จการละสิ่งที่ควรละด้วยความสำเร็จ
แห่งภาวนา ฉะนั้นท่านแสดงทำเป็นคู่กัน.
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัสสัทธิวารดังต่อไปนี้ บทว่า ภาวิตานิเจว
โหนฺติ สุภาวิตานิจ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะ
อินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ที่อบรมดีแล้ว. บทว่า
ปฏิปฺปสฺสทธานิจ สุปฺปฏิปสฺสทฺธานิจ ระงับแล้วระงับดีแล้ว ท่าน
กล่าวถึงความที่อินทรีย์ระงับแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ระงับดีแล้ว. พึงทราบ
ความที่อินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้วและระงับแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเกิดกิจ
ของมรรคในขณะแห่งผล. บทว่า สมุจเฉทวิสุทฺธิโย สมุจเฉทวิสุทธิ ได้แก่
มรรควิสุทธินั่นเอง. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทธิวิสุทฺธิโย ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ
ได้แก่ ผลวิสุทธินั่นเอง.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงประกอบอินทรีย์มีวิธีดังกล่าวแล้ว
อย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตีน ปุคฺคลาน
บุคคลเท่าไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิตินฺทฺริยวเสน พุทฺโธ ชื่อว่า
พุทฺโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ความว่า ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้อริยสัจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
๔ ด้วยการฟังธรรมกถาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. นี้เป็นคำพูดถึงเหตุแห่ง
ความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เพราะว่า ผู้เจริญอินทรีย์แล้วในขณะแห่งผล
เพราะเป็นผู้ตรัสรู้มรรคด้วยสามารถบรรลุภาวนา. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะ
แสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผลเท่านั้นให้วิเศษออกไป เพราะพระอริยบุคคล
ทั้งหลายแม้ ๘ ก็เป็นพระสาวกของพระตถาคต จึงกล่าวว่า ขีณาสโว พระ-
ขีณาสพ เพราะพระขีณาสพเท่านั้น ท่านกล่าวว่า ภาวิตินฺทฺริโย ผู้เจริญ
อินทรีย์แล้ว ด้วยการสำเร็จกิจทั้งปวง. ส่วนพระอริยบุคคลแม้นอกนั้นก็เป็น
ผู้เจริญอินทรีย์แล้วเหมือนกัน โดยปริยาย เพราะสำเร็จกิจด้วยมรรคนั้น ๆ
เพราะฉะนั้น ในขณะแห่งผล ๔ ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อัน
บุคคลเจริญแล้วอบรมดีแล้ว. อนึ่ง เพราะอินทรีย์ภาวนายังมีอยู่นั่นเอง
แก่พระอริยบุคคลเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่อุปริมรรค ฉะนั้น พระอริยบุคคล
เหล่านั้น จึงไม่ชื่อว่า เป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้วโดยตรง. บทว่า สยมภูตฏฺเน
ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็น ภควา ด้วยอรรถเป็นแล้ว
เกิดแล้วในชาติอันเป็นอริยะเอง. จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ก็เป็นพระ-
สยัมภูในขณะผลด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จภาวนา. ชื่อว่า ภาวิตินฺทฺริโย ด้วย
อรรถว่าเป็นผู้รู้เองในขณะแห่งผลด้วยประการฉะนี้. บทว่า อปฺปเมยฺยฏฺเน
ด้วยอรรถว่า มีพระคุณประมาณไม่ได้ คือ ด้วยอรรถว่า ไม่สามารถประมาณได้
เพราะทรงประกอบด้วยอนันตคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มีพระคุณประมาณ
ไม่ได้ เพราะสำเร็จด้วยภาวนาในขณะผล เพราะฉะนั้นแล จึงเป็นผู้เจริญ
อินทรีย์แล้ว.
จบอรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
๒. อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งสูตรอื่นอีกแล้วชี้แจงถึงแบบอย่างแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย จึงแสดงพระสูตรมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นบทถือเอาโดยไม่มีเหลือ. หิ อักษรเป็นนิบาต
ลงในอรรถเพียงให้เต็มบท (บทสมบูรณ์). บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา
ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารของโลก. บทว่า สมุทย เหตุเกิดคือปัจจัย.
บทว่า อตฺถงฺคม ความดับคือถึงความไม่มีแห่งอินทรีย์ที่เกิดแล้ว หรือความ
ไม่เกิดแห่งอินทรีย์ที่ยังไม่เกิด. บทว่า อสฺสาท คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนว
คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณ อุบายเครื่องสลัดออก คือ ออกไป. บทว่า
ยถาภูต คือตามความเป็นจริง. บทว่า สมเณสุ คือผู้สงบบาป. บทว่า
สมณสมฺมตา ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะ คือ เราไม่ได้รับยกย่องว่าเป็น
สมณะ. เมื่อกล่าวว่า สมฺมตา ด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาล เป็นอันกล่าว
ฉัฏฐีวิภัตติในบทว่า เม นี้ ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของศัพท์.
บทว่า พฺราหฺมเณสุ คือผู้ลอยบาป บทว่า สามญฺตฺถ สามัญ
ผล คือประโยชน์ของความเป็นสมณะ. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถ พรหมัญผล
คือ โยชน์ความเป็นพราหมณ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง
อรหัตผลนั่นเอง.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่ ผล ๓ เบื้องต่ำ. บทว่า
พฺรหฺมญฺตฺถ ได้แก่ อรหัตผล. เพราะทั้งสามัญผลและพรหมัญผลก็คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
อริยมรรคนั่นเอง. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพที่ประจักษ์อยู่นี่แล.
บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง คือ
ทำไห้ประจักษ์ด้วยญาณอันยิ่งด้วยตนเอง. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ
ถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระถามถึง
จำนวนประเภทของเหตุเกิดแห่งอินทรีย์เป็นต้นก่อนแล้วแก้จำนวนของประเภท
ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสต ๑๘๐ คือ ๑๐๐ ยิ่งด้วย ๘๐.
โยชนาแก้ว่าด้วยอาการอันบัณฑิตกล่าวว่า ๑๘๐.
พึงทราบวินิจฉัยในคณนานิเทศ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการถาม
จำนวนประเภท อีกดังต่อไปนี้. บทว่า อธิโมกฺขตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่
การน้อมใจเชื่อ คือ เพื่อน้อมใจเชื่อ เพื่อประโยชน์แก่การเชื่อ. บทว่า
อาวชฺชนาย สมุทโย เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง คือ ปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์
การคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นว่า เราจักยังศรัทธาให้เกิดเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่ง
สัทธินทรีย์ การคำนึงถึงการแล่นไปแห่งสัทธินทรีย์ เป็นอนันตรปัจจัยแห่ง
ชวนจิตดวงแรก เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า
อธิโมกฺขวเสน ด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยสามารถความน้อมใจ
เชื่อสัมปยุตด้วยฉันทะ. บทว่า ฉนฺทสฺส สมุทโย เหตุเกิดแห่งฉันทะ คือ
เหตุเกิดแห่งธรรมฉันทะเป็นเยวาปนกธรรม สัมปยุตด้วยอธิโมกข์อันเกิดขึ้น
เพราะการคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นเป็นปัจจัย. อนึ่ง เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่ง
สัทธินทรีย์ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัม-
ปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย และเป็นอธิปติปัจจัยในกาลที่มีฉันทะ
เป็นใหญ่ เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่งอินทรีย์ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งอนันตรปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย.
โดยนัยนี้แลพึงทำการประกอบแม้มนสิการ.
อันที่จริง ในบทว่า มนสิกาโร นี้ก็อย่างเดียวกัน คือ มีมนสิการ
เป็นเช่นเดียวกัน อันมีการแล่นไปเป็นลักษณะ.. มนสิการนั้นไม่เป็นอธิปติ-
ปัจจัยในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย พึงทราบว่าการถือเอาเหตุเกิดทั้งสองเหล่านี้ว่า
เพราะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง). บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส วเสน
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ คือ ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์อันถึงความเป็นอินทรีย์
เพราะความเจริญยิ่งแห่งภาวนา. บทว่า เอกตฺตุปฏฺาน ความปรากฏเป็น
ธรรมอย่างเดียว คือ ฐานะอันยิ่งใหญ่ เพราะไม่หวั่นไหวในอารมณ์เดียว
ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์สูงขึ้นไป. พึงทราบแม้อินทรีย์ที่เหลือโดยนัย
ดังกล่าวแล้วในสัทธินทรีย์นั่นแล. อินทรีย์หนึ่ง ๆ มีเหตุเกิดอย่างละ ๔ เพราะ
เหตุนั้น อินทรีย์ ๕ จึงมีเหตุเกิด ๒๐ ในเหตุเกิดหนึ่ง ๆ ของเหตุเกิด ๔
ท่านประกอบเข้ากับอินทรีย์ ๕ แล้วกล่าวเหตุเกิด ๒๐.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พึงเห็น ๒๐ ที่ ๑ ด้วยสามารถแห่งมรรคต่างๆ
๒๐ ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งมรรค รวมเป็นอาการ ๔๐ ด้วยประการฉะนี้.
แม้อัตถังคมวาร (ความดับ) ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. อนึ่ง การดับ
นั้น การไม่ได้ของผู้ไม่ขวนขวายการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับการได้. การเสื่อม
จากการได้ของผู้เสื่อมจากการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับ. การระงับของผู้บรรลุ
ผล ชื่อว่า ดับ. บทว่า เอกตฺต อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏเป็นธรรม
อย่างเดียว คือ ความไม่ปรากฏในธรรมอย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
อรรถกถาอัสสาทนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิยสฺส
อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ เว้นบุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา คบบุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาปสาทนียสูตรและทำโยนิโสมนสิการใน
สูตรให้มาก ชื่อว่า ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทว่า
อสฺสทฺธิยปริฬาหสฺส อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะ
ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้ เมื่อพูดถึงศรัทธาเป็นไปแก่คนไม่มีศรัทธา ความ
ทุกข์ โทมนัส ย่อมเกิด นี้ชื่อว่าความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.
บทว่า อธิโมกฺขจริยาย เวสารชฺช ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วย
ความน้อมใจเชื่อ คือ ความเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยความเป็นไปแห่งศรัทธาของ
ผู้ถึงความชำนาญด้วยสามารถแห่งวัตถุอันเป็นศรัทธา หรือด้วยภาวนา. บทว่า
สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม คือ การได้
สมถะหรือวิปัสสนา. คำว่า โสมนัส ในบทว่า สุข โสมนสฺส นี้ เพื่อ
แสดงถึงความสุขทางใจ แม้ความสุขทางกายก็ย่อมได้แก่กายอันสัมผัสด้วยรูป
ประณีต เกิดขึ้นเพราะสัทธินทรีย์ เพราะความสุขโสมนัสเป็นประธานและ
เป็นคุณ ท่านจึงกล่าวให้พิเศษว่า สุขและโสมนัสนี้เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
โดยนัยนี้พึงทราบประกอบแม้คุณแห่งอินทรีย์ที่เหลือ.
จบอรรถกถาอัสสาทนิเทส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
อรรถกถาอาทีนวนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจฏฺเน
เพราะอรรถว่าไม่เที่ยง คือ เพราะอรรถว่า สัทธินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านกล่าวว่า
สัทธินทรีย์นั้นมีอรรถว่าไม่เที่ยง เป็นโทษของสัทธินทรีย์. แม้ในสองบท
นอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบว่าโทษเหล่านี้เป็นโทษของคุณของเหตุเกิด
และความดับของอินทรีย์อันเป็นโลกิยะนั่นเอง.
จบอรรถกถาอาทีนวนิเทศ
อรรถกถานิสสรณนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในนิสสรณนิเทศดังต่อไปนี้.ในบทว่า อธิโมกฺขฏฺเน
ด้วยอรรถว่า ความน้อมใจเชื่อเป็นอาทิ ท่านทำอย่างละ ๕ ในอินทรีย์หนึ่ง ๆ
แล้วแสดงอินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออก ๒๕ ด้วยสามารถมรรคแห่งผล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ปณีตตรสทฺธินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา แต่
การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น คือ ด้วยสามารถการได้สัทธินทรีย์ที่ประณีต
กว่าในขณะแห่งมรรค จากสัทธินทรีย์ที่เป็นไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนานั้น.
บทว่า ปุริมตรสทฺธินฺทฺริยา นิสฺสฏ โหติ สลัดออกไปจากสัทธินทรีย์ที่มี
อยู่ก่อน คือ สัทธินทรีย์ในขณะแห่งมรรคนั้นออกไปแล้วจากสัทธินทรีย์ที่เป็น
ไปแล้วในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีอยู่ก่อน. โดยนัยนี้แหละพึงประกอบแม้สัทธิน-
ทรีย์ในขณะแห่งผล แม้อินทรีย์ที่เหลือในขณะทั้งสองนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
บทว่า ปพฺพภาเค ปฺจหิ อินฺทฺริเยหิ ด้วยอินทรีย์ ๕ ในส่วน
เบื้องต้น คือ เครื่องสลัดออกไป ๘ ด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ มีปฐมฌาน
เป็นต้น ด้วยอินทรีย์ ๕ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน เครื่องสลัดออกไป ๑๘
ด้วยสามารถแห่งมหาวิปัสสนา ๑๘ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เครื่องสลัด
ออกไปเป็นโลกุตระ ๘ ด้วยสามารถโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ท่านแสดงนิสสรณะ
(เครื่องสลัดออกไป) ๓๔ ด้วยสามารถแห่งฌาน สมาบัติมหาวิปัสสนา
มรรคและผล โดยการก้าวล่วงไปแห่งอินทรีย์ก่อน ๆ. อนึ่ง บทว่า
เนกฺขมฺเม ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ท่านแสดง
นิสสรณะ ๓๗ โดยเป็นปฏิปักษ์ด้วยสามารถการละสิ่งเป็นปฏิปักษ์. ในบทนั้น
ท่านกล่าว นิสสรณะ ๗ ในนิสสรณะ ๗ มีเนกขัมมะเป็นต้นด้วยสามารถแห่ง
อุปจารภูมิ แต่ท่านมิได้กล่าวถึงผล เพราะไม่มีการละธรรมที่เป็นปฏิปักษ์.
บทว่า ทิฏฺเกฺฏเหิ กิเลสอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิ กิเลสชื่อว่า ทิฏเกฏฺา
เพราะตั้งอยู่ในบุคคลเดียวพร้อมกับทิฏฐิ ตลอดถึงโสดาปัตติมรรค จากกิเลส
ซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า โอฬาริเกหิ จากกิเลสส่วนหยาบๆ
คือ จากกามราคะและพยาบาทอันหยาบ. บทว่า อณุสหคเตหิ จากกิเลส
ส่วนละเอียด คือ จากกามราคะและพยาบาทนั้นแหละอันเป็นส่วนละเอียด.
บทว่า สพฺพกิเลเสหิ จากกิเลสทั้งปวง คือ จากกิเลสมีรูปราคะเป็นต้น.
เพราะเมื่อละกิเลสเหล่านั้น ได้ก็เป็นอันละกิเลสทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า สพฺพกิเลเสหิ. แต่ในนิเทศนี้ บททั้งหลายที่มีความยังมิได้กล่าวไว้
ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
บทว่า สพฺเพสฺเว ขีณาสวาน ตตฺถ ตตฺถ ปญฺจินฺทฺริยานิ
อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกแล้ว คือ อินทรีย์
๕ ในฐานะนั้น ๆ ในบรรดาฐานะทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในก่อน มีอาทิว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
อธิโมกฺขฏฺเน อันพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย
ผู้เป็นพระขีณาสพสลัดออกแล้วจากฐานะนั้น ๆ ตามที่ประกอบไว้. ในวาระนี้
ท่านกล่าวถึงนัยที่ได้กล่าวแล้วครั้งแรก ด้วยสามารถแห่งพระขีณาสพตามที่
ประกอบไว้.
ก็นิสสรณะเหล่านี้มี ๑๘๐ เป็นอย่างไร. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ใน
ปฐมวารมีนิสสรณะทั้งหมด ๙๖ คือ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งมรรคและผล
๒๕ ด้วยการก้าวล่วงไป ๓๔ ด้วยการเป็นปฏิปักษ์ ๓๗. ในทุติยวารเมื่อนำ
นิสสรณะออกเสีย ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพทั้งหลาย นิสสรณะเหล่านี้
ก็เป็น ๘๔ ด้วยประการฉะนี้ นิสสรณะก่อน ๙๖ และนิสสรณะเหล่านั้น ๘๔
จึงรวมเป็นนิสสรณะ ๑๘๐.
ก็นิสสรณะ ๑๒ อันพระขีณาสพพึงนำออกเป็นไฉน. นิสสรณะที่
พระขีณาสพพึงนำออก ๑๒ เหล่านี้ คือ บรรดานิสสรณะที่กล่าวแล้วโดยการ
ก้าวล่วง นิสสรณะ ๘ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรคและผล บรรดานิสสรณะ
ที่กล่าวแล้วโดยเป็นปฏิปักษ์ นิสสรณะ ๔ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมรรค.
หากถามว่า เพราะเหตุไร พระขีณาสพพึงนำนิสสรณะที่กล่าวแล้วด้วย
สามารถแห่งอรหัตผลออก. ตอบว่า เพราะได้นิสสรณะ ๒๕ ที่กล่าวไว้ก่อน
ทั้งหมดด้วยสามารถแห่งอรหัตผล จึงเป็นอันท่านกล่าวนิสสรณะด้วยสามารถ
แห่งอรหัตผลนั่นเอง. ผลสมาบัติเบื้องบน ๆ ยังไม่เข้าถึงผลสมาบัติเบื้องล่าง ๆ
เพราะฉะนั้น จึงมิได้ผลแม้ ๓ ในเบื้องล่าง. อนึ่ง ฌาน สมาบัติ วิปัสสนา
และเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมได้ด้วยสามารถแห่งกิริยา. อินทรีย์ ๕ เหล่านี้
สลัดออกไปจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ เพราะธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหลายสงบ
ก่อนด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถานิสสรณนิเทศ
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
๓. อรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งพระสูตรอื่นอีก แล้วชี้แจงถึงแบบอย่าง
ของอินทรีย์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดังนี้.
อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า โสต ในบทนี้ว่า โสตาปตฺติยงเคสุ.
การถึงการบรรลุอย่างสมบูรณ์ ชื่อว่า โสตาปตฺติ (การแรกถึงกระแสธรรม).
องค์คือสัมภาระแห่ง โสตาปตฺติ ชื่อว่า โสตาปตฺติยังฺคานิ (องค์แห่งการแรก
ถึงกระแสธรรม). โสดาปัตติยังคะ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ การคบสัตบุรุษเป็น
โสดาปัตติยังคะ ๑ การฟังสัทธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ ๑ โยนิโสมนสิการ เป็น
โสดาปัตติยังคะ ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นโสดาปัตติยังคะ ๑
เป็นองค์แห่งการได้ส่วนเบื้องต้น เพราะความเป็นพระโสดาบัน. อาการที่เหลือ
กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวเพื่อให้เห็นว่า อินทรีย์เหล่านี้เป็นใหญ่ในวิสัย
ของตน. เปรียบเหมือนเศรษฐีบุตร ๔ คน เมื่อสหายมีพระราชาผู้ยิ่งใหญ่
เป็นที่ ๕ เดินไปตามถนนด้วยคิดว่า จักเล่นนักษัตร ครั้นไปถึงเรือนของ
เศรษฐีบุตรคนที่ ๑ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้น
สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชยะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้ของหอม
ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหายเหล่านี้. แล้วเดินตรวจตราในเรือน
ครั้นไปถึงเรือนคนที่ ๒-๓-๔ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งเฉย. ผู้เป็นเจ้าของเรือน
เท่านั้น สั่งว่า พวกเจ้าจงให้ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ พวกเจ้าจงให้
ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับเป็นต้นแก่สหาย แล้วเดินตรวจตราใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
เรือน. ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด พระราชา
แม้จะเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงก็จริง ถึงดังนั้นในกาลนี้ก็ยังรับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้
ขาทนียะ โภชนียะแก่สหายเหล่านี้ จงให้ของหอม ดอกไม้ และเครื่องประดับ
แก่สหายเหล่านั้น แล้วทรงดำเนินตรวจตราพระราชมณเฑียรของพระองค์ ฉันใด
เมื่ออินทรีย์มีหมวด ๕ ทั้งศรัทธาก็ฉันนั้น เหมือนกัน แม้เกิดในอารมณ์เดียวกัน
ก็เป็นดุจเมื่อสหายเหล่านั้นเดินไปตามถนนร่วมกัน. ครั้นถึงเรือนคนที่ ๑ อีก
๔ คนนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้นเดินตรวจตรา ฉันใด สัทธินทรีย์มีลักษณะ
น้อมใจเชื่อ เพราะบรรลุโสดาปัตติยังคะ เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น.
อินทรีย์ที่เหลือตามสัทธินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ ๒ อีก คนนอกนั้นนั่งนิ่ง. เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใด วีริยินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะประคองไว้ เพราะบรรลุ
สัมมัปปธาน เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามวิริยินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ ๓ อีก ๔ คนนอกนั้นนั่งนิ่ง เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใดสตินทรีย์เท่านั้นมีลักษณะตั้งมั่น เพราะบรรลุสติปัฏฐาน
เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสตินทรีย์ไป.
ครั้นถึงเรือนคนที่ ๔ อีก ๔ คนนอกนี้นั่งเฉย เจ้าของเรือนเท่านั้น
เดินตรวจตรา ฉันใด สมาธินทรีย์เท่านั้น มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบรรลุ
ฌานเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์ที่เหลือตามสมาธินทรีย์ไป.
แต่ครั้นไปถึงพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลังทั้งหมด อีก ๔ คน
นั่งเฉย พระราชาเท่านั้นทรงดำเนินตรวจตรา ฉันใด ปัญญินทรีย์เท่านั้น
มีลักษณะรู้ทั่ว เพราะบรรลุอริยสัจ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ฉันนั้น. อินทรีย์
ที่เหลือตามปัญญินทรีย์ไป ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
อรรถกถาปเภทคณนนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในปเภทคณนนิเทศ อันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถาม
จำนวนประเภทแห่งพระสูตร. บทว่า สปฺปุริสสเสเว คือการคบสัตบุรุษ
ได้แก่ ในการคบคนดีโดยชอบ. บทว่า อธิโมกฺขาธิปเตยฺยฏฺเน ด้วย
อรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยอรรถว่าความเป็นใหญ่ในอินทรีย์
ที่เหลือกล่าวคือน้อมใจเชื่อ อธิบายว่าด้วยอรรถ คือเป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือ.
บทว่า สทฺธมฺมสฺสวเน คือการฟังสัทธรรม ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ หรือชื่อว่า
สทฺธมฺม เพราะเป็นธรรมงาม ในการฟังสัทธรรมนั้น. บทว่า โยนิโส-
มนสิกาเร คือการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย. ในบทว่า ธมฺมานุ
ธมฺมปฏิปตฺติยา การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ พึงทราบความดังนี้
ธรรมที่เข้าถึงโลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺม. การปฏิบัติการถึง
ธรรมานุธรรมอันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ.
แม้ใน สัมมัปปธาน เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปเภทคณนนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
อรรถกถาจริยาวาร
แม้ในจริยาวารก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวปฐมวาร
ด้วยสามารถแห่งการให้อินทรีย์เกิดอย่างเดียว. ท่านกล่าวจริยาวาร ด้วยสามารถ
แห่งการเสพ และกาลแห่งการทำให้บริบูรณ์ ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
จริงอยู่ คำว่า จริยา ปกติ อุสฺสนฺนตา จริยา ปกติ ความมากขึ้น โดย
ความเป็นอันเดียวกัน.
จบอรรถกถาจริยาวาร
อรรถกถาจารวิหารนิเทศ
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงแบบอย่างของอินทรีย์ โดย
ปริยายอื่นอีก ด้วยสามารถแห่งการชี้แจงความประพฤติและวิหารธรรม อัน
สัมพันธ์กับจริยาจึงยกหัวข้อว่า จาโร จ วิหาโร จ เป็นอาทิแล้วกล่าวชี้แจง
หัวข้อนั้น. ในหัวข้อนั้นพึงทราบความสัมพันธ์ของหัวข้อว่าเหมือนอย่างว่า
สพรหมจารีผู้รู้แจ้ง พึงกำหนดไว้ในฐานะที่ลึกตามที่ประพฤติ ตามที่อยู่ว่า
ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่ ฉันใด ความประพฤติ และ
วิหารธรรมของผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ก็ฉันนั้น อันสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง ตรัสรู้
แล้ว แทงตลอดแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศนิเทศดังต่อไปนี้. ความประพฤตินั่นแหละ
คือ จริยา. เพราะคำว่า จาโร จริยา โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
ในนิเทศแห่งบทว่า จาโร ท่านจึงกล่าวว่า จริยา. บทว่า อิริยาปถจริยา
คือความประพฤติของอิริยาบถ ได้แก่ความเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน ส่วน อายตนจริยา ความประพฤติในอายตนะ คือความประพฤติ
แห่งสติสัมปชัญญะในอายตนะทั้งหลาย. บทว่า ปตฺติ คือผล. ท่านกล่าวว่า
ปตฺติ เพราะถึงผลเหล่านั้น เป็นประโยชน์ในปัจจุบันและภพหน้าของสัตโวลก
นี้เป็นความพิเศษของบทว่า โลกตฺถ เป็นประโยชน์แก่โลก.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงภูมิของจริยาเหล่านั้น จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถทั้งหลาย. บทว่า สติปฏฺาเนสุ
คืออารมณ์อันเป็นสติปัฏฐาน. แม้เมื่อกล่าวถึงสติปัฏฐาน ท่านก็กล่าวทำไม่เป็น
อย่างอื่นจากสติ ดุจเป็นอย่างอื่นด้วยสามารถแห่งโวหาร. บทว่า อริยสจฺเจสุ
ในอริยสัจทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยสามารถการกำหนดคือเอาสัจจะไว้ต่างหาก
โลกิยสัจจญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า อริมคฺเคสุ สามญฺผเลสุ จ
ในอริยมรรคและสามัญผล ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารเท่านั้น. บทว่า
ปเทเส บางส่วน คือเป็นเอกเทศในการประพฤติกิจซึ่งเป็นประโยชน์แก่โลก.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่อมทรงกระทำโลกัตถจริยา โดยไม่มีบางส่วน.
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิสมฺปนฺนาน ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้
ในบทนั้นท่านผู้มีอิริยาบถไม่กำเริบถึงพร้อมด้วยการคุ้มครองอิริยาบถ เพราะ
อิริยาบถสงบ คือ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า
ปณิธิสมฺปนฺนา ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้. บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺต-
ทฺวาราน ผู้มีทวารคุ้มครองอินทรีย์ คือ ชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมีทวาร
คุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้นอันเป็นไปแล้วในวิสัย ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
สามารถแห่งทวารหนึ่ง ๆ ของท่านผู้มีทวารคุ้มครองแล้วเหล่านั้น. อนึ่ง
ในบทว่า ทฺวาร นี้ คือ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งทวารที่เกิดขึ้น.
บทว่า อปฺปมาทวิหารีน ของท่านผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ ผู้อยู่ด้วย
ความไม่ประมาทในศีลเป็นต้น. บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตาน ของท่านผู้
ขวนขวายในอธิจิต คือ ผู้ขวนขวายสมาธิอันได้แก่อธิจิต ด้วยความที่วิปัสสนา
เป็นบาท. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนาน ของท่านผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัญญา คือ
ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณ อันเป็นไปแล้วตั้งแต่กำหนดนามรูปจนถึงโคตรภู.
บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนาน ของท่านผู้ปฏิบัติชอบ คือ ในขณะแห่งมรรค ๔.
บทว่า อธิคตผลาน ของท่านผู้บรรลุผล คือในขณะแห่งผล ๔. บทว่า
อธิมุจฺจนฺโต ผู้น้อมใจเชื่อ คือผู้ทำการน้อมใจเชื่อ. บทว่า สทฺธาย จรติ
ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา คือเป็นไปด้วยสามารถแห่งศรัทธา. บทว่า ปคฺคณฺ-
หนฺโต ผู้ประคองไว้ คือ ตั้งไว้ด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน ๔. บทว่า
อุฏฺาเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น คือ เข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ. บทว่า
อวิกฺเขป กโรนฺโต ผู้ทำจิตไม่ไห้ฟุ้งซ่าน คือไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
แห่งสมาธิ. บทว่า ปชานนฺโต ผู้รู้ชัด คือรู้ชัดด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้อริสัจ
๔. บทว่า วิชานนฺโต ผู้รู้แจ้ง คือรู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา
อันเป็นหัวหน้าแห่งชวนจิตสัมปยุตด้วยอินทรีย์. บทว่า วิญฺาณจริยาย ด้วย
วิญญาณจริยา คือ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติ ด้วยวิญญาณคือการพิจารณา.
บทว่า เอว ปฏิปนฺนสฺส ของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ปฏิบัติด้วยอินทรียจริยา
พร้อมกับชวนจิต. บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป คือ กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่ง
สมถะและวิปัสสนา ย่อมยังความรุ่งเรืองให้เป็นไป ความว่า ย่อมเป็นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
บทว่า อายตนจริยาย ด้วยอายตนจริยา คือ ประพฤติด้วยความพยายาม
ยอดยิ่งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ท่านอธิบายว่า ประพฤติด้วยความบากบั่น
ด้วยความให้เป็นไป. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ ย่อมบรรลุธรรมวิเศษ คือ
บรรลุธรรมวิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนะ ตทังคะ สมุจเฉทะ และปฏิ-
ปัสสัทธิ. บทว่า ทสฺสนจริยา เป็นต้น มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทมีอาทิว่า สทฺธาย วิหรติ ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา มีวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้. พึงเห็นการอยู่ด้วยอิริยาบถของผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธาเป็นต้น.
บทว่า อนุพุทฺโธ รู้ตาม คือด้วยปัญญาพิสูจน์ความจริงแล้ว. บทว่า ปฏิวิทฺโธ
แทงตลอดแล้ว คือด้วยปัญญารู้ประจักษ์ชัด. เพราะเมื่อผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็น
ต้นรู้ตามแล้วแทงตลอดแล้ว ความประพฤติและวิหารธรรมเป็นอันตรัสรู้แล้ว
แทงตลอดแล้ว ฉะนั้นท่านจึงแสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอธิโมกข์เป็นต้นต้น แม้ในการรู้
ตามและแทงตลอด. บทว่า เอว ในบทมีอาทิว่า เอว สทฺธาย จรนฺต
ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงถึงประการดังกล่าว
แล้วจึงชี้แจงถึงอรรถแห่ง ยถาศัพท์. แม้ในบทมีอาทิว่า วิญฺญู พึงทราบ
ความดังนี้. ชื่อว่า วิญฺญู เพราะรู้ตามสภาพ. ชื่อว่า วิภาวี เพราะยังสภาพ
ที่รู้แล้วให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้ปรากฏ. ชื่อว่า เมธา เพราะทำลายกิเลสดุจสาย
ฟ้าทำลายหินที่ก่อไว้ หรือชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าเรียนทรงจำได้เร็ว.
ชื่อว่า เมธาวี เพราะเป็นผู้มีปัญญา. ชื่อว่า ปณฺฑิตา เพราะถึงคือเป็นไป
ด้วยญาณคติ. ชื่อว่า พุทฺธิสมฺปนฺนา เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิสัมปทา
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา. ชื่อว่า สพฺรหฺมจาริโน เพราะประพฤติปฏิปทา
อันสูงสุดอันเป็นพรหมจริยา. ชื่อว่า มีกรรมอย่างเดียวกันด้วยสามารถแห่ง
การกระทำกรรม ๔ อย่างมี อปโลกนกรรม (ความยินยอม) เป็นต้นร่วมกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
ชื่อว่า มีอุเทศอย่างเดียวกัน คือมีการสวดปาฏิโมกข์ ๕ อย่างเหมือนกัน. ชื่อ
ว่า สมสิกฺขา เพราะมีการศึกษาเสมอกัน ความเป็นผู้มีการศึกษาเสมอกัน
ชื่อว่า สมสิกฺขตา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมสิกฺขาตา บ้าง แปลว่า มี
การศึกษาเสมอกัน. ท่านอธิบายว่า ผู้มีกรรมอย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอ
กัน ชื่อว่า สพฺรหฺมจารี. เมื่อควรกล่าวว่า ฌานานิ ท่านทำลิงค์คลาด
เคลื่อนเป็น ฌานา. บทว่า วิโมกฺขา ได้แก่ วิโมกข์ ๓ หรือ ๘. บทว่า
สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ มีวิตกมีวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มี
วิจาร. บทว่า สมาปตฺติโย สมาบัติ คือไม่ตั้งอยู่ใน สุญญตานิมิต (ไม่
มีนิมิตว่าสูญ). บทว่า อภิญฺาโย คือ อภิญญา ๖. ชื่อว่า เอกโส เพราะ
เป็นส่วนเดียว มิได้เป็น ๒ ส่วน. ชื่อว่า เอกสวจน เพราะกล่าวถึงประโยชน์
ส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทำการประกอบอย่างนี้. แต่โดยพิเศษ ชื่อว่า
สสโย เพราะนอนเนื่องคือเป็นไปเสมอหรือโดยรอบ. ชื่อว่า นิสฺ สสโย
เพราะไม่มีความสงสัย. ชื่อว่า กงฺขา เพราะความเป็นผู้ตัดสินไม่ได้ในเรื่อง
เดียวเท่านั้น แม้อย่างอื่นก็ยังเคลือบแคลง. ชื่อว่า นิกฺกงฺโข เพราะไม่มี
ความเคลือบแคลง. ความเป็นส่วนสอง ชื่อว่า เทฺววชฺฌ ความไม่มีเป็นสอง
ชื่อว่า อเทฺววชฺโฌ. ชื่อว่า เทฺวฬฺหก เพราะเคลื่อนไหว หวั่นไหวโดย
สองส่วน. ชื่อว่า อเทฺวฬฺหโก เพราะไม่มีความหวั่นไหวเป็นสองส่วน (พูด
ไม่เป็นสอง) การกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออกชื่อว่า นิยฺยานิกวจน อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า นิยฺโยควจน บ้าง แปลว่า กล่าวนำออก คำทั้งหมดนั้น
เป็นไวพจน์ของความเป็นวิจิกิจฉา. ชื่อว่า ปิยวจน เพราะเป็นคำกล่าวน่ารัก
โดยมีประโยชน์น่ารัก. อนึ่ง ครุวจน คำกล่าวด้วยความเคารพ ชื่อว่า สคารว
เพราะมีความเคารพพร้อมด้วยคารวะ ความยำเกรง ชื่อว่า ปติสฺสโย ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
ว่า ไม่นอนไม่นั่งเพราะทำความเคารพผู้อื่น อีกอย่างหนึ่ง การรับคำ ชื่อว่า
ปติสฺสโว ความว่า ฟังคำผู้อื่นเพราะประพฤติถ่อมตน. แม้ในสองบทนี้ เป็น
ชื่อของความที่ผู้อื่นเป็นผู้ใหญ่ ชื่อ สคารว เพราะเป็นไปกับด้วยความเคารพ
ชื่อว่า สปฺปติสฺสย เพราะเป็นไปกับด้วยความยำเกรงหรือการรับคำ. อีก
อย่างหนึ่ง เมื่อควรจะกล่าวว่า สปฺปติสฺสว ท่านกล่าวว่า สปฺปติสฺส เพราะ
ลบ ย อักษร หรือ ว อักษร. คำที่สละสลวยอย่างยิ่งชื่อว่า อธิวจน. ชื่อว่า
สคารวสปฺปติสฺส เพราะมีความเคารพและความยำเกรง. คำกล่าวมีความ
เคารพยำเกรง ชื่อว่า สคารวสปฺปติสฺสาธิวจน แม้ในบททั้งสองนี้ท่านกล่าว
ว่า เอต บ่อย ๆ ด้วยสามารถความต่างกันด้วยการกำหนดไวพจน์. บทว่า
ปตฺโต วา ปาปุณิสฺสติ วา บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ ได้แก่ ฌานเป็นต้น
นั่นเอง.
จบอรรถกถาจารวิหารนิเทศ
จบอรรถกถาตติยสุตตันตนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
๔. อรรถกถาจตุตถสุตตันตนิเทศ
พระสารีบุตรเถระตั้งสูตรที่ ๑ อีก แล้วชี้แจงอินทรีย์ทั้งหลายโดยอาการ
อย่างอื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า กตีหากาเรหิ เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้น พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร ด้วยอรรถว่ากระไร คือ พึงเห็น
ด้วยอาการเท่าไร. บทว่า เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ พึงเห็นด้วยอรรถว่า
กระไร พระสารีบุตรเถระถามถึงอาการที่พึงเห็นและอรรถที่พึงเห็น. บทว่า
ฉหากาเรหิ เกนฏฺเน ทฏฺพฺพานิ คือพึงเห็นด้วยอาการ ๖ พึงเห็นด้วย
อรรถกล่าวคืออาการ ๖ นั้นนั่นเอง. บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน คือด้วยอรรถว่า
ความเป็นใหญ่. บทว่า อาทิวิโสธนฏฺเน เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น คือ
ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า
อธิมตฺตฏฺเน ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ท่านกล่าวว่า อธิมตฺต เพราะ
มีกำลังมีประมาณยิ่ง. บทว่า อธิฏฺานฺตเถน คือด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. บทว่า
ปริยาทานฏฺเน ด้วยอรรถว่าครอบงำ คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป. บทว่า
ปติฏฺาปกฏฺเน คือด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
อรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในอาธิปไตยัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อสฺ-
สทฺธย ปชหโต แห่งบุคคลผู้สะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคำกล่าวถึงการละ
ธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งอินทรีย์อยู่หนึ่ง ๆ ท่านกล่าวเพื่อความสำเร็จแห่งความ
เป็นใหญ่ในการสำเร็จกิจของการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของตนๆ แม้ในขณะหนึ่ง.
ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ ๔ ทีเหลือสัมปยุตด้วยลัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบ
แม้ท่านกล่าวทำอินทรีย์หนึ่ง ๆ ให้เป็นหน้าที่ในขณะต่าง ๆ กัน แล้วทำอินทรีย์
นั้น ๆ ให้เป็นใหญ่กว่าอินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ เเล้วนำอินทรีย์นั้นไป. ส่วน
บทว่า กามจฺฉนฺท ปชหโต ของบุคคลผู้ละกามฉันทะเป็นอาทิท่านกล่าวด้วย
สามารถแห่งขณะเดียวกันนั้นเอง.
จบอรรถกถาอธิปไตยัตถนิเทศ
อรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในอาทิวิโสธนัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิย-
สวรฏฺเน สีลวิสุทฺธิ เป็นศีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าระวังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา คือ ชื่อว่า ศีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าห้ามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาโดย
การชำระมลทินของศีลโดยอรรถว่าเว้น.
บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อาทิวิโสธนา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น
แห่งสัทธินทรีย์ คือชำระศีลอันเป็นเบื้องต้นด้วยสามารถเป็นอุปนิสัยแห่ง
สัทธินทรีย์. โดยนัยนี้แล พึงทราบอินทรีย์แม้ที่เหลือและอินทรีย์อันเป็นเหตุ
แห่งการสำรวมกามฉันทะเป็นต้น.
จบอรรถกถาอาทิวิโสธนัตถนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
อรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในอธิมัตตัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺธินฺทฺริย-
สฺส ภาวนาย ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญแห่ง
สัทธินทรีย์ คือ ฉันทะในธรรมอันฉลาดย่อมเกิดขึ้นในสัทธินทรีย์ เพราะฟัง
ธรรมปฏิสังยุตด้วยศรัทธาของบุคคลผู้มีศรัทธา หรือเพราะเห็นคุณของการ
เจริญสัทธินทรีย์. บทว่า ปามุชฺช อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
คือความปราโมทย์ย่อมเกิด เพราะฉันทะเกิด. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติ
ย่อมเกิดขึ้น คือ ปีติมีกำลังย่อมเกิดเพราะความปราโมทย์. บทว่า ปสฺสทฺธิ
อุปฺปชฺชติ ปัสสัทธิย่อมเกิด คือ กายปัสสัทธิและจิตปัสสัทธิย่อมเกิด เพราะ
ความเอิบอิ่มแห่งปีติ. บทว่า สุข อุปฺปชฺชติ ความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ
เจตสิกสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะกายและจิตสงบ. บทว่า โอภาโส อุปฺปชฺชต
แสงสว่างย่อมเกิดขึ้น คือ แสงสว่าง คือสติย่อมเกิดขึ้น เพราะจมอยู่
ด้วยความสุข. บทว่า สเวโค อุปฺปชฺชติ ความสังเวชย่อมเกิดขึ้น
คือ ความสังเวชในเพราะความปรวนแปรของสังขารย่อมเกิดขึ้นเพราะรู้แจ้ง
โทษของสังขารด้วยแสงสว่าง คือญาณ. บทว่า สเวเชตฺวา จิตฺต
สมาทิยติ จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น คือ จิตยังความสังเวชให้เกิดแล้ว
ย่อมตั้งมั่นด้วยความสังเวชนั่นนั้นเอง. บทว่า สาธุก ปคฺคณฺหาติ ย่อม
ประคองไว้ดี คือ ปลดเปลื้องความหดหู่และความฟุ้งซ่านเสียได้แล้วย่อมประคอง
ไว้ด้วยดี. บทว่า สาธุก อชฺฌุเปกฺขติ ย่อมวางเฉยด้วยดี คือ เพราะความ
เพียรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำความขวนขวายในการประกอบความเพียร
สม่ำเสมออีก ชื่อว่าย่อมวางเฉยด้วยดี ด้วยสามารถแห่งความวางเฉย ด้วยวาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
ตนเป็นกลางในความเพียรนั้น. บทว่า อุเปกฺขาวเสน ด้วยสามารถแห่ง
อุเบกขา คือ ด้วยสามารถแห่งความวางเฉยด้วยวางตนเป็นกลางในความเพียร
นั้น เพราะมีลักษณะนำไปเสมอ. บทว่า นานตฺตกิเลเสหิ จากกิเลสต่าง ๆ
คือ จากกิเลสอันมีสภาพต่างกันอันเป็นปฏิปักษ์ แห่งวิปัสสนา. บทว่า วิโมกฺขว-
เสน ด้วยสามารถแห่งวิโมกข์ คือ ด้วยสามารถแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส
ต่าง ๆ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับแห่งสังขาร). บทว่า
วิมุตฺตตฺตา เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกิเลส
ต่าง ๆ. บทว่า เต ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น บทว่า
เอกรสา โหนฺติ มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยสามารถ
แห่งวิมุตติ. บทว่า ภาวนาวเสน ด้วยอำนาจแห่งภาวนา คือ ด้วยอำนาจ
แห่งภาวนามีรสเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ตโต ปณีตตเร วิวฏฺฏนฺติ ธรรม
เหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีตกว่า คือ ธรรมทั้งหลายมี
ฉันทะเป็นต้น ย่อมหลีกจากอารมณ์ คือ วิปัสสนาด้วยเหตุนั้นไปสู่อารมณ์ คือ
นิพพานอันประณีตกว่าด้วยโคตรภูญาณ กล่าวคือ วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความหลีกไป) ความว่า ธรรมทั้งหลายหลีกออกจากอารมณ์ คือ
สังขารแล้วเป็นไปในอารมณ์ คือ นิพพาน. บทว่า วิวฏฏนาวเสน ด้วย
อำนาจแห่งความหลีกไป คือ ด้วยอำนาจแห่งความหลีกไปจากสังขารในขณะ
โคตรภู โดยอารมณ์ คือ สังขาร. บทว่า วิวฏฺฏิตตฺตา ตโต โวสฺสชฺชติ
จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้นเพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว คือ บุคคลผู้เพียบพร้อม
ด้วยมรรค ย่อมปล่อยกิเลสและขันธ์ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เพราะจิตหลีกไปแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งการปรากฏสองข้างในขณะมรรคเกิดนั่นเอง. บทว่า โวสฺสชฺ-
ชิตตฺตา ตโต นิรุชฺฌนฺติ ธรรมทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้นเพราะจิตเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
ธรรมชาติปล่อยแล้ว คือ กิเลสและขันธ์ย่อมดับไปด้วยอำนาจแห่งการดับความ
ไม่เกิด ด้วยเหตุนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยกิเลสและขันธ์ ในขณะ
มรรคเกิดนั้นเอง. อนึ่ง บทว่า โวสฺสชฺชิตตฺตา ท่านทำให้เป็นคำกล่าวตาม
เหตุผลที่เป็นจริงในความปรารถนา. เมื่อมีการดับกิเลส ท่านก็กล่าวถึงการดับ
ขันธ์เพราะความปรากฏแห่งความดับขันธ์. บทว่า นิโรธวเสน ด้วยอำนาจ
ความดับ คือ ด้วยอำนาจความดับตามที่กล่าวแล้ว. พระสารีบุตรเถระประสงค์
จะแสดงถึงความปล่อย ๒ ประการ ในขณะที่มรรคนั้นเกิด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นิโรธวเสน เทฺว โวสฺสคฺคา ความปล่อยด้วยอำนาจแห่งความดับมี ๒
ประการ. ความปล่อยแม้ ๒ ประการ ก็มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
แม้ในบทมีอาทิว่า อสฺสทฺธิยสฺส ปหานาย ฉนฺ โท อุปฺปชฺชติ
ฉันทะย่อมเกิดเพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงทราบความโดยพิสดารโดยนัย
นี้แล. แม้ในวาระอันมีวิริยินทรีย์เป็นต้นเป็นมูลเหตุ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาอธิมัตตัตถนิเทศ
อรรถกถาอธิฏฐานนัตถนิเทศ
แม้อธิฏฐานัตถนิเทศ พึงทราบโดยพิสดารโดยนัยนี้. มีความแตกต่าง
กันอยู่อย่างเดียวในบทนี้ว่า อธิฏฺาติ ย่อมตั้งมั่น ความว่า ย่อมดำรงอยู่.
จบอรรถกถาอธิฏฐานัตถนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
อรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในปริยาทานัตถนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ปริยาทียติ
ย่อมครอบงำ คือ ย่อมให้สิ้นไป.
พึงทราบวินิจฉัยในปติฏฐาปกัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สทฺโธ
สทฺธินทฺริย อธิโมกฺเข ปติฏฺาเปติ ผู้มีศรัทธาย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่
ในความน้อมใจเชื่อ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาน้อมใจเชื่อว่า สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
น้อมใจเชื่อ ด้วยบทนี้ท่านชี้แจงความพิเศษของการเจริญอินทรีย์ ด้วยความ
พิเศษของบุคคล.
บทว่า สทฺธสฺส สทฺธินฺทฺริย อธิโมกเข ปติฏฺาเปติ สัทธินทรีย์
ของผู้มีศรัทธาย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ คือ สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมยังศรัทธานั้นให้ตั้งอยู่. อนึ่ง ย่อมยังบุคคลผู้น้อมใจ
เชื่อให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ. ด้วยบทนี้ ท่านชี้แจงความพิเศษของบุคคล
ด้วยความพิเศษของการเจริญอินทรีย์. เมื่อประคองจิตอยู่อย่างนี้ ย่อมให้
วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคอง เมื่อตั้งสติไว้ย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความ
ตั้งมั่น เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อเห็น
อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา ย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในทัสสนะ เพราะเหตุนั้น
พึงทราบการประกอบแม้ในบทที่เหลือ.
บทว่า โยคาวจโร ชื่อว่า โยคาวจโร เพราะท่องเที่ยวไปใน
สมถโยคะ (การประกอบสมถะ)หรือในวิปัสสนาโยคะ (การประกอบวิปัสสนา).
บทว่า อวจรติ คือ ท่องเที่ยวไป.
จบอรรถกถาปริยาทานัตถปติฏฐาปกัตถนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
อรรถกถาอินทริยสโมธาน
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงการรวมอินทรีย์ของผู้เจริญ
สมาธิและของผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อชี้แจงประเภทแห่งความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ เป็นอันดับแรกก่อน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า สมาธึ ภาเวนฺโต เจริญสมาธิ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชโน สมาธึ ภาวนฺโต คือปุถุชน
เจริญสมาธิอันเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด. ส่วนแม้โลกุตรสมาธิก็ย่อมได้ แก่
พระเสกขะและแก่ผู้ปราศจากราคะ บทว่า อาวชฺชิตตฺตา ผู้มีตนพิจารณา
แล้ว คือ มีตนพิจารณานิมิตมีกสิณเป็นต้นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เพราะกระทำ
บริกรรมมีกสิณเป็นต้นแล้วมีตนเป็นนิมิตให้เกิดในบริกรรมนั้น. บทว่า อาร-
มฺมณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งนิมิตอันให้เกิดนั้นนั่นเอง. บทว่า สมถนิมิตฺตูปฏฺานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่ม
ทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิต
ด้วยอำนาจแห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
บทว่า ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต คือ เมื่อจิตหดหู่ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งนิมิต คือการประคองจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญธรรม-
วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อวิกฺเขปูปฏ-
านกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ เป็นผู้ฉลาดใน
การตั้งไว้ซึ่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านและไม่หดหู่. บทว่า โอภาสุ-
ปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส คือ เมื่อจิตไม่ยินดีเพราะ
ความเป็นผู้ด้อยในการใช้ปัญญา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ญาโณภาส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
เพราะยังจิตให้สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘. สังเวควัตถุ ๘ คือ ชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ วัฏฏมูลกทุกข์ในอดีต ๑ วัฏฏ-
มูลกทุกข์ในอนาคต ๑ อาหารปริเยฏฐิกทุกข์ (ทุกข์จากการแสวงหาอาหาร) ๑.
บทว่า สมฺปหสนูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความ
ร่าเริง คือ เมื่อจิตไม่ยินดี เพราะยังไม่บรรลุสุข คือ ความสงบ ทำจิตให้
เลื่อมใสด้วยการระลึกพุทธคุณธรรมคุณและสังฆคุณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้
ซึ่งความร่าเริง. บทว่า อุเปกฺขูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่ง
อุเบกขา คือ เมื่อจิตปราศจากโทษมีความฟุ้งซ่านเป็นต้น เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งอุเบกขาด้วยการกระทำความไม่ขวนขวาย ในการข่มและการยกย่อง
เป็นต้น.
บทว่า เสกฺโข ชื่อว่า เสกฺโข เพราะศึกษาไตรสิกขา. บทว่า
เอกตฺตูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว
คือ เมื่อจิตออกจากกามเป็นต้น เพราะละสักกายทิฏฐิเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า
วีตราโค มีราคะไปปราศแล้ว คือ ปราศจากราคะสิ้นอาสวะแล้ว เพราะละ
ราคะได้แล้วโดยประการทั้งปวง. บทว่า าณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาด
ในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอสัมโมหญาณในที่นั้น ๆ เพราะ
ในธรรมของพระอรหันต์เป็นธรรมปราศจากความหลงใหล. บทว่า วิมุตฺตู-
ปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ เป็นผู้ฉลาดในความตั้ง
ไว้ซึ่งอรหัตผลวิมุตติ.จริงอยู่ บทว่า วิมุตฺติ. ท่าน ประสงค์เอาอรหัตผลวิมุตต
เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง.
พึงทราบบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต และบทมีอาทิว่า นิจฺจโต ใน
ความตั้งไว้และความไม่ตั้งไว้ซึ่งวิปัสสนาภาวนาโดยนัยดังกล่าวแล้วในศีลกถา
นั่นแล. แต่โดยปาฐะท่านตัดบทสมาสด้วยฉัฏฐีวิภัตติในบทเหล่านั้นคือ เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความประมวลมา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ
แปรปรวน เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ เป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น. อนึ่ง ในบทว่า สุญฺตูปฏฺาน-
กุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญนี้ท่านตัดบทว่า
สุญฺโต อุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของสูญ
หรือ สุญฺโต อุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้เพราะ
ความเป็นของสูญ. อนึ่ง เพราะมหาวิปัสสนา ๘ เหล่านี้ คือ นิพพิทานุ-
ปัสสนา ๑ วิราคานุปัสสนา ๑ นิโรธานุปัสสนา ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ๑
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ๑ ยถาภูตญาณทัสสนะ ๑ ปฏิสังขานุปัสสนา ๑
วิวัฏฏนานุปัสสนา ๑ เป็นมหาวิปัสสนาพิเศษโดยความพิเศษตามสภาวะของตน
มิใช่พิเศษโดยความพิเศษแห่งอารมณ์ ฉะนั้นคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้โดยความเป็นของน่าเบื่อหน่าย จึงไม่ควรแก่มหาวิปัสสนา ๘ เหล่านั้น
ดุจคำมีอาทิว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงไม่ประกอบมหาวิปัสสนา ๘ เหล่านี้ไว้.
ส่วนอาทีนวานุปัสสนา เป็นอันท่านประกอบว่า เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้โดยความเป็นโทษ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่นด้วยความ
อาลัย โดยอรรถด้วยคำคู่นี้เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ประกอบไว้
โดยสรุป.
ในมหาวิปัสสนา ๑๘ พึงทราบว่าท่านไม่ประกอบมหาวิปัสสนา ๙
เหล่านี้ คือ มหาวิปัสสนาข้างต้น ๘ และอาทีนวานุปัสสนา ๑ ไว้แล้วประกอบ
มหาวิปัสสนาอีก ๙ นอกนี้ไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
บทว่า าณูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ คือ
พระเสกขะเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณด้วยการเจริญวิปัสสนา เพราะไม่มี
วิปัสสนูปกิเลส แต่ท่านมิได้กล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณเพราะ
ความปรากฏแห่งความใคร่ด้วยการเจริญสมาธิ. บทว่า วิสญฺโคูปฏฺาน-
กุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยไม่เกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้องดังที่ท่านกล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ กามโยควิสัญโญคะ
(ความไม่เกี่ยวข้องด้วยกามโยคะ.) ๑ ภวโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยภวโยคะ) ๑ ทิฏฐิโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิโยคะ) ๑.
อวิชชาโยควิสัญโญคะ (ความไม่เกี่ยวข้องด้วยอวิชชาโยคะ) ๑.
บทว่า สญฺโคานุปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเกี่ยวข้อง คือ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง ที่ท่าน
กล่าวไว้ ๔ อย่าง คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑.
บทว่า นิโรธูปฏฺานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ คือ
ท่านผู้ชื่อว่าเป็นขีณาสพ เพราะมีจิตน้อมไปสู่นิพพาน ด้วยอำนาจแห่งกำลังของ
ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุผู้เป็นขีณาสพน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ดังอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ทำให้สูญสิ้นไปจากธรรม
อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
นิพพาน กล่าวคือความดับ.
บทว่า กุสล ในบทมีอาทิว่า อารมฺมณูปฏฺานกุสลวเสน ด้วย
สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ญาณ. จริงอยู่
แม้ญาณก็ชื่อว่า กุสล เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้ฉลาด เหมือนบทว่า ปณฺฑิตา
ธมฺมา บัณฑิตธรรมทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ฉลาด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
บัดนี้ แม้ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถามีอาทิว่า จตุสฏฺิยา อากาเรหิ
ด้วยอาการ ๖๔ ท่านก็ยังนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ด้วยเชื่อมกับอินทริยกถา. พึง
ทราบบทนั้นโดยนัย ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของอินทรีย์ โดยเชื่อม
ด้วยสมันตจักษุอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า น ตสฺส อทฺทิฏฺมิธตฺถิ กิจิ
บทธรรมไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็นไม่มีในโลกนี้. ในบทเหล่านั้น
บทว่า สมนฺตจกฺขุ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ. ท่านแสดงความที่อินทรีย์
ทั้งหลาย ๕ ไม่พรากกันด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺินทฺริยสฺส วเสน ด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์. ท่านแสดงความที่อินทรีย์ ๕ มีรสอย่างเดียวกัน และเป็น
ปัจจัยของกันและกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค
ด้วยจตุกะ ๕ มีอินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหนฺโต ปคฺคณฺหาติ
เมื่อเชื่อมย่อมประคับประคอง.
ท่านแสดงความที่อินทรีย์ ๕ มีรสอย่างเดียวกัน และเป็นปัจจัยของกัน
และกัน ในเวลาประกอบการน้อมไป หรือในขณะแห่งมรรค ด้วยจตุกะ ๕
อันมีอินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นมูล มีอาทิว่า สทฺทหิตตฺตา ปคฺคหิต เพราะความ
เป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวแบบแผนของ
อินทรีย์ โดยเชื่อมด้วยพุทธจักษุ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ย พุทฺธจกฺข พระ-
พุทธญาณเป็นพุทธจักษุ. ในบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธจกฺขุ ได้แก่ อินทริย-
ปโรปริยัตญาณ (ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์
ทั้งหลาย) และอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์
ทั้งหลาย). อนึ่ง บทว่า พุทฺธาณ นี้ ก็ได้แก่ญาณทั้งสองนั้นเหมือนกัน.
บทที่เหลือมีความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอินทริยสโมธาน
จบอรรถกถาอินทริยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
มหาวรรค วิโมกขกถา
บริบูรณ์นิทาน
ว่าด้วยวิโมกข์ ๓
[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้.
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑
อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ อัชฌัตตาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) ๑
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) ๑ ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) ๑ วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธา-
วุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับ
จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์
๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูป
เห็นรูปทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญ ว่ารูปในภายใน เห็นรูป
ทั้งหลายในภายนอก เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น
อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ วิญญาณณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ อากิญ-
จัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ สัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
เวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ สมยวิโมกข์ อสมยวิโมกข์ สามายิกวิโมกข์
อามายิกวิโมกข์ กุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่กำเริบได้) อกุปปวิโมกข์ (วิโมกข์
ที่ไม่กำเริบ) โลกิยวิโมกข์ โลกุตรวิโมกข์ สาสววิโมกข์ อนาสววิโมกข์
สามิสวิโมกข์ นิรามิสวิโมกข์ นิรามิสตรวิโมกข์ ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิต
วิโมกข์ ปณิหิตปัสสัทธิวิโมกข์ สัญญุตวิโมกข์ วิสัญญุตวิโมกข์ เอกัตตวิโมกข์
มานัตตวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ฌานวิโมกข์
อนุปาทาจิตวิโมกข์.
[๔๗๐] สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความ
เป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์.
อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่
โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจาก
ความเป็นรูปนั้น และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย
ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้น จึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่อง
กำหนดหมาย นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์.
อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่
โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจาก
ความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้น จึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา
นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อรูปสมาบัติ ๔ เป็นพหิทธาวุฏฐาน.
วิโมกข์.
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.
[๔๗๑] วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ปฐมฌาน
ออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตกวิจาร ตติยฌานออกจากปีติ จตุตถฌาน
ออกจากสุขและทุกข์ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.
วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อากาสานัญจายตน
สมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญา-
ณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา นี้เป็น
วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.
วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน โสดาปัตติมรรคออกจาก
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิอนุสัย วิจิกิจฉานุสัย ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตาม
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
ส่วนละเอียด ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก อรหัตมรรคออกจากรูป-
ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุนัย ภวราคานุสัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
อวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐาน
วิโมกข์.
[๔๗๒] วิโมกข์ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิตเพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก วิจาร ปีติ
สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ นี้เป็นวิโมกข์ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้โสดาปัตติมรรค.
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.
[๔๗๓] วิโมกข์ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การ
ได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน แห่งทุติยฌาน แห่งตติยฌาน แห่งจตุตถฌาน
มีอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.
วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ? การได้หรือ
วิบากแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แห่ง
อากิญจัญญายตนสมาบัติ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ มีอยู่ นี้เป็น
วิโมกข์ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ? โสดาปัตติผล
แห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผลแห่ง
อนาคามิมรรค อรหัตผลแห่งอรหัตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจาก
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.
[๔๗๔] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
อย่างไร?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน
ย่อมได้เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้
เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิคอย่างนี้ว่า
นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้เป็นในรูป เธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า
เป็นรูป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ฯลฯ
นิมิตสีแดง. ..นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิต
นั้น ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อม
น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิต
นั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อม
เสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายใน
และภายนอกนี้ เป็นรูป เธอย่อมมีความสำคัญว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
อรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้.
[๔๗๕] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็น
รูปในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน
ไม่ได้นีลสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอ
ทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้ว
เธอย่อมเสพ เจริญทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่มีความสำคัญว่า
เป็นรูปในภายใน นิมิตสีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ภิกษุบาง
รูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง... นิมิตสีแดง...
นิมิตสีขาวในภายใน ไม่ได้โอทาตสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวภาย
นอกย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วเธอย่อมเสพ เจริญทำให้มาก เธอมีความคิดอย่าง
นี้ว่า เราไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ชื่อ
ว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายในเห็นรูป
ทั้งหลายในภายนอก อย่างนี้.
[๔๗๖] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วน
งามเท่านั้น อย่างไร ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่
ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน
ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจประกอบด้วย
กรุณา ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจ
ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา
สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจ
ไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
[๔๗๗] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม
วินัยนี้เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตต-
สัญญา โดยประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า
อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็นอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์.
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตน-
สมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์.
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
โดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า สิ่งน้อยหนึ่ง
ไม่มี นี้เป็นอากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์.
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์.
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธ นี้เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์.
[๔๗๘] สมยวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็น
สมยวิโมกข์.
อสมยวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอสมยวิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
สามยิกวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสาม-
ยิกวิโมกข์.
อสามยิกวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพ-
พาน นี้เป็นอสามยิกวิโมกข์.
กุปปวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นกุปป-
วิโมกข์.
อกุปปวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอกุปปวิโมกข์.
โลกิยวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นโลกิย-
วิโมกข์.
โลกุตรวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ
นิพพาน นี้เป็นโลกุตรวิโมกข์.
สาสววิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสาสว-
วิโมกข์.
อนาสววิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอนาสววิโมกข์.
[๔๗๙] สามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็น
สามิสวิโมกข์.
นิรามิสวิโมกข์เป็นไฉน ? วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นนิรานิส-
วิโมกข์.
นิรามิสตรวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ
นิพพาน นี้เป็นนิรามิสตรวิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
ปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ อรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นปณิหิต-
วิโมกข์.
อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ
นิพพาน นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.
ปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์เป็นไฉน ? การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน
ฯลฯ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์.
สัญญุตวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสัญญุต-
วิโมกข์.
วิสัญญุตวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ
นิพพาน นี้เป็นวิสัญญุตวิโมกข์.
เอกัตตวิโมกข์เป็นไฉน ? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นเอกัตตวิโมกข์
นานัตตวิโมกข์เป็นไฉน ? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็น
นานัตตวิโมกข์.
[๔๘๐] สัญญาวิโมกข์เป็นไฉน ? สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญา
วิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยายพึงมีได้.
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ?
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญา-
วิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากสุขสัญญา... อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจาก .
อัตตสัญญา... นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนันทิสัญญา (ความสำคัญโดย
ความเพลิดเพลิน)... วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากราคสัญญา... นิโรธานุ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
ปัสสนาญาณพ้นจากสมุทยสัญญา...ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอาทาน-
สัญญา (ความสำคัญโดยความถือมั่น)... อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตต-
สัญญา... อัปปณิหิตานุปัสสนาญานพ้นจากปณิธิสัญญา... สุญญตานุปัสสนา-
ญานพ้นจากอภินิเวสสัญญา (ความสำคัญโดยความยึดมั่น)... เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์
๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากนิจจสัญญา
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่าง
เปล่าในรูปพ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้น
จากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญา-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้
อย่างนี้ นี้เป็นสัญญาวิโมกข์.
[๔๘๑] ญาณวิโมกข์เป็นไฉน ? ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์
๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย
พึงมีได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ? อนิจจานุปัสสนายถาภูต-
ญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นญาณวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็น
สุข จากความไม่รู้... อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดย
ความเป็นตัวตนจากความไม่รู้... นิพพิทานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความ
หลงโดยความเพลิดเพลิน จากความไม่รู้... วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้น
จากความหลงโดยความกำหนัด จากความไม่รู้... นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ
พ้นจากความหลงโดยเป็นเหตุให้เกิด จากความไม่รู้... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาย-
ถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความถือมั่น จากความไม่รู้... อนิมิตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นนิมิต จากความไม่รู้...
อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็นที่ตั้ง จาก
ความไม่รู้... สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น
จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณ
วิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความ
หลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิโมกข์
ฯลฯ ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความหลง
โดยความยึดมั่น จากความรู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์
๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ฯลฯ
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจาก
ความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑
เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่ง
วัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นญาณวิโมกข์.
[๔๘๒] สีติสิยาวิโมกข์เป็นไฉน ? สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยา
วิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย พึงมีได้.
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงได้อย่างไร ?
อนิจจานุปัสสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนา... โดยความเป็นสุข...
อนัตตานุปัสสนา... โดยความเป็นตน... นิพพิทานุปัสสนา... โดยความ
เพลิดเพลิน... วิราคานุปัสสนา... โดยความกำหนัด... นิโรธานุปัสสนา...
โดยความเป็นเหตุเกิด... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา... โดยความถือมั่น... อนิมิตตา-
นุปัสสนา... โดยมีนิมิตเครื่องหมาย... อัปปณิหิตานุปัสสนา... โดยเป็นที่ตั้ง
... สุญญตานุปัสสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายโดยความยึดมั่น เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็น สิติสิยาวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
วิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้
อย่างนี้.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นญาณอันมีความเย็นอย่าง
เยี่ยมพ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความ
เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่ง
วัตถุ โดยปริยายพึงมีได้อย่างนี้.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร
ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นญาณอันมีความเย็นอย่าง
เยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ สีติสิยาวิโมกข์ ๑
เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นสีติสิยาวิโมกข์.
[๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉน ? เนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึง
เป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและถูกเผา
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผาความพยาบาท
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป... อาโลก-
สัญญาเกิด เผาถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด
เผาอุทธัจจะ... การกำหนดธรรมเกิด เผาวิจิกิจฉา... ญาณเกิด เผาอวิชชา
... ความปราโมทย์เกิด เผาอรติ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์ เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัตมรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
ฌาน เกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน-
วิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์.
[๔๘๔] อนุปาทาจิตวิโมกข์เป็นไฉน ? อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑
เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้.
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ?
อนิจจานุปัสสนาญาน ย่อมพ้นจากดวามถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากความ
ถือมั่นโดยความเป็นสุข... อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากดวามถือมั่นโดยความ
เป็นตัวตน... นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจากดวามถือมั่นโดยความเพลิดเพลิน
... วิราคานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความกำหนัด... นิโรธา-
นุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นเหตุเกิด... ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความถือผิด... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากความถือมั่นโดยนิมิต... อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่น
โดยเป็นที่ตั้ง... สุญญตานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่น โดยความยึดมั่น
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทา-
จิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วย
สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความถือมั่น
โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ
คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
จิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วย
สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้นจากความถือมั่น
โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้นจากความถือมั่นโดย
ความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑
เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.
[๔๘๕] อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ? ทุกขา-
นุปัสสนาญาณ อนัตตานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ วิราคานุปัสสนา-
ญาณ นิโรธานุปัสสนาญาณ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ?
อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสลนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทา
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๑ นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๓.
[๔๘๖] อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน ?
อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ? ทุกขา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ทุกขานุปัสสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.
อนัตตานุปัสสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน ? อนัตตา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน อนัตตานุปัสสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.
นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ? นิพพิทา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.
วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ? วิราคา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน วิราคานุปัสสนาญาน
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.
นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน ? นิโรธา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน
๔ เหล่านี้.
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน ?
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ คือกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๔ เหล่านี้.
อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน ? อนิมิตตา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ?
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.
สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน ? สุญญตา-
นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาท สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.
ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณ ๑
อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ๑ สุญญตานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ
ทิฏฐิปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ
ทุกขานุปัสสนาญาณ ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ ๑ วิราคานุปัสสนาญาณ ๑ อัปป-
ณิหิตานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ญาณ ๒
เหล่านี้ คือ นิโรธานุปัสสนาญาณ ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจาก
อุปาทานทั้ง ๔ คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑
อัตตวาทุปาทาน ๑ นี้เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์.
จบวิโมกขกถา ปฐมภาณวาร
[๔๘๗] ก็วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ
นำออกไปจากโลก ด้วยความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ โดยความพิจารณา
เห็นสรรพสังขาร โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด ด้วยความที่จิตแล่นไปใน
อัปปณิหิตธาตุ โดยความองอาจแห่งใจในสรรพสังขาร และด้วยความที่จิต
แล่นไปในสุญญตาธาตุ โดยความพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยแปรเป็นอย่างอื่น
วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
[๔๘๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ
สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ
น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็น
ของสูญ.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิต
มากด้วยธรรมอะไร ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา จิตมากด้วยความรู้.
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์เป็นไฉน ?
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป
ย่อมได้สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้
ปัญญินทรีย์.
[๔๘๙] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความ
น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์ในภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์
นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัยเกิดร่วมกัน ) เป็นอัญญมัญญปัจจัย
(เป็นปัจจัยของกันและกัน) เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน) เป็นสัมป-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
ยุตตปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน ) เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
เพราะอรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไป
ด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน... เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตามากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่
เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสย-
ปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะ
อรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ
สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้ง
เป็นสหชาตปัจจัย... เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถ
ว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์
ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วย
ความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไป
ด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียว
กัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้
ปฏิบัติผิด.
[๔๙๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความ
น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตาม
อินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
ปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัยในเวลาแทงตลอด มีอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญ-
ปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็น
ใหญ่เป็นไฉน ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็น
ใหญ่เป็นไฉน ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ
สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้ง
เป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย ในเวลา
แทงตลอด ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอด
ก็ย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ย่อมแทงตลอด.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่...
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่...
[๔๙๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมี
ประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์
อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.
[๔๙๒] บุคคลผู้เชื่อน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต
บุคคลทำให้แจ้งเพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี
บุคคลบรรลุแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ
บุคคลเชื่ออยู่ย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง
ฌานก่อน ภายหลังจึงการทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณ
อันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล
กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขี
ก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย.
คำว่า พึงเป็น คือ พึงเป็นอย่างไรเล่า ?
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์ประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง...เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็น
กายสักขี บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่างนี้.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง... เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็น
ทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
อย่างนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ พึง
เป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้อย่างนี้.
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็น
ทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง จึงเป็นกายสักขีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นทิฏฐิปัตต-
บุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็น
ทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
[๔๙๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตาม
สัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคล
ทั้งหมดนั้นเป็นสัทธานุสารีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์
ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัท-
ธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรคทำให้แจ้งอรหัตผล
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตาม
สัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว
เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้
แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุต.
[๔๙๔] เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔
ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรค ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล
เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย...สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคล
เจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี.
[๔๙๕] เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณ
ยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึง
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตบุคคล
อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
ทั้งหมดนั้นเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค
ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้
อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตต-
บุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคล
เจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น
ทิฏฐิปัตตะ.
[๔๙๖] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งเนกขัมมะ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือ
จักถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจัก
แทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว
ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือ
จักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความ
สำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้ว
กล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขี
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.
[๔๙๗] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน การกำหนดธรรม
ญาณความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ วิญญาญัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
นาสัญญายตนสมาบัติ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ขยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา
สุญญตานุปัสสนาอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนา
ปฏิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคา-
มิมรรค อรหัตมรรค.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่ง
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึงหรือจัก
ถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือ
จักแทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว
ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือ
จักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความ
สำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความ
แกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกาย-
สักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.
[๔๙๘] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือ
จักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะแล้ว
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งแทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจัก
แทงตลอดซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
สัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทริย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งศึกษาแล้ว ย่อมศึกษา หรือจักศึกษาซึ่ง
สิกขา ๓ ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อม
ถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจัก
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ
ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า
บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์.
[๔๙๙] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม
แทงตลอดสัจจะด้วยอาการเท่าไร.
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการ ๔ คือ บุคคลย่อมแทงตลอดทุกขสัจเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็น
การแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย
ภาวนา การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขี
ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะด้วยอาการเท่าไร.
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทนตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ
เป็นการแทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอด
มรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา การแทงตลอดด้วยการเจริญมรรคสัจ
การแทงตลอดด้วยอาการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการละสังขาร
ทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการเจริญกุศลทั้งปวง และการแทงตลอดด้วยการ
ทำให้แจ้งมรรค ๔ แห่ง นิโรธ การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้
บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่ง
สัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถ
แห่งปัญญินทรีย์.
จบทุติยภาณวาร
[๕๐๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ
สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ
น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็น
ของว่างเปล่า.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยอะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมมากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อมมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยความรู้.
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมโดยวิโมกข์เป็นไฉน.
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความ
สงบ ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วย
ความรู้ ย่อมได้สุญญตวิโมกข์.
[๕๐๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความ
น้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้น
มีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มีกิจอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ใครเจริญ.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่...ใครเจริญ.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่...ใครเจริญ.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ อนิมิตตวิโมกขเป็นใหญ่วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้น
มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย...มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
ว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อม
ไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้ง
เป็นสหชาตปัจจัย...การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย...การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด.
[๕๐๒] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นผู้มากด้วยความ
น้อมใจเธอ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้น
มีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มิกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ในเวลา
แทงตลอด วิโมกข์ไหนเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามวิโมกข์
นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตต-
ปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ
เพราะอรรถว่ากระไร.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่...ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่...ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนา ที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
นั้น มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์
แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น
แม้บุคคลผู้แทงตลอดอย่างนี้ก็ชื่อว่าเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น มี ๒ ทั้ง
เป็นสหชาตปัจจัย...มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อัปปณิหิต-
วิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น
ก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้น มี ๒ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย...มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด สุญญตวิโมกข์
ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นก็มี ๒
ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.
[๕๐๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไร
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์
อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะอนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญต-
วิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.
[๕๐๔] บุคคลเชื่อน้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล
บุคคลทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี-
บุคคล บุคคลถึงแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตต-
บุคคล บุคคลเชื่อย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล
บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข
เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตบุคคล.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้วหรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ
บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตวิโมกข์ เป็นกายสักขี
ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่งความไม่พยาบาท
อาโลกสัญญา ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่าน.
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์
เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง
สุญญตวิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
[๕๐๕] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม
แทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร.
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ได้ด้วยอาการ ๔ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจเป็น
การแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ ด้วยอาการ
๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์.
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร.
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะได้ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย
ปริญญา ฯลฯ และการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งมรรค ๔ แห่งนิโรธ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ
๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์.
[๕๐๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อม
เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง สัมมาทัศนะ ความเห็นชอบย่อมมีได้
อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อมละความ
สงสัยได้ที่ไหน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพ
อันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์...
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอัน
บุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น
อย่างไร บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในที่ไหน.
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ ย่อมเห็นนิมิต
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวง
เป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีเเล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตาม
สัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นความเป็นไป
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็น
สภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะ
นั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและ
ความเป็นไป ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ
ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความ
เป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ (ปัญญา
เครื่องข้ามความสงสัย) มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถ
อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ มี
อรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
[๕๐๗] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา อะไรย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง นิมิตย่อมปรากฏโดยความ
เป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปย่อมปรากฏโดย
ความเป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความ
เป็นไป ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมี
อรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนา มีอรรถต่าง
กันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนา มีอรรถ
อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
[๕๐๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ คือ การพิจารณานิมิต
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณ คือ การพิจารณาความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณา
ทั้งนิมิตและความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง
เดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากอะไร ย่อมแล่นไปในที่ไหน.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมออกไปจากนิมิต
ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อม
ออกไปจากความเป็นไป ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเป็นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากนิมิตและความเป็นไป ย่อม
แล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ซึ่งไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก
และโครตภูธรรม มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กันต่างกันเเต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก
และโคตรภูธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยวิโมกข์อะไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไปด้วย
อนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิต-
วิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วน
ทั้งสองและมรรคญาณ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง
เดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วน
ทั้งสอง และมรรคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
[๕๐๙] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีใน
ขณะเดียวกันด้วยอาการเท่าไร.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ ย่อมมีในขณะเดียวกัน
ด้วยอาการ ๗.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ เป็นไฉน.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความเป็นใหญ่ ๑
ด้วยความตั้งมั่น ๑ ด้วยความน้อมจิตไป ๑ ด้วยความนำออกไป ๑.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างไร.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีใน
ขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างนี้.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย
สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่น
ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกัน
ด้วยความตั้งมั่นอย่างนี้.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างไร.
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วย
สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไป
ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วย
ความน้อมจิตไปอย่างนี้.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไปอย่างไร.
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิ-
หิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอัน
เป็นที่ดับด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วย
ความนำออกไปอย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ นี้.
[๕๑๐] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน.
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ คือ ด้วยความประชุม
ลง ๑ ด้วยความบรรลุ ๑ ด้วยความได้ ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ด้วยความ
ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความถูกต้อง ๑ ด้วยความตรัสรู้ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ด้วยความ
บรรลุ ด้วยความได้ ด้วยความแทงตลอด ด้วยความทำให้แจ้ง ด้วยความ
ถูกต้อง ด้วยความตรัสรู้ อย่างไร.
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลย่อมพ้นจากอารมณ์ใด ย่อม
ไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์
ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีใน
ขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง...ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่า
จากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มี
นิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
อนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน
ด้วยความประชุมลง...ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมพ้นจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญต-
วิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่
ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง
อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
เป็นสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง...
ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ นี้.
[๕๑๑] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานมีอยู่ ธรรมอันเป็น
ประธานแห่งวิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันอนุโลม
ต่อวิโมกข์มีอยู่ วิโมกข์วิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่ง
วิโมกข์มีอยู่.
วิโมกข์เป็นไฉน คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต-
วิโมกข์.
สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น
โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสส-
นาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นสุข... อนัตตานุปัสสนาญาณ
ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน... นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้น
จากความยึดมั่นโดยความเพลิดเพลิน... วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความ
ยึดมั่นโดยความกำหนัด... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดย
เป็นเหตุเกิด... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
ถือมั่น... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นนิมิต...
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นที่ตั้ง...
สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง... ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพ
เที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณา
เห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้น
จากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ. ย่อมพ้น
จากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญต-
วิโมกข์.
[๕๑๒] อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสุข... อนัตตานุ-
ปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นตัวตน... นิพพิทานุปัสสนา-
ญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเพลิดเพลิน... วิราคานุปัสสนาญาณ
ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความกำหนัด... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความเป็นเหตุเกิด... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความถือมั่น... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมาย
ทุกอย่าง... อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็น
ที่ตั้ง... สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น...
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความมีนิมิตในรูป ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง... ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็น
ที่ตั้ง...ญาณ คือ ก็พิจารณาเห็นความว่าเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากเครื่อง
หมายโดยความยึดมั่น... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อม
พ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตต-
วิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในชราและมรณะ
ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา
เห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์.
[๕๑๓] อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้น
จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสุข... อนัตตานุปัสสนาญาณ
ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นตัวตน... นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
ที่ตั้งโดยความเพลิดเพลิน... วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความ
กำหนัด... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเหตุเกิด...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งไว้โดยความถือมั่น... อนิมิตตานุ-
ปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเครื่องหมาย... อัปปณิหิตานุปัสสนา-.
ญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง...สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง
โดยความยึดมั่น... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้น
จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้ง
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา
เห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้น
จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา
เห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.
[๕๑๔] ธรรมอันเป็นประธานเป็นไฉน ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่าย
ความตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในมรรควิโมกข์นั้น นี้ธรรมอันเป็น
ประธาน.
ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็น
อารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์.
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓
อกุศลธรรมแม้ทุกอย่าง เป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ นี้ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์.
ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์เป็นไฉน กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรม
แม้ทุกอย่าง เป็นธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ นี้ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์.
[๕๑๕] วิโมกขวิวัฏเป็นไฉน สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ บุคคลหมายรู้หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นสัญญาวิวัฏ บุคคลคิดอยู่หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏ
บุคคลรู้แจ้งหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏ บุคคลทำความรู้
หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏ บุคคลปล่อยวางหลีกออกไป
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นวิโมกขวิวัฏ บุคคลหลีกออกไปในธรรมอันมีความถ่องแท้
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัจจวิวัฏ สัญญาวิวัฏมีในที่ใด เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
เจโตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏมีในที่ใด
จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น จิตตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฎมีในที่ใด ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น ญาณวิวัฏมี
ในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏมีในที่ใด วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัจจวิวัฏมีในที่นั้น สัจจวิวัฏมี
ในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น
นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ.
[๕๑๖] การเจริญวิโมกข์เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก
ซึ่งปฐมฌาน... ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... อากาสานัญจายตน-
สมาบัติ... วิญญานัญจายตนสมาบัติ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ... เนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ... โสดาปัตติมรรค... สกทาคามิมรรค...
อนาคามิมรรค... การเสพ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอรหัตมรรค นี้เป็นการ
เจริญวิโมกข์.
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน...
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญนาสัญญายตนสมาบัติ
โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผล
แห่งอนาคามิมรรค อรหัตผลแห่งอรหัตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่ง
วิโมกข์.
จบตติยภาณวาร
จบวิโมกขกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
วิโมกขกถา
อรรถกถาวิโมกขุเทศ
บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาไปตามลำดับ ความที่ยังไม่เคยพรรณนา
แห่งวิโมกขกถา ซึ่งท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา. จริงอยู่ วิโมกขกถานี้
ท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา เพราะผู้ประกอบอินทริยภาวนาเป็นผู้ได้วิโมกข์-
ก็พระสารีบุตรเถระเมื่อกล่าววิโมกขกถานั้น ทำสุตตันตเทศนาให้เป็นหัวหน้า
แล้วกล่าวเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า สุญฺโต
วิโมกฺโข ได้แก่ อริยมรรคอันเป็นไป เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
โดยอาการแห่งความเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์. สุญญตวิโมกข์นั้น
ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเกิดธาตุสูญ. ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย.
โดยนัยนี้นั่นแหละพึงทราบว่า วิโมกข์เป็นไปเพราะทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์ โดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์. วิโมกข์เป็นไป
เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.
ภิกษุรูปหนึ่งพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความไม่เที่ยงแต่ต้นนั่นเอง
อนึ่ง เพราะเพียงพิจารณาด้วยความไม่เที่ยงเท่านั้น ยังไม่เป็นการออกไปแห่ง
มรรค ควรพิจารณาโดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง. หาก
เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ภิกษุนี้ชื่อว่าอยู่โดยความไม่เที่ยง แล้วออกไปโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
ความไม่เที่ยง. อนึ่ง หากว่าการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่ภิกษุนั้นพิจารณา
โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนี้ชื่อว่า อยู่โดยความไม่เที่ยง
แล้วออกไปโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. แม้ในการอยู่โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาแล้วออกไป ก็มีนัยนี้.
อนึ่ง ในอุเทศนี้ แม้ภิกษุใดอยู่โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา หากในเวลาออกย่อมออกโดยความไม่เที่ยง แม้ทั้ง ๓ นี้
ก็เป็นผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ ย่อมได้สัทธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์
เป็นผู้ระลึกศรัทธาในขณะปฐมมรรค เป็นผู้พ้นจากศรัทธาในฐานะ ๗. อนึ่ง
หากออกไปโดยความเป็นทุกข์ แม้ชนทั้ง ๓ ก็เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้
สมาธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขี (พยานเห็นกับตา
ทางกาย) ในที่ทั้งปวง. อนึ่ง อรูปฌานในกายสักขีนี้ เป็นบาทของภิกษุใด
ภิกษุนั้นเป็นอุภโตภาควิมุตในผลอันเลิศ แต่นั้นเป็นการออกโดยความเป็น
อนัตตาของชนเหล่านั้น. ชนแม้ทั้ง ๓ ก็เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้
ปัญญินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ เป็นผู้ระลึกถึงธรรมในขณะปฐมมรรค
เป็นผู้ถึงทิฏฐิในฐานะ ๖ เป็นผู้พ้นด้วยปัญญาในผลอันเลิศ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามรรคย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วย
เป็นไปกับหน้าที่ ๑ ด้วยเป็นข้าศึก ๑ ด้วยมีคุณ ๑ ด้วยอารมณ์ ๑ ด้วย
การมา ๑. หากภิกษุพิจารณาสังขารโดยความไม่เที่ยง แล้วออกจากความวางเฉย
ในสังขาร ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นทุกข์แล้ว
ออก ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นอนัตตาแล้ว
ออก ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นไปกับหน้าที่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
อนึ่ง วิโมกข์ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะทำการแยกความเป็นฆนะ (ก้อน)
ของสังขารทั้งหลายด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วละนิมิตว่าเที่ยง นิมิต ว่ายั่งยืน
นิมิตว่าคงที่ออกไปเสีย. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะละสุขสัญญาด้วยทุกขานุ-
ปัสสนา แล้วยังความปรารถนาที่ตั้งไว้ให้แห้งไป. ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ
ละความสำคัญว่าตน สัตว์ บุคคลด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วเห็นสังขารทั้งหลาย
โดยความเป็นของสูญ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นข้าศึก.
อนึ่ง ชื่อว่า สุญญตะ เพราะความเป็นของสูญจากราคะเป็นต้น
ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือราคะนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งของราคะเป็นต้น นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความมีคุณ
ของมรรคนั้น.
มรรคนี้นั้น ย่อมทำนิพพานอันเป็นของสูญ ไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง
ให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นอารมณ์.
อนึ่ง การมามี ๒ อย่าง คือ วิปัสสนาคมนะ (การมาแห่งวิปัสสนา) ๑
มัคคาคมนะ (การมาแห่งมรรค) ๑.
การมาแห่งวิปัสสนาย่อมได้ในมรรค การมาแห่งมรรคย่อมได้ในผล.
เพราะอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ มรรคแห่งสัญญตวิปัสสนา ชื่อว่า
สุญญตะ. ผลแห่งสุญญตมรรค ชื่อว่า สุญญตะ. อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
อนิมิตตะ มรรคแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ. ก็ชื่อนี้ย่อมได้
ด้วยอภิธรรมปริยาย แต่ในสุตตันตปริยายก็ได้ด้วย. จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวไว้ในสุตตันตปริยายนั้นว่า พระโยคาวจรทำนิพพานอันเป็นโคตรภูญาณ
หานิมิตมิได้ให้เป็นอารมณ์ เป็นชื่อที่ไม่มีนิมิตตั้งอยู่ในอาคมนียฐาน (ที่เป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
มาถึง) เองแล้วให้ชื่อแก่มรรค ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่ามรรคเป็นอนิมิตตะ
ควรกล่าวว่า ผลเป็นอนิมิตตะด้วยการมาแห่งมรรค. ทุกขานุปัสสนาชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะยังการตั้งไว้ในสังขารทั้งหลายให้แห้งไป มรรคแห่งอัปปณิ-
หิตวิปัสสนา ชื่อว่า อัปปณิหิตะ. ผลแห่งอัปปณิหิตมรรค ชื่อว่า อัปปณิหิตะ
เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาย่อมให้ชื่อแห่งมรรคของตนอย่างนี้. มรรคย่อมให้ชื่อ
แห่งผล นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยการมาถึง. พระโยคาวจรย่อมกำหนดคุณวิเศษแห่ง
วิโมกข์ จากความวางเฉยในสังขารด้วยประการฉะนี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นยกวิโมกข์อันเป็นมหาวัตถุ ๓ ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ขึ้นแสดงอย่างนี้ประสงค์จะชี้แจงถึงวิโมกข์ แม้อื่นอีก
ด้วยสามารถการชี้แจงวิโมกข์นั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปิจ อฏฺสฏฺี
วิโมกฺขา อีกอย่างหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงถึงปริยายอื่น. วิโมกข์
เหล่านั้นมี ๖๘ ได้อย่างไร มี ๗๕ มิใช่หรือ. มี ๗๕ ตามเสียงเรียกร้องจริงหรือ
ไม่ควรนับวิโมกข์ ๓ เหล่านี้ เพราะชี้แจงวิโมกข์อื่นเว้นวิโมกข์ ๓ ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วและเพราะกั้นวิโมกข์เหล่านั้น แม้วิโมกข์ ๓ มี
อัชฌัตตวิโมกข์เป็นต้นก็ไม่ควรนับ เพราะหยั่งลงภายในด้วยกล่าวโดยพิสดาร
๔ ส่วน อัปปณิหิตวิโมกข์ ในบทนี้ว่า ปณิหิโต วิโมกฺโข อปฺปณิหิโต
วิโมกฺโข ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ก็ไม่ควรนับ เพราะมีชื่ออย่างเดียว
กันด้วยการยกขึ้นแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อนำวิโมกข์ ๗ อย่างเหล่านี้ออกอย่างนี้
แล้วก็เหลือวิโมกข์ ๖๘. หากถามว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงยกวิโมกข์
๓ มีสุญญตวิโมกข์เป็นต้นขึ้นแสดงเล่า. ตอบว่า เพื่อหยิบยกขึ้นโดยอุเทศ
แล้วทำการชี้แจงวิโมกข์เหล่านั้น. อนึ่ง วิโมกข์ ๓ มี อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
(วิโมกข์มีการออกจากภายใน) เป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งหมู่
อันเป็นมูลเหตุเว้นประเภทเสีย. พึงทราบแม้อัปปณิหิตวิโมกข์ ท่านก็ยกขึ้น
แสดงอีกด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์ของปณิหิตวิโมกข์.
พึงทราบวินิจฉัยในอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นต้นดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
อชฺฌตฺตวุฏฺาโน เพราะออกจากภายใน. ชื่อว่า อนุโลมาเพราะคล้อยตาม
ชื่อว่า อชฺฌตฺตวุฏฺานปฏิปฺปสฺสทฺธิ เพราะระงับออกไปแห่งการออกจาก
ภายใน. บทว่า รูปี คือ รูปอันเป็นรูปฌานให้เกิดขึ้นในอวัยวะมีผมเป็นต้น
ในภายใน ชื่อว่า รูปี เพราะภิกษุมีรูป. บทว่า รูปานิ ปสฺสติ ภิกษุเห็นรูป
คือ เห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นในภายนอกด้วยญาณจักษุ ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึง
การได้ฌานในกสิณทั้งหลายอันมีวัตถุในภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺต
อรูปสญฺี คือ ภิกษุไม่มีความสำคัญว่า รูปในภายใน ความว่า มีรูปาวจร
ฌานยังไม่เกิดในผมเป็นต้นของตน ด้วยบทนี้ท่านทำบริกรรมในภายนอกแล้ว
จึงแสดงฌานที่ได้แล้วในภายนอกนั่นเอง. บทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต
น้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น คือ น้อมไปในอารมณ์ ว่างามเท่านั้น.
ในบทนั้นความผูกใจว่างามไม่มีในอัปปนาภายในแม้โดยแท้ แต่ภิกษุใดแผ่
สัตตารมณ์ไปโดยอาการเป็นของไม่น่าเกลียดอยู่ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้น้อมใจ
ไปว่างามเท่านั้น ฉะนั้นท่านจึงยกขึ้นแสดงอย่างนี้. ชื่อว่า สมยวิโมกฺโข
เพราะมีวิกขัมภนวิมุตติในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบ ๆ. ชื่อว่า สามยิโก เพราะ
วิโมกข์นั้นประกอบแล้วในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบด้วยสามารถทำกิจของตน. ปาฐะ
ว่า สามายิโก บ้าง. ชื่อว่า กุปฺโป เพราะสามารถกำเริบได้ คือ ทำลายได้.
ชื่อว่า โลกิโก เพื่อประกอบไว้ในโลกโดยไม่ก้าวล่วงโลก ปาฐะว่า โลกิโย
บ้าง. ชื่อว่า โลกุตฺตโร เพราะข้ามโลก หรือข้ามโลกได้แล้ว. ชื่อว่า สาสโว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
เพราะมีอาสวะด้วยการทำอารมณ์. ชื่อว่า อนาสโว เพราะไม่มีอาลวะด้วยการ
ทำอารมณ์และด้วยการประกอบร่วม. ชื่อว่า สามิโส เพราะมีอามิสกล่าวคือรูป.
ชื่อว่า นิรามิสา นิรามิสตโร เพราะไม่มีอามิส ยิ่งกว่าไม่มีอามิส เพราะ
ละรูปและอรูปได้โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ปณิหิโต คือ ตั้งไว้แล้ว ปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งตัณหา.
ชื่อว่า สญฺุตฺโต เพราะประกอบแล้วด้วยสังโยชน์ด้วยการทำอารมณ์. บทว่า
เอกตฺตวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์มีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะไม่งอกงามด้วย
กิเลสทั้งหลาย. บทว่า สญฺาวิโมกฺโข คือ วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นจากสัญญาวิปริต. วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ เพราะวิโมกข์ คือ ญาณนั้นแหละด้วยอำนาจพ้นจากความลุ่มหลง.
บทว่า สีติสิยาวิโมกฺโข คือ ความพ้นเป็นไปแล้วว่า วิปัสสนาญาณนั้น
แหละพึงเป็นความเย็น ชื่อว่า สีติสิยาวิโมกข์ ปาฐะว่า สีติสิกาวิโมกฺโข
บ้าง. อาจารย์ทั้งหลายพรรณนาความแห่งบทนั้นว่า ความพ้นเพราะความเป็น
ของเย็น. บทว่า ฌานวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์ คือฌานนั้นเองอันมี
ประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา และมีประเภทเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า
อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ได้แก่ ความพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่น
คือ ไม่ทำการถือ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาวิโมกขุเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
อรรถกถาวิโมกขนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุเทศ มีอาทิว่า กตโม ดังต่อไปนี้.
บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ คือพิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สุญฺมิท
นามรูปนี้ว่าง คือ ขันธบัญจกนี้ว่าง. ว่างจากอะไร ว่างจากความเป็นตัวตน
หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเตน วา จากความเป็นตัวตน คือ ว่าง
จากความเป็นตัวตน เพราะไม่มีตัวตนที่กำหนดว่าเป็นคนพาล. บทว่า อตฺต-
นิเยน วา จากสิ่งทีเนื่องด้วยตน คือ ว่างจากสิ่งที่เป็นของของตนที่กำหนด
ไว้นั้น ความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะไม่มีของตนนั้นเอง. อนึ่ง ชื่อว่า
สิ่งที่เนื่องด้วยตนจะพึงเป็นของเที่ยงหรือพึงเป็นความสุข. แม้ทั้งสองอย่างนั้น
ก็ไม่มี. ท่านอธิบายไว้ว่า อนิจจานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธสิ่งที่เป็นของเที่ยง
ทุกขานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธความสุข. บทว่า สุญฺมิท อตฺเตนวา นามรูป
นี้ว่างจากความเป็นตัวตน ท่านกล่าวถึงอนัตตานุปัสสนานั่นเอง. บทว่า โส
คือ ภิกษุนั้นเห็นแจ้งด้วยอนุปัสสนา ๓ อย่างนี้. บทว่า อภินิเวส น กโรติ
ไม่ทำความยึดมั่น คือ ไม่ทำความยึดมั่นตนด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา.
บทว่า นิมิตฺต น กโรติ ไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย คือ ไม่ทำเครื่องกำหนด
หมายว่าเที่ยงด้วยอำนาจแห่ง อนิจจานุปัสสนา. บทว่า ปณิธึ น กโรติ
ไม่ทำความปรารถนาคือ ไม่ทำความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา.
วิโมกข์ ๓ เหล่านี้ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งตทังคะ ในขณะแห่งวิปัสสนา
โดยปริยาย แต่ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉท ในขณะแห่งมรรคโดยตรง.
ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากนิวรณ์เป็นต้นในภายใน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
อรูปสมาบัติ ๔ ชื่อว่า พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากอารมณ์ทั้งหลาย
แม้อารมณ์ท่านก็กล่าวว่า ภายนอกในบทนี้เหมือนอายตนะภายนอก. วิกขัมภน-
วิโมกข์สองเหล่านี้ สมุจเฉทวิโมกข์เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.
ท่านกล่าวการออกจากภายในโดยสรุป ด้วยบทมีอาทิว่า นีวรเณหิ
วุฏฺา ออกจากนิวรณ์ทั้งหลาย. ด้วยบทมีอาทิว่า รูปสญฺาย จากรูปสัญญา
ท่านไม่กล่าวถึงสมาบัตินั้น เพราะการก้าวล่วงอารมณ์มีกสิณเป็นต้น ปรากฏแล้ว
จึงกล่าวถึงการก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้นดังที่ท่านกล่าวแล้วในพระสูตรทั้งหลาย.
บทว่า สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา เป็นบทสมาส.
ตัดบทว่า สกฺกายทิฏฺิกา (จากสักกายทิฏฐิ) วิจิกิจฺฉาย (จากวิจิกิจฉา)
สีลพฺพตปรามาสา (จากสีลัพพตปรามาส). นี้แลเป็นปาฐะ.
ด้วยบทว่า วิตกฺโก จ เป็นอาทิ ท่านกล่าวถึงอุปจารภูมิแห่งฌาน
และสมาบัติ. ด้วยบทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา เป็นอาทิท่านกล่าวถึงวิปัสสนา
อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔.
บทว่า ปฏิลาโภ วา การได้ ชื่อว่า ปฏิลาโภ เพราะขวนขวาย
ปรารถนาได้ด้วยถึงความชำนาญ ๕ อย่าง เพราะความขวนขวายในฌานและ
ความขวนขวายในสมาบัติทั้งปวงเป็นความระงับด้วยถึงความชำนาญ ฉะนั้น
การได้ท่านจึงกล่าวว่าวิโมกข์เป็นความระงับ. ส่วนวิบากเป็นความระงับฌาน
และสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงตรงทีเดียว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การได้
ฌานและสมาบัติเพราะความขวนขวายในอุปจารสงบ เพราะฉะนั้นการได้ฌาน
และสมาบัติท่านจึงกล่าวว่า ปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ความพ้นเป็นความระงับ.
บทว่า อชฺฌตฺต ในภายใน คือ เป็นไปเพราะเนื่องกับตน. บทว่า
ปจฺจตฺต เฉพาะตน คือ เป็นไปเฉพาะตน. ท่านแสดงภายในเนื่องด้วยตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
แม้ด้วยบททั้งสองนั้น. บทว่า นีลนิมิตฺต นิมิตสีเขียว คือ สีเขียวนั่นเอง.
บทว่า นีลสญฺ ปฏิลภิ ได้นีลสัญญา คือ ได้สัญญาว่าสีเขียวในนีลนิมิตนั้น.
บทว่า สุคฺคหิต กโรติ ทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว คือ ทำให้เป็น
อันถือไว้ด้วยดีในบริกรรมภูมิ. บทว่า สูปธาริต อุปธาเรติ ทรงจำไว้ดีแล้ว
คือ ทรงจำทำไว้ด้วยดีในอุปจารภูมิ. บทว่า สฺวาตฺถิต อวตฺถาเปติ กำหนด
ไว้ดีแล้ว คือ ตัดสินด้วยดีในอัปปนาภูมิ. ปาฐะว่า ววตฺถาเปติ บ้าง. จริงอยู่
ภิกษุเมื่อทำนีลบริกรรมในภายในย่อมทำผมดีหรือดวงตา. บทว่า พหิทฺธา
นีลมิตฺเต ในนิมิตสีเขียวภายนอก คือ ในนีลกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ดอกไม้สีเขียว ผ้าสีเขียว ธาตุสีเขียว. บทว่า จิตฺต อุปสหรติ คือน้อมจิต
เข้าไป. แม้ในสีเหลืองเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ
คือ เสพสัญญานั้นแหละแต่ต้น. บทว่า ภาเวติ คือย่อมเจริญ. บทว่า
พหุลีกโรติ ทำให้มาก ๆ คือทำบ่อย ๆ. บทว่า รูป ได้แก่ รูปมีนิมิตสีเขียว.
บทว่า รูปสญฺี คือ มีความสำคัญว่าเป็นรูป ความสำคัญในรูปนั้น ชื่อว่า
รูปสญฺา ชื่อว่า รูปสญฺี เพราะมีรูปเป็นสัญญา.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่ามีนิมิตสีเหลืองในภายในภิกษุเมื่อกระทำ
ปีตบริกรรม ย่อมทำในที่มันข้น หรือที่ผิวหรือในที่ตาสีเหลือง เมื่อกระทำโลหิต
บริกรรมย่อมทำที่เนื้อ เลือด ลิ้น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือในที่ตาสีแดง เมื่อทำ
โอทาตบริกรรมย่อมทำที่กระดูก ฟัน เล็บ หรือในที่ตาสีขาว. บทว่า อชฺฌตฺต
อรูป ไม่มีรูปในภายใน ความว่า ไม่มีรูปนิมิตในภายใน.
บทว่า เมตฺตาสหคเตน ประกอบด้วยเมตตา คือประกอบด้วยเมตตา
ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานและจตุตถฌาน. บทว่า เจตสา คือ
มีใจ. บทว่า เอก ทิส ตลอดทิศหนึ่ง ท่านกล่าวหมายถึงสัตว์หนึ่งที่กำหนด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
ครั้งแรกแห่งทิศหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปยังสัตว์อันไม่เนื่องด้วยทิศ
หนึ่ง. บทว่า ผริตฺวา แผ่ไปแล้ว คือถูกต้องทำให้เป็นอารมณ์. บทว่า
วิหรติ อยู่ คือยังการอยู่ด้วยอิริยาบถอันตั้งมั่นด้วยพรหมวิหารให้เป็นไป.
บทว่า ตถา ทุติย ทิศที่สองก็เหมือนกัน คือ แผ่ไปตลอดทิศใดทิศหนึ่งใน
บรรดาทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น ฉันใด ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ อัน
เป็นลำดับนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อิติ อุทฺธ ทั้งเบื้องบนท่านอธิบาย
ว่า ทิศเบื้องบนโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อโธ ติริย ทิศเบื้องล่าง เบื้อง
ขวาง คือ แม้ทิศเบื้องล่าง แม้ทิศเบื้องขวางก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อโธ คือเบื้องล่าง. บทว่า ติริย คือ
ทิศน้อย ความว่า ยังจิตสหรคต ด้วยเมตตาให้แล่นไปบ้าง ให้แล่นกลับบ้าง
ในทิศทั้งปวง ดุจให้ม้าวิ่งไปวิ่งกลับในบริเวณของม้าฉะนั้น.
ด้วยเหตุเพียงนี้ ท่านกำหนดถือเอาทิศหนึ่ง ๆ แล้วแสดงการแผ่เมตตา
ไปโดยจำกัด. ส่วนบทมีอาทิว่า สพฺพธิ ในที่ทุกสถานท่านกล่าวเพื่อแสดง
โดยไม่จำกัด. บทว่า สพฺพธิ คือในที่ทั้งปวง. บทว่า สพฺพตฺตาย ทั่ว
สัตว์ทุกเหล่า คือทุกตัวตนในประเภทสัตว์มีเลว ปานกลาง เลิศ มิตร ศัตรู
และความเป็นกลางเป็นต้นทั้งปวง อธิบายว่า เพราะไม่ทำการแบ่งแยกว่านี้เป็น
สัตว์อื่น เป็นผู้เสมอกับตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพตฺตตาย คือโดยความ
เป็นผู้มีจิตรวมอยู่ทั้งหมด อธิบายว่า ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกแม้เล็กน้อย.
บทว่า สพฺพาวนฺต ตลอดโลกคือสัตว์ทุกเหล่า อธิบายว่าประกอบด้วยสัตว์
ทั้งปวง. ปาฐะว่า สพฺพวนฺต บ้าง. บทว่า โลก ได้แก่ สัตว์โลก อนึ่งใน
นิเทศนี้ท่านกล่าวว่า เมตฺตาสหคเตน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอีกเพราะ
แสดงปริยายด้วยบทมีอาทิอย่างนี้ว่า วิปุเลน อันไพบูลย์ หรือเพราะในบทนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ท่านไม่กล่าว ตถาศัพท์ หรือ อิติศัพท์ อีก ดุจในการแผ่ไปโดยจำกัด ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าว บทว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา
อีก หรือท่านกล่าวบทนี้โดยการสรุป. ในบทว่า วิปุเลน นี้พึงเห็นความ
ไพบูลย์ด้วยการแผ่ไป พึงเห็นจิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ ด้วยภูมิ. จริงอยู่ จิตนั้น
ถึงความเป็นไปใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ เพราะมีผลไพบูลย์และเพราะ
การสืบต่อยาว. อีกอย่างหนึ่ง จิตชื่อว่า มหคฺคต เพราะถึง คือ ดำเนินไปด้วย
ฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาอันยิ่งใหญ่. ชื่อว่า อปฺปมาณ หาประมาณมิ
ได้ด้วยสามารถแห่งความคล่องแคล่วและด้วยสามารถแห่งสัตตารมณ์อันประมาณ
มิได้. ชื่อว่า อเวร ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือความพยาบาท. ชื่อว่า อพฺยา-
ปชฺฌ ไม่มีความเบียดเบียนเพราะละโทมนัสเสียได้ ท่านอธิบายว่า ไม่มีทุกข์.
บทว่า อปฺปฏิกูลา โหนฺติ สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง คือสัตว์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่เกลียดชังจิตของภิกษุแล้วย่อมอุปัฏฐาก แม้ในบทที่เหลือพึงประกอบ
ด้วย กรุณา มุทิตา และอุเบกขาโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ชื่อว่า ไม่มีเวร
เพราะละข้าศึกคือความเบียดเบียนด้วยกรุณา เพราะละข้าศึกคือความริษยาด้วย
มุทิตา.
บทว่า อุเปกฺขาสหคเตน คือมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาด้วยอำนาจ
แห่งจตุตถฌาน. ชื่อว่า ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือราคะ. ชื่อว่า ไม่เบียดเบียน
เพราะละโสมนัสเกี่ยวกับเคหสิต (กามคุณ) อกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า มีความ
เบียดเบียน เพราะประกอบด้วยความเร่าร้อน คือกิเลส นี้เป็นความพิเศษของ
บทเหล่านั้น.
บทว่า สพฺพโส คือโดยอาการทั้งปวง หรือแห่งสัญญาทั้งปวง ความ
ว่า แห่งสัญญาไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺาน รูปสัญญา คือ รูปาวจรฌาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
ดังที่กล่าวมาแล้วโดยหัวข้อว่า สัญญา และอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น.
จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่านกล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ
ปสฺสติ ภิกษุมีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย แม้อารมณ์ของรูปาวจรฌานท่าน
ก็กล่าวว่ารูป ในบทมีอาทิว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สุวณฺณทุพฺพณฺ-
ณานิ ภิกษุเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกมีผิวงามและผิวทราม เพราะฉะนั้น
ในที่นี้ บทว่า รูปสญฺาน นี้ เป็นชื่อของรูปาวจรฌานดังที่ท่านกล่าว
แล้วโดยหัวข้อว่า สัญญา อย่างนี้ว่า รูเป สญฺา รูปสญฺา ความสำคัญ
ในรูปชื่อว่ารูปสัญญา. ชื่อว่า รูปสญฺ เพราะมีรูปเป็นสัญญาท่านอธิบายว่า
รูป เป็นชื่อของภิกษุนั้น พึงทราบว่าบทนี้เป็นชื่อของอารมณ์ อันเป็นประเภท
มีปฐวีกสิณเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สมติกฺกมา เพราะล่วงคือเพราะคลายกำหนัดและเพราะดับ
ตัณหา ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ภิกษุเพราะคลายกำหนัดเพราะ
ดับ เพราะเหตุคลายกำหนัดเพราะดับ รูปสัญญากล่าวคือฌาน ๑๕ ด้วยอำนาจ
แห่งกุศลวิบากกิริยาเหล่านี้ และรูปสัญญากล่าวคืออารมณ์ ด้วยอำนาจปฐวี-
กสิณเป็นต้นเหล่านี้ หรือรูปสัญญาไม่มีส่วนเหลือ โดยอาการทั้งปวง เข้าถึง
อากาสานัญจายตนะอยู่ เพราะไม่สามารถเข้าถึงรูปสัญญานั้นเพราะยังไม่ก้าวล่วง
รูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะสมาบัตินั้นควรบรรลุด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ มิใช่เหมือน
ปฐมฌานเป็นต้นในอารมณ์เดียวเท่านั้น. การก้าวล่วงสัญญาย่อมไม่มีก็ผู้ยังไม่
คลายกำหนัดในอารมณ์ ฉะนั้นพึงทราบว่าท่านทำการพรรณนาความนี้ แม้ด้วย
สามารถแห่งการก้าวล่วงอารมณ์. บทว่า ปฏิฆสญฺาน อตฺถงฺคมา เพราะ
ดับปฏิฆสัญญา คือ สัญญา เกิดความกระทบวัตถุมีจักษุเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
สัญญา. บทนี้เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เพราะดับ เพราะละ เพราะไม่
ให้เกิดปฏิฆสัญญา ๑๐ โดยประการทั้งปวง คือ กุสลวิบากแห่งสัญญาเหล่านั้น
๕ อกุสลวิบาก ๕ ท่านอธิบายว่าทำไม่ให้เป็นไปได้ อนึ่ง สัญญาเหล่านี้ ย่อม
ไม่มีแม้แก่ผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้นจิตยังไม่เป็นไป
ด้วยอำนาจแห่งทวาร ๕ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อให้เกิดอุตสาหะในฌานนี้
ดุจในจตุตถฌานแห่งสุขและทุกข์ที่ละได้แล้วในที่อื่นและดุจในตติยมรรคแห่ง
สักกายทิฏฐิเป็นต้น พึงทราบคำแห่งสัญญา เหล่านั้น ในที่นี้ด้วยอำนาจแห่ง
การสรรเสริญฌานนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้เข้าถึงรูปาวจรโดยแท้ถึงดัง
นั้น ย่อมไม่มีเพราะละได้เเล้วก็หามิได้ เพราะการเจริญรูปาวจร ย่อมไม่เป็น
ไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป และเพราะยังเนื่องในรูป สัญญาเหล่านั้นจึงยังเป็น
ไปอยู่ ส่วนภาวนานี้ยังเป็นไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป เพราะฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า
สัญญาเหล่านั้นละได้แล้วในบทนี้ ไม่ใช่กล่าวแต่อย่างเดียว ควรแม้เพื่อทรง
ไว้อย่างนี้โดยส่วนเดียวด้วย เพราะยังละสัญญา เหล่านั้น ไม่ได้ก่อนจากนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสียงของผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นดุจหนาม. อนึ่ง
เพราะละได้แล้วในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงความที่อรูปสมาบัติไม่หวั่น
ไหวและความที่พ้นไปอย่างสงบ.
บทว่า นานตฺตสญฺาน อมนสิการา เพราะไม่มนสิการถึง
นานัตตสัญญา คือ สัญญาเป็นไปในโคตรมีความต่าง ๆ กันหรือสัญญามีความ
ต่าง ๆ กัน เพราะสัญญาเหล่านั้นเป็นไปในโคจรมีสภาพต่าง ๆ กัน อันเป็น
ความต่างกัน มีรูปสัญญาเป็นต้น และเพราะสัญญา ๔๔ อย่างนี้คือ กามาวจร
กุสลสัญญา ๘ อกุสลสัญญา ๑๒ กามาวจรกุสลวิปากสัญญา ๑๑ อกุสลวิปาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
สัญญา ๒ กามาวจรกิริยาสัญญา ๑ มีความต่างกัน มีสภาพต่างกันไม่เหมือน
กันและกัน ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺา เพราะไม่มนสิการ ไม่
คำนึงและไม่ให้เกิดในจิตแห่งมานัตตสัญญาเหล่านั้น โดยประกอบทั้งปวง
เพราะไม่คำนึงถึงสัญญาเหล่านั้นไม่ให้เกิดในจิต ไม่มนสิการ ไม่พิจารณา
ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺมา อนึ่ง เพราะรูปสัญญาและปฏิฆสัญญาก่อนไม่มี แม้ใน
ภพอันเกิดด้วยฌานนี้ ไม่ต้องกล่าวถึงในกาลเข้าถึงฌานนี้ในภพนั้นอยู่ละ ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวความไม่มี แม้โดยส่วนทั้งสอง คือ เพราะก้าวล่วง เพราะดับสัญญา
เหล่านั้น.
จริงอยู่ แม้ในนิเทศนั้นภิกษุเมื่อเข้าถึงฌานนี้อยู่ย่อมเข้าถึง เพราะ
มนสิการสัญญาเหล่านั้นอยู่. แต่เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านั้นก็ยังเป็นผู้ไม่เข้า
ถึง. อนึ่ง ในนิเทศนี้ท่านกล่าวถึงการละรูปาวจรธรรมทั้งปวง ด้วยบทนี้ว่า
รูปสญฺาน สมติกฺกมา เพราะล่วงรูปสัญญา ดังนี้โดยสังเขป. ด้วยบทนี้ว่า
ปฏิฆสญฺาน อตฺถงฺคมา นานตฺตสญฺาน อมนสิการา เพราะดับ
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญา พึงทราบว่าท่านกล่าวการละ
และการไม่มนสิการจิตเจตสิกอันเป็นกามาวจรทั้งปวง.
ในบทว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่มีที่สุดนี้พึงทราบความดังนี้
ชื่อว่า อนนฺโต เพราะอากาศนั้นไม่ปรากฏว่าเกิดหรือเสื่อมเพราะเป็นเพียง
บัญญัติ ชื่อว่า อนนฺโต แม้ด้วยสามารถการแผ่ไปไม่มีที่สุด. จริงอยู่ พระ-
โยคาวจรนั้น ย่อมไม่แผ่ไปโดยเอกเทศ ย่อมแผ่ทั่วไป. บทว่า อากาโส คือ
อากาศที่เพิกกสิณขึ้น. บทมีอาทิว่า อากาสานญฺจายตน มีความดังได้กล่าว
แล้ว. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงอยู่ คือถึงอายตนะนั้นแล้วให้สำเร็จ
อยู่ด้วยอิริยาบถอันสมควรนั้น. ชื่อว่า สมาปตฺติ เพราะควรเข้าถึงอายตนะ
นั้นนั่นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
บทว่า อากาสานญฺจายตน สมติกฺกมฺม เพราะล่วงอากาสานัญ-
จายตนะ แม้ฌาน แม้อารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในก่อน. จริงอยู่ แม้อารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะโดยนัยที่กล่าวแล้วใน
ก่อน เพราะอากาสานัญจะ (ความว่างเปล่าแห่งอากาศ) นั้นเป็นอายตนะด้วย
อรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่หนึ่ง ดุจที่อยู่ของทวยเทพ
ฉะนั้น. อนึ่ง ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะ เพราะอากาสานัญจะ (ความ
ว่างเปล่าของอากาศ) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นที่เกิด เพราะเป็น
เหตุเกิดของฌานนั้น ดุจบทมีอาทิว่า กมฺโพชา อสฺสาน อายตน
กัมโพชนครเป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลาย.
พระโยคาวจรควรล่วงแม้ทั้งสองอย่าง คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำไม่
ให้เป็นไปและด้วยไม่มนสิการแล้วเข้าถึงวิญญานัญจายตนะนี้อยู่ ฉะนั้นพึงทราบ
ว่าท่านทำแม้ทั้งสองอย่างนี้รวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตน
สมติกฺกมฺม. บทว่า อนนฺต วิญฺาณ วิญญาณไม่มีที่สุด วิญญาณนั่นแหละ
ท่านกล่าวว่า ภิกษุมนสิการวิญญาณที่แผ่ไปว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่
มีที่สุดว่า อนนฺต วิญฺาณ วิญญาณไม่มีที่สุด หรือชื่อว่า อนนฺต ด้วยอำนาจ
มนสิการ. จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้น เมื่อมนสิการ อากาศ อารมณ์และวิญญาณ
นั้น โดยไม่มีส่วนเหลือ ย่อมทำความไม่มีที่สุดไว้ในใจ. บทว่า วิญฺาณญฺ-
จายตน สมติกฺกมฺม เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ แม้ฌาน แม้อารมณ์
ก็เป็นวิญญาณัญจายตนะตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในบทนี้และในบทก่อน. จริงอยู่
แม้อารมณ์ก็เป็นวิญญาณณัญจายตนะ ตามนัยดังกล่าวแล้วในก่อนเพราะวิญญา-
ณัญจะ (วิญญาณว่างเปล่า) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็น
อารมณ์แห่งอรูปฌานที่ ๒. อนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ เพราะวิญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
ณัญจะนั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะเป็นเหตุเกิดของฌานนั้น.
พระโยคาวจรควรล่วงแม้ทั้งสอง คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำไม่ให้เป็นไป
และไม่ทำไว้ในใจแล้วพึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะนี้. เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า
ท่านทำแม้ทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า วิญฺาณญฺจายตน สม-
ติกมฺมม ดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ ไม่มีอะไร ท่านอธิบายว่า พระ-
โยคาวจรมนสิการอยู่อย่างนี้ว่า นตฺถิ นตฺถิ ไม่มี ไม่มี สุญฺ สฺุ
ว่างเปล่า ว่างเปล่า วิวิตฺต วิวิตฺต สงัด สงัด.
บทว่า อากิญฺจญฺายตน สมติกฺกมฺม เพราะล่วงอากิญจัญญาย-
ตนะ (ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) แม้ฌาน แม้อารมณ์ก็เป็น
อากิญจัญายตนะตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในบทนี้ และในบทก่อนนั่นแหละ.
จริงอยู่ แม้อารมณ์ก็เป็นอากิญจัญญายตนะ เพราะอากิญจัญญะ (ไม่มีอะไร
เหลือ) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นอารมณ์แห่งอรูปฌาน
ที่ ๓ ตามนัยดังกล่าวแล้วในบทก่อน. อนึ่ง ชื่อว่าอากิญจัญญายตนะ เพราะ
อากิญจัญญะนั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นให้เกิด เพราะเป็นเหตุเกิดของ
ฌานนั้นนั่นแล เพราะล่วงแม้ทั้งสองอย่างนั้น คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำ
ไม่ให้เป็นไปและด้วยไม่ทำไว้ในใจแล้วพึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) นี้อยู่ เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ท่านทำ
แม้ทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า อากิญฺจญฺายตน สมติกฺกมฺม
ดังนี้. สัญญาเวทยิตนิโรธกถา (การดับสัญญาเวทนา) ท่านกล่าวไว้แล้วใน
หนหลัง.
วิโมกข์ ๗ มีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ (ภิกษุมีรูป ย่อมเห็นรูป
ทั้งหลาย) ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าพ้นด้วยดีจากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
และเพราะอรรถว่าพ้นด้วยดี ด้วยอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ส่วนนิโรธ-
สมาบัติ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว จากจิตและเจตสิกทั้งหลาย.
ชื่อว่า สมยวิโมกข์ เพราะพ้นในสมัยเข้าถึงสมาบัติ ไม่พ้นในสมัยออกแล้ว.
ชื่อว่า อริยมรรค เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทวิมุตติ.
ชื่อว่า สามัญผล เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ชื่อว่า
นิพพาน เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งนิสสรณวิมุตติ นี่เป็นอสมยวิโมกข์
สามยิกาสามยิกวิโมกข์ (พ้นชั่วคราวและไม่ชั่วคราว) ก็เหมือนอย่างนั้น.
ชื่อว่า กุปฺโป เพราะอาศัยความประมาทจึงเสื่อม. ชื่อว่า อกุปฺโป
เพราะไม่เสื่อมอย่างนั้น. ชื่อว่า โลกิโย เพราะย่อมเป็นไปตามโลก. ชื่อว่า
โลกุตฺตรา เพราะอริยมรรคทั้งหลายย่อมข้ามโลก ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะ
สามัญผลและนิพพานข้ามไปแล้วจากโลก. ชื่อว่า อนาสโว เพราะอาสวะ
ทั้งหลายไม่หน่วงเหนี่ยวโลกุตรธรรมอันสูงด้วยเดชไว้ได้ ดุจแมลงวันไม่เกาะ
ก้อนเหล็กที่ร้อนฉะนั้น.
บทว่า รูปปฺปฏิสญฺญุตฺโต วิโมกข์ปฏิสังยุตด้วยรูป คือ รูปฌาน.
บทว่า อรูปปฺปฏิสญฺญุตฺโต วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป คือ อรูปสมาบัติ.
วิโมกข์ที่ถูกตัณหาหน่วงเหนี่ยวไว้ ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ที่ไม่ถูกตัณหา
หน่วงเหนี่ยวไว้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์. มรรคผลชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ เพราะ
มีอารมณ์อยู่เดียวกันและเพราะสำเร็จอย่างเดียวกัน นิพพาน ชื่อว่า เอกัตต-
วิโมกข์ เพราะไม่มีที่สอง ชื่อว่า นานัตตวิโมกข์ เพราะมีอารมณ์ต่างกัน
และเพราะมีวิบากต่างกัน.
บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี ความว่า พึงมี คือ มี ๑๐ และมี ๑.
อนึ่ง บทว่า สิยา เป็นคำแสดงวิธี มิใช่เป็นคำถาม. บทว่า วตฺถุวเสน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ มี ๑๐ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ๑๐ มีนิจจสัญญาเป็นต้น.
บทว่า ปริยาเยน โดยปริยาย คือมี ๑ โดยปริยายแห่งการพ้น. บทว่า
สิยาติ กถญฺจ สิยา บทว่า พึงมีได้ คือ พึงมีได้อย่างไร ได้แก่ ถามว่า
สิ่งใดตั้งไว้ว่า พึงมี สิ่งนั้นพึงมีได้อย่างไร. บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนาณ
เป็นบทสมาส. บาลีว่า อนิจฺจานุปสฺสนาาณ ดังนี้บ้าง. แม้ในบทที่เหลือ
ก็เหมือนกัน.
บทว่า นิจฺจโต สญฺาย จากนิจจสัญญา คือ จากสัญญาอันเป็น
ไปแล้วโดยความเป็นของเที่ยง ความว่า จากสัญญาอันเป็นไปแล้วว่า เป็น
ของเที่ยง. แม้ในบทนี้ว่า สุขโต อตฺตโต นิมิตฺตโต สญฺาย จากสุข-
สัญญา อัตตสัญญา นิมิตตสัญญา ก็มีนัยนี้. อนึ่ง บทว่า นิมิตฺตโต คือ
จากนิมิตว่าเที่ยง. บทว่า นนฺทิยา สญฺาย จากนันทิสัญญา คือ จากสัญญา
อันเป็นไปแล้วด้วยความเพลิดเพลิน ความว่า จากสัญญาอันสัมปยุตแล้วด้วย
ความเพลิดเพลิน. แม้ในบทนี้ว่า ราคโต สมุทยโต อาทานโต ปณิธิโต
อภินิเวสโต สญฺาย จากราคสัญญา สมุทยสัญญา อาทานสัญญา ปณิธิ-
สัญญา อภินิเวสสัญญา ก็มีนัยนี้.
อนึ่ง เพราะอนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ ขยานุปัสสนา (พิจารณาเห็น
ความสิ้นไป) วยานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความเสื่อม) วิปริณามานุปัสสนา
(พิจารณาเห็นความแปรปรวน) เป็นความวิเศษแห่งภังคานุปัสสนา อันเป็น
พลวปัจจัย เพราะเป็นกำลังแห่งอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เพราะอนิจจานุปัสสนา
มีกำลังด้วยเห็นความดับ ก็เมื่ออนิจจานุปัสสนามีกำลัง แม้การพิจารณาเห็น
ทุกข์และอนัตตาว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา ดังนี้ก็มีกำลัง ฉะนั้นเมื่อท่านกล่าวอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ก็เป็น
อันกล่าวถึงอนุปัสสนาแม้ ๓ เหล่านั้นด้วย. อนึ่ง เพราะท่านกล่าวว่า สุญญตา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
นุปัสสนาญาณพ้นจากสัญญาโดยความยึดถือยึดมั่นสิ่งที่เป็นสาระ ยึดมั่นสิ่งที่เป็น
ความลุ่มหลง ยึดมั่นสิ่งที่เป็นความอาลัย ยึดมั่นสิ่งที่เป็นกิเลสอันผูกใจ ตาม
คำพูดว่า ย่อมหลุดพ้นจากสัญญาโดยความยึดมัน ท่านอธิบายต่อไปว่า พ้น
จากสัญญาโดยไม่พิจารณา เพราะไม่มีสิ่งยึดมั่น ฉะนั้นพึงทราบว่า อนุปัสส-
นาแม้ ๕ มีอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาเป็นต้น ท่านมิได้กล่าวไว้เลย. ในมหา-
วิปัสสนา ๑๘ พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวถึงอนุปัสสนา ๘ เหล่านั้นเลย กล่าว
ถึงแต่อนุปัสสนา ๑๐ เท่านั้น.
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา ยถาภูต าณ อนิจจานุปัสสนายถา-
ภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเป็นความรู้ตามความเป็นจริง. แม้
ทั้งสองบทเป็นปฐมาวิภัตติ. บทว่า ยถาภูตาณ ท่านกล่าวถึงอรรถแห่ง
ญาณ. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. บทว่า สมฺโมหา อญฺาณา จากความ
หลง จากความไม่รู้ คือ จากความไม่รู้อันเป็นความหลง. บทว่า มุจฺจติ
(พ้น) ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งวิโมกข์.
บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา อนุตฺตร สีติภาว าณ ความว่า อนิจ-
จานุปัสสนาเป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม ชื่อว่า อนุตฺตร เพราะอรรถว่า
สูงสุดโดยมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น หรือชื่อว่า อนุตฺตร เพราะเป็นปัจจัย
แห่งความยอดเยี่ยม ญาณอันมีความเย็นใจนั่นแล ชื่อว่าสีติภาวญาณ. สีติ-
ภาวญาณนั้นเป็นญาณยอดเยี่ยม กล่าวคือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. นิพพาน
ชื่อว่า เป็นความเย็นอย่างเยี่ยมในพระพุทธวจนะนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งพระนิพพานอัน
เป็นความเย็นอย่างเยี่ยม แต่ในที่นี้ วิปัสสนาเป็นความเย็นอย่างเยี่ยม.
บทว่า นิจฺจโต สนฺตาปปริฬาหทรถา มุจฺจติ พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวาย โดยความเป็นสภาพเที่ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
แม้ในบทนี้ กิเลสอันเป็นไปว่าเที่ยง ท่านกล่าวว่า สนฺตาโป เพราะอรรถว่า
เดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้า. ท่านกล่าวว่า ปริฬาโห เพราะอรรถว่า
เผาผลาญ. ท่านกล่าวว่า ทรโถ เพราะอรรถว่าร้อน.
บทมีอาทิว่า เนกฺขมฺม ชายติ ฌาน มีความดังได้กล่าวแล้วใน
หนหลัง. อนึ่ง บทมีอาทิว่า เนกขัมมะในบทนี้ คือ สมาบัติ ๘ อันเป็นส่วน
แห่งการแทงตลอด.
บทว่า อนุปฺปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข (การหลุดพ้นแห่งจิต
เพราะไม่ยึดถือ) ในที่นี้คือวิปัสสนานั่นเอง. แต่ในบาลีนี้ว่า การพูดกันมี
อันนี้เป็นประโยชน์ การปรึกษากันมีอันนี้เป็นประโยชน์ นี้คือความหลุดพ้น
แห่งจิตเพราะไม่ยึดถือ นิพพาน คือ ความหลุดพ้นเพราะไม่ยึดถือ. บทว่า
กตีหุปาทาเนหิ คือด้วยอุปาทานเท่าไร. บทว่า กตมา เอกุปาทา คือ
จากอุปาทานหนึ่งเป็นไฉน.
บทว่า อิท เอกุปาทานา คือ จากอุปาทานหนึ่งนี้. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า อิท เพ่งญาณก่อน. ในการพ้นจากอุปาทานนั้น มีความดังต่อไปนี้
เพราะพระโยคาวจรเห็นแล้ว เห็นแล้วซึ่งความเกิดและความเสื่อมของสังขาร
ทั้งหลายแต่ต้น เห็นด้วยอนิจจานุปัสสนา ภายหลังเห็นความดับของสังขาร
ทั้งหลาย แล้วเห็นด้วยอนิมิตตานุปัสสนา เพราะอนิมิตตานุปัสสนาเป็นความ
วิเศษแห่งอนิจจานุปัสสนา ความไม่มีตัวตนเป็นความปรากฏ ด้วยการเห็น
ความเกิดและความเสื่อม และด้วยการเห็นความดับของสังขารทั้งหลาย ด้วย
เหตุนั้นจึงเป็นการละทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทานได้. อนึ่ง เพราะละทิฏฐิ
นั่นเอง จึงเป็นอันละสีลัพพตุปาทาน เพราะไม่มีความเห็นว่า ตัวตนย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยศีลและพรต. อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเห็นความไม่มีตัวตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
โดยตรงด้วยอนัตตานุปัสสนา. อนึ่ง สุญญตานุปัสสนาเป็นความวิเศษแห่ง
อนัตตานุปัสสนานั่นเอง ฉะนั้น ญาณ ๔ เหล่านี้ ย่อมพ้นจากอุปาทานทั้งหลาย
๓ มีทิฏฐุปาทานเป็นต้น. ท่านไม่กล่าวถึงการพ้นจากกามุปาทาน เพราะตัณหา
เป็นข้าศึกโดยตรงของอนุปัสสนา ๔ มีทุกขานุปัสสนาเป็นต้น และของอนุ-
ปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เพราะเมื่อพระโยคาวจรเห็นว่าสังขาร
ทั้งหลายเป็นทุกข์ ด้วยทุกขานุปัสสนาแต่ต้น และภายหลังเมื่อเห็นว่า สังขาร
ทั้งหลายเป็นทุกข์ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ย่อมละความปรารถนาสังขารทั้งหลาย
เสียได้ เพราะอัปปณิหิตานุปัสสนาเป็นความวิเศษของทุกขานุปัสสนานั่นเอง.
อนึ่ง เพราะเมื่อพระโยคาวจรเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายด้วยนิพพิทานุปัสสนา
คลายความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา ย่อมละความปรารถนาสังขารทั้งหลาย
เสียได้ ฉะนั้น ญาณ ๔ เหล่านี้ย่อมพ้นจากกามุปาทาน เพราะพระโยคาวจร
ดับกิเลสทั้งหลายได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ย่อมสละกิเลสทั้งหลายได้ด้วย
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฉะนั้น ญาณ ๒ เหล่านี้ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงชี้แจงวิโมกข์ ๖๘ ด้วยความต่างกันโดยสภาวะ และด้วยความ
ต่างกันโดยอาการ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงถึงประธานแห่งวิโมกข์ทั้งหลาย ๓
ที่ยกขึ้นแสดงแต่ต้นแล้ว ประสงค์จะแสดงอินทรียวิเศษ และบุคคลวิเศษอัน
เป็นประธานเป็นหัวหน้าของวิโมกข์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตีณิ โข ปนิมานิ
วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ เหล่านี้แล. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺขมุขานิ
คือ ประธานแห่งวิโมกข์ ๓. บทว่า โลกนิยฺยานาย สวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไป
เพื่อนำออกไปจากโลก คือย่อมเป็นไปเพื่อนำออกไปจากไตรโลกธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
บทว่า สพฺพสงฺขาเร ปริจฺเฉทปริวฏฺฏุมโต สมนุปสฺสนตาย
โดยความพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด คือ
โดยความพิจารณาเห็นโดยความกำหนด และโดยความหมุนเวียนไป ด้วย
อำนาจความเกิดและความเสื่อมแห่งสังขารทั้งหลายทั้งปวง. ปาฐะที่เหลือว่า
โลกนิยฺยาน โหติ เป็นการนำออกไปจากโลก.
จริงอยู่ อนิจจานุปัสสนากำหนดว่า ก่อนแต่เกิด สังขารทั้งหลายไม่มี
แล้วแสวงหาคติของสังขารเหล่านั้น พิจารณาเห็นโดยความหมุนเวียนและโดย
ที่สุดว่า เบื้องหน้าแต่ความเสื่อม สังขารทั้งหลายย่อมไม่ถึง สังขารทั้งหลาย
ย่อมอันตรธานไปในที่นี้แหละ. จริงอยู่ สังขารทั้งปวงกำหนดที่สุดเบื้องต้น
ด้วยความเกิด กำหนดที่สุดเบื้องปลายด้วยความเสื่อม.
บทว่า อนิมิตฺตตาย จ ธาตุยา จิตฺตสมฺปกฺขนฺทนตาย ด้วย
ความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ คือ เป็นการนำออกไปจากโลก เพราะจิต
น้อมไปในนิพพาน แม้ในขณะวิปัสสนา และเพราะนิพพานธาตุ กล่าวคือ
อนิมิตเข้าไปสู่จิต โดยปรากฏด้วยอาการแห่งอนิมิต. บทว่า มโนสมุตฺเตชน-
ตาย โดยความองอาจแห่งใจ คือโดยความสลดใจ เพราะจิตย่อมสลดใน
สังขารทั้งหลาย ด้วยทุกขานุปัสสนา.
บทว่า อปฺปณิหิตาย จ ธาตุยา ในอัปปณิหิตธาตุ (ธาตุที่ไม่ตั้งอยู่)
คือนิพพานธาตุ อันได้แก่อัปปณิหิตะโดยปรากฏด้วยการที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะ
จิตน้อมไปในนิพพานแม้ในขณะวิปัสสนา. บทว่า สพฺพธมฺเม ท่านไม่กล่าว
ว่า สงฺขาเร กล่าวว่า สพฺพธมฺเม เพราะมีสภาพเป็นอนัตตา แม้ในความ
ที่นิพพานยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า ปรโต สมนุปสฺสนตาย โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอย่างอื่น คือโดยพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
อย่างนี้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะอาศัยปัจจัย เพราะไม่อยู่ในอำนาจ
และเพราะไม่เชื่อฟัง. บทว่า สุญฺตาย จ ธาตุยา ในสุญญตธาตุ คือ
ในนิพพานธาตุ กล่าวคือสุญญตา โดยความปรากฏโดยอาการเป็นของสูญ
เพราะจิตน้อมไปในนิพพาน แม้ในขณะแห่งวิปัสสนา. คำ ๓ เหล่านี้ ท่าน
กล่าวด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา
ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต
มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในลำดับต่อจากนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ขยโต คือโดยความสิ้นไป บทว่า ภยโต
โดยความเป็นของน่ากลัว คือโดยความมีภัย. บทว่า สุญฺโต โดยความ
เป็นของสูญ คือโดยความปราศจากตน. บทว่า อธิโมกฺขพหุล จิตมากด้วย
ความน้อมไป คือจิตมากด้วยศรัทธาของความเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหนอ ด้วยเห็นความดับในขณะ โดยประจักษ์ของ
ผู้ปฏิบัติด้วยศรัทธาว่า สังขารทั้งหลายย่อมแตกไป ด้วยอำนาจแห่งการดับใน
ขณะ ด้วยอนิจจานุปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วยความน้อมไป เพราะ
เห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบันแล้วน้อมไปว่า สังขาร
ทั้งปวงทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยงด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า
ปสฺสทฺธิพหุล มากด้วยความสงบ คือจิตมากด้วยความสงบ เพราะไม่มีความ
กระวนกระวายแห่งจิต เพราะละความตั้งใจอันทำให้จิตกำเริบด้วยทุกขานุปัสสนา
อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วยความสงบ เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเกิดความ
สังเวช และเพราะตั้งความสังเวชไว้โดยแยบคาย ด้วยทุกขานุปัสสนา. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
เวทพหุล มากด้วยความรู้ คือจิตมากด้วยญาณของผู้เห็นอนัตตลักษณะอัน
ลึกซึ้ง ซึ่งคนภายนอกไม่เห็น ด้วยอนัตตานุปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วย
ความยินดีของผู้ยินดีว่า เห็นอนัตตลักษณะที่โลกพร้อมทั้งเทวโลกยังไม่เห็น.
บทว่า อธิโมกฺขพหุโล สทฺธินฺทฺริย ปฏิลภติ ผู้มากด้วยความ
น้อมใจไปย่อมได้สัทธินทรีย์ คือ ความน้อมใจไปในส่วนเบื้องต้นเป็นไปมาก
ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ด้วยการบำเพ็ญภาวนา บุคคลนั้นย่อมได้สัทธินทรีย์นั้น.
บทว่า ปสฺสทฺธิพหุโล สมาธินฺทฺริย ปฏิลภติ ผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อม
ได้สมาธินทรีย์ คือ บุคคลผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้สมาธินทรีย์นั้น เพราะ
ปัสสัทธิเป็นปัจจัย ด้วยการบำเพ็ญภาวนา โดยบาลีว่า ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. บทว่า เวทพหุโล ปญฺินทฺริย ปฏิลภติ ความรู้
ในส่วนเบื้องต้นเป็นไปมาก ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ ด้วยการบำเพ็ญภาวนา บุคคล
นั้นย่อมได้ปัญญินทรีย์นั้น.
บทว่า อาธิปเตยฺย โหติ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่ คือ แม้เมื่อฉันทะ
เป็นต้น เป็นใหญ่ อินทรีย์ย่อมเป็นใหญ่ เป็นประธาน ด้วยสามารถยังกิจ
ของตนให้สำเร็จได้. บทว่า ภาวนาย เป็นสัตตมีวิภัตติ หรือเพื่อประโยชน์
แก่การเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป. บทว่า ตทนฺวยานิ โหนฺติ คือไปตามอินทรีย์นั้น
คล้อยไปตามอินทรีย์นั้น. บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย
(ปัจจัยเกิดร่วมกัน ) คือ เมื่อเกิดย่อมเป็นอุปการะ เพราะความที่เกิดร่วมกัน
ดุจประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง ฉะนั้น. บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา โหนฺติ
เป็นอัญญมัญญปัจจัย (เป็นปัจจัยของกันและกัน) คือ เป็นอุปการะแก่กัน
และกัน โดยความช่วยเหลือให้เกิด ดุจไม้ ๓ อันช่วยเหลือกันและกัน. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
นิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน) คือเป็นอุปการะ
โดยอาการตั้งใจ และโดยอาการเป็นที่อาศัย ดุจพื้นดินเป็นเป็นอุปการะของ
ความงอกงามแห่งต้นไม้. บทว่า สมฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน ) คือเป็นอุปการะโดยความเป็นสัมปยุตตปัจจัย
กล่าวคือมีวัตถุอันเดียวกัน อารมณ์อันเดียวกัน ดับพร้อมกัน ดับพร้อมกัน.
บทว่า ปฏิเวธกาเล ในกาลแทงตลอด คือในกาลแทงตลอดสัจจะ
ในขณะแห่งมรรค. บทว่า ปญฺินฺทฺริย อาธิปเตยฺย โหติ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ คือปัญญินทรีย์นั่นแลทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรค
ย่อมเป็นใหญ่ด้วยสามารถทำกิจคือเห็นสัจจะ และด้วยสามารถทำกิจคือละกิเลส.
บทว่า ปฏิเวธาย แห่งการแทงตลอด คือเพื่อต้องการแทงตลอดสัจจะ. บทว่า
เอกรสา มีรสอย่างเดียวกัน คือด้วยวิมุตติรส. บทว่า ทสฺสนฏฺเน เพราะ
อรรถว่าเห็น คือเพราะอรรถว่าเห็นสัจจะ.
บทว่า เอว ปฏิวิชฺฌนฺโตปิ ภาเวติ ภาเวนฺโตปิ ปฏิวิชฺฌติ
ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอดก็ย่อมเจริญ แม้บุคคลผู้เจริญก็ย่อม
แทงตลอด ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเป็นไปทั้งปวง แห่งการเจริญและการ
แทงตลอดคราวเดียวเท่านั้นในขณะแห่งมรรค. ท่านประกอบ อปิ ศัพท์ใน
บทว่า ปฏิเธกาเลปิ เพราะปัญญินทรีย์นั่นแลเป็นใหญ่ แม้ในขณะแห่ง
วิปัสสนา ด้วยอนัตตานุปัสสนา.
บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต กตมินฺทฺริย อธิมตฺต
โหติ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
ท่านกล่าวเพื่อแสดงบุคคลวิเศษด้วยสามารถแห่งอินทรีย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า
อธิมตฺต คือ ยิ่ง. ในบทนั้นพึงทราบความที่สัทธินทรีย์ สมาธินทรีย์เเละ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยความวางเฉยในสังสาร.
ในบทว่า สทฺธาวิมุตฺโต น้อมใจเชื่อนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัทธาวิมุต
ในฐานะ ๗ เหล่านั้นเว้นโสดาปัตติมรรค เพราะแม้เมื่อท่านกล่าวไม่แปลกกันใน
บทนี้ ก็กล่าวแปลกกันในบทต่อไป. ท่านกล่าวว่า บุคคลเป็นสัทธาวิมุต
เพราะความที่สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง มิใช่เป็นสัทธาวิมุต เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่งในที่ทั้งปวง. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ในอินทรีย์ที่เหลือแม้เมื่อ
มีสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งในขณะ
แห่งโสดาปัตติมรรค บุคคลก็เป็นสัทธาวิมุตได้เหมือนกัน.
บทว่า กายสกฺขี โหติ บุคคลเป็นกายสักขี (มีกายเป็นสักขี) คือ
บุคคลชื่อว่า เป็นกายสักขีในฐานะ ๘ อย่าง. บทว่า ทิฏฺปฺปตฺโต โหติ
บุคคลเป็นทิฏฐิปัตตะ (ถึงแล้วซึ่งทิฏฐิ) พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในสัทธา-
วิมุตนั่นแล.
บทว่า สทฺทหนฺโต วิมุตฺโตติ สทฺธาวิมุตฺโต บุคคลชื่อว่า
สัทธาวิมุต เพราะเชื่อน้อมใจไป ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า สัทธาวิมุต เพราะ
เชื่อในขณะโสดาปัตติมรรคเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง น้อมใจไปในขณะ
แห่งผลแม้ ๔. บัดนี้ จักกล่าวถึงความเป็นสัทธาวิมุตในขณะมรรค ๓ ข้างบน
แต่จักกล่าวความที่เป็นสัทธานุสารี (แล่นไปตามศรัทธา) ในขณะแห่งโสดา-
ปัตติมรรคในภายหลัง.
บทว่า ผุฏฺตฺตา สจฺฉิกโตติ กายสกฺขี บุคคลชื่อว่าเป็นกายสักขี
เพราะทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เมื่อความเป็นสุกขวิปัสสกมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
เมื่อความที่ผลแห่งอุปจารฌานได้รูปฌานและอรูปฌานมีอยู่ บุคคลชื่อว่า เป็น
กายสักขี เพราะทำให้แจ้งนิพพาน เพราะเป็นผู้ถูกต้องผลของรูปฌานและ
อรูปฌาน. ท่านอธิบายว่า เป็นสักขีในการสัมผัสฌานและในนิพพานมีประการ
ดังกล่าวแล้วโดยนามกาย.
บทว่า ทิฏฺตฺตา ปตฺโตติ ทิฏฺิปฺปตฺโต บุคคลชื่อว่า เป็น
ทิฏฐิปัตตะเพราะบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม คือบุคคลชื่อว่าเป็นทิฏฐิ-
ปัตตะเพราะบรรลุนิพพานด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้น ในภายหลัง
เพราะเห็นนิพพานก่อนด้วยปัญญินทรีย์สัมปยุตในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค.
ท่านอธิบายว่า บรรลุนิพพานด้วยทิฏฐิ คือปัญญินทรีย์. แต่จักกล่าวความที่
เป็นธัมมานุสารี (แล่นไปตามธรรม) ในขณะโสดาปัตติมรรคในภายหลัง.
บทว่า สทฺทหนฺโต วิมุจฺจตีติ สทฺธาวิมุตฺโต บุคคลชื่อว่า
เป็นสัทธาวิมุต เพราะเธออยู่ย่อมน้อมใจไป คือ บุคคลชื่อว่าเป็นสัทธาวิมุต
เพราะเชื่ออยู่น้อมใจไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัต-
มรรค เพราะความที่สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง แม้น้อมใจไปในลัทธินทรีย์นั้น
ท่านก็กล่าวว่า วิมุต ด้วยอำนาจแห่งการกล่าวที่เป็นจริงด้วยความหวัง. บทว่า
ฌานผสฺส ถูกต้องฌาน คือ ถูกต้องฌาน ๓ อย่าง. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า
ฌานผสฺส และบทมีอาทิว่า ทุกฺขา สงฺขารา ก่อนแล้วจึงกล่าวทั้งสองบท
ให้ต่างกัน. บทว่า าณ โหติ เป็นอาทิมีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.
อนึ่ง ในบทนี้อาจารย์ทั้งหลายอธิบายว่า บุคคลผู้ได้ฌานครั้นออกแล้วด้วย
ทุกขานุปัสสนาอันอนุกูลแก่สมาธินทรีย์ ย่อมบรรลุมรรคผล. บทว่า สิยา
แปลว่า พึงมี พึงเป็น. บทนี้ เป็นชื่อของวิธีเท่านั้น. บทว่า ตโย ปุคฺคลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
บุคคล ๓ จำพวก คือบุคคล ๓ จำพวก ท่านกล่าวแล้วด้วยวิปัสสนานิยมและ
ด้วยอินทรีย์นิยม. บทว่า วตฺถุวเสน ด้วยสามารถแห่งวัตถุคือด้วยสามารถ
แห่งอินทรีย์วัตถุหนึ่ง ๆ ในอนุปัสสนา ๓. บทว่า ปริยาเยน คือโดยปริยาย
นั้นนั่นเอง. ด้วยวาระนี้ท่านแสดงถึงอะไร. ท่านแสดงว่า ท่านกล่าวถึงความ
เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์หนึ่ง ๆ ด้วยอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ โดยเยภุยนัย และบาง
คราวความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์หนึ่ง ๆ ในอนุปัสสนาแม้ ๓. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อมี สัทธาวิมุตเป็นต้น ย่อมมีในขณะแห่งมรรคและผล เพ่งถึงความเป็นใหญ่
แห่งอินทรีย์เหล่านั้น ๆ ในวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นเหล่านั้น เพราะมีอนุ-
ปัสสนาแม้ ๓ ในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น เพราะเมื่อกล่าวอยู่
อย่างนี้ ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์และบุคคลนิยม ท่านทำไว้ในเบื้องบนแห่ง
วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีในหนหลัง และเป็นอันท่านทำดีแล้ว ไม่หวั่นไหว
เลย. ในอนันตวาระ บทว่า สิยาติ อญฺโเยว พึงเป็นอย่างอื่น คือ
พึงเป็นอย่างนี้. ในบทนี้ท่านกล่าวถึง ความนิยมในบทก่อน.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงจำแนกบุคคลวิเศษด้วยสามารถแห่ง
มรรคและผล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโจ ฯลฯ โสตา-
ปตฺติมคฺค ปฏิลภติ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค.
ในบทเหล่านั้น บุคคลชื่อว่าเป็นสัทธานุสารี เพราะระลึกถึง คือไป
ตามศรัทธา หรือระลึกถึงไปตามนิพพานด้วยศรัทธา. บทว่า สจฺฉิกตา
ทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์. บทว่า อรหตฺต คืออรหัตผล. ชื่อว่า
ธรรมานุสารี เพราะระลึกถึงธรรมกล่าวคือปัญญา หรือระลึกถึงนิพพานด้วย
ธรรมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะพรรณนาถึงบุคคลวิเศษด้วยความวิเศษ
แห่งอินทรีย์ ๓ โดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย หิ เกจิ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิตา วา เจริญแล้ว คือเจริญแล้วในอดีต.
บทว่า ภาเวนฺติ วา ย่อมเจริญ คือเจริญในปัจจุบัน. บทว่า ภวิสฺสติ วา
จักเจริญ คือ จักเจริญในอนาคต. บทว่า อธิคตา วา บรรลุแล้วเป็นต้น
ท่านกล่าวเพื่อขยายอรรถแห่งบทก่อน ๆ อันมีที่สุดเป็นอย่างหนึ่ง ๆ. บทว่า
ผสฺสิตา วา ถูกต้องแล้ว คือ ถูกต้องแล้วด้วยญาณผุสนา. บทว่า วสิปฺปตฺตา
ถึงความชำนาญ คือถึงความเป็นอิสระ. บทว่า ปารมิปฺปตฺตา ถึงความ
สำเร็จ คือถึงที่สุด. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ถึงความแกล้วกล้า คือ ถึง
ความมั่นใจ. สัทธาวิมุตเป็นต้นในที่ทั้งปวงถึงแล้ว ในขณะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในหนหลัง. สติปัฏฐานเป็นต้นถึงแล้วในขณะแห่งมรรคนั่นแล.
บทว่า อฏฺ วิโมกฺเข วิโมกข์ ๘ คือ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
บรรลุแล้วด้วยการบรรลุปฏิสัมภิทามรรคมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ดังนี้.
บทว่า ติสฺโส สิกฺขา สิกขา ๓ คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
บรรลุมรรคแล้วยังศึกษาอยู่. บทว่า ทุกฺข ปริชานนฺติ กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น
กำหนดรู้ในขณะแห่งมรรคนั่นเอง. บทว่า ปริญฺาปฏิเวธ ปฏิวิชฺฌติ
แทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่า ปริญญาปฏิเวธะ
เพราะแทงตลอดด้วยการแทงตลอดด้วยปริญญา หรือพึงแทงตลอดด้วยปริญญา.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อภิญญาปฏิเวธะ แทง
ตลอดด้วยอภิญญา เพราะให้แปลกจากธรรมทั้งปวงเป็นต้น. ส่วนเเทงตลอด
ด้วยสัจฉิกิริยาพึงทราบด้วยสามารถความสำเร็จญาณในการพิจารณานิพพานใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
ขณะแห่งมรรคนั่นเอง. ในที่นี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงอริยบุคคล ๕ ไว้อย่างนี้
ไม่ชี้แจงถึงอริยบุคคล ๒ เหล่านี้คือ อุภโตภาควิมุต และปัญญาวิมุต. แต่ในที่
อื่นท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลใดมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยปัสสัทธิย่อม
ได้สมาธินทรีย์ บุคคลนั้นชื่อว่า กายสักขีในที่ทั้งปวง ส่วนบุคคลบรรลุ
อรูปฌานแล้วบรรลุผลเลิศ ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต. อนึ่ง บุคคลใดมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตามากด้วยความรู้ย่อมได้ปัญญินทรีย์ บุคคลนั้น ชื่อว่า
ธรรมานุสารีในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ ในฐานะ ๖
ชื่อว่าปัญญาวิมุตในผลอันเลิศ. ในที่นี้ท่านสงเคราะห์บุคคลเหล่านั้นด้วย
กายสักขีและทิฏฐิปัตตะ แต่โดยอรรถชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เพราะพ้นโดย
ส่วนสองคือ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค ชื่อว่า ปัญญาวิมุต เพราะ
รู้อยู่จึงพ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงความวิเศษของอินทรีย์และ
บุคคล.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงวิโมกขวิเศษ อันเป็น
หัวหน้าของวิโมกข์และบุคคลวิเศษ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง. ในบทเหล่านั้น บทว่า เทฺว วิโมกฺขา
วิโมกข์ ๒ คือ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์. มรรคได้ชื่อว่า อนิมิตต-
วิโมกข์ด้วยสามารถถึงอนิจจานุปัสสนา ย่อมได้แม้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
โดยความมีคุณเพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้ง และโดยอารมณ์ เพราะ
ทำนิพพานอันได้ชื่อว่า อัปปณิหิต เพราะไม่มีปณิธิเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์.
อนึ่ง ย่อมได้แม้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์โดยความมีคุณ เพราะว่างเปล่าจากราคะ
โทสะและโมหะ และโดยอารมณ์เพราะทำนิพพานอันได้ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ
ว่างเปล่าจากราคะเป็นต้นนั่นแล ให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น วิโมกข์ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
เหล่านั้น จึงชื่อว่าไปตามอนิมิตตวิโมกข์. อนึ่ง พึงทราบว่า ปัจจัยมีสหชาต-
ปัจจัยเป็นต้น แม้ไม่อื่นไปจากมรรคอันเป็นอนิมิตตะ ย่อมเป็นด้วยสามารถ
แห่งองค์มรรคหนึ่ง ๆ ขององค์มรรค ๘.
บทว่า เทฺว วิโมกฺขา อีกครั้ง คือ สุญญตวิโมกข์และอนิมิตต-
วิโมกข์. จริงอยู่ มรรคได้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งการถึง
ทุกขานุปัสสนา ย่อมได้แม้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ โดยความมีคุณ เพราะไม่มี
รูปนิมิต ราคนิมิตและนิจจนิมิตเป็นต้น และโดยอารมณ์ เพราะทำนิพพาน
กล่าวคืออนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตเหล่านั้นเลยให้เป็นอารมณ์. พึงประกอบ
บทที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า เทฺว วิโมกฺขา อีกครั้ง คือ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิต-
วิโมกข์. การประกอบมีนัยดังกล่าวแล้วในบทนี้นั่นแล.
บทว่า ปฏิเวธกาเล ในกาลแทงตลอด ท่านกล่าวแล้วตามลำดับของ
อินทรีย์ทั้งหลายดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว. อนึ่ง ชื่อว่า วิโมกข์ย่อมไม่มีในขณะแห่ง
วิปัสสนาเพราะปล่อยขณะแห่งมรรคเสีย แต่ท่านแสดงมรรควิโมกข์ที่กล่าวไว้
แล้วครั้งแรกให้แปลกไปจากคำว่า ปฏิเวธกาเล. ท่านย่อวาระละ ๒ มีอาทิว่า
บุคคลใดเป็นสัทธาวิมุต และวาระว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยงย่อมได้โสดาปัตติมรรค แต่พึงทราบเพราะประกอบด้วยอำนาจแห่ง
วิโมกข์โดยพิสดาร. พึงทราบวาระมีอาทิว่า เย หิ เกจิ เนกฺขมฺม ตามนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงความวิเศษของ
วิโมกข์และบุคคล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงประธานของวิโมกข์ และวิโมกข์
โดยส่วนไม่น้อยอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรนฺโต เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถาภูต
ตามความเป็นจริง คือ ตามสภาวะ. บทว่า ปชานาติ ย่อมรู้ คือรู้ด้วยญาณ.
บทว่า ปสฺสติ ย่อมเห็นคือ เห็นด้วยญาณนั่นเอง ดุจเห็นด้วยจักษุ. บทว่า
ตทนฺวเยน คือโดยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อธิบายว่า โดยไปตาม
สัมมาทัศนะนั้นที่เห็นแล้วด้วยญาณโดยประจักษ์. บทว่า กงฺขา ปหียติ ย่อม
ละความสงสัยได้คือ ความสงสัยว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ย่อมละได้ด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ความสงสัยนอกนี้ย่อมละได้ด้วยอนุปัสสนานอกนี้. บทว่า นิมิตฺต
นิมิต คือ ย่อมรู้สังขารนิมิตอันเป็นอารมณ์ ตามความเป็นจริง เพราะละ
นิจจสัญญาได้ด้วยการแยกสันตติและฆนะออกไป. บทว่า เตน วุจฺจติ
สมฺมาทสฺสน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ เพราะรู้ตามความ
เป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวญาณนั้นว่า สัมมาทัศนะ. บทว่า ปวตฺต ความ
เป็นไป คือ รู้ความเป็นไปอันเป็นวิบาก แม้รู้ว่าสุขตามความเป็นจริง
เพราะละตัณหากล่าวคือ ปณิธิได้ด้วยการถอนสุขสัญญาในอาการอันถึงทุกข์แล้ว
ละด้วยสุขสัญญา. บทว่า นิมิตฺตญฺจ ปวตฺตญฺจ ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและ
ความเป็นไป คือย่อมรู้สังขารนิมิต และความเป็นไปอันเป็นวิบากตามความ
เป็นจริง เพราะละอัตตสัญญา แม้โดยประการทั้งสองด้วยการถอนฆนะอันรวม
กันอยู่ด้วยมีมนสิการถึงธาตุต่าง ๆ. บัดนี้ ท่านกล่าวถึง ๓ บทเท่านั้นมีอาทิว่า
ยญฺจ ยถาภูต าณ ยถาภูตญาณ มิได้กล่าวถึงบทอื่น.
บทว่า ภยโต อุปฏฺาติ ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว คือ
นิมิตนั้นย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัวตามลำดับ เพราะเห็นความไม่มี
สุขเป็นนิจและตัวตน. ด้วยบทมีอาทิว่า ยา จ ภยตูปฏฺาเน ปญฺา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ท่านกล่าวถึงญาณ ๓ ตั้งอยู่ใน
ญาณเดียวอันแตกต่างกัน โดยประเภทของหน้าที่ สัมพันธ์กับภยตูปัฏฐานญาณใน
วิปัสสนาญาณ ๙ กล่าวคือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ
เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วคือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
(ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ) ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึง
เห็นความดับ) ๑ ภยตุปัฏฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว) ๑
อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นโทษ) ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย) ๑ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะ
พ้นไปเสีย) ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง) ๑
สังขารุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย) ๑ อนุโลมญาณ (ปรีชา
เป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ) ไม่กล่าวถึงญาณที่เหลือ.
พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงความที่สุญญตานุปัสสนาญาณร่วมกันนั้น
ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน โดยสัมพันธ์แห่งอนัตตานุปัสสนาอันเป็นลำดับ ตั้งอยู่ใน
ที่สุดแห่งในอนุปัสสนา ๓ อีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ อนตฺตานุปสฺสนา
ยา จ สุญฺตานุปสฺสนา ธรรมเหล่านี้คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุ-
ปัสสนา. เพราะญาณ ๒ เหล่านี้ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่ต่างกัน
โดยประเภทของหน้าที่. อนิจจานุปัสสนา และอนิมิตตานุปัสสนาโดยอรรถ
เป็นญาณอันเดียวกัน ทุกขานุปัสสนาและอัปปณิหิตานุปัสสนา โดยอรรถเป็น
ญาณอย่างเดียวกัน ต่างกันโดยประเภทของหน้าที่เท่านั้น เหมือนญานเหล่านี้.
เมื่อท่านกล่าวความที่อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนาตั้งอยู่เป็นอันเดียว
กัน เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่ญาณแม้ทั้งสองเหล่านั้น ตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน
เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
บทว่า นิมิตฺต ปฏิสงฺขา าณ อุปฺปชชฺติ ญาณคือการ
พิจารณานิมิตย่อมเกิด คือ ญาณย่อมเกิดเพราะรู้ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะ
ว่า สังขารนิมิตไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วกาล ถึงแม้ญาณเกิดขึ้นภายหลังเพราะรู้ก่อน
ก็จริง ถึงดังนั้นโดยโวหาร ท่านกล่าวอย่างนี้ดุจบทมีอาทิว่า มโนวิญญาณ
ย่อมเกิดเพราะอาศัยใจและธรรม. อนึ่ง แม้ผู้รู้คัมภีร์ศัพทศาสตร์ย่อมปรารถนา
บทนี้แม้ในกาลเสมอกันดุจในบทมีอาทิว่า ความมืดย่อมปราศจากไปเพราะ
ดวงอาทิตย์โผล่. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะทำบทต้น
และบทท้าย เป็นอันเดียวกันโดยนัยแห่งความเป็นอันเดียวกัน. โดยนัยนี้
พึงทราบอรรถในสองบทนอกนี้. ความที่ญาณ ๓ มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น
ตั้งอยู่อย่างเดียวกันมีนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า นิมิตฺตา จิตฺต วุฏฺาติ จิตย่อมออกไปจากนิมิตคือ จิต
ชื่อว่าย่อมออกไปจากสังขารนิมิต เพราะไม่คิดอยู่ในสังขารนิมิต ด้วยเห็นโทษ
ในสังขารนิมิต. บทว่า อนิมิตฺเต จิตฺต ปกฺขนฺทติ จิตย่อมแล่นไปใน
นิพพานอันหานิมิตมิได้ คือจิตย่อมเข้าไปในนิพพานอันหานิมิตมิได้ โดยเป็น
ปฏิปักษ์ต่อสังขารนิมิต เพราะจิตน้อมไปในนิพพานนั้น. แม้ในอนุปัสสนา
ทั้งสองที่เหลือก็พึงทราบความโดยนัยนี้. บทว่า นิโรธนิพฺพานธาตุยา ใน
นิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ คือในบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้สองอนุปัสสนาแรก.
ปาฐะว่า นิโรเธ บ้าง. บทว่า พหิทฺธาวุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา ปัญญา
ในความออกไปและความหลีกไปภายนอก คือ ท่านกล่าวถึงโคตรภูญาณโดยการ
สัมพันธ์ด้วยการออก. บทว่า โคตฺรภูธมฺมา คือโคตรภูญาณนั่นเอง. เพราะ
ความที่โคตรภูญาณตั้งอยู่อย่างเดียวกัน ด้วยประการนอกนี้ ย่อมไม่ควร. พึง
ทราบว่าท่านทำเป็นพหุวจนะ ดุจในบทมีอาทิว่าธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เป็นปัจจัย หรือด้วยสามารถแห่งมรรค ๔ เพราะวิโมกข์
ก็คือมรรค และมรรคออกไปจากส่วนทั้งสอง ฉะนั้น ด้วยความสัมพันธ์นั้น
ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ ทุภโตวุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา ปัญญา
ในความออกไปและหลีกออกไปจากส่วนทั้งสอง.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงปริยายในขณะเดียวกัน แห่งขณะ
ต่างกันของวิโมกข์ทั้งหลายอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตีหาการาหิ ด้วยอาการ
เท่าไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน คือด้วยความเป็นใหญ่.
บทว่า อธิฏฺานฏฺเน คือด้วยความตั้งมั่น. บทว่า อภินีหารฏฺเน คือ
ด้วยความน้อมจิตไปโดยวิปัสสนาวิถี. บทว่า นิยฺยานฏฺเน ด้วยความนำ
ออกไป คือด้วยการเข้าถึงนิพพาน. บทว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต มนสิการ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี
นั่นเอง. บทว่า อนิมิตฺโต วิโมกฺโข อนิมิตตวิโมกข์ คือในขณะแห่งมรรค
นั่นเอง. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า จิตฺต อธิฏฺาติ ย่อมตั้งจิตมั่นไว้
คือทำจิตให้ยิ่งตั้งมั่นไว้. อธิบายว่า ยังจิตให้ตั้งมั่น. บทว่า จิตฺต อภินีหรติ
ย่อมน้อมจิตไป คือน้อมจิตไปโดยวิปัสสนาวิถี.
บทว่า นิโรธ นิพฺพาน นิยฺยาติ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอัน
เป็นที่ดับ คือ ท่านแสดงความที่ขณะต่างกัน ๔ ส่วนโดยความต่างกันด้วย
อาการอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมเข้าถึงนิพพานกล่าวคือความดับ.
บทว่า สโมธานฏฺเน ด้วยความประชุมลง เพราะมีขณะเดียวกัน
คือ ด้วยความประชุมรวมกัน. บทว่า อธิคมนฏฺเน ด้วยความบรรลุ คือ
ด้วยความรู้. บทว่า ปฏิลาภฏฺเน ด้วยความได้ คือด้วยการถึง. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
ปฏิเวธฏฺเน ด้วยความแทงตลอด คือด้วยความแทงตลอดด้วยญาณ. บทว่า
สจฺฉิกรณฏฺเน ด้วยความทำให้แจ้ง คือด้วยทำให้ประจักษ์. บทว่า
ผสฺสนฏฺเน ด้วยความถูกต้อง คือด้วยความถูกต้องด้วยสัมผัสญาณ. บทว่า
อภิสมยฺเน ด้วยความตรัสรู้ คือด้วยความมาถึงพร้อมเฉพาะหน้า. ใน
บทว่า สโมธานฏฺเน นี้ เป็นบทมูลเหตุ. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของความ
สำเร็จ เพราะฉะนั้นแล ท่านจึงทำการแก้บททั้งหมดเป็นอันเดียวกัน. บทว่า
นิมิตฺตา มุจฺจติ ย่อมพ้นจากนิมิต คือพ้นจากนิมิตว่าเป็นสภาพเที่ยง ด้วย
บทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถของวิโมกข์. บทว่า ยโต มุจฺจติ พ้นจากอารมณ์ใด
คือพ้นจากนิมิตใด. บทว่า ตตฺถ น ปณิทหติ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น
คือไม่ทำความปรารถนาในนิมิตนั้น. บทว่า ยตฺถ น ปฏิทหติ ย่อมไม่
ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด คือ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด. บทว่า เตน สุญฺโ เป็น
ผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น คือว่างเปล่าจากนิมิตนั้น. บทว่า เยน สุญฺโ
เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด คือเป็นผู้ว่างเปล่าจากนิมิตใด ด้วยบทนี้ว่า เตน
นิมิตฺเตน อนิมิตฺโต ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น ท่านกล่าวถึงความไม่มีนิมิต.
บทว่า ปณิธิยา มุจฺจติ ย่อมพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง. ปาฐะว่า
ปณิธิ มุจฺจติ มีอรรถเป็นปัญจมีวิภัตติ คือพ้นจากปณิธิ ด้วยบทนี้ท่าน
กล่าวถึงวิโมกข์. บทว่า ยตฺถ น ปณิทหติ บุคคลย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด
คือไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด. บทว่า เตน สุญฺโ เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น
คือว่างเปล่าจากทุกข์นั้น. บทว่า เยน สุญฺโ เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด
คือว่างเปล่าจากทุกขนิมิตใด. บทว่า เยน นิมิตฺเตน เพราะนิมิตใด คือ
เพราะทุกขนิมิตใด. ด้วยบทนี้ว่า ตตฺถ น ปณิทหติ บุคคลไม่ตั้งอยู่
ในนิมิตนั้น ท่านกล่าวถึงความไม่ตั้งไว้. ด้วยบทนี้ว่า อภินิเวสา มุจฺจติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
พ้นจากความยึดมั่น ท่านกล่าวถึงวิโมกข์. บทว่า เยน สุญฺโ เป็นผู้
ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด คือเป็นผู้ว่างเปล่านิมิตคือความยึดมั่นใด. บทว่า เยน
นิมิตฺเตน เพราะนิมิตใด คือ เพราะนิมิตคือความยึดมั่นใด. บทว่า ยตฺถ น
ปณิทหติ เตน สุญฺโ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจาก
อารมณ์นั้น คือ ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตคือความยึดมั่นใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากนิมิต
คือความยึดมั่นนั้น ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงเนื้อความสุญญตะ
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงวิโมกข์ ๘ เป็นต้นอีก จึงกล่าวคำ
มีอาทิว่า อตฺถิ วิโมกฺโข วิโมกข์มีอยู่ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า
นิจฺจโต อภินิเวสา พ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นของไม่เที่ยง พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในสัญญาวิโมกข์. บทว่า สพฺพาภินิเวเสหิ จากความ
ยึดมั่นทั้งปวง คือจากความยึดมั่นมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้
ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งการพ้นจากความยึดมั่น. ชื่อว่าอนิมิตต-
วิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งความพ้นจากนิมิตมีความเป็นสภาพเที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งความพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง
มีความเป็นสภาพเที่ยงเป็นต้น.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า ปณิธิ มุจฺจติ พึงทราบว่าเป็นปัญจมีวิภัตติในที่
ทั้งปวง แปลว่า พ้นจากปณิธิ หรือปาฐะว่า ปณิธิยา มุจฺจติ แปลอย่าง
เดียวกันว่า พ้นจากปณิธิ. มีตัวอย่างในบทนี้ว่า สพฺพปณิธีหิ มุจฺจติ พ้น
จากปณิธิทั้งปวง. ท่านกล่าวอนุปัสสนา ๓ อย่างนี้ว่า วิโมกข์โดยปริยาย เพราะ
ความที่วิโมกข์เป็นองค์ของวิปัสสนานั้น และเพราะเป็นปัจจัยแห่งสมุจเฉท-
วิโมกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
บทว่า ตตฺถ ชาตา เกิดในมรรควิโมกข์นั้น ท่านอธิบายว่า เมื่อ
วิปัสสนาวิโมกข์แม้อยู่ในลำดับ กุศลธรรมทั้งหลายเกิดในมรรควิโมกข์นั้น
เพราะกถานี้เป็นอธิการแห่งมรรควิโมกข์. บทว่า อนวชฺชกุสลา กุศลธรรม
อันไม่มีโทษ คือกุศลปราศจากโทษมีราคะเป็นต้น หรือทำการตัดเด็ดขาด.
บทว่า โพธิปกฺขิยา ธมฺมา โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความ
ตรัสรู้) คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่ท่านกล่าวไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน
๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘. บทว่า
อิท มุข นี้ ธรรมเป็นประธาน ท่านอธิบายว่า ธรรมชาติมีประการดังกล่าว
แล้วนี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นประธาน เพราะเป็นประธานแห่งการเข้าไปสู่นิพพาน
โดยอารมณ์. บทว่า เตส ธมฺมาน แห่งธรรมเหล่านั้น คือแห่งโพธิปัก-
ขิยธรรมเหล่านั้น.
บทว่า อิท วิโมกฺขมุข นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์
คือ นิพพานเป็นนิสสรณวิโมกข์ ในบรรดาวิกขัมภนวิโมกข์ ตทังควิโมกข์
สุมุจเฉทวิโมกข์ ปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ และนิสสรณวิโมกข์ นิพพานชื่อว่า
วิโมกฺขมุข เพราะเป็นประธานด้วยอรรถว่าสูงสุด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรม หรืออสังขตธรรมมีประมาณเท่าใด
วิราคะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ท่านกล่าวอรรถนี้ด้วยอำนาจแห่ง
กัมมธารยสมาสว่า วิโมกข์นั้นด้วยเป็นประธานด้วย ชื่อว่า วิโมกฺขมุข. ใน
บทว่า วิโมกฺขญฺจ นี้เป็นลิงควิปลาส. บทว่า ตีณิ อกุสลมูลานิ อกุศลมูล ๓
คือ ราคะ โทสะ โมหะ. บทว่า ตีณิ ทุจฺจริตานิ ทุจริต ๓ คือ กายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต. บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
ทั้งหมด คืออกุศลธรรม สัมปยุตด้วยอกุศลมูล สัมปยุตและไม่สัมปยุตด้วย
ทุจริต เว้นโทมนัสที่ควรเสพเป็นต้น. บทว่า กุสลมูลสุจริตานิ สุจริตอัน
เป็นกุศลมูล พึงทราบโดยเป็นปฏิปักษ์กับทุจริตอันเป็นอกุศลมูลดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา กุสลธรรมแม้ทั้งหมด คือกุศลธรรม
แม้ทั้งหมดเป็นอุปนิสัยแห่งวิโมกข์ สัมปยุตและไม่สัมปยุตด้วยกุศลมูลตามนัย
ดังกล่าวแล้ว. วิวัฏฏกถา (กถาว่าด้วยการหลีกออกไป) ท่านกล่าวไว้แล้วใน
หนหลัง. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงวิวัฏฏะที่เหลือโดยสัมพันธ์กับวิโมกขวิวัฏ-
บทว่า อาเสวนา การเสพ คือเสพแต่ต้น. บทว่า ภาวนา การเจริญ คือ
การเจริญแห่งวิโมกข์นั้นนั่นเอง. บทว่า พหุลีกมฺม การทำให้มาก คือทำ
บ่อย ๆ ด้วยการถึงความชำนาญแห่งวิโมกข์นั้น. อนึ่ง พึงทราบการเสพ
เป็นต้น ด้วยสามารถยังกิจให้สำเร็จในขณะเดียวแห่งมรรคนั่นเอง. บทมีอาทิ
ว่า ปฏิลาโภ วา วิปาโก วา การได้หรือวิบากมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว
ในหนหลังนั้นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวิโมกขกถา
แห่งสัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
มหาวรรค คติกถา
ว่าด้วยคติสมบัติ
[๕๑๗] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล
เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร เทวดาชั้นรูปาวจร
ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัย
แห่งเหตุเท่าไร.
ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่ง
เหตุ ๘ ประการ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดา
ชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เทวดาชั้นรูปาวจร
เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ.
[๕๑๘] ในธรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ
เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้วิญญาณเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
ปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูต-
รูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะ
ปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัยในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย... เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย... เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ เป็นสหชาตปัจจัย... เป็นสัมป-
ยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย... เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย... เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย... เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย... เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย... เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในกรรมอันเป็นสัมปยุตตญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการนี้.
[๕๑๙] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ-
มหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่ง
เหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย ก็มีนามรูปในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ใน
ขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญ-
ปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูป
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕
เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณ
เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้
เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้
เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปปยุตตปัจจัย กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล
คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
[๕๒๐] เทวดาชั้นรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปในกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล ฯลฯ เทวดา
ชั้นรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
เทวดาชั้นอรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ
เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและ
วิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔
ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย เทวดาชั้นอรูปาวจร
ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
[๕๒๑] ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด
เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไรกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล
เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร.
ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมเกิดเพราะปัจจัยเเห่ง
เหตุ ๖ ประการ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดา
ชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ.
[๕๒๒] ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล
เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๒ ประการ
เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัยเป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปป-
ยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตปัจจัย ในขณะ
ปฏิสนธิ อินทรีย์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
เหตุ ๒ ประการเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
ธรรม ๑๒ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย...เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ
ธรรม ๒๖ ประการเป็นสหชาตปัจจัย...เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในกรรมอันประกอบ
ด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้ กษัตริย์
มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติ
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาต-
ปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ-
กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ฯลฯ ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ กษัตริย์
มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติ
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้.
จบคติกถา
อรรถกถาคติกถา
บัดนี้ การพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งคติกถาอัน
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงเหตุสมบัติอันเป็นเหตุแห่งการเกิดวิโมกข์นั้นกล่าวไว้
แล้ว. แม้ฌานก็จะไม่เกิดขึ้น แม้แก่ผู้เป็นทุเหตุกปฏิสนธิ เพราะพระบาลีว่า
นตฺถิ ฌาน อปญฺสฺส ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ก็วิโมกข์จะเกิดได้
อย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คติสมฺปตฺติยา คติสมบัติ คือ คติสมบัติ
อันได้แก่มนุษย์และเทพในบรรดาคติ ๕ คือ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย
มนุษย์ และเทพ. ด้วยบทนี้แลท่านปฏิเสธคติวิบัติ ๓ ข้างต้น. สมบัติแห่งคติ
ชื่อว่า คติสมบัติ. ท่านอธิบายว่า สุคติ. อนึ่ง ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส
ชื่อว่า คติ. และในคติ ๕ ท่านถือเอาแม้อสุรกาย ด้วยศัพท์ว่า เปตติวิสัย.
บทว่า เทวา ได้แก่ กามาวจรเทพ ๖ และพรหมทั้งหลาย. แม้อสูรท่านก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
สงเคราะห์ศัพท์ว่า เทว. บทว่า าณสมฺปยุตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วย
ญาณ คือในขณะปฏิสนธิสัมปยุตด้วยญาณ. จริงอยู่ แม้ขณะก็พึงทราบว่า
ท่านกล่าวด้วยโวหารนั้นนั่นเอง เพราะประกอบด้วยญาณสัมปยุต. บทว่า กตีน
เหตูน แห่งเหตุเท่าไร คือ แห่งเหตุเท่าไร ในบรรดาอโลภเหตุ อโทสเหตุ
และอโมหเหตุ. บทว่า อุปปตฺติ คือ การเกิด.
อนึ่ง เพราะแม้เกิดในตระกูลศูทรก็เป็นติเหตุกะได้ ฉะนั้น คำถามแรก
จึงหมายถึงติเหตุกะเหล่านั้น และเพราะคนมีบุญมาก โดยมากเกิดในตระกูล
มหาศาล ๓ ตระกูล ฉะนั้นคำถามจึงมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งตระกูล ๓
เหล่านั้น แต่ท่านย่อปาฐะไว้.
ชื่อว่า มหาสาลา เพราะมีสมบัติมาก อธิบายว่า มีเรือนใหญ่
มีสมบัติมาก. อีกอย่างหนึ่ง ควรกล่าวว่า มหาสารา เพราะมีทรัพย์มาก
ท่านกล่าวว่า มหาสาลา เพราะแปลง ร อักษรเป็น ล อักษร. ชื่อว่า
ขตฺติยมหาสาลา เพราะเป็นกษัตริย์มหาศาล หรือมหาศาลในกษัตริย์. แม้
ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทนั้น กษัตริย์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๑๐๐
โกฏิไว้ที่พระราชมณเฑียร ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๒๐ อัมพณะ กษัตริย์นี้ชื่อว่า
กษัตริย์มหาศาล. พราหมณ์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๘๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหา-
ปณะวันละ ๑๐ อัมพณะ พราหมณ์นี้ชื่อว่าพราหมณมหาศาล. คหบดีใดเก็บทรัพย์
อย่างต่ำ ๔๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๕ อัมพณะ คหบดีนี้ชื่อว่า
คหบดีมหาศาล. เพราะเทพชั้นรูปาวจร และเทพชั้นอรุปาวจรเป็นติเหตุกะ
โดยส่วนเดียว ท่านจึงไม่กล่าวว่า าณสมฺปยตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วย
ญาณ. แต่ในมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมีทุเหตุกะและอเหตุกะ และในเทพชั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
กามาวจรที่เหลือเพราะมีทุเหตุกะท่านจึงกล่าว าณสมฺปยตฺเต. อนึ่ง
กามาวจรเทพทั้งหลายในที่นี้ ชื่อว่า เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีใน
กามคุณ ๕ และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่งร่างกาย. รูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า
เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่ง
ร่างกาย. อรูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความ
ยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรุ่งเรืองแห่งญาณ.
บทว่า กุสลกมฺมสฺส ชวนกฺขเณ ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม
คือในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรมอันเป็นติเหตุกกามาวจรอันยังติเหตุกปฏิสนธิ
ให้เกิดในอดีตชาติ ๗ วาระ ด้วยอำนาจการเกิดบ่อย ๆ ในชวนวิถีจิต ความว่า
ในกาลอันเป็นไป. บทว่า ตโย เหตู กุสลา เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล
คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุศลเหตุ. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาต-
เจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ แห่งกุศลเจตนาที่เกิดในขณะ
ดังกล่าวแล้วนั้น. บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย คือ
เมื่อเกิดย่อมเป็นอุปการะโดยความเกิดร่วมกัน. บทว่า เตน วุจฺจติ ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าว คือกล่าวด้วยความเป็นสหชาตปัจจัยนั้นนั่นแล. บทว่า
กุสลมูลปจฺจยาปิ สงฺขารา แม้เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยก็เกิดสังขาร ท่าน
กล่าวโดยนัยแห่งปัจจยาการอันเป็นไปในขณะจิตดวงเดียว. อนึ่ง พึงทราบว่า
ท่านสงเคราะห์เจตสิกทั้งหมด อันสงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ในบทนั้นด้วย
พหุวจนะว่า สงฺขารา สังขารทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า กุสลมูลานิ บ้าง
แม้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารด้วย อปิ ศัพท์. บทว่า นิกฺกนฺติกฺขเณ
ในขณะความพอใจแห่งสังขาร อันเกิดขึ้นในกรรมที่ปรากฏเฉพาะหน้าเพื่อให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
วิบากของตน ในกรรมนิมิตหรือในคตินิมิตอันปรากฏด้วยกรรมที่ปรากฏแล้ว
อย่างนั้น. บทว่า นิกนฺติ ความพอใจ คือ ความใคร่ ความปรารถนา.
จริงอยู่ เพราะใกล้จะตายมีจิตวุ่นวายด้วยโมหะ ความพอใจย่อมเกิดขึ้นแม้ใน
ข่ายแห่งอเวจีมหานรก ส่วนในนิมิตที่เหลือจะเป็นอย่างไร. บทว่า เทฺว เหตู
เหตุ ๒ ประการ คือ โลภะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ. ส่วนความพอใจในภพปรารภ
ขันธสันดานของตนเพียงออกไปจากภวังควิถี อันเป็นไปแล้วในลำดับแห่ง
ปฏิสนธิ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่สังขารทั้งปวง. บทมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็หรือว่า
อกุศลธรรมไม่เคยเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ในภูมิใด กุศลธรรมทั้งหลายก็ไม่เคยเกิด
แก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นหรือ ? มีคำตอบว่า ใช่ ดังนี้ท่านกล่าวหมายถึงความพอ
ใจนี้นั่นแล. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ
อกุศลเจตนา. บทว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ ในขณะแห่งปฏิสนธิ คือ ในขณะแห่ง
ปฏิสนธิที่ถือเอาแล้วด้วยกรรมนั้น. บทว่า ตโต เหตู เหตุ ๓ ประการ คือ
อโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นอัพยากตเหตุ. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย
แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ อัพยากตเจตนาอันเป็นวิบาก. ในบทนี้ว่า
นามรูปปจฺจยาปิ วิญฺาณ แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณในขณะ
ปฏิสนธินั้น วิบากเหตุ ๓ และเจตสิกที่เหลือเป็นนาม หทยวัตถุ เป็นรูป แม้แต่
นามรูปเป็นปัจจัยนั้นปฏิสนธิวิญญาณย่อมเป็นไป. นามแม้ในบทว่า วิญฺาณ-
ปจฺจยาปิ นามรูป แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยก็มีนามรูปนี้ มีประการดัง
ได้กล่าวแล้ว. ส่วนรูปในบทนี้ได้แก่ รูป ๓๐ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ
ภาวทสกะ ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ เพราะท่านประสงค์เอามนุษย์ ปฏิสนธิพร้อม
ด้วยเหตุ. อนึ่ง ได้แก่ รูป ๗๐ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ
ชิวหาทสกะ (และรูป ๓๐ ข้างต้น) ของสังเสทชะ โอปปาติกะซึ่งมีอายตนะครบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
นามรูปมีประการดังนี้แล้วนั้น ย่อมเป็นไปเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยใน
ขณะปฏิสนธิ.
ในบทนี้ว่า ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ คือ รูปที่ได้ในขณะปฏิสนธิ
ด้วยปฏิสนธิจิตเป็นรูปขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกันเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็น
สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิตเป็นวิญญาณขันธ์.
บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ไม่มีรูป ๔
เป็นสหชาตปัจจัยของกันและกัน มหาภูตรูป ๔ ในรูปขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย
ของกันและกัน ขันธ์ไม่มีรูปและหทยรูปเป็นสหชาตปัจจัยของกันและกัน แม้
มหาภูตรูปก็เป็นสหชาตปัจจัยของอุปาทารูป. บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา
โหนฺติ เป็นอัญญมัญญปัจจัย คือ เบญจขันธ์เป็นอุปการะแก่กันและกันด้วย
ความอุปถัมภ์ให้เกิด ขันธ์ไม่มีรูป ๔ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๔
ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย. บทว่า นิสสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นนิสสยปัจจัย
คือ เบญจขันธ์เป็นอุปการะโดยอาการตั้งมั่นไว้และโดยอาการเป็นที่อาศัย
ขันธ์ไม่มีรูป ๔ เป็นนิสสยปัจจัยของกันและกัน เพราะเหตุนั้นพึงให้พิสดารดุจ
สหชาตปัจจัย. บทว่า วิปฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นวิปปยุตตปัจจัยคือ
เบญจขันธ์เป็นอุปการะโดยความวิปปยุตคปัจจัยด้วยการไม่เข้าถึงความเป็นมีวัตถุ
อย่างเดียวกันเป็นต้น ขันธ์ไม่มีรูปเป็นวิปปยุตตปัจจัยของปฏิสนธิรูป หทัยรูป
เป็นวิปปยุตตปัจจัยของขันธ์ไม่มีรูป เพราะในบทนี้ว่า ปญฺจกฺขนฺธา ท่าน
กล่าวด้วยสามารถตามที่มีได้ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า จตฺตาโร มหาภูตา มหาภูตรูป ๔ นี้ท่านกล่าวถึงปัจจัย
๓ ก่อน. บทว่า ตโย ชีวิตสงฺขารา เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการ คือ อายุ
ไออุ่นและวิญญาณ. บทว่า อายุ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์และอรูปชีวิตินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
บทว่า อุสฺมา ได้แก่ เตโชธาตุ. บทว่า วิฺาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ
จริงอยู่ ชื่อว่า ชีวิตสังขาร เพราะอายุ ไออุ่น และวิญญาณเหล่านี้ย่อม
ปรุงชีวิตสังขาร คือให้เป็นไปยิ่ง ๆ ขึ้น.
บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย พึงทราบว่า
อรูปชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณเป็นอัญญมัญญปัจจัยและสหชาตปัจจัยของ
ขันธ์อันสัมปยุตกันเเละหทัยรูป เตโชธาตุเป็นอัญญมัญญปัจจัยและสหชาตปัจจัย
ของมหาภูตรูป ๓ และเป็นสหชาตปัจจัยของอุปาทารูป รูปชีวิตินทรีย์เป็นสห-
ชาตปัจจัยโดยปริยายของสหชาตรูป.
บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา โหนฺติ นิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย คือ อรูปชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณ
ทั้ง ๒ เป็นอัญญมัญญปัจจัยของขันธ์อันสัมปยุตกัน. พึงทราบประกอบโดยนัยที่
ท่านกล่าวไว้ว่า อญฺมญฺนิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นอัญญมัญญปัจจัย
และนิสสยปัจจัย.
บทว่า วิปฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นวิปปยุตตปัจจัย คือ อรูป-
ชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณย่อมเป็นวิปปยุตตปัจจัยของปฏิสนธิรูป. ส่วน
รูปชีวิตินทรีย์ไม่เหมาะในความเป็นอัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัยและวิปปยุตต-
ปัจจัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวด้วยอำนาจตามที่มีได้ว่า ตโย ชีวิตสงฺขารา
เครื่องปรุงชีวิต ๓ ดังนี้. พึงประกอบนามและรูปในความเป็นปัจจัย ๔ โดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า จุทฺทส ธมฺมา คือธรรม ๑๔ ประการ โดยจำนวนอย่างนี้คือ
ขันธ์ ๕ มหาภูตรูป ๔ ชีวิตสังขาร ๓ นาม ๑ รูป ๑. ความเป็นปัจจัยมีสห-
ชาตปัจจัยเป็นต้นของธรรมเหล่านั้น และธรรมอื่นข้างหน้ามีนัยดังกล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
บทว่า สมฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสัมปยุตตปัจจัย คือ ธรรมทั้งหลาย
เป็นอุปการะโดยความสัมปยุตกันกล่าวคือ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน. บทว่า ปญฺจินฺทฺริยา อินทรีย์ ๕ ได้แก่
สัทธินทรีย์เป็นต้น. บทว่า นามญฺจ ในที่นี้ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์
เป็นต้น. บทว่า วิญฺาณญฺจ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ. บทว่า จุทฺทส ธมฺมา
คือธรรม ๑๔ ประการ อีกโดยจำนวนอย่างนี้คือ ขันธ์ ๔ อินทรีย์ ๕ เหตุ ๓
นาม ๑ รูป ๑.
บทว่า อฏฺวีสติ ธมฺมา ธรรม ๒๘ ประการ คือ ตอนต้น ๑๔
และธรรมเหล่านี้ ๑๔. เพราะแม้รูปก็เข้าไปในธรรมนี้ ท่านจึงนำสัมปยุตต-
ปัจจัยออกแล้วกล่าววิปปยุตตปัจจัย.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงถึงประเภทของปัจจัยนั้น ๆ แห่งธรรมอัน
เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น ๆ ซึ่งมีอยู่ในปฏิสนธิอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงสรุปเหตุ
ที่ชี้แจงไว้แต่ต้น จึงกล่าวว่า อิเมส อฏฺนฺน เหตูน ปจฺจยา อุปฺปตฺติ โหติ
ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเหล่านี้. เหตุ ๘ ประการอย่างนี้คือ
กุศลเหตุ ๓ ในขณะประมวลกรรม อกุศลเหตุ ๒ ในขณะพอใจ อัพยากต
เหตุ ๓ ในขณะปฏิสนธิ. ในเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ และอกุศลเหตุ ๒ เป็น
อุปนิสสยปัจจัยโดยความเป็นไปในขณะปฏิสนธินี้ อัพยากตเหตุ ๒ เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยและสหชาตปัจจัยตามสมควร. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. อนึ่ง เพราะอรูปาวจรไม่มีรูป ท่านจึงกล่าวว่า แม้นามเป็นปัจจัย
ก็มีวิญญาณ แม้วิญญาณเป็นปัจจัยก็มีนาม. แม้ธรรม ๑๔ ปนกับรูปก็ลดไป
เพราะธรรมนั้นลดในวาระว่า อฏฺวีสติ ธมฺมา ธรรม ๒๘ ประการจึงไม่ได้
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงติเหตุกปฏิสนธิอันเป็นปัจจัยแห่ง
วิโมกข์แล้วประสงค์จะแสดงติเหตุกปฏิสนธิให้พิเศษด้วยการสัมพันธิ์กันนั้น จึง
กล่าวบทมีอาทิว่า คติสมฺปตฺติยา าณวิปฺปยุตฺเต ในกรรมอันไม่ประกอบ
ด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด.
บทว่า กุสลกมฺมสฺส ชวนกฺขเณ ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม
คือในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรมอันเป็นทุเหตุกะ อันให้เกิดปฏิสนธิในอดีตชาติ
ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า เทฺว เหตู เหตุ ๒ ประการ คือ อโลภะ
อโทสะเป็นกุศลเหตุ เพราะไม่ประกอบด้วยญาณ. แม้อัพยากตเหตุก็มี ๒ คือ
อโลภะ อโทสะเหมือนกัน. บทว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ คืออินทรีย์ ๔
มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เว้นปัญญินทรีย์. บทว่า ทฺวาทส ธมฺมา ธรรม ๑๒
ประการ คือ ธรรม ๑๒ ประการ เพราะปัญญินทรีย์ และอโมหเหตุลดไป
เพราะธรรม ๒ ประการนั้นลดไปจึงเป็นธรรม ๒๖. บทว่า ฉนฺน เหตูน
คือแห่งเหตุ ๖ ประการ อย่างนี้คือกุศลเหตุ ๒ อกุศลเหตุ ๒ วิปากเหตุ ๒.
แต่ในที่นี้ไม่ถือเอารูปาวจรและอรูปาวจร เพราะเป็นติเหตุกะโดยส่วนเดียว.
พึงทราบบทที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปฐมวาระนั่นแหละ. ในวาระนี้ท่าน
กล่าวไว้ว่า ปฏิสนธิอันเป็นทุเหตุกะ ย่อมไม่มีด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะ เพราะ
กรรมอันเป็นทุเหตุกะท่านกล่าวแล้ว ด้วยปฏิสนธิอันเป็นทุเหตุกะ เพราะ
ฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระผู้ทรง
พระไตรปิฎก ในอรรถกถาธรรมสังคหะว่า ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะด้วยกรรม
อันเป็นติเหตุกะ มิใช่เป็นทุเหตุกะและอเหตุกะ ทุเหตุกะและอเหตุกะย่อมเป็น
ด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะ มิใช่เป็นติเหตุกะ คำนั้นสมด้วยบาลีนี้. ส่วนคำใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
ที่ท่านกล่าวไว้ในวาทะของพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฏก และพระมหา-
ทัตตเถระผู้อยู่ ณ โมรวาปีว่า ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะบ้าง เป็นทุเหตุกะบ้าง
ย่อมมีได้ด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะ มิใช่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะบ้าง
เป็นอเหตุกะบ้าง ย่อมมีได้ด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะมิใช่เป็นติเหตุกะ คำนั้น
ปรากฏคล้ายจะพลาดไปจากบาลีนี้ เพราะกถานี้เป็นอธิการแห่งเหตุ จึงไม่
กล่าวถึงอเหตุกปฏิสนธิ.
จบอรรถกถาคติกถา
มหาวรรค กรรมกถา
ว่าด้วยเรื่องของกรรม
[๕๒๓] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมมีอยู่ กรรมได้มี
แล้ว วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักมี กรรม
ได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักไม่มี กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมมีอยู่ กรรมมีอยู่
วิบากแห่งกรรมไม่มี กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมจักมี กรรมมีอยู่ วิบากแห่ง
กรรมจักไม่มี กรรมจักมี วิบากแห่งกรรมจักมี กรรมจักมี วิบากแห่งกรรม
จักไม่มี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมมีอยู่
กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่ง
กุศลกรรมจักมี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี กุศลกรรม
มีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมมีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมจักมี กุศลกรรมจักมี วิบากแห่งกุศลกรรม
จักไม่มี อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว อกุศลกรรม
ได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมมีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศล-
กรรมไม่มี อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรมได้
มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรม
มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มี อกุศลกรรมมีอยู่ วิบาก
แห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรมจักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรม
จักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี.
[๕๒๔] กรรมมีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมไม่มีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ
กรรมดำได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมขาวได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นกำไรได้มิแล้ว
ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็นกำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นวิบากได้มีแล้ว ฯลฯ
กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากไม่ได้มีแล้ว
กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ กรรม
มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากไม่มี กรรมอัน
มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากจักมี กรรมอัน
มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากจักมี กรรมอัน
มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี กรรมมี
ทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ กรรมมีทุกข์เป็น
วิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากไม่มี กรรมมีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่
วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากจักมี กรรมมีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่ง
กรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากไม่มี กรรมมีทุกข์เป็นวิบากจักมี วิบากแห่งกรรม
อันมีทุกข์เป็นวิบากจักมี กรรมมีทุกข์เป็นวิบากจักมี วิบากแห่งกรรมอันมีทุกข์
เป็นวิบากจักไม่มี.
จบกรรมกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
อรรถกถากรรมกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังมิได้พรรณนาไว้ แห่งกรรมกถา
อันพระสารีบุตรเถระแสดงถึงกรรมอันเป็นปัจจัย แห่งเหตุสัมบัตินั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในกรรมกถานั้น ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า อโหสิ
กมฺม อโหสิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว ท่าน
ถือเอาวิบากอันให้ผลในภพอดีต แห่งกรรมที่ทำแล้วในภพอดีตนั่นเอง แล้ว
จึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺม อโหสิ กมฺมวิปาโก.
ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพอดีต ด้วยความบกพร่องปัจจัยแห่ง
กรรมอดีต อันเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพนี้) และเป็น
อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า) และวิบากอัน
ยังไม่ให้ผลแห่งกรรมอันดับรอบแล้วในอดีตนั่นเอง และอันเป็นทิฏฐธรรม-
เวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม และอปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผล
ในภพสืบ ๆ ไป) จึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺม นาโหสิ กมฺมวิปาโก กรรม
ได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว.
ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลแห่งกรรมอดีต ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัย
ในภพปัจจุบัน แห่งวิบากอันยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺม อตฺถิ
กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมมีอยู่.
ท่านถือเอาวิบากอันยังไม่ให้ผลแห่งกรรมอดีต อันล่วงเลยกาลแห่ง
วิบากแล้ว เเละของผู้ปรินิพพานในภพปัจจุบันนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ
กมฺม นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผล ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัยในภพ
อนาคต แห่งกรรมอดีตอันควรแก่วิบาก อันเป็นวิบากยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าว
ว่า อโหสิ กมฺม ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากกรรมจักมี.
ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล แห่งกรรมอดีตอันล่วงกาลแห่งวิบาก
แล้ว และดับรอบในภพอนาคตนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺม น
ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักไม่มี.
ท่านแสดงกรรมอดีตอย่างนี้ไว้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบาก และ
มิใช่วิบาก ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต.
ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลในปัจจุบันนี้ แห่งกรรมอันเป็นทิฏฐธรรม-
เวทนียกรรมที่ทำแล้วในภพนี้ แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺม อตฺถิ กมฺมวิปาโก
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมมีอยู่.
ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพนี้ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย
ของกรรมปัจจุบันนั้น และยังไม่ให้ผลในภพนี้ ของผู้ปรินิพพานในปัจจุบัน
แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺม นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากของ
กรรมไม่มีอยู่.
ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคตของกรรมปัจจุบัน อันเป็น
อุปปัชชเวทนียกรรม และอปราปริยเวทนียกรรม แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ
กมฺม ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากกรรมจักมี.
ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผลในภพอนาคต ด้วยความบกพร่อง
ปัจจัย แห่งกรรมปัจจุบันอันเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม และไม่ควรให้ผลแก่ผู้
ควรปรินิพพานในภพอนาคต อันเป็นอปราปริยเวทนียกรรม แล้วจึงกล่าวว่า
อตฺถิ กมฺม น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมจักไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ท่านแสดงถึงปัจจุบันกรรมอย่างนี้ไว้ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบาก
และมิใช่วิบากในปัจจุบันและอนาคต.
ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคต แห่งกรรมที่ควรทำใน
ภพอนาคต แล้วจึงกล่าวว่า ภวิสฺสติ กมฺม ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี
ผลแห่งกรรมจักมี.
ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล ด้วยบกพร่องปัจจัยแห่งกรรมอนาคต
นั้น และไม่ควรให้ผลของผู้ควรปรินิพพานในภพอนาคต แล้วจึงกล่าวว่า
ภวิสฺสติ กมฺม น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมจักมี ผลแห่งกรรมจักไม่มี.
ท่านแสดงกรรมอนาคตอย่างนี้ไว้ ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบากและ
มิใช่วิบากในอนาคต เป็นอันท่านทำกรรมทั้งหมดนั้น เป็นอันเดียวกันแล้ว
แสดงกรรม ๑๒ อย่าง. ท่านตั้งอยู่ในฐานะนี้ แล้วนำกรรมจตุกะ ๓ มากล่าว
เมื่อท่านกล่าวกรรมจตุกะนั้นแล้ว ความนี้จักปรากฏว่า เพราะกรรม ๔ อย่าง
คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑ อปราปริยเวทนีย-
กรรม ๑ อโหสิกรรม ๑.
ในกรรมเหล่านั้นชวนเจตนาครั้งแรก เป็นกุศลก็ดี เป็นอกุศลก็ดี
ในจิต ๗ ดวง ในชวนวิถีจิต ๑ ดวง ชื่อว่าทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. ทิฏฐธรรม-
เวทนียกรรมนั้นย่อมให้ผลในอัตภาพนี้เท่านั้น แต่เมื่อไม่อาจให้ผลอย่างนั้น
ก็เป็นอโหสิกรรมด้วยสามารถติกะว่า กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่ได้
มีแล้ว. วิบากแห่งกรรมจักไม่มี วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่ดังนี้. ส่วนชวนเจตนา
ดวงที่ ๗ ให้สำเร็จประโยชน์ ชื่อว่าอุปปัชชเวทนียกรรม.
อุปปัชชเวทนียกรรมนั้นย่อมให้ผลในอัตภาพเป็นลำดับไป เมื่อไม่
อาจให้ผลอย่างนั้นได้ ก็เป็นอโหสิกรรมตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
ชวนเจตนา ๕ ดวง ในระหว่างกรรมทั้งสองนั้น ชื่อว่าอปราปริยเวทนียกรรม.
อปราปริยเวทนียกรรมนั้น ย่อมได้โอกาสเมื่อใดในอนาคต ย่อมให้ผลเมื่อนั้น
เมื่อยังมีการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ชื่อว่า อโหสิกรรม ก็จะไม่มี.
กรรม ๔ อย่าง แม้อื่น เป็นครุกรรม พหุลกรรม อาสันนกรรม และ
กฏัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ). ในกรรมนั้นเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
ในกรรมหนักและไม่หนัก กรรมใดหนักมีฆ่ามารดาเป็นต้น หรือมหัคคตกรรม
(กรรมเกิดจากการได้ฌาน) กรรมนั้นแลให้ผลก่อน. อนึ่ง แม้ในกรรมหนา
และไม่หนา กรรมใดหนามีความเป็นผู้มีศีลก็ดี เป็นผู้ทุศีลก็ดี กรรมนั้นย่อม
ให้ผลก่อน. กรรมที่ระลึกถึงก็ดี กรรมที่ทำแล้วก็ดี ในเวลาใกล้ตาย ชื่อว่า
อาสันนกรรม. จริงอยู่ ผู้ใกล้จะตายอาจระลึกถึงหรือทำกรรมใด การได้
อาเสวนะบ่อย ๆ พ้นจากกรรม ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมนั้นนั่นเอง
ชื่อว่า กฏัตตาวาปนกรรม. ในเมื่อไม่มีกรรมเหล่านั้น กฏัตตาวาปนกรรม
นั้นย่อมฉุดคร่าปฏิสนธิ.
กรรม ๔ อย่างอื่นอีก คือ ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด) อุปัต-
กัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน) อุปปีฬกกรรม (กรรมบีบคั้น) อุปฆาตกกรรม
(กรรมตัดรอน). ในกรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ชื่อว่า
ชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นยังรูปวิบาก และอรูปวิบากให้เกิด แม้ในการเป็น
ไปในปฏิสนธิ.
ส่วนอุปัตถัมภกกรรมไม่สามารถให้วิบากเกิดได้ ย่อมสนับสนุนสุข
และทุกข์อันเกิดขึ้น ในวิบากที่เกิดแล้วด้วยปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ ย่อมให้เป็น
ไปตลอดกาลไกล.
อุปปีฬกกรรมย่อมบีบคั้น เบียดเบียนสุขและทุกข์อันเกิดในวิบาก
ที่เกิดแล้วด้วยปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ ย่อมไม่ให้เพื่อเป็นไปตลอดกาลไกลได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
ส่วนอุปฆาตกกรรม ตัดรอนกรรมที่มีกำลังอ่อนอื่น ที่เป็นกุศลบ้าง
อกุศลบ้าง แล้วป้องกันวิบากของกรรมนั้น ทำโอกาสแก่วิบากของตน ก็เมื่อ
โอกาสอันกรรมนั้นทำแล้ว ท่านกล่าวว่า กรรมนั้นชื่อว่าเกิดวิบาก.
ด้วยประการฉะนี้ ระหว่างกรรม และระหว่างวิบากแห่งกรรม ๑๒
เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยความเป็นสิ่งที่แน่นอนแห่ง
กรรมวิบากญาณไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย. นักวิปัสสนาพึงรู้ระหว่างกรรมและ
ระหว่างวิบากโดยเอกเทศ. เพราะฉะนั้น ท่านประกาศความพิเศษของกรรมนี้
โดยเห็นเพียงเป็นหัวข้อ. ท่านกล่าวปฐมวารด้วยอำนาจกรรมล้วน ๆ อย่างนี้
แล้วจำแนกกรรมนั้นนั่นแล ออกเป็น ๒ ส่วน แล้วจึงกล่าวถึงวาระ ๑๐ อื่นอีก
โดยปริยาย ๑๐ ด้วยอำนาจแห่งคู่ของกรรมมีกุศลกรรม และอกุศลกรรมเป็นต้น.
ในกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น ชื่อว่า กุสล เพราะอรรถว่าไม่มีโรค
ชื่อว่า อกฺสล เพราะอรรถว่าไม่มีโรคหามิได้ (มีโรค) ท่านกล่าวทุกะนี้ ด้วย
อำนาจแห่งชาติ.
อกุศลนั่นแล เป็นสาวัชชะ (มีโทษ) เพราะประกอบด้วยโทษ มีราคะ
เป็นต้น กุศลเป็นอนวัชชะ (ไม่มีโทษ) เพราะไม่มีโทษ มีราคะเป็นต้นนั้น.
อกุศลชื่อว่าเป็นกัณหธรรม (ธรรมดำ) เพราะไม่บริสุทธิ์ หรือเพราะเหตุเกิด
เป็นธรรมดำ. กุศลชื่อว่าสุกธรรม (ธรรมขาว) เพราะบริสุทธิ์ หรือเพราะ
เหตุเกิดเป็นธรรมขาว กุศลชื่อว่า สุขุทรยะ (กรรมมีสุขเป็นกำไร) เพราะ
เจริญด้วยความสุข อกุศลชื่อว่า ทุกขุทรยะ (กรรมมีทุกข์เป็นกำไร) เพราะ
เจริญด้วยทุกข์. กุศลมีสุขเป็นวิบาก เพราะมีผลเป็นสุข. อกุศลมีทุกข์เป็น
วิบาก เพราะมีผลเป็นทุกข์. พึงทราบอาการต่างกันแห่งกรรมเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถากรรมกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
มหาวรรค วิปัลลาสกถา
นิทานบริบูรณ์
ว่าด้วยวิปลาส ๔
[๕๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส
นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด
(แปรปรวน) ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ
ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล.
[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ
ไม่วิปลาสนี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
สำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่ามิใช่ตัวตน ในสภาพ
ที่ไม่งามว่าไม่งาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ
ไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล.
สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่า
เที่ยง มีความสำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มี
ความสำคัญในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความ
สำคัญในสภาพที่ไม่งามว่างาม ถูกความเห็นผิดนำไป
มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วง
ของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส ต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
ไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะเมื่อใด พระพุทธ
เจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่องแสงสว่าง
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้ อันให้ถึง
ความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วกลับได้
ความคิดชอบ เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง เห็นสภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เห็น
สภาพที่มิใช่ตัวตน โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตนและ
เห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ
ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล.
วิปลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ละทั่วแล้ว
วิปลาสเหล่าใดละได้แล้ว เหล่าใดละทั่วแล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด
ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดใน
สภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว ความสำคัญผิด
ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ละได้แล้ว ความ
สำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว วิปลาส
๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๔
ละทั่วแล้ว และวิปลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว.
จบวิปัลลาสกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
อรรถกถาวิปัลลาสกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิปัลลาส-
กถา อันมีพระสูตรเป็นบทนำ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในวิปัลลาสะ
อันเป็นปัจจัยของกรรมนั้นกล่าวแล้ว. พึงทราบความในพระสูตรก่อน. บทว่า
สญฺญาวิปลฺลาสา คือมีความสำคัญคลาดเคลื่อนเป็นสภาวะ อธิบายว่ามี
สัญญาวิปริต. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัญญาวิปลาสย่อม
ปรากฏในกาลแห่งกิจของตนมีกำลัง ด้วยอกุศลสัญญาปราศจากทิฏฐิในฐานะ
แห่งกิจของจิตมีกำลังอ่อน.
จิตวิปลาส ย่อมเป็นไปในกาลแห่งกิจของตนเป็นอกุศลจิตปราศจาก
ทิฏฐิมีกำลัง. ทิฏฐิวิปลาสย่อมเป็นไปในจิตอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ.
เพราะฉะนั้น สัญญาวิปลาสมีกำลังอ่อนกว่าทั้งหมด. จิตวิปลาสมี
กำลังมากกว่าสัญญาวิปลาสนั้น. ทิฏฐิวิปลาสมีกำลังมากกว่าทั้งหมด. จริงอยู่
ชื่อว่าความสำคัญเพราะถือเอาเพียงอาการปรากฏแห่งอารมณ์ ดุจการเห็นกหา-
ปณะของทารกที่ยังไม่รู้เดียงสา. ชื่อว่าความคิดเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ
ดุจการเห็นกหาปณะของคนชาวบ้าน. ชื่อว่าความเห็นเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ
ดุจการจับเหล็กด้วยคีมใหญ่ของช่างเหล็ก.
บทว่า อนิจฺเจ นิจฺจนฺติ สญฺาวิปลฺลาโส ความสำคัญผิดใน
สภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คือความสำคัญอันเกิดขึ้น เพราะถือเอาในวัตถุไม่เที่ยง
ว่านี้เที่ยง ชื่อว่า สัญญาวิปลาส. พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
บทว่า น สญฺาวิปลฺลาโส น จิตฺตวิปลฺลาโส น ทิฏฺิวิปลฺ-
ลาโส ความสำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ท่านกล่าวถึง
การถือเอาตามความเป็นจริง เพราะไม่มีการถือผิด ๑๒ อย่างในวัตถุ ๔ อย่าง.
พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา
คือมีความสำคัญอย่างนี้ว่า ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน. บทว่า มิจฺฉา-
ทิฏฺิหตา ถูกความเห็นผิดนำไป คือ ไม่เพียงมีความสำคัญอย่างเดียวเท่านั้น
ยังถูกความเห็นผิดอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญานำไป. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา มีจิต
กวัดแกว่ง คือ ประกอบด้วยจิตกวัดแกว่ง หมุนไปอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญาและ
ทิฏฐิ. บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิดนี้เป็นเพียงเทศนา. ความว่า มีความ
สำคัญ ความคิดและความเห็นวิปริต.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัญญาเป็นตัวนำท่านจึงกล่าว สัญญาวิปลาสด้วย
บท ๔ แห่งทิฏฐิก่อน แต่นั้นจึงกล่าวบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหตา ถูกมิจฉาทิฏฐิ
นำไป เป็นทิฏฐิวิปลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา จิตกวัดแกว่งเป็นจิตวิปลาส.
บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิด คือถึงโมหะปราศจากสัญญาปกติด้วยการ
ถือวิปลาส ๓ ดุจในบทนี้ว่า สลบเพราะกำลังพิษ ถึงวิสัญญี (หมดความรู้สึก).
บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส คือสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า คิดอยู่ในบ่วงของ
มาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส คือ
ไม่บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ คือ จัญไร ๔. บทว่า สตฺตา
คจฺฉนฺติ สสาร สัตว์ทั้งหลายต้องไปสู่สงสาร คือ บุคคลเหล่านั้นแหละ
ต้องท่องเที่ยวไปสู่สงสาร. เป็นอย่างไร. เพราะสัตว์เหล่านั้นต้องไปสู่ชาติและ
มรณะ ฉะนั้น จึงต้องท่องเที่ยวไป. บทว่า พุทฺธา คือ พระสัพพัญญูผู้ตรัสรู้
อริยสัจ ๔ เป็นพหุวจนะด้วยสามารถทั่วไปใน ๓ กาล. บทว่า โลกสฺมึ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
ในโอกาสโลก. บทว่า ปภงฺกรา ส่องแสงสว่าง คือทำโลกให้สว่างด้วยปัญญา.
บทว่า อิม ธมฺม ปกาเสนฺติ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศพระธรรม
คือทรงแสดงธรรมละความวิปลาส. บทว่า ทุกฺขปสมคามิน อันให้ถึงความ
สงบระงับทุกข์ คือถึงนิพพานอันเป็นความสงบระงับทุกข์. บทว่า เตส สุตฺวาน
คือ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า สปฺปญฺา ผู้มีปัญญา คือ
มีปัญญาอันเป็นความสมควร. บทว่า สจิตฺต ปจฺจลทฺธุ กลับได้ความคิด
คือกลับได้ความคิดของตนเว้นความวิปลาส. ตัดบทเป็น ปฏิอลทฺธุ. อีกอย่าง
หนึ่ง ตัดบทเป็น ปฏิลภึสุ ปฏิอลทธุ. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุ ได้เห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือได้เห็นด้วยสามารถแห่งความเป็นสภาพไม่เที่ยง
นั่นเอง. บทว่า อตฺตนิ อนตฺตา เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดยความเป็นสภาพ
มิใช่ตัวตน คือได้เห็นว่า ความไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นความไม่ใช่ตัวตน อีก
อย่างหนึ่ง ได้เห็นสภาพมิใช่ตัวตนว่า ตัวตนไม่มีในวัตถุ. บทว่า สมฺมาทิฏฺิ-
สมาทานา เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ คือถือความเห็นชอบ. บทว่า สพฺพทุกฺข
อปจฺจคุ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง. คือก้าวล่วงวัฏทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า ทิฏฺิ-
สมฺปนฺนสฺส ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแห่งคำถามละแล้ว และละทั่วแล้ว คือ
พระโสดาบัน. บทว่า ทุกฺเข สุขนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ
ความสำคัญ ความคิดในความทุกข์ว่า เป็นความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ เพียงความ
สำคัญ หรือเพียงความคิดย่อมเกิดขึ้น เพราะยังละความสะสมโมหกาลไม่ได้
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่พระอนาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้
พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้.
บทว่า อสุเภ สุภนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ
ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแม้แก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
สกทาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้ พระอนาคามีจึง
ละได้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
ทั้งสองนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระโสดาบันและพระสกทาคามี. เพราะพระ-
อนาคามีละกามราคะได้แล้ว พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละความสำคัญผิด
ความคิดผิดในสภาพไม่งามว่างาม. ด้วยบทว่า ทฺวีสุ วตฺถูสุ เป็นอาทิ
ท่านแสดงสรุปถึงการละและการละทั่ว. ในบทนั้น เป็นอันละวิปลาส ๖ ใน
วัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพมิใช่ตัวตนว่าตัวตน
เป็นอันละทิฏฐิวิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
ในสภาพไม่งามว่างาม. ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียน บทว่า เทฺว ก่อน.
เขียนบทว่า ฉ ในภายหลัง. บทว่า จตูสุ วตฺถูสุ ท่านกล่าวทำวิปลาส ๔
รวมเป็น ๑. บทว่า อฏฺ ได้แก่ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒
รวมเป็นวิปลาส ๘. บทว่า จตฺตาโร คือ วิปลาส ๔ ได้แก่ สัญญาวิปลาส
และจิตวิปลาสอย่างละ ๒ ในวัตถุหนึ่ง ๆ ในบรรดาวัตถุที่เป็นทุกข์และไม่งาม
ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียนไว้อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในที่ที่ท่านกล่าวว่า
ฉ ทฺวีสุ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาวิปัลลาสกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
มหาวรรค มรรคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๕๒๗] คำว่า มคฺโค ความว่า ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่า
กระไร.
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น เป็นมรรคและ
เป็นเหตุเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย
เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความ
ผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมพิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ สัมมาสังกัปปะเพราะอรรถว่าดำริ เป็นมรรค
และเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ... สัมมาวาจาเพราะอรรถว่ากำหนดเอา เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวาจา... สัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็น
สมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉากัมมันตะ... สัมมาอาชีวะเพราะ
อรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาอาชีวะ... สัมมาวายามะ
เพราะอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาวายามะ...
สัมมาสติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ...
สัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสมาธิ
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน
เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ
บรรลุธรรมพิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิต
ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
[๕๒๘] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ...
ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละกามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ...
ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฏฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุเพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่ออุปถัมภ์
สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่ง
ปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรม
พิเศษ เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
นิโรธ.
[๕๒๙] สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคแห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรค
แห่งความดำริ สัมมาวาจาเป็นมรรคแห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นมรรค
แห่งสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะเป็นมรรคแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็น
มรรคแห่งความประคองไว้ สัมมาสติเป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิ
เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งการเลือกเฟ้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นมรรค
แห่งความแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความสงบ สมาธิ-
สัมโพชฌงค์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นมรรค
แห่งการพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความ
ไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
สติพละเป็นมรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละเป็น
มรรคแห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นมรรคแห่งความไม่
หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์
เป็นมรรคแห่งความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นมรรคแห่งความตั้งมั่น สมา-
ธินทรีย์เป็นมรรคแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นมรรคแห่งความเห็น
อินทรีย์เป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่
หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นมรรคเพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรคเพราะอรรถ
ว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นมรรคเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นมรรคเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็น
มรรคเพราะอรรถว่าถ่องแท้ สมถะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนา
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรคเพราะ
อรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่
ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าสำรวม จิตวิสุทธิเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็น
มรรคเพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติ
เป็นมรรคเพราะอรรถว่าปล่อย ญาณในความสิ้นไปเป็นมรรคเพราะอรรถว่า
ตัดขาด ฉันทะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นมรรคเพราะ
อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็น
มรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม สมาธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
สติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นธรรม
อันยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอัน
หยั่งลงสู่อมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด.
จบมรรคกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
อรรถกถามรรคกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งมรรคกถา
อันพระสารีบุตรเถระแสดงอริยมรรคทำการละวิปลาส ๓ เหล่านั้นกล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺโคติ เกนฏฺเน มคฺโค บทว่า มคฺโค
ชื่อว่า มรรคด้วยอรรถว่ากระไร คือ ในพระพุทธศาสนาท่านกล่าวว่า มรรค
ด้วยอรรถว่ากระไร. ในปริยาย ๑๐ มีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ปหานาย เพื่อ
ละมิจฉาทิฏฐิ ท่านกล่าวถึงมรรคหนึ่ง ๆ ด้วยสามารถเป็นข้าศึกโดยตรงแห่ง
องค์มรรคนั้น ๆ. บทว่า มคฺโค เจว เหตุ จ เป็นมรรคและเป็นเหตุ คือชื่อว่า
มรรค ด้วยอรรถว่าเป็นทางเฉพาะเพื่อทำกิจนั้น ๆ ชื่อว่า เหตุ ด้วยอรรถว่า
เป็นผู้ทำให้ถึง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงมรรคมีอรรถว่า เป็นทางเฉพาะ
และมีอรรถว่าเป็นผู้นำให้ถึงมรรค มรรคเป็นทางเฉพาะในบทมีอาทิว่า นี้เป็น
มรรค นี้เป็นปฏิปทา เหตุเป็นผู้นำให้ถึงในประโยคมีอาทิว่า มรรคมีอรรถว่า
นำออกไป มีอรรถว่าเป็นเหตุแห่งมรรค ด้วยบททั้งสองนี้เป็นอันท่านทำการ
แก้คำถามว่า มคฺโคติ เกนฏฺเน มคฺโค ดังนี้.
บทว่า สหชาตาน ธมฺมาน อุปตฺถมฺภนาย เพื่ออุปถัมภ์สหชาต-
ธรรม คือ เพื่อความเป็นการอุปถัมภ์อรูปธรรมอันเกิดพร้อมกับตน โดย
ความเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยและนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บทว่า
กิเลสาน ปริยาทาย เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย คือ เพื่อให้กิเลสที่เหลือ
ดังกล่าวแล้ว อันมรรคนั้น ๆ ทำลายให้สิ้นไป. ในบทนี้ว่า ปฏิเวธาทิวิโสธ-
นาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ มีความดังนี้ เพราะศีลและ
ทิฏฐิเป็นเบื้องต้น แห่งสัจจปฏิเวธโดยพระบาลีว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศล-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
ธรรมทั้งหลาย ศีลบริสุทธิ์ด้วยดีและทิฏฐิอันตรง ศีลและทิฏฐินั้นย่อมบริบูรณ์
ด้วยมรรคในเบื้องต้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าว ปฏิเวธาทิวิโสธนาย ดังนี้.
บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานาย เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต คือ เพื่อความ
ตั้งมั่นในกิจของตนแห่งจิตอันสัมปยุตกัน. บทว่า จิตฺตสฺส โวทานาย
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต คือ เพื่อบริสุทธิ์แห่งจิต. บทว่า วิเสสาธิคมาย
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ คือ เพื่อได้เฉพาะคุณวิเศษกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า
อุตฺตริปฏิเวธาย เพื่อแทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือ เพื่อแทงตลอดธรรมอัน
ยิ่งกว่าธรรมเป็นโลกิยะ. บทว่า สจฺจาภิสมยาย เพื่อตรัสรู้สัจจะ คือ เพื่อ
ตรัสรู้ธรรมเอกแห่งอริยสัจ ๔ คือ เพื่อแทงตลอดธรรมเอกด้วยสามารถยังกิจ
ให้สำเร็จ. บทว่า นิโรเธปติฏาปนาย เพื่อให้จิตตั้งอยู่ในนิโรธ คือ เพื่อ
ให้จิตหรือบุคคลตั้งอยู่ในนิพพาน. ท่านทำองค์แห่งมรรค ๘ เป็นอันเดียวกัน
แล้ว กล่าวถึงการละกิเลสอันมรรคนั้น ๆ ทำลายในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
เป็นต้น เหตุในเพราะกล่าวอย่างนี้ท่านกล่าวแล้วในหนหลัง เพราะการชำระ
ในเบื้องต้นด้วยดีและความผ่องแผ้วแห่งจิตด้วยดี ย่อมมีได้ด้วยมรรคสูง ๆ
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบททั้งหลายแม้เหล่านั้น.
ด้วยบทมีอาทิว่า ทสฺสนมคฺโค เป็นมรรคแห่งการเห็นท่านกล่าวถึง
อรรถแห่งมรรคด้วยสามารถแห่งลักษณะของธรรมนั้นจนถึงที่สุด. บทแม้
ทั้งหมดเหล่านั้น มีความดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอภิญไญยนิเทศ (ชี้แจงถึง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง). ในบทนี้ ท่านชี้แจงถึงมรรคอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ
ตามที่เกิดอย่างนี้. ท่านชี้แจงถึงมรรคด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ. อนึ่ง เพราะมรรค
นั้นเป็นมรรคโดยตรง ท่านจึงไม่กล่าวว่า มคฺโค. บทมีอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเน
อินฺทฺริยา ชื่อว่า อินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
อรรถของอินทรีย์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า สจฺจานิ นี้ได้แก่สัจจญาณ. ธรรม
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถว่า เป็นทางปฏิบัติเพื่อนิพพาน.
อนึ่ง นิพพานท่านกล่าวไว้ในที่สุด พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามรรคเพราะ
สัตบุรุษผู้ถูกสังสารทุกข์ครอบงำ ผู้ต้องการพ้นจากทุกข์แสวงหา.
จบอรรถกถามรรคกถา
มหาวรรค มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยความผ่องใส ๓ อย่าง
[๕๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่
เฉพาะหน้า เป็นพรหมจรรย์อันผ่องใสควรดื่ม ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่ง
มีอยู่เฉพาะหน้ามี ๓ ประการ คือ ความผ่องใสแห่งเทศนา ๑ ความผ่องใส
แห่งการรับ ? ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์ ๑.
ความผ่องใสแห่งเทศนาเป็นไฉน การบอก การแสดง การบัญญัติ
การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่าย
ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความผ่องใสแห่งเทศนา.
ความผ่องใสแห่งการรับเป็นไฉน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความผ่องใสแห่ง
การรับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
ความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เป็นความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์.
[๕๓๑] สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความไม่มี
ศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส
แห่งความน้อมใจเชื่อของสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงเป็นพรหม-
จรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้
ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่ม
ความผ่องใสแห่งความประคองไว้ของวิริยินทรีย์ เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความ
ตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว
ดื่มความผ่องใสแห่งความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สตินทรีย์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ
ผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น
อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการ
เห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหตุนั้น ปัญญินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ
ผ่องใสควรดื่ม.
สัทธาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหว ในความไม่มี
ศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
ผ่องใสควรดื่ม วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความ
เกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากเสีย
แล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้านของวิริยพละ
เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สติพละเป็น
ความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความประมาท ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่น
ไหวในความประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงเป็นพรหมจรรย์
มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธิพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวใน
อุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความ
ผ่องใสเเห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะของสมาธิพละ เพราะเหตุนั้น
สมาธิพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความผ่องใส
แห่งความไม่หวั่นไหวในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็น
กากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในอวิชชาของปัญญาพละ
เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความตั้งมั่นของ
สติสัมโพชฌงค์เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส
ควรดื่ม ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น อวิชชา
เป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น
ของธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์จึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการ
ประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
เสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ของวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะ
เหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม ปีติสัม-
โพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคลทิ้ง
ความเร่าร้อนอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่านไป ของ
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความ
ผ่องใสควรดื่ม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความสงบ ความชั่ว
หยาบเป็นกาก บุคคลทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใส
แห่งความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
จึงเป็นพรหมจรรย์ มีความผ่องใสควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใส
แห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากเสียแล้ว
ดื่มความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาหาทางอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการ
พิจารณาหาทางของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาทิฏฐิอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการเห็นของสัมมาทิฏฐิ
เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสัง-
กัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉา-
สังกัปปะอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความดำริของสัมมาสังกัปปะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
วาจาเป็นความผ่องใสแห่งการกำหนดมิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวาจา
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุ
นั้น สัมมาวาจาจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็น
ความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉากัมมันตะอัน
เป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะเหตุ
นั้น สัมมากัมมันตะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาอาชีวะเป็น
ความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาอาชีวะอัน
เป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ เพราะเหตุ
นั้น สัมมาอาชีวะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาวายามะเป็น
ความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉาวายามะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะ
อันเป็นกากเสียแล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการประคองไว้ของสัมมาวายามะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาวายามะจึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสติเป็น
ความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติอันเป็นกากเสีย
แล้ว ดื่มความผ่องใสแห่งการตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติจึงเป็น
พรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากเสียแล้ว ดื่ม
ความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะเหตุนั้น สัมมาสมาธิ
จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
[๕๓๒] ความผ่องใสมีอยู่ ธรรมที่ควรดื่มมีอยู่ กากมีอยู่ สัทธินทรีย์
เป็นความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัทธินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยินทรีย์เป็น
ความผ่องใสแห่งการประคองไว้ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
วิมุตติรส ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สตินทรีย์เป็นความผ่องใส
แห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ใน
สตินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสมาธินทรีย์นั้น
เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในปัญญินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
สัทธาพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัทธา
พละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวใน
ความเกียจคร้าน ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในวิริยินทรีย์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สติพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่
หวั่นไหวในความประมาท ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสติพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิพละเป็นความผ่องใสแห่ง
ความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในสมาธิพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่งความ
ไม่หวั่นไหวในอวิชชา อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในปัญญาพละนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น ความประมาทเป็น
กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสติสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการเลือกเฟ้น อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ความเกียจคร้านเป็นกาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปีติ-
สัมโพชฌงค์เป็น ความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในปีติสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม ปัสสัทธิสัมโพช-
ฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความสงบ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง การไม่พิจารณาหาทางเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม.
[๕๓๓] สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใสแห่งการเห็น มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมา-
สังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาสังกัปปะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาวาจาเป็น
ความผ่องใสแห่งความกำหนด มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
ในสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่ง
สมุฏฐาน อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมากัมมันตะนั้น เป็นธรรมที่
ควรดื่ม สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว มิจฉาอาชีวะเป็น
กาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
สัมมาวายามะเป็นความผ่องใสแห่งการประคองไว้ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาวายามะนั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม
สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งการตั้งมั่น มิจฉาสตินั้นเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส ในสัมมาสตินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาสมาธิเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
ความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ในสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมที่ควรดื่ม สัมมาทิฏฐิเป็นความผ่องใส
แห่งการเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นความผ่องใสแห่งความดำริ สัมมาวาจาเป็น
ความผ่องใสเเห่งการกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นความผ่องใสแห่งสมุฏฐาน
สัมมาอาชีวะเป็นความผ่องใสแห่งความผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นความผ่องใส
แห่งความประคองไว้ สัมมาสติเป็นความผ่องใสแห่งความตั้งมั่น สัมมาสมาธิ
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่ง
ความตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความแผ่ซ่าน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็น
ความผ่องใสแห่งความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่
ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นความผ่องใสแห่งการพิจารณาหาทาง สัทธา-
พละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
วิริยพละเป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละ
เป็นความผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในความประมาท สมาธิพละเป็นความ
ผ่องใสแห่งความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นความผ่องใสแห่ง
ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความน้อมใจ
เชื่อ วิริยินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นความ
ผ่องใสแห่งการตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์เป็นความผ่องใสแห่งการเห็น อินทรีย์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ พละเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็น
ความผ่องใสเพราะอรรถว่านำออก มรรคเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็น
เหตุ สติปัฏฐานเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
ผ่องใสเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าให้
สำเร็จ สมถะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถะและวิปัสสนาเป็นความผ่องใสเพราะ
อรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิ
เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะ
อรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าหลุดพ้น วิชชาเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าปล่อยวาง
ขยญาณเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็น
ความผ่องใสเพราะอรรถว่าสงบระงับ ฉันทะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่า
เป็นมูล มนสิการเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความ
ผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม เวทนาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็น
ที่รวม สมาธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นความผ่องใส
เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่า
ธรรมนั้น วิมุตติเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นสาระ นิพพานอันหยั่งลง
สู่อมตะเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ฉะนี้แล.
จบมัณฑเปยยกถา
จบภาณวาร
จบมหาวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
อรรถกถามัณฑเปยยกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพิจารณาแห่งมัณฑเปยย-
กถา (ของใสที่ควรดื่มเทียบด้วยคุณธรรม) อันเป็นเบื้องต้นส่วนหนึ่งของ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่
มรรคนั้นเป็นธรรม ผ่องใสควรดื่ม ตรัสไว้แล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มณฺฑเปยฺย เป็นพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม
ชื่อว่า มณฺโฑ ด้วยอรรถว่าผ่องใสเหมือนอย่างเนยใสที่สมบูรณ์ สะอาด ใส
ท่านเรียกว่า สัปปิมัณฑะ ความผ่องใสของเนยใส ฉะนั้น. ชื่อว่า เปยฺย
ด้วยอรรถว่า ควรดื่ม. ชนทั้งหลายดื่มของควรดื่มใดแล้วลงไปในระหว่างถนน
หมดความรู้ แม้ผ้านุ่งเป็นต้นของตนก็ไม่อยู่กับตัว ของควรดื่มนั้นแม้ใสก็
ไม่ควรดื่ม. ส่วนศาสนพรหมจรรย์ คือ ไตรสิกขานี้ของเรา ชื่อว่าใส เพราะ
สมบูรณ์ เพราะไม่มีมลทิน เพราะผ่องใส และชื่อว่าควรดื่ม เพราะนำ
ประโยชน์สุขมาให้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่าเป็น
พรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม. ชื่อว่า มณฺฑเปยฺย เพราะมีความผ่องใสควรดื่ม.
นั้นคืออะไร. คือศาสนพรหมจรรย์. เพราะเหตุไรไตรสิกขาจึงชื่อว่าพรหมจรรย์.
นิพพานชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่าสูงสุด ไตรสิกขาเป็นความประพฤติ
เพื่อประโยชน์แก่ความสูงสุดเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่นิพพาน เพราะเหตุ
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นพรหมจรรย์ ศาสนพรหมจรรย์ก็คือ
ไตรสิกขานั้นนั่นเอง.
บทว่า สตฺถา สมฺมุขีภูโต พระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้านี้ เป็นคำ
แสดงถึงเหตุในบทนี้. ก็เพราะพระศาสดามีอยู่เฉพาะหน้า ฉะนั้นท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
จงประกอบความเพียร ดื่มพรหมจรรย์อันผ่องใสนี้เถิด เพราะเมื่อดื่มยาใส
ข้างนอกไม่ได้อยู่ต่อหน้าหมอ ย่อมมีความสงสัยว่า เราไม่รู้ขนาดหรือการ
เอาขึ้นเอาลง แต่อยู่ต่อหน้าหมอก็หมดสงสัยด้วยคิดว่า หมอจักรู้จักดื่ม
พระศาสดาผู้เป็นพระธรรมสามีของพวกเรามีอยู่เฉพาะหน้าอย่างนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้นจึงชักชวนในการดื่มพรหมจรรย์อันผ่องใสว่า พวกท่านจงทำ
ความเพียรแล้วดื่มเถิด. ชื่อว่า สตฺถา เพราะตามสั่งสอนตามสมควร ซึ่งทิฏฐิ
ธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบอรรถในบทนี้ แม้โดยนัยแห่งนิเทศมีอาทิว่า สตฺถา ภควา สตฺถวาโห
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงนำหมู่ ชื่อว่า สัตถวาหะ ชื่อว่า สมฺมุขีภูโต
เพราะมีหน้าปรากฏอยู่.
พึงทราบวินิจฉัย ในมัณฑเปยยนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่าติธตฺตมณฺโฑ
ความผ่องใสมีอยู่ ๓ ประการ ชื่อว่า ติธตฺต ความผ่องใสในพระศาสดาซึ่ง
มีอยู่เฉพาะหน้ามี ๓ ประการ ชื่อว่า ติธตฺตมณฺโฑ ความว่า ความผ่องใสมี
๓ อย่าง. บทว่า สตฺถริ สมฺมุขีภูเต ในพระศาสดาซึ่งมีอยู่เฉพาะหน้านี้
ท่านกล่าวเพื่อแสดงความผ่องใส ๓ ประการอันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง แม้
เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพาน ความผ่องใส ๓ ประการ ยังเป็นไปอยู่โดย
เอกเทศ. อนึ่ง ในนิเทศแห่งบทนั้น พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวว่า สตฺถริ
สมฺมุขีภูเต แล้วกล่าวว่า กตโม เทสนามณฺโฑ ความผ่องใสแห่งเทศนา
เป็นไฉน. บทว่า เทสนามณฺโฑ ความผ่องใสแห่งเทศนา คือ ธรรมเทศนา
นั่นแหละเป็นความผ่องใส. บทว่า ปฏิคฺคหมณฺโฑ ความผ่องใสแห่งการรับ
คือผู้รับเทศนานั่นแหละเป็นผู้ผ่องใส. บทว่าพฺรหฺมจริยมณฺโฑ ความผ่องใส
แห่งพรหมจรรย์ คือ มรรคพรหมจรรย์นั่นแหละเป็นความผ่องใส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
บทว่า อาจิกฺขนา การบอก คือ การกล่าวโดยชื่อว่าชื่อทั้งหลายเหล่านี้
แห่งสัจจะเป็นต้นควรแสดง. บทว่า เทสนา การแสดงคือการชี้แจง. บทว่า
ปญฺปนา การบัญญัติ คือ การให้รู้ หรือการตั้งไว้ในมุข คือ ญาณ จริงอยู่
เมื่อตั้งอาสนะไว้ท่านกล่าวว่าปูอาสนะ. บทว่า ปฏฺปนา การแต่งตั้ง คือ
การบัญญัติ ความว่า ความเป็นไป หรือการตั้งไว้ในมุขคือญาณ. บทว่า
วิวรณา การเปิดเผย คือ ทำการเปิดเผย ความว่า ชี้แจงเปิดเผย. บทว่า
วิภชนา การจำแนก คือ ทำการจำแนก ความว่า ชี้แจงโดยการจำแนก.
บทว่า อุตฺตานีกมฺม การทำให้ง่าย คือ การทำความปรากฏ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาจิกฺขนา เป็นบทแสดงเหตุของบท ๖ บท มี
เทศนาเป็นต้น. ท่านกล่าว ๖ บทมีเทศนาเป็นต้น เพื่อขยายความแห่งบทว่า
อาจิกฺขนา. ใน ๖ บทนั้น บทว่า เทสนา คือการแสดงโดยยกหัวข้อขึ้นก่อน
โดยสังเขป ด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล เพราะอุคฆฏิตัญญูบุคคล
ย่อมรู้แจ้งแทงตลอดบทที่ท่านกล่าวโดยสังเขป และกล่าวขึ้นก่อน. บทว่า
ปญฺปนา คือ การบัญญัติด้วยการชี้แจงบทที่ท่านย่อไว้ก่อน โดยพิสดาร
ด้วยความพอใจของความคิดและด้วยความเฉียบแหลมของปัญญา แห่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งวิปัญจิตัญญูบุคคล. บทว่า ปฏฺปนา คือการ
บัญญัติด้วยการทำให้พิสดารยิ่งขึ้น ด้วยการชี้แจงเฉพาะนิเทศที่ท่านชี้แจง
ธรรมเหล่านั้นไว้แล้ว. บทว่า วิวรณา คือการเปิดเผยบทแม้ที่ท่านชี้แจง
ไว้แล้วด้วยการพูดบ่อย ๆ. บทว่า วิภชนา คือการจำแนกด้วยการทำการ
จำแนกแม้บทที่ท่านกล่าวไว้แล้วบ่อย ๆ. บทว่า อุตฺตานีกมฺม คือทำให้ง่าย
ด้วยกล่าวทำบทที่ท่านเปิดเผยแล้วโดยพิสดาร และด้วยกล่าวชี้แจงบทที่ท่าน
จำแนกไว้แล้ว. เทศนานี้ย่อมมีเพื่อการแทงตลอดแม้ของไนยบุคคลทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
บทว่า เย วา ปนญฺเปิ เกจิ หรือท่านผู้รู้แจ้งพวกใดพวกหนึ่ง
ท่านหมายถึงวินิปาติกะ (พวกตกอยู่ในอบาย) มีมารดาของท่านปิยังกระเป็นต้น.
บทว่า วิญฺาตาโร ผู้รู้แจ้ง คือผู้รู้แจ้งโลกุตรธรรมด้วยการแทงตลอด.
จริงอยู่ ท่านผู้รู้แจ้งเหล่านี้มีภิกษุเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิคฺคหา ผู้รับเพราะรับ
พระธรรมเทศนาด้วยสามารถการแทงตลอด. บทว่า อยเมว เป็นอาทิมีความ
ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้ว นิเทศแห่งปฐมฌาน. อริยมรรคท่านกล่าวว่าเป็นพรหม-
จรรย์ เพราะประพฤติเพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันประเสริฐ เพราะไหลไปโดย
นิพพาน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงประกอบอินทรีย์ พละโพชฌงค์
และองค์แห่งมรรค อันมีอยู่ในขณะแห่งมรรค แห่งความผ่องใสในการน้อมใจ
เชื่อนั้นด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขมณฺโฑ ความผ่องใสแห่งการน้อมใจเชื่อ
ในวิธีแห่งพรหมจรรย์มีความผ่องใสควรดื่ม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อธิโมกฺขมณฺโฑ คือความผ่องใสอันได้แก่
การน้อมใจเชื่อ. บทว่า กสโฏ เป็นกาก คือ ขุ่นปราศจากความเลื่อมใส.
บทว่า ฉฑฺเฑตฺวา ทิ้งแล้ว คือ ละด้วยตัดขาด. บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส
อธิโมกฺขมณฺฑ ปิวตีติ มณฺฑเปยฺย ดื่มความผ่องใสแห่งความน้อมใจเชื่อ
ของสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงเป็นพรหมจรรย์มีความผ่องใส
ควรดื่ม อธิบายว่า แม้เมื่อความที่ความผ่องใสแห่งความน้อมใจเชื่อ ไม่เป็น
อื่นจากสัทธินทรีย์ ท่านก็กล่าวทำเป็นอย่างอื่นด้วยสามารถแห่งโวหาร. ลูกหินบด
แม้เมื่อลูกหินบดไม่เป็นเป็นอย่างอื่นมีอยู่ท่านก็เรียกว่า สรีระแห่งลูกหินบด
ฉันใด อนึ่ง ในบาลีท่านกล่าวภาวะแม้ไม่เป็นอย่างอื่นจากธรรมดาในบทมีอาทิ
ว่า ผุสิตตฺต ความเป็นสิ่งสัมผัสได้ ดุจเป็นอย่างอื่นฉันใด อนึ่ง ในอรรถกถา
ท่านกล่าวถึงลักษณะแม้ไม่เป็นอย่างอื่นจากธรรมดาในบทมีอาทิว่า ผุสนลกฺ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ขโณ ผสฺโส ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง ดุจเป็นอย่างอื่นฉันใด พึงทราบข้อ
อุปมานี้ฉันนั้น.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทที่ยังไม่เคยกล่าวดังต่อไปนี้. บทว่า
ปริฬาโห ความเร่าร้อน คือความเดือดร้อนเพราะกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ปีติซึ่งมีลักษณะอิ่มเอิบ. บทว่า ทุฏฺฐุลฺล ความชั่วหยาบ คือ ความหยาบ
ความไม่สงบด้วยอำนาจกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบ. บทว่า อปฺปฏิ-
สงฺขา ความไม่พิจารณา คือ การนำความไม่สงบมาด้วยอำนาจกิเลสอันเป็น
ปฏิปักษ์ต่อการพิจารณา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงชี้แจงถึงวิธีแห่งพรหมจรรย์
มีความผ่องใสควรดื่ม โดยปริยายอื่นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อตฺถิ มณฺโฑ
ความผ่องใสมีอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ คือในสัทธินทรีย์นั้น. พึงทราบวินิจฉัย
ในบทมีอาทิว่า อตฺถรโส อรรถรส คือ ความน้อมไปแห่งสัทธินทรีย์เป็น
อรรถ สัทธินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์นั่นแหละชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจาก
กิเลสต่าง ๆ ความถึงพร้อมแห่งอรรถนั้น ชื่อว่า อตฺถรโส อรรถรส.
ความถึงพร้อมแห่งธรรมนั้น ชื่อว่า ธมฺมรโส ธรรมรส. ความถึงพร้อม
แห่งวิมุตตินั้นชื่อว่า วิมุตติรส.
อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีในการได้อรรถ ชื่อว่า อรรถรส. ความยินดี
ในการได้ธรรม ชื่อว่าธรรมรส. ความยินดีในการได้วิมุตติ ชื่อว่า วิมุตติรส.
บทว่า รติ ความยินดี คือ สัมปยุตด้วยรสนั้น หรือปีติมีรสนั้นเป็นอารมณ์
พึงทราบอรรถแม้ในบทที่เหลือโดยนัยนี้.
ในปริยายนี้ท่านกล่าวอรรถว่า พรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่ม ชื่อว่า
มณฺฑเปยฺย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่มด้วยอำนาจ
แห่งอินทรีย์ พละโพชฌงค์และองค์แห่งมรรคตามลำดับแห่งโพธิปักขิยธรรมมี
อินทรีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์อันตั้ง
อยู่ในที่สุดอีก จึงทรงการทำมรรคให้เป็นธรรมถึงก่อน เพราะมรรคเป็น
ประธาน แล้วจึงทรงแสดงองค์แห่งมรรค โพชฌงค์ พละและอินทรีย์.
บทมีอาทิว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน อินฺทฺริยา มณฺโฑ อินทรีย์เป็น
ความผ่องใส เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ คือ อินทรีย์เป็นโลกิยะและโลกุตระ
เป็นความผ่องใส ตามที่ประกอบไว้. พึงทราบบทนั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลัง.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า ตถฏฺเน สจฺจ มณฺโฑ สัจจะเป็นความ
ผ่องใส เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะแท้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า สัจจญาณเป็น
สัจจะ เพราะไม่มีทุกขสมุทัย เป็นความผ่องใส ดุจในมหาหัตถิปทสูตร.
จบอรรถกถามัณฑเปยยกถา
และ
จบอรรถกถามหาวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา
๑๐. มัณฑเปยยกถา และอรรถกถา.
นิกายอันประเสริฐนี้ เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่หนึ่ง ไม่มีวรรคอื่น
เสมอท่านตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
ยุคนัทธวรรค
ยุคนัทธกถา
ว่าด้วยมรรค ๔
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อน-
อาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔
เป็นไฉน.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอกาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรค
ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุ
นั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อม
สิ้นไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใด
มรรคหนึ่ง.
[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนา
มีสมถะเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
เดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกิน
กัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร.
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
อาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้.
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร.
ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่า
เสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่
ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญ
ธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้.
คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร.
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ...ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้.
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร.
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก...ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้.
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
หยาบ ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ย่อม
สิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วน
ละเอียด ๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ
ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค.
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้น
ไปด้วยอรหัตมรรค ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้.
[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่
พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง
อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยสามารถความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็น
ทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามี
ภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน...ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด... มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้.
คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น ความว่า ย่อมเสพอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งมรรคที่
ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้.
คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้.
คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร.
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้.
คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรมนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
อย่างไร...
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดย
ความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรค
ย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
เป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการ
ดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญ-
สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็น
ที่เสพ.
คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมี
การปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์
เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมี
ภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่า
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้.
[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย
ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมสงบ ๑ ด้วยความ
เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ
เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง-
เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์.
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ
ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะ
และวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้.
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิ-
โรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความอย่างไร.
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ เเละขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบ
ด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร.
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบ
ด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร.
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการฉะนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณา
เห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอัน
เดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน ด้วยความหลีกไป.
[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา
เป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมที่ละเอียด.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการฉะนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร.
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นความหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่า
เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกิน
กันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น.
[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะเเละวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม.
ภิกษุเจริญสมถะเเละวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิต อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีนิมิตทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิต.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธ
เป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง.
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ?
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วง
เกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ
คำว่ามรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา
เป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้.
[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
อย่างไร ?
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตาม
ความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอัน
เป็นธรรมถกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้นจิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่. มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์
(ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐาน (ความตั้งมั่น)
อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า
ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
อุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจนึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรค
ย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา
นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะ
นึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้น
กั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า
มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์
ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้.
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึง
ความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
อนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น
จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่
ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ? ฯลฯ มรรคย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม
ละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูก
อุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้.
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอกาส ญาณ
ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ
ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุ
นั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อม
เป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอกาสเป็นต้นอันเป็นธรรม
ฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง
เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง
เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้า
หมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนา ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้
ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตฟุ้งซ่านถูกโอภาสเป็น
ต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล.
จบยุคนัทธกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
ยุคนัทธวรรค
อรรถกถายุคนัทธกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยกล่าวแห่งยุคนัทธกถาอัน
มีสูตรเป็นบทนำ อันพระอานนทเถระแสดงถึงคุณของยุคนัทธธรรม (ธรรมที่
เทียมคู่) แห่งอริยมรรคอันเป็นคุณธรรมผ่องใสควรดื่มกล่าวแล้ว.
ก็เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เชื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชายังทรงพระชนม์ ได้ปรินิพพานในปีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชาเสด็จปรินิพพาน. ฉะนั้นพึงทราบว่าเมื่อพระธรรมราชายังทรง
พระชนม์อยู่นั่นเอง พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรสดับสูตรนี้ซึ่งพระอานนท์ผู้เป็น
ธรรมภัณฑาคาริก (คลังพระธรรม) แสดงไว้ เฉพาะหน้าของพระอานนท์นั้น
แล้วจึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำพูดน่ารัก เป็นคำพูด
แสดงความเคารพ เป็นคำพูดแสดงความมีคารวะ และความยำเกรง อธิบายว่า
ผู้มีอายุ. บทว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น. เพราะพระเถระนั้น
เมื่อเกิดได้ทำความพอใจ ความยินดีอย่างมากในตระกูล ฉะนั้น พระเถระนั้น
จึงได้ชื่อว่า อานนท์. บทว่า โกสมฺพิย ใกล้นครมีชื่ออย่างนั้น. เพราะ
นครนั้น มีต้นสะคร้อขึ้นหนาแน่นในที่นั้น ๆ มีสวนและสระโบกขรณีเป็นต้น
ฉะนั้น นครนั้นจึงชื่อว่า โกสัมพี อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะฤษีกุสุมพะ
สร้างไว้ ไม่ไกลจากอาศรม. บทว่า โฆสิตาราเม ณ โฆสิตาราม คือ ณ
อารามที่โฆสิตเศรษฐีสร้างไว้. ในกรุงโกสัมพี ได้มีเศรษฐี ๓ คน คือ
โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี. เศรษฐีทั้ง ๓ นั้น ได้ฟังว่า
พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้วในโลก จึงให้เตรียมอุปกรณ์ในการให้ทานด้วยเกวียน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
๕๐๐ เล่มไปกรุงสาวัตถี จัดที่พักใกล้พระเชตวันแล้วไปเฝ้าพระศาสดา ถวาย
บังคม นั่งทำปฏิสันถาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ตั้งอยู่ในโสดา-
ปัตติผล นิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขประมาณกึ่งเดือน แล้วหมอบลง ณ บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสด็จไปยังชนบทของตน เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายย่อมยินดียิ่งใน
สุญญาคาร ครั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ปฏิญญาแก่พวกเราแล้ว
จึงยินดีอย่างยิ่ง ถวายบังคมพระทศพล ออกไปสร้างวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่โยชน์หนึ่ง ๆ ในระหว่างทางถึงกรุงโกสัมพีโดยลำดับ
ทำการบริจาคทรัพย์เป็นอันมากในอารามของตน ๆ แล้วสร้างวิหารทั้งหลาย
ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในเศรษฐีเหล่านั้น โฆสิตเศรษฐีสร้างอาราม
ชื่อว่า โฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีสร้างอารามชื่อว่า กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐี
สร้างในสวนอัมพวัน ชื่อว่า ปาวาริกัมพวัน. ท่านกล่าวว่า โฆสิตเสฏินา
การิเต อาราเม ในอารามอันโฆสิตเศรษฐีสร้างหมายถึงโฆสิตารามนั้น.
ในบทว่า อาวุโส ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุผู้อาวุโสทั้งหลาย นี้ พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสเรียกสาวกทั้งหลาย ย่อมตรัสเรียกว่า ภิกฺขโว.
ส่วนสาวกทั้งหลายคิดว่า เราจงอย่าเป็นเช่นกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย จึง
กล่าวว่า อาวุโส ก่อนแล้วจึงกล่าวว่า ภิกฺขโว ภายหลัง. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้า
ตรัสเรียก ภิกษุสงฆ์ย่อมรับว่า ภทนฺเต เมื่อสาวกเรียก ภิกษุสงฆ์รับว่า
อาวุโส.
บทว่า โย หิ โกจิ รูปใดรูปหนึ่ง เป็นคำไม่แน่นอน. ด้วยบทนี้
เป็นการหมายเอาภิกษุทั้งหมดเช่นนั้น. บทว่า มม สนฺติเก ในสำนักของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
คือในที่ใกล้เรา. บทว่า อรหตฺตปฺปตฺต คือบรรลุพระอรหัตด้วยตนเอง.
รูปสำเร็จเป็นนปุงสกลิงค์ หรือตัดบทว่า อรหตฺต ปตฺต บรรลุซึ่งพระอรหัต
ความว่า พระอรหัตอันตนบรรลุแล้ว หรือปาฐะที่เหลือว่าตนบรรลุพระอรหัต
แล้ว.
บทว่า จตูหิ มคฺเคหิ ด้วยมรรค ๔ คือด้วยปฏิปทามรรค ๔ ซึ่ง
ท่านกล่าวไว้ในตอนบน มิใช่ด้วยอริยมรรค. เพราะท่านกล่าวไว้แผนกหนึ่ง
ด้วยบทว่า จตูหิ มคฺเคหิ ด้วยมรรค ๔ พึงทราบว่าปฏิปทามรรคมี ๔
อย่างนี้ คือ มรรคมีธรรมุทธัจจะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรคต้น ของพระอรหันต์
รูปใดรูป ๑ มรรคมีสมถะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรค ๑ มรรคมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑ มรรคมียุคนัทธธรรม (ธรรมที่เทียมคู่) เป็น
เบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑ บทว่า เอเตส วา อญฺตเรน หรือด้วยมรรค
เหล่านั้น มรรคใดมรรคหนึ่ง คือ หรือด้วยมรรคหนึ่งบรรดาปฏิปทามรรค ๔
เหล่านั้น ความว่า พระอานนท์เถระพยากรณ์การบรรลุพระอรหัต ด้วยปฏิปทา-
มรรค. จริงอยู่ เมื่อพระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสกบรรลุโสดาปัตติมรรค อันมี-
ธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น แล้วบรรลุมรรค ๓ ที่เหลือด้วยวิปัสสนาล้วน การ
บรรลุพระอรหัตย่อมเป็นมรรค มีธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น การบรรลุ
พระอรหัตของพระอรหันต์ผู้มีมรรค ๔ อันตนบรรลุแล้วก็ดี ยังไม่บรรลุแล้ว
ก็ดี ซึ่งธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ บรรลุแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิปทามรรค ๓
มีสมถะเป็นเบื้องต้น เป็นต้นมรรคหนึ่งๆ ย่อมเป็นมรรคมีมรรคหนึ่ง ๆ นอกนี้
เป็นเบื้องต้น ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงกล่าวว่า เอเตส วา อญฺตเรน.
บทว่า สมถปุพฺพงฺคม วิปสฺสน ภาเวติ ย่อมเจริญวิปัสสนา
อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือเจริญวิปัสสนาทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
ก่อน ความว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง. บทว่า
มคฺโค สญฺชายติ มรรคย่อมเกิด คือโลกุตรมรรคย่อมเกิดก่อน. ในบท
มีอาทิว่า โส ต มคฺค ภิกษุนั้นย่อมเสพมรรคนั้น ชื่อว่าการเสพเป็นต้น
ของมรรค อันมีขณะจิตเดียวย่อมไม่มี ภิกษุยังทุติยมรรคเป็นต้นให้เกิด
ท่านกล่าวว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น. บทว่า สญฺโชนานิ
ปหียนฺติ อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป คือ
ย่อมละสังโยชน์ทั้งปวงได้ตามลำดับตลอดถึงอรหัตมรรค อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อนึ่ง บทว่า อนุสยา พฺยนฺตีโหนฺติ ความว่า อนุสัยปราศจากไป
โดยไม่เกิดขึ้นอีก. บทว่า ปุน จปร อีกประการหนึ่ง คือยังมีเหตุอื่นอีก.
บทว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคม สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้น คือ ภิกษุเจริญสมถะ ทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
บทว่า ยุคนทฺธ ภาเวติ เจริญคู่กันไป คือเจริญทำให้คู่กันไป.
ในบทนี้ไม่อาจเข้าสมาบัติด้วยจิตนั้น แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตนั้น
ได้ แก่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลายได้เพียง
นั้น. พิจารณาถึงสังขารได้เพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติได้เพียงนั้นอย่างไร. ภิกษุ
เข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานนั้นแล้วย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วย่อมเข้าทุติยฌาน ครั้นออกจากทุติยฌานนั้น
แล้ว ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อม
เข้าตติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุชื่อว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาอันเป็นธรรมคู่กัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
ในบทนี้ว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานส มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็น
ธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ คือ อุทธัจจะคือความฟุ้งซ่าน ด้วยบังเกิดจิตอัน
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ด้วยสามารถแห่งหมุนเคว้งไปในธรรม ๑๐ ประการ มี
โอภาสเป็นต้น อันเป็นที่รู้กันว่าเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เพราะผู้เจริญ
วิปัสสนามีปัญญาอ่อน ชื่อว่า ธรรมุทธัจจะ มีใจอันธรรมุทธัจจะนั้นกั้นไว้
คือถือเอาผิดรูปให้ถึงความพิโรธ ชื่อว่า มีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูก
อุทธัจจะกั้นไว้ หรือมีใจถูกธรรมุทธัจจะนั้นอันเป็นเหตุกั้นไว้ ด้วยความเกิด
แห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิอันมีธรรมุทธัจจะนั้นอันเป็นเหตุ. ปาฐะว่า ธมฺมุทฺ-
ธจฺจวิคฺคหิตมานส. ด้วยบทนี้ว่า โหติ โส อาวุโส สมโย ดูก่อน
อาวุโส สมัยนั้น พระอานนทเถระห้ามธรรมุทธัจจะนั้น ด้วยกำหนดมรรคและ
มิใช่มรรค แล้วแสดงถึงปฏิบัติวิถีแห่งวิปัสสนาอีก.
บทว่า ย ต จิตฺต จิตนั้นใด คือในสมัยใด จิตนั้นก้าวลงสู่วิถีแห่ง
วิปัสสนาเป็นไปแล้ว. บทว่า อชฺฌตฺตเมว สนฺติฏฺติ จิตย่อมตั้งมั่นอยู่
ภายใน คือจิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้ว ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ กล่าว
คือภายในแห่งอารมณ์ในสมัยนั้น. บทว่า สนฺนิสีทติ จิตสงบ คือสงบโดย
ชอบด้วยความเป็นไปในอารมณ์นั้นนั่นเอง. บทว่า เอโกทิ โหติ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สมาธิยติ ตั้งมั่นอยู่ คือ
จิตตั้งมั่นโดยชอบ ตั้งมั่นด้วยดี.
นี้อรรถกถาพระสูตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
อรรถกถาสุตตันตนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศกถาแห่งสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ตตฺถ
ธมฺเม ชาเต ธรรมที่เกิดในสมาธินั้น คือจิตเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นสมาธินั้น.
พระอานนทเถระแสดงถึงประเภทแห่งวิปัสสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต
อนุปสฺสนฏฺเน ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิ มคฺโค ได้แก่มรรคคือสัมมาทิฏฐิ. ในองค์แห่งมรรค ๘
แม้องค์หนึ่ง ๆ ท่านก็เรียกมรรค. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ คือย่อมเสพ
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค. บทว่า ภาเวติ ย่อมเจริญ คือย่อมเจริญ
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค. บทว่า พหุลีกโรติ ย่อมทำให้มาก คือ
ย่อมทำให้มาก ด้วยให้เกิดอนาคามิมรรคและอรหัตมรรค แม้เมื่อความไม่
ต่างกันแห่งหน้าที่ของมรรค ๓ เหล่านี้มีอยู่ เพราะอาวัชชนจิตเป็นต้น เป็น
จิตทั่วไป ท่านจึงแก้เหมือนกัน.
ในไปยาลในระหว่างอาโลกสัญญา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา ท่าน
ย่อความไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฌาน สมาบัติ กสิณ อนุสติ และอสุภะ และ
ลมหายใจเข้ายาวเป็นต้นไว้ เพราะท่านได้ชี้แจงไว้แล้วในสมาธิญาณนิเทศใน
ลำดับ.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกฺเขปวเสน ด้วยอำนาจแห่งความ
ไม่ฟุ้งซ่าน พึงถือเอาด้วยความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นส่วนเบื้องต้น ในบทมีอาทิว่า
อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
เป็นสภาพไม่เที่ยงหายใจเข้า พึงทราบวิปัสสนามีกำลัง มีสมาธิสัมปยุตด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
วิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ในกาลแห่งวิปัสสนาอ่อนในจตุกะที่ท่านกล่าวแล้วด้วย
อำนาจแห่งวิปัสสนาล้วน.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระแห่งวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้. ท่าน
กล่าววิปัสสนาไม่กำหนดอารมณ์ ด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก่อน กล่าว
กำหนดอารมณ์ด้วยบทมีอาทิว่า รูป อนิจฺจโต ในภายหลัง. บทว่า ตตฺถ
ชาตาน เกิดแล้วในวิปัสสนานั้น คือจิตเจตสิกธรรมเกิดแล้วในวิปัสสนานั้น.
การปล่อยในบทนี้ว่า โวสฺสคฺคารมฺมณตา ความที่จิตมีการปล่อยเป็นอารมณ์
คือนิพพาน เพราะนิพพานท่านกล่าวว่า โวสฺสคฺโค เพราะปล่อยสังขตธรรม
เพราะสละ. วิปัสสนาและธรรมสัมปยุตด้วยวิปัสสนานั้น มีนิพพานเป็นที่ตั้ง
มีนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไปสู่นิพพาน และเพราะตั้งอยู่ในนิพพาน
ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย. แม้การตั้งไว้ก็ชื่อว่าอารมณ์ เพราะหน่วงเหนี่ยวไว้
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่าตั้งอยู่ในนิพพานนั่นเอง. จริงอยู่ แม้ใน
บาลีในที่อื่น การตั้งไว้ที่ก็กล่าวว่า อารมฺมณ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวบท
มีอาทิว่า ดูก่อนอาวุโส เหมือนบุรุษเอาคบเพลิงหญ้าที่ติดไฟจุดเรือนมุงด้วย
ไม้อ้อ เรือนมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นโพรงค้างปี ทางทิศตะวันออก ไฟพึงได้
โอกาส พึงได้อารมณ์ เพราะฉะนั้น เพราะความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ ความไม่ฟุ้งซ่านใดอันมีประเภทเป็นอุปการะ
และอัปปนากล่าวคือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้สมาธิเกิดโดยมีนิพพาน
เป็นที่ตั้งเป็นเหตุ ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านชี้แจงเป็นสมาธิ คือมีความ
ตั้งมั่นอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดให้สมาธิเกิดในภายหลัง เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อิติ ปม วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนาก่อน สมถะภายหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธนิเทศ ดังต่อไปนี้. เพราะลำดับแห่งธรรม
ที่เป็นคู่ ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งสูตรในภายหลัง ปรากฏแล้วโดยนัย
แห่งนิเทศทั้งสองในก่อน ส่วนลำดับแห่งธรรมที่เป็นคู่ในขณะแห่งมรรคยังไม่
ปรากฏ เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระไม่กล่าวถึงการเจริญธรรมที่เป็นคู่
อันมีอยู่ไม่น้อยในส่วนเบื้องต้น เมื่อจะแสดงถึงการเจริญธรรมที่เป็นคู่ อันได้
โดยส่วนเดียวในขณะแห่งมรรค จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสหิ อากาเรหิ
ด้วยอาการ ๑๖.
ในบทเหล่านั้น ธรรมคู่ที่ท่านยกขึ้นแสดงในที่สุดในอาการ ๑๗ อย่าง
มีอาทิว่า อารมฺมณฏฺเน ด้วยความเป็นอารมณ์ละธรรมคู่นั้น เพราะตั้งอยู่
ในที่เดียวกันด้วยเป็นบทมูลเหตุแล้วกล่าวว่า โสฬสหิ ด้วยอาการ ๑๖ ด้วย
อำนาจแห่งอาการที่เหลือ.
บทว่า อารมฺมณฏฺเน คือด้วยความหน่วงเหนี่ยว อธิบายว่า ด้วย
อำนาจแห่งอารมณ์.
บทว่า โคจรฏฺเน ด้วยความเป็นอารมณ์ เมื่อมีบทว่า อารมฺม-
ณฏฺเน อยู่แล้ว. บทว่า โคจรฏฺเน คือฐานะควรอาศัย.
บทว่า ปหานฏฺเน คือด้วยความละ. บทว่า ปริจฺจาคฏฺเน
ด้วยความสละ คือเมื่อการละมีอยู่แล้วก็ด้วยความไม่ยึดถือด้วยความเสียสละ.
บทว่า วุฏฺานฏฺเน ด้วยความออก คือด้วยความออกไป. บทว่า
วิวฏฺฏนตฺเถน ด้วยความหลีกไป คือเมื่อการออกไปมีอยู่แล้วก็ด้วยการไม่
หมุนกลับมาอีก ด้วยการกลับไป. บทว่า สนฺตฏฺเน ด้วยความเป็นธรรม
สงบ คือด้วยความดับ. บทว่า ปณีตฏฺเน ด้วยความเป็นธรรมประณีตคือ
แม้เมื่อมีความดับอยู่แล้วก็ด้วยความเป็นธรรมสูงสุด หรือด้วยความเป็นธรรม
ไม่เดือดร้อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
บทว่า วิมุตฺตฏฺเน ด้วยความหลุดพ้น คือด้วยความปราศจาก
เครื่องผูกพัน. บทว่า อนาสวฏฺเน ด้วยความไม่มีอาสวะ คือ แม้เมื่อมีการ
พ้นจากเครื่องผูกพันแล้วก็ด้วยความปราศจากอาสวะอันทำอารมณ์ยังเป็นไปอยู่.
บทว่า ตรณฏฺเน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม คือด้วยความไม่จมแล้วลอนไป.
บทว่า อนิมิตฺตฏฺเน ด้วยความไม่มีนิมิต คือด้วยความปราศจากสังขารนิมิต.
บทว่า อปฺปณิหิตฏฺเน ด้วยความไม่มีที่ตั้งคือ ด้วยความปราศจาก
ที่ตั้ง. บทว่า สุญฺตฏเน ด้วยความว่างเปล่า คือด้วยความปราศจากเครื่อง
ยึด. บทว่า เอกรสฏฺเน ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน คือด้วย
กิจอย่างเดียวกัน. บทว่า อนติวตฺตนฏฺเน ด้วยความไม่ล่วงเกินกันคือ
ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน. บทว่า ยุคนทฺธฏฺเน คือ ด้วยความเป็น
คู่กัน.
บทว่า อุทฺธจฺจ ปชหโต อวิชฺช ปชหโต เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ
ละอวิชชา ท่านกล่าวด้วยสามารถการละธรรมเป็นปฏิปักษ์ของธรรมนั้น ๆ ของ
พระโยคาวจร. อนึ่ง นิโรธในที่นี้คือ นิพพานนั่นเอง. บทว่า อญฺมญฺ
นาติวตฺตนฺติ ไม่ล่วงเกินกันและกัน คือ หากสมณะล่วงเกินวิปัสสนา จิตพึง
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะสมถะเป็นไปในฝ่ายหดหู่. หากว่า วิปัสสนา
ล่วงเกินสมถะ จิตพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านเพราะวิปัสสนาเป็นไปในฝ่ายแห่ง
ความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น สมถะเมื่อไม่ล่วงเกินวิปัสสนาย่อมไม่ตกไปใน
ความเกียจคร้าน วิปัสสนาล่วงเกินสมถะ ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน
สมถะเป็นไปเสมอย่อมรักษาวิปัสสนาจากการตกไปสู่ความฟุ้งซ่าน วิปัสสนา
เป็นไปเสมอย่อมรักษาสมถะจากการตกไปสู่ความเกียจคร้าน. สมถะและวิปัสสนา
ทั้ง ๒ มีกิจอย่างเดียวกันด้วยกิจคือ การไม่ล่วงเกินกันและกันด้วยประการฉะนี้.
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
สำเร็จ. ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งมรรคย่อมมีได้
เพราะเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี.
เพื่อความเข้าใจกิจของมรรคทั้งสิ้น เพราะท่านกล่าวการทำการละ
การสละ การออก และการหลีกไปด้วยอำนาจแห่งกิจของมรรค ท่านจึงชี้แจง
กิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะและขันธ์ และกิเลสสหรคตด้วยอวิชชาและขันธ์
เพราะท่านกล่าวขันธ์ที่เหลืออย่างนั้นแล้ว จึงไม่ชี้แจงถึงอุทธัจจะและอวิชชา
ด้วยอำนาจแห่งการเข้าใจเพียงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์. บทว่า วิวฏฺฏโต คือ
หลีกไป. บทว่า สมาธิ กามาสวา วิมุตฺโต โหติ สมาธิพ้นจากกามาสวะ
ท่านกล่าวเพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ของกามฉันทะ. บทว่า ราควิราคา เพราะ
คลายราคะ ชื่อว่า ราควิราโค เพราะมีการคลาย การก้าวล่วงราคะหรือเป็น
ปัญจมีวภัตติว่า ราควิราคโต จากการคลายราคะ. อนึ่ง เพราะคลายอวิชชา.
บทว่า เจโตวิมุตฺติ คือสมาธิสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ปญฺาวิมุตฺติ ปัญญา
สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตรโต คือ ผู้ข้าม. บทว่า สพฺพปณิธีหิ ด้วยที่ตั้ง
ทั้งปวง คือด้วยที่ตั้งคือราคะ โทสะ โมหะ หรือด้วยความปรารถนาทั้งปวง.
พระอานนทเถระครั้นแก้อาการ ๑๔ อย่าง อย่างนี้แล้ว จึงไม่แก้
ความมีกิจอย่างเดียวกัน และความไม่ก้าวล่วงแล้วกล่าวว่า อิเมหิ โสฬสหิ
อากาเรหิ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างเหล่านี้. เพราะเหตุไร เพราะในที่สุดของ
อาการอย่างหนึ่ง ๆ แห่งอาการ ๑๔ เหล่านั้น ท่านชี้แจงไว้ว่า อาการทั้งหลาย
มีกิจอย่างเดียวกัน เป็นธรรมคู่กัน ไม่ก้าวล่วงกันและกันดังนี้ จึงเป็นอัน
ท่านแสดงอาการแม้ทั้งสองเหล่านั้นทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โสฬสหิ.
ส่วนอาการมีความเป็นธรรมคู่ท่านไม่ได้กล่าวไว้ แม้ในนิเทศเลย.
จบอรรถกถาสุตตันตนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
อรรถกถาธรรมุทธัจจวารนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมุทธัจจวาระดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจโต
มนสิกโรโต โอภาโส อุปฺปชฺชติ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น คือภิกษุตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสสนาเห็นแจ้งสังขาร
ทั้งหลายด้วยอนุปัสสนา ๓ บ่อย ๆ มีจิตบริสุทธิ์ด้วยการละกิเลสด้วยตทังคปหานะ
ในวิปัสสนาญาณอันถึงความแก่กล้า โอภาสย่อมเกิดความปกติด้วยอานุภาพ
แห่งวิปัสสนาญาณในขณะมนสิการ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ หรือโดยความไม่ใช่ตัวตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงโอภาส
ของภิกษุผู้มนสิการ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงก่อน.
ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาไม่ฉลาด เมื่อโอภาสนั้นเกิดคิดว่า โอภาสเห็น
ปานนี้ ยังไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้เลยหนอ เราเป็นผู้บรรลุมรรค
บรรลุผลแน่แท้แล้ว จึงถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคนั่นแหละว่า เป็นมรรค สิ่งที่
ไม่ใช่ผลนั่นแหละว่าเป็นผล.
เมื่อภิกษุนั้นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่ไม่ใช่ผลว่าเป็น
ผล ก้าวออกจากวิปัสสนาวิถี. ภิกษุนั้นสละวิปัสสนาวิถีของตนถึงความฟุ้งซ่าน
หรือสำคัญโอภาสด้วยความสำคัญแห่งตัณหาและทิฏฐินั่งอยู่. ก็โอภาสนี้นั้นเกิด
ให้สว่างเพียงที่นั่งของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น ภายในห้องของภิกษุบางรูป
แม้นอกห้องของภิกษุบางรูป ทั่วทั้งวิหารของภิกษุบางรูป คาวุตหนึ่งกึ่งโยชน์
๒ โยชน์ ฯลฯ ทำแสงสว่างเป็นอันเดียวกันตั้งแต่พื้นดินจนถึงอกนิษฐพรหมโลก
ของภิกษุบางรูป แต่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดโอภาสตลอดหมื่นโลกธาตุ
เพราะโอภาสนี้ ยังที่นั้น ๆ ให้สว่างย่อมเกิดในเวลามืดอันประกอบด้วยองค์ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
บทว่า โอภาโส ธมฺโมติ โอภาส อาวชฺชติ ภิกษุนึกถึงโอภาส
ว่า โอภาสเป็นธรรม คือ ภิกษุทำไว้ในใจถึงโอภาสนั้น ๆ ว่า โอภาสนี้เป็น
มรรคธรรมหรือเป็นผลธรรมดังนี้. บทว่า ตโต วิกฺเขโป อุทฺธจฺจ เพราะ
นึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านจึงเป็นอุทธัจจะ คือ เพราะโอภาสนั้นหรือ
เพราะนึกถึงว่า โอภาสเป็นธรรม ความฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้น นั่นคือ อุทธัจจะ.
บทว่า เตน อุทฺธจฺเจน วิคฺคหิตมานโส ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
คือภิกษุมีใจอันอุทธัจจะซึ่งเกิดขึ้นอย่างนั้นกั้นไว้ หรือผู้เจริญวิปัสสนามีใจอัน
อุทธัจจะนั้นเป็นเหตุกั้นไว้โดยเกิดกิเลสอันมีอุทธัจจะนั้นเป็นมูลเหตุ เพราะ
ก้าวลงสู่วิปัสสนาวิถี หรือความฟุ้งซ่านแล้วตั้งอยู่ในกิเลสอันมีความฟุ้งซ่าน
นั้นเป็นมูลเหตุ ย่อมไม่รู้ความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริง. พึงประกอบ อิติ ศัพท์
อย่างนี้ว่า เตน วุจฺจติ ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตมานโส ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้.
บทว่า โหติ โส สมโย สมัยนั้นคือ หากว่า การสอบสวนเกิดขึ้น
แก่พระโยคาวจรแม้ผู้มีจิตเศร้าหมองด้วยความพอใจ พระโยคาวจรนั้นย่อมรู้
อย่างนี้ว่า ธรรมดาวิปัสสนามีสังขารเป็นอารมณ์ มรรคและผลมีนิพพานเป็น
อารมณ์ แม้จิตเหล่านี้มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น โอภาสนี้มิใช่มรรค
อุทยัพพยานุปัสสนาเท่านั้นเป็นมรรคของนิพพาน. พระโยคาวจรกำหนดมรรค
และมิใช่มรรคแล้วเว้นความฟุ้งซ่านนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสสนา พิจารณา
สังขารทั้งหลายด้วยดี โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความไม่ใช่ตัวตน. เมื่อพระโยคาวจรสอบสวนอยู่อย่างนี้นั้นเป็นสมัย แต่เมื่อ
ไม่สอบสวนอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีมานะจัดว่า เราเป็นผู้บรรลุมรรคและผลดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
บทว่า ย ต จิตฺต ได้แก่ วิปัสสนาจิตนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ใน
ภายใน คือในภายในโคจรอันเป็นอารมณ์แห่งอนิจจานุปัสสนา.
บทว่า าณ อุปฺปชฺชติ ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ เมื่อพระโยคาวจรนั้น
พิจารณาอย่างรอบคอบถึงรูปธรรมและอรูปธรรม วิปัสสนาญาณอันเฉียบแหลม
แข้งแกร่งกล้ายิ่งนัก มีกำลังไม่ถูกกำจัดย่อมเกิดขึ้นดุจวชิระของพระอินทร์ที่ปล่อย
ออกไปฉะนั้น. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติย่อมเกิดขึ้น คือ ในสมัยนั้น
ปีติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ๕ อย่างนี้ คือ ขุททกาปีติ (ปีติอย่างน้อย) ๑ ขณิกา-
ปีติ (ปีติชั่วขณะ) ๑ โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพัก ๆ) ๑ อุพเพงคาปีติ (ปีติอย่าง
โลดโผน) ๑ ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) ๑ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้นยัง
สรีระทั้งสิ้นให้อิ่มเอม. บทว่า ปสฺสทฺธิ อุปฺปชฺชติ ความสงบย่อมเกิดขึ้น
คือ ในสมัยนั้น พระโยคาวจรนั้นไม่มีความกระวนกระวายของกายและจิต
ไม่มีความหนัก ไม่มีความหยาบ ไม่มีความไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้
ไม่มีความคด แต่ที่แท้พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตสงบเบาอ่อน ควรแก่การ
งานคล่องแคล่วเฉียบแหลม ตรง. พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตอันเป็นปัส-
สัทธิเป็นต้นเหล่านี้ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเสวยความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ใน
สมัยนั้น. ท่านกล่าวหมายถึงความยินดีว่า
ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมโดย
ชอบ แต่กาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาความเกิดและ
ความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย แต่กาลนั้น ๆ ภิกษุย่อม
ได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะ
ของภิกษุผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
ความสงบแห่งกายและจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนา พร้อมด้วยความเป็น
ของเบาเป็นต้น ยังความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์นี้ให้สำเร็จย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น.
บทว่า สุข อุปฺปชฺชติ สุขย่อมเกิดขึ้น คือ สุขสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันยัง
สรีระทั้งสิ้นให้ชุ่มชื่น ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น แก่ภิกษุนั้น. บทว่า อธิโมกฺโข
อุปฺปชฺชติ อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น คือ ศรัทธาสัมปยุต
ด้วยวิปัสสนาอันเป็นความเลื่อมใสอย่างแรงของจิตและเจตสิกย่อมเกิดขึ้นใน
สมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น. บทว่า ปคฺคาโห อุปฺปชฺชติ ปัคคาหะ (ความเพียร)
ย่อมเกิดขึ้นคือ ความเพียรสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันประคองไว้ดีแล้วไม่ย่อหย่อน
และไม่ตึงจนเกินไป ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น แก่ภิกษุนั้น. บทว่า อุปฏฺาน
อุปฺปชฺชติ อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) ย่อมเกิดขึ้น คือ สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา
ตั้งไว้ด้วยดีแล้ว ฝังแน่น ไม่หวั่นไหว เช่นกับภูเขาหลวงย่อมเกิดขึ้นในสมัย
นั้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นย่อมนึกถึง รวบรวบ ทำไว้ในใจ พิจารณาถึงฐานะ
ใด ๆ ฐานะนั้น ๆ แล่นออกไป ย่อมปรากฏแก่ภิกษุนั้นด้วยสติดุจปรโลก
ปรากฏแก่ผู้ได้ทิพยจักษุฉะนั้น. บทว่า อุเปกฺขา คือ ความวางเฉยด้วยวิปัสสนา
และความวางเฉยด้วยการพิจารณา. จริงอยู่ แม้ความวางเฉยด้วยวิปัสสนาอัน
เป็นกลางในสังขารทั้งปวง มีกำลังย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น แม้ความวางเฉย
ด้วยการพิจารณา ย่อมเกิดในมโนทวาร. จริงอยู่ ความวางเฉยด้วยการพิจารณา
นั้นเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาถึงฐานะนั้น ๆ เป็นความกล้าแข็ง ย่อมนำไปดุจวชิระ
ของพระอินทร์ที่ปล่อยออกไป และดุจลูกศรเหล็กอันร้อนที่แล่นออกไปที่ภาชนะ
ใบไม้. ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอย่างนี้.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า วิปสฺสนูเปกฺขา อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ได้แก่
อุเบกขา คือ วางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ สัมปยุตด้วยวิปัสสนา. จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
เมื่อยึดถือวิปัสสนาญาณ ก็จะมีโทษด้วยคำพูดอีกว่า ญาณ ย่อมเกิด เพราะ
วิปัสสนาญาณมาถึงแล้ว. อนึ่ง ในการพรรณนาถึงตติยฌานท่านกล่าวว่า แม้
สังขารุเบกขาและวิปัสสนุเบกขา โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน เพราะเป็นปัญญา
เหมือนกัน ต่างกันเป็น ๒ ส่วนด้วยอำนาจแห่งหน้าที่ เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าว
ถึงอุเบกขา คือ ความเป็นกลางในอารมณ์นั้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนาจึงไม่มีโทษ
ในการพูดอีก และสมด้วยการพรรณนาตติยฌาน. ก็เพราะในอินทรีย์ ๕ ท่าน
ชี้แจงถึงปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์และสตินทรีย์ว่า ฌาน อธิโมกข์
ปัคคหะ อุปัฏฐานะ ส่วนสมาธินทรีย์ท่านไม่ชี้แจงไว้. อนึ่ง พึงชี้แจง
สมาธินทรีย์เท่านั้น ด้วยสามารถแห่งธรรมคู่กัน ฉะนั้น พึงทราบว่า สมาธิ
เป็นไปแล้วเสมอท่านกล่าวว่า อุเบกขา เพราะทำการละความขวนขวายในการ
ตั้งมั่น.
บทว่า นิกนฺติ อุปฺปชฺชติ นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น
คือ ความพอใจ มีอาการสงบ สุขุมทำความอาลัยในวิปัสสนาอันประดับด้วย
โอภาสเป็นต้นอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้น ความพอใจใด ไม่อาจแม้กำหนดลงไปว่า
เป็นกิเลส ดุจในโอภาส เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น พระโยคาวจรคิดว่า
ญาณเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้ ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ
อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ เห็นปานนี้เคยเกิดแล้ว เราเป็นผู้บรรลุมรรค
เราเป็นผู้บรรลุผลแน่นอน แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผล
ว่าเป็นผล เมื่อพระโยคาวจรนั้น ถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค และสิ่งมิใช่
ผลว่าเป็นผล วิปัสสนาวิถี ย่อมหลีกออกไป.
พระโยคาวจรนั้นสละมูลกรรมฐานของตนแล้วนั่ง ยินดีความพอใจนั้น
เท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวโอภาสเป็นต้นว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็น
ที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะไม่ใช่อกุศล ส่วนนิกันติเป็นอุปกิเลสด้วย
เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองด้วย. อุปกิเลสเหล่านั้นมี ๑๐ อย่างด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ มี ๓๐ ด้วยสามารถแห่งการถือเอา อย่างไร. เมื่อพระโยคาวจร
ถือว่า โอภาสเกิดแล้วแก่เรา ย่อมเป็นการถือเอาด้วยทิฏฐิ เมื่อถือว่าโอภาส
น่าพอใจหนอเกิดแล้ว ย่อมเป็นการถือเอาด้วยมานะ เมื่อยินดีโอภาส ย่อมเป็น
การถือเอาด้วยตัณหา การถือเอา ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งทิฏฐิมานะและตัณหา
ในโอภาสด้วยประการดังนี้. แม้ในอุปกิเลสที่เหลือก็อย่างนั้น. อุปกิเลส ๓๐
ด้วยอำนาจแห่งการถือเอาย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทุกฺขโต มนสิกโรโต อนตฺตโต มนสิกโรโต เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา พึงทราบความโดยนัยนี้
แม้ในวาระทั้งหลาย. ในบทนี้พึงทราบความเกิดแห่งวิปัสสนูปกิเลสแห่งวิปัสสนา
หนึ่ง ๆ ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ มิใช่อย่างเดียวเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนา ๓ ดังต่อไปนี้. พระอานนทเถระ ครั้น
แสดงอุปกิเลสทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต่างกันอย่างนี้ แล้วเมื่อ
จะแสดงด้วยอำนาจแห่งความต่างกันอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป อนิจฺจโต
มนสิกโรโต เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ดังนี้. ในบท
เหล่านั้น บทว่า ชรามรณ อนิจฺจโต อุปฏฺาน ชรามรณะอันปรากฏ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือ ความปรากฏของชราและมรณะโดยความเป็น
สภาพไม่เที่ยง.
เพราะพระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ไม่เปรื่องปราชญ์ด้วยอำนาจแห่ง
อุปกิเลส ๓๐ ดังกล่าวแล้วในบทก่อน ย่อมหวั่นไหวในโอภาสเป็นต้น ย่อม
พิจารณา โอภาสเป็นต้นอย่างหนึ่ง ๆ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
ตัวตนของเรา ฉะนั้น พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถา
๒ คาถามีอาทิว่า โอภาเสว เจว าเณ จ ในโอภาสและญาณดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกมฺปติ ย่อมกวัดแกว่ง คือ ย่อมกวัดแกว่ง
หวั่นไหว ๓ อย่างด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ ในอารมณ์มีโอภาสเป็นต้น. บทว่า
เยหิ จิตฺต ปเวเธติ จิตย่อมหวั่นไหว คือ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวด้วย
ปัสสัทธิและสุขโดยประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ เพราะฉะนั้น พึง
ทราบความสัมพันธ์ ความว่า พระโยคาวจรย่อมกวัดแกว่งในปัสสัทธิ และใน
สุข. บทว่า อุเปกฺขา วชฺชนาย เจว จากความนึกถึงอุเบกขา คือ จิต
ย่อมกวัดแกว่ง จากความนึก คือ อุเบกขา อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่งจากความ
วางเฉยในการนึกถึง. แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า อุเปกฺขาวชฺชนายญฺจ
ในการนึกถึงอุเบกขา. บทว่า อุเปกฺขาย จ ความวางเฉย คือ จิตย่อม
กวัดแกว่งด้วยความวางเฉยมีประการดังกล่าวแล้ว อธิบายว่า ย่อมกวัดแกว่ง
ด้วยความพอใจ.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านชี้แจงถึงอุเบกขา ๒ อย่าง จึงกล่าวอรรถ
โดยประการทั้งสองในฐานะที่ท่านกล่าวแล้วว่า อุเปกฺขา อุปฺปชฺชติ อุเบกขา
ย่อมเกิด. อนุปัสสนาอย่างหนึ่ง ๆ เพราะความปรากฏแห่งความวางเฉยด้วยการ
นึกถึงแห่งอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ ในอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เจริญ
บ่อย ๆ ว่า อนิจฺจ อนิจฺจ ทุกฺข ทุกฺข อนตฺตา อนตฺตา.
อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต เปรื่องปราชญ์
สมบูรณ์ด้วยความรู้ เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนด ย่อมสอบสวน
โอภาสนั้นด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็โอภาสนั้นแลเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
เสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายราคะเป็นธรรมดา มีการดับกิเลสเป็นธรรมดา
ด้วยประการดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้นมีความดำริอย่างนี้. หากโอภาสพึงเป็น
ตัวตน พึงควรที่จะถือเอาว่าเป็นตัวตน แต่โอภาสนี้มิใช่ตัวตน ยังถือกันว่า
เป็นตัวตน เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรเมื่อเห็นว่า โอภาสนี้มิใช่ตัวตน เพราะ
ไม่เป็นไปในอำนาจ จึงถอนทิฏฐิเสียได้. หากว่า โอภาสพึงเป็นสภาพเที่ยง
พึงควรเพื่อถือเอาว่าเป็นสภาพเที่ยง แต่โอภาสนี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ยังถือกัน
ว่าเป็นสภาพเที่ยง เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วไม่มีย่อมถอนมานะเสีย. หากว่า โอภาสพึงเป็นความสุข พึงควร
ถือเอาว่า เป็นความสุข แต่โอภาสนี้เป็นความทุกข์ ยังถือเอาว่าเป็นความสุข
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนี้เมื่อเห็นว่าเป็นความทุกข์ เพราะเกิดขึ้นสิ้นไป
และบีบคั้น ย่อมถอนความพอใจ ดุจในโอภาส แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
พระโยคาวจรครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นโอภาสว่า
นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่กวัดแกว่ง ไม่หวั่นไหว ในโอภาสเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระอานนท-
เถระเมื่อแสดงความนั้น จึงกล่าวคาถาว่า อิมานิ ทส านานิ ฐานะ ๑๐
ประการเหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทส านานิ คือมีโอภาสเป็นต้น.
บทว่า ปญฺายสฺส ปริจฺจิตา ภิกษุนั้นกำหนดด้วยปัญญา คือ กำหนด
ถูกต้อง อบรมบ่อย ๆ ด้วยปัญญา พ้นจากอุปกิเลส. บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจกุสโล
โหติ เป็นผู้ฉลาด ในความนึกถึงโอภาสเป็นต้น อันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน คือ
พระโยคาวจรเป็นผู้กำหนดฐานะ ๑๐ อย่างด้วยปัญญา เป็นผู้ฉลาดด้วยการ
แทงตลอดตามความเป็นจริงแห่งธรรมุทธัจจะ มีประการดังกล่าวแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
ตอนก่อน. บทว่า น จ สมฺโมหคจฺฉติ ย่อมไม่ถึงความหลงใหล คือ
ไม่ถึงความหลงใหลด้วยการถอนตัณหา มานะและทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ฉลาดใน
ธรรมุทธัจจะ.
บัดนี้ พระอานนทเถระครั้นยังวิธีที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน ให้แจ่ม
แจ้งโดยปริยายอื่นอีก เมื่อจะแสดงจึงกล่าวคาถามีอาทิว่า วิกมฺปติเจว กิลิสฺสติ
จิตกวัดแกว่งและเศร้าหมอง. ในบทนั้น พระโยคาวจรมีปัญญาอ่อนย่อมถึงความ
ฟุ้งซ่านในโอภาสเป็นต้น และความเกิดแห่งกิเลสที่เหลือ. พระโยคาวจรมีปัญญา
ปานกลาง ย่อมถึงความฟุ้งซ่าน ไม่ถึงความเกิดแห่งกิเลสที่เหลือ พระโยคาวจร
นั้นย่อมเป็นผู้มีมานะจัด. พระโยคาวจรมีปัญญาคมกล้า แม้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ยังละมานะจัดนั้นแล้วปรารภวิปัสสนา. ส่วนพระโยคาวจรผู้มีปัญญาคมกล้า
ยิ่งนัก จะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน และไม่ถึงความเกิดขึ้นแห่งกิเลสที่เหลือ. บทว่า
วิกมฺปติ เจว ย่อมกวัดแกว่ง ได้แก่ บรรดาพระโยคาวจรเหล่านั้น พระโยคาวจร
ผู้มีปัญญาอ่อนย่อมถึงความฟุ้งซ่าน คือ ธรรมุทธัจจะ. บทว่า กิลิสฺสติ จ
ย่อมเศร้าหมอง คือ ย่อมเศร้าหมอง ด้วยกิเลส คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
ความว่า ย่อมเดือดร้อน ถูกเบียดเบียน. บทว่า จวติ จิตฺตภาวนา จิต
เคลื่อนจากจิตภาวนา คือ เคลื่อนจากจิตภาวนา คือ วิปัสสนาของพระโยคาวจร
นั้นผู้มีปัญญาอ่อน เพราะไม่กำจัดความเป็นปฏิปักษ์จากฐานะในกิเลสทั้งหลาย
นั่นเอง อธิบายว่า ตกไป. บทว่า วิกมฺปติ กิลิสฺสติ จิตย่อมกวัดแกว่ง
เศร้าหมอง คือ พระโยคาวจรผู้มีปัญญาปานกลาง ย่อมกวัดแกว่ง ด้วยความ
ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส. บทว่า ภาวนา ปริหายติ ภาวนา
ย่อมเสื่อมไป คือ วิปัสสนาย่อมเสื่อม อธิบายว่า เป็นไปไม่ได้ โดยไม่มีการ
เริ่มวิปัสสนา เพราะพระโยคาวจรผู้มีปัญญาปานกลางนั้นมีมานะจัด. บทว่า
วิกมฺปติ กิลิสฺสติ แม้พระโยคาวจรผู้มีปัญญาคมกล้า ก็ย่อมกวัดแกว่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
ด้วยความฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส. บทว่า ภาวนา น ปริหายติ
ภาวนาย่อมไม่เสื่อม คือ พระโยคาวจรผู้มีปัญญาคมกล้านั้น เมื่อยังมีความ
ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาภาวนาย่อมไม่เสื่อม คือ ยังเป็นไปได้ เพราะยังมีการละความ
ฟุ้งซ่านแห่งมานะจัดนั้น แล้วเริ่มวิปัสสนา.
บทว่า น จ วิกฺขิปฺปติ จิตฺต น กิลิสฺสติ จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่เศร้าหมอง คือ จิตของพระโยคาวจรผู้มีปัญญาคมกล้ายิ่งนัก ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยความฟุ้งซ่าน และไม่เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า น จวติ
จิตฺตภาวนา จิตย่อมไม่เคลื่อนจากจิตภาวนา คือ ไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาคือ
วิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น อธิบายว่า ตั้งอยู่ในที่เดิม เพราะไม่มีกิเลส
อันทำให้ฟุ้งซ่าน.
ด้วยฐานะอันเป็นเหตุหรือเป็นการกระทำ ๔ เหล่านี้ ซึ่งท่านกล่าวไว้
ในบัดนี้ ในบทมีอาทิว่า อิเมหิ จตูหิ าเนหิ ด้วยฐานะ ๔ เหล่านี้
พระโยคาวจรที่ ๔ เป็นผู้ฉลาด มีปัญญามาก มีใจอันความหดหู่และความ
ฟุ้งซ่านแห่งจิตกั้นไว้ในฐานะ ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น เป็นผู้ปราศจากความเกิดขึ้น
แห่งกิเลสอันทำให้ฟุ้งซ่าน ย่อมรู้โดยประการต่าง ๆ ว่า พระโยคาวจร ๓ มี
พระโยคาวจรปัญญาอ่อนเป็นต้น ย่อมมีใจเป็นอย่างนี้และอย่างนี้ เพราะเหตุ
นั้น พึงทราบการพรรณนาอรรถโดยการสัมพันธ์ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สงฺเขโป ความหดหู่ พึงทราบความที่จิตหดหู่ด้วยสามารถ
ความเกิดฟุ้งซ่านและกิเลสทั้งหลาย. บทว่า วิกฺเขโป ความฟุ้งซ่านคือพึง
ทราบความที่จิตฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งความฟุ้งซ่านดังกล่าวแล้วในฐานะทั้ง
หลาย ๒ ว่า วิกมฺปติ กิลิสฺสติ จิตย่อมกวัดแกว่งเศร้าหมอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาธรรมุทธัจจวารนิเทศ
จบอรรถกถายุคนัทธกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
นิทานในกถาบริบูรณ์
ว่าด้วยสัจจะ ๔
[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้
เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัจจะว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็น
ของเเท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔
ประการนี้แล เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น.
[๕๔๕] ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ?
สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑ สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัย
ปรุงแต่ง ๑ สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑ สภาพที่แปรไป ๑ สภาพแห่งทุกข์เป็น
ทุกข์ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ทุกข์เป็น
สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้.
สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ?
สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๑ สภาพที่เป็นเหตุ ๑
สภาพที่ประกอบไว้ ๑ สภาพพัวพัน ๑ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔
ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัยเป็นสัจจะ
ด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ?
สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น คือ สภาพสลัดออกแห่งนิโรธ ๑ สภาพสงัด ๑ สภาพที่ปัจจัย
ไม่ปรุงแต่ง ๑ สภาพเป็นอมตะ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ ประการนี้ เป็น
ของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็น
ของแท้อย่างนี้.
มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ?
สภาพเป็นทางเเห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพนำออกแห่งมรรค ๑ สภาพเป็นเหตุ ๑ สภาพที่
เห็น ๑ สภาพเป็นใหญ่ ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้ เป็นของแท้
เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้
อย่างนี้.
[๕๔๖] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความ
เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ
เป็นปฏิเวธ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด
ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ด้วยอาการ
๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่ง
สมุทัยเป็นสภาพแท้ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธเป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นทางแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
มรรคเป็นสภาพแท้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคล
ย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
แทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาอย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ด้วย
อาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๔ สภาพเป็น
เหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพ
มิใช่ตัวตน ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑ สัจจะ ๔
ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด
ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริงอย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริง ด้วย
อาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพจริง ๑ สภาพเป็นเหตุ
เกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพจริง ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพจริง ๑
สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพจริง ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง
ด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง
สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุ
นั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธอย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วย
อาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็น
สภาพแทงตลอด ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สัจจะ ๔
ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด
ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
[๕๔๗] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ?
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ๑ สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา ๑ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเป็นของแท้ ๑
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและเป็นของแท้ สิ่งนั้นเป็นของจริง ๑
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้และเป็นของจริง สิ่งนั้น
ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้นเป็นหนึ่ง บุคคล
ย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
แทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๙ คือ ด้วยความ
เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ
เป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรละ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรเจริญ ๑
ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ สัจจ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วย
อาการ ๙ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อม
แทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด
ด้วยญาณเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
[๕๔๘] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของ-
แท้อย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วย
อาการ ๙ คือ สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นเหตุ
เกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแท้ ๑
สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควร
รู้ยิ่ง เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพ
แท้ ๑ สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่ง
ภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งสัจฉิกิริยา เป็น
สภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพแท้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง
ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะ
นั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาด้วย
ความเป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ อย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ
๙ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑
สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งนิโรธ
เป็นที่ดับ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งมรรคเป็นทางดำเนิน เป็น
สภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่ง เป็นสภาพควร
แทงตลอด ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพควร
แทงตลอด ๑ สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพที่ควรแทงตลอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
๑ สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพ
แห่งสัจฉิกิริยาเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สัจจะ ๔
ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะ
ใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะ
หนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
[๕๔๙] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ?
สัจจะ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๑๒ คือ ด้วยความ
เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ
เป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ๑
ด้วยความเป็นธรรม ๑ ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ๑ ด้วยความเป็นธรรม
ที่รู้แล้ว ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องถูก
ต้อง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว
ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง
บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมี
การแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ อย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วย
อาการ ๑๖ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น ๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๑
เป็นสภาพให้เดือดร้อน ๑ เป็นสภาพแปรปรวน ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่ง
สมุทัยเป็นสภาพประมวลมา ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นเครื่องประกอบไว้ ๑ เป็น
สภาพกังวล ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก ๑ เป็นสภาพสงัด
๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๑ เป็นอมตะ ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
มรรคเป็นเครื่องนำออก ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นทัศนะ ๑ เป็นใหญ่ ๑ เป็นสภาพ
แท้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นของแท้ ด้วย
อาการ ๑๖ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อม
แทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด
ด้วยญาณเดียว.
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
ด้วยความเป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ด้วย
ความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น
ด้วยความเป็นธรรมที่รู้แล้ว ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยความ
เป็นเครื่องถูกต้อง ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ อย่างไร ?
สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้
ด้วยอาการ ๑๖ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น...เป็นสภาพแปรปรวน
เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา... เป็นสภาพ
กังวล เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก...เป็นอมตะ
เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก...เป็นใหญ่ เป็น
สภาพเครื่องตรัสรู้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง
บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมี
การแทงตลอดด้วยญาณเดียว.
[๕๕๐] สัจจะมีลักษณะเท่าไร ? สัจจะมีลักษณะ ๒ คือสังขตลักษณะ ๑
อสังขตลักษณะ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๒ นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
สัจจะมีลักษณะเท่าไร ? สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
มีความเกิดปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑
สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อ
ยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๖ นี้.
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ ทุกขสัจ มีความเกิด
ขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑ สมุทัยสัจมี
ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑
มรรคสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปร
ปรากฏ ๑ นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อยัง
ตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๑๒ นี้.
[๕๕๑] สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤต
เท่าไร ?
สมุทัยสัจเป็นอกุศล มรรคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต
ทุกขสัจเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ท่านสงเคราะห์
ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๓ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย.
คำว่า พึงมี คือ ก็พึงมีอย่างไร ?
ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทัยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วย
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศลพึงมีอย่าง
นี้ ทุกขสัจเป็นกุศล มรรคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑
สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมีอย่างนี้ ทุกข์-
สัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต พึงมีอย่างนี้
สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๓
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย.
[๕๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์
ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบาย
เครื่องสลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
ความจำกัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งรูป...สุขโสมนัส อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัด
ออกแห่งวิญญาณ.
[๕๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ
ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่อง
สลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่
ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็น
คุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบาย
เครื่องสลัดออก แห่งอุปทานขันธ์ ๕ นี้ ตามความจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณ
ว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
ทัศนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้
ความเกิดอีกมิได้มี.
[๕๕๔] การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งรูป ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่ารูป
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ดังนี้
เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละ
ฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ การ
แทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ
สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยการละว่า
สุข โสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่ง
วิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ดังนี้ เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การ
ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็น
นิโรจสัจ การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฏฐิสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ
วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ.
[๕๕๕] สัจจะด้วยอาการเท่าไร ?
สัจจะด้วยอาการ ๓ คือ ด้วยความแสวงหา ๑ ด้วยความกำหนด ๑
ด้วยความแทงตลอด ๑.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างไร ?
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติ
เป็นสมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ญาณย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ
เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติเครื่อง
ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชาติมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไรเป็น
แดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ...มีภพเป็น
แดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อ
ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งชาติ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ภพมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไรเป็น
แดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ...มี
อุปาทานเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ
และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งภพ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ...
มีตัณหาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน สัจจะด้วยความ
แทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ...
มีเวทนาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่ง
ตัณหา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งตัณหา สัจจะด้วยความแทง-
ตลอดอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า เวทนามีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ตัณหามีผัสสะเป็นเหตุ...
มีผัสสะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่ง
เวทนา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัจจะด้วยความแทงตลอด
อย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ
...มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับ
แห่งผัสสะ เเละข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งผัสสะ สัจจะด้วยความ
แทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ
... มีนามรูปเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดสฬายตนะ ความ
ดับสฬายตนะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสฬายตนะ สัจจะด้วยความ
แทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ... มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ... .
วิญญาณเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดนามรูป ความดับนามรูป
และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับนามรูป สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้.
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ...มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
มีสังขารเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ
และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับวิญญาณ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้...
สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สังขารมีอะไรเป็นเหตุ... มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ...
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดสังขาร ความดับสังขาร
และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสังขาร สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้.
[๕๕๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทัยสัจ ความสลัด
ชรามรณะและชาติ แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทัยสัจ การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ
การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทัยสัจ
การสลัดอุปาทานและตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็น
มรรคสัจ ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดตัณหาและเวทนา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ เวทนาเป็นทุกขสัจ
ผัสสะเป็นสมุทัยสัจ การสลัดเวทนาและผัสสะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จัก
ความดับเป็นมรรคสัจ ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทัยสัจ การสลัด
ผัสสะและสฬายตนะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ
สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสฬายตนะและนามรูป
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ นามรูปเป็นทุกขสัจ
วิญญาณเป็นสมุทัยสัจ การสลัดนามรูปและวิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ
การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทัยสัจ การ
สลัดวิญญาณและสังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ
สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
เป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชรามรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็น
ทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ
การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็น
สมุทัยสัจก็มี การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับ
เป็นมรรคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจ
ก็มี การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็น
มรรคสัจ ฉะนี้แล.
จบสัจจกถา
จบภาณวาร
อรรถกถาสัจกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับ ความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสัจจกถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษของ
การแทงตลอดสัจจะ อันตั้งอยู่บนความจริงด้วยสามารถแห่งอริยมรรคอันเป็น
คุณของธรรมคู่กันตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อน ดังต่อไปนี้. บทว่า ตถานิ
คือ เป็นของแท้ด้วยความเป็นจริง จริงอยู่ ธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นความ
จริงนั่นแหละชื่อว่า สัจจะ ด้วยอรรถว่าเป็นจริง. อรรถแห่งสัจจะท่านกล่าวไว้
แล้วในอรรถกถาปฐมญาณนิเทศ. บทว่า อวิตถานิ เป็นของไม่ผิด คือ
ปราศจากความตรงกันข้ามในสภาพที่กล่าวแล้ว เพราะสัจจะไม่มี ก็ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
ไม่มีสัจจะ. บทว่า อนญฺกานิ ไม่เป็นอย่างอื่น คือ เว้นจากสภาพอื่น
เพราะไม่มีสัจจะหามิได้ ก็ชื่อว่า มีสัจจะ.
บทว่า อิท ทุกฺขนฺติ ภิกฺขเว ตถเมต สัจจะว่านี้ทุกข์เป็นของ
จริง คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่กล่าวว่า นี้ทุกข์ สิ่งนั้นชื่อว่า เป็น
ของแท้ เพราะตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ทุกข์นั่นแหละคือทุกข์ ชื่อว่า
เป็นของไม่ผิด เพราะไม่มีสิ่งตรงกันข้ามในสภาวะดังกล่าวแล้ว เพราะทุกข์
ไม่มี ก็ชื่อว่า ไม่มีทุกข์ ชื่อว่าไม่เป็นอย่างอื่นเพราะปราศจากสภาพอื่น.
จริงอยู่ ทุกข์ไม่มีสภาพเป็นสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ได้. แม้ในสมุทัยเป็นต้น
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ
บทว่า ตถฏฺเน ด้วยอรรถเป็นของแท้ คือ ด้วยอรรถตามความ
เป็นจริง. บทว่า ปีฬนฏโ สภาพบีบคั้นเป็นต้น มีความดังกล่าวแล้วใน
ญาณกถานั่นแล.
บทว่า เอกปฺปฏิเวธานิ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว คือ แทง
ตลอดด้วยมรรคญาณเดียว หรือชื่อว่า เอกปฺปฏิเวธานิ เพราะมีการแทง
ตลอดร่วมกัน. บทว่า อนตฺตฏฺเน ด้วยความเป็นอนัตตา คือ ด้วยความ
เป็นอนัตตา เพราะความที่สัจจะแม้ ๒ ปราศจากตน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน
วิสุทธิมรรคว่า โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า ว่างเปล่า
เพราะไม่มีผู้เสวย ผู้กระทำ ผู้ดับและผู้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ ใครๆ เป็นทุกข์หามี
ไม่การกระทำมีอยู่ ใครๆ ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่
ใคร ๆ ผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่คนผู้เดินทางหามีไม่.
อีกอย่างหนึ่ง
ความว่างเปล่า จากความงามความสุขอันยั่งยืน
และตัวตน ความว่างเปล่าจาก ๒ บท ข้างต้นและ
ตัวตนเป็นอมตบท ในสัจจะเหล่านั้น ความว่างเปล่า
เป็นมรรค ปราศจากความสุขยั่งยืนและตัวตน.
บทว่า สจฺจฏฺเน ด้วยความเป็นของจริง คือ ด้วยความไม่ผิดจาก
ความจริง. บทว่า ปฏิเวธฏฺเน ด้วยความเป็นปฏิเวธ คือ ด้วยความพึง
แทงตลอดในขณะแห่งมรรค. บทว่า เอกสงฺคหิตานิ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์
เข้าเป็นหนึ่ง คือ สงเคราะห์ด้วยอรรถหนึ่ง ๆ ความว่า ถึงการนับว่าเป็นหนึ่ง.
บทว่า ย เอกสงฺคหิต ต เอกตฺต สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้น
เป็นหนึ่ง ความว่า เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอรรถหนึ่ง ฉะนั้นจึงเป็นหนึ่ง.
ท่านเพ่งถึงความที่สัจจะทั้งหลายเป็นหนึ่ง แม้ในความที่มีมากแล้วทำให้เป็น
เอกวจนะ.
บทว่า เอกตฺต เอเกน าเณน ปฏิวิชฺฌติ บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว คือ บุคคลกำหนด กำหนดเป็นอย่างดีถึงความที่สัจจะ ๔
ต่างกันและเป็นอันเดียวกัน ในส่วนเบื้องต้นแล้วดำรงอยู่ ย่อมแทงตลอด
สัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น ด้วยมรรคญาณหนึ่งในขณะแห่ง
มรรค. อย่างไร เมื่อแทงตลอดสัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น แห่ง
นิโรธสัจ ย่อมเป็นอันแทงตลอดสัจจะหนึ่งมีความเป็นของแท้เป็นต้น แม้แห่ง
สัจจะที่เหลือก็เหมือนกัน. เมื่อพระโยคาวจรกำหนด กำหนดด้วยดีถึงความต่างกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
และเป็นอันเดียวกันแห่งขันธ์ ๕ ในส่วนเบื้องต้น แล้วตั้งอยู่ ในเวลาออกจาก
มรรค ออกโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ หรือโดยความ
เป็นอนัตตา แม้เมื่อเห็นขันธ์หนึ่ง โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น แม้
ขันธ์ที่เหลือก็เป็นอันเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ฉันใด แม้ข้อนี้
ก็พึงเห็นมีอุปมาฉันนั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺส ทุกฺขฏฺโ ตถฏฺโ สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์
เป็นสภาพแท้ คือ อรรถ ๔ อย่างมีความบีบคั้นแห่งทุกขสัจเป็นต้น เป็น
สภาพแท้ เพราะเป็นจริง. แม้ในสัจจะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อรรถ ๔
อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่า เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เพราะไม่มีตัวตน ชื่อว่า เป็น
สภาพจริง เพราะไม่ผิดไปจากความจริงโดยสภาพดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า เป็น
สภาพแทงตลอด เพราะควรแทงตลอดในขณะแห่งมรรค.
บทมีอาทิว่า ย อนิจฺจ สิ่งใดไม่เที่ยง ท่านแสดงทำสามัญลักษณะ
ให้เป็นเบื้องต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ย อนิจฺจ ต ทุกฺข ย ทุกฺข ย ทุกฺข ต อนิจฺจ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่เที่ยง ท่านหมายเอา
ทุกข์ สมุทัย และมรรค เพราะสัจจะ ๓ เหล่านั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง และ
ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง. บทว่า ย อนิจฺจญฺจ ทุกฺขญฺจ ต อนตฺตา
สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ท่านสงเคราะห์นิโรธสัจกับ
มรรค ๓ เหล่านั้น. จริงอยู่ แม้สัจจะ ๔ ก็เป็นอนัตตา. บทว่า ต ตถ
สิ่งนั้นเป็นของแท้ คือ สิ่งนั้นเป็นของจริงเป็นสัจจจตุกะ. บทว่า ต สจฺจ
สิ่งนั้นเป็นของจริง คือ สิ่งนั้นนั่นแหละไม่ผิดไปจากความจริง ตามสภาพเป็น
สัจจจตุกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
ในบทมีอาทิว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ พึงทราบว่าท่านแสดง
ด้วยความรู้ยิ่ง เพราะพระบาลีว่า สพฺพ ภิกฺขเว อภิญฺเยฺย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งควรรู้ยิ่งทั้งปวงเป็นอาทิ ด้วยความกำหนดรู้ เพราะความปรากฏ
แห่งญาติปริญญาในสัจจะ ในสัจจะนี้แม้แยกกันในความกำหนดรู้ทุกข์ ใน
การละสมุทัย ในการเจริญมรรค ในการทำให้แจ้งนิโรธ ด้วยการละ เพราะ
ปรากฏการละด้วยเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยการเจริญ เพราะปรากฏการเจริญอริยสัจ
๔ ด้วยทำให้แจ้ง เพราะปรากฏการทำให้แจ้งอริยสัจ ๔.
ในบทมีอาทิว่า นวหากาเรหิ ตถฏฺเน ด้วยความเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๙ ท่านประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วครั้งแรกนั่นเอง. ในบทมีอาทิว่า
ทฺวาทสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ ๒ ความเป็นของแท้เป็นต้น มีความ
ดังกล่าวแล้วในญาณกถา. พึงทราบการประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในนิเทศ
แห่งอาการเหล่านั้น.
ในบทมีอาทิว่า สจฺจาน กติ ลกฺขณานิ สัจจะมีลักษณะเท่าไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแยกลักษณะ ๖ ที่ควรกล่าวต่อไปเป็นสองส่วน คือ
เป็นสังขตะและอสังขตะ แล้วตรัสว่า เทฺว ลกฺขณานิ มีลักษณะ ๒ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตลกฺขณญฺจ อสงฺขตลกฺขณญฺจ สังขตลักษณะ
และอสังขตลักษณะ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสังขตลักษณะและอสังขต-
ลักษณะไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
เหล่านี้ คือ ความเกิดปรากฏ ความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่น
ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ เหล่านี้ คือ
ความเกิดไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่น
ไม่ปรากฏ ดังนี้ แต่สังขตธรรมไม่ใช่ลักษณะ ลักษณะไม่ใช่สังขตธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
อนึ่ง เว้นสังขตธรรมเสียแล้วไม่สามารถบัญญัติลักษณะได้ แม้เว้นลักษณะ
เสียแล้วก็ไม่สามารถบัญญัติสังขตธรรมได้ แต่สังขตธรรมย่อมปรากฏได้ด้วย
ลักษณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงลักษณะทั้งสองนั้นโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า ฉ ลกฺขณานิ ลักษณะทั้งหลาย ๖. บทว่า สงฺขตาน สจฺจาน
สัจจะที่ปรุงแต่ง คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ และมรรคสัจ เพราะสัจจะเหล่านั้น
ชื่อว่า สังขตะ เพราะอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง. บทว่า อุปฺปาโท คือ ชาติ.
บทว่า ปญฺายติ คือ ย่อมให้รู้. บทว่า วโย คือ ความดับ. บทว่า
ิตาน อญฺถตฺต เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรากฏ คือ เมื่อยังตั้งอยู่ ความเป็น
อย่างอื่น คือ ชราปรากฏ เพราะสัจจะที่ปรุงแต่ง ๓ สำเร็จแล้ว ท่านจึงกล่าว
ถึงความเกิด ความเสื่อม และความแปร แต่ไม่ควรกล่าวถึงความเกิด ความ
เสื่อม และความแปร เพราะความเกิด ความชรา และความดับของสัจจะที่
ปรุงแต่งเหล่านั้นยังไม่สำเร็จ ไม่ควรกล่าวว่า ความเกิด ความเสื่อมและ
ความแปรไม่ปรากฏ เพราะอาศัยสิ่งปรุงแต่ง แต่ควรกล่าวว่าเป็นสังขตะ
เพราะความผิดปกติของสังขตะ. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ความเกิด ความชรา
เเละความดับของทุกข์และสมุทัย นับเนื่องด้วยสัจจะ ความเกิด ความชรา
ความดับของมรรคสัจ ไม่นับเนื่องด้วยสัจจะ.
ในบทนั้นท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งขันธกวรรคว่า ในขณะสังขตะ
ทั้งหลายเกิด สังขตะทั้งหลายก็ดี ลักษณะแห่งความเกิดก็ดี ขณะสังขตะเกิด
นั้นกล่าว คือ กาลก็ดีย่อมปรากฏ เมื่อความเกิดล่วงไป สังขตะก็ดี ลักษณะชรา
ก็ดี ขณะแห่งความเกิด กล่าวคือกาลก็ดีย่อมปรากฏ ในขณะดับ สังขตะก็ดี
ชราก็ดี ลักษณะดับก็ดี ขณะแห่งความดับนั้นกล่าวคือกาลก็ดีย่อมปรากฏ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
บทว่า อสงฺขตสฺส สจฺจสฺส สัจจะที่ไม่ปรุงแต่ง คือ นิโรธสัจ
เพราะนิโรธสัจนั้นชื่อว่าอสังขตะ เพราะสำเร็จเองไม่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า ิตสฺส เมื่อตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่เพราะความเป็นสภาพเที่ยง มิได้ตั้งอยู่
เพราะความถึงฐานะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงลักษณะทั้งสองนั้นอีกโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า ทฺวาทส ลกฺขณานิ ลักษณะทั้งหลาย ๑๒.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า จตุนฺน สจฺจาน กติ กุสลา
สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร ดังต่อไปนี้. บทว่า อพฺยากต อัพยากฤต (ทำให้
แจ้งไม่ได้) คือ นิพพานเป็นอัพยากฤตในอัพยากฤต ๔ คือ วิบากเป็นอัพยากฤต
กิริยาเป็นอัพยากฤต รูปเป็นอัพยากฤต นิพพานเป็นอัพยากฤต เพราะอัพยากฤต
แม้ ๔ ชื่อว่า อัพยากฤต เพราะทำให้แจ้งไม่ได้ด้วยลักษณะเป็นกุศลและอกุศล.
บทว่า สิยา กุสล เป็นกุศลก็มี คือ เป็นกุศลด้วยอำนาจแห่งกามาวจรกุศล
รูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล. บทว่า สิยา อกุสล เป็นอกุศลก็มี คือ
เป็นอกุศลด้วยอำนาจแห่งอกุศลที่เหลือเว้นตัณหา. บทว่า สิยา อพฺยากต
เป็นอัพยากฤตก็มี คือ เป็นอัพยากฤตด้วยอำนาจแห่งวิบากกิริยาอันเป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร และแห่งรูปทั้งหลาย. พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า
สิยา ตีณิ สจฺจานิ พึงเป็นสัจจะ ๓ ดังต่อไปนี้. บทว่า สงฺคหิตานิ
ท่านสงเคราะห์ คือ นับเข้า. บทว่า วตฺถุวเสน ด้วยสามารถแห่งวัตถุ คือ
ด้วยสามารถแห่งวัตถุกล่าวคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคที่เป็นอกุศล กุศล
และอัพยากฤต. บทว่า ย ทุกฺขสจฺจ อกุสล ทุกขสัจเป็นอกุศล คือ อกุศล
ที่เหลือเว้นตัณหา. บทว่า อกุสลฏฺเน เทฺว สจฺจานิ เอกสจฺเจน
สงฺคหิตานิ สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยความเป็นอกุศล คือ
ทุกขสัจและสมุทยสัจ ๒ เหล่านี้ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
อกุศล อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นอกุศลสัจจะ บทว่า เอกสจฺจ ทฺวีหิ สจฺเจหิ
สงฺคหิต สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ คือ อกุศลสัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์
ด้วยทุกขสัจและสมุทยสัจ ๒. บทว่า ย ทุกฺขสจฺจ กุสล ทุกขสัจเป็นกุศล
คือ เป็นกุศล เป็นไปในภูมิ ๓ ทุกขสัจและมรรคสัจ ๒ เหล่านี้ท่านสงเคราะห์
ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยความเป็นกุศล ชื่อว่าเป็นกุศลสัจจะ กุศลสัจจะ ๑ ท่าน
สงเคราะห์ด้วยทุกขสัจและมรรคสัจ ๒. บทว่า ย ทุกฺขสจฺจ อพฺยากต
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต คือ วิบากกิริยาอันเป็นไปในภูมิ ๓ และรูป ทุกขสัจ
และนิโรธสัจ ๒ เหล่านี้ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤตสัจจะ อัพยากฤตสัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยทุกขสัจและ
นิโรธสัจ ๒.
บทว่า ตีณิ สจฺจานิ เอกสจฺเจน สงฺคหิตานิ สัจจะ ๓ ท่าน
สงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ คือ สมุทยสัจ มรรคสัจ และนิโรธสัจ ท่านสงเคราะห์
ด้วยทุกขสัจอันเป็นอกุศล กุศล และอัพยากฤต ๑. บทว่า เอก สจฺจ ตีหิ
สจฺเจหิ สงฺคหิต สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๓ คือ ทุกขสัจ ๑
ท่านสงเคราะห์ด้วยสมุทยสัจ มรรคสัจและนิโรธสัจอันเป็นอกุศล กุศล และ
อัพยากฤตไว้ต่างหาก. ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า ทุกขสัจและ
สมุทยสัจท่านสงเคราะห์ด้วยสมุทยสัจ ด้วยความเป็นอกุศล ทุกขสัจและมรรคสัจ
ท่านสงเคราะห์ด้วยมรรคสัจ ด้วยความเป็นกุศล มิใช่ด้วยความเป็นทัศนะ.
ทุกขสัจและนิโรธสัจท่านสงเคราะห์ด้วยนิโรธสัจ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
มิใช่ด้วยความเป็นอสังขตะ.
จบอรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
อรรถกถาทุติยสุตตันตปาลินิเทศ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงชี้แจงการแทงตลอดสัจจะด้วย
อำนาจแห่งอรรถของพระสูตรอื่นอีก จึงทรงนำพระสูตรมาทรงแสดงมีอาทิว่า
ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ภิกฺขเว สมฺโพธา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ คือ แต่สัพพัญญุตญาณของเรา. บทว่า
อนภิสมฺพุทฺธสฺส ยังไม่ตรัสรู้ คือ ยังไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวง. บทว่า
โพธสตฺตสฺเสว สโต คือ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์. บทว่า เอตทโหสิ ได้มีความ
คิดนี้ คือ เมื่อเรานั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ได้มีความปริวิตกนี้. บทว่า อสฺสาโท
ความพอใจ ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะความพอใจ. บทว่า อาทีนโว คือ
เป็นโทษ. บทว่า นิสฺสรณ เป็นอุบายเครื่องสลัดออก คือ หลีกออกไป.
บทว่า สุข ชื่อว่า สุข เพราะถึงความสบาย อธิบายว่า กระทำรูปที่เกิดขึ้น
ให้มีความสุข. บทว่า โสมนสฺส ชื่อว่า สุมนะ เพราะมีใจงาม เพราะประกอบ
ด้วยปีติและโสมนัส ความเป็นแห่งความมีใจงาม ชื่อว่า โสมนัส ความสุข
นั่นแหละวิเศษกว่าการประกอบด้วยปีติ. บทว่า อนิจฺจ คือ ไม่ยั่งยืน. บทว่า
ทุกฺข ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ และเพราะสังขารเป็นทุกข์.
บทว่า วิปริณามธมฺม มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา คือ ไม่อยู่ในอำนาจ
มีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยชราและความดับเป็นปกติ ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง
ความไม่มีตัวตน. บทว่า ฉนฺทราควินโย ความกำจัดฉันทราคะ คือ
กั้นราคะอันได้แก่ฉันทะ มิใช่กั้นราคะ คือ ผิวพรรณ. บทว่า ฉนฺทราคปฺปหาน
ความละฉันทราคะ คือ ละฉันทราคะนั้นนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ยาวกีวญฺจ เพียงใดดังต่อไปนี้.
เรายังไม่รู้ทั่วถึง คือ ไม่แทงตลอดด้วยญาณอันยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ฯลฯ
แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณ
คือ ไม่ทำการปฏิญญา ว่า เราเป็นอรหันต์ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
คือ ความเป็นสัพพัญญู ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเพียงนั้น พึงทราบอรรถโดยความ
เชื่อมด้วยประการฉะนี้. บทว่า กีวญฺจ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยโต
คือ เพราะเหตุใด หรือในกาลใด. บทว่า อถ คือในลำดับ.
บทว่า าณญฺจ ปน เม ทสฺสน อุทปาทิ ญาณทัศนะเกิดขึ้น
แก่เรา คือ ปัจจเวกขณญาณ คือ ทัศนะเกิดขึ้นแก่เราด้วยทำด้วยทำกิจคือทัศนะ. บทว่า
อกุปฺปา ไม่กำเริบ คือ ไม่อาจให้กำเริบ ให้หวั่นไหวได้. บทว่า วิมุตฺติ
คือ อรหัตผลวิมุตติ แม้การพิจารณามรรคนิพพานก็เป็นอันท่านกล่าวด้วยการ
พิจารณาผลนั่นเอง. บทว่า อยมนฺติมา ชาติ ชาตินี้มีในที่สุด คือ ความ
เป็นไปแห่งขันธ์นี้มีในที่สุด. บทว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว บัดนี้ความเกิด
อีกมิได้มี คือ บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงการพิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว เพราะการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีแก่พระอรหันต์.
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตปาลินิเทศ
อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ
การรู้ว่า สุขโสมนัสสัมปยุตด้วยตัณหานี้เป็นคุณแห่งรูป ในลำดับ
แห่งการประกอบสัจจปฏิเวธญาณ และในส่วนเบื้องต้นว่า อย รูปสฺส อสฺสา-
โทติ ปหานปฺปฏิเวโธ การแทงตลอดด้วยการละว่า สุขโสมนัสนี้เป็นคุณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
แห่งรูป แล้วแทงตลอดสมุทยสัจ กล่าวคือการละสมุทัยในขณะแห่งมรรค.
บทว่า สมุทยสจฺจ สมุทยสัจ คือ ญาณอันแทงตลอดสมุทยสัจ. จริงอยู่
แม้อารัมมณญาณอันเป็นอริยสัจ ท่านก็กล่าวว่า สัจจะ ดุจในประโยคมีอาทิ
ว่า กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมถึงการสง-
เคราะห์เข้าในอริยสัจ ๔.
การรู้ว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดานี้เป็น
โทษแห่งรูปในส่วนเบื้องต้นว่า อย รูปสฺส อาทีนโวติ ปริญฺาปฏิเวโธ
การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไป
เป็นธรรมดานี้เป็นโทษแห่งรูป แล้วแทงตลอดทุกขสัจ กล่าวคือ การกำหนดรู้
ทุกข์ในมรรคญาณ. บทว่า ทุกฺขสจฺจ ได้แก่ ญาณอันแทงตลอดทุกขสัจ.
การรู้ว่า นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่รูปในส่วนเบื้องต้นว่า อิท
รูปสฺส นิสฺสรณนฺติ สจฺฉิกิริยาปฏิเวโธ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า
การกำจัดฉันทราคะการละฉันทราคะนี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป แล้ว
แทงตลอดนิโรธสัจกล่าวคือ การทำให้แจ้งนิโรธสัจในขณะแห่งมรรค. บทว่า
นิโรธสจฺจ นิโรธสัจ คือญาณแทงตลอดนิโรธสัจ มีนิโรธสัจเป็นอารมณ์.
บทว่า ยา อิเมสุ ตีสุ าเนสุ ในฐานะ ๓ เหล่านี้ พึงทราบการประกอบความ
ว่า ทิฏฐิ สังกัปปะ เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งการแทงตลอดใน สมุทัย ทุกข์
นิโรธ ๓ ตามที่กล่าวแล้วนี้. บทว่า ภาวนาปฏิเวโธ การแทงตลอดด้วย
ภาวนา คือ แทงตลอดด้วยมรรคสัจ อันได้แก่มรรคภาวนานี้. บทว่า มคฺค-
สจฺจ มรรคสัจ คือ ญาณอันแทงตลอดมรรคสัจ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง สัจจะและการแทงตลอดสัจจะ
โดยปริยายอื่นอีกจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สจฺจนฺติ กตีหากาเรหิ สจฺจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
สัจจะด้วยอาการเท่าไร. ในบทนั้น เพราะพระสัพพัญญูโพธิสัตว์แม้ทั้งปวง
นั่งเหนือโพธิบัลลังก์แสวงหาสมุทยสัจมีชาติเป็นต้น ของทุกขสัจ มีชรามรณะ
เป็นต้นว่าอะไรหนอ. อนึ่ง เมื่อแสวงหาอย่างนั้นจึงกำหนดถือเอาว่า สมุทยสัจ
มีชาติเป็นต้นเป็นปัจจัยของทุกขสัจมีชราและมรณะเป็นต้น ฉะนั้น การแสวงหา
นั้น และการกำหนดนั้น ท่านทำว่าเป็นสัจจะ เพราะแสวงหาเเละเพราะกำหนด
สัจจะทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวว่า เอสนฏฺเน ปริคฺคนฏฺเน ด้วยความแสวงหา
ด้วยความกำหนด.
อนึ่ง วิธีนี้ย่อมได้ในการกำหนดปัจจัย แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย แต่ย่อมได้ในการกำหนดปัจจัยของพระสาวกทั้งหลาย ด้วยการเชื่อฟัง.
บทว่า ปฏิเวธฏฺเน ด้วยความแทงตลอด คือ ด้วยความแทงตลอดเป็นอัน
เดียวกันในขณะแห่งมรรค ของผู้แสวงหาและของผู้กำหนดอย่างนั้นในส่วน
เบื้องต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า กึนิทาน ดังต่อไปนี้. บทว่า นิทาน
เป็นต้น เป็นไวพจน์ของเหตุทั้งหมด เพราะเหตุย่อมมอบให้ซึ่งผล ดุจบอกว่า
เชิญพวกท่านรับของนั้นเถิดดังนี้ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิทาน เพราะผล
ย่อมตั้งขึ้น เกิดขึ้น เป็นขึ้น จากเหตุนั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สมุทย ชาติ
ปภโว. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้. ชื่อว่า กึนิทาน เพราะมีอะไรเป็นเหตุ.
ชื่อว่า กึสมุทย เพราะมีอะไรเป็นสมุทัย. ชื่อว่า กึชาติก เพราะมีอะไร
เป็นกำเนิด. ชื่อว่า กึปภว เพราะมีอะไรเป็นแดนเกิด.
อนึ่ง เพราะชรามรณะนั้นมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็น
กำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชาตินิทาน มีชาติเป็นเหตุ เป็นอาทิ. บทว่า ชรามรณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
ชราและมรณะ คือ ทุกขสัจ. บทว่า ชรามรณสมุทย เหตุเกิดแห่งชรา
และมรณะ คือ สมุทยสัจเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะนั้น. บทว่า ชรามรณ-
นิโรธ ความดับแห่งชราและมรณะ คือ นิโรธสัจ. บทว่า ชรามรณนิโรธ-
คามินีปฏิปท ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ คือ มรรคสัจ.
พึงทราบอรรถในบททั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า นิโรธปฺปชานนา การรู้
ชัดความดับ คือ รู้ความดับด้วยทำอารมณ์. บทว่า ชาติ สิยา ทุกฺขสจฺจ
สิยา สมุทยสจฺจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ชื่อว่า ทุกขสัจ
ด้วยความปรากฏ เพราะภพเป็นปัจจัย ชื่อว่า สมุทยสัจ ด้วยความเป็นปัจจัย
ของชราและมรณะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า อวิชฺชา สิยา ทุกฺข-
สจฺจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี คือ อวิชชาเป็นสมุทัยแห่งอาสวะด้วยความมี
อวิชชาเป็นสมุทัย.
จบอรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ
จบอรรถกถาสัจจกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗
[๕๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ
เป็นไฉน ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑
ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล.
คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้
ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้
ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้
เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น
เหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุง
ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความ
ตรัสรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
[๕๕๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่า
ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะ
อรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์
เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรมอัน
เป็นมูล เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่า
เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้
ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถ
ว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าประพฤติตามเหตุ... เพราะอรรถว่าเจริญความ
ชำนาญในความแตกฉานในเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ
ในความแตกฉานในเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติ
ตามปัจจัย...เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย เพราะ
อรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติหมดจด... เพราะอรรถว่าเจริญความ
ชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะ
อรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตก
ฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะ เพราะอรรถว่า
ประพฤติเนกขัมมะ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานใน
เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉาน
ในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่าประพฤติหลุดพ้น...
เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น
เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ... เพราะอรรถ
ว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้
ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ เพราะอรรถ
ว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถว่าประพฤติวิเวก... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ
ในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในวิเวก เพราะอรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อย
วาง เพราะอรรถว่ากำหนดความปล่อยวาง เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็น
บริวาร เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีความปล่อย
วางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึง
ความแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความ
แตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในความปล่อยวาง.
[๕๕๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่า
ตรัสรู้สภาพอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด
ว่าตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพ
วิมุตติ ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพปล่อยวาง
ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ-
ธรรมอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิมุตติ ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิเวก ว่าตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
สภาพความประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ
ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร
ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็น
มูลบริบูรณ์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
อันเป็นมูลแก่กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้
สภาพความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานใน
ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ
ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความ
เจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ
ความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯลฯ.
[๕๖๐] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพระอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่า
ตรัสรู้สภาพบริวาร ฯลฯ ตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์
เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพ
ความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีกิเลสเครื่อง
หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมี
อารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ
ว่าตรัสรู้สภาพสละ ว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป
ว่าตรัสรู้สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่า
ตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน
ไม่มีนิมิต ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอัน
ว่างเปล่า ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
อันไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
นำออก ว่าตรัสรู้สภาพแห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสสนะ ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
ที่เป็นใหญ่.
[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
สมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอัน
เดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน
ว่าตรัสรู้ความสมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้
ความประคองจิตที่หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉย
แห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความ
แทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่าตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่
ในนิโรธ.
[๕๖๒] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่ง
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ
ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหา
ทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็น
ชอบแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่
หวั่นไหวแห่งพละ ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความเป็นเหตุ
แห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัม-
มัปปธาน ว่าตรัสรู้ความให้สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้
แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับแห่งประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่าตรัสรู้ความตรองแห่งวิจาร ว่าตรัสรู้ความ
แผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไปแห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียว
แห่งจิต.
[๕๖๓] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้
สภาพความรู้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่า
ตรัสรู้สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้
สภาพที่ควรกำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่าตรัสรู้สภาพ
มีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่า
ตรัสรู้สภาพเป็นกองแห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพ
เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่า
ตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม.
[๕๖๔] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้
สภาพที่มีอยู่ในระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ
ความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัย
แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้
สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ
ความประพฤติแห่งจิต. ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต.
[๕๖๕] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
รู้ชัดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่า
ตรัสรู้สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความแล่นไปในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 515
เพิกเฉยในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำ
เป็นดุจยานในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนือง ๆ ในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ
ความตั้งขึ้นเนือง ๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพสะสมในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพปรารภด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์
ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพในธรรมอย่างเดียว
ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น
ด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่าง-
เดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้
ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
สภาพที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมใน
ธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ตามในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อมในธรรม
อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
สว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างตามในธรรมอย่างเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่าง
พร้อมในธรรมอย่างเดียว.
[๕๖๖] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่ง
วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง
ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่า
ตรัสรู้สภาพธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่หามลทินมิได้ ว่า
ตรัสรู้สภาพความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัด
ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้
สภาพความประพฤติสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความ
ประพฤติความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
ความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหลุดพ้น
ว่าตรัสรู้สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็น
บาปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้
สำเร็จแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้
แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพ
วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา
ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา
ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่า
ตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา.
[๕๖๗] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์
ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่ง
สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่ประกอบไว้แห่ง
สมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่งทุกขนิโรธ
ว่าตรัสรู้สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกข-
นิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขวิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่ง
มรรค ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่า
ตรัสรู้สภาพความเป็นใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพ
เป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่าตรัสรู้
สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม
ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง
ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความ
ไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญา ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้การ
กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯ
ว่าตรัสรู้อรหัตมรรค.
[๕๖๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่า
น้อมใจเชื่อ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรูส้สัทธาพละด้วย
ความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความ
ว่าไม่หวั่นไหวในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าตั้งมั่น ฯลฯ
ว่าตรัสรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฏฐิ
ด้วยความว่าเห็น ฯลฯ ว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้
สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความ
ว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาทด้วยความ
ว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความ
ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและ
วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความ
ว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม ว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วย
ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรู้วิโมกข์ด้วย
ความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วย
ความว่าสละ ว่าตรัสรู้ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณในความไม่
เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้มนสิการ
ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม ว่าตรัสรู้
เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่า
ตรัสรู้สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่า
ธรรมนั้น ๆ ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วยความว่าเป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลง
ในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยความหมายของโพชฌงค์
[๕๖๙] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ-
สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗
ประการเป็นไฉน ? คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เรา
ก็อยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
ซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป
เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯลฯ ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยว
ไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชา หรือ
ของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น
ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
เวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเข้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ในโพชฌงค์
๗ ประการนี้...ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้.
[๕๗๐] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น
มีอยู่อย่างไร ?
นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรา
มีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน
กำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มี
เพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น.
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่อย่างไร ?
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดขึ้นภพ
ใหม่มีประมาณ นิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธ
ย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหา
ประมาณมิได้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.
โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น
มีอยู่อย่างไร ?
กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพ
ใหม่ ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด
เพราะความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
[๕๗๑] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า
ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไป
ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อนไป
ด้วยอาการ ๘.
สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ? สติสัมโพชฌงค์
ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึง
ความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึก
ถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึง
นิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพชฌงค์
ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้.
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ? สติสัมโพชฌงค์
ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี
ความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน
ไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอัน
ไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความนึกถึงสังขารสติสัมโพชฌงค์
ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์
ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเรา
เคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ.
[๕๗๒] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้
นั้น มีอยู่อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน
กำลังสว่างอยู่...
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเขกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้
นั้น มีอยู่อย่างไร...
โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น
มีอยู่อย่างไร...
เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรง
อยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ
ปัจจัยนี้อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อน
ไปด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อน
ไปด้วยอาการ ๘.
[๕๗๓] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ?
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มี
ความเกิดขึ้น ๑ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด ๑ เพราะอรรถ
ว่า ตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป
๑ ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑
ด้วยความไม่นึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วย
ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑
ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงสังขาร ๑ ด้วยความ
ไม่นึกถึงนิโรธ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรา
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้
เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้.
จบโพชฌงคกถา
อรรถกถาโพชฌงคกถา
บัดนี้ จะพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโพชฌงค-
กถาอันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความวิเศษ
ของโพชฌงค์ให้สำเร็จการแทงตลอดสัจจะตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โพชฺฌงฺคา
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งบุคคลผู้
ตรัสรู้. พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีอันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ
วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค
เป็นปฏิปักษ์แห่งอันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่รวบรวม
ประกอบกามสุข ทำตนให้ลำบาก อุจเฉททิฏฐิ สัสสตทิฏฐิและความถือมั่น
เป็นต้น เพื่อเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โพธิ ผู้ตรัสรู้. บทว่า พุชฺฌติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
ย่อมตรัสรู้ ท่านอธิบายว่า ออกจากความหลับอันเป็นสันดานของกิเลส หรือ
แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว
ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้ อันได้แก่ธรรมสามัคคีนั้น ดุจองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น.
แม้พระอริยสาวกใดย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนั้นมีประการตามที่กล่าวแล้ว
ท่านเรียกพระอริยสาวกนั้นว่า โพธิ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่ง
ผู้ตรัสรู้นั้น ดุจองค์เสนาและองค์รถเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. ท่าน
กล่าวอรรถแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้นไว้ในอภิญเญยยนิเทศ.
พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌังคัตถนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า โพธิย
สวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปในความตรัสรู้ คือ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การ
ตรัสรู้. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของใคร. เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของ
ผู้มีกิจอันทำแล้วด้วยการพิจารณานิพพานด้วยมรรคและผล หรือเพื่อประโยชน์
แก่การตื่นจากความหลับ เพราะกิเลส ท่านอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความ
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยผล. โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แม้มีวิปัสสนาเป็น
กำลัง. นี้เป็นอธิบายทั่วไปของโพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนามรรคและผล. โพชฌงค์
เหล่านั้นย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ในฐานะ ๓ เพื่อแทงตลอดนิพพาน. ด้วย
บทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงคำว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้. ที่
เกิดของโพชฌงค์ ท่านกล่าวไว้ด้วยจตุกะ ๕ มีอาทิว่า พุชฺฌนฺตีติ โพชฺฌงฺคา
ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ ท่านกล่าวไว้ในอภิญเญยยนิเทศ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พุชฺฌนฺติ ชี้แจงถึงผู้ทำ เพื่อให้เห็นความเป็นผู้สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
ในการทำกิจของตนแห่งโพชฌงค์. บทว่า พุชฺฌนฏฺเน เพราะอรรถว่า
ตรัสรู้ แม้ความเป็นผู้สามารถในการทำกิจของตนมีอยู่ ก็ชี้แจงถึงภาวะเพื่อ
ให้เห็นความไม่มีผู้ทำ. บทว่า โพเธนฺติ ให้ตรัสรู้ เมื่อพระโยคาวจรตรัสรู้
ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ชี้แจงถึงเหตุกัตตา (ผู้ใช้ให้ทำ) แห่งโพชฌงค์ เพราะ
เป็นผู้ประกอบ. บทว่า โพธนฏฺเน เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ คือ ชี้แจงถึง
ภาวะของผู้ใช้ให้ทำ เพราะเป็นผู้ประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วครั้งแรกนั่นแหละ.
บทว่า โพธิปกฺขิยฏฺเน เพราะอรรถว่าเป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ คือ เพราะ
เป็นไปในฝ่ายของพระโยคาวจรผู้ได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้.
นี้เป็นการชี้แจงความที่โพชฌงค์เหล่านั้นเป็นอุปการะแก่พระโยคาวจร. ด้วยบท
เหล่านี้ท่านอธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้. พึงทราบ
วินิจฉัยในลักษณะมีอาทิว่า พุทฺธิลภนฏฺเน เพราะอรรถให้ได้ความตรัสรู้.
บทว่า พุทฺธิลภนฏฺเน คือ เพราะอรรถให้พระโยคาวจรถึงความตรัสรู้.
บทว่า โรปนฏฺเน เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ คือ เพราะอรรถให้สัตว์
ทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า ปาปนฏฺเน เพราะอรรถให้ถึงความตรัสรู้ คือ
เพราะอรรถให้สำเร็จความที่ให้สัตว์ดำรงอยู่.
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาเหล่านี้ คือโพชฌงค์
เป็นมรรคผลต่างกันด้วยอุปสรรค ๓ ศัพท์ คือ ปฏิ-อภิ-ส เฉพาะ-ยิ่ง-พร้อม.
พึงทราบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
โพชฌงค์ทั้งหลายท่านชี้แจงไว้ด้วยธรรมโวหารแม้ทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา
พึงทราบวินิจฉัยในมูลมูลกทสกะมีอาทิว่า มูลฏฺเน ดังต่อไปนี้. บทว่า
มูลฏฺเน เพราะอรรถว่าเป็นมูล คือ ในวิปัสสนาเป็นต้น เพราะอรรถว่า
โพชฌงค์ก่อน ๆ เป็นมูลของโพชฌงค์หลัง ๆ ของสหชาตธรรม และของกัน
และกัน. บทว่า มูลจริยฏฺเน เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล
คือ ประพฤติเป็นไปเป็นมูล ชื่อว่า มูลจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเป็น
มูลนั้น อธิบายว่า เพราะอรรถว่าเป็นมูลแล้วจึงเป็นไป. บทว่า มูลปริคฺ-
คหฏฺเน เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล คือ โพชฌงค์เหล่านั้นชื่อว่า
กำหนด เพราะกำหนดเพื่อต้องการให้เกิดตั้งแต่ต้น การกำหนดมูลนั่นแหละ
ชื่อว่า มูลปริคฺคหา เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมที่เป็นมูลนั้น เพราะอรรถว่า
มีธรรมเป็นบริวาร ด้วยเป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่ามีธรรม
บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา เพราะอรรถว่ามีธรรมแก่กล้า ด้วยให้บรรลุ
ความสำเร็จ. ชื่อว่า มูลปฏิสมฺภิทา แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะมูล
๖ อย่างเหล่านั้น และชื่อว่าปฏิสัมภิทา เพราะแตกฉานในประเภท เพราะ
อรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล. บทว่า มูลปฏิสมฺภิทาปาปนฏฺเน
เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล คือ เพราะอรรถว่า
ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายในการ
เจริญโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญ ด้วยความแตกฉานใน
ธรรมอันเป็นมูลนั้น ของพระโยคาวจรนั้นนั่นเอง. ในโวหารของบุคคลเช่นนี้
แม้ที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้.
พึงทราบว่า โพชฌงค์เป็นผลในการไม่กล่าวถึงความสำเร็จแม้เช่นนี้ ในบทว่า
มูลปฏิสมฺภิทาย วสีภาวปตฺตานมฺปิ แม้ของผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานธรรมอันเป็นมูล. ปาฐะว่า วสีภาว ปตฺตาน ของผู้ถึงความชำนาญ
บ้าง.
จบมูลมูลกทสกะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 527
ในทสกะ ๙ มีเหตุมูลกะเป็นต้น แม้ที่เหลือพึงทราบอรรถแห่งคำทั่วไป
โดยนัยนี้แล. โพชฌงค์ตามที่กล่าวแล้วในคำไม่ทั่วไป ชื่อว่าเหตุ เพราะให้
เกิดธรรมตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า ปัจจัย เพราะช่วยค้ำจุน ชื่อว่า วิสุทธิ
เพราะเป็นความหมดจดแห่งตทังคะ สมุจเฉทะและปฏิปัสสัทธิ ชื่อว่าไม่มีโทษ
เพราะปราศจากโทษ ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะบาลีว่า สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา
เนกฺขมฺม กุศลธรรมแม้ทั้งหมดเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่า วิมุตติ ด้วยสามารถ
แห่งตทังควิมุตติเป็นต้น เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นมรรค
และผล ชื่อว่า อนาสวะ เพราะปราศจากอาสวะอันเป็นขอบเขต. โพชฌงค์
แม้ ๓ อย่างชื่อว่า วิเวก ด้วยสามารถแห่งตทังควิเวกเป็นต้น เพราะว่างเปล่า
จากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่า โวสฺสคฺคา
เพราะปล่อยวางการสละและเพราะปล่อยวางการแล่นไป. โพชฌงค์อันเป็นผล
ชื่อว่า โวสฺสคฺคา เพราะปล่อยวางการแล่นไป. ทสกะ ๙ ท่านชี้แจงด้วยบท
หนึ่ง ๆ มีอาทิว่า มูลฏฺ พุชฺฌนฺติ ตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล พึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ส่วนบทว่า วสีภาวปฺปตฺตาน ท่านไม่บอกเพราะ
ไม่มีคำเป็นปัจจุบันกาล. การกำหนดเป็นต้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในอภิญเญยย-
นิเทศ.
พระเถระครั้นยกสูตรที่ตนแสดงขึ้นแล้วประสงค์จะแสดงโพชฌงค์วิธี
ด้วยการชี้แจงสูตรนั้น จึงกล่าวนิทานมีอาทิว่า เอก สมย แล้วยกสูตรขึ้น
แสดง. อนึ่ง ในสูตรนี้ เพราะเป็นสูตรที่ตนแสดงเอง ท่านจึงไม่กล่าวว่า
เอว เม สุต. อนึ่งในบทว่า อายสฺมา สารูปุตฺโต นี้ ท่านกล่าวทำตน
ดุจคนอื่นเพื่อความฉลาดของผู้แสดง. เพราะอาจารย์ทั้งหลายประกอบคำเช่นนี้
ไว้มากในคันถะทั้งหลายในโลก. บทว่า ปุพฺพณฺหสมย คือ ตลอดเวลาเช้าทั้งสิ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 528
บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม อาวุโส โหติ
ดูก่อนอาวุโส หากว่าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ คือ หากสติสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่อย่างนี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ สติสัมโพชฌงค์ของเรา
ก็หาประมาณมิได้ คือ สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ มีอยู่อย่างนี้.
บทว่า สุสมารทฺโธ เม โหติ ปรารภแล้วด้วยดี คือ สติสัมโพชฌงค์ของเรา
บริบูรณ์ด้วยดีอย่างนี้. บทว่า ติฏฺนฺต ตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยเป็นไปใน
นิพพานารมณ์. บทว่า จวติ เคลื่อนไป คือ หลีกไปจากนิพพานารมณ์
แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า ราชมหามตฺตสฺส คือแห่งมหาอำมาตย์
ของพระราชา หรือผู้ประกอบด้วยประมาณโภคสมบัติ เพราะมีโภคสมบัติมาก.
บทว่า นานารตฺตาน เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ คือ ผ้าย้อมด้วยสีต่าง ๆ. บทนี้เป็น
ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถบริบูรณ์ อธิบายว่า ด้วยสีต่าง ๆ. บทว่า ทุสฺสกรณฺ-
ฑโก คือเปรียบเหมือนตู้เก็บผ้า. บทว่า ทุสฺสยุค ผ้าคู่ คือ คู่ผ้า. บทว่า
ปารุปิตุ คือเพื่อปกปิด. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงโพชฌงค์อันเป็นผลของพระเถระ
จริงอยู่ ในกาลใด พระเถระกระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหัวข้อ แล้วเข้าถึง
ผลสมาบัติ ในกาลนั้น โพชฌงค์นอกนี้ก็ตามสติสัมโพชฌงค์นั้นไป ในกาลใด
เข้าถึงธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกาลนั้น โพชฌงค์
แม้ที่เหลือก็ตามธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นไป เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อจะ
แสดงความที่ตนมีความชำนาญในความประพฤติผลสมาบัติอย่างนั้น จึงกล่าว
สูตรนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 529
อรรถกถาสุตตันตนิเทศ
ในบทว่า กถ สติ สมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ถ้าสติ
สัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร บทว่า โพชฺฌงฺโค ความว่า เมื่อ
พระโยคาวจรเข้าผลสมบัติ ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นประธาน เมื่อโพชฌงค์อื่น
มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมมีอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่า เมื่อสติสัมโพช-
ฌงค์เป็นไปแล้วอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นมีอยู่อย่างไร.
บทว่า ยาวตา นิโรธุปฏฺาติ นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด คือ นิ-
โรธย่อมปรากฏโดยกาลใด อธิบาย นิพพานย่อมปรากฏโดยอารมณ์ในกาลใด.
บทว่า ยาวตา อจฺฉิ เปลวไฟมีเพียงใด คือ เปลวไฟมีโดยประมาณเพียงใด.
บทว่า กถ อปฺปมาโณ อิติ เจ โหตีติ โพชฺฌงฺโค โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นมีอยู่อย่างไร ความว่า เมื่อ
สติสัมโพชฌงค์แม้หาประมาณมิได้มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ก็ย่อมหาประมาณมิได้
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่าสติสัมโพชฌงค์หาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่แก่พระโยคาวจรผู้เป็นไปแล้วอย่างไร. บทว่า ปมาณวนฺตา มีประมาณ
คือ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฺานกิเลส และสังขารอันทำให้เกิดภพใหม่ ชื่อว่า
มีประมาณ. ราคะเป็นต้น เพราะคำว่า ราคะ โทสะ โมหะ กระทำประมาณ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด การทำประมาณแก่ผู้นั้นว่า นี้ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า ประมาณ.
กิเลสเป็นต้น เป็นเครื่องผูกติดอาศัยในประมาณนั้น ชื่อว่า มีประมาณ. บทว่า
กิเลสา คือ เป็นอนุสัย. บทว่า ปริยุฏฺานา คือ กิเลสที่ถึงความฟุ้งซ่าน. บทว่า
สงฺขารา โปโนพฺภวิกา สังขารอันให้เกิดภพใหม่ คือ การเกิดบ่อย ๆ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 530
ปุนัพภวะ. ชื่อว่า โปนพฺภวิกา เพราะมีภพใหม่เป็นปกติ การมีภพใหม่
นั่นแหละ ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา. สังขาร ได้แก่ กุศลกรรมและกุศลกรรม.
บทว่า อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ คือ ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะไม่มี
ประมาณอันมีประมาณดังกล่าวแล้ว เพื่อความวิเศษจากนั้น เพราะแม้มรรค
และผลก็ไม่มีประมาณ. บทว่า อจลฏฺเน อสงฺขตฏฺเน เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว เพราะอรรถว่าเป็นอสังขตธรรมได้กล่าวไว้แล้ว ชื่อว่า ไม่หวั่น
ไหว เพราะไม่มีความดับ ชื่อว่า เป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัย จริงอยู่ ทั้ง
ไม่หวั่นไหว ทั้งเป็นสังขตะปราศจากประมาณอย่างยิ่ง.
บทว่า กถ สุสมารทฺโธ อิติ เม โหตีติ โพชฺฌงฺโค สติสัม-
โพชฌงค์ ชื่อว่า เราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร คือ พึงประกอบโดยนัยดัง
กล่าวแล้วในลำดับ. บทว่า วิสมา ไม่เสมอ ชื่อว่า วิสมา เพราะไม่เสมอ
เอง และเพราะเป็นเหตุแห่งความไม่เสมอ. บทว่า สทฺธมฺโม ชื่อว่า ธรรม
เสมอ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นธรรมประณีต ชื่อว่า สงบ เพราะ
ไม่มีประมาณ ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง
เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตธรรมก็ดี
อสังขตธรรมก็ดีมีประมาณเพียงใด เรากล่าววิราคะว่าเป็นธรรมเลิศกว่าธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น. ปรารภแล้วในธรรมเสมอด้วยดีดังกล่าวแล้วว่าในสมธรรม
นั้น ชื่อว่า สุสมารทฺโธ ปรารภแล้วด้วยดี. บทว่า อาวชฺชิตตฺตา เพราะ
ความนึกถึง ท่านกล่าวหมายถึงกาลอันเป็นไปแล้วด้วยผลสมบัติ ท่านอธิบาย
ไว้ว่า เพราะมโนทวาราวัชชนะเกิดขึ้นแล้วในนิพพานกล่าวคือ อนุบปาทาทิ
(นิพพานอันไม่มีความเกิด) เป็นต้น. บทว่า ติฏฺติ ตั้งอยู่ คือ เป็นไปอยู่.
บทว่า อุปฺปาท (ความเกิด) เป็นต้น มีอรรถดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
ในวาระแม้ที่เป็นโพชฌงค์มูลกะที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาโพชฌงคกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 531
ยุคนัทธวรรค เมตตากถา
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยอานิสงส์และอาการแผ่เมตตา
[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพ
แล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ
อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑
ประการเป็นไฉน ? คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่
ฝันลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดา
ย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาสตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตา
เป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล
กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมแล้ว ปรารภดี
แล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้.
[๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ
เท่าไร ? แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร ? แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ
เท่าไร ? เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะ
จงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 532
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่ในสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ
ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไป
โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕๑ นี้.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน ?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารย-
ชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗๒ นี้.
[๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจง
เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์
ทั้งปวงในทิศประจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทัก-
ษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอ
สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์
รักษาตนอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล
ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารย-
๑. แผ่โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ คือ ๑. สพฺเพ สตฺตา ๒. สพฺเพ ปาณา ๓. สพฺเพ ภูตา
๔. สพฺเพ ปุคฺคลา ๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา
๒. เจาะจงด้วยอาการ ๗ คือ สพฺพา อิตฺถิโย ๒. สพฺเพ ปุริสา ๓. สพฺเพ อริยา ๔. สพฺเพ
อนริยา ๕. สพฺเพ เทวา ๖. สพฺเพ มนุสฺสา ๗. สพฺเพ วินิปาติกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 533
ชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์
ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
ในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
พายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียนเบียดกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา
เจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์
ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑
ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์
ทั้งปวงให้เดือนร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้น
การเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็น
ทุกข์ จิตชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่า
วิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็น
เจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ.
[๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร
ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรม
แล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 534
ตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน
อบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร. . . ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนา
ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการ
นี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลทำให้
มากซึ่งเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการ
ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕
ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้
เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติดีแล้ว
ด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา
เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังกร เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์
เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นพิเศษ เป็นความเห็นว่า
นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง)
ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ด้วย
มนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 535
ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่
หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่
มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญ
เมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ.
ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตา-
เจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้... เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนิน
ขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้
ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 536
ความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า
ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า
ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗
ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติ
ด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้...เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำ
ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปรง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาทิฏฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้
ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญ
เมตตาย่อมกำหนดโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้ง
การงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโต-
วิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้
ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้
โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 537
อันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้
เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์
มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโต-
วิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น
บริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์
มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์
มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ
เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็น
ความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตา-
เจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสม
แล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษ
แล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 538
[๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุตติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ
เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง
สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง
อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่า
มีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา
เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติ
ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจ
ไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง
มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ
ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ
เบียดเบียด ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ใน
ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็น
ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี
ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 539
ในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น
จากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไป
ด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น
ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ
เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง
สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง
อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ใน
ทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศ
พายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมี
ความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑
จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต
เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส
ทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตา-
เจโตวิมุตติ.
[๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 540
มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญ
เมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโต-
วิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตา
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น
อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕
ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย
มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัทธาพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวใน
ความประมาท เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญ
เมตตาไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตา-
อบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้
รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้นั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 541
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
เลือกเฟ้นด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัม-
โพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน
อบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับ
ความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิ
สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็น
อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗
ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดย
ชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
กำหนดโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้
เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตา-
เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความ
เพียรไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 542
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย
สัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค
๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติ
ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็น
ภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ
บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น
ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ
เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน
ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน
ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้
รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
จบเมตตากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 543
อรรถกถาเมตตากถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งเมตตากถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น ดำเนินตามโพชฌงคกถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ในลำดับแห่งโพชฌงคกถา.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า อาเสวิตาย อัน
บุคคลเสพแล้ว คือ เสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ภาวิตาย คือ เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกตาย ทำให้มากแล้ว คือ ทำแล้วบ่อย ๆ. บทว่า ยานีกตาย
ทำให้เป็นดังยาน คือ ทำเช่นกับยานที่เทียมแล้ว. บทว่า วตฺถุกตาย ทำให้
เป็นที่ตั้ง คือ ทำดุจวัตถุเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺิตาย ตั้งไว้
เนือง ๆ คือ ปรากฏแล้ว. บทว่า ปริจิตาย อบรมแล้ว คือ สะสมดำรงไว้
โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธาย ปรารภดีแล้ว คือ ปรารภแล้วด้วยดี ทำ
ด้วยดีแล้ว. บทว่า อานสสา คือ คุณ. บทว่า ปาฏิกงฺขา หวัง คือ
พึงหวัง พึงปรารถนา.
บทว่า สุข สุปติ หลับเป็นสุข คือ หลับเป็นสุขไม่หลับเหมือนตน
ส่วนมาก กรนกลิ้งเกลือกไปมาหลับเป็นทุกข์ แม้ก้าวลงสู่ความหลับก็เป็น
เหมือนเข้าสมาบัติ. บทว่า สุข ปฏิพุชฺฌติ ตื่นเป็นสุข คือ ตื่นเป็นสุข
ไม่ผิดปกติ เหมือนดอกปทุมแย้ม ไม่ตื่นเหมือนคนอื่นที่ทอดถอนบิดกาย
พลิกไปมาตื่นเป็นทุกข์. บทว่า น ปาปก สุปิน ปสฺสติ ไม่ฝันลามก คือ
เมื่อฝันย่อมเห็นฝันอันเจริญ เหมือนไหว้พระเจดีย์ เหมือนทำการบูชา และ
เหมือนฟังธรรม ไม่เห็นความฝันลามกเหมือนคนอื่นฝันเห็นเหมือนถูกโจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
ล้อมตน เหมือนถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนและเหมือนตกลงไปในเหว. บทว่า
มนุสฺสาน ปิโย โหติ เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย คือ เป็นที่รัก เป็นที่
ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย ดุจแก้วมุกดาหารสวมไว้ที่อกและดุจดอกไม้ประดับ
ไว้บนศีรษะ. บทว่า อมนุสฺสาน ปิโย โหติ เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
คือ เป็นที่รักแม้ของอมนุษย์เหมือนเป็นที่รักของมนุษย์. บทว่า เทวตา
รกฺขนฺติ เทวดาย่อมรักษา คือ เทวดาย่อมรักษาดุจมารดาบิดารักษาบุตรฉะนั้น.
บทว่า นาสฺส อคฺคิ วา วิส วา สตฺถ วา กมติ ไฟ ยาพิษ
ศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกลายเขา คือ ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่ก้าวเข้าไป
ในกายของผู้อยู่ด้วยเมตตา อธิบายว่า ไม่ยังกายของเขาให้กำเริบ. บทว่า
ตุวฏ จิตฺต สมาธิยติ จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็ว คือ จิตของผู้อยู่ด้วยเมตตาย่อม
ตั้งมั่นได้เร็ว ไม่มีความชักช้า. บทว่า มุขวณฺโธ วิปฺปสีทติ สีหน้าผ่องใส
คือ หน้าของเขามีสีผ่องใส ดุจตาลสุกพ้นจากขั้ว. บทว่า อสมฺมูฬฺโห กาล
กโรติ ไม่หลงใหลกระทำกาละ คือ ผู้อยู่ด้วยเมตตาไม่หลงตาย ไม่หลงทำ
กาละดุจคนก้าวลงสู่ความหลับ. บทว่า อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต เมื่อยัง
ไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือเมื่อยังไม่สามารถบรรลุพระอรหัตอันยิ่งกว่าเมตตา
สมาบัติได้เคลื่อนจากโลกนี้ดุจหลับแล้วตื่น. บทว่า พฺรหฺมโลกูปโค โหติ
คือ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในเมตตานิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อโนธิโส
ผรณา คือ แผ่ไปโดยไม่เจาะจง เขตแดนชื่อว่า โอธิ ไม่มีเขตแดนชื่อว่า อโนธิ
โดยไม่มีเขตแดนนั้น ความว่าโดยไม่เจาะจง ท่านอธิบายว่า แผ่ไปโดยไม่มี
ที่กำหนด. บทว่า โอธิโส โดยเจาะจง คือ โดยมีกำหนด. บทว่า ทิสา
ผรณา คือ แผ่ไปในทิศทั้งหลาย. บทว่า สพฺเพ ทั้งหมด คือ กำหนดโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 545
ไม่มีเหลือ. อรรถแห่งบทว่า สตฺตา ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถามาติกา
แห่งญาณกถา. โวหารนี้ย่อมเป็นไปแม้ในผู้ที่ปราศจากราคะแล้ว ด้วยรุฬหิศัพท์
ดุจโวหารว่า พัดใบตาลย่อมเป็นไปในพัดวิชนี แม้ทำด้วยไม้ไผ่. บทว่า อเวรา
ไม่มีเวร คือ ปราศจากเวร. บทว่า อพฺยาปชฺฌา ไม่เบียดเบียน คือ เว้นจาก
ความพยาบาท. บทว่า อนีฆา คือ ไม่มีทุกข์. บทว่า สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ
รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด คือ มีความสุขยังอัตภาพให้เป็นไปได้. พึงทราบความ
สัมพันธ์ของคำในบทนี้อย่างนี้ว่า แสดงความไม่มีเวร อาศัยสันดานของตนและ
คนอื่น อาศัยสันดานของคนอื่น และคนนอกนี้ในบทว่า อเวรา แสดงความ
ไม่มีพยาบาทอันไม่มีเวรนั้นเป็นมูล เพราะความไม่มีเวร ในบทมีอาทิว่า
อพฺยาปชฺฌา แสดงความไม่มีทุกข์อันไม่มีความพยาบาทนั้นเป็นมูล เพราะ
ไม่มีความพยาบาทในบทว่า อนีฆา แสดงการบริหารอัตภาพด้วยความสุข
เพราะไม่มีทุกข์ ในบทว่า สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ แผ่เมตตาด้วยอำนาจ
แห่งคำอันปรากฏแล้วในคำทั้งหลาย ๔ มีอาทิว่า อเวรา โหนฺตุ จงอย่าได้
มีเวรเลยเหล่านี้.
ในบทมีอาทิว่า ปาณา มีความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปาณา เพราะมี
ชีวิต ความว่า เพราะยังเป็นไปอาศัยลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอยู่. ชื่อว่า
ภูตา เพราะยังเป็นอยู่ ความว่า เพราะยังเกิดอยู่. ชื่อว่า ปุคฺคลา เพราะ
ไปในนรกซึ่งท่านเรียกว่า ปุ นั้น. สรีระหรือขันธปัญจกท่านเรียกว่าอัตภาพ
หมายถึงอัตภาพ เพราะปรากฏเพียงบัญญัติ ชื่อว่า อตฺตภาวปริยาปนฺนา
ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพ เพราะนับเนืองกำหนดหยั่งลงในอัตภาพนั้น. ท่านยกคำ
ที่เหลือด้วยอำนาจแห่งรุฬหิศัพท์ (ศัพท์ที่ขยายความ) แล้วพึงทราบว่า คำ
ทั้งหมดนั้นเป็นไวพจน์ของสัตว์ทั้งปวง เหมือนคำว่า สตฺตา ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 546
คำแม้อื่นเป็นไวพจน์ของสัตว์ทั้งปวงมีอาทิว่า สพฺเพ ชนฺตู สพฺเพ
ชีวา สัตว์เกิดทั้งปวง สัตว์มีชีวิตทั้งปวงก็มีอยู่โดยแท้ แต่ท่านถือเอาคำ ๕
เหล่านี้ ด้วยเป็นคำปรากฏอยู่แล้วจึงกล่าวว่า เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะ
จงด้วยอาการ ๕. อนึ่ง มิใช่โดยเพียงคำพูดอย่างเดียวเท่านั้น แห่งบทมีอาทิว่า
สตฺตา ปาณา ที่แท้แล้วสัตว์เหล่าใดพึงปรารถนาความต่างกันแม้โดยอรรถ
การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงของสัตว์เหล่านั้นย่อมผิด เพราะฉะนั้นไม่ถือเอาอรรถ
อย่างนั้นแล้วแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๕
เหล่านี้.
อนึ่ง ในการแผ่ไปโดยเจาะจง พึงทราบความดังนี้. บทว่า อิตฺถิโย
ปุริสา ท่านกล่าวถึงเพศ. บทว่า อริยา อนริยา ท่านกล่าวถึงอริยะและปุถุชน.
บทว่า เทวา มนุสฺสา วินิปาติกา ท่านกล่าวถึงการเกิด. แม้ในการแผ่ไป
ในทิศ ไม่ทำการจำแนกทิศแล้วแผ่ไปโดยไม่เจาะจง เพราะแผ่ไปโดยนัยมี
อาทิว่า สพฺเพ สตฺตา ในทิศทั้งปวง แผ่ไปโดยเจาะจงเพราะแผ่ไปโดย
นัยมีอาทิว่า สพฺพา อิตฺถิโย ในทิศทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะการแผ่เมตตาแม้ ๓ อย่างนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งจิต
ยังไม่ถึงอัปปนา ฉะนั้นพึงถือเอาอัปปนาในวาระ ๓ ในการแผ่โดยไม่เจาะจง
ท่านกล่าวถึงการแผ่ ๔ อย่างเหล่านั้นด้วยรวบรวมประโยชน์นั่นเอง คือ อย่าง
หนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้มีเวรกันเลย อย่างหนึ่งว่า จงอย่าได้
เบียดเบียนกันเลย อย่างหนึ่งว่า จงอย่ามีทุกข์เลย อย่างหนึ่งว่า จงมีความสุข
รักษาตนเถิด เพราะเมตตามีลักษณะรวบรวมประโยชน์ ด้วยอำนาจแห่ง
อัปปนาอย่างละ ๔ ๆ ในอาการ ๕ มีอาทิว่า สตฺตา รวมเป็นอัปปนา ๒๐
ในการแผ่โดยเจาะจงด้วยอำนาจแห่งอัปปนาอย่างละ ๔ ๆ ในอาการ ๗ มีอาทิว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 547
สพฺพา อิตฺถิโย รวมเป็นอัปปนา ๒๘. อนึ่ง ในการแผ่ไปในทิศ อัปปนา
๔๘๐ คือ อัปปนา ๒๐๐ ทำอย่างละ ๒๐ แห่งทิศหนึ่ง ๆ โดยนัยมีอาทิว่า
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนา ๒๘๐ ทำอย่างละ ๒๘ แห่งทิศ
หนึ่ง ๆ โดยนัยมีอาทิว่า หญิงทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนาทั้งหมด
ที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้รวมเป็นอัปปนา ๕๒๘ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง พึงทราบว่า
ท่านกล่าวแม้การแผ่กรุณามุทิตาอุเบกขา เหมือนท่านกล่าวการแผ่เมตตาโดย
๓ อย่างฉะนั้น.
อรรถกถาอินทริยวาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอาการประมวลมาซึ่งเมต-
ตาและการอบรมอินทรีย์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺเพส สตฺตาน
ปีฬน วชฺเชตฺวา เว้นความบีบคั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีฬน การบีบคั้น คือ บีบคั้นสรีระข้างใน.
บทว่า อุปฆาต การฆ่า คือ การฆ่าสรีระข้างนอก. บทว่า สนฺตาป การทำให้
เดือดร้อน คือ ทำใจให้เดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ. บทว่า ปริยาทาน
ความย่ำยี คือ ความสิ้นชีวิตเป็นต้นโดยปกติ. บทว่า วิเหส เบียดเบียน
คือ เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น. บทว่า วชฺเชตฺวา เว้น คือ นำอย่างหนึ่ง ๆ ใน
การเบียดเบียนเป็นต้นออกไปจากจิตของตนเอง. ท่านกล่าวบท ๕ มีการ
เบียดเบียนเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยเว้นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการรวบรวมเมตตา.
บทว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้นเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยการรวบรวมเมตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 548
บทว่า อปีฬนาย พึงเชื่อมความว่า ประพฤติเมตตาในสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ
ไม่บีบคั้น. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
สามบทแม้เหล่านี้ว่า มา เวริโน มา ทุกฺขิโน มา ทุกฺขิตตฺตา
อย่าได้มีเวร อย่ามีทุกข์ อย่ามีตนเป็นทุกข์ เป็นคำปฏิเสธสิ่งเป็นปฏิปักษ์
ของการรวบรวมเมตตา. คำว่า มา คือ จงอย่ามี. สามบทว่า อเวริโน สุขิโน
สุขิตตฺตา จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความสุข มีตนเป็นสุข เป็นคำรวบรวมเมตตา.
สองบทนี้ว่า อพฺยาปชฺฌา อนีฆา จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์
พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์เข้าด้วยคำว่า สุขิโน จงมีความสุข.
บทว่า สุขิตตฺตา จงมีตนเป็นสุข แสดงความสุขนั้นเป็นไปเป็นนิจ.
อนึ่ง บทว่า สุขิตตฺตา และบทว่า สุขี อตฺตาน ปริหรนฺตุ โดยอรรถ
เป็นอย่างเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงสงเคราะห์คำว่า ความไม่เบียดเบียนกัน
และไม่มีทุกข์ ด้วยบทมีอาทิว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้น. บทว่า อฏฺหากา-
เรหิ ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ คือ อาการรวบรวมเมตตา ๕ มีอาทิว่า อปีฬนาย
อาการรวบรวมเมตตา ๓ มีอาทิว่า อเวริโน โหนฺตุ. บทว่า เมตฺตายติ
ประพฤติด้วยความรัก คือ ความเยื่อใย. บทว่า ต ธมฺม เจตยติ คิดถึง
ธรรมนั้น คือ คิดติดต่อธรรมนั้นอันรวบรวมประโยชน์ อธิบายว่า ประพฤติ.
บทว่า สพฺพพฺยาปาทปริยุฏฺาเนหิ วิมุจฺจติ พ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐาน-
กิเลสทั้งปวง คือ พ้นจากการข่มด้วยความฟุ้งซ่านของพยาบาททั้งปวง อันเป็น
ปฏิปักษ์แห่งเมตตา. บทว่า เมตฺตา จ เจโตวิมุตฺติ จ เมตตาและเจโตวิมุตติ
คือ เมตตาอย่างเดียวเท่านั้น ท่านพรรณนาไว้ ๓ อย่าง.
บท ๓ บทเหล่านั้นคือ อเวริโน เขมิโน สุขิโน เป็นผู้ไม่มีเวร
มีความปลอดโปร่ง มีความสุข ท่านกล่าวสงเคราะห์อาการดังกล่าวแล้ว ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 549
บทก่อนโดยสังเขป. อินทรีย์ ๕ สัมปยุตด้วยเมตตา ท่านกล่าวแล้วโดยนัยมี
อาทิว่า สทฺธาย อธิมุจฺจติ น้อมใจไปด้วยศรัทธา.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระ ๖ มีอาทิว่า อาเสวนา ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
อาเสวนา เพราะเสพเมตตา. ภาวนา พหุลีกรรมก็อย่างนั้น. บทว่า อลงฺการา
อลังการ คือ เครื่องประดับ. บทว่า สฺวาลงฺกตา ประดับด้วยดี คือ ประดับ
ตกแต่งด้วยดี. บทว่า ปริกฺขารา คือ สัมภาระทั้งหลาย. บทว่า สุปริกฺขตา
ปรุงแต่งด้วยดี คือ เก็บรวบรวมไว้ด้วยดี. บทว่า ปริวารา ด้วยอรรถว่า
รักษา. ท่านกล่าว ๒๘ บทมีอาเสวนะเป็นต้นอีก เพื่อกล่าวถึงคุณของเมตตา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริปูริ ทำให้เต็ม คือ ความบริบูรณ์. บทว่า สหคตา
คือ สหรคตด้วยปัญญา. บทว่า สหชาตา เป็นต้นก็อย่างนั้น. บทว่า
ปกฺขนฺทนา แล่นไป คือ เข้าไปด้วยเมตตา ชื่อว่า ปกฺขนฺทนา เพราะ
เป็นเหตุแล่นไปแห่งเมตตา. บทว่า สสีทนา ความผ่องใสเป็นต้นก็อย่างนั้น.
บทว่า เอต สนฺตนฺติ ปสฺสนา เห็นว่านี้สงบ คือ เห็นว่าเมตตานี้สงบ
เพราะเหตุนั้น การเห็นว่านี้สงบเป็นนปุงสกลิงค์ ดุจในคำว่า เอตทคฺค
นี้เลิศ. บทว่า สิวาธิฏฺิตา อธิษฐานดีแล้ว คือ ตั้งไว้ด้วยดี. บทว่า สุสมุคฺคตา
ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว คือ ยกขึ้นแล้วด้วยดี. บทว่า สุวิมุตฺตา พ้นวิเศษแล้ว
คือ พ้นด้วยดีแล้วจากข้าศึกของตน ๆ. บทว่า นิพฺพตฺเตนฺติ คือ อินทรีย์
๕ ประการ สัมปยุตด้วยเมตตายังเมตตาให้เกิด. บทว่า โชเตนฺติ ให้รุ่งเรือง
คือ ทำให้ปรากฏ. บทว่า ปตาเปนฺติ ให้สว่างไสว คือ ให้รุ่งโรจน์.
จบอรรถกถาอินทริยวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 550
อรรถกถาพลาทิวารัตตยะ
พึงทราบแม้พลวารโดยนัยดังกล่าวแล้วในอินทริยวารนั่นแล. ท่าน
กล่าววาระองค์แห่งมรรคในโพชฌงค์ไว้โดยปริยาย มิได้กล่าวด้วยอำนาจตาม
ลักษณะ. ในวาระแห่งองค์มรรค ท่านกล่าวสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา-
อาชีวะไว้ด้วยอำนาจแห่งส่วนเบื้องต้นของเมตตา มิใช่ด้วยอำนาจแห่งอัปปนา
เพราะธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดร่วมด้วยเมตตา. พึงทราบอรรถแม้แห่งวาระ
ที่เหลือมีอาทิว่า สพฺเพส ปาณาน แห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงโดยนัยดังกล่าว
แล้วในวาระ ๗ นั่นแล. ส่วนวิธีเจริญเมตตาพึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค.
จบอรรถกถาพลาทิวารัตตยะ
จบอรรถกถาเมตตากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 551
ยุคนัทธวรรค
วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคธรรม
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ?
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจาก
มิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิต
ภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็น
โคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิด
เพราะสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึง
เป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น
วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อม
ถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมี
องค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมา-
วาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถ
ว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
อาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่า
ประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อม
คลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉา-
สมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิต
ภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมใน
วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค
นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะ
เป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็น
มรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรค
จึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมไปถึง
นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์
เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรค
ทั้งหลาย.
[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิ
นั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์
ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่
เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมี
วิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ
ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็น
วิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็น
วิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึง
ความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้
เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด
และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะ
ฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๒] สัมมาทิฏฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็น
วิราคะเพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมา-
กัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะ
ชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติ
เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์
เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
แผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความ
พิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความไม่มี
ศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน
สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความประมาท สมาธิพละเป็น
วิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะ
ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความน้อมใจเชื่อ
วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความ
ตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะ
เพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า
ตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิราคะ
เพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะ
เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณา
เห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่
คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถ
ว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็น
วิราคะเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชา
เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็น
มูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
อรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิ
เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิมุตติเป็นวิราคะ
เพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมา-
สังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรค
เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้.
[๕๙๓] วิมุตติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฏฐิด้วย
อรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้นจาก
ขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร
เข้ามาประชุมในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ วิมุตติในคำว่า
วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฏฐิ
มีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะ
ด้วยอรรถว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด
พ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจาก
มิจฉากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจาก
มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ
ฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วย
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็น
อารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่
ในวิมุตติ วิมุตติในคำว่า วิมุตติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวง
ที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
[๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก... เพราะฉะนั้น
วิมุตติจึงเป็นผล.
[๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิ
เป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก... เพราะฉะนั้น วิมุตติ
จึงเป็นผล.
[๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา-
สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
ทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็นอารมณ์
มีวิมุตติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
วิมุตติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิด
เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล.
[๕๙๗] สัมมาทิฏฐิเป็นวิมุตติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็น
วิมุตติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุตติ เพราะความตั้งไว้มั่น
ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุตติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็น
วิมุตติเพราะความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุตติ
เพราะความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะความน้อมใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
เชื่อ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะอรรถ
ว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวโพชฌงค์เป็นวิมุตติเพราะ
อรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐาน
เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
อิทธิบาทเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็น
ของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุตติเพราะ
อรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุตติ
เพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิ
เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิ-
มุตติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าสละ ญาณในความ
ไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุตติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นมูล
มนสิการเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่า
เป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นวิมุตติเพราะ
อรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิมุตติ
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิมุตติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็น
สารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุตติ
เป็นผลอย่างนี้ วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้.
จบวิราคกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 558
อรรถกถาวิราคกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งวิราคกถา
อันมีกล่าว คือ วิราคะ เป็นเบื้องต้นอันพระสาริบุตรเถระกล่าวไว้แล้ว ในลำดับ
แห่งเมตตากถาอันเป็นที่สุดแห่งการประกอบมรรค.
พึงทราบวินิจฉัยในวิราคกถานั้นก่อน. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะ
ชี้แจงอรรถแห่งบทพระสูตรทั้งสองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า เมื่อ
หน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมพ้น จึงตั้งอุเทศว่า วิราโค
มคฺโค วิมุตฺติ ผล วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์ชี้แจงอรรถแห่งคำในวิราคกถานั้นก่อน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถ วิราโค มคฺโค วิราคะเป็นมรรคอย่างไร. ใน
บทเหล่านั้น บทว่า วิรชฺชติ ย่อมคลาย คือ ปราศจากความกำหนัด. บทที่
เหลือมีอรรถดังกล่าวแล้วในมรรคญาณนิเทศ. บทว่า วิราโค ความว่า เพราะ
สัมมาทิฏฐิ ย่อมคลายความกำหนัด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิราคะ.
อนึ่ง วิราคะ (มรรค) นั้น เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์
ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ ฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ของคำทั้งหลาย
๕ มีอาทิว่า วิราคารมฺมโณ (มีวิราคะ คือนิพพาน เป็นอารมณ์) อย่างนี้ว่า
วิราโค วิราคะ (มรรค). ในบทเหล่านั้น บทว่า วิราคารมฺมโณ คือ มี
นิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า วิราคโคจโร มีวิราคะเป็นโคจร คือ มีนิพพาน
เป็นวิสัย. บทว่า วิราเค สมุปาคโต เข้ามาประชุมในวิราคะ คือ เกิดพร้อม
กันในนิพพาน. บทว่า วิราเค ิโต ตั้งอยู่ในวิราคะ คือ ตั้งอยู่ในนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไป. บทว่า วิราเค ปติฏิโต ประดิษฐานใน
วิราคะ คือ ประดิษฐานในนิพพานด้วยอำนาจแห่งการไม่กลับ. บทว่า นิพฺ-
พานญฺจ วิราโค นิพพานเป็นวิราคะ คือ นิพพาน ชื่อว่า เป็นวิราคะเพราะ
มีวิราคะเป็นเหตุ. บทว่า นิพฺพานารมฺมณตา ชาตา ธรรมทั้งปวงเกิดเพราะ
สัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ธรรมทั้งปวงเกิดในสัมมาทิฏฐิมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ หรือ ด้วยความที่สัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์. ธรรมทั้งหลาย
มีผัสสะเป็นต้น ทั้งปวงอันสัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น ชื่อว่า วิราคะ เพราะ
อรรถว่าคลายความกำหนัด เพราะเหตุนั้นจึง ชื่อว่า วิราคะ. บทว่า สห-
ชาตานิ เป็นสหชาติ คือ องค์แห่งมรรค ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น เกิดร่วม
กับสัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิราค คจฺฉนฺตีติ วิราโค มคฺโค องค์ ๗ ที่เกิด
ร่วมกันย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะเหตุนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค ความว่า
องค์ ๗ ที่เกิดร่วมกันย่อมถึงวิราคะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่า วิราคะ เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ ชื่อว่า มรรค เพราะ
อรรถว่าแสวงหา องค์แห่งมรรคแม้องค์หนึ่ง ๆ ย่อมได้ ชื่อว่า มรรค
เมื่อท่านกล่าวถึงความที่องค์หนึ่ง ๆ เป็นมรรค เป็นอันกล่าวถึงความที่แม้
สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นมรรคด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแหละท่านจึงถือเอาองค์
แห่งมรรค ๘ แล้วกล่าวว่า เอเตน มคฺเคน ด้วยมรรคนี้. บทว่า พุทฺธา จ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านสงเคราะห์เอาแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย. จริงอยู่
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ชื่อว่า พุทธะเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ เหล่านั้น คือ พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. บทว่า อคต
ไม่เคยไป คือ ไม่เคยไปในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด. บทว่า ทิส ชื่อว่า
ทิส เพราะเห็น อ้างถึง ติดต่อ ด้วยการปฏิบัติทั้งสิ้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ทิส เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเห็น ทรงอ้างถึง ทรงกล่าวว่า ปรมึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
สุข เป็นสุขอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิส เพราะเป็นเหตุเห็น สละ
ทอดทิ้งทุกข์ทั้งปวง นิพพานอันเป็นทิสนั้น.
บทว่า อฏฺงฺคิโก มคฺโค มรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระสาวกทั้งหลาย ย่อมถึงนิพพาน
ด้วยประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้น ด้วยเหตุนั้น ประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้น จึง
ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถเป็นเครื่องไป. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณาน
ปรปฺปวาทาน สมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น คือ สมณะและพรา-
หมณ์ต่างถือลัทธิอื่นจากศาสนานี้. บทว่า อคฺโค เลิศ คือ มรรคมีองค์ ๘
ประเสริฐกว่ามรรคที่เหลือเหล่านั้น. บทว่า เสฏฺโ ประเสริฐ คือ น่าสรร-
เสริญอย่างยิ่งกว่ามรรคที่เหลือ. บทว่า วิโมกฺโข เป็นประธาน คือ ดีใน
การเป็นประธาน ความว่า ความดีนี้แหละในเพราะเป็นประธานของมรรคที่
เหลือ. บทว่า อุตฺตโม สูงสุด คือ ข้ามมรรคที่เหลือไปได้อย่างวิเศษ.
บทว่า ปวโร ประเสริฐ คือ แยกออกจากมรรคที่เหลือโดยประการต่าง ๆ.
บทว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเหตุ. เพราะฉะนั้นอธิบายว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่าอัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย สมดังที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า
อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย บท
ทั้ง ๔ ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ
กว่าธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐกว่า
สัตว์ ๒ เท่าทั้งหลาย.
ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสมรรคนั้นแล้วตรัสว่า อัฏฐัง-
คิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ดังนี้. แม้ในวาระที่เหลือ พึงทราบความ
โดยนัยนี้ และโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
วิราคะ อันได้แก่ความเห็นในบทมีอาทิว่า ทสฺสนวิราโค ชื่อว่า
วิราคะเพราะความเห็น. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงพละก่อนกว่าอินทรีย์ในที่นี้
เพราะพละประเสริฐกว่าอรรถแห่งความเป็นอินทรีย์. บทมีคำอาทิว่า อธิปเต-
ยฺยฏฺเน อินฺทฺริยานิ เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ เป็นการชี้แจง
อรรถของอินทรีย์เป็นต้น มิใช่ชี้แจงอรรถของวิราคะ. บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา
เป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นของแท้ คือ พึงทราบว่าเป็นสัจจญาณ. บทว่า สีล
วิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ.
บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต คือ สัมมาสมาธิ. บทว่า ทิฏฐิวิสุทฺธิ
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺตฏฺเน เพราะอรรถว่า
พ้นวิเศษ คือ เพราะอรรถพ้นจากกิเลสอันทำลายด้วยมรรคนั้นๆ. บทว่า วิชฺชา
ความรู้แจ้ง คือ สัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิมุตฺติ ความพ้นวิเศษ คือ สมุจ-
เฉทวิมุตติ. บทว่า อยโตคธ นิพฺพาน ปริโยสานฏฺเน มคฺโค นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรค เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่า มรรค เพราะ
แสวงหาด้วยการพิจารณามรรคผล. ธรรมที่ท่านกล่าวในวิราคนิเทศนี้แม้ทั้ง
หมด ก็ในขณะแห่งมรรคนั่นเอง ในวิมุตตินิเทศ ในขณะแห่งผล เพราะ
ฉะนั้น แม้มนสิการถึงฉันทะก็สัมปยุตด้วยมรรคผล. พึงทราบอรรถ แม้ใน
วิมุตตินิเทศโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิราคนิเทศนั่นแล. อนึ่ง ผลในนิเทศนี้
ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยความสงบ. นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้น
ด้วยการนำออกไป. คำมีอาทิว่า สหชาตานิ สตฺตงฺคานิ องค์ ๗ เป็น
สหชาติ ย่อมไม่ได้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ได้กล่าวไว้ เพราะพ้นเป็นผล
เองท่านจึงกล่าวเพียงเท่านี้ว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะ
อรรถว่าสละ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาวิราคกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา ๔
[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด
๒ ประการเป็นไฉน ? คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย
อันเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมา-
ปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ
ทำญาณ (เห็นประจักษ์รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคต
ตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน ? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ
...สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้
แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด
ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความ
พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนา
ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข-
สมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัด
ด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุให้เพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่กาม-
ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ
ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน
ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
[๖๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
ที่เรายังไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรา
กำหนดรู้แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละ
ได้แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
เราทำให้แจ้งแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล
ควรเจริญ ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว.
[๖๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัศนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ
๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด เราก็
ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัศนะมี
วนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจด
ดีแล้ว เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ ก็แลญาณทัศนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ
ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ
เป็นธรรมดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 565
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็
ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณ-
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็น
ไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราช
ได้ฟังเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา
ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่อง
ในหมู่พรหมก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐ
นี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้เป็นไป
ไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี.
เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไปจน
ตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง
แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ
ของเทวดาทั้งหลาย.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ
อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.
[๖๐๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น...แสง
สว่างเกิดขึ้นนี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ
อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น
เพื่ออรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 566
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรม-
ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็น
โคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.
ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ
ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้
เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของ
อรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใด
เป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา.
การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชน-
นิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิ-
สัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถ
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ
นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา.
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ
๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 567
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
[๖๐๓] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ
เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น
แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น...คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม...แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็น
อารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา...เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ
ในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ
๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐.
[๖๐๔] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ
๓๐ มีญาณ ๖๐.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 568
ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ
๓๐ มีญาณ ๖๐.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา
เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๖๐
มีญาณ ๒๔๐.
[๖๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญ
แล้ว การพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิต
ในจิตนี้ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
เราเจริญแล้ว.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 569
นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญา
เกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถ
ว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะ
อรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม-
ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ
ในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.
ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิ-
ทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของ
อรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา.
การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชน-
นิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 570
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
ญาณ ๒๐ ประการ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕
ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิ-
สัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม
เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรเหล่าใดเป็นโคจรของ
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ใน
สติปัฏฐาณคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐
มีญาณ ๖๐ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณา
เห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือมี
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐
มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มี
ญาณ ๒๔๐.
[๖๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วย
ฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและ
ปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 571
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธาน-
สังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้
นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว.
[๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้
ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควร
เจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักเกิดขึ้น... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะ
อรรถว่าสว่างไสว...
จักษุเป็นธรรม...เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลาย
ว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและ
ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท
ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ
ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควร
เจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 572
และปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ใน
อิทธิบาท มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐.
[๖๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายทีพระวิปัสสีโพธิสัตว์
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิ-
สัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
ที่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ-
ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม
๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.
ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มี
อรรถ ๗๐ มีนิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐.
[๖๐๙] จักษุ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 573
อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา
มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถว่ากำหนด
รู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง
ภาวนา ฯลฯ.
จักษุ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา
รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา
อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง
แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ
ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ
ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕
มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐.
[๖๑๐] จักษุ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วย
ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง
แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐ จักษุ
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่า
บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย
อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งที่เราไม่
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม
มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถว่ากอง
แห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่าบ่อเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 574
แห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมทั้งหลาย ใน
อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี
นิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐.
[๖๑๑] จักษุ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก
แห่งทุกข์ ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ
อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ
๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐
มีญาณ ๕๐๐.
[๖๑๒] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน
อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูก
ต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถ
ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐. จักษุ ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา
อรรถว่าความแตกฉานในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 575
ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้ง
แล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานปฏิภาณ ที่เราไม่
ถูกต้องแล้ว ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา
มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕. มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มี
ธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐.
[๖๑๓] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น อินทริยปโรปริยัตญาณ เรา
รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
อินทริยปโรปริยัตญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอินทริยปโร-
ปริยัตญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณญาณ เรา
รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณญาณ มีธรรม
๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐
มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐
มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ ๓,๔๐๐ ฉะนี้แล.
จบปฏิสัมภิทากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 576
ปฏิสัมภิทากถา
อรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวาระ
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความซึ่งยังไม่เคยพรรณนามาก่อน แห่ง
ปฏิสัมภิทากถา อันมีธรรมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงถึงประเภทแห่งปฏิสัมภิทามรรค สำเร็จลงด้วยอำนาจเเห่งมรรค
อันได้แก่วิราคะ ตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตร ดังต่อไปนี้. บทว่า พาราณสิย คือ
มีแม่น้ำชื่อว่า พาราณสา. กรุงพาราณสีเป็นนครอยู่ไม่ไกลแม่น้ำพาราณสา.
ใกล้กรุงพาราณสีนั้น. บทว่า อิสิปตเน มิคทาเย ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
คือ ชื่อว่าสวนมฤคทายวัน เพราะเป็นที่ให้อภัยแก่มฤคทั้งหลายอันได้ชื่ออย่าง
นั้น ด้วยสามารถแห่งการลง ๆ ขึ้น ๆ ของพวกฤๅษี. เพราะพวกฤษีสัพพัญญู.
เกิดขึ้นแล้ว ๆ ก็ลงไปในป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น อธิบายว่า นั่งประชุมกัน
เพื่อยังธรรมจักรให้เป็นไป แม้พวกฤๅษีปัจเจกพุทธะออกจากนิโรธสมาบัติ
เมื่อล่วงไป ๗ วัน จากเงื้อมเขานันทมูลกะ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เหาะมา
ทางอากาศก็ลงไปประชุมกัน ณ ที่นี้ ประชุมกันเพื่อเป็นสุข เพื่ออุโบสถ
ใหญ่ และเพื่ออุโบสถน้อย เมื่อจะกลับไปสู่เขาคันธมาทน์ ก็เหาะไปจากที่นั้น
เพราะเหตุนั้น ด้วยบทนี้ที่นั้นท่านจึงเรียกว่า อิสิปตนะ ด้วยเป็นที่ลง ๆ
ขึ้น ๆ ของพวกฤาษี. บาลีว่า อิสิปทน ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปญฺจวคฺคิเย ภิกษุเบญจวัคคีย์ (มีพวก ๕) คือ พวกของ
ภิกษุ ๕ ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 577
พระมหาเถระ ๕ เหล่านี้ คือ พระโกณฑัญญะ ๑
พระภัททิยะ ๑ พระวัปปะ ๑ พระมหานาม ๑ พระ-
อัสสชิ ๑ ท่านเรียกว่า ภิกษุมีพวก ๕
ชื่อว่า ปัญจวรรค ชื่อว่า ปัญจวัคคีย์ เพราะเนื่องในพวก ๕ นั้น. บทว่า
ภิกฺขู อามนฺเตสิ ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บำเพ็ญบารมีจำเดิม แต่ละสมอภินิหาร ณ บาทมูลของพระทศพล พระนามว่า
ทีปังกร จนบรรลุภพสุดท้ายโดยลำดับ ในภพสุดท้ายเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
ทรงถึงโพธิมณฑลโดยลำดับ ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ ณ โพธิมณฑล
นั้น ทรงกำจัดมารและพลมาร ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม
ในมัชฌิมยามทรงยังทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ในที่สุดปัจฉิมยามทรงยังหมื่นโลกธาตุ
ให้บันลือก้องกัมปนาท ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ณ
โพธิมณฑล ท้าวมหาพรหมทูลวิงวอนขอให้ทรงแสดงธรรม ทรงตรวจตรา
สัตว์โลกด้วยทิพยจักษุ เสด็จไปกรุงพารานสี เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก
มีพระประสงค์จะให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ยอมรับแล้ว ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป
จึงตรัสเรียก.
บทว่า เทฺว เม ภิกฺขเว อนฺตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด
๒ อย่างนี้ พระสุรเสียงที่เปล่งออกด้วยทรงเปล่งพระดำรัสนี้ ข้างบนถึง
ภวัคคพรหม ข้างล่างถึงอเวจี แล้วแผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ ในสมัยนั้น
พระผู้มี ๑๘ โกฏิมาประชุมกัน พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก พระจันทร์
เต็มดวงประกอบด้วยอาสาฬหนักษัตรขึ้นทางทิศตะวันออก ในสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระดำรัสมีอาทิว่า
เทฺว เม ภิกฺขเว อนฺตา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 578
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิเตน บรรพชิต คือ ผู้ตัดวัตถุกาม
อันเกี่ยวข้องด้วยคฤหัสถ์ออกบวช. บทว่า น เสวิตพฺพา ไม่ควรเสพ คือ
ไม่ควรใช้สอย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา อัน
บรรพชิตไม่ควรเสพ เพราะการปฏิบัติอย่างวิเศษเป็นเครื่องรองรับของบรรพชิต
ทั้งหลาย. บทว่า กาเมสุ กามสุขัลลิกานุโยโค การประกอบความพัวพัน
กามสุขในกามทั้งหลาย คือการประกอบกามสุขคือกิเลสในวัตถุกาม หรือการ
ประกอบอาศัยกามสุขคือกิเลส. บทว่า หีโน เป็นของเลวคือลามก. บทว่า
คมฺโม คือ เป็นของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิโก เป็นของปุถุชน คือ
ปุถุชนได้แก่อันธพาลปุถุชนประพฤติกันเนือง ๆ. บทว่า อนริโย คือไม่ใช่
ของพระอริยเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ของมีอยู่ของพระอริยเจ้าผู้บริสุทธิ์ ผู้
สูงสุด. บทว่า อนตฺถสญฺหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ความว่า ไม่
อาศัยเหตุอันนำความสุขมาให้.
บทว่า อตฺตกิลมถานุโยโค การประกอบการทำตนให้ลำบาก
ความว่า ทำความทุกข์ให้แก่ตน. บทว่า ทุกฺโข คือนำความทุกข์มาให้
ด้วยการทรมานคนมีนอนบนที่ทำด้วยหนามเป็นต้น. ในบทนี้ท่านไม่กล่าวว่า
หีโน เพื่อรักษาจิตของผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น เพราะผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น
ถือว่าเป็นตบะอันสูงสุด ไม่กล่าวว่า โปถุชฺชนิโก เพราะเป็นธรรมดาของ
บรรพชิตทั้งหลาย และเพราะไม่ทั่วไปด้วยคฤหัสถ์ทั้งหลาย. อนึ่ง ในบทว่า
กามสุขลฺลิกานุโยโค นั้นท่านไม่กล่าวว่า ทุกฺโข เพราะพวกปฏิญาณ
ว่าเป็นบรรพชิตพวกใดพวกหนึ่ง มีวาทะว่านิพพานในปัจจุบันถือเอาว่า เพราะ
ตัวตนนี้เปี่ยมเพียบพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ด้วยเหตุนี้ตัวตนนี้จึงเป็นอัน
บรรลุนิพพานในปัจจุบัน เพื่อรักษาจิตของผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น และเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 579
การสมาทานธรรมนั้นเป็นความสุขในปัจจุบัน ไม่ควรเสพกามสุขัลลิกานุโยค
เพราะเป็นความสุขเศร้าหมองด้วยตัณหาและทิฏฐิในปัจจุบัน เพราะมีทุกข์เป็น
ผลต่อไป และเพราะผู้ขวนขวายกามสุขัลลิกานุโยคนั้นพัวพันด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิ ไม่ควรเสพอัตตกิลมถานุโยค เพราะเป็นทุกข์เศร้าหมองด้วยทิฏฐิใน
ปัจจุบัน เพราะมีทุกข์เป็นผลต่อไป และเพราะผู้ขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยค
นั้นผูกพันด้วยทิฏฐิ. บทว่า เอเต เต คือ เหล่านั้นนี้. บทว่า อนุปคมฺม
ไม่เกี่ยวข้อง คือ ไม่เข้าไปใกล้. บทว่า มชฺฌิมา สายกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา
เพราะเป็นทางสายกลางไม่มีสุขและทุกข์เศร้าหมอง ชื่อว่า ปฏิปทา เพราะ
เป็นเหตุถึงนิพพาน. บทว่า อภิสมฺพุทฺธา ตรัสรู้แล้ว คือ แทงตลอดแล้ว.
ในบทมีอาทิว่า จกฺขุกรณี ทำจักษุมีความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า จกฺขุกรณี
เพราะทำปัญญาจักษุ. บทว่า าณกรณี ทำญาณเป็นไวพจน์ของบทว่า
จกฺขุกรณี นั้นนั่นแหละ. บทว่า อุปสมาย เพื่อความสงบ คือ เพื่อสงบ
กิเลส. บทว่า อภิญฺาย เพื่อความรู้ยิ่ง คือ เพื่อประโยชน์แก่ความรู้ยิ่ง
สัจจะ ๔. บทว่า สมฺโพธาย เพื่อความตรัสรู้ คือเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้
สัจจะ ๔ เหล่านั้น. บทว่า นิพฺพานาย เพื่อนิพพาน คือ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
นิพพาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จกฺขุกรณี เพราะทำมรรคญาณ คือ ทัศนะ.
ชื่อว่า าณกรณี เพราะทำมรรคญาณคือภาวนา เพื่อสงบกิเลสทั้งปวง
เพื่อรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง เพื่อตรัสรู้อรหัตผล เพื่อดับกิเลสและขันธ์. ท่านกล่าว
สัจจกถาไว้ในอภิญเญยยนิเทศแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงประกาศสัจจะอย่างนี้แล้ว ได้สดับลำดับ
การแทงตลอดของพระองค์ ของเบญจวัคคีย์เหล่านั้นผู้ยังมีมานะจัดในพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 580
แล้วทรงยังการปฏิบัติให้หมดจดด้วยการถอนมานะจัด เมื่อทรงเห็นการแทง
ตลอดสัจจะ จึงทรงแสดงลำดับของการแทงตลอดของพระองค์ ด้วยบทมีอาทิว่า
อิท ทุกฺข อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เคยฟัง
มาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คือ ทรงแสดงลำดับปฏิเวธของพระองค์
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนนุสฺสุเตสุ ยังไม่เคยได้ฟัง ความว่า
ยังไม่เคยเป็นไปตามผู้อื่น. อรรถแห่งบทมีอาทิว่า จกฺขุ จักมีแจ้ง ข้างหน้า.
การแทงตลอดความเห็นสัจจะ ๔ คือ นี้ทุกขอริยสัจ ๑ นี้ทุกขสมุทัย ๑ นี้ทุกข-
นิโรธ ๑ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ย่อมเป็นไปในเสขภูมิ. การพิจารณา
สัจจะ ๔ คือ กำหนดรู้แล้ว ๑ ละแล้ว ๑ ทำให้แจ้งแล้ว ๑ เจริญแล้ว ๑ ย่อม
เป็นไปในอเสกขภูมิ.
บทว่า ติปริวุฏฺฏ มีวนรอบ ๓ คือ เพราะมีวนรอบ ๓ ด้วยสามารถ
แห่งวนรอบ ๓ คือ สัจจญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ) กิจจญาณ (ปรีชาหยั่งรู้
กิจอันควรทำ) กตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว). ในบทว่า ติปริวฏฺฏ
นี้ การรู้ตามความเป็นจริงในสัจจะ ๔ อย่างนี้ว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทย-
อริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่า สัจจญาณ
ในสัจจญาณเหล่านั้น ญาณ คือ ความรู้กิจอันควรทำอย่างนี้ว่า ทุกข์ควร
กำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ ชื่อว่า
กิจจญาณ. ญาณคือความรู้ถึงความที่กิจนั้นได้ทำแล้วอย่างนี้ว่า ทุกข์กำหนดรู้
แล้ว สมุทัยละได้แล้ว นิโรธทำให้แจ้งแล้ว มรรคเจริญแล้ว ชื่อว่า กตาณ.
บทว่า ทฺวาทสาการ มีอาการ ๑๒ คือ มีอาการ ๑๒ ด้วยสามารถ
แห่งอาการละ ๓ ๆ ในสัจจะละ ๑ ๆ เหล่านั้น. บทว่า าณทสฺสน คือ
ทัศนะ ได้แก่ ญาณอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัจจะเหล่านั้นมีวนรอบ ๓ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 581
อาการ ๑๒. บทว่า อตฺตมนา ชื่นชมยินดี คือ มีใจเป็นของตน. จริงอยู่
ผู้มีใจประกอบด้วยปีติโสมนัส ชื่อว่า มีใจเป็นของตน เพราะสัตว์ทั้งหลาย
ใคร่ความสุข เกลียดทุกข์ อธิบายว่า มีใจเป็นของตน มีใจถือเอาแล้ว
มีใจอิ่มเอิบแล้วด้วยปีติและโสมนัส. บทว่า อภินนฺทุ พอใจ คือ หันหน้า
เข้าหาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอใจ. บทว่า เวยฺยากรณสฺมึ ไวยากรณภาษิต
พระสูตรที่ไม่มีคาถา ในพระสูตรชื่อว่า เวยฺยากรณ เพราะทำให้แจ้งอรรถ
อย่างเดียว. บทว่า ภญฺมาเน คือ ตรัสอยู่ ทำให้เป็นปัจจุบันใกล้ปัจจุบัน
คือ กำลังตรัส. บทว่า วิรชุ ปราศจากธุลี คือ ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น.
บทว่า วีตมล ปราศจากมลทินมีราคะเป็นต้น เพราะราคะเป็นต้น ชื่อว่า
ธุลี เพราะอรรถว่า ท่วมทับ ชื่อว่า มลทิน เพราะอรรถว่า ประทุษร้าย.
บทว่า ธมฺมจกฺขุ ธรรมจักษุ ในที่บางแห่งได้แก่ญาณในปฐมมรรค ในที่
บางแห่งได้แก่ญาณมรรคญาณ ๓ เป็นต้น ในที่บางแห่งได้แก่แม้มรรคญาณ ๔
แต่ในที่นี้ ได้แก่ ญาณในปฐมมรรคเท่านั้น.
บทว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺม สพฺพนฺต นิโรธธมฺม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา อธิบายว่า
ธรรมจักษุ เกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.
บทว่า ธมฺมจกฺเก ได้แก่ ปฏิเวธญาณและเทศนาญาณ. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่เหนือโพธิบัลลังก์ แม้ปฏิเวธญาณมีอาการ ๑๒ เป็นไปใน
สัจจะ ๔ เมื่อประทับนั่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แม้เทศนาญาณเป็นไป
แล้วด้วยสัจจเทศนามีอาการ ๑๒ ชื่อว่า ธรรมจักร แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็เป็น
ญาณของพระทศพล ธรรมจักรนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศด้วย
เทศนานี้ ชื่อว่า เป็นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรนี้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 582
ตลอดเวลาที่พระอัญญาโกณฑัญญเถระยังไม่ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับ
พรหม ๑๘ โกฏิ แต่เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะตั้งอยู่แล้ว ธรรมจักรจึงชื่อว่า
ประกาศแล้ว. ท่านหมายถึงเรื่องนั้น จึงกล่าว ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว.
บทว่า ภุมฺมา เทวา คือเทวดาที่อยู่บนพื้นดิน. บทว่า สทฺทม-
นุสฺสาเวสุ ประกาศก้อง คือ ภุมมเทวดาให้สาธุการเป็นเสียงเดียวกันแล้ว
ประกาศก้องมีอาทิว่า เอต ภควตา. บทว่า อปฺปฏิวตฺติย อันใคร ๆ
ให้เป็นไปไม่ได้ คือ ไม่อาจคัดค้านได้ว่า นี้ไม่เป็นอย่างนั้น. อนึ่ง ในบทนี้
พึงทราบว่าเทวดาและพรหมทั้งหลายประชุมกัน เมื่อจบเทศนาได้ให้สาธุการ
เป็นเสียงเดียวกัน แต่ภุมมเทวดาเป็นต้นยังไม่มาประชุมครั้นได้ฟังเสียงเทวดา
และพรหมเหล่านั้น ๆ จึงได้ให้สาธุการ. อนึ่ง ภุมมเทวดาที่เกิดในภูเขาและ
ต้นไม้เป็นต้นเหล่านั้น แม้ภุมมเทวดาเหล่านั้นจะนับเนื่องในพวกเทวดาชั้น
จาตุมมหาราชิกา ท่านก็กล่าวทำให้แยกกันในบทนี้. บทว่า จาตุมมหาราชิกา
เพราะมีเทวดามหาราชา ๔ ได้แก่ ท้าวธตรฏ วิรุฬหก วิรูปักษ์และกุเวร.
เทวดาเหล่านั้นสถิตอยู่ ณ ท่ามกลางภูเขาสิเนรุ เทวดาเหล่านั้นอยู่บนภูเขาก็มี
อยู่บนอากาศก็มี สืบต่อเทวดาเหล่านั้นไปก็ถึงจักรวาลบรรพต เทวดาแม้ทั้ง
หมดเหล่านี้ คือ ขิทฑาปโทสิกา มโนปโทสิกา สีตวลาหก อุณหวลาหก
จันทิมเทวบุตร สุริยเทวบุตร ก็เป็นเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ เทวโลกชั้น
จาตุมมหาราชิกานั่นแหละ. ชื่อว่า ตาวตึสา เพราะมีชน ๓๓ คนเกิดในเทว
โลกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ตาวตึสา เป็นชื่อของเทวดาเหล่า
นั้น แม้เทวดาเหล่านั้นประดิษฐานบนภูเขาก็มีบนอากาศก็มี ความสืบเนื่องกันมา
แห่งเทวดาเหล่านั้นถึงจักรวาลบรรพต ชั้นยามาเป็นต้นก็อย่างนั้น. แม้ในเทวโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 583
หนึ่ง เทวดาสืบต่อของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า ยังไม่ถึงจักรวาลบรรพตไม่มี.
ชื่อว่า ยามา เพราะไป ไปถึง ถึงพร้อมซึ่งสุขอันเป็นทิพย์. ชื่อว่า ตุสิตา
เพราะยินดีร่าเริง. ชื่อว่า นิมมานรตี เพราะนิรมิตยินดีสมบัติ ตามความ
ชอบใจในเวลาใคร่จะยินดีโดยส่วนพิเศษจากที่ตกแต่งไว้ตามปกติ. ชื่อว่า ปร-
นิมมิตวสวัตดี เพราะเมื่อผู้อื่นรู้วารจิตแล้วนิรมิตสมบัติให้ย่อมเป็นไปสู่อำนาจ.
ชื่อว่า พฺรหฺมกายิกา เพราะนับเนื่องในพรหมกาย. แม้พรหมกายิกาทั้งหมด
ท่านหมายถึงพรหมที่มีขันธ์ ๕ ด้วย.
ท่านกล่าวว่า เตน มุหุตฺเตน โดยครู่เดียว ท่านกล่าวให้แปลก
กับคำว่า เตน ขเณน โดยขณะนั้น โดยขณะก็ได้แก่ครู่ ท่านอธิบายว่า
มิใช่โดยขณะทางปรมัตถ์. บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา ตลอดพรหมโลก คือ
ทำพรหมโลกให้มีที่สุด. บทว่า สทฺโท คือเสียงสาธุการ. บทว่า ทสสหสฺสี
คือ มีหมื่นจักรวาล. บทว่า สงฺกมฺปิ หวั่นไหว คือ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว
ในรูปข้างบนด้วยดี. บทว่า สมฺปกมฺปิ หวั่นไหวด้วยดี คือ สะเทือนสะท้าน
หวั่นไหวขึ้นข้างบน ลงเบื้องล่างด้วยดี. บทว่า สมฺปเวธิ สั่นสะเทือน คือ
สั่นสะเทือนไปทั่ว ๔ ทิศด้วยดี.
เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงหยั่งลงสู่พระครรภ์พระมารดา เพื่อความเป็น
พระสัมพุทธเจ้าและเมื่อประสูติจากพระครรภ์พระมารดานั้น มหาปฐพีได้หวั่น
ไหวด้วยเดชแห่งบุญ ในคราวตรัสรู้ได้หวั่นไหวด้วยเดชแห่งญาณคือการแทง
ตลอด ในคราวประกาศพระธรรมจักร แผ่นดินได้หวั่นไหวดุจให้สาธุการด้วย
เดชแห่งญาณคือ เทศนา ได้หวั่นไหวด้วยเทวตานุภาพในคราวทรงปลงอายุสัง-
ขารและในคราวมหาปรินิพพาน แผ่นดินดุจไม่อดกลั้นความตื่นเต้นได้ด้วยความ
กรุณาได้หวั่นไหวด้วยเทวตานุภาพ. บทว่า อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 584
มีประมาณเจริญ. ในบทว่า โอฬาโร อย่างยิ่งนี้ท่านกล่าวว่า มธุร อุฬาร
มีรสอร่อยอย่างยิ่ง ในบทมีอาทิว่า อุฬารานิ อุฬารานิ ขาทนียานิ ขาทนฺติ
เคี้ยวของเคี้ยวมีรสอร่อยอย่างยิ่งอย่างยิ่ง. ท่านกล่าวว่า ปณีต อุฬาร ประณีต
อย่างยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า อุฬาราย วตฺถโภคาย จิตฺต นมติ จิตย่อม
น้อมไปในผ้าและสมบัติอย่างยิ่ง. ท่านกล่าวว่า เสฏฺ อุฬาร ประเสริฐอย่างยิ่ง
ในประโยคมีอาทิว่า อุฬาราย ขลุ ภว วจฺฉายโน สมณ โคตม ปสสาย
ปสสติ ได้ยินว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ สรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการ
สรรเสริญอย่างยิ่ง. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวว่า วิปุโล อุฬาโร ไพบูลย์อย่างยิ่ง.
บทว่า โอภาโส แสงสว่างคือแสงสว่างเกิดด้วยอานุภาพแห่งเทศนาญาณและ
เทวตานุภาพ. บทว่า โลเก คือในหมื่นจักรวาลนั่นเอง.
บทว่า อติกฺกมฺเมว เทวาน เทวานุภาว ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ
ของเทวดาทั้งหลาย คืออานุภาพของเทวดาทั้งหลายเป็นดังนี้ รัศมีของผ้าที่นุ่ง
แผ่ไป ๑๒ โยชน์ อานุภาพของสรีระ เครื่องประดับ และวิมานก็เหมือนอย่างนั้น
แสงสว่างก้าวล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อุทาน อุทาน คือ
พระดำรัสที่เปล่งออกมาสำเร็จด้วยโสมนัสญาณ. บทว่า อุทาเนสิ คือทรงเปล่ง.
บทว่า อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้
แล้วหนอ พระสุรเสียงที่เปล่งอุทานนี้ แผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ. บทว่า
อญฺาโกณฺฑญฺโ ความว่า โกณฑัญญะรู้แล้วอย่างเลิศ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเน เพราะอรรถว่าเห็น
ในนิเทศแห่งจักษุเป็นต้นดังต่อไปนี้. ญาณหนึ่งนั่นแหละชื่อว่า จักษุ เพราะ
ทำกิจด้วยความเห็น ดุจจักษุของสัตว์ที่พึงแนะนาตามที่ได้กล่าวแล้ว. ชื่อว่า
าณ เพราะทำกิจด้วยญาณ. ชื่อว่า ปัญญา เพราะทำกิจด้วยรู้โดยประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 585
ต่าง ๆ. ชื่อว่า วิชชา เพราะทำการแทงตลอดโดยไม่มีส่วนเหลือ. ชื่อว่า
อาโลก เพราะทำกิจด้วยแสงสว่างในกาลทั้งปวง.
แม้ในบทมีอาทิว่า จกฺขุ ธมฺโม จักษุเป็นธรรม มีความดังต่อไปนี้.
ญาณหนึ่งนั่นแหละท่านพรรณนาไว้โดย ๕ ส่วน ด้วยความต่างกันแห่งกิจ.
บทว่า อารมฺมณา ด้วยอรรถว่าอุปถัมภ์. บทว่า โคจรา ด้วยอรรถว่า
เป็นอารมณ์. ในบทมีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเน ท่านกล่าวถึงญาณกิจไว้ โดย
๕ ส่วน.
โดยนัยนี้พึงทราบญาณ ๖๐ คือ ธรรม ๑๕ อรรถ ๑๕ ทำในวาระ
หนึ่งๆ ใน ๓ วาระ อย่างละ ๕ เป็นนิรุตติ ๓๐ ในนิรุตติ ๓๐ ในปัณณรสกะ ๒
ในธรรม ๑๕ ในอรรถ ๑๕. แม้ในอริยสัจที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบญาณ ๒๔๐ อย่างนี้ คือ ธรรม ๖๐ อรรถ ๖๐ เป็นนิรุตติ
๑๒๐ ในธรรม ๖๐ ในอรรถ ๖๐ ในนิรุตติ ๑๒๐ ในธรรม ๖๐ ในอรรถ ๖๐
ด้วยอำนาจแห่งธรรมและอรรถอย่างละ ๑๕ ในอริยสัจหนึ่ง ๆ ในอริยสัจ ๔.
จบอรรถกถาธรรมจักรกัปปวัตตนวาระ
อรรถกถาสติปัฏฐานวาระเป็นต้น
พึงทราบอรรถและการนับในปฏิสัมภิทานิเทศ อันมีสติปัฏฐานสูตร
เป็นเบื้องต้น และมีอิทธิปาทสูตรเป็นเบื้องต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 586
อรรถกถาสัตตโพธิสัตตวาระเป็นต้น
ในสูตรหนึ่ง ๆ ในสูตร ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ มีธรรม ๑๐ คือ
ในสมุทัย ๕ มีจักษุเป็นต้น ในนิโรธ ๕ มีอรรถ ๑๐ คือในสมุทัย ๕ มีอรรถ
ว่าความเห็นเป็นต้น. ในนิโรธ ๕ มีนิรุตติ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งธรรมและอรรถ
เหล่านั้น มีญาณ ๔๐ การนับทำไวยากรณภาษิต รวมกันกล่าวเข้าใจง่ายดี.
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทานิเทศ ซึ่งท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถ
แห่งพระสัพพัญญุตญาณดังต่อไปนี้ ในมูลกะหนึ่ง ๆ มีธรรม ๒๕ ด้วยสามารถ
ปัญจกะละ ๕ คือ ในคำหนึ่ง ๆ ใน ๕ คำเหล่านี้ คือ เรารู้แล้ว ๑ เห็นแล้ว ๑
รู้แจ้งแล้ว ๑ ทำให้แจ้งแล้ว ๑ ถูกต้องแล้ว ๑ ด้วยปัญญาธรรม ๕ มีจักษุ
เป็นต้น ธรรม ๕ มีอรรถว่าความเห็นเป็นต้น มีอรรถ ๒๕ เป็นนิรุตติ
คูณด้วย ๒ (๕๐) เป็นญาณคูณด้วย ๒ (๑๐๐) ทำ ๕ อย่างรวมกันแล้วทำ ๕
๕ ครั้ง แม้ในวาระที่กล่าวทำ ๕ รวมกัน เป็น ๒๕ จึงมีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ
๑๒๕ มีนิรุตติ คูณด้วย ๒ (๒๕๐) มีญาณคูณด้วย ๒ (๕๐๐).
บทว่า อฑฺฒเตยฺยานิ คือ มีนิรุตติ ๒๕๐. แม้ในขันธ์เป็นต้นก็มี
นัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 587
อรรถกถาฉพุทธธรรมวาระ
พึงทราบวินิจฉัยในพุทธธรรมวาระ ดังต่อไปนี้. บทว่า ทิยฑฺฒสต
มีธรรม ๑๕๐ คือ ๒๕ รวม ๖ ครั้ง เป็นธรรม ๑๕๐ มีนิรุตติ คูณด้วย ๒
(๓๐๐) มีญาณคูณด้วย ๒ (๖๐๐). บทว่า ปฏิสมฺภิทาธิกรเณ คือใน
คัมภีร์ปฏิสัมภิทา. บทว่า อฑฺฒนวธมฺมสตา นี้ คือ มีธรรม ๘๕๐ อย่างนี้
คือ ในสัจจะ๔ ที่กล่าวแล้วครั้งแรก ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ รวม ๖๐ ในไวยากรณ-
ภาษิตของพระโพธิสัตว์ ๗ ในธรรม ๕ มีตั้งอยู่ในอภิญญาเป็นต้น ๑๒๕ ใน
ธรรม ๕ มีขันธ์เป็นต้น ๑๒๕ ในอริยสัจ ๔ อีก ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔
รวม ๑๐๐ ในพุทธธรรม ๖ รวม ๑๕๐.
แม้อรรถก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. มีนิรุตติ ๑๒๐ ในฐานะ ๓ มีสัจจะ
เป็นต้น มีนิรุตติ ๑๔๐ ในไวยากรณภาษิต ๗ มีนิรุตติในอภิญญาเป็นต้น และ
ในขันธ์เป็นต้นอย่างละ ๑๕๐ มีนิรุตติอย่างละ ๒๐๐ ในอริยสัจ ๔ และใน
ปฏิสัมภิทา มีนิรุตติ ๓๐๐ ในพุทธธรรม รวมเป็นมีนิรุตติ ๑,๗๐๐. มีญาณ
๓,๔๐๐ อย่างนี้ คือ มีญาณอย่างละ ๒๐๐ ในฐานะ ๓ มีสัจจะเป็นต้น มีญาณ
๒๘๐ ในไวยากรณภาษิต ๗ มีญาณอย่างละ ๕๐๐ ในอภิญญาเป็นต้น และ
ในขันธ์เป็นต้น มีญาณอย่างละ ๔๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีญาณ ๖๐๐ ใน
พุทธธรรม.
จบอรรถกถาปฏิสัมภิทากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 588
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักกกถา
ว่าด้วยธรรมจักร
[๖๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้
พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า
อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.
ภิกษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ
ว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็น
ธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ
อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็น
อารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามา
ประชุมในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.
[๖๑๕] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺก นี้ เพราะอรรถว่า
กระไร ?
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ
จักรเป็นไป ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรง
ให้จักรเป็นไปโดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 589
ทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ใน
ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรง
ยังประชาชนให้บรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความ
ยอดเยี่ยมในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนให้บรรลุถึงความยอดเยี่ยม
ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความเเกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป
ทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะ
ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักร
เป็นไป ทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป
ทรงมีธรรมเป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมี
ธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแล
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป...
ปัญญินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป สัทธาพละเป็นธรรม ...
ปัญญาพละเป็นธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรม ... สัมมาสมาธิเป็นธรรม อินทรีย์เป็นธรรม
เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์
เป็นธรรมเพราะอรรถว่านาออก มรรคเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติ-
ปัฏฐานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นธรรมเพราะอรรถว่า
ตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นธรรมเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นธรรมเพราะ
อรรถว่าเป็นของแท้ สมถะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็น
ธรรมเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ามีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่เป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 590
เป็นธรรมเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ทิฏฐิวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าพ้น
วิชชาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าบริจาค
ญาณในความสิ้นไปในธรรมเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้น
เป็นธรรมเพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ
เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
เวทนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่า
เป็นประธาน เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นธรรมเพราะ
อรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิมุตติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้น ๆ
เป็นไป.
[๖๑๖] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ
อรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง
ทุกข์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺก นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 591
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักร
เป็นไป...นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรง
ให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไป.
[๖๑๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
เราละได้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง
เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง
สมุทัยเป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็น
ที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺก นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ
จักรเป็นไป... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
ทรงให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไป.
[๖๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 592
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณา
เห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ควรเจริญ ฯลฯ
เราเจริญแล้ว จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้
นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุ เกิดขึ้นเพราะอรรถว่า
กระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย
เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ
เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง
สติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์... ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน.
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺก นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ
จักรเป็นไป... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
ทรงให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไป.
[๖๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วย
ฉันทะและปธานสังขารนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 593
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอัน
ยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้
ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯลฯ
อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล
ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ จักษุ
ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ก็อิทธิบาท
ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง
เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น...คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ
อรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ... แสงสว่างเป็นธรรม ความ
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการ เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ
เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์...ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท.
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมกฺก นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 594
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ
จักรเป็นไป. . . นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
ทรงให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไป.
จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ จักษุ
ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาท
ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
เราเจริญแล้ว จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่ากระไร ?
คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
เพราะอรรถว่าสว่างไสว.
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง
วิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท
เป็นที่ตั้งแห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาท
เป็นโคจรสงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท เข้ามาประชุมใน
อิทธิบาท ตั้งอยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท.
ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺก นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและ
จักรเป็นไป... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด
ทรงให้ธรรมนั้น ๆ เป็นไป.
จบธรรมจักกกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 595
ธรรมจักรกถา
อรรถกถาสัจจวาระ
จะพรรณนาตามลาดับความที่ยังมิได้เคยพรรณนาไว้แห่งธรรมจักรกถา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำพระธรรมจักกัปวัตตนสูตรให้เป็นเบื้องต้นอีก
ตรัสแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือ เพราะ
มีทุกข์เป็นที่ตั้งด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้อย่างเดียว. พระสารีบุตรเถระยังทุกข์
นั้นให้วิเศษออกไป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สจฺจวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ
ชื่อว่า สจฺจารมฺมณา เพราะ สัจจะเป็นอารมณ์ เป็นตัวอุปถัมภ์. ชื่อว่า
สจฺจโคจรา เพราะมีสัจจะเป็นโคจรเป็นวิสัย. บทว่า สจฺจสงฺคหิตา
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ คือ สงเคราะห์ด้วยมรรคสัจ. บทว่า สจฺจปริยาปนฺนา
นับเนื่องในสัจจะ คือ นับเนื่องในมรรคสัจ. บทว่า สจฺเจ สมุปาคตา เข้ามา
ประชุมในสัจจะ คือเกิดร่วมกันในทุกขสัจด้วยกำหนดรู้ทุกข์. บทว่า ิตา
ปติฏฺิตา คือตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะนั้นนั่นแหละเหมือนกัน.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงพระธรรมจักรที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺมจกฺก. ใน
บทว่า ธมฺมจกฺก นั้น ธรรมจักรมี ๒ อย่าง คือปฏิเวธธรรมจักร และเทศนา-
ธรรมจักร. ปฏิเวธธรรมจักร ณ โพธิบัลลังก์ เทศนาธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 596
บทว่า ธมฺมญฺจ ปวตฺเตติ จกฺกญฺจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้
ธรรมและจักรเป็นไป ท่านกล่าวถึงปฏิเวธธรรมจักร. บทว่า จกฺกญฺจ
ปวตฺเตติ ธมฺมญฺจ ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ท่านกล่าวถึงเทศนา
ธรรมจักร. อย่างไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ยัง
ธรรมมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์แห่งมรรคให้
เป็นไปในขณะแห่งมรรค ธรรมนั้นแหละชื่อว่าจักร เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรู
คือกิเลส ดุจจักรสำหรับประหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังจักรคือธรรมให้
เป็นไป ชื่อว่า ทรงยังจักรให้เป็นไป ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวเป็นกัมมธารยสมาส
ว่า จักรคือธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ทรงจักรคือเทศนาให้เป็นไป เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรูคือกิเลสในสันดานของ
เวไนยสัตว์ ในขณะแสดงธรรมเช่นกับจักรสำหรับใช้ประหาร และยังธรรมจักร
อันมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรคให้เป็นไป
ในสันดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงทวันทวสมาสว่า ธรรมด้วย
จักรด้วย ชื่อว่าธรรมและจักร ก็เพราะเมื่อความเป็นไปยังมีอยู่ ก็ชื่อว่า
ยังเป็นไปอยู่ ฉะนั้น แม้ในที่ทั้งปวงท่านกล่าวว่า ปวตฺเตติ ให้เป็นไป
แต่พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า จกฺก เพราะอรรถว่าเป็นไป.
บทมีอาทิว่า ธมฺเมน ปวตฺเตนฺตีติ ธมฺมจกฺก ชื่อว่า ธรรมจักร
เพราะทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าวหมายถึงเทศนาธรรม-
จักรนั่นเอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺเมน ปวตฺเตติ ท่านกล่าวว่าธรรมจักร
เพราะจักรเป็นไปแล้วโดยธรรมตามสภาวะอย่างไร. บทว่า ธมฺมจริยา ปวตฺ-
เตติ ท่านกล่าวว่า ธรรมจักร เพราะจักรเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ธรรมในสัน-
ดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ิโต ดำรงอยู่ในธรรม ท่านกล่าว
ถึง ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีธรรม และเป็นเจ้าแห่งธรรม. สมดังที่ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 597
พระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงรู้ทรงเห็นเป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ เป็นผู้มีธรรม เป็น
พรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม
เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต เพราะฉะนั้น ด้วยบทนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ธมฺมจกฺก เพราะเป็นจักรแห่งธรรม. บทว่า ิโต ตั้งอยู่แล้ว คือ
ตั้งอยู่โดยความมีอารมณ์. บทว่า ปติฏฺิโต ประดิษฐานแล้ว คือ ประดิษฐาน
โดยความไม่หวั่นไหว. บทว่า วสิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความชำนาญ คือ
ถึงความมีอิสรภาพ. บทว่า ปารมิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยม คือ
บรรลุถึงที่สุด. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้า คือ
บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ปติฏฺาเปนฺโต
ทรงให้มหาชนดำรงอยู่ในธรรม ท่านเพ่งถึงสันดานของเวไนยสัตว์ แล้วกล่าว
ว่า จกฺก เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะพระองค์เป็นเจ้าของธรรมด้วยคำ
ดังกล่าวแล้ว. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺม สกฺกโรนฺโต ทรงสักการะธรรม
ท่านกล่าวว่า จกฺก เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะผู้ใดประพฤติธรรมด้วย
สักการะเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติเพื่อธรรม. บทว่า ธมฺม ครุกโรนฺโต
ทรงเคารพธรรม คือ ทำความเคารพนั้นด้วยให้เกิดคารวะในธรรมนั้น. บทว่า
ธมฺม มาเนนฺโต ทรงนับถือธรรม คือ ทรงทำธรรมให้เป็นที่รัก เป็นที่
น่ายกย่องอยู่. บทว่า ธมฺม ปูเชนฺโต ทรงบูชาธรรม คือ อ้างถึงธรรมนั้น
แล้วทำการบูชา ด้วยปฏิบัติบูชาในเทศนา. บทว่า ธมฺม อปจายมาโน ทรง
นอบน้อมธรรม คือทำความประพฤติถ่อมด้วยการสักการะและเคารพธรรม
นั้นนั่นเทียว. บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด
ความว่า มีธรรมเป็นธงและมีธรรมเป็นยอดด้วยการนำธรรมไว้ในเบื้องหน้า
ดุจธง และยกขึ้นดุจเป็นยอดแล้วให้เป็นไป. บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย มีธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 598
เป็นใหญ่ คือมาจากความมีธรรมเป็นใหญ่ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ด้วยกระทำ
กิริยาทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งธรรมคือการภาวนา.
บทว่า ต โข ปน ธมฺมจกฺก อปฺปฏิวตฺติย อันใคร ๆ ยัง
ธรรมจักรนั้นให้เป็นไปไม่ได้ ท่านกล่าวถึงความเป็นธรรมที่ไม่ถูกกำจัด
เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะให้กลับได้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นท่านจึงกล่าวว่า
จกฺก เพราะอรรถว่าเป็นไปได้.
บทว่า สทฺธินฺทฺริย ธมฺโม ต ธมฺม ปวตฺเตติ สัทธินทรีย์
เป็นธรรม ยังธรรมนั้นให้เป็นไป ความว่า ยังสัทธินทรีย์เป็นธรรมนั้นให้
เป็นไป ด้วยยังสัทธินทรีย์สัมปยุตด้วยมรรคให้เกิดในสันดานของเวไนยสัตว์.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ วิปัสสนา
วิชชาและมรรคญาณ. บทว่า อนุปฺปาเท าณ ญาณในความไม่เกิด
คือญาณในอรหัตผล ยังญาณแม้นั้นให้เป็นไปในสันดานของเวไนยสัตว์ เมื่อ
ทำการแทงตลอดคือนิพพาน ก็ชื่อว่า ยังญาณให้เป็นไป. ในสมุทยวารเป็นต้น
ท่านแสดงย่อบทที่แปลกว่า สมุทยวตฺถุกา นิโรธวตฺถุกา มคฺควตฺถุกา
มีสมุทัยเป็นที่ตั้ง มีนิโรธเป็นที่ตั้ง มีมรรคเป็นที่ตั้ง. บทต้นเช่นกับที่กล่าว
แล้วในวาระแม้นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อรรถกถาสติปัฏฐานวาร
แม้วาระมีสติปัฏฐาน อิทธิบาทเป็นเบื้องต้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วด้วย
สามารถแห่งขณะของมรรค แม้วาระเหล่านั้นท่านก็แสดงย่อบทที่แปลกไว้ใน
วาระนั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาธรรมจักรกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 599
ยุคนัทธวรรค โลกกุตตรกถา
ว่าด้วยโลกุตรธรรม
[๖๒๐] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตระ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔
สามัญผล ๔ และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ.
ชื่อว่าโลกุตระ ในคำว่า โลกุตฺตรา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?.
ชื่อว่าโลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลก ข้ามพ้นแต่โลก ข้ามไป
จากโลก ล่วงพ้นโลก ล่วงพ้นโลกอยู่ เป็นอดิเรกในโลก สลัดออกแต่โลก
สลัดออกจากโลก สลัดไปจากโลก สลัดออกไปจากโลก สละออกแต่โลก
สละออกจากโลก สละออกไปจากโลก ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่ดำรงอยู่ในโลก
ไม่ติดอยู่ในโลก ไม่เปื้อนในโลก ไม่ไล้ในโลก ไม่ไล้ด้วยโลก ไม่ฉาบในโลก
ไม่ฉาบด้วยโลก หลุดไปในโลก หลุดไปจากโลก พ้นไปจากโลก หลุดพ้นไป
แต่โลก ไม่เกี่ยวข้องในโลก ไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก พรากออกแต่โลก พราก
ออกจากโลก พรากออกไปแต่โลก หมดจดแต่โลก หมดจดกว่าโลก หมดจด
จากโลก สะอาดแต่โลก สะอาดกว่าโลก สะอาดจากโลก ออกแต่โลก ออก
จากโลก ออกไปจากโลก เว้นแต่โลก เว้นจากโลก เว้นไปจากโลก ไม่ข้อง
ในโลก ไม่ยึดในโลก ไม่พัวพันในโลก ตัดโลกขาดอยู่ ตัดโลกขาดแล้ว
ให้โลกระงับอยู่ ให้โลกระงับแล้ว ไม่กลับมาสู่โลก ไม่เป็นคติของโลก
ไม่เป็นวิสัยของโลก ไม่เป็นสาธารณะแก่โลก สำรอกโลก ไม่เวียนมาสู่โลก
ละโลก ไม่ยังโลกให้เกิด ไม่ลดโลก นำโลก กำจัดโลก ไม่อบโลกให้งาม
ล่วงโลก ครอบงำโลกตั้งอยู่ ฉะนี้แล.
จบโลกุตตรกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 600
อรรถกถาโลกุตตรกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งโลกุตรกถา
อันพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในลำดับแห่งธรรมจักรกถาอันเป็นไปในโลกุตร-
ธรรม. ความแห่งบทโลกุตระในโลกุตรกถานั้นจักมีแจ้งในนิเทศวาร. โพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗ มีอาทิว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา สัมปยุตด้วยมรรคและ
ผลตามที่ประกอบ ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า โพธิปกฺขิยธรรม เพราะเป็นไป
ในฝ่ายแห่งอริยะอันได้ชื่ออย่างนี้ว่า โพธิ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้. บทว่า
ปกฺเข ภวตฺตา เพราะเป็นไปในฝ่าย คือ เพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ.
ชื่ออุปฏฺาน เพราะก้าวลง คือ แล่นไปในอารมณ์เหล่านั้น แล้วปรากฏ สติ
นั่นแหละปรากฏชื่อว่าสติปัฏฐาน ประเภทของสติปัฏฐานนั้น ๔ อย่าง เป็นไป
ด้วยอำนาจการถืออาการไม่งาม เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน และด้วย
อำนาจการยังกิจให้สำเร็จด้วยการละความงาม สุข ความเที่ยงและความสำคัญ
ว่าตัวตนในกาย เวทนาจิต และธรรม เพราะฉะนั้นจึงท่านจึงเรียกว่าสติปัฏฐาน ๔.
ชื่อว่า ปธาน เพราะเป็นเหตุตั้งไว้. การตั้งไว้งามชื่อว่า สัมมัป-
ปธาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมฺมปฺปธาน เพราะเป็นเหตุตั้งไว้ชอบ หรือ
เพราะการตั้งไว้งามนั้นชื่อว่า ปธาน เพราะปราศจากความประพฤติผิด คือ กิเลส
เพราะนำความประเสริฐมาให้ ด้วยอรรถว่าให้สำเร็จประโยชน์สุข หรือเพราะ
ทำความเป็นประธาน สัมมัปปธานนี้เป็นชื่อของความเพียร. สัมมัปธานนี้นั้น
มีหน้าที่ละอกุศลที่เกิดแล้ว ไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นให้สำเร็จกิจในการเกิดขึ้นแห่ง
กุศลที่ยังไม่เกิด ให้สำเร็จกิจในการตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น
สัมมัปปธานจึงมี ๔ อย่างด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า สัมมัปปธาน ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 601
ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะความสำเร็จโดยปริยายนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความสำเร็จนี้ เป็นผู้เจริญถึงชั้นอุกฤษฏ์ ชื่อว่า ย่อมสำเร็จ
เพราะอรรถว่า สำเร็จโดยปริยายแห่งความสำเร็จ เป็นธรรมให้ถึงความสำเร็จ
ด้วยอรรถว่า เป็นเบื้องต้นอันสัมปยุตเข้าด้วยกันแห่งความสำเร็จนั้น และเพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุแห่งส่วนเบื้องต้นอันเป็นผล เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อิทธิบาท ๔.
ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่กล่าวคือครอบงำ เพราะ
ครอบงำความไม่มีศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน
และความหลง. ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว เพราะไม่ถูกความ
ไม่มีศรัทธาเป็นต้นครอบงำ. แม้อินทรีย์และพละทั้งสองอย่างนั้นก็มี ๕ อย่าง
เดียวกัน คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า
อินทรีย์ ๕ พละ ๕. อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๗ มีสติเป็นต้น ชื่อว่า โพชฌงค์
เพราะเป็นองค์แห่งสัตว์ผู้ตรัสรู้ และธรรมทั้งหลาย ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
เป็นองค์แห่งมรรค เพราะอรรถว่า นำออกไป ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้ เมื่อวิปัสสนาอันเป็นโลกิยะ
ในส่วนเบื้องต้นยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะกำหนด
ถือเอากายโดยอาการ ๑๔ อย่าง ชื่อว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเพราะกำหนด
ถือเอาเวทนาโดยอาการ ๙ อย่าง ชื่อว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะ
กำหนดถือเอาจิตโดยอาการ ๖ อย่าง ชื่อว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะ
กำหนดถือเอาธรรมโดยอาการ ๕ อย่างด้วยประการดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 602
ในกาลพยายามเพื่อเห็นอกุศลอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้อื่น ซึ่งยังไม่เคยเกิด
ในอัตภาพนี้แล้วไม่ให้อกุศลนั้นเกิดด้วยคิดว่า เราจักไม่ปฏิบัติเหมือนอย่างที่
อกุศลนั้นเกิดแก่ผู้ปฏิบัติ อกุศลนั้นจักไม่เกิดแก่เราอย่างนี้ เป็นสัมมัปปธาน
ข้อที่ ๑ ในกาลพยายามเพื่อเห็นอกุศลที่เกิด เพราะความประพฤติของตนแล้วละ
อกุศลนั้น เป็นสัมมัปปธานข้อที่ ๒ เมื่อพยายามเพื่อให้ฌานหรือวิปัสสนา
อันยังไม่เคยเกิดในอัตภาพนี้ให้เกิดขึ้น เป็นสัมมัปปธานข้อที่ ๓ เมื่อพยายาม
ให้ฌานหรือวิปัสสนาเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยประการที่ไม่ให้เสื่อม เป็นสัมมัปปธาน
ข้อที่ ๔.
ในกาลทำฉันทะให้เป็นธุระแล้วให้กุศลเกิดขึ้นเป็นฉันทิทธิบาท ใน
กาลทำวิริยะ จิตตะ วิมังสา ให้เป็นธุระแล้วให้กุศลเกิดขึ้นเป็นวิมังสิทธิบาท
ในกาลเว้นพูดเท็จเป็นสัมมาวาจา ในกาลเว้นการงานผิด อาชีพผิด เป็น
สัมมาอาชีวะ โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายย่อมได้ในจิตต่าง ๆ อย่างนี้ด้วยประการ
ฉะนี้. แต่ในขณะแห่งมรรค ๔ โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายย่อมได้ในจิตดวง
เดียวกัน ในขณะแห่งผลย่อมได้โพธิปักขิยธรรมที่เหลือ เว้นสัมมัปปธาน ๔.
อนึ่ง เมื่อโลกุตรธรรมเหล่านั้นได้ในจิตดวงเดียวอย่างนี้ สติมีนิพพานเป็น
อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ ด้วยสามารถสำเร็จกิจ
ในการละความสำคัญว่างามในกายเป็นต้น วิริยะอย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวว่า
สัมมัปปธาน ๔ ด้วยสามารถสำเร็จกิจมีไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ละอกุศลที่เกิด
เป็นต้น. ในโพธิปักขิยธรรมที่เหลือไม่มีการลดการเพิ่ม.
อีกอย่างหนึ่ง ในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น พึงทราบคาถาดังต่อไปนี้.
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น มี ๖ หมวด ดังนี้คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 603
ธรรมทั้งหลาย ๙ ข้อ เป็นธรรมมีอยู่โดยหมวด
เดียว ธรรม ๑ ข้อ มีโดย ๒ หมวด อนึ่ง ธรรมเดียว
มีโดย ๔ หมวด และโดย ๕ หมวด โดย ๘ หมวด
และโดย ๙ หมวด.
บทว่า นว เอกวิธา ธรรมทั้งหลาย ๙ ข้อมีอยู่โดยหมวดเดียว คือ
ธรรม ๙ ข้อเหล่านี้ คือ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ ๑ อุเบกขา ๑
สังกัปปะ ๑ วาจา ๑ กัมมันตะ ๑ อาชีวะ ๑ มีอยู่โดยหมวดเดียวเท่านั้น
ด้วยสามารถฉันทิทธิบาทเป็นต้น ไม่ผนวกส่วนอื่น. บทว่า เอโก เทฺวธา
ธรรม ๑ ข้อมีโดย ๒ หมวด คือ ศรัทธาตั้งอยู่โดย ๒ หมวด ด้วยสามารถแห่ง
อินทรีย์และพละ. บทว่า อถ จตุปญฺจธา อนึ่ง ธรรมเดียวมีโดย ๔ หมวด
และโดย ๕ หมวด คือ ธรรมอื่นธรรมเดียวมีโดย ๔ หมวด ธรรมอื่นตั้งอยู่
โดย ๕ หมวด.
ในธรรมเหล่านั้น สมาธิข้อเดียวตั้งอยู่โดย ๔ หมวด คือ อินทรีย์ ๑
พละ ๑ โพชฌงค์ ๑ องค์มรรค ๑. ปัญญาตั้งอยู่โดย ๕ หมวด โดยหมวด
แห่งธรรม ๔ เหล่านั้นและโดยส่วนหนึ่งของอิทธิบาท. บทว่า อฏฺธา นวธา
เจว โดย ๘ และ ๙ หมวด คือ ธรรมอย่างเดียวอีกข้อหนึ่ง ตั้งอยู่โดย
๘ หมวด ธรรมเดียวข้อหนึ่งตั้งอยู่โดย ๙ หมวด อธิบายว่า สติตั้งอยู่ ๘ หมวด
คือ สติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑ องค์มรรค ๑. วิริยะตั้งอยู่
๙ หมวด คือ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๑ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑
องค์มรรค ๑ ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบความในคาถาต่อไปนี้.
โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ที่ไม่ประสม
กันก็มี ๑๔ เท่านั้น โดยหมวดก็มีอยู่ ๗ หมวด โดย
ประเภทมี ๓๗ เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้นโพธิปักขิยธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 604
เหล่านั้นก็เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดทีเดียว ด้วยการทำ
กิจของตน ๆ ให้สำเร็จ และด้วยดำเนินไปตามรูป
ของตน.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ สัมปยุตด้วยมรรค
และผลอย่างนี้แล้ว จึงย่อโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นลงในมรรคและผลอีก แล้ว
กล่าวว่า อริยมรรค ๔ และสามัญผล ๔ ความเป็นสมถะชื่อว่า สามัญญะ.
สามัญญะนี้เป็นชื่อของอริยมรรค ๔ ผลแห่งสามัญญะทั้งหลายชื่อว่าสามัญผล
ส่วนนิพพานไม่ปนกันเลย โลกุตรธรรมทั้งหลาย ๔๖ ด้วยสามารถแห่งโพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗ มรรค ๔ ผล และนิพพาน ๑ โดยพิสดาร จากนั้นโดยย่อ
โลกุตรธรรม ๙ ด้วยสามารถแห่งมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แม้จากนั้น
โดยย่อพึงทราบว่า โลกุตรธรรม ๓ ด้วยสามารถมรรค ๑ ผล ๑ นิพพาน ๑.
อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงความที่มรรคผลมีสติปฏิฐานเป็นต้นเป็นโลกุตระก็เป็นอัน
ท่านกล่าวถึงความที่แม้ผัสสะเป็นต้นอันสัมปยุตด้วยมรรคผลนั้น ก็เป็นโลกุตระ
เหมือนกัน. ท่านกล่าวถึงสติปัฏฐานเป็นต้นด้วยเป็นธรรมเป็นประธาน. อนึ่ง
ในโลกุตรธรรมนิเทศในอภิธรรม ท่านกล่าวถึงความที่ผัสสะเป็นต้นอันสัมป-
ยุตด้วยมรรคและผลเป็นโลกุตรธรรม.
บทว่า โลก ตรนฺติ ข้ามพ้นโลก คือ ก้าวล่วงโลก. ในบทนี้
คำเป็นปัจจุบันกาลเช่นนี้ทั้งหมดท่านกล่าวหมายถึงอริยมรรค ๔ เพราะโสดา-
ปัตติมรรค ข้ามอบายโลกได้ สกทาคามิมรรคข้ามกามาวจรโลกเป็นเอกเทศได้
อนาคามิมรรคข้ามกามาวจรโลกได้ อรหัตมรรคข้ามรูปาวจรโลกและอรูปาวจร-
โลกได้. บทว่า โลกา อุตฺตรนฺติ ข้ามไปจากโลก คือ ออกไปจากโลก. บทว่า
โลกโตติ จ โลกมฺหาติ จ คำว่า จากโลกและแต่โลก คือ ท่านแสดงถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 605
ความวิเศษของปัญจมีวิภัตติ. บทว่า โลก สมติกฺกมนฺติ ล่วงพ้นโลกมี
ความดังได้กล่าวไว้แล้วครั้งแรก. ในบทนั้นท่านกล่าวไม่เพ่งถึงความของ
อุปสรรค. ในบทนี้ท่านกล่าวพร้อมด้วยความของอุปสรรค. บทว่า โลก
สมติกฺกนฺตา ล่วงพ้นโลกแล้ว คือ ก้าวล่วงโลกตามที่กล่าวแล้วโดยชอบ.
คำที่เป็นอดีตกาลเช่นนี้ทั้งหมด ในบทนี้ ท่านกล่าวหมายถึงนิพพานเป็นผล.
เพราะโสดาปัตติผลเป็นต้นก้าวล่วงโลก ตามที่กล่าวแล้วตั้งอยู่ นิพพานก้าวล่วง
โลกทั้งหมดทุกเมื่อ. บทว่า โลเกน อติเรก คือยิ่งไปกว่าโลก. บทนี้ท่าน
กล่าวหมายถึงโลกุตรธรรมแม้ทั้งหมด. บทว่า นิสฺสรนฺติ คือพรากไป.
บทว่า นิสฺสฏา คือออกไป. คำ ๑๘ มีอาทิว่า โลเก น ติฏฺติ ไม่ตั้งอยู่
ในโลก ย่อมควรแม้ในโลกุตรธรรมทั้งหมด. บทว่า น ติฏฺนฺติ ท่าน
กล่าวเพราะไม่นับเนืองในโลก. บทว่า โลเก น ลิมฺปติ ไม่ติดในโลก คือ
แม้เป็นไปในสันดานก็ไม่ติดในโลกนั้น. บทว่า โลเกน น ลิมฺปติ ไม่ติด
ด้วยโลก ความว่า ไม่ติดด้วยจิตไร ๆ ของผู้ยังไม่แทงตลอด ด้วยจิตเป็น
อกุศลและไม่สามารถของผู้แทงตลอดแล้ว. บทว่า อสลิตฺตา อนุปลิตฺตา
ไม่ติด ไม่ฉาบ พึงทราบด้วยอุปสรรค. บทว่า วิปฺปมุตฺตา พ้นแล้ว คือ
ความไม่ติดนั่นเอง แปลกที่พยัญชนะต่างกัน เพราะผู้ใดไม่ติดในสิ่งใดด้วย
สิ่งใด ผู้นั้นเป็นผู้พ้นในสิ่งนั้นด้วยสิ่งนั้น. บท ๓ บทมีอาทิว่า โลกา วิปฺป-
มุตฺตา พ้นไปจากโลก ท่านกล่าวโดยเป็นปัญจมีวิภัตติ. บทว่า วิสญฺญุตฺตา
ไม่เกี่ยวข้องเป็นความยอดเยี่ยมของความพ้นไป เพราะผู้ใดพ้นในสิ่งใดด้วย
สิ่งใด จากสิ่งใด ผู้นั้นเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ในสิ่งนั้น ด้วยสิ่งนั้น จากสิ่งนั้น.
บทว่า โลกา สุชฺฌนฺติ หมดจดจากโลก คือ ล้างมลทินของโลกแล้ว
หมดจดจากโลก. บทว่า วิสุชฺฌนฺติ สะอาด แปลกกันที่อุปสรรค. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 606
วุฏฺหนฺติ ออก คือ ลุกขึ้น. บทว่า วิวชฺชนฺติ คือไม่กลับ . บทว่า น
สชฺชนฺติ ไม่ข้อง คือ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า น คยฺหนฺติ ไม่ยึด คือ ไม่ถือ.
บทว่า น พชฺฌนฺติ ไม่พัวพัน คือ ไม่ผูกพัน. บทว่า สมุจฺฉินฺทนฺติ
ตัด คือ ทำไม่ให้เป็นไปได้. อนึ่งท่านกล่าวคำมีอาทิว่า เพราะหมดจดจากโลก
เหมือนบทว่า โลก สมุจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดขาดจากโลก. บทว่า ปฏิปฺ-
ปสฺสมฺเภนฺติ ให้โลกระงับอยู่ คือ ให้โลกดับ. บท ๔ มีอาทิว่า อปจฺจคา
ย่อมควรในโลกุตระแม้ทั้งปวง. บทว่า อปจฺจคา ไม่กลับมา. คือ ไม่มีทาง.
บทว่า อคติ ไม่เป็นคติ คือ ไม่เป็นที่พึ่ง. บทว่า อวิสยา ไม่เป็นวิสัย
คือ เป็นที่อาศัย. บทว่า อสาธารณา ไม่เป็นสาธารณะ คือ ไม่เสมอ.
บทว่า วมนฺติ คือ คายออก. บทว่า น ปจฺจาคมนฺติ ไม่เวียนมา ท่าน
กล่าวโดยนัยตรงข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว ความว่า ไม่กินของที่ตายแล้วอีก.
ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงความที่ของที่คายแล้วเป็นอันคายไปแล้ว. แม้ในหมวด ๓
แห่งทุกะในลำดับก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า วิสิเนนฺติ ไม่ผูก คือ กระจัดกระจายไป พ้นไป ความว่า
ไม่ผูกพัน. บทว่า น อุสฺสิเนนฺติ ผูก คือ ไม่กระจัดกระจาย ไม่พ้น.
บทว่า วิสิเนนฺติ ปาฐะทำให้เสียงสั้นว่า น อุสฺสิเนนฺติ ดี. บทว่า วิธูเปนฺติ
กำจัด คือ ให้ดับ. บทว่า น สุธูเปนฺติ ไม่อบโลกให้งาม คือ ไม่รุ่งเรือง.
บทว่า โลก สมติกฺกมฺม อภิภุยฺย ติฏฺนฺติ ล่วงโลกครอบงำโลกตั้งอยู่
คือ โลกุตรธรรมแม้ทั้งหมดก้าวล่วงและครอบงำโลกตั้งอยู่ด้วยดี เพราะเหตุ
นั้นจึงชื่อว่า โลกุตระ เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่โลกุตระทั้งหลายเหนือ
โลกและยิ่งกว่าโลกโดยประการดังกล่าวนี้แม้ทั้งหมด.
จบอรรถกถาโลกุตตรกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 607
ยุคนัทธวรรค
พลกถา
ว่าด้วยพลธรรม
[๖๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ?
คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พละ ๕ ประการนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ
สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ
อนวัชชพละ สังคาหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละ
อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑.
ขีณาสวพละ ๑๐ อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐.
[๖๒๒] สัทธาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่
หวั่นไหวในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะ
ความว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่ง
ปฏิเวธ เพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต
เพราะความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง
เพราะความว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
นี้เป็นสัทธาพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 608
วิริยพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในความเกียจคร้าน เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ.
สติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวใน
ความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก-
รกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ.
สมาธิพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในอุทธัจจะ เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ.
ปัญญาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่า
ให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ.
[๖๒๓] หิริพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกาม-
ฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถิ่นมิทธะ
ด้วยโลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรม-
ววัตถาน ละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวร ์
ด้วยปฐมญาณ ฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นหิริพละ.
โอตตัปปพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรง
กลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น
โอตตัปปพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 609
ปฏิสังขานพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า
พิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค
นี้เป็นปฏิสังขานพละ.
[๖๒๔] ภาวนาพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า
พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ
ความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ.
อนวัชชพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอนวัขชพละ เพราะอรรถว่า ในเนก-
ขัมมะไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มี
โทษน้อยหนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ ในอรหัตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
เพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ.
สังคาหพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโย-
คาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกด
จิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ.
[๖๒๕] ขันติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนก-
ขัมมะย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะ
ละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว
นี้เป็นขันติพละ.
ปัญญัตติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิต
ไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี่เป็นปัญญัตติพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 610
นิชฌัตติพละเป็นไฉน ? ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ.
อิสริยพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยา-
บาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถ
อรหัตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ.
อธิษฐานพละเป็นไฉน ? ชื่อว่าอธิฐานพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละ
พยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิ-
เลส ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ.
[๖๒๖] สมถพละเป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้ง-
ซ่าน ด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็น
สมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ.
ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพล นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 611
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐม-
ฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยญาน เพราะ
อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่น-
ไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวใน
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิญญานัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง
ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ในกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ นี้
เป็นสมถพละ.
[๖๒๗] วิปัสสนาพละเป็นไฉน ? อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็น
ความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็น
วิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ.
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพล นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญา
ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญา ด้วย
ทุกขานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความเพลิดเพลิน ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในราคะ ด้วยวิราคา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 612
นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา
เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา
เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ใน
กิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และในขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ.
[๖๒๘] เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นไฉน ? ชื่อว่า เสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษา
ในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมา-
สังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จ
แล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯ สัมมา-
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯ
สัมมาวิมุตติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมา-
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ
สัมมาวิมุตติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ นี้.
[๖๒๙] ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นไฉน ? ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็น
ผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดย
ความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบ
ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 613
ความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณ
ความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป
เอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็น
ธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ
สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้ว
แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของ
พระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘
เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เจริญดีแล้วนี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ ๑๐.
[๖๓๐] อิทธิพละ ๑๐ เป็นไฉน ? ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน ๑ ฤทธิ์
ที่แผลงได้ต่าง ๆ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่
แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 614
ท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา ๑ ฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะ
เหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ ๑ อิทธิพละ ๑๐ นี้.
[๖๓๑] ตถาคตพละ ๑๐ เป็นไฉน ? พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรง
ทราบซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้
ข้อที่พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ
ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัย
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน
ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต
อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง
ของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึง
ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทา
เครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระ-
ตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่าง ๆ โดยความ
เป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่าง ๆ
โดยความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็น
ผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความ
ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง
ของพระตถาคต ฯลฯ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 615
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่ง
อินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคต
ทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความ
เป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ
ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของ
พระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็น
อันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ
ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่
พระตถาคตทรงระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ
บ้าง ฯลฯ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรง
พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า
ถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 616
อยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะ
ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ ๑๐ นี้.
[๖๓๒] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่า
สมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ชื่อว่า
สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่
หวั่นไหวในอวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอัน
ลามก ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่าเกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอัน
เดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโคจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะ
เป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อ
นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
ตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระ-
โยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า
สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 617
วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดใน
ภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิ
เป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้น
ไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อม
สำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล.
จบพลกถา
อรรถกถาพลกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งพลกถา อันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้นอันเป็นโลกุตรกถา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
ลำดับแห่งโลกุตรกถา. ในพลกถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดง
พละ ๕ โดยพระสูตรแต่ต้น แล้วมีพระประสงค์จะทรงแสดงพละแม้อื่นจาก
พละ ๕ นั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อปิจ อฏฺสฏฺี พลานิ อีกอย่างหนึ่ง
พละ ๖๘ ประการ ดังนี้. แม้พละ ๖๘ ทั้งหมดก็ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวโดยภาวะตรงกันข้ามกับพละ ๕ นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า หิริพล หิริพละดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
หิริ เพราะเป็นเหตุละอายต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความละอาย. ชื่อว่า
โอตตัปปะ เพราะเป็นเหตุกลัวต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความหวาดสะดุ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 618
หิริมีภายในเป็นสมุฏฐาน โอตตัปปะมีภายนอกเป็นสมุฏฐาน. หิริมีตนเป็นใหญ่
โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่. หิริตั้งอยู่ในสภาพที่ละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาพ
ที่กลัว. หิริมีความเคารพเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความเห็นภัยจากความกลัว
โทษ. ชื่อว่า หิริพละ เพราะหิรินั้นแล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความไม่มีหิริ.
ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะโอตตัปปะนั้นแล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความ
ไม่มีโอตตัปปะ. ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยการไม่
พิจารณา. บทนี้เป็นชื่อของปัญญาเข้าไปพิจารณา กำลังเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจร
ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วยความเพียรเป็นหลัก ชื่อว่า ภาวนาพละ. บทนี้
เป็นชื่อของขันธ์ ๔ อันเป็นไปอย่างนั้น. ศีลเป็นต้นอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า
อนวัชชพละ. สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า สังคาหพละ. ปาฐะว่า สงฺคเห พล
กำลังในการสงเคราะห์บ้าง. การอดกลั้นทุกข์ ชื่อว่า ขันติพละ. การยินดี
ธรรมกถาของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญัตติพละ. การเพ่งถึงประโยชน์อันยิ่ง ชื่อว่า
นิชฌัตติพละ. ความเป็นผู้มากในกุศลทั้งหลาย ชื่อว่า อิสริยพละ. การ
ตั้งตามความพอใจในกุศลทั้งหลาย ชื่อว่า อธิษฐานพละ.
ประโยชน์ของหิริพละเป็นต้น ท่านกล่าวถือเอาการประกอบโดยความ
พิเศษ ด้วยพยัญชนะในบทมาติกาทั้งหลาย. บทว่า สมถพล วิปสฺสนาพล
คือ สมถะและวิปัสสนาอันมีกำลังนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในมาติกานิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิเย น
กมฺปตีติ สทฺธาพล ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความ
ไม่มีศรัทธา พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงอรรถของพละอันเป็นมูลเหตุ แล้วแสดง
สัทธาพละนั้นให้พิเศษด้วยปริยาย ๙ อื่นอีก. จริงอยู่ ธรรมใดไม่หวั่นไหว
เป็นธรรมมีกำลัง ธรรมนั้นย่อมอุปถัมภ์ธรรมที่เกิดร่วมกัน พระโยคาวจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
ควบคุมกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ของตนไว้ได้ ชำระศีลและทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้น
แห่งการแทงตลอดไว้ได้ ยังจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ ทำจิตให้ผ่องใสให้ผ่องแผ้ว
ถึงความชำนาญย่อมให้บรรลุคุณวิเศษ เมื่อบรรลุยิ่งกว่านั้นย่อมให้ทำการ
แทงตลอดยิ่งขึ้นไป ครั้นบรรลุอริยมรรความลำดับแล้ว ย่อมให้ทำการบรรลุ
สัจจะได้ ย่อมให้ตั้งอยู่ในนิโรธด้วยการบรรลุผลได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำ
อรรถแห่งพละให้พิเศษโดยอาการ ๙ อย่าง. ในพละ ๔ มีวิริยพละเป็นต้น
ก็นัยนี้.
บทว่า กามฉนฺท หิรียติ ละอายกามฉันทะ คือพระโยคาวจร
ประกอบด้วยเนกขัมมะ ละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ. แม้ในโอตตัปปะก็
นัยนี้เหมือนกัน. แม้การละอายอกุศลทั้งปวงเหล่านี้ ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง
ความกลัวด้วย. พึงทราบอรรถแม้แห่งบทว่า พฺยาปาท เป็นอาทิโดยนัยนี้แหละ.
บทว่า ปฏิสงฺขาติ ย่อมพิจารณา คือ พิจารณาโดยความเป็นโทษด้วยความ
ไม่หลง. บทว่า ภาเวติ คือย่อมเจริญ. บทว่า วชฺช โทษ คือ โทษมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า สงฺคณฺหาติ ย่อมสงเคราะห์ คือ ย่อมผูก. บทว่า ขมติ ย่อม
อดทน คือ พระโยคาวจรนั้นย่อมอดทน ย่อมชอบใจ. บทว่า ปญฺเปติ
ย่อมตั้งไว้ คือ พอใจ. บทว่า นิชฺฌาเปติ ย่อมเพ่ง คือ ย่อมคิด. บทว่า
วส วตฺเตติ ให้เป็นไปในอำนาจ คือ ทำจิตมากในความคิดให้เป็นไปตาม
อำนาจของตน. บทว่า อธิฏฺาติ ย่อมอธิษฐาน คือ ย่อมจัดแจง. แม้พละ
ทั้งหมดมีภาวนาพละเป็นต้นก็เป็นเนกขัมมะเป็นต้นนั่นแหละ. ในอรรถกถา
แห่งมาติกาท่านกล่าวไว้โดยประการอื่น แต่พึงทราบว่าท่านไม่กล่าวถึงอรรถ
ไว้ในที่นี้ เพราะปรากฏโดยพยัญชนะอยู่แล้ว. ท่านพระสารีบุตรเถระชี้แจงถึง
สมถพละและวิปัสสนาพละโดยพิสดาร ในที่สุดกล่าวบทมีอาทิว่า อุทฺธจฺจ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 620
สหคตกิเลเส จ ขนฺเธ จ น กมฺปติ จิตไม่หวั่นไหวใจกิเลสอัน
สหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ และบทมีอาทิว่า อวิชฺชาสหคตกิเลเส จ
ขนฺเธ จ น กมฺปติ จิตไม่หวั่นไหวในกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชาและ
ในขันธ์ เพื่อให้เห็นถึงลักษณะของสมถพละ และวิปัสสนาพละ.
พึงทราบวินิจฉัยในเสกขพละ และอเสกขพละดังต่อไปนี้. บทว่า
สมฺมาทิฏฺึ สิกฺขตีติ เสกฺขพล ชื่อว่า เสกขพละเพราะพระเสกขะยังต้อง
ศึกษาสัมมาทิฏฐิ ความว่า ชื่อพระเสกขะเพราะพระเสกขบุคคลยังต้องศึกษา
สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะสัมมาทิฏฐินั้นนั่นแหละ เป็นกำลังของ
พระเสกขะนั้น. บทว่า ตตฺถ สิกฺขิตตฺตา อเสกฺขพล ชื่อว่า อเสกขพละ
เพราะพระอเสกขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ความว่า ชื่อว่าพระ-
อเสกขะ เพราะพระอเสกขบุคคลไม่ต้องศึกษา เพราะสัมมาทิฏฐินั้นพระอเสกข-
บุคคลศึกษาแล้ว ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะสัมมาทิฏฐินั้นนั่นแหละเป็น
กำลังของพระอเสขะนั้น. ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมฺมาาณ สัมมาญาณ คือ ปัจจเวกขณญาณ (ญาณเป็น
เครื่องพิจารณา). จริงอยู่ แม้ญาณนั้นเป็นโลกิยะก็เป็นเสกขพละ เพราะพระ-
เสกขะยังต้องประพฤติอยู่. ท่านกล่าวว่า อเสกขพละเพราะพระอเสกขะไม่ต้อง
ประพฤติแล้ว. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ สัมมาวิมุตติ คือ ธรรมสัมปยุตด้วยผล
ที่เหลือ เว้นองค์แห่งมรรค ๘ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิมุตติที่เหลือ
เว้นโลกุตรวิมุตติเป็นสัมมาวิมุตติ ความว่า สัมมาวิมุตตินั้นเป็นเสกขพละ
และอเสกขพละมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ญาณพละแม้ทั้งหมดมีในขีณาสวพละ.
บทว่า ขีณาสวสฺส ภิกฺขุโน อันภิกษุขีณาสพ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 621
แห่งตติยาวิภัตติ เป็น ขีณาสเวน ภิกฺขุนา. บทว่า อนิจฺจโต โดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง คือ โดยความไม่เที่ยงด้วยอาการ เป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า
ยถาภูต คือ ตามความเป็นจริง. บทว่า ปญฺาย ด้วยปัญญา คือ ด้วย
มรรคปัญญากับวิปัสสนา ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดี โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยไม่ใช่ตัวตน เพราะมีปัญญานั้นเป็นมูล.
บทว่า ย เป็นภาวนปุงสก หรือมีความว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า อาคมฺม
คือ อาศัย. บทว่า ปฏิชานาติ ปฏิญาณ คือ รับทำตามปฏิญาณ. บทว่า
องฺคารกาสูปมา เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง คือ เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยอรรถว่า น่ากลัวมาก. บทว่า กามา คือ วัตถุกามและกิเลสกาม. บทว่า
วิเวกนินฺน โน้มไปในวิเวก คือ น้อมไปในนิพพาน กล่าวคือความสงัดจาก
อุปธิด้วยผลสมาบัติ. จริงอยู่ วิเวกมี ๓ คือ กายวิเวก ๑ จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก
(สงัดจากกิเลส) ๑.
ผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด ยินดีในเนกขัมมะชื่อว่า กายวิเวก. ผู้
ขวนขวายในอธิจิต ชื่อว่า จิตตวิเวก. บุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ปราศจากเครื่องปรุงแต่ง
หรือน้อมไปในนิพพานกล่าวคือความวิเวกอันเป็นเครื่องนำออกไป ชื่อว่า
อุปธิวิเวก. ความจริง วิเวกมี ๕ อย่าง คือ วิกขัมภนวิเวก ๑ ตทังควิเวก ๑
สมุจเฉทวิเวก ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๑ นิสสรณวิเวก ๑. อนึ่ง บทว่า วิเวกนินฺน
คือ โน้มไปในวิเวก. บทว่า วิเวกโปณ คือ น้อมไปในวิเวก. บทว่า
วิเวกปพฺภาร คือ เอนไปในวิเวก. แม้บททั้งสองก็เป็นไวพจน์ของบทก่อน
นั่นแหละ. บทว่า วิเวกฏฺ ตั้งอยู่ในวิเวก คือ เว้นจากกิเลสทั้งหลาย หรือ
ไปเสียให้ไกล. บทว่า เนกฺขมฺมาภิรต ยินดีในเนกขัมมะ คือ ยินดีใน
นิพพาน หรือยินดีในบรรพชา. บทว่า พฺยนฺตีภูต สิ้นสูญไป คือ ปราศจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 622
ไป แม้การแสดงครั้งเดียวก็ไม่ผิด พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า สพฺพโส
คือ โดยประการทั้งปวง. บทว่า อาสวฏฺานิเยหิ ธมฺเมหิ จากธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งอาสวะ ความว่า จากกิเลสอันเป็นเหตุของอาสวะทั้งหลายด้วยการ
เกี่ยวข้อง.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺยนฺตีภูต ความสิ้นสูญไป คือ ปราศจาก
ความใคร่ อธิบายว่า หมดตัณหา. จากไหน จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง คือ จากธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวง. ในที่นี้
ท่านกล่าวถึงโลกิยมรรคและโลกุตรมรรคของพระขีณาสพ ด้วยขีณาสวพละ ๑๐
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พละกำหนดรู้ทุกข์ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีสภาพ
ไม่เที่ยง พละละสมุทัยว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง พละทำ
ให้แจ้งนิโรธว่า จิตโน้มไปในวิเวก พละในการเจริญมรรค ๗ อย่างมีอาทิว่า
สติปัฏฐาน ๔. อิทธิพละ ๑๐ อย่างจักมีแจ้งในอิทธิกถา.
พึงทราบวินิจฉัยในตถาคตพลนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ตถาคตพลานิ
คือกำลังของพระตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น หรือว่าพละอันมา
แล้วเหมือนอย่างพละของพระพุทธเจ้าแต่ก่อนมาแล้วด้วยการสะสมบุญ. ในบท
นั้น ตถาคตพละมี ๒ อย่าง คือ กายพละ ๑ ญาณพละ ๑ ในพละ ๒ อย่างนั้น
พึงทราบกายพละโดยติดตามถึงตระกูลช้าง. สมดังที่ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวไว้ว่า
ตระกูลช้าง ๑๐ เหล่านี้ คือ กาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑
ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑
เหมะ ๑ อุโปสถะ ๑ ฉัททันตะ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 623
เหล่านี้คือตระกูลช้าง ๑๐. ในบทเหล่านั้น บทว่า กาฬาวก พึงเห็นตระกูลช้าง
ตามปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ เป็นกำลังของช้างกาฬาวกะเชือกหนึ่ง.
กำลังของกาฬาวกะ ๑๐ เป็นกำลังของคังเคยยะเชือกหนึ่ง. กำลังของคังเคยยะ
๑๐ เป็นกำลังของปัณฑระเชือกหนึ่ง. กำลังของปัณฑระ ๑๐ เป็นกำลังของ
ตัมพะเชือกหนึ่ง. กำลังของตัมพะ ๑๐ เป็นกำลังของปิงคละเชือกหนึ่ง. กำลัง
ของปิงคละ ๑๐ เป็นกำลังของคันธะเชือกหนึ่ง. กำลังของคันธะ ๑๐ เป็นกำลัง
ของมังคละเชือกหนึ่ง. กำลังของมังคละ ๑๐ เป็นกำลังของเหมวตะเชือกหนึ่ง.
กำลังของเหมวตะ ๑๐ เป็นกำลังของอุโปสถะเชือกหนึ่ง. กำลังของอุโปสถะ ๑๐
เป็นกำลังของฉัททันตะเชือกหนึ่ง. กำลังของฉัททันตะ ๑๐ เป็นกำลังของพระ-
ตถาคตพระองค์เดียว.
บทนี้ท่านกล่าวถึง แม้บทว่า นารายนสงฺฆาตพล คือกำลังของ
นารายนะ. ตถาคตพละนั้นเท่ากับกำลังช้างปกติ ๑,๐๐๐ โกฏิ เท่ากับกำลัง
บุรุษ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ นี้คือกายพละของพระตถาคต. ส่วนญาณพละมาแล้วใน
บาลีนี้และในที่อื่น.
ญาณ ๑,๐๐๐ ไม่น้อยแม้อื่นอย่างนี้ คือ ทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ
อกัมปนญาณ (ญาณไม่หวั่นไหว) ในบริษัท ๘ จตุโยนิปริจเฉทกญาณ
(ญาณกำหนดกำเนิด ๔) ปัญจคติปริจเฉทกญาณ (ญาณกำหนดคติ ๕)
มาแล้วในมัชฌิมนิกาย ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ มาแล้วในสังยุตตนิกาย นี้ชื่อว่า
ญาณพละ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญาณพละนั่นแหละ. เพราะญาณท่านกล่าวว่า
เป็นพละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและด้วยอรรถว่าอุปถัมภ์.
บทว่า านญฺจ านโต ฐานะโดยเป็นฐานะ คือ เหตุโดยเป็นเหตุ.
เพราะเหตุผลย่อมตั้งอยู่ในญาณนั้น คือ ย่อมเกิดขึ้นและย่อมเป็นไป เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 624
ประพฤติเนื่องด้วยญาณนั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า าน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงทราบธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อเกิดธรรมว่าเป็นฐานะ ธรรมที่
ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย เพื่อเกิดธรรมว่าไม่เป็นฐานะ ชื่อว่าย่อมทรงทราบ
ฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง. บทว่า ยมฺปิ
คือด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ คือแม้ญาณนี้ก็เป็นฐานญาณ อธิบายว่า
ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระตถาคต. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทราบการประกอบ
อย่างนี้.
บทว่า อาสภณฺาน ฐานะอันสูงสุด คือ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะ
อันสูงสุด อธิบายว่า เป็นฐานะของพระพุทธเจ้าแต่ก่อนทั้งหลายผู้องอาจ.
อีกอย่างหนึ่ง โคอุสภะผู้เป็นหัวหน้าโค ๑๐๐ ตัว โควสภะผู้เป็นหัวหน้าโค
๑,๐๐๐ ตัว โคอุสภะผู้เป็นหัวหน้าคอก ๑๐๐ คอก โควสภะผู้เป็นหัวหน้าคอก
๑,๐๐๐ คอก โคนิสภะประเสริฐกว่าโคทั้งหมด อดทนต่ออันตรายทั้งปวงได้
สีขาวน่ารักนำภาระไปได้มาก ไม่สะดุ้งแม้เสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ในที่นี้
ท่านประสงค์เอาอุสภะ เพราะบทว่า อาสภณฺาน แม้นี้ก็เป็นคำกล่าวโดย
ปริยายของอุสภะนั้น ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้ของอุสภะ.
บทว่า าน คือเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดินมั่นอยู่. อนึ่ง ฐานะนี้
ชื่อว่า อาสภะ เพราะดุจผู้องอาจ เหมือนอย่างว่าโคอุสภะ คือโคผู้นำประกอบ
ด้วยอุสุภพละ เอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดิน ตั้งไว้โดยไม่หวั่นไหว ฉันใด
แม้พระตถาคตก็ฉันนั้นทรงประกอบด้วยตถาคตพละ ๑๐ เอาเท้า คือ เวสารัชชะ
๔ เหยียบปฐพี คือ บริษัท ๘ ไม่หวั่นไหวด้วยข้าศึกศัตรูไร ๆ ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลกดำรงอยู่ด้วยฐานะอันไม่หวั่นไหว. อนึ่ง เมื่อดำรงอยู่อย่างนี้ย่อม
ปฏิญาณ เข้าไปใกล้ ไม่บอกคืน ให้ยกขึ้นในตนซึ่งฐานะอันองอาจนั้น ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อาสภณฺาน ปฏิชานาติ ปฏิญาณฐานะอันองอาจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 625
บทว่า ปริสาสุ คือ ในบริษัท ๘ มีกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ
เทพชั้นจาตุมมหาราชิกะ เทพชั้นดาวดึงส์ มาร และพรหม. บทว่า สีหนาท
นทติ บันลือสีหนาท คือ บันลือเสียงประเสริฐ เสียงไม่สะดุ้งกลัว หรือบันลือ
เสียงกึกก้องเช่นเสียงสีหะ. พึงแสดงอรรถนี้ด้วยสีหนาทสูตร. ราชสีห์ท่านเรียกว่า
สีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าสัตว์เป็นอาหาร ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น
ท่านกล่าวว่า สีหะ เพราะอดทนโลกธรรมและกำจัดปรัปปวาท (ผู้กล่าวโต้แย้ง)
การบันลือของสีหะดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า สีหนาท. สีหะประกอบด้วย
สีหพละแกล้วกล้าปราศจากขนพองสยองเกล้า บันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด
แม้พระตถาคตดุจสีหะก็ฉันนั้น ทรงประกอบด้วยตถาคตพละทรงแกล้วกล้าใน
บริษัท ๘ ปราศจากความสยดสยอง ทรงบันลือสีหนาทถึงพร้อมด้วยบทบาท
การแสดงหลาย ๆ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า อิติ รูป รูปเป็นดังนี้ ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปริสาสุ สีหนาท นทติ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท
ทั้งหลาย.
บทว่า พฺรหฺม ในบทนี้ว่า พฺรหฺมจกฺก ปวตฺเตติ ประกาศ
พรหมจักร เป็นจักรประเสริฐสูงสุดบริสุทธิ์. พึงทราบจักกศัพท์ดังต่อไปนี้.
จักกศัพท์ปรากฏใน สมบัติ ลักษณะ เครื่อง
ประกอบรถ อิริยาบถ ทาน รัตนจักร ธรรมจักร
อุรจักรเป็นต้น ในที่นี้ปรากฏในธรรมจักร พระโยคา-
วจรพึงประกาศธรรมจักรแม้นั้นโดยอาการ ๒ อย่าง.
จักกศัพท์ ปรากฏในสมบัติ ในบทมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมบัติของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยจักร ๔ เหล่านี้. ปรากฏใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 626
ลักษณะ ในประโยคนี้ว่า จักรเกิดที่ฝ่าพระบาทเบื้องล่าง. ปรากฏในส่วน
ของรถ ในประโยคนี้ว่า ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าฉะนั้น. ปรากฏในอิริยาบถ
ในบทนี้ว่า มีจักร ๔ มีทวาร ๙. ปรากฏในทาน ในประโยคนี้ว่า เมื่อให้
ท่านจงบริโภคเถิดและอย่าเป็นผู้ประมาท ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแคว้น
โกศล ขอพระองค์จงยังจักรให้เป็นไปเถิด. เป็นไปในรัตนจักร ในบทนี้ว่า
จักรรัตนะอันเป็นทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. เป็นไปในธรรมจักร ในบทนี้ว่า
จักรอันเราประกาศแล้ว. เป็นไปในอุรจักร ในบทนี้ว่า จักรย่อมหมุนไปบน
หัวของสัตว์ผู้ถูกความริษยาครอบงำแล้ว. เป็นไปในปหรณจักรในบทนี้ว่า ด้วย
จักรมียอดคม. ในอสนิมณฑลในบทนี้ว่า สายฟ้าฟาด. แต่ในที่นี้ จักกศัพท์นี้
ปรากฏในธรรมจักร.
อนึ่ง ธรรมจักรนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปฏิเวธญาณ และเทศนาญาณ.
ในญาณทั้ง ๒ นั้น การนำมาซึ่งอริยผลของตนอันเจริญแล้วด้วยปัญญา ชื่อว่า
ปฏิเวธญาณ. การนำมาซึ่งอริยผลของสาวกทั้งหลายอันเจริญแล้วด้วยกรุณา
ชื่อว่าเทศนาญาณ. ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ กำลังเกิด ๑
เกิดแล้ว ๑. ญาณนั้นชื่อว่ากำลังเกิด ตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์ จนถึง
อรหัตมรรค ชื่อว่าเกิดแล้วในอรหัตผล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากำลังเกิด ตั้งแต่
ประดิษฐาน ณ ภพดุสิต จนถึงบรรลุอรหัตมรรค ณ โพธิบัลลังก์ ชื่อว่า
เกิดแล้วในขณะแห่งผล หรือกำลังเกิดตั้งแต่ศาสนาพระทีปังกรทศพล จนถึง
บรรลุอรหัตมรรค ชื่อว่าเกิดแล้วในขณะแห่งผล. แม้เทศนาญาณก็มี ๒ อย่าง
คือ กำลังเป็นไป ๑ เป็นไปแล้ว ๑. เทศนาญาณนั้นชื่อว่า กำลังเป็นไป
เพียงใดแต่อรหัตมรรคของพระอัญญาโกณทัญญเถระ ชื่อเป็นไปแล้วในขณะ
แห่งผล. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ เทศนาญาณเป็นโลกิยะ. แม้ทั้ง ๒ นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 627
ก็ไม่ทั่วไปด้วยผู้อื่น เป็นโอรสญาณ (ญาณเกิดแต่อก) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พฺรหฺมจกฺก ปวตฺเตติ ประกาศ
พรหมจักร.
บทว่า กมฺมสมาทาน กรรมสมาทาน คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม
ที่สมาทานแล้ว หรือกรรมนั้นแหละชื่อว่ากรรมสมาทาน. บทว่า านโส
เหตุโส โดยฐานะ โดยเหตุ คือโดยปัจจัยและโดยเหตุ ในบทนั้น ฐานะ
แห่งวิบาก เพราะคติ อุปธิ กาล ปโยคะ กรรมเป็นเหตุ. บทว่า สพฺพตฺถ-
คามินึ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง คือ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงคติ
ทั้งปวง และปฏิปทาเครื่องให้ถึงอคติ. บทว่า ปฏิปท ปฏิปทา คือมรรค.
บทว่า ยถาภูต ปชานาติ รู้ตามความเป็นจริง คือ ตถาคตย่อมรู้สภาพโดย
ไม่วิปริตของการปฏิบัติกล่าวคือ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุเดียว
โดยนัยนี้ว่า แม้เมื่อมนุษย์มากฆ่าสัตว์ตัวเดียวเท่านั้น เจตนาของการฆ่านี้ก็จัก
เป็นเจตนาไปสู่นรก จักเป็นเจตนาไปสู่กำเนิดดิรัจฉาน. บทว่า อเนกธาตุ
อเนกธาตุ คือธาตุมากด้วยธาตุมีจักษุธาตุเป็นต้น หรือมีกามธาตุเป็นต้น. บทว่า
นานาธาตุ ธาตุต่าง ๆ คือธาตุมีประการต่าง ๆ เพราะธาตุเหล่านั้นมีลักษณะ
ผิดกัน. บทว่าโลก ได้แก่ โลก คือ ขันธ์อายตนะธาตุ. บทว่า ยถาภูต ปชานาติ
รู้ตามความเป็นจริง คือแทงตลอดสภาวะแห่งธาตุนั้น ๆ โดยไม่วิปริต. บทว่า
นานาธิมุตฺติกต คือ ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างกัน ด้วยอัธยาศัยเลว
ประณีตเป็นต้น. บทว่า ปรสตฺตาน ของสัตว์อื่น คือ ของสัตว์ที่เป็นประธาน.
บทว่า ปรปุคฺคลาน ของบุคคลอื่น คือของสัตว์เลวอื่นจากสัตว์ที่เป็นประธาน
นั้น ทั้ง ๒ บทนี้มีอรรถอย่างเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอาการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 628
๒ อย่าง ด้วยสามารถเวไนยสัตว์ แม้ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสโดยนัย
ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺต ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ คือ
ความเป็นอื่นและความไม่เป็นอื่นของอินทรีย์ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อธิบายว่า
ความเจริญและความเสื่อม.
บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีน ฌานวิโมกข์ สมาธิและ
สมาบัติ คือ แห่งฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น แห่งวิโมกข์ ๘ มีอาทิว่า ผู้มีรูป
ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย แห่งสมาธิ ๓ มีวิตกวิจารเป็นต้น แห่งอนุปุพพสมาบัติ
๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลส ความเศร้าหมอง คือธรรม
อันเป็นไปในฝ่ายเสื่อม. บทว่า โวทาน ความผ่องแผ้ว คือธรรมอันเป็นไป
ในฝ่ายวิเศษ. บทว่า วุฏฺาน ความออก คือเหตุที่ออกจากฌาน. อนึ่ง
ความออกนั้นท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า แม้ความผ่องแผ้วก็เป็นความออก แม้
ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็เป็นความออก ได้แก่ฌานอันคล่องแคล่ว และ
สมาบัติอันเป็นผลแห่งภวังค์.
เพราะฌานอันคล่องแคล่ว ชั้นต่ำ ๆ เป็นปทัฏฐานแห่งฌานชั้นสูง ๆ
ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้ความผ่องแผ้วก็เป็นความออก ความออกจากฌาน
ทั้งปวงย่อมมีได้ด้วยภวังค์ ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีได้ด้วยผล-
สมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้นจึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้น ๆ
ก็เป็นความออก.
ปุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณท่านประกาศไว้
แล้วในหนหลังนั่นแล. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาสวาน ขยา เพราะอาสวะ
สิ้นไป คือ เพราะกิเลสทั้งหมดสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค. บทว่า อนาสว ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 629
อาสวะ คือปราศจากอาสวะ. ในบทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตฺตึ นี้
ท่านกล่าวสมาธิสัมปยุตด้วยอรหัตผล ด้วยคำว่า เจโต กล่าวปัญญาสัมปยุต
ด้วยอรหัตผลนั้นด้วยคำว่า ปัญญา. อนึ่ง พึงทราบว่า สมาธิชื่อเจโตวิมุตติ
เพราะพ้นจากราคะ ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิพึงเป็นสมาธินทรีย์
ปัญญาพึงเป็นปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล ชื่อว่า
เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า สมถพละเป็นเจโตวิมุตติ วิปัสสนาพละเป็น
ปัญญาวิมุตติ. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือในอัตภาพนี้. บทว่า สย อภิญฺา
สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง คือทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ด้วยตนเอง อธิบายว่า รู้ด้วยปัจจัยอื่นอีก. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ
บรรลุแล้วหรือสำเร็จแล้ว.
อนึ่ง พึงทราบความพิสดารของทศพลญาณ ๑๐ นี้ โดยนัยดังกล่าว
แล้วในอภิธรรม.
ในบทนั้นถ้อยคำฝ่ายปรวาทีมีว่า ชื่อว่า ทศพลญาณเป็นญาณเฉพาะ
ไม่มี. นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณนั่นเอง ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น.
เพราะทศพลญาณเป็นอย่างอื่น สัพพัญญุตญาณเป็นอย่างอื่น ทศพลญาณย่อม
รู้กิจของตน ๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้กิจนั้นบ้าง กิจที่เหลือจากนั้นบ้าง.
พึงทราบวินิจฉัยในทศพลญาณ ดังต่อไปนี้ ทศพลญาณที่ ๑ ย่อมรู้เหตุ
และมิใช่เหตุ. ทศพลญาณที่ ๒ ย่อมรู้ระหว่างกรรมและระหว่างวิบาก. ทศพล-
ญาณที่ ๓ ย่อมรู้กำหนดของกรรม. ทศพลญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุของความต่าง
แห่งธาตุ. ทศพลญาณที่ ๕ ย่อมรู้อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 630
ย่อมรู้ความแก่กล้าและความอ่อนของอินทรีย์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๗ ย่อมรู้
ความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งญาณเหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้น. ทศพลญาณ
ที่ ๘ ย่อมรู้ความสืบต่อของขันธ์ที่อยู่อาศัยในก่อน. ทศพลญาณที่ ๙ ย่อมรู้จุติ
และปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้กำหนดสัจจะเท่านั้น.
ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้สิ่งที่ทศพลญาณเหล่านั้นควรรู้ และยิ่ง
กว่านั้น แต่ไม่ทำกิจทั้งหมดของญาณเหล่านั้น เพราะทศพลญาณนั้นมีฌาน
ก็ไม่อาจให้แนบแน่นได้ มีฤทธิ์ก็ไม่อาจทำให้มหัศจรรย์ได้ มีมรรคก็ไม่
สามารถยังกิเลสให้สิ้นได้.
อีกอย่างหนึ่ง ควรถามปรวาทีอย่างนี้ว่า ชื่อว่าทศพลญาณนี้ มีวิตก
มีวิจาร หรือไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร เป็นกามาวจร
หรือรูปาวจร หรืออรูปาวจร เป็นโลกิยะหรือโลกุตระ. เมื่อรู้ก็จักตอบว่า
ฌาน ๗ มีวิตกมีวิจารตามลำดับ จักตอบว่า ฌาน ๒ นอกจากนั้นไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร จักตอบว่า อาสวักขยญาณมีทั้งวิตกมีทั้งวิจารก็มี ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจารก็มี. อนึ่ง จักตอบว่า ฌาน ๗ เป็น
กามาวจรตามลำดับ ฌาน ๒ นอกจากนั้นเป็นรูปาวจร ในที่สุดจากนั้นเป็น
โลกุตระอย่างเดียว จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีทั้งวิตกมีทั้งเป็น
กามาวจร เป็นโลกิยะ.
บัดนี้ พระตถาคตทรงทราบการพรรณนาตามความที่ยิ่งไม่เคยพรรณนา
ไว้ในบทนี้อย่างนี้ แล้วทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นกิเลส อันเป็นฐานะและ
อฐานะแห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ และการไม่บรรลุของเวไนยสัตว์
ทั้งหลาย ด้วยฐานาฐานญาณเป็นครั้งแรก เพราะทรงเห็นฐานะของสัมมาทิฏฐิ
อันเป็นโลกิยะ และเพราะทรงเห็นความไม่มีฐานะของนิยตมิจฉาทิฏฐิ ครั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 631
ทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นวิบากด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรงเห็นปฏิสนธิ
อันเป็นติเหตุกะ ทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นกรรมด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทา-
ญาณ (ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง) เพราะทรงเห็นความไม่มี
อนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยาวิเศษ เพื่อทรงแสดงธรรมอนุกูลแก่อนาวรณญาณ
(ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น) ด้วยนานาธาตุญาณ (ปรีชากำหนดรู้ธาตุต่าง ๆ) แห่ง
ธาตุไม่น้อย เพราะทรงแสดงความต่างกันแห่งธาตุ ด้วยประการฉะนี้.
ครั้นแล้วทรงแสดงอัธยาศัย ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ (ปรีชากำหนด
รู้อัธยาศัยต่าง ๆ) ของเวไนยสัตว์เหล่านั้น เพื่อแม้ไม่ถือเอาการประกอบก็
ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถอัธยาศัย ต่อจากนั้นเพื่อทรงแสดงธรรมตามความ
สามารถตามกำลังของผู้น้อมไปในทิฏฐิอย่างนี้ จึงทรงเห็นความหย่อนและยิ่ง
อ่อนของอินทรีย์ ด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ เพราะทรงเห็นความแก่กล้าและความ
อ่อนของอินทรีย์ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.
อนึ่ง หากว่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้กำหนดรู้ความหย่อน
และยิ่งของอินทรีย์อย่างนี้ยังมีอยู่ไกล เมื่อนั้นพระตถาคตย่อมเข้าถึง ด้วยฤทธิ์
วิเศษเร็วพลัน เพราะทรงชำนาญในฌานเป็นต้น ด้วยญาณมีฌานเป็นต้น
ครั้นเข้าถึงแล้วทรงเห็นความแจ่มแจ้งของชาติก่อน ด้วยปุพเพนิวาสานุสติ-
ญาณ ความวิเศษของจิตเดี๋ยวนั้น ด้วยเจโตปริยญาณ อันควรบรรลุเพราะ
อานุภาพแห่งทิพยจักษุญาณ ทรงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ เพราะปราศ-
จากความหลง ด้วยปฏิปทาอันนำไปสู่ความสิ้นอาสวะ ด้วยอานุภาพแห่งอาส-
วักขยญาณ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงกำลัง ๑๐ ด้วยบทนี้ตาม
ลำดับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 632
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงกำลังทั้งหมด โดยความเป็น
ลักษณะจึงตั้งคำถามโดยนัยมีอาทิว่า เกนฏฺเน สทฺธาพล ชื่อว่า สัทธาพละ
เพราะอรรถว่ากระไร แล้วแก้โดยนัย มีอาทิว่า อสฺสทฺธิเย อกมฺปิยฏฺเน
เพราะอรรถไม่ไหวหวั่นในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.
ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า หิริยติ ย่อมละอาย เป็นการแสดงถึงบุคลา-
ธิษฐาน. ในที่สุดอธิษฐานพละมีภาวนาพละเป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าว
หมายถึงเนกขัมมะเป็นต้นเท่านั้น ด้วยบทว่า ตตฺถ เตน และ ต ใน
เนกขัมมะนั้น ด้วยเนกขัมมะนั้น ซึ่งเนกขัมมะนั้น.
บทว่า เตน จิตฺต เอกคฺค จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยเนกขัมมะนั้น
ท่านอธิบายว่า จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสมาธินั้น. บทว่า ตตฺถ ชาเต
ธรรมที่เกิดในภาวนานั้น คือ ธรรมที่เกิดในสมถะนั้น ด้วยความประกอบ
หรือมีวิปัสสนาเป็นอารมณ์เกิดในสมถะนั้น . บทว่า ตตฺถ สิกฺขติ พระเสกขะ
ยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้น ความว่า ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสกขะ
ยังต้องศึกษาในเสกขพละนั้น. บทว่า ตตฺถ สิกฺขิตตฺตา เพราะความที่
พระอเสกขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ความว่า ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะ
พระอเสกขะศึกษาแล้วในอเสกขพละนั้น. บทว่า เตน อาสวา ขีณา
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยสัมมาทิฏฐินั้น ความว่า ญาณนั้น ชื่อว่า ขีณาสวพละ
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยโลกิยญาณ และโลกุตรญาณนั้น. จริงอยู่
อาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า สิ้นไปแล้วด้วยโลกิยญาณ เพราะความไม่มีโลกุตรธรรม
เพราะความไม่มีวิปัสสนา. ชื่อว่า ขีณาสวพละ เพราะกำลังของพระขีณาสพ
อย่างนี้. บทว่า ต ตสฺส อิชฺฌตีติ อิทฺธิพล ชื่อว่า อิทธิพละ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 633
ฤทธิ์ย่อมสำเร็จ เพราะการอธิษฐาน ความว่า ฤทธิ์นั่นแหละเป็นกำลังจึงชื่อว่า
อิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีฤทธิ์นั้น. บทว่า อปฺปเมยฺยฏเน
เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ คือ สาวกทั้งหลายย่อมรู้ฐานะและ
อฐานะเป็นต้น โดยเอกเทศ. ท่านกล่าวว่า ยถาภูต ปชานาติ ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง หมายถึงความรู้นั่นแหละ โดยอาการทั้งปวง ถึงแม้ท่านจะ
ไม่กล่าวว่า ยถาภูต ปชานาติ ไว้ในวิชชา ๓ ก็จริง แต่เพราะท่านกล่าวไว้
ในที่อื่น จึงเป็นอันกล่าว แม้ในวิชชาเหล่านั้นด้วย.
บทว่า อญฺตฺถ คือในญาณพละ ๗ ที่เหลือ และในพละ ๑๐ ใน
อภิธรรม. อนึ่ง อินทริยปโรปริยัตตญาณไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย แม้โดย
ประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้พละ ๑๐ ก็ไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย
พละ ๑๐ ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะอรรถว่ามีประมาณยิ่ง เพราะอรรถว่า
ชั่งไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปเมยฺยฺยฏฺเน ตถาคตพล
ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาพลกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 634
ยุคนัทธวรรค
สุญญกถา
ว่าด้วยสุญญตา
[๖๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเขตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหตุเพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูก่อนอานนท์ อะไรเล่า สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูก่อนอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วย
ตน รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักษุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน จักษุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่ง
ที่เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ
โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญจากตนและ
สิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 635
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็
สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่าโลกสูญ.
[๖๓๔] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ
ลักษณสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ นิสสรณ-
สูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่เสมอกันสูญ
ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ ความได้เฉพาะสูญ
การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่าง ๆ สูญ ความอดทน
สูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมป-
ชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง.
[๖๓๕] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน ? จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วย
ตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็น
ธรรมดา หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่
แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้สิ่งที่สูญสูญ.
[๖๓๖] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุ-
ญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและ
อเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓.
สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและ
จิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 636
สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต
สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วน
ปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓
นี้สังขารสูญ.
[๖๓๗] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน ? รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ
(ปกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญา
เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว
สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ.
[๖๓๘] อัคคบทสูญเป็นไฉน ? บทนี้ คือ ความสงบแห่งสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ
นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ นี้อัคคบทสูญ.
[๖๓๙] ลักษณสูญเป็นไฉน ? ลักษณะ ๒ คือ พาลลักษณะ ๑
บัณฑิตลักษณะ ๑ พาลลักษณะสูญจากบัณฑิตลักษณะ บัณฑิตลักษณะสูญจาก
พาลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่
แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ
สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจาก
ลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความ
เสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปร
เป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
เกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไป
และจากลักษณะเมื่อตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและ
มรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป
ลักษณะเมื่อตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิด
ขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณสูญ.
[๖๔๐] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน ? กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ
สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก-
สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้วและสูญไป วิจิกิจฉา
อันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป อรติ
อันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป
ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ.
[๖๔๑] ตทังคสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคสูญ (สูญเพราะ
องค์นั้น ๆ) เพราะเนกขัมมะ...นิวรณ์เป็นตทังคสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯ
ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้ เป็นตทังคสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนา
นี้ตทังคสูญ.
[๖๔๒] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน ? กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ
สูญไป...นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัต-
มรรคตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ.
[๖๔๓] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน ? กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้ว
และสูญไป...นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอัน
อรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไป นี้ปฏิปัสสัทธิสูญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
[๖๔๔] นิสสรณสูญเป็นไฉน ? กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออก
แล้วและสูญไป...นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
อันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณสูญ.
[๖๔๕] ภายในสูญเป็นไฉน ? จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายใน
สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ.
[๖๔๖] ภายนอกสูญเป็นไฉน ? รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน
ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ.
[๖๔๗] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน ? จักษุภายในและรูป
ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ
ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง
ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก กาย
ภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสองนั้น
สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ.
[๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน ? อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน
เสมอกันและสูญไป อายตนภายนอก ๖...หมวดวิญญาณ ๖...หมวดผัสสะ ๖
...หมวดเวทนา ๖...หมวดสัญญา ๖.. หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
[๖๔๙] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน ? อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป หมวดวิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอ
กันกับหมวดผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับ
หมวดเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวด
สัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖
และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ.
[๖๕๐] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ? ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความเเสวงหา
อาโลกสัญญาสูญจากถิ่นมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะ
ความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจาก
อวิชชา ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรค
สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ.
[๖๕๑] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ? ความกำหนดเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนด
สูญ.
[๖๕๒] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ? ความได้เนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะ
สูญ.
[๖๕๓] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน ? การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญ
จากกามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การ
แทงตลอดสูญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
[๖๕๔] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่าง ๆ สูญเป็นไฉน ?
กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็น
อย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะ พยาบาทเป็นความต่าง ความ
ไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคล
ผู้คิดอยู่สูญจากพยาบาท ถิ่นมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว
ความที่อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถิ่นมิทธะ อุทธัจจะ
เป็นความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่าง อรติเป็นความต่าง
นิวรณ์เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว
ของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรค
เป็นอย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจาก
กิเลสทั้งปวง นี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่าง ๆ สูญ.
[๖๕๕] ความอดทนสูญเป็นไฉน ? ความอดทนในเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
อดทนสูญ.
[๖๕๖] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ? ความอธิษฐานในเนกขัมมะ
สูญจากกามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง
นี้ความอธิฐานสูญ.
[๖๕๗] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ? ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญ
จากกามฉันทะ ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
มั่นคงสูญ.
[๖๕๘] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์
อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน ? สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
แห่งกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่
พยาบาท ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ครอบงำความ
เป็นไปแห่งอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉา
ด้วยการกำหนดธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำ
ความเป็นไปแห่งอรติด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วย
ปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค.
อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่ง
จักษุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความ
เป็นไปแห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป
และความเป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่ง
สัมปชานบุคคลสูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล.
จบสุญญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ ๒
อรรถกถาสุญญกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพิจารณาแห่งสุญญกถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น มีโลกุตรสุญญตาเป็นที่สุด อันพระอานนทเถระ
กล่าวแล้วในลำดับแห่งพลกถาอันมีโลกุตรพละเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรดังต่อไปนี้ก่อน. บทว่า อถ เป็นนิบาต
ลงในความถือมั่นในถ้อยคำ. ด้วยบทนั้นท่านทำการถือมั่นถ้อยคำมีอาทิว่า
อายสฺมา. บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งบทบูรณ์ (ทำบทให้เต็ม).
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ พระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เพราะฉะนั้นพึงเห็น
อรรถในบทนี้อย่างนี้ว่า ยตฺถ ภควา ตตฺถ อุปสงฺกมิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับ ณ ที่ใด เข้าไปเฝ้าแล้ว ณ ที่นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นอรรถใน
บทนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พึงเข้าไปเฝ้า
ด้วยเหตุใด เข้าไปเฝ้าแล้วด้วยเหตุนั้น. อนึ่ง พึงเห็นอรรถในบทนี้อย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้าด้วยเหตุอะไร ด้วยประสงค์
บรรลุคุณวิเศษมีประการต่าง ๆ ดุจต้นไม้ใหญ่ซึ่งผลิตผลอยู่เป็นนิจ อันหมู่นก
ทั้งหลายพึงเข้าไปด้วยประสงค์กินผลไม้มีรสอร่อยฉะนั้น เข้าไปหาแล้วด้วยเหตุ
นั้น. อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ ท่านอธิบายว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว เป็นบทแสดงถึงที่สุดแห่งการเข้าเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
อธิบายว่า ไปแล้วอย่างนี้ คือ ไปยังที่ระหว่างอาสนะจากที่นั้น กล่าวคือใกล้
พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อภิวาเทตฺวา คือ ถวายบังคมด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์.
บัดนี้ พระอานนทเถระประสงค์จะทูลถามข้อความที่ตนมาอุปัฏฐาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุคคลเลิศในโลก จึงยกมือขึ้นถวายบังคมเหนือศีรษะ
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า เอกมนฺต แสดงถึงเป็นภาวนปุงสกดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เดินไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น
พึงเห็นอรรถในบทนี้ อย่างนี้ว่า พระอานนท์นั่งโดยอาการที่นั่ง ณ ที่สมควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
ส่วนหนึ่ง บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า นิสีทิ คือ
สำเร็จการนั่ง. จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ผู้ฉลาด ครั้นเข้าไปหาท่านผู้ที่เคารพ
ย่อมนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เพราะเป็นผู้ฉลาดในอาสนะ พระเถระนี้ก็
เป็นรูปหนึ่งของบรรดาผู้ฉลาดเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ส่วนหนึ่ง ก็นั่งอย่างไรเล่าจึงชื่อว่า นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. คือ เว้นโทษ
ของการนั่ง ๖ ประการ คือ ไกลเกินไป ๑ ใกล้เกินไป ๑ เหนือลม ๑
ที่ไม่มีระหว่าง ๑ ตรงหน้าเกินไป ๑ หลังเกินไป ๑. เพราะนั่งไกลเกินไป
หากประสงค์จะพูดก็ต้องพูดด้วยเสียงดัง. นั่งใกล้เกินไปย่อมเบียดเสียด. นั่ง
เหนือลมก็จะรบกวนด้วยกลิ่นตัว. นั่งไม่มีระหว่างประกาศความไม่เคารพ. นั่ง
ตรงหน้าเกินไป หากประสงค์จะเห็นตาต่อตาก็จะจ้องกัน. นั่งหลังเกินไป หาก
ประสงค์จะเห็นก็ต้องเหยียดคอมองดู. เพราะฉะนั้น พระอานนทเถระนี้จึงนั่ง
เว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เอกมนฺต
นิสีทิ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. บทว่า เอตทโวจ คือได้ทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
บทว่า สุญฺโ โลโก สุญฺโ โลโกติ ภนฺเต วุจฺจติ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ความว่า ภิกษุผู้
ปฏิบัติในศาสนานี้ย่อมกล่าวว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ เพราะคำเช่นนั้น
พูดกันมากในที่นั้น ๆ เพื่อสงเคราะห์ภิกษุทั้งหมดเหล่านั้นจึงพูดซ้ำ ๆ เมื่อ
กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เป็นอันรวมคำเหล่านั้นทั้งหมด. บทว่า กิตฺตาวตา คือ
ด้วยประมาณเท่าไร. ศัพท์ว่า นุ หนอ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความ
สงสัย. บทว่า สุญฺ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา สูญจากตนหรือสิ่งที่
เนื่องด้วยตน คือ สูญจากตนที่โลกกำหนดไว้อย่างนี้ว่า ผู้ทำ ผู้เสวย ผู้มีอำนาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
เอง และจากบริขารอันเป็นของตน เพราะความไม่มีตนนั่นแหละ จักษุ
เป็นต้นทั้งหมด เป็นธรรมชาติของโลก จักษุเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า โลก
เพราะอรรถว่าสลายไป. อนึ่ง เพราะตนไม่มีในโลกนี้ และสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ก็ไม่มีในโลกนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญฺโ โลโก โลกสูญ-
แม้โลกุตรธรรมก็สูญเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งเนื่องด้วยตน แต่ท่านกล่าวถึง
โลกิยธรรมเท่านั้นโดยสมควรแก่คำถาม.
อนึ่ง บทว่า สุญฺโ ท่านไม่กล่าวว่า ธรรมไม่มี ท่านกล่าวถึง
ความไม่มีตนและสาระอันเนื่องด้วยตนในธรรมนั้น. อนึ่ง เมื่อชาวโลกพูดว่า
เรือนสูญ หม้อสูญ ก็มิใช่กล่าวถึงความไม่มีเรือนและหม้อ กล่าวถึงความ
ไม่มีสิ่งอื่นในเรือนและในหม้อนั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความนี้ไว้ว่า
ก็สิ่งใดแลไม่มีในสิ่งนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาสิ่งนั้นว่าสูญด้วยเหตุนั้น แต่สิ่งใด
มีเหลืออยู่ในสิ่งนั้น สิ่งนั้นมีอยู่ ภิกษุย่อมรู้ว่าสิ่งนี้มีอยู่ดังนี้. ในญายคันถะ
(คัมภีร์เพื่อความรู้) และในสัททคันถะ (คัมภีร์ศัพท์) ก็มีความอย่างนี้เหมือนกัน.
ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงอนัตตลักขณสูตรเหล่านั้นด้วยประการดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. ท่านยกบทมาติกา ๒๕
บท มีอาทิว่า สุญฺ สุญฺ ขึ้นด้วยเชื่อมคำว่าสูญ แล้วชี้แจงบทมาติกา
เหล่านั้น.
พึงทราบความในมาติกานั้น ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า สุญฺ สุญฺ
เพราะสูญคือว่างเปล่า ไม่แปลกไปจากบทอื่น. อนึ่ง ในบทนี้เพราะไม่ชี้แจงว่า
อสุก โน้น ท่านไม่เพ่งถึงความเป็นของสูญ แล้วจึงทำให้เป็นคำนปุงสกลิงค์.
แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. ชื่อว่า สังขารสูญ เพราะสังขารนั่นแหละสูญจาก
สังขารที่เหลือ. ชื่อว่า วิปริณามสูญ เพราะสูญผิดรูป เปลี่ยนแปลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
แปรปรวนไปด้วยชราและความดับ สูญเพราะวิปริณามธรรมนั้น. ชื่อว่า
อัคคสูญ เพราะอัคคบทนั้นเป็นเลิศจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน หรือสูญ
จากสังขารทั้งปวง. ชื่อว่า ลักษณสูญ เพราะลักษณะนั่นแหละสูญจากลักษณะ
ที่เหลือ. ชื่อว่า วิกขัมภนสูญ เพราะสูญเพราะการข่มมีเนกขัมมะเป็นต้น.
แม้ในสุญญะ ๔ มีตทังคสูญ (สูญเพราะองค์นั้น ๆ) เป็นต้น มีนัยนี้เหมือนกัน.
ชื่อว่า อัชฌัตตสูญ (ภายในสูญ) เพราะภายในนั้นสูญจากตนและสิ่งที่เนือง
ด้วยตนเป็นต้น. ชื่อว่า พหิทธาสูญ (ภายนอกสูญ) เพราะภายนอกนั้นสูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นต้น. ชื่อว่า ทุภโตสูญ (ทั้งภายในและภาย
นอกสูญ) เพราะทั้งสองนั้นสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นต้น. ชื่อว่า
สภาคสูญ (ส่วนที่เสมอกันสูญ) เพราะสภาคะมีส่วนเสมอกัน สภาคะนั้น
สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นต้น ความว่า สูญเหมือนกัน. ชื่อว่า
วิสภาคสูญ (ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ) เพราะวิสภาคะปราศจากส่วนเสมอกัน
วิสภาคะนั้นสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ความว่า สูญไม่เหมือนกัน. ใน
บางคัมภีร์เขียนไว้ว่า สภาคสุญฺ วิสภาคสุญฺ อยู่ในลำดับ นิสฺสรณ-
สุญฺ (สูญเพราะสลัดออก). ชื่อว่า เอสนาสูญ (ความแสวงหาสูญ) เพราะ
การแสวงหาเนกขัมมะเป็นต้น สูญจากกามฉันทะเป็นต้น. แม้ในสุญญะ ๓ มี
ปริคฺคหสุญฺา (ความกำหนดสูญ) เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ชื่อว่า
เอกัตตสูญ (ความเป็นอย่างเดียวสูญ) เพราะความเป็นอย่างเดียวนั้นสูญจาก
ความเป็นต่างกัน เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวกัน เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านใน
อารมณ์ต่าง ๆ กัน. ชื่อว่า นานัตตสูญ (ความเป็นต่าง ๆ สูญ) เพราะความ
เป็นต่าง ๆ นั้นสูญจากความเป็นอันเดียวกัน เพราะตรงกันข้ามกันความเป็น
อย่างเดียวกันนั้น. ชื่อว่า ขันติสูญ เพราะความอดทนในเนกขัมมะเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 646
สูญจากกามฉันทะเป็นต้น อธิษฐานสูญ และความมั่นคงสูญ มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมฺปชานสฺส ผู้มีสัมปชัญญะ คือ พระอรหันต์ผู้ปรินิพพานประกอบ
ด้วยสัมปชัญญะ. บทว่า ปวตฺตปริยาทาน การครอบงำความเป็นไป คือ
อนุปาทาปรินิพพาน (ปรินิพพานเพราะไม่เกิดอีก). บทว่า สพฺพสุญฺตาน
คือ กว่าความสูญทั้งปวง. บทว่า ปรมตฺถสุญฺ คือ ความสูญอันเป็น
ประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะไม่มีสังขารทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในมาติกานิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า นิจฺเจน วา
จากความเที่ยง คือสูญจากความเที่ยง เพราะไม่มีความเที่ยงไร ๆ อันก้าวล่วง
ความดับแล้วเป็นไปอยู่ได้. บทว่า ธุเวน วา จากความยั่งยืน คือสูญจาก
ความยั่งยืนเพราะไม่มีความมั่นคงไร ๆ ที่เป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย แม้ในกาลที่
มีอยู่. บทว่า สสฺสเตน วา จากความมั่นคง คือสูญจากความมั่นคง เพราะ
ไม่มีอะไร ๆ ที่มีอยู่ในกาลทั้งปวงซึ่งตัดขาดไปแล้ว. บทว่า อวิปริณาม-
ธมฺเมน วา จากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา คือสูญจากความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา เพราะไม่มีอะไร ๆ ซึ่งปกติจะไม่แปรปรวนไปด้วยความดับ
เมื่อกล่าวถึงความสูญจากตนโดยพระสูตรแล้ว เพื่อแสดงความสูญจากความเป็น
ของเที่ยง และความสูญจากความสุข ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า นิจฺเจน ไว้
ในที่นี้. เมื่อกล่าวถึงความสูญจากความเป็นของเที่ยง เพราะความเป็นของ
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์โดยถูกบีบคั้น เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้ความสูญจากความสุข
ด้วย. อนึ่ง พึงทราบว่าท่านย่อวิสัย ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณ ๖ มีจักษุวิญญาณ
เป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น และเวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชาเวทนา
เป็นต้นไว้ในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปุญฺาภิสงฺขาโร ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
บุญ เพราะกลั่นกรองการกระทำของตน ยังอัธยาศัยของบุคคลนั้นให้เต็ม และ
ยังความเจริญน่าบูชาให้เกิด. ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะปรุงแต่งวิบากและ
กฏัตตารูป. การปรุงแต่งชื่อว่าปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งบาปโดยตรงกันข้าม
กับบุญชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร. ชื่อว่า อเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงแต่งความ
ไม่หวั่นไหว.
ปุญญาภิสังขารมีเจตนา ๑๓ คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ เป็นไปด้วย
อำนาจแห่งทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น และรูปาวจรกุศลเจตนา ๕ เป็นไปด้วย
อำนาจแห่งภาวนา. อปุญญาภิสังขารมีอกุศลเจตนา ๑๒ เป็นไปด้วยอำนาจแห่ง
ปาณาติบาตเป็นต้น. อเนญชาภิสังขารมีอรูปาวจรเจตนา ๔ เป็นไปด้วยอำนาจ
แห่งภาวนาเท่านั้น เพราะเหตุนั้น สังขาร ๓ มีเจตนา ๒๙.
ในกายสังขารเป็นต้นมีความดังนี้. ชื่อว่า กายสังขาร เพราะเป็น
ไปทางกาย หรือปรุงแต่งกาย. แม้ในวจีสังขารและจิตตสังขาร ก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. ท่านกล่าวติกะนี้เพื่อให้เห็นความเป็นไปทางทวารแห่งปุญญาภิสังขาร
เป็นต้น ในขณะประมวลกรรมไว้. เจตนา ๒๑ คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘
อกุศลเจตนา ๑๒ อภิญญาเจตนา ๑ ยังกายวิญญัติ (ให้รู้ทางกาย) ให้ตั้งขึ้น
แล้วเป็นไปทางกายทวาร ชื่อว่า กายสังขาร. เจตนาเหล่านั้นนั่นแหละยังวจี-
วิญญัติ (ให้รู้ทางวาจา) ให้ตั้งขึ้น แล้วเป็นไปทางวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร.
ส่วนเจตนา ๒๙ แม้ทั้งหมดเป็นไปในมโนทวาร ชื่อว่า จิตตสังขาร.
ในบทมีอาทิว่า อตีตา สงฺขารา สังสารส่วนอดีต มีความดังต่อไปนี้.
สังขตธรรมแม้ทั้งหมด ถึงคราวของตนดับไป ชื่อว่าสังขารส่วนอดีต. สังขต-
ธรรมยังไม่ถึงคราวของตน ชื่อว่าสังขารส่วนอนาคต. สังขตธรรมถึงคราว
ของตน ชื่อว่าสังขารส่วนปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงสังขารส่วนปัจจุบัน ในการสูญ
เพราะความแปรปรวนแล้ว จึงทรงแสดงปัจจุบันธรรมก่อนว่า ความแปรปรวน
ของสังขารส่วนปัจจุบันนั้น ๆ สามารถกล่าวได้ง่าย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชาต รูป รูปเกิดแล้ว คือรูปส่วนปัจจุบัน.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สภาเวน สุญฺ สูญไปจากสภาพ ดังต่อไปนี้.
ความเป็นเองชื่อว่าสภาพ อธิบายว่า เกิดเอง หรือความเป็นของตน ชื่อว่า
สภาพ อธิบายว่า ความเกิดของตนเอง. ชื่อว่า สูญจากสภาพ เพราะความเป็นเอง
เว้นปัจจัย เพราะความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย หรือความเป็นของตนไม่มีใน
สภาพนี้ ท่านอธิบายว่า สูญจากความเป็นเอง หรือจากความเป็นตน. อีก
อย่างหนึ่ง ความเป็นของตนชื่อว่าสภาพ เพราะว่าธรรมหนึ่ง ๆ ในรูปธรรม
และอรูปธรรมไม่น้อย มีปฐวีธาตุเป็นต้น ชื่อว่าตนประสงค์ผู้อื่นด้วย. อนึ่ง
บทว่า ภาโว นี้ เป็นคำกล่าวโดยธรรมปริยาย. อนึ่ง ธรรมคือความเป็นอื่น
ไม่มีแก่ธรรมหนึ่ง เพราะฉะนั้น ชื่อว่าสูญจากความเป็นอื่นของตน ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวความที่ธรรมนั้นเป็นสภาพอย่างเดียวกัน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สภาเวน สุญฺ สูญไปจากสภาพ คือสูญ
ไปจากสภาพอันเป็นความสูญ. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายไว้ว่า สูญ
เพราะความเป็นสภาพ สูญ สูญ มิใช่สูญเพราะความเป็นสภาพสูญโดยปริยาย
อย่างอื่น.
หากอาจารย์บางพวกพึงกล่าวว่า ความเป็นตนชื่อว่าสภาพ สูญจาก
สภาพนั้น อธิบายไว้อย่างไร. ธรรมชื่อว่า ภาวะ ภาวะนั้นเติมบท ส เข้าไป
ประสงค์เอาผู้อื่น รูปเป็นสภาวะ. เพราะธรรมไม่มีแก่ใคร ๆ ท่านจึงกล่าวความ
ไม่มีแห่งรูปว่า รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น ย่อมผิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
ด้วยคำว่า ชาต รูป รูปเกิดแล้ว. เพราะรูปปราศจากความเกิด จะชื่อว่า
รูปเกิดแล้วไม่ได้. นิพพานต่างหากปราศจากความเกิด นิพพานนั้นจึงไม่ชื่อว่า
เกิดแล้ว. อนึ่ง ชาติ ชรา และมรณะ ปราศจากความเกิดก็ไม่ชื่อว่า เกิดแล้ว.
ด้วยเหตุนั้นแหละ ในบทนี้ท่านจึงไม่ยกขึ้นอย่างนี้ ว่าชาติเกิดแล้ว สูญไป
จากสภาพ ชรามรณะเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ แล้วจึงชี้แจงทำภพนั่นแหละ
ให้เป็นที่สุด.
ผิว่า คำว่า ชาต เกิดแล้วพึงควรแม้แก่ผู้ปราศจากความเกิด ก็ควร
กล่าวได้ว่า ชาตา ชาติ ชาติ ชรามรณ ชาติเกิดแล้ว ชราและมรณะเกิดแล้ว
เพราะเมื่อชาติชราและมรณะปราศจากความเกิด ท่านก็ไม่กล่าวคำว่า ชาติ
ฉะนั้น คำว่า สูญ คือไม่มีจากสภาพ จึงผิดด้วยคำว่า ชาต เพราะปราศจากความ
เกิดของความไม่มี. อนึ่ง เมื่อไม่มี คำว่า สุญฺ ก็ผิดด้วยคำของชาวโลกที่กล่าว
แล้วในหนหลัง ด้วยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยคำในญายคันถะ
และสัทธาคันถะ และผิดด้วยข้อยุติไม่น้อย เพราะฉะนั้น พึงทิ้งคำนั้นเสีย
เหมือนทิ้งขยะ. ในบทนี้เป็นอันยุติว่า ธรรม ธรรมทั้งหลายมีอยู่ในขณะของตน
ด้วยประมาณพระพุทธพจน์มิใช่น้อย และด้วยยุติไม่น้อย มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งใดที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามีอยู่ แม้เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้น
มีอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่าไม่มี แม้
เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้นไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บัณฑิตทั้งหลาย
ในโลกสมมติว่ามี เราก็กล่าวว่าสิ่งนั้นมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง
เป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามี
แม้เราก็กล่าวว่า สิ่งนั้นว่ามี.*
* ส. ขนฺธ. ๑๗/๒๓๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
บทว่า วิคต รูป รูปหายไป คือ รูปส่วนอดีตดับ เพราะเกิดแล้ว
ถึงความดับ. บทว่า วิปริณตญฺเจว สุญฺญฺจ รูปแปรปรวนไปและหายไป
คือรูปถึงความผิดรูป ความแปรปรวนด้วยชราและความดับ และสูญจากความ
แปรปรวนนั้น เพราะปรากฏความแปรปรวนแห่งรูปที่กำลังเป็นไปอยู่ เพราะ
ไม่มีความแปรปรวนแห่งรูปส่วนอดีต.
แม้ในบทว่า ชาตา เวทนา เวทนาเกิดแล้วเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. อนึ่ง ชาติ ชรา และมรณะไม่ควรในที่นี้ โดยไม่ได้ด้วยภาวะ
ของตน เพราะยังไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น ท่านจึงละนัยทั้งสองอาทิว่า ชาติ
เกิดแล้ว ชราและมรณะเกิดแล้ว แล้วทำนัยมีภพเป็นต้นนั้นแหละให้เป็นที่สุด
ตั้งไว้.
บทว่า อคฺค คือเป็นผู้อยู่ในความเลิศ. บทว่า เสฏฺ คือน่าสรรเสริญ
อย่างยิ่ง. บทว่า วิสิฏฺ คือวิเศษยิ่ง. ปาฐะว่า วิเสฏฺ บ้าง. แม้โดยอาการ
๓ อย่างนั้น คือ อคฺค เสฏฺ วิสิฏฺ ได้แก่ นิพพานอันประเสริฐ ชื่อว่า
บท เพราะความปฏิบัติด้วยปฏิปทาชอบ. บทว่า ยทิท ตัดบทเป็น ย อิท.
บัดนี้ พระอานนทเถระชี้แจงถึงนิพพานอันควรกล่าวไว้ เพราะความสงบสังขาร
ทั้งปวงย่อมมีได้เพราะอาศัยนิพพาน ความสละอุปธิทั้งหลายอันได้แก่ ขันธูปธิ
กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ กามคุณูปธิ ย่อมมีได้ ความสิ้นตัณหา ความสำรอก
กิเลสและความดับย่อมมีได้ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสงฺขารสมโถ
สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ ความสงบสังขาร
ทั้งปวง ความสละอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ.
บทว่า นิพฺพาน คือ ออกไปจากลักษณะอันเป็นสภาพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
พึงทราบวินิจฉัยในลักษณะทั้งหลายดังต่อไปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะ พาลนิมิต พาลปทาน (เรื่องราว
ของคนพาล) ของคนพาลมี ๓ อย่าง. ๓ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนพาลในโลกนี้มีความคิดชั่ว พูดชั่วและทำกรรมชั่ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
๓ อย่างเหล่านี้แลเป็นพาลลักษณะ พาลนิมิต พาลปทานของตนพาล.
พาลลักษณะ ๓ อย่าง ของคนพาล บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า พาล
เพราะลักษณะของตน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตนิมิต บัณฑิตปทาน (เรื่องราวของบัณฑิต) ของบัณฑิตมี ๓ อย่าง
เหล่านี้. ๓ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในโลกนี้คิดดี พูดดี
และทำกรรมดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้แลเป็นบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตนิมิต และบัณฑิตปทานของบัณฑิต. บัณฑิตลักษณะ ๓ อย่าง
ของบัณฑิต บัณฑิตทั้งหลาย เรียกว่า บัณฑิต เพราะลักษณะของตน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ
ของสังขตธรรม ๓ เหล่านี้. ๓ อย่างเป็นไฉน. ความเกิดปรากฏ ๑ ความเสื่อม
ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรไปปรากฏ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ อย่าง
เหล่านี้แหละเป็นสังขตลักษณะของสังขตธรรม.
ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความไม่มีลักษณะ ๒ ที่เหลือในขณะเกิด
ลักษณะ ๒ ที่เหลือในขณะตั้งอยู่ ลักษณะ ๒ ที่เหลือในขณะดับ. อนึ่ง ใน
บทนี้ท่านกล่าวถึงลักษณะมีความเกิดเป็นต้นแห่งชาติ และชรามรณะโดยไป-
ยาลมุข (ละข้อความ). ลักษณะนั้นละชาติชราและมรณะเสีย เพราะความสูญ
จากความแปรปรวนจึงพลาดไปด้วยคำแห่งนัยอันมีภพเป็นที่สุดและด้วยลัทธิที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 652
ไม่พูดถึงความเกิดเป็นต้นแห่งความเกิดเป็นต้น แต่เพราะตกไปในกระแสแห่ง
ลักษณะพึงทราบว่าท่านเขียนทำให้ตกไปในกระแส. อนึ่ง ท่านกล่าวว่าใน
อภิธรรมมิได้ยกขึ้นว่า องค์แห่งฌานแม้ได้ในสังคหวารแห่งมโนธาตุและมโน-
วิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกวิบาก ก็ตกไปในกระแสแห่งวิญญาณ ๕ ฉันใด
แม้ในที่นี้ก็พึงทราบความที่ลักษณะตกไปในกระแสฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความเกิดเป็นต้นแห่งสังขารทั้งหลายอันมีชาติ ชรา
และมรณะ พึงทราบว่าท่านกล่าวทำสังขารเหล่านั้นดุจในบทว่า เห็นชาติชรา
และมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง.
บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺโท วิกฺขมฺภิโต เจว สุญฺโ จ
กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและสูญไป คือ กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้ว
และสูญไปเพราะเนกขัมมะ กล่าวคืออันเนกขัมมะนั้นแหละข่ม เพราะไม่มี
เนกขัมมะในกามฉันทะนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทำการประกอบอย่างนั้น.
อนึ่ง แม้ในตทังคปหานะและสมุจเฉทปหานะท่านก็กล่าวถึงการข่มด้วยอรรถว่า
ทำให้ไกลด้วยบทนี้ว่า ละด้วยตทังคะและสมุจเฉทะเป็นอันทำให้ไกลแล้วนั่นเอง.
บทว่า เนกฺขมฺเมน กามฉนฺโท ตทงฺคสุญฺโ กามฉันทะเป็น
ตทังคสูญ (สูญเพราะองค์นั้น ๆ) เพราะเนกขัมมะ คือ กามฉันทะละได้ด้วย
เนกขัมมะ. สูญไปด้วยองค์ คือ เนกขัมมะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง กามฉันทะ
อย่างใดอย่างหนึ่งสูญไปด้วยองค์นั้นอันเป็นเนกขัมมะ เพราะไม่มีเนกขัมมะใน
กามฉันทะนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทราบการประกอบอย่างนั้น. อนึ่ง ใน
บทนี้ท่านชี้แจงความสูญเพราะองค์นั้น ๆ ด้วยอุปจารฌานและอัปปนาฌานและ
ด้วยวิปัสสนาเพียงความไม่มีองค์นั้น ๆ ในกามฉันทะนั้น ๆ แต่ท่านชี้แจง
วิปัสสนาทำวิวัฏฏานุปัสสนา (การเห็นนิพพาน) ให้เป็นที่สุด เพราะไม่มีคำ
แสดงถึงการละ ท่านมิได้ชี้แจงถึงมรรค ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 653
ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺเมน กามฉนฺโท สมุจฺฉินฺโน เจว สุญฺโ
จ กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและสูญไป พึงทราบอรรถ ในบทนี้โดยนัย
ดังกล่าวแล้วในวิกขัมภนะ (การข่ม) นั้นแล. ท่านกล่าวถึงสมุจเฉทะ (การตัด)
โดยปริยายนี้ว่านิวรณ์ทั้งหลาย แม้ละแล้วด้วยตทังคะ และวิกขัมภนะ ก็ชื่อว่า
ตัดขาดแล้ว เพราะไม่มีความปรากฏขึ้น พึงทราบว่าท่านกล่าวด้วยสามารถให้
สำเร็จในการตัดกามฉันทะนั้น ๆ หรือด้วยสามารถเนกขัมมะอันสัมยุตด้วยมรรค
เป็นต้น.
อนึ่ง ในปฏิปัสสัทธิสูญ (สูญเพราะระงับ) และนิสสรณสูญ (สูญ
เพราะสลัดออก) พึงทราบอรรถตามนัยดังกล่าวแล้วในบทนี้นั้นแหละ. ส่วนใน
ตทังคปหานะ วิกขัมภนปหานะ และสมุจเฉทปหานะท่านกล่าวถือเอาเพียงความ
สลัดออก เพราะเพียงระงับในบทนี้. ในสุญญะ ๕ เหล่านี้ เนกขัมมะเป็นต้น
ท่านกล่าวโดยชื่อว่า วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ
และนิสสรณสูญ. บทว่า อชฺฌตฺต คือมีในภายใน. บทว่า พหิทฺธา คือ
มีในภายนอก. บทว่า ทุภโต สุญฺ คือ สูญทั้งภายในและภายนอกทั้งสอง.
คำว่า โต ย่อมมีแม้ในปัจจัตตะ (ปฐมาวิภัตติ) เป็นต้น.
อายตนะภายใน ๖ เป็นต้น เป็นส่วนเสมอกันโดยความเป็นอายตนะ
ภายใน ๖ เป็นต้น เป็นส่วนไม่เสมอกันด้วยอายตนะทั้งหลายอื่น. อนึ่ง ใน
บทมีอาทิว่า วิญฺาณกายา ด้วยหมวดวิญญาณในที่นี้ท่านกล่าวถึงวิญญาณ
เป็นต้นด้วยคำว่า กายะ. ใน เนกฺขมฺเมสนา (การแสวงหาเนกขัมมะ)
เป็นต้น พึงทราบความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า เอสนา เพราะอันวิญญูชนทั้งหลาย
ผู้มีความต้องการเนกขัมมะนั้นย่อมแสวงหาเนกขัมมะนั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง แม้การแสวงหาเนกขัมมะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นก็
สูญไปจากกามฉันทะเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า แม้เนกขัมมะเป็นต้น ก็ไม่ต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 654
พูดถึง. ใน ปริคฺคห (ความกำหนด) เป็นต้นพึงทราบความดังต่อไปนี้.
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปริคฺคห เพราะวิญญูชนแสวงหาเนกขัมมะเป็นต้นในส่วน
เบื้องต้น กำหนดเอาในส่วนเบื้องปลาย ชื่อว่า ปฏิลาภ (ความได้) เพราะ
วิญญูชนกำหนดเนกขัมมะย่อมได้ด้วยการบรรลุ และชื่อว่า ปฏิเวธ (การ
แทงตลอด) เพราะวิญญูชนได้เนกขัมมะแล้วย่อมแทงตลอดด้วยญาณ.
พระอานนทเถระถามถึงความเป็นอย่างเดียวสูญและความเป็นต่าง ๆ
สูญ คราวเดียวกันแล้วแก้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ไม่แก้ความเป็นต่าง ๆ สูญ
แล้วทำการสรุปคราวเดียวกัน. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่แก้. ตอบว่า
พึงทราบว่า ไม่แก้ เพราะท่านเพ่งถึงการประกอบในบทนี้โดยปริยายดังกล่าว
แล้ว. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบการประกอบดังนี้ เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว
กามฉันทะเป็นความต่าง กามฉันทะเป็นความต่าง สูญไปจากความเป็น
อย่างเดียว คือ เนกขัมมะ. แม้ในบทที่เหลือพึงทราบการประกอบอย่างนี้.
ในบทมีอาทิว่า ขนฺติ พึงทราบความดังต่อไปนี้. เนกขัมมะเป็นต้น
ท่านกล่าวว่า ขันติ เพราะอดทนชอบใจ กล่าวว่า อธิฏฐาน เพราะเข้าไป
ตั้งไว้ซึ่งความชอบใจ และกล่าวว่า ปริโยคาหนะ (ความมั่นคง) เพราะ
เมื่อเข้าไปตั้งแล้วเสพตามความชอบใจ. ปรมัตถสุญญนิเทศมีอาทิว่า สมฺปชาโน
(รู้ตัว) ท่านพรรณนาไว้แล้วในปรินิพพานญาณนิเทศนั่นแหละ.
อนึ่ง ในสุญญะทั้งหมดเหล่านี้ สังขารสุญญะ (สังขารสูญ) วิปริณาม-
สุญญะ (ความแปรปรวนสูญ) และลักขณสุญญะ (ลักษณสูญ) ท่านกล่าว
เพื่อให้เห็นความไม่ปนกันและกันของธรรมทั้งหลายตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว.
อนึ่ง ท่านกล่าวถึงความสูญไปจากธรรมฝ่ายกุศลแห่งธรรมฝ่ายอกุศล
ในฐานะใด เพื่อให้เห็นโทษในอกุศลด้วยฐานะนั้น. ท่านกล่าวถึงความสูญไป
จากธรรมฝ่ายอกุศลแห่งธรรมฝ่ายกุศลด้วยฐานะใด เพื่อให้เห็นอานิสงส์ในกุศล
ด้วยฐานะนั้น. ท่านกล่าวถึงความสูญไปจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนในฐานะใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 655
เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายฐานะนั้นในสังขารทั้งปวง. พึงทราบว่าท่านกล่าวถึง
อัคคสูญและปรมัตถสูญ เพื่อให้เกิดอุตสาหะในนิพพาน.
ในความสูญเหล่านั้น ความสูญ ๒ อย่าง คือ อัคคสูญและปรมัตถสูญ
โดยอรรถได้แก่นิพพานนั่นเอง ท่านกล่าวทำเป็น ๒ อย่างด้วยอำนาจแห่งความ
เลิศและมีประโยชน์อย่างยิ่ง และด้วยอำนาจแห่งสอุปาทิเสส และอนุปาทิเสส.
ความสูญ ๒ อย่างเหล่านั้น มีส่วนเสมอกันเพราะสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วย
ตนและสูญจากสังขาร. ความสูญ ๖ อย่างเหล่านี้ คือ สูญสูญ ๑ ภายในสูญ ๑
ภายนอกสูญ ๑ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ๑ ส่วนเสมอกันสูญ ๑ ส่วนไม่-
เสมอกันสูญ ๑ เป็นอันสูญสูญทั้งหมด. อนึ่ง ท่านกล่าวความสูญ ๖ อย่างโดย
ประเภทมิภายในสูญเป็นต้น. อนึ่ง ความสูญ ๖ อย่างเหล่านั้นชื่อว่ามีส่วน
เสมอกัน เพราะสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นต้น. ความสูญ ๑๗ อย่าง
คือ สังขารสูญ ๑ วิปริณามธรรมสูญ ๑ ลักษณสูญ ๑ วิกขัมภนสูญ ๑
ตทังคสูญ ๑ สมุจเฉทสูญ ๑ ปฏิปัสสัทธิสูญ ๑ นิสสรณสูญ ๑ เอสนาสูญ ๑
ปริคคหสูญ ๑ ปฏิลาภสูญ ๑ ปฏิเวธสูญ ๑ เอกัตตสูญ ๑ นานัตตสูญ ๑
ขันติสูญ ๑ อธิษฐานสูญ ๑ ปริโยคาหสูญ ๑ ท่านกล่าวไว้ต่างหากกันด้วย
อำนาจแห่งความไม่มี เพราะสูญจากธรรมนั้น ๆ อันไม่มีในตน.
อนึ่ง สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ ลักษณสูญมีส่วนเสมอกัน ด้วย
การไม่ปนกับความสูญนอกนั้น. ความสูญ ๕ มีวิกขัมภนสูญเป็นต้น ชื่อว่า
มีส่วนเสมอกัน เพราะความสูญไปด้วยธรรมฝ่ายกุศล. ความสูญ ๔ มีเอสนาสูญ
เป็นต้น และความสูญ ๓ มีขันติสูญเป็นต้น ชื่อว่ามีส่วนเสมอกัน เพราะ
สูญไปจากธรรมฝ่ายอกุศล. เอกัตตสูญและนานัตตสูญ มีส่วนเสมอกันด้วย
ตรงกันข้ามของกันและกัน.
ท่านผู้รู้อรรถแห่งความสูญ ย่อมพรรณนาไว้ใน
ศาสนานี้ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงโดยย่อเป็นความสูญ
๓ ส่วน ๒ ส่วน และ ๑ ส่วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 656
อย่างไร. ธรรมทั้งปวงที่เป็นโลกิยธรรม ชื่อว่า สูญจากความยั่งยืน ความงาม
ความสุขและตัวตนเพราะปราศจากความยั่งยืน ความงามความสุขและตัวตน.
ธรรมอันเป็นมรรคและผล ชื่อว่า สูญจากความยั่งยืนความสุขและตัวตน เพราะ
ปราศจากความยั่งยืนความสุขและตัวตน. ความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นแหละสูญ
ไปจากความสุข. ความไม่มีอาสวะ สูญไปจากความงาม. นิพพานธรรมชื่อว่า
สูญจากตัวตนเพราะไม่มีตัวตน. สังขตธรรมแม้ทั้งหมดทั้งที่เป็นโลกิยะและโล-
กุตระ ชื่อว่า สูญจากสัตว์ เพราะไม่มีสัตว์ไร ๆ. นิพพานธรรมอันเป็นอสังขตะ
ชื่อว่า สูญจากสังขารเพราะไม่มีแม้สังขารทั้งหลายเหล่านั้น. ส่วนธรรมทั้งหมด
ทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรม ชื่อว่า สูญจากตัวตนเพราะไม่มีบุคคล
กล่าวคือ ตัวตน ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสุญญกถา
แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี
และ
จบการพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนา
แห่งมัชฌิมวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา และอรรถกถา นิกายอันประเสริฐนี้ท่านตั้งไว้แล้ว
เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่ ๒ ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 657
ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา
ว่าด้วยชนิดของปัญญา
[๖๕๙] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา...อนัตตานุปัสสนา...นิพพิทา-
นุปัสสนา... วิราคานุปัสสนา... นิโรธานุปัสสนา... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา
(ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา...ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญา
ทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์ อนัตตานุปัสสนา... ย่อมยังมหาปัญญา (ปัญญามาก)
ให้บริบูรณ์ นิพพิทานุปัสสนา... ย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้
บริบูรณ์ วิราคานุปัสสนา...ย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์
นิโรธานุปัสสนา...ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา
(ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้... ย่อม
ยังปุถุปัญญา (ปัญญาแน่นหนา) ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์
หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติ อันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่ง
หาสปัญญานั้น ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 658
แล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรมแห่งหาสปัญญานั้น นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็น
คุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการ
กำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
[๖๖๐] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็น
ความสละคืนในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหน
ให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยังชวนปัญหาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา
๗ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้
บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา...ปฏิสัมภิทา
๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 659
อย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความ
สละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสา-
มันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุ
แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น.
[๖๖๑] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมยังปัญญาอย่างไหน
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป...การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งที่
เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป... การ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...การพิจารณา
เห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...การพิจารณา
เห็นความคลายกำหนัดในรูป... การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้ง
เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การพิจารณาเห็นความดับในรูป...
การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในรูป...การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 660
ส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
ปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปทั้ง
เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การ
พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป... ย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณา
เห็นทุกข์ในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญาให้
บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป...ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์ การ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยัง
ชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูป...ย่อมยังติกข-
ปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
คลายกำหนัดในรูป... ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
คลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญา
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูป...ย่อมยังคัมภีรปัญญาให้บริบูรณ์
การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน... ย่อม
ยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป...ย่อมยังอัสสา-
มันตปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน...ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้...
ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้...ย่อมยังปุถุปัญญา
ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง
หาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา... ปฏิสัมภิทา ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 661
ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ.
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและ
มรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ?
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ...ย่อมยังชวนปัญญา
ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต
อนาคตและปัจจุบัน... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔
ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา เพราะหาสปัญญา.
[๖๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๔ ประการเป็นไฉน ?
คือ สัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังสัทธรรมคำสั่งสอน
ของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการะ ไตร่ตรองพิจารณาคำสั่งสอนของท่าน ๑
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 662
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ๔ ประการ
เป็นไฉน ? คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑
ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
[๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป เพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาคมกล้า เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส ๔ ประการเป็นไฉน ?
คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธรรมานุธรรม-
ปฏิบัติติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาทำลายกิเลส.
[๖๖๔] การได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะ
ซึ่งปัญญาเป็นไฉน ?
การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำ
ให้แจ้ง การเข้าถึงพร้อม ซึ่งมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 663
อภิญญา ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ เป็นการได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา.
ความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่ง
ปัญญาเป็นไฉน ?
ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชนย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ย่อมเจริญ นี้เป็นความเจริญ นี้เป็นความเจริญแห่ง
ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.
ความไพบูลย์แห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญาเป็นไฉน ?
ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวกและของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ เป็นปัญญาไพบูลย์ นี้เป็นความไพบูลย์แห่ง
ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา.
[๖๖๕] มหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถใหญ่ กำหนด
ธรรมใหญ่ กำหนดนิรุตติใหญ่ กำหนดปฏิภาณใหญ่ กำหนดศีลขันธ์ใหญ่
กำหนดสมาธิขันธ์ใหญ่ กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุตติขันธ์ใหญ่
กำหนดวิมุตติญาณทัสนขันธ์ใหญ่ กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่ กำหนดวิหาร-
สมาบัติใหญ่ กำหนดอริยสัจใหญ่ กำหนดสติปัฏฐานใหญ่ กำหนดสัมมัปปธาน-
ใหญ่ กำหนดอิทธิบาทใหญ่ กำหนดอินทรีย์ใหญ่ กำหนดพละใหญ่ กำหนด
โพชฌงค์ใหญ่ กำหนดอริยมรรคใหญ่ กำหนดสามัญผลใหญ่ กำหนดอภิญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 664
ใหญ่ กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นี้เป็นมหาปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อเป็นผู้มีปัญญาใหญ่.
[๖๖๖] ปุถุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แน่นหนาเป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ
มาก ในธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ
มาก ในความได้เนือง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ มาก ในอรรถต่าง ๆ มาก ใน
ธรรมต่าง ๆ มาก ในนิรุตติต่าง ๆ มาก ในปฏิภาณต่าง ๆ มาก ในศีลขันธ์
ต่าง ๆ มาก ในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติ-
ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติญาณทัสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะและอฐานะ
ต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ในสติ-
ปัฏฐานต่าง ๆ มาก ในสัมมัปปธานต่าง ๆ มาก ในอิทธิบาทต่าง ๆ มาก
ในอินทรีย์ต่าง ๆ มาก ในพละต่าง ๆ มาก ในโพชฌงค์ต่าง ๆ มาก ใน
อริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญผลต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆ มาก ใน
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็นปุถุปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา.
[๖๖๗] วิบูลปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
กว้างขวาง เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถ
กว้างขวาง กำหนดธรรมกว้างขวาง... กำหนดอภิญญากว้างขวาง กำหนด
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกว้างขวาง นี้เป็นวิบูลปัญญา ในคำว่า เป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 665
[๖๖๘] คัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์
ลึกซึ่ง ในธาตุลึกซึ้ง...ในอภิญญาลึกซึ้ง ในนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่าง
ลึกซึ้ง นี้เป็นคัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง.
[๖๖๙] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาไม่ใกล้ เป็นไฉน ?
อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติ
อันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการ
กำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดย
การกำหนดปฏิภาณ ใครอื่นย่อมไม่สามารถจะครอบงำอรรถ ธรรม นิรุตติ
และปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้ และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใคร ๆ ครอบงำ
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณ-
ปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ ๘ (พระอรหันต์)
เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ ๘
ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับ
บุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกล
แสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล
ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระ-
อนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้
ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มี
ปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับ
ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า
มีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ
ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป ทรงมี
พระญาณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้
ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็น
ผู้นำไ่ปให้วิเศษ ทรงนำไปเนือง ๆ ทรงบัญญัติ ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรง
ให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรค
ที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค
ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมาในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนิน
ไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทราบก็ย่อม
ทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณ ทรงมีธรรม
ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว ทรงนำอรรถออก ทรงประทานอมตธรรม
ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 667
ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญามิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้เเล้วโดย
อาการทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควรรู้ อย่างใด
อย่างหนึ่งและประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์
ภพนี้ ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์
ปกปิด ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ
ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือปรมัตถประโยชน์ทั้งหมดนั้น
ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นรูปตลอด
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้อง
ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เนยยบถมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมี
เท่าใด เนยยบถก็มีเท่านั้น พระญาณมีเนยยบถเป็นที่สุดรอบ เนยยบถมีพระญาณ
เป็นที่สุดรอบ พระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบถ เนยยบถก็ไม่เกินพระญาณ
ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผอบสองชั้น
สนิทกันดี ผอบชั้นล่างไม่เกินผอบชั้นบน ผอบชั้นบนก็ไม่เกินผอบชั้นล่าง
ผอบทั้งสองชั้นนั้นต่างก็ตั้งอยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณ
ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความทรงคำนึง เนื่องด้วย
ทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรงพระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธ-
เจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย ความประพฤติ อธิมุตติ ของสรรพสัตว์
ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญา
จักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 668
พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็นภัพสัตว์ เป็นอภัพสัตว์
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณเปรียบเหมือนปลาและเต่า
ทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ ย่อมว่ายวนอยู่ภายใน
มหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนนกครุฑ
ตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร
แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พุทธญาณแผ่ไป ขจัดปัญหาของเทวดาและมนุษย์แล้วตั้งอยู่ บรรดากษัตริย์
พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ
มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิ
ด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถาม
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรง
แก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็น
อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้.
[๖๗๐] ภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดัง
แผ่นดิน เป็นไฉน ?
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่ง
ราคะ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโทสะ ครอบงำอยู่ ครอบแล้วซึ่งโมหะ
ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา
มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 669
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้ว
ซึ่งกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์
ว่า เป็นปัญญาย่ำยีราคะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโทสะอันเป็นข้าศึก
เป็นปัญญาย่ำยีโมหะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโกธะอันเป็นข้าศึก ฯลฯ
อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง
อันเป็นข้าศึก แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวาง
ไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นภูริปัญญา
อีกประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญาเป็นปริณายก
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูริปัญญา นี้เป็นภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน.
[๖๗๑] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
มาก เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญาหนัก เป็นผู้มีปัญญาเป็นจริต
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญา
เป็นยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มีการเลือกเฟ้นมาก มีการค้นคว้ามาก มีการ
พิจารณามาก มีการเพ่งพินิจมาก มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีธรรมเป็น
เครื่องอยู่แจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นจริง มีปัญญาหนัก มีปัญญามาก โน้มไปใน
ปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา มีปัญญา
เป็นอธิบดี เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักไปในคณะ ท่านกล่าวว่า มีคณะมาก
ผู้หนักในจีวร ท่านกล่าวว่า มีจีวรมาก ผู้หนักในบาตร ท่านกล่าวว่า มีบาตรมาก
ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านกล่าวว่า มีเสนาสนะมาก ฉะนั้น นี้เป็นปัญญา-
พาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 670
[๖๗๒] สีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
เป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีล
ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญอินทรียสังวรให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องบำเพ็ญโภชเน มัตตัญญุตา ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญ
ชาคริยานุโยคให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญปัญญาขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสนขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องแทงตลอด
ฐานะและอฐานะได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์ได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องแทงตลอดอริยสัจได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานได้เร็ว ๆ
เป็นเครื่องเจริญสัมมัปปธานได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญอิทธิบาทได้เร็ว ๆ เป็น
เครื่องเจริญอินทรีย์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญพละได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญ
โพชฌงค์ได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องเจริญอริยมรรคได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่ง
สามัญผลได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องแทงตลอดอภิญญาได้เร็ว ๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้ง
ซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็ว ๆ นี้เป็นสีฆปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ๆ.
[๖๗๓] ลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
พลันเป็นไฉน ?
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญ
ศีลให้บริบูรณ์ได้พลัน ๆ... เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 671
อย่างยิ่งได้พลัน ๆ นี้เป็นลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาพลัน.
[๖๗๔] หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ร่าเริงเป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ บำเพ็ญอินทริย-
สังวรให้บริบูรณ์... ซึ่งทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้บริบูรณ์
ด้วยปัญญานั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น ๆ จึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้เป็น
หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง.
[๖๗๕] ชวนปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แล่นไป เป็นไฉน ?
ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาแล่นไปสู่รูปทั้งปวง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว
แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่เวทนา
ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกล
หรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว
แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็น
อดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความ
เป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า
ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 672
และปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่
น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็น
ที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา
ทำให้เห็นแจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา
และมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป
เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร
แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับชราและมรณะไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะ
อรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็น
อดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่นไปในนิพพาน
เป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญาเพราะอรรถว่าปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา
ทำให้แจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
กันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่น
ไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะไว นี้เป็นชวนปัญญา ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป.
[๖๗๖] ติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
คมกล้า เป็นไฉน ?
ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่
รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้
ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งอกุศลธรรมอันลามก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 673
ที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งโทสะ ฯลฯ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขาร
ทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
ติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเป็นเครื่องให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง
ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว
นี้เป็นติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า.
[๖๗๗] นิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยความสะดุ้ง ความหวาดเสียว
ความเบื่อหน่าย ความระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขาร
ทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคย
เบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ
ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอัน
เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลายด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น ๆ จึงชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา นี้เป็นนิพเพธิกปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา ๑๖
ประการนี้.
[๖๗๘] บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 674
มาก่อน ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียงมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็น
พหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา
ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒
และผู้มากด้วยเทศนาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัย
ครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒
คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมาก ผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมาก
เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครู
มี ๒ และผู้มีวิหารธรรมก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มี
ความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมีก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 675
มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มี
ความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่ง
เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุ
ปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒
ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความ
พิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่ง
บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้
ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน บุคคล
ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒
ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะ
บรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้
บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
เป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มี
พระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ
๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญา
เปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 676
ปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้ว พากันเข้ามาหาพระตถาคต ถาม
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรง
แก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหา
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ฉะนี้แล.
จบมหาปัญญากถา
อรรถกถามหาปัญญากถา ในปัญญาวรรค
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่พรรณนาแห่งปัญญากถา อัน
พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในลำดับแห่งสุญญกถาอันเป็นปทัฏฐานแห่งปัญญา
โดยพิเศษ.
ตอนต้นในปัญญากถานั้น ปัญญา ๗ ประการ มีอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ
เป็นมูลในอนุปัสสนา ๗ พระสารีบุตรเถระชี้แจง ทำคำถามให้เป็นเบื้องต้นก่อน.
ปัญญา ๓ มีอนุปัสสนา ๒ เป็นมูล และมีอนุปัสสนาอันยิ่งอย่างหนึ่ง ๆ เป็นมูล
พระสารีบุตรเถระชี้แจงไม่ทำคำถาม. ท่านชี้แจงความบริบูรณ์ของปัญญา ๑๐
แต่ต้นด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนาเหล่านั้น ดังต่อไปนี้. เพราะอนิจจา-
นุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยง) แล่นไปในสังขารที่เห็นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 677
โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
และโดยความเป็นอนัตตาว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ฉะนั้น
อนิจจานุปัสสนานั้น ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา
(ปัญญาแล่นไป) ให้บริบูรณ์ จริงอยู่ ปัญญานั้นชื่อว่า ชวนา เพราะแล่น
ไปในวิสัยของตน ชื่อว่า ชวนปัญญา เพราะปัญญานั้นแล่นไป.
ทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นทุกข์) มีกำลังเพราะอาศัย
สมาธินทรีย์ ย่อมชำแรก ย่อมทำลายปณิธิ เพราะฉะนั้น ทุกขานุปัสสนา
ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์. จริงอยู่ ปัญญา
นั้นชื่อว่า นิพฺเพธิกา เพราะทำลายกิเลส ชื่อว่า นิพฺเพธิกปฺา เพราะ
ปัญญานั้นทำลายกิเลส.
อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา) ย่อมยังมหาปัญญา
ให้บริบูรณ์ เพราะการถึงความเจริญด้วยเห็นความเป็นของสูญเป็นการถึงความ
ยิ่งใหญ่. จริงอยู่ ปัญญานั้นชื่อว่า มหาปญฺา ปัญญาใหญ่เพราะถึงความ
ความเจริญ.
เพราะนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) เป็น
ปัญญาคมกล้าสามารถเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง เพราะความที่อนุปัสสนา ๓
นั่นแหละเป็นที่ตั้งของการมีกำลังด้วยอาเสวนะ แม้แต่ก่อน ฉะนั้น นิพพิทา-
นุปัสสนาย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์.
เพราะแม้วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ก็
กว้างขวางสามารถคลายกำหนัดจากสังขารทั้งปวง เพราะอนุปัสสนา ๓ นั่นแหละ
เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอาเสวนะแม้แต่ก่อน ฉะนั้น วิราคานุ-
ปัสสนาย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 678
เพราะแม้นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ก็ลึกซึ้ง
สามารถเห็นความดับทั้งปวง ด้วยลักษณะของความเสื่อม เพราะอนุปัสสนา ๓
นั่นแหละ เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลังด้วยอเสวนะแม้แต่ก่อน ฉะนั้น
นิโรธานุปัสสนาย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์. จริงอยู่
นิโรธชื่อว่า คมฺภีโร เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ด้วยปัญญาอันตื้น ๆ แม้ปัญญาถึง
ความหยั่งลงในความลึกซึ้งนั้น ก็ชื่อว่า คมฺภีรา.
แม้เพราะปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการสละคืน) เป็น
ปัญญาไม่ใกล้สามารถสละคืนสังขารทั้งปวงด้วยลักษณะแห่งความเสื่อม เพราะ
อนุปัสสนา ๓ นั่นแหละเป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอเสวนะแม้แต่ต้น
เพราะพุทธิย่อมอยู่ไกลกว่าปัญญา ๖ เพราะยังไม่ถึงชั้นยอด ฉะนั้น ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาย่อมยังอสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์ เพราะ
ไม่ใกล้เอง. จริงอยู่ อสามันตปัญญานั้น ชื่อว่า อสามนฺตา เพราะไกลจาก
ปัญญาเบื้องต่ำ ชื่อว่า อสามนฺตปญฺา เพราะปัญญาไม่ใกล้.
บทว่า ปณฺฑิจฺจ ปูเรนฺติ คือ ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์.
เพราะปัญญา ๗ ตามที่กล่าวแล้ว เจริญให้บริบูรณ์แล้ว ถึงลักษณะของบัณฑิต
เป็นบัณฑิตด้วยสังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณกล่าว คือ
วุฏฐานคามินีวิปัสสนาอันถึงยอด เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปณฺทิจฺจ ปูเรนฺติ ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์.
บทว่า อฏฺปญฺา คือ ปัญญา ๘ ประการทั้งปวงพร้อมด้วยปัญญา
คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า ปุถุปญฺ ปริปูเรนฺติ ย่อมยังปุถุปัญญา
(ปัญญาแน่นหนา) ให้บริบูรณ์ คือ เพราะบัณฑิตนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความ
เป็นบัณฑิตนั้นกระทำนิพพาน ในลำดับโคตรภูญาณให้เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 679
ปัญญาคือมรรคผล ที่กล่าวว่า ปุถุปญฺา เพราะปัญญาบรรลุความเป็น
โลกุตระแน่นหนากว่าโลกิยะ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ๘ ประการ
ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิมา นว ปญฺา ปัญญา ๙ ประการ
นี้ ดังต่อไปนี้. การพิจารณามรรคของพระอริยบุคคลนั้นผู้บรรลุมรรคและผล
ตามลำดับ ผู้มีจิตสันดานเป็นไปด้วยอาการร่าเริง เพราะมีจิตสันดานประณีต
ด้วยการประกอบโลกุตรธรรมอันประณีต ผู้ออกจากภวังค์หยั่งลงในลำดับเเห่ง
ผลการพิจารณาผลของพระอริยบุคคล ผู้หยั่งลงสู่ภวังค์แล้วออกจากภวังค์นั้น
การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วโดยนัยนี้แหละ การพิจารณากิเลสที่เหลือ การ
พิจารณานิพพาน การพิจารณา ๕ ประการ ย่อมเป็นไปด้วยประการดังนี้แล.
ในการพิจารณาเหล่านั้น การพิจารณามรรค และการพิจารณาผล เป็นปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาอย่างไร. ท่านติดตามบาลีในอภิธรรม แล้วกล่าวไว้ในอรรถกถา
นั้นว่า ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
นิพพาน ๑ อรรถเเห่งภาษิต ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ เป็นอรรถ. มรรคญาณ
และผลญาณอันมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ เพราะพระนิพพานเป็นอรรถ จึงเป็น
อรรถปฏิสัมภิทา เพราะคำว่า ญาณในอรรถทั้งหลาย เป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
ปัจจเวกขณญาณแห่งมรรคญาณและผลญาณ อันเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั้น เป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะคำว่า ญาณในญาณทั้งหลาย เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ปัจจเวกขณญาณนั้น ชื่อว่าหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) แห่งจิตสันดานอัน
เป็นไปด้วยอาการร่าเริง เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา ๙ ย่อมยัง
หาสปัญญาให้บริบูรณ์ และหาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแม้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 680
ประการทั้งปวง ชื่อว่า ปญฺา เพราะอรรถว่า ให้รู้กล่าวคือทำเนื้อความนั้น ๆ
ให้ปรากฏ ชื่อว่า ปญฺา เพราะรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้น ๆ.
บทว่า ตสฺส คืออันพระอริยบุคคลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น. บท
นั้นเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. บทว่า อตฺถววตฺถานโต
โดยกำหนดอรรถ คือโดยกำหนดอรรถ ๕ อย่างตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง แม้บัดนี้
ท่านก็กล่าวไว้ในสมณกรณียกถา (กถาอันสมณะพึงกระทำ) ว่าญาณอันมีประเภท
เป็นส่วนที่ ๑ ใน ๕ ประเภท ในอรรถคือ เหตุผล ๑ นิพพาน ๑ อรรถแห่งคำ
๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑. บทว่า อธิคตา โหติ อันบุคคลบรรลุแล้ว คือ
ได้แล้ว ปฏิสัมภิทานั้นแหละ อันบุคคลทำให้แจ้งแล้วด้วยการทำให้แจ้งการได้
เฉพาะ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ด้วยผัสสะที่ได้เฉพาะนั่นแหละ. บทว่า
ธมฺมววตฺถานโต โดยกำหนดธรรม คือโดยกำหนดธรรม ๕ อย่างที่ท่าน
กล่าวโดยทำนองแห่งบาลีในอภิธรรมว่า ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือ เหตุอันยังผล
ให้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ อริยมรรค ๑ ภาษิต ๑ กุศล ๑ อกุศล ๑ ชื่อว่า
ธรรม. แม้บทนี้ท่านก็กล่าวไว้ในสมณกรณียกถาว่า ญาณอันมีประเภทเป็น
ส่วนที่ ๒ ใน ๕ ประเภทในธรรม คือ เหตุ ๑ อริยมรรค ๑ คำพูด ๑ กุศล ๑
อกุศล ๑.
บทว่า นิรุตฺติววตฺถานโต โดยการกำหนดนิรุตติ คือโดยการกำหนด
นิรุตติอันสมควรแก่อรรถนั้น ๆ. บทว่า ปฏิภาณววตฺถานโต โดยการกำหนด
ปฏิภาณ คือโดยการกำหนดปฏิสัมภิทาญาณ ๓ อันได้แก่ ปฏิภาณ. บทว่า
ตสฺสิมา ตัดบทเป็น ตสฺส อิมา นี้เป็นคำสรุป.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงคุณวิเศษของอนุปัสสนาทั้งหลายด้วยการ
สงเคราะห์เข้าด้วยกันทั้งหมดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยประเภทแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 681
วัตถุ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูเป อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในรูป. บทนั้นมีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงชวนปัญญาด้วยสามารถแห่งอดีต
อนาคตและปัจจุบันในรูปเป็นต้น จึงตั้งคำถามด้วยอำนาจรูปเป็นต้น อย่างเดียว
และด้วยอำนาจรูปในอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วได้แก้ไปตามลำดับของ
คำถาม. ในชวนปัญญานั้น ปัญญาที่ท่านชี้แจงไว้ก่อนในการแก้รูปล้วน ๆ เป็นต้น
เป็นชวนปัญญาด้วยสามารถแห่งการแล่นไปในอดีตเป็นต้นในการแก้ทั้งหมด
อันมีรูปในอดีตอนาคตและปัจจุบันเป็นมูล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงประเภทแห่งปัญญาอันมีพระสูตรไม่
น้อยเป็นเบื้องต้นอีก จึงแสดงพระสูตรทั้งหลายก่อน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสสเสโว การคบสัตบุรุษ คือการคบ
สัตบุรุษทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง. บทว่า สทฺธมฺมสฺสวน
การฟังพระสัทธรรม คือฟังคำสอนแสดงข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้นในสำนักของ
สัตบุรุษทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดย
แยบคาย คือ ทำไว้ในใจโดยอุบายด้วยการพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ฟังแล้ว.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิบัติธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น อันเนื่องในโลกุตรธรรม.
คำ ๔ เหล่านั้นคือ ปญฺาปฏิลาภาย (เพื่อได้ปัญญา) ๑ ปญฺาวุทฺธิยา
(เพื่อความเจริญแห่งปัญญา) ๑ ปญฺาเวปุลฺลาย (เพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญา) ๑ ปญฺาพาหุลฺลาย (เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก) ๑ เป็นคำแสดง
ภาวะด้วยอำนาจแห่งปัญญา. คำ ๑๒ คำที่เหลือ เป็นคำแสดงภาวะด้วยอำนาจ
แห่งบุคคล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 682
อรรถกถาโสฬสปัญญานิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ฉนฺน อภิญฺาน
อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธ (แสดงฤทธิได้) ๑ ทิพยโสต (หูทิพย์) ๑ เจโต-
ปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๑ ปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติได้) ๑ ทิพย-
จักขุ (ตาทิพย์) ๑ อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น) ๑. บทว่า เตสตฺตตีน
าณาน ญาณ ๗๓ คือญาณทั่วไปแก่สาวกที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในญาณกถา.
ในบทว่า สุตฺตสตฺตตีน าณาน ญาณ ๗๗ มีพระบาลีว่า ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง แก่เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณวัตถุ ๗๗ เป็น
ไฉน ? ญาณว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ
ชราและมรณะก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยแม้ในอดีตกาล ก็มีชราและ
มรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะก็ไม่มี ญาณว่า เพราะชาติเป็น
ปัจจัยแม้ในกาลอนาคตก็มีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะ
ก็ไม่มี. ญาณว่า ธัมมัฏฐิติญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา มีความสำรอกกิเลสเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.
ญาณว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. ฯลฯ ญาณว่า เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัยจึงมีภพ. ญาณว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. ญาณว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา. ญาณว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี
เวทนา. ญาณว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ. ญาณว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ. ญาณว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนาม
รูป. ญาณว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ. ญาณว่า เพราะอวิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 683
เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ญาณว่า เมื่อไม่มีอวิชชาสังขารก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัยแม้ในกาลเป็นอดีตก็มีสังขาร ญาณว่า เมื่อไม่มีอวิชชา สังขาร
ก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย แม้ในกาลอนาคตก็มีสังขาร ญาณว่า
เมื่อไม่มีอวิชชา สังขารก็ไม่มี. ญาณว่า ธัมมัฏฐิติญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความสำรอกกิเลสเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวญาณวัตถุ ๗๗ อย่างเหล่านี้. ญาณ ๗๗
อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในนิทานวรรคด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
ญาณวัตถุ ๔ อย่าง ท่านกล่าวอย่างละ ๔ ในองค์ ๑๑ โดยนัยนี้ว่า ญาณใน
ชราและมรณะ ญาณในเหตุเกิดชราและมรณะ ญาณในความดับชราและมรณะ
ญาณในปฏิปทาให้ความดับชราและมรณะ ท่านมิได้ถือเอาในที่นี้. อนึ่ง ญาณ
ในทั้งสองแห่งนั้นเป็นวัตถุแห่งประโยชน์เกื้อกูลและความสุข จึงชื่อว่า ญาณวัตถุ.
การได้ในบทมีอาทิว่า ลาโภ ท่านกล่าวว่า ปฏิลาโภ การได้เฉพาะ
เพราะเพิ่มอุปสรรคทำให้วิเศษ. เพื่อขยายความแห่งบทนั้นอีก ท่านจึงกล่าวว่า
ปตฺติ สมฺปตฺติ การถึง การถึงพร้อม. บทว่า ผสฺสนา การถูกต้อง คือ การ
ถูกต้องด้วยการบรรลุ. บทว่า สจฺฉิกิริยา การทำให้แจ้ง คือ การทำให้แจ้งด้วย
การได้เฉพาะ. บทว่า อุปสมฺปทา การเข้าถึงพร้อม คือการให้สำเร็จ.
บทว่า สตฺตนฺนญฺจ เสกฺขาน พระเสกขะ ๗ จำพวก คือของพระเสกขะ
๗ จำพวกมีท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ซึ่งรู้กันว่า เป็นพระเสกขะเพราะยัง
ต้องศึกษาสิกขา ๓. บทว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกสฺส ของกัลยาณปุถุชน คือ
ของปุถุชนที่รู้กันว่า เป็นคนดีโดยอรรถว่า เป็นผู้ดีเพราะประกอบปฏิปทาอัน
ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน. บทว่า วฑฺฒิตวฑฺฒนา คือเป็นเหตุเจริญด้วยปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 684
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งปัญญา ๘ ตามที่กล่าวแล้ว
และด้วยอำนาจแห่งปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญาก็เหมือนกัน.
ในบทมีอาทิว่า มหนฺเต อตฺเถ ปริคฺคณฺหาติ ย่อมกำหนดอรรถ
ใหญ่มีความดังต่อไปนี้. พระอริยสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทาย่อมกำหนดอรรถ
เป็นต้นด้วยทำให้เป็นอารมณ์. มหาปัญญาแม้ทั้งหมดก็เป็นของพระอริยสาวก
ทั้งหลายนั่นแหละ. อนึ่ง มหาปัญญาเป็นวิสัยแห่งปัญญานั้น มีความดังได้กล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
นานาศัพท์ในบทมีอาทิว่า ปุถุนานาขนฺเธสุ ในขันธ์ต่าง ๆ มาก
เป็นคำกล่าวถึงอรรถแห่งปุถุศัพท์. บทว่า าณ ปวตฺตีติ ปุถุปญฺา
ชื่อว่า ปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไป ความว่า ญาณนั้นชื่อว่า ปุถุปัญญา
เพราะญาณเป็นไปในขันธ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วนั่น. บทว่า นานาปฏิจฺจ-
สมุปฺปาเทสุ ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ ท่านกล่าวเพราะเป็นปัจจัยมากด้วย
อำนาจแห่งธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น. บทว่า นานาสุญฺตมนุลพฺเภสุ ในความ
ได้เนือง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ คือ การเข้าไปได้ชื่อว่า อุปลัพภะ อธิบายว่า
การถือเอา การไม่เข้าไปได้ชื่อว่า อนุปลัพภะ เพราะการไม่เข้าไปได้ คำมาก
ชื่อว่า อนุปลัพภา เป็นพหุวจนะ. อีกอย่างหนึ่ง การไม่เข้าไปได้ซึ่งตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตนในความสูญต่าง ๆ ด้วยสุญญตา ๒๕ ชื่อว่า นานา-
สุญญตานุปลัพภา. ในนานาสุญญตานุปลัพภานั้น. เมื่อควรจะกล่าวว่า
นานาสุญฺตมนุปลพฺเภสุ ท่านกล่าว ม อักษรด้วยบทสนธิดุจในบทว่า
อทุกฺขมสุขา ไม่ทุกข์ไม่สุข. ปัญญา ๕ อย่างเหล่านี้ทั่วไป ด้วยกัลยาณปุถุชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 685
ปัญญาในบทมีอาทิว่า นานาอตฺถา มีอรรถต่าง ๆ ของพระอริยเจ้าเท่านั้น.
บทว่า ปุถุชฺชนสาธารเณ ธมฺเม ในธรรมทั่วไปแก่ปุถุชน คือโลกิยธรรม.
ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปุถุชนปัญญา เพราะปัญญาหนา ปัญญาแผนกหนึ่ง
เพราะมีนิพพานอันเป็นของใหญ่เป็นอารมณ์จากโลกิยะโดยปริยายในที่สุดนี้.
บทว่า วิปุลปญฺา พึงทราบความนัยแห่งมหาปัญญา. เมื่อกำหนดธรรม
ตามที่กล่าวแล้ว พึงทราบความไพบูลย์ของปัญญากำหนดธรรมเหล่านั้นเพราะ
มีคุณใหญ่และปัญญากำหนดธรรมเหล่านั้นเพราะความใหญ่ และกำหนดธรรม
เพราะความใหญ่ เพราะความยิ่งใหญ่ด้วยตนเองเท่านั้น. คัมภีร์ปัญญาพึงทราบ
โดยนัยแห่งปุถุปัญญา. ธรรมเหล่านั้น อันไม่พึงได้ และปัญญานั้น ชื่อว่า
คัมภีรา เพราะปกติชนไม่พึงได้.
บทว่า ยสฺส ปุคฺคลสฺส คือ แห่งพระอริยบุคคลนั่นแหละ. บทว่า
อญฺโ โกจิ ใครอื่น คือ ปุถุชน. บทว่า อภิสมฺภวิตุ เพื่อครอบงำได้
คือ เพื่อถึงพร้อมได้. บทว่า อนภิสมฺภวนีโย อันใครๆ ครอบงำไม่ได้
คือ อันใคร ๆ ไม่สามารถบรรลุได้. บทว่า อญฺเหิ คือ ปุถุชนนั่นแหละ.
บทว่า อฏฺมกสฺส ของบุคคลที่ ๘ คือของท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาบัติมรรค
เป็นบุคคลที่ ๘ นับตั้งแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล. บทว่า ทูเร คือในที่ไกล.
บทว่า วิทูเร คือไกลเป็นพิเศษ. บทว่า สุวิทูเร คือไกลแสนไกล. บทว่า
น สนฺติเก คือไม่ใกล้. บทว่า น สามนฺตา คือในส่วนไม่ใกล้. คำประกอบ
คำปฏิเสธทั้งสองนี้ กำหนดถึงความไกลนั่นเอง. บทว่า อุปาทาย คืออาศัย
บทว่า โสตาปนฺนสฺส คือท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวว่า
มรรคปัญญานั้น ๆ ห่างไกลจากผลปัญญานั้น ๆ. บทว่า ปจฺเจกฺสมฺพุทฺโธ
แปลกกันด้วยอุปสรรค. ทั้งสองบทนี้ บริสุทธิ์เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 686
พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวคำมีอาทิว่า ปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า
และชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกห่างไกลจากปัญญาของพระตถาคต แล้วประสงค์จะ
แสดงปัญญาอันตั้งอยู่ไกลนั้นโดยประการไม่น้อย จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ปญฺา-
ปเภทกุสโล พระตถาคตทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺาปเภทกุสโล คือทรงฉลาดในประเภท
แห่งปัญญาอันมีกำหนดมากมายของพระองค์. บทว่า ปภินฺนาโณ ทรงมี
ญาณแตกฉาน คือ มีพระญาณถึงประเภทหาที่สุดมิได้. ด้วยบทนี้ แม้เมื่อมี
ความฉลาดในประเภทแห่งปัญญา พระสารีบุตรเถระก็แสดงความที่ปัญญา
เหล่านั้นมีประเภทหาที่สุดมิได้. บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิโท ทรงบรรลุ
ปฏิสัมภิทา คือ ทรงได้ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันเลิศ. บทว่า จตุเวสารชฺชปฺ-
ปตฺโต. ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ คือทรงถึงญาณ กล่าวคือความกล้าหาญ ๔.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่พิจารณานิมิตนั้นว่า เมื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้ารู้ธรรมเหล่านั้น สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใคร ๆ ในโลกนี้จักท้วงเราในข้อนั้นพร้อมกับธรรมว่า ธรรมเหล่านี้พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ยังมิได้ตรัสรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรามิได้พิจารณาถึง
นิมิตนั้นเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย ถึงความกล้าหาญอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรายังไม่พิจารณาเห็นนิมิตนั้นว่า เมื่อพระขีณาสพรู้ธรรมเหล่านั้น
สมณะ พราหมณ์ ฯลฯ หรือใคร ๆ ในโลก จักท้วงเราในข้อนั้นพร้อมกับ
ธรรมว่า อาสวะเหล่านี้ยังไม่สิ้นไป เมื่อพระขีณาสพเสพอันตรายิกธรรม
ที่กล่าวก็ไม่ควรเพื่อเป็นอันตรายได้ อนึ่ง ธรรมที่ท่านแสดงแล้วเพื่อประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 687
แก่บุคคลใด ธรรมนั้นย่อมไม่นำออก เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้
กระทำนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เห็นนิมิตนั้น ฯลฯ อยู่.
บทว่า ทสพลธารี ทรงพละ ๑๐ ชื่อว่า ทสพลา เพราะมีพละ ๑๐.
พละของท่านผู้มีพละ ๑๐ ชื่อว่า ทสพลพลานิ ชื่อว่า ทสพลพลธารี
เพราะทรงพละของผู้มีพละ ๑๐ อธิบายว่าทรงกำลังทศพลญาณ. ด้วยคำทั้ง ๓
เหล่านี้ ท่านแสดงเพียงหัวข้อประเภทของเวไนยสัตว์อันมีประเภทมากมาย.
พระตถาคตทรงเป็นบุรุษองอาจด้วยได้สมมติ เป็นมงคลยิ่ง โดยประกอบด้วย
ปัญญา ทรงเป็นบุรุษสีหะด้วยอรรถว่าความไม่หวาดสะดุ้ง ทรงเป็นบุรุษนาค
ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ทรงเป็นบุรุษอาชาไนยด้วยอรรถว่าเป็นผู้รู้ทั่ว ทรงเป็น
บุรุษนำธุระไปด้วยอรรถว่านำกิจธุระของโลกไป.
ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณวิเศษที่ได้จากอนันต-
ญาณมีเดชเป็นต้น เพื่อจะแสดงความที่เดชเป็นต้นเหล่านั้นเป็นรากของอนันต-
ญาณจึงกล่าว อนนฺตาโณ ทรงมีพระญาณหาที่สุดมิได้ แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า
อนนฺตเตโช ทรงมีเดชหาที่สุดมิได้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตาโน คือทรงมีญาณปราศจากที่สุด
ด้วยการคำนวณและด้วยความเป็นผู้มีอำนาจ. บทว่า อนนฺตเตโช คือทรงมีเดช
ถือพระญาณหาที่สุดมิได้ ด้วยการกำจัด มืด คือ โมหะในสันดานของเวไนยสัตว์.
บทว่า อนนฺตยโส ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ คือ ทรงมีการประกาศเกียรติคุณ
หาที่สุดมิได้ แผ่ไป ๓ โลกด้วยพระปัญญาคุณ. บทว่า อฑฺโฆ ทรงเป็น
ผู้มั่งคั่ง คือ ทรงเพียบพร้อมด้วยทรัพย์ คือ ปัญญา. บทว่า มหทฺธโน
ทรงมีทรัพย์มาก ชื่อว่า มหทฺธโน เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญามากโดยความ
เป็นผู้มากด้วยอำนาจ แม้ในเพราะความเป็นผู้เจริญด้วยทรัพย์ คือ ปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 688
บทว่า ธนวา ทรงมีอริยทรัพย์ ชื่อว่า ธนวา เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญา
อันควรสรรเสริญ เพราะมีทรัพย์ คือ ปัญญาอันประกอบอยู่เป็นนิจ เพราะมี
ทรัพย์ คือ ปัญญาอันเป็นความยอดเยี่ยม. ในอรรถทั้ง ๓ เหล่านี้ ผู้รู้ศัพท์
ทั้งหลายย่อมปรารถนาคำนี้.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงความสำเร็จในอัตสมบัติของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยพระปัญญาคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความสำเร็จสมบัติอันเป็น
ประโยชน์แก่โลกด้วยพระปัญญาคุณอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนตา ทรงเป็น
ผู้นำ.
พึงทราบควานในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้. ทรงเป็นผู้นำเวไนยสัตว์
ทั้งหลายไปสู่ฐานะอันเกษม คือ นิพพานจากฐานะอันน่ากลัว คือ สงสาร
ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษซึ่งเวไนยสัตว์ทั้งหลายด้วยสังวรวินัย และปหานวินัย
ในเวลาทรงแนะนำ ทรงนำไปเนืองๆ ด้วยการตัดความสงสัยในขณะทรงแสดง
ธรรม ทรงตัดความสงสัยแล้วทรงบัญญัติอรรถที่ควรให้รู้ ทรงพินิจด้วย
ทำการตัดสินข้อที่บัญญัติไว้อย่างนั้น ทรงเพ่งอรรถที่ทรงพินิจแล้วอย่างนั้น
ด้วยการประกอบในการปฏิบัติ ทรงให้หมู่สัตว์ผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนั้นเลื่อมใส
ด้วยผลของการปฏิบัติ. หิ อักษรในบทนี้ว่า โส หิ ภควา เป็นนิบาตลงใน
การแสดงอ้างถึงเหตุแห่งอรรถที่กล่าวไว้แล้วในลำดับ. บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส
มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น คือ ยังอริยมรรค
อันเป็นเหตุแห่งอสาธารณญาณ ๖ ซึ่งยังไม่เคยเกิดในสันดานของตน ให้เกิดขึ้น
ในสันดานของตน เพื่อประโยชน์แก่โลก ณ โคนต้นโพธิ์. บทว่า อสญฺชาตสฺส
มคฺคสฺส สญฺชาเนตา ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม คือ ยัง
อริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งสาวกปารมิญาณที่ยังไม่เคยเกิดพร้อมในสันดานของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 689
เวไนยสัตว์ให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยสัตว์ ตั้งแต่ทรงประกาศพระธรรม
จักรจนตราบเท่าถึงทุกวันนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สัญชาเนตา
เพราะทรงยังอริยมรรคให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยผู้เป็นสาวกด้วยพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นแหละ. บทว่า อนกฺขาตสฺส มคฺคสฺส
อกฺขาตา ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก คือ ทรงให้คำพยากรณ์เพื่อความ
เป็นพระพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้สะสมบุญกุศลไว้เพื่อความเป็น
พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการแล้วทรงบอกมรรค คือ ความเป็น
บารมีที่ยังไม่เคยบอก หรืออริยมรรคที่ควรให้เกิดขึ้น ณ โคนต้นโพธิโดยเพียง
พยากรณ์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. นัยนี้ย่อมได้แม้ในการพยากรณ์พระปัจเจก-
โพธิสัตว์เหมือนกัน.
บทว่า มคฺคญฺญู ทรงรู้จักมรรค คือ ทรงรู้อริยมรรคอันตนให้
เกิดขึ้นด้วยการพิจารณา. บทว่า มคฺควิทู ทรงทราบมรรค คือ ทรงฉลาด
อริยมรรคอันพึงให้เกิดขึ้นในสันดานของเวไนยสัตว์. บทว่า มคฺคโกวิโท
ทรงฉลาดในมรรค คือ ทรงเห็นแจ้งมรรคที่ควรบอกแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้มรรคอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่ออภิสัมโพธิ ทรงทราบมรรคอัน
เป็นข้อปฏิบัติเพื่อปัจเจกโพธิ ทรงฉลาดในมรรคอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อสาวกโพธิ.
อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายย่อมทำการประกอบอรรถตามลำดับ
ด้วยอำนาจแห่งมรรคของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกในอดีต
อนาคตและปัจจุบันด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตมรรคอันมีสุญญตะเป็นนิมิต และ
ด้วยอำนาจเเห่งมรรคของอุคฆฏิตัญญูบุคคล วิปจิตัญญูบุคคล และไนยบุคคล
ตามควร เพราะบาลีว่า ด้วยมรรคนี้ สาวกทั้งหลาย ข้ามแล้วในก่อน จักข้าม
ย่อมข้ามซึ่งโอฆะดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 690
บทว่า มคฺคานุคามี จ ปน ก็และพระสาวกเป็นผู้ดำเนินไปตาม
มรรค คือ เป็นผู้ดำเนินไปตามมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินไปแล้ว.
จ ศัพท์ในบทนี้เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งเหตุ. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงเหตุแห่งการบรรลุคุณมียังมรรคให้เกิดเป็นต้น. ปน ศัพท์เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่าทำแล้ว. ด้วยบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุแห่งมรรคที่
ทำแล้ว. บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา พระสาวกที่จะมาภายหลัง คือ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วก่อน พระสาวกประกอบด้วยคุณมีศีลอันมาภาย-
หลังเป็นต้น. ด้วยเหตุดังนี้ เพราะคุณมีศีลเป็นต้น แม้ทั้งหมดของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าอาศัยอรหัตมรรคนั่นแหละมาแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ด้วยยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้ ฉะนั้น พระเถระกล่าวถึงคุณเพราะอาศัยอรหัตมรรค
นั่นแหละ. บทว่า ชาน ชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ก็ย่อม
ทรงทราบ คือ ย่อมทรงทราบสิ่งที่ควรทรงทราบ อธิบายว่า ธรรมดาสิ่งที่
ควรทราบด้วยปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อพระสัพพัญญุตญาณยังมีอยู่ ย่อม
ทรงทราบสิ่งที่ควรทราบทั้งหมดนั้นอันเป็นทางแห่งข้อควรแนะนำ ๕ ประการ
ด้วยปัญญา. บทว่า ปสฺส ปสฺสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็นก็ย่อม
ทรงเห็น คือ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น อธิบายว่า ทรงกระทำทางอันควรแนะนำ
นั้นแหละ ดุจเห็นด้วยจักษุเพราะเห็นทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมเห็นด้วยปัญญาจักษุ
หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เป็นเหมือนคนบางพวกแม้ถือเอาสิ่งวิปริต รู้อยู่
ก็ย่อมไม่รู้ แม้เห็นก็ย่อมไม่เห็น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือตามสภาพที่
เป็นจริง ทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ ทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่าทรงมีจักษุ เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้นาในการเห็น
ชื่อว่าทรงมีญาณเพราะอรรถว่ามีความเป็นผู้ทรงรู้แจ้งเป็นต้น ชื่อว่าทรงมีธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 691
เพราะอรรถว่ามีสภาพไม่วิปริต หรือสำเร็จด้วยธรรมที่พระองค์ทรงคิดด้วย
พระทัย แล้วทรงเปล่งด้วยพระวาจา เพราะทรงชำนาญทางปริยัติธรรม ชื่อว่า
ทรงมีพรหม เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ทรงมีจักษุเพราะทรงเป็นดุจจักษุ ชื่อว่าทรงมีญาณ เพราะทรงเป็นดุจญาณ
ชื่อว่า ทรงมีธรรม เพราะทรงเป็นดุจธรรม ชื่อว่า ทรงมีพรหม เพราะ
ทรงเป็นดุจพรหม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอก เพราะตรัสบอกพระธรรม
หรือเพราะยังพระธรรมให้เป็นไป ตรัสบอกทั่ว เพราะตรัสบอกโดยประการ
ต่าง ๆ หรือให้เป็นไปโดยประการต่าง ๆ ทรงนำอรรถออก เพราะทรงนำ
อรรถออกแล้วจึงทรงแนะนำ ทรงประทานอมตธรรม เพราะทรงแสดงข้อ
ปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม หรือเพราะทรงให้บรรลุอมตธรรมด้วยการแสดง
ธรรมประกาศอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เพราะทรงให้เกิดโลกุตรธรรม
ด้วยการประทานโลกุตรธรรมตามความสุขโดยสมควรแก่เวไนยสัตว์ และทรง
เป็นอิสระในธรรมทั้งหลาย. บทว่า ตถาคต มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณดังที่กล่าวแล้วด้วยบทมี
อาทิว่า ชาน ชานาติ เมื่อทรงทราบก็ย่อมทรงถวายให้วิเศษยิ่งขึ้นเพราะ
พระสัพพัญญุตญาณ เมื่อจะยังพระสัพพัญญุตญาณให้สำเร็จจึงกล่าวบทมี
อาทิว่า นตฺถิ มิได้มีดังนี้ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาญเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรง
เป็นอย่างนั้น มิได้ทำให้แจ้งมิได้มี เพราะกำจัดความหลงพร้อมด้วยวาสนาใน
ธรรมทั้งปวงด้วยอรหัตมรรคญาณอันสำเร็จด้วยอำนาจกำลังบุญที่ทรงบาพ็ญมา
แล้ว ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะทรงทราบ
ธรรมที่ปวงโดยความไม่หลง ซึ่งว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 692
เห็นมิได้มี เพราะธรรมทั้งปวงพระองค์ทรงเห็นด้วยญาณจักษุ ดุจด้วยจักษุ อนึ่ง
ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะพระองค์ทรงบรรลุ
แล้วด้วยญาณ ชื่อว่าบทธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำให้แจ้งมิได้มี เพราะ
พระองค์ทรงทำให้แจ้ง ด้วยการทำให้แจ้ง ด้วยการไม่หลง ชื่อว่าบทธรรมที่
พระองค์ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญามิได้มี เพราะพระองค์ทรงถูกต้องด้วยปัญญา
อันไม่หลง. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺน ได้แก่กาลหรือธรรมเป็นปัจจุบัน. บทว่า อุปา-
ทายคือถือเองแล้ว ความว่าทำไว้ในภายใน แม้นิพพานพ้นกาลไปแล้ว ท่านก็ถือ
เอาด้วยคำว่า อุปาทาย นั่นแหละ อนึ่ง คำมี อตีต ล่วงไปแล้วเป็นต้นย่อม
สืบเนื่องกับคำมีอาทิ นตฺถิ หรือกับคำมีอาทิว่า สพฺเพ. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงรวมสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหมด. บทว่า สพฺพา-
กาเรน โดยอาการทั้งปวงคือรวมอาการทั้งปวงมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นแห่ง
ธรรมอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาธรรมทั้งหมด. บทว่า าณมุเข ในมุขคือพระญาณ
ได้แก่ในเฉพาะหน้าคือพระญาณ. บทว่า อาปาถ อาคจฺฉติ ย่อมมาสู่คลองคือ
ย่อมถึงการรวมกัน. บทว่า ชานิตพฺพ ควรรู้ท่านกล่าวเพื่อขยายความแห่งบท
ว่า เนยฺย ควรแนะนำ วา ศัพท์ในบทมีอาทิว่า อตฺตตฺโถ วา และประโยชน์
ตนเป็นสมุจจยรรถ (ความรวมกัน). บทว่า อตฺตตฺโถ คือประโยชน์ของตน.
บทว่า ปรตฺโถ ประโยชน์ของผู้อื่นคือประโยชน์ของโลก ๓ อื่น. บทว่า
อุภยตฺโถ ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ได้แก่ประโยชน์ของทั้ง ๒ ฝ่ายคราวเดียวกัน
คือของตนและของคนอื่น. บทว่า ทิฏฺธมฺมิโก ประโยชน์ภพนี้ คือประโยชน์
ประกอบในภพนี้ หรือประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ประกอบแล้วในภพหน้า
หรือประโยชน์ในสัมปรายภพชื่อว่า สมฺปรายิโก.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อุตฺตาโน ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ที่พูด
ใช้โวหารชื่อว่า อุตฺตาโน ประโยชน์ตื้น เพราะเข้าใจง่าย ประโยชน์ที่พูดเกิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 693
โวหารปฏิสังยุตด้วยสุญญตาชื่อว่า คมฺภีโร ประโยชน์ลึก เพราะเข้าใจยาก
ประโยชน์อันเป็นโลกุตระชื่อว่า คุฬฺโห ประโยชน์ลับเพราะพูดภายนอก
เกินไป ประโยชน์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฺฉนฺโน ประโยชน์ปกปิด
เพราะปกปิดด้วยฆนะ. (ก้อน) เป็นต้น ประโยชน์ที่พูดโดยไม่ใช้โวหารมาก
ชื่อว่า เนยฺโย ประโยชน์ที่ควรนำไป เพราะไม่ถือเอาตามความพอใจ ควรนำ
ไปตามความประสงค์ ประโยชน์ที่พูดด้วยใช้โวหารชื่อว่า นีโต ประโยชน์ที่
นำไปแล้ว เพราะนำความประสงค์ไปโดยเพียงคำพูดประโยชน์คือศีล สมาธิและ
วิปัสสนาอันบริสุทธิ์ด้วยดีชื่อว่า อนวชฺโช ประโยชน์ไม่มีโทษ เพราะปราศ-
จากโทษด้วยตทังคะและวิกขัมภนะ ประโยชน์คืออริยมรรคชื่อว่า นิกฺกิเลโส
ประโยชน์ไม่มีกิเลส เพราะตัดกิเลสขาด ประโยชน์คืออริยผลชื่อว่า โวทาโน
ประโยชน์ผ่องแผ้ว เพราะกิเลสสงบ นิพพานชื่อว่า ปรมตฺโถ ประโยชน์
อย่างยิ่ง เพราะนิพพานเป็นธรรมเลิศในสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ปริวตฺตติ ย่อมเป็นไป คือแทรกซึมคลุกเคล้าโดยรอบย่อม
เป็นไปโดยวิเศษในภายในพุทธญาณ เพราะไม่เป็นภายนอกจากความเป็นวิสัย
แห่งพุทธญาณ พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สำเร็จพระญาณด้วยบทมีอาทิ สพฺพ กายกมฺม ตลอดกายกรรมทั้งปวง. บทว่า
าณานุปริวตฺตติ พระญาณย่อมเป็นไปตลอด ความว่าไม่ปราศจากพระญาณ.
บทว่า อปฺปฏิหิต มิได้ขัดข้อง ท่านแสดงถึงความที่ไม่มีอะไรกั้นไว้ พระ
สารีบุตรเถระประสงค์จะยังพระสัพพัญญุตญาณให้สำเร็จด้วยอุปมาจึงกล่าวบทมี
อาทิว่า ยาวตก เนยยบทมีเท่าใด. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า เนยฺย เพราะ
ควรรู้ ชื่อว่า เนยฺยปริยนฺติก เพราะพระญาณมีเนยยบทเป็นที่สุด อนึ่งผู้
ไม่เป็นสัพพัญญูไม่มีเนยยบทเป็นที่สุด แม้ในเนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดก็มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 694
ดังนี้เหมือนกัน พระสารีบุตรเถระแสดงความที่ได้กล่าวไว้แล้วในคู่ต้นให้พิเศษ
ไปด้วยคู่นี้ แสดงกำหนดด้วยการปฏิเสธด้วยคู่ที่ ๓ อนึ่ง เนยยะในบทนี้ชื่อว่า
เนยยปถ เพราะเป็นคลองแห่งญาณ. บทว่า อญฺมญฺ ปริยนฺตฏฺายิโน
ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน คือมีปกติยังเนยยะและญาณ
ให้สิ้นไปแล้วตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกันจากฐานะ. บทว่า อาวชฺชน-
ปฏิพทฺธา เนื่องด้วยความทรงคานึง คือเนื่องด้วยมโนทวาราวัชชนะความว่า
ย่อมรู้ลำดับแห่งความคำนึงนั่นเอง. บทว่า อากงฺขปฏิพทฺธา เนื่องด้วยทรง
พระประสงค์ คือเนื่องด้วยความพอใจ ความว่าย่อมรู้ลำดับแห่งอาวัชชนจิตด้วย
ชวนญาณ ท่านกล่าวบททั้ง ๒ นอกนี้เพื่อประกาศความตามลำดับบททั้ง ๒ นี้.
บทว่า พุทฺโธ อาสย ชานาติ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย
เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้ในญาณกถาแล้ว แต่มาในมหานิเทศว่าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ย่อมทรงทราบอัธยาศัย. ในบทนั้นมาในอาคตสถานว่า พุทฺธสฺส ภคว-
โต ในที่นี้ในที่บางเเห่งว่า พุทฺธสฺส. บทว่า อนฺตมโส คือโดยที่สุด.
ในบทว่า ติมิติมิงฺคล นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ ปลาชนิดหนึ่งชื่อว่า
ติมิ ปลาชนิดหนึ่งชื่อว่าติมิงคิละเพราะตัวใหญ่กว่าปลาติมินั้น สามารถกลืนกิน
ปลาติมิได้ ปลาชนิดหนึ่งชื่อติมิติมิคละมีลำตัวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ สามารถ
กลืนกินปลาติมิคละได้. ในบทนี้พึงทราบว่าเป็นเอกวจนะด้วยถือเอากำเนิด.
ในบทว่า ครุฬ เวนเตยิย ครุฑตระกูลเวนเทยยะนี้พึงทราบว่าชื่อว่า
ครุฬ เป็นซึ่งโดยกำเนิด ชื่อว่า เวนเตยฺย เป็นชื่อโดยโคตร. บทว่า ปเทเส
คือในเอกเทศ. บทว่า สารีปุตฺตสมา มีปัญญาเสมอด้วยพระสารีบุตรพึง
ทราบว่าท่านกล่าวหมายถึงพระเถระผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีของพระพุทธเจ้าทั้ง
ปวง เพราะพระสาวกที่เหลือไม่มีผู้เสมอด้วยพระธรรมเสนาบดีเถระทางปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 695
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายสาวกของเราผู้มีปัญญามาก อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
สัตว์ทั้งหลายอื่นใดมีอยู่เว้นพระโลกนาถ สัตว์
เหล่านั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งปัญญา ของพระ-
สารีบุตร.
บทว่า ผริตฺวา แผ่ไป คือพุทธญาณบรรลุถึงปัญญาแม้ของเทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงแล้วเเผ่ไปแทรกซึมเข้าไปสู่ปัญญาของเทวดา และมนุษย์เหล่า
นั้นโดยฐานะแล้วตั้งอยู่. บทว่า อติฆสิตฺวา ขจัดแล้วคือพุทธญาณก้าวล่วง
ปัญญาแม้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงแผ่ไปกำจัดทำลายเนยยะทั้งปวงแม้ไม่ใช่
วิสัยของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นแล้วตั้งอยู่ ปาฐะในมหานิเทศว่า อภิภวิตฺวา
ครอบงำแล้วคือย่ำยีแล้ว ด้วยบทว่า เยปิเต เป็นต้น. พระสารีบุตรเถระแผ่
ไปขจัดด้วยประการนี้แล้ว แสดงเหตุให้ประจักษ์แห่งฐานะ. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ปณฺฑิตา คือประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า นิปุณา ละเอียด
คือมีปัญญาละเอียดสุขุมสามารถแทงตลอดปัญญาสุขุมในระหว่างอรรถได้. บทว่า
กตปรปฺปวาทา แต่งวาทะโต้ตอบ คือรู้วาทะโต้ตอบและแต่งวาทะต่อสู้กับชน
เหล่าอื่น. บทว่า วาลเวธิรูปา คือ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถ
ยิงขนทราย. บทว่า เต ภินฺทนฺตา ปญฺา จรนฺติ ปญฺาคเตน ทิฏฺิค-
ตานิ เที่ยวทำลายปัญญาและทิฏฐิด้วยปัญญา ความว่าเที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิ
ของคนอื่นแม้สุขุมด้วยปัญญาของตนดุจนายขมังธนูยิงขนทรายฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั่นแหละคือ ปัญญาคตะ ทิฏฐินั้นแหละคือทิฏฐิ
คตะ ดุจในคำว่า คูถคต มุตฺตคต คูถ มูตร เป็นต้น. บทว่า ปญฺห อภิสงฺขริตฺ-
วา แต่งปัญหา คือแต่งคำถาม ๒ บทบ้าง ๓ บทบ้าง ๔ บทบ้าง ท่านกล่าว ๒ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 696
เพื่อสงเคราะห์เข้าด้วยกันเพราะทำปัญญาเท่านั้นให้มากยิ่งขึ้น. บทว่าคุฬฺหานิ จ
ปฏิจฺฉนฺนานิ จ ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย มีปาฐะที่เหลือว่า อตฺถชาตานิ
เกิดประโยชน์ บัณฑิตทั้งหลายถามปัญหาเพราะบัณฑิตเหล่านั้นเห็นข้อแนะนำ
อย่างนั้นแล้วอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อย่างนี้ว่า ขอจงถามปัญหา
ที่ตนแต่งมา อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประทานโอกาสเพื่อให้ผู้อื่นถาม
ทรงแสดงธรรมแก่ผู้เข้าไปเฝ้าเท่านั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
บัณฑิตเหล่านั้นพากันแต่งปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระ-
สมณโคดมแล้วทูลถามปัญหานี้ หากว่าพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้ว
อย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ พวกเราจักยกวาทะนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า
พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ พวกเรา
จักยกวาทะนั้นแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้. บัณฑิตเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้า
พระสมณโคดมถึงที่ประทับ. พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจง ให้สมาทาน ให้อาจ-
หาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. บัณฑิตเหล่านั้นถูกพระสมณโคดมทรงชี้แจง
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณ
โคดมเลย บัณฑิตเหล่านั้นจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมกลาย
เป็นสาวกของพระสมณโคดมไปโดยแท้.
หากถามว่า เพราะเหตุไร บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ทูลถามปัญหา. ตอบว่า
นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ทรงตรวจดู
อัธยาศัยของบริษัท แต่นั้นทรงเห็นว่า บัณฑิตเหล่านี้พากันมาทำปัญหา
ซ่อนเร้น ลี้ลับ ให้มีสาระเงื่อนงำ ครั้นบัณฑิตเหล่านั้นไม่ทูลถามพระองค์เลย
พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า โทษประมาณเท่านี้ในการถามปัญหา ประมาณ
เท่านี้ในการแก้ปัญหา ประมาณเท่านี้ในอรรถ ในบท ในอักขระ ดังนี้ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 697
จะถามปัญหาเหล่านั้น พึงถามอย่างนี้ เมื่อจะแก้ปัญหาควรแก้อย่างนี้ ดังนั้น
พระองค์จึงทรงใส่ปัญหาที่บัณฑิตเหล่านั้นนำมาทำให้มีสาระซับซ้อน ไว้ใน
ระหว่างธรรมกถาแล้วจึงทรงแสดง. บัณฑิตเหล่านั้นย่อมพอใจว่า เราไม่ถาม
ปัญหาเหล่านั้น เป็นความประเสริฐของเรา หากว่าเราพึงถามพระสมณโคดม
จะพึงทรงทำให้เราตั้งตัวไม่ติดได้เลย. อีกประการหนึ่ง ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงแผ่เมตตาไปยังบริษัท ด้วยการเเผ่เมตตา
มหาชน ย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมี
รูปโฉมงดงาม น่าทัศนา มีพระสุรเสียงไพเราะ มีพระชิวหาอ่อนนุ่ม มีช่อง
พระทนต์สนิท ทรงกล่าวธรรมดุจรดหทัยด้วยน้ำอมฤต ในการทรงกล่าวธรรม
นั้น ผู้มีจิตเลื่อมใสด้วยการทรงแผ่เมตตา ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่
สามารถจะจับสิ่งตรงกันข้ามกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงกล่าวกถาไม่มีสอง
กถาไม่เป็นโมฆะ กถานำสัตว์ออกไป เห็นปานนี้ได้เลย บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ถามปัญหา เพราะความที่ตนเลื่อมใสนั่นแหละ.
บทว่า กถิตา วิสชฺชตา จ ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าวและทรงแก้แล้ว ความว่า ปัญหาเหล่านั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกล่าว ด้วยการตรัสถึงปัญหาที่บัณฑิตทั้งหลายถามว่า พวกท่านจงถาม
อย่างนี้ เป็นอันทรงแก้โดยประการที่ควรแก้นั่นเอง. บทว่า นิทฺทิฏฺิการณา
มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ความว่า ปัญหาเหล่านั้นมีเหตุที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงไขให้เห็นชัด ด้วยการแก้ทำให้มีเหตุอย่างนี้ว่า การแก้ย่อมมี
ด้วยเหตุการณ์อย่างนี้. บทว่า อุปกฺขิตฺตา จ เต ภควโต สมฺปชฺชนฺติ
บัณฑิตเหล่านั้นเข้าไปหมอบเฝ้า ย่อมปรากฏแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า
บัณฑิตเหล่านั้นมีกษัตริย์บัณฑิตเป็นต้น เข้าเฝ้าแทบพระบาท ย่อมปรากฏแก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 698
พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งสาวก ทั้ง
อุบาสกย่อมปรากฏ อธิบายว่า บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงสาวกสมบัติ หรือ
อุบาสกสมบัติ. บทว่า อถ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าลำดับ อธิบายว่า ในลำดับ
พร้อมด้วยสมบัติที่บัณฑิตเหล่านั้นเข้าไปเฝ้า. บทว่า ตตฺถ คือ ในที่นั้น
หรือในอธิการนั้น. บทว่า อภิโรจติ ย่อมรุ่งเรือง คือโชติช่วง สว่างไสว
อย่างยิ่ง. บทว่า ยทิท ปญฺาย คือ ด้วยปัญญา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงรุ่งเรือง ด้วยปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อิติศัพท์ ลงในอรรถ
แห่งเหตุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ด้วยเหตุนี้.
บทว่า ราค อภิภุยฺยตีติ ภูริปญฺา ชื่อว่า ภูริปญฺา มีปัญญา
ดังแผ่นดิน เพราะอรรถว่า ครอบงำราคะ ความว่า ชื่อว่า ภูริปญฺา เพราะ
มรรคปัญญานั้น ๆ ครอบงำ ย่ำยี ราคะอันเป็นโทษกับตน. บทว่า ภูริ มี
อรรถว่า ฉลาด เฉียบแหลม ความฉลาดย่อมครอบงำสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
ความไม่ฉลาดครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอรรถแห่งความครอบงำ
ด้วยภูริปัญญา. บทว่า อภิภวิตา ครอบงำอยู่ คือ ผลปัญญานั้น ๆ ครอบงำ
ย่ำยีราคะนั้น ๆ. ปาฐะว่า อภิภวตา บ้าง. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในบทมีราคะเป็นต้นพึงทราบความ ดังต่อไปนี้. ราคะ มีลักษณะ
กำหนัด. โทสะ มีลักษณะประทุษร้าย. โมหะ มีลักษณะหลง โกธะ
มีลักษณะโกรธ. อุปนาหะ มีลักษณะผูกโกรธไว้. โกธะเกิดก่อน อุปนาหะ
เกิดภายหลัง. มักขะ มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น. ปลาสะ มีลักษณะตีเสมอ.
อิสสา มีลักษณะทำสมบัติผู้อื่นให้สิ้นไป. มัจฉริยะ มีลักษณะหลงสมบัติ
ของตน. มายา มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ. สาเยยะ มีลักษณะ
ประกาศคุณอันไม่มีอยู่ของตน. ถัมภะ มีลักษณะจิตกระด้าง สารัมภะ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 699
ลักษณการทำเกินกว่าการทำ. มานะ มีลักษณะถือตัว. อติมานะ มีลักษณะ
ถือตัวยิ่ง. มทะ มีลักษณะมัวเมา. ปมาทะ มีลักษณะปล่อยจิตในกามคุณ ๕.
ด้วยบทว่า ราโค อริ ต อรึ มทฺทนิปญฺา เป็นปัญญาย่ำยี
ราคะอันเป็นข้าศึกเป็นต้น ท่านอธิบายไว้อย่างไร กิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่า
ภูอริ เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกในจิตสันดาน. ท่านกล่าว่า ภูริ เพราะลบ อ
อักษรด้วยบทสนธิ. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า ปัญญาย่ำยี ภูริ นั้นชื่อว่า
ภูริมทฺทนิปญฺา ท่านกล่าวว่า ภูริปญฺา เพราะลบ มทฺทนิ ศัพท์เสีย.
อนึ่ง บทว่า ต อรึ มทฺทนี ท่านกำหนดบทว่า เตส อรีน มทฺทนี
การย่ำยีข้าศึกเหล่านั้น. บทว่า ปวีสมาย เสมอด้วยแผ่นดิน คือ ชื่อว่า
เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะอรรถว่ากว้างขวางไพบูลนั่นเอง. บทว่า วิตฺถตาย
กว้างขวาง คือแผ่ไปในวิสัยที่ควรรู้ได้ ไม่เป็นไปในเอกเทศ. บทว่า วิปุลาย
ไพบูลคือโอฬาร. แต่มาในมหานิเทศว่า วิปุลาย วิตฺถตาย ไพบูล กว้างขวาง.
บทว่า สมนฺนาคโต คือบุคคลผู้ประกอบแล้ว. อิติศัพท์ ลงในอรรถว่า
เหตุ ความว่า ด้วยเหตุนี้ปัญญาของบุคคลนั้น ชื่อว่า ภูริปัญญา เพราะ
บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยภูริปัญญา เพราะเหตุนั้น บุคคลย่อมยินดีในอรรถที่
เจริญแล้ว เมื่อควรจะกล่าวว่า ภูริปญฺสฺส ปญฺา ภูริปญฺปญฺา
ปัญญาของบุคคลผู้ประกอบด้วยภูริปัญญา ชื่อว่า ภูริปัญญปัญญา ท่านกล่าว
ภูริปญฺา เพราะลบ ปญฺญาศัพท์ เสียศัพท์หนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
ภูริปญฺา เพราะมีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน. บทว่า อปิจ ท่านกล่าวเพื่อให้
เห็นปริยายอย่างอื่น. บทว่า ปญฺายเมต คำว่า ภูริ นี้ เป็นชื่อของ
ปัญญา. บทว่า อธิวจน เป็นคำกล่าวยิ่งนัก. บทว่า ภูริ ชื่อว่า ภูริ เพราะ
อรรถว่า ย่อมยินดีในอรรถที่เจริญแล้ว. บทว่า เมธา ปัญญาชื่อว่า เมธา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 700
เพราะอรรถว่า กำจัดทำลายกิเลสทั้งหลาย ดุจสายฟ้าทำลายสิ่งที่ก่อด้วยหิน
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่า ถือเอาทรงไว้เร็วพลัน.
บทว่า ปริณายกา ปัญญาเป็นปริณายก. ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะอรรถว่า
ปัญญาย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ใด ย่อมนำสัตว์นั้นไปในธรรมอันสัมปยุต ในการ
ปฏิบัติประโยชน์และในปฏิเวธอันมีลักษณะแน่นอน ด้วยบทเหล่านั้นเป็นอัน
ท่านกล่าวถึงคำอันเป็นปริยายแห่งปัญญาแม้อย่างอื่นด้วย.
บทว่า ปญฺาพาหุลฺล ความเป็นผู้มีปัญญามาก ชื่อว่า ปญฺา-
พหุโล เพราะมีปัญญามาก ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีปัญญามากนั้น ชื่อว่า
ปัญญาพาหุลละ ปัญญานั่นแหละเป็นไปมาก.
ในบทมีอาทิว่า อิเธกจฺโจ บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้แก่กัลยาณ-
ปุถุชน หรืออริยบุคคล. ชื่อว่า ปญฺาครุโก เพราะเป็นผู้มีปัญญาหนัก.
ชื่อว่า ปญฺาจริโต เพราะเป็นผู้มีปัญญาเป็นจริต. ชื่อว่า ปญฺาสโย
เพราะมีปัญญาเป็นที่อาศัย. ชื่อว่า ปญฺญาธิมุตฺโต เพราะน้อมใจเชื่อด้วย
ปัญญา. ชื่อว่า ปญฺาธโช เพราะมีปัญญาเป็นธงชัย. ชื่อว่า ปญฺาเกตุ
เพราะมีปัญญาเป็นยอด. ชื่อว่า ปญฺาธิปติ เพราะมีปัญญาเป็นใหญ่. ชื่อว่า
ปญฺาธิปเตยฺโย เพราะมาจากความเป็นผู้มีปัญญาเป็นใหญ่. ชื่อว่า วิจย-
พหุโล เพราะมีการเลือกเฟ้นสภาวธรรมมาก. ชื่อว่า ปวิจยพหุโล เพราะ
มีการค้นคว้าสภาวธรรมโดยประการต่าง ๆ มาก. การหยั่งลงด้วยปัญญาแล้ว
ปรากฏธรรมนั้น ๆ คือให้แจ่มแจ้ง ชื่อว่า โอกขายนะ ชื่อว่า โอกฺขายน-
พหุโล เพราะมีการพิจารณามาก. การเพ่งพิจารณาธรรมนั้น ๆ ด้วยปัญญา
โดยชอบ ชื่อว่า สมฺเปกฺขา. การดำเนินไป การเป็นไปด้วยการเพ่งพิจารณา
โดยชอบ ชื่อว่า สมฺเปกฺขายน. ชื่อว่า สมฺเปกฺขายนธมฺโม เพราะมีการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 701
เพ่งพิจารณาโดยชอบเป็นธรรม เป็นปกติ. ชื่อว่า วิภูตวิหารี เพราะทำ
ธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง ให้ปรากฏอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิภูตวิหารี เพราะ
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง. ชื่อว่า ตจฺจริโต เพราะมีปัญญาเป็นจริต.
ชื่อว่า ตคฺครุโกเพรามีปัญญาหนัก. ชื่อว่า ตพฺพหุโล เพราะมีปัญญามาก.
โน้มไปในปัญญานั้น ชื่อว่า ตนฺนินโน. น้อมไปในปัญญานั้น ชื่อว่า
ตปฺโปโณ. เงื้อมไปในปัญญานั้น ชื่อว่า ตปฺปพฺภาโร. น้อมจิตไปในปัญญา
นั้น ชื่อว่า ตทธิมุตฺโต. ปัญญานั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่า ตทธิปติ. ผู้มาจาก
ปัญญาเป็นใหญ่นั้น ชื่อว่า ตทธิปเตยฺโย. บทมีอาทิว่า ปญฺาครุโก มี
ปัญญาหนัก ท่านกล่าวจำเดิมแต่เกิดในชาติก่อน ดุจในประโยคมีอาทิว่า
บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม ย่อมรู้การเสพกาม. บทมีอาทิว่า ตจฺจริโต ท่าน
กล่าวถึงในชาตินี้.
สีฆปัญญา (ปัญญาเร็ว) ลหุปัญญา (ปัญญาเบา) หาสปัญญา
(ปัญญาร่าเริง) และชวนปัญญา (ปัญญาแล่น) เป็นปัญญาเจือด้วยโลกิยะและ
โลกุตระ.
ชื่อว่า สีฆปญฺา ด้วยอรรถว่าเร็ว. ชื่อว่า ลหุปญฺา ด้วยอรรถ
ว่าเบา. ชื่อว่า หาสปญฺา ด้วยอรรถว่าร่าเริง. ชื่อว่า ชวนปญฺา
ด้วยอรรถว่าแล่นไปในสังขารเข้าถึงวิปัสสนาและในวิสังขาร. บทว่า สีฆ สีฆ
พลัน ๆ ท่านกล่าว ๒ ครั้ง เพื่อสงเคราะห์ศีลเป็นต้นมาก. บทว่า สีลานิ
คือ ปาติโมกขสังวรศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ด้วยสามารถแห่ง
จาริตศีลและวาริตศีล. บทว่า อินฺทฺริยสวร อินทริยสังวร คือ การไม่ทำให้
ราคะปฏิฆะเข้าไปสู่อินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้นแล้ว ปิดกั้นด้วยหน้าต่างคือ
สติ. บทว่า โภชเน มตฺตญฺญุต คือความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 702
ด้วยพิจารณาแล้วจึงบริโภค. บทว่า ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียร
ด้วยความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือชื่อว่า ชาคโร เป็นผู้ตื่น เพราะใน ๓ ส่วนของวัน
ย่อมตื่น คือไม่หลับในส่วนปฐมยามและมัชฌิมยามของราตรี บำเพ็ญสมณธรรม
อย่างเดียว. ความเป็นผู้ตื่น กรรมคือความเป็นผู้ตื่น การประกอบเนือง ๆ
ของความเป็นผู้ตื่น ชื่อว่า ชาคริยานุโยค ยังชาคริยานุโยคนั้นให้บริบูรณ์.
บทว่า สีลกฺขนฺธ คือ ศีลขันธ์อันเป็นของพระเสขะหรือพระอเสขะ. ขันธ์
แม้นอกนี้ก็พึงทราบอย่างนี้. บทว่า ปญฺาขนฺธ คือมรรคปัญญาและโลกิย-
ปัญญาของพระเสขะและพระอเสขะ. บทว่า วิมุตฺติขนฺธ คือ ผลวิมุตติ.
บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสนกฺขนฺธ คือ ปัจจเวกขณญาณ. บทว่า หาสพหุโล
เป็นผู้มีความร่าเริง เป็นมูลบท. บทว่า เวทพหุโล เป็นผู้มีความพอใจมาก
เป็นบทชี้แจงด้วยการเสวยโสมนัสเวทนาอันสัมปยุตด้วยปีตินั่นแหละ. บทว่า
ตุฏฺิพหุโล เป็นผู้มีความยินดีมาก เป็นบทชี้แจงด้วยอาการยินดีแห่งปีติมี
กำลังไม่มากนัก. บทว่า ปามุชฺชพหุโล เป็นผู้มีความปราโมทย์มาก เป็น
บทชี้แจงด้วยความปราโมทย์แห่งปีติมีกำลัง. บทว่า ยงฺกิญฺจิ รูป เป็นอาทิ
มีความดังได้กล่าวแล้วในสัมมสนญาณนิเทศ. บทว่า ตุลยิตฺวา คือเทียบเคียง
ด้วยกลาปสัมมสนะ (การพิจารณาเป็นกลุ่มเป็นกอง). บทว่า ตีรยิตฺวา คือ
พินิจด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา. บทว่า วิภาวยิตฺวา พิจารณา คือ ทำให้
ปรากฏด้วยภังคานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า วิภูต กตฺวา ทำให้แจ่มแจ้ง คือ
ทำให้ฉลาดด้วยสังขารุเบกขาญาณ.
ติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) เป็นโลกุตระทีเดียว. บทว่า อุปฺปนฺน
เกิดขึ้นแล้ว คือ วิตกแม้ละได้แล้วด้วยสมถวิปัสสนา ด้วยวิกขัมภนะและ
ตทังคะ ท่านก็กล่าวว่า เกิดขึ้นยังถอนไม่ได้ เพราะไม่ล่วงเลยธรรมดาที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 703
เกิดขึ้น เพราะยังถอนไม่ได้ด้วยอริยมรรค. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาวิตกที่เกิดขึ้น
ยังถอนไม่ได้นั้น. บทว่า นาธิวาเสติ ไม่รับรองไว้ คือ ไม่ยกขึ้นสู่สันดาน
แล้วให้อยู่. บทว่า ปชหติ ย่อมละ. คือ ละด้วยตัดขาด. บทว่า วิโนเทติ
ย่อมบรรเทา คือ ย่อมซัดไป. บทว่า พฺยนฺตีกโรติ ย่อมทำให้สิ้นสุด คือ
ทำให้ปราศจากที่สุด. บทว่า อนภาว คเมติ ให้ถึงความไม่มีต่อไป ความว่า
ถึงอริยมรรความลำดับวิปัสสนาแล้วให้ถึงความไม่มีด้วยการตัดขาด.
วิตกประกอบด้วยกาม ชื่อว่า กามวิตก วิตกประกอบด้วยความตาย
ของผู้อื่น ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกประกอบด้วยความเบียดเบียนผู้อื่น
ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. บทว่า ปาปเก คือ ลามก. บทว่า อกุสเล ธมฺเม
คือธรรมอันไม่เป็นความฉลาด. บทว่า นิพฺเพธิกปญฺา ปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส คือ มรรคปัญญาอันเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย. บทว่า
อุพฺเพคพหุโล เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง คือ เป็นผู้มากด้วยความหวาดกลัว
ภัยในเพราะญาณ. บทว่า อุตฺตาสพหุโล เป็นผู้มากไปด้วยความหวาดเสียว
คือมากไปด้วยความกลัวอย่างแรง. บทนี้ ขยายความบทก่อนนั่นเอง. บทว่า
อุกฺกณฺพหุโล คือเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย เพราะมุ่งเฉพาะวิสังขาร
นอกเหนือไปจากสังขาร. บทว่า อนภิรติพหุโล เป็นผู้มากไปด้วยความไม่
พอใจ ท่านแสดงถึงความไม่มีความยินดียิ่งด้วยความเบื่อหน่าย. แม้บัดนี้
พระสารีบุตรเถระไขความนั้นด้วยคำทั้งสอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พหิมุโข เบือนหน้าออก คือมุ่งหน้าเฉพาะ
นิพพานอันเป็นภายนอกจากสังขาร. บทว่า น รมติ ไม่ยินดี คือ ไม่ยินดียิ่ง.
บทว่า อนิพฺพิทฺธปุพฺพ ไม่เคยเบื่อหน่าย คือไม่เคยถึงที่สุดในสังสารอัน
ไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดแล้วเบื่อหน่าย. บทว่า อปฺปทาลิตปุพฺพ ไม่เคยทำลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 704
เป็นคำกล่าวถึงอรรถของบทนั้น ความว่า ไม่เคยทำลายด้วยการกระทำที่สุด
นั่นเอง. บทว่า โลภกฺขนฺธ กองโลภะ คือ กองโลภะ หรือมีส่วนแห่งโลภะ.
บทว่า อิมาหิ โสฬสหิ ปญฺาหิ สมนฺนาคโต บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยปัญญา ๑๖ ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวถึงพระอรหันต์โดยกำหนดอย่าง
อุกฤษฏ์ แม้พระโสดาบันพระสกทาคามีและพระอนาคามีก็ย่อมได้เหมือนกัน
เพราะท่านกล่าวไว้ในตอนก่อนว่า เอโก เสขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต ผู้หนึ่งเป็น
พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา.
อรรถกถาปุคคลวิเสสนิเทศ
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงลำดับของบุคคลวิเศษผู้บรรลุปฏิสัมภิทาด้วย
บทมีอาทิว่า เทฺว ปุคฺคลา บุคคล ๒ ประเภท. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพโย-
โค ผู้มีความเพียรก่อน คือประกอบด้วยบุญอันเป็นเหตุบรรลุปฏิสัมภิทาในอดีต
ชาติ. บทว่า เตน คือเหตุที่มีความเพียรมาก่อนนั้น. แม้ในบทที่เหลือ
ก็อย่างนั้น. บทว่า อติเรโก โหติ เป็นผู้ประเสริฐ คือมากเกินหรือเพราะ
มีความเพียรมากเกินท่านจึงกล่าวว่า อติเรโก. บทว่า อธิโก โหติ เป็นผู้ยิ่ง
คือเป็นผู้เลิศ. บทว่า วิเสโส โหติ เป็นผู้วิเศษ คือวิเศษที่สุด หรือ
เพราะมีความเพียรวิเศษท่านจึงกล่าวว่า วิเสโส. บทว่า าณ ปภิชฺชติ
ญาณแตกฉาน คือถึงความแตกฉานปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า พหุสฺสุโต เป็น
พหูสูต คือ เป็นพหูสูตด้วยอำนาจแห่งพุทธพจน์. บทว่า เทสนาพหุโล
เป็นผู้มากด้วยเทศนา คือ ด้วยอำนาจแห่งธรรมเทศนา. บทว่า ครูปนิสฺสิโต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 705
เป็นผู้อาศัยครู คือ เข้าไปอาศัยครูผู้ยิ่งด้วยปัญญา. บทว่า วิหารพหุโล
เป็นผู้มีวิหารธรรมมาก็ได้แก่เป็นผู้มีวิหารธรรม คือวิปัสสนามาก เป็นผู้มีวิหาร-
ธรรม คือ ผลสมาบัติมาก. บทว่า ปจฺจเวกขณาพหุโล เป็นผู้มีความ
พิจารณามาก ได้แก่เมื่อมีวิหารธรรม คือวิปัสสนาย่อมเป็นผู้มีความพิจารณา
วิปัสสนา เมื่อมีวิหารธรรมคือผลสมาบัติ ย่อมเป็นผู้มีความพิจารณาผลสมาบัติ
มาก. บทว่า เสกฺขปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต คือเป็นพระเสกขะบรรลุปฏิสัมภิทา
เป็นพระอเสกขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็อย่างนั้น.
ในบทว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต เป็นผู้บรรลุสาวกบารมีนี้วินิจฉัย
ดังต่อไปนี้. การถึงฝั่งแห่งสาวกญาณ ๖๗ ของพระมหาสาวกผู้เลิศกว่าสาวกผู้มี
ปัญญามากทั้งหลาย ชื่อว่า ปารมี. บารมีของพระสาวก ชื่อว่า สาวกบารมี.
ผู้ถึงสาวกบารมีนั้น ชื่อว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต. ปาฐะว่า สาวกปารมิตา-
ปฺปตฺโต บ้าง. มหาสาวกนั้นเป็นผู้รักษาและเป็นผู้บำเพ็ญสาวกญาณ ๖๗
ชื่อว่า ปรโม. ความเป็นหรือกรรมแห่งปรมะนั้นด้วยญาณกิริยา ๖๗ อย่างนี้
ของปรมะนั้น ชื่อว่า ปารมี. บารมีของพระสาวกนั้นชื่อว่า สาวกบารมี.
ผู้ถึงสาวกบารมีนั้น ชื่อว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต. บทว่า สาวกปารมิปฺปตฺโต
ได้แก่ พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งมีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น.
พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เอโก ปจฺเจกสมฺพุทฺโธ ผู้หนึ่งเป็น
พระปัจเจกสัมพุทธะ เพราะไม่มีพระสาวกอื่นยิ่งกว่าพระสาวกผู้บรรลุสาวก-
บารมี. พระสารีบุตรเถระแสดงสรุปความที่กล่าวแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺา-
ปเภทกุสโล ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาอีก. ท่านชี้แจงญาณ
หลายอย่างแห่งญาณกาโดยมาก. ท่านกล่าวทำปัญญาแม้อย่างหนึ่งแห่งปัญญา-
กถาโดยมากให้ต่าง ๆ กัน โดยอาการต่าง ๆ กัน นี้เป็นความพิเศษด้วยประการ
ฉะนี้.
จบอรรถกถามหาปัญญากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 706
ปัญญาวรรค อิทธิกถา
ว่าด้วยเรืองฤทธิ์
[๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่ง
ฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ?
ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า
ฤทธิ์มีเท่าไร มี ๑๐ ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖.
[๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน ?
ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ ๑ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์
ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์เกิด
แต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วย
ความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑.
[๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดแต่วิเวก ๑ ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑
ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑ จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข ๑ ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้
ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ
และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 707
และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธาน-
สังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑
บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์... เพื่อความแกล้วกล้าด้วย
ฤทธิ์.
[๖๘๓] บท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ
สมาธิไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัย
วิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะ
เป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
จิตไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุ
อาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา
วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อความได้ฤทธิ์...เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๔] มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ?
จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว) จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ
อุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตไม่น้อมไป ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะราคะ...จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท... จิตอันทิฏฐิ
ไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ...จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ
ฉันทราคะ...จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ...จิตไม่เกาะเกี่ยว
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส... จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะความครอบงำแห่งกิเลส... เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 708
ต่าง ๆ... จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา... จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน...
จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท...จิตที่กำหนดด้วย
สมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ...จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่
หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตที่ถึงความสว่างไสว
ย่อมไม่หวันไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา
มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ
ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
[๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้
ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน
เหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก
อย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฏฐินี้ ในขันตินี้ ในความชอบใจนี้
ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในศาสนานี้.
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 709
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่าง ๆ
อย่าง.
คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติเป็น
คนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน
แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น
ถึงความชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เปรียบเหมือนท่าน
พระจุลปันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น.
คำว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติหลายคน
ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็น
คนเดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น.
คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไร ๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มี
อะไรปิดบังให้เปิดเผยก็ได้.
คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่
ปิดบังมิดชิดก็ได้.
คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ
ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง
ภูเขา แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น
ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต
ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ตัดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวก
มนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไร ๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 710
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์
เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณ
ว่า จงเป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มี
ฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น.
คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้
มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วย
ญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่
แตกได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือน
เดินบนแผ่นดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ เดินไป
บนแผ่นดินไม่แตกได้ ฉะนั้น.
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้
ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จง
เป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง
ในอากาศกลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดย
ปกติ เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น.
คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้น
ด้วยฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่ง
หรือนอนก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
พระจันทร์พระอาทิตย์ จงมีในที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น
นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 711
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไร ๆ
ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น.
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง
ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็น
ที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็น
ที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็น
ของน้อย อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพยจักษุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่ง
จิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยัง
พรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น
ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วย
สามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหม-
โลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบ
ทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์
เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิต
ก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้า
ท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บัง
หวนควันอยู่ รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟ
ลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 712
อยู่ รูปกายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่
รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูปกายนิรมิตถาม
ปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้อยู่ ณ ที่นั้น
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตก็ยืนสนทนา
ปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำ
กิจนั้น ๆ นั่นแล นี่ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้.
[๖๘๖] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ เป็นไฉน ?
พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุ
ทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วย
กายครึ่งหนึ่งส่วนล่างปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี
ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี
ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑ
บ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดง
เพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้าง
แสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศ
เสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง
พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ.
[๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเทียบบุรุษชักไส้ออกจาก
หญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 713
อย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนบุรุษชักดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ
นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีก
ประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอ เขาพึงมีความสำคัญอย่าง
นี้ว่า นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจาก
กระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้
มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จ
ด้วยใจ.
[๖๘๘] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน ?
ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุ-
ปัสสนา ความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ความละความ
เพลิดเพลิน ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้
ด้วยวิราคานุปัสสนา ความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ความละ
ความยึดถือ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์
ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ
มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ.
[๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน ?
ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วย
ตติยฌาน ฯลฯ ความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 714
ละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญา-
ณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละอากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมสำเร็จ
ได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะ ท่านพระขาณุโกณฑัญญะ
อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ.
[๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็น
สิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า
เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล
และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล
และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญ
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่ง
ที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้ง
สองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้
มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่.
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร ?
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่
น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 715
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอย่างไร ?
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่
อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่
ปฏิกูลอยู่อย่างไร ?
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่
น่าปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างไร ?
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล
และในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ.
[๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ?
นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก
มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 716
[๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ?
พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติย-
คฤหบดี ฤทธิ์ของชฎิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี
ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้
มีบุญ.
[๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ?
พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้า
บ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศ
กลางหาว นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา.
[๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบ
ในส่วนนั้น ๆ อย่างไร ?
ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ
ว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ ความ
ละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะย่อม
สำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วยอรหัต
มรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ
ประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ
ประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ อย่างนี้ ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้.
จบอิทธิกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 717
อรรถกถาอิทธิกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาไว้แห่งอิทธิกถา อัน
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงบุญญานุภาพในลำดับแห่งปัญญากถาพึงทราบวินิจฉัย
ในคำถามเหล่านั้นดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า กา อิทฺธิ ฤทธิ์เป็นอย่างไร เป็น
สภาวปุจฉา (ถามถึงสภาพ). บทว่า กติอิทฺธิโย ฤทธิ์มีเท่าไรเป็น
ปเภทปุจฉา (ถามถึงประเภท). บทว่า กติภูมิโย ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็นสัมภารปุจฉา (ถามถึงสะสม). บทว่า กติปาทา บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็น ปติฏฐปุจฉา (ถามถึงที่ตั้ง). บทว่า กติปทานิ บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
เป็น อาสันนการณปุจฉา (ถามเหตุที่ใกล้เคียง). บทว่า กติมูลานิ มูล
แห่งฤทธิ์มีเท่าไรเป็นอาทิการณปุจฉา (ถามเหตุเบื้องต้น).
พึงทราบวินิจฉัยในคำตอบดังต่อไปนี้ บทว่า อิชฺฌนฏฺเน อิทฺธิ
ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยอรรถว่าสำเร็จ อธิบายว่า ด้วยอรรถว่าสำเร็จและด้วยอรรถว่า
ได้เฉพาะ เพราะสิ่งใดสำเร็จและได้เฉพาะท่านกล่าวสิ่งนั้นว่าย่อมสำเร็จ สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าว่าวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนากาม
อยู่ดังนี้ พึงทราบบทมีอาทิว่า ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะเนกขัมมะย่อมสำเร็จ ชื่อว่า
ปาฏิหาริย เพราะเนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ พึงทราบนัยอื่นต่อไปชื่อว่า
อิทฺธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ บทที่เป็นชื่อของอุปายสัมปทา (ความถึงพร้อม
ด้วยอุบาย) จริงอยู่ อุปายสัมปทาย่อมสำเร็จเพราะประสบผลที่ประสงค์สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จิตตคหบดีนี้แลเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม หากว่า
จิตตคหบดีจักปรารถนาว่าเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ ความตั้งใจของผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 718
ศีลจักสำเร็จเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ พึงทราบนัยอื่นต่อไปอีก ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะ
เป็นเหตุสำเร็จของสัตว์. บทว่า อิชฺฌนฺติ ย่อมสำเร็จ ท่านอธิบายว่าเป็นความ
เจริญงอกงามถึงความอุกฤษฏ์.
ชื่อว่าฤทธิ์ที่อธิษฐานเพราะสำเร็จด้วยความอธิษฐานในฤทธิ์ ๑๐. ชื่อว่า
ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เพราะเป็นไปด้วยการทำให้แปลก โดยละวรรณะปกติ
ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เพราะเป็นไปด้วยความสำเร็จแห่งสรีระสำเร็จทางใจ
อย่างอื่น ชื่อว่าฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นความวิเศษเกิดด้วยอานุภาพของญาณ
ในเบื้องต้น ในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่าฤทธิ์แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นความ
วิเศษเกิดด้วยอานุภาพของสมถะในเบื้องต้นในภายหลังหรือในขณะนั้น ชื่อว่า
ฤทธิ์ของพระอริยะเพราะเกิดแก่พระอริยะผู้ถึงความชำนาญทางจิต ชื่อว่าฤทธิ์
เกิดแต่ผลกรรมเป็นความวิเศษเกิดด้วยผลกรรม ว่าฤทธิ์ของผู้มีบุญเพราะ
เป็นความวิเศษเกิดแก่ผู้มีบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน ชื่อว่าฤทธิ์สำเร็จแต่วิชชา
เป็นความวิเศษเกิดแต่วิชชา ความสำเร็จแห่งกรรมนั้น ๆ ด้วยการประกอบชอบ
นั้น ชื่อว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วน
นั้น ๆ.
บทว่า อิทฺธิยา จตสฺโส ภูมิโย ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์ แม้เมื่อท่านกล่าว
ไม่แปลกกัน ท่านก็กล่าวถึงภูมิแห่งฤทธิ์ที่อธิษฐานที่แผลงได้ต่าง ๆ และที่สำเร็จ
แต่ใจตามแต่จะได้ มิใช่ของฤทธิ์ที่เหลือ. บทว่า วิเวกชา ภูมิ เป็นภูมิเกิดแต่
วิเวก คือเป็นภูมิเกิดแต่วิเวกหรือในวิเวก ชื่อว่าวิเวกชาภูมิ. บทว่า ปีติสุขภูมิ
เป็นภูมิแห่งปีติและสุข คือเป็นภูมิประกอบด้วยปีติและสุข. บทว่า อุเปกฺขาสุข-
ภูมิ เป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุขคือ ชื่อว่า ภูมิ เพราะประกอบด้วยอุเบกขา
คือวางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ และด้วยสุข. บทว่า อทุกฺขมสุขภูมิ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 719
ภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เป็นภูมิประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนา ในฌาน
เหล่านั้น ปฐมฌานแล้วทุติยฌานเป็นความแผ่ไปแห่งปีติ ตติยฌานเป็นความ
แผ่ไปแห่งสุข จตุตถฌานเป็นความแผ่ไปแห่งจิต อนึ่ง ในบทนี้ เพราะผู้มี
กายเบาอ่อนควรแก่การงานก้าวล่วงสุขสัญญา และลหุสัญญาด้วยสัญญาด้วยการ
แผ่ไปแห่งสุขย่อมได้ฤทธิ์ ฉะนั้น ฌาน ๓ ข้างต้นพึงทราบว่าเป็นสัมภารภูมิ
เพราะเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์โดยปริยายนี้ ส่วนจตุตถฌานเป็นภูมิปกติเพื่อได้ฤทธิ์
เท่านั้น. บทว่า อิทฺธิลาภาย เพื่อได้ฤทธิ์คือเพื่อได้ฤทธิ์ทั้งหลายด้วยความ
ปรากฏในสันดานของตน. บทว่า อิทฺธิปฏิลาภาย เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์คือเพื่อ
ได้ฤทธิ์ที่เสื่อมแล้วคืนมาด้วยปรารภความเพียร เพิ่มบทอุปสรรคลงไป บทว่า
อิทฺธิวิกุพฺพนาย เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ คือเพื่อแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง.
บทว่า อิทฺธิวิสวิตาย เพื่อความไหลไปแห่งฤทธิ์ ชื่อว่า วิสวี เพราะไหล
ไปสู่ความวิเศษต่างๆ คือให้เกิดให้เป็นไป อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิสวี เพราะ
มีการไหลไปหลายอย่าง ความเป็นแห่งผู้มีความไหลไปชื่อว่า วิสวิตา เพื่อ
ความเป็นผู้มีความไหลไปแห่งฤทธิ์นั้น อธิบายว่าเพื่อแสดงความวิเศษของฤทธิ์
ได้หลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวสีภาวาย เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์คือ
เพื่อความเป็นอิสระในฤทธิ์. บทว่า อิทฺธิเวสารชฺชาย คือเพื่อความเป็นผู้
แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์.
อิทธิบาทมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วในญาณกถา บทว่า ฉนฺท เจ ภิกฺขุ
นิสฺสาย หากภิกษุอาศัยฉันทะคือถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วทำฉันทะให้เป็นใหญ่.
บทว่า ลภติ สมาธึ ย่อมได้สมาธิ คือย่อมได้เฉพาะทำให้สมาธิเกิด แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน ในบทนั้นพึงทราบบท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ
วิมังสา พึงทราบบท ๓ อย่างนี้คือสมาธิ ๔ สัมปยุตด้วยบทนั้น บททั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 720
๔ อนึ่ง เพราะฉันทะคือความใคร่เพื่อให้ฤทธิ์เกิดประกอบโดยความเป็นอันเดียว
กันกับสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อได้สมาธิ วิริยะเป็นต้นก็อย่างนั้น ฉะนั้นพึงทราบว่า
ท่านกล่าวถึงบท ๘ นี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงโยควิธีที่พระโยคาวรใคร่จะยัง
อภิญญาให้เกิด จึงตรัสถึงความไม่หวั่นไหวแห่งจิตว่า พระโยคาวรจรนั้นเมื่อจิต
ตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิต
อ่อน ควรแก่การงานดำรงมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ดังนี้ พระเถระเมื่อ
แสดงถึงความไม่หวั่นไหวนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสฬสมูลานิ มูล ๑๖ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อโนนต จิตไม่ฟุบลง คือไม่ฟุบลงด้วยความ
เกียจคร้าน อธิบายว่าไม่เร้นลับ. บทว่า อนุนฺนต จิตไม่ฟูขึ้นคือไม่ขึ้น
เบื้องบนด้วยความฟุ้งซ่าน อธิบายว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า อนภินต
จิตไม่น้อมไป คือ ไม่น้อมไปด้วยความโลภ ความว่า ไม่ติดแน่น. ท่านอธิบาย
ว่า จิตน้อมไป น้อมไปยิ่ง เพราะความใคร่อย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้น จิตไม่เป็น
เช่นนั้น. บทว่า ราเคน ด้วยราคะคือด้วยความโลภอันมีสังขารเป็นที่ตั้ง.
บทว่า อนปนต จิตไม่มุ่งร้าย คือ ไม่มุ่งร้ายด้วยโทสะ ความว่า ไม่กระทบ
กระทั่ง. บทว่า นต นติ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน คือ น้อมไป. ท่าน
อธิบายว่า จิตปราศจากความน้อมไป ชื่อว่า อปนต คือมุ่งร้าย จิตนี้ไม่เป็น
เช่นนั้น. บทว่า อนิสฺสิต จิตอันทิฏฐิไม่อาศัย คือ ไม่อาศัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
ว่าเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งเนื่องด้วยตัวตน ด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะเห็นโดย
ความไม่เป็นตัวตน. บทว่า อปฺปฏิพทฺธ จิตไม่พัวพัน คือ ไม่พัวพันด้วย
หวังอุปการะตอบ. บทว่า ฉนฺทราเคน เพราะฉันทราคะ คือ เพราะความโลภ
มีสัตว์เป็นที่ตั้ง. บทว่า วิปฺปมุตฺต จิตหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกามราคะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 721
ด้วยวิกขัมภนวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากกามราคะด้วยวิมุตติ ๕. อีก
อย่างหนึ่ง หลุดพ้นจากความเป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ ด้วยวิมุตติ ๕. บทนี้ท่านกล่าว
ด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์โดยนัยดังกล่าวแล้วว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ในนิโรธ-
สมาบัติญาณ เพราะยังอภิญญาให้เกิดแก่พระเสขะผู้เป็นปุถุชนและพระอเสขะ
แต่ควรถือเอาตามมีตามได้. บทว่า กามราเคน เพราะกามราคะ คือ เพราะ
ความกำหนัดในเมถุน. บทว่า วิสญฺญุต จิตไม่เกาะเกี่ยว คือ ไม่เกาะเกี่ยว
ด้วยกิเลสที่เหลือเพราะข่มไว้ได้ หรือไม่เกาะเกี่ยว เพราะตัดขาดได้ด้วยความ
อุกฤษฏ์. บทว่า กิเลเส คือกิเลสที่เหลือ. บทว่า วิปริยาทิกต จิตปราศจาก
เครื่องครอบงำ คือ จิตกระทำให้ปราศจากขอบเขตของกิเลส ด้วยอำนาจ
ขอบเขตกิเลสที่ควรข่ม หรือด้วยอำนาจขอบเขตกิเลสที่ควรละด้วยมรรคนั้นๆ.
บทว่า กิเลสปริยาเท เพราะความครอบงำของกิเลส คือ เพราะขอบเขต
ของกิเลสที่ละได้แล้วนั้น ๆ. บทว่า เอกคฺคต คือจิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า
นานตฺตกิเลเสหิ เพราะกิเลสต่าง ๆ คือ เพราะกิเลสอันเป็นไปอยู่ในอารมณ์
ต่าง ๆ. บทนี้ท่านกล่าวเพ่งถึงอารมณ์ แต่บทว่า โอโนนต จิตไม่ฟุบลง
เป็นอาทิ ท่านกล่าวเพ่งถึงกิเลสทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า โอภาสคต จิตที่
ถึงความสว่างไสว คือ จิตที่ถึงความสว่างไสวเพราะปัญญาด้วยความเป็นไปแห่ง
ความฉลาดเพราะปัญญา. บทว่า อวิชฺชนฺธกาเร เพราะความมืดคืออวิชชา
คือ เพราะอวิชชามีกำลัง ท่านกล่าวภูมิ ๔ มูล ๑๖ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นของ
ฤทธิ์. ท่านกล่าวบาท ๔ และบท ๘ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นและด้วยการประกอบ
พร้อม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 722
อรรถกถาทสอิทธินิเทศ
พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงธรรมอันเป็นภูมิ บาท บท และมูล
แห่งฤทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
กตมา อธิฏฺานา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน. ท่านกล่าวอรรถแห่ง
บทที่ยกขึ้นในบทนั้นไว้ในอิทธิวิธญาณนิเทศแล้ว. บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ
ภิกษุในศาสนานี้. ด้วยบทนั้นท่านแสดงถึงความไม่มีแห่งผู้แสดงฤทธิ์ได้โดย
ประการทั้งปวงไว้ในที่อื่น. นิเทศแห่งบททั้งสองนี้มีอรรถดังที่ท่านได้กล่าวแล้ว
ในหนหลัง. อนึ่ง ด้วยบทนั้นนั่นแหละ ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมอันเป็น
ภูมิ บาท บท และมูลแห่งฤทธิ์ เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้มีจิตฝึกแล้ว
ด้วยอาการ ๑๔ หรือ ๑๕ ดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งการ
เข้าถึงความเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง ๆ มีฉันทะเป็นต้น และความเป็นผู้มีจิตอ่อน
ควรแก่การงานด้วยสามารถความเป็นผู้ชำนาญ มีอาวัชชนะเป็นต้น. ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยการประกอบเบื้องต้นมีกำลัง เป็นผู้มีคุณมีได้อภิญญาเป็นต้นด้วยการ
ได้เฉพาะพระอรหัตนั่นเอง ด้วยการถึงพร้อมแห่งการประกอบเบื้องต้น เป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีภูมิเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึง
ภิกษุแม้นั้น.
บทว่า พหุก อาวชฺชติ ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ หากภิกษุเข้า
จตุตถฌานอันเป็นบทแห่งอภิญญามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วย่อม
ปรารถนาเป็น ๑๐๐ คน ย่อมนึกด้วยทำบริกรรมว่าเราจงเป็น ๑๐๐ คน เรา
จงเป็น ๑๐๐ คน ดังนี้. บทว่า อาวชฺชิตฺวา ฌาเณน อธิฏฺาติ ครั้น
นึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ คือ ทำบริกรรมอย่างนี้แล้วอธิษฐานด้วยอภิญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 723
ญาณ ครั้นทำบริกรรมในที่นี้แล้วท่านไม่กล่าวถึงการเข้าสมาบัติมีฌานเป็น
บาทอีก ท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง แต่ถึงดังนั้นในอรรถกถาท่านก็กล่าวด้วย
สามารถบริกรรมว่า อาวชฺชติ ย่อมนึก ครั้นนึกแล้วอธิษฐานด้วยญาณ
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวด้วยสามารถแห่งอภิญญาญาณ เพราะฉะนั้น ภิกษุ
ย่อมนึกคนเดียวเป็นหลายคน จากนั้นภิกษุย่อมเข้าสมาบัติในที่สุดแห่งจิตบริ-
กรรม ครั้นออกจากสมาบัติแล้วนึกอีกว่า เราจงเป็นหลายคน ต่อจากนั้น
ย่อมอธิษฐานด้วยอภิญญาญาณอย่างเดียวเท่านั้น โดยได้ชื่อว่า อธิฏฺาน
ด้วยสามารถให้ความสำเร็จด้วยการเกิดในลำดับแห่งจิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๓
หรือ ๔ ดวงอันเป็นไปแล้ว เพราะเหตุนั้นพึงเห็นอย่างนี้แหละ เพราะท่านกล่าว
พึงเห็นอรรถในข้อนี้ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างเมื่อกล่าวว่า กินแล้วนอน
ก็มิได้หมายความว่า ไม่ดื่มน้ำ ไม่ล้างมือเป็นต้น แล้วนอนตอนกินเสร็จแล้ว
นั่นเอง แม้เมื่อมีกิจอื่นในระหว่างก็กล่าวว่า กินแล้วนอนฉันใด พึงเห็น
แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น แม้การเข้าสมาบัติมีฌานเป็นบาทครั้งแรก ท่านก็มิได้
กล่าวไว้ในบาลี.
อนึ่ง พร้อมด้วยอธิษฐานญาณนั้นเป็น ๑๐๐ คน. แม้ในพันคน แสนคน
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. หากไม่สำเร็จอย่างนั้น พึงทำบริกรรมอีก พึงเข้าสมาบัติ
แม้ครั้งที่ ๒ ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐาน. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาสังยุตว่า
ควรเข้าสมาบัติครั้งหนึ่ง สองครั้ง ในจิตเหล่านั้น จิตมีฌานเป็นบาทมีนิมิต
เป็นอารมณ์ จิตบริกรรมคน ๑๐๐ เป็นอารมณ์หรือมีคน ๑,๐๐๐ เป็นอารมณ์
จิตเหล่านั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยวรรณะ มิใช่ด้วยบัญญัติ แม้จิตอธิษฐานก็มีคน
๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เป็นอารมณ์เหมือนกัน จิตอธิษฐานนั้นเป็นรูปาวจรจตุต-
ถฌานย่อมเกิดอย่างนั้นในลำดับโคตรภู ดุจอัปปนาจิตดังกล่าวแล้วในก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 724
เพื่อแสดงถึงกายสักขี ของความเป็นหลายคน ท่านจึงกล่าวว่า เหมือน
ท่านพระจุลบันถกรูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ฉะนั้น. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า
ท่านทำคำเป็นปัจจุบัน เพราะพระเถระเป็นผู้มีปกติทำอย่างนั้น และเพราะ
พระเถระนั้นยังมีชีวิตอยู่. แม้ในวาระว่า เป็นรูปเดียวก็ได้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน
ในข้อนั้นมีเรื่องเล่าว่า พระเถระพี่น้องสองรูป ชื่อว่า ปันถกเพราะเกิดใน
หนทาง. พี่น้องสองรูปนั้นพระมหาปันถกผู้พี่บวชแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทา. พระมหาบันถกเป็นพระอรหันต์จึงให้จุลบนถกบวชแล้วได้ให้
คาถานี้ว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุทบานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้น
กลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรส
ผู้ไพโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ
ฉะนั้น.
พระจุลบันถกไม่สามารถท่องคาถานั้นให้คล่องได้ล่วงไป ๔ เดือน
ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะพระจุลบันถกว่า ท่านไม่สมควรในพระศาสนานี้
จงออกไปจากพระศาสนานี้เสียเถิด. อนึ่ง ในเวลานั้นพระเถระเป็นภัตตุเทศก์
(ผู้แจกภัตร). ชีวกโกมารภัจ ถือเอาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอัน
มากไปยังอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ฟังธรรมถวายบังคมพระทศพล
แล้วเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า พระคุณเจ้าขอรับ พรุ่งนี้ขอพระคุณเจ้าพาภิกษุ
๕๐๐ รูป มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขรับภิกษาที่บ้านของกระผมเถิด.
พระเถระก็กล่าวว่า อาตมารับนิมนต์แก่ภิกษุที่เหลือเว้นจุลปันถก.
พระจุลบันถกได้ฟังดังนั้น เสียใจเป็นอย่างยิ่ง รุ่งขึ้นออกจากวัดแต่เช้าตรู่
ยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวิหาร เพราะเป็นผู้มีความหวังในพระศาสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 725
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของพระจุลบันถกนั้น จึงเสด็จ
เข้าไปหาตรัสว่า ร้องไห้ทำไม. พระจุลบันถกกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่สามารถทำการท่องจำได้มิใช่เป็นผู้ไม่สมควร
ในศาสนาของเรา อย่าเศร้าโศกไปเลย ปันถก แล้วเอาฝ่าพระหัตถ์ซึ่งมีรอยจักร
ลูบศีรษะของพระจุลปันถกนั้น จูงที่แขนเสด็จเข้าสู่พระวิหารให้นั่ง ณ พระ-
คันธกุฎีตรัสว่า ปันถก เธอจงนั่งลูบคลำผ้าเก่าผืนนี้ว่า รโชหรณ รโชหรณ
นำธุลีออก นำธุลีออก แล้วทรงประทานชิ้นผ้าเก่าบริสุทธิ์อันเกิดด้วยฤทธิ์แก่
พระจุลปันถกนั้น เมื่อถึงเวลาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปเรือนของชีวก
ประทับนั่ง ณ อาสนะที่เราปูลาดไว้. เมื่อพระจุลปันถูกลูบคลำชิ้นผ้าเก่าอยู่
อย่างนั้น ผ้าก็หมองได้มีสีดำโดยลำดับ พระจุลปันถกนั้นได้สัญญาว่า ชิ้นผ้า
เก่านี้บริสุทธิ์ ไม่มีความหมองคล้ำในผ้านี้ แต่เพราะอาศัยอัตภาพจึงได้
หมองคล้ำ ยังญาณให้หยั่งลงในขันธ์ ๕ เจริญวิปัสสนา. ขณะนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเปล่งพระโอภาสปรากฏดุจประทับนั่งข้างหน้าของพระจุลปันถก
นั้น ได้ตรัสโอภาสคาถานี้ว่า
ธุลีคือราคะแต่มิใช่เรณู (ละออง) คำว่า รโช
(ธุลี) นี้เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ละธุลีนี้แล้วอยู่ในศาสนาของตถาคต ผู้ปราศจากธุลี
แล้ว.
ธุลี คือ โทสะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคตผู้
ปราศจากธุลีแล้ว.
ธุลี คือ โมหะ ฯลฯ ในศาสนาของตถาคต
ผู้ปราศจากธุลีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 726
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่งไม่
ประมาทเป็นมุนี ศึกษาอยู่ในครองแห่งมุนี คงที่สงบ
มีสติทุกเมื่อ.
เมื่อจบคาถาพระเถระบรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระ
เถระนั้น เป็นผู้ได้ฌานสำเร็จแต่ใจ รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ หลายรูปสามารถ
เป็นรูปเดียวก็ได้. ปิฎก ๓ และอภิญญา ๖ ได้ปรากฏแก่พระเถระด้วยอรหัตมรรค
นั่นแล.
แม้ชีวกก็น้อมทักษิโณทกเข้าไปถวายแด่พระทศพล พระศาสดาทรง
ปิดบาตร ชีวกทูลถามว่า เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า ตรัสว่ายังมีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ใน
วิหาร ชีวกนั้นจึงส่งบุรุษไปบอกว่า เจ้าจงไปนำพระคุณเจ้ามาเร็วพลัน พระ-
จุลปันถกเถระประสงค์จะให้พี่ชายรู้ว่าตนบรรลุธรรมวิเศษแล้ว ก่อนที่บุรุษนั้น
จะมาถึงจึงนิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป แม้รูปหนึ่งก็ไม่เหมือนกับรูปหนึ่ง รูปหนึ่ง
ได้ทำกิจของสมณะมีเย็บจีวรเป็นต้นไม่เหมือนกับรูปอื่น บุรุษไปเห็นภิกษุในวัด
มากมายจึงกลับมาบอกแก่ชีวกว่า นาย ภิกษุในวัดมากมาย ผมไม่เห็นพระคุณ
เจ้าที่ควรจะนิมนต์เลย. ชีวกทูลถามพระศาสดาบอกชื่อของพระเถระรูปนั้นแล้ว
ส่งบุรุษไปอีก บุรุษนั้นไปถามว่า ท่านขอรับ รูปไหนชื่อจุลปันถก ทั้งพันรูป
บอกพร้อมกันกล่าวว่า เราคือจุลบันถก เราคือจุลบันถก บุรุษนั้นกลับไปอีกกล่าว
ว่า นัยว่า พระคุณท่านทั้งหมดเป็นจุลบันถก ผมไม่รู้จะนิมนต์รูปไหน ชีวก
ได้รู้โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์ เพราะแทงตลอดสัจจธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เธอจงไป จงจับภิกษุที่เห็นเป็นรูปแรกที่ชายจีวรแล้วกล่าวว่า พระ-
ศาสดาตรัสเรียกท่านแล้วนำมา บุรุษนั้นไปแล้วได้ทำตามนั้น ทันใดนั้นเอง
ภิกษุที่นิรมิตแล้วทั้งหมดก็หายไป พระเถระส่งบุรุษนั้นกลับไป สำเร็จเสร็จกิจ
มีล้างหน้าเป็นต้นแล้วไปถึงก่อนนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้ ในขณะนั้น พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 727
ศาสดาทรงรับทักษิโณทก เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วให้พระจุลบันถกเถระ
กล่าวธรรมกถา อนุโมทนาภัตร พระเถระกล่าวธรรมกถา มีประมาณเท่า
คัมภีร์ ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย.
ภิกษุรูปอื่นๆ นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจด้วยการอธิษฐานย่อมนิรมิตได้ ๓
รูป หรือ ๒ รูป ย่อมนิรมิตหลายรูปให้เป็นเช่นกับรูปเดียวได้ และทำกรรม
ได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่พระจุลบันถกเถระนิรมิตได้ ๑,๐๐๐ รูปโดยนึกครั้ง
เดียวเท่านั้น มิได้ทำ ๒ คนให้เป็นเช่นกับคนเดียว มิได้ทำกรรมอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นพระเถระจึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจ ส่วนภิกษุ
รูปอื่น ๆ ไม่กำหนดจำนวนมากจึงเป็นเช่นผู้มีฤทธิ์นิรมิตได้เท่านั้น ภิกษุรูป
อื่น ๆ ย่อมทำกรรมที่ผู้มีฤทธิ์ทำมียืนนั่งเป็นต้น และความเป็นผู้พูดนิ่งเป็นต้น
ได้เท่านั้น แต่หากว่า ประสงค์จะทำวรรณะต่าง ๆ บางพวกก็ทำได้ในปฐมวัย
บางพวกก็ในมัชฌิมวัย บางพวกก็ในปัจฉิมวัย อนึ่งประสงค์จะทำผมยาว โล้น
ทั้งหมด มีผมปน มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่งจีวรสีเหลือง หรือทำบทภาณ ธรรม-
กถา สรภัญญะถามปัญหาแก้ปัญหาย้อมต้มเย็บ ซักจีวรเป็นต้นมีประการต่าง ๆ
แม้อย่างอื่น ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาท แล้วทำปริกรรมโดยนัยมี
อาทิว่า ภิกษุประมาณเท่านี้จงเป็นผู้มีปฐมวัย เเล้วเข้าสมาบัติอีกครั้นออกแล้ว
พึงอธิษฐาน จึงเป็นผู้มีประการที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ กับด้วยจิตอธิษฐาน
ในบทมีอาทิว่า พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ มีนัยนี้
เหมือนกัน.
แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้ บทว่า ปกติยา พหุโก โดยปกติ
หลายคน คือโดยปกติที่นิรมิตในระหว่างกาลนิรมิตหลายคน อนึ่ง ภิกษุนี้ครั้น
นิรมิตความเป็นหลายรูปอย่างนี้แล้ว จึงดำริต่อไปว่า เราจักจงกรมรูปเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 728
จักทำการท่อง จักถามปัญหา เพราะความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยว่าวัดนี้
มีภิกษุน้อย หากพวกอื่นจักมา จักรู้จักเราว่า ภิกษุประมาณเท่านี้เหมือนรูปเดียว
กันมาแต่ไหน นี้จักเป็นอานุภาพของพระเถระแน่แท้ ดังนี้จึงปรารถนาว่า เรา
จงเป็นรูปเดียว ในระหว่างเข้าสมาบัติมีฌานเป็นบาท ครั้นออกแล้วทำบริกรรม
ว่า เราจงเป็นรูปเดียวเข้าสมาบัติอีก ครั้นออกแล้วพึงอธิษฐานว่า เราจงเป็น
รูปเดียวพร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเองก็เป็นรูปเดียว เมื่อไม่ทำอย่างนี้ย่อมเป็น
รูปเดียวได้เองด้วยตามที่กำหนดไว้.
เพราะบทว่า อาวิภาว ทำให้ปรากฏมาเป็นบทตั้งแล้วกล่าวว่า เกนจิ
อนาวฏ โหติ ทำให้ไม่มีอะไรปิดบัง ท่านจึงกล่าวถึงอรรถแห่งความปรากฏ
ของบทว่า อาวิภาว ด้วยบทว่า เกนจิ อนาวฏ. ท่านกล่าวถึงปาฐะที่เหลือ
ว่า กโรติ ด้วยบทว่า โหติ ดังนี้ เพราะเมื่อทำให้แจ้งก็เป็นอันทำให้
ปรากฏ. บทว่า เกนจิ อนาวฏ คือไม่มีอะไร ๆ มีฝาเป็นต้นปิดบัง คือ
ปราศจากเครื่องกั้น. บทว่า อปฺปฏิจฺฉนฺน ไม่ปกปิด คือไม่ปิดข้างบน ชื่อว่า
วิวฏ เปิดเผยเพราะไม่ปิดบัง ชื่อว่า ปากฏ ปรากฏ เพราะไม่ปกปิด. บทว่า
ติโรภาว ทำให้หายไป คือทำให้อยู่ในระหว่าง ชื่อว่า ปิหิต ปิดบังเพราะ
เครื่องกั้นนั้นปิด ชื่อว่า ปฏิกุชฺชิต มิดชิดเพราะปิดที่ที่ปิดบังไว้นั่นเอง.
บทว่า อากาสกสิณสมาปตฺติยา ได้แก่จตุตถฌานสมาบัติอันเกิดขึ้นแล้วใน
อากาศกสิณที่กำหนดไว้. บทว่า ลาภี เป็นผู้ได้ชื่อว่า ลาภี เพราะเป็นผู้มีลาภ.
บทว่า อปริกฺขิตฺเต ไม่มีอะไรกันไว้ คือในท้องที่ที่ไม่มีอะไรกั้นไว้โดยรอบ
เพราะท่านกล่าวอากาศกสิณไว้ในที่นี้ ฌานที่เจริญแล้ว ในทีนั้นนั่นแหละย่อม
เป็นปัจจัยแห่งอากาศกสิณ ไม่พึงเห็นว่าอย่างอื่น พึงเห็นฌานมีกสิณนั้นเป็น
อารมณ์แม้ในบรรดาอาโปกสินในเบื้องบนเป็นต้น มิใช่อย่างอื่น. บทว่า ปวึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 729
อาวชฺชติ อุทก อาวชฺชติ อากาส อาวชฺชติ ย่อมนึกถึงแผ่นดิน ย่อมนึก
ถึงน้ำ ย่อมนึกถึงอากาศ คือย่อมนึกถึงแผ่นดิน น้ำและอากาศตามปกติ. บทว่า
อนฺตลิกฺเข บนอากาศท่านแสดงถึงความที่อากาศนั้นเป็นอากาศไกลกว่าแผ่นดิน
เพราะท่านไม่นิยมกสิณในการลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จึงกล่าวโดยไม่
ต่างกันว่าผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ถือความชำนาญแห่งจิต. บทว่า นิสินฺนโก วา นิปนฺน-
โก วา คือนั่งก็ดี นอนก็ดี ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้อิริยาบถทั้งสองนอก
นั้นด้วย. บทว่า หตฺถปาเส โหตุ คือดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ.
ปาฐะว่า หตฺถปสฺเส โหตุ จงมีที่ข้างมือบ้าง บทนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจของ
ผู้ใคร่จะทำอย่างนั้น. อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นี้แม้ไปในที่นั้น แล้วก็ยกมือลูบคลำได้.
บทว่า อามสติ ลูบ คือถูกต้องนิดหน่อย. บทว่า ปรามสติ คลำ คือถูก
ต้องหนักหน่อย. บทว่า ปริมชฺชติ สัมผัส คือถูกต้องโดยรอบ. บทว่า รูปคต
คือรูปที่ตั้งอยู่ใกล้มือนั่นเอง. บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺาติ อธิษฐานที่
ไกลให้เป็นที่ใกล้คือผู้มีฤทธิ์ครั้นออกจากสมาบัติมีฌานเป็นบาทแล้ว ย่อมนึก
ถึงเทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ในที่ไกลว่า จงมีในที่ใกล้ดังนี้ ครั้นนึกถึงแล้ว
กระทำบริกรรมเข้าสมาบัติอีกครั้นออกแล้วอธิฐานด้วยญาณว่า จงมีในที่ใกล้
ดังนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ย่อมมีในที่ใกล้ แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ อนึ่ง
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงถึงความวิเศษของความสำเร็จแห่งฤทธิ์นี้ แม้ไม่
เป็นอุปการะแก่ผู้ประสงค์จะไปพรหมโลกกล่าวถึงการกระทำที่ไกลให้เป็นที่ใกล้
แล้วไปพรหมโลกได้ จงกล่าวคำมีอาทิว่า สนฺติเกปิ แม้ในที่ใกล้.
ในบทนั้นมิใช่การทำเล็กน้อยและทำมากอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งทั้งหมด
ที่ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ฤทธิ์ แม้ในบทมีอาทิว่า อมธุร มธุร ทั้งไม่
อร่อยทั้งอร่อย พึงทราบนัยอื่นอีก. บทว่า ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 730
อธิษฐานแม้ที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ คืออธิษฐานพรหมโลก ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้
ของมนุษยโลก. บทว่า สนฺติเกปิ ทูเร อธิฏฺาติ อธิษฐานแม้ในที่ใกล้ให้
เป็นที่ไกลคืออธิษฐานมนุษยโลกในที่ใกล้ให้เป็นพรหมโลกในที่ไกล. บทว่า
พหุกมฺปิ โถก อธิฏฺาติ อธิษฐานของแม้มากให้เป็นของน้อยคือหากว่าพรหม
ทั้งหลายมาประชุมกันมาก เพราะพรหมมีร่างกายใหญ่จะละทัศนูปจาร (การ
เห็นใกล้เคียง) สวนูปจาร (การฟังใกล้เคียง) ผู้มีฤทธิ์ย่อรวมกันในทัศนูปจาร
และสวนูปจาร อธิษฐานแม้ของมากให้เป็นของน้อย. บทว่า โถกมฺปิ พหุก
อธิฏฺาติ อธิษฐานแม้ของน้อยให้เป็นของมาก คือหากว่าผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะไป
กับบริวารมาก เป็นผู้มีบริวารมาก็เพราะอธิษฐานตนชื่อว่าน้อยเพราะมีคนเดียว
ให้มากแล้วไป พึงเห็นอรรถในบทนี้ด้วยประการฉะนี้แล. เมื่อเป็นอย่างนั้นแม้
บท ๔ อย่างนี้ย่อมเป็นอุปการะในการไปพรหมโลก. บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา
ตสฺส พฺรหฺมุโน รูป ปสฺสติ ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นด้วยทิพยจักษุ คือ
ผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ในที่นี้เจริญอาโลกกสิณ ย่อมเห็นรูปพรหมที่ประสงค์จะเห็นด้วย
ทิพยจักษุ ยืนอยู่ในที่นี้นั่นแหละย่อมได้ยินเสียงของพรหมนั้นกำลังพูดกันด้วย
ทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นด้วยเจโตปริยญาณ. บทว่า ทิสฺสมาเนน
ด้วยกายที่ปรากฏ คือด้วยการเพ่งด้วยจักษุ. บทว่า กายวเสน จิตฺต
ปริณาเมติ คือน้อมจิตด้วยสามารถแห่งรูปกาย ยึดจิตมีฌานเป็นบาทแล้วยก
ขึ้นในกาย กระทำการไปของกายด้วยสำคัญว่าเบา ให้เป็นการไปช้าเพราะการ
ไปด้วยกายเป็นความช้า. บทว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นแหละ
ความว่าให้สำเร็จ. บทว่า สุขสฺญฺจ ลหุสญฺญฺจ โอกฺกมิตฺวา หยั่ง
ลงสู่สุชสัญญญาและลหุสัญญา คือ หยั่งลงเข้าไปถูกต้องเข้าถึงสุขสัญญาและ
ลหุสัญญาอันเกิดพร้อมกับอิทธิจิต มีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์ สัญญาสัมปยุต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 731
ด้วยอุเบกขา ชื่อ สุขสัญญา เพราะอุเบกขาท่านกล่าวว่า ความสงบเป็นความ
สุข สัญญานั่นแหละพึงทราบว่าเป็นลหุสัญญาเพราะพ้นจากนิวรณ์และธรรม
เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น.
แม้กรชกายของผู้มีฤทธิ์หยั่งลงสู่สัญญานั้นก็เบาดุจปุยนุ่น ผู้มีฤทธิ์นั้น
ไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏเบาดุจปุยนุ่นที่ถูกลมพัดไป อนึ่ง เมื่อไปอย่าง
นี้หากปรารถนา ก็นิรมิตทางบนอากาศด้วยปฐวีกสิณแล้วเดินไป หากปรารถนา
ก็นิรมิตดอกปทุมทุก ๆ ย่างเท้าบนอากาศด้วยปฐวีกสิณนั่นแหละแล้ววางเท้า
บนดอกปทุมเดินไป หากปรารถนาก็อธิษฐานลมด้วยวาโยกสิณแล้วไปกับ
ลมดุจปุยนุ่น ความเป็นผู้ใคร่จะไปนั่นแหละเป็นประมาณในเรื่องนี้ เพราะ
ความเป็นผู้ใคร่จะไป ผู้มีฤทธิ์นั้น จึงอธิษฐานจิตทำอย่างนั้น ชัดไปด้วยกำลัง
ของอธิษฐานปรากฏดุจลูกศรแล่นไปด้วยกำลังของสายธนู. บทว่า จิตตฺวเสน
กาย ปริณาเมติ น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตคือยึดกรชกาย แล้วยกขึ้นในจิต
อันมีฌานเป็นบท ทำการไปของจิตให้เป็นการไปเร็ว เพราะการไปด้วยจิต
เป็นความเร็ว.
บทว่า สุขสญฺญฺจ ลหุสญฺญฺจ โอกฺกมิตฺวา คือหยั่งลงสู่
สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีรูปกายเป็นอารมณ์. บท
ที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่บทนี้เป็นการไปด้วยจิต เมื่อ
ถามว่าผู้มีฤทธิ์นี้ เมื่อไปด้วยกายอันไม่ปรากฏอย่างนี้ ย่อมไปในอุปาทขณะ
แห่งจิตอธิษฐานนั้นหรือ หรือว่าในฐิติขณะ หรือภังคขณะ. พระเถระกล่าวว่า
ไปในขณะแม้ทั้ง ๓ ไปเองหรือว่าส่งรูปนิรมิตไป ทำตามชอบใจ แต่ในที่นี้
ผู้มีฤทธิ์นั้นไปมาเอง. บทว่า มโนมย สำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า มโนมย เพราะ
เป็นรูปนิมิตด้วยใจอธิษฐาน. ชื่อว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺค มีอวัยวะครบทุกส่วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 732
คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทั้งหมด. บทว่า อหีนินฺทฺริย มีอินทรีย์ไม่บกพร่องนี้
ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสัณฐานของจักษุและโสตะเป็นต้น เพราะในรูป
นิมิตไม่มีประสาท.
บทมีอาทิว่า สเจ โส อิทฺธิมา จงฺกมติ นิมฺมิโตปิ ตตฺถ จงฺกมติ
หากผู้มีฤทธิ์จงกรมอยู่ แม้รูปนิมิตก็จงกรมในที่นั้น ท่านกล่าวหมายถึงสาวก
นิมิตทั้งหมด ส่วนพุทธนิมิตทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
ทำแม้อย่างอื่นด้วยอำนาจจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ธูมายติ ปชฺชลติ
บังหวนควันให้ไฟลุกโพลง ท่านกล่าวด้วยอำนาจเจโตกสิณ. ๓ บทมีอาทิว่า
ธมฺม ภาสติ กล่าวธรรมท่านกล่าวไม่แน่นอน. บทว่า สนฺติฏฺติ ยืนอยู่
คือ ยืนร่วมกัน. บทว่า สลฺลปติ สนทนาอยู่ คือ สนทนาร่วมกัน. บทว่า
สากจฺฉ สมาปชฺชติ ปราศรัยกัน คือ ปราศรัยด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ของกันและกัน. อนึ่ง ผู้มีฤทธิ์นั้นยืนอยู่ ณ ที่นี้ ย่อมเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ
ย่อมได้ยินเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ ย่อมรู้จิตด้วยเจโตปริยญาณ ย่อมยืนสนทนา
ปราศรัยกับพรหมนั้น. การอธิษฐานของผู้มีฤทธิ์นั้นมีอาทิว่า ย่อมอธิษฐาน
แม้ในที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ได้ ผู้มีฤทธิ์นั้นไปสู่พรหมโลกด้วยกายอันปรากฏ
หรือไม่ปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมไม่ยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้
ย่อมถึงวิธีดังที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมนิรมิตคนมีรูปไว้ข้างหน้า
พรหมนั้นได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ชื่อว่าย่อมยังอำนาจให้เป็นไปทางกายได้.
ส่วนบทที่เหลือท่านกล่าวไว้ เพื่อชี้ให้เห็นส่วนเบื้องต้นของการยังอำนาจให้
เป็นไปทางกาย นี้เป็นฤทธิ์ที่อธิษฐาน.
พึงทราบวินิจฉัยในวิกุพพนิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวยกตัวอย่าง
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เพื่อชี้ให้เห็นกายสักขีของฤทธิ์ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 733
แผลงได้ต่าง ๆ. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงถึงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ นั้น
จึงแสดงฤทธิ์ที่อธิฐานได้ยินเสียงเเห่งพันโลกธาตุ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
ไม่เคยมีมาก่อนว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ทรง
เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องราวนั้น ท่านจึงกล่าวข้อความนี้. ในกัป ๓๑ ถอย
ไปจากกัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตในชาติ
เป็นลำดับ อุบัติในพระครรภ์ของพระมเหสีพระนามว่า ปภาวดี ของพระเจ้า
อรุณวดี ในอรุณวดีนคร มีพระญาณแก่กล้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้
พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมณฑลทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ทรง
อาศัยอรุณวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ตอนเช้าตรู่ทรงชำระพระวรกายแล้ว
แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงดำริว่า จักเข้าไปอรุณวดีนครเพื่อบิณฑบาต
ประทับยืน ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูพระวิหาร ตรัสเรียกพระอัครสาวกชื่อ อภิภู
มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เข้าไปอรุณวดีนครเพื่อบิณฑบาตกันเถิด
เราจักเข้าไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกอภิภูภิกษุ มีพระพุทธดำรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ มาเถิดเราจะเข้าไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง จนกว่าจะถึงเวลา
ฉัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าสิขี ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ลำดับนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี และพระอภิภูภิกษุได้เข้าไปยังพรหมโลกชั้นใด
ชั้นหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 734
ณ พรหมโลกนั้น มหาพรหมเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มีความ
ชื่นชม ทำการต้อนรับได้ปูลาดพรหมอาสนะถวาย ปูลาดอาสนะอันสมควร
แม้แก่พระเถระด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้.
แม้พระเถระก็นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน. มหาพรหมถวายบังคมพระทศพล
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ลำดับนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าสิขี ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกะอภิภูภิกษุว่า ดูก่อน
พราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหมบริษัทและพรหมปาริสัชชะ
ทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว แสดงธรรมกถาแก่พรหม
พรหมบริษัทและพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย เมื่อพระเถระกล่าวธรรมกถา หมู่
พรหมทั้งหลายยกโทษว่า ก็พวกเราได้การมาสู่พรหมโลกของพระศาสดาตลอด
กาลนาน ภิกษุนี้เว้นพระศาสดาเสียแล้ว แสดงธรรมเสียเอง.
พระศาสดาทรงทราบว่า หมู่พรหมไม่พอใจจึงตรัสกะภิกษุอภิภูว่า
ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเหล่านั้น
พากันยกโทษ ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงให้พรหม พรหมบริษัท
และพรหมปาริสัชชาทั้งหลาย สลดใจโดยประมาณยิ่ง. พระเถระรับพระดำรัส
ของพระศาสดาแล้ว แผลงฤทธิ์ต่าง ๆ หลายอย่าง ยังพันโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้ง
ด้วยเสียง ได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบ
(ความเพียร) ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 735
มัจจุ ดุจช่างกำจัดเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ผู้ใดจักไม่
ประมาทในธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสารคือชาติ
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ก็พระเถระทำอย่างไร จึงยังพันโลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียง. พระเถระเข้า
นีลกสิณก่อน ครั้นออกแล้วแผ่ความมืดไปในที่ทั้งปวงในพันจักรวาลด้วยอภิญ-
ญาญาณ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดความคำนึงว่า อะไรนี่มืดแล้ว พระเถระจึงเข้าอา
โลกกสิณครั้นออกแล้วก็ทำแสงสว่างให้ปรากฏ เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเพ่งดูว่า
อะไรนี่สว่างแล้ว พระเถระจึงแสดงตนให้ปรากฏ. เทวดาและมนุษย์ในพันจักร-
วาลต่างประคองอัญชลียืนนมัสการพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ขอมหาชนจงฟัง
เสียงของเราผู้แสดงธรรม แล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้. เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
ได้ยินเสียงของพระเถระดุจนั่งแสดงธรรม ในท่ามกลางบริษัทที่ประชุมกันอยู่
แม้ใจความก็ได้ปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า พระเถระ
ให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียง หมายถึงให้รู้แจ่มแจ้งใจความนั้น. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า
โส ทสฺสมาเนนปิ พระเถระแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ดังนี้อีก
หมายถึงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ หลายอย่างนี้ พระเถระนั้นทำ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม เทเสสิ พระเถระแสดงธรรม คือ
แสดงฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ มีประการดังกล่าวแล้วก่อนจึงแสดงธรรม. แต่นั้น
พึงทราบว่าพระเถระกล่าว ๒ คาถา โดยลำดับตามที่กล่าวแล้ว จึงให้รู้แจ่มแจ้ง
ด้วยเสียง. อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า ทิสฺสมาเนนปิ กาเยน ด้วยกายที่ปรากฏ
บ้าง เป็นตติยาวิภัตติลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูตะ (มี ด้วย ทั้ง) คือมีกาย
เป็นอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 736
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงเรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงถึง
วิธีทำฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ ของผู้มีฤทธิ์แม้อื่น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โส
ปกติวณฺณ วิชหิตฺวา ผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ ภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีจิตอ่อนสมควรแก่
การงานที่ทำ ตามวิธีดังกล่าวแล้วในหนหลัง. หากภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำ
ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นละเพศปกติ คือสัณฐานปกติของตน
แล้วแสดงเพศเป็นกุมารบ้าง. อย่างไร คือออกจากจตุตถฌานมีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ มีอภิญญาเป็นบาท แล้วนึกถึงเพศกุมารที่ควรนิรมิตว่า เราจงเป็น
กุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อทำบริกรรมเสร็จจึงเข้าสมาบัติอีก ครั้นออก
แล้ว อธิษฐานด้วยอภิญญาญาณว่า เราจงเป็นกุมารมีรูปอย่างนี้ ดังนี้. ภิกษุ
ผู้มีฤทธิ์นั้นก็จะเป็นกุมารพร้อมกับอธิษฐาน.
ท่านกล่าวไว้ในปฐวีกสิณในวิสุทธิมรรคว่า สมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ มีฌานเป็นบาท ย่อมสมควรในที่นี้ด้วยคำว่า ฤทธิ์ที่แผลงต่าง ๆ มี
อาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ด้วยอำนาจปฐวีกสิณ ฯลฯ
ย่อมสำเร็จดังนี้. อนึ่ง ในอภิญญานิเทศในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ ท่าน
กล่าวว่า ออกจากปฐวีกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ จากฌานมี
อภิญญาเป็นบาท ดังนี้ ด้วยฤทธิ์ที่แผลงได้ต่าง ๆ. อนึ่ง ในนิเทศนั้นนั่นแหละ
ท่านกล่าวว่า ควรคิดถึงเพศกุมารของตน. คำกล่าวนั้นดูเหมือนจะไม่สมควร
ในการนิรมิตมีนาคเป็นต้น. แม้ในการนิรมิตมีเพศนาคเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาควณฺณ เพศนาค คือมีสัณฐานคล้ายงู.
บทว่า สุปณฺณวณฺณ เพศครุฑ คือมีสัณฐานคล้ายครุฑ. บทว่า อินฺทวณฺณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 737
เพศพระอินทร์ คือ มีสัณฐานคล้ายท้าวสักกะ. บทว่า เทววณฺณ เพศเทวดา
คือ มีสัณฐานคล้ายเทวดาที่เหลือ. บทว่า สมุทฺทวณฺณ เพศสมุทร ย่อม
สำเร็จด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ. บทว่า ปตฺตึ พลราบ คือ พลเดินเท้า. บทว่า
วิวิธมฺปิ เสนาพฺยูห กองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ คือ หมู่ทหารหลายเหล่า
มีพลช้างเป็นต้น. แต่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวบทมีอาทิว่า แสดงแม้ช้างด้วย
เพื่อให้เห็นช้างเป็นต้น แม้ในภายนอก. ในวิสุทธิมรรคนั้นไม่พึงอธิษฐาน
ว่า เราจงเป็นช้าง พึงอธิษฐานว่า ช้างจงมี. แม้ในม้าเป็นต้นท่านก็กล่าวว่า
มีนัยนี้เหมือนกัน คำนั้นผิดด้วยบทเดิมกล่าวว่า ละเพศปกติ และด้วยความ
ที่ฤทธิ์แผลงได้ต่าง ๆ เพราะว่าการไม่ละเพศปกติตามลำดับ ดังกล่าวในบาลี
แล้ว แสดงเพศอื่นด้วยอำนาจอธิษฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์ที่อธิษฐาน. การละ
เพศปกติแล้วแสดงตนเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจอธิษฐาน ชื่อว่า ฤทธิ์แผลง
ได้ต่าง ๆ.
พึงทราบวินิจฉัยในมโนมยิทธินิเทศดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า
อิมมฺหา กายา อญฺ กาย อภินิมฺมินาติ ภิกษุนิรมิตกายอื่นจากกายนี้
ความว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำมโนมยิทธิฤทธิ์ทางใจ ครั้นออกจากสมาบัติ
มีอากาศกสิณเป็นอารมณ์ มีฌานเป็นบาทแล้วนึกถึงรูปกายของตนก่อนแล้ว
อธิษฐานว่าโพรงจงมี โพรงย่อมมี ต่อจากนั้นนึกถึงกายอื่นด้วยอำนาจปฐวี-
กสิณในภายในของโพรงนั้นแล้วทำบริกรรมอธิษฐาน โดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแหละ กายอื่นย่อมมีภายในโพรงนั้น ภิกษุนั้นบ้วนกายนั้นออกจากปาก
แล้วตั้งไว้ภายนอก. บัดนี้พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะประกาศความนั้นด้วยอุปมา
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า มุญฺชมฺหา
คือ จากหญ้าปล้อง. บทว่า อีสิก ปวาเหยฺย พึงชักไส้ คือ ขุดหน่อ. บทว่า
โกสิยา คือจากฝัก. บทว่า กรณฺฑา จากกระทอ คือ จากคราบหนังเก่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 738
อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธเรยฺย พึงยกออก พึงทราบการยก
ออกแห่งกระทอนั้นด้วยจิตเท่านั้น เพราะธรรมดางูนี้ตั้งอยู่ในชาติของตน
อาศัยระหว่างท่อนไม้บ้าง ระหว่างต้นไม้บ้าง ด้วยกำลัง คือ การลอกคราบ
ออกจากตัว รังเกียจหนังเก่า ดุจเคี้ยวกินตัวย่อมละคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ
๔ ประการเหล่านี้. อนึ่ง ในเรื่องนี้ท่านกล่าวอุปมาเหล่านั้นไว้ เพื่อให้เห็นว่า
รูปสำเร็จแต่ฤทธิ์นี้ ของผู้มีฤทธิ์ย่อมเป็นเช่นกันด้วยอาการทั้งปวง เหมือนไส้
เป็นต้น ย่อมเป็นเช่นกันออกจากหญ้าปล้องฉะนั้น กายที่ทำด้วยใจ คือ
อภิญญาในบทนี้ว่า ผู้มีฤทธิ์เข้าไปด้วยฤทธิ์ ด้วยกายสำเร็จแต่ใจ ชื่อว่า
มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ กายที่เกิดขึ้นด้วยใจ คือ ฌานในบทนี้ว่า
ผู้มีฤทธิ์เข้าถึงกายสำเร็จ แต่ใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มโนมยกาโย กาย
สำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ แต่ในที่นี้ กายเกิดขึ้นแล้วด้วยใจ คือ อภิญญา
ชื่อว่า มโนมยกาโย กายสำเร็จแต่ใจ เพราะใจนั้นทำ. เมื่อเป็นเช่นนั้น
หากถามว่า ชื่อว่า กายสำเร็จแต่ใจอันฤทธิ์ที่อธิษฐานและอันฤทธิ์ที่แผลงได้
ต่าง ๆ ทำ ย่อมมีได้หรือ. ตอบว่า ย่อมมีได้ทีเดียว แต่ในที่นี้ การนิรมิต
จากภายในเท่านั้น ชื่อว่า มโนมยิทธิ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า เป็นฤทธิ์ที่
อธิษฐานและเป็นฤทธิ์ที่แปลงได้ต่าง ๆ เพราะทำให้พิเศษเป็นต่างหากของฤทธิ์
เหล่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในญาณวิปผารนิเทศดังต่อไปนี้. ชื่อว่า าณวิปฺ-
ผารา ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เพราะมีกำลังแผ่ไปแห่งญาณ. อนึ่ง ในบทนี้
พึงทราบว่าท่านแสดงฤทธิ์ด้วยอนุปัสสนา ๗ แล้วย่อฤทธิ์ที่เหลือตลอดถึง
อรหัตมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 739
ในบทมีอาทิว่า ท่านพากุละมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ มีความว่าท่าน
พากุลเถระได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้เจริญในตระกูลทั้งสอง ละสมบุญบารมี
มาในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เป็นพระเถระที่ถึงพร้อมด้วยบุญสัมปทา. จริงอยู่
พระเถระนั้นเสวยมหาสมบัติ ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก บังเกิด
ในศาสนาของพระทศพลของเรา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงโกสัมพีก่อน.
ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิด พี่เลี้ยงพร้อมด้วยบริวารนำไปยังแม่น้ำยมุนาพร้อม
กับบริวารใหญ่ เพื่อสิริมงคล เล่นน้ำดำผุดดำว่ายอยู่. ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง
สำคัญว่า ทารกนี้เป็นอาหารของเรา จึงอ้าปากว่ายเข้าไปหา. พี่เลี้ยงทิ้งทารก
หนีไป. ปลาใหญ่กลืนกินทารกนั้น. สัตว์ผู้มีบุญไม่ได้รับทุกข์แต่อย่างไร
คล้ายเข้าไปยังห้องนอนฉะนั้น ด้วยเดชของทารก ปลาร้อนผ่าว ดุจกลืนกระ-
เบื้องร้อนว่ายไปด้วยความเร็วสิ้นทาง ๒๐ โยชน์เข้าไปยังตาข่ายของชาวประมง
ชาวกรุงพาราณสี. ปลานั้นพอชาวประมงเอาออกจากตาข่ายเท่านั้นก็ตายด้วยเดช
ของทารกนั้น. ชาวประมงเอาปลานั้นใส่ตะกร้า คิดว่าจะขายในราคาพันหนึ่ง
เที่ยวไปในนคร ไปถึงประตูเรือนของเศรษฐี ไม่มีบุตร มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ
ได้ขายปลาให้ภรรยาเศรษฐี ๑ กหาปณะ. นางเอาปลาวางไว้บนแผ่นกระดาน
ด้วยตนเองแล้วผ่าข้างหลัง ครั้นเห็นทารกมีสีดุจทองคำในท้องปลาจึงตะโกนว่า
เราได้บุตรในท้องปลาแล้วนำทารกเข้าไปหาสามี. ทันใดนั้นเองเศรษฐีให้ตีกลอง
ประกาศแล้วนำทารกมาเฝ้าพระราชากราบทูลเพื่อความให้ทรงทราบ. พระราชา
ตรัสว่า ทารกมีบุญ ท่านจงเลี้ยงทารกให้ดี. ตระกูลเศรษฐีที่เป็นมารดาบิดา
ครั้นทราบเรื่องราวนั้นจึงไป ณ ที่นั้น พูดว่า บุตรของเรา จึงโต้เถียงกันเพื่อ
จะเอาทารกไป. ทั้งสองก็ได้ไปเฝ้าพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 740
พระราชาตรัสว่า เราไม่อาจทำให้ตระกูลทั้งสองไม่ให้มีบุตรได้ ทารก
นี้จงเป็นทายาทของตระกูลทั้งสองเถิด. ตั้งแต่นั้นมาตระกูลทั้งสองก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยลาภมากมาย. เพราะทารกนั้นเป็นผู้เจริญด้วยสองตระกูลจึงตั้งชื่อว่า พากุล-
กุมาร. เมื่อพากุลกุมารนั้นรู้เดียงสาแล้ว มารดาบิดาจึงสร้างปราสาทแห่งละ
๓ หลังในนครทั้งสอง หาคนฟ้อนรำมาแสดงเป็นประจำ. พากุลกุมารอยู่ใน
นครหนึ่ง ๆ นครละ ๔ เดือน. เมื่อพากุลกุมารอยู่ในนครหนึ่งครบ ๔ เดือน
มารดาบิดาจึงสร้างมณฑปไว้ที่เรือขนานแล้วให้พากุลกุมารพร้อมด้วยนักฟ้อนรำ
ในรูปอยู่บนเรือขนานนั้น แล้วนำพากุลกุมารซึ่งเสวยมหาสมบัติไปอีกพวกหนึ่ง
สองเดือนได้ครึ่งทาง. แม้นักฟ้อนชาวนครอีกนครหนึ่ง ก็เตรียมต้อนรับเหมือน
กัน ด้วยคิดว่า อีกสองเดือนพากุลกุมารจักมาถึงครึ่งทาง แล้วนำมานคร
ของตนอยู่ได้สองเดือน. พากุลกุมารอยู่ในนครนั้น ๔ เดือน แล้วกลับไปอีก
นครหนึ่งโดยทำนองนั้น. เมื่อพากุลกุมารเสวยสมบัติอยู่อย่างนี้ อายุครบ ๘๐ ปี.
ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรง
ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกไปตามลำดับบรรลุถึงกรุงโกสัมพี.
พระมัชฌิมภาณกาจารย์ กล่าวว่า กรุงพาราณสี. แม้พากุลเศรษฐีก็ได้ยินว่า
พระทศพลเสด็จมา จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้วก็บวช. พระพากุละเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วันเท่านั้น
ในอรุณที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
ลำดับนั้น มาตุคามที่อยู่ในนครทั้งสอง มายังเรือนตระกูลของตน ๆ อยู่
ณ ที่นั้นทำจีวรส่งไปถวาย. พระเถระใช้จีวรที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวายทุก
กึ่งเดือน. ชาวกรุงโกสัมพีก็ส่งไปถวายทุกกึ่งเดือน โดยทำนองนี้ ได้นำสิ่งที่
อุดมในนครทั้งสองมาถวายพระเถระด้วยประการดังนี้. พระเถระบวชได้ ๘๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 741
พรรษาอย่างมีความสุข. อาพาธแม้มีประมาณน้อยเพียงครู่เดียวก็ไม่เคยมีแก่
พระเถระนั้น ในทั้งสองตระกูล พระเถระกล่าวพากุลสูตรในครั้งสุดท้ายแล้วก็
ปรินิพพาน ด้วยประการฉะนี้. ความไม่มีโรคในท้องปลา ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยญาณ เพราะท่านพระพากุละมีภพครั้งสุดท้ายเกิดด้วยอานุภาพแห่งอรหัต-
ญาณที่ควรได้ด้วยอัตภาพนั้น. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ด้วยอานุภาพแห่ง
ปฏิสัมภิทาญาณที่บรรลุด้วยผลกรรมอันสุจริต.
แม้พระสังกิจจเถระก็เคยทำบุญไว้ก่อนบังเกิดในครรภ์ของธิดาตระกูล
มั่งคั่งในกรุงสาวัตถีผู้เป็นอุปัฏฐากของพระธรรมเสนาบดีเถระ. ธิดานั้นเมื่อทารก
อยู่ในครรภ์ ได้ถึงแก่กรรมในขณะนั่นเอง ด้วยโรคอย่างหนึ่ง. เมื่อร่างของ
ธิดานั้นถูกเผา เนื้อที่เหลือไหม้เว้นเนื้อที่ครรภ์. ลำดับนั้น เนื้อที่ครรภ์ของนาง
หล่นลงจากเชิงตะกอน สัปเหร่อเอาหลาวแทงในที่ ๒-๓ แห่ง. ปลายหลาว
ถูกหางตาของทารก. สัปเหร่อทั้งหลายแทงเนื้อที่ครรภ์แล้วเอาใส่ไว้ในกองเถ้า
เอาเถ้ากลบแล้วกลับไป. เนื้อที่ครรภ์ไหม้. แต่บนยอดเถ้า ทารกคล้ายรูปทองคำ
ดุจนอนบนกลีบปทุม. จริงอยู่ เมื่อสัตว์ผู้มีภพครั้งสุดท้ายแม้ถูกภูเขาสิเนรุ
ทับ ก็ยังไม่สิ้นชีวิต เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต. วันรุ่งขึ้นสัปเหร่อคิดว่า
จักดับเชิงตะกอนจึงพากันมา เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์ไม่เคยมี
จึงพาทารกไปนครถามนักพยากรณ์. นักพยากรณ์กล่าวว่า หากทารกนี้จักอยู่
ครองเรือน พวกญาติจักลำบากตลอด ๗ ชั่วตระกูล หากบวช จักมีสมณะ
๕๐๐ แวดล้อมเที่ยวไป. ตาได้เลี้ยงทารกนั้นจนเจริญ เมื่อทารกเจริญแม้พวก
ญาติก็พากันเลี้ยงดู ด้วยหวังว่าจักให้บวชในสำนักของพระคุณเจ้าของเรา.
เมื่อทารกมีอายุได้ ๗ ขวบ เขาได้ยินพวกเด็ก ๆ พูดกันว่า มารดาของท่าน
ถึงแก่กรรมเมื่อท่านยังอยู่ในครรภ์ เมื่อร่างของมารดาถูกเผา ท่านก็ไฟไหม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 742
จึงบอกแก่พวกญาติว่า นัยว่าฉันพ้นจากภัยเห็นปานนี้ ฉันจะไม่อยู่เป็น
ฆราวาสละ ฉันจักบวช. พวกญาติกล่าวว่า ดีแล้วพ่อคุณ จึงพาไปหาพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรได้มอบให้ว่า ขอพระคุณเจ้าให้กุมารนี้บวชเถิด. พระเถระ
ให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้ทารกบวช. ทารกนั้นเมื่อจดปลายมีดโกนเท่านั้น
ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ครั้นอายุครบก็ได้อุปสมบทบวชได้
๑๐ พรรษา มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวารเที่ยวไป. ความเป็นผู้ไม่มีโรคบนเชิง-
ตะกอนก่อด้วยฟืน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ฤทธิ์แผ่ไปด้วยญาณ
ของท่านสังกิจจะ.
แม้พระภูตปาลเถระก็เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุมาก่อน. บิดาของท่าน
เป็นคนยากจนอยู่ในกรุงราชคฤห์. บิดาพาทารกนั้นไปคงกับเกวียนเพื่อหาฟืน
บรรทุกฟืนเสร็จแล้ว เดินทางไปถึงใกล้ประตูเมืองในเวลาเย็น. ลำดับนั้น โค
ทั้งหลายของเขาสลัดแอกออกแล้วเข้าเมือง. เขาให้บุตรน้อยนั่งใต้เกวียน แล้ว
เดินตามรอยเท้าโคเข้าเมืองเหมือนกัน. เมื่อเขายังไม่ออกประตูเมืองปิดเสียแล้ว.
ทารกนอนหลับอยู่ภายใต้เกวียนตลอดคืน. ตามปกติกรุงราชคฤห์มีอมนุษย์
มาก ก็ที่นี้เป็นที่ใกล้ป่าช้า และไม่มียักษ์ไร ๆ สามารถจะทำอันตรายแก่ทารก
ผู้มีภพครั้งสุดท้ายนั้นได้. ครั้นต่อมาทารกนั้นบวชได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่า
ภูตปาลเถระ. ความเป็นผู้ไม่มีโรคโดยนัยดังกล่าวแล้วในท้องที่ แม้มียักษ์ร้าย
เที่ยวไปอย่างนี้ ชื่อว่า ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณของท่านพระภูตปาละ.
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิวิปผาริทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า
อายสฺมโต สารีปุตฺตเถรสฺส สมาธิวิปฺผารา อิทฺธิ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วย
สมาธิของท่านพระสารีบุตร มีความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรอยู่ที่กโปตกันทรา
กับพระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อคืนเดือนหงาย ยังมิได้ปลงผม นั่งอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 743
ที่แจ้ง ยักษ์ร้ายตนหนึ่งแม้ถูกยักษ์ผู้เป็นสหายห้ามก็ได้ประหารบนศีรษะของ
พระเถระ เสียงสนั่นหวั่นไหวดุจเสียงเมฆ. ในขณะที่ยักษ์ประหาร พระเถระ
นั่งเข้าสมาบัติ จึงไม่มีการเจ็บปวดไร ๆ ด้วยการประหารนั้น. นี้เป็นฤทธิ์ที่
แผ่ไปด้วยสมาธิของท่านพระสารีบุตรเถระนั้น. สมดังที่พระสารีบุตรเถระกล่าว
ไว้ว่า
ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ
พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร
และท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กโปตกันทรา. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร
ตอนกลางคืนเดือนหงายยังมิได้ปลงผม นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ
โอกาสแจ้ง.
สมัยนั้นแล ยักษ์สหายสองตนออกจากทิศอุดรไปทิศทักษิณด้วยกรณียะ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ยักษ์ทั้งสองได้เห็นท่านพระสารีบุตร ฯลฯ นั่งอยู่ ณ
ที่แจ้ง ครั้นเห็นแล้วยักษ์ตนหนึ่งได้พูดกะยักษ์ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย
ย่อมสว่างไสวกะเรา เพื่อจะประหารศีรษะของสมณะนี้. เมื่อยักษ์กล่าวอย่างนี้
แล้ว ยักษ์สหายได้พูดกะยักษ์นั้นว่า อย่าเลยสหาย อย่าดูหมิ่นสมณะนั้นเลย
สมณะนั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่
สาม ฯลฯ ดูก่อนสหาย สมณะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.
ครั้งนั้นแล ยักษ์นั้นมิได้เชื่อฟังยักษ์สหายนั้นได้ประหารศีรษะของท่าน
พระสารีบุตรได้มีการประหารยิ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ด้วยการประหารนั้น ยังช้าง
ขนาด ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง ให้จมได้โดยแท้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่
ได้ แต่ทว่ายักษ์นั้นร้องว่า เราร้อน เราร้อน แล้วตกลงในมหานรก ณ ที่นั้นนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 744
ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระเห็นยักษ์นั้นประหารศีรษะของท่านพระ-
สารีบุตรด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเกินของมนุษย์ จึงเข้าไปหาพระสารีบุตร
ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนพระสารีบุตรผู้มีอายุพอทนได้หรือ ยัง
เยียวยาได้หรือ ไม่มีทุกข์ไรบ้างหรือ พระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนท่านโมคคัล-
ลานะพอทนได้ พอเยียวยาได้ อนึ่ง ศีรษะของผมเป็นทุกข์นิดหน่อย.
พระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี
มาเลย ข้อที่ท่านสารีบุตรมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ดูก่อนท่านสารีบุตร ยักษ์ตน
ใดตนหนึ่งได้ประหารศีรษะของท่าน ได้เป็นการประหารยิ่งใหญ่ถึงเพียงดัง ฯลฯ
อนึ่ง ศีรษะของผมเป็นทุกข์นิดหน่อย.
พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่
เคยมีมาเลย ข้อที่ท่านมหาโมคคัลลานะมีอานุภาพมาก ย่อมเห็นแม้ยักษ์ในที่ใด
บัดนี้พวกเราจะไม่เห็นแม้ปิศาจเล่นฝุ่นในที่นั้นได้อีกเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับการสนทนาเห็นปานนั้นของพระมหา-
นาคทั้งสองเหล่านั้น ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงเกินของมนุษย์ จึงทรง
เปล่งอุทานว่า
จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหินตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่
โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเคือง จิต
ของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นได้แต่ไหน.
อนึ่ง คำในอรรถกถาว่า ด้วยการประหารนั้นไม่มีความเจ็บป่วยใด ๆ
เลย เหมาะสมอย่างยิ่งกับพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ทุกข์จักถึงผู้นั้น
ได้แต่ที่ไหน เพราะฉะนั้นทุกขเวทนาย่อมไม่มีด้วยคำที่พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 745
อนึ่ง ศีรษะของเราเป็นทุกข์นิดหน่อย แต่ท่านกล่าวว่าทุกข์หมายถึงความที่ศีรษะ
นั้นไม่ควรแก่การงาน จริงอยู่แม้ในโลกท่านกล่าวว่าปกติของความสุขสามารถ
จะบริหารได้โดยไม่ยาก ปกติของความทุกข์สามารถจะบริหารได้โดยยาก ความ
ที่ศรีษะไม่ควรแก่การงานนั้นพึงทราบว่าได้มีเพราะเป็นสมัยที่ออกจากสมาบัติ
เสียแล้ว ในสมัยที่เอิบอิ่มด้วยสมาบัติจะพึงมีไม่ได้เลย ท่านกล่าวว่า บัดนี้เรา
ย่อมไม่เห็นแม้ปีศาจเล่นฝุ่นเลย เพราะไม่สามารถจะเห็นได้ ท่านกล่าวเพราะ
ไม่มีความขวนขวายในอภิญญาทั้งหลาย นัยว่าพระเถระอนุเคราะห์หมู่ชนใน
ภายหลัง อย่าได้สำคัญฤทธิ์อันเป็นของปุถุชนว่ามีสาระเลยโดยมากไม่ให้ฤทธิ์
อนึ่ง ในเถรคาถาท่านกล่าวไว้ว่า
ความปรารถนาของเรามิได้มีเพื่อปุพเพนิวาสญาณ
มิได้มีเพื่อทิพยจักษุ มิได้มีเพื่อฤทธิ์ อันเป็นเจโตปริย-
ญาณ เพื่อจุติเพื่ออุปบัติเพื่อความบริสุทธิ์แห่งโสตธาตุ
เลย.
พระเถระกล่าวถึงความไม่มีความปรารถนาในอภิญญาทั้งหลายด้วยตน
เอง แต่พระเถระบรรลุบารมีในสาวกปารมิญาณ.
คนเลี้ยงโคเป็นต้นเข้าใจว่า พระสัญชีวเถระผู้เข้านิโรธเป็นอัครสาวก
ที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะมรณภาพเสียแล้ว จึงลากเอา
หญ้าและฟืนเป็นต้นก่อไฟเผา แม้เพียงอังสะที่จีวรของพระเถระก็ไม่ไหม้ นี้
เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนมารผู้ลามก ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ดูก่อนมารผู้ลามก พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีสาวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 746
คู่หนึ่งชื่อว่าวิธุระและสัญชีวะเป็นคู่เจริญเลิศ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีสาวกใด ๆ
จะเสมอเหมือนด้วยท่านวิธุระ ในการแสดงธรรม ด้วยปริยายนี้ท่านวิธุระ
จึงมีชื่อว่า วิธุโร ส่วนท่านสัญชีวะไปสู่ป่าบ้าง ไปสู่โคนต้นไม้บ้าง ไปสู่เรือน
ว่างบ้าง ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธโดยไม่ยากเลย.
ดูก่อนมารผู้ลามก เรื่องเคยมีมาแล้ว ท่านสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิ-
ตนิโรธ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง พวกคนเลี้ยงโค เลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นักท่องเที่ยว
ได้เห็นท่านสัญชีวะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเห็นแล้วก็
คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ พ่อคุณเอ๋ย ไม่เคยมีมาแล้ว สมณะนี้นั่งมรณภาพ
พวกเราช่วยกันเผาเถิด.
ลำดับนั้น คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นักท่องเที่ยวจึงลาก
หญ้าฟืนโคมัย แล้วสุมบนกายของท่านสัญชีวะจุดไฟกลับไป ลำดับนั้น ท่าน
พระสัญชีวะโดยราตรีนั้นล่วงไปออกจากสมาบัติสลัดจีวร นุ่งในตอนเช้าถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวนา นัก
ท่องเที่ยงเห็นท่านสัญชีวะออกบิณฑบาต จึงคิดว่า น่าอัศจรรย์จริงพ่อคุณเอ๋ย
ไม่เคยมีมาแล้ว พระสมณะนี้นั่งมรณภาพ ท่านฟื้นขึ้นมาแล้ว โดยปริยายนี้แล
ท่านสัญชีวะจึงมีชื่อว่า สญฺชีโว ด้วยประการฉะนี้แล.
ส่วนพระขาณุโกณฑัญญเถระตามปกติเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ พระ-
เถระนั้น นั่งเข้าสมาบัติตลอดคืนในป่าแห่งหนึ่ง โจร ๕๐๐ ลักข้าวของเดินไป
ประสงค์จะพักผ่อนด้วยคิดว่า บัดนี้ไม่มีคนเดินตามรอยเท้าพวกเรา จึงวางข้าว
ของลงสำคัญว่าตอไม้ วางข้าวของทั้งหมดไว้บนร่างของพระเถระนั่นเอง เมื่อ
พวกโจรพักผ่อนแล้วเตรียมจะเดินต่อไป ในขณะที่จะถือข้าวลงที่วางไว้คราว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 747
แรก พระเถระลุกขึ้นตามเวลาที่กำหนดไว้ พวกโจรเห็นอาการที่พระเถระเคลื่อน
ไหวได้ต่างกลัวร้องเอ็ดตะโร พระเถระกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลายอย่ากลัวไป
เลย เราเป็นภิกษุ พวกโจรจึงพากันมาไหว้ด้วยความเลื่อมใสในพระเถระจึง
บวชแล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จำเดิมแต่นั้นมาพระเถระจึงได้
ชื่อว่า ขาณุกณฺฑญฺเถโร ความที่ท่านพระขาณุโกณฑัญญเถระนั้นถูกโจร
เอาข้าวของ ๕๐๐ ชิ้นวางทับไม่มีเจ็บปวด นี้เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ.
ส่วนนางอุตตราอุบาสิกาธิดาของปุณณเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในกรุง-
ราชคฤห์ ในเวลาเป็นกุมาริกานั่นเองได้บรรลุโสดาปัตติผลพร้อมกับมารดาบิดา
นางเจริญวัยแล้วมารดาบิดาได้ยกนางให้แก่บุตรของราชคหเศรษฐีผู้เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิด้วยความเกี่ยวดองกันมาก นางอุตตราอุบาสิกาไม่ได้โอกาสเพื่อจะเห็นพระ
พุทธเจ้า เพื่อจะฟังธรรมและเพื่อให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
เป็นผู้กระวนกระวายจึงเรียกหญิงแพศยาชื่อว่าสิริมา ในนครนั้นเองแล้วให้กหา-
ปณะ ๑๕,๐๐๐ ที่นางนำมาจากเรือนของบิดา เพื่อทำบุญตามโอกาสแก่นาง-
สิริมานั้นแล้วบอกว่า เจ้าจงถือเอากหาปณะเหล่านั้นแล้วบำเรอเศรษฐีบุตรตลอด
กึ่งเดือนนี้ให้นางสิริมาอิ่มเอิบกับสามีตนเอง อธิษฐานองค์อุโบสถ ดีใจว่าเราจัก
ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นต้นตลอดกึ่งเดือนนี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุขตลอดปวารณาได้ถวายมหาทานตลอดกึ่งเดือน ภายหลังอาหารให้
จัดแจงของเคี้ยวของบริโภคในโรงครัวใหญ่ ส่วนสามีของนางคิดว่าพรุ่งนี้จะ
เป็นวันปวารณาจึงยืนที่หน้าต่างกับนางสิริมาแลออกไปภายนอก เห็นนางอุตตรา
เดินอยู่อย่างนั้น เหงื่อโทรมเต็มไปด้วยขี้เถ้าเปรอะไปด้วยเขม่าจึงหัวเราะว่า
หญิงโง่ไม่บริโภคสมบัติของตนทำแต่กุศล แม้นางอุตตราก็แลดูสามีหัวเราะว่า
คนโง่ไม่ทำกุศลเพื่อภพหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 748
นางสิริมาเห็นกิริยาของคนทั้งสองสำคัญว่า เราเป็นเจ้าของเรือนจึงเกิด
ริษยาโกรธนางอุตตราคิดว่า เราจักทำให้นางอุตตราลำบาก จึงลงจากปราสาท
นางอุตตรารู้เหตุนั้นจึงนั่งบนตั่งแผ่จิตเมตตาไปยังนางสิริมานั้น นางสิริมาลง
จากปราสาท เข้าโรงครัวเอาเนยใส่ที่เดือดเต็มกระบวยเพราะหุงเป็นขนมลาดลง
บนศีรษะของนางอุตตรา เนยใสกลายไปดุจน้ำเย็นบนใบปทุม พวกทาสีพากัน
โบยนางสิริมาด้วยมือและเท้าให้ล้มลงบนแผ่นดิน นางอุตตราออกจากเมตตา
ฌานแล้วจึงห้ามพวกทาสี นางสิริมาขอโทษนางอุตตรา นางอุตตรากล่าวว่า
พรุ่งนี้เจ้าจงขอขมาต่อพระพักตร์ของพระศาสดา แล้วบอกการปรุงอาหาร
แก่นางสิริมาผู้วิงวอนขอรับใช้ทางกาย นางสิริมาปรุงอาหารแล้ว มีหญิง
แพศยา ๕๐๐ บริวารของตนอังคาสพระศาสดากับพระสงฆ์แล้วกล่าวว่า พวก
เจ้าจงเป็นเพื่อนในการให้นางอุตตรายกโทษเถิด วันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยหญิง
แพศยาเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วจึงถวายบังคม
พระศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันได้ผิดต่อนางอุตตราขอให้
นางอุตตรายกโทษให้แก่หม่อมฉันเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุตตรา เจ้าจง
ยกโทษเถิด เมื่อนางทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันยกโทษให้แล้ว ทรง
แสดงธรรมมีอาทิว่า อกฺโกเธน ชิเน โกธ พึงชนะความโกรธด้วยความ
ไม่โกรธ นางอุตตรานำสามีพ่อผัวแม่ผัวเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เฉพาะพระพักตร์
เมื่อจบเทศนา ชนทั้ง ๓ เหล่านั้น และหญิงแพศยาทั้งหมดตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
ความไม่มีเจ็บปวดด้วยเนยใสที่เดือดของนางอุตตราอุบาสิกาเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ.
อุบาสิกาสามาวดีอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี. พระเจ้า
อุเทนนั้นได้มีอัครมเหสี ๓ องค์ มีหญิงบริวารองค์ละ ๕๐๐. บรรดามเหสี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 749
เหล่านั้น นางสามาวดีเป็นธิดาของภัททิยเศรษฐีในภัททิยนคร เมื่อบิดาถึง
แก่กรรม มีหญิง ๕๐๐ เป็นบริวารเติบโตในเรือนของโฆสิตเศรษฐี ในกรุง-
โกสัมพีผู้เป็นสหายของบิดา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นนางเจริญวัยแล้ว
ทรงเกิดความสิเนหา จึงนำนางพร้อมด้วยบริวารไปยังพระราชมณเฑียรได้
ทรงประกอบการอภิเษกสมรส. มเหสีอีกองค์หนึ่ง ชื่อว่า วาสุลทัตตา พระธิดา
ของพระเจ้าจัณฑปโชต. ธิดาของมาคัณทิยพราหมณ์ ซึ่งบิดายกให้เป็น
บาทบริจาริกา ได้ฟังคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
แม้ความพอใจในเพราะเมถุนมิได้มี เพราะเห็น
นางตัณหา นางอรดีและนางราคา ความพอใจอะไร
จักมี เพราะเห็นสรีระธิดาของท่าน ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร
และกรีส เราไม่ปรารถนาถูกต้อง สรีระธิดาของท่าน
นั้น แม้ด้วยเท้า
ได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า มารดาบิดาของนางได้บรรลุอนาคามิผล
ในเมื่อจบมากคัณฑิยสุตตเทศนา จึงบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. มาคัณทิยพราหมณ์
อาของนางนำไปกรุงโกสัมพี ถวายนางแด่พระราชา นางจึงได้เป็นมเหสี
องค์หนึ่งของพระราชา.
ครั้งนั้นแล เศรษฐี ๓ คน คือ โฆสิตเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริก-
เศรษฐีได้สดับว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นในโลก จึงไปเฝ้าพระศาสดายัง
พระมหาวิหารเชตวัน ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผล ถวายมหาทานแก่
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอดกึ่งเดือน ทูลอาราธนาพระศาสดา
เสด็จไปกรุงโกสัมพี ชนทั้ง ๓ สร้างอาราม ๓ แห่ง คือ โฆสิตาราม กุกกุฏาราม
ปาวาริการาม ยังพระศาสดาผู้เสด็จมาในที่นั้นให้ประทับอยู่ในวิหารละหนึ่งวัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 750
ตามลำดับ เศรษฐีคนหนึ่ง ๆ ได้ถวายมหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อม
ด้วยพระสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง นายมาลาการชื่อว่า สุมนะ อุปัฏฐากของเศรษฐี
เหล่านั้น ได้ขอร้องต่อเศรษฐี ขอให้พระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้นั่งใน
เรือนของตนเพื่อฉันภัตตาหาร. ขณะนั้น นางขุชชุตตรา ทาสีรับใช้ของ
พระนางสามาวดีรับเอา ๘ กหาปณะ ได้ไปยังเรือนของนายมาลาการนั้น. นาย
มาลาการพูดว่า ท่านจงเป็นเพื่อนในการอังคาสพระศาสดาเถิด. นางขุชชุตตรา
ได้ทำอย่างนั้น เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาเป็นโสดาบัน
ในกาลอื่นถือเอา ๔ กหาปณะเพื่อตน เพราะไม่ควรถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้ จึงซื้อ
ดอกไม้ ๘ กหาปณะ นำเข้าไปให้แก่พระนางสามาวดี. เมื่อพระนางสามาวดีตรัส
ถามถึงเหตุที่ดอกไม้มีมาก นางจึงทูลบอกตามความเป็นจริง เพราะไม่ควรพูดเท็จ.
พระนางสามาวดีตรัสถามว่า เพราะเหตุไร วันนี้เจ้าจึงไม่รับ. นางขุชชุตตราทูล
ตอบว่า ฉันฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรม
แล้ว. พระนางสามาวดีตรัสว่า แม่อุตตราจงบอกอมตธรรมนั้นแก่พวกเราบ้าง.
นางทูลว่า ถ้าเช่นนั้น พระองค์ขอให้ฉันอาบน้ำแล้ว ให้คู่ผ้าบริสุทธิ์ ให้นั่งบน
อาสนะสูง พวกท่านทั้งหมดจงนั่ง ณ อาสนะต่ำ.
หญิงทั้งหมดเหล่านั้นได้ทำอย่างนั้น นางขุชชุตตราเป็นอริยสาวิกา
บรรลุเสขปฏิสัมภิทาจึงนุ่งผ้าผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือพัดวิชนีแสดงธรรม
แก่หญิงเหล่านั้น. พระนางสามาวดีและหญิง ๕๐๐ ได้บรรลุโสดาปัตติผล
หญิงทั้งหมดเหล่านั้นไหว้นางขุชชุตตราแล้วกล่าวว่า ข้าแต่แม่ ตั้งแต่วันนี้ไป
ท่านไม่ต้องทำการรับใช้ ตั้งอยู่ในฐานะมารดา อาจารย์ของพวกเราฟังธรรม
ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว จงกล่าวแก่พวกเรา. นางขุชชุตตราทำตามนั้น
ต่อมาเป็นผู้ทรงไตรปิฎก พระศาสดาทรงตั้งในฐานะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 751
ทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต นางได้ตำแหน่งเป็นผู้เลิศ. หญิงที่อยู่กับพระนางสามาวดี
กระหยิ่มการเห็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระทศพลทรงดำเนินถึงระหว่างถนน เมื่อ
หน้าต่างไม่พอก็เจาะฝามองดูพระศาสดา กระทำการไหว้และบูชา.
นางมาคันทิยาไปในที่นั้นเห็นช่องเหล่านั้น แล้วจึงถามเหตุในที่นั้น
รู้ว่าพระศาสดาเสด็จมา ด้วยความอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงโกรธหญิง
เหล่านั้น ได้ทูลพระราชาว่า มหาราชเพคะ หญิงที่อยู่กับนางสามาวดี มีความ
ปรารถนาในภายนอก เจาะฝามองดูพระสมณโคดม ในไม่ช้าก็จะฆ่าพระองค์
พระราชาแม้เห็นช่องก็ไม่เชื่อคำเพ็ททูลของนางมาคัณทิยา รับสั่งให้ทำหน้าต่าง
มีช่องข้างบน. นางมาคัณทิยาประสงค์จะให้พระราชาทำลายหญิงเหล่านั้น จึงให้
นำไก่เป็นมา ๘ ตัว แล้วทูลว่า มหาราชเพคะ เพื่อทดลองหญิงเหล่านั้น ขอ
พระองค์ทรงส่งไก่เหล่านี้ไปด้วยรับสั่งว่า ท่านจงฆ่าไก่เหล่านี้แกงให้เรา. พระ-
ราชาทรงส่งไปตามนั้น เมื่อพระนางสามาวดีตรัสว่าพวกเราไม่ทำปาณาติบาต
นางมาคัณทิยาจึงพูดอีกว่า จงแกงส่งไปถวายพระสมณโคดมนั้น. เมื่อพระราชา
ทรงส่งไปอย่างนั้น นางมาคัณทิยาทูลตามนั้นแล้ว จึงส่งไก่ตายไป ๘ ตัว.
พระนางสามาวดีจึงแกงส่งไปถวายพระทศพล. แม้ด้วยเหตุนั้น นางมาคัณทิยาก็
ไม่อาจให้พระราชาทรงพิโรธได้.
พระราชาประทับอยู่ตำหนักละ ๗ วัน ในตำหนักที่มเหสีองค์หนึ่ง ๆ
ในมเหสี ๓ องค์ประทับอยู่. พระราชาทรงถือพิณเรียกช้าง เสด็จไปยังที่ที่
พระองค์เสด็จไป ในเวลาพระราชาเสด็จไปยังตำหนักของพระนางสามาวดี นาง
มาคัณทิยาให้นำลูกงูเห่าตัวหนึ่งมาเอายาล้างเขี้ยว แล้วให้ใส่ลงในข้อไม้ไผ่แล้ว
ใส่ในภายในพิณ เอากลุ่มดอกไม้ปิดช่องไว้. ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปในที่
นั้น นางมาคัณทิยาทำเป็นเดินไปเดินมาแล้ว เอากลุ่มดอกไม้นั้นออกจากช่อง
พิณ. งูเลื้อยออกมาพ่นพิษแผ่พังพานนอนบนตั่งบรรทม นางมาคัณทิยาร้อง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 752
เสียงดังว่า งู พระทูลกระหม่อม พระราชาทรงเห็นงูแล้วทรงพิโรธ. พระนาง
สามาวดีรู้ว่าพระราชาทรงพิโรธ จึงได้นัดหมายแก่หญิง ๕๐๐ ว่า วันนี้พวกเจ้าจง
แผ่เมตตาแก่พระราชา ด้วยโอทิสสกเมตตา (แผ่เจาะจง). แม้พระนางเองก็ได้ทรง
ทำอย่างนั้น พระราชาทรงจับสหัสสถามธนู (ธนูใช้กำลังคนหนึ่งพัน) ขึ้นสาย
หมายจะยิงพระนางสามาวดีก่อนแล้วให้ถึงหญิงเหล่านั้นทั้งหมดตามลำดับ ทรง
สอดลูกศรอาบด้วยยาพิษ ประทับยืนบรรจุลูกธนูแล้ว ไม่สามารถจะซัดลูกศรไป
ได้ ไม่สามารถยกลงได้ พระเสโทไหลจากพระวรกาย ทรงเจ็บปวดพระวรกาย
พระเขฬะไหลออกจากพระโอฐไม่เห็นสิ่งควรยึดถือได้ ลำดับนั้นพระนางสามาวดี
ทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเพคะ พระองค์ทรงลำบากหรือ พระราชา
ตรัสว่า ถูกแล้วพระเทวี เราลำบากมาก เจ้าจงเป็นที่พึ่งของเราเถิด. พระนาง
สามาวดีทูลว่า ข้าแต่มหาราช ดีแล้ว ขอพระองค์จงทำลูกศรให้มีหน้าตรง
แผ่นดินเถิด. พระราชาได้ทรงทำอย่างนั้น . พระนางสามาวดี ทรงอธิษฐานว่า
ขอลูกศรจงหลุดจากพระหัตถ์ของพระราชาเถิด. ในขณะนั้นลูกศรก็หล่นลง.
ในขณะนั้น เอง พระราชาทรงดำลงไปในน้ำ มีผ้าเปียก มีพระเกศาเปียก
ทรงหมอบลงแทบเท้าของพระนางสามาวดี ตรัสว่า พระเทวียกโทษให้เราเถิด
เราลุ่มหลงงมงาย ทิศทั้งหมดมืดมิดแก่เรา แม่-
สามาวดีจงช่วยเรา จงเป็นที่พึ่งของเราเถิด.
พระนางสามาวดี ทูลว่า
พระองค์อย่าถึงหม่อมฉันเป็นที่พึ่งเลย หม่อมฉัน
ถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นที่พึ่ง ขอพระองค์จง
ทรงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งเถิด และขอ
พระองค์จงเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 753
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะขอถึงท่านและพระศาสดาเป็นที่พึ่ง อนึ่ง
เราจะให้พรแก่เจ้า. พระนางสามาวดี ทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรง
ให้หม่อมฉันรับพรเถิด. พระราชาเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาขอถึงเป็นที่พึ่งแล้ว
นิมนต์ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน
ตรัสกะพระนางสามาวดีว่า จงรับพรเถิด. พระนางรับว่า ดีแล้ว ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงทรงให้พรแก่หม่อมฉัน คือ ขอพระศาสดาจงเสด็จมา ณ ที่นี้
พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ เถิด หม่อมฉันจักฟังธรรม. พระราชาถวายบังคม
พระศาสดาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จมา ณ ที่นี้
กับภิกษุ ๕๐๐ เป็นประจำเถิด พวกหญิงที่อยู่กับพระนางสามาวดีก็กล่าวว่า
หม่อมฉันทั้งหลายจักฟังธรรม. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร การไปยังที่
แห่งเดียวเป็นประจำไม่สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้มหาชนก็ยังหวังจะ
ให้ไปอยู่. พระราชาทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระองค์ตรัสสั่งภิกษุเถิด. พระศาสดา
ตรัสสั่งกะพระอานนทเถระ. พระเถระพาภิกษุ ๕๐๐ ไปยังราชตระกูลเป็น
ประจำ. แม้หญิงทั้งหลายมีพระเทวีเป็นประมุขเหล่านั้นก็อังคาสพระเถระแล้ว
พากันฟังธรรม. อนึ่ง พระศาสดาทรงตั้งพระนางสามาวดีไว้ในฐานะเป็นผู้เลิศ
กว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีเมตตาวิหารธรรม. ความที่พระราชาไม่สามารถปล่อย
ลูกศรไปได้เป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิของพระนางสามาวดีอุบาสิกาด้วยประการ
ฉะนี้. อนึ่ง ในที่นี้ท่านเรียกว่าอุบาสิกา เพราะเข้าใกล้พระรัตนตรัยด้วยความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ด้วยความเลื่อมใสอันลึกซึ้ง หรือด้วยการถึงพระ-
รัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในอริยิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อริยา อิทฺธิ
ฤทธิ์ของพระอริยะ ท่านกล่าวว่าฤทธิ์ของพระอริยะ เพราะเกิดแก่พระอริยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 754
ผู้เป็นพระขีณาสพผู้ถึงความชำนาญทางจิต. บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุผู้เป็น
พระขีณาสพในศาสนานี้. บทว่า อนิฏฺสฺมึ วตฺถุสฺมึ ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
คือในวัตถุ ในสัตว์ หรือในสังขารที่ไม่ชอบใจ ด้วยอารมณ์ปกติ. บทว่า
เมตฺตาย วา ผรติ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา คือ หากเป็นสัตว์ ย่อมแผ่ไปด้วย
เมตตาภาวนา. บทว่า ธาตุโต วา อุปสหรติ น้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ
คือ หากว่าเป็นสังขาร ย่อมน้อมเข้าไปซึ่งธาตุมนสิการว่า สักว่าเป็นธาตุ การ
น้อมเข้าไปแม้ในสัตว์ว่าเป็นธาตุก็ควร. บทว่า อสุภาย วา ผรติ ย่อมแผ่
ไปโดยความไม่งาม คือหากว่าเป็นสัตว์ ย่อมแผ่ไปโดยอสุภภาวนา. บทว่า
อนิจฺจโต วา อุปสหรติ ย่อมน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ
หากว่าเป็นสังขารย่อมน้อมเข้าไปซึ่งมนสิการว่า เป็นของไม่เที่ยง. บทว่า
ตทุภย ตัดบทเป็น ต อุภย ได้แก่ ทั้งสองนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก
มีอุเบกขา คือ มีอุเบกขาด้วยอุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า สโต มีสติ คือ
เพราะถึงความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ. บทว่า สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ
เพราะเป็นผู้มีความรู้สึกด้วยปัญญา. บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา เห็นรูป
ด้วยจักษุ คือ เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณอันสามารถในการเห็นรูปที่ได้ โวหารว่า
จักษุ ด้วยอำนาจแห่งเหตุ แต่พระโบราณาจารย์กล่าวว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป
เพราะจักษุไม่มีจิต จิตย่อมไม่เห็นรูป เพราะจิตไม่มีจักษุ แต่ในเมื่อกระทบกัน
ทางทวารารัมมณะ ย่อมเห็นได้ด้วยจิตมีปสาทเป็นวัตถุ. อนึ่ง กถาเช่นนี้ นี้ชื่อว่า
สสัมภารกถา (กถาเจือปนกัน ) ดุจในบทว่า แทงด้วยธนู เพราะฉะนั้น
ในบทนี้จึงมีอธิบายว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. อีกอย่างหนึ่ง เห็นรูปด้วย
จักษุเป็นเหตุ. บทว่า เนว สุมโน โหติ ไม่ดีใจ คือ ปฏิเสธความโสมนัส
อาศัยเรือน มิใช่โสมนัสเวทนาอันเป็นกิริยา. บทว่า น ทุมฺมโน ไม่เสียใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 755
คือ ปฏิเสธโทมนัสทั้งหมด. บทว่า อุเปกฺขโก วิหรติ เป็นผู้วางเฉยอยู่
คือ เป็นผู้วางเฉยอยู่ด้วยอุเบกขา คือ วางตนเป็นกลางในอารมณ์นั้น อันได้
ชื่อว่า อุเบกขามีองค์ ๖ เพราะเป็นไปในทวาร ๖ อันเป็นอาการแห่งการไม่ละ
ความบริสุทธิ์เป็นปกติ ในคลองแห่งอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. แม้ในบท
มีอาทิว่า โสเตน สทฺท สุตฺวา ฟังเสียงด้วยหูก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในกัมมวิปากชิทธินิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สพฺเพส
ปกฺขีน แห่งนกทั้งปวง คือ การไปทางอากาศเว้นฌาน และอภิญญา ของนก
ทั้งหลายทุกชนิด การไปทางอากาศของเทวดาทั้งปวง และการเห็นเป็นต้น
ก็อย่างนั้น. บทว่า เอกจฺจาน มนุสฺสาน แห่งมนุษย์บางพวก คือ แห่ง
มนุษย์ผู้อยู่ครั้งปฐมกัป. บทว่า เอกจฺจาน วินิปาติกาน แห่งวินิบาต
บางพวก คือ ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมมีการไปทางอากาศเป็นต้นของวินิปาติกเปรต
พวกอื่น เพราะตกไปจากกายอันเป็นความสุขมีอาทิอย่างนี้ คือ ปิยังกรมารดา
ปุนัพพสุกมารดา ผุสสมิตตา ธัมมคุตตา.
พึงทราบวินิจฉัยในอิทธินิเทศของผู้มีบุญดังต่อไปนี้. บทว่า ราชา
ชื่อว่า ราชา เพราะยังคนอื่นให้ยินดีโดยธรรม ชื่อว่า จกฺกวตฺตี เพราะยัง
รัตนจักรให้เป็นไป. บทว่า เวหาส คจฺฉนติ เหาะไปยังอากาศ เป็นทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยค บทว่า จตุรงฺคินิยา ด้วยจตุรงคินีเสนา ได้แก่
เสนามีองค์ ๔ คือ ช้าง ม้า รถและพลเดินเท้า. บทว่า เสนา คือ รวมองค์ ๔
เหล่านั้น. บทว่า อนฺตมโส โดยที่สุด คนดูแลม้า ชื่อว่า อสฺสพนฺธา
คนดูแลโค ชื่อว่า โคปุริสา. บทว่า อุปาทาย หมายถึง คือ ไม่ปล่อย
อธิบายว่า การเหาะไปยิ่งอากาศของชนเหล่านั้นอย่างนี้เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 756
บทว่า โชติยสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของโชติย-
คหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ผู้สะสมบุญญาธิการไว้ในพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายในก่อน ชื่อว่า โชติกะ. ได้ยินว่า ในเวลาที่โชติกะนั้นเกิด
สรรพาวุธในนครทั้งสิ้นลุกโพลง แม้เครื่องอาภรณ์ที่แต่งไว้ในกายของชน
ทั้งปวงก็เปล่งแสงสว่างดุจลุกโพลง นครได้มีแสงสว่างรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน
ลำดับนั้น ในวันที่ตั้งชื่อกุมารนั้นจึงชื่อว่า โชติกะ เพราะนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์
เป็นอันเดียวกัน ครั้นโชติกะเจริญวัย เมื่อชำระพื้นที่เพื่อสร้างเรือน ท้าวสักก-
เทวราช เสด็จมาปรับพื้นดินในที่ประมาณ ๑๖ กรีส สร้างปราสาท ๗ ชั้น
สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ สร้างกำแพง ๗ ชั้นประกอบด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม
สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ในท้ายกำแพงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ ๖๔ ต้น
ใน ๔ มุมของปราสาท ฝังหม้อขุมทรัพย์ประมาณโยชน์หนึ่ง ๓ คาวุต ๒ คาวุต
๑ คาวุต ใน ๔ มุมของปราสาท ต้นอ้อย สำเร็จด้วยทองคำ ๔ ต้นประมาณ
เท่าลำตาลอ่อนเกิดขึ้น ใบของต้นอ้อยเหล่านั้นสำเร็จด้วยแก้วมณี ข้อสำเร็จ
ด้วยทองคำ ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ซุ้มหนึ่ง ๆ มียักษ์ ๗ ตนมีบริวารตนละ ๑,๐๐๐
๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๗,๐๐๐ คอยอารักขา.
พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสดับถึงการสร้างปราสาทเป็นต้น แล้ว
จึงทรงส่งเศวตฉัตรของเศรษฐีไปให้. เศรษฐีนั้นจึงชื่อว่า โชติกเศรษฐี เป็นผู้
ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป เสวยมหาสมบัติอยู่ ณ ปราสาทนั้นกับภริยาซึ่งเทวดา
ทั้งหลายนำมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้วให้นั่งเหนือห้องอันเป็นสิริซึ่งถือเอาข้าวสาร
ทะนานหนึ่งและแผ่นหินให้เกิดไฟ ๓ แผ่นมาด้วย ภัตรย่อมเพียงพอแก่เขาด้วย
ข้าวสารทะนานหนึ่งตลอดชีวิต ได้ยินว่า หากชนทั้งหลายประสงค์จะบรรทุก
ข้าวสารลงในเกวียน ๑๐๐ เล่ม ทะนานข้าวสารนั้นแหละก็ยังตั้งอยู่ ในเวลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 757
หุงข้าว ใส่ข้าวสารลงในหม้อข้าวแล้ววางไว้ข้างบนแผ่นหินเหล่านั้น แผ่นหิน
ก็จะลุกเป็นไฟขึ้นทันที เมื่อข้าวสุกก็ดับ ด้วยสัญญาณนั้น ชนทั้งหลายก็รู้ว่า
ข้าวสุกแล้ว. แม้ในเวลาแกงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อาหารของชน
เหล่านั้นย่อมหุงต้มด้วยหินให้เกิดไฟอย่างนี้ ชนทั้งหลายย่อมอยู่ด้วยแสงสว่างแห่ง
แก้วมณี ย่อมไม่รู้จักแสงสว่างของไฟหรือของประทีป. โชติกเศรษฐีได้ปรากฏ
ไปทั่วชมพูทวีปว่า มีสมบัติถึงปานนี้ มหาชนขึ้นยานเป็นต้น มาเพื่อจะเห็น.
โชติกเศรษฐีให้ภัตตาหารแห่งข้าวสารจากอุตตกุรุทวีปแก่คนที่มาแล้ว ๆ สั่งว่า
ชนทั้งหลายจงถือเอาผ้าและอาภรณ์จากต้นกัลปพฤกษ์เถิด สั่งว่า ชนทั้งหลาย
จงเปิดปากหม้อขุมทรัพย์ คาวุตหนึ่งแล้วถือเอาให้เพียงพอ. เมื่อชาวชมพูทวีป
ทั้งสิ้นถือเอาทรัพย์ไป หม้อขุมทรัพย์ก็มิได้พร่องแม้เพียงองคุลี นี้เป็นฤทธิ์
ของท่านผู้มีบุญนั้น.
บทว่า ชฏิลสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของชฎิล-
คหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในเมืองตักกศิลาสะสมบุญ สร้างธาตุเจดีย์ของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ชื่อชฎิล. นัยว่ามารดาของชฎิลนั้นเป็นธิดาของ
เศรษฐี ในกรุงพาราณสีมีรูปสวยยิ่งนัก. เมื่อธิดามีอายุได้ ๑๕-๑๖ ปี มารดา
บิดาให้นางอยู่บนพื้นบนของปราสาท ๗ ชั้นเพื่อดูแล. วันหนึ่งวิชาธรเหาะไป
ทางอากาศเห็นนางเปิดหน้าต่างมองดูภายนอกเกิดสิเนหา จึงเข้าไปทางหน้าต่าง
ทำสันถวะกับนาง. นางจึงตั้งครรภ์ด้วยเหตุนั้น.
ลำดับนั้น ทาสีเห็นนางจึงถามว่า นี่อะไรกันแม่. นางกล่าวว่า อย่า
เอ็ดไป เจ้าอย่าบอกใคร ๆ เป็นอันขาด. ทาสีก็นิ่งเพราะความกลัว. ครบ
๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร ให้ทาสีนำภาชนะใหม่มาให้ทารกนอนบนภาชนะนั้น
แล้วปิดภาชนะนั้นเสีย วางพวงดอกไม้ไว้ข้างบนสั่งทาสีว่า เจ้าจงยกภาชนะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 758
เทินศีรษะไปทิ้งที่แม่น้ำคงคา เมื่อผู้คนถามว่า นี้อะไร เจ้าพึงบอกว่าเป็น
พลีกรรมของแม่เจ้าของฉัน. ทาสีได้ทำตามนั้น. ที่แม่น้ำคงคาทางใต้น้ำ
หญิงสองคนอาบน้ำอยู่เห็นภาชนะนั้น ลอยน้ำมา คนหนึ่งพูดว่า นั่นภาชนะ
ของฉัน คนหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่อยู่ภายในภาชนะนั้นเป็นของฉัน เมื่อภาชนะ
ลอยมาถึง หญิงคนหนึ่งแบกภาชนะนั้นมาวางไว้บนบก ครั้นเปิดออกเห็นทารก
จึงกล่าวว่า ทารกต้องเป็นของฉัน เพราะเธอพูดว่า ภาชนะเป็นของฉัน.
หญิงคนหนึ่งพูดว่า ทารกเป็นของฉันเพราะเธอพูดว่า สิ่งที่อยู่ภายใน
ภาชนะนั้นเป็นของฉัน . หญิงทั้งสองนั้นเถียงกัน พากันไปศาลเมื่อผู้พิพากษา
ไม่อาจตัดสินได้ ได้พากันไปเฝ้าพระราชา.
พระราชาทรงสดับคำของหญิงทั้งสองนั้นแล้วตรัสสั่งว่า เจ้าจงรับทารก
ไป เจ้าจงรับภาชนะไป หญิงที่ได้ทารกไปเป็นอุปัฏฐากของพระมหากัจจายน-
เถระ. นางเลี้ยงดูทารกนั้นด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระเถระ. ในวัน
ที่ทารกนั้นคลอด เพราะไม่ล้างมลทินของครรภ์แล้วนำออกไป ผมจึงยุ่ง
ด้วยเหตุนั้น จึงมีชื่อว่า ชฎิล. เมื่อทารกนั้นเดินได้ พระเถระเข้าไปบิณฑบาต
ยังเรือนนั้น. อุบาสิกานิมนต์พระเถระให้นั่งแล้วถวายอาหาร. พระเถระเห็น
ทารก จึงถามว่า อุบาสิกา ท่านได้ทารกมาหรือ. นางตอบว่า เจ้าค่ะ ดิฉัน
เลี้ยงดูมาด้วยหวังว่าจะให้บวชในสำนักของพระคุณท่านเจ้าค่ะ.
พระเถระรับว่าดีละ แล้วพาทารกนั้นไปตรวจดูว่าทารกนี้จะมีบุญกรรม
เพื่อเสวยสมบัติของคฤหัสถ์ไหมหนอ คิดว่า สัตว์ผู้มีบุญจักได้เสวยมหาสมบัติ
ตอนเป็นหนุ่มก่อน แม้ญาณของเขาก็ยังไม่แก่กล้าพอ จึงพาทารกนั้นไปเรือน
ของอุปัฏฐาก คนหนึ่งในเมืองตักกศิลา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 759
อุปัฏฐากนั้นยืนไหว้พระเถระเห็นทารกจึงถามว่าได้ทารกมาหรือ พระ-
เถระตอบว่า ถูกแล้วอุบาสก ทารกนี้จักบวช แต่ยังหนุ่มนักขอให้อยู่กับท่านไป
ก่อน อุบาสกรับว่าดีแล้วพระคุณท่าน จึงตั้งทารกนั้นไว้ในฐานะบุตรประคับ
ประคองอย่างดี อนึ่ง ในเรือนของอุปัฏฐากนั้น มีสินค้าสะสมมาตลอด ๑๒ ปี
อุปัฏฐากนั้นไปในระหว่างบ้านนำสินค้านั้นทั้งหมดไปตลาดบอกราคาของสินค้า
นั้นแก่ชฎิลกุมารแล้วกล่าวว่า เจ้าพึงรับทรัพย์เท่านี้ ๆแล้วให้ไปในวันนั้น
เทวดาผู้รักษานครบันดาลให้ผู้มีความต้องการโดยที่สุด แม้ยี่หร่าและพริกให้
มุ่งหน้าไปตลาดของชฎิลกุมารนั้น ชฎิลกุมารนั้นขายสินค้าที่สะสมมาตลอด
๑๒ ปี หมดในวันเดียวเท่านั้น กุฎุมพีมาไม่เห็นอะไร ๆ ในตลาด จึงพูดว่า พ่อ
คุณ เจ้าทำสินค้าหายไปหมดแล้วหรือ ชฎิลกุมารบอกไม่หายดอกพ่อ ฉันขาย
หมดตามที่พ่อสั่งไว้ว่าของอย่างโน้นราคาเท่านี้ ของอย่างนี้ราคาเท่านั้น เพราะ
เหตุนั้น สินค้าทั้งหมดจึงได้ตามราคา กุฎุมพีเลื่อมใสคิดว่าชายที่หาค่ามิได้
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ว่าในกาลไหนๆ จึงยกลูกสาวของตนซึ่งเจริญวัยแล้ว
ให้แก่เขาแล้ว สั่งคนงานว่าจงสร้างเรือนให้ชฎิลกุมาร เมื่อสร้างเรือนเสร็จจึง
กล่าวว่า เจ้าทั้งสองจงไปอยู่ที่เรือนของตนเถิด ในขณะที่เขาเข้าเรือนพอเท้า
ข้างหนึ่งเหยียบธรณีประตู สุวรรณบรรพตประมาณ ๘๐ ศอก ผุดขึ้นในพื้น
ที่ส่วนหลังสุดของเรือน นี้ว่าพระราชาทรงสดับว่า สุวรรณบรรพตผุดขึ้น
ทำลายพื้นที่ในเรือนของชฎิล จึงทรงส่งเศวตฉัตรไปให้ชฎิลนั้น ชฎิลนั้นจึงได้
ชื่อว่าชฎิลเศรษฐี นี่เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญนั้น.
บทว่า เมณฺฑกสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของ
เมณฑกคหบดีผู้มีบุญ คือ เศรษฐีในภัททิยนครแคว้นมคธได้สะสมบุญญาธิการ
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ชื่อเมณฑกะ ได้ยินว่าที่หลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 760
เรือนของเศรษฐีนั้นมีแกะทองคำประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะในที่ประมาณ
๘ กรีส ทำลายแผ่นดินผุดขึ้นหลังกับหลังชนกันลูกคลีหนังของด้าย ๕ สี ใส่
ไว้ในปากของแกะทองคำเหล่านั้น ชนทั้งหลายเมื่อมีความต้องการด้วยเนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี ด้วยเครื่องปกปิดเงินและทองเป็นต้นก็ดี
ดึงลูกคสีหนังออกจากปากของแกะทองคำเหล่านั้น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง เครื่อง
นุ่งห่มเงินและทองเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ออกจากปากของแกะแม้ตัว
หนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐีนั้นก็ปรากฏชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี นี้เป็นฤทธิ์ของผู้มี
บุญนั้น.
บทว่า โฆสิตสฺส คหปติสฺส ปุญฺวโต อิทฺธิ ฤทธิ์ของโฆสิต
คหบดีผู้มีบุญคือเศรษฐีในกรุงโกสัมพีแคว้นสักกะ สะสมบุญญาธิการในพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าโฆสิต นัยว่าเศรษฐีนั้นจุติจากเทวโลกบังเกิดในท้องของ
หญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี ในวันตลอด หญิงงามเมืองนั้นให้ทารกนอนบน
กระด้งแล้วให้เอาไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ กาและสุนัขทั้งหลายนั่งห้อมล้อมทารกนั้น
ชายคนหนึ่งเห็นดังนั้น จึงได้ความสำคัญว่าเป็นบุตรคิดว่า เราได้บุตรแล้วจึงนำ
ไปเรือน ในกาลนั้นโกสัมพิกเศรษฐีเห็นปุโรหิตจึงถามว่า ท่านอาจารย์วันนี้ท่าน
ตรวจดูฤกษ์ดิถีแล้วหรือ เมื่อปุโรหิตตอบว่า ดูแล้วท่านมหาเศรษฐี จึงถามว่า
จักมีอะไรแก่ชนบท ปุโรหิตตอบว่า ในนครนี้เด็กเกิดวันนี้จักเป็นเศรษฐีผู้ใหญ่
ในกาลนั้น ภริยาของเศรษฐีมีครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น เศรษฐีนั้นจึงรีบสั่งคนไป
เรือนสั่งว่า เจ้าจงไป จงรู้ว่าภริยาของเราคลอดทารกหรือยั่งไม่ตลอด ครั้นสดับ
ว่ายังไม่คลอด จึงไปเรือนเรียกนางกาฬีทาสีมาให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ สั่งว่า เจ้าจงไป
จงสืบดูในนครนี้แล้วนำทารกที่เกิดในวันนี้มา ทาสีไปเที่ยวสืบดูก็ไปถึงเรือนนั้น
เห็นทารกรู้ว่าเกิดในวันนั้นจึงให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ นำทารกมาให้แก่เศรษฐี เศรษฐี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 761
คิดว่าถ้าลูกสาวของเราจักเกิด เราจะแต่งานทารกนั้นให้กับลูกสาวแล้วให้ดำรง
ตำแหน่งเศรษฐี ถ้าเป็นบุตรชายเกิด เราจักฆ่าทารกนั้นเสีย แล้วเลี้ยงดูทารก
นั้นให้เติบโตในเรือน.
ลำดับนั้นล่วงไป ๒-๓ วัน ภริยาของเศรษฐีตลอดบุตรชาย เศรษฐี
คิดว่าเมื่อไม่มีทารกนี้บุตรของเราก็จักได้ตำแหน่งเศรษฐี บัดนี้ เราควรจะฆ่า
ทารกนั้นเสียแล้วเรียกนางกาฬีทาสีมาสั่งว่า นี่แน่แม่สาวใช้ ในเวลาโคออกจาก
ดอก เจ้าจงให้ทารกนี้นอนขวางในท่ามกลางประตูคอก แม่โคทั้งหลายจักเหยียบ
ทารกนั้นให้ตาย เจ้ารู้ว่าทารกนั้นถูกแม่โคเหยียบหรือไม่เหยียบแล้วจงกลับมา
นางกาฬีทาสีไป พอคนเลี้ยงโคเปิดประตูคอกก็ให้ทารกนั้นนอนเหมือนอย่างนั้น
โคอุสภะหัวหน้าฝูงโคครั้งก่อนๆ ออกภายหลังโคทั้งหมด แต่วันนั้นออกก่อนโค
ทั้งหมด ยืนคล่อมทารกไว้ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ แม่โคหลายร้อยตัวออกเสียดสีข้าง
ทั้งสองของโคอุสภะ แม้คนเลี้ยงโคก็คิดว่าโคอุสะนี้เมื่อก่อนออกภายหลังโค
ทั้งหมด แต่วันนี้ออกก่อนยืนนิ่งที่กลางประตู นี่มันอะไรกันหนอ จึงเดินไปเห็น
ทารกนอนอยู่ภายใต้โคอุสภะนั้น จึงได้ความสิเนหาในบุตรคิดว่า เราได้บุตรแล้ว
จึงนำไปเรือน นางกาฬีทาสีกลับไปเศรษฐีถามจึงบอกความทั้งหมด เศรษฐีบอก
ว่าเจ้าจงไปให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ นี้ แก่คนเลี้ยงโค แล้วนำทารกนั้นมาอีก.
ครั้งนั้นเศรษฐีจึงบอกนางกาฬีทาสีว่า แม่ทาสีในเมืองนี้มีเกวียน ๕๐๐
เล่ม ออกในย่ำรุ่งไปทำการค้าขาย เจ้าจงนำทารกนี้ให้นอนที่ทางล้อหรือโค
ทั้งหลายจักเหยียบทารกนั้น หรือล้อจักขยี้เสีย เจ้ารู้ความเป็นไปแล้วกลับมา
นางทาสีไปให้ทารกนอนที่ทางล้อ หัวหน้าคนขับเกวียนได้ออกไปข้างหน้า.
ลำดับนั้น โคของหัวหน้าคนขับเกวียนถึงที่นั้นแล้วจึงสลัดแอก แม้คน
ขับเกวียนยกขึ้นบ่อย ๆ แล้วขับไปก็ไม่ยอมไปข้างหน้า เมื่อคนขับเกวียนนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 762
พยายามอยู่กับโคเหล่านั้นอย่างนี้ อรุณขึ้นแล้ว คนขับเกวียนคิดว่าโคทำอะไร
ครั้น เห็นทารกจึงคิดว่า กรรมหนักหนอ ดีใจว่าเราได้บุตร จึงนำทารกนั้นไป
เรือน แม้นางกาฬีก็กลับ ถูกเศรษฐีถามเล่าเรื่องให้ฟัง เศรษฐีกล่าวว่าเจ้าจงไป
ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วนำทารกนั้นมา นางกาฬีก็ได้ทำตามนั้น.
ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะนางกาฬีนั้นว่า บัดนี้เจ้าจงนำทารกนั้นไปป่าช้า
ผีดิบแล้วให้นอนระหว่างกอไม้ สุนัขเป็นต้น ณ ที่นั้น จักเคี้ยวกินเสีย หรือ
อมนุษย์จักประหารเสีย เจ้าพึงรู้ว่าทารกนั้นตายหรือไม่ตาย นางกาฬีนั้นนำ
ทารกนั้นไปให้นอน ณ ที่นั้นแล้วยืนในข้างหนึ่ง สุนัขเป็นต้นหรืออมนุษย์ไม่
สามารถจะเข้าใกล้ได้ ลำดับนั้น คนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง นำแพะไปหาอาหาร
ข้างป่าช้า.
แพะตัวหนึ่งเคี้ยวกินใบไม้อยู่เข้าไประหว่างกอไม้เห็นทารกแล้วยืนคุก-
เข่าให้นมทารก เมื่อคนเลี้ยงแพะให้เสียงว่า เฮ้ เฮ้ ก็ไม่ออกไป คนเลี้ยงแพะ
คิดว่าเราจะต้องตีแพะนั้นนำออกไป จึงเข้าไปในระหว่างกอไผ่เห็นแพะยืนคุกเข่า
ให้ทารกดื่มนมได้ความสิเนหาในทารกว่าเป็นบุตร คิดว่า เราได้บุตรแล้ว จึงพา
กลับไป นางกาฬีกลับไปถูกเศรษฐีถามจึงเล่าเรื่องให้ฟัง เศรษฐีกล่าวว่าเจ้าจง
ไปจงให้ทรัพย์คนเลี้ยงแพะ ๑,๐๐๐ แล้วนำทารกมาอีก นางกาฬีได้ทำตามนั้น.
ลำดับนั้น เศรษฐีจึงพูดกะนางกาฬีว่า เจ้าจงพาทารกนี้ไปขึ้นภูเขา
เหวโจร แล้วโยนลงในเหว ทารกก็จะถูกกระแทกที่หลืบเขาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
จักตกลงบนพื้น เจ้าพึงรู้ว่าทารกนั้นตายหรือไม่ตายแล้วกลับมา นางกาฬีนำ
ทารกนั้นไปตามนั้นยืนอยู่บนยอดเขาแล้วโยนทารกลงไป พุ่มไผ่ใหญ่อาศัยหลืบ
ภูเขานั้นงอกงามไปตามภูเขาพุ่มชะเอมหนาทึบคลุมยอดพุ่มไผ่นั้น ทารกเมื่อ
ตกลงไป ก็ได้ตกลงบนพุ่มชะเอมนั้นดุจตกในเปลฉะนั้น ในวันนั้นหัวหน้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 763
ช่างจักสานถึงเวลาจะตัดไม้ไผ่จึงไปกับบุตรเริ่มจะตัดพุ่มไม้ไผ่นั้น เมื่อพุ่มไม้
ไผ่ไหว ทารกได้ร้อง เขาได้ยินเหมือนเสียงทารกจึงขึ้นอีกข้างหนึ่งเห็นทารกนั้น
ดีใจว่าเราได้บุตรแล้ว จึงพาทารกกลับ นางกาฬีกลับไปถูกเศรษฐีถามจึงเล่าเรื่อง
ให้ฟัง เศรษฐีบอกว่าเจ้าจงไปให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้ว จงนำทารกนั้นมา นาง
กาฬีได้ทำตามนั้น.
เมื่อเศรษฐีทำแล้ว ๆ เล่า ๆ อยู่อย่างนี้ ทารกก็เติบโตขึ้น เพราะทารก
นั้นส่งเสียงร้องมากจึงมีชื่อว่า โฆสิตะ โฆสิตะนั้นปรากฏแก่เศรษฐีดุจหนาม
ที่ลูกตา ไม่อาจดูตรง ๆ ได้ เศรษฐีจึงคิดหาอุบายเพื่อจะฆ่าโฆสิตะนั้น จึงไปหา
ช่างหม้อของตนถามว่า เมื่อไรท่านจักเผาหลุม เมื่อช่างหม้อบอกพรุ่งนี้ เศรษฐี
จึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ นี้ไว้ แล้วทำธุระอย่างหนึ่งแก่
เรา ช่างหม้อถามว่า ทำอะไรเล่านาย เศรษฐีบอกว่าเรามีบุตรเป็นอวชาตบุตร
อยู่คนหนึ่ง เราจะส่งมาหาท่าน ที่นั้นท่านพึงให้บุตรนั้นเข้าไปยังห้อง เอามีดที่
คมตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใส่ลงในตุ่มแล้วฝังในหลุม นี้ทรัพย์ ๑,๐๐ ของ
ท่านเป็นการรับคำ อนึ่ง ที่ยิ่งไปกว่านั้นเราจักสมนาคุณท่านในภายหลังช่าง
หม้อรับคำ.
รุ่งขึ้นเศรษฐีเรียกโฆสิตะมาสั่งว่า เมื่อวานพ่อได้สั่งช่างหม้อให้ทำธุระ
อย่างหนึ่ง มาเถิดลูกไปหาช่างหม้อนั้นแล้วบอกว่า เมื่อวานนี้พ่อสั่งให้ท่านทำ
ธุระอย่างหนึ่งให้เสร็จดังนี้แล้วส่งไป โฆสิตะรับคำแล้วก็ไป บุตรคนหนึ่งของ
เศรษฐีกำลังเล่นลูกข่างอยู่กับพวก ทารกเห็นโฆสิตะกำลังเดินมาถึงที่นั้น จึงร้อง
เรียกถามว่าจะไปไหน เมื่อโฆสิตะบอกว่าพ่อสั่งให้ไปหาช่างหม้อ บุตรเศรษฐี
บอกว่าฉันไปที่นั้นเอง ทารกเหล่านั้นชนะเราไปหลายคะแนนแล้ว ท่านชนะ
คะแนนนั้นแล้วจงให้แก่เรา. โฆสิตะบอกว่า ฉันกลัวพ่อ ลูกเศรษฐีบอกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 764
อย่ากลัวเลยพี่ ฉันจะนำข่าวนั้นไปเอง แล้วบอกต่อไปว่า พวกทารกเป็นอัน
มากชนะไปแล้ว ท่านจงชนะคืนคะแนนให้ฉันจนกว่าจะกลับมา. นัยว่า
โฆสิตะฉลาดในการเล่นลูกข่าง. ด้วยเหตุนั้นบุตรเศรษฐีจึงแค่นไค้เขาอย่างนั้น.
โฆสิตะบอกว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปบอกกะช่างหม้อว่า เมื่อวานนี้ พ่อฉันสั่ง
ให้ท่านทำธุระอย่างหนึ่ง ขอให้ท่านทำธุระนั้นให้เสร็จเถิด แล้วส่งบุตรเศรษฐี
ไป. บุตรเศรษฐีนั้นไปหาช่างหม้อแล้วได้บอกตามนั้น.
ครั้งนั้น ช่างหม้อจึงจับบุตรเศรษฐีนั้นตามที่เศรษฐีสั่ง แล้วโยนลงไป
ในหลุม. โฆสิตะเล่นอยู่ตลอดวัน ตอนเย็นจึงกลับเรือน เมื่อเศรษฐีถามว่า
ไม่ได้ไปหรือลูก เขาจึงบอกเหตุที่ตนไม่ไปและเหตุที่น้องไป. เศรษฐีร้อง
เสียงดังลั่นว่า ตายแล้ว ตายแล้ว ! เป็นเหมือนโลหิตร้อนผ่าวไปทั่วตัว
ประคองแขนคร่ำครวญว่า พ่อช่างหม้อจ๋า อย่าฆ่าลูกฉัน ๆ ได้ไปหาช่างหม้อ
ช่างหม้อเห็นเศรษฐีมาอย่างนั้นจึงกล่าวว่า อย่าเอะอะไปเลยนาย ธุรกิจสำเร็จ
แล้ว. เศรษฐีถูกความโศกใหญ่หลวง ดุจภูเขาท่วมทับ เสวยโทมนัสไม่น้อย.
แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เศรษฐีก็ไม่อาจมองดูโฆสิตะตรง ๆ ได้ คิดอยู่ว่า
เราจะฆ่าโฆสิตะนั้นได้อย่างไร เห็นอุบายว่า เราจักส่งไปหาผู้จัดการทรัพย์สิน
ใน ๑๐๐ หมู่บ้านของเราแล้วให้ฆ่าเสีย จึงเขียนหนังสือส่งให้ผู้จัดการทรัพย์
มีความว่า บุตรคนนี้เป็นอวชาตบุตรของเรา ขอให้ฆ่าเสียแล้วผลักลงใน
หลุมคูถ ก็เมื่อทำอย่างนี้แล้ว เราจักสมนาคุณแก่ลุง แล้วกล่าวกะโฆสิตะว่า
พ่อโฆสิตะ พ่อมีผู้จัดการทรัพย์ใน ๑๐๐ หมู่บ้าน เจ้าจงนำหนังสือนี้ไปให้เขา
แล้วผูกหนังสือที่ชายผ้าของโฆสิตะ โฆสิตะไม่รู้อักขรสมัย เพราะตั้งแต่เป็นเด็ก
เศรษฐีจะฆ่าเขาท่าเดียวก็ไม่อาจฆ่าได้ จักให้เรียนอักขรสมัยได้อย่างไร โฆสิตะ
จึงผูกใบมรณะของตนไว้ที่ชายผ้า เมื่อจะออกไปกล่าวว่า พ่อ ฉันไม่มีเสบียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 765
เลย เศรษฐีกล่าวว่าไม่ต้องเสบียงดอกลูก เศรษฐีสหายของพ่อมีอยู่ที่บ้านโน้น
ในระหว่างทาง เจ้าจงกินอาหารเช้าที่เรือนของเพื่อนนั้นแล้วเดินต่อไป.
โฆสิตะรับคำแล้วไหว้บิดา ออกไปถึงบ้านนั้น ถามหาเรือนเศรษฐี
ไปเห็นภรรยาของเศรษฐี. เมื่อภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อมาจากไหน เขาบอกว่า
มาจากภายในเมือง ภรรยาเศรษฐีถามว่า พ่อเป็นบุตรใคร ตอบว่า เป็นบุตร
เศรษฐี ผู้เป็นสหายของท่านจ้ะแม่. ถามว่า พ่อชื่อโฆสิตะใช่ไหม ตอบว่า
ใช่จ้ะแม่. พอเห็นเท่านั้นภรรยาเศรษฐีก็เกิดความสิเนหาในโฆสิตะว่าเป็นบุตร
เศรษฐีมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง อายุ ๑๕-๑๖ รูปร่างสวย น่าชม. มารดาบิดาให้
ทาสีรับใช้คนหนึ่ง เพื่อดูแล นางให้นอนในห้องสิริชั้นบนของปราสาท ๗ ชั้น.
ในขณะนั้น ลูกสาวเศรษฐีส่งทาสีนั้นไปตลาด.
ลำดับนั้น ภรรยาเศรษฐีเห็นทาสีนั้น ถามว่า เจ้าจะไปไหน เมื่อทาสี
ตอบว่า ธิดาของแม่เจ้าให้ไปตลาดจ้ะ จึงกล่าวว่า จงมานี่ก่อน งดไปตลาด
ไว้ก่อน เจ้าจงปูตั่งให้บุตรของเรา หาน้ำมาล้างเท้า ทาน้ำมัน ปูที่นอนให้
ภายหลังจึงไปตลาด ทาสีได้ทำตามนั้น ลูกสาวเศรษฐีดุทาสีมาช้า ทาสีจึงบอก
กะธิดาว่า อย่าโกรธฉันเลย โฆสิตะบุตรเศรษฐีมา ฉันทำโน่นบ้าง นี่บ้าง
ให้แก่โฆสิตะนั้นแล้วก็ไปตลาด เสร็จแล้วจึงกลับมานี่แหละจ้ะ. ลูกสาวเศรษฐี
ครั้นได้ฟังชื่อว่าโฆสิตะบุตรเศรษฐีเท่านั้น ความรักด้วยอำนาจบุพเพสันนิวาส
ตัดผิวหนังเป็นต้นจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่. นางจึงถามทาสีนั้นว่า เขานอนที่ไหนเล่า
ตอบว่า นอนหลับบนที่นอนจ้ะ. ถามว่า มีอะไรที่มือของเขาบ้าง. อบว่า
มีหนังสือที่ชายผ้าจ้ะ นางคิดว่า นั่นหนังสืออะไรหนอ เมื่อโฆสิตะกำลังหลับ
เมื่อมารดาบิดาไม่เห็นเพราะส่งใจไปอื่น จึงไปหาโฆสิตะนั้นแก้หนังสือออก
ถือเข้าไปห้องของตนปิดประตู เปิดหน้าต่าง เพราะนางฉลาดในอักขรสมัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 766
จึงอ่านหนังสือนั้น คิดว่า โอช่างโง่เสียจริง ผูกใบมรณะของตนไว้ที่ชายผ้า
เที่ยวไป หากเราไม่เห็น เขาก็จะไม่มีชีวิต จึงฉีกหนังสือนั้นเสียแล้ว เขียน
หนังสืออื่นแทนด้วยกำของเศรษฐีว่า บุตรของเราชื่อโฆสิตะให้นำบรรณาการ
จาก ๑๐๐ หมู่บ้านมาทำการมงคลสมรสกับธิดาของเศรษฐีชนบทนี้ ให้ปลูกเรือน
๒ ชั้น ท่ามกลางบ้านเป็นที่อยู่ของตนแล้วจัดการอารักขาให้ดี ด้วยการล้อม
กำแพงและตั้งยามคุ้มกัน เมื่อทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จงส่งข่าวให้เราทราบ
ด้วย เมื่อทำอย่างนี้เสร็จแล้ว เราจะสมนาคุณแก่ลุง ครั้นเขียนเสร็จจึงม้วน
หนังสือ ผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา.
โฆสิตะนอนหลับตลอดวัน ลุกขึ้นบริโภคอาหารแล้วก็กลับไป รุ่งขึ้น
ไปบ้านนั้นแต่เช้าตรู่ เห็นผู้จัดการทรัพย์สินกำลังทำการงานในบ้าน. ผู้จัดการ
ทรัพย์สินเห็นโฆสิตะจึงถามว่า อะไรพ่อคุณ โฆสิตะบอกว่า พ่อของฉันส่ง
หนังสือมาให้ท่าน เขารับหนังสือไปอ่านดีใจ สั่งช่างทำเรือนว่า ดูเถิด นาย
ของเราเขารักเรา ส่งบุตรมาหาเรา ขอให้ทำพิธีมงคลสมรสแก่บุตรคนใดของเขา
กับลูกสาวของเรา พวกท่านรีบไปหาไม้เป็นต้นมาเถิด แล้วให้ปลูกเรือนตาม
ที่กล่าวแล้ว ในท่ามกลางบ้านให้นำเครื่องบรรณาการมาจาก ๑๐๐ หมู่บ้าน
แล้วนำธิดาของเศรษฐีชนบทมาทำพิธีมงคลสมรส เสร็จแล้วส่งข่าวไปให้เศรษฐี
ทราบว่า ได้ทำทุกอย่างเสร็จแล้ว.
เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็เกิดเสียใจใหญ่หลวงว่า ธุระที่เราให้ทำไม่สำเร็จ
ธุระที่เราไม่ให้ทำสำเร็จ พร้อมกับความโศกถึงบุตร ความโศกนั้นประดัง
เข้ามาอีก จึงเกิดร้อนท้องถึงกับท้องร่วง แม้ลูกสาวเศรษฐีก็สั่งว่า หากมีใคร
มาจากสำนักของเศรษฐี จงบอกเรา อย่าบอกแก่บุตรของเศรษฐีก่อน. แม้เศรษฐี
ก็คิดว่า บัดนี้เราจะไม่ให้บุตรชั่วเป็นเจ้าของสมบัติของเรา จึงกล่าวกะผู้จัดการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 767
ทรัพย์อีกคนหนึ่งว่า ลุง ฉันอยากเห็นบุตรของฉัน ลุงส่งคนใกล้ชิดคนหนึ่ง
แล้วเขียนหนังสือฉบับหนึ่งส่งไป เรียกบุตรของเรามา.
ผู้จัดการทรัพย์สินรับคำ แล้วให้หนังสือส่งบุรุษคนหนึ่งไป ลูกสาว
เศรษฐีได้พาโฆสิตกุมารไปในเวลาที่เศรษฐีเจ็บหนัก เศรษฐีได้ถึงแก่กรรมเสีย
แล้ว เมื่อบิดาถึงแก่กรรม พระราชาทรงประทานสมบัติที่บิดาใช้สอย ทรงมอบ
ตำแหน่งเศรษฐีพร้อมด้วยฉัตรให้. โฆสิตเศรษฐีดำรงอยู่ในมหาสมบัติ รู้ว่า
ตนพ้นจากความตายในฐานะ ๗ ครั้งตั้งแต่ต้นตามคำของลูกสาวเศรษฐีและ
นางกาฬี จึงสละทรัพย์วันละ ๑,๐๐๐ บริจาคทาน. ความที่โฆสิตเศรษฐีไม่มีโรค
ในฐานะ ๗ ครั้งอย่างนี้เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คห คือเรือน ผู้เป็นใหญ่ในเรือนคือคหบดี
บทนี้เป็นชื่อของผู้เป็นใหญ่ในตระกูลมหาศาล ในบางคัมภีร์เขียนเมณฑกเศรษฐี
ไว้ในลำดับของโฆสิตเศรษฐี. ในบทว่า ปญฺจนฺน มหาปุญฺาน ปุญฺวโต
อิทฺธิ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ มีความว่า
พึงเห็นบุญฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก ๕ คน. ชน ๕ คนเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้มีบุญมาก
๕ คือ เมณฑกเศรษฐี ๑ นางจันทปทุมา ภริยาเมณฑกเศรษฐี ๑ ธนัญชัย
เศรษฐีบุตร ๑ นางสุมนาเทวีสะใภ้ ๑ นายปุณณทาส ๑ ได้สะสมบุญญาธิการ
ในพระปัจเจกพุทธเจ้า. ในชนเหล่านั้นเมณฑกเศรษฐี สร้างฉางไว้ ๑,๒๕๐
ฉาง ลูบศีรษะแล้วนั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน สายข้าวสาลีแดง หล่นจาก
อากาศเต็มฉางทั้งหมด. ภริยาของเมณฑกเศรษฐีนั้น เอาข้าวสารประมาณ
ทะนานหนึ่งหุงข้าว แล้วทำแกงในสูปะและพยัญชนะอย่างหนึ่ง ประดับด้วย
เครื่องประดับทุกชนิด นั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้ที่ซุ้มประตู ประกาศเรียกว่า ผู้มี
ความต้องการภัตตาหารทั้งปวงจงมาเถิด ถือทัพพีทองคำทักใส่ภาชนะที่คนมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 768
แล้ว ๆ นำเข้าไปแล้วให้ แม้เมื่อนางให้อยู่ตลอดวันก็ปรากฏเพียงถือเอาด้วย
ทัพพีคราวเดียวเท่านั้น.
บุตรของเมณฑกเศรษฐี ลูบศีรษะแล้วถือเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ถุง
ประกาศว่า ผู้มีความต้องการกหาปณะจงมาเถิด แล้วใส่ภาชนะที่คนมาแล้ว ๆ
ให้ไป กหาปณะ ๑,๐๐๐ ถุงก็ยังอยู่.
สะใภ้ของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด ถือเอาตะกร้าข้าว-
เปลือก ทะนาน นั่งบนที่นั่งประกาศว่า ผู้มีความต้องการพืชข้าวจงมาเถิด
แล้วตักใส่ภาชนะที่คนถือมาแล้ว ๆ ให้ ตะกร้าก็ยังเต็มอย่างเดิม.
ทาสของเศรษฐีประดับด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เชือกทองคำเทียมโค
ที่แอกทองคำ ถือด้ามปฏักทองคำ ให้นิ้วทั้ง ๕ ของโคมีกลิ่นหอม สวมปลอก
ทองคำที่เขาทั้งสองข้างขับไปนา ไถรอยไถไว้ ๗ แห่ง คือ ข้างนี้ ๓ ข้างนี้ ๓
ท่ามกลาง ๑ แล้วไป. ชาวชมพูทวีปถือเอาภัตร พืช เงินและทองเป็นต้น
จากเรือนเศรษฐีตามความชอบใจ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงภัททิยนคร
โดยลำดับ ผู้มีบุญทั้ง ๕ และนางวิสาขาธิดาของธนัญชัยเศรษฐี ได้บรรลุ
โสดาปัตติผล ด้วยการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้ฤทธิ์ของผู้มีบุญมาก
๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ แต่โดยสังเขปความวิเศษแห่งความสำเร็จ
ในการสะสมบุญที่ถึงความแก่กล้าเป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ.
พึงทราบวินิจฉัยในวิชชามยิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า วิชฺชาธรา
เพราะทรงไว้ซึ่งวิชชาของชาวคันธาระ มีอาการให้สำเร็จ หรือวิชชาอื่นอันสำเร็จ
ใกล้เคียง อันสำเร็จตามความปรารถนา. บทว่า วิชฺช ปริชปฺเปตฺวา ร่ายวิชชา
คือ ร่ายวิชชาตามที่ใกล้เคียงด้วยปาก บทที่เหลือมีอรรถดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 769
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาปโยคิทธินิเทศ ดังต่อไปนี้. ท่านถามเพียง
อาการแห่งความสำเร็จ ไม่ถามว่า กตมา เป็นไฉน เพราะไม่มีคุณวิเศษ
อย่างอื่น แล้วถามเพียงประการเท่านั้น จึงตั้งคำถามว่า กถ อย่างไร แล้ว
สรุปว่า เอว อย่างนี้. อนึ่ง ในนิเทศนี้บาลีเช่นกับบาลีมีในก่อนมาแล้วด้วย
การแสดง การประกอบชอบ กล่าวคือการปฏิบัตินั่นเอง แต่มาในอรรถว่า
ความวิเศษเกิดขึ้นเพราะทำกรรมนั้น หมายถึงการเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยทำสกฏพยุหะ (การตั้งค่ายรบแบบกองเกวียน) เป็นต้น ศิลปกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่ง เวชกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนไตรเพท การเรียนพระไตร
ปิฎก โดยที่สุดการไถและการหว่านเป็นต้น ชื่อว่า ฤทธิ์ ด้วยความสำเร็จ
เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๆ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาอิทธิกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 770
ปัญญาวรรค อภิสมยกถา
ว่าด้วยความตรัสรู้
[๖๙๕] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ
บุคคลผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อม
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็
ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณ
ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาว-
จรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัส
รู้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิต
และญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้
ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่าง
นั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและ
ญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ ตรัสรู้ด้วย
จิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณ
ในขณะโลกุตรมรรค.
[๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตร-
มรรคอย่างไร ?
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 771
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มี
นิโรธเป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่ง
โลกุตรมรรคอย่างนี้.
[๖๙๗] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น
เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริเป็นสัมมาสังกัปปะ ความตรัสรู้ด้วย
ความกำหนดเป็นสัมมาวาจา ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐานเป็นสัมมากัมมัน-
ตะ ความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่องเป็นสัมมาอาชีวะ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติ
มั่นเป็นสัมมาสติ ความตรัสรู้ด้วยความไม้ฟุ้งซ่านเป็นสัมมาสมาธิ ความตรัสรู้
ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหา
ทางเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธาเป็นสัทธาพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน
เป็นวิริยะพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความประมาท เป็นสติ
พละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะเป็นสมาธิพละ ความตรัสรู้
ด้วยความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นปัญญาพละ ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจ
เชื่อเป็นสัทธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์ ความ
ตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
สมาธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์
ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ความตรัสรู้ด้วยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ความตรัส
รู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่านำออก ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ
ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งสติมั่น ความตรัสรู้ ด้วยสัมมัปปธาน
ด้วยความว่าตั้งไว้ ความตรัสรู้ด้วยอิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ความตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 772
สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ความตรัสรู้ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ความตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ความตรัสรู้ด้วยสมถะและ
วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ความตรัสรู้ด้วยธรรมคู่กันด้วยความ
ว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้ จิตตวิสุทธิด้วย
ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็นเป็นความตรัสรู้
ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ความตรัสรู้ด้วยวิชชาด้วยความ
ว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้ ญาณในความสิ้นไป
ด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็นมูล
เหตุ มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม สมาธิ
เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็น
ใหญ่ ปัญญาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิมุตติ
เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความ
ตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
[๖๙๘] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วย
ความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความ
เห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 773
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิ
ผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอนาคามิผล ในขณะอรหัตมรรค ในขณะ
อรหัตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริ
เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้นเป็นความตรัสรู้
ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน.
[๖๙๙] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่า บุคคล
ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไป
แล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศ
ไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด
ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้
ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็น
อนาคตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละ
ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัด
เคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิด
ก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้
ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายคำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลัง
เป็นไป มรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น. ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 774
[๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต
หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็
ไม่มี การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี.
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมี
อยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร ? เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผลบุรุษ
พึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิด
ก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ
เลยฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย
จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลส
เหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็
ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่
ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต
เพราะเหตุแห่งกรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษ
ในกรรมแล้วจึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรม-
ชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็น
ปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่
ยังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ
ทุกข์ก็ดับด้วยประการฉะนี้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การ
ละกิเลสมีอยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอภิสมยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 775
อรรถกถาอภิสมยกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังมิได้พรรณาแห่งอภิสมยกถาอันพระสารี-
บุตรเถระผู้แสดงอภิสมัยอันเป็นฤทธิ์อย่างยิ่งในลำดับแห่งอิทธิกถากล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิสมโย ความตรัสรู้ คือถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นประธานแห่งสัจจะทั้งหลาย อธิบายว่าแทงตลอด อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ความตรัสรู้อรรถ. บทว่า เกน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ท่านอธิบาย
ไว้อย่างไร ท่านกล่าวความตรัสรู้ว่า ความตรัสรู้เป็นรสนั้นใดในบทแห่งสูตร
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล
เมื่อความตรัสรู้นั้นเป็นไปอยู่ บุคคลผู้ตรัสรู้ย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยธรรมอะไรเป็นผู้
มีธรรมเป็นประธาน ย่อมถึงพร้อมอธิบายว่าแทงตลอดนี้เป็นคำถามของผู้ท้วง
ก่อน. บทว่า จิตฺเตน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต คือแก้อย่างนั้นเพราะ
เว้นจิตเสียแล้วไม่มีความตรัสรู้. บทมีอาทิว่า หญฺจิ เป็นการท้วงอีก หญฺจิ
แปลว่า ถ้าว่า. เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยจิตผู้ท้วงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นบุคคลผู้ไม่มี
ญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ. บทว่า น อญฺาณี อภิสเมติ บุคคลไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้
คือปฏิเสธเพราะไม่มีความตรัสรู้โดยเพียงจิตเท่านั้น. บทว่า าเณน อภิสเมติ
ย่อมตรัสรู้ด้วยญานเป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงว่า
ผู้ไม่มีความรู้ ย่อมตรัสรู้เพราะไม่มีจิตได้ซิเพราะท่านกล่าวว่า าเณน ด้วย
ญาณ. บทว่า น อจิตฺตโก อภิเสเมติ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ เป็น
การปฏิเสธเพราะผู้ไม่มีจิตตรัสรู้ไม่ได้. บทมีอาทิว่า จิตฺเตน จ เป็นการรับรอง.
บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงอำนาจทั่วไปแห่งจิตและญาณทั้งหมด.
แม้ในการท้วงและการแก้ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 776
บทว่า กมฺมสฺสกตาจิตฺเตน จ าเณน จ ด้วยกัมมัสสกตาจิตและ
ด้วยญาณ คือ ด้วยจิตอันเป็นไปแล้วด้วยกัมมัสสกดาอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมี
กรรมเป็นของตน. บท สจฺจานุโลมิกจิตฺเตน จ าเณน จ ด้วย สัจจา-
นุโลมิกจิต และด้วยญาณคือด้วยจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนากล่าวคือ สัจจา-
นุโลมิกญาณ เพราะช่วยการแทงตลอดสัจจะและด้วยวิปัสสนาญาณ.
บทว่า กถ อย่างไรเป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเองตอบเอง)
เหมือนอภิสมัย. บทว่า อุปฺปาทาธิปเตยฺย จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น
ได้แก่ เพราะเมื่อไม่มีจิตเกิด เจตสิกก็ไม่เกิด เพราะจิตยึดอารมณ์ เจตสิกก็เกิด
พร้อมกับจิตนั้น เมื่อไม่มีอารมณ์จะยึดจักเกิดได้อย่างไรเล่า แม้ในอภิธรรม
ท่านก็จำแนกเจตสิกไว้ด้วยกายเกิดขึ้นแห่งจิตนั่นแหละ ฉะนั้นจิตจึงเป็นใหญ่
ในการเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณ. บทว่า าณสฺส คือแห่งมรรคญาณ. บทว่า
เหตุ ปจฺจโย จ เป็นเหตุเป็นปัจจัยคือเป็นผู้ให้เกิดและเป็นผู้อุปถัมภ์. บทว่า
ตสมฺปยุตฺต คือ จิตสัมปยุตด้วยญาณนั้น. บทว่า นิโรธโคจร มีนิโรธ
เป็นโคจร คือมีนิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า ทสฺสนาธิปเตยฺย ญาณเป็น
ใหญ่ในการเห็นคือเป็นใหญ่ในการเห็นนิพพานเพราะไม่มีกิจที่จะเห็นสิ่งที่เหลือ.
บทว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต คือแห่งจิตสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตสมฺปยุตฺต
คือญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
เพราะปริยายแม้นี้มิใช่ความตรัสรู้ด้วยจิตและญาณเท่านั้น ที่แท้ธรรม
คือจิตและเจตสิกอันสัมปยุตด้วยมรรค แม้ทั้งหมดชื่อว่า เป็นความตรัสรู้ด้วย
ยังกิจคือความตรัสรู้สัจจะให้สำเร็จ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดง
ปริยายแม้นั้นจึงถามว่าความตรัสรู้มีเท่านั้นหรือ ปฏิเสธว่า นหิ ไม่ใช่มีเท่านั้น
แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า โลกุตฺตรมคฺคกฺขเณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 777
บทว่า ทสฺสนาภิสมโย ความตรัสรู้ด้วยความเห็น คือ ความตรัสรู้อันเป็น
ความเห็น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ มรรคญาณ
นั่นแลชื่อว่าวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นพระนิพพาน. บทว่า วิโมกฺโข
คือมรรควิโมกข์. บทว่า วิชฺชา คือมรรคญาณนั้นแหละ. บทว่า วิมุตฺติ
คือสมุจเฉทวิมุตติ. นิพพานชื่อว่า อภิสมโย เพราะตรัสรู้ ที่เหลือชื่อว่า
อภิสมยา เพราะเป็นเหตุตรัสรู้.
พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงจำแนกอภิสมัยด้วยมรรคและผล จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า กินฺนุ ดังนี้. อนึ่ง ในที่นี้ เพราะญาณย่อมไม่ได้ในความสิ้นไป
ด้วยอรรถว่าตัดขาดในขณะผล ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุปฺปาเท าณ
ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น. พึงทราบบทที่เหลือตามสมควร บัดนี้
เพราะเมื่อมีการละกิเลส ความตรัสรู้ก็ย่อมมีได้ และเมื่อมีความตรัสรู้การละ
กิเลสก็ย่อมมีได้ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ ประสงค์จะแสดงถึงการละกิเลส
อันมีการท้วงเป็นเบื้องต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สฺวาย บุคคลนี้นั้น ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาย คือพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคนี้
นั้น. คำ ๔ คำในบทนี้มี เอว เป็นอาทิ เป็นการถามของผู้ท้วง. บทนี้ว่า
อตีเต กิเลเส ปชหติ ละกิเลสที่เป็นอดีต เป็นคำแก้เพื่อให้โอกาสแก่การ
ท้วง.
บทว่า ขีณ คือสิ้นไปแล้วด้วยความดับ. บทว่า นิรุทฺธ ดับแล้ว
คือ ดับด้วยไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยสันดาน. บทว่า วิคต ปราศไป คือ ปราศไป
จากขณะที่กำลังเป็นไปอยู่. บทว่า วิคเมติ คือ ให้ปราศไป. บทว่า อตฺถงฺคต
ถึงการดับไป คือ ถึงความไม่มี. บทว่า อตฺถงฺคเมติ คือ ให้ถึงความไม่มี.
ครั้นแสดงโทษในข้อนั้นแล้วจึงกล่าวปฏิเสธว่า บุคคลละกิเลสอันเป็นอดีต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 778
หาได้ไม่. บทว่า อชาต ที่ไม่เกิดขึ้น คือ ยังไม่เกิดขึ้นจากการท้วงอันเป็น
อนาคต. บทว่า อนิพฺพตฺต กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ กิเลสที่ยังไม่ถึงสภาวะ.
บทว่า อนุปฺปนฺน กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่ปฏิบัติในอนาคตจำเดิมแต่เกิด.
บทว่า อปาตุภูต ไม่ปรากฏ คือ ไม่ปรากฏแห่งจิตโดยความเป็นปัจจุบัน.
เมื่อผู้ละในอดีตและอนาคต ความพยายามไม่มีผลย่อมได้รับ เพราะไม่มีสิ่งที่ควร
ละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า รตฺโต ราค ปชหติ
บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะได้ คือ บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะนั้นได้ด้วยราคะ
ที่กำลังเป็นไปอยู่. แม้ในกิเลสที่กำลังเป็นไปอยู่ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
ถามคโต ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรง คือ ผู้ถึงสภาพมั่นคง. บทว่า กณฺหสุกฺกา
ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว คือ ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศลซึ่งเป็นคู่กันกำลัง
เป็นไป คือ ย่อมถึงเสมอกัน. บทว่า สงฺกิเลสิกา มรรคภาวนาอันมีความ
หม่นหมองด้วยกิเลส คือ เมื่อความที่ความหม่นหมองสัมปยุตกันมีอยู่ มรรค-
ภาวนาประกอบด้วยความหม่นหมอง ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อละในปัจจุบันอย่างนี้
มรรคภาวนาอันเป็นความหม่นหมองย่อมมีได้ และความพยายามก็ไม่มีผล
เพราะมีสิ่งที่ควรละกับความพยายาม เพราะยังไม่มีการแยกจิตออกจากกิเลส
อันเป็นปัจจุบัน.
บทว่า น หิ ไม่มี คือ ปฏิเสธคำที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ๔ ส่วน. บทว่า
อตฺถิ มีอยู่ คือ รับรอง. บทว่า ยถา กถ วิย เหมือนอะไร เป็นการถาม
เพื่อชี้ให้เห็นอุทาหรณ์แห่งความมี คือ มีเหมือนโดยประการไร มีเหมือนอะไร.
บทว่า ยถาปิ แม้ฉันใด. บทว่า ตรุโณ รุกฺโข ต้นไม้รุ่น คือ ถือเอา
ต้นไม้รุ่นเพื่อจะได้ไห้ผล. บทว่า อชาตผโล ผลที่ยังไม่เกิด คือ แม้เมื่อ
ยังมีการให้ผลอยู่ก็ฉวยเอาก่อนเวลาจากการได้ผล. บทว่า ตเมน คือ ต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 779
นั้น. บทว่า เอน เป็นเพียงนิบาต หรือคือ ต เอต. บทว่า มูล ฉินฺเทยฺย
พึงตัดราก คือ พึงตัดตั้งแต่ราก. บทว่า อชาตผลา คือ ผลยังไม่เกิด. บทว่า
เอวเมว ตัดบทเป็น เอว เอว. ท่านกล่าวถึงการสืบต่อขันธ์อันเป็นปัจจุบัน
แม้ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ การเกิด ๑ ความเป็นไป ๑ นิมิต ๑ การประมวล ๑
ขันธสันดานอันไม่เป็นพืชของกิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณ เพราะขันธ-
สันดานนั้นไม่เป็นพืช กิเลสนั้นมีขันธสันดานนั้นเป็นปัจจัยยังไม่เกิดขึ้น ย่อม
ไม่เกิดขึ้น. บทว่า อาทีนว ทิสฺวา เห็นโทษ คือ เห็นโทษโดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่านกล่าวถึงนิพพานเท่านั้นด้วยบท ๔ บท มีอาทิว่า
อนุปฺปาโท การไม่เกิดขึ้น. บทว่า จิตฺต ปกฺขนฺทติ จิตแล่นไป คือ จิต
สัมปยุตด้วยมรรค ย่อมแล่นไป. บทว่า เหตุนิโรธา ทุกฺขนิโรโธ เพราะเหตุ
ดับ ทุกข์ก็ดับ คือ เพราะความไม่เกิดสันดานอันเป็นพืชของกิเลสทั้งหลายดับ
ก็เป็นอันดับความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ อันเป็นขันธ์ในอนาคต.
เพราะความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์อย่างนี้ดับ จึงเป็นอันดับความไม่
เกิดแห่งทุกข์ด้วย. พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถิ มคฺคภาวนา
มรรคภาวนามีอยู่ เพราะมีข้อยุติในการละกิเลส.
แต่ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ด้วยบทนี้ท่านแสดงไว้อย่างไร. ท่านแสดง
ถึงการละกิเลสอันได้ภูมิแล้ว ก็ภูมิที่ได้นั้นเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน.
พึงทราบกถาพิสดารแห่งการละกิเลสที่ท่านกล่าวแล้วว่า กิเลสอันได้ภูมิเกิดขึ้น
แล้วโดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศแห่งสุตมยญาณกถา. แต่ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอากิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอภิสมยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 780
ปัญญาวรรค วิเวกกถา
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยศีลและวิเวก
[๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใด
อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๗๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อม
เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ
... ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
ความสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พีชคาม
และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 781
อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
[๗๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริงอกงามไพบูลย์ในธรรม
ทั้งหลายอย่างไร ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ... เจริญสัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัมมาทิฏฐิมี
วิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕
มีนิสัย ๑๒.
[๗๐๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ?
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก
ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก ๕ นี้.
[๗๐๕] สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ?
วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 782
ปฐมฌาน ๑...นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิราคะ ๕ นี้.
[๗๐๖] สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ?
นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ
ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน ๑... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในนิโรธ ๕ นี้.
[๗๐๗] สัมมาทิฏฐิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ?
ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน ๑...นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิ
มีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
ตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้.
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒
เหล่านี้.
[๗๐๘] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ?
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 783
ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑
สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก
๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
ในวิเวก ๕ นี้.
[๗๐๙] สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ?
วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ
ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ
ปฐมฌาน ๑ ...นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕
เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน
วิราคะ ๕ นี้.
[๗๑๐] สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ?
นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิ-
ปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล ๑ นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ ๑ สัมมาสมาธิ
มีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต
ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้.
[๗๑๑] สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ?
ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ
ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ
ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ความสละในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญ
สมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 784
อันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะในขณะผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ
เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิด
ฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้.
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มี
นิสัย ๑๒ เหล่านี้.
[๗๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใด
อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ
ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มาก
ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ อยู่ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่ง
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคาม
และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.
[๗๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 785
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕
มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒.
[๗๑๔] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ?
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ
วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑
วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย
กิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑
ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕
มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์
ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ?
วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕
มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฉะนี้แล.
จบวิเวกกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 786
อรรถกถาวิเวกกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิเวกกถา อันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการละ ในลำดับ
แห่งอภิสมยกถามีการละเป็นที่สุดตรัสไว้แล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า เย เกจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นบทรวมยอดไม่มีเหลือ. บทว่า พลกรณียา ทำด้วยกำลัง คือพึงทำด้วย
กำลังขาและแขน. บทว่า กมฺมนฺตา การงาน คือ การงานมีวิ่ง กระโดด
ไถและหว่านเป็นต้น. บทว่า กยีรนฺติ ต้องทำ คือ อันผู้มีกำลังต้องทำ. บทว่า
สีล นิสฺสาย อาศัยศีล คือทำจตุปาริสุทธิศีลให้เป็นที่อาศัย. บทว่า ภาเวติ
ย่อมเจริญ ในที่นี้ท่านประสงค์เอามรรคภาวนา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ
เพราะผู้มีศีลขาดแล้วไม่มีมรรคภาวนา.
บทว่า วิเวกนิสฺสิต อาศัยวิเวก คืออาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก
นิสสรณวิเวก. บทว่า วิเวโก คือความสงัด. จริงอยู่ พระโยคาวจรประกอบ
ด้วยอริยมรรคภาวนา ย่อมเจริญอริยมรรคภาวนา อาศัยตทังควิเวกโดยกิจ
ในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ
ในขณะมรรค อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในการอาศัยวิราคะเป็นต้น
ก็มีนัยนี้. จริงอยู่ วิเวกนั่นแหละ ชื่อว่าวิราคะ ด้วยอรรถว่าคลายกำหนัด
ชื่อว่า นิโรธ ด้วยอรรถว่าดับ ชื่อว่า โวสสัคคะ ด้วยอรรถว่าสละ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าวิราคะ
เพราะคลายจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่านิโรธ เพราะดับกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 787
โวสสัคคะ เพราะสละกิเลสทั้งหลาย เพราะปล่อยจิตไปในนิพพาน. อนึ่ง
โวสสัคคะมี ๒ อย่าง คือ ปริจจาคโวสสัคคะ (ปล่อยด้วยการสละ) และ
ปักขันทนโวสสัคคะ. ปล่อยด้วยการแล่นไป. ในโวสสัคคะ ๒ อย่างนั้น การ
ละกิเลสด้วยตทังคะในขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยสมุจเฉทในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า
ปริจจาคโวสัคคะ. การแล่นไปสู่นิพพานด้วยความน้อมไปสู่นิพพานนั้นใน
ขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า
ปักขันทนโวสสัคคะ. แม้ทั้งสองนั้นก็สมควรในนัยแห่งการพรรณนาความ
อันเจือด้วยโลกิยะ โลกุตระนี้. เป็นความจริงอย่างนั้น ในสัมมาทิฏฐิเป็นต้น
ธรรมนี้อย่างหนึ่ง ๆ ย่อมสละกิเลสโดยประการตามที่กล่าวแล้ว และย่อมแล่น
ไปสู่นิพพาน. บทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ น้อมไปในความสละ ท่านอธิบายว่า
น้อมไป โน้มไป อบรม บ่มให้แก่กล้า เพื่อความสละด้วยคำทั้งสิ้นนี้. ภิกษุผู้
ขวนขวายอริยมรรคภาวนานี้ย่อมเจริญอริยมรรคนั้นโดยประการที่ธรรมหนึ่ง ๆ
ในสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมอบรมและบ่มให้แก่กล้าเพื่อปล่อยให้สละกิเลส และ
เพื่อปล่อยให้แล่นไปสู่นิพพาน.
ในบทว่า พีชคามภูตคามา พืชคามและภูตคามนี้ มีอธิบายว่า
พืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก ๑ พืชจากต้น ๑ พืชจากยอด ๑ พืชจากข้อ ๑
พืชจากพืช ๑ รวมพืชชื่อว่าพีชคาม ชื่อว่าภูตคามจำเดิมแต่ความปรากฏแห่ง
หน่อเขียวสมบูรณ์แล้ว. อธิบายว่า รวมรากหน่อสีเขียวของภูตคามที่เกิดแล้ว
อาจารย์บางคนกล่าวว่า เมื่อเทวดาหวงแหน ย่อมเป็นตั้งแต่เวลามีหน่อสีเขียว
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูตคาม เพราะเป็นบ้านของภูตคือเทวดาเหล่านั้น. บทว่า
วุฑฺฒึ ความเจริญ คือเจริญด้วยหน่อเป็นต้น. บทว่า วิรุฬฺหึ งอกงาม คือ
งอกงามด้วยลำต้นเป็นต้น. บทว่า เวปุลฺล ไพบูลย์ คือไพบูลย์ด้วยดอกเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 788
อนึ่ง ในทางธรรม บทว่า วุฑฺฒึ คือเจริญด้วยความประพฤติธรรมที่ยังไม่
เคยประพฤติ. บทว่า วิรุฬฺหึ คืองอกงามด้วยการทำกิจให้สำเร็จ. บทว่า
เวปุลฺล คือความไพบูลย์ด้วยสำเร็จกิจแล้ว. ปาฐะว่า วิปุลฺลตฺต คือความ
เป็นผู้ไพบูลย์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง บท ๓ เหล่านั้นประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา.
อรรถกถามัคคังคนิเทศ
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺมาทิฏฺิยา
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ แห่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นไปอยู่ จากการประกอบตามสมควร
และจากอารมณ์ ในฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน และในจิต
อันสัมปยุตด้วยโลกิยวิรัติ คือแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยเป็นสามัญ-
ลักษณะ. บทว่า วิกฺขมฺภนวิเวโก วิกขัมภนวิเวก คือความสงัดด้วยการ
ข่มไว้ ด้วยการทำให้ไกล แห่งอะไร แห่งนิวรณ์ทั้งหลาย. บทมีอาทิว่า
ปมชฺฌาน ภาวยโต เจริญปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงปฐมฌานด้วยการข่มไว้
เมื่อท่านกล่าวถึงปฐมฌานนั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ฌานที่เหลือด้วยเหมือนกัน.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิวิเวก เพราะมีสัมมาทิฏฐิแม้ในฌานทั้งหลาย.
บทว่า ตทงฺควิเวโก คือความสงัดด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ. บทว่า
ทิฏฺิคตาน ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิวิเวก เพราะทิฏฐิวิเวกทำได้ยาก
และเพราะเป็นประธาน เมื่อท่านกล่าวถึงทิฏฐิวิเวกก็เป็นอันกล่าวแม้วิเวกมี
นิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า นิพฺเพธภาคิย สมาธึ สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 789
การทำลายกิเลส คือ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า สมุจฺเฉทวิเวโก
สมุจเฉทวิเวก คือ ความสงัดด้วยการตัดขาดกิเลสทั้งหลาย. บทว่า โลกุตฺตร
ขยคามึ มคฺค โลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป คือโลกุตรมรรคอันให้
ถึงนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไป. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิวิเวโก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก คือ ความสงัดในการสงบกิเลสทั้งหลาย. บทว่า นิสฺสรณวิเวโก
นิสสรณวิเวก คือความสงัดสังขารอันเป็นการนำสังขตธรรมทั้งหมดออกไป.
บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ คือเป็นผู้เกิดความพอใจ
ในธรรมในส่วนเบื้องต้น. บทว่า สทฺธาธิมุตฺโต คือเป็นผู้น้อมไปด้วยศรัทธา
ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า จิตฺต จสฺส สฺวาธิฏฺิต มีจิตตั้งมั่นด้วยดี คือจิต
ของพระโยคาวจรนั้นตั้งมั่นด้วยดี คือมั่นคงด้วยดีในส่วนเบื้องต้น. ธรรม ๓
ประการเหล่านี้ คือ ฉันทะ ๑ สัทธา ๑ จิต ๑ ชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะ
เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งวิเวกอันเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ท่านกล่าวสมาธิว่า มีจิตตั้งมั่นด้วยดี แม้ในวิราคะเป็นต้นก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวารดังต่อไปนี้. ท่านแสดงคำปริยาย
อื่นจากนิโรธศัพท์ แล้วกล่าวว่า อมตา ธาตุ อมตธาตุ. พึงทราบในบทที่
เหลือต่อไป บทว่า นิโรโธ นิพฺพาน เป็นนิโรธ คือนิพพาน แม้ในบท
ทั้งสองก็เป็นนิพพานเหมือนกัน. บทว่า ทฺวาทส นิสฺสยา มีนิสัย ๑๒ คือ
ทำฉันทะ สัทธา จิต อย่างละ ๓ ให้อย่างหนึ่ง ๆ เป็น ๔ อย่าง มีวิเวกเป็นต้น
รวมเป็นนิสัย ๑๒. แม้สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ก็พึงทราบการประกอบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าว
ถึงวิรัติอันเป็นไปอยู่ ด้วยสามารถส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย แห่งฌาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 790
และวิปัสสนา เพราะไม่มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ใน
ขณะแห่งฌาน ในขณะแห่งวิปัสสนาทำฌานและวิปัสสนาให้อาศัยกัน. อนึ่ง
พึงทราบว่า วิเวก วิราคะ นิโรธ และปฏินิสสัคคะ แห่งนิวรณ์และทิฏฐิ
ชื่อว่า วิเวกเป็นต้นแห่งวิรัติทั้งหลายอันเป็นอยู่อย่างนั้น. เหมือนที่ท่านกล่าว
ไว้ในอัฏฐกนิบาตว่า ดูก่อนภิกษุ แต่นั้นท่านพึงเจริญสมาธินี้ พร้อมด้วยวิตก
พร้อมด้วยวิจาร พึงเจริญแม้เพียงวิจารไม่มีวิตก พึงเจริญแม้ไม่มีทั้งวิตก
ไม่มีทั้งวิจาร พึงเจริญพร้อมด้วยปีติ พึงเจริญแม้ไม่มีปีติ พึงเจริญแม้สหรคต
ด้วยความพอใจ พึงเจริญแม้สหรคตด้วยอุเบกขา. ท่านกล่าวเมตตาเป็นต้น
และกายานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเป็นมูลภายในของตนดุจ
กล่าวถึงจตุกฌานและปัญจกฌาน แม้ในบทนี้ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงวิรัติ
ด้วยอำนาจส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถือเอาเพียงพยัญชนฉายา (เงาแห่งพยัญชนะ) จึงไม่ควรกล่าวตู่. เพราะ
พระพุทธพจน์ลึกซึ้งมาก พึงเข้าไปหาอาจารย์แล้วเรียนเอาโดยความประสงค์.
แม้ในโพชฌงควาระ พลวาระและอินทริยวาระ ก็พึงทราบความโดย
นัยนี้แล.
จบอรรถกถาวิเวกกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 791
ปัญญาวรรค จริยากถา
ว่าด้วยจริยา ๘
[๗๑๕] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑
อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑
ปัตติจริยา ๑ โลกัตถกริยา ๑.
ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติ
ในอายตนะภายในเเละภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติใน
สติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา
ความประพฤติในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔
ชื่อว่ามรรคจริยา ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความ
ประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประ-
พฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระปัจเจกพุทธเจ้าความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะ
ในพระสาวก ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ความปรารถนา อายตนจริยาของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย
สติจริยาของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวาย
ในอธิจิต ญาณจริยาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา มรรคจริยาของท่านผู้
ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา เป็นส่วน
เฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนเฉพาะของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก จริยา ๘ เหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 792
[๗๑๖] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อม
ประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น
ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด
ย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้มนสิการว่า
ท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณพิเศษได้ ก็ประพฤติด้วยวิเศษจริยา
ผู้มนสิการว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมให้ต่อเนื่องกันไป ก็
ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้.
[๗๑๗] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ การประพฤติด้วยทัศนะแห่ง
สัมมาทิฏฐิ ๑ การประพฤติด้วยความดำริแห่งสัมมาสังกัปปะ ๑ การประพฤติ
ด้วยความกำหนดแห่งสัมมาวาจา ๑ การประพฤติด้วยสมุฏฐานแห่งสัมมากัม-
มันตะ ๑ การประพฤติด้วยความขาวผ่องแห่งสัมมาอาชีวะ ๑ การประพฤติด้วย
ความประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ ๑ การประพฤติด้วยความตั้งสติมั่นแห่ง
สัมมาสติ ๑ การประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ๑ จริยา ๘ เหล่านี้
ฉะนี้แล.
จบจริยากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 793
อรรถกถาจริยากถา
บัดนี้ เพื่อให้เห็นอุบายการทำให้แจ้งซึ่งนิพพานกล่าวคือนิสสรณวิเวก
อันเป็นความสงัดอย่างยิ่งในลำดับวิเวกกถา และเพื่อให้เห็นการทำประโยชน์
สุขแก่โลก แห่งนิโรธอันทำให้แจ้งอย่างนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวจริยากถา
แม้ชี้แจงไว้แล้วในอินทริยกถาอีก. การพรรณนาความแห่งจริยากถานั้น ท่าน
กล่าวไว้แล้วในอินทริยกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจริยากถา
ปัญญาวรรค ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปฏิหาริย์ ๓
[๗๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทศนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ๑.
[๗๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก
ก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์.
[๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 794
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตาม
เหตุที่กำหนดว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่าน
เป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่
ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี
หรือของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น
ประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจ
นั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์
ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้
กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น
ประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจ
นั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้ฟังเสียงของมนุษย์
ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหาได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้
กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของผู้เข้าสมาธิอันไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างใด ก็จัก
ตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก
การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อาเทศนาปาฏิหาริย์.
[๗๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุศาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอน
อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 795
อย่างนั้น จงละธรรมนี้ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้แล.
[๗๒๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ เนกขัมมะ
ย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย
เนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว
เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้น ท่าน
ทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็น
ธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็น
อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่พยาบาท
ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย
ความไม่พยาบาทนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริ
ไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความ
ไม่พยาบาทนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มาก
อย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่พยาบาทนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อม
กำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย
อาโลกสัญญานั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว
เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้น
ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ
อันเป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญานั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลก-
สัญญาจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 796
ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมกำจัดอุทธัจจะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่
ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่าน จึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความ
ไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านทั้งหลาย พึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มาก
อย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่านจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ.
อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อรหัตมรรคย่อม
กำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย
อรหัตมรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว
เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอรหัตมรรคนั้น
ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ
อันเป็นธรรมสมควรแก่อรหัตมรรคนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัต-
มรรคจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิย่อมกำจัดกามฉันทะได้
เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์
ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดพยาบาทได้
เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิเเละปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์
อาโสกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้
เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น
เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและ
ปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล.
จบปาฏิหาริยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 797
อรรถกถาปาฏิหาริยกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพิจารณา แห่งปาฏิหาริยกถาอันมี
พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์มีการพร่ำสอน
ประโยชน์แก่โลกเป็นที่สุด ในลำดับแห่งจริยากถาอันมีความพระพฤติเป็นประ-
โยชน์แก่โลกเป็นที่สุดครบแล้ว.
ในพระสูตรนั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า ปาฏิหาริยานิ
คือปาฏิหาริย์ด้วยการนำสิ่งเป็นข้าศึกออกไปคือนำกิเลสออกไป. บทว่าอิทฺธิปา-
ฏิหาริย อิทธิปาฏิหาริย์ชื่อว่า อิทธิ ด้วยความสำเร็จ ชื่อว่าปาฏิหาริยะ ด้วย
การนำออกไป อิทธินั่นแหละเป็นปาฏิหาริยะจึงชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ส่วนใน
ปาฏิหาริย์นอกนี้ชื่อว่า อาเทศนา ด้วยการดักใจ ชื่อว่า อนุศาสนี ด้วย
การพร่ำสอน บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อิธ คือในโลกนี้.
บทว่า เอกจฺโจ คือบุรุษคนหนึ่ง อิทธิปาฏิหาริยนิเทศมีอรรถดังกล่าวไว้แล้ว
ในหนหลัง. บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ย่อมทายใจตามนิมิตคือย่อมกล่าว
ด้วยนิมิตที่มาแล้วด้วยนิมิตที่ไปแล้วหรือด้วยนิมิตแห่งจิต.
บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ใจของท่านเป็นอย่างนี้ คือใจของท่านเป็น
อย่างนี้มีโสมนัส มีโทมนัสหรือสัมปยุตด้วยกามวิตกเป็นต้น อปิศัพท์ เป็น
สัมบิณฑนัตถะ (มีความรวมกัน). บทว่า อิตฺถมฺปิ เต มโน ใจของท่าน
เป็นประการนี้ คือ แสดงประการต่าง ๆ ในจิตแม้อย่างหนึ่ง ๆ จากจิตมีโสมนัส
เป็นต้น. บทว่า อิติปิ เต จิตฺต จิตของท่านเป็นดังนี้ คือ จิตของท่านแม้
เป็นดังนี้ ความว่า จิตคิดถึงประโยชน์ ๆ เป็นไป. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 798
แม้ภิกษุนั้นทายใจเป็นอันมาก คือ กล่าวแม้มากว่าจิตนี้ จิตนี้อื่นจากจิตได้มีแล้ว
ย่อมมี จักมี. บทว่า ตเถว ต โหติ โน อญฺถา การทายใจนั้นก็เป็นอย่าง
นั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือการทายใจก็เป็นเหมือนที่กล่าวทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น
บทว่า น เหว โข นิมิตฺเตน อาทิสติ ภิกษุไม่ทายใจตามนิมิตเลยคือแม้รู้
นิมิตอยู่ก็ไม่กล่าวตามนิมิตอย่างเดียว. บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงปริยายอื่น
อีก. บทว่า มนุสฺสาน คือแห่งมนุษย์ผู้ยังจิตให้เกิด. บทว่า อมนุสฺสาน
คือยักษ์ปีศาจเป็นต้นที่ได้ฟังแล้วหรือยังไม่ได้ฟัง. บทว่า เทวตาน คือเทวดา
ชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น. บทว่า สทฺท สุตฺวา ฟังเสียงแล้วคือฟังเสียง
ของผู้รู้จิตของคนอื่นแล้วกล่าว. บทว่า ปน เป็นนิบาต ลงในความริเริ่มอีก.
บทว่า วิตกฺกยโต ของผู้วิตกคือของผู้ตรึกด้วยวิตกตามธรรมดา. บทว่า
วิจารยโต ของผู้ครองด้วยวิจารสัมปยุตด้วยวิตกนั่นเอง. บทว่า วิตกฺก-
วิจารสทฺท สุตฺวา ฟังเสียงวิตกวิจารคือฟังเสียงละเมอของคนหลับคน
ประมาทบ่นพึมพำอันเกิดขึ้นด้วยกำลังของวิตก ย่อมทายมีอาทิว่าใจของท่าน
เป็นดังนี้ด้วยอำนาจแห่งเสียงที่เกิดขึ้นแก่ผู้วิตก.
บทว่า อวิตกฺก อวิจาร สมาธึ สมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจารท่าน
กล่าวแสดงความสามารถในการรู้จิตอันสงบปราศจากวิตกวิจารและความกำเริบ
แต่ไม่ต้องกล่าวในความรู้จิตที่เหลือ. บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ
กำหนดใจด้วยใจย่อมรู้ เป็นการได้เจโตปริยญาณ. บทว่า โภโต คือผู้เจริญ.
บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา ตั้งมโนสังขารไว้ คือ ตั้งจิตสังขารไว้.
บทว่า อมุนฺนาม วิตกฺก วิตกฺเกสฺสติ จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้น คือย่อม
รู้ว่าจักตรึกจักประพฤติวิตกมีกุศลวิตกเป็นต้น อนึ่ง เมื่อรู้ย่อมรู้ด้วยการเข้าถึง
ย่อมรู้โดยส่วนเบื้องต้น ตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วรู้ ย่อมรู้ว่าภิกษุนั้นเริ่ม
กสิณภาวนายังปฐมฌานทุติยฌานเป็นต้นหรือยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดด้วยอาการใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 799
การบริกรรมกสิณนั้นแหละชื่อว่าย่อมรู้ด้วยการเข้าถึง เมื่อเริ่มปฐมวิปัสสนาย่อมรู้
ย่อมรู้ว่าภิกษุนั้นเริ่มวิปัสสนา ยังโสดาปัตติมรรคให้เกิด ฯลฯ หรือยังอรหัต-
มรรคให้เกิดด้วยอาการใด ชื่อว่าย่อมรู้โดยส่วนเบื้องต้น ย่อมรู้ว่ามโนสังขาร
ตั้งอยู่แก่จิตนี้ ภิกษุจักตรึกถึงจิตชื่อนี้ในลำดับแห่งจิตชื่อนี้ หรือเมื่อภิกษุ
ออกจากจิตนี้ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อมจักมีจักให้สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง
ความตั้งอยู่ อันเป็นส่วนแห่งความวิเศษอันเป็นส่วนแห่งความทำลาย หรือ
อภิญญาด้วยอาการใดชื่อว่าตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วรู้. บทว่า พหุญฺเจปิ
อาทิสติ ถึงแม้ภิกษุนั้นทายใจไว้เป็นอันมาก คือถึงแม้กล่าวไว้เป็นอันมาก
ด้วย ประเภท ๑๖ มี สราคะเป็นต้นเพราะทำเจโตปริยญาณให้เป็นอารมณ์แห่ง
จิตและเจตสิก พึงทราบว่ามิใช่ด้วยสามารถอย่างอื่น. บทว่า ตเถว ต โหติ
การทายใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น คือการรู้โดยเจโตปริยญาณก็เป็นอย่างนั้นโดย
ส่วนเดียวไม่มีโดยประการอื่น. บทว่า เอว วิตกฺเกถ จงตรึกอย่างนี้คือจงตรึก
ยังเนกขัมมวิตกเป็นต้นให้เป็นไปอย่างนี้. บทว่า มา เอว วิตกฺกยิตฺถ จง
อย่าตรึกอย่างนี้ คือจงอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอว
มนสิ กโรถ จงทำไว้ในใจอย่างนี้คือจงทำไว้ในใจซึ่งอนิจจสัญญาหรือในทุกข-
สัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มาเอว มนสากริตฺถ จงอย่าทำในใจ
อย่างนี้คือจงอย่าทำในใจโดยนัยมีอาทิว่าเที่ยงเป็นต้นอย่างนี้. บทว่าอิท ปชหถ
จงละธรรมนี้คือจงละกามคุณ ๕ และราคะเป็นต้นนี้. บทว่า อิท อุปสมฺปชฺช
วิหรถ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด คือ จงบรรลุให้สำเร็จโลกุตรธรรมอันมี
ประเภทเป็นมรรค ๔ ผล ๔ นี้อยู่เถิด.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงปริยายอื่นในอิทธิปาฏิหาริย์โดย
วิเศษจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เนกฺขมฺม อิชฺฌตีติ อิทฺธิ ชื่อว่าอิทธิเพราะเนก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 800
ขัมมะย่อมสำเร็จในบทเหล่านั้น. บทว่า กามฉนฺท ปฏิหรติ เนกขัมมะย่อม
กำจัดกามฉันทะได้ คือเนกขัมมะเป็นกำลังเฉพาะย่อมนำออกคือละกามฉันทะอัน
เป็นปฏิปักษ์ของตน เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะนั่นแหละ จึงชื่อว่าปาฏิหาริยะ. บท
ว่า เย เตน เนกฺขมฺเมน สมนฺนาคตา ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้น
คือ บุคคลเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้นนำกามฉันทะออกไปอย่างนี้ด้วย
การได้เฉพาะ. บทว่า วิสุทฺธจิตฺตา คือมีจิตบริสุทธิ์เพราะไม่มีกามฉันทะ.
บทว่า อนาวิลสงฺกปฺปา มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือมีความดำริในเนกขัมมะไม่
ขุ่นมัวด้วยการดำริถึงกาม. บทว่า อิติ อาเทสนาปาฏิหาริย เพราะเหตุนั้น
เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ เนกขัมมะเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์อย่าง
นี้ด้วยจิตเป็นอื่นเป็นกุศล ด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอื่นหรือด้วยพระพุทธสาวก
ทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบทำอาเทสนศัพท์ให้เป็นปาฐะที่เหลือ
เพราะเหตุนั้น การทายใจอย่างนี้ชื่อว่าอาเทศนาปาฏิหาริยะ. บทว่า เอว อาเส-
วิตพฺพ พึงเสพอย่างนี้ คือพึงเสพด้วยประการนี้แต่ต้นใน ๓ บทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า ตทนุธมฺมตา สติ อุปฏฺาเปตพฺพา พึงตั้งสติเป็นธรรมดา
ตามสมควรคือพึงตั้งสติอันช่วยเนกขัมมะนั้นให้ยิ่งยวดใน บทว่า อิติ อนุสาส-
นีปฏิหาริย เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริยะนี้พึงทำการ
ประกอบดุจด้วยการประกอบอาเทศนาปาฏิหาริยะ แม้ในพยาบาทเป็นต้นก็มี
นัยนี้เหมือนกัน แต่ปาฐะท่านย่อฌานเป็นต้นแล้วเขียนแสดงอรหัตมรรคไว้ใน
ที่สุด พึงทราบว่าท่านกล่าวบทมีอาทิว่า เอว อาเสวิตพฺโพ พึงเสพอย่างนี้
ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเพราะเป็นไปในขณะจิตดวงเดียว จริงอยู่พึง
ทราบว่า เมื่อยังมรรคให้เกิดด้วยวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีกล่าวคือโลกิยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 801
มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค เมื่อทำอาเสวนะเป็นต้นแล้วแม้มรรค
เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนานั้นก็เป็นอันชื่อว่าเสพแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว. ฝ่าย
อาจารย์ผู้เป็นสัพพัตถิกวาท (มีวาทะทุกอย่างมีประโยชน์) กล่าวว่ามรรคหนึ่งๆ
มี ๑๖ ขณะ แต่การตั้งสติเป็นธรรมดาตามสมควรแก่มรรคนั้น ย่อมพยายามใน
ส่วนเบื้องต้นเท่านั้น. เพื่อแสดงความที่ บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริย เป็นกัมมธารย-
สมาสท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺม อิชฺฌตีติ อิทฺธิ อีกครั้ง เมื่อ
ท่านกล่าวความที่อิทธิปาฏิหาริยะเป็นสมาสใน ๓ ปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วใน
พระสูตรก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ปาฏิหาริยะสองที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น พึงทราบ
ว่าท่านกล่าวอรรถแห่งสมาสของอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นบทต้นในปริยายนี้แล.
จบอรรถกถาปาฏิหาริยกถา
ปัญญาวรรค สมสีสกถา
ว่าด้วยธรมสงบและธรรมส่วนสำคัญ
[๗๒๓] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในสัมมาสมุจ-
เฉทและในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม
คำว่า ธรรมทั้งปวง คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
โลกุตรธรรม.
คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะ
ได้ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 802
ตัดถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถาน
เป็นเครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดี ความ
ปราโมทย์เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี
ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี.
[๗๒๔] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ
อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท...ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐม-
ฌานเป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ
กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้
อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌาน อวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาณ
นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.
[๗๒๕] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่าเพราะท่านละกาม-
ฉันทะได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมณธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว
อัพยาบาทจึงเป็นสมธรรม เพื่อท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็น
สมธรรม เพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่าน
ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้ว
ฌานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม
เพราะท่านละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละ
กิเลสทั้งปวงได้แล้ว อรหัตมรรคจึงเป็นสมธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 803
สีสธรรม ในคำว่า สีส มี ๑๓ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประ-
ธาณ ๑ มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๑ ทิฏฐิมีความถือผิดเป็นประธาน ๑
อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธา
มีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๑ สติ
มีความตั้งมั่นเป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามี
ความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์
โคจรเป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑.
จบสมสีสกถา
อรรถกถาสมสีสกถา
บัดนี้ เพื่อแสดงความที่สมสีสะ (ดับกิเลสพร้อมกับชีวิต)
สงเคราะห์เข้าในอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นปาฏิหาริย์เบื้องต้น ในลำดับแห่ง
ปาฏิหาริยกถา ว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวสมสีสกถา
(สมธรรม ความสงบ สีสธรรม ธรรมส่วนสำคัญ ) ไว้แม้ท่านชี้แจงไว้แล้ว
ในญาณกถา ด้วยสัมพันธ์กับอิทธิปาฏิหาริย์อีก. การพรรณนาความสมสีสกถา
นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสมสีสกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 804
ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๗๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล.
[๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดินโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 805
กำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อม
ละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ
สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและ
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐาน-
ภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑
ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกอง
อาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง
กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้
เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
เห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
เรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 806
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้.
[๗๒๘] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่
ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ
๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียก
การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้
เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น
ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้.
[๗๒๙] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 807
ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ
๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
เห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่
เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ จิตปราศจาก
ราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิต-
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ
สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้
จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
จิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิต
ในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม
ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้.
[๗๓๐] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 808
โดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ
ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ
ย่อมละสมุทัย เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะ
เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติ-
ปัฏฐานภาวนา.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยความว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่
ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน
นั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล.
จบสติปัฏฐานกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 809
อรรถกถาสติปัฏฐานกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสติปัฏฐานกถา
อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปัสสนาวิเศษ ๗
อย่าง ยกอิทธิปาฏิหาริย์ที่พระองค์ตรัสแล้วในลำดับแห่งสมสีสกถาเป็นตัวอย่าง
ตรัสแล้ว.
พึงทราบความในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า จตฺตาโร สติปัฏฐาน ๔
เป็นการกำหนดจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดสติปัฏฐาน
ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น. บทว่า อิเม นี้เป็นบทชี้ให้เห็นสิ่งที่
ควรชี้ให้เห็น. บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้รับธรรม. บทว่า
สติปฏฺานา คือสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ได้แก่ สติเป็นโคจร ๑ ความที่
พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้าย ในสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑
และสติ ๑.
สติโคจรท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน ๔. บทนั้น
มีอธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีที่ตั้ง อะไรตั้ง สติตั้ง การตั้งสติ
ชื่อว่า สติปัฏฐาน.
ความละเมิดคำแนะนำด้วยความข้องใจของศาสดา ในสาวกผู้ปฏิบัติ
ท่านกล่าวว่า สติปฏฺาน ในพระบาลีนี้ว่า พึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. บทนั้นมี
อธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน. เพราะควรตั้งไว้ อธิบายว่า ควรประพฤติ
ควรตั้งไว้ด้วยอะไร ด้วยสติ การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 810
อนึ่ง สติ นั่นแหละท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลี
มีอาทิว่าสติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ยังโพชฌงค์ ๗ ให้
บริบูรณ์. บทนั้นมีอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏฺาน เพราะย่อมตั้งไว้ ความว่า
ตั้งไว้ ก้าวไป แล่นไปแล้วเป็นไปอยู่ สตินั่นแหละตั้งไว้ชื่อว่า สติปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า เป็นที่ระลึก ชื่อว่า
อุปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สติปัฏฐาน
เพราะสติเข้าไปตั้งไว้บ้าง. นี้เป็นความประสงค์ในที่นี้. ผิถามว่า เพราะเหตุไร
จึงทำเป็นพหุวจนะว่า สติปฏฺานา. เพราะสติมีมาก. จริงอยู่ ว่าโดยประเภท
ของอารมณ์ สติเหล่านั้นมีมาก. บทว่า กตเม จตฺตาโร ๔ ประการเป็นไฉน
เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา ถามตอบเอง. บทว่า อิธ คือในพระศาสนานี้. บทว่า
ภิกฺขุ ชื่อว่า ภิกขุ เพราะเห็นภัยในสงสาร. ก็การพรรณนาความแห่งบทที่
เหลือในคาถานี้ท่านกล่าวไว้เเล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศ ในสุตมยญาณกถา.
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง. เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต
สมถยานิก วิปสสนายานิก เป็นไปแล้วโดยสองส่วน ๆ ด้วยความอ่อนและ
ความเฉียบแหลม กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างหยาบเป็นทางหมดจดของผู้มี
ตัณหาจริตอ่อน เวทนานุปัสสนสติปัฏฐานอย่างละเป็นทางหมดจดของ
ผู้เฉียบแหลม จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันมีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นทางหมดจด
ของผู้มีทิฏฐิจริตอ่อน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันมีประเภทยิ่งเกินเป็นทาง
บริสุทธิ์ของผู้มีทิฏฐิจริตเฉียบแหลม. สติปัฏฐานข้อที่ ๑ เป็นนิมิตควรถึงโดย
ไม่ยาก เป็นทางบริสุทธิ์ของเป็นสมถยานิกอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เป็น
ทางหมดจดของผู้เป็นสมถยานิกเฉียบแหลม เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์หยาบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 811
สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทางหมดจดของผู้เป็น
วิปัสสนายานิกอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีประเภทยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทาง
หมดจดของผู้เป็นวิปัสสนายานิกเฉียบแหลม. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไว้ในหย่อนไม่ยิ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อละความสำคัญผิดว่าเป็นของงาม เป็นสุข เป็น
ของเที่ยงและเป็นตัวตน เพราะว่ากายเป็นของไม่งาม. อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายมี
ความสำคัญผิด ๆ ในกายนั้นว่าเป็นของงาม เพื่อละความสำคัญผิดนั้น ของสัตว์
เหล่านั้น ด้วยเห็นความเป็นของไม่งามในกายนั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑.
อนึ่ง พระองค์ตรัสถึงทุกขเวทนาในเวทนาเป็นต้นที่สัตว์ถือว่า เป็นสุข เป็น
ของเที่ยง เป็นตัวตน พระองค์ตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ธรรมเป็น
อนัตตา สัตว์ทั้งหลายยังมีความสำคัญผิด ๆ ในสิ่งเหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็น
ของเที่ยง เป็นตัวตน เพื่อละความสำคัญผิดเหล่านั้น ของสัตว์เหล่านั้นด้วย
แสดงถึงความเป็นทุกข์เป็นต้นในสิ่งนั้น พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละความสำคัญ
ผิด ๆ ว่าเป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน ด้วยประการฉะนี้ มิใช่
เพื่อละความสำคัญผิดอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔
คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ และอคติ ๔ บ้าง เพื่อกำหนดรู้อาหาร ๔ อย่างบ้าง
พึงทราบว่า พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔.
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า ปวีกายึ
กองปฐวีธาตุ คือธาตุดินในกายนี้. เพื่อสงเคราะห์ปฐวีธาตุทั้งหมด เพราะ
ปฐวีธาตุในกายทั้งสิ้นมีมากท่านจึงใช้ กาย ศัพท์ ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 812
แม้ในกองวาโยธาตุเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ท่านใช้กองผมเป็นต้น
เพราะกองผมเป็นต้นมีมาก. อนึ่ง บทว่า วักกะ ไตเป็นต้น เพราะกำหนด
ไว้แล้วจึงไม่ใช้ กาย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านจึงไม่ใช้ กาย แห่ง
วักกะเป็นต้นนั้น.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สุข เวทน ดังต่อไปนี้. บทว่า สุข
เวทน เวทนา ได้แก่ สุขเวทนาทางกายหรือทางจิต. ทุกขเวทนาก็อย่างนั้น.
ส่วนบทว่า อทุกฺขมสุข เวทน ได้แก่ อุเขกขาเวทนาทางจิตเท่านั้น.
บทว่า สามิส สุข เวทน สุขเวทนาเจืออามิส คือ โสมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิส สุข เวทนา สุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่ โสมนัสเวทนา
อาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า สามิส ทุกฺข เวทน ทุกขเวทนาเจืออามิส
ได้แก่ โทมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖. บทว่า นิรามิส ทุกฺข เวทน ทุกขเวทนา
ไม่เจืออามิส ได้แก่ โทมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า สามิส อทุกฺขม-
สุข เวทน อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิส อทุกฺขมสุข เวทน อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส
ได้แก่ อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทมีอาทิว่า สราค จิตฺต จิตมีราคะ
มีอรรถดังกล่าวแล้วในญาณกถา. บทว่า ตทวเสเส ธมฺเม ในธรรมที่เหลือ
จากนั้น คือ ในธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือจากกาย เวทนา และจิตเท่านั้น.
อนึ่ง ในบททั้งปวง บทว่า เตน าเณน คือ ด้วยอนุปัสสนาญาณ ๗ อย่างนั้น.
อนึ่ง บทเหล่าใดมีอรรถมิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในกถานี้ บทเหล่านั้นมีอรรถ
ดังได้กล่าวแล้วในกถานั้น ๆ ในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสติปัฏฐานกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 813
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา
[๗๓๑] ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขาร
ไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่
เป็นฐานะที่จะมีได้. ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น
ของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้
ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.
[๗๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไร ๆ
โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะ
มีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประ-
กอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 814
ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม อันเป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้
แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีได้.
[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไร ๆ
โดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไร ๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่
จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุ-
โลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตต-
นิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.
[๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพาน
โดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จัก
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลม-
ขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อ
นี้เป็นฐานะที่มีได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 815
[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต-
นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัม-
มัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐.
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตต-
นิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ?
ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑
เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑
เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑
เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑
เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น
ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑
เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑
เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็น
ของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของ
มีความเกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ
ป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ
เศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ
คับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อ
พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่
สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลม-
ขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 816
ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยเป็นดังหัวฝี... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีฝีหัว... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร... เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอา-
พาธ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ
แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยความเป็นของชำรุด... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพ-
พานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
เสนียด...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีเสนียด
...เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นภัย...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่
มีภัย... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค... เมื่อพิจารณาเห็น
ว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจ-
ขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
่ของผุพัง... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
ผุพัง... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน... เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน... เมื่อพิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 817
เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานเป็นที่ป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ
ไม่มีที่พึ่ง... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่
พึ่ง... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพานไม่ว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของเปล่า... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่เปล่า... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ... เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง...เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง...เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นโทษ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี
โทษ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา...เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ...เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ... เมื่อพิจารณา
เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของเสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 818
นิพพานไม่มีความเสื่อมไป... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี
อาสวะ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี-
อาสวะ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจ-
ขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพานไม่มีความตาย...เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
ของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ...เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
ของมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจ-
ขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคร่ำครวญ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ
คับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความดับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจาร-
ณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุ-
โลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
เศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 819
[๗๓๖] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
อนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค
เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็น
ดังลูกศรเป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสสนา โดย
ความเป็นอาพาธ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นทุกขานุปัสสนา
โดยความเป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขา-
นุปัสสนา โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นภัย เป็น
ทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของ
หวั่นไหว เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสสนา
โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไร
ต้านทาน เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุ-
ปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของว่าง
เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็น
ของสูญ เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสสนา
โดยความเป็นโทษ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดาเป็นอนิจจานุปัสสนาโดยความเป็นของหาสาระมิได้เป็นอนัตตานุปัสสนา
โดยความเป็นมูลแห่งความทุกข์ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นดังเพชฌฆาต
เป็นทุกขานุปัสสนา โดยเป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็น
ของมีอาสวะ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุ-
ปัสสนา โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมี
ความเกิดเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็น
ธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 820
เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุ-
ปัสสนา โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสสนา โดย
ความเป็นของมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็น
ของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมี
ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา.
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ นี้.
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ นี้ มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตานุ-
ปัสสนาเท่าไร ?
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕
มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้แล.
จบวิปัสสนากถา
อรรถกถาวิปัสสนากถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่พรรณนาแห่งวิปัสสนากถาอันมีพระ
สูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประเภทแห่งวิปัสสนาใน
ลำดับแห่งสติปัฏฐานกถาปฏิสังยุตด้วยวิปัสสนาตรัสแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อนดังต่อไปนี้ บทว่า โส เพราะ
เป็นสรรพนาม จึงเป็นอันสงเคราะห์ภิกษุแม้ทั้งหมดที่มีอยู่. บทว่า วต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 821
เป็นนิบาตลงในอรรถเอกังสะ. (ทำบทให้เต็ม). บทว่า กญฺจิ สงฺขาร สัง-
ขารไร ๆ คือสังขารแม้มีประมาณน้อย. ในบทว่า อนุโลมิกาย ขนฺติยา ด้วย
อนุโลมขันตินี้มีความดังนี้. ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะวิปัสสนานั่นแหละย่อม
อนุโลมโลกุตรมรรค ชื่อว่าอนุโลมิกา เพราะเพ่งถึงขันตินั่นแหละ ชื่อว่า
ขนฺติ เพราะสังขารทั้งปวงย่อมพอใจย่อมชอบใจแก่ภิกษุนั้นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยเป็นอนัตตา. ขันตินั้นมี ๓ อย่าง คือ อย่าง
อ่อน ๑ อย่างกลาง ๑ อย่างกล้า ๑ ขันติมีการพิจารณาเป็นกลาปะ (กลุ่มก้อน)
เป็นเบื้องต้น มีอุทยัพพยญาณเป็นที่สุด เป็นอนุโลมขันติอย่างอ่อน ขันติมี
การพิจารณาถึงความดับเป็นเบื้องต้น มีสังขารอุเบกขาญาณเป็นที่สุดชื่อว่า
อนุโลมขันติอย่างกลาง ขันติเป็นอนุโลมญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่
กำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่าอนุโลมขันติอย่างกล้า. บทว่า สมนฺนาคโต ประกอบ
แล้วคือเข้าถึงแล้ว. บทว่า เนต าน วิชฺชติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้คือ
ไม่เป็นฐานะไม่เป็นเหตุที่จะมีได้ตามที่กล่าวแล้ว. ในบทนี้ว่า สมฺมตฺตนิยาม
สัมมัตตนิยาม (ความชอบและความแน่นอน) นี้มีความดังนี้. ชื่อว่า สมฺมตฺ-
โต เพราะเป็นสภาวะชอบโดยความหวังอย่างนี้ว่า จักนำประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขมาให้แก่เราโดยความเจริญอย่างนั้น และโดยปรากฏความเป็นไป
อันไม่วิปริต ในสิ่งไม่งามเป็นต้นว่าเป็นของงาม ชื่อว่านิยาโม เพราะเป็นความ
แน่นอนด้วยการให้ผลในลำดับและด้วยการบรรลุพระอรหัต ความว่าการตั้งใจ
แน่วแน่. ชื่อว่า สมฺมตฺตนิยาโม เพราะความชอบและความแน่นอน. นั้น
คืออะไร คือโลกุตรมรรค แต่โดยพิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า นิยโต สมฺโพธิปรายโน มีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า
แน่นอน เพราะแน่นอนด้วยมรรคนิยาม สู่สัมมัตตนิยามนั้น. บทว่า โอกฺก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 822
มิสฺสติ จักย่างลงคือจักเข้าไป อธิบายว่าข้อนั้นมิใช่ฐานะ อนึ่ง พึงทราบว่า
ท่านไม่ยึดถือฐานะนั้นเพราะความที่โคตรภูเป็นที่ตั้งแห่งอาวัชชนะของมรรค
แล้วกล่าวถึงการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในลำดับแห่งอนุโลมขันติ.
อีกอย่างหนึ่ง ในมหาวิปัสสนา ๑๘ โคตรภูเป็นวิวัฏฏนานุปัสสนา
(การพิจารณาถึงนิพพาน) ถึงเหตุนั้น จึงเป็นอันสงเคราะห์เข้าในอนุโลมิกขันติ
นั่นแหละ แม้ใน ๔ สูตรก็พึงทราบความโดยนัยนี้แหละด้วยบทเหล่านั้น ท่าน
กล่าว ๔ สูตรไว้ในฉักกนิบาตว่าธรรม ๖ อย่าง ด้วยสามารถอนุโลมิกขันติ
สัมมัตตนิยามและอริยผล ๔ เป็นความจริง สูตร ๔ สูตร ย่อมมีด้วยปักษ์ทั้ง
สองคือกัณหปักษ์และศุกลปักษ์.
พระโยคาวจรผู้เริ่มวิปัสสนาด้วยการพิจารณากลาปะกำหนดนามรูป
และปัจจัยแห่งนามรูปในบททีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺเธ อนิจฺจโต พิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงในสุตตันตนิเทศอันมีคำถามเป็นเบื้องต้น
ว่า กตีหากาเรหิ ด้วยอาการเท่าไรแล้วเห็นว่าขันธ์หนึ่ง ๆ ในขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเพราะปรากฏแล้วและเพราะมีเบื้องต้นและที่สุด.
โดยความเป็นทุกข์ เพราะมีเกิดดับ และบีบคั้นและเพราะเป็นที่ตั้งแห่ง
ทุกข์.
โดยความเป็นโรค เพราะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยและเพราะเป็นเหตุ
แห่งโรค.
โดยเป็นดังหัวฝี เพราะประกอบด้วยความทุกข์และความเสียดแทง
เพราะอสุจิคือกิเลสไหลออก และเพราะบวมแก่จัดและแตกด้วยเกิดแก่และดับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 823
โดยความเป็นดังลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะเสียดแทง
ภายใน และเพราะนำออกได้ยาก.
โดยความลำบาก เพราะน่าติเตียน เพราะนำความไม่เจริญมาให้ และ
ความชั่วร้าย.
โดยความป่วยไข้ เพราะให้เกิดความไม่มีเสรี และเพราะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความอาพาธ.
โดยความเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีอำนาจและเพราะไม่เชื่อฟัง.
โดยความเป็นของชำรุดด้วยพยาธิชราและมรณะ.
โดยความเป็นเสนียด เพราะนำความพินาศไม่น้อยมาให้.
โดยความเป็นอุบาทว์ เพราะนำความพินาศมากมายอันไม่รู้แล้วมาให้
และเพราะเป็นวัตถุแห่งอันตรายทั้งปวง.
โดยความเป็นภัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวง และเพราะเป็น
ปฏิปักษ์แห่งความหายใจเข้าเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือสงบยากโดยความเป็นอุปสรรค
เพราะถูกความพินาศไม่น้อยติดตาม เพราะเกี่ยวข้องด้วยโทสะ และเพราะอด
กลั้นไม่ได้ดุจอุปสรรค.
โดยความหวั่นไหว เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิชราและมรณะและโลก-
ธรรมมีลาภเป็นต้น.
โดยความผุพัง เพราะเข้าถึงความผุพังด้วยความพยายามและด้วยหน้าที่.
โดยความไม่ยั่งยืน เพราะสิ่งที่ตั้งอยู่ตกไป และเพราะความไม่มีความ
มั่นคง.
โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เพราะต้านทานไม่ได้และเพราะ
ไม่ได้รับความปลอดโปร่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 824
โดยความเป็นของไม่มีอะไรลับลี้ เพราะไม่ควรเพื่อติดและเพราะแม้
สิ่งที่ติดก็ไม่ทำการป้องกันได้.
โดยความไม่เป็นที่พึ่ง เพราะไม่มีสิ่งที่อาศัยอันจะเป็นสาระในความกลัว
ได้.
โดยความเป็นของว่าง เพราะว่างจากความยั่งยืนความสุขและอาหาร
อร่อยตามที่กำหนดไว้.
โดยความเป็นของเปล่า เพราะเป็นของว่างนั่นเอง หรือเพราะเป็นของ
น้อย เพราะของแม้น้อยท่านก็กล่าวว่าเป็นของเปล่าในโลก.
โดยความเป็นของสูญ เพราะปราศจากเจ้าของที่อยู่อาศัยผู้รู้ผู้กระทำ
ผู้ตั้งใจ
โดยความเป็นอนัตตา เพราะตนเองไม่เป็นเจ้าของเป็นต้น.
โดยความเป็นโทษ เพราะเป็นทุกข์ประจำและความที่ทุกข์เป็นโทษ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาทีนโว เพราะฟุ้งไปคือเป็นไปแห่งโทษ
ทั้งหลาย บทนี้เป็นชื่อของมนุษย์ขัดสน. อนึ่ง แม้ขันธ์ ๕ ก็เป็นความขัดสน
เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าโดยความเป็นโทษ เพราะเป็นเช่นกับโทษ
นั่นเอง.
โดยมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะตามปกติก็แปรปรวน
โดยสองส่วน คือ โดยชราและมรณะ.
โดยความไม่มีสาระ เพราะไม่มีกำลังและเพราะทำลายความสุขดุจกระพี้.
โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก เพราะเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย.
โดยความเป็นดังฆาตกร เพราะทำลายความวิสาสะดุจข้าศึก ปากพูดว่า
เป็นมิตร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 825
โดยปราศจากความเจริญ เพราะหมดความเจริญ และความสมบูรณ์.
โดยเป็นของมีอาสวะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ.
โดยเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง เพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.
โดยความเป็นเหยื่อของมาร เพราะเป็นเหยื่อของมัจจุมารและกิเลสมาร.
โดยความเป็นของมีความเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา เพราะมี
ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะเป็นปกติ.
โดยเป็นของมีความโศก ความคร่ำครวญ ความดับแค้นเป็นธรรมดา
เพราะมีความโศก ความคร่ำครวญ และความคับแค้นเป็นเหตุ.
โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เพราะความที่ตัณหา
ทิฏฐิทุจริตและสังกิเลสเป็นวิสยธรรมดา.
อนึ่ง ในบทเหล่านั้นทั้งหมดพึงเห็นปาฐะที่เหลือว่า ปสฺสติ ดังนี้.
บทว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ขันธ์ ๕ แม้เมื่อกล่าวโดยส่วนรวมก็พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวพรรณนาอรรถด้วยขันธ์หนึ่ง ๆ เพราะมาต่างหากกันในกลาปสัมมสนนิเทศ
เพราะในที่สุดคำนวณอนุปัสสนา ด้วยสามารถขันธ์ทั้งหลายต่างหากกัน และ
เพราะมีความเป็นไปแม้ในส่วนอวัยวะ แห่งคำที่เป็นไปในส่วนรวมกัน. อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ด้วยการกล่าวย่อมสัมมสนะ
อันเป็นไปต่างหากกันร่วมเป็นอันเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาขันธ์ ๕
เป็นอันเดียวกัน เพราะปรากฏคำในอรรถกถาว่า ด้วยการประหารครั้งเดียว
ขันธ์ ๕ ก็ออกไปดังนี้ ย่อมควรทีเดียว.
บทว่า ปญฺจนฺน ขนฺธาน นิโรโธ นิจฺจ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต
เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยว คือ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า นิพพานเที่ยงด้วยอำนาจแห่งญาณอันเป็นทางสงบ ในกาลแห่งวิปัสสนา
ตามที่กล่าวแล้วในอาทีนวญาณนิเทศ. บทว่า สมฺมตฺตนิยาม โอกฺกมติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 826
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม คือ ย่อมหยั่งลงในขณะแห่งมรรค ก็ชื่อว่าหยั่งลง
ในขณะแห่งผลด้วย ในปริยายแห่งการหยั่งลงในนิยามทั้งหมดก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า อาโรคย คือความไม่มีโรค. บทว่า วิสลฺล คือปราศจากลูกศร
ในบทเช่นนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนาพาธ คือปราศจากอาพาธ หรือ
เป็นปฏิปักษ์ต่ออาพาธ. ในบทเช่นนี้ก็นัยนี้ บทว่า อปรปจฺจย คือปราศจาก
ปัจจัยอื่น อาจารย์บางพวกกล่าวประกอบกันว่า อุปสฺสคฺคโตติ จ อนุปสฺ-
สคฺคนฺติ จ เห็นขันธ์ ๕ โดยมีอุปสรรคและนิพพานไม่มีอุปสรรค. บทว่า
ปรมสุญฺ สูญอย่างยิ่ง ชื่อว่าสูญอย่างยิ่ง เพราะสูญจากสังขารทั้งหมด และ
เพราะสูญอย่างสูงสุด. บทว่า ปรมตฺถ มีประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะเป็น
ของเลิศกว่าสังขตะและอสังขตะ เป็นนปุงสกลิงค์เพราะลิงควิปลาส. ท่านไม่
กล่าวปริยายโดยอนุโลมในสองบทนี้ เพราะนิพพานเป็นของสูญและเพราะเป็น
อนัตตา. บทว่า อนาสว คือปราศจากอาสวะ. บทว่า นิรามิส คือปราศจาก
อามิส. บทว่า อชาต คือไม่เกิดเพราะปราศจากความเกิด. บทว่า อมต
คือปราศจากความตายเพราะไม่ดับ. จริงอยู่ แม้ความตายท่านก็กล่าวว่า มต
เพราะเป็นนปุงสกลิงค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันในอนุปัสสนา
๓ ด้วยสงเคราะห์ตามสภาวธรรมในอนุปัสสนา ๔๐ อันแตกต่างกันโดยอาการ
ดังกล่าวแล้วตามลำดับนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนิจฺจโตติ
อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็น
อนิจจานุปัสสนา พึงประกอบในความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาตามสมควร
ในอนุปัสสนาเหล่านั้น แต่ในที่สุดท่านแสดงอนุปัสสนาเหล่านั้น ด้วยการ
คำนวณต่างกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 827
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจวีสติ ๒๕ คือ อนัตตานุปัสสนา ๒๕
ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์หนึ่ง ๆ อย่างละ ๕ คือ ปรโต (โดยเป็นอย่างอื่น) ๑
ริตฺตโต (โดยเป็นของว่าง) ๑ ตุจฺฉโต (โดยเป็นของเปล่า) ๑ สฺุโต
(โดยเป็นของสูญ) ๑ อนตฺตโต (โดยเป็นอนัตตา) ๑.
บทว่า ปญฺาส ๕๐ คือ อนิจจานุปัสสนา ๕๐ ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์
หนึ่ง ๆ อย่างละ ๑๐ คือ อนิจฺจโต (โดยเป็นของไม่เที่ยง) ๑ ปโลกโต
(โดยการทำลาย) ๑ จลโต (โดยความหวั่นไหว) ๑. ปภงฺคุโต (โดยความ
ผุพัง) ๑ อทฺธุวโต (โดยความไม่ยั่งยืน) ๑ วิปริณามธมฺมโต (โดยความ
แปรปรวนเป็นธรรมดา) ๑ อสารกโต (โดยความไม่มีสาระ) ๑ วิภวโต
(โดยปราศจากความเจริญ) ๑ สงฺขโต (โดยปัจจัยปรุงแต่ง) ๑ มรณธมฺมโต
(โดยมีความตายเป็นธรรมดา) ๑.
บทว่า สต ปญฺจวีสติ ๑๒๕ คือ ทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ ในขันธ์ ๕
ทำขันธ์หนึ่ง ๆ อย่างละ ๒๕ มีอาทิว่า ทุกฺขโต โรคโต. บทว่า ยานิ ทุกฺเข
ปวุจฺจเร พึงทราบการเชื่อม ความว่า อนุปัสสนาที่ท่านกล่าวด้วยสามารถ
การคำนวณขันธปัญจกอันเป็นทุกข์ ๑๒๕ อย่าง. อนึ่ง ในบทว่า ยานิ นี้
พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส.
จบอรรถกถาวิปัสสนากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 828
ปัญญาวรรค มาติกากถา
ว่าด้วยเนกขัมมะ
[๗๓๗] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความ
หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ
ญาณทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์
ภาวนาธิษฐานชีวิต.
คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความ
ไม่พยาบาท ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น จากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค.
คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง.
คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า
มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา
เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 829
ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่. ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจาก
กิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่.
[๗๓๘] ข้อว่า อธิสีล อธิจิตฺต อธิปญฺา ความว่า เนกขัมมะ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง
เห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ
เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่
พยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ
อรหัตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า
จิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถ
ว่าเป็นเครื่องเห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านใน
จิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา.
[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกาม-
ฉันทะ ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่อง
ระงับกิเลสทั้งปวง.
คำว่า าณ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
เป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ทสฺสน ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่าเห็น
เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่า
เห็น เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัศนะ เพราะความ
ว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 830
คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วย
เนกขัมมะ ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง
ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค.
[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺม ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ จากสิ่งที่มีที่เป็น อัน
ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะจากพยาบาท
อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะจากถิ่นมิทธะ ฯลฯ
คำว่า นสฺสรณ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท
เป็นเครื่องสลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นสิ่งที่สงัดกิเลสทั้งปวง.
คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง.
คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็น
เครื่องประพฤติละกิเลสทั้งปวง.
คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า
เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 831
และที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า
เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา.
[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิต ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึง
พร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็น
อยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่
ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุม
สมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละ-
อุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉาเจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชา
เจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละ
กิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อม
เป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่
หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 832
ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล.
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์
อรรถกถามาติกากถา
บัดนี้ พระมหาเถระประสงค์จะสรรเสริญธรรม คือ สมถะ วิปัสสนา
มรรค ผล นิพพานที่ท่านชี้แจงไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทามรรคทั้งสิ้นในลำดับ
แห่งวิปัสสนากถา โดยปริยายต่าง ๆ ด้วยความต่างกันแห่งอาการจึงยกบทมาติกา
๑๙ บท มีอาทิว่า นิจฺฉาโต ผู้ไม่มีความหิวขึ้นแล้วกล่าวมาติกากถาด้วย
ชี้แจงบทมาติกาเหล่านั้น. ต่อไปนี้จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนา
แห่งมาติกากถานั้น พึงทราบวินิจฉัยในมาติกาก่อน. บทว่า นิจฺฉาโต คือ
ผู้ไม่มีความหิว. จริงอยู่ กิเลสแม้ทั้งหมดชื่อว่า มิลิตา (เหี่ยวแห้ง) เพราะ
ประกอบด้วยความบีบคั้น แม้ราคะอันเป็นไปในลำดับก็เผาผลาญร่างกาย จะ
พูดไปทำไมถึงกิเลสอย่างอื่น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิเลส ๓ อย่าง
อันเป็นตัวการของกิเลสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ อย่าง คือ ราคัคคิ
(ไฟราคะ) โทสัคคิ (ไฟโทสะ) โมหัคคิ (ไฟโมหะ). แม้กิเลสที่ประกอบ
ด้วยราคะ โทสะ โมหะนั้นก็ย่อมเผาผลาญเหมือนกัน. ชื่อว่า นิจฺฉาโต เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 833
ไม่มีกิเลสเกิดแล้วอย่างนี้ ผู้ไม่มีความหิวนั้นเป็นอย่างไร. พึงเห็นว่า ความ
หลุดพ้นโดยผูกพันกับวิโมกข์ ชื่อว่า โมกฺโข เพราะพ้น ชื่อว่า วิโมกฺโข
เพราะหลุดพ้น นี้เป็นบทมาติกา ๑. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺติ คือวิชานั่นแหละ
คือวิมุตติ นี้เป็นมาติกาบท ๑. บทว่า ฌานวิโมกฺโข คือฌานนั่นแหละเป็น
วิโมกข์ นี้เป็นมาติกาบท ๑. มาติกาบทที่เหลือก็เป็นบทหนึ่ง ๆ เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นมาติกาบท ๑๙ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เนกขมฺเมน กามจฺฉนฺทโต นิจฺฉาโต บุคคลผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือพระโยคาวจรผู้ไม่มีกิเลส ย่อม
หลุดพ้นจากกามฉันทะ. เพราะปราศจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ แม้เนกขัมมะ
ที่พระโยคาวจรนั้นได้ก็หมดความหิว ไม่มีกิเลสเป็นความหลุดพ้น แม้ในบท
ที่เหลือก็อย่างนั้น.
บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทโต มุจฺจตีติ วิโมกฺโข ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะพ้นจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือพระโยคาวจรย่อมพ้นจาก
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ. เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะนั้นจึงเป็นวิโมกข์ แม้ใน
บทที่เหลือก็อย่างนั้น.
บทว่า วิชฺชตีติ วิชฺชา เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่ามีอยู่
ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ถือเข้าไปได้โดยสภาพ.
อีกอย่างหนึ่ง เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ
เพื่อรู้ความเป็นจริง ย่อมรู้สึก ย่อมรู้ความเป็นจริง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ
เพื่อได้คุณวิเศษ ย่อมรู้สึก ย่อมได้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมประสบ
ย่อมได้ภูมิที่ตนควรประสบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 834
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมทำความ
รู้แจ้งสภาวธรรม เพราะเห็นสภาวธรรมเป็นเหตุ.
บทว่า วิชฺชนฺโต มุจฺจติ มุจฺจนฺโต วิชฺชติ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ อธิบายว่า ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะอรรถว่า ธรรมตามที่กล่าวแล้วมีอยู่ ด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว ย่อม
หลุดพ้นจากธรรมตามที่กล่าวแล้ว เมื่อหลุดพ้นจากธรรมตามที่กล่าวแล้ว ย่อม
มีด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า กามจฺฉนฺท สวรฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ
ความว่า เนกขัมมะนั้นชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องห้ามกามฉันทะ
เนกขัมมะชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นเหตุ ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็นเพราะการเห็นเป็นเหตุ แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปฏิปฺปสฺสมฺเภติ ย่อมระงับ ความว่า ธรรมมีเนกขัมมะ
เป็นต้น ชื่อว่าปัสสัทธิ เพราะพระโยคาวจรย่อมระงับกามฉันทะเป็นต้น ด้วย
เนกขัมมะเป็นต้น . บทว่า ปหีนตฺตา คือ เพราะเป็นเหตุให้ละด้วยปหานะนั้นๆ.
บทว่า าตฏฺเน าณ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ ความว่า เนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ ด้วยสามารถพิจารณาฌาน วิปัสสนา มรรค แม้ใน
บทนี้ว่า ทฏฺตฺตา ทสฺสน ชื่อว่าทัศนะ เพราะอรรถว่าเห็นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน ชื่อว่า โยคี เพราะบริสุทธิ์ คือ วิสุทธิมีเนกขัมมะเป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเนกขัมมนิเทศ ดังต่อไปนี้. เนกขัมมะชื่อว่า
นิสสรณะ (สลัดกาม) เพราะสลัดจากกามราคะเพราะไม่มีโลภ ชื่อว่า
เนกขัมมะ เพราะออกจากกามราคะนั้น. เมื่อกล่าวว่า เนกขัมมะเป็นเครื่อง
สลัดรูป เพื่อแสดงถึงความวิเศษ เพราะไม่แสดงความวิเศษของอรูป ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 835
จึงกล่าวว่า ยทิท อารุปฺป อรูปฌานสลัดรูป ตามลำดับปาฐะที่ท่านกล่าวไว้
แล้วในที่อื่นนั่นแหละ. อนึ่ง อรูปฌานนั้น ชื่อว่าเนกขัมมะ เพราะออกจากรูป
เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่านกล่าวด้วยอธิการะ. บทว่า ภูต สิ่งที่เป็นแล้วเป็น
บทแสดงถึงการประกอบสิ่งที่เกิดขึ้น. บทว่า สงฺขต สิ่งที่ปรุงแล้วเป็นบท
แสดงถึงความวิเศษแห่งกำลังปัจจัย. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน อาศัยกันเกิดขึ้น
เป็นบทแสดงถึงความไม่ขวนขวายปัจจัย แม้ในการประกอบปัจจัย. บทว่า
นิโรโธ ตสฺส เนกฺขมฺม นิโรธเป็นเนกขัมมะจากสิ่งที่มีที่เป็น คือนิพพาน
ชื่อว่าเนกขัมมะจากสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น เพราะออกจากสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น การถือ
อรูปฌานและนิโรธ ท่านทำแล้วตามลำดับดังกล่าวแล้วในปาฐะอื่น. เมื่อกล่าว
ว่าการออกไปจากกามฉันทะเป็นเนกขัมมะ เป็นอันท่านกล่าวซ้ำอีก. ท่านไม่
กล่าวว่า ความสำเร็จแห่งการออกไปจากกามฉันทะ ด้วยคำว่าเนกขัมมะเท่านั้น
แล้วกล่าวว่าเนกขัมมะที่เหลือ ข้อนั้นตรงแท้ แม้ในนิสสรณนิเทศก็พึงทราบ
ความโดยนัยนี้แหละ อนึ่ง ธาตุเป็นเครื่องสลัดออกในนิเทศนี้ ท่านกล่าวว่า
เป็นเนกขัมมะตรงทีเดียว.
บทว่า ปวิเวโก ความสงัด คือ ความสงัดเป็นเนกขัมมะเป็นต้นทีเดียว.
บทว่า โวสฺสชฺชติ ย่อมปล่อยวาง คือ โยคี. เนกขัมมะเป็นต้นเป็นการ
ปล่อยวาง. ท่านกล่าวว่าพระโยคาวจรประพฤติเนกขัมมะ ย่อมเที่ยวไปด้วย
เนกขัมมะ. อนึ่ง เนกขัมมะนั้นเป็นจริยา แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ ควรจะ
กล่าวไว้ในฌานวิโมกขนิเทศ ท่านก็กล่าวไว้ในวิโมกขกถา ในวิโมกกถานั้น
ท่านกล่าวว่า ฌานวิโมกฺโข หลุดพ้น เพราะฌานว่า ชานาติ ย่อมรู้อย่างเดียว.
แต่ในฌานวิโมกขนิเทศนี้ มีความแปลกออกไป ว่าท่านแสดงเป็นบุคลา-
ธิษฐานว่า ชายติ ย่อมเกิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 836
อนึ่ง ในภาวนาธิฏฐานชีวิตนิเทศ ท่านแสดงเป็นบุคลาธิษฐาน.
แต่ตามธรรมดาเนกขัมมะเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า ภาวนา จิตที่ตั้งไว้ด้วย
เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า อธิษฐาน สัมมาอาชีวะของผู้มีจิตตั้งไว้ด้วยเนกขัมมะ
เป็นต้น ชื่อว่า ชีวิต. สัมมาอาชีวะนั้นเป็นอย่างไร การเว้นจากมิจฉาชีวะ
และพยายามแสวงหาปัจจัยโดยธรรมโดยเสมอ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สม ชีวติ เป็นอยู่สงบ คือมีชีวิตอยู่อย่างสงบ
อธิบายว่า เป็นอยู่โดยสงบ. บทว่า โน วิสม ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ท่านทำ
เป็นอวธารณ (คำปฏิเสธ) ด้วยปฏิเสธความที่กล่าวว่า สม ชีวติ เป็นอยู่สงบ.
บทว่า สมฺมา ชีวติ เป็นอยู่โดยชอบ เป็นบทชี้แจงอาการ. บทว่า โน
มิจฺฉา ไม่เป็นอยู่ผิด คือกำหนดความเป็นอยู่นั้นนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธิ
ชีวติ เป็นอยู่หมดจด คือมีชีวิตเป็นอยู่หมดจด ด้วยความหมดจดตามสภาพ.
บทว่า โน กิลิฏฺิ ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง คือกำหนดความเป็นอยู่นั้นนั่นเอง.
พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมปทา ๓ ตามที่กล่าวแล้ว แห่งญาณ
สมบัติด้วยบทมีอาทิว่า ยญฺเทว. บทว่า ยญฺเทว ตัดบทเป็น ย ย เอว.
บทว่า ขตฺติยปรส คือประชุมพวกกษัตริย์. ท่านกล่าวว่าบริษัทเพราะนั่ง
อยู่รอบๆ ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรกัน ในอีก ๓ บริษัทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน
การถือเอาบริษัท ๔ เหล่านั้น เพราะประกอบด้วยอาคมสมบัติและญาณสมบัติ
ของกษัตริย์เป็นต้นนั่นเอง มิใช่ด้วยบริษัทของพวกศูทร. บทว่า วิสารโท
เป็นผู้แกล้วกล้า คือถึงพร้อมด้วยปัญญา ปราศจากความครั่นคร้าม คือไม่กลัว.
บทว่า อมงฺกุโต ไม่เก้อเขิน คือไม่ขยาด มีความอาจหาญ. บทว่า ต กิสฺส
เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร หากถามว่า ความเป็นผู้กล้าหาญนั้น ย่อมเป็นเพราะ
เหตุไร เพราะการณ์ไร กล่าวถึงเหตุแห่งความกล้าหาญนั้นว่า ตถา หิ เพราะ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๓ คือ ภาวนา อธิษฐาน อาชีวะ ฉะนั้น พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 837
สารีบุตรเถระครั้น แสดงถึงเหตุแห่งความเป็นผู้กล้าหาญว่า วิสารโท โหติ
เป็นผู้กล้าหาญแล้ว จึงให้จบลงด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถามาติกากถา
แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี
จบการพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งจูฬวรรค
จบอรรถกถาแห่งปฏิสัมภิทามรรค ประดับด้วย ๓๐ กถา สงเคราะห์
ลงใน ๓ วรรค ด้วยเหตุเพียงนี้แล.
รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้นพร้อมกับอรรถกถา คือ
๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา
๑๐. มัณฑเปยยกถา.
๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา.
๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา
๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา
๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา.
วรรค ๓ วรรคในปกรณ์ปฏิสันภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรค
เป็นอนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว
และเช่นสระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดย
พิลาสแห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ฉะนี้แล.
จบปฏิสัมภิทาลงด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 838
นิคมกถา
ในปฏิสัมภิทามรรคนี้ ท่านพระสารีบุตรเถระ
กล่าวไว้ ๓ วรรค ตามลำดับของขนาดโดยชื่อว่า มหา-
วรรค มัชฌิมวรรคและจุลวรรค. ในวรรคหนึ่ง ๆ
ท่านแสดงไว้วรรคละ ๑๐ กถา การพรรณนาอุทาน-
กถาเหล่านี้ ท่านแสดงตามลำดับของกถาเหล่านั้น.
กถาเหล่านั้นมี ๑๐ คือ ญาณกถา ๑ ทิฏฐิกถา ๑
อานาปานกถา ๑ อินทริยกถา ๑ วิโมกขกถาเป็นที่ ๕
คติกถา ๑ กรรมกถา ๑ วิปัลลาสกถา ๑ มรรคกถา ๑
มัณฑกถา ๑ รวมเป็น ๑๐ กถา.
กถาต่อไปคือ ยุคนันธกถา ๑ สัจจกถา ๑ โพช-
ฌังคกถา ๑ เมตตากถา ๑ วิราคกถาเป็นที่ ๕ ปฏิสัม-
ภิทากถา ๑ ธรรมจักกกถา ๑ โลกุตตรกถา ๑ พลกถา
๑ สุญญตากถา ๑
ปัญญากถา ๑ อิทธิกถา ๑ อภิสมยกถา ๑ วิเวก-
กถา ๑ จริยากถาเป็นที่ ๕ ปาฏิหาริยกถา ๑ สมสีส-
กถา ๑ สติปัฏฐานกถา ๑ วิปัสสนากถา ๑ มาติกากถา ๑.
พระเถระผู้เป็นใหญ่กว่าพระสาวกผู้สดับมาจาก
พระสุคต ผู้ยินดีในการทำประโยชน์แก่สัตว์ อรรถกถา
อันมั่นคง กล่าวปฏิสัมภิทามรรคใดไว้แล้ว อรรถกถา
ปฏิสัมภิทามรรคนั้น ข้าพเจ้าเริ่มรจนาเพราะอาศัยนัย
ของอรรถกถาก่อน ๆ เป็นข้อยุติอย่างนั้น อรรถกถา
นั้นจึงถึงความสำเร็จลงได้ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 839
ท่านผู้มีปัญญายิ่ง เป็นผู้ประกอบด้วยคุณคือ
ปัญญาประกอบด้วยศรัทธาได้กระทำคุณงามความดีไว้
ไม่น้อย ณ บริเวณมหาวิหาร พระเถระผู้อาศัยอยู่ใน
วิหารนี้ มีชื่อปรากฏแล้วว่า โมคคัลลานะ ในพรรษา
ที่ ๓ ได้เคลื่อนไปแล้ว อรรถกถาอนุโลมตามสมัย ยัง
ประโยชน์ให้เกิดแก่โลก ได้สำเร็จลงเพราะอาศัยพระ-
เถระผู้แสดงเถรวาท ขออรรถกถาอนุโลมตามธรรม
อันให้สำเร็จประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น เป็นที่
ชื่นชมของสรรพสัตว์ จงถึงความสำเร็จเหมือนอย่าง
นั้นเถิด.
ส่วนภาณวาร ๕๘ ภาณวารที่ควรรู้แจ้ง ท่านผู้
ฉลาดในการคำนวณไว้ในอรรถกถาสัทธัมมปกาสินี้
ภาณวารจำนวน ๑๔,๐๐๐ และคาถา ๕๐๐ คาถา ท่าน
คำนวณด้วยการประพันธ์เป็นฉันท์แห่งอรรถกถา
สัทธัมมปกาสินีนั้นอย่างรอบคอบ.
ข้าพเจ้าผู้เอื้อเฟื้อเพื่อให้ศาสนาตั้งอยู่นาน และ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ได้สะสมบุญนี้ ถึงความ
ไพบูลย์ไม่น้อย ขอโลกจงบริโภครสแห่งพระสัทธรรม
อันปราศจากมลทินของพระทสพลด้วยบุญนั้น ถึง
ความสุข ด้วยความสุขแท้จริงเทอญ.
จบอรรถกถาคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ชื่อสัทธัมมปกาสินี