พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส๑
เล่มที่ ๖
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปารายนวรรค
วัตถุคาถา
ว่าด้วยศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไป
[๑] พาวรีพราหมณ์ เป็นผู้เรียนจบมนต์ ปรารถนาความ
เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากพระนครโกศลอันน่ารื่นรมย์
ไปสู่ทักขิณาปถชนบท.
[๒] พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดน
แว่นแคว้นอัสสกะและแว่นแคว้นมุฬกะต่อกัน เลี้ยงชีวิต
อยู่ด้วยการเที่ยวภิกขาและผลไม้.
[๓] เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปอาศัย (อยู่) บ้านได้เป็นหมู่
ใหญ่ ด้วยความเจริญอันเกิดแต่บ้านนั้น พราหมณ์นั้น
ได้บูชามหายัญ.
[๔] พราหมณ์นั้นบูชามหายัญแล้วก็กลับเข้าไปสู่อาศรม
เมื่อพราหมณ์นั้นกลับเข้าไปแล้ว พราหมณ์อื่นก็มา.
๑. บาลีเล่มที่ ๓๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 2
[๕] พราหมณ์อื่นมีเท้าพิการ เดินงกงัน ฟันเขลอะ มี
ธุลีบนศีรษะ เข้าไปหาพาวรีพราหมณ์แล้ว ขอทรัพย์
ห้าร้อย.
[๖] พาวรีพราหมณ์เห็นพราหมณ์นั้นเข้าแล้ว ก็เชิญให้
นั่ง แล้วก็ถามถึงความสุขสำราญและความไม่มีโรค และ
ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๗] ทรัพย์ของเรามีอันจะพึงให้ เราสละหมดแล้ว ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านเชื่อเราเถิด ทรัพย์ห้าร้อยของเราไม่มี.
[๘] ถ้าเมื่อเราขอ ท่านจักไม่ให้ ในวันที่เจ็ด ศีรษะของ
ท่านจงแตกเจ็ดเสี่ยง.
[๙] พราหมณ์นั้นเป็นคนโกหก ปรุงแต่งแสดงเหตุให้
กลัว พาวรีพราหมณ์ได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เป็น
ทุกข์.
[๑๐] มีลูกศรคือความโศกเสียบแทงแล้ว ไม่บริโภคอาหาร
ก็ซูบผอม ใช่แต่เท่านั้น ใจของพาวรีพราหมณ์ผู้มีจิต
เป็นอย่างนั้นย่อมไม่ยินดีในการบูชา.
[๑๑] เทวดา (ที่สิงอยู่ใกล้อาศรมของพาวรีพราหมณ์) ผู้
ปรารถนาประโยชน์ เห็นพาวรีพราหมณ์หวาดกลัวเป็น
ทุกข์อยู่ จึงเข้าไปหาพาวรีพราหมณ์แล้วได้กล่าวว่า
[๑๒] พราหมณ์ผู้มีความต้องการทรัพย์นั้น เป็นคนโกหก
ย่อมไม่รู้จักศีรษะ ความรู้จักศีรษะหรือธรรมอันให้ศีรษะ
ตกไป ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 3
[๑๓] พาวรีพราหมณ์ดำริว่า เทวดานี้อาจรู้ได้ในบัดนี้ (กล่าว
ว่า) ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกศีรษะและธรรมอัน
ให้ศีรษะตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะขอฟังคำของ
ท่าน.
[๑๔] แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไป
ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ความเห็นซึ่งศีรษะและ
ธรรมอันให้ศีรษะตกไป ย่อมมีแก่พระชินเจ้าทั้งหลาย
เท่านั้น.
[๑๕] พา. ก็ในบัดนี้ ใครในปฐพีมณฑลนี้ย่อมรู้จักศีรษะ
และธรรมอันให้ศีรษะตกไป ดูก่อนเทวดา ขอท่านจงบอก
ท่านผู้นั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๖] เท พระสักยบุตร เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช
เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์บุรี เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำ
สัตวโลก เป็นผู้กระทำ (แสดง) ธรรมให้สว่าง.
[๑๗] ดูก่อนพราหมณ์ พระสักยบุตรนั่นแหละ เป็น
พระสัมพุทธเจ้า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง บรรลุ
กำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรง
ถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งธรรมทั้งปวง ทรงน้อมพระทัย
ไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ.
[๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าใน
โลก มีพระจักษุ ย่อมทรงแสดงธรรม ท่านจงไปทูลถาม
พระองค์เถิด พระองค์จักทรงพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 4
[๑๙] พาวรีพราหมณ์ได้ฟังคำว่า พระสัมพุทธเจ้า แล้วมี
ความเบิกบานใจ มีความโศกเบาบาง และได้ปีติอัน
ไพบูลย์.
[๒๐] พาวรีพราหมณ์นั้น มีใจยินดี มีความเบิกบาน
โสมนัส ถามถึง (พระผู้มีพระภาคเจ้า) กะเทวดานั้น (และ
ประกาศว่า) พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ประทับอยู่ ณ ที่ใด คือบ้าน นิคม หรือชนบทไหน
เราทั้งหลายพึงไปนมัสการพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
ณ ที่ใด.
[๒๐] เท. พระสักยบุตรนั้น เป็นพระชินะ มีพระปัญญา
สามารถ มีพระปัญญากว้างขวางเช่นแผ่นดินอันประเสริฐ
เป็นนักปราชญ์ ไม่มีอาสวะ ทรงรู้แจ้งศีรษะและธรรมอัน
ให้ศีรษะตกไป ทรงองอาจกว่านรชน ประทับอยู่ ณ พระ
ราชมณเฑียรแห่งพระเจ้าโกศลในพระนครสาวัตถีนั้น.
[๒๒] ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์ได้เรียกพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้เป็นศิษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์มา (บอกว่า) ดูก่อนมาณพ
ทั้งหลาย มานี่เถิด เราจักบอก ขอท่านทั้งหลายจง
ฟังคำของเรา.
[๒๓] ความปรากฏเนืองๆ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์ใดนั้น ยากที่จะหาได้ในโลก วันนี้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระองค์นั้น เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มีพระนาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 5
ปรากฏว่า พระสัมพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมือง
สาวัตถี ดูพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์.
[๒๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วจะ
รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายจะ
รู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยอุบายอย่างไร ขอท่าน
จงบอกอุบายนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้ไม่รู้เถิด.
[๒๕] พา. ก็มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ มาแล้วใน
มนต์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้แจ่มแจ้ง บริบูรณ์แล้วโดย
ลำดับ.
[๒๖] ท่านผู้ใดมีมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้นในกายตัว ท่านผู้
นั้นมีคติเป็นสองอย่างเท่านั้น มิได้มีคติเป็นที่สาม.
[๒๗] คือ ถ้าอยู่ครองเรือน พึงครอบครองแผ่นดินนี้ ย่อม
ปกครองโดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้
ศัสตรา.
[๒๘] และถ้าท่านผู้นั้นออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสดังหลังคาอันเปิด
แล้ว ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า.
[๒๙] พาวรีพราหมณ์ (บอกแล้ว) ซึ่งชาติ โคตร ลักษณะ
และมนต์อย่างอื่นอีก กะพวกศิษย์ (ได้สั่งว่า) ท่าน
ทั้งหลายจงถามถึงศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไปด้วย
ใจเท่านั้น.
[๓๐] ถ้าท่านผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้เห็นธรรมไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 6
เครื่องกั้น เมื่อท่านทั้งหลายถามปัญหาด้วยใจแล้ว ก็จัก
แก้ด้วยวาจา.
[๓๑] พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นศิษย์ คือ อชิตพราหมณ์
ติสสเมตเตยยพราหมณ์ ปุณณกพราหมณ์ เมตตคู-
พราหมณ์.
[๓๒] โธตกพราหมณ์ อุปสีวพราหมณ์ นัททพราหมณ์
เหมกพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์. กัปปพราหมณ์
ชตุกัณณีพราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิต.
[๓๓] ภัทราวุธพราหมณ์ อุทยพรามณ์ โปสาลพราหมณ์
โมฆราชพราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ ปิงคิยพราหมณ์ผู้
แสวงหาคุณใหญ่ ได้ฟังวาจาของพาวรีพราหมณ์แล้ว.
[๓๔] ทั้งหมดนั้น เฉพาะคนหนึ่ง ๆ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
ปรากฏแก่โลกทั้งปวง เป็นผู้เจริญฌาน ยินดีในฌาน
เป็นธีรชนผู้มีจิตอบรมด้วยวาสนาในกาลก่อน.
[๓๕] พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทุกคน ทรงชฎาและหนังเสือ
อภิวาทพาวรีพราหมณ์และกระทำประทักษิณแล้ว มุ่งหน้า
เดินไปทางทิศอุดร.
[๓๖] สู่สถานเป็นที่ตั้งแห่งแว่นแคว้นมุฬกะ เมืองมาหิสสติ
ในกาลนั้น เมืองอุชเชนี เมืองโคนัทธะ เมืองเวทิสะ
เมืองวนสวหยะ.
[๓๗] เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต เมืองสาวัตถี เป็นเมือง
อุดม เมืองเสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองกุสินารา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 7
[๓๘] เมืองปาวา โภคนคร เมืองเวสาลี เมืองมคธและ
ปาสาณเจดีย์ อันเป็นรมณียสถานน่ารื่นรมย์ใจ.
[๓๙] พราหมณ์เหล่านั้นรีบขึ้นสู่ภูเขา (ปาสาณเจดีย์)
เหมือนคนระหายน้ำรีบหาน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ารีบหา
ลาภใหญ่ และเหมือนคนถูกความร้อนแผดเผาและรีบหา
ร่มฉะนั้น.
[๔๐] ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์ห้อม-
ล้อมแล้วทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลาย ประหนึ่ง
ว่าราชสีห์บันลือสีหนาทอยู่ในป่า.
[๔๑] อชิตพราหมณ์ ได้เห็นเพระสัมพุทธเจ้าผู้เพียงดังว่า
ดวงอาทิตย์มีรัศมีฉายออกไป และเหมือนดวงจันทร์
เต็มดวงในวันเพ็ญ.
[๔๒] ลำดับนั้น อชิตพราหมณ์ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
รื่นเริงใจเพราะได้เห็นอนุพยัญชนะบริบูรณ์ ในพระกาย
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลถามปัญหาด้วยใจ.
[๔๓] อ. ท่านเจาะจงใคร จงบอกโคตรพร้อมด้วยลักษณะ
บอกความสำเร็จในมนต์ทั้งหลาย พราหมณ์สอนมาณพ
เท่าไร.
[๔๔] พ. พราหมณ์นั้นมีอายุ ๑๒๐ ปี ชื่อพาวรีโดยโคตร
ลักษณะ ๓ อย่างมีในตัวของพราหมณ์นั้น พราหมณ์นั้น
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท.
[๔๕] พาวรีพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในธรรมของตน สอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 8
มาณพ ๕๐๐ ในมหาบุรุษลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ
พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์.
[๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ผู้ตัดเสียซึ่งตัณหา
ขอพระองค์ทรงประกาศความกว้างแห่งลักษณะทั้งหลาย
ของพาวรีพราหมณ์ ความสงสัยอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายเลย.
[๔๗] พราหมณ์นั้นย่อมปกปิดหน้าได้ด้วยลิ้น มีอุณาโลมอยู่
ในระหว่างคิ้ว และมีอวัยวะที่ซ่อนอยู่ในผ้า อยู่ในฝัก
ดูก่อนมาณพ ท่านจงรู้อย่างนี้.
[๔๘] ชนทั้งปวงไม่ได้ฟังใคร ๆ ซึ่งเป็นผู้ถาม ได้ฟังปัญหา
ทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้แล้ว เกิดความ
โสมนัส ประนมอัญชลี ย่อมคิดไปต่าง ๆ (ว่า)
[๔๙] ใครหนอ เป็นเทวดา เป็นพระพรหม หรือเป็น
พระอินทร์ผู้สุชัมบดี เมื่อเขาถามปัญหาด้วยใจ จะแก้
ปัญหานั้นกะใครได้.
[๕๐] อ. พาวรีพราหมณ์ย่อมถามถึงศีรษะ และธรรมอัน
ทำให้ศีรษะตกไป ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา
ขอพระองค์ทรงโปรดพยากรณ์ข้อนั้น กำจัดเสียซึ่งความ
สงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด.
[๕๑] พ. ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาเป็นศีรษะ วิชชาประกอบ
กับศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรม
เครื่องยังศีรษะให้ตกไป.
[๕๒] ลำดับนั้น อชิตมาณพผู้อันความโสมนัสเป็นอันมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 9
อุดหนุนแล้ว กระทำซึ่งหนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว
ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท (ทูลว่า)
[๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พาวรีพราหมณ์
พร้อมด้วยพวกศิษย์ มีจิตเบิกบานโสมนัส ขอถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระองค์.
[๕๔] พ. พาวรีพราหมณ์พร้อมด้วยพวกศิษย์จงเป็นผู้มีสุข
ดูก่อนมาณพ และแม้ท่านก็ขอให้มีความสุข มีชีวิตอยู่
ยืนนานเถิด.
[๕๕] เราให้โอกาสแก่พาวรีพราหมณ์ แก่ท่าน และแก่
พราหมณ์ทั้งหมดตลอดข้อสงสัยทั้งปวง ท่านทั้งหลายย่อม
ปรารถนาปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ ก็จงถามเถิด.
[๕๖] เมื่อพระสัมพุทธเจ้าทรงประทานโอกาสแล้ว อชิต-
พราหมณ์นั่งประนมมือ แล้วทูลถามปฐมปัญหากะ
พระตถาคต ในบริษัทนั้น.
จบวัตถุคาถา
อชิตมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ
[๕๗] (ท่านอชิตะทูลถามปัญหาว่า)
โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุ
อะไรสิ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์
จงตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 10
[๕๘] คำว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ ความว่า โลกนรก โลก
ดิรัจฉาน โลกเปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลก กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก
โลกนี้อันอะไรปกปิด ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้.
[๕๙] บทว่า อิติ ในอุเทศว่า " อิจฺจายสฺมา อชิโต " เป็นบท
สนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุม
แห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ บทว่า อิติ นี้เป็นไปตาม
ลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่อง
กล่าวโดยเคารพ. บทว่า อายสฺมา นี้เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นไปกับ
ด้วยความเคารพและความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ
เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการ
ตั้งชื่อ เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า " อิจฺจายสฺมา อชิโต. "
[๖๐] คำว่า โลกไม่ปราก เพราะเหตุอะไรสิ ความว่า โลกไม่
ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะ
เหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุอะไรสิ.
[๖๑] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอก ความว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่อง
ผูก เป็นเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง ของโลกนั้น คือ โลกอันอะไรฉาบทา
ติดให้เปื้อน ให้มัวหมอง เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พัวพันไว้
ขอพระองค์จงตรัสบอก เล่า แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 11
ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทา
โลกนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอก.
[๖๒] คาว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ความว่า อะไร
เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น
เครื่องขัดข้องของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่
ของโลกนั้น.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามปัญหา
ว่า)
โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุ
อะไรสิ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์
จงตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
[๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอชิตะ)
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะความ
ตระหนี่ เรากล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์
เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
[๖๔] ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนสุด
เบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้น
และส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น คือความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ชื่อว่า " อวิชา " ความไม่รู้ ความ
ไม่เห็น ความไม่ถึงพร้อมเฉพาะ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 12
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถึงพร้อม ความไม่ถึงรอบ ความไม่เห็นเสมอ
ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความรู้ได้ยาก ความเป็นคน
เขลา ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลงใหล ความมัวเมา อวิชชาเป็นโอฆะ
อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุม อวิชชา
เป็นข่าย โมหะ อกุศลมูล ชื่อว่า " อวิชชา " ในอุเทศว่า อวิชฺชาย
นิวุโต โลโก นี้เรียกว่า อวิชชา. โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลก
เปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลกกับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่า โลก. โลกอัน
อวิชชานี้ ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
[๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า " อชิตะ "
บทว่า ภควา นี้เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงทำลายราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลาย
โทสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทาลายโมหะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลายมานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรง
ทำลายทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลายเสี้ยนหนาม
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงจำแนก ทรงแจกวิเศษ ทรงจำแนก
เฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำซึ่งที่สุดแห่ง
ภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา มีกายอันอบรมแล้ว เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา มีศีลอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 13
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่า
เปลี่ยว เงียบเสียง ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแต่หมู่ชน ควรทำ
กรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติ-
รส แห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน อัปปมัญญา ๔ อรูป-
สมาบัติ ๔ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนเเห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๒๐ กสิณ-
สมาบัติ ๑๐ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานัสสติ อสุภฌานสมาบัติ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปป-
ธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมี
องค์ ๘ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งกำลังของพระตถาคต ๑๐
เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดามิได้ทรงตั้ง
พระบิดามิได้ทรงตั้ง พระภคินีมิได้ทรงตั้ง พระภาดามิได้ทรงตั้ง มิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 14
และอำมาตย์มิได้ตั้ง พระญาติสายโลหิตมิได้ทรงตั้ง สมณพราหมณ์แล
เทวดาก็มิได้ตั้ง พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม คือพระนาม
ที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความหลุดพ้น พระนามว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ พระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว พร้อมด้วย
การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้มหาโพธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
"อชิตาติ ภควา. "
[๖๖] คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ มีความว่า ความ
ตระหนี่ ๕ ประการ คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๑ กุลมัจฉริยะ
ตระหนี่สกุล ๑ ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๑ วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่
วรรณะ ๑ ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม ๑ ท่านเรียกว่า เววิจฉะ ความ
ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความปรารถนาต่าง ๆ
ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ โดยความเป็นจิตเผ็ดร้อน
ความที่แห่งจิตอันใครเชื่อไม่ได้เห็นปานนี้ เรียกว่า ความตระหนี่.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ความตระหนี่ขันธ์ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ แม้ความ
ตระหนี่ธาตุ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ.
ความประมาท สมควรกล่าว การปล่อยจิต ความเพิ่มการปล่อย
จิต ในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณ
ก็ดี หรือความเป็นผู้ทำโดยความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทำไม่ติดต่อ
ความเป็นผู้หยุด ๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ความเป็นผู้
ปลงฉันทะ ความเป็นผู้ทอดธุระ ความเป็นผู้ไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ
ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนือง ๆ ในการ
บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นความประมาท ความมัวเมา กิริยาที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 15
มัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ประมาท.
คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท
ความว่า โลกไม่ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม
ไม่กระจ่าง เพราะความตระหนี่นี้ เพราะความประมาทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท.
[๖๗] คำว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ความว่า
ตัณหา เรียกว่า ชัปปา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี
ความพลอยยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ
อยาก ความพัวพัน ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง
ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิด ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิดกับทุกข์ ธรรมชาติอัน
เย็บไว้ ธรรมชาติเพียงดังข่าย ธรรมชาติอันไหลไป ธรรมชาติอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความเป็นผู้หลับ ความกว้างขวาง ธรรมชาติอัน
ให้อายุเสื่อม ความเป็นเพื่อน ความตั้งใจไว้ ธรรมชาติอันเป็นเหตุนาไป
สู่ภพ ธรรมชาติเพียงดังว่าป่า ธรรมชาติเพียงดังว่าหมู่ไม้ในป่า ความ
สนิทสนม ความมีเยื่อใย ความเพ่ง ความพัวพัน ความหวัง กิริยาที่
หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น
ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังใน
ทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความกระซิบ ความกระซิบทั่ว
ความกระซิบยิ่ง กิริยาที่กระซิบ ความเป็นผู้กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ
ความเป็นผู้โลภ ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็นผู้ต้องการให้สำเร็จ
ความกำหนัดผิดธรรมดา ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 16
ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความประสงค์ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ
คันถะ อุปาทาน ธรรมชาติเป็นเครื่องกั้น ธรรมชาติเป็นเครื่องบัง
ธรรมชาติเป็นเครื่องปิด ธรรมชาติเป็นเครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย กิเลส
เครื่องกลุ้มรุม ธรรมชาติเพียงดังว่าเถาวัลย์ ความตระหนี่ มูลแห่งทุกข์
แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร โคจรแห่งมาร เครื่อง
ผูกแห่งมาร ตัณหาเพียงดังว่าแม่น้ำ ตัณหาเพียงดังว่าข่าย ตัณหาเพียง
ดังว่าสายโซ่ ตัณหาเพียงดังว่าทะเล อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้เรียกว่า
ชัปปา (ตัณหา) ตัณหานี้เป็นเครื่องทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก
เป็นอุปกิเลสของโลก โลกอันตัณหานี้ไล้ทา ฉาบทา ให้หมอง ให้
มัวหมอง ให้เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พันไว้ เราย่อมกล่าว
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก.
[๖๘] ชื่อว่า ทุกข์ ในอุเทศว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น
คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ในกำเนิดดิรัจฉาน ทุกข์ในเปตติ-
วิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการตั้งอยู่ใน
ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด
ทุกข์เนื่องแก่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิด
แต่ความเพียรของผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์ สงสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ โรคตา
โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคในหู โรคในปาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 17
โรคฟัน โรคไอ โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา
โรคในท้อง โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน
ฝี กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด ลำลาบ
คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวงทวาร
โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏ-
ฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธ
เกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิดเพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน
อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์
แต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ความตายของ
มารดาก็เป็นทุกข์ ความตายของบิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องชาย
ก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความตายของบุตรก็
เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็นทุกข์
ความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายเพราะโรคก็เป็นทุกข์
ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์. ความ
เกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมปรากฏตั้งแต่ต้น ธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้นเมื่อตั้งอยู่ไม่ได้ ความดับย่อมปรากฏ. วิบากอาศัยกรรม กรรม
อาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม
พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มี
อะไรเป็นที่เร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง นี้เรียกว่าทุกข์
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 18
เครื่องขัดข้อง ของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของ
โลกนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะความ
ตระหนี่ เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์
เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
[๖๙] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง อะไร
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลาย
อันอะไรย่อมปิดกั้นได้.
[๗๐] กระแส คือ ตัณหา กระแส คือ ทิฏฐิ, กระแส คือ
กิเลส, กระแส คือ ทุจริต, กระแส คือ อวิชชา ชื่อว่ากระแสใน
อุเทศว่า " สวนฺติ สพฺพธิ โสตา." บทว่า สพฺพธิ คือ ในอายตนะ
ทั้งปวง. บทว่า สวนฺติ ความว่า ย่อมไหลไป ย่อมไหลหลั่ง ย่อมเลื่อน
ไป ย่อมเป็นไป คือ ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็น
ไปในรูปทางจักษุ ในเสียงทางหู ในกลิ่นทางจมูก ในรสทางลิ้น ใน
โผฏฐัพพะทางกาย ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไป
ในธรรมารมณ์ทางใจ รูปตัณหา ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป
ย่อมเป็นไปทางจักษุ สัททตัณหาย่อมไหลไป . . . ทางหู คันธตัณหา
ย่อมไหลไป . . . ทางจมูก รสตัณหาย่อมไหลไป. . . ทางลิ้น โผฏฐัพพ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 19
ตัณหาย่อมไหลไป . . . ทางกาย ธรรมตัณหาย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป
ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลาย
ย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง.
[๗๑] คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อชิโต เป็นบทสนธิ
เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ
เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นไปกับด้วยความเคารพและ
ความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้
เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่อง
ทรงชื่อ เป็นภาษาที่เรียกร้องกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่อง
กล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า " อิจฺจายสฺมา
อชิโต. "
[๗๒] คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า อะไร
เป็นเครื่องกัน คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา
เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเป็น
เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.
[๗๓] คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแส
ทั้งหลาย ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ จงทรงบอก แสดง บัญญัติ
แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น
คือ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็น
เครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จง
ตรัสบอกซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 20
[๗๔] คำว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดกั้นได้ ความว่า
กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดบังได้ คือ ย่อมตัดขาด ย่อมไม่ไหล
ย่อมไม่หลั่ง ย่อมไม่เลื่อน ย่อมไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแส
ทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดได้.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามว่า)
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง อะไร
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอัน
อะไรย่อมปิดกั้นได้.
[๗๕] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอบว่า ดูก่อนอชิตะ) กระแส
เหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรา
กล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้
อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.
[๗๖] คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด
เราบอกแล้ว เล่าแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว
จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ประกาศแล้ว คือ กระแสตัณหา กระแส
ทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา. บทว่า ในโลก คือ
ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสเหล่าใดในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อชิตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 21
[๗๗] ความระลึก คือ ความตามระลึก ความระลึกเฉพาะ สติ
ความระลึก ความทรง ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์
สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค (มรรคที่เป็นไปแห่งบุคคลผู้เดียว). ชื่อว่า
สติ ในอุเทศว่า "สติ เตส นิวารณ" นี้เรียกว่า สติ. บทว่า เป็น
เครื่องกั้น ความว่า เป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่อง
ป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.
[๗๘] คำว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
ความว่า เราย่อมกล่าว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศ ซึ่งธรรมเป็น
เครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา
เป็นเครื่องคุ้มครอง กระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อม
กล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.
[๗๙] ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺาเยเต ปิถิยฺ-
ยเร. ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป
ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อัน
ปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่
เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรมทั้งปวงเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 22
อนัตตา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้
รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี
วิญญาณ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็น
ไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ย่อมปิดกั้น
ได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้
อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ย่อม
ปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและ
มรณะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะ
สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 23
ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพ
จึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป
ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่
เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เหล่านี้อาสวะ
นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ
อาสวะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้
ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ย่อมปิดกั้น
ได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ย่อม
ปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งมหาภูต-
รูป ๔ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป
ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสเหล่านี้
อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 24
กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส
เหล่านั้น เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.
[๘๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป
ย่อมดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระ
องค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๘๑] ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว
ความกำหนดพร้อม ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความ
เป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียดอ่อน ปัญญาเป็นเครื่อง
จำแนกความคิด ความพิจารณา ปัญญาดังแผ่นดิน ความปรีชา ปัญญาอัน
น้อมไป ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาอันเจาะแทงเหมือนประตัก
ปัญญินทรีย์ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเพียงดังศาสตรา ปัญญาเป็นเพียง
ดังปราสาท ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังรัศมี ปัญญาเพียงดัง
ประทีป ปัญญาเพียงดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ. ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า "ปญฺา เจว สติ จาปิ" ความระลึก
ความตามระลึก ฯ ล ฯ สัมมาสติ ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อชิตมาณพทูลถามว่า ปัญญา สติ.
[๘๒] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป ความว่า อรูป-
ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม. มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า
รูป. บทว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 25
เคารพ. บทว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ
และความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ...
นามรูป.
[๘๓] คำว่า เอตมฺเม ในอุเทศว่า "เอตมฺเม ปุฏฺโ ปพฺรูหิ "
ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ให้ประสาทข้อความ
ใด. บทว่า ปุฏฺโ ความว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว คือ ทูลวิงวอน
ทูลขอเชิญให้ประสาท. บทว่า ปพฺรูหิ ความว่า ขอจงตรัส จงบอก จง
แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกความ
ข้อนั้นแก่ข้าพระองค์.
[๘๔] คำว่า กตฺเถต อุปรุชฺฌติ ความว่า นั่นย่อมดับ คือ ย่อม
สงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า นั่นย่อมดับ ณ ที่ไหน.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป
ย่อมดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๘๕] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)
ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะแก้
ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 26
ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณ.
[๘๖] บทว่า ยเมต ในอุเทศว่า " ยเมต ปญฺห อปุจฺฉิ" คือ
ปัญญา สติ และนามรูป. บทว่า อปุจฺฉิ คือ มาถาม มาวิงวอน เชื้อเชิญ
ให้ประสาทแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านได้ถามปัญหาใดแล้ว.
[๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า " อชิ-
ตะ" ในอุเทศว่า "อชิต ต วทามิ เต." บทว่า ต คือ ปัญญา สติ
และนามรูป. บทว่า วทามิ ความว่า เราจะกล่าว จะบอก จะแสดง
จะบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศปัญหานั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนอชิตะ เราจะกล่าวปัญหานั้นแก่ท่าน.
[๘๘] อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม ในอุเทศว่า " ยตฺถ นามญฺจ
รูปญฺจ อเสส อุปรุชฺฌติ." มหาภูตรูป ๔ รูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔
ชื่อว่า รูป. คำว่า อเสส ความว่า ไม่เหลือ คือทั้งหมด โดยกำหนด
ทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า
อเสส นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า อุปรุชฺฌติ ความว่า ย่อมดับ
คือสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นาม-
รูปย่อมดับไม่เหลือ ณ ที่ใด.
[๘๙] คำว่า นามรูปนั้นดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ
ความว่า ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสงสารมีส่วน
เบื้องหน้าและที่สุดอันรู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อม
สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ
อันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 27
ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในภพ ๕ เว้นภพ ๒
ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป
ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วย
สกทาคามิมรรคญาณ.
ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในกามธาตุ รูปธาตุ
หรืออรูปธาตุ เว้นภพ ๑ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุต
ด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอนาคามิมรรคญาณ.
ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ
คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอรหัตมรรคญาณ เมื่อพระ-
อรหันต์ปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส ธรรมเหล่านี้
คือ ปัญญา สติและนามรูป ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ย่อมระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย๑ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะ
แก้ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือ
ณ ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณ.
๑. บาลีไทยเป็นปุริมวิญฺญาณสฺส วิญญาณดวงก่อน อรรถกถาเป็นจริมวิญฺญาณสฺส ได้แก่
วิญญาณดวงสุดท้าย แปลตามอรรถกถา เพราะตรงตามสภาวะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 28
[๙๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และ
พระเสขบุคคลเหล่าใดในที่นี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา
ได้โปรดตรัสบอกความดำเนินของพระขีณาสพและเสข-
บุคคลเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๙๑] คำว่า "เย จ สงฺขาตธมฺมา เส" ความว่า พระอรหันต-
ขีณาสพ ท่านกล่าวว่ามีสังขาตธรรม เพราะเหตุไร พระอรหันตขีณาสพ
ท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม เพราะเหตุว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
มีธรรมอันนับแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันพินิจแล้ว มีธรรม
อันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเป็นแจ้งแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว คือ
มีธรรมอันนับแล้วว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
อนึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
วัฏฏะ อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นนับพร้อมแล้ว อนึ่ง พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุดแห่งธาตุ ในที่สุด
แห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุบัติ ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ
ในที่สุดแห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพ
อันมีในที่สุด ตั้งอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงไว้ซึ่ง
กายอันมีในที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 29
ภพและอัตภาพ คือความเกิด ความตาย และสงสาร
นี้ของพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นมีเป็นครั้งสุดท้าย ท่าน
ไม่มีการเกิดในภพใหม่อีก.
เหตุนั้น พระอรหันตขีณาสพ ท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีสังขาตธรรม.
[๙๒] คำว่า "เสกฺขา" ในอุเทศว่า "เย จ เสกฺขา ปุถู อิธ"
ความว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า พระเสขะ เพราะยังต้องศึกษาต่อไป
ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขา
บ้าง.
ก็ อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม
ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์แม้เล็ก
ศีลขันธ์แม้ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องกั้น เป็นความสำรวม เป็นความ
ระวัง เป็นประมุข เป็นประธานแห่งความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.
ก็ อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ บรรลุทุติฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.
ก็ อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุย่อมรู้ชัดตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 30
ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทา
เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.
พระเสขะทั้งหลาย คำนึงถึงไตรสิกขานี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษาอยู่ อธิษ-
ฐานจิตศึกษาอยู่ น้อมใจไปด้วยศรัทธาศึกษาอยู่ ประคองความเพียร
ศึกษาอยู่ ตั้งสติไว้ศึกษาอยู่ ตั้งจิตศึกษาอยู่ รู้ทั่วด้วยปัญญาศึกษาอยู่
รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษาอยู่ กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษาอยู่
ละธรรมที่ควรละศึกษาอยู่ เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษาอยู่ ทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษาอยู่ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเต็มใจ
สมาทานประพฤติไป เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า พระเสขะ.
บทว่า ปุถู ความว่า มีมาก คือ พระเสขะเหล่านี้ ได้แก่ พระ-
โสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออนาคามิผล พระอรหันต์
และท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตผล. บทว่า อิธ ในที่นี้ คือ ในทิฏฐินี้ ใน
ความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความถือนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมนี้
ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ใน
อัตภาพนี้ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และพระเสขะทั้งหลาย
ในที่นี้มีมาก.
[๙๓] อุเทศว่า "เตส เม นิปโก อิริย ปุฏฺโ ปพฺรูหิ มาริส"
ความว่า แม้พระองค์ มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้
มีฌาน มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
คือ ไต่ถาม ทูลวิงวอน ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ให้ประสาทแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 31
ขอจงตรัส คือ จงบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้
ตื้น ประกาศซึ่งความดำเนิน คือ ความประพฤติ ความเป็นไป ความ
ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ธรรมอันเป็นโคจร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ข้อปฏิบัติ
ของพระอรหันตขีณาสพผู้มีสังขาตธรรมและพระเสขะเหล่านั้น. บทว่า
มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์
ผู้มีปัญญาจงตรัสบอกถึงความดำเนินของพระอรหันตขีณาสพ และพระ-
เสขะเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และ
พระเสขบุคคลเหล่าใดในที่นี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้นิร-
ทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา จง
ตรัสบอกความดำเนินของพระอรหันตขีณาสพ และพระ-
เสขบุคคลเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๙๔] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)
ดูก่อนอชิตะ ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจ
ไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.
[๙๕] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย"
ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 32
วัตถุถามเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ
เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า
ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท
ฉางข้าว เรือนคลัง วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามส่วนอดีต กามส่วนอนาคต กามส่วนปัจจุบัน
กามภายใน กามภายนอก กามทั้งภายในภายนอก กามเลว กามปานกลาง
กามประณีต กามมีในอบาย กามมีในมนุษย์ กามอันเป็นทิพย์ กามที่
ปรากฏ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิต กามที่หวงแหน กามที่ไม่
หวงแหน กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา กามาวจรธรรม
ทั้งปวง รูปาวจรธรรมทั้งปวง อรูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง ธรรมอันเป็น
วัตถุแห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เหล่านี้เรียกว่า วัตถุ
กาม.
กิเลสกามเป็นไฉน ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ
สังกัปปราคะ เป็นกาม ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความ
เพลิดเพลินในกาม ตัณหาในกาม เสน่หาในกาม ความกระหายในกาม
ความเร่าร้อนในกาม ความติดใจในกาม ความหลงในกาม ความพัวพัน
ในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันท-
นิวรณ์ ดูก่อนกาม เราได้เห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว.
ดูก่อนกาม เจ้าเกิดเพราะความดำริถึง เราจักไม่ดำริ
ถึงเจ้าละ ดูก่อนกาม เจ้าจักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 33
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความติดใจ.
คำว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย ความว่า ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน
เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจาก
ความติดใจ สละความติดใจ คายความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละความ
ติดใจ สลัดความติดใจ ปราศจากความกำหนัด สละความกำหนัด คาย
ความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สลัดความกำหนัด
ในกิเลสกามทั้งหลาย ในวัตถุกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่หิว ดับสนิท เย็นแล้ว
เป็นผู้เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดใจใน
กามทั้งหลาย.
[๙๖] จิต มนะ มานัส หทัย ธรรมชาติขาวผ่อง อายตนะ
คือใจ อินทรีย์คือใจ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ชื่อว่า
ใจ ในอุเทศว่า "มนสานาวิโล สิยา" จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป
เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อไป หวั่นไหว
หมุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย
ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง.
คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ขุ่นมัว คือไม่
ยุ่งไป ไม่เป็นไป ไม่สืบต่อไป ไม่หวั่นไหว ไม่หมุนไป สงบแล้วด้วยจิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 34
คือพึงละ สละ บรรเทา กระทำให้มีในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลส
ทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สลัด
สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว
พึงเป็นผู้มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจ
ไม่ขุ่นมัวอยู่.
[๙๗] คำว่า กุสโล สพฺพธมฺมาน ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง โดยเป็นสภาพที่ไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นสภาพชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์
เป็นสภาพไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค หวั่นไหว ผุพัง ไม่ยั่งยืน
ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง ว่าง เปล่า สูญ
เป็นอนัตตา มีโทษ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นแก่นสาร
เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นผู้ฆ่า เป็นสภาพปราศจากความเจริญ มีอาสวะ
มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา
มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา โดยความเกิด
โดยความดับ ไม่มีคุณ มีโทษ ไม่มีอุบายเป็นเครื่องออกไป พึงเป็น
ผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 35
อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ...
ปฎิจจสมุปบาท ... สติปีฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ...
พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ... ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป หู เสียง จมูก กลิ่น
ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง.
ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะภายในภายนอก คือ ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ
ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรม
ทั้งปวง.
[๙๘] บทว่า สโต ในอุเทศว่า "สโต ภิกขุ ปริพฺพเช" ความ
ว่า ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในกาย ๑ มีสติเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ๑ มีสติ
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ๑ มีสติเจริญธัมมานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ๑.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะเว้นความ
เป็นผู้ไม่มีสติ ๑ เพราะทำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความทำสติ ๑ เพราะละ
ธรรมเป็นข้าศึกแก่สติ ๑ เพราะไม่หลงลืมธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสติ ๑.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็น
ผู้ประกอบด้วยสติ ๑ เพราะถึงความชำนาญด้วยสติ ๑ เพราะความเป็นผู้
คล่องแคล่วด้วยสติ ๑ เพราะไม่กลับปลงจากสติ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 36
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็น
ผู้มีสติเสมอ ๑ เพราะความเป็นผู้สงบ ๑ เพราะความเป็นผู้ระงับ ๑
เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของผู้สงบ ๑.
มีสติเพราะพุทธานุสสติ เพราะธัมมานุสสติ เพราะสังฆานุสสติ
เพราะสีลานุสสติ เพราะจาคานุสสติ เพราะเทวตานุสสติ เพราะอานา-
ปานัสสติ เพราะมรณานุสสติ เพราะกายคตาสติ เพราะอุปสมานุสสติ
สติ ฯ ล ฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ
เป็นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม
ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีสติ.
คำว่า "ภิกขุ" คือ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ
คือ เป็นผู้ทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ
โมหะ มานะ ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำลายอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้า-
หมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็น
ที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน๑สภิยะ)
ภิกษุนั้นบรรลุถึงปรินิพพานแล้ว เพราะธรรมเป็น
หนทางที่ตนทำ (ดำเนิน) แล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้
แล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว.
คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ คือ
พึงมีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 37
พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติ
เหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึง
มีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว
ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.
[๙๙] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน
ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความ
อบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา และจิตของ
อชิตพราหมณ์นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ
ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์
หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์นั้น เป็นภิกษุ
ครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร เพราะการปฏิบัติ
ตามประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้า
พระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 38
สัทธัมมปัชโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
อรรถกถาปารายนวรรค
อรรถกถาอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในอชิตสุตตนิทเทส๑ที่ ๑ แห่งปารายนวรรค ดัง
ต่อไปนี้.
อชิตมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า
โลกอันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุ
อะไร อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
เราจะเว้นบทที่กล่าวแล้วในปัญหาที่ ๑ ที่อชิตมาณพทูลถามใน
ปัญหาที่สูงขึ้นไป และในนิทเทสทั้งหลาย และบทที่ง่าย จักกล่าวเฉพาะ
ความต่างกันเท่านั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า นิวุโต คือหุ้มห่อไว้. บทว่า กิสฺสาภิเลปน
พฺรูสิ คืออะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก ขอพระองค์จงตรัสบอก. บทว่า
อาวุโต คือ ปกปิด. บทว่า โอผุโฏ ปิดบัง คือปิดเบื้องล่าง. บทว่า
ปิหิโต ปกคลุม คือคลุมส่วนบน. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน หุ้มห่อ คือไม่
๑. ในปารายนวรรกนี้ อรรถกถาใช้คำว่า สุตตนิทเทส แทนปัญหานิทเทสทั้ง ๑๖ ปัญหา เพราะ
อธิบายพระสูตรในสุตตนิบาต ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๔๒๕ - ๔๔๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 39
เปิดออก. บทว่า ปฏิกุชฺชิโต ครอบไว้ คือครอบให้มีหน้าคว่ำลง.
บทว่า นปฺปกาสติ คือ ไม่ปรากฏ. บทว่า นปฺปภาสติ ไม่สว่าง คือ
ไม่ทำความสว่างด้วยญาณ. บทว่า น ตปติ ไม่รุ่งเรือง คือไม่ทำความ
รุ่งเรืองด้วยญาณ. บทว่า น วิโรจติ ไม่ไพโรจน์ คือไม่ทำความไพโรจน์
ด้วยญาณ. บทว่า น สญฺายติ คือ ไม่แจ่ม. บทว่า น ปญฺายติ
คือ ไม่กระจ่าง. บทว่า เกน ลิตฺโต คือ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทา.
เพิ่มอุปสัคเป็น ปลิตฺโต อุปลิตฺโต คือ ฉาบทาทั่ว เข้าไปฉาบทา. พึง
เห็นความอย่างนี้ว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกด้วยอุเทศ(ยกหัวข้อขึ้นแสดง)
จงทรงแสดงด้วยนิเทศ (การจำแนกแสดง) ทรงบัญญัติด้วยปฏินิเทศ
(การรวมแสดง) เมื่อรู้อรรถโดยประการนั้น ๆ จงทรงแต่งตั้ง เมื่อ
แสดงเหตุแห่งมรรคนั้น ๆ จงทรงเปิดเผย เมื่อแสดงความเป็นพยัญชนะ
จงทรงจำแนก เมื่อนำออกเสียได้ซึ่งความครอบไว้และความลึกซึ้งแล้ว
ให้เกิดที่ดังของญาณทางหู จงทรงทำให้ตื้น เมื่อกำจัดความมืดคือความ
ไม่รู้ทางหูด้วยอาการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จงทรงประกาศดังนี้.
บทว่า เววิจฺฉา นปฺปกาสติ โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่
คือไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่เป็นเหตุ และเพราะความประมาทเป็น
เหตุ. จริงอยู่ ความตระหนี่ ย่อมไม่ให้เพื่อประกาศคุณทั้งหลายมีทาน
เป็นต้นแก่เขา และความประมาทมัวเมาย่อมไม่ให้เพื่อประกาศคุณทั้งหลาย
มีศีลเป็นต้น. บทว่า ชปฺปาภิเลปน ตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้
ดุจตังดักลิง เป็นเครื่องฉาบทาของลิงฉะนั้น. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์
มีชาติเป็นต้น. บทว่า เยส ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใด.
บทว่า อาทิโต สมุทาคมน ปญฺายติ คือ ความเกิดขึ้นย่อมปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 40
ตั้งแต่ขณะแรก (อุปาทขณะ ). บทว่า อตฺถงฺคมโต นิโรโธ คือ เมื่อ
แตกดับ ความดับย่อมปรากฏ. บทว่า กมฺมนิสฺสิโต วิปาโก วิบาก
อาศัยกรรม คือกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ท่านเรียกว่า วิบากอาศัยกรรม
เพราะไม่ละกรรมเป็นไป. บทว่า วิปากนิสฺสิต กมฺม กรรมอาศัยวิบาก
คือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า กรรมอาศัยวิบาก เพราะ
กระทำโอกาสแก่วิบากตั้งอยู่. บทว่า นามนิสฺสิต รูป รูปอาศัยนาม
คือรูปในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕ ) ท่านเรียกว่า รูปอาศัยนาม
เพราะไม่ละนามเป็นไป. บทว่า รูปนิสฺสิต นาม นามอาศัยรูป คือ
นามในปัญจโวการภพ ท่านเรียกว่า นามอาศัยรูป เพราะไม่ละรูปเป็นไป.
บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปใน
อายตนะทั้งปวง คือกระแสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น ย่อมไหลไปในอายตนะ
มีรูปเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า โสตาน กึ นิวารณ คือ อะไรเป็นเครื่อง
กั้น อะไรเป็นเครื่องรักษากระแสเหล่านั้น. บทว่า สวร พฺรูหิ ขอ
พระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลายเหล่านั้น. อชิต-
มาณพทูลถามถึงการละธรรมที่เป็นเครื่องกั้นกระแสที่เหลือด้วยบทนี้. บท
ว่า เกน โสตา ปิถิยฺยเร กระแสทั้งหลายอันอะไรปิดกั้นไว้ คือกระแส
เหล่านั้นอันธรรมอะไรปิดกั้นไว้ คือตัดขาด. ด้วยบทนี้ อชิตมาณพทูล
ถามถึงการละกระแสที่ไม่เหลือ. บทว่า สวนฺติ ย่อมไหลไป คือย่อม
เกิดขึ้น. บทว่า อาสวนฺติ ย่อมไหลหลั่ง คือไหลลงเบื้องต่ำ. บทว่า
สนฺทนฺติ ย่อมเลื่อนไป คือไหลไปไม่มีสิ้นสุด. บทว่า ปวตฺตนฺติ ย่อม
เป็นไป คือเป็นไปบ่อย ๆ.
บทว่า สติ เตส นิวารณ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 41
สติอาศัยเสมอ ๆ ซึ่งคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งหลายอันประกอบ
ด้วยวิปัสสนา เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. บทว่า โสตาน สวร พฺรูมิ
เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า เรากล่าวสตินั่นแล
ว่าเป็นธรรมเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. บทว่า ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร
กระแสเหล่านั้นอันปัญญาย่อมปิดกั้นไว้ คือกระแสเหล่านี้อันมรรคปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการแทงตลอดความเป็นของไม่เที่ยงในรูปเป็นต้น ปิดกั้นไว้
โดยประการทั้งปวง. บทว่า ปจฺฉิชฺชนฺติ คือ ตัดขาด. บทว่า สมุทยญฺจ
ความเกิด คือปัจจัย. บทว่า อตฺถงฺคมญฺจ ความดับ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความไม่มี หรือเมื่อยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิด. บทว่า อสฺสาท ความ
พอใจ คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนญฺจ คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณญฺจ
คือ อุบายเป็นเครื่องออกไป.
พึงทราบความแห่งคาถาที่เป็นปัญหาว่า ปญฺาเจว ดังนี้เป็นต้น
ต่อไป. พึงทราบความสังเขปอย่างนี้ว่า ปัญญา สติ และนามรูป ตามที่
พระองค์ตรัสไว้แล้วทั้งหมดนั้น ย่อมดับไป ณ ที่ไหน. ขอพระองค์จงตรัส
บอกปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถามเถิด. บทว่า กตฺเถต นิรุชฺฌติ คือ นาม-
รูปนั้นดับ ณ ที่ไหน. บทว่า วูปสมติ คือ ย่อมดับ. บทว่า อตฺถงฺคจฺฉติ
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความไม่มี. บทว่า ปฏิปสฺสมฺภติ ย่อม
ระงับ คือย่อมสงบ.
อนึ่ง พึงทราบคาถาวิสัชนาปัญหาของอชิตมาณพนั้นต่อไป. เพราะ
ปัญญาและสติสงเคราะห์เข้าเป็นนามเท่านั้น ฉะนั้น จะไม่กล่าวถึงปัญญา
และสติไว้ต่างหาก. ความย่อในบทวิสัชนานี้มีดังนี้. ดูก่อนอชิตะ ท่าน
ได้ถามปัญหาข้อใดกะเราว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่ไหน เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 42
เราจะบอกปัญหานั้นกะท่านว่า นามและรูปใดดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
นามและรูปนั้น ก็ดับ ณ ที่นั้นพร้อมกับความดับแห่งวิญญาณนั้น ๆ นั่นเอง
ไม่ก่อนไม่หลัง คือย่อมดับในเพราะวิญญาณดับนี้เอง เพราะวิญญาณดับ
ในภายหลังอย่างนี้ นามและรูปนั้นจึงเป็นอันดับไปด้วย. ท่านอธิบายว่า
นามและรูปนั้นไม่เลยไป. บทว่า โสตาปตฺติมคฺคาเณน อภิสงฺขาร-
วิญฺาณสฺส นิโรเธน เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิ-
สังขารด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ คือเพราะความดับจิตที่สัมปยุตด้วยกุศล
และอกุศลเจตนา ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นอันไม่สมควรเสียได้ ด้วยปัญญา
อันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรค.
ในบทนั้น นิโรธ มี ๒ อย่าง คือ อนุปาทินนกนิโรธ ๑ อุปา-
ทินนกนิโรธ ๑
จิต ๕ ดวง คือจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ๑ ดวง ย่อมดับไปด้วย โสดาปัตติมรรค. จิตเหล่านั้นให้รูป
เกิดขึ้น. รูปนั้นเป็นรูปขันธ์ที่ไม่มีใจครอง. จิตเหล่านั้นเป็นวิญญาณขันธ์.
เวทนา สัญญา สังขาร ที่สัมปยุตกับวิญญาณขันธ์นั้นเป็นอรูปขันธ์ ๓. ใน
อรูปขันธ์นั้น หากพระโสดาบันไม่ได้อบรมโสดาปัตติมรรคแล้วไซร้ จิต
๕ ดวงเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ ๖. แต่โสดาปัตติมรรค
ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไปของจิตเหล่านั้น กระทำการเพิกถอนซึ่ง
ความเกิดอันไม่สมควรเสีย ด้วยอริยมรรค ชื่อว่า อนุปาทินนกนิโรธ
ดับอนุปาทินนกะ.
จิต ๖ ดวง ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทอันหยาบ คือจิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 43
๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ จิต ๒ ดวงที่สหรคตด้วยโทมนัส ย่อมดับ
ด้วยสกทาคามิมรรค.
จิต ๖ ดวงเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทที่สหร-
คตด้วยส่วนที่ละเอียด ( อณุสหคต) ย่อมดับด้วย อนาคามิมรรค.
อกุศลจิต ๕ ดวง คือจิต ๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ และจิต
๑ ดวงที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ย่อมดับด้วย อรหัตมรรค.
ในจิตเหล่านั้น หากว่าพระอริยะเหล่านั้นไม่อบรมมรรคเหล่านั้น
แล้วไซร้ จิตเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ ๖. อนึ่ง มรรค
ของพระอริยะเหล่านั้น ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไป กระทำการ
ถอนเสียซึ่งความที่จิตเหล่านั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยอริยมรรค ชื่อว่า
อนุปาทนนกนิโรธ ดับอนุปาทินนกะ. พึงทราบความดับอนุปาทินนกะ
อย่างนี้.
ก็หากว่าพระโสดาบันไม่ได้เป็นผู้อบรมโสดาปัตติมรรค ความเป็น
ไปแห่งอุปาทินนกขันธ์พึงเป็นไปได้ในสังสารวัฏ มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ เพราะเหตุไร. เพราะมีเหตุแห่ง
ความเป็นไปของโสดาปัตติมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมถอนกิเลส
๕ อย่างเหล่านี้ได้ คือสังโยชน์ ๓ ทิฏฐานุสัย ๑ วิจิกิจฉานุสัย ๑. ความ
เป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระโสดาบัน จักเป็นไปในสังสารวัฏมีเบื้องต้น
เบื้องปลาย อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ได้แต่ไหนในบัดนี้.
โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปา-
ทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระสกทาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมสกทาคามิมรรค ความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 44
ไปแห่งอุปาทินนกะพึงเป็นไปได้ในภพ ๕ เว้นภพ ๒. เพราะเหตุไร.
เพราะมีเหตุแห่งความเป็นไปของสกทาคามิมรรคนั้น. มรรคนั้นเมื่อเกิด
ย่อมถอนกิเลส ๔ เหล่านี้ได้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ. ความเป็นไปแห่งอุป-
ทินนกะของพระสกทาคามีจักเป็นไปในภพ ๕ เว้นภพ ๒ ได้แต่ไหนใน
บัดนี้. สกทาคามิมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า
อุปาทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระอนาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมอนาคามิมรรค ความเป็นไป
แห่งอุปาทินนกะพึงเป็นไปในภพที่ ๒ เว้นภพที่ ๑. เพราะเหตุไร. เพราะ
มีเหตุแห่งความเป็นไปของอนาคามิมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อม
ถอนกิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ได้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อันสหร-
คตด้วยส่วนละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอันสหรคตด้วยส่วนละเอียด
ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระอนาคามี จักเป็นไปในภพที่ ๒ เว้น
ภพที่ ๑ ได้แต่ไหนในบัดนี้ อนาคามิมรรคเมื่อกระทำให้อุปาทินนกะเป็น
ไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปาทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระอรหันต์ไม่ได้อบรมอรหัตมรรค ความเป็นไปแห่ง
อุปาทินนกะพึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพได้. เพราะเหตุไร. เพราะมี
เหตุแห่งความเป็นไปของอรหัตมรรคนั้น. อนึ่ง มรรคนั้นเมื่อเกิดย่อม
ถอนกิเลส ๘ อย่างเหล่านี้ได้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย. ความเป็นไปแห่งอุปา-
ทินนกะของพระขีณาสพ จักเป็นไปในภพใหม่ได้แต่ไหนในบัดนี้. อรหัต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 45
มรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะไม่ให้เป็นไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปาทินนก-
นิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
อนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โสดาปัตติมรรคย่อมดับอบายภพ.
สกทาคามิมรรคย่อมดับได้ส่วนหนึ่งของสุคติกามภพ. อนาคามิมรรคย่อม
ดับกามภพได้. อรหัตมรรคย่อมดับรูปภพอรูปภพ แม้ในภพทั้งปวงได้.
พึงทราบอุปาทินนกนิโรธ การดับอุปาทินนกะด้วยประการฉะนี้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงการดับอนุปาทินนกะด้วยบทนี้ว่า อภสงฺขารวิญฺา-
ณสฺส นิโรเธน ด้วยการดับวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขาร. ทรง
แสดงการดับอุปาทินนกะด้วยบทนี้ว่า เย อุปฺปชฺเชยฺยุ นามญฺจ รูปญฺจ
เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ ธรรมเหล่าใด คือนามและรูปพึงเกิดขึ้น ณ ที่ใด
ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับไป ณ ที่นั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า สตฺต ภเว เปตฺวา เว้นภพ ๗ คือเว้น
ภพ ๗ ของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปสู่กามภพจากกามภพ. บทว่า อนมตคฺเค
สสาเร ในสังสารมีเบื้องต้นเบื้องปลาย อันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ คือ
ธรรมทั้งหลายพึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏที่พรรณนาไว้ว่า
ลำดับขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งหลาย อันเป็นไปไม่
ขาดสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.
บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ ได้แก่ ธรรมเหล่านี้ คือนาม อันได้แก่
ขันธ์ ๔ มีการน้อมไปเป็นลักษณะ และรูปอันได้แก่ภูตรูปและอุปาทายรูป
มีการสลายไปเป็นลักษณะ พึงเกิดขึ้น. บทว่า เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ
ธรรมเหล่านั้นย่อมดับไป ณ ที่นั้น คือธรรมอันได้แก่นามและรูปเหล่านี้
ย่อมถึงการดับไป ด้วยอำนาจการเกิดอันไม่สมควรในโสดาปัตติมรรคนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 46
พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สกทาคามิมคฺคาเณน ด้วยสกทาคา-
มิมรรคญาณเป็นต้น ชื่อว่าสกทาคามี เพราะมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น
ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. มรรคแห่งสกทาคามีนั้น ชื่อว่าสกทาคามิมรรค. ด้วย
ญาณอันประกอบด้วยมรรคนั้น. บทว่า เทฺว ภเว เปตฺวา เว้นภพ ๒
คือเว้นภพ ๒ อันเป็นกามธาตุ ด้วยอำนาจการปฏิสนธิ. บทว่า ปญฺจสุ
ภเวสุ คือ (เกิด) ในภพ ๕ อัน เหลือจากภพ ๒ นั้น. บทว่า เอตฺเถเต
นิรุชฺฌนฺติ คือ ธรรมเหล่านี้ย่อมดับไป โดยนัยที่กล่าวแล้วด้วยสกทาคามิ-
มรรค ณ ที่นี้. บทว่า เอก ภว เปตฺวา เว้นภพ ๑ คือเว้นภพ ๑
ด้วยรูปธาตุหรืออรูปธาตุ ด้วยอำนาจแห่งความอุกฤษฏ์. บทว่า รูป-
ธาตุยา วา อรูปธาตุยา วา ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุในภพที่ ๒.
ในบทว่า นามญฺจ รูปญฺจ นี้ ในรูปภพได้แก่ นามและรูป ในอรูปภพ
ได้แก่ นามเท่านั้น. บทว่า เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ ธรรมอัน
เป็นนามและรูปเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ด้วยอรหัตมรรค
ณ ที่นี้. บทว่า อรหโต ได้แก่ พระขีณาสพ ได้ชื่อว่าพระอรหันต์เพราะ
เป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา
ด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส คือนิพพานธาตุมี ๒ อย่าง เป็น
อุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน.
ในบทนั้นชื่อว่า อุปาทิ เพราะยึดมั่น คือยึดถือมั่นว่า เรา ของเรา.
บทนี้เป็นชื่อของขันธ์ ๕. อุปาทิอันเหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อว่า สอุ-
ปาทิเสสะ เพราะเป็นไปกับด้วยเบญจขันธ์ที่เหลืออยู่. ชื่อว่า อนุปาทิ-
เสสะ เพราะไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่. อนุปาทิเสสะนี้. ด้วยนิพพานธาตุ
อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น. บทว่า นิพฺพายนฺตสฺส ได้แก่ ดับ คือเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 47
ไม่ได้ เหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น. บทว่า จริมวิญฺาณสฺส นิโรเธน
เพราะดับวิญญาณดวงสุดท้าย คือเพราะดับลมหายใจเข้าออกในเบญจขันธ์
นี้.
จริมะ (สุดท้าย) มี ๓ คือ ภวจริมะ, ฌานจริมะ, จุติจริมะ.
ในบรรดาภพทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปในกามภพ ไม่เป็น
ไปในรูปภพและอรูปภพ ฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะ นั้น จึงชื่อว่า
ภวจริมะ. ในฌานทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปใน ๓ ฌานต้น
ไม่เป็นไปในฌานที่ ๔ เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะจึงชื่อว่า ฌาน-
ภวจริมะ. อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเกิดพร้อมกับจิตที่ ๑๖ ก่อนหน้าจุติจิต ธรรม
เหล่านั้นย่อมดับไปพร้อมกับจุติจิต นี้ชื่อว่า จุติจริมะ. จุติจริมะนี้ประสงค์
เอาว่า จริมะ ในที่นี้. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก
ทั้งหลาย โดยที่สุดแม้แต่มดดำมดแดงทั้งหมด ย่อมกระทำกาละด้วย
ภวังคจิตนั่นแหละ อันเป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจเหมือนกันหมด.
เพราะฉะนั้น คำว่า จริมวิญฺาณสฺส นิโรเธน เพราะดับวิญญาณดวง
สุดท้าย จึงหมายถึงเพราะดับจุติจิต.
พึงกำหนดเอาอรูปขันธ์ ๔ ด้วยบทเหล่านี้ คือ ปญฺา จ สติ
จ นามญฺจ ปัญญา สติ และนาม. พึงกำหนดเอามหาภูตรูป ๔ และ
อุปาทายรูป ๒๔ ด้วยบทนี้ว่า รูปญฺจ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายการดับนามรูป
นั้น จึงตรัสว่า เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนี้จึงดับ ณ ที่นี้.
บทเหล่านั้น บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ จริมวิญญาณบ้าง อภิสังขาร-
วิญญาณบ้าง. เพราะละและดับอภิสังขารวิญญาณ นามและรูปนี้จึงดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 48
ณ ที่นี้ ย่อมถึงความไม่มีบัญญัติดุจเปลวประทีปฉะนั้น. เพราะความที่จริม-
วิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความไม่เกิด นามและรูปจึงดับไปด้วยอำนาจความ
ไม่เกิดขึ้น ด้วยความดับ คือความไม่เกิด (แห่งจริมวิญญาณ).
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศทุกขสัจ
ด้วยบทนี้ว่า ทุกฺขมสฺส มหพฺภย ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
ทรงประกาศสมุทยสัจด้วยบทนี้ว่า ยานิ โสตานิ กระแสเหล่าใด ทรง
ประกาศมรรคสัจด้วยบทนี้ว่า ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านี้อัน
ปัญญาปิดกั้นไว้. ทรงประกาศนิโรธสัจด้วยบทนี้ว่า อเสส อุปรุชฺฌติ
ดับไม่มีเหลือ อชิตมาณพแม้ฟังสัจจะ ๔ ประการอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้
แล้ว ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เมื่อจะทูลถามถึงปฏิปทาของพระเสกขะและ
พระอเสกขะอีก จึงทูลว่า เย จ สงฺขาตธมฺมาเส พระอรหันตขีณาสพ
เหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาตธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่พิจารณาแล้ว
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า เสกฺขา คือ ผู้ยังต้องศึกษาศีลเป็นต้น ได้แก่ อริยบุคคล
ที่เหลือ. บทว่า ปุถู มาก ได้แก่ ชนเป็นอันมาก. บทว่า เตส เม
นิปโก อริย ปุฏฺโ ปพฺรูหิ คือ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์
ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา ได้โปรดบอกถึงข้อปฏิบัติของพระเสกขะและอเสกขะ
เหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า เตส ขนฺธา สงฺขาตา ขันธ์ของ
พระขีณาสพเหล่านั้นมีธรรมอันนับได้แล้ว คือขันธ์ ๕ ของพระขีณาสพ
เหล่านั้นสิ้นไปแล้ว กระทำให้ไม่มีปฏิสนธิ หรือสิ้นสุดไปแล้ว. แม้ใน
ธาตุทั้งหลายเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิริย คือ การประกอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 49
บทว่า จริย คือ การกระทำ. บทว่า วุตฺตึ คือ การเข้าถึง. บทว่า
อาจาร คือ ความประพฤติ. บทว่า โคจร คือ ปัจจัย. บทว่า วิหาร
คือ การเป็นไปแห่งอิริยาบถ. บทว่า ปฏิปท คือ การปฏิบัติ.๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะกิเลสทั้งหลายตั้งแต่กามฉันท-
นิวรณ์เป็นต้น อันพระเสกขะพึงละ ฉะนั้น จึงแสดงถึงเสกขปฏิปทาแก่
อชิตมาณพนั้นด้วยคาถากึ่งหนึ่งมีอาทิว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้.
บทนั้นมีความดังนี้ ภิกษุไม่พึงติดใจในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลส-
กาม ละธรรมอันทำใจให้ขุ่นมัวมีกายทุจริตเป็นต้น พึงมีใจไม่ขุ่นมัว.
อนึ่ง เพราะพระอเสขะชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง เพราะ
เป็นผู้พิจารณาโดยรอบคอบถึงสังขารทั้งปวงเป็นต้น โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นผู้มีสติด้วยเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นผู้ถึง
ความเป็นภิกษุ เพราะทำลายสักกายทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเว้นรอบในอิริยาบถ
ทั้งปวง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงปฏิปทาของพระ-
อเสกขะด้วยคาถากึ่งหนึ่งว่า กุสโล เป็นผู้ฉลาด ดังนี้เป็นต้น. บทว่า
นาภิคิชฺเฌยฺย ไม่ติดใจ คือไม่ถึงความกำหนัด. บทว่า น ปลิคิชฺเฌยฺย
ไม่พัวพัน คือไม่ถึงความโลภ. บทว่า น ปลิพุชฺเฌยฺย ไม่หมกมุ่น
คือไม่ติดแน่นด้วยอำนาจความโลภ. บทว่า อาวิลกเร กิเลเส ปชเหยฺย
คือ พึงละกิเลสทั้งหลายอันทำให้ขุ่นมัว ได้แก่ พึงละกิเลสอันได้แก่ความ
เดือนร้อนอันทำให้จิตขุ่นมัว. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ท่าน
กล่าวถึงการทานิพพานไว้ในภายใน. บทว่า ย กิญฺจิ สมุทยธมฺม
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีปัจจัยเป็นสภาพ.
๑. ม. เป็นวิปัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 50
บทว่า สห คาถาปริโยสานา คือ พร้อมด้วยเวลาจบคาถา. บท
ว่า เยเต พฺราหฺมเณน สทฺธึ เอกจฺฉนฺทา เทวดาและมนุษย์ต่างมี
ฉันทะร่วมกันกับพราหมณ์ คือมีกัลยาณฉันทะ มีอัธยาศัยร่วมกันกับอชิต-
มาณพ. บทว่า เอกปฺปโยคา มีประโยคร่วมกัน คือมีกายประโยค วจี-
ประโยค และมโนประโยคร่วมกัน. บทว่า เอกาธิปฺปายา คือ มีความ
ประสงค์ มีความพอใจร่วมกัน. อธิบายว่า มีความชอบใจเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน. บทว่า เอกวาสนวาสิตา มีการอบรมวาสนาร่วมกัน คือมี
การอบรมร่วมกันมาในคำสอนของพระพุทธเจ้าในอดีต. บทว่า อเนเกส
ปาณสหสฺสาน คือ แก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน. บทว่า วิรช วีตมล
ปราศจากธุลีมลทิน คือปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น และปราศจากมลทิน
มีราคะเป็นต้น. โสดาปัตติมรรคท่านประสงค์เอาในบทว่า ธมฺมจกฺขุ นี้
ในที่อื่นประสงค์เอามรรคเบื้องต่ำ ๓ ท่านกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา เพื่อแสดงเหตุ
แห่งการเกิดมรรคนั้น. เพราะโสดาปัตติมรรคนั้น ทานิโรธสัจให้เป็น
อารมณ์ แล้วแทงตลอดสังขตธรรมทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งกิจ
ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตสฺส จ พฺราหฺมณสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ
จิตฺต วิมุจฺจิ. จิตของพราหมณ์พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือ
จิตของอชิตพราหมณ์นั้น และอันเตวาสิกหนึ่งพัน เมื่อพ้นจากกามาสวะ
เป็นต้นในขณะมรรค พ้นแล้วในขณะผล เพราะไม่ถือมั่นด้วยตัณหาเป็นต้น.
บทว่า สห อรหตฺตปฺปตฺตา พร้อมด้วยการบรรลุพระอรหัต คือหนังเสือ
ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น เป็นต้น ของท่านอชิตะพร้อมด้วย
อันเตวาสิกหายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัตนั่นเอง. ทั้งหมดทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 51
บาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม ๒ องคุลี เป็นเอหิภิกขุ นั่งถวาย
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ในบาลีปรากฏเฉพาะ พระอชิตเถระ
เท่านั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อนฺวตฺถปฏิปตฺติยา เพราะการปฏิบัติตาม
ประโยชน์ คือเพราะได้การปฏิบัติอันเป็นสัจจาภิเษก (อภิเษกด้วยสัจจะ).
อธิบายว่า เพราะได้พระนิพพาน. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 52
ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ
[๑๐๐] (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถามว่า)
ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ความหวั่นไหวของใครย่อม
ไม่มี ใครรู้สิ้นสุดทั้งสองแล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลาง
ด้วยปัญญา พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ใคร
ล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.
[๑๐๑] คำว่า ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ความว่า ใครพอใจ คือ
ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครยินดีแล้วใน
โลกนี้. บทว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา ติสฺสเมตเตยฺโย"
ดังนี้ เป็นบทสนธิ คือเป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังเนื้อความให้บริบูรณ์
เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า
อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วย
ความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่อง
กล่าวถึงเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า ติสฺสเมตฺ-
เตยฺโย เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็น
เครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษา
ที่ร้องเรียกกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา ติสฺสเมตฺเตยฺโย."
[๑๐๒] คำว่า ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี ความว่า ความ
หวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 53
มานะ ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความ
หวั่นไหวเหล่านี้ของใครย่อมไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ คือ ความ
หวั่นไหวอันใครละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว มีความ
ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี.
[๑๐๓] คำว่า ใครรู้ส่วนสุดทั้งสองแล้ว ความว่า ใครรู้จัก คือ
ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครรู้จักส่วนสุดทั้งสองแล้ว.
[๑๐๔] คำว่า ไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา ความว่า ไม่ติด
คือไม่เข้าไปติด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจ
ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดในท่ามกลางด้วย
ปัญญา.
[๑๐๕] คำว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ความว่า
พระองค์ตรัสเรียกใคร คือตรัสใคร ทรงสำคัญใคร ทรงชมเชยใคร
ทรงเห็นใคร ทรงบัญญัติใครว่าเป็นมหาบุรุษ คือเป็นอัครบุรุษ บุรุษ
สูงสุด บุรุษวิเศษ บุรุษประธาน อุดมบุรุษ บุรุษประเสริฐ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ.
[๑๐๖] คำว่า ใครล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลก
นี้ ความว่า ใครล่วงแล้ว คือเข้าไปล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว พ้นแล้ว
เป็นไปล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร
ล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 54
ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ความหวั่นไหวของใครย่อม
ไม่มี ใครรู้ส่วนสุดทั้งสองแล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลาง
ด้วยปัญญา พระองค์ย่อมตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ
ใครล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.
[๑๐๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนเมตเตยยะ) ภิกษุ
มีพรหมจรรย์ในเพราะกามทั้งหลาย ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ ทราบ
แล้ว ดับแล้ว ไม่มีความหวั่นไหว ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่งส่วนสุดทั้งสอง และ
ท่ามกลางด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ภิกษุ
นั้นล่วงเสียแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.
[๑๐๘] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา"
ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า
วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกกิเลสกาม คำว่า มีพรหมจรรย์ ความว่า
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด ความขับไล่เวร กิริยาที่ไม่กระทำ
ความไม่ทำ ความไม่ต้อง ความไม่ล่วงแดน ซึ่งความถึงพร้อมด้วย
อสัทธรรมเรียกว่าพรหมจรรย์.
อีกอย่างหนึ่ง โดยตรงท่านเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมา-
ทิฏฐิ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ ว่าพรหมจรรย์ ภิกษุใดเข้าไป เข้าไปพร้อม
เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า มีพรหมจรรย์ เขาเรียกบุคคลว่า มีทรัพย์ เพราะ
ทรัพย์ เรียกกันว่า มีโภคะ เพราะโภคะ เรียกกันว่ามียศ เพราะยศ
เรียกกันว่า มีศิลป เพราะศิลป เรียกกันว่ามีศีล เพราะศีล เรียกกันว่า
มีความเพียร เพราะความเพียร เรียกกันว่ามีปัญญา เพราะปัญญา เรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 55
กันว่ามีวิชชา เพราะวิชชาฉันใด ภิกษุใดเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา
เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ภิกษุนั้นท่านก็เรียกว่า มีพรหมจรรย์ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า มีพรหมจรรย์ในเพราะกามทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า ดูก่อนเมต-
เตยยะ. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.
[๑๐๙] รูปตัณหา ... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า
"ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ" ภิกษุใดละตัณหานี้ขาดแล้ว คือตัด
ขาดแล้ว สงบแล้ว มีความไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ
ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ปราศจากตัณหา คือสละตัณหาแล้ว คายตัณหา
แล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว ละตัณหาแล้ว สละคืนตัณหาแล้ว มีราคะไป
ปราศจากแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว
สละคืนราคะแล้ว เป็นผู้ไม่มีความหิว เป็นผู้ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข
มีตนเป็นเพียงดังพรหมอยู่.
คำว่า สทา ความว่า ทุกเมื่อ คือทุกสมัย ตลอดกาลทั้งปวง
กาลเป็นนิตย์ กาลยั่งยืน ติดต่อ เนืองๆ เนื่องกัน ต่อลำดับไม่สับสนกัน
ไม่ว่าง ประกอบด้วยความพร้อมเพรียง ถูกต้องกัน กาลเป็นปุเรภัต กาล
เป็นปัจฉาภัต ตลอดยามต้น ตลอดยามกลาง ตลอดยามหลัง ในข้างแรม
ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอน
วัยกลาง ในตอนวัยหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 56
คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ชื่อว่ามีสติ
เพราะเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ... การ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๑ ... การพิจารณาเห็นจิตในจิต๑ ...
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ๑ ฯ ล ฯ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า
ผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ.
[๑๑๐] ญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ ความเลือกเฟ้น ฯ ลฯ ความ
ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ ชื่อว่า สังขา
ในอุเทศว่า สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ.
คำว่า ทราบแล้ว ความว่า ทราบ คือรู้ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ทราบ ... ทำให้แจ่นแจ้งแล้วโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดังหัวฝี ... เป็นดังลูกศร ฯล ฯ
โดยไม่มีอุบายเครื่องออกไป.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ
โทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน
กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา-
ภิสังขารทั้งปวง.
คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 57
๗ ประการ ฯ ลฯ ภิกษุนั้น ... อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว
เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... ทราบแล้ว ดับแล้ว.
[๑๑๑] คำว่า ตสฺส ในอุเทศว่า "ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา"
ความว่า พระอรหันตขีณาสพไม่มีความหวั่นไหว คือความหวั่นไหว
เพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะมานะ
ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความหวั่นไหว
เหล่านี้ย่อมไม่มี ได้แก่ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ภิกษุนั้น คือความ
หวั่นไหวเหล่านี้ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ไม่อาจเกิดขึ้นอีก
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นไม่มีความ
หวั่นไหวทั้งหลาย.
[๑๑๒] คำว่า ที่สุด ในอุเทศว่า "โส อุภนฺตมภิญฺาย มชฺเฌ
มนฺตา น ลิมฺปติ" ดังนี้ ความว่า ผัสสะเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง เหตุให้
เกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับผัสสะเป็นท่ามกลาง อดีตเป็นส่วน
สุดข้างหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดที่สอง ปัจจุบันเป็นท่ามกลาง. สุขเวทนา
เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่สอง อทุกขมสุขเวทนาเป็น
ท่ามกลาง. นามเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็น
ท่ามกลาง. อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖
เป็นส่วนสุดที่สอง วิญญาณเป็นท่ามกลาง. สักกายะเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง
เหตุให้เกิดสักกายะเป็นส่วนสุดที่สอง ความดับสักกายะเป็นท่ามกลาง.
ปัญญา ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ ฯ ลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ เรียกว่า มนฺตา.
ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดเพราะตัณหา ๑ ความติดเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 58
ทิฏฐิ ๑ ชื่อว่า เลปา. ความติดเพราะตัณหาเป็นไฉน การทำเขต การ
ทำแดน การทำส่วน การทำความกำหนด ความหวงแหน ความยึดถือ
โดยส่วนแห่งตัณหาว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ประมาณ
เท่านี้ของเรา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่อง
นุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ไร่ นา
ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉางข้าว
คลังของเรา บุคคลย่อมยึดถือเอามหาปฐพีแม้ทั้งสิ้นว่าเป็นของเรา ด้วย
สามารถแห่งตัณหาและตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้เป็นความติดเพราะตัณหา.
ความติดเพราะทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ
มีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ความเห็น รกชัฏคือทิฏฐิ ทาง
กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ความประกอบ
ไว้คือทิฏฐิ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ ทางชั่ว
ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความแสวงหาผิด
ความถืออันวิปริต ความถืออันวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุอัน
ไม่จริงว่าวัตถุจริง ทิฏฐิ ๖๒ เท่าใด นี้เป็นความติดเพราะทิฏฐิ.
คำว่า ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่งส่วนสุดทั้งสองและท่ามกลางด้วยปัญญา
แล้วไม่ติดอยู่ ความว่า ภิกษุนั้นรู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งส่วนสุดทั้งสองและท่ามกลางด้วยปัญญาแล้ว
ไม่ติดอยู่ คือไม่เข้าไปติด ไม่ทา ไม่เปื้อน ออกไป สละไป หลุดพ้น
ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีจิตปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุนั้นรู้ยิ่งซึ่งส่วนสุดทั้งสองและท่ามกลางด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่.
[๑๑๓] คำว่า ต พฺรูมิ มหาปุริโส ความว่า เราย่อมเรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 59
กล่าว สำคัญ บอก เห็น บัญญัติภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ คือเป็น
อัครบุรุษ บุรุษสูงสุด บุรุษวิเศษ บุรุษเป็นประธาน อุดมบุรุษ
บุรุษประเสริฐ. ท่านพระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า มหาบุรุษ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นมหาบุรุษ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิต
หลุดพ้น เราไม่กล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้น้อมจิตเธอ ดูก่อน
สารีบุตร ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายใน มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุนั้น
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง-
หลาย... ในจิต... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุนั้น
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น
แล้วอย่างนี้แล ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้ว เราไม่กล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้น้อมจิตเชื่อ
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า " เราย่อมเรียกภิกษุนั้นว่า มหาบุรุษ. "
[๑๑๔] คำว่า ภิกษุนั้นล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ใน
โลกนี้ ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 60
ตรัสว่า ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้นั้น อัน
ภิกษุใดละแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ไม่อาจเกิดขึ้นอีก
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นล่วงแล้ว คือเข้าไปล่วงแล้ว ล่วง
ไปแล้ว ล่วงเลยไปแล้ว ซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงชื่อว่าล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุมีพรหมจรรย์ในเพราะกามทั้งหลาย ปราศจาก
ตัณหา มีสติทุกเมื่อ ทราบแล้ว ดับแล้ว ไม่มีความ
หวั่นไหว ภิกษุนั้นรู้ส่วนสุดทั้งสอง และท่ามกลางด้วย
ปัญญาแล้วย่อมไม่ติดอยู่ เราเรียกภิกษุนั้นว่าเป็นมหา
บุรุษ ภิกษุนั้นล่วงเสียแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้
ในโลกนี้.
[๑๑๕] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน
ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความอบรม
วาสนาร่วมกันกับติสสเมตเตยยพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั่งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา และจิตของ
ติสสเมตเตยยพราหมณ์นั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของติสสเมต-
เตยยพราหมณ์หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุพระอรหัต. ติสสเมตเตยย-
พราหมณ์นั้นเป็นภิกษุครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร
และจีวร เพราะการปฏิบัติตามประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 61
พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๒
อรรถกถาติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๒ มีบทเริ่มต้นว่า
โกธ สนฺตุสิโต ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ดังนี้.
ก็เมื่อ อชิตสูตร๑จบแล้ว โมฆราชมาณพเริ่มจะทูลถามอย่างนี้ว่า
มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบว่า อินทรีย์ของโมฆราชมาณพนั้นยังไม่แก่พอ จึงตรัสห้ามว่า
หยุดก่อนโมฆราช คนอื่นจงถามเถิด. ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะ
ทูลถามความสงสัยของตน จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า โกธ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธ สนฺตุสิโต คือ ใครยินดีแล้วในโลกนี้.
บทว่า อิญฺชิตา ความหวั่นไหว คือความดิ้นรนด้วยตัณหาและทิฏฐิ.
บทว่า อุภนฺตมภิญฺาย คือ ใครรู้ส่วนสุดทั้งสอง. บทว่า มนฺตา น
ลิมฺปติ คือ ย่อมไม่ติดด้วยปัญญา. บทว่า ปริปุณฺณสงฺกปฺโป มีความ
ดำริบริบูรณ์ คือมีความปรารถนาบริบูรณ์ด้วยเนกขัมมวิตกเป็นต้น. บทว่า
ตณฺหิญฺชิต คือ ความหวั่นไหวเพราะตัณหา. แม้ในความหวั่นไหว
เพราะทิฏฐิเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า กามิญฺชิต ความหวั่นไหว
เพราะกาม คือความหวั่นไหวดิ้นรนเพราะกิเลสกาม. ปาฐะว่า กมฺมิญฺชิต
บ้าง. บทนั้นไม่ดี บุรุษใหญ่ ชื่อว่า มหาบุรุษ. บุรุษสูงสุด ชื่อว่า
๑. อรรถกถาใช้คำว่า สูตร แทนปัญหา ทั้ง ๑๖ ปัญหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 62
อัครบุรุษ. บุรุษเป็นประธาน ชื่อว่า เสฏฐบุรุษ. บุรุษไม่ลามก ชื่อว่า
วิสิฏฐบุรุษ. บุรุษผู้ใหญ่ชื่อว่า ปาโมกขบุรุษ. บุรุษไม่ต่ำ ชื่อว่าอุตตมบุรุษ.
บุรุษผู้ถึงความเป็นยอดของบุรุษ ชื่อว่า เป็นบุรุษประธาน. บุรุษผู้อันคน
ทั้งหมดต้องการ ชื่อว่า บวรบุรุษ. บทว่า สิพฺพนิมจฺจคา คือ ล่วง
ตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บ. บทว่า อุปจฺจคา คือ ล่วงตัณหา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่ติสสเมตเตยย-
มาณพนั้น จึงตรัสสองคาถาว่า กาเมสุ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา ภิกษุมีพรหมจรรย์
ในเพราะกามทั้งหลาย คือมีพรหมจรรย์มีกามเป็นนิมิต. อธิบายว่า เห็น
โทษในกามทั้งหลาย แล้วประกอบด้วยมรรคพรหมจรรย์ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้สันโดษ. ทรงแสดงความ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. ด้วยบทมีอาทิว่า วีตตณฺโห คือ เป็นผู้ปราศจากตัณหา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย นิพฺพุโต พิจารณาแล้วดับ คือพิจารณาธรรม
ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นแล้ว ดับด้วยการดับราคะ
เป็นต้น. บทว่า อสทฺธมฺมสมาปตฺติยา ความถึงพร้อมด้วยอสัทธรรม
คือประกอบด้วยธรรมต่ำ. บทว่า อารตี ความงด คือ ไกลความยินดี.
บทว่า วิรติ ความเว้น คือเว้นจากความยินดีนั้น. บทว่า ปฏิวิรติ ความ
เว้นขาด คือเว้นขาดจากความยินดีนั้น. บทว่า เวรมณี ความขับไล่เวร
คือให้เวรพินาศไป. บทว่า อกิริยา กิริยาที่ไม่กระทำ คือตัดขาดกิริยา.
บทว่า อกรณ ความไม่ทำ คือตัดขาดการกระทำ. บทว่า อนชฺฌาปตฺติ
คือ ความไม่ต้อง. บทว่า เวลาอนติกฺกโม คือ ความไม่ล่วงแดน บทที่
เหลือชัดดีแล้ว เพราะมีนัยได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 63
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัตด้วยประการฉะนี้. เมื่อจบเทศนา พราหมณ์แม้นี้พร้อมด้วย
อันเตวาสิกหนึ่งพันได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต. ธรรมจักษุเกิดขึ้นแล้วแก่ชน
เหล่าอื่นอีกหลายพัน บทที่เหลือเช่นเดียวกันกับบทก่อนนั้นแล.
จบอรรถกถาติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 64
ปุณณกมาณวกปัญหานิมเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านปุณณกะ
[๑๑๖] (ท่านปุณณกะทูลถามดังนี้ว่า)
ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า
พระองค์ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ฤาษี
มนุษย์ กษัตริย์ และพราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้อาศัย
อะไร จึงพากันแสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอ
พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๑๑๗] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า
ความหวั่นไหว ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาล
ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ-
เหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มีความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ชื่อว่า อเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว ย่อม
ไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้
เพราะความเสื่อมยศ แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข
แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า อเนชะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 65
คำว่า มูลทสฺสาวี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมูล คือ
ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็นนิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรง
เห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย อกุศลมูล ๓
คือ โลภะอกุศลมูล ๑ โทสะอกุศลมูล ๑ โมหะอกุศลมูล ๑. สมจริง
ตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เหตุแห่งความเกิดขึ้นแห่งกรรม ๓ ประการนี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑
โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่าง
หนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะกรรมเกิด
แต่โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้
นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้
อื่น ย่อมปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะกรรมเกิดแต่โทสะ
เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ อกุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่ง
อัตภาพในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมูล ฯลฯ
ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
กุศลมูล ๓ ประการ คือ อโลภะกุศลมูล ๑ อโทสะกุศลมูล ๑
อโมหะกุศลมูล ๑ สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า กุศลมูล ๓ ประการนี้ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่
ปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะ
กรรมเกิดแต่อโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์
หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 66
อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ
กุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพในเทวดา และใน
มนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงเห็นมูล ฯ ล ฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล
เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม
มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมูล
ฯ ล ฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็น
ฝ่ายกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่
ประมาทเป็นที่รวม ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง
ธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเห็นมูล ฯ ล ฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นว่า อวิชชา
เป็นมูลแห่งสังขาร สังขารเป็นมูลแห่งวิญญาณ วิญญาณเป็นมูลแห่งนาม-
รูป นามรูปเป็นมูลแห่งสฬายตนะ สฬายตนะเป็นมูลแห่งผัสสะ ผัสสะ
เป็นมูลแห่งเวทนา เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา ตัณหาเป็นมูลแห่งอุปาทาน
อุปาทานเป็นมูลแห่งภพ ภพเป็นมูลแห่งชาติ ชาติเป็นมูลแห่งชราและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 67
มรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเห็นมูล ฯ ล ฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล
เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีอวิชชาเป็นมูล มีอวิชชาเป็นที่รวม
มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมูล ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็นนิทาน ทรงเห็น
สมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็น
ปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเห็นมูล.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปุณฺณโก เป็นชื่อ
ของพราหมณ์นั้น.
[๑๑๘] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า
ความว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือข้าพระองค์
ประสงค์จะทูลถามปัญหาจึงมาเฝ้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มี
ความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายประสงค์จะทูลถามปัญหา
คือประสงค์จะฟังปัญหาจึงมาเฝ้า คือเข้ามาเฝ้า เข้าใกล้ นั่งใกล้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วย
ประการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า พระองค์ทรงมีประสงค์ด้วยปัญหาจึงเสด็จมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 68
คือแม้พระองค์ก็ทรงอาจ ทรงสามารถ ทรงเป็นผู้ควรจะตรัส จะวิสัชนา
จะทรงแสดง จะชี้แจง ซึ่งปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า แม้ด้วยประการ
ฉะนี้.
[๑๑๙] คำว่า กึนิสฺสิตา ในอุเทศว่า กึนิสฺสิตา อิสโย มนุชา
ความว่า อาศัย คือหวัง เยื่อใย เข้าไปใกล้ พัวพัน น้อมใจถึงซึ่ง
อะไร บุคคลพวกใดพวกหนึ่งมีชื่อว่าฤาษี คือผู้ที่บวชเป็นฤาษี เป็น
อาชีวก เป็นนิครนถ์ เป็นชฎิล เป็นดาบส ชื่อว่า อิสโย. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกมนุษย์ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าฤๅษีมนุษย์
อาศัยอะไร.
[๑๒๐] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า กษัตริย์
ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหฺมณา เทวตาน."
ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่า มีวาทะเจริญ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า
พราหมณ์. คำว่า เทวตาน ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวก.
สาวก นิครนถ์เป็นเทวดาของพวกนิครนถ์สาวก ชฎิลเป็นเทวดาของพวก
ชฎิลสาวก ปริพาชกเป็นเทวดาของพวกปริพาชกสาวก ดาบสเป็นเทวดา
ของพวกดาบสสาวก ช้างเป็นเทวดาของพวกพระพฤติหัตถีพรต ม้าเป็น
เทวดาของพวกประพฤติอัสสพรต โคเป็นเทวดาของพวกประพฤติโคพรต
สุนัขเป็นเทวดาของพวกประพฤติกุกกุรพรต กาเป็นเทวดาของพวก
ประพฤติกากพรต ท้าววาสุเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติวาสุเทวพรต
พลเทพเป็นเทวดาของพวกประพฤติพลเทพพรต ท้าวปุณณภัทร์เป็น
เทวดาของพวกประพฤติปุณณภัททพรต ท้าวมณิภัทร์เป็นเทวดาของพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 69
ประพฤติมณิภัททพรต ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติอัคคิพรต นาค
เป็นเทวดาของพวกประพฤตินาคพรต ครุฑเป็นเทวดาของพวกประพฤติ
สุบรรณพรต ยักษ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติยักขพรต อสูรเป็นเทวดา
ของพวกประพฤติอสูรพรต คนธรรพ์เป็นเทวดาของพวกประพฤติคัน-
ธัพพพรต ท้าวมหาราชเป็นเทวดาของพวกประพฤติมหาราชพรต จันท-
เทวบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติจันทรพรต สุริยเทพบุตรเป็นเทวดา
ของพวกประพฤติสุริยพรต อินทเทพบุตรเป็นเทวดาของพวกประพฤติ
อินทพรต พรหมเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรหมพรต พวกเทพเป็น
เทวดาของพวกประพฤติเทพพรต ทิศทั่งหลา เป็นเทวดาของพวกประพฤติ
ทิศาพรต พระทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด ก็เป็น
เทวดาของชนเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์. . . พราหมณ์. . .
เทวดาทั้งหลาย.
[๑๒๑] ไทยธรรม คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่
นอน ที่พัก เครื่องประทีป ท่านเรียกว่า ยัญ ในอุเทศว่า "ยญฺมกปฺปึสุ
บุถูธ โลเก" คำว่า แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า แม้ชนเหล่าใดย่อม
แสวงหา เสาะหา สืบหายัญ คือจีวร . . . เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้น
ก็ชื่อว่าแสวงหายัญ แม้ชนเหล่าใดย่อมจัดแจงยัญ คือจีวร . . . เครื่อง
ประทีปแม้ชนเหล่านั้น ก็ชื่อว่า แสวงหายัญ แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อม
บูชา ย่อมบริจาคยัญ คือจีวร . . . เครื่องประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า
แสวงหายัญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 70
คำว่า เป็นอันมาก คือยัญเหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือ
พระทักขิไณยบุคคลนั้นก็มาก.
ยัญเหล่านั้นมากอย่างไร ยัญเหล่านั้นมาก คือ จีวร . . . เครื่อง
ประทีป ยัญเหล่านั้นมากอย่างนี้.
ผู้บูชายัญนั้นมากอย่างไร ผู้บูชายัญนั้นมาก คือ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ ผู้บูชายัญนั้นมาก
อย่างนี้.
หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้นมากอย่างไร พระทักขิไณยบุคคลนั้น
มาก คือ สมณะ พราหมณ์ ยาจก วณิพก สาวก หรือพระทักขิไณย-
บุคคลนั้นมากอย่างนี้.
คำว่า ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มาก
ในโลกนี้ . . . แสวงหาแล้วซึ่งยัญ.
[๑๒๒] การถามมี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐ-
สังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ชื่อว่า ปุจฉา ในอุเทศว่า
"ปุจฉามิ ต ภควา พฺรูหิ เม ต."
อทิฏฐโชตนปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เทียบ-
เคียง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถาม
ปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อเทียบเคียง เพื่อพิจารณา เพื่อต้องการให้
แจ่มแจ้ง เพื่อต้องการให้ปรากฏ ซึ่งลักษณะนั้น ชื่อว่า อทิฏฐโชตนา-
ปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะที่รู้ เห็น เทียบเคียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 71
พิจารณาแจ่มแจ้ง ปรากฏ โดยปกติ บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการ
สนทนากับบัณฑิตอื่น ๆ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน บุคคลแล่นไปสู่ความสงสัย ความ
เคลือบแคลง มีใจเป็นสองว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่
เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอ หรือเป็นอย่างไร ดังนี้ โดยปกติ
บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อต้องการตัดความเคลือบแคลงเสีย นี้ชื่อว่า
วิมติเฉทนาปุจฉา ปุจฉา ๓ ประการนี้.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑
นิมมิตปุจฉา ๑.
มนุสสปุจฉาเป็นไฉน มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา ภิกษุทั้งหลาย . . . ภิกษุณีทั้งหลาย . . .
อุบาสกทั้งหลาย . . . อุบาสิกาทั้งหลาย . . . พระราชาทั้งหลาย . . . กษัตริย์
ทั้งหลาย . . . พราหมณ์ทั้งหลาย . . . แพศย์ทั้งหลาย . . . ศูทรทั้งหลาย . . .
คฤหัสถ์ทั้งหลาย . . . บรรพชิตทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า มนุสสปุจฉา.
อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน อมนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นาคทั้งหลาย . . . ครุฑทั้งหลาย . . .
ยักษ์ทั้งหลาย . . . อสูรทั้งหลาย . . . คนธรรพ์ทั้งหลาย . . . ท้าวมหาราช
ทั้งหลาย . . . พระอินทร์ทั้งหลาย . . . พระพรหมทั้งหลาย . .. เทวดา
ทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมทูลถามปัญหา นี้ชื่อว่า
อนนุสสปุจฉา.
นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตพระรูปใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 72
อันสำเร็จด้วยพระทัย มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระ-
พุทธนิรมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมตรัสถาม
ปัญหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่า นิมมิตปุจฉา ปุจฉา
๓ ประการนี้.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามประโยชน์ตน ๑ การถาม
ประโยชน์ผู้อื่น ๑ การถามประโยชน์ทั้งสอง ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๑
การถามถึงสัมปรายิกัตถประโยชน์ ๑ การถามถึงปรมัตถประโยชน์ ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเนื้อความอันไม่มีโทษ ๑
การถามถึงเนื้อความอันไม่มีกิเลส ๑ การถามถึงเนื้อความอันผ่องแผ้ว ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามถึงเรื่องอดีต ๑ การถามถึง
เรื่องอนาคต การถามถึงเรื่องปัจจุบัน ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องภายใน ๑ การถามเรื่อง
ภายนอก ๑ การถามเรื่องทั้งภายในภายนอก ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องกุศล ๑ การถามเรื่อง
อกุศล ๑ การถามเรื่องอัพยากฤต ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องขันธ์ ๑ การถามเรื่อง
ธาตุ ๑ การถามเรื่องอายตนะ ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องสติปัฏฐาน ๑ การถาม
เรื่องสัมมัปปธาน ๑ การถามเรื่องอิทธิบาท ๑.
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องอินทรีย์ ๑ การถามเรื่อง
พละ ๑ การถามเรื่องโพชฌงค์ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 73
ปุจฉาอีก ๓ ประการ คือ การถามเรื่องมรรค ๑ การถามเรื่อง
ผล ๑ การถามเรื่องนิพพาน ๑.
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ความว่า ข้าพระองค์ทูล
ถาม คือทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ประสาท ซึ่งปัญหานั้นว่า ขอ
พระองค์จงตรัสบอกปัญหาแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้า-
พระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นคำกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้า-
พระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัส . . . ขอพระองค์จงประกาศ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า
พระองค์ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้เห็นมูล ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์
พราหมณ์เป็นอันมากในโลกนี้ อาศัยอะไร จึงพากัน
แสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
[๑๒๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณกะ)
ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้
เป็นอันมากในโลกนี้ พากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย
ดูก่อนปุณณกะ ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 74
อันมาก ในโลกนี้ เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้
อาศัยชรา จึงพากันแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย.
[๑๒๔] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า "เยเกจิเม อิสโย มนุชา"
ดังนี้ ความว่า ทั้งหมด โดยกำหนดทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด
ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เยเกจิเม นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด.
บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง มีชื่อว่า ฤๅษี คือ พวกที่บวชเป็นฤๅษี อาชีวก
นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า ฤๅษี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมนุษย์
ว่า มนุชา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฤๅษี มนุษย์. . . เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ. พระ-
นามว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ พระนามว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนปุณณกะ.
[๑๒๕] ผู้ที่เกิดเป็นชาติกษัตริย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า กษัตริย์
ในอุเทศว่า "ขตฺติยา พฺราหฺมณา เทวตาน."
ผู้ที่ยกย่องสรรเสริญกันว่ามีวาทะเจริญเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า
พราหมณ์. คำว่า เทวตาน ความว่า อาชีวกเป็นเทวดาของพวกอาชีวก
สาวก ฯ ล ฯ ทิศทั้งหลายเป็นเทวดาของพวกประพฤติทิศาพรต พระ-
ทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด ก็เป็นเทวดาของชน
เหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กษัตริย์ พราหมณ์. . . แก่เทวดา
ทั้งหลาย.
[๑๒๖] ไทยธรรม คือ จีวร . . . เครื่องประทีป ท่านเรียกว่า ยัญ
ในอุเทศว่า ยญฺมกปฺปึสุ ปุถูธ โลเก. แสวงหาแล้วซึ่งยัญ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 75
แม้ชนเหล่าใดย่อมแสวงหา เสาะหา สืบหา ยัญคือจีวร . . . เครื่อง
ประทีป แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าแสวงหายัญ. คำว่า เป็นอันมาก คือ ยัญ
เหล่านั้นก็มาก ผู้บูชายัญนั้นก็มาก หรือพระทักขิไณยบุคคลนั้นก็มาก
ยัญเหล่านั้นมากอย่างไร ฯ ล ฯ หรือพระทักขิไณยบุคคลมากอย่างนี้. คำว่า
ในโลกนี้ คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มากในโลกนี้ . . .
แสวงหาแล้วซึ่งยัญ.
[๑๒๗] คำว่า อาสึสมานา ในอุเทศว่า อาสึสมานา ปุณฺณก
อิตฺถต ความว่า หวัง คือหวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้กลิ่น หวัง
ได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ภรรยา หวังได้ทรัพย์
หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล
หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลคฤหบดี
มหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก หวังได้อัตภาพใน
เทวดาชาวดาวดึงส์ หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวยามา หวังได้อัตภาพใน
เทวดาชาวดุสิต หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวนิมมานรดี หวังได้อัตภาพ
ในเทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดี หวัง คือปรารถนา ยินดี ประสงค์
รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งการได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หวัง.
คำว่า ปุณฺณก อิตฺถต ความว่า หวังความเกิดแห่งอัตภาพใน
ฐานะนี้ คือหวังความเกิดแห่งอัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาลนี้ . . . ชอบใจ
ซึ่งความเกิดแห่งอัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนปุณณกะ . . .หวังความเป็นอย่างนี้.
[๑๒๘] คำว่า ชร สิตา ในอุเทศว่า ชร สิตา ยญฺมกปฺปึสุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 76
ความว่า อาศัยชรา อาศัยพยาธิ อาศัยมรณะ อาศัยโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส บุคคลพวกนั้นแสวงหายัญในเทวดา เพราะ
อาศัยชาติ หรือว่าอาศัยชาติ จึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญใน
เทวดา เพราะอาศัยชรา หรือว่าอาศัยชรา จึงแสวงหายัญในเทวดา
แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยพยาธิ หรือว่าอาศัยพยาธิ จึงแสวงหา
ยัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยมรณะ หรือว่าอาศัย
มรณะ จึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดา เพราะอาศัยโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส หรือว่าอาศัยโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญใน
เทวดาเพราะอาศัยคติ หรือว่าอาศัยคติจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวง
หายัญในเทวดาเพราะอาศัยอุบัติ หรือว่าอาศัยอุบัติจึงแสวงหายัญ
ในเทวดา แสวงหายัญในเทวดาเพราะอาศัยปฏิสนธิ หรือว่าอาศัย
ปฏิสนธิจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดาเพราะอาศัยภพ
หรือว่าอาศัยภพจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญในเทวดาเพราะ
อาศัยสงสาร หรือว่าอาศัยสงสารจึงแสวงหายัญในเทวดา แสวงหายัญ
ในเทวดาเพราะอาศัยวัฏฏะ หรือว่าอาศัยวัฏฏะจึงแสวงหายัญในเทวดา
ปรารถนา พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อาศัยชรา จึงแสวงหายัญ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้
เป็นอันมากในโลกนี้ แสวงหายัญ แก่เทวดาทั้งหลาย
ดูก่อนปุณณกะ ฤๅษี มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 77
อันมากในโลกนี้เหล่านั้น หวังความเป็นอย่างนี้ อาศัย
ชราจึงแสวงหายัญแก่เทวดาทั้งหลาย.
[๑๒๙] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า)
มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่งนี้ มี
เป็นอันมากในโลกนี้ แสวงหาแล้วซึ่งยัญ แก่เทวดา
ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญ
เหล่านั้นไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่ง
ชาติชราบ้างหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์
ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์เถิด.
[๑๓๐] คำว่า เยเกจิเม ในอุเทศว่า เยเกจิเม อิสโย มนุชา
ดังนี้ ฯ ล ฯ คำว่า กจฺจิสุ เต ภควา ยญฺปเถ อปฺปมตฺตา ความว่า
การถามเพื่อตัดความสงสัย การถามเพื่อตัดความเคลือบแคลง การถาม
เพื่อตัดความมีใจเป็นสอง การถามโดยไม่ใช่ส่วนเดียว เรื่องนี้เป็นอย่างนี้
หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉน หรือเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บ้างหรือ. คำว่า เต ความว่า ผู้บูชายัญ คำว่า
ภควา เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลพวก
นั้น . . . บ้างหรือ.
คำว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ความว่า ยัญนั่นแหละท่าน
กล่าวว่าทางยัญ อริยมรรค ทางอริยะ มรรคเทวดา ทางเทวดา มรรค-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 78
พรหม ทางพรหม ฉันใด ยัญนั่นแหละ ท่านกล่าวว่าทางยัญ ฉันนั้น
เหมือนกัน. คำว่า ไม่ประมาทแล้ว ความว่า ไม่ประมาทแล้ว คือ
ทำโดยความเคารพ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน
ไม่ทอดฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในทางยัญ คือประพฤติอยู่ในทางยัญนั้น
มากอยู่ในทางยัญนั้น หนักอยู่ในทางยัญนั้น น้อมไปในทางยัญนั้น โอน
ไปในทางยัญนั้น เงื้อมไปในทางยัญนั้น น้อมใจไปในทางยัญนั้น มีทาง
ยัญนั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ แม้
ชนเหล่าใดแสวงหา สืบหา เสาะหายัญ คือ จีวร . . . เครื่องประทีป
เป็นผู้กระทำโดยเคารพ ฯ ล ฯ มีทางยัญนั้นเป็นใหญ่ แม้ชนเหล่านั้นเป็น
ผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ แม้ชนเหล่าใดจัดแจงยัญ คือ จีวร . . . แม้
ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในทางยัญ แม้ชนเหล่าใดย่อมให้ ย่อม
บูชา ย่อมบริจาคยัญ คือ จีวร . . . แม้ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาท
แล้วในทางยัญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้บูชา
ยัญเหล่านั้น ไม่ประมาทในทางยัญ . . . บ้างหรือ.
[๑๓๑] คำว่า " อตารุ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส " ความว่า ผู้
บูชายัญเหล่านั้นได้ข้ามพ้นแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ก้าวล่วง
แล้ว ล่วงไปแล้ว ซึ่งชาติ ชรา และมรณะ. คำว่า มาริส เป็นเครื่อง
กล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้น ได้ข้าม
พ้นแล้ว ซึ่งชาติและชรา.
[๑๓๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ต ในอุเทศว่า " ปุจฺฉามิ ต ภควา พฺรูหิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 79
เม ต " ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทุลถาม คือขอทูลวิงวอน ขอ
เชิญ ขอให้ทรงประสาท ขอจงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น. คำว่า ภควา
นั้น เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ. คำว่า พฺรูหิ เม ต ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือขอจง
บอก ขอจงแสดง ขอจงบัญญัติ ขอจงแต่งตั้ง ขอจงเปิดเผย ขอจง
จำแนก ขอจงทำให้ตื้น ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัส
บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
มนุษย์ กษัตริย์ พราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง มีเป็น
อันมากในโลกนี้ แสวงหาซึ่งยัญแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประ-
มาทแล้วในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่งชาติและชราบ้าง
หรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
[๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปุณณกะ)
ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม (ย่อมชอบ) ย่อมบูชา
อาศัยลาภแล้ว ย่อมชอบกามทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า
ชนเหล่านั้นประกอบการบูชายัญ กำหนัดแล้วด้วยความ
กำหนัดในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 80
[๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ
อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้
กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ภรรยา หวัง
ได้ทรัพป หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์
มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุล
คฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯ ล ฯ หวัง
ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง.
คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อม
ชมทักขิไณยบุคคลบ้าง.
ย่อมชมยัญอย่างไร ย่อมชม คือยกย่อง พรรณนา สรรเสริญ
ว่า เราให้ของรัก เราให้ของเจริญใจ เราให้ของประณีต เราให้ของที่
ควร เราเลือกให้ เราให้ของไม่มีโทษ เราให้เนือง ๆ เมื่อกำลังให้ จิต
ก็เลื่อมใส ย่อมชมยัญอย่างนี้.
ย่อมชมผลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า
เพราะยัญนี้เป็นเหตุ จักได้รูป . . . จักได้โผฏฐัพพะ จักได้อัตภาพใน
สกุลกษัตริย์มหาศาล ฯ ล ฯ จักได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่
พรหม ย่อมชมผลอย่างนี้.
ย่อมชมทักขิไณยบุคคลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา
สรรเสริญว่า พระทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วย
โคตร เป็นผู้ชำนาญมนต์ ทรงมนต์ เรียนจบไตรเพท พร้อมด้วย
คัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกตุภศาสตร์ เป็นประเภทอักขระ มีคัมภีร์อิติหาส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 81
เป็นที่ห้า เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกาย-
ตนะและตำราทานายมหาบุรุษลักษณะ เป็นผู้ปราศจากราคะบ้าง ปฏิบัติ
เพื่อกำจัดราคะบ้าง เป็นผู้ปราศจากโทสะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะบ้าง
เป็นผู้ปราศจากโมหะบ้าง ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะบ้าง ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมชมทักขิไณยบุคคล
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง ย่อมชม.
คำว่า อภิชปฺปนฺติ ความว่า ย่อมชอบการได้รูป . . . ชอบการ
ได้โผฏฐัพพะ ชอบการได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์มหาศาล ฯ ล ฯ ชอบ
การได้อัตภาพในเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมหวัง ย่อมชม ย่อมชอบ.
คำว่า ชุหนฺติ ความว่า ย่อมบูชา คือย่อมให้ ย่อมสละ ย่อม
บริจาคซึ่งจีวร . . . เครื่องประทีป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง
ย่อมชม ย่อมชอบ ย่อมบูชา.
คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัส
เรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปุณณกะ.
[๑๓๕] คำว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย ความว่า
อาศัยการได้รูปแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย ฯ ล ฯ อาศัยการได้อัตภาพใน
เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้ว ย่อมชอบ คือยินดี ปรารถนากาม
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยลาภแล้วย่อมชอบกามทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 82
[๑๓๖] คำว่า เต ในอุเทศว่า "เต ยาชโยคา ภวราครตฺตา
นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ" ดังนี้ ความว่า ผู้บูชายัญ.
คำว่า ยาชโยคา ความว่า ผู้ประกอบ คือประกอบทั่ว ประกอบ
ทั่วด้วยดี ในการบูชาทั้งหลาย คือประพฤติในการบูชา มากอยู่ในการ
บูชา หนักอยู่ในการบูชา เอนไปในการบูชา โอนไปในการบูชา เงื้อม
ไปในการบูชา น้อมใจไปในการบูชา มีการบูชาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ประกอบในการบูชายัญเหล่านั้น.
คำว่า ภวราครตฺตา ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า ภวราคะ (อนึ่ง)
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหา
ในภพ ความเยื่อใยในภพ ความกระหายในภพ ความเร่าร้อนในภพ
ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย เรียกว่า ภวราคะ
ผู้บูชายัญเหล่านั้น กำหนัดแล้ว คือติดใจ หลงใหล หมกมุ่น ข้อง
เกี่ยวข้อง พัวพันแล้วในภพทั้งหลายด้วยความกำหนัดในภพ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา ยินดีแล้วด้วยภวราคะ.
คำว่า นาตรึสุ ชาติชรนฺติ พฺรูมิ ความว่า เราย่อมกล่าว คือ
ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก
ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบในการบูชา
กำหนัดแล้วด้วยภวราคะ ไม่ข้าม คือไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง
ไม่เป็นไปล่วงซึ่งชาติ ชรา และมรณะ คือเป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่
ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วงจากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่
ภายในชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้
เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะห้ำหั่น ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 83
ที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้น ประกอบใน
การบูชา ยินดีด้วยภวราคะ ไม่ข้ามพ้นซึ่งชาติ ชรา และมรณะไปได้.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนปุณณกะ ชนทั้งหลายย่อมหวัง ย่อมชม
(ย่อมชอบ) ย่อมบูชา อาศัยลาภแล้ ย่อมชอบกาม
ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่านั้น ประกอบการ
บูชายัญ กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้ามพ้น
ชาติและชราไปได้.
[๑๓๗] (ท่านปุณณกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบ
การบูชาด้วยยัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ บัดนี้ ใครเล่าใน
เทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอ
พระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
[๑๓๘] คำว่า เต เจ นาตรึสุ ยาชโยคา ความว่า ผู้บูชายัญ
เหล่านั้น ประกอบในการบูชา กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดในภพ ไม่ข้าม
คือไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชรา และ
มรณะ คือเป็นผู้ไม่ออก ไม่สลัดออก ไม่ล่วง ไม่พ้น ไม่เป็นไปล่วง
จากชาติ ชรา และมรณะ ย่อมวนเวียนอยู่ภายในชาติชราและมรณะ
ย่อมวนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร เป็นผู้เป็นไปตามชาติ อันชราแล่นตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 84
พยาธิครอบงำ มรณะห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไร
เป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าชนเหล่านั้น
ประกอบในการบูชา ไม่ข้ามพ้น.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ ฯลฯ
ท่านปุณณกะ.
[๑๓๙] คำว่า อญฺเหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ความว่า ด้วย
ยัญเป็นอันมาก คือด้วยยัญต่าง ๆ ชนิด ด้วยยัญมากมาย.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ.
คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและ
ความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยญฺเหิ ชาติญฺจ ชรญฺจ
มาริส.
[๑๔๐] คำว่า อถ โก จรหิ เทวมนุสฺสโลเก อตาริ ชาติญฺจ
ชรญฺจ มาริส ความว่า เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่าในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ ข้ามแล้ว คือข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ
ชรา และมรณะ.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ
ยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น
ในบัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.
[๑๔๑] คำว่า ปุจฺฉามิ ต ภควา พฺรูหิ เม ต ความว่า ข้า-
พระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น คือขอวิงวอน ขอเชื้อเชิญ ขอให้ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 85
ประสาทปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ ฯ ล ฯ
คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก
ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก. . . ขอจง
ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์
ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าชนเหล่านั้น ประกอบ
ในการบูชายัญทั้งหลาย ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนี้ ใครเล่าในเทวโลก
และมนุษยโลก ได้ข้ามพ้นชาติและชรา ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์
จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
[๑๔๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปุณณกะ)
เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ มิได้
มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบ ฝั่งนี้และฝั่ง
โน้นในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ ขจัด
ทุจริตเพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้าม
แล้วซึ่งชาติและชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 86
[๑๔๓] ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า สังขา ในอุเทศว่า " สงฺขาย
โลกสฺมึ ปโรปรานิ. "
คำว่า ปโรปรานิ ความว่า มนุษยโลกตรัสว่าฝั่งนี้ เทวโลก
ตรัสว่าฝั่งโน้น กามธาตุตรัสว่าฝั่งนี้ รูปธาตุและอรูปธาตุตรัสว่าฝั่งโน้น
กามธาตุรูปธาตุตรัสว่าฝั่งนี้ อรูปธาตุตรัสว่าฝั่งโน้น.
คำว่า สงฺขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ ความว่า เพราะทราบ คือ
รู้ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งฝั่งนี้และฝั่งโน้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดัง
ลูกศร ฯ ล ฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออกได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะทราบฝั่งโน้นและฝั่งนี้ในโลก.
คำว่า ปุณณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัส
เรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปุณณกะ.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนปุณณกะ.
[๑๔๔] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า " ยสฺสิญฺชิต นตฺถิ กุหิญฺจิ
โลเก " ดังนี้ ได้แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า อิญฺชิต คือ ความ
หวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะ
กิเลส ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความ
หวั่นไหวเหล่านั้น ไม่มี คือไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันต-
ขีณาสพใด คือความหวั่นไหวเหล่านี้ พระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 87
ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย
ไฟคือญาณ.
คำว่า กุหิญฺจิ ความว่า ไหน ๆ คือแห่งไหน แห่งไร ภายใน
หรือภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก.
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ มิได้มีแก่พระอรหันต-
ขีณาสพใด.
[๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า " สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส
อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ " ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็น
ผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มีโมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือเข้าไปสงบ
แล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะเป็นผู้สงบแล้ว ถึง
ความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับ
เฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ
ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง
ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความ
กระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สงบ.
คำว่า วิธูโม ความว่า กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต อัน
พระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุด
แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ . . . ความประมาท กิเลส
ทั้งปวง . . . อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันพระอรหันตขีณาสพขจัดแล้ว
กำจัดแล้ว ทำให้เหือดแห้งแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 88
อนึ่ง ความโกรธ ท่านกล่าวว่าเป็นดังควัน
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่อง
หาบ มีความโกรธเปรียบเหมือนควัน มีการพูดเท็จ
เปรียบเหมือนเถ้า มีลิ้นเปรียบเหมือนทัพพี หฤทัยของ
สัตว์ทั้งหลายเปรียบเหมือนสถานที่บูชายัญของท่าน ตน
ที่ฝึกดีแล้ว เป็นกำเนิดของบุรุษ.
อนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธ
เกิดด้วยผูกใจว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑
คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ คนโน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่ง
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจัก
ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คน
โน้นได้ประพฤติแล้วซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
คนโน้นประพฤติอยู่ซึ่งประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
คนโน้นจะประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ
ของเรา ๑ อีกอย่างหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดในฐานะอันไม่ควร ๑
ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความโกรธตอบ ความเคือง
ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ
ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ
ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท
กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 89
ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่พอใจของจิต นี้เรียกว่า
ความโกรธ.
อนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก โกรธน้อย ความโกรธเป็นแต่
เพียงทำจิตให้ขุ่นมัวในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงให้มีหน้าเง้าหน้างอ ความ
โกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอในบางครั้งก็มี แต่ไม่ถึงให้คาง
สั่น ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่นในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงเปล่ง
ผรุสวาจา ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เปล่งผรุสวาจาในบางครั้งก็มี แต่
ยังไม่ถึงให้เหลียวดูทิศทางต่าง ๆ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เหลียวดูทิศ
ต่างๆ ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงการจับท่อนไม้และศัสตรา ความโกรธ
เป็นแต่เพียงทำให้จับท่อนไม้และศัสตราในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงเงื้อ
ท่อนไม้และศัสตรา ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เงื้อท่อนไม้และศัสตรา
ในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงตีฟัน ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ตีฟันใน
บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผล ความโกรธเป็นแต่เพียงทำ
ให้ถึงฉีกขาดเป็นบาดแผลในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้หักให้แหลก ความ
โกรธเป็นแต่เพียงทำให้หักให้แหลกในบางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อย
ใหญ่เคลื่อนที่ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่เคลื่อนที่ใน
บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับ ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้ชีวิตดับใน
บางครั้งก็มี แต่ยังไม่ถึงความสละบริจาคอวัยวะทั้งหมด เมื่อใดความโกรธ
ให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วให้ฆ่าตน เมื่อนั้นความโกรธถึงความเป็นความโกรธ
แรงยิ่ง ถึงความเป็นความโกรธมากยิ่ง โดยอาการอย่างนี้. ความโกรธนั้น
อันพระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบระงับแล้ว ทำ
ไม่ให้อาจเกิดขึ้นอีก เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 90
เรียกว่าผู้กำจัดกิเลสเพียงดังควัน. พระอรหันตขีณาสพชื่อว่าวิธูมะ เพราะ
เป็นผู้ละความโกรธ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะเป็น
ผู้ตัดขาดซึ่งเหตุแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิธูมะ.
คำว่า อนีโฆ ความว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะ
เป็นทุกข์ ความโกรธเป็นทุกข์ ความผูกโกรธเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ อกุสลา-
ภิสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละได้
แล้ว . . . เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า
ผู้ไม่มีทุกข์.
คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหาเรียกว่าความหวัง ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่าความหวัง ตัณหา
อันเป็นความหวังนั้น อันพระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว เผาเสียได้แล้ว
ด้วยไฟคือ ญาณ พระอรหันตขีณาสพนั้น เรียกว่า ผู้ไม่มีความหวัง.
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความ
เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ
ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ชื่อว่า ชาติ.
ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก
ความเป็นผู้มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ใน
หมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ชรา.
คำว่า สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ
ความว่า เราย่อมกล่าว . . . ย่อมประกาศว่า พระอรหันตขีณาสพใด
เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ และไม่มีความหวัง
พระอรหันตขีณาสพนั้นข้ามได้แล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามทั่วแล้ว ล่วงแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 91
เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ ชรา และมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรา
ย่อมกล่าวว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลสเพียงดังว่า
ควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ข้ามได้แล้วซึ่งชาติและชรา.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราย่อมกล่าวว่า ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ มิได้
มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด เพราะทราบฝั่งนี้และฝั่งโน้น
ในโลก พระอรหันตขีณาสพนั้น เป็นผู้สงบ กำจัดกิเลส
เพียงดังว่าควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ได้ข้ามแล้ว
ซึ่งชาติและชรา.
พร้อมด้วยวาจาจบคาถา ฯ ล ฯ ท่านพระปุณณกะนั้น เป็นภิกษุ
ครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร นั่งประนม
อัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบปุณณกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๓
อรรถกถาปุณณกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๓
พึงทราบวินิจฉัย ในปุณณกสุตตนิทเทสที่ ๓.
บทว่า อเนช ผู้ไม่หวั่นไหวแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
โมฆราชตรัสแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 92
ในบทเหล่านั้นบทว่า มูลทสฺสาวี ผู้เห็นมูล คือเห็นมูลของอกุศล.
บทว่า อิสโย ฤๅษี ชฎิลทั้งหลายมีชื่อว่าฤาษี. บทว่า ยญฺ คือ ไทย-
ธรรม. บทว่า อกปฺปึสุ คือ แสวงหา. บททั้งหมดมีอาทิว่า เหตุทสฺสาวี
ทรงเห็นเหตุ เป็นไวพจน์ของการณะ (เหตุ). เพราะการณะย่อมปรารถนา
ย่อมเป็นไปเพื่อผลของตน ฉะนั้น จึงเรียกว่าเหตุ. เพราะการณะย่อมมอบ
ให้ซึ่งผลนั้นดุจตั้งใจว่า เชิญพวกท่านรับผลนั้นเถิด ฉะนั้น จึงเรียกว่า
นิทาน. บทห้าบทมีอาทิว่า สมฺภวทสฺสาวี ทรงเห็นสมภพ มีนัยดังที่
แสดงไว้แล้วในหนหลัง. เพราะการณะนั้นอาศัยผลนั้นย่อมเป็นไป ผลนั้น
จึงเกิดขึ้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า ปัจจัยและสมุทัย. บทว่า ยา วา ปนญฺาปิ
กาจิ สุคติโย สุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น คือมนุษย์กำพร้าและผู้มี
อาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้ยาก มีศักดิ์น้อยมีอุตตรมารดาเป็นต้น พ้น
แล้วจากอบาย ๔ พึงทราบว่าเป็นผู้ถูกทุกข์เบียดเบียน. บทว่า ยา วา
ปนญฺาปิ กาจิ ทุคฺคติโย ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น เป็นต้นว่า
พระยายม พระยานาค ครุฑ เปรต และผู้มีฤทธิ์. บทว่า อตฺตภาวาภิ-
นิพฺพตฺติยา เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพ คือเพื่อได้อัตภาพด้วยปฏิสนธิใน
ฐานะ ๓. บทว่า ชานาติ คือ ย่อมทรงรู้ด้วยสัพพัญญุตญาณ. บทว่า
ปสฺสติ คือ ย่อมทรงเห็นด้วยสมันตจักษุ. บทว่า อกุสลา ได้แก่ ความ
เป็นผู้ไม่ฉลาด. บทว่า อกุสล ภชนฺติ ย่อมเสพธรรมเป็นอกุศล คือใน
ส่วนที่เป็นอกุศล. บทว่า อกุสลปกฺเข ภว คือ เป็นฝ่ายอกุศล. ชื่อว่า
อวิชฺชามูลกา เพราะธรรมทั้งหมดเหล่านั้นมีอวิชชาเป็นมูลเหตุ. ชื่อว่า
อวิชฺชาสโมสรณา เพราะมีอวิชชาเป็นที่รวมโดยชอบ. บทว่า อวิชฺชา-
สมุคฺฆาตาย คือ มีอวิชชาอันอรหัตมรรคถอนได้. บทว่า สพฺเพ เต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 93
สมุคฺฆาต คจฺฉนฺติ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด ได้แก่ อกุศลกรรม
ดังกล่าวแล้ว อกุศลกรรมทั้งหมดเหล่านั้นย่อมถึงความถูกกำจัด. บทว่า
อปฺปมาทมูลกา ได้แก่ ชื่อว่า อปฺปมาทมูลกา เพราะมีความไม่ประมาท
คือความไม่อยู่ปราศจากสติเป็นมูลเหตุ. ชื่อว่า อปฺปมาทสโมสรณา เพราะ
รวมลงในความไม่ประมาทโดยชอบ. บทว่า อปฺปมาโท เตส ธมฺมาน
อคฺคมกฺขายติ ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น
คือแม้ผู้ท่องเที่ยวไปในกามาวจรก็ชื่อว่าเป็นยอด เพราะมีธรรมเป็นไปใน
ภูมิ ๔ เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า อลมตฺโต คือ เป็นผู้สามารถ. บทว่า
มยา ปุจฺฉิต คือ อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว. บทว่า วหสฺเสต ภาร คือ
จงนำภาระที่นำมาแล้วไป. บทว่า เยเกจิ อิสิปพฺพชฺช ปพฺพชิตา ชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่งบวชเป็นฤๅษี ปาฐะว่า อิสิปพฺพชฺชา ปพฺพชิตา บวช
เป็นฤๅษีดังนี้บ้าง. บทว่า อาชีวกสาวกาน อาชีวกา เทวตา อาชีวก
เป็นเทวดาของพวกอาชีวกสาวก คือชนเหล่าใด เชื่อฟังคำของอาชีวก
ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อาชีวก. อาชีวกของอาชีวกสาวกเหล่านั้นย่อมรับไทย-
ธรรมของอาชีวกสาวก อาชีวกเหล่านั้นจึงเป็นเทวดา. ในบททั้งปวงก็
อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เย เยส ทกฺขิเณยฺยา พระทักขิไณยบุคคล
ผู้สมควรแก่ไทยธรรมของชนเหล่าใด คืออาชีวกเป็นต้นเหล่าใด ผู้มีทิศ
เป็นที่สุด สมควรแก่ไทยธรรมของกษัตริย์เป็นต้นเหล่าใด. บทว่า เต
เตส เทวดา คือ อาชีวกเหล่านั้นเป็นเทวดาของกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น.
บทว่า ยญฺ เอเสนฺติ คือ ปรารถนาไทยธรรม. บทว่า คเวสนฺติ แสวง
หา คือแลดู. บทว่า ปริเยสนฺติ เสาะหา คือให้เกิดขึ้น. บทว่า ยญฺา
วา เอเต ปุถู คือ ยัญเหล่านั้นก็มาก. บทว่า ยญฺยาชกา วา ผู้บูชายัญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 94
คือผู้บูชาไทยธรรมเหล่านั้นก็มาก. บทว่า ทกฺขิเณยฺยา วา เอเต ปุถู
ทักขิไณยบุคคลก็มาก คือทักขิไณยบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมก็มาก
เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงยัญเหล่านั้นโดยพิสดาร
จึงตรัสว่า ยัญเหล่านั้นมากอย่างไร.
บทว่า อาสึสมานา หวังอยู่ คือปรารถนาในรูปเป็นต้น. บทว่า
อิตฺถตฺต คือ ปรารถนาความมีอยู่. อธิบายว่า ปรารถนาความเป็น
มนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชร สิตา คือ อาศัยชรา. ในบทนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อว่า ชรา. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงแสดงว่า อาศัยทุกข์ในวัฏฏะไม่พ้นจากทุกข์นั้นจึงแสวงหา. บทว่า
รูปปฏิลาภ อาสึสมานา หวังได้รูป คือปรารถนาได้สมบัติอันเป็นบ่อเกิด
แห่งวรรณะ. แม้ในเสียงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ขตฺติย-
มหาสาลกุเล อตฺตภาวปฏิลาภ หวังได้อัตภาพในตระกูลกษัตริย์มหาศาล
คือปรารถนาได้อัตภาพ คือปฏิสนธิในตระกูลมหาศาลอันเพียบพร้อมด้วย
สมบัติ. แม้ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทนี้ว่า
พฺรหฺมกายิเกสุ เทเวสุ ในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ท่านกล่าวหมาย
ถึงส่วนเบื้องต้น. บทว่า อตฺถ คือ ในตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า
ชรนิสฺสิตา คือ อาศัยชรา. แม้ในบทมีอาทิว่า พฺยาธินิสฺสิตา อาศัย
พยาธิ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยบทเหล่านี้ เป็นอันทรงแสดงถือเอาทุกข์
ในวัฏฏะทั้งหมด.
ยัญนั้นแหละคือทางยัญ ในบทนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นิรทุกข์ ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้วในทางยัญ ได้ข้ามพ้นแล้วซึ่ง
ชาติชราบ้างหรือ. ข้อนี้มีอธิบายว่า ผู้บูชายัญเหล่านั้นไม่ประมาทแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 95
ยัญ ปรารถนายัญ ได้ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะบ้างหรือ. บทว่า เยปิ ยญฺ
ยชนฺติ คือ บูชายัญด้วยการให้ไทยธรรม. บทว่า ปริจฺจชนฺติ คือ สละ.
บทว่า อาสึสนฺติ หวัง คือปรารถนาได้รูปเป็นต้น. บทว่า
โถมยนฺติ ยินดี คือสรรเสริญยัญเป็นต้นโดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้ว
ย่อมมีผล. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมชม คือกล่าววาจาเพื่อได้ลาภเป็นต้น.
บทว่า ชุหนฺติ คือ ย่อมบูชา. บทว่า กามาภิชปฺปนฺติ ปฏิจฺจ ลาภ
ชมกามเพราะอาศัยลาภ คือชมกามทั้งหลายบ่อย ๆ เพราะอาศัยการได้
รูปเป็นต้น กล่าวว่า ไฉนหนอกามทั้งหลายจะพึงมีแก่เราบ้าง. อธิบายว่า
เพิ่มพูนตัณหาในกามนั้น. บทว่า ยาชโยคา ผู้ประกอบในการบูชา.
คือน้อมไปในการบูชา. บทว่า ภวราครตฺตา ยินดีแล้วด้วย ภวราคะ.
คือยินดีแล้วด้วยภวราคะนั่นเอง ด้วยความหวังเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้ยินดีแล้วในภวราคะ กระทำความหวังเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า
นาตรึสุ คือ ไม่ข้ามทุกข์ในวัฏฏะมีชาติเป็นต้นได้.
บทว่า ยญฺ วา โถเมนฺติ คือ ชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญการให้.
บทว่า ผล วา คือ การได้มีรูปเป็นต้น. บทว่า ทกฺขิเณยฺย วา คือ
ทักขิไณยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น. บทว่า สุจิทินฺน คือ กระทำ
ให้สะอาดแล้วให้. บทว่า มนาป คือ ยังใจให้เจริญ. บทว่า ปณีต คือ
มีรสอร่อย. บทว่า กาเลน คือ ในกาลอันถึงพร้อมแล้วนั้น ๆ. บทว่า
กปฺปิย คือ เว้นสิ่งที่เป็นอกัปปิยยะแล้วให้. บทว่า อนวชฺช คือ ไม่มีโทษ.
บทว่า อภิณฺห คือ บ่อย ๆ. บทว่า ทท จิตฺต ปสาทิต เมื่อให้จิต
ผ่องใส คือเมื่อให้ จิตขณะบริจาคก็ผ่องใส เพราะเหตุนั้น จึงสรรเสริญ
ชมเชย. บทว่า กิตฺเตนฺติ ย่อมประกาศ คือย่อมทำคุณให้ปรากฏ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 96
วณฺเณนฺติ คือ ย่อมกล่าวสรรเสริญ. บทว่า ปสสนฺติ คือ ย่อมให้ถึงความ
เลื่อมใส. บทว่า อิโต นิทาน คือ เพราะให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้เป็นเหตุ.
บทว่า อชฺฌยกา คือ ร่ายมนต์. บทว่า มนฺตธรา คือ ผู้ทรงไว้ซึ่งมนต์.
บทว่า ติณฺณ เวนาน คือ ไตรเพท มีอิรุพเพท ยชุพเพท สามเพท. ชื่อว่า
ปารคู เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งด้วยกระทำให้กระทบริมฝีปาก พร้อมด้วยคัมภีร์
นิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏุภศาสดร์. บทว่า นิฆณฺฑุ เป็นศาสตร์ บอกชื่อ
ของต้นไม้เป็นต้น. บทว่า เกฏุภ การกำหนดกิริยามารยาท อันเป็น
ศาสตร์เพื่อเป็นอุปการะของกวีทั้งหลาย. เป็นประเภทอักขระ พร้อมด้วย
อักขระประเภท. การศึกษา และภาษา ชื่อว่า อักขรประเภท. บทว่า
อิติหาสปญฺจมาน มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕. ชื่อว่า อิติหาสปญฺจโม
เพราะมีคัมภีร์อิติหาส (หนังสือประเภทประวัติศาสตร์และประเพณีโบราณ)
กล่าวคือ เรื่องราวเก่า ๆ ประกอบด้วยคำพูดเช่นนี้ว่า อิติห อาส อิติห
อาส เป็นที่ ๕ มีอาถรรพณเวทเป็นที่ ๔. ชื่อว่า เป็นผู้เข้าใจตัวบทเข้าใจ
ไวยากรณ์ เพราะเรียนรู้ตัวบทและไวยากรณ์อันเหลือจากตัวบทนั้น. ตำรา
พูดให้คนหลงเชื่อ เรียกว่า โลกายตนะ. ตำราประมาณ ๑๒,๐๐๐ บท
แสดงลักษณะของพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้เป็นพระมหาบุรุษ ชื่อว่า มหา-
ปุริสลักษณะ ได้ชื่อว่า เป็นพุทธมนต์ประมาณ ๑๖,๐๐๐ คาถา. ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประกอบด้วยพระลักษณะนี้ด้วยอำนาจแห่งพุทธมนต์
ใด ด้วยพุทธมนต์นี้ ย่อมรู้ความต่างกันว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัคร-
สาวก พระอสีติมหาสาวก พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา อัครอุปัฏฐาก
อัครอุปัฏฐายิกา พระราชา พระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า อนวยา ไม่บกพร่อง
คือในคัมภีร์โลกายตนะ และคัมภีรมหาปุริสลักษณะไม่พร่อง บริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 97
อธิบายว่า ไม่ขาดตกบกพร่อง. ผู้ใดไม่สามารถทรงศาสตร์เหล่านั้นไว้ได้
โดยอรรถและโดยคัณฐะ (คัมภีร์) ผู้นั้นชื่อว่า บกพร่อง. บทว่า วีตราคา
คือ ละราคะได้แล้ว. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล. ท่านกล่าว
ถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคด้วยบทนี้ว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ. บทว่า วีตโทสา ปราศจากโทสะ คือด้วยบทนี้
ท่านกล่าวถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. ท่านกล่าวถึงผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิ-
มรรคด้วยบทนี้ว่า โทสวินยาย ปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ.
บทว่า วีตโมหา ปราศจากโมหะ คือด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงท่านผู้ตั้งอยู่ใน
อรหัตผล. ท่านกล่าวถึงผู้ที่ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคด้วยบทนี้ว่า โมหวินยาย
ปฏิปนฺนา เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกาจัดโมหะ. บทว่า สีลสมาธิปญฺาวิมุตฺติ-
สมฺปนฺนา ความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น อันเจือด้วยโลกิยะและ
โลกุตระ ๔ เหล่านี้ คือศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ. พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวถึงผู้ถึงพร้อมด้วยปัจจเวกขณญาณด้วยบทนี้ว่า วิมุตฺติาณทสฺสน-
สมฺปนฺนา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ. ญาณนั้นเป็นโลกิยะ
อย่างเดียว. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมชอบ คือย่อมปรารถนา. บทว่า
ชปฺปนฺติ คือ ย่อมหวัง. บทว่า ปชปฺปนฺติ ย่อมอ้อนวอน คือย่อมหวัง
อย่างยิ่ง. บทว่า ยาเค ยุตฺตา ผู้ประกอบในการบูชายัญ คือประกอบ
ด้วยการบูชาอย่างยิ่งในไทยธรรมที่เขาบูชาให้.
ท่านปุณณกะทูลถามว่า อถ โก จรหิ เมื่อเป็นเช่นนั้น บัดนี้
ใครเล่าได้ข้ามพ้นแล้ว. บทว่า สงฺขาย คือ พิจารณาแล้วด้วยญาณ.
บทว่า ปโรปรานิ คือ ฝั่งนี้และฝั่งโน้น. อธิบายว่า ฝั่งนี้และฝั่งโน้นมี
อัตภาพของคนอื่น และอัตภาพของตนเป็นต้น. บทว่า วิธูโม ปราศจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 98
ควัน คือปราศจากควันมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า อนิโฆ คือ ปราศจาก
ทุกข์มีราคะเป็นต้น. บทว่า อตาริ โส คือ พระอรหันต์นั้นได้ข้าม
ชาติและชราได้แล้ว. บทว่า สกรูปา คือ รูปของตน. บทว่า ปรรูปา คือ
รูปของคนอื่น. บทว่า กายทุจฺจริต วิธูมิต กำจัดกายทุจริต คือทำความ
กำจัดกายทุจริต ๓ อย่าง. บทว่า วิธมิต คือ ทำให้พินาศไป.
บทว่า มาโน หิ เต พฺราหฺมณ ขาริภาโร ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
มีมานะเปรียบเหมือนดังเครื่องหาบ คือยกมานะขึ้นอาศัยวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง
มานะ มีชาติ โคตร ตระกูลเป็นต้น ให้เกิดริษยาในมานะนั้น ๆ ย่อมจม
ในอบาย เหมือนอย่างแบกเครื่องหาบไป แม้ตั้งอยู่ข้างบนก็ยังสัมผัส
แผ่นดินในที่เหยียบแล้ว ๆ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีมานะเปรียบเหมือนเครื่องหาบ. บทว่า
โกโธ ธูโม คือ ความโกรธเปรียบเหมือนควัน เพราะอรรถว่า เป็นความ
เศร้าหมองแห่งไฟคือญาณของท่าน. ไฟคือญาณเศร้าหมองด้วยความ
โกรธเปรียบดังควันนั้น ย่อมไม่ไพโรจน์. บทว่า ภสฺมนิ โมสวชฺช
คือ มีการพูดเท็จเปรียบเหมือนเถ้า เพราะไม่รุ่งเรือง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า เหมือนอย่างว่าไฟถูกเถ้าปกปิดย่อมไม่รุ่งเรืองฉันใด ญาณ
ของท่านถูกปกปิดด้วยการพูดเท็จก็ฉันนั้น. บทว่า ชิวฺหา สุชา มีลิ้น
เปรียบเหมือนทัพพี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ลิ้นพอที่จะให้เกิดการ
บูชาธรรมของเราเป็นทัพพี เหมือนทัพพีเพื่อให้เกิดการบูชายัญที่ทำด้วย
ทองคา เงิน โลหะ ไม้และดินเหนียว อย่างใดอย่างหนึ่งของท่านฉะนั้น.
บทว่า หทย โชติฏฺาน หทัยของสัตว์ทั้งหลายเปรียบเหมือนที่บูชายัญ คือ
หทัยของสัตว์ทั้งหลายเป็นที่บูชายัญ เพราะเป็นที่ให้เกิดการบูชาธรรมของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 99
เรา เหมือนที่บูชายัญ ณ ฝั่งแม่น้ำของท่านฉะนั้น. บทว่า อตฺตา คือ จิต.
บทว่า ชาติ คือ เป็นกำเนิดด้วยอำนาจแห่งความเกิด. บทนี้เป็น
สภาพเฉพาะตัวในที่นี้. สัญชาติ (ความเกิดพร้อม) ด้วยอำนาจแห่งความ
เกิดร่วมกัน. เพิ่มบทอุปสัค. บทว่า โอกฺกนฺติ (ความก้าวลง) ด้วยอำนาจ
แห่งการหยั่งลง. หรือชื่อว่า ชาติ ด้วยอรรถว่าเกิด. ความเกิดนั้น
ประกอบด้วยอายตนะยังไม่ครบ. ชื่อว่า สญฺชาติ ด้วยอรรถว่าเกิดพร้อม.
สัญชาตินั้นประกอบด้วยอายตนะครบ. ชื่อว่า โอกฺกนฺติ เพราะอรรถว่า
ก้าวลง. โอกกันตินั้นย่อมควรด้วยอัณฑชะกำเนิด (เกิดแต่ฟอง) และ
ชลาพุชะกำเนิด (เกิดแต่น้ำ). เพราะสัตว์เหล่านั้นก้าวลงเข้าไปสู่ฟองไข่
และช่องมดลูกย่อมถือปฏิสนธิดุจก้าวลงเข้าไป. ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ (เกิด
เฉพาะ) เพราะอรรถว่า เกิดยิ่ง. อภินิพพัตตินั้นย่อมควรด้วยสังเสทชะ-
กำเนิด (เกิดแต่เหงื่อไคล) และโอปปาติกะกำเนิด (ผุดเกิดขึ้น). จริงอยู่
สัตว์เหล่านั้นเกิดปรากฏเป็นตัวตนเลย. นี้เป็นเพียงสมมติกถา. บัดนี้จะ
พูดถึงปรมัตถกถา. จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้นปรากฏ ไม่ใช่สัตว์
ปรากฏ. ในบทว่า ขนฺธาน พึงทราบการถือเอาขันธ์หนึ่งในเอกโวการภพ
ภพที่มีขันธ์หนึ่ง, ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพภพที่มีขันธ์๔, ขันธ์ ๕ ใน
ปัญจโวการภพภพที่มีขันธ์ ๕. บทว่า ปาตุภาโว ความปรากฏ คือความเกิด.
ในบทว่า อายตนาน นี้ พึงทราบการสงเคราะห์อายตนะอันเกิดขึ้นในขันธ์
นั้น ๆ. บทว่า ปฏิลาโภ การได้เฉพาะ คือความปรากฏในปฏิสนธิ
นั่นเอง. จริงอยู่ อายตนะเหล่านั้นเมื่อปรากฏอยู่ เป็นอันชื่อว่าได้แล้ว.
อนึ่ง ชาตินี้นั้นมีการเกิดครั้งแรกในภพนั้น ๆ เป็นลักษณะ มีการมอบให้
เป็นรส มีการผุดขึ้นในภพนี้จากภพในอดีตเป็นเครื่องปรากฏ หรือมีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 100
เป็นผู้เต็มไปด้วยทุกข์ด้วยอำนาจแห่งผลเป็นเครื่องปรากฏ. บทว่า ชรา
ความแก่ เป็นสภาพเฉพาะตน. บทว่า ชิรณตา ความเสื่อม แสดงถึง
อาการ. บท ๓ บทมีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจ ความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น แสดง
ถึงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไป. ๒ บทหลังแสดงถึงปกติ. แสดงโดย
ความเป็นสภาพด้วยบทนี้ว่า อย หิ ชรา นี่แหละชรา. นี้เป็นสภาพ
เฉพาะตนของชราด้วยบทนั้น. แสดงโดยกิจ คือการทำฟันและเล็บให้หัก
ในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไปด้วยบทนี้ว่า ขณฺฑิจฺจ ความเป็นผู้มีฟันหัก. แสดง
โดยกิจ คือการทำให้ผมและขนหงอก ด้วยบทนี้ว่า ปาลิจฺจ ความเป็นผู้มี
ผมหงอก. แสดงโดยกิจ คือการทำให้เนื้อเหี่ยวหนังย่นด้วยบทนี้ว่า วลิตฺต-
จตา ความเป็นผู้มีหนังย่น. บท ๓ บทมีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจ นี้. แสดงกิจ
ในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไปแห่งชรานั้น. ด้วยบทเหล่านั้นท่านแสดงชรา
ปรากฏชัดด้วยการเห็นความวิการเหล่านี้. เหมือนอย่างว่า ทางไปของน้ำ
ลม ไฟ หรือหญ้าต้นไม้เป็นต้นย่อมปรากฏ เพราะหักโค่นล้มหรือเพราะ
ถูกไฟไหม้ แต่ทางไปไม่ปรากฏ น้ำเป็นต้นไม่ปรากฏ ฉันใด ทางไป
ของชราย่อมปรากฏโดยความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น แม้ลืมตาคอยจับความ
เป็นผู้มีฟันหักเป็นต้นไม่ปรากฏ ชราก็ไม่ปรากฏฉันนั้น. เพราะชราไม่พึงรู้
ด้วยตา. บทว่า อายุโน สหานิ อินฺทฺริยาน ปริปาโก ความเสื่อมแห่งอายุ
ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ความว่า ท่านแสดงตามปกติ กล่าวคือความ
เสื่อมแห่งอายุและความแก่แห่งอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้น เพราะรู้เท่าทัน
ในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไปด้วยบทเหล่านี้. พึงทราบว่า สองบทหลังนี้แสดง
ถึงปกติของอายุนั้น. ในบทนั้นเพราะเมื่อถึงชราอายุย่อมเสื่อม ฉะนั้น ชรา
ท่านกล่าวด้วยความใกล้เคียงผลว่า ความเสื่อมแห่งอายุ ก็เพราะเมื่อยังเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 101
หนุ่ม อินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้นแจ่มใสดี สามารถจับวิสัยของตนแม้
ละเอียดอ่อนได้โดยง่าย เมื่อถึงชราอินทรีย์ก็แก่หง่อม ขุ่นมัว เศร้าหมอง
ไม่สามารถจะจับวิสัยของตนแม้หยาบได้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวโดยใกล้เคียง
ผลว่า อินฺทฺริยาน ปริปาโก ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย.
ก็เมื่อได้แสดงถึงชรานั้นอย่างนี้แล้วจึงสรุปได้ว่า ชรามีสองอย่าง คือ
ชราปรากฏ และชราปกปิด. ในชราทั้งสองนั้น ชราในรูปธรรม ชื่อว่า
ชราปรากฏ เพราะแสดงความมีฟันหักเป็นต้น. แต่ชราในอรูปธรรม ชื่อว่า
ชราปกปิด เพราะไม่เห็นความวิการเช่นนั้น. ความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น
จักปรากฏเป็นสีของฟันเป็นต้นเช่นนั้น. ครั้นเห็นสีนั้นด้วยตา คิดด้วยใจ
จึงรู้ชราว่าขันธ์ทั้งหลายถูกชรากำจัดเสียแล้ว. ดุจแลดูจันทน์เหลืองเป็นต้น
ที่เขาผูกไว้ในที่มีน้ำ แล้วก็รู้ว่าน้ำมีอยู่ข้างล่าง.
ชรายังมีอีกสองอย่าง คือ อวิจิชรา ๑ สวิจิชรา ๑ ในชราสองอย่าง
นั้น ชราชื่อว่า อวิจิชรา เพราะรู้ในความแตกต่างของสี มีมณี ทอง
เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เป็นต้นในระหว่าง ๆ ได้ยาก ดุจ
ของสัตว์มีชีวิต ในบรรดาพระเจ้ามันธาตุราชและท้าวสักกะเป็นต้น และ
ดุจของสิ่งไม่มีชีวิต ในบรรดาดอกไม้ ผลไม้ และใบไม้อ่อนเป็นต้น.
อธิบายว่า ชราต่อเนื่อง. ชราชื่อว่า สวิจิชรา เพราะรู้ความแตกต่างของ
สิ่งในระหว่าง ๆ ในสิ่งอื่นจากนั้นตามที่กล่าวแล้วได้ง่าย. ในชราสองอย่าง
นั้น สวิจิชราพึงแสดงอย่างนี้ด้วยอุปาทินนกะ. เพราะว่าเด็กเล็กฟันน้ำนม
ขึ้นก่อน แต่ไม่มั่นคง. เมื่อฟันน้ำนมหักฟันก็ขึ้นอีก. ฟันเหล่านั้นตอนแรก
ก็ขาว ครั้นถึงคราวลมชรากระทบก็ดำ. ส่วนผมตอนแรกก็แดงบ้างดำ
บ้าง. ส่วนผิวมีสีแดง เมื่อเจริญเติบโตก็ปรากฏเป็นผิวขาวผิวดำ. ครั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 102
ถึงคราวถูกลมชรากระทบก็เกิดรอยย่น เวลาอบด้วยตนเองก็ขาว ภายหลัง
ก็เขียวแก่. ครั้นถูกลมชรากระทบก็ขาว. ควรเปรียบด้วยหน่อมะม่วง.
อนึ่ง ชรานั้นมีความแก่ของขันธ์ เป็นลักษณะ. มีการนำเข้าไปสู่มรณะ
เป็นรส มีการหมดความเป็นหนุ่มสาว เป็นเครื่องปรากฏ. บทที่เหลือใน
บททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระสูตรนี้ ลงด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัตด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา พราหมณ์พร้อมด้วยอันเตวาสิก ๑,๐๐๐ ก็ตั้งอยู่ใน
พระอรหัต. ธรรมจักษุเกิดขึ้นแล้วแก่ชนเหล่าอื่นหลายพัน. บทที่เหลือ
เช่นกับที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปุณณกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 103
เมตตคูมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านเมตตคู
[๑๔๖] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้า-
พระองค์ ข้าพระองค์ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่าเป็นผู้จบ
เวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว ทุกข์มีชนิดเป็นอันมาก
เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ในโลก เกิดมาแต่ที่ไหนหนอ.
[๑๔๗] การถามมี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสัง-
สันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ฯลฯ (เหมือนในข้อ ๑๒๒)
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์. คำว่า อิติ
ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เมตฺตคู เป็นคำเชื่อมบท ฯ ล ฯ ชื่อว่า อิจฺจา-
ยสฺมา เมตฺตคู.
[๑๔๘] คำว่า มญฺามิ ต เวทคุ ภาวิตตฺต ความว่า ข้าพระ-
องค์ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่า ผู้จบเวท ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์อันอบรม
แล้ว คือ ข้าพระองค์ย่อมสำคัญ ย่อมรู้ ย่อมรู้ทั่ว ย่อมรู้แจ้งเฉพาะ ย่อม
แทงตลอดอย่างนี้ว่า พระองค์เป็นผู้จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเวทอย่างไร ฌาน ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ
เรียกว่า เวท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุถึงที่สุด ทรงไปสู่ที่สุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 104
ทรงบรรลุซึ่งที่สุด ทรงถึงส่วนสุดรอบ ถึงส่วนสุดแล้ว ทรงถึงความจบ
ทรงบรรลุความจบแล้ว แห่งชาติ ชรา และมรณะ ทรงถึงที่ต้านทาน
ทรงบรรลุถึงที่ต้านทาน ทรงถึงที่เร้น ทรงบรรลุถึงที่เร้น ทรงถึงที่พึ่ง
ทรงบรรลุถึงที่พึ่ง ทรงถึงความไม่มีภัย ทรงบรรลุถึงความไม่มีภัย ทรง
ถึงความไม่เคลื่อน ทรงบรรลุถึงความไม่เคลื่อน ทรงถึงความไม่ตาย
ทรงบรรลุถึงความไม่ตาย ทรงถึงนิพพาน ทรงบรรลุนิพพาน ด้วยเวท
เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงที่สุดแห่งเวททั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เวทคู.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เวทคู.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชื่อว่า เวทคู เพราะพระองค์
ทรงทราบแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ คือทรงทราบสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และพระองค์ทรงทราบ
อกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะ
ต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสภิยะ๑)
บุคคลเลือกเวทเหล่าใดทั้งสิ้น เวทเหล่านั้น ของ
สมณพราหมณ์ก็มีอยู่ บุคคลนั้นปราศจากราคะในเวทนา
ทั้งปวง ล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู.
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 105
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์อันให้เจริญแล้วอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระกาย มีศีล มีจิต มีปัญญา มีสติปัฏฐาน มี
สัมมัปปธาน มีอิทธิบาท มีอินทรีย์ มีพละ มีโพชฌงค์ มีมรรค อันให้เจริญ
แล้ว ทรงละกิเลสแล้ว ทรงแทงตลอดอกุปปธรรมแล้ว มีนิโรธอันทรง
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละสมุทัย ทรงเจริญ
มรรค ทรงทำให้แจ้งนิโรธแล้ว ทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนด
รู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ
ทรงทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พระองค์มีธรรมไม่น้อย มีธรรม
มาก มีธรรมลึก มีธรรมประมาณไม่ได้ มีธรรมยากที่จะหยั่งลงได้ มี
ธรรมรัตนะมาก เปรียบเหมือนทะเลหลวง ทรงประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา.
พระองค์ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย
ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญะอยู่ ทรงได้ยินเสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรง
ดมกลิ่นด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบธรรมารมณ์ด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ดี
พระทัย ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ทรงเห็นรูปอันน่าพอใจด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ทรงติดใจ ไม่ทรง
รักใคร่ ไม่ทรงยังราคะให้เกิด พระองค์มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่
ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว ทรงเห็นรูปนั้นอันไม่เป็นที่ชอบ
ใจด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ทรงเก้อเขิน มีพระทัยมิได้ขัดเคือง มีพระทัย
ไม่หดหู่ มีพระทัยไม่พยาบาท พระองค์มีพระกายคงที่ มีพระทัยคงที่
ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว ทรงได้ยินเสียงอันน่าพอใจด้วย
พระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นอันน่าพอใจด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรสอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 106
น่าพอใจด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าพอใจด้วยพระ-
กายแล้ว ทรงทราบธรรมารมณ์อันน่าพอใจด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรง
ติดใจ ไม่ทรงรักใคร่ ไม่ทรงยังราคะให้เกิด พระองค์มีพระกายคงที่
มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรงเก้อเขิน มีพระทัย
มิได้ขัดเคือง มีพระทัยไม่หดหู่ มีพระทัยไม่พยาบาท พระองค์มีพระกาย
คงที่ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว.
ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว มีพระกายคงที่ในรูปทั้งที่ชอบใจและ
ไม่ชอบใจ มีพระทัยคงที่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว ทรง
ได้ยินเสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นด้วยพระฆานะแล้ว ทรงลิ้มรส
ด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว ทรงทราบ
ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัสแล้ว มีพระกายคงที่ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่ชอบใจ
และไม่ชอบใจ มีพระทัยคงที่ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว ทรง
เห็นรูปด้วยพระจักษุแล้ว ไม่ทรงรักในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่ทรง
ชังในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความชัง ไม่ทรงหลงในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
หลง ไม่ทรงโกรธในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่ทรงมัวเมาในรูป
อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่ทรงเศร้าหมองในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เศร้าหมอง ทรงได้ยินเสียงด้วยพระโสตแล้ว ทรงดมกลิ่นด้วยพระฆานะ
แล้ว ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหาแล้ว ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกายแล้ว
ทรงทราบธรรมารมณ์ด้วยพระมนัสแล้ว ไม่ทรงรักในธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความรัก ไม่ทรงขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่
ทรงหลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่ทรงโกรธในธรรมอันเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 107
ตั้งแห่งความโกรธ ไม่ทรงมัวเมาในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ไม่ทรงเศร้าหมองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแต่เพียงทรงเห็นรูปที่ทรงเห็น เป็นแต่เพียง
ทรงได้ยินในเสียงที่ทรงได้ยิน เป็นแต่เพียงทรงทราบในอารมณ์ที่ทรง
ทราบ เป็นแต่เพียงทรงรู้ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงติดในรูปที่
ทรงเห็น ในเสียงที่ทรงได้ยิน ในอารมณ์ที่ทรงทราบ ในธรรมารมณ์ที่
ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงเข้าถึง ไม่ทรงอาศัย ไม่ทรงเกี่ยวข้อง ทรงพ้นวิเศษแล้ว
ไม่ทรงเกี่ยวข้องในรูปที่ทรงเห็น มีพระทัยอันไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ไม่ทรง
เข้าถึง . . . ไม่ทรงเกี่ยวข้อง ในเสียงที่ทรงได้ยิน ในอารมณ์ที่ทรงทราบ
ในธรรมารมณ์ที่ทรงรู้แจ้ง มีพระทัยอันไม่มีเขตแดนอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระจักษุ ทรงเห็นรูปด้วยพระจักษุ แต่
ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี
พระโสต ทรงสดับเสียงด้วยพระโสต แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัย
พ้นวิเศษดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระฆานะ ทรงสูดกลิ่นด้วย
พระฆานะ แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงมีพระชิวหา ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ไม่ทรงมีฉันท-
ราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกาย ทรง
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระกาย แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษ
ดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระมนัส ทรงรู้แจ้งธรรมด้วยพระมนัส
แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ มีพระทัยพ้นวิเศษดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวม
พระจักษุอันชอบใจในรูป ยินดีในรูป พอใจในรูป และทรงแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 108
เพื่อสำรวมจักษุนั้น ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระ-
โสตอันชอบใจในเสียง ยินดีในเสียง ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรงสำรวม
พระฆานะอันชอบใจในกลิ่น ยินดีในกลิ่น ทรงข่ม ทรงคุ้มครอง ทรง
รักษา ทรงสำรวมพระชิวหาอันชอบใจในรส ยินดีในรส ทรงข่ม ทรง
คุ้มครอง ทรงรักษา ทรงสำรวมพระกายอันชอบใจในโผฏฐัพพะ พระ-
มนัสอันชอบใจในธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ พอใจในธรรมารมณ์
และทรงแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้น.
ชนทั้งหลาย ย่อมนำยานที่ตนฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชา ย่อมทรงประทับยานที่สารถีฝึกแล้ว บุคคลที่
ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์. บุคคลใดย่อมอดทน
คำที่ล่วงเกินได้ บุคคลนั้นเป็นผู้ประเสริฐ.
ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่คือกุญชร
ที่เขาฝึกแล้ว จึงประเสริฐ บุคคลฝึกตนแล้ว ประเสริฐ
กว่ายานมีม้าอัสดร ที่สารถีฝึกแล้วเป็นต้นนั้น.
ใคร ๆ พึงไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านี้ เหมือน
บุคคลที่มีคนฝึก (ด้วยความฝึกอินทรีย์) ฝึกดี (ด้วย
อริยมรรคภาวนา) ฝึกแล้ว ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปฉะนั้น
หาได้ไม่.
พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะ
มานะทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นจากกรรมกิเลส อัน
เป็นเหตุให้เกิดบ่อย ๆ บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว (อรหัตผล)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 109
พระขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้มีความชนะในโลกอินทรีย์
ทั้งหลาย.
พระขีณาสพใดให้เจริญแล้ว อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก พระขีณาสพนั้น ทำให้หมดพยศแล้ว
พระขีณาสพนั้น ล่วงแล้วซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ในโลก
ทั้งปวง มีธรรมอันให้เจริญแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อมหวัง
มรณกาล.
คำว่า เอว ภควา ภาวิตตฺโต ความว่า ข้าพระองค์ย่อมสำคัญ
ซึ่งพระองค์ว่า จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว.
[๑๔๙] คำว่า กุโต นุ ในอุเทศว่า " กุโต นุ ทุกฺขา สมุปาคตา-
เม " ความว่า เป็นการถามด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความ
เคลือบแคลง เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถามโดยส่วนเดียวว่า
เรื่องนี้ เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอ
หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่อะไรหนอ.
ชื่อว่า ทุกข์ คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์
คือ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้น
ใจ ทุกข์ในนรก ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด ทุกข์ในปิตติวิสัย ทุกข์ในมนุษย์
ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์
มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด ทุกข์เนื่องแต่ผู้อื่น
แห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของ
ผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์ สังสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ โรคตา โรคหู โรคจมูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 110
โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคที่หู โรคในปาก โรคฟัน โรคไอ
โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา โรคในท้อง
โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน โรคฝี
กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด ลำลาบ
คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวงทวาร
โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น
สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธ
เกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิดเพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน
อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์แต่
เหลือบยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ความตายของมารดา
ก็เป็นทุกข์ ความตายของบิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่ชายน้องชาย
ก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่หญิงน้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความตายของ
บุตรก็เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็น
ทุกข์ ความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็น
ทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์ รูปาทิธรรมเหล่าใดมีความเกิด
ในเบื้องต้นปรากฏ รูปาทิธรรมเหล่านั้นก็มีความดับไปในเบื้องปลาย
ปรากฏ วิบากอาศัยกรรม กรรมอาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามก็อาศัย
รูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น
ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีอะไรเป็นที่เร้น ไม่มีอะไรเป็น
สรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เหล่านี้เรียกว่าทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 111
ท่านพระเมตตคูย่อมทูลถาม ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรง
ประสาทซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์
ปัจจัย สมุทัย แห่งทุกข์เหล่านี้ ทุกข์เหล่านี้เข้ามาถึงพร้อม เกิด ประจักษ์
บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแต่อะไร มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไร
เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เหล่านั้น
เกิดมาแต่ที่ไหนหนอ.
[๑๕๐] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า " เยเกจิ โลกสฺมึ อเนกรูปา "
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ
มีส่วนไม่เหลือ. บทว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด.
คำว่า โลกสฺมึ ความว่า ในอบายโลก ในมนุษยโลก ในเทวโลก
ในขันธโลก ในธาตุโลก ในอายตนโลก.
คำว่า อเนกรูปา ความว่า ทุกข์ทั้งหลายมีอย่างเป็นอเนก คือ มี
ประการต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอเนก
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์ย่อมสำคัญซึ่งพระองค์ว่าเป็นผู้จบเวท มีพระ-
องค์อันให้เจริญแล้ว ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอันมาก
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก เกิดมาแต่ที่ไหนหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 112
[๑๕๑] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนเมตตคู)
ท่านถามถึงเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว เรารู้อยู่อย่างไร
ก็จะบอกเหตุนั้นแก่ท่าน ทุกข์ทั้งหลายมีชนิดเป็นอันมาก
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก มีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมเกิดขึ้น.
[๑๕๒] คำว่า ทุกฺขสฺส ในอุเทศว่า " ทุกฺขสฺส เว ม ปภว
อปุจฺฉสิ " ความว่า แห่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์
คือความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แห่งทุกข์.
คำว่า เว ม ปภว อปุจฺฉสิ ความว่า ท่านถาม วิงวอน เชื้อเชิญ
ให้ประสาทซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร
อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งทุกข์กะเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านถาม
ถึงเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า เมตตคู. คำว่า
ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน
เมตตคู.
[๑๕๓] คำว่า ตนฺเต ปวกฺขามิ ในอุเทศว่า " ตนฺเต ปวกฺขามิ
ยถา ปชาน " ดังนี้ ความว่า เราจักกล่าว . . . จักประกาศ ซึ่งมูล . . .
สมุทัยแห่งทุกขึ้นในแก่ท่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักกล่าวซึ่งมูล
แห่งทุกข์นั้นแก่ท่าน.
คำว่า ยถา ปชาน ความว่า เรารู้อยู่ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ
แทงตลอดอย่างไร จะบอกธรรมที่ประจักษ์แก่ตนที่เรารู้เฉพาะด้วยตนเอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 113
โดยจะไม่บอกว่า กล่าวกันมาดังนี้ ๆ ไม่บอกตามที่ได้ยินกันมา ไม่บอก
ตามลำดับสืบ ๆ กันมา ไม่บอกโดยการอ้างตำรา ไม่บอกตามที่นึกเดา
เอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกด้วยความตรึกตามอาการ
ไม่บอกด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เรารู้อย่างไร.
[๑๕๔] คำว่า อุปธิ ในอุเทศว่า " อุปธินิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา "
ดังนี้ ได้แก่อุปธิ ๑๐ ประการ คือ ตัณหูปธิ ทิฏฐูปธิ กิเลสูปธิ กัมมูปธิ
ทุจจริตูปธิ อาหารูปธิ ปฏิฆูปธิ อุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔ อุปธิคือ
อายตนะภายใน ๖ อุปธิคือหมวดวิญญาณ ๖ ทุกข์แม้ทั้งหมดก็เป็น อุปธิ
เพราะอรรถว่า ยากที่จะทนได้ เหล่านี้เรียกว่าอุปธิ ๑๐.
คำว่า ทุกฺขา คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ฯ ล ฯ
ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง เหล่านี้เรียกว่าทุกข์ ทุกข์
เหล่านี้มีอุปธิเป็นนิทาน มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นปัจจัย มีอุปธิเป็น
การณะ ย่อมมี ย่อมเป็น เกิดขึ้น เกิดพร้อม บังเกิด ปรากฏ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลายมีอุปธิเป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น.
[๑๕๕] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า " เยเกจิ โลกสฺมึ อเนกรูปา "
ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง
ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ. คำว่า เยเกจิ นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด.
คำว่า โลกสฺมึ ความว่า ในอบายโลก ในมนุษยโลก ในเทวโลก ใน
ธาตุโลก ในอายตนโลก. คำว่า อเนกรูปา ความว่า ทุกข์ทั้งหลายมี
อย่างเป็นอเนก มีประการต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์ทั้งหลาย
มีชนิดเป็นอันมาก อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 114
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ท่านได้ถามเหตุแห่งทุกข์กะเราแล้ว เรารู้อยู่อย่างไร
ก็จะบอกเหตุนั้นแก่ท่าน ทุกข์ทั้งหลาย มีชนิดเป็นอันมาก
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก มีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมเกิดขึ้น.
[๑๕๖] ผู้ใดแลมิใช่ผู้รู้ ย่อมทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อม
เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้รู้อยู่ ไม่พึง
ทำอุปธิ เป็นผู้พิจารณาเหตุเกิดแห่งทุกข์.
[๑๕๗] คำว่า โย ในอุเทศว่า " โย เว อวิทฺวา อุปธึ กโรติ "
ดังนี้ ความว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา หรือมนุษย์ผู้ใด คือ เช่นใด ควรอย่างไร ชนิดใด ประการใด
ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด.
คำว่า อวิทฺวา ความว่า ไม่รู้ คือ ไปแล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ
ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม.
คำว่า อุปธึ กโรติ ความว่า กระทำซึ่งตัณหูปธิ . . . อุปธิ คือ
หมวดวิญญาณ ๖ คือ ให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มิใช่ผู้รู้กระทำอุปธิ.
[๑๕๘] คำว่า ปุนปฺปุน ทุกฺขมุเปติ ในอุเทศว่า " ปุนปฺปุน
ทุกฺขมุเปติ มนฺโท " ดังนี้ ความว่า ย่อมถึง คือ เข้าถึง เข้าไปถึง ย่อม
จับ ย่อมลูบคลำ ย่อมยึดมั่น ซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณ-
ทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 115
คำว่า มนฺโท ความว่า เป็นคนเขลา คือ เป็นคนหลงมิใช่ผู้รู้ ไป
แล้วในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ.
[๑๕๙] คำว่า ตสฺมา ในอุเทศว่า " ตสฺมา ปชาน อุปธึ น
กยิรา " ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณ์ เหตุ ปัจจัย
นิทานนั้น บุคคลเมื่อเห็นโทษนี้ในอุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะเหตุนั้น.
คำว่า ปชาน คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด คือ
รู้ ... แทงตลอดว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า อุปธึ น กยิรา ความว่า ไม่พึงกระทำตัณหูปธิ ... อุปธิ
คือ อายตนะภายใน ๖ คือ ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น รู้อยู่ ไม่พึงทำอุปธิ.
[๑๖๐] คำว่า ทุกฺขสฺส ความว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นแดนเกิด คือ
เป็นผู้พิจารณาเห็นมูล เหตุ นิทาน สมภพ แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร
อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
ทุกข์ คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
ปัญญา คือ ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิเรียกว่า อนุปัสสนา บุคคลเป็นผู้เข้าไป คือ เข้าไป
พร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 116
ปัญญาอันพิจารณาเห็นนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้พิจารณาเห็น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้พิจารณาเห็นแดนเกิดแห่งทุกข์.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดแลมิใช่ผู้รู้ ย่อมทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้รู้อยู่ ไม่
พึงทำอุปธิ เป็นผู้พิจารณาเห็นแดนเกิดแห่งทุกข์.
[๑๖๑] ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้วซึ่งปัญหาใด พระองค์
ได้ตรัสบอกปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์
ทั้งหลาย จะขอทูลถามปัญหาข้ออื่น ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกปัญหานั้น ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามซึ่งโอฆะ
ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้อย่างไรหนอ พระองค์
เป็นพระมุนี ขอทรงโปรดแก้ปัญหาแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยดี แท้จริง ธรรมนั้น อันพระองค์ทรงทราบแล้ว.
[๑๖๒] คำว่า ยนฺต อปุจฺฉิมฺห อกิตฺตยี โน ความว่า ข้าพระ-
องค์ทั้งหลายได้ทูลถาม คือ ทูลวิงวอน ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท
แล้วซึ่งปัญหาใด.
คำว่า อกิตฺตยี โน ความว่า พระองค์ได้ตรัส คือ บอก ... ทรง
ทำให้ง่าย ทรงประกาศแล้ว ซึ่งปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาใดแล้ว พระ-
องค์ได้ตรัสแก้ปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 117
[๑๖๓] คำว่า กถ นุ ในอุเทศว่า " อญฺ ต ปุจฺฉาม ตทิงฺฆ
พฺรูหิ กถ นุ ธีรา วิตรนฺติ โอฑ ชาติชฺชร โสกปริเทวญฺจ " ดังนี้
ความว่า เป็นการถามด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความเคลือบแคลง
เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถามโดยส่วนเดียวว่า เรื่องนี้เป็นอย่างนี้
หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็น
อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อย่างไรหนอ.
คำว่า ธีรา คือ นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า โอฆ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ความ
เกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในหมู่
สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ชื่อว่า ชาติ.
ความแก่ ความเสื่อม ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก
ความเป็นผู้มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ใน
หมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ชื่อว่า ชรา.
ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน
ความกรมเกรียม ณ ภายใน ความร้อน ณ ภายใน ความเร่าร้อน ณ
ภายใน ความเกรียมกรอมแห่งจิต โทมนัส ลูกศรคือความโศก ของคน
ที่ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า หรือของคนที่ถูกความฉิบหายแห่ง
โภคะกระทบเข้า ของคนที่ถูกความฉิบหายเพราะโรคกระทบเข้า หรือของ
คนที่ถูกความฉิบหายแห่งศีลกระทบเข้า ของคนที่ถูกความฉิบหายแห่งทิฏฐิ
กระทบเข้า ของคนที่ประจวบกับความฉิบหายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 118
คนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ความโศก.
ความร้องไห้ ความรำพัน กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่รำพัน ความ
เป็นผู้ร้องไห้ ความเป็นผู้รำพัน ความพูดถึง ความพูดเพ้อเจ้อ ความ
พูดบ่อย ๆ ความร่ำไร กิริยาที่ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ของคนที่ถูกความ
ฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้า ... หรือของตนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ปริเทวะ.
คำว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและ
ปริเทวะได้อย่างไรหนอ ความว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมข้าม คือ ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งโอฆะ ชาติ ชรา โสกะและปริเทวะได้
อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามโอฆะ ชาติ ชรา
โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ.
[๑๖๔] คำว่า ต ในอุเทศว่า " ตมฺเม มุนี สาธุ วิยากโรหิ "
ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมทูลถาม ทูลวิงวอน ทูลให้ทรงประกาศ
ปัญหาใด ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกอบด้วยญาณนั้น จึงเป็นมุนี คือ ถึงความเป็นพระมุนี โมเนยยะ
(ความเป็นมุนี) ๓ ประการ คือ กายโมเนยยะ วจีโมเนยยะ มโนโม-
เนยยะ.
กายโมเนยยะเป็นไฉน การละกายทุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโม-
เนยยะ กายสุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ ญาณมีกายเป็นอารมณ์
เป็นกายโมเนยยะ ความกำหนดรู้กาย เป็นกายโมเนยยะ มรรคอันสหรคต
ด้วยความกำหนดรู้ เป็นกายโมเนยยะ ความละฉันทราคะในกาย เป็นกาย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 119
โมเนยยะ ความดับกายสังขาร ความเข้าถึงจตุตถฌาน เป็นกายโมเนยยะ
นี้ชื่อว่า กายโมเนยยะ.
วจีโมเนยยะเป็นไฉน การละวจีทุจริต ๔ อย่าง เป็นวจีโมเนยยะ
วจีสุจริต ๔ อย่าง เป็นวจีโมเนยยะ ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ เป็นวจี-
โมเนยยะ การกำหนดรู้วาจา เป็นวจีโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยการ
กำหนดรู้ เป็นวจีโมเนยยะ การละฉันทราคะในวาจาเป็นวจีโมเนยยะ
ความดับวจีสังขาร ความเข้าทุติยฌาน เป็นวจีโมเนยยะ นี้ชื่อว่า วจีโม-
เนยยะ.
มโนโมเนยยะเป็นไฉน การละมโนทุจริต ๓ อย่าง เป็นมโนโม-
เนยยะ มโนสุจริต ๓ อย่าง เป็นมโนโมเนยยะ ญาณมีจิตเป็นอารมณ์
เป็นมโนโมเนยยะ การกำหนดรู้จิต เป็นมโนโมเนยยะ มรรคอันสหรคต
ด้วยความกำหนดรู้ เป็นมโนโมเนยยะ การละฉันทราคะในจิต ความดับ
จิตสังขาร ความเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้ชื่อว่า มโนโมเนยยะ.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงมุนี ผู้เป็นมุนีโดยกาย เป็น
มุนีโดยวาจา เป็นมุนีโดยใจ ผู้ไม่มีอาสวะถึงพร้อมด้วย
ความเป็นมุนีว่า เป็นผู้ละอกุศลธรรมทั้งปวง บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวถึงมุนี ผู้เป็นมุนีโดยกาย เป็นมุนีโดยวาจา
เป็นมุนีโดยใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี
ว่า เป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว.
มุนีผู้ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นมุนีเหล่านี้ เป็นมุนี ๖ จำพวก
คือ เป็นอาคารมุนี ๑ อนาคารมุนี ๑ เสกขมุนี ๑ อเสกขมุนี ๑ ปัจเจก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 120
มุนี ๑ มุนิมุนี ๑. อาคารมุนีเป็นไฉน คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน มีบทอันเห็น
แล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้ง นี้ชื่อว่า อาคารมุนี.
อนาคารมุนีเป็นไฉน บรรพชิตผู้มีบทอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้
แจ้งแล้ว นี้ชื่อว่า อนาคารมุนี. พระเสกขบุคคล ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี.
พระอรหันต์ ชื่อว่า อเสกขมุนี. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า ปัจเจกมุนี.
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี.
บุคคลย่อมไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นผู้หลง
มิใช่ผู้รู้ ก็ไม่เป็นมุนี ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรม
อันประเสริฐ เหมือนบุคคลประคองตราชั่ง ย่อมละเว้น
บาปทั้งหลาย บุคคลนั้นเป็นมุนี โดยเหตุนั้น บุคคลนั้น
เป็นมุนี บุคคลใดรู้จักโลกทั้งสอง บุคคลนั้นท่านเรียกว่า
เป็นมุนี โดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและ
ธรรมของสัตบุรุษในโลกทั้งปวง ทั้งในภายในทั้งใน
ภายนอก อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว บุคคล
นั้นล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา
ดังว่าข่าย ชื่อว่า เป็นมุนี.
คำว่า สาธุ วิยากโรหิ ความว่า ขอพระองค์ทรงตรัสบอก คือ
ทรงแสดง ... ทรงประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์เป็น
มุนี ขอทรงโปรดแก้ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี.
[๑๖๕] คำว่า ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม ความว่า จริง
อย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว ทรง
เทียบเคียงแล้ว ทรงพิจารณาแล้ว ทรงให้เจริญแล้ว ทรงแจ่มแจ้งแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 121
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนี้อันพระองค์ทรงทราบ
แล้ว.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลถามแล้วซึ่งปัญหาใด พระองค์ได้
ตรัสบอกปัญหานั้นแล้วแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์
ทั้งหลายจะขอทูลถามปัญหาข้ออื่น ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปัญหานั้น ธีรชนทั้งหลายย่อมข้ามซึ่งโอฆะ ชาติ
ชรา โสกะ และปริเทวะได้อย่างไรหนอ พระองค์เป็น
พระมุนี ขอทรงโปรดแก้ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยดี แท้จริง ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว.
[๑๖๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตตคู)
เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์
แก่ตน ที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้าม
ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกแก่ท่าน.
[๑๖๗] คำว่า เราจักบอกธรรม ... แก่ท่าน ความว่า เราจักบอก ...
ประกาศซึ่งพรหมจรรย์ อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏ-
ฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เราจักบอกธรรมแก่ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์
นั้นโดยชื่อว่า เมตตคู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 122
[๑๖๘] คำว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ในอุเทศว่า " ทิฏฺเ ธมฺเม อนี-
ติห " ดังนี้ ความว่า ในธรรมที่เราเห็น รู้ เทียบเคียง พิจารณา ให้
เจริญแล้ว ปรากฏแล้ว คือ ในธรรมอันเห็นแล้ว ... ปรากฏแล้วว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้
จึงชื่อว่า เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เราจักบอกทุกข์ในทุกข์ที่เราเห็นแล้ว จัก
บอกสมุทัยในสมุทัยที่เราเห็นแล้ว จักบอกมรรคในมรรคที่เราเห็นแล้ว
จักบอกนิโรธในนิโรธที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า
จักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เราจักบอกธรรมที่จะพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า
เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรม
ที่เราเห็นแล้ว.
คำว่า อนีติห อวามว่า เราจักบอกซึ่งธรรมอันประจักษ์แก่ตน ที่เรา
รู้เฉพาะด้วยตนเอง โดยไม่บอกว่ากล่าวกันมาอย่างนี้ ไม่บอกตามที่ได้ยิน
กันมา ไม่บอกตามลำดับสืบ ๆ กันมา ไม่บอกโดยการอ้างตำรา ไม่บอก
ตามที่นึกเดาเอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกโดยความ
ตรึกตรองตามอาการ ไม่บอกโดยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 123
[๑๖๙] คำว่า ย วิทิตฺวา สโต จร ความว่า กระทำให้รู้แจ้ง คือ
เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้รู้ ... ทำให้
แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญ
สติปัฏฐานเป็นเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ บุคคลนั้นเรียกว่า
มีสติ.
คำว่า จร คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมใดแล้ว เป็นผู้มี
สติเที่ยวไป.
[๑๗๐] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า
" ตเร โลเก วิสตฺติก. "
ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า กระไร เพราะ
อรรถว่า แผ่ไป เพราะอรรถว่า กว้างขวาง เพราะอรรถว่า ซ่านไป เพราะ
อรรถว่า ครอบงำ เพราะอรรถว่า นำไปผิด เพราะอรรถว่า ให้กล่าวผิด
เพราะอรรถว่า มีรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่า
มีการบริโภคเป็นพิษ.
อนึ่ง ตัณหานั้นกว้างขวาง ซ่านไป แผ่ไป แผ่ซ่านไปในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 124
นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล
อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ธรรม คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
ที่ได้ทราบ และธรรมที่รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า โลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า ตเร โลเก วิสตฺติก ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ พึงข้าม
คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งตัณหาอันเกาะเกี่ยวใน
อารมณ์ต่างๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยว
ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราจักบอกธรรมในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์
แก่ตนที่บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้าม
ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกแก่ท่าน.
[๑๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์
ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และธรรมอันสูงสุดที่
บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามพ้นตัณหา
อันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้.
[๑๗๒] คำว่า ต ในอุเทศว่า " ตญฺจาห อภินนฺทามิ " ความว่า
ซึ่งพระดำรัส คือ ทางแห่งถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า อภินนฺทามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมยินดี ชอบใจ เบิกบาน
อนุโมทนา ปรารถนา พอใจ ขอ ประสงค์ รักใคร่ ติดใจ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 125
[๑๗๓] คำว่า มเหสี ในอุเทศว่า มเหสี ธมฺมมุตฺตม ดังนี้
ความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่ากระไร. ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ ซึ่งสมาธิ-
ขันธ์ใหญ่ ซึ่งปัญญาขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ
ขันธ์ใหญ่. ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสวงหา เสาะหา ค้นหาแล้วซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ซึ่งความทำลาย
วิปลาสใหญ่ ซึ่งความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ ซึ่งความตัดความสืบต่อ
ทิฏฐิใหญ่ ซึ่งความให้มานะเป็นเช่นธงใหญ่ตกไป ซึ่งความระงับอภิสังขาร
ใหญ่ ซึ่งความสละโอฆะใหญ่ ซึ่งความปลงภาระใหญ่ ซึ่งความตัด
สังสารวัฏใหญ่ ซึ่งการให้ความเร่าร้อนใหญ่ดับไป ซึ่งความสงบระงับ
ความเดือดร้อนใหญ่ ซึ่งความยกขึ้นซึ่งธรรมเป็นดังว่าธงใหญ่ ซึ่งสติ-
ปัฏฐานใหญ่ ซึ่งสัมมัปปธานใหญ่ ซึ่งอิทธิบาทใหญ่ ซึ่งอินทรีย์ใหญ่
ซึ่งพละใหญ่ ซึ่งโพชฌงค์ใหญ่ ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ใหญ่
ซึ่งอมตนิพพานอันเป็นปรมัตถ์ใหญ่.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า
อันสัตว์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่แสวงหา เสาะหา สืบหาว่า พระพุทธเจ้า
ประทับ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาประทับ ณ ที่ไหน พระนราสภประทับ ณ
ที่ไหน.
อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมอุดม ในคำว่า ธมฺมมุตฺตม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 126
คำว่า อุตฺตม คือ ธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน
สูงสุด อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ... ซึ่ง
ธรรมอุดม.
[๑๗๔] คำว่า ย วิทิตฺวา สโต จร ความว่า ทำให้ทราบ คือ
เทียบเคียงพิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้ทราบ ...
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญ
สติปัฏฐานเป็นเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ บุคคลนั้นท่านกล่าว
ว่า เป็นผู้มีสติ.
คำว่า จร คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ... เยียวยา เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
[๑๗๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า
" ตเร โลเก วิสตฺติก. "
วิสัตติกา ในบทว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ล ฯ ซ่าน
ไป แผ่ซ่านไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ฯ ล ฯ ธรรม คือ
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่รู้แจ้ง เพราะ-
เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ อายตนโลก.
คำว่า ตเร โลเก วิสตฺติก ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ พึงข้าม
คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งตัณหา อันเกาะเกี่ยวใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 127
อารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันเกาะเกี่ยว
ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์
ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และธรรมอันสูงสุดที่
บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอัน
เกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้.
[๑๗๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนเมตตคู)
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง
ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านจงบรรเทาความยินดี
ความพัวพันและวิญญาณในธรรมเหล่านั้นเสีย ไม่พึงตั้ง
อยู่ในภพ.
[๑๗๗] คำว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ท่าน
ย่อมรู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดซึ่งธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า เมตตคู. คำว่า ภควา นี้
เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนเมตตคู.
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาตว่า ชั้นสูง ในอุเทศว่า
" อุทฺธ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ " ดังนี้ ตรัสอดีตว่า ชั้นต่ำ ตรัสปัจจุบันว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 128
ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสเทวโลกว่า ชั้นสูง ตรัสนิรยโลกว่า ชั้นต่ำ
ตรัสมนุษยโลกว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสกุศลธรรมว่า ชั้นสูง ตรัส
อกุศลธรรมว่า ชั้นต่ำ ตรัสอพยากตธรรมว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัส
อรูปธาตุว่า ชั้นสูง ตรัสกามธาตุว่า ชั้นต่ำ ตรัสรูปธาตุว่า ชั้นกลาง
ส่วนกว้าง. ตรัสสุขเวทนาว่า ชั้นสูง ตรัสทุกขเวทนาว่า ชั้นต่ำ ตรัส
อทุกขมสุขเวทนาว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสส่วนเบื้องบนตลอดถึงพื้น
เท้าว่า ชั้นสูง ตรัสส่วนเบื้องต่ำตลอดถึงปลายผมว่า ชั้นต่ำ ตรัสส่วน
กลางว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และ
ชั้นกลางส่วนกว้าง.
[๑๗๙] คำว่า เอเตสุ ในอุเทศว่า " เอเตสุ นนฺทิญฺจ นิเวสนญฺจ
ปนุชฺช วิญฺาณ ภเว น ติฏฺเ " ดังนี้ ความว่า ในธรรมทั้งหลายที่เรา
บอกแล้ว ... ประกาศแล้ว ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ตรัสว่าความยินดี.
ความพัวพันในบทว่า นิเวสน มี ๒ อย่าง คือ ความพัวพันด้วย
ตัณหา ๑ ความพัวพันด้วยทิฏฐิ ๑ ความพัวพันด้วยตัณหาเป็นไฉน ความ
ถือว่าของเราอันทำให้เป็นแดน ... ด้วยส่วนตัณหาเท่าใด ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า
ความพัวพันด้วยตัณหา. ความพัวพันด้วยทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ
๒๐ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความพัวพันด้วยทิฏฐิ.
คำว่า ปนุชฺช วิญฺาณ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วยปุญญา-
ภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วย
อเนญชาภิสังขาร ท่านจงบรรเทา คือ จงสลัด จงถอน จงถอนทิ้ง จงละ
จงทาให้ไกล จงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความยินดี ความพัวพัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 129
และวิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขารในธรรมเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ท่านจงบรรเทาความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณในธรรม
เหล่านี้.
ภพมี ๒ คือ กรรมภพ ๑ ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ๑ ชื่อว่า ภพ
ในอุเทศว่า " ภเว น ติฏฺเ " กรรมภพเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้เป็นกรรมภพ. ภพใหม่อันมีใน
ปฏิสนธิเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีในปฏิสนธิ
นี้เป็นภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ.
คำว่า ภเว น ติฏฺเ ความว่า เมื่อละขาด บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีซึ่งความยินดี ความพัวพัน วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิ-
สังขาร กรรมภพ และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึงตั้งอยู่ในปฏิสนธิ
ไม่พึงอยู่ในกรรมภพ ไม่พึงดำรงอยู่ ไม่พึงประดิษฐานอยู่ในภพใหม่
อันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงบรรเทา ... วิญญาณไม่
พึงตั้งอยู่ในภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้น
สูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง ส่วนกว้าง ท่านจงบรรเทา
ความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณในธรรมเหล่านั้น
เสีย ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ.
[๑๘๐] ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท มีความ
รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเราแล้ว เที่ยวไป พึงละ
ชาติ ชรา ความโศกและความรำพัน อันเป็นทุกข์ใน
อัตภาพนี้เสียทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 130
[๑๘๑] คำว่า เอววิหารี ในอุเทศว่า " เอววิหารี สโต อปฺป-
มตฺโต " ดังนี้ ความว่า ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง
ความยินดี ความพัวพัน วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร กรรมภพ
และภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้.
คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญ
สติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯล ฯ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เป็นผู้มีสติ.
คำว่า อปฺปมตฺโต ความว่า ภิกษุเป็นผู้ทำด้วยความเต็มใจ คือ ทำ
เนือง ๆ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอด
ธุระ ไม่ประมาท ในกุศลธรรม คือ ความพอใจ ความพยายาม ความ
หมั่น ความเป็นผู้มีความหมั่น ความไม่ถอยหลัง สติ สัมปชัญญะ ความ
เพียรให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรชอบ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ
ใด ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้
บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรม
นั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ
พึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร
เราพึงบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์
ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร เราพึง
บำเพ็ญวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติ
ขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ... เมื่อไร เราพึงบำเพ็ญ
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในกุศลธรรมนั้น ความพอใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 131
เป็นต้นนั้น ชื่อว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรม ความพอใจ ความ
พยายาม ... ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ใด ในกุศลธรรมนั้นว่า
เมื่อไร เราพึงกำหนดทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยัง
ไม่ได้ละ เราพึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ความพอใจเป็นต้นนั้น ชื่อว่า ความไม่ประมาทในกุศล-
ธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีสติไม่
ประมาท.
[๑๘๒] ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ดี ภิกษุเป็นพระเสขะก็ดี ชื่อว่า
ภิกษุ ในอุเทศว่า " ภิกฺขุ จร หิตฺวา มมายิตานิ " ดังนี้.
คำว่า จร ความว่า เที่ยวไป คือเที่ยวไป ... เยียวยา.
ความยึดถือว่าของเรามี ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเรา ด้วย
อำนาจตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของ
เราด้วยอำนาจทิฏฐิ ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเรา ละความยึดถือว่าของ
เราด้วยอำนาจตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ละ สละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความยึดถือว่าของเราทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... ละแล้วซึ่งความยึดถือว่าของเราทั้งหลาย
เที่ยวไป.
[๑๘๓] ความเกิด ความเกิดพร้อม ... ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ
ทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ชื่อว่า ชาติ ในอุเทศว่า
" ชาติชฺชร โสกปริทฺเทวญฺจ อิเมว วิทฺวา ปชฺชเหยฺย ทุกข " ดังนี้
ความแก่ ความเสื่อม ... ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า ชรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 132
ความโศก กิริยาที่โศก ... หรือของคนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ความโศก. ความร้องไห้ ความรำพัน ... หรือของ
คนที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้า ชื่อว่า ปริเทวะ.
คำว่า อิธ ความว่า ในทิฏฐินี้ ฯ ล ฯ ในมนุษยโลกนี้.
คำว่า วิทฺวา ความว่า ผู้รู้แจ้ง คือ ถึงความรู้แจ้ง มีญาณ มีความ
แจ่มแจ้ง เป็นนักปราชญ์ ชาติทุกข์ ฯ ล ฯ ทุกข์คือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ชื่อว่า ทุกข์.
คำว่า ชาติชฺชร โสกปริทฺเทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชฺชเหยฺย ทุกฺข
ความว่า ผู้รู้แจ้ง คือ ถึงความรู้แจ้ง มีญาณ มีความแจ่มแจ้งเป็นปราชญ์
พึงละ คือ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งชาติ ชรา ความโศก
และความร่ำไรในอัตภาพนี้เทียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้รู้แจ้งพึงละชาติ
ชรา ความโศก และความร่ำไรอันเป็นทุกข์ในอัตภาพนี้เทียว เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท มีความ
รู้แจ้ง ละความยึดถือว่าเป็นของเรา แล้วเที่ยวไป พึงละ
ชาติ ชรา ความโศก และความรำพันอันเป็นทุกข์ใน
อัตภาพนี้เสียทีเดียว.
[๑๘๔] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัส ของ
พระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว เป็น
ธรรมไม่มีอุปธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 133
เป็นแน่ จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบ
แล้ว.
[๑๘๕] คำว่า เอต ในอุเทศว่า " เอตาภินนฺทามิ วโจ
มเหสิโน " ดังนี้ ความว่า ถ้อยคำ ทางถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิของ
พระองค์.
คำว่า อภินนฺทามิ ความว่า ย่อมยินดี คือ ชอบใจ เบิกบาน
อนุโมทนา ปรารถนา พอใจ ขอประสงค์ รักใคร่ ติดใจ.
คำว่า มเหสิโน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา
ค้นหา ศีลขันธ์ใหญ่ ฯ ล ฯ พระนราสภประทับที่ไหน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่.
[๑๘๖] คำว่า สุกิตฺติต ในอุเทศว่า " สุกิตฺติต โคตม นูปธีก "
ดังนี้ ความว่า อันพระองค์ตรัสแล้ว คือ ตรัสบอก ... ทรงประกาศแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตรัสดีแล้ว.
กิเลสทั้งหลายก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า อุปธิ
ในอุเทศว่า " โคตม นูปธีก " เป็นธรรมที่ละอุปธิ คือ เป็นที่สงบอุปธิ
ที่สละคืนอุปธิ ที่ระงับอุปธิ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่
พระโคดม ... ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิ.
[๑๘๗] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า " อทฺธา หิ ภควา ปหาสิ
ทุกฺข " ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่มี
ความสงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าว
โดยไม่เป็นสองแง่ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 134
คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่แท้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่อง
กล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า ปหาสิ ทุกฺข ความว่า พระองค์ทรงละ คือ ทรงละขาด
ทรงบรรเทา ทรงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งชาติทุกข์ ชราทุกข์
พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แล้วเป็นแน่.
[๑๘๘] คำว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว
ความว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้
ทรงเทียบเคียง ทรงพิจารณา ทรงให้แจ่มแจ้ง ปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้ว เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของ
พระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว เป็น
ธรรมไม่มีอุปธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แล้ว
เป็นแน่ จริงอย่างนั้น ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบ
แล้ว.
[๑๘๙] พระองค์เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดบ่อย ๆ ก็
ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ข้าพระองค์มาพบ
แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ จักขอนมัสการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 135
พระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสสอนข้าพระองค์
บ่อย ๆ.
[๑๙๐] คำว่า เต จาปิ ในอุเทศว่า " เต จาปิ นูน ปชเหยฺยุ
ทุกฺข " ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา มนุษย์ พึงละได้.
คำว่า ทุกฺข ความว่า พึงละ คือ พึงบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึง
ความไม่มีซึ่งชาติทุกข์ ... ความคับแค้นใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็แม้
ชนเหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่.
[๑๙๑] คำว่า เย ในอุเทศว่า " เย ตฺว มุนี อฏฺิต โอวเทยฺย "
ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
มนุษย์ เมตตคูพราหมณ์ย่อมกล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตฺว.
ญาณ เรียกว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯ ล ฯ บุคคลนั้นล่วงแล้ว
ซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย ย่อมเป็นมุนี.
คำว่า อฏฺิต โอวเทยฺย ความว่า ตรัสสอนโดยเอื้อเฟื้อ คือ ตรัส
สอนเนือง ๆ ตรัสสอน พร่ำสอนบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
องค์เป็นพระมุนีตรัสสอนชนเหล่าใดบ่อย ๆ.
[๑๙๒] เมตตคูพราหมณ์กล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ต ใน
อุเทศว่า ตนฺต นมสฺสามิ สเมจฺจ นาค.
คำว่า นมสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอนมัสการ คือ ขอสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาด้วยกาย ด้วยจิต ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นไปตาม
ประโยชน์ หรือด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 136
คำว่า สเมจฺจ ความว่า ข้าพระองค์มาพบ คือ มาประสบ มาหา
มาเฝ้าแล้ว ขอนมัสการพระองค์เฉพาะพระพักตร์.
คำว่า นาค ความว่า ผู้ไม่มีความชั่ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
ทำความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค ไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว
เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค ไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น
จึงทรงพระนามว่า นาค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำความชั่วอย่างไร เพราะฉะนั้น จึง
ทรงพระนามว่า นาค. อกุศลธรรมทั้งปวงอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดใน
ภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
และมรณะต่อไป ท่านกล่าวว่า ความชั่ว.
บุคคลไม่ทำความชั่วน้อยหนึ่งในโลก สลัดแล้วซึ่งกิเลสเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ทั้งปวง ซึ่งเครื่องผูกทั้งหลาย เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่
เกี่ยวข้องในที่ทั้งปวง บุคคลนั้นท่านกล่าวว่าเป็นนาค ผู้คงที่ มีจิต
อย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำความชั่วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า นาค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จไปอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงทรงพระ-
นามว่า นาค พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จไปสู่ฉันทาคติ ไม่เสด็จไปสู่
โทสาคติ ไม่เสด็จไปสู่โมหาคติ ไม่เสด็จไปสู่ภยาคติ พระองค์ไม่เสด็จไป
ด้วยอำนาจราคะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจโมหะ
ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจมานะ ไม่เสด็จไปด้วย
อำนาจอุทธัจจะ ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่เสด็จไปด้วยอำนาจ
อนุสัย ไม่ดำเนิน ไม่เสด็จออก ไม่ถูกพัดไป ไม่ถูกนำไป ไม่ถูกเคลื่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 137
ไปด้วยธรรมอันเป็นพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จไปอย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จมาอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงทรงพระ-
นามว่า นาค พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลส
ทั้งหลาย ที่พระองค์ทรงละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ... ด้วยสกทาคามิ-
มรรค .... ด้วยอนาคามิมรรค ... ด้วยอรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่เสด็จมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มาพบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนาค จึงขอนมัสการ
พระองค์.
[๑๙๓] คำว่า อปฺเปว ม ภควา อฏิิต โอวเทยฺย ความว่า ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อย ๆ คือ โปรดตรัสสอนโดย
เอื้อเฟื้อ ตรัสสอนเนือง ๆ ตรัสสอน พร่ำสอนบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสสอนข้าพระองค์บ่อย ๆ บ้าง
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระองค์เป็นพระมุนี ตรัสสอนชนเหล่าใดบ่อย ๆ ก็
ชนแม้เหล่านั้นพึงละทุกข์ได้เป็นแน่ ข้าพระองค์มาพบ
แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ จักขอนมัสการ
พระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสสอนข้าพระองค์
บ่อย ๆ.
[๑๙๔] บุคคลพึงรู้จักผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท ไม่มี
กิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ ผู้นั้นข้ามได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 138
แล้วซึ่งโอฆะนี้โดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีเสา
เขื่อน ไม่มีความสงสัย.
[๑๙๕] คำว่า พฺราหฺมณ ในอุเทศว่า ย พฺราหฺมณ เวทคุ
อภิชญฺา ความว่า ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม
๗ ประการ เป็นผู้ลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพัตตปรามาส ราคะ โทสะ
โมหะ มานะ เป็นผู้ลอยอกุศลบาปธรรมอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดใน
ภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
และมรณะต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสภิยะ๑) พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ลอยเสียแล้วซึ่งธรรมอันลามกทั้งปวง
ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นดี มีจิตคงที่ ล่วงแล้วซึ่ง
สงสาร เป็นผู้บริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้
ประเสริฐ.
ญาณในมรรค ๔ ตรัสว่าเวท ในคำว่า เวทคุ ฯ ล ฯ พราหมณ์นั้น
เป็นเวทคู เพราะล่วงเสียซึ่งเวททั้งปวง.
คำว่า อภิชญฺา ความว่า พึงรู้จัก คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้ง
เฉพาะ แทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้จักผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์
ผู้ถึงเวท.
[๑๙๖] คำว่า อกิญฺจน ในอุเทศว่า อกิญฺจน กามภเว อสตฺต
ดังนี้ ความว่า เครื่องกังวล คือ ราคะ เครื่องกังวล คือ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้อันผู้ใดละขาดแล้ว ตัด
๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๖๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 139
ขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ
คือญาณ ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.
โดยอุทานว่า กาม กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
ฯ ล ฯ เหล่านี้ตรัสว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ตรัสว่า กิเลสกาม.
ชื่อว่า ภพ คือ ภพ ๒ อย่าง คือ กรรมภพ ๑ ภพใหม่อันมีใน
ปฏิสนธิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ.
คำว่า อกิญฺจรน กามภเว อสตฺต ความว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ไม่ข้องเกี่ยว คือ ไม่ข้องแวะ ไม่เกาะเกี่ยว ไม่พัวพัน ในกามภพ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ.
[๑๙๗] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา หิ โส โอฆมิม อตาริ
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว ฯ ล ฯ. คำว่า อทฺธา นี้เป็นเครื่อง
กล่าวแน่แท้. คาว่า โอฆ คือ กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชา-
โอฆะ. คำว่า อตาริ ความว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามพ้นแล้ว
ก้าวล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นได้ข้ามแล้ว
ซึ่งโอฆะนี้โดยแท้.
[๑๙๘] คำว่า ติณฺโณ ในอุเทศว่า " ติณฺโณ จ ปาร อขิโล
อกงฺโข " ดังนี้ ความว่า ผู้นั้นข้ามได้แล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงพ้น
แล้ว เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ
มีความอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว มีทางไกลอันถึงแล้ว มีทิศ
อันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงแล้วซึ่งทิฏฐิ
อันอุดม มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีอกุปปธรรมอันแทง
ตลอดแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว ผู้นั้นกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 140
แล้ว เจริญมรรคแล้ว ทานิโรธให้แจ่มแจ้งแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
แล้ว กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละซึ่งธรรมที่ควรละแล้ว
เจริญซึ่งธรรมที่ควรเจริญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว
ผู้นั้นมีอวิชชาเพียงดังกลอนอันถอดออกแล้ว มีชาติสงสารเพียงดังคูอัน
กลบแล้ว มีตัณหาเพียงดังเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว ไม่มีลิ่มสลัก เป็น
ผู้ไกลจากกิเลสดังข้าศึก มีอัสมิมานะดังว่าธงล้มไปแล้ว มีภาระปลงเสีย
แล้ว เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ละนิวรณ์มีองค์ ๕ เสียแล้ว ประกอบด้วย
อุเบกขามีองค์ ๖ มีสติเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก มีธรรมเป็นที่พึ่งพิง ๔
มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ บรรเทาเสียแล้ว มีความแสวงหาอัน
ประเสริฐบริบูรณ์โดยชอบ มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารระงับแล้ว
มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีปัญญาพ้นวิเศษดีแล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว เป็นบุรุษอุดม เป็นบุรุษประเสริฐ เป็นผู้ถึงอรหัตผล
อันประเสริฐ.
ผู้นั้นย่อมไม่ก่อ ไม่ทำลาย ทำลายเสร็จแล้วดำรงอยู่ ไม่ต้องละ
ไม่ต้องยึดถือ ละเสร็จแล้วดำรงอยู่ ย่อมไม่เย็บ ไม่ยก ตัดเสร็จแล้วดำรง
อยู่ ไม่ต้องกำจัด ไม่ต้องก่อ ก่อเสร็จแล้วดำรงอยู่ ชื่อว่า ดำรงอยู่แล้ว
เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ยังอริยสัจทั้งปวงให้ถึง
เฉพาะแล้วดำรงอยู่ ล่วงเสียอย่างนี้แล้วดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่
ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่วนเวียน ยึดถือความชนะเสร็จแล้วดำรงอยู่ ดำรง
อยู่ในความส้องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์ส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 141
ไม่มีกัมมัญญะ (ตัณหา ทิฏฐิ มานะ) ดำรงอยู่เพราะความเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้ว ดำรงอยู่เพราะความเป็นผู้มีจิตสงบ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งขันธ์ ดำรง
อยู่ในที่สุดแห่งธาตุ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งอายตนะ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่ง
คติ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งอุปบัติ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ ดำรงอยู่
ในที่สุดแห่งภพ ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งสังขาร ดำรงอยู่ในที่สุดแห่งวัฏฏะ
ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด เป็นพระ-
อรหันต์ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.
พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นครั้งหลัง มีอัตภาพนี้
และมีสงสาร คือ ชาติ ชรา และมรณะเป็นครั้งสุดท้าย
ไม่มีภพใหม่.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว.
อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความสารอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่า ฝั่ง ในบทว่า ปาร ดังนี้. ผู้นั้นถึงแล้วซึ่งฝั่ง
คือ บรรลุถึงฝั่ง ไปสู่ส่วนสุด ถึงส่วนสุด ไปสู่ที่สุด ถึงที่สุด ไปสู่ส่วน
สุดรอบ ถึงส่วนสุดรอบ ไปสู่ที่จบ ถึงที่จบ ไปสู่ที่ต้านทาน ถึงที่ต้านทาน
ไปสู่ที่เร้น ถึงที่เร้น ไปสู่ที่พึ่ง ถึงที่พึ่ง ไปสู่ที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่มีภัย ไปสู่
ที่ไม่เคลื่อน ถึงที่ไม่เคลื่อน ไปสู่อมตะ ถึงอมตะ ไปสู่นิพพาน ถึงนิพพาน
ผู้นั้นมีพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องอยู่จบแล้ว มีจรณะประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ
ไม่มีสงสาร คือ ชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้ข้ามแล้วถึงฝั่ง.
คำว่า ไม่มีเสาเขื่อน คือ ราคะเป็นเสาเขื่อน โทสะเป็นเสาเขื่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 142
โมหะเป็นเสาเขื่อน ความโกรธเป็นเสาเขื่อน ความผูกโกรธเป็นเสาเขื่อน
ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นเสาเขื่อน ผู้ใดละเสาเขื่อนเหล่านี้แล้ว
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
ผู้นั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีเสาเขื่อน.
คำว่า ผู้ไม่มีความสงสัย คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา ความสงสัยในเงื่อนเบื้องต้น ความสงสัยในเงื่อนเบื้องปลาย ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปปันธรรม คือ ความเป็นปัจจัยแห่งสังขาราทิธรรมนี้
ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความไม่
ตกลง ความเป็นสองแง่ ความเป็นสองทาง ความลังเล ความไม่ถือเอา
โดยส่วนเดียว ความระแวง ความระแวงรอบ ความตัดสินไม่ลง ความ
มีจิตครั่นคร้าม ความมีใจสนเท่ห์เห็นปานนี้ ผู้ใดละความสงสัยเหล่านี้ ...
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ ผู้นั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีความสงสัย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้วถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อน ไม่มีความสงสัย
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลพึงรู้จักผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลส
เครื่องกังวล ไม่ข้องเกี่ยวในกามภพ ผู้นั้นได้ข้ามแล้วซึ่ง
โอฆะนี้โดยแท้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อน ไม่
มีความสงสัย.
[๑๙๙] นรชนใดในศาสนานี้ มีความรู้ เป็นเวทคู สลัดแล้ว
ซึ่งบาปธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ ในภพน้อยและภพใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 143
นรชนนั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง
เรากล่าวว่า นรชนนั้นได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา.
[๒๐๐] คำว่า วิทฺวา ในอุเทศว่า " วิทฺวา จ โย เวทคู นโร
อิธ " ดังนี้ ความว่า ไปแล้วในวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส.
คำว่า โย ความว่า ฯ ล ฯ มนุษย์ใด คือ เช่นใด.
ญาณในมรรค ๔ ตรัสว่า เวท ในบทว่า เวทคู นรชนนั้น ชื่อว่า
เป็นเวทคู เพราะล่วงเสียซึ่งเวททั้งปวง.
คำว่า นโร ได้แก่ สัตว์ นระ มาณพ ผู้อันเขาเลี้ยง บุคคลผู้เป็น
อยู่ ผู้ถึงชาติ สัตว์เกิด ผู้ถึงความเป็นใหญ่ ชนผู้เกิดแต่พระมนู.
คำว่า อิธ คือ ในทิฏฐินี้ ฯ ล ฯ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นรชนใดในศาสนานี้ มีความรู้ เป็นเวทคู.
[๒๐๑] คำว่า ภวาภเว ในอุเทศว่า " ภวาภเว สงฺคมิม วิสชฺช "
ดังนี้ ความว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ คือ ในกรรมภพ (กรรมวัฏ) ใน
ปุนัพภพ (วิปากวัฏ) ในกามภพ (กามธาตุ) ในกรรมภพ ในกามภพ
ในปุนัพภพ ในรูปภพ ในกรรมภพ ในรูปภพ ในปุนัพภพ ในอรูปภพ
ในกรรมภพ ในวิปากวัฏอันให้เกิดใหม่ ในอรูปภพ ในภพบ่อย ๆ
ในคติบ่อย ๆ ในอุปบัติบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในความเกิดแห่ง
อัตภาพบ่อย ๆ. บาปธรรมเป็นเครื่องข้อง ในบทว่า สงฺค มี ๗ อย่าง คือ
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต เป็นเครื่องข้อง.
คำว่า สละแล้ว คือ สลัดแล้ว ซึ่งบาปธรรมเป็นเครื่องข้อง
ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เปลื้องปล่อยบาปธรรมเป็นเครื่องข้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 144
ทั้งหลาย คือ เป็นเครื่องผูก เครื่องพัน เครื่องคล้อง เครื่องเกี่ยวข้อง
เครื่องผูกพัน เครื่องพัวพัน เปรียบเหมือนชนทั้งหลายย่อมทำความปลด.
ปล่อยยาน คานหาม รถ เกวียน หรือล้อเลื่อน ย่อมทำให้เสียไป ฉันใด
นรชนนั้น สละสลัดบาปธรรมเป็นเครื่องข้องเหล่านั้น หรือปลดเปลื้อง
บาปธรรมทั้งหลายเป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกไว้ เป็นเครื่องพัน เป็น
เครื่องคล้องไว้ เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องพัวพัน เป็นเครื่องผูกพัน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สลัดแล้วซึ่งบาปธรรมเป็นเครื่อง
ข้องนี้ ในภพน้อยและภพใหญ่.
[๒๐๒] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า " โส วีตตณฺโห อนิโฆ
นิราโส อตฺตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ " ดังนี้ นรชนใดละตัณหานี้แล้ว...
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ ญาณ นรชนนั้นตรัสว่า เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ
เป็นผู้สละตัณหา คายตัณหา ปล่อยตัณหา ละตัณหา สละคืนตัณหา
ปราศจากราคะ สละราคะ คายราคะ ปล่อยราคะ ละราคะ สละคืนราคะ
ไม่มีความหิว เป็นผู้ดับ เยือกเย็นแล้ว เสวยสุขอยู่ด้วยตนอันประเสริฐ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนนั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา.
คำว่า อนิโฆ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูก
โกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ นรชนใดละทุกข์เหล่านี้
แล้ว ... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ นรชนนั้นตรัสว่า ไม่มีทุกข์.
คำว่า ไม่มีความหวัง ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่าความหวัง นรชนใดละความหวัง คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 145
ตัณหานี้แล้ว... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ นรชนนั้นตรัสว่า ไม่มี
ความหวัง.
ความเกิด ความเกิดพร้อม ... ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะทั้งหลาย
ในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์นั้น ๆ ชื่อว่า ชาติ. ความแก่ ความเสื่อม ...
ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้น ๆ เเห่งสัตว์นั้น ๆ ชื่อว่า ชรา.
ความตาย ความจุติ ... ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
ทั้งหลาย จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์นั้น ๆ ชื่อว่า มรณะ. คำว่า นรชน
นั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เรากล่าวว่า
นรชนนั้นได้ข้ามแล้ว ซึ่งชาติ ชรา ความว่า นรชนนั้นใดเป็นผู้ปราศจาก
ตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง เรากล่าว บอก ... ประกาศว่า นรชน
นั้นได้ข้ามแล้ว คือ ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งชาติ ชราและ
มรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนนั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์
ไม่มีความหวัง เรากล่าวว่า นรชนนั้นได้ข้ามแล้ว ซึ่งชาติและชรา เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นรชนใดในศาสนานี้ มีความรู้ เป็นเวทคู สลัดแล้ว
ซึ่งบาปธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ ในภพน้อยและภพใหญ่
นรชนนั้นเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง
เรากล่าวว่านรชนนั้นได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา เมตตคูพราหมณ์ ฯ ล ฯ นั่งประนม
อัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 146
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้
แล.
จบเมตตคูมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๔
อรรถกถาเมตตคูมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยใน เมตตคูสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มญฺามิ ต เวทคุ ภาวิตตฺต คือ ข้าพระองค์ย่อมสำคัญซึ่ง
พระองค์ว่าเป็นผู้จบเวท มีพระองค์อันให้เจริญแล้ว.
บทว่า อปริตฺโต คือ ไม่น้อย. บทว่า มหนฺโต มาก คือ ไม่เล็ก
น้อย. บทว่า คมฺภีโร ลึกซึ้ง คือไม่ง่าย. บทว่า อปฺปเมยฺโย ประมาณ
ไม่ได้ คือ ไม่สามารถจะนับได้. บทว่า ทุปฺปริโยคาฬฺโห คือ ยากที่จะ
หยั่งลงได้. บทว่า พหุรตโน สาครูปโม มีธรรมรัตนะมาก เปรียบ
เหมือนทะเลหลวง คือ มีธรรมรัตนะมาก เพราะเป็นบ่อเกิดของธรรม-
รัตนะมาก เช่นกับสาคร คือ ดุจสมุทรอันบริบูรณ์ด้วยรัตนะหลาย ๆ อย่าง.
บทว่า น มงฺกุ โหติ ไม่ทรงเก้อเขิน คือ ไม่ทรงเสียหน้า. บทว่า
อปฺปติฏฺีนจิตฺโต มีพระทัยมิได้ขัดเคือง คือ มิได้มีพระทัยเป็นไปด้วย
อำนาจโทสะ. บทว่า อทินมนโส๑ คือ มีพระทัยไม่หดหู่. บทว่า อพฺยา-
ปนฺนเจตโส มีพระทัยไม่พยาบาท คือ มิได้มีพระทัยประทุษร้าย. บทว่า
ทิฏฺเ ทิฏมตฺโต เพียงแต่ทรงเห็นรูปที่ทรงเห็น คือ เป็นแต่เพียงเห็น
รูปารมณ์อันเป็นวิสัยของจักษุเท่านั้น. อารมณ์ที่เห็นด้วยจักษุเป็นเพียงสี
๑. บาลีว่า อาทินมนโส. ม. ว่า อลีนมนโส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 147
เท่านั้น ไม่มีผู้กระทำหรือผู้ให้กระทำ. แม้ในเสียงที่ได้ยินเป็นต้นก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทิฏฺเ ท่านแสดงวรรณาตนะเพราะประกอบ
ด้วยการเห็น แสดงสัททายตนะเพราะประกอบด้วยการฟัง แสดงฆานายตนะ
ชิวหายตนะ และกายายตนะ เพราะประกอบด้วยการทราบ. ท่านแสดง
คันธะ เป็นอายตนะของฆานะ แสดงรส เป็นอายตนะของชิวหา แสดง
โผฏฐัพพะ คือ ปฐวี เตโช วาโย เป็นอายตนะของกาย แสดงธัมมายตนะ
เพราะประกอบด้วยการรู้แจ้ง. บทว่า ทิฏฺเ อนูปโย ไม่ทรงติดในรูปที่
ทรงเห็น คือเว้นจากการติดด้วยราคะในรูปที่เห็นด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า
อนปฺปิโย คือ เว้นจากความโกรธ ไม่มีปฏิฆะ. บทว่า อนิสฺสิโต ไม่
ทรงอาศัย คือ ไม่ติดอยู่ด้วยตัณหา. บทว่า อปฺปฏิพทฺโธ ไม่ทรงเกี่ยว
ข้อง คือ ไม่เกี่ยวข้องผูกพันด้วยมานะ. บทว่า วิปฺปมุตฺโต ทรงพ้น
วิเศษแล้ว คือพ้นจากอารมณ์ทั้งปวง. บทว่า วิสญฺญุโต ทรงแยกออก
แล้ว คือแยกจากกิเลส ดำรงอยู่. บทว่า สวิชฺชติ ภควโต จกฺขุ จักษุ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้มังสจักษุ
ตามปกติ. บทว่า ปสฺสติ คือ ทรงเห็น ทรงดู. บทว่า จกฺขุนา รูป
ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ คือ ทรงเห็นรูปารมณ์ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า
ฉนฺทราโค ฉันทราคะ คือ ความพอใจในตัณหา.
บทว่า ทนต นยนฺติ สมิตึ ชนทั้งหลายย่อมนำยานที่ตนฝึกแล้วไป
สู่ที่ประชุม คือ ชนทั้งหลายผู้ไปสู่ท่ามกลางมหาชนในอุทยาน และสนาม
กีฬาเป็นต้น ย่อมเทียมโคหรือม้าอาชาไนยที่ฝึกแล้ว เทียมในยานนำไป.
บทว่า ราชา คือ แม้พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่เช่นนั้น ก็ประทับยานที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 148
สารถีฝึกแล้วนั่นเอง. บทว่า มนุสฺเส คือ บุคคลที่ฝึกแล้วหมดพยศ เป็น
ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์ด้วยอริยมรรค ๔. บทว่า โยติวากฺย ความว่า
บุคคลใดย่อมอดทน ไม่กระสับกระส่ายไม่เดือดร้อนต่อถ้อยคำล่วงเกินเห็น
ปานนี้ แม้เขาพูดอยู่บ่อย ๆ บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ฝึกแล้ว เป็น
ผู้ประเสริฐที่สุด บทว่า อสฺสตรา ม้าอัสดร คือ ม้าที่เกิดจากแม่ม้า
พ่อลา. บทว่า อาชานิยา ม้าอาชาไนย คือ ม้าที่สามารถรู้เหตุที่สารถี
ผู้ฝึกให้ทำได้โดยเร็ว. บทว่า สินฺะวา ม้าสินธพ คือ ม้าที่เกิดในแคว้น
สินธพ. บทว่า มหานาคา คือ ช้างใหญ่จำพวกกุญชร. บทว่า อตฺตทนฺโต
ฝึกตนแล้ว ความว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี ช้างกุญชรก็ดี เหล่านั้น
ที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ยังมิได้ฝึก เป็นสัตว์ไม่ประเสริฐ อนึ่ง
บุคคลใดฝึกตนแล้ว เพราะฝึกตนด้วยมรรค ๔ เป็นผู้หมดพยศ บุคคลนี้
เป็นผู้ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ยังมิได้ฝึกตนนั้น คือ ประเสริฐยิ่งกว่ายาน
เหล่านั้นทั้งหมด. บทว่า น หิ เอเตหิ ยาเนหิ บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ไม่
เคยไปด้วยยานเหล่านี้หาได้ไม่ ความว่า บุคคลไรๆ พึงไปสู่ทิศคือนิพพาน
ที่ไม่เคยไป เพราะไม่เคยไปแม้แต่ฝันด้วยยานอันสูงสุด มียานช้างเป็นต้น
หาได้ไม่ โดยที่บุคคลผู้มีปัญญาหมดพยศฝึกแล้วด้วยการฝึกอินทรีย์ในเบื้อง
ต้น ภายหลังฝึกดีแล้วด้วยอริยมรรคภาวนา ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปนั้นได้
คือ ถึงภูมิที่ตนฝึกแล้ว เพราะฉะนั้น การฝึกตนนั่นแลประเสริฐกว่า.
บทว่า วิธาสุ น วิกมฺปติ คือ พระขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่หวั่น
ไหวในส่วนของมานะ ๙ อย่าง. บทว่า วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา พ้นจาก
การเกิดอีก คือ พ้นด้วยดีจากกรรมกิเลสด้วยสมุจเฉทวิมุตติ. บทว่า
ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว คือ บรรลุพระอรหัตผลตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 149
อยู่แล้ว. บทว่า เต โลเก วิชิตาโน พระขีณาสพเหล่านั้นเป็นผู้ชนะ
แล้วในโลก คือ พระขีณาสพดังกล่าวแล้วนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ชนะแล้วใน
สัตวโลก. บทว่า ยสฺสนฺทฺริยานิ ภาวิตานิ พระขีณาสพเป็นผู้เจริญ
อินทรีย์แล้ว คือ พระขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้นให้
บรรลุถึงอรหัตผล. บทว่า อชฺฌติตญฺจ พหิทฺธา จ อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก คือ ทำอายตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้น และ
อายตนะภายนอกมีรูปายตนะเป็นต้น ให้หมดพยศ. บทว่า สพฺพโลเก
ในโลกทั้งปวง คือ ในโลกมีธาตุ ๓ ทั้งสิ้น. บทว่า นิพฺพิชฺฌ อิมญฺจ
ปรญฺจ โลก พระขีณาสพนั้นล่วงแล้วซึ่งโลกนี้และโลกอื่น คือ พระ-
ขีณาสพล่วงอัตภาพนี้และอัตภาพในโลกอื่นตั้งอยู่แล้ว. บทว่า กาล
กงฺขติ ภาวิโต สุทนฺโต มีธรรมอันให้เจริญแล้ว ฝึกแล้วย่อมหวังมรณ-
กาล คือ พระขีณาสพนั้น ฝึกแล้วตั้งต้นแต่จักขวายตนะ มีจิตเจริญแล้ว
ย่อมปรารถนามรณกาล.
บทว่า เยส ธมฺมาน อาทิโต สมุทาคมน ปญฺายติ ธรรมเหล่า
ใด มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นปรากฏ คือธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่าใด มี
ความเกิดขึ้นปรากฏ. บทว่า อตฺถงฺคมโต นิโรโธ คือ ความไม่มีธรรม
เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งการดับปรากฏ. บทว่า ธมฺมสนฺนิสฺสิโต วิปาโก
วิบากอาศัยกรรม คือวิบากอาศัยกุศลกรรมและอกุศลกรรม ชื่อว่าวิบาก
อาศัยกรรม เพราะไม่ปล่อยกรรมเป็นไป. บทว่า นามสนฺนิสฺสิต รูป
รูปอาศัยนาม คือ รูปทั้งหมดชื่อว่าอาศัยนาม เพราะยึดถือนามเป็นไป.
บทว่า ชาติยา อนุคต นามรูปไปตามชาติ คือ นามรูปมีกรรมเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 150
ทั้งหมด เข้าไปตามชาติ. บทว่า ชราย สนุสฏ ชราก็ติดตาม คือถูกชรา
ครอบงำ. บทว่า พฺยาธินา อภิภูต พยาธิก็ครอบงำ คือถูกพยาธิทุกข์
ย่ำยี. บทว่า มรเณน อพฺภาหต คือ ถูกมรณะเบียดเบียน. บทว่า อตาณ
ไม่มีอะไรต้านทาน คือไม่มีอะไรต้านทาน เพราะบุตรเป็นต้นก็ต้านทาน
ไม่ได้ ไม่มีการรักษา ไม่ได้รับความปลอดภัย. บทว่า อเลณ ไม่มี
อะไรเป็นที่เร้น คือไม่อาจหลีกเร้นอาศัยอยู่ คือทำกิจเป็นที่หลีกเร้นไม่ได้.
บทว่า อสรณ ไม่มีอะไรเป็นสรณะ คือผู้อาศัยจะนำภัยออกไปก็ไม่ได้ จะ
ทำภัยให้พินาศไปก็ไม่ได้. บทว่า อสรณีภูต ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง คือ
ไม่มีที่พึ่ง เพราะความไม่มีของตนแต่การเกิดในกาลก่อน อธิบายว่า
ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งตลอดกาลที่เกิดนั่นเอง.
ศัพท์ว่า อ ในบทว่า อปุจฺฉสิ นี้ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ทำ
บทให้เต็ม แปลว่า ย่อมถามเท่านั้น. บทว่า ปวกฺขามิ ยถา ปชาน
เราจะบอกตามที่เรารู้ คือเรารู้อย่างใดก็จักบอกอย่างนั้น. บทว่า อุปธิ-
นิทานา ปภวนฺติ ทุกฺขา ทุกข์ทั้งหลายมีอุปธิเป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น คือทุกข์
พิเศษ มีชาติทุกข์เป็นต้น มีอุปธิคือตัณหาเป็นต้นเป็นเหตุย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า ตณฺหูปธิ ความว่า ตัณหานั้นแล ชื่อว่า ตัณหูปธิ. สัสสตทิฏฐิและ
อุจเฉททิฏฐินั่นแล ชื่อว่า ทิฏฐูปธิ. กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้นแล ชื่อว่า
กิเลสูปธิ. กรรมมีบุญเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า กัมมูปธิ. ทุจริต ๓ อย่างนั่นแล
ชื่อว่า ทุจจริตูปธิ. อาหารมีกพฬีการาหารเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อาหารูปธิ.
โทสะและปฏิฆะนั่นแล ชื่อว่า ปฏิฆูปธิ. ธาตุ ๔ มีปฐวีธาตุเป็นต้นที่กรรม
ถือเอา มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั่นแล ชื่อว่า อุปธิคืออุปาทินนธาตุ ๔.
อายตนะภายใน ๖ มีจักขวายตนะเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อายตนูปธิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 151
หมวดวิญญาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อุปธิคือหมวด
วิญญาณ ๖. บทว่า สพฺพมฺปิ ทุกฺข ทุกฺขมนฏฺเน คือทุกข์แม้ทั้งหมด
อันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปธิ เพราะอรรถว่า ยากที่จะทนได้.
เมื่อทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะมีอุปธิเป็นเหตุอย่างนี้ พึงทราบคาถา
มีอาทิว่า โย เว อวิทฺวา ผู้ใดแลมิใช่ผู้รู้ดังนี้ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปชาน รู้อยู่ คือบุคคลผู้รู้อยู่ซึ่งสังขาร
ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขสฺส ชาติปฺป-
ภวานุปสฺสี เป็นผู้พิจารณาเหตุแห่งทุกข์ คือพิจารณาว่าอุปธิเป็นเหตุเกิด
แห่งทุกข์ในวัฏฏะ ในนิเทศแห่งคาถานี้ไม่มีคำที่จะพึงกล่าว.
บทว่า โสกปริทฺเทวญฺจ คือ ความโศกและความร่ำไร. บทว่า
ตถา หิ เต วิทิโต เอส ธมฺโม แท้จริงธรรมนั้นอันพระองค์ทรง
ทราบแล้ว คือธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วด้วยอำนาจแห่งการ
ดำรงอยู่ของญาณ โดยอาการที่สัตว์ทั้งหลายรู้. ในบทเหล่านั้น บทว่า
ตรนฺติ ย่อมข้าม คือย่อมข้ามทิฏโฐฆะด้วยปฐมมรรค. บทว่า อุตฺตรนฺติ
ย่อมข้ามขึ้น คือย่อมข้ามขึ้นด้วยการทำกาโมฆะให้เบาบางด้วยทุติยมรรค.
บทว่า ปตรนฺติ ย่อมข้ามพ้น คือข้ามกาโมฆะนั่นแลโดยพิเศษด้วยตติย-
มรรค ด้วยอำนาจแห่งการละไม่ให้เหลือ. บทว่า สมติกฺกมนฺติ ย่อม
ก้าวล่วง คือก้าวล่วงโดยชอบด้วยจตุตถมรรคด้วยอำนาจแห่งการละภโวฆะ
และอวิชโชฆะ. บทว่า วีติวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไปล่วง คือบรรลุผลตั้งอยู่.
บทว่า กิตฺติยิสฺสามิ เต ธมฺม เราจักบอกธรรมแก่ท่าน คือเราจัก
แสดงนิพพานธรรม และธรรมอันเป็นปฏิปทาให้เข้าถึงนิพพานแก่ท่าน.
บทว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ในธรรมมีทุกข์เป็นต้นที่เราเห็นแล้ว คือในอัตภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 152
นี้. บทว่า อนีติห คือ ประจักษ์แก่ตน. บทว่า ย วิทิตฺวา รู้ชัดแล้ว
คือพิจารณารู้ชัดธรรมใด โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทิกลฺยาณ งามในเบื้องต้น คือเราแม้
ละแล้วก็จักบอกธรรมอันเป็นความสุขเกิดแต่วิเวก หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
แก่ท่าน เมื่อเราบอกธรรมนั้นน้อยก็ตาม มากก็ตาม จักบอกประการมี
ธรรมงามในเบื้องต้นเป็นต้นแก่ท่าน. อธิบายว่า เราจักประกาศธรรมทำ
ให้งามให้เจริญให้ไม่มีโทษในเบื้องต้น แม้ในท่ามกลาง แม้ในที่สุด เรา
ก็จักประกาศธรรมทำให้เจริญ ทำให้ไม่มีโทษเหมือนกัน.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแม้คาถาหนึ่งใด คาถานั้น
งามในเบื้องต้นด้วยบาทแรกของธรรม งามในท่ามกลางด้วยบาทที่สอง
ที่สาม งามในที่สุดด้วยบาทที่สี่ เพราะเป็นคาถาที่เจริญครบถ้วน.
พระสูตรที่มีอนุสนธิเป็นอันเดียวกัน งามในเบื้องต้นด้วยนิทาน งามใน
ที่สุดด้วยบทสรุป ง่ามในท่ามกลางด้วยบทที่เหลือ. พระสูตรที่มีอนุสนธิ
ต่าง ๆ กัน งามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิที่หนึ่ง งามในที่สุดด้วยอนุสนธิ
สุดท้าย งามในท่ามกลางด้วยอนุสนธิที่เหลือ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะมีนิทานและมีเรื่องราว
ที่เกิดขึ้น ชื่อว่างามในท่ามกลาง เพราะมีอรรถไม่วิปริต และเพราะ
ประกอบด้วยการยกเหตุขึ้นมาอ้าง โดยอนุรูปแก่เวไนยสัตว์. ชื่อว่า
งามในที่สุด เพราะทำให้ผู้ฟังทั้งหลายได้เกิดศรัทธา และเพราะบทสรุป.
จริงอยู่ ศาสนธรรมทั้งสิ้นงามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นประโยชน์
ของตน งามในท่ามกลางด้วยสมถะ วิปัสสนา มรรค และผล งามใน
ที่สุดด้วยนิพพาน. หรืองามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ งามในท่ามกลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 153
ด้วยวิปัสสนาและมรรค งามในที่สุดด้วยผลและนิพพาน. หรือชื่อว่างาม
ในเบื้องต้น เพราะเป็นการตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า ชื่อว่างามใน
ท่ามกลาง เพราะพระธรรมเป็นธรรมดี ชื่อว่างามในที่สุด เพราะเป็น
การปฏิบัติดีของสงฆ์.
ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะอภิสัมโพธิญาณ อันผู้ฟังธรรมนั้น
ปฏิบัติ เพื่อความเป็นอย่างนั้นแล้วพึงบรรลุ ชื่อว่างามในท่ามกลาง
เพราะปัจเจกโพธิญาณ (รู้เฉพาะตัว) ชื่อว่างามในที่สุด เพราะสาวก
โพธิญาณ. ธรรมอันผู้ฟังนั้นย่อมนำความงามมาให้แม้ด้วยการฟัง เพราะ
ข่มนิวรณ์เสียได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า งามในเบื้องต้น. ธรรมอันผู้
ปฏิบัติอยู่ ย่อมนำความงามมาให้แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะนำความสุข
อันเกิดแต่สมถะและวิปัสสนามาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า งามในท่าม-
กลาง. เมื่อผลแห่งการปฏิบัติสำเร็จลงแล้ว ย่อมนำความงามมาให้แก่
ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ๆ แม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติ เพราะนำมาซึ่งความเป็น
ผู้คงที่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า งามในที่สุด.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรมใด ย่อมประกาศ
ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์ ย่อมทรงแสดงโดยนัยต่าง ๆ.
ย่อมทรงแสดงธรรมตามสมควร คือพร้อมทั้งอรรถ เพราะสมบูรณ์ด้วย
อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะสมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ พร้อมทั้งอรรถ
เพราะประกอบพร้อมด้วยการชี้แจง การประกาศ เปิดเผย จำแนก ทำ
ให้ง่าย บัญญัติและบทแห่งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะสมบูรณ์
ด้วยบทอักษร บทพยัญชนะ ภาษา และนิเทศ พร้อมทั้งอรรถ เพราะ
ลึกซึ่งด้วยอรรถ ลึกซึ้งด้วยปฏิเวธ พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะลึกซึ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 154
ด้วยธรรม ลึกซึ้งด้วยเทศนา พร้อมทั้งอรรถ เพราะเป็นวิสัยแห่งอรรถ-
ปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทา พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะเป็นวิสัย
แห่งธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา พร้อมทั้งอรรถ เพราะเป็นที่
เลื่อมใสแก่ชนผู้ตรวจสอบ โดยความเป็นผู้ฉลาด พร้อมทั้งพยัญชนะ
เพราะเป็นที่เลื่อมใสแก่โลกิยชน โดยความเป็นผู้เชื่อถือ พร้อมทั้งอรรถ
โดยอธิบายได้ลึกซึ้ง พร้อมทั้งพยัญชนะ โดยบทที่ยาก บริบูรณ์สิ้นเชิง
เพราะไม่มีข้อที่ควรนำเข้าไปได้อีกโดยบริบูรณ์ทุกอย่าง. บริสุทธิ์ เพราะ
ไม่มีข้อที่ควรตัดออกไปโดยความไม่มีโทษ.
อีกอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งอรรถ เพราะเฉียบแหลมในความสำเร็จ
แห่งการปฏิบัติ พร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะเฉียบแหลมในการศึกษา
คัมภีร์แห่งปริยัติ บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ มี
ศีลขันธ์เป็นต้น บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส เพราะเป็นไปเพื่อต้องการ
ข้ามไป และเพราะไม่เพ่งต่อโลกามิส ชื่อว่าเป็นพรหมจรรย์ เพราะอัน
ผู้ประเสริฐเป็นดุจพรหมควรประพฤติ และเพราะเป็นธรรมที่ควรประพฤติ
เพราะกำหนดด้วยไตรสิกขา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงปริยัติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อ
ทรงแสดงถึงโลกุตรธรรม จึงตรัสว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา ดังนี้เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการแล้ว
เพื่อทรงแสดงโลกุตรธรรมอันเกิดขึ้นแล้ว จึงตรัสว่า นิพฺพานญฺจ ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า นิพฺพานคามินิญฺจ ปฏิปท ปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราจักบอกธรรมคือศีลสมาธิและวิปัสสนาอันเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 155
ส่วนเบื้องต้น. บทว่า ทุกฺเข ทิฏฺเ ทุกข์ในทุกข์ที่เราเห็นแล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า เราจักบอกทุกขสัจในทุกขสัจที่เราเห็นแล้ว พร้อม
ด้วยรสและลักษณะ. แม้ในสมุทัยเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ตญฺจาห อภินนฺทามิ ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของ
พระองค์นั้น เมตตคูทูลว่า ข้าพระองค์ปรารถนาพระดำรัสของพระองค์
เพื่อรู้ธรรมที่พระองค์ตรัสนั้น. บทว่า ธมฺมมุตฺตม ธรรมอันอุดม คือ
ข้าพระองค์ชอบใจธรรมอันอุดมนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มหโต ตโมกายสฺส ปทาลน ทำลายกองมืด
ใหญ่ คือตัดอวิชชาใหญ่. แสวงหาด้วยอนิจจลักษณะ เสาะหาด้วยทุกข-
ลักษณะ สืบหาด้วยอนัตลักษณะโดยรอบ. บทว่า มหโต วิปลฺลาสสฺส
ปเภทน คือ ทำลายวิปลาสใหญ่ ๑๒ อย่าง โดยมีอาทิว่า อสุเภ สุภ เห็นใน
สิ่งไม่งามว่างามดังนี้. บทว่า มหโต ตณฺหาสลฺลสฺส อพฺพูหน ถอน
ลูกศรคือตัณหาใหญ่ คือถอนหนามคือตัณหาใหญ่เพราะเจาะแทงใน
ภายใน. บทว่า ทิฏฺิสงฺฆาฏสฺส วินิเวธน ตัดความสืบต่อทิฏฐิใหญ่
คือความสืบต่อ เพราะอรรถว่า ติดต่อกันไปโดยไม่ขาดสายแห่งทิฏฐิ การ
กลับความสืบต่อทิฏฐินั้น. บทว่า มานทฺธชสฺส ปาตน ให้มานะเป็นธง
ตกไป คือให้มานะเป็นเช่นธงมีลักษณะเย่อหยิ่ง เพราะอรรถว่า ยกขึ้นตก
ไป. บทว่า อภิสงฺขารสฺส วูปสม ระงับอภิสังขาร คือระงับอภิสังขาร
มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. บทว่า โอฆสฺส นิตฺถรณ สละโอฆะใหญ่ คือ
ถอนซัดไปซึ่งโอฆะมีกาโมฆะเป็นต้น อันให้สัตว์จมในวัฏฏะ. บทว่า
ภารสฺส นิกฺเขปน ปลงภาระใหญ่ คือซัดทิ้งภาระคือเบญจขันธ์มีรูป
เป็นต้น. บทว่า สสารวฏฺฏสฺส อุปจฺเฉท ตัดสังสารวัฏใหญ่ คือตัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 156
สังสารวัฏอันเป็นไปแล้วด้วยการท่องเที่ยวไปตามลำดับ มีขันธ์เป็นต้น.
บทว่า สนฺตาปสฺส นิพฺพาปน ให้ความเร่าร้อนดับไป คือดับความเร่า-
ร้อนคือกิเลส. บทว่า ปริฬาหสฺส ปฏิปสฺสทฺธึ สงบระงับความเดือนร้อน
คือสงบระงับความเร่าร้อนคือกิเลส. บทว่า ธมฺมทฺธชสฺส อุสฺสาปน ยก
ขึ้นซึ่งธรรมเป็นดุจธง คือยกโลกุตรธรรม ๙ ประการตั้งไว้. บทว่า ปรมตฺถ
อมต นิพฺพาน ซึ่งอมตนิพพานเป็นปรมัตถ์ คือชื่อว่า ปรมัตถะ เพราะ-
อรรถว่า สูงสุด. ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย. ชื่อว่า อมตะ เพราะ
เป็นยาห้ามพิษคือกิเลสบ้าง. ชื่อว่า นิพพาน เพราะดับความครอบงำใน
สังสารทุกข์. ชื่อว่า นิพพาน เพราะไม่มีเครื่องร้อยรัดคือตัณหาในนิพพาน
นี้บ้าง. บทว่า มเหสกฺเขหิ สตฺเตหิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ คือท้าว
สักกะเป็นต้นผู้มีอานุภาพใหญ่ยิ่ง. บทว่า ปริเยสิโต คือ แสวงหาแล้ว.
บทว่า กห เทวเทโว คือ เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาทั้งหลายอยู่ที่ไหน. บทว่า
นราสโภ คือ บุรุษผู้สูงสุด.
บทว่า อุทฺธ ชั้นสูง ในบทนี้ว่า อุทฺธ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ
ชั้นสูง ชั้นต่ำ ชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านกล่าวถึงทางยาวนานในอนาคต.
บทว่า อโธ คือ ทางยาวนานในอดีต. บทว่า ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ คือ
ทางยาวนานในปัจจุบัน. บทว่า เอเตสุ นนฺทิญฺจ นิเวสนญฺจ ปนุชฺช
วิญฺาณ ท่านจงบรรเทาความยินดี ความพัวพันและวิญญาณในธรรม
เหล่านี้ คือท่านจงบรรเทาตัณหาความพัวพัน ความถือทิฏฐิ และอภิสังขาร
วิญญาณ ในธรรมชั้นสูงเป็นต้นเหล่านี้ ครั้นบรรเทาได้แล้วไม่ตั้งอยู่ในภพ
คือว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่พึงตั้งอยู่ในภพแม้สองอย่าง. ศัพท์ว่า ปนุชฺช
พึงเชื่อมในอรรถวิกัปนี้ว่า ปนุเทหิ. บทว่า ปนุทิตฺวา ในอรรถวิกัปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 157
พึงเชื่อมความว่า ภเว น ติฏฺเ ไม่พึงตั้งอยู่ในภพ. เอาความว่า ครั้น
บรรเทาความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณเหล่านี้ได้แล้ว ไม่พึงตั้งอยู่
ในภพแม้สองอย่าง.
ในบทเหล่านั้นบทว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล คือธรรมเป็น
กุศลตรัสว่าชั้นสูง เพราะละอบายแล้วให้ปฏิสนธิในเบื้องบน. ธรรมเป็น
อกุศลตรัสว่าชั้นต่ำ. เพราะให้ปฏิสนธิในอบายทั้งหลาย. อัพยากตธรรม
ตรัสว่าชั้นกลางส่วนกว้าง. เทวโลกพร้อมด้วยโอกาสโลกตรัสว่าชั้นสูง.
อบายโลกตรัสว่าชั้นต่ำ. มนุษยโลกตรัสว่าชั้นกลาง. สุขเวทนาตรัสว่าชั้น
สูง ด้วยให้เกิดอาพาธทางกายและจิต. ทุกขเวทนาตรัสว่าชั้นต่ำ ด้วยให้
ถึงทุกข์. อทุกขมสุขเวทนาตรัสว่าชั้นกลาง ด้วยอำนาจแห่งความไม่ทุกข์
ไม่สุข. อรูปธาตุตรัสว่าชั้นสูง ด้วยอยู่เบื้องบนธรรมทั้งปวง. กามธาตุ
ตรัสว่าชั้นต่ำ ด้วยอยู่ชั้นต่ำกว่าธรรมทั้งปวง. รูปธาตุตรัสว่าชั้นกลาง
ด้วยอยู่ระหว่างธรรมทั้งสองนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการกำหนด ด้วยอำนาจแห่ง
อัตภาพ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อุทฺธนฺติ อุทธ ปาทตลา ตั้งแต่
พื้นเท้าถึงส่วนเบื้องบนตรัสว่าชั้นสูง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทธ ปาทตลา คือ ส่วนเบื้องบนตั้งแต่พื้น
เท้าขึ้นไป บทว่า อโธ เกสมตฺถกา ส่วนเบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา.
บทว่า มชฺเณ ชั้นกลางคือระหว่างทั้งสอง. บทว่า ปุญฺาภิสงฺขาร-
สหคต วิญฺาณ วิญญาณสหรคตด้วยปุญญาภิสังขาร คือกรรมวิญญาณ
อันสัมปยุตด้วยปุญญาภิสังขาร ๑๓ ประเภท. บทว่า อปุญฺาภิสงฺขารสหคต
วิญฺาณ วิญญาณสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร คือกรรมวิญญาณที่สัมปยุต
ด้วยอปุญญาภิสังขาร ๑๒ ประเภท. บทว่าอเนญฺชาภิสงฺขารสหคต วิญฺาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 158
วิญญาณสหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร คือกรรมวิญญาณอันสหรคตด้วย
อเนญชาภิสังขาร ๔ ประเภท. บทว่า นุชฺช จงบรรเทา คือจงซัดไป.
บทว่า ปนุชฺช คือ จงสลัดไป. บทว่า นุท คือ จงดึงออก. บทว่า ปนุท
คือจงถอนทิ้ง. บทว่า ปชห คือ จงละ. บทว่า วิโนเทหิ คือ จงทำ
ให้ไกล. บทว่า กมฺมภวญฺจ กรรมภพ คือเจตนามีปุญญาภิสังขารเป็นต้น.
บทว่า ปฏิสนฺธิกญฺจ ปุนพฺภว ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ คือภพใหม่มี
รูปภพเป็นต้นแห่งปฏิสนธิ. ละด้วยปฐมมรรค. บรรเทาด้วยทุติยมรรค.
ทำให้สิ้นไปด้วยตติยมรรค. ให้ถึงความไม่มีด้วยจตุตถมรรค. บทว่า
กมฺมภเว น ติฏฺเยฺย ไม่พึงตั้งอยู่ในกรรมภพ คือ ไม่พึงตั้งอยู่ใน
อภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น.
ภิกษุนั้น ครั้นบรรเทาความยินดี ความพัวพัน และวิญญาณ
เหล่านั้นได้แล้ว. ไม่ตั้งอยู่ในภพ. พึงทราบคาถามีอาทิว่า เอว วิหารี
ภิกษุมีปกติประพฤติอยู่อย่างนี้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้ หรือในอัตภาพนี้แล.
นิเทศแห่งคาถานี้มีความง่ายทั้งนั้น.
บทว่า นูปธิก เป็นธรรมไม่มีอุปธิ ในบทนี้ว่า สุกิตฺติต โคตม
นูปธิก ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสของพระองค์ที่ตรัส
ไว้ดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิคือ นิพพาน. เมตตคูมาณพ เมื่อจะทูล
สนทนากะพระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงนิพพานนั้น จึงทูลว่า สุกิตฺติต
โคตม นูปธิกดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า กิเลสา จ
คือ กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะอรรถว่า ทำให้เดือดร้อน เบญจ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 159
ขันธ์อันเป็นวิบาก เพราะอรรถว่า เป็นกอง และเจตนาคืออภิสังขารมีกุศล
เป็นต้น ท่านเรียกว่าอุปธิ. ละอุปธิด้วยตทังคปหาน. สงบอุปธิด้วย
วิกขัมภนปหาน. สละอุปธิด้วยสมุจเฉทปหาน. สงบอุปธิด้วยผล.
มิใช่ละทุกข์ได้อย่างเดียวเท่านั้น พึงทราบคาถาต่อไปว่า เต จาปิ
ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิต คือ โดยความเคารพหรือ
โดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ตนฺต นมสฺสามิ คือ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์
จักขอนมัสการพระองค์. บทว่า สเมจฺจ คือ เข้าไปใกล้. เมตตคูมาณพ
ทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระนาคะ ผู้ประเสริฐ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า สเมจฺจ คือ รู้ หรือ
เป็นอยู่ร่วมกัน. บทว่า อภิสเมจฺจ คือ รู้แจ้งแทงตลอด. บทว่า
สมาคนฺตวา คือ อยู่พร้อมหน้ากัน. บทว่า อภิสมาคนฺตฺวา คือ เข้าไป
ใกล้. บทว่า สมฺมุขา คือ ต่อหน้า. บทว่า อาคุ น กโรติ คือ ไม่
กระทำบาป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พราหมณ์นั้นรู้อย่างนี้ว่า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละทุกข์ได้แน่นอน ก็ยังไม่น้อมตนเข้าไป เมื่อจะ
ตรัสสอนพราหมณ์ ด้วยบุคคลผู้ละทุกข์ได้แล้ว จึงตรัสคาถาว่า ย
พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นอาทิ.
บทนั้นมีความดังนี้ บุคคลพึงรู้จักผู้ใดว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์ เพราะ
ลอยบาปได้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ถึงเวท เพราะไปด้วยเวททั้งหลาย ชื่อว่า
เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล เพราะล่วงกิเลสเครื่องกังวลได้แล้ว ชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ข้องในกามภพ เพราะไม่ติดอยู่ในกามและในภพดังนี้ ผู้นั้นได้
ข้ามโอฆะนี้ และเป็นผู้ข้ามถึงฝั่ง ไม่มีเสาเขื่อนนี้ ไม่มีความสงสัยโดยแท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 160
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ราค-
กิญฺจน เครื่องกังวลคือราคะ ได้แก่เครื่องห่วงใยคือราคะ แม้ในบทว่า
โทสกิญฺจน เป็นอาทิ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ข้ามกาโมฆะได้ด้วยอนาคามิ-
มรรค. ข้ามทิฏโฐฆะได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ข้ามอวิชโชฆะได้ด้วย
อรหัตมรรค. ข้ามคลองแห่งสงสารทั้งหมดได้ด้วยการตัดกุศลกรรมและ
อกุศลกรรม. ข้ามขึ้นไปได้ด้วยปฐมมรรค. ข้ามออกไปได้ด้วยทุติยมรรค.
ก้าวล่วงไปด้วยตติยมรรค. ก้าวพ้นไปได้ด้วยจตุตถมรรค. ล่วงเลยไปแล้ว
ด้วยผล. มีอะไรอีก. มีซิ. พึงทราบคาถามีอาทิว่า วิทฺวา จ โย ผู้ใดมี
ความรู้ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในศาสนานี้หรือในอัตภาพนี้.
บทว่า วิสชฺช คือ สละแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า สชฺช คือปล่อย. บทว่า
วิสชฺช คือ สละ. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดแห่ง
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้ตรัสรู้ธรรมเช่นกับที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาเมตตคูมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 161
โธตกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ
[๒๐๓] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้า-
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมอันใหญ่ ข้า-
พระองค์ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์ บุคคลได้ฟัง
พระดำรัสของพระองค์แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๐๔] คำถามในคำว่า ปุจฺฉามิ ในอุเทศว่า " ปุจฺฉามิ ต ภควา
พฺรุหิ เม ต " ดังนี้ มี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐ-
สังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ ฯ ล ฯ ปุจฉา ๓ อย่างนี้ ฯ ล ฯ
ถามถึงนิพพาน.
คำว่า ปุจฺฉามิ ต ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือทูลวิงวอน
ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ประสาทปัญหานี้ว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา
นั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหา
นั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า พฺรูหิ เม ต ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
โปรดบอก . . . ขอทรงโปรดประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 162
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
คำว่า อิจฺจ ในอุเทศว่า " อิจฺจายสฺมา โธตโก " ดังนี้ เป็น
บทสนธิ. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า โธตโก
เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ท่านพระโธตกะทูลถามว่า.
[๒๐๕] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ข้าพระองค์
ย่อมหวังพระวาจาของพระองค์ มีความว่า ข้าพระองค์ย่อมหวัง คือย่อม
จำนง ปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งพระดำรัส คือ
คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า มเหสี ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะอรรถว่า กระไร ชื่อว่า
มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา
ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ ฯ ล ฯ พระนราสภประทับที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มเหสี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ข้า-
พระองค์ย่อมหวังเฉพาะซึ่งพระวาจาของพระองค์.
[๒๐๖] คำว่า บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ความว่า
บุคคลได้ฟัง คือ ได้ยิน ศึกษา เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่ง
พระดำรัส คือ คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิของพระองค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว.
[๒๐๗] สิกขา ในคำว่า สิกฺเข ในอุเทศว่า " สิกฺเข นิพฺพาน-
มตฺตโน " ดังนี้ มี ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่ออธิปัญญาสิกขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 163
คำว่า นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พึงศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต
แม้อธิปัญญา เพื่อดับราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ เพื่อสงบ
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบวิเศษ เพื่อดับ เพื่อสละคืน เพื่อระงับ ฯ ล ฯ
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เมื่อนึกถึงสิกขา ๓ อย่างนี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึง
ศึกษา เมื่อเห็นก็พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิตก็พึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประคองความเพียรก็พึง
ศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ด้วยปัญญา
ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ด้วยปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ก็พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึง
ศึกษา สมาทานประพฤติ สมาทานปฏิบัติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงศึกษานิพพานเพื่อตน เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาธรรมอันใหญ่ ข้าพระองค์ย่อม
หวังพระวาจาของพระองค์ บุคคลได้ฟังพระดำรัสของ
พระองค์แล้ว พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๐๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเป็นผู้มีปัญญา มีสติ ทำความ
เพียรในทิฏฐินี้นี่แหละ บุคคลได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว
พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 164
[๒๐๙] คำว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง . . . ทำความเพียร ความว่า
ท่านจงทำความเพียร ทำความหมั่น ทำความเป็นผู้มีความหมั่น ทำความ
พยายาม ทำความทรงจำ ทำความเป็นผู้กล้า ยังฉันทะให้เกิด ให้เกิด
พร้อม ให้เข้าไปตั้งไว้ ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง . . . ทำความเพียร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โธตกะ ใน
อุเทศว่า โธตกาติ ภควา.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๑๐] คำว่า อิธ ในอุเทศว่า " อิเธว นิปฺปโก สโต " ดังนี้
คือในทิฏฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความถือนี้ ในธรรม
นี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุ-
ศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษยโลกนี้.
คำว่า นิปโก ความว่า เป็นผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต มีความรู้
มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า สโต ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญ
สติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ ผู้นั้นตรัสว่า มีสติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา มีสติ . . . ในทิฏฐินี้นี่แหละ.
[๒๑๑] คำว่า ได้ฟังคาแต่ปากเรานี้แล้ว ความว่า ได้ยิน คือ
ได้ฟัง ศึกษา เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งถ้อยคำ คำเป็นทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 165
เทศนา อนุสนธิ ของเรา แต่ปากเรานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล
ได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว.
[๒๑๒] สิกขา ในคำว่า สิกฺเข ในอุเทศว่า " สิกฺเข นิพฺพาน-
มตฺตโน " ดังนี้ มี ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
ฯ ล ฯ นี้ ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.
คำว่า นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พึงศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต
แม้อธิปัญญา . . . สมาทานปฏิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงศึกษา
นิพพานเพื่อตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเป็นผู้มีปัญญา มีสติ ทำความ
เพียรในทิฏฐินี้นี่แหละ บุคคลได้ฟังคำแต่ปากเรานี้แล้ว
พึงศึกษานิพพานเพื่อตน.
[๒๑๓] ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพ ผู้ไม่มีเครื่อง
กังวล เป็นพราหมณ์ เที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ข้าแต่
พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
พระองค์นั้น ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้อง
ข้าพระองค์ จากความสงสัยทั้งหลาย.
[๒๑๔] เทพ ในคำว่า เทว ในอุเทศว่า " ปสฺสามห เทว-
มนุสฺสโลเก " ดังนี้ มี ๓ คือ สมมติเทพ ๑ อุปบัติเทพ ๑ วิสุทธิ-
เทพ ๑.
สมมติเทพเป็นไฉน พระราชา พระราชกุมารและพระเทวี เรียก
ว่า สมมติเทพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 166
อุปบัติเทพเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เทวดาชั้นดาวดึงส์
เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม และเทวดาในชั้นที่สูงกว่านั้น
เรียกว่า อุปบัติเทพ.
วิสุทธิเทพเป็นไฉน พระอรหันตขีณาสพสาวกของพระตถาคต
และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เรียกว่า วิสุทธิเทพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทพ เป็นเทพยิ่งกว่าสมมติเทพ กว่าอุบัติ
เทพ และกว่าวิสุทธิเทพทั้งหลาย เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสีหะยิ่งกว่า
สีหะ เป็นนาคยิ่งกว่านาค เป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะ เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี
เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา.
คำว่า ปสฺสามห เทวมนุสฺสโลเก ความว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็น
พระองค์ผู้เป็นเทพ คือ ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นอติเทพ ย่อมเห็น ย่อมดู
ย่อมแลดู ย่อมเพ่งดู ย่อมเข้าพิจารณาซึ่งพระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพ ... ใน
มนุษยโลก.
[๒๑๕] คำว่า อกิญฺจน ในอุเทศว่า " อกิญฺจน พฺราหฺมณ
อริยมาน " ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส
ทุจริต เป็นเครื่องกังวล เครื่องกังวลเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน
ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีเครื่องกังวล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 167
คำว่า พฺราหฺมณ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นพราหมณ์
เพราะทรงลอยธรรม ๗ ประการแล้ว คือ ทรงลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพัตตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทรงลอยธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอกุศลอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ
ต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสภิยะ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ลอยเสียแล้วซึ่งธรรมอันลามก
ทั้งปวง ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่น มีจิตคงที่ ล่วงแล้ว
ซึ่งสงสาร เป็นผู้บริบูรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่า เป็น
ผู้ประเสริฐ.
คำว่า อริยมาน ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
รักษา เป็นไป เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล เป็น
พราหมณ์เที่ยวไป.
[๒๑๖] โธตกพราหมณ์กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ต ในอุเทศ
ว่า " ตนฺต นมสฺสามิ สมนฺตจกฺขุ " ดังนี้.
คำว่า นมสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอนมัสการด้วยกาย ด้วย
วาจา ด้วยจิต ขอนมัสการด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นไปตามประโยชน์ หรือ
ขอนมัสการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาด้วยการปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 168
พระสัพพัญญุตญาณเรียกว่า สมันตจักษุ ในบทว่า สมนฺตจกฺขุ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง
เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น.
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ทรงเห็นอะไรๆน้อยหนึ่ง
ในโลกนี้ อนึ่ง ไม่ทรงรู้อะไร ๆ ที่ไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มีเลย
พระตถาคตทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ธรรมชาติใดที่ควร
แนะนำมีอยู่ พระตถาคตทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมชาตินั้นแล้ว
เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ข้าพระองค์
นมัสการพระองค์.
[๒๑๗] คำว่า สกฺก ในอุเทศว่า " ปมุญฺจ ม สกฺก กถกถาหิ "
ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้
จึงชื่อว่า สักกะ อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ พระองค์มีทรัพย์
เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือ
โอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์
ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์
คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้ามั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ ด้วย
รัตนทรัพย์หลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ อีก
อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ อาจหาญ มีความ
สามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 169
ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็น
ผู้ขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.
วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในทุกขสมุทัย ความ
สงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความสงสัย
ในเงื่อนเบื้องหน้า ความสงสัยในเงื่อนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในเงื่อน
เบื้องต้นและเงื่อนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ
ความที่สังขาราทิธรรมนี้เป็นปัจจัยแห่งกันและกัน ความสงสัย กิริยาที่
สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความไม่ตกลง ความเป็น
สองแง่ ความเป็นสองทาง ความลังเล ความไม่ถือเอาโดยส่วนเดียว
ความระแวง ความระแวงโดยรอบ ความตัดสินใจไม่ลง ความที่จิต
ครั่นคร้าม ใจสนเท่ห์เรียกว่า กถังกถา.
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์
จากความสงสัยทั้งหลาย ความว่า ขอพระองค์จงปลดเปลื้อง จงปล่อย
จงถอนขึ้น จงฉุดชัก จงให้ข้าพระองค์ออกไปจากลูกศร คือความสงสัย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดปล่อยข้า-
พระองค์จากความสงสัยทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงทูลว่า
ข้าพระองค์ย่อมเห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเจ้า ผู้ไม่มี
เครื่องกังวล เป็นพราหมณ์เที่ยวอยู่ในมนุษยโลก ข้าแต่
พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์
นั้น ข้าแต่พระสักกะ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระ-
องค์ จากความสงสัยทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 170
[๒๑๘] ดูก่อนโธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความ
สงสัยในโลกนี้ได้ ก็แต่ท่านเมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ
พึงข้ามโอฆะนี้ได้ด้วยความรู้อย่างนี้.
[๒๑๙] คำว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง ความว่า เราไม่อาจปลด
เปลื้อง แก้ ปล่อย ถอนขึ้น ฉุดชักท่านให้ออกจากลูกศร คือความ
สงสัยได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
อีกอย่างหนึ่ง เราไม่อาจ ไม่สามารถ ไม่อุตสาหะ ไม่พยายาม
ไม่กระทำความหมั่น ไม่กระทำความเป็นผู้มีความหมั่น ไม่กระทำเรี่ยว
แรง ไม่ทำความทรงจำ ไม่ทำความเพียร ไม่ยังฉันทะให้เกิด ให้เกิด-
พร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพื่อจะแสดงธรรมกะบุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีฉันทะ ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ไม่ปฏิบัติตาม แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลนั้นพึงปลดเปลื้องได้ ก็ไม่ต้องมีใคร ๆ อื่น
ช่วยปลดเปลื้อง บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันชอบ ปฏิปทา
สมควร ปฏิปทาอันเป็นไปตามประโยชน์ ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม
ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น ของตน ด้วยเรี่ยวแรง
ของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น
ของบุรุษ อันเป็นส่วนของตนเอง พึงปลดเปลื้องได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ
บุคคลนั้นหนอ เป็นผู้ติดหล่มอยู่ด้วยตน จักถอนขึ้นซึ่งบุคคลอื่นผู้ติด
หล่มได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนจุนทะ บุคคลนั้นหนอ ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 171
ฝึก ไม่ได้ถูกแนะนำ ไม่ดับรอบแล้วด้วยตนเอง จักฝึกจักแนะนำให้บุคคล
อื่นให้ดับรอบได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้
จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้องได้.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
กรรมชั่วอันบุคคลทำด้วยตนเองแล้ว จักเศร้าหมอง
ด้วยตนเอง กรรมชั่วอันบุคคลไม่ทำด้วยตนเองแล้ว ย่อม
บริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์เฉพาะ
ตน ผู้อื่นจะช่วยชำระผู้อื่นให้บริสุทธิ์หาได้ไม่.
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์
นิพพานก็ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ หนทางนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้แนะนำก็ตั้ง
อยู่ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ สาวกทั้งหลายของเรา เราก็ตักเตือนอย่างนี้ พร่ำ
สอนอย่างนี้ บางพวกบรรลุนิพพานอันมีความสำเร็จส่วนเดียว บางพวก
ก็ไม่บรรลุ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ดูก่อน
พราหมณ์ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ใครถามทางแล้วก็บอกให้ บุคคล
ทั้งหลายปฏิบัติอยู่ด้วยตน พึงพ้นได้เอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า
เราไม่อาจปลดเปลื้อง.
[๒๒๐] คำว่า ดูก่อนโธตกะ ... ใคร ๆ ผู้มีความสงสัยในโลก
ความว่า ซึ่งบุคคลผู้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง มีความระแวง
มีความเห็นเป็นสองทาง มีวิจิกิจฉา.
คำว่า กญฺจิ ความว่า ใคร ๆ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 172
คำว่า โลเก ความว่า ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนโธตกะ ... ใคร ๆ ผู้มีความสงสัยในโลก.
[๒๒๑] คำว่า ก็แต่ ... เมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ ความว่า
อมตนิพพาน ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่อง
ร้อยรัด ตรัสว่าเป็นธรรมอันประเสริฐ.
คำว่า เสฏฺ ความว่า อันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน
อุดม.
คำว่า อาชานมาโน ความว่า รู้ทั่ว คือ รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ
แทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็แต่ ... รู้ทั่วธรรมอันประเสริฐ.
[๒๒๒] คำว่า ท่านพึงข้ามโอฆะนี้ด้วยความรู้อย่างนี้ ความว่า
ท่านพึงข้าม คือ พึงก้าวล่วง พึงเป็นไปล่วง ซึ่งโอฆะคือกาม โอฆะ
คือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา ด้วยความมารู้อย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้นโอฆะนี้ด้วยความรู้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนโธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความ
สงสัยในโลกนี้ ก็แต่ท่านเมื่อมารู้ธรรมอันประเสริฐ พึง
ข้ามโอฆะนี้ได้ด้วยความมารู้อย่างนี้.
[๒๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรงพระ-
กรุณา ตรัสสอนธรรมอันสงัดที่ข้าพระองค์พึงรู้ได้ ข้า-
พระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้
นี่แหละ ไม่อาศัยแล้วพึงเที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 173
[๒๒๔] คำว่า อนุสาส พฺรหฺเม ในอุเทศว่า " อนุสาส พฺรหฺเม
กรุณายมาโน " ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรด
ตรัสสอน คือ อนุเคราะห์ เอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดตรัสสอน.
คำว่า กรุณายมาโน ความว่า โปรดกรุณา ปรานี รักษา อนุเคราะห์
เอ็นดู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์
โปรดทรงพระกรุณาตรัสสอน.
[๒๒๕] อมตนิพพาน ... ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด
ตรัสว่าเป็นธรรมอันสงัด ในอุเทศว่า " วิเวกธมฺม ยมห วิชญฺ. "
คำว่า ยมห วิชญฺ ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้แจ้ง
พึงรู้แจ้งเฉพาะ พึงแทงตลอด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมอันสงัดที่
ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.
[๒๒๖] คำว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ ความว่า
ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง คือ ไม่ติด ไม่พัวพัน เหมือนอากาศอันไม่ขัดข้อง
คือ ไม่ติด ไม่พัวพัน ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง
เหมือนอากาศ ข้าพระองค์ไม่รัก ไม่ชัง ไม่หลง ไม่มัวหมอง เหมือน
อากาศที่ใคร ๆ ย้อมด้วยน้ำครั่ง น้ำขมิ้น น้ำสีเขียว น้ำสีฝาด ไม่ได้
ฉะนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง เหมือน
อากาศ ข้าพระองค์ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง
เหมือนอากาศ ไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 174
[๒๒๗] คำว่า อิเธว สนฺโต ในอุเทศว่า อิเธว สนฺโต อสิโต
จเรยฺย ความว่า เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ คือ เป็นผู้นั่งอยู่ในที่นี้
นี่แหละ เป็นผู้นั่งอยู่แล้ว ณ อาสนะนี้นี่แหละ เป็นผู้นั่งอยู่แล้วในบริษัท
นี้นี่แหละ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้
นี่แหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ
ระงับแล้วในที่นี้นี่แหละ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบ
อยู่ในที่นี้นี่แหละ.
คำว่า อสิโต ความว่า นิสัยมี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐิ
นิสัย ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ตัณหานิสัย ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ทิฏฐินิสัย ข้าพระองค์
ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย ไม่อาศัย จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย ใจ ไม่อาศัยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่อาศัย
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่อาศัยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานเภสัชบริขาร ไม่อาศัยกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่
อาศัยกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่อาศัยสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ ไม่อาศัยเอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ไม่
อาศัยอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่อาศัย ไม่แอบ ไม่เข้าถึง ไม่พัวพัน
ไม่น้อมใจ ออก สละ พ้นขาดแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์
ที่ได้ทราบและธรรมที่พึงรู้แจ้ง มีจิตอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อาศัย.
คำว่า จเรยฺย ความว่า พึงเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติไป เป็นไป เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 175
ผู้สงบอยู่ในที่นี้นี่แหละ ไม่อาศัยแล้ว พึงเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรง
พระกรุณาตรัสสอนธรรมอันสงัดที่ข้าพระองค์พึงรู้ได้ ข้า-
พระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ เป็นผู้สงบอยู่ในที่นี้
นี่แหละ ไม่อาศัยแล้ว พึงเที่ยวไป.
[๒๒๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
เราจักบอกความสงบในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประ-
จักษ์แก่ตนแก่ท่าน ที่บุคคลได้ทราบแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้.
[๒๒๙] คำว่า เราจักบอกความสงบ ... แก่ท่าน ความว่า เราจัก
บอก คือ จักเล่า ... จักประกาศซึ่งความสงบราคะ ความสงบโทสะ ความ
สงบโมหะ ความสงบ เข้าไปสงบ ความเข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความ
ระงับซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ
ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี
ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง
ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ
เดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจัก
บอกความสงบ ... แก่ท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดย
ชื่อว่า โธตกะ ในอุเทศว่า โธตกาติ ภควา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 176
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๓๐] คำว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ในอุเทศว่า ทิฏฺเ ธมฺเม อนีติห
ดังนี้ ความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คือ ในธรรมที่เรารู้แล้ว เทียบ
เคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ปรากฏแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว คือ ในธรรมที่เรา
เห็นแล้ว ... แจ่มแจ้งแล้ว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง เราจักบอกทุกข์ในทุกข์ที่เราเห็นแล้ว จักบอกสมุทัย
ในสมุทัยที่เราเห็นแล้ว จักบอกมรรคในมรรคที่เราเห็นแล้ว จักบอก
นิโรธในนิโรธที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ในธรรม
ที่เราเห็นแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง เราจักบอกธรรมอันบุคคลผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว.
คำว่า ประจักษ์แก่ตน ความว่า เราจักบอกซึ่งธรรมอันประจักษ์
แก่ตน ที่เรารู้เฉพาะด้วยตนเอง โดยไม่บอกว่ากล่าวกันมาดังนี้ ไม่บอก
ตามที่ได้ยินกันมา ไม่บอกตามลำดับสืบ ๆ กันมา ไม่บอกด้วยอ้างตำรา
ไม่บอกตามที่นึกเดาเอาเอง ไม่บอกตามที่คาดคะเนเอาเอง ไม่บอกด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 177
ความตรึกตามอาการ ไม่บอกด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อันประจักษ์แก่ตน.
[๒๓๑] คำว่า ที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า
กระทำให้รู้แจ้ง คือ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คือ ทำให้รู้แจ้ง ... แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ บุคคลนั้นตรัสว่า
เป็นผู้มีสติ.
คำว่า เที่ยวไป ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่รู้แจ้งแล้ว
เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
[๒๓๒] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตรัสว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า " ตเร โลเก
วิสตฺติก."
คำว่า วิสตฺติกา ความว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา เพราะอรรถว่า กระไร
ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า ซ่านไป กว้างขวาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิสัตติกา.
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก. คำว่า
พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก ความว่า พึงเป็นผู้มี
สติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ซึ่งตัณหาอันซ่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 178
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
เราจักบอกความสงบในธรรมที่เราเห็นแล้วอันประจักษ์
แก่ตน แก่ท่าน ที่บุคคลได้ทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป
พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้.
[๒๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์
ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และสันติอันสูงสุดที่
บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอัน
ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้.
[๒๓๔] คำว่า ต ในอุเทศว่า ตญฺจาห อภินนฺทามิ ความว่า ซึ่ง
พระดำรัส คือ ทางแห่งถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิของพระองค์.
คำว่า อภินนฺทามิ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมยินดี ชอบใจ เบิกบาน
อนุโมทนา พอใจ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น.
คำว่า มเหสี ในอุเทศว่า มเหสี สนฺติมุตฺตม ดังนี้ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา
ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่ ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทวดาล่วงเทวดา
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระนราสภประทับอยู่ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มเหสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 179
อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ ความออกจากตัณหาเป็น
เครื่องร้อยรัด เรียกว่า สันติ ในอุเทศว่า " สนฺติมุตฺตม. "
คำว่า อุตฺตม ความว่า เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธานสูงสุด
อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มเหสี สนฺติมุตฺตม.
[๒๓๕] คำว่า ที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า
กระทำให้รู้แจ้ง คือ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คือ ทำให้รู้แจ้ง ... แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ลฯ บุคคลนั้นเรียกว่า
เป็นผู้มีสติ.
คำว่า จร ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่รู้แจ้งแล้ว
เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
[๒๓๖] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
เรียกว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า " ตเร โลเก
วิสตฺติก. "
คำว่า วิสตฺติกา ความว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา เพราะอรรถว่า กระไร
ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า ซ่านไป กว้างขวาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิสัตติกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 180
คำว่า โลเก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก. คำว่า พึง
ข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก ความว่า พึงเป็นผู้มีสติ
ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งตัณหาอันซ่านไปใน
อารมณ์ต่าง ๆ ในโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์
ชอบใจพระดำรัสของพระองค์นั้น และสันติอันสูงสุดที่
บุคคลทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึงข้ามตัณหาอัน
ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกได้.
[๒๓๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโธตกะ)
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง
ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านรู้ธรรมนี้ว่า เป็น
เครื่องข้องอยู่ในโลกแล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อย
และภพใหญ่.
[๒๓๘] คำว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ท่าน
ย่อมรู้ คือ ย่อมรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า โธตกะ ในอุเทศว่า " โธตกาติ
ภควา. "
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 181
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนโธตกะ.
[๒๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคตว่า ชั้นสูง ในอุเทศว่า
" อุทฺธ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ " ดังนี้ ตรัสอดีตว่า ชั้นต่ำ ตรัสปัจจุบันว่า
ชั้นกลางส่วนกว้าง. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสสุขเวทนาว่า ชั้นสูง ตรัสทุกข-
เวทนาว่า ชั้นต่ำ ตรัสอทุกขมสุขเวทนาว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสกุศล
ธรรมว่า ชั้นสูง ตรัสอกุศลธรรมว่า ชั้นต่ำ ตรัสอัพยากตธรรมว่า ชั้นกลาง
ส่วนกว้าง. ตรัสเทวโลกว่า ชั้นสูง ตรัสอบายโลกว่า ชั้นต่ำ ตรัสมนุษย-
โลกว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสอรูปธาตุว่า ชั้นสูง ตรัสกามธาตุว่า ชั้นต่ำ
ตรัสรูปธาตุว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. ตรัสส่วนเบื้องบนตลอดถึงพื้นเท้าว่า
ชั้นสูง ตรัสส่วนเบื้องต่ำตลอดถึงปลายผมว่า ชั้นต่ำ ตรัสส่วนกลางว่า
ชั้นกลางส่วนกว้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง
ส่วนกว้าง.
[๒๔๐] คำว่า ท่านรู้แล้ ซึ่งธรรมนั้นว่า เป็นเครื่องข้องในโลก
ความว่า รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ
ว่า ธรรมนี้เป็นเครื่องข้อง ธรรมชาตินี้เป็นเครื่องขัดข้อง ธรรมชาตินี้
เป็นเครื่องผูกพัน ธรรมนี้เป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว
ซึ่งธรรมนั้นว่า เป็นเครื่องข้องในโลก.
[๒๔๑] คำว่า อย่าได้ทำแล้วซึ่งตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่
ความว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา.
คำว่า เพื่อภพน้อยและภพใหญ่ ความว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 182
อย่าให้ตัณหาเกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดเฉพาะ
จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยและภพ
ใหญ่ คือ เพื่อกรรมภพ (กรรมวัฏ) เพื่อปุนัพภพ (วิปากวัฏ) เพื่อกามภพ
(กามธาตุ) เพื่อกรรมภพ (กรรมวัฏ) เพื่อกามภพ เพื่อปุนัพภพ
(วิปากวัฏ) เพื่อรูปภพ เพื่อกรรมภพ เพื่อวิปากวัฏอันให้เกิดใหม่ใน
รูปภพ เพื่ออรูปภพ เพื่อกรรมภพ เพื่อวิปากวัฏ อันให้เกิดใหม่ใน
อรูปภพ เพื่อภพบ่อย ๆ เพื่อคติบ่อย ๆ เพื่ออุบัติบ่อย ๆ เพื่อปฏิสนธิ
บ่อย ๆ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อย่า
ได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
ท่านย่อมรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง
ชั้นต่ำ และชั้นกลางส่วนกว้าง ท่านรู้ธรรมนี้ว่า เป็น
เครื่องข้องในโลกแล้ว อย่าได้ทำตัณหาเพื่อภพน้อยและ
ภพใหญ่.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบโธตมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 183
อรรถกถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในโธตกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือ ข้าพระองค์ย่อมหวังพระวาจาของ
พระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษานิพพานเพื่อตน
คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้นเพื่อดับราคะเป็นต้นของตน. ในนิเทศไม่มีบท
ที่ไม่เคยกล่าว.
บทว่า อิโต คือ แต่ปากของเรา. พึงทราบความในนิเทศ
ต่อไป. บทว่า อาตปฺป ความเพียร คือความเพียรเผากิเลส. บทว่า
อุสฺสาห ทำความหมั่น คือไม่สยิ้วหน้า. บทว่า อุสฺโสฬฺหึ ทำความ
เป็นผู้มีความหมั่น. คือทำความเพียรมั่น. บทว่า ถาม ทำความพยายาม
คือไม่ย่อหย่อน. บทว่า ธิตึ ทำความทรงจำ คือทรงไว้. บทว่า วิริย
กโรหิ คือ จงทำความเป็นผู้ก้าว คือทำความก้าวไปข้างหน้า. บทว่า
ฉนฺท ชเนหิ ยังฉันทะให้เกิด คือให้เกิดความชอบใจ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ สรรเสริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลวิงวอนขอความปลดเปลื้องจากความสงสัย
จึงกราบทูลคาถาว่า ปสฺสามห ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามห เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระ-
องค์เห็นพระองค์ผู้เป็นเทพเที่ยวอยู่ในมนุษยโลก. บทว่า ตนฺต นมสฺสามิ
คือ ข้าพระองค์ขอนมัสการพระองค์นั้น. บทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์
จงทรงปลดเปลื้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 184
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า ปจฺเจกสมฺพุทฺธา ชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจด้วยตนเอง ถึงการ
รู้แจ้งแทงตลอดอารมณ์นั้น ๆ เฉพาะตัว. บทว่า สีหสีโห คือ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดังสีหะยิ่งกว่าสีหะ เพราะไม่ทรงหวาดสะดุ้ง. บทว่า
นาคนาโค คือ เป็นดังนาคยิ่งกว่านาค เพราะไม่มีกิเลส หรือเพราะเป็น
ใหญ่. บทว่า คณิคณี คือ เป็นเจ้าคณะยิ่งกว่าเจ้าคณะทั้งหลาย. บทว่า
มุนิมุนี เป็นมุนียิ่งกว่ามุนี คือ มีความรู้ยิ่งกว่าผู้มีความรู้ทั้งหลาย. บทว่า
ราชราชา เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา คือเป็นพระราชาผู้สูงสุด. บทว่า
มุญฺจ ม คือ ขอพระองค์จงปลดเปลื้องข้าพระองค์. บทว่า ปมุญฺจ ม คือ
ขอพระองค์จงปล่อยข้าพระองค์โดยวิธีต่าง ๆ. บทว่า โมเจหิ ม ขอพระ-
องค์จงปลดปล่อยข้าพระองค์ คือทำให้หย่อน. บทว่า ปโมเจหิ ม คือ
ขอพระองค์จงทรงทำให้หย่อนอย่างยิ่ง. บทว่า อุทฺธร ม ขอพระองค์จง
ยกข้าพระองค์ขึ้น คือยกข้าพระองค์จากเปือกตม คือสงสารแล้วให้ตั้งอยู่
บนบก. บทว่า สมุทฺธร ม ขอพระองค์จงฉุดชัก คือฉุดข้าพระองค์
โดยชอบแล้วให้ตั้งอยู่บนบก. บทว่า วุฏฺาเปหิ คือ ขอให้นำข้าพระองค์
ออกจากลูกศรคือความสงสัย แล้วทำให้อยู่ต่างหากกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความปลดเปลื้องจาก
ความสงสัยอันยิ่ง ด้วยพระองค์โดยหัวข้อคือการข้ามโอฆะ จึงตรัสคาถา
ว่า นาห ดังนี้เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นาห สมิสฺสามิ คือ เราไม่อาจไม่สามารถ.
อธิบายว่า เราจักไม่พยายาม. บทว่า ปโมจนาย คือ เพื่อปลดเปลื้อง.
บทว่า กถกถี คือ ความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือ พึงข้าม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 185
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า น อีหามิ เราไม่อาจ คือไม่ทำความขวนขวาย. บทว่า
น สมิหามิ ไม่สามารถ คือไม่ทำความขวนขวายยิ่ง. บทว่า อสฺสทฺเธ
ปุคฺคเล กะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา คือกะบุคคลผู้ปราศจากศรัทธาในพระ-
รัตนตรัย. บทว่า อจฺฉนฺทิเก ผู้ไม่มีฉันทะ คือปราศจากความชอบใจ
เพื่อมรรคผล. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน คือผู้ปราศจากสมาธิ. บทว่า
หีนวีริเย ผู้มีความเพียรเลว คือผู้ไม่มีความเพียร. บทว่า อปฺปฏิปชฺช-
มาเน ผู้ไม่ปฏิบัติตาม คือไม่ปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกะพอใจ เมื่อจะ
สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลวิงวอนขอคำสั่งสอน จึงกล่าวคาถามี
อาทิว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้ เป็นคำแสดงถึงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ว่าเป็นผู้ประเสริฐ. ด้วยเหตุนั้น โธตกะเมื่อจะทูลกะพระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงทูลว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอ
พระองค์จงทรงพร่ำสอน. บทว่า วิเวกธมฺม ธรรมอันสงัด ได้แก่ธรรม
คือนิพพานอันสงัดจากสังขารทั้งปวง. บทว่า อพฺยาปชฺชมาโน คือ
ไม่ขัดข้องมีประการต่าง ๆ. บทว่า อิเธว สนฺโต เป็นผู้สงบในที่นี้นี่แหละ
คือมีอยู่ในที่นี้. บทว่า อสิโต คือ ไม่อาศัยแล้ว.
สองคาถาต่อจากนี้ไป มีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในเมตตคูสูตรนั่นเอง
ความต่างกันมีอยู่อย่างเดียวในเมตตคูสูตรนั้นว่า ธมฺม อิธ สนฺตึ ธรรม
มีอยู่ในที่นี้ดังนี้. แม้ในคาถาที่ ๓ กึ่งคาถาก่อน ก็มีนัยดังกล่าวแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 186
เมตตคูสูตรนั่นเอง. บทว่า สงฺโค ในกึ่งคาถาต่อไป ได้แก่ฐานะเป็น
เครื่องข้อง อธิบายว่า ติดแล้ว. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรกถถาโธตกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 187
อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ
[๒๔๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยแล้ว
ไม่อาจข้ามโอฆะใหญ่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันต-
จักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกอารมณ์ที่ข้าพระองค์ได้
อาศัยแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
[๒๔๓] คำว่า เอโก ในอุเทศว่า เอโก อห สกฺก มหนฺตโมฆ
ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ไม่มีบุคคลเป็นเพื่อน หรือไม่มีธรรมเป็นเพื่อน
ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรืออาศัยธรรมแล้ว พึงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น
ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ
ใหญ่ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เดียว.
คำว่า สกฺก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศากยราช พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่า
มีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้
คือทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ
ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ
ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้ามั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์
ด้วยทรัพยรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อาจ ผู้องอาจ มีความสามารถ
อาจหาญ ผู้กล้า ผู้มีความแกล้วกล้า ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 188
ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้
มีขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า เป็นพระสักกะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว... โอฆะใหญ่ได้.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า " อิจฺจายสฺมา อุปสีโว " ดังนี้ เป็น
บทสนธิ. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า อุปสีโว
เป็นชื่อ ฯ ลฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ท่านอุปสีวะทูลถามดังนี้.
[๒๔๔] คำว่า อนิสฺสิโต ในอุเทศว่า " อนิสฺสิโต โน วิสหามิ
ตาริตุ " ดังนี้ ความว่า ไม่อาศัยบุคคลหรือไม่อาศัยธรรมแล้ว.
คำว่า ไม่อาจ คือ ไม่อุตสาหะ ไม่อาจ ไม่สามารถ.
คำว่า ข้าม คือ ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่ง
กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่อาศัยแล้วไม่อาจข้ามได้.
[๒๔๕] คำว่า " อารมฺมณ พฺรุหิ " ในอุเทศว่า " อารมฺมณ พฺรูหิ
สมนฺตจกฺขุ " ความว่า ขอพระองค์ตรัส คือ บอก... ประกาศซึ่งอารมณ์
คือ ที่ยึดเหนี่ยว ที่อาศัย ที่เข้าไปอาศัย พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า
สมันตจักษุ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงเข้า เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม
ประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น.
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ทรงเห็นอะไร ๆ น้อยหนึ่งในโลกนี้
อนึ่ง ไม่ทรงรู้อะไร ๆ ที่ไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มีเลย พระตถาคต ทรงรู้ยิ่ง
ซึ่งธรรมทั้งปวง ธรรมชาติใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคต ทรงรู้ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 189
ซึ่งธรรมชาตินั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์
ตรัสบอกอารมณ์.
[๒๔๖] คำว่า ย นิสฺสิโต ในอุเทศว่า " ย นิสฺสิโต โอฆมิม
ตเรยฺย " ดังนี้ ความว่า อาศัยบุคคล หรืออาศัยธรรมแล้ว.
คำว่า พึงข้ามโอฆะนี้ได้ คือ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อาศัยอันใดแล้วพึงข้ามโอฆะนี้ได้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ไม่อาศัย
แล้วไม่อาจข้ามโอฑะใหญ่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-
สมันตจักษุ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่ข้าพระองค์ได้
อาศัยแล้ว พึงข้ามโอฆะนี้ได้.
[๒๔๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งไม่มีดังนี้แล้ว
จงข้ามโอฆะเถิด ท่านจงละกามทั้งหลาย เว้นจากความ
สงสัยทั้งหลาย พิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอด
คืนและวันเถิด.
[๒๔๘] คำว่า ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ความว่า พราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ โดยปกติ ไม่รู้ว่าเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 190
อาศัยว่า สมาบัตินี้เป็นที่อาศัยของเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอก
สมาบัติเป็นที่อาศัยและธรรมเป็นทางที่ออกยิ่งขึ้นไป แก่พราหมณ์นั้นว่า
ท่านเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้ว จงเพ่งดู
คือ ตรวจดู พินิจดู พิจารณาดู ซึ่งธรรม คือจิต และเจตสิกที่เกิดใน
สมาบัตินั้น โดยความเป็นธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นฝี
เป็นลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด
เป็นอุบาทว์ เป็นของไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว
เป็นของทำลาย เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มี
ที่เร้น เป็นของไม่เป็นสรณะ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง เป็นของว่าง
เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นวิปริณามธรรม
เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นของไม่เจริญ เป็นของ
มีอาสวะ เป็นดังเพชฌฆาต เป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร
เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ
เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะปริเทวะ
ทุกข์โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
เป็นของมีความดับเป็นธรรมดา เป็นของไม่น่าพอใจ เป็นของมีอาทีนพ-
โทษ เป็นของไม่มีเครื่องสลัดออก.
คำว่า มีสติ ความว่า ความระลึก ความตามระลึก ความระลึก
เฉพาะ ฯ ล ฯ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า สติ.
พราหมณ์นั้นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง
เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ ตรัสว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้มีสติเพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 191
พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า อุปสีวาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้.
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๔๙] คำว่า อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่ง
ไม่มีดังนี้แล้ว จงข้ามโอฆะเถิด ดังนี้ ความว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุไร พราหมณ์นั้นเป็นผู้
มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ยัง
วิญญาณนั้นนั่นแหละให้เจริญ ให้เป็นแจ้ง ให้หายไป ย่อมเห็นว่าอะไร ๆ
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เพราะอรรถว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มี ท่านจงอาศัย คือเข้าไปอาศัย
สมาบัตินั้น ทำให้เป็นอารมณ์ ให้เป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว แล้วจงข้าม
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ
อวิชชาโอฆะเถิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า
อะไร ๆ น้อยหนึ่งย่อมไม่มีดังนี้แล้ว ข้ามโอฆะเถิด.
[๒๕๐] โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า กาเม ปหาย วิรโต
กถาหิ ดังนี้ ความว่า กามมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า ละกามทั้งหลาย ความว่า กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ
สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสกามทั้งหลาย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 192
วิจิกิจฉาเรียกว่า ความสงสัย ในอุเทศว่า วิรโต กถาหิ ความ
สงสัยในทุกข์ ฯ ล ฯ ความที่จิตครั่นคร้าม ใจสนเท่ห์ งด เว้น ขาด
ออก สลัด หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องด้วยความสงสัย ย่อมมีใจทำให้
ปราศจากเขตแดนอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เว้นจากความ
สงสัยทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง งด เว้น เว้นขาด ออก สลัด หลุดพ้น ไม่เกี่ยว
ข้องด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ ย่อมมีใจทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลายแล้ว เว้นจากความสงสัยทั้งหลาย.
[๒๕๑] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-
ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า " ตณฺหกฺขย
รตฺตมหาภิปสฺส" ดังนี้.
กลางคืนชื่อว่า รัตตะ กลางวันชื่อว่า อหะ ท่านจงดู คือ
พิจารณา แลดู ตรวจดู พินิจ พิจารณา ซึ่งความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา คือ ความสิ้นแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ
ภพ สงสาร วัฏฏะ ทั้งกลางคืนกลางวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จง
พิจารณาดูความสิ้นแห่งตัณหาตลอดกลางคืนและกลางวัน เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งดูอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อาศัยสมาบัติอันเป็นไปว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
แล้ว จงข้ามโอฆะเถิด ท่านจงละกามทั้งหลายแล้ว เว้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 193
จากความสงสัยทั้งหลาย พิจารณาดูความสิ้นไปแห่ง
ตัณหาตลอดคืนและวันเถิด.
[๒๕๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติ
อื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญา-
วิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่
ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ.
[๒๕๓] คำว่า สพฺเพสุ ในอุเทศว่า " สพฺเพสุ กาเมสุ โย
วีตราโค " ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย
ประการทั้งปวง ไม่เหลือไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า สพฺเพสุ นี้ เป็นเครื่อง
กล่าวรวม โดยหัวข้อว่า กาเมสุ. กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑
กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า
กิเลสกาม.
คำว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ความว่า ผู้ใด
ปราศจากความกำหนัด คือ สละ คาย ปล่อย ละ สละคืน ข่มความ
กำหนัดในกามทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัด
ในกามทั้งปวง.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อุปสีโว เป็นบทสนธิ. คำว่า
อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า อุปสีโว เป็นชื่อ ฯ ล ฯ
เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุปสีวะ
ทูลถามว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 194
[๒๕๔] คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ความว่า ละ เว้น สละ ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งสมาบัติ ๖ชั้นต่ำแล้ว
อาศัย คือ แอบอิง เข้ามา เข้ามาพร้อม ชอบใจ น้อมใจไปสู่อากิญจัญญา-
ยตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญา-
ยตนสมาบัติ.
[๒๕๕] คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ความว่า
สัญญาสมาบัติ ๗ ท่านกล่าวว่า สัญญาวิโมกข์. บรรดาสัญญาสมาบัตินั้น
อากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นวิโมกข์เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน
อุดมและอย่างยิ่ง น้อมใจไป ในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง เลิศ ประเสริฐ
วิเศษเป็นประธาน อุดม อย่างยิ่ง ด้วยอธิมุตติวิโมกข์ คือ น้อมใจไป
ในสัญญาวิโมกข์นั้น ปล่อยใจไปในสัญญาวิโมกข์นั้น ประพฤติในสัญญา-
วิโมกข์ มากอยู่ในสัญญาวิโมกข์ หนักอยู่ในสัญญาวิโมกข์ โอนไปใน
สัญญาวิโมกข์ เงื้อมไปในสัญญาวิโมกข์ มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง.
[๒๕๖] คำว่า ติฏฺเ นุ ในอุเทศว่า " ติฏฺเ นุ โส ตตฺถ
อนานุยายี " ดังนี้ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามสองแง่ ไม่
เป็นคำถามส่วนเดียวว่า เรื่องนั้นเป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็น
อย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงดำรงอยู่หรือหนอ.
คำว่า ตตฺถ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่
ไปปราศ ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป อีกอย่างหนึ่ง ไม่กำหนัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 195
ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวหมอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มี
ความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ
เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติ
อื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญา-
วิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ใน
อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นหรือหนอ.
[๒๕๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง สะสมาบัติ
อื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญา-
วิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ใน
สัญญาวิโมกข์นั้น.
[๒๕๘] คำว่า สพฺเพสุ ในอุเทศว่า " สพฺเพสุ กาเมสุ โย
วีตราโค " ดังนี้ ความว่า... ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า สพฺเพสุ นี้ เป็น
เครื่องกล่าวรวม.
โดยหัวข้อว่า กาเมสุ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม.
คำว่า ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ความว่า ผู้ใด
ปราศจากความกำหนัด... เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 196
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ ใน
อุเทศว่า " อุปสีวาติ ภควา " ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๕๙] คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ความว่า ละเว้น น้อมใจไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
[๒๖๐] คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ความว่า
สัญญาสมาบัติ ๗ ท่านกล่าวว่า สัญญาวิโมกข์... มีสัญญาวิโมกข์นั้น
เป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง.
[๒๖๑] คำว่า ติฏฺเยฺย ในอุเทศว่า " ติฏฺเยฺย โส ตตฺถ
อนานุยายี " ดังนี้ ความว่า พึงตั้งอยู่หกหมื่นกัป. คำว่า ตตฺถ คือ
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ. คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว...
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในอากิญ-
จัญญายตนสมาบัตินั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวง ละสมาบัติ
อื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปแล้วใน
สัญญาวิโมกข์อย่างยิ่ง ผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรง
อยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 197
[๒๖๒] ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มี
ความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละแม้มากปี วิญญาณ
ของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ.
[๒๖๓] คำว่า ติฏฺเ เจ โส ในอุเทศว่า " ติฏฺเ เจ โส ตตฺถ
อนานุยายี " ดังนี้ ความว่า ถ้าผู้นั้นพึงดำรงอยู่หกหมื่นกัป.
คำว่า ตตฺถ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.
คำว่า อนานุยายี ความว่า ไม่หวั่นไหว... ไม่เศร้าหมอง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ ในอากิญ-
จัญญายตนสมาบัตินั้น.
[๒๖๔] คำว่า ปูคมฺปิ วสฺสาน ในอุเทศว่า " ปูคมฺปิ วสฺสาน
สมนฺตจกฺขุ " ดังนี้ ความว่า แม้มากปี คือ แม้หลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปี หลายร้อยกัป หลายพันกัป หลายแสนกัป.
พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้มีพระสมันตจักษุ ฯ ล ฯ เหตุนั้น พระตถาคต จึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ... แม้มากปี.
[๒๖๕] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัติ
นั้นนั่นแหละ วิญญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ ความว่า ผู้นั้นถึง
ความเป็นผู้เย็น ยั่งยืน เป็นผู้เที่ยง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ในสมาบัตินั้นนั่นแหละ พึงอยู่ในสมาบัตินั้นนั่นแหละเที่ยงแท้.
อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์นั้นย่อมถามถึงความเที่ยงแท้และความขาด
สูญของบุคคลผู้บังเกิดในอากิญจัญญายตนภพว่า วิญญาณของผู้นั้นพึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 198
เคลื่อนไป พึงขาดสูญ พินาศไป ไม่พึงมี ปฏิสนธิวิญญาณไม่พึงเกิดใน
กามธาตุ ในรูปธาตุ หรือในอรูปธาตุดังนี้ หรือว่าย่อมถามถึงปรินิพพาน
และปฏิสนธิของบุคคลผู้เกิดแล้วในอากิญจัญญายตนภพว่า บุคคลนั้น ย่อม
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในอากิญจัญญายตนภพนั้นนั่น
แหละ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นพึงเคลื่อนไป ไม่พึงเกิดปฏิสนธิ-
วิญญาณในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุอีก.
คำว่า ตถาวิธสฺส ความว่า ของบุคคลชนิดอย่างนั้น คือ ของ
บุคคลเช่นนั้น ผู้ดำรงอยู่ดังนั้น ผู้มีประการดังนั้น ผู้มีส่วนดังนั้น
ผู้เกิดแล้วในอากิญจัญญายตนภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นเป็นผู้พ้น
แล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละ วิญญาณของบุคคลเช่น
นั้นพึงมีหรือ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ถ้าผู้นั้นไม่มีความหวั่นไหว พึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว
มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้นนั่นแหละแม้มากปี วิญ-
ญาณของบุคคลเช่นนั้นพึงมีหรือ.
[๒๖๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม ย่อมถึงความไม่มี
ไม่เข้าถึงความนับ ฉันใด มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อม
ถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันนั้น.
[๒๖๗] เปลวไฟตรัสว่า อัจจิ ในอุเทศว่า " อจฺจิ ยถา วาตเวเคน
ขิตฺต " ดังนี้ ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 199
ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมแรง ลมบ้าหมู ลมแต่ปีกนก
ลมแต่ปีกครุฑ ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ชื่อว่า วาตา.
คำว่า ดับแล้วเพราะกำลังลม ความว่า ดับ คือ สูญหาย หายไป
สิ้นไป หมดไป หมดสิ้นไปแล้วเพราะกำลังลม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม... ฉันใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกพราหมณ์นั้นโดย ชื่อว่า อุปสีวะ ในอุเทศว่า " อุปสีวาติ ภควา "
ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยความเคารพ ฯ ล ฯ พระนามว่า
ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๖๘] คำว่า อตฺถ ปเลติ ในอุเทศว่า อตฺถ ปเลติ น อุเปติ
สงฺข ดังนี้ ความว่า ย่อมดับไป คือ ถึงความสิ้นไป ถึงความหมดไป
ดับไป สงบไป ระงับไป.
คำว่า ไม่เข้าถึงความนับ ความว่า ไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่
เข้าถึงความอ้าง ความคาดคะเน ความบัญญัติว่า เปลวไฟนั้นไปสู่ทิศ
ชื่อโน้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ.
[๒๖๙] คำว่า เอว ในอุเทศว่า " เอว มุนิ นามกายา วิมุตฺโต "
ดังนี้ เป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม.
ญาณ ตรัสว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯ ล ฯ มุนีนั้นล่วงแล้วซึ่ง
ราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย.
คำว่า พ้นแล้วจากนามกาย ความว่า มุนีนั้นพ้นจากนามกาย
และรูปกายก่อนแล้วโดยปกติ คือ มุนีนั้นละนามกายและรูปกายแล้ว ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 200
การละ คือความล่วงและความข่ม ด้วยองค์นั้น ๆ อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้อริยมรรค ๔ เพราะเป็นผู้ได้อริยมรรค ๔ จึงกำหนดรู้นามกาย
และรูปกาย เพราะเป็นผู้กำหนดรู้นามกายและรูปกาย จึงพ้น คือ พ้น
วิเศษจากนามกายและรูปกายด้วยความพ้นวิเศษส่วนเดียว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ... ฉันนั้น.
[๒๗๐] คำว่า ย่อมถึงความไม่มี ในอุเทศว่า " อตฺถ ปเลติ น
อุเปติ สงฺข " ดังนี้ ความว่า มุนีนั้นย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
คำว่า ย่อมไม่เข้าถึงความนับ ความว่า มุนีนั้นย่อมไม่เข้าถึงความ
นับ คือ ไม่เข้าถึงความอ้าง ความคาดคะเน ความบัญญัติว่า เป็นกษัตริย์
เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็น
เทวดา เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา
เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มุนี
นั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ เครื่องให้ถึงการนับ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ย่อมถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เปลวไฟดับไปแล้วเพราะกำลังลม ย่อมถึงความไม่มี
ไม่เข้าถึงความนับ ฉันใด มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อม
ถึงความไม่มี ไม่เข้าถึงความนับ ฉันนั้น.
[๒๗๑] มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี หรือว่า
มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 201
เป็นพระมุนี โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย
ดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
[๒๗๒] คำว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี
ความว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือว่ามุนีนั้นย่อมไม่มี คือ มุนีนั้นดับ
แล้ว ขาดสูญแล้ว หายไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ดับ
ไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี.
[๒๗๓] คำว่า หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง
ความว่า หรือว่ามุนีนั้นเป็นผู้ยั่งยืน คือ เป็นผู้เที่ยง ไม่มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา พึงตั้งอยู่เที่ยงแท้ในอากิญจัญญายตนภพนั้นนั่นแหละ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือมุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง.
[๒๗๔] คำว่า ต ในอุเทศว่า ตมฺเม มุนี สาธุ วิยากโรหิ ดังนี้
ความว่า ข้าพระองค์ย่อมทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท
ปัญหาใด.
ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ฯ ล ฯ มุนีนั้นล่วงแล้วซึ่ง
ราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย.
คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก ... ด้วยดี ความว่า ขอพระองค์จง
ตรัสบอก ... ขอจงทรงประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์
ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี.
[๒๗๕] คำว่า พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง ความว่า
พระองค์ทรงทราบ คือ ทรงรู้ ทรงเทียบเคียง ทรงพิจารณา ทรงให้
แจ่มแจ้ง ทรงให้ปรากฏแล้วแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 202
ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าว
ว่า
มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นย่อมไม่มี หรือว่า
มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรคด้วยความเป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้
เป็นพระมุนี โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยดี
พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
[๒๗๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ)
บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายพึง
ว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
เมื่อธรรมทั้งปวงอันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว แม้ทางแห่ง
ถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว.
[๒๗๗] คำว่า บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ความว่า
บุคคลผู้ดับไปแล้ว คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อม
ไม่มี ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมไม่ประจักษ์ประมาณแห่งรูป ประมาณแห่ง
เวทนา ประมาณแห่งสัญญา ประมาณแห่งสังขาร ประมาณแห่งวิญญาณ
ประมาณแห่งรูปเป็นต้นนั้น อันบุคคลผู้ดับไปแล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
ให้สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุปสีวะ
ในอุเทศว่า อุปสีวาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 203
เคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุปสีวะ.
[๒๗๘] คำว่า ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลส
นั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ดังนี้ ความว่า ชนทั้งหลายพึงว่า (บุคคลนั้น)
ด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ ด้วยอุทธัจจะ
ด้วยวิจิกิจฉา ด้วยอนุสัยใดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง
เป็นผู้หลง เป็นผู้มีมานะผูกพัน เป็นผู้ถือมั่น เป็นผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
เป็นผู้ถึงความไม่ตกลง หรือว่าเป็นผู้ถึงกำลังอภิสังขารเหล่านั้น บุคคล
นั้นละเสียแล้ว เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ละอภิสังขารเสียแล้ว ชนทั้งหลาย
พึงว่าโดยคติด้วยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดใน
กำเนิดดิรัจฉาน เป็นผู้เกิดในปิตติวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น
สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือว่า
เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องให้ชนทั้งหลายพึงว่า พึงกล่าว พึงพูดถึงได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้น
ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น.
[๒๗๙] คำว่า เมื่อธรรมทั้งปวงอันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว ความ
ว่า เมื่อธรรมทั้งปวง คือ เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ
ภพ สงสาร วัฏฏะ ทั้งปวง อันบุคคลนั้นถอนขึ้นแล้ว คือ ถอนขึ้น
พร้อมแล้ว ฉุดขึ้นแล้ว ฉุดขึ้นพร้อมแล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกขึ้นพร้อม
แล้ว ละขาดแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 204
ขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อธรรมทั้งปวง
อันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว.
[๒๘๐] คำว่า แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสีย
แล้ว ความว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ตรัสว่า ถ้อยคำ ทางแห่ง
ถ้อยคำ ชื่อ ทางแห่งชื่อ นิรุตติ ทางแห่งนิรุตติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ
อันบุคคลนั้นถอนขึ้นแล้ว ถอนขึ้นพร้อมแล้ว ฉุดขึ้นแล้ว ฉุดขึ้นพร้อม
แล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกขึ้นพร้อมแล้ว ละขาดแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว
ระงับแล้ว ทำให้ไม่อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ดับไปแล้วย่อมไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายพึง
ว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
เมื่อธรรมทั้งปวง อันบุคคลนั้นถอนเสียแล้ว แม้ทางแห่ง
ถ้อยคำทั้งปวง บุคคลนั้นก็ถอนเสียแล้ว.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ นั่งประนมอัญชลีนมัสการ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอุปสีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 205
อรรถกถาอุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยใน อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มหนฺตโอฆ คือ โอฆะใหญ่. บทว่า อนิสฺสิโต ไม่อาศัย
แล้ว คือ ไม่ติดบุคคลหรือธรรม. บทว่า โน วิสหามิ คือ ข้าพระองค์
ไม่อาจ. บทว่า อารมฺมณ อารมณ์ คือนิสัย. บทว่า ย นิสฺสิโต คือ
อาศัยธรรมหรือบุคคลใด.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า กาโมฆ พึงข้ามกาโมฆะได้ด้วยอนาคามิมรรค พึงข้าม
ภโวฆะได้ด้วยอรหัตมรรค พึงข้ามทิฏโฐฆะได้ด้วยโสดาปัตติมรรค พึง
ข้ามอวิชโชฆะได้ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต ออก
บวชจากตระกูลศากยะ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดงตระกูลสูงของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อาลมฺพณ คือ ที่ยึดเหนี่ยว. บทว่า นิสฺสย
ที่อาศัย คือ ที่เกี่ยวเกาะ. บทว่า อุปนิสฺสย ที่เข้าไปอาศัย คือที่พึ่ง.
บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้นิสัย
แม้มีอยู่นั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงนิสัยนั้น และ
ทางออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺ ดังนี้
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน เพ่งดู คือ มีสติเพ่งดูอากิญ-
จัญญายตนสมาบัตินั้น ทั้งเข้าและออกโดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า
นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือ กระทำสมาบัติอันเป็นไปแล้วว่า ไม่มี
อะไรดังนี้ ให้เป็นอารมณ์. บทว่า ตรสฺสุ โอฆ พึงข้ามโอฆะ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 206
พึงข้ามโอฆะ ๔ อย่าง ตามสมควรแห่งวิปัสสนาอันเป็นไปแล้ว จำเดิม
แต่นั้น. บทว่า กถาหิ คือ จากความสงสัย. บทว่า ตณฺหกฺขย รตฺต-
มหาภิปสฺส จงพิจารณาดูความสิ้นไปแห่งตัณหาตลอดคืนและวัน คือ
จงพิจารณาดูทำนิพพานให้แจ้งตลอดคืนและวัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสถึงสุขวิหารธรรมในปัจจุบันแก่พราหมณ์นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป.
บทว่า ตญฺเว วิญฺาณ อภาเวติ ไม่ยังวิญญาณนั้นนั่นแลให้
เจริญ คือ กระทำอากาสานัญจายตนะนั้นให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วไม่ยัง
วิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วให้เจริญ คือ ให้ถึงความไม่มี.
บทว่า วิภาเวติ ให้เป็นแจ้ง คือ ให้ถึงความไม่มีหลาย ๆ อย่าง. บทว่า
อนฺตรธาเปติ ให้หายไป คือให้ถึงความไม่เห็น. บทว่า นตฺถิ กิญฺจีติ
ปสฺสติ เห็นว่า ไม่มีอะไร คือ เห็นว่า ไม่มี โดยที่สุดแม้เพียงความแตก
ดับของเราเอง.
บัดนี้ อุปสีวมาณพสดับแล้วว่า กาเม ปหาย ละกามทั้งหลาย
เมื่อพิจารณาเห็นกามทั้งหลายที่ตนละแล้วด้วยการข่มไว้ จึงกล่าวคาถา
มีอาทิว่า สพฺเพสุ ในกามทั้งปวงดังนี้.
บทว่า หิตฺวมญฺ ละสมาบัติอื่น คือ ละสมาบัติ ๖ อย่างอื่นเบื้องต่ำ
จากนั้น. บทว่า สญฺาวิโมกฺเข ปรเม น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์
อย่างยิ่ง ได้แก่ ในสัตตสัญญาวิโมกข์ คือ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อันสูงสุด. บทว่า ติฏฺเ นุ โส ตตฺถ อนานุยายี คือ บุคคลนั้นไม่
หวั่นไหวพึงดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นหรือหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 207
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อเวธมาโน ไม่หวั่นไหว คือ ไม่ข้อง. บทว่า อวิคจฺฉ-
มาโน คือ ไม่ถึงความพลัดพราก. บทว่า อนนฺตรธายมาโน คือ ไม่
ถึงความอันตรธาน. บทว่า อปริหายมาโน คือ ไม่ถึงความเสื่อมใน
ระหว่าง.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงรู้ตามถึงฐานะในที่สุดหก-
หมื่นกัปของอุปสีวมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓. อุปสีวมาณพครั้นสดับ
ถึงฐานะในสมาบัตินั้นของบุคคลนั้น บัดนี้ เมื่อจะทูลถามถึงความเป็น
สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิของบุคคลนั้น จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ติฏฺเ
เจ หากผู้นั้นพึงดำรงอยู่ในสมาบัตินั้น ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปูคมฺปิ วสฺสาน แม้มากปี ความว่า นับปี
แม้ไม่น้อย. ปาฐะว่า ปูคมฺปิ วสฺสานิ บ้าง. ในบทนั้นแปลงฉัฏฐีวิภัตติเป็น
ปฐมาวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปูค แปลว่า มีมาก. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ปูคานิ บ้าง. ปาฐะแรกดีกว่า. บทว่า ตตฺเถว โสสีติ สิยา
วิมุตฺโต ผู้นั้นเป็นผู้พ้นแล้ว มีความเย็น พึงมีในสมาบัตินั้น คือ บุคคล
นั้นพ้นแล้วจากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญญายตนะนั้น พึงถึงความเป็นผู้เย็น
อธิบายว่า เป็นผู้เที่ยงที่จะถึงนิพพานดำรงอยู่. บทว่า ภเวถ วิญฺาณ
ตถาวิธสฺส วิญญาณของผู้นั้นพึงมีหรือ หรือถามถึงความขาดสูญว่า
วิญญาณของผู้นั้นพึงดับโดยไม่ยึดมั่นหรือ. ย่อมถามถึงแม้ปฏิสนธิของผู้
นั้นว่า พึงมีเพื่อถือปฏิสนธิหรือ. บทว่า ตสฺส วิญฺาณ จเวยฺย วิญญาณ
ของผู้นั้นพึงเคลื่อนไป คือวิญญาณของผู้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น พึง
ถึงความเคลื่อนไป. บทว่า อุจฺฉิชฺเชยฺย คือ พึงขาดสูญ. บทว่า วินสฺ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 208
เสยฺย คือ พึงถึงความพินาศ. บทว่า น ภเวยฺย คือ ถึงความไม่มี.
บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงความดับ โดย
ไม่ยึดมั่นของพระอริยสาวก ผู้ไม่อาศัยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเกิดขึ้น
แล้ว ในที่นั้นจึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อจฺจิ ยถา เหมือนเปลวไฟ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถ ปเลติ ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
ถึงความไม่มี. บทว่า น อุเปติ สงฺขย ไม่เข้าถึงความนับ คือ ไม่ถึง
การพูดไปว่า ไปแล้วสู่ทิศโน้น. บทว่า เอว มุนิ นามกายา วิมุตฺโต
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ฉันนั้น คือ พระเสกขมุนีเกิดแล้วในที่นั้น ตาม
ปกติเป็นผู้พ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน ยังจตุตถมรรค (อรหัตมรรค) ให้
เกิดในที่นั้นแล้ว พ้นแม้จากนามกายอีก เพราะกำหนดรู้นามกายเป็น
พระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตติ (พ้นทั้งสองส่วน) ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า ขิตฺตา ซัดไป คือ ดับ. บทว่า อุกฺขิตฺตา ซัดขึ้นไปแล้ว
คือ สูญหาย. บทว่า นุนฺนา หายไป คือ ไล่ออกไป. บทว่า ปนุนฺนา
สิ้นไป คือ ทำให้ไกล. บทว่า ขมฺภิตา หมดไป คือ ถอยไป. บทว่า
วิกฺขมฺภิตา หมดสิ้นไปแล้ว คือ ไม่เข้าไปใกล้อีกแล้ว.
บัดนี้ อุปสีวมาณพครั้นสดับว่า อตฺถ ปเลติ ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
มิได้กำหนดถึงการตั้งอยู่ไม่ได้โดยแยบคายของมุนีนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
อตฺถงฺคโต โส มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 209
บทนั้นมีความดังนี้ มุนีนั้นเป็นผู้ดับไปแล้ว หรือมุนีนั้นไม่มี หรือ
มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีโรค มีความไม่ปรวนแปรไปเป็นธรรมดา โดยความ
เป็นผู้เที่ยง ขอพระองค์ผู้เป็นมุนีโปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยดี พระองค์ทรงทราบธรรมนั้นแล้วแท้จริง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า นิรุทฺโธ ดับแล้ว คือ ถึงความดับ. บทว่า อุจฺฉินฺโน ขาด
สูญแล้ว คือ มีสันดานขาดสูญแล้ว. บทว่า วินฏฺโ หายไปแล้ว คือ
ถึงความพินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงถ้อยคำที่ไม่ควร
กล่าวอย่างนั้นแก่อุปสีวมาณพ จึงตรัส คาถาว่า อตฺถงฺคตสฺส ผู้ดับไปแล้ว
ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถงฺคตสฺส คือ ดับ เพราะไม่ถือมั่น.
บทว่า น ปมาณมตฺถิ ไม่มีประมาณ คือ ไม่มีประมาณในรูปเป็นต้น.
บทว่า เยน น วชฺชุ คือ ชนทั้งหลายพึงว่าบุคคลนั้นด้วยกิเลส มีราคะ
เป็นต้นใด. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งปวง.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปนี้.
บทว่า อธิวจนา จ ถ้อยคำยิ่ง คือ ที่พูดทำให้ยิ่งเพียงพูดว่า สิริ-
วัฑฒกะ (เจริญด้วยสิริ) ธนวัฑฒกะ (เจริญด้วยทรัพย์) เป็นต้น ชื่อว่า
อธิวจนา (ถ้อยคำยิ่ง). ทางแห่งถ้อยคำยิ่ง ชื่อว่า อธิวจนปถา ถ้อยคำที่พูด
เจาะจงลงไปทำให้มีเหตุผลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะปัจจัย
ทั้งหลายปรุงแต่ง ฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขาร ดังนี้ ชื่อว่า นิรุตติ. ทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 210
แห่งนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปถา. ชื่อว่า บัญญัติ เพราะบัญญัติขึ้นโดย
ประการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตกฺโก (ตรึก) วิตกฺโก (การตรึก) สงฺกปฺโป
(ความดำริ). ทางแห่งบัญญัติทั้งหลาย ชื่อว่า คลองแห่งบัญญัติ. บทที่
เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตร แม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอุปสีมาณวกนิทเทสที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 211
นันทมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านนันทะ
[๒๘๑] (ท่านนันทะทูลถามว่า)
ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
ข้อนี้นั้นเป็นอย่าง ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้
ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี หรือว่าย่อมกล่าวถึงบุคคล
ผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี.
[๒๘๒] คำว่า สนฺติ ในอุเทศว่า สนฺติ โลเก มุนโย ดังนี้
ความว่า ย่อมมี คือ ย่อมปรากฏ ย่อมประจักษ์.
คำว่า ในโลก ความว่า ในอบายโลก ฯ ล ฯ ในอายตนโลก.
คำว่า มุนีทั้งหลาย ความว่า อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส ชื่อว่า
มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ
ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
นันทะทูลถามว่า.
[๒๘๓] คำว่า ชนทั้งหลาย ในอุเทศว่า ชนา วทนฺติ ตยิท
กถสุ ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์.
คำว่า ย่อมกล่าว ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 212
คำว่า ตยิท กถสุ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วย
ความเคลือบแคลง เป็นคำถามสองแง่ ไม่เป็นคำถามโดยส่วนเดียวว่า
เรื่องนี้เป็นอย่างนี้หนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล
หรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกัน ...
ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร.
[๒๘๔] คำว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย
ญาณว่า เป็นมุนีหรือ ความว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อม
บอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติซึ่งบุคคลผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา
เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยญาณอันสัมปยุตด้วย
สมาบัติ ๘ หรือด้วยญาณ คือ อภิญญา ๕ ว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบด้วยญาณว่า เป็นมุนี.
[๒๘๕] คำว่า หรือชนทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี ความว่า หรือว่าชนทั้งหลายย่อมกล่าว ...
ประกอบด้วยความเพียรของบุคคลผู้เป็นอยู่เศร้าหมอง ผู้ทำกิจที่ทำได้ยาก
อย่างยิ่งยวดหลายอย่างว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าชน
ทั้งหลายย่อมกล่าวซึ่งบุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี เพราะ-
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ชนทั้งหลายย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้
ประกอบด้วยญาณว่าเป็นมุนี หรือว่าย่อมกล่าวถึงบุคคล
ผู้ประกอบด้วยความเป็นอยู่ว่าเป็นมุนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 213
[๒๘๖] ดูก่อนนันทะ ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้
ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ ว่าเป็นมุนี เรา
ย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีความหวังเที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี.
[๒๘๗] คำว่า น ทิฏฺิยา ในอุเทศว่า น ทิฏิยา น สุติยา น
าเณน ดังนี้ ความว่า ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวด้วยความหมดจดด้วย
ความเห็น.
คำว่า น สุติยา ความว่า ไม่กล่าวด้วยความหมดจด ด้วยการฟัง.
คำว่า น าเณน ความว่า ไม่กล่าวแม้ด้วยญาณ อันสัมปยุตด้วย
สมาบัติ ๘ ไม่กล่าวด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่กล่าว
บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ.
[๒๘๘] คำว่า กุสลา ในอุเทศว่า มุนีธ นนฺท กุสลา วทนฺติ
ดังนี้ ความว่า ท่านผู้ฉลาดในขันธ์ ท่านผู้ฉลาดในธาตุ ท่านผู้ฉลาดใน
อายตนะ ท่านผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ท่านผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ท่าน
ผู้ฉลาดในสัมมปปธาน ท่านผู้ฉลาดในอิทธิบาท ท่านผู้ฉลาดในอินทรีย์
ท่านผู้ฉลาดในพละ ท่านผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ท่านผู้ฉลาดในมรรค ท่าน
ผู้ฉลาดในผล ท่านผู้ฉลาดในนิพพาน ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมไม่
กล่าว ... ผู้ประกอบด้วยความหมดจดด้วยความเห็น ด้วยความหมดจด
ด้วยการฟัง ด้วยความหมดจดด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ หรือ
ด้วยญาณอันผิด ว่าเป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนนันทะ ท่าน
ผู้ฉลาด ย่อมไม่กล่าว ... ว่าเป็นมุนี.
[๒๘๙] คำว่า เราย่อมกล่าวชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 214
ว่า เสนามาร ตรัสว่า เสนา กายทุจริตเป็นเสนามาร วจีทุจริตเป็นเสนา-
มาร มโนทุจริตเป็นเสนามาร ราคะเป็นเสนามาร โทสะเป็นเสนามาร
โมหะเป็นเสนามาร ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ
ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง
ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน
ทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงเป็นเสนามาร.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
กามท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน. ความไม่
ยินดีท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน. ความหิวและ
ความกระหายท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน. ตัณหา
ท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน. ถีนมิทธะท่านกล่าว
ว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน. ความขลาดท่านกล่าวว่าเป็น
เสนาที่ ๖ ของท่าน. วิจิกิจฉาท่านกล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗
ของท่าน. ความลบหลู่ ความกระด้างท่านกล่าวว่าเป็น
เสนาที่ ๘ ของท่าน. ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ ยศ
ที่ได้มาผิด ก็เป็นเสนา. ความยกตนและการข่มผู้อื่น
ก็เป็นเสนา. นี้เสนามารของท่าน (เป็นมารไม่ปล่อยท่าน
ให้พ้นอำนาจไป) เป็นผู้ประหารท่านผู้มีธรรมดำ คนไม่
กล้าย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้ คนกล้าย่อมชนะได้ ครั้น
ชนะแล้วย่อมได้ความสุข ดังนี้.
เสนามารทั้งปวง กิเลสทั้งปวง ชนเหล่าใดชนะแล้ว ให้แพ้ ทำลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 215
กำจัด ให้เบือนหน้าหนีแล้วด้วยอริยมรรค ๔ ในกาลใด ในกาลนั้น ชน
เหล่านั้น เรากล่าวว่าผู้กำจัดเสนาเสียแล้ว.
คำว่า อนิฆา ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูก
โกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นความทุกข์ ความทุกข์เหล่านั้น
ชนเหล่าใดละ ขาด ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผา
เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้น ตรัสว่า ผู้ไม่มีความทุกข์.
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า
ความหวัง ในคำว่า นิราสา ดังนี้ ความหวัง คือ ตัณหานี้ ชนเหล่าใด
ละขาด ... เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชนเหล่านั้นตรัสว่า ผู้ไม่มีความ
หวัง.
คำว่า เรากล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว ไม่มีทุกข์
ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี ความว่า เราย่อมกล่าว...
ย่อมประกาศว่า ชนเหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพ กำจัดเสนาเสียแล้ว
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง ย่อมเที่ยวไป คือ เปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา ชนเหล่านั้นเป็นมุนีในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เราย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนนันทะ ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้
ประกอบด้วยทิฏฐิ ด้วยสุตะ ด้วยญาณ ว่าเป็นมุนี เรา
ย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนาเสียแล้ว เป็นผู้ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวไป ชนเหล่านั้นเป็นมุนี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 216
[๒๙๐] (ท่านพระนันทะทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตร
บ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง (ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า) ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวม
แล้ว ประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและ
ชราบ้างหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอ
ทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์เถิด.
[๒๙๑] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า เยเกจิเม สมณพฺราหฺมณาเส
ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง
ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช คือถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอก
พุทธศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งอ้างว่าตนมีวาทะเจริญ
ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์.
บทว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ
ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
พระนันทะทูลถามว่า.
[๒๙๒] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟัง
บ้าง ความว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อม
บัญญัติความหมดจด คือ หมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 217
พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง . . . ด้วยการสดับบ้าง . .. ด้วย
การเห็นและการสดับบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจด
ด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง.
[๒๙๓] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติความหมดจด . . . ความพ้นรอบด้วย
ศีลบ้าง . . . ด้วยวัตรบ้าง . . . ด้วยทั้งศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.
[๒๙๔] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติความหมดจด . . . ความพ้นรอบด้วย
มงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม
กล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด.
[๒๙๕] คำว่า กจฺจิสฺส ในอุเทศว่า กจฺจิสฺส เต (ภควา) ตตฺถ
ยตา จรนฺตา ดังนี้ เป็นการถามด้วยความสงสัย เป็นการถามด้วยความ
เคลือบแคลง เป็นการถามสองแง่ ไม่เป็นการถามส่วนเดียวว่า เรื่องนั้น
เป็นอย่างนี้หรือหนอแล หรือไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นไฉนหนอแล หรือ
เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บ้างหรือ.
คำว่า เต คือ พวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิเป็นคติ.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกสมณพราหมณ์นั้น . .. บ้างหรือ.
คำว่า ตตฺถ ในอุเทศว่า ตตฺถ ยตา จรนฺตา ดังนี้ ความว่า ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 218
ทิฏฐิของตน ในความควรของตน ในความชอบใจของตน ในลัทธิ
ของตน.
คำว่า ยตา ความว่า สำรวม สงวน คุ้มครอง รักษา ระวัง.
คำว่า เที่ยวไป ความว่า เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า (ข้าแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า) สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐิ
นั้น. . . บ้างหรือ.
[๒๙๖] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ . . . ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติ
และชรา ความว่า ได้ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็น
ไปล่วงแล้วซึ่งชาติชราและมรณะ.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า มาริส นี้ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์. . . ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชรา.
[๒๙๗] คำว่า ปุจฺฉามิ ต ในอุเทศว่า ปุจฺฉามิ ต ภควา พฺรูหิ
เม ต ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูล
ให้ประสาทซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า
ขอพระองค์จงตรัส . . . จงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์เถิด เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 219
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตร
บ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง (ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า) ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้ว
ประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น ได้ข้ามแล้วซึ่งชาติและชราบ้าง
หรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้า-
พระองค์เถิด.
[๒๙๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนันทะ)
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจด ด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง ด้วยศีลและ
วัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิด เราย่อมกล่าวว่า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้เป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่
ในทิฏฐินั้น แต่ก็ข้ามซึ่งชาติและชราไปไม่ได้.
[๒๙๙] คำว่า เยเกจิ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวง
โดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เยเกจิ นี้ เป็น
เครื่องกล่าวรวมหมด ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช ถึงพร้อมด้วย
การบวชภายนอก พุทธศาสนานี้ ชื่อว่าสมณะ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
อ้างว่าตนมีวาทะเจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 220
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกพราหมณ์
นั้นโดยชื่อว่า นันทะ ในอุเทศว่า นนฺทาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนนันทะ.
[๓๐๐] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟัง
บ้าง ความว่า ย่อมกล่าว ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ
ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้น-
วิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง. . . ด้วยการสดับบ้าง . . . ด้วยการ
เห็นและสดับบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการ
เห็นและด้วยการสดับบ้าง.
[๓๐๑] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติความหมดจด . . . ความพ้นรอบด้วย
ศีลบ้าง . . . ด้วยวัตรบ้าง . . . ด้วยศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.
[๓๐๒] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมาก
อย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด.
[๓๐๓] คำว่า กิญฺจาปิ ในอุเทศว่า กิญฺจาปิ เต ตตฺถ ยตา
จรนฺติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เป็น
ความพร้อมเพรียงแห่งอักขระ. เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า
กิญฺจาปิ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า เต คือ พวกสมณพราหมณ์ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 221
ทิฏฐิ. คำว่า ตตฺถ ความว่า ในทิฏฐิของตน ในความควรของตน ใน
ความชอบใจของตน ในลัทธิของตน. คำว่า ยตา ความว่า เป็นผู้สำรวม
สงวน คุ้มครอง รักษา ระวัง.
คำว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวไป ... เยียวยา เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ถึงแม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สำรวมแล้ว ประพฤติอยู่ใน
ทิฏฐินั้น.
[๓๐๔] คำว่า เราย่อมกล่าวว่า . . . ข้ามชาติและชราไปไม่ได้
ความว่า เราย่อมกล่าว . . . ย่อมประกาศว่า ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น
ก้าวล่วง เป็นไปล่วงซึ่งชาติ ชราและมรณะไปไม่ได้ คือ ไม่ออก ไม่
สละ ไม่ก้าวล่วง ไม่เป็นไปล่วงจากชาติ ชราและมรณะ ย่อมวนเวียน
อยู่ภายในชาติ ชราและมรณะ วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร ไปตามชาติ
ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่เร้น
ไม่มีสรณะ ไม่มีที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวว่า ข้ามชาติ
และชราไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจด ด้วยการเห็นและด้วยการสดับบ้าง ด้วยศีลและ
วัตรบ้าง ด้วยมงคลหลายชนิด เราย่อมกล่าวว่า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้เป็นผู้สำรวมแล้วประพฤติอยู่ใน
ทิฏฐินั้น แต่ก็ข้ามซึ่งชาติและชราไปไม่ได้.
[๓๐๕] (ท่านพระนันทะทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 222
หมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตร
บ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง ถ้าพระองค์ผู้เป็นพระมุนี
ตรัสสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ใครเล่า
ในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้แล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
[๓๐๖] คำว่า เยเกจิ ในอุเทศว่า เยเกจิ เม สมณพฺราหฺม-
ณาเส ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง
ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เยเกจิ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด.
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเข้าถึงการบวช คือ ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอก
พุทธศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งอ้างว่าตนมีวาทะเจริญ
ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา นนฺโท ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า นนฺโท เป็นชื่อ
ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
พระนันทะทูลถามว่า.
[๓๐๗] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการฟัง
บ้าง ความว่า ย่อมกล่าว ย่อมพูด ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ
ความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความ
พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นบ้าง . . . ด้วยการสดับบ้าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นและการสดับบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 223
[๓๐๘] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติความหมดจด . . . ความพ้นรอบด้วย
ศีลบ้าง . . . ด้วยวัตรบ้าง . . . ด้วยทั้งศีลและวัตรบ้าง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยศีลและวัตรบ้าง.
[๓๐๙] คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลายชนิด
ความว่า ย่อมกล่าว . . . ย่อมบัญญัติด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าว
มากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยมงคลหลาย
ชนิด.
[๓๑๐] คำว่า เต เจ ในอุเทศว่า เต เจ มุนี พฺรูสิ อโนฆติณฺเณ
ดังนี้ ความว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิเป็นคติ. ญาณ ท่านกล่าวว่า
โมนะ ในบทว่า มุนี ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ล่วงแล้วซึ่งราคาทิ-
ธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเป็นดังว่าข่าย เป็นมุนี.
คำว่า ย่อมตรัสว่า . . . ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว ความว่า ข้าม
ไม่ได้แล้ว คือ ข้ามขึ้นไม่ได้แล้ว ข้ามล่วงไม่ได้แล้ว ก้าวล่วงไม่ได้แล้ว
เป็นไปล่วงไม่ได้แล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ
วนเวียนอยู่ภายในชาติชราและมรณะ วนเวียนอยู่ภายในทางสงสาร ไป
ตามชาติ ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่
ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีสรณะ ไม่มีที่พึ่ง.
คำว่า ย่อมตรัส คือ ย่อมตรัส. . . ย่อมประกาศ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถ้าพระองค์ผู้เป็นมุนีย่อมตรัสว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามโอฆะ
ไปไม่ได้แล้ว.
[๓๑๑] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นดังนั้น ในบัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 224
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้ ความว่า เมื่อ
เป็นดังนั้น ใครนั้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้ามได้แล้ว คือ ข้าม
ขึ้นแล้ว ข้ามพ้นแล้ว ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งชาติ
ชราและมรณะ.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วย
ความเคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ
และความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อ
เป็นดังนั้น ในบัดนี้ ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลกข้ามชาติและชรา
ไปได้แล้ว.
[๓๑๒] คำว่า ปุจฺฉามิ ต ในอุเทศว่า ปุจฺฉามิ ต ภควา พฺรูหิ
เม ต ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ
ทูลให้ประสาทซึ่งปัญหานั้นว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระ-
องค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ความว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส . . . โปรดประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ย่อมกล่าวความ
หมดจด ด้วยการเห็นและการสดับบ้าง ด้วยศีลและวัตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 225
บ้าง ด้วยมงคลหลายชนิดบ้าง ถ้าพระองค์ผู้เป็นพระมุนี
ตรัสพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้ามโอฆะไปไม่ได้แล้ว ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าใน
เทวโลกและมนุษยโลก ข้ามชาติและชราไปได้แล้ว
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์.
[๓๑๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนนันทะ)
เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อัน
ชาติและชราหุ้มห่อแล้ว เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใด
ละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ
ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด
กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล
เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.
[๓๑๔] คำว่า เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้
อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว ความว่า ดูก่อนนันทะ เราย่อมไม่กล่าวว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติและชราร้อยไว้แล้ว หุ้มไว้แล้ว คลุม
ไว้แล้ว ปิดไว้แล้ว บังไว้แล้ว ครอบไว้แล้ว เราย่อมกล่าว คือ ย่อม
บอก . . . ทำให้ตื้นว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด ละชาติ ชราและมรณะ
แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีอยู่ เพราะ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 226
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อันชาติ
และชราหุ้มห่อไว้แล้ว.
[๓๑๕] คำว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ความว่า นรชนเหล่าใด
ละแล้ว คือ สละแล้ว บรรเทาแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ให้ถึงความไม่มี
แล้ว ซึ่งความหมดจดด้วยการเห็นทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วยการฟัง
ทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยการเห็นและการฟังทั้งปวง . . . ซึ่งความ
หมดจดด้วยการได้ทราบทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วยศีลทั้งปวง . . .
ซึ่งความหมดจดด้วยวัตรทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยศีลและวัตร
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือแม้ศีลและวัตรทั้งปวง.
[๓๑๖] คำว่า ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง ความว่า
ละแล้ว คือ ละขาดแล้ว บรรเทาแล้ว ทำให้สิ้นสุดแล้ว ให้ถึงความ
ไม่มีแล้ว ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความ
พ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าว
มากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง.
[๓๑๗] คำว่า ตณฺห ในอุเทศว่า ตณฺห ปริญฺาย อนาสวา
เย เต เว นรา โอฆติณฺณาติ พฺรูมิ ดังนี้ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา.
คำว่า กำหนดรู้แล้ว ความว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา
๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 227
ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้ชัด คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็น
ตัณหาว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้
โผฏฐัพพตัณหา นี้ธรรมตัณหา นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญาเป็นไฉน นรชนทำตัณหาที่ตนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อม
พิจารณาตัณหา คือ พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นฝี ฯ ล ฯ โดยความไม่ให้สลัดออก นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละ บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในตัณหาใด ท่าน
ทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ ตัณหานั้นจักเป็นธรรม
อันท่านทั้งหลายละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดังนี้ นี้ชื่อว่า ปหาน-
ปริญญา.
กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กำหนดรู้ซึ่งตัณหา.
คำว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ
ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ นรชนเหล่าใดละอาสวะเหล่านี้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความ
ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นรชนเหล่านั้นตรัสว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ.
คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นแล ข้ามโอฆะได้แล้ว ความว่า เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 228
ย่อมกล่าวว่า ... ย่อมประกาศว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้น ข้ามแล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิ-
โอฆะ อวิชชาโอฆะ คือ ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามออก ล่วง ก้าวล่วง เป็น
ไปล่วงแล้วซึ่งทางแห่งสังสารวัฏทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อม
กล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชน
เหล่านั้นแล ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราย่อมไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นผู้อัน
ชาติและชราหุ้มห่อแล้ว เราย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใด
ละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ
ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด
กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้น
แล เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.
[๓๑๘] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระวาจา
นั้น อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี (ผู้แสวงหาธรรมใหญ่)
ตรัสดีแล้ว ไม่มีอุปธิ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชน
เหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิด
ทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชน
เหล่านั้นแล เป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.
[๓๑๙] เอต ในอุเทศว่า เอตาภินนฺทามิ วโจ มเหสิโน ดังนี้
ความว่า ข้าพระองค์ย่อมยินดี คือ ยินดียิ่ง เบิกบาน อนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 229
ปรารถนา พอใจ ประสงค์ รักใคร่ ติดใจ พระวาจา คือ ทางแห่ง
ถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นพระมเหสี ทรงแสวงหา คือ ทรงเสาะหา ทรงค้นหา ซึ่งศีลขันธ์
ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า มเหสี ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาประทับที่ไหน พระนราสภประทับที่ไหน
เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า มเหสี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้า-
พระองค์ย่อมชอบใจในพระวาจานั้น อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสี.
[๓๒๐] คำว่า สุกิตฺติต ในอุเทศว่า สุกิตฺติต โคตม นูปธีก
ดังนี้ ความว่า ตรัสบอกดีแล้ว คือ ทรงแสดงดีแล้ว ทรงบัญญัติดีแล้ว
ทรงแต่งตั้งดีแล้ว ทรงเปิดเผยดีแล้ว ทรงทำให้ตื้นดีแล้ว ทรงประกาศ
ดีแล้ว.
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่า อุปธิ ในอุเทศว่า โคตม
นูปธีก ดังนี้ การละอุปธิ ความสงบอุปธิ ความสละคืนอุปธิ ความ
ระงับอุปธิ อมตนิพพาน ท่านกล่าวว่า ธรรมไม่มีอุปธิ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ข้าแต่พระโคดม ... ตรัสดีแล้ว เป็นธรรมไม่มีอุปธิ.
[๓๒๑] คำว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ความว่า นรชนเหล่าใด
ละแล้ว คือ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความหมดจด
ด้วยการเห็นทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วยการฟังทั้งปวง ซึ่งความ
หมดจดด้วยการเห็นและการฟังทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วยการได้
ทราบทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วยศีลทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 230
วัตรทั้งปวง . . . ซึ่งความหมดจดทั้งด้วยศีลและวัตรทั้งปวง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้
ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง.
[๓๒๒] คำว่า ละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง ความว่า ละ
คือ ละขาด บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความหมดจด คือ
ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น
รอบ ด้วยมงคลคือวัตรและความตื่นข่าวมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทั้งละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งปวง.
[๓๒๓] คำว่า ตณฺห ในอุเทศว่า ตณฺห ปริญฺาย อนาสวา
เย อหมฺปิ เต โอฆติณฺณาติ พฺรูมิ ดังนี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา.
คำว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา ความว่า กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหา
ด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้ซึ่งตัณหา คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็น
ว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพ-
ตัณหา นี้ธรรมตัณหา นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญาเป็นไฉน นรชนทำตัณหาที่ตนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อม
พิจารณาตัณหา คือ พิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯ ล ฯ โดย
ความไม่ให้สลัดออก นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละ บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา. กำหนด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 231
รู้แล้วซึ่งตัณหานั้นด้วยปริญญา ๓ นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้
แล้วซึ่งตัณหา.
คำว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ
ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ นรชนเหล่าใดละอาสวะเหล่านี้แล้ว ตัด
รากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี มีความไม่
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นรชนเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ.
คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า แม้
ข้าพระองค์ก็กล่าว คือ พูดว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ
ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ข้ามแล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามออกแล้ว ล่วงแล้ว
ก้าวล่วงแล้ว ซึ่งทางสงสารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ข้าพระองค์
ย่อมกล่าวว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชน
เหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ย่อมชอบใจพระวาจานั้น
อันพระองค์ผู้เป็นพระมเหสีตรัสดีแล้ว ไม่มีอุปธิ แม้
ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่าใดละแล้วซึ่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ศีลและวัตรทั้งปวง ทั้ง
ละแล้วซึ่งมงคลหลายชนิดทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 232
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ นั่งประนมมืออัญชลีนมัสการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบนันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗
อรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในนันทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
พึงทราบความคาถาต้นต่อไป ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นในโลก
ย่อมกล่าวกันว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก หมายถึงอาชีวกและนิครนถ์
เป็นต้น ข้อนี้เป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมกล่าวผู้ประกอบด้วยญาณว่า
เป็นมุนี เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยญาณ หรือย่อมกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นอยู่ กล่าวคือมีความเป็นอยู่เศร้าหมองมีประการต่าง ๆ ว่า
เป็นมุนี.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไปดังนี้.
บทว่า อฏฺสมาปตฺติาเณน วา คือ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วย
สมาบัติ ๘ มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า ปญฺจาภิญฺาาเณน วา ด้วย
ญาณในอภิญญา ๕ คือ หรือด้วยญาณ คือการรู้ขันธปัญจกที่อาศัยอยู่ใน
ชาติก่อนเป็นต้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามแม้ทั้งสองอย่างของ
นันทมาณพนั้น เมื่อจะทรงแสดงความเป็นมุนี จึงตรัสคาถาว่า น ทิฏฺิยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 233
ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวบุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิว่าเป็นมุนี ดังนี้เป็นต้น.
บัดนี้ นันทมาณพเพื่อละความสงสัยในวาทะของผู้กล่าวอยู่ว่า ความ
บริสุทธิ์ย่อมมีด้วยทิฏฐิเป็นต้น จึงทูลถามว่า เยเกจิเม สมณพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนกรูเปน ด้วยมงคลหลายชนิด คือด้วย
มงคลมีโกตุหลมงคล (มงคลเกิดจากการตื่นข่าว) เป็นต้น. บทว่า
ตตฺถ ยตา จรนฺตา สำรวมแล้วประพฤติอยู่ในทิฏฐินั้น คือคุ้มครองอยู่
แล้วในทิฏฐิของตนนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีความ
บริสุทธิ์อย่างนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๔.
นันทมาณพครั้นสดับว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามไม่ได้อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะฟังถึงผู้ที่ข้ามได้แล้ว จึงทูลถามว่า เยเกจิเม
ดังนี้เป็นต้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงผู้ที่ข้ามชาติชรา
ได้ด้วยหัวข้อว่า ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว แก่นันทมาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๖.
ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา คือ เป็นผู้อันชาติและชราหุ้มห่อแล้ว
รึงรัดแล้ว. บทว่า เยสีธ ตัดบทเป็น เย สุ อิธ. บทว่า สุ เป็นเพียง
นิบาต. บทว่า ตณฺห ปริญฺาย คือ กำหนดรู้แล้วซึ่งตัณหาด้วย
ปริญญา ๓. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
ในบทก่อน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระ-
อรหัตด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 234
เมื่อจบเทศนา นันทมาณพพอใจพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยิ่งนัก จึงกล่าวคาถาว่า เอตาภินนฺทามิ ข้าพระองค์ย่อมพอใจพระวาจา
นั้นดังนี้เป็นต้น. ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวไว้แล้ว แม้ในนิเทศ
นี้และนิเทศก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถานันทมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 235
เหมกมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านเหมกะ
[๓๒๔] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์
เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีใน
คำนั้น.
[๓๒๕] คำว่า เย ในอุเทศว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากสุ ดังนี้
ความว่า พาวรีพราหมณ์และพราหมณ์อื่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรี-
พราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอกแล้ว . . . ประกาศแล้ว ซึ่งทิฏฐิของตน
ความควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน อัธยาศัยของตน
ความประสงค์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นก่อน . . . พวก
อาจารย์เหล่านี้พยากรณ์แล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา เหมโก ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯลฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
ด้วยความเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วย
ความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า เหมโก เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านเหมกะทูลถามว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 236
[๓๒๖] คำว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ความว่า ใน
กาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ก่อน
กว่าศาสนาของพระโคดม กว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า กว่าศาสนาของ
พระชินเจ้า กว่าศาสนาของพระตถาคต กว่าศาสนาของพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในกาลอื่นแต่ศาสนาของพระโคดม.
[๓๒๗] คำว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ ความว่า ได้
ยินว่า เรื่องนี้มีแล้วอย่างนี้ ได้ยินว่า เรื่องนี้จักมีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้.
[๓๒๘] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา ความว่า
คำทั้งปวงนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คือ อาจารย์เหล่านั้น กล่าวธรรม
อันไม่ประจักษ์แก่ตน ที่ตนมิได้รู้เฉพาะเอง โดยบอกตามที่ได้ยินกันมา
บอกตามลำดับสืบ ๆ กันมา โดยอ้างตำรา โดยเหตุที่นึกเดาเอาเอง โดย
เหตุที่คาดคะเนเอาเอง ด้วยความตรึกตามอาการ ด้วยความชอบใจว่าต้อง
กับลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ
กันมา.
[๓๒๙] คำว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ
ความว่า คำทั้งปวงนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ คือ เป็นเครื่องยัง
วิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความดำริให้เจริญ เป็นเครื่องยังกามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงญาติให้เจริญ
เป็นเครื่องยังความตรึกถึงชนบทให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงเทวดา
ให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่นให้เจริญ เป็น
เครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญให้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 237
เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นให้เจริญ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.
[๓๓๐] คำว่า ข้าพระองค์ไม่ยินดียิ่งในคำนั้น ความว่า ข้าพระ-
องค์ไม่รู้ ไม่เข้าถึง ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
ไม่ยินดีในคำนั้น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ในกาลอื่นก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม พวกอาจารย์
เหล่านี้พยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดีใน
คำนั้น.
[๓๓๑] ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็น
เครื่องกำจัดตัณหา ที่บุคคลรู้แล้วเป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึง
ข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกแก่ข้าพระ-
องค์เถิด.
[๓๓๒] พราหมณ์นั้นกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์
ในอุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้.
คำว่า ธมฺม ในอุเทศว่า ธมฺมมกฺขาหิ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์
โปรดตรัส . . . โปรดทรงประกาศพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และข้อปฏิบัติอันให้ถึงนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 238
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ... แก่ข้าพระองค์.
[๓๓๓] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหานิคฺฆาตน มุนิ
ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดตัณหา ความว่า เป็นเครื่องปราบตัณหา
เป็นเครื่องละตัณหา เป็นเครื่องสงบตัณหา เป็นเครื่องสละคืนตัณหา
เป็นเครื่องระงับตัณหา เป็นอมตนิพพาน.
ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนิ ฯ ล ฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าล่วงแล้วซึ่งราคาทิธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังว่าข่าย จึง
เป็นมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระมุนี . . . เครื่องกำจัดตัณหา.
[๓๓๔] คำว่า ที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ความว่า
บุคคลทำธรรมใดให้ทราบแล้ว คือ เทียบเคียงแล้ว พิจารณา ให้เจริญ
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ ทำให้ทราบแล้ว . . . ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
คำว่า เป็นผู้มีสติ คือ เป็นผู้มีสติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือเป็นผู้มี
สติเจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ ผู้นั้นท่านกล่าวว่า
เป็นผู้มีสติ.
คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นไป รักษา เยียวยา ให้เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่บุคคล
ทราบแล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 239
[๓๓๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในอุเทศว่า ตเร โลเก
วิสตฺติก ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า
แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก ความว่า
พึงเป็นผู้มีสติข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ซึ่งตัณหาอันซ่านไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามตัณหาอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระมุนี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็น
เครื่องกำจัดตัณหาที่บุคคลรู้แล้ว เป็นผู้มีสติเที่ยวไป พึง
ข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก แก่ข้า-
พระองค์เถิด.
[๓๓๖] ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะใน
ปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยินและที่ได้ทราบ (ที่รู้
แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.
[๓๓๗] คำว่า ทิฏฺ ในอุเทศว่า อิธ ทิฏฺสุตมุต วิญฺาเตสุ
ดังนี้ ความว่า ที่ได้เห็นด้วยจักษุ. คำว่า สุต ความว่า ที่ได้ยินด้วยหู.
คำว่า มุต ความว่า ที่ทราบ คือที่สูดด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 240
กาย. คำว่า วิญฺาต คือ ที่รู้ด้วยใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า . . . ที่เห็น
ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง.
[๓๓๘] คำว่า ดูก่อนเหมกะ . . . ในปิยรูปทั้งหลาย ความว่า
สิ่งอะไรเป็นปิยรูป (เป็นที่รัก) สาตรูป (เป็นที่ยินดี) ในโลก. จักษุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุวิญญาณ โสต-
วิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กาย-
สัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูป-
สัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา
รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรม-
ตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก
โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก รูปวิจาร สัททวิจาร
คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในปิยรูปทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าเหมกะ.
[๓๓๙] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินใน
กาม ตัณหาในกาม ความสิเน่หาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 241
หลงในกาม ความชอบใจในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ
กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า ฉันทราคะ ในอุเทศว่า ฉนฺทราควิโน-
ทน ดังนี้. คำว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ ความว่า เป็นที่ละฉันทราคะ
เป็นที่สงบฉันทราคะ เป็นที่สละคืนฉันทราคะ เป็นที่ระงับฉันทราคะ
เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่บรรเทาฉันทราคะ.
[๓๔๐] คำว่า บทนิพพาน... ไม่เคลื่อน ความว่า บทนิพพาน คือ
บทที่ต้านทาน บทที่เร้น บทที่ยึดหน่วง บทที่ไม่มีภัย. คำว่า ไม่เคลื่อน
คือ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง เป็นธรรมไม่แปรปรวน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บทนิพพาน . . . ไม่เคลื่อน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนเหมกะ บทนิพพานเป็นที่บรรเทาฉันทราคะใน
ปิยรูปทั้งหลาย ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน และที่ได้ทราบ (ที่
รู้แจ้ง) เป็นที่ไม่เคลื่อน.
[๓๔๑] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้น
แล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย
เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ใน
โลก.
[๓๔๒] คำว่า เอต ในอุเทศว่า เอตทญฺาย เย สตา ดังนี้
คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกาหนัด ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 242
คำว่า รู้ทั่วถึง ความว่า รู้ทั่ว คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญ ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่ว ทราบ . . . ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา. คำว่า เย คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
มีสติเจริญสติปัฏฐาน คือพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนี้ เป็นผู้มีสติ.
[๓๔๓] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรม
อันเห็นแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรมอัน
พิจารณาแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันปรากฏแล้ว มีธรรม
อันเห็นแล้ว . . . มีธรรมอันปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ยังราคะ โทสะ
โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวงให้ดับ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว.
[๓๔๔] คำว่า เข้าไปสงบแล้ว ในอุเทศว่า อุปสนฺตา จ เต สทา
ดังนี้ ความว่า ชื่อว่าเข้าไปสงบแล้ว คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เข้าไป
สงบวิเศษแล้ว ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ
ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นธรรมชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 243
สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว ไหม้แล้ว ดับแล้ว ปราศจากไปแล้ว เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. คำว่า เต คือ พระอรหันต-
ขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า ทุกสมัย คือ ทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง สิ้นกาลทั้งปวง สิ้นกาล
เป็นนิตย์ กาลยั่งยืน เนือง ๆ ติดต่อ ไม่เจือกับเหตุอื่นสืบต่อโดยลำดับ
เหมือนระลอกน้ำมิได้ว่างสืบต่อไม่ขาดสาย กาลมีประโยชน์ กาลที่ถูก
ต้อง กาลเป็นปุเรภัต กาลเป็นปัจฉาภัต ยามต้น ยามกลาง ยามหลัง
ข้างแรม ข้างขึ้น คราวฝน คราวหนาว คราวร้อน ตอนวัยต้น ตอน
วัยกลาง ตอนวัยหลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย.
[๓๔๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า วิสัตติกา ในอุเทศว่า ติณฺณา โลเก วิสตฺติก ดังนี้.
ตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติก เพราะอรรถว่ากระไร
เพราะอรรถว่า ฯ ล ฯ แผ่ไป ซ่านไป ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว. . .ในโลก ความว่า เป็นผู้ข้ามแล้ว คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งตัณหาอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่ง
ตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 244
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้น
แล้ว เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วทุกสมัย
เป็นผู้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ใน
โลก.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ พระเหมกะนั่งประนมอัญชลี
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
อรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในเหมกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ วิยากสุ ในกาลก่อนพวกอาจารย์เหล่านี้
พยากรณ์แล้ว คือในกาลก่อนพาวรีพราหมณ์เป็นต้นพยากรณ์ลัทธิของตน
แก่ข้าพระองค์. บทว่า หุร โคตมสาสนา คือ ก่อนแต่ศาสนาของพระ-
โคดม. บทว่า สพฺพนฺต ตกฺกวฑฺฒน คือ คำทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องยัง
ความวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เจริญ.
บทว่า เย จญฺเ ตสฺส อาจริยา พราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์
ของพาวรีพราหมณ์ คือพราหมณ์พวกอื่นและอาจารย์ผู้ให้พาวรีพราหมณ์
นั้นศึกษาถึงมารยาท. บทว่า เต สก ทิฏฺึ คือ อาจารย์เหล่านั้นบอกถึง
ทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า สก ขนฺตึ คือ ความอดทนของตน. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 245
สก รุจึ คือ ความชอบใจของตน. บทว่า วิตกฺกวฑฺฒน ยังความตรึก
ให้เจริญ คือยังวิตกมีกามวิตกเป็นต้นให้เกิดขึ้น คือให้เป็นไปบ่อย ๆ.
บทว่า สงฺกปฺปวฑฺฒน คือ ยังความดำริมีความดำริถึงกามเป็นต้นให้เจริญ.
สองบทเหล่านั้น ท่านกล่าวรวมวิตกทั้งหมด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงกามวิตกเป็นต้น
โดยสรุป จึงทรงแสดงวิตกทั้งหลาย ๙ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า กามวิตกฺก-
วฑฺฒน ยังกามวิตกให้เจริญ ดังนี้. บทว่า ตณฺหานิคฺฆาตน เป็นเครื่อง
กำจัดตัณหา คือยังตัณหาให้พินาศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกธรรมนั้นแก่เหมก-
มาณพนั้น จึงตรัสสองคาถาว่า อิธ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เย สตา พระขีณาสพเหล่าใด
รู้ทั่วถึงบทนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ คือพระขีณาสพเหล่าใดรู้เห็นแจ้งถึง
บทนิพพานนั้นอันไม่จุติแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้โดยลำดับ เป็นผู้มีสติด้วยกายานุปัสสนา-
สติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา มีธรรมอันเห็นแล้วดับ
แล้ว คือ ชื่อว่ามีธรรมอันเห็นแล้ว เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม และชื่อว่า
ดับแล้ว เพราะดับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในก่อน
นั่นแล.
จบอรรถกถาเหมกมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 246
โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโตเทยยะ
[๓๔๖] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า)
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
ของผู้นั้นเป็นเช่นไร.
[๓๔๗] คำว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ความว่า กาม
ทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โตเทยฺย ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพยำเกรง. คำว่า โตเทยฺย เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านโตเทยยะทูลถามว่า.
[๓๔๘] คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อม
ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่ผู้ใด คือ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น. เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
[๓๔๙] คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า
ผู้ใดข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว ข้ามพ้น ล่วงแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 247
ไปล่วงแล้วจากความสงสัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และผู้ใดข้ามพ้นจาก
ความสงสัยได้แล้ว.
[๓๕๐] คำว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร ความว่า พราหมณ์
นั้นย่อมทูลถามวิโมกข์ว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นอย่างไร คือ มีสัณฐาน
เช่นไร มีประการอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร อันบุคคลนั้นพึงปรารถนา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
ของผู้นั้นเป็นเช่นไร.
[๓๕๑] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโตเทยยะ)
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มี
แก่ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี.
[๓๕๒] คำว่า ยสฺมึ ในอุเทศว่า ยสฺมึ กามา น วสนฺติ ดังนี้
คือ ในพระอรหันตขีณาสพ โดยหัวข้อว่า กามา กามมี ๒ อย่าง คือ
วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้
เรียกว่ากิเลสกาม.
คำว่า ย่อมไม่มี ความว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ คือ ย่อมไม่
อยู่ร่วม ไม่มาอยู่ในผู้ใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามทั้งหลายย่อมไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 248
อยู่ในผู้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า โตเทยยะ
ในอุเทศว่า โตเทยฺยาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า ภควา นี้ เป็น
สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนโตเทยยะ.
[๓๕๓] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ยสฺส น วิชฺชติ ดังนี้.
คำว่า ยสฺส คือ แก่พระอรหันตขีณาสพ.
คำว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า ตัณหาย่อมไม่มี คือ
ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์แก่ผู้ใด คือ ตัณหานั้นอันผู้ใดละแล้ว สงบแล้ว
ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตัณหาย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
[๓๕๔] วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยในทุกข์ ฯ ล ฯ ความที่จิต
หวาด ใจสนเท่ห์ เรียกว่า กถังกถา ในอุเทศว่า กถงฺกถา จ โย ติณฺโณ
ดังนี้.
คำว่า โย คือ พระขีณาสพนั้นใด.
คำว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว ความว่า ผู้ใด
ข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วง ก้าวล่วง เป็นไปล่วงจากความ
สงสัยได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัย
ได้แล้ว.
[๓๕๕] คำว่า วิโมกข์อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี ความว่า
วิโมกข์อย่างอื่นอันเป็นเครื่องให้หลุดพ้นได้ของผู้นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 249
ทำกิจด้วยวิโมกข์อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิโมกข์อย่างอื่นของ
ผู้นั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
กามทั้งหลายย่อมไม่มีอยู่ในผู้ใด ตัณหาย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด และผู้ใดข้ามพ้นจากความสงสัยได้แล้ว วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี.
[๓๕๖] ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ ขอพระองค์ตรัสบอกให้แจ้งซึ่ง
ปัญญานั้น แก่ข้าพระองค์.
[๓๕๗] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีความหวังอยู่ ความว่า
ผู้นั้นไม่มีตัณหาหรือยังมีตัณหา คือ ย่อมหวัง จำนง ยินดี ปรารถนา
รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ
อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอก-
โวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่.
[๓๕๘] คำว่า ผู้มีปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺาณวา โส อุท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 250
ปญฺกปฺปี ดังนี้ ความว่า เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า หรือมีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า หรือว่า
ย่อมก่อตัณหาทิฏฐิ คือ ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้
บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณคืออภิญญา ๕
หรือด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นมีปัญญาหรือมีความก่อ
(ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา.
[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสักกะ ในคำว่า สกฺก
ในอุเทศว่า มุนี อห สกฺก ยถา วิชญฺ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้
เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่าพระสักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่าพระสักกะ.
พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์
คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือ
ปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท
ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค
ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ ด้วยทรัพย์เป็นดังว่าแก้วหลายอย่างเหล่านั้น
แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้อาจ องอาจ สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 251
ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง
ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุก
ขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าพระสักกะ.
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ความ
ว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จัก คือ พึงรู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ
รู้ประจักษ์ ซึ่งมุนีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร.
[๓๖๐] คำว่า ต ในอุเทศว่า ตมฺเม วิยาจิกฺข สมนฺตจกฺขุ
ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ขอให้
ประสาท ซึ่งปัญหาใด.
คำว่า ขอโปรดตรัสบอกให้แจ้ง ความว่า ขอจงตรัสบอก...
ขอจงประกาศ พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ในคำว่า
สมนฺตจกฺขุ ฯ ล ฯ เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า มีพระสมันตจักษุ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระสมันตจักษุ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกให้แจ้งซึ่งปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกล่าวว่า
ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่ มีปัญญาหรือมี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักมุนีได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกให้แจ้ง
ซึ่งปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 252
[๓๖๑] ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ดูก่อนโตเทยยะ
ท่านจงรู้จักมุนี ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพแม้อย่างนี้.
[๓๖๒] คำว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ ความว่า ผู้นั้น
ไม่มีตัณหา ไม่เป็นไปกับด้วยตัณหา คือ ไม่หวัง ไม่จำนง ไม่ยินดี
ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่ ไม่ชอบใจ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น ฯ ล ฯ รูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่.
[๓๖๓] คำว่า ผู้นั้นมีปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺาณวา โส น
จ ปญฺกปฺปี ดังนี้ ความว่า ผู้นั้นเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความ
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
คำว่า ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ความว่า ผู้นั้น
ย่อมไม่ก่อซึ่งตัณหาหรือทิฏฐิ คือ ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิให้เกิด ให้เกิด
พร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณ
คืออภิญญา ๕ หรือด้วยญาณอันผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นมีปัญญา
ไม่มีความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา.
[๓๖๔] ญาณ ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี ในอุเทศว่า
เอวมฺปิ โตเทยฺย มุนึ วิชาน ดังนี้ ฯ ล ฯ บุคคลนั้นล่วงแล้วซึ่งธรรม
เป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย ย่อมเป็นมุนี.
คำว่า ดูก่อนโตเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี ... แม้อย่างนี้ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 253
ดูก่อนโตเทยยะ ท่านจงรู้จัก รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ซึ่งมุนีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนโทเทยยะ ท่านจงรู้จักมุนี... แม้อย่างนี้.
[๓๖๕] คำว่า อกิญฺจน ในอุเทศว่า อกิญฺจน กามภเว อสตฺต
ดังนี้ ความว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวล
คือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส
เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้อันมุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว
สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
มุนีนั้นตรัสว่า ไม่มีเครื่องกังวล โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า กามภเว
ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้
เรียกว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม โดยอุเทศว่า ภพ ภพมี
๒ อย่าง คือ กรรมภพ ๑ ปุนภพอันมีในปฏิสนธิ ๑ ฯ ล ฯ นี้เป็นปุนภพ
อันมีในปฏิสนธิ.
คำว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ความว่า
ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวข้อง ไม่พัวพัน ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่ประกอบในกามและภพ มีใจอันทำให้ปราศจาก
เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นไม่มีความหวัง ไม่หวังอยู่ มีปัญญาและไม่มี
ความก่อ (ตัณหาทิฏฐิ) ด้วยปัญญา ดูก่อนโตเทยยะ
ท่านจงรู้จักมุนีผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ
แม้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 254
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก
ฉะนี้แล.
จบโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๙
อรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัยในโตเทยยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร
โตเทยยมาณพทูลถามว่า วิโมกข์ของผู้นั้นพึงปรารถนาเช่นไร. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีวิโมกข์อื่นแก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร คือ วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความสิ้นตัณหา
นั้นแลเป็นวิโมกข์ โตเทยยมาณพก็มิได้เข้าใจความนั้น จึงทูลถามอีกว่า
นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺกปฺปี หรือมีความก่อด้วยปัญญา
คือก่อตัณหาหรือทิฏฐิด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกความนั้น แก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กามภเว คือ ในกามและในภพ. บทว่า
รูเป นาสึสติ ไม่หวังในรูป คือไม่ปรารถนาในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 255
แม้ในเสียงเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ราคะนั้นเป็นเครื่องกังวล เพราะ
อรรถว่า ห่วงใย หรือเครื่องกังวลคือราคะ เพราะอรรถว่า มัวเมา. แม้
ในเครื่องกังวลคือโทสะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือในบท
ทั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัต.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นครั้งก่อนนั้นแล.
จบอรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 256
กัปปมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านกัปปะ
[๓๖๖] (ท่านกัปปะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรมอันเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อัน
ชราและมัจจุราชถึงรอบแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก
อย่างไร.
[๓๖๗] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการมาและการไป
กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติ
ชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ติฏต
ดังนี้.
แม้ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้ที่สุดข้างปลายแห่ง
สงสารก็ไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง
ติดอยู่ น้อมใจ ไปแล้ว ในท่ามกลางสงสาร.
ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้น
ชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่ง
สงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยชาติเท่านี้ พ้น
จากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 257
เท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติ
เท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้ ... สิ้น
พันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้ ... สิ้นโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปี
เท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นกัปเท่านี้ ...
สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนกัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัป
เท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิกัป
เท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสาร
ย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้.
สมจริงดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดอันรู้ไม่ได้ ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นไว้ มีตัณหาเป็น
เครื่องประกอบไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป เสวยความทุกข์ความพินาศเป็น
อันมากตลอดกาลนาน มากไปด้วยป่าช้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้
แหละ จึงสมควรจะเบื่อหน่าย ควรจะคลายกำหนัด ควรจะหลุดพ้นใน
สังขารทั้งปวง ดังนี้. ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้.
ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร วัฏฏะจักเป็นไป
สิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างปลาย
แห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ...
สิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติเท่านี้ ... สิ้นโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นร้อย
โกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิชาติเท่านี้ ... สินแสนโกฏิชาติเท่านี้ ... สิ้น
ปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยปีเท่านี้... สิ้นพันปีเท่านี้ ... สิ้นแสนปีเท่านี้... สิ้นโกฏิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 258
ปีเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิปีเท่านี้ ... สิ้นแสนโกฏิปี
เท่านี้... สิ้นกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยกัปเท่านี้ ... สิ้นพันกัปเท่านี้ ... สิ้นแสน
กัปเท่านี้ ... สิ้นโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ... สิ้นพันโกฏิกัป
เท่านี้ ... วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป
ย่อมไม่มีอย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ แม้
ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างนี้.
สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน ติดอยู่ น้อมใจไปแล้ว
ในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่อง
กล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า กปฺโป
เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ท่านกัปปะทูลถามว่า.
[๓๖๘] คำว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความ
ว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ
เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว. คำว่า เมื่อภัยใหญ่มี
แล้ว ความว่า เมื่อชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย มีแล้ว เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว.
[๓๖๙] คำว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชรา
ถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุราชถูกต้อง ถึงรอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 259
ตั้งลง ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ
มรณะก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุราชถึงรอบแล้ว.
[๓๗๐] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่ง ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ขอจงทรง
ประกาศซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น
ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป.
คำว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ. คำว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและ
ความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระ-
องค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง.
[๓๗๑] พราหมณ์นั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์ ใน
อุเทศว่า ตฺวญฺจ เม ทีปมกฺขาหิ ดังนี้.
คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่ง ความว่า ขอจงตรัสบอก ...
ขอจงประกาศซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่ต้านทาน ธรรมเป็นที่
ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์.
[๓๗๒] คำว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร ความว่า ทุกข์นี้พึงดับ
คือ พึงสงบ พึงถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้นี่แหละ คือ
ทุกข์อันมีในปฏิสนธิไม่พึงบังเกิดอีก คือ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดพร้อม
ไม่พึงบังเกิด ในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 260
สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโว-
การภพ ปัญจโวการภพ ในคติใหม่ อุปบัติใหม่ ปฏิสนธิใหม่ ภพ
สงสารหรือในวัฏฏะ พึงดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในภพ
นี้นี่แหละ อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว
ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก
อย่างไร.
[๓๗๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนกัปปะ)
เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ที่ตั้งอยู่
ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่
มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ดูก่อนกัปปะ เรา
จะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน.
[๓๗๔] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการไปและการมา
กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก
ชาติ ชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเฌ สรสฺมึ
ติฏฺต ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 261
แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ล ฯ
ก็สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อมใจไปแล้ว
ในท่ามกลางสงสาร ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร ฯลฯ
ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสาร
ย่อมไม่ปรากฏอย่างไร ฯ ล ฯ ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้
อย่างนี้ แม้ที่สุดข้างต้น แม้ที่สุดข้างปลายแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏแม้
อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดอยู่ น้อม
ใจไปแล้วในท่ามกลางสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ใน
อุเทศว่า กปฺปาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ. คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนกัปปะ.
[๓๗๕] ข้อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความ
ว่า เมื่อกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เกิดแล้ว คือ เกิด
พร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว.
คำว่า เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ความว่า เมื่อชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย
มรณภัย มีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัย
ใหญ่มีแล้ว.
[๓๗๖] ข้อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ความว่า ผู้อันชรา
ถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง ประกอบแล้ว อันมัจจุถูกต้อง ถึงรอบ ตั้งลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 262
ประกอบแล้ว อันชาติไปตาม ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะ
ก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไร
เป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว.
[๓๗๗] ข้อว่า ดูก่อนกัปปะ เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน
ความว่า เราจะบอก ... จะประกาศ ซึ่งธรรมเป็นที่พึ่ง คือ ธรรมเป็นที่
ต้านทาน ธรรมเป็นที่ซ่อนเร้น ธรรมเป็นสรณะ ธรรมเป็นคติที่ไป
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า กัปปะ ใน
อุเทศว่า กปฺป เต ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนกัปปะ เราจะบอก
ธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราจะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ที่ตั้งอยู่
ในท่ามกลางสงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่
มีแล้ว ผู้อันชราและมัจจุถึงรอบแล้ว ดูก่อนกัปปะ เรา
จะบอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ท่าน.
[๓๗๘] เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มี
ตัณหาเครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไป
แห่งชราและมัจจุนี้นั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง.
[๓๗๙] คำว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ในอุเทศว่า อกิญฺจน
อนาทาน ดังนี้ ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสทุจริต
เป็นเครื่องกังวล อมตนิพพานะเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 263
ที่ระงับแห่งกิเลสเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล.
คำว่า ไม่มีตัณหาเครี่องถือมั่น ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ
ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า เครื่องถือมั่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น.
[๓๘๐] คำว่า เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น ความว่า เป็นที่
พึ่ง คือ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ซ่อนเร้น เป็นสรณะ เป็นคติที่ไป.
คำว่า ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น คือ ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพาน
นั้นมิได้มี โดยที่แท้ที่พึ่งนั้นนั่นแหละเป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธานสูงสุด และอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่พึ่งนี้ไม่ใช่
อย่างอื่น.
[๓๘๑] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตรัสว่า วานะ ในอุเทศว่า นิพฺพาน อิติ น พฺรูมิ ดังนี้.
อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่ง
ตัณหาเครื่องร้อยรัด.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับ.
คำว่า เราขอบอก คือ เราขอบอก ... ขอประกาศ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เราขอบอกนิพพานนั้น.
[๓๘๒] คำว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ ความว่า อมตนิพพาน
เป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 264
เราขอบอกนิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มี
ตัณหาเครื่องถือมั่น ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น เป็นที่สิ้นไป
แห่งชราและมัจจุนี้นั้นว่า ธรรมเป็นที่พึ่ง.
[๓๘๓] พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้ว
เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจแห่งมาร ไม่ไป
บำรุงมาร.
[๓๘๔] คำว่า เอต ในอุเทศว่า เอตทญฺาย เย สตา ดังนี้
คือ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเครื่อง
ร้อยรัด.
คำว่า อญฺาย คือ รู้ทั่วถึง ทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญ
ทำให้แจ่มแจ้ง คือ รู้ทั่วถึง ... ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ
ไปเป็นธรรมดา.
คำว่า เหล่าใด คือ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย.
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ เพราะเหตุนั้น
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้วเป็นผู้มีสติ.
[๓๘๕] คำว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว ความว่า มีธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 265
อันเห็นแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว มีธรรม
อันพิจารณา มีธรรมอันเจริญแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับ
ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว.
[๓๘๖] ผู้ประกอบมหาชนไว้ในบาปธรรมแล้วให้ตาย ผู้ประกอบ
มหาชนไว้ในธรรมดำ เป็นผู้ใหญ่ ผู้มีในส่วนสุดแห่งอกุศลธรรม ผู้ไม่
ปล่อยมหาชน ผู้เป็นพวกพ้องของคนประมาท ชื่อว่า มาร ในอุเทศว่า
น เต มารวสานุคา ดังนี้.
คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจมาร
ความว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจมาร แม้
มารก็ยังอำนาจให้เป็นไปในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นไม่ได้ พระ-
อรหันตขีณาสพเหล่านั้นครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีซึ่งมาร พวก
ของมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร ที่อยู่แห่งมาร โคจร
แห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ย่อมอยู่ ดำเนิน เป็นไป รักษา บารุง
เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่
ไปตามอำนาจมาร.
[๓๘๗] คำว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุงมาร
ความว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุง เที่ยวบำรุง บำเรอ
รับใช้มาร พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้บำรุง เที่ยวบำรุง
บำเรอ รับใช้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 266
พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ไม่ไปบำรุงมาร เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด รู้ทั่วถึงนิพพานนั้นแล้ว
เป็นผู้มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับแล้ว พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ไปตามอำนาจแห่งมาร ไม่ไป
บำรุงมาร.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบกัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๐
อรรถกถากัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๐
พึงทราบวินิจฉัยใน กัปปสุตตนิทเทสนี้ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสงสารอันเป็นท่ามกลาง
เพราะไม่มีความปรากฏที่สุดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย. บทว่า ติฏฺต
คือ แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่. บทว่า ยถยิท นาปร สิยา คือ ทุกข์นี้ไม่
พึงมีอีกอย่างไร.
บทว่า อาคมน การมา คือ การมาในที่นี้แต่เบื้องต้นและที่สุด.
บทว่า คมน การไป คือ การไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้. บทว่า คมนา-
คมน การไปและการมา ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจทั้งสองอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 267
บทว่า กาล คือ กาลมรณะ. บทว่า คติ คือ การบังเกิด. บทว่า
ภวาภโว คือ ภพแต่ภพ. บทว่า จุติ จ คือ การเคลื่อนจากภพ. บทว่า
อุปปตฺติ จ คือ การอุบัติต่อจากการจุติ. บทว่า นิพฺพตฺติ จ ความ
บังเกิด คือ ความปรากฏ. บทว่า เภโท จ คือ ความทำลายขันธ์.
บทว่า ชาติ จ คือ ความเกิด. บทว่า ชรา จ คือ ความเสื่อมแห่งขันธ์
ทั้งหลาย. บทว่า มรณญฺจ ความตาย คือ การสละชีวิตินทรีย์. บทว่า
ปุริมาปิ โกฏิ น ปญฺายติ ที่สุดแม้เบื้องต้นก็ไม่ปรากฏ คือ ไม่มี.
ที่สุดแม้เบื้องปลายก็เหมือนอย่างนั้น. บทว่า เอตฺตกา ชาติโย คือ สิ้น
ชาติประมาณเท่านี้. บทว่า วฺฏฏ วตฺติ วัฏฏะเป็นไปแล้ว คือ ความ
เป็นไปแห่งสงสารเป็นไปแล้ว. บทว่า ตโต ปร น วตฺตติ คือ พ้นจาก
นั้นแล้วไม่เป็นไป. บทว่า เหว นตฺถิ คือ ไม่มีอย่างนี้. หิ ศัพท์ เป็น
นิบาต.
บทว่า อนมตคฺโคย คือ สงสารนี้มีที่สุดอันรู้ไม่ได้. บทว่า อวิชฺชา
นีวรณาน คือ สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชากั้นไว้. บทว่า ตณฺหาสญฺ-
โชนาน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ คือ มีตัณหา กล่าวคือกาม
ราคะผูกพันไว้. บทว่า สนฺธาวต คือ วนเวียนไปบ่อย ๆ ในกามธาตุ.
บทว่า สสรต คือ ท่องเที่ยวไปในรูปธาตุและอรูปธาตุ. บทว่า ทุกฺข
ปจฺจนุภูต เสวยความทุกข์อันเป็นไปทางกายและทางจิต. บทว่า ติพฺพ คือ
มาก. บทว่า พฺยสน คือ ไม่มีความเจริญ พินาศ. บทว่า กฏสีววฑฺฒิต
คือ มากไปด้วยป่าช้า. บทว่า อลเมว คือ สมควรแท้. บทว่า สพฺพ-
สงฺขาเรสุ คือ ในสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิพฺพินฺทิตุ เพื่อความ
เบื่อหน่าย คือ เพื่อความกระสัน. บทว่า วิรชฺชิตุ คือ เพื่อให้เกิดความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 268
คลายกำหนัด. บทว่า วิมุจฺจิตุ คือ เพื่อหลุดพ้น. บทว่า วฏฺฏ วตฺติสฺสติ
วัฏฏะจักเป็นไป คือ วัฏฎะเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นไปแล้วในสงสาร จัก
เป็นไปในอนาคต. บทว่า ตโต ปร น วตฺติสฺสติ พ้นจากนั้นจักไม่
เป็นไป คือ ความเป็นไปในสงสารในอนาคต พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป.
บทว่า ชาติภเย คือ ภัยอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ในชราเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่
กัปปมาณพ จึงได้ตรัสคาถาทั้งหลายต่อ ๆ ไป. คาถาที่ ๒ มีความได้
กล่าวไว้แล้ว.
พึงทราบความคาถาที่ ๓ ต่อไป. บทว่า อกิญฺจน ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล คือ ตรงกันข้ามกับกิเลสเครื่องกังวล. บทว่า อนาทาน ไม่มี
ตัณหาเครื่องถือมั่น คือ ตรงกันข้ามกับตัณหาเครื่องถือมั่น. อธิบายว่า
เข้าไปสงบกิเลสเครื่องกังวลและตัณหาเครื่องถือมั่น. บทว่า อนาปร ไม่
ใช่ธรรมอย่างอื่น คือ เว้นจากธรรมที่เสมอกันเช่นกัน อย่างอื่น. อธิบาย
ว่า เป็นธรรมประเสริฐที่สุด.
พึงทราบความในคาถาที่ ๔. บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺคู พระ-
ขีณาสพเหล่านั้นไม่ไปบำรุงมาร คือ ไม่เที่ยวบำรุง บำเรอ รับใช้มาร.
ชื่อว่า มาร เพราะประกอบมหาชนไว้ในบาปแล้วให้ตาย. ชื่อว่า มี
ธรรมดำ เพราะเป็นผู้ประกอบในอกุศลกรรม. ชื่อว่า ผู้เป็นใหญ่ เพราะ
เป็นใหญ่ในเทวโลกทั้ง ๖. ข้อว่า อนฺตคู เพราะเป็นผู้ไปสู่ที่สุดแห่ง
อกุศลกรรม. ชื่อว่า นมุจิ เพราะไม่ปล่อยมหาชน. ชื่อว่า เป็นพวกพ้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 269
ของคนประมาท เพราะเป็นญาติโดยเป็นที่นับถือกันของคนประมาท คือ
อยู่ปราศจากสติ. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอด
คือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับครั้งก่อน.
จบอรรถกถากัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 270
ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านชตุกัณณี
[๓๘๘] (ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเพื่อ
จะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณดัง
ดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระองค์จงตรัส
บอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จง
ตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.
[๓๘๙] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ความว่า ข้าพระองค์ได้ยิน ได้ฟัง ศึกษา
ทรงจำ เข้าไป กำหนดว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเป็นพระอรหันต์ ฯ ล ฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงมี
ความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงองอาจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วีระ. ให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้สามารถ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว
ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็น
ผู้ขนลุกขนพอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้แกล้วกล้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 271
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเว้นแล้วจากบาปธรรมทั้งปวง
ในโลกนี้ ล่วงเสียแล้วซึ่งทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความ
เพียร พระองค์ทรงมีวิริยะ มีปธาน ทรงแกล้วกล้า เป็น
ผู้คงที่ ท่านกล่าวว่ามีพระหฤทัยเป็นอย่างนั้น.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟัง
แล้วว่า.
โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า อกามกามี ดังนี้ กามมี ๒ คือ
วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ
เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ
กิเลสกาม เพราะทรงกำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงยินดีกาม ไม่ทรงติดใจกาม
ทั้งหลายว่า กามทั้งหลายประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่มี
กาม ออกจากกามแล้ว มีกามอันทรงสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะหายไปแล้ว มีราคะอันทรง
สละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว สละคืนแล้ว ทรงหายหิวแล้ว ดับแล้ว
เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีพระองค์อันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่
กาม.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ชตุกณฺณี ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 272
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
เป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า ชตุกณฺณี เป็นโคตร ฯ ล ฯ เป็นคำบัญญัติเรียกของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า.
[๓๙๐] คำว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว ในอุเทศว่า โอฆาติค
ปุฏฐุมกามมาคม ดังนี้ ความว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลส คือ ผู้ก้าวล่วง
ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง ซึ่งห้วงกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว.
คำว่า เพื่อจะทูลถาม ความว่า เพื่อจะทูลถาม คือ สอบถาม
ทูลวิงวอน ทูลเชิญ ทูลให้ทรงประสาท.
คำว่า จึงมา ... พระองค์ผู้ไม่มีกาม ความว่า ข้าพระองค์มา คือ
เป็นผู้มา เข้ามา ถึงพร้อม สมาคมกับพระองค์ เพื่อจะทูลถามพระองค์
ผู้ไม่มีกาม คือ ผู้ออกแล้วจากกาม มีกามอันสละแล้ว สำรอกแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะอันสละ สำรอก
ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ... ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลส
แล้ว จึงมาเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม.
[๓๙๑] สันติก็ดี สันติบทก็ดี ย่อมมีโดยอาการเดียวกัน สันติบท
นั้นนั่นแหละ เป็นอมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า สันติ ในอุเทศว่า สนฺติปท พฺรูหิ
สหาชเนตฺต ดังนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทนี้สงบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 273
บทนี้ประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกาหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็น
เครื่องร้อยรัด.
โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความ
สงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ ธรรมเหล่านั้น คือ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า สันติบท
ขอพระองค์จงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่งสันติบท คือ บทที่ต้านทาน
บทที่ซ่อนเร้น บทที่เป็นสรณะ บทที่ไม่มีภัย บทที่ไม่มีความเคลื่อน บท
อมตะ บทนิพพาน สัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่า ญาณเป็นดังดวงตา
ในคำว่า สหาชเนตฺต ดังนี้ ญาณเป็นดังดวงตาและความเป็นพระชินเจ้า
เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน
ไม่หลังกันที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า มี
ญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกสันติบท.
[๓๙๒] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ-
คืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความ
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ยถาตจฺฉ ในอุเทศว่า
ยถาตจฺฉ ภควา พฺรูหิ เมต ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 274
คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า
ขอพระองค์จงตรัสบอก ฯ ล ฯ ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระ-
องค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่ในกาม ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว
จึงมาเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์
ผู้มีญาณดังดวงตา อันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอ
พระองค์จงตรัสบอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.
[๓๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช
ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระ-
อาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสง
ปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่น
ดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราในภพนี้ ที่
ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.
[๓๙๔] คำว่า ภควา ในอุเทศว่า ภควา หิ กาเม อภิภุยฺย อิริยติ
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ.
โดยหัวข้อว่า กาม ในคำว่า กาเม กามมี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลส-
กาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 275
กิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ
ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกาจัด ทรงย่ำยีแล้ว ซึ่งกิเลสกาม เสด็จ
เที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง ทรงเยียวยา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป.
[๓๙๕] พระอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า อาทิจฺโจ ในอุเทศว่า อาทิจฺโจว
ปฐวึ เตชี เตชสา ดังนี้.
ชรา๑ ท่านกล่าวว่า ปพี พระอาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วย
เดช คือ รัศมี ส่องแผ่ปกคลุมครอบปฐพี ให้ร้อน เลื่อนลอยไปใน
อากาศทั่วไป กำจัดมืด ส่องแสงสว่างไปในอากาศอันว่างเป็นทางเดิน
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดชคือพระญาณ ประกอบด้วยเดชคือ
พระญาณ ทรงกำจัดแล้วซึ่งสมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ ความมืด
คือกิเลส อันธการคืออวิชชา ทรงแสดงแสงสว่างคือญาน ทรงกำหนด
รู้ซึ่งวัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรง
กำจัด ทรงย่ำยี ซึ่งกิเลสกาม ย่อมเสด็จเที่ยวไป ดำเนินไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนพระ-
อาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี.
[๓๙๖] คำว่า มีพระปัญญาสร้างขวางดุจแผ่นดิน. . . แก่ข้า-
พระองค์ผู้มีปัญญาน้อย ความว่า ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย คือ มี
ปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ ส่วนพระองค์มีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญา
มาก มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาแล่น มีพระปัญญากล้าแข็ง มี
พระปัญญาทำลายกิเลส.
ปฐพี ท่านกล่าวว่า ภูริ พระองค์ทรงประกอบด้วยพระปัญญาอัน
๑. ม. ชคตี แปลว่า แผ่นดิน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 276
ไพบูลย์ กว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย.
[๓๙๗] คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺม
ยมห วิชญฺ ดังนี้ ความว่า ขอจงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่ง
พรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์สิ้นเชิง คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯ ล ฯ
นิพพาน และข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัส
บอกธรรม.
คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ
พึงรู้แจ้ง พึงรู้แจ้งเฉพาะ พึงแทงตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทำ
ให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึง
ทราบได้.
[๓๙๘] คำว่า เครื่องละชาติและชราในภพนี้ ความว่า ธรรม
เป็นเครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่งชาติ ชรา
และมรณะในภพนี้แล คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เครื่อง
ละชาติและชราในภพนี้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช
ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระ-
อาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสง
ปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจ
แผ่นดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 277
ภพนี้ ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญา
น้อยเถิด.
[๓๙๙] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี)
ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด
ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน
ยึดไว้ ควรสลัดเสีย อย่าได้มีแก่ท่านเลย.
[๔๐๐] โดยหัวข้อว่า กาเมสุ ในอุเทศว่า กาเมสุ วินยเคธ
ดังนี้ กาม มี ๒ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความกำหนัด
ในคำว่า เคธ.
คำว่า จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย ความว่า ท่าน
จงกำจัด คือ จงปราบปราม จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด ให้
ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกาม
ทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า
ชตุกัณณี.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี.
[๔๐๑] คำว่า ซึ่งเนกขัมมะ ในอุเทศว่า เนกฺขมฺม ทฏฺฐุ เขมโต
ดังนี้ ความว่า เห็น คือ เห็นแจ้ง เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 278
ให้แจ้งแล้ว ชิงความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่
เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความคุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ การประกอบความ
เพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
นิพพานและข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน โดยความเกษม คือ โดยเป็นที่
ต้านทาน โดยเป็นที่ซ่อนเร้น โดยเป็นสรณะ โดยเป็นที่พึ่ง โดยไม่มีภัย
โดยความไม่เคลื่อนไหว โดยความไม่ตาย โดยเป็นธรรมออกจากตัณหา
เครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะ โดยความ
เกษม.
[๔๐๒] คำว่า ที่ท่านยึดไว้ ในอุเทศว่า อุคฺคหิต นิรตฺต วา
ดังนี้ ความว่า ที่ท่านยึด คือจับต้อง ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปด้วย
สามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ.
คำว่า ควรสลัดเสีย ความว่า ควรสลัด คือ ควรปล่อย ควรละ
ควรบรรเทา ควรทำให้สิ้นสุด ควรให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสีย.
[๔๐๓] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า
กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
กิเลสเครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้ประจักษ์ อย่าได้ปรากฏ คือ
ท่านจงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 279
จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวล อย่าได้มีแล้วแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด
ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน
ยึดไว้ ควรสลัดเสียอย่าได้มีแก่ท่านเลย.
[๔๐๔] กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้
เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง อย่าได้มีแล้ว
แก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.
[๔๐๕] คำว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาติ
นั้นให้เหือดแห้งไป ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง
สังขารทั้งหลายในอดีตกาล ท่านจงเผากิเลสเหล่านั้นให้เหือดไป คือให้
แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จง
ทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า
กิเลสชาติใด ในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.
อนึ่ง กรรมาภิสังขารส่วนอดีตเหล่าใด อันให้ผลแล้ว ท่านจงเผา
กรรมาภิสังขารเหล่านั้นให้เหือดไป คือ ให้แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ
จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี
แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผา
กิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 280
[๔๐๖] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน
ความว่า กิเลสเครื่องกังวลในอนาคต ตรัสว่า กิเลสเครื่องกังวลในภาย
หลัง กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส
ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารทั้งหลายในอนาคต กิเลสเครื่อง
กังวลนี้ อย่าได้มีมาแล้วแก่ท่าน คือ ท่านจงอย่ายังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด จงละ จงบรรเทา จงทำให้
สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวลใน
ภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน.
[๔๐๗] คำว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นปัจจุบัน ตรัสว่า
ท่ามกลาง ท่านจักไม่ถือ คือ จักไม่ยึดถือ จักไม่ลูบคลำ จักไม่เพลิดเพลิน
จักไม่ติดใจ ซึ่งสังขารอันเป็นปัจจุบันด้วยสามารถตัณหา ด้วยสามารถ
ทิฏฐิ คือจักละ จักบรรเทา จักทำให้สิ้นสุด จักให้ถึงความไม่มี ซึ่ง
ความยินดี ความชอบใจ ความยึด ความถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง.
[๔๐๘] คำว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป ความว่า ชื่อว่า จัก
เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ เพราะความที่ราคะ
โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว สงบวิเศษ เผาเสียแล้ว ให้ดับไปแล้ว จัก
เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 281
กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้
เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้ว
แก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.
[๔๐๙] ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้
ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.
[๔๑๐] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺพโส นาม-
รูปสฺมึ วีตเคธสฺส พฺราหฺมณ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง
ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ.
คำว่า สพฺพโส นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า
นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูป. ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความกำหนัด.
คำว่า ดูก่อนพราหมณ์. . . ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป
โดยประการทั้งปวง ความว่า ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป คือ
มีความกำหนัดในนามรูปไปปราศแล้ว มีความกำหนัดอันสละแล้ว สำรอก
แล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากความยินดี คือมีความ
ยินดีไปปราศแล้ว มีความยินดีอัน สละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สละคืนแล้ว ในนามรูป โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนพราหมณ์. . . ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดย
ประการทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 282
[๔๑๑] อาสวะ ในคำว่า อาสวา ในอุเทศว่า อาสวสฺส น
วิชฺชนฺติ ดังนี้ มี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
คำว่า อสฺส คือ พระอรหันตขีณาสพ.
คำว่า ย่อมไม่มี คือ อาสวะเหล่านี้ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คืออาสวะเหล่านี้อันพระ-
อรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่
ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาสวะ
ทั้งหลาย . . . ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพนั้น.
[๔๑๒] คำว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ความว่า บุคคล
พึงถึงอำนาจแห่งมัจจุ พึงถึงอำนาจแห่งมรณะ หรือพึงถึงอำนาจแห่ง
พวกของมารด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้นย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่
ปรากฏ ไม่ประจักษ์แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น คืออาสวะเหล่านั้นอัน
พระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว
ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้
ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 283
อรรถกถาชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑
พึงทราบวินิจฉัยในชตุกัณณีสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุตฺวานห วีร อกามกามึ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้า-
พระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม คือข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
ว่าพระพุทธองค์ไม่มีความใคร่กาม เพราะไม่ประสงค์กามทั้งหลาย โดย
นัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า อกามมาคม ผู้ไม่มีกาม คือ
ข้าพระองค์มาเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหา-
ชเนตฺต คือ ผู้มีญาณดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับการตรัสรู้. บทว่า
ยถาตจฺฉ คือ ธรรมอันแท้จริง. ชตุกัณณีมาณพทูลวิงวอนอยู่อีกว่า
ขอพระองค์จงทรงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะว่าชตุกัณณีมาณพควรจะ
ทูลวิงวอนอยู่แม้พันครั้ง จะกล่าวพูดไปทำไมถึงสองครั้ง.
ความแห่งบททั้งหลายนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเป็นผู้ถึงพร้อม
แล้วด้วยวิชชาและจรณะ. ในบทนั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา ๓ บ้าง
วิชชา ๘ บ้าง. วิชชา ๓ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในภยเภรวสูตร
นั่นแล. วิชชา ๘ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอัมพัฏฐสูตร. ในบทว่า
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นั้น ท่านกล่าววิชชา ๘ กำหนดเอาอภิญญา ๖
พร้อมด้วยวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ. พึงทราบธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้
คือ การสำรวมในศีล ๑ ความเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์
ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ การประกอบความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 284
เพียร ๑ สัทธรรม ๗ รูปาวจรฌาน ๔ ชื่อว่า จรณะ. เพราะพระอริย-
สาวกย่อมเที่ยวไปสู่ทิศอันเป็นอมตะด้วยธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้ ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า จรณะ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
มหานาม อริยสาวกในศาสนานี้เป็นผู้มีศีล. บททั้งปวงพึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวแล้วในมัชฌิมปัณณาสก์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วย
วิชชาทั้งหลายเหล่านี้ และด้วยจรณะนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า วิชฺชาจรณ-
สมฺปนฺโน. ในบทนั้น การถึงพร้อมด้วยวิชชา ยังพระสัพพัญญุตญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บริบูรณ์ดำรงอยู่. การถึงพร้อมด้วยจรณะ ยัง
ความเป็นผู้มีพระมหากรุณาให้บริบูรณ์ดำรงอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ทรงทราบถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสรรพสัตว์
เพราะพระสัพพัญญุตญาณ ทรงเว้นสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ประกอบสิ่งที่
เป็นประโยชน์ เพราะพระองค์มีพระมหากรุณา สมกับที่พระองค์เป็น
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน. ด้วยเหตุนั้น สาวกของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
มิใช่ปฏิบัติไม่ชอบ ดุจสาวกของผู้ปฏิบัติผิดในวิชชาและจรณะมีการทำตน
ให้เร่าร้อนเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุคโต เสด็จไปดีแล้ว เพราะเสด็จ
ไปงาม เสด็จไปสู่ฐานะอันดี เสด็จไปโดยชอบ และเพราะตรัสชอบ.
จริงอยู่ แม้การไปก็เรียกว่า คต ไปแล้ว. การเสด็จไปของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น งามบริสุทธิ์ไม่มีโทษ. ก็นั่นเพราะอะไร. เพราะอริยมรรค.
ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปไม่ติดขัดยังทิศอัน
เกษมด้วยการเสด็จไป เพราะเหตุนั้น จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จ
ไปงาม. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปสู่ฐานะอันดี คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 285
อมตนิพพาน เพราะเหตุนั้น จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปสู่
ฐานะอันดี. อนึ่ง พระองค์เสด็จไปแล้วโดยชอบ ไม่ทรงกลับมาหากิเลส
ที่พระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยมรรคนั้น ๆ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับไปหากิเลสที่พระองค์
ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ฯ ล ฯ พระนามว่า สุคโต เพราะไม่กลับ
ไปหากิเลสที่พระองค์ละได้แล้วด้วยอรหัตมรรค. หรือว่าพระองค์เสด็จไป
แล้วโดยชอบ ทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขเท่านั้นแก่สรรพโลก ด้วยการทรง
ปฏิบัติชอบบริสุทธิ์ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีครบ ๓๐ จำเดิมแต่บาทมูล
ของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตราบเท่าถึงโพธิมณฑล ไม่ทรงเข้าถึงที่สุด
เหล่านี้ คือกามสุขและการทำตนให้ลำบาก อันเป็นสัสสตทิฏฐิ และ
อุจเฉททิฏฐิ เสด็จไปแล้ว เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า สุคโต
เพราะเสด็จไปโดยชอบ. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำรัส
ชอบ ตรัสพระวาจาอันสมควร ในฐานะที่เหมาะสม เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงมีพระนามว่า สุคโต เพราะพระดำรัสชอบ. ยกตัวอย่างพระ-
สูตรต่อไปนี้ พระตถาคตทรงทราบวาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระ-
ตถาคตจะไม่ตรัสวาจานั้น พระตถาคตทรงทราบวาจาแม้ใด จริง แท้
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคน
อื่น พระตถาคตจะไม่ตรัสวาจาแม้นั้น อนึ่ง พระตถาคตทรงทราบวาจา
ใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
ชอบใจของคนอื่น พระตถาคตเป็นผู้รู้จักกาลในข้อนั้น เพื่อทำให้แจ้ง
วาจานั้น พระตถาคตทรงทราบวาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 286
ด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น พระตถาคต
จะไม่ตรัสวาจาแม้นั้น อนึ่ง พระตถาคตทรงทราบวาจาใด จริง แท้
ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
พระตถาคตเป็นผู้รู้จักกาลในข้อนั้น เพื่อทำให้แจ้งวาจานั้นฉะนี้แล. พึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า สุคโต เพราะมีพระดำรัสชอบ
ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้ง
โลกด้วยประการทั้งปวง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้
ทรงรู้ทั่วทรงแทงตลอดโลกด้วยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะ โดยเหตุ
เกิด โดยดับเหตุ โดยอุบายดับเหตุ. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่าควรรู้ควรเห็นควรถึงที่สุดโลกด้วยการไป
ของผู้ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เรายัง
ไม่บรรลุ จะไม่กล่าวถึงที่สุดโลก การทำที่สุดทุกข์ อนึ่ง ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย เราจะไม่บัญญัติโลก เหตุเกิดโลก การดับโลก และปฏิปทา
ให้ถึงการดับโลก ในเพราะซากอันมีสัญญา มีใจประมาณวาหนึ่งนี้เท่านั้น.
แต่ไหนแต่ไรมาบุคคลพึงถึงที่สุดของโลกด้วยการเดิน
ทางได้ แต่จะไม่มีการพ้นจากทุกข์ เพราะยังไม่ถึงที่สุด
ของโลก เพราะฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้รู้แจ้ง
โลก ทรงมีปัญญาดีถึงที่สุดโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เป็นผู้มีความสงบ ทรงรู้ที่สุดของโลก ไม่ทรงหวังโลกนี้
และโลกหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 287
อนึ่ง โลกมี ๓ อย่าง คือสังขารโลก ๑ สัตวโลก ๑ โอกาสโลก ๑
ในโลกทั้ง ๓ นั้น พึงทราบสังขารโลกในอาคตสถานว่า โลกหนึ่งคือสัตว์
ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร. พึงทราบสัตวโลกในอาคตสถานว่า
โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง. พึงทราบโอกาสโลกในอาคตสถานว่า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังบริหารโลก แสงสว่าง
ยังหมุนไปทั่วทิศตราบใด ตราบนั้นอำนาจของท่านยัง
เป็นไปในโลกนี้ตั้งพันส่วน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แม้โอกาสโลกนี้ด้วยประการทั้งปวง.
จริงดังนั้น โลก ๑ คือสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ คือนาม
และรูป โลก ๓ คือเวทนา ๓ โลก ๔ คืออาหาร ๔ โลก ๕ คือ
อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คืออายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือวิญญาณ-
ฐิติ ๗ โลก ๘ คือโลกธรรม ๘ โลก ๙ คือสัตตาวาส ๙ โลก ๑๐
คืออายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คืออายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘ แม้
สังขารโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบด้วยประการทั้งปวง. อนึ่ง
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้อัธยาศัย ทรงรู้ความประพฤติ
อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน ทรงรู้อารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมด
ทรงรู้สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสเพียงดังธุลีน้อย มีกิเลสเพียงดังธุลีมาก มี
อินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว ให้รู้ได้ง่าย ให้รู้ได้ยาก
ควรตรัสรู้ ไม่ควรตรัสรู้ ฉะนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งแม้สัตวโลกด้วยประการ
ทั้งปวง. แม้โอกาสโลก ก็ทรงรู้แจ้งเหมือนสัตว์โลก. จริงดังนั้น โอกาส-
โลกนั้น เป็นจักรวาลหนึ่ง โดยยาว โดยกว้าง โดยรอบ หนึ่งล้านสองแสน
สี่ร้อยห้าสิบโยชน์๑
๑. ม. ทวาทส สตสหสฺสานิ จตุตึส สตานิ จ ปญฺาสญฺจ โยชนานิ แปลว่า ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 288
จักรวาลทั้งหมดมีปริมณฑล สามล้านหกแสน
หนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์.
ในโอกาสโลกนั้น
มีแผ่นดินหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ น้ำรองแผ่นดิน
สี่แสนแปดหมื่นโยชน์ ตั้งอยู่บนลม.
ลมที่รองน้ำแม้นั้น
ลมพุ่งขั้นสู่ท้องฟ้า เก้าแสนหกหมื่นโยชน์ นี้เป็น
การตั้งอยู่ของโลก.
เมื่อสัณฐานโลกเป็นอยู่อย่างนี้
ภูเขาสิเนรุหยั่งลงในห้วงน้ำใหญ่โผล่ขึ้นสูงแปดหมื่น
สี่พันโยชน์. รัตนะวิจิตรนานาชนิดล้วนเป็นของทิพย์
มีอยู่ที่ภูเขาสิเนรุในส่วนที่หยั่งลงและโผล่ขึ้น ตามลำดับ
ประมาณส่วนละครึ่งหนึ่ง ๆ.
ภูเขาหินล้วนเป็นภูเขาใหญ่ ๗ ลูก คือยุคนธระ อิสิน-
ธระ กรวิกะ สุทัสสนะ เนมินธระ วินตกะ อัสสกัณณะ
ตั้งอยู่รอบภูเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช เทวดา
และยักษ์อาศัยอยู่.
ภูเขาหิมวันต์ ๕ ลูก สูงร้อยโยชน์ ยาวและกว้าง
สามพันโยชน์ ประดับด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด.
ภูเขาล้อมรอบโคน สามสิบห้าโยชน์ ความกว้าง
ของสาขาที่โคนห้าสิบโยชน์ ตั้งอยู่โดยรอบ.
ต้นชมพูขึ้นเต็มแผ่ไปร้อยโยชน์ ด้วยความหนาแน่น
ของต้นชมพูนั้น จึงเรียกว่า ชมพูทวีป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 289
ก็ขนาดของต้นชมพูนี้เท่าใด ของต้นแคฝอยของพวกอสูร ของ
ต้นงิ้วของพวกครุฑ ของต้นกระทุมในอมรโคยานทวีป ของต้นกัลปพฤกษ์
ในอุตตรกุรุทวีป ของต้นซีก ในปุพพวิเทหทวีป ของต้นปาริฉัตตกะ
ในดาวดึงส์ ก็มีขนาดเท่านั้นเหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นชมพู ต้นไม้ปาริฉัตตกะ ของ
พวกเทวดา ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นซีกทั้ง ๗ นี้ เกิด
ขึ้นด้วยสิริ. การก่อตัวขึ้นของหินจักรวาล หยั่งลงในห้วง
น้ำใหญ่ ผุดขึ้นแปดหมื่นสองพันโยชน์ ล้อมโลกธาตุนั้น
ทั้งหมดตั้งอยู่.
ในจักรวาลนั้น จันทมณฑล สี่สิบเก้าโยชน์ สุริยมณฑล
ห้าสิบโยชน์ ดาวดึงสพิภพ หนึ่งหมื่นโยชน์ อสุรพิภพ อเวจีมหานรก
และชมพูทวีปก็เหมือนกัน อมรโคยานทวีป เจ็ดพันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป
ก็เหมือนกัน อุตตรกุรุทวีป แปดพันโยชน์. ในจักรวาล มหาทวีปหนึ่งๆ
มีทวีปน้อย ทวีปละห้าร้อยเป็นบริวาร. จักรวาลหนึ่งทั้งหมดนั้น เป็น
โลกธาตุเดียว โลกันตริกนรก อยู่ในระหว่างโลกธาตุนั้น. ด้วยประการ
ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงรู้ ทรงรู้ทั่วถึง ทรงแทงตลอดจักรวาล
อันไม่มีที่สุด โลกธาตุอันไม่มีที่สุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด. แม้
โอกาสโลก พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งด้วยประการทั้งปวงอย่างนั้น. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เป็น โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งด้วยประการทั้งปวง ด้วย
ประการฉะนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มี
ใคร ๆ ประเสริฐกว่าด้วยพระคุณของพระองค์ คือไม่มีผู้ยอดเยี่ยม. จริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 290
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงครอบงำสรรพโลก ด้วยคุณ
คือศีลบ้าง ด้วยคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีผู้เสมอ สมกับเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ
ไม่มีผู้แม้น หาบุคคลเปรียบมิได้ ด้วยคุณคือศีลบ้าง ด้วยคุณคือสมาธิ
ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ก็เรายัง
ไม่เห็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตน ในพวกเทวดาในเทวโลกและมนุษย์
ในโลกเลย. พึงทราบความพิสดารต่อไป. พึงยังอัคคัปปสาทสูตรเป็นต้น
และยังคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มีดังนี้ ให้พิสดาร
ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ เพราะทรง
ฝึกคนที่ควรฝึกได้. อธิบายว่า ฝึกคือแนะนำ. บทว่า ปุริสทมฺม ในบทว่า
ปุริสทมฺมสารถิ นั้น คือคนฝึกไม่ได้ เป็นดิรัจฉานบุรุษก็ดี มนุษยบุรุษ
ก็ดี อมนุษยบุรุษก็ดี ควรฝึกได้. จริงดังนั้น แม้ดิรัจฉานบุรุษ เป็นต้นว่า
อปลาลนาคราช จูโฬทรนาคราช มโหทรนาคราช อัคคิสิขนาคราช
ธูมสิขนาคราช อารวาฬนาคราช และช้างชื่อว่า ธนปาลกะ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าก็ทรงฝึกได้ ทำให้หมดพยศได้ และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลได้.
แม้มนุษยบุรุษ เป็นต้นว่าสัจจกนิคัณฐบุตร อัมพัฏฐมาณพ โปกขรสาติ-
พราหมณ์ โสณทัณฑพราหมณ์ กูฏทันตพราหมณ์ พระองค์ก็ทรงฝึกได้
ทำให้หมดพยศได้ และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลได้. แม้อมนุษยบุรุษ
เป็นต้นว่าอาฬวกยักษ์ สูจิโลมยักษ์ ขรโลมยักษ์ และท้าวสักกเทวราช
พระองค์ก็ยังทรงฝึกได้ ทรงแนะนาด้วยอุบายเป็นเครื่องแนะนาอย่าง
วิจิตรได้. ในบทนี้พึงให้พิสดารด้วยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนเกสี เราแนะนำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 291
คนที่ควรฝึกด้วยถ้อยคำไพเราะบ้าง หยาบบ้าง ทั้งไพเราะและหยาบบ้าง
ดังนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกปฐมฌานเป็นต้น แก่ผู้มีศีล
บริสุทธิ์เป็นต้น และมรรคปฏิทาอันยิ่งแก่พระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม
ทรงฝึกแม้คนที่ฝึกแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นสารถีฝึกคนที่พึงฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมนี้ เป็นบทมีความเป็นอันเดียวกัน
นั่นเอง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกคนที่ควรฝึกได้ โดยประการ
ที่คนทั้งหลายนั่งอยู่โดยบัลลังก์เดียวกัน แล่นไปไม่ติดทิศทั้ง ๘.
บทว่า ปหุ คือ ผู้สามารถ. บทว่า วิสวิ ให้ผู้อื่นมีความเพียร
คือยังความเพียรให้เกิดในสันดานของผู้อื่น. บทว่า อลมตฺโต คือ มีความ
สามารถ. บทว่า วิรโต คือ ทรงเว้นจากบาปทั้งปวงด้วยอริยมรรค.
ไม่มีปฏิสนธิต่อไป เพราะเว้นได้ด้วยอริยมรรค. บทว่า นิรยทุกฺขมติจฺจ
คือ ล่วงเสียซึ่งทุกข์ในนรก เพราะไม่มีปฏิสนธิต่อไป. บทว่า วิริยวาโส
คือ ทรงอยู่ด้วยความเพียร. บทว่า โส วิริยวา พระองค์มีวิริยะ คือ
พระองค์เป็นผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสมควรซึ่งความเป็นผู้อันบุคคลควรกล่าวว่า
วิริยวา. บทว่า ปธานวา วีโร ตาที มีปธานะ ทรงแกล้วกล้า เป็นผู้
คงที่ นี้เป็นคำยกย่องพระองค์. เพราะพระองค์ชื่อว่ามีปธานะ เพราะมี
ปธานะในมรรคและฌาน ชื่อว่าทรงแกล้วกล้า เพราะสามารถกำจัด
ข้าศึกคือกิเลสได้. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะไม่มีวิการ. บทว่า. ปวุจฺจเต
ตถตฺตา ท่านกล่าวว่ามีพระองค์เป็นอย่างนั้น คือท่านกล่าวผู้เป็น
อย่างนั้นว่า วิริยวา.
บทว่า เต กามกามิโน ชนเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่กาม คือปรารถนา
วัตถุกามมีรูปเป็นต้น. บทว่า ราคราคิโน คือ กำหนัดด้วยราคะ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 292
สญฺสญฺิโน คือ มีความสำคัญในราคสัญญา. บทว่า น กาเม กาเมติ
คือ ไม่ปรารถนาวัตถุกามมีรูปเป็นต้น. บทว่า อกาโม คือ เว้นจากกาม.
บทว่า นิกฺกาโม คือ ออกจากกาม. บทว่า สพฺพญฺญุตาณ พระพุทธเจ้า
พระนามว่า สพฺพญฺญู เพราะทรงรู้ทางที่ควรแนะนำทั้งปวงให้ถึงความ
เจริญ. ความเป็นแห่ง สัพพัญญู นั้น ชื่อว่า สพฺพญฺญุตา. ญาณคือ
ความเป็นแห่งสัพพัญญู ชื่อว่า สพฺพญฺญุตาณ. ดวงตาคือสัพพัญ-
ญุตญาณและความเป็นผู้ชนะ เพราะยังกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยวาสนา
ให้แพ้แล้วชนะ เกิดขึ้นแล้วในขณะเดียวกัน ในกาลเดียวกัน ไม่ก่อน
ไม่หลัง. ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว เพราะถึงในเบื้องสูงจากส่วนสุดในเบื้องต้น.
บทว่า เตชี เตชสา พระผู้มีพระภาคเจ้ามีเดช ทรงประกอบ
ด้วยเดช คือทรงประกอบด้วยเดช ครอบงำด้วยเด. บทว่า ยมห วิชญฺ
ชาติชราย อชิธ วิปฺปหาน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติชราในภพ
นี้ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ คือข้าพระองค์พึงทราบธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในภพนี้.
บทว่า ชคติ คือ แผ่นดิน. บทว่า สพฺพ อากาสคต คือ
เลื่อนลอยแผ่ไปในอากาศทั่วไป. บทว่า ตมคต ความมืดนั่นแล ชื่อว่า
ตมคต คือ ไปในความมืด เหมือนไปในคูถในมูตรฉะนั้น. บทว่า
อภิวิหจฺจ เลื่ลนลอยไป คือหายไป. บทว่า อนฺธการ วิธมิตฺวา กำจัดมืด
คือทำลายความมืดอันห้ามการเกิดแห่งจักขุวิญญาณ. บทว่า อาโลก
ทสฺสยิตฺวา คือ ส่องแสงสว่างของดวงอาทิตย์. บทว่า อากาเส คือ
ในอากาศอันไม่รกชัฎ. บทว่า อนฺตลิกฺเข คือ ในอากาศอันว่างเปล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 293
ไม่สามารถจะขีดเขียนได้. บทว่า คมนปเถ เป็นทางเดิน คือไปในทาง
เดินของพวกเทวดา.
บทว่า สพฺพ อภิสงฺขารสมุทย สมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง.
คือสมุทัยแห่งกรรมทั้งสิ้น. อธิบายว่า ตัณหาทำให้เกิด. บทว่า กิเลสตม
อวิชฺชนฺธการ วิธมิตฺวา ทรงกำจัดความมืดคือกิเลส ความมืดคือ อวิชชา
คือทรงนำความไม่รู้อันได้แก่ความมืดคือกิเลส ความมืดคืออวิชชาออกให้
พินาศไป แล้วทรงแสดงแสงสว่างคือพระญาณ แสงสว่างคือปัญญา. บทว่า
วตฺถุกาเม ปริชานิตฺวา ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม คือทรงรู้วัตถุกามมีรูป
เป็นต้น ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ติรณปริญญา (กำหนด
รู้ด้วยการพิจารณา). บทว่า กิเลสกาเม ปหาย ทรงละกิเลสกาม คือ
อันได้แก่ทำความเดือนร้อนด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ).
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกธรรมนั้นแก่ชตุกัณณี
มาณพ จึงได้ตรัสคาถาต่อ ๆ ไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺขมฺม ทุฏฺฐุ เขมโต ท่านเห็นเนกขัมมะ
โดยความเกษม คือเห็นนิพพานและปฏิปทาอันทำให้ถึงนิพพานว่า เป็น
ความเกษม. บทว่า อุคฺคหิต คือ กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ด้วย
อำนาจแห่งทิฏฐิ. บทว่า นิรตฺต วา คือ ควรสลัดเสีย. อธิบายว่า
พึงปล่อยเสีย. บทว่า มา เต วิชฺชิตฺถ คือ อย่าได้มีแก่ท่านเลย. บทว่า
กิญฺจน คือ เครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น. กิเลสเครื่องกังวลแม้นั้นก็อย่าได้
มีแก่ท่านเลย. บทว่า มุญฺจิตพฺพ คือ ควรปล่อยเสียไม่ควรยึดถืออีก.
บทว่า ปชหิตพฺพ ควรละ คือควรเว้น. บทว่า วิโนเทตพฺพ ควรบรรเทา
คือควรซัดไป. บทว่า พฺยนฺติกาตพฺพ ควรทำให้สิ้นสุด คือควรทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 294
กิเลสเครื่องกังวลนั้นให้ปราศจากไป. บทว่า อนภาว คเมตพฺพ ควรให้
ถึงความไม่มีแม้แต่น้อย.
บทว่า ปุพฺเพ กิเลสชาติในกาลก่อน คือกิเลสอันเกิดขึ้นปรารภ
สังขารในอดีต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกชตุกัณณีมาณพว่า พฺราหฺมณ
ดูก่อนพราหมณ์. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอด
คือพระอรหัต.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับคราวก่อนนั่นเอง.
จบอรรถกถาชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 295
ภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านภัทราวุธะ
[๔๑๓] (ท่านภัทราวุธะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ขออาราธนาพระองค์ผู้ละความอาลัย ตัด
ตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว ละความเพลินเสีย
ข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ละความดำริ มีปัญญาดี
ชนทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ ผู้เป็นนาคแล้ว
จักหลีกไปแต่ที่นี้.
[๔๑๔] คำว่า ผู้ละความอาลัย ในอุเทศว่า โอกญฺชห ตณฺหจฺฉิท
อเนช ดังนี้ ความว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความ
ทะยานอยาก ความเข้าไปยึดถือด้วยตัณหา ทิฏฐิและอุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง
เป็นที่ผูกพันและเป็นอนุสัยแห่งใจในรูปธาตุ กิเลสชาติมีความพอใจเป็น
ต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้ง ดังตาลยอดด้วน ทรงให้ถึงความไม่มี ไม่ให้
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
จึงชื่อว่า ผู้ละความอาลัย ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ กิเลสชาติมีความพอใจ
เป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ละความอาลัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 296
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ตณฺหจฺฉิท ดังนี้ ตัณหานั้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงตัดแล้ว ตัดขาดแล้ว ตัดขาด
พร้อมแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย
ไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ทรงตัดตัณหา.
ตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความหวั่นไหว ในคำว่า ผู้ไม่มีความหวั่นไหว
ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรง
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความหวั่นไหว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ชื่อว่าผู้ไม่มีความหวั่นไหว เพราะ
พระองค์ทรงละความหวั่นไหวเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สะทกสะท้าน
ไม่ทรงหวั่น ไม่ทรงไหว ไม่พรั่น ไม่พรึง แม้ในเพราะลาภ แม้ใน
เพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะความเสื่อมยศ แม้
ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้ในเพราะสุข
แม้ในเพราะทุกข์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า
ไม่มีความหวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ผู้ละความอาลัย
ตัดตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ภทฺราวุโธ ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 297
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพและความยำเกรง.
คำว่า ภทฺราวุโธ เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านภัทราวุธะทูลถามว่า.
[๔๑๕] ตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความเพลิน ในอุเทศว่า นนฺทิญฺชห
โอฆติณฺณ วิมุตฺต ดังนี้ ตัณหาอันเป็นความเพลินนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาล
ยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ผู้ละความเพลินเสีย.
คำว่า ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามแล้ว
ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ทรงข้ามแล้ว คือ
ทรงข้ามขึ้นแล้ว ทรงข้ามพ้นแล้ว ทรงก้าวล่วงแล้ว ทรงล่วงเลยไปแล้ว
ซึ่งคลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเป็นเครื่อง
อยู่อันพระองค์อยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มิได้มีสงสาร
คือชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงละ
ความเพลินเสีย ทรงข้ามโอฆะแล้ว.
คำว่า พ้นวิเศษแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระทัยพ้นแล้ว
พ้นวิเศษแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทรงละความเพลินเสีย ทรงข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 298
[๔๑๖] ความดำริ ในคำว่า กปฺป ในอุเทศว่า กปฺปญฺชห
อภิยาเจ สุเมธ ดังนี้ มี๒ อย่าง คือ ความดำริด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้เป็นความดำริด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ
นี้เป็นความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงละความดำริด้วยอำนาจตัณหา
ทรงสละคืนความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ชื่อว่าทรงละความดำริ เพราะพระองค์ทรงละความดำริด้วยอำนาจตัณหา
เพราะพระองค์ทรงสละคืนความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ขออาราธนา คือ ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ทูลยินดี
ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ (คำของพระองค์).
ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา ในคำว่า สุเมธ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยปัญญาชื่อเมธานี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่ามีปัญญาดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
ขออาราธนา ... ละความดำริ มีปัญญาดี.
[๔๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นนาค ในคำว่า นาคสฺส
ในอุเทศว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า นาค ไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า นาค ไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 299
ว่า นาค ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จมาสู่ความชั่วอย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค.
ข้อว่า ชนทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว
จักหลีกไปแต่ที่นี้ ความว่า ชนเป็นอันมาก ได้ยิน ได้ฟัง ศึกษา
ทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งพระดำรัส คือ พระดำรัสที่เป็นทางเทศนา
อนุสนธิ ของพระองค์แล้ว จักหลีก จักเลี่ยงไปแต่ที่นี้ คือ จักไป
สู่ทิศใหญ่และทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายได้ฟังพระ-
ดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีกไปแต่ที่นี้ เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์ขออาราธนาพระองค์ผู้ละความอาลัย ตัด
ตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว ละความเพลินเสีย
ข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ละความดำริ มีปัญญาดี
ชนทั้งหลายได้ฟังคำของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีก
ไปแต่ที่นี้.
[๔๑๘ ] ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ชนต่าง ๆ มาแต่ชนบททั้งหลาย
ประชุมกันแล้ว หวังอยู่ซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ขอ
พระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดีแก่ชนเหล่านั้น เพราะว่า
ธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้จริง.
[๔๑๙] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์ ชื่อว่า ชนต่างๆ ในอุเทศว่า นานาชนา ชนปเทหิ
สงฺคตา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 300
คำว่า มาแต่ชนบททั้งหลายประชุมกันแล้ว คือ มาแต่อังคะ
มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตียะ สาคระ๑ ปัญจาละ อวันตี
โยนะ และกัมโพชะ.
คำว่า ประชุมกันแล้ว คือ ถึงพร้อม มาพร้อม มาร่วมประชุม
กันแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนต่าง ๆ มาแต่ชนบททั้งหลาย ประชุม
กันแล้ว.
[๔๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้กล้า จึงชื่อว่า วีระ ในอุเทศ
ว่า ตว วีร วากฺย อภิกงฺขมานา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความเพียร
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้องอาจ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สามารถ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า วีระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพอง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเว้นแล้วจากบาปธรรมทั้งปวง
ในโลกนี้ ล่วงเสียแล้วซึ่งทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความ
เพียร พระองค์ทรงมีวิริยะ มีปธาน ทรงแกล้วกล้า
เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่า พระหฤทัยเป็นอย่างนั้น.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า. . . ของพระองค์.
คำว่า หวังอยู่ซึ่งพระดำรัส ความว่า พระดำรัส ทางแห่งพระ
ดำรัส เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า หวังอยู่ คือ มุ่ง หวัง ปรารถนา ยินดี ประสงค์
๑. ม. กุรุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 301
รักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า หวังอยู่
ซึ่งพระดำรัสของพระองค์.
[๔๒๑] คำว่า เตส ในอุเทศว่า เตส ตุว สาธุ วิยากโรหิ
ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
มนุษย์ เหล่านั้น พราหมณ์นั้นย่อมทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตุว.
คำว่า ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดี คือ ขอพระองค์ตรัสบอก
. . . ขอทรงประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์ทรง
พยากรณ์ด้วยดี.
[๔๒๒] คำว่า เพราะว่าธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่าง
แท้จริง ความว่า เพราะว่าธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบ ทรงรู้ ทรง
เทียบเคียง ทรงพิจารณา เจริญ ให้แจ่มแจ้งแล้ว อย่างแท้จริง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่า ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้
จริง เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ชนต่าง ๆมาแต่ชนบททั้งหลาย
ประชุมกันแล้ว หวังอยู่ซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ขอ
พระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดีแก่ชนเหล่านั้น เพราะว่า
ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้จริง.
[๔๒๓] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภัทราวุธะ)
หมู่สัตว์พึงนำเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ทั้ง
เบื้องบน ทั้งเบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะ
ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 302
มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือกรรมนั้น
นั่นแล.
[๔๒๔] ตัณหาในรูป ตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ ในอุเทศว่า
อาทานตณฺห วินเยถ สพฺพ ดังนี้.
เหตุไร ตัณหาในรูปจึงตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ เพราะตัณหานั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงยึดถือ เข้าไปยึดถือ ยึดไว้ จับต้อง ถือมั่น ซึ่งรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น ตัณหาในรูปจึงตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ.
คำว่า พึงนำเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ความว่า พึงนำ
เสีย ปราบเสีย ละเสีย บรรเทาเสีย พึงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งตัณหา เครื่องยึดถือทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงนำเสียซึ่ง
ตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ภัทราวุธะ ใน
อุเทศว่า ภทฺราวุธาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบ
ดังนี้ว่า ดูก่อนภัทราวุธะ.
[๔๒๕] อนาคต ตรัสว่า เบื้องบน ในอุเทศว่า อุทฺธ อโธ ติริย
วาปิ มชฺเฌ ดังนี้ อดีต ตรัสว่า เบื้องต่ำ ปัจจุบัน ตรัสว่า ชั้นกลาง
ส่วนกว้าง. กุศลธรรม ตรัสว่า เบื้องบน อกุศลธรรม ตรัสว่า เบื้องต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เทวโลก ตรัสว่า เบื้องบน
อบายโลก ตรัสว่า เบื้องต่ำ มนุษยโลก ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 303
สุขเวทนา ตรัสว่า เบื้องบน ทุกขเวทนา ตรัสว่า เบื้องต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. อรูปธาตุ ตรัสว่า เบื้องบน กามธาตุ
ตรัสว่า เบื้องต่ำ รูปธาตุ ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เบื้องบนตั้งแต่
พื้นเท้าขึ้นไป ตรัสว่า เบื้องบน เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา ตรัสว่า
เบื้องต่ำ ท่ามกลาง ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง.
[๔๒๖] คำว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ
ในโลก ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมยึดถือ คือ เข้าไปยึดถือ ถือไว้ จับ
ต้อง ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใด ๆ.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ อายตนโลก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก.
[๔๒๗] คำว่า มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ
กรรมนั้นนั่นแล ความว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร
อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ
ย่อมไปตาม คือตามไป เป็นผู้ติดตามไป ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรม
นั้นนั่นแล.
คำว่า ชนฺตุ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ชีวชน
ชาตุชน ชันตุชน อินทคูชน ผู้เกิดจากพระมนู เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
หมู่สัตว์พึงนาเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ทั้ง
เบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 304
สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก มาร
ย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรมนั้นนั่นแล.
[๔๒๘] เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ เมื่อเห็นซึ่งหมู่สัตว์นี้
ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่า เป็นผู้ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์
เครื่องยึดถือ พึงเป็นผู้มีสติไม่เข้าไปยึดถืออะไร ๆ ใน
โลกทั้งปวง.
[๔๒๙] คำว่า เพราะเหตุนั้น . . . เมื่อรู้อยู่ . . . ไม่พึงเข้าไป
ยึดถือ ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ภิกษุเมื่อเห็นโทษนี้ในตัณหาเครื่อง
ยึดถือ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.
คำว่า รู้อยู่ คือ รู้ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด
เมื่อรู้ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน
มีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ คือ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
ไม่พึงถือไว้ ไม่พึงจับต้อง ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เพราะเหตุนั้น . . . เมื่อรู้อยู่ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ.
[๔๓๐] ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนก็ดี ภิกษุผู้เป็นพระเสขะก็ดี ชื่อ
ว่า ภิกษุ ในอุเทศว่า ภิกฺขุ สโต กิญฺจน สพฺพโลเก ดังนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 305
คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ ภิกษุนั้นตรัสว่า มี
สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ . . .เป็นผู้มีสติ.
คำว่า อะไร ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ
คำว่า ในโลกทั้งปวง คือ ในอบายโลกทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง
ในมนุษยโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง ในธาตุ-
โลกทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ . . .เป็นผู้มีสติ . . .อะไร ๆ ใน
โลกทั้งปวง.
[๔๓๑] คำว่า . . . เมื่อเห็น . . . ว่าติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่อง
ยึดถือ ความว่า สัตว์เหล่าใดย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือไว้ จับต้อง
ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ
ภพ สงสาร วัฏฏะ สัตว์เหล่านั้นตรัสว่า ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า เมื่อเห็น คือ เมื่อพบ เมื่อแลเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู
เมื่อพิจารณาอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า . . .เมื่อเห็น . . . ว่าติดอยู่ใน
รูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ.
[๔๓๒] คำว่า ปช เป็นชื่อของสัตว์ ในอุเทศว่า ปช อิม
มจฺจุเธยฺเย วิสตฺต ดังนี้.
กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสว่า บ่วงแห่งมัจจุ ในคำว่า
มจฺจุเธยฺเย หมู่สัตว์ข้อง เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว พัวพัน ในบ่วงแห่งมัจจุ
คือในบ่วงแห่งมาร ในบ่วงแห่งมรณะ สิ่งของข้องเกี่ยวอยู่ เกี่ยวเกาะ
พันอยู่ที่ตาปูติดฝา หรือที่ไม้นาคทัณฑ์ (ท่อนไม้โอนเหมือนงาช้าง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 306
ฉันใด หมู่สัตว์ข้อง เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว พัวพัน ในบ่วงแห่งมัจจุ
คือในบ่วงแห่งมาร ในบ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า . . .หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในบ่วงมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ เมื่อเห็นซึ่งหมู่สัตว์นี้ ผู้ข้อง
อยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่า เป็นผู้ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึด
ถือ พึงเป็นผู้มีสติไม่เข้าไปยึดถืออะไร ๆ ในโลกทั้งปวง.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๒
อรรถกถาภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๒
พึงทราบวินิจฉัยในภัทราวุธสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า โอกญฺชห คือ ละความอาลัย. บทว่า ตณฺหจฺฉิท คือ
ตัดหมู่ตัณหาเสียได้. บทว่า อเนช ไม่มีความหวั่นไหว คือ ไม่หวั่นไหว
ในโลกธรรม. บทว่า นนฺทิญฺชห ละความเพลิน คือละความปรารถนารูป
มีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ ตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นท่านกล่าวไว้ใน
ที่นี้โดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งความชื่นชอบ. บทว่า กปฺปญฺชห
คือ ละความดำริ ๒ อย่าง. บทว่า อภิยาเจ คือ ข้าพระองค์วิงวอน
เป็นอย่างยิ่ง. บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 307
ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีกไปแต่ที่นี้ อธิบาย
ว่า ชนเป็นอันมากได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคผู้มีพระภาคเจ้า
จักหลีกไปจากปาสาณกเจดีย์นี้. บทว่า เย อุปายุปาทานา คือ ความ
เข้าไปยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า เจตโส อธิฏฺานา คือ ตั้ง
ไว้ในใจ. บทว่า อภินิเวสานุสยา เป็นที่ผูกพันและเป็นอนุสัย คือ
เป็นที่ตั้งไว้แล้วมานอนเนื่องอยู่ในสันดาน.
บทว่า ชนปเทหิ สงฺคตา คือ มาแต่ชนบททั้งหลายมีอังคะเป็น
ต้น ประชุมกันในที่นี้. บทว่า วิยากโรหิ คือ ขอพระองค์ทรงแสดง
ธรรม. บทว่า สงฺคตา คือ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นมีความเป็น
อันเดียวกัน. บทว่า สมาคตา คือ มาจากชนทั้งหลาย มีประการดัง
กล่าวแล้ว. บทว่า สโมหิตา คือ มารวมกัน. บทว่า สนฺนิปติตา
ประชุมกัน. คือไม่แยกจากกัน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมโดยอนุโลม
ตามอัธยาศัยของภัทราวุธมาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาต่อ ๆ ไป.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อาทานตณฺห ตัณหาเครื่องยึดถือ คือตัณหา
เครื่องยึดถือ คือยึดถือรูปเป็นต้น. อธิบายว่า ยึดถือมั่นด้วยตัณหา. บทว่า
ย ย หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ คือ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายยึดถือบรรดา
อุปาทานขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อุปาทานขันธ์ใด ๆ ในโลก. บทว่า
เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอภิสังขารคือกรรม
นั่นเอง คือมารย่อมไปตามสัตว์นั้นในขณะปฏิสนธิด้วยอภิสังขาร คือ
กรรมอันเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นนั่นเอง.
บทว่า ตสฺมา ปชาน เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ คือเพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 308
ภิกษุรู้ซึ่งโทษนั้นหรือสังขารทั้งหลาย ด้วยอำนาจความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น. บทว่า อาทานสตฺเต อิติ เปกฺขมาโน ปช อิม มจฺจุเธยฺเย
วิสตฺต เมื่อเห็นหมู่สัตว์นี้ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่า เป็นผู้ติดอยู่ใน
รูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ คือเมื่อเห็นหมู่สัตว์นี้ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุใน
สรรพโลกว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในรูปเป็นต้นเครื่องยึดถือ ด้วยอรรถว่า ควร
ยึดถือ หรือเห็นอยู่ซึ่งบุคคลผู้ข้องอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ คือการ
ยึดมั่นถือมั่น และหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในบ่วงเเห่งมาร เพื่อถือเอารูปาทิขันธ์
เครื่องยึดถือว่า สามารถล่วงพ้นจากบ่วงมัจจุได้ พึงเป็นผู้มีสติ ไม่เข้าไป
ยึดถืออะไร ๆ ในโลกทั้งปวง. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอด
คือพระอรหัต และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับที่กล่าว
แล้วในคราวก่อนนั้นแล.
จบอรรถกถาภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 309
อุทยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านอุทยะ
[๔๓๓] (ท่านอุทยะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระ-
องค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณก-
เจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
(อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.
[๔๓๔] คำว่า ผู้มีฌาน ในอุเทศว่า ฌายี วิรชมาสีน ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน แม้ด้วยทุติยฌาน
แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน แม้ด้วยฌานอันมีวิตกวิจาร แม้ด้วย
ฌาน (ทุติยฌานในปัญจกนัย) สักว่าไม่มีวิตกแต่มีวิจาร แม้ด้วยฌาน
อันไม่มีวิตกวิจาร แม้ด้วยฌานมีปีติ แม้ด้วยฌานอันไม่มีปีติ แม้ด้วย
ฌานอันประกอบด้วยสุข แม้ด้วยฌานอันประกอบด้วยอุเบกขา แม้ด้วย
ฌานอันเป็นสุญญตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ แม้ด้วยฌานอันเป็น
อัปปณิหิตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกุตระ
ทรงยินดีในฌาน ทรงขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว หนักอยู่ในอรหัตผล
ซึ่งเป็นประโยชน์ของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีฌาน.
คำว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นดังธุลี กิเลสดังธุลี
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 310
ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ผุ้ไม่มีธุลี ปราศจากธุลี ไปปราศแล้วจากธุลี ละธุลีเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว
จากธุลี.
ราคะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของราคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.
โทสะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโทสะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี-
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.
โมหะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโมหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี-
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี คำว่า ผู้ประทับอยู่ ความ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ประทับอยู่.
เชิญดูพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับอยู่ที่ภูเขา พระ
สาวกทั้งหลายผู้ได้ไตรวิชชา เป็นผู้ละมัจจุเสีย นั่งห้อม
ล้อมอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 311
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่แม้อย่างนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับ
ความขวนขวาย (ด้วยกิเลส) ทั้งปวงแล้ว มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พระองค์
อยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ ไม่มีสงสารคือ ชาติ ชรา
และมรณะ มิได้มีภพใหม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี
ประทับอยู่.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อุทโย ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็น
เครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้
เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า อุทโย เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุทยะทูลถามว่า.
[๔๓๕] คำว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ความว่า กิจ
คือ กรรมที่ควรทำและกรรมไม่ควรทำ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.
ทิฏฐิเป็นเครื่องตกไปรอบ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุใด ผู้มี
กระแสอันตัดขาดแล้ว ละแล้วซึ่งกิจที่ควรทำและกิจที่ไม่
ควรทำ ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 312
อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ชื่อว่า
อาสวะ ในคำว่า อนาสว อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.
[๔๓๖] คำว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ถึงฝั่งแห่งปริญญา ถึงฝั่งแห่งปหานะ
ถึงฝั่งแห่งภาวนา ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติแห่งธรรม
ทั้งปวง คือทรงถึงฝั่งแห่งความรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งความ
กำหนดรู้ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการละกิเลสทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการ
เจริญมรรค ๔ ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ถึงฝั่งแห่งการเข้าสมาบัติ
ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงถึงความชำนาญและความสำเร็จใน
อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จ
ไปสู่ฝั่ง ทรงถึงฝั่งแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุด ทรงถึงส่วนสุดแล้ว เสด็จไป
สู่ที่สุด ทรงถึงที่สุดแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุดรอบ ทรงถึงส่วนสุดรอบแล้ว
เสด็จไปสู่ที่จบ ทรงถึงที่จบแล้ว เสด็จไปสู่ที่ต้านทาน ทรงถึงที่ต้านทาน
แล้ว เสด็จไปสู่ที่เร้น ทรงถึงที่เร้นแล้ว เสด็จไปสู่จรณะ ทรงถึงจรณะ
แล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่มีภัยแล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่เคลื่อน
ทรงถึงที่ไม่เคลื่อนแล้ว เสด็จไปสู่อมตะ ทรงถึงอมตะแล้ว เสด็จไปสู่
นิพพาน ทรงถึงนิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่
ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มิได้มีสงสาร คือชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 313
ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง.
[๔๓๗] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า
ความว่า พวกข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือเป็นผู้จะ
ทูลถามปัญหา มาเฝ้าแล้ว เป็นผู้ใคร่ฟังปัญหามาเฝ้าแล้ว แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ความมา ความมุ่งมา ความมาเฝ้า ของพวกข้า-
พระองค์ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา คือต้องการจะทูลถามปัญหา ใคร่ฟัง
ปัญหา มีอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ
ด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ความมาแห่งปัญหาของพระองค์มีอยู่ ทั้งพระองค์มี
ความเป็นผู้องอาจ ให้ผู้อื่นมีความเพียร สามารถ เพื่อจะตรัสถาม ตรัส
บอก ทรงแก้ ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ทรงเฉลยกับข้าพระองค์ได้ แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึง
มาเฝ้า.
[๔๓๘] อรหัตวิโมกข์ ท่านกล่าวว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า
อญฺาวิโมกฺข สพฺรูหิ ดังนี้ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือขอจง
บอก . . . ขอจงทรงประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์.
[๔๓๙] คำว่า ทำลายอวิชชา คือ ทุบ ต่อย ทำลาย ละ สงบ
สละคืน ระงับ ซึ่งอวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทำลายอวิชชา เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 314
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าพระ-
องค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณก-
เจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
(อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.
[๔๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ)
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ เป็นเครื่องละซึ่งกามฉันทะ
และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง เป็น
เครื่องกันความราคาญ.
[๔๔๑] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินใน
กาม ความอยากในกาม ความสิเนหาในกาม ความกระหายในกาม
ความเร่าร้อนในเพราะกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ในกาม
ทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า
ฉันทะ ในอุเทศว่า ปหาน กามฉนฺทาน ดังนี้.
คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ ความว่า ธรรมเป็นเครื่อง
ละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับกามฉันทะทั้งหลาย เป็น
อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุทยะ ใน
อุเทศว่า อุทยาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 315
[๔๔๒] ความไม่แช่มชื่นในทางใจ เจตสิกทุกข์ ความเสวยอารมณ์
เป็นทุกข์ไม่แช่มชื่น เกิดจากสัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่น เกิด
จากสัมผัสทางใจ ชื่อว่า โทมนัส ในอุเทศว่า โทมนสฺสาน จูภย ดังนี้.
คำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องละ
เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับซึ่งกามฉันทะและโทมนัสทั้งสอง
ประการ เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และโทมนัสทั้งสอง
อย่าง.
[๔๔๓] ความที่จิตไม่ควร ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน ความ
ท้อ ความถอย ความกลับ ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ความเป็นผู้หดหู่
ชื่อว่าถีนะ ในอุเทศว่า ถีนสฺส จ ปนูทน ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง ความว่า เป็นเครื่องบรรเทา
เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ความง่วง เป็น
อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง.
[๔๔๔] ความรำคาญมือ ความรำคาญเท้า ความรำคาญมือและ
เท้า ความรำคาญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งนี้มีโทษว่าไม่มีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
ความคะนอง กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือนร้อนแห่งจิต
ความขัดใจเห็นปานนี้ ๆ ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ ในคำว่า กุกฺกุจฺจาน
ในอุเทศว่า กุกฺกุจฺจาน นิวารณ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความ
ขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือเพราะกระทำ ๑ เพราะไม่
กระทำ ๑ ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 316
ย่อมเกิดขึ้นด้วยเพราะกระทำ ๑ เพราะไม่กระทำ ๑ อย่างไร ความรำคาญ
อันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำ
กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต
เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำ
ความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำความงดเว้น
จากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำความงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากมุสาวาท
เราทำปิสุณวาจา เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา เราทำผรุสวาจา
เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำ
ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ทำอนภิชฌา เราทำ
พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ
ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกระทำและไม่กระทำอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็น
ความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราไม่ได้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เรา
ไม่ได้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เราไม่ได้ประกอบด้วย
สติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔
เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญ
อินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้
เจริญมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้
เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 317
คำว่า เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ ความว่า เป็นเครื่องปิด คือ
เป็นเครื่องกัน เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับความ
รำคาญทั้งหลาย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกั้น
ความรำคาญ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องละซึ่งกาม-
ฉันทะ และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความ
ง่วง เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ.
[๔๔๕] เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันมีอุเบกขาและสติ
หมดจดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรม แล่นไปข้าง
หน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.
[๔๔๖] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพิกเฉย ความสงบ
แห่งจิต ความที่จิตเลื่อมใส ความที่จิตเป็นกลางด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อุเบกขา ในอุเทศว่า อุเปกฺขาสติสสุทฺธ ดังนี้ ความระลึก ความตาม
ระลึก ฯ ล ฯ ความระลึกชอบ เพราะปรารภถึงอุเบกขาในจตุตถฌาน
ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุเบกขาและสติ.
คำว่า หมดจดดี ความว่า อุเบกขาและสติในจตุตถฌานเป็นความ
หมดจด หมดจดดี ขาวรอบ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส
อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า มีอุเบกขาและสติหมดจดดี.
[๔๔๗] ความดำริชอบ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม
ในคำว่า ธมฺมตกฺกปุเรชว ดังนี้ ความตรึกประกอบด้วยธรรมนั้น มีใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 318
เบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม
สัมมาทิฏฐินั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไป
ข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔ ตรัส
ว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม วิปัสสนานั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า
เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มี
ความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
[๔๔๘] อรหัตวิโมกข์ ตรัสว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า อญฺา-
วิโมกฺข สพฺรูมิ ดังนี้ เราขอบอก . . . ขอประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์.
[๔๔๙] ความไม่รู้ในทุกข์ ฯ ล ฯ อวิชชาเป็นดังลิ่มสลัก ความ
หลง อกุศลมูล ชื่อว่า อวิชชา ในอุเทศว่า อวิชฺชาย ปเภทน ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความว่า เป็นเครื่องทุบ ต่อย
เครื่องทาลาย เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่ง
อวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องทำลาย
อวิชชา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์อันมีอุเบกขาและสติ หมด
จดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 319
[๔๕๐] โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็น
เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน
เพราะละอะไรเสียได้.
[๔๕๑] คำว่า โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ความว่า อะไร
เป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องพัวพัน เครื่อง
มัวหมอง ของโลก โลกอันอะไรประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง
ยึดไว้ คล้องไว้ เกี่ยวไว้ พัวพันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีอะไร
เป็นเครื่องประกอบไว้.
[๔๕๒] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น ความ
ว่า อะไรเป็นเครื่องสัญจร เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ของโลกนั้น โลก
ย่อมสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.
[๔๕๓] คำว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้
ความว่า พระองค์ย่อมตรัส ย่อมบอก ย่อมเล่า ย่อมกล่าว แสดง
บัญญัติว่า นิพพาน เพราะละ สงบ สละคืน ระงับ อะไรเสียได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเครื่อง
เที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะ
ละอะไรเสียได้.
[๔๕๔] โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตก เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 320
เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะ
ละตัณหาเสียได้.
[๔๕๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศล-
มูล ตรัสว่า ความเพลิน ในอุเทศว่า นนฺทิสญฺโชโน โลโก ดังนี้
ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องมัวหมอง
ของโลก โลกอันความเพลินนี้ประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง ผูกไว้
คล้องไว้ พันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีความเพลินเป็นเครื่อง
ประกอบไว้.
[๔๕๖] วิตก ๙ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก วิตก
ถึงญาติ วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดู
ผู้อื่น วิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และสรรเสริญ วิตกอันปฏิสังยุต
ด้วยความไม่อยากให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน. เหล่านี้เรียกว่าวิตก ๙. ชื่อว่า วิตก
ในอุเทศว่า วิตกฺกสฺส วิจารณา ดังนี้ วิตก ๙ อย่างนี้เป็นเครื่องสัญจร
ไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยวิตก ๙ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.
[๔๕๗] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-
ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหาย วิปฺป-
หาเนน นิพฺพาน อิติ วุจฺจติ ดังนี้.
คำว่า เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้ ความว่า
เราย่อมกล่าว ย่อมบอก เล่า ขาน แสดง บัญญัติว่า เพราะละ สงบ
สละคืน ระงับตัณหาเสียได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่า นิพพาน
เพราะละตัณหาเสียได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 321
โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตก เป็น
เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะ
ละตัณหาเสียได้.
[๔๕๘] เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ
พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.
[๔๕๙] คำว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ความว่า เมื่อโลก
มีสติสัมปชัญญะอย่างไรเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไร
เที่ยวไป.
[๔๖๐] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณดับ สงบ ถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ.
[๔๖๑] คำว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ความว่า พวกข้าพระองค์มาแล้ว คือ มาถึง เข้ามาถึง
ถึงพร้อม มาประชุมกับพระองค์เพื่อจะทูลถาม คือเพื่อสอบถาม ทูล ขอ
ทูลเชื้อเชิญ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว คือขอให้ทรงประสาท
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
[๔๖๒] คำว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระ-
องค์ ความว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟัง ศึกษา ทรงจำ เข้าไป กำหนด
พระดำรัส ถ้อยคำ ทางถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์ เพราะ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 322
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสของพระองค์ เพราะ-
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ พวก
ข้าพระองค์มาแล้วเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พวก
ข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.
[๔๖๓] เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภายนอก
เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.
[๔๖๔] คำว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภาย
นอก ความว่า เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายใน
อยู่ ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจเวทนา คือ ย่อม
ละ ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเพลิดเพลิน
ความพร่ำถึง ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น
เมื่อโลกเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อ
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อ
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลาย
ในภายในอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลาย
ในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนา
ทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 323
คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภาย-
นอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ
ถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา คือ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ทำให้
สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ
ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง
ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา ฯ ล ฯ ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิด
เพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความไม่เที่ยง ย่อม
ไม่เพลิดเพลิน . . . เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ
ฯ ล ฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก ย่อมไม่เพลิดเพลิน . . . เมื่อโลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายโดยอาการ ๔๒ นี้อยู่ ย่อมไม่เพลิด
เพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจในเวทนา คือ ย่อมละ ย่อม
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง
ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก.
[๔๖๕] คำว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป ความว่า เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะอย่างนี้เที่ยวไป คือเที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 324
[๔๖๖] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วย
ปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอัน
สหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร ย่อมดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับ
ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก
เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓
อรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓
พึงทราบวินิจฉัยในอุทยสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺาวิโมกฺข คือ อรหัตวิโมกข์ อุทยมาณพทูลถามถึง
วิโมกข์อันสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัต.
บทว่า ปเมนปิ ฌาเนน ฌายี พระผู้มีพระภาคเจ้ามีฌานแม้
ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพ่งด้วยปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ทุติเยน คือ เพ่งด้วยทุติยฌาน
สัมปยุตด้วยปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ตติเยน คือ เพ่งด้วยตติย-
ฌาน สัมปยุตด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. บทว่า จตุตฺเถน คือ เพ่งด้วย
จตุตถฌาน สัมปยุตด้วยอุเบกขาจิตเตกัคคตา. บทว่า สวิตกฺกสวิจาเรนปิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 325
ฌาเนน ฌายี เพ่งด้วยฌานแม้มีวิตกมีวิจาร คือ ชื่อว่ามีฌานเพราะเพ่ง
ฌานมีวิตกมีวิจาร ด้วยปฐมฌานในจตุตกนัยและปัญจกนัย. บทว่า
อวิตกฺกวิจารมตฺเตน ด้วยฌานสักว่าไม่มีวิตกมีแต่วิจาร คือด้วยทุติยฌาน
ในปัญจกนัย. บทว่า อวิตกฺกอวิจาเรน ด้วยฌานอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
คือด้วยฌานที่เหลือ มีทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น. บทว่า สปฺปีติ-
เกน ด้วยฌานมีปีติ คือด้วยทุกฌานและติกฌานอันสัมปยุตด้วยปีติ.
บทว่า นิปฺปีติเกน ด้วยฌานไม่มีปีติ คือด้วยฌานอันเหลือจากนั้น
เว้นแล้วจากปีติ. บทว่า สาตสหคเตน ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข
คือด้วยติกฌานจตุกกฌานอันสหรคตด้วยสุข. บทว่า อุเปกฺขาสหคเตน
ด้วยฌานอันสหรคตด้วยอุเบกขา คือด้วยจตุตถฌานและปัญจมฌาน.
บทว่า สุญฺเตน ด้วยฌานอันเป็นสุญญตะ คือด้ายฌานอันประกอบด้วย
สุญญตวิโมกข์. บทว่า อนิมิตฺเตนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ.
ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพิกนิมิตว่าเที่ยง นิมิตว่ายั่งยืน และนิมิตว่าตน
ออกเสีย แล้วเพ่งด้วยฌานอันเป็นอนิมิตที่ตนได้แล้ว. บทว่า อปฺปณิ-
หิเตนปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ คือด้วยฌานอันไม่มีที่ตั้ง เพราะ
ผลสมาบัติ เพราะชำระถือเอาซึ่งความปรารถนาด้วยการถึงมรรค. บทว่า
โลกิเยปิ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ คือด้วยปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌานอันเป็นโลกิยะ. บทว่า โลกุตฺตเรนปิ แม้ด้วยฌานอัน
เป็นโลกุตระ คือด้วยฌานอันสัมปยุตด้วยโลกุตระนั่นเอง. บทว่า ฌาน-
รโต คือเป็นผู้ยินดีแล้วในฌานทั้งหลาย. บทว่า เอกตฺตมนุยุตฺโต ทรง
ขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว คือทรงขวนขวายประกอบความเป็นผู้เดียว.
บทว่า สทตฺถครุโก คือ เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน. แปลง ก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 326
อักษรเป็น ท อักษร. อนึ่ง บทว่า สทตฺโถ พึงทราบว่า คือพระอรหัต.
จริงอยู่ พระอรหัตนั้นท่านกล่าวว่า ประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า เข้าไป
ผูกพันกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ของตน. เป็นผู้หนักในประโยชน์ตน ด้วยอำนาจการเข้าถึงผลสมาบัติ.
อาจารย์พวกนี้กล่าวว่า เป็นผู้หนักในนิพพาน. บทว่า อรโช คือ ไม่มี
กิเลส. บทว่า วิรโช คือ ปราศจากกิเลส. บทว่า นิรโช คือ นำ
กิเลสออกไปแล้ว. ปาฐะว่า วีตรโช บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า
รชาปคโต คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส. บทว่า รชวิปฺปหีโน คือ เป็นผู้ละ
กิเลสได้แล้ว. บทว่า รชวิปฺปมุตฺโต คือ เป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า ปาสาณเก เจติเย ณ ปาสาณกเจดีย์ คือ ณ ที่ที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตรบนหลังแผ่นหิน. บทว่า สพฺโพสฺสุกฺกปฏิ-
ปสฺสทฺธตฺตา เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวายทั้งปวงแล้ว คือ
พระองค์ชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับความขวนขวาย คือ
อาสวะทั้งปวงได้แล้ว คือทำให้สูญสิ้นไป. บทว่า กิจฺจากิจฺจ กิจน้อย
ใหญ่ คือพึงคิดด้วยใจอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ดังนี้.
บทว่า กรณียากรณีย คืล กรรมที่ควรทำและกรรมที่ไม่ควรทำอย่างนี้ว่า
กรรมนี้เป็นไปทางกายทวารควรทำ กรรมนี้ไม่ควรทำ. บทว่า ปหีน
ละแล้ว. คือสละแล้ว. บทว่า วสิปฺปตฺโต ถึงความชำนาญ คือถึง
ความเป็นผู้คล่องแคล่ว.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอุทยมาณพได้จตุตถฌาน
ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงวิโมกข์คือพระอรหัตโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจ
แห่งฌานที่อุทยมาณพนั้นได้แล้ว จึงตรัสพระคาถาทั้งหลายต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 327
ในบทเหล่านั้นบทว่า ปหาน กามฉนฺทาน เป็นเครื่องละกามฉันทะ
ทั้งหลาย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอุทยมาณพว่า เราขอบอกอัญญา-
วิโมกข์เป็นเครื่องละกามฉันทะแก่ผู้ที่ยังปฐมฌานให้เกิด. พึงประกอบบท
ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยาจิตฺตสฺส อกลฺลตา ความที่จิตไม่ควร คือความที่จิต
เป็นไข้. เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก. แม้ในวินัยท่านก็กล่าว
ไว้ว่า นาห ภนฺเต อกลฺลิโก กระผมมิได้เป็นไข้ขอรับ. บทว่า
อกมฺมญฺตา ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน คือความที่จิตเป็นไข้.
บทว่า โอลิยนา ความท้อ คืออาการท้อ. จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในอิริยาบถ
ไม่สามารถจะทรงอิริยาบถไว้ได้ ย่อมติดแน่นดุจค้างคาวติดที่ต้นไม้ และ
ดุจนำอ้อยแขวนอยู่ที่เสา ท่านกล่าวว่า โอลิยนา หมายถึงอาการของจิต
นั้น. บทที่ ๒ เพิ่มอุปสัคลงไปเป็น สลฺลียนา ความถอย. บทว่า ถีน
ความหดหู่ คือความเป็นผู้ก้มหน้าไม่ผึ่งผาย. อีก ๒ บทแสดงความเป็น
อาการ. บทว่า ถีน ความง่วงเหงา คือตั้งอยู่เป็นก้อนไม่กระจายดุจก้อน
เนยใส. บทว่า ถียนา อาการง่วงเหงา แสดงถึงอาการ. ความเป็น
ผู้ง่วงเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺต อธิบายว่า ติดแน่นไม่กระจัดกระจาย.
บทว่า อุเปกฺขาสติสสุทฺธ อันมีอุเบกขาและสติหมดจดดี คือ
หมดจดด้วยอุเบกขาและสติในจตุตถฌาน. ท่านกล่าวถึงอรหัตวิโมกข์ที่ได้
บรรลุอย่างวิเศษ ถึงองค์ฌานอันตั้งอยู่แล้วในวิโมกข์ คือจตุตถฌานนั้น
ด้วยบทนี้ว่า ธมฺมตกฺกปุเรชว มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้าง
หน้า. บทว่า อวิชฺชาย ปเภทน เป็นเครื่องทำลายอวิชชา คือพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์นั้นนั่นแลว่า เป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 328
ทำลายอวิชชา โดยการณะและอุปจาระอันเกิดเพราะอาศัยนิพพานอันเป็น
เครื่องทำลายอวิชชาให้สิ้นไป.
ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเห็นตั้งแต่การเกิดขึ้นในบทนี้ว่า ยา จตุตฺเถ
ฌาเน อุเปกฺขา ความวางเฉยในฌานที่ ๔. อธิบายว่า เห็นชอบ คือ
เห็นโดยไม่ตกไปเป็นฝักฝ่าย. บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่วางเฉยแสดงถึง
อาการ. บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา ความเพิกเฉย เป็นบทเพิ่มอุปสัค. บทว่า
จิตฺตสมโถ ความสงบแห่งจิต คือความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า
จิตฺตปฺปวตฺติตา ความที่จิตเป็นไป คือความที่จิตเว้นจากความพร่องความ
เกินและความเปล่า. บทว่า มชฺฌตฺตา ความที่จิตเป็นกลาง คือความ
ที่จิตตั้งอยู่ในท่ามกลาง.
อุทยมาณพครั้นสดับถึงนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วย
พระดำรัสอันเป็นประเภทแห่งอวิชชาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทูลถามว่า พระองค์
ตรัสว่านิพพานเพราะละอะไรเสียได้ จึงกล่าวคาถาว่า กึสุ สญฺโชโน
โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า วิจารณ อะไร
เป็นเครื่องเที่ยวไป คือทำการท่องเที่ยว. บทว่า กิสฺสสฺส วิปฺปหาเนน
คือเพราะละธรรมชื่ออะไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่อุทย-
มาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า นนฺทิสญฺโชโน โลกมีความเพลิดเพลิน
เป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า วิตกฺกสฺส คือ วิตกมีกามวิตกเป็นต้นพึงมี
บัดนี้อุทยมาณพเมื่อจะทูลถามทางแห่งนิพพานนั้น จึงกล่าวคาถาว่า กถ
สตสฺส เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 329
ในบทเหล่านั้นบทว่า วิญฺาณ คือ วิญญาณอันเป็นอภิสังขาร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบอกทางแก่อุทยมาณพนั้น
จึงตรัสพระคาถาว่า อชฺฌตฺตญฺจ ในภายใน ดังนี้เป็นต้น. บทว่า
เอว สตสฺส คือ มีสติรู้อยู่อย่างนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรม
เช่นกับที่กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ๆ นั้นแล.
จบอรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 330
โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโปสาละ
[๔๖๗] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงมีความหวั่น-
ไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว ทรงถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง ย่อมทรงแสดงอดีต ข้าพระองค์มีความต้องการ
ด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๔๖๘] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย อตีต อาทิสติ ดังนี้ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมา
ในกาลก่อน ทรงบรรลุซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และ
ทรงบรรลุซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ย่อมทรงแสดงอดีต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง
แสดงแม้อดีต ย่อมทรงแสดงแม้อนาคต ย่อมทรงแสดงแม้ปัจจุบัน ของ
พระองค์เองและของผู้อื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของพระองค์อย่างไร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง อันเป็นอดีตของพระองค์เองว่า ในภพโน้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 331
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร
อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพ
นี้ พระองค์ทรงแสดงชาติก่อนเป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง
อุเทศ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของ
พระองค์เองอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของผู้อื่นอย่างไร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯ ล ฯ ตลอด
สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง อันเป็นอดีตของผู้อื่นว่า ในภพโน้น ท่าน
ผู้นี้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น ท่านผู้นี้ก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิด
ในภพนี้ พระองค์ทรงแสดงชาติก่อนเป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อม
ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอดีตของ
ผู้อื่นอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดก ๕๐๐ ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตของ
พระองค์เองและของผู้อื่น ตรัสมหาธนิยสูตร... มหาสุทัสสนสูตร... มหา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 332
โควินทสูตร ... มฆเทวสูตร ชื่อว่าทรงแสดงอดีตของพระองค์และของ
ผู้อื่น.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ
ญาณอันตามระลึกถึงชาติก่อนของตถาคต ปรารภถึงอดีตกาลมีอยู่ ตถาคต
หวังจะรู้ชาติก่อนเท่าใด ก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เท่านั้น ดูก่อนจุนทะ
ญาณอันตามระลึกถึงชาติข้างหน้าของตถาคต ปรารภถึงอนาคตกาล มีอยู่
ฯ ล ฯ ดูก่อนจุนทะ ญาณอันเกิดที่ควงไม้โพธิของตถาคต ปรารภถึง
ปัจจุบันกาล เกิดขึ้นว่า ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้มิได้มีภพต่อไป อินทรีย-
ปโรปริยัตติญาณ (ญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหมด) เป็นกำลังของตถาคต อาสยานุสยญาณ (ความรู้จัก
ฉันทะที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นกำลังของ
ตถาคต ยมกปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนำออกซึ่งปฏิปักขธรรม
อันเป็นคู่) เป็นกำลังของตถาคต มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณใน
มหากรุณาสมาบัติ) เป็นกำลังของตถาคต สัพพัญญุตญาณเป็นกำลังของ
ตถาคต อนาวรณณาณ (ญาณเนื่องด้วยอาวัชชนะไม่มีอะไรกั้น) เป็น
กำลังของตถาคต อนาวรณญาณอันไม่ข้อง ไม่มีอะไรขัดในกาลทั้งปวง
เป็นกำลังของตถาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดง .... ทรงประกาศ
แม้อดีต แม้อนาคต แม้ปัจจุบัน ของพระองค์และของผู้อื่นด้วยประการ
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอดีต.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โปสาโล ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า โปสาโล เป็นชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 333
ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
โปสาละทูลถามว่า.
[๔๖๙] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความหวั่นไหว ในอุเทศว่า อเนโช ฉินฺนสสโย ดังนี้
ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละ
ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี
มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า
ไม่มีความหวั่นไหว เพราะทรงละความหวั่นไหวเสียแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ทรงหวั่น ไม่ทรงไหว ไม่พรั่น ไม่พรึง แม้ในเพราะลาภ
แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะความเสื่อมยศ
แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะนินทา แม้ในเพราะสุข แม้ใน
เพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว.
วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงในทุกข์ ฯ ล ฯ ความสะดุ้งแห่งจิต
ความขัดใจ ท่านกล่าวว่า ความสงสัย ในอุเทศว่า ฉินฺนสสโย ดังนี้
ความสงสัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงตัด บั่น ทอน สงบ
ระงับเสียแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยแล้ว
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว ทรงตัดความสงสัยเสีย
แล้ว.
[๔๗๐] คำว่า ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ทรงถึงฝั่งแห่งปริญญา ทรงถึงฝั่งแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 334
ปหานะ ทรงถึงฝั่งแห่งภาวนา ทรงถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้ง ทรงถึงฝั่ง
แห่งสมาบัติ คือ ทรงถึงฝั่งแห่งความรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ฯ ล ฯ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น มิได้มีสงสาร คือชาติ ชราและมรณะ ไม่มีภพใหม่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง.
[๔๗๑] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า
ความว่า พวกข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ฯ ล ฯ เพื่อ
ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง เพื่อทรงเฉลย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงมีความหวั่น-
ไหว ทรงตัดความสงสัยเสียแล้ว ทรงถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง ย่อมทรงแสดงอดีต ข้าพระองค์มีความต้องการ
ด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๔๗๒] ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของ
บุคคลผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ละกายทั้งหมดแล้ว
เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี
บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำอย่างไร.
[๔๗๓] รูปสัญญา ในคำว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส ดังนี้ เป็นไฉน
สัญญา ความจำ ความเป็นผู้จำ ของบุคคลผู้เข้าซึ่งรูปาวจรสมาบัติ หรือ
ของบุคคลผู้เข้าถึงแล้ว (ในรูปาวจรภพ) หรือว่าของบุคคลผู้มีธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า รูปสัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 335
คำว่า ผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ความว่า รูปสัญญาของบุคคล
ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสัญญาผ่านไปแล้ว หายไปแล้ว ล่วงไปแล้ว
เลยไปแล้ว เป็นไปล่วงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีรูปสัญญาอัน
ผ่านไปแล้ว.
[๔๗๔] คำว่า ผู้ละกายทั้งปวงแล้ว ความว่า รูปกายอันมีใน
ปฏิสนธิทั้งหมด บุคคลนั้นละแล้ว คือ รูปกายอันบุคคลนั้นละแล้ว ด้วย
การก้าวล่วงด้วยอำนาจตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน การละด้วยการ
ข่มไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละกายทั้งปวงแล้ว.
[๔๗๕] อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี
ในอุเทศว่า อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต ดังนี้ เพราะ
เหตุไร อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงชื่อว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี บุคคล
เป็นผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่ยัง
วิญญาณนั้นนั่นแหละ ให้เจริญ ให้เป็นแจ้ง ให้หายไป ย่อมเห็นว่า อะไร ๆ
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงชื่อว่า อะไร ๆ
น้อยหนึ่งมิได้มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นอยู่ทั้งภายในและภายนอก
ว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี.
[๔๗๖] คำว่า สกฺก ในอุเทศว่า าณ สกฺกานุปุจฺฉามิ ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สักกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ชื่อว่า สักกะ ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละความกลัวและความขลาด
เสียแล้ว ปราศจากความขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงชื่อว่า สักกะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 336
คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ ความว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้นว่า เช่นไร ดำรงอยู่อย่างไร
มีประการไร มีส่วนเปรียบอย่างไร อันบุคคลนั้น พึงปรารถนา เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ.
[๔๗๗] คำว่า บุคคลเช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร ความว่า บุคคล
นั้นควรแนะนำ ควรนำไปให้วิเศษ ควรนำไปให้ยิ่ง ควรให้รู้ทั่ว ควร
ให้พินิจ ควรให้พิจารณา ควรให้เลื่อมใสอย่างไร และญาณที่ยิ่งขึ้นไป
อันบุคคลนั้นพึงให้เกิดขึ้นอย่างไร.
คำว่า บุคคลเช่นนั้น คือ บุคคลผู้อย่างนั้น ผู้เช่นนั้น ดำรงอยู่
อย่างนั้น ผู้มีประการอย่างนั้น ผู้มีส่วนเปรียบอย่างนั้น ผู้ได้อากิญจัญญา-
ยตนสมาบัตินั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้เช่นนั้นควรแนะนำอย่างไร
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของ
บุคคลผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว ละกายทั้งหมดแล้ว
เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี
บุคคลอย่างนั้นควรแนะนำอย่างไร.
[๔๗๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโปสาละ)
ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
ทั้งหมด ย่อมรู้จักบุคคลนั้น เมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว
มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 337
[๔๗๙] คำว่า วิญญาณฐิติทั้งหมด ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถอภิสังขาร ย่อมทรงทราบ
วิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถปฏิสนธิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบ วิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถ
อภิสังขารอย่างไร สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดรูปตั้งอยู่ มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น
ที่ตั้งอาศัย มีความเพลิดเพลิน เป็นเครื่องซ่องเสพ ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณยึดเวทนา ฯ ล ฯ
ยึดสัญญา ฯ ล ฯ ยึดสังขารตั้งอยู่ มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
อาศัย มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องซ่องเสพ ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติ ๔ ด้วย
สามารถอภิสังขารอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบ วิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถ
ปฏิสนธิอย่างไร สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น
พวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางหมู่ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เช่นพวกเทพเนื่องในหมู่พรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็น วิญญาณ-
ฐิติที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๓. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น
พวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 338
เหล่าหนึ่งล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหา
ที่สุดมิได้ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง
ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๖. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี นี้เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๗. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบวิญญาณฐิติที่ ๗
ด้วยสามารถปฏิสนธิอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณฐิติ
ทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โปสาละ ในอุเทศ
ว่า โปสาลาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ
ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนโปสาละ.
[๔๘๐] คำว่า อภิชาน ในอุเทศว่า อภิชาน ตถาคโต ดังนี้
ความว่า รู้ยิ่ง รู้แจ้ง แทงตลอด. คำว่า ตถาคต ความว่า สมจริงตาม
พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 339
ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ล่วงแล้ว จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ในเรื่องนั้นตถาคตย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น.
ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่ยังไม่มาถึง ฯ ล ฯ ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้
เรื่องที่เป็นปัจจุบัน ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เรื่องนั้น
ตถาคตก็ไม่พยากรณ์. ดูก่อนจุนทะ ถ้าแม้เรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ แต่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เรื่องนั้นตถาคตก็ไม่พยากรณ์.
ดูก่อนจุนทะ ถ้าเรื่องที่เป็นปัจจุบันจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ในเรื่องนั้นตถาคตย่อมรู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น.
ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล ตถาคตย่อมเป็นผู้กล่าวโดยกาล
อันควร กล่าวจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย ในธรรม
ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
จึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็น
แล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณา
แล้วด้วยใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะเหตุ-
นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตย่อมตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรี
ใด และตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด
ตถาคตย่อมกล่าว บอก เล่า แสดง เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมด
นั้นเป็นเรื่องจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า
เราเป็นตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 340
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าว
อย่างนั้น ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น
ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตเป็นใหญ่ยิ่งในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อัน
ใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต. เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ตถาคตรู้ยิ่ง.
[๔๘๑] คำว่า ย่อมรู้จักบุคคลนั้นผู้ตั้งอยู่ ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า
บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขาร
ว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขาร
ว่า บุคคลนี้เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรตวิสัย พระมีผู้พระภาคเจ้า
ย่อมทรงรู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคล
นี้เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติในหมู่มนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรง
รู้จักบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ด้วยสามารถกรรมาภิสังขารว่า บุคคลนี้เมื่อกาย
แตกตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารี-
บุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 341
อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น ดำเนินไปตามทาง
นั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจ-
ฉาน.
ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงเปรตวิสัย.
ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักอุบัติในหมู่มนุษย์.
ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเนินไปตามทางนั้น เมื่อกายแตกตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ดูก่อนสารีบุตร เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ
แล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ประพฤติอย่างนั้น
ดำเป็นไปตามทางนั้น จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมรู้บุคคลนั้นผู้ตั้ง
อยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 342
[๔๘๒] คำว่า พ้นวิเศษแล้ว ในอุเทศว่า วิมุตฺต ตปฺปรายน ดังนี้
ความว่า พ้นวิเศษแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติ คือ น้อมใจไปในฌาน
นั้น มีฌานนั้นเป็นใหญ่.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้น้อม
ใจไปในรูป น้อมใจไปในเสียง น้อมใจไปในกลิ่น น้อมใจไปในรส
น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในสกุล น้อมใจไปในคณะ น้อมใจ
ไปในอาวาส น้อมใจไปในลาภ น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในความ
สรรเสริญ น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อมใจไปในบิณฑบาต
น้อมใจไปในเสนาสนะ น้อมใจไปในคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร น้อมใจไป
ในพระสูตร น้อมใจไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม น้อมใจ
ไปในองค์ของภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของ
ภิกษุผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการเที่ยว
ไปเพื่อบิณฑบาตเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการเที่ยวไป
ตามลำดับตรอกเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ
อาสนะแห่งเดียวเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะ
ในบาตรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการไม่ฉันภัตในภายหลัง
เป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร น้อมใจ
ไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ที่โคนไม้เป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของ
ภิกษุผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่
ในป่าช้าเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขา
จัดให้อย่างไรเป็นวัตร น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการไม่นอนเป็น
วัตร น้อมใจไปในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 343
นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว.
คำว่า มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า ความว่า สำเร็จมาแต่อากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ มีสมาบัตินั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีกรรมเป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า มีวิบากเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หนักอยู่ในกรรม หนักอยู่
ในปฏิสนธิ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้มีรูป
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฯ ล ฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นเบื้อง
หน้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ตถาคตรู้ยิ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
ทั้งหมด ย่อมรู้จักบุคคลนั้นเมื่อตั้งอยู่ พ้นวิเศษแล้ว มี
สมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า.
[๔๘๓] บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญ-
จัญญายตนภพ มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้
ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ก็พิจารณา
เห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของ
บุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์.
[๔๘๔] คำว่า รู้กรรมว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ
ความว่า กรรมาภิสังขารอันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสว่าเป็น
เหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 344
ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏซึ่งกรรมาภิสังขารอันให้เป็นไปในอากิญญจัญญา-
ยตนภพว่า เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า รู้กรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ.
[๔๘๕] คำว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบดังนี้ ความว่า
ความกำหนัดในอรูปตรัสว่า ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ รู้กรรมนั้นว่า
เกาะ เกี่ยว พัวพัน ด้วยความกำหนัดในอรูป คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง
พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งความกำหนัดในอรูปว่า เป็น
เครื่องข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องกังวล.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับ
บท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ ดังนี้.
[๔๘๖] คำว่า ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ความว่า ครั้นรู้จัก
คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งกรรมนั้น
อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว.
[๔๘๗] คำว่า ในลำดับนั้น ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัติ
นั้น ความว่า เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วออกจากสมาบัตินั้น แล้วก็
พิจารณาเห็น คือ เห็น ตรวจดู เพ่งดู พิจารณา ซึ่งธรรมทั้งหลาย คือ
จิตและเจตสิก อันเกิดในสมาบัตินั้น โดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค ฯ ล ฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ในลำดับนั้นก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น.
[๔๘๘] คำว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น ความว่า
นั่นเป็นญาณอันแท้จริง ถ่องแท้ ไม่วิปริต ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 345
[๔๘๙] คำว่า เป็นพราหมณ์ ในอุเทศว่า พฺราหฺมณสฺส วุสีมโต
ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการแล้ว
ฯ ล ฯ บุคคลอันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่า
เป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์.
คำว่า อยู่จบพรหมจรรย์ ความว่า เสขบุคคล ๗ พวกรวมทั้ง
กัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่ทั่ว อยู่รอบ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
พระอรหันต์อยู่จบแล้ว ทำกรณียกิจเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มี
ประโยชน์ตนอันถึงแล้วโดยลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้น
กิเลสแล้ว เพราะรู้โดยชอบ พระอรหันต์นั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ อยู่จบ
แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มิได้มีสงสาร คือ ชาติ ชราและ
มรณะ ไม่มีภพต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์อยู่จบพรหม-
จรรย์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลนั้น รู้กรรมว่า เป็นเหตุให้เกิดในอากิญ-
จัญญายตนภพ มีความเพลินเป็นเครื่องประกอบ ดังนี้
ครั้นรู้จักกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ก็พิจารณาเห็น
(ธรรม) ในสมาบัตินั้น นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของ
บุคคลนั้น ซึ่งเป็นพราหมณ์อยู่จบพรหมจรรย์.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 346
อรรถกถาโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔
พึงทราบวินิจฉัยในโปสาลสูตรที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้.
บทว่า โย อตีต อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดง
อดีต คือทรงแสดงอดีต มีอาทิว่าชาติหนึ่งบ้างของพระองค์และของสัตว์
เหล่าอื่น.
บทว่า เอกมฺปิ ชาตึ ชาติหนึ่งบ้าง คือขันธสันดานหนึ่งบ้าง อันมี
ปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นปริโยสานอันนับเนื่องในภพหนึ่ง. ในบท
ทั้งหลายมีอาทิว่า สองชาติ บ้างก็มีนัยนี้. อนึ่ง พึงทราบความในบท
ทั้งหลายมีอาทิว่า อเนเกปิ สวฏฺฏกปฺเป ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ดังต่อไปนี้ กัปกำลังเสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป เพราะในกาลนั้นสัตว์ทั้งปวง
จะไปรวมกันอยู่ในพรหมโลก. กัปกำลังเจริญชื่อว่า วิวัฏฏกัป เพราะในกาล
นั้น สัตว์ทั้งหลายกลับจากพรหมโลก. ในบทนั้น เป็นอันถือเอาการตั้งอยู่
แห่งสังวัฏฏกัปด้วยสังวัฏฎกัป. และเป็นอันถือเอาการตั้งอยู่แห่งวิวัฏฏกัป
ด้วยวิวัฏฏกัป. เพราะปฏิสนธินั้นเป็นต้นเหตุ. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัปเหล่านี้มี ๔ อย่าง
คือสังวัฏฏกัป ๑ สังวัฏฏัฏฐายี ๑ วิวัฏฏกัป ๑ วิวัฏฏัฏฐายี ๑. เป็นอัน
กำหนดเอาอสงไขยกัปเหล่านั้น. อนึ่ง ในบทว่า สงฺวฏฺฏกปฺเป วิวฏฏกปฺเป
ท่านกล่าวถือเอากึ่งหนึ่งของกัป. ในบทว่า สวฏฺฏวิวฏฺฏกปฺเป ท่าน
กล่าวถือเอาตลอดกัป. หากถามว่า ระลึกถึงอย่างไร. ตอบว่า ระลึกถึง
โดยนัยมีอาทิว่า อมุตฺราสึ คือ ในภพโน้น. บทว่า อมุตฺราสึ ความว่า
เราได้มีแล้วในสังวัฏฏกัปโน้น ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 347
สัตตนิกายโน้น. บทว่า เอวนฺนาโม มีชื่ออย่างนั้น คือชื่อ ติสสะหรือ
ปุสสะ. บทว่า เอวโคตฺโต มีโคตรอย่างนั้น คือกัจจานโคตรหรือกัสสป-
โคตร. บทนี้ท่านกล่าวด้วยการระลึกถึง ชื่อและโคตรของตนในภพอดีต
และของผู้นั้น. ก็หากว่าในกาลนั้นประสงค์จะระลึกถึง วรรณสมบัติก็ดี
ความเป็นผู้มีชีวิตหยาบและประณีตก็ดี ความเป็นผู้มากด้วยสุขและทุกข์ก็ดี
ความเป็นผู้มีอายุน้อยและอายุยืนก็ดี ย่อมระลึกถึงแม้ข้อนั้นได้. ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอววณฺโณ. . . . เอวมายุปริยนฺโต
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอววณฺโณ มีผิวพรรณอย่างนี้ คือมีผิวขาว
หรือผิวคล้ำ. บทว่า เอวมาหาโร มีอาหารอย่างนี้ คือมีข้าวสาลี เนื้อ
ข้าวสุกเป็นอาหาร หรือมีผลไม้ที่หล่นเองเป็นของบริโภค. บทว่า เอว-
สุขทุกฺขปฏิสเวที เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น คือเสวยสุขและทุกข์อันเป็น
ไปทางกาย เป็นไปทางจิตโดยประการไม่น้อย หรือมีประเภทมีอามิส
และไม่มีอามิส. บทว่า เอวมายุปริยนฺโต มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ คือ
มีกำหนดอายุประมาณ ๑๒๐ ปี หรือ ๘๔,๐๐๐ กัป. บทว่า โส ตโต
จุโต อมุตฺร อุทปาทึ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพโน้น คือเรา
ครั้นจุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้น
แล้ว ได้มาเกิดในภพ คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายโน้น.
บทว่า ตตฺราปาสึ แม้ในภพนั้น คืออีกอย่างหนึ่ง เราได้มีแล้วในภพ
กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายแม้นั้นอีก. บทมีอาทิว่า
เอวนฺนาโม มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง เพราะบทว่า
อมุตฺราสึ นี้ เป็นการระลึกถึงตลอดเวลาที่ต้องการของผู้ขึ้นไปโดยลำดับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 348
บทว่า โส ตโต อุโต เป็นการพิจารณาของผู้ที่กลับ ฉะนั้น บทว่า
อิธูปปนฺโน เกิดแล้วในที่นี้ คือเราจุติจากที่เกิดอันหาที่สุดมิได้นั้นแล้ว
บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือในตระกูลพราหมณ์ชื่อโน้นนี้. บทว่า อิติ
คือ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สาการ สอุทฺเทส พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ คือพร้อมทั้งอุเทศด้วยอำนาจชื่อและโคตร พร้อมทั้ง
อาการด้วยอำนาจผิวพรรณเป็นต้น. เพราะว่าสัตว์ย่อมแสดงโดยชื่อและ
โคตรว่า ติสสะ กัสสปะ ดังนี้ แสดงโดยผิวพรรณเป็นต้นว่า คล้ำ ขาว
ดังนี้ ย่อมปรากฏโดยความต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้น ชื่อและโคตรเป็น
อุเทศ นอกนั้นเป็นอาการ. บทว่า ปุพฺเพนิวาส คือ ขันธ์ที่อยู่อาศัยใน
อดีตชาติเป็นต้น ในกาลก่อนชื่อว่า ปุพเพนิวาส. บทว่า นิวุฏฺา คือ
อยู่อาศัย ได้เสวยผล คือเกิดขึ้นในสันดานของตนแล้วดับไป หรือมีการ
อยู่อาศัยเป็นธรรมดา. บทว่า นิวุฏฺา คือ อยู่อาศัย อยู่ได้ด้วยอาหาร
กำหนดรู้ด้วยวิญญาณของตน แม้รู้ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ย่อมได้แก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ในการระลึกถึงทางอันตัดแล้ว. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดง ทรงกล่าวถึงปุพเพนิวาสนั้น.
บทว่า ปเรส อตีต อดีตของผู้อื่น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงถึงปุพเพนิวาสของบุคคลอื่นเหล่าอื่น โดยนัยมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ
ดังนี้. บทว่า มหาปทานิยสุตฺตนฺต คือ มหาปทานสูตร แสดงพระประวัติ
ของพระมหาบุรุษทั้งหลาย. บทว่า มหาสุทสฺสนิย คือ มหาสุทัสสนสูตร
แสดงถึงสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. บทว่า มหาโควินฺทิย คือ
มหาโควินทสูตร แสดงถึงเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อว่า มหาโควินทะ. บท
ว่า มฆเทวินฺทิย คือ มฆเทวสูตร แสดงประวัติของท้าวมฆเทพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 349
บทว่า สตานุสารีาณ โหติ ญาณอันตามระลึกชาติ คือญาณที่
สัมปยุตด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า ยาวตก อากงฺขติ ตถาคต
หวังจะรู้ชาติก่อนเท่าใด คือตถาคตปรารถนาจะรู้ชาติก่อนเท่าใด ก็ส่ง
ญาณไปว่า เราจักรู้ชาติก่อนเท่านั้น. ลำดับนั้นญาณของพระตถาคตย่อม
แล่นไปไม่มีอะไรกระทบ ไม่มีอะไรกั้น ดุจน้ำมันมะกอกไหลเข้าไปในห่อ
ใบไม้แห้ง. ด้วยเหตุนั้น พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนได้เท่าที่
ทรงหวัง. บทว่า โพธิช คือ เกิด ณ ควงต้นโพธิ. บทว่า าณ
อุปฺปชฺชติ คือ ญาณในมรรค ๔ ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อยมนฺติมา ชาติ
ชาตินี้มีในที่สุด คือชาตินี้มีในที่สุด เพราะละต้นเหตุของชาติได้ด้วยญาณ
นั้น แม้ญาณอื่น ๆ ก็เกิดขึ้นอีกว่า บัดนี้มิได้มีภพต่อไป.
ในบทว่า อินฺทริยปโรปริยตฺตาณ นี้ การนำบทว่า สตฺตาน
มาประกอบข้างหน้าเป็น สตฺตาน อินฺทฺริยปโรปริยตฺตาณ คือ ญาณ
เครื่องกำหนดรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย. เมื่อ
ควรจะกล่าวว่า ปรานิ จ อปรานิ จ ปราปรานิ ความยิ่งและความหย่อน
ท่านลง โร อักษรด้วยบทสนธิ กล่าวว่า ปโรปรานิ. ความเป็นแห่ง
ความยิ่งและความหย่อน ชื่อว่า ปโรปริย. ความเป็นแห่งความยิ่งและ
ความหย่อนนั่นแล ชื่อว่า ปโรปริยตฺต. ความยิ่งและความหย่อนแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้นของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า
อินฺทฺริยปโรปริยตฺต. ญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่ง
อินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตาณ. อธิบายว่า ญาณเครื่อง
กำหนดรู้ความสูงและความต่ำของอินทรีย์ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 350
อีกอย่างหนึ่ง ปรานิ จ โอปรานิ จ ปโรปรานิ ความยิ่งและความ
หย่อน ชื่อว่า ปโรปรานิ ความเป็นแห่งความยิ่งและความหย่อนเหล่านั้น
ชื่อว่า ปโรปริย. ท่านอธิบายว่า โอปรานิ ความหย่อน คือ โอรานิ
คือ ความหย่อน (ความต่ำ). อธิบายว่า ลามก. ดุจในประโยคมีอาทิว่า
ได้รู้ธรรมลามก. ปาฐะใช้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า อินฺทริยปโรปริยตฺเต าณ
ญาณกำหนดรู้ในความยิ่งและความหย่อนของอินทรีย์ก็มี. บทว่า ตถา-
คตสฺส คือ เสด็จมาเหมือนอย่างท่านผู้แสวงคุณแต่ก่อน มีพระวิปัสสี
เป็นต้นเสด็จมาแล้ว. อนึ่ง เสด็จไปเหมือนท่านผู้แสวงคุณเหล่านั้นเสด็จ
ไปแล้ว. บทว่า ตถาคตพล เป็นกำลังของพระตถาคต คือเป็นกำลัง
ของพระตถาคตเท่านั้นไม่ทั่วไปด้วยบุคคลเหล่าอื่น. อธิบายว่า เป็นกำลัง
มาแล้วเหมือนอย่างกำลังของพระพุทธเจ้าแต่ก่อน ด้วยการถึงพร้อมด้วย
การสะสมบุญบ้าง.
กำลังของพระตถาคตมีสองอย่างคือ กายพล (กำลังพระกาย) ๑
าณพล (กำลังพระญาณ) ๑. ในพระกำลังเหล่านั้น พึงทราบกำลัง
พระกายด้วยระลึกถึงตระกูลช้าง. โบราณาจารย์กล่าวได้ดังนี้ว่า
ตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล คือตระกูลช้างกาฬาวกะ ๑
คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑
มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโปสถะ ๑ ฉัททันตะ ๑.
กำลังของช้างพันโกฏิด้วยจำนวนช้างปกติ ของบุรุษหมื่นโกฏิด้วย
จำนวนบุรุษ นี้เป็นกาลังพระกายของพระตถาคต. แต่กาลังพระญาณมา
แล้วในมหาสีหนาทสูตร คือทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ (ญาณทำความ
กล้าหาญ ๔) ญาณไม่ทรงหวั่นไหวในบริษัท ๘ ญาณกำหนดกำเนิด ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 351
ญาณกำหนดคติ ๕. พระญาณพันหนึ่งเป็นอันมากแม้เหล่าอื่นอย่างนี้ คือ
ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ มาแล้วในสังยุตตนิกาย นี้ชื่อว่า กำลังพระญาณ.
ในที่นี้ประสงค์กำลังพระญาณเท่านั้น. เพราะพระญาณท่านกล่าวว่าเป็น
พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว และเพราะอรรถว่า ค้ำจุน.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สตฺตาน อาสยานุสเย าณ ความรู้
อัธยาศัย และกิเลสอันนอนเนื่องในสันดานของสัตว์ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
สตฺตา (สัตว์ทั้งหลาย) เพราะเป็นผู้ข้อง คือติดในขันธ์ทั้งหลายมีรูป
เป็นต้นด้วยฉันทราคะ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนราธะ
ผู้ข้องผู้ติดในความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยากในรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า สัตว์. แต่นักคิดอักษรไม่
พิจารณาถึงความต้องการเพียงชื่อ. ผู้ใดพิจารณาถึงความ ผู้นั้นย่อมต้อง
การบทว่า สตฺตา ด้วยสัตตศัพท์. แห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. ชื่อว่า
อาสย เพราะเป็นที่มานอนอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย. บทนี้เป็นชื่อของ
จิตตสันดานของสัตว์ที่อบรมด้วยมิจฉาทิฏฐิบ้าง สัมมาทิฏฐิบ้าง กาม
เป็นต้นบ้าง ออกจากกามเป็นต้นบ้าง. ชื่อว่า อนุสย เพราะกิเลสทั้งหลาย
นอนตาม เข้าไปติดตามสันดานของสัตว์. บทนี้เป็นชื่อของกามราคะ
เป็นต้น อันถึงซึ่งกำลัง. อาสย และ อนุสย ชื่อว่า อาสยานุสโย.
พึงทราบว่าเป็นคำเดียวกัน ด้วยถือกำเนิดและด้วยทวันทวสมาส (สมาสคู่)
เพราะจริตและอัธยาศัยสงเคราะห์เข้าในอาสยะและอนุสยะ ฉะนั้น ญาณใน
จริตและอัธยาศัย ท่านสงเคราะห์ลงในอาสยานุสยญาณนั่นเอง จึงกล่าวว่า
อาสยานุสเย าณ ความรู้ในอัธยาศัยและกิเลสอันนอนเนื่องอยู่ใน
สันดาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 352
พึงทราบความในบทนี้ว่า ยมกปาฏิหิเร าณ ญาณในยมก-
ปาฏิหาริย์ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ยมก เป็นคู่ เพราะกองไฟและสายน้ำ
เป็นต้น เป็นไปคราวเดียวกันไม่ก่อนไม่หลัง. ชื่อว่า ปาฏิหิร เพราะนำ
ปฏิปักขธรรม มีความเป็นผู้ไม่เชื่อเป็นต้นออกไป. ชื่อว่า ยมกปาฏิหิร
เพราะนำปฏิปักขธรรมออกไปเป็นคู่.
พึงทราบความในบทนี้ว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา าณ ญาณใน
มหากรุณาสมาบัติ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า กรุณา เพราะเมื่อทุกข์ของคนอื่น
มีอยู่ ย่อมทำความหวั่นไหวในหทัยเพื่อคนดีทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า กรุณา เพราะกำจัดทุกข์ของคนอื่นให้หมดสิ้นไป. หรือชื่อว่า
กรุณา เพราะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์. ความกรุณาใหญ่ด้วยการทำ
การแผ่ไป หรือด้วยคุณธรรม ชื่อว่า มหากรุณา. ชื่อว่า สมาปตฺติ
เพราะเป็นผู้มีมหากรุณาถึงพร้อม. ชื่อว่า มหากรุณาสมาปตฺติ เพราะมี
มหากรุณาแล้วเข้ามหากรุณาสมาบัตินั้น หรือญาณสัมปยุตด้วยมหากรุณา
นั้นในมหากรุณาสมาบัตินั้น.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพญฺญุตาณ อนาวรณาณ (ญาณ
ไม่มีอะไรกั้น) ดังนี้ต่อไป. ชื่อว่า สพฺพญฺญู เพราะรู้ทั่วถึงทุกสิ่งอัน
เป็นทางที่ควรแนะนำ ๕ ประการ. ความเป็นแห่งพระสัพพัญญูนั้น ชื่อว่า
สพฺพญฺญุตา. ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล ชื่อว่า สพฺพญฺญุต-
าณ. เมื่อควรจะกล่าวว่า สพฺพญฺญุตาาณ แต่กล่าวทำให้มีเสียงสั้นว่า
สพฺพญฺญุตาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหมดมีประเภทเป็นต้นว่า สังขตธรรม
และอสังขตธรรม เป็นทางที่ควรแนะนำ ๕ ประการคือ สังขาร ๑ วิการ ๑
ลักษณะ ๑ นิพพาน ๑ บัญญัติ ๑. ความกั้นญาณนั้นไม่มี เพราะเนื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 353
ด้วยเป็นอาวัชชนะ เพราะฉะนั้น ญาณนั้นนั่นแลจึงเรียกว่า อนาวรณญาณ.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพตฺถ อสงฺคมปฺปฏิหตมนาวรณาณ
อนาวรณญาณอันไม่ข้อง ไม่มีอะไรขัดในกาลทั้งปวง ดังต่อไปนี้ ญาณ
ปราศจากการกั้น ไม่ข้อง ปราศจากการข้อง ไม่ขัด ปราศจากการขัด
ปราศจากการเป็นปฏิปักษ์เป็นไปแล้วในอดีต อนาคต และปัจจุบัน.
บทว่า อนาคตมฺปิ อาทิสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงแม้
อนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในภัทรกัปนี้ได้มีพระพุทธเจ้า ๓
พระองค์แล้ว ปัจจุบันนี้เราเป็นสัมมาสัมพุทธะองค์ที่ ๔ และต่อไปจักมี
พระเมตไตรยเป็นองค์ที่ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุได้แปด-
หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรยจักอุบัติในโลก เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ครั้งนั้นแล พระราชาพระนามว่าสังขะ จักรับสั่งให้ยกเสาบูชายัญที่
พระราชาพระนามว่ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ ทรงครองราชสมบัติ ทรง
กำจัดศัตรู สละพระราชทรัพย์ ทรงถวายทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า
คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย แล้วทรงปลงผมและหนวดนุ่งห่ม
ผ้ากาสายะ เสด็จออกทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงบอกอนาคตของพระเทวทัตเป็นต้น
โดยนัยมีอาทิว่า ในอนาคตเทวทัตจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า
อัฏฐิสสระ และสุมนมาลาการจักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สุมนิสสระ.
บทว่า ปจฺจุปนฺนมฺปิ อาทิสติ ทรงแสดงแม้ปัจจุบันนี้ชัดดีแล้ว.
บทว่า วิภูตรูปสญฺิสฺส คือ ผู้มีรูปสัญญาอันผ่านไปแล้ว. บทว่า
สพฺพกายปฺปหายิโน ผู้ละกายทั้งหมดแล้ว คือละรูปกายทั้งหมดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 354
ตทังคะ และวิกขัมภนะ อธิบายว่า ละปฏิสนธิในรูปภพได้แล้ว. บทว่า
นตฺถิ กิญฺจีติ ปสฺสโต เห็นอยู่ว่า ไม่มีอะไร คือเห็นอยู่ว่า ไม่มีอะไร
ด้วยเห็นความไม่มีแห่งวิญญาณ. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ. โปสาลมาณพทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สักกะ ในบทว่า
าณ สกฺกานุปุจฺฉามิ ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ.
ต้องการคำพูดว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณของบุคคลนั้น. บทว่า
กถ เนยฺโย คือ บุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร. ควรให้เกิดญาณยิ่งขึ้น
แก่เขาอย่างไร.
บทว่า รูปสญฺา ในบทนี้ว่า กตมา รูปสญฺา รูปสัญญาเป็นไฉน
ท่านกล่าวรูปาวจรฌาน และอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น ด้วยหัวข้อว่า
สญฺา. จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า
รูปี รูปานิ ปสฺสติ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป. แม้อารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น
(ก็ชื่อว่ารูป) ในคำเป็นต้นว่า ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปภายนอก มีผิวพรรณดี
และมีผิวพรรณทราม. เพราะฉะนั้น บทว่า รูปสญฺา นี้ จึงเป็นชื่อ
ของรูปาวจรฌานด้วยหัวข้อว่า สญฺา อย่างนี้ว่า ความสำคัญในรูปนี้
ชื่อว่ารูปสัญญา. ชื่อว่า รูปสญฺา เพราะรูปมีสัญญา. ท่านกล่าวว่ารูป
เป็นชื่อของรูปาวจรฌานนั้น. อนึ่ง พึงทราบว่า บทว่า รูปสญฺา นี้
เป็นชื่อของอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น มีประเภทเป็นต้นว่าปฐวีกสิณ
ด้วยประการฉะนี้. แต่ในที่นี้ประสงค์เอารูปสัญญาอันได้แก่ (รูป)ฌาน ๑๕
ด้วยอำนาจแห่งกุศล วิบาก และกิริยา. บทว่า รูปาวจรสมาปตฺตึ สมา-
ปนฺนสฺสวา ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ คือเข้าถึงกุศลฌานอันเป็น
รูปาวจรสมาบัติ. บทว่า อุปฺปนฺนสฺส วา คือ เกิดขึ้นแล้วในภพนั้นด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 355
อำนาจแห่งวิปากฌาน. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาริสฺส วา หรือของบุคคล
ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือผู้ยังสุขอันเป็นกิริยาฌาน
สมาบัติให้เกิดขึ้นอยู่ในอัตภาพนี้อยู่แล้ว.
บทว่า อรูปสมาปตฺติโย ได้แก่ อากาสานัญจายตนสมาบัติเป็นต้น.
บทว่า ปฏิลทฺธสฺส ได้แล้ว คือให้เกิดขึ้นดำรงอยู่แล้ว. บทว่า รูปสญฺา
วิภูตา โหนฺติ คือ ปราศจากรูปสัญญา. บทว่า วิคตา คือ หมดไปแล้ว.
ปาฐะว่า วิภาวิตา๑ บ้างดังนี้. บทว่า ตทงฺคสมติกฺกมา คือ ด้วยการ
ก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน. บทว่า วิกฺขมฺภนปฺปหาเนน ปหีโน ละแล้ว
ด้วยวิกขัมภนปหาน คือละด้วยการข่มไว้ด้วยได้อรูปฌาน. บทว่า ตสฺส
รูปกาโย คือ รูปาวจรกายของบุคคลผู้ได้อรูปสมาบัตินั้น.
พึงทราบความในบทนี้ว่า อากิญฺจญฺายตน ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า
อกิญฺจน เพราะไม่มีอะไร ในฌานนี้. ท่านกล่าวว่า ไม่มีอะไรเหลืออยู่
โดยที่สุดแม้เพียงในภังคขณะ. ความเป็นแห่งความไม่มีอะไร ชื่อว่า
อากิญฺจญฺ. บทนี้เป็นชื่อของการปราศจากวิญญาณ ในอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ. อากิญจัญญะนั้น ชื่อว่า อากิญฺจญฺายตน เพราะเป็น
เครื่องสืบต่อแห่งสัญญานี้ด้วยการอธิษฐาน. คำว่า อากิญจัญญายตนะ
นี้ เป็นชื่อของฌาน อันมีอารมณ์ปราศจากวิญญาณอันเป็นไปแล้วใน
ความว่าง. บทว่า วิญฺาณญฺจายตนสมาปตฺตึ สโต สมาปชฺชิตฺวา
คือ มีสติเข้าถึงวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น. บทว่า สโต วุฏฺหิตฺวา
มีสติออก คือเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น. บทว่า ตญฺเว วิญฺาณ
คือ วิญญาณอันเป็นมหัคคตะอันเป็นไปแล้วในความว่าง. บทว่า อภาเวติ
๑. ม. อภาวิตาติปิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 356
คือ ให้พินาศไป. บทว่า วิภาเวติ คือ ให้พินาศไปโดยวิธีต่าง ๆ.
บทว่า อนฺตรธาเปติ คือ ให้ถึงความไม่เห็น. บทว่า กถ โส เนตพฺโพ
บุคคลนั้นควรแนะนำอย่างไร คือควรรู้โดยประการไร. บทว่า วิเนตพฺโพ
ควรแนะนำให้วิเศษ คือควรรู้โดยวิธีต่าง ๆ. บทว่า อนุเนตพฺโพ ควร
ตามแนะนำ คือควรให้จิตถึงถ้อยคำบ่อย ๆ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงประกาศความที่ญาณของ
พระองค์ไม่ถูกกระทบในบุคคลเช่นนั้นแก่โปสาลมาณพ จึงตรัสคาถาเพื่อ
ทรงพยากรณ์นั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย สพฺพา อภิชาน ตถาคโต
คือ ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ทั้งปวงอย่างนี้
ว่า วิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถแห่งอภิสังขาร วิญญาณฐิติ ๗ ด้วยสามารถ
แห่งปฏิสนธิ. บทว่า ติฏฺนฺตเมน ชานาติ คือ ย่อมรู้จักบุคคลนั้นเมื่อ
ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งอภิสังขารคือกรรมว่า บุคคลนี้จักมีคติอย่างนี้ดังนี้.
บทว่า วิมุตฺต พ้นวิเศษแล้ว คือน้อมไปแล้วในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
เป็นต้น. บทว่า ตปฺปรายน มีสมาบัตินั้นเป็นเบื้องหน้า คือสำเร็จด้วย
สมาบัตินั้น.
บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย ความว่า ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ. คือ
สวิญญาณกขันธ์นั้นแล(ขันธ์มีวิญญาณ). ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ
เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงตัวอย่าง. บทว่า มนุสฺสา คือ มนุษย์มากมาย
แม้ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ย่อมไม่มี มนุษย์สองคนเหมือนเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น. แม้มนุษย์เหล่าใดมีผิวพรรณ
หรือทรวดทรงเหมือนกัน มนุษย์เหล่านั้นก็ไม่เหมือนกันด้วยการแลการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 357
เหลียวเป็นต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่าง ๆ กัน. ส่วน
ปฏิสนธิสัญญาของสัตว์เหล่านั้นเป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง อเหตุกะ-
บ้าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีสัญญาต่าง ๆ กัน. บทว่า
เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่ เทพชั้นกามาวจร ๖ ชั้น. จริงอยู่ บรรดา
เทพเหล่านั้น บางพวกมีกายเขียว บางพวกมีผิวพรรณเหลืองเป็นต้น.
แต่สัญญาของเทพเหล่านั้น เป็นติเหตุกะบ้าง ทุเหตุกะบ้าง เป็นอเหตุกะ
ไม่มี. บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา วินิปาติกะ (ผู้ตกไปในอบาย)
บางพวก คือเวมานิกเปรตเหล่าอื่นมีอาทิอย่างนี้ คือยักษิณีผู้เป็นมารดา
ของปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของ
ปุสสะผู้ยินดีในธรรม พ้นจากอบาย ๔. ร่างกายของเวมานิกเปรตเหล่านั้น
ต่าง ๆ กันด้วยสี มีผิวขาว ดำ ผิวทอง และสีนิลเป็นต้น ด้วยลักษณะมี
ผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยสามารถแห่งติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มี
ศักดิ์มากเหมือนทวยเทพ มีศักดิ์น้อยเหมือนคนจนหาของกินและเครื่อง
ปกปิดได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นอยู่. บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับ
สุขในข้างขึ้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วินิปาติกะ เพราะตกไป
จากการสะสมความสุข. แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะ ย่อมเป็นผู้บรรลุ
ธรรมได้ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา พวกเทพนับเนื่องในหมู่พรหม ได้แก่ พรหม-
ปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะและมหาพรหม. บทว่า ปมานิพฺพตฺตา ผู้
เกิดในภูมิปฐมฌาน คือหมู่พรหมทั้งหมดนั้นเกิดด้วยปฐมฌาน. แต่
พรหมปาริสัชชะเกิดด้วยปริตตฌาน พรหมปุโรหิตะเกิดด้วยมัชฌิมฌาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 358
อนึ่ง กายของพรหมเหล่านั้นมีรัศมีซ่านออกไป. มหาพรหมเกิดด้วย
ปณีตฌาน. แต่กายของมหาพรหมมีรัศมีซ่านออกไปยิ่งกว่า. เพราะฉะนั้น
พรหมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันด้วยอำนาจปฐมฌาน. สัตว์
ทั้งหลายในอบาย ๔ ก็เหมือนเทพเหล่านั้น. เพราะในนรก สัตว์นรก
บางพวกมีร่างกายคาวุตหนึ่ง บางพวกกึ่งโยชน์ บางพวก ๓ คาวุต. ส่วน
ของเทวทัตมีร่างกาย ๑๐๐ โยชน์. แม้ในเดียรัจฉานบางพวกก็เล็ก บางพวก
ก็ใหญ่. แม้ในเปรตวิสัย บางพวก ๖๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก
บางพวกผิวพรรณงาม บางพวกผิวพรรณซูบซีด. อนึ่ง แม้กาลกัญชิกาสูร
ก็สูง ๑๐ โยชน์ ชื่อว่าทีฆปิฏฐิกเปรต (เปรตมีหลังยาว). แต่สัญญา
ของสัตว์นรกทั้งหมด เป็นอกุศลวิบาก เป็นอเหตุกะ. ด้วย ประการฉะนี้
แม้สัตว์ในอบายก็เรียกได้ว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน.
บทว่า อาภสฺสรา ชื่อว่า อาภัสสระ เพราะรัศมีจากสรีระของ
เทพเหล่านั้น ย่อมแล่นออกดุจขาดตกลงเหมือนเปลวคบเพลิงฉะนั้น.
บรรดาอาภัสสรเทพเหล่านั้น เทพผู้เกิดขึ้นเพราะเจริญฌานสองคือปริตต-
ทุติยฌานและปริตตตติฌานในปัญจกนัย ชื่อว่า ปริตตาภา. เทพผู้เกิด
ขึ้นเพราะเจริญมัชฌิมฌาน ชื่อว่า อัปปมาณาภา. เทพผู้เกิดขึ้นเพราะ
เจริญปณีตฌาน ชื่อว่า อาภัสสรา. แต่ในที่นี้มุ่งหมายเอาเทพทั้งหมด
ด้วยการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์. เพราะว่ากายของเทพเหล่านั้นทั้งหมด
มีรัศมีซ่านออกเป็นอย่างเดียวกัน. แต่สัญญาต่าง ๆ กัน คือไม่มีวิตก
มีเพียงวิจาร และไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจาร. บทว่า สุภกิณฺหา คือ เทพที่
เต็มไปด้วยความงาม. อธิบายว่า มีรัศมีเป็นกลุ่มเดียวกัน ด้วยสีของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 359
รัศมีจากกายงาม. เพราะรัศมีของเทพเหล่านั้นขาดแล้ว ๆ ไม่เหมือนของ
อาภัสสรเทพทั้งหลาย. เทพปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เกิด
ด้วยอำนาจแห่งฌานที่เป็นปริตตฌาน มัชฌิมฌาน และปณีตฌาน แห่ง
ตติยฌานในจตุกนัย แห่งจตุตถฌานในปัญจกนัย. ทวยเทพทั้งหมดเหล่า
นั้น พึงทราบว่า มีกายอย่างเดียวกัน และมีสัญญาอย่างเดียวกันด้วย
จตุตถฌานสัญญา แม้พวกเทพ เวหัปผลา ก็ย่อมเสพวิญญาณฐิติที่ ๔.
อสัญญสัตว์ คือสัตว์ที่ไม่มีสัญญา ไม่สงเคราะห์เข้าในที่นี้ แต่สงเคราะห์
เข้าในสัตตาวาส. เทพสุทธาวาสทั้งหลายดำรงอยู่ในฝ่ายวิวัฏฏะ ไม่เป็นไป
ตลอดกาลทั้งหมด ไม่เกิดในโลกในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้าแสนกัปบ้าง
อสงไขยกัปบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติขึ้นในระหว่าง ๑๖,๐๐๐ กัป
เทพเหล่านั้นจึงเกิด. เป็นเช่นกับค่ายพักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังพระ-
ธรรมจักรให้เป็นไป. เพราะฉะนั้น เทพเหล่านั้นจึงไม่เสพวิญญาณฐิติ
ไม่เสพสัตตาวาส.
ฝ่าย พระมหาสีวเถระ กล่าวว่า แม้เทพสุทธาวาสทั้งหลายก็เสพ
วิญญาณฐิติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ ด้วย พระสูตรนี้ว่า๑ ดูก่อนสารีบุตร
ที่อยู่ใดอันเราไม่เคยอยู่โดยกาลยาวนานเว้นแต่เทพชั้นสทธาวาส ที่อยู่นั้น
ไม่ใช่โอกาสที่ใคร ๆ จะได้โดยง่าย. พระสูตรถูกต้องเพราะไม่ขัดกันกับ
สูตรนี้.
พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพโส รูปสญฺาน สมติกฺกมา
สัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ดังต่อไปนี้. บทว่า
สพฺพโส คือ โดยอาการทั้งปวงหรือแห่งรูปสัญญาทั้งปวง. บทว่า รูป-
๑. ทีฆนิกา มหาวรรค ๑๐/ข้อ ๕๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 360
สญฺาน คือ แห่งรูปาวจรฌานดังที่กล่าวแล้วด้วยธรรมเป็นหัวข้อคือ
สัญญา และอารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น. จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่าน
ก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ดังนี้ แม้อารมณ์
แห่งรูปาวจรฌานนั้นท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า พหิทฺธา รูปานิ
ปสฺสติ สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ ดังนี้. เพราะฉะนั้น บทว่า รูปสญฺาน นี้
จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌานด้วยธรรมเป็นหัวข้อว่าสัญญาอย่างนี้ว่า สัญญา
ในรูปนี้ชื่อว่ารูปสัญญา ดังนี้. ชื่อว่ารูปสัญญา เพราะมีรูปเป็นสัญญา. ท่าน
กล่าวว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. พึงทราบว่า บทว่า รูปสญฺาน นี้
เป็นชื่อของอารมณ์ของรูปฌานนั้น มีประเภทแห่งปฐวีกสิณเป็นต้น. บท
ว่า สมติกฺกมา ก้าวล่วง คือเพราะปราศจากความกำหนัดเพราะดับ. ท่าน
อธิบายไว้ว่าอย่างไร. อธิบายไว้ว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสานัญจายตนะ
เพราะวิราคะเป็นเหตุ เพราะนิโรธเป็นเหตุ เพราะปราศจากราคะ เพราะ
ดับรูปสัญญาอันได้แก่ฌาน ๑๕ ด้วยอำนาจแห่งกุศล วิบาก และกิริยา ก็ดี
รูปสัญญาอันได้แก่อารมณ์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้นก็ดี
รูปสัญญาที่เหลือโดยอาการทั้งปวงก็ดีย่อมอยู่. พระโยคาวจรไม่สามารถ
เข้าอากาสานัญจายตนฌานนั้น ด้วยการยังไม่ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง. เพราะเมื่อยังไม่ปราศจากความกำหนัดในอารมณ์ จึงไม่เป็นอัน
ก้าวล่วงสัญญา อนึ่ง เมื่อก้าวล่วงสัญญา ก็เป็นอันก้าวล่วงอารมณ์ด้วย
เหมือนกัน ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวการก้าวล่วงอารมณ์ แล้วกล่าวการก้าว
ล่วงสัญญาอย่างเดียวในวิภังค์อย่างนี้ว่า ในสัญญานั้น รูปสัญญาเป็นไฉน
ความจำ อาการจำ ความเป็นผู้จำ ของพระโยคาวจรผู้เข้าถึงรูปาวจรสมาบัติ
ก็ดี เกิดแล้วก็ดี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้เรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 361
รูปสัญญา เป็นผู้ล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อมซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพโส รูปสญฺาน สมติกฺกมา ก้าวล่วง
รูปสัญญาโดยประการทั้งปวงดังนี้. ก็เพราะสมาบัติเหล่านี้อันพระโยคาวจร
จะพึงบรรลุได้ด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ ไม่พึงถึงได้ในอารมณ์อย่างหนึ่ง
เท่านั้น เหมือนการบรรลุรูปฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น พึงทราบว่า
นี้ท่านพรรณนาความแม้ด้วยสามารถการก้าวล่วงอารมณ์.
บทว่า ปฏิฆสญฺาน อตฺถงฺคมา ดับปฎิฆสัญญา คือสัญญาอันเกิด
ขึ้นเพราะการกระทบของวัตถุมีจักษุเป็นต้น และของอารมณ์มีรูปเป็นต้น
ชื่อว่า ปฏิฆสัญญา. คำนี้ เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. ดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปฏิฆสัญญาเป็นไฉน สัญญาในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ เหล่านี้เรียกว่าปฏิฆสัญญา. การดับ การละ การไม่เกิดขึ้น
แห่งปฏิฆสัญญา ๑๐ โดยประการทั้งปวง คือกุศลวิบากเหล่านั้น ๕ อกุศล-
วิบาก ๕ ท่านกล่าวว่ากระทำไม่ให้เป็นไปได้. ปฏิฆสัญญาเหล่านี้ย่อมไม่มี
แม้แก่ผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้นจิตย่อมไม่เป็นไป
ด้วยสามารถแห่งทวาร ๕ แต่เมื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อให้เกิดความอุตสาหะ
ในฌานนี้ ดุจสุขและทุกข์ที่ละได้แล้วในจตุตถฌานและในที่อื่น และดุจ
ในสักกายทิฏฐิที่ละได้ในมรรคที่ ๓ (อนาคามิมรรค) เป็นต้น พึงทราบ
คำในบทนี้แห่งปฏิฆสัญญาเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งการสรรเสริญฌานนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ปฏิฆสัญญาเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
ก็จริง ที่แท้ไม่ใช่ไม่มี เพราะละแล้วก็หาไม่. จริงอยู่ รูปาวจรภาวนา
ย่อมไม่เป็นไป เพราะยังไม่คลายความยินดีในรูป และความเป็นไปแห่ง
รูปาวจรภาวนานี้ เพราะเนื่องด้วยรูป แต่ภาวนานี้ย่อมเป็นไปเพราะคลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 362
ความยินดีในรูป. เพราะฉะนั้น ควรจะกล่าวว่าละปฏิฆสัญญาได้ในฌานนี้.
ไม่เพียงควรกล่าวอย่างเดียว ควรทรงไว้อย่างนี้โดยส่วนเดียวเท่านั้น.
เพราะยังละปฏิฆสัญญาเหล่านั้นยังไม่ได้ในก่อนจากนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เสียงเป็นเสี้ยนหนามของผู้เข้าปฐมฌาน. ก็ในที่นี้ เพราะละ
ปฏิฆสัญญาได้แล้ว ความไม่หวั่นไหวและความหลุดพ้นเพราะสงบของ
อรูปสมาบัติทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเข้าอรูป-
สมาบัติจึงไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินเสียงเกวียน ๕๐๐ เล่มผ่านไป.
บทว่า นานตฺตสญฺาน อมนสิการา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา
คือสัญญาอันเป็นไปแล้วในอารมณ์ต่างกัน หรือสัญญาต่างกัน. เพราะ
สัญญาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในวิภังค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
นานัตตสัญญาเป็นไฉน ความจำ อาการที่จำ ความเป็นผู้จำ ของมโน-
ธาตุที่พร้อมเพรียงกัน หรือของมโนจวิญญาณธาตุที่พร้อมเพรียงกันของผู้
ไม่เข้าสมาบัติ เหล่านี้เรียกว่า นานัตตสัญญา. สัญญาที่สงเคราะห์เข้าใน
มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ย่อมเป็นไปในอารมณ์
ต่างกัน สภาวะต่างกัน มีรูปและเสียงเป็นต้น. อนึ่ง เพราะสัญญา ๔๔
เหล่านี้ คือสัญญาในกามาวจรกุศล ๘ สัญญาในอกุศล ๑๒ สัญญาใน
กามาวจรกุศลวิบาก ๑๑ สัญญาในอกุศลวิบาก ๒ สัญญาในกามาวจร-
กิริยา ๑๑ มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกันและกัน ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺา มีสัญญาต่างกัน. การไม่ใส่ใจ การไม่
คำนึงถึง การไม่นำมา การไม่พิจารณาถึง ซึ่งนานัตตสัญญาเหล่านั้น
โดยประการทั้งปวง. เพราะพระโยคาวจรไม่คำนึงถึง ไม่ใส่ใจ ไม่พิจารณา
ถึงนานัตตสัญญาเหล่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 363
อนึ่ง เพราะในบทนี้ รูปสัญญาและปฏิฆสัญญาก่อนย่อมไม่มี แม้ใน
ภพอันเกิดด้วยฌานนี้ จะกล่าวไปไยถึงในกาลที่เข้าฌานนี้ในภพนั้น ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวถึงความไม่มีแห่งนานัตตสัญญาเหล่านั้นแม้โดยส่วนสอง คือ
การก้าวล่วง ๑ การดับ ๑. ก็ในนานัตตสัญญาทั้งหลาย เพราะสัญญา
๒๗ เหล่านี้ คือสัญญาในกามาวจรกุศล ๘ สัญญาในกิริยา ๙ สัญญาใน
กุศล ๑๐ ย่อมมีในภพที่แล้วด้วยฌานนี้ ฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ว่า
ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาเหล่านั้น. จริงอยู่ พระโยคาวจรเข้าฌานนี้อยู่
ชื่อว่าเข้าเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาเหล่านั้น แต่เมื่อมนสิการนานัตต-
สัญญาเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่เข้าสมาบัติ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
การก้าวล่วงรูปสัญญาไว้ในที่นี้โดยย่อ ท่านกล่าวถึงการละรูปาวจรธรรม
ทั้งปวงด้วยบทนี้ด้วยประการฉะนี้. ด้วยบทนี้ว่า ดับปฏิฆสัญญา และไม่
มนสิการนานัตตสัญญา พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละและการไม่มนสิการ
จิตเจตสิกอันเป็นกามาวจรทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงคุณของอากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย ๓
บท คือด้วยการก้าวล่วงรูปสัญญา ๑๕ ด้วยการดับปฏิฆสัญญา ๑๐ ด้วย
ไม่มนสิการมานัตตสัญญา ๔๔. หากถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความอุตสาหะและเพื่อเร้าใจ. เพราะหากว่า ชนบางพวก
ไม่เป็นผู้ฉลาดพึงกล่าวว่า พระศาสดาย่อมตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงยัง
อากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดเถิด ตรัสถึงคุณของสมาบัติไว้ด้วยอาการ
เหล่านี้ว่า ชนทั้งหลายเหล่านั้น จงอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็น
ประโยชน์เป็นอานิสงส์ของการเกิดนั้น. เพราะว่า ครั้นฟังชนเหล่านั้น
แล้วจักคิดอย่างนี้ว่า นัยว่าสมาบัตินี้สงบอย่างนี้ ประณีตอย่างนี้ เราจัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 364
ยังสมาบัตินั้นให้เกิด. ทีนั้น เพื่อให้สมาบัตินั้นเกิด ชนทั้งหลาย จึงจัก
ทำความอุตสาหะ. อนึ่ง เพื่อปลอบใจ พระองค์จึงตรัสถึงคุณของสมาบัติ
นั้นแก่ชนเหล่านั้น ดุจพ่อค้าขายวิสกัณฑกะ. พ่อค้าขายวิสกัณฑกะ ท่าน
เรียกว่า คุฬวาณิช (พ่อค้าน้ำอ้อยงบ).
เล่ากันมาว่า พ่อค้านั้นเอาเกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบน้ำตาลกรวดไป
ยังชายแดนแล้วโฆษณาว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อวิสกัณฑกะ วิสกัณฑกะ
กันเถิด. ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นจึงคิดกันว่า ธรรมดาวิสะ( ยาพิษ)ร้ายมาก
ผู้ใดกินวิสะเข้าไป ผู้นั้นย่อมตาย แม้กัณฑกะ (ลูกศร) ยิงแล้วก็ให้ตาย
ได้ ทั้งสองอย่างร้ายทั้งนั้น เมื่อโฆษณาขาย อานิสงส์อะไรจักมีในการ
โฆษณานี้ จึงปิดประตูเรือนพาเด็ก ๆ หนีไป. พ่อค้าเห็นดังนั้นจึงคิดว่า
ชาวบ้านเหล่านี้ไม่เป็นผู้ฉลาดในโวหาร ช่างเถิดเราจะให้เขาซื้อด้วยอุบาย
จึงโฆษณาว่า พวกท่านทั้งหลาย จงซื้อของหวานมีรสอร่อย ท่านจะได้
น้ำอ้อย น้ำอ้อยงบ น้ำตาลกรวดในราคาถูก ท่านจะซื้อได้ในราคามาสก
เดียว กหาปณะเดียว. ชาวบ้านได้ฟังดังนั้นพากันยินดี พากันออกไปซื้อ
ตามราคาเป็นอันมาก. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านทั้งหลาย
จงยังอากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดขึ้น ดุจการโฆษณาของพ่อค้าว่า
ท่านทั้งหลายจงซื้อวิสกัณฑกะกันเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่าน
ทั้งหลายจงยังอากาสานัญจายตนะให้เกิดเถิด ความคิดของผู้ฟังทั้งหลายว่า
จะเกิดอานิสงส์อะไรในข้อนี้ พวกเรายังไม่รู้คุณของอากาสานัญจายตนะ
นั้นเลย ดุจความคิดของชาวบ้านว่า แม้ทั้งสองอย่างร้ายแรงมากในการ
โฆษณาจะเกิดผลดีในการโฆษณานี้ได้อย่างไร การประกาศอานิสงส์มีการ
ก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจถ้อยคำโฆษณาของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 365
พ่อค้านั้นมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อของหวานมีรสอร่อยกันเถิด จิตที่
ได้รับการปลอบด้วยอานิสงส์นี้ ทำความอุตสาหะใหญ่แล้วยังสมาบัตินี้ให้
เกิด ดุจชาวบ้านเหล่านั้นครั้นฟังโฆษณาอย่างนี้แล้ว ก็พากันซื้อน้ำอ้อยงบ
ได้ตามราคาเป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อให้เกิดอุตสาหะ และ
เพื่อเร้าใจด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตนูปคา เข้าถึงอากาสา-
นัญจายตะดังนี้เป็นต้นต่อไป. ชื่อว่า อนนฺต เพราะอากาศไม่มีที่สุด.
อากาศไม่มีที่สุดชื่อว่า อากาสานนฺต. อากาศไม่มีที่สุดนั่นแลชื่อว่า อากา-
สานญฺจ. อากาศไม่มีที่สุดนั้นชื่อว่า อากาสานญฺจายตน เพราะเป็นบ่อ
เกิดแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นดุจเทวสถานของ
เทวดาทั้งหลายฉะนั้น. คำนี้เป็นชื่อของ กสิณุคฆาติมากาส อากาศที่เพิก
กสิณแล้ว. ในอากาสานัญจายตนะนั้น ชนทั้งหลายยังฌานให้เกิดแล้วเข้า
ถึงอากาสานัญจายตนภพด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ ชื่อว่า อากาสานญฺจา-
ยตนูปคา. ในบทต่อจากนี้ไป จักพรรณนาเพียงบทที่ต่างกันเท่านั้น.
พึงทราบความในบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตน สมติกฺกมา ก้าว
ล่วงอากาสานัญจายตนะดังนี้ต่อไป. ชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ เพราะ
อายตนะมีอากาศไม่มีที่สุด ด้วยอรรถว่าอธิษฐานไว้ตามนัยดังได้กล่าวมา
แล้วในตอนก่อน แม้อารมณ์ก็เป็นทั้งฌานเป็นทั้งอารมณ์โดยนัยดังกล่าว
แล้ว ด้วยเหตุนั้น ไม่ก้าวล่วงแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยไม่กระทำให้เป็นไป
และด้วยไม่ใส่ใจ. เพราะควรเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะนี้ ฉะนั้น ควรทำทั้ง
สองอย่างนี้ให้เป็นอันเดียวกัน และก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ พึงทราบ
ว่าข้อนี้ได้กล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 366
อนึ่ง พึงทราบความในบทว่า วิญฺาณญฺจายตนูปคา นี้ต่อไป.
ชื่อว่า อนนฺต เพราะมีวิญญาณไม่มีที่สุด ด้วยอำนาจแห่งการควรมนสิการ
ไม่มีที่สุด. วิญญาณไม่มีที่สุดนั่นเอง ชื่อว่า อานญฺจ. วิญญาณไม่มีที่สุด
ไม่กล่าวว่า วิญฺาณานญฺจ กล่าวว่า วิญฺานญฺจ. นี้เป็น รุฬหิ ศัพท์
(ศัพท์เพิ่มขึ้น). ชื่อว่าอายตนะ เพราะอรรถว่า ตั้งมั่นซึ่งวิญญาณไม่มี
ที่สุดนั้นนั่นแล ชื่อว่าวิญญานัญจายตนะ สัตว์ทั้งหลายยังฌานให้เกิดใน
วิญญาณัญจายตนะนั้น แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า วิญฺาณญฺจายตนูปคา.
แม้ในบทนี้ว่า วิญฺานญฺจายตน สมติกฺกมฺม ก็พึงทราบความ
ต่อไปนี้. แม้ฌานก็ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนะ เพราะชื่อว่าอายตนะ เพราะ
อรรถว่า อธิษฐานไว้ซึ่งฌานนั้น มีวิญญาณไม่มีที่สุด โดยนัยดังได้กล่าว
แล้วในก่อน. แม้อารมณ์ ก็เป็นทั้งฌานเป็นทั้งอารมณ์ ตามนัยที่ได้กล่าว
แล้วนั่นแล ก้าวล่วงแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยไม่ทำให้เป็นไปและไม่มนสิการ
ด้วยประการฉะนี้. เพราะควรเข้าถึงอากิญจัญญยตนะนี้ ฉะนั้น ทำทั้งสอง
นี้ให้เป็นอันเดียวกันแล้วก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยเหตุนั้น พึง
ทราบว่าข้อนี้ท่านกล่าวไว้แล้ว.
อนึ่ง ในบทว่า อากิญฺจญฺายตนูปคา นี้ พึงทราบความดังต่อ
ไปนี้. ชื่อว่า อกิญฺจน เพราะไม่มีเครื่องกังวล. ท่านกล่าวไว้ว่า ไม่มี
เครื่องกังวลเหลือโดยที่สุดแม้เพียงในภังคขณะ ความไม่มีเครื่องกังวลชื่อ
ว่า อากิญฺจญฺ. บทนี้เป็นชื่อของการปราศจากวิญญาณที่มีอากาสา-
นัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อากิญฺจญฺายตน. ชื่อว่าอายตนะ
เพราะอรรถว่า อธิษฐานซึ่งความไม่มีเครื่องกังวลนั้น. สัตว์ทั้งหลายยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 367
ฌานให้เกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ชื่อ
ว่า อากิญฺจญฺายตนูปคา. บทว่า อย สตฺตมี วิญฺญาณฏฺิติ นี้เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๗ คือย่อมรู้ฐานะของปฏิสนธิวิญญาณที่ ๗ นี้. เพราะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญณาณก็ไม่ใช่
เพราะวิญญาณละเอียดเหมือนสัญญา ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณ-
ฐิติ.
บทว่า อภูต ไม่จริง มีคำเป็นอาทิว่า รูป อตฺตา รูปเป็นตน
ดังนี้. คำนั้นไม่แท้เพราะวิปลาส. ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะ
เป็นทิฏฐินิสัย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภูต คือ ไม่มี ไม่เป็น คำ
ของผู้ไม่ใช่โจรมีอาทิว่า ทรัพย์นี้นางโจรภรรยาของเจ้าลักมา ทรัพย์นี้
ไม่มีในเรือนของเจ้า. บทว่า อตจฺฉ ไม่แท้ คือมีอาการไม่แท้ มี
อาการเป็นอย่างอื่น มีอยู่ด้วยประการอื่น. บทว่า อนตฺถสญฺหิต ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ คือไม่อาศัยประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์
ในโลกอื่น. บทว่า น ต ตถาคโต พฺยากโรติ พระตถาคตไม่ทรง
พยากรณ์เรื่องนี้ คือพระตถาคตไม่ตรัสกถาอันไม่นำสัตว์ออกไปนั้น. บท
ว่า ภูต ตจฺฉ อนตฺถสญฺหิต คำจริงแท้ไม่มีประโยชน์ เป็นดิรัจฉาน-
กถามีราชกถาเป็นต้น. บทว่า ภูต ตจฺฉ อตฺถสญฺหิต คำจริงแท้มี
ประโยชน์ เป็นคำอิงอริยสัจ. บทว่า ตตฺร กาลญฺญู โหติ พระตถาคต
ทรงรู้จักกาลในเรื่องนั้น คือในการพยากรณ์ครั้งที่ ๓ นั้น พระตถาคต
เป็นผู้รู้จักกาลเพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้กาล
ในการถือเอา กาลในการรับของมหาชนแล้ว ทรงกระทำให้สมกับ
เหตุการณ์ จึงทรงพยากรณ์อันสมควรนั่นเอง. ชื่อว่า กาลวาที เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 368
กล่าวในกาลอันควร. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะกล่าวสภาพที่เป็นจริง. ชื่อว่า
อตฺถวาที เพราะกล่าวถึงนิพพานอันเป็นปรมัตถ์. ชื่อว่า ธมฺมวาที
เพราะกล่าวถึงมรรคธรรมและผลธรรม. ชื่อว่า วินยวาที เพราะกล่าว
ถึงวินัยมีการสำรวมเป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ เห็นแล้ว คือย่อมรู้ย่อมเห็นอายตนะ
นั้นโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า รูปารมณ์อันมาสู่คลองในจักขุทวารของสัตว์
นับไม่ถ้วนในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้มีอยู่. รูปายตนะนั้นอันผู้รู้ผู้เห็น
อย่างนั้นจำแนกด้วยนัย ๕๒ ด้วยวาระ ๑๓ ด้วยชื่อมิใช่น้อย โดยนัยมี
อาทิว่า รูปที่เรียกว่ารูปายตนะนั้นเป็นไฉน. รูปใดเป็นสีอาศัยมหาภูตรูป ๔
เป็นธรรมชาติที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่สีเขียวคราม สีเหลือง... ดังนี้
เป็นธรรมชาติมีอยู่จริง ไม่จริงไม่มี ด้วยอำนาจอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์
หรือด้วยอำนาจการได้ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในกลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะ ที่ได้ทราบและในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง. แม้ในเสียงเป็นต้นอันมาสู่
คลองในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงอายตนะนั้นหลาย ๆ อย่าง จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทิฏฺ สุต เห็นแล้ว ฟังแล้ว. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ทิฏฺ คือ รูปายตนะ. บทว่า สุต คือ สัททายตนะ. บทว่า
มุต รู้แล้ว คือ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เพราะถึงแล้ว
จึงควรรับ. บทว่า วิญฺาต ได้แก่ ธรรมารมณ์ มีสุขและทุกข์เป็นต้น.
บทว่า ปตฺต คือ แสวงหาก็ตาม ไม่แสวงหาก็ตาม ได้ถึงแล้ว. บทว่า
ปริเยสิต ถึงแล้วก็ตาม ไม่ถึงแล้วก็ตาม แสวงหาแล้ว. บทว่า อนุ-
๑. อภิ. ส. ๓๔/ข้อ ๕๒๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 369
วิจริต มนสา คือ พิจารณาแล้วด้วยใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
อายตนะนั้นด้วยบทนี้ว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธ อายตนะทั้งหมดนั้น
ตถาคตรู้พร้อมแล้ว. รูปารมณ์ใดมีอาทิว่า สีเขียว สีเหลือง ของโลก พร้อม
ทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ ย่อมมาสู่คลองในจักขุทวาร
สัตว์นี้เห็นรูปารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนั้นเกิดความดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เฉยๆ
บ้าง ด้วยเหตุนั้น ตถาคตรู้พร้อมรูปารมณ์นั้นทั้งหมด. อนึ่ง สัททารมณ์
ใดมีอาทิว่า เสียงกลอง เสียงตะโพน ของโลก พร้อมทั้งเทวโลกนี้ ใน
โลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ย่อมมาสู่คลองในโสตทวาร, คันธารมณ์มี
อาทิว่า กลิ่นที่ราก กลิ่นที่เปลือก ย่อมมาสู่คลองในฆานทวาร, รสารมณ์
มีอาทิว่า มีรสที่ราก มีรสที่ลำต้น ย่อมมาสู่คลองในชิวหาทวาร, โผฏ-
ฐัพพารมณ์อันต่างด้วยปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ มีอาทิว่า แข็ง
อ่อน ย่อมมาสู่คลองในกายทวาร สัตว์นี้ถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ชื่อนี้ ใน
ขณะนี้ เกิดดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เฉย ๆ บ้าง ด้วยเหตุนั้น ตถาคตรู้
พร้อมซึ่งอารมณ์นั้นทั้งหมด. อนึ่ง ธรรมารมณ์มีประเภทเป็นสุขและทุกข์
เป็นต้น ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้ ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ ย่อม
มาสู่คลองแห่งมโนทวาร สัตว์นี้รู้แจ้งธรรมารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนี้ เกิดดีใจ
เสียใจ หรือเฉย ๆ ตถาคตรู้พร้อมธรรมารมณ์นั้นทั้งหมด. ดูก่อนจุนทะ
อายตนะใด อันสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
อายตนะนั้น อันตถาคตไม่เห็นแล้ว ไม่ฟังแล้ว ไม่รู้แล้ว ไม่รู้แจ้งแล้ว
ไม่มี. อายตนะที่มหาชนนี้แสวงหาแล้วยังไม่ถึงบ้างมีอยู่ ไม่แสวงหาแล้ว
ยังไม่ถึงบ้างมีอยู่ แสวงหาแล้วถึงบ้างแล้วมีอยู่ ไม่แสวงหาแล้วถึงบ้างมี
อยู่ แม้ทั้งหมดตถาคตยังไม่ถึงยังไม่ทำให้แจ้งด้วยญาณไม่มี. เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 370
บัณฑิตจึงกล่าวว่า เราเป็นตถาคต เพราะไปเหมือนอย่างที่ชาวโลกเขาไป
กัน. แต่ในบาลีกล่าวว่า อภิสมฺพุทฺธ บทนั้นมีความเดียวกันกับ คต
ศัพท์. พึงทราบความแห่งบทนี้ว่า ตถาคโต ในวาระทั้งหมดโดยนัยนี้.
พึงทราบความในบทนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ ณ ราตรีใด ตถาคตบรรลุ
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม และราตรีใด ตถาคตปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนั้น ตถาคตกล่าว บอก ชี้แจงคำใด
คำทั้งหมดนั้นเป็นจริงทั้งนั้น ไม่เป็นโดยประการอื่น เพราะฉะนั้น
บัณฑิตจึงเรียกเราว่า ตถาคต ดังต่อไปนี้ ณ ราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้)
ณ โพธิมณฑล ทรงย่ำยีมารทั้ง ๓ เสียได้ แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณ ณ ราตรีใด เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ ในกาลมีกำหนด ๔๕ พรรษา
ในปฐมโพธิกาลบ้าง มัชฌิมโพธิกาลบ้าง ปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคำสอน คือ สุตตะ เคยยะ ฯ ล ฯ เวทัลละ ทั้งหมดนั้น
ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะ ไม่มีข้อตำหนิ ไม่บกพร่อง ไม่เกิน
บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง กำจัดความมัวเมาด้วยอำนาจ ราคะ โทสะ
และโมหะ ในภาษิตนั้นไม่มีข้อผิดพลาดแม้เท่าปลายขนทราย ทั้งหมดนั้น
เป็นจริงแน่นอน ไม่จริงไม่มี ดุจประทับด้วยตราตราเดียว ดุจตวงด้วย
ทะนานเดียว และดุจชั่งด้วยตราชั่งเดียว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ณ ราตรีใด ตถาคต ฯ ล ฯ ทั้งหมด
นั้นเป็นจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียก
เราว่า ตถาคต ดังนี้. คต ศัพท์ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 371
กล่าว. อีกอย่างหนึ่ง คำพูดชื่อว่า อคทะ ความว่า คำกล่าว. พึงทราบ
ความสำเร็จแห่งบทในความนี้ อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะแปลง
ท อักษรเป็น ต อักษร ได้ความว่า เพราะมีพระดำรัสแท้ไม่วิปริต.
พึงทราบความในบทนี้ว่า ยถาวาที จุนฺท ฯ ล ฯ วุจฺจติ ดังต่อ
ไปนี้ พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าอนุโลมไปตามวาจา พระวาจา
อนุโลมไปตามกาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น ยถาวาที
(พูดอย่างใด) ตถาการี (ทำอย่างนั้น) และ ยถาการี (ทำอย่างใด)
ตถาวาที (พูดอย่างนั้น). อธิบายว่า แม้พระวรกายก็เป็นไปเหมือนพระ-
วาจาของพระองค์ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น. พึงทราบบทสำเร็จในบทนี้
อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะพระวาจาไปแล้ว เป็นไปแล้วเหมือน
พระวรกาย.
บทว่า อภิภู อนภิภูโต เป็นใหญ่ยิ่งอันใครๆครอบงำไม่ได้ คือ
พระตถาคต เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด ทรง
ครอบงำสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งหลาย อันหาประมาณมิได้โดยส่วนขวาง
ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง
จะชั่งหรือประมาณกับพระองค์ไม่มี พระตถาคตชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้
เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา
เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม. บทว่า อญฺ-
ทตฺถุ โดยแท้ เป็นนิบาตลงใน เอกังสัตถะ มีความส่วนเดียว. ชื่อว่า
ทโส เพราะทรงเห็น. ชื่อว่า วสวตฺติ เพราะเป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป.
พึงทราบบทสำเร็จในบทนั้นดังนี้ ชื่อว่า อคโท เป็นดุจยา. เป็น
อย่างไร พระตถาคตทรงมีลีลาในการแสดงธรรมอันจับใจ และทรงมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 372
บุญอันสะสมไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงทรงมีอานุภาพมาก ทรง
ครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลกของผู้กล่าวติเตียนทั้งหมด ดุจแพทย์กำจัด
พิษงูด้วยยาทิพย์ฉะนั้น. พึงทราบว่า ชื่อว่า ตถาคโต เพราะแปลง ท
อักษรเป็น ต อักษร มีความว่า เพราะมียาคือลีลาการแสดง และการ
สะสมบุญแท้ไม่วิปริต ด้วยการครอบงำโลกทั้งหมดด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อิธฏฺญฺเว ชานาติ กมฺมาภิสงฺขารวเสน ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้จักผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมาภิ-
สังขาร คืออปุญญาภิสังขาร. บทว่า กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา เมื่อ
กายแตกตายไป คือเบื้องหน้าแต่ตายเพราะอุปาทินนกขันธ์แตก. พึงทราบ
ความในบทมีอาทิว่า อปาย ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อปาโย เพราะปราศจาก
ความสุขความเจริญ. ชื่อว่า ทุตฺคติ เพราะเป็นที่ไปเป็นที่อาศัยของทุกข์.
ชื่อว่า วินิปาโต เพราะคนทำกรรมชั่วย่อมตกไปในอบายนี้. ชื่อว่า นิรโย
เพราะอรรถว่า ไม่มีความยินดี ไม่มีความชื่นใจ. เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกนั้น. บทว่า อุปปชฺชิสฺสติ คือ จักเกิดด้วยอำนาจแห่ง
ปฏิสนธิ. บทว่า ติรจฺฉานโยนึ กำเนิดดิรัจฉาน ชื่อว่า ติรจฺฉานา
เพราะสัตว์ไปขวาง. กำเนิดแห่งดิรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ติรจฺฉานโยนิ
เข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานนั้น. บทว่า ปิตฺติริสย เปรตวิสัย ชื่อว่า ปิตฺติ-
วิสโย เพราะเป็นที่อยู่ของผู้ถึงความเป็นเปรต. เข้าถึงเปรตวิสัยนั้น. ชื่อ
ว่า มนุษย์ เพราะมีใจสูง. ในมนุษย์เหล่านั้น. ต่อแต่นี้ไปพึงทราบความ
ด้วยสามารถแห่งปุญญาภิสังขาร ในบทนี้ว่า กมฺมาภิสงฺขารวเสน ดังนี้.
บทว่า อาสวาน ขยา เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ
เพราะอาสวะพินาศไป. บทว่า อนาสว เจโตวิมุตฺตึ เจโตวิมุตติอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 373
หาอาสวะมิได้ คือผลวิมุตติที่ปราศจากอาสวะ. บทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ
ปัญญาวิมุตติ คือปัญญาในอรหัตผล. พึงทราบว่า สมาธิชื่อว่า เจโต-
วิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ปัญญาในอรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง อรหัตผลอันตัณหาจริตบุคคลบรรลุแล้ว เพราะข่ม
กิเลสทั้งหลายด้วยกำลังของอัปปนาฌาน ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอก
ราคะ. อรหัตผลอันทิฏฐิจริตบุคคลยังเพียงอุปจารฌานให้เกิด เห็นแจ้ง
แล้วจึงบรรลุ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา.
อีกอย่างหนึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ
ที่หมายถึงกามราคะ. อรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา
โดยประการทั้งปวง.
พึงทราบความในบทว่า อากิญฺจญฺายตเน อธมุตฺติ วิโมกฺเขน
น้อมไปในอากิญจัญญายตนะด้วยวิโมกข์ ดังนี้ต่อไป. ชื่อว่าวิโมกข์ด้วย
อรรถว่ากระไร. ด้วยอรรถว่าพ้น. พ้นอะไร. พ้นด้วยดีจากธรรมเป็น
ข้าศึก และพ้นด้วยดีด้วยอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านกล่าวไว้ว่า
วิโมกข์ย่อมเป็นไปในอารมณ์ เพราะสิ้นสงสัย เพราะไม่ติเตียน ดุจทารก
ปล่อยอวัยวะน้อยใหญ่ตามสบายนอนบนตักของบิดา. บทว่า เอวรูเปน
วิโมกฺเขน วิมุตฺต พ้นแล้วด้วยวิโมกข์เห็นปานนี้ คือปล่อยวิญญานัญจา-
ยตนะแล้วจึงพ้น ด้วยอำนาจแห่งความไม่สงสัยในอากิญจัญญายตนะ.
บทว่า อลฺลิน ตตฺราธิมุตฺต ไม่ติด คือน้อมไปในสมาธินั้น. บทว่า
ตทาธิมุตฺต คือ น้อมไปในฌานนั้น. บทว่า ตทาธิปเตยฺย คือ มี
ฌานนั้นเป็นใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 374
ห้าบทมีอาทิว่า รูปาธิมุตฺโต น้อมใจไปในรูปดังนี้ ท่านกล่าวด้วย
ความหนักในกามคุณ. สามบทมีอาทิว่า กุลาธิมุตฺโต น้อมใจไปใน
ตระกูล ท่านกล่าวด้วยความหนักในตระกูล มีกษัตริย์เป็นต้น. บทมี
อาทิว่า ลาภาธิมุตฺโต น้อมใจไปในลาภ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
โลกธรรม. สี่บทมีอาทิว่า จีวราธิมุตฺโต น้อมใจไปในจีวร ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย. บทมีอาทิว่า สุตฺตนฺตาทิมุตฺโต น้อมใจไปใน
พระสูตร ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งพระไตรปิฎก. บทว่า อารญฺิกง-
คาธิมุตฺโต น้อมใจไปในองค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจแห่งธุดงค์. บทมีอาทิว่า ปมชฺฌานาธิมุตฺโต น้อมใจไปใน
ปฐมฌาน ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งการได้เฉพาะ. บทว่า กมฺมปรายน
มีกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอภิสังขาร. บทว่า
วิปากปรายน มีวิบากเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง
ความเป็นไป. บทว่า กมฺมครุก หนักอยู่ในกรรม คือหนักอยู่ในเจตนา.
บทว่า ปฏิสนฺธิครุก หนักอยู่ในปฏิสนธิ คือหนักอยู่ในการเกิด.
บทว่า อากิญฺจญฺาสมฺภว เป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ
คือรู้กรรมาภิสังขารว่าเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพ. รู้อย่างไร.
รู้ว่านี้เป็นปลิโพธ (ความห่วงใย). บทว่า นนฺทิสญฺโชน อิติ มี
ความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบ คือรู้ว่า ความเพลิดเพลินกล่าวคือ
ราคะในอรูป ๔ เป็นเครื่องประกอบ. บทว่า ตโต ตตฺถ วิปสฺสติ แต่นั้น
ก็พิจารณาเห็น (ธรรม) ในสมาบัตินั้น คือออกจากอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแล้ว เห็นแจ้งสมาบัตินั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า
เอต าณ ตถ ตสฺส นั่นเป็นญาณอันเที่ยงแท้ของบุคคลนั้น คือนั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 375
เป็นอรหัตญาณอันเกิดขึ้นแล้วตามลำดับ แก่บุคคลนั้นผู้เห็นแจ้งอยู่อย่างนี้.
บทว่า วุสีมโต คือ อยู่จบพรหมจรรย์. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในครั้งก่อน.
จบอรรถกถาโปสาลมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 376
โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านโมฆราช
[๔๙๐] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า)
ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่
ข้าพระองค์ ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระ-
เทพฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรง
พยากรณ์.
[๔๙๑] คำว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้ง
แล้ว ความว่า พราหมณ์นั้นได้ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ๒
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์นั้นทูลถามปัญหา ไม่ทรงพยากรณ์
ในลำดับแห่งพระจักษุว่า ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์นี้จักมี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สักกะ ในคำว่า สกฺก พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนาม
ว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่า
มีทรัพย์มาก แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้นทรงมีทรัพย์เหล่านั้น คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล
ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์
คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิ-
บาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 377
มรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ด้วยทรัพย์อันเป็นรัตนะหลายอย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุดังนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า สักกะ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ ผู้สามารถ
มีความสามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาด-
เสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก
ขนลุกขนพอง แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงทรงพระนามว่า สักกะ. เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
คำว่า ได้ทูลถามแล้ว ความว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้
ทูลถาม ทูลขอ ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท ๒ ครั้งแล้ว เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา โมฆราชา เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า โมฆราชา เป็น
ชื่อ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่าน
โมฆราชทูลถามว่า.
[๔๙๒] คำว่า มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ในอุเทศว่า
น เม พฺยากาสิ จกฺขุมา ความว่า มิได้ตรัสบอก ... มิได้ทรงประกาศ
แก่ข้าพระองค์.
คำว่า พระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ
๕ ประการ คือ ด้วยมังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ
สมันตจักษุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 378
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร สี ๕ อย่าง
คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำและสีขาว ย่อมปรากฏแก่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าในมังสจักษุ ขนพระเนตรตั้งอยู่เฉพาะในที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว
เขียวดี น่าดู น่าชม เหมือนสีดอกผักตบ ที่ถัดนั้นเข้าไปมีสีเหลือง
เหลืองดี เหมือนสีทองคำ น่าดู น่าชม เหมือนดอกกรรณิการ์เหลือง
เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงดี น่าดู
น่าชม เหมือนสีปีกแมลงทับทิมทอง ที่ท่ามกลางมีสีดำ ดำดี ไม่มัวหมอง
ดำสนิท น่าดู น่าชม เหมือนสีอิฐแก่ไฟ ที่ถัดนั้นเข้าไปมีสีขาว ขาวดี
ขาวล้วน ขาวผ่อง น่าดู น่าชม เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุเป็นปกตินั้น เนื่องในพระอัตภาพ อันเกิด
ขึ้นเพราะสุจริตกรรมในภพก่อน ย่อมทอดพระเนตรเห็นตลอดที่โยชน์
หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ในเวลาใดมีความมืดประกอบ
ด้วยองค์ ๔ คือ ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว คืนวันอุโบสถข้างแรม ๑
แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑ ในความมืดประกอบด้วยองค์ ๔
เห็นปานนี้ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทอดพระเนตรเห็นตลอด
โยชน์หนึ่งโดยรอบ หลุม บานประตู กำแพง ภูเขา กอไม้หรือเถาวัลย์
ไม่เป็นเครื่องกั้นในการทอดพระเนตรเห็นรูปทั้งหลายเลย หากว่าบุคคล
พึงเอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งเป็นเครื่องหมาย ใส่ลงในเกวียนสำหรับบรรทุกงา
บุคคลนั้นพึงเอาเมล็ดงานั้นขึ้น มังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้า
บริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าย่อมทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯ ล ฯ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 379
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะดู
โลกธาตุหนึ่งก็ดี สองก็ดี สามก็ดี สี่ก็ดี ห้าก็ดี สิบก็ดี ยี่สิบก็ดี สามสิบ
ก็ดี สี่สิบก็ดี ห้าสิบก็ดี ร้อยก็ดี พันหนึ่งเป็นส่วนน้อยก็ดี สองพันเป็น
เป็นปานกลางก็ดี สามพันก็ดี สี่พันเป็นส่วนใหญ่ก็ดี หรือว่าทรงประสงค์
เพื่อจะทรงดูโลกธาตุเท่าใด ก็ทรงเห็นโลกธาตุเท่านั้น ทิพยจักษุของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วย
ทิพยจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ามีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา
ร่าเริง มีพระปัญญาไว้ มีพระปัญญาคมกล้า มีพระปัญญาทำลายกิเลส
ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
แล้ว ทรงถึงแล้วซึ่งเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพลญาณ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษ
ผู้องอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย
ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป มีญาณไม่มีที่สุด มีเดชไม่มีที่สุด มียศไม่มีที่สุด
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ เป็นผู้นำ นำไปให้วิเศษ นำ
เนือง ๆ ให้เข้าใจ ให้เพ่งพินิจ เป็นผู้ตรวจ ให้เลื่อมใส พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังประชาชนให้เข้าใจ
มรรคที่ยังไม่เข้าใจ ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้มรรค ทรง
รู้แจ้งมรรค ฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้
ดำเนินตามมรรค ประกอบในภายหลังอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรง
รู้อยู่ ชื่อว่าทรงรู้ ทรงเห็นอยู่ ชื่อว่าทรงเห็น เป็นผู้มีจักษุ มีญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 380
มีธรรม มีคุณอันประเสริฐ เป็นผู้ตรัสบอกธรรม ตรัสบอกทั่วไป ทรง
แนะนำประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เสด็จไป
อย่างนั้น บทธรรมที่พระองค์มิได้ทรงรู้ มิได้ทรงเห็น มิได้ทรงทราบ
มิได้ทรงทำให้แจ่มแจ้ง มิได้ทรงถูกต้อง ไม่มีเลย.
ธรรมทั้งหมดรวมทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข
คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง ขึ้น
ชื่อว่าบทธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรแนะนำ ควรรู้ มีอยู่ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ใน
ภพหน้า ประโยชน์ตน ประโยชน์ลึก ประโยชน์เปิดเผย ประโยชน์ลี้ลับ
ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ
ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาว หรือประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งหมดนั้น
ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ.
กายกรรมทั้งหมด วจีกรรมทั้งหมด มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็น
เป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณมิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน
บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บท
ธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นที่สุด
บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณไม่เป็นไปล่วง
บทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่ล่วงพระญาณ
ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกันและกัน ลิ้นผอบ ๒ ลิ้นสนิทกัน ลิ้น
ผอบข้างล่าง ไม่เกินลิ้นผอบข้างบน ลิ้นผอบข้างบน ก็ไม่เกินลิ้นผอบ
ข้างล่าง ลิ้นผอบทั้งสองนั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่งกัน ฉันใด พระผู้มีพระภาค-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 381
เจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีบทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณตั้งอยู่ในที่สุดแห่ง
กันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็
เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมี
บทธรรมที่ควรแนะนำเป็นที่สุด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีพระญาณเป็น
ที่สุด พระญาณไม่เป็นไปล่วงบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรม
ที่ควรแนะนำ ก็ไม่เป็นไปล่วงพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดแห่ง
กันและกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปใน
ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยอาวัชชนะ เนื่องด้วยอากังขา เนื่อง
ด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบฉันทะเป็น
ที่มานอน อนุสัย จริต อธิมุตติ ของสัตว์ทั้งปวง ทรงทราบชัดซึ่งสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดัง
ธุลีในนัยน์ตาคือมีปัญญามาก มีอินทรีย์แก่กล้า ที่มีอินทรีย์อ่อน ที่มี
อาการดี ที่มีอาการชั่ว ที่ให้รู้ง่าย ที่ให้รู้ยาก ที่เป็นภัพพสัตว์ ที่เป็น
อภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ย่อมเป็นไปในภายในแห่งพระพุทธ-
ญาณ.
ปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดรวมถึงปลาติมิติมิงคละ ย่อมเป็นไป-
ในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ย่อมเป็นไปในภายใน
พระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกทุกชนิดโดยที่สุดรวมถึงครุฑสกุล
เวนเตยยะ ย่อมบินไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระสาวกทั้งหลายเสมอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 382
ด้วยพระสารีบุตรโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะที่เป็นบัณฑิต มีปัญญา
ละเอียด มีวาทะโต้ตอบกับผู้อื่น เป็นดังนายขมังธนู ยิงขนทรายแม่น
บัณฑิตเหล่านั้นเป็นประหนึ่งว่า เที่ยวทำลายทิฏฐิเขาด้วยปัญญาของตน
บัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหาเข้ามาเฝ้าพระตถาคตแล้ว ทูลถามปัญหา
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและตรัสแก้แล้ว ทรงแสดงเหตุ
และอ้างผลแล้ว บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไพโรจน์ยิ่งขึ้นด้วยพระปัญญาใน
สถานที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า มีพระจักษุแม้
ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลส-
เพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือ
ปัญญามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการ
ชั่ว ผู้แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้มีปกติเห็น
โทษและภัยในปรโลกอยู่ ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก
ดอกอุบลบัวเขียว ดอกปทุมบัวหลวง หรือดอกบุณฑริกบัวขาว บางชนิด
เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ไปตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ บางชนิด
เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางชนิดเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
โผล่พ้นจากน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 383
ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีใน
นัยน์ตา คือปัญญาน้อย ผู้มีกิเลสเพียงดังธุลีในนัยน์ตา คือปัญญามาก ผู้มี
อินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ผู้แนะนำให้
รู้ได้ง่าย ผู้แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก
อยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็น
ราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็น
วิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ตรัสบอกเมตตา-
ภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่
ในเพราะอุเทศ และปริปุจฉาในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนา
ธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู ตรัสบอกอานาปานัสสติแก่บุคคล
ผู้เป็นวิตักกจริต ตรัสบอกความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรม
เป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต
เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ตรัสบอกอาการ
ไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่
บุคคลผู้เป็นญาณจริต.
บุคคลยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดย
รอบ แม้ฉันใด ข้าแต่พระสุเมธ ผู้มีพระสมันตจักษุ
พระองค์เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ปราศจาก
ความโศก ก็ทรงเห็นหมู่ชนที่อาเกียรณ์ด้วยความโศก
ผู้อันชาติและชราครอบงำ เปรียบฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 384
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร พระ-
สัพพัญญุตญาตญาณท่านกล่าวว่า สมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป
เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วย
พระสัพพัญญุตญาณ.
บทธรรมอะไร ๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่ทรง
เห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง หรือไม่พึงทราบ มิได้มีเลย พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เฉพาะซึ่งบทธรรมทั้งปวง เนยยบทใด
มีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนยยบทนั้น เพราะ-
เหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุ ไม่ทรงพยากรณ์แก่
ข้าพระองค์.
[๔๙๓] คำว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น
พระเทพฤาษี (เมื่อมีผู้ถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์ดังนี้
ความว่า ข้าพระองค์ได้ศึกษา ทรงจำ เข้าไปกำหนดไว้แล้วอย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าใครทูลถามปัญหา อันชอบแก่เหตุเป็นครั้งที่ ๓ ย่อมพยากรณ์
มิได้ตรัสห้าม.
คำว่า ผู้เป็นพระเทพฤๅษี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นทั้งเทพ
เป็นทั้งฤๅษี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤๅษี พระราชาทรงผนวช
แล้ว เรียกกันว่าพระราชฤๅษี พราหมณ์บวชแล้วก็เรียกกันว่า พราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 385
ฤๅษี ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นทั้งเทพ เป็นทางฤๅษี ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤๅษี.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชแล้ว แม้เพราะเหตุ
ดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า พระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา
ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ พระองค์จึงชื่อว่าเป็นพระ-
ฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่
ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ แม้เพราะ
เหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา
เสาะหา ค้นหาซึ่งการทำลายกองแห่งความมืดใหญ่ การทำลายวิปลาสใหญ่
การถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ การคลายกองทิฏฐิใหญ่ การล้มมานะเพียง
ดังว่าธงใหญ่ การสงบอภิสังขารใหญ่ การสลัดออกซึ่งโอฆกิเลสใหญ่
การปลงภาระใหญ่ การตัดเสียซึ่งสังสารวัฏใหญ่ การดับความเดือดร้อน
การระงับความเร่าร้อนใหญ่ การให้ยกธรรมดังว่าธงใหญ่ขึ้น แม้เพราะ
เหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา
เสาะหา ค้นหาซึ่งสติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธานใหญ่ อิทธิบาทใหญ่
อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่
นิพพานใหญ่ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า พระฤๅษี.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า อันสัตว์ทั้งหลายที่มีอานุภาพ
มากแสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเทวดา ล่วงเทวดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ ณ ที่ไหน แม้เพราะเหตุดังนี้ พระ-
องค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤๅษี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ยินมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 386
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓
ย่อมทรงพยากรณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแด่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้า-
พระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระเทพฤๅษี (มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อม
ทรงพยากรณ์.
[๔๙๔] โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับเทวโลก ย่อมไม่ทราบ
ความเห็นของพระโคดมผู้มียศ.
[๔๙๕ ] คำว่า โลกนี้ ในอุเทศว่า อย โลโก ปโร โลโก ดังนี้
คือ มนุษยโลก คำว่า โลกอื่น คือ โลกทั้งหมด ยกมนุษยโลกนี้ เป็น
โลกอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกนี้ โลกอื่น.
[๔๙๖] คำว่า พรหมโลกกับเทวโลก ความว่า พรหมโลก พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พรหมโลกกับเทวโลก.
[๔๙๗] คำว่า ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ ความว่า
โลกย่อมไม่ทราบซึ่งความเห็น ความควร ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย
ความประสงค์ของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้มีความเห็นอย่างนี้ มี
ความควรอย่างนี้ มีความชอบใจอย่างนี้ มีลัทธิอย่างนี้ มีอัธยาศัยอย่างนี้
มีความประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ทราบความเห็น
ของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 387
[๔๙๘] คำว่า พระโคดมผู้มียศ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถึงยศแล้ว เพราะฉะนั้น ทรงมียศ.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์สักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมเป็นผู้มียศ
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับเทวโลก ย่อมไม่ทราบ
ความเห็นของพระโคดมผู้มียศ.
[๔๙๙] ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระ-
องค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็น
โลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๐] คำว่า ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ ความว่า ผู้เห็นธรรม
อันงาม เห็นธรรมอันเลิศ เห็นธรรมอันประเสริฐ เห็นธรรมอันวิเศษ
เห็นธรรมเป็นประธาน เห็นธรรมอันอุดม เห็นธรรมอย่างยิ่งอย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้.
[๕๐๑] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า
ความว่า พวกข้าพระองค์เป็นผู้มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า ฯ ล ฯ
เพื่อให้ทรงชี้แจงเพื่อตรัส แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า.
[๕๐๒] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างไร ความว่า ผู้มองเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 388
เห็นประจักษ์ พิจารณา เทียบเคียง เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งอย่างไร เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างไร.
[๕๐๓] คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น
ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มัจจุราช
จึงไม่เห็น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้า
พระองค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณา
เห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๔] ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้าม
พ้นมัจจุราชได้ด้วยอุบายอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็น
โลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น.
[๕๐๕] คำว่า โลก ในอุเทศว่า สุญฺโต โลก อเวกฺขสฺสุ ดังนี้
คือ นิรยโลก ดิรัจฉานโลก ปิตติวิสยโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โลก โลก ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า โลก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนภิกษุ เรากล่าวว่าโลก เพราะเหตุว่า ย่อมแตก อะไรแตก
จักษุแตก รูปแตก จักษุวิญญาณแตก จักษุสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 389
ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
แม้เวทนานั้นก็แตก หูแตก เสียงแตก จมูกแตก กลิ่นแตก ลิ้นแตก
รสแตก กายแตก โผฎฐัพพะแตก มนะแตก ธรรมารมณ์แตก มโน-
วิญญาณแตก มโนสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขม-
สุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก
ดูก่อนภิกษุ ธรรมมีจักษุเป็นต้นนั้นย่อมแตกดังนี้แล เพราะเหตุนั้น เรา
จึงกล่าวว่าโลก.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า บุคคล
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วย
สามารถความกำหนดว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ด้วยสามารถพิจารณาเห็น
สังขารโดยเป็นของว่างเปล่า ๑.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการ
กำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ อย่างไร. ใคร ๆ ย่อมไม่ได้อำนาจในรูป
ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้ว
ไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในรูปว่า ขอรูปของ
เราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้
ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย
เวทนาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักเป็นอนัตตาแล้ว
ไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และพึงได้ในเวทนาว่า ขอเวทนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 390
ของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนี้แล สัญญาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
สัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และพึง
ได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็น
อย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น
สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา
จงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย สังขารเป็นอนัตตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็น
อย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่
เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อม
ไม่ได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้
เป็นอย่างนี้เลย วิญญาณเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้
จักเป็นอนัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึง
ได้ในวิญญาณว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา
ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ขอ
วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 391
ภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีเจตนาเป็นมูลเหตุ
ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกายนั้น
อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้วย่อมมนสิการโดยแยบคายด้วยดี ถึงปฏิจจสมุปบาท
นั่นแหละว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้
ก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือเพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะ
ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ก็เพราะ
อวิชชานั้นแล ดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬาย-
ตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วย
สามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจอย่างนี้.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างไร. ใคร ๆ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 392
ไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยง
เป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่น
สาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความ
ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก
แก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขาร
ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร
โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความ
เที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา ต้นอ้อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง
ต้นละหุ่งไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นมะเดื่อ
ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นรักไม่มีแก่นสาร
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นทองหลางไม่มีแก่นสาร ไร้
แก่นสาร ปรากจากแก่นสาร อนึ่ง ฟองน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ค่อมน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก
แก่นสาร อนึ่ง ต้นกล้วยไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
อนึ่ง พยับแดดไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยง
เป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็น
แก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมี
ความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 393
ปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มี
แก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็น
แก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร
โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่
แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของ
ว่างเปล่า อย่างนี้ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญด้วย
เหตุ ๒ ประการนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
โดยอาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ๑
โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ ๑ โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย ๑ โดย
ไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ โดยเป็นไปตามเหตุ ๑ โดยว่างเปล่า ๑ บุคคล
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความที่ตนไม่เป็น
ใหญ่... โดยว่างเปล่า บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
โดยอาการ ๖ อย่างนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
โดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป โดยความว่าง ๑
โดยความเปล่า ๑ โดยความสูญ ๑ โดยไม่ใช่ตน ๑ โดยไม่เป็นแก่น
สาร ๑ โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑ โดยความเสื่อม ๑ โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑
โดยมีอาสวะ ๑ โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความว่าง ... โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 394
ความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความ
เป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่างนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
โดยอาการ ๑๒ อย่าง คือ ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปไม่ใช่สัตว์ ๑ ไม่ใช่
ชีวิต ๑ ไม่ใช่บุรุษ๑ ไม่ใช่คน๑ ไม่ใช่มาณพ ๑ ไม่ใช่หญิง ๑ ไม่ใช่
ชาย ๑ ไม่ใช่ตน ๑ ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ๑ ไม่ใช่เรา ๑ ไม่ใช่
ของเรา ๑ ไม่มีใคร ๆ ๑ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่สัตว์ ... ไม่มีใคร ๆ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย
สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
ตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูป
นั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ
ความสุขตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่าน
ทั้งหลาย ... สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย... สังขารไม่ใช่ของท่าน
ทั้งหลาย... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ใด
ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้ ชนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 395
ไปเสีย เผาเสียหรือพึงทำตามควรแก่เหตุ ท่านทั้งหลายพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า ชนนำเราทั้งหลายไปเสีย เผาเสีย หรือทำตามควรแก่เหตุบ้าง
หรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า นั่น
เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตนของ
ข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น
เหมือนกันแล สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย
สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข
ตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่ง
นั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขตลอดกาลนาน บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็น
ของสูญแม้อย่างนี้.
ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า โลกสูญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตน
หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า โลกสูญ ดูก่อนอานนท์
สิ่งอะไรเล่าสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน จักษุสูญ รูปสูญ จักษุ-
วิญญาณสูญ จักษุสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุข-
เวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 396
หรือสิ่งที่เนื่องกับตน หูสูญ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญ ธรรมารมณ์สูญ มโนวิญญาณสูญ
สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน
ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตนนั่นแล ฉะนั้น
จึงกล่าวว่า โลกสูญ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
แม้อย่างนี้.
ดูก่อนคามณี เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อม
แห่งธรรมทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตาม
ความเป็นจริง ภัยนั้นย่อมไม่มี เมื่อใด บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นโลกเสมอหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น
บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไร ๆ อื่น เว้น
ไว้แต่นิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมตามค้นหารูป คติของรูปมีอยู่เท่าไร ตามค้นหา
เวทนา คติของเวทนามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญามีอยู่
เท่าไร ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาวิญญาณ
คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้น
หารูป คติของรูปมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีอยู่เท่าไร
ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญามีอยู่เท่าไร ตามค้นหาสังขาร คติของ
สังขารมีอยู่เท่าไร ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 397
ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี
ด้วยอำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้นย่อมไม่มี
แก่ภิกษุนั้น บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จง
มองดู จงพิจารณา จงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้เเจ่มแจ้ง จงทำ
ให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จง
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.
[๕๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า โมฆ-
ราช ในอุเทศว่า โมฆราช สทา สโต ดังนี้ คำว่า ทุกเมื่อ คือ ตลอดกาล
ทั้งปวง ฯ ล ฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ
คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ บุคคล
นั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนโมฆราช... มี
สติทุกเมื่อ.
[๕๐๗] ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ตรัสว่า อัตตานุทิฏฐิ ในอุเทศว่า อตฺตา-
นุทิฏฺึ อูหจฺจ ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระ-
อริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตน
ว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็น
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่า
มีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
ทิฏฐิอันไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิเป็นทางกันดาร ทิฏฐิเป็นข้าศึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 398
(เสี้ยนหนาม) ทิฏฐิอันแส่ไปผิด ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบไว้ ความถือ
ความยึดถือ ความถือมั่น ความจับต้องทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด
ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือโดยการแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความ
ถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุไม่จริงว่าเป็นจริง ทิฏฐิ ๖๒
มีเท่าไร ทิฏฐินี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ.
คำว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว ความว่า รื้อ ถอน ฉุด ชัก
ลากออก เพิกขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอัตตา-
นุทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว.
[๕๐๘] คำว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ความว่า
พึงข้ามขึ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง แม้ซึ่งมัจจุ แม้ซึ่งชรา แม้ซึ่งมรณะ
ด้วยอุบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบาย
อย่างนี้.
[๕๐๙] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ ความว่า มองเห็น
พิจารณาเห็น เทียบเคียง พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโลก
ด้วยอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้.
[๕๑๐] แม้มารก็ชื่อว่ามัจจุราช แม้ความตายก็ชื่อว่ามัจจุราช
ในอุเทศว่า มจฺจุราชา น ปสฺสติ ดังนี้. คำว่า ย่อมไม่เห็น ความว่า
มัจจุราชย่อมไม่เห็น คือ ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ปะ ไม่ได้เฉพาะ.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง
ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 399
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทางไปแล้ว
สู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีก
ประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ
และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เข้าตติยฌาน เข้าจตุตถฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถาน
เป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถาน
เป็นที่ไม่เห็นด้วย จักษุของมารผู้ลามก.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และ
อาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 400
สู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไป
ในอารมณ์ต่าง ๆ ภิกษุนั้นเดินอยู่ก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งอยู่
ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น
ไม่ไปในทางแห่งมารผู้ลามก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติ พิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว
พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ เมื่อบุคคลพิจารณา
เห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น.
พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
อรรถกถาโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
พึงทราบวินิจฉัยในโมฆราชสูตรที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฺวาห คือ เทฺว วาเร อห ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้ง
แล้ว. เพราะว่าโมฆราชมาณพนั้น คราวก่อนทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
๒ ครั้ง เมื่อจบอชิตสูตรและติสสเมตเตยยสูตร. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรอให้โมฆราชมาณพมีอินทรีย์แก่กล้าก่อน จึงไม่ทรงพยากรณ์. ด้วย
เหตุนั้น โมฆราชมาณพจึงทูลว่า ทฺวาห สกฺก อปุจฺฉิสฺส ข้าแต่พระสักกะ
ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว. บทว่า ยาวตติยญฺจ เทวิสิ พฺยากโร-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 401
ตีติ เม สุต ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระเทพฤๅษี
ย่อมทรงพยากรณ์ในครั้งที่ ๓ ความว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระฤษีวิสุทธิเทพ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีผู้ทูลถามปัญหาเป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์กะสหธรรมิก. นัยว่า
โมฆราชมาณพได้ฟังมาอย่างนี้ ณ ฝั่งแม่น้ำโคธาวารีนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น
โมฆราชมาณพจึงทูลว่า พฺยากโรตีติ เม สุต ดังนี้ คำใดที่พึงกล่าว
ในนิเทศแห่งคาถานี้ คำนั้นมีนัยดังได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า อย โลโก คือ มนุษยโลกนี้. บทว่า ปโร โลโก คือ
โลกที่เหลือยกเว้นมนุษยโลกนั้น. บทว่า สเทวโก พร้อมด้วยเทวโลก
คือโลกที่เหลือ ยกเว้นพรหมโลก. ได้แก่ อุปปัตติเทพและสมมติเทพ
บทที่ว่า พฺรหฺมโลโก สเทวโก พรหมโลก พร้อมด้วยเทวโลก เป็น
เพียงแสดงคำมีอาทิว่า สเทวโก โลโก โลกพร้อมด้วยเทวโลก. ด้วยบทนั้น
พึงทราบโลกแม้ทั้งหมดมีประการดังได้กล่าวแล้วอย่างนั้น.
บทว่า เอว อภิกฺกนฺตทสฺสาวึ พระองค์ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้
คือโมฆราชมาณพแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรมอันเลิศอย่างนี้
สามารถจะทรงเห็นอัธยาศัย อธิมุตติ คติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้าของโลก
พร้อมด้วยเทวโลกได้.
บทว่า สุญฺโต โลก อเวกฺขสฺสุ ท่านจงพิจารณาเห็นโลกโดย
ความเป็นของสูญ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงดูโลกโดยความเป็น
ของสูญโดยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยการกำหนดความไม่เป็นไปในอำนาจ ๑
ด้วยพิจารณาเห็นสังขารว่างเปล่า ๑. บทว่า อตฺตานุทิฏฺึ โอหจฺจ ถอน
อัตตานุทิฏฐิเสีย คือถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 402
บทว่า ลุชฺชติ คือ ย่อมแตก. ชื่อว่า จกฺขุ เพราะเห็น. จักษุนั้น
ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควร แก่จักษุวิญญาณเป็นต้น
ในบริเวณที่เห็นได้ อันเป็นสถานที่เกิดของสรีรสัณฐาน อันตั้งอยู่เฉพาะ
หน้าในท่ามกลางวงกลมสีดำ ซึ่งล้อมด้วยวงกลมสีขาวอันเป็นสสัมภาร-
จักษุ (ดวงตา) ตั้งอยู่. ชื่อว่า รูปา เพราะย่อยยับ. อธิบายว่า รูป
ทั้งหลายถึงความวิการด้วยสี ย่อมประกาศความสบายใจ. ชื่อว่า จกฺขุ-
วิญฺาณ เพราะวิญญาณเป็นไปแล้วแต่จักษุ หรือวิญญาณของจักษุ
อาศัยจักษุ. สัมผัสเป็นไปแล้วโดยจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส. บทว่า จกฺขุ-
สมฺผสฺสปจฺจยา เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย คือผัสสะอันสัมปยุตแล้วด้วย
จักษุวิญญาณเป็นปัจจัย. บทว่า เวทยิต คือ การเสวย. อธิบายว่า เวทนา.
ชื่อว่า สุข เพราะทำผู้นั้นให้เกิดสุข. อธิบายว่า ที่บุคคลผู้มีเวทนาเกิดให้
ถึงสุข. หรือชื่อว่า สุข เพราะกัดกินและขุดด้วยดีซึ่งความเจ็บป่วยทางกาย
และจิต. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก. อธิบายว่า ทำบุคคลผู้มีเวทนาเกิด
ให้ถึงทุกข์. ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ ไม่สุข. ม อักษรท่านกล่าว
ด้วยบทสนธิ. อนึ่ง จักษุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัย ๘ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑
อัญญมัญญปัจจัย ๑ นิสสยปัจจัย ๑ วิปากปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑
สัมปยุตตปัจจัย ๑ อัตถิปัจจัย ๑ อวิคตปัจจัย ๑ แก่เวทนาที่สัมปยุตกับตน.
เป็นปัจจัย ๕ ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย ๑ สมนันตรปัจจัย ๑ อุปนิสสย-
ปัจจัย ๑ นัตถิปัจจัย ๑ วิคตปัจจัย ๑ แก่สัมปฏิจฉันนะและธรรมที่
สัมปยุต เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้น แก่สันตีรณะเป็นต้น
และธรรมที่สัมปยุต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 403
ชื่อว่า โสต เพราะฟัง. โสตะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้
สำเร็จ ตามสมควรแก่โสตวิญญาณเป็นต้น ในช่องมีสัณฐานพอสอดนิ้ว
เข้าไปได้ มีขนอ่อนและแดงอยู่ภายในช่องสสัมภารโสตะตั้งอยู่. ชื่อว่า
สทฺทา เพราะไป อธิบายว่า เปล่งออก. ชื่อว่า ฆาน เพราะสูดดม.
ฆานะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตามสมควรแก่ฆานวิญญาณ
เป็นต้น ในที่มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะภายในโพรงของสสัมภารฆานะตั้ง
อยู่. ชื่อว่า คนฺธา เพราะฟุ้งไป. อธิบายว่า ประกาศวัตถุ (เรื่องราว)
ของตน. ชื่อว่า ชิวฺหา เพราะเลี้ยงชีวิต. หรือ ชื่อว่า ชิวฺหา เพราะ
อรรถว่าลิ้ม ชิวหานั้นยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตามสมควรแก่
ชิวหาวิญญาณเป็นต้น ในที่ที่มีสัณฐานคล้ายปลายกลีบดอกอุบลซึ่งแยกกลีบ
ในท่ามกลาง ท่ามกลางพื้นเบื้องบนเว้นยอดโคนและข้างของสสัมภาร-
ชิวหาตั้งอยู่. ชื่อว่า รสา เพราะเป็นที่ยินดีของสัตว์. อธิบายว่า ชอบใจ.
ชื่อว่า กาโย เพราะเป็นที่เกิดแห่งธรรมที่เป็นไปกับอาสวะอันน่าเกลียด.
บทว่า อาโย ได้แก่ ที่เกิด. ชื่อว่า ความเป็นไปแห่งรูปมีใจครองมีอยู่
ในกายนี้เท่าใด กายประสาทก็ยังความเป็นวัตถุและทวารให้สำเร็จตาม
สมควรแก่กายวิญญาณเป็นต้นตั้งอยู่เท่านั้น ในกายนั้นโดยมาก. ชื่อว่า
โผฏฺพฺพา เพราะถูกต้อง. ชื่อว่า มโน เพราะรู้ อธิบายว่า รู้แจ้ง.
ชื่อว่า ธมฺมา เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน. บทว่า มโน คือ ภวังค์
พร้อมด้วยอาวัชชนะ. บทว่า ธมฺมา คือ ธรรมารมณ์ที่เหลือเว้นนิพพาน.
บทว่า มโนวิญฺาณ คือ ชวนะมโนวิญญาณ. บทว่า มโนสมฺผสฺโส
ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยชวนะมโนวิญญาณนั้น. มโนสัมผัสนั้นเป็นปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 404
แก่สัมปยุตเวทนา ด้วยอำนาจปัจจัย* ๗ ที่เหลือ เว้นวิปากปัจจัย มโน-
สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยแก่เวทนาทั้งหลาย ที่เหลือจากเวทนาที่สัมปยุตกับชวนะ
มโนวิญญาณนั้น (ที่เกิด) ในลำดับต่อมา ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.
บทว่า อวสิยปฺปวตฺตสลฺลกฺขณวเสน ด้วยสามารถการกำหนดว่า
ไม่เป็นไปในอ่านาจ คือด้วยสามารถการเห็น การดูสังขารไม่เป็นไปใน
อำนาจ. บทว่า รูเป วโส น ลพฺภติ ใคร ๆ ไม่ได้อำนาจในรูป คือ
ไม่ได้ความมีอำนาจในรูป. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า น ตุมฺหาก ไม่ใช่ของท่าน คือ จริงอยู่ เมื่อตนมีอยู่ ย่อมมี
สิ่งที่เนื่องด้วยตน ตนนั้นแหละไม่มี. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ใช่
ของท่าน. บทว่า นาปิ อญฺเส ของคนอื่นก็ไม่ใช่ คือ ตนของคนอื่น
ชื่อว่าคนอื่น เมื่อตนนั้นมีอยู่. ตนของคนอื่นก็พึงมี แม้ตนนั้นก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ของคนอื่นก็ไม่ใช่. บทว่า ปุราณมิท
ภิกฺขเว กมฺม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ อธิบายว่า กรรมนี้มิใช่
กรรมเก่า แต่กายนี้เกิดแต่กรรมเก่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้
ด้วยปัจจัย โวหาร. บทว่า อภิสงฺขต อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วเป็นต้น ท่าน
กล่าวไว้แล้ว เพราะมีสิงค์เสมอกัน (คือเป็นนปุงสกลิงค์เหมือนกัน) กับ
คำก่อน (คือ กมฺม) ด้วยสามารถแห่งกรรมโวหารนั่นเอง. พึงเห็นความ
ในบทนี้อย่างนี้ว่า บทว่า อภิสงฺขต คือ ปัจจัยปรุงแต่ง. บทว่า อภิสญฺ-
เจตยิต คือ มีเจตนาเป็นที่ตั้ง มีเจตนาเป็นมูลเหตุ. บทว่า เวทนีย คือ
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.
๑. สหชาตะ,อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 405
บทว่า รูเป สาโร น ลพฺภติ ใคร ๆ ย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป คือ
ไม่ได้สาระในรูปว่าเป็นของเที่ยงเป็นต้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า รูป อสฺสาร นิสฺสาร คือ รูปไม่มีแก่นสารและไร้แก่น
สาร. บทว่า สาราปคต คือ ปราศจากสาระ. บทว่า นิจฺจสารสาเรน วา
โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร คือโดยสาระว่าเที่ยงเป็นไปเพราะก้าว-
ล่วงภังคขณะ ไม่มีสาระโดยสาระว่าเที่ยง เพราะไม่มีความเที่ยงอะไร ๆ.
บทว่า สุขสารสาเรน วา โดยสาระว่าเป็นสุขเป็นแก่นสาร คือโดยสาระว่า
เป็นสุขเป็นแก่นสาร เพราะไม่มีสาระว่าเป็นสุขอะไร ๆ ก้าวล่วงซึ่งสุขใน
ฐิติขณะ. บทว่า อตฺตสารสาเรน วา โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร คือ
โดยสาระว่าตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนว่าเป็นแก่นสาร. บทว่า นิจฺเจน วา
โดยความเที่ยง คือโดยความเที่ยง เพราะไม่มีความเที่ยงอะไร ๆ เป็นไป
เพราะก้าวล่วงภังคะ. บทว่า ธุเวน วา โดยความยั่งยืน คือโดยความยั่งยืน
เพราะไม่มีอะไร ๆ เป็นความยั่งยืนแม้ในเวลามีอยู่ ก็เพราะอาศัยปัจจัยจึง
เป็นไปได้. บทว่า สสฺสเตน วา โดยความมั่นคง คือโดยความมั่นคง
เพราะไม่มีอะไร ๆ ที่ขาดไปจะมีอยู่ได้ตลอดกาล. บทว่า อวิปริณาม-
ธมฺเมน วา โดยมีความไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือโดยมีความไม่
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะไม่มีอะไร ๆ ที่จะไม่แปรปรวนไปเป็น
ปกติ ด้วยอำนาจแห่งความแก่และความตาย.
บทว่า จกฺขุ สุญฺ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา จักษุสูญจากตน
หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน คือสูญจากตนที่กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ผู้ทำ ผู้
เสวยเข้าไปอยู่เอง และจากบริขารอันเป็นของตน เพราะความไม่มีตน
นั่นเอง. อธิบายว่า ทั้งหมดเป็นธรรมชาติมีอยู่ในโลกมีจักษุเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 406
เพราะคนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนไม่มีในธรรมชาตินี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สูญ. แม้โลกุตรธรรมก็สูญเหมือนกัน เพราะสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วย
ตน. ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมในอดีตสูญไม่มี. ท่านกล่าวถึงความไม่มีสาระ
ในตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตนในธรรมนั้น. ในโลกเมื่อพูดว่า เรือนสูญ
หม้อสูญ ไม่ใช่ไม่มีเรือนและหม้อ. ท่านกล่าวถึงความไม่มีสิ่งอื่นในเรือน
และในหม้อนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความข้อนี้ไว้ว่า อะไร ๆ ในเรือน
และในหม้อนั้นไม่มี เรือนและหม้อนั้นก็สูญ ด้วยเหตุนั้น สิ่งใดยังมีเหลือ
อยู่ในเรือนและในหม้อนั้น สิ่งนั้นเมื่อยังมีอยู่ ก็รู้ว่าสิ่งนี้มีอยู่ดังนี้. ความนี้
ก็เหมือนกันกับในคัมภีร์ญายะ และคัมภีร์สัททะ. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึง
อนัตตลักขณสูตรไว้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อนิสฺสริยโต โดยความไม่เป็นใหญ่ คือโดยไม่เป็นไปใน
อำนาจ ในความเป็นใหญ่ของตน. บทว่า อกามการิยโต โดยทำตาม
ความชอบใจไม่ได้ คือด้วยอำนาจแห่งการทำตามความชอบใจของตนไม่
ได้. บทว่า อผาสุนียโต โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย คือโดยความ
ไม่มีที่พึ่งเพื่อความดำรงอยู่. บทว่า อวสวตฺตนโต คือ โดยไม่เป็นไป
ในอำนาจของตน. บทว่า ปวตฺติโต โดยเป็นไปตามเหตุ คือโดยเป็นไป
อาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง. บทว่า วิวิตฺตโต โดยว่างเปล่า คือโดยไม่มีสาระ.
บทว่า สุทฺธ ทั้งสิ้น. คือชื่อว่าทั้งสิ้นอันเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจแห่ง
ความเกิดเป็นปัจจัยอย่างเดียว เว้นอิสระ กาล ปกติ. และเมื่อบุคคลเห็น
ซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งสิ้นว่า กองแห่งธรรมทั้งสิ้นปราศจาก
สิ่งที่เนื่องด้วยตน. บทว่า สุทฺธ สงฺขารสนฺตตึ ความสืบต่อแห่งสังขาร
ทั้งสิ้น คือเมื่อเห็นความสืบต่อแห่งสังขารที่ขาดไปแล้วทั้งสิ้น ท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 407
ความเดียวกันมีสังขารเป็นต้น ๒-๓ ครั้งโดยเอื้อเฟื้อ. เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อม
ไม่มีภัยในปากแห่งมรณะ. บทว่า คามณิ เป็นคำร้องเรียก. บทว่า
ติณกฏฺสม โลก เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ คือเมื่อใดเห็นโลกอัน
ได้แก่ขันธ์มีใจครองนี้เสมอด้วยหญ้าและไม้ ความเห็นว่า เมื่อบุคคลถือ
ซึ่งหญ้าและไม้ในป่าได้ ก็ย่อมถือซึ่งตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนได้ ย่อมไม่มี
หรือเมื่อหญ้าและไม้เหล่านั้นหายไปเองบ้าง พินาศไปเองบ้าง ความเห็น
ว่าคนย่อมหายไป สิ่งที่เนื่องด้วยตนพินาศไปก็มีไม่ได้ ฉันใด เมื่อบุคคล
ไม่เห็นว่า แม้เมื่อกายนี้หายไปพินาศไป ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนย่อม
แตกดับไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เห็นโลกเสมอด้วย
หญ้าและไม้ด้วยปัญญา ฉันนั้น. บทว่า น อญฺ ปฏฺยเต กิญฺจิ อญฺตฺร
อปฺปฏิสนฺธิยา คือ บุคคลไม่ปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไร ๆ อื่น นอก
จากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.
บทว่า รูป สมนฺเนสติ บุคคลย่อมตามค้นหารูป คือแสวงหาสาระ
แห่งรูป ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิว่า เรา. ด้วยอำนาจแห่งตัณหาว่า ของเรา.
ด้วยอำนาจแห่งมานะว่า เป็นเรา. บทว่า ตมฺปิ ตสฺส น โหติ คือ
ความถือแม้ ๓ อย่างนั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.
บทว่า อิธ เป็นนิบาตลงในความอ้างถึงที่อยู่. อิธ นิบาตนี้บางแห่ง
ท่านกล่าวหมายถึง โลก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคตทรง
อุบัติใน โลก นี้. บางแห่งหมายเอา ศาสนา เหมือนอย่างที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่หนึ่งมีอยู่ในศาสนานี้
และสมณะที่สองก็มีอยู่ในศาสนานี้. บางแห่งหมายเอา โอกาส (คือภพ)
เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 408
เมื่อเราเป็นเทพดำรงอยู่ใน ภพดาวดึงส์ นี้แล เรา
ได้อายุเพิ่มขึ้นอีก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงทราบ
อย่างนี้เถิด.๑
บางแห่งหมายเอาเพียงปทปูรณะ (คือทำบทให้เต็ม) เท่านั้น. เหมือน
อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๒ เราฉันเสร็จแล้ว
ห้ามภัตแล้วดังนี้. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลก.
ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ พึงทราบ
ความดังต่อไปนี้. บุคคลไม่สดับธรรมที่ควรรู้ เพราะไม่มีอาคมและอธิคม
(การศึกษาและการบรรลุ) บุคคลใดไม่มีอาคม ปฏิเสธทิฏฐิ เพราะ
ปราศจากการเรียน การสอบถาม การวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ปัจจยาการ และสติปัฏฐานเป็นต้น ไม่มีอธิคม เพราะไม่บรรลุธรรมที่ควร
บรรลุด้วยการปฏิบัติ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่สดับธรรมที่ควรรู้ เพราะไม่
มีอาคมและอธิคมด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการเกิดกิเลส
หนาเป็นต้น หรือว่าชนนี้ ชื่อว่าปุถุผู้หนา เพราะความ
เป็นผู้เกิดกิเลสหนาหยั่งลงในภายใน.
จริงอยู่ ชื่อว่าปุถุชนด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสหนาคือมีประการ
ต่างๆ ให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลส
หนาให้เกิด. เพราะไม่กำจัดสักกายทิฏฐิหนา. เพราะมองดูหน้าของพระ-
ศาสดาทั้งหลายหนา (มาก). เพราะจมอยู่ด้วยคติทั้งปวงหนา. เพราะปรุง
แต่งอภิสังขารต่างๆ หนา. เพราะลอยไปด้วยโอฆะต่าง ๆ หนา. เพราะ
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ หนา. เพราะถูกเผาด้วยความร้อน
๑. ที. มหา. ๑๐/ข้อ ๒๖๔. ๒. ม. มุ. ๑๒/ข้อ ๒๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 409
ต่าง ๆ หนา. เพราะยินดี อยาก กำหนัด สยบ ถึงทับ ติด คล้อง
ผูกพันในกามคุณ ๕ หนา. เพราะร้อยรัด ครอบงำ ถูกต้อง ปิด ปกปิด
ครอบไว้ด้วยนิวรณ์ ๕ หนา. เพราะเป็นผู้ล่วงเลยคลองธรรม หันหลัง
ให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ หยั่งลงในภายในหนา. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าปุถุชน เพราะชนนี้ผู้ถึงการนับแยกกัน ไม่ปะปนกับพระอริยบุคคล
ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้นหนา. ด้วยบทสองบทนี้อย่างนี้ว่า
อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวถึงปุถุชนสองจำพวกว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย ์ ตรัสถึงปุถุชน
สองจำพวก คืออันธปุถุชนพวกหนึ่ง กัลยาณปุลุชนพวก
หนึ่ง.
ในปุถุชนสองจำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน
(ปุถุชนบอด).
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า จริยาน อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระ-
อริยเจ้าดังนี้ต่อไป. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของ
พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าพระอริยะ เพราะไกลจากกิเลส, เพราะไม่นำ
ไปในทางเสื่อม, เพราะนำไปในทางเจริญ, เพราะเป็นผู้ทำให้โลก
พร้อมทั้งเทวโลกสงบ. ในที่นี้ พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นพระอริยะ. ดังที่
พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต บัณฑิตกล่าวว่าเป็น
อริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ในบทว่า สปฺปุริสา นี้ พึงทราบว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต เป็นสัปบุรุษ. เพราะ
ท่านเหล่านั้นเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ จึงชื่อว่าสัปบุรุษ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้นทั้งหมดท่านกล่าวไว้โดยส่วนสอง. แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 410
พระพุทธเจ้าก็เป็นทั้งพระอริยะเป็นทั้งสัปบุรุษ. พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี
สาวกของพระพุทธเจ้าก็ดี ก็เป็นทั้งพระอริยะ เป็นทั้งสัปบุรุษ. ดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า
ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็น
กัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง กระทำกิจ
ของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าว
ผู้นั้นว่า เป็นสัปบุรุษ.
จริงอยู่ พระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านกล่าวด้วยบทเพียงเท่านี้
ว่า เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง. พระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยความเป็นผู้มีกตัญญูเป็นต้น.
บัดนี้พึงทราบว่า ผู้มีปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้นและไม่ทำกรรมดี
ในการเห็น เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย.
ผู้ไม่เห็นนั้นมี ๒ อย่าง คือไม่เห็นด้วยจักษุ ๑ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑.
ในความเห็นทั้งสองอย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการไม่ได้เห็นด้วย
ญาณ. จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายแม้เห็นด้วยมังสจักษุก็ดี ด้วยทิพยจักษุ
ก็ดี ยังไม่ชื่อว่าเห็น เพราะพระอริยะเหล่านั้นถือเอา (การเห็น) เพียงสี
ด้วยจักษุ เพราะไม่เป็นอารมณ์ของความเป็นพระอริยะ. แม้สุนัขบ้านและ
สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะด้วยจักษุ แต่สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า
ไม่เห็นพระอริยะ. ในเรื่องนี้มีเรื่องราวดังต่อไปนี้.
มีเรื่องเล่าว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพอาศัยอยู่ ณ
จิตตลบรรพตบวชเมื่อแก่ วันหนึ่งไปบิณฑบาตกับพระเถระ รับบาตร
และจีวรของพระเถระแล้วเดินตามมาข้างหลังถามพระเถระว่า ท่านขอรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 411
คนเช่นไรชื่อว่าเป็นอริยะ. พระเถระกล่าวว่า คนแก่บางคนในโลกนี้
รับบาตรและจีวรของพระอริยะทั้งหลาย แล้วทำการปรนนิบัติ แม้เที่ยว
ไปด้วยกันก็ไม่รู้จักพระอริยะ ดูก่อนอาวุโส พระอริยะทั้งหลายอันบุคคล
รู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนั้น พระอุปัฏฐากนั้นก็ยังไม่
เข้าใจอยู่นั่นแหละ.
เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุชื่อว่าไม่เห็น. การเห็นด้วยญาณ
เท่านั้นชื่อว่าเห็น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นร่างกายอันเปื่อยเน่านี้ของเธอ ดูก่อน
วักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วย
จักษุ แต่ไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ที่พระอริยะทั้งหลายเห็นแล้วด้วย
ญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าเป็นผู้ไม่ได้
เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นธรรมอันทำให้เป็นอริยะ และความ
เป็นอริยะ.
บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
คือไม่ฉลาดในอริยธรรมอันมีสติปัฏฐานเป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า อริยธมฺเม
อวินีโต ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้ พึงทราบความ
ดังต่อไปนี้
ชื่อว่าวินัยมี้ ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่าง
แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ไม่ได้รับแนะนำ.
ก็วินัย ๒ อย่างนี้ คือสังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ แม้ในวินัย
๒ อย่างนี้ วินัยหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น ๕ อย่าง. สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 412
คือ ศีลสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑.
ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน (ละชั่วคราว) ๑ วิกขัมภน-
ปหาน (ละด้วยข่มไว้) ๑ สมุจเฉทปหาน (ละเด็ดขาด) ๑ ปฏิปัสสัทธิ-
ปหาน (ละด้วยสงบ) ๑ นิสสรณปหาน (ละพ้นออกไป) ๑.
ในสังวร ๕ เหล่านั้น การเข้าถึง เข้าถึงพร้อมด้วยปาติโมกขสังวร
นี้ชื่อว่า ศีลสังวร. การรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
นี้ชื่อว่า สติสังวร.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ)
กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส
เหล่านั้น เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านั้น อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.
นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. ความอดทนต่อความหนาวความร้อน ชื่อว่า
ขันติสังวร. ความพยายามไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วท่วมทับได้ นี้ชื่อว่า
วิริยสังวร. อนึ่ง สังวรแม้ทั้งหมดนี้ท่านกล่าวว่า สวร เพราะกั้นกาย
ทุจริตเป็นต้นที่ควรกั้น และที่ควรนำออกไปตามกำลังของตน กล่าวว่า
วินัย เพราะการนำออกไป. พึงทราบว่าสังวรวินัยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน
โดยประการฉะนี้.
อนึ่ง การละองค์นั้น ๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เหมือนการละ
ความมืดด้วยแสงประทีป เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณทั้งหลาย มี
นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น เหมือนอย่างเช่นการละสักกายทิฏฐิ ด้วยการ
กำหนดนามรูป. ละความเห็นว่าสังขารไม่มีเหตุ และความเห็นว่าสังขารมี
ปัจจัยไม่เสมอกัน ด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความเป็นผู้สงสัย ด้วยการ
ข้ามพ้นความสงสัยในภายหลังนั้นนั่นเอง. ละการยึดถือว่าเรา ของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 413
ด้วยการพิจารณาเป็นกลาปะ ละความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่าเป็นทาง
ด้วยการกำหนดว่าทางและมิใช่ทาง ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นการเกิด, ละ
สัสสตทิฏฐิด้วยเห็นการดับ, ละความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วย
การเห็นภัย, ละความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษ ด้วยเห็นว่ามีโทษ, ละความ
สำคัญในความยินดียิ่ง ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ละความเป็นผู้ไม่ประสงค์
จะพ้น ด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วย อุเบกขาญาณ, ละ
ความเป็นปฏิโลมในการตั้งอยู่ในธรรมและในนิพพาน ด้วยอนุโลมญาณ
ละการถือสังขารนิมิต ด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้น ๆ ด้วยสมาธิอันต่างด้วย
อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยห้ามความเป็นไป เหมือนห้ามแหนบน
หลังน้ำ ด้วยการทุบหม้อเหวี่ยงลงไปฉะนั้น นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
การละหมู่สรรพกิเลสอันเป็นฝ่ายสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ดังที่
ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตน ๆ ของบุคคลผู้
มีมรรคนั้น ๆ เพราะอบรมอริยมรรค ๔ แล้ว โดยไม่ให้เป็นไปได้อีก
ตลอดไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน.
นิพพานอันละสังขตธรรมทั้งปวงแล้ว เพราะสลัดออกซึ่งสังขตธรรม
ทั้งปวง นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน. เพราะการละทั้งหมด นี้ชื่อว่า ปหาน
เพราะอรรถว่า สละออกไป. ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า นำออกไป.
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย เพราะละกิเลสนั้น ๆ และเพราะมี
วินัยนั้น ๆ. พึงทราบว่า แม้ปหานวินัยนี้ก็แบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วย
ประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 414
วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง เพราะ
ความสำรวมต่างกัน และเพราะสิ่งที่ควรละก็ยังละไม่ได้ เพราะวินัยนั้น
ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่มีผู้แนะนำ เพราะ
ไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทนี้ว่า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ, ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
โดยความก็ไม่ต่างกัน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นพระอริยะ ผู้นั่นแหละ
เป็นสัตบุรุษ ผู้ใดเป็นสัตบุรุษ ผู้นั้นแหละเป็นพระอริยะ ธรรมใดของ
พระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ ธรรมใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของ
พระอริยะ อริยวินัย ก็คือสัปปุริสวินัย สัปปุริสวินัย ก็คืออริยวินัย.
บทว่า อริเย สปฺปุริเส อริยธมฺเม สปฺปุริสธมฺเม อริยวินเย หรือ
สปฺปุริสวิยเย ก็อย่างเดียวกันกับ บทว่า เอกเสเส เอเก เอกฏฺเ สเม
สมภาเค ตชฺชาเต หรือ ตญฺเ เอาความทั้งหมดว่า เป็นอันเดียวกัน
เสมอกัน เกิดที่เดียวกัน.
บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน คือ
คนบางพวกในโลกนี้ ตามเห็นรูปและชนทั้งสองอย่างว่า รูปก็คือเรา
เราก็คือรูป. เหมือนอย่างว่า ตามเห็นเปลวไฟและสีทั้งสองอย่างของ
ตะเกียงน้ำมัน กำลังเผาอยู่ว่า เปลวไฟก็คือสี สีก็คือเปลวไฟ ฉันใด คนบาง
พวกในโลกนี้ ก็ฉันนั้น ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน คือตามเห็นทิฏฐิว่า
ตนมีรูปอย่างนี้. บทว่า รูปวนฺต วา อฺตตาน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง คือถือสิ่ง
ไม่มีรูปว่าเป็นตน แล้วตามเห็นสิ่งนั้นว่าเป็นรูป ดุจเห็นต้นไม้ว่ามีเงา.
บทว่า อตฺตนิ วา รูป เห็นรูปในตนบ้าง คือถือสิ่งไม่มีรูปนั้นแหละว่า
เป็นตน แล้วตามเห็นรูปในตน เหมือนตามดมกลิ่นในดอกไม้. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 415
รูปสฺมึ วา อตฺตาน เห็นตนในรูปบ้าง คือถือสิ่งไม่มีรูป (อรูป) นั่นแหละ
ว่าเป็นตน แล้วตามเห็นตนนั้นในรูป เหมือนตามเห็นแก้วมณีในหีบ.
แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ
ตามเห็นรูปโดยความเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวถึงรูปล้วน ๆ ว่าเป็นตน. ท่าน
กล่าวถึงอรูปว่าเป็นตนในฐานะ ๗ เหล่านี้คือ ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง. ท่านกล่าวปนกันไปถึงรูปและอรูป
ว่าเป็นตนในฐานะ ๑๒ อย่าง อย่างละ ๓ ๆ ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ คือ
ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาในตนบ้าง ตามเห็นตนใน
เวทนาบ้าง. ในบทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ นั้นท่านกล่าวถึงอุจเฉท-
ทิฏฐิในฐานะ ๕ คือตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดย
ความเป็นตน. ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิในส่วนที่เหลือ. ในบทนี้มีภวทิฏฐิ
๑๕ ด้วยประการฉะนี้. ภวทิฏฐิเหล่านั้นแม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ห้ามมรรค
ไม่ห้ามสวรรค์ พึงฆ่าได้ด้วยปฐมมรรค.
บทว่า อารญฺิโก คือ เมื่ออาศัยอยู่ในป่า. บทว่า ปวเน คือ
ในป่าลึกใหญ่. บทว่า จรมาโน คือ เดินไปมาในที่นั้น ๆ. บทว่า
วิสฺสตฺโต คจฺฉติ เดินไปก็ไม่ระแวง คือเดินไปก็ไม่กลัว ไม่ระแวง.
บทว่า อนาปาถาคโต ลุทฺทสฺส เนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน คือไป
ทางอื่น. บทว่า อนฺตมกาสิ มาร๑ ทำมารให้มีที่สุด คือทำกิเลสมารหรือ
เทวบุตรมารให้มีที่สุด. บทว่า อปท วธิตฺวา กำจัดมารไม่ให้มีทาง คือ
ทำทางกิเลสไม่ให้มีทาง คือทำให้พินาศไป. บทว่า มารจกฺขุอทสฺสน
๑.บาลี เป็น อนฺธมกาสิ กระทำมารให้มืด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 416
คโต คือ ไปสู่ที่มารไม่เห็น. บทว่า อนาปาถคโต คือ ไปพ้นหน้ามาร.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอด คือ
พระอรหัตด้วยประการฉะนี้. และเมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับ
ที่กล่าวไว้แล้ว.
จบอรรถกถาโมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 417
ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของท่านปิงคิยะ
[๕๑๑] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิว-
พรรณ นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ข้าพระองค์
อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติและ
ชรา ณ ที่นี้เถิด.
[๕๑๒] คำว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจาก
ผิวพรรณ ความว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล
ผ่านวัยไปโดยลำดับ มีอายุ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด.
คำว่า มีกำลังน้อย ความว่า ทุรพล มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรง
น้อย.
คำว่า ปราศจากผิวพรรณ ความว่า ปราศจากผิวพรรณ มีผิวพรรณ
ปราศไป ผิวพรรณอันงามผ่องเมื่อวัยต้นนั้นหายไปแล้ว มีโทษปรากฏ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจาก
ผิวพรรณ.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ปิงฺคิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปิงฺคิโย เป็นชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 418
เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านปิงคิยะ
ทูลถามว่า.
[๕๑๓] คำว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ความว่า
นัยน์ตาไม่แจ่มใส ไม่หมดจด ไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องแผ้ว ข้าพระองค์เห็น
รูปไม่ชัดด้วยนัยน์ตาเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส.
คำว่า หูฟังไม่สะดวก ความว่า หูไม่แจ่มใส ไม่หมดจด ไม่
บริสุทธิ์ ไม่ผ่องแผ้ว ข้าพระองค์ฟังเสียงไม่ชัดด้วยหูเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก.
[๕๑๔] คำว่า ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย
ความว่า ข้าพระองค์อย่าเสียหายพินาศไปเลย.
คำว่า เป็นผู้หลง คือ เป็นผู้ไม่รู้ ไปแล้วในอวิชชา ไม่มี าณ
ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทราม.
คำว่า ในระหว่าง ความว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่
ทำให้ปรากฏ ไม่ได้เฉพาะ ไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้กระจ่างแล้ว ซึ่งธรรม
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์ พึงทำกาละเสีย ในระหว่างแท้จริง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย.
[๕๑๕] คำว่า ขอโปรดตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺม
ยมห วิชญฺ ดังนี้ ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ... ขอจงประกาศ
ซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อม
ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 419
มรรคมีองค์ ๘ นิพพาน ข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม.
คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ พึงรู้แจ้ง
รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุได้ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ขอโปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.
[๕๑๖] คำว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ ความว่า เป็นที่ละ
ที่สงบ ที่สละคืน ที่ระงับชาติ ชราและมรณะ เป็นอมตนิพพาน ณ ที่นี้
แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ เพราะเหตุ
นั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิว-
พรรณ นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่สะดวก ข้าพระองค์
อย่าเป็นคนหลงเสียไปในระหว่างเลย ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติและ
ชรา ณ ที่นี้เถิด.
[๕๑๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปิงคิยะ)
ชนทั้งหลาย ผู้มัวเมา ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูป
ทั้งหลาย เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ ในเพราะรูป
ทั้งหลาย ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่
ประมาท ละรูปเสีย เพื่อความไม่เกิดต่อไป.
[๕๑๘] คำว่า รูเปสุ ในอุเทศว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺมาเน
ดังนี้ ความว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔ สัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 420
ย่อมเดือดร้อน ลำบาก ถูกเขาเบียดเบียน ถูกเขาฆ่าเพราะเหตุแห่งรูป
เพราะปัจจัยแห่งรูป เพราะการณะแห่งรูป เมื่อรูปมีอยู่ พระราชาทั้งหลาย
ย่อมให้ทำกรรมกรณ์หลายอย่าง คือให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วย
หวายบ้าง ให้ตอกคาบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง
ให้ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง ทำให้มีหม้อข้าว
เดือดบนศีรษะบ้าง ให้ถลกหนังศีรษะโล้นมีสีขาวดังสังข์บ้าง ทำให้มี
หน้าเหมือนหน้าราหูบ้าง ทำให้ถูกเผาทั้งตัวบ้าง ทำให้มีไฟลุกที่มือบ้าง
ให้ถลกหนังแล้วผูกเชือกฉุดไปบ้าง ให้ถลกหนังแล้วให้นุ่งเหมือนนุ่งผ้า
คากรองบ้าง ทำให้มีห่วงเหล็กที่ศอกและเข่าแล้วใส่หลาวเหล็กตรึงไว้บ้าง
ให้เอาเบ็ดเกี่ยวติดที่เนื้อปากบ้าง ให้ถากด้วยพร้าให้ตกไปเท่ากหาปณะบ้าง
ให้มีตัวถูกถากแล้วทาด้วยน้ำแสบบ้าง ให้นอนตะแคงแล้วตอกหลาวเหล็ก
ไว้ในช่องหูบ้าง ให้ถลกหนังแล้วทุบกระดูกพันไว้เหมือนตั่งใบไม้บ้าง
รดตัวด้วยน้ำมันอันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินเนื้อที่ตัวบ้าง เอาหลาวเสียบ
เป็นไว้บ้าง และเอาดาบตัดศีรษะ สัตว์ทั้งหลายย่อมเดือดร้อนลำบาก
ถูกเขาเบียดเบียน ถูกเขาฆ่า เพราะเหตุ ปัจจัย การณะแห่งรูปอย่างนี้
เพราะพบเห็น พิจารณา เทียบเคียง ให้เจริญ ทำให้กระจ่าง ซึ่งชน
ทั้งหลายผู้เดือดร้อนลำบากอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เพราะเห็น
ชนทั้งหลายลำบากอยู่ในเพราะรูปทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปิงคิยะ
ในอุเทศว่า ปิงฺคิยาติ ภควา ดังนี้ คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 421
[๕๑๙] คำว่า รุปฺปนฺติ ในอุเทศว่า รุปฺปนฺติ รุเปสุ ชนา ปมตฺตา
ดังนี้ ความว่า เดือนร้อน กำเริบ ลำบาก ถูกเบียดเบียน ถูกฆ่า หวาด-
เสียว ถึงโทมนัส คือ เดือดร้อน กาเริบ ลาบาก ถูกเบียดเบียน ถูกฆ่า
หวาดเสียว ถึงโทมนัส เพราะโรคนัยน์ตา เพราะโรคในหู ฯ ล ฯ เพราะ
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ย่อมเดือนร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจักษุเสื่อม เสีย เสื่อมไปรอบ เป็นไปต่าง ๆ
ปราศไป อันตรธานไป ชนทั้งหลายก็เดือดร้อน ฯ ล ฯ เมื่อหู จมูก
ลิ้น กาย ฯ ล ฯ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร เสื่อมเสีย เสื่อมไปรอบ เป็นไปต่าง ๆ ปราศไป อันตรธานไป
ชนทั้งหลายก็เดือดร้อน ฯ ล ฯ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อม
เดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.
คำว่า ชนทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา และมนุษย์.
ความประมาทในคำว่า ผู้ประมาท ดังนี้ ควรกล่าว ความปล่อย
ความตามเพิ่ม ความปล่อยจิตไปในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโน-
ทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความไม่ทำเนืองๆ ความทำหยุด ๆ
ความประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ส้องเสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนือง ๆ
ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท ความประมาท
กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ ตรัสว่า ความประมาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 422
ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ประมาท ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูปทั้งหลาย.
[๕๒๐] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในอุเทศว่า ตสฺมา ตุว ปิงฺคิย
อปฺปมตฺโต ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะนั้น เพราะปัจจัย
นั้น เพราะนิทานนั้น คือ เมื่อท่านเห็นโทษในรูปทั้งหลายอย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่าน.
คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ความว่า เป็นผู้ทำด้วยความเคารพ ทำ
เนือง ๆ ฯ ล ฯ ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท.
[๕๒๑] คำว่า รูป ในอุเทศว่า ชหสฺส รูป อปุนพฺภวาย ดังนี้
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปอันอาศัยมหาภูตรูป ๔.
คำว่า จงละรูป ความว่า จงละ จงละขาด จงบรรเทา จงทำให้
สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มีซึ่งรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละรูป.
คำว่า เพื่อความไม่เกิดต่อไป ความว่า รูปของท่านพึงดับใน
ภพนี้นี่แหละ ฉันใด ความมีปฏิสนธิอีก ไม่พึงบังเกิด คือ ไม่เกิด
ไม่พึงเกิดพร้อม ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดเฉพาะ ในกามธาตุ
รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ
คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ สงสาร วัฏฏะอีก ชื่อว่า พึงดับ คือ สงบ ถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ในภพนี้นี่แหละ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า จงละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 423
ชนทั้งหลายผู้มัวเมา ย่อมเดือดร้อนในเพราะรูป
ทั้งหลาย เพราะเห็นชนทั้งหลายลำบากอยู่ในเพราะรูป
ทั้งหลาย ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่
ประมาท ละรูปเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป.
[๕๒๒] ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้อง
บนและทิศเบื้องต่ำ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้
ยินแล้ว ไม่ได้ทรงทราบแล้ว หรือไม่ทรงรู้แจ้งแล้งเพียง
น้อยหนึ่งมิได้มีในโลก ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้
เถิด.
[๕๒๓] คำว่า ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศ
เบื้องบนและทิศเบื้องต่ำ ความว่า ทิศ ๑ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์
ผู้อื่น ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ในภพหน้า
ฯ ล ฯ ปรมัตถประโยชน์ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้ยินแล้ว
ไม่ทรงทราบแล้ว ไม่ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อยหนึ่ง มิได้มี ย่อมไม่มี ไม่
ปรากฏ ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์มิได้ทรงเห็นแล้ว
มิได้ทรงได้ยินแล้ว มิได้ทรงทราบแล้ว หรือมิได้ทรงรู้แจ้งแล้วเพียงน้อย
หนึ่ง มิได้มีในโลก.
[๕๒๔] คำว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข
ธมฺม ยมห วิชญฺ ดังนี้ ความว่า ขอจงตรัสบอก... ขอจงประกาศซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 424
พรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น ฯลฯ ข้อปฏิบัติอันให้ถึงนิพพาน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรม.
คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ พึงรู้แจ้ง
รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ขอจงโปรดตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง.
[๕๒๕] คำว่า เป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้ ความว่าเป็นที่ละ
ที่สงบ ที่สละคืน ที่ระงับชาติชราและมรณะ เป็นอมตนิพพาน ณ ที่นี้
แหละ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ละชาติและชรา ณ ที่นี้ เพราะเหตุ
นั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ทิศทั้ง ๑๐ นี้ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้อง
บนและทิศเบื้องต่ำ พระองค์ไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่ทรงได้ยิน
แล้ว ไม่ได้ทรงทราบแล้ว หรือไม่ทรงรู้แจ้งแล้วเพียง
น้อยหนึ่ง มิได้มีในโลก ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
ที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นเหตุละชาติและชรา ณ ที่นี้
เถิด.
[๕๒๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนปิงคิยะ)
ท่านเห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ ผู้ถูกตัณหาครอบงำเดือด-
ร้อน อันชราถึงรอบข้างแล้ว ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุ
นั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียเพื่อความไม่
เกิดต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 425
[๕๒๗] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-
ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหาธิปนฺเน
มนุเช เปกฺขมาโน ดังนี้.
คำว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ความว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำ คือผู้
ไปตามตัณหา ผู้แล่นไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหาครอบงำ
มีจิตอันตัณหายึดไว้ คำว่า มนุเช เป็นชื่อของสัตว์.
คำว่า เห็นอยู่ ความว่า เห็น พบ ตรวจดู เพ่งดู พิจารณา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ปิงคิยะ.
[๕๒๘] คำว่า เดือดร้อน ในอุเทศว่า สนฺตาปชาเต ชรสา
ปเรเต ดังนี้ ความว่า ผู้เดือดร้อนเพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เพราะทุกข์อันมีในนรก ฯ ล ฯ
เพราะทุกข์ เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ ผู้เกิดจัญไร เกิดอุบาทว์ เกิด
ความขัดข้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เดือดร้อน.
คำว่า อันชราถึงรอบด้านแล้ว ความว่า ผู้อันชราถูกต้อง ถึงรอบ
ด้าน ประชุมลง ไปตามชาติ ชราก็แล่นตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะ
ก็ห้ำหั่น ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อนเร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มี
อะไรเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เดือดร้อน อันชราถึงรอบด้าน
แล้ว.
[๕๒๙] คำว่า ตสฺมา ในอุเทศว่า ตสฺมา ตุว ปิงฺคิย อปฺปมตฺโต
ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 426
เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เมื่อเห็นโทษในตัณหาอย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่าน.
คำว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ความว่า เป็นผู้ทำโดยความเคารพ ทำ
เนือง ๆ ไม่ประมาทแล้วในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท.
[๕๓๐] รูปตัณหา ... ธรรมตัณหา ข้อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า
ชหสฺส ตณฺห อปุนพฺภวาย ดังนี้.
คำว่า จงละตัณหา ความว่า จงละ จงละขาด บรรเทา ทำให้
สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จงละตัณหา.
คำว่า เพื่อความไม่เกิดต่อไป ความว่า รูปของท่านพึงดับในภพนี้นี่แหละ
ฉันใด ความมีปฏิสนธิอีก ไม่พึงบังเกิด คือ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดพร้อม
ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดเฉพาะในกามธาตุ... หรือวัฏฏะ พึงดับ สงบ
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ในภพนี้นี่แหละ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า จงละตัณหาเสียเพื่อความไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านเห็นอยู่ซึ่งหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำ เดือด-
ร้อน อันชราถึงรอบข้างแล้ว ดูก่อนปิงคิยะ เพราะเหตุ
นั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียเพื่อความ
ไม่เกิดต่อไป.
[๕๓๑] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุอันปราศจากกิเลส
ธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่สัตว์หลายพันผู้มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 427
มีประโยคเป็นอันเดียวกัน มีความประสงค์เป็นอันเดียวกัน มีการอบรม
วาสนาเป็นอันเดียวกัน กับปิงคิยพราหมณ์นั้น ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ส่วน
ปิงคิยพรามหณ์นั้น มีธรรมจักษุ (อนาคามิมรรค) อันปราศจากกิเลสธุลี
ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง
นั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา หนังเสือ ชฏา ผ้าคากรอง
ไม้เท้า เต้าน้ำ ผมและหนวดหายไปแล้ว พร้อมกับการได้ธรรมจักษุ
พระปิงคิยะนั้นเป็นภิกษุทรงผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฎิ บาตรและ
จีวร ทำความเคารพด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ นั่งนมัสการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกฉะนี้แล.
จบปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖
อรรถกถาปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖
พึงทราบวินิจฉัยในปิงคิยสุตตนิทเทสที่ ๑๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ชิณฺโณหมสฺมี อพโล วิวณฺโณ ปิงคิยพราหมณ์ทูลว่า
ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ปราศจากผิวพรรณ คือ ได้ยินว่า
พราหมณ์นั้นถูกชราครอบงำ มีอายุ ๑๒๐ ปีโดยกำเนิด มีกำลังน้อย
มีผิวพรรณเศร้าหมอง คิดว่าจักยืนหยัดอยู่ในที่นี้ ไม่ไปที่อื่น. ด้วยเหตุนั้น
ปิงคิยะจึงทูลว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย มีผิวพรรณเศร้า-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 428
หมอง. บทว่า มาหมฺปนสฺส โมมุโห อนฺตราย ข้าพระองค์อย่าเป็นคน
หลงเสียไปในระหว่างเลย คือ ข้าพระองค์ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมของ
พระองค์ อย่าเป็นคนไม่รู้เสียไปในระหว่างเลย. บทว่า ชาติราย อิธ
วิปฺปหาน อันเป็นที่ละชาติชรา ณ ที่นี้เถิด คือ ขอพระองค์ตรัสบอก
ธรรมคือนิพพานที่ข้าพระองค์พึงรู้แจ้ง อันเป็นที่ละชาติชรา ณ ปาสาณก-
เจดีย์ ใกล้บาทมูลของพระองค์ ณ ที่นี้ แก่ข้าพระองค์เถิด.
บทว่า อพโล คือ ไม่มีกำลัง. บทว่า ทุพฺพโล คือ หมดกำลัง.
บทว่า อปฺปพโล คือ มีกำลังน้อย. บทว่า อปฺปถาโม คือ มีเรี่ยวแรง
น้อย. บทว่า วีตวณฺโณ ปราศจากผิวพรรณ คือมีผิวพรรณเปลี่ยนแปลง
ไป. บทว่า วิคตวณฺโณ คือ มีผิวพรรณปราศไป. บทว่า วีตจงฺฉิตวณฺโณ๑
มีผิวพรรณซูบซีด. บทว่า ยา สา ปุริมา สุภา วณฺณนิภา คือ
ผิวพรรณอันงามผ่องเมื่อวัยต้นนั้น บัดนี้หายไปแล้ว. บทว่า อาทีนโว
ปาตุภูโต คือ มีโทษปรากฏ. อาจารย์พวกหนึ่งตั้งบทไว้ว่า ยา สา ปุริมา
สุภา วณฺณนิภา แล้วอธิบายว่า มีผิวพรรณงาม. บทว่า อสุทฺธา คือ
นัยน์ตาไม่แจ่มใส ด้วยมีเยื่อหุ้มเป็นต้น. บทว่า อวิสุทฺธา คือ ไม่หมด-
จดเพราะมัวหมองเป็นต้น. บทว่า อปริสุทธา คือ ไม่บริสุทธิ์ เพราะ
ถูกหุ้มด้วยฝีและเยื่อเป็นต้น. บทว่า อโวทาตา ไม่ผ่องแผ้ว คือไม่
ผ่องใส เช่นกับผูกไว้. บทว่า โน ตถา จกฺขุนา รูป ปสฺสามิ ข้าพระองค์
เห็นรูปไม่ชัดด้วยนัยน์ตาเช่นนั้น คือบัดนี้ ข้าพระองค์มองดูรูปารมณ์
เก่าๆ ด้วยจักษุไม่ชัด. ในบทว่า โสตา อสุทฺธา หูฟังไม่สะดวก ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า มาหมฺปนสฺส คือ ข้าพระองค์อย่าพินาศไปเลย.
๑. ในบาลี คำนี้หายไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 429
เพราะปิงคิยะทูลคำมีอาทิว่า ข้าพระองค์เป็นคนแก่ดังนี้ เพราะเพ่ง
ในกาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้ปิงคิยะละความเยื่อใยในกายเสีย
จึงตรัสคาถามีอาทิว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺมาเน เพราะเห็นชนทั้งหลาย
ลำบากอยู่ในเพราะรูปทั้งหลาย ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า รูเปสุคือ เพราะรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย.
บทว่า วิหญฺมาเน เดือดร้อนอยู่ คือ ลำบากอยู่ด้วยกรรมกรณ์เป็นต้น.
บทว่า รุปฺปนฺติ รูเปสุ คือ ชนทั้งหลายย่อมเดือดร้อน เพราะรูปเป็นเหตุ
ด้วยโรคมีโรคตาเป็นต้น.
บทว่า หญฺติ คือ ย่อมเดือดร้อน. บทว่า วิหญฺติ คือ ย่อม
ลำบาก. บทว่า อุปหญฺติ ถูกเขาเบียดเบียน คือถูกตัดมือและเท้า
เป็นต้น. บทว่า อุปฆาติยนฺติ ถูกเขาฆ่า คือถึงแก่ความตาย. บทว่า
กุปฺปนฺติ คือ โกรธ. บทว่า ปิฬิยนฺติ คือ ถูกเบียดเบียน. บทว่า
ฆฏิยนฺติ คือ ถูกฆ่า. บทว่า พฺยตฺถิตา คือ หวาดเสียว. บทว่า
โทมนสฺสิตา เสียใจ คือถึงความลำบากใจ. บทว่า หายมาเน คือ
เสื่อม.
ท่านปิงคิยะฟังข้อปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ตราบเท่าถึงพระ-
อรหัตก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ เพราะชรา มีกำลังน้อย เมื่อจะสรรเสริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถานี้ว่า ทิสา จตสฺโส ทิศใหญ่ ๔ ดังนี้ จึง
ทูลขอให้เทศนาอีก. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิปทา
จนถึงพระอรหัตอีกแก่ท่านปิงคิยะนั้น จึงตรัสคาถามีอาทิว่า ตณฺหาธิปนฺเน
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ดังนี้.
บทว่า ตณฺหาธิปนฺเน คือ ถูกตัณหาย่ำยี. บทว่า ตณฺหานุเค คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 430
ไปตามตัณหา. บทว่า ตณฺหานุคเต คือ ติดตามตัณหา. บทว่า ตณฺหา-
นุสเฏ คือ แล่นไปกับตัณหา. บทว่า ตณฺหายาปนฺเน คือ จมลงไปใน
ตัณหา. บทว่า ปฏิปนฺเน คือ ถูกตัณหาครอบงำ. บทว่า อภิภูเต คือ
ถูกตัณหาย่ำยี. บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺเต มีจิตอันตัณหายึดไว้ คือมีกุศล-
จิตอันตัณหายึดไว้. บทว่า สนฺตาปชาเต ผู้เดือดร้อน คือเดือดร้อน
เพราะจิตเกิดขึ้นเอง. บทว่า อิติชาเต เกิดจัญไร กือเกิดโรค. บทว่า
อุปทฺทชาเต เกิดอุบาทว์ คือ เกิดโทษ. บทว่า อุปสคฺคชาเต เกิด
ความขัดข้อง คือเกิดทุกข์.
พึงทราบวินิจฉัยบทว่า วิรช วีตมล นี้ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิรช คือ ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น. บทว่า วีตมล คือ
ปราศจากมลทินมีราคะเป็นต้น. จริงอยู่ ราคะเป็นต้น ชื่อว่า ธุลี เพราะ
อรรถว่า ท่วมทับ ชื่อว่า มลทิน เพราะอรรถว่า ประทุษร้าย. บทว่า
ธมฺมจกฺขุ ตวงตาเห็นธรรม คือในบางแห่งหมายถึงมรรคญาณที่ ๑
ในบางแห่งหมายถึงมรรคญาณ ๓ เป็นต้น บางแห่งมรรคญาณที่ ๔. แต่
ในที่นี้ มรรคญาณที่ ๔ เกิดแก่ชฎิล ๑,๐๐๐ คน มรรคญาณที่ ๓ เกิดแก่
ท่านปิงคิยะเท่านั้น. บทว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺม สพฺพนฺต นิโรธธมฺม
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดการขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีการดับไปเป็น
ธรรมดา คือดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านปิงคิยะผู้เป็นไปอย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. บทที่เหลือ ในบททั้งปวง ชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัต ด้วยประการดังนี้. และเมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะได้ตั้งอยู่
ในอนาคามิผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 431
นัยว่า ท่านปิงคิยะนั้นคิดอยู่ในระหว่าง ๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็น
ลุงของเรา ไม่ได้ฟังเทศนาอันมีปฏิภาณวิจิตรอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
ปิงคิยะจึงไม่สามารถบรรลุพระอรหัตได้ เพราะความฟุ้งซ่านด้วยความ
เยื่อใย. แต่ชฏิลผู้เป็นอันเตวาสิก ๑,๐๐๐ ของท่านปิงคิยะ ได้บรรลุพระ-
อรหัต. ทั้งหมดได้เป็นเอหิภิกขุ ผู้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 432
โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของมาณพ ๑๖ คน
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว คือ เมื่อประทับ
อยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็น
บริจาริกาทูลเชื้อเชิญถามแล้ว ๆ ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา.
[๕๓๓] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้วซึ่งปารายนสูตรนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็น
เครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเช่นนี้แล้ว.
[๕๓๔] คำว่า ประทับอยู่... แคว้นมคธ ความว่า ใกล้ชนบท
มีชื่อว่ามคธ. คำว่า วิหรนฺโต ความว่า ประทับอยู่ คือ ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถเป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา. พระพุทธอาสน์ ท่านกล่าวว่า
ปาสาณกเจดีย์ ในอุเทศว่า ปาสาณเก เจติเย ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์แคว้นมคธ.
[๕๓๕] คำว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริ-
จาริกา ความว่า พราหมณ์ ๑๖ คนนั้นทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นคนรับใช้
ใกล้ชิดผู้ประเสริฐ ที่ปรารถนาของพาวรีพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
ดังนี้จึงชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกา.
อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ ๑๖ คนนั้น พึงเป็นบริจาริกาผู้ประเสริฐ
ที่ปรารถนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้
จึงชื่อว่า พราหมณ์ ๑๖ คนทั้งปิงคิยพราหมณ์ผู้เป็นบริจาริกา.
[๕๓๖] คำว่า ทูลเชื้อเชิญถามแล้ว ๆ ทรงพยากรณ์แล้วซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 433
ปัญหา ความว่า ทูลเชื้อเชิญอาราธนาแล้ว. คำว่า ถามแล้ว ๆ ความว่า
ถามแล้ว ๆ คือ ทูลอาราธนาแล้ว เชื้อเชิญให้ทรงประสาทแล้ว . คำว่า
ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา ความว่า ทรงพยากรณ์แล้ว คือ ตรัสบอก...
ทรงประกาศแล้วซึ่งปัญหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูลเชื้อเชิญถามแล้ว ๆ
ทรงพยากรณ์แล้วซึ่งปัญหา.
[๕๓๗] ถ้าแม้บุคคลรู้ตัวถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แห่งปัญหา
หนึ่ง ๆ พึงปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ
เพราะว่าธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น คำว่า
ปารายนะนั้นแล เป็นชื่อของธรรมปริยายนี้.
[๕๓๘] คำว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาหนึ่ง ๆ ความว่า ถ้าแม้
แห่งอชิตปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งติสสเมตเตยปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่ง
ปุณณกปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งเมตตคูปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งโธตก-
ปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งอุปสีวปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งนันทปัญหา
หนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งเหมกปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งโตเทยยปัญหาหนึ่ง ๆ
ถ้าแม้แห่งกัปปปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งชตุกัณณีปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้
แห่งภัทราวุธปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งอุทยปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่ง
โปสาลปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งโมฆราชปัญหาหนึ่ง ๆ ถ้าแม้แห่งปิงคิย-
ปัญหาหนึ่ง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าแม้แห่งปัญหาหนึ่ง ๆ.
[๕๓๙] คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม ความว่า รู้ทั่วถึง
คือทราบ เทียบเคียง พิจารณา เจริญแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งอรรถว่า
ปัญหานั้นนั่นแหละเป็นธรรม ข้อวิสัชนาเป็นอรรถ. คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม
ความว่า รู้ทั่วถึง คือ ทราบ... ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 434
[๕๔๐] คำว่า พึงปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม ความว่า
พึงปฏิบัติซึ่งข้อปฏิบัติชอบ ข้อปฏิบัติสมควร ข้อปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก
ข้อปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ข้อปฏิบัติสมควรแก่ธรรม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงปฏิบัติซึ่งธรรมสมควรแก่ธรรม.
[๕๔๑] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่าฝั่งแห่งชราและมรณะ ในอุเทศ
ว่า คจฺเฉยฺเยว ชรามรณสฺส ปาร ดังนี้.
คำว่า พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ ความว่า พึงถึง คือ พึง
บรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง
ถึงฝั่งแห่งชราและมรณะ.
[๕๔๒] คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง ความว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นฐานะแห่งอันให้ถึงฝั่ง คือ ให้ถึง ให้ถึงพร้อม ให้ตาม
ถึงพร้อมซึ่งฝั่ง คือ เป็นไปเพื่อให้ข้ามพ้นชราและมรณะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ธรรมเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการให้ถึงฝั่ง.
[๕๔๓] คำว่า เพราะเหตุนั้น... แห่งธรรมปริยายนี้ ความว่า
เพราะเหตุนั้นคือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะนิทานนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.
คำว่า แห่งธรรมปริยายนี้ คือ แห่งปารายนสูตรนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น ... แห่งธรรมปริยายนี้.
[๕๔๔] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 435
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ในอุเทศว่า ปารายนนฺ-
เตฺวว อธิวจน ดังนี้. สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า อายนะ (มรรคเป็นเหตุ
ให้ถึง).
คำว่า เป็นชื่อ คือ เป็นนาม เป็นการนับ เป็นเครื่องรู้เสมอ
เป็นบัญญัติ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บทว่า
ปารายนะ นั่นแหละ เป็นชื่อ.
[๕๔๕] อชิตพราหมณ์ ติสสเมตเตยยพราหมณ์ ปุณณก-
พราหมณ์ เมตตคูพราหมณ์ โธตกพราหมณ์ อุปสีว-
พราหมณ์ นันทพราหมณ์ เหมกพราหมณ์ โตเทยย-
พราหมณ์ กัปปพราหมณ์ ชตุกัณณะพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต
ภัทราวุธพราหมณ์ อุทยพราหมณ์ โปสาลพราหมณ์
โมฆราชพราหมณ์ผู้มีปัญญา ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหา
ธรรมใหญ่ พราหมณ์เหล่านี้เข้ามาเฝ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธ-
เจ้าผู้มีจรณะถึงพร้อม ผู้แสวงหา เมื่อจะทูลถามปัญหา
อันละเอียด มาเฝ้าแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
[๕๔๖] คำว่า เอเต ในอุเทศว่า เอเต พุทฺธ อุปาคญฺฉุ ดังนี้
คือ พราหมณ์ทั้งหลาย. คำว่า พุทฺธ จะกล่าวต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นพระสยัมภูไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง
ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง
ความเป็นพระสัพพัญญะในธรรมเหล่านั้น และถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ ชำนาญ
ในพลธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า พุทโธ ในคำว่า พุทฺโธ ดังนี้ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 436
อรรถว่ากระไร เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เพราะอรรถว่าพระองค์
ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวง เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง
เพราะทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพราะทรงเบิกบานแล้ว เพราะส่วนแห่ง
พระองค์มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะส่วนแห่งพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะ
อรรถว่าทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงปราศจาก
โทสะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว
เพราะอรรถว่าไม่ทรงมีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่าทรงถึงแล้วซึ่ง
เอกายนมรรค เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้เดียวตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ เพราะทรงกำจัดความไม่รู้ เพราะทรงได้
พระปัญญาเครื่องตรัสรู้.
พระนามว่า พุทโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง
มิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้ทำให้ พระนามนี้
เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการหลุดพ้น) พระ-
นามว่า พุทโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการบรรลุสัพพัญญุตญาณ-
ณ ควงไม้โพธิ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้า.
คำว่า พราหมณ์เหล่านี้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ความว่า พราหมณ์
เหล่านี้มาเฝ้า เข้ามาเฝ้า เข้ามานั่งใกล้ ทูลถามแล้ว สอบถามแล้ว ซึ่ง
พระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์เหล่านี้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
แล้ว.
[๕๔๗] ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระ ท่านกล่าวว่า จรณะ
ในอุเทศว่า สมฺปนฺนจรณ อิสึ ดังนี้ ศีลสังวรก็ดี อินทรีย์สังวรก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 437
โภชเนมัตตัญญุตาก็ดี ชาคริยานุโยคก็ดี สัทธรรม ๗ ก็ดี ฌาน ๔ ก็ดี
เป็นจรณะ.
คำว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว ความว่า มีจรณะสมบูรณ์ มีจรณะ
ประเสริฐ มีจรณะเป็นประธาน มีจรณะอุดม มีจรณะอย่างยิ่ง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว.
คำว่า อิสึ ความว่า ผู้แสวงหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา
เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ผู้แสวงหา
ฯ ล ฯ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันสัตว์ทั้งหลายที่มีอานุภาพมากแสวงหา
เสาะหา ค้นหา ว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทพประทับอยู่ ณ ที่ไหน
พระนราสภประทับอยู่ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ผู้แสวงหา
แห่งเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้แสวงหา.
[๕๔๘] คำว่า ปุจฺฉนฺตา ในอุเทศว่า ปุจฺฉนฺตา นิปุเณ ปญฺเห
ดังนี้ ความว่า เมื่อทูลถาม ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ทูลให้ทรงประสาท.
คำว่า ซึ่งปัญหาทั้งหลายอันละเอียด ความว่า ซึ่งปัญหาทั้งหลาย
ที่ลึกเห็นได้ยาก ตรัสรู้ได้ยาก สงบ ประณีต ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยความ
ตรึก อันละเอียด ที่บัณฑิตพึงรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อทูลถาม
ซึ่งปัญหาทั้งหลายอันละเอียด.
[๕๔๙] คำว่า พระพุทธเจ้า ในอุเทศว่า พุทฺธเสฏฺ อุปาคมุ
ดังนี้ ว่ากล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ พระนามว่า พุทฺโธ
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 438
คำว่า ผู้ประเสริฐ ความว่า ผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน
อุดม อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
คำว่า มาเฝ้าแล้ว ความว่า มาเฝ้า เข้ามาเฝ้า เข้ามานั่งใกล้
ทูลถามแล้ว สอบถามแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า
พราหมณ์เหล่านั้นเข้ามาเฝ้าแล้ว ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มี
จรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้แสวงหา เมื่อจะทูลถามซึ่งปัญหา
ทั้งหลายอันละเอียด เข้ามาเฝ้าแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าผู้มี
ประเสริฐ.
[๕๕๐] พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์เหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว
ทรงพยากรณ์แล้วตามควร พระพุทธเจ้าผู้เป็นเพระมุนี
ทรงให้พราหมณ์ทั้งหลาย ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
ทั้งหลาย.
[๕๕๑] คำว่า เตส ในอุเทศว่า เตส พุทฺโธ พฺยากาสิ ดังนี้
ความว่า อันพราหมณ์ผู้มีความต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.
คำว่า พุทฺโธ จะกล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ
พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า ทรงพยากรณ์แล้ว ความว่า พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์
เหล่านั้นทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์แล้ว คือ ตรัสบอกแล้ว ...
ทรงประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์
นั้น ... ทรงพยากรณ์แล้ว.
[๕๕๒] คำว่า ทูลถามปัญหาแล้ว ในอุเทศว่า ปญฺห ปุฏฺโ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 439
ยถาตถ ดังนี้ ความว่า ทูลถามปัญหาแล้ว ทูลอาราธนาเชื้อเชิญ ให้ทรง
ประสาทแล้ว.
คำว่า ตามควร ความว่า ตรัสบอกตามที่ควรตรัสบอก ทรงแสดง
ตามที่ควรทรงแสดง ทรงบัญญัติตามที่ควรทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้งตามที่
ควรทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผยตามที่ทรงควรเปิดเผย ทรงจำแนกตามที่ควร
ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายตามที่ควรทรงทำให้ง่าย ทรงประกาศตามที่ควร
ทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทูลถามปัญหาแล้ว... ตามควร
[๕๕๓] คำว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย ความว่า
ด้วยการพยากรณ์ คือ ด้วยตรัสบอก . . . ด้วยทรงประกาศซึ่งปัญหา
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ด้วยการทรงพยากรณ์ซึ่งปัญหาทั้งหลาย.
[๕๕๔] คำว่า ทรงให้ยินดี ในอุเทศว่า โตเสสิ พฺราหฺมเณ
มุนิ ดังนี้ ความว่า ทรงให้ยินดี ให้ยินดียิ่ง ให้เลื่อมใส ให้พอใจ
ทรงทำให้เป็นผู้ปลื้มใจ.
คำว่า ยังพราหมณ์ทั้งหลาย ความว่า ยังพราหมณ์ผู้มีความ
ต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.
ญาณ คือ ปัญญา ความรู้ชัด ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า มุนี
ฯ ล ฯ พระพุทธเจ้านั้น ล่วงแล้วซึ่งกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็น
ดังข่าย จึงเป็นพระมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนี
ทรงยังพราหมณ์ทั้งหลายให้ยินดีแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
พระพุทธเจ้าอันพราหมณ์เหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว
ทรงพยากรณ์แล้วตามสมควร พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 440
ทรงให้พราหมณ์ทั้งหลายยินดีแล้ว ด้วยการพยากรณ์
ปัญหาทั้งหลาย.
[๕๕๕] พราหมณ์นั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ เป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา
ประเสริฐ.
[๕๕๖] คำว่า เต ในอุเทศว่า เต โตสิตา จกฺขุมตา ดังนี้
คือ พราหมณ์ผู้มีความต้องการถึงฝั่ง ๑๖ คน.
คำว่า ทรงให้ยินดีแล้ว ความว่า ทรงให้ยินดี ให้ยินดียิ่ง ให้
เลื่อมใส ให้พอใจ ทรงทำให้ปลื้มใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์
เหล่านั้น ... ทรงให้ยินดีแล้ว.
คำว่า ผู้มีจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ
๕ ประการ คือ มีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุ ๑ แม้ด้วยทิพยจักษุ ๑ แม้
ด้วยปัญญาจักษุ. แม้ด้วยพุทธจักษุ ๑ แม้ด้วยสมันตจักษุ ๑.
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร ฯ ล ฯ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุทรงให้ยินดีเเล้ว.
[๕๕๗] คำว่า พุทฺเธน ในอุเทศว่า พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา ดังนี้
จะกล่าวดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
พระสุริยะท่านกล่าวว่า พระอาทิตย์ ในคำว่า อาทิจฺจพนฺธุนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 441
ดังนี้ พระอาทิตย์นั้นเป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
พระโคดมโดยโคตร พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระญาติโดยโคตร เป็น
เผ่าพันธุ์โดยโคตร แห่งพระสุริยะ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า
เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันพระพุทธเจ้า...
เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์.
[๕๕๘] ความงด ความเว้น ความเว้นเฉพาะ เจตนาเครื่อง
งดเว้น ความไม่ยินดี ความงดการทำ ความไม่ทำ ความไม่ต้องทำ
ความไม่ล่วงแดน ความฆ่าด้วยเหตุ (ด้วยอริยมรรค) ซึ่งความถึงพร้อม
ด้วยอสัทธรรม ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในอุเทศว่า พฺรหมจริยมจรึสุ
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ท่าน
กล่าวว่า พรหมจรรย์ด้วยสามารถแห่งการกล่าวตรง ๆ.
คำว่า ได้ประพฤติแล้วซึ่งพรหมจรรย์ ความว่า ได้ประพฤติ คือ
สมาทาน ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ประพฤติ
แล้วซึ่งพรหมจรรย์.
[๕๕๙] คำว่า แห่งพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ ความว่า
แห่งพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ มีพระปัญญาเลิศ มีพระปัญญา
เป็นใหญ่ มีพระปัญญาเป็นประธาน มีพระปัญญาอุดม มีพระปัญญาบวร.
คำว่า สนฺติเก ความว่า ในสำนัก ในที่ใกล้ ในที่เคียง ในที่
ไม่ไกล ในที่ใกล้ชิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 442
พราหมณ์เหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุเป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงให้ยินดีแล้ว ได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญา
ประเสริฐ.
[๕๖๐] ผู้ใดพึงปฏิบัติธรรมแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ ตามที่พระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.
[๕๖๑] คำว่า แห่งปัญหาหนึ่ง ๆ ความว่า แห่งอชิตปัญหาหนึ่ง
แห่งติสสเมตเตยยปัญหาหนึ่ง ฯ ล ฯ แห่งปิงคิยปัญหาหนึ่ง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า แห่งปัญหาหนึ่ง ๆ.
[๕๖๒] คำว่า พุทฺเธน ในอุเทศว่า ยถา พุทฺเธน เทสิต
ดังนี้ จะกล่าวต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระนามว่า พุทฺโธ นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.
คำว่า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ความว่า ตามที่พระ-
พุทธเจ้าตรัสบอกแล้ว... ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตามที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
[๕๖๓] คำว่า ผู้ใดพึงปฏิบัติตามธรรม ความว่า ผู้ใดพึงปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติชอบ ข้อปฏิบัติสมควร ข้อปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติเป็น
ไปตามประโยชน์ ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ใดพึงปฏิบัติตามธรรม.
[๕๖๔] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 443
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ในอุเทศว่า คจฺเฉ ปาร
อปารโต ดังนี้ ฯ
กิเลสก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า ที่มิใช่ฝั่ง.
คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง
คือ พึงบรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง
จากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ฯ ล ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า
ผู้ใดพึงปฏิบัติธรรมแห่งปัญหาหนึ่งๆ ตามที่พระ-
พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ผู้นั้นพึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.
[๕๖๕] บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันอุดม พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึง
ฝั่ง มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น
มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง.
[๕๖๖] กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ท่านกล่าวว่า ที่มิใช่ฝั่ง
ในอุเทศว่า อปารา ปาร คจฺเฉยฺย ดังนี้ อมตนิพพาน ความสงบสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง.
คำว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง ความว่า พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง
คือพึงบรรลุถึง พึงถูกต้อง พึงทาให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง.
[๕๖๗] มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ
ท่านกล่าวว่า มรรค ในคำว่า ซึ่งมรรค ในอุเทศว่า ภาเวนฺโต
มคฺคมุตฺตม ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 444
คำว่า อันอุดม คือ อันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน
สูงสุดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มรรคอันอุดม.
คำว่า เมื่อเจริญ ความว่า เมื่อเจริญ ซ่องเสพ ทำให้มาก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเจริญมรรคอันอุดม.
[๕๖๘] คำว่า มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง ความว่า
มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมายนะ นาวา อุตตรเสตุ
ปกุสละ สังกมะ (แปลว่าทางทุกศัพท์).
คำว่า เพื่อให้ถึงฝั่ง ความว่า เพื่อให้ถึงฝั่ง ให้ถึงพร้อมซึ่งฝั่ง
ให้ตามถึงพร้อมซึ่งฝั่ง คือ เพื่อข้ามพ้นชราและมรณะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง.
[๕๖๙] คำว่า เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้
ถึงฝั่ง ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น อมตนิพพาน ความสงบสังขาร
ทั้งปวง... ความออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ฝั่ง.
มรรค ท่านกล่าวว่า อายนะ เป็นที่ให้ถึง.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ถึงฝั่ง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ว่า
บุคคลเมื่อเจริญมรรคอันอุดม พึงจากที่มิใช่ฝั่งไปถึง
ฝั่ง มรรคนั้น (ย่อมเป็นไป) เพื่อให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุนั้น
มรรคท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ให้ถึงฝั่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 445
[๕๗๐] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน
มิได้มีกาม มิได้มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด
ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น) บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุไร.
[๕๗๑] คำว่า จักขับตามเพลงขับ ความว่า จักขับเพลงขับ คือ
จักขับตามธรรมที่พระองค์ตรัสแล้ว จักขับตามธรรมที่ตรัสบอกแล้ว จัก
ขับตามธรรมที่ตรัสประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขับตาม
เพลงขับ.
คำว่า อิติ ในบทว่า อิจฺจายสฺมา ปิงฺคิโย ดังนี้ เป็นบทสนธิ
ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพและความยำเกรง.
คำว่า ปิงฺคิโย เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นสมญา เป็นบัญญัติ
เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นการทรงชื่อ เป็นภาษาเรียก
เป็นเครื่องให้ปรากฏ เป็นคำร้องเรียก ของพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ท่านพระปิงคิยะทูลถามว่า.
[๕๗๒] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัส
แล้วอย่างนั้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด
ได้ตรัสแล้ว คือตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วอย่างนั้นว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 446
มีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัสบอกแล้วอย่างนั้น.
[๕๗๓] คำว่า ปราศจากมลทิน ในนิเทศว่า วิมโล ภูริเมธโส
ดังนี้ ความว่า ความชัง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นมลทิน มลทินเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอด
ด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงไม่มีมลทิน หมดมลทิน ไร้มลทิน ไป
ปราศจากมลทิน ละมลทินแล้ว พ้นแล้วจากมลทิน ล่วงมลทินทั้งปวง
แล้ว แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วย
พระปัญญาอันกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนี้ ปัญญา ความรู้ทั่ว
กิริยาที่รู้ทั่ว ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่าน
กล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา
เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ทรงมีพระปัญญากว้าง
ขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน.
[๕๗๔] โดยหัวข้อว่า กามา ในอุเทศว่า นิกฺกโม นิพฺพโน
นาโค ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม เหล่านี้ท่านกล่าวว่า กิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้ แล้วทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามแล้ว เพราะทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 447
กำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่
ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนากาม ไม่ทรงรักกาม ไม่ทรงชอบใจกาม
ชนเหล่าใดย่อมใคร่กาม ปรารถนากาม รักกาม ชอบใจกาม ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่กาม มีความกำหนัดด้วยราคะ มีสัญญาด้วยสัญญา พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนากาม ไม่ทรงรักกาม ไม่
ทรงชอบใจกาม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึง
มิได้มีกาม ไร้กาม สละกาม คลายกาม ปล่อยกาม ละกาม สละคืนกาม
เสียแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะหายไปแล้ว สละราคะ คลายราคะ ละ
ราคะ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข
มีพระองค์อันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิได้มีกาม.
คำว่า ไม่มีป่า ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นป่า ป่าเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้
มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ไม่มีป่า ไร้ป่า ไปปราศแล้วจากป่า ละป่าแล้ว พ้นแล้วจากป่า ล่วงป่า
ทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีป่า.
คำว่า เป็นนาค ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นนาคเพราะ
ไม่ทรงทำความชั่ว ชื่อว่าเป็นนาคเพราะไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว ชื่อว่าเป็น
นาค เพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นนาค
เพราะไม่เสด็จมาสู่ความชั่วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกาม ไม่มี
ป่า เป็นนาค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 448
[๕๗๕] คำว่า เพราะเหตุอะไร ในอุเทศว่า กิสฺส เหตุ มุสา
ภเณ ดังนี้ ความว่า เพราะเหตุอะไร เพราะการณะอะไร เพราะปัจจัย
อะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุอะไร.
คำว่า พูดกล่าวคำเท็จ ความว่า พึงกล่าวถ้อยคำเท็จ คือ กล่าว
มุสาวาท กล่าวถ้อยคำอันไม่ประเสริฐ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่
ประชุมก็ดี อยู่ในบริษัทก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ในราชสกุลก็ดี
เขานำไปเป็นพยานถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้เหตุใด จงกล่าว
เหตุนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็น
ก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ เพราะ
เหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งของเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการดังนี้ นี้ท่านกล่าวว่า กล่าวคำเท็จ.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือก่อนที่จะพูด
บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ เมื่อกำลังพูด ก็รู้ว่าพูดเท็จอยู่ เมื่อพูด
แล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ก่อนที่จะ
พูด บุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ ฯ ล ฯ มุสาวาทย่อมมี ๕ อย่าง มุสาวาท
ย่อมมีด้วยอาการ ๖ อย่าง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๗ อย่าง มุสาวาท
ย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่าง คือก่อนที่จะพูดบุคคลนั้นก็รู้ว่า จักพูดเท็จ
เมื่อกำลังพูดก็รู้ว่า พูดเท็จอยู่ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า พูดเท็จแล้ว ตั้งความ
เห็นไว้ ตั้งความควรไว้ ตั้งความชอบใจไว้ ตั้งสัญญาไว้ ตั้งความเป็น
ไว้ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่างนี้. บุคคลพึงกล่าว พึงพูด พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 449
แสดง พึงบัญญัติคำเท็จเพราะเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงพูด
เท็จเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์จักขับตามเพลงขับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มิได้
มิกาม มิได้มีป่า เป็นนาค (ได้ทรงเห็นแล้วอย่างใด ตรัส
บอกแล้วอย่างนี้) บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร.
[๕๗๖] ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วย
คุณ แถ่พระองค์ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรง
ละความถือตัวและความลบหลู่.
[๕๗๗] คำว่า มลทิน ในอุเทศว่า ปหีนมลโมหสฺส ดังนี้ ความว่า
ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริตทั้งปวงเป็นมลทิน.
คำว่า ความหลง ความว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ฯ ล ฯ อวิชชาเป็น
ดังลิ่มสลัก โมหะ อกุศลมูล นี้ท่านกล่าวว่า โมหมลทินและความหลง
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้
มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ทรงละมลทินและความหลงเสียแล้ว. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรงละ
มลทินและความหลงเสียแล้ว.
[๕๗๘] ความถือตัว ในคำว่า มานะ ในอุเทศว่า มานมกฺขปฺ-
ปหายีโน ดังนี้ โดยอาการอย่างหนึ่ง คือ ความพองแห่งจิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 450
ความถือตัวโดยอาการ ๒ อย่าง คือ ความถือตัวในการยกตน ๑
ความถือตัวในการข่มผู้อื่น ๑
ความถือตัวโดยอาการ ๓ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่า
เขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๕ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิด
เพราะลาภ ๑ เพราะยศ ๑ เพราะสรรเสริญ ๑ เพราะสุข ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๕ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิดว่า
เราเป็นผู้ได้รูปที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้กลิ่น
ที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้รสที่ชอบใจ ๑ เราเป็นผู้ได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๖ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิด
เพราะความถึงพร้อมแห่งตา ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ เพราะ
ความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ เพราะความ
ถึงพร้อมแห่งกาย ๑ เพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๗ อย่าง คือ ความถือตัว ๑ ความถือตัว
จัด ๑ ความถือตัวเกินกว่าความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความดูแคลน ๑
ความถือตัวว่าเรามี ๑ ความถือตัวผิด ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๘ อย่าง คือ บุคคลให้ความถือตัวเกิด
เพราะลาภ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัว
เกิดเพราะยศ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือ
ตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะความนินทา ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความดูหมิ่นเกิดเพราะทุกข์ ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 451
เขาที่ดี ๑ เราเสมอกับเขาที่ดี ๑ เราเลวกว่าเขาที่ดี ๑ เราดีกว่าเขาที่เสมอ
กัน ๑ เราเสมอกับเขาที่เสมอกัน ๑ เราเลวกว่าเขาที่เสมอกัน ๑ เราดีกว่า
เขาที่เลว ๑ เราเสมอกับเขาที่เลว ๑ เราเลวกว่าเขาที่เลว ๑.
ความถือตัวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้ความถือตัวเกิดขึ้นเพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตรบ้าง เพราะความเป็น
บุตรแห่งสกุลบ้าง เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง เพราะทรัพย์บ้าง
เพราะความเชื้อเชิญบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง เพราะบ่อเกิด
แห่งศิลปะบ้าง เพราะฐานแห่งวิชชาบ้าง เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง
เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะวัตถุอื่นบ้าง, ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความ
เป็นผู้ถือตัว ความพองจิต ความมีมานะดังว่าไม้อ้อสูง มานะดังธงชัย
มานะอันเป็นเหตุให้ยกย่อง ความที่มีจิตใคร่ดังธงนำหน้า นี้ท่านกล่าวว่า
ความถือตัว.
ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ กรรมอันประกอบ
ด้วยความแข็งกระด้าง นี้ท่านกล่าวว่าความลบหลู่ในคำว่า มักขะ ดังนี้
ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว
ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้น
ต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึง
ชื่อว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรง
ละความถือตัวและความลบหลู่.
[๕๗๙] คำว่า หนฺทาห ในอุเทศว่า หนฺทาห กิตฺตยิสฺสามิ คิร
วณฺณูปสญฺหิต ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า หนฺท นี้เป็นไปตาม
ลำดับบท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 452
คำว่า กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า จักระบุ คือ จักแสดง... จัก
ประกาศซึ่งถ้อยคำ วาจา คำเป็นคลอง คำที่ควรเปล่ง อันเข้าไป เข้า
ไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยคุณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบ
ด้วยคุณ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระ จึงกล่าวว่า
ผิฉะนั้น ข้าพระองค์จักระบุถ้อยคำอันประกอบด้วย
คุณ แก่พระองค์ผู้ทรงละมลทินและความหลงแล้ว ผู้ทรง
ละความถือตัวและความลบหลู่.
[๕๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุทรง
บรรเทาความมืด ทรงถึงที่สุดโลก ล่วงภพทั้งปวงแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งหมดแล้ว มีพระนามจริง
เป็นผู้ประเสริฐอันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว.
[๕๘๑] คำว่า ทรงบรรเทาความมืด ในอุเทศว่า ตโมนุโท
พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ ดังนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรเทา ทรง
กำจัด ทรงละ ทรงบรรเทาให้พินาศ ทรงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งความมืดคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต อันทำ
ให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณอันดับปัญญา เป็นฝ่ายความลำบาก
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรงบรรเทาความมืด.
คำว่า พุทฺโธ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ พระนามว่า
พุทฺโธ นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ. สัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่าสมันตจักษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 453
ในคำว่า ผู้มีพระสันมัตจักษุ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า
มีพระสมันตจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุ
ทรงบรรเทาความมืด.
[๕๘๒] คำว่า โลก ในอุเทศว่า โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต ดังนี้
คือ โลก ๑ ได้แก่โลกคือภพ. โลก ๒ คือ ภวโลกเป็นสมบัติ ๑ ภวโลก
เป็นวิบัติ ๑. โลก ๓ คือ เวทนา ๓. โลก ๔ คือ อาหาร ๔. โลก ๕
คือ อุปาทานขันธ์ ๕. โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖. โลก ๗ คือ
วิญญาณฐิติ ๗. โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘. โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙.
โลก ๑๐ คือ อุปกิเลส ๑๐. โลก ๑๑ คือ กามภพ ๑๑. โลก ๑๒ คือ
อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘.
คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงที่สุด
ถึงส่วนสุดแห่งโลกแล้ว ไปสู่ที่สุดถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ฯ ล ฯ ไปนิพพาน
ถึงนิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ทรงอยู่จบ
แล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ ไม่มีสงสารคือชาติ ชรา และ
มรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงที่สุดโลก.
คำว่า ภพ ในอุเทศว่า สพฺพภวาติวตฺโต ดังนี้ คือ ภพ ๒
ได้แก่กรรมภพ ๑ ปุนภพ (ภพใหม่) อันมีในปฏิสนธิ ๑ กรรมภพเป็น
ไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร นี้เป็นกรรมภพ.
ปุนภพอันมีในปฏิสนธิเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณอันมีในปฏิสนธิ นี้เป็นปุนภพอันมีในปฏิสนธิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นไปล่วง ทรงล่วงเลย ทรงก้าวล่วงซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 454
กรรมภพและปุนภพอันมีในปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงที่สุด
โลก เป็นไปล่วงภพทั้งปวง.
[๕๘๓] อาสวะ ในคำว่า ไม่มีอาสวะ ในอุเทศว่า อนาสโว
สพฺพทุกฺขปฺปหีโน ดังนี้ มี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่ให้มีในภาย
หลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ไม่มีอาสวะ.
คำว่า ทรงละทุกข์ทั้งปวง ความว่า ทุกข์ทั้งหมด คือ ชาติทุกข์
ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกทุกข์ ปริเทวทุกข์ ทุกขทุกข์
โทมนัสทุกข์ อุปายาสทุกข์ ฯ ล ฯ ทุกข์แต่ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ อันมี
มาแต่ปฏิสนธิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงละได้เเล้ว ตัดขาดแล้ว ระงับ
แล้ว ไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ละทุกข์ทั้งปวง.
[๕๘๔] คำว่า มีพระนามจริง ในอุเทศว่า สจฺจวฺหโย พฺรหฺมุ-
ปาสิโต เม ดังนี้ ความว่า มีพระนามเหมือนนามจริง พระผู้มีพระภาค-
เจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสีขี พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป
พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัสรู้แล้ว มีพระนามเช่นเดียวกัน มีพระนาม
เหมือนนามจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าศากยมุนีมีพระนามเหมือนกัน คือ
มีพระนามเหมือนนามจริงของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 455
เพราะเหตุดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า มีพระนาม
จริง.
คำว่า เป็นผู้ประเสริฐ อันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันข้าพระองค์นั่ง เข้านั่ง นั่งใกล้ กำหนดถาม
สอบถามแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระนามจริง เป็นผู้ประเสริฐ
อันข้าพระองค์นั่งใกล้เเล้ว เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระสมันตจักษุ
ทรงบรรเทาความมืด ทรงถึงที่สุดโลก ล่วงภพทั้งปวง
แล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งหมดแล้ว มีพระนาม
จริง เป็นผู้ประเสริฐ อันข้าพระองค์นั่งใกล้แล้ว.
[๕๘๕] นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มี
ปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัย
สระใหญ่ที่มี่น้ำมากฉะนั้น.
[๕๘๖] นก ท่านเรียกว่า ทิชะ ในอุเทศว่า ทิโช ยถา กุพฺพนก
ปหาย พหุปฺผล กานน อาวเสยฺย ดังนี้.
เพราะเหตุไร นก ท่านจึงเรียก ทิชะ. เพราะนกเกิด ๒ ครั้ง คือเกิด
แต่ท้องแม่ครั้งหนึ่ง เกิดแต่กระเปาะฟองไข่ครั้งหนึ่ง เพราะเหตุนั้น นก
ท่านจึงเรียกว่า ทิชะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิชะ.
คำว่า ละป่าเล็กแล้ว... ฉันใด ความว่า นกละทิ้ง ล่วงเลย
แล้วซึ่งป่าน้อยที่มีอาหารเครื่องกินน้อย มีน้ำน้อย พึงไปประสนพบป่าใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 456
ซึ่งเป็นไพรสณฑ์ที่มีต้นไม้มาก มีผลไม้ดก มีอาหารเครื่องกินมาก อื่น ๆ
พึงสำเร็จความอยู่ในไพรสณฑ์นั้น ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นกละป่า
เล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่ ฉันนั้น.
[๕๘๗] คำว่า เอว ในอุเทศว่า เอวมาห อปฺปหสฺเส ปหาย
มโหทธึ หงฺสริวชฺฌปตโต ดังนี้ เป็นเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ.
คำว่า ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มีปัญญาน้อย ความว่า พาวรี-
พราหมณ์ และพวกพราหมณ์อื่นซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรีพราหมณ์นั้น
เปรียบเทียบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เป็นผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญา
นิดหน่อย มีปัญญาเล็กน้อย มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาทราม
ข้าพระองค์ละทิ้งล่วงเลยแล้วซึ่งพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีปัญญาน้อย คือ
มีปัญญานิดหน่อย มีปัญญาเล็กน้อย มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มี
ปัญญาทราม ประสบพบแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีปัญญา
เลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาอุดม สูงสุด ไม่มีใคร
เสมอ ไม่มีใครเปรียบเทียบ เป็นบุคคลหาใครเปรียบมิได้ เป็นเทวดา
ล่วงเทวดา เป็นผู้องอาจกว่านรชน เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษนาค เป็น
บุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษแกล้วกล้า เป็นบุรุษผู้นำธุระไป มีพลธรรม ๑๐
เป็นผู้คงที่ หงส์พึงประสบ พบ ได้ซึ่งสระใหญ่ที่พวกมนุษย์ทำไว้ สระ
อโนดาต หรือมหาสมุทรที่ไม่กำเริบ มีน้ำนับไม่ถ้วน ฉันใด ข้าพระองค์
เป็นพราหมณ์ชื่อปิงคิยะ ประสบ พบ ได้แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ตรัสรู้แล้ว ผู้ไม่กำเริบ มีเดชนับไม่ถ้วน มีญาณแตกฉาน มีพระจักษุ
เปิดแล้ว ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีปฏิสัมภิทาทรงบรรลุแล้ว
ถึงเวสารัชชญาณ ๔ แล้ว น้อมพระทัยไปในผลสมาบัติอันบริสุทธิ์ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 457
พระองค์ขาวผ่อง มีพระวาจามิได้เป็นสอง เป็นผู้คงที่ มีปฏิญาณอย่างนั้น
เป็นผู้ไม่เล็กน้อย เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีธรรมลึก มีคุณอันใคร ๆ นับไม่ได้
มีคุณยากที่จะหยั่งถึง มีรัตนะมาก มีคุณเสมอด้วยสาคร ประกอบด้วย
อุเบกขามีองค์ ๖ ไม่มีใครเปรียบปาน มีธรรมไพบูลย์ ประมาณมิได้
มีพระคุณเช่นนั้น ตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่กล่าวกัน เช่นภูเขาสิเนรุ
เลิศกว่าภูเขาทั่วไป ครุฑเลิศกว่านกทั่วไป สีหมฤคเลิศกว่ามฤคทั่วไป
สมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำทั่วไป เป็นพระพุทธชินเจ้าผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือน
กัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์
ที่มีปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัยสระใหญ่ที่มี
น้ำมากฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระ จึงกล่าวว่า
นกละป่าเล็กแล้ว พึงอาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มากอยู่
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ละแล้วซึ่งพวกพราหมณ์ที่มี
ปัญญาน้อย อาศัยแล้วซึ่งพระองค์ เป็นดังว่าหงส์อาศัย
สระใหญ่ที่มีน้ำมากฉะนั้น.
[๕๘๘] ในกาลก่อน (อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์
เหล่าใดพยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำนั้นทั้งหมดเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำนั้นทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.
[๕๘๙] คำว่า เย ในอุเทศว่า เย เม ปุพฺเพ วิยากสุ ดังนี้
ความว่า พาวรีพราหมณ์และพวกพราหมณ์อื่นซึ่งเป็นอาจารย์ของพาวรี-
พราหมณ์ พยากรณ์แล้ว คือ บอก... ประกาศแล้วซึ่งทิฏฐิของตน ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 458
ควรของตน ความชอบใจของตน ลัทธิของตน ความประสงค์ของตน
อัธยาศัยของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า . . . ในกาลก่อน . . . อาจารย์
เหล่าใดพยากรณ์แล้ว.
[๕๙๐] คำว่า อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ความว่า ก่อน
แต่ศาสนาของพระโคดม คือ อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่า
ศาสนาของพระโคดม กว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า กว่าศาสนาของ
พระชินะ กว่าศาสนาของพระตถาคต กว่าศาสนาของพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม.
[๕๙๑] คำว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้ ความว่า
ได้ยินว่า เรื่องมีแล้วอย่างนี้ ได้ยินว่า เรื่องจักมีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้.
[๕๙๒] คำว่า คำทั้งหมดนั้น เป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา ความว่า
คำนั้นทั้งสิ้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คือ อาจารย์เหล่านั้น กล่าวธรรม
อันไม่ประจักษ์แก่ตน ที่ตนมิได้รู้มาเอง ตามที่ได้ยินกันมาตามลำดับสืบ ๆ
กันมา ตามความอ้างตำรา ตามเหตุที่นึกเดาเอาเอง ตามเหตุที่คาดคะเน
เอาเอง ด้วยความตรึกตามอาการด้วยความชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คำทั้งหมดนั้น เป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา.
[๕๙๓] คำว่า คำทั้งหมดนั้น เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ
ความว่า คำนั้นทั้งสิ้นเป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ คือ เป็นเครื่อง
ยังวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความดำริให้เจริญ เป็นเครื่องยังกามวิตก
พยาบาทวิตกวิหิงสาวิตกให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงญาติให้เจริญ
เป็นครื่องยังความตรึกถึงชนบทให้เจริญ เป็นเครื่องยังความตรึกถึงเทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 459
ให้เจริญ เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดูผู้อื่นให้เจริญ เป็น
เครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญให้เจริญ
เป็นเครื่องยังวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ปรารถนาให้ใครดูหมิ่นตนให้
เจริญ เพราะฉะนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ในกาลก่อน (อื่นแต่ศาสนาของพระโคดม) อาจารย์
เหล่าใดพยากรณ์ว่า เรื่องนี้มีแล้วดังนี้ เรื่องนี้จักมีดังนี้
คำทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวสืบ ๆ กันมา คำทั้งหมดนั้น
เป็นเครื่องยังความตรึกให้เจริญ.
[๕๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์เดียวทรงบรรเทาความ
มืดเสีย ประทับอยู่แล้ว มีพระปัญญาสว่างแผ่รัศมี
พระโคดมมีพระปัญญาปรากฏ พระโคดมมีพระปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน.
[๕๙๕] คำว่า เอโก ในอุเทศว่า เอโก ตมนุภาสีโน ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชา
ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง เพราะอรรถว่า ละ
ตัณหา เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะปราศจากโทสะโดยส่วน
เดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว
เพราะเสด็จไปตามเอกายนมรรค เพราะตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
พระองค์เดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชา
อย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 460
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกศาดำสนิท ประกอบ
ด้วยวัยอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาพระบิดาไม่พอพระทัย
มีพระพักตร์นองด้วยอัสสุชล ทรงพระกันแสงรำพันอยู่ ทรงละพระญาติ-
วงศ์ ทรงตัดกังวลในฆราวาสสมบัติทั้งหมด ทรงตัดกังวลในพระโอรส
และพระชายา ทรงตัดกังวลในพระประยูรญาติ ทรงตัดกังวลในมิตรและ
อำมาตย์ ปลงพระเกศาและมัสสุแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จ
ออกผนวช เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล พระองค์เดียวเสด็จเที่ยวไป
เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียวโดยส่วนแห่ง
บรรพชาอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มี
เพื่อนสองอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชแล้วอย่างนี้ ทรงเสพเสนาสนะ คือ
ป่าและราวป่าอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม
แห่งชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีก
เร้น ทรงดำเนินพระองค์เดียว หยุดอยู่พระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์
เดียว บรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงรับบิณฑบาตพระองค์
เดียว เสด็จกลับพระองค์เดียว ประทับนั่งอยู่ในที่ลับพระองค์เดียว ทรง
อธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว พระองค์เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัด
เปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง
อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 461
พระผู้มีพระนาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ทรงละ
ตัณหาอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นองค์เดียวมิได้มีเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่
ประมาท บำเพ็ญเพียร มีพระหฤทัยแน่วแน่ เริ่มตั้งพระมหาปธานที่
ควงไม้โพธิพฤกษ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารกับทั้งเสนาซึ่งเป็น
เผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งตัณหา อันมีข่ายแล่นไปเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว
นาน ย่อมไม่ล่วงสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมี
ความเป็นอย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติรู้โทษนี้ และตัณหาเป็น
แดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น
เว้นรอบ.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะ
อรรถว่า ทรงละตัณหาอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะ
โดยส่วนเดียวอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะโดย
ส่วนเดียว เพราะทรงละราคะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจาก
โทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว
เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่า
พระองค์เดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลส
ทั้งหลายเสียแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 462
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะเสด็จไปตาม
เอกายนมรรคอย่างไร.
สติปัฏฐาน ๔ ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวว่า เอกายน-
มรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความ
สิ้นชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรง
ทราบธรรมอันเป็นทางไปแห่งบุคคลผู้เดียว พุทธาทิ-
บัณฑิตข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะ ด้วย
ธรรมเป็นหนทางนั้น.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะ
เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะตรัสรู้ซิ่งอนุตร-
สัมมาสัมโพธิญาณเพระองค์เดียวอย่างไร.
ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯ ล ฯ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ปัญญาเป็นเครื่องเห็น
แจ้ง สัมมาทิฏฐิท่านกล่าวว่า โพธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรู้ว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ด้วยโพธิญาณนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ
ตรัสรู้ชอบ บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งธรรมทั้งปวงที่ควรตรัสรู้
ควรตรัสรู้ตาม ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้ชอบ ควรบรรลุ ควรถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 463
ควรทำให้แจ้งด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว
เพราะตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียวอย่างนี้ ๆ.
คำว่า ทรงบรรเทาความมืดเสีย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบรรเทา ละ สละ กำจัด ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความมืด
คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต อันทำให้บอด
ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นฝ่ายความลำบาก
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.
คำว่า ประทับนั่งอยู่แล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว
ที่ปาสาณกเจดีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับนั่งอยู่แล้ว.
เชิญดูพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่แล้วที่
ข้างภูเขา พระสาวกทั้งหลายผู้ได้ไตรวิชชา ละมัจจุเสีย
นั่งห้อมล้อมอยู่.
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว เพราะ
พระองค์ทรงระงับแล้วซึ่งความขวนขวายทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ
มิได้มีสงสารคือชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่าประทับนั่งอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
องค์เดียว ทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับนั่งอยู่แล้ว.
[๕๙๖] คำว่า มีความโพลง ในอุเทศว่า ชุติมา โส ปภงฺกโร
ดังนี้ ความว่า มีปัญญาสว่าง คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 464
คำว่า ทรงแผ่รัศมี ความว่า ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่รัศมี แผ่แสง-
สว่างดังประทีป แผ่แสงสว่างสูง แผ่แสงสว่างช่วงโชติ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระองค์มีพระปัญญาสว่าง แผ่รัศมี.
[๕๙๗] คำว่า พระโคดมมีปัญญาปรากฏ ความว่า พระโคดมมี
พระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระญาณเป็นเครื่องปรากฏ มีปัญญาดัง
ธงชัย มีปัญญาดังธงนำหน้า มีปัญญาเป็นอธิบดี มีความเลือกเฟ้น
ธรรมมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วไปมาก มากด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณาพร้อม มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง ทรง
ประพฤติในธรรมนั้น มีพระปัญญามาก หนักอยู่ด้วยปัญญา โน้มไปใน
ปัญญา โอนไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา มีปัญญา
เป็นใหญ่.
ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏ
แห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งแว่นแคว้น
ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่งภรรยา ฉันใด.
พระโคดม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน... มีปัญญา
ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน
ปรากฏ.
[๕๙๘] แผ่นดิน ท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตโม ภูริ
เมธโส ดังนี้ พระโคดมทรงประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
เสมอด้วยแผ่นดิน ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้า
ไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 465
ด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อ
ว่า มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดม
มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึง
กล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เดียวทรงบรรเทา
ความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว มีพระปัญญาสว่างแผ่รัศมี
พระโคดมมีพระปัญญาปรากฏ พระโคดมมีพระปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน.
[๕๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลอันเป็นที่สิ้นตัณหา
อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่
ไหน.
[๖๐๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ทรงสดับมาก่อน ทรงบรรลุแล้ว
ซึ่งความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมเหล่านั้น และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้
ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ธมฺม ในอุเทศว่า ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์อันงามในเบื้อง
ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง และสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพานและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 466
ปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม... แก่อาตมา.
[๖๐๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควร
เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ด้วย
เหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ
ด้วยกาล.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อม
บรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้นในกาลเป็นลำดับ มิได้มีกาลอื่นคั่น
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล.
มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร ยังไม่ได้อิฐผลในกาล
เป็นลำดับ ยังต้องรอเวลา ฉันใดธรรมนี้ย่อมไม่เป็น ฉันนั้น ผู้ใดเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้ผลแห่งมรรค
นั้นในกาลเป็นลำดับ มิได้มีกาลอื่นคั่น ย่อมไม่ได้ในภพหน้า ย่อมไม่ได้
ในปรโลก ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.
[๖๐๒] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกฺขยมนีติก
ดังนี้.
คำว่า ตณฺหกฺขย ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นราคะ เป็น
ที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ เป็นที่สิ้นคติ เป็นที่สิ้นอุปบัติ เป็นที่สิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 467
ปฏิสนธิ เป็นที่สิ้นภพ เป็นที่สิ้นสงสาร เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และ
อภิสังขาร. ท่านกล่าวว่า อันตราย ในคำว่า อนีติก ดังนี้ เป็นที่ละ สงบ
สละคืน ระงับอันตราย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.
[๖๐๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้
ได้แก่นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา ไม่มีข้อเปรียบ
เทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ คำว่า
ในที่ไหน ๆ ความว่า ในที่ไหน ๆ ในที่ไร ๆ ในที่บางแห่ง ในภายใน
ภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพาน
ไม่มีอุปมาในที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมอันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่
ไหน ๆ.
[๖๐๔] ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคดม
พระองค์นั้น ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่งหรือหนอ.
[๖๐๕] คำว่า... อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น... หรือ
หนอ ความว่า ย่อมอยู่ปราศ คือ หลีกไป ไปปราศ เว้นจากพระพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น หรือหนอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอยู่ปราศจาก
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น หรือหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 468
[๖๐๖] คำว่า ดูก่อนปิงคิยะ... แม้ครู่หนึ่ง ความว่า แม้ครู่
หนึ่ง ขณะหนึ่ง พักหนึ่ง ส่วนหนึ่ง วันหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
แม้ครู่หนึ่ง พาวรีพราหมณ์เรียกพระเถระผู้เป็นหลานนั้นโดยชื่อว่า
ปิงคิยะ.
[๖๐๗] คำว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ ความว่า
ผู้โคดมซึ่งมีปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีญาณเป็นเครื่องปรากฏ มีปัญญา
เป็นดังธงชัย มีปัญญาดังธงนำหน้า มีปัญญาเป็นอธิบดี มีความเลือกเฟ้น
มาก มีความเลือกเฟ้นทั่วไปมาก มากด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา มีธรรม
เป็นเครื่องพิจารณาพร้อม มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง ทรงประพฤติ
ในธรรมนั้น มีปัญญามาก หนักอยู่ด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา โอน
ไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ.
[๖๐๘] แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตมา ภูริเมธสา
ดังนี้ พระโคดมประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์ กว้างขวางเสมอด้วย
แผ่นดิน ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้า
ไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
จึงชื่อว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้โคดม
ซึ่งมีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้น
จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 469
ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคตม
พระองค์นั้น ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่งหรือหนอ.
[๖๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตรัสหา
อันไม่มีอันตรายแก่ท่าน นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหน ๆ.
[๖๑๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เต ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระ-
สัพพัญญูในธรรมนั้น และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญ ในพลธรรม
ทั้งหลาย.
คำว่า ธมฺม ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์อันงาม
ในเบื้องต้น ฯ ล ฯ และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม... แก่ท่าน.
[๖๑๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ... อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้
เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ... มิได้มีกาล
อื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 470
มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร... ย่อมไม่ได้ในปรโลก
ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.
[๖๑๒] รูปตัณหา... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า
ตณฺหกขยมนีติก ดังนี้. คำว่า ตณฺหกฺขย ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา...
เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่าอันตราย ในบทว่า
อนีติก ดังนี้ เป็นที่ละ ... เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็น
ที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.
[๖๑๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้
ได้แก่ นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา... ไม่ประจักษ์.
คำว่า ในที่ไหน ๆ ความว่า ในที่ไหน ๆ ... หรือทั้งภายในและภายนอก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหน เพราะเหตุนั้น
พาวรีพราหมณ์จึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
อันไม่มีอันตรายแก่ท่าน นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหน ๆ.
[๖๑๔] ท่านพราหมณ์ อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ผู้โคดม ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ
มีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่ง.
[๖๑๕] คำว่า อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 471
ความว่า อาตมามิได้อยู่ปราศ คือ มิได้หลีกไป มิได้ไปปราศ มิได้เว้น
จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมามิได้อยู่
ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
[๖๑๖] คำว่า ท่านพราหมณ์... แม้ครู่หนึ่ง ความว่า แม้ครู่หนึ่ง
ขณะหนึ่ง พักหนึ่ง ส่วนหนึ่ง วันหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ครู่
หนึ่ง พระปิงคิยเถระเรียกพาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงด้วยความเคารพว่า ท่าน
พราหมณ์.
[๖๑๗] คำว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ ความว่า
ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ... มีปัญญาเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ.
[๖๑๘] แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ ในอุเทศว่า โคตมา ภูริเมธสา
ดังนี้ พระโคดมประกอบด้วยปัญญาอันไพบูลย์กว้างขวางเสมอด้วยแผ่นดิน
ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป... ทรง
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเมธานี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้
แล้ว จึงชื่อว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้โคดมซึ่งมีพระปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระปิงคิย-
เถระจึงกล่าวว่า
ท่านพราหมณ์ อาตมามิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า
ผู้โคดม ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 472
[๖๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่
ไหน ๆ
[๖๒๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ... และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้
ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.
คำว่า ธมฺม ในอุเทศว่า ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก ... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์ อันงามใน
เบื้องต้น ... และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม แก่อาตมา.
[๖๒๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ... อันวิญญูชนทั้งหลาย
พึงรู้เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ... มิได้มีกาล
อื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล.
มนุษย์ทั้งหลายลงทุนทรัพย์ตามกาลอันควร ... ย่อมไม่ได้ในปรโลก
ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 473
[๖๒๒] รูปตัณหา... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า
ตณฺหกฺขยมนีติก ดังนี้. คำว่า ตณฺหกฺขย ความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา...
เป็นที่สิ้นวัฏฏะ กิเลส ขันธ์และอภิสังขาร ท่านกล่าวว่าอันตราย ในบทว่า
อนีติก ดังนี้ เป็นที่ละ ... เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย.
[๖๒๓] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้ ได้แก่
นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา... ไม่ประจัก ษ์. คำว่า
ในที่ไหน ๆ ความว่า ในที่ไหน ๆ... หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพาน ไม่มีอุปมาในที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น พระ-
ปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหา
อันไม่มีอันตรายแก่อาตมา นิพพานมิได้มีอุปมาในที่
ไหน ๆ.
[๖๒๔] ท่านพราหมณ์ อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ อาตมาเป็นผู้ไม่ประมาท
ตลอดคืนและวัน นมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน อาตมา
ย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล.
[๖๒๕] คำว่า อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ
เหมือนเห็นด้ายจักษุ ความว่า บุรุษผู้มีนัยน์ตาพึงแลเห็น มองเห็น แลดู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 474
ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งรูปทั้งหลาย ฉันใด อาตมาแลเห็น มองเห็น
แลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ.
[๖๒๖] คำว่า ท่านพราหมณ์... เป็นผู้ไม่ประมาท ตลอดคืน
และวัน ความว่า เมื่ออาตมาอบรมด้วยใจ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทตลอด
คืนและวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพราหมณ์... เป็นผู้ไม่ประมาท
ตลอดคืนและวัน.
[๖๒๗] คำว่า นมัสการอยู่ ในอุเทศว่า นมสฺสมาโน วิสสามิ
รตฺตึ ดังนี้ ความว่า นมัสการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วย
กายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยจิตบ้าง ด้วยการปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์
บ้าง ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ คือ ยับยั้งอยู่
ตลอดคืนและวัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นมัสการอยู่ตลอดคืนและ
วัน.
[๖๒๘] คำว่า ย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั่น-
แหละ ความว่า เมื่ออาตมาเจริญด้วยพุทธานุสสตินั้น จึงสำคัญพระพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ไม่อยู่ปราศ คือ เป็นผู้ไม่อยู่ปราศแล้ว คือ
อาตมารู้ ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ชัด อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อาตมาย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ท่านพราหมณ์ อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยจักษุ อาตมาเป็นผู้ไม่ประมาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 475
แล้วตลอดคืนและวัน นมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน อาตมา
ย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั้นนั่นแหละ.
[๖๒๙] ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา ปีติ มนะและสติ ย่อม
ไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม พระโคดมผู้มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมเสด็จไปสู่ทิศใด ๆ
อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ นั่นแหละ.
[๖๓๐] ความเชื่อ ความเชื่อถือ ความกำหนด ความเลื่อมใสยิ่ง
ศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า
ศรัทธา ในอุเทศว่า สทฺธา จ ปีติ จ มโน สติ จ ดังนี้ ความอิ่มใจ
ความปราโมทย์ ความเบิกบานใจ ความยินดี ความปลื้มใจ ความเป็น
ผู้มีอารมณ์สูง ความเป็นผู้มีใจสูง ความที่จิตผ่องใสยิ่ง ปรารภถึง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ปีติ. จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน
ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ามโน. ความระลึกถึง ฯ ล ฯ ความ
ระลึกชอบ ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สติ. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ศรัทธา ปีติ มนะและสติ.
[๖๓๑] คำว่า ธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระ-
โคดม ความว่า ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่หายไป ไม่ปราศไป ไม่ละ
ไป ไม่พินาศไป จากศาสนาของพระโคดม คือจากศาสนาของพระพุทธ-
เจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของพระตถาคต ศาสนาของพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 476
อรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่หายไปจากศาสนา
ของพระโคดม.
[๖๓๒] คำว่า สู่ทิศใด ๆ ในอุเทศว่า ย ย ทิส วิชฺวติ ภูริ-
ปญฺโ ดังนี้ ความว่า พระโคดมเสด็จอยู่ คือ เสด็จไป ทรงก้าวไป
เสด็จดำเนินไป สู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือทิศเหนือ.
คำว่า ภูริปญฺโ ความว่า มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน มีปัญญา
ใหญ่ มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาหนา มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาเร็ว
มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโคดมมีพระปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน เสด็จไปสู่ทิศใด ๆ.
[๖๓๓] คำว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ นั่น-
แหละ ความว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศาภาคที่พระพุทธเจ้า
ประทับอยู่นั้นๆ คือ เป็นผู้มีใจเอนไปในทิศนั้น มีใจโอนไปในทิศนั้น
มีใจเงื้อมไปในทิศนั้น น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาตมานั้นเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ นั่นแหละ
เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
ธรรมเหล่านั้น คือ ศรัทธา ปีติ มนะและสติ ย่อม
ไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม พระโคดมผู้มีปัญญา
กว้างขวางดังแผ่นดิน ย่อมเสด็จไปสู่ทิศใด ๆ อาตมา
นั้นย่อมเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ นั่นแหละ.
[๖๓๔] กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพล ไม่ได้ไป
ในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล แต่อาตมาย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 477
ถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริถึง ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมา
นี่แหละ ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับอยู่นั้น.
[๖๓๕] คำว่า ผู้แก่แล้ว ในอุเทศว่า ชิณฺณสฺส เม ทุพฺพล-
ถามกสฺส ดังนี้ ความว่า ผู้แก่ ผู้เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยไป
โดยลำดับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แก่แล้ว.
คำว่า มีเรี่ยวแรงทุรพล ความว่า มีเรี่ยวแรงถอยกำลัง มีเรี่ยวแรง
น้อย มีเรี่ยวแรงนิดหน่อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของอาตมาผู้แก่แล้ว
มีเรี่ยวแรงทุรพล.
[๖๓๖] คำว่า กาย. . . ไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับ
นั้นนั่นแล ความว่า กายไม่ได้ไป คือไม่ไปข้างหน้า ไม่ไปถึง ไม่ได้เข้า
ไปใกล้ยังสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กาย . . .
ไม่ได้ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล.
[๖๓๗] คำว่า ย่อมไปถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริ ความว่า ย่อม
ไป ย่อมถึง ย่อมเข้าไปใกล้ ด้วยการไปด้วยความดำริถึง ด้วยการไป
ด้วยความตรึกถึง ด้วยการไปด้วยญาณ ด้วยการไปด้วยปัญญา ด้วยการ
ไปด้วยความรู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไปถึงเป็นนิตย์ด้วยความ
ดำริ.
[๖๓๘] จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศ
ว่า มโน หิ เม พฺราหฺมณ เตน ยุตฺโต ดังนี้.
คำว่า ท่านพราหมณ์. . .ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น
ความว่า ใจของอาตมาประกอบ ประกอบดีแล้วด้วยทิศที่พระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 478
ประทับอยู่นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพราหมณ์ ใจของอาตมา
นี่แหละประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับนั้น เพราะเหตุนั้น พระปิงคิย-
เถระจึงกล่าวว่า
กายของอาตมาผู้แก่แล้ว มีเรี่ยวแรงทุรพลย่อมไม่ได้
ไปในสำนักที่พระพุทธเจ้าประทับนั้นนั่นแล แต่อาตมา
ย่อมถึงเป็นนิตย์ด้วยความดำริถึง ท่านพราหมณ์ ใจของ
อาตมานี่แหละ ประกอบแล้วด้วยทิศาภาคที่ประทับอยู่นั้น.
[๖๓๙ ] อาตมานอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่ง
แต่ที่พึ่ง ภายหลังได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว
มิได้มีอาสวะ.
[๖๔๐] คำว่า นอนในเปือกตม ในอุเทศว่า ปงฺเก สยาโน
ปริผนฺทมาโน ดังนี้ ความว่า นอนอาศัยพลิกไปมาในเปือกตมคือกาม
ในหล่มคือกาม ในกิเลสคือกาม ในเบ็ดคือกาม ในความเร่าร้อนเพราะ
กาม ในความกังวลเพราะกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นอนในเปือกตม.
คำว่า ดิ้นรนอยู่ ความว่า ดิ้นรนอยู่ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา
ด้วยความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรน
เพราะประโยค ด้วยความดิ้นรนเพราะวิบาก ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต
กำหนัดแล้วดิ้นรนเพราะราคะ ขัดเคืองแล้วดิ้นรนเพราะโทสะ หลงแล้ว
ดิ้นรนเพราะโมหะ มานะผูกพันแล้วดิ้นรนอยู่เพราะมานะ ถือมั่นแล้ว
ดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ถึงความฟุ้งซ่านแล้วดิ้นรนเพราะอุทธัจจะ ถึงความ
ไม่ตกลงแล้วดิ้นรนเพราะวิจิกิจฉา ไปโดยเรี่ยวแรงแล้วดิ้นรนเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 479
อนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะความเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะความ
เสื่อมยศ เพราะนินทา เพราะสรรเสริญ เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรน
อยู่เพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส ดิ้นรนเพราะทุกข์ในนรก ทุกข์ในกำเนิดเดียรัจฉาน ทุกข์ใน
เปรตวิสัย ดิ้นรน กระเสือกกระสน หวั่นไหว สะทกสะท้านเพราะทุกข์
ในมนุษย์ ทุกข์มีความก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์มีความตั้งอยู่ใน
ครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูลเหตุ ทุกข์อันเนื่องด้วย
สัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เพราะความพยายาม
ของตน ทุกข์เพราะความพยายามของผู้อื่น ทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์ในสงสาร
ทุกข์เพราะความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคในนัยน์ตา ทุกข์เพราะโรคในหู
ทุกข์เพราะโรคในจมูก ทุกข์เพราะโรคในลิ้น ทุกข์เพราะโรคในกาย ทุกข์
เพราะโรคในศีรษะ ทุกข์เพราะโรคที่หู ทุกข์เพราะโรคในปาก ทุกข์เพราะ
โรคที่ฟัน เพราะโรคไอ เพราะโรคหืด เพราะโรคหวัด เพราะโรค
ร้อนใน เพราะโรคผอม เพราะโรคในท้อง เพราะโรคสลบ เพราะโรค
ลงแดง เพราะโรคจุกเสียด เพราะโรคลงท้อง เพราะโรคเรื้อน เพราะโรคฝี
เพราะโรคกลาก เพราะโรคมองคร่อ เพราะโรคลมบ้าหมู เพราะโรคหิด
ด้าน เพราะโรคหิดเปื่อย เพราะโรคคัน เพราะโรคลำบาก เพราะโรค
คุดทะราด เพราะโรคลักปิด เพราะโรคดี เพราะโรคเบาหวาน เพราะ
โรคริดสีดวง เพราะโรคย่อม เพราะโรคบานทะโรค เพราะอาพาธมีดีเป็น
สมุฏฐาน เพราะอาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน เพราะอาพาธมีลมเป็นสมุฏ-
ฐาน เพราะอาพาธเกิดแต่ดีเป็นต้นประชุมกัน เพราะอาพาธเกิดแต่ฤดู
แปรไป เพราะอาพาธเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 480
อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินไป เพราะอาพาธเกิดแก่ผลกรรม เพราะร้อน
เพราะหนาว เพราะหิว เพราะระหาย เพราะอุจจาระ เพราะปัสสาวะ
เพราะเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะ
มารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่น้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่
น้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะ
ญาติฉิบหาย ทุกข์เพราะโภคทรัพย์ฉิบหาย ทุกข์เพราะความฉิบหายเพราะ
โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่.
[๖๔๑] คำว่า แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง ความว่า แล่นไปแล้ว
คือเลื่อนไปแล้ว สู่ศาสดาแต่ศาสดา สู่บุคคลผู้บอกธรรมแต่บุคคลผู้บอก
ธรรม สู่หมู่แต่หมู่ สู่ทิฏฐิแต่ทิฏฐิ สู่ปฏิปทาแต่ปฏิปทา สู่มรรคแต่มรรค
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง.
[๖๔๒] คำว่า อถ ในอุเทศว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธ ดังนี้
เป็นบทสนธิ. คำว่า อถ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อทฺทสาสึ
ความว่า ได้ประสบ พบ เห็น แทงตลอดแล้ว. คำว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้า
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นใด ฯ ล ฯ คำว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในภายหลัง ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า.
[๖๔๓] คำว่า ผู้ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วง ซึ่งกามโอฆะ
ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็น
เครื่องอยู่ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มีสงสาร คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 481
ชาติ ชราและมรณะหามิได้ มิได้มีภพต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ข้ามโอฆะแล้ว.
คำว่า ไม่มีอาสวะ ความว่า อาสวะ ๔ คือกามาสวะ ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงละได้เเล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มีในภายหลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุ
นั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้ามโอฆะ
แล้วไม่มีอาสวะ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
อาตมานอนในเปือกตมดิ้นรนอยู่ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่ง
แต่ที่พึ่ง ภายหลังได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้ว
ไม่มีอาสวะ.
[๖๔๔] พระวักกลิก็ดี พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี
เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อย
ศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่ง
แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.
[๖๔๕ ] คำว่า พระวักกลิก็ดี พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิ-
โคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้ว ฉันใด ความว่า พระวักกลิ
มีศรัทธาอันปล่อยไปแล้ว เป็นผู้หนักในศรัทธา มีศรัทธาเป็นหัวหน้า
น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาเป็นใหญ่ ได้บรรลุอรหัตแล้วฉันใด
พระภัทราวุธะ . . . พระอาฬวิโคตมะมีศรัทธาอันปล่อยไปแล้ว เป็นผู้หนัก
ในศรัทธา มีศรัทธาเป็นหัวหน้า น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 482
ใหญ่ ได้บรรลุอรหัตแล้วฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระวักกลิก็ดี
พระภัทราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้ว
ฉันใด.
[๖๔๖] คำว่า แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ความว่า
ท่านจงปล่อยคือจงปล่อยไปทั่ว จงปล่อยไปพร้อม จงน้อมลง จงกำหนด
ซึ่งศรัทธาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือน
กัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน.
[๖๔๗] กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสว่า ธรรมเป็นที่
ตั้งแห่งมัจจุ ในอุเทศว่า คมิสฺสสิ (ตฺว) ปิงฺคิย มจฺจุเธยฺยสฺส ปาร
ดังนี้ อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด ตรัสว่า ฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ. คำว่า ดูก่อน
ปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ ความว่า ท่านจักถึง
คือ จักลุถึง ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อน
ปิงคิยะ ท่านจักถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พระวักกลิก็ดี พระภัทธราวุธะก็ดี พระอาฬวิโคตมะ
ก็ดี เป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อยแล้วฉันใด แม้ท่านก็จง
ปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนปิงคิยะ ท่านจักถึง
ฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 483
[๖๔๘] ข้าพระองค์นี้ ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว ย่อม
เสื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว
ไม่มีหลักตอ เป็นผู้มีปฏิภาณ.
[๖๔๙] คำว่า ข้าพระองค์นี้. . . ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง ความว่า
ข้าพระองค์นี้ย่อมเลื่อมใส ย่อมเชื่อ น้อมใจเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
นี้. . . ย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
[๖๕๐] ญาณ ปัญญา ความรู้ทั่ว ท่านกล่าวว่า โมนะ ในคำว่า
มุนี ในอุเทศว่า สุตฺวาน มุนิโน วโจ ดังนี้ ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นทรงล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเป็นดังข่าย จึงชื่อว่า
เป็นมุนี.
คำว่า ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี ความว่า ฟัง สดับ ศึกษา
ทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ
ของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี.
[๖๕๑] เครื่องมุง ๕ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
อวิชชา ชื่อว่า เครื่องมุง ในอุเทศว่า วิวฏจฺฉโท สนฺพุทฺโธ ดังนี้
เครื่องมุงเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเปิดแล้ว คือ
ทรงรื้อแล้ว ทรงถอนแล้ว ทรงละแล้ว ทรงตัดขาดแล้ว สงบแล้ว
ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า มีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว.
คำว่า พระพุทธเจ้า ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ฯ ล ฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 484
พระนามว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระ-
สัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว.
[๖๕๒] ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นหลักตอ ในคำว่า ไม่มีหลักตอ ในอุเทศว่า
อขิโล ปฏิภาณวา ดังนี้ หลักตอเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน
ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ให้มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ
เหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีหลักตอ.
บุคคลผู้มีปฏิภาณในคำว่า ปฏิภาณวา ดังนี้ มี ๓ จำพวก คือ
ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ ๑ ผู้มีปฏิภายในปริปุจฉา ๑ ผู้มีปฏิภาณในอธิคม ๑.
ผู้มีปฏิภาณในปริยัติเป็นไฉน พุทธวจนะ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ.
อันบุคคลบางคนในศาสนานี้เล่าเรียนแล้ว ปฏิภาณของบุคคลนั้น ย่อม
แจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ บุคคลนี้ชื่อว่า มีปฏิภาณในประยัติ.
ผู้มีปฏิภาณในปริปุจฉาเป็นไฉน บุคคลบางคนในศาสนานี้เป็นผู้
สอบถาม ในอรรถ ในมรรค ในลักขณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ
ปฏิภาณของบุคคลนั้น ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริปุจฉา บุคคลนี้ชื่อว่า
มีปฏิภาณในปริปุจฉา.
ผู้มีปฏิภาณในอธิคมเป็นไฉน บุคคลบางคนไม่ศาสนานี้เป็นผู้
บรรลุซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิ-
สัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถแล้ว ธรรมก็รู้แล้ว นิรุตติก็รู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 485
แล้ว เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อ
รู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในฐานะ ๓ นี้เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไปถึง ไปถึงพร้อม มาถึง มาถึงพร้อม เข้าถึง
เข้าถึงพร้อม ทรงประกอบด้วยปฏิสัมภิทานี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า
จึงชื่อว่า มีปฏิภาณ บุคคลใดไม่มีปริยัติ ปริปุจฉาก็ไม่มี อธิคมก็ไม่มี
ปฏิภาณของบุคคลนั้นจักแจ่มแจ้งได้อย่างไร เพราะฉะนั้น พระสัมพุทธ-
เจ้าจึงชื่อว่า ไม่มีหลักตอ มีปฏิภาณ เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึง
กล่าวว่า
ข้าพระองค์นี้ ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว ย่อม
เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมพุทธเจ้ามีเครื่องมุงอันเปิดแล้ว
ไม่มีหลักตอ เป็นผู้มีปฏิภาณ.
[๖๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักแล้วซึ่งธรรมอันทำให้
เป็นอธิเทพ ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์
และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ พระศาสดาทรงทำซึ่งส่วนสุด
แห่งปัญหาทั้งหลาย แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้.
[๖๕๔] คำว่า เทพ ในอุเทศว่า อธิเทเว อภิญฺาย ดังนี้
ได้แก่เทพ ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ ๑ อุปปัตติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑.
สมมติเทพเป็นไฉน พระราชาก็ดี พระราชกุมารก็ดี พระเทวีก็ดี
เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า สมมติเทพ.
อุปปัตติเทพเป็นไฉน เทวดาชาวจาตุมหาราชิกาก็ดี พวกเทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 486
ชาวดาวดึงส์ก็ดี ฯ ล ฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมก็ดี เทวดาสูงขึ้นไป
กว่านั้นก็ดี เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า อุปปัตติเทพ.
วิสุทธิเทพเป็นไฉน พระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และ
พระปัจเจกพุทธเจ้า เทพจำพวกนี้ท่านกล่าวว่า วิสุทธิเทพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักแล้ว คือ ทรงทราบแล้ว ทรงเทียบ-
เคียงแล้ว ทรงพิจารณาแล้ว ทรงให้เเจ่มแจ้งแล้ว ทรงทำให้ปรากฏแล้ว
ซึ่งสมมติเทพว่าอธิเทพ ซึ่งอุปปัตติเทพว่าอธิเทพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทรงรู้จักแล้วซึ่งอธิเทพทั้งหลาย.
[๖๕๕] คำว่า ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่น
ให้เป็นผู้ประเสริฐ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้ว คือ ทรง
รู้ทั่วถึงแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ.
ธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน ความปฏิบัติ
ชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ
ความเพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ ฯ ล ฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์ให้
เป็นอธิเทพ.
ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพเป็นไฉน ความปฏิบัติชอบ ฯ ล ฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ธรรมอันทำผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้ว คือทรงรู้ทั่วแล้ว ได้ทรงถูกต้องแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 487
ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งธรรมทั้งปวงอันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นอธิเทพ
ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทรามซึ่งธรรมทั้งปวง
อันทำพระองค์และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ.
[๖๕๖] คำว่า พระศาสดาทรงทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำส่วนสุด ทรงทำส่วนสุดรอบ ทรง
ทำความกำหนด ทรงทำความจบ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้แสวงหา
ธรรมเครื่องถึงฝั่ง ปัญหาของพวกพราหมณ์บริษัท ปัญหาของปิงคิย-
พราหมณ์ ปัญหาของท้าวสักกะ ปัญหาของอมนุษย์ ปัญหาของภิกษุ
ปัญหาของภิกษุณี ปัญหาของอุบาสก ปัญหาของอุบาสิกา ปัญหาของ
พระราชา ปัญหาของกษัตริย์ ปัญหาของพราหมณ์ ปัญหาของแพศย์
ปัญหาของศูทร ปัญหาของพรหม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำส่วนสุด
แห่งปัญหาทั้งหลาย.
คำว่า พระศาสดา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก นายหมู่ย่อม
พาพวกให้ข้ามกันดารคือ ให้ข้ามผ่านพ้นกันดารคือโจร กันดารคือสัตว์ร้าย
กันดารคือทุพภิกขภัย กันดารคือที่ไม่มีน้ำ ให้ถึงภูมิสถานปลอดภัยฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก ย่อมนำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามกันดารคือ ให้
ข้ามผ่านพ้นกันดารคือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส และกันดารคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส
และทุจริต และที่รกชัฏคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นภูมิสถานปลอดภัย ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 488
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ แนะนำ นำเนือง ๆ
ให้รู้ชอบ คอยสอดส่อง เพ่งดู ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ยังมรรคที่ยังไม่เกิดดีให้เกิดดี ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จัก
มรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้ พระสาวก
ทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบในภายหลัง แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า เป็นผู้นำพวก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระศาสดาผู้ทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย.
[๖๕๗] คำว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้ ความว่า
บุคคลทั้งหลายมีความสงสัยมาแล้ว เป็นผู้หายความสงสัยไป มีความยุ่งใจ
มาแล้ว เป็นผู้หายความยุ่งใจไป มีใจสองมาแล้ว เป็นผู้หายความใจสอง
ไป มีความเคลือบแคลงมาแล้ว เป็นผู้หายความเคลือบแคลงไป มีราคะ
มาแล้ว เป็นผู้ปราศจากราคะไป มีโทสะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโทสะไป
มีโมหะมาแล้ว เป็นผู้ปราศจากโมหะไป มีกิเลสมาแล้ว เป็นผู้ปราศจาก
กิเลสไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้
เพราะเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้จักแล้วซึ่งธรรมอันทำให้
เป็นอธิเทพ ทรงทราบซึ่งธรรมทั้งปวง อันทำพระองค์
และผู้อื่นให้เป็นผู้ประเสริฐ พระศาสดาทรงทำซึ่งสิ้นสุด
แห่งปัญหาทั้งหลาย แก่พวกที่มีความสงสัยให้กลับรู้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 489
[๖๕๘] นิพพานอันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มี
อุปมาในที่ไหน ๆ ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ) โดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่
ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็น
ผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้.
[๖๕๙] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิ
ทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจาก
ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า นิพพานอันอะไร ๆ นำไปไม่ได้
ในอุเทศว่า อสหิร อสงฺกุปฺป ดังนี้.
คำว่า อันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ ความว่า อันราคะ โทสะ โมหะ
ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความ
ตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือด้วย
ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
นำไปไม่ได้ เป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรปรวนเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไร ๆ นำไปไม่ได้.
อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็น
เครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า นิพพาน อันไม่กำเริบ ในคำว่า อสงฺกุปฺป
ดังนี้.
ความเกิดขึ้นแห่งนิพพานใด ย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพาน
นั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 490
มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ไม่กำเริบ.
[๖๖๐] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺส นตฺถิ อุปมา กฺวจิ ดังนี้
ได้แก่ นิพพาน. คำว่า ไม่มีอุปมา ความว่า ไม่มีอุปมา ไม่มีข้อ
เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอ ไม่มีอะไรเปรียบ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีอุปมา.
คำว่า ในที่ไหน ๆ ความว่า ในที่ไหน ๆ ในที่ไร ๆ ในที่
บางแห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพานไม่มีอุปมาในที่ไหน ๆ.
[๖๖๑] คำว่า จักถึงโดยแท้ ในอุเทศว่า อทฺธา คมิสฺสามิ น
เมตฺถ กงฺขา ดังนี้ ความว่า จักถึง คือ จักบรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง
โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จักถึงโดยแท้.
คำว่า ความสงสัยในนิพพานนั้นมิได้มีแก่ข้าพระองค์ ความว่า
ความสงสัย ความลังเลใจ ความไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง ในนิพพาน
นั้น มิได้มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ ความสงสัยนั้นอันข้าพระองค์
ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย
ไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์จักถึงโดยแท้ ความสงสัย
ในนิพพานนั้น มิได้มีแก่ข้าพระองค์.
[๖๖๒] คำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้มี
จิตน้อมไปอย่างนี้ ในอุเทศว่า เอว ม ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺต ดังนี้
ความว่า ขอพระองค์โปรดทรงกำหนดข้าพระองค์อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 491
คำว่า มีจิตน้อมไป ความว่า เป็นผู้เอนไปในนิพพาน โอนไป
ในนิพพาน เงื้อมไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่ามีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
นิพพานอันอะไร ๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ไม่มี
อุปมาในที่ไหน ๆ ข้าพระองค์จักถึง (อนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ) โดยแท้ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้มีแก่
ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นผู้
มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้.
จบปารายนวรรค
อรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส
ต่อแต่นี้ไป พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญเทศนา จึงได้กล่าว
คำมีอาทิว่า อิทมโวจ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้แล้ว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทมโวจ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ปารายนสูตรนี้แล้ว. บทว่า ปริจาริกโสฬสนฺน คือ พราหมณ์ ๑๖ คน
พร้อมกับท่านปิงคิยะผู้เป็นบริวารของพาวรีพราหมณ์. หรือพราหมณ์
๑๖ คนผู้เป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ. คือพราหมณ์นั้น
นั่นเอง. ณ ที่นั้นบริษัท ๑๖ นั่งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และ
ข้างขวา ๖ โยชน์ นั่งตรงไป ๑๒ โยชน์. บทว่า อชฺฌิฏฺโ ทูลเชื้อเชิญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 492
คือทูลวิงวอน. บทว่า อตฺถมญฺาย รู้ทั่วถึงอรรถ คือรู้ทั่วถึงอรรถ
แห่งบาลี. บทว่า ธมฺมมญฺาย รู้ทั่วถึงธรรม คือรู้ทั่วถึงธรรมแห่งบาลี.
บทว่า ปารายน เป็นชื่อของธรรมปริยายนี้. มาณพทั้งหลาย เมื่อจะ
ประกาศชื่อของพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวว่า อชิโต ฯ ล ฯ พุทฺธเสฏฺ-
มุปาคมุ มาณพทั้งหลาย คือ อชิตะ ฯ ล ฯ ได้พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนจรณ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจรณะ
ถึงพร้อมแล้ว คือผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปาติโมกข์ศีลเป็นต้น อันเป็น
ปทัฏฐานแห่งนิพพาน. บทว่า อิสึ คือ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปาคมึสุ มาเฝ้า คือเข้าไปใกล้. บทว่า อุปสงฺกมึสุ
เข้ามาเฝ้า คือเข้าไปไม่ไกล. บทว่า ปยิรุปาสึสุ เข้ามานั่งใกล้ คือนั่ง
ในที่ใกล้. บทว่า ปริปุจฺฉึสุ คือ ทูลถามแล้ว. บทว่า ปริปญฺหึสุ คือ
สอบถามแล้ว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โจทยึสุ คือ สอบถาม. บทว่า
สีลาจารนิปฺผตฺติ คือ ความสำเร็จแห่งศีลและอาจาระอันสูงสุด. อธิบายว่า
ศีลสำเร็จด้วยมรรค. บทว่า คมฺภีเร ที่ลึก เป็นคำตรงกันข้ามกับความ
เป็นธรรมง่าย. บทว่า ทุทฺทเส เห็นได้ยาก คือชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึก
ไม่สามารถจะเห็นได้ง่าย. บทว่า ทุรนุโพเธ รู้ได้ยาก คือชื่อว่ารู้ได้ยาก
เพราะเห็นได้ยาก คือตรัสรู้ได้ยาก ไม่สามารถจะตรัสรู้ได้ง่าย. บทว่า
สนฺเต สงบ คือดับ. บทว่า ปณีเต ประณีต คือถึงความเป็นเลิศ
ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึงโลกุตรธรรมอย่างเดียว. บทว่า อตกฺกา-
วจเร ไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยความตรึก คือไม่พึงหยั่งลงได้ด้วยญาณเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 493
บทว่า นิปุเณ คือ ละเอียดอ่อน. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีเย คือ อัน
บัณฑิตผู้ปฏิบัติชอบพึงรู้ได้.
บทว่า โตเสสิ ทรงให้ยินดี คือให้ถึงความยินดี. บทว่า วิโตเสสิ
ให้ยินดียิ่ง คือให้เกิดโสมนัสหลาย ๆ อย่าง. บทว่า ปสาเทสิ ให้
เลื่อมใส คือได้ทำให้พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส. บทว่า อาราเธสิ
ให้พอใจ คือให้ยินดี ให้ถึงความสำเร็จ. บทว่า อตฺตมเน อกาสิ ทำให้
พอใจ คือทำให้เบิกบานด้วยโสมนัส.
ต่อไป บทว่า พฺรหฺมจริยมจรึสุ คือ ได้ประพฤติมรรคพรหมจรรย์.
เพราะฉะนั้น บทว่า ปารายน เป็นอันท่านกล่าวถึงทางแห่งนิพพาน
อันเป็นฝั่งแห่งมรรคพรหมจรรย์นั้น. พึงเชื่อมว่า ปารายนมนุภาสิสฺส
เราจักกล่าวปารายนสูตร. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปารายนสูตร
แล้ว ชฎิล ๑๖,๐๐๐ คนได้บรรลุพระอรหัต. เทวดาและมนุษย์นับได้
๑๔ โกฏิ ที่เหลือได้ตรัสรู้ธรรม. สมดังที่โบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้ายังเทวดาและมนุษย์ ๑๔ โกฏิ ให้บรรลุ
อมตธรรม ณ ปารายนสมาคม อันรื่นรมย์ที่ปาสาณกเจดีย์.
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พวกมนุษย์มาจากที่นั้น ๆ ด้วยอานุภาพ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปรากฏในคามและนิคมเป็นต้นของตนๆ แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ ๑๖,๐๐๐ รูปแวดล้อม ก็ได้เสด็จไปยัง
กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้น ท่านปิงคิยะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปบอกพาวรีพราหมณ์ ถึงการ
บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า เพราะข้าพระองค์ปฏิญาณไว้แก่พาวรี-
พราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะได้รับอนุญาตจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 494
แล้ว ได้ไปถึงฝั่งโคธาวรีด้วยยานพาหนะ แล้วจึงเดินไปด้วยเท้ามุ่งหน้า
ไปยังอาศรม. พาวรีพราหมณ์นั่งแลดูต้นทาง เห็นท่านปิงคิยะปราศจาก
หาบและชฎา เดินมาด้วยเพศของภิกษุ ก็สันนิษฐานเอาว่า พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติแล้วในโลก จึงถามท่านปิงคิยะเมื่อไปถึงแล้วว่า พระพุทธเจ้า
ทรงอุบัติแล้วในโลกหรือ. ท่านปิงคิยะตอบว่า ถูกแล้วพราหมณ์ พระ-
พุทธเจ้าประทับนั่ง ณ ปาสาณกเจดีย์ ทรงแสดงธรรมแก่พวกเรา. พาวรี-
พราหมณ์บอกว่า ข้าพเจ้าจักฟังธรรมของท่าน. ลำดับนั้นพาวรีพราหมณ์
พร้อมด้วยบริษัท บูชาท่านปิงคิยะด้วยสักการะเป็นอันมาก แล้วให้
ปูอาสนะ. ท่านปิงคิยะนั่งบนอาสนะนั้นแล้วกล่าวคำเป็นอาทิว่า ปารายน-
มนุคายิสฺส ข้าพเจ้าจักขับตามเพลงขับ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคายิสฺส คือ ข้าพเจ้าจักขับตามเพลง
ขับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ยถา อทฺทกฺขิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเห็นอย่างใด คือทรงเห็นเองด้วยการตรัสรู้จริง และด้วยญาณอันไม่
ทั่วไป. บทว่า นิกฺกาโม มิได้มีกาม คือละกามได้แล้ว. ปาฐะว่า
นิกฺกโม บ้าง. คือมีความเพียร. หรือออกจากธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล.
บทว่า นิพฺพโน มิได้มีป่า คือปราศจากป่าคือกิเลส หรือปราศจากตัณหา
นั่นเอง. บทว่า กิสฺส เหตุ มุสา ภเณ บุคคลพึงพูดเท็จเพราะเหตุอะไร
ท่านปิงคิยะแสดงว่า บุคคลพึงพูดเท็จด้วยกิเลสเหล่าใด บุคคลนั้นละกิเลส
เหล่านั้นเสีย. ท่านปิงคิยะยังความอุตสาหะในการฟังให้เกิดแก่พราหมณ์
ด้วยบทนี้.
บทว่า อมโล ไม่มีมลทิน คือปราศจากมลทินคือกิเลส. บทว่า
วิมโล หมดมลทิน คือมีมลทินคือกิเลสหมดไป. บทว่า นิมฺมโล ไร้มลทิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 495
คือบริสุทธิ์จากมลทินคือกิเลส. บทว่า มลาปคโต ปราศจากมลทิน
คือเที่ยวไปไกลจากมลทินคือกิเลส. บทว่า มลวิปฺปหีโน ละมลทิน คือ
ละมลทินคือกิเลส. บทว่า มลวิปฺปมุตฺโต พ้นแล้วจากมลทิน คือพ้น
แล้วจากกิเลส. บทว่า สพฺพมลวีติวตฺโต ล่วงมลทินทั้งปวงได้แล้ว คือ
ล่วงมลทินคือกิเลสทั้งปวงมีวาสนาเป็นต้น. บทว่า เต วนา ป่าเหล่านั้น
คือกิเลสดังได้กล่าวแล้วเหล่านั้น.
บทว่า วณฺณูปสญฺหิต คือ ประกอบด้วยคุณ. บทว่า สจฺจวฺหโย
มีพระนามจริง คือประกอบด้วยพระนามจริงที่เรียกกันว่า พุทฺโธ ดังนี้.
บทว่า พฺรหฺเม คือ เรียกพราหมณ์นั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป.
บทว่า เอโก โลโก ภวโลโก โลกหนึ่ง ได้แก่โลกคือภพ คือวิบาก
อันเป็นไปในภูมิ ๓. ชื่อว่า ภพ เพราะมีวิบากนั้น. โลกคือภพนั่นแล
ชื่อว่า ภวโลก. ในบทว่า ภวโลโก จ สมฺภวโลโก จ นี้ โลกหนึ่งๆ
มีอย่างละสอง ๆ. ภวโลกมีสองอย่าง ด้วยอำนาจแห่งสัมปัตติภพและ
วิปัตติภพ. แม้สัมภวโลกก็มีสอง คือสัมปัตติสมภพและวิปัตติสมภพ.
ในโลกเหล่านั้น โลกคือสัมปัตติภพ ได้แก่ สุคติโลก. ชื่อว่า สัมปัตติ
เพราะโลกนั้นดี เพราะมีผลที่น่าปรารถนา. ชื่อว่า ภพ เพราะมี เพราะเป็น.
ภพ คือสัมปัตตินั่นแล ชื่อว่า สัมปัตติภพ. โลกนั้นนั่นแล ชื่อว่า โลกคือ
สัมปัตติภพ. โลกคือสัมปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้เข้าถึงสุคติ.
ชื่อว่า สมภพ เพราะมีผลเกิดจากกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งสมบัติ
ชื่อว่าสัมปัตติสมภพ. โลกคือสัมปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่าโลกคือ
สมบัติสมภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 496
โลกคือวิปัตติภพ ชื่อว่า อบายโลก. จริงอยู่ อบายโลกนั้น ชื่อว่า
วิปัตติ เพราะโลกนั้นน่าเกลียด เพราะมีผลที่ไม่น่าปรารถนา. ชื่อว่าภพ
เพราะมีเพราะเป็น ภพคือวิบัตินั้นแล ชื่อว่า วิปัตติภพ. โลกคือวิปัตติภพ
นั่นแล ชื่อว่าโลกคือวิปัตติภพ. โลกคือวิปัตติสมภพ ได้แก่ กรรมที่ให้
เข้าถึงอบาย. จริงอยู่ กรรมที่ให้เข้าถึงอบายนั้น ชื่อว่า สมภพ เพราะ
มีผลเกิดจากกรรมนั้น. ความสมภพแห่งวิบัติ ชื่อว่า วิปัตติสมภพ. โลกคือ
วิปัตติสมภพนั่นแล ชื่อว่า โลกคือวิบัติสมภพ. บทว่า ติสฺโส เวทนา
คือเวทนา ๓ ได้แก่ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุก มสุขเวทนา ๑
เป็นโลกิยะเท่านั้น. บทว่า อาหารา อาหารคือปัจจัย.
จริงอยู่ ปัจจัยเรียกว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งผลของตน. อาหาร
มี ๔ คือ กวฬิงการาหาร ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑
วิญญาณาหาร ๑.
ชื่อว่า กวฬิงจการะ เพราะควรทำให้เป็นคำด้วยวัตถุ. ชื่อว่า อาหาร
เพราะควรกลืนกินได้. บทนี้เป็นชื่อของโอชะอันเป็นวัตถุมีข้าวสุก และ
ขนมเป็นต้น. โอชานั้นชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งรูปทั้งหลายอันมี
โอชะเป็นที่ ๘.
ผัสสะ ๖ อย่าง มีจักษุสัมผัสเป็นต้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมา
ซึ่งเวทนา ๓.
ชื่อว่า มโนสัญเจตนา เพราะเป็นสัญเจตนาของใจ ไม่ใช่ของสัตว์.
เหมือนเอกัคคตาของจิต หรือว่าสัญเจตนาที่สัมปยุตกับใจ ชื่อว่า
มโนสัญเจตนา. เหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย. คือกุศลเจตนาและ
อกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓. ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งภพ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 497
บทว่า วิญฺาณ คือ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ประเภท. วิญญาณนั้น
ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่งนามรูปในขณะปฏิสนธิ.
บทว่า อุปาทานกฺขนฺธา คือ ขันธ์อันเกิดจากอุปาทาน ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์. พึงเห็นว่าเป็นศัพท์ที่ลบคำในท่ามกลางเสีย. หรือขันธ์
ทั้งหลายมีเพราะอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนไฟเกิดแต่หญ้า
ไฟเกิดแต่แกลบ. หรือขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า
อุปาทานขันธ์. เหมือนบุรุษของพระราชา (ราชบุรุษ). หรือขันธ์ทั้งหลาย
มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ชื่อว่า อุปาทานขันธ์. เหมือนดอกของต้นไม้
ผลของต้นไม้.
อนึ่ง อุปาทานมี ๔ คือกามุปาทาน ถือมั่นกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน
ถือมั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน
ถือมั่นวาทะว่าตน ๑. แต่โดยอรรถ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะการถือไว้
อย่างมั่นคง.
อุปาทานขันธ์มี ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญู-
ปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.
บทว่า ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ
จักขวายตนะ โสดายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ.
วิญญาณฐิติ ๗ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. โลกธรรม ๘ ก็เหมือนกัน.
โลกธรรม ๘ เหล่านี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา
สรรเสริญ สุข ทุกข์ ชื่อว่า โลกธรรม เพราะเมื่อโลกยังเป็นไปอยู่
ธรรมเหล่านี้ก็หมุนเวียนไปตามโลก. ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายไม่พ้นไปจาก
โลกธรรมเหล่านั้นได้. ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 498
โลกธรรม ๘ เหล่านี้ย่อมเป็นไปตามโลก และโลกก็ย่อมเป็นไปตามโลก.
ธรรม ๘ เหล่านี้ โลกธรรม ๘ คืออะไร คือ ลาภ เสื่อมลาภ ฯ ล ฯ สุข
และทุกข์. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ย่อมติดตาม ไม่ละ.
อธิบายว่า ไม่กลับออกไปจากโลก. บทว่า ลาโภ ลาภของบรรพชิต
มีจีวรเป็นต้น ของคฤหัสถ์มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ลาภ
นั้น ก็ชื่อว่า เสื่อมลาภ. ท่านกล่าวว่าไม่มีลาภ ชื่อว่า เสื่อมลาภ ไม่พึง
กำหนดเอาแค่ถึงความไม่มีประโยชน์. บทว่า ยโส คือ บริวารยศ.
เมื่อไม่ได้บริวารยศนั้น ชื่อว่า เสื่อมยศ. บทว่า นินฺทา คือ กล่าวโทษ.
บทว่า ปสสา คือ กล่าวถึงคุณ. บทว่า สุข ได้แก่ กายิกสุข คือสุข
ทางกาย และเจตสิกสุข คือสุขทางใจ ของเหล่ากามาวจรบุคคลทั้งหลาย.
บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจของปุถุชน พระโสดาบัน
และพระสกทากามี. พระอนาคามีและพระอรหันต์ มีทุกข์ทางกายเท่านั้น.
บทว่า สตฺตาวาสา คือ ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อธิบายว่า
ที่เป็นที่อยู่. ที่อยู่เหล่านั้นเหมือนขันธ์ทั้งหลายที่ประกาศไว้แล้ว . ใน
วิญญาณฐิติ ๗ กับด้วยอสัญญสัตตภูมิ ๑ และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ๑
จึงเป็นสัตตาวาส ๙. บทว่า ทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ คือ
จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ
ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ. บทว่า ทฺวาทสา-
ยตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ กับด้วยมนายตนะ ๑ และธรรมายตนะ ๑.
บทว่า อฏฺารส ธาตุโย ได้แก่ ธาตุ ๑๘ เพราะกระทำธาตุหนึ่ง ๆ ให้
เป็นอย่างละ ๓ ๆ คือจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุ
ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 499
บทว่า สาทินาโม คือ มีพระนามเช่นเดียวกัน กับพระผู้มีพระภาคเจ้า
เหล่านั้น. บทว่า สทิสนาโม คือ มีพระนามแสดงคุณอย่างเดียวกัน. บทว่า
สทิสวฺหโย คือ มีพระนามเรียกชื่อโดยคุณเป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สจฺจสทิสวฺหโย มีพระนามเหมือนนามจริง คือมีพระนามไม่วิปริต แสดง
ถึงพระคุณเป็นเอกแท้จริง. บทว่า อาสิโต นั่ง คือเข้าไปหา. บทว่า
อุปาสิโต เข้าไปนั่ง คือเข้าไปคบ. บทว่า ปยิรุปาสิโต นั่งใกล้ คือ
เข้าไปหาด้วยความภักดี.
บทว่า กุพฺพนก คือ ป่าเล็ก. บทว่า พหุปฺผล กานนมาวเสยฺย
อาศัยป่าใหญ่ที่มีผลไม้มาก คืออยู่อาศัยป่าที่เต็มไปด้วยผลไม้หลายชนิด.
บทว่า อปฺปทเส คือ ผู้มีปัญญาน้อยนับตั้งแต่พราหมณ์พาวรี. บทว่า
มโหทธึ มีน้ำมาก คือสระใหญ่มีสระอโนดาตเป็นต้น.
บทว่า อปฺปทสฺสา คือ เป็นผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า ปริตฺตทสฺสา คือ
เป็นผู้มีปัญญาอ่อนมาก. บทว่า โถกทสฺสา มีปัญญาเล็กน้อยคือมีปัญญาน้อย
ยิ่งกว่าน้อย. บทว่า โอมกทสฺสา คือ มีปัญญาต่ำช้า. บทว่า ลามกทสฺสา
มีปัญญาลามก คือโง่ถึงที่สุด. บทว่า ชตุกฺกทสฺสา มีปัญญาทราม
คือมีปัญญาต่ำ โง่ที่สุด. บทว่า อปฺปมาณทสฺส๑ เห็นพระนิพพาน
อันเป็นอัปปมาณธรรม๒ เพราะก้าวล่วงปมาณธรรม.๓ บทว่า อคฺคทสฺส
มีปัญญาเลิศ คือเห็นธรรมอันเลิศโดยนัยมีอาทิว่า อคฺคโต ปสนฺนาน
คือเลื่อมใสแล้วโดยความเป็นเลิศ. บทว่า เสฏฺทสฺส มีปัญญาประเสริฐ
คือมีปัญญาประเสริฐโดยนัยมีอาทิว่า สมฺพุทฺโธ ทิปท เสฏฺโ พระ-
พุทธเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า. สี่บทมีอาทิว่า วิเสฏฺทสฺส มีปัญญา
๑. คำนี้ไม่มีในบาลี ๒. ได้แก่โลกุตรธรรม ๓. ได้แก่โลกิยธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 500
วิเศษ เพิ่มอุปสัคลงไป. บทว่า อสม ไม่มีผู้เสมอ คือเป็นพระสัพพัญญู
หาผู้เสมอมิได้. บทว่า อสมสม สมกับไม่มีผู้เสมอ คือสมกับพระพุทธเจ้า
ในอดีตซึ่งไม่มีผู้เสมอ. บทว่า อปฺปฏิสม คือ ไม่มีผู้เสมอกับพระองค์.
บทว่า อปฺปฏิภาค ไม่มีผู้เปรียบเทียบ คือเว้น จากรูปเปรียบของพระองค์.
บทว่า อปฺปฏิปุคฺคล หาใครเปรียบมิได้ คือปราศจากบุคคลผู้เปรียบ
กับพระองค์. บทว่า เทวาติเทว คือ เป็นเทพยิ่งกว่าแม้วิสุทธิเทพ
(คือพระอรหันต์). ชื่อว่า อุสภะ เป็นผู้องอาจ เพราะอรรถว่า เห็นร่วมกัน
ในอภิมงคล. ชื่อว่าเป็น บุรุษสีหะ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้งหวาดเสียว.
ชื่อว่า บุรุษนาค เพราะอรรถว่า ไม่มีโทษ. ชื่อว่า บุรุษอาชาไนย เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้สูงสุด. ชื่อว่า เป็นบุรุษแกล้วกล้า เพราะอรรถว่า เหยียบ
แผ่นดินคือบริษัท ๘ แล้วตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่หวั่นไหว
ด้วยปัจจามิตรที่เป็นศัตรูไร ๆ ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก. ชื่อว่า เป็น
บุรุษผู้นำธุระไป เพราะอรรถว่า นำธุระคือพระธรรมเทศนาไป. บทว่า
มานสกตสร สระที่มนุษย์สร้างไว้ คือสระที่มนุษย์คิดสร้างไว้อันมีชื่อ
อย่างนั้น. บทว่า อโนตตฺตทห สระอโนดาต คือพระจันทร์และ
พระอาทิตย์เดินไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ ย่อมยังทิศนั้นให้สว่างใน
ระหว่างภูเขา เดินไปตรงย่อมไม่ให้แสงสว่าง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล
สระนั้นจึงชื่อว่า อโนดาต. สระอโนดาตเป็นอย่างนี้.
บทว่า อกฺโขพฺภ อนิโตทก มหาสมุทรที่ไม่กำเริบมีน้ำนับไม่ถ้วน
คือ ไม่สามารถจะให้น้ำซึ่งนับไม่ถ้วนหวั่นไหวได้. บทว่า เอวเมว เป็นบท
อุปมา. ใคร ๆ ไม่สามารถให้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหวั่นไหวได้โดย
ฐานะเป็นผู้องอาจ ดุจมหาสมุทรที่ไม่กำเริบฉะนั้น. บทว่า อมิตเตช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 501
มีเดชนับไม่ถ้วน คือมีเดชคือพระญาณนับไม่ถ้วน. บทว่า ปภินฺนาณ
มีญาณแตกฉาน คือมีญาณแตกฉานด้วยอำนาจแห่งทศพลญาณเป็นต้น.
บทว่า วิวฏจกฺขุ มีพระจักษุเปิดแล้ว คือมีสมันตจักษุ. บทว่า ปญฺา-
ปเภทกุสล ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา คือทรงฉลาดในความรู้
อันเป็นประเภทแห่งปัญญา โดยนัยมีอาทิว่า รู้ทั่ว รู้ก่อน ค้นคว้า
ค้นคว้าทั่ว ดังนี้. บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิท ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาแล้ว
คือทรงได้ปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว. บทว่า จตุเวสารชฺชปฺปตฺต ทรงถึง
เวสารัชญาณ ๔ แล้ว คือทรงถึงความเป็นผู้กล้าในฐานะ ๔ ดังที่ท่าน
กล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้
เฉพาะ ท่านยังไม่รู้. บทว่า สุทฺธาธิมุตฺต คือ น้อมพระทัยไปในผล
สมาบัติอันบริสุทธิ์ คือเข้าไปในผลสมาบัตินั้น. บทว่า เสตปจฺจตฺต มี
พระองค์ขาวผ่อง คือมีอัตภาพพิเศษบริสุทธิ์ เพราะละแม้วาสนาได้แล้ว.
บทว่า อทฺวยภาณึ มีพระวาจามิได้เป็นสอง คือปราศจากพระวาจา
เป็นสอง เพราะมีพระวาจากำหนดไว้แล้ว. บทว่า ตาทึ เป็นผู้คงที่
คือเป็นเช่นนั้น หรือไม่หวั่นไหวไปในอารมณ์ ที่น่าปรารถนาและไม่น่า
ปรารถนา. ชื่อว่า ตถาปฏิญฺา เพราะมีปฏิญญาอย่างนั้น. บทว่า
อปริตฺตก คือ ไม่เล็กน้อย. บทว่า มหนฺต เป็นผู้ใหญ่ คือถึงความเป็น
ผู้ใหญ่ล่วงไตรธาตุ. บทว่า คมฺภีร มีธรรมลึก คือคนอื่นเข้าถึงได้ยาก.
บทว่า อปฺปเมยฺย มีคุณธรรมอันใคร ๆ นับไม่ได้ คือชั่งไม่ได้. บทว่า
หุปฺปริโยคาห คือ มีคุณยากที่จะหยั่งถึง. บทว่า พหุรตน มีรัตน่ะมาก
คือมีรัตนะมาก ด้วยรัตนะมีศรัทธาเป็นต้น. บทว่า สาครสม มีคุณ
เสมอด้วยสาคร คือเช่นกับสมุทร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 502
บทว่า ฉฬงฺคุเปกฺขาย สมนฺนาคต ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
คือบริบูรณ์ด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า เห็นรูปด้วยจักษุ
แล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ. บทว่า อตุล ชั่งไม่ได้ คือปราศจากการชั่ง
ใคร ๆ ไม่สามารถจะชั่งได้. บทว่า วิปุล มีธรรมไพบูลย์ คือมีธรรม
ใหญ่ยิ่ง. บทว่า อปฺปเมยฺย ประมาณมิได้ คือไม่สามารถประมาณได้.
บทว่า ต ตาทิส มีพระคุณเช่นนั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อม
ด้วยพระคุณคงที่. บทว่า ปวทตมคฺควาทิน ตรัสธรรมอันเลิศกว่าพวกที่
กล่าว. พึงทราบการเชื่อมความว่า ตรัสธรรมที่ควรบอกกล่าวสูงสุดกว่า
พวกที่บอกกล่าว. บทว่า สิเนรุมิว นคาน เช่นภูเขาสิเนรุเลิศกว่าภูเขา
ทั้งหลาย คือดุจภูเขาสิเนรุในระหว่างภูเขาทั้งหลาย. บทว่า ครุฬมิว
ทฺวิชาน คือ ดุจครุฑเลิศกว่านกทั้งหลายฉะนั้น. บทว่า สีหมิว มิคาน
ดุจสีหะเลิศกว่ามฤคทั้งหลาย คือดุจสีหะเลิศในระหว่างสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย.
บทว่า อุทธิมิว อณฺณวาน ดุจสมุทรเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลายมากมาย.
บทว่า ชินปวร เป็นพระชินะผู้ประเสริฐ คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด.
บทว่า เยเม ปุพฺเพ ในกาลก่อนอาจารย์เหล่าใด. บทว่า ตมนุ-
ทาสิโน คือ ทรงบรรเทาความมืดเสีย ประทับอยู่แล้ว. บทว่า
ภูริปญฺาโณ มีพระปัญญาปรากฏ คือมีพระญาณเป็นธง. บทว่า
ภูริเมธโส มีพระปัญญาตั้งแผ่นดิน คือมีพระปัญญาไพบูลย์.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า ปภงฺกโร ทรงแผ่รัศมี คือทรงแผ่พระเดช. บทว่า
อาโลกกโร ทรงแผ่แสงสว่าง คือทรงกำจัดความมืด. บทว่า โอภาสกโร
ทรงแผ่โอภาส คือทรงแผ่แสงสว่าง. ชื่อว่า ทีปงฺกโร เพราะทรงแผ่แสงสว่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 503
ดังประทีป. บทว่า อุชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างสูง คือทรงแผ่ความ
สว่าง. บทว่า ปชฺโชตกโร ทรงแผ่แสงสว่างโชติช่วง คือทรงแผ่แสง
สว่างไปทั่วทิศใหญ่ทิศน้อย. บทว่า ภูริปญฺาโณ มีพระปัญญาปรากฏ
คือมีพระญาณกว้างขวาง. บทว่า าณปญฺาโณ มีพระญาณปรากฏ
คือปรากฏด้วยพระญาณ. บทว่า ปญฺาธโช มีปัญญาเป็นดังธง คือ
มีปัญญาดังธง เพราะอรรถว่า ยกขึ้น ดุจในบทมีอาทิว่า ธงเป็นเครื่อง
ปรากฏของรถ. บทว่า วิภูตวิหารี มีธรรมเป็นเครื่องอยู่แจ่มแจ้ง คือ
มีวิหารธรรมปรากฏ.
บทว่า สนฺทิฏิกมกาลิก คือ อันผู้ประพฤติพึงเห็นผลเอง ไม่
ให้บรรลุผลในลำดับกาล. บทว่า อนีติก คือ ปราศจากจัญไรมีกิเลส
เป็นต้น.
บทว่า สนฺทิฏิก อันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง คืออีนผู้บรรลุโลกุตร-
ธรรม พึงละธรรมที่พึงถึงด้วยศรัทธาของคนอื่นแล้ว เห็นด้วยตนเอง
ด้วยปัจจเวกขณญาณ. พระธรรมนั้นอันผู้ประพฤติพึงเห็นเอง. ชื่อว่า
อกาโล ไม่ประกอบด้วยกาล เพราะไม่มีกาล หมายถึงการให้ผลของตน.
ไม่ประกอบด้วยกาลนั้นแล ชื่อว่า อกาลิโก. อธิบายว่า อริยมรรคธรรม
นั้นย่อมให้ผลของตนในลำดับทีเดียว๑ พระธรรมนั้นไม่ประกอบด้วย
กาลนั้น. ชื่อว่า เอหิปฺสสิโก เพราะควรเรียกให้มาดูเป็นไปอย่างนี้ว่า
จงมาดูธรรมนี้เถิด. พระธรรมนั้นควรเรียกให้มาดู. ชื่อว่า โอปนยิโก
เพราะแม้เพ่งถึงผ้าและศีรษะที่ถูกไฟไหม้ก็ย่อมควร น้อมเข้าไปในจิต
ของตน. พระธรรมนั้นควรน้อมเข้าไป. ชื่อว่า อันวิญญูชนพึงรู้ด้วย
๑. คือเมื่ออริยมรรคจิตดับไป ผลจิตเกิดต่อทันที.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 504
ตนเอง เพราะอันบุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญูเป็นต้น แม้ทั้งปวงพึงทราบ
ในตนว่า มรรคเราเจริญแล้ว ผลเราบรรลุแล้ว นิโรธเราทำให้แจ้งแล้ว.
ลำดับนั้น พาวรีพราหมณ์กล่าวสองคาถากะท่านปิงคิยะ มีอาทิว่า
กินฺนุ ตมฺหา ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้ครู่หนึ่งหรือหนอดังนี้.
บทว่า มุหุตฺตมฺปิ คือ แม้หน่อยหนึ่ง. บทว่า ขณมฺปิ แม้ขณะ
หนึ่ง คือแม้ไม่มาก. บทว่า ลยมฺปิ คือ แม้พักหนึ่ง. บทว่า วสฺสมฺปิ
คือ แม้ส่วนหนึ่ง. บทว่า อฏฺมฺปิ คือ แม้วันหนึ่ง.
ลำดับนั้น ท่านปิงคิยะ เมื่อจะแสดงถึงการไม่อยู่ปราศจากสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า นาห ตมฺหา อาตมา
มิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า โย เม ฯ ล ฯ ปสฺสามิ น มนสา จกฺขุนาว คือ อาตมา
เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยมังสจักษุ. บทว่า
นมสฺสมาโน วิวเสมิ รตฺตึ คือ อาตมานมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน.
บทว่า เตน เตเนว นโต อาตมาเป็นผู้นอบน้อมไปโดยทิศนั้น ๆ
ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่โดยทิศาภาคใด ๆ แม้อาตมาก็นอบ
น้อมไปโดยทิศาภาคนั้น ๆ เอนไปในทิศนั้น โอนไปในทิศนั้น เงื้อมไป
ในทิศนั้น น้อมไปในทิศนั้น.
บทว่า ทุพฺพลถามกสฺส มีเรี่ยวแรงทุรพล คือมีกำลังน้อย.
อีกอย่างหนึ่ง. มีกำลังน้อยและมีเรี่ยวแรงน้อย. ท่านกล่าวว่ามีกำลังคือ
ความเพียรหย่อน. บทว่า เตเนว กาโย น ปเนติ คือ กายไม่ได้ไปใน
สำนักพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล เพราะมีเรี่ยวแรงน้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 505
ปาฐะว่า น ปเลติ บ้าง ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ตตฺถ คือ ใน
สำนักพระพุทธเจ้านั้น. บทว่า สงฺกปฺปยนฺตาย ด้วยความดำริ คือไป
ด้วยความดำริ. บทว่า เตน ยุตฺโต ท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าประทับ
โดยทิศาภาคใด ใจของอาตมาประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ขวน-
ขวายแล้วโดยทิศาภาคนั้น.
บทว่า เยน พุทฺโธ คือ ควรเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยทิศาภาค
ใด ไม่ไปโดยทิศาภาคนั้น. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เยน เป็นคติยาวิภัตติ
ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เป็น ยตฺถ ความว่า พระพุทธเจ้าประทับ
ณ ที่ใด ไม่ไป ณ ที่นั้น. บทว่า น วชติ คือ ไม่ไปข้างหน้า. บทว่า
น คจฺฉติ คือ ไม่เป็นไป. บทว่า นาภิกฺกมติ คือ ไม่เข้าไปหา.
บทว่า ปงฺเก สยาโน คือ นอนในเปือกตมคือกาม. บทว่า ทีปา
ทีป อุปลฺลวึ แล่นไปแล้วสู่ที่พึ่งแต่ที่พึ่ง คือไปหาศาสดาเป็นต้น แต่
ศาสดาเป็นต้น. บทว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธ ภายหลังได้เห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า คืออาตมานั่นถือทิฏฐิผิดอย่างนี้ท่องเที่ยวไป คราวนั้นได้เห็น
พระพุทธเจ้า ณ ปาสาณกเจดีย์.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เสมาโน คือ นอนอยู่. บทว่า สยมาโน
คือ สำเร็จการนอน. บทว่า อาวสมาโน คือ อยู่. บทว่า ปริวสมาโน
คือ พักอยู่เป็นนิจ. บทว่า ปลฺลวึ คือ ยิ่ง. บทว่า อุปลฺลวึ แล่นไป
แล้ว คือถึงฝั่ง. บทว่า สมุปลฺลวึ คือ เลื่อนไปแล้ว. เพิ่มอุปสัคลงไป.
บทว่า อทฺทส ได้เห็นแล้ว เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยายความ. บทว่า อทฺทกฺขึ
คือ ได้พบแล้ว. บทว่า อปสฺสึ คือ ได้ประสบแล้ว. บทว่า ปฏิวชฺฌึ
คือ แทงตลอดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 506
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นจบพระคาถานี้ทรงทราบว่า ท่านปิงคิยะ
และพาวรีพราหมณ์มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
นั่นเอง เปล่งพระรัศมีสีทองออกไป. ท่านปิงคิยะนั่งพรรณนาพระพุทธคุณ
แก่พาวรีพราหมณ์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจประทับยืนอยู่ข้างหน้าตน
จึงบอกแก่พาวรีพราหมณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว. พราหมณ์ลุกจาก
ที่นั่งยืนประคองอัญชลี. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแผ่พระรัศมีไป
แสดงพระองค์แก่พราหมณ์ ทรงทราบธรรมเป็นที่สบายของชนแม้ทั้งสอง
เมื่อจะตรัสเรียกท่านปิงคิยะเท่านั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า ยถา อหุ วกฺกลิ
ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ พระวักกลิเถระเป็นผู้มีศรัทธาอันปล่อย
แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง บรรดามาณพ ๑๖ คน
ภัทราวุธะ คนหนึ่งก็ดี อาฬวิโคตมะ ก็ดี ล้วนมีศรัทธาอันปล่อยแล้ว
ฉันใด แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธาฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปล่อยศรัทธาแต่
นั้น จึงเริ่มวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้ จัก
ถึงฝั่งแห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ คือนิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
จบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.
เมื่อจบเทศนา ท่านปิงคิยะทั้งอยู่ในอรหัตผล พาวรีพราหมณ์ตั้งอยู่
ในอนาคามิผล. ส่วนบริษัท ๕๐๐ ของพาวรีพราหมณ์ได้เป็นโสดาบัน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มุญฺจสฺสุ คือ จงละ. บทว่า ปมุญฺจสฺสุ
คือ จงปล่อย. บทว่า อธิมุญฺจสฺสุ จงน้อมลง คือจักทำการน้อมลงใน
ศรัทธานั้น. บทว่า โอกปฺเปหิ จงกำหนด คือจงให้เกิดความพยายาม
ให้มาก. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 507
ด้วยอรรถว่า มีแล้วไม่มี. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งหลาย
เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก คือทนอยู่ไม่ได้. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา
อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่า ไม่อยู่ในอำนาจ.
บัดนี้ ท่านปิงคิยะเมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของตน จึงกล่าว
คาถามีอาทิว่า เอส ภิยฺโย คือ ข้าพระองค์นี้ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี
แล้วย่อมเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิภาณวา เป็นผู้มีปฏิภาณ คือเข้าถึง
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. บทว่า ภิยฺโย คือ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
บทว่า อธิเทเว อภิญฺาย คือ ทรงรู้ธรรมอันทำให้เป็นอธิเทพ.
บทว่า ปโรปร คือ เลวและประณีต. ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงรู้ธรรมชาติ
ทั้งหมดอันทำความเป็นอธิเทพให้แก่พระองค์และผู้อื่น. บทว่า กงฺขีน
ปฏิชานต ทรงทำผู้สงสัยให้กลับรู้ได้ คือ เมื่อมีผู้สงสัยกลับรู้ว่า เรา
หมดสงสัยแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า ปารายนิกปญฺหาน คือ แห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ผู้
แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่ง. ชื่อว่า อนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุด.
ชื่อว่า ปริยนฺตกโร เพราะทรงทำส่วนสุดรอบ. ชื่อว่า ปริจฺเฉทกโร
เพราะทรงทำความกำหนดเขตแดน. ชื่อว่า ปริวฏุมกโร เพราะทรงทำ
ความสรุป. บทว่า ปิงฺคิยปญฺหาน เพื่อทรงแสดงว่า มิใช่ทรงกระทำ
ส่วนสุดแห่งปัญหาของพวกพราหมณ์ ผู้แสวงหาธรรมเครื่องถึงซึ่งฝั่งอย่าง
เดียว ที่แท้ทรงกระทำส่วนสุดแห่งปัญหาแม้ของปิงคิยปริพาชกเป็นต้น
ด้วย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปิงฺคิยปญฺหาน ปัญหาของปิงคิยะดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 508
บทว่า อสหิร คือ นิพพานอันราคะเป็นต้นนำไปไม่ได้. บทว่า
อสกุปฺป คือ ไม่กำเริบ ไม่มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา. ท่าน
กล่าวถึงนิพพานด้วยบททั้งสอง. บทว่า อทฺธา คมิสฺสามิ ข้าพระองค์
จักถึงเป็นแน่แท้ คือจักถึงนิพพานธาตุ อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น โดยส่วน
เดียวเท่านั้น. บทว่า น เมตฺถ กงฺขา คือ ความสงสัยในนิพพานนี้มิได้
มีแก่ข้าพระองค์. บทว่า เอว ม ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺต ขอพระองค์ทรง
จำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้วอย่างนี้ ความว่า ท่านปิงคิยะ
ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นแล้วในตน ด้วยโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ว่า
แม้ท่านก็จงปล่อยศรัทธา ฉันนั้น แล้วปล่อยด้วยศรัทธาธุระนั่นเอง เมื่อ
จะประกาศศรัทธาธิมุติ (ความน้อมไปด้วยศรัทธา) นั้น จึงทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า เอว ม ธาเรหิ อธิมุตฺตจิตฺต มีอธิบายว่า ขอพระองค์
จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปแล้ว เหมือนอย่างที่พระองค์
ได้ตรัสไว้กะข้าพระองค์แล้วฉะนั้น.
บทว่า น สทริยติ คือ ไม่สามารถถือนำเอาไปได้. บทว่า นิโยค-
วจนเป็นคำประกอบ. บทว่า อวฏฺาปนวจน เป็นคำสันนิษฐาน.
ใน ปรายนวรรค นี้ บทใดมิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ พึงถือเอา
บทนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บทที่เหลือในบททั้งปวง
ชัดดีแล้ว.
จบอรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส
จบอรรถกถาปรายนวรรคนิทเทส
แห่งขุททกนิกายอรรถกถา ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 509
ขัคควิสาณสุตตนิทเทส๑
ว่าด้วยการเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
[๖๖๓] พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียด-
เบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดหนึ่ง ไม่พึงปรารถนาบุตร
จักปรารถนาสหายแต่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๖๖๔] คำว่า ทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย
ทณฺฑ ดังนี้ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการ
ทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า ทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวม
หมด. สัตว์ทั้งหลายทั้งผู้สะดุ้ง ทั้งผู้มั่นคง ท่านกล่าวว่า สัตว์ ในคำว่า
ภูเตสุ ดังนี้. สัตว์เหล่าใดยังละตัณหาไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดยังละความ
กลัวและความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้สะดุ้ง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้สะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว
ครั่นคร้าม ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้สะดุ้ง.
สัตว์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว และละความกลัวและความขลาดได้แล้ว
สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้มั่นคง.
เหตุไรท่านจึงกล่าวว่าผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
เสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ผู้มั่นคง.
๑. อธิบายคาถา ๔๑ คาถา ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔๑ องค์ ในขัคควิสาณสูตร ขุ. สุ.
๒๕/ข้อ ๒๙๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 510
อาชญามี ๓ อย่าง คือ อาชญาทางกาย ๑ อาชญาทางวาจา ๑
อาชญาทางใจ ๑ ชื่อว่า อาชญา.
กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางกาย.
วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางวาจา.
มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า อาชญาทางใจ.
คำว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ความว่า วาง ปลง ละ ทิ้ง
ระงับ อาชญาในสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วางอาชญาในสัตว์
ทั้งปวง.
[๖๖๕] คำว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง
ความว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้แต่ผู้เดียว ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ท่อน
ไม้ ศัสตรา ด้วยสิ่งที่ทำให้เป็นแผลหรือด้วยเชือก ไม่เบียดเบียนสัตว์แม้
ทั้งปวง ด้วยฝ่ามือ ... หรือด้วยเชือก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เบียดเบียน
สัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง.
[๖๖๖] ศัพท์ว่า น ในอุเทศว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหาย
ดังนี้ เป็นศัพท์ปฏิเสธ.
บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดในเขต ๑
บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑ ชื่อว่า บุตร.
ความไปสบาย ความมาสบาย ความไปและความมาสบาย ความ
นั่งสบาย ความนอนสบาย ความพูดทักกันสบาย ความสนทนากัน สบาย
ความปราศรัยกันสบาย กับชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สหาย
ในคำว่า สหาย.
คำว่า ไม่พึงปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 511
ไม่พึงปรารถนา ไม่พึงยินดี ไม่พึงรักใคร่ ไม่พึงชอบใจบุตร จัก
ปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจ คนที่มีไมตรีกัน มิตรที่เห็นกันมา
มิตรที่คบกันมา หรือสหาย แต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
ปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ที่ไหน.
[๖๖๗] คำว่า ผู้เดียว ในอุเทศว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวโดยส่วนแห่ง
บรรพชา ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง เพราะอรรถว่า
ละตัณหา เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะปราศจากโทสะโดย
ส่วนเดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วน
เดียว เพราะไปตามเอกายนมรรค เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณอย่าง
ยอดเยี่ยมแต่ผู้เดียว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียวโดยส่วนแห่งบรรพชา
อย่างไร. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส ตัดกังวลใน
บุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและ
หนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มี
กังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง
เยียวยา เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้เดียว
โดยส่วนแห่งบรรพชาอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มี
เพื่อนสองอย่างไร. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้เดียวเสพอาศัยเสนาสนะ คือ ป่าและป่าชัฏอันสงัด มีเสียงน้อย
ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนผู้สัญจรไปมา สมควรทำกรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 512
ลับแห่งมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดิน
ผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว
กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยว
ไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ไม่มีเพื่อนสอง.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหา
อย่างไร. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เดียวไม่มีใครเป็นเพื่อนอย่างนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ เริ่มตั้งความเพียรมาก กำจัด
มารพร้อมทั้งเสนามารที่ไม่ปล่อยสัตว์ให้พ้นอำนาจ เป็นพวกพ้องของผู้
ประมาท ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งตัณหาอันมีข่าย
เเล่นไป ซ่านไป ในอารมณ์ต่าง ๆ.
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมีความ
เป็นอย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติ รู้โทษนี้และตัณหาเป็นแดน
เกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น
เว้นรอบ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะ
โดยส่วนเดียวอย่างไร. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะ
ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละราคะเสียแล้ว. ชื่อว่าผู้เดียว
เพราะปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโทสะเสียแล้ว. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะท่านละโมหะเสียแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 513
ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะท่านละกิเลสแล้ว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว
อย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไปตามเอกายน-
มรรคอย่างไร. สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวว่า เอกายนมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่ง
ความสิ้นไปแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล
ย่อมทรงทราบธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว
ในปางก่อนพุทธาทิบัณฑิตข้ามแล้ว จักข้าม และข้ามอยู่
ซึ่งโอฆะ ด้วยธรรมอันเป็นทางนั้น ดังนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้ซึ่งปัจเจก-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร. ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ปัญญา
เป็นเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า ปัญญาเครื่องตรัสรู้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยปัจเจกพุทธญาณ
ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนาม-
รูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ. เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 514
ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะ
ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ตรัสรู้ว่า
เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณ
ดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะ
ดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ
นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควร
ให้เจริญ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด ออก
แห่งผัสสายตนะ ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์ ๖ ตรัสรู้เหตุเกิด ความดับโทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งมหาภูต ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ตรัสรู้ ตามตรัสรู้ ตรัสรู้พร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้
ควรตามตรัสรู้ ควรตรัสรู้พร้อม ควรถูกต้อง ควรทำให้เเจ้ง ทั้งหมด
นั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.
จริยา (การเที่ยวไป) ในคำว่า จเร ดังนี้ มี ๘ อย่าง คือ อิริยาปถ-
จริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑
มรรคจริยา ๑ ปฏิปัตติจริยา ๑ โลกกัตถจริยา ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 515
การเที่ยวไปในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.
การเที่ยวไปในอายตนะภายในภายนอก ๖ ชื่อว่า อายตนจริยา.
การเที่ยวไปในสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่า สติจริยา.
การเที่ยวไปในฌาน ๔ ชื่อว่า สมาธิจริยา.
การเที่ยวไปในอริยสัจ ๔ ชื่อว่า ญาณจริยา.
การเที่ยวไปในมรรค ๔ ชื่อว่า มรรคจริยา.
การเที่ยวไปในสามัญญผล ๔ ชื่อว่า ปฏิปัตติจริยา.
โลกัตถจริยา คือ ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก ในพระ-
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก
ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเฉพาะบางส่วน ความประพฤติเป็นประ-
โยชน์แก่โลกในพระสาวกทั้งหลายเฉพาะบางส่วน.
ความประพฤติของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ ชื่อว่า
อิริยาปถจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า
อายตนจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ชื่อว่า สติจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ขวนขวายในอธิจิต ชื่อว่า สมาธิจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่า
ญาณจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่า มรรคจริยา.
ความประพฤติของบุคคลผู้ได้บรรลุผลแล้ว ชื่อว่า ปฏิปัตติจริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 516
ความประพฤติของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประ-
พฤติของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเฉพาะบางส่วน ความประพฤติของพระ-
สาวกทั้งหลายเฉพาะบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถจริยา. จริยา ๘ ประการนี้.
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองใจย่อม
ประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ทำความ
ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ทั่วย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อม
ประพฤติด้วยวิญญาณ บุคคลผู้มนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหล้า ย่อมดำเนิน
ไปทั่วแก่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา บุคคลผู้
มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ย่อมประพฤติด้วยวิเศษ
จริยา จริยา ๘ ประการนี้.
จริยาแม้อีก ๘ ประการ
การประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา.
การประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภิโรปนจริยา.
การประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา.
การประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา.
การประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา.
การประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่า ปัคคหจริยา.
การประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา.
การประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา. จริยา ๘ ประการนี้.
คำว่า เหมือนนอแรด ความว่า ขึ้นชื่อว่าแรดมีนอเดียว มิได้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 517
นอที่สองฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นเหมือนนอแรด
เช่นกับนอแรด เปรียบด้วยนอแรด ฉันนั้นเหมือนกัน.
รสเค็มจัด กล่าวกันว่าเหมือนเกลือ รสขมจัด กล่าวกันว่าเหมือน
ของขม รสหวานจัด กล่าวกันว่าเหมือนน้ำผึ้ง ของร้อนจัด กล่าวกันว่า
เหมือนไฟ ของเย็นจัด กล่าวกันว่าเหมือนหิมะ ห้วงน้ำใหญ่ กล่าวกันว่า
เหมือนสมุทร พระสาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาและพลธรรม กล่าวกันว่า
เหมือนพระศาสดาฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้น ย่อมเป็น
เหมือนนอแรด เช่นกับนอแรด เปรียบด้วยนอแรด เป็นผู้เดียว ไม่มีเพื่อน
มีเครื่องผูกอันเปลื้องแล้ว ย่อมเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เดินไป พักผ่อน
รักษา บำรุง เยียวยา ในโลก โดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียน
สัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่พึงปรารถนาบุตร จัก
ปรารถนาสหายแต่ไหน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๖๖๘] ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้เป็นไปตามความรัก ย่อมปรากฏ บุคคลเมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 518
[๖๖๙] ความเกี่ยวข้องมี ๒ อย่าง คือ ความเกี่ยวข้องเพราะได้
เห็น ๑ ความเกี่ยวข้องเพราะได้ฟัง ๑ ชื่อว่า สังสัคคะ ในอุเทศว่า
สสคฺคชาตสฺส ภวนฺติ เสฺนหา ดังนี้.
ความเกี่ยวข้องเพราะได้เห็นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เห็นสตรีหรือกุมารีที่มีรูปสวย น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงานอย่างยิ่ง ครั้นพบเห็นแล้ว ก็ถือนิมิตเฉพาะส่วน ๆ ว่า ผม
งาม หน้างาม นัยน์ตางาม หูงาม จมูกงาม ริมฝีปากงาม ฟันงาม
ปากงาม คิ้วงาม นมงาม อกงาม ท้องงาม เอวงาม ขางาม มืองาม
แข้งงาม นิ้วงาม หรือว่าเล็บงาม ครั้นพบเห็นเข้าแล้ว ย่อมพอใจ
รำพันถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยอำนาจความรัก นี้ชื่อว่า ความ
เกี่ยวข้องเพราะได้เห็น.
ความเกี่ยวข้องเพราะได้ฟังเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีสตรีหรือกุมารีรูปสวย น่าดู น่าชม
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง ครั้นได้ยินได้ฟังแล้ว
ย่อมชอบใจ รำพันถึง ปรารถนา ติดใจ ผูกพันด้วยอำนาจความรัก
นี้ชื่อว่า เกี่ยวข้องเพราะได้ฟัง.
ความรัก ในคำว่า เสนฺหา มี ๒ อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจ
ตัณหา ๑ ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑.
ความรักด้วยอำนาจตัณหาเป็นไฉน สิ่งที่ทำให้เป็นเขต ทำให้
เป็นแดน ทำให้เป็นส่วน ทำให้มีส่วนสุดรอบ การกำหนดถือเอา ความ
ยึดถือว่าของเรา โดยส่วนแห่งตัณหาเท่าใด คือ บุคคลถือเอาว่า สิ่งนี้
ของเรา นั่นของเรา สิ่งเท่านั้นของเรา ของ ๆ เราโดยส่วนเท่านี้ รูป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 519
ของเรา เสียงของเรา กลิ่นของเรา รสของเรา โผฏฐัพพะของเรา
เครื่องลาดของเรา เครื่องนุ่งห่มของเรา ทาสีของเรา ทาสของเรา แพะ
ของเรา แกะของเรา ไก่ของเรา สุกรของเรา ช้างของเรา โคของเรา
ม้าของเรา ลาของเรา ไร่นาของเรา ที่ดินของเรา เงินของเรา ทอง
ของเรา บ้านของเรา นิคมของเรา ราชธานีของเรา แว่นแคว้นของเรา
ชนบทของเรา ฉางข้าวของเรา คลังของเรา ย่อมยึดถือแผ่นดินใหญ่แม้
ทั้งสิ้นว่าของเรา ด้วยอำนาจตัณหา. ตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความรัก
ด้วยอำนาจตัณหา.
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒. มิจฉา-
ทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑ ทิฏฐิเห็นปานนี้ ทิฏฐิไปแล้ว
ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิกวัดแก่ง ทิฏฐิเป็น
สังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ ทางผิด
คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยการแสวงหาผิด
ความถืออันวิปริต ความถืออันวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าจริงใน
วัตถุอันไม่จริง ทิฏฐิ ๖๒ ประการ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง ความว่า
ความรักด้วยอำนาจตัณหา และความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อมมี คือ ย่อม
เกิด ย่อมเกิดพร้อม ย่อมบังเกิด ย่อมบังเกิดเฉพาะ ย่อมปรากฏ เพราะ
เหตุแห่งวิปัลลาส และเพราะเหตุแห่งความเกี่ยวข้องด้วยการได้เห็นและ
การได้ยิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรักทั้งหลายย่อมมีแก่บุคคลผู้มี
ความเกี่ยวข้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 520
[๖๗๐] ชื่อว่า ความรัก ในอุเทศว่า เสฺนหนฺวย ทุกฺขมิท ปโหติ
ดังนี้ ความรักมี ๒ อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความรัก
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ นี้
ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ทุกข์นี้... ย่อมปรากฏ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ
ฆ่าสัตว์บ้าง ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นหลายเรือน
บ้าง ทำการปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง คบ
ชู้ภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลผู้นั้นได้แล้วทูล
แด่พระราชาว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่ว ขอพระองค์ทรงลง
อาชญาตามพระประสงค์แก่ผู้นั้น พระราชาก็ทรงบริภาษผู้นี้ ผู้นั้นย่อม
เสวยทุกข์โทมนัส แม้เพราะเหตุแห่งบริภาษ ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้
เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี
เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัด ด้วยอำนาจ
ความยินดีของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้จองจำ
ผู้นั้นด้วยการตอกขื่อบ้าง ด้วยการผูกด้วยเชือกบ้าง ด้วยการจำด้วยโซ่
บ้าง ด้วยการผูกด้วยเถาวัลย์บ้าง ด้วยการกักไว้ในที่ล้อมบ้าง ด้วยการ
กักไว้ในบ้านบ้าง ด้วยการกักไว้ในนิคมบ้าง ด้วยการกักไว้ในนครบ้าง
ด้วยการกักไว้ในแว่นแคว้นบ้าง ด้วยการกักไว้ในชนบทบ้าง ทรงทำให้
อยู่ในถ้อยคำเป็นที่สุด (ทรงสั่งบังคับเป็นที่สุด) ว่า เจ้าจะออกไปจากที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 521
ไม่ได้ ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งพันธนาการ ทุกข์
โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะ
เหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่ง
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้ริบทรัพย์
ของผู้นั้น ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัสแม้
เพราะเหตุแห่งความเสื่อมจากทรัพย์ ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะ
อะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุ
แห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
ของผู้นั้น.
พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยอาชญาเท่านั้น ยังรับสั่งให้ทำ
กรรมกรณ์ต่าง ๆ แก่ผู้นั้น คือให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง
ให้ตอกคาบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง
ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูทั้งจมูกบ้าง ทำให้เป็นผู้มีหม้อข้าวเดือดบนศีรษะ
บ้าง ให้ถลกหนังศีรษะโล้นมีสีขาวเหมือนสังข์บ้าง ให้มีปากเหมือนปาก
ราหูบ้าง ทำให้มีไฟลุกที่มือบ้าง ให้ถลกหนังแล้วผูกเชือกฉุดไปบ้าง
ให้ถลกหนังเป็นริ้วเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง ทำให้มีห่วงเหล็กที่ศอกและ
เข่า แล้วใส่หลาวเหล็กตรึงไว้บ้าง ให้เอาเบ็ดเกี่ยวติดที่เนื้อปากบ้าง ให้
เอาพร้าถากตัวให้ตกไปเท่ากหาปณะบ้าง ให้เอาพร้าถากตัวแล้วทาด้วย
น้ำแสบบ้าง ให้นอนลงแล้วตรึงหลาวเหล็กไว้ในช่องหูบ้าง ให้ถลกหนัง
แล้วทุบกระดูกพันไว้เหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันอันร้อนบ้าง
ให้สุนัขกัดกินเนื้อที่ตัวบ้าง เอาหลาวเสียบเป็นไว้บ้าง และย่อมตัดศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 522
ด้วยดาบ ผู้นั้นย่อมเสวยทุกข์โทมนัส แม้เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์ ทุกข์
โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะ
เหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความ
กำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น พระราชาเป็นใหญ่ในการลงอาชญา
ทั้ง ๘ อย่างนี้ ผู้นั้น เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะกรรมของตน.
พวกนายนิรยบาล ย่อมให้ทำกรรมกรณ์ซึ่งมีเครื่องจำ ๕ ประการ
กะสัตว์นั้น คือ ให้ตรึงหลาวเหล็กแกงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง ที่ท่าม
กลางอก สัตว์นั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ก็
ยังไม่ทำกาลกิริยา ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ทุกข์โทมนัส
อันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่ง
ความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัด
ด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น.
พวกนายนิรยบาลให้สัตว์เหล่านั้นนอนลงแล้วเอาผึ่งถาก และจับ
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง แล้วเอาพร้าถาก และให้เทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถ
แล้วให้วิ่งไปบ้าง วิ่งกลับไปบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดโชนมีเปลวลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงบ้าง ต้อนให้ขึ้นภูเขาถ่านเพลิงใหญ่ไฟติดโชนมีเปลวลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วงบ้าง ให้กลับลงมาบ้าง และจับสัตว์นั้นเอาเท้าขึ้น เอา
ศีรษะลงแล้ว เหวี่ยงไปในหม้อเหล็กแดง อันไฟติดโชนมีเปลวรุ่งโรจน์
โชติช่วง สัตว์นั้นย่อมเดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กแดงเหมือนฟองน้ำข้าว
ที่กำลังเดือด สัตว์นั้นเมื่อเดือดร้อนพล่านอยู่ในหม้อเหล็กแดงเหมือนฟอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 523
น้ำข้าวที่กำลังเดือด ไปข้างบนคราวหนึ่ง ไปข้างล่างคราวหนึ่งบ้าง หมุน
ขวางไปคราวหนึ่งบ้าง สัตว์นั้น เสวยทุกขเวทนาอันกล้า แสบเผ็ดร้อนอยู่
ในหม้อเหล็กแดงนั้น แต่ก็ยังไม่ทำกาลกิริยา ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้น
ยังไม่สิ้น ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่ง
ความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และ
เพราะเหตุความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของผู้นั้น พวกนายนิรยบาล
เหวี่ยงสัตว์นั้นลงในนรก ก็แหละนรกนั้นเป็นมหานรก
สี่เหลี่ยม มีสี่ประตู อันบาปกรรมจัดแบ่งออกเป็น
ส่วน ๆ มีกำแพงเหล็กกั้นไว้เป็นที่สุด ปิดครอบด้วยแผ่น
เหล็ก มีพื้นล้วนเป็นเหล็กไฟลุกโพลงอยู่ แผ่ไปร้อยโยชน์
โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกสมัย นรกใหญ่ ร้อนจัด มีเปลวไฟ
รุ่งโรจน์ยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุก น่ากลัว มีภัยเฉพาะ
หน้า มีแต่ทุกข์ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านหน้า เผา
เหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านหลัง กอง
เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านหลัง เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก
ผ่านไปจดฝาด้านหน้า กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้
เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านเหนือ
กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านเหนือ เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรม
ลามก ผ่านไปจนจดฝาด้านใต้ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา
ด้านล่าง น่ากลัว เผาเหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไป
จนจดฝาปิด กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาเปิด น่ากลัว เผา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 524
เหล่าสัตว์ที่มีกรรมลามก ผ่านไปจนจดด้านพื้นล่าง แผ่น
เหล็กที่ติดไฟทั่ว แดงโชน ไฟโพลง ฉันใด อเวจีนรก
ข้างล่าง ก็ปรากฏแก่สัตว์ที่เห็นอยู่ในข้างบน ฉันนั้น.
เหล่าสัตว์ในอเวจีนรกนั้นชั่วช้ามาก ทำกรรมชั่วมา
มีแต่กรรมลามกอย่างเดียว ถูกไฟไหม้อยู่แต่ไม่ตาย กาย
ของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้นเสมอด้วยไฟ เชิญดูความ
มั่นคงของกรรมทั้งหลายเถิด ไม่มีเถ้า แม้แต่เขม่าก็ไม่มี
เหล่าสัตว์วิ่งไปทางประตูด้านหน้า (ที่เปิดอยู่) กลับจาก
ประตูด้านหน้าวิ่งมาทางประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตู
ด้านเหนือ กลับจากประตูด้านเหนือวิ่งมาทางประตูด้านใต้
แม้จะวิ่งไปทิศใด ๆ ประตูทิศนั้น ๆ ก็ปิดเอง สัตว์เหล่า
นั้นหวังจะออกไป แสวงหาทางที่จะพ้นไป แต่ก็ออกจาก
นรกนั้นไปไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย ด้วยว่ากรรม
อันลามก สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมด
ดังนี้.
ทุกข์โทมนัสอันน่ากลัวนี้เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเหตุแห่งความรัก
เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุแห่งความกำหนัด และเพราะเหตุ
แห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดีของสัตว์นั้น.
ทุกข์อันมีในนรกก็ดี ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์
อันมีในเปรตวิสัยก็ดี ทุกข์อันมีในมนุษย์ก็ดี เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุอะไร ทุกข์เหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 525
นั้น ย่อมมี ย่อมเป็น ย่อมเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ย่อม
ปรากฏ เพราะเหตุแห่งความรัก เพราะเหตุแห่งความยินดี เพราะเหตุ
แห่งความกำหนัด และเพราะเหตุแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
ของสัตว์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์นี้เป็นไปตามความรักย่อม
ปรากฏ.
[๖๗๑] ชื่อว่า ความรัก ในอุเทศว่า อาทีนว เสฺนหช เปกฺข-
มาโน ดังนี้ ความรักมี ๒ อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจตัณหา
ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า เมื่อเห็นโทษอันเกิดแต่ความรัก ความว่า เมื่อเห็น เมื่อ
แลเห็น เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณาเห็น ซึ่งโทษในความรักด้วยอำนาจ
ตัณหา และในความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะ-
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ความรักทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง
ทุกข์นี้เป็นไปตามความรัก ย่อมปรากฏ บุคคลเมื่อเห็น
โทษอันเกิดแต่ความรัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๖๗๒] บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อมเป็นผู้มีจิตผูกพัน บุคคลเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 526
เห็นภัยนั้นในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๖๗๓] ชื่อว่า มิตร ในอุเทศว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
หาเปติ อตฺถ ปฏิพทฺธจิตฺโต ดังนี้ มิตรมี ๒ พวก คือ มิตรคฤหัสถ์ ๑
มิตรบรรพชิต ๑.
มิตรคฤหัสถ์เป็นไฉน คฤหัสถ์บางคนในโลกนี้ ย่อมให้ของที่ให้
กันยาก ย่อมสละของที่สละกันยาก ย่อมทำกิจที่ทำกันยาก ย่อมอดทน
อารมณ์ที่อดทนกันยาก ย่อมบอกความลับแก่มิตร ย่อมปิดบังความลับ
ของมิตร ย่อมไม่ละทิ้งในคราวที่มีอันตราย ถึงชีวิตก็ยอมสละเพื่อประโยชน์
แก่มิตร เมื่อมิตรหมดสิ้น (ยากจน) ก็ไม่ดูหมิ่น นี้ชื่อว่า มิตรคฤหัสถ์.
มิตรบรรพชิตเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่เคารพ เป็นผู้ควรแก่ความสรรเสริญ เป็นผู้อดทนถ้อยคำ เป็นผู้
ทำถ้อยคำลึก และย่อมไม่ชักชวนในเหตุอันไม่ควร ย่อมชักชวนในอธิศีล
ย่อมชักชวนในการขวนขวาย ในการบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ย่อมชักชวนในการ
ขวนขวายในการบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่า มิตรบรรพชิต.
การไปสบาย การมาสบาย การไปและการมาสบาย การยืนสบาย
การนั่งสบาย การนอนสบาย การพูดสบาย การเจรจาสบาย การสนทนา
สบาย การปราศรัยสบายกับบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นท่านกล่าวว่า
เป็นคนที่มีใจดี.
คำว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป ความว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์ อุดหนุนเกื้อกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 527
พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี คือ พวกมิตรที่เห็นกันมา พวกมิตรที่คบ
กันมา และพวกสหาย ย่อมทำให้ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
ประโยชน์ทั้งสองบ้าง ประโยชน์มีในชาตินี้บ้าง ประโยชน์มีในชาติหน้า
บ้าง ประโยชน์อย่างยิ่งบ้าง เสื่อมไป เสียไป ละไป อันตรธานไป
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี
ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป.
คำว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน ความว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันด้วยเหตุ ๒
อย่าง คือ เมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไว้สูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน ๑
เมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน ๑.
เมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไวสูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างไร
บุคคลเมื่อตั้งตนไว้ต่ำ ตั้งคนอื่นไว้สูง ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันโดยถ้อยคำ
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะมากแก่ฉัน ฉันอาศัยท่านทั้งหลาย ย่อม
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คนอื่น ๆ
ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำแก่ฉัน คนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้อาศัย
ท่านทั้งหลาย เห็นกะท่านทั้งหลาย ชื่อและสกุลของมารดาบิดาเก่าแก่
ของฉันเสื่อมไปแล้ว ฉันย่อมรู้ได้เพราะท่านทั้งหลาย ฉันเป็นกุลุปกะของ
อุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น (ก็เพราะท่านทั้งหลาย).
เมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างไร
บุคคลเมื่อตั้งตนไว้สูง ตั้งคนอื่นไว้ต่ำ ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน โดย
ถ้อยคำอย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมากแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาศัย
ฉัน จึงถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 528
จากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฉันย่อมบอกบาลีบ้าง อรรถกถา
บ้าง ศีลบ้าง อุโบสถบ้าง แก่ท่านทั้งหลาย ฉันย่อมอธิษฐานนวกรรม
(เพื่อท่านทั้งหลาย) ก็แหละเมื่อเป็นดังนี้ ท่านทั้งหลายยังสละฉันไป
สักการะเคารพนับถือบูชาบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อ
อนุเคราะห์พวกมิตรและพวกคนที่มีใจดี ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อม
เป็นผู้มีจิตผูกพัน.
[๖๗๔] คำว่า ภัย ในอุเทศว่า เอต ภย สนฺถเว เปกฺขมาโน
ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียนผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัย
คือทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาฉลาม ภัยแต่
การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้าม
ในบริษัท เหตุที่น่ากลัว ความเป็นผู้ครั่นคร้าม ความเป็นผู้มีขนลุก
ขนพอง ความที่จิตหวาดเสียว ความที่จิตสะดุ้ง.
ความสนิทสนม ในคำว่า สนฺถเว มี ๒ อย่าง คือ ความสนิท-
สนมด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความสนิทสนมด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อ
ว่า ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความสนิทสนมด้วย
อำนาจทิฏฐิ.
คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม ความว่า เมื่อเห็น เมื่อ
แลเห็น เมื่อเพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งภัยนี้ในความสนิทสนม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเห็นภัยนี้ในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 529
บุคคลเมื่ออนุเคราะห์พวกมิตรและพวกที่มีใจดี ย่อม
ให้ประโยชน์เสื่อมไป ย่อมเป็นผู้มีจิตผูกพัน บุคคลเมื่อ
เห็นภัยนี้ในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๖๗๕] พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตร
เเละภรรยาทั้งหลาย กว้างขวาง เกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๗๖] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า วโส ในอุเทศว่า วโส วิสาโลว
ยถา วิสตฺโต ดังนี้ ในพุ่มไม้ไผ่มีหนามมาก รก ยุ่ง เกี่ยวกัน ข้องกัน
คล้องกัน พันกัน ฉันใด ตัณหา ราคะ สาราคะ ความกระหยิ่ม
ความยินดี ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความ
กำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ
กำหนัด ความกำหนัดรอบ ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความ
ลวง ตัณหาอันให้สัตว์เกิด ตัณหาอันให้เกี่ยวข้องไว้กับทุกข์ ตัณหาอัน
เย็บไว้ ตัณหาดังข่าย ตัณหาดังแม่น้ำ ตัณหาอันเกาะเกี่ยวในอารมณ์
ต่าง ๆ ความเป็นผู้หลับ ตัณหาอันแผ่ไป ตัณหาอันให้อายุเสื่อมไป
ตัณหาอันเป็นเพื่อนสอง ความตั้งไว้ ตัณหาอันนำไปในภพ ตัณหาดังป่า
ตัณหาดังหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ความสนิทสนม ความรัก ความเพ่ง ความ
ผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความ
หวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 530
ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังใน
ชีวิต ความชอบ ความชอบทั่วไป ความชอบเฉพาะ กิริยาที่ชอบ
ความเป็นผู้ชอบ ความโลภมาก กิริยาที่โลภมาก ความเป็นผู้โลภมาก
ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็นผู้ไม่ใคร่ดี ความกำหนัดในอธรรม
ความกำหนัดไม่สม่ำเสมอ ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่
ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความปรารถนาดี กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในความ
ดับ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา กิเลสดังห้วงน้ำ กิเลสอันประกอบไว้ กิเลสอันร้อยไว้
ความถือมั่น ความกั้น ความบัง ความปิด ความผูก ความเศร้าหมอง
ความนอนตาม ความกลุ้มรุม ตัณหาดังเถาวัลย์ ความปรารถนาต่าง ๆ
มูลแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร อำนาจมาร
ที่อยู่ของมาร เครื่องผูกของมาร แม่น้ำคือตัณหา ข่ายคือตัณหา โซ่คือ
ตัณหา ทะเลคือตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็น
ตัณหาอันเกาะเกี่ยว ฉันนั้นเหมือนกัน.
ตัณหาชื่อวิสัตติกา ในคำว่า วิสตฺติกา นี้ เพราะอรรถว่า กระไร
เพราะอรรถว่า แผ่ไป ว่ากว้างขวาง ว่าซึมซาบไป ว่าครอบงำ ว่านำ
พิษไป ว่าให้กล่าวผิด ว่ามีรากเป็นพิษ ว่ามีผลเป็นพิษ ว่ามีการบริโภค
เป็นพิษ.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหากว้างขวาง แผ่ไป ซึมซาบไป ในรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 531
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานา-
สัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต
ปัจจุบัน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า... พุ่มไม้ไผ่ที่ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด.
[๖๗๗] ชื่อว่า บุตร ในอุเทศว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา
ดังนี้. บุตรมี ๔ จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดในเขต ๑
บุตรที่เขาให้๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑. ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ. ตัณหา
ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า อเปกฺขา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย.
[๖๗๘] พุ่มไม้ไผ่ ท่านกล่าวว่า ไม้ไผ่ ในอุเทศว่า วสกฬีโรว
อสชฺชมาโน ดังนี้ หน่อไม้อ่อนทั้งหลายในพุ่มไม้ไผ่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ติด
ไม่ขัด ไม่พัวพัน ออกไป สละออกไป พ้นไป ฉันใด.
ความขัดข้องมี ๒ อย่าง คือ ความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้องด้วยอำนาจ
ตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้น ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา สละคืนความขัดข้องด้วยอำนาจ
ทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความขัดข้องด้วยอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้
สละคืนความขัดข้องด้วยอำนาจทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ข้อง ไม่ยึดถือ ไม่พัวพัน ใน
สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนา-
สนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 532
โวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูป
ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และในธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง
ออกไป สลัดออกไป พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดน
อยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้
ไผ่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พุ่มไม้ไผ่ผู้ใหญ่เกี่ยวข้องกัน ฉันใด ตัณหาในบุตร
และภรรยาทั้งหลาย กว้างขวาง เกี่ยวข้องกัน ฉันนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ขัดข้องเหมือนหน่อไม้ไผ่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๗๙] มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกไว้ ย่อมไปเพื่อ
หาอาหารตามความประสงค์ ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ฉันนั้น.
[๖๘๐] เนื้อ ๒ ชนิด คือ เนื้อทราย ๑ เนื้อสมัน ๑ ชื่อว่า มฤค
ในอุเทศว่า มิโค อรญฺมฺหิ ยถา อพนฺโธ เยนิจฺฉถ คจฺฉติ โคจราย
ดังนี้
เนื้อที่อาศัยอยู่ในป่า ปราศจากการระแวงภัยเดินไป ปราศจาก
การระแวงภัยยืนอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนั่งอยู่ ปราศจากการระแวง
ภัยนอนอยู่ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 533
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เนื้อที่อาศัยป่า เที่ยวไปในป่าใหญ่ ปราศจากความรังเกียจเดิน
ไป ปราศจากความรังเกียจยืนอยู่ ปราศจากความรังเกียจนอนอยู่ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเนื้อนั้นมิได้ไปในทางของพราน
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้บอด กำจัดมารให้เป็นผู้
ไม่มีทาง ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามกมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน อันมีความผ่องใส แห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่... ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามก
มองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข... ไปแล้วสู่สถานที่ที่
มารมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่... ไปแล้วสู่สถานที่ที่มารผู้ลามกมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 534
นัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้... ไปแล้วสู่สถานที่
ที่มารมองหาไม่เห็น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการ
ทั้งปวงแล้ว บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหา
ที่สุดมิได้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งมิได้มี ล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุเนวสัญญานาสัญญา-
ญายตนฌานด้วยมนสิการว่า นี้สงบ นี้ประณีต ล่วงเนวสัญญานาสัญ-
ยตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และ
อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้บอด กำจัดมารให้เป็นผู้ไม่มีทาง
ไปแล้วสู่สถานทีที่มารมองหาไม่เห็น ภิกษุนั้นข้ามตัณหาอันเกี่ยวข้องใน
โลกแล้ว เป็นผู้ปราศจากการระแวงภัยเดินไป ปราศจากการระแวงภัย
ยืนอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนั่งอยู่ ปราศจากการระแวงภัยนอนอยู่
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุไม่อยู่ในทางของมารผู้ลามก ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เนื้อในป่าอันเครื่องผูกอะไร ๆ ไม่ผูก
แล้ว ย่อมไปเพื่อหาอาหารตามความประสงค์ ฉันใด.
[๖๘๑] คำว่า วิญฺญู ในอุเทศว่า วิญฺญู นโร เสริต เปกฺขมาโน
ดังนี้ ความว่า ผู้รู้แจ้ง เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส.
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ มาณพ โปสชน บุคคล ชีวชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 535
ชาตุชน ชันตุชน อินทคุชน (ชนผู้ดำเนินโดยกรรมใหญ่) มนุชะ. ชื่อว่า
เสรี ได้แก่ เสรี ๒ อย่าง คือ ธรรมเสรี ๑ บุคคลเสรี ๑.
ธรรมเสรีเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่า ธรรม-
เสรี.
บุคคลเสรีเป็นไฉน บุคคลใดประกอบด้วยเสรีธรรมนี้ บุคคลนั้น
ท่านกล่าวว่า บุคคลเสรี.
คำว่า นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็นธรรมอันถึงความเป็นเสรี ความ
ว่า นรชนที่เป็นวิญญู เมื่อเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณาดู
ซึ่งธรรมอันถึงความเป็นเสรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันถึงความเป็นเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไรมิได้ผูกแล้ว ย่อมไป
เพื่อหาอาหารตามความประสงค์ฉันใด นรชนที่เป็นวิญญู
เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๘๒] ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่
ที่ยืน ที่เดินและที่เที่ยวไป บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอัน
ให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 536
เหล่าใด บุคคลเหล่าใดท่านกล่าวว่า สหาย ในอุเทศว่า อามนฺตนา โหติ
สหายมชฺเฌ วาเส าเน คมเน จาริกาย ดังนี้.
คำว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่ยืน
ที่เดิน และที่เที่ยวไป ความว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษา
ประโยชน์ตน การปรึกษาประโยชน์ผู้อื่น การปรึกษาประโยชน์ทั้งสอง
ฝ่าย การปรึกษาประโยชน์ปัจจุบัน การปรึกษาประโยชน์ภายหน้า การ
ปรึกษาปรมัตถประโยชน์ แม้ในที่อยู่ แม้ในที่ยืน แม้ในที่เดิน แม้ใน
ที่เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษา
ทั้งในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป.
[๖๘๔] คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี
ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา ความว่า สิ่งนี้ คือการครองผ้ากาสายะที่เป็น
บริขาร อันพวกคนพาล คือพวกเดียรถีย์ ผู้เป็นอสัตบุรุษ ไม่ปรารถนา
สิ่งนี้ คือการครองผ้ากาสายะที่เป็นบริขาร อันบัณฑิต คือพระพุทธเจ้า
สาวกของพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสัตบุรุษปรารถนา
แล้ว.
ชื่อว่า เสรี ได้แก่เสรี ๒ อย่าง คือ ธรรมเสรี ๑ บุคคลเสรี ๑.
ธรรมเสรีเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ชื่อว่าธรรมเสรี.
บุคคลเสรีเป็นไฉน บุคคลใดประกอบแล้วด้วยธรรมเสรีนี้ บุคคล
นั้นท่านกล่าวว่า บุคคลเสรี.
คำว่า บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวก
คนชั่วไม่ปรารถนา ความว่า บุคคลเมื่อเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 537
เมื่อพิจารณาดู ซึ่งบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุคคลเมื่อเห็นบรรพชาอันให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วปรารถนา
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ในท่ามกลางสหาย จำต้องมีการปรึกษาทั้งในที่อยู่ ที่
ยืน ที่เดิน และที่เที่ยวไป บุคคลผู้เห็นการบรรพชาอัน
ให้ถึงความเป็นเสรี ที่พวกคนชั่วไม่ปรารถนา พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๘๕] การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางแห่งสหาย
แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก บุคคลเมื่อเกลียดความ
พลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๖๘๖] ชื่อว่า การเล่น ในอุเทศว่า ขิฑฺฑา รติ โหติ สหาย-
มชฺเฌ ดังนี้ ได้แก่การเล่น ๒ อย่าง คือ การเล่นกางกาย ๑ การเล่น
ทางวาจา ๑.
การเล่นทางกายเป็นไฉน ชนทั้งหลายเล่นช้างบ้าง เล่นม้าบ้าง
เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกบ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นหมากเก็บ
บ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่ง
บ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นตีคลีบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง
เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 538
เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทาย
ใจกันบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย.
การเล่นทางวาจาเป็นไฉน เล่นตีกลองด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย
ปาก เล่นแกว่งบัณเฑาะว์ด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นเป่าปาก เล่นตี
ตะโพนด้วยปาก เล่นร้องรำ เล่นโห่ร้อง เล่นขับเพลง เล่นหัวเราะ นี้
ชื่อว่าการเล่นทางวาจา.
คำว่า ความยินดี ในคำว่า รติ นั้น เป็นเครื่องกล่าวถึง ความ
กระสัน การไปสบาย การมาสบาย . . . การปราศรัยสบาย กับบุคคล
เหล่าใด บุคคลเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สหาย ในอุเทศว่า สหายมชฺเฌ
ดังนี้.
คำว่า การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ความว่า
การเล่นและความยินดี ย่อมมีในท่ามกลางสหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางสหาย.
[๖๘๗] ชื่อว่า บุตร ในอุเทศว่า ปุตฺเตสุ จ วิปุล โหติ เปม
ดังนี้ ได้แก่บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดใน
เขต ๑ บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑.
คำว่า แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก ความว่า ความรักใน
บุตรทั้งหลายมีประมาณยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่ความรักในบุตร
ทั้งหลายมีมาก.
[๖๘๘] ของที่รัก ในอุเทศว่า ปิยวิปฺปโยค วิชิคุจฺฉมาโน
ดังนี้ มี ๒ อย่าง คือ สัตว์อันเป็นที่รัก ๑ สังขารอันเป็นที่รัก ๑.
สัตว์อันเป็นที่รักเป็นไฉน ชนเหล่าใดมีอยู่ในโลกนี้ เป็นมารดาก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 539
บิดาก็ดี พีน้องชายก็ดี พี่น้องหญิงก็ดี บุตรก็ดี ธิดาก็ดี มิตรก็ดี
พวกพ้องก็ดี ญาติก็ดี สายโลหิตก็ดี เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ
เกื้อกูล หวังความสบาย หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าสัตว์อันเป็นที่รัก.
สังขารอันเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ส่วนที่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ ชื่อว่าสังขารอันเป็นที่รัก.
คำว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก ความว่า เมื่อ
เกลียด เมื่ออึดอัด เมื่อเบื่อ ซึ่งความพลัดพรากจากของที่รัก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางแห่งสหาย
แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก บุคคลเมื่อเกลียดความ
พลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๖๘๙] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๐] คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ในอุเทศว่า จาตุทฺ-
ทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจ
ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 540
เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
เมตตา เป็นจิตกว้างขวาง เป็นมหัคคตะ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
มีใจประกอบด้วยกรุณา. . . มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือน
กัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา เป็นจิตกว้างขวางถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ใน
ที่ทุกสถาน.
คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา จึงไม่มีความ
เกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศใต้ ใน
ทิศเหนือ ในทิศอาคเนย์ ในทิศหรดี ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในทิศใหญ่ ในทิศน้อย เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา
เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา เพราะเป็นผู้เจริ อุเบกขา จึงไม่มีความเกลียดชัง
สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ฯ ล ฯ ในทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง.
[๖๙๑] คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และไม่ถึงความแสวงหาผิด
อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง (ไม่ขวนขวาย)
เมื่อได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 541
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ในจีวรสันโดษนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านี้ ท่านกล่าวว่า ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่า
เป็นวงศ์เลิศอันมีมาแต่โบราณสมัย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้ง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และ
ไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร เมื่อไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง เมื่อได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ใน
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่าน
กล่าวว่าดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศอันมีมา
แต่โบราณสมัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
[๖๙๒] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า ปริสฺสยาน สหิตา อจฺฉมฺภี
ดังนี้ ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.
อันตรายปรากฏเป็นไฉน ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ พวกโจร
พวกคนที่ทำกรรมแล้วหรือที่ยังไม่ได้ทำกรรม โรคตา โรคหู โรคจมูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 542
โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคเรอ
โรคมองคร่อ โรคร้อนใน โรคผอม โรคในท้อง โรคลมวิงเวียน โรค
ลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค
หืด โรคลมบ้าหมู หิตด้าน หิดเปื่อย โรคคัน ขี้เรื้อนกวาง โรค
ลักปิดลักเปิด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวง โรคต่อมแดง
บานทะโรค อาพาธเกิดแต่ดี อาพาธเกิดแต่เสมหะ อาพาธเกิดแต่ลม
อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิด
เพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่เท่ากัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิด
เพราะผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวด
อุจจาระ ปวดปัสสาวะ หรือว่าสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ.
อันตรายปกปิดเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กาม
ฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความ
ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง
ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
อันตราย ชื่อว่า ปริสฺสยา เพราะอรรถว่า กระไร เพราะอรรถว่า
ครอบงำ ว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม ว่าอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 543
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร อันตรายเหล่านั้น
ย่อมครอบงำ ย่อมทับ ย่อมท่วมทับ ย่อมเบียดเบียนบุคคลนั้น ชื่อว่า
อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร
อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรม
ทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลายเหล่าไหน อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย
เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์
ความปฏิบัติโดยสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ การประกอบความเพียร สติสัมปชัญญะ ความหมั่นในการเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไป
เพื่อความเสื่อมอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นอย่างไร อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัยอัตภาพ ย่อม
เกิดขึ้นในอัตภาพนั้น เหล่าสัตว์ผู้อาศัยโพรงย่อมอยู่ในโพรง เหล่าสัตว์
ผู้อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ เหล่าสัตว์ผู้อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า เหล่าสัตว์ที่
อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัย
อัตภาพย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพ ฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าอันตราย เพราะ
อรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 544
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส
ที่เป็นอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่
ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเห็นรูปด้วยตา อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริ
ด้วยความระลึกถึงอันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้
อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์.
อีกประการหนึ่ง เพราะฟังเสียงด้วยหู เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก
เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริด้วยความระลึก อันเกื้อกูลแก่
สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่
ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึง
กล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น
ย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่าผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่เป็นอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างนี้
แล ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพ
นั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 545
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นมลทินในระหว่าง เป็นไพรีใน
ระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทสะ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมหะเป็นมลทินใน
ระหว่าง เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึก
ในระหว่าง
โลภะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม โลภะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ
นั้น.
โทสะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโกรธย่อมไม่รู้จักอรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
โทสะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
ในขณะนั้น.
โมหะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง
จิตให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึง
ภัยนั้น คนหลงย่อมไม่รู้จักอรรถ คนหลงย่อมไม่เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 546
ธรรม โมหะย่อมครอบงำนรชนรนขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการแล เมื่อเกิด
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก. ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โทสะแล ฯ ล ฯ ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โมหะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่ผาสุก.
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมเบียด-
เบียนบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่เกิดแล้วในตนของ
ตน เบียดเบียนไม้ไผ่ฉะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 547
ราคะ โหสะ โมหะ ความไม่ยินดี ความยินดี
ความเป็นผู้ขนลุกขนพอง มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่
อัตภาพนี้ ความตรึกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ย่อมผูก
สัตว์ไว้ เหมือนพวกเด็ก ๆ ผูกกาไว้ฉะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ความว่า ครอบงำ คือ ไม่ยินดี
ท่วมทับ บีบคั้น กำจัด ซึ่งอันตรายทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย.
คำว่า ผู้ไม่มีความหวาดเสียว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น ไม่ขลาด ไม่มีความหวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี เป็นผู้ละความ
กลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๓] แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 548
ขวนขวายน้อย ในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยว ไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๔] คำว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็นผู้อันคนอื่น
สงเคราะห์ยาก ความว่า แม้บรรพชิตบางพวกในศาสนานี้ เมื่อคนอื่น
ให้นิสัยก็ดี ให้อุเทศก็ดี ให้ปริปุจฉาก็ดี ให้จีวรก็ดี ให้บาตรก็ดี ให้
ภาชนะที่ทำด้วยโลหะก็ดี ให้ธมกรกก็ดี ให้ผ้ากรองน้ำก็ดี ให้ลูกตาลก็ดี
ให้รองเท้าก็ดี ให้ประคดเอวก็ดี ย่อมไม่ฟัง ไม่ตั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิต
เพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ เป็นผู้ประพฤติหยาบ เบือนหน้าไป
โดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็น
ผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก.
[๖๙๕] คำว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ความว่า แม้
คฤหัสถ์บางพวกในโลกนี้ เมื่อคนอื่นให้ช้างก็ดี ให้รถก็ดี ให้นาก็ดี ให้
ที่ดินก็ดี ให้เงินก็ดี ให้ทองก็ดี ให้บ้านก็ดี ให้นครก็ดี ให้ชนบทก็ดี
ย่อมไม่ฟัง ไม่ทั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ
เป็นผู้ประพฤติหยาบ ย่อมเบือนหน้าไปโดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน.
[๖๙๖] ชนทั้งปวงยกตนเสีย ท่านกล่าวในอรรถนี้ว่า พึงเป็นผู้มี
ความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย.
คำว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย
ความว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย คือพึงเป็นผู้ไม่ห่วงใย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 549
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ
ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๗] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว
เหมือนต้นทองหลาง มีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๘] ผม หนวด ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
แต่งตัว เครื่องประดับ ผ้า ผ้าห่ม ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด
เครื่องอาบน้ำ เครื่องตัด คันฉ่อง เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา
เครื่องผัดหน้า เครื่องทาปาก เครื่องประดับมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า
กล้อง ดาบ ร่ม รองเท้า กรอบหน้า ดาบเพชร (หรือเครื่องประดับ
ข้อมือ) พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้าชายยาว ดังนี้เป็นตัวอย่าง ท่านกล่าวว่า
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โวโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า ปลงเสียแล้วแห่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ความว่า ปลง-
เสียแล้ว คือ วางแล้ว ทิ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปลงเสียแล้ว
ซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์.
[๖๙๙] คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดเครื่องหมายคฤหัสถ์ให้ตกไปแล้ว เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 550
ต้นทองหลางมีใบเหลืองร่วงหล่นไปแล้วฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นไปแล้ว.
[๗๐๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นวีรชน ในอุเทศว่า
เฉตฺวาน วีโร คิหิพนฺธนานิ ดังนี้ เพราะอรรถว่า มีความเพียร ว่าผู้อาจ
ว่าผู้องอาจ ว่าผู้สามารถ ว่าผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่
หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ผู้ละความกลัว ความขลาดแล้ว ผู้
ปราศจากขนลุกขนพอง.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ท่านเว้นแล้วจากความชั่ว
ทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ ล่วงพ้นทุกข์ในนรกเสียแล้ว
อยู่ด้วยความเพียร มีความเป็นผู้กล้า มีความเพียร ท่าน
กล่าวว่าเป็นวีรชน ผู้คงที่ เป็นจริงอย่างนั้น.
บุตร ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน
เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี เเว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง และวัตถุ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์.
คำว่า เป็นวีรชน . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นวีรชน ตัด ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้
สิ้นสุดให้ถึงความไม่มี ซึ่งเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นวีรชน . . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 551
เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๐๑] ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
[๗๐๒] คำว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าพึงได้
พึงได้เฉพาะ พึงประสบ พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำสายกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[๗๐๓] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจร สาธุวิหาริ
ธีร ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยปฐม-
ฌานแม้ด้วยทุติยฌาน แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน อยู่ด้วย -
กรรมดีแม้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยกรุณาเจโตวิมุตติ แม้ด้วย
มุทิตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยอุบกขาเจโตวิมุตติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วย
อากาสานัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ แม้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ เป็นบัณฑิต มี
ความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 552
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์.
[๗๐๔] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺส-
ยานิ ดังนี้ ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตราย
ปกปิด ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงแล้ว ความว่า ครอบงำ ย่ำยี
ท่วมทับ กำจัดอันตรายทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำ
อันตรายทั้งปวงแล้ว.
[๗๐๕] คำว่า พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเป็นผู้ปลื้มใจ มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจ
ชื่นชม มีใจปีติกล้า มีใจเบิกบาน เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถ รักษา บำรุง เยียวยา ไปกับสหายผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปลื้มใจเที่ยวไปกับสหายนั้น.
คำว่า มีสติ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติแก่กล้าอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึก ตามระลึกได้ซึ่งกรรมที่ทำ
และคำที่พูดแล้วแม้นานได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปลื้มใจ
มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 553
[๗๐๖] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.
[๗๐๗] คำว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าไม่พึงได้
ไม่พึงได้เฉพาะ ไม่พึงประสบ ไม่พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือที่เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[๗๐๘] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจร สาธุวิหาริ
ธีร ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดีแม้
ด้วยปฐมฌาน ฯ ล ฯ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ความว่า เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ คือ เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วย
กรรมดี เป็นนักปราชญ์.
[๗๐๙] คำว่า ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว เสด็จ
เที่ยวไปพระองค์เดียว ความว่า พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก
แล้ว ทรงชนะสงคราม กำจัดข้าศึกแล้ว ได้ความเป็นใหญ่ มีคลัง
บริบูรณ์ ทรงละแล้วซึ่งแว่นแคว้น ชนบท คลัง เงิน ทองเป็นอันมาก
และนคร ทรงปลงพระเกสา พระมัสสุแล้ว ทรงผ้ากาสายะ เสด็จออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 554
ผนวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จเที่ยวไป เที่ยวไป
ทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา ไปผู้เดียว ฉันใด แม้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวล
ในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในมิตรและพวกพ้องแล้ว
ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ
เป็นผู้ไม่มีกังวล เที่ยวไป เดินไป พักผ่อน เป็นไป รักษา บำรุง
เยียวยา ไปผู้เดียวฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดังพระราชา ทรง
ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.
[๗๑๐] เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม
โดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอ
กัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภค
ปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๑๑] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา ปสสาม สหายสมฺปท
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวไม่สงสัย เป็น
เครื่องกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 555
เครื่องกล่าวไม่เป็นสองแยก เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองทาง เป็นเครื่อง
กล่าวไม่ผิด. คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน สหายผู้ใดเป็น
ผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ สหายผู้นั้นท่านกล่าวว่า สหายผู้ถึง
พร้อมด้วยธรรม ในคำว่า สหายสมฺปท ดังนี้.
คำว่า ย่อมสรรเสริญซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ความว่า ย่อม
สรรเสริญ คือ ย่อมชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมสรรเสริญ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมโดยแท้.
[๗๑๒] คำว่า ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
ความว่า สหายทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ สหายทั้งหลายเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ควรเสพ คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควร
ไต่ถาม ควรสอบถาม สหายที่ประเสริฐกว่า หรือสหายที่เสมอกัน (เท่านั้น)
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ควรเสพสหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
(เท่านั้น).
[๗๑๓] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น
ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ดังต่อไปนี้ บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมี
โทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการหลอกลวง ด้วย
การพูดเลียบเคียง ด้วยความเป็นหมอดู ด้วยความเป็นคนเล่นกล ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 556
การแสวงหาลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้จริง ด้วยการให้ไม้ไผ่ ด้วยการ
ให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ ด้วยการให้จุรณ
ด้วยการให้ดิน ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ด้วยความ
เป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ด้วยความ
ประจบเขา ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ด้วยวิชา
ดูพื้นที่ ด้วยติรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม
ด้วยการเป็นทูต ด้วยการเดินรับใช้ ด้วยการเดินสาสน์ ด้วยทูตกรรม
ด้วยการให้บิณฑบาตอบแก่บิณฑบาต ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้โดยผิด
ธรรม โดยไม่สม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่าน
กล่าวว่า ผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการไม่หลอก-
ลวง ด้วยการไม่พูดเลียบเคียง ด้วยความไม่เป็นคนเล่นกล ด้วยการไม่
แสวงหาลาภด้วยลาภ ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้จริง ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่
ไม่ใช่ด้วยการให้ใบไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้ดอกไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้เครื่อง
อาบน้ำ ไม่ใช่ด้วยการให้จุรณ ไม่ใช่ด้วยการให้ดิน ไม่ใช่ด้วยการให้
ไม้สีฟัน ไม่ใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ไม่ใช่ด้วยความเป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ
ไม่ใช่ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ไม่ใช่ด้วยความประจบเขา
ไม่ใช่ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่
ไม่ใช่ด้วยติรัจฉานวิชา ไม่ใช่ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ไม่ใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์
ยาม ไม่ใช่ด้วยการเดินเป็นทูต ไม่ใช่ด้วยการเดินรับใช้ ไม่ใช่ด้วยการ
เดินสาสน์ ไม่ใช่ด้วยเวชกรรม ไม่ใช่ด้วยทูตกรรม ไม่ใช่ด้วยการให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 557
บิณฑบาตตอบแก่บิณฑบาต ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้ โดยธรรม
โดยสม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า ผู้
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ.
คำว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
ความว่า เมื่อไม่ได้ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ไม่พบ ไม่ปะสหายเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอัน
ไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วย
ธรรมโดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่
เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควร
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๑๔] บุคคลเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๕] คำว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง ความว่า เห็น เห็น
แจ้ง เทียบเคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ.
คำว่า สุวณฺณเสฺส คือ ทองคำ. คำว่า สุกปลั่ง คือ บริสุทธิ์
เปล่งปลั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 558
[๗๑๖] ช่างทอง ท่านกล่าวว่า กัมมารบุตร ในอุเทศว่า กมฺมาร-
ปุตฺเตน สุนิฏฺิตานิ ดังนี้.
คำว่า ที่นายช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว ความว่า ที่นายช่างทองให้
สำเร็จดีแล้ว ทำดีแล้ว มีบริกรรมดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว.
[๗๑๗] มือ ท่านกล่าวว่า ภุชะ ในอุเทศว่า สงฺฆฏฺฏยนฺตานิ
ทุเว ภุชสฺมึ ดังนี้ กำไลมือสองวงในมือข้างหนึ่ง ย่อมเสียดสีกัน ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทบกระทั่งกันด้วยสามารถแห่งตัณหา สืบต่อใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย ในมนุษยโลก ในเทวโลก สืบต่อ
คติด้วยคติสืบต่ออุปบัติด้วยอุปบัติ สืบต่อปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ สืบต่อ
ภพด้วยภพ สืบต่อสงสารด้วยสงสาร สืบต่อวัฏฏะด้วยวัฏฏะ เที่ยวไป อยู่
ผลัดเปลี่ยน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สองวง
ในมือข้างหนึ่ง เสียดสีกันอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นาย
ช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้
เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๘] การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๙] คำว่า กับสหาย พึงมีแก่เราอย่างนี้ ความว่า ด้วยตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 559
เป็นสหาย ตัณหาเป็นสหายมีอยู่ บุคคลเป็นสหายมีอยู่ ตัณหาเป็นสหาย
อย่างไร รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้ ผู้นั้นกล่าวว่า มีตัณหา
เป็นสหาย.
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น
อย่างอื่นไปได้.
ตัณหาเป็นสหายอย่างนี้.
บุคคลเป็นสหายอย่างไร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฟุ้งซ่านมิใช่
เพราะเหตุของตน มิใช่เพราะเหตุแห่งผู้อื่นให้ทำ มีจิตไม่สงบ คนเดียว
กลายเป็นคนที่สองบ้าง สองคนกลายเป็นคนที่สามบ้าง สามคนกลายเป็น
คนที่สี่บ้าง ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อมากในที่ที่ตนไปนั้น คือ พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องข้าว เรื่องน้ำ
เรื่องผ้า เรื่องดอกไม้ เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วย
ประการดังนี้ บุคคลเป็นสหายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้.
[๗๒๐] ดิรัจฉานกถา ๓๒ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ
เรื่องความเจริญละความเสื่อมด้วยประการนั้น ท่านกล่าวว่า การพูดด้วย
วาจา ในอุเทศว่า วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา ดังนี้. ชื่อว่า ความ
เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่างคือ ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 560
ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา นี้
ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การพูดด้วยวาจา
ก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี.
[๗๒๑] ชื่อว่า ภัย ในอุเทศว่า เอต ภย อายตึ เปกฺขมาโน
ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียนผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัย
คือทุคติ ภัยแต่ลูกคลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่
การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้าม
ในประชุมชน เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนลุกขนพอง ความที่จิต
สะดุ้ง ความที่จิตหวั่นหวาด.
คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป ความว่า เมื่อเห็น เมื่อแลเห็น เมื่อ
ตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณา ซึ่งภัยนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๒] ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 561
[๗๒๓] คำว่า โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า กามา หิ จิตฺรา
มธุรา มโนรมา ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านั้นท่านกล่าวว่า กิเลส-
กาม.
คำว่า อันวิจิตร ความว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มี
กลิ่นชนิดต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ.
คำว่า มีรสอร่อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้
กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า เป็นกามสุข เป็นสุขเจือด้วยอุจจาระ เป็น
สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
ให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก เราย่อมกล่าวว่า ควรกลัวต่อความสุขนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย.
จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า
มโนรมา ดังนี้.
[๗๒๔] คำว่า ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 562
ย่อมย่ำยีจิต คือ ย่อมให้จิตสะดุ้ง ให้เสื่อม ให้เสีย ด้วยรูปชนิดต่าง ๆ
ฯ ล ฯ ด้วยโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมย่ำยีจิต
ด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ.
[๗๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า อาทีนว กามคุเณสุ ทิสฺวา
ดังต่อไปนี้ สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษแห่งกามเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยที่ตั้งแห่งศิลปะ คือ การนับ
นิ้วมือ การคำนวณ การประมาณ กสิกรรม พาณิชกรรม โครักขกรรม
เป็นนักรบ เป็นข้าราชการ หรือด้วยกิจอื่นซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ ทน
ต่อความหนาว ทนต่อความร้อน ถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัส
แห่งสัตว์เสือกคลาน เบียดเบียน ต้องตายเพราะความหิว ความกระหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามนี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกาม
เป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย
นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่อย่าง
นั้น โภคสมบัติเหล่านั้นย่อมไม่เจริญขึ้น กลับบุตรนั้นก็เศร้าโศก ลำบากใจ
ราพันเพ้อ ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า ความหมั่นของเราเป็น
หมันหนอ ความพยายามของเราไร้ผลหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ
แห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่ โภค-
สมบัติเหล่านั้นย่อมเจริญขึ้น กุลบุตรนั้นก็ได้เสวยทุกข์โทมนัส เพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 563
รักษาโภคสมบัติเหล่านั้น ด้วยคิดว่า โดยอุบายอะไร โภคสมบัติของเรา
จึงจะไม่ถูกพระราชาริบไป โจรจะไม่ลักไปได้ ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่ท่วม
พวกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ขนเอาไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครอง
อยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้นถูกพระราชาริบเอาไป ถูกโจรลักเอาไป
ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำท่วม หรือถูกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขนเอาไป กุลบุตร
ย่อมเศร้าโศก ฯ ล ฯ ถึงความหลงใหลว่า เรามีทรัพย์สิ่งใด แม้ทรัพย์
สิ่งนั้นหมดไปหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกัน
ได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระราชาวิวาทกับพระราชา
ก็ดี กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ดี พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ดี คฤหบดี
วิวาทกับคฤหบดีก็ดี มารดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับมารดาก็ดี
บิดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับบิดาก็ดี พี่น้องชายวิวาทกับพี่น้อง
หญิงก็ดี พี่น้องหญิงวิวาทกับพี่น้องชายก็ดี สหายวิวาทกับสหายก็ดี
ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่ง
กามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุแห่งกามนั้น
ประหารกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง
ด้วยศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงความทุกข์ปางตาย
บ้าง เพราะการประหารกันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้
เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกาม
เป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 564
โล่ จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว ย่อมเข้าสู่สงครามที่กำลังประชิดกันทั้งสอง
ฝ่าย เมื่อคนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คน
เหล่านั้นยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี และย่อมตัดศีรษะกันด้วยดาบ
ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้างในสงครามนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็น
กันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็น
อธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบและโล่
จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว เข้าไปสู่ป้อมอันมีปูนเป็นเครื่องฉาบทาบ้าง เมื่อ
คนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คนเหล่านั้น
ยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี รดด้วยโคมัยที่น่าเกลียดก็มี ทับด้วยฟ้า
ทับเหวก็มี ตัดศีรษะกันด้วยดาบก็มี ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง
คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในสงครามนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อบ้าง
ปล้นเรือนทุกหลังบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทาง
เปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาของชายอื่นบ้าง ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกาม
เป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง พวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 565
ราชบุรุษจับโจรคนนั้นได้แล้ว ให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้
บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยพลองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง
ฯ ล ฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง โจรเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้าง เพราะกรรมกรณ์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกาม
แม้นี้ เห็นกันได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมประพฤติ
ทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิการณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้น
ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่ง
กามแม้นี้ มีในสัมปรายภพ เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
คำว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า พบเห็น เทียบ-
เคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งโทษในกามคุณทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 566
[๗๒๖] คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๗] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า กามทั้งหลายเป็นเสนียด
เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นความ
ข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ ล้วนแล้วเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นภัย จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากภัยแม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้อันมีในสัมปราย-
ภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็น
ความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีใน
สัมปรายภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม.
สัตว์ที่เป็นปุถุชน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ เพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 567
เป็นครรภ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด ภิกษุไม่ละฌาน
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นล่วงกามอันเป็นดังทางมีเปือกตม ข้าม
ได้ยาก ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นอย่างนั้น เข้าถึงชาติและ
ชรา ดิ้นรนอยู่.
เพราะฉะนั้น จึงว่า คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็น
อุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย.
[๗๒๘] คำว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า
เห็น เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งภัยนี้ใน
กามคุณทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกาม
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๙] บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลานแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๓๐] ความหนาว ในอุเทศว่า สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทฺท
ปิปาส ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ความหนาวย่อมมีด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 568
สามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดู
ภายนอก ๑.
ความร้อน ในคำว่า อุณฺห ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑ ความร้อนย่อม
มีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑.
ความหิว ท่านกล่าวว่า ขุทฺทา. ความอยากน้ำ ท่านกล่าวว่า
ปิปาสา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย.
[๗๓๑] ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า วาตาตเป ฑสสิรึสเป จ
ดังนี้ คือ ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
ลมมีธุลี ลมหนาว ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมบ้าหมู ลมแต่ครุฑ
ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ความร้อนแต่ดวงอาทิตย์ท่านกล่าวว่าแดด
แมลงตาเหลืองท่านกล่าวว่าเหลือบ งูท่านกล่าวว่าสัตว์เสือกคลาน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลาน.
[๗๓๒] คำว่า ครอบงำแม้ภัยทั้งปวงนั้น ความว่า ครอบงำ
ปราบปราม กำจัด ย่ำยีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำแม้ภัย
ทั้งปวงนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลาน แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 569
[๗๓๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๓๔] ช้างตัวประเสริฐท่านกล่าวว่า นาค ในอุเทศว่า นาโค ว
ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา ดังนี้. แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าเป็นนาค.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุไร พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความชั่ว ว่าไม่ถึง
ว่าไม่มา. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่า
ไม่ทำความชั่วอย่างไร อกุศลธรรมอันลามก ทำให้มีความเศร้าหมอง
ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้ง
แห่งชาติชราและมรณะต่อไป ท่านกล่าวว่า ความชั่ว.
พระขีณาสพย่อมไม่ทำความชั่วอะไร ๆ ในโลกเลย
สละแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งปวงและเครื่องผูกทั้งหลาย เป็น
ผู้หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่เกาะเกี่ยวในธรรมทั้งปวง ท่าน
กล่าวว่า เป็นนาค ผู้คงที่ มีตนเป็นอย่างนั้น.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความ
ชั่วอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึง
อย่างไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจราคะ ไม่ถึงด้วยอำนาจโทสะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 570
ไม่ถึงด้วยอำนาจโมหะ ไม่ถึงด้วยอำนาจมานพ ไม่ถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ
ไม่ถึงด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วยอำนาจ
อนุสัย ไม่ดำเนินออกเลื่อนเคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายอันให้เป็นพวก
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึงอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่มา
อย่างไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมา
สู่กิเลสทั้งหลาย ที่ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ด้วยสกทาคามิมรรค
ด้วยอนาคามิมรรค ด้วยอรหัตมรรค พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่านาค
เพราะเหตุว่าไม่มาอย่างนี้.
คำว่า เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ละ เว้น ปล่อยแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย เป็นผู้เดียว ย่างเข้า
ไปท่ามกลางป่า ย่อมเที่ยวไป เดินไป พักผ่อน ย่อมเป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ไปในป่า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ละ
เว้น ปล่อยแล้วซึ่งหมู่ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด คืออาศัย เสพ
เสนาสนะอันสงัด เป็นป่ารกชัฏมีเสียงน้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจาก
ลมแต่หมู่ชน เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว
เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน
จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เดินไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อน
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนนาคละ
แล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 571
[๗๓๕] คำว่า มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง
ความว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว คือ เป็นช้างสูง
๗ ศอกหรือ ๘ ศอก ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนกัน
ฉันนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้วด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างมีตัวดังดอกบัว ฉันใด แม้พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น มีธรรมดังดอกบัว ด้วยดอกบัวคือโพชฌงค์ ๗
ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างยิ่งด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความ
เร็ว ด้วยความกล้า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้
ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง.
[๗๓๖] คำว่า ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็ฉันนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ คือ อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วย
ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง มุทิตาเจโต-
วิมุตติบ้าง อุเบกขาเจโตวิมุตติบ้าง อยู่ในป่าตามอภิรมย์ด้วยอากาสา-
นัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตน-
สมาบัติบ้าง เนวสัญญาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ผลสมาบัติบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 572
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อยู่ในป่าตามอภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๓๗] บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัย ด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๓๗๘] พึงทราบวินิจฉัย ในอุเทศว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติ
อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีใน
ความคลุกคลีด้วยหมู่ ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
ในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักเป็นผู้ได้ตามประสงค์
ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือ
ความสงบ สุขในความตรัสรู้ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 573
ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักได้ตามประสงค์ ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือความสงบ สุขในความตรัสรู้
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่
ยินดีในหมู่ บันเทิงในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักบรรลุ
ซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่งโลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีใน
สมัย ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักบรรลุซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่ง
โลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีในสมัย ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่.
[๗๓๙] พระสุริยะ ท่านกล่าวว่า พระอาทิตย์. ในอุเทศว่า
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม ดังนี้ พระอาทิตย์นั้นเป็นโคดมโดยโคตร
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็เป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตรแห่งพระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์.
คำว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ความว่า ได้ฟัง ได้ยิน ศึกษา ทรงจำ
เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งถ้อยคำ คือ คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 574
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์เเห่ง
พระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุ
นั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในควานคลุกคลีด้วย
หมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๔๐] เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้
มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๑] สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ท่านกล่าวว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม
ในอุเทศว่า ทิฏฺิวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่สดับในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง เห็นเวทนา
โดยความเป็นตน ... เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ... เห็นสังขารโดยความ
เป็นตน... เห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 575
เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ทิฏฐิเห็นปานนี้ ทิฏฐิ
ไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิกวัดแกว่ง
ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ
ทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความ
แสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่า
จริงในเรื่องอันไม่จริง ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม.
คำว่า ล่วงเสียแล้ว ความว่า ล่วงเสียแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วง
เลยแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย.
[๗๔๒] มรรค ๔ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า มรรคนิยาม ในอุเทศว่า
ปตฺโต นิยาม ปฏิลทฺธมคฺโค ดังนี้ เราประกอบแล้ว ถึงพร้อมแล้ว
บรรลุแล้ว ถูกต้องแล้ว ทำให้เเจ้งแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม.
คำว่า มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว ความว่า มีมรรคอันได้เเล้ว
มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว มีมรรคอันบรรลุแล้ว มีมรรคอันถูกต้องแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว.
[๗๔๓] คำว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว คือ มีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 576
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว.
คำว่า อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย
ไม่ไปด้วยญาณอันเนื่องด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๔] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่โลภ ไม่โกหก ไม่
กระหาย ไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและโมหะ
กำจัดแล้ว ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความโลภ ในอุเทศว่า นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 577
ตัณหาอันเป็นความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัด
ขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังต้นตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
จึงเป็นผู้ไม่มีความโลภ วัตถุแห่งความโกหก ในคำว่า ไม่โกหก
มี ๓ อย่าง คือ วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัย ๑ วัตถุ
แห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วน
แห่งการพูดอิงธรรม ๑.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัยเป็นไฉน พวก
คฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความ
ปรารถนาครอบงำแล้ว มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก บอกเลิกรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรจะเที่ยวเลือกเก็บผ้า
เก่า ๆ จากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากตลาดบ้าง แล้วทำ
สังฆาฏิบริโภค นั่นเป็นความสมควร สมณะประสงค์อะไรด้วยบิณฑบาต
มีค่ามาก สมณะควรเลี้ยงชีพด้วยอาหารที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยว
แสวงหา นั่นเป็นความสมควร สมณะจะประสงค์อะไรด้วยเสนาสนะมีค่า
มาก สมณะพึงอยู่ที่โคนต้นไม้หรือพึงอยู่ในที่แจ้ง นั่นเป็นความสมควร
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันมีค่ามาก สมณะ
ควรทำยาด้วยมูตรเน่าบ้าง ด้วยชิ้นลูกสมอบ้าง นั่นเป็นความสมควร
เธอมุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก ก็บริโภคจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 578
เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะที่เศร้าหมอง เสพคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ที่เศร้าหมอง.
พวกคฤหบดีก็รู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า สมณะรูปนี้มีความปรารถนา
น้อย เป็นผู้สันโดษ ชอบวิเวก ไม่เกี่ยวข้อง ปรารภความเพียร เป็นผู้
มีวาทะอันขจัดแล้ว ก็นิมนต์มากไปด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธา
จะประสบบุญเป็นอันมากก็เพราะมีปัจจัย ๓ อย่าง พร้อมหน้ากัน คือ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา จะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะมีศรัทธาพร้อมหน้า ๑
เพราะมีไทยธรรมพร้อมหน้า ๑ เพราะมีทักขิไณยบุคคลพร้อมหน้า ๑
ท่านทั้งหลายก็มีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมก็ปรากฏอยู่ และอาตมาผู้เป็น
ปฏิคาหกก็มีอยู่ ถ้าอาตมาจักไม่รับ ด้วยเหตุที่อาตมาไม่รับ ท่านทั้งหลาย
ก็จักเสื่อมบุญ อาตมาไม่มีความประสงค์ด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่าอาตมาจักรับ
เพื่ออนุเคราะห์แก่ท่านทั้งหลาย ภิกษุนั้นมุ่งความเป็นผู้อยากได้มาก ก็รับ
จีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มาก. ความสยิ้วหน้า ความเป็นผู้สยิ้วหน้า ความโกหก กิริยาที่โกหก
ความเป็นผู้โกหก เห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า วัตถุแห่งความโกหกเป็น
ส่วนแห่งการเสพปัจจัย.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถเป็นไฉน ภิกษุบางรูป
ในศาสนานี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ ประสงค์
จะให้เขาสรรเสริญ ดำริว่า ประชุมชนจะสรรเสริญเราโดยอิริยาบถอย่างนี้
จึงสำรวมเดิน สำรวมยืน สำรวมนั่ง สำรวมนอน มุ่งเดิน มุ่งยืน มุ่งนั่ง
มุ่งนอน เดินเหมือนภิกษุมีสมาธิ ยืนเหมือนภิกษุมีสมาธิ นั่งเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 579
ภิกษุมีสมาธิ นอนเหมือนภิกษุมีสมาธิ ย่อมเป็นเหมือนดังเจริญฌาน
ต่อหน้าพวกมนุษย์ ความเริ่มตั้ง ความตั้ง ความสำรวมอิริยาบถ ความ
เป็นผู้สยิ้วหน้า ความโกหก กิริยาโกหก ความเป็นผู้โกหก เห็นปานนี้
ท่านกล่าวว่า วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถ.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการพูดอิงธรรมเป็นไฉน ภิกษุ
บางรูปในศาสนานี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ
มีความประสงค์จะให้เขาสรรเสริญ ดำริว่า ประชุมชนจะสรรเสริญเราด้วย
การพูดอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะที่ใช้จีวร
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก สมณะที่ใช้บาตรเห็นปานนี้ ใช้ภาชนะโลหะ
เห็นปานนี้ ใช้ธมกรกเห็นปานนี้ ใช้ผ้ากรองน้ำเห็นปานนี้ ใช้ลูกตาล
เห็นปานนี้ ใช้รองเท้าเห็นปานนี้ ใช้ประคดเอวเห็นปานนี้ ใช้สายโยค
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก และพูดว่า สมณะที่มีพระอุปัชฌายะเห็นปานนี้
มีอานุภาพมาก สมณะที่มีพระอาจารย์เห็นปานนี้ มีพวกร่วมพระอุปัชฌายะ
เห็นปานนี้ มีพวกร่วมพระอาจารย์เห็นปานนี้ มีพวกมีไมตรีกันเห็นปานนี้
มีมิตรที่เห็นกันมาเห็นปานนี้ มีมิตรที่คบกันมาเห็นปานนี้ มีสหายเห็น
ปานนี้ มีอานุภาพมาก.
และพูดว่า สมณะที่อยู่ในวิหารเห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก ผู้อยู่
ในเพิงมีหลังคาแถบเดียวเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในเรือนโล้นเห็นปานนี้ ผู้อยู่
ในถ้ำเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในกุฎีเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในเรือนยอดเห็นปานนี้
ผู้อยู่ในป้อมเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในโรงเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในที่พักเห็นปานนี้
ผู้อยู่ในโรงฉันเห็นปานนี้ ผู้อยู่ในมณฑปเห็นปานนี้ ผู้อยู่ที่โคนต้นไม้
เห็นปานนี้ มีอานุภาพมาก อนึ่ง ภิกษุผู้ก้มหน้ากว่าคนที่ก้มหน้า ผู้สยิ้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 580
หน้ากว่าคนสยิ้วหน้า ผู้โกหกกว่าคนที่โกหก ผู้พูดมากกว่าคนพูดมาก
ผู้ที่คนอื่นสรรเสริญตามปากของคน กล่าวถ้อยคำอันปฏิสังยุตด้วยโลกุตระ
และนิพพานเช่นนั้น อันลึกซึ้ง ละเอียด ที่วิญญูชนปิดบังว่า สมณะนี้
ได้วิหารสมาบัติอันสงบเห็นปานนี้ ความสยิ้วหน้า ความเป็นผู้สยิ้วหน้า
ความโกหก กิริยาที่โกหก ความเป็นผู้โกหกเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการพูดอิงธรรม.
วัตถุแห่งความโกหก ๓ อย่างนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ
เสียแล้ว ตัดขาดเสียแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผา
เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่โกหก.
ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่าน
กล่าวว่า ความระหาย. ในคำว่า ไม่มีความระหาย. ตัณหาอันเป็นเหตุ
ให้ระหายนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้
มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่มีความ
ระหาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่มีความโลภ
ไม่โกหก ไม่มีความกระหาย.
[๗๔๖] ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ความเป็นผู้ลบหลู่ ความ
เป็นผู้ริษยา ชื่อว่า ความลบหลู่ ในอุเทศว่า ไม่มีความลบหลู่ มีบาป
ธรรมดังรสฝาด และโมหะอันกำจัดแล้ว ดังนี้.
ชื่อว่าบาปธรรมดังรสฝาด คือ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ความตีเสมอ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นดังรสฝาด
(แต่ละอย่าง)ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกข-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 581
นิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้น
ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง-
ปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่สังขาราทิ-
ธรรมนี้เป็นปัจจัยแห่งกันและกัน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ถึง
พร้อมเฉพาะ ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม ความไม่แทงตลอด
ความไม่ถึงพร้อม ความไม่กำหนดถือเอา ความไม่เห็นพร้อม ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความหมดจดยาก ความเป็นพาล
ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลง ความหลงเสมอ อวิชชาเป็นโอฆะ
อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นปริยุฏฐาน อวิชชาเป็นข่าย
อวิชชาเป็นบ่วง โมหะ อกุศลมูล ชื่อว่า โมหะ.
ความลบหลู่ บาปธรรมดังรสฝาดและโมหะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น สำรอกแล้ว กำจัดแล้ว ละเสียแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว
ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและ
โมหะอันกำจัดแล้ว.
[๗๔๗] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความหวัง ในอุเทศว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง
ดังนี้.
คำว่า ในโลกทั้งปวง คือ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลก
ทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ใน
อายตนโลกทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 582
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง ความว่า เป็นผู้ไม่มี
ความหวัง คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา เป็นผู้ไม่มีความกระหายในโลกทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าว
ว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่โลภ ไม่โกหก ไม่
ระหาย ไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและ
โมหะอันกำจัดแล้ว ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๘] พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันไม่เสมอ ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๔๙] สหายชั่ว ในอุเทศว่า ปาป สหาย ปริวชฺชเยถ ดังนี้
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐๑ ว่า ทานที่
ให้แล้วไม่มีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ๑ ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ
ทำชั่วไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดาไม่มี ๑ บิดาไม่มี ๑
โอปปาติกสัตว์ คือเหล่าสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดไม่มี ๑ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ทำให้เเจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศ
ให้ทราบ ไม่มีในโลก ๑ ดังนี้ สหายนี้ชื่อว่า สหายชั่ว.
๑. บาลีมีเพียง ๙ ข้อ ขาด นตฺถิ หุต = การเซ่นสรวงไม่มีผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 583
คำว่า พึงละเว้นสหายชั่ว ความว่า พึงละ พึงเว้น พึงหลีกเลี่ยง
สหายชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นสหายชั่ว.
[๗๕๐] สหายผู้ไม่เห็นประโยชน์ ในอุเทศว่า อนตฺถทสฺสี
วิสเม นิวิฏฺ ดังนี้ ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า สหายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
มีวัตถุ ๑๐ ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯ ล ฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยความรู้
ยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ไม่มีในโลก ดังนี้ สหายนี้ ชื่อว่าผู้ไม่เห็น
ประโยชน์.
คำว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในกายกรรม
อันไม่เสมอ ในวจีกรรมอันไม่เสมอ ในมโนกรรมอันไม่เสมอ ใน
ปาณาติบาตอันไม่เสมอ ในอทินนาทานอันไม่เสมอ ในกาเมสุมิจฉาจาร
อันไม่เสมอ ในมุสาวาทอันไม่เสมอ ในปิสุณาวาจาอันไม่เสมอ ใน
ผรุสวาจาอันไม่เสมอ ในสัมผัปปลาปอันไม่เสมอ ในอภิชฌาอันไม่เสมอ
ในพยาบาทอันไม่เสมอ ในมิจฉาทิฏฐิอันไม่เสมอ ในสังขารอันไม่เสมอ
ผู้ตั้งอยู่ ข้องอยู่ แอบอยู่ เข้าถึงอยู่ ติดใจ น้อมใจไปในเบญจกามคุณ
อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันไม่เสมอ.
[๗๕๑] คำว่า ผู้ขวนขวาย ในอุเทศว่า สย น เสเว ปสุต
ปมตฺต ดังนี้ ความว่า ผู้ใดย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากาม เป็นผู้
พระพฤติอยู่ในกาม มักมากอยู่ในกาม หนักอยู่ในกาม เอนไปในกาม
โอนไปในกาม อ่อนไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้
ผู้นั้นชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ผู้ใดเสาะหารูป ได้รูป บริโภครูป ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 584
สามารถตัณหา เป็นผู้ประพฤติอยู่ในรูป มักมากในรูป หนักอยู่ในรูป
เอนไปในรูป โอนไปในรูป อ่อนไปในรูป น้อมใจไปในรูป มุ่งรูป
เป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ผู้ใดเสาะหาเสียง.. . ผู้ใด
เสาะหากลิ่น... ผู้ใดเสาะหารส ... ผู้ใดเสาะหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ
บริโภคโผฏฐัพพะด้วยสามารถตัณหา เป็นผู้ประพฤติอยู่ในโผฏฐัพพะ
มักมากในโผฏฐัพพะ หนักอยู่ในโผฏฐัพพะ เอนไปในโผฏฐัพพะ โอน
ไปในโผฏฐัพพะ อ่อนไปในโผฏฐัพพะ น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ มุ่ง
โผฏฐัพพะเป็นใหญ่ แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม.
พึงกล่าวความประมาท ในคำว่า ปมตฺต ดังต่อไปนี้ ความปล่อย
จิตไป ความตามเพิ่มการปล่อยจิตไป ในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี
ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความทำโดยไม่เอื้อเฟื้อ ความ
ไม่ทำเนือง ๆ ความทำหยุด ๆ ความประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ
ความทอดธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความ
ไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนือง ๆ ในการบำเพ็ญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล
ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ ท่าน
กล่าวว่า ความประมาท.
คำว่า ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง
ความว่า ไม่ควรเสพ ไม่ควรอาศัยเสพ ไม่ควรร่วมเสพ ไม่ควรซ่องเสพ
ไม่ควรเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่ควรเต็มใจประพฤติ ไม่ควรสมาทานประพฤติ
กะคนผู้ขวนขวายและคนประมาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ควรเสพคน
ผู้ขวนขวายและคนผู้ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 585
พึงละเว้นสหายชั่ว ผู้ไม่เห็นประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันไม่เสมอ ไม่ควรเสพคนผู้ขวนขวายและคนผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๕๒] ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว กำจัดความสงสัย
เสียพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
[๗๕๓] คำว่า ผู้เป็นพหูสูต ในอุเทศว่า พหุสฺสุต ธมฺมธร
ภเชถ ดังนี้ ความว่า เป็นผู้ได้สดับมาก เป็นผู้ทรงธรรมที่ได้สดับมา
แล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งาม
ในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น เป็นธรรมที่มิตร
นั้นสดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.
คำว่า ธมฺมธร ความว่า ผู้ทรงธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ.
คำว่า ควรคบมิตรเป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ความว่า ควรคบ
ควรเสพ ควรเข้าไปเสพ ควรร่วมเสพ ควรช่องเสพ ซึ่งมิตรผู้เป็น
พหูสูตและผู้ทรงธรรม. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต
ผู้ทรงธรรม.
[๗๕๔] มิตรผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ในอุเทศว่า มิตฺต อุฬาร ปฏิภาณวนฺต ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 586
บุคคลผู้มีปฏิภาณ ในคำว่า ปฏิภาณเวนฺต นี้ มี ๓ ประเภท คือ
ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติ ๑ ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉา ๑ ผู้มี
ปฏิภาณโดยการบรรลุ ๑.
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ พระพุทธวจนะย่อม
แจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ
เพราะอาศัยปริยัติ.
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉาเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้ได้ถามในอรหัตผล ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ในอนิจจตา-
ทิลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ พระพุทธพจน์ย่อมแจ่มแจ้งแก่
บุคคลนั้น เพราะอาศัยการไต่ถาม บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะ
อาศัยปริปุจฉา.
บุคคลผู้มีปฏิภาณโดยการบรรลุเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔
ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ เมื่อรู้
อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุติ นิรุติ
ก็แจ่มแจ้ง ญาณในปฏิสัมภิทา ๓ ประการนี้ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่ามีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 587
ไม่มีอธิคม บทธรรมอะไรจักแจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้นเล่า เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ซึ่งมิตรมีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ.
[๗๕๕] คำว่า รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว พึงกำจัดความ
สงสัยเสีย ความว่า รู้ทั่วถึง รู้ยิ่ง ทราบ เทียบเคียง พิจารณาให้
แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์
ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในสัมปรายภพ พึงกำจัด
พึงปราบ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความสงสัย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว พึงกำจัดความสงสัย
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้จักประโยชน์ทั้งหลายแล้ว กำจัดความสงสัย
เสีย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๕๖] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะ
แห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๕๗] ชื่อว่า การเล่น ในอุเทศว่า ขิฑฺฑา รตี กามสุขญฺจ
โลเก ดังนี้ ได้เเก่การเล่น ๒ อย่าง คือ การเล่นทางกาย ๑ การเล่น
ทางวาจา ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า การเล่น
ทางวาจา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 588
คำว่า ความยินดี นี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงความเป็นผู้ไม่กระสัน.
คำว่า กามสุข ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕
ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึง
รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวน
ให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น สุขโสมนัส
นี้เราเรียกว่า กามสุข เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามสุข.
คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า. . .
ความเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก.
[๗๕๘] คำว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย ความว่า ไม่ทำ
ความพอใจ ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก เป็นผู้ไม่มี
ความอาลัย คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความพอใจ ไม่อาลัย.
[๗๕๙] ชื่อว่า เครื่องประดับ ในอุเทศว่า วิภูสนฏฺานา วิรโต
สจฺจวาที ดังนี้ ได้แก่เครื่องประดับ ๒ อย่าง คือ เครื่องประดับของ
คฤหัสถ์อย่างหนึ่ง เครื่องประดับของบรรพชิตอย่างหนึ่ง.
เครื่องประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน ผม หนวด ดอกไม้ ของ
หอม เครื่องลูบไล้ เครื่องประดับ เครื่องแต่งตัว ผ้า เครื่องประดับ
ศีรษะ ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด เครื่องอาบน้ำ เครื่องตัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 589
กระจกเงา เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา เครื่องทาปาก เครื่อง
ผัดหน้า เครื่องผูกข้อมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า กล้องยา ดาบ ร่ม
รองเท้า กรอบหน้า พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้ามีชายยาว เครื่องประดับ
ดังกล่าวมานี้ เป็นเครื่องประดับของคฤหัสถ์.
เครื่องประดับของบรรพชิตเป็นไฉน การประดับจีวร การประดับ
บาตร การประดับเสนาสนะ การประดับ การตกแต่ง การเล่น การ
เล่นรอบ ความกำหนัด ความพลิกแพลง ความเป็นผู้พลิกแพลง ซึ่ง
กายอันเปื่อยเน่านี้ หรือซึ่งบริขารอันเป็นภายนอก การประดับนี้ เป็น
การประดับของบรรพชิต.
คำว่า เป็นผู้พูดจริง ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็น
ผู้พูดจริง เชื่อมคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่กล่าวให้
เคลื่อนคลาดแก่โลก เว้นทั่ว งดเว้น ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น
พรากออกไป จากฐานะแห่งเครื่องประดับ มีใจปราศจากเขตแดนอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแล้วจากฐานะแห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะ
แห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 590
[๗๖๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๑] บุตร ในคำว่า ปุตฺต ในอุเทศว่า ปุตฺตญฺจ ทาร ปิตรญฺจ
มาตร ดังนี้ มี ๔ คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดในเขต ๑ บุตร
ที่เขาให้ ๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑ ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ บุรุษผู้ให้
บุตรเกิดชื่อว่าบิดา สตรีผู้ให้บุตรเกิดชื่อว่ามารดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุตร ทาระ บิดา มารดา.
[๗๖๒] แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว-
ประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย ท่านกล่าวว่า ทรัพย์ ใน
อุเทศว่า ธนานิ ธญฺานิ จ พนฺธวานิ ดังนี้. ของที่กินก่อน ของที่กิน
ทีหลัง ท่านกล่าวว่า ธัญชาติ. ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง
ลูกเดือย หญ้ากับแก้ ชื่อว่าของที่กินก่อน เครื่องแกงชื่อว่าของที่กินทีหลัง.
พวกพ้อง ในคำว่า พนฺธวานิ มี ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็น
ญาติ ๑ พวกพ้องโดยโคตร ๑ พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ๑ พวกพ้อง
เนื่องด้วยศิลป ๑ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง.
[๗๖๓] ชื่อว่า กาม ในอุเทศว่า หิตฺวาน กามานิ ยโถธกานิ
ดังนี้ โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ
เหล่านั้นท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.
คำว่า ละกามทั้งหลาย ความว่า กำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสกาม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 591
คำว่า ตามส่วน ความว่า ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้แล้ว
ด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๔] กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๕] คำว่า เครื่องข้องก็ดี ว่าเปิดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่า
เกี่ยวข้องก็ดี ว่าพัวพันก็ดี นี้เป็นชื่อแห่งเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า
สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย ดังนี้.
คำว่า กามนี้มีความสุขน้อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ
นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยคา อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 592
ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น สุข
โสมนัสนั้นแลเรากล่าวว่า กามสุข กามสุขนี้มีน้อย กามสุขนี้เลว กามสุข
นี้ลามก กามสุขนี้ให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามนี้เป็นเครื่อง
ข้อง มีความสุขน้อย.
[๗๖๖] คำว่า กามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า
กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก มีโทษมาก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เหมือนโครงกระดูก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
ชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนคบเพลิง กาม
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนความฝัน กามทั้งหลายพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เหมือนผลไม้ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
คาบและสุนัขไล่เนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหอก
และหลาว กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนศีรษะงูเห่า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กาม
นี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก.
[๗๖๗] คำว่า ดังฝีก็ดี ว่าเบ็ดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่าความข้อง
ก็ดี ว่าความกังวลก็ดี เป็นชื่อของเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า คณฺโฑ
เอโส อิติ ตฺวา มติมา ดังนี้.
บทว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวข้อง เป็นบทบริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 593
เป็นที่ประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า อิติ
นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็นดังฝี ความว่า บุคคล
ผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส รู้แล้ว คือ เทียบเคียงพิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำ
ให้ปรากฏว่า กามนี้เป็นดังฝี เป็นเบ็ด เป็นเหยื่อ เป็นความข้อง เป็น
ความกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็น
ดังฝี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๙] สังโยชน์ ในอุเทศว่า สนฺทาลยิตฺวาน สญฺโชนานิ
ดังนี้ มี ๑๐ ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราค-
สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์.
คำว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย ทำลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 594
พร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งสังโยชน์ ๑๐
ประการ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย.
[๗๗๐] ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ข่าย ในอุเทศว่า ชาลว
เภตฺวา สลิลมฺพุจารี ดังนี้ . น้ำท่านกล่าวว่า สลิละ. ปลาท่านกล่าวว่า
อัมพุจารี สัตว์เที่ยวอยู่ในน้ำ. ปลาทำลาย ฉีก แหวกข่ายขาดลอดออก
แล้ว เที่ยวว่าแหวกไป รักษา บำรุง เยียวยา.
ข่ายมี ๒ ชนิด คือ ข่ายคือตัณหา ๑ ข่ายคือทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่า ข่ายคือตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ข่ายคือทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิเสียแล้ว เหมือนปลาทำลายข่าย
ฉะนั้น เพราะเป็นผู้ละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่พัวพันในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำ
ไม่ให้มีเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลาทำลายข่ายฉะนั้น.
[๗๗๑] คำว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละแล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยอรหัตมรรค เหมือนไฟไหม้เชื้อหญ้าและไม้ลามไปมิได้กลับมา
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา พึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 595
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
[๗๗๒] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๗๓] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาท-
โลโล ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว จึงออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จากบ้านนี้ไปยัง
บ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนครโน้น จากรัฐนี้
ไปยังรัฐโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้ขวนขวายความเที่ยว
นาน เที่ยวไปไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่
สำรวม เดินดูกองทัพช้าง ดูกองทัพม้า ดูกองทัพรถ ดูกองทัพเดินเท้า
ดูพวกกุมาร ดูพวกกุมารี ดูพวกสตรี ดูพวกบุรุษ ดูร้านตลาด ดู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 596
ประตูบ้าน ดูข้างบน ดูข้างล่าง ดูทิศใหญ่ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้
ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น
ปานนี้ คือการฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น
การเล่านิยาย เพลงปรบมือ การเล่นปลุกฝี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้าน
เมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้
สำรวม ไม่ดูกองทัพช้าง ไม่ดูกองทัพม้า ไม่ดูกองทัพรถ ไม่ดูกองทัพ
เดินเท้า ไม่ดูพวกกุมาร ไม่ดูพวกกุมารี ไม่ดูพวกสตรี ไม่ดูพวกบุรุษ
ไม่ดูร้านตลาด ไม่ดูประตูบ้าน ไม่ดูข้างบน ไม่ดูข้างล่าง ไม่ดูทิศใหญ่
ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้
เหลวไหลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความไม่ดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว ไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 597
ออกจากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ไม่จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น ไม่จาก
บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น ไม่จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น ไม่จากนครนี้ไปยัง
นครโน้น ไม่จากรัฐนี้ไปยังรัฐโน้น ไม่จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น
ไม่ขวนขวายการเที่ยวนาน เที่ยวไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้สำรวม
จักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิ ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็น
เหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉัน โภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม ฯ ล ฯ การ
ดูกองทัพ ภิกษุเป็นผู้งดเว้น จากการขวนขวายดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้
ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
เหลวไหลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า ออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้
ขวนขวยการเที่ยวไปนาน เที่ยวไปไม่หยุด ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้าแม้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 598
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้า ภายในสังฆาราม ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์
มิใช่เพราะเหตุที่ถูกใช้ ออกจากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น จากวิหารนี้
ไปยังวิหารโน้น จากเพิงนี้ไปยังเพิงโน้น จากปราสาทนี้ไปยังปราสาท
โน้น จากเรือนโล้นหลังนี้ไปยังเรือนโล้นหลังโน้น จากถ้ำนี้ไปยังถ้ำโน้น
จากที่เร้นนี้ไปยังที่เร้นโน้น จากกระท่อมนี้ไปยังกระท่อมโน้น จากเรือน
ยอดหลังนี้ไปยังเรือนยอดหลังโน้น จากป้อมนี้ไปยังป้อมโน้น จากโรงนี้
ไปยังโรงโน้น จากที่พักแห่งนี้ไปยังที่พักแห่งโน้น จากโรงเก็บของแห่งนี้
ไปยังโรงเก็บของแห่งโน้น จากโรงฉันแห่งนี้ไปยังโรงฉันแห่งโน้น จาก
มณฑปแห่งนี้ไปยังมณฑปแห่งโน้น จากโคนไม้ต้นนี้ไปยังโคนไม้ต้นโน้น
ในสถานที่ที่ภิกษุนั่งกันอยู่หรือกำลังเดินไป มีรูปเดียวก็รวมเป็นรูปที่สอง
มีสองรูปก็เป็นรูปที่สาม หรือมีสามรูปก็เป็นรูปที่สี่ ย่อมพูดคำเพ้อเจ้อ
มากในที่นั้น คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ เรื่องความเจริญ
ความเสื่อม ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น เป็นผู้เว้น เว้นขาด ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ชอบ
ในความสงัด ยินดีในความสงัด ประกอบในความสงบจิต ณ ภายใน
เนือง ๆ มีฌานมิได้ห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร
เพ่งฌาน ยินดีในฌาน หมั่นประกอบเอกีภาพ หนักอยู่ในประโยชน์ตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สำรวมจักษุและไม่เหลวไหลเพราะเท้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 599
[๗๗๔] คำว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์ ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์.
คำว่า มีใจอันรักษาแล้ว ความว่า มีใจคุ้มครองแล้ว คือ มีจิต
รักษาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอัน
รักษาแล้ว.
[๗๗๕] คำว่า กิเลสมิได้ชุ่ม ในอุเทศว่า อนวสฺสุโต อปริฑยฺห-
มาโน ดังนี้ ความว่า สมจริงตามเถรภาษิตที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยาสูตรและ
อนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลา จงพึงเทศนานั้น จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า
อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อม
ยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 600
มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์
ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ผู้อันกิเลส
ชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ
ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนที่ทำด้วยไม้อ้อ หรือเรือน
ที่ทำด้วยหญ้าแห้งเกราะ ฝนรั่วรดได้ ถ้าแม้บุรุษเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
แล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้บุรุษ
เอาคบหญ้าที่ติดไฟแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ
ทางทิศใต้ ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน แม้ทางทิศไหน ๆ ไฟก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหา
ภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 601
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำ
ได้ ภิกษุครอบงำรูปไม่ได้ เสียงครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำเสียงไม่ได้
กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นไม่ได้ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุ
ครอบงำรสไม่ได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ
ไม่ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ถูกรูปครอบงำ ถูก
เสียงครอบงำ ถูกกลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ
ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำ ภิกษุเหล่านั้นไม่ครอบงำอกุศลธรรมอันลามก
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม
อันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ฯ ล ฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศล
ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 602
ท่านกล่าวว่า ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่
จะรู้พึงแจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุ
นั้นทางหู มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนกูฏาคารศาลา หรือสันถาคารศาลา มีดินหนา มีเครื่องฉาบทาอัน
เปียก ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ
ตะวันออก ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
โชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้
ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน ถึงแม้โดยทางไหน ๆ ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้
ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่อง
ไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถึงแม้มารจะเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำไม่ได้ ภิกษุครอบงำ
รูปได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ กลิ่นครอบงำภิกษุ
ไม่ได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้
โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะได้ ธรรมารมณ์
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ครอบงำรูป
ครอบงำเสียง ครอบงำกลิ่น ครอบงำรส ครอบงำโผฏฐัพพะ ครอบงำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 603
ธรรมารมณ์ กิเลสเหล่านั้น ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำอกุศลธรรม
อันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวน
กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว.
คำว่า ไฟกิเลสไม่เผา ความว่า ผู้อันไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ
ไฟคือโมหะ ไม่แผดเผา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว
ไฟกิเลสไม่เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๗๖] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๗๗] ผมและหนวด ฯ ล ฯ ผ้ามีชายยาว ท่านกล่าวว่า เครื่อง
หมายของคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ ความว่า ปลงลง
แล้ว คือ ละทิ้ง ระงับแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 604
จึงชื่อว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์.
[๗๗๘] คำว่า เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทรงบาตรและจีวรครบ เหมือนต้นปาริฉัตตกะ
คือ ต้นทองหลางมีใบหนา มีร่มเงาชิด ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ.
[๗๗๙] คำว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและ
ภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว
ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม้มีกังวล
เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ดำเนิน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าว
ว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาคออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๘๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความติดใจในรสทั้ง-
หลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น
เที่ยวไปตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 605
[๗๘๑] คำว่า ในรสทั้งหลาย ในอุเทศว่า รเสสุ เคธ อกร
อโลโล ดังนี้ คือ รสที่ราก รสที่ต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก
รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า
รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน.
สมณพราหมณ์ผู้ติดใจในรสมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เที่ยวแสวงหารสด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้
รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน
ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม
ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด
ร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสเผ็ดร้อน ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหา
รสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารส
ไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารส
ฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่
อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้รสเย็นแล้วก็แสวงหารส
ร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใด ๆ
ก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้น ๆ แสวงหารสอื่นต่อไป ย่อมเป็นผู้ยินดี ติดใจ
ชอบใจ หลงใหล ซบเซา ข้อง เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสทั้งหลาย.
ตัณหาในรสนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 606
เพื่อความมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพียงเพื่อให้
ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อบำบัดความเบียดเบียน เพื่อ
อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะกำจัดทุกขเวทนาเก่า
จักไม่ให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น จักเป็นไปได้สะดวก จักไม่มีโทษ จัก
อยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียงกำหนดเท่านั้น คนทาแผลเพื่อประโยชน์
จะให้งอกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือพวกเกวียนหยอดเพลาเกวียน เพื่อ
ประโยชน์แก่การขนภาระออกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือคนกินเนื้อบุตร
เพื่อประโยชน์แก่จะออกจากทางกันดารเป็นกำหนดเท่านั้น ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยอุบายแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา... จักอยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียง
กำหนดเท่านั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยตัณหาในรส มีจิตอันทำให้
ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจในรส
ทั้งหลาย.
คำว่า ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ความว่า ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็นเหตุให้
โลเล หรือว่า เป็นเหตุให้เหลวไหล ตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเลเหลวไหล
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มี
ที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ไม่มี
ตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจ
ในรสทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 607
[๗๘๒] คำว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น ในอุเทศว่า อนญฺโปสี สปทาน-
จารี ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เลี้ยงแต่ตนเท่านั้น มิได้
เลี้ยงผู้อื่น.
เราเรียกบุคคลผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น ปรากฏอยู่ ตั้งมั่นคงดี
แล้ว ในสารธรรม มีอาสวะสิ้นแล้ว คายโทษออกแล้ว
นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น.
คำว่า ผู้เที่ยวไปตามลำดับตรอก ความว่า เวลาเช้า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต มีกายวาจาจิตอันรักษาแล้ว มีสติตั้งมั่น มีอินทรีย์อันสำรวม
แล้ว สำรวมจักษุ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ออกจากสกุลหนึ่งไปสู่สกุลหนึ่ง
เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก.
[๗๘๓] คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีจิต
พัวพัน ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิต
พัวพัน ๑ เป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน ๑.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะแก่อาตมามาก อาตมาได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย คน
อื่น ๆ อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงสำคัญเพื่อจะให้หรือ
เพื่อจะทำแก่อาตมา ชื่อและวงศ์สกุลของโยมมารดาโยมบิดาเก่าของอาตมา
เสื่อมไปแล้ว อาตมาย่อมได้ว่า เราเป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เราเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 608
กุลุปกะของอุบาสิกาโน้น เพราะท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำ
ตั้งผู้อันไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า อาตมามีอุปการะมากแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาศัยอาตมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็น
สรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม การพูด
เท็จ และการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อาตมาให้อุเทศ ให้ปริปุจฉา บอกอุโบสถ อธิษฐานนวกรรม แก่ท่าน
ทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นดังนั้น ท่านทั้งหลายสละอาตมาแล้ว ย่อมสักการะ
เคารพนับถือบูชาผู้อื่น ภิกษุเป็นผู้ตั้งคนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน
อย่างนี้.
คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
มีจิตไม่พัวพันด้วยความกังวลในสกุล คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีจิตไม่
พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความติดใจในรสทั้งหลาย
ไม่มีตัณหาเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๘๔] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประ-
การ สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 609
ของจิต อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่ง
ความรักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๘๕] คำว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีซึ่งกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจ-
นิวรณ์ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งเครื่องกั้น
จิต ๕ ประการ.
[๗๘๖] ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง (แต่ละอย่าง) ชื่อว่า เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ของจิต ในอุเทศว่า อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ ดังนี้.
คำว่า สลัดเสียเเล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต
ความว่า สลัด บรรเทา ละ กำจัด ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลส
เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สลัดเสียแล้วซึ่ง
กิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงของจิต.
[๗๘๗] นิสัย ในคำว่า ผู้อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ในอุเทศว่า
อนิสฺสิโต เฉตฺวา เสฺนหโทส ดังนี้ มี ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสัย ๑
ทิฏฐินิสัย ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย. ชื่อว่า
ความรัก ได้แก่ ความรัก ๒ อย่าง คือ ความรักด้วยอำนาจตัณหา ๑
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจตัณหา
ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 610
ชื่อว่า ความชัง คือ ความปองร้อย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง
ความโกรธตอบ ความเคือง ความเคืองทั่วไป ความเคืองเสมอ ความชัง
ความชังทั่วไป ความชังเสมอแห่งจิต ความพยาบาทแห่งจิต ความ
ประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง
กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้
พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจ
ถึงน้ำตาไหล ความไม่พอใจ.
คำว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่งความรักและความชัง
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัด ตัดขาด ตัดขาดสิ้น บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความรักด้วยอำนาจตัณหา
ความรักด้วยอำนาจทิฏฐิและความชัง อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัยตา ไม่อาศัย
หู ฯ ล ฯ ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และ
ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป
ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขต
แดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดแล้วซึ่งความ
รักและความชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประ-
การ สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งปวง
อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ตัดเสียแล้วซึ่งความรักและความ
ชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 611
[๗๘๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจด
วิเศษแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๘๙] คำว่า ละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสก่อน ๆ แล้ว
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว.
[๗๙๐] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย กิริยาที่หยุดเฉย ความที่
จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในอุเทศ
ว่า ลทฺธานุเปกฺข สมถ วิสุทฺธ ดังนี้.
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความหยุดอยู่ ความไม่ส่าย ความไม่
ฟุ้งแห่งจิต ความแน่วแน่ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมา-
สมาธิ ชื่อว่า สมถะ.
อุเบกขาในจตุตถฌาน และสมถะเป็นความหมดจด เป็นความ
หมดจดวิเศษ เป็นความขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่
หวั่นไหว.
คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษ ความว่า ได้ ได้
แล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌานและสมถะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้อุเบกขา
และสมถะอันหมดจดวิเศษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะ-
เหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 612
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสก่อน ๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจด
วิเศษแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๙๑] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารภความเพียร เพื่อถึง
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตมิได้ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน มีความพยายามมั่นคง เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรง
และกำลัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๙๒] อมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ปรมัตถประโยชน์ ในอุเทศว่า
อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา ดังนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ปรารภความเพียร เพื่อถึง คือเพื่อได้
เพื่อได้เฉพาะ เพื่อบรรลุ เพื่อถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถประโยชน์
มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงปรมัตถประโยชน์.
[๗๙๓] คำว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 613
เจริญถึง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เนื้อ
และเลือดจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที
เรายังไม่ได้บรรลุอิฐผล ที่การกบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
แล้ว จักไม่หยุดความเพียรเลย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ชื่อว่ามีจิตไม่
ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจักไม่
ทำลายบัลลังก์นี้ ตราบเท่าเวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประกองจิตตั้งจิตไว้ว่า
เราจักไม่กิน จักไม่ดื่ม ไม่ออกจากวิหาร และจัก
ไม่เอนข้างลงนอน เมื่อยังถอนลูกศรคือตัณหาไม่ได้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติ
ไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจะไม่ลุก
จากอาสนะนี้ ตราบเท่าเวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความ
ประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 614
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า เราจักไม่ลงจาก
ที่จงกรมนี้ จักไม่ออกจากวิหารนี้ จักไม่ออกจากเพิงนี้ จักไม่ออกจาก
ปราสาทนี้ จักไม่ออกจากเรือนโล้นนี้ จักไม่ออกจากถ้ำนี้ จักไม่ออกจาก
ที่เร้นนี้ จักไม่ออกจากกระท่อมนี้ จักไม่ออกจากเรือนยอดนี้ จักไม่ออก
จากแม่แคร่นี้ จักไม่ออกจากโรงนี้ จักไม่ออกจากที่พักนี้ จักไม่ออกจาก
หอฉันนี้ จักไม่ออกจากมณฑปนี้ จักไม่ออกจากโคนไม้นี้ ตราบเท่า
เวลาที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า ในเช้าวันนี้
นี่แหละ เราจักนำมา จักนำมาด้วยดี จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้
แจ้งซึ่งอริยธรรม พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน
มีความพระพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประคองจิตตั้งจิตไว้ว่า ในเที่ยงวันนี้
นี่แหละ ในเย็นวันนี้นี่แหละ ในเวลาก่อนอาหารวันนี้นี่แหละ ในเวลา
หลังอาหารวันนี้นี่แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยามกลางนี้แหละ ในยาม
หลังนี้แหละ ในข้างแรมนี้แหละ ในข้างขึ้นนี้แหละ ในฤดูฝนนี้แหละ
ในฤดูหนาวนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้นนี้แหละ ในตอน
วัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาด้วยดี
จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรม พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน แม้ด้วยอาการ
อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 615
[๗๙๔] คำว่า มีความพยายามมั่นคง ในอุเทศว่า ทฬฺหนิกฺ-
กโม ถามพลูปปนฺโน ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มี
สมาทานมั่น มีสมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ในกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต การแจกทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ
ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา ความเป็นผู้เกื้อกูล
แก่สมณะ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์ ความประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ผู้ใหญ่ในสกุล และในกุศลธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งขึ้นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความพยายามมั่นคง.
คำว่า เข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วย
เรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความบากบั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความพยายามมั่นคง มีความเข้าถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารภความเพียร เพื่อถึง
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตมิได้ย่อหย่อน มีความประพฤติ
มิได้เกียจคร้าน มีความพยายามมั่นคง เข้าถึงด้วย
เรี่ยวแรงและกำลัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๙๕] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติ
ธรรมสมควร ในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 616
โทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๙๖] คำว่า ไม่ละวิเวกและฌาน ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ชอบวิเวก ยินดีใจวิเวก ประกอบความสงบจิต
ณ ภายในเนือง ๆ ไม่ห่างจากฌาน ไม่ละฌาน คือ ประกอบ ประกอบทั่ว
ประกอบพร้อม หมั่นประกอบ หมั่นประกอบพร้อม เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า
ไม่ละฌานด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว
ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่า ไม่ละฌานแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ละวิเวกและฌาน.
[๗๙๗] สติปัฏฐาน ๔ ฯ ล ฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวว่า
ธรรม ในอุเทศว่า ธมฺเมสุ นิจฺจ อนุธมฺมจารี ดังนี้.
ธรรมอันสมควรเป็นไฉน ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร
ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความ
เป็นผู้คุ้มกรองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 617
ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ เหล่านี้ท่าน
กล่าวว่า ธรรมอันสมควร.
คำว่า ประพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติ ปฏิบัติ ดำเนิน เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ในธรรมทั้งหลาย ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือ ติดต่อเนือง ๆ
ต่อลำดับ ไม่สับสน เนื่องกันกระทบกัน เหมือนระลอกน้ำเป็นคลื่น
สืบต่อกระทบเนื่องกันไป ในเวลาก่อนอาหาร ในเวลาหลังอาหาร ใน
ยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน
ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง ในตอนวัยหลัง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพฤติธรรมอันสมควรในธรรมทั้งหลายตลอด
กาลเป็นนิตย์.
[๗๙๘] คำว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย ความว่า
พิจารณาเห็นโทษโนภพทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละวิเวกและฌาน ประพฤติ
ธรรมสมควรในธรรมทั้งหลายเป็นนิตย์ พิจารณาเห็น
โทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 618
[๗๙๙] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
ประมาท ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ มีธรรมอันนับพร้อม
แล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น
[๘๐๐] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหกฺขย ปตฺถย
อปฺปมตฺโต ดังนี้.
คำว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ความว่า ปรารถนา จำนง
ประสงค์ซึ่งความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความสิ้นคติ
ความสิ้นอุปบัติ ความสิ้นปฏิสนธิ ความสิ้นภพ ความสิ้นสงสาร ความ
สิ้นวัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา.
คำว่า ไม่ประมาท ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทำโดย
เอื้อเฟื้อ ทำโดยติดต่อ ฯ ล ฯ ไม่ประมาทในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท.
[๘๐๑] คำว่า ไม่โง่เขลา ในอุเทศว่า อเนลมูโค สุตฺวา สติมา
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา
เป็นเครื่องรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่โง่เขลา.
คำว่า มีสุตะ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นพหูสูต ทรง
ไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ คือ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 619
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสุตะ.
คำว่า มีสติ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้มีสติ ประ-
กอบด้วยสติรอบคอบอย่างยิ่ง ระลึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ.
[๘๐๒] ญาณ ปัญญา ความรู้ชัด ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า สังขาตธรรม ในอุเทศว่า
สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา ดังนี้.
คำว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันเทียบเคียงแล้ว
มีธรรมอันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเห็นแจ้งแล้ว มีธรรมแจ่มแจ้งแล้วว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นพิจารณาขันธ์แล้ว พิจารณา
ธาตุแล้ว พิจารณาอายตนะแล้ว พิจารณาคติแล้ว พิจารณาอุปบัติแล้ว
พิจารณาปฏิสนธิแล้ว พิจารณาภพแล้ว พิจารณาสังขารแล้ว พิจารณา
วัฏฏะแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดังอยู่ในขันธ์เป็นที่สุด ในธาตุ
เป็นที่สุด ในอายตนะเป็นที่สุด ในคติเป็นที่สุด ในอุปบัติเป็นที่สุด
ในปฏิสนธิเป็นที่สุด ในภพเป็นที่สุด ในสงสารที่สุด ในวัฏฏะเป็น
ที่สุด ในสังขารเป็นที่สุด ในภพเป็นที่สุด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทรงไว้
ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 620
พระขีณาสพใดมีภพเป็นที่สุด มีอัตภาพ มีสงสาร
คือชาติ ชรา และมรณะ ครั้งหลังสุด พระขีณาสพนั้น
ไม่มีในภพใหม่.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว.
อริยมรรค ๔ ท่านกล่าวว่า ธรรมอันแน่นอน ในคำว่า นิยโต นี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามีธรรมอันแน่นอน
คือ ถึง ถึงพร้อม ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งนิยามธรรมด้วยอริยมรรค
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมอันแน่นอน.
ความเพียร ความปรารภความเพียร ความก้าวหน้า ความ
บากบั่น ความหมั่น ความเป็นผู้มีความหมั่น เรี่ยวแรง ความพยายาม
แห่งจิต ความบากบั่นอันไม่ย่อหย่อน ความเป็นผู้ไม่ทอดฉันทะ ความ
เป็นผู้ไม่ทอดธุระ ความประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมา-
วายามะ ท่านกล่าวว่า ปธาน ในคำว่า ปธานวา.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยความเพียรนี้ เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่ามีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมนับ
พร้อมแล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
ประมาท ไม่โง่เขลา มีสุตะ มีสติ มีธรรมอันนับพร้อม
แล้ว มีธรรมอันแน่นอน มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 621
[๘๐๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดที่ตาข่าย ไม่ติดอยู่
เหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๘๐๔] คำว่า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ ความว่า
สีหมฤคราชไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ
ไม่สยดสยอง ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่พรั่นพรึง ไม่หวาดเสียว ไม่หนีไป
ในเพราะเสียงทั้งหลายฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้
ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะทกสะท้าน ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง
ไม่สะดุ้ง ไม่ขลาด ไม่มีความพรั่นพรึง ไม่หวาดเสียว ไม่หนี ละความ
กลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพองอยู่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง เหมือนสีหะ.
[๘๐๕] ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
ลมมีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมพัดตามกาล ลมหัวด้าน
ลมแต่ปีกนก ลมแต่ครุฑ ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า
วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน ดังนี้.
ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ชาละ ลมไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด
ไม่เกาะที่ตาข่าย ฉันใด ข่าย ๒ อย่าง คือ ข่ายตัณหา ๑ ข่ายทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่าข่ายตัณหา นี้ชื่อว่าข่ายทิฏฐิ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละข่ายตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิแล้ว เพราะ
ละข่ายตัณหา เพราะสละคืนข่ายทิฏฐิแล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่เกาะ ในรูป เสียง ฯ ล ฯ ในรูปที่ได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 622
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้
ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจาก
เขตแดนอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าไม่ข้องเหมือนลม
ไม่ข้องอยู่ที่ตาข่าย.
[๘๐๖] ดอกบัว ท่านกล่าว่า ปทุม ในเทศว่า ปทุม ว โตเยน
อลิมฺปนาโน ดังนี้. น้ำ ท่านกล่าวว่า โตยะ. ดอกปทุมอันน้ำย่อมไม่ติด
ไม่เอิบอาบ ไม่ซึมซาบ ฉันใด ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วย
ตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติด
ด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละความติดด้วยตัณหา เพราะสละคืนความติดด้วย
ทิฏฐิ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ติด ไม่เข้าไปติด ไม่ฉาบ ไม่เข้า
ไปฉาบ ในรูป เสียง ฯ ล ฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่
ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น
ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำให้ปราศจากเขตแดนอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดเหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ข้อง เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติด
เหมือนดอกบัวอันน้ำไม่ติด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 623
[๘๐๗] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า มีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่
ครอบงำสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็น
กำลัง ปราบปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไปฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพซึ่งเสนาสนะอันสงัด
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๐๘] คำว่า เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปราม
ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ความว่า สีหมฤคราชมีเขี้ยวเป็นกำลัง คือ
มีเขี้ยวเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม กำจัด ย่ำยี ซึ่งสัตว์
ดิรัจฉานทั้งปวง เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีปัญญาเป็นกำลัง คือ มีปัญญาเป็นอาวุธ ข่มขี่ ครอบงำ ปราบปราม
กำจัด ย่ำยีซึ่งสัตว์ทั้งปวงด้วยปัญญา เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนสีหราช
มีเขี้ยวเป็นกำลัง ปราบปราม ครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป.
[๘๐๙] คำว่า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด ความว่า สีหมฤคราช
เข้าไปสู่ราวป่าอันสงัด เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่ารกชัฏ สงัด เงียบสงัด ไม่มีเสียงกึกก้อง
ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่
การหลีกออกเร้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว
นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งใน
ที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป ท่องเที่ยวไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 624
ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า มีปัญญาเป็นกำลัง ข่มขี่
ครอบงำสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไป เหมือนสีหราชมีเขี้ยวเป็น
กำลัง ปราบปรามครอบงำเนื้อทั้งหลายเที่ยวไป ฉะนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๑๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวล
มิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๑๑] คำว่า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
อันเป็นวิมุตติตลอดเวลา ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจ
ประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่
ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วย
มุทิตา มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 625
อุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ส้องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา.
[๘๑๒] พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียด
ชัง ดังต่อไปนี้ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น สัตว์ทั้งหลายในทิศ
ตะวันออกจึงไม่เกลียดชัง สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ
ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี
ในทิศเบื้องล่าง ในทิศเบื้องบน ในทิศน้อยทิศใหญ่ทั้ง ๑๐ ทิศ ไม่
เกลียดชัง.
คำว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง ความว่า อันสัตว์โลก
ทั้งหมดมิได้เกลียด มิได้โกรธ มิได้เสียดสี มิได้กระทบกระทั่ง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลมิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ซ่องเสพเมตตา กรุณา มุทิตา
และอุเบกขาอันเป็นวิมุตติตลอดเวลา อันสัตว์โลกทั้งมวล
มิได้เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๑๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
ชีวิตพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 626
[๘๑๔] ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ชื่อว่า ราคะ ในอุเทศว่า ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมห
ดังนี้. จิตอาฆาต ฯ ล ฯ ความเป็นผู้ดุร้าย ความแค้นใจจนถึงน้ำตาไหล
ความไม่พอใจ ชื่อว่า โทสะ. ความไม่รู้ในทุกข์ ฯ ล ฯ อวิชชาเป็นบ่วง
ความหลงใหล อกุศลมูล ชื่อว่า โมหะ.
คำว่า ละแล้วซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ในภายหลัง ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้ว
ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ.
[๘๑๕] สังโยชน์ ในอุเทศว่า ทำลายเสียซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย
ดังนี้ มี ๑๐ ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ฯ ล ฯ อวิชชา-
สังโยชน์. คำว่า ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย
ทำลายทั่ว ทำลายพร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ในภายหลัง ซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายเสียแล้ว
ซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย.
[๘๑๖] คำว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต ความว่า พระปัจเจก
สัมพุทธเจ้านั้น ไม่หวาดเสียว ไม่หวาดหวั่น ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง
ไม่ตกใจ ไม่สยดสยอง ไม่พรั่น ไม่กลัว ไม่สะทกสะท้าน ไม่หนี ละ
ความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากขนลุกขนพอง ในเวลาสิ้นสุดชีวิต.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 627
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
ทำลายเสียแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
ชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๑๗] มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคม
ด้วย มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลายมี
ปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด (เพราะฉะนั้น)
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๘๑๘] คำว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหา
สมาคมด้วย ความว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์
ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ มีประโยชน์ในปัจจุบันเป็น
เหตุ มีประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่างยิ่งเป็นเหตุ จึง
จะคบหา สมคบ เสพ สมาคมด้วย. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรทั้งหลาย
มีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย.
[๘๑๙] มิตร ในอุเทศว่า มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มี
๒ จำพวก คือ มิตรคฤหัสถ์ ๑ มิตรบรรพชิต ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า
มิตรคฤหัสถ์ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่ามิตรบรรพชิต. คำว่า มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ
หาได้ยาก ความว่า มิตร ๒ จำพวกนี้ ไม่มีการณะ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
หาได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรในวันนี้ ไม่มีเหตุหาได้ยาก.
[๘๒๐] คำว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ในอุเทศว่า อตฺตตฺถ-
ปญฺา อสุจี มนุสฺสา ดังนี้ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมคบ สมคบ-
เสพ เสพด้วย ส้องเสพ เอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อ เข้านั่งใกล้ ไต่ถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 628
สอบถาม เพื่อประโยชน์ตน เพราะเหตุแห่งตน เพราะปัจจัยแห่งตน
เพราะการณะแห่งตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน.
คำว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่สะอาด ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด วจีกรรมอันไม่สะอาด มโนกรรม
อันไม่สะอาด ปาณาติบาตอันไม่สะอาด อทินนาทานอันไม่สะอาด กาเม-
สุมิจฉาจารอันไม่สะอาด มุสาวาทอันไม่สะอาด ปิสุณวาจาอันไม่สะอาด
ผรุสวาจาอันไม่สะอาด สัมผัปปลาปะอันไม่สะอาด อภิชฌาอันไม่สะอาด
พยาบาทอันไม่สะอาด มิจฉาทิฏฐิอันไม่สะอาด เจตนาอันไม่สะอาดความ
ปรารถนาอันไม่สะอาด ความตั้งใจอันไม่สะอาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นผู้ไม่สะอาด คือ เป็นคนเลว เลวลง เป็นคนทราม ต่ำช้า ลามก
ชั่วช้า ชาติชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง
ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
[๘๒๑] คำว่า ผู้เดียว ในอุเทศว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
ดังนี้ ฯ ล ฯ จริยา (การเที่ยวไป) ในคำว่า จเร ดังนี้ มี ๘ อย่าง ฯ ล ฯ
ชื่อว่าพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคม
ด้วย มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก มนุษย์ทั้งหลาย
มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด (เพราะฉะนั้น)
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
จบขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 629
ก็แหละนิเทศแห่งพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งในศาสนา ๑๖ คน
นี้ คือ อชิตพราหมณ์ ๑ ติสสเมตเตยพราหมณ์ ๑
ปุณณกพราหมณ์ ๑ เมตตคูพราหมณ์ ๑ โธตกพราหมณ์ ๑
อุปสีวพราหมณ์ ๑ นันทพราหมณ์ ๑ เหมกพราหมณ์ ๑
โตเทยยพราหมณ์ ๑ กัปปพราหมณ์ ๑ ชตุกัณณีพราหมณ์
ผู้เป็นบัณฑิต ๑ ภัทราวุธพราหมณ์ ๑ อุทยพราหมณ์ ๑
โปสาลพราหมณ์ ๑ โมฆราชพราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ ๑
ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ๑ รวมเป็น ๑๖ นิทเทส
และในปารายนวรรคนั้น ยังมีขัคควิสาณสุตตนิทเทส
อีก ๑ นิทเทส นิทเทสทั้ง ๒ อย่างควรรู้ บริบูรณ์แล้ว
ท่านลิขิตไว้ดีแล้ว.
สุตตนิทเทส จบบริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 630
อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ต่อนี้ไปถึงโอกาสแห่งการพรรณนา ขัคควิสาณสุตตนิทเทส แล้ว.
พวกเราจักพรรณนาเพียงบทที่เกินต่อจากบทนี้เท่านั้น.
ปฐมวรรค
คาถาที่ ๑
๑*) สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑ
อวิเหย อญฺตรฺปิ เตส
น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหาย
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึง
ปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า
ภูเตสุ คือ ในสัตว์ทั้งหลาย.
ภูต ศัพท์ในบทว่า ภูเตสุ นี้เป็นไปในอรรถว่า สิ่งที่มี ในบทมี
อาทิอย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติย เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะสิ่งที่มีอยู่.
เป็นไปในอรรถว่า ขันธ์ ๕ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูตมิท สารีปุตฺต
สมนุปสฺสสิ ดูก่อนสารีบุตร เธอจงพิจารณา ขันธ์ นี้. เป็นไปในอรรถว่า
รูป ๔ อย่าง มีปฐวีธาตุเป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า รูป ๔ มีปฐวีธาตุเป็นต้น
* เลขหน้าคาถาทุกคาถา ในขัคควิสาณสุตตนิทเทสนี้ ไม่ใช่เลขข้อในบาลี. เป็นเลขลำดับ
คาถา มีทั้งหมด ๔๑ คาถา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 631
มีอาทิอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขเว มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาภูตรูป ๔ และเป็นเหตุ.
เป็นไปในอรรถว่า พระขีณาสพ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า โย จ
กาลฆโส ภูโต พระขีณาสพ เป็นผู้กินกาลเวลา.
เป็นไปในอรรถว่า สรรพสัตว์ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพว
นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย สัตว์ทั้งปวง จักทิ้งร่างกายไว้ในโลก.
เป็นไปในอรรถว่า ต้นไม้ เป็นต้น ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูต-
คามปาตพฺยตาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพราก ของเขียว ซึ่งเกิดอยู่
กับที่ให้หลุดจากที่.
ย่อมเป็นไปหมายเอา หมู่สัตว์ ในชั้นต่ำกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา
ลงมา ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ภูต ภูตโต ปชานาติ ย่อมรู้ หมู่สัตว์
ตามความเป็นจริง.
แต่ในที่นี้พึงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วบนแผ่นดินและภูเขา
เป็นต้น โดยไม่ต่างกันว่า ภูตะ ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.
บทว่า นิธาย คือ วางแล้ว. บทว่า ทณฺฑ คือ อาชญาทางกาย
วาจาและใจ. บทนี้เป็นชื่อของกายทุจริตเป็นต้น. กายทุจริตชื่อว่า ทัณฑะ
เพราะลงโทษ. ท่านกล่าวว่า เพราะเบียดเบียนให้ถึงความพินาศล่มจม.
วจีทุจริตและมโนทุจริตก็เหมือนกัน หรือการลงโทษด้วยการประหารนั้น
แล ชื่อว่า ทัณฑะ. ท่านกล่าวว่า วางอาชญานั้น. บทว่า อเหย คือ
ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺตรมฺปิ คือ แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง. บทว่า เตส
คือ สรรพสัตว์เหล่านั้น. บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย คือ ไม่พึงปรารถนา
บุตรไร ๆ ในบุตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ อัตตชะ บุตรเกิดแต่ตน ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 632
เขตตชะ บุตรเกิดแต่ภริยา ๑ ทินนกะ บุตรที่เขายกให้ ๑ อันเตวาสิกะ
ลูกศิษย์ ๑. บทว่า กุโต สหาย คือ พึงปรารถนาสหายได้แต่ไหน.
บทว่า เอโก ได้แก่ ผู้เดียว ด้วยการบวช. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะ
อรรถว่า ไม่มีเพื่อน. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่า ละตัณหาได้. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสโดยแน่นอน. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้
ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว. จริงอยู่ แม้ยังเป็นไปอยู่ในท่ามกลางสมณะ
ตั้งพัน ก็ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตัดความคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยประการ
ฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยการบวช. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะยืนผู้เดียว
ไปผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เคลื่อนไหวเป็นไปผู้เดียว ด้วยประการ
ฉะนี้ จึงชื่อว่าผู้เดียว โดยไม่มีเพื่อน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความ
เป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุมีสติรู้โทษอย่างนี้ และตัณหา
เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา
ไม่ถือมั่น พึงเว้นรอบ.
ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว เพราะละตัณหาเสียได้. ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากกิเลสได้แน่นอนอย่างนี้ คือละกิเลสทั้งหมดแล้ว
ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เหมือนตาลยอดด้วน มีการไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา. ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะเป็นพระสยัมภู ไม่มีอาจารย์ เป็นผู้
ตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณด้วยตนเอง ด้วยประการฉะนี้ จึงชื่อว่า ผู้เดียว
เพราะตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิญาณผู้เดียว.
บทว่า จเร พึงเที่ยวไป ได้แก่จริยา (การเที่ยวไป) มี ๘ อย่างคือ
อิริยาปถจริยา การเที่ยวไปในอิริยาบถ ๔ ของผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 633
ไว้ชอบ ๑. อายตนจริยา การเที่ยวไปในอายตนะภายใน ๖ ของผู้คุ้ม-
ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ สติจริยา การเที่ยวไปในสติปัฏฐาน ๔
ของผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท ๑ สมาธิจริยา การเที่ยวไปในฌาน
๔ ของผู้ขวนขวายในอธิจิต ๑ ญาณจริยา การเที่ยวไปในอริยสัจ ๔
ของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ มรรคจริยา การเที่ยวไปในอริยมรรค ๔
ของผู้ปฏิบัติโดยชอบ ๑ ปัตติจริยา การเที่ยวไปในสามัญผล ๔ ของ
ผู้บรรลุผล ๑ โลกัตถจริยา ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกใน
สรรพสัตว์ทั้งหลาย ของท่านผู้เป็นพุทธะ ๓ จำพวก คือพระสัมมา-
สัมพุทธะ ๑ พระปัจเจกพุทธะ ๑ พระสาวกพุทธะ ๑. ในพระพุทธะ
๓ จำพวกเหล่านั้น ความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกของพระปัจเจก-
พุทธะ และพระสาวกพุทธะ ได้เฉพาะบางส่วน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า จริยา ๘ ในคำว่า จริยา นี้ ได้แก่ อิริยาปถจริยาเป็นต้น.
พึงทราบความพิสดารในเรื่องนั้น ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยา
เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวจริยา ๘ แม้อย่างอื่นอีกอย่างนี้ว่า บุคคล
ผู้น้อมใจเชื่อจริยาเหล่านี้ ย่อมประพฤติด้วยศรัทธา ผู้ประคองใจย่อม
ประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ทั่วย่อมประพฤติด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้งย่อม
ประพฤติด้วยวิญญาณ บุคคลผู้มนสิการว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนิน
ไปทั่วแก่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา บุคคล
ผู้มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ย่อมประพฤติด้วยวิเศษ-
จริยา ดังนี้. อธิบายว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยจริยาแม้เหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 634
บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป เหมือนนอแรด คือเขาของแรดชื่อว่า
นอแรด.
กัปป ศัพท์นี้มีความหลายอย่างเป็นต้นว่า เชื่อ โวหาร กาล บัญญัติ
เฉทนะ (ตัด) วิกัปปะ (ประมาณ) เลส สมันตภาวะ (โดยรอบ) สทิสะ
(คล้าย).
จริงอย่างนั้น กัปป ศัพท์นั้นมีอรรถว่า เชื่อ ในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า๑ ข้อนี้ควร เชื่อ ต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
มีอรรถว่า โวหาร ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตเพื่อฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร ๕ อย่าง.
มีอรรถว่า กาล ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า นัยว่าเราจะอยู่ตลอด
กาล เป็นนิจ.
มีอรรถว่า บัญญัติ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกัปปะ ได้
กล่าวไว้ดังนี้.
มีอรรถว่า เฉทนะ ตัด ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ปลง ผมและ
หนวดตกแต่งแล้ว.
มีอรรถว่า วิกัปปะ ประมาณ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กว้าง
หรือยาว ประมาณ ๒ นิ้ว.
มีอรรถว่า เลส ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า หา เลส เพื่อจะนอน.
มีอรรถว่า สมันตภาวะโดยรอบ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ยัง
พระวิหารเวฬุวัน โดยรอบ ให้สว่างไสว.
มีอรรถว่า สทิสะ คล้าย ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
๑. ม. มู. ๑๒/ข้อ ๔๓๐. ๒. ม. มู. ๑๒/ข้อ ๓๐๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 635
ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวก ทรงคุณ คล้าย พระศาสดา มิได้ทราบ
เลย (ว่าท่านชื่อว่าสารีบุตร). อธิบายว่า มีส่วนเปรียบ.
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบ ความว่า เช่นกับ เปรียบกับ พระศาสดา
นั้น. ท่านกล่าวว่า เปรียบกับนอแรด. พึงทราบการพรรณนาความ
ในที่นี้ เพียงเท่านี้ก่อน.
แต่พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ได้ โดยสืบต่อจากการอธิบายต่อไป.
อาชญานี้มีประการดังได้กล่าวแล้ว ยังเป็นไปอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ยังไม่
ละวาง. บุคคลไม่ยังอาชญาให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น วางอาชญา
ในสัตว์ทั้งปวงด้วยเมตตา อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาชญานั้น และด้วยนำ
ประโยชน์เข้าไปให้ เพราะเป็นผู้วางอาชญาแล้วนั่นเอง สัตว์ทั้งหลายผู้
ยังไม่วางอาชญา ย่อมเบียดเบียนสัตว์ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยฝ่ามือ
หรือด้วยก้อนดิน ฉันใด เราไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น แม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง
ฉันนั้น อาศัยเมตตากรรมฐานนี้เห็นแจ้งสังขตธรรม อันไปแล้วในเวทนา
ไปแล้วในสัญญา สังขาร และวิญญาณ และอื่นจากนั้น โดยทานอง
เดียวกัน แล้วจึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณนี้. พึงทราบอธิบายดังนี้ก่อน.
พึงทราบอนุสนธิต่อไป. เมื่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้น
แล้ว พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้พระคุณเจ้า
จะไปไหน. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารำพึงว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแต่ก่อน
อยู่ ณ ที่ไหน ครั้นรู้แล้วจึงกล่าวว่า อาตมาจะไปภูเขาคันธมาทน์ พวก
มนุษย์จึงกล่าวอีกว่า โอ บัดนี้พระคุณเจ้าจะทิ้งพวกกระผมไป อย่าไปเลย
ขอรับ. ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า น ปุตฺตมิจเฉยฺย
บุคคลไม่พึงปรารถนาบุตร ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 636
ในบทนั้นมีอธิบายดังนี้ บัดนี้เรามิได้พึงปรารถนาบุตรประเภทใด
ประเภทหนึ่ง บรรดาบุตรที่เกิดแต่ตนเป็นต้น จักปรารถนาสหายเช่น
ท่านแต่ไหน เพราะฉะนั้น บรรดาท่านทั้งหลาย ผู้ใดเป็นชายก็ตาม เป็น
หญิงก็ตาม ประสงค์จะไปกับเรา ผู้นั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นกล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ
พระคุณเจ้าจะละทิ้งพวกกระผมไป พระคุณเจ้าไม่ต้องการพวกกระผม
เสียแล้วหรือ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อาตมามิได้พึง
ปรารถนาบุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เห็นคุณของการเที่ยวไปผู้เดียว
โดยความตามที่ตนกล่าวแล้ว ก็บันเทิงใจ เกิดปีติโสมนัส จึงเปล่ง
อุทานนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสิตา คือ ทำความอยาก. บทว่า
ภยเภรโร ความกลัวและความขลาด คือมีจิตสะดุ้งเปล่งเสียงตกใจ.
บทว่า ถาวรา ผู้มั่นคง คือพระขีณาสพ. บทว่า นิธาย คือ ทิ้งแล้ว
บทว่า นิทหิตฺวา คือ วางแล้ว. บทว่า โอโรปยิตฺวา คือ ปลงแล้ว.
บทว่า สโมโรปยิตฺวา คือ ปล่อยลงข้างล่าง. บทว่า นิกฺขิปิตฺวา ได้แก่
นำออกไปจากที่นั้น. บทว่า ปฏิปสฺสมฺภิตฺวา ระงับแล้ว คือสงบแล้ว.
บทว่า อาลปน คือ การเจรจากันแต่แรก. บทว่า สลฺลปน คือ การ
เจรจากันโดยชอบ. บทว่า อุลฺลปน คือ เจรจายกย่องกัน. บทว่า
สมุลฺลปน คือ การเจรจายกย่องกันบ่อย ๆ.
บทว่า อิริยาปถจริยา คือ เที่ยวไปในอิริยาบถ. แม้ในบทที่
เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ อายตนจริยา คือ เที่ยวไปในอายตนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 637
ด้วยสติและสัมปชัญญะ. บทว่า ปตฺติ คือ ผลทั้งหลาย. เพราะผล
เหล่านั้นท่านเรียกว่า ปตฺติ เพราะเป็นเหตุให้บรรลุ. ประโยชน์ทั้งหลาย
อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพของสัตว์โลก ชื่อว่า โลกัตถะ
นี่เป็นข้อแตกต่างกัน.
บัดนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อจะแสดงภูมิแห่งจริยาเหล่านั้น จึง
กล่าวคำมีอาทิว่า จตูสุ อิริยาปเถสุ ในอิริยาบถ ๔.
บทว่า สติปฏฺาเนสุ คือ แม้ในสติปัฏฐาน ซึ่งมีสติปัฏฐานเป็น
อารมณ์ที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวอยู่ ก็กล่าวถึงธรรมที่ไม่เป็นอย่างอื่นจาก
สติ แต่ทำเหมือนเป็นอย่างอื่นด้วยโวหาร. บทว่า อริสจฺเจสุ ท่าน
กล่าวด้วยการกำหนดสัจจะไว้เป็นแผนก ๆ ด้วยสัจญาณอันเป็นโลกิยะอัน
เป็นส่วนเบื้องต้น. คำว่า อริยมคฺเคสุ และคำว่า สามญฺผเลสุ ท่าน
กล่าวด้วยอำนาจโวหารเท่านั้น. บทว่า ปเหเส คือ ในส่วนหนึ่งของ
โลกัตถจริยา คือการประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก. จริงอยู่ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงบำเพ็ญโลกัตถจริยาโดยไม่มีส่วนเหลือ.
พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงจริยาเหล่านั้นอีก ด้วยอำนาจแห่งการก-
บุคคล (บุคคลผู้กระทำ) จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปณิธิสมฺปนฺนาน ของผู้
ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ.
ในบทเหล่านั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้. ผู้มีอิริยาบถไม่หวั่นไหว
ถึงพร้อมด้วยความเป็นไปแห่งอิริยาบถ เพราะอิริยาบถสงบ ผู้ถึงพร้อม
ด้วยอิริยาบถอันสงบสมควรแก่ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ปณิธิสมฺปนฺนาน
ผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งตนไว้ชอบ. บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาราน ผู้มี
ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย คือชื่อว่า คุตฺตทฺวารา เพราะมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 638
ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ด้วยสามารถ
ทวารหนึ่ง ๆ อันเป็นไปแล้วในวิสัยของตน ๆ. แห่งทวารอันคุ้มครองแล้ว
นั้น. อนึ่ง ในบทว่า ทฺวาร นี้ ได้แก่ จักขุทวารเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งทวารที่เกิดขึ้นตามธรรมดา. บทว่า อปฺปมาทสิหารีน ของบุคคลผู้อยู่
ด้วยความไม่ประมาท คือของบุคคลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทในคุณ
ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น. บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺตาน ของบุคคลผู้ขวนขวาย
ในอธิจิต คือของบุคคลผู้ขวนขวายด้วยสมาธิคืออธิจิต โดยความเป็นบาท
แห่งวิปัสสนา. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺนาน ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
คือของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยญาณอันเป็นไป ตั้งต้นแต่การกำหนดนามรูป
จนถึงโคตรภู. บทว่า สมฺมาปฏิปนฺนาน ของบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ คือ
ในขณะของมรรค ๔. บทว่า อธิคตผลาน ของบุคคลผู้บรรลุผลแล้ว คือ
ในขณะของผล ๔.
บทว่า ตถาคตาน คือ ผู้มาแล้วเหมือนอย่างนั้น. บทว่า อรหนฺ-
ตาน คือ ผู้ไกลจากกิเลส. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาน คือ ผู้ตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยตนเอง. ความของบททั้งหลายเหล่านี้
ประกาศไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า ปเทเส ปจฺเจกสมฺพุทฺธาน คือ ของพระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลายบางส่วน. บทว่า ปเทเส สาวกาน คือ แม้ของสาวกทั้งหลาย
บางส่วน. บทว่า อธิมุจฺจนฺโต คือ ทำการน้อมไป. บทว่า สทฺธาย
จรติ ประพฤติด้วยศรัทธา คือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งศรัทธา. บทว่า
ปคฺคณฺหนฺโต ผู้ประคองใจ คือพยายามด้วยความเพียร คือสัมมัปปธาน ๔.
บทว่า อุปฏฺเปนฺโต ผู้เข้าไปตั้งไว้ คือเข้าไปตั้งอารมณ์ไว้ด้วยสติ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 639
อวิกฺเขป กโรนฺโต คือ ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสมาธิ. บทว่า
ปชานนฺโต ผู้รู้ทั่ว คือรู้ชัดด้วยปัญญารู้อริยสัจ ๔. บทว่า วิชานนฺโต
ผู้รู้แจ้ง คือรู้แจ้งอารมณ์ด้วยวิญญาณ คืออาวัชชนจิตอันถึงก่อน (เกิด
ก่อน) ชวนะที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์. บทว่า วิญฺาณจริยาย ประพฤติ
ด้วยวิญญาณ คือด้วยอำนาจแห่งวิญญาณคืออาวัชชนจิต. บทว่า เอว
ปฏิปนฺนสฺส ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือปฏิบัติด้วยอินทรียจริยาพร้อมกับ
อาวัชชนะ. บทว่า กุสลา ธมฺมา อายาเปนฺติ กุศลธรรมทั้งหลายย่อม
ดำเนินไป ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งสมถะและ
วิปัสสนา ยังความวิเศษให้เป็นไป. บทว่า อายตนจริยาย ภูสะความมั่นคง
ท่านกล่าวว่า ความมั่นคงของกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยอายตนจริยา คือ
ด้วยความประพฤติเป็นไป. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ คือ ย่อมบรรลุคุณ
วิเศษด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน และ
ปฏิปัสสัทธิปหาน.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทสฺสนจริยา จ สมฺมาทิฏฺิยา
การประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ทัสสนจริยา ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นชอบ หรือเป็นเหตุเห็นชอบ หรือ
มีทิฏฐิงามน่าสรรเสริญ. แห่งสัมมาทิฏฐินั้น.
ชื่อว่า ทัสสนจริยา เพราะประพฤติด้วยการทำนิพพานให้ประจักษ์.
ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ เพราะดำริชอบ หรือเป็นเหตุดำริชอบ
หรือดำริดีน่าสรรเสริญ.
ชื่อว่า อภินิโรปนจริยา เพราะพระพฤติปลูกฝังจิตไว้ในอารมณ์นั้น.
ชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะเจรจาชอบ หรือเป็นเหตุเจรจาชอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 640
หรือเจรจาดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาวาจา.
ชื่อว่า ปริคฺคหจริยา เพราะประพฤติยึดวจีสังวร ๔ อย่างของ
สัมมาวาจานั้น.
ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ เพราะทำชอบ หรือเป็นเหตุทำชอบ
หรือการงานดีน่าสรรเสริญ. การงานชอบนั่นแล ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.
บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ.
ชื่อว่า สมุฏฐานจริยา เพราะประพฤติตั้งอยู่ในกายสังวร ๓ อย่าง.
ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ เพราะเลี้ยงชีพชอบ หรือเป็นเหตุเลี้ยงชีพ
ชอบ หรือมีอาชีพดีน่าสรรเสริญ. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นมิจฉาอาชีวะ.
สัมมาอาชีพนั้นชื่อว่า โวทานจริยา ประพฤติผ่องแผ้ว.
ชื่อว่า ปริสุทธจริยา ประพฤติบริสุทธิ์.
ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามชอบ หรือเป็นเหตุพยายาม
ชอบ หรือพยายามดีน่าสรรเสริญ. สัมมาวายามะนั้น ชื่อว่า ปัคคหจริยา
ประพฤติประคองใจ.
ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะระลึกชอบ หรือเป็นเหตุระลึกชอบ หรือ
ระลึกดีน่าสรรเสริญ. สัมมาสตินั้นชื่อว่า อุปัฏฐานจริยา ประพฤติตั้งมั่น.
ชื่อว่า สัมมาสมาธิ เพราะตั้งใจชอบ หรือเป็นเหตุตั้งใจชอบ
หรือตั้งใจดีน่าสรรเสริญ. สัมมาสมาธินั้น ชื่อว่า อวิกเขปจริยา ประ-
พฤติไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า ตกฺกปฺโป คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นย่อมเป็นเหมือน
นอแรด. อธิบายว่า เป็นอย่างนั้น. บทว่า ตสทิโส คือ เช่นกับนอแรด.
ปาฐะว่า ตสฺสทิโส บ้าง. บทว่า ตปฺปฏิภาโค คือ เปรียบเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 641
นอแรด. อธิบายว่า เป็นเช่นนั้น. รสเค็มไม่มีรสหวาน ชื่อว่า อติโลณะ
เค็มจัดกล่าวกันว่าเหมือนเกลือ เช่นกับเกลือ. บทว่า อติติตฺติก คือ
ของขมจัดมีสะเดาเป็นต้นกล่าวกันว่า เหมือนของขม เช่นกับรสขม.
บทว่า อติมธุร มีรสหวานจัด คือมีข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมเป็นต้น.
บทว่า หิมกปฺโป เหมือนหิมะ คือเช่นกับน้ำแข็ง. บทว่า สตฺถุกปฺโป
เหมือนพระศาสดา คือเช่นกับพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา. บทว่า
เอวเมว เป็นนิบาตบอกความเปรียบเทียบ.
เราจักแสดงวิธีบอกวิปัสสนา โดยสังเขปของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์
หนึ่ง แล้วจักไป ณ ที่นั้น. พระปัจเจกโพธิสัตว์ประสงค์จะทำการกำหนด
นามรูป จึงเข้าฌานใดฌานหนึ่งในฌานสมาบัติ ๘ ทั้งที่เป็นรูปฌานและ
อรูปฌาน ออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌานมีวิตกเป็นต้น และธรรม
ทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนั้น ด้วยอำนาจแห่ง
ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า
น้อมไป โดยความน้อมไปมุ่งต่ออารมณ์. แต่นั้น ก็แสวงหาปัจจัยแห่งนาม
นั้น ย่อมเห็นว่า นามย่อมเป็นไปเพราะอาศัยหทัยวัตถุ. ครั้นเห็นภูตรูป
อันเป็นปัจจัยแห่งวัตถุและอุปาทายรูปแล้ว จึงกำหนดว่าทั้งหมดนี้ ชื่อว่า
รูป เพราะมีลักษณะสลายไป. กำหนดนามรูปทั้งสองนั้นอีกโดยสังเขป
อย่างนี้ว่า นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลายไป. นี้ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจแห่ง สมถยานิกะ (มีสมถะเป็นยาน). ส่วน วิปัสสนายานิกะ
(มีวิปัสสนาเป็นยาน) กำหนดภูตรูปและอุปาทายรูปด้วยหัวข้อการกำหนด
ธาตุ ๔ แล้วเห็นว่าธรรมทั้งหมดนี้ชื่อว่ารูปเพราะความสลายไป. แต่นั้น
อรูปธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปอยู่เพราะอาศัยวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้นแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 642
รูปที่กำหนดไว้อย่างนี้ ย่อมมาสู่คลอง. แต่นั้นรวมอรูปธรรมเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดเป็นอันเดียวกัน โดยลักษณะน้อมไป ย่อมเห็นว่านี้เป็นนาม.
พระปัจเจกโพธิสัตว์นั้น ย่อมกำหนดโดยส่วนสองว่า นี้นาม นี้รูป. ครั้น
กำหนดอย่างนั้นแล้ว ย่อมเห็นว่า สัตว์ บุคคล เทวดา หรือพรหมอื่น
นอกเหนือไปจากนามรูปไม่มี.
เหมือนอย่างว่า เสียงว่ารถย่อมมีได้ เพราะการ
ประชุมองค์ประกอบ (ของรถ) ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลาย
ยังมีอยู่ การสมมติกันว่าสัตว์ ก็ย่อมมี ฉันนั้น.
ท่านกำหนดนามรูปด้วยญาณอันเป็นทิฏฐิวิสุทธิ กล่าวคือการเห็น
ตามความเป็นจริงของนามรูปโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่ออุปาทานขันธ์ ๕
มีอยู่ การสมมติเรียกกันว่าสัตว์บุคคลย่อมมีได้ฉันนั้นนั่นแหละดังนี้ เมื่อ
กำหนดแม้ปัจจัยของนามรูปนั้นอีก ก็กำหนดนามรูปโดยนัยดังกล่าวแล้ว
กำหนดอยู่ว่าอะไรหนอเป็นเหตุแห่งนามรูปนี้ ครั้นเห็นโทษในอเหตุวาทะ
และเหตุวาทะอันแตกต่างกัน จึงแสวงหาเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น
ดุจแพทย์ครั้นเห็นโรคแล้วจึงตรวจดูสมุฏฐานของโรคนั้น จึงเห็นธรรม ๔
เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ว่าเป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุ
ให้เกิดนามรูป และว่าเป็นปัจจัยเพราะมีอาหารเป็นปัจจัยอุปถัมภ์. กำหนด
ปัจจัยแห่งรูปกายอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ๓ มีอวิชชาเป็นต้นเป็นอุป-
นิสสยปัจจัยแก่กายนี้ เหมือนมารดาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ทารก มีกรรมทำ
ให้เกิดเหมือนบิดาทำบุตรให้เกิด มีอาหารเลี้ยงดูเหมือนแม่นมเลี้ยงดูทารก
แล้วกำหนดปัจจัยแห่งนามกายโดยนัยมีอาทิว่า อาศัยจักษุและรูป จักขุ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 643
วิญญาณย่อมเกิด. เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ย่อมตกลงใจได้ว่า ธรรมแม้ที่
เป็นอดีตและอนาคตย่อมเป็นไปอย่างนี้เท่านั้นเหมือนกัน.
ท่านกล่าวิจิกิจฉาที่ปรารภอดีต (ปุพฺพนฺต) ของบุคคลนั้นไว้ ๕
อย่างคือ
๑. ในอดีตอันยาวนานเราได้เป็นแล้วหรือหนอ.
๒. หรือว่าเราไม่ได้เป็นแล้ว
๓. เราได้เป็นอะไรมาแล้วหรือหนอ
๔. เราได้เป็นอย่างไรแล้วหนอ
๕. เราเป็นอะไรแล้วได้เป็นอะไรตลอดกาลในอดีตหรือหนอ
ท่านกล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภอนาคต (อปรนฺต) ของบุคคลนั้นไว้ ๕
อย่างคือ
๑. ในอนาคตอันยาวนานเราจักเป็นหรือหนอ
๒. เราจักไม่เป็นหรือหนอ
๓. เราจักเป็นอะไรหนอ
๔. เราจักเป็นอย่างไรหนอ
๕. เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไร (ต่อไป) ตลอดกาลในอนาคต
หรือหนอ.
ก็หรือว่าท่านได้กล่าววิจิกิจฉาที่ปรารภปัจจุบันของบุคคลนั้นไว้ ๖
อย่างคือ
๑. เราเป็นอยู่หรือหนอ
๒. เราไม่เป็นอยู่หรือหนอ
๓. เราเป็นอะไรหนอ
๔. เราเป็นอย่างไรหนอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 644
๕. สัตว์นี้มาจากที่ไหนหนอ
๖. สัตว์นั้นจักไปที่ไหนหนอ
ท่านละความสงสัยแม้ทั้งหมดนั้นได้. ด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างนี้
ท่านกล่าวถึงญาณอันข้ามความสงสัยในกาล ๓ ตั้งอยู่ ว่าเป็น กังขาวิตรณ-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) บ้าง เป็น
ธรรมฐิติญาณ (ญาณกำหนดรู้ความตั้งอยู่ตามธรรมดา) บ้าง ยถาภูตญาณ
(ญาณกำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บ้าง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ)
บ้าง.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ต่อไป. จริงอยู่ โลกิยปริญญามี ๓
คือ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้
ด้วยการพิจารณา) ๑. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ) ๑.
ในโลกิยปริญญา ๓ เหล่านั้น ปัญญาเป็นไปด้วยอำนาจการกำหนด
ลักษณะเฉพาะตน (ปัจจัตตลักษณะ) ของธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า รูปมี
ลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้ ชื่อว่า ญาตปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์อันเป็นไปแล้ว เพราะยก
ธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่สามัญลักษณะ โดยนัยมีอาทิว่า รูปไม่เที่ยง เวทนา
ไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจ
แห่งการละนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) เป็นต้น ในธรรมเหล่านั้น
นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.
ในปริญญาเหล่านั้น ภูมิแห่งญาตปริญญาเริ่มตั้งแต่กำหนดสังขาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 645
จนถึงกำหนดปัจจัย. ในระหว่างนี้การแทงตลอดลักษณะเฉพาะตน (ปัจ-
จัตตลักษณะ) ของธรรมทั้งหลายย่อมเป็นใหญ่.
ภูมิแห่งตีรณปริญญาเริ่มตั้งแต่การพิจารณากองสังขาร จนถึง
อุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ). ใน
ระหว่างนี้ การแทงตลอดสามัญลักษณะย่อมเป็นใหญ่.
ภูมิแห่งปหานปริญญาเบื้องบนตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความดับ). ต่อแต่นั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา
(ความสำคัญว่าเป็นสุข) เสียได้ พิจารณาเห็นโดยความไม่เป็นตัวตน ย่อม
ละอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) เสียได้ เบื่อหน่าย ความเพลิด-
เพลิน สำรอกราคะ ดับตัณหา สละ ละความยึดถือเสียได้ ด้วยประการ
ฉะนี้ อนุปัสสนา (การพิจารณาความ) ๗ อย่าง อันสำเร็จด้วยการละ
นิจจสัญญาเป็นต้นย่อมเป็นใหญ่. ในปริญญา ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นอัน
พระโยคาวจรนี้บรรลุญาตปริญญาแล้ว เพราะให้สำเร็จการกำหนดสังขาร
และการกำหนดปัจจัย. พระโยคาวจรย่อมทำการพิจารณาเป็นกลาป โดย
นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
รูปภายในก็ดี รูปภายนอกก็ดี ฯ ล ฯ รูปไกลก็ดี รูปใกล้ก็ดี รูปทั้งหมด
เป็นของไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความ
เกิดและความดับ เป็นอนัตตาเพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน อันเป็น
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ก็ดี ไกลก็ดี
ใกล้ก็ดี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดไม่เที่ยงเพราะมีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 646
ไม่มี เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความเสื่อม เป็นอนัตตา
เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. ท่านยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์กล่าวหมายถึงการ
พิจารณาเป็นกลาปนี้.
พระโยคาวจรทำการพิจารณากลาป ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในสังขารอย่างนี้แล้ว ย่อมเห็นความเกิดและ
ความดับแห่งสังขารทั้งหลายอีก. เห็นอย่างไร เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์
ด้วยการเห็นความที่รูปขันธ์เนื่องด้วยปัจจัยอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิด
รูปจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม อาหาร เกิด จึงเกิด รูป ดังนี้. แม้เมื่อ
เห็นนิพพัตติลักษณะ คือลักษณะของความเกิด ก็ย่อมเห็นความเกิดของ
รูปขันธ์ด้วย ชื่อว่า ย่อมเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่าง
ด้วยประการฉะนี้. ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยการดับแห่งปัจจัย
ว่า เพราะตัณหา กรรม อาหาร ดับ รูปจึงดับ. แม้เมื่อเห็นวิปริณาม-
ลักษณะ คือ ลักษณะความแปรปรวน ก็ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์.
ชื่อว่า เห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยการเห็น
เนื่องด้วยปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะตัณหา กรรม
ผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด. แม้เมื่อเห็นนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะของ
การเกิด ก็ย่อมเห็นการเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วย. เห็นความเสื่อมแห่ง
เวทนาขันธ์ ด้วยการเห็นความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับ เวทนา
จึงดับ เพราะตัณหา กรรม ผัสสะ ดับ เวทนาจึงดับ. แม้เมื่อเห็น
วิปริฌามลักษณะ คือ ลักษณะความปรวนแปร ก็ชื่อว่า ย่อมเห็นความ
เสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 647
แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็อย่างนี้. แต่ก็มีความต่างกันดังนี้ พึง
ประกอบคำว่า เพราะนามรูปเกิด (วิญญาณจึงเกิด) และเพราะนามรูปดับ
(วิญญาณจึงดับ) ดังนี้. ในที่แห่งผัสสะ (เมื่อพิจารณาความเกิดและความ
เสื่อม) ของวิญญาณขันธ์. ท่านกล่าวถึงลักษณะ ๕๐ แบ่งเป็นอย่างละ
๑๐ ๆ ในการเห็นความเกิดและความดับในขันธ์หนึ่ง ๆ ด้วยการเกิด
แห่งปัจจัย ด้วยนิพพัตติลักษณะ คือ ลักษณะแห่งการเกิด ด้วยการดับ
แห่งปัจจัย ด้วยวิปริณามลักษณะ คือลักษณะแห่งความปรวนแปร. ด้วย
อำนาจแห่งลักษณะเหล่านั้น พระโยคาวจรกระทำมนสิการโดยพิสดาร
ทั้งโดยปัจจัยและทั้งโดยขณะว่า ความเกิดแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้ ความ
เสื่อมแห่งรูปย่อมเป็นแม้อย่างนี้.
เมื่อพระโยคาวจรกระทำอย่างนี้ ญาณย่อมเป็นญาณบริสุทธิ์ว่า นัยว่า
ธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้ว มีแล้วเสื่อม ด้วยประการฉะนี้. สังขารทั้งหลาย
ย่อมปรากฏเป็นของใหม่อยู่เป็นนิจว่า นัยว่าธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ด้วยประการฉะนี้. สังขารทั้งหลายมิใช่
เป็นของใหม่อยู่เป็นนิจแต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ หาสาระ
มิได้ ดุจหยาดน้ำค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยขีดในน้ำ
ด้วยไม้ ดุจเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ดุจสายฟ้าแลบ และดุจภาพ
ลวง พยับแดด ความฝัน ลูกไฟ วงล้อ นักร้อง ยาพิษ ฟองน้ำ
และต้นกล้วยเป็นต้น อันตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อย. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เป็นอันว่าพระโยคาวจรได้บรรลุตรุณวิปัสสนาญาณเป็นครั้งแรก ชื่อว่า
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เพราะแทงตลอดลักษณะ ๕๐ ถ้วนโดย
อาการอย่างนี้ว่า สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดานั่นแลย่อมเกิดขึ้น และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 648
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเสื่อมไป ดังนี้ เพราะพระโยคาวจรบรรลุ
ตรุณวิปัสสนาญาณ จึงนับว่าเป็น อารทฺธวิปสฺสโก เป็นผู้ปรารภวิปัสสนา
แล้ว.
ครั้นกุลบุตรนั้นเริ่มวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนูปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง
ของวิปัสสนา) ๑๐ อย่างย่อมเกิดขึ้น คือ โอภาส (แสงสว่าง) ๑ ญาณ ๑
ปีติ ปัสสัทธิ ๑ สุข ๑ อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ๑ ปัคคหะ
(การประคองไว้) ๑ อุปัฏฐานะ (การเข้าไปตั้งไว้) ๑ อุเบกขา
นิกันติ (ความใคร่) ๑.
ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ เพราะญาณมีกำลังในขณะแห่งวิปัสสนา
โลหิตย่อมผ่องใส ชื่อว่า โอภาส. เพราะโลหิตผ่องใสนั้น ความสว่าง
แห่งจิตย่อมเกิด. พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาด ครั้นเห็นดังนั้นแล้วพอใจ
แสงสว่างนั้น ด้วยคิดว่า เราบรรลุมรรคแล้ว. แม้ญาณก็เป็นวิปัสสนาญาณ
เท่านั้น. ญาณนั้นบริสุทธิ์ผ่องใส ย่อมเป็นไปแก่ผู้พิจารณาสังขารทั้งหลาย
พระโยคาวจรเห็นดังนั้นย่อมพอใจว่า เราได้บรรลุมรรคแล้วดุจในครั้ง
ก่อน. ปีติ ก็เป็นวิปัสสนาปีติเท่านั้น. ในขณะนั้น ปีติ ๕ อย่างย่อมเกิด
ขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น. ปัสสัทธิ ได้แก่ ปัสสัทธิในวิปัสสนา. ใน
สมัยนั้น กายและจิตไม่กระวนกระวาย ไม่มีความกระด้าง ไม่มีความ
ไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้ ไม่มีความงอ. แม้สุขก็เป็นสุขใน
วิปัสสนาเท่านั้น. นัยว่าในสมัยนั้น ร่างกายทุกส่วนชุ่มชื่น ประณีตยิ่ง
เป็นสุขย่อมเกิดขึ้น. ศรัทธาเป็นไปในขณะแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า อธิโมกข์.
จริงอยู่ ในขณะนั้นศรัทธาที่มีกำลัง ซึ่งยังจิตและเจตสิกให้เลื่อมใสอย่าง
ยิ่ง ตั้งอยู่ด้วยดีย่อมเกิดขึ้น. ความเพียรที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 649
ปัคคหะ. จริงอยู่ ในขณะนั้น ความเพียรที่ประคองไว้ดีแล้วไม่ย่อหย่อน
อันตนปรารภยิ่งแล้วย่อมเกิดขึ้น. สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ชื่อว่า
อุปัฏฐาน. จริงอยู่ ในสมัยนั้น สติที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมเกิดขึ้น. อุเบกขามี
๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและอาวัชชนะ (การพิจารณา). จริงอยู่
ในขณะนั้นญาณกล่าวคือวิปัสสนูเปกขา อันมีความเป็นกลางในการยึดถือ
สังขารทั้งปวง เป็นสภาพมีกำลังย่อมเกิดขึ้น. แม้อุเบกขาในมโนทวารา-
วัชชนะก็ย่อมเกิดขึ้น. อนึ่ง อุเบกขานั้นกล้าเฉียบแหลมย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้
พิจารณาถึงฐานะนั้น ๆ. ความใคร่ในวิปัสสนา ชื่อว่า นิกนฺติ.
จริงอยู่ ในวิปัสสนูปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น ความใคร่มีอาการสงบ
สุขุม กระทำความอาลัยย่อมเกิดขึ้น. โอภาสเป็นต้นในวิปัสสนูปกิเลสนี้
ท่านกล่าวว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นวัตถุแห่งกิเลสมิใช่เพราะเป็นอกุศล.
แต่นิกันติความใคร่ เป็นทั้งอุปกิเลส เป็นทั้งเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส. ก็ภิกษุ
ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมกำหนด
มรรคและมิใช่มรรคว่า ธรรมทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น มิใช่มรรค แต่
วิปัสสนาญาณอันไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค. ญาณกำหนดรู้ว่า
นี้เป็นมรรค นี้มิใช่มรรคของผู้ปฏิบัตินั้น ท่านเรียกว่า มัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง).
ตั้งแต่นี้ไปวิปัสสนาญาณอันมีสัจจานุโลมิกญาณ (ญาณที่คล้อยตามสัจจะ)
ที่ ๙ ถึงความเป็นยอดของวิปัสสนาญาณ ๘ นี้ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ).
ชื่อว่าญาณ ๘ เหล่านี้ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึง
เห็นทั้งความเกิดและความดับ ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 650
ความดับ ๑ ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ๑
อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ญาณคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย ๑ มุญจิตุกามยตาญาณ ญาณคำนึง
ด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงด้วย
พิจารณาหาทาง ๑ สังขารุเปกขาญาณ ญาณคำนึงด้วยความวางเฉยใน
สังขาร ๑ คำว่า สัจจานุโลมิกญาณที่ ๙ นี้เป็นชื่อของ อนุโลมญาณ
เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์จะให้วิปัสสนาญาณนั้นสมบูรณ์ ควรทำความเพียร
ในญาณเหล่านั้น ตั้งแต่อุทยัพพยญาณ อันพ้นจากอุปกิเลสแล้วเป็นต้นไป.
เพราะเมื่อเห็นความเกิดความดับ อนิจจลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็น
จริง. เมื่อเห็นความบีบคั้นของความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ทุกข-
ลักษณะย่อมปรากฏตามความเป็นจริง และเมื่อเห็นอยู่ว่า ทุกข์เท่านั้น
ย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นดับไป อนัตตลักษณะย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง.
อนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบการจำแนกนี้ว่า นิจฺจ อนิจฺจลกฺขณ ทุกข
ทุกฺขลกฺขณ อนตฺตา อนตฺตลกฺขณ.
ในวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น บทว่า อนิจฺจ คือขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร
เพราะขันธ์ ๕ นั้นมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป และมีความเป็นอย่างอื่น
หรือเพราะมีแล้วไม่มี. ชราชื่อว่าความเป็นอย่างอื่น. ความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป และความเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ. หรือความ
วิการแห่งอาการ กล่าวคือความมีแล้วไม่มี ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.
ขันธ์ ๕ นั้นแลเป็นทุกข์ เพราะพระพุทธดำรัสว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ " เพราะเหตุไร. เพราะบีบคั้นอยู่เนือง ๆ. อาการบีบคั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 651
เนือง ๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ. ขันธ์ ๕ นั่นแลเป็นอนัตตา เพราะพระ-
พุทธดำรัสว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา. เพราะเหตุไร. เพราะ
ไม่เป็นไปในอำนาจ. อาการไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ.
แม้ลักษณะ ๓ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้เห็นความเกิด
และความเสื่อมนั่นเอง. ผู้นั้นย่อมเห็นรูปธรรมและอรูปธรรมแม้อีก โดย
นัยมีอาทิว่า " อย่างนี้ ไม่เที่ยง." สังขารทั้งหลายของผู้นั้นย่อมมาสู่คลอง
เร็วพลัน. แต่นั้นเมื่อมีความสิ้นความเสื่อมและความดับของสังขารเหล่านั้น
พระโยคาวจรไม่กระทำความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเป็นไปหรือนิมิต
ให้เป็นอารมณ์ดำรงอยู่. นี้ชื่อว่า ภังคญาณ.
จำเดิมแต่ภังคญาณนี้เกิด พระโยคาวจรนี้เห็นความดับเท่านั้นว่า
สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมแตกดับไป ฉันใด แม้ในอดีต สังขารก็แตก
แล้ว แม้ในอนาคต ก็จักแตก ฉันนั้น. เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภังคานุ-
ปัสสนาญาณบ่อย ๆ กระทำให้มาก สังขารทั้งหลายอันแตกต่างกันใน
ภพ กำเนิด คติ ฐิติ และสัตตาวาส ย่อมปรากฏ เป็นภัยใหญ่หลวง ดุจ
หลุมถ่านเพลิงอันลุกโพลงฉะนั้น นี้ชื่อว่า ภยตูปัฏฐานญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นเสพภยตูปัฏฐานญาณนั้น ภพเป็นต้นทั้งหมด
ไม่เป็นที่พึ่งได้ มีโทษ ย่อมปรากฏดุจเรือนถูกไฟไหม้ ดุจข้าศึกเงื้อดาบ
ฉะนั้น. นี้ชื่อว่า อาทีนวานุปัสสนาญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นสังขารโดยความมีโทษอย่างนี้ ความ
เบื่อหน่าย ความไม่ยินดีย่อมเกิดขึ้นในสังขารทั้งปวง เพราะสังขารทั้งหลาย
ในภพเป็นต้นมีโทษ นี้ชื่อว่า นิพพิทานุปัสสนาญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 652
เมื่อเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นออกไปจาก
สังขารนั้นย่อมมีขึ้น. นี้ชื่อว่า มุญจิตุกามยตาญาณ.
การยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาด้วยปฏิ-
สังขานุปัสสนาญาณ เพื่อจะพ้นจากสังขารนั้น ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนา-
ญาณ.
พระโยคาวจรนั้น ยกสังขารทั้งหลายขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้
แล้วกำหนดอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่าเป็นตนหรือเนื่องด้วยตน
เพราะเห็นชัดซึ่งความเป็นอนัตตลักษณะในสังขารเหล่านั้น ละความกลัว
และความเพลิดเพลินในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยเป็นกลางในสังขาร
ทั้งหลาย ไม่ยึดถือว่า เรา หรือ ของเรา เป็นผู้วางเฉยในภพทั้ง ๓. นี้
ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ.
ก็สังขารุเปกขาญาณนั้น หากว่าพระโยคาวจรเห็นนิพพานเป็นทาง
สงบโดยความสงบ สละความเป็นไปแห่งสังขารทั้งปวงแล้วแล่นไป น้อม
ไปในนิพพาน หากไม่เห็นนิพพานโดยความเป็นธรรมชาติสงบ เป็นญาณ
มีสังขารเป็นอารมณ์เท่านั้น ย่อมเป็นไปบ่อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสสนา
๓ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา หรืออนัตตานุปัสสนา.
อนึ่ง สังขารุเปกขาญาณนั้น เมื่อตั้งอยู่อย่างนี้ก็ถึงความเป็นไปแห่งวิโมกข์
๓ อย่างตั้งอยู่.
อนุปัสสนา ๓ อย่าง ท่านเรียกว่า วิโมกขมุข คือ ทางแห่ง
วิโมกข์ ๓.
ในวิโมกข์ ๓ อย่างนี้ พระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 653
ไม่เที่ยง เป็นผู้มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้เฉพาะ อนิมิตต-
วิโมกข์.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้
เฉพาะ อัปปณิหิตวิโมกข์.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากไปด้วยความรัก ย่อม
ได้เฉพาะ สุญญตวิโมกข์.
พึงทราบความในวิโมกข์นี้ต่อไป อริยมรรคทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์ เป็นไปแล้วโดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์.
จริงอยู่ อริยมรรคนั้นชื่อว่าหานิมิตไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นด้วยธาตุอันไม่มี
นิมิต และชื่อว่าวิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
โดยนัยนี้เหมือนกัน อริยมรรคนั้นทำนิพพานให้เป็นอารมณ์เป็นไป
แล้วโดยอาการหาที่ตั้งมิได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.
พึงทราบว่า อริยมรรคทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็นไปแล้ว
โดยอาการเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์.
วิปัสสนาของกุลบุตรผู้บรรลุสังขารุเปกขาญาณ ย่อมถึงความสุดยอด.
วุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ การวางเฉยในสังขารอย่างแรงกล้า ย่อมเกิด
ขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้เสพสังขารเปกขาญาณนั้น. มรรคจักเกิดขึ้นแก่
พระโยคาวจรนั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรวางเฉยในสังขาร พิจารณา
สังขารทั้งหลายว่า ไม่เที่ยงก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอนัตตาก็ดี ย่อมหยั่งลงสู่
ภวังค์ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อจากภวังค์ เพราะมนสิการ
โดยอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในสังขารุเปกขาญาณ.
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการอยู่อย่างนั้น ปฐมชวนจิตย่อมเกิดขึ้น ปฐม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 654
ชวนจิตนั้นเรียกว่า บริกรรม. ต่อจากบริกรรมนั้น ทุติยชวนจิตย่อม
เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ทุติยชวนจิตนั้นเรียกว่า อุปจาร. แม้ต่อจาก
อุปจารนั้น ตติยชวนจิตย่อมเกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น ตติยชวนจิตนั้น
เรียกว่า อนุโลม. นี้เป็นชื่อเรียกแยกกันของจิตเหล่านั้น แต่โดยไม่ต่างกัน
ชวนจิต ๓ ดวงนี้ท่านเรียก อาเสวนะบ้าง บริกรรมบ้าง อุปจารบ้าง
อนุโลมบ้าง ก็อนุโลมญาณนี้เป็นญาณสุดท้ายของวิปัสสนา อันเป็น
วุฏฐานคามินี มีสังขารเป็นอารมณ์. แต่โดยตรงโคตรภูญาณเท่านั้น ท่าน
เรียกว่าเป็นที่สุดของวิปัสสนา. ต่อจากนั้น โคตรภูญาณเมื่อกระทำนิโรธ
คือนิพพานให้เป็นอารมณ์ ก้าวล่วงโคตรปุถุชน หยั่งลงสู่อริยโคตร เป็น
ธรรมชาติน้อมไปในนิพพานอารมณ์เป็นครั้งแรก อันไม่เป็นไปในภพอีก
ย่อมบังเกิดขึ้น. แต่ญาณนี้ไม่จัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และญาณ-
ทัสสนวิสุทธิเป็นอัพโภหาริกในระหว่างญาณทั้งสองเท่านั้น. เพราะญาณนี้
ตกไปในกระแสแห่งวิปัสสนา จึงถึงการนับว่าเป็นปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิหรือวิปัสสนา. เมื่อโคตรภูญาณกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ดับไป
แล้ว โสดาปัตตผลซึ่งทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยสัญญาที่โคตรภูญาณ
นั้นให้แล้ว กำจัดสังโยชน์คือทิฏฐิสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น. ในลำดับต่อจากนั้น ผลจิตสองหรือสาม
ขณะอันเป็นผลแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นนั่นแหละย่อมเกิดขึ้น เพราะผลจิต
เป็นวิบากในลำดับต่อจากโลกุตรกุศล. ในที่สุดแห่งผลจิต มโนทวารา-
วัชชนจิตของพระโยคีนั้น เพราะตัดภวังค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
พิจารณา.
พระโยคีนั้นย่อมพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 655
แต่นั้นพิจารณาผลว่า เราได้อานิสงส์นี้แล้ว. แต่นั้นพิจารณากิเลสที่ละ
ได้แล้วว่า กิเลสเหล่านั้นเราละได้แล้ว. แต่นั้นพิจารณากิเลสที่จะพึงฆ่าด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ว่า กิเลสเหล่านี้ยังเหลืออยู่. ในที่สุดพิจารณาอมต-
นิพพานว่า ธรรมนี้อันเราแทงตลอดแล้ว. การพิจารณา ๕ อย่างย่อม
มีแก่พระโสดาบันนั้นด้วยประการฉะนี้. ในที่สุดแห่งสกทาคามิผลและ
อนาคามิผลก็เหมือนกัน. แต่ในที่สุดแห่งอรหัตผลไม่มีการพิจารณากิเลส
ที่เหลือ. การพิจารณาทั้งหมดมี ๑๙ อย่าง ดังนี้.
พระโยคาวจรนั้น ครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ก็นั่งบนอาสนะนั้น
นั่นเอง เห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว กระทำกามราคะและพยาบาทให้เบา
บาง ย่อมบรรลุ ทุติยมรรค. ในลำดับต่อจากทุติยมรรคนั้นก็บรรลุผล
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
แต่นั้น พระโยคาวจรทำการละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีส่วน
เหลือโดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมบรรลุ ตติยมรรค และบรรลุตติยผลตาม
นัยดังกล่าวแล้ว.
แต่นั้น ณ อาสนะนั้นเอง พระโยคาวจรเห็นแจ้งโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ทำการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มี
ส่วนเหลือ ย่อมบรรลุ จตุตถมรรค และบรรลุจตุตถผลโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
โดยเหตุเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้นก็เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้อรหันต
มหาขีณาสพ. ญาณในมรรค ๔ เหล่านี้ ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ ด้วย
ประการฉะนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ด้วยสองบาทคาถานี้ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ
นิธาย ทณฺฑ อเหย อญฺตฺรมฺปิ เตส บุคคลวางแล้วซึ่งอาชญาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 656
สัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้แต่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นอันพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวถึง ศีลวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงศีลมีปาติโมกขสังวร
เป็นต้น. ด้วยบาทคาถานี้ว่า น ปุตฺตมิจฺเฉยฺย กุโต สหาย ไม่พึงปรารถนา
บุตร จักปรารถนาสหายแต่ไหน เป็นอันท่านกล่าวถึง จิตตวิสุทธิ เพราะ
กล่าวถึงเมตตาเป็นต้น ด้วยการเว้นจากความกระทบกระทั่งและความยินดี.
ด้วยบทนี้ว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น เป็นอันท่านกล่าวถึง ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะกล่าวถึงการ
กำหนดนามรูปเป็นต้น. วิสุทธิ ๓ ข้างต้นที่กล่าวแล้ว วิสุทธิ ๔ ประการ
คือ กังขาวิตรณวิสุทธิ ๑ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ปฏิปทา-
ญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว
(ครบ ๗ ประการ) นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นเพียงหัวข้อในวิสุทธิ ๗ นี้. แต่
ผู้ปรารถนาความพิสดาร พึงดูวิสุทธิมรรคแล้วถือเอาเถิด.
ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นี้
มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง
ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย
ไม่หวาดสะดุ้ง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงถึงความเป็นที่รักของสกุล
ทั้งหลายเป็นต้น เข้าไปสำราญอยู่ยังภูเขาคันธมาทน์ ในบททั้งปวงก็มี
ความอย่างนี้.
จบอรรถกถานิทเทสแห่งคาถาที่ ๑
ในอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 657
คาถาที่ ๒
๒) สสคฺคชาตสฺส ภวนฺติ เสฺนหา
เสฺนหนฺวย ทุกฺขมิท ปโหติ
อาทีนว เสฺนหช เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ทุกข์นี้
ย่อมเกิดตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่
ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สสคฺคชาตสฺส คือ บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง. ในบทว่า
สสคฺคชาตสฺส นั้น พึงทราบว่าความเกี่ยวข้องมีอยู่ ๕ อย่าง คือ ทัสสน-
สังสัคคะ ๑ สวนสังสัคคะ ๑ กายสังสัคคะ ๑ สมุลลปนสังสัคคะ ๑
สัมโภคสังสัคคะ ๑.
ในสังสัคคะเหล่านั้น ความกำหนัดเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งจักษุ-
วิญญาณ เพราะเห็นกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังคคะ (เกี่ยวข้องด้วย
การเห็น) ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะ มีดังนี้.
ลูกสาวกุฎุมพีเห็นภิกษุหนุ่มผู้อยู่ ณ กัลยาณีวิหาร เที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้านกาฬทีฆวาปี ในสีหลทวีป มีจิตปฏิพัทธ์ เมื่อไม่ได้สมความ
ปรารถนาด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาย. อีกตัวอย่างหนึ่ง ภิกษุหนุ่ม
รูปนั่นแหละ เห็นท่อนผ้าที่หญิงนั้นนุ่งห่ม คิดว่าเราคงไม่ได้อยู่ร่วมกับ
นางผู้นุ่งห่มผ้าอย่างนี้ แล้วหัวใจแตกถึงแก่มรณภาพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 658
ก็ความกำหนัดเกิดด้วยอำนาจแห่งโสตวิญญาณ เพราะฟังสมบัติ
มีรูปเป็นต้นที่คนอื่นพูดถึง หรือฟังเสียงหัวเราะรำพันและเพลงขับด้วย
ตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการฟัง).
แม้ในสวนสังสัคคะนั้นก็มีตัวอย่างดังนี้ ภิกษุหนุ่มชื่อว่า พระติสสะ
อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ เหาะไปทางอากาศได้ยินเสียงลูกสาวช่างทอง ชาวบ้าน
คิริคาม กับหญิงสาว ๕ คนไปอาบน้ำยังสระปทุม เก็บดอกบัวเสียบไว้
บนศีรษะแล้วร้องเพลงด้วยเสียงดัง จึงเสื่อมจากฌานเพราะกามราคะ ถึง
ความพินาศ.
ความกำหนัดเกิดเพราะลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่า กาย-
สังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยกาย). ในกายสังสัคคะนี้ มีตัวอย่าง ภิกษุหนุ่ม
สวดพระธรรม.
มีเรื่องว่า ในมหาวิหาร ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกล่าวธรรม ณ มหาวิหาร
นั้น เมื่อมหาชนกลับไปหมดแล้ว พระราชาได้เสด็จไปพร้อมด้วยฝ่ายใน.
ลำดับนั้น ความกำหนัดอย่างแรงเกิดขึ้นแก่ราชธิดา เพราะอาศัยรูปและ
เสียงภิกษุหนุ่มนั้น แม้ภิกษุหนุ่มนั้นก็เกิดความกำหนัดด้วย. พระราชา
ครั้นทรงเห็นดังนั้น จึงทรงตั้งข้อสังเกต รับสั่งให้กั้นม่าน. ภิกษุหนุ่ม
และราชธิดาลูบคลำกันและกันแล้วกอดกันจนตายไปด้วยกัน. พวกราช-
บุรุษเอาม่านออกได้เห็นคนทั้งสองตายเสียแล้ว.
ก็ความกำหนัดเกิดขึ้นในเพราะสนทนาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า
สมุลลปนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องกันในเพราะสนทนากัน).
ความกำหนัดเกิดในเพราะบริโภคร่วมกันกับภิกษุและภิกษุณี ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 659
สัมโภคสังคคคะ (เกี่ยวข้องเพราะบริโภคร่วมกัน). ในสังสัคคะทั้งสองนี้
มีตัวอย่าง เรื่องภิกษุภิกษุณีในมริจวัฏฏิวิหาร.
มีเรื่องเล่าว่า ในงานฉลองมริจวัฏฏิมหาวิหาร พระเจ้าทุฏฐคามณิ-
อภัยมหาราช ทรงตระเตรียมมหาทาน อังคาสสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ณ ที่นั้น
เมื่อทรงถวายข้าวยาคูร้อน สังฆนวกสามเณรี (สามเณรีบวชใหม่) ถวาย
ถาดแก่สังฆนวกสามเณร (สามเณรบวชใหม่) มีอายุ ๗ ขวบไม่ค่อยจะ
เรียบร้อยนัก ได้สนทนากัน. ทั้งสองนั้นบวชจนมีอายุได้ ๖๐ ปี ไปสู่ฝั่ง
อื่น ได้บุพสัญญาด้วยการสนทนากันและกัน ทันใดนั้นเอง เกิดเสน่หา
กันขึ้น ล่วงสิกขาบท ได้ต้องอาบัติปาราชิก.
ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความเกี่ยวข้องอย่างใด
อย่างหนึ่งในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง อย่างนี้ ความกำหนัดอย่างแรงย่อม
เกิดขึ้นเพราะมีราคะในครั้งก่อนเป็นปัจจัย. แต่นั้นความทุกข์อันเนื่องด้วย
เสน่หาย่อมปรากฏ ความทุกข์อันมีความเสน่หาติดตามมีประการต่าง ๆ
เป็นต้นว่า ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ในปัจจุบันและสัมปรายภพ
เป็นต้น ย่อมปรากฏ ย่อมบังเกิด ย่อมมี ย่อมเกิด. แต่อาจารย์อื่น ๆ
กล่าวว่า การปล่อยจิตไปในอารมณ์ ชื่อว่า สังสัคคะ ความเกี่ยวข้อง.
ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ครั้นกล่าวคาถากึ่งหนึ่งนี้มีความอย่างนี้ว่า
ความเสน่หาเพราะความเกี่ยวข้องนั้น เป็นทุกข์ดังนี้ จึงกล่าวว่า เรานั้น
ขุดรากของทุกข์นั้น มีทุกข์อันเกิดแต่ความเศร้าโศกเป็นต้น อันไปตาม
ความเยื่อใย ย่อมปรากฏ จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ. เมื่อพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายเหล่านั้นพากันกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 660
พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พวกกระผมจะพึงทำอย่างไรเล่า. พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า พวกท่านก็ดี ผู้อื่นก็ดี ผู้ใดประสงค์จะพ้นจาก
ทุกข์นี้ ผู้นั้นทั้งหมดเพ่งถึงโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น. ในบทนี้พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวบทนี้ว่า
เพ่งโทษอันเกิดแต่เสน่หา หมายถึงบทที่ท่านกล่าวว่าทุกข์นี้เนื่องด้วย
เสน่หาย่อมปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง พึงเชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเสน่หา
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้อง ด้วยความเกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว
ทุกข์นี้เนื่องด้วยเสน่หาย่อมปรากฏ เราเพ่งถึงโทษตามความเป็นจริงนี้ว่า
เกิดแต่ความเสน่หา จึงบรรลุ ดังนี้แล้วพึงทราบว่า บทที่ ๔ ท่านกล่าว
ด้วยคำอุทานตามนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. บททั้งปวงต่อจากนั้นเช่น
กับที่กล่าวแล้วในคาถาก่อนนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุปาเทนฺติ ย่อมติดใจ คือ ครั้นเห็นอนุพยัญชนะ (ส่วน
ต่าง ๆ) ในรูปย่อมติดใจ. บทว่า อนุพนฺธติ ย่อมผูกพัน คือผูกพันด้วย
ความเสน่หาในรูป. บทว่า ภวนฺติ คือ ย่อมมี. บทว่า ชายนฺติ คือ
ย่อมเกิด. บทว่า นิพฺพนฺตนฺติ ย่อมบังเกิด คือย่อมเป็นไป. บทว่า
ปาตุภวนฺติ คือ ย่อมปรากฏ. สามบทว่า สมฺภวนฺติ สญฺชายนฺติ อภิ-
นิพฺพตฺตนฺติ เพิ่มอุปสัคลงไป แปลว่า มีพร้อม เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ.
ต่อจากนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอัฏฐกวรรคนั่นแล.
จบคาถาที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 661
คาถาที่ ๓
๓) มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
หาเปติ อตฺถ ปฏิพทฺธจิตโต
เอต ภย สนฺถวเปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า
ย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือการยัง
ประโยชน์ให้เสื่อม ในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า มิตฺตา ด้วยอำนาจแห่งความรัก. ชื่อว่า สุหชฺชา ด้วย
ความเป็นผู้มีใจดี. จริงอยู่ คนบางคนเป็นมิตรเพราะหวังประโยชน์โดย
ส่วนเดียว มิใช่เป็นผู้มีใจดี. บางคนเป็นผู้มีใจดี ด้วยให้ความสุขในใจ
ในการเดิน ยืน นั่ง และสนทนาเป็นต้น มิใช่เป็นมิตร. บางคนเป็น
ทั้งผู้มีใจดี เป็นทั้งมิตร ด้วยอำนาจทั้งสองนั้น. ชนเหล่านั้นมี ๒ คือ
อาคาริยมิตร มิตรคฤหัสถ์ และอนาคาริยมิตร มิตรบรรพชิต.
ในมิตรสองจำพวกนั้น อาคาริยมิตรมี ๓ คือ มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑. อนาคาริยมิตร คือมิตร
แนะประโยชน์ โดยต่างออกไปจาก ๓ ประเภทนั้น มิตรเหล่านั้นประกอบ
ด้วยองค์ ๔ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สิงคาลมาณพว่า
ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วย
ฐานะทั้งหลาย ๔ คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ ป้องกันทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 662
สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อมี
ธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๑.
ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดี
ด้วยฐานะ ๔ คือ บอกความลับของตนแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของ
เพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ แม้ชีวิตก็สละแทนเพื่อนได้ ๑.
ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วย
ฐานะ ๔ คือ ทุกข์ทุกข์ด้วย ๑ สุขสุขด้วย ๑ โต้เถียงคนที่ติเตียนเพื่อน ๑
รับรองคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑.
ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรแนะประโยชน์ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดี
ด้วยฐานะ ๔ คือ ห้ามทำความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ฟังสิ่งที่
ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
ในมิตรทั้งสองนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอา อาคาริยมิตร. แต่โดย
ความหมายย่อมควรแม้มิตรทั้งหมด คือมิตรผู้มีใจดีเหล่านั้น.
บทว่า อนุกมฺปมาโน เมื่ออนุเคราะห์ คือเอ็นดู ประสงค์จะนำ
ความสุขเข้าไปให้เเก่มิตรเหล่านั้น ประสงค์จะนำความทุกข์ออกไป. บทว่า
หาเปติ อตฺถ ย่อมให้ประโยชน์เสื่อมไป คือยังประโยชน์ ๓ อย่าง
ประโยชน์ปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ภายหน้า ๑ ประโยชน์สูงสุด ๑ อนึ่ง
ประโยชน์ตน ๑ ประโยชน์ผู้อื่น ๑ ประโยชน์ทั้งสอง ๑ ให้เสื่อมไป
ให้พินาศไป ด้วยเหตุทั้งสอง คือด้วยให้สิ่งที่ได้แล้วพินาศไป ๑ ด้วยให้
สิ่งที่ยังไม่ได้มิให้เกิดขึ้น ๑. บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต เป็นผู้มีจิตผูกพัน คือ
แม้ตั้งตนไว้ในฐานะที่ต่ำอย่างนี้ว่า เราเว้นผู้นี้เสียแล้วจะไม่มีชีวิตอยู่ได้ ผู้นี้
เป็นแบบอย่างของเรา ผู้นี้ช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่เรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 663
มีจิตผูกพัน. แม้ตั้งตนไว้ในฐานะที่สูงอย่างนี้ว่า ผู้นี้เว้นเราเสียแล้วก็จะ
ไม่มีชีวิตอยู่ได้ เราเป็นแบบอย่างของพวกเขา เราจะช่วยบรรเทาทุกข์ให้
แก่พวกเขา ดังนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีจิตผูกพัน. ก็ในที่นี้ประสงค์เอาความ
เป็นผู้มีจิตผูกพันอย่างนี้. บทว่า เอต ภย คือ ภัยยังประโยชน์ให้เสื่อม
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธะกล่าวหมายถึงการเสื่อมจากสมาบัติของตน.
บทว่า สนฺถเว ในความสนิทสนม ความสนิทสนมม ๓ อย่าง คือ สนิท-
สนมด้วยตัณหา ๑ ด้วยทิฏฐิ ๑ ด้วยความเป็นมิตร ๑. ในความสนิทสนม
๓ อย่างนั้น ตัณหาแม้มีประเภทตั้ง ๑๐๘ ก็เป็น ตัณหาสัถวะ. ทิฏฐิ
แม้มีประเภท ๖๒ ก็เป็นทิฏฐิสันถวะ. การช่วยเหลือมิตรเพราะมีจิตผูกพัน
กัน เป็นมิตรสันถวะ. มิตรสันถวะนั้นประสงค์เอาในที่นี้. สมาบัติของ
บุคคลนั้นเสื่อมไปด้วยมิตรสันถวะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
จึงกล่าวว่า เราเห็นภัยนั้นในความสนิทสนมจึงได้บรรลุ. บทที่เหลือ
เช่นกับที่กล่าวไว้แล้วนั้นแล ไม่มีอะไรที่ควรกล่าวในนิเทศ.
จบคาถาที่ ๓
คาถาที่ ๔
๔) วโส วิสาโลว ยถา วิสตฺโต
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา
วสากฬีโร ว อสชฺชมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 664
บุคคลข้องอยู่แล้วด้วยความเยื่อใยในบุตรและภรรยา
เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวเกาะกันฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่
เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วโส คือ ไม้ไผ่. บทว่า วิสาโล คือ หนาแน่น. ว อักษร
เป็นอวธารณะ. หรือ เอว อักษร ในบทนี้ เอ อักษรหายไปด้วยบท
สนธิ. พึงเชื่อมบทนั้นในบทอื่น. เราจักประกอบบทนั้นในภายหลัง.
บทว่า ยถา คือ ในความเปรียบเทียบ. บทว่า วิสตฺโต คือ เกี่ยวข้อง
พัวพัน ร้อยรัด. บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ คือ ในบุตรธิดาและภรรยา.
บทว่า ยา อเปกฺขา คือ ตัณหาใด ความเสน่หาใด. บทว่า วสกฬีโรว๑
อสชฺชมาโน คือ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เกี่ยวข้อง เหมือนหน่อไม้ไผ่.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ว่า พุ่มไม้ไผ่ใหญ่เกี่ยวพันกันฉันใด
ตัณหาในบุตรและภรรยาทั้งหลาย กว้างขวางเกี่ยวพันกันฉันนั้น แม้ตัณหา
นั้นชื่อว่าเกี่ยวข้องกัน เพราะร้อยรัดวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง เรานั้นมีตัณหา
เพราะความเพ่งนั้น เห็นโทษของความเพ่งอย่างนี้ว่า เหมือนพุ่มไม้ไผ่ใหญ่
เกี่ยวพันกัน แล้วจึงตัดความเพ่งนั้นเสียด้วยมรรคญาณ ไม่ขัดข้องด้วย
อำนาจแห่งตัณหา มานะและทิฏฐิในรูปเป็นต้นก็ดี ในลาภเป็นต้นก็ดี
ในกามราคะเป็นต้นก็ดี จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ ดังนี้. บทที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยมีในก่อนนั่นแล ในนิเทศแห่งคาถานี้ไม่มีอะไรนอกเหนือ
ไปจากนี้.
จบคาถาที่ ๔
๑. บาลีเป็น วสากฬีโรว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 665
คาถาที่ ๖
๕) มิโค อรยฺยมิหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉก คจฺฉติ โคจราย
วิญฺู นโร เสริต เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปิโป.
เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตาม
ปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตาม
ความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง). บทว่า อรญฺมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ
เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน. บทว่า ยถา คือ ใน
ความเปรียบเทียบ. บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดง
ถึงความพระพฤติที่คุ้นเคยกัน. บทว่า เยนิจฺฉก คจฺฉติ โคจราย ไป
เพื่อหาอาหารคามความต้องการ คือไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป.
เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยว
กินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน. บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า เสริต ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วย
ความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น. บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 666
จักษุ. อีกอย่างหนึ่ง ความเสรีในธรรมและความเสรีในบุคคล. จริงอยู่
โลกุตรธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสรี เพราะไม่ไปสู่อำนาจของกิเลส และบุคคล
ชื่อว่าเสรี เพราะประกอบด้วยโลกุตรธรรมเหล่านั้น. นิเทศแห่งความ
เป็นเสรีเหล่านั้น เพ่งถึงธรรมอันให้ถึงความเป็นเสรี. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. อธิบายไว้ว่า มฤคในป่า อันเครื่องผูกอะไร ๆ มิได้ผูกไว้
ย่อมไปหาอาหารได้ตามความประสงค์ฉันใด เมื่อเราคิดว่า เมื่อไรหนอ
เราพึงตัดเครื่องผูกคือตัณหา แล้วไปอย่างนั้นได้ ดังนี้ แล้วถูกพวกท่าน
ยืนล้อมอยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลัง ผูกพันอยู่ไม่ได้ไปตามความปรารถนา เรา
เห็นโทษในความไม่ได้ไปตามความปรารถนา เห็นอานิสงส์ในการไปได้
ตามความปรารถนาแล้ว ได้ถึงความบริบูรณ์ด้วยสมถะและวิปัสสนาตาม
ลำดับ แต่นั้นก็ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น นรชนผู้เป็น
วิญญู เมื่อเห็นธรรมอันให้ถึงความเสรี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ ๕
คาถาที่ ๖
๖) อามนฺตา โหติ สหายมชฺเฌ
วาเส าเน คมเน จาริกาย
อนภิชฺฌิต เสริต เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป ในการเที่ยว
ย่อมมีในท่ามกลางสหาย บุคคลเพ่งความประพฤติตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 667
ความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
นิเทศนี้เป็นปิณฑัตถะ คือ บวกความท่อนหลัง ๆ เข้ากับความท่อน
ต้นๆ. หรือมีอรรถว่า ประมวลความ. เมื่อตั้งอยู่ในท่ามกลางสหาย จำต้อง
มีการปรึกษากันอย่างนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจงฟังเรื่องนี้ของเรา
จงให้สิ่งนี้แก่เรา ทั้งในที่อยู่ คือที่พักกลางวัน ในที่ยืน คือที่โรงฉันใหญ่
ในที่เดิน คือในการไปสวน ในที่เที่ยวไป คือในที่เที่ยวไปในชนบท
เพราะฉะนั้น เราเมื่อเบื่อหน่ายในที่นั้น ๆ เห็นบรรพชาที่อริยชนเสพ
มีอานิสงส์มาก เป็นความสุขโดยส่วนเดียว เมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษชั่ว
ทั้งหมดถูกลาภครอบงำ ไม่เพ่งไม่ปรารถนา เห็นความไม่เพ่งนั้น และเห็น
ธรรมอันให้ถึงความเสรีด้วยอำนาจแห่งธรรมและบุคคล โดยไม่ตกอยู่ใน
อำนาจของผู้อื่น จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณตามลำดับ
ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๖
คาถาที่ ๗
๗) ขิฑฺฑา รตี โหติ สหายมชฺเฌ
ปุตฺเตสุ จ วิปูล โหติ เปม
ปิยวิปฺปโยค วิชิคุจฺฉมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 668
การเล่น การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางสหาย อนึ่ง
ความรักที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อ
เกลียดชังความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รัก
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ขิฑฺฑา คือ การเล่น. การเล่นมี ๒ อย่าง คือ ทางกาย
และทางวาจา. การเล่นมีอาทิอย่างนี้ คือ เล่นด้วยช้างบ้าง ด้วยม้าบ้าง
ด้วยธนูบ้าง ด้วยดาบบ้าง ชื่อว่า การเล่นทางกาย. การเล่นมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ขับร้อง กล่าวคำโศลก ทำเสียงกลองด้วยปาก ชื่อว่า การ
เล่นทางวาจา. บทว่า รตี คือ ความยินดีในกามคุณ ๕. บทว่า วิปูล
ไพบูลย์ คือ ซึมแทรกเข้าไปยังอัตภาพทั้งสิ้น จนจรดเยื่อในกระดูก.
บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้การประกอบไปตามลำดับสืบเนื่องในนิเทศนี้
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั่นแล.
จบคาถาที่ ๗
คาถาที่ ๘
๘) จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ
สนฺตุสฺสมาโน อิตรีตเรน
ปริสฺสยาน สหิตา อฉมฺภี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 669
บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ และไม่
เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตราย
เสีย ไม่หวาดเสียว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
บทว่า จาตุทฺทิโส คือ อยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่. แผ่พรหมวิหาร
ภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า เอก ทิส ผริตฺวา วิหรติ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
อยู่. ชื่อว่า จาตุทฺทิโส เพราะมี ๔ ทิศ. ชื่อว่า อปฺปฏิโฆ เพราะไม่
เบียดเบียนสัตว์หรือสังขาร ด้วยความกลัวในทิศไหนๆ ใน ๔ ทิศเหล่านั้น.
บทว่า สนฺตุสฺสมาโน คือ ยินดีด้วยอำนาจแห่งสันโดษ ๑๒ อย่าง
บทว่า อีตรีตเรน คือ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้. ในบทว่า ปริสฺสยาน
สหิตา อฉมฺภี นี้ ชื่อว่า ปริสฺสยา เพราะครอบงำกายและจิต ทำลาย
สมบัติของคนเหล่านั้น หรือนอนเฉย. บทนี้เป็นชื่อของอันตรายทางกาย
และใจในภายนอก มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ในภายในมีกามฉันทะ
เป็นต้น. ชื่อว่าครอบงำอันตรายทั้งหลาย เพราะครอบงำอันตรายเหล่านั้น
ด้วยความอดกลั้น และด้วยธรรมมีวิริยะเป็นต้น. ชื่อว่า อจฺฉมฺภี เพราะ
ไม่มีความกลัวอันทำความกระด้าง. ท่านอธิบายไว้อย่างไร อธิบายไว้ว่า
สมณะ ๔ จำพวกฉันใด เราก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้อย่างนั้น ตั้งอยู่ในสันโดษอันเป็นทางแห่งการปฏิบัตินี้ มีปกติอยู่ตาม
สบายในทิศทั้งสี่ ไม่มีความขัดเคือง เพราะไม่มีภัยอันทำให้กระทบ
กระทั่งในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ครอบนำอันตรายทั้งหลายดังได้กล่าว
แล้ว เพราะมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ ไม่มีความหวาดเสียว เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 670
ไม่มีความกระทบกระทั่ง เพราะเหตุนั้น เราเห็นคุณของการปฏิบัตินี้ จึง
ปฏิบัติโดยแยบคายแล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ.
อีกอย่างหนึ่ง เรารู้ว่า ผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้เหมือนสมณะ
เหล่านั้น มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่. ตามนัยที่กล่าวแล้ว จึงปรารถนา
ความเป็นผู้มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่อย่างนี้ ได้ปฏิบัติโดยแยบคาย
จึงบรรลุ เพราะฉะนั้น แม้ผู้อื่นปรารถนาฐานะเช่นนั้นบ้าง เป็นผู้ครอบงำ
อันตรายทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่ และ
เป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง เพราะไม่มีความกระทบกระทั่ง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้ .
บทว่า เมตฺตา พึงทราบโดยอรรถก่อน ชื่อว่า เมตฺตา เพราะมี
ความเยื่อใย. อธิบายว่า ความรัก. ชื่อว่าเมตตา เพราะมีความรัก
หรือความเป็นไปแห่งความรัก. บทว่า เมตฺตาสหคเตน คือ มีใจ
ประกอบด้วยเมตตา. บทว่า เจตสา คือ มีใจ. บทว่า เอก ทิส คือ
ในทิศหนึ่ง. ท่านกล่าวประสงค์เอาสัตว์ที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง ด้วยการ
แผ่ไปถึงสัตว์อันเนื่องในทิศหนึ่ง. บทว่า ผริตฺวา แผ่ไปแล้ว คือถูกต้อง
กระทำให้เป็นอารมณ์. บทว่า วิหรติ คือ ยังการอยู่ในอิริยาบถที่ตั้งไว้ใน
พรหมวิหารให้เป็นไป. บทว่า ตถา ทุติย ทิศที่ ๒ ก็เหมือนกัน คือ
ในลำดับทิศนั้นเหมือนอย่างที่แผ่ไปในทิศหนึ่ง ในทิศบูรพาเป็นต้น ทิศใด
ทิศหนึ่ง. อธิบายว่า ทิศที่ ๒ ที่ ๓ และทิศที่ ๔. บทว่า อิติ อุทฺธ
ท่านกล่าวว่าทิศเบื้องบนโดยนัยนั้นเหมือนกัน. บทว่า อโธ ติริย คือ
แม้ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางก็เหมือนกัน. อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 671
อโธ คือ เบื้องล่าง. บทว่า ติริย คือ ทิศน้อย. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ยังจิตสหรคตด้วยเมตตาให้แล่นไปบ้าง แล่นกลับบ้าง ในทิศทั้งปวงอยู่
อย่างนี้ เหมือนคนฝึกม้า ยังม้าให้วิ่งไปบ้าง วิ่งกลับบ้างในสนามฝึกม้า.
ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ กำหนดทิศหนึ่ง ๆ แล้ว แสดงถึงการแผ่เมตตาโดย
จำกัด. บทว่า สพฺพธิ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงโดยไม่จำกัด. ใน
บทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธิ คือ ในทิศทั้งปวง. บทว่า สพฺพตฺตตาย
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า คือทั่วสัตว์ทั้งปวงมีประเภทเป็นต้นว่า สัตว์เลว ปาน
กลาง อุกฤษฏ์ มิตร ศัตรู และเป็นกลาง ท่านกล่าวว่า ไม่ทำการแยกว่า
สัตว์นี้ สัตว์อื่น เพราะสัตว์ทุกชนิดเสมอกับตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
สพฺพตฺตตาย ท่านกล่าว่า ไม่ซัดออกไปภายนอกแม้แต่น้อย โดยความ
เป็นจิตทั้งหมด. บทว่า สพฺพาวนฺติ สัตว์ทุกเหล่า คือประกอบด้วย
สัตว์ทั้งปวง. บทว่า โลก คือ สัตวโลก. ท่านกล่าวว่า มีจิตสหรคต
ด้วยเมตตาในที่นี้อีก เพราะแสดงโดยปริยายมีอย่างนี้ว่า วิปุเลน เป็นจิต
กว้างขวาง ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะ ตถา ศัพท์ก็ดี อิติ ศัพท์ก็ดี
ท่านมิได้กล่าวอีก ดุจในการแผ่ไปโดยจำกัดนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
มีจิตสหรตด้วยเมตตาอีก. อีกอย่างหนึ่ง สูตรนี้ท่านกล่าวโดยสรุป. อนึ่ง
ในบทว่า วิปุเลน นี้ พึงเห็นความเป็นผู้มีจิตกว้างขวางด้วยการแผ่ไป.
จิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ด้วยสามารถแห่งภูมิ. จิตหาประมาณมิได้ด้วย
สามารถแห่งความคล่องแคล่ว และด้วยสามารถแห่งสัตว์ไม่มีประมาณเป็น
อารมณ์. จิตไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือพยาบาทเสียได้. จิตไม่มีความ
เบียดเบียน เพราะละความโทมนัสเสียได้. ท่านกล่าวว่า หมดทุกข์. กรุณา
มีความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ชื่อว่า มุทิตา เพราะเป็นเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 672
ยินดีแห่งจิต มีความพร้อมเพรียงแห่งจิตนั้น หรือยินดีด้วยตนเอง หรือ
เพียงความยินดีเท่านั้น. ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเข้าไปเพ่ง โดยการละ
พยาบาทมีอาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงอย่ามีเวรกันเลย และด้วยการ
เข้าถึงความเป็นกลาง.
อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้โดยลักษณะเป็นต้น ต่อไป.
เมตตา มีความเป็นไปแห่งอาการ คือเป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็น
ลักษณะ การนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส (คือกิจ) มีการกำจัดความ
อาฆาตเป็นปัจจุปัฏฐาน (คือเครื่องปรากฏ) มีการเห็นสัตว์มีความอิ่มเอิบ
ใจเป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ให้เกิด) การสงบความพยาบาทเป็นสมบัติของ
เมตตา การเกิดความเสน่หาเป็นวิบัติของเมตตานี้.
กรุณา มีการช่วยให้เขาพ้นทุกข์เป็นลักษณะ มีการอดทนไม่ได้ใน
ทุกข์ของผู้อื่นเป็นรส มีการไม่เบียดเบียนเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็น
ความที่สัตว์ทั้งหลายถูกทุกข์ครอบงำไม่มีที่พึ่งเป็นปทัฏฐาน ความสงบ
จากการเบียดเบียนเป็นสมบัติของกรุณานั้น ความเกิดเศร้าโศกเป็นวิบัติ
ของกรุณา.
มุทิตา มีความยินดีเป็นลักษณะ มีความไม่ริษยาเป็นรส มีการ
กำจัดความไม่ยินดีเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็นสมบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นปทัฏฐาน. ความสงบการริษยาเป็นสมบัติของมุทิตานั้น การเกิด
ความดีใจเป็นวิบัติของมุทิตา.
อุเบกขา มีความเป็นไปแห่งอาการ คือการวางตนเป็นกลางในสัตว์
ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีการเห็นความเสมอกันในสัตว์ทั้งหลายเป็นรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 673
มีการเข้าไปสงบความขัดเคืองและความยินดีเป็นปัจจุปัฏฐาน มีการเห็น
ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนอันเป็นไปอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม
เป็นของตน สัตว์เหล่านั้นจักมีสุข จักพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจาก
สมบัติที่มีอยู่ตามความชอบใจของใคร ดังนี้เป็นปทัฏฐาน. การสงบจาก
ความขัดเคืองและความยินดีเป็นสมบัติของอุเบกขานั้น ความเกิดแห่ง
อุเบกขาในอญาณ อันอาศัยเรือน (คือกามคุณ ๕) เป็นวิบัติของอุเบกขา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตุฏฺโ โหติ คือ เป็นผู้ยินดีด้วยความ
ยินดีในปัจจัย . บทว่า อิตรีตเรน จีวเรน ด้วยจีวรตามมีตามได้ คือ
ยินดีด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาจีวรเนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง
ประณีต มั่นคง และเก่าเป็นต้น. อธิบายว่า ที่แท้แล้วเป็นผู้ยินดีด้วย
จีวรตามมีตามได้. จริงอยู่ ในจีวรมีสันโดษ ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ
ยินดีตามที่ได้ ๑ ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง ๑ ยถาสารุปปสันโดษ
ยินดีตามสนควร ๑. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ท่าน
กล่าวว่า เป็นผู้ยินดีด้วยจีวรตามมีตามได้ คือเป็นผู้ยินดีจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
ในบรรดาจีวรตามที่ได้แล้ว หมายถึงสันโดษ ๓ เหล่านี้.
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบ จีวร เขตของจีวร ผ้าบังสุกุล ความ
ยินดีในจีวร และธุดงค์อันปฏิสังยุตด้วยจีวร.
บทว่า จีวร ชานิตพฺพ พึงรู้จีวร คือพึงรู้จีวร ๖ ชนิด มีผ้า
ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และจีวรอนุโลม ๖ ชนิด มีจีวรทำด้วยผ้าเนื้อดี
เป็นต้น. จีวร ๑๒ ชนิดเหล่านี้เป็นกัปปิยจีวร. จีวรที่มีอาทิอย่างนี้ว่า
จีวรที่ทำด้วยหญ้าคา ป่าน เปลือกไม้ ผมคน ขนสัตว์ ใบลาน หนัง
ปีกนกเค้า ต้นไม้ เถาวัลย์ ตะไคร้น้ำ กล้วย ไม้ไผ่ เป็นอกัปปิยจีวร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 674
บทว่า จีวรเขตฺต เขตของจีวร คือเขตมี ๖ เพราะเกิดขึ้นอย่างนี้
คือจากสงฆ์ ๑ จากคณะ ๑ จากญาติ ๑ จากมิตร ๑ จากทรัพย์
ของตน ๑ เป็นผ้าบังสกุล ๑ พึงทราบเขต ๘ ด้วยสามารถแห่ง
มาติกา ๘.
บทว่า ปสุกูล ผ้าบังสกุล พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ ชนิด คือผ้า
ได้จากป่าช้า ๑ ผ้าเขาทิ้งไว้ตามตลาด ๑ ผ้าตามถนน ๑ ผ้าตามกอง
หยากเยื่อ ๑ ผ้าเช็ดครรภ์ ๑ ผ้าที่ตกอยู่ในที่อาบน้ำ ๑ ผ้าที่ตกอยู่ที่
ท่าน้ำ ๑ ผ้าห่อศพ ๑ ผ้าถูกไฟไหม้ ๑ ผ้าที่โคเคี้ยวกิน ๑ ผ้าปลวก
กัด ๑ ผ้าที่หนูกัด ๑ ผ้าที่ขาดข้างใน ๑ ผ้าขาดชาย ๑ ผ้าธง ๑
ผ้าบูชาสถูป ๑ ผ้าสมณจีวร ๑ ผ้าที่สมุทรซัดขึ้นบก ๑ ผ้าอภิเษก
(ผ้าที่เขาทิ้งในพิธีราชาภิเษก) ๑ ผ้าเดินทาง ๑ ผ้าถูกลมพัดมา ๑
ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ๑ ผ้าเทวดาให้ ๑.
ในบทเหล่านี้ บทว่า โสตฺถิย คือ ผ้าเช็ดมลทินครรภ์ (ผ้าใช้ใน
การตลอดบุตร). บทว่า คตปจฺจาคต ผ้าคลุมศพ คือผ้าที่เขาคลุมศพ
นำไปป่าช้าแล้วเอามาใช้เป็นจีวร. บทว่า ธชาหฏ คือ ผ้าที่เขายกขึ้น
เป็นธงแล้วนำมา. บทว่า ถูป คือ ผ้าที่เขาบูชาที่จอมปลวก. บทว่า
สามุทฺทิย คือ ผ้าที่ถูกคลื่นในทะเลชัดขึ้นบก. บทว่า ปฏฺิก คือ ผ้าที่
คนเดินทางเอาหินทุบเพราะกลัวโจรแล้วนำมาห่ม. บทว่า อิทฺธิมย คือ
ผ้าของเอหิภิกขุ. บทที่เหลือ ชัดดีแล้ว.
บทว่า จีวรสนฺโตโส คือ สันโดษด้วยจีวร ๒๐ ชนิด คือวิตักก-
สันโดษ สันโดษในการตรึก ๑ คมนสันโดษ สันโดษในการไป ๑ ปริเยสน-
สันโดษ สันโดษในการแสวงหา ๑ ปฏิลาภสันโดษ สันโดษในการได้ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 675
มัตตปฏิคคหณสันโดษ สันโดษในการรับพอประมาณ ๑ โลลุปปวิวัชชน-
สันโดษ สันโดษในการเว้นจากความโลเล ๑ ยถาลาภสันโดษ สันโดษ
ตามที่ได้ ๑ ยถาพลสันโดษ สันโดษตามกำลัง ๑ ยถาสารุปปสันโดษ
สันโดษตามสมควร ๑ อุทกสันโดษ สันโดษด้วยน้ำ ๑ โธวนสันโดษ
สันโดษในการซัก ๑ กรณสันโดษ สันโดษในการทำ ๑ ปริมาณสันโดษ
สันโดษในปริมาณ ๑ สุตตสันโดษ สันโดษในเส้นด้าย ๑ สิพพนสันโดษ
สันโดษในการเย็บ ๑ รชนสันโดษ สันโดษในการย้อม ๑ กัปปสันโดษ
สันโดษในการกัปปะ๑ ๑ ปริโภคสันโดษ สันโดษในการใช้สอย ๑ สันนิธิ-
ปริวัชชนสันโดษ สันโดษในการเว้นจากการสะสม ๑ วิสัชชนสันโดษ
สันโดษในการสละ ๑.
ในสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน แล้ว
ตรึกเพียงเดือนเดียวควร. เพราะว่า ภิกษุนั้นครั้นออกพรรษาแล้ว กระทำ
จีวรในเดือนที่ทำจีวร ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมทำโดยกึ่งเดือน
เท่านั้น. การตรึกเพียงกึ่งเดือนและหนึ่งเดือนด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า
วิตักกสันโดษ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุไปหาจีวร ไม่ได้คิดว่าเราจักได้จีวร ณ ที่ไหน แล้ว
ไปโดยยึดเพียงกรรมฐานที่เป็นประธานเท่านั้น ชื่อว่า คมนสันโดษ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาจีวร มิได้แสวงหากับผู้ใดผู้หนึ่ง ยึดถือ
ภิกษุผู้ละอาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก แล้วจึงแสวงหา ชื่อว่า ปริเยสนสันโดษ.
เมื่อภิกษุแสวงหาอยู่อย่างนี้ เห็นจีวรที่เขานำมาแต่ไกล มิได้ตรึก
อย่างนี้ว่า จีวรนี้จักเป็นที่ชอบใจ จีวรนี้จักไม่เป็นที่ชอบใจ ดังนี้ แล้ว
๑. การทำพินทุกัปปะ คือจุดเครื่องหมายในไตรจีวร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 676
ยินดีด้วยจีวรตามที่ได้ ในจีวรที่มีเนื้อหยาบและเนื้อละเอียดเป็นต้น ชื่อว่า
ปฏิลาภสันโดษ.
แม้เมื่อภิกษุถือเอาจีวรที่ได้อย่างนี้แล้ว ยินดีโดยเพียงพอแก่ตนว่า
จีวรประมาณเท่านี้จักเป็นสองชั้น ประมาณเท่านี้จักเป็นชั้นเดียว ดังนี้
ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาจีวร มิได้คิดว่า เราจักได้จีวรที่ชอบใจที่
ประตูเรือนของคนโน้น แล้วเที่ยวไปตามลำดับประตูบ้าน ชื่อว่า โลลุปป-
วิวัชชนสันโดษ.
เมื่อภิกษุสามารถจะยังตนให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาจีวรเนื้อเศร้าหมองและเนื้อประณีต ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่
ด้วยจีวรตามที่ตนได้เท่านั้น ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ.
ภิกษุรู้กำลังของตนแล้ว เป็นอยู่ได้ด้วยจีวรที่สามารถยังตนให้เป็น
อยู่ได้ ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ.
ภิกษุให้จีวรที่ชอบใจแก่ภิกษุรูปอันแล้ว ยังตนให้เป็นไปอยู่ได้ด้วย
จีวรผืนใดผืนหนึ่ง ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ.
ภิกษุมิได้ไตร่ตรองว่า น้ำที่ไหนสะอาด ที่ไหนไม่สะอาด แล้ว
ซักจีวรด้วยน้ำที่พอจะซักได้ ชื่อว่า อุทกสันโดษ. แต่ควรเว้นน้ำที่มี
ดินสีเหลีองมีเปลือกไม้ ดินสอพอง ใบไม้เน่าและมีสีเศร้าหมอง. อนึ่ง เมื่อ
ภิกษุซักจีวรไม่เอาไม้ค้อนเป็นต้นทุบ เอามือขยำซัก ชื่อว่า โธวนสันโดษ.
อนึ่ง ควรใส่ใบไม้แล้วซักจีวรที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยน้ำร้อน. เมื่อภิกษุซักอย่างนี้
แล้วไม่ขัดเคืองใจว่า นี้หยาบ นี้ละเอียด แล้วกระทำโดยวิธีทำให้สะอาค
ตามความเพียงพอนั่นแหละ ชื่อว่า กรณสันโดษ. กระทำเพียงปกปิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 677
ทั้ง ๓ ปริมณฑลเท่านั้น ชื่อว่า ปริมาณสันโดษ. ภิกษุไม่เที่ยวไปด้วยคิด
ว่าเราจักแสวงหาด้ายที่พอใจเพื่อเย็บจีวร แล้วถือเอาด้ายที่เขานำมาวางไว้
ที่ถนนเป็นต้น หรือที่เทวสถาน หรือที่ใกล้เท้า แล้วเย็บจีวร ชื่อว่า
สุตตสันโดษ. อนึ่ง ในเวลาทำกระทงจีวรไม่ควรเย็บ ๗ ครั้งที่ผ้าประมาณ
หนึ่งองคุลี. เพราะเมื่อทำอย่างนี้ แม้ความแตกแห่งวัตรก็ไม่มีแก่ภิกษุ
ผู้ไม่มีสหาย. แต่ควรแทง ๗ ครั้งที่ผ้าประมาณ ๓ องคุลี. เมื่อทำอย่างนี้
ก็ควรมีเพื่อนเดินทางไปด้วย. ความแตกแห่งวัตรย่อมมีแก่ภิกษุที่ไม่มี
เพื่อน นี้ชื่อว่า สิพพนสันโดษ. อนึ่ง ภิกษุผู้ย้อมจีวรไม่ควรเที่ยว
แสวงหามะเดื่อดำเป็นต้น พึงย้อมด้วยของที่ได้ในบรรดาเปลือกไม้สีคล้ำ
เป็นต้น. เมื่อไม่ได้ควรถือเอาเครื่องย้อมที่พวกมนุษย์ถือเอามาในป่าทิ้งไว้
หรือกากที่พวกภิกษุต้มทิ้งไว้แล้วย้อม นี้ชื่อว่า รชนสันโดษ. เมื่อภิกษุ
ถือเอาจีวรสีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาสีเขียว เปือกตม ดำคล้ำ แล้ว
นั่งบนหลังช้างกระทำจุดดำให้ปรากฏ ชื่อว่า กัปปสันโดษ. การใช้สอย
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่า ปริโภคสันโดษ. อนึ่ง
ครั้นได้ผ้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ด้าย เข็ม หรือผู้กระทำควรเก็บไว้. เมื่อได้
ไม่ควรเก็บ. แม้ทำแล้วหากว่าประสงค์จะให้แก่อันเตวาสิกเป็นต้น และ
อันเตวาสิกเป็นต้นเหล่านั้นยังไม่อยู่ ควรเก็บไว้จนกว่าจะมา. พอเมื่อ
อันเตวาสิกเป็นต้นมาแล้วควรให้ เมื่อไม่อาจให้ได้ ควรอธิษฐาน.
เมื่อมีจีวรผืนอื่น ควรอธิษฐานทำเป็นเครื่องลาด. ท่านมหาสิวเถระกล่าวว่า
ก็เมื่อยังไม่อธิษฐาน เป็นอาบัติสันนิธิ (คือสะสม) อธิษฐานแล้วไม่เป็น
อาบัติ. นี้ชื่อว่า สันนิธิปริวัชชนสันโดษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 678
อนึ่ง เมื่อสละไม่ควรให้เพราะเห็นแก่หน้า. ควรตั้งอยู่ในสาราณิย-
ธรรมแล้วสละให้. นี้ชื่อว่า วิสัชชนสันโดษ.
ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) และติจีวริกังคธุดงค์
(ถือไตรจีวรเป็นวัตร) ชื่อว่า ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยจีวร. พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าบำเพ็ญมหาอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยจีวร ย่อมรักษาธุดงค์
สองเหล่านี้. เมื่อรักษาอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจแห่ง
มหาอริยวงศ์คือความสันโดษด้วยจีวร.
บทว่า วณฺณวาที กล่าวสรรเสริญ คือภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สันโดษ
แต่ไม่กล่าวถึงคุณของสันโดษ รูปหนึ่งไม่สันโดษ แต่กล่าวถึงคุณของ
สันโดษ รูปหนึ่งทั้งไม่สันโดษทั้งไม่กล่าวถึงคุณของสันโดษ รูปหนึ่ง
ทั้งเป็นผู้สันโดษทั้งกล่าวถึงคุณของสันโดษ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็น
อย่างนั้น เพื่อแสดงถึงพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้.
บทว่า อเนสน ไม่แสวงหาผิด คือไม่แสวงหาผิดมีประการต่าง ๆ
อันมีประเภทคือเป็นทูต เป็นคนส่งสาสน์ เดินส่งข่าว. บทว่า อปฺปฏิรูป
คือ ไม่สมควร. บทว่า อลทฺธา จ คือ ไม่ได้แล้ว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง เหมือนอย่างภิกษุบางรูปคิดว่าเราจักได้จีวรอย่างไร
หนอ จึงร่วมกับพวกภิกษุผู้มีบุญกระทำการหลอกลวง ย่อมหวาดเสียว
สะดุ้ง. บทว่า ลทฺธา จ คือ ได้เเล้วโดยธรรม โดยเสมอ. บทว่า อคธิโต
ไม่ติดใจ คือปราศจากความโลภ. บทว่า อมุจฺฉิโต ไม่หลงใหล คือ
ถึงความซบเซาด้วยความอยากอย่างยิ่ง. บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ไม่พัวพัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 679
คือไม่ถูกความอยากท่วมทับพัวพัน. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี มีปกติเห็น
โทษ คือเห็นโทษในการแสวงหาอันไม่สมควร และในการบริโภคด้วย
ความอยาก.
บทว่า นิสฺสรณปญฺโ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก คือรู้การ
สลัดออกดังกล่าวแล้วว่า เพียงเพื่อกำจัดความหนาว. บทว่า อิตรีตร-
จีวรสนฺตุฏฺิยา คือ ความสันโดษด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า
เนวตฺตานุกฺกเสติ ไม่ยกตน คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ยกตน เหมือน
ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ยกตนว่า เราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เราถือ
บังสุกูลิกังคธุดงค์ ในโรงอุปสมบทนั่นแลใครจะเหมือนเราบ้าง. บทว่า
น ปร วมฺเภติ ไม่ข่มผู้อื่น คือไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่น
เหล่านั้นไม่เป็นผู้ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร หรือไม่มีแม้เพียงบังสุกูลิกังคธุดงค์.
บทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยันในจีวร-
สันโดษนั้น คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใด เป็นผู้ขยันฉลาดเฉียบแหลมใน
จีวรสันโดษนั้น หรือในความเป็นผู้กล่าวสรรเสริญสันโดษเป็นต้น. บทว่า
อนลโส ไม่เกียจคร้าน คือปราศจากความเกียจคร้านด้วยทำความเพียร
ติดต่อ. บทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต คือ ประกอบด้วยความรู้สึกตัว
และมีสติ. บทว่า อริยวเส ิโต คือ ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ.
บทว่า อิตรีตเรน ปิณฺฑปาเตน คือ ด้วยบิณฑบาตอย่างใดอย่าง
หนึ่ง. แม้ในบทนี้ก็พึงทราบความดังต่อไปนี้ พึงทราบบิณฑบาต พึง
ทราบเขตของบิณฑบาต พึงทราบความสันโดษด้วยบิณฑบาต พึงทราบ
ธุดงค์ที่ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 680
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑปาโต ได้แก่ บิณฑบาต ๑๖ ชนิด
คือข้าวสุก ๑ ขนมถั่ว ๑ ข้าวตู ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ นมสด ๑ นมส้ม ๑
เนยใส ๑ เนยข้น ๑ น้ำมัน ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ยาคู ๑ ของเคี้ยว ๑
ของลิ้ม ๑ ของเลีย ๑.
บทว่า ปิณฺฑปาตกฺเขตฺต คือ เขตของบิณฑบาต ๑๕ ชนิด คือ
สังฆภัต ๑ อุเทศภัต ๑ นิมันตนะ ๑ สลากภัต ๑ ปักขิกะ ๑ อุโปสถิกะ ๑
ปาฏิปทิกะ ๑ อาคันตุกภัต ๑ คมิกภัต ๑ คิลานภัต ๑ คิลานุปัฏฐากภัต ๑
ธุรภัต๑ ๑ กุฏิภัต ๑ วาริกภัต ๑ วิหารภัต ๑.
บทว่า ปิณฺฑปาตสนฺโตโส คือ สันโดษ ๑๕ อย่าง คือวิตักก-
สันโดษ ๑ คมนสันโดษ ๑ ปริเยสนสันโดษ ๑ ปฏิลาภสันโดษ ๑
ปฏิคคหณสันโดษ ๑ มัคคปฏิคคหณสันโดษ ๑ โลลุปปวิวัชชนสันโดษ ๑
ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑ อุปการ-
สันโดษ ๑ ปริมาณสันโดษ ๑ ปริโภคสันโดษ ๑ สันนิธิปริวัชชน-
สันโดษ ๑ วิสัชชนสันโดษ ๑.
ในสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีล้างหน้าแล้วจึงตรึก. อันภิกษุ
ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเที่ยวไปพร้อมกับคณะ ครั้นถึงเวลาอุปัฏฐากพระ-
เถระในตอนเย็น คิดว่าพรุ่งนี้เราจักไปบิณฑบาต ณ ที่ไหน มีผู้ตอบว่า
บ้านโน้นขอรับ ไม่พึงตรึกดังแต่ตอนนั้น. ภิกษุผู้เที่ยวไปรูปเดียวพึง
ยืนตรึกที่โรงสำหรับตรึก. เมื่อตรึกต่อจากนั้น เป็นผู้เคลื่อนจากวงศ์
ของพระอริยะ เป็นบุคคลภายนอกไป. นี้ชื่อว่า วิตักกสันโดษ.
อนึ่ง ภิกษุเข้าไปบิณฑบาต ไม่พึงคิดว่าเราจักได้ที่ไหน ควรไป
โดยยึดกรรมฐานเป็นหลัก. นี้ชื่อว่า คมนสันโดษ.
๑. เหมือนกับ ธุวภัต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 681
เมื่อแสวงหาไม่ควรยึดถือใคร ๆ ควรยึดถือภิกษุผู้ละอายผู้มีศีลเป็น
ที่รักเท่านั้นแสวงหา. นี้ชื่อว่า ปริเยสนสันโดษ.
ภิกษุเห็นคนนำอาหารมาแต่ไกล ไม่ควรคิดว่า นั้นดี นั้นไม่ดี.
นี้ชื่อว่า ปฏิลาภสันโดษ. ภิกษุไม่ควรคิดว่าเราจักถือเอาของที่ชอบนี้
จักไม่ถือเอาของที่ไม่ชอบนี้ แล้วพึงถือเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงให้
ชีวิตเป็นไปได้เท่านั้น. นี้ชื่อว่า ปฏิคคหณสันโดษ.
อนึ่ง ในปฏิคคหณสันโดษนี้ ไทยธรรมมาก ผู้ให้ประสงค์จะให้
น้อย พึงถือเอาแต่น้อย. ไทยธรรมมาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก
ควรถือเอาพอประมาณเท่านั้น. แม้ไทยธรรมก็ไม่มาก แม้ผู้ให้ก็ประสงค์
จะให้แต่น้อย พึงถือเอาแต่น้อย. ไทยธรรมไม่มาก แต่ผู้ให้ประสงค์จะ
ให้มาก ควรถือเอาพอประมาณ.
จริงอยู่ ในการรับ เมื่อไม่รู้จักประมาณ ย่อมลบหลู่ความเลื่อมใส
ของมนุษย์ ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป ไม่ทำตามคำสอน ไม่สามารถ
กำหนดจิตแม้ของมารดาบังเกิดเกล้าได้. ครั้นรู้จักประมาณด้วยประการ
ฉะนี้แล้วจึงควรรับ. นี้ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ.
ภิกษุไม่ควรไปสู่ตระกูลที่มั่งคั่งเท่านั้น ควรไปตามลำดับประตู
บ้าน. นี้ชื่อว่า โลลุปปวิวัชชนสันโดษ.
ยถาลาภสันโดษเป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในจีวรนั่นแล ภิกษุรู้อุป-
การะอย่างนี้ว่า เราฉันอาหารบิณฑบาตแล้วจักรักษาสมณธรรมแล้วจึงฉัน
ชื่อว่า อุปการสันโดษ. แม้อาหารเต็มบาตรแล้วยังมีผู้นำมาก็ไม่ควรรับ.
เมื่อมีอนุปสัมบันไปด้วยควรให้อนุปสัมบันนั้นรับ. เมื่อไม่มี ควรถือเอา
เพียงพอที่จะรับได้ นี้ชื่อว่า ปริมาณสันโดษ. การฉันอย่างนี้ถือเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 682
บรรเทาความหิว เป็นเครื่องนำทุกข์ออกไป ชื่อว่า บริโภคสันโดษ.
ไม่ควรเก็บไว้ฉันแล้ว ๆ เล่า ๆ. นี้ชื่อว่า สันนิขิปริวัชชนสันโดษ. ไม่
ควรเห็นแก่หน้า ควรตั้งอยู่ในสาราณิยธรรม สละให้. นี้ชื่อว่า วิสัชชน-
สันโดษ.
อนึ่ง ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยบิณฑบาตมี ๕ อย่าง คือบัณฑปาติกังคะ
คือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๑ สปทานจาริกังคะ คือเที่ยวบิณฑบาตไปตาม
ลำดับตรอกเป็นวัตร ๑ เอกาสนิกังคะ คือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ๑
ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ
คือห้ามภัตที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
บำเพ็ญมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต ด้วยประการฉะนี้
ชื่อว่ารักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้. เมื่อรักษาธุดงค์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ
ด้วยอำนาจแห่งมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต. บทว่า
วณฺณวาที เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พึงทราบความในบทว่า เสนาสเนน นี้ต่อไป พึงทราบเสนาสนะ
พึงทราบเขตของเสนาสนะ พึงทราบความสันโดษด้วยเสนาสนะ พึงทราบ
ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เสนาสน ได้แก่ เสนาสนะ ๑๕ อย่าง
เหล่านี้ คือ เตียง ๑ ตั่ง ๑ ฟูก ๑ หมอน ๑ วิหาร ๑ เพิง ๑
ปราสาท ๑ ปราสาทโล้น ๑ ถ้ำ ๑ ที่เร้น ๑ ป้อม ๑ เรือนยอดเดียว ๑
ไม้ไผ่ ๑ พุ่มไม้ ๑ โคนไม้ ๑ หรือว่าภิกษุทั้งหลายเข้าไปพักผ่อนในที่ใด
ที่นั่นก็ชื่อว่าเสนาสนะ.
บทว่า เสนาสนกฺเขตฺต ได้แก่เขต ๖ อย่าง คือเสนาสนะจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 683
สงฆ์ ๑ จากคณะ ๑ จากญาติ ๑ จากมิตร ๑ จากทรัพย์ของตน ๑
ที่เป็นที่บังสุกุล ๑.
บทว่า เสนาสนสนฺโตโส ได้แก่ สันโดษ ๑๕ มีสันโดษด้วยการ
ตรึกในเสนาสนะเป็นต้น. พึงทราบสันโดษเหล่านั้นโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในบิณฑบาตนั่นแล. อนึ่ง ธุดงค์ ๕ ปฏิสังยุตด้วยเสนาสนะ คืออารัญ-
ญิกังคะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๑ รุกขมูลิกังคะ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๑
อัพโภกาสิกังคะ ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๑ โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้า
เป็นวัตร ๑ ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้ ๑.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญมหาอริยวงศ์ คือการสันโดษด้วย
เสนาสนะด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าย่อมรักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้. เมื่อรักษา
อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจแห่งมหาอริยวงศ์ คือการสันโดษ
ด้วยเสนาสนะ.
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวอริยวงศ์คือความสันโดษด้วย
จีวรเป็นข้อที่ ๑ ดุจท่านผู้มีฤทธิ์ขยายแผ่นดินให้กว้าง ดุจยังท้องมหาสมุทร
ให้เต็ม และดุจยังอากาศให้แผ่ขยายออกไปฉะนั้น. กล่าวอริยวงศ์คือความ
สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นข้อที่ ๒. ดุจผู้มีฤทธิ์ทำพระจันทร์ให้ขึ้นและ
ทำพระอาทิตย์ให้ลอยเด่นอยู่ฉะนั้น. กล่าวอริยวงศ์คือความสันโดษด้วย
เสนาสนะเป็นข้อที่ ๓ ดุจยกภูเขาสิเนรุขึ้นฉะนั้น. บัดนี้เพื่อจะกล่าวถึง
อริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยคิลานปัจจัย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เป็นผู้
สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้. บทนั้นเป็นไปอย่างเดียว
กับบิณฑบาตนั่นเอง. ในบทนั้นพึงสันโดษด้วยยถาลาภสันโดษ ยถาพล-
สันโดษ และยถาสารุปปสันโดษเหมือนกัน. แต่อริยวงศ์คือมีภาวนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 684
เป็นที่มายินดี มิได้มาในบทนี้ ย่อมจัดอริยวงศ์คือมีภาวนาเป็นที่มายินดี
ไว้ในเนสัชชิกังคธุดงค์ การถือการนั่งเป็นวัตร. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในเสนาสนะท่านกล่าวธุดงค์ไว้ ๕ ธุดงค์ที่เกี่ยวข้อง
กับอาหารมี ๕ ที่เกี่ยวข้องกับด้วยความเพียรมี ๑ ที่
เกี่ยวข้องกับจีวรมี ๒.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า โปราเณ อคฺคญฺเ อริยวเส ิโต
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์อันเลิศมี
มาแต่โบราณ ดังต่อไปนี้. บทว่า โปราเณ คือ มิใช่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้.
บทว่า อคฺคญฺเ คือ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์อันเลิศ. บทว่า อริยวเส
คือ ในวงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย. เหมือนอย่างว่า วงศ์กษัตริย์ วงศ์-
พราหมณ์ วงศ์แพศย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์สกุล ราชวงศ์ ฉันใด
วงศ์อริยะนี้ก็เป็นวงศ์ที่ ๘ ฉันนั้น ชื่อว่า อริยประเพณี เป็นแบบประเพณี
ของอริยะ. ก็วงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าวงศ์เหล่านี้ ดุจกลิ่น
กระลำพัก เลิศกว่ากลิ่นรากไม้ทั้งหลายเป็นต้น. วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย
คือใครบ้าง. คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของ
พระตถาคต เรียกว่า พระอริยะ. วงศ์ของพระอริยะทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่า
อริยวงศ์.
จริงอยู่ ก่อนแต่นี้ไป พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือพระตัณหังกร
พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร ทรงอุบัติในที่สุดสี่แสน-
อสงไขยกัป. ท่านเหล่านั้นก็เป็นอริยะ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นก็ชื่อว่า
อริยวงศ์.
ภายหลังแต่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเสด็จปรินิพพาน ล่วงไปตลอด
อสงไขย พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ทรงอุบัติ ฯ ล ฯ ในกัปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 685
พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ
และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมของพวกเราทรงอุบัติ. วงศ์ของ
พระอริยะเหล่านั้นก็ชื่อว่า อริยวงศ์.
อีกอย่างหนึ่ง วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายทุกพระองค์ ซึ่งมีในอดีต
อนาคตและปัจจุบันก็ชื่อว่า อริยวงศ์. ในพระอริยวงศ์นั้น.
บทว่า ิโต คือ ตั้งอยู่แล้ว. บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว
แล้ว.
จบคาถาที่ ๘
คาถาที่ ๙
๙) ทุสฺสงฺคหา ปพฺพชิตาปิ เอเก
อโถ คหฏฺา ฆรมาวสนฺตา
อปฺโปสฺสุโก ปรปุตฺเตสุ หุตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์
ผู้อยู่ครองเรือน ก็สงเคราะห์ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความ
ขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
ในคาถาที่ ๙ พึงทราบโยชนาดังต่อไปนี้.
แม้บรรพชิตบางพวก ถูกความไม่สันโดษครอบงำ ก็เป็นคนที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 686
สงเคราะห์ได้ยาก และคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ครองเรือนก็เป็นอย่างนั้น เป็น
ผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยาก. เรารังเกียจความเป็นผู้อันผู้อื่นสงเคราะห์ยากนั้น
จึงปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า อนสฺสวา คือ เป็นผู้ไม่
เชื่อฟังถ้อยคำ. บทว่า อวจนกรา ไม่ทำตามคำ คือว่ายาก. บทว่า
ปฏิโลมวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติหยาบ คือมีปกติพูดคำหยาบ. อธิบายว่า
มุ่งต่อสู้ท่าเดียว. บทว่า อญฺเเนว มุข กโรนฺติ เบือนหน้าไปโดยอาการ
อื่น คือเห็นผู้ให้โอวาทแล้วเบือนหน้ามองดูไปทางทิศอื่น. บทว่า
อพฺยาวโฏ หุตฺวา คือ พึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจ. บทว่า อนเปกฺโข หุตฺวา คือ
พึงนั้นผู้ไม่ห่วงใย.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๑๐) โอโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา โกวิฬาโร
เฉตฺวาน ธีโร คิหิพนฺธนานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
นักปราชญ์ปลงเสียแล้วซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์
ดุจต้นทองหลางที่ขาดใบแล้ว ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์
ได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 687
บทว่า โอโรปยิตฺวา ปลงเสียแล้ว คือนำออกไปแล้ว. บทว่า
คิหิพฺยญฺชนานิ เครื่องหมายเเห่งคฤหัสถ์ คือเครื่องหมายแห่งความเป็น
คฤหัสถ์มีอาทิ ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ หญิง บุตร ทาสหญิง ทาสชาย เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์. บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ขาดใบ คือ
มีใบร่วงหล่นแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ. บทว่า
วีโร ผู้เป็นวีรชน คือประกอบแล้วด้วยความเพียรในมรรค. บทว่า
คิหิพนฺธนานิ เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เรื่องผูกคือกาม เพราะว่า
กามเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์. พึงทราบความแห่งบทเพียงเท่านี้ก่อน.
ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าดำริอยู่อย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงปลงซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางที่ขาดใบแล้วฉะนั้น ดังนี้แล้ว
จึงเริ่มวิปัสสนาได้บรรลุปัจเจกภูมิ บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศต่อไป. บทว่า สาราสนญฺจ คือ อาสนะ
อันเป็นสาระ. บทว่า สินานิ คือ พลัด. บทว่า สญฺฉินฺนานิ คือ
ขาดใบ. บทว่า ปติตานิ คือ พ้นจากก้าน. บทว่า ปริปติตานิ ร่วง
หล่นแล้ว คือตกลงไปบนพื้นดิน.
จบคาถาที่ ๑๐
จบอรรถกถ่าปฐมวรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 688
อรรถกถาทุติยวรรค
คาถาที่ ๑-๒
คาถาที่ ๑
๑๑) สเจ ลเภถ นิปก สหาย
สทฺธึจร สาธุวิหาริธีร
อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ
จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.
ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้
เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มี
สติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.
คาถาที่ ๒
๑๒) โน เจ ลเภถ นิปก สหาย
สทฺธึจร สาธุวิหาริธีร
ราชา รฏฺ วิชิต ปหาย
เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค.
หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน
ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์
ไซร้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น
อันพระองค์ทรงชนะแล้ว เสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อ
มาตังคะ ละโขลงเที่ยวไปอยู่ในป่าแต่ตัวเดียวฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 689
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ และที่ ๒ แห่งทุติยวรรค ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิปก ผู้มีปัญญา คือบัณฑิตผู้มีปัญญาตามปกติ ผู้ฉลาดใน
บริกรรมมีกสิณบริกรรมเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารึ มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี
คือประกอบด้วยอัปปนา หรืออุปจาร. บทว่า ธีร คือ ผู้พร้อมด้วยปัญญา.
ในบทนั้นท่านกล่าวว่า ถึงพร้อมด้วยปัญญา เพราะอรรถว่า เป็นผู้ฉลาด.
แต่ในที่นี้มีความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. ความเป็นผู้มีความเพียรไม่
ย่อหย่อนชื่อว่า ธิติ. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร อันเป็นไปอย่างนี้ว่า
กาม ตโจ นหารุ จ หนังและเอ็นจะแห้งเหือดไปก็ตาม ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีโร เพราะเป็นผู้เกลียดบาปดังนี้บ้าง. บทว่า ราชาว
รฏฺ วิชิต ปหาย ดังพระราชาผู้สละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชนะแล้ว
คือเหมือนพระราชาผู้เป็นศัตรูทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่พระองค์ชนะจะนำ
ความพินาศมาให้ จึงทรงละแว่นแคว้นนั้นเสีย. บทว่า เอโก จเร คือ ละ
สหายผู้เป็นพาลอย่างนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ราชาว
รฏฺ มีอธิบายว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระเจ้าสุตโสมทรงละ
แว่นแคว้นที่พระองค์ชนะแล้ว เสด็จไปพระองค์เดียว และมหาชนกก็เสด็จ
ไปพระองค์เดียวฉะนั้น. บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยทำนองเดียวกับที่กล่าว
แล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่กล่าวให้พิสดาร. ไม่มีอะไรที่จะพึงกล่าวในนิเทศ.
จบคาถาที่ ๑-๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 690
คาถาที่ ๓
๑๓) อทฺธา ปสสาม สหายสมฺปท
เสฏฺา สมา เสวิตพฺพา สหายา
เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น
พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหาย
ผู้ประเสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภค
โภชนะอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
คาถาที่ ๓ ง่ายโดยความของบท.
พึงทราบ สหายสมฺปทา สหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมในบทนี้ว่า
สหายสมฺปท อย่างเดียว คือสหายผู้ถึงพร้อมด้วยขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น
แม้เป็นอเสกขะ. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า เราสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมที่ท่านกล่าวแล้วแน่นอน. ท่านกล่าวว่า เราชมเชยโดยส่วนเดียว
เท่านั้น. ชมเชยอย่างไร ควรคบสหายที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอกัน.
เพราะเหตุไร เพราะเมื่อคบผู้ประเสริฐกว่าตนด้วยศีลเป็นต้น ธรรมมีศีล
เป็นต้น ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.
เมื่อคบผู้เสมอกัน ธรรมทั้งหลายที่ได้ด้วยการทรงไว้เสมอกัน และกันด้วย
การบรรเทาความรำคาญแล้วย่อมไม่เสื่อม. เมื่อไม่ได้สหายผู้ประเสริฐกว่า
และเสมอกัน ควรเว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น แล้วบริโภค
โภชนะอันเกิดโดยธรรม โดยเสมอ และไม่ยังความคับแค้นให้เกิดขึ้น
บริโภคปัจจัยอัน ไม่มีโทษ กุลบุตรผู้ใคร่ในตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 691
นอแรดฉะนั้น.จริงอยู่ แม้เราเมื่อเที่ยวไปอย่างนี้ ก็บรรลุถึงสมบัตินี้
ด้วยประการฉะนี้. นิเทศมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล
จบคาถาที่ ๓
คาถาที่ ๔๑
๑๔) ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ปภสฺสรานิ
กมฺมารปุตเตน สุนิฏฺิตานิ
สงฺฆฏฺฏมานานิ ทุเว ภชสฺมึ
เอโถ จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตร
แห่งนายช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ
พึงทราบไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิสฺวา คือ แลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส คือ แห่ง
ทองคำ. บทว่า วลยานิ กำไลทอง เป็นปาฐะที่เหลือ. เพราะยังมี
ความเหลืออยู่. บทว่า ปภสฺสรานิ คือ สุกปลั่ง. ท่านอธิบายว่า รุ่ง
เรือง. บทที่เหลือมีความของบทง่ายทั้งนั้น. แต่โยชนาแก้ไว้ว่า เราเห็น
กำไลทองที่มือจึงคิดว่า เมื่ออยู่รวมกันเป็นคณะ การเสียดสี การกระทบ
กระทั่งในการอยู่ร่วมกันย่อมมี แต่เมื่ออยู่คนเดียว ความกระทบกระทั่งกัน
ย่อมไม่มี จึงเริ่มวิปัสสนาแล้วบรรลุ. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า นปูรานิ คือ กำไล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นิยุรานิ กำไลมือ.
บทว่า ฆฏฺเฏนฺติ เสียดสีกัน คือกระทบกัน.
จบคาถาที่๔
๑. คาถาลำดับที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 692
คาถาที่ ๕
๑๕) เอว ทุติเยน สหามมสฺส
วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา
เอต ภย อายตึ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือการข้อง
อยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็ง
เห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
คาถาที่ ๕ ง่ายโดยความของบทนั่นเอง.
แต่ในที่นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้อง
ด้วยความรักในสหายนั้นก็ดี กับกุมารผู้เป็นสหายนั้น ผู้บอกความหนาว
และร้อนเป็นต้นพึงมีแก่เรา ผู้สัญญาว่าจะร่วมกัน หากเราไม่สละกุมารผู้
เป็นสหายนี้ แม้ต่อไปการพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องกัน ก็ดี กับ
สหายพึงมีแก่เราเหมือนในบัดนี้ ทั้งสองนั้นจะทำอันตรายแก่การบรรลุ
คุณวิเศษ เพราะเหตุนั้น เมื่อเราเห็นภัยนี้ ต่อไปจึงทิ้งสหายนั้นเสีย
ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ด้วยประการฉะนี้ . บทที่
เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 693
คาถาที่ ๖
๑๖) กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา
วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺต
อาทีนว กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีด้วยรูปแปลก ๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมืนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กามา กามมี ๒ อย่าง คือวัตถุกามและกิเลสกาม. ในกาม
๒ อย่างนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นอันน่าพอใจ ชื่อว่า วัตถุกาม. กิเลส
ประเภทราคะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กิเลสกาม. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาวัตถุกาม.
วัตถุกามทั้งหลายที่ชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยสามารถที่มีเป็นอเนกประการมีรูป
เป็นต้น ชื่อว่า อร่อย ด้วยสามารถทำความชื่นใจให้แก่ชาวโลก ชื่อว่า
มโนรนา เพราะทำใจของปุถุชนผู้โง่เขลาให้รื่นรมย์. บทว่า วิรูปรูเปน
คือ ด้วยรูปแปลก ๆ. ท่านอธิบายว่า ด้วยสภาพหลาย ๆ อย่าง. จริงอยู่
วัตถุกามเหล่านั้นชื่อว่าวิจิตร ก็ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. มีรูปเป็นต้น
ชื่อว่ามีรูปชนิดต่าง ๆ ด้วยรูปที่มีสีเขียวเป็นต้น แม้ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีรูปเป็นต้น ย่อมแสดงความชื่นใจโดยประการนั้น ๆ ด้วยอารมณ์ที่
แปลก ๆ นั้นอย่างนั้น ย่อมย่ำยีจิต คือว่า ย่อมไม่ให้จิต (ของบุคคล)
ยินดีในการบรรพชา บทที่เหลือในนิเทศนี้ชัดดีแล้ว แม้บทสรุปก็พึง
ประกอบด้วย ๒ - ๓ บท แล้วพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในคาถาต้น ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 694
บทว่า กามคุณา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะอรรถ
ว่า อันสัตว์พึงใคร่ ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูก.
คุณ ศัพท์มีอรรถว่า ชั้น มาแล้วในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตสังฆาฏิ ๒ นั้น แห่งผ้าใหม่ ดังนี้.
คุณ ศัพท์มีอรรถว่า กอง มาแล้วในบทว่า
กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป กอง
แห่งวัยย่อมละไปโดยลำดับ ดังนี้.
มีอรรถว่า อานิสงส์ มาแล้วในบทนี้ว่า ทักษิณาพึงหวัง อานิสงส์
๑๐๐.
มีอรรถว่า เป็นเครื่องผูก มาแล้วในบทนี้ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
พึงกระทำการผูกพวงดอกไม้ให้มาก แม้ในนิเทศนี้ก็ประสงค์เอาอรรถว่า
ผูกนี้แล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า คุณ ด้วยอรรถว่า เป็น
เครื่องผูก. บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺย คือ พึงเห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ. แม้ใน
โสตวิญญาณเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยอุบายนี้. บทว่า อิฏฺา น่า
ปรารถนา คือความปรารถนาจงมีก็ตาม จงอย่ามีก็ตาม อธิบายว่า ได้แก่
อารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า กนฺตา คือ น่าใคร่. บทว่า มนาปา คือ
น่าเจริญใจ. บทว่า ปิยรูปา คือ น่ารัก. กามูปสญฺหิตา ประกอบด้วย
กาม คือประกอบด้วยกาม อันกระทำกามให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น บทว่า
รชนียา คือ ชวนให้กำหนัด. อธิบายว่า เป็นเหตุให้เกิดความกำหนัด.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ยทิ มุทฺธาย ดังต่อไปนี้. บทว่า
มุทฺธา คือ การนับด้วยหัวแม่มือ กำหนดความจำในข้อนิ้วมือทั้งหลาย
บทว่า คณนา คือ การนับติดต่อกัน. บทว่า สงฺขาน การประมาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 695
คือการนับโดยประมาณเอา ได้แก่ การมองดูนาแล้วประมาณเอาว่า ใน
นานี้จักมีข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ มองดูต้นไม้แล้วประมาณเอาว่า บน
ต้นไม้ต้นนี้จักมีผลประมาณเท่านี้ มองดูอากาศแล้วประมาณเอาว่า ใน
อากาศนี้ จักมีนกประมาณเท่านี้ดังนี้. บทว่า กสิ คือ กสิกรรม. บทว่า
วณิชฺชา การค้าขาย คือทางที่จะไปค้ามีการเดินเร่ขาย และการค้าขายทาง
บกเป็นต้น. บทว่า โครกฺข คือ การเลี้ยงโคของตนหรือของผู้อื่นแล้ว
ดำรงชีวิตด้วยการขายโครส ๕. การถืออาวุธแล้วเฝ้าดูแล ท่านเรียกว่า
อิสฺสตฺถ คือ เป็นนักรบ. บทว่า ราชโปริส รับราชการ คือทำ
ราชการโดยไม่มีอาวุธ. บทว่า สิปฺปญฺตร กิจอื่นเป็นบ่อเกิดแห่งศิลป
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือศิลปที่เหลือจากที่เรียนไว้ มีศิลปในการเลี้ยงช้างและ
ม้าเป็นต้น. บทว่า สีตสฺส ปุรกฺขโต คือ ทนต่อความหนาวดุจเป้าทน
ต่อลูกศรฉะนั้น อธิบายว่า ถูกความหนาวเบียดเบียน. แม้ในความร้อน
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ฑส ต่อไป. บทว่า ฑสา ได้แก่
เหลือบ. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เสือกคลาน. บทว่า ปีฬิยมาโน
เบียดเบียน คือทำลายเสียดสี. บทว่า มิยฺยมาโน คือ ให้ตาย. บทว่า
อย ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาพาธนี้มีความหนาวเป็นต้น
เป็นปัจจัย อาศัยการเลี้ยงชีพด้วยศิลปะมีการนับนิ้วมือเป็นต้น . บทว่า
กามาน อาทีนโว โทษแห่งกามทั้งหลาย ความว่า อันตราย อุปสรรค
ในกามทั้งหลาย. บทว่า สนฺทิฏฺิโก คือ เห็นกันได้เอง บทว่า
ทุกฺขกฺขนฺโธ คือ กองทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 696
พึงทราบความในบทว่า กามเหตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่า กามเหตุ
เพราะมีกามเป็นเหตุ ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย. ชื่อว่า กามนิทาโน เพราะ
มีกามเป็นนิทาน ด้วยอรรถว่า เป็นรากเหง้า. แต่ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า
กามนิทาน เพราะลิงค์คลาดเคลื่อนไป. ชื่อว่า กามาธิกรโณ เพราะมี
กามเป็นอธิกรณ์ ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุ. ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า กาม-
ธิกรณ เพราะลิงค์คลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน. บทว่า กามานเมว เหตุ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนี้ เป็นนิยมวจนะ คำกำหนดแน่นอน. อธิบายว่า
เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย.
บทว่า อุฏฺหโต หมั่นอยู่ คือหมั่นด้วยความเพียรในการประกอบ
อาชีพ. บทว่า ฆฏโต คือ ทำความเพียรติดต่อกันไปตั้งแต่ต้นจนถึง
เบื้องปลาย. บทว่า วายมโต คือ ทำความเพียรพยายามให้ก้าวหน้าต่อไป
บทว่า นาภินิปฺผชฺชนฺติ คือ โภคสมบัติเหล่านั้นไม่เจริญ ไม่งอกงาม ใน
ที่นั้น. บทว่า โสจติ คือ ย่อมเศร้าโศก ด้วยความโศกมีกำลังเกิดขึ้นใน
ใจ. บทว่า กิลมติ คือ ย่อมลำบากด้วยทุกข์เกิดขึ้นในกาย. บทว่า
ปริเทวติ คือ ย่อมคร่ำครวญด้วยวาจา. บทว่า อุรตฺตสฬ คือ ทุบอก.
บทว่า กนฺทติ คร่ำครวญ คือร้องไห้. บทว่า สมฺโมห อาปชฺชติ ถึง
ความหลงใหล คือมีความหลงใหลเช่นสลบ. บทว่า โมฆ คือ เปล่า
บทว่า อผโล คือ ไม่มีผล. บทว่า อารกฺขาธิกรณ คือ เพราะเหตุรักษา.
บทว่า กินฺติ คือ ด้วยอุบายไรหนอ. บทว่า ยมฺปิ เม คือ ทรัพย์ที่เรา
รวบรวมไว้ อันเกิดเพราะทำกสิกรรมเป็นต้น. บทว่า ตมฺ โน นตฺถิ
คือ บัดนี้ทรัพย์ของเราหมดไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 697
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ปุน
จ ปร ภิกฺขเว กามเหตุ ดังนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงโทษทั้งหลายต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กามเหตุ ความว่า แม้พระราชาทั้งหลายวิวาทกับ
พระราชา ก็เพราะกามเป็นเหตุ. บทว่า กามนิทาน เป็นภาวนปุงสกลิงค์.
ความว่า วิวาทกัน เพราะกามเป็นนิทาน (เหตุ). แม้บทว่า กามาธิกรณ
ก็เป็นภาวนปุงสกลิงค์เหมือนกัน. ความว่า วิวาทกันเพราะกามเป็น
อธิกรณ์ (เหตุ). บทว่า กานานเมว เหตุ ความว่า วิวาทกัน เพราะกาม
ทั้งหลาย มีบ้าน นิคม ตำแหน่งเสนาบดี และตำแหน่งปุโรหตเเป็นต้น.
บทว่า อุปกฺกมนฺติ คือ ประหารกัน. บทว่า อสิจมฺม คือ ดาบและโล่
เป็นต้น. บทว่า ธนุกลาป สนฺนยฺหิตฺวา คือ จับธนูสอดใส่แล่ง. บทว่า
อุภโตพยุฬฺห คือ ประชิดกันทั้งสองฝ่าย. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ คือ
เข้าไป. บทว่า อุสูสุ คือ ลูกศร. บทว่า วิชฺโชตลนฺเตสุ คือ ควงดาบ.
บทว่า เต ตตฺถ คือ ชนเหล่านั้น ... ในสงครามนั้น.
อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ว่า อทฺธาวเลปนา อุปการโย ป้อมอัน
มีปูนฉาบทาข้างบน ดังนี้ ต่อไป มนุษย์ทั้งหลายเอาอิฐก่อป้อมโดยสัณฐาน
ดุจกีบม้า แล้วเอาปูนฉาบข้างบนป้อม ที่ทำอย่างนี้ท่านเรียกว่า อุปการิโย
(ป้อมเชิงเทิน). ป้อมเหล่านั้นเอายางไม้และเปือกตมฉาบทาข้างบน จึงชื่อ
ว่า อทฺธาวเลปน ฉาบทาข้างบน. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ วิ่งไป ชนทั้งหลาย
ถูกแทงด้วยหลาวเหล็กและหลาวไม้ที่เขาฝังไว้ข้างใต้ป้อมเหล่านั้น ไม่อาจ
ขึ้นไปได้เพราะกำแพงลื่นจึงวิ่งเข้าไป. บทว่า ฉกณาฏิยา คือ โคมัยที่
น่าเกลียด. บทว่า ภิวคฺเคน ด้วยฟ้าทับเหว คือ ฟ้าทับเหว มีงา ๗ อัน.
คนทั้งหลายทำประตูด้วย ๘ อัน ยืนอยู่ข้างบนประตูตัดเชือกที่ผูกไว้กับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 698
ประตูนั้นแล้วทับคนที่มา ด้วยคิดว่า เราจักทำลายประตูเมืองเข้าไปด้วย
ฟ้าทับเหวนั้น. บทว่า สนฺธิมฺปิ ฉินฺทนฺติ คือ โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อ
ของเรือนบ้าง. บทว่า นิลฺโป ปล้น คือ ประหารชาวบ้านแล้วทำการ
ปล้น . บทว่า เอกาคาริก เรือนหลังเดียว คือโจร ๕๐ คนบ้าง ๖๐ คน
บ้าง ล้อมจับเป็นแล้วปล้นเอาทรัพย์ไป. บทว่า ปริปนฺเถปิ ติฏฺนฺติ
ยืนดักที่ทางเปลี่ยวบ้าง คือปล้นคนเดินทาง. บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ
ด้วยพลอง คือด้วยค้อน. บทที่เหลือมีเนื้อความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๖
คาถาที่ ๗
๑๗ ) อีตี จ คณฺโฑ จ อุปทฺทโว จ
โรโค จ สลฺลญฺจ ภยญฺจ เมต
เอต ภย กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
บุคคลเห็นภัย เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุปัทวะ เป็น
โรค เป็นลูกศร และเป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
กามชื่อว่า อีติ เพราะเป็นเสนียด. บทนี้เป็นชื่อของเหตุแห่งความ
พินาศทั้งหลาย อันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ
เหล่านี้ ก็ชื่อว่า อีติ เสนียด เพราะนำมาซึ่งความพินาศไม่น้อย และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 699
เพราะตกจมไปอย่างหนัก. แม้ฝีที่บวมสุกกลัดหนองก็แตก มีของไม่
สะอาดไหลออก. เพราะฉะนั้น กามเหล่านั้นชื่อว่า เป็นดังหัวฝี เพราะ
เป็นที่ไหลออกแห่งกิเลสซึ่งไม่สะอาด และเพราะกามทั้งหลายบวมพองขึ้น
สุกแล้วแตกไปด้วยความเกิด ความแก่ และความดับ. ชื่อว่า อุปทฺทโว
เพราะอุบาทว์. อธิบายว่า อุบาทว์ยังความพินาศให้เกิดขึ้น ครอบงำ
ท่วมทับซึ่งบุคคลผู้ติดอยู่ในกามนั้น. คำนี้เป็นชื่อของโทษทั้งหลายมี
อาชญาแผ่นดินเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่า อุบาทว์
เพราะเป็นเหตุไม่ให้บุคคลถึงซึ่งพระนิพพานอันตนยังไม่ทราบแล้ว และ
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอันตรายทั้งปวง. ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านั้นยังความ
เดือดร้อนเพราะกิเลสให้เกิด หรือยังความปรารถนาในความไม่มีโรค
กล่าวคือความเป็นปกติให้เกิดขึ้น ย่อมทำลายความไม่มีโรคคือความเป็น
ปกตินั่นเอง ฉะนั้น กามจึงชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่า ทำลายความไม่มี
โรค. อนึ่ง ชื่อว่าเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่า เสียบเข้าไปภายใน เพราะ
อรรถว่า เจาะในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกไปได้ยาก. ชื่อว่า
ภย เพราะนำภัยในปัจจุบันและภพหน้ามา. บทว่า เมต ตัดบทเป็น เม
เอต. บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้บทสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล.
บทว่า กามราคตฺตย คือ สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ. บทว่า
ฉนฺทราควินิพนฺโธ คือ อันฉันทราคะผูกพันด้วยความเสน่หา. บทว่า
ทิฏฺธมฺมกาปิ คพฺภา จากครรภ์อัน มีในปัจจุบัน คือจากครรภ์ ได้แก่
สฬายตนะอันเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน. บทว่า สมฺปรายิกาปิ ภยา คือ จาก
ครรภ์ ได้แก่ สฬายตนะในโลกหน้า. บทว่า น ปริมุจฺจติ คือ ไม่สามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 700
พ้นไปได้. บทว่า โอติณฺโณ สาตรูเปน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
คือก้าวลง หยั่งลงด้วยราคะ อันมีสภาพอร่อย . บทว่า ปลิปถ คือ สู่ทาง
มีเปือกตมคือกาม. บทว่า ทุคฺค คือข้ามได้ยาก.
จบคาถาที่ ๗
คาถาที่ ๘
๑๘) สีตญฺจ อุณหญฺจ ขุท ปิปาส
วาตาตเป ฑสสิรึสเป จ
สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงครอบงำภัยเหล่านี้แม้
ทั้งปวง คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
กระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลานแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
ความหนาวมี ๒ อย่าง คือ ธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย ๑ ธาตุ
ภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย ๑. ความร้อนก็เหมือนกัน. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ฑส คือ เหลือบ. บทว่า สิรึสเป คือ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกใด
จำพวกหนึ่งซึ่งเลื้อยคลานไป. บทที่เหลือชัดดีแล้ว . แม้บทสรุปก็พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 701
คาถาที่ ๙
๑๙ ) นาโคว ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา
สญฺชาตกฺขนฺโธ ปทุมี อุฬาโร
ยถาภิรนฺต วิหเร อรญฺเ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มี
ขันธ์เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาค ละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
คาถาที่ ๙ ปรากฏแล้วโดยความของบทนั่นแล. ในคาถานี้โยชนา
อธิบายไว้ดังนี้. คาถานั้นปรากฏโดยข้อยุติ ไม่ใช่ปรากฏโดยฟังตามกันมา.
ช้างนี้ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะฝึกใยศีล
ที่พวกมนุษย์พอใจ หรือเพราะเป็นสัตว์มีกายใหญ่ฉันใด แม้พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังมิได้ฝึก เพราะ
มีสรีระใหญ่ เพราะฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะพอใจ เพราะไม่
กระทำบาป และไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเหตุที่ตนมี
สรีระคือคุณใหญ่. ช้างนี้ละโขลงแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ ด้วยความ
สุขอันเกิดจากการเที่ยวไปผู้เดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียวในป่าเหมือนนอแรด
ฉะนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ละหมู่คณะแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ
ด้วยความสุขเกิดแต่ฌาน อันเป็นความสุขที่มีแต่ความยินดียิ่งส่วนเดียว
ปรารถนาความสุขตามแต่ตนจะพึงจะหาได้ อยู่ในป่านั้น พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 702
อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะมีร่างกายตั้งอยู่ได้
เป็นอย่างดีฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้ใหญ่ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ. อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีตัวดัง
ดอกบัว เพราะมีร่างกายเช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้าง
ปทุมฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่ามีธรรมดังดอกบัว เพราะมีธรรม
คือโพชฌงค์เช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในปทุม คือชาติของพระ-
อริยะ. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีเรี่ยวแรงและกำลังเร็ว-
เป็นต้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีความประพฤติ
ชอบทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือเพราะมีศีลสมาธิและปัญญาหลักแหลม
เป็นต้น. เราเมื่อคิคอยู่อย่างนี้จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิ-
ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๒๐) อฏฺาน ต สงฺคณิการตสฺส
ย ผุสฺสเย สามยิก วิมุตฺตึ
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าได้กล่าว ๓ บาทแห่งคาถาว่า)
บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 703
คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พระกุมารได้กล่าวหนึ่งบาทที่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า อาทิจจพันธุ์ กล่าวแล้วให้
บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยยในคาถาที่ .. ดังต่อไปน .
บทว่า อฏฺาน ต คือ อฏฺาน ต ได้แก่ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ
อธิบายว่า นั้นไม่ใช่เหตุ. ลบนิคคหิตเสียเป็น อฏฺาน ดุจในบทมีอาทิว่า
อริยสจฺจาน ทสฺสน. บทว่า สงฺคณิการตสฺส คือ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่. บทว่า ย นี้ เป็นคำแสดงถึงเหตุ ดุจในบทว่า ย หิริยติ
หิริตพฺเพน ย่อมละอายด้วยเหตุใด พึงละอายด้วยเหตุนั้น. บทว่า ผุสฺสเย
พึงถูกต้อง คือพึงบรรลุ. บทว่า สามยิก วิมุตฺตึ วิมุตติอันมีในสมัย
ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ โลกิยสมาบัตินั้นท่านเรียกว่า สามายิกา
วิมุตฺติ วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นแล้วจากข้าศึกในสมัยที่จิตแนบแน่น
อิ่มเอิบนั่นเอง. ซึ่งวิมุตติอันมีในสมัยนั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตตินั้น อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่ใช่ฐานะ
ของบุคคลผู้ยินดีด้วยความคลุกคลีด้วยหมู่ เราใคร่ครวญถ้อยคำของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว ละความยินดีด้วย
ความคลุกคลีด้วยหมู่ ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุดังนี้. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมสุข ได้แก่
ความสุขในการบรรพชา. บทว่า ปวิเวกสุข ได้แก่ ความสุขใน
กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า อุปสมสุข ได้แก่ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 704
สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันสงบจากกิเลส. บทว่า สมฺโพธิสุข สุขเกิดแต่
ความตรัสรู้ คือมรรคสุข. บทว่า นิกามลาภี คือ ผู้มีปกติได้ตามความ
ประสงค์ด้วยอำนาจความชอบใจของตน. บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ ผู้มีปกติ
ได้ไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้โดยไม่ลำบาก คือได้ไพบูลย์. บทว่า
อสามายิก อันไม่มีในสมัย คือ โลกุตระ. บทว่า อกุปฺป อันไม่กำเริบ
คือ โลกตรมรรคอันไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ.
จบคาถาที่ ๑๐
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
อรรถกถาตติยวรรค
คาถาที่ ๑
๒๑) ทิฏฺีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต
ปตฺโต นิยาม ปฏิลทฺธมคฺโค
อุปฺปนฺนาโณมฺหิ อนญฺเนยฺโย
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามได้แล้ว ถึงความ
เป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้
อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒. ก็ทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 705
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทำร้ายเสียบแทง เป็นข้าศึก
แห่งมรรคสัมมาทิฏฐิ. เสี้ยนหนามแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ชื่อว่า ทิฏฺิวิสูกานิ.
หรือว่าทิฏฐินั่นแลเป็นเสี้ยนหนาม ชื่อว่า ทิฏฺิวิสูกานิ. บทว่า อุปาติ-
วตฺโต คือ ล่วงแล้วด้วยมรรคทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต นิยาม ถึงแล้ว
ซึ่งมรรคนิยาม คือ บรรลุแล้วซึ่งความเป็นของเที่ยงแห่งความเป็นธรรม
ไม่ตกต่ำ และความตรัสรู้ในเบื้องหนา้. หรือบรรลุปฐมมรรคอันได้แก่
สัมมัตตนิยาม (นิยามอันชอบ). ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าว
ถึงความสำเร็จแห่งกิจในปฐมมรรค และการได้ปฐมมรรคนั้น. บัดนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงการได้มรรคที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิ-
ลทฺธมคฺโค มีมรรคอันได้แล้ว ดังนี้. บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว คือเราเป็นผู้มีปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงผลด้วยญาณนี้. บทว่าอนฺญฺเนยฺโย อันผู้มี
ไม่ต้องแนะนำ คือ อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำว่า นี้เป็นสัจจะ ดังนี้. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงความเป็นพระสยัมภูด้วยบทนี้. หรือแสดงความ
เป็นผู้ชำนาญด้วยตนเอง ไม่มีผู้อื่นแนะนำในปัจเจกโพธิญาณ. หรือล่วง
ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลายด้วยวิปัสสนา ถึงมรรคนิยามด้วยมรรค
เบื้องต้น เป็นผู้มีมรรคอันได้แล้วด้วยมรรคที่เหลือ เป็นผู้มีญาณอันเกิด
แล้วด้วยผลญาณ. ชื่อว่า อนญฺเนยฺโย เพราะบรรลุมรรคทั้งหมด
นั้นด้วยตนเอง. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า น ปรเนยฺโย คือ ผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ บทว่า น ปรปตฺติโย
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น คือ เพราะเป็นธรรมประจักษ์อยู่แล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
บทว่า น ปรปจฺจโย ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย คือ ไม่พึงมีผู้อื่นเป็นปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 706
ไม่เป็นไปด้วยศรัทธาของผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู คือ ไม่ไปด้วย
ญาณอันเนื่องด้วย.
จบคาถาที่ ๑
คาถาที่ ๒
๒๒) นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย
ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มี
ความอยาก ครอบงำโลกทั้งโลกได้แล้ว พึงเที่ยว ไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิลฺโลลุโป คือ เป็นผู้ไม่โลภ. จริงอยู่ ผู้ใดถูกตัณหาในรส
ครอบงำ ผู้นั้นย่อมโลภจัดคือโลภบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โลลุปฺโป เป็นผู้โลภจัด. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เมื่อ
ห้ามความโลภจัดนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป เป็นผู้ไม่โลภจัด.
พึงทราบความในบทว่า นิกฺกุโห ไม่โกหก ดังต่อไปนี้ วัตถุสำหรับ
โกหก ๓ อย่างไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า นิกฺกุโห เป็นผู้ไม่โกหก.
คาถานี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า นิกฺกุโห เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 707
เป็นต้น โดยความพอใจ. ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ความว่า ความปรารถนา
ที่ปรากฏ ชื่อว่า ปิปาสา. เพราะความไม่มีปิปาสานั้น ชื่อว่า นิปฺปิปาโส
อธิบายว่า เป็นผู้พ้นจากความใคร่บริโภคด้วยความโลภในรสอร่อย. ใน
บทว่า นิมฺมกโข นี้ ความว่า ชื่อว่า มักโข อันมีลักษณะทำคุณผู้อื่นให้
พินาศ เพราะไม่มีมักขะนั้น ชื่อว่า นิมมักขะ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
กล่าวหมายถึงความไม่ลบหลู่คุณของผู้อื่น เมื่อครั้งตนยังเป็นคฤหัสถ์.
พึงทราบความในบทน ว่า นิทฺธตกสาวโมโห ความว่า มีโมหะ
ดังรสฝาด อันกำจัดแล้วต่อไป.
ธรรม ๖ อย่าง คืออกุศล ๓ มีราคะเป็นต้น และทุจริต ๓ มีกาย-
ทุจริต เป็นต้น พึงทราบว่าเป็น กสาว รสฝาด เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใส
ตามกำเนิด เพราะอรรถว่า ละภาวะของตนแล้วถือเอาภาวะอื่น และ
เพราะอรรถว่า เป็นกาก เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสฝาด
๓ อย่าง คืออะไร กสาวะรสฝาด ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ ราคกสาวะ รสฝาด
คือราคะ ๑ โทสกสาวะ รสฝาดคือโทสะ๑. โมหกสาวะ รสฝาดคือโมหะ ๑.
อีกนัยหนึ่ง กสาวะรสฝาค ๓ คือ กายกสาวะ รสฝาดกาย ๑ วจีกสาวะ
รสฝาดทางวาจา ๑ มโนกสาวะ รสฝาดทางใจ ๑. ในรสฝาดเหล่านั้น ชื่อว่า
นิทฺธนฺตกสาวโมโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาด ๕ เว้นโมหะ และกำจัด
โมหะอันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสดังรสฝาดทั้งหมดเหล่านั้น หรือชื่อว่า
นิทฺธนฺตกสาวโนโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาดทางกายวาจาและใจ ๓
อย่าง และโมหะ.
ในบทนอกนี้เป็นอันได้ความสำเร็จว่า กำจัดรสฝาดคือราคะ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 708
ความไม่โลภเป็นต้น กำจัดรสฝาดคือโทสะ ความเป็นผู้ไม่ลบหลู่.
บทว่า นิราสโย ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความอยาก. บทว่า สพฺพโลเก
คือ สากลโลก. อธิบายว่า เป็นผู้ปราศจากภวตัณหาและวิภวตัณหาในภพ ๓
และในอายตนะ ๑๒. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีก
อย่างหนึ่ง พึงกล่าวแม้ ๓ วาระแล้วทำความเชื่อมในบทนี้ อย่างนี้ว่า เอโก
จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง หรืออย่างนี้ว่า เอโก จริตุ สกฺกุเณยฺย พึง
สามารถเพื่อเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง
จบคาถาที่ ๒
คาถาที่ ๓
๒๓) ปาป สหาย ปริวชฺชเยถ
อนตฺถทสฺสึ วิสเม วิวิฏ
สย น เสเว ปสุต ปมตฺต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
กุลบุตร พึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึงเสพด้วยตนเอง
ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
กรรมอันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
ในคาถาที่ ๓ มีความย่อดังต่อไปนี้.
สหายชื่อว่า ลามก เพราะประกอบด้วยทิฏฐิลามก ๑๐ อย่าง. ชื่อว่า
ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะแสดงความพินาศแก่คนอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 709
และเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้รักตนพึง
เว้นสหายลามกนั้น ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ดังอยู่ในธรรม
ไม่เสมอ ไม่ควรเสพด้วยตนเอ ง คือด้วยอำนาจของตน ด้วยประการฉะนี้.
ท่านกล่าวว่า ก็ผิว่าเป็นอำนาจของผู้อื่น สามารถจะทำอย่างไร.
บทว่า ปสุต ขวนขวาย อธิบายว่า ติดอยู่ในบาปธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจ
แห่งทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺต คนประมาท คือผู้ปล่อยจิตไปแล้วในกามคุณ
หรือเว้นจากกุศลภาวนา. บุคคลไม่พึงเสพ คือไม่พึงคบ ได้แก่ไม่พึง
เข้าใกล้บุคคลเห็นปานนั้น โดยที่แท้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้ บทว่า สย น เสเวยฺย
คือ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง. บทว่า สาม น เสเวยฺย คือ ไม่พึง
เข้าไปใกล้แม้ด้วยใจ บทว่า น เสเวยฺย คือ ไม่พึงคบ. บทว่า น
นิเสเวยฺย ไม่ควรอาศัยเสพ คือไม่เข้าไปแม้ในที่ใกล้. บทว่า น
สเสเวยฺย ไม่ควรร่วมเสพ คือพึงอยู่ให้ไกล. น ปฏิเสเวยฺย ไม่ควร
ซ่องเสพ คือหลีกไปเสีย.
จบคาภาที่ ๓
คาถาที่ ๔
๒๔) พหุสฺสต ธมฺมธร ภเชถ
มิตฺติ อุฬาร ปฏิภาณวนฺติ
อญฺาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺข
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 710
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้
ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ ผู้รู้จักประโยชน์
ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
ในคาถาที่ ๔ มีความย่อดังนี้.
บทว่า พหุสฺสุต คือ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ พวก คือผู้เป็นพหูสูตใน
ปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น ๑ และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ
เพราะแทงตลอดมรรค ผล วิชชาและอภิญญา ๑.
ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม. ส่วน
ท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่า
ผู้มีคุณยิ่ง.
ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มี
ปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓พวก คือปริยัตติปฏิภาณ ๑
ปริปุจฉาปฏิภาณ ๑ อธิคมปฏิภาณ ๑.
ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่า ปริยัตติปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.
ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ
ฐานะ อฐานะ ชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม
ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิเวธปฏิ-
ภาณ ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.
บุคคลควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ
เห็นปานนั้น แค่นั้น ด้วยอานุภาพของมิตรนั้นได้รู้ประโยชน์มากมาย โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 711
แยกเป็นประโยชน์คน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ
โดยแยกเป็นประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง
แต่นั้น กำจัดความสงสัยทำความเคลือบแคลงให้หมดไป ในฐานะแห่ง
ความสงสัยมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอดกาลในอดีตหรือหนอ เป็นผู้
กระทำกิจทุกอย่างสำเร็จแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ ๔
คาถาที่ ๕
๒๕) ขิฑฺฑ รตึ กามสุขญฺจ โลเก
อนลงฺกริตฺวา อนเปกฺขมาโน
วิภูสนฏฺานา วิรโต สจฺจวาที
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่พอใจการเล่น ความยินดี
และกามสุขในโลกแล้ว ไม่อาลัยอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
การประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
การเล่นและความยินดีได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน. บทว่า กามสุข
คือ สุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกามท่านก็กล่าวว่าเป็นความสุข
โดยความเป็นวิสัยเป็นต้นของความสุข. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 712
เป็นสุข ตกถึงความสุขมีอยู่ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความพอใจ
ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโอกาสโลกนี้ ไม่คำนึงอย่างนี้ว่า มี
ประการดังนี้ หรือเป็นสาระ. บทว่า อนเปกฺขมาโน ไม่อาลัย คือมี
ปกติไม่เพ่งเล็งด้วยไม่ทำความพอใจ ไม่มักได้ ไม่อยาก เว้นจากฐานะแห่ง
การประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว.
ในบทเหล่านั้น เครื่องประดับมี ๒ อย่าง คือเครื่องประดับสำหรับ
ผู้ครองเรือน มีผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้และของหอมเป็นต้น ๑. เครื่อง
ประดับสำหรับบรรพชิต มีเครื่องแต่งร่มเป็นต้น ๑. เครื่องประดับนั้นแล
ชื่อว่าฐานะแห่งการประดับ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความอย่างนี้ว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าเว้นจากฐานะแห่งการประดับ ด้วยวิรัติแม้ ๓ อย่าง
เป็นผู้พูดจริง เพราะพูดไม่เหลวไหล ดังนี้
จบคาถาที่ ๕
คาถาที่ ๖
๒๖) ปุตฺตญฺจ ทาร ปิตรญฺจ มาตร
ธนานิ ธญฺานิ จ พนฺธวานิ
หิตฺวาน กามานิ ยโถธิกานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 713
บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะ มีแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน และทองเป็นต้น .
บทว่า ธญฺานิ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ ชนิด คือข้าวสาลี ๑ ข้าว
เปลือก ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าวฟ่าง ๑ ลูกเดือย ๑ หญ้า
กับแก้๑ และอปรัณณชาติที่เหลือ. บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ พวกพ้อง
๔ ประเภท คือพวกพ้องที่เป็นญาติ ๑ พวกพ้องทางโคตร ๑ พวกพ้อง
ทางมิตร ๑ พวกพ้องทางศิลปะ ๑. บทว่า ยโถธิกานิ กามทั้งหลายตาม
ส่วน คือกามทั้งหลายตั้งอยู่ตามส่วนของตน. ๆ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.
จบคาถาที่ ๖
คาถาที่ ๗
๒๗) สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย
อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย
คณฺโฑ เอโส อิจิ ตฺวา มติมา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจ-
กามคุณนี้มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สงฺโค เอโส กามนี้เป็นเครื่องข้อง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
แสดงถึงเครื่องอุปโภคของตน. ก็กามนั้น ชื่อว่า สงฺโค เพราะสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 714
ทั้งหลายย่อมข้องอยู่ในกามนั้น ดุจช้างติดอยู่ในเปือกตมฉะนั้น. บทว่า
ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย มีความสุขน้อย คือในเบญจกามคุณนี้มีความสุขน้อย
เพราะเป็นของต่ำทราม โดยให้เกิดความสำคัญผิดในการบริโภคกามคุณ ๕
หรือเพราะนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร. ท่านอธิบายว่า เป็นไป
ชั่วกาลนิดหน่อย ดุจความสุขในการเห็นการฟ้อนที่สว่างแวบขึ้นจากแสง
ฟ้าแลบฉะนั้น. บทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกขฺเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มี
ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขโสมนัสใดแลเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ
๕ เหล่านี้ ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่าเป็นความยินดีของกามทั้งหลาย,
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงทุกข์โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรใน
โลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสดงศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยการนับนิ้วมือ
บ้าง ด้วยการคำนวณบ้าง เพราะเปรียบกับทุกข์นั้น ความสุขในกามคุณ
จึงชื่อว่าน้อย คือเท่าประมาณหยาดน้ำ ที่แท้ความทุกข์เท่านี้มากยิ่ง
เปรียบได้กับน้ำในสมุทรทั้งสี่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสฺสาโท
ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดังนี้ บทว่า
คโฬ เอโส กามนี้เป็นดังเบ็ด ความว่า กามนี้เป็นดังเบ็ด คือกามคุณ ๕
ด้วยสามารถการแสดงความยินดีแล้วดึงมา. บทว่า อิติ ตฺวา มติมา
ผู้มีปัญญารู้แล้ว คือบุรุษผู้มีปัญญาเป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ละกามนั้น
ทั้งหมด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
จบคาถาที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 715
คาถาที่ ๘
๒๘) สนฺทาลยิตฺวา สโยชนานิ
ชาล เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี
อคฺคีว ทฑฺฒ อนิวตฺตมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวนกลับมาสู่
ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวรูปไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๒ แห่งคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
สิ่งที่ทำด้วยด้วยท่านเรียกว่า ซาล ข่าย. บทว่า อมฺพุ คือ น้ำ.
ชื่อว่า อมฺพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. บทนี้เป็นชื่อของปลา. ปลา
ย่อมเที่ยวไปในน้ำ จึงชื่อว่า สลิลมฺพุจารี. ท่านอธิบายว่า เหมือนปลา
ทำลายข่ายในน้ำฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๓ ดังนี้. บทว่า ทฑฺฒ ท่านกล่าวถึงที่
ที่ถูกไฟไหม้. อธิบายว่า ไฟที่ไหม้มิได้กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว คือว่าไม่
กลับมาไหม้ลามในที่นั้นอีก ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ไม่กลับมาสู่ที่
แห่งกามคุณ ที่ไฟคือมรรคญาณไหม้แล้ว คือว่าไม่หวนกลับมาในกามคุณ
นั้นอีก ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
คำว่า สญฺโชนานิ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสเหล่าใดมีอยู่แก่บุคคลใด
ก็ย่อมผูกพัน คือว่าย่อมร้อยรัดบุคคลนั้นไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น กิเลส
เหล่านั้นจึงชื่อว่า สังโยชน์. อนึ่ง ควรนำสังโยชน์เหล่านี้ มาตามลำดับของ
กิเลสบ้าง ตามลำดับของมรรคบ้าง คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 716
กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.
ภวราคสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
อิสสาและมัจฉริยะ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.
กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์ ละไว้ด้วย
อรหัตมรรค.
บทว่า ภินฺทิตฺวา คือ ทำลาย. บทว่า สมฺภินฺทิตวา ฉีก คือทำ
ให้เป็นช่อง. บทว่า ทาลยิตฺวา คือ แหวกไป. บทว่า ปทาลยิตฺวา
คือ ลอดไป. บทว่า สมฺปทาลยิตฺวา คือ ลอดออกไป.
จบคาถาที่ ๘
คาถาที่ ๙
๒๙ ) โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล
คุตฺตินฺทฺริโย รกฺขิตมานสาโน
อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่เหลว-
ไหลเพราะเท้า มีอินทรีย์คุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 717
ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และอันไฟคือกิเลสไม่เผาอยู่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง คือมีจักษุทอดลง
เบื้องต่ำ. ท่านอธิบายว่า ภิกษุตั้งกระดูกคอทั้ง ๗ ท่อนไว้ตามลำดับ
แล้วเพ่งดูชั่วแอกเพื่อดูสิ่งที่ควรเว้นและควรถือเอา อธิบายว่า ภิกษุยืน
ไม่ให้กระดูกหัวใจกระทบกับกระดูกคาง. ก็การที่ภิกษุเป็นผู้มีตาทอดลง
อย่างนี้ไม่เป็นสมณสารูป คือไม่ควรแก่สมณะ. บทว่า น จ ปาทโลโล
ไม่เหลวไหลเพราะเท้า คือไม่ทำเป็นเหมือนคนที่คันเท้า ปรารถนาจะ
เข้าไปสู่ท่ามกลางคณะอย่างนี้ คือเป็นคนที่สองของตนคนเดียว เป็นคน
ที่ ๓ ของตนสองคน เป็นผู้เว้นจากการเที่ยวไปนาน คือเที่ยวไปไม่หยุด.
บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย มีอินทรีย์คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้ง ๖ ด้วยบทที่เหลือ
ซึ่งกล่าวแยกไว้ต่างหากในที่นี้. บทว่า มานสา ในคำว่า รกฺขิตมาสาโน
ได้แก่ มานัส ใจนั่นเอง ใจนั้น อัน บุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า รกฺขิตมานสาโน ผู้มีใจอันคนรักษาแล้ว. บทว่า อนวสฺสุโต ได้แก่
ผู้เว้นแล้วจากการตามรั่วรดของกิเลสในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วย
การปฏิบัตินี้. บทว่า อปริฑยฺหมาโน ไฟกิเลสมิได้เผา คือกิเลสมิได้
เผาเพราะเว้นจากการรั่วรดของกิเลสอย่างนี้. อนึ่ง ผู้อันกิเลสในภายนอก
ไม่รั่วรด กิเลสในภายในไม่เผาอยู่. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า จกฺขุนา รฺป ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุ-
วิญญาณอันสามารถเห็นรูปได้ ที่เรียกตามโวหารว่าจักษุ ด้วยอำนาจแห่ง
เหตุ. ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 718
ไม่มีจิต จิตก็ย่อมไม่เห็นรูปเพราะไม่มีจักษุ (แต่) บุคคลย่อมเห็นด้วยจิต
อันมีประสาทรูปเป็นวัตถุ เพราะกระทบกันระหว่างทวารกับอารมณ์. ก็
คำพูดเช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา (พูดรวม ๆ ไป) เหมือนในประโยค
ว่า ก็สิ่งเช่นนี้ ๆ ย่อมถูกยิงด้วยธนูฉะนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความ
อย่างนี้ว่า เห็นในรูปด้วยจักขุวิญญาณดังนี้. บทว่า นิมิตฺตคฺคหี ถือนิมิต
คือถือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีนิมิตหญิงและชาย หรือนิมิตว่างาม
เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพียงเห็น. บทว่า
อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือย่อมถือด้วยอาการแห่งมือ เท้า
การหัวเราะ การเจรจา การเหลียวดูเป็นต้น ที่เรียกตามโวหารว่า
อนุพยัญชนะ เพราะทำกิเลสทั้งหลายให้ปรากฏโดยอนุพยัญชนะ ในบทว่า
ยตฺวาธกรณเมน เป็นต้น มีความดังต่อไปนี้. ซึ่งบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวม
จักขุนทรีย์ด้วยหน้าต่างคือสติ ผู้มีจักษุทวารไม่ปิดแล้ว เพราะเหตุแห่ง
การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นเหตุให้ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านั้นครอบงำ
คือคามผูกพัน.
บทว่า ตสฺส สวราย น ปฏิปชฺชติ ปฏิบัติเพื่อไม่สำรวมจักขุนทรีย์
นั้น คือไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยหน้าต่างคือสติ. ท่านกล่าวว่า
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่าไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมใน
จักขุนทรีย์. การสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์นั้น ด้วยว่าสติ
หรือความหรือหลงลืมสติหาได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทไม่ ถึงอย่างนั้น
เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุในกาลใด ในกาลนั้นเมื่อภวังค์จิตเกิด
ขึ้นสองครั้งแล้วดับไป กิริยามโนธาตุเกิดขึ้น ยัง อาวัชชนกิจ ให้สำเร็จ
แล้วดับไป. แค่นั้นจักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นทำสันตีรณกิจ คือทำหน้าที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 719
เห็นแล้วดับไป. จากนั้นวิปากมโนธาตุเกิดขึ้นให้สำเร็จ สัมปฏิจฉนกิจ
คือทำหน้าที่รับแล้วดับไป. จากนั้นวิบากมโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะ
เกิดขึ้นให้สำเร็จ สันตีรณกิจ คือท่าหน้าที่พิจารณาแล้วดับไป. จากนั้น
กิริยามโนวิญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ยัง โวฏฐัพพนกิจ คือการ
ตัดสินอารมณ์ให้สำเร็จแล้วดับไป, ในลำดับนั้นชวนจิตย่อมแล่นไป. แม้
ในขณะนั้นความสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิต ย่อมไม่
มีในสมัยแห่งจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ในสมัยใดสมัยหนึ่ง แต่
ในขณะแห่งชวนจิต หากว่าความเป็นผู้ทุศีลก็ดี ความเป็นผู้หลงลืมสติก็ดี
ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้านก็ดี ย่อมเกิดขึ้น ความ
สำรวมย่อมมีไม่ได้. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นผู้ไม่สำรวม
ในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ ทวาร
ก็ดี ภวังตจิตก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันไม่
สำรวมแล้ว. เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านใน
พระนครไม่ปิด ถึงจะปิดเรือนประตูซุ้มและห้องภายในเป็นต้นก็ดี ฉันใด
ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดภายในพระนครก็เป็นอันเขาไม่รักษา ไม่คุ้มครอง
เหมือนกัน เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนคร ย่อมฉกฉวยเอา
สิ่งที่ต้องการไปได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนจิต
เมื่อความไม่สำรวมนั้น มีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชน-
จิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันบุคคลนั้นไม่สำรวมแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี
โหติ ดังต่อไปนี้.
บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ไม่ถือนิมิต คือไม่ถือนิมิตดังกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 720
แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ. พึงทราบแม้บทที่เหลือ โดยนัยตรงกัน
ข้ามกับที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
เหมือนอย่างว่า คำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความทุศีลเกิดขึ้น
แล้วในชวนะ เมื่อความไม่สำรวมนั้น มีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลาย
มีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันตนไม่ได้สำรวมแล้ว ฉันใด เมื่อศีล
เป็นต้นบังเกิดขึ้นแล้ว ในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิต
อันมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันตนคุ้มครองแล้วเหมือนกัน.
เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครรักษา (ปิด) แล้ว
ถึงแม้เรือนภายในเป็นต้นไม่รักษา (ไม่ปิด) ก็จริง ถึงกระนั้นสิ่งของ
ทั้งหมดในภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วทีเดียว
เพราะเมื่อประตูพระนครปิด พวกโจรก็เข้าไปไม่ได้ฉันโด เมื่อศีลเป็นต้น
บังเกิดขึ้นแล้วในชวนะ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิต
เป็นต้นก็ดี เป็นอันตนคุ้มครองแล้วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในชนะชวนจิต ก็ชื่อว่าความสำรวมในจักขุนทรีย์.
บทว่า อวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อวัสสุตปริยายว่าด้วยเหตุแห่ง
การชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อนวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อนวัสสุต-
ปริยายสูตรว่าด้วยเหตุแห่งการไม่ชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า ปิยรูเป รูเป ย่อมยินดีในรูปอันเป็นรูปที่น่ารัก คือใน
รูปารมณ์อันน่าปรารถนา. บทว่า อปฺปิยรูเป รูเป ย่อมยินร้ายในรูปอัน
เป็นในรูปที่ไม่น่ารัก คือในรูปารมณ์อันมีสภาวะที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า
พฺยาปชฺชติ ย่อมยินร้าย คือถึงความเน่าด้วยอำนาจโทสะ. บทว่า โอตาร
ได้แก่ ช่องคือระหว่าง. บทว่า อารมฺมณ คือ ปัจจัย. บทว่า อภิภวึสุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 721
ครอบงำ คือย่ำยี. บทว่า น อภิภิว คือ ไม่ย่ำยี. บทว่า พหลมตฺติกา
มีดินหนา คือมีดินหนาพูนขึ้นด้วยการฉาบทาบ่อย ๆ. บทว่า อลฺลาว-
เลปนา มีเครื่องฉาบทาอันเปียก คือฉาบทาด้วยดินที่ไม่แห้ง. บทที่เหลือ
ในนิเทศนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๓๐) โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺขนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต
กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละเพศแห่งคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้า
กาสายะออกบวช ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช
พึงทราบความของบทนี้อย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้วครองผ้ากาสายะ.
บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๑๐
จบอรรถกถาตติยวรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 722
H1>อรรถกถาจตุตถวรรค
คาถาที่ ๑
๓๑ ) รเสสุ เคธ อกร อโลโล
อนญฺโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่กระทำความติดใจรส
ทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ไม่เลี้ยงผู้อื่น มี
ปกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ผูกพันใน
ตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ แห่งจตุตถวรรค ดังต่อไปนี้
บทว่า รเสสุ ในรสทั้งหลาย คือในของควรลิ้มมีรสเปรี้ยว หวาน
ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน ฝาด เป็นต้น. บทว่า เคธ อกร ไม่ทำความติดใจ
คือไม่ทำความติดใจ คือความพอใจ. ท่านอธิบายว่า ไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น
บทว่า อโลโล ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล คือไม่วุ่นวายในรสวิเศษ
อย่างนี้ว่า เราจักลิ้มรสนี้ ดังนี้.
บทว่า อนญฺโปสี ไม่เลี้ยงผู้อื่น คือไม่มีสัทธิวิหาริกที่จะต้อง
เลี้ยงเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า ยินดีเพียงทรงกายอยู่ได้. อีกอย่างหนึ่ง
ท่านแสดงว่า แมลงผึ้งซึ่งติดในรสทั้งหลาย (ของดอกไม้) ในอุทยานใน
กาลก่อน เป็นผู้มีตัณหา เลี้ยงดูผู้อื่น (คือลูกอ่อนในรัง) ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น ละตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ทำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 723
ติดในรสทั้งหลายเสียได้ เป็นผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่ให้เกิดอัตภาพอื่น
อันมีตัณหาเป็นมูลต่อไป.
อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า ผู้อื่น เพราะอรรถว่า
หักรานประโยชน์ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น
เพราะไม่เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น. บทว่า สปทานจารี เที่ยวไปตามลำดับตรอก
คือไม่เที่ยวแวะเวียน คือเที่ยวไปตามลำดับ. อธิบายว่า ไม่ทิ้งลำดับเรือน
เข้าไปบิณฑบาตตามลำดับทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลยากจน. บทว่า กุเส
กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล ความว่า มีจิตไม่
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดาตระกูลกษัตริย์
เป็นต้น. เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิจ. บทที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่
คาถาที่ ๒
๓๒) ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส
อุปกฺกเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
อนิสฺสิโต เฉตา เสฺนหโทส
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละ ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕
อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวง ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ตัด
ความรักและควานชังได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 724
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้
บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือนิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์
เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรตสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้น
กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้
ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา. บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้า-
หมองจิต คืออกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้น-
ดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น
บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือบรรเทา บรรเทาวิเศษ
ละด้วยวิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ
ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความ
เยื่อใย คือตัณหาราคะอันไปแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ด้วยมรรคที่เหลือ
ด้วยว่าความเยื่อใยเท่านั้น ท่านเรียกว่า เสฺนหโทโส เพราะเป็นปฎิปักษ์
กับคุณธรรม. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๒
คาถาที่ ๓
๓๓) วิปิฏฺิกตฺวาน สุข ทุกฺขญฺจ
ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺส
ลทฺธานุเปกฺข สมถ วิสุทธ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 725
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและ
โทมนัสในกาลก่อนแล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ละแล้ว คือละทิ้งไว้ข้างหลัง. บทว่า สุขญฺจ
ทุกฺข คือ ความยินดียินร้ายทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺส คือ
ความยินดียินร้ายทางใจ. บทว่า อุเปกฺข คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถ คือ สมถะในจุตตถฌานนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธ ความว่า
ชื่อว่าหมดจดอย่างยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือ
นิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจทองคำ
ที่หลอมดีแล้วนั่นเอง. ส่วนโยชนาแก้ไว้ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข
และทุกข์ก่อน ๆ แล้ว อธิบายว่า ละทุกข์ในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน และสุขในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ จ อักษร
ที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหลัง ได้รูปเป็นดังนี้ โสมนสฺส โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏิกตฺวาน ปุพฺเพว ละโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ แล้ว. ด้วยบทนั้น
ท่านแสดงว่า โสมนัสในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่งจุจจถฌาน โทมนัสในภูมิ
เป็นอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌานเหล่านี้เป็นฐานะแห่งการละทุกข
สุขโทมนัสโสมนัสเหล่านั้นโดยปริยาย แต่โดยตรง ปฐมฌานเป็นฐาน
ละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานละสุข จตุตถฌาน
เป็นฐานละโสมนัส. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า
ภิกษุเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดในปฐมฌานนี้ย่อมดับไปโดย
ไม่มีเหลือ. พึงถือเอาบททั้งหมดนั้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 726
บทว่า ปุพฺเพว ก่อน ๆ คือละทุกข์โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมี
ปฐมฌานเป็นต้น แล้วละโสมนัสในจตุตถฌานนี้ ได้อุเบกขาและสมถะ
อันหมดด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่งเอง.
จบคาถาที่ ๓
คาถาที่ ๔
๓๔) อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา
อลีนจตฺโต อกุสีตวุตฺตี
ทฬฺหนิกฺกโม ถามพลูปปนฺโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธจ้าปรารภความเพียร เพื่อบรรลุ
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย
และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอัน ปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบื้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน.
นิพพานท่านกล่าวว่าปรมัตถ์ เพื่อถึงนิพพานนั้น ชื่อว่าเพื่อถึงปรมัตถ์.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลที่ควรบรรลุ ด้วยการเริ่มความเพียรนั้น.
ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 727
ถึงความที่จิตและเจสิกทั้งหลายอันเกื้อหนุนวิริยะไม่ย่อหย่อน. ด้วยบทว่า
อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึง
ความที่กายไม่จมอยู่ในที่ยืนที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้น. ด้วยบทว่า ทฬฺห-
นิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงการตั้งความ
เพียรอันเป็นไปอย่างนี้ว่า กาม ตโจ นหารุ จ แม้เลือดเนื้อจะเหือด
แห้งไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวว่า เริ่ม
ในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย. อีกอย่าง
หนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรค. ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนา
อย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง. บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้า
ถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือเกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลัง
ญาณในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง
ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง
ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณ
แห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบท
ทั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียร อันเป็นส่วนเบื้องต้น
ท่ามกลางและอุกฤษฏ์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 728
คาถาที่ ๔
๓๕) ปฏิสลฺลาน ณานมริญฺจนาโน
ธมฺเมส นิจฺจ อนุธมฺมารี
อาทีนว สมฺมสิตา ภเวสุ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี
ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสลฺลาน คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่า
นั้น ๆ หลีกเร้น อยู่. อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว
ชื่อว่า กายวิเวก. บทว่า ฌาน ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติ ๘
ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะ
เพ่งถึงอารมณ์ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเพ่งถึงลักษณะ. แต่ในที่นี้
ประสงค์เอาการเพ่งอารมณ์เท่านั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีก
เร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ. บทว่า ธมฺเมสุ คือ ใน
ธรรมมีขันธ์ ๕ เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 729
คือ สงบ ไม่วุ่นวาย เนื่อง ๆ. บทว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรม
สมควร คือปรารภธรรมเหล่านั้นแล้วประพฤติวิปัสสนาธรรมไปตาม
สมควร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙. ชื่อว่า
อนุธมฺโม คือ เพราะเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตรธรรมเหล่านั้น. บทนี้
เป็นชื่อของวิปัสสนา. ในบทนั้นเมื่อควรจะกล่าวว่า ประพฤติธรรม
สมควรแก่ธรรมทั้งหลายเป็นนิจ ก็กล่าวเสียว่า ธมฺเมสุ ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยการแปลงวิภัตติเพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. คือควรจะเป็น ธมฺมาน
แต่ในคาถาเป็น ธมฺเมสุ. บทว่า อาทีนว สมฺมสิตา ภเสุ พิจารณา
เห็นโทษในภพทั้งหลาย คือพิจารณาเห็นโทษมีอาการไม่เที่ยงเป็นต้นใน
ภพ ๓ ด้วยวิปัสสนา อันได้แก่ความเป็นผู้พระพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
นั้น ควรกล่าวว่าท่านได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทา กล่าวคือ กายวิเวก จิตต-
วิเวกและวิปัสสนาอัน ถึงความเป็นยอต้นอย่างนี้. พึงทราบการประกอ
อย่างนี้ว่า เอโก จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียว.
จบคาถาที่ ๕
คาถาที่ ๖
๓๖) ตณฺหกฺขย ปตฺถย อปฺปมตฺโต
อเนลมูโค สุตฺวา สิติมา
สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 730
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึง
เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าและคนใบ้ มีการสดับ
มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ตณฺหกฺขย ความสิ้นตัณหา คือนิพพาน. หรือความไม่เป็น
ไปแห่งตัณหา อันมีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง. บทว่า อปฺปมตฺโต
ไม่ประมาท คือเป็นผู้มีปกติทำติดต่อ. บทว่า อเนลมูโค ไม่โง่เขลา
คือไม่ใบ้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่บ้าไม่ใบ้. ท่านกล่าวว่า เป็นบัณฑิต เป็น
คนฉลาด. ชื่อว่า มีสุตะ เพราะมีสุตะอันให้ถึงประโยชน์สุข. ท่านกล่าวว่า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศึกษา. บทว่า สติมา คือ ระลึกถึงสิ่งที่ทำไว้แล้วแม้
นานเป็นต้นได้. บทว่า สงฺขาตธมฺโม มีธรรมอันนับพร้อมแล้ว คือ
มีธรรมอันกำหนดแล้วด้วยการพิจารณาธรรม. บทว่า นิยโต มีธรรม
อันแน่นอน คือถึงความแน่นอนด้วยอริยมรรค
บทว่า ปธานวา มีความเพียร คือถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน
(คือความเพียร). พึงประกอบบาทนี้โดยผิดลำดับ. ด้วยว่าผู้ประกอบธรรม
มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้แล้ว มีความเพียรด้วยการตั้งใจ
ให้ถึงความแน่นอน ชื่อว่า นิยโต เป็นผู้เที่ยง เพราะมีธรรมอันแน่นอน
คืออริยมรรคอันตนถึงแล้วด้วยความเพียรนั้น ต่อแต่นั้นจึงชื่อว่า มีธรรม
อันกำหนดรู้แล้ว เพราะการบรรลุพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหันต์
ท่านเรียกว่า เป็นผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึง
กำหนดรู้อีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 731
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว
เป็นเสกขะมีอยู่มากในโลกนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
จบคาถาที่ ๖
คาถาที่ ๗
๓๗ ) สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต
วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน
ปทุมว โตเยน อลิมฺปมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ติดข้อง เหมือนลมไม่ติดข้องที่ตาข่าย
เหมือนดอกบัว ไม่ติดข้องด้วยน้ำฉะนั้น พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ จำพวก คือติณสีหะ ๑ ปัณฑุสีหะ ๑
กาฬสีหะ ๑ ไกรสรสีหะ ๑. ไกรสรสีหะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสีหะเหล่านั้น
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาไกรสรสีหะนั้น.
ลมมีหลายชนิด มีลมพัดมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น. ดอกบัวมี
หลายชนิด มีดอกบัวสีแดงและดอกบัวสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและดอกบัว
เหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกบัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรทั้งนั้น.
เพราะความสะดุ้งย่อมมีด้วยความรักตน. อนึ่ง ความรักตนฉาบด้วยตัณหา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 732
แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีด้วยความโลภ อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ. หรือวิปปยุต
ด้วยทิฏฐิ. ความรักตนนั้นก็คือตัณหานั้นเอง. ความข้องของผู้ปราศจาก
ความสอบสวนย่อมมีด้วยโมหะ อนึ่ง โมหะก็คืออวิชชา. การละตัณหาย่อม
มีด้วยสมถะ. การละอวิชชาย่อมมีด้วยวิปัสสนา. เพราะฉะนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าละความรักในคนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในความไม่เที่ยงและความ
เป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย ละโมหะ
ด้วยวิปัสสนา ไม่ติดในขันธ์และอายตนะเป็นต้น ดุจลมไม่ติในข่าย
ละโลภะและทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยสมถะ ไม่ติดด้วยโลภะอันมี
ความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนดอกบัวไม่ติดด้วยน้ำฉะนั้น. ในบทนี้ศีล
เป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ สมถะเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ วิปัสสนา และ
ปัญญา ด้วยประการฉะนี้. เมื่อธรรมสองเหล่านั้นสำเร็จ เป็นอันขันธ์
แม้ ๓ ก็สำเร็จด้วย. ในขันธ์เหล่านั้น ความเป็นผู้กล้าย่อมสำเร็จด้วยศีล
ขันธ์. ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความเป็นผู้ใคร่จะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย
เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย. เป็นผู้มีสภาวะแทงตลอดด้วย
ปัญญาขันธ์ ไม่ติดอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ดุจลมไม่ติด
ในข่าย. เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยสมาธิขันธ์ ไม่ติดอยู่ด้วยราคะเหมือน
ดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ. พึงทราบว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้ง
ไม่ข้อง ไม่ติดด้วยการละอวิชชาตัณหาและอกุศลมูล ๓ ตามที่เกิดด้วย
สมถะและวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบคาถาที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 733
คาถาที่ ๘
๓๘) สีโห ยถา ทาพลี ปสยฺห
ราชา มิคาน อภิภุยฺยจารี
เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มี
เขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไปฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า สีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าและวิ่งเร็ว. ในที่นี้ประสงค์
เอาไกรสรสีหะ. ชื่อว่า ทาพลี เพราะสีหะมีเขี้ยวเป็นกำลัง. บททั้งสอง
คือ ปสยฺห อภิภุยฺห พึงประกอบ จารี ศัพท์เข้าไป เป็น ปสยฺหจารี
เที่ยวข่มขี่ อภิภุยฺยจารี เที่ยวครอบงำ. ในสองบทนั้น ชื่อว่า ปสยฺหจารี
เพราะเที่ยวข่มขี่. ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยวครอบงำทำให้หวาด
สะดุ้ง ทำให้อยู่ในอำนาจ. สีหะนั้นเที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยวครอบงำ
ด้วยเดช. หากใคร ๆ พึงกล่าวว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำ
ฉัฏฐีวิภัตติแห่งบทว่า มิคาน เป็นทุติยาวิภัตติ เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห
อภิภุยฺหจารี เที่ยวข่มขี่ครอบงำซึ่งเนื้อทั้งหลาย. บทว่า ปนฺตานิ
อันสงัด คือไกล. บทว่า เสนาสนานิ คือ ที่อยู่. บทที่เหลือสามารถ
จะรู้ได้โดยนัยดังกล่าวในก่อน เพราะเหตุนั้นจึงไม่กล่าวให้พิสดาร.
จบคาถาที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 734
คาถาที่ ๙
๓๙) เมตฺต อุเปกฺข กรุณ วิมุตฺตึ
อาเสวมาโน มุทิตญฺจ กาเล
สพฺเพน โลเกน อริรุชฌมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสพอยู่ซึ่งเมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นวิมุตติตลอดกาล อันสัตว์โลก
ทั้งปวงไม่เกลียดชัง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำประโยชน์และความสุขเข้าไปให้โดยนัยมีอาทิ
ว่า สพฺเพ สตฺตา สุขิตา ภวนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความ
สุขเถิด ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อปลดเปลื้องสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และความทุกข์
ออกไปโดยนัยมีอาทิว่า อโห วต อิมฺมหา ทุกฺขา วินุจฺเจยฺยุ โอหนอ
ขอสัตว์ทั้งปวงพึงพ้นจากทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า กรุณา.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่พรากจากประโยชน์สุขโดยนัยมีอาทิว่า ท่าน
ผู้เจริญ สัตว์ทั้งปวงย่อมบันเทิงหนอ ดีละ ขอสัตว์ทั้งปวงจงบันเทิงด้วย
ดีเถิด ชื่อว่า มุทิตา.
ความเป็นผู้เข้าไปเพ่งในสุขและทุกข์ว่า สัตว์ทั้งหลายจักปรากฏด้วย
กรรมของตน ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา.
ท่านกล่าว เมตตา แล้วกล่าวอุเบกขา มุทิตา ในภายหลังสับลำดับ
กัน เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. บทว่า วิมุตฺตึ อันเป็นวิมุตติ จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 735
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้น
จากธรรมเป็นข้าศึกของตน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเสพเมตตา กรุณา มุทิตาและ
อุเบกขา อันเป็นวิมุตติตลอดกาล ดังนี้
ในบทเหล่านั้น บทว่า อาเสวมาโน เสพอยู่ คือเจริญเมตตา
กรุณา มุทิตา ๓ อย่างด้วยอำนาจแห่งฌานในจตุกกนัย ๓ ฌาน เจริญ
อุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน. บทว่า กาเล คือ เสพเมตตา ออก
จากเมตตาเสพกรุณา ออกจากกรุณาเสพมุทิตา ออกจากมุทิตาหรือจาก
ฌานอันไม่มีปีติเสพอุเบกขา ท่านกล่าวว่าเสพอยู่ตลอดกาล. หรือเสพ
ในเวลาสบาย. บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน อันสัตว์โลก
ทั้งมวลมิได้เกลียดชัง คืออันเป็นสัตว์โลกทั้งหมดในสิบทิศไม่เกลียดชัง. สัตว์
ทั้งหลายชื่อว่าเป็นผู้ไม่น่าเกลียด เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาเป็นต้น. ความ
ขัดเคืองอันเป็นความพิโรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ. ด้วยเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า อันสัตว์โลกทั้งมวลไม่เกลียดชังดังนี้ บทที่
เหลือเช่นกับที่ได้กล่าวแล้วนั้นแล.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๔๐) ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมห
สนฺทาลยิตฺวาน สโยชนานิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 736
อสนฺตส ชีวิตสงฺขยมฺหิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทำลายสังโยชน์ ๑๐ เหล่านั้นด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า อสนฺตส ชีวิต-
สงฺขยมฺหิ ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต คือความแตกแห่งจุติจิต ท่านเรียกว่า
ความสิ้นชีวิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิตนั้น เพราะ
ละความเยื่อใยในชีวิตได้แล้ว พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นแสดงสอุปาทิ-
เสสนิพพานธาตุของคนแล้ว เมื่อจบคาถาก็ได้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุ-
ปาทิเสสนิพพานธาตุด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ ๑๐
คาถาที่ ๑๑
๔๑) ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณตฺถา
นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา
อตฺตตฺถปญฺา อสุจี มนุสฺสา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 737
บุรุษทั้งหลายผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน
ย่อมคบหาสมาคนเพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุ
มาเป็นมิตร หาได้ยากในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยคาถาที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ภชนฺติ ย่อมคบ คือเข้าไปนั่งชิดกัน. บทว่า เสเวนฺติ
ย่อมเสพ คือย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้น และด้วยยอมรับทำ
การงานให้. ชื่อว่า การณฺตถา เพราะมีประโยชน์เป็นเหตุ. อธิบายว่า
ไม่มีเหตุอื่นเพื่อจะคบและเพื่อจะเสพ. ท่านกล่าวว่า ย่อมเสพเพราะ
มีประโยชน์เป็นเหตุ. บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺชมิตฺตา มิตรในวันนี้
ไม่มีเหตุหาได้ยาก คือ มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุ เพราะเหตุแห่งการได้
ประโยชน์อย่างนี้ว่า เราจักได้อะไรจากมิตรนี้ประกอบด้วยความเป็นมิตร
อันพระอริยะกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
มิตรใดมีอุปการะ ๑ มิตรใดร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรใดแนะนำประโยชน์ ๑ มิตรใดมีความรักใคร่ ๑ ดังนี้.
อย่างเดียว หาได้ยาก ชื่อว่า มิตรในวันนี้. ชื่อว่า อตฺตทตฺถปญฺา
เพราะมีปัญญาอันสำเร็จประโยชน์ด้วยมุ่งตนเท่านั้น ไม่มุ่งถึงคนอื่น (เห็น
แก่ตัว). นัยว่าคัมภีร์เก่าใช้ว่า ทิฏฺตฺถปญฺา มีปัญญามุ่งประโยชน์
ปัจจุบัน. ท่านอธิบายว่า มีปัญญาเพ่งถึงประโยชน์ที่ตนเห็นเดียวนั้น.
บทว่า อสุจี สกปรก คือ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
อันไม่สะอาด คือไม่ประเสริฐ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 738
ในก่อนนั่นแล. บทใดที่ยังมิได้กล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไปใน
ระหว่าง ๆ บทนั้นทั้งหมด พึงทราบตามท่านองแห่งปาฐะนั่นแล.
จบคาถาที่ ๑๑
จบอรรถกถาจตุตถวรรค
จบอรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส
แห่ง
อรรถกถขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ชื่อว่าสัทธัมมปัชโชติกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 739
นิคมคาถา
คัมภีร์มหานิทเทสนั้นใด อันพระเถระ๑ผู้เป็นใหญ่แห่งบุตรของพระ
สุคตเจ้า ผู้ยินดียิ่งในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้มีคุณมั่นคง จำแนกไว้ดีแล้ว
อรรถกถาใดแห่งคัมภีร์มหานิทเทสนั้น ที่ข้าพเจ้า (ผู้แต่ง) อาศัยนัยของ
อรรถกถาก่อน ๆ ปรารภแล้วตามความสามารถ อรรถกถานั้นเข้าถึง
ความสำเร็จแล้ว.
มหาวิหารใด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอนุราธบุรีอัน
ประเสริฐ พระมหาสถูปใดซึ่งเป็นยอดแห่งมหาวิหารนั้น
ก่อด้วยศิลาสวยงาม ประดับด้วยแก้วผลึก ตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันตกของเมืองอนุราธบุรีนั้น.
พระราชาทรงพระนามว่า กิตติเสน เป็นนักเขียน
ทรงมีพระจริยาวัตรงดงาม สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ
สะอาด ทรงประกอบในกุศลธรรม ทรงให้สร้างบริเวณ
มีต้นไม้ที่มีเงาร่มเย็น พรั่งพร้อมด้วยธารน้ำ ล้อมด้วย
รั้วไม้.
พระมหาเถระชื่อว่า อุปเสน ผู้อยู่ในบริเวณกว้าง เป็น
นักเขียน ประกอบด้วยกุศลธรรม พระกิตติเสนราชาทรง
ถวายบริเวณแก่พระอุปเสนมหาเถระนั้น พระอุปเสนเถระ
ผู้มีศีลมั่นคง เป็นครู อยู่ในบริเวณนั้น ได้รวบรวมคัมภีร์-
สัทธัมมปัชโชติกานี้ไว้.
อรรถกานิทเทสสำเร็จลงในปีที่ ๒๖ แห่งพระเจ้า
๑. พระสารีบุตรเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 740
สิริสังฆโพธิ ผู้ประทับอยู่ในนิเวศอันเป็นสิริ อรรถกถานี้
แสดงเถรวาทะของพระเถระทั้งหลาย อนุโลมตามสมัย
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวโลก จบลงแล้ว ฉันใด ขอ
มโนรถของสัตว์ทั้งปวง ซึ่งอนุโลมตามพระสัทธรรม จง
ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ ถึงความ
สำเร็จ ฉันนั้น.
ก็ภาณวารทั้งหลายมากกว่า ๔๐ ภาณวาร ประกอบด้วยธรรมะที่ควร
ทราบในอรรถกถาชื่อว่า สัทธัมมปัชโชติกา อันท่านกำหนดแล้วด้วยกุศล
ธรรมที่ท่านกำหนดไว้ในอรรถกถานี้ ก็ฉันท์ทั้งหลายแห่งอรรถกถานั้น
ท่านกำหนดด้วยการประพันธ์ นับได้กว่าหมื่นคาถา พึงทราบว่าเป็นคาถา
บุญนี้ใด มิใช่น้อย ไพบูลย์ อันข้าพเจ้ารจนาอยู่ซึ่งอรรถกถานี้ด้วยความ
เอื้อเฟื้อ เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระศาสนา และเพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก
ได้ประสบบุญนั้นแล้ว ขอชาวโลกจงได้ลิ้มรสแห่งพระสัทธรรมของพระ-
ทศพลเจ้า จงบรรลุถึงความสุขที่ไม่มีมลทิน ด้วยความสะดวกนั้นเที่ยว.
จบอรรถกถามหานิทเทส ชื่อสัทธัมมปัชโชติกา
คำปรารถนาของผู้รจนา
ด้วยบุญที่เกิดจากการรจนาคัมภีร์นี้
ขออย่าให้ข้าพเจ้าต้องสมาคมกับคนพาล
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก
ในสำนักของพระศรีอริยเมตไตรยพระองค์นั้น เทอญ.