พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก
เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๓๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหานิบาตชาดก
๖. ภูริทัตชาดก
พระเจ้าภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี
[๖๘๗] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์
ของท้าวธตรฐ รัตนะทั้งหมดนั้นจงมาสู่พระราชนิเวศน์
ของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรด
ประทานพระราชธิดาแก่พระราชาของข้าพระองค์เถิด
พระเจ้าข้า.
[๖๘๘] พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับนาคทั้ง
หลาย ในกาลไหน ๆ เลย พวกเราจะทำการวิวาห์อัน
ไม่สมควรนั้นได้อย่างไรเล่า.
[๖๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์พระ-
องค์จำต้องทรงสละพระชนม์ชีพหรือแว่นแคว้นเสีย
๑. บาลีเล่มที่ ๒๘ อรรถกถาชาดกเล่มที่ ๑๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 2
เป็นแน่ เพราะเมื่อนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลาย เช่น
พระองค์จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประ-
เสริฐ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพระยา
นาคธตรผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราช
เกิดภายใต้แม่น้ำยมุนา.
[๖๙๐] เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรผู้เรืองยศ ก็
ท้าวธตรฐเป็นใหญ่กว่านาคแม่ทั้งหมด ถึงจะเป็นพระ-
ยานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา
เราเป็นกษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชา
ธิดาของเราก็เป็นอภิชาต.
[๖๙๑] พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว
จงไปบอกให้นาคทั้งปวงรู้ จงพากันไปเมืองพาราณสี
แต่อย่าได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย.
[๖๙๒] นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่
บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บน
ยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัว ให้
ใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความ
กลัวให้เกิดแก่ชนชาวกาสี.
[๖๙๓] นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว
แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังพระนครพา-
ราณสี แต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย แผ่พังพานห้อย
อยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 3
บนยอดไม้ พวกสตรีเป็นอันมากได้เห็นนาคเหล่านั้น
แผ่พังพานห้อยอยู่ ตามที่ต่าง ๆ หายใจฟู่ ๆ ก็พากัน
คร่ำครวญ ชาวเมืองพาราณสีมีความสะดุ้งกลัว เดือด
ร้อน ก็พากันไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระ-
องค์จงทรงพระราชทานพระราชธิดา แก่พระยานาค
เถิดพระเจ้าข้า.
[๖๙๔] ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผาย นั่ง
อยู่ท่ามกลางป่าอันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คน
เป็นใคร ทรงเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม
ยืนเคารพอยู่ ท่านเป็นใคร มีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่
ในท่ามกลางป่า เหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่าน
คงเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือ
เป็นนาคผู้มีอานุภาพมาก.
[๖๙๕] เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใคร ๆ
จะล่วงได้ ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบชนบทที่เจริญ
ให้แหลกได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดา
ของเราชื่อว่าธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คน
ทั้งหลายเรียกเราว่า ภูริทัต.
[๖๙๖] ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อใด น่า
กลัว ห้วงน้ำนั้นเป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึก
หลายร้อยชั่วบุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำ
ยมุนา เป็นแม่น้ำมีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 4
เสียงนกยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของ
ผู้มีอาจารวัตร.
[๖๙๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและ
ภรรยา ไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกาม
ทั้งหลาย ท่านจักอยู่เป็นสุข.
[๖๙๘] แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วย
ต้นกฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง
มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระ-
โบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มี
ดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม
มีเสาพันเสาอันขัดเกลาดีแล้วทุกเสา สำเร็จด้วยแก้ว
ไพฑูรย์ เรืองจรูญด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์
เป็นผู้บังเกิดในวิมานทิพย์อันกว้างใหญ่ เป็นวิมาน
เกษมสำราญรื่นรมย์ มีสุขหาอันใดจะเปรียบปานมิได้
ด้วยบุญของพระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมาน
ของพระอินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของ
พระองค์นี้ ก็เหมือนของท้าวสักกะผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.
[๖๙๙] อานุภาพของคนรับใช้ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ใน
บังคับบัญชาของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ใคร ๆ ไม่
พึงถึงแม้ด้วยใจ.
[๗๐๐] เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย
ผู้ตั้งอยู่ในความสุขนั้น จึงไปรักษาอุโบสถอยู่บนจอม
ปลวก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 5
[๗๐๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปสู่ป่า
แสวงหาเนื้อ ญาติเหล่านั้นไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือ
เป็น ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้เรืองยศ โอรส
แห่งกษัตริย์แคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้า-
พระบาทก็จะได้ไปเยี่ยมญาติ.
[๗๐๒] การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้
เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่าถามารมณ์เช่นนี้
เป็นของหาไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะ
อยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.
[๗๐๓] ดูกรพราหมณ์ เมื่อท่านทรงทิพยมณี
นี้อยู่ ย่อมได้ปศุสัตว์และบุตรทั้งหลายตามปรารถนา
ท่านจงถือเอาทิพยมณี ไปปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.
[๗๐๔] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระ
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.
[๗๐๕] ถ้าหากพรหมจรรย์มีการแตกหัก กิจที่
ต้องทำด้ายโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มี
ความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน
มาก ๆ.
[๗๐๐] ข้าแต่พระภูริหัต พระดำรัสของพระ-
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
จักกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 6
[๗๐๗] พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาค
มาณพ ๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัว
พาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพ ๔ ตนที่
ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัว
แล้ว พาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.
[๗๐๘] แก้วมณีที่สมมติกันว่าเป็นมงคล เป็น
ของดี เป็นเครื่องปลื้มรื่นรมย์ใจ เกิดแต่หิน สมบูรณ์
ด้วยลักษณะ ที่ท่านถืออยู่นี้ ใครได้มาไว้.
[๗๐๙] แก้วมณีนี้ พวกนางนาคมาณวิกาประ-
มาณพันหนึ่งล้วนมีตาแดงแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาล
วันนี้ เราเดินทางไปได้แก้วมณีนั้นมา.
[๗๑๐] แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่หามาได้ด้วยดี
อันบุคคลเคารพบูชา ประดับประดาเก็บรักษาไว้ด้วย
ดีทุกเมื่อ ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ เมื่อบุคคล
ปราศจากการระวังในการเก็บรักษา หรือในการประ-
ดับประดา แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่บุคคลหามาได้
โดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ คนผู้ไม่
มีกุศลไม่ควรประดับแก้วมณีอันเป็นทิพย์นี้ เราจักให้
ทองคำร้อยแท่ง ขอท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด.
[๗๑๑] แก้วมณีของเรานี้ ไม่ควรแลกเปลี่ยน
ด้วยโคหรือรัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หิน
บริบูรณ์ด้วยลักษณะ เราจึงไม่ขาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 7
[๗๑๒] ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโค
หรือรัตนะ เมื่อเช่นนั้นท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วย
อะไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
[๗๑๓] ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดช ยากที่บุคคล
จะล่วงเกินได้ เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หิน อัน
รุ่งเรืองด้วยรัศมี.
[๗๑๔] ครุฑผู้ประเสริฐหรือหนอ แปลงเพศ
เป็นพราหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็น
อาหารของตน.
[๗๑๕] ดูกรพราหมณ์ เรามิได้เป็นครุฑ เราไม่
เคยเห็นครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้
จักเราว่าเป็นหมองู.
[๗๑๖] ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปอะไร ท่านเป็น
ผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค.
[๗๑๗] ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างสูง แก่ฤาษี
โกสิยโคตรผู้อยู่ในป่าประพฤติตบะอยู่สิ้นกาลนาน เรา
เข้าไปหาฤาษีตนหนึ่งซึ่งนับเข้าในพวกฤาษีผู้บำเพ็ญ
ตนอาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านโดยเคารพ
มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ในกาลนั้นท่าน
บำเพ็ญวัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้
สมาคมกับเรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก
เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 8
เราเป็นอาจารย์ของพวกหมอฆ่าพิษ ชนทั้งหลายรู้จัก
เราว่าอาลัมพายน์.
[๗๑๘] เราทั้งหลายจงรับแก้วไว้สิ ดูกรพ่อโสม-
ทัต เจ้าจงรู้ไว้ เราทั้งหลายอย่าละสิริ อันมาถึงตน
ด้วยท่อนไม้ตามชอบใจสิ.
[๗๑๙] ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาค-
ราชบูชาคุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณ
พ่อจึงปรารถนาประทุษร้ายต่อผู้กระทำดีเพราะความ
หลงอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราช
ก็คงจักให้ คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคง
จักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.
[๗๒๐] ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ถึง
ภาชนะ หรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ
ประโยชน์ที่เห็นประจักษ์ อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.
[๗๒๑] คนประทุษร้ายมิตร สละความเกื้อกูล
จะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อม
สูบผู้นั้น หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ก็ซูบซีด ถ้าคุณพ่อ
ปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ผมเข้าใจ
ว่า คุณพ่อจักต้องได้ประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.
[๗๒๒] พราหมณ์ทั้งหลายบูชายัญแล้ว ย่อม
บริสุทธิ์ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วย
การบูชายัญอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 9
[๗๒๓] เชิญเถิด ผมจะขอแยกไป ณ บัดนี้
วันนี้ผมจะไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ จะไม่ขอเดินทาง
ร่วมกับคุณพ่อผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.
[๗๒๔] โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ครั้น
กล่าวกะบิดา และประกาศกะเทวดาทั้งหลายอย่างนี้
แล้ว ก็หลีกไปจากที่นั้น.
[๗๒๕] ท่านจงจับเอานาคใหญ่นั่น จงส่งแก้ว
มณีนั้นมาให้เรา นาคใหญ่นั่นมีรัศมีดังสีแมลงค่อม
ทอง ศีรษะแดง ตัวปรากฏดังกองปุยนุ่น นอนอยู่บน
จอมปลวกนั่น ท่านจงจับเอาเถิดพราหมณ์.
[๗๒๖] อาลัมพายน์เอาทิพยโอสถทาตัว และ
ร่ายมนต์ทำการป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพระ-
ยานาคนั้นได้.
[๗๒๗] เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์
ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง มาเฝ้าแล้ว อินทรีย์ของ
พระแม่เจ้าไม่ผ่องใส พระพักตร์พระแม่เจ้าก็เกรียมดำ
เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์
พระแม่เจ้าเกรียมดำ เหมือนดอกบัวอยู่ในมือลูกขยี้
ฉะนั้น.
[๗๒๘] ใครว่าล่วงเกินพระแม่เจ้าหรือ หรือ
พระแม่เจ้ามีเวทนาอะไร เพราะทอดพระเนตรเห็น
ข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียม
ดำเพราะเหตุไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 10
[๗๒๙] พ่อสุทัสสนะลูกเอ๋ย แม่ได้ฝันเห็นล่วงมา
เดือนหนึ่งแล้วว่า (มี) ชายมาตัดแขนของแม่ดูเหมือน
ข้างขวา พาเอาไปทั้งที่เปื้อนเลือด เมื่อแม่กำลังร้องไห้
อยู่ ตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว เจ้าจงรู้เถิดว่า แม่ไม่
ได้ความสุขทุกวันคืน.
[๗๓๐] แต่ก่อนนางกัญญาทั้งหลาย ผู้มีร่างกาย
อันสวยสดงดงาม ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง พากันบำ
เรอภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ แต่ก่อน
เสนาทั้งหลายผู้ถือดาบอันคมกล้า งามดังดอกกรรณิการ์
พากันห้อมล้อมภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ
เอาละ เราจักไปยังนิเวศน์แห่งภูริทัตเดี๋ยวนี้ จักไป
เยี่ยมน้องของเจ้า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล.
[๗๓๑] ภริยาทั้งหลายของภูริทัต เห็นพระ-
มารดาของภูริทัตเสด็จมา ต่างพากันประคองแขน
คร่ำครวญว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันทั้งหลายไม่
ทราบเกล้า ล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า ภูริทัตผู้เรืองยศ
โอรสของพระแม่เจ้าสิ้นชีพเสียแล้ว หรือว่ายังดำรง
ชนม์อยู่.
[๗๓๒] เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วย
ทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกพลัดพรากจากลูกเห็นแต่
รังเปล่า เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้น
กาลนาน ดังนางหงส์ขาวพลัดพรากจากลูกอ่อน เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 11
ไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน ดัง
นางนกจากพรากในเปือกตมอันไม่มีน้ำเป็นแน่ เราไม่
เห็นภูริทัตจักตรอมตรมด้วยความโศก เปรียบเหมือน
เบ้าของช่างทอง เกรียมไหม้ในภายใน ไม่ออกไปภาย
นอกฉะนั้น.
[๗๓๓] บุตรธิดาและชายาในนิเวศน์ของภูริทัต
ล้มนอนระเนระนาดดังต้นรังอันลมฟาดหักลง ฉะนั้น.
[๗๓๔] อริฏฐะและสุโภคะ ได้ฟังเสียงอันกึก
ก้องของบุตรธิดาและชายาของภูริทัต จึงวิ่งไปในระ-
หว่าง ช่วยกันปลอบมารดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า จง
เบาพระทัยอย่าเศร้าโศกไปเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมมีความตายและความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอย่างนี้
การตายและการเกิดขึ้นนี้ เป็นความแปรของสัตว์โลก.
[๗๓๕] ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถึงแม่รู้ว่าสัตว์ทั้ง
หลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ก็แต่ว่าแม่เป็นผู้อันความ
เศร้าโศกครอบงำแล้ว ถ้าเมื่อแม่ไม่ได้เห็นภูริทัตคืน
วันนี้เจ้าจงรู้ว่า แม่ไม่ได้เห็นภูริทัต เห็นจะต้องละชีวิต
ไปแน่.
[๗๓๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัย อย่า
เศร้าโศกไปเลย ลูกทั้ง ๓ จักเที่ยวแสวงหาภูริทัตไป
ตามทิศน้อยทิศใหญ่ ที่ภูเขา ซอกเขา บ้าน และนิคม
แล้วจักนำท่านพี่ภูริทัตมา พระแม่เจ้าจักได้ทรงเห็น
ท่านพี่ภูริทัตภายใน ๗ วัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 12
[๗๓๗] นาคหลุดพ้นจากมือ ไปฟุบลงที่เท้าของ
ท่าน คุณพ่อ มันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัว
เลย จงถึงความสุขเถิด.
[๗๓๘] นาคตนนี้ ไม่สามารถจะทำความทุกข์
อะไร ๆ แก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด ก็ไม่ดียิ่งไปกว่า
เรา.
[๗๓๙] คนเซอะอะไรหนอ แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาท้ารบในที่ประชุมชน ขอบริษัทจงฟังเรา.
[๗๔๐] ดูก่อนหมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค
เราจักต่อสู้กับท่านด้วยลูกเขียด ในการรบของเรานั้น
เราทั้งสองจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
[๗๔๑] ดูก่อนมาณพ เราเท่านั้นเป็นคนมั่งคั่ง
ด้วยทรัพย์ ท่านเป็นคนจน ใครจะเป็นคนรับประกัน
ท่าน และอะไรเป็นเดิมพันของท่านเดิมพันของเรามี
และคนรับประกันเช่นนั้นก็มี ในการรบของเราทั้งสอง
เราทั้งสองมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
[๗๔๒] ดูก่อนมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ เชิญสดับ
คำของอาตมภาพ ขอความเจริญจงมีแก่มหาบพิตร
ขอมหาบพิตรทรงรับประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะ
ของอาตมภาพเถิด.
[๗๔๓] ข้าแต่ดาบส หนี้เป็นของบิดา หรือว่า
เป็นหนี้ที่ท่านทำเอง เพราะเหตุไรท่านจึงขอทรัพย์
มากมายอย่างนี้ต่อข้าพเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 13
[๗๔๔] เพราะนายอาลัมพายน์ ปรารถนาจะ
ต่อสู้กับอาตมภาพด้วยนาค อาตมภาพจักให้ลูกเขียด
กัดนายอาลัมพายน์ ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ขอเชิญ
พระองค์ผู้มีหมู่ทหารดาบเป็นกองทัพ เสด็จไปทอด
พระเนตรนาคในวันนี้.
[๗๔๕] ข้าแต่ดาบส เราไม่ได้ดูหมิ่นท่านโดย
ทางศิลปศาสตร์เลย ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์มาก
ไป ไม่ยำเกรงนาค.
[๗๔๖] ดูก่อนพราหมณ์ แม้อาตมภาพก็ไม่ได้ดู
หมิ่นท่านในทางศิลปศาสตร์ แต่ว่าท่านล่อลวงประ-
ชาชนนักด้วยนาคอันไม่มีพิษ ถ้าชนพึงรู้ว่านาคของ
ท่านไม่มีพิษ เหมือนอย่างอาตมารู้แล้ว ท่านก็จะไม่
ได้แกลบสักกำมือหนึ่งเลย จักได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่า
หมองู.
[๗๔๗] ท่านผู้นุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เกล้า
ชฎารุ่มร่าม เหมือนคนเซอะ เข้ามาในประชุม ดู
หมิ่นนาคเช่นนี้ว่าไม่มีพิษ ท่านเข้ามาใกล้แล้วก็จะพึง
รู้ว่านาคนั้นเต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุด
ข้าพเจ้าเข้าใจว่านาคตัวนี้จักทำท่านให้แหลกเป็น
เหมือนเถ้าไปโดยฉับพลัน.
[๗๔๘] พิษของงูเรือน งูปลา งูเขียว พึงมี
แต่พิษของนาคมีศีรษะแดง ไม่มีเลยทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 14
[๗๔๙] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้ง
หลายผู้สำรวม ผู้มีตบะ มาว่า ทายกทั้งหลายให้ทาน
ในโลกนี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านมีชีวิตอยู่ จงให้
ทานเสียเถิด ท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้ นาคนี้มีฤทธิ์
มากมีเดช ยากที่ใคร ๆ จะก้าวล่วงได้ เราจะให้นาค
นั้นกัดท่าน มันก็จักทำท่านให้เป็นเถ้าไป.
[๗๕๐] ดูกรสหาย แม้เราก็ได้ฟังคำของพระ-
อรหันต์ทั้งหลายผู้สำรวม ผู้มีตบะมาว่า ทายกทั้งหลาย
ให้ทานในโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านนั่นแหละ
เมื่อมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสีย ถ้าท่านมีสิ่งของที่ควร
จะให้ ลูกเขียดชื่อว่าอัจจิมุขีนี้ เต็มด้วยเดชเหมือน
ของนาคอันสูงสุด เราจักให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน
ลูกเขียดนั้นจักทำท่านให้เป็นเถ้าไป นางเป็นธิดาของ
ท้าวธตรฐ เป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขี
ผู้เต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุดนั้นจงกัด
ท่าน.
[๗๕๑] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษ
ลงบนแผ่นดิน มหาบพิตรจงทรงทราบเถิด ต้นหญ้า
ลดาวัลย์ และต้นยาทั้งหลาย พึงเหี่ยวแห้งไปโดยไม่
ต้องสงสัย.
[๗๕๒] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักขว้าง
พิษขึ้นไปบนอากาศ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ฝน
และน้ำค้างจะไม่ตกตลอด ๗ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 15
[๗๕๓] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยด
พิษลงในน้ำ มหาบพิตรจงทราบเถิด สัตว์น้ำมีประ-
มาณเท่าใด ทั้งปลาและเต่าก็พึงตายหมด.
[๗๕๔] น้ำที่โลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้
มีอยู่ที่ท่าปยาคะ ภูตผีอะไรฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอัน
ลึก.
[๗๕๕] นาคราชใด เป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ
พันเมืองพาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของนาคราช
ผู้ประเสริฐนั้น ดูกรพราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเรา
ว่า สุโภคะ.
[๗๕๖] ถ้าท่านเป็นโอรสของนาคราชผู้ประ-
เสริฐ ผู้เป็นพระราชาของชนชาวกาสี เป็นอธิบดีอมร
พระชนกของท่านเป็นคนใหญ่คนโตผู้หนึ่ง และพระ
ชนนีของท่าน ก็ไม่มีใครเทียบเท่าในหมู่มนุษย์ ผู้มี
อานุภาพมากเช่นท่าน ย่อมไม่สมควร จะฉุดแม้คน
เพียงเป็นทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำเลย.
[๗๕๗] เจ้าแอบต้นไร่ยิงเนื้อซึ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำ
เนื้อถูกยิงแล้วรู้สึกได้ด้วยกำลังลูกศร จึงวิ่งหนีไปไกล
เจ้าได้พบมันล้มอยู่ในป่าใหญ่ จึงแล่เนื้อหาบมาถึงต้น
ไทรในเวลาเย็น อันกึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนก
แขกเต้าและนกสาลิกา มีใบเหลืองเกลื่อนกล่นไปด้วย
ย่านไทร มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงมน่ารื่นรมย์ใจ ภูมิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 16
ภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ พี่ชายของเรา
เป็นผู้รุ่งเรืองไปด้วยฤทธิ์และยศ มีอานุภาพมาก อัน
นางนาคกัญญาทั้งหลายแวดล้อม ปรากฏแก่เจ้าผู้อยู่ที่
ต้นไทรนั้น ท่านพาเจ้าไปเลี้ยงดู บำรุงบำเรอด้วยสิ่ง
ที่น่าใคร่ทุกอย่าง เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่
ประทุษร้าย เวรนั้นมาถึงเจ้าในที่นี้แล้ว เจ้าจงเหยียด
คอออกเร็ว ๆ เถิด เราจักไม่ไว้ชีวิตแก่เจ้า เราระลึก
ถึงเวรที่เจ้าทำต่อพี่เรา จักตัดศีรษะเจ้าเสีย.
[๗๕๘] พราหมณ์ผู้ทรงเวท ๑ ผู้ประกอบในการ
ขอ ๑ ผู้บูชาไฟ ๑ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้ พราหมณ์
เป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่ควรจะฆ่า.
[๗๕๙] เมืองของท้าวธตรฐอยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา
จดหิมวันตบรรพต ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลแม่น้ำยมุนา ล้วน
แล้วไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง พี่น้องร่วมต้องของเรา
ล้วนเป็นคนมีชื่อลือชา อยู่ในเมืองนั้น ดูก่อนพราหมณ์
พี่น้องของเราเหล่านั้นจักว่าอย่างไร เจ้าจักต้องเป็น
อย่างนั้น.
[๗๖๐] ข้าแต่พี่สุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายใน
โลกที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นของเล็ก
น้อย เพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ซึ่งใคร ๆ ไม่
ควรติเตียน ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์เครื่องปลื้มใจและ
ธรรมของสัตบุรุษเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 17
[๗๖๑] พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวก
กษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และ
พวกศูทรยึดการบำเรอวรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงาน
ตามที่อ้างมาเฉพาะอย่าง ๆ นั้นกล่าวกันว่า มหาพรหม
ผู้มีอำนาจจัดไว้.
[๗๖๒] พระพรหมผู้สร้างโลก ท้าววรุณ ท้าว-
กุเวร ท้าวโสมะ พระยายม พระจันทร์ พระวายุ
พระอาทิตย์ แม้ท่านเหล่านี้ก็ล้วนบูชายัญมามากแล้ว
แ ละบูชาสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท
ท้าวอรชุน และท้าวภีมเสน มีกำลังมากมีแขนนับพัน
ไม่มีใครเสมอในแผ่นดิน ยกธนูได้ ๕๐๐ คัน ก็ได้
บูชาไฟมาแต่ก่อน.
[๗๖๓] ดูกรพี่สุโภคะ ผู้ใดเลี้ยงพราหมณ์ทั้ง
หลายมานานด้วยข้าวและน้ำตามกำลัง ผู้นั้นมีจิตเลื่อม
ใสอนุโมทนาอยู่ ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.
[๗๖๔] พระเจ้ามุจลินท์สามารถบูชาเทวดาคือ
ไฟ ผู้กินมาก มีสีไม่ทราม ให้อิ่มหนำด้วยเนยใส
ทรงบูชายัญวิธีแก่เทวดา คือไฟผู้ประเสริฐแล้วได้
บังเกิดในทิพยคติ.
[๗๖๕] พระเจ้าทุทีปะ มีอานุภาพมาก มีอายุยืน
๑,๐๐๐ ปี มีพระรูปงามน่าดูยิ่งนัก ทรงละแว่นแคว้น
อันไม่มีที่สุด พร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้ว
ได้เสด็จสู่สวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 18
[๗๖๖] ข้าแต่พี่สุโภคะ พระเจ้าสาครราช ทรง
ปราบแผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด รับสั่งให้ตั้งเสายัญ
อันงามยิ่ง ล้วนแล้วด้วยทอง ทรงบูชาไฟแล้ว ได้
เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง แม่น้ำคงคาและมหาสมุทร เป็น
ที่สั่งสมนมส้ม ย่อมเป็นไปด้วยอานุภาพของผู้ใด ผู้
นั้น คือ พระเจ้าอังคโลมปาทะ ทรงบำเรอไฟแล้ว
เสด็จไปเกิดในพระนครท้าวสหัสนัยน์.
[๗๖๗] เทวดาผู้ประเสริฐมีฤทธิ์มาก มียศ เป็น
เสนาบดีของท้าววาสวะในไตรทิพย์ กำจัดมลทินด้วย
โสมยาควิธี (บูชาด้วยการดื่มน้ำโสม) ได้เป็นเทพเจ้า
องค์หนึ่ง.
[๗๖๘] เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์ เรืองยศ
สร้างโลกนี้โลกหน้า แม่น้ำภาคีรถี ขุนเขาหิมวันต์
และเขาวิชฌะ ได้บูชาไฟมาก่อน ภูเขามาลาคิรี ขุน
เขาหิมวันต์ ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ ภูเขานิสภะ
ภูเขากากเวรุ ภูเขาเหล่านั้น และภูเขาใหญ่อื่น ๆ
กล่าวกันว่าพวกพราหมณ์ผู้บูชายัญได้ก่อสร้างทำไว้.
[๗๖๙] ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้
เข้าถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะ ในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบ
ในการขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลัง
ตระเตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำ
ในมหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 19
[๗๗๐] วัตถุที่ควรบูชา คือพวกพราหมณ์เป็น
อันมากมีอยู่ในแผ่นดินของท้าววาสวะ พราหมณ์ทั้ง
หลายมีอยู่ในทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศทักษิณและทิศ
อุดร ย่อมยังปีติและโสมนัสให้เกิด.
[๗๗๑] ดูกรพ่ออริฏฐะ ความกาลีคือความปรา-
ชัยของนักปราชญ์ทั้งหลาย กลับเป็นความมีชัยของคน
โง่เขลาผู้ทรงเวท ไตรเพทเป็นเหมือนอาการของ
พยับแดด เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป มีคุณทาง
หลอกลวง พาเอาคนมีปัญญาไปไม่ได้ ไตรเพทมิได้มี
เพื่อป้องกันคนผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ล้างผลาญความ
เจริญเหมือนไฟที่คนบำเรอแล้ว ย่อมป้องกันคนโทส-
จริตทำกรรมชั่วไม่ได้ ถ้าคนทั้งหลายจะเอาไม้ที่มีอยู่
ในโลกทั้งหมด พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับ
หญ้าให้ไฟเผา ไฟอันมีเดชไม่มีใครเทียมเผาสิ่งนั้น
หมดก็ไม่อิ่ม ใครจะพึงทำให้ไฟซึ่งรู้รส ๒ อย่างให้อิ่ม
ได้ นมสดแปรไปได้เป็นธรรมดา คือ แปรเป็นนมส้ม
แล้วเป็นเนยข้น ฉันใด ไฟก็มีความแปรไปได้เป็นธรรม
ดาฉันนั้น ไฟประกอบด้วยความเพียร (ในการสีไฟ)
จึงจะเกิดได้ ไม่เคยได้เห็นไฟเข้าไปอยู่ในไม้แห้งและ
ไม้สด คนสีไฟไม่สี ไฟก็ไม่เกิด ไฟย่อมไม่เกิดเพราะ
ไม่มีคนทำให้เกิด ถ้าแหละไฟพึงอยู่ภายในไม้แห้ง
และไม้สด ป่าทั้งหมดในโลกก็จะพึงแห้งไป และไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 20
แห้งก็จะพึงลุกโพลง ถ้าคนทำบุญได้โดยเอาไม้และ
หญ้าให้ไฟกิน คนเผาถ่าน คนหุงเกลือ พ่อครัว และ
คนเผาศพ ก็พึงทำบุญได้ ถ้าแม้พราหมณ์เหล่านี้ทำ
บุญได้เพราะการเลี้ยงไฟ เพราะเรียนมนต์เพราะเลี้ยง
ไฟให้อิ่มหนำ ในโลกนี้ใคร ๆ ผู้เอาของให้ไฟกินจะ
ชื่อว่าทำบุญหาได้ไม่ เพราะเหตุอย่างไรเล่า เพราะไฟ
เป็นผู้อันโลกยำเกรง รู้รส ๒ อย่าง พึงกินได้มากทั้ง
ของมีกลิ่นอันไม่น่าฟูใจ คนเป็นอันมากไม่ชอบ พวก
มนุษย์ละเว้น และเป็นของไม่ประเสริฐ คนบางพวก
นับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขุนับถือน้ำเป็น
เทวดา ทั้งหมดนี้พูดผิด ไฟและน้ำไม่ใช่เทพเจ้าตน.
ใดตนหนึ่ง โลกบำเรอไฟ ซึ่งไม่มีอันทรีย์ ไม่มีกายที่
จะรู้สึกได้ ส่องแสงสว่าง เป็นเครื่องทำการงานของ
ประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงไปสุคติได้
อย่างไร พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตในโลกนี้
กล่าวว่า พระพรหมดรอบงำได้ทั้งหมด และว่าพระ-
พรหมบำเรอไฟ พระพรหมมีอานุภาพกว่าทุกสิ่ง และ
มีอำนาจ ไม่มีใครสร้างกลับไปไหว้ไฟที่ตนสร้างเพื่อ
ประโยชน์อะไร คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ
ไม่ควรแก่การเพ่งเล็ง ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์
ในปางก่อนก่อขึ้นไว้ เพราะเหตุแห่งสักการะ พรา
หมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภและสักการะเกิดขึ้น จึงร้อย
กรองยัญพิธีว่าเป็นธรรมสงบระงับ ด้วยการฆ่าสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 21
บูชายัญ พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวก
กษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และ
พวกศูทรยึดการบำเรอ วรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงาน
ตามที่อ้างมาเฉพาะอย่าง ๆ นั้น กล่าวกันว่า มหา-
พรหมผู้มีอำนาจจัดไว้ ถ้าคำนี้พึงเป็นคำจริงเหมือนดัง
ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ คนที่ไม่ใช่กษัตริย์ไม่พึงได้
ราชสมบัติ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่พึงศึกษามนต์ คน
นอกจากแพศย์ไม่พึงทำการไถเลย และพวกศูทรก็ไม่
พึงพ้นจากการรับใช้ผู้อื่น เพราะคำนี้เป็นคำไม่จริง
เป็นคำเท็จ พวกคนหาเลี้ยงท้องกล่าวไว้ คนไม่มี
ปัญญาหลงเชื่อ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นด้วยตนเอง
เพราะพวกกษัตริย์ย่อมเก็บส่วยจากพวกแพศย์ พวก
พราหมณ์ถือศัสตราเที่ยวฆ่าสัตว์ เพราะเหตุไร พระ-
พรหมจึงไม่ทำโลกอันแตกต่างกันเช่นนั้นให้ตรงเสีย
ถ้าแหละพระพรหมเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง
เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ ทำไมจึงจัดโลกทั้งปวงให้มี
ความทุกข์ ทำไมจึงไม่ทำโลกทั้งปวงให้มีความสุข ถ้า
แหละพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง
เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เหตุไรจึงทำโลกโดยไม่เป็น
ธรรม คือ มารยาและเจรจาคำเท็จ มัวเมา ถ้าแหละ
พระพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้งปวง
เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ ก็ชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตอยุติธรรม
เมื่อธรรมมีอยู่ พรหมนั้นก็จัดโลกไม่เที่ยงธรรม ตั๊ก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 22
แตน ผีเสื้อ งู แมลงภู่ หนอน และแมลงวัน ใคร
ฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของพระอริยะ
เป็นธรรมผิด ๆ ของชาวกัมโพชรัฐเป็นอันมาก
[๗๗๒] ถ้าแหละคนฆ่าเขาแล้วย่อมบริสุทธิ์
และผู้ถูกฆ่าย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ พวกพราหมณ์ก็
พึงฆ่าพวกพราหมณ์ด้วยกันซิ หรือพึงฆ่าพวกที่หลง
เชื่อถ้อยคำของพราหมณ์ด้วยกันเสียซิ พวกเนื้อ ปศุ-
สัตว์และโคตัวไหน ๆ ไม่ได้อ้อนวอนเพื่อให้ฆ่าตนเลย
ล้วนแต่ดิ้นรนต้องการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ชนทั้งหลาย
ย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์เข้าผูกที่เสายัญ พวกคน
พาลย่อมยืนหน้าเข้าไปที่เสาบูชายัญเป็นที่ผูกสัตว์ ด้วย
การพรรณนาต่าง ๆ ว่า เสายัญนี้จะให้สิ่งที่น่าใคร่แก่
ท่านในโลกหน้า จะเป็นของยั่งยืนในสัมปรายภพ ถ้า
ว่าบุคคลพึงได้แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก
ทรัพย์ เงิน ทอง ที่เสายัญ ในไม้แห้งและไม้สดไซร้
อนึ่ง เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์ได้
พราหมณ์เท่านั้นพึงบูชายัญ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ก็จะ
ไม่พึงให้พราหมณ์บูชายัญอะไร ๆ เลย แก้วมณี สังข์
มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง จักมีที่เสายัญ
ที่ไม้แห้ง ที่ไม้สดที่ไหน เสายัญจะพึงให้สิ่งที่น่าใคร่
ทั้งปวงในไตรทิพย์ที่ไหน พราหมณ์เหล่านี้เป็นคนโอ้
อวด หยาบช้า โง่เขลา โลภจัด ยื่นหน้าเข้าไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 23
การพรรณนาต่าง ๆ จงถือเอาไฟมา และจงให้ทรัพย์
แก่เรา แต่นั้นท่านให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงแล้ว จักมีความ
สุข พวกที่โกนผมโกนหนวดและตัดเล็บพาพระราชา
หรือมหาอำมาตย์เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ยื่นหน้าเข้าไป
ด้วยการพรรณนาต่าง ๆ ย่อมถือเอาทรัพย์ด้วยเวท
พวกพราหมณ์ผู้โกหก พอหลอกลวงได้คนหนึ่ง ก็มา
ประชุมกินกันเป็นอันมาก เหมือนฝูงกาตอมนกเค้า
หลอกเอาจนเกลี้ยงแล้ว เก็บไว้ที่บริเวณบูชายัญ พวก
พราหมณ์ลวงผู้นั้นได้คนหนึ่งอย่างนี้แล้ว ก็พากันมา
เป็นอันมาก ใช่ความพยายามล่อหลอก พรรณนาด้วย
สิ่งที่ไม่แลเห็นปล้นเอาทรัพย์ที่แลเห็นไป เหมือนพวก
ราชบุรุษ ที่พระราชาสอนให้เก็บส่วย เก็บทรัพย์ของ
พระราชาไป ฉะนั้น ดูก่อนอริฏฐะ พราหมณ์เช่นนั้น
เป็นโจร ไม่ใช่สัตบุรุษ เป็นผู้ควรจะฆ่าในโลก พวก
พราหมณ์กล่าวว่า ไม่ทองหลางเป็นแขนขวาของพระ-
อินทร์ จึงตัดเอาไม้ทองหลางมาใช้ในยัญนี้ ถ้าคำนั้น
เป็นคำจริง พระอินทร์ก็แขนขาด ทำไมพระอินทร์จึง
ชนะพวกอสูรด้วยกำลังแขนนั้นได้ คำนั้นเป็นคำเท็จ
พระอินทร์ยังมีแขนพร้อม เป็นเทวดาชั้นเลิศ ไม่มีใคร
ฆ่าได้ กำจัดอสูรได้ มนต์ของพราหมณ์เหล่านี้เหลว
เปล่า หลอกลวงกันให้เห็นได้เฉพาะในโลกนี้ ภูเขา
มาลาคิรี ขุนเขาหิมวันต์ ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ
ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ ภูเขาใหญ่อื่น ๆ ที่กล่าวกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 24
ว่า พวกพราหมณ์ผู้บูชายัญเอาอิฐเช่นใดมาสร้างภูเขา
อิฐเช่นนั้นก็ไม่ใช่ธรรมชาติของภูเขา ภูเขาเป็นอย่าง
อื่น ไม่หวั่นไหว เห็นได้ชัด ๆ ว่าเป็นหิน ไม่ใช่อิฐ
เป็นหินมานมนาน เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐ
ที่พวกพราหมณ์สรรเสริญยัญกล่าวไว้ว่า ผู้บูชายัญก่อ
สร้างไว้ ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้า
ถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบใน
การขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระ-
เตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหา-
สมุทรจึงดื่มไม่ได้ แม่น้ำพัดเอาพราหมณ์ผู้เรียนเวท
ทรงมนต์ ไปเกินกว่าพัน เหตุไรน้ำในแม่น้ำจึงมีรส
ไม่เสีย มหาสมุทรเท่านั้นดื่มไม่ได้ บ่อน้ำทั้งหลายใน
มนุษยโลกนี้ ที่เขาขุดไว้เกิดเป็นน้ำเค็มก็มี แต่ไม่ใช่
เค็มเพราะท่วมพราหมณ์ตาย น้ำในบ่อเหล่านั้นดื่มไม่
ได้ เป็นนำรู้รสสองอย่าง ครั้งดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ปฐม
กัป ใครเป็นภรรยาใคร ใครได้ให้มนุษย์เกิดขึ้นก่อน
โดยธรรมแม้นั้น ใครๆ ไม่เลวไปกว่าใคร ท่านกล่าว
จำแนกส่วนไว้อย่างนี้ แม้ลูกคนจัณฑาลก็พึงเรียนเวท
สวดมนต์ได้ (ถ้า) เป็นคนฉลาดมีความคิด หัวของ
เขาก็ไม่พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มนต์เหล่านี้พวกพรหมสร้าง
ไว้เพื่อฆ่าตน เป็นการสร้างแต่ปาก เป็นการสร้างยึด
ถือไว้ด้วยความโลภ เปลื้องได้ยาก เข้าถึงคลองด้วย
คำของพวกพราหมณ์ผู้แต่งกาพย์กลอน จิตของพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 25
คนโง่ ยังหลงในทางลุ่มๆ ดอน ๆ คนไม่มีปัญญาเชื่อ
เอาจริงจัง ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มีกำลัง
อย่างลูกผู้ชาย พราหมณ์ไม่มีกำลังเช่นนั้นเลย ความ
เป็นมนุษย์ของพราหมณ์เหล่านั้น พึงเห็นเหมือนของ
โค ชาติของพราหมณ์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีใครเสมอ
สิ่งอื่น ๆ เสมอกันหมด ถ้าแหละพระราชาทรงชำนะ
หมู่ศัตรูได้ โดยลำพังพระองค์เอง ประชาราษฎร์ของ
พระราชานั้นพึงมีสุขอยู่เสมอ มนต์ของกษัตริย์และ
ไตรเพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอกัน ถ้าไม่วินิจฉัย
ความแห่งมนต์และไตรเพทนั้นก็ไม่รู้ เหมือนทางที่น้ำ
ท่วม มนต์ของกษัตริย์และไตรเพทเหล่านี้ มีความ
หมายเสมอกัน ลาภ ไม่มีลาภ ยศ และไม่มียศ ทั้ง
หมดเทียว เป็นธรรมดาของวรรณะทั้ง ๔ นั้น พวก
คฤหบดีใช้คนจำนวนมากให้ทำงานในแผ่นดิน เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์และข้าวเปลือก ฉันใด แม้พวกพรา-
หมณ์ผู้ทรงไตรเพทก็ฉันนั้น ย่อมใช้คนเป็นจำนวน
มากให้ทำการงานในแผ่นดินในวันนี้ พราหมณ์เหล่า
นั้นเสมอกันกับคฤหบดี มีความขวนขวายประกอบใน
กามคุณเป็นนิตย์ ใช้คนเป็นจำนวนมากให้ทำการงาน
ในแผ่นดินเหมือนกัน พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้รู้รส
สองอย่าง หาปัญญามิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 26
[๗๗๓] กระบวนกลอง ตะโพน สังข์ บัณ-
เฑาะว์และมโหรทึกของใคร มาข้างหน้า ทำให้
พระราชาจอมทัพทรงหรรษา ใครมีสีหน้าสุกใสด้วย
แผ่นทองคำอันหนา มีพรรณดังสายฟ้า ชันษายังหนุ่ม
แน่น สอดสวมแล่งธนูรุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ นั่นเป็นใคร
ไตรมีพักตร์ผ่องไสเพียงดังทอง เหมือนถ่านไฟไม้ตะ-
เคียนซึ่งลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้า รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใคร
นั่น มีฉัตรทองชมพูนุชมีซี่น่ารื่นรมย์ใจสำหรับกันรัศ-
มีพระอาทิตย์ รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมีปัญญา
ประเสริฐ มีพัดวาลวิชนีอย่างดีเยี่ยม อันคนใช้ประคอง
ณ เบื้องบนเศียรทั้งสองข้าง คนทั้งหลายถือกำหางนก
ยูงอันวิจิตรอ่อนสลวย มีด้ามล้วนแล้วด้วยทองและ
แก้วมณี จรลีมาทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร กุณฑล
อันกลมเกลี้ยง มีรัศมีดังสีถ่านไม้ตะเคียนซึ่งลุกโซนอยู่
ที่ปากเบ้า งดงามอยู่ทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร
เส้นผมของใครต้องลมอยู่ไหว ๆ ปลายสนิทละเอียด
ดำ งามจดนลาต ดังสายฟ้าพุ่งขึ้นจากท่องฟ้า ใคร
มีเนตรซ้ายขวากว้างและใหญ่ งาม มีพักตร์ผ่องใส
ดังคันฉ่องทอง ใครมีโอษฐ์สะอาดเหมือนสังข์อันขาว
ผ่อง เมื่อเจรจา (แลเห็น) ฟันขาวสะอาดงามดังดอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 27
มณฑารพตูม ใครมีมือและเท้าทั้งสองมีสีเสมอด้วยน้ำ
ครั่ง ตั้งอยู่ในที่สบาย มีริมฝีปากเปล่งปลังดังผลมะ-
พลับ งามดังดวงอาทิตย์ ใครนั่นมีเครื่องปกคลุมขาว
สะอาด ดังหนึ่งต้นสาละใหญ่มีดอกสะพรั่งข้างเขาหิม-
วันต์ในฤดูหิมะตก งามปานดังพระอินทร์ผู้ได้ชัยชนะ
ใครนั่น นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัท คล้องพระแสงขรรค์
คร่ำทอง วิจิตรด้วยด้ามแก้วมณีที่อังสา ใครนั่น สวม
รองเท้าทองอันวิจิตร เย็บเรียบร้อย สำเร็จเป็นอัน
ดี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อผู้แสวงหาคุณอันใหญ่.
[๗๗๔] ผู้ที่มาเหล่านี้ เป็นนาคที่มีฤทธิ์ เรืองยศ
เป็นลูกท้าวธตรฐ เกิดแต่นางสมุททชา นาคเหล่านี้มี
ฤทธิ์มาก.
จบภูริทัตชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 28
อรรถกถามหานิบาตชาดก
ภูริทัตชาดก
พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภอุบาสกทั้งหลาย แล้วตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า ยกิญฺจิ รตนมตฺถิ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ อุบาสกเหล่านั้นอธิษฐานอุโบสถแต่เช้าตรู่
ถวายทาน. ภายหลังภัตต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังพระเชตวัน
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เพื่อฟังธรรม ก็ในกาลนั้น พระศาสดาเสด็จมายัง
ธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาตบแต่งไว้ ตรวจดูภิกษุสงฆ์ ทรง
ทราบว่า ก็บรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ธรรมกถาตั้งขึ้นปรารภภิกษุ
เหล่าใด พระตถาคตทั้งหลายทรงเจรจาปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
วันนี้ธรรมกถาที่เกี่ยวกับบุพจริยา ตั้งขึ้นปรารภอุบาสกทั้งหลายดังนี้แล้ว จึง
ทรงเจรจาปราศรัยกับอุบาสกเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้รักษาอุโบสถ
หรืออุบาสกทั้งหลาย. เมื่ออุบาสกกราบทูลให้ทรงทราบจึงตรัสว่า ดีละ อุบาสก
ทั้งหลาย ก็ข้อที่พวกเธอ เมื่อได้พระพุทธเจ้าผู้เช่นเราเป็นผู้ให้โอวาท พึงกระทำ
อุโบสถ จัดว่าเธอกระทำกรรมอันงามไม่น่าอัศจรรย์เลย. แม้โปราณกบัณฑิต
ผู้ไม่เอื้อเฟื้อละยศใหญ่ กระทำอุโบสถได้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ได้ทรงเป็นผู้นิ่ง
อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า
ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนาม
ว่า พรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงประทานตำแหน่งอุปราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 29
แก่พระราชโอรส ทอดพระเนตรเห็นยศใหญ่ของพระราชโอรสนั้น จึงทรงเกิด
ความระแวงขึ้นว่า พระราชโอรสจะพึงยึดแม้ราชสมบัติของเรา จึงรับสั่งให้
เรียกพระราชโอรสนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เธอไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ เธอ
จงออกไปจากที่นี้ แล้วไปอยู่ในที่ ๆ เธอชอบใจ โดยล่วงไปแห่งเรา เธอจง
ยึดเอารัชสมบัติอันเป็นของแห่งตระกูล. พระราชโอรสทรงรับพระดำรัสแล้ว
ถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกจากพระนคร เสด็จไปยังแม่น้ำยมุนา
โดยลำดับทีเดียว แล้วให้สร้างบรรณศาลาในระหว่างแม่น้ำยมุนา สมุทรและ
ภูเขา มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหารอาศัยอยู่ในที่นั้น. ครั้งนั้น นางนาคมาณวิกา
ผู้ที่สามีตายตนหนึ่งในภพนาค ผู้สถิตย์อยู่ฝั่งสมุทรตรวจดูยศของคนเหล่าอื่นผู้มี
สามี อาศัยกิเลสกระสันขึ้น จึงออกจากภพนาค เที่ยวไปที่ฝั่งสมุทร เห็นรอย
เท้าของพระราชโอรส จึงเดินไปตามรอยเท้า ได้เห็นบรรณศาลานั้น. ครั้งนั้น
พระราชโอรส ได้เสด็จไปสู่ป่าเพื่อต้องการผลไม้. นางเข้าไปยังบรรณศาลา
เห็นเครื่องลาดทำด้วยไม้และบริขารที่เหลือ จึงคิดว่า นี้ชรอยว่าจักเป็นที่อยู่ของ
บรรพชิตรูปหนึ่ง เราจักทดลอง เขาบวชด้วยศรัทธาหรือไม่หนอ ก็ถ้าเขา
จักบวชด้วยศรัทธา จักน้อมไปในเนกขัมมะ เขาจักไม่ยินดีการนอนที่เราตก
แต่งไว้ ถ้าเขาจักยินดียิ่งในกาม จักไม่บวชด้วยศรัทธา ก็จักนอนเฉพาะในที่
นอนที่เราจัดแจงไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักจับเขากระทำให้เป็นสามีของตน
แล้วจักอยู่ในที่นี้เอง. นางไปสู่ภพนาค นำดอกไม้ทิพย์ และของหอมทิพย์มา
จัดแจงที่นอนอันสำเร็จด้วยดอกไม้ได้นำดอกไม้ไว้ที่บรรณศาลา เกลี่ยจุณของ
หอมประดับบรรณศาลา แล้วไปยังภพนาคตามเดิม. พระราชโอรส เสด็จมา
ในเวลาเย็นเข้าไปยังบรรณศาลา ทรงเห็นความเป็นไปนั้น จึงคิดว่า ใครหนอ
จัดแจงที่นอนนี้ ดังนี้แล้วจึงเสวยผลไม้น้อยใหญ่ คิดว่า น่าอัศจรรย์ ดอกไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 30
มีกลิ่นหอม น่าอัศจรรย์ ดอกไม้มีกลิ่นหอม ใครตบแต่งที่นอนให้เป็นที่ชอบใจ
ของเรา เกิดโสมนัสขึ้นด้วยมิได้บวชด้วยศรัทธา จึงนอนพลิกกลับไปกลับมา
บนที่นอนดอกไม้ ก้าวลงสู่ความหลับ. วันรุ่งขึ้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป ลุกขึ้น
แต่ไม่ได้กวาดบรรณศาลาได้ไปเพื่อต้องการแก่รากไม้และผลไม้น้อยใหญ่ในป่า.
ในขณะนั้น นางนาคมาณวิกามาเห็นดอกไม้เหี่ยวแห้งรู้ว่า ท่านผู้นี้ น้อมใจ
ไปในกาม ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา เราอาจจะจับเขาได้ ดังนี้แล้วนำดอกไม้
เก่า ๆ ออกไป นำดอกไม้อื่น ๆ มา จัดแจงที่นอนดอกไม้เหมือนอย่างนั้นนั่น
แล ประดับบรรณศาลาและเกลี่ยดอกไม้ในที่จงกรมแล้วไปยังภพนาคตามเดิม.
แม้ในวันนั้น พระราชโอรสนั้น ก็นอนบนที่นอนดอกไม้ วันรุ่งขึ้นจึงคิดว่า
ใครหนอประดับบรรณศาลานี้. พระองค์ไม่ไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ ได้
ยืนอยู่ในที่กำบังไม่ไกลจากบรรณศาลา. ฝ่ายนางนาคมาณวิกา ถือของหอม
และดอกไม้เป็นอันมากมายังอาศรมบท. พระราชโอรส พอเห็นนางนาคมาณวิกา
ผู้ทรงรูปอันเลอโฉม มีจิตปฏิพัทธ์ ไม่แสดงตน เข้าไปยังบรรณศาลาของ
นาง เข้าไปในเวลาจัดแจงดอกไม้แล้วถามว่า เจ้าเป็นใคร ? นางตอบว่า ข้า
แต่นายฉันชื่อว่า นางนาคมาณวิกา. พระราชโอรสตรัสถามว่า เธอมีสามีแล้ว
หรือยัง. นางตอบว่า ข้าแต่นาย เมื่อก่อนฉันมีสามี แต่เดี๋ยวนี้ฉันยังไม่มีสามี
เป็นหม้ายอยู่ ท่านเล่าอยู่ที่ไหน ? พระราชโอรสตอบว่า ฉันชื่อว่าพรหมทัต-
กุมารโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี ก็ท่านเล่าเพราะเหตุไร จึงละภพนาคเที่ยว
อยู่ในที่นี้. นางตอบว่า ข้าแต่นาย ดิฉันตรวจดูยศของพวกนางนาคมาณวิกาผู้มี.
สามีในที่นั้น อาศัยกิเลสจึงกระสันขึ้น ออกจากภพนาคนั้นเที่ยวแสวงหาสามี.
พระราชโอรสตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล นางผู้เจริญ แม้เราก็ไม่ได้บวชด้วย
ศรัทธา เพราะถูกพระบิดาขับไล่ จึงมาอยู่ในที่นี้ เจ้าอย่าคิดไปเลย เราจักเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 31
สามีของเจ้า แม้คนทั้งสองก็ได้อยู่สมัครสังวาสกันในที่นั้นนั่นเอง. นางสร้าง
ตำหนักมีค่ามากด้วยอานุภาพของตนแล้ว นำบัลลังก์อันควรแก่ค่ามากแล้วตบ
แต่งที่นอน. จำเดิมแต่นั้นมา พระราชโอรสนั้น ไม่ได้เสวยรากไม้และผลไม้
น้อยใหญ่ เสวยแต่ข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์เหล่านั้นเลี้ยงชีวิต. ครั้นต่อมาภาย
หลัง นางนาคมาณวิกาตั้งครรภ์ตลอดบุตรเป็นชาย พวกญาติได้ขนานนามท่าน
ว่า สาครพรหมทัต เพราะท่านประสูติที่ฝั่งแม่น้ำสาคร. ในเวลาที่เดินได้
นางนาคมาณวิกาก็คลอดบุตรเป็นหญิง. พวกญาติขนานนามนางว่า สมุททชา
เพราะนางเกิดที่ริมฝั่งสมุทร. ก็แลเมื่อระยะกาลล่วงเลยไป ครั้งนั้นพรานไพร
ชาวกรุงพารา สีคนหนึ่ง ถึงที่นั้นแล้ว ได้กระทำปฏิสันถาร จำพระราชโอรส
ได้อยู่ในที่นั้น ๒-๓ วันแล้วกล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์จักบอกความ
ที่พระองค์อยู่ในที่นี้แก่ราชตระกูล ไหว้ท่านแล้วออกจากที่นั้น ได้ไปสู่พระนคร.
ในกาลนั้นพระราชาก็สวรรคต. พวกอำมาตย์ได้ทำพระสรีรกิจแก่ท้าวเธอ แล้ว
ประชุมกันในวันที่ ๗ ปรึกษากันว่า ชื่อว่า รัชสมบัติอันไม่มีพระราชา ย่อม
ดำรงอยู่ไม่ได้ พวกเราไม่อยู่ของพระราชโอรส ยังมีชีวิตอยู่ หรือว่าไม่มี
จึงปล่อยผุสสรถยึดเอาพระราชา. ขณะนั้นพรานไพรเข้าไปสู่พระนคร ทราบ
เรื่องนั้นของอำมาตย์เหล่านั้น จึงไปยังสำนักของพวกอำมาตย์แล้วคิดว่า เรา
อยู่ในสำนักของพระราชโอรส ๓-๔ วันแล้วจึงมา จึงได้บอกเรื่องนั้น. ลำดับนั้น
อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้ทำสักการะแก่เขา มีเขาเป็นผู้นำทางไป
ในที่นั้น ได้กระทำปฏิสันถารแล้ว บอกความที่พระราชาสวรรคตแล้ว ทูลว่า
ขอพระองค์จงครองราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า. พระราชโอรสทรงดำริว่า
เราจักรู้จิตของนางนาคมาณวิกา ดังนี้แล้วเข้าไปหาเธอแล้วตรัสว่า ดูก่อนนาง
ผู้เจริญ พระบิดาของเราสวรรคตแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อยกฉัตรให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 32
เรา ไปกันเถิดนางผู้เจริญ เราทั้งสองจักครองรัชสมบัติในกรุงพาราณสี
ประมาณ ๑๒ โยชน์ เธอจักเป็นใหญ่กว่าหญิง ๑๖,๐๐๐ คน. นางกล่าวว่า
ข้าแต่นาย ดิฉันไม่อาจไปกับท่านได้. พระราชโอรสถามว่า เพราะเหตุอะไร ?
นางกล่าวว่า พวกเราเป็นอสรพิษร้าย โกรธเร็ว ย่อมโกรธแม้ด้วยเหตุเพียง
เล็กน้อย และชื่อว่าการอยู่ร่วมผัวเป็นภาระหนัก ถ้าดิฉันเห็นหรือได้ยินสิ่ง
อะไรก็โกรธ แลดูอะไร จักกระจัดกระจายไปเหมือนกำธุลี เพราะเหตุนี้ ดิฉัน
จึงไม่อาจไปกับท่านได้ แม้วันรุ่งขึ้นพระราชโอรสก็อ้อนวอนเธออยู่นั่นเอง.
ลำดับนั้นนางจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ดิฉันจักไม่ไปด้วยปริยายไร ๆ ส่วนนาค-
กุมารบุตรของเราเหล่านี้ เป็นชาติมนุษย์ เพราะเกิดโดยสมภพกับท่าน ถ้าบุตร
เหล่านั้นยังมีความรักในเรา ท่านจงอย่าประมาทในบุตรเหล่านั้น แต่บุตร
เหล่านี้แล เป็นพืชน้ำละเอียดอ่อน เมื่อเดินทางต้องลำบากด้วยลมแดดจะพึง
ตาย ท่านพึงให้ขุดเรือลำหนึ่ง ให้เต็มด้วยน้ำแล้วให้บุตรเหล่านั้นเล่นน้ำนำ
ไป พึงกระทำสระโบกขรณีในพื้นที่ในภายในพระนครแก่บุตรเหล่านั้น. ก็แล
นางครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ไหว้พระราชโอรสทำประทักษิณกอดพวกบุตร ให้นั่ง
ระหว่างถันจูบที่ศีรษะ มอบให้แก่พระราชโอรส ร้องไห้คร่ำครวญแล้วหายไปใน
ที่นั้นนั่นเอง ได้ไปยังภพนาคตามเดิม. ฝ่ายพระราชโอรสถึงความโทมนัส มี
พระเนตรนองด้วยน้ำตา ออกจากนิเวศน์ เช็ดนัยนาแล้วเข้าไปหาพวกอำมาตย์.
พวกอำมาตย์เหล่านั้น อภิเษกพระราชโอรสนั้นในที่นั้นนั่นเอง แล้วทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จะไปยังนครของพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงจึงรีบขุดเรือยกขึ้นสู่เกวียนให้
เต็มด้วยน้ำ ขอท่านจงเกลี่ยดอกไม้ต่าง ๆ อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น
บนหลังน้ำ บุตรทั้งหลายของเราผู้มีพืชแต่น้ำ บุตรเหล่านั้นเล่นน้ำ ใน
ที่นั้น จักไปสบาย. พวกอำมาตย์ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. พระราชา
เสด็จถึงกรุงพาราณสี เสด็จเข้าไปยังนครที่ตบแต่งไว้ แวดล้อมไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 33
หญิงนักฟ้อน และอำมาตย์เป็นต้นประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน ประทับนั่งบนพื้น
ใหญ่ เสวยน้ำมหาปานะ ๗ วัน แล้วให้สร้างสระโบกขรณี เพื่อประโยชน์แก่
พวกบุตร. พวกบุตรได้เล่นในที่นั้นเนืองนิตย์ ภายหลังวันหนึ่งเมื่อพวกบุตรพา
กันเล่นน้ำในสระโบกขรณี เต่าตัวหนึ่งเข้าไป ไม่เห็นที่ออก จึงดำลงในพื้น
สระโบกขรณี ในเวลาเด็กเล่นน้ำ ผุดขึ้นจากน้ำโผล่ศีรษะขึ้นมา เห็นพวก
เด็กเหล่านั้น จึงดำลงไปในน้ำอีก. พวกเด็กเหล่านั้นเห็นเต่านั้นจึงสะดุ้งกลัว
ไปยังสำนักของพระบิดากราบทูลว่า ข้าแต่พ่อ ในสระโบกขรณียังมียักษ์ตน
หนึ่ง ทำพวกข้าพระองค์ให้สะดุ้ง. พระราชาทรงสั่งบังคับพวกราชบุรุษว่า พวก
ท่านจงไปจับยักษ์นั้นมา. ราชบุรุษเหล่านั้นทอดแหนำเต่าไปถวายแด่พระราชา
พระกุมารทั้งหลายเห็นเต่านั้นแล้วร้องว่า นี้ปีศาจพ่อ นี้ปีศาจพ่อ. พระราชา
ทรงกริ้วเต่าด้วยความรักในบุตร จึงสั่งบังคับว่า พวกท่านจงไปทำกรรม-
กรณ์แก่เต่านั้นเถิด. ในบรรดาราชบุรุษเหล่านั้น ราชบุรุษคนหนึ่งกล่าวว่า
เต่านี้เป็นผู้ก่อเวรแก่พระราชา ควรจะเอามันใส่ในครกแล้วเอาสากตำทำให้เป็น
จุณ. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า ควรจะปิ้งให้สุกในไฟถึง ๓ ครั้งแล้วจึงกิน.
อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า ควรจะต้มมันในกะทะนั่นแล. แต่อำมาตย์คนหนึ่งผู้
กลัวน้ำกล่าวว่าควรจะโยนเต่านี้ลงในน้ำวนแห่งแม่น้ำยมุนา มันจะถึงความพินาศ
ใหญ่ในที่นั้น เพราะกรรมกรณ์ของเต่านั้นเห็นปานนี้ย่อมไม่มี. เต่าได้ฟังถ้อยคำ
ของเขาจึงโผล่ศีรษะขึ้นพูดอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุอะไรของท่าน เราทำ
ผิดอะไร ที่ท่านวิจารถึงกรรมกรณ์เห็นปานนี้กะเรา ก็เราสามารถอดกลั้นกรรม-
กรณ์นอกนี้ได้ ก็แลผู้นี้เป็นผู้หยาบช้าเหลือเกิน ท่านอย่ากล่าวคำเห็นปานนี้
เลย. พระราชาทรงสดับดังนั้น ควรจะสร้างทุกข์กะเต่านี้แหละดังนี้แล้วจึงให้ทิ้ง
ลงไปในน้ำวนแห่งแม่น้ำยมุนา. เต่านั้นถึงห้วงน้ำอันเป็นที่ไปสู่ภพนาคแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 34
ได้ไปสู่ภพนาคแล้ว. ลำดับนั้นพวกนาคมาณพบุตรของพญานาคชื่อว่า
ธตรฐ กำลังเล่นอยู่ในห้วงน้ำนั้น เห็นเต่านั้น จึงกล่าวว่า พวกท่านจง
จับมันเป็นทาส. เต่านั้นคิดว่า เราพ้นจากพระหัตถ์ของพระเจ้าพาราณสีแล้ว
บัดนี้ถึงมือของพวกนาคผู้หยาบช้าเห็นปานนี้ เราจะพึงพ้นด้วยอุบายอะไรหนอ
เต่านั้นคิดว่า อุบายนี้ใช้ได้ เราจะพึงพูดมุสาวาทจึงจะพ้น แล้วกล่าวว่า
พวกท่านมาจากสำนักของพระยานาคชื่อว่าธตรฐ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าว
กะเราอย่างนี้ เราเป็นเต่าชื่อว่า จิตตจูฬ เป็นทูตแห่งพระเจ้าพาราณสีมายัง
สำนักของพระยานาคชื่อว่าธตรฐ พระราชาของเรา ประสงค์จะให้ธิดาแก่พระยา
นาคชื่อว่า ธตรฐ จึงส่งเรามา ขอท่านจงแสดงเราแก่พระยานาคนั้นเถิด.
นาคมาณพเหล่านั้นเธอแล้วเกิดโสมนัส พาเต่านั้นไปยังสำนักพระราชากราบ
ทูลความนั้นแล้ว. พระราชารับสั่งให้เรียกเต่านั้นมาด้วยคำว่า จงนำมันมาเถิด
พอเห็นเต่านั้น จึงพอพระทัยตรัสว่า ผู้มีร่างลามกเห็นปานนี้ ไม่สามารถจะ
ทำทูตกรรม. เต่าได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ก็ชื่อว่าผู้เป็น
ทูตจะพึงมีร่างกายประมาณเท่าลำตาลหรือ ความจริงร่างกายเล็กหรือน้อยไม่
เป็นประมาณ การทำกรรมในที่ที่ไปแล้ว ๆ ให้สำเร็จนั่นแล เป็นประมาณ
ดังนั้น ข้าแต่มหาราชเจ้า ทูตเป็นอันมากของพระราชาของเราเป็นมนุษย์ ย่อม
ทำกรรมบนบก นกย่อมทำกรรมบนอากาศ ข้าพระองค์ชื่อว่า จิตตจูฬ ถึง
ฐานันดรเป็นที่โปรดปรานของพระราชา เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ย่อมทำ
กรรมในน้ำ ขอพระองค์อย่าข่มขู่ ดูหมิ่นข้าพระองค์เลย ดังนี้แล้วจึงสรร-
เสริญคุณของตน. ลำดับนั้น พระยานาคธตรฐ จึงถามเต่านั้นว่า ก็ท่าน
เป็นผู้อันพระราชาส่งมาเพื่อต้องการอะไร ? เต่ากล่าวว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 35
ราชาของข้า ตรัสกะข้า อย่างนี้ว่า เราจะทำมิตรธรรมกับพระราชา ชาวชมพู
ทวีปทั้งสิ้น บัดนี้ เราควรจะทำมิตรธรรมกับพระยานาคธตรฐ เราจะให้นาง
สาวสมุททชาผู้เป็นธิดาของเราแก่พระยานาคธตรฐ จึงส่งข้า มาด้วยพระดำรัส
ว่า ขอท่านอย่ากระทำการเนิ่นช้า จงส่งบุรุษทั้งหลายไปกับข้า และกำหนด
วันรับนางทาริกาเถิด. พระยานาคนั้นยินดีให้กระทำสักการะแล้ว ส่งนาค-
มาณพ ๔ นายไปกับเต่านั้นด้วยคำว่า พวกท่านไปเถิด จงฟังคำของพระราชา
กำหนดวันแล้วจงมา. นาคมาณพเหล่านั้น รับคำแล้วจึงพาเต่าออกจากภพนาค.
เต่าเห็นสระปทุมสระหนึ่งในระหว่างแม่น้ำยมุนากับกรุงพาราณสีมีความประสงค์
จะหนีไปด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนนาคมาณพทั้งหลาย ผู้
เจริญ พระราชาของเรา และบุตรภรรยาของพระราชา เห็นเราเที่ยวไปในน้ำ
ไปสู่พระราชนิเวศน์อ้อนวอนว่า ท่านจงให้ดอกปทุมแก่เราทั้งหลาย จงให้ราก
เง่าบัว เราจักถือเอารากเง่าบัวเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก้เขาเหล่านั้น พวก
ท่านจงปล่อยข้า ในที่นี้ แม้เมื่อพวกท่านไม่เห็นข้า จงล่วงหน้าไปยังสำนัก
ของพระราชา เราจักเห็นพวกท่านในที่นั้นนั่นแล. นาคมาณพเหล่านั้นเชื่อ
ถ้อยคำของเต่านั้นจึงได้ปล่อยเต่านั้นไป เต่าได้แอบอยู่ในที่ส่วนข้างหนึ่งในที่
นั้น. ฝ่ายนาคมาณพไม่เห็นเต่า จึงเข้าไปเฝ้าพระราชาด้วยเพศแห่งมาณพตาม
สัญญาว่า เราจักไปสำนักพระราชา.
จบกัจฉปกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 36
พระราชาทรงกระทำปฏิสันถารแล้วตรัสถามว่า พวกท่านมาแต่ที่ไหน ?
นาคมาณพทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์มาจากสำนัก
ของพระยานาคธตรฐ. พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงมาใน
ที่นี้. นาคมาณพทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นทูต
ของพระยานาคธตรฐนั้น พระยานาคธตรฐถามถึงความไม่มีโรคของพระองค์
และพระองค์ปรารถนาสิ่งใด ท่านจะให้สิ่งนั้นแก่พระองค์ ข่าวว่าพระองค์จะ
ประทานนางสมุททชา ผู้เป็นพระธิดาของพระองค์ให้เป็นบาทปริจาริกาของ
พระราชาของพวกข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศความนั้นจึงกล่าวคาถา
ที่หนึ่งว่า
รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์ของท้าว
ธตรฐ รัตนะทั้งหมดนั้นจงมาสู่พระราชนิเวศน์ของ
พระองค์ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดประทาน
พระราชธิดาแก่พระราชาของข้าพระองค์เถิด พระเจ้า
ข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพานิ เต อุปยนฺตุ ความว่า ขอ
รัตนะทั้งหมดของท้าวธตรฐนั้นจงนำเข้ามา คือจงเข้ามาสู่พระนิเวศน์ของพระ-
องค์
พระราชาครั้นได้สดับดังนั้นจึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า
พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับนาคทั้งหลาย ใน
กาลไหน ๆ เลย พวกเราจะทำวิวาห์อันไม่สมควรนั้น
ได้อย่างไรเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 37
บรรดาบทเหล่านั้น บ ว่า อสยุตฺต ความว่า ไม่สมควรคือไม่
เหมาะสมกับสัตว์ดิรัจฉาน พวกเราเป็นชาติมนุษย์ จะกระทำความสัมพันธ์
กับสัตว์ดิรัจฉานอย่างไรได้.
พวกนาคมาณพ ได้ฟังคำดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ถ้าความสัมพันธ์
กับพระยานาคธตรฐไม่เหมาะสมกับท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึง
ส่งเต่าชื่อว่าจิตตจูฬผู้อุปฐากของตนไปเป็นทูตแก่พระราชาของพวกเราว่า เรา
จะให้ธิดาของเราชื่อว่า สมุททชา เล่า ครั้นส่งสาสน์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
ท่านกระทำการดูหมิ่นพระราชาของพวกเรา พวกเราแลชื่อว่าเป็นนาคมาณพ
จักรู้กรรมที่ควรกระทำแก่ท่าน เมื่อจะขู่พระราชาจึงกล่าว ๒ พระคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ พระองค์
จำต้องทรงสละพระชนม์ชีพหรือแว้นแคว้นเสียเป็นแน่
เพราะเมื่อพวกนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลาย เช่นพระองค์
จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพวกพระยานาค
ธตรผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราช เกิด
ภายใต้แม่น้ำยมุนา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺ วา ความว่า ชีวิตหรือรัฐท่านจักสละ
โดยส่วนเดียว. บทว่า ตาทิสา ความว่า พระราชาทั้งหลายผู้เช่นท่าน ถูกนาคผู้มี
อานุภาพมากโกรธแล้วอย่างนี้ ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ย่อมอันตร-
ธานไปในระหว่างเทียว. บทว่า โย ตฺว เทว ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
ท่านใดแม้เป็นมนุษย์. บทว่า วรุณสฺส ได้แก่ พระยานาคชื่อว่าวรุณ. บทว่า
นิย ปุตฺต ได้ แก่บุตรผู้อยู่ในภายใน (ตน). บทว่า ยามุน ได้แก่ เกิดใน
ภายใต้แม่น้ำยมุนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 38
ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัส ๒ คาถาว่า
เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรฐเรื่องยศ ก็ท้าวธตรฐ
ผู้เป็นใหญ่กว่านาคแม้ทั้งหมด ถึงจะเป็นพระยานาคผู้
มีอานุภาพมา ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา เราเป็น
กษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชาธิดาของ
เราก็เป็นอภิชาต.
บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า พหูนมฺปิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความ
เป็นใหญ่ แห่งภพนาคประมาณ ๕๐๐ โยชน์. บทว่า น เม ธีตรมารโห
ความว่า ก็ท่านแม้เป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา เพราะ
ท่านเป็นอหิชาติ (ชาติงู). พระองค์เมื่อแสดงถึงผู้เป็นญาติอันเป็นฝ่ายมารดา
จึงตรัสคำนี้ว่า ขตฺติโย จ วิเทหาน ดังนี้. ด้วยบทว่า สมุทฺทชา นี้
ท่านกล่าวว่า คนทั้งสอง คือกษัตริย์ผู้เป็นราชโอรสของพระจ้าวิเทหะ และ
พระธิดาของเรานามว่าสมุททชา เป็นอภิชาตสมควรจะสังวาสกันและกัน เพราะ
นางย่อมไม่คู่ควรแก่งูผู้มีกบเป็นภักษา.
พวกนาคมาณพได้ฟังดังนั้นแล้ว แม้ประสงค์จะฆ่าพระองค์ด้วยสม
ในนาสิก ในที่นั้นนั่นเอง จึงคิดว่า แม้เมื่อพวกเราถูกพระราชาส่งไปเพื่อ
กำหนดวัน การที่เราจะฆ่าพระราชานี้แล้วไปไม่สมควรเลย พวกเราจักไปกราบ
ทูลพระราชาแล้วจักทราบ ดังนี้แล้ว พวกเขาจึงลุกจากที่นั้นอกจากราชนิเวศน์
ดำรงแผ่นดินไปในที่นั้น ถูกพระยานาคถามว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านได้
ราชธิดาแล้วหรือ ? ดังนี้แล้วโกรธต่อพระราชา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมบัติ-
เทพ พระองค์ส่งพวกข้าพระองค์ไปในที่ใดที่หนึ่ง เพราะเหตุอันไม่สมควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 39
อะไรเลย ถ้าพระองค์ปรารถนาจะฆ่า พระองค์จงฆ่าพวกข้าพระองค์เสียในที่นี้
แหละ พระราชานั้นด่าบริภาษพระองค์ ยกธิดาของตนขึ้นด้วยความเมาใน
ชาติ ดังนี้แล้วกราบทูลถึงความที่พระองค์กล่าวและมิได้กล่าว ทำความโกรธ
ให้เกิดขึ้นแก่พระราชา. พระองค์เมื่อจะทรงสั่งบังคับให้ประชุมบริษัทจึงตรัสว่า
พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว จง
ไปบอกให้พวกนาคทั้งปวงรู้กัน จงพากันไปกรุง
พาราณสี แต่อย่าได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กมฺพลสฺสตรา พระองค์เมื่อสั่ง
บังคับว่า นาคชื่อว่ากัมพลอัสสดร ผู้เป็นฝักฝ่ายมารดาของเรานั้น นาคผู้อยู่
ที่เชิงเขาสิเนรุ และนาคเหล่านั้นจงลุกขึ้นเถิด และนาคเหล่าอื่นผู้กระทำตาม
คำของเราในทิศใหญ่ ๔ ในทิศน้อย ๔ มีประมาณเท่าใด จงไปบอกนาคทั้งหมด
นั้นให้ทราบ ข่าวว่าพวกท่านจงรีบประชุมกันจึงได้ตรัสอย่างนั้น. ลำดับนั้นเมื่อ
พวกนาคทั้งหมดนั่นแลรีบประชุมกันทูลว่า พวกข้าพระองค์จะทำอย่างไร พระ-
เจ้าข้า. พระองค์จึงตรัสว่า นาคของเราทั้งหมดจงรีบไปกรุงพาราณสี. และเมื่อ
พวกนาคเหล่านั้นกล่าวว่า พวกข้าพระองค์ไปในที่นั้นจะพึงทำอย่างไร พระเจ้าข้า
อย่างไรพวกข้าพระองค์จะทำให้เป็นขี้เถ้าโดยการประหารด้วยพ่นลมทางนาสิก.
พระยานาคไม่ปรารถนาความพินาศแก่นาง เพราะมีจิตปฎิพัทธ์ในราชธิดา จึง
ตรัสว่าพวกนาคอย่าพึงเบียดเบียนใคร ๆ. อธิบายว่า บรรดาพวกท่านบาง
พวกอย่าพึงเบียดเบียนใคร ๆ อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ลำดับนั้น พวกนาคจึงกล่าวกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าไม่
เบียดเบียนมนุษย์บางคน พวกเราไปในที่นั้นแล้วจะกระทำอะไร ? ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 40
พระราชาจึงตรัสกะพวกนาคนั้นว่า พวกท่านจงทำสิ่งนี้และสิ่งนี้ แม้เราก็จะทำ
สิ่งชื่อนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบอกจึงตรัสสองคาถาว่า
นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้านเรือน
ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้
และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัวใหญ่ขาวล้วน
วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความกลัวให้เกิดแก่
ชนชาวกาสี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสพฺเภสุ แปลว่า ในสระโบกขรณี.
บทว่า รถิยา แปลว่า ที่ถนน. บทว่า ลมฺพนฺตุ แปลว่า ห้อยลงอยู่.
บทว่า วิตตา ความว่า นาคทั้งหลายจงแผ่พังพาน มีร่างกายใหญ่ ห้อย
ลงอยู่ ที่บ้านเรือนเป็นต้นเหล่านั้น และที่ประตูและทาง ๔ แพร่ง ประมาณ
เท่านี้ ก็แลเมื่อทำ อันดับแรกจงนิรมิตร่างกายให้ใหญ่และแผ่พังพานให้ใหญ่
ภายในห้องและภายนอกห้องเป็นต้น ภายใต้และบนเตียงและตั่ง ที่บ้านเรือน
ที่ข้างทางเดินเป็นต้น บนหลังน้ำในสระโบกขรณี บนบกและที่เรือน บังหวน
ควัน เหมือนสูบของช่างโลหะกระทำเสียงว่า สุ สุ ห้อยลงและนอนลง และ
อย่าแสดงตนแก่คน ๔ คน คือ เด็กหนุ่ม คนแก่ชรา หญิงมีครรภ์ และ
นางสมุททชา แม้เราก็จะไปด้วยร่างกายอันใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองกาสีไว้
โดยรอบ ๗ ชั้น ปิดด้วยพังพานใหญ่ การทำให้มืดมนเป็นอันเดียวกัน ให้
เกิดความกลัวแก่ชนชาวกาสี เปล่งเสียงว่า สุ สุ ดังนี้. นาคทั้งหลายได้
กระทำอย่างนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว แปลง
เพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังกรุงพาราณสี แต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 41
มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย แผ่พังพานห้อยอยู่ที่บ้าน
เรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บนยอดไม้
พวกสตรีเป็นอันมากได้เห็นนาคเหล่านั้น แผ่พังพาน
ห้อยอยู่ ตามที่ต่าง ๆ หายใจฟู่ ๆ ก็พากันร้องคร่ำครวญ
ชาวเมืองพาราณสีมีความสะดุ้งกลัว เดือดร้อนก็พากัน
ไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระองค์ จง
พระราชทานพระราชธิดา แก่พระยานาคเถิด พระ-
เจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวณฺณิโน ความว่า ก็นาคเหล่านั้น
แปลงเพศเป็นหลายอย่าง ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น นิรมิตรูปเห็นปานนั้น.
บทว่า ปวชฺชึสุ ความว่า นาคเหล่านั้น เข้าไปในเวลาเที่ยงคืน. บทว่า
ลมฺพึสุ ความว่า โดยทำนองที่ท้าวธตรฐกล่าวแล้วนั่นแล นาคทั้งหมดห้อย
ลงอยู่ตัดการสัญจรของพวกมนุษย์ในที่นั้น ๆ ก็นาคมาณพทั้ง ๔ ตนเป็นทูตมา
วงล้อมเท้าทั้ง ๔ แห่งที่บรรทมของพระราชา แผ่พังพานใหญ่บนพระเศียร
ได้แยกเขี้ยวยืนดูอยู่ เหมือนจะฉกกัดศีรษะด้วยปาก. ฝ่ายท้าวธตรฐ รับสั่งให้
ปิดพระนครโดยทำนองที่ตนกล่าวแล้วนั่นแล บุรุษทั้งหลายเมื่อตื่นขึ้น เหยียด
มือหรือเท้าไปทางที่ใด ๆ ก็ถูกต้องงูในที่นั้น ๆ แล้วร้องว่า งู ๆ ดังนี้. บทว่า
ปุถู กนฺทึสุ ความว่า ประทีปจุดขึ้นในเรือนใด ๆ หญิงทั้งหลายในเรือน
นั้น ๆ ตื่นขึ้นแล้ว แลดูประตู เสา ไม้จันทัน เห็นพวกนาคห้อย
ลงอยู่ ร้องคร่ำครวญกันเป็นอันมากโดยพร้อม ๆ กันทีเดียว พระนครทั้งสิ้น
ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันด้วยประการฉะนี้. บทว่า โสณฺฑิกเต แปลว่า
แผ่พังพาน. บทว่า ปกฺกนฺทุ ความว่า ครั้นราตรีสว่าง เมื่อนครทั้งสิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 42
และพระราชนิเวศน์ถูกปกคลุมด้วยลมหายใจเข้าออกของพวกนาค มนุษย์
ทั้งหลายพากันกลัว จึงกล่าวกะนาคราชทั้งหลายว่า พวกท่านเบียดเบียนพวกเรา
เพื่ออะไร ? ดังนี้แล้วจึงส่งทูตไปถึงท้าวธตรฐว่า พระราชาของพวกท่านทรง
พระดำริว่า จะให้ธิดาของเราแก่ท่าน เมื่อทูตของท้าวเธอมากล่าวอีกว่า จง
ให้ แล้วด่าบริภาษพระราชาของพวกเรา เมื่อทูตกล่าวว่า ถ้าไม่ให้ธิดาแก่พระ-
ราชาของพวกเรา ชีวิตของชาวพระนครทั้งสิ้นจะไม่มี จึงอ้อนวอนว่า เพราะ
เหตุนั้นแล ท่านจงให้โอกาสแก่นายของเรา พวกเราจักไปอ้อนวอนพระราชา
ได้โอกาสแล้วไปยังประตูพระนคร พากันร้องคร่ำครวญด้วยเสียงดัง. ฝ่าย
มเหสีของพระองค์ บรรทมอยู่ในห้องของตน ๆ ร้องคร่ำครวญในทันทีทันใด
ว่า พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ธิดาแก่พระเจ้าธตรฐเถิด.
ฝ่ายนาคมาณพทั้ง ๔ นั้น ได้ยืนอยู่เหมือนจะเอาปากฉกกัดศีรษะว่า จง
ให้ จงให้ พระองค์ทรงบรรทมอยู่ ได้สดับเสียงชาวพระนครและมเหสีของ
พระองค์ร้องคร่ำครวญอยู่ และพระองค์ถูกนาคมาณพทั้ง ๔ คุกคาม ทรงสะดุ้ง
พระทัยแต่มรณภัย จึงได้ตรัสขึ้น ๓ ครั้งว่า เราจะให้พระนางสมุททชาผู้เป็นธิดา
ของเราแก่ท้าวธตรฐ. นาคราชทั้งหมด ครั้นได้ฟังพระดำรัสดังนั้นแล้ว ก็กลับไป
ยังที่ประมาณหนึ่งคาวุต สร้างนครขึ้นแห่งหนึ่ง เหมือนเทวนคร ได้อยู่ในที่นั้น
จึงส่งบรรณาการไปว่า ข่าวว่า ขอพระองค์จงส่งพระธิดา พระราชายึดเอาเครื่อง
บรรณาการที่พวกนาคนำมา จึงส่งพวกนาคเหล่านั้นไปว่า พวกท่านไปเถิด เรา
จักส่งธิดาไปในความคุ้มครองของพวกอำมาตย์ของเรา แล้วรับส่งให้เรียกธิดา
มาให้ขึ้นสู่ปราสาทชั้นบน ให้เปิดสีหบัญชรแล้วให้สัญญาว่า ดูก่อนแม่ เจ้าจง
ดูนครอันตบแต่งแล้วนี้ เจ้าเป็นอัครมเหสีของพระราชานี้ในที่นี้ นครนั้นไม่
ไกลแต่ที่นี้ เมื่อเวลาเจ้าเกิดความเบื่อหน่ายนครนั้นขึ้นมา เจ้าสามารถจะมาใน
ที่นี้ได้ เจ้าพึงมาในที่นี้ แล้วให้สนานศีรษะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 43
ให้นั่งในวอที่ปกปิดแล้วได้ประทานส่งไปในความคุ้มครองของอำมาตย์ของพระ-
องค์. พระยานาคทั้งหลายกระทำการต้อนรับพระธิดาแล้วได้กระทำมหาสักการะ
อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปสู่พระนคร ถวายพระธิดานั้นแก่ท้าวเธอ ได้ถือเอาทรัพย์
เป็นอันมากแล้วกลับมา. พระราชาให้พระธิดาขึ้นสู่ปราสาท ให้นอนบนที่นอน
อันเป็นทิพย์ที่ประดับไว้. ในขณะนั้นนั่นเอง พวกนาคมาณพ แปลงเพศเป็น
คนค่อมและคนเตี้ยเป็นต้น แวดล้อมพระธิดาเหมือนพวกบริจาริกาของมนุษย์
พระธิดาพอนอนบนที่นอนอันเป็นทิพย์ ถูกต้องสัมผัสอันเป็นทิพย์เท่านั้นก็ก้าว
ลงสู่ความหลับ. ท้าวธตรฐพาพระธิดา พร้อมบริษัทนาคหายไปในที่นั้น
ได้ปรากฏในภพนาค. พระราชธิดา ทรงตื่นขึ้น ทรงทอดพระเนตรที่บรรทม
อันเป็นทิพย์ที่ตบแต่งไว้ และที่อื่นเช่นปราสาทอันสำเร็จด้วยทองคำและสำเร็จ
ด้วยแก้วมณี พระอุทยานและสระโบกขรณีและภพนาค เหมือนเทพนครที่ตบ
แต่งไว้ จึงตรัสถามหญิงบำเรอมีหญิงค่อมเป็นต้นว่า นครนี้ช่างตบแต่งเหลือเกิน
ไม่เหมือนนครของเรา นครนั่นเป็นของใคร. หญิงบำเรอทูลว่า ข้าแต่พระเทวี
นั่นเป็นของพระสวามีของพระนาง พระเจ้าข้า ผู้ที่มีบุญน้อยย่อมไม่ได้สมบัติ
เห็นปานนี้ ท่านได้สมบัตินี้ เพราะท่านมีบุญมาก. ฝ่ายท้าวธตรฐ รับสั่งให้
ตีกลองร้องประกาศไปในภพนาคประมาณ ๕๐๐ โยชน์ว่า ผู้ใด ๆ แสดงเพศงู
แด่พระนางสมุททชา ผู้นั้น ๆ จักต้องราชทัณฑ์. เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่าผู้
สามารถเพื่อจะแสดงเพศงูแก่พระนางแม้คนเดียวไม่ได้มีเลย. เพราะความสำคัญ
ว่าเป็นโลกมนุษย์ พระนางจึงชื่นชมยินดีกับท้าวธตรฐนั้น ในที่นั้นนั่นเอง อยู่
สังวาสด้วยความรักด้วยอาการอย่างนี้.
จบนครกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 44
ครั้นต่อมา พระนางทรงอาศัยท้าวธตรัฐ จึงทรงครรภ์ ประสูติพระโอรส
พวกพระญาติได้ตั้งชื่อว่า สุทัสสนะ เพราะเห็นแล้วให้เกิดความรัก ในเวลา
พระโอรสทรงดำเนินเดินได้ พระนางประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่ง พวกพระ-
ญาติได้ตั้งชื่อว่า ทัตตะ ก็พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์. พระนางประสูติโอรส
อีกองค์หนึ่ง พวกพระญาติตั้งชื่อท่านว่า สุโภคะ พระนางประสูติพระโอรส
อีกพระองค์หนึ่ง พวกพระญาติได้ตั้งชื่อท่านว่า อริฏฐะ. ดังนั้นพระนางแม้
ประสูติพระโอรส ๔ พระองค์แล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นภพของนาค ภายหลังวันหนึ่ง
พวกนาคหนุ่ม ๆ บอกแก่พระโอรสชื่อว่า อริฏฐะว่า มารดาของพระองค์เป็น
มนุษย์ ไม่ใช่เป็นนางนาค. พระโอรสนามว่า อริฏฐะ คิดว่าเราจะทดสอบ
พระมารดานั้น. ครั้นวันหนึ่งเมื่อเสวยนมจึงนิรมิตสรีระเป็นงู เอาปลายหาง
เสียดสีหลังเท้าพระมารดา. พระนางเห็นร่างงูของพระโอรสนามว่า อริฏฐะ จึง
ตกพระทัยสะดุ้งกลัวแล้วกรีดร้อง ทิ้งพระโอรสไปที่ภาคพื้น นัยน์ตาของพระ-
โอรสนั้นแตกไปเพราะเล็บ แต่นั้นโลหิตก็ไหล. พระราชาทรงสดับเสียงของ
พระนาง จึงตรัสถามว่า นั่นเสียงกรีดร้องของใคร ทรงสดับกิริยาที่พระโอรส
นามว่าอริฏฐะกระทำ จึงเสด็จพลางคุกคามว่าไปเถิดพวกท่านจงพาอริฎฐะนั้นไป
ทำให้ถึงความสิ้นชีวิต. พระราชธิดาทรงทราบว่า พระราชาทรงกริ้ว จึงตรัส
ด้วยความสิเนหาในบุตรว่า พระเจ้าข้า นัยน์ตาบุตรของหม่อมฉันแตกไปแล้ว
ขอพระองค์จงงดโทษให้แก่บุตรของหม่อมฉันเถิด. พระราชา เมื่อพระนางตรัส
อย่างนั้น จึงตรัสว่า เราไม่อาจทำอะไรได้ จึงงดโทษให้ก็ในวันนั้นพระนาง
ได้ทราบว่า นี้เป็นภพนาค จำเดิมแต่นั้นมา พระโอรสนามว่าอริฏฐะ ได้ชื่อว่า
อริฏฐะบอด. ฝ่ายพระโอรสทั้ง ๔ องค์ถึงความรู้เดียงสาแล้ว. ลำดับนั้น พระ
บิดาของพระโอรสเหล่านั้น ได้ทรงประทานรัชสมบัติแห่งละ ๑๐๐ โยชน์ ยศใหญ่
ได้มีแล้ว. นางสาวนาคพากันแวดล้อมแห่งละ ๑๖,๐๐๐ พระบิดาได้มีรัชสมบัติ
๑๐๑ โยชน์เท่านั้น พระโอรสทั้ง ๓ มาเพื่อเฝ้าพระมารดาบิดาทุก ๆ เดือน ฝ่าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 45
พระโพธิสัตว์มาทุกกึ่งเดือน พระโพธิสัตว์นั่นเอง ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ภพนาค พร้อมกับพระบิดาจึงไปสู่ที่อุปัฏฐากแม้ของท้าววิรูปักขมหาราช พระองค์
ได้กล่าวแม้ปัญหาที่ตั้งขึ้นในสำนักของภพนาคนั้น. ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อท้าว
มหาราชวิรูปักข์ พร้อมด้วยนาคบริวารไปยังไตรทศบุรี นั่งแวดล้อมท้าวสักกะ
ได้ถกปัญหาขึ้นในระหว่างหมู่เทพทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแก้ปัญหาแม้
นั้นได้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐเท่านั้นจึงแก้ได้.
ลำดับนั้น พระเทวราชาทรงบูชาพระโพธิสัตว์นั้น ด้วยของหอมและ
ดอกไม้อันเป็นทิพย์แล้ว ตรัสว่า พ่อทัตตะ ท่านประกอบด้วยปัญญาอัน
ไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่นี้ไปท่านจงชื่อว่า ภูริทัต เพราะเหตุนั้น
จึงได้ตั้งชื่อท่านว่า ภูริทัต. ตั้งแต่นั้นมาท่านได้ไปสู่ที่อุปัฏฐากของท้าวสักกะ
เห็นเวชยันตปราสาทอันประดับประดาไว้ และสมบัติของท้าวสักกะ อันน่ารื่น
รมย์ยิ่งนัก เกลื่อนกล่นไปด้วยนางเทพอัปสร ทำความปรารถนาในเทวโลก
แล้วคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอัตภาพนี้ซึ่งมีกบเป็นภักษา แล้วไปสู่ภพ
นาคอยู่จำอุโบสถ จักกระทำเหตุเกิดในเทวโลกนี้ ดังนี้แล้วจึงกลับมาภพนาค
ทูลลาพระมารดาและพระบิดาว่า พระแม่ พ่อ หม่อมฉันจะกระทำอุโบสถกรรม.
พระมารดาพระบิดาตรัสว่า ดีละพ่อ จงทำเถิด ก็เมื่อเจ้าจะทำ เจ้าอย่าไปภายนอก
จงกระทำในวิมานอันว่างแห่งหนึ่งในภพนาคนี้แล ก็เมื่อพวกนาคไปข้างนอก ภัย
ใหญ่ย่อมเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์ทูลรับว่า ดีละ แล้วอยู่จำอุโบสถในพระราช
อุทยาน ในวิมานอันว่างนั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น นางนาคต่างถือดนตรีต่าง ๆ
แวดล้อมพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราอยู่ในที่นี้ อุโบสถจักไม่ถึง
ที่สุด เราจะไปถิ่นมนุษย์ กระทำอุโบสถ ไม่ได้บอกแก่มารดาและบิดา เพราะ
กลัวจะถูกห้ามจึงเรียกภรรยาทั้งหลายของตนมากล่าวว่า นางผู้เจริญ ฉันจะไป
โลกมนุษย์ ขดขนด (เข้าสมาธิ) บนจอมปลวก ไม่ไกลแต่ที่ที่ต้นไทรใหญ่มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 46
ที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา จักอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ นอนกระทำ
อุโบสถกรรม เมื่อเรานอนทำอุโบสถกรรมตลอดคืนยังรุ่งในเวลาอรุณขึ้นนั่นแล
พวกเจ้าผู้เป็นสตรี ถือดนตรีครั้งละ ๑๐ นาง จงผลัดเปลี่ยนกันไปยังสำนักของ
เรา บูชาเราด้วยของหอมและดอกไม้ ขับฟ้อนแล้วกลับมายังภพนาคตามเดิม
ดังนี้แล้วไปในที่นั้น วงขนดบนจอมปลวกแล้วอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วย
องค์ ๔ ว่า ผู้ใดปรารถนา หนัง เอ็น กระดูก หรือเลือด ผู้นั้นจงนำไปเถิด
แล้วนิรมิตร่างประมาณเท่างอนไถ นอนกระทำอุโบสถกรรม พออรุณขึ้น
นางมาณวิกามาปฏิบัติพระโพธิสัตว์ตามคำพร่ำสอนแล้วกลับมาสู่ภพนาค เมื่อ
พระโพธิสัตว์กระทำอุโบสถกรรมตามทำนองนี้ ระยะกาลผ่านไปยาวนาน.
จบอุโบสถกัณฑ์
ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์เนสาทคนหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้ประตูกรุง
พาราณสี พร้อมกับโสมทัตลูกชาย ไปสู่ป่าเที่ยวดักสัตว์ด้วยหลาวยนต์และบ่วงแร้ว
ฆ่ามฤคได้แล้วหาบเนื้อมาขายเลี้ยงชีพ. วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นไม่ได้อะไร โดย
ที่สุดแม้เพียงเหี้ยสักตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ถ้าเราไปมือเปล่า ๆ
มารดาของเจ้าก็จะโกรธเอา เราจักพาสัตว์สักตัวหนึ่งไปให้ได้ ดังนี้แล้วจึงบ่าย
หน้าตรงไปทางจอมปลวกที่พระโพธิสัตว์นอนอยู่ เห็นรอยเท้าเนื้อทั้งหลาย ซึ่ง
ลงไปดื่มน้ำที่แม่น้ำยมุนาจึงกล่าวว่า ลูกพ่อ ทางเนื้อปรากฏอยู่ เจ้าจงถอยออกไป
เราจะยิงเนื้อซึ่งมาดื่มน้ำ ดังนี้แล้วจึงหยิบเอาธนูยืนแอบโคนต้นไม้ต้นหนึ่งคอย
ดูเนื้ออยู่. ครั้นเวลาเย็นเนื้อตัวหนึ่งมาเพื่อดื่มน้ำ. พราหมณ์นั้นยิงเนื้อนั้น.
เนื้อหาล้มลงในที่นั้นไม่ ตกใจด้วยกำลังศรมีเลือดไหลวิ่งหนีไป. ส่วนบิดาและ
บุตรพากันติดตามเนื้อนั้นไป จับเอาเนื้อนั้นในที่ ๆ มันล้มลงแล้ว ออกจากป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 47
ถึงต้นไทรนั้น ในเวลาพระอาทิตย์ตก จึงปรึกษากันว่า บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่
สามารถจะไปได้ เราจะพักอยู่ในที่นี้แล ดังนี้แล้วจึงเอาเนื้อวางไว้ในที่สมควร
ข้างหนึ่ง ก็พากันขึ้นต้นไม้นอนอยู่ที่ระหว่างค่าคบไม้. ครั้นเวลาใกล้รุ่ง
พราหมณ์ตื่นขึ้น เอียงหูคอยฟังเสียงเนื้อร้อง.
ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาทั้งหลาย พากันมาตกแต่งอาสนะดอกไม้
เพื่อพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กลายร่างกายจากงู นิรมิตเป็นร่างทิพย์
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ ด้วยลีลาดุจท้าว-
สักกเทวราช. ฝ่ายนางนาคมาณวิกา ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้น แล้วบรรเลงทิพย์ดนตรีจับฟ้อนรำขับร้อง. พราหมณ์ ได้ฟัง
เสียงนั้นแล้วคิดว่า นั่นเป็นใครหนอ เราจักรู้จักเสียงนั้นดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
ลูกพ่อผู้เจริญ เมื่อไม่อาจปลุกบุตรให้ตื่นขึ้นได้ จึงคิดว่า ลูกนี้เห็นจะเหนื่อย
จงนอนไปเถิด เราจักไปคนเดียว คิดแล้วก็ลงจากต้นไม้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์.
เหล่านางนาคมาณวิกา เห็นพราหมณ์นั้นจึงดำลงในแผ่นดินพร้อมด้วยเครื่อง
ดนตรีกลับไปยังนาคพิภพตามเดิม. ส่วนพระโพธิสัตว์ได้นั่งอยู่แต่ผู้เดียวเท่านั้น.
พราหมณ์ยืนอยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะถามจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
ว่า
ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผายนั่งอยู่ท่าม
กลางป่า อันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คนเป็นใคร
ทรงเครื่องระดับล้วนแล้วแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม ยืน
เคารพอยู่ ท่านเป็นใครมีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่ในท่าม
กลางป่าเหมือนไฟอันลุกโซนด้วยเปรียง ท่านคงเป็น
ผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือเป็นนาคผู้มี
อานุภาพมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 48
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปุปฺผาภิหารสฺส ความว่า อันประกอบ
ด้วยการนำไปเฉพาะซึ่งดอกไม้ทิพย์ ที่เขานำมาเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์.
บทว่า โก แปลว่า ท่านคือใคร. บทว่า โลหิตกฺโข แปลว่า มี
นัยน์ตาแดง. บทว่า วิหตนฺตรโส แปลว่า มีรัศมีผึ่งผาย. บทว่า กา
กมฺพุกายูรธรา แปลว่า ทรงเครื่องอันล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า
พฺรหาพาหุ แปลว่า มีแขนใหญ่ อธิบายว่า มีแขนใหญ่. บทว่า วนสฺส
มชฺเฌ ความว่า ท่านมีแขนใหญ่คือใคร มีอานุภาพมากในท่ามกลางแห่งป่า
ใหญ่ คือท่านเป็นใครหนอมีศักดิ์ใหญ่ ในท่ามกลางแห่งนางนาคผู้ปิดอกผูกโบ
ที่ศีรษะ นุ่งผ้าดี ๆ.
พระมหาสัตว์ ได้ฟังดังนั้นแล้วดำริว่า ถ้าเราจักบอกว่า เราเป็นใคร
คนใดคนหนึ่งที่มีฤทธิ์ในบรรดาผู้มีฤทธิ์มีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น. พราหมณ์คน
นี้คงจักเชื่อแน่แท้ แต่วันนี้เราควรจะพูดความจริงอย่างเดียว เมื่อจะบอกว่าคน
เป็นพระยานาค จึงกล่าวว่า
เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใคร ๆ จะล่วงได้
ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบกัดชนบทที่เจริญ ให้แหลก
ได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดาของเราชื่อ
ธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คนทั้งหลายเรียกว่า
ว่า ภุริทัต.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เตชสี ความว่า ชื่อว่า ผู้มีเดชด้วยเดช
เพียงดังยาพิษ. บทว่า ทุรติกฺกโม ความว่า ใคร ๆ อื่นไม่สามารถเพื่อจะ
ล่วงได้. บทว่า ฑเสยฺย ความว่า ถ้าเราโกรธแล้ว พึงขบกัดแม้ชนบทที่กว้าง
ขวางได้ เมื่อเขี้ยวของเราเพียงตกไปในแผ่นดิน ด้วยเดชของเรา ชาวชนบททั้ง
หมดพร้อมด้วยแผ่นดินพึงไหม้เป็นขี้เถ้าไป. บทว่า สุทสฺสนกนิฏฺโมสฺมิ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 49
ว่า เราเป็นน้องชายของสุทัสสนะ ผู้เป็นพี่ชายเรา. อธิบายว่า ความว่า ชน
ทั้งหมดย่อมรู้จักเราในนาคพิภพระยะทาง ๕๐๐ โยชน์ อย่างนี้ว่า วิทู ผู้รู้วิเศษ.
ก็แลพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เป็นผู้
ดุร้ายหยาบคาย ถ้าเขาจะไปบอกแก่หมองูแล้ว พึงทำแม้อันตรายแก่อุโบสถกรรม
ของเรา ไฉนหนอเราจะนำพราหมณ์ผู้นี้ไปยังนาคพิภพ พึงให้ยศแก่ท่านเสีย
ให้ใหญ่โตแล้ว จะพึงทำอุโบสถกรรมของเราให้ยืนยาวนานไปได้. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศ
แก่ท่านให้ใหญ่โต นาคพิภพเป็นสถานอันน่ารื่นรมย์นัก มาไปกันเถิด ไปใน
นาคพิภพนั้นด้วยกัน. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าแต่นาย บุตรของข้าพเจ้ามีอยู่คน
หนึ่ง เมื่อบุตรนั้นมา ข้าพเจ้าก็จักไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์จึงกล่าวกะ
พราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรของท่านมาเถิด เมื่อจะบอกที่
อยู่ของพระองค์จึงกล่าวว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อ น่ากลัวใด ห่วง
น้ำนั้น เป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่ว
บุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็น
แม่น้ำที่มีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วยเสียงนก
ยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทาวฏฺฏ แปลว่า วนเวียนเป็นไปอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เภสฺมึ แปลว่า น่าสะพรึงกลัว. บทว่า อเปกฺขสิ ความว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำเห็นปานนี้นั้นใด. บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุท ความว่า กึก
ก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียนที่อยู่ในกลุ่มป่าที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำ
ยมุนา. บทว่า นีโลทก แปลว่า น้ำมีสีเขียว. บทว่า วนมชฺฌโต ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 50
ไหลมาจากท่ามกลางป่า. บทว่า ปวิส มา ภีโต ความว่า ท่านอย่ากลัว
เลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา. บทว่า วตฺตวต ความว่า จงเข้าไปสู่ภูมิเป็น
ที่อยู่ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีอาจารวัตร.
ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า ไปเถิดพราหมณ์
ไปนำบุตรมา. พราหมณ์จึงไปบอกความนั้นแก่บุตร แล้วพาบุตรนั้นมา. พระ
มหาสัตว์พาพราหมณ์กับบุตรทั้งสอง ไปยังฝั่งแม่น้ำยมุนา ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแล้ว
กล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและภรรยา
ไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกามทั้งหลาย
ท่านจักอยู่เป็นสุข.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺโต ความว่า ท่านถึงนาคพิภพของ
เราแล้ว. บทว่า สานุจโร แปลว่า พร้อมด้วยภรรยา. บทว่า มยฺห ความว่า
เราจะบูชาด้วยกามทั้งหลายอันเป็นของ ๆ เรา. บทว่า วจฺฉสิ ความว่า ท่าน
จักอยู่เป็นสุขในนาคพิภพนั้น.
ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำบิดาและบุตรทั้งสอง
ไปยังนาคพิภพด้วยอานุภาพของตน. เมื่อบิดาและบุตรทั้งสอง ไปถึงนาคพิภพ
อัตภาพก็ปรากฏเป็นทิพย์. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็ยกสมบัติทิพย์ให้แก่
บิดาและบุตรทั้งสองนั้นมากมาย และได้ให้นางนาคกัญญาคนละ ๔๐๐. ทั้งสอง
คนนั้นก็บริโภคสมบัติใหญ่อยู่ในนาคพิภพนั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็มิได้ประมาท ไปกระทำอุปัฏฐากพระชนกและชนนี
ทุกกึ่งเดือน แสดงธรรมกถาถวาย และต่อแต่นั้น ก็ไปยังสำนักของพราหมณ์
ถามถึงความไม่มีโรคแล้วกล่าวว่า ท่านต้องการสิ่งใด ก็พึงบอกไปเถิด อย่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 51
เบื่อหน่าย จงรื่นเริง ดังนี้แล้ว ได้การทำปฏิสันถารกับท่านโสมทัตแล้วไปยัง
นิเวศน์ของพระองค์ พราหมณ์อยู่นาคพิภพได้หนึ่งปี เพราะเหตุที่ตนมีบุญน้อย
ก็เกิดเบื่อหน่ายใคร่จะไปโลกมนุษย์ เห็นนาคพิภพปรากฏเหมือนโลกันตนรก
ปราสาทอันประดับงดงาม ก็ปรากฏเหมือนเรือนจำ นางนาคกัญญาที่ตกแต่ง
สวยปรากฏเหมือนนางยักษิณี พราหมณ์จึงคิดว่า เราเบื่อหน่ายเป็นอันดับแรก
เราจักรู้ความคิดของโสมทัตบ้าง ดังนี้แล้วจึงไปยังสำนักของท่านโสมทัตแล้ว
ถามว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ท่านเบื่อหน่ายหรือไม่. ท่านโสมทัตย้อนถามว่า
ข้าแต่พ่อ ข้าจักเบื่อหน่าย เพราะเหตุอะไร ข้าไม่เบื่อหน่าย ก็พ่อเบื่อหน่ายหรือ.
พราหมณ์ตอบว่า เออ เราเบื่อหน่ายอยู่. โสมทัตถามว่า เบื่อหน่ายเพราะเหตุไร.
พราหมณ์ตอบว่า ดูก่อนเจ้า พ่อเบื่อหน่ายด้วยมิได้เห็นมารดาและพี่น้องของเจ้า
พ่อโสมทัตจงมาไปด้วยกันเถิด. โสมทัตแม้กล่าวว่า จะไม่ไป แต่เมื่อบิดา
อ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่าก็รับคำ. พราหมณ์คิดว่า เราได้ความตกลงใจของ
บุตรเป็นอันดับแรก แต่ถ้าจะบอกพระภูริทัตว่าเราเบื่อหน่าย พระภูริทัตก็จัก
ให้ยศแก่เรายิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะไม่ได้ไป เราจะต้องพรรณนา
ยกย่องสมบัติของภูริทัตด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงถามว่า ที่พระภูริทัตละสมบัติถึง
เพียงนี้ ไปทำอุโบสถกรรมที่มนุษยโลกนั้น เพราะเหตุใด ถ้าตอบว่าต้องการ
จะไปสวรรค์ เราก็จักทูลให้ทราบความหมายของเราว่า สมบัติมีถึงอย่างนี้แล้ว
ท่านยังละไปทำอุโบสถกรรมเพื่อต้องการจะไปสวรรค์ เพราะเหตุไรเล่า คน
อย่างเราจะมาเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยทรัพย์ของผู้อื่น เราจักไปมนุษยโลกเยี่ยมญาติ
แล้วบวชบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ พระภูริทัตคงจักอนุญาตให้ไป ครั้นพราหมณ์
คิดดังนี้ ครั้นต่อมาวันหนึ่ง พอพระโพธิสัตว์มาเยี่ยมและถามว่า เบื่อหรือไม่
ก็ตอบว่า ข้าพเจ้าจักเบื่อหน่ายเพราะเหตุอะไร สิ่งของเครื่องบริโภคที่ได้แต่
สำนักของพระองค์ มิได้บกพร่องสักอย่างหนึ่ง ในระยะนี้ พราหมณ์มิได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 52
แสดงถึงเรื่องที่เกี่ยวแก่การจะไป ตั้งต้นก็กล่าวพรรณนาถึงสมบัติของ
พระโพธิสัตว์ว่า
แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วยต้น
กฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง
มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระ
โบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มี
ดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม
มีเสา ๑,๐๐๐ เสา สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เรืองจรูญ
ด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์เป็นผู้บังเกิดใน
วิมานทิพย์อันกว้างใหญ่เป็นวิมานเกษมสำราญรื่นรมย์
มีความสุขหาสิ่งใดจะเปรียบปานมิได้ ด้วยบุญของ
พระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมานของพระ-
อินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของพระองค์นี้
เหมือนของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมา สมนฺตปริโต ความว่า แผ่นดิน
ในนาคพิภพของท่านนี้ ในทิสาภาคทั้งปวง มีพื้นอันราบเรียบ เกลื่อนกล่น
ไปด้วยทองคำ เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และทราย. บทว่า สมา ได้แก่
แผ่นดินมีพื้นเสมอ. บทว่า ปหุตครา มหี ความว่า ประกอบด้วยต้น
กฤษณาเป็นอันมาก. บทว่า อินฺทโคปกสญฉนฺนา ความว่า ดารดาษไป
ด้วยหมู่แมลงค่อมทอง. บทว่า โสภติ หริตุตฺตมา ความว่า ดารดาษไป
ด้วยหญ้าแพรกมีสีเขียวชะอุ่มดูงดงาม. บทว่า วนเจตฺยานิ ได้แก่ หมู่ไม้
ในป่า. บทว่า โอปุปฺผปทุมา ความว่า บนหลังน้ำดารดาษไปด้วยดอก
ปทุมที่ร่วงหล่น. บทว่า สุนิมฺมิตา ความว่า สร้างขึ้นด้วยดีด้วยบุญสมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 53
ของท่าน. บทว่า อฏฺสา ความว่า ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ของท่าน มี
เสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สร้างไว้ดีทั้ง ๘ มุม ปราสาทของท่านมีเสา ๑,๐๐๐
บริบูรณ์รุ่งโรจน์ โชติช่วงด้วยนางนาคกัญญา. บทว่า อุปปนฺโนสิ ความว่า
ท่านบังเกิดในวิมานเห็นปานนี้. บทว่า สหสฺสเนตฺตสฺส วิมาน ได้แก่
เวชยันตปราสาท. บทว่า อิทฺธิ หิ ตยาย วิปุลา ความว่า เพราะเหตุที่
ฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของท่านนี้ ด้วยอุโบสถกรรมนั้น ท่านจึงไม่ปรารถนา
วิมานแม้ของท้าวสักกเทวราช ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านปรารถนาตำแหน่งอื่น
ยิ่งกว่านั้น.
พระมหาสัตว์ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์
ท่านอย่าพูดอย่างนั้นเลย. ยศศักดิ์ของเราหากเทียบกับยศศักดิ์ของท้าวสักกเทว-
ราชแล้ว นับว่าต่ำมาก ปรากฏเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดใกล้ภูเขาสิเนรุ พวกเรา
ก็มีค่าไม่ถึงแม้ด้วยคนบำเรอของท่าน ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
อานุภาพของคนบำรุงบำเรอชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ใน
อำนาจของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ซึ่งใครๆ ไม่พึง
ถึงด้วยใจ.
ความแห่งคำเป็นคาถานั้นมีดังนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ใครๆไม่พึงถึงด้วย
ใจคือแม้ด้วยจิตว่า ชื่อว่า ยศศักดิ์ของท้าวสักกเทวราช จะมีเพียงเท่านี้ คือ
๑-๒-๓-๔ วันเท่านั้น ยศศักดิ์ของสัตว์เดรัจฉานของเรายังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งยศศักดิ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ดี ของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ผู้บำรุงบำเรอ
เที่ยวทำให้เป็นผู้ใหญ่ผู้นำก็ดี.
ก็แลครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า เราได้ยิน
ท่านพูดว่า นี้เป็นวิมานของท่านผู้มีพระเนตร ๑,๐๐๐ เราก็ระลึกได้เพราะว่าเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 54
ปรารถนาเวชยันตปราสาท จึงกระทำอุโบสถกรรม เมื่อจะบอกความปรารถนา
ของตนแก่พราหมณ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่
ในความสุขนั้น จึงเข้าจำอุโบสถ อยู่บนจอมปลวก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาย แปลว่า ปรารถนา. บทว่า
อมราน ได้แก่ เทพผู้มีอายุยืนนาน. บทว่า สุเขสิน ได้แก่ ผู้แสวงหา
ความสุข คือผู้ปรารถนาความสุข.
พราหมณ์ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ถึงความโสมนัสว่า บัดนี้เราได้โอกาส
แล้ว เมื่อจะลาไปจึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ข้าพระองค์กับทั้งบุตรเข้าไปสู่ป่าแสวงหามฤค
มานานวัน พวกญาติทางบ้านเหล่านั้น ไม่รู้ว่าข้าพระ
องค์ตายหรือเป็น ข้าพระองค์จะขอทูลลาพระภูริทัต
ผู้ทรงยศ เป็นโอรสแห่งกษัตริย์กาสี กลับไปยัง
มนุษยโลก พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้าพระองค์
ก็จะไปเยี่ยมหมู่ญาติ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิเวเทนฺติ แปลว่า ย่อมไม่รู้.
ความว่า แม้เมื่อกล่าวถึงพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่มีใครรู้เลย. บทว่า มิคเมสาโน
ตัดเป็น มค เอสาโน แปลว่า ผู้ แสวงหามฤค. บทว่า อามนฺตเย แปลว่า
ข้าพระองค์ขอทูลลา. บทว่า กาสิปุตฺต ได้แก่ เป็นโอรสแห่งราชธิดา
ของกษัตริย์กาสี.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าว ๒ คาถาว่า
การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้ เป็นความ
พอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์เช่นนี้ เป็นของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 55
ไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ เราจะ
บูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ท่านไป
เยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ครั้นกล่าว ๒ คาถาแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์
นี้ เมื่อได้อาศัยเราเลี้ยงชีพเป็นสุขคงจะไม่บอกแก่ใคร ๆ เราจักให้แก้วมณี
อันให้ความใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์นี้. ลำดับนั้น เมื่อจะให้แก้วมณีแก่
พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรับเอาทิพยมณีนี้ไป เมื่อ
ท่านทรงทิพยมณีนี้ไป จะต้องการปศุสัตว์ก็ดี บุตรก็ดี
หรือปรารถนาอะไรอื่นก็ดี ก็จะได้สมประสงค์ทุก
ประการ ท่านจงปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุ ปุตฺเต จ วินฺทสิ ความว่า เมื่อ
ท่านทรงแก้วมณีนี้ ด้วยอานุภาพของแก้วมณีนี้ ท่านย่อมได้สิ่งที่ท่านปรารถนา
ทั้งหมด คือจะเป็นปศุสัตว์ บุตร และสิ่งอื่นก็จะได้สมประสงค์.
ลำดับนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษ
มิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์แก่แล้วจัก
บวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนภูริทัต พระดำรัสของท่านเป็น
กุศล ไม่มีโทษ ข้าพระองค์ยินดีพระดำรัสนั้นยิ่งนักไม่ปฏิเสธ แต่ข้าพระองค์
แก่แล้ว เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จักบวช. บทว่า น กาเม อภิปตฺถเย ความ
ว่า ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย ข้าพระองค์จะประโยชน์อะไรด้วย
แก้วมณี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 56
พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
หากว่าพรหมจรรย์มีการต้องละเลิกไซร้ กิจที่พึง
ทำด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มีความ
หวั่นใจเลยควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมาก ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจ ภงฺโค ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
ชื่อว่าการอยู่พรหมจรรย์ เป็นการทำได้ยากยิ่ง ถ้าหากในกาลใด พรหม-
จรรย์ที่เราไม่ยินดีมีการต้องละเลิก ในกาลนั้น กิจที่ต้องทำด้วยโภคทรัพย์
ทั้งหลายของผู้เป็นคฤหัสถ์มีอยู่ ในกาลเช่นนี้ ท่านอย่าได้หวาดหวั่นใจไปเลย
ควรมาสำนักเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมาก ๆ.
พราหมณ์กล่าวว่า
ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษ
มิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์จะกลับมาอีก
ถ้าจักมีความต้องการ.
ศัพท์ว่า ปุนาปิ ในคาถานั้นแก้เป็นปุนปิ. อนึ่ง นี้ก็เป็นบาลีเช่นกัน
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รู้ว่าพราหมณ์นั้นไม่ปรารถนาจะอยู่ในที่นั้น
จึงให้เรียกนาคมาณพทั้งหลายมา แล้วส่งไปว่า พวกท่านจงนำพราหมณ์ไป
ให้ถึงมนุษยโลก.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาคมาณพ
๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัวพา
พราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพทั้ง ๔ ตนที่
ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัว
แล้วพาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 57
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเปสุ ความว่า นาคมาณพทั้ง ๔ ขึ้น
จากแม่น้ำยมุนา ส่งให้ถึงทางไปกรุงพาราณสี ก็แลครั้นส่งให้ถึงแล้วจึงกล่าวว่า
ไปเถิดท่าน ดังนี้แล้วก็กลับมายังนาคพิภพตามเดิม.
ฝ่ายพราหมณ์ เมื่อบอกแก่บุตรว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต เรายิงมฤค
ในที่นี้ สุกรในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงเดินไป เห็นสระโบกขรณีในระหว่างทางแล้ว
กล่าวว่า พ่อโสมทัต อาบน้ำกันเถิด เมื่อท่านโสมทัตกล่าวว่า ดีละพ่อ ทั้งสอง
คนจึงเปลื้องเครื่องอาภรณ์อันเป็นทิพย์ และผ้าทิพย์ แล้วห่อวางไว้ริมฝั่งสระ-
โบกขรณีแล้วลงไปอาบน้ำ. ขณะนั้น เครื่องอาภรณ์และผ้าทิพย์เหล่านั้นได้
หายไปยังนาคพิภพตามเดิม ผ้านุ่งห่มผืนเก่ากลับสวมใส่ในร่างของคนทั้งสอง
นั้นก่อนแม้ธนูศรและหอกได้ปรากฏตามเดิม. ฝ่ายท่านโสมทัตร้องว่า
ท่านทำเราให้ฉิบหายแล้วพ่อ. ลำดับนั้น บิดาจึงปลอบท่าน โสมทัตว่า
อย่าวิตกไปเลยลูกพ่อ เมื่อมฤคมีอยู่เราฆ่ามฤคในป่าเลี้ยงชีวิต. มารดาท่าน
โสมทัตทราบการมาของคนทั้งสอง จึงต้อนรับนำไปสู่เรือน จัดข้าวน้ำเลี้ยง
ดูให้อิ่มหนำสำราญ. พราหมณ์บริโภคอาหารเสร็จแล้วก็หลับไป. ฝ่ายนางจึง
ถามบุตรว่า พ่อโสมทัต ทั้ง ๒ คนหายไปไหนมานานจนถึงป่านนี้. โสมทัต
ตอบว่า ข้าแต่แม่ พระภูริทัตนาคราชพาข้ากับบิดาไปยังนาคพิภพ เพราะเหตุนั้น
เราทั้งสองคิดถึงแม่ จึงกลับมาถึงบัดนี้. มารดาถามว่า. ได้แก้วแหวนอะไร ๆ
มาบ้างเล่า. โสมทัตตอบว่า ไม่ได้มาเลยแม่. มารดาถามว่า. ทำไมพระภูริทัต
ไม่ให้อะไรบ้างหรือ. โสมทัตตอบว่า พระภริทัตให้แก้วสารพัดนึกแก่พ่อ ๆ
ไม่รับเอามา. มารดาถามว่า เหตุไรพ่อเจ้าจึงไม่รับ. โสมทัตตอบว่า. ข้าแต่
แม่ ข่าวว่าพ่อจักบวช . นางพราหมณีนั้นโกรธว่า บิดาทิ้งทารกให้เป็นภาระ
แก่เรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ไปอยู่เสียในนาคพิภพ ข่าวว่าเดี๋ยวนี้จะบวช
ดังนี้แล้วจึงตีหลังพราหมณ์ด้วยพลั่วสาดข้าว แล้วขู่คำรามว่า อ้ายพราหมณ์
ผู้ชั่วร้าย ข่าวว่าจักบวช ภูริทัตให้แก้วมณีก็ไม่รับ ทำไมไม่บวช กลับมาที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 58
ทำไมอีกเล่า จงรีบออกไปให้พ้นเรือนกู. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงปลอบนาง
พราหมณีว่า เจ้าอย่าโกรธข้าเลย เมื่อมฤคในป่ายังมีอยู่ข้าจะไปฆ่ามาเลี้ยงเจ้า
ดังนี้แล้วก็จากที่นั้นไปป่าพร้อมด้วยบุตร หาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองในก่อนแล.
จบเนสาทกัณฑ์
ในกาลนั้น ยังมีครุฑคนหนึ่ง อยู่ที่ต้นงิ้วทางมหาสมุทรภาคใต้ กระพือ
ลมปีกแหวกน้ำในมหาสมุทรลงไป จับศีรษะนาคราชได้ตัวหนึ่ง. แท้จริงใน
กาลนั้น ครุฑทั้งหลาย ยังไม่รู้จักวิธีจับนาค ครั้นภายหลังจึงรู้จักวิธีจับนาค
อย่างในปัณฑรกชาดก๑ แต่ครุฑตัวนั้น เมื่อจับนาคทางศีรษะ ยังไม่ทันน้ำจะ
ท่วมมาถึง ก็หิ้วนาคขึ้นได้ ปล่อยให้นาคห้อยหางลง พาบินไปเบื้องบนป่า
หิมพานต์. ก็ในกาลนั้นมีพราหมณ์ชาวกาสิกรัฐผู้หนึ่ง ออกบวชเป็นฤาษี
สร้างบรรณศาลาอาศัย อยู่ในหิมวันตประเทศ. ที่สุดจงกรมของฤาษีนั้นมีต้น
ไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. ฤาษีนั้นทำที่พักผ่อนหย่อนใจในกลางวันที่โคนต้นไทรนั้น
ครุฑหิ้วนาคผ่านไปถึงตรงยอดไทร. นาคปล่อยหางห้อยอยู่ก็เอาหางพันคาคบ
ต้นไทรด้วยหมายใจจะให้พ้น . ครุฑมิทันรู้ก็รีบไปทางอากาศ เพราะมันมีกำลัง
มาก. ต้นไทรพร้อมทั้งรากติดหางนาคไปด้วย เมื่อครุฑพานาคไปถึงต้นงิ้วก็
จิกด้วยจะงอยปาก ฉีกท้องนาคกินมันเหลวของนาค ทิ้งร่างลงไปในต้องมหา-
สมุทร ต้นไทรก็ตกลงเสียงดังสนั่นหวั่นไหว. ครุฑสงสัยว่าเสียงอะไร ก็มองไป
ดูเบื้องต่ำแลเห็นต้นไทร จึงคิดในใจว่า ต้นไทรนี้เราถอนมาแต่ไหน ก็นึกได้
โดยถ่องแท้ว่า ต้นไทรนั้นอยู่ท้ายที่จงกรมของพระดาบส ตัวเราจะปรากฏว่า ทำ
อกุศลหรือไม่หนอ เราจักไปถามดาบสนั้นดูก็จะรู้ได้ ดังนี้แล้วก็แปลงเพศเป็น
มาณพน้อยไปสู่สำนักพระดาบส. ขณะนั้นพระดาบสกำลังทำที่นั้นให้สม่ำเสมอ
พระยาสุบรรณไหว้พระดาบสแล้วก็นั่งอยู่ ณ ที่สมควร ทำทีประหนึ่งว่าไม่รู้
๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๓๘๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 59
แกล้งถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ที่ตรงนี้เดิมเป็นที่อยู่ของอะไร. ดาบส
ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สุบรรณตนหนึ่งนำนาคมาเพื่อเป็นภักษาหาร เมื่อ
นาคเอาหางพันคาคบต้นไทรด้วยหมายจะให้พ้น สุบรรณนั้นมิทันรู้บินไปโดย
เร็ว เพราะความที่ตนมีกำลังมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ต้นไม้ในที่นี้ ก็ถูกถอนขึ้นทันที
ที่ตรงนี้แหละเป็นที่แห่งต้นไทรนั้นถอนขึ้น. สุบรรณถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
ผู้เจริญ อกุศลกรรมจะมีแก่สุบรรณหรือไม่. ดาบสตอบว่า ถ้าหากว่าสุบรรณ
นั้นไม่รู้อกุศลกรรมก็ไม่มี เพราะไม่มีเจตนา. สุบรรณถามว่า ก็อกุศลกรรมจะ
มีแก่นาคนั้นหรือไม่เล่าเจ้าข้า. ดาบสตอบว่า นาคก็มิได้จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้
ต้นไทรเสียหาย จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้พ้นภัย เพราะเหตุนั้นอกุศลกรรมก็ไม่มี
แก่นาคแม้นั้นเหมือนกัน.
สุบรรณได้ฟังคำของดาบสก็ยินดีจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ
ข้าพเจ้านี้แหละคือสุบรรณนั้น ข้าพเจ้ายินดีด้วยพระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหา ข้าพเจ้า
รู้มนต์ชื่อว่า อาลัมพายน์ บทหนึ่งหาค่ามิได้ ข้าพเจ้าจะถวายมนต์นั้นแก่พระผู้
เป็นเจ้า ให้เป็นส่วนบูชาอาจารย์ พระผู้เป็นเจ้าจงรับไว้เถิด. ดาบสกล่าวว่า
พอละ เราไม่ต้องการด้วยมนต์ ท่านจงไปเถิด. สุบรรณวิงวอนอยู่บ่อย ๆ จน
พระดาบสรับแล้วจึงถวายมนต์ แล้วบอกยาแก่ดาบสแล้วก็หลีกไป.
จบครุฑกัณฑ์
ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสีกู้ยืมหนี้สินไว้มาก
มาย ถูกเจ้าหนี้ทั้งหลายทวงถามก็คิดว่า เราจะอยู่ในเมืองนี้ไปทำไมอีก เข้าไป
ตายเสียในป่ายังประเสริฐกว่า ดังนี้แล้วจึงออกจากบ้านเข้าไปในป่าจึงบรรลุถึง
อาศรมแห่งพระฤาษี ปฏิบัติพระดาบสให้ยินดีด้วยวัตตสัมปทาคุณ. พระดาบส
คิดว่า พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้มีอุปการะแก่เรายิ่งนัก เราจักให้ทิพยมนต์ซึ่งสุบรรณ-
ราชให้เราไว้แก่พราหมณ์ผู้นี้ ดังนี้ แล้วก็บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 60
รู้มนต์ชื่อว่าอาลัมพายน์ จักให้มนต์นั้นแก่ท่าน ท่านจงเรียนมนต์นั้นไว้ แม้เมื่อ
พราหมณ์นั้นห้ามว่า อย่าเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการมนต์ ก็อ้อนวอนแล้วอ้อนวอน
เล่า จนพราหมณ์รับถ้อยคำแล้วจึงให้มนต์ และบอกยาอันประกอบกับมนต์
และอุปจารแห่งมนต์ พราหมณ์นั้นคิดว่า. เราได้อุบายที่จะเลี้ยงชีพแล้ว ก็พัก
อยู่ ๒-๓ วัน แล้วอ้างเหตุว่า โรคลมเบียดเบียน จนพระดาบสยอมปล่อยไป
จึงกราบไหว้พระดาบสขอขมาโทษแล้วก็ออกจากป่าไป จนถึงฝั่งแม่น้ำยมุนา
โดยลำดับ เดินสาธยายมนต์นั้นไปตามหนทางใหญ่.
ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาบาทบริจาริกาของพระภูริทัตประมาณ
๑,๐๐๐ ตน ต่างถือเอาแก้วมณีที่ให้ความปรารถนาทุกอย่างนั้นออกจากนาคพิภพ
แล้ววางแก้วนั้นไว้บนกองทราย ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา แล้วพากันเล่นน้ำตลอด
คืน ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณีนั้น ครั้นอรุณขึ้น จึงพากันตกแต่งกายด้วย
เครื่องอาภรณ์ทั้งปวง นั่งล้อมแก้วมณีให้สิริเข้าสู่กาย. ฝ่ายพราหมณ์ก็เดิน
สาธยายมนต์มาถึงที่นั้น เหล่านางนาคมาณวิกาได้ยินเสียงมนต์ สำคัญว่าเสียง
พราหมณ์นั้นเป็นสุบรรณ ก็สะดุ้งกลัวเพราะมรณภัยไม่ทันหยิบแก้วมณี ก็พา
กันแทรกปฐพีไปยังนาคพิภพ พราหมณ์เห็นแก้วมณีก็ดีใจว่ามนต์ของเราสำเร็จ
ผลเดี๋ยวนี้แล้ว ก็หยิบเอาแก้วมณีนั้นไป.
ขณะนั้น พราหมณ์เนสาทพร้อมโสมทัตเข้าไปสู่ป่าเพื่อล่าเนื้อ เห็น
แก้วมณีนั้นในมือของพราหมณ์นั้น จึงกล่าวกะบุตรว่า ดูก่อนโสมทัต แก้วมณี
ดวงนี้พระภูริทัตให้แก่เรามิใช่หรือ.
โสมทัต. ใช่แล้วพ่อ.
บิดา. ถ้าเช่นนั้นเราจะกล่าวโทษแก้วมณีดวงนั้นหลอกพราหมณ์เอา
แก้วมณีนี้เสีย.
โสมทัต. ข้าแต่พ่อ เมื่อพระภูริทัตให้ครั้งก่อนพ่อไม่รับ แต่บัดนี้
กลับจะไปหลอกพราหมณ์เล่า นิ่งเสียเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 61
พราหมณ์เนสาทจึงกล่าวว่า เรื่องนั้นยกไว้ก่อน เจ้าคอยดูเราหลอกตา
นั่นเถิด ว่าแล้วเมื่อจะปราศรัยกับอาลัมพายน์จึงกล่าวว่า
แก้วมณีที่สมมติว่าเป็นมงคล เป็นของดี เป็น
เครื่องปลื้มรื่นรมย์ใจเกิดแต่หิน สมบูรณ์ด้วยลักษณะ
ที่ท่านถืออยู่นี้ ใครได้มาไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มงฺคลฺย ความว่า แก้วมณีที่สมมติว่าเป็น
มงคล ให้ซึ่งสมบัติอันน่าใคร่ทั้งปวง.
ลำดับนั้น อาลัมพายน์กล่าวคาถาว่า
แก้วมณีนี้ พวกนางนาคมาณวิกาประมาณ ๑,๐๐๐
ตน ล้วนมีตาแดงแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาลวันนี้
เราเดินทางไปได้แก้วมณีนั้นมา.
คำเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า วันนี้เราเดินไปตามทางแต่เวลาเช้าตรู่
เดินไปตามหนทางใหญ่ได้พบแก้วมณี แวดล้อมโดยรอบด้วยนางนาคมาณวิกา
ผู้มีตาแดงประมาณ ๑,๐๐๐ ตน ก็นางนาคมาณวิกาทั้งหมดนั้นเห็นเราเข้า
สะดุ้งตกใจแล้ว พากันทิ้งแก้วมณีนี้หนีไป.
พราหมณ์เนสาท ประสงค์จะลวงอาลัมพายน์นั้น จึงประกาศโทษ
แห่งแก้วมณี ประสงค์จะยึดเอาเป็นของตนจึงกล่าวคาถาว่า
แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่สั่งสมมาได้ด้วยดี อัน
บุคคลเคารพบูชาประดับประดาเก็บรักษาไว้ดีทุกเมื่อ
ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ เมื่อบุคคลปราศจาก
การระวังในการเก็บรักษา หรือในการประดับประดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 62
แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่บุคคลหามาได้โดยไม่แยบ
คาย ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ คนผู้ไม่มีกุศล ไม่
ควรประดับแก้วมณีอันเป็นทิพย์นี้ เราจักให้ทองคำ
ร้อยแท่ง ขอท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ผู้ใดจักเก็บประดับ
สั่งสมแก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ คือทรงไว้เก็บไว้ด้วยดี โดยยึดถือว่าของๆ เรา
เหมือนชีวิตของตน อันผู้นั้นนั่นเก็บสั่งสมด้วยดี บูชาทรงไว้เก็บรักษาไว้ด้วยดี
ย่อมยังประโยชน์ทุกอย่างให้สำเร็จ. บทว่า อุปจารวิปนฺนสฺส ความว่า ก็
บุคคลผู้ปราศจากการเก็บรักษาไว้โดยอุบายอันไม่แยบคาย ท่านกล่าวว่าย่อมนำ
มาแต่ความพินาศเท่านั้น. บทว่า ธาเรตุมารโห แปลว่า ไม่ควรเพื่อจะประดับ
ประดา. บทว่า ปฏิปชฺช สต นิกฺข ความว่า พวกเรารู้เพื่อจะเก็บแก้วมณี
ไว้ให้มากในเรือนของเรา เราจะให้แท่งทอง ๑๐๐ แท่งแก่ท่าน ท่านจงปกครอง
แท่งทองนั้น แล้วจงให้แก้วมณีแก่เรา. แม้แท่งทองในเรือนของท่านเพียงแท่ง
เดียวก็ไม่มี ผู้นั้นย่อมรู้ว่าแก้วมณีนั้นให้สิ่งสารพัดนึก เราจะอาบน้ำดำศีรษะแล้ว
เอาน้ำประพรมแก้วมณี จึงกล่าวว่า ท่านจงให้แท่งทอง ๑๐๐ แท่งแก่เรา เมื่อ
เป็นเช่นนี้เราจักให้แก้วมณีที่ปรากฏว่าเป็นของเราแก่ท่าน เพราะเหตุนั้นผู้
กล้าหาญจึงกล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้น อาลัมพายน์ กล่าวคาถาว่า
แก้วมณีของเรานี้ ไม่ควรแลกเปลี่ยนด้วยโคหรือ
รัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หิน บริบูรณ์ด้วย
ลักษณะเราจึงไม่ขาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 63
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนวมาย ความว่า แก้วมณีของเรานี้
ชื่อว่า ควรแลกเปลี่ยนด้วยวัตถุอะไร. บทว่า เนว เกยฺโย ความว่า และ
แก้วมณีของเรานี้ สมบูรณ์ด้วยลักษณะชื่อว่าเป็นของไม่ควรซื้อและควรขาย
ด้วยวัตถุอะไรๆ.
พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า
ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโคหรือรัตนะ
เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยอะไร
เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
อาลัมพายน์กล่าวว่า
ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดช ยากที่บุคคลจะล่วง
เกินได้ เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หินอันรุ่งเรืองด้วย
รัศมี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลนฺตริว เตชสา แปลว่า เหมือน
รุ่งเรืองด้วยรัศมี
พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า
ครุฑผู้ประเสริฐหรือใครหนอ แปลงเพศเป็น
พรหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็นอาหาร
ของตน.
คำว่า โก นุ นี้ในคาถานั้น พราหมณ์เนสาทคิดว่า ชะรอยว่าผู้
นั้นเป็นครุฑติดตามอาหารของตนจึงกล่าวอย่างนั้น ่
อาลัมพายน์กล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้เป็นครุฑ เราไม่เคยเห็น
ครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า
เป็นหมองู.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 64
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ม วิทู ความว่า ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า
ผู้นี้เป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ เป็นหมองู ชื่อว่า อาลัมพายน์.
พราหมณ์เนสาทกล่าวว่า
ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปอะไร ท่านเป็นผู้ทรง
ไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า กิสฺมึ วา ตฺวึ ปรตฺถทฺโธ ท่าน
ถามว่า ท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร กระทำอะไรให้เป็นที่อาศัย จึง
ไม่ยำเกรงนาคคืออสรพิษ คือดูหมิ่นไม่ทำความยำเกรงให้เป็นผู้ประเสริฐ.
อาลัมพายน์นั้น เมื่อแสดงกำลังของตนจึงกล่าวว่า
ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างสูงแก่ฤาษีโกสิยโคตร
ผู้อยู่ในป่าประพฤติตบะอยู่สิ้นกาลนาน เราเข้าไปหา
ฤาษีตนหนึ่งซึ่งนับเข้าในพวกฤาษีผู้บำเพ็ญตน อาศัย
อยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านโดยเคารพ มิได้เกียจ
คร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ในกาลนั้น ท่านบำเพ็ญ
วัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้สมาคมกับ
เรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก เราทรงไว้
ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค เราเป็น
อาจารย์ของพวกหมอผู้ฆ่าอสรพิษ ชนทั้งหลายรู้จักเรา
ว่าอาลัมพายน์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสิยสฺสกฺขา ความว่า ครุฑมาบอกแก่
ฤาษีโกสิยโคตร ก็เหตุที่ครุฑนั้นบอกทั้งหมดพึงกล่าวให้พิสดาร. บทว่า
ภาวิตตฺตญฺตร ความว่า เราเข้าไปหาฤาษีคนหนึ่ง บรรดาผู้บำเพ็ญตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 65
บทว่า สมฺมนฺต แปลว่า อาศัยอยู่. บทว่า กามสา ได้แก่ ด้วยความปรารถนา
ของตน. บทว่า มน ความว่า ย่อมประกาศมนต์นั้นแก่เรา. บทว่า ตฺยาห
มนฺเต ปรตฺถทฺโธ ความว่า เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษคืออาศัยมนต์เหล่านั้น.
บทว่า โภคิน ได้แก่ นาคทั้งหลาย. บทว่า วิสฆาฏาน ความว่า เป็น
อาจารย์ของพวกหมอฆ่าอสรพิษ.
พราหมณ์เนสาท ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงคิดว่า อาลัมพายน์นี้ให้แก้วมณี
แก่บุคคลผู้แสดงที่อยู่ของพระภูริทัตแก่เขา ครั้นแสดงพระภูริทัตแก่เขาแล้วจึง
จักรับเอาแก้วมณี.
แต่นั้นเมื่อจะปรึกษากับบุตรจึงกล่าวว่า
ดูก่อนลูกโสมทัต เราควรรับแก้วมณีไว้สิ
เจ้าจงรู้ไว้ เราอย่าละสิริอันมาถึงตนด้วยท่อนไม้ตาม
ชอบใจสิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คณฺหามฺหเส แปลว่า ควรรับเอา.
บทว่า กามสา ความว่า อย่าที่ด้วยท่อนไม้แล้วละสิริตามชอบใจของตน.
โสมทัตกล่าวว่า
ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาคราชบูชา
คุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณพ่อจะ
ปรารถนาประทุษร้าย ต่อผู้กระทำดี เพราะความหลง
อย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็
คงจักให้ คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคงจัก
ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูชยิ ความว่า บูชาแล้วด้วยกามอัน
เป็นทิพย์. บทว่า ทุพฺภิมิจฺฉสิ ความว่า ดูก่อนพ่อ ท่านปรารถนาเพื่อ
กระทำกรรมคือการประทุษร้ายต่อมิตรเห็นปานนั้นหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 66
พราหมณ์กล่าวว่า
ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ที่อยู่ใน
ภาชนะหรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ
ประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าเรา อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถคต ความว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต
ท่านเป็นหนุ่มไม่รู้ความเป็นไปของโลกอะไร เพราะจะเคี้ยวกินสิ่งที่อยู่ในมือ
อยู่ในบาตร หรือที่ตั้งเก็บไว้ตรงหน้านั้นนั่นแลประเสริฐ คือ ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกล
โสมทัตกล่าวว่า
คนประทุษร้ายต่อมิตร สละความเกื้อกูล จะตก
หมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อมสูบผู้นั้น
หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ที่ซูบซีด ถ้าคุณพ่อปรารถนา
ทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ลูกเข้าใจว่า คุณพ่อ
จักต้องประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิมสฺส วินฺทฺรียติ ความว่า ดูก่อน
พ่อ ปฐพีย่อมแยกให้ช่องแก่ประทุษร้ายต่อมิตร ทั้งที่ยังเป็นอยู่นั่นแล.
บทว่า หิตจฺจาคี ได้แก่ ผู้สละประโยชน์เกื้อกูลของตน. บทว่า
ชีวเร วาปิ สุสฺสติ ความว่า ถึงจะมีชีวิตอยู่ก็ย่อมซูบซีดเป็นมนุษย์เพียงดัง
เปรตฉะนั้น. ว่า อตฺตกต เวร ได้แก่ บาปที่ตนทำ. บทว่า น จิร
ความว่า ลูกเข้าใจว่า ไม่นานเขาจักประสบเวร.
พราหมณ์กล่าวว่า
พราหมณ์ทั้งหลายบูชามหายัญแล้ว ย่อมบริสุทธิ์
ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วยการบูชา
ยัญอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 67
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุชฺฌนฺติ แสดงว่า ลูกโสมทัต
ลูกยังเป็นหนุ่มไม่รู้อะไร ธรรมดาว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นกระทำบาป
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยยัญ จึงได้กล่าวอย่างนี้
โสมทัตกล่าวว่า
เชิญเถิด ลูกจะขอแยกไป ณ บัดนี้ วันนี้ลูกจะ
ไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ จะไม่ขอเดินทางร่วมกับคุณ
พ่อ ผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปายามิ ความว่า เชิญเถิด ลูกจะขอ
แยกไป คือหนีไป. ก็แลบัณฑิตมาณพครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่อาจให้
บิดาเชื่อฟังคำของตน จึงโพนทนาให้เทวดาทราบด้วยเสียงอันดังว่า ข้าพเจ้า
จะไม่ไปกับคนทำบาปเห็นปานนี้ละ ครั้นประกาศแล้ว ก็หนีไปทั้ง ๆ ที่บิดา
เห็นอยู่นั่นแลเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด
แล้ว มิให้เสื่อมฌานแล้วเกิดในพรหมโลก.
เมื่อพระศาสดาจะประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ได้กล่าวคำนี้กะ
บิดาแล้ว ได้ประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบแล้ว ก็
ได้หลีกไปจากที่นั้น.
จบโสมทัตกัณฑ์
พราหมณ์เนสาทคิดว่า โสมทัตจักไปไหน ออกจากเรือนของตน
ครั้นเห็นอาลัมพายน์ไม่พอใจหน่อยหนึ่ง จึงปลอบว่า ดูก่อนอาลัมพายน์ ท่าน
อย่าวิตกไปเลย เราจักชี้ภูริทัตให้ท่าน ดังนี้แล้ว ก็พาอาลัมพายน์ไปยังที่
รักษาอุโบสถแห่งพระยานาค เห็นพระยานาคคู้ขดขนดอยู่ที่จอมปลวก จึงยืนอยู่
ในที่ไม่ไกล เหยียดมือออกแล้วกล่าว ๒ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 68
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงจับเอานาคใหญ่นั้น
จงส่งแก้วนั้นมาให้เรา มีรัศมีดังสีแมลงค่อมทอง
ศีรษะแดง ตัวปรากฏดังกองปุยนุ่น นอนอยู่บนจอม
ปลวก ท่านจงจับมันเถิดพราหมณ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทโคปกวณฺณาภา ความว่า รัศมี
เหมือนรัศมีแห่งสีแมลงค่อมทอง. บทว่า กปฺปาลปิจุรสฺเสว ความว่า
เหมือนกองปุยนุ่นที่จัดแจงไว้ดีแล้ว.
พระมหาสัตว์ ลืมเนตรขึ้นแลเห็นพราหมณ์เนสาท จึงคิดว่า
เราได้คิดแล้วว่า พราหมณ์คนนี้จะทำอันตรายแก่อุโบสถของเรา เราจึงพาผู้นี้
ไปยังนาคพิภพ แต่งให้มีสมบัติเป็นอันมาก ไม่ปรารถนาเพื่อจะรับแก้วที่เรา
ให้ แต่บัดนี้ไปรับเอาหมองูมา ถ้าเราโกรธแก่ผู้ประทุษร้ายมิตร ศีลของ
เราก็จักขาด ก็เราได้อธิษฐานอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๔ ไว้ก่อนแล้ว
ต้องให้คงที่อยู่ อาลัมพายน์จะตัด จะเผา จะฆ่า จะแทงด้วยหลาวก็ตามเถิด
เราจะไม่โกรธเขาเลย ถ้าเราจะแลดูเขาด้วยความโกรธ เขาก็จะแหลกเป็น
เหมือนขี้เถ้า ช่างเถอะทุบตีเราเถอะ เราจักไม่โกรธเลย ดังนี้แล้วก็หลับเนตร
ลง ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีไว้เป็นเบื้องหน้า ซุกเศียรเข้าไว้ ณ ภายในขนด
นอนนิ่งมิได้ไหวติงเลย.
จบศีลกัณฑ์
ฝ่ายพราหมณ์เนสาท กล่าวว่า ดูก่อนอาลัมพายน์ผู้เจริญ เชิญท่าน
จับนาคนี้ และจงให้แก้วมณีแก่เราเถิด. อาลัมพายน์เห็นนาคแล้วก็ดีใจ มิได้
นับถือในแก้วว่ามีอะไร เปรียบเหมือนเป็นหญ้า โยนแก้วมณีไปที่มือพราหมณ์
เนสาทด้วยคำว่า เอาไปเถิดพราหมณ์ แก้วมณีก็พลาดจากมือพราหมณ์เนสาท
ตกลงที่แผ่นดิน. พอตกลงแล้วก็จมแผ่นดินลงไปยังนาคพิภพนั่นเอง. พราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 69
เนสาทเสื่อมจากฐานะ ๓ ประการ คือเสื่อมจากแก้วมณี เสื่อมจากมิตรภาพ
กับพระภูริทัต และเสื่อมจากบุตร. เขาก็ร้องไห้รำพันว่า เราหมดที่พึ่งพาอาศัย
แล้ว เพราะเราไม่ทำตามคำของบุตร แล้วไปสู่เรือน.
ฝ่ายอาลัมพายน์ ก็ทาร่างของตนด้วยทิพยโอสถ เคี้ยวกินเล็กน้อยกับ
ประพรมกายของตน ก็ร่ายทิพพมนต์ เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ จับหางพระ-
โพธิสัตว์คร่ามาจับศีรษะไว้มั่นแล้ว เปิดปากพระมหาสัตว์ เคี้ยวยาบ้วนใส่พร้อม
เสมหะเข้าในปากพระมหาสัตว์. พระยานาคผู้เป็นชาติสะอาด ไม่โกรธไม่ลืมตา
เพราะกลัวแต่ศีลจะขาดทำลาย. ลำดับนั้น อาลัมพายน์ก็ใช้ยาและมนต์ จับ
หางพระมหาสัตว์หิ้วให้ศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำ เขย่า ให้สำรอกอาหารที่มีอยู่แล้ว
ให้นอนเหยียดยาวที่พื้นดิน เหยียบย่ำด้วยเท้า เหมือนคนนวดถั่ว กระดูก
เหมือนจะแหลกเป็นจุณออกไป. จับทางพระมหาสัตว์หิ้วให้ศีรษะห้อยลงข้าง
ล่างอีก ฟาดลงเหมือนฟาดผ้า. พระมหาสัตว์แม้เสวยทุกขเวทนาถึงปานนี้ก็ไม่
โกรธเลย
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
อาลัมพายน์เอาทิพยโอสถทาตัว และร่ายมนต์
ทำการป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพระยานาคนั้น
ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขิ แปลว่า สามารถ. บทว่า
สณฺาตุ แปลว่า เพื่อจะจับ.
อาลัมพายน์ ครั้นทำพระมหาสัตว์ให้ถอยกำลังดังนั้นแล้ว จึงเอา
เถาวัลย์ถักกระโปรง แล้วเอาพระมหาสัตว์ใส่ในกระโปรงนั้น แต่สรีระของ
พระมหาสัตว์ใหญ่ เข้าไปในกระโปรงนั้นไม่ได้. ลำดับนั้น อาลัมพายน์จึงใช้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 70
ส้นเท้าถีบพระมหาสัตว์ให้เข้าไป แล้วแบกกระโปรงไปถึงบ้านแห่งหนึ่ง จึง
วางกระโปรงลง วางไว้กลางบ้านร้องบอกว่า ผู้ประสงค์จะดูการฟ้อนรำของนาค
ก็จงมา. ชาวบ้านทั้งสิ้นต่างมาประชุมกัน. ขณะนั้น อาลัมพายน์จึงกล่าวว่า
มหานาค เจ้าจงออกมา. พระมหาสัตว์คิดว่า วันนี้เราจะเล่นให้บริษัทร่าเริงจึงจะ
ควรอาลัมพายน์เมื่อได้ทรัพย์มากอย่างนี้ยินดีแล้ว จักปล่อยเราไป อาลัมพายน์จะ
ให้เราทำอย่างใด เราก็จะทำอย่างนั้น. ลำดับนั้น อาลัมพายน์ก็นำพระมหาสัตว์
ออกจากกระโปรงแล้วกล่าวว่า เจ้าจงทำตัวให้ใหญ่. พระมหาสัตว์ทำตัวให้ใหญ่
อาลัมพายน์บอกให้ทำตัวให้เล็กและให้ขด ให้คลาย ให้แผ่พังพาน ๑ พังพาน
๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐-๖๐-๗๐-๘๐-๙๐-๑๐๐
ให้สูง ให้ต่ำ ให้เห็นตัว ให้หายตัว ให้เห็นครึ่งตัว ให้สีเขียว เหลือ แดด ขาว
หงสบาทให้พ่นเปลวไฟ พ่นน้ำ พ่นควัน. ในอาการแม้เหล่านี้อาลัมพายน์ บอกให้
ทำอาการใด ๆ พระมหาสัตว์ก็นิรมิตอัตภาพแสดงอาการนั้นๆ ทุกอย่าง ใคร ๆ
เห็นพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะกลั้นน้ำตาไว้ได้. มนุษย์เป็นอันมาก
ต่างพากันให้สิ่งของต่าง ๆ มีเงิน ทอง ผ้า และเครื่องประดับเป็นต้น.
อาลัมพายน์จึงได้ทรัพย์ในบ้านนั้นประมาณเป็นพัน ๆ ด้วยอาการอย่างนี้. อา-
ลัมพายน์นั้นจับพระมหาสัตว์ได้ทรัพย์พันหนึ่ง จึงกล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า จัก
ปล่อยก็จริง แต่ถึงกระนั้นครั้นได้พันหนึ่งแล้ว ก็คิดว่า แม้ในบ้านเล็กน้อย
เรายังได้ทรัพย์ถึงเพียงนี้ ถ้าในพระนครคงจักได้ทรัพย์มากมาย เพราะความโลภ
ในทรัพย์จึงมิได้ปล่อยพระมหาสัตว์ไป. อาลัมพายน์นั้น เริ่มตั้งขุมทรัพย์ขึ้นได้
ในบ้านนั้น แล้วจึงให้นายช่างทำกระโปรงแก้ว ใส่พระมหาสัตว์ในกระโปรง
แก้วนั้น แล้วก็ขึ้นสู่ยานน้อยอย่างสบาย ออกไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ให้
พระมหาสัตว์เล่นไปในบ้านและนิคมเป็นต้น จนถึงกรุงพาราณสีโดยลำดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 71
แต่อาลัมพายน์ ไม่ให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระยานาค ฆ่ากบให้กิน พระมหา-
สัตว์ก็มิได้รับอาหาร พระมหาสัตว์ไม่ได้อาหารเพราะกลัวอาลัมพายน์จะไม่ปล่อย
อาลัมพายน์จึงให้พระมหาสัตว์เล่นในบ้านนั้น ๆ ตั้งต้นแต่หมู่บ้านใกล้ประตู
ทั้ง ๔ ด้านอีก. ครั้นถึงวันอุโบสถสิบห้าค่ำ อาลัมพายน์จึงขอให้กราบทูลแด่
พระราชาว่า ข้าพระองค์จะให้นาคราชเล่นถวายพระองค์. พระราชา จึงรับสั่ง
ให้ตีกลองร้องประกาศให้มหาชนประชุมกัน ชนเหล่านั้นจึงพากันมาประชุมบน
เตียงและเตียงซ้อนกันที่พระลานหลวง.
จบอาลัมพายนกัณฑ์
ก็ใจวันที่อาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ไปนั้น พระมารดาของพระมหา-
สัตว์ ได้เห็นในระหว่างทรงพระสุบินว่า พระนางถูกชาชคนหนึ่งตัวดำ ตาแดง
เอาดาบตัดแขนขวาของพระนางขาดแล้วนำไปทั้งๆ ที่มีเลือดไหลอยู่. ครั้นพระ-
นางตื่นขึ้น ก็สะดุ้งกลัวลุกขึ้นคลำแขนขวา ทรงทราบว่าเป็นความฝัน ลำดับนั้น
พระนางทรงดำริว่า เราฝันเห็นร้ายแรงมาก บุตรของเราทั้ง ๔ คน หรือท้าว
ธตรฐทั้งตัวเราเองคงจะเป็นอันตราย ก็อีกอย่างหนึ่งพระนางทรงปรารภคิดถึง
พระมหาสัตว์ยิ่งกว่าผู้อื่น. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า นาคนอกนั้นอยู่ใน
นาคพิภพของตน ฝ่ายพระมหาสัตว์ เพราะเป็นผู้มีศีลเป็นอัธยาศัย ไปยังมนุษย์
โลกกระทำอุโบสถกรรม เพราะเหตุนั้น พระนางจึงทรงคิดถึงพระภูริทัตยิ่งกว่า
ใครๆ ว่า หมองู หรือสุบรรณจะพึงจับเอาบุตรของเราไปเสียกระมังหนอ
จากนั้นพอล่วงไปได้กึ่งเดือน พระนางทรงถึงโทมนัสว่า บุตรของเราไม่สามารถ
จะพลัดพรากจากเราเกินกึ่งเดือนเลย ภัยอย่างใดอย่างหนึ่งจักเกิดขึ้นแก่บุตร
ของเราเป็นแน่. ครั้นล่วงไปได้เดือนหนึ่ง พระนางสมุททชาก็ทรงโศกเศร้าหา
เวลาขาดน้ำตามิได้ ดวงหฤทัยก็เหือดแห้ง พระเนตรทั้งสองก็บวมเบ่งขึ้นมา
พระนางสมุททชาทรงนั่งมองหาทางที่พระมหาสัตว์จะกลับมาถึงเท่านั้นด้วยทรง
รำพึงว่า ภูริทัตจักมา ณ บัดนี้ ภูริทัตจักมา ณ บัดนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 72
ครั้งนั้น สุทัสสนะโอรสองค์ใหญ่ของพระนางสมุททชาครั้นล่วงไปได้
เดือนหนึ่งแล้ว พร้อมด้วยบริษัทเป็นอันมากมาเยี่ยมพระชนกชนนี พักบริษัทไว้
ภายนอกแล้วขึ้นสู่ปราสาท ไหว้พระชนนี แล้วได้ยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระนางสมุททชานั้นกำลังทรงโศกเศร้าถึงพระภูริทัตอยู่ มิได้เจรจาปราศรัยกับ
ด้วยสุทัสสนะ. สุทัสสนะนั้น จึงคิดว่า พระมารดาของเรา เมื่อเรามาครั้งก่อนๆ
เห็นเราแล้วย่อมยินดีต้อนรับ แต่วันนี้พระมารดาทรงโทมนัสน้อยพระทัย คงมี
เหตุอะไรเป็นแน่. ลำดับนั้นเมื่อจะทูลถามพระชนนี จึงกล่าวว่า
เพราะได้เห็นข้าพระองค์ ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่
ทั้งปวงมาเฝ้า อินทรีย์ของพระแม่เจ้าไม่ผ่องใส พระ-
พักตร์พระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เพราะทอดพระเนตรเห็น
ข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์พระแม่เจ้าเกรียนดำ
เหมือนดอกบัวอยู่ในมือ ถูกฝ่ามือขยี้ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหฏฺานิ แปลว่า ไม่ผ่องใส. บทว่า
สาว ความว่า วันนี้แม้พระพักตร์ของพระแม่เจ้าก็เกรียมดำ เหมือนสีฝ้า
กระจกที่ทำด้วยทอง. บทว่า หตฺถคต ความว่า ปิดไว้ด้วยมือ. บทว่า
เอทิส ความว่า เพราะได้เห็นข้าพระองค์เห็นปานนี้ แม้ผู้มาเฝ้าพระองค์
ด้วยความงามคือสิริอันใหญ่.
แม้เมื่อสุทัสสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระนางสมุททชามิได้ตรัสปราศรัย
เลย สุทัสสนะจึงคิดว่า ใครทำให้พระมารดาโกรธหรือหนอ หรือว่าพึงมี
อันตราย ลำดับนั้น สุทัสสนะเมื่อจะทูลถามพระมารดานั้น จึงกล่าวคาถาอีกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 73
ใครว่ากล่าวล่วงเกินพระแม่เจ้าหรือพระแม่เจ้ามี
เวทนาอะไรบ้าง เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์
ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียมดำเพราะ
เหตุไร ?
บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า กจฺจิ นุ เต นาภิสฺสสิ นี้ สุทัสสนะ
ถามว่า ใครกล่าวล่วงเกินพระแม่เจ้าบ้างหรือ หรือว่า เบียนเบียนด้วยการด่า
หรือด้วยการบริภาษ. บทว่า ตุยฺห ความว่า เพราะทอดพระเนตรเห็น
ข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า ในครั้งก่อนๆ พระพักตร์ของพระแม่เจ้าไม่เป็นเช่นนี้. ด้วย
บทว่า เยน นี้ สุทัสสนะถามว่า เพราะเหตุไร วันนี้พระพักตร์ของพระแม่เจ้า
จึงเกรียมดำ พระแม่เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์.
ลำดับนั้น พระนางสมุททชาเมื่อจะตรัสบอกแก่สุทัสสนะนั้น จึงตรัสว่า
พ่อสุทัสสนะเอ๋ย แม่ได้ฝันเห็นล่วงมาเดือนหนึ่ง
แล้วว่า มีชายคนหนึ่งมาตัดแขนของแม่ ดูเหมือน
เป็นข้างขวา พาเอาไปทั้ง ๆ ที่เปื้อนด้วยเลือด เมื่อ
แม่กำลังร้องไห้อยู่ นับตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว เจ้าจง
รู้เถิดว่า แม่ไม่ได้รับความสุขทุกวันทุกคืนเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต มาส อโธคต นี้พระนางสมุทท-
ชาแสดงว่า เมื่อแม่ฝันเห็นเจ้าตั้งแต่วันนั้นจนล่วงมาถึงวันนี้ได้หนึ่งเดือนแล้ว.
บทว่า ปุริโส ความว่า ฝันว่า ยังมีชายคนหนึ่งรูปร่างดำ ตาแดง. บทว่า
โรทนฺติยา สติ ความว่า เมื่อแม่กำลังร้องไห้อยู่. บทว่า สุข เม นูปลพฺภติ
ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความสุขของแม่ไม่มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 74
ก็แลเมื่อพระนางสมุททชา ตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนลูกรัก
น้องของเจ้าหายไปโดยมิได้เห็น ชะรอยว่าภัยคงจะเกิดมีแก่น้องของเจ้า ดังนี้
พลางทรงรำพันกล่าวต่อไปว่า
เมื่อก่อนนางกัญญาทั้งหลาย ผู้มีร่างกายอันสวย
สดงดงาม ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง พากันบำรุง
บำเรอภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้น ย่อมไม่ปรากฏให้เห็น
เมื่อก่อนเสนาทั้งหลายผู้ถือดาบอันคมกล้า งามดังดอก
กรรณิการ์ พากันห้อมล้อมภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้น
ย่อมไม่ปรากฏให้เห็น เอาเถอะ เราจักไปยังนิเวศน์
แห่งภูริทัตบัดเดี๋ยวนี้ จักไปเยี่ยมน้องของเจ้า ผู้ตั้งอยู่
ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺผุลฺลา ความว่า เหมือนดอกกรรณิการ์
ที่บานสะพรั่ง เพราะทรงไว้ซึ่งเครื่องประดับทองคำ. ศัพท์ว่า หนฺท เป็น
นิบาต ใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค พระนางสมุททชาตรัสว่า ไปกันเถิดพ่อ เราจะ
ไปนิเวศน์ของภูริทัต.
ก็แลครั้นพระนางสมุททชา ตรัสอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังนิเวศน์แห่ง
พระภูริทัต พร้อมด้วยบริษัทของพระสุทัสสนะและบริษัทของพระนาง ฝ่าย
เหล่าภรรยาของพระมหาสัตว์เมื่อไม่เห็นพระภูริทัตที่จอมปลวกแล้วจึงคิดว่า คง
จักอยู่ในนิเวศน์ของมารดา จึงมิได้พากันขวนขวายหา. ภรรยาเหล่านั้นครั้น
ทราบว่า ข่าวว่า แม่ผัวมาไม่เห็นบุตรของตน จึงพากันต้อนรับแล้วทูลว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้า เมื่อพระราชบุตรของพระแม่เจ้าหายไป ล่วงไปหนึ่งเดือนเข้าวันนี้
แล้ว ครั้นแล้วต่างพากันคร่ำครวญรำพัน หมอบลงแทบพระบาทของพระนาง
สมุททชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 75
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
ภรรยาทั้งหลายของภูริทัต เห็นพระมารดาของ
ภูริทัตเสด็จมา ต่างประคองแขนคร่ำครวญว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้า หม่อมฉันทั้งหลายไม่ทราบเกล้าล่วงมา
เดือนหนึ่งแล้วว่า ภูริทัตผู้เรืองยศ โอรสของพระแม่
เจ้า สิ้นชีพแล้วหรือว่ายังดำรงชนม์อยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตนฺเตยฺเย ตัดเป็น ปุตฺต เต
อยฺเย ข้าแต่พระแม่เจ้า โอรสของพระแม่เจ้า.
คาถาคร่ำครวญของหญิงเหล่านั้นดังนี้. พระมารดาของพระภูริทัตเสด็จ
พร้อมด้วยหญิงสะใภ้ทรงพากันคร่ำครวญในระหว่างถนน ทรงพาหญิงเหล่านั้น
ขึ้นสู่ปราสาทแห่งพระภูริทัตนั้นตรวจูที่นอนและที่นั่งของบุตรแล้วคร่ำครวญ
จึงตรัสคาถารำพันว่า
เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาล
นาน เหมือนนกพลัดพรากจากลูกเห็นแต่รังเปล่า เรา
ไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์ สิ้นกาลนาน
เหมือนนางหงส์ขาว พลัดพรากจากลูกอ่อน เราไม่
เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน เหมือน
นางนกจากพราก ในเปือกตมอันไม่มีน้ำเป็นแน่ เรา
ไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยความโศกเศร้า เปรียบ
เหมือนเบ้าของช่างทอง เกรียมไหม้ในภายใน ไม่ออก
ไปภายนอกฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปสฺสนฺตี แปลว่า ไม่เห็นอยู่. บทว่า
หตจฺฉาปา ความว่าเหมือนนางหงส์ขาว พลัดจากลูกอ่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 76
เมื่อพระมารดาพระภูริทัต ทรงรำพันอยู่อย่างนี้ นิเวศน์แห่งภูริทัต ก็แซ่
เสียงเป็นอันเดียวกัน ปานประหนึ่งเสียงคลื่นในท้องสมุทรฉะนั้น. แม้นาคสัก
ตนหนึ่ง ก็ไม่อาจทรงภาวะของตนอยู่ ทั่วทั่งนิเวศน์เป็นเหมือนป่าไม้รังถูกลม
ยุคันธวาตฉะนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
บุตรและชายาในนิเวศน์ของภูริทัต ล้มนอน
ระเนระนาด เหมือนต้นรังอันลมฟาดหักลงฉะนั้น.
ในกาลนั้น อริฎฐะ และ สุโภคะ ๒ พี่น้องชาย ไปยังที่อุปัฏฐาก
ของพระมารดาและพระบิดา ได้ยินเสียงนั้น จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของภูริทัต
ช่วยกันปลอบพระมารดา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
อริฏฐะ และสุโภคะ ได้ฟังเสียงอันกึกก้องของ
บุตรธิดา และชายาของภูริทัตเหล่านั้น ในนิเวศน์ของ
ภูริทัต จึงวิ่งไปในระหว่าง ช่วยฉันปลอบพระมารดาว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัยอย่าเศร้าโศกไปเลย
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความตายและความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ การตายและการเกิดขึ้นนี้
เป็นความแปรของสัตว์โลก.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เอสาสฺส ปริณามตา นี้ อริฎฐะ
และ สุโภคะกล่าวว่า การจุติ และ การอุบัตินี้ เป็นความแปรของสัตว์โลก
นั้น สัตว์โลกย่อมเปลี่ยนแปรไปด้วยอาการอย่างนี้แล ใคร ๆ ชื่อว่า จะพ้น
ไปจากที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 77
พระนางสมุททชา ตรัสว่า
ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถึงแม่เรารู้ว่า สัตว์ทั้งหลาย
มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ก็แต่ว่าแม่เป็นผู้อันความเศร้า-
โศก ครอบงำแล้ว ถ้าเมื่อแต่ไม่ได้เห็นภูริทัตในคืน
วันนี้ เจ้าจงรู้ว่า แม่ไม่ได้เห็นภูริทัต เห็นจะต้องละ
ชีวิตเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช เจ เม ความว่า ดูก่อนพ่อ
สุทัสสนะ ถ้าภูริทัตจักไม่มาให้แม่เห็นในคืนวันนี้ไซร้ ครั้นเมื่อแม่ไม่เห็นภูริทัต
แม่เข้าใจว่า แม่จะละชีวิตเป็นแน่.
บุตรทั้งหลายกล่าวว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัย อย่าเศร้าโศก
ไปเลย ลูกทั้ง ๓ จักเที่ยวแสวงหาภูริทัตไปตามทิศ
น้อยทิศใหญ่ ที่ภูเขา ซอกเขา บ้านและนิคม แล้ว
จักนำท่านพี่ภูริทัตมา พระแม่เจ้าจักได้ทรงเห็นท่านพี่
ภูริทัตมาภายใน ๗ วัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร ความว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า บุตรทั้ง
๓ คนปลอบใจพระมารดาว่า พวกลูกจักเที่ยวไปแสวงหาพี่ชายสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
แต่นั้น สุทัสสนะจึงคิดว่า ถ้าเราทั้ง ๓ ไปรวมกันก็จักชักช้าควรแยก
ไป ๓ แห่ง คือผู้หนึ่งไปเทวโลก ผู้หนึ่งไปหิมพานต์ ผู้หนึ่งไปมนุษยโลก
แต่ถ้าให้กาณาริฎฐะไปมนุษยโลก ถ้าไปพบภูริทัตในบ้านและนิคมใด ก็จักเผา
บ้านและนิคมนั้นเสียหมด เพราะกาณาริฎฐะ หยาบช้ากล้าแข็งมาก ไม่ควรให้ไป
มนุษย์โลก ดังนี้จึงส่งอริฎฐะไปเทวโลกว่า ดูก่อนพ่ออริฎฐะ เจ้าจงไปยังเทวโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 78
ถ้าว่าเทวดาต้องการฟังธรรม นำภูริทัตไปไว้ในเทวโลกไซร้ เจ้าจงพาเขา
กลับมา. และส่งสุโภคะให้ไปป่าหิมพานต์ว่า พ่อสุโภคะ เจ้าจงไปยังหิมพานต์
เที่ยวค้นหาภูริทัตในมหานทีทั้ง ๕ พบภูริทัตแล้วจงพามา. ส่วนสุทัสสนะเอง
อยากไปมนุษยโลก แต่มาคิดว่า ถ้าเราจะไปโดยเพศชายหนุ่ม พวกมนุษย์ไม่
ค่อยรักใคร่ ควรจะไปด้วยเพศดาบส เพราะพวกบรรพชิตเป็นที่รักใคร่ของ
พวกมนุษย์. เขาจึงแปลงเพศเป็นดาบส กราบลาพระมารดาแล้วหลีกไป. ก็ภูริทัต
โพธิสัตว์นั้น มีนางนาคน้องสาวต่างมารดาอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า อัจจิมุขี. นาง
อัจจิมุขีนั้น รักพระโพธิสัตว์เหลือเกิน. นางเห็นสุทัสสะจะไปจึงร้องขอว่า ข้า
แต่พี่ น้องลำบากใจเหลือเกิน น้องขอไปกับพี่ด้วย. สุทัสสนะกล่าวว่า ดูก่อน
น้องไม่สามารถไปกับพี่ได้ พี่จะไปด้วยเพศบรรพชิต. อัจจิมุขีกล่าวว่า ข้าแต่พี่
น้องจะกลายเป็นลูกเขียดน้อย นอนไปในชฎาของพี่. สุทัสสนะกล่าวว่า ถ้าเช่น
นั้นจงมาไปกันเถิด. นางอัจจิมุขีจึงแปลงเป็นลูกเขียดน้อย นอนไปในชฎาของพี่
สุทัสสนะจึงคิดว่า เราจักตรวจสอบไปตั้งแต่ต้น ดังนี้แล้วจึงถามถึงที่ ๆ พระ-
ภูริทัตไปรักษาอุโบสถกะภรรยาพระภูริทัตก่อนแล้ว จึงไปในที่นั้นแลเห็นโลหิต
และที่ถักกระโปรงที่ทำด้วยเถาวัลย์ ในที่ ๆ อาลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ รู้ชัด
ว่าหมองูจับภูริทัตไป ก็เกิดความโศกขึ้นทันที มีเนตรนองไปด้วยน้ำตา จึงตาม
รอยอาลัมพายน์ ไปจนถึงบ้านที่หมออาลัมพายน์ให้พระมหาสัตว์เล่นครั้งแรก
จึงถามพวกมนุษย์ว่า หมองู เอานาคราช ชื่อ เห็นปานนี้มาเล่นในบ้านนี้บ้าง
หรือไม่. มนุษย์ตอบว่า อาลัมพายน์เอานาคราชเห็นปานนี้มาเล่น แต่นั้นถึง
วันนี้ประมาณหนึ่งเดือนแล้ว. สุทัสสนะถามว่า หมองูนั้นได้อะไรบ้างไหม.
มนุษย์ตอบว่า ที่บ้านนี้หมองูได้ทรัพย์ประมาณพันหนึ่งขอรับ. สุทัสสนะถามว่า
บัดนี้หมองูไปไหน. มนุษย์ตอบว่า หมองูไปบ้านชื่อโน้น. สุทัสสะถาม
เรื่อยไปตั้งแต่บ้านนั้น จนถึงประตูพระราชฐาน.
จบวิลาปกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 79
ขณะนั้นอาลัมพายน์ อาบน้ำสะศีรษะ ลูบไล้ของหอมนุ่งห่มผ้าเนื้อ
เกลี้ยงแล้ว ให้คนยกกระโปรงแก้วไปยังประตูพระราชฐาน. มหาชนประชุมกัน
แล้ว. พระราชอาสน์ก็จัดไว้พร้อมเสร็จ. พระราชานั้นเสด็จอยู่ข้างในนิเวศน์
ทรงส่งสาสน์ไปว่า เราจะไปดู ขออาลัมพายน์จงให้นาคราชเล่นไปเถิด. อาลัม-
พายน์จึงวางกระโปรงแก้วลงบนเครื่องลาดอันวิจิตร เปิดกระโปรงออกแล้วให้
สัญญาว่า ขอมหานาคออกมาเถิด. สมัยนั้น สุทัสสนะก็ไปยืนอยู่ท้ายบริษัท
ทั้งปวง. พระมหาสัตว์โผล่ศีรษะแลดูบริษัททั่วไป. นาคทั้งหลายแลดูบริษัท
ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ เพื่อจะดูอันตรายจากสุบรรณอย่าง ๑ เพื่อจะดูพวก
ญาติอย่างหนึ่ง. นาคเหล่านั้นครั้นเห็นสุบรรณก็กลัวไม่ฟ้อนรำ ครั้นเห็นพวก
ญาติก็ละอายไม่ฟ้อนรำ. ส่วนพระมหาสัตว์เมื่อแลไปเห็นพี่ชายในระหว่างบริษัท
ท่านก็เลื้อยออกจากกระโปรงตรงไปหาพี่ชายทั้ง ๆ ที่น้ำตานองหน้า.
มหาชนเห็นพระภูริทัตเลื้อย ก็พากันตกใจหลีกออกไป. ยังยืนอยู่แต่
สุทัสสนะผู้เดียว. พระภูริทัตไปซบศีรษะร้องไห้อยู่ที่หลังเท้าของสุทัสสนะก็ร้องไห้.
ฝ่ายสุทัสสนะก็ร้องไห้. พระมหาสัตว์ร้องไห้แล้วก็กลับมาเข้ากระโปรง. อาลัม-
พายน์เข้าใจว่า ดาบสถูกนาคนี้กัดเอา คิดจะปลอบโยนท่าน จึงเข้าไปหา
สุทัสสนะแล้วกล่าวว่า
นาคหลุดพ้นจากมือ ไปฟุบลงที่เท้าของท่าน
คุณพ่อ มันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัวเลย จง
ถึงความสุขเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาภายิ ความว่า ดูก่อนพ่อดาบส
เราชื่อว่า อาลัมพายน์ ท่านอย่ากลัวเลย ชื่อว่า การปฏิบัติรักษานั้น เป็น
หน้าที่ของข้าพเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 80
สุทัสสนะ เพราะมีความประสงค์จะกล่าวกับอาลัมพายน์จึงกล่าวว่า
นาคตัวนี้ ไม่สามารถจะยังความทุกข์อะไร ๆ
ให้เกิดแก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด ดีไม่ดียิ่งกว่าเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายจิ ความว่า นาคตัวนี้ไม่มีความสามารถ
ในอันยังทุกข์อะไรๆ แม้มีประมาณน้อยให้เกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะขึ้นชื่อว่า
หมองูผู้เช่นกับเราย่อมไม่มี. อาลัมพายน์เมื่อไม่รู้จักว่าผู้นี้คือใครก็โกรธกล่าวว่า
คนเซอะอะไรหนอ แปลงเพศเป็นพราหมณ์มา
ท้าเราในที่ประชุมชน ขอบริษัทจงฟังเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺโต ได้แก่ คนเย่อหยิ่ง คนชั่ว คน
ลามก คนอันธพาล. บทว่า อวาหยตุ แปลว่า มาท้าทาย. อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า คนนี้เป็นใคร เป็นคนโง่
หรือเป็นบ้า มาท้าทายเราด้วยสงครามทำตัวเสมอเรามายังบริษัท. บทว่า ปริสา
มม ความว่า ขอบริษัทจงฟังเรา โทษของเราไม่มี ท่านอย่ามาโกรธเราเลย.
ลำดับนั้น สุทัสสนะ ได้กล่าวกะหมองูว่า
ดูก่อนหมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค เราจะ
ต่อสู้กับท่านด้วยเขียด ในการรบของเรานั้น เราทั้งสอง
จงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาเคน ความว่า ท่านจักรบกับเราด้วย
นาค เราจักรบกับท่านด้วยลูกเขียด. บทว่า อา สหสฺเสหิ ปญฺจหิ ความว่า
เอาเถอะในการรบของเรานั้น เราจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
อาลัมพายน์กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 81
ดูก่อนมาณพ เราเท่านั้นเป็นคนมั่งคั่งด้วยทรัพย์
ท่านเป็นคนจนใครจะเป็นคนรับประกันท่านและอะไร
เป็นเดิมพันของท่าน เดิมพันของเรามี และคนรับ
ประกันเช่นนั้นก็มี ในการรบของเราทั้งสอง เรา
ทั้งสองมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ เต ความว่า ใครจะเป็นคน
รับประกันของท่านผู้เป็นบรรพชิตมีอยู่หรือ. บทว่า อุปชูตญฺจ นี้ อาลัมพายน์
กล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ทรัพย์อะไรชื่อว่าพึงเป็นของท่านที่ตั้งไว้ในการพนัน
นี้มีอยู่หรือ ท่านจงแสดงแก่เรา. บทว่า อุปชูตญฺจ เม ความว่า ก็
ทรัพย์ที่จะพึงให้แก่เรา หรือที่จะพึงว่าเป็นเดิมพัน หรือใครผู้จะเป็นประกัน
เช่นนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้นในการรบของเราทั้งสองนั้น เราทั้งสองจะต้องมี
ทรัพย์เป็นเดิมพันจนถึง ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
สุทัสสนะ ครั้นได้ฟังคำของอาลัมพายน์นั้นแล้ว ไม่กล้ายืนยันว่า เอา
เถอะพนันกันด้วยทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะดังนี้ก็ขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ไปเฝ้า
พระเจ้าพาราณสีผู้เป็นลุง แล้วกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ เชิญสดับคำของ
อาตมภาพ ขอความเจริญจงมีแก่มหาบพิตร ขอ
มหาบพิตรทรงรับประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะ ของ
อาตมภาพเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺติมา ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยเกียรติคุณ.
พระราชาทรงพระดำริว่า ดาบสนี้ขอทรัพย์เรามากเหลือเกิน จึงตรัส
คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 82
ข้าแต่ดาบส หนี้เป็นหนี้ของบิดา หรือว่าเป็นหนี้
ที่ท่านทำเอง เพราะเหตุไร ท่านจึงขอทรัพย์มากมาย
อย่างนี้ ต่อข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตฺติก วา ความว่า ชื่อว่า หนี้เป็น
ของอันบิดาเอาไว้ใช้บริโภคหรือ หรือว่าตนเองทำขึ้นไว้ ทรัพย์อะไรที่บิดาของ
เราถือเอาจากมือของท่าน หรือว่าอะไรเราถือเอาของท่านไว้มีอยู่ เพราะเหตุไร
เจ้าจึงขอทรัพย์เป็นอันมากถึงอย่างนี้กะเรา.
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้ สุทัสสนะ จึงได้กล่าวคาถาว่า
เพราะอาลัมพายน์ ปรารถนาจะต่อสู้กับอาตม-
ภาพด้วยนาค อาตมภาพจักให้ลูกเขียดกัดพราหมณ์
อาลัมพายน์ ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ขอเชิญพระองค์
ผู้มีหมู่ทหารดาบเป็นกองทัพ เสด็จทอดพระเนตรนาค
นั้นในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชิคึสติ ความว่า ในการสงครามที่
ผู้ปรารถนาจะชนะ ถ้าอาลัมพายน์จักชนะอาตมภาพ อาตมภาพจักต้องให้ทรัพย์
๕,๐๐๐ กหาปณะแก่เขา ถ้าอาตมภาพชนะเขาก็จักต้องให้แก่อาตมภาพเหมือน
กัน เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอทรัพย์พระองค์เป็นอันมาก. บทว่า ต
ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร จงเสด็จไปทอดพระเนตรในวันนี้.
พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจักไป จึงเสด็จไปพร้อมกับดาบส
นั้นแล. อาลัมพายน์เห็นพระราชาเสด็จมากับดาบส ตกใจกลัวว่า ดาบสนี้
ไปเชิญพระราชาออกมา ชะรอยว่าจักเป็นบรรพชิตในพระราชาสำนัก เมื่อจะ
คล้อยตามจึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 83
ข้าแต่ดาบส เราไม่ได้ดูหมิ่นท่าน โดยทางศิลป
ศาสตร์เลย ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์มากเกินไปไม่
ยำเกรงนาค.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สิปฺปวาเทน อาลัมพายน์กล่าวว่า
ดูก่อนมาณพ เราไม่ได้ดูหมิ่นท่านด้วยศิลปศาสตร์ของตนเลย แต่ท่านมัวเมา
ด้วยศิลปศาสตร์ของตนมากเกินไป ไม่บูชานาคนี้ คือไม่กระทำความยำเกรง
ต่อนาคนั้น.
ลำดับนั้น สุทัสสนะได้กล่าว ๒ คาถาว่า
ดูก่อนพราหมณ์ แม้อาตมาก็ไม่ดูหมิ่นท่านใน
ทางศิลปศาสตร์ แต่ว่าท่านล่อลวงประชาชนนักด้วย
นาคอันไม่มีพิษ ถ้าชนพึงรู้ว่านาคของท่านไม่มีพิษ
เหมือนอย่างอาตมารู้แล้ว ท่านก็จะไม่ได้แกลบสักกำ-
มือหนึ่งเลย จักได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่าหมองู.
ลำดับนั้น อาลัมพายน์โกรธต่อสุทัสสนะ จึงกล่าวว่า
ท่านผู้นุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เกล้าชฎารุ่มร่าม
เหมือนคนเซอะ เข้ามาในประชุมชน ดูหมิ่นนาคเช่น
นี้ว่าไม่มีพิษ ท่านเข้ามาใกล้แล้ว ก็จะพึงรู้ว่านาคนั้น
เต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุด ข้าพเจ้าเข้า
ใจว่านาคตัวนี้จักทำท่านให้แหลกเป็นเหมือนเถ้าไป
โดยฉับพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุมฺมี ความว่า ท่านนุ่งหนังเสือพร้อม
ทั้งเล็บ. บทว่า อวิโส อติมญฺสิ ความว่า ท่านดูหมิ่นว่าไม่มีพิษ. บทว่า
อาสชฺช แปลว่า เข้ามาใกล้. บทว่า ชญฺาสิ แปลว่า ท่านพึงรู้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 84
ลำดับนั้น สุทัสสนะเมื่อกระทำการเย้ยหยันจึงกล่าวคาถาว่า
พิษของงูเรือน งูปลา งูเขียว พึงมี แต่พิษของ
นาคมีศีรษะแดง ไม่มีเลยทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิลุตฺตสฺส แปลว่างูเรือน. บทว่า
ทุฑฺฑุภสฺส แปลว่า งูน้ำ. บทว่า สิลาภุโน แปลว่า งูเขียว.
สุทัสสนะครั้นแสดงงูไม่มีพิษดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า พิษของงูเหล่านั้น
พึงมี แต่พิษของงูมีศีรษะแดงไม่มีเลย
ลำดับนั้น อาลัมพายน์ได้กล่าวกะสุทัสสนะด้วยคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้
สำรวม ผู้มีตบะ มาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานในโลกนี้
ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสียเถิด ถ้า
ท่านมีสิ่งของที่จะควรให้ นาคนี้มีฤทธิ์มาก มีเดช
ยากที่ใคร ๆ จะก้าวล่วงได้ เราจะให้นาคนั้นกัดท่าน
มันก็จักทำท่านให้เป็นขี้เถ้าไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาตเว ความว่า ถ้าท่านมีสิ่งไรที่จะ
ควรให้ ท่านจงให้เถิด.
ลำดับนั้นสุทัสสนะกล่าวว่า
ดูก่อนสหาย เราแม้ก็ได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้ง
หลาย ผู้สำรวมมีตบะมาว่า ทายกทั้งหลายให้ทานใน
โลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านนั่นแหละเมื่อมีชีวิต
อยู่ จงให้ทานเสีย ถ้าท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้จงให้ ลูก
เขียดชื่อว่า อัจจิมุขีนี้ เต็มด้วยเดชเหมือนของนาคอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 85
สูงสุด เราจักให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน ลูกเขียดนั้นจัก
ทำท่านให้เป็นขี้เถ้าไป นางเป็นธิดาของท้าวธตรฐ
เป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขีผู้เต็มไป
ด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุดนั้นจงกัดท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคสฺส เตชสา ความว่า เต็มไป
ด้วยพิษอันสูงสุด.
ก็แล สุทัสสนะ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหยียดมือร้องเรียกน้องหญิง
ในท่ามกลางมหาชนนั่นแล ด้วยคำว่า น้องหญิงอัจจิมุขี เจ้าจงออกจากภาย
ในชฎาของพี่มายืนอยู่ในฝ่ามือของพี่.
นางอัจจิมุขีผู้นั่งอยู่ภายในชฎานั่นแล ได้ยินเสียงเรียกของสุทัสสนะ
พี่ชายยังฝนลูกกบให้ตกถึง ๓ ครั้งแล้ว จึงออกจากภายในชฎา นั่งอยู่ที่จะงอยบ่า
กระโดดจากนั้น ยืนอยู่บนฝ่ามือของสุทัสสนะพี่ชาย แล้วทำหยาดพิษ ๓ หยาด
ให้ตกแล้วเข้าไปภายในชฎาของสุทัสสนะอีกตามเดิม. สุทัสสนะยืนถือพิษอยู่แล้ว
ประกาศเสียงดังขึ้นว่า ชาวชนบทจักพินาศหนอ. เสียงของสุทัสสนะได้ดังกลบ
นครพาราณสีถึง ๑๒ โยชน์. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามเขาว่า ชนบทจัก
พินาศเพื่ออะไร. สุทัสสนะทูลว่าดูก่อนมหาบพิตรอาตมาไม่เห็นที่หยดของพิษนี้.
พระราชา เจ้าจงหยดพิษที่แผ่นดินใหญ่เถิด. ลำดับนั้น สุทัสสนะ เมื่อจะห้าม
พระราชาว่า อาตมภาพไม่สามารถ หยดพิษบนแผ่นดินใหญ่นั้น มหาบพิตร
จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจัดหยดพิษลงบน
แผ่นดินไซร้ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ต้นหญ้า
ลดาวัลย์ และต้นยาทั้งหลาย พึงเหี่ยวแห้งไปโดยไม่
ต้องสงสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 86
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณลตานิ ความว่า หญ้า เถาวัลย์
และต้นยาทั้งปวงที่อาศัยแผ่นดินก็จะพึงเหี่ยวแห้งไป เพราะเหตุนั้น อาตมภาพ
จึงไม่อาจหยดพิษบนแผ่นดินได้. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้นท่านจง
ขว้างขึ้นไปบนอากาศ. สุทัสสนะ. เมื่อจะแสดงว่า ถึงในอากาศนั้น ก็ไม่อาจ
ขว้างหยดพิษขึ้นไปได้ จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักขว้างพิษขึ้น
บนอากาศ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ฝนและน้ำค้าง
จะไม่ตกลงตลอด ๗ ปี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิม ปเต ความว่า แม้เพียงหยาด
น้ำค้าง ก็จักไม่ตกตลอด ๗ ปี.
พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้นพ่อจงหยดพิษลงในน้ำ.
สุทัสสนะ เมื่อจะแสดงว่า แม้ในน้ำนั้นก็หยดพิษลงไม่ได้ จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษลง
ในน้ำ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า สัตว์น้ำมีประมาณ
เท่าใด ทั้งปลาและเต่าจะพึงตายหมด.
ลำดับนั้นพระราชาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนพ่อ ข้าพเจ้าไม่รู้อะไร ท่าน
จงช่วยหาอุบายที่จะไม่ให้แคว้นของเราฉิบหายด้วยเถิด. สุทัสสนะทูลว่า ดูก่อน
มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น มหาบพิตรจงรับสั่งให้คนขุดบ่อ ๓ บ่อ ต่อ ๆ กันไป
ในที่แห่งนี้. พระราชารับสั่งให้ขุดบ่อแล้ว. สุทัสสนะ จึงบรรจุบ่อแรกให้เต็ม
ด้วยยาต่าง ๆ บ่อที่ ๒ ให้บรรจุโคมัย และบ่อที่ ๓ ให้บรรจุยาทิพย์. แล้วจึง
ใส่หยดพิษลงในบ่อที่ ๑. ขณะนั้นนั่นเองก็เกิดควันไฟลุกขึ้นเป็นเปลวแล้วเลย
ลามไปจับบ่อโคมัย แล้วลุกลามต่อไปถึงบ่อยาทิพย์ ไหม้ยาทิพย์หมดแล้วจึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 87
ดับ. อาลัมพายน์ยืนอยู่ใกล้บ่อนั้น. ลำดับนั้น ไอควันพิษฉาบเอาผิวร่างกายเพิก
ขึ้นไป. ได้กลายเป็นขี้เรือนด่าง. อาลัมพายน์ ตกใจกลัว จึงเปล่งเสียงขึ้น ๓
ครั้งว่า ข้าพเจ้าปล่อยนาคราชละ พระโพธิสัตว์ได้ยินดังนั้น จึงออกจากกระโปรง
แก้ว นิรมิตอัตภาพอันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ยืนอยู่ด้วยท่าทาง
เหมือนเทวราช. ทั้งสุทัสสนะทั้งอัจจิมุขี ก็มายืนอยู่เหมือนพระโพธิสัตว์นั่นแล.
ลำดับนั้น สุทัสสนะ จึงทูลถามพระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์
ทรงรู้จักหรือ ข้าพระองค์ทั้งสามนี้ เป็นลูกใคร.
ราชา. ดูก่อนพ่อ เราไม่รู้จัก.
สุทัสสนะ. พระองค์ไม่รู้จักข้าพระองค์ทั้งสามยกไว้ก่อน แต่พระองค์
ทรงทราบเรื่องที่ยกนางสมุททชาราชธิดาพระเจ้ากาสีซึ่งพระราชทานแก่ท้าวธตรฐ
หรือไม่เล่า.
ราชา. เออ เรารู้ นางสมุททชาเป็นน้องสาวเรา.
สุทัสสนะ. ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ทั้งสามนี้เป็นลูกของนาง
สมุททชา พระองค์เป็นพระเจ้าลุงของข้าพระองค์ทั้งสาม.
พระราชาได้ฟังดังนั้น ก็ทรงสวมกอดจุมพิตหลานทั้ง ๓ ตน พลาง
ทรงกรรแสงแล้วพาขึ้นปราสาท ทรงทำสักการะเป็นอันมากแล้ว ทรงกระทำ
ปฎิสันถารแล้วถามว่า ดูก่อนภูริทัต พ่อมีฤทธิ์เดชสูงถึงอย่างนี้ ทำไมอาลัม-
พายน์จึงจับได้. พระภูริทัตนั้นจึงทูลเรื่องนั้นโดยพิศดารแล้ว เมื่อจะถวาย
โอวาทพระราชา จึงแสดงราชธรรมแก่พระเจ้าลุงโดยนัยมีอาทิว่า ขอพระราช-
ทาน ธรรมเนียมพระราชาควรจะดำรงราชสมบัติโดยทำนองอย่างนี้.
ลำดับนั้น สุทัสสนะ จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้าลุง มารดาของ
ข้าพระองค์ยังไม่พบเจ้าภูริทัต ก็ยังกลัดกลุ้มอยู่ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่ช้าได้.
ราชา. ดีละพ่อ จงพากันไปก่อนเถิด แต่ว่าลุงอยากจะพบน้องของเรา
บ้าง ทำอย่างไรจึงจะได้พบกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 88
สุทัสสนะ. ข้าแต่พระเจ้าลุง พระเจ้ากาสิกราชผู้เป็นพระอัยกาของ
ข้าพระองค์ เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหนเล่า.
ราชา. ดูก่อนพ่อ พระเจ้ากาสิกราชนั้นต้องพรากจากน้องสาวของลุง
แล้วไม่สามารถจะอยู่เสวยราชสมบัติได้ ได้ละราชสมบัติทรงผนวชเสียแล้ว
เสด็จไปอยู่ในไพรสณฑ์แห่งโน้น.
สุทัสสนะ. ข้าแต่พระเจ้าลุง มารดาของข้าพระองค์ประสงค์จะพบพระ-
เจ้าลุงและพระอัยกาด้วย ถึงวันโน้น พระองค์จงเสด็จไปยังสำนักพระอัยกา
ข้าพระองค์จักพามารดาไปยังอาศรมพระอัยกา พระเจ้าลุงจักได้พบมารดาของ
ข้าพระองค์ในที่นั้นทีเดียว. ดังนั้นทั้ง ๓ ตน จึงกำหนดนัดหมายวันแก่พระเจ้า
ลุงแล้ว ออกจากพระราชนิเวศน์. พระราชาส่งราชภาคิไนยไปแล้ว ก็ทรง
พระกรรแสงแล้วเสด็จกลับ. หลานทั้งสามตน ก็แทรกแผ่นดินลงไปนาคพิภพ.
จบนาคคเวสนกัณฑ์
เมื่อพระมหาสัตว์ถึงนาคพิภพเสียงร่ำไรรำพันก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฝ่าย
พระภูริทัตเหน็ดเหนื่อยเพราะเข้าอยู่ในกระโปรงถึงหนึ่งเดือน จึงเลยนอนเป็น
ไข้ มีพวกนาคมาเยี่ยมนับไม่ถ้วน พระภูริทัตนั้นเหน็ดเหนื่อยเพราะปราศรัย
กับนาคเหล่านั้น. กาณาริฏฐะ ซึ่งยังไปเทวโลกครั้นไม่พบพระมหาสัตว์ก็กลับ
มาก่อน. ลำดับนั้น ญาติมิตรของพระมหาสัตว์เห็นว่ากาณาริฏฐะนั่นเป็นผู้ดุร้าย
หยาบคายสามารถจะห้ามนาคบริษัทได้ จึงให้กาณาริฏฐะเป็นผู้เฝ้าประตูห้อง
บรรทมของพระมหาสัตว์.
ฝ่ายสุโภคะก็เที่ยวไปทั่วหิมพานต์ จากนั้นจึงตรวจตราต่อไป ตามหา
มหาสมุทรและแม่น้ำนอกนั้น แล้วตรวจตรามาถึงแม่น้ำยมุนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 89
ฝ่ายพราหมณ์เนสาทเห็นอาลัมพายน์เป็นโรคเรื้อนจึงคิดว่า เจ้านี่ทำ
พระภูริทัตให้ลำบากจึงเกิดเป็นโรคเรื้อน ส่วนเราก็เป็นคนชี้พระภูริทัตผู้มีคุณ
แก่เรามากให้อาลัมพายน์ด้วยอยากได้แก้ว กรรมชั่วอันนั้นคงจักมาถึงเรา เรา
จักไปยังแม่น้ำยมุนาตลอดเวลาที่กรรมนั้นจะยังมาไม่ถึง แล้วจักกระทำพิธีลอย
บาปที่ท่าปยาคะ เขาจึงไปที่ท่าน้ำปยาคะแล้วกล่าวว่า เราได้ทำกรรมประทุษร้าย
มิตรในพระภูริทัต เราจักลอยบาปนั้นไปเสีย ดังนี้แล้วจึงทำพิธีลงน้ำ.
ขณะนั้น สุโภคะไปถึงที่นั้น ได้ยินคำของพราหมณ์เนสาทนั้นจึงคิดว่า
ได้ยินว่าตาคนนี้บาปหนา พี่ชายของเราให้ยศศักดิ์มันมากมายแล้ว กลับไปชี้ให้
หมองู เพราะอยากได้แก้ว เราเอาชีวิตมันเสียเถิด ดังนี้แล้วจึงเอาหางพันเท้า
พราหมณ์ทั้งสองข้าง ลากให้จมลงในน้ำ พอจวนจะขาดลมหายใจจึงหย่อนให้
หน่อยหนึ่ง. พอพราหมณ์โผล่หัวขึ้นได้ก็กลับลากให้จมลงไปอีก ทรมานให้
ลำบากอย่างนี้อยู่หลายครั้ง พราหมณ์เนสาทโผล่หัวขึ้นได้จึงกล่าวคาถาว่า
น้ำที่โลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้ มีอยู่ที่ท่า
ปยาคะ ภูตผีอะไรฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอันลึก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าโลกฺย ความว่า น้ำอันโลกสมมติว่าสามารถ
ลอบบาปได้อย่างนี้. บทว่า สชฺชนฺต ความว่า น้ำเห็นปานนี้ที่จัดไว้สำหรับ
ประพรม. บทว่า ปยาคสฺมึ ได้แก่ มีอยู่ที่ท่าปยาคะ.
ลำดับนั้น สุโภคะ ได้กล่าวกะพราหมณ์เนสาทนั้นด้วยคาถาว่า
นาคราชนี้ใดเป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ พันกรุง
พาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของนาคราชผู้ประ-
เสริฐนั้น ดูก่อนพราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเราว่า
สุโภคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 90
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเทส ตัดเป็น โย เอโส แปลว่า
นาคราชนั้นใด. บทว่า ปกีรหรี สมนฺตโต ความว่า พันกรุงพาราณสีไว้ทั้งหมด
โดยรอบปรกพังพานไว้ข้างบน โดยสามารถนำทุกข์เข้าไปแก่ผู้เป็นข้าศึก.
ลำดับนั้น พราหมณ์เนสาทจึงคิดว่า นาคนี้เป็นพี่น้องของพระภูริทัต
จักไม่ไว้ชีวิตเรา อย่ากระนั้นเลย เราจะยกยอเกียรติคุณของนาคนี้ทั้งมารดา
และบิดาของเขา ให้ใจอ่อนแล้วขอชีวิตเทไว้ ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
ถ้าท่านเป็นโอรสของนาคราชผู้ประเสริฐ ผู้เป็น
พระราชาของชนชาวกาสี เป็นอธิบดีอมร พระชนก
ของท่านเป็นใหญ่คนโตผู้หนึ่ง และพระชนนีของท่าน
ก็ไม่มีใครเทียบเท่าในหมู่มนุษย์ ผู้มีอานุภาพมากเช่น
ท่าน ย่อมไม่สมควรจะฉุดแม่คนที่เป็นเพียงทาสของ
พราหมณ์ให้จมน้ำเลย.
ในพระคาถานั้น โดยนามอีกอย่างว่า กาสี ชนทั้งหลายเรียกกันว่า
พระราชาผู้เป็นอิสระในแคว้นกาสี ซึ่งมีชื่ออย่างนี้ พราหมณ์พรรณนาแคว้น
กาสี ให้เป็นของพระเจ้ากาสี เพราะพระราชธิดาผู้เป็นใหญ่ในแคว้นกาสียึด
เอา. บทว่า อมราธิปสฺส ความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย กล่าวคือ
อมร เพราะมีอายุยืน. บทว่า มเหสกฺโข ความว่า เป็นผู้หนึ่งบรรดาผู้มี
ศักดิ์ใหญ่. บทว่า ทาสปิ ความว่า จริงอยู่ผู้มีอานุภาพมากเช่นท่าน ไม่ควร
เพื่อจะทำผู้ไม่มีอานุภาพ แม้เป็นทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำ จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงพราหมณ์ผู้มีอานุภาพมากเล่า.
ลำดับนั้น สุโภคะ จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า เจ้าพราหมณ์ชั่วร้าย
เจ้าสำคัญว่า จะหลอกให้เราปล่อยหรือ เราไม่ไว้ชีวิตเจ้า เมื่อจะประกาศกรรม
ที่พราหมณ์นั้นการทำจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 91
เจ้าแอบต้นไม้ยิงเนื้อซึ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำ เนื้อถูก
ยิงแล้วรู้สึกได้ด้วยกำลังลูกศร จึงวิ่งหนีไปไกล เจ้า
ไปพบมันล้มอยู่ในป่าใหญ่ จึงแล่เนื้อหามมาถึงต้นไทร
ในเวลาเย็น อันกึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนกดุเหว่า
และนกสาลิกามีใบเหลือง เกลื่อนกล่นไปด้วยย่านไทร
มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงม น่ารื่นรมย์ใจ ภูมิภาคเขียว
ไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ พี่ชายของเราเป็นผู้รุ่ง
เรืองไปด้วยฤทธิ์และยศ มีอานุภาพมาก อันนางนาค
กัญญาทั้งหลายแวดล้อม ปรากฏแก่เจ้าผู้อยู่ที่ต้นไทร
นั้น ท่านพาเจ้าไปเลี้ยงดู บำรุงบำเรอด้วยสิ่งที่น่าใคร่
ทุกอย่าง เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่ประทุษร้าย
เวรนั้นมาถึงเจ้าในที่นี้แล้ว เจ้าจงเหยียดคอออกเร็ว ๆ
เถิด เราจักไม่ไว้ชีวิตเจ้า เราระลึกถึงเวรที่เจ้าทำต่อ
พี่ชายเรา จึงจักตัดศีรษะเจ้าเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาย นิโคฺรธมุปาคมิ ความว่า ท่านเข้า
ไปยังต้นไทรในเวลาวิกาล. บทว่า ปิงฺคิย ความว่า มีใบสีเหลือง.
บทว่า สณฺตายุต แปลว่า เกลื่อนกล่นไปด้วยย่านไทร. บทว่า โกกิลาภิรุท
ความว่า มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงม. บทว่า ธุว หริตสทฺทล ความว่า
ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ เพราะเกิดในที่ใกล้น้ำ. บทว่า
ปาตุรหุ ความว่า พี่ชายของเรานั้นได้ปรากฏชัดแก่เจ้าผู้อยู่ที่ต้นไทรนั้น.
บทว่า อิทฺธิยา แปลว่าด้วยเดชแห่งฤทธิ์. บทว่า โส เตน ความว่า ท่านนั้น
อันพี่ชายของเราพาไปสู่ภพของตนแล้วเลี้ยงดู. บทว่า ปริสร ความว่า เรา
ระลึกนึกถึงเวรคือกรรมชั่วที่เจ้าทำแก่พี่ชายของเรา. บทว่า เฉทยิสฺสามิ
แปลว่า เราจักตัด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 92
ลำดับนั้นพราหมณ์เนสาทจึงคิดว่า นาคนี้เห็นจะไม่ไว้ชีวิตเราแน่ แต่
ถึงกระนั้นเราก็ควรจะพยายามกล่าวอะไรๆ เพื่อให้พ้นให้จงได้ จึงกล่าวคาถาว่า
พราหมณ์ผู้ทรงเวท ๑ ผู้ประกอบในการขอ ๑
ผู้บูชาไฟ ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นพราหมณ์ที่ใคร ๆ
ไม่ควรจะฆ่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเตหิ ความว่า พราหมณ์เป็นผู้อันใคร
ไม่ควรฆ่า คือฆ่าไม่ได้ ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ มีพราหมณ์ผู้ทรงเวทเป็นต้น
เพราะผู้ใดฆ่าพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมเกิดในนรก.
สุโภคะ ได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็เกิดความลังเลใจ จึงคิดว่า เราจะพา
พราหมณ์นี้ไปยังนาคพิภพ สอบถามพี่น้องดูก็จักรู้ได้ ดังนี้จึงได้กล่าวคาถา ๒
คาถาว่า
เมืองของท้าวธตรฐ อยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา จด
หิมวันตบรรพตซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลแม่น้ำยมุนา ล้วนแล้ว
ไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง พี่น้องร่วมท้องของเรา ล้วน
เป็นคนมีชื่อลือชา อยู่ในเมืองนั้น ดูก่อนพราหมณ์
พี่น้องของเราเหล่านั้นจักว่าอย่างไร เราจักต้องเป็น
อย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปุร แปลว่า นครใด. บทว่า โอคาฬฺห
ความว่า อยู่ลึกลงไปใต้แม่น้ำยมุนา. บทว่า คิริมาหจฺจ ยามุน ความว่า
ตั้งอยู่ไม่ไกลแต่แม่น้ำยมุนา จดหิมวันตบรรพต. บทว่า โชตเต แปลว่า
รุ่งเรืองอยู่. บทว่า ตตฺถ เต ความว่า พี่ชายของเราเหล่านั้น อยู่ในนคร
นั้น. อธิบายว่าเมื่อเจ้าถูกนำไปในที่นั้น พี่ชายเหล่านั้นว่าอย่างใด เจ้าจักเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 93
อย่างนั้น ก็ถ้าเจ้ากล่าวคำจริง ชีวิตของเจ้าก็จะมีอยู่ ถ้ากล่าวคำไม่จริง เราจะ
ตัดศีรษะของเจ้าในที่นั้นทีเดียว.
สุโภคะครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว จึงจับคอพราหมณ์เสือกไสไปพลาง
บริภาษไปพลาง จนถึงประตูปราสาทของพระโพธิสัตว์.
จบสุโภคกัณฑ์
ลำดับนั้น กาณาริฏฐะนั่งเฝ้าประตูอยู่ เห็นสุโภคะพาพราหมณ์เนสาท
ทรมานมาดังนั้น จึงเดินสวนทางไปบอกว่า แน่ะ พี่สุโภคะ พี่อย่าเบียดเบียน
พราหมณ์นั้น เพราะพวกที่ชื่อว่าพราหมณ์ในโลกนี้ เป็นบุตรท้าวมหาพรหม
ถ้าท้าวมหาพรหมรู้เข้าก็จักโกรธว่า นาคเหล่านี้ เบียดเบียนแม้ลูกทั้งหลายของ
เราแล้ว จักทำนาคพิภพทั้งสิ้นให้พินาศ เพราะพวกที่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็น
ผู้ประเสริฐและมีอานุภาพมากในโลก พี่ไม่รู้จักอานุภาพของพวกพราหมณ์เหล่า
นั้น ส่วนข้าพเจ้าเองรู้ เล่ากันมาว่า กาณาริฏฐะในภพที่เป็นลำดับที่ล่วงมา
ได้เกิดเป็นพราหมณ์บูชายัญ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ ก็แลครั้น
กล่าวแล้วด้วยอำนาจที่ตนเคยเสวยมาในกาลก่อน จึงมีปกติฝังอยู่ในการบูชายัญ
จึงเรียกสุโภคะและนาคบริษัทมาบอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงมาเถิด เราจัก
พรรณนาคุณของพราหมณ์ผู้ทำการบูชายัญ ดังนี้แล้วเมื่อเริ่มกล่าวพรรณนายัญ
จึงกล่าวว่า
ข้าแต่พี่สุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายในโลกที่
พวกพราหมณ์นอกนี้ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นของเล็ก
น้อยเพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ซึ่งใคร ๆ ไม่ควร
ติเตียน ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์เครื่องปลื้มใจและธรรม
ของสัตบุรุษเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 94
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิตฺตรา ความว่า ดูก่อนสุโภคะ ยัญ
และเวททั้งหลายในโลกนี้ ที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นเล็กน้อย
ไม่เลวทราม มีอานุภาพมาก. ยัญและเวทเหล่านั้น ที่พวกพราหมณ์นอกนี้
ประกอบขึ้น เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ใช่เล็กน้อยเลย. บทว่า
ตทคฺครยฺห ความว่า ผู้ติเตียนพราหมณ์ที่ไม่ควรติ ชื่อว่า ย่อมละทิ้งทรัพย์
และธรรมของสัตบุรุษ คือของบัณฑิตทั้งหลาย.
เล่ากันมาว่า เขาได้กล่าวว่า นาคบริษัททั้งหลายอย่าได้เพื่ออันกล่าวว่า
พราหมณ์นี้ ได้ทำกรรมประทุษร้ายต่อมิตรในพระภูริทัตนี้.
ลำดับนั้น กาณาริฏฐะ ได้กล่าวกะสุโภคะนั้นว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ
พี่สุโภคะรู้หรือไม่ว่าโลกนี้ใครสร้าง เมื่อสุโภคะตอบว่า ไม่รู้ เพื่อจะแสดงว่า
โลกนี้ท้าวมหาพรหม ปู่ของพวกพราหมณ์สร้าง จึงกล่าวคาถาอีกว่า
พวกพราหมณ์ ถือการทรงไตรเพท พวกกษัตริย์
ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และพวกศูทร
ยึดการบำเรอ วรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงามตามที่
อ้างมาเฉพาะอย่าง ๆ นั้น กล่าวกันว่า มหาพราหมผู้มี
อำนาจจัดทำไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาคู แปลว่า เข้าถึงแล้ว. เล่ากัน
มาว่า พรหมนิรมิตวรรณะ ๔ มี พราหมณ์เป็นต้นแล้ว กล่าวกะพราหมณ์
ทั้งหลายผู้ประเสริฐ เป็นอันดับแรกว่า พวกท่านจงยึดการศึกษาไตรเพทเท่านั้น
อย่างกระทำสิ่งอะไรอื่น. กล่าวกะพระราชาว่า พวกท่านจงปกครองแผ่นดิน
อย่างเดียว อย่ากระทำสิ่งอะไรอื่น. กล่าวพวกแพศย์ว่า พวกท่านจง ยึดการ
ไถนาอย่างเดียว. กล่าวกะพวกศูทรว่า พวกท่านจงยึดการบำเรอวรรณะ ๓
อย่างเดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 95
ตั้งแต่นั้นมา ท่านกล่าวว่า พราหมณ์ผู้ประเสริฐยึดการศึกษาไตรเพท
พระราชายึดการปกครอง แพศย์ยึดการไถนา ศูทรยึดการบำเรอ. บทว่า ปจฺเจก
ยถาปเทส ความว่า เมื่อจะเข้ายึด ยึดเอาตามทำนองที่พราหมณ์กล่าวแล้ว โดย
สมควรตามตระกูล และประเทศของตน. บทว่า กตาหุ เอเต วสินาติ อาหุ
ความว่า ท่านแสดงว่า พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันท้าวมหาพรหม ผู้มีอำนาจ
ได้สร้างไว้อย่างนี้.
กาณาริฎฐะกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า มหาพรหมผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็ผู้
ใดทำจิตให้เลื่อมใสในมหาพรหมณ์เหล่านั้น ย่อมให้ทาน ผู้นั้นไม่มีการถือ
ปฏิสนธิในที่อื่น ย่อมไปสู่เทวโลก อย่างเดียวจึงกล่าวว่า
พระพรหมผู้สร้างโลก ท้าววรุณ ท้าวกุเวร ท้าว
โสมะ พระยายม พระจันทร์ พระวายุ พระอาทิตย์
แม้ท่านเหล่านี้ ก็ล้วนบูชายัญมามากแล้ว และบูชาสิ่ง
ที่น่าใคร่ทุกอย่าง แก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท ท้าวอรชุน
และท้าวภีมเสน มีกำลังมาก มีแขนนับพัน ไม่มีใคร
เสมอในแผ่นดิน ยกธนูได้ ๕๐๐ คัน ก็ได้บูชาไฟ
มาแต่ก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเตปิ ได้แก่ เทวราชผู้บูชายัญเป็นต้น
เหล่านั้น. บทว่า ปุถุโล ความว่า บูชายัญมามากมาย. ด้วยบทว่า อถ
สพฺพกาเม นี้ ท่านแสดงว่า อนึ่ง ให้สิ่งซึ่งน่าใคร่ทั้งปวง แก่พราหมณ์ผู้
ทรงเวท จึงถึงฐานะเหล่านี้. บทว่า วิกาสิตา แปลว่า ฉุดคร่ามา. บทว่า
จาปสตานิ ปญฺจ ความว่า ไม่ใช่เพียงคันธนู ๕๐๐ คัน ถึงธนูใหญ่
๕๐๐ คัน ก็ยังคร่ามาได้ด้วยตนเอง. เสนาผู้น่ากลัว ชื่อว่า ภีมเสนะ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 96
สหสฺสพาหุ ความว่า ไม่ใช่ท่านมีแขนนับพัน หมายความว่า ท่านสามารถ
ยกธนูใหญ่ ซึ่งต้องยกด้วยแขนจำนวน ๑,๐๐๐ แขน ของคนผู้ถือธนู ๕๐๐
คนได้ เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อาทหิ ชาติเวท ความว่า
ในกาลนั้น พระราชาแม้นั้น ให้พราหมณ์ทั้งหลายอิ่มหนำด้วยกามทั้งปวง ให้
จุดไฟตั้งบำเรอไฟ เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่าน จึงบังเกิดในเทวโลก เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นใหญ่ในโลกนี้.
กาณาริฏฐะนั้นเมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพวกพราหมณ์ แม้ให้ยิ่งขึ้นไป
จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนพี่สุโภคะ ผู้ใดเลี้ยงพราหมณ์ มานานด้วย
ข้าวและน้ำตามกำลัง ผู้นั้นมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาอยู่
ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นบทแสดงอนิยม คือท่านแสดงว่า
ผู้นั้นใดเช่นพระเจ้าพาราณสีองค์เก่า. บทว่า ยถานุภาว ความว่า บริจาคสิ่ง
ทั้งหมดที่มีอยู่แก่เขาตามกำลังแล้วให้บริโภค. บทว่า เทวญฺตโร ความว่า
ดูก่อนพี่สุโภคะเขาได้เป็นเทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง. พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า
เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศอย่างนี้.
ลำดับนั้น กาณาริฏฐะ เมื่อจะนำเหตุแม้อื่นอีกมาแสดง จึงกล่าวคาถาว่า
พราหมณ์ผู้ใด สามารถบูชาเทวดา คือไฟ ผู้กิน
มาก มีสีไม่ทราม ไม่อิ่มหนำด้วยเนยใส พราหมณ์
ผู้นั้น บูชายัญวิธี แก่เทวดา คือ ไฟผู้ประเสริฐแล้ว
ไดไปบังเกิดในทิพยคติและได้เข้าเฝ้าพระเจ้ายุตินทะ.๑
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสน แปลว่า ผู้กินมาก. บทว่า
เชตุ แปลว่า เมื่ออิ่มหนำ. บทว่า ยญฺตฺต ได้แก่ วิธีบูชายัญ. บทว่า
๑. บาลีเป็น พระเจ้ามุจลินท์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 97
วรโต ได้แก่ บูชาเทวดาคือไฟผู้ประเสริฐ. บทว่า มุชตินฺทชฺฌคจฺฉิ
ความว่า พระเจ้ามุชตินทะได้ทรงเข้าถึงแล้ว.
เล่ากันมาว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มุชตินทะ ใน
กรุงพาราณสี ในกาลก่อน ตรัสสั่งให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายมาแล้ว ถามถึงทาง
ไปสวรรค์.
ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ทูลพระราชานั้นว่า ขอพระองค์จง
ทรงกระทำสักการะ แก่พวกพราหมณ์ และแก่เทวดาผู้เป็นพราหมณ์ เมื่อพระ
ราชาตรัสถามว่า เทวดาผู้เป็นพราหมณ์เหล่าไหน จึงทูลว่า เทวดาคือไฟ ดังนี้
แล้วจึงทูลพระราชาว่า ขอพระองค์จงให้ไฟนั้นอิ่มหนำด้วยเนยใสและเนยข้น
พระราชานั้นได้ทรงกระทำอย่างนั้น.
กาณาริฏฐะนั้น เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า
พระเจ้าทุทีปะ มีอานุภาพมาก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี
มีพระรูปงาม น่าดูยิ่งนัก ทรงละแว่นแคว้น อันไม่มี
ที่สุดพร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้ว ได้เสด็จสู่
สวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิ ความว่า ผู้ครองราชสมบัติ
สิ้น ๕๐๐ ปี กระทำสักการะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย แล้วละราชสมบัติอันหา
ที่สุดมิได้ พร้อมด้วยเสนาออกผนวช ทรงการทำสมณธรรม ๕๐๐ ปี เป็น
พระทักขิไณยผู้เลิศน่าดูน่าชม. บทว่า ทุทีโปปิ ท่านกล่าวว่า พระราชาทรง
พระนามว่า ทุทีปะ นั้น บูชาพราหมณ์ทั้งหลายเท่านั้น ก็เสด็จไปสู่สวรรค์
บาลีว่า ทุทิปะ ก็มี.
กาณาริฏฐะ เมื่อจะแสดงอุทาหรณ์แม้อื่นอีก แก่สุโภคะนั้น จึงกล่าว
คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 98
ข้าแต่พี่สุโภคะ พระเจ้าสาครราชทรงปราบ
แผ่นดินอันมีสาครเป็นที่สุด รับสั่งให้ตั้งเสาผูกสัตว์
บูชายัญอันงามยิ่งนัก ล้วนแล้วด้วยทองคำ ทรงบูชา
ไฟแล้วได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง แม่น้ำคงคาและ
สมุทร เป็นที่สั่งสมนมส้ม ย่อมเป็นไปด้วยอานุภาพ
ของผู้ใด ผู้นั้นคือ พระเจ้าอังคโลมบาท ทรงบำเรอ
ไฟ แล้วเสด็จไปเกิดในพระนครของท้าวสหัสสนัยน์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาครนฺต ได้แก่ แผ่นดินมีสาครเป็น
ที่สุด. บทว่า อุสฺเสสิ ความว่า เมื่อท่านถามถึงทางสวรรค์กะพวกพราหมณ์
ครั้นพวกพราหมณ์กล่าวว่า จงให้ยกเสาบูชายัญทองคำขึ้น จึงให้ยกขึ้นเพื่อฆ่า
สัตว์เลี้ยง. บทว่า เวสฺสานรมาทหาโน ความว่า เริ่มบูชาไฟเทวดา อีก
อย่างหนึ่งบาลีว่า เวสฺสานรึ ดังนี้ก็มี. บทว่า เทวญฺตโร กาณาริฏฐะกล่าวว่า
ดูก่อนพี่สุโภคะ ก็พระราชาองค์นั้นบูชาไฟแล้ว ได้เป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ตน
หนึ่ง. บทว่า ยสฺสานุภาเวน ความว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ แม่น้ำคงคาและมหา-
สมุทรใครสร้างพี่รู้ไหม. สุโภคะกล่าวว่า เราไม่รู้. กาณาริฏฐะกล่าวว่า พี่ไม่รู้
อะไร พี่รู้แต่จะโบยตีพราหมณ์เท่านั้น ก็ในอดีตกาลพระเจ้ากรุงพาราณสีทรง
พระนามว่าอังคโลมบาท ตรัสถามทางสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์
ทูลว่า พระองค์จงเสด็จเข้าไปหิมวันต์กระทำสักการะแก่พราหมณ์ทั้งหลายแล้ว
บำเรอไฟ พระองค์จึงพาแม่โคนมและพระมเหสีหาประมาณมิได้เข้าไปยังหิมวันต์
ได้กระทำอย่างนั้น เมื่อพระราชตรัสถามว่า นมสดและนมส้มที่เหลือจากพวก
พราหมณ์บริโภคแล้วจะพึงทำอย่างไร จึงกล่าวว่าจงทิ้งเสีย. ในที่ ๆ น้ำนมแต่ละ
น้อยถูกทิ้งลงไปนั้น ๆ ได้กลายเป็นแม่น้ำน้อย ส่วนน้ำนมนั้นกลายเป็นนมส้ม
ไหลไปขังอยู่ในที่ใด ที่นั้นได้กลายเป็นสมุทรไป พระเจ้าพาราณสีทรงกระทำ
สักการะเห็นปานนี้ เสด็จไปสู่บุรีของท้าวสหัสสนัยน์ ผู้บำเรอไฟตามวิธีที่
พราหมณ์กล่าว ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 99
กาณาริฏฐะ ครั้นนำอดีตนิทานนี้มาชี้แจงแก่สุโภคะดังนี้แล้ว จึงกล่าว
คาถาว่า
เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์มาก มียศ มีเสนา-
บดีของท้าววาสวะในไตรทิพย์ กำจัดมลทินด้วยโสม-
ยาควิธี (บูชาด้วยการดื่มน้ำโสม) ได้เป็นเทพเจ้าองค์
หนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โสมยาเคน มล วิหนฺตฺวา
ความว่า ดูก่อนพี่สุโภคะผู้เจริญ บัดนี้ ผู้ที่เป็นเสนาบดรีของท้าวสักกเทวราช
มียศมาก เป็นเทพบุตร แม้ผู้นั้น เมื่อก่อน เป็นพระเจ้าพาราณสี ถามถึงทาง
เป็นที่ไปสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวว่าขอพระองค์จงลอย
มลทินของตน ด้วยโสมยาควิธีแล้วจะไปสู่เทวโลก จึงทรงกระทำสักการะใหญ่
แก่พราหมณ์ทั้งหลายแล้ว กระทำการบูชาโสมยาคะ ตามวิธีที่พวกพราหมณ์
เหล่านั้นกล่าวแล้ว จึงทรงกำจัดมลทินด้วยวิธีนั้นแล้ว เกิดเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง
เมื่อจะประกาศความนี้จึงกล่าวอย่างนี้
เมื่อกาณาริฏฐะจะแสดงอุทาหรณ์แม้อื่นอีกแก่สุโภคะ จึงกล่าวว่า
เทวดาผู้ประเสริฐ มีฤทธิ์เรืองยศสร้างโลกนี้โลก
หน้า แม่น้ำภาคีรถี๑ ขุนเขาหิมวันต์และเขาวิชฌะ ได้
บูชาไฟมาก่อน ภูเขามาลาคิริ ขุนเขาหิมวันต์ เขา
วิชฌะ ภูเขาสุทัสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ
ภูเขาเหล่านี้ และภูเขาใหญ่อื่น ๆ กล่าวกันว่าพวก
พราหมณ์ผู้บูชายัญได้ก่อสร้างไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสปิ ตทา อาทหิ ชาตเวท ท่าน
แสดงว่า ดูก่อนพี่สุโภคะ. มหาพรหมใด ได้สร้างโลกนี้และโลกหน้า แม่น้ำ
๑. ศัพท์ว่า ภาติรถี อรรถกถาว่า ภาติรถิคงคา อภิธานว่า ภาคิรถี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 100
ภาคีรถี แม่น้ำคงคา ขุนเขาหิมวันต์ เขาวิชฌะและเขากากเวรุ ในกาลใด
มหาพรหมแม้นั้นได้เป็นมาณพก่อนกว่าพรหมอุบัติ ในกาลนั้นเขาเริ่มต้นบูชา
ไฟเป็นมหาพรหมได้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ก็เป็นอย่างนั้น.
บทว่า จิตฺยา กตา ความว่า เล่ากันมาว่า เมื่อก่อน พระเจ้ากรุงพาราณสี
พระองค์หนึ่ง ตรัสถามถึงทางไปสวรรค์กะพวกพราหมณ์ เมื่อพวกพราหมณ์
ทูลว่า ขอพระองค์จงทำสักการะแก่พวกพราหมณ์ พระองค์ก็ได้ถวายมหาทาน
แก่พราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ในการให้ทานของข้าพเจ้านี้ ไม่มีผล
หรือ เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า มีทั้งหมดพระเจ้าข้า แต่อาสนะไม่เพียงพอแก่
พวกพราหมณ์ จึงรับสั่งให้ก่ออิฐสร้างอาสนะทั้งหลาย. ที่นอนและตั่งที่
พระองค์ให้ก่อสร้างขึ้นนั้น เจริญด้วยอานุภาพของพวกพราหมณ์ กลายเป็น
ภูเขามาลาคิริเป็นต้น ภูเขาเหล่านั้นกล่าวกันว่า พวกพราหมณ์ผุ้บูชายัญได้
สร้างไว้ด้วยประการฉะนี้แล.
ลำดับนั้น กาณาริฏฐะจึงกล่าวกะสุโภคะนั้นอีกว่า พี่สุโภคะ ก็พี่รู้หรือ
ไม่ว่า เพราะเหตุไร สมุทรนี้จึงเกิดเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้. สุโภคะกล่าวว่า ดูก่อน
อริฏฐะ พี่ไม่รู้. กาณาริฏฐะจึงกล่าวกะสุโภคะนั้นว่า พี่ก็รู้แต่จะเบียดเบียน
พวกพราหมณ์เท่านั้นไม่รู้อะไรอื่นเลย คอยฟังเถิด จึงกล่าวคาถาว่า
ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้าถึง
คุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะ ในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบในการ
ขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์ผู้กำลังตระเตรียมน้ำ
อยู่ ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำในมหาสมุทร
จึงดื่มไม่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจโยคีติธาหุ ความว่า ชนทั้งหลายใน
โลกนี้เรียกพราหมณ์นั้นว่า ยาจโยคี ผู้ประกอบในการอ้อนวอนขอ. บทว่า อุทก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 101
สชฺชนฺต ความว่า เล่ากันว่า วันหนึ่งพราหมณ์นั้น กระทำกรรมคือการลอย
บาป ยืนอยู่ที่ริมฝั่ง ตักน้ำจากสมุทร กระทำการดำเกล้าสระหัวของตน ขณะ
นั้นสาครกำเริบท่วมทับพราหมณ์นั้น ผู้กระทำอย่างนั้น มหาพรหมได้ทรงสดับ
เหตุนั้นจึงโกรธว่า ได้ทราบว่า สาครนี้ฆ่าบุตรเรา จึงสาปว่าสมุทรจงดื่มไม่ได้
จงเป็นน้ำเค็ม ด้วยเหตุนั้นนั่นเองสมุทรจึงดื่มไม่ได้ กลายเป็นน้ำเค็ม ชื่อว่า
พราหมณ์เหล่านี้ มีคุณมากถึงปานนี้แล.
กาณาริฏฐะกล่าวต่อไปว่า
วัตถุที่ควรบูชา คือพวกพราหมณ์เป็นอันมากมี
อยู่บนแผ่นดิน ของท้าววาสวะ พราหมณ์ทั้งหลายมี
อยู่ในทิศบูรพา ทิศปัจฉิม ทิศทักษิณและทิศอุดร
ย่อมยังปีติและโสมนัสให้เกิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสวสฺส ความว่า ของท้าววาสวะ คือของ
ท้าวสักกเทวราช ผู้ให้ทานแก่พวกพราหมณ์ในกาลก่อนแล้วถึงความเป็นท้าว
วาสวะ. บทว่า อายาควตฺถูนิ ความว่า พราหมณ์เป็นอันมาก ในปฐพี
คือในแผ่นดิน ผู้เป็นบุญเขตในกาลก่อนผู้เป็นทักขิไณยอันเคยมีอยู่. บทว่า
ปุริม ทิส ความว่า แม้บัดนี้พราหมณ์เหล่านั้นมีอยู่ในทิศทั้ง ๔ นี้ ย่อมให้
เกิดความปลื้มปีติเป็นอันมากคือนำมาซึ่งความมีปีติและโสมนัสแก่ท้าววาสวะนั้น.
อริฏฐะ พรรณนาถึงพราหมณ์ ยัญ และ เวทด้วยคาถา ๑๔ คาถาด้วย
ประการฉะนี้.
จบการพรรณนายัญญวาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 102
นาคเป็นอันมากผู้มาเยี่ยมเยียนพระมหาสัตว์ฟังถอยคำนั้นของกาณา-
ริฏฐะนั้นแล้ว ก็พลอยถือเอาผิด ๆ ด้วยคิดว่า กาณาริฏฐะพูดแต่ความจริงเท่านั้น.
พระมหาสัตว์นอนป่วยอยู่ ได้ฟังคำนั้นทั้งหมดแล้ว. ทั้งพวกก็มาแจ้งให้ท่าน
ทราบอีก. ลำดับนั้นท่านคิดว่า อริฏฐะพรรณนาทางผิดๆ เอาเถอะเราจะทำลาย
วาทะของกาณาริฏฐะนั้น แล้วจักกระทำบริษัทให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ท่านลุกขึ้นอาบ
น้ำ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง นั่งบนธรรมาสน์ สั่งให้นาคบริษัททั้งหมด
ประชุมกัน ให้เรียกกาณาริฏฐะมาแล้วกล่าวว่า เจ้ากล่าวสรรเสริญสิ่งที่ไม่จริง
คือ เวท ยัญ และพราหมณ์ทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่า การบูชายัญด้วยวิธีเวท
ของพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐเลย และไม่ใช่เป็นทางแห่ง
สวรรค์ เราจะชี้ข้อไม่เป็นจริงในวาทะของท่าน ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มชื่อวาทะ
อันว่าด้วยประเภทแห่งยัญจึงกล่าวว่า
ดูก่อนอริฏฐะ ความกาลีคือความปราชัยของนัก
ปราชญ์ทั้งหลายกลับเป็นความมีชัยของคนโง่เขลา ผู้
ทรงเวท. ไตรเพทเป็นเหมือนอาการของพยับแดด
เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป มีคุณทางหลอกลวง พา
เอาคนมีปัญญาไปไม่ได้ ไตรเพทมิได้มีเพื่อป้องกันคน
ผู้ประทุษร้ายมิตรผู้ล้างผลาญความเจริญ. เหมือนไฟที่
คนบำเรอแล้ว ย่อมป้องกันโทสจริตทำกรรมชั่วไม่ได้
ถ้าคนทั้งหลายจะเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดพร้อมทั้ง
ทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับหญ้าให้ไฟเผา ไฟอันมี
เดชไม่มีใครเทียม เผาสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดก็ไม่อิ่ม ใคร
จะพึงทำให้ไฟซึ่งรู้รส ๒ อย่าง ให้อิ่มได้ นมสดแปร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 103
ไปได้เป็นธรรมดาคือแปรเป็นนมส้ม แล้วเป็นเนยข้น
ฉันใด ไฟก็มีความแปรเป็นธรรมดาฉันนั้น ไฟประกอบ
ด้วยความเพียร (ในการสีไฟ) จึงจะเกิดได้ ไม่เคยได้
เห็นไฟเข้าไปอยู่ในไม้แห้งและไม่สด คนสีไฟไม่สี
ไฟก็ไม่เกิด ไฟไม่เกิดเพราะไม่มีคนทำให้เกิด ถ้า
แหละไฟพึงอยู่ภายในไม่แห้งและไม่สด ป่าทั้งหมดใน
โลกก็จะพึงแห้งไป และไม้แห้งก็จะพึงลุกโพลง ถ้า
คนทำบุญได้โดยเอาไม้และหญ้าให้ไฟกิน คนเผาถ่าน
คนหุงเกลือ พ่อครัว และคนเผาศพ ก็จะพึงได้ทำบุญ
ถ้าแม้พราหมณ์เหล่านี้ทำบุญได้เพราะการเลี้ยงไฟ
เพราะเรียนมนต์ เพราะเลี้ยงให้อิ่มหนำ ในโลกนี้ใครๆ
ผู้เอาของให้ไฟกิน จะชื่อว่าทำปัญหาไม่ เพราะเหตุไร
เล่า เพราะไฟเป็นสิ่งอันโลกยำเกรง รู้รสสองอย่าง
พึงกินได้มาก ทั้งเป็นของเหม็นมีกลิ่นอันไม่น่าฟูใจ
คนเป็นอันมากไม่ชอบ พวกมนุษย์ละเว้น และเป็น
ของไม่ประเสริฐ คนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดาส่วน
พวกมิลักขุนับถือน้ำเป็นเทวดา คนเหล่านี้ทั้งหมดนี้พูด
ผิด ไฟไม่ใช่เทพเจ้าตนใดคนหนึ่ง และน้ำไม่ใช่เทพ-
เจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง โลกบำเรอไฟซึ่งไม่มีอินทรีย์ ไม่มี
กายจะรู้สึกได้ ส่องแสงสว่างเป็นเครื่องทำการงาน
ของประชาชน เมื่อยังทำบาปกรรมอยู่ จะพึงไปสุคติ
ได้อย่างไร. พวกพราหมณ์ผู้ต้องการเลี้ยงชีวิตในโลก
นี้กล่าวว่า พระพรหมครอบงำได้ทั้งหมด และว่าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 104
พรหมบำเรอไฟ พระพรหมมีอานุภาพกว่าทุกสิ่ง และ
มีอำนาจไม่มีใครสร้าง กลับไปไหว้ไฟที่ตนสร้างเพื่อ
ประโยชน์อะไร คำของพวกพราหมณ์น่าหัวเราะเยาะ
ไม่ควรแก่การเพ่งเล็ง ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์
ในปางก่อนก่อขึ้นไว้ เพราะเหตุแห่งสักการะ
พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อลาภและสักการะเกิดขึ้น จึง
ร้อยกรองยัญพิธีว่าเป็นธรรมสงบระงับ ด้วยการฆ่า
สัตว์บูชายัญ พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวก
กษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และ
พวกศูทรยึดการบำเรอ วรรณะทั้ง ๔ เข้าถึงการงานตาม
ที่อ้างมา เฉพาะอย่างๆ นั้น กล่าวกันว่า มหาพรหม
ผู้มีอำนาจจัดไว้ ถ้าคำนี้พึงเป็นคำจริงเหมือนดังที่พวก
พราหมณ์กล่าวไว้ คนที่ไม่ใช่กษัตรย์ ไม่พึงได้ราช-
สมบัติผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่พึงศึกษามนต์ คนนอกจาก
แพศย์ไม่พึงทำการไถนาเลย และพวกศูทรก็ไม่พึงพ้น
จากการรับใช้ผู้อื่น เพราะคำนี้เป็นคำไม่จริงเป็นคำเท็จ
พวกคนหาเลี้ยงท้องกล่าวไว้ คนไม่มีปัญญาหลงเชื่อ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นด้วยตนเอง เพราะพวกกษัตริย์
ย่อมเก็บส่วยจากพวกแพศย์ พวกพราหมณ์ พวก
พราหมณ์ถือศัสตราเที่ยวฆ่าสัตว์ เพราะเหตุไร พระ-
พรหมจึงไม่ทำโลกอันแตกต่างกันเช่นนั้นให้ตรงเสีย
ถ้าและพระพรหมเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญ ในโลกทั้ง
ปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ทำไมจึงจัดโลกทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 105
ให้มีความทุกข์ ทำไมจึงไม่ทำโลกทั้งปวงให้มีความ
สุข แหละพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้ง
ปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เหตุไรจึงทำโลกโดย
ไม่เป็นธรรม คือมารยาและเจรจาคำเท็จมัวเมา ถ้า
แหละพระพรหมนั้นเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นผู้เจริญในโลกทั้ง
ปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ มีชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตของ
หมู่สัตว์ ก็ชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตอยุติธรรม เมื่อธรรมมีอยู่
พรหมนั้นก็จัดไม่เที่ยงธรรม ตั๊กแตน ผู้เสื้อ งู แมลงภู่
หนอนและแมลงวัน ใครฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรม
เหล่านี้ ไม่ใช่ของพระอริยะ เป็นธรรมผิด ๆ ของ
ชาวกัมโพชรัฐเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวทชฺฌคตาริฏฺ ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ
ชื่อว่าความสำเร็จไตรเพทในบัดนี้ ก็เป็นความยึดถือเอาความกาลี อันนับว่าเป็น
ความปราชัยของนักปราชญ์ แต่กลับเป็นความมีชัยชนะของคนโง่เขลาเบาปัญญา.
บทว่า มรีจิธมฺม ความว่า จริงอยู่ไตรเพทนี้เป็นเหมือนอาการธรรมดาของ
พยับแดด. เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป คนพาลทั้งหลายไม่รู้ซึ่งธรรมดาของ
พยับแดดนี้นั้นอันไม่มีจริงเป็นเหมือนมีจริง เพราะการเห็นไม่ติดต่อกันเหมือน
หมู่เนื้อมองเห็นพยับแดดด้วยสัญญาว่า น้ำจึงพาตนเข้าถึงความพินาศ เพราะ
สัญญาว่ามีจริงและไม่มีโทษ. บทว่า นาติวหนฺติ ปญฺ ความว่า ก็มารยาเห็น
ปานนี้เป็นส่วนหนึ่ง ย่อมล่วงเลย คือไม่หลอกลวงบุรุษผู้มีปัญญา คือผู้
สมบูรณ์ด้วยปัญญา. ร อักษร ในบทว่า ภวนฺติรสฺส นี้ พึงเป็นบทพยัญ-
ชนะสนธิ. บทว่า ภูนหุโน ความว่า เวททั้งหลายของคนประทุษร้ายมิตร
ผู้ฆ่าความเจริญ ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน. อธิบายว่า ไม่สามารถจะเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 106
ที่พึ่งได้. บทว่า ปริจิณฺโณว อคฺคิ ความว่า อนึ่ง ไฟที่เขาบำเรอบูชา. บทว่า
โทสนฺตร ความว่ากรรมชั่ว ย่อมไม่ต้านทาน คือไม่รักษาบุรุษผู้มีจิตอันประกอบ
ด้วยโทษ เพราะโทษแห่งทุจจริตทั้ง ๓ ได้. บทว่า สพฺพญฺจ มจฺจา ความ
ว่า แม้ถ้าว่า คนทั้งหลาย ผู้มีทรัพย์ มีโภคะจะเอาไม้ที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด
พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติของตน คลุกกับหญ้าแล้วให้ไฟเผา. ไฟของท่านนี้ อัน
เดชไม่มีใครสามารถเท่า อันมีเดชไม่มีใครเหมือน เมื่อจะเผาสิ่งทั้งหมดนั้น
ที่พวกนั้นให้เผาแล้ว ก็ไม่พึงไหม้ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นมันก็เผาให้อิ่มไม่ได้นะพี่.
บทว่า ทิรสญฺญู ความว่า บุคคลผู้สามารถรู้รสได้ด้วยลิ้น ๒ ลิ้น ว่าสิ่งนั้น
เป็นภักษาดี หรือน่าพอใจด้วยเนยใสเป็นต้น. บทว่า กิริยา ความว่า ใครพึง
กระทำ คือพึงสามารถเพื่อจะทำ. อธิบายว่า ใครเล่าจักให้ผู้ไม่อิ่มอย่างนี้ คือ
ผู้กินจุนี้ให้อิ่มแล้วไปสู่สวรรค์ ดูเถิดท่าน ข้อนั้นก็ยังผิดอยู่ตลอดกาล. บทว่า
โยคยุตฺโต ความว่าเป็นผู้ประกอบด้วยไม้สีไฟ พอได้สิ่งนั้นเป็นปัจจัย ก็เกิด
ขึ้นคือบังเกิด. ท่านกล่าวกะไฟนั้นซึ่งไม่มีจิตที่เกิดขึ้นเพราะความพยายามของ
ผู้อื่นอย่างนี้ว่า ท่านจงว่าฉันเป็นเทวดา. พูดแต่สิ่งไม่เป็นจริงนี้เท่านั้น. บทว่า
อคฺคิมนุปฺปวิฏฺโ ความว่า ไม่เคยได้เห็นไฟเข้าไปในไม้แห้ง. บทว่า
นามตฺถมาโน ความว่า ถึงไม้แห้งคนสีไฟไม่สีด้วยไม้สีไฟ ไฟก็เกิดไม่ได้.
บทว่า นากมฺมุนา ชายติ ชายเวโท ความว่า เว้นการกระทำของบุรุษผู้
ต้องการเวท ไฟก็ไม่เกิดได้เองตามธรรมดาของตนนั่นแล. บทว่า สุสฺเสยฺยุ
ความว่า ป่าไม้ที่กำลังเหี่ยวแห้งด้วยไฟ ภายใน พึงแห้ง แม้ป่าไม้ที่ยังสดอยู่
นั่นแหละก็พึงแห้งเหี่ยว. บทว่า โภช แปลว่า ให้บริโภค. บทว่า ธุมสิขึ
ปตาปว ความว่า ประกอบด้วยเปลวควัน ให้ร้อนอยู่. บทว่า องฺคาริกา
แปลว่า คนเผาถ่าน. บทว่า โลณกรา แปลว่า คนต้มน้ำเค็มทำเกลือ. บทว่า
สูทา แปลว่า คนครัว. บทว่า สรีรทาหา แปลว่า คนเผาศพ. บทว่า
ปุญฺญ ความว่า คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทำแต่บุญเท่านั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 107
อชฺเฌนมคฺคึ ความว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายจะเป็นผู้เลี้ยงไฟเรียนมนต์
ก็ตาม. คนบางคนให้เธอ ทำให้มีควันมีเปลวให้ร้อน แม้อิ่มแล้วก็ไม่ชื่อ
ว่าทำบุญ. บทว่า โลกาปจิโต สมาโน ความว่า เทวดาของท่านชื่อว่า
อันโลกยำเกรง อันโลกบูชา. บทว่า ยเทว ความว่า คนพึงเว้นสิ่งซึ่ง
ปฏิกูลน่าเกลียด มีซากงูเป็นต้นให้ห่างไกล. บทว่า ตทปฺปสฏฺ ความว่า
ดูก่อนสหาย คนรู้รส ๒ อย่าง พึงกินของที่ไม่ประเสริฐนั้น ได้อย่างไร คือ
เพราะเหตุไร. บทว่า เทเวสุ ความว่า คนบางพวกนับถือนกยูงนับถือเทวดา
ตนใดตนหนึ่ง บรรดาเทวดาทั้งหลาย. บทว่า มิลกฺขู ปน ความว่า ส่วนพวก
มิลักขุผู้ไม่รู้นับถือน้ำว่าเป็นดังเทวดา. บทว่า อสญฺกาย ความว่า โลกบำเรอ
ไฟอันได้ชื่อว่าเวสสานระซึ่งไม่มีอินทรีย์ มีกายที่ไม่มีจิตจะรู้สึกได้ ไม่มีความ
จงใจ กระทำกรรมมีการหุงต้มเป็นต้น แก่ประชาชนแล้วกระทำกรรมชั่ว จักไป
สุคติได้อย่างไร. คำนี้ท่านพูดผิดยิ่งนัก. บทว่า สพฺพาภิภูตาหุ ชีวิกตฺถ
ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านี้ กล่าวว่า มหาพรหมดรอบงำได้ทั้งหมด เพื่อ
ความเป็นอยู่ของตน. และกล่าวว่า โลกทั้งหมด อันมหาพรมนั่นแหละสร้างขึ้น.
กล่าวอีกว่า พระพรหมบำเรอไฟ. เล่ากันมาว่า พระพรหมนั่นแหละบูชาไฟ.
บทว่า สพฺพานุภาวี จ วสี ความว่า และพระพรหมนั้น ถ้ามีอานุภาพ
ทุกอย่าง และมีความคล่องในฤทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรตนเองจึงไม่
ใช้คนอื่นสร้าง ตนเองเท่านั้นสร้างขึ้นเอง. บทว่า วนฺทิตสฺส ความว่า พระ-
พรหมนั้น พึงเป็นผู้อันเขากราบไหว้ แม้คำนี้ท่านกล่าวไม่ถูกเหมือนกัน . บทว่า
หาส ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ขึ้นชื่อว่าคำของพราหมณ์ เป็นคำที่ควรจะหัวเราะ
ไม่ควรจะเพ่งดูสำหรับบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า พราหมณ์เหล่านี้
มุสาวาทเห็นปานนี้ พวกพราหมณ์ได้ก่อสร้างขึ้นในกาลก่อน เพราะเหตุแห่ง
สักการะเพื่อตน. บทว่า สนฺธาภิตา ชนฺตูภิ สนฺติธมฺม ความว่า พราหมณ์
เหล่านี้ ประกอบลาภและสักการะเพียงเท่านี้ที่ไม่ปรากฏกับพวกสัตว์ แล้วผูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 108
พันสันติธรรมคือ ลัทธิธรรมของตน อันเกี่ยวด้วยการฆ่าสัตว์ จึงร้อยกรองยัญ
วิธีชื่อว่ายัญสูตร. บทว่า เอตญฺเจ สจฺจ ความว่า หากจะพึงมีความจริงไซร้
ก็จะพึงมีเป็นต้นว่า นั่นเป็นสิ่งประเสริฐ ด้วยการที่ท่านอ้างเอาเอง. บทว่า
นาติขตฺติโย ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ไม่ใช่กษัตริย์ จะครองรัฐไม่ได้ แม้
ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ ก็ศึกษาบทมนต์ไม่ได้. บทว่า มุสวิเม ตัดเป็น มุสาว อิเม.
บทว่า โอทริยา ความว่า พวกคนหาเลี้ยงท้อง หรือเพราะเหตุจะให้เต็มท้อง.
บทว่า ตทปฺปญฺา ความว่า เขากล่าวไว้ว่าคนพวกนั้น คือคนไม่มีปัญญา.
บทว่า อตฺตนาว ความว่า ส่วนบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นด้วยตนเองคำของพวก
นั้นเป็นคำมีโทษ จึงไม่หลงเธอ. บทว่า ต ตาทิส ได้แก่ คำนั้นคือเห็นปานนั้น.
บทว่า สขุภิต ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่านนั้น จึงไม่ทำโลก
อันกำเริบแตกต่างกันที่ตั้งทำลายมารยาทที่พรหมตั้งไว้ให้ตรง. บทว่า อลกฺขึ
ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่านจึงสร้างโลกทั้งปวงให้เป็นทุกข์. บทว่า
สุข ความว่า เพราะเหตุไร พระพรหมของท่าน จึงไม่สร้างโลกทั้งปวงให้รับแต่
ความสุขโดยส่วนเดียว พระพรหมของท่านเห็นจะเป็นโจรผู้ทำให้โลกพินาศ.
บทว่า มายา ได้แก่ มารยา. บทว่า อธมฺเมน กิมตฺถการี ความว่า เพราะ
เหตุไร พระพรหมของท่านจึงทำโลกทั้งปวงให้พินาศ คือประกอบไว้ในทาง
ไร้ประโยชน์ ด้วยอรรถมีมารยาเป็นต้นนี้. บทว่า อริฏฺ ความว่า ดูก่อน
อริฏฐะ ผู้เป็นใหญ่ของท่านไม่ประกอบด้วยธรรม ซึ่งเมื่อกุศลธรรม ๑๐ ประการ
มีอยู่ ไม่จัดแจงธรรมเลย จัดแจงแต่อธรรม. คำในบทว่า กีฏา เป็นต้น
เป็นปฐมาวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัติ. คนฆ่าสัตว์มีตั๊กแตนเป็นต้นเหล่า
นั้น ย่อมบริสุทธิ์ ย่อมไปสู่สวรรค์ ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นของคนมาก ผู้ไม่ใช่
พระอริยะ มีชาวแคว้นกัมโพชเป็นต้น. แต่ธรรมเหล่านั้นไม่แท้ ไม่เป็นธรรม
กล่าวว่าเป็นธรรม ธรรมเหล่านั้นเป็นของที่พรหมของท่านสร้างขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 109
บัดนี้ พระภูริทัตเมื่อจะแสดงความไม่จริงแห่งธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
ถ้าแหละคนฆ่าเขาแล้วย่อมบริสุทธิ์ และผู้ถูก
ฆ่าย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์ พวกพราหมณ์ก็พึงฆ่าพวก
พราหมณ์ด้วยกันเสียซิ หรือพึงฆ่าพวกที่หลงเชื่อถ้อย
คำ ของพราหมณ์ด้วยกันเสียซิ พวกเนื้อ ปศุสัตว์
และโคตัวไหน ๆ ไม่ได้อ้อนวอนเพื่อให้ฆ่าตนเลย
ล้วนแต่ดิ้นรนต้องการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ชนทั้งหลาย
ย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์เข้าผูกที่เสายัญ พวกคน
พาล ย่อมขึ้นหน้าเข้าไปที่เสาบูชายัญ เป็นที่ผูกสัตว์
ด้วยการพรรณนาต่าง ๆ ว่า เสายัญนี้จะให้สิ่งที่น่าใคร่
แก่ท่าน ในโลกหน้า จะเป็นของยั่งยืนในสัมปรายภพ
ถ้าว่าบุคคลพึงได้แก้วมณี สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก
ทรัพย์ เงิน ทอง ที่เสายัญ ในไม้แห้ง และไม้สดไซร์
อนึ่ง เสายัญจะพึงให้ สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงในไตรทิพย์
ได้ พราหมณ์เท่านั้นพึงบูชายัญ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์
ก็จะไม่พึงให้พราหมณ์บูชายัญอะไร ๆ เลย แก้วมณี
สังข์ มุกดา ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง จักมีที่
เสายัญ ที่ไม้แห้ง ที่ไม้สด ที่ไหน เสายัญจะพึงให้
สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง ในไตรทิพย์ที่ไหน พราหมณ์
เหล่านี้เป็นคน โอ้อวด หยาบช้า โง่เขลา โลภจัด
ยื่นหน้าเข้าไปด้วยการพรรณนาต่าง ๆ ว่า จงถือเอา
ไฟมา และจงให้ทรัพย์แก่เรา แต่นั้นท่านให้สิ่งที่น่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 110
ใคร่ทั้งปวงแล้ว จักมีความสุข พวกที่โกนผม
โกนหนวดและตัดเล็บ พาพระราชาหรือมหาอำมาตย์
เข้าไปในโรงบูชาไฟ ยื่นหน้าเข้าไปด้วยการพรรณนา
ต่าง ๆ ย่อมถือเอาทรัพย์ด้วยเวท พวกพราหมณ์ผู้
โกหก พอหลอกลวงได้คนหนึ่งก็มาประชุมกินกันเป็น
อันมากเหมือนฝูงกาตอมนกเค้า หลอกเอาจนเกลี้ยง
แล้ว เก็บไว้ที่บริเวณบูชายัญ พวกพราหมณ์ลวงผู้นั้น
ได้คนหนึ่งอย่างนี้แล้ว ก็พากันมาเป็นอันมาก ใช้
ความพยายามล่อหลอกพรรณนา ด้วยสิ่งที่ไม่แลเห็น
ปล้นเอาทรัพย์ที่แลเห็นไป เหมือนพวกราชบุรุษที่พระ
ราชาสอนให้เก็บส่วย เก็บเอาทรัพย์ของพระราชาไป
ฉะนั้น ดูก่อนอริฏฐะ พราหมณ์เช่นนั้นเป็นเหมือน
โจร ไม่ใช่สัตบุรุษ เป็นผู้ควรจะฆ่าเสีย แต่ไม่มีใคร
ฆ่าในโลก พวกพราหมณ์กล่าวว่า ไม้ทองหลางเป็น
แขนขวาของพระอินทร์ จึงตัดเอาไม้ทองหลางมาใช้
ในยัญนี้ ถ้าคำนั้นเป็นคำจริง พระอินทร์ก็แขนขาด
ทำไมพวกพระอินทร์จึงชนะพวกอสูร ด้วยกำลังแขน
นั้นได้ คำนั้นเป็นคำเท็จ พระอินทร์ยังมีแขนพร้อม
เป็นเทวดาชั้นดีเลิศ ไม่มีใครฆ่าได้ กำจัดอสูรได้
มนต์ของพราหมณ์เหล่านี้เหลวเปล่า หลอกลวงกันให้
เห็นได้เฉพาะในโลกนี้ ภูเขามาลาคิรี ขุนเขาหิมวันต์
ภูเขาวิชฌะ ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 111
ภูเขาเหล่านี้และภูเขาใหญ่อื่น ๆ ที่กล่าวกันว่า พวก
พราหมณ์ผู้บูชายัญก่อสร้างไว้ ที่กล่าวกันว่า พวก
พราหมณ์ผู้บูชายัญเอาอิฐเช่นใดมาสร้างภูเขา อิฐเช่น
นั้นก็ไม่ใช่ธรรมชาติของภูเขา ภูเขาเป็นอย่างอื่น ไม่
หวั่นไหว เห็นได้ชัด ๆ ว่าเป็นหิน ไม่ใช่อิฐ เป็น
หินมานมนาน เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐ ที่
พวกพราหมณ์สรรเสริญยัญกล่าวไว้ว่า ผู้บูชายัญก่อ
สร้างไว้ ชนทั้งหลายเรียกพราหมณ์ผู้ทรงเวท ผู้เข้า
ถึงคุณแห่งมนต์ ผู้มีตบะในโลกนี้ว่า ผู้ประกอบใน
การขอ มหาสมุทรซัดท่วมพราหมณ์นั้น ผู้กำลังตระ-
เตรียมน้ำอยู่ที่ฝั่งมหาสมุทร เพราะเหตุนั้น น้ำใน
มหาสมุทรจึงดื่มไม่ได้ แม่น้ำพัดเอาพราหมณ์ ผู้เรียน
เวท ทรงมนต์ ไปเกินกว่าพัน เหตุไรน้ำในแม่น้ำจึง
มีรสไม่เสีย มหาสมุทรเท่านั้นดื่มไม่ได้ บ่อน้ำทั้งหลาย
ในมนุษยโลกนี้ ที่เขาขุดไว้เกิดเป็นน้ำเค็มก็มี แต่ไม่
ใช่เค็มเพราะท่วมพราหมณ์ตาย น้ำในบ่อเหล่านั้นดื่ม
ไม่ได้ เป็นน้ำรู้รสสองอย่าง ครั้งดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่
ปฐมกัป ใครเป็นภรรยาใคร ใครได้ให้มนุษย์เกิดขึ้น
ก่อน โดยธรรมแม้นั้น ใคร ๆ ไม่เลวไปกว่าใคร
ท่านกล่าวจำแนกส่วนไว้อย่างนี้ แม้ลูกคนจัณฑาลก็
พึงเรียนเวท สวดมนต์ได้ (ถ้า) เป็นคนฉลาด มีความ
คิด หัวของเขาก็ไม่พึงแตกเจ็ดเสี่ยง มนต์เหล่านี้พวก
พรหมสร้างไว้เพื่อฆ่าตน เป็นการสร้างแต่ปาก เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 112
การสร้างยึดถือไว้ด้วยความโลภ เปลื้องได้ยาก เข้า
ถึงคลอง ด้วยคำของพวกพราหมณ์ ผู้แต่งกาพย์กลอน
จิตของพวกคนโง่ ยังหลงใหลในทางลุ่มๆ ดอนๆ คน
ไม่มีปัญญาเชื่อเอาจริงจัง ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ-
เหลือง มีกำลังอย่างลูกผู้ชาย พราหมณ์ไม่มีกำลังเช่น
นั้นเลย ความเป็นมนุษย์ของพราหมณ์เหล่านั้น พึง
เห็นเหมือนของโค ชาติของพราหมณ์เหล่านั้นเท่านั้น
ไม่มีใครเสมอ สิ่งอื่น ๆ เสมอกันหมด ถ้าแหละพระ
ราชาทรงชำนะหมู่ศัตรูได้ โดยลำพังพระองค์เอง
ประชาราษฏร์ของพระราชานั้นพึงมีสุขอยู่เสมอ มนต์
ของกษัตริย์ และไตรเพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอ
กัน ถ้าไม่วินิจฉัยความแห่งมนต์ และไตรเพทนั้นก็
ไม่รู้ เหมือนทางที่น้ำท่วม มนต์ของกษัตริย์และไตร
เพทเหล่านี้ มีความหมายเสมอกัน ลาภ ไม่มีลาภ
ยศ ไม่มียศ ทั้งหมดเทียวเป็นธรรมดาของวรรณะทั้ง ๔
นั้น พวกคฤหบดี ใช้คนจำนวนมากให้ทำการงานใน
แผ่นดิน เพราะเหตุแห่งทรัพย์และข้าวเปลือก ฉันใด
แม้พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท ก็ฉันนั้น ย่อมใช้คน
เป็นจำนวนมาก ให้ทำการงานในแผ่นดิน ในวันนี้
พราหมณ์เหล่านั้นเสมอกันกับคฤหบดี มีความขวน
ขวายประกอบในกามคุณเป็นนิตย์ ใช้คนจำนวนมาก
ไม่ทำการงานในแผ่นดินเหมือนกัน พราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้รู้รสสองอย่าง หาปัญญามิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 113
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภวาที ได้แก่พวกพราหมณ์. บทว่า
โภวาทินมารเภยฺยุ ความว่า พึงฆ่าแต่พวกพราหมณ์เท่านั้น บทว่า เยวาปิ
ความว่า ก็หรือว่า พวกใดพึงเชื่อถ้อยคำของพวกพราหมณ์พวกพราหมณ์พึงฆ่า
แต่พวกผู้อุปัฏฐากนั้นเท่านั้น ส่วนพราหมณ์ไม่ฆ่าพวกพราหมณ์และพวก
อุปัฏฐาก ฆ่าแต่สัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งมีประการต่างๆ เท่านั้น ดังนั้น คำของพวก
พราหมณ์เหล่านั้นจึงผิด. บทว่า เกจิ ความว่า พวกไหนๆ ที่จะร้องขอว่า
ขออย่าฆ่าพวกเราเลย พวกเราจักไปสวรรค์ ย่อมไม่มีในยัญทั้งหลาย. บทว่า
ปาเณ ปสุมารภนฺติ ความว่า ย่อมฆ่าพวกเนื้อเป็นต้น และปศุสัตว์ซึ่ง
กำลังดิ้นรนอยู่ เลี้ยงชีพ. บทว่า มุข นยนฺติ ความว่า คนพาลทั้งหลาย
ย่อมนำเอาสัตว์และปศุสัตว์ สิ่งของทั้งหมด เช่น แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา
ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินทอง ที่จัดแจงไว้ทั้งหมด ยื่นหน้าไปกล่าวคำนั้น ๆ
ถือผิดๆ ด้วยเห็นเข้าใจไปว่า สิ่งนี้จักให้สิ่งที่น่าใคร่แก่ท่านในโลกหน้า และ
จักนำมาซึ่งความเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน. บทว่า สเจ จ ความว่า ถ้าพึง
ได้แก้วมณีเป็นต้นนี้ที่เสาหรือที่ไม้นอกนั้นหรือว่าเสาเป็นต้นนั้น พึงให้ไตร-
ทิพย์หรือสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง หมู่พวกที่ไตรวิชาเป็นอันมาก จะพึงบูชายัญ
เพราะมีทรัพย์มากและใคร่ต่อสวรรค์ ไม่พึงให้พราหมณ์อื่นบูชา, ก็เพราะเหตุ
ที่หวังแต่ทรัพย์เพื่อคนจึงไม่ให้ผู้อื่นบูชา ฉะนั้นพึงทราบว่า อภูตวาทิโน ผู้
กล่าวสิ่งซึ่งไม่มีจริงเป็นจริง. บทว่า กุโต จ ความว่า สิ่งทั้งปวงมีแก้มณีเป็น
ต้นนี้ไม่มีที่เสา หรือที่ไม้นอกนั้นเลย จักรีดเอาไตรทิพย์อันเป็นสิ่งให้ความ
ใคร่ทั้งปวงได้แต่ที่ไหน คำของพวกนั้น ไม่จริงทั้งนั้นแม้โดยประการทั้งปวง.
บทว่า สา จ ลุทฺทา ปลุทฺธพาลา ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ. ขึ้นชื่อว่า
พราหมณ์เหล่าที่เป็นผู้หลอกลวง ไร้กรุณาปราณี คนพาลเหล่านั้น ล่อลวงโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 114
ตลบตะแลงยื่นหน้าไปด้วยเหตุต่างๆ. บทว่า สพฺพกาเม ความว่า ท่านจง
เอาไฟบูชา และให้สิ่งเครื่องปลื้มใจแก่เรา. บทว่า ตโต สุขี ความว่า
ท่านจงให้สิ่งซึ่งน่าใคร่ทั้งปวงแล้วจงมีความสุข. บทว่า ตมคฺคิหุตฺต สรณ
ปวิสฺส ความว่า จงพาพระราชา หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา. เข้าไปโรงบูชา
ไฟ เข้าไปยังที่มิใช่เรือน. บทว่า โอโรปยิตฺวา ความว่า พรรณนาเหตุ
ต่างๆ โกนผมโกนหนวดตัดเล็บ. บทว่า อติคาฬฺหยนฺติ ความว่า อาศัย
เวท ๓ ตามที่กล่าวแล้ว พลางกล่าวว่า สิ่งนี้ควรให้ สิ่งนี้ควรทำ ปราบปราม
ทำให้พินาศ คือกำจัดทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันเป็นของผู้นั้น. บทว่า อนฺนานิ
โภตฺวา กหุกา กุหิตฺวา ความว่า ผู้หลอกลวงเหล่านั้น กระทำกรรมคือ
การหลอกลวงมีประการต่างๆ มาประชุมร่วมกันพรรณนายัญ หลอกลวงผู้ให้
บริโภคโภชนะดี ๆ มีรสเลิศ อันเป็นของผู้นั้น ครั้นแล้วทำผู้นั้นให้เป็นคนโล้น
แล้วปล่อยเข้าไปในทางยัญ อธิบายว่า พาไปยังหลุมยัญในภายนอก. บทว่า
โยคโยเคน ความว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันเป็นอันมากแล้ว หลอก
ลวงผู้นั้นได้คนหนึ่ง ด้วยความพยายามนั้น ๆ คือการประกอบนั้น ๆ พรรณนา
หลอกลวงทรัพย์ของผู้นั้นที่เห็นประจักษ์ และเทวโลกที่ไม่เห็น ด้วยเทวโลกที่
ไม่เห็น ทำให้เป็นสถานเทวดา. บทว่า อกาสิยา ราชูหิ วานุสิฏฺา
ความว่า ถูกพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชา พร่ำสอนว่า พวกท่านจงถือ
เอาพลีกรรมของเรานี้และนี้ เป็นเหมือนราชบุรุษ กล่าวคือคนผู้เก็บส่วย
บทว่า ตทสฺส ความว่า ได้ถือเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป. บทว่า โจรสฺมา
ความว่า ผู้ถือเอาพลีที่ไม่เป็นจริง เป็นเหมือนโจรตัดที่ต่อ. บทว่า วชฺฌา
ความว่า บาปธรรมเห็นปานนี้ควรฆ่า แต่ไม่ถูกฆ่าในโลกเหล่านี้. บทว่า
พาหารสิ ตัดเป็นพาหา อสิ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนอริฏฐะ ท่านจงดู
มุสาวาทของพราหมณ์แม้นี้ เล่ากันมาว่า พราหมณ์เหล่านั้น กล่าวกำใบไม้ใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 115
ในยัญทั้งหลาย ว่าท่านเป็นแขนขวาของพระอินทร์จึงตัดเสีย หากคำของ
พราหมณ์เหล่านั้น นั้นเป็นความจริง เมื่อเป็นเช่นนั้น จะเป็นมีผู้แขนขาด
พระอินทร์ชนะอสูร เพราะกำลังแขนได้อย่างไร. บทว่า สมงฺคี ความว่า
ผู้พรั่งพร้อมด้วยแขน ไม่ขาดแขนไม่มีโรคเลย. บทว่า หนฺตฺวา ได้แก่ ฆ่าพวก
อสูร. บทว่า ปรโม ความว่า เป็นผู้สูงสุด คือประกอบด้วยบุญฤทธิ์ ไม่
ฆ่าคนเหล่าอื่น. บทว่า พฺราหฺมณา ได้แก่มนต์ของพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า ตุจฺฉรูปา ได้แก่ ความว่างเปล่า คือไม่มีผล. บทว่า วญฺจนา ได้แก่
ความล่อลวงที่เห็นกันได้ในโลกนี้ ชื่อว่าเป็นมนต์ของพราหมณ์เหล่านั้น. บทว่า
ยถาปการานิ ความว่า พราหมณ์บูชายัญถือเอาอิฐอย่างใดอย่างหนึ่งก่อสร้าง
การทำไว้. บทว่า ทิฏฺเสลา ความว่า จริงอยู่ ภูเขาทั้งหลาย ไม่หวั่นไหว
เห็นได้เองไม่มีใครก่อสร้างขึ้น เป็นแท่งทึบ และล้วนแล้วด้วยหิน ไม่กลาย
เป็นอย่างอื่น อิฐทั้งหลายหวั่นไหว ไม่เป็นแท่งทึบ ไม่ล้วนแล้วแต่หิน.
บทว่า ปริวณฺณยนฺตา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายพรรณาถึงยัญนี้. บทว่า
สมนฺตเวเท ได้แก่พวกพราหมณ์ผู้มีเวทบริบูรณ์. บทว่า วหนฺติ ความว่า
ย่อมพัดผู้ที่ตกไปในกระแสน้ำก็ดี ในแม่น้ำวนก็ดีไปสู่แม่น้ำ ให้จมลง ให้ถึง
ความสิ้นชีวิต. น อักษร ศัพท์หนึ่งในบทว่า น เตน พฺยาปนฺนรสูทกานิ
นี้ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเข้าไปตัด. จริงอยู่เมื่อถามท่านว่า แม่น้ำมีน้ำมีรส
วิบัติเพราะเหตุนั้นมิใช่หรือจึงกล่าวอย่างนั้น . บทว่า กสฺมา ความว่า ดูก่อน
เพราะเหตุไร น้ำในมหาสมุทรจึงทำให้ดื่มไม่ได้ มหาพราหมณ์ไม่สามารถจะทำ
น้ำในแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำยมุนาเป็นต้นให้ดื่มไม่ได้เท่านั้นหรือ หรือว่าสามารถ
แต่ในมหาสมุทรเท่านั้น. บทว่า ทิรสญฺราหุ ความว่า เป็นน้ำรู้รส ๒ อย่าง.
บทว่า ปเร ปุรตฺถ ความว่า ก่อนแต่นี้ คือประโยชน์ในเบื้องหน้าเขาทั้งปวง
ได้แก่ ในกาลแห่งปฐมกัป. บทว่า กา กสฺส ภริยา ความว่า เป็นภรรยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 116
ของใครชื่อไร ? จริงอยู่ในกาลนั้น ไม่มีเพศหญิงและเพศชายเลย ภายหลัง
เกิดชื่อว่ามารดาและบิดา ด้วยอำนาจอสัทธรรม. บทว่า มโน มนุสฺส ความ
ว่า ก็ในกาลนั้นให้เกิดเป็นมนุษย์ อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายสำเร็จด้วยใจบังเกิด
ขึ้น. บทว่า เตนาปิ ธมฺเมน ความว่า ด้วยเหตุแม้นั้นคือโดยสภาวะนั้น
ใครๆ ชื่อว่า เลวโดยชาติย่อมไม่มี จริงอยู่ในกาลนั้นความต่างแห่งกษัตริย์
เป็นต้น หามีไม่ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวคำใดไว้ว่า พราหมณ์
เท่านั้นประเสริฐโดยชาติ คนนอกนั้นเลว เพราะเหตุนั้นคำนั้นจึงชื่อว่าผิด.
บทว่า เอวมฺปิ ความว่า เมื่อโลกเป็นไปอย่างนี้ กษัตริย์เป็นต้นจึงแบ่งเป็น
๔ ส่วนด้วยอำนาจละวัตรอันเป็นของโบราณ ภายหลังจึงกำหนดตัดขาดกระทำ
ด้วยตนเอง. บทว่า เอวปิ โวสฺสคฺควิภงฺคมาหุ ความว่า พราหมณ์กล่าว
จำแนกไว้อย่างนี้ว่า ด้วยการสละธรรมที่ตนกระทำไว้บรรดาสัตว์เหล่านั้น
บางพวกเกิดเป็นกษัตริย์ บางพวกเป็นพราหมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำว่า
พวกพราหมณ์เท่านั้นประเสริฐจึงผิดทีเดียว. บทว่า สตฺตธา ความว่า ถ้าว่า
มหาพรหมให้ไตรเพทแก่พวกพราหมณ์เท่านั้น ไม่ให้แก่พวกอื่น ศีรษะของ
จัณฑาลผู้กล่าวมนต์จะพึงแตก ๗ เสี่ยง แต่ก็ไม่แตก เพราะฉะนั้น พราหมณ์
เหล่านี้ สร้างมนต์ขึ้นเพื่อฆ่าตนเอง ประกาศความที่ตนกล่าวมุสาแก่พวกนั้น
จึงชื่อว่า กระทำการฆ่าคุณ. บทว่า วาจา กตา ความว่า ชื่อว่ามนต์เหล่า
นี้อันพวกพราหมณ์คิดทำด้วยมุสาวาท. บทว่า คิทฺธิ กตา คหิตา
ความว่า ชื่อว่าอันพวกพราหมณ์ยึดถือ โดยความเป็นผู้ติดอยู่ในลาภ. บทว่า
ทุมฺโมจยา ความว่า เปลื้องได้ยาก เหมือนปลาติดเบ็ดฉะนั้น. บทว่า
กาพฺยาปถานุปนฺนา ความว่า ดำเนินตามคือเข้าถึงทางแห่งถ้อยคำของพวก
พราหมณ์ผู้แต่งกาพย์กลอน พวกพราหมณ์เหล่ากล่าวมุสาผูกขึ้นโดยประการ
ที่ตนปรารถนา. บทว่า พาลาน ความว่า ก็จิตของคนโง่เหล่านั้น ยังตั้งไว้ผิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 117
ลุ่ม ๆ ดอนๆ พวกไม่มีปัญญาเหล่าอื่นย่อมเชื่อคำของคนโง่นั้น. บทว่าโปริสยพเลน
ความว่าด้วยกำลังกล่าวคือความเป็นบุรุษ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ราชสีห์เป็น
ต้น ผู้ประกอบด้วยกำลังซึ่งเป็นของบุรุษ กล่าวคือเรี่ยวแรงแห่งบุรุษ ย่อมไม่มี
แก่พราหมณ์. คนพาลทั้งหมดเลวกว่า แม้กว่าพวกเดียรัจฉานเหล่านี้ทีเดียว.
บทว่า มนุสฺสภาโว จ ควว เปกฺโข ความว่า ก็อีกอย่างหนึ่งภาวะแห่ง
ความเป็นมนุษย์ของพวกพราหมณ์เหล่านั้นพึงเห็นเหมือนฝูงโค. ถามว่า เพราะ
เหตุอะไร ? แก้ว่า เพราะชาติของพราหมณ์เหล่านั้นไม่เสมอกัน อธิบายว่า
ชาติของผู้เสมอกับพวกพราหมณ์เหล่านั้นไม่เสมอกัน เพราะพวกพราหมณ์
เหล่านั้นมีปัญญาทราม ความจริง สัณฐานของพวกโคก็อย่างหนึ่ง ของพวก
พราหมณ์เหล่านั้นก็อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กระทำพราหมณ์เหล่า
นั้นแม้ให้เสมอกัน ในจำพวกเดียรัจฉานมีสีหะเป็นต้น กระทำให้เสมอกันกับ
โคเท่านั้น. บทว่า สเจ ราชา ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ ถ้าว่า
กษัตริย์เท่านั้น ปกครองแผ่นดิน โดยภาวะที่มหาพรหมให้ไซร้. บทว่า
สชีววา ความว่า ประกอบด้วยอำมาตย์เป็นอยู่ร่วมกัน. บทว่า อสฺสวา
ปาริสชฺโช ความว่า พึงเป็นผู้ใช้คนผู้ทำตามโอวาทของตน เมื่อเป็นเช่นนั้น
บริษัทของพระราชา ชื่อว่าพึงรบแล้วให้ราชสมบัติแก่พระราชา ไม่พึงมี. พระ
ราชาพระองค์นั้นผู้เดียวเท่านั้นพึงชนะหมู่ศัตรูด้วยพระองค์เท่านั้น เมื่อการรบ
มีอยู่อย่างนี้ ประชาราษฎร์ของพระองค์ พึงมีความสุขเป็นนิตย์ เพราะไม่มี
ความทุกข์ และข้อนั้นไม่เป็นความจริง แม้เพราะเหตุนั้น คำของพวก
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมผิด. บทว่า ขตฺติยมนฺตา ความว่า ราชศาสตร์และ
ไตรเพทเหล่านั้นที่เป็นไปตามอำนาจราชอาณาตามความชอบใจของตนว่าสิ่งนี้
เท่านั้นควรทำ ย่อมมีความหมายเสมอกัน. อวินิจฺฉินิตฺวา ความว่า กษัตริย์
ไม่วินิจฉัยความหมายของมนต์แห่งกษัตริย์เหล่านั้น และความหมายของเวท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 118
ทั้งหลาย ถือเอาด้วยอำนาจอาชญาเท่านั้นย่อมหยั่งรู้ถึงความหมายนั้น เหมือน
ทางที่ถูกห้วงน้ำตัดขาดฉะนั้น. บทว่า อตฺเถน เอเต ความว่า ราชศาสตร์
และเวทเหล่านั้น ย่อมเสมอกันด้วยความหมายว่า หลอกลวง. เพราะเหตุไร ?
เพราะพวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกพราหมณ์เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ วรรณะ
เหล่าอื่นเลว ก็โลกธรรมมีลาภเป็นต้นเหล่านั้นใด ทั้งหมดนั้นเป็นธรรมของ
วรรณะทั้ง ๔ ทั้งหมด จริงอยู่ แม้สัตว์คนหนึ่งชื่อว่าพ้นไปจากโลกธรรมเหล่านี้
ย่อมไม่มี. ดังนั้น พวกพราหมณ์จึงกล่าวมุสาวาทว่า เราผู้ไม่พ้นไปจากโลก
ธรรมนั่นแลประเสริฐ. บทว่า อิพฺภา ได้แก่คฤหบดี. บทว่า เตวิชฺชสฆาปิ
ความว่า ฝ่ายพวกพราหมณ์ ย่อมทำกรรมเป็นอันมากมีกสิกรรมและโครักข-
กรรมเป็นต้นอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า นิจฺจุสฺสุกา ความว่า เกิดความ
ขวนขวายความพอใจเป็นนิตย์. บทว่า ตทปฺปปญฺญฺา ทิรสญฺญุรา เต
ความว่า ดูก่อนน้องชายผู้รู้รสทั้ง ๒ เพราะเหตุนั้น พวกพราหมณ์ผู้รู้รส ๒ อย่าง
เป็นผู้ไม่มีปัญญา พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไกลจากธรรม ก็ธรรมของพวก
พราหมณ์แต่โบราณ ย่อมปรากฏในสุนัขในบัดนี้แล.
พระมหาสัตว์ ครั้นทำลายวาทะของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว ให้ตั้ง
วาทะของพระองค์ด้วยประการฉะนี้ นาคบริษัททั้งหมดนั้น ได้ฟังธรรมกถา
ของพระมหาสัตว์แล้ว ก็พากันเกิดโสมนัส ฝ่ายพระมหาสัตว์จึงสั่งให้นาค
บริษัท นำพราหมณ์เนสาทออกไปจากนาคพิภพ แม้เพียงการบริภาษก็มิได้
การทำแก่พราหมณ์นั้น.
จบยัญญเภทกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 119
ฝ่ายพระเจ้าสาครพรหมทัต มิได้ล่วงเลยวันที่ทรงกำหนดไว้ เสด็จไปยัง
พระตำหนักของพระราชบิดา พร้อมด้วยจตุรงคเสนา ส่วนพระมหาสัตว์ก็สั่งให้ตี
กลองร้องประกาศว่า เราจะไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลุง และพระเจ้าตาของเรา
แล้วก็เสด็จขึ้นจากแม่น้ำยมุนาด้วยสิริอันงามเลิศ มุ่งไปยังอาศรมบทนั้น พี่
น้องนอกนั้นกับชนกชนนี ก็ติดตามไปเบื้องหลัง ในขณะนั้น พระเจ้าสาคร
พรหมทัต ทอดพระเนตรเห็นพระมหาสัตว์ ผู้มากับนาคบริษัทเป็นอันมาก
ทรงจำไม่ได้ เมื่อจะทูลถามพระราชบิดา จึงตรัสว่า
กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหรทึก
ของใคร มาข้างหน้า ทำให้พระราชา จอมทัพทรง
หรรษา ใครมีสีหน้าสุกใส ด้วยแผ่นทองคำอันหนา
มีพรรณดังสายฟ้า ชันษายังหนุ่มแน่น สอดสวมแล่ง
ธนู รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ นั่นเป็นใคร ใครมีพักตร์
ผ่องใสเพียงดังทองคำ เหมือนถ่านไฟไม่ตะเคียนซึ่ง
ลุกโชนอยู่ที่ปากเบ้า รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมี
ฉัตรทองชมพูนุชมีซี่น่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกันรัศมีพระ
อาทิตย์ รุ่งเรืองด้วยสิริมาอยู่ ใครนั่นมีปัญญาประเสริฐ
มีพัดวาลวิชนีอย่างยอดเยี่ยม อันคนใช้ประคอง ณ
เบื้องบนเศียรทั้งสองข้าง คนทั้งหลายถือกำหางนักยูง
อันวิจิตร อ่อนสลวย มีด้ามล้วนแล้วด้วยทอง และ
แก้วมณี จรลีมาทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร กุณฑล
อันกลมเกลี้ยง มีรัศมีดังสีถ่านไม้ตะเคียนซึ่งลุกโชน
อยู่ปากเบ้า งดงามอยู่ทั้งสองข้าง ข้างหน้าของใคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 120
เส้นผมของใครต้องลมอยู่ไหว ๆ ปลายสนิทละเอียด
ดำ งามจดนลาต ดังสายฟ้าพุ่งขึ้นจากท้องฟ้า ใครมี
เนตรซ้ายขวากว้างและใหญ่ งาม มีพักตร์ผ่องใส ดัง
คันฉ่องทอง ใครมีโอฐสะอาดเหมือนสังข์อันขาวผ่อง
เมื่อเจรจา (แลเห็น) ฟันขาวสะอาด งามดังดอกมณ-
ฑารพตูม ใครมีมือและเท้าทั้งสองมีสีเสมอด้วยน้ำครั่ง
ตั้งอยู่ในที่สบาย มีริมฝีปากเปล่งปลั่ง ดังผลมะพลับ
งามดังดวงอาทิตย์ ใครนั่นมีเครื่องปกคลุมขาวสะอาด
ดังหนึ่งต้นสาละใหญ่ ดอกบานสะพรั่ง ข้างเขาหิม-
วันต์ในฤดูหิมะตก งามปานดังพระอินทร์ผู้ได้ชัย-
ชนะ ใครนั่น นั่งอยู่ท่ามกลางบริษัท คล้องพระแสง
ขรรค์คร่ำทอง วิจิตรด้วยด้ามแก้วมณีที่อังสา ใคร
นั่นสวมรองเท้าทอง อันวิจิตร เย็บเรียบร้อย สำเร็จ
เป็นอันดี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่านผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปนฺนานิ ความว่า ดนตรีเหล่านี้
เป็นของใคร ดำเนินมาข้างหน้า. บทว่า หาสยนฺตา ความว่า ทำให้พระ
ราชานี้ทรงหรรษา. บทว่า กสฺส กาญฺจนปฏฺเฏน ความว่า พระราชาตรัส
ถามว่า ใครมีสีหน้าโชติช่วงด้วยแผ่นกรอบหน้าที่นลาต เหมือนก้อน
เมฆโชติช่วงด้วยสายฟ้าฉะนั้น. บทว่า ยุวา กลาปสนฺนทฺโธ แปลว่า ยัง
เป็นหนุ่ม สอดสวมแล่งธนู. บทว่า อุกฺกามุเข ปหฏฺิว ความว่า
เหมือนทองคำที่ลุกโชน ที่เตาไฟของช่างทอง. บทว่า ขทิรงฺคารสนฺนิภ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 121
แปลว่า เสมือนถ่านไม้ตะเคียนที่ลุกโชน. บทว่า ชมฺโพนท ความว่า ล้วน
แล้วด้วยทองคำมีสีสุกปลั่ง. บทว่า องฺคปริคฺคยฺห ความว่า อันคนใช้ถือ
แส้จามรประคองมาอยู่. บทว่า วาลวิชนึ แปลว่า พัดวาลวีชนีอันแล้วด้วย
แก้วมณี. บทว่า อุตฺตม แปลว่า อันยอดเยี่ยม. บทว่า เปกฺขุณหตฺถานี
แปลว่า ต่างถือกำหางนกยูง. บทว่า จิตฺรานิ แปลว่า วิจิตรด้วยแก้ว ๗
ประการ. บทว่า สุวณฺณมณิทณฺฑานิ ความว่า มีด้ามขจิตด้วยทองที่
สุกปลั่ง และด้วยแก้วมณี. บทว่า อุภโต มุข ความว่า เที่ยวไปข้างหน้า
ทั้งสองข้าง. บทว่า วาเตน ฉุปิตา แปลว่า อันลมรำเพยพัด. บทว่า
สินิทฺธคฺคา แปลว่า มีปลายสนิท. บทว่า นลาตนฺต ความว่า เส้นผม
เห็นปานนี้ นี่ของโครงดงามจดที่สุดนลาต. บทว่า นภา วิชฺชุริวุคฺคตา
ความว่า ดุจดังสายฟ้าขึ้นจากท้องฟ้า ฉะนั้น. บทว่า อุณฺณช ความว่า
บริสุทธิ์ ดุจคันฉ่องทองคำ. บทว่า ลปนชาตา แปลว่า ปาก. บทว่า
กุปฺปิลสาทสา แปลว่า เสมือนดอกมณฑารพตูม. บทว่า สุเข ิตา
ความว่า ยิ้มแย้มได้สบาย. บทว่า ชย อินฺโทว ความว่า ดุจดังพระอินทร์
ได้ชัยชนะ. บทว่า สุวณฺณปีลกากิณฺณ แปลว่า เกลื่อนไปด้วยไฝทอง.
บทว่า มณิทณฺฑวิจิตฺตก ความว่า วิจิตรไปด้วยแก้วมณีอังสา. บทว่า
สุวณฺณขจิตา แปลว่า ขจิตไปด้วยทอง. บทว่า จิตฺรา ได้แก่ วิจิตรไป
ด้วยแก้ว ๗ ประการ. บทว่า สุกตา ความว่า สำเร็จเรียบร้อยแล้ว. บทว่า
จิตฺรสิพฺพินี แปลว่า เย็บอย่างสวยงาม. ด้วยบทว่า ปาทา นี้ ท่านถามว่า
ใครนั่นสวมรองเท้าทอง เห็นปานนี้โดยเท้า.
พระดาบสผู้มีฤทธิ์ ได้อภิญญา ถูกพระเจ้าสาครพรหมทัต ผู้เป็น
โอรสทูลถามอย่างนี้ เมื่อจะบอกว่า ดูก่อนพ่อ ผู้ที่มาเหล่านั้น คือนาคลูก
ท้าวธตรฐ หลานของเจ้า จึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 122
ผู้ที่มาเหล่านั้น เป็นนาคที่มีฤทธิ์เรื่องยศ เป็น
ลูกของท้าวธตรฐ เกิดแต่นางสมุททชา นาคเหล่านี้มี
ฤทธิ์มาก.
เมื่อพระราชฤาษี และพระเจ้าสาครพรหมทัต ตรัสอยู่อย่างนี้ นาค
บริษัททั้งหลาย จึงพากันถวายบังคมบาทพระดาบส แล้วนั่ง ณ ที่อันสมควร
ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายนางสมุททชาก็ถวายบังคมพระราชบิดา และพระราชภาดา
แล้ว ก็ปริเทวนากรรแสงไห้ แล้วก็พานาคบริษัทกลับไปยังนาคพิภพ. ฝ่าย
พระเจ้าสาครพรหมทัตประทับ ณ ที่นั้นนั่นเอง สองสามวันจึงถวายบังคมลา
ขมาพระราชบิดาแล้วก็กลับยังกรุงพาราณสี. นางสมุททชาเทวีก็สิ้นชีพในนาค
พิภพนั้นนั่นเอง.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ก็รักษาศีลอยู่จนตลอดชีวิต ในที่สุดแห่งชนมายุ
ก็ได้ดำเนินไปในทางสวรรค์ กับนาคบริษัท.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน
อุบาสกทั้งหลาย โบราณบัณฑิต เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น. ก็ยัง
ทรงสละนาคสมบัติเห็นปานนี้ กระทำอุโบสถกรรมดังนี้ จึงประชุมชาดกว่า
มารดาบิดา (ของพระภูริทัต) ในกาลนั้น ได้มาเป็นสากยราชตระกูล พราหมณ์
เนสาทมาเป็นพระเทวทัต โสมทัตมาเป็นพระอานนท์ นางอัจจิมุขี มาเป็นนาง
อุบลวรรณา สุทัสสนะเป็นพระสารีบุตร สุโภคะมาเป็นพระโมคคัลลานะ
กาณาริฏฐะ มาเป็นสุนักขัตตลิจฉวี ภูริทัตมาเป็นเราผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง.
จบอรรถกถาภูริทัตชาดกที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 123
๗. จันทกุมาร
พระจันทกุมารทรงบำเพ็ญขันติบารมี
[๗๗๕] พระราชาพระนามว่าเอกราช เป็นผู้มี
กรรมอันหยาบช้า อยู่ในพระนครปุบผวดี ท้าวเธอ
ตรัสถามขัณฑหาลปุโรหิต ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พราหมณ์ เป็น
คนหลงว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้ฉลาดใน
ธรรมวินัย ขอจงบอกทางสวรรค์แก่เรา เหมือนอย่าง
นรชนทำบุญแล้วไปจากภพนี้สู่สุคติภพ ฉะนั้นเถิด.
[๗๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ นรชนให้
แล้วซึ่งทานอันล่วงล้ำทาน ฆ่าแล้วซึ่งบุคคลอันไม่พึง
ฆ่า ชื่อว่าทำบุญแล้วย่อมไปสู่สุคติด้วยประการฉะนี้.
[๗๗๗] ก็ทานอันล่วงล้ำทานนั้นคืออะไร และ
คนจำพวกไหน เป็นผู้อันบุคคลไม่พึงฆ่าในโลกนี้ ขอ
ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา เราจักบูชายัญ จักให้ทาน.
[๗๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ยัญพึงบูชา
ด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา พระมเหสี ชาวนิคม
โคอุสุภราช ม้าอาชาไนย อย่างละ ๔ ข้าแต่พระองค์
ผู้ประเสริฐ ยัญพึงบูชาด้วยหมวด ๔ แห่งสัตว์ทั้งปวง.
[๗๗๙] ในพระราชวังมีเสียงระเบ็งเซ็งแซ่เป็น
อันเดียวน่าหวาดกลัว เพราะได้ฟังคำว่า พระกุมาร
พระกุมารและพระมเหสีจะต้องถูกฆ่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 124
[๗๘๐] เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย
คือ พระจันทกุมาร พระสุริยกุมาร พระภัททเสนกุมาร
พระสุรกุมาร และ พระวามโคตกุมาร ว่า ขอท่านทั้งหลาย
จงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ.
[๗๘๑] เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย
คือ พระอุปเสนากุมารี พระโกกิลากุมารี พระมุทิตา
กุมารีและพระนันทากุมารีว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่
เป็นหมู่กัน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ.
[๗๘๒] อนึ่ง เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระนางวิชยา
พระนางเอราวดี พระนางเกศินี และพระนางสุนันทา
ผู้เป็นมเหสีของเราประกอบด้วยลักษณะอันประเสริฐ
ว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญ.
[๗๘๓] เจ้าทั้งหลายจงไปบอกคฤหบดีทั้งหลาย
คือ ปุณณมุขคฤหบดี ภัททิยคฤหบดี สิงคาลคฤหบดี
และวัฑฒคฤหบดีว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ.
[๗๘๔] คฤหบดีเหล่านั้น เกลื่อนกล่นไปด้วย
บุตรภรรยา มาพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้กราบทูลพระ-
ราชาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรงกระทำข้าพระองค์
ทุกคนให้เป็นคนมีแหยม๑ หรือขอจงทรงประกาศข้า
พระองค์ทั้งหลายให้เป็นข้าทาสเถิด พระเจ้าข้า.
๑. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุกบนหัว นอกจากหัวจุก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 125
[๗๘๕] เจ้าทั้งหลายจงรีบนำช้างของเรา คือ
ช้างอภยังกร ช้างนาฬาคิรี ช้างอัจจุคคตะ (ช้างวรุณ
ทันตะ) ช้างเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่
การบูชายัญ เจ้าทั้งหลายจงรีบไปนำมาซึ่งม้าอัสดร
ของเรา คือ ม้าเกศี ม้าสุรามุข ม้าปุณณมุข ม้า
วินัตกะ ม้าเหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การ
บูชายัญ เจ้าทั้งหลายจงรีบไปนำมาซึ่งโคอุสุภราชของ
เรา คือ โคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ โคควัมปติ
จงต้อนโคเหล่านั้นทั้งหมดเข้าเป็นหมู่กัน เราจักบูชา
ยัญ จักให้ทาน อนึ่ง จงตระเตรียมทุกสิ่งให้พร้อม
วันพรุ่งนี้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ เจ้าทั้ง
หลายจงนำเอาพระจันทกุมารมา จงรื่นรมย์ตลอดราตรี
นี้ เจ้าทั้งหลายจงตั้งไว้แม้ทุกสิ่ง วันพรุ่งนี้ เมื่อ
พระอาทิตย์ขึ้น เราจักบูชายัญ เจ้าทั้งหลายจงไปทูล
พระกุมาร ณ บัดนี้ วันนี้เป็นคืนที่สุดแล.
[๗๘๖] พระราชมารดาเสด็จมาแต่พระตำหนัก
ทรงกรรแสง พลางตรัสถามพระเจ้าเอกราชนั้นว่า
พระลูกรัก ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยพระราชบุตร
ทั้ง ๔ หรือ.
[๗๘๗ ] เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคน
หม่อมฉันก็สละ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย
แล้วจักไปสู่สุคติสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 126
[๗๘๘] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่า
สุคติจะมีเพราะเอาบุตรบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไป
นรก ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ ดูก่อน ลูกโกณฑัญญะ
พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเลย นี่
เป็นทางไปสู่สุคติมิใช่เพราะเอาบุตรบูชายัญ.
[๗๘๙] คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉัน
จะฆ่าจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วย
บุตรทั้งหลายอันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
[๗๙๐] แม้พระเจ้าวสวัสดีพระราชบิดา ได้ตรัส
ถามพระราชโอรสของพระองค์นั้นว่า ลูกรักทราบว่า
พ่อจักบูชายัญด้วยโอรสทั้ง ๔ หรือ.
[๗๙๑] เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม่ทุกคน
หม่อมฉันก็สละ หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตรทั้งหลาย
แล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
[๗๙๒] ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่า
สุคติจะมีเพราะเอาบุตรบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไป
นรกไม่ใช่ทางไปสวรรค์ ดูก่อน ลูกโกญฑัญญะ พ่อ
จงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเลย นี่เป็น
ทางไปสู่สุคติ มิใช่เพราะเอาบุตรบูชายัญ.
[๗๙๓] คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉัน
จักฆ่าจันทกุมารและสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วย
บุตรทั้งหลายอันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 127
[๗๙๔] ดูก่อน ลูกโกญฑัญญะ พ่อจงให้ทาน
อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเลย พ่อจงเป็นผู้อัน
พระราชบุตรห้อมล้อม รักษากาสิกรัฐและชนบทเถิด.
[๗๙๕] ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้ง
หลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย
ให้เป็นทาสของขันฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม่
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะ
เลี้ยงช้างและม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้า
พระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระ-
องค์ทั้งหลายให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิด
พระเจ้าข้า ถึงแม้ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วย
โซ่ใหญ่จะก็จะขนมูลช้างให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรง
ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทาน
ช้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต
เถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจอง
จำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้
ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทาน
ข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต
ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็จัก
เที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 128
[๗๙๖] เจ้าทั้งหลายพร่ำเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต
ย่อมก่อทุกข์ให้เกิดแก่เรานักแล จงปล่อยพระกุมาร
ทั้งหลายไป ณ บัดนี้ เราขอเลิกการเอาบุตรบูชายัญ.
[๗๙๗] ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อน
เทียวว่าการบูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก
บัดนี้ พระองค์ทรงกระทำยัญที่ข้าพระองค์ตระเตรียม
ไว้แล้วให้กระจัดกระจายเพราะเหตุไร ชนเหล่าใด
บูชายัญเองก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี
อนึ่ง ชนเหล่าใด อนุโมทนามหายัญเช่นนี้ของบุคคล
ผู้บูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.
[๗๙๘] ขอเดชะ เหตุไรในกาลก่อน พระองค์
จึงรับสั่งให้พราหมณ์กล่าวคำเป็นสวัสดีแก่ข้าพระบาท
ทั้งหลาย มาบัดนี้จะรับสั่งฆ่าข้าพระบาททั้งหลายเพื่อ
ต้องการบูชายัญ โดยหาเหตุนี้ได้เลย ข้าแต่พระราช
บิดา เมื่อก่อนในเวลาที่ข้าพระบาทยังเป็นดี พระ-
องค์มิได้ทรงฆ่าและมิได้ทรงรับสั่งให้ฆ่า บัดนี้ ข้า
พระบาททั้งหลาย ถึงความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว
มิได้คิดประทุษร้ายพระองค์เลย เพราะเหตุไรจงรับสิ่ง
ให้ฆ่าเสีย ข้าแด่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทอด
พระเนตรข้าพระบาททั้งหลาย ผู้ขึ้นคอช้าง ขี่หลังม้า
ผูกสอดเครื่องรบ ในเวลาที่รบมาแล้วหรือเมื่อกำลังรบ
ก็บุตรทั้งหลายเช่นดังพระบาททั้งหลายย่อมไม่ควร
จะฆ่าเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญเลย ข้าแต่พระราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 129
บิดา เมื่อเมืองชายแดนหรือเมื่อพวกโจรในดงกำเริบ
เขาย่อมใช้คนเช่นดังข้าพระบาททั้งหลาย แต่ข้า-
พระบาททั้งหลาย จะถูกฆ่าให้ตาย โดยมิใช่เหตุ
ในมิใช่ที่ ขอเดชะ แม่นกเหล่าไร ๆ เมื่อทำรัง
แล้วย่อมอยู่ ลูกทั้งหลายเป็นที่รักของแม่นกเหล่านั้น
ส่วนพระองค์ได้ตรัสส่งให้ฆ่าข้าพระบาททั้งหลาย
เพราะเหตุไร ขอเดชะ อย่าได้ทรงเชื่อขัณฑหาล-
ปุโรหิต ขัณฑหาลปุโรหิตไม่พึงฆ่าข้าพระองค์
เพราะว่าเขาฆ่าข้าพระองค์แล้ว ก็จะพึงฆ่าแม่พระองค์
ในลำดับต่อไป ข้าแต่พระมหาราชา พระราชาซึ่งหลาย
ย่อมพระราชทานบ้านอันประเสริฐ นิคมอันประเสริฐ
แม้โภคะ แก่พราหมณ์นั้น อนึ่ง พวกพราหมณ์ แม้ได้
ข้าวน้ำอันเลิศในตระกูลบริโภคในตระกูล ยังปรารถนา
จะประทุษร้ายต่อผู้ให้ข้าวน้ำเช่นนั้นอีก เพราะ
พราหมณ์เหล่านั้นโดยมากเป็นคนอกตัญญู ขอเดชะ
อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระ-
ราชทานข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาสของขัณฑหาล
ปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้างและม้าให้เขา
ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย
โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาสของ
ขัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์
ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลช้างให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 130
เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสีย
เลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็น
ทาสของขัณฑทาลปุโรหิตเกิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้า
พระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูล
ม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าพระองค์ทั้งหลาย
เสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย
ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต ตามที่พระองค์นี้
พระราชประสงค์เถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์
ทั้งหลายจะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็จัดเที่ยวภิกขา-
จารเลี้ยงชีวิต.
[๗๙๙] เจ้าทั้งหลายพร่ำเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต
ย่อมก่อทุกข์ให้เกิดแก่เรานักแล จงปล่อยพระกุมาร
ทั้งหลายไป ณ บัดนี้ เราขอเลิกการเอาบุตรบูชายัญ.
[๘๐๐] ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียว
การบูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก บัดนี้
พระองค์ทรงกระทำยัญทีข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้ว
ให้กระจัดกระจาย เพราะเหตุไร ชนเหล่าใดบูชายัญ
เองก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชน
เหล่าใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของบุคคลผู้บูชายัญ
อยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นย่อมไปสู่สุคติ.
[๘๐๑] ข้าแต่พระราชา ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญ
ด้วยบุตรทั้งหลายจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไปสู่เทวโลกดัง
ได้ยินมาไซร้ พราหมณ์จงบูชายัญก่อน พระองค์จัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 131
ทรงบูชายัญในภายหลัง ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วย
บุตรทั้งหลาย จุติจากโลกนี้แล้วย่อมไปสู่เทวโลกดัง
ได้ยินมาไซร์ ขัณฑหาลพราหมณ์ผู้นี้แล จงบูชายัญ
ด้วยบุตรทั้งหลายของตน ถ้าว่าขัณฑหาลพราหมณ์รู้
อยู่อย่างนี้ เหตุไรจึงไม่ฆ่าบุตรทั้งหลาย ไม่ฆ่าคนที่
เป็นญาติทุกคนและตนเองเล่า ชนเหล่าใดบูชายัญเอง
ก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชน
เหล่าใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของบุคคลผู้บูชาอยู่
ก็ดี ชนเหล่านั้นย่อมไปสู่นรกทั้งหมด.
[๘๐๒] ได้ยินว่า พ่อเจ้าเรือนและแม่เจ้าเรือน
ทั้งหลายผู้รักบุตร ซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ไฉนจึงไม่
ทูลพระราชา อย่าให้ทรงฆ่าพระราชบุตรอันเกิดแต่
พระอุระ ได้ยินว่า พ่อเจ้าเรือนและแม่เจ้าเรือนทั้ง
หลาย ผู้รักบุตรซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ไฉนจึงไม่ทูล
ทัดทานพระราชา อย่าให้ทรงฆ่าพระราชบุตรอันเกิด
แต่พระองค์ เราปรารถนาประโยชน์แก่พระราชาด้วย
ทำประโยชน์แก่ชาวชนบททั้งปวงด้วย ใครๆ จะมี
ความแค้นเคืองกับเราไม่พึงมี ชาวชนบทไม่ช่วยกราบ
ทูลให้ทรงทราบเลย.
[๘๐๓] ดูก่อนแม่เจ้าเรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้ง
หลายจงไปกราบทูลพระราชบิดา และวิงวอนขัณฑหาล
พราหมณ์ว่า ขอจงอย่าฆ่าพระราชกุมารทั้งหลายผู้ไม่
คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ ดูก่อนแม่เจ้าเรือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 132
ทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงไปกราบทูลพระราชบิดา
และวิงวอนขัณฑหาลพราหมณ์ว่า ขอจงอย่าฆ่าพระ-
ราชกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่เพ่งที่หวังของโลกทั้งปวง.
[๘๐๔] ไฉนหนอ เราพึงเกิดในตระกูลนายช่าง
รถ ในตระกูลปุกกุสะหรือพึงเกิดในหมู่พ่อค้า พระ-
ราชาก็ไม่พึงรับส่งให้ฆ่าในการบูชายัญวันนี้.
[๘๐๕] เจ้าผู้มีความคิดแม้ทั้งปวง จงไปหมอบ
ลงแทบเท้าของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละเรียนว่า เรามิได้
เห็นโทษเลย ดูก่อนแม่เจ้าเรือนแม้ทั้งปวง เจ้าจงไป
หมอบลงแทบเท้าของผู้เป็นเจ้าขัณฑหาละเรียนว่า ข้า
แต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเราทั้งหลายได้ประทุษร้ายอะไรใน
ท่าน ขอท่านจงอดโทษเถิด.
[๘๐๖] พระเสลาราชกุมารีผู้ควรการุณ ทรง
เห็นพระภาดาทั้งหลายอันเขานำมาเพื่อบูชายัญ ทรง
คร่ำครวญว่า ดังได้สดับมา พระราชบิดาของเราทรง
ปรารภสวรรค์ รับสั่งให้ตั้งยัญขึ้น.
[๘๐๗] พระวสุลราชนัดดากลิ้งไปกลิ้งมาเฉพาะ
พระพักตร์พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระบาท
ยังเป็นเด็ก ไม่มีความเป็นหนุ่ม ขอพระองค์ได้ทรง
โปรด อย่าได้ฆ่าพระบิดาของข้าพระบาทเลย.
[๘๐๘] ดูก่อนวสุละ นั่นพ่อเจ้า เจ้าจงไปพร้อม
กับบิดา เจ้าพร่ำเพ้ออยู่ในพระราชวัง ย่อมให้เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 133
ทุกข์แก่ข้านัก จงปล่อยพระราชกุมารทั้งหลาย ณ บัดนี้
เราขอเลิกการเอาบุตรบูชายัญ.
[๘๐๙] ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียว
การบูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก บัดนี้
พระองค์ทรงกระทำยัญที่ข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้ว
ให้กระจัดกระจายเพราะเหตุไร ชนเหล่าใดบูชายัญเอง
ก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชน
เหล่าใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ของบุคคลผู้บูชาอยู่ก็ดี
ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.
[๘๑๐] ข้าแต่สมเด็จพระเอกราช ข้าพระบาท
ตระเตรียมยัญแล้วด้วยแก้วทุกอย่าง ตบแต่งไว้แล้ว
เพื่อพระองค์ ขอเดชะ เชิญเสด็จออกเถิด พระองค์
ทรงบูชายัญแล้วเสด็จสู่สวรรค์ จักทรงบันเทิงพระ-
หฤทัย.
[๘๑๑] หญิงสาว ๗๐๐ คน ผู้เป็นชายาของจันท-
กุมาร ต่างสยายผมแล้วร้องไห้ ดำเนินไปตามทาง
ส่วนพวกหญิงอื่น ๆ ออกแล้วด้วยความเศร้าโศก เหมือน
เทวดาในนันทวัน ต่างก็สยายผมร้องไห้ไปตามทาง.
[๘๑๒] พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรง
ผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทา
กฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป เพื่อ
บูชายัญของสมเด็จพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 134
ดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราช
บุรุษนำไป ทำความเศร้าพระหฤทัยให้แก่พระชนนี
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสี
อันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณ
แก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป ทำความเศร้าใจให้แก่
ประชุมชน พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร เสวย
กระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรงพระ
กายให้ดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณ
แก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไปบูชายัญของพระเจ้า
เอกราช พระจันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหาร
อันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้ว
ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูก
ราชบุรุษนำไป ทำความเศร้าพระหฤทัยให้แก่พระชนนี
พระจันทกุมารและสุริยกุมาร เสวยกระยาหารอันปรุง
ด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้ว ประดับ
กุณฑลไล้ทากษฤณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษ
นำไป ทำความเศร้าใจให้แก่ประชุมชน ในกาลก่อน
พวกพลช้างย่อมตามเสด็จพระจันทกุมารและพระสุริย-
กุมาร ผู้เสด็จขึ้นคอช้างตัวประเสริฐ วันนี้ พระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารทั้งสองพระองค์เสด็จดำเนิน
ด้วยพระบาทเปล่า ในกาลก่อนพวกพลม้าย่อมตาม
เสด็จพระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นหลัง
ม้าตัวประเสริฐ วันนี้ พระจันทกุมารและพระสุริย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 135
กุมารทั้งสองพระองค์เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า
ในกาลก่อน พวกพลรถย่อมตามเสด็จพระจันทกุมาร
และพระสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ
วันนี้ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทั้งสอง
พระองค์เสด็จดำเนินด้ายพระบาทเปล่า ในกาลก่อน
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ราชบุรุษเชิญเสด็จ
ออกด้วยม้าทั้งหลายอันตบแต่งเครื่องทอง วันนี้ ทั้ง
สองพระองค์ต้องเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า.
[๘๑๓] นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบิน
ไปทางทิศบูรพาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้า
เอกราชผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยพระราชโอรส
๔ พระองค์ นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไป
ทางทิศบูรพาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทางทิศ
บูรพาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทางทิศบูร-
พาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล
จะทรงบูชายัญด้วยคฤหบดี ๔ คน นกเอ๋ย ถ้าเจ้า
ปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทางทิศบูรพาแห่งปุบผวดี
นคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล จะทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 136
บูชายัญด้วยช้าง ๔ เชือก นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ
เจ้าจงบินไปทางทิศบูรพาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น
พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยม้า ๔
ตัว นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทางทิศ
บูรพาแห่งปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยโคอุสุภราช ๔ ตัว นกเอ๋ย
ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทางทิศบูรพาแห่ง
ปุบผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล จะ
ทรงบูชายัญด้วยสัตว์ทั้งปวงอย่างละ ๔.
[๘๑๔] นี่ปราสาทของท่านล้วนแล้วด้วยทองคำ
เกลื่อนกล่นด้วยพวงมาลัย บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่เรือนยอดของท่าน
ล้วนของคำ เกลือนกล่นด้วยพวงมาลัย บัดนี้ พระลูก
เจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่พระอุท-
ยานของท่าน มีดอกไม้บานสะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง
น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขา
นำไปเพื่อจะฆ่า นี่ป่าอโศกของท่าน มีดอกบาน
สะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระ
ลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่ป่า
กรรณิการ์ของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอดกาลทั้ง
ปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่ป่าแคฝอยของท่าน มีดอก
บานสะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 137
พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่
สวนมะม่วงของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอดกาล
ทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระ-
องค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า นี่สระโบกขรณีของท่าน
ดารดาษไปด้วยดอกบัวหลวงและบัวขาว มีเรือทองอัน
งดงามวิจิตรด้วยลายเครือวัลย์ เป็นที่รื่นรมย์เป็นอันดี
บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะ
ฆ่า.
[๘๑๕] นี่ช้างแก้วของท่าน ชื่อเอราวัณ เป็น
ช้างงามกำลัง บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้นถูกเขานำ
ไปเพื่อจะฆ่า นี่ม้าแก้วของท่านเป็นม้ามีกีบไม่แตก
เป็นม้าวิ่งได้เร็ว บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้นถูกเขานำ
ไปเพื่อจะฆ่า นี่รถม้าของท่าน มีเสียงไพเราะเหมือน
เสียงนกสาลิกา เป็นรถงดงามวิจิตรด้วยแก้ว พระลูก
เจ้าเสด็จไปในรถนี้ ย่อมงดงามดังเทพเจ้าในนันทวัน
บัดนี้ พระเจ้าลูกทั้ง ๔ นั้นถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักทรงบูชายัญด้วยพระ-
ราชโอรส ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มีพระกาย
ไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ อย่างไร พระราชาผู้หลงใหล
จึงจักทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์ ผู้งาม
เสมอด้วยทอง มีพระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 138
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จักทรงบูชายัญด้วย
พระมเหสี ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มี
พระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ อย่างไรพระราชา
ผู้หลงใหล จึงจักบูชายัญด้วยคฤหบดี ๔ คน ผู้งดงาม
เสมอด้วยทอง มีร่างกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์
คามนิคมทั้งหลายจะว่างเปล่า ไม่มีมนุษย์ กลายเป็น
ป่าใหญ่ไป ฉันใด เมื่อพระราชารับสั่งให้เอาพระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารบูชายัญ พระนครปุบผวดีก็
ก็จักร้างว่างเปล่า ไม่มีมนุษย์ กลายเป็นป่าใหญ่ไป
ฉันนั้น.
[๘๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระบาท
จักเป็นบ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระเกลือก
กลั้วด้วยธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมารลมปราณของข้าพระ-
บาทก็จะแตกทำลาย ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้า
พระบาทจักเป็นบ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้วมีสรีระ
เกลือกกลั้วด้วยธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ลมปราณของ
ข้าพระบาทก็จะแตกทำลาย.
[๘๑๗] สะใภ้ของเราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา
นางอุปรักขี นางโปกขณี และนางคายิยา ล้วนกล่าว
วาจาเป็นที่รักแก่กันและกัน เพราะเหตุไร จึงไม่ฟ้อน
รำขับร้องให้จันทกุมารและสุริยกุมารรื่นรมย์เล่า ใคร
อื่นที่จะเสมอด้วยนางทั้ง ๔ นั้นไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 139
[๘๑๘] ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจ
ใดย่อมเกิดมีแก่เราในเมื่อจันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อ
จะฆ่า แม่ของเจ้าจงได้ประสบความโศกเศร้าใจของ
เรานี้ ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อม
เกิดมีแก่เรา ในเมื่อสุริยกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
แม่ของเจ้าจงได้ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้
ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่
เรา ในเมื่อจันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า ภรรยา
ของเจ้าจงประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อน
ขัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ใน
เมื่อสุริยกุมารถูกนำไปเพื่อจะฆ่า ภรรยาของเจ้าจงได้
ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้าขัณฑ-
หาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษ
ร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ แม่ของเจ้าจงอย่าได้เห็นพวก
ลูก ๆ และอย่าได้เห็นสามีเลย ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละ
เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลก
ทั้งปวงแม่จงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็น
สามีเลย ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมาร
ทั้งหลายผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ ภรรยา
ของเจ้า จงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็นสามี
เลย ดูก่อนเจ้าขัณฑหาละเจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมารทั้ง
หลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวง ภรรยาของเจ้า
จงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็นสามีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 140
[๘๑๙] ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้ง
หลายเสีย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ถึงจะเลี้ยง
ช้างและม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์
ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้ง
หลาย ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า
ถึงแม้ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่
ก็จะขนมูลช้างให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระ-
องค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์
ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของขัณฑทาลปุโรหิตเถิดพระเจ้า
ข้า ถึงแม้ว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่
ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้า
พระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของขัณฑหาลปุโรหิต
ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด พระเจ้าข้า ถึงแม้
ว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็
จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต ขอเดชะ หญิงทั้งหลายผู้
ปรารถนาบุตร แม้จะเป็นคนยากจน ย่อมวอนขอบุตร
ต่อเทพเจ้า หญิงบางพวกละปฏิภาณแล้ว ไม่ได้บุตร
ก็มี หญิงเหล่านั้นย่อมกระทำความหวังว่า ขอลูกทั้ง
หลายจงเกิดแก่เรา แต่นั้นขอหลานจงเกิดอีก ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์รับสั่งให้ฆ่าข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 141
ทั้งหลาย เพื่อต้องการทรงบูชายัญ โดยเหตุอันไม่
สมควร ข้าแต่สมเด็จพระบิดา คนทั้งหลายเขาได้ลูก
เพราะความวิงวอนเทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับสั่งให้ฆ่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย อย่าทรงบูชายัญนี้ด้วยบุตร
ทั้งหลายที่ได้มาโดยยากเลยพระเจ้าข้า ข้าแต่สมเด็จ
พระบิดา คนทั้งหลายเขาได้บุตรเพราะความวิงวอน
เทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับสั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้ง
หลายเลยพระเจ้าข้า ขอได้ทรงพระกรุณา โปรดอย่า
ได้พรากข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เป็นบุตรที่ได้มาด้วย
ความยาก จากมารดาเลยพระเจ้าข้า.
[๘๒๐] ข้าแต่พระมารดา พระมารดาย่อมย่อย
ยับ เพราะทรงเลี้ยงลูกจันทกุมารมาด้วยความลำบาก
มาก ลูกขอกราบพระบาทพระมารดา ขอพระราช-
บิดา จงทรงได้ปรโลกอันสมบูรณ์เถิด เชิญพระมารดา
ทรงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทให้ลูก
กราบไหว้ ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่
ยัญของสมเด็จพระราชบิดาเอกราช เชิญพระมารดา
ทรงสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทให้ลูก
กราบไหว้ ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่
พระทัยให้พระมารดา เชิญพระมารดาทรงสวมกอดลูก
แล้วประทานพระยุคลบาทให้ลูกกราบไหว้ ลูกจะจาก
ไป ณ บัดนี้ ทำความโศกเศร้าใจให้แก่ประชุมชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 142
[๘๒๑] ดูก่อนลูกโคตมี มาเถิด เจ้าจงรัดเมาลี
ด้วยใบบัว จงประดับดอกไม้อันแซมด้วยกลีบจำปา
นี่เป็นปรกติของเจ้ามาเก่าก่อน มาเถิด เจ้าจงไล้ทา
เครื่องลูบไล้ คือ จุรณจันทน์แดงของเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย
เจ้าลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์แดงนั้นดีแล้ว ย่อมงดงามใน
ราชบริษัท มาเถิดเจ้าจงนุ่งผ้ากาสิกพัสตร์ อันเป็นผ้า
เนื้อละเอียดเป็นครั้งสุดท้าย เจ้านุ่งผ้ากาสิกพัสตร์นั้น
แล้ว ย่อมงดงามในราชบริษัท เชิญเจ้าประดับหัตถา-
ภรณ์ อันเป็นเครื่องประดับทองคำฝังแก้วมุกดาและ
แก้วมณี เจ้าประดับด้วยหัตถาภรณ์นั้นแล้ว ย่อมงด
งามในราชบริษัท.
[๘๒๒] พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองรัฐ ผู้เป็นทายาท
ของชนบท เป็นเจ้าโลกองค์นี้ จักไม่ทรงยังความ
สิเนหาได้เกิดในบุตรแน่ละหรือ.
[๘๒๓] ลูกทั้งหลายเป็นที่รักของเรา อนึ่ง แม้
เจ้าทั้งหลายผู้เป็นภรรยาก็เป็นที่รักของเรา แต่เรา
ปรารถนาสวรรค์ เหตุนั้นจึงได้ให้ฆ่าลูกทั้งหลาย.
[๘๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอจงทรง
พระกรุณาโปรดรับสั่งให้ฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน ขอ
ความทุกข์อย่าได้ทำลายหทัยของข้าพระบาทเลย พระ-
ราชโอรสของพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ ประดับแล้ว
งดงาม ข้าแต่เจ้าชีวิต ขอได้โปรดฆ่าข้าพระบาทเสีย
ก่อน ข้าพระบาทจักเป็นผู้มีความเศร้าโศกกว่าจันท-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 143
กุมาร ขอพระองค์จงทรงทำบุญให้ไพบูลย์ ข้าพระ
บาททั้งสองจะเที่ยวไปในปรโลก.
[๘๒๕] ดูก่อนจันทาผู้มีตางาม เจ้าอย่าชอบใจ
ความตายเลย เมื่อโคตมีบุตรผู้อันเราบูชายัญแล้ว พี่
ผัวน้องผัวของเจ้าเป็นอันมากจักยังเจ้าให้รื่นรมย์ยินดี.
[๘๒๖] เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระนาง
จันทาเทวีก็ร่ำตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงรำพันว่า
ไม่มีประโยชน์ด้วยชีวิต เราจักดื่มยาพิษตายเสียในที่นี้
พระญาติพระมิตรของพระราชาพระองค์นี้ ผู้มีพระทัย
ดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่า อย่าได้รับสั่งให้
ฆ่าพระราชโอรสอันเกิดแต่พระอุระเลย ย่อมไม่มีแน่แท้
เทียว พระญาติพระมิตรของพระราชาพระองค์นี้ ผู้มี
พระทัยดี ซึ่งกราบทูลทัดทานพระราชาว่า อย่าได้รับ
สั่งให้ฆ่าพระราชโอรส อันเกิดแต่พระองค์เลย ย่อม
ไม่มีเป็นแน่แท้เทียว บุตรของข้าพระบาทเหล่านี้
ประดับพวงดอกไม้ สวมกำไลทองต้นแขน ขอพระ-
ราชาจงเอาบุตรของข้าพระบาทเหล่านั้นบูชายัญ แต่
ขอพระราชทานปล่อยโคตมีบุตรเถิด ข้าแต่พระมหา
ราชา ขอจงทรงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อยส่วน
แล้ว ทรงบูชายัญในสถานที่เจ็ดแห่ง อย่าได้ทรงฆ่า
พระราชบุตรองค์ใหญ่ ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจ
ดังราชสีห์เลย ข้าแต่พระมหาราช ขอจงตัดแบ่งข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 144
พระบาทให้เป็นร้อยส่วนแล้ว ทรงบูชายัญในสถานที่
เจ็ดแห่ง อย่าได้ทรงฆ่าพระราชบุตรองค์ใหญ่ผู้เป็นที่
มุ่งหวังของโลกทั้งปวงเลย.
[๘๒๗] เครื่องประดับเป็นอันมากล้วนแต่ของ
ดี ๆ คือ มุกดา มณี แก้วไพฑูรย์ เราให้แก่เจ้า เมื่อ
เจ้ากล่าวคำดี นี้เป็นของที่เราให้แก่เจ้าครั้งสุดท้าย.
[๘๒๘] เมื่อก่อน พวงมาลาบานเคยสวมที่พระ-
ศอของพระกุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับคมดีแล้ว
จักฟันที่พระศอของพระกุมารเหล่านั้น เมื่อก่อน พวง
มาลาอันวิจิตรเคยสวมที่พระศอของกุมารเหล่าใด วัน
นี้ ดาบอันเขาลับคมดีแล้ว จักฟันที่พระศอของกุมาร
เหล่านั้น ไม่ช้าแล้วหนอดาบจักฟันที่พระศอของพระ
ราชบุตรทั้งหลาย ก็หทัยของเราจะไม่แตก แต่จะต้อง
มีเครื่องรัดอย่างมันคงเหลือเกิน พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันสะอาด ประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทร์ เสด็จออก
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช พระ-
จันทกุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาว
สะอาด ประดับกุณฑลไล้ทากฤษณา และจรุณแก่น
จันทน์ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอก
ราช พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้น
กาสีอันขาวสะอาด ประดับกุณฑลไล้ทากฤษณาและ
จุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำความเศร้าพระทัยแก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 145
พระชนนี พระจันทกุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้า
แคว้นกาสีอันขาวสะอาดประดับกุณฑลไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำความเศร้าใจให้แก่
ประชุมชน พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร เสวย
พระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรง
พระกายดีแล้ว ประดับกุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณ
แก่นจันทน์ เสด็จออกเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ของพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร
เสวยพระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนาน
สระสรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณจันทน์ เสด็จออกกระทำความเศร้าพระทัยให้
แก่พระชนนี พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร เสวย
พระกระยาหาร อันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระ
สรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณาและ
จรุณแก่นจันทน์ เสด็จออกกระทำความเศร้าใจให้แก่
ประชุมชน.
[๘๒๙] เมื่อเขาตกแต่งเครื่องบูชายัญทุกสิ่งแล้ว
เมื่อพระจันทกุมารและพระสุริยกุมารประทับนั่ง เพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญ พระราชธิดาของพระเจ้า
ปัญจาลราช ประนมอัญชลีเสด็จดำเนินเวียนใน
ระหว่างบริษัททั้งปวงทรงกระทำสัจกิริยาว่า ขัณฑหาละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 146
ผู้มีปัญญาทราม ได้กระทำกรรมชั่ว ด้วยความสัจจริง
อันใด ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับ
พระสวามี อมนุษย์เหล่าใดมีอยู่ในที่นี้ ยักษ์ สัตว์ที่
เกิดแล้วและสัตว์ที่จะมาเกิดก็ดี ขอจงกระทำความ
ขวนขวายช่วยเหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วม
กับพระสวามี เทวดาทั้งหลายที่มาแล้วในที่นี้ ปวง
สัตว์ที่เกิดแล้วและสัตว์ที่จะมาเกิด ขอจงคุ้มครอง
ข้าพเจ้าผู้แสวงหาที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งหลาย
ขออย่าให้พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย.
[๘๓๐] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับเสียงคร่ำ
ครวญของพระนางจันทานั้นแล้ว ทรงกวัดแกว่งค้อน
ยังความกลัวให้เกิดแก่พระเจ้าเอกราชนั้นแล้วได้ตรัส
กะพระราชาว่า พระราชากาลี จงรู้ไว้ อย่าให้เราตี
เศียรของท่านด้วยค้อนเหล็กนี้ ท่านอย่าได้ฆ่าบุตรองค์
ใหญ่ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ พระ
ราชากาลี ท่านเคยเห็นที่ไหน คนผู้ปรารถนาสวรรค์
ฆ่าบุตรภรรยา เศรษฐี และคฤหบดี ผู้ไม่คิดประทุษ-
ร้าย.
[๘๓๑] ขัณฑหาลปุโรหิตและพระราชา ได้ฟัง
พระดำรัสของท้าวสักกะ ได้เห็นรูปอันอัศจรรย์แล้ว
ให้เปลื้องเครื่องพันธนาการของสัตว์ทั้งปวง เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 147
ดังเปลื้องเครื่องพันธนาการของคนผู้ไม่มีความชั่ว เมื่อ
สัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุม
อยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้นทุกคน เอาก้อนดินคนละก้อน
ทุ่มลง การฆ่าซึ่งขัณฑหาลปุโรหิตได้มีแล้วด้วยประ-
การดังนี้.
[๘๓๒] คนผู้กระทำกรรมชั่วฉันใดฉันนั้นเป็น
ต้องเข้านรกทั้งหมด คนทำกรรมชั่วแล้ว ไม่พึงได้จาก
โลกนี้ไปสู่สุคติเลย.
[๘๓๓] เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจอง
จำแล้ว ผู้ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ
พระราชาทั้งหลาย ประชุมกันอภิเษกพระจันทกุมาร
เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มา
ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทวดาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันอภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อม
กัน ณ ที่นั้น ในกาลนั้น คือ เทพกัญญาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันอภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมพร้อม
กัน ณ ที่นั้น ในกาลนั้น คือ พระราชาทั้งหลายประ-
ชุมพร้อมกัน ต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 148
กัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ ราชกัญญาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างก็แกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์
ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุม
พร้อมกัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพบุตรทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อม
กัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพกัญญาทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ชนเป็นอันมากต่าง
ก็รื่นรมย์ยินดี พวกเขาได้ประกาศความยินดีในเวลา
ที่พระจันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนคร และได้ประกาศ
ความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำของสัตว์ทั้งปวง.
จบจันทกุมารชาดกที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 149
อรรถกถาจันทกุมารชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้.
เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วในสังฆเภทกขันกะแล้วนั่นแล.
เรื่องนั้น นับจำเดิมแต่เวลาที่ท่านออกผนวชแล้วตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพ
ของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นนั่นเอง.
ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็เข้า
ไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า ดูก่อนมหาราช มโนรถของพระองค์ถึงที่สุด
แล้ว ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่. พระราชาได้ทรงฟัง
ดังนั้นจึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร ?
พระเทวทัต. ดูก่อนมหาราช เมื่อฆ่าพระทสพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้า
มิใช่หรือ ? พระราชาตรัสถามว่า ก็ในเพราะเรื่องนี้ควรเราจะทำอย่างไรเล่า ?
เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน. พระราชา
ทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ จึงให้ประชุมนายขมังธนูจำพวกที่ยิงไม่ผิดพลาด
รวม ๕๐๐ ตระกูล ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน ตรัสสั่งว่า พ่อทั้ง
หลาย พวกเจ้าจงทำตามคำสั่งของพระเถระ ดังนี้แล้วจึงส่งไปยังสำนักพระ-
เทวทัต. พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมา
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ
เสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น. ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณ-
โคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทางชื่อ
โน้น. พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 150
ไว้ในทางนั้น ๒ คน ด้วยสั่งว่า จักมีบุรุษคนหนึ่งเดินทางมาโดยทางที่พวกท่าน
ยืนอยู่ พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษนั้นเสีย แล้วกับมาโดยทางโน้น. ในทางนั้น
พระเทวทัตจึงวางบุรุษไว้สี่คนด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่ จักมีบุรุษ
เดินมา ๒ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษ ๒ คนนั้นเสีย แล้วกลับมาโดยทางชื่อโน้น.
ในทางนั้น พระเทวทัตวางคนไว้ ๘ คน ด้วยสั่งว่า โดยทางที่พวกท่านยืนอยู่
จักมีบุรุษ ๔ คนเดินทางมา พวกท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง ๔ คนนั้นเสีย แล้ว
กลับโดยทางชื่อโน้น. ในทางนั้น พระเทวทัตวางบุรุษไว้ ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า
โดยทางที่พวกท่านไปยืนอยู่ จักมีบุรุษเดินมา ๘ คน ท่านจงปลงชีวิตบุรุษทั้ง
๘ คนนั้นเสีย แล้วจงกลับมาโดยทางชื่อโน้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระ-
เทวทัตจึงทำอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะปกปิดกรรมชั่วของตน. ได้ยินว่า พระ-
เทวทัตได้ทำดังนั้น เพื่อจะปกปิดกรรมชั่วของตน.
ลำดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่ ขัดดาบแล้วทางข้างซ้าย ผูกแล่งและ
ศรไว้ข้างหลังจับธนูใหญ่ทำด้วยเขาแกะ ไปยังสำนักพระตถาคตเจ้า จึงยกธนู
ขึ้นด้วยสัญญาว่า เราจักยิงดังนี้แล้ว จึงผูกสอดลูกศร ฉุดสายมาเพื่อจะยิง ก็
ไม่สามารถจะยิงไปได้. พระศาสดา ได้ทรงให้คร่าธนูมาแล้ว หาได้ประทาน
ให้ยิงไปได้ไม่. นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น เมื่อไม่อาจแม้จะยิงลูกศรไปก็ดี ลดลง
ก็ดี ก็ได้เป็นคนลำบากใจ เพราะสีข้างทั้งสองเป็นเหมือนจะหักลง น้ำลายก็
ไหลนองออกจากปาก. ร่างกายทั้งสิ้นเกิดแข็งกระด้าง ได้เป็นเสมือนถึงอาการ
อันเครื่องยนต์บีบคั้น. นายขมังธนูนั้นได้เป็นคนอันมรณภัยคุกคามแล้วยืนอยู่.
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ทรงเปล่ง
ด้วยเสียงอันไพเราะ ตรัสปลอบนายขมังธนูว่า พ่อบุรุษผู้โง่เขลาท่านอย่ากล่าว
เลย จงมาที่นี้เถิด. ในขณะนั้น นายขมังธนูก็ทิ้งอาวุธเสีย กราบลงด้วย
ศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 151
โทษได้ล่วงข้าพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่เป็นคนเขลา คนหลง คนชั่วบาป ข้า
พระพุทธเจ้ามิได้รู้จักคุณของพระองค์ จึงได้มาแล้ว เพื่อปลงพระชนมชีพของ
พระองค์ ตามคำเสี้ยมสอนของพระเทวทัตผู้เป็นอันธพาล ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระสุคตขอพระองค์
จงอดโทษข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้รู้โลก ขอพระองค์จงอดโทษ
ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดโทษให้ตนแล้วก็นั่งลงในที่สุด
ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย
ยังนายขมังธนูให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่าน
อย่าเดินทางไปตามทางที่พระเทวทัตชี้ให้ จงไปเสียทางอื่น แล้วส่งนายขมังธนู
นั้นไป. ก็แล้วครั้นส่งนายขมังธนูไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไป
ประทับอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง.
ลำดับนั้น เมื่อนายขมังธนูผู้ใหญ่มิได้กลับมา นายขมังธนูอีก ๒ คน
ที่คอยอยู่ก็คิดว่า อย่างไรหนอเขาจึงล่าช้าอยู่ ออกเดินสวนทางไป ครั้น
เห็นพระทศพล ก็เข้าไปถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดา
ครั้นทรงประกาศพระอริยสัจแก่ชนทั้ง ๒ ยังเขาให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
แล้วดำรัสสอนว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าเดินไปทางที่พระเทวทัตบอก จงไป
โดยทางนี้ แล้วก็ส่งเขาไป โดยอุบายนี้ เมื่อทรงประกาศพระอริสัจ ยังนาย
ขมังธนูแม้นอกนี้ ที่มานั่งเฝ้า ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ก็ทรงส่งไปโดย
ทางอื่น.
ลำดับนั้น นายขมังธนูผู้ใหญ่นั้น กลับมาถึงก่อนก็เข้าไปหาพระเทวทัต
กล่าวว่า ข้าแต่พระเทวทัตผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้อาจปลงพระชนมชีพพระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ทรง
อานุภาพอันยิ่งใหญ่. ส่วนบรรดานายขมังธนูเหล่านั้น รำพึงว่า เราทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 152
นั้นอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รอดชีวิตแล้ว ก็ออกบรรพชาในสำนัก
พระศาสดา แล้วทรงบรรลุพระอรหัตทุกท่าน.
เรื่องนี้ได้ปรากฏในภิกษุสงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ได้ยินว่าพระเทวทัต ได้กระทำความพยายาม เพื่อ
จะปลงชีวิตชนเป็นอันมาก เพราะจิตก่อเวรในพระตถาคตเจ้าพระองค์เดียว แต่
ชนเหล่านั้น อาศัยพระศาสดาได้รอดชีวิตแล้วทั้งสิ้น. ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออก
จากที่บรรทมอันประเสริฐได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยพระ-
โสตธาตุอันเป็นทิพย์ เสด็จมายังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้
ทรงทราบ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อน พระเทวทัต ก็กระทำความพยายามเพื่อจะฆ่าชนเป็นอันมาก อาศัย
เราผู้เดียว เพราะจิตมีเวรในเรา ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเสีย เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ทูลวิงวอนจึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล กรุงพาราณสีนี้ ชื่อว่า เมือง
ปุปผวดี. พระโอรสของพระเจ้าวสวัตดีทรงพระนามว่าเอกราชได้ครองราช
สมบัติในเมืองนั้น . พระราชโอรสของพระองค์ ทรงพระนามว่า พระจันทกุมาร
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช. พราหมณ์ชื่อว่า กัณฑหาละ๑ ได้เป็นปุโรหิต.
เขาถวายอนุศาสน์ทั้งอรรถและธรรมแด่พระราชา. ได้ยินว่า พระราชา ครั้น
ทรงสดับว่า กัณฑหาละเป็นบัณฑิต ก็ทรงให้ดำรงไว้ในหน้าที่ตัดสินอรรถคดี.
ก็กัณฑหาลพราหมณ์นั้นเป็นคนมีจิตใจฝักใฝ่ในสินบน ครั้นได้รับสินบนแล้ว
ก็ตัดสินให้ผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าของมิให้ได้เป็นเจ้าของ. ครั้น
ภายหลังวันหนึ่ง มีบุรุษผู้แพ้คดีคนหนึ่ง โพนทนาด่าว่าอยู่ในที่เป็นที่วินิจฉัย
อรรถคดี ครั้นออกมาภายนอก เห็นพระจันทกุมารจะเสด็จมาสู่ที่เฝ้าพระราชา
๑.บาลีเป็น ขัณฑหาละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 153
ก็กราบลงแทบพระบาทแล้วร้องไห้ พระจันทกุมารนั้นถามเขาว่า เรื่องอะไรกัน
บุรุษผู้เจริญ. เขาทูลว่า กัณฑหาลนี้ปล้นเขาในการตัดสินความ ถึงข้าพระองค์
เมื่อเขารับสินบนแล้ว เขาก็ทำให้ถึงความพ่ายแพ้ในอรรถคดีพระเจ้าข้า.
พระจันทกุมารตรัสปลอบว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้แล้วก็ทรงพาบุรุษนั้น
ไปสู่โรงเป็นที่วินิจฉัยอรรถคดี กระทำผู้เป็นเจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ ผู้มิ
ใช่เจ้าของให้เป็นผู้มิใช่เจ้าของ. มหาชนพากันแซ่ซ้องสาธุการด้วยเสียงอันดัง.
พระราชา ได้ทรงสดับเสียงนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ? มีผู้ทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ได้ยินว่า มีอรรถคดีอันพระจันทกุมารทรงตัดสินแล้วโดยชอบธรรม
เสียงนั้นคือเสียงสาธุการของมหาชน. เพราะฟังเสียงนั้นพระราชาจึงเกิดปีติ.
พระจันทกุมารเสด็จมาถวายบังคมพระราชบิดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสกะท่านว่า แน่ะ พ่อได้ยินว่า
เจ้าได้ตัดสินความเรื่องหนึ่งหรือ ? พระจันทกุมารทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้า-
พระบาทได้ตัดสินเรื่องหนึ่ง พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้ากระนั้น ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไปเจ้าคนเดียวจงยังการตัดสินอรรถคดีให้ดำเนินไปเถิด. แล้วทรง
ประทานหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีแก่พระกุมาร. ผลประโยชน์ของกัณฑหาล
พราหมณ์ ย่อมขาดไป. เขาก็ผูกอาขาดประพฤติเป็นผู้เพ่งโทษจะจับผิดใน
พระจันทกุมารตั้งแต่นั้นมา.
ส่วนพระราชานั้นเป็นผู้มีปัญญาอ่อน วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ได้ทรงสุบิน
เห็นปานนี้ว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นดาวดึงส์พิภพ มีซุ้มประตูอันประดับแล้ว
มีกำแพงแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มีวิถีอันแล้วไปด้วย ทรายทอง กว้าง
ประมาณ ๖๐ โยชน์ ประดับไปด้วยเวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ เป็นที่
รื่นรมย์ไปด้วยสวนมีนันทวันเป็นต้น ประกอบด้วยสระโบกขรณี อันน่ายินดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 154
มีนันทโบกขรณีเป็นต้น มีหมู่เทพเกลื่อนกล่น. นางเทพอัสปร เป็นอันมาก
ก็ฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรี ในเวชยันตปราสาท ในดาวดึงส์
พิภพนั้น. พระราชาได้ทรงเห็นดังนั้น ครั้นทรงตื่นบรรทม ใคร่จะเสด็จไปสู่
พิภพนั้น จึงทรงดำริว่า พรุ่งนี้ในเวลาที่อาจารย์กัณฑหาละมาเฝ้า เราจะถามถึง
หนทางอันเป็นที่ไปยังเทวโลก แล้วเราจักไปสู่เทวโลกโดยทางที่อาจารย์บอกให้
นั้น. พระราชานั้นก็เสด็จสรงสนานแต่เช้าตรู่ ทรงนุ่งห่มภูษา เสวยโภชนาหาร
อันมีรสเลิศต่าง ๆ ทรงไล้ทาเครื่องหอมแล้วเสด็จประทับนั่ง ส่วนกัณฑหาล-
พราหมณ์ อาบน้ำแต่เช้าตรู่ นุ่งผ้า บริโภคอาหาร ไล้ทาเครื่องหอมแล้ว
ไปยังที่บำรุงพระราชา เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ แล้วทูลถามถึงพระสำราญ
ในที่พระบรรทม. ลำดับนั้น พระราชาประทานอาสนะแก่กัณฑหาลพราหมณ์
นั่นแล้ว จึงทรงถามปัญหา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสคาถาว่า
พระราชาพระนามว่า เอกราช เป็นผู้มีกรรมอัน
หยาบช้า อยู่ในพระนคร ปุปผวดี ท้าวเธอตรัสถาม
กัณฑทาลปุโรหิต ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ เป็นผู้หลง
ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นผู้ฉลาดในธรรมวินัย ขอ
จงบอกทางสวรรค์แก่เรา เหมือนอย่างนรชนทำบุญ
แล้ว ไปจากภพนี้สู่สุคติภพ ฉะนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาสิ ความว่า ท่านเป็นพระราชา.
บทว่า ลุทฺทกกมฺโม ได้แก่ ท่านเป็นผู้มีกรรมอันหยาบช้าทารุณ. บทว่า
สคฺคานมคฺค ความว่า ทางแห่งสวรรค์. บทว่า ธมฺมวินยกุสโล ความว่า
ด้วยบทว่า ยถา นี้ ท่านถามว่า เหมือนอย่างว่าคนทั้งหลาย ทำบุญแล้วจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 155
โลกนี้ไปสุคติด้วยประการใด ขอท่านจงบอกทางแห่งสุคติแก่ข้าพเจ้า โดยประการ
นั้น ก็ปัญหานี้ ท่านควรจะถามกะพระสัพพัญพุทธเจ้า หรือกะพระโพธิสัตว์.
เพราะไม่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า หรือพระสาวก ส่วนพระราชา
ทรงถามกะกัณฑหาลพราหมณ์ ผู้ไม่รู้อะไร ๆ เหมือนบุรุษผู้หลงทาง ๗ วัน
พึงถามกะบุรุษคนอื่นผู้หลงทาง มาประมาณกึ่งเดือน.
กัณฑหาลพราหมณ์ คิดว่า เวลานี้เป็นเวลาที่จะได้เห็นหลังปัจจามิตร
ของเรา บัดนี้เราจักกระทำพระจันทกุมารให้ถึงสิ้นชีวิตแล้ว จักทำมโนรถของ
เราให้สำเร็จบริบูรณ์ ครั้งนั้นกัณฑหาลพราหมณ์ ครั้นกราบทูลพระราชา
แล้วจงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ คนทั้งหลายให้ทาน
อันล่วงล้ำทาน ฆ่าแล้วซึ่งบุคคลอันไม่พึงฆ่า ชื่อว่า
ทำบุญแล้ว ย่อมไปสู่สุคติด้วยประการฉะนี้.
ความแห่งคำในคาถานั้นมีดังนี้ว่า ดูก่อนมหาราช ชื่อว่า บุคคลผู้
ไปสวรรค์ ย่อมให้ทานล่วงล้ำทาน ย่อมฆ่าบุคคลอันไม่ควรฆ่า ถ้าท่านปรารถนา
จะไปสุคติไซร้ แม้ท่านก็จงทำอย่างนั้นนั่นแล.
ลำดับนั้น พระราชา จึงตรัสถามถึงอรรถแห่งปัญหากะกัณฑหาล-
พราหมณ์นั้นว่า
ก็ทานอันล่วงล้ำทานนั้นอะไร ใครเป็นบุคคลอัน
ไม่พึงฆ่าในโลกนี้ ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา เรา
จักบูชายัญ เราจะให้ทาน.
กัณฑหาลพราหมณ์ ทูลแก้ปัญหาแก่พระราชานั้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ยัญพึงบูชาด้วยพระ
ราชบุตรทั้งหลาย ด้วยพระมเหสีทั้งหลาย ด้วยชาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 156
นิคมทั้งหลาย ด้วยโคอุสภราชทั้งหลาย ด้วยม้าอาชา-
ไนยทั้งหลาย อย่างละ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ยัญพึงบูชาด้วยหมวด ๔ แห่งสัตว์ทั้งปวง.
กัณฑหาลพราหมณ์นั้น เมื่อจะถวายพยากรณ์แก่พระราชานั้น ถูก
พระราชานั้นทรงถามถึงทางไปสู่สวรรค์ แต่กลับพยากรณ์ทางไปนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺเตหิ ความว่า พระราชบุตรเป็นที่รัก
ทั้งหลาย พระธิดาทั้งหลายผู้เกิดแล้วแก่พระองค์ด้วย. บทว่า มเหสีหิ ได้แก่
ด้วยพระชายาทั้งหลาย. บทว่า เนคเมหิ แปลว่า ด้วยเศรษฐีทั้งหลาย.
บทว่า อุสเภหิ ความว่า อุสภราชทั้งหลายอันขาวปลอด. บทว่า อาชานีเยหิ
ความว่า ด้วยม้าอันเป็นมงคลทั้งหลาย. บทว่า จตูหิ ความว่า ข้าแต่พระ
องค์ผู้สมมติเทพ พึงบูชายัญด้วยหมู่ ๔ แห่ง สัตว์ทั้งปวงอย่างนี้คือ สัตว์
เหล่านี้ และสัตว์เหล่าอื่นทั้งหมด และสัตว์ ๔ เหล่ามีช้างเป็นต้น. กัณฑหาล-
พราหมณ์ ให้พระราชาทรงเข้าพระทัยว่า พระราชาทั้งหลาย ผู้ทรงบูชายัญ
เมื่อได้ตัดศีรษะ แห่งสัตว์ทั้งหลาย มีพระราชบุตรเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระ
ขรรค์ ถือเอาโลหิตในลำคอด้วยถาดทองคำ ทิ้งลงไปในหลุมยัญแล้ว ย่อม
เสด็จไปสู่เทวโลกพร้อมทั้งพระสรีระกายนั่นเอง ข้าแต่มหาราช อันการให้ทาน
มีให้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แก่สมณพราหมณ์ คนยากไร้ คนเดิน
ทางวณิพกและยาจก จะได้เป็นอติทาน ทานอันล่วงล้ำทานหามิได้เลย ส่วน
การฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า มีบุตรและธิดาเป็นต้น แล้วกระทำยัญบูชาด้วยเลือด
ในลำคอของคนจำพวกนั้น ชื่อว่า อติทาน กัณฑหาลพราหมณ์นั้น คิดดังนี้
ว่า ถ้าเราจักจับแต่พระจันทกุมารคนเดียว คนทั้งหลายจักสำคัญถึงเหตุเพราะ
จิตมีเวร เพราะฉะนั้น เขาจึงรวมพระจันทกุมารเข้าในระหว่างมหาชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 157
ฝ่ายชนชาวพระราชวังใน ได้สดับเรื่องที่พระราชาและกัณฑหาละเหล่า
นั้นกล่าวอย่างนี้ จึงตกใจกลัว ร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังพร้อมเป็นเสียงเดียวกัน.
พระศาสดา เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
เสียงกึกก้องน่ากลัว ได้เกิดขึ้นในพระราชวัง
เพราะได้สดับว่า พระกุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย
จะต้องถูกฆ่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ความว่า เพราะได้ฟังว่า พระราช
กุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย จะต้องถูกฆ่า. บทว่า เอโก ความว่า ได้มี
เสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ทั่วพระราชนิเวศน์. บทว่า เภสฺมา แปลว่า
น่ากลัว. บทว่า อจฺจุคฺคโต ความว่า ได้เกิดขึ้นอื้ออึง.
ในกาลนั้น ราชตระกูลทั้งสิ้น ได้เป็นดังป่าไม้รัง อันลมยุคันตวาต
พัดต้องหักโค่นลงแล้ว.
ฝ่ายพราหมณ์ ทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อาจ
เพื่อกระทำยัญบูชานี้หรือ ๆ ไม่อาจ. ราชาตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ ท่านกลัว
อย่างไรเราบูชายัญแล้ว จักไปสู่เทวโลก. กัณฑหาลพราหมณ์ ทูลว่า ข้าแต่พระ
มหาราชเจ้า บุรุษทั้งหลาย เกิดมาเป็นคนขลาด มีอัธยาศัยอ่อนกำลัง ไม่ชื่อว่า
เป็นผู้สามารถเพื่อจะบูชายัญได้ ขอพระองค์จงให้ประชุมสัตว์ มีลมปราณทั้ง
ปวงไว้ในที่นี้ ข้าพระองค์จักกระทำกรรมในหลุมยัญ ดังนี้แล้วจึงพาพรรคพวก
ผู้มีกำลังสามารถของตนอันพอเพียง ออกจากพระนคร ไปกระทำหลุมยัญให้
มีพื้นราบเรียบสม่ำเสมอ แล้วล้อมรั้วไว้ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ทรงธรรม พึงมาแล้วห้ามการกระทำยัญนั้น เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์ในโบราณกาล จึงบัญญัติตั้งไว้ว่า หลุมยัญต้องล้อมรั้วจึงจะเป็นจารีต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 158
ฝ่ายพระราชา ทรงมีรับสั่งให้เรียกราชบุรุษทั้งหลายมาแล้วสั่งว่า ดู
ก่อนพ่อทั้งหลาย เราฆ่าบุตร ธิดาและภรรยาทั้งหลายของเราบูชายัญแล้ว
เราจักไปสู่เทวโลก เจ้าจงไปทูลพระราชบุตร พระราชธิดา และพระมเหสี
เหล่านั้นแล้วพามาสู่ที่นี้ทั้งสิ้น ดังนี้แล้ว เพื่อจะให้ราชบุรุษนำพระราชบุตร
ทั้งหลายมาก่อน จึงได้ตรัสว่า
พวกเจ้าจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือพระจันท-
กุมาร พระสุริยกุมาร พระภัททเสนกุมาร พระสูรกุมาร
พระรามโคตตกุมารว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่
กัน เพื่อประโยชน์แก่ยัญ อันจะพึงบูชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทญฺจ สุริยญฺจ ความว่า พระ-
จันทกุมารและพระสุริยกุมารทั้ง ๒ เป็นพระราชบุตรของพระนางโคตมีเทวี
พระอัครมเหสี พระภัททเสนกุมาร พระสูรกุมาร พระรามโคตตกุมาร เป็น
พระภาดาต่างมารดาของพระจันทกุมารแลพระสุริยกุมารเหล่านั้น. บทว่า ปสุ
กิร โหถ ความว่า ขอท่านจงอยู่เป็นเป็นหมู่เป็นกองในที่เดียวกัน อธิบายว่า
จงอย่ากระจัดกระจายกัน.
ราชบุรุษเหล่านั้นไปยังสำนักพระจันทกุมารก่อนแล้วทูลว่า ดูก่อนพ่อ
กุมาร ดังได้สดับมาว่าพระราชบิดาของพระองค์ ทรงพระประสงค์จะฆ่าพระ-
องค์แล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงสั่งพวกข้าพระองค์มาเพื่อคุมพระองค์ไป.
พระจันทกุมารตรัสว่า พระราชานั้นใช้ให้ท่านมาจับเราตามคำของ
ใคร ? ราชบุรุษทูลว่า ตามคำของกัณฑหาลพราหมณ์ พระเจ้าข้า.
จันทกุมาร ตรัสถามว่า อย่างไรพระองค์ทรงใช้ให้ท่านมาจับเรา
คนเดียว หรือว่าให้จับคนอื่นด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 159
ราชบุรุษทูลว่า พระองค์โปรดให้จับผู้อื่นด้วย ได้ยินว่า พระองค์ทรง
ใคร่จะบูชาด้วยหมวด ๔ แห่งสัตว์ทั้งปวง พระจันทกุมารคิดว่า กัณฑหาล
พราหมณ์นี้มิได้จองเวรกัปด้วยผู้อื่น แต่เมื่อไม่ได้กระทำการปล้นทางวินิจฉัย
อรรถคดี ก็จะฆ่าคนเสียเป็นอันมาก เพราะจิตคิดจองเวรในเราแต่ผู้เดียว เมื่อ
เราได้ช่องเฝ้าพระราชบิดา ความพ้นภัยของคนทั้งหมดนี้ จักเป็นภาระของเรา
เป็นแน่. ลำดับนั้น พระจันทกุมารจึงตรัสแก่ราชบุรุษว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง
ทำตามพระราชบัญชาของพระบิดาเถิด. ราชบุรุษเหล่านั้นนำพระจันทกุมารมา
ให้ประทับที่พระลานหลวง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนำพระราชกุมารอื่นอีก ๓
พระองค์มาประทับใกล้ๆ กันแล้ว ก็ทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ
ข้าพระองค์ได้นำพระราชโอรสทั้งหลายของพระองค์มาแล้ว. พระราชานั้น ได้
ทรงสดับคำของราชบุรุษเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย บัดนี้เจ้าจงไป
นำพระราชธิดาทั้งหลายของเรามาแล้ว จึงให้ประทับในที่ใกล้แห่งพระภาดาของ
เธอ. เพื่อจะให้เขานำพระราชธิดาทั้ง ๔ มา จึงตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระกุมารทั้งหลาย คือพระ
อุปเสนากุมาร พระโกกิลากุมารี พระมุทิตากุมารี
และพระนันทากุมารีว่า ขอท่านหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ.
ราชบุรุษเหล่านั้นไปสู่สำนักพระราชธิดาทั้งหลายด้วยคิดว่า เราจัก
กระทำด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล้วนำพระธิดาเหล่านั้น ผู้กำลังทรงกรร-
แสงคร่ำครวญให้มาประทับในที่ใกล้พระภาดา. จากนั้นพระราชา เมื่อจะให้
ราชบุรุษไปคุมพระมเหสีทั้งหลายของพระองค์มา จึงตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
อนึ่ง เจ้าทั้งหลายจงไปทูลพระนางวิชยา พระ-
นางเอราวดี พระนางเกศินีและพระนางสุนันทา ผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 160
มเหสีของเรา ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ
ว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺณวรูปปนฺนา ความว่า ท่านทั้งหลาย
จงทูลพระมเหสีแม้เหล่านี้ ผู้เลอโฉม ผู้สมบูรณ์ด้วยลักษณะแห่งสัตว์อันอุดม
๖๔ ประการ
ราชบุรุษเหล่านั้น ก็นำพระนางทั้ง ๔ อันกำลังปริเทวนาการคร่ำ
ครวญอยู่แม้เหล่านั้นมา ให้ประทับอยู่ในที่ใกล้พระกุมาร. ลำดับนั้นพระราชา
เมื่อจะทรงให้ราชบุรุษนำเศรษฐีทั้ง ๔ มา ตรัสพระคาถานอกนี้ว่า
เจ้าทั้งหลายจงไปบอกคฤหบดีทั้งหลายคือ ปุณณ-
มุขคฤหบดี ภัททิยคฤหบดี สิงคาลคฤหบดี และ
วัฑฒคฤหบดีว่า ขอท่านทั้งหลายจงอยู่เป็นหมู่กัน เพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญ.
ราชบุรุษทั้งหลายก็ไปนำคฤหบดีเหล่านั้นมา เมื่อพระราชาให้จับกุม
พระกุมาร และพระมเหสีทั้งหลาย ทั่วพระนคร ไม่มีใคร ๆ ได้กล่าวคำ
อะไรเลย แต่ตระกูลแห่งเศรษฐีทั้งหลาย ย่อมมีเครือญาติเกี่ยวพันกันเป็น
อันมาก เพราะฉะนั้นในกาลที่เศรษฐีเหล่านั้นถูกจับกุม มหาชนจึงพากันกำเริบ
ขึ้นทั่วพระนคร. คนเหล่านั้นพูดกันว่า เราจักไม่ยอมให้พระราชาฆ่าเศรษฐีบูชา
ยัญ ดังนี้แล้วก็พากัน แวดล้อมเศรษฐีไว้. ลำดับนั้น เศรษฐีเหล่านั้น มี
หมู่ญาติห้อมล้อมอยู่รอบด้าน ถวายบังคมพระราชาแล้ว ก็ขอประทานชีวิต
ของตน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
คฤหบดีเหล่านั้น เกลื่อนกล่นไปด้วยบุตรและ-
ภรรยา มาพร้อมกัน ณ ที่นั้น ได้กราบทูลพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 161
ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรงกระทำข้าพระองค์
ทุกคนให้เป็นคนมีแหยม หรือขอจงทรงประกาศ
ข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นข้าทาสเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพ สิขิโน ความว่า ขอพระองค์
จงทรงกระทำให้ข้าพระองค์ทุกคนมุ่นจุกผมบนกระหม่อม จงกระทำให้พวกข้า
พระองค์เป็นคนรับใช้ของพระองค์ ข้าพระองค์จักกระทำหน้าที่เป็นคนรับใช้ของ
พระองค์. บทว่า อถ วา โน ทาเส สาเวหิ ความว่า เมื่อไม่ไว้พระทัย
เชื่อข้าพระองค์ ก็จงให้ประชุมกองทัพทั้งหมด แล้วจงประกาศในท่ามกลาง
กองทัพเหล่านั้น ให้พวกข้าพระองค์เป็นทาส ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จักกระทำ
วัตรของทาสแด่พระองค์.
คฤหบดีเหล่านั้น แม้ทูลอ้อนวอนขอชีวิตอยู่อย่างนี้ ก็หาอาจได้ไม่.
ราชบุรุษทั้งหลายให้คฤหบดีทั้งหมดนั้นถอยกลับไปแล้ว ก็คุมเอาพวกเขาไป
ให้นั่งในที่ใกล้พระราชกุมารนั่นแล.
ภายหลังพระราชา เมื่อจะทรงสั่งราชบุรุษเพื่อให้นำสัตว์ทั้งหลายมีช้าง
เป็นต้นจึงตรัสว่า
เจ้าทั้งหลายจงรีบนำช้างของเรา คือช้างอภยังกร
ช้างนาฬาคิรี ข้างอัจจุคคตะ ช้างวรุณทันตะ ช้างเหล่า
นี้จักเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ เจ้าทั้งหลาย
จงรีบไปนำมาซึ่งม้าอัสดรของเรา คือม้าเกศี ม้าสุรามุข
ม้าปุณณมุข ม้าวินัตกะ ม้าเหล่านั้น จกเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่การบูชายัญเจ้าทั้งหลายจงรีบไปนำมาซึ่ง
โคอุสุภราชของเรา คือโคยูถปติ โคอโนชะ โคนิสภะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 162
โคควัมปติ จงต้อนโคเหล่านั้นทั้งหมด เข้าเป็นหมู่
กัน เราจักบูชายัญ จักให้ทาน อนึ่ง จงตระเตรียม
ทุกสิ่งให้พร้อม วันพรุ่งนี้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เรา
จักบูชายัญ เจ้าทั้งหลายจงนำเอาพวกกุมารมา จง
รื่นรมย์ตลอดราตรีนี้ เจ้าจงตั้งไว้แม้ทุกสิ่ง วันพรุ่งนี้
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น เราจะบูชายัญ เจ้าทั้งหลาย จง
ไปทูลพระกุมาร ณ บัดนี้วันนี้เป็นคือสุดท้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุห กโรนฺตุ สพฺพ ความว่า จง
กระทำให้เป็นหมวดละสิ่ง ๆ ไม่ใช่แต่สัตว์ทั้งหมดมีประมาณเท่านี้ แม้สัตว์ทั้ง
ปวงที่เหลือจากนี้ จำพวกสัตว์ ๔ เท้าก็ดี จำพวกนกก็ดี ก็จงกระทำให้เป็น
หมวดละ ๔ แล้วรวมไว้เป็นกอง เราจักบูชายัญอันประกอบด้วยหมวด ๔ แห่ง
สัตว์ทุกชนิด เราจักให้ทานแก่ยาจกทั้งหลาย และสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า สพฺพปิ ปฏิยาเทถ ความว่า จงจัดตั้งสิ่งที่เหลือที่เรากล่าว
แล้วนั้น. บทว่า อุคฺคตมฺหิ ความว่า ส่วนเราจักบูชายัญในวันพรุ่งนี้ แต่
เช้าตรู่ ในเมื่อพระอาทิตย์อุทัย. บทว่า สพฺพปิ อุปฏฺเปถ ความว่า
จงจัดตั้งเครื่องอุปกรณ์แก่ยัญแม้ที่เหลือทั้งหมด.
ส่วนพระราชมารดาและพระราชบิดาของพระราชานั้น ยังมีพระชนม์อยู่
ทั้งสองพระองค์. ลำดับนั้น พวกอำมาตย์จึงไปทูลพระราชมารดาว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้า พระลูกเจ้าของพระองค์ทรงใคร่จะฆ่าพระราชบุตร และพระชายา
แล้วบูชายัญ. พระราชมารดาตรัสว่า พ่อเอ๋ย นี่เจ้าพูดอะไรอย่างนี้ แล้วก็
ข้อนพระทรวงเข้าด้วยพระหัตถ์ กรรแสงคร่ำครวญเสด็จมา ตรัสถามว่า
ดูก่อนลูก ได้ยินว่าพ่อจะกระทำยัญบูชาเห็นปานนี้จริงหรือ ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 163
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชมารดาเสด็จมาแต่พระตำหนัก ทรง
กรรแสงพลางตรัสถามพระเอกราชนั้นว่า พระลูกรัก
ได้ยินว่า พ่อจักบูชายัญด้วยพระราชบุตรทั้ง ๔ หรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ต ได้แก่ ซึ่งพระเจ้าเอกราชนั้น.
บทว่า สวิมานโต ได้แก่ จากพระตำหนักของพระองค์.
พระราชากราบทูลว่า
เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคน หม่อม
ฉันก็สละ หม่อมฉันบูชายัญ ด้วยบุตรทั้งหลาย แล้ว
จักไปสู่สุคติสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตา ความว่า เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร
นั่นแล บุตรแม้ทั้งหมดหม่อมฉันก็สละ เพื่อบูชายัญ.
ลำดับนั้น พระราชมารดาตรัสกะพระราชานั้นว่า
ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่า สุคติจะมี
เพราะเอาบุตรบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไปนรก ไม่ใช่
ทางไปสวรรค์ ดูก่อนลูกโกณฑัญญะ พ่อจงให้ทาน
อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงเลย นี่เป็นทางไปสู่สุคติ
ทางไปสู่สุคติ ไม่ใช่เพราะเอาบุตรบูชายัญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรยาเนโส ความว่า นั่นเป็นทางแห่ง
อบาย ๔ ที่ชื่อว่า นรก เพราะไม่มีความแช่มชื่น. พระราชมารดา เรียกพระ
ราชาด้วยพระโคตรว่า โกณฑัญญะ. บทว่า ภูตภพฺยาน ความว่า แก่สัตว์
ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว และแก่สัตว์ที่จะพึงเกิด. บทว่า ยญฺเน ความว่า ชื่อว่า
ทางไปสวรรค์ ย่อมไม่มีด้วยการฆ่าบุตรและธิดาบูชายัญเห็นปานนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 164
พระราชาทูลว่า
คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉัน จักฆ่า
จันทกุมาร และสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลาย อันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยาน วจน ความว่า ข้าแต่พระ
แม่เจ้า มตินี้จะเป็นของข้าพระองค์ก็หามิได้ คำกล่าวนี้ คำสั่งสอนนี้ เป็นของ
กัณฑหาลาจารย์ ผู้ยังข้าพระองค์ให้ศึกษาซึ่งความพระพฤติชอบ เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จักฆ่าบุตรทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อบูชายัญแล้วด้วยบุตรอันสละได้ยาก
ข้าพระองค์จักไปสู่สวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชมารดา เมื่อมิอาจจะยังพระราชาให้เชื่อถือพระ
วาจาของพระองค์ได้ ก็เสด็จหลีกไป พระราชบิดา ได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว
ก็เสด็จมาทรงได้ถามพระเจ้าเอกราชนั้น
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
แม้พระเจ้าวสวัตดีพระราชบิดาได้ตรัสถามพระ-
ราชโอรสของพระองค์นั้นว่า ดูก่อนลูกรัก ทราบว่าพ่อ
จักบูชายัญด้วยโอรสทั้ง ๔ หรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสวตฺติ นี้เป็นชื่อของพระราชานั้น.
พระราชาทูลว่า
เมื่อต้องฆ่าจันทกุมาร บุตรแม้ทุกคน หม่อมฉันก็
สละ หม่อมฉันบูชายัญ ด้วยบุตรทั้งหลายแล้ว จักไป
สู่สุคติสวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชบิดาตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 165
ลูกเอ๋ย พ่อจงอย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่าสุคติ จะ
มีเพราะฆ่าบุตรแล้วบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไปสู่นรก
หาใช่หนทางไปสู่สวรรค์ไม่ ดูก่อนโกณฑัญญะ พ่อจง
ให้ทาน ไม่เบียดเบียนซึ่งสัตว์ทั้งวง อันเกิดมาแล้ว
และจะพึงเกิด นี้เป็นทางไปสู่สุคติ มิใช่ทางที่ไปด้วย
การฆ่าบุตรบูชายัญ.
พระราชาตรัสว่า
คำของอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่ หม่อมฉันจักฆ่า
จันทกุมาร และสุริยกุมาร หม่อมฉันบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลายอันสละได้ยากแล้ว จักไปสู่สุคติสวรรค์.
ลำดับนั้น พระราชบิดาจึงตรัสกะพระราชาว่า
ดูก่อนโกณฑัญญะ พ่อจงให้ทาน อย่าได้เบียด
เบียนสัตว์ทั้งปวงเลย พ่อจงเป็นอันพระราชบุตรห้อม
ล้อมรักษากาสิกรัฐ. และชนบทเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตปริวุโต แปลว่า อันบุตรทั้งหลาย
ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า รฏฺ ชนปทญฺจ ความว่า ท่านสามารถจะรักษา
กาสิกรัฐทั้งสิ้น และชนบท อันเป็นส่วนนั้น ๆ ของกาสิกรัฐนั้นนั่นแล.
ครั้งนั้นพระราชบิดาก็หาอาจกระทำ ให้พระเจ้าเอกราช ทรงเชื่อถือ
พระราชดำรัสของพระองค์ไม่ ลำดับนั้น พระจันทกุมารทรงพระดำริว่า
อาศัยเราผู้เดียว ทุกข์เกิดขึ้นแล้วแก่คนมีประมาณเท่านี้ เราจะทูลวิงวอนพระ
ราชบิดาของเรา แล้วปล่อยชนมีประมาณเท่านี้เสียให้พ้นจากทุกข์ คือความ
ตาย พระองค์เมื่อจะทรงเจรจากับด้วยพระราชบิดาตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 166
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์อย่าได้ฆ่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์
ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิด พระ
เจ้าข้า ถึงแม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกจองจำด้วย
โซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้างและม้าให้เขา ขอเดชะ อย่า
ได้ทรงฆ่าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราช
ทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาล-
ปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ก็จองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ
อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสีย โปรดพระราช
ทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาล-
ปุโรหิต ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิดพระเจ้าข้า
ถึงแม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น
ก็จักเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฬพนฺธกาปิ ความว่า ถึงแม้
ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่. บทว่า ยสฺส โหนฺติ ตว กามา
ความว่า แม้ถ้าท่านปรารถนาจะให้แก่กัณฑหาลปุโรหิต ท่านจงกระทำพวก
ข้าพระองค์ให้เป็นทาสแล้วให้กัณฑหาลปุโรหิตเถิด แล้วกล่าวว่า พวกเราจัก
กระทำกรรมคือ ความเป็นทาสแก่กัณฑหาลปุโรหิต ด้วยบทว่า อปิ รฏฺา นี้
ท่านบ่นพร่ำว่า ถ้าพวกข้ามีโทษอะไร ๆ ท่านจงขับพวกข้าพระองค์เสียจาก
แว่นแคว้น อนึ่ง พวกข้าพระองค์ถูกขับไล่จากพระนครแล้ว จักถือกระเบื้อง
เที่ยวขอทาน เหมือนคนกำพร้า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์
เลย จงให้ชีวิตแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 167
พระราชาได้ทรงฟังคำพร่ำกล่าวมีประการต่าง ๆ นั้น ของพระราช
กุมารแล้ว ถึงซึ่งความทุกข์ ประหนึ่งว่าพระอุระจะแตก มีพระเนตรนองด้วย
พระอัสสุชล ประกาศว่า ใครๆ ย่อมไม่ได้เพื่อฆ่าลูกเรา ความตองการด้วย
เทวโลกไม่มีแก่เราแล้ว เพื่อจะปล่อยคนทั้งปวงนั้น จึงตรัสคาถาว่า
เจ้าพร่ำเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ย่อมให้ทุกข์แก่เรา
นักแล พวกท่านจงปล่อยพระกุมารทั้งหลาย ไป ณ
บัดนี้ เราขอพอกันทีด้วยการเอาบุตรบูชายัญ.
ราชบุรุษทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ก็
ปล่อยสัตว์ที่รวมไว้เป็นหมู่ ๆ นั้นทั้งสิ้น ตั้งต้นแต่พระราชบุตรทั้งหลาย
ตลอดไปถึงหมู่หกเป็นที่สุด.
ฝ่ายกัณฑหาลพราหมณ์กำลังจัดแต่งกรรมอยู่ในหลุมยัญ ลำดับนั้น
บุรุษคนหนึ่งกล่าวกะกัณฑหาละนั้นว่า เฮ้ย กัณฑหาละ คนชั่วร้าย พระราชบุตร
และราชธิดาทั้งหลายนั้น พระราชาทรงปล่อยไปแล้ว เจ้าต้องฆ่าลูกเมียของ
ตนเอง เอาเลือดในลำคอของคนเหล่านั้นบูชายัญ กัณฑหาลพราหมณ์นั้นคิดว่า
นี่พระราชาทรงกระทำอย่างไรหนอ ลุกขึ้นแล่นมาด้วยกำลังเร็ว ประหนึ่งว่า
ถูกไฟประลัยกัลป์เผาอยู่ฉะนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าพระองค์ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียวว่า การ
บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้แสนยาก บัด
นี้ พระองค์ทรงกระทำยัญ ที่ข้าพระองค์ตระเตรียม
ไว้แล้ว ให้กระจัดกระจาย เพราะเหตุไร ชนเหล่าใด
บูชายัญเองก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่น บูชายัญก็ดี
อนึ่งชนเหล่าใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ ของบุคคล
ผู้บูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 168
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เมสิ วุตฺโต ความว่า ข้าพระองค์
ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียวมิใช่หรือว่า คนมีชาติขลาดกลัวเช่นพระองค์ ไม่
สามารถจะบูชายัญ ขึ้นชื่อว่า บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ความยินดีได้ยากิ เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านชื่อว่ากระทำความซัดส่ายแห่งยัญ ซึ่งถูกทอดทิ้งในบัดนี้ของเรา.
บาลีว่า วิขมฺภ ดังนี้ ก็มี อธิบายว่า ปฏิเสธ. เขาแสดงว่า ดูก่อนมหาราช
เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงกระทำอย่างนี้ ก็ชนประมาณเท่าใด บูชายัญด้วย
ตนเองก็ดี ให้บุคคลอื่นบูชาก็ดี อนุโมทนาที่ผู้อื่นบูชาแล้วก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อม
ไปสู่สุคติอย่างเดียว.
พระราชาผู้บอดเขลา ทรงถือเอาคำของกัณฑหาลพราหมณ์ ผู้เป็น
ไปในอำนาจแห่งความโกรธ ผู้สำคัญว่าเป็นการชอบธรรม ก็ทรงให้ราชบุรุษ
ไปจับกุมพระราชกุมารทั้งหลายกลับมาอีก.
เพราะเหตุนั้น พระจันทกุมาร เมื่อจะยังพระราชบิดาให้ทรงทราบ
จึงทูลว่า
ขอเดชะ เหตุไรในกาลก่อน พระองค์จึงรับสั่ง
ให้พราหมณ์กล่าวคำเป็นสวัสดีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มาบัดนี้จะรับสั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเพื่อต้องการ
บูชายัญ โดยหาเหตุมิได้เลย ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อน
ในเวลาที่ข้าพระองค์ยังเป็นเด็ก พระองค์มิได้ทรงฆ่า
และมิได้ทรงสั่งให้ฆ่า บัดนี้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึง
ความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว มิได้คิดประทุษร้าย
พระองค์เลย เพราะเหตุไร จึงรับสั่งให้ฆ่าเสีย ข้า
แต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทอดพระเนตรข้า
พระองค์ทั้งหลาย ผู้ขึ้นคอช้าง ขี่หลังม้า ผูกสอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 169
เครื่องรบในเวลาที่รบมาแล้วหรือเมื่อกำลังรบ ก็บุตร
ทั้งหลายเช่นดังข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมไม่ควรจะฆ่า
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญเลย ข้าแต่พระราชบิดา
เมื่อเมืองชายแดนหรือเมื่อพวกโจรในดงกำเริบ เขา
ใช้คนเช่นดังข้าพระองค์ทั้งหลาย แต่ข้าพระองค์ทั้ง
หลายจะถูกฆ่าให้ตายโดยมิใช่เหตุ ในมิใช่ที่ ขอเดชะ
แม่นกเหล่าไร ๆ เมื่อทำรังแล้วย่อมอยู่ ลูกทั้งหลายเป็น
ที่รักของแม่นกเหล่านั้น ส่วนพระองค์ได้ตรัสสั่งให้ฆ่า
ข้าพระองค์ทั้งหลาย เพราะเหตุไร ขอเดชะ อย่าได้
ทรงเชื่อกัณฑหาลปุโรหิต กัณฑหาลปุโรหิตไม่พึงฆ่า
พระองค์ เพราะว่าเขาฆ่าข้าพระองค์แล้ว ก็จะพึงฆ่า
แม้พระองค์ในลำดับต่อไป ข้าแต่พระมหาราวชา พระ-
ราชาทั้งหลายย่อมพระราชทานบ้านอันประเสริฐ นิคม
อันประเสริฐ แม้โภคะ แก่พราหมณ์นั้น อนึ่ง พวก
พราหมณ์ แม้โภคะ แก่พราหมณ์นั้น อนึ่ง พวก
ตระกูลยังปรารถนาจะประทุษร้ายต่อผู้ให้ข้าวน้ำเช่น
นั้นอีก เพราะพวกพราหมณ์เหล่านั้นโดยมากเป็นคน
อกตัญญู ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย
เสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่า
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยง
ช้างและม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 170
ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย
ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้
ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะ
ขนมูลช้างให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์
ทั้งหลายเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย
ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึง
แม้ว่าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็
จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรงฆ่าข้าพระองค์
ทั้งหลายเลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย
ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตตามที่พระองค์มีพระ-
ราชประสงค์เถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์
ทั้งหลายจะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็จักเที่ยวภิกขาจาร
เลี้ยงชีวิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ ความว่า ข้าแต่พระบิดา ถ้า
ข้าพระองค์เป็นบุตรอันพระองค์พึงฆ่าไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้เพราะเหตุไรเล่า ใน
กาลก่อนคือในกาลที่ข้าพระองค์เกิดแล้ว ชนผู้เป็นญาติของข้าพระองค์ทั้งหลาย
จึงได้ให้พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวคำเป็นสวัสดีมงคล ได้สดับมาว่า ในกาลนั้น
กัณฑหาลพราหมณ์เองด้วย ตรวจตราลักษณะทั้งหลายของข้าพระองค์แล้วได้
ทำนายว่า ภัยอันมาในระหว่างใด ๆ จักไม่มีแก่พระราชกุมารองค์นี้ ในกาล
เป็นที่สุดของพระองค์ พระราชกุมารองค์นี้จักยังรัฐให้เป็นไป คำหลังของ
กัณฑหาลพราหมณ์ฟังไม่สมกับคำต้นดังนี้ พราหมณ์คนนี้ย่อมเป็นคนกล่าว
เท็จ แต่บัดนี้พระองค์ทรงถือเอาคำของกัณฑหาลพราหมณ์ จักฆ่าข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 171
ทั้งหลายเพื่อบูชายัญ โดยหาเหตุอันควรมิได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์อย่าฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมนรชน ขอ
พระองค์จงกำหนดให้จงดีว่า กัณฑหาลพราหมณ์คนนี้แล เป็นผู้ปรารถนาจะ
ฆ่าชนหมู่ใหญ่ เพราะความเป็นเวรในข้าพระองค์คนเดียว. บทว่า ปุพฺเพว โน
ความว่า ข้าแต่พระมหาราชา ถ้าแม้พระองค์ทรงใคร่จะฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย
เพราะเหตุไร ในกาลก่อน คือในกาลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายยังเยาว์วัย พระ-
องค์จึงมิได้ฆ่าเองหรือให้ผู้อื่นฆ่าซึ่งข้าพระองค์ทั้งหลาย แต่มาบัดนี้ ข้าพระองค์
ทั้งหลายรุ่นขึ้นเป็นหนุ่มตั้งอยู่ในปฐมวัย เจริญพร้อมด้วยบุตรและธิดาทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์เกิดมามิได้คิดปองร้ายต่อพระองค์เลย พระองค์จัก
ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรเล่า. บทว่า ปสฺส โน ความว่า ขอ
พระองค์จงพิจารณาดูซึ่งข้าพระองค์ผู้พี่น้องชายทั้ง ๔ คน. บทว่า ยุชฺฌมาเน
ความว่า ในการทำศัตรูทั้งหลายล้อมพระนครแล้วตั้งอยู่ ขอพระองค์จงทอด
พระเนตรดูซึ่งพระราชบุตรทั้งหลายเช่นข้าพระองค์ รบอยู่ด้วยข้าศึกเหล่านั้น
ก็พระราชาทั้งหลายอันไร้พระราชบุตร ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า
มาทิสา ความว่า พระราชบุตรทั้งหลายอันกล้าหาญ มีกำลัง จึงไม่เป็น
บุคคลที่ควรฆ่าเพื่อบูชายัญ. บทว่า นิโยชนฺติ ความว่า ท่านย่อมใช้เพื่อ
ประโยชน์อันจับกุมปัจจามิตรทั้งหลาย. บทว่า อถ โน แก้เป็น อถ อมฺเห
บทว่า อกรณสฺมา ความว่า เพราะเหตุอันไม่สมควร. บทว่า อภูมิย ความว่า
ในโอกาสอันไม่สมควรเลย. อธิบายว่า เพราะเหตุไร พ่อ พวกเราจึงถูกฆ่า. บทว่า
มา ตสฺส สทฺทเหสิ ความว่า ดูก่อนมหาราช กัณฑหาลพราหมณ์มิได้ฆ่า
เรา ท่านอย่าเชื่อกัณฑหาลพราหมณ์แม้นั้น. บทว่า โภค ปิสฺส ความว่า
พระราชาทั้งหลายไม่ให้แม้โภคะแก่พราหมณ์นั้น. บทว่า อถคฺคปิณฺฑิกาปิ
ความว่า ก็พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อได้ซึ่งน้ำอันลิศ ก้อนข้าวอันเลิศ จึงชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 172
ว่า ได้ก้อนข้าวอันเลิศ. บทว่า เตสปิ ความว่า พวกเขาบริโภคในตระกูล
ของคนเหล่าใด พวกเขาอยากจะทำร้าย แม้คนผู้ให้ซึ่งก้อนข้าวเห็นปานนี้แม้
เหล่านั้น.
พระราชาครั้นทรงสดับคำพร่ำกล่าวของกุมารนั้น จึงตรัสว่า
เจ้าทั้งหลายพร่ำเพ้ออยู่เพราะรักชีวิต ย่อมก่อ
ทุกข์ให้เกิดแก่เรานักแล จงปล่อยกุมารทั้งหลายไป
ณ บัดนี้ เราขอเลิกเอาบุตรบูชายัญ.
พระราชาครั้นทรงกล่าวคาถานี้แล้ว ก็โปรดให้ปล่อยกุมารทั้งหลาย
แม้อีก
กัณฑหาลพราหมณ์มาแล้ว กล่าวอีกว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วก่อนเทียว การบูชายัญ
นี้ ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก บัดนี้ พระองค์ทรง
กระทำยัญที่ข้าพระองค์เตรียมไว้แล้วให้กระจัดกระจาย
เพราะเหตุไร ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี และชนเหล่า
ใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชนเหล่าใดอนุโมทนา
มหายัญเช่นนี้ ของบุคคลผู้บูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้น
ย่อมไปสู่สุคติ.
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ให้จับพระราชกุมารเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระกุมารเพื่อต้องการจะกล่าวไปตามกระแสความของกัณฑหาล
พราหมณ์จึงทูลว่า
ข้าแต่พระราชา ถ้าชนทั้งหลายบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลาย จุติจากโลกนี้ไปสู่เทวโลก ดังที่เล่ากันมา
ไซร้ พราหมณ์จงบูชายัญก่อน พระองค์จักทรงบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 173
ในภายหลัง ถ้าชนทั้งหลายด้วยบุตรทั้งหลาย
จุติจากโลกนี้แล้วย่อมไปสู่เทวโลก ดังที่เล่ากันมา
ไซร้ กัณฑหาลพราหมณ์ผู้นี้แล จงบูชายัญด้วยบุตร
ทั้งหลายของตน ถ้ากัณฑหาลพราหมณ์รู้อยู่อย่างนี้
เหตุไรจึงไม่ฆ่าบุตรทั้งหลาย ไม่ฆ่าคนที่เป็นญาติทุก
คนและตนเองเล่า ชนเหล่าใดบูชายัญเองก็ดี และชน
เหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชนเหล่าใดอนุโมทนา
มหายัญเช่นนี้ ของบุคคลผู้บูชาอยู่ก็ดี ชนเหล่านั้น
ย่อมไปสู่นรกทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมโณ ตาว ความว่า จงบูชา
กัณฑหาลพราหมณ์ก่อน. บทว่า สเกหิ ความว่า แปลว่า จงบูชาด้วยบุตร
ทั้งหลายของตน. ลำดับนั้น พระจันทกุมาร เมื่อจะแสดงจึงได้ทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อกัณฑหาลพราหมณ์นั้นบูชายัญอย่างนี้แล้วไปสู่
เทวโลก พระองค์จึงจักทรงบูชายัญภายหลัง แม้โภชนะมีรสอร่อย พระ-
องค์จะเสวย ต่อเมื่อคนอื่นได้ลองชิมแล้ว ก็นี่ความตายของบุตรทีเดียว
เหตุไร พระองค์จึงไม่โปรดให้คนอื่นทดลองก่อนแล้วจึงทรงกระทำ. บทว่า
เอว ชาน ความว่า เมื่อรู้อย่างนี้ว่า คนทั้งหลายฆ่าบุตรและธิดาแล้วไปสู่
เทวโลก เพราะเหตุไร กัณฑหาลพราหมณ์จึงไม่ฆ่าบุตรทั้งหลายและพวกญาติ
ของตนและตนเองเล่า ถ้าบุคคลใดรู้คุณแห่งการบูชายัญอย่างนี้ว่า ถ้าฆ่าผู้อื่น
แล้วย่อมไปสู่เทวโลก ถ้าฆ่าตนเองแล้วจะได้ไปถึงพรหมโลกดังนี้ไซร้ ก็ไม่พึง
ฆ่าคนอื่น พึงฆ่าตนเองนั้นแล แต่กัณฑหาลพราหมณ์คนนี้ ไม่กระทำอย่างนั้น
กลับจะยังพระองค์ให้ฆ่าข้าพระองค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 174
ทราบซึ่งความกระทำของกัณฑหาลพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุนี้ว่า เมื่อไม่ได้เพื่อจะ
กระทำการปล้นลูกความในการวินิจฉัยเขาจึงกระทำดังนี้. บทว่า เอทิส ได้แก่
ยัญที่ฆ่าบุตรเห็นปานนี้.
พระราชกุมาร เมื่อทูลความมีประมาณเท่านี้ ก็ไม่อาจจะกระทำให้
พระราชบิดาทรงถือเอาถ้อยคำของพระองค์ จึงทรงปรารภราชบริษัทที่ห้อม
ล้อมพระราชาอยู่นั้น ตรัสว่า
ได้ยินว่า พ่อเจ้าเรือนและแม่เจ้าเรือนทั้งหลายผู้
รักบุตร ซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ไฉนจึงไม่ทูลพระราชา
อย่าให้ทรงฆ่าพระราชบุตรอันเกิดแต่พระอุระ ได้ยิน
ว่าพ่อเจ้าเรือนและแม่เจ้าเรือนทั้งหลายผู้รักบุตร ซึ่ง
มีอยู่ในพระนครนี้ ไฉนจึงไม่ทูลทัดทานพระราชา
อย่าให้ทรงฆ่าพระราชบุตรอันเกิดแต่พระองค์ เรา
ปรารถนาประโยชน์แก่พระราชาด้วย ทำประโยชน์
แก่ชาวชนบททั้งปวงด้วย ใคร ๆ จะมีความแค้นเคือง
กับเรา ไม่พึงมี ชาวชนบทไม่ช่วยกราบทูลให้ทรง
ทราบเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ปุตฺตกามาโย ท่านกล่าวหมายเอา
แม่เจ้าเรือนเท่านั้น. อนึ่ง พ่อเจ้าเรือนก็ชื่อว่า เป็นผู้ปรารถนาบุตร. บทว่า น
อุปวทนฺติ ความว่า ไม่เข้าไปกล่าวโทษ คือไม่ว่ากล่าว. บทว่า อตฺรช
แปลว่า เกิดด้วยตน. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ ใคร ๆ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถเพื่อจะ
ทูลกับพระราชา ไม่ได้มีเลย. บทว่า น โกจิ อสฺส ปฏิฆ มยา ความ
ว่า ใคร ๆ แม้เพียงคนเดียว ชื่อว่า กระทำความแค้นเคืองกับเราว่า พระ-
ราชกุมารองค์นี้รับสินบนของเรา หรือว่าก่อทุกข์ชื่อนี้ให้แก่เรา เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 175
เมาด้วยความเป็นใหญ่ ดังนี้มิได้มีเลย. บทว่า ชนปโท น ปเวเทติ
ความว่า ชาวชนบท ไม่ช่วยกันประกาศ คือกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
ว่า เราเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ของพระราชาและของชาวชนบท ด้วยประการ
ฉะนี้ ทำไมชาวชนบทนี้จึงไม่กราบทูลพระราชบิดาของเราว่า พระราชบุตร
ของพระองค์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม.
แม้เมื่อพระจันทกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว ใคร ๆ มิได้พูดอะไรเลย.
เพราะเหตุนั้น พระกุมารเมื่อจะส่งพระชายาของพระองค์ ๗๐๐ นาง ให้ไปเพื่อ
วิงวอนจึงตรัสว่า
ดูก่อนแม่เจ้าเรือนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย
จงไปกราบทูลพระราชบิดา และวิงวอนกัณฑหาล
พราหมณ์ว่า ขอจงอย่าฆ่าพระราชกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิด
ประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ ดูก่อนแม่เจ้าเรือนทั้ง
หลาย ขอท่านทั้งหลายจงไปกราบทูลพระราชบิดา
และวิงวอนกัณฑหาลพราหมณ์ว่า ขอจงอย่าฆ่าพระ-
ราชกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่เพ่งที่หวังของโลกทั้งปวง.
แม่เจ้าเรือนเหล่านั้น ไปกราบทูลวิงวอนแล้ว. พระราชาไม่ทอดพระ-
เนตรดูเลย เพราะฉะนั้น พระราชกุมารไร้ที่พึ่งแล้ว จึงพร่ำเพ้อกล่าวคาถาว่า
ไฉนหนอ เราพึงเกิดในตระกูลนายช่างรถ ใน
ตระกูลปุกกุสะ หรือพึงเกิดในหมู่พ่อค้า พระราชาก็
ไม่พึงรับสั่งให้ฆ่าในการบูชายัญวันนี้.
ครั้นกล่าวดังนี้ พระกุมารเมื่อจะส่งพระชายาทั้งหลายไปอีกครั้งหนึ่ง
จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 176
เจ้าผู้มีความคิดแม้ทั้งปวง จงไปหมอบลงแทบ
เท้าของผู้เป็นเจ้ากัณฑหาละ เรียนว่า เรามิได้เห็นโทษ
เลย ดูก่อนแม่เจ้าเรือนแม้ทั้งปวง เจ้าจงไปหมอบลง
แทบเท้าของผู้เป็นเจ้ากัณฑหาละ เรียนว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ถ้าเราทั้งหลายได้ประทุษร้ายอะไรในท่าน ขอ
ท่านจงอดโทษเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปราธาห น ปสฺสามิ ความว่า
ข้าแต่อาจารย์กัณฑหาละ ข้าพเจ้าไม่เห็นความผิดของตน. บทว่า กินฺเต
ภนฺเต ความว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้ากัณฑทหาละ พวกเราไม่เห็นความผิดอะไร
ของท่าน ก็ถ้าจันทกุมารมีโทษไซร้ ขอท่านจงกล่าวกะจันทกุมารนั้นว่า ขอท่าน
จงอดโทษเถิด.
ลำดับนั้น พระกนิษฐภคินีของพระจันทกุมารทรงนามว่า เสลากุมารี
เมื่อไม่อาจอดกลั้นความโศกเศร้า ก็กราบลงแทบบาทมูลของพระราชบิดาแล้ว
คร่ำครวญ.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
พระเสลาราชกุมารีผู้ควรการุญ ทรงเห็นพระ-
ภาดาทั้งหลาย อันเขานำมาเพื่อบูชายัญ ทรงคร่ำครวญ
ว่า ดังได้สดับมา พระราชธิดาของเรา ทรงปรารถนา
สวรรค์ รับสั่งให้ตั้งยัญขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนีตตฺเต แปลว่า มีสภาวะอันเขานำ
มาเพื่อบูชายัญ. บทว่า อุกฺขิปิโต ความว่า พระราชบิดารับสั่งให้ยกขึ้นตั้งไว้
คือให้เป็นไปอยู่. ด้วยบทว่า สคฺคถาเมน นี้ พระเสลาคร่ำครวญอยู่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 177
พระราชบิดาฆ่าพี่ชายทั้งหลายของเราปรารถนาสวรรค์. พระองค์จักฆ่าพี่ชาย
เหล่านี้แล้วไปสวรรค์หรือ ?
พระราชา ไม่ทรงยึดถือถ้อยคำแม้ของนาง. ลำดับนั้น โอรสของ
พระจันทกุมาร ทรงนามว่า วสุละ ครั้นเห็นพระบิดาได้รับทุกข์ คิดว่า เรา
จักเข้าไปทูลวิงวอนพระอัยกา ให้ประทานชีวิตแก่บิดาของเรา ดังนี้แล้ว
หมอบลงแทบบาทมูลแห่งพระราชาแล้วคร่ำครวญ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
พระวสุลราชนัดดา กลิ้งไปกลิ้งมาเบื้องพระ-
พักตร์พระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระบาทยัง
เป็นเด็กไม่ถึงความเป็นหนุ่ม ขอพระองค์ได้ทรงโปรด
อย่าได้ฆ่าพระบิดาของข้าพระองค์เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหรมฺหา อโยพฺพนปฺปตฺตา ความ
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกข้าพระองค์ยังเป็นเด็กอ่อน ยังไม่ถึงความ
เป็นหนุ่มก่อน ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าพระบิดาของพวกข้าพระองค์ ด้วยความ
เอ็นดูแม้ในพวกข้าพระองค์ก่อนเถิด.
พระราชาทรงสดับเสียงคร่ำครวญของพระวสุละมีพระอุระประดุจจะแตก
ทำลายแล้ว สวมกอดพระราชนัดดา มีพระเนตรเต็มไปด้วยพระอัสสุชล ตรัส
ว่า หลานรัก เจ้าจงได้คืนลมหายใจเถิด ปู่จะปล่อยพ่อเจ้า แล้วก็ทรงกล่าว
พระคาถาว่า
ดูก่อนวสุละ พ่อเจ้าอยู่นี่ เจ้าจงไปพร้อมกับบิดา
เจ้าพร่ำเพ้ออยู่ในพระราชวัง ย่อมให้เกิดทุกข์แก่ปู่นัก
จงปล่อยพระราชกุมารทั้งหลาย ณ บัดนี้ เราขอเลิก
การเอาบุตรบูชายัญ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 178
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเต ปรสฺมึ ได้แก่ ในภายใน
พระราชวัง.
กัณฑหาลพราหมณ์มากล่าวอีกว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียว การ
บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ยินดีได้แสนยาก บัดนี้พระองค์
ทรงกระทำยัญ ที่ข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้วให้
กระจัดกระจาย เพราะเหตุไร ชนเหล่าใดบูชายัญเอง
ก็ดี และชนเหล่าใดให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี อนึ่ง ชนเหล่า
ใดอนุโมทนามหายัญเช่นนี้ของบุคคลผู้บูชาอยู่ก็ดี ชน
เหล่านั้นทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.
ฝ่ายพระราชา ผู้มืดเขลา ก็ให้ราชบุรุษไปจับกุมพระราชบุตรทั้งหลาย
มาอีกครั้งหนึ่ง ตามคำของกัณฑหาลพราหมณ์. เพราะเหตุนั้นกัณฑหาล-
พราหมณ์ จึงคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ใจอ่อน ประเดี๋ยวให้ปล่อย ประเดี๋ยว
ก็ให้จับพระราชบุตรทั้งหลาย พระองค์จะปล่อยพระราชบุตรทั้งหลายตามคำของ
ทารกทั้งหลายอีก อย่ากระนั้นเลยเราจะพาพระองค์ไปสู่หลุมยัญเสียเลย. ลำดับ
นั้นจึงกล่าวคาถา เพื่อจะให้พระองค์เสด็จไปในที่นั้นว่า
ข้าแต่สมเด็จพระเอกราช ข้าพระองค์ตระเตรียม
ยัญแล้วด้วยแก้วทุกอย่าง ตกแต่งไว้แล้วเพื่อพระองค์
ขอเดชะ เชิญเสด็จออกเถิด พระองค์ทรงบูชายัญแล้ว
เสด็จสู่สวรรค์ จักทรงบันเทิงพระหฤทัย.
ความแห่งคำเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ยัญข้าพระองค์ตระเตรียม
แล้วด้วยแก้วทุกประการเพื่อพระองค์ บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 179
ไป เพราะฉะนั้นจักเสด็จออกไปบูชายัญแล้วไปสู่สวรรค์ทรงบันเทิงพระหฤทัย.
ครั้นในเวลาที่เขาพาพระโพธิสัตว์ไปยังหลุมเป็นที่บูชายัญ นางห้ามทั้งหลาย
ของพระโพธิสัตว์นั้น. ก็ได้ออก (จากที่นี้) โดยพร้อมกัน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า
หญิงสาว ๗๐๐ นาง ผู้เป็นชายาของพระจันท-
กุมาร ต่างสยายผมแล้วร้องไห้ ดำเนินไปตามทาง
ส่วนพวกหญิงอื่น ๆ ออกไปแล้วด้วยความเศร้าโศก
เหมือนเทวดาในนันทวัน ต่างก็สยายผมร้องไห้ไปตาม
ทาง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทเน วิย เทวา ความว่า เหมือน
เทวดาทั้งหลาย ห้อมล้อมเทพบุตร ผู้มีอันจุติเป็นธรรมดาในนันทวัน.
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้น
กาสีอันขาวสะอาด ประดับด้วยกุณฑลไล้ทาด้วย
กฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป เพื่อ
บูชายัญของสมเด็จพระเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันสะอาดประดุจ
กุณฑล ไล้ทาด้วยกฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราช
บุตรนำไป ทำความเศร้าพระหฤทัยให้แก่พระชนนี
พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสี
อันขาวสะอาด ประดับกุณฑล ไล้ทาด้วยกฤษณา และ
จุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป ทำความเศร้าใจให้
แก่ประชุมชน พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 180
เสวยกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่างสนานสระสรง
พระกายให้ดีแล้ว ประดับกุณฑล ทำความเศร้าพระ-
หฤทัยให้แก่พระชนกชนนี พระจันทกุมารและพระ-
สุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่าง
สนานสระสรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทา
ด้วยกฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ ถูกราชบุรุษนำไป ทำ
ความเศร้าใจให้แก่ประชุมชน. ในกาลก่อน พวกพล
ช้างย่อมตามเสด็จพระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร ผู้
เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐวันนี้ พระจันทกุมาร
และพระสุริยกุมารทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำเนินด้วย
พระบาทเปล่า ในกาลก่อน พวกพลม้า ย่อมตามเสด็จ
พระจันทกุมาร และพระสุริยกุมาร ผู้เสด็จขึ้นหลังม้า
ตัวประเสริฐ วันนี้ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร
ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า ในกาล
ก่อน พวกพลรถย่อมเสด็จตามพระจันทกุมารและพระ-
สุริยกุมารผู้เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ วันนี้ พระ
จันทกุมารและพระสุริยกุมาร ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จดำ-
เนินด้วยพระบาทเปล่า ในกาลก่อน พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ราชบุรุษนำเสด็จออกด้วยม้าทั้งหลาย
อันตบแต่งด้วยเครื่องทอง วันนี้ทั้งสองพระองค์ต้อง
เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 181
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสิกสุจิวตฺถธรา ความว่า พระจันท-
กุมารและพระสุริยกุมารทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด. บทว่า จนฺทสุริยา
ได้แก่ พระจันทกุมารและพระสุริยกุมาร. บทว่า นหาปกสุนหาตา ชื่อว่า
สนานสระสรงพระกายดี เพราะไล้ทาด้วยจุรณจันทน์ แล้วกระทำการประพรม
ด้วยเครื่องสนานทั้งหลาย. บทว่า เย อสฺสุ ในบท ยสฺสุ นี้เป็นเพียง
นิบาต. อธิบายว่า ซึ่งกุมารเหล่าใด. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า ในกาลก่อน
แต่นี้. บทว่า หตฺถิวรธุรคเต ได้แก่ ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐ คือ
ผู้เสด็จขึ้นสู่คอช้างเชือกประเสริฐอันเขาประดับตกแต่งแล้ว. บทว่า อสสวร-
ธุรคเต แปลว่า ผู้ขึ้นสู่หลังม้าตัวประเสริฐ. บทว่า รถวรธุรคเต แปลว่า
ผู้เสด็จทรงท่ามกลางรถอันประเสริฐ. บทว่า นียึสุ แปลว่า ออกไปแล้ว.
เมื่อหญิงเหล่านั้น ปริเทวนาการอยู่อย่างนี้นั่นแล ราชบุรุษนำพระ-
โพธิสัตว์ออกจากพระนคร ในกาลนั้น ทั่วพระนครก็กำเริบขึ้น. ชาวนคร
ปรารภจะออก. เมื่อมหาชนกำลังออกไป ประตูทั้งหลายไม่เพียงพอ. พราหมณ์
เห็นคนมากเกินไป จึงคิดว่า ใครจะรู้ว่าเหตุอะไรจักเกิดขึ้น ก็สั่งให้ปิดประตู
พระนครเสีย มหาชนเมื่อจะออกไปไม่ได้ ก็พากันร้องอื้ออึ้งอยู่ใกล้ ๆ สวน
แห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ริมประตูภายในพระนคร ฝูงนกทั้งหลายพากันตกใจกลัว
ด้วยเสียงอื้ออึงนั้นก็บินขึ้นสู่อากาศ. มหาชนเรียกนกนั้น ๆ แล้วพร่ำเพ้อกล่าว
ว่า
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบนไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้
หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยราชโอรส ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 182
นกเอ๋ยถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช.
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยคฤหบดี ๔ คน.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยช้าง ๔ เชือก.
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยม้า ๔ ตัว
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหลจะทรงบูชายัญด้วยโคอุสุภราช ๔ ตัว
นกเอ๋ย ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ เจ้าจงบินไปทาง
ทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร ณ ที่นั้น พระเจ้าเอกราช
ผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญด้วยสัตว์ทั้งปวงอย่างละ ๔.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มสมิจฺฉสิ ความว่า นกผู้เจริญเอ๋ย
ถ้าเจ้าปรารถนาเนื้อ. บทว่า อุยฺยสฺสุ ปุพฺเพน ปุปฺผวติยา ความว่า
เจ้าจงบินไปในที่ ๆ มีการปิดกั้นเพื่อบูชายัญ ทางทิศบูรพาแห่งปุปผวดีนคร.
บทว่า ยชเตตฺถ ความว่า ในที่นั้น พระเจ้าเอกราชผู้หลงใหล พระองค์
ทรงเชื่อถ้อยคำของกัณฑหาลพราหมณ์ บูชายัญด้วยพระราชโอรส ๔ พระองค์
แม้ในคาถาที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 183
มหาชนพากันคร่ำครวญในที่นั้นด้วยอาการอย่างนี้ จึงไปยังสถานที่อยู่
ของพระโพธิสัตว์ เมื่อกระทำประทักษิณปราสาท แลเห็นพระตำหนักเรือน
ยอดในภายในพระนคร และสถานที่ต่าง ๆ มีพระอุทยานเป็นต้น จึงกล่าว
คร่ำครวญอยู่ด้วยคาถาว่า
นี้ปราสาทของท่านล้วนด้วยทองคำภายในพระ-
ราชวัง น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้เรือนยอดของท่านล้วนแล้วด้วยทองคำ เกลื่อน
กล่นด้วยพวงมาลัย บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้พระอุทยานของท่าน มีดอกไม้บานสะพรั่ง
ตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่าอโศกของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอดกาล
ทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระองค์
ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่ากรรณิการ์ของท่าน มีดอกบานสะพรั่ง
ตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ป่าแคฝอยของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอด
กาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใ จ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้สวนมะม่วงของท่าน มีดอกบานสะพรั่งตลอด
กาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 184
พระองค์ ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้สระโบกขรณีของท่าน ดารดาษไปด้วยดอก-
บัวหลวงและบัวขาบ มีเรือทองอันงดงามวิจิตด้วยลาย
เครือวัลย์ เป็นที่รื่นรมย์ดี บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ พระ-
องค์ถูกนำไปเพื่อจะฆ่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตทานิ ความว่า บัดนี้ พระลูกเจ้า
ทั้ง ๔ ของเรา มีพระจันทกุมารเป็นหัวหน้า ละทิ้งปราสาทเห็นปานนี้ ถูกนำ
ไปเพื่อจะฆ่า. บทว่า โสวณฺณวิกตา แปลว่า ขจิตด้วยทองคำ.
คนทั้งหลายพร่ำเพ้อในที่มีประมาณเท่านี้ จึงพากันไปสู่โรงช้างเป็นต้น
อีกแล้วกล่าวว่า
นี้ช้างแก้วของท่าน ชื่อเอราวัณ เป็นช้างมีกำลัง
บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
นี้ม้าแก้วของท่าน เป็นม้ามีกีบไม่แตก เป็นม้า
วิ่งได้เร็ว บัดนี้ พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไป
เพื่อจะฆ่า
นี้รถม้าของท่าน มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนก
สาลิกา เป็นรถงดงามวิจิตรด้วยแก้ว พระลูกเจ้าเสด็จ
ไปในรถนี้ ย่อมงดงามดังเทพเจ้าในนันทวัน บัดนี้
พระลูกเจ้าทั้ง ๔ นั้น ถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักทรงบูชายัญ
ด้วยพระราชโอรส ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอทอง มี
พระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักทรงบูชายัญ
ด้วยพระราชธิดา ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มี
พระวรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 185
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จะทรงบูชายัญ
ด้วยพระมเหสี ๔ พระองค์ ผู้งามเสมอด้วยทอง มีพระ
วรกายไล้ทาด้วยจุรณจันทน์.
อย่างไรพระราชาผู้หลงใหล จึงจักบูชายัญด้วย
คฤหบดี ๔ คน ผู้งดงามเสมอด้วยทอง มีร่างกายไล้
ทาด้วยจุรณจันทน์ คามนิคมทั้งหลายจะว่างเปล่า ไม่
มีมนุษย์ กลายเป็นป่าใหญ่ไป ฉันใด เมื่อพระราชา
รับสั่งให้เอาพระจันทกุมารและสุริยกุมารบูชายัญ พระ-
นครปุปผวดีก็จักร้างว่างเปล่า ไม่มีมนุษย์ กลายเป็น
ป่าใหญ่ไป ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอราวโณ นี้ เป็นชื่อของช้างนั้น.
บทว่า เอกขุโร ได้แก่ มีกีบไม่แตก. บทว่า สาลิยา วิย นิคฺโฆโส ความ
ว่า ในเวลาไป ประกอบด้วยเสียงกังวาลไพเราะ ดุจกังวานแห่งนกสาลิกา
ทั้งหลาย. บทว่า กถนฺนาม สามสมสุนฺทเรหิ ความว่า มีผิวเหลืองดัง
ทองคำ เสมอซึ่งกันและกันโดยกำเนิด ชื่อว่า งามเพราะปราศจากโทษ. บทว่า
จนฺทนมรุกตจฺเตหิ แปลว่ามีอวัยวะไล้ทาด้วยจันทน์แดง. บทว่า พฺรหา-
รญฺา ความว่า คามและนิคมเหล่านั้นว่างไม่มีมนุษย์ กลายเป็นป่าใหญ่ฉันใด
เมื่อพระราชาทรงบูชายัญด้วยพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ แม้พระนครปุปผวดี
ก็จักร้างว่างเปล่าเป็นเสมือนป่าใหญ่ไปฉันนั้น.
คนเป็นอันมากนั้น เมื่อไม่ได้เพื่อจะออกไปภายนอก ก็พากันคร่ำ
ครวญเที่ยวไปภายในพระนครนั่นเอง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ถูกนำไปสู่หลุมที่
บูชายัญ. ลำดับนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงนามว่า โคตมีเทวี
ซบลงแทบบาทมูลของพระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
จงประทานชีวิตแก่บุตรทั้งหลายของข้าพระบาท ทรงกรรแสงพลางกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 186
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาทจักเป็น
บ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระเกลือกกลั้วด้วย
ธุลี ถ้าเขาฆ่าจันทกุมา ลมปราณของข้าพระบาทก็
จะแตกทำลาย ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระ-
บาทจักเป็นบ้า มีความเจริญถูกขจัดแล้ว มีสรีระ
เกลือกกลั้วด้วยธุลี ถ้าเขาฆ่าสุริยกุมาร ลมปราณของ
ข้าพระบาทก็จะแตกทำลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูนหตา แปลว่า มีความเจริญถูกขจัด
แล้ว. บทว่า ปสุนาว ปริกิณฺณา ความว่า ข้าพระบาท มีสรีระเหมือน
เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น จักเป็นบ้าเที่ยวไป.
พระนางโคตมีเทวี เมื่อคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ มิได้รับพระดำรัสอย่างไร
จากสำนักพระราชา จึงทรงกล่าวแก่พระสุณิสาทั้งหลายว่า ชรอยลูกเราโกรธ
เจ้าแล้วจึงจักไปเสียกระมัง เหตุไรเจ้าไม่ยังเขาให้กลับมา ทรงสวมกอดชายา
ทั้ง ๔ ของพระกุมารเข้าแล้ว ก็ทรงกล่าวคร่ำครวญว่า
สะใภ้เราเหล่านี้ คือ นางฆัฏฏิกา นางอุปริกขี
นางโปกขรณี และนางคายิกา ล้วนกล่าววาจาเป็นที่
รักแก่กันและกัน เพราะเหตุไร จึงไม่ฟ้อนรำขับร้อง
ให้จันทกุมาร และสุริยกุมารรื่นรมย์เล่า ใครอื่นที่จะ
เสมอด้วยนางทั้ง ๔ นั้นไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนุมา น รมาเปยฺยุ ความว่า
เพราะเหตุไร สะใภ้ทั้ง ๔ มีนางฆัฏฏิกาเป็นต้นนี้ จึงไม่พูดคำพึงใจแก่กัน
และกัน ฟ้อนรำขับร้อง ให้ราชโอรสทั้งสอง ของเราเพลิดเพลิน ไม่ให้เบื่อ
๑. อรรถกถาว่า โคปรักขี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 187
หน่าย อธิบายว่า จริงอยู่ ในการฟ้อนรำหรือขับร้อง ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้
ใครอื่นที่จะเสมอด้วยนางทั้ง ๔ นี้ย่อมไม่มี.
พระนางทรงคร่ำครวญกะพระสุณิสาดังนี้แล้ว เมื่อไม่มองเห็นอุบาย
อันควรถืออย่างอื่น จึงทรงกล่าวคาถา ๘ คาถา แช่งด่ากัณฑหาลพราหมณ์ว่า
ดูก่อนกัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใด ย่อมเกิด
มีแก่เรา ในเมื่อจันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่า แม่
ของเจ้าจงได้ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อน
กัณฑหาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ใน
เมื่อสุริยกุมารถูกเขานำไปจะฆ่า แม่ของเจ้าจงได้
ประสบความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑ-
หาละ ความโศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ในเมื่อ
จันทกุมารถูกเขานำไปเพื่อจะฆ่าภรรยาของเจ้าจงประสบ
ความโศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ ความ
โศกเศร้าใจใดย่อมเกิดมีแก่เรา ในเมื่อสุริยกุมารถูก
เขานำไปเพื่อจะฆ่า ภรรยาของเจ้า จงได้ประสบความ
โศกเศร้าใจของเรานี้ ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้
ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจ
ดังราชสีห์ แม่ของเจ้าจงอยู่ได้เห็นพวกลูก ๆ และ
อย่าได้เห็นสามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้
ฆ่าพระกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวง
แม่ของเจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็น
สามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ให้ฆ่าพระกุมาร
ทั้งหลาย ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 188
ภรรยาของเจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็น
สามีเลย ดูก่อนเจ้ากัณฑหาละ เจ้าได้ฆ่าพระกุมาร
ทั้งหลาย ผู้เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวง ภรรยาของ
เจ้าจงอย่าได้เห็นพวกลูก ๆ และอย่าได้เห็นสามีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิม มยฺห ความว่า ความโศกเศร้าใจ
ของเรานี้ จัดเป็นทุกข์. บทว่า ปฏิมุญฺจตุ ความว่า จงเข้าไป คือจงถึง.
บทว่า โย ฆาเตสิ ความว่า เจ้าใดย่อมฆ่า. บทว่า อเปกฺขิเต ความว่า
เจ้าย่อมฆ่าผู้ที่ชาวโลกทั้งปวงหวังอยู่ คือปรากฏอยู่.
พระโพธิสัตว์เมื่อทูลวิงวอนที่หลุมยัญ จึงกล่าวว่า
ขอเดชะ อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย
โปรดทรงพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลายให้เป็นทาส
ของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่า ข้าพระ-
องค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะเลี้ยงช้างและ
ม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสีย
เลย โปรดพระราชทานข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็น
ทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระเจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้า-
พระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วยโซ่ใหญ่ ก็จะขนมูล
ช้างให้เขา ขอเดชะ โปรดพระราชทานข้าพระองค์
ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิตเถิดพระ-
เจ้าข้า ถึงแม้ว่าข้าพระองค์ทั้งหลายจะถูกจองจำด้วย
โซ่ใหญ่ ก็จะขนมูลม้าให้เขา ขอเดชะ อย่าได้ทรง
ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเสียเลย โปรดพระราชทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 189
ข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้เป็นทาสของกัณฑหาลปุโรหิต
ตามที่พระองค์มีพระประสงค์เถิด พระเจ้าข้า ถึงแม้
ว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย จะถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ก็
จะเที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิต ขอเดชะ หญิงทั้งหลายผู้
ปรารถนาบุตร แม้จะเป็นคนยากจน ย่อมวอนขอบุตร
ต่อเทพเจ้า หญิงบางพวกละปฏิภาณแล้ว ไม่ได้บุตร
ก็มี หญิงเหล่านั้น ย่อมกระทำความหวังว่า ขอลูก
ทั้งหลายจงเกิดแก่เรา แต่นั้นขอหลานจงเกิดอีก ข้า
แต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์รับสั่งให้ฆ่าข้าพระ-
องค์ทั้งหลาย เพื่อต้องการทรงบูชายัญ โดยเหตุอัน
ไม่สมควร ข้าแต่สมเด็จพระบิดา คนทั้งหลายเขาได้
ลูกเพราะความวิงวอนของเทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับ
สั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเลย อย่าทรงบูชายัญนี้
ด้วยบุตรทั้งหลายที่ได้มาโดยยากเลยพระเจ้าข้า ข้าแต่
สมเด็จพระบิดา คนทั้งหลายเขาได้บุตร เพราะความ
วิงวอนเทพเจ้า ขอพระองค์อย่ารับสั่ง ให้ฆ่าข้าพระ
องค์ทั้งหลายเลยพระเจ้าข้า ขอได้ทรงพระกรุณาโปรด
อย่าได้พรากข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้เป็นบุตรที่ได้มา
ด้วยความยากจากพระมารดาเลยพระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺย ความว่า แต่ก่อนพระองค์ผู้
สมมติเทพ นารีทั้งหลายผู้ไร้บุตรแม้เป็นผู้ยากจน เป็นผู้มีความต้องการบุตร
นำบรรณาการเป็นอันมาก ไปวอนขอเทพเจ้าว่า ขอเราจักได้ซึ่งลูกหญิง
หรือลูกชายดังนี้. บทว่า ปฏิภาณานิปิ หิตฺวา ความว่า แม้ละแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 190
คือไม่ได้แล้วซึ่งการตั้งครรภ์ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช
ก็ครรภ์ของนารีทั้งหลาย ผู้ไม่ได้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมซูบซีดไป ฉิบ
หายไป. ในบรรดาหญิงเหล่านั้น บางพวกเมื่อไม่ได้บุตรก็ขอ, บางนางได้แล้วละ
การตั้งครรภ์ แล้วไม่บริโภค ก็ไม่ได้ซึ่งบุตร, บางนางเมื่อไม่ได้ความตั้งครรภ์
ก็ไม่ได้ซึ่งบุตร แต่มารดาของข้าพระบาท ได้แล้วซึ่งการตั้งครรภ์และบริโภค
และมิได้ปล่อยให้ครรภ์ที่เกิดขึ้นแล้ว พินาศไปเสีย จึงได้บุตรทั้งหลาย. พระราช
กุมารทรงวิงวอนว่า ขอพระองค์อย่าได้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลาย อันเป็นราชบุตร
ที่ได้มาด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสฺสาสกานิ ความว่า ข้าแต่มหาราช
สัตว์เหล่านี้ย่อมกระทำความหวังว่า อย่างไร ขอบุตรทั้งหลายจงเกิดแก่เรา.
บทว่า ตโต จ ปุตฺตา ความว่า ขอบุตรทั้งหลายจงเกิดแม้แก่บุตรทั้งหลาย
ของเราด้วย. บทว่า อถ โน อการณสฺมา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์
ได้ชื่อว่า ฆ่าพวกข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญด้วยเหตุอันไม่
สมควรเลย. บทว่า อุปยาจิตเกน ได้แก่ ด้วยความวิงวอนเทพทั้งหลาย.
บทว่า กปณลทฺธเกหิ พระราชโอรสตรัสว่า ขอพระองค์จงอย่าได้กระทำ
ความพลัดพรากจากมารดาของพวกข้าพระองค์ กับพวกข้าพระองค์ ซึ่งเป็น
บุตรที่มารดาได้มาด้วยความยากเลย และจงอย่าทำความพลัดพรากข้าพระ-
องค์กับมารดาเลย.
พระจันทกุมาร แม้เมื่อทูลวิงวอนด้วยอาการอย่างนี้ ก็ไม่ตอบอะไร ๆ
จึงหมอบลงแทบบาทมูลของพระมารดา พลางปริเทวนาการกล่าวว่า
ข้าแต่พระมารดา พระมารดาย่อมย่อยยับ เพราะ
ทรงเลี้ยงลูกจันทกุมาร มาด้วยความลำบาก ลูกขอ
กราบพระบาทพระมารดา ขอพระราชบิดา จงทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 191
ได้ปรโลกอันสมบูรณ์เถิด เชิญพระมารดาทรงสวม-
กอดลูก แล้วประทานพระยุคลบาทให้ลูกได้กราบไหว้
ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ เพื่อประโยชน์แก่ยัญของพระ
ราชบิดาเอกราช เชิญพระมารดาสวมกอดลูก แล้ว
ประทานพระยุคลบาทให้ลูกกราบไหว้ ลูกจะจากไป
ณ บัดนี้ ทำความโศกเศร้าพระทัยให้พระมารดา
เชิญพระมารดาสวมกอดลูก แล้วประทานพระยุคล-
บาท ให้ลูกกราบไหว้ ลูกจะจากไป ณ บัดนี้ ทำ
ความโศกเศร้าใจให้แก่ประชุมชน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุทุกฺขโปสิยา ความว่า พระมารดา
ทรงเลี้ยงลูกมาโดยความลำบากมาก. บทว่า จนฺท ความว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า
พระองค์ทรงเลี้ยงซึ่งบุตรคือพระจันทกุมาร ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้พระแม่เจ้า
ย่อมทรงชราลง. บทว่า ลภต ตาโต ปรโลก ความว่า ขอพระราชบิดา
ของข้าพระองค์ จงได้ปรโลกอันสมบูรณ์ด้วยโภคะเถิด. บทว่า อุปคุยฺห
ความว่า จงสวมกอด คือโอบกอด. บทว่า ปวาส ความว่า เป็นการพลัดพราก
จากไปอย่างแท้จริง โดยมิได้หวนกลับมาอีก.
ลำดับนั้น พระมารดาของจันทกุมาร เมื่อจะทรงปริเทวนาการ จึง
ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า
ดูก่อนลูกโคตมีมาเถิดเจ้าจงรัดเมาลีด้วยใบบัว จง
ประดับดอกไม้อันแซมด้วยกลีบจำปา นี่เป็นปรกติของ
เจ้ามาแต่ก่อน มาเถิด เจ้าจงไล้ทาเครื่องลูบไล้ คือ
จุรณจันทน์แดงของเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย. เจ้าลูบไล้ด้วย
จุรณจันทน์แดงนั้นดีแล้ว ย่อมงดงามในราชบริษัท มา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 192
เถิด เจ้าจงนุ่งผ้ากาสิกพัสตร์ อันเป็นผ้าเนื้อละเอียด
เป็นครั้งสุดท้าย ครั้นนุ่งผ้ากาสิพัสตร์นั้นแล้ว ย่อม
งดงามในบริษัท เชิญเจ้าประดับหัตถาภรณ์ อันเป็น
เครื่องประดับทองคำฝังแก้วมุกดาและแก้วมณี เจ้า
ประดับด้วยหัตถาภรณ์นั้นแล้วย่อมงดงามในบริษัท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมปตฺตาน ความว่า ซึ่งเครื่อง
ประดับอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปทุมปัตตเวฐนะผ้าโพกสำหรับรัดเมาลีทำด้วยใบบัว
พระนางโคตมี ทรงพระประสงค์เอาเครื่องประดับนั้นนั่นแล จึงตรัสอย่างนั้น
อธิบายว่า เจ้าจงรวบขึ้นซึ่งเมาลีของเจ้าอันกระจัดกระจายแล้วจงพันด้วย
ปทุมปัตตเวฐนะ. ทรงเรียกพระจันทกุมารด้วยคำว่า โคตมิปุตฺต. บทว่า
จมฺปกทลมิสฺสาโย ความว่า เจ้าจงประดับระเบียบดอกไม้นานาชนิด
อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น แซมด้วยกลีบจำปาสอดสลับ ณ ภายใน. ด้วยบทว่า
เอสา เต นี้พระนางพร่ำว่า นี้เป็นปกติของเจ้ามาแต่ครั้งก่อน จงลูบไล้
เครื่องลูบไล้เครื่องจุรณจันทน์นั้นนั่นแลลูก. บทว่า เยหิ จ ความว่า เ จ้าลูบไล้
ด้วยเครื่องลูบไล้คือจันทน์แดงเหล่าใดแล้ว เจ้าจะงดงามในราชบริษัท เจ้าจงลูบ
ไล้ด้วยเครื่องลูบคือจุรณจันทน์แดงเหล่านั้นเถิด. บทว่า กาสิก ได้แก่ ผ้ากาสิก-
พัสตร์ อันมีค่าแสนหนึ่ง. บทว่า คณฺหสฺส ความว่า จงประดับ.
บัดนี้ พระนางจันทา ผู้เป็นอัครมเหสีของพระจันทกุมาร หมอบลง
แทบบาททูลของพระราชา พลางร่ำไรกล่าวว่า
พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองรัฐ ผู้เป็นทายาทของ
ชนบท เป็นเจ้าโลกองค์นี้ จักไม่ทรงยังความสิเนหาให้
เกิดในบุตรแน่ละหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 193
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสพระคาถาว่า
ลูกทั้งหลายเป็นที่รักของเรา(ตนเองก็เป็นที่รัก)
อนึ่ง แม้เจ้าทั้งหลายผู้เป็นภรรยาก็เป็นที่รักของเรา แต่
เราปรารถนาสวรรค์ เหตุนั้นจึงได้ให้ฆ่าเจ้าทั้งหลาย.
เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นว่า เพราะเหตุไรเราจึงไม่บังเกิดความรัก
ลูก แท้จริงบุตรทั้งหลายเป็นที่รักของเรา ไม่ใช่แต่พระโคตมีองค์เดียวเท่านั้น
แม้เราก็มีความรักบุตรทั้งหลาย ตนเองก็ดีก็เป็นที่รัก เจ้าทั้งหลายผู้เป็นสะใภ้
ก็ดี ภรรยาทั้งหลายก็ดี ก็เป็นที่รักของเราเหมือนกัน แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เรา
ปรารถนาซึ่งสวรรค์นั้น เพราะเหตุนั้น เราจักฆ่าเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ เจ้าอย่า
คิดไปเลย แม้เจ้าทั้งหลายของเราเหล่านั้น ก็ไปอยู่กับเราในเทวโลกทั้งสิ้น.
พระนางจันทาทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอจงทรงพระกรุณา
โปรดรับสั่งให้ฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน ขอความทุกข์
อย่าได้ทำลายหทัยของข้าพระบาทเลย พระราชโอรส
ของพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ ประดับแล้วงดงาม ข้าแต่
เจ้าชีวิต ขอได้โปรดฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน ข้าพระ-
บาทจักเป็นผู้มีความโศกเศร้ากว่าจันทกุมาร ขอ
พระองค์จงทรงทำบุญให้ไพบูลย์ ข้าพระบาททั้งสอง
จะเที่ยวไปในปรโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปม ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์จงทรงฆ่าข้าพระบาทก่อนกว่าพระสวามีของข้าพระบาท. บทว่า
ทุกฺข ความว่า ทุกข์แต่ความตาย ของพระจันทกุมารนั้น ขออย่าได้ยังหัวใจ
๑. ในอรรถกถา เพิ่มคำว่า อตฺตา จ ตนเองก็เป็นที่รัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 194
ของข้าพระบาทให้แตกเสียเลย. บทว่า อลงฺกโต ความว่า ประดับแล้วด้วย
อาการอย่างนี้คือพระกุมารองค์นี้องค์เดียว เขาประดับตกแต่งแล้วสำหรับข้า-
พระบาท บทนี้ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ไม่ทรงรักใคร่ซึ่ง
พระราชบุตรองค์นี้ว่าเป็นลูกของเรา. บทว่า หนฺทยฺย ตัดบทเป็น หนฺท อยฺย.
พระนางพร่ำเพ้อพลางทูลอย่างนี้กะพระราชา. บทว่า สโสกา ความว่า เป็น
ไปกับด้วยความโศกเศร้ากับพระจันทกุมาร. บทว่า เหสฺสามิ แปลว่า จักเป็น.
บทว่า วิจราม อโภ ปรโลเก ความว่า ข้าพระองค์แลพระจันทกุมารอัน
พระองค์ให้ฆ่ารวมกัน แม้ข้าพระองค์ทั้งสองจะเสวยสุขเที่ยวไปในปรโลก
ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่สวรรค์ของข้าพระบาททั้งสองเลย.
พระราชาตรัสว่า
ดูก่อนจันทาผู้มีตางาม เจ้าอย่าชอบใจความตาย
เลยเมื่อโคตมีบุตรผู้อันเราบูชายัญแล้ว พี่ผัวน้องผัว
ของเจ้าเป็นอันมาก จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ยินดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา ตฺว จนฺเท รุจิ ความว่า เจ้าอย่า
ชอบใจความตายของตนเลย. บาลีว่า มา รุทิ ดังนี้ก็มี ความว่า อย่าร้องไห้
ไปเลย. บทว่า เทวรา ความว่า พี่ผัวน้องผัวของเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ.
ต่อแต่นั้น พระศาสดาจึงตรัสกึ่งคาถาว่า
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนั้นแล้ว พระนางจันทา
เทวีก็ร่ำไห้ตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์.
ต่อแต่นั้น พระนางก็ทรงรำพันว่า
ไม่มีประโยชน์อะไรด้วยชีวิต เราจักดื่มยาพิษ
ตายเสียในที่นี้ พระญาติและมิตรของพระราชาพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 195
องค์นี้ผู้มีพระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่า
อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพระราชโอรสอันเกิดแต่พระอุระเลย
ย่อมไม่มีเลย พระญาติและมิตรของพระราชาองค์นี้ผู้มี
พระทัยดี ซึ่งจะกราบทูลทัดทานพระราชาว่าอย่าได้รับ
สั่งให้ฆ่าพระราชโอรส อันเกิดแต่พระอุระพระองค์นี้
เลยย่อมไม่มีเป็นแน่ทีเดียว บุตรของข้าพระบาทเหล่านี้
ประดับพวงดอกไม้สวมกำไลทองต้นแขน ขอพระราชา
จงเอาบุตรของข้าพระบาทเหล่านั้นบูชายัญ แต่ขอพระ
ราชทานปล่อยโคตมีบุตรเถิด ข้าแต่พระมหาราชา ขอจง
ทรงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อยส่วนแล้วทรงบูชายัญ
ในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าทรงฆ่าพระราชโอรสองค์ใหญ่
ผู้ไม่ผิดไม่ประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์เลย ข้าแต่
พระมหาราชา ขอจงตัดแบ่งข้าพระบาทให้เป็นร้อย
ส่วนแล้วทรงบูชายัญในสถานที่ ๗ แห่ง อย่าได้ทรงฆ่า
พระราชโอรสองค์ใหญ่เป็นที่มุ่งหวังของโลกทั้งปวงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว ความว่า เมื่อพระเจ้าเอกราชตรัส
อย่างนั้น. ด้วยบทว่า หนฺติ พระนางทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เหตุไรหรือพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น แล้วทุบตีพระองค์ด้วยฝ่าพระหัตถ์. บทว่า
ปิสฺสามิ แปลว่า จักดื่ม. บทว่า อิเม เตปิ ความว่า ทรงจับมือ
เด็ดที่เหลือแม้เหล่านี้ตั้งต้นแต่วสุลกุมาร ประทับยืนอยู่ใกล้บาทมูลของพระราชา
แล้วได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า คุณิโน ความว่า ประกอบด้วยอาภรณ์คือ
กลุ่มดอกไม้. บทว่า กายุรธาริโน ความว่า ทรงไว้ซึ่งเครื่องประดับคือกำไล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 196
ทอง. บทว่า วิลสต ความว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ฆ่าข้าพระบาท
แล้วแบ่งเป็นร้อยส่วน. บทว่า สตฺตธา ความว่า จงบูชายัญในที่ ๗ แห่ง.
ดังนั้น พระนางจันทาเทวีนั้น ทรงคร่ำครวญในสำนักพระราชาด้วย
คาถาเหล่านี้แล้ว เมื่อไม่ได้มีความโล่งใจจึงเสด็จไปสำนักพระโพธิสัตว์นั่นแล
แล้วยืนร่ำไรอยู่. ลำดับนั้น พระจันทกุมารตรัสแก่พระนางจันทาว่า ดูก่อน
จันทา เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ เราให้อาภรณ์แก่เจ้ามากมายมีแก้วมุกดาเป็นต้น
เมื่อเรื่องนั้นๆ เจ้าเล่า เจ้ากล่าวแล้วด้วยดี แต่วันนี้เราจะให้อาภรณ์อันประดับ
อยู่กับกายเรานี้ เป็นของเราให้อันท้ายที่สุด เจ้าจงรับอาภรณ์นี้ไว้.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
เครื่องประดับเป็นอันมากล้วนแต่ของดี ๆ คือ
มุกดา มณี แก้วไพฑูรย์เราให้แก่เจ้า เมื่อเจ้ากล่าว
คำดี นี้เป็นของที่เราให้แก่เจ้าครั้งสุดท้าย.
ฝ่ายพระนางจันทาเทวี ครั้นสดับคำพระสวามีแล้ว ก็พลางรำพัน
กล่าวด้วยคาถา ๙ คาถาอื่นจากนั้นว่า
เมื่อก่อนพวงมาลาบานเคยสวมที่พระศอของพระ
กุมารเหล่าใด วันนี้ ดาบที่เขาลับคมดีแล้ว จักฟันที่
พระศอของพระกุมารเหล่านั้น เมื่อก่อนพวงมาลาอัน
วิจิตรเคยสวมที่พระศอของพระกุมารเหล่าใด วันนี้
ดาบสอันลับคมดีแล้ว จักฟันที่พระศอของพระกุมาร
เหล่านั้น ไม่ช้าแล้วหนอ ดาบจักฟันที่พระศอของพระ
ราชบุตรทั้งหลาย ก็หทัยของเราจะไม่แตก แต่จะต้อง
มีเครื่องรัดอย่างมั่นคงเหลือเกิน พระจันทกุมารและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 197
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันสะอาด ประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาด ประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราชพระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร ทรงผ้าแคว้นกาสีอันขาวสะอาดประดับ
กุณฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำ
ความเศร้าพระหฤทัยแก่พระชนนี พระจันทกุมารและ
สุริยกุมารทรงผ้าแกว้นกาสีอันขาวสะอาดประดับกุณ-
ฑลไล้ทากฤษณาและจุรณแก่นจันทน์ เสด็จออกทำ
ความเศร้าใจให้แก่ประชุมชน พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารอันปรุงด้วยรสเนื้อ
ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้วประดับกุณฑล ไล้ทา
กฤษณาและจุรณแก่นจันทน์เสด็จออก เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญของพระเจ้าเอกราช พระจันทกุมารและ
พระสุริยกุมาร เสวยพระกระยาหารปรุงด้วยรสเนื้อ
ช่างสนานสระสรงพระกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้
ทากฤษณาและจุรณจันทน์ เสด็จออกกระทำความเศร้า
พระทัยให้แก่พระชนนี พระจันทกุมารและพระสุริย-
กุมารเสวยพระกระยาหาร อันปรุงด้วยรสเนื้อ ช่าง
สนานสระสรงกายดีแล้ว ประดับกุณฑล ไล้ทากฤษณา
และจุรณแก่นจันทน์เสด็จออกกระทำความเศร้าใจให้แก่
ประชุมชน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 198
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุลฺลา มาลา ได้แก่ พวงดอกไม้. บทว่า
เตสชฺช ตัดเป็น เตส อชฺช. บทว่า เนตฺตึโส แก้เป็น อสิ. บทว่า
วิวตฺติสฺสติ แปลว่า จักตก. บทว่า อจิรา วต แปลว่า ไม่นานหนอ.
บทว่า น ผาเลติ แปลว่า ไม่แตก. บทว่า ตาว ทฬฺหพนฺธนญฺจ เม
อาสิ ความว่า จักมีเครื่องผูกมัดอันมั่นยิ่งนัก จักผูกมัดหทัยของเรา.
เมื่อพระนางจันทา คร่ำครวญอยู่อย่างนั้น การงานทุกอย่างในหลุม
ยัญสำเร็จแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายนำพระราชบุตรมาแล้ว ให้ก้มพระศอลงนั่ง
อยู่. กัณฑหาลพราหมณ์น้อมถาดทองคำเข้าไปใกล้แล้วหยิบดาบมาถือยืนอยู่
ด้วยหมายใจว่า เราจักตัดพระศอพระราชกุมาร พระนางจันทาเทวีเห็นดังนั้น
คิดว่า ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราจักกระทำความสวัสดีของพระสวามีด้วยกำลัง
ความสัตย์ของเรา จึงประคองอัญชลีดำเนินไปในระหว่างแห่งที่ชุมนุมชนแล้ว
ทรงกระทำสัจกิริยา.
เมื่อเขาตกแต่งเครื่องบูชายัญทุกสิ่งแล้ว เมื่อพระ
จันทกุมารและพระสุริยกุมารประทับนั่ง เพื่อประโยชน์
แก่การบูชายัญ พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราช
ประนมอัญชลีเสด็จดำเนินเวียนในระหว่างบริษัททั้ง
ปวงทรงกระทำสัจกิริยาว่า กัณฑหาละผู้มีปัญญาทราม
ได้กระทำกรรมอันชั่ว ด้วยความสัจจริงอันใด ด้วย
สัจจวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
อมนุษย์เหล่าใดมีอยู่ในที่นี้ ยักษ์ สัตว์ ที่เกิดแล้วและ
สัตว์ที่จะมาเกิดก็ดี ขอจงกระทำความขวนขวายช่วย
เหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่ร่วมกับพระสวามี
เทวดาทั้งหลายที่มาแล้วในที่นี้ ปวงสัตว์ที่เกิดแล้วและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 199
สัตว์ที่จะมาเกิด ขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าผู้เสวงหาที่พึ่ง
ผู้ไร้ที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งหลาย ขออย่าให้
พวกข้าศึกชนะพระสวามีของข้าพเจ้าเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺขตสฺมึ ความว่า เมื่อเขาจัดตก
แต่งเครื่องบูชายัญพร้อมทุกสิ่ง. บทว่า สมงฺคินี ความว่า ขอข้าพเจ้า จง
เป็นผู้ประกอบพร้อม คือประกอบเป็นอันเดียวกัน ได้แก่ เป็นผู้อยู่ร่วมกัน.
บทว่า เยธตฺถิ ตัดเป็น เย อิธ อตฺถิ ชนเหล่าใดมีอยู่ในที่นี้. บทว่า
ยกฺขภูตภพฺยานิ ความว่า ยักษ์กล่าวคือเทวดา ภูตกล่าวคือสัตว์ที่เจริญแล้ว
ดำรงอยู่ และเหล่าสัตว์ที่พึงเกิดกล่าวคือสัตว์ผู้เจริญในบัดนี้. บทว่า เวยฺยาวฏิก
ความว่า จงกระทำขวนขวายเพื่อข้าพเจ้า. ตายถ ม ความว่า จงรักษาข้าพเจ้า.
บทว่า ยาจามิ โว ความว่า ข้าพเจ้าขอร้องท่านทั้งหลาย. บทว่า ปติมาห
ตัดเป็น ปติ อห. บทว่า อเชยฺย ความว่า ขอข้าศึกอย่าพึงชนะ คือไม่
ชนะ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับเสียงคร่ำครวญของพระนางจันทา
เทวีนั้นทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ในขณะนั้นนั่นเอง ฉวยเอาค้อนเหล็กอันลุกโพลง
แล้วเสด็จมาขู่พระราชาแล้ว ให้ปล่อยคนเหล่านั้นทั้งหมด.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
ท้าวสักกเทวราช ได้ทรงสดับเสียงคร่ำครวญ
ของพระนางจันทาเทวีนั้นแล้ว ทรงกวัดแกว่งค้อนยัง
ความกลัวให้เกิดแก่พระเจ้าเอกราชนั้นแล้ว ได้ตรัส
กะพระราชาว่า พระราชากาลี จงรู้ไว้อย่าให้เราตีเศียร
ของท่านด้วยค้อนเหล็กนี้ ท่านอย่าได้ฆ่าบุตรองค์ใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 200
ผู้ไม่คิดประทุษร้าย ผู้องอาจดังราชสีห์ พระราชากาลี
ท่านเคยเห็นที่ไหน ? คนผู้ปรารถนาสวรรค์ ฆ่าบุตร
ภรรยา เศรษฐี และคฤหบดีผู้ไม่คิดประทุษร้าย.
กัณฑหาลปุโรหิต และพระราชาได้ฟังพระดำรัส
ของท้าวสักกะ ได้เห็นรูปอันน่าอัศจรรย์แล้ว ให้เปลื้อง
เครื่องพันธนาการของสัตว์ทั้งปวง เหมือนดังเปลื้อง
เครื่องพันธนาการของคนผู้ไม่มีความชั่ว เมื่อสัตว์ทั้ง
ปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมอยู่ ณ ที่
นั้นในกาลนั้นทุกคน เอาก้อนดินคนละก้อนทุ่มลง การ
ฆ่าซึ่งกัณฑหาลปุโรหิตได้มีแล้วด้วยประการดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนฺสฺโส ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช.
บทว่า พชฺฌสฺสุ แปลว่า ทรงรู้คือทรงกำหนด. บทว่า ราชกลิ ความว่า ดู
ก่อนพระราชาผู้กาลกิณี พระราชาผู้ลามก. บทว่า มา เตห ความว่า ดู
ก่อนพระราชาชั่ว ท่านจงรู้ อย่าให้เราดี คือประหารกระหม่อมของท่าน.
บทว่า โก เต ทิฏฺโ ความว่า ใครที่ไหน ที่ท่านเคยเห็น. ศัพท์ว่า หิ
ในบทว่า สคฺคกามา หิ นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ผู้ใคร่ต่อสวรรค์
คือผู้ปรารถนาสวรรค์. บทว่า ต สุตฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัณฑหาลปุโรหิตฟังคำแห่งท้าวสักกเทวราชแล้ว. บทว่า อพฺภูตมิท ความว่า
อนึ่งพระราชาทรงเห็นแล้วซึ่งการแสดงรูปแห่งท้าวสักกเทวราชนี้อันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมาก่อนเลย. บทว่า ยถา ต ความว่า ให้ปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง
เหมือนเปลื้องคนหาความชั่วมิได้ฉะนั้น. บทว่า เอเกกเลฑฺฑุมกสุ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายทั้งปวงมีประมาณเท่าใด ประชุมกัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 201
แทบหลุมยัญนั้นกระทำเสียงเอิกเกริก ได้ให้การประหารกัณฑหาลปุโรหิตด้วย
ก้อนดินคนละก้อน. บทว่า เอส วโธ ความว่า นั่นได้เป็นกาฆ่ากัณฑหาล-
ปุโรหิต. อธิบายว่า ให้กัณฑหาลปุโรหิตถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง.
ส่วนมหาชน ครั้นฆ่ากัณฑหาลพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เริ่มเพื่อจะฆ่าพระ-
ราชา. พระโพธิสัตว์สวมกอดพระราชบิดาไว้แล้ว มิได้ประทานให้เขาฆ่า.
มหาชนกล่าวว่า เราจะให้แต่ชีวิตเท่านั้นแก่พระราชาชั่วนั้น แต่พวกเราจะไม่
ยอมให้ฉัตรและที่อยู่อาลัยในพระนครแก่พระราชานั่น เราจักทำพระราชาให้
เป็นคนจัณฑาลแล้วให้ไปอยู่เสียภายนอกพระนคร แล้วก็ให้นำออกเสียซึ่งเครื่อง
ทรงสำหรับพระราชา ให้ทรงผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด ให้โพกพระเศียร ด้วยท่อน
ผ้าย้อมด้วยขมิ้น กระทำให้เป็นจัณฑาลแล้ว ส่งไปสู่ที่เป็นอยู่ของคนจัณฑาล.
ส่วนคนพวกใด บูชายัญอันประกอบด้วยการฆ่าปศุสัตว์ก็ดี ใช้ให้บูชาก็ดี
พลอยยินดีตามก็ดี ชนเหล่านั้นได้เป็นคนมีนิรยาบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทั้ง
สิ้นทีเดียว.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
คนทำกรรมชั่วโดยวิธีใดแล้ว ต้องตกนรกทั้ง
หมด คนทำกรรมชั่วแล้ว ไปจากโลกนี้ไม่ได้สุคติเลย.
แม้มหาชนเหล่านั้น ครั้นนำคนกาลกิณีทั้งสองนั้นออกไปแล้ว ก็นำมา
ซึ่งเครื่องอุปกรณ์แห่งพิธีอภิเษก แล้วทรงอภิเษกพระจันทกุมารในที่นั้นนั้น
นั่นเอง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว
ผู้ที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือพระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 202
ทั้งหลายประชุมนักอภิเษกจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวง
หลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมกันอยู่ ณ
ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทวดาทั้งหลายประชุมพร้อมกัน
อภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจาก
เครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น
ในกาลนั้น คือ เทพกัญญาทั้งหลาย ประชุมพร้อมกัน
อภิเษกพระจันทกุมาร เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจาก
เครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น ใน
กาลนั้น คือ พระราชาทั้งหลายประชุมพร้อมกัน ต่าง
แกว่งผ้าและโบกธง เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่อง
จองจำแล้ว ผู้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น คือ ราช
กัญญาทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างก็แกว่งผ้าและ
โบกธง เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพันจากเครื่องจองจำแล้ว
ผู้ที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น ในกาลนั้น คือ เทพ-
บุตรทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง
เมื่อสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ผู้ที่มา
ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้นในกาลนั้น คือ เทพกัญญา
ทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันต่างแกว่งผ้าและโบกธง เมื่อ
สัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำแล้ว ชนเป็นอัน
มากต่างก็รื่นรมย์ยินดี พวกเขาได้ประกาศความยินดี
ในเวลาที่พระจันทกุมารเสด็จเข้าสู่พระนคร และได้
ประกาศความหลุดพ้นจากเครื่องจองจำของสัตว์ทั้ง
ปวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 203
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปริสา จ ความว่า ฝ่ายบริษัทแห่ง
พระราชาทั้งหลาย ก็ได้ถวายน้ำอภิเษกกะพระจันทกุมารนั้น ด้วยสังข์ทั้ง ๓.
บทว่า ราชกญฺาโย ความว่า แม้ขัตติยราชธิดาทั้งหลายก็ถวายน้ำอภิเษก
พระจันทกุมาร. บทว่า เทวปริสา ความว่า ท้าวสักกเทวราช ก็ถือสังข์
วิชัยยุตรถวายน้ำอภิเษกพร้อมด้วยเทพบริษัท. บทว่า เทวกญฺาโย ความ
ว่า แม้นางสุชาดาเทพธิดา พร้อมด้วยนางเทพกัญญาทั้งหลาย ก็ถวายน้ำ
อภิเษก. บทว่า เจลุกฺเขปมกรุ ความว่า ได้ให้ยกธงทั้งหลายพร้อมผ้าสี
ต่าง ๆ ชักขึ้นซึ่งผ้าห่มทั้งหลายทำให้เป็นแผ่นผ้าในอากาศ. บทว่า ราชปริสา
ความว่า ราชบริษัททั้งหลาย และอีก ๓ เหล่า (คือราชกัญญา เทวบริษัท
เทพกัญญา) ซึ่งเป็นผู้กระทำอภิเษกพระจันทกุมาร รวมเป็นสี่หมู่ด้วยกัน ได้
กระทำการชัก โบกผ้าและธงนั่นแล. บทว่า อานนฺทิโน อหุวาทึสุ ความ
ว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงทั่ว บันเทิงยิ่งแล้ว. บทว่า นนฺทิปฺปเวสนคร
ความว่า คนทั้งหลายผู้บันเทิงร่าเริงทั่วแล้ว ในกาลที่พระจันทกุมารเสด็จเข้า
สู่พระนครให้กั้นฉัตร แล้วตีกลองอานันทเถรีร้องประกาศไปทั่วพระนคร. ถาม
ว่า เพื่อประโยชน์อะไร ? แก้ว่า พระจันทกุมารของเราทั้งหลายพ้นแล้วจาก
เครื่องจองจำฉันใด คนทั้งปวงหลุดพ้นจากการจองจำฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พนฺธโมกฺโข อโฆสถ ได้ประกาศการพ้นจากเครื่อง
จำดังนี้.
ลำดับนั้นแล พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งวัตรปฏิบัติต่อพระราชบิดา.
พระราชบิดาไม่ได้เสด็จเข้าสู่พระนคร. ในกาลเมื่อเสบียงอาหารสิ้นไป พระ-
โพธิสัตว์ ก็เสด็จไปเพื่อประโยชน์แก่กิจต่าง ๆ มีการเล่นสวนเป็นต้น ก็เข้าไป
เฝ้าพระราชบิดานั้น แต่ก็มิได้ถวายบังคม. ฝ่ายพระเจ้าเอกราชกระทำอัญชลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 204
แล้วตรัสว่า ขอพระองค์จงทรงมีพระชนม์ยืนนาน พระเจ้าข้า. เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ตรัสถามว่า พระบิดาต้องประสงค์ด้วยสิ่งใด พระเจ้าเอกราชจึงทูล
ความปรารถนาแล้ว. พระโพธิสัตว์ก็โปรดให้ถวายค่าจับจ่ายใช้สอยแก่พระ-
ราชบิดา. พระโพธิสัตว์นั้นครองราชสมบัติโดยเที่ยงธรรมแล้ว ในกาลเป็นที่สุด
แห่งอายุก็ได้เสด็จไปยังเทวโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ประกาศ
อริยสัจแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น
แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตพยายามเพื่อฆ่าคนเป็นอันมาก เพราะอาศัยเราแม้
ผู้เดียว ดังนี้แล้วจึงทรงประชุมชาดก. กัณฑหาลพราหมณ์ ในกาลนั้น ได้
เป็นพระเทวทัต พระนางโคตมีเทวี เป็นพระมหามายา พระนางจันทาเทวี
เป็นราหุลมารดา พระวสุละ เป็นพระราหุล พระเสลากุมารี เป็นอุบลวรรณา
พระสุรกุมาร เป็นพระอานนท์ พระรามโคตตะ๑ เป็นกัสสปะ พระภัททเสนเป็น
โมคคัลลานะ พระสุริยกุมารเป็นพระสารีบุตร ท้าวสักกเทวราช เป็นอนุรุทธะ
บริษัทในกาลนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระจันทกุมารนั้น คือเราสัมมา-
สัมพุทธะดังนี้แล.
จบอรรถกถาจันทกุมารชาดกที่ ๗
๑. บาลีเป็น วามโคตตะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 205
๘. มหานารทกัสสปชาดก
พระมหานารทกัสสปทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
[๘๓๔] พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า อังคติ
เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ ทรงมีพระราชยาน
พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะนับ
ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ขณะปฐมยาม
พระองค์ประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้ถึงพร้อม
ด้วยการศึกษาเล่าเรียน เฉลียวฉลาด ผู้ที่ทรงเคยรู้จัก
ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑
สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วตรัสถามตาม
ลำดับว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวไปตามความพอใจของ
ตน ๆ ว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์
แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้เราทั้งหลายพึงยังฤดูเช่นนี้
ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.
[๘๓๕] ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่
พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
จัดพลช้าง พลม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ
พวกใดยังไม่มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะ
นำมาสู่อำนาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า
เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 206
ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความ
ความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).
[๘๓๖] สุนามอำมาตย์ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดี
แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรู
ของพระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากัน
วางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวัน
มหรสพสนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบ
ใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมา
เพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์
ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรำขับร้องการประโคม
เถิด พระเจ้าข้า.
[๘๓๗] วิชยอำมาตย์ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์
แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุก
อย่างบำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิด
เพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่
ยากเลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณ
ทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้
เป็นพหูสูตรู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่าน
จะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.
[๘๓๘] พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับคำของวิชย-
อำมาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 207
ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่ง
ท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม้
เราก็ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้ง
อรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งพึงกำจัดความสงสัยของ
พวกเราได้.
[๘๓๙] อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระดำรัสของ
พระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลก
สมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้
ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ
เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาเธอ เธอจักกำจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.
[๘๔๐] พระราชาได้ทรงสดับคำของอลาตเสนา-
บดีแล้ว ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน
ท่านจงนำยานเทียมม้ามาที่นี่.
[๘๔๑] พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อัน
ล้วนแล้วไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถ
พระที่นั่งรองอันขาวผุดผ่อง ดังพระจันทร์ในราตรี ที่
ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้น
เทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็น
ม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่งเรียบประดับด้วยดอกไม้
ทอง พระกลด ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว
พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 208
งดงามดังพระจันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญขี่
บนหลังม้าถือหอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราช
มหากษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่
เดียว เสด็จลงจากราชยานแล้วทรงดำเนินเข้าไปหา
คุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มี
พราหมณ์และคฤหบดีมาประชุมกันอยู่ในพระราช-
อุทยานนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพระราชา
มิให้ลุกหนีไป.
[๘๔๒] ลำดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับ
นั่งเหนืออาสนะ อันปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อนนิ่ม
ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทรงปราศรัยไต่ถามทุกข์สุข
ว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทง
หรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑ-
บาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอาพาธ
น้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.
[๘๔๓] คุณชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราช
ผู้ทรงยินดีในวินัยว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระ-
พุทธเจ้าสบายดีอยู่ทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์
ไม่กำเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ
พาหนะยังพอเป็นไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียด
เบียนพระสรีระของพระองค์แลหรือ.
[๘๔๔] เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ทันทีนั้น
พระราชาผู้เป็นจอมทัพ ทรงใคร่ธรรมได้ตรัสถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 209
อรรถธรรมและเหตุว่าท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติ
ธรรมในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมใน
อาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยา
อย่างไร พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึง
ประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์อย่างไร พึง
ประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติ
ธรรมในชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรม
อย่างไรละโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวก
ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไฉนจึงตกลงไปในนรก.
[๘๔๕] คุณาชีวกกัสสปโคตร ได้ฟังพระดำรัส
ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชา ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของ
พระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาป
ไม่มี ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมา
ในโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจักมีที่ไหนขึ้น
ชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอ
กันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มีกำลัง
หรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่
ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือ
ใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่
ที่ไหน ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่
บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด
เป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 210
[๘๔๖] รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ
สุข ทุกข์และชีวิต ๘ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่
ขาดสูญ ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ ของสัตว์
เหล่าใด ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือ
เบียดเบียนใครๆ ไม่มี ศัสตราทั้งหลายพึงเป็นไปใน
ระหว่างรูปกาย ๓ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วย
ดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการ
ทำเช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่อง
เที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง
เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้
เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมาย
ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าแม่กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วง
ขณะนั้นไป ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์
ย่อมมีได้โดยลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลย
เขตอันแน่นอนนั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงเลยฝั่งไป ฉะนั้น.
[๘๔๗] อลาตเสนาบดีได้ฟังคำของคุณาชีวก
กัสสปโคตรแล้วได้กล่าวขึ้นว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด
คำนั้นข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติ
หนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้า
เกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นนายพราน
ฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปกรรมไว้มาก ได้
ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก
ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดี
อันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 211
[๘๔๘] ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจ
เป็นทาสเขาผู้หนึ่ง ชื่อวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้า
ไปยังสำนักของคุณาชีวกได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก
และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใจฮึดฮัด
ร้องไห้น้ำตาไหล.
[๘๔๙] พระเจ้าวิเทหรา ได้ตรัสถามนายวีชกะ
นั้นว่า สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็น
อะไรมาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้
เราทราบ.
[๘๕๐] นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้า
วิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกข-
เวทนาเลย ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณา
ฟังข้าพระพุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึง
ความสุขสบายของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อน
ข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐียินดีในคุณธรรมอยู่
ในเมืองสาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั้นอบรมตนดีแล้ว ยิน
ดีในการบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
มีการงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาป-
กรรมที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย.
ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช ข้าพระพุทธเจ้าจุติจาก
ชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสีหญิง
ขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิมแต่เวลาที่เกิดแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 212
เป็นคนยากจนอย่างนี้ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ
ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่ง แก่ท่านที่ปรารถนา ได้รักษา
อุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทุกเมื่อ ไม่ได้เบียด
เบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย กรรมทั้งปวงที่
ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้นไร้ผลเป็นแน่ ศีลนี้
เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว ข้า
พระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลง
ผู้มิได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาตเสนาบดีย่อมกำ
เอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญการพนัน ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นประตูอันเป็นเหตุไปสู่สุคติเลย
ข้าแต่พระมหาราชา เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้.
[๘๕๑] พระเจ้าอังคติราชทรงสดับคำของนาย
วีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีก
หรือวีชกะ ได้ยินว่า สุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่
นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียน
ตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาอย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้
เราก็เป็นผู้กระทำความดี ขวนขวายในพราหมณ์และ
คฤหบดีทั้งหลาย อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนือง ๆ งดเว้น
จากความยินดีในกามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.
[๘๕๒] ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายจะได้พบกัน
อีก ถ้าเราทั้งหลายจักมีการสมาคมกัน (เมื่อผลบุญ
ไม่มี จะมีประโยชน์อะไรด้วยการพบท่าน) พระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 213
วิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพระราช
นิเวศน์ของพระองค์.
[๘๕๓] ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่ง
ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์
แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทก-
ปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผย
เกิดขึ้น ใคร ๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดใน
ราชกิจ ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑
อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น
พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ท่าน
ทั้งหลายจงใส่ใจกามคุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายใน
พราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.
[๘๕๔] ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญา
พระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของ
พระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่าน
ทั้งหลายช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้ง
หลายของเราก็จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์
ฉันจะไปเฝ้าพระชนกนาถ พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัด
มาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้า
ต่างๆ สี อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราช-
กัญญา หญิงบริวารเป็นอันมาก ห้อมล้อมพระนางรุจา
ราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บน
ตั่งทอง งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 214
[๘๕๕] ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วย
เครื่องสรรพาภรณ์เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย
เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากเมฆ เสด็จเข้าสู่จันทก-
ปราสาท พระราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช
ถวายบังคมพระชนกนาถ ผู้ทรงยินดีในวินัย แล้ว
ประทับอยู่ ณ ตั่งอันวิจิตรด้วยทองคำส่วนหนึ่ง.
[๘๕๖] ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็น
พระนางรุจาราชธิดาผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย
ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพอัปสร จึงตรัสถามว่า
ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาทและยังประพาสอยู่ใน
อุทยานเล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขา
ยังนำของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูก-
หญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ชนิด
มาร้อยพวงมาลัยและยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็ก ๆ เล่น
เพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง เขา
รีบนำสิ่งของมาให้ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มีพักตร์
อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม่สิ่งนั้น
จะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.
[๘๕๗] พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัส
ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหา
ราชา กระหม่อมฉันย่อมได้สั่งของทุก ๆ อย่างในสำนัก
ของทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราช
บุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้กระ-
หม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 215
[๘๕๘] พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัสของ
พระนางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้
พินาศเสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิง
ยังรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์อยู่
ลูกหญิงไม่พึงบริโภคข้าวน้ำนั้นเป็นนิตย์ เพราะบุญ
ไม่มีจากการไม่บริโภคนั้น แม้วีชกบุรุษได้ฟังคำของ
คุณาชีวกกัสสปโคตรในกาลนั้น แล้วถอนหายใจ
ฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบเท่าที่
ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหารเลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิง
จะลำบากไปทำไม ไร้ประโยชน์.
[๘๕๙] พระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณ
งดงาม ทรงทราบกฏธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต
ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว
กราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้
ฟังมาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า
ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลง
อาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดี
และนายวีชกะสมควรจะหลง.
[๘๖๐] ขอเดชะ ส่วนพระองค์มีพระปรีชา ทรง
เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่น
กับพวกคนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้า
สัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ
การบวชของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็น
คนหลงงมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 216
ตั๊กแตนหลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้นคนเป็นอันมากผู้ไม่
รู้อะไร ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจด
ย่อมไม่มีได้ด้วยสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว
จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความ
ฉิบหายที่ยึดไว้ผิดในเบื้องต้น ก็ยากที่จะเปลื้องได้
เหมือนปลาติดเบ็ด ยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้
ฉะนั้น.
[๘๖๑] ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันจักยก
ตัวอย่างมาเปรียบถวายเพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม
บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้
ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้า
หนักเกินประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลง
ในมหาสมุทร ฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อย ๆ
ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่ง ไปจมลงในนรก ฉะนั้น
ทูลกระหม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดี
ยังไม่บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็น
เหตุให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับ
ความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนได้ทำไว้แล้วใน
ปางก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น
อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ
หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญ
ไว้แม้ทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษ
ผู้เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 217
เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง
เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้นฉะนั้น.
นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะ
ได้เสพบาปกรรม ที่ตนกระทำไว้ในปางก่อน บาป
ของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนั้น ทูล
กระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทาง
ผิดเลยเพคะ.
[๘๖๒] ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบคนเช่น
ใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีลหรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อม
ตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใด
ให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อม
เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
ได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัย
ผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง
ฉะนั้น.
นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย
เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล ย่อมเป็น
เหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่น
เหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนัก
ปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม
แม่ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังรบไม้สำหรับห่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 218
จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ
อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
[๘๖๓] แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนได้
ท่องเที่ยวมาแล้วได้ ๗ ชาติ และระลึกชาติที่ตนจุติ
จากชาตินี้แล้วจักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ ข้าแต่
พระจอมประชาชน ชาติที่ ๗ ของกระหม่อมฉันใน
อดีต กระหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรนายช่างทองใน
แคว้นมคธ ราชคฤห์มหานคร กระหม่อมฉันได้คบหา
สหายผู้ลามก ทำบาปกรรมไว้มาก เที่ยวคบชู้ภรรยา
ของชายอื่นเหมือนจะไม่ตาย กรรมนั้นยังไม่ให้ผล
เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดไว้.
ในกาลต่อมา ด้วยกรรมอื่นๆ กระหม่อมฉันนั้น
ได้เกิดในวังสรัฐเมืองโกสัมพี เป็นบุตรเดียวในสกุล
เศรษฐีผู้สมบูรณ์ มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย คนทั้งหลาย
สักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ ในชาตินั้น กระหม่อมฉัน
ได้คบหาสมาคมมิตรสหายผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้
เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต เขาได้แนะนำให้กระหม่อม-
ฉันรักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ตลอดราตรี
เป็นอันมาก กรรมนั้นยังไม่ให้ผล ดังขุมทรัพย์ที่ฝัง
ไว้ใต้น้ำ.
ครั้นภายหลัง บรรดาบาปกรรมทั้งหลาย ปรทา-
รกกรรมอันใดที่กระหม่อมฉันได้กระทำไว้ในมคธรัฐ
ผลแห่งกรรมนั้นมาถึงกระหม่อมฉันแล้ว เหมือนดื่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 219
ยาพิษอันร้ายแรง ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ครอง
วิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้ว
ต้องหมกไหม้อยู่ในโรรุวนรกสิ้นกาลนาน เพราะกรรม
ของตน กระหม่อมฉันระลึกถึงทุกข์ที่ได้เสวยในนรก
นั้น ไม่ได้ความสุขเลย กระหม่อมฉันยังทุกข์เป็นอัน
มากให้สิ้นไปในนรกนั้นนานปี แล้วเกิดเป็นลาถูกเขา
ตอนอยู่ในภินนาคตะมหานคร.
[๘๖๔] กระหม่อมฉัน (เมื่อเกิดเป็นลา) ต้อง
พาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็น
ผลกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาของผู้
อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติ
จากชาติเป็นลานั้นแล้ว ไปบังเกิดเป็นลิงในป่าใหญ่
ถูกนายฝูงผู้คะนองขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็นผลแห่ง
กรรม คือ การที่กระหม่อนฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น
ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจาก
ชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นโคในทสันนรัฐ ถูกเขา
ตอน มีกำลังแข็งแรง กระหม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่
สิ้นกาลนาน นั่นเป็นผลของกรรม คือ การที่กระหม่อม
ฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ
กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว มาบังเกิดเป็น
กระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะ
ได้เกิดเป็นมนุษย์ยากจริง ๆ นั่นเป็นผลแห่งกรรม คือ
การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 220
ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกระเทย
นั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นนางอัปสรในนันทนวัน ณ
ดาวดึงส์พิภพ มีวรรณะน่าใคร่ มีผ้าและอาภรณ์อัน
วิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำ
ขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ
ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ เมื่อกระหม่อมฉัน
อยู่ในดาวดึงส์พิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้อีก
๗ ชาติ ที่กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว
จักไปเกิดต่อไป กุศลที่กระหม่อมฉันกระทำไว้ในเมือง
โกสัมพีตามมาให้ผล กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์
พิภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ข้า
แต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันเป็นผู้อันชนทั้งหลาย
สักการะบูชาแล้วเป็นนิตย์ตลอด ๗ ชาติ กระหม่อมฉัน
ไม่พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ ข้าแต่พระองค์
ผู้ประเสริฐ ชาติที่ ๗ กระหม่อมฉันจักได้เกิดเป็น
เทวดาผู้ชาย เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิมาก เป็นผู้สูงสุด
ในหมู่เทวดา แม้วันนี้ นางอัปสรทั้งหลายก็ยังร้อย
ดอกไม้เป็นพวงมาลัยอยู่ในนันทนวัน เทพบุตรนามว่า
ชวะ สามีของกระหม่อมฉัน ยังรับพวงมาลัยอยู่ ๑๖ ปี
ในมนุษย์นี้ราวครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีในมนุษย์เป็น
คนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาดังที่ได้กราบทูลให้ทรงทราบ
มานี้ กรรมทั้งหลายย่อมติดตามไปทุก ๆ ชาติแม้ตั้ง
อสงไขย ด้วยว่ากรรมจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
(อันบุคคลทำแล้ว) ย่อมไม่พินาศไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 221
[๘๖๕] ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ ชาติไป
ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาด
แล้วเว้นเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษ
ทุก ๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามีเหมือนนางเทพอัปสร
ผู้เป็นบาทบริจาริกา ยำเกรงพระอินทร์ฉะนั้น ผู้ใด
ปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ ก็
พึงเว้นบาปทั้งหลาย ประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง
สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยกาย
วาจา ใจ มีปัญญาเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ของตน.
นรชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ
มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง นรชนเหล่านั้นได้สั่งสม
กรรมดีไว้ในปางก่อนแล้วโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้ง
ปวงล้วนมีกรรมเป็นของตัว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์ทรงพระราชดำริด้วยพระองค์เองเถิด ข้า
แต่พระจอมชน พระสนม (ผู้ทรงโฉมงดงาม) ปาน
ดังนางเทพอัปสรผู้ประดับคลุมกายด้วยร่างแหทอง
เหล่านี้ พระองค์ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร
พระนางรุจาราช กัญญา ทรงยังพระเจ้าอังคติราช
พระชนกนาถให้ทรงยินดี พระราชกุมารีผู้มีวัตรอัน
ดีงามกราบทูลทางสุคติแก่พระชนกนาถ ดังหนึ่งบอก
ทางให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวาย
โดยนัยต่าง ๆ ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 222
[๘๖๖] ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพู
ทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราช ผู้ทรงมีความเห็นผิด
จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารท-
มหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์แห่ง
พระเจ้าวิเทหราช พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษี
นั้นมาถึง จงนมัสการ.
[๘๖๗] ครั้งนั้น พระราชาทรงหวาดพระทัย
เสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารทฤาษี ได้
ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ท่านมีผิวพรรณงามดังเทวดา ส่อง
รัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ ท่านมาจากไหน
หนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตร
แก่ข้าพเจ้า คนในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านอย่างไรหนอ.
[๘๖๘] อาตมภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง ส่อง
รัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ มหาบพิตรตรัส
ถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้
ทรงทราบ คนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพโดยนาม
นารทะ และโดยโคตรว่ากัสสปะ.
[๘๖๙] สัณฐานของท่านและการที่ท่านเหาะไป
และยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ดูก่อนท่านนารทะ
ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เออเพราะเหตุอะไร
ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้.
[๘๗๐] คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑
ธรรมะ ๑ ทมะ ๑ จาคะ ๑ อาตมภาพได้ทำไว้แล้วใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 223
ภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อาตมาภาพเสพมาดีแล้วนั้น
แล อาตมภาพจึงไปไหน ๆ ได้ตามความปรารถนา
เร็วทันใจ.
[๘๗๑] เมื่อท่านบอกความสำเร็จแห่งบุญ ชื่อว่า
ท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าแลเป็นจริงอย่างท่านกล่าว
ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี.
[๘๗๒] ขอถวายพระพร ข้อใดพระองค์ทรง
สงสัย เชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด
อาตมภาพจะถวายวิสัชนาให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัย
ด้วยนัย ด้วยญายธรรม และด้วยเหตุทั้งหลาย.
[๘๗๓] ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อ
ความนี้กะท่าน ท่านถูกถามแล้ว อย่าได้กล่าวมุสาแก่
ข้าพเจ้า ที่คนเขาพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี
ปรโลกมีนั้น เป็นจริงหรือ.
[๘๗๕] ที่คนเขาพูดกันว่าเทวดามี มารดาบิดามี
และปรโลกมีนั้นเป็นจริงทั้งนั้น แต่นรชนผู้หลงงมงาย
ใคร่ในกามทั้งหลายจึงไม่รู้ปรโลก.
[๘๗๕] ดูก่อนท่านนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลก
มีจริง สถานที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้ว
ก็ต้องมี ขอท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า
ในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านพันหนึ่งในปรโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 224
[๘๗๖] ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรทรงมีศีล
ทรงรู้ความประสงค์ของสมณพราหมณ์ อาตมภาพก็จะ
ให้มหาบพิตรทรงยืมสักห้าร้อน แต่มหาบพิตรหยาบช้า
ทรงจุติจากโลกนี้แล้ว จะต้องไปอยู่ในนรก ใครจะไป
ทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดในโลกนี้เป็นผู้
ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว เกียจคร้าน มีกรรมอัน
หยาบช้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น เพราะ
จะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น ส่วนบุคคลผู้ขยัน
หมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ คนทั้งหลายรู้แล้ว
ย่อมเอาโภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า ผู้นี้ทำ
การงานเสร็จแล้ว พึงนำมาใช้ให้.
[๘๗๗] ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไป
จากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ใน
นรกนั้น ซึ่งถูกฝูงการุมยื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะ
ไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ตกอยู่
ในนรก ถูกฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงสุนัขรุมกัดกิน ตัวขาด
กระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม.
[๘๗๘] ในโลกันตนรกนั้นมืดที่สุด ไม่มีพระ-
จันทร์และพระอาทิตย์ โลกันตนรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อ
น่ากลัว กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์
คนไรเล่า จะพึงเที่ยวไปในสถานที่เช่นนั้นได้.
[๘๗๙] ในโลกันตนรกนั้นมีสุนัข ๒ เหล่า คือ
ด่างเหล่า ๑ ดำเหล่า ๑ ล้วนมีร่างกายกำยำ ล่ำสัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 225
แข็งแรง ย่อมพากันมากัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้
ไปตกอยู่ในโลกันตนรก ด้วยเขี้ยวเหล็ก ใครเล่าจะไป
ทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ใน
นรก ถูกสุนัขอันทารุณร้ายกาจ นำทุกข์มาให้ รุม
กัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.
[๘๘๐] และในนรกอันร้ายกาจ พวกนายนิรย-
บาลชื่อกาลูปกาละ ผู้เป็นข้าศึก พากันเอาดาบและ
หอกอันคมกริบมาทิ่มแทงนรชนผู้กระทำกรรมชั่วไว้ใน
ภพก่อน ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก
กะมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงที่ท้อง ที่สีข้างพระอุทรพรุน
วิ่งวุ่นอยู่ในนรก ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหล
โทรมได้.
[๘๘๑] ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนต่าง ๆ ชนิด
คือ หอก ดาบ แหลน หลาว มีประกายวาวดังถ่าน
เพลิง ตกลงบนศีรษะ สายอัสนีศิลาอันแดงโชน ตก
ต้องสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบช้า และในนรกนั้นมีลม
ร้อนยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับ
ความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์พัน
หนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งทรงกระสบกระส่าย
วิ่งไปมาหาที่ซ่อนเร้นมิได้.
[๘๘๒] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน
ปรโลก กะมหาบพิตรผู้ถูกเทียมในรถวิ่งไปวิ่งมา ต้อง
เหยียบแผ่นดินอันลุกโพลงถูกแทงด้วยประตักอยู่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 226
[๘๘๓] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน
ปรโลกกะมหาบพิตรซึ่งทนไม่ได้ วิ่งไปขึ้นภูเขาอัน
ดาดไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง
ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.
[๘๘๔] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน
ปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งต้องวิ่งขึ้นเหยียบถ่านเพลิง
กองเท่าภูเขา ลุกโพลงน่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่
ไหวร้องครวญครางอยู่ได้.
[๘๘๕] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เค็มไปด้วยหนาม
เหล็ก คมกริบ กระหายเลือดคน หญิงผู้ประพฤติล่วง
สามี และชายผู้คบหากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น ลูกนาย
นิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทง
ให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์ จำนวนนั้น
กะมหาบพิตร ซึ่งต้องขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหล
เปรอะเปื้อน มีกายเหี้ยมเกรียมหนังปอกเปิก กระสับ
กระส่ายเสวยเวทนาอย่างหนัก ใครเล่าจะไปขอทรัพย์
จำนวนเท่านั้นกะพระองค์ผู้หอบแล้วหอบอีก อันเป็น
โทษของบุรพกรรม หนึ่งปอกเปิกเดินทางผิดได้.
[๘๘๖] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็ก
คมกริบดังดาบ กระหายเลือดคน ใครเล่าจะไปทวง
ทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่งขึ้นอยู่บน
ต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบใบเหล็กอันคมดังดาบ ก็ถูก
ใบงิ้วอันคมนั้นบาด มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือด
ไหลโทรมได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 227
[๘๘๗] ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะ
มหาบพิตร ซึ่งเดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้ว มีใบเป็น
ดาบ ไปพลัดตกลงในแม่น้ำเวตรณีได้.
[๘๘๙] ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด
ข้าพเจ้าหลงสำคัญผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤาษีข้าพเจ้า
ได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้วย่อมร้อนใจ เพราะกลัว
มหาภัย ท่านฤาษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
ดังหนึ่งน้ำสำหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เกาะเป็นที่
อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปสำหรับส่องสว่าง
ในที่มืดฉะนั้นเถิด ท่านฤาษี ขอท่านจงสอนอรรถ
และธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำ
ความผิดไว้ส่วนเดียว ข้าแต่ท่านนารทะ ขอท่านจง
บอกทางบริสุทธิแก่ข้าพเจ้า โดยที่ข้าพเจ้าจะไม่พึงตก
ไปในนรกด้วยเถิด.
[๘๙๐] พระราชา พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ
ท้าวเวสสามิตระ ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าว
อุสสินนระ ท้าวสีวิราชและพระราชาพระองค์อื่น ๆ ได้
ทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์
ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้
มหาบพิตรดีฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประ-
พฤติธรรม ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศ
ภายในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่าใครหัว
ใครกระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 228
เครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จักนุ่งผ้าสีต่าง ๆ
ตามปรารถนา ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้า
อย่างเนื้ออ่อนอย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้
ในพระนครของพระองค์ ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า
มหาบพิตรอย่าได้ใช้คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชรา
เหมือนดังก่อน และจงพระราชทานเครื่องบริหารแก่
บุคคลที่เป็นกำลัง เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.
[๘๙๑] มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของ
พระองค์ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นนายสารถี กระปรี้
กระเปร่า (เพราะปราศจากถิ่นมิทธะ) อันมีอวิหิงสา
เป็นเพลาที่เรียบร้อยดี มีการบริจาคเป็นหลังคามีการ
สำรวมเท่าเป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการ
ความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอัน
บริบูรณ์ มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นเข้าหน้าไม้
ความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอัน
บริบูรณ์ มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้
สนิท มีการกล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยง
เกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มี
ศรัทธาและอโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตน
และกราบไหว้เป็นกูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ
มีการสำรวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธ
เป็นอาการไม่กระเทือน มีกุศลธรรมเป็นเศวตฉัตร มี
พาหุสัจจะเป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 229
ความคิดเครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้า
เป็นไม้ค้ำ มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก
มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่อง
ลาด มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติ
ของนักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบัง
เหียน มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเป็นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็น
เครื่องนำทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด
ส่วนความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญา
เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของ
มหาบพิตรที่กำลัง แล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส
พระองค์นั้นแลเป็นสารภี ถ้าความประพฤติชอบและ
ความเพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่
ทุกอย่างจะไม่นำไปบังเกิดในนรก.
[๘๙๒] อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนาม-
อำมาตย์เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นพระสารีบุตร
วีชกบุรุษเป็นพระโมคคัลลานะ คุณาชีวกผู้อเจลก
เป็นสุนักขัตตลิจฉวีบุตร พระนางรุจาราชธิดาผู้ทรง
ยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์ พระเจ้า
อังคติราชผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ
มหานารทพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลาย
จงทรงชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.
จบมหานารทกัสสปชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 230
๘. อรรถกถาพรหมนารทชาดก๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ในสวนตาลหนุ่มทรงปรารภถึงการทรง
ทรมานท่านอุรุเวลกัสสปตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ราชา
วิเทหาน ดังนี้
ดังจะกล่าวโดยพิศดาร ในกาลที่พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมจักร
อันประเสริฐ ทรงทรมานชฎิล ๓ คนพี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปชฎิลเป็นต้น แวด
ล้อมไปด้วยปุราณชฎิล ๑,๐๐๐ คน เสด็จไปยังสวนตาลหนุ่ม เพื่อพระประสงค์
จะทรงเปลื้องปฏิญญา ที่ได้ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินแห่ง
มคธรัฐ ในกาลนั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธรัฐ พร้อมด้วย
บริษัทประมาณ ๑๒ นหุต เสด็จมาถวายบังคมพระทศพลแล้วประทับนั่งอยู่
ขณะนั้น พวกพราหมณ์คหบดีในภายในราชบริษัท เกิดความปริวิตกขึ้นว่า
ท่านพระอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณโคดม หรือ
พระมหาสมณโคดมประพฤติพรหมจรรย์ในท่านพระอุรุเวลกัสสป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ
พวกบริษัทเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จักต้องประกาศภาวะที่
กัสสปมาบวชในสำนักของเราให้พวกนี้รู้ ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถาว่า
กัสสปผู้อยู่ในอุรุเวลประเทศท่านเคยเป็นอาจารย์
สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้ผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่าน
เห็นอะไรจึงได้ละไฟที่เคยบูชาเสีย เราถามเนื้อความ
นั้นละท่าน อย่างไร ท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่าน
เสีย.
๑. บาลีเป็น มหานารทกัสสปชาดก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 231
ฝ่ายพระเถระ ก็ทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่
จะแสดงเหตุ จึงกราบทูลว่า
ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญรูป เสียง กลิ่น
รส และหญิงที่น่าใคร่ทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า ของ
น่ารักใคร่นั้น ๆ เป็นมลทินตกอยู่ในอุปกิเลสทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวง
และการบูชาเพลิง ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันระงับ
แล้วไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง อันเป็นเหตุก่อให้เกิด
ทุกข์ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ
มิใช่วิสัยที่ผู้อื่นจะนำมาให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่แปรปรวน
กลายเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่
ยินดีในการเซ่นสรวงและการบูชาไฟ.
ครั้นพระอุรุเวลกัสสปกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว เพื่อจะประกาศภาวะที่ตน
เป็นพุทธสาวก จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาทของพระตถาคต ทูลประกาศว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก
ของพระองค์ ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ สูงชั่วลำตาล ๑
ครั้งที่ ๒ สูงชั่ว ๒ ลำตาล จนถึงครั้งที่ ๗ สูง ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวาย
บังคมพระตถาคต นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น
ก็ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้ามีอานุ-
ภาพมาก ธรรมดาผู้มีความเห็นผิดที่มีกำลังถึงอย่างนี้ เมื่อสำคัญตนว่า เป็น
พระอรหันต์ แม้ท่านพระอุรุเวลกัสสป พระองค์ก็ทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิ
ทรมานเสียได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 232
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน
อุบาสกทั้งหลาย การที่เราถึงซึ่งสัพพัญญุตญาน ทรมานอุรุเวลกัสสปนี้ ในบัดนี้
ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับครั้งก่อน แม้ในเวลาที่เรายังมีราคะโทสะและโมหะ เป็น
พรหมชื่อว่า นารทะ ทำลายข่ายคือทิฏฐิของเธอ กระทำเธอให้หมดพยศ
ดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพ อันบริษัทนั้นกราบทูลอาราธนาจึงทรงนำอดีตนิทาน
มาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้า-
อังคติราช เสวยราชสมบัติในกรุง มิถิลามหานคร ณ วิเทหรัฐ พระองค์
ทรงตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา พระองค์มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง ทรง
พระนามว่า พระนางรุจาราชกุมารี มีพระรูปโฉมสวยงาม ชวนดู ชวนชม
มีบุญมาก ได้ทรงตั้งปณิธานความปรารถนาไว้สิ้นแสนกัป จึงได้มาเกิดในพระ-
ครรภ์ของพระอัครมเหสี ส่วนพระเทวีนอกนั้นของพระองค์ ๑๖,๐๐๐ คน ได้
เป็นหญิงหมันพระนางรุจาราชกุมารีนั้น จึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ยิ่งนัก
พระองค์ได้ทรงจัดผ้าเนื้อละเอียดอย่างยิ่ง หาค่ามิได้พร้อมกับผอบดอกไม้ ๒๕
ผอบ อันเต็มไปด้วยบุปผาชาตินานาชนิด ส่งไปพระราชทานพระราชธิดา ทุกๆ
วัน ด้วยทรงพระประสงค์จะให้พระราชธิดาทรงประดับพระองค์ด้วยของเหล่านี้
และของเสวยที่จัดส่งไปประทานนั้นเป็นขาทนียะและโภชนียะอันหาประมาณ
มิได้ ทุกกึ่งเดือนได้ทรงส่งพระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ ไปพระราชทาน
พระราชธิดา โดยตรัสสั่งว่า ส่วนนี้ลูกจงให้ทานเถิด และพระองค์มีอำมาตย์อยู่
๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑
ครั้นถึงคืนกลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบานเทศกาลมหรพ มหาชนพากัน
ตบแต่งพระนครและภายในพระราชฐานไว้อย่างตระการปานประหนึ่งว่าเทพนคร
จึงพระเจ้าอังคติราชเข้าโสรจสรงทรงลูบไล้พระองค์ ประหนึ่งเครื่องราชอลังการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 233
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จประทับนั่งเหนือราชอาสน์ บนพื้นปราสาท
ใหญ่ริมสีหบัญชรไชยมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ทอดพระเนตรดูจันทมณฑลอัน
ทรงกรดหมดราคีลอยเด่นอยู่ ณ พื้นคัดนานต์อากาศ จึงมีพระราชดำรัสถาม
เหล่าอำมาตย์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีอันบริสุทธิ์เช่นนี้น่ารื่นรมย์หนอ
วันนี้เราพึงเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสว่า
พระเจ้าอังคติผู้เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ
พระองค์มีช้างม้าพลโยธามากมายเหลือที่จะนับ ทั้ง
พระราชทรัพย์ก็เหลือหลาย ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญขึ้น
๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบาน ตอนปฐมยาม
พระองค์ทรงประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้เป็น
พหูสูตเฉลียวฉลาด ผู้ทรงเคยรู้จัก ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่
อีก ๓ นาย คือวิชัยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑
อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วจึงตรัสถามตามลำดับว่า เธอจง
แสดงความเห็นของตนมาว่า ในวันกลางเดือน ๑๒
เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้ พวกเรา
จะยังฤดูเช่นนี้ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตโยโค ความว่า พระองค์ ประกอบ
ด้วยพลช้างมากมายเป็นต้น. บทว่า อนนฺตพลโปริโส ได้แก่ พระองค์มี
พลโยธามากมายเหลือที่นับ. บทว่า อนาคเต ความว่า ยังไม่ถึง คือ ยังไม่ล่วง
ถึงที่สุด. บทว่า จาตุมาสา ได้แก่ ในราตรีอันเป็นวันสุดท้าย แห่งเดือนอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 234
มีในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า โกมุทิยา เมื่อดอกโกมุทบาน. บทว่า มิตปุพฺเพ
ความว่า มีปกติกระทำยิ้มแย้มก่อนแล้วกล่าวในภายหลัง. บทว่า ตมนุปุจฺฉิ
ความว่า ตรัสถามตามลำดับกะอำมาตย์แต่ละคนในบรรดาอำมาตย์เหล่านั้น.
บทว่า ปจฺเจก พฺรูถ สรุจึ ความว่า พวกเธอทั้งหมด จงแสดงเรื่องที่
เหมาะสมแก่อัธยาศัยของตน ๆ อันน่าชอบใจของตนแต่ละอย่างแก่เรา. บทว่า
โกมุทชฺชา ตัดเป็น โกมุที อชฺช. บทว่า ชุณฺห ความว่า ดวงจันทร์
อันมีในคืนเดือนหงายโผล่ขึ้นแล้ว. บทว่า พฺยปหต ตม ความว่า แสง
จันทร์นั้นกำจัดมืดทั้งปวงเสียได้. บทว่า อุตุ ความว่า วันนี้ เราจะยังราตรี
คือฤดูเห็นปานนี้ ให้เป็นอยู่ด้วยความยินดีอย่างไรหนอ.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามพวกอำมาตย์ทั้งหลาย อำมาตย์เหล่า
นั้น ถูกพระองค์ตรัสถามแล้ว จึงกราบทูลถ้อยคำอันสมควรแก่อัธยาศัยของ
ตน ๆ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่พระ
ราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงจัดพลช้าง พล-
ม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ พวกใดยังไม่
มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะนำมาสู่อำนาจ
นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายจะได้
ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง
รื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความคิดของข้าพระ
พุทธเจ้า).
สุนามอำมาตย์ ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดีแล้ว
ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรูของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 235
พระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากันวาง
ศาสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวัน
มหรสพ สนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบ
ใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมา
เพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์
ด้วยกามคุณ และการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม
เถิดพระเจ้าข้า.
วิชยอำมาตย์ ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์แล้วได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุกอย่าง
บำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิดเพลิน
ด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่ยาก
เลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์ด้วยกามคุณ
ทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้
เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่าน
จะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.
พระเจ้าอังคติราช ได้ทรงสดับคำของวิชยอำ-
มาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้
เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งท่าน
จะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม่เราก็
ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหา ใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 236
อรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านพึงกำจัดความสงสัย
ของพวกเราได้.
อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระราชดำรัสของพระเจ้า
วิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลกสมมติว่า
เป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้ชื่อว่าคุณะ
ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ เป็นเจ้าหมู่
เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไปหาเธอ เธอ
จักขจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.
พระราชา ได้ทรงสดับคำของอลาตเสนาบดีแล้ว
ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน ท่านจงนำ
ยานเทียมม้ามาที่นี่.
บทว่า หฏฺ แปลว่า ยินดีร่าเริง. บทว่า โอชินามเส ความว่า
พวกเราจะเอาชัยชนะ ผู้ที่พวกเราไม่ชนะ นี้เป็นอัธยาศัยของเราแล พระราชา
ทรงทราบถ้อยคำท่าน ไม่ทรงคัดค้าน ไม่ทรงยินดี. บทว่า เอตทพฺรวิ ความว่า
สุนามอำมาตย์ ได้เห็นพระราชาผู้ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้านคำของอลาต
เสนาบดีคิดว่า นี้ไม่เป็นอัธยาศัยของนักรบ เราจะยึดเอาความคิดของท่าน แล้ว
จักสรรเสริญความยินดียิ่งในกามคุณ จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า กามทั้งหมด
เป็นของท่าน. บทว่า วิชโย เอตทพฺรวิ ความว่า พระราชาทรงสดับคำของ
สุนามอำมาตย์แล้ว ก็ไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้าน. ลำดับนั้นวิชัยอำมาตย์จึงคิด
ว่าพระราชานี้สดับคำของท่านทั้งสองนี้แล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ทีเดียว ธรรมดาบัณฑิต
ทั้งหลาย เป็นนักฟังธรรม เราจะสรรเสริญการฟังธรรมแก่พระองค์ ดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สพฺเพ กามา กามทั้งปวงดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตวมุปฏฺิตา แปลว่า บำรุงบำเรอพระองค์. บทว่า โมทิตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 237
ความว่า เมื่อท่านมีความปรารถนาจะบันเทิง ยินดียิ่ง พระองค์จะได้กามคุณ
เหล่านี้โดยไม่ยากเลย. บทว่า เนต จิตฺตมต มม ความว่า ชื่อว่า ความ
อภิรมย์ด้วยกามคุณของท่านนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงมติของข้าพระองค์ ความคิด
ของข้าพระองค์มิได้มุ่งไปในข้อนี้. บทว่า โย นชฺชา ตัดบทเป็น โย โน
อชฺช. บทว่า อตฺถธมฺมวิทู ได้แก่ รู้ซึ่งอรรถแห่งบาลีและธรรมแห่งบาลี.
บทว่า อิเส ได้แก่ ฤาษี คือผู้มีคุณอันแสวงหาแล้ว. บทว่า องฺคติมพฺรวิ
ตัดบทเป็น องฺคติ อพฺรวิ. บทว่า มยฺห เจตว รุจฺจติ ความว่า แม้
ข้าพเจ้าก็ชอบใจข้อนั้นเหมือนกัน. บทว่า สพฺเพว สนฺตา ความว่า พวก
ท่านทั้งหมดมีอยู่ในที่นี้ จงกระทำ คือจงคิดซึ่งมติ. บทว่า อลาโต เอตทพฺรวิ
ความว่า อลาตเสนาบดี ฟังถ้อยคำของพระราชานั้นแล้ว คิดว่า อาชีวก ผู้
ชื่อว่า คุณะ ผู้เข้าสู่ตระกูลของเรานี้ อยู่ในราชอุทยาน เราจะสรรเสริญ อาชีวก
นั้น กระทำให้เป็นผู้เข้าถึงราชตระกูล จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า อตฺถาย ดังนี้.
บทว่า ธีรสมฺมโต แปลว่า สมมติว่าเป็นบัณฑิต. บทว่า กสฺสปโคตฺตาย
ความว่า ผู้นี้เป็นกัสสปโคตร. บทว่า สุโต ได้แก่ มีพุทธพจน์อันสดับแล้ว
มาก. บทว่า คณี แปลว่า หมู่มาก. บทว่า โจเทสิ แปลว่า ได้สั่งบังคับ
แล้ว.
พระราชา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อันล้วนแล้ว
ไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถพระที่นั่งรอง
อันขาวผุดผ่อง ดังพระจันทร์ในราตรี ที่ปราศจาก
มลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้นเทียมด้วยม้า
สินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็นม้ามีฝีเท้าเร็ว
ดังลมพัด วิ่งเรียบ ประดับด้วยดอกไม้ทอง พระกลด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 238
ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว พระเจ้าวิเทหราช
พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อมงดงามดังพระ-
จันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญ ขี่บนหลังม้าถือ
หอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราชมหากษัตริย์พระ
องค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่เดียว เสด็จลง
จากราชยานแล้ว ทรงดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก พร้อม
ด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มีพราหมณ์และคฤหบดี
มาประชุมกันอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พราหมณ์และ
คฤหบดีเหล่านั้น พระราชามิให้ลุกหนีไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ยาน ความว่า พวกนาย
สารถี ได้จัดพระราชยาน ถวายแด่พระราชานั้น. บทว่า ทนฺต ได้แก่ อัน
ล้วนแล้วไปด้วยงา. บทว่า รูปิยปกฺขร แปลว่า มีกระพองเป็นเงิน. บทว่า
สุกฺกมฏฺปริวาร ความว่า มีรถอันบริสุทธิ์ เกลี้ยงเกลา ไม่หยาบเป็น
เครื่องแห่แหน. บทว่า โทสินา มุข ความว่า เป็นเสมือนพระจันทร์เพ็ญ
ประหนึ่งหน้าแห่งราตรี ที่ปราศจากมลทินโทษ. บทว่า ตตฺราสุ แปลว่า
ได้มีในรถนั้น. บทว่า กุมุทา แปลว่า เป็นเสมือนสีแห่งโกมุท. บทว่า
สินฺธวา ได้แก่ ม้าที่มีฝีเท้าเร็วเชื่อชาติม้าสินธพ. บทว่า อนีลุปฺปสมุปฺ-
ปาตา ได้แก่ ม้าที่มีกำลังเสมือนกับกำลังลม. บทว่า เสตจฺฉตฺต แม้
ฉัตรที่เขายกขึ้นไว้บนรถนั้นก็มีสีขาว. บทว่า เสตรโถ ความว่า แม้รถนั้น
ก็มีสีขาวเหมือนกัน. บทว่า เสตสฺสา ความว่า แม้ม้าก็มีสีขาว บทว่า
เสตวีชนี ความว่า แม้พัดวีชนีก็ขาว. บทว่า นีย ความว่า พระเจ้าวิเทหราช
แวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จไปด้วยรถเงินนั้น ย่อมงดงามดังจันทเทพ
บุตร. บทว่า นรา นรวราธิป ความว่า เป็นอธิบดีแห่งนรชนผู้ประเสริฐ
เป็นพระราชา ยิ่งกว่าพระราชา. บทว่า โส มุหุตฺตว ยายิตฺวา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 239
พระราชานั้น เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน โดยครู่เดียวเท่านั้น. บทว่า ปตฺติ-
คุณมุปาคมิ ความว่า ทรงพระราชดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก. บทว่า เยปิ
ตตฺถ ตทา อาสุ ความว่าในกาลนั้น พวกพราหมณ์คฤหบดีทั้งหลายไปก่อน
ไปในอุทยานนั้น เข้าไปนั่งใกล้อาชีวกนั้น. บทว่า น เต อปนยี ความว่า
พระราชาตรัสว่า โทษเป็นของพวกเราเท่านั้น พวกเรามาภายหลัง อย่าวิตกไป
เลย จึงไม่ให้พวกพราหมณ์และคฤหบดี กระทำโอกาส คือลุกขึ้นหลีกไป
เพื่อประโยชน์แก่พระราชา. บทว่า ภูมิมาคเต ความว่า เขาเหล่านั้น ผู้มาสู่
พื้นที่ประชุม อันพระราชามิให้ลุกขึ้นแล้วหนีไป.
พระเจ้าอังคติราชนั้น แวดล้อมไปด้วยบริษัท ผสมกันนั้นแล้วประทับ
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทรงกระทำปฏิสันถาร.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้น พระเจ้าอังคติราชนั้น เสด็จเข้าไป
ประทับนั่งบนอาสนะ อันปูลาดพระยี่ภู่ มีสัมผัสอัน
อ่อนนุ่ม ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทรงปราศรัย ถามทุกข์
สุขว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทง
หรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยมิฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑ-
บาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอา-
พาธน้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.
คุณาชีวก ทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราช ผู้ทรง
ยินดีในวินัยว่า ข้าแต่มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าสบาย
ดีทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์ไม่กำเริบหรือ
ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ พาหนะยังพอเป็น
ไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียดเบียนพระสรีระของ
พระองค์แลหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 240
เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ลำดับนั้น พระ-
ราชาผู้เป็นจอมทัพทรงใคร่ธรรม ได้ตรัสถามอรรถ-
ธรรมและเหตุว่า ท่านกัสสป นรชนพึงประพฤติธรรม
ในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมในอาจารย์
อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยาอย่างไร
พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึงประพฤติ
ธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติธรรมใน
ชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรมอย่างไร ละ
โลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวกผู้ไม่ตั้งอยู่
ในธรรมไฉนจึงตกลงไปใต้นรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุทุกา ภิสิยา ความว่า ด้วยพระยี่ภู่
ซึ่งมีสัมผัสสบายอ่อนนุ่ม. บทว่า มุทุจิตฺตกสณฺเต ความว่า บนเครื่อง
ลาดอันวิจิตร มีสัมผัสสบาย. บทว่า มุทุปจฺจตฺถเต ความว่า อันลาดด้วย
เครื่องลาดอันอ่อนนุ่ม. บทว่า สมฺโมทิ ความว่า ได้กระทำสัมโมทนียกถา
กับอาชีวก. บทว่า ตโต ความว่า ถัดจากการนั่งนั่นแล ได้กล่าวสาราณียกถา.
บทว่า กจฺจิ ยาปนีย ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอยู่ดีหรือ ท่าน
สามารถยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยอันประณีตอยู่หรือ. บทว่า วาตานม-
วิยตฺตตา ความว่า วาโยธาตุในร่างกายของท่านเป็นไปอย่างสบายอยู่หรือ โรค
ลมมิได้กำเริบหรือ อธิบายว่า ลมที่เกิดขึ้นเป็นพวกในร่างกายนั้น ๆ ของท่าน
ไม่เบียดเบียนท่านหรือ. บทว่า อกสิรา ได้แก่ หมดทุกข์. บทว่า วุตฺติ
ได้แก่ ความเป็นไปแห่งชีวิต. บทว่า อปฺปาพาโธ ความว่า เว้นจาก
อาพาธอันหักรานอิริยาบถ. ด้วยบทว่า จกฺขุ นี้ ท่านถามว่า อินทรีย์มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 241
จักขุนทรีย์เป็นต้นของท่านไม่เสื่อมหรือ. บทว่า ปฏิสมฺโมทิ ความว่า ท่าน
กล่าวตอบด้วยสัมโมทนียกถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเมต คำที่
ท่านกล่าวว่า ลมมิได้กำเริบเสียดแทงเป็นต้น ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแล.
บทว่า ตทูภย ความว่า แม้คำที่ท่านกล่าวว่า ท่านมีอาพาธน้อย จักษุไม่
เสื่อมหรือ ทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นอย่างนั้น เหมือนกัน. บทว่า น พลียเร ได้แก่
ไม่ครอบงำ ไม่กำเริบ ด้วยบทว่า อนนฺตรา นี้ ท่านถามปัญหาในลำดับ
แต่ปฏิสันถาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถ ธมฺมญฺจ ายญฺจ ได้แก่
อรรถแห่งบาลี ธรรมแห่งบาลี และอรรถธรรมอันประกอบไปด้วยเหตุ ก็
อำมาตย์นั้นเมื่อถามว่า กถ ธมฺมญฺจเร จึงถามอรรถธรรมและความประพฤติ
ดีนี้ว่า ขอท่านจงบอก อรรถแห่งบาลี ธรรมแห่งบาลี และอรรถธรรมอัน
สมควรแก่เหตุ อันแสดงการปฏิบัติในมารดาและบิดาเป็นต้นแก่ข้าพเจ้า. บทว่า
กถญฺเจเก อธมฺมฏฺา ความว่า ชนบางพวกตั้งอยู่ในอธรรม อย่างไรคน
บางพวกจึงเอาหัวลงตกสู่นรก และเอาเท้าขึ้น ตกไปในอบาย.
ก็ปัญหานั้นเป็นปัญหาที่พระราชาควรจะตรัสถามผู้มีศักดิ์ใหญ่คน
หลังๆ เพราะไม่ได้คำตอบจากคนก่อน ๆ ในบรรดาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระมหาโพธิสัตว์ แต่กลับตรัสถาม
คุณาชีวก ผู้เปลือยกาย หาสิริมิได้ เป็นคนอันธพาล ไม่รู้ปัญหาอะไรเลย.
คุณาชีวกนั้น ครั้นถูกถามแล้วอย่างนี้ จึงไม่เห็นทางพยากรณ์อันเหมาะสมแก่
ราชปุจฉา ซึ่งเป็นประหนึ่งเอาท่อนไม้ตีโคที่กำลังเที่ยวไปอยู่ หรือเหมือน
คราดหยากเยื่อทั้งด้วยจวักฉะนั้น แต่ได้ทูลขอโอกาสว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอพระองค์จงสดับเถิด แล้วเริ่มตั้งมิจฉาวาทะของตน.
พระศาสดาเธอจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 242
คุณาชีวกกัสสปโคตร ได้ฟังพระดำรัสของพระ-
เจ้าวิเทหราช ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอ
พระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของพระองค์ ผลแห่ง
ธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาปไม่มี ขอเดชะ
ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมาโลกนี้ ปู่ย่าตายาย
ไม่มี มารดาบิดาจะมีที่ไหน ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ไม่มี
ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอกันหมด ผู้ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี กำลังหรือความเพียรไม่มี
บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ที่เกิดตาม
กันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่ สัตว์ย่อมได้
สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่ที่ไหน ผลทาน
ไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่บัญญัติไว้
คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด เป็นผู้ไม่มี
อำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธาคโต ความว่า ชื่อว่าผู้จากปรโลกนั้น
มาสู่โลกนี้ย่อมไม่มี. บทว่า ปิตโร วา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เฉพาะปิยชนทั้งหลาย มีปู่ย่าตายายเป็นต้นย่อมไม่มี เมื่อท่านเหล่านั้นไม่มี
มารดาจะมีแต่ที่ไหน บิดาจะมีแต่ที่ไหน ?. บทว่า ยถา โหถ วิโย ตถา
ความว่า พวกสัตว์เป็นเหมือนเรือน้อยห้อยท้ายตามเรือใหญ่ไปฉะนั้น. ท่าน
กล่าวว่า เรือน้อยที่ผูกห้อยท้ายตามหลังเรือใหญ่ไปฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมติดตามไปอย่างแน่นอนทีเดียวถึง ๘๔ กัป. บทว่า อวโส
เทว วีริโย ความว่า เมื่อผลของทานไม่มีด้วยอาการอย่างนี้ คนพาลคนใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 243
คนหนึ่งย่อมชื่อว่าให้ทาน ท่านแสดงไว้ว่าคนพาลนั้นไม่มีอำนาจไม่มีความเพียร
ย่อมให้ทานโดยอำนาจ คือโดยกำลังของตนหาได้ไม่ แต่ย่อมเชื่อต่อคนอันธ-
พาลเหล่าอื่น จึงให้ด้วยสำคัญว่า ผลทานย่อมมี. บทว่า พาเลหิ ทาน
ปญฺญฺตฺต ความว่า คนพาลเท่านั้นย่อมให้ ทานนั้นบัณฑิตย่อมคอยรับทานที่
คนอันธพาลบัญญัติไว้ คืออนุญาตไว้ว่า ควรให้ทานแล.
ครั้นคุณาชีวกทูลพรรณนาภาวะที่ทานเป็นของไม่มีผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เพื่อพรรณนาถึงบาปที่ไม่มีผล จึงกล่าวว่า
รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข
ทุกข์และชีวิต ๗ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ
ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ ของสัตว์เหล่าใด
ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือเบียดเบียน
ใด ๆ ไม่มี ศาสตราทั้งหลายพึงเป็นรูปในระหว่างรูปกาย
๗ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบอันคม
ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการทำเช่นนั้น
ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่องเที่ยวอยู่ใน
วัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่
ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้ เมื่อยัง
ไม่ถึงกาลนั้นแม้จะประพฤติความดีมากมาย ก็บริสุทธิ์
ไม่ได้ ถ้าแม้กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วงขณะนั้นไป
ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้โดย
ลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลยเขตอันแน่นอน
นั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงฝั่งไปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 244
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายา แปลว่า หมู่. บทว่า อวิโกปิโน
ได้แก่ ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้. บทว่า ชีเว จ ได้แก่ ชีวะ (ชีวิต) ปาฐะ
ว่า ชีโว จ ดังนี้ก็มีอรรถเป็นอันเดียวกัน. บทว่า สตฺติเม กายา ได้แก่ หมู่
สัตว์เหล่านี้. บทว่า หญฺเร วาปิ โกจิน ความว่า ผู้ใดพึงเบียดเบียน
แม้ผู้นั้นก็ไม่จัดว่าเป็นผู้ทำร้าย. บทว่า สตฺถานิ วินิวตฺตเร ความว่า
ศาสตราทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ในภายในกายทั้ง ๗ นี้ ไม่สามารถจะตัดได้. บทว่า
สิรมาทาย ความว่า จับศีรษะของชนเหล่าอื่น. บทว่า นิสิตาสินา ความว่า ท่าน
กล่าวว่า ตัดด้วยดาบอันคม ท่านแสดงไว้ว่า แม้ผู้นั้นตัดพวกนั้นด้วยกาย ธาตุดิน
ก็จัดเป็นปฐวีธาตุ ธาตุลมเป็นต้น ก็จัดเข้าเป็นอาโปธาตุเป็นต้น สุขทุกข์และ
ชีวิต ย่อมแล่นไปสู่อากาศ. บทว่า สสร ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า
สัตว์เหล่านี้จะทำแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้ออันหนึ่งก็ดี ท่องเที่ยวไปตลอดกัปมี
ประมาณเท่านี้ก็ดี ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่ จริงอยู่ ชื่อว่าผู้สามารถจะชำระเหล่า
สัตว์ให้บริสุทธิ์จากสงสารย่อมไม่มี สัตว์ทั้งหมดนั้น ย่อมบริสุทธิ์ด้วยสงสาร
นั่นเอง. บทว่า อนาคเต ตมฺหิ กาเล ความว่า ก็เมื่อกาลหนึ่งตามที่กล่าว
แล้ว ยังไม่ถึงอนาคตกาล ผู้ที่สำรวมดีก็ดี ผู้มีศีลบริสุทธิ์ก็ดีในระหว่าง ย่อม
ไม่บริสุทธิ์. บทว่า ต ขณ ได้แก่ ตลอดกาลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น.
บทว่า อนุปุพฺเพน โน สุทฺธิ ความว่า ความหมดจดย่อมมีโดยลำดับ
ในวาทะของเรา อธิบายว่า ความหมดจดโดยลำดับแห่งเราทั้งปวงก็มี. บทว่า
ต เวล ได้แก่ ตลอดกาลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น.
คุณาชีวกผู้มีวาทะว่าขาดสูญ เมื่อจะยังวาทะของตนให้สำเร็จตามกำลัง
ของตน จึงกราบทูลโดยหาหลักฐานมิได้.
อลาตเสนาบดี ได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตร
แล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด คำนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 245
ข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติหนหลัง
ของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดในเมือง
พาราณสีอันเป็นเนืองมั่งคั่ง เป็นนายพรานฆ่าโค ชื่อว่า
ปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปธรรมไว้มาก ได้ฆ่าสัตว์ที่
มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก ข้าพเจ้า
จุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริ-
สุทธิ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลาโต เอตทพฺรวิ ความว่า ได้ยิน
ว่า อลาตเสนาบดีนั้น กระทำการบูชาด้วยพวงดอกอังกาบที่เจดีย์ ในกาลแห่ง
พระทศพลทรงพระนามกัสสปะในกาลก่อน ในมรณสมัยถูกกรรมอื่นซัดไปตาม
อานุภาพ ท่องเที่ยวไปในสงสาร ด้วยผลแห่งบาปกรรมอันหนึ่ง จึงบังเกิดใน
ตระกูลแห่งโคฆาต ได้กระทำกรรมเป็นอันมาก ครั้นในเวลาที่เขาจะตาย
บุญกรรมอันนั้นที่ตั้งอยู่ตลอดกาลประมาณเท่านี้ได้ให้โอกาส เหมือนไฟที่เอา
ขี้เถ้าปิดไว้ฉะนั้น. ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้นเขาจึงบังเกิดในที่นี้ ได้รับสมบัติ
เช่นนั้น และระลึกชาติได้ เมื่อไม่อาจระลึกถึงกรรมอื่นจากอนันตรกรรมใน
อดีต จึงสนับสนุนวาทะของคุณาชีวกนั้นด้วยสำคัญว่า เราได้กระทำกรรมคือ
การฆ่าโคจึงบังเกิดในที่นี้ จึงได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า ยถา ภทฺทนฺโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเร สสริตตฺตโน ความว่า ระลึกถึงชาติที่ตน
ท่องเที่ยวอยู่ได้. บทว่า เสนาปติกุเล แปลว่า เกิดในตระกูลแห่งเสนาบดี
ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจเป็นทาส
เขาผู้หนึ่ง ชื่อว่าวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้าไป
ยังสำนักของคุณาชีวก ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก
และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใยฮึดฮัด ร้อง
ไห้น้ำตาไหล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 246
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเถตฺถ ความว่า ครั้งนั้นในเมืองมิถิลา
นั้น. บทว่า ปฏจฺฉรี ได้แก่ คนเข็ญใจกำพร้า. บทว่า คุณสนฺติกวุปาคมิ
ความว่า ได้ไปยังสำนักของคุณาชีวก พึงทราบความว่า เข้าไปใกล้ด้วย
ตั้งใจว่า ข้าพระองค์จักฟังเหตุอะไรนั่นแล.
พระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสถามนายวีชะนั้นว่า
สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็นอะไรมา
หรือเจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้เราทราบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ม เวเทสิ เวทน ความว่า เจ้า
ได้รับเวทนาทางกาย หรือทางจิตอะไรหรือเป็นอย่างไร เจ้าจึงร้องไห้อย่างนี้
จงบอกให้เราทราบ เจ้ากระทำคนให้ลำบากอย่างไรหรือ จงบอกเรา.
นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราช
แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกขเวทนาเลย
ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณาฟังข้าพระ-
พุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึงความสุขสบาย
ของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้า
เกิดเป็นภาวเศรษฐี ยินดีในคุณธรรม อยู่ในเมือง
สาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั่นอบรมตนดีแล้ว ยินดีใน
การบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มี
การงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาปกรรม
ที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช
ข้าพระพุทธเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของ
นางกุมภทาสีหญิงขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิม
แต่เวลาที่เกิดแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 247
แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นคนยากจนอย่างนี้ ก็ตั้งมั่นอยู่
ในความประพฤติชอบ ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่งแก่ท่านที่
ปรารถนา ได้รักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำทุก
เมื่อ ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย
กรรมทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้น ไร้
ผลเป็นแน่ ศีลนี้เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาต
เสนาบดีกล่าว ข้าพระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้
เหมือนนักเลงผู้ไม่ได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาต
เสนาบดีย่อมกำเอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญ
การพนัน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ไม่เห็นประตู
อันเป็นเหตุสุคติเลย ข้าแต่พระราชา เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้วจึงร้อง
ไห้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวเสฏฺี ความว่า เศรษฐีผู้มีสมบัติ ๘๐
โกฏิ ผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า คุณรโต แปลว่า ผู้ยินดีในคุณ. บทว่า สมฺ-
มโต ความว่า อันตนอารมดีแล้ว. บทว่า สุจิ ได้แก่ ผู้มีกรรมอันสะอาด.
บทว่า อิธ ชาโต ทุริตฺถิยา ความว่า ข้าพเจ้าเกิดในท้องกุมภทาสี ผู้เป็น
หญิงขัดสนเข็ญใจ กำพร้า ในมิถิลานครนี้.
ดังได้สดับมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ใน
ปางก่อน. นายวีชกบุรุษนั้นเกิดเป็นนายโคบาล แสวงหาโคพลิพัททะ ที่หาย
ไปในป่า ถูกภิกษุรูปหนึ่งผู้หลงทางถามถึงหนทางได้นิ่งเสีย ถูกท่านถามอีก ก็
โกรธแล้วกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า สมณขี้ข้านี้ปากแข็ง ชะรอยว่าท่านนี้จะเป็นขี้ข้า
เขาจึงปากแข็งยิ่งนัก. กรรมหาได้ให้ผลในชาตินั้นไม่ ตั้งอยู่เหมือนไฟ ที่มีเถ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 248
ปิดไว้ ฉะนั้น ถึงเวลาตาย กรรมอื่นก็ปรากฏ. เขาจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฎสงสาร
ตามลำดับของกรรม เพราะผลแห่งกุศลกรรมอย่างหนึ่ง เขาจึงเป็นเศรษฐี มี
ประการดังกล่าวแล้ว ในเมืองสาเกต ได้กระทำบุญมีทานเป็นต้น. ก็กรรมที่
เขาด่าภิกษุผู้หลงทางนั้นตั้งอยู่ ประหนึ่งขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ในแผ่นดิน ได้โอกาส
จึงให้ผลแก่เขาในอัตภาพนั้น. เขาเมื่อไม่รู้จึงกล่าวอย่างนั้นด้วยสำคัญว่า ด้วย
กรรมอันดีงามนอกนี้ เราจึงเกิดในท้องของนางกุมภทาสี. บทว่า ยโต ชาโต
สุทุคฺคโต ท่านแสดงว่า ข้าพเจ้านั้น ตั้งแต่เกิดมา เป็นคนเข็ญใจอย่างยิ่ง.
บทว่า สมจริยมธิฏฺิโต ความว่า ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในความประพฤติสม่ำเสมอ
ทีเดียว. บทว่า นูเนต แก้เป็น เอกเสเนต เป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว.
บทว่า มญฺิท สีล ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ธรรมดาว่า ศีลนี้
เห็นจะไร้ประโยชน์. บทว่า อลาโต ความว่า อลาตเสนาบดีนี้กล่าวว่า เรา
กระทำกรรมชั่ว ต่อปาณาติบาตไว้มากในภพก่อนจึงได้ตำแหน่งเสนาบดี เพราะ
เหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงสำคัญว่า ศีลไร้ประโยชน์. บทว่า กลิเมว
ความว่า ผู้ไม่มีศิลปะไม่ได้ศึกษา เป็นนักเลงสะกา ถือเอาการปราชัย ฉันใด
ข้าพเจ้าย่อมถือเอาฉันนั้นแน่ พึงให้สมบัติของตนในภพก่อนฉิบหายไป บัดนี้
ข้าพเจ้าจึงเสวยทุกข์. บทว่า กสฺสปภาสิต ท่านกล่าวว่า ได้ฟังภาษิตของ
อเจลกกัสสปโคตร.
พระเจ้าอังคติราชสดับคำของนายวีชกะแล้ว ได้
ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีกหรือวีชกะ ได้
ยินว่าสุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งปวง
หมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียนตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลา
อย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้เราก็เป็นผู้กระทำความ
ดี ขวนขวายในพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 249
อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนือง ๆ งดเว้นจากความยินดี ใน
กามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคติมพฺรวิ ความว่า พระเจ้าอังคติราช
สดับคำของคนทั้ง ๓ คือของ ๒ คนนอกนี้ก่อน และของวีชกะในภายหลัง
ยึดมั่นมิจฉาทิฏฐิ แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า ประตูไม่มี. บทว่า นิยต กงฺขา
ความว่า ดูก่อนวีชกะผู้สหาย ท่านจงตรวจดูแต่ความแน่นอนเท่านั้น. พระเจ้า
อังคติราช ตรัสอย่างนี้โดยอธิบายว่า ความจริง กาลมีประมาณ ๘๔ มหา-
กัปเท่านั้น ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ได้ ท่านอย่ารีบด่วนนักเลย. บทว่า
อนาคเต ความว่า ท่านอย่ารีบด่วนว่า เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้นแล้ว เราจะไปสู่
เทวโลกในระหว่างได้. บทว่า ปาวโฏ ความว่า อย่าได้มีความขวนขวายด้วย
การกระทำมีการกระทำการขวนขวายทางกายเป็นต้นแก่ชนทั้งหลายนั้น คือใน
พวกพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย. บทว่า โวหาร ความว่า นั่งในที่เป็นที่
วินิจฉัยแล้วพร่ำสอนตามบัญญัติแห่งราชกิจ. บทว่า รติหิโน ตทนฺตรา
ความว่า ละจากความยินดีในกามคุณตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
ก็แลครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ตรัสบอกลาคุณาชีวกว่า ท่าน
กัสสปโคตร พวกข้าพเจ้าประมาทมาแล้วสิ้นกาลเท่านี้ แต่บัดนี้พวกข้าพเจ้าได้
อาจารย์แล้ว ตั้งแต่นี้ไปพวกข้าพเจ้าจะเพลิดเพลินยินดีแต่ในกามคุณเท่านั้น
แม้การฟังธรรมในสำนักของท่าน ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ก็เป็นกาลเนิ่นช้าของ
พวกข้าพเจ้าเปล่า ท่านจงหยุดเถิด พวกข้าพเจ้าจักลาไปละดังนี้ จึงตรัสคาถาว่า
ปุนปิ ภนฺเต ทกฺเขมุ สงฺคติ เจ ภวิสฺสติ
ถ้าการสมาคมจักมีผล พวกข้าพเจ้าจักมาหาท่านอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคติ เจ ความว่า ถ้าการสมาคมของ
พวกข้าพเจ้า ในที่แห่งหนึ่งจักไม่เกิดผล คือเมื่อผลบุญไม่มี จะประโยชน์อะไร
ด้วยท่านที่เราจะมาเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 250
อิท วตฺวาน เวเทโห ปจฺจคา สนฺนิเวสน.
ครั้นพระเจ้าวิเทหราชตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับ
ไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิเวสน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสคำนี้แล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่รถพระที่นั่ง กลับไป
ยังพื้นจันทกปราสาทอันเป็นพระราชนิเวศน์ของพระองค์.
ตอนแรกพระราชาเสด็จไปยังสำนักของคุณาชีวก ทรงนมัสการแล้วจึง
ได้ตรัสถามปัญหา ก็แล เมื่อเสด็จกลับหาได้ทรงนมัสการไม่ ก็เพียงแต่การทรง
นมัสการคุณาชีวกยังไม่ได้รับเพราะเป็นผู้ไม่มีคุณ ไฉนจะได้รับพระราชทาน
สักการะมีก้อนข้าวเป็นต้น. ส่วนพระราชาทรงยังคืนนั้นให้ผ่านไป วันรุ่งขึ้นจึง
ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์แล้วตรัสว่า พวกท่านจงบำเรอกามคุณกันเถิด นับแต่
วันนี้ไปเราจะเสวยความสุขในกามคุณเท่านั้น อย่าพึงรายงานกิจการอื่นให้เรา
ทราบเลย ผู้ใดผู้หนึ่งจงกระทำการวินิจฉัยเถิด ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงมัวเมา
เพลิดเพลินยินดีอยู่แต่ในกามคุณเท่านั้น.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่งให้ประชุม
เหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์แล้วตรัสว่า
จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทกปราสาทของ
เราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผยเกิดขึ้น ใคร ๆ
อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดในราชกิจ ๓ นายคือ
วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตเสนาบดี ๑
จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น พระเจ้าวิเทหราช
ตรั้นตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงใส่ใจกาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 251
คุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายในพราหมณ์ คฤหบดี
และกิจการอะไรเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏฺานมฺหิ ได้แก่ ในที่ประทับสำราญ
พระองค์. บทว่า จนฺทเก เม ได้แก่ ในจันทกปราสาทอันเป็นสำนักของ
เรา. บทว่า วิเธนฺตุ เม ความว่า จงจัดคือจงบำรุงบำเรอกามคุณทั้งหลาย
แก่เราเป็นนิตย์. บทว่า คุยฺหปากาสิเยสุ ความว่า เมื่อเรื่องราวทั้งลับ
ทั้งเปิดเผยเกิดขึ้น ใคร ๆ อย่าเข้ามาหาเรา. บทว่า อตฺเถ ได้แก่ ในที่เป็น
ที่วินิจฉัยเหตุผล. บทว่า นิสีทนฺตุ ความว่า จงนั่งกับด้วยอำมาตย์ที่เหลือ
เพื่อกระทำกิจที่เราพึงกระทำ.
ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญาพระ
นามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของพระเจ้า-
วิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่านทั้งหลาย
ช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้งหลายของเรา
จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ฉันจะไป
เฝ้าพระชนกนาถ. พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัดมาลัย
แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้าต่าง ๆ สี
อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราชกัญญา หญิง
บริวารเป็นอันมาก ห้อมล้อมพระนางรุจาราชธิดาผู้มี
พระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บนตั่งทอง
งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ความว่า จำเดิมแต่ที่พระราชาติด
ข้องอยู่ในเปือกตมคือกามคุณนั้น. บทว่า เทวสตฺรตตฺสฺส แปลว่า ในวัน
ที่ ๑๔. บทว่า ธาติมาตมาทพฺรวี ความว่า เป็นผู้ใคร่จะไปยังสำนักของ
พระบิดา จึงกล่าวกะพี่เลี้ยงทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 252
ดังได้สดับมา ในวันที่ ๑๔ พระนางรุจาราชธิดา ทรงผ้าสีต่าง ๆ แวด
ล้อมไปด้วยหมู่กุมารี ๕๐๐ พาหมู่พระพี่เลี้ยงนางนม ลงจากปราสาท ๗ ชั้น
ด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ยิ่ง เสด็จไปยังจันทกปราสาท เพื่อเฝ้าพระชนกนาถ.
ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็นพระธิดา ทรงมีพระทัยยินดี
ชื่นบาน ให้จัดมหาสักกาหะต้อนรับ เมื่อจะส่งกลับ จึงได้พระราชทานทรัพย์
๑,๐๐๐ แล้วส่งไปด้วย ตรัสว่า นี่ลูก เจ้าจงให้ทาน พระนางรุจานั้นเสด็จ
กลับไปยังนิเวศน์ของตนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงทรงรักษาอุโบสถศีล ทรงให้ทาน
แก่คนกำพร้าคนเดินทางไกล ยาจกและวนิพกเป็นอันมาก.
ได้ยินว่า ชนบทหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราช ได้พระราชทานแก่พระธิดา
พระนางรุจาได้ทรงกระทำกิจทั้งปวง ด้วยรายได้จากชนบทนั้น ก็ในกาลนั้น
เกิดลือกันขึ้นทั่วพระนครว่า พระราชาทรงอาศัยคุณาชีวก จึงทรงถือมิจฉา
ทิฏฐิ. พวกพระพี่เลี้ยงนางนม ได้ยินเขาลือกันดังนั้น จึงมาทูลพระนางรุจาว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า เขาลือกันว่า พระชนกของพระองค์ ทรงสดับถ้อยคำของ
อาชีวกแล้วทรงถือมิจฉาทิฏฐิ และได้ยินว่า พระราชานั้น ตรัสสั่งให้รื้อโรงทาน
ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ และทรงข่มขืนหญิงและเด็กหญิงที่ผู้อื่นหวงห้าม มิได้ทรง
พิจารณาถึงพระราชกรณียกิจเลย ทรงมัวเมาอยู่แต่ในกามคุณ. พระนางรุจานั้น
ได้ทรงสดับคำของพระพี่เลี้ยงนางนมเหล่านั้น ก็ทรงสลดพระหฤทัย จึงทรง
พระดำริว่า เพราะเหตุอะไรหนอ พระชนกของเราจึงเสด็จเข้าถามปัญหากะ
คุณาชีวก ผู้ปราศจากคุณธรรม ไม่มีความละอาย ผู้เปลือยกายเช่นนั้น สมณ-
พราหมณ์ผู้มีธรรมเป็นกรรมวาที ควรที่จะเข้าไปถามมีอยู่มิใช่หรือ แต่เว้น
เราเสียแล้ว คนที่จะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกของเรา ให้กลับตั้งอยู่ใน
สัมมาทิฏฐิอีก คงจะไม่มีใครสามารถ ก็เราระลึกถึงชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 253
ที่เป็นอดีต ๗ ชาติ ที่เป็นอนาคต ๗ ชาติ เพราะฉะนั้น เราจะทูลแสดง
กรรมชั่ว ที่ตนทำในชาติก่อน และแสดงผลแห่งกรรม ปลุกพระชนกของเรา
ให้ทรงตื่น ก็ถ้าเราจักเฝ้าในวันนี้ไซร้ พระชนกของเราคงจะท้วงเราว่า เมื่อ
ก่อนลูกเคยมาทุกกึ่งเดือน เพราะเหตุไรวันนี้จึงรีบมาเล่า ถ้าเราจะทูลว่า
กระหม่อมฉันมาในวันนี้นั้น เพราะได้ทราบข่าวเล่าลือกันว่า พระองค์ทรงถือ
มิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ คำของเราจะไม่ยึดคุณค่าอันหนักแน่นได้นัก เพราะฉะนั้น
วันนี้เราอย่าไปเฝ้าเลย ถึงวัน ๑๔ ค่ำ จากนี้ไป เฉพาะในวัน ๑๔ ค่ำ
ในกาฬปักข์ เราจะทำเป็นไม่รู้ เข้าไปเฝ้าโดยอาการที่เคยเข้าไปเฝ้าในกาล
ก่อน ๆ ครั้นเวลากลับ เราจักทูลขอพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาทำงาน เมื่อนั้น
พระชนกของเราจักแสดงการถือมิจฉาทิฏฐิแก่เรา ลำดับนั้น เราจักมีโอกาส
ให้พระองค์ทรงละทิ้งมิจฉาทิฏฐินั้นเสียได้ด้วยกำลังของตน. เพราะฉะนั้นใน
วัน ๑๔ ค่ำ พระนางรุจาราชธิดาจึงทรงใคร่จะไปเฝ้าพระชนก จึงตรัสอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สขิโย ใจความว่าหญิงสหายกับทั้งกุมาริกา
ประมาณ ๕๐๐ ของเราทั้งหมด จงประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ แต่ละอย่าง
ไม่เหมือนกัน คือด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้มีสีต่าง ๆ. บทว่า
ทิพฺโย แปลว่า วันทิพย์. ที่ชื่อว่า ทิพย์ เพราะประชุมกันประดับอย่างเทวดา
ก็มี. บทว่า คจฺฉ ความว่า ฉันจักไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชผู้เป็นพระชนกนาถ
เพื่อให้นำทานวัตรของเรามา. บทว่า อภิหรึสุ ความว่า เล่ากันมาว่าให้อาบ
ด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วนำไปเพื่อประดับนางกุมาริกา. บทว่า ปริ-
กีริย แปลว่า แวดล้อมแล้ว. บทว่า อโสภึสุ ความว่า วันนั้นหญิงบริวาร
พากันแวดล้อมพระนางรุจาราชธิดา งามยิ่งนักราวกะนางเทพกัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 254
ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วยเครื่อง
อาภรณ์ทั้งปวง เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย
เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เสด็จเข้าสู่
จันทกปราสาท พระนางรุจาราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคมพระชนกนาถ ผู้ทรงยินดี
ในวินัย แล้วประทับอยู่ ณ ตั้งอันวิจิตรด้วยทองคำ
ส่วนหนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเตริตา แปลว่า เหมือนสายฟ้าแลบ.
บทว่า อพฺภมิว ได้แก่ แลบออกจากภายในกลีบเมฆ. บทว่า ปาวิสิ ความว่า
เสด็จเข้าไปสู่จันทกปราสาท อันเป็นที่ประทับของพระชนกนาถ. บทว่า
สุวณฺณขจิเต ได้แก่ ที่ตั่งอันล้วนแล้วด้วยทองคำ อันวิจิตรด้วยรัตนะ ๗.
ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็นพระนาง
รุจาราชธิดา ผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย ซึ่งเป็น
ดังสมาคมแห่งนางเทพลอัปสร จึงตรัสถามว่า ลูกหญิง
ยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาท และยังประพาสอยู่ในอุทยาน
เล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขายังนำ
เอาของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูก
หญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่าง ๆ ชนิด
มาร้อยพวงมาลัย และยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็ก ๆ
เล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง
เขารีบนำสิ่งของมาให้ ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มี
พักตร์อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม้
สิ่งนั้นจะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 255
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉรานว สงฺคม ความว่า ทอด
พระเนตรเห็นสมาคมนั้น เหมือนสมาคมแห่งนางเทพอัปสร. บทว่า ปาสาเท
ความว่า ดูก่อนลูก เจ้าย่อมยินดีเพลิดเพลินใน รติวัฑฒปราสาท อันเสมอ
เวชยันตปราสาท ซึ่งพ่อสร้างไว้เพื่อเจ้าอยู่หรือ. บทว่า อนฺโต โปกฺขรณึ ปติ
ความว่า เฉพาะเรื่องภายในนี้ลูกยังประพาสสระโบกขรณี อันมีส่วนเปรียบด้วย
นันทโบกขรณีซึ่งพ่อสร้างไว้เพื่อลูก เจ้ายังเล่นน้ำรื่นรมย์ยินดีอยู่หรือ. บทว่า
มาลย ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะส่งผอบดอกไม้ ๒๕
กล่องแก่เจ้าทุกวันๆพวกเจ้าผู้เป็นกุมาริกาทั้งหมด ยังเก็บดอกไม้ร้อยพวงมาลัย
นั้นเล่นเพลิดเพลินอยู่เป็นนิตย์หรือ ยังทำเรือนเฉพาะหลังเล็ก เล่นเพลิดเพลิน
อยู่หรือ พวกเจ้ายังกระทำเรือนดอกไม้ ห้องดอกไม้ ที่นั่งดอกไม้และที่นอน
ดอกไม้ เหมือนอย่างแข็งขันกันโดยเฉพาะอย่างนี้ว่า เราจะทำให้ดีกว่าอยู่หรือ.
บทว่า วิกล แปลว่า ขาดแคลน. บทว่า มน กรสฺสุ ความว่า จงยังจิตให้เกิด.
บทว่า กุฏมุขี ความว่า พระเจ้าวิเทหราชตรัสกะพระนางรุจานั้นอย่างนั้น
เพราะพระนางเป็นผู้มีพักตร์อันผ่องใส ด้วยปลายเมล็ดพันธุ์ผักกาด จริงอยู่
หญิงทั้งหลายทำสีหน้าให้ผ่องใส ทาหน้าด้วยปลายเมล็ดพันธุ์ผักกาดก่อน เพื่อ
กำจัดย่อมที่หน้าที่มีโลหิตเสีย ประทุษร้าย แต่นั้นย่อมฉาบทาด้วยผงดิน เพื่อ
กระทำโลหิตให้สม่ำเสมอ แต่นั้นด้วยปลายเมล็ดงา เพื่อทำผิวให้ผ่องใส. บทว่า
จนฺทสม หิ เต ความว่า ชื่อว่าหน้าอันงดงามกว่าดวงจันทร์หาได้ยาก ย่อม
ไม่มี เจ้าชอบใจในของเช่นนั้นจงบอกพ่อ พ่อจะได้ให้จัดแจงให้แก่ลูก.
พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัส ของ
พระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา
กระหม่อมฉันย่อมได้ของทุก ๆ อย่าง ในสำนักของ
ทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราช-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 256
บุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์หนึ่งพันมาให้ กระ-
หม่อมฉัน จักให้ทานแก่วนิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวนิสฺวห ความว่า กระหม่อม
ฉันจักให้ทานในบรรดาวนิพกทั้งปวง.
พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัส ของพระ-
นางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้พินาศ
เสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิงยังรัก-
ษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์ ลูกหญิงไม่
บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์ บุญไม่มี แก่ผู้ไม่บริโภค.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคติมพฺรวิ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระเจ้าอังคติราชนั้น แม้พระราชธิดา เคยทูลขอ ก็ได้ให้ทรัพย์
หนึ่งพัน ด้วยตรัสว่า ลูกเอ๋ย เจ้าจงให้ทาน แม้ถูกพระราชธิดาทูลขอในวันนั้น
ก็ไม่ให้ เพราะถือมิจฉาทิฏฐิ จึงได้ตรัสคำนี้มีอาทิว่า ลูกหญิงทำให้ฉิบหายเสีย
เป็นอันมาก. บทว่า นิยเตต อภุตฺตพฺพ ความว่า ชรอยว่าเจ้าไม่บริโภค
อาหารนี้แน่นอน ผู้บริโภคก็ดี ไม่บริโภคก็ดี บุญย่อมไม่มี คนทั้งปวงพึง
บริสุทธิ์ได้โดยไม่ล่วงเลย ๘๔ มหากัปแล.
แม้วีรบุรุษได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตร
ในกาลนั้นแล้ว ถอนหายใจฮึดฮัดร้องไห้น้ำตาไหล
ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบที่ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหาร
เลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิงจะลำบากไปทำไม ไร้
ประโยชน์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีชโกปิ ความว่า พระเจ้าอังคติราช
ทรงนำแม้เรื่องแห่งวีชกบุรุษมาเป็นอุทาหรณ์แก่พระราชธิดาว่า แม้วีชกบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 257
กระทำกัลยาณกรรมในกาลก่อน เพราะผลแห่งกรรมนั้นจึงบังเกิดในท้องของ
นางทาสี. บทว่า นตฺถิ ภทฺเท ความว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ คุณาจารย์
กล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ผู้ปฏิบัติชอบย่อม
ไม่มี เพราะเหตุนั้น เมื่อปรโลกมีโลกนี้ชื่อว่าพึงมี โลกนี้นั้นนั่นแลย่อมไม่มี
และเมื่อมารดาบิดามี บุตรธิดาที่ชื่อว่าจะพึงมีนั้นนั่นแลย่อมไม่มี เมื่อธรรมมี
สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่จะพึงมีนั้นนั่นแลย่อมไม่มี ลูกจะให้ทานไป
ทำไมจะรักษาศีลไปทำไม เดือดร้อนไปทำไมไร้ประโยชน์.
พระนางรุจาราชธิดา ผู้มีพระฉวีวรรณงดงาม
ทรงทราบกฎธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต ๗
ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว
กราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้ฟัง
มาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า ผู้
ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลง
อาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดี
และนายวีชกะสมควรจะหลง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาปร ธมฺม ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พระนางรุจาราชธิดา ได้ทรงสดับพระดำรัสของพระชนกนาถ
ทรงรู้ธรรมในก่อนคือในอดีต ๗ ชาติ และธรรมที่ยังไม่มาถึงคืออนาคต ๗
ชาติ ทรงพระประสงค์จะปลดเปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงตรัสคำนี้
มีอาทิว่า สุตเมว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุปชฺชถ ความว่า
ผู้ใดคบคนพาล ผู้นั้นก็สำเร็จเป็นคนพาลไปด้วย ดังนี้ คำนี้หม่อมฉันได้ยินมา
ก่อนแล้วทีเดียว แต่วันนี้หม่อมฉันเห็นประจักษ์แล้ว. บทว่า มุฬฺโห หิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 258
ความว่า แม้คนหลงด้วยอำนาจทิฏฐิ อาศัยคนหลงด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อมถึง
ความหลงยิ่งขึ้น หลงหนักขึ้น เหมือนคนหลงทางอาศัยคนหลงทาง ฉะนั้น.
บทว่า อลาเตน ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ การที่พระองค์อาศัย
คุณาชีวกผู้เป็นพาลไม่มีความละอายเช่นกับเด็กชาวบ้าน แล้วมาหลงกับอลาต-
เสนาบดีผู้เสื่อมจากชาติ โคตร ตระกูล ประเทศ ความเป็นใหญ่ บุญและ
ปัญญา และกับวีชกทาส ผู้มีปัญญา ผู้ไม่มีปัญญาทราม ผู้เสื่อมแล้วโดยส่วน
เดียว เป็นการไม่สมควร เป็นการไม่เหมาะสมเลย เหตุไฉนพระองค์จึงไป
หลงกับคนเช่นนั้นเล่า.
พระนางรุจาราชธิดาทรงติเตียนชนทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรง
สรรเสริญพระชนกนารถ ด้วยทรงประสงค์จะปลดเปลื้องจากมิจฉาทิฏฐิจึง
กราบทูลว่า
ขอเดชะ ก็พระองค์มีพระปรีชา ทรงเป็นนัก
ปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่นกับพวก
คนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้าสัตว์จะ
บริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ การบวช
ของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็นคนหลง
งมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือนตั๊กแตน
หลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้น คนเป็นอันมากไม่รู้อะไร
ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจดย่อมไม่มี
ด้วยสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว จึงพากัน
ปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความฉิบหายที่
ยึดไว้ผิดในเบื้องต้นก็ยากที่จะเปลื้องได้ เหมือนปลา
ติดเบ็ดยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 259
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปญฺโ ความว่า ก็พระองค์เป็นผู้
มีปัญญาด้วยปัญญา อันได้ด้วยการใส่ใจถึงยศวัยและปัญญาเครื่องทรงจำ และ
การสนทนาธรรม ชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้นเหมือนกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ฉลาดในเหตุ เพราะเหตุแห่งประโยชน์และมิใช่ประโยชน์โดยเป็นนัก-
ปราชญ์. บทว่า พาเลหิ สทิโส ความว่า พระองค์เป็นผู้เข้าถึงทิฏฐิอัน
เลวเหมือนคนเหล่านั้นอย่างไรจึงเป็นคนพาล. บทว่า อปาปต ตัดเป็น
อปิ อาปต อธิบายว่าตกไปอยู่ พระราชธิดาตรัสอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระ-
ชนกนาถ เมื่อความบริสุทธิ์ด้วยสงสารมี แม้คุณาชีวกก็ละกามคุณ ๕ แล้ว
ถึงความเป็นคนเปลือยกายไม่มีสิริ ไม่มีความละอาย ไม่มีความแช่มชื่น
เพราะความหลงด้วยสามารถแห่งโมหะ เหมือนตั๊กแตนเห็นไฟโพลงในส่วน
แห่งราตรี ไม่รู้ถึงทุกข์อันมีกองไฟนั้นเป็นปัจจัย ตกไปในกองไฟนั้นถึงความ
ทุกข์ใหญ่ฉะนั้น. บทว่า ปุเร นิวิฏา ความว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ชนเป็น
อันมาก ฟังคำของกัสสปโคตรว่า บริสุทธิ์ด้วยสงสาร เชื่อมั่นลงไปก่อนทีเดียว
เพราะถือว่าผลของกรรมที่ทำดีและทำชั่วย่อมไม่มี เมื่อไม่รู้ก็ยึดเอาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ด้วยความเห็นผิด จึงปฏิเสธกรรม อธิบายว่า เมื่อปฏิเสธกรรมนั้น
ก็ชื่อว่าปฏิเสธผลแห่งกรรม เมื่อพวกเขายึดถือเอาโทษอันเป็นความปราชัยแห่ง
พวกเขาในชั้นต้นอย่างนี้ก็เป็นอันชื่อว่ายึดถือผิด. บทว่า ทุมฺโมจยา พลิสา
อมฺพุโช ว ความว่า ชนพาลเหล่านั้นเมื่อไม่รู้อย่างนี้ ยึดถือความฉิบหายด้วย
การเห็นผิดดำรงอยู่ ย่อมชื่อว่าปลดเปลื้องออกจากความฉิบหายนั้นได้โดยยาก
เหมือนปลาที่กลืนเบ็ดเข้าไป ปลดเปลื้องออกจากเบ็ดได้ยากฉะนั้น.
พระนางรุจาราชธิดา ครั้นตรัสดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงพร่ำสอนพระ
ราชาให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 260
ข้าแต่พระราชา กระหม่อมฉันจักยกตัวอย่างมา
เปรียบถวาย เพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อมบัณฑิตทั้ง
หลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยอุปมา
เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้าหนักเกิน
ประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลงในมหา-
สมุทรฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อยๆ ก็ย่อม
พาเอาบาปอันหนักยิ่งไปจมลงในนรกฉันนั้น ทูลกระ-
หม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดียังไม่
บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็นเหตุ
ให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับ
ความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนทำไว้แล้วในปาง
ก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น
อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ
หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญ
ไว้แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษ
เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้
เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง
เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิรเย ได้แก่ มหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก
๑๖ ขุมและโลกันตนรก. บทว่า ภาโร ความว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อม ท่าน
อลาตเสนาบดีนั้น มีอกุศลภาระยังไม่เพียบก่อน. บทว่า ตสฺส ความว่า ข้อ
ที่ท่านอลาตเสนาบดีนั้น ได้ความสุขเพราะบุญ นั่นเป็นปัจจัยนั้นเป็นผลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 261
บุญกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อน ข้าแต่ทูลกระหม่อม ความจริงผลแห่งการฆ่าโค
อันชื่อว่าเป็นบาปอกุศลจักเป็นผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ก็หาไม่ นั่นไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้เลย. บทว่า อคุเณ รโต ความว่า จริงอย่างนั้น บัดนี้เขาย่อมยินดี
แต่ในอกุศลกรรม. บทว่า อุชุมคฺค ความว่า ละทางกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า
กุมฺมคฺค ความว่า แล่นไปสู่ทางอกุศลกรรมบถ ๑๐ อันเป็นทางไปนรก.
บทว่า โอหิเต ตุลมณฺฑเล ความว่า เมื่อเอาตราชั่งคล้องไว้เพื่อรับสิ่งของ.
บทว่า อุนนฺเมติ ความว่า ย่อมยกให้สูงขึ้นข้างบน. บทว่า อาจิน ความว่า
เมื่อนรชนสั่งสมบุญทีละน้อย ๆ ปลดบาปที่หนักลง ยกกัลยาณกรรมขึ้นบนศีรษะ
แล้วไปสู่เทวโลก. บทว่า สคฺคาติมาโน ความว่า มุ่งไปในสวรรค์ยินดียิ่ง
ในกัลยาณกรรม อันเป็นสุขสำราญยังสัตว์ให้ถึงสวรรค์. บาลีว่า สคฺคาธิมาโน
ดังนี้ก็มี อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นกระทำสวรรค์ไว้เป็นเบื้องหน้า. บทว่า สาตเว
รโต ความว่า วีชกทาสนั้น ยินดีในกุศลกรรมอันน่าสำราญใจ มีผลชื่นใจ
เวลาบาปกรรมนี้สิ้นไป เขาจักบังเกิดในเทวโลก เพราะผลแห่งกัลยาณกรรม
แต่บัดนี้เขาเข้าถึงความเป็นทาส ได้มีบาปกรรมที่เขาทำไว้ในกาลก่อน อันเป็น
ทางเป็นไปเช่นนั้นเพราะผลแห่งกัลยาณกรรมหามิได้ ในข้อนี้พึงถึงความตกลง
ดังว่ามานี้แล.
พระนางรุจาราชธิดาเมื่อจะทรงประกาศความนี้จึงได้ตรัสว่า
นายวีชกะผู้เป็นทาส เห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะ
ได้เสพบาปกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน บาปกรรม
ของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนี้ ทูล-
กระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทาง
ผิดเลยเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 262
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหวุปฺปถมาคมา ความว่า พระนาง-
รุจาราชธิดาทูลว่า ข้าแต่ทูลกะหม่อม ทูลกระหม่อมเข้าไปหากัสสปคุณาชีวก
คนเปลือยนี้ ทูลกระหม่อมอย่าเข้าไปสู่ทางผิดอันเป็นทางไปนรก อย่าได้กระทำ
บาปเลยเพคะ.
บัดนี้พระนางรุจาราชธิดา เมื่อจะทรงแสดงโทษในการซ่องเสพบาป
และคุณในการคบหากับกัลยาณมิตรแก่พระราชาจึงตรัสว่า
ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบบุคคลใด ๆ จะ
เป็นสัตบุรุษก็ตามอสัตบุรุษก็ตาม ผู้มีศีลก็ตาม ผู้ไม่
มีศีลก็ตาม เขาย่อมตกไปสู่อำนาจของนั้น บุคคลทำ
บุคคลเช่นใดให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด
แม้เขาก็ย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันก็
ย่อมเป็นเช่นนั้น ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อ
ย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อม
เปื้อนแล่งฉะนั้น นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามก
เป็นสหาย เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล
ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้
ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับ
นักปราชญ์ ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของ
หอม แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังใบไม้สำหรับห่อ
จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ
อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต วา ได้แก่ สัตบุรุษก็ดี
บทว่า ยทิ วา อส ได้แก่ อสัตบุรุษก็ดี. บทว่า สโร ทุฏฺโ กลาปว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 263
ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา มิตรชั่ว เมื่อเสพคบหากับคนอื่น และสนิท
ชิดเชื้อกับคนอื่น ย่อมจะทำบุรุษผู้ไม่ได้แปดเปื้อนกับบาป ให้มีอัธยาศัย
เป็นเช่นเดียวกับตน เข้าไปเปื้อนคือ กระทำให้แปดเปื้อนบาปเหมือนกัน.
บทว่า วายนฺติ ความว่า แม้หญ้าคาเหล่านั้นที่ห่อของนั้นก็ย่อมมีกลิ่นเหม็น
ฟุ้งขจรไป. บทว่า ตครญฺจ ความว่า ใบไม้ห่อกฤษณาและคันธชาตที่
สมบูรณ์ด้วยกลิ่นอย่างอื่น ย่อมมีกลิ่นหอมไปด้วย. บทว่า เอว ความว่า เข้า
ไปคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จริงอยู่นักปราชญ์กระทำผู้คบกับตนให้
เป็นนักปราชญ์เหมือนกัน. บทว่า ตสฺมา ปตฺตปุฏสฺเสว ความว่า เพราะ
เหตุที่ใบไม้ที่ห่อของหอมมีกฤษณาเป็นต้น ย่อมพลอยมีกลิ่นหอมไปด้วย ฉะนั้น
พึงรู้อย่างนี้ว่า แม้เราก็เป็นบัณฑิต เพราะการช่องเสพกับบัณฑิต เหมือน
ใบไม้สำหรับห่อฉะนั้น . บทว่า สมฺปากมตฺตโน ความว่า ครั้นรู้ความแก่
กล้า ความแปรไป ความเป็นบัณฑิตของตนแล้ว พึงละอสัตบุรุษคบหาแต่
สัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิต. ในบทว่า นิรย เนนฺติ นี้ บัณฑิตพึงนำอุทาหรณ์
ด้วยอำนาจนิทานว่า ชื่อว่านำนรกมาด้วยเรื่องพระเทวทัตเป็นต้น และนำสุคติ
มาด้วยเรื่องพระสารีบุตรเถระเป็นต้น.
พระราชธิดา ครั้นทรงแสดงธรรมแก่พระชนกนาถด้วย ๖ คาถาอย่าง
นี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์อันตนเคยเสวยมาในอดีตจึงตรัสว่า
แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนท่องเที่ยวมา
แล้วได้ ๗ ชาติ และระลึกชาติที่ตนจุติจากชาตินี้แล้ว
จักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ ข้าแต่พระจอมประชา-
ชน ชาติที่ ๗ ของกระหม่อมฉันในอดีต กระหม่อม-
ฉันเกิดเป็นบุตรนายช่างทองในแคว้นมคธ ราชคฤห์
มหานคร กระหม่อมฉันได้คบหาสหายผู้ลามก ทำบาป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 264
กรรมไว้มาก เที่ยวคบชู้ภรรยาของชายอื่นเหมือนจะ
ไม่ตาย กรรมนั้นยังไม่ให้ผล เหมือนไฟอันเถ้าปกปิด
ไว้ ในกาลต่อมาด้วยกรรมอื่น ๆ กระหม่อมฉันนั้นได้
เกิดในวังสรัฐเมืองโกสัมพี เป็นบุตรคนเดียวในสกุล
เศรษฐีผู้สมบูรณ์มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย คนทั้งหลาย
สักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ ในชาตินั้น กระหม่อมฉัน
ได้คบหาสมาคมมิตรสหายผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้
เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต เขาได้แนะนำให้กระหม่อม-
ฉันรักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ตลอดราตรี
เป็นอันมาก กรรมนั้นยังไม่ได้ให้ผล ดังขุมทรัพย์ที่ฝัง
ไว้ใต้น้ำ ครั้นภายหลัง บรรดากรรมทั้งหลาย ปรทารก
กรรมอันใดที่กระหม่อมฉันได้กระทำไว้ในมคธรัฐ ผล
แห่งกรรมนั้นมาถึงกระหม่อมฉันแล้วเหมือนดื่มยาพิษ
อันร้ายแรงฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระ-
หม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้ว ต้องหมกไหม้
อยู่ในโรรุวนรกสิ้นกาลนานเพราะกรรมของตน กระ-
หม่อมฉันได้ระลึกถึงทุกข์ที่ได้เสวยในนรกนั้น ไม่ได้
ความสุขเลย กระหม่อมฉันยังทุกข์เป็นอันมาก ให้สิ้น
ไปในนรกนั้นนานปี แล้วเกิดเป็นลาถูกเขาตอนอยู่ใน
ภิณณาคตนคร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต ความว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อม
ชื่อว่า โลกนี้และโลกหน้า และผลแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีและทำชั่ว ย่อมมี แต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 265
สงสารไม่สามารถจะชำระสัตว์ทั้งหลายให้หมดจดได้ ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายย่อม
หมดจดด้วยกรรมเท่านั้น อลาตเสนาบดีและวีชกะผู้เป็นทาส ย่อมระลึกได้เพียง
ชาติเดียวเท่านั้น มิใช่แต่ท่านเหล่านั้นเท่านั้นที่ระลึกชาติได้ แม้กระหม่อม
ฉันก็ระลึกถึงความที่ตนท่องเที่ยวในอดีตได้ถึง ๗ ชาติ ทั้งย่อมระลึกถึงชาติที่
จะพึงไปจากนี้แม้ในอนาคตถึง ๗ ชาติเหมือนกัน. บทว่า ยา เม สา ความว่า
ชาติที่ ๗ ในอดีตของหม่อมฉันก็มีอยู่. บทว่า กมฺมารปุตฺโต ความว่า
ในชาติที่ ๗ นั้นหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรช่างทองในกรุงราชคฤห์ มคธรัฐ. บทว่า
ปรทารสฺส เหเนฺตา ได้แก่ เบียดเบียนภรรยาของคนอื่น คือผิดในภัณฑะ
ที่คนเหล่าอื่นรักษาคุ้มครองไว้. บทว่า อฏฺ เพราะกรรมชั่วนั้นที่หม่อมฉัน
ทำในเวลานั้นไม่ได้โอกาสได้ตั้งเก็บไว้ แต่เมื่อได้โอกาสจึงให้ผล เหมือนไฟ
อันเถ้าปิดไว้ฉะนั้น . บทว่า วสภูมิย แปลว่า ในวังสรัฐ. บทว่า เอกปตฺโต
ความว่า หม่อมฉันได้เป็นบุตรคนเดียว ในตระกูลเศรษฐี มีสมบัติถึง ๘๐ โกฏิ.
บทว่า สาตเว รต ความว่า ยินดียิ่งในกัลยาณกรรม. บทว่า โส ม ได้แก่
เขาได้เป็นสหาย ได้ชักนำหม่อมฉันให้ตั้งอยู่ในสิ่งเป็นประโยชน์คือในกุศล
กรรม. บทว่า ต กมฺม ความว่า กัลยาณกรรมของหม่อมฉันแม้นั้น ยังไม่ได้
โอกาสในกาลนั้น ครั้นเมื่อได้โอกาสจึงให้ผล. บทว่า อุทกนฺติเก ความว่า
ได้เป็นขุมทรัพย์ฝังไว้ในน้ำ บทว่า ยเมต ความว่า ลำดับในบรรดากรรมชั่วมี
ประมาณเท่านี้ของหม่อมฉัน กรรมใดที่หม่อมฉันกระทำแล้วในภรรยาของ
คนอื่นในมคธรัฐ ผลแห่งกรรมนั้นจึงติดตามมาถึงหม่อมฉัน. ถามว่า เหมือน
อะไร ? แก้ว่า เหมือนบุคคลบริโภคยาพิษฉะนั้น อธิบายว่า กรรมนั้นย่อม
ถึงหม่อมฉัน เหมือนยาพิษที่ชั่วช้า กล้าแข็ง ร้ายกาจ กำเริบแก่บุคคลผู้
บริโภคโภชนะอันมียาพิษฉะนั้น. บทว่า ตโต ได้แก่ จากตระกูลเศรษฐี
ในกรุงโกสัมพีนั้น. บทว่า ต สร ความว่า หม่อมฉันเมื่อระลึกถึงทุกข์ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 266
หม่อมฉันเสวยในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสบายใจเลย หม่อมฉันย่อมเกิด
แต่ความกลัวเท่านั้น. บทว่า ภินฺนาคเต ความว่า ในภินนาคตรัฐ หรือ
ในนครชื่อว่า ภินนาคตะ. บทว่า อุทฺธตปฺผโล ได้แก่ พืชที่ถูกเขาตอน
ก็แพะนั้นได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง. คนทั้งหลายแม้ขึ้นขี่หลังแพะน้ำแพะนั้น
ไป เทียนแพะนั้นแม้ที่ยานน้อย.
พระนางรุจาราชธิดา เมื่อประกาศความนั้นจึงกล่าวว่า
กระหม่อมฉันพาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง
ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลแห่งกรรมคือการที่หม่อมฉัน
คบชู้กับภรรยาของคนอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาตปุตฺตา ได้แก่ บุตรแห่งอำมาตย์
ทั้งหลาย. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
การที่หม่อมฉันหมกไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก และกรรมที่หม่อมฉันถูกตอนใน
กาลเป็นแพะ ทั้งหมดนั่น เป็นผลของกรรมนั้น คือกรรมที่หม่อมฉันคบชู้กับ
ภรรยาของคนอื่น.
ก็แล ครั้นหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในกำเนิด
ลิงในป่า ครั้นในวันที่หม่อมฉันเกิด พวกลิงเหล่านั้นนำหม่อมฉันไปแสดงแก่
ลิงผู้เป็นนายฝูง ลิงผู้เป็นนายฝูงกล่าวว่า จงนำบุตรมาให้เรา ดังนี้แล้วจับไว้
มั่นแล้วกัดลูกอัณฑะของลิงนั้นถึงจะร้องเท่าไรก็ไม่ปล่อย.
เมื่อพระนางรุจาราชธิดาประกาศความนั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระชนกนาถผู้ปกครองวิเทหรัฐ กระ-
หม่อมฉันจุติจากชาติลานั้นแล้ว ก็ไปเป็นลิงอยู่ในป่า
สูง ถูกลิงนายฝูงคนองปากขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็น
ผลของการที่เป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 267
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลุจฺฉิตผโลเยว ความว่า หม่อมฉัน
ถูกลิงนายฝูงคนองปากในป่านั้น ขบกัดลูกอัณฑะเอาทีเดียว.
เมื่อพระนางรุจาราชธิดาจะทรงแสดงชาติอื่น ๆ จึงทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉัน
จุติจากชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นโคในทสันนรัฐ
ถูกเขาตอน มีกำลังแข็งแรง กระหม่อมฉันต้องเทียม
ยานอยู่สิ้นกาลนาน นั่นเป็นผลของกรรม คือ การที่
กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครอง
วิเทหรัฐ กระหย่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว มา
บังเกิดเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้น
วัชชี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ยากจริงๆ นั่นเป็นผลแห่ง
กรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้า
แต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติ
เป็นกระเทยนั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นนางอัปสรใน
นันทนวัน ณ ดาวดึงส์พิภพ มีวรรณะน่าใคร่ มีผ้าและ
อาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี เป็นผู้ฉลาดใน
การฟ้อนรำขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ
ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ เมื่อกระหม่อนฉันอยู่ใน
ดาวดึงส์พิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้อีก ๗ ชาติ
ที่กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว จักไปเกิด
ต่อไป กุศลที่กระหม่อมฉันทำไว้ในเมืองโกสัมพีตาม
มาให้ผล กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พระมหาราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 268
กระหม่อมฉันเป็นผู้อันชนทั้งหลายสักการะแล้วเป็น
นิตย์ตลอด ๗ ชาติ กระหม่อมฉันไม่พ้นจากความเป็น
หญิงตลอด ๖ ชาติ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐชาติที่ ๗
กระหม่อมฉันจักได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย เป็นเทพบุตร
ผู้มีฤทธิ์มาก เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา แม้วันนี้นาง
อัปสรทั้งหลายก็ยังร้อยดอกไม้เป็นพวงมาลัย อยู่ใน
นันทนวัน เทพบุตรนามว่าชวะสามีกระหม่อมฉัน ยัง
รับพวงมาลัยอยู่ ๑๖ ปีในมนุษย์นี้ราวครู่หนึ่งของ
เทวดา ๑๐๐ ปีในมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดา
ดังที่ได้กราบทูลให้ทรงทราบมานี้ กรรมทั้งหลายย่อม
ติดตามไปทุก ๆ ชาติ แม้ตั้งอสงไขยด้วยว่ากรรมจะ
เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม (ยังไม่ให้ผลแล้ว) ย่อม
ไม่พินาศไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนฺเนสุ แปลว่า ในทสันนรัฐ. บทว่า
ปสุ แปลว่า เป็นโค. บทว่า อหุ แก้เป็น อโหสิ แปลว่า ได้เป็นแล้ว.
บทว่า นิลุจฺฉิโต ความว่า ในกาลที่หม่อมฉันเป็นลูกโคนั้นเองพวกเขาได้
ตอนพืชของหม่อมฉันด้วยคิดว่าจักเป็นที่ชอบใจด้วยประการฉะนี้ หม่อมฉันนั้น
ถูกเขาตอนแล้ว คือเป็นเหมือนคนมีกำลังดีถูกถอนพืชฉะนั้น. บทว่า วชฺชีสุ
กุลมาคโต นี้พระนางรุจาราชธิดาแสดงว่า หม่อนฉันจุติจากกำเนิดโคแล้ว
บังเกิดในตระกูลคนผู้มีโภคะมากตระกูลหนึ่งในแคว้นวัชชี. ด้วยบทว่า หม่อมฉัน
น ปุมา นี้ท่านกล่าวหมายถึงกระเทย. ภวเน ตาวตึสาห ความว่า หม่อมฉัน
เกิดในภพดาวดึงส์. บทว่า ตตฺถ ิตาห เวเทห สรามิ ชาติโย อิมา
ความว่า ได้ยินว่า พระนางรุจานั้นอยู่ในเทวโลกนั้นตรวจดูอยู่ว่า เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 269
มาสู่เทวโลกเห็นปานนี้ มาจากไหนหนอ ? เห็นแล้วซึ่งความเกิดในเทวโลกนั้น
เพราะจุติจากความเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคะมาก ในแคว้นวัชชี จากนั้น
พระนางรุจาราชธิดาตรวจดูว่า เพราะกรรมอะไรหนอ เราจึงบังเกิดในที่อันน่า
รื่นรมย์เช่นนี้ เห็นแล้วซึ่งกุศลมีทานที่ตนทำแล้วเป็นต้น ทำให้บังเกิดใน
ตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพี ตรวจดูว่า เราบังเกิดในอัตภาพเป็นกระเทย ใน
ภพอดีตเป็นลำดับ มาแต่ที่ไหน ดังนี้ ได้รู้แล้วว่าตนเคยเสวยทุกข์ใหญ่ใน
กำเนิดโค ในทสันนรัฐ เมื่อหวลระลึกถึงชาติต่อจากนั้น ได้เห็นตนถูกตอน
ในกำเนิดลิง เมื่อหวลระลึกชาติถัดจากนั้น จึงหวลระลึกถึงภาวะที่ตนถูกตอน
พืชในกำเนิดแพะ ในภินนาคตะรัฐ เมื่อหวลระลึกถัดจากชาตินั้นได้ระลึกถึง
ภาวะที่ตนบังเกิดในโรรุวนรก ลำดับนั้นเมื่อพระนางรุจาราชธิดาระลึกถึงภาวะ
ที่ตนหมกไหม้ในนรก และทุกข์ที่ตนเสวยในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ความกลัว
จึงเกิดขึ้น. ลำดับนั้น พระนางรุจาราชธิดา เมื่อหวลระลึกถึงชาติที่ ๖ ว่า เรา
เสวยทุกข์เห็นปานนี้เพราะกรรมอะไรหนอ จึงเห็นกัลยาณกรรมที่ตนกระทำใน
กรุงโกสัมพีในชาตินั้น แล้วทรงตรวจดู ชาติที่ ๗ ได้เห็นกรรมคือ การคบชู้
กับภรรยาคนอื่นที่ตนทำเพราะอาศัยมิตรชั่วในมคธรัฐ จึงได้รู้ว่าเราเสวยทุกข์
ใหญ่นั้น เพราะผลแห่งกรรมนั้น. ลำดับนั้นพระนางจึงตรวจดูว่า เราจุติจาก
ชาตินี้แล้ว จักบังเกิดในภพไหนในอนาคต ได้รู้ว่า เราจักบังเกิดเป็นบาท
บริจาริกาของท้าวสักกเทวราชนั่นแลอีก ดำรงอยู่ตลอดชีวิต. เมื่อพระนางได้
ตรวจดูบ่อยๆ อย่างนี้ ได้ทราบว่าในอัตภาพที่ ๓ จักบังเกิดเป็นบาทบริจาริกา
ของท้าวสักกเทวราชนั่นแล. ส่วนชาติที่ ๔ และ ๕ ก็เหมือนกัน รู้ว่าเราจัก
บังเกิดเป็นอัครมเหสีของชวนะเทพบุตรในเทวโลกนั้นนั่นเอง แล้วตรวจดูถัด
จากชาตินั้นไป รู้ว่าในอัตภาพที่ ๖ เราจุติจากภพดาวดึงส์นี้แล้ว จักบังเกิดใน
พระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าอังคติราช เราจักมีนามว่า รุจา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 270
จึงตรวจดูว่า ถัดจากชาตินั้นจักบังเกิด ณ ที่ไหน รู้ว่าในชาติที่ ๗ จุติจากชาติ
นั้นแล้ว จักบังเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มากในภพดาวดึงส์ จักพ้นจากความเป็น
หญิง เพราะเหตุนั้น พระนางรุจาราชธิดาจึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงครอบ
ครองวิเทหรัฐ หม่อมฉันอยู่ที่นั้นระลึกชาติได้ ๗ ชาติ แม้ในอนาคตจุติจากชาติ
นี้ไปก็ระลึกได้ ๗ ชาติเหมือนกัน. บทว่า ปริยาคต ความว่า โดยปริยาย ท่อง
เที่ยวไปมาตามวาระของตน. บทว่า สตฺต ชจฺจา ความว่า พระนางตรัสว่า
๗ ชาติ คือในเทวโลก ๕ ชาติกับชาติที่เป็นกระเทยในแคว้นวัชชี และในชาติ
ที่ ๖ นี้พระนางทรงแสดงไว้ว่า หม่อมฉันเป็นผู้อันเขาบูชาสักการะเป็นนิตย์
ตลอด ๗ ชาตินั้น. บทว่า ฉฏฺา ว คติโย นี้ พระนางกล่าวว่า เราจักไม่พ้น
ความเป็นหญิง ตลอด ๖ คติเหล่านี้ คือในเทวโลก ๕ คติ และในชาตินี้ ๑ คติ.
บทว่า สตฺตมี จ ความว่า จุติต่อจากนั้นแล้ว เป็นชาติที่ ๗. บทว่า
สนฺตานมย ความว่า มีความสืบต่อที่ตนทำด้วยอำนาจขั้วเดียวกันเป็นต้น.
บทว่า คนฺเถนฺติ ความว่า เป็นเหมือนสืบต่อด้วยกัน. เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ทุก
วันนี้นางบำเรอของเรา ก็ไม่รู้ความจุติของเราในนันทนวัน ย่อมร้อยพวงมาลัย
เพื่อประโยชน์แก่เราเท่านั้น. บทว่า โส เม มาล ปฏิจฺฉติ ความว่า ดูก่อน
มหาราชเจ้า โดยชาติอันเป็นลำดับเทพบุตรนามว่า ชวะ ผู้เป็นสวามีของหม่อม
ฉันย่อมรับพวงดอกไม้ที่หล่นจากต้น. บทว่า โสฬส ความว่า ข้าแต่พระมหา-
ราชเจ้า ว่าโดยชาติของหม่อมฉันจนบัดนี้ได้ ๑๖ ปี แต่กาลประมาณเท่านี้
เหมือนกับกาลครู่หนึ่งของเทวดา ก็เพราะเหตุนั้นหญิงบำเรอเหล่านั้น จึงไม่รู้
แม้ถึงการจุติของหม่อมฉัน ยังคงร้อยพวงมาลัยเพื่อ หม่อมฉันอยู่เชียว. บทว่า
มานุสึ ความว่า อาศัยการนับปีของมนุษย์. บทว่า สรโทสต ความว่า เป็น
๑๐๐ ปี (ของมนุษย์) เทวดาทั้งหลายมีอายุยืนอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติ
เทพ ด้วยเหตุนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบปรโลก กรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่.
บทว่า อนฺเวนฺติ ความว่า กรรมดีและกรรมชั่วย่อมติดตามเราไปทุก ๆ ชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 271
อย่างนี้. บทว่า น หิ กมฺม วินสฺสติ ความว่า ทิฏฐเวทนียกรรม ย่อมให้ผล
ในอัตภาพนั้นนั่นเอง อุปปัชชเวทนียกรรม ย่อมให้ผลในอัตภาพถัดไป ส่วน
อปราปรเวทนียกรรมไม่ให้ผล จักไม่พินาศไป พระนางรุจาราชธิดาทรงหมาย
เอาอปราปรเวทนีกรรมนั้น จึงตรัสว่า กรรมจักไม่พินาศไปแล ดังนี้แล้ว
จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เพราะผลแห่งกรรมที่หม่อมฉันทำชู้กับ
ภรรยาของคนอื่น หม่อมฉันจึงหมกไหม้ในนรก แล้วเสวยทุกข์อย่างใหญ่ใน
กำเนิดสัตว์เดียรฉาน ถ้าแม้บัดนี้ พระองค์ทรงเชื่อถ้อยคำของคุณาชีวก จัก
กระทำอย่างนี้ พระองค์ก็จักเสวยทุกข์ เหมือนที่หม่อมฉันเสวยแล้วนั่นแล
เพราะเหตุนั้นพระองค์อย่าได้ทรงกระทำอย่างนั้นเลย.
ลำดับนั้น พระนางรุจาราชธิดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป
แก่พระราชบิดานั้นจึงตรัสว่า
ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ ชาติไป ก็พึงเว้น
ภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาดแล้วเว้น
จากเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ
ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามี เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็น
บาทบริจาริกายำเกรงพระอินทร์ ฉะนั้น ผู้ใดปรารถนา
โภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ก็พึงเว้นบาป
ทั้งหลายประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง สตรีก็ตาม
บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยกาย วาจา ใจ
มีปัญญาเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ของตน นรชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ มีโภคทรัพย์
บริบูรณ์ทุกอย่าง นรชนเหล่านั้นได้สั่งสมกรรมดีไว้
ในปางก่อนแล้วโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมี
กรรมเป็นของตัว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 272
องค์ทรงพระราชดำริด้วยพระองค์เองเถิด ข้าแต่
พระจอมชน พระสนม (ผู้ทรงโฉมงดงาม) ปานดัง
นางเทพอัปสรผู้ประดับประดาคลุมกายด้วยตาข่ายทอง
เหล่านี้ พระองค์ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โหตุ แปลว่า เพื่อเป็น. บทว่า
สพฺพสมนฺตโภคา แปลว่า มีโภคะทุกอย่างบริบูรณ์. บทว่า สุจิณฺณ ได้แก่
สั่งสมไว้ด้วยดีคือกระทำกัลยาณกรรม. บทว่า กมฺมสฺสกา เส ความว่า มี
กรรมเป็นของแห่งตน คือเสวยผลของกรรมที่ตนทำนั่นเอง ไม่ใช่กรรมที่
มารดาบิดาทำแล้วให้ผลแก่บุตรธิดา ไม่ใช่กรรมที่บุตรธิดาเหล่านั้นทำแล้วให้
ผลแก่มารดาบิดา กรรมที่คนนอกนั้นกระทำจะให้ผลแก่คนนอกนั้นอย่างไร ?
ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าประท้วง. บทว่า อนุจินฺเตสิ แปลว่า
พึงคิดบ่อยๆ. บทว่า ยา เม อิมา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อัน
ดับแรกพึงคิดด้วยตนเองดังนี้ว่า หญิงที่บำรุงบำเรอพระองค์ผู้สมมติเทพ อัน
พระองค์นอนหลับได้ หรือได้มาเพราะกระทำการปล้นในหนทาง หรือตัด
ช่องย่องเบาเป็นต้นได้มา หรือได้มาเพราะอาศัยกัลยาณกรรมเป็นต้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
พระนางรุจาราชกัญญา ยังพระเจ้าอังคติราช
ชนกนาถให้ทรงยินดี พระราชกุมารีผู้มีวัตรอันดีงาม
กราบทูลทางสุคติแก่พระชนกนาถ ประหนึ่งบอกทาง
ให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวายโดย
นัยต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชกัญญานั้น ทรงยังพระราชบิดา ให้ทรงยินดีด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
เห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้. ทูลบอกทางสุคติแด่พระชนกนาถนั้น เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 273
คนบอกหนทางแก่คนหลงทางฉะนั้น. และเมื่อจะทรงกล่าวธรรมแก่พระชนก-
นาถนั่นแหละได้ทรงกล่าวสุจริตธรรมด้วยนัยต่าง ๆ. บทว่า สุพฺพตา แปลว่า
ผู้มีวัตรอันดีงาม.
พระนางรุจาราชธิดา ได้ทูลเล่าถึงชาติที่ตนเกิดมาแล้วในอดีต และ
แสดงธรรมถวายแด่พระชนกนาถ ตั้งแต่เช้าตลอดคืนยังรุ่งแล้วกราบทูลว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงถือถ้อยคำของคนเปลือยกาย ผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิเลย โลกนี้มี โลกหน้ามี สมณพราหมณ์มี ผลของความดีความชั่ว
ก็มี ขอพระองค์จงทรงเชื่อฟังคำของกัลยาณมิตร เช่นกระหม่อมฉันกล่าวนี้เถิด
อย่าได้ทรงแล่นไปในที่มิใช่ท่าเลย แม้เมื่อพระนางรุจาราชธิดา กราบทูลถึง
อย่างนี้ ก็ไม่อาจปลดเปลื้องพระชนกจากมิจฉาทิฏฐิได้ ส่วนพระเจ้าอังคติราช
ทรงสดับวาจาอันไพเราะ ของพระราชธิดานั้นแล้ว ทรงปลื้มพระราชหฤทัย
จริงอยู่ มารดาบิดา ย่อมรักเอ็นดูถ้อยคำของบุตรที่รัก แต่คำพูดนั้นหาทำให้บิดา
ละมิจฉาทิฏฐิได้ไม่. แม้ชาวพระนครก็ลือกระฉ่อนกันว่า พระนางรุจาราชธิดา
ทรงแสดงธรรมหวังจะให้พระชนกละมิจฉาทิฏฐิ มหาชนพากันดีใจว่า พระราช
ธิดาเป็นบัณฑิต ปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกได้แล้ว จักถึงความสวัสดีแก่ชาว
พระนครทั้งหลาย. พระนางรุจาราชธิดา เมื่อไม่อาจปลุกพระชนกให้ตื่นได้ก็ไม่
ทรงละความพยายามเลย ทรงดำริหาช่องทางต่อไปว่า จักหาอุบายอย่างใดอย่าง
หนึ่ง มากระทำความสวัสดีแก่พระชนก แล้วประคองอัญชลีกรรมขึ้นเหนือพระ-
เศียร นมัสการทิศทั้ง ๑๐ แล้วทรงอธิษฐานว่า ในโลกนี้ ย่อมมีสมณพราหมณ์ผู้
ตั้งอยู่ในธรรม มีท้าวโลกบาล ท้าวมหาพรหมเป็นผู้บริหารโลก ข้าพเจ้าขอเชิญ
ท่านเหล่านั้นมาปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิของพระชนกนาถของข้าพเจ้าด้วยกำลัง
ตน เมื่อพระคุณของพระชนกนาถไม่มี ขอเชิญด้วยคุณด้วยกำลังและด้วยความ
สัจของข้าพเจ้า จงมาช่วยปลดเปลื้องความเห็นผิดนี้ จงได้มาทำความสวัสดีแก่
สากลโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 274
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่า นารทะ ก็ธรรมดา
พระโพธิสัตว์ มีอัธยาศัยใหญ่ด้วยเมตตาภาวนา เที่ยวตรวจดูโลกตามกาลอัน
สมควร เพื่อจะดูเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่ว ในวันนั้น ท่านตรวจดูโลก
เห็นพระนางรุจาราชธิดานั้น กำลังนมัสการเหล่าเทวดาผู้บริหารโลก เพื่อจะปลด
เปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงมาดำริว่า คนอื่นเว้นเราเสีย ย่อมไม่
สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิ พระเจ้าอังคติราชนั้นได้ วันนี้เราควรจะ
ไปกระทำการสงเคราะห์ราชธิดาและกระทำความสวัสดี แก่พระราชาพร้อมด้วย
บริวารชนแต่จะไปด้วยเพศอะไรดีหนอ เห็นว่า เพศบรรพชิตเป็นที่รักเป็นที่
เคารพ มีวาจาเป็นที่เชื่อฟัง ยึดถือของพวกมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปด้วย
เพศบรรชิต ครั้นตกลงใจฉะนี้แล้ว ก็แปลงเพศเป็นมนุษย์ มีวรรณะดังทองคำ
น่าเลื่อมใสผูกชฏามณฑลอันงามจับใจ ปักปิ่นทองไว้ในระหว่างชฎา นุ่งผ้าพื้น
แดงไว้ภายใน ทรงผ้าเปลือกไม้ ย้อมฝาดไว้ภายนอก กระทำเฉวียงบ่าผ้าหนังเสือ
อันแล้วไปด้วยเงิน ซึ่งขลิบด้วยดาวทอง แล้วเอาภิกขาภาชนะทองใส่สาแหรก
อันประดับด้วยมุกดาช้าง ๑ เอาคนโทน้ำแก้วประพาฬใส่ในสาแหรกอีกข้าง ๑
เสร็จแล้วก็ยกคานทองอันงามงอนขึ้นวางเหนือบ่า แล้วเหาะมาโดยอากาศ ด้วย
เพศแห่งฤาษีนี้ ไพโรจน์โชติช่วง ประหนึ่งพระจันทร์ (เพ็ญ) ลอยเด่นบน
พื้นอากาศ เข้าสู่พื้นใหญ่แห่งจันทกปราสาท ได้ยื่นอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์พระ
เจ้าอังคติราช.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป
ได้เห็นพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมา
จากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารทมหา-
พรหมได้ยินอยู่ที่ปราสาทเบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 275
วิเทหราช ก็พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษีนั้นมา
ถึง จึงนมัสการ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทส ความว่า นารทมหาพรหม ผู้
สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแล ได้เพ่งดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคคิราช ผู้ยึด
ถือความเห็นผิด ในสำนักของคุณาชีวก อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นจึงมา. บทว่า
ตโต ปติฏฺา ความว่า แต่นั้น พรหมนั้นเมื่อจะแสดงรอย ในที่ไม่มี
รอยนั้น ในปราสาทนั้น เบื้องพระพักตร์ของพระราชานั้น ผู้แวดล้อมไปด้วย
หมู่อำมาตย์ประทับอยู่ จึงยืนอยู่บนอากาศ. บทว่า อนุปฺปตฺต แปลว่า ถึง
แล้ว ต่อมาถึงแล้ว. บทว่า อิสึ ความว่า พระศาสดาตรัสเรียกว่า อิสึ
เพราะมาด้วยเพศแห่งฤาษี. บทว่า อวนฺทถ ความว่า พระนางรุจาราชธิดา
นั้น ทรงยินดีร่าเริงว่า ท้าวเทวราชนั้น จักมาทำความกรุณาในพระชนกนาถ
ของเรา ด้วยความอนุเคราะห์แก่เรา ดังนี้จึงน้อมกายลงนมัสการนารทมหา-
พรหม เหมือนต้นกล้วยทองที่ถูกลมพัดต้องฉะนั้น.
ฝ่ายพระราชา พอเห็นนารทมหาพรหม ถูกเดชแห่งพรหมคุกคามแล้ว
ไม่สามารถจะทรงดำรงอยู่บนราชอาสน์ของพระองค์ได้ จึงเสด็จลงจากราชอาสน์
ประทับยืนอยู่ที่พื้น แล้วตรัสถามพระนารทะถึงเหตุที่เสด็จมา และนามและโคตร.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พระราชาทรงหวาดพระทัยเสด็จลง
จากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารทฤาษี ได้ตรัส
พระดำรัสนี้ว่า ท่านมีผิวพรรณงามดังเทวดา ส่องรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทิศ ดังพระจันทร์ ท่านมาจากไหน
หนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและใคร
แก่ข้าพเจ้า คนในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านอย่างไรหนอ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 276
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยมฺหิตมานโส ได้แก่ เป็นผู้มีจิต
คิดกลัว. บทว่า กุโต นุ ความว่า พระราชาทรงสำคัญว่า ผู้นี้ชรอยว่า เป็น
วิชาธรบ้างหรือหนอ จึงไม่ทรงไหว้เลย ถามอย่างนี้.
ลำดับนั้น นารถฤาษี คิดว่า พระราชานี้สำคัญว่า ปรโลกไม่มี
เราจักถามเฉพาะปรโลกแก่พระราชานั้นก่อน ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
อาตมภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง ส่องรัศมี
สว่างจ้าไป ทั่วทิศดังพระจันทร์ มหาบพิตรตรัสถาม
แล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้ทรง
ทราบ คนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพ โดยนามว่า
นารทะ และโดยโคตรว่ากัสสปะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวโต แปลว่า จากเทวโลก. บทว่า
นารโท กสฺสโป จ ความว่า คนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยชื่อว่า นารทะ
และโดยโคตรว่า กัสสปะ.
ลำดับนั้น พระเจ้าอังคติราชทรงพระดำริว่า เรื่องปรโลกเราจักไว้
ถามภายหลัง เราจักถามถึงเหตุที่เธอได้ฤทธิ์เสียก่อน แล้วจึงตรัสคาถาว่า
สัณฐานของท่าน การที่ท่านเหาะไป และยืน
อยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพ-
เจ้าขอถามความนี้กะท่าน เออ เพราะเหตุอะไร ท่าน
จึงมีฤทธิ์เช่นนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสญฺจ ความว่า สัณฐานของท่าน
เป็นเช่นใด ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้อย่างไร นี้น่าอัศจรรย์.
ลำดับนั้น ท่านนารทฤาษีจึงทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 277
คุณธรรม ๔ ประการนี้คือ สัจจะ ๑ ธรรมะ ๑
ทมะ ๑ จาคะ ๑ อาตมภาพได้ทำไว้ในภพก่อน เพราะ
คุณธรรมที่อาตมภาพเสพมาดีแล้วนั้นนั่นแล อาตม-
ภาพจึงไปไหน ๆ ได้ตามความปรารถนาเร็วทันใจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ ได้แก่ วจีสัจจะ. บทว่า ธมุโม จ
ได้แก่ สุจริตธรรม ๓ ประการ และฌานธรรมอันเกิดแต่การบริกรรมกสิณ.
บทว่า ทโม ได้แก่ การฝึกอินทรีย์. บทว่า จาโค ได้แก่ การสละกิเลส
และการสละไทยธรรม. ด้วยบทว่า ปกตา ปุราณา ท่านแสดงว่า เราได้
กระทำไว้ในภพก่อน. บทว่า เตเหว ธมฺเมหิ สุเสวิเตหิ ความว่า ด้วย
คุณธรรมทั้งปวงนั้น ซึ่งอาตมภาพได้เสพดีแล้ว คือได้อบรมมาแล้ว. บทว่า
มโนชโว แปลว่า เร็วทันใจ. บทว่า เยน กาม คโตสฺมิ ความว่า
อาตมภาพจะไปในแดนของเทวดา และแดนของมนุษย์ได้ตามความปรารถนา.
แม้เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้ พระเจ้าอังคติราชก็ไม่ทรงเชื่อ
ปรโลก เพราะทรงยึดถือมิจฉาทิฏฐิเสียมั่นดีแล้ว จึงตรัสคาถาว่า ผลของบุญ
มีอยู่หรือ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า
เมื่อท่านบอกความสำเร็จแห่งบุญ ชื่อว่าท่านบอก
ความอัศจรรย์ ถ้าแลเป็นจริงอย่างท่านกล่าว ดูก่อน
ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ข้าพ-
เจ้าถามแล้ว ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺสิทฺธึ ความว่า ท่านเมื่อจะบอก
ความสำเร็จแห่งบุญ คือความที่บุญให้ผล ชื่อว่าท่านย่อมบอกความอัศจรรย์.
นารทฤาษีจึงทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 278
ขอถวายพระพร ข้อใดพระองค์ทรงสงสัย เชิญ
มหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด อาตมภาพ
จะถวายวิสัชนาให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัยด้วยนัย
ด้วยญายธรรม และด้วยเหตุทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเวส อตฺโถ ความว่า อันข้อความที่
พระองค์จะพึงถามนั้น. บทว่า ย สสย ความว่า พระองค์สงสัยในอรรถข้อ
ใดข้อหนึ่ง พระองค์จงถามความข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด. บทว่า นิสฺสสยต
ความว่า อาตมภาพจะนำให้พระองค์หมดความสงสัย. บทว่า นเยหิ ได้แก่
ด้วยคำอันเป็นเหตุ. บทว่า าเยหิ ได้แก่ ด้วยญาณ. บทว่า เหตุภิ ได้แก่
ด้วยปัจจัย. อธิบายว่า อาตมภาพจะไม่กราบทูลโดยเหตุ เพียงปฏิญาณไว้เท่า
นั้น จักกระทำให้พระองค์หมดความสงสัย ด้วยการกำหนดด้วยญาณแล้วกล่าว
เหตุ และด้วยปัจจัยอันเป็นเหตุให้ธรรมเหล่านั้นตั้งขึ้น.
ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้
กะท่าน ท่านถูกถามแล้วอย่าได้กล่าวมุสากะข้าพเจ้า ที่
คนพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี ปรโลกมีนั้น
เป็นจริงหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชโน ยมาห ความว่า พระเจ้าอังคติ-
ราชถามว่า ข้อที่พูดกันอย่างนี้ว่า เทวดามี มารดาบิดามี ปรโลกมี ทั้งหมด
มีอยู่จริงหรือ ?.
พระนารทฤาษีจึงกราบทูลว่า
ที่เขาพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี และ
ปรโลกมีนั้น เป็นจริงทั้งนั้นแต่นรชนผู้หลงงมงายใคร่
ในกามทั้งหลาย จึงไม่รู้ปรโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 279
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเถว ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร
เทวดามี มารดาบิดามี. ที่นรชนพูดกันว่า ปรโลกมี แม้นั้นก็อยู่จริงทีเดียว.
บทว่า น วิทู ความว่า นรชนผู้ติดอยู่ในกามและหลงงมงายเพราะโมหะ
จึงไม่รู้ คือย่อมไม่ทราบปรโลก.
พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงพระสรวลตรัสว่า
ดูก่อนนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง สถาน
ที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้วก็ต้องมี ท่าน
จงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ ข้าพ-
เจ้าจะใช้ให้ท่านหนึ่งพันกหาปณะในปรโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิเวสน ได้แก่ สถานที่เป็นที่อยู่
อาศัย. บทว่า ปญฺจสตานิ แปลว่า ๕๐๐ กหาปณะ.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะกล่าวติเตียนในท่ามกลางบริษัทจึง
ทูลว่า
ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรทรงมีศีลทรงรู้ความ
ประสงค์ของสมณพราหมณ์ อาตมภาพก็จะให้มหา
บพิตรทรงยืมสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรง
จุติจากโลกนี้แล้ว จะต้องไปอยู่ในนรกใครจะไปทวง
ทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดในโลกนี้เป็นผู้ไม่มี
ศีลธรรม ประพฤติชั่วเกียจคร้าน มีกรรมอันหยาบช้า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น เพราะจะไม่ได้
ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น ส่วนบุคคลผู้ขยันหมั่นเพียร
มีศีล รู้ความประสงค์ คนทั้งหลายรู้แล้ว ย่อมเอา
โภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า ผู้นี้ทำการงาน
เสร็จแล้ว พึงนำมาใช้ให้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 280
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ชญฺาม เจ ความว่า ถ้าอาตมภาพรู้ว่า
มหาบพิตรเป็นผู้มีศีล รู้ความประสงค์ คือรู้ว่า สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมมี
ความต้องการด้วยสิ่งนี้ ในเวลานี้ เป็นผู้กระทำกิจนั้น ๆ ชื่อว่ารู้ความประสงค์
เมื่อเช่นนี้อาตมภาพจึงยอมให้ทรัพย์แก่ท่าน ๕๐๐ กหาปณะ แต่มหาบพิตรเป็น
คนหยาบช้า ทารุณ ยึดถือมิจฉาทิฏฐิกำจัดทานและศีล ผิดในภรรยาของคน
อื่น จุติจากโลกนี้แล้วจักเกิดในนรก ใครจะไปในนรกนั้นทวงเอาทรัพย์กะ
มหาบพิตร ผู้หยาบช้าผู้อยู่ในนรกว่า ท่านจงให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ด้วย
อาการอย่างนี้. บทว่า ตถาวิธมฺหา ความว่า คนเช่นนั้นชื่อว่าจะมาทวงหนี้ที่
ให้แล้วย่อมไม่มี. บทว่า ทกฺข ได้แก่ ฉลาดในการยังทรัพย์ให้เกิด บทว่า
ปุนมาหเรสิ ความว่า ท่านทำกรรมของตนแล้วยังทรัพย์ให้เกิด แล้วนำ
ทรัพย์ที่มีอยู่มาให้เราอีก. บทว่า นิมนฺตยนฺติ ความว่า คนทั้งหลายย่อม
เชื้อเชิญด้วยโภคทรัพย์แม้ด้วยตนเอง.
พระเจ้าอังคติราชอันพระนารทฤาษีกล่าวข่มขู่ด้วยประการฉะนี้ ก็หมด
ปฏิภาณที่จะตรัสโต้ตอบ. มหาชนต่างพากันร่าเริงยินดี เล่าลือกันทั่วพระนคร
ว่า วันนี้ท่านนารทฤาษีผู้เป็นเทพมีฤทธิ์มาก ปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระเจ้า-
อยู่หัวได้. ด้วยอานุภาพของพระมหาสัตว์ ชนชาวมิถิลาผู้อยู่ไกลแม้ตั้งโยชน์
ก็ได้ยินพระธรรมเทศนาของพระมหาสัตว์ในขณะนั้นสิ้นด้วยกันทุกคน. ลำดับ
นั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า พระราชานี้ยึดมิจฉาทิฏฐิเสียมั่นแล้ว จำเราจะ
ต้องคุกคามด้วยภัยในนรก ให้ละมิจฉาทิฏฐิแล้วให้ยินดีในเทวโลกอีกภาย
หลัง ดังนี้แล้วจึงกราบทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงละทิฎฐิ
ไซร้ ก็จักต้องเสด็จสู่นรกซึ่งเต็มไปด้วยทุกขเวทนา แล้วเริ่มกล่าวนิรยกถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 281
ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไปจากที่นี่แล้ว
จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ในนรกนั้น ซึ่งถูก
ฝูงการุมยื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พัน
หนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรก ถูกฝูง
กา ฝูงแร้ง ฝูงสุนัข รุมกัดกิน ตัวขาด กระจัด-
กระจาย เลือดไหลโทรม.
ก็แล ครั้นพระนารทฤาษี พรรณนาถึงนรกอันเต็มไปด้วยฝูงกาและ
นกเค้าแก่ท้าวเธอแล้ว จึงกราบทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ไปเกิดในที่นั้น ก็จัก
บังเกิดในโลกันตนรก เพื่อจะทูลชี้แจงโลกันตนรกนั้นถวายจึงกล่าวคาถาว่า
ในโลกกันตนรกนั้นมืดที่สุด ไม่มีพระจันทร์และ
พระอาทิตย์ โลกันตรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อน่ากลัว กลาง
คืนกลางวัน ไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์คนไรเล่า จะ
พึงเที่ยวไปในสถานที่เช่นนั้นได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธตม ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร
มิจฉาทิฎฐิบุคคลบังเกิดในโลกันตนรกใด ในโลกันตนรกนั้นมืดที่สุด เป็นที่
ห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. บทว่า สทา ตุมุโล ความว่า นรกนั้น มี
ความมืดตื้ออยู่เป็นนิจ. บทว่า โฆรรูโป ความว่า นรกนั้นเป็นที่หวาดกลัว
อย่างยิ่ง. บทว่า สา เนว รตฺติ น ทิวา ความว่า ในนรกนั้นกลางคืน
กลางวันก็ไม่ปรากฏเลย. บทว่า โก วิจเร ความว่า ใครจักเที่ยวไป ยังความ
พยายามให้สำเร็จเล่า.
ครั้นพระนารทฤาษีพรรณนาโลกันตนรกนั้นถวายแล้ว จึงทูลชี้แจงต่อ
ไปว่า ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงละมิจฉาทิฏฐิ ก็จักต้องได้รับ
ทุกขเวทนาแม้อื่น ๆ อีกไม่สิ้นสุด แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 282
ในโลกันตนรกนั้น มีสุนัขอยู่ ๒ เหล่า คือด่าง
เหล่า ๑ ดำเหล่า ๑ ล้วนมีร่างกายกำยำล่ำสันแข็งแรง
ย่อมพากันมากัดกิน ผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้ ไปตกอยู่
ในโลกันตนรกด้วยเขี้ยวเหล็ก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ปนฺณฺณ ความว่า ผู้จุติจาก
มนุษยโลกนี้. แม้ในนรกอื่นก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลาย
พึงให้สถานที่นรกทั้งหมดนั้นพิศดาร โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังพร้อมกับ
ความพยายามของนายนิรยบาลนั้นแล แล้วพึงพรรณนาบทที่ยังไม่ง่ายแห่งคาถา
นั้น ๆ ว่า
ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะ
มหาบพิตร ผู้ตกอยู่ในนรก ถูกสุนัขอันทารุณร้ายกาจ
นำทุกข์มาให้ รุมกัดกินตัวขาดกระจัดกระจาย เลือด
ไหลโทรมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺเทหิ แปลว่า ทารุณ. บทว่า พาเลหิ
แปลว่า ผู้ร้ายกาจ. บทว่า อฆมฺมิเกหิ ความว่า ผู้นำความคับแค้นมาให้ คือ
นำความทุกข์มาให้.
และในนรกอันร้ายกาจ พวกนายนิรยบาลชื่อ
กาลูปกาละ ผู้เป็นข้าศึก พากันเอาดาบและหอกอัน
คมกริบทิ่มแทงนรชนผู้ทำกรรมชั่วไว้ในภพก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนนฺติ วิชฺฌนฺติ จ ความว่า พวก
นายนิรยบาล เอาดาบและหอกสับฟันและทิ่มแทงกระทำร่างกายทั้งสิ้น ให้เป็น
ชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้ตกไปบนแผ่นดินเหล็กอันไฟลุกโชน. บทว่า กาลูปกาลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 283
ได้แก่ นายนิรยบาลทั้งหลายผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า นิรยมฺหิ ความว่า นาย
นิรยบาล กล่าวคือ กาปลูปกาลา ผู้อยู่ในนรกนั้นนั่นเอง. บทว่า ทุกฺกฏกมฺม-
การึ ได้แก่ ผู้กระทำกรรมชั่วด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ.
ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะ
มหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงที่ท้องที่สีข้าง พระอุทรพรุนวิ่ง
วุ่นอยู่ในนรก ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ความว่า กะมหาบพิตร ผู้ถูกสับฟัน
ทิ่มแทงอยู่อย่างนั้นในนรกนั้น. บทว่า วชนฺต ความว่า ผู้วิ่งไปข้างโน้น
ข้างนี้. บทว่า กุจฺฉิสฺมึ ความว่า ถูกทิ่มแทงที่ท้องและที่สีข้าง.
ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนต่าง ๆ ชนิด คือ
หอก ดาบ แหลน หลาวมีประกายวาวดังถ่านเพลิง
ตกลงบนศีรษะ สายอัสนีศิลาอันแดงโชนตกต้องสัตว์
นรกผู้มีกรรมหยาบช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารมิวจฺจิมนฺโต ความว่า ฝน
อาวุธมีประกายวาว ดังถ่านเพลิงที่ลุกโชนตกบนศีรษะ. บทว่า ลุทฺทกมฺเม
ความว่า ห่าฝนสายอัสนีศิลาอันลุกโชนตั้งขึ้นบนอากาศ แล้วตกกระหน่ำลง
บนศีรษะของผู้ทำกรรมชั่วเหล่านั้น เหมือนสายอัสนีตกลงในเมื่อฝนตก.
และในนรกนั้นมีลมร้อนยากที่จะทนได้ สัตว์ใน
นรกนั้น ย่อมไม่ได้รับความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะ
พึงไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่ง
ทรงกระสับกระส่ายวิ่งไปมาหาที่ซ่อนเร้นมิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตรปิ แปลว่า แม้นิดน้อย. บทว่า
ธาวนฺต แปลว่า แล่นไปอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 284
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะ
มหาบพิตรผู้ถูกเทียมในรถวิ่งไปวิ่งมา ต้องเหยียบแผ่น
ดินอันลุกโพลง ถูกแทงด้วยประตักอยู่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รเถสุ ยุตฺต ความว่า เทียมที่รถอัน
แล้วด้วยโลหะ อันลุกโชนนั้นๆ ตามวาระโดยวาระ. บทว่า กมนฺต แปลว่า
ก้าวไปอยู่. บทว่า สุโจทยนฺต แปลว่า ไปทวงอยู่ด้วยดี.
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก จะ
มหาบพิตรซึ่งทนไม่ได้ วิ่งไปขึ้นภูเขาอันดาดไปด้วย
ขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง ตัวขาดกระจัด
กระจายเลือดไหลโทรมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมารุหนฺต ความว่า กะมหาบพิตร
ผู้อดทนการประหารด้วยอาวุธอันลุกโชนไม่ได้ แล้ววิ่งขึ้นสู่ภูเขาอันล้วนแล้ว
ด้วยโลหะอันลุกโชน ดารดาษไปด้วยคนตาบหอกอันลุกโชน.
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะ
มหาบพิตร ซึ่งต้องวิ่งเหยียบกองถ่านเพลิงเท่าภูเขา ลุก
โพลงน่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่ไหว ร้องครวญ
ครางอยู่ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺพฑฺฒคตฺต ได้แก่ ร่างกายที่ถูก
ไฟไหม้ด้วยดี.
ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคม
กริบ กระหายเลือดคน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 285
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺฏกาหิ จิตา แปลว่า เต็มไปด้วย
หนามอันลุกโพลง. บทว่า อโยมเยหิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงหนามอัน
เต็มไปด้วยเหล็ก.
หญิงผู้ประพฤติล่วงสามี และชายผู้กระทำชู้กับ
ภรรยาของผู้อื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทำตามคำสั่งของ
พระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น.
บรรดาเหล่านั้น บทว่า ตมารุหนฺติ ความว่า ย่อมขึ้นต้นงิ้ว
เห็นปานนั้น. บทว่า ยมนิทฺเทสการิภิ ความว่า อันนายนิรบาลผู้กระทำ
ตามคำของพระยายม.
ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะมหาบพิตร
ซึ่งต้องขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหลเปรอะเปื้อน มีกาย
เหี้ยมเกรียม หนึ่งปอกเปิกกระสับกระส่าย เสวยเวทนา
อย่างหนัก ใครเล่าจะไปขอทรัพย์จำนวนเท่านั้นกะ
พระองค์ผู้หอบแล้วหอบอีก อันเป็นโทษของบุรพธรรม
หนึ่งปอกเปิก เดินทางผิดได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิททฺธกาย แปลว่า มีกายถูกกำจัด
แล้ว. บทว่า วิตจ ความว่า เหมือนดอกทองหลางและดอกทองกวาว เพราะ
ถูกตัดหนังและเนื้อ.
ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็กคมกริบ
กระหายเลือดคน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสิปตฺตจิตา แปลว่า เต็มไปด้วยใบ
ดาบเหล็กอันคมกริบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 286
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะ
มหาบพิตร ซึ่งขึ้นอยู่บนต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบใบ
เหล็กอันคมดังดาบ ก็ถูกใบงิ้วอันคมนั้นบาด มีตัว
ขาดกระจัดกระจายเลือกไหลโทรมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมานุปตฺต ความว่า กะมหาบพิตร
ผู้ซึ่งขึ้นอยู่บนต้นงิ้วนั้น ทนไม่ไหวต่ออาวุธเครื่องประหารของนายนิรยบาล.
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์จำนวนเท่านั้น กะมหา-
บพิตร ซึ่งเดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้ว มีใบเป็นดาบ
ไปพลัดตกลงในแม่น้ำเวตรณีได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปติต แปลว่า ตกลง.
แม่น้ำเวตรณี น้ำเป็นกรด เผ็ดร้อน ยากที่จะ
ข้ามได้ ดาดาษไปด้วยบัวเหล็กใบคมกริบไหลอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขรา แปลว่า หยาบ คือ เผ็ดร้อน.
บทว่า อโยโปกฺขรสญฺฉนฺนา ความว่า ปิดด้วยใบบัวเหล็ก อันคม
กริบอยู่โดยรอบ บทว่า ปตฺเตหิ ความว่า แม่น้ำนั้นคมกริบไหลออกจาก
ใบเหล่านั้น.
ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์นั้นกะมหาบพิตร ซึ่ง
มีตัวขาดกระจัดกระจาย เปรอะเปื้อนไปด้วยโลหิต
ลอยอยู่ในเวตรณีนที่นั้น หาที่เกาะมิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตรญฺเ ความว่า ในเวตรณีนที คือ
แม่น้ำกรดเวตรณี.
จบนิรยกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 287
ส่วนพระเจ้าอังคติราช ได้ทรงสดับนิรยกถาของพระมหาสัตว์นี้ ก็มี
พระหฤทัยสลด เมื่อจะทรงแสวงหาที่พึ่งกะพระมหาสัตว์ จึงตรัสว่า
ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้า
หลงสำคัญผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤาษี ข้าพเจ้าได้ฟัง
คาถาภาษิตของท่านแล้ว ย่อมร้อนใจ เพราะกลัว-
มหาภัย ท่านฤาษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
ประหนึ่งน้ำสำหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เกาะเป็น
ที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปสำหรับส่องสว่าง
ในที่มืดฉะนั้นเถิด ท่านฤาษี ขอท่านจงสอนอรรถและ
ธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำความ
ผิดไว้ส่วนเดียว ข้าแต่พระนารทะ ขอท่านจงบอก
ทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้าจะไม่พึงตกไปใน
นรกด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยสานุตปฺปามิ ความว่า ตามเดือด-
ร้อนเพราะภัยแห่งบาปที่ตนทำไว้. บทว่า มหา จ เม ภยา ความว่า และ
นิรยภัยใหญ่อันบังเกิดแก่ข้าพเจ้า. บทว่า ทีปโวเฆ ความว่า เป็นดังเกาะ
ในห้วงน้ำฉะนั้น ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นดังท่ามกลางน้ำในกายที่ไม่ติดทั่ว
เหมือนเกาะของบุคคลผู้ไม่ได้ที่พึ่งแห่งเรือที่อัปปางในห้วงน้ำหรือในมหาสมุทร
ท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนแสงสว่างที่โชติช่วงแก่ผู้ไปในที่มืด. บทว่า
อตีตมทฺธา อปราธิต มยา ความว่า ข้าพเจ้าได้กระทำความผิดอันเป็น
กรรมชั่วไว้ในอดีต ล่วงกุศลทำแต่อกุศลเท่านั้น.
ครั้นเมื่อพระมหาสัตว์ ทูลบอกทางอันบริสุทธิ์แก่พระเจ้าอังคติราชนั้น
เมื่อจะแสดงซึ่งข้อปฏิบัติชอบของพระราชาในปางก่อน โดยยกเป็นอุทาหรณ์
จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 288
พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ ท้าว
เวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ
ท้าวสิวิราชและพระราชาพระองค์อื่น ๆ ได้ทรงบำรุง
สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์ ฉันใด
ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม่มหาบพิตร
ก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประพฤติธรรม
ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศภายในพระ-
ราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า ใครหิว ใคร
กระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบ-
ไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จงนุ่งห่มผ้าสีต่าง ๆ ตามปรารถนา
ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้า อย่างเนื้ออ่อน
อย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้ ในพระนคร
ของพระองค์ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า มหาบพิตรอย่าได้ใช้
คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชราเหมือนดังก่อน และ
จงทรงพระราชทาน เครื่องบริหารแก่บุคคลที่เป็นกำลัง
เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต จ ความว่า พระราชาทั้ง ๖ เหล่า
นั้นคือ ท้าวธตรฐ ท้าวเวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ
ท้าวสิวิราช และพระราชาอื่น ๆ ได้ประพฤติธรรม อันเป็นวิสัยแห่งท้าวสักกะ
ฉันใด แม้พระองค์ก็พึงเว้นอธรรม พึงประพฤติธรรมฉันนั้น. บทว่า
โก ฉาโต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร พวกราชบุรุษผู้ถืออาหารจงประกาศไป
ในวิมาน ในบุรี ในราชนิเวศน์ และในพระนครของพระองค์ว่า ใครหิว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 289
ใครกระหาย ดังนี้เพื่อประสงค์จะให้แก่พวกเหล่านั้น. บทว่า โก มาล
ความว่า จงโฆษณาว่า ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใคร
ปรารถนาสีแดงต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง จงให้ผ้าสีนั้น ๆ ใครเป็นคนเปลือย
กายจักนุ่งห่ม. บทว่า โก ปนฺเถ ฉตฺตมาเทติ ความว่า ใครจะกั้นร่มใน
ในหนทาง. บทว่า ปาทุกา จ ความว่า และใครจะปรารถนารองเท้าอ่อน-
นุ่มและสวยงาม. บทว่า ชิณฺณ โปส ความว่า ผู้ใดเป็นอุปัฏฐากของท่าน
จะเป็นอำมาตย์ หรือ ผู้อื่นที่ทำอุปการะไว้ก่อน ในเวลาที่คร่ำคร่าเพราะชรา
ไม่สามารถจะทำการงานได้เหมือนในก่อน. แม้โคและม้าเป็นต้น ในเวลาแก่
ก็ไม่สามารถจะทำการงานได้. แม้ในบรรดาโคและม้าเป็นต้น แม้ตัวเดียว
ท่านก็อย่าใช้ในการงานทั้งหลายเช่นในก่อน. จริงอยู่ ในเวลาแก่ สัตว์เหล่านั้น
ไม่สามารถจะทำการงานเหล่านั้นได้ การบริหารในบทว่า ปริหารญฺจ นี้ท่าน
กล่าว สักการะ. ท่านอธิบายไว้ว่า ก็ผู้ใดเป็นกำลังของท่าน คือเป็นการกระทำ
อุปการะมาก่อนโดยเป็นเจ้าหน้าที่ ท่านพึงให้การบริหารแก่เขาเหมือนก่อนมา.
จริงอยู่ อสัตบุรุษในเวลาที่บุคคลสามารถเพื่อจะทำอุปการะแก่ตนย่อมทำความ
นับถือ ในเวลาที่เขาไม่สามารถก็ไม่แลดูบุคคลผู้นั้นเลย ส่วนสัตบุรุษใน
เวลาสามารถก็ดี ในเวลาไม่สามารถก็ดี ย่อมสามารถกระทำสักการะเหมือน
อย่างนั้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น แม้พระองค์ก็พึงกระทำอย่างนั้นแล.
ดังนั้น พระมหาสัตว์ครั้นแสดงทานกถาและศีลกถาแล้ว บัดนี้เพราะ
เหตุที่พระราชานี้ ย่อมยินดีในพรรณนาโดยเปรียบเทียบด้วยรถในอัตภาพ
ของตน เพราะเหตุดังนี้นั้นเมื่อจะแสดงธรรมโดยเปรียบเทียบด้วยรถอันให้
ความใคร่ทั้งปวงจึงกล่าวว่า
มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของพระองค์
ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นสารถี กระปรี้กระเปร่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 290
(เพราะปราศจากถิ่นมิทธะ) อันมีอวิหิงสาเป็นเพลาที่
เรียบร้อยดี มีการบริจารเป็นหลังคา มีการสำรวมเท้า
เป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการสำรวม
ท้องเป็นน้ำมันหยอด มีการสำรวมวาจาเป็นความเงียบ
สนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอันบริบูรณ์ มีการ
กล่าวคำไม่ส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้สนิท มีการ
กล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา มีการ
กล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มีศรัทธาและ
อโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตนและกราบไหว้
เป็นทูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ มีการสำรวม
ศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธเป็นอาการไม่
กระเทือน มีกุศลกรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะ
เป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มีความคิด
เครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้ำ
มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความ
ไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด
มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติของ
นักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบังเหียน
มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเช่นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็นเครื่องนำ
ทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด ส่วน
ความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญาเป็น
เครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของมหา-
บพิตรที่กำลังแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 291
นั้นแลเป็นสารถี ถ้าความประพฤติชอบและความ
เพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทุก
อย่าง จะไม่นำไปบังเกิดในนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รถสญฺาโต ความว่า ดูก่อนมหา-
บพิตร พระองค์ทรงสำคัญว่า พระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ. บทว่า
มโนสารถิโก ความว่า ประกอบด้วยกุศลจิตคือใจเป็นนายสารถี. บทว่า ลหุ
ได้แก่ เป็นผู้เบาเพราะปราศจากถิ่นมิทธะ. บทว่า อวิหึสาสาริตกฺโข ความ
ว่า ประกอบด้วยเพลาอันเป็นเครื่องแล่นอันสำเร็จเรียบร้อยแล้วไปด้วยอวิหึสา.
บทว่า สวภาคปฏิจฺฉโท ความว่า ประกอบด้วยหลังคา อันสำเร็จด้วยการ
จำแนกทาน. บทว่า ปาทสญฺมเนมิโย แปลว่า ประกอบด้วยกงอันสำเร็จ
ด้วยการสำรวมเท้า. บทว่า หตฺถสญฺมปกฺขโร แปลว่า ประกอบด้วย
กระพองอันสำเร็จด้วยการสำรวมมือ. บทว่า กุจฺฉิสญฺมนพฺภนฺโต ความว่า
หยอดด้วยน้ำมัน อันสำเร็จด้วยโภชนะพอประมาณ กล่าวคือการสำรวมท้อง.
บทว่า วาจาสญฺมกูชโน แปลว่า มีการสำรวมวาจาเป็นการเงียบสนิท.
บทว่า สจฺจวากฺยสมตตงฺโค ความว่า มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถบริบูรณ์
ไม่บกพร่อง. บทว่า อเปสุญฺสุสญฺโต ความว่า มีการไม่กล่าวคำส่อ
เสียดเป็นการสำรวมสัมผัสอย่างสนิท. บทว่า คิราสขิลเนลงฺโค ความว่า
มีการกล่าวคำอ่อนหวานน่าคบเป็นสหาย ไม่มีโทษเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา.
บทว่า มิตภาณิสิเลสิโต ความว่า มีการกล่าวพอประมาณอันสละสลวยเป็น
เครื่องผูกรัดด้วยดี. สทฺธาโลภสุสงฺขาโร ความว่า ประกอบด้วยเครื่อง
ประดับอันงาม อันสำเร็จด้วยศรัทธา กล่าวคือการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
และสำเร็จด้วยอโลภะ. บทว่า นิวาตญฺชลิกุพฺพโร ความว่า ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 292
ทูบรถอันสำเร็จด้วยความประพฤติอ่อนน้อม และสำเร็จด้วยอัญชลีกรรมแก่ผู้
มีศีล. บทว่า อถทฺธตานตีสาโก ความว่า ไม่มีความกระด้างหน่อยหนึ่งเป็น
งอนรถ เพราะไม่มีความกระด้างกล่าวคือ ความเป็นผู้มีวาจาน่าคบเป็นสหาย
และมีวาจานำมาซึ่งความบันเทิงใจ. บทว่า สีลสวรนทฺธโน ความว่า ประกอบ
ด้วยเชือกขันชะเนาะ กล่าวคือการสำรวมจักขุนทรีย์และมีศีล ๕ ไม่ขาดเป็นต้น
บทว่า อกฺโกธนมนุคฺฆาฏี ความว่า ประกอบด้วยการไม่กระทบกระทั่ง
กล่าวคือความเป็นผู้ไม่โกรธ. บทว่า ธมฺมปณฺฑรฉตฺตโก ได้แก่ ประกอบ
ด้วยเศวตฉัตรอันขาวผ่อง กล่าวคือ กุศลกรรมบถธรรม ๑๐ ประการ. บทว่า
พาหุสจฺจมุปาลมฺโพ ได้แก่ประกอบด้วยสายทาบ อันสำเร็จด้วยความเป็น
พหูสูตอันอิงอาศัยประโยชน์. บทว่า ิติจิตฺตมุปาธิโย ความว่า ประกอบ
ด้วยเครื่องลาดอันยอดเยี่ยมหรือด้วยราชอาสน์อันตั้งมั่น กล่าวถึงความเป็นผู้มี
อารมณ์เป็นหนึ่ง อันตั้งมั่นด้วยดี โดยภาวะไม่หวั่นไหว. บทว่า กาลลญฺญุ-
ตาจิตฺตสาโร ความว่า ประกอบด้วยจิตคือด้วยกุศลจิตอันเป็นสาระ อันรู้จัก
กาลแล้วจึงกระทำ กล่าวคือความเป็นผู้รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลที่ควรให้ทาน
นี้กาลที่ควรรักษาศีล. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ควร
ปรารถนาทัพสัมภาระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ลิ่มแห่งรถและสิ่งอันบริสุทธิ์ สำเร็จแต่
สิ่งอันเป็นสาระฉันใด รถนั้นก็ควรแก่การตั้งอยู่ได้นานฉันนั้น แม้รถคือกายของ
พระองค์ก็เหมือนกัน จึงมีจิตอันหมดจดรู้จักกาลแล้วจึงกระทำ จงประกอบด้วย
กุศลสาระมีทานเป็นต้น. บทว่า เวสารชฺชติทณฺฑโก ความว่า แม้เมื่อแสดง
ในท่ามกลางบริษัท จงประกอบด้วยไม้สามขากล่าวคือความเป็นผู้แกล้วกล้า.
บทว่า นิวาตวุตฺติโยตฺตงฺโค ความว่า ประกอบด้วยเชือกผูกแอกอันอ่อนนุ่ม
กล่าวคือความประพฤติในโอวาท จริงอยู่ม้าสินธพย่อมนำรถอันผูกได้ด้วยเชือก
ผูกแอกอันอ่อนนุ่มไปได้สะดวกพระวรกายของพระองค์ก็เหมือนกัน อันผูกมัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 293
ด้วยความประพฤติในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมแล่นไปได้อย่างสะดวก.
บทว่า อนติมานยุโค ลหุ ความว่า ประกอบด้วยแอกเบากล่าวคือความไม่
ทนงตัว. บทว่า อลีนจิตฺตสนฺถาโร ความว่า รถคือพระวรกายของพระองค์
จงมีจิตไม่ท้อถอยไม่คดโกงด้วยกุศลมีทานเป็นต้น ย่อมงามด้วยเครื่องลาดอัน
โอฬารสำเร็จด้วยงา เช่นเดียวกับเครื่องลาดจิตของพระองค์ ที่ไม่หดหู่ย่อหย่อน
ด้วยกุศลกรรมมีทานเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า วุฑฺฒิเสวี รโชหโต ความว่า รถ
เมื่อแล่นตามทางที่มีธุลี อันไม่เสมอ เกลื่อนกล่นไปด้วยธุลี ย่อมไม่งาม เมื่อ
แล่นโดยหนทางสม่ำเสมอปราศจากธุลี ย่อมงดงามฉันใด แม้รถคือกายของ
พระองค์ก็ฉันนั้น ดำเนินไปตามทางตรงมีพื้นสม่ำเสมอเพราะเสพกับบุคคลผู้
เจริญด้วยปัญญา จงเป็นผู้ขจัดธุลี. บทว่า สติ ปโตโท ธีรสฺส ความว่า
พระองค์มีนักปราชญ์คือบัณฑิต จงมีสติตั้งมั่นอยู่ที่รถเป็นประตัก. บทว่า ธิติ
โยโค จ รสฺมิโย ความว่า พระองค์มีความตั้งมั่น กล่าวคือมีความเพียรไม่
ขาดสาย และจงมีความพยายาม กล่าวคือความประกอบในข้อปฏิบัติอันเป็น
ประโยชน์ และจงมีบังเหียนอันมั่นคงที่ร้อยไว้ในรถของพระองค์นั้น. บทว่า
มโน ทนฺต ปถ เนติ สมทนฺเตหิ วาชิภิ ความว่า รถที่แล่นไปนอกทางด้วย
ม้าที่ฝึกไม่สม่ำเสมอ ย่อมแล่นผิดทาง แต่เทียมด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ศึกษาดีแล้ว
ย่อมแล่นไปตามทางตรงทีเดียว ฉันใด แม้ใจของพระองค์อันฝึกแล้วก็ฉันนั้น
ย่อมละพยศไม่เสพทางผิด ถือเอาแต่ทางถูกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จิตที่ฝึกดีแล้ว
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ จึงยังกิจแห่งม้าสินธพ แห่งรถคือพระวรกายของพระองค์
ให้สำเร็จ. บทว่า อิจฺฉา โลโภ จ ความว่า ความปรารถนาในวัตถุที่ยังไม่มาถึง
และความโลภที่มาถึงเข้า เพราะฉะนั้นความปรารถนาและความโลภนี้ จึงชื่อว่า
เป็นทางผิดเป็นทางคดโกง เป็นทางไม่ตรง ย่อมนำไปสู่อบายถ่ายเดียว แต่การ
สำรวมในศีล อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 294
ชื่อว่าทางตรง. บทว่า รูเป ความว่า พระองค์จงมีเป็นปัญญาเป็นเครื่องรถคือ
พระวรกายของพระองค์ผู้ถือเอานิมิตในกามคุณมีรูปเป็นต้นอันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านั้น เหมือนประตักสำหรับเคาะห้ามม้าสินธพแห่งราชรถที่แล่นออกนอก
ทาง ก็ปัญญานั้นคอยห้ามรถคือพระวรกายนั้นจากการแล่นไปนอกทาง ให้ขึ้น
สู่ทางตรงคือทางสุจริต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตนาว ความว่า ก็
ชื่อว่า นายสารถีอื่น ย่อมไม่มีในรถคือพระวรกายของพระองค์นั้น พระองค์
นั้นแหละเป็นสารถีของพระองค์เอง. บทว่า สเจ เอเตน ยาเนน ความว่า
ถ้ารถใดมียานเป็นเครื่องแล่นไปเห็นปานนั้นมีอยู่. บทว่า สมจริยา ทฬฺหา
ธิติ ความว่า รถคือกายใด ย่อมมีความประพฤติสม่ำเสมอ และมีความตั้ง
มั่นคงถาวร รถนั้นก็จะไปด้วยยานนั้น เพราะเหตุที่รถนั้นย่อมให้ความใคร่
ทั้งปวง คือย่อมให้ความใคร่ทั้งปวงตามที่มหาบพิตรปรารถนา เพราะเหตุนั้น
พระองค์ไม่ต้องไปนรกแน่นอน พระองค์ทรงยานนั้นไว้โดยส่วนเดียว พระ-
องค์ไม่ไปสู่นรกด้วยยานนั้น มหาบพิตร จะตรัสข้อใดกะอาตมภาพว่า นารทะ
ขอท่านจงบอกทางแห่งวิสุทธิ ตามที่อาตมาจะไม่พึงตกนรกด้วยประการฉะนี้
แล้ว ความข้อนั้นอาตมภาพได้บอกแก่พระองค์แล้วโดยอเนกปริยายแล.
ครั้นพระนารทฤาษีแสดงธรรมถวายพระเจ้าอังคติราช ให้ทรงละ
มิจฉาทิฏฐิ ให้ตั้งอยู่ในศีลอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาทกะพระราชาว่า ตั้งแต่นี้ไป
พระองค์จงละปาปมิตร เข้าไปใกล้กัลยาณมิตร อย่าทรงประมาทเป็นนิตย์ ดังนี้
แล้วพรรณนาคุณของพระนางรุจาราชธิดา ให้โอวาทแก่ราชบริษัทและทั้งนาง
ใน เมื่อมหาชนเหล่านั้นกำลังดูอยู่นั่นแลได้กลับไปสู่พรหมโลก ด้วยอานุภาพ
อันใหญ่.
พระเจ้าอังคติราช ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพรหมนารทะ ละมิจฉา
ทิฏฐิ บำเพ็ญบารมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 295
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราก็ทำลายข่ายคือ ทิฏฐิแล้ว
จึงทรมานอุรุเวลกัสสปะนั่นเอง เมื่อจะประชุมชาดก จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่า
นี้ในตอนจบว่า
อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอำมาตย์
เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นสารีบุตร คุณา
ชีวกผู้อเจลกเป็นสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร พระนางรุจา
ราชธิดา ผู้ทรงยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์
พระเจ้าอังคติราช ผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวล
กัสสปะ มหาพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้ง
หลายจงทรงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถากมหานาทกัสสปชาดกที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 296
๙. วิธุรชาดก
พระวิธุรบัณฑิตบำเพ็ญสัจบารมี
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๓] เธอมีผิวพรรณเหลือง ซูบผอม ถอย
กำลัง เมื่อก่อนรูปพรรณของเธอมิได้เป็นเช่นนี้เลย
ดูก่อนพระน้องวิมลา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก เวทนา
ในร่างกายของเธอเป็นเช่นไร.
พระนางวิมลาเทวีทูลว่า
[๘๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมหมู่นาค ชื่อว่า
ความอยากได้โน่นอยากได้นี่ เขาเรียกกันว่าเป็นธรรมดา
ของหญิงทั้งหลายในหมู่มนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประ-
เสริฐสุดในหมู่นาค หม่อมฉันปรารถนาดวงหทัยของ
ของวิธุรบัณฑิต ที่บุคคลนำมาได้โดยชอบเพคะ.
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๕ ] ดูก่อนพระน้องวิมลา เธอปรารถนาหทัย
ของวิธุรบัณฑิต ดังจะปรารถนาพระจันทร์ พระอาทิตย์
หรือลม เพราะว่าวิธุรบัณฑิตยากที่บุคคลจะเห็นได้
ใครจักนำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพมิได้.
พระนางอิรันทตีทูลถามว่า
[๘๙๖] ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสม-
เด็จพระบิดาจึงทรงซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 297
พระบิดา เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้า
แต่สมเด็จพระบิดาผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เกรงขามของศัตรู
เหตุไรหนอ สมเด็จพระบิดาจึงทรงเป็นทุกข์พระทัย
อย่าทรงเศร้าโศกไปเลย เพคะ.
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๗] อิรันทตีลูกรัก ก็พระมารดาของเจ้า
ปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เพราะวิธุรบัณฑิต
ยากที่บุคคลจะเห็นได้ ใครจักนำวิธุรบัณฑิต มาใน
นาคพิภพนี้ได้.
[๘๙๘] เจ้าจงไปเที่ยวแสวงหาสามี ซึ่งสามารถ
นำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้ ก็นางนาคมาณพวิกานั้น
ได้สดับพระดำรัสของพระบิดาดังนี้แล้ว เป็นผู้มีจิตชุ่ม
ด้วยกิเลส ออกเที่ยวแสวงหาสามีในคืนนั้น.
นางอิรันทตีกล่าวว่า
[๘๙๙] คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือ
มนุษย์ผู้ฉลาดสามารถจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงได้ คน
ไหนก็ตามที่จักเป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๐๐] ดูก่อนนางผู้มีนัยน์ตาหาที่ติมิได้ เธอจง
เบาใจเถิด เราจักเป็นสามีของเธอ จักเป็นผู้เลี้ยงดูเธอ
ด้วยปัญญาของเรา อันสามารถจะนำเนื้อดวงใจของ
วิธุรบัณฑิตมาให้ จงเบาใจเถิด เธอจักเป็นภรรยา
ของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 298
พระศาสดาตรัสว่า
[๙๐๑] นางอิรันทตีผู้มีใจกำหนัดรักใคร่ เพราะ
เคยร่วมอภิรมย์กันมาในภพก่อน ได้กล่าวกับปุณณก-
ยักษ์ว่า มาเถิดท่าน เราจักไปในสำนักพระบิดาของ
ดิฉัน พระบิดาของดิฉันจักตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่
ท่าน.
[๙๐๒] นางอิรันทตีประดับประดานุ่งผ้าเรียบร้อย
ทัดทรงดอกไม้ ประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์ จูงมือ
ปุณณกยักษ์เข้าไปสู่สำนักแห่งพระบิดา.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๐๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นาค
ขอพระองค์ได้ทรงโปรดสดับถ้อยคำของข้าพระองค์
ขอพระองค์จงทรงรับสินสอดตามสมควร ข้าพระองค์
ปรารถนาพระนางอิรันทตี ขอพระองค์ ได้ทรงพระ-
กรุณาให้ข้าพระองค์ได้อยู่ร่วมกับพระนางอิรันทตีเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอได้ทรงพระกรุณารับสิน
สอดนั้น คือ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ รถเทียมม้า ๑๐๐
เกวียนบรรทุกของเต็ม ล้วนแก้วต่าง ๆ ๑๐๐ ขอได้
โปรดพระราชทานพระราชธิดาอิรันทตี แก้ข้าพระองค์
เถิดพระเจ้าข้า.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๙๐๔] ขอท่านจงรออยู่จนเราได้ปรึกษาหารือกับ
บรรดาญาติ มิตร และเพื่อนที่สนิทเสียก่อน กรรมที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 299
กระทำด้วยการไม่ปรึกษาหารือ ย่อมเดือดร้อนในภาย
หลัง.
[๙๐๕] ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จเข้าไป
ยังนิเวศน์ ตรัสปรึกษากับพระชายาเป็นพระคาถา
ความว่า ปุณณกยักษ์มาขอลูกอิรันทตีกะเรา เราจะให้
ลูกอิรันทตี ซึ่งเป็นที่รักของเรา แก่ปุณณกยักษ์นั้น
เพราะได้ทรัพย์เป็นจำนวนมากหรือ.
พระนางวิมลาเทวีตรัสว่า
[๙๐๖] ปุณณกยักษ์ไม่พึงได้ลูกอิรันทตีของเรา
เพราะทรัพย์ เพราะสิ่งที่ปลื้มใจ แต่ถ้าปุณณกยักษ์
ได้หทัยของวิธุรบัณฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยชอบ
ธรรม เพราะความชอบนั้นแล เขาจะพึงได้ลูกสาว
ของเรา หม่อมฉันปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่าหทัย
ของวิธุรบัณฑิตหามิได้.
[๙๐๗] ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จออก
จากนิเวศน์ แล้วตรัสเรียกปุณณกยักษ์มาตรัสว่า ท่าน
ไม่พึงได้ลูกอิรันทตีของเราเพราะทรัพย์ เพราะสิ่งปลื้ม
ใจ ถ้าท่านได้หทัยของวิธุรบัณฑิต นำมาในนาคพิภพ
นี้โดยชอบธรรม ท่านจะพึงได้ลูกสาวของเรา เรา
ปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่าหทัยของวิธุรบัณฑิตหา
มิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 300
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ในโลกนี้ คน
บางพวกย่อมเรียกคนใดว่า เป็นบัณฑิต คนพวกอื่น
กลับเรียกคนนั้นนั่นแลว่าเป็นพาล ในเรื่องนี้ คน
ทั้งหลายยังกล่าวแย้งกันอยู่ ขอได้ตรัสบอกแก่ข้าพระ-
องค์ พระองค์ทรงเรียกใครว่าเป็นบัณฑิต.
นาคราชตรัสว่า
[๙๐๙] บัณฑิตชื่อว่าวิธุระ ผู้ทำการสั่งสอน
อรรถธรรมแก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช ถ้าท่านได้
ฟังได้ยินมาแล้ว ท่านจงไปนำบัณฑิตนั้นมา ครั้นท่าน
ได้มาโดยธรรมแล้ว อิรันทตีธิดาของเราจงเป็นภรรยา
ของท่านเถิด.
[๙๑๐] ฝ่ายปุณณกยักษ์ ได้สดับพระดำรัสของ
ท้าววรุณนาคราชดังนี้แล้ว ยินดียิ่งนัก ลุกขึ้นแล้ว
ไปสั่งบุรุษคนใช้ของตนผู้อยู่ในที่นั้นว่า เจ้าจงนำม้า
อาชาไนยที่ประกอบไว้แล้วมา ณ ที่นี้ ม้าสินธพอาชา-
ไนยนั้น มีหูทั้งสองประดับด้วยทองคำ กีบหุ้มด้วย
แก้วแดง มีเครื่องประดับอกล้วนแล้วด้วยทองชมพูนุท
อันสุกใส.
พระศาสดาตรัสว่า
[๙๑๑] ปุณณกยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว แต่งผม
และหนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็นพาหนะของเทวดา
เหาะไปในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น กำหนัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 301
แล้วด้วยกามราคะ ปรารถนานางอิรันทตีนาคกัญญา
ไปทูลท้าวกุเวรเวสวัณผู้เรื่องยศ ซึ่งเป็นใหญ่แห่งหมู่
ยักษ์ว่า ภพนาคนั้นเขาเรียกชื่อว่าโภควดีนครบ้าง วาส-
นครบ้าง หิรัญญวดีนครบ้าง เป็นเมืองที่บุญกรรม
นิรมิต ล้วนแต่ทองคำ สำเร็จแก่พระยานาคผู้บริบูรณ์
ด้วยโภคทรัพย์ทุกอย่าง ป้อมและเชิงเทิน สร้างโดย
สัณฐานคออูฐ ล้วนแล้วด้วยแก้วแดงและแก้วลาย ใน
นาคพิภพนั้น มีปราสาทล้วนแล้วด้วยหิน มุงด้วย
กระเบื้องทอง ในนาคพิภพนั้น มีไม้มะม่วง ไม้
หมากเม่า ไม้หว้า ไม้ตีนเป็ด ไม้จิก ไม้การะเกด
ไม้ประยงค์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะม่วงหอม ไม้ชะบา
ไม้ยางทราย ไม้จำปา ไม้กากระทิง มะลิซ้อน มะลิลา
และไม้กะเบา ต้นไม้ในนาคพิภพเหล่านี้มีกิ่งติดต่อกัน
และกัน งามยิ่งนัก ในนาคพิภพนั้น มีต้นอินทผาลัม
อันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล มีดอกและผลล้วนไปด้วย
ทองเนืองนิตย์ ท้าววรุณนาคราชผู้มีฤทธิ์มาก เป็นผู้
ผุดขึ้นเกิดอยู่ในนาคพิภพนั้น มเหสีของพระยานาค-
ราชนั้น กำลังรุ่นสาว ทรงพระนามว่าวิมลา มีพระ
รูปพระโฉมอันประกอบด้วยสิริ งดงามดังก้อนทองคำ
สะโอดสะองดังหน่อเถาจิงจ้อดำ พระถันทั้งคู่มีสัณฐาน
ดังผลมะพลับ น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณแดงดังน้ำครั่ง
เปรียบเหมือนดอกกรรณิการ์อันแย้มบาน เปรียบดัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 302
นางอัปสรผู้อยู่ในสวรรค์ชั้นไตรทศ หรือเปรียบเหมือน
สายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ข้าพระองค์ผู้เป็น
ใหญ่ พระนางวิมลานั้นทรงแพ้พระครรภ์ ทรง
ปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ข้าพระองค์ จะ
ถวายดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต แก่ท้าววรุณนาคราช
และพระนางวิมลา เพราะการนำดวงหทัยของวิธุรบัณ-
ฑิตไปถวายแล้ว ท้าววรุณนาคราชและพระนางวิมาลา
จะพระราชทานพระนางอิรันทตีธิดา แก่ข้าพระองค์.
[๙๑๒] ปุณณกยักษ์นั้น ทูลลาท้าวกุเวรเวสวัณ
ผู้เรืองยศ เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์ แล้วไปสั่งบุรุษคนใช้
ของตนผู้อยู่ในที่นั้นว่า เจ้าจงนำม้าอาชาไนยที่ประกอบ
แล้วมา ณ ที่นี้ ม้าสินธพนั้นมีหูทั้งสองประดับด้วย
ทองคำ กีบหุ้มด้วยแก้วแดง เครื่องประดับอกล้วน
ด้วยทองคำชมพูนุทอันสุกใส ปุณณกยักษ์ผู้ประดับ
ประดาแล้ว แต่งผมและหนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็น
ยานพาหนะของเทวดา เหาะไปในอากาศกลางหาว.
[๙๑๓] ปุณณกยักษ์นั้น ได้เหาะไปสู่กรุงราช-
คฤห์อันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก เป็นนครของพระเจ้าอังคราช
อันพวกข้าศึกไม่กล้าเข้าใกล้ มีภักษาหาร และข้าวน้ำ
มากมาย ดังมสักกสารภพของท้าววาสวะ เป็นนคร
กึกก้องด้วยหมู่นกยูงและนกกระเรียน อื้ออึงด้วยฝูงนก
ต่าง ๆ ชนิด เป็นที่เสพอาศัยของฝูงทิชาชาติ มีนก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 303
ต่าง ๆ ส่งเสียงร้องอยู่อึงมี่ ภูมิภาคราบเรียบ ดารดาษ
ไปด้วยบุปผชาติดังขุนเขาหิมวันต์ ปุณณกยักษ์นั้น
ขึ้นสู่วิบุลบรรพตอันเป็นภูเขาศิลาล้วน เป็นที่อาศัยอยู่
ของหมู่กินนรเที่ยวแสวงหาแก้วมณีดวงประเสริฐอยู่
ได้เห็นดวงแก้วมณีนั้น ณ ท่ามกลางยอดภูเขา.
[๙๑๔] ปุณณกยักษ์ ครั้นเห็นดวงแก้วมณีมีรัศมี
อันผุดผ่อง เป็นแก้วมณีอันประเสริฐสุด สามารถจะ
นำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา รุ่งโรจน์ชัชวาลย์
ด้วยหมู่แก้วบริวารเป็นอันมาก สว่างไสวดังสายฟ้าใน
อากาศ ปุณณยักษ์ได้ถือเอาแก้วมณีชื่อมโนหรจินดา
อันมีค่ามาก มีอานุภาพมาก เป็นผู้มีวรรณะไม่ทราม
ขึ้นหลังม้าสินธพอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลางหาว.
[๙๑๕] ปุณณกยักษ์ได้เหาะไปยังอินทปัตตนคร
ลงจากหลังม้าแล้วเข้าไปสู่ที่ประชุมของชาวกุรุรัฐ ไม่
กลัวเกรงพระราชา ๑๐๑ พระองค์ ที่ประชุมพร้อม
เพรียงกันอยู่ ณ ที่นั้น กล่าวท้าทายด้วยสกถา บรรดา
พระราชาในราชสมาคมนี้พระองค์ไหนหนอ จะทรง
ชิงเอาแก้วอันประเสริฐของข้าพระองค์ได้ หรือว่าข้า
พระองค์จะพึงชนะพระราชาพระองค์ไหน ด้วยทรัพย์
อันประเสริฐ อนึ่ง ข้าพระองค์จะชิงเอาแล้วอัน
ประเสริฐยิ่ง กะพระราชาพระองค์ไหน หรือพระราชา
พระองค์ไหน จะทรงชนะข้าพระองค์ด้วยทรัพย์อัน
ประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 304
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๑๖] ชาติภูมิของท่านอยู่ในแว่นแคว้นไหน
ถ้อยคำของท่านนี้ไม่ใช่ถ้อยคำของชาวกุรุรัฐเลย ท่าน
มิได้กลัวเกรงเราทั้งปวง ด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ ท่าน
จงบอกชื่อและพวกพ้องของท่านแก่เรา
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๑๗] ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์เป็นมาณพ
กัจจายนโคตร ชื่อว่าปุณณกะ ญาติและพวกพ้องของ
ข้าพระองค์ อยู่ในนครกาลจัมปากะแคว้นอังคะ ย่อม
เรียกข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้า
พระองค์มาถึงในเมืองนี้ด้วยต้องการจะเล่นพนันสกา.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๑๘] พระราชาผู้ทรงชำนาญการเล่นสกา เมื่อ
ชนะท่าน จะพึงนำเอาแก้วเหล่าใดไป แก้วเหล่านั้น
ของมาณพมีอยู่หรือ แก้วของพระราชามีอยู่เป็นจำนวน
มาก ท่านเป็นคนเข็ญใจ จะมาพนันกะพระราชาเหล่า
นั้นได้อย่างไร.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๑๙] แก้วมณีของข้าพระองค์ดวงนี้ ชื่อว่า
สามารถนำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา นักเลงเล่น
สกาชนะข้าพระองค์แล้ว พึงนำแก้วมณีดวงประเสริฐ
สามารถนำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา และม้า
อาชาไนยเป็นที่เกรงขามของศัตรูนี้ไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 305
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๒๐] ดูก่อนมาณพ แก้วมณีดวงเดียวจักทำ
อะไรได้ อนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเดียวจักทำอะไรได้ แก้ว
ของพระราชามีเป็นอันมาก ม้าอาชาไนยที่มีกำลังรวด-
เร็วดังลมของพระราชามีมิใช่น้อย.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าประชาชน ขอ
พระองค์ทรงทอดพระเนตรดูแล้วมณีของข้าพระองค์
ดวงนี้ รูปหญิงและรูปชาย รูปเนื้อและรูปนก ปรากฏ
เป็นหมู่ ๆ อยู่ในแก้วมณีดวงนี้ พระยานาคและพระ-
ยาครุฑ ก็ปรากฏอยู่ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญพระองค์
ทอดพระเนตรสิ่งที่น่าอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรร
ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ พระเจ้าข้า.
[๙๒๒] ขอเชิญทอดพระเนตรจตุรงคินีเสนา คือ
กองช้าง กองม้า กองรถ และกองเดินเท้าอันสวม
เกราะ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญ
ทอดพระเนตรพลทหารที่จัดไว้เป็นกรม ๆ คือ กรมช้าง
กรมม้า กรมรถ กรมราบ อันธรรมดาสร้างสรรไว้
ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๓] ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันสม-
บูรณ์ด้วยป้อม มีกำแพงและค่ายเป็นอันมาก มีถนน
สามแพร่ง สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ อันธรรมดาสร้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 306
สรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเสา
ระเนียด เสาเขื่อน กลอนประตู ซุ้มประตู และ
ประตู อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๔] ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงนก นานาชนิด
มากมาย ที่เสาค่ายและหนทาง คือ ฝูงหงส์ นกกะเรียน
นกยูง นกจากพราก และนกเขา อันธรรมดาสร้าง
สรรไว้ในแล้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรพระนคร
อันเกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนกต่าง ๆ คือนกดุเหว่าดำ
นกดุเหว่าลาย ไก่ฟ้า นกโพระดกเป็นจำนวนมาก อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๕] ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันแวด-
ล้อมไปด้วยกำแพงทอง เป็นนครน่าอัศจรรย์ขนพอง
สยองเกล้า เขาชักธงขึ้นประจำ ลาดด้วยทรายทองน่า
รื่นรมย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอ
เชิญทอดพระเนตรร้านตลาดอันบริบูรณ์ด้วยสินค้า
ต่าง ๆ เรือน สิ่งของในเรือน ถนนซอย ถนนใหญ่
อันธรรมดาสร้างสรรจัดไว้เป็นส่วนๆ ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๖] ขอเชิญทอดพระเนตรโรงขายสุรา นัก-
เลงสุรา พ่อครัว โรงครัว พ่อค้า และหญิงแพศยา
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างปรุงของหอม ช่าง
ทอผ้า ช่างทอง และช่างแก้ว อันธรรมดาสร้างสรร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 307
ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรช่างของ
หวาน ช่างของคาว นักมหรสพ บางพวกฟ้อนรำ
ขับร้อง บางพวกปรบมือ บางพวกตีฉิ่ง อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๗] ขอเชิญทอดพระเนตรกลอง ตะโพน
สังข์ บัณเฑาะว์ มโหระทึก และเครื่องดนตรีทุกอย่าง
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรเปิงมาง กังสดาล พิณ การฟ้อนรำขับร้อง
เครื่องดนตรีดีดสีตีเป่า อันเขาประโคมครึกครื้น อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรนักกระโดด นักมวยปล้ำ นักเล่นกล หญิง
งาม ชายงาม คนเฝ้ายาม และช่างตัดผม อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๘] แท้จริง ในแก้วมณีดวงนี้ มีงานมหรสพ
อันเกลื่อนกล่นไปด้วยชายหญิง ขอเชิญทอดพระเนตร
พื้นที่เป็นที่เล่นมหรสพบนเตียงที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญทอดพระ-
เนตรเถิด ขอเชิญทอดพระเนตรพวกนักมวยซึ่งกำลัง
ต่อยกันในสนามมวย ทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๒๙] ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ เป็น
อันมากที่เชิงภูเขา คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง หมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 308
หมาใน เสือดาว แรด โคลาน กระบือ ละมั่ง กวาง
เนื้อทราย ระมาด วัว สุกรบ้าน ชะมด แมวป่า
กระต่าย และกระแต ซึ่งมีอยู่มากมายหลายหลาก ขอ
เชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เกลื่อนกลาด
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๓๐] ในแก้วมณีดวงนี้ มีแม่น้ำอันมีท่าอัน
รายเรียบลาดด้วยทรายทอง มีน้ำใสสะอาดไหลไปไม่
ขาดสาย เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฝูงปลา อนึ่ง ในแม่น้ำนี้
มีฝูงจรเข้ มังกร ปลาฉลาม เต่า ปลาสลาด ปลา
กระบอก ปลากด ปลาเค้า ปลาตะเพียน ท่องเที่ยว
ไปมา ขอเชิญทอดพระเนตรขอบสระโบกขรณี อัน
ก่อสร้างด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูง
นกต่างๆ ดารดาษไปด้วยหมู่ไม่นานาชนิด อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๓๑] ขอเชิญทอดพระเนตร สระโบกขรณีใน
แก้วมณีดวงนี้ อันธรรมดาจัดสรรไว้เรียบร้อยดีทั้ง ๔
ทิศ เกลื่อนกล่นด้วยฝูงนกต่างชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของ
ปลาใหญ่ ๆ ขอเชิญทอดพระเนตรแผ่นดินอันมีน้ำล้อม
โดยรอบ เป็นกุณฑลแห่งสาคร ประกอบด้วยทิวป่า
(เขียวขจี) อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
[๙๓๒] เชิญทอดพระเนตรบุพวิเทหทวีป อมร-
โคยานทวีป อุตรกุรุทวีป และชมพูทวีป ขอเชิญ
ทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 309
แก้วมณีดวงนี้ พระเจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรพระ
จันทร์และพระอาทิตย์ อันเวียนรอบสิเนรุบรรพต ส่อง
สว่างไปทั่วทิศ ๔ ทิศ ขอเชิญทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสิเนรุบรรพต หิมวันตบรรพต สมุทรสาคร
พื้นแผ่นดินใหญ่ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร
พุ่มไม้ในสวนแผ่นหินและเนินหินอันน่ารื่นรมย์เกลื่อน
กล่นไปด้วยพวกกินนร อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสวนสวรรค์ คือ
ปารุสกวัน จิตตลดาวัน มิสสกวัน และนันทนวัน
ทั้งเวชยันตปราสาท อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสุธรรมเทวสภา ต้น
ปาริจฉัตตกพฤกษ์ อันมีดอกแย้มบาน และพระยาช้าง
เอราวัณซึ่งมีอยู่ในดาวดึงส์พิภพ อันธรรมดาสร้างสรร
ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิดพระเจ้า
ข้า ขอเชิญทอดพระเนตรดูเหล่านางเทพกัญญาอันทรง
โฉมล้ำเลิศ ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เที่ยว
เล่นอยู่ในนันทนวันนั้น อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแล้ว
มณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า ขอ
เชิญทอดพระเนตรเหล่าเทพกัญญา ผู้ประเล้าประโลม
เทพบุตร อภิรมย์เหล่าเทพกัญญาอยู่ในนันทนวันนั้น
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 310
[๙๓๓] ขอเชิญทอดพระเนตรปราสาทมากกว่า
พัน ในดาวดึงส์พิภพ พื้นลาดด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์
มีรัศมีรุ่งเรือง อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวง
นี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสระโบกขรณีในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ อันมีน้ำ
ใสสะอาด ดารดาษไปด้วยมณฑาลกะ ดอกปทุมและ
อุบล.
[๙๓๔] ลายขาว ๑๐ แห่งอันน่ารื่นรมย์ใจ ลาย
เหลืองอ่อน ๒๑ แห่ง ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง ลาย
สีทอง ๒๐ แห่ง ลายสีน้ำเงิน ๒๐ แห่ง ลายสีแมลง
ค่อมทอง ๓๐ แห่ง มีปรากฏอยู่ในแก้วมณีดวงนี้ ใน
แก้วมณีดวงนี้มีลายดำ ๑๖ แห่ง และลายแดง ๒๕ แห่ง
อันเจือด้วยดอกชะบา วิจิตรด้วยนิลุบล ข้าแต่พระ-
มหาราชาผู้สูงสุดกว่าปวงชน ขอเชิญทอดพระเนตร
แก้วมณีดวงนี้ อันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง มีรัศมีรุ่ง-
เรืองผุดผ่องอย่างนี้ ผู้ใดจักชนะข้าพระองค์ด้วยการ
เล่นสกา แก้วมณีดวงนี้จักเป็นส่วนค่าพนันของผู้นั้น.
[๙๓๕] ข้าแต่พระราชา กรรมในโรงเล่นสกา
สำเร็จแล้ว เชิญพระองค์เสด็จไปทรงเล่นสกา แก้ว
มณีเช่นนี้ของพระองค์ไม่มี เราพึงชนะกันโดยธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 311
อย่าชนะกันโดยไม่ชอบธรรม ถ้าข้าพระองค์จักชนะ
พระองค์ไซร้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำให้เนิ่นช้า.
[๙๓๖] ข้าแต่พระเจ้าสุรเสนปัญจาราชผู้ปรากฏ
พระเจ้ามัจฉราชและพระเจ้ามัททราช ทั้งพระเจ้าเกก-
กะราช พร้อมด้วยชาวชนบท ขอจงทอดพระเนตรดู
ข้าพเจ้าทั้งสองจะสู้กันด้วยสกา กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
ก็ดี ไม่ได้ทำสักขีพยานไว้แล้ว ย่อมไม่ทำกิจอะไร ๆ
ในที่ประชุม
[๙๓๗] พระราชาของชาวกุรุรัฐ และปุณณกยักษ์
มัวเมาในการเล่นสกา เข้าไปสู่โรงเล่นสกาแล้ว
พระราชาทรงเลือกได้ลูกบาศก์ที่มีโทษ ทรงปราชัย
ส่วนปุณณกยักษ์ชนะ พระราชาและปุณณกยักษ์ทั้ง
สองนั้น เมื่อเจ้าพนักงานเอาสกามารวมพร้อมแล้ว
ได้เล่นสกากันอยู่ในโรงสกานั้น ปุณณกยักษ์ได้ชัย
ชนะพระราชาผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน ท่าม
กลางพระราชา ๑๐๑ พระองค์และพยานที่เหลือ เสียง
บันลือลั่นได้มีขึ้น ในสนามสกานั้น ๓ ครั้ง.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๓๘] ข้าแต่พระมหาราชา เราทั้งสองผู้พยา-
ยามเล่นสกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใด
คนหนึ่ง ข้าแต่พระจอมชน ข้าพระองค์ชนะพระองค์
ด้วยทรัพย์อันประเสริฐแล้ว ข้าพระองค์ชนะแล้ว ขอ
พระองค์พระราชทานเสียเร็ว ๆ เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 312
ท้าวธนัญชัยตรัสว่า
[๙๓๙] ดูก่อนท่านกัจจานะ ช้าง ม้า โค แก้ว
มณี กุณฑล และแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลาย
มีอยู่ในแผ่นดินของเรา ท่านจงรับเอาเถิด เชิญขนเอา
ไปตามปรารถนาเถิด.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๔๐] ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และ
แก้วอื่นใด ที่มีอยู่ในแผ่นดินของพระองค์ บัณฑิตมี
นามว่าวิธุระ เป็นแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์เหล่านั้น
ข้าพระองค์ชนะพระองค์แล้ว โปรดพระราชทานวิธุร-
บัณฑิตแก่ข้าพระองค์เถิด.
ท้าวธนัญชัยตรัสว่า
[๙๔๑] วิธุรบัณฑิตนั้นเป็นตัวของเรา เป็นที่พึ่ง
เป็นคติ เป็นเกาะ เป็นที่เร้น และเป็นที่ไปในเบื้อง
หน้าของเรา ท่านไม่ควรจะเปรียบวิธุรบัณฑิตนั้นกับ
ทรัพย์ของเรา วิธุรบัณฑิตนั้นเช่นกับชีวิตของเรา คือ
เป็นตัวเรา.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๔๒] การโต้เถียงกันของข้าพระองค์และพระ-
องค์ จะพึงเป็นการช้านาน ขอเชิญเสด็จไปถามวิธุร-
บัณฑิตกันดีกว่า ให้วิธุรบัณฑิตนั้นแลชี้แจงเนื้อความ
นั้น วิธุรบัณฑิตจักกล่าวคำใด คำนั้นจงเป็นอย่างนั้น
แก่เราทั้งสอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 313
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๔๓] ดูก่อนมาณพ ท่านพูดจริงแท้ทีเดียว และ
ไม่ผลุนผลัน เราไปถามวิธุรบัณฑิตกันเถิดนะ เราทั้ง
สองคน จงยินดีตามคำที่วิธุรบัณฑิตพูดนั้น.
[๙๔๔] เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักอำมาตย์ในแคว้น
กุรุรัฐ ชื่อว่าวิธุระ เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม จริงหรือ
การบัญญัติชื่อว่าวิธุระในโลกนั้น ท่านเป็นอะไร คือ
เป็นทาส หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๔๕] ในหมู่นรชน ทาสมี ๔ จำพวก คือ ทาส
ครอกจำพวก ทาสไถ่จำพวก ๑ ทาสที่ยอมตัวเป็น
ข้าเฝ้าจำพวก ๑ ทาสเชลยจำพวก ๑ แม้ข้าพเจ้าก็
เป็นทาสโดยกำเนิดแท้ทีเดียว ความเจริญก็ตาม ความ
เสื่อมก็ตาม จะมีแก่พระราชา แม้ข้าพเจ้าจะไปยังที่
อื่นก็คงเป็นทาสของสมมติเทพนั่นเอง ดูก่อนมาณพ
พระราชาเมื่อจะพระราชทานข้าพเจ้าให้เป็นค่าพนัน
แก่ท่าน ก็พึงพระราชทานโดยธรรม.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๙๔๖] วันนี้ ความชนะได้มีแก่ข้าพระองค์เป็น
ครั้งที่ ๒ เพราะว่า วิธุรบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์อันข้า
พระองค์ถามแล้ว ได้ชี้แจงปัญหาแจ่มแจ้ง พระราชา
ประเสริฐ ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ ไม่ทรงยอม
ให้วิธุรบัณฑิตแก่ข้าพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 314
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๔๗] ดูก่อนกัจจานะ ถ้าวีธุรบัณฑิตชี้แจง
ปัญหาแก่เราทั้งหลายอย่างนี้ว่า เราเป็นทาส เราหา
ได้เป็นญาติไม่ ท่านจงรับเอาวิธุรบัณฑิตผู้เป็นทรัพย์
อันประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลาย พาไปตามที่ท่าน
ปรารถนาเถิด.
[๙๔๘ ] ท่านวิธุรบัณฑิต คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน
จะพึงมีความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างไร จะพึงมี
ความสงเคราะห์ได้อย่างไร จะพึงมีความไม่เบียดเบียน
ได้อย่างไร และอย่างไรมาณพจึงจะชื่อว่ามีปรกติกล่าว
คำสัตย์ จากโลกนี้ไปยังโลกหน้าแล้วจะไม่เศร้าโศก
ได้อย่างไร.
[๙๔๙] วิธุรบัณฑิตผู้มีคติ มีความเพียร มีปัญญา
เห็นอรรถธรรมอันสุขุม กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ได้
กราบทูลพระราชาในโรงธรรมสภานั้นว่า ผู้ครองเรือน
ไม่ควรคบหญิงสาธารณะเป็นภรรยา ไม่ควรบริโภค
อาหารมีรสอร่อยแต่ผู้เดียว ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำอัน
ให้ติดอยู่ในโลก ไม่ให้สวรรค์นิพพาน เพราะถ้อยคำ
เช่นนั้นไม่ทำให้ปัญญาเจริญ ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มี
ศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่อง
สอดส่องเหตุผล มีความประพฤติถ่อมตน ไม่เป็นคน
ตระหนี่เหนียวแน่น เป็นผู้สงบเสงี่ยม กล่าวถ้อยคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 315
จับใจ อ่อนโยน ผู้ครองเรือน พึงเป็นผู้สงเคราะห์
มิตร จำแนกแจกทาน รู้จักจัดทำ พึงบำรุงสมณะ
พราหมณ์ด้วยข้าวน้ำทุกเมื่อ ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่
ธรรม จำทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว หมั่นไต่ถาม
พึงเข้าไปหาท่านผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ คฤหัสถ์
ผู้ครองเรือน จะพึงมีความประพฤติอันปลอดภัยได้
อย่างนี้ จะพึงมีความสงเคราะห์ได้อย่างนี้ จะพึงมี
ความไม่เบียดเบียนกันได้อย่างนี้ และมาณพพึงปฏิบัติ
อย่างนี้จึงจะชื่อว่ามีปรกติกล่าวคำสัตย์ จากโลกนี้แล้ว
ไปยังโลกหน้า จะไม่เศร้าโศกได้ด้วยอาการอย่างนี้
พระเจ้าข้า.
(นี้) ชื่อฆราวาสปัญหา.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๕๐] เราจักไปกันเดี๋ยวนี้แหละ พระเจ้าแผ่นดิน
ผู้เป็นอิสราธิบดี ทรงพระราชทานท่านให้แก่ข้าพเจ้า
แล้ว ขอท่านจงปฏิบัติประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ธรรมนี้
เป็นของเก่า.
วิธุระกล่าวว่า
[๙๕๑] ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้อันท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระราชา ผู้
เป็นอิสราธิบดีพระราชทานแก่ท่านแล้ว แต่ว่าข้าพเจ้า
ขอให้ท่านพักอยู่ในเรือนสัก ๓ วัน ขอให้ท่านยับยั้ง
อยู่ ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรภรรยาก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 316
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๕๒] คำที่ท่านกล่าวนั้น จงมีแก่ข้าพเจ้า
เหมือนอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะพักอยู่ ๓ วัน ตั้งแต่วันนี้
ท่านจงทำกิจในเรือนทั้งหลาย ท่านจงสั่งสอนบุตร
ภรรยาเสียแต่วันนี้ ตามที่บุตรภรรยาของท่านจะพึงมี
ความสุขได้ภายหลัง ในเมื่อท่านไปแล้ว.
[๙๕๓] ปุณณกยักษ์ผู้มีสมบัติน่าใคร่มากมาย
กล่าวว่า ดีละ แล้วหลีกไปพร้อมกับวิธุรบัณฑิต เป็น
ผู้มีมารยาทอันประเสริฐสุด เข้าไปภายในบ้านของ
วิธุรบัณฑิต บริบูรณ์ด้วยช้างและม้าอาชาไนย.
[๙๕๔] ปราสาทของพระมหาสัตว์มีอยู่ ๓ คือ
โกญจปราสาท ๑ มยูรปราสาท ๑ ปิยเกตปราสาท ๑
ในปราสาททั้ง ๓ นั้น พระมหาสัตว์ได้พาปุณณกยักษ์
เข้าไปยังปราสาท อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก มีภักษา-
หารบริบูรณ์ มีข้าวน้ำเป็นอันมาก ดังหนึ่งมสักกสาร
วิมานของท้าววาสวะฉะนั้น.
[๙๕๕] นารีทั้งหลายผู้ประดับประดางดงาม ดัง
เทพอัปสรในเทวโลก ฟ้อนรำขับร้องเพลงอันไพเราะ
จับใจ กล่อมปุณณกยักษ์อยู่ในปราสาทนั้น พระมหา-
สัตว์ผู้รักษาธรรม รับรองปุณณกยักษ์ด้วยนางบำเรอที่
น่ายินดี ทั้งข้าวและน้ำ แล้วคิดถึงประโยชน์ส่วนตน
ได้เข้าไปในสำนักของภรรยาในกาลนั้น ได้กล่าวกะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 317
ภรรยาผู้ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์และของหอม มีผิวพรรณ
ผุดผ่องดุจแต่งทองชมพูนุทว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ผู้
มีดวงตาอันแดงงาม มานี่เถิด จงเรียกบุตรธิดามาฟัง
คำสั่งสอน นางอโนชาได้ฟังคำของสามีแล้ว ได้กล่าว
กะลูกสะใภ้ผู้มีเล็บแดง มีตาอันงามว่า ดูก่อนผู้มีผิว
พรรณดังดอกนิลุบลเจ้าจงไปเรียกบุตรและธิดาของเรา
ผู้แกล้วกล้าสามารถเหล่านั้นมา
[๙๕๖] พระมหาสัตว์ผู้รักษาธรรม ได้จุมพิต
บุตรธิดาผู้มาแล้วนั้นที่กระหม่อม ไม่หวั่นไหว ครั้น
เรียกบุตรธิดามาพร้อมแล้วได้กล่าวสั่งสอนว่า พระ
ราชาในพระนครอินทปัตตะนี้ พระราชทานพ่อให้แก่
มาณพแล้ว พ่อพึงมีความสุขของตนเองได้เพียง ๓ วัน
ตั้งแต่วันนี้ไป พ้นจากนั้นไป พ่อก็ต้องเป็นไปใน
อำนาจของมาณพนั้น เขาจะพาพ่อไปตามที่เขา
ปรารถนา ก็พ่อมาเพื่อสั่งสอนลูกทั้งหลาย พ่อยังไม่ได้
ทำเครื่องป้องกันให้แก่ลูกทั้งหลายแล้ว จะพึงไปได้
อย่างไร ถ้าว่าพระราชาผู้ปกครองกุรุรัฐ ผู้มีพระราช
สมบัติอันน่าใคร่เป็นอันมาก ทรงต้องการกัลยาณมิตร
จะพึงตรัสถามลูกทั้งหลายว่า เมื่อก่อนเจ้าทั้งหลาย
ย่อมรู้เหตุเก่าๆ อะไรบ้าง พ่อของเจ้าทั้งหลายได้พร่ำ
สอนอะไรไว้ในกาลก่อนบ้าง ถ้าแหละพระราชาจะพึง
มีพระราชโองการตรัสว่า เจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีอาสนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 318
เสมอกันกับเรา ในราชสกุลนี้มนุษย์คนไรซึ่งจะมีชาติ
สกุลสมควรกับพระราชาไม่มี ลูกทั้งหลายพึงถวาย
บังคมกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
พระองค์อย่าได้รับสั่งอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า เพราะ
ข้อนี้มิใช่ธรรมเนียม ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีชาติต่ำต้อย ไม่สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้
สูงศักดิ์ เหมือนสุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้
พระเจ้าข้า.
จบลักขกัณฑ์
[๙๕๗ ] วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอัน
ไม่หดหู่ ได้กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติ มิตรและเพื่อน
ที่สนิทว่า ดูก่อนลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงมานั่ง
ฟังราชวัสดีธรรม อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้เข้าไปสู่ราช
สกุลได้ยศ.
[๙๕๘] ผู้เข้าไปสู่ราชสกุล พระราชายังไม่ทรง
ทราบความสามารถย่อมไม่ได้ยศ ราชเสวกไม่ควร
กล้าเกินไป ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่
ประมาทในกาบทุกเมื่อ เมื่อใดพระราชาทรงทราบ
ความประพฤติปรกติ ปัญญา และความบริสุทธิ์ของ
ราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวางพระทัยและไม่
ทรงรักษาความลับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 319
[๙๕๙] ราชเสวกอันพระราชาไม่ตรัสใช้ ไม่พึง
หวั่นไหวด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ดังตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรง ฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจ
ทุกอย่าง ให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรงดีฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๐] ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ
อันพระราชาตรัสใช้ กลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ไม่
พึงหวาดหวั่นในการกระทำราชกิจนั้น ๆ ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ทางใดที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อย
ดี สำหรับเสด็จพระราชดำเนิน ถึงพระราชาทรงอนุ-
ญาต ราชเสวกก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๑] ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติที่น่าใคร่
ทัดเทียมกับพระราชาในกาลไหนๆ ควรเดินหลังใน
ทุกสิ่งทุกอย่าง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา
เครื่องลูบไล้ ทัดเทียมกับพระราชา ไม่พึงประพฤติ
อากัปกิริยา หรือพูดจาทัดเทียมกับพระราชา ควรทำ
อากัปกิริยาเป็นอย่างหนึ่ง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้.
[๙๖๒] เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่
อำมาตย์อันพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ เสวกามาตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 320
เป็นคนฉลาด ไม่พึงกระทำการทอดสนิทในพระสนม
กำนัลใน ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คนอง
กายวาจา มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์
สมบูรณ์ด้วยการตั้งใจไว้ดี ราชเสวกนั้นพึงอยู่ใน
ราชสำนักได้.
[๙๖๓] ราชเสวกไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศรัย
ในที่ลับกับพระสนมกำนัลใน ไม่ควรถือเอาทรัพย์จาก
พระคลังหลวง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกไม่พึงเห็นแก่การหลับนอนมากนัก ไม่พึงดื่ม
สุราจนเมามาย ไม่พึงฆ่าเนื้อในสถานที่พระราชทาน
อภัย ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกไม่
พึงขึ้นร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือและ
รถพระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน
ราชเสวยนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกต้อง
เป็นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ไม่ควรเฝ้าให้ไกลนัก
ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอให้ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น
ถนัด ในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสเบื้อง
พระพักตร์ของพระราชา ราชเสวกไม่ควรทำความ
วางใจว่า พระราชาเป็นเพื่อนของเรา เพราะราชาเป็น
คู่กันกับเรา พระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธได้
เร็วไวเหมือนนัยน์ตาอันผงกระทบ ราชเสวกไม่ควร
ถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พระราชทรงบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 321
ไม่ควรเพ็ดทูลถ้อยคำหยาบคายกะพระราชาซึ่งประทับ
อยู่ในราชบริษัท.
[๙๖๔] ราชเสวกผู้ได้รับพระราชทานพระทวาร
เป็นพิเศษ ก็ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึง
เป็นผู้สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระ-
ราชโอรสหรือพระราชวงศ์ ด้วยบ้าน นิคม แว่นแค้วน
หรือชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูล
คุณหรือโทษ.
[๙๖๕] พระราชาจะทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้
แก่กรมช้าง กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความ
ชอบในราชการของเขาราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา
ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้เป็น
นักปราชญ์ พึงโอนไปเหมือนคันธนูและพึงไหวไป
ตามเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อย
เหมือนคันธนู พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้
รู้จักประมาณในโภชนะ มีปัญญาเครื่องรักษาตน
แกล้วกล้า ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๖] ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนัก ซึ่งเป็น
เหตุให้สิ้นเดช ผู้สิ้นเดชย่อมได้ประสบโรคไอมองคร่อ
ความกระวนกระวายความอ่อนกำลัง ราชเสวกไม่ควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 322
พูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาพึงเปล่ง
วาจาพอประมาณ ไม่พร่ำเพรื่อ เป็นคนไม่มักโกรธ
ไม่กระทบกระเทียบ เป็นคนพูดจริง อ่อนหวาน
ไม่ส่อเสียด ไม่ควรพูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๖๗] ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประ-
พฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในสกุล มีวาจาอ่อนหวาน
กล่าววาจาอ่อนโยน ราชเสวยนั้นควรอยู่ในราช
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มี
ศิลป ฝึกฝนแล้ว เป็นผู้ทำประโยชน์ เป็นผู้คงที่
อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด เป็นคนขยัน
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็น
ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม มีความเคารพยำเกรงใน
ท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบเสงี่ยม มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเว้น
ให้ห่างไกล ซึ่งทูตที่ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแล
แต่เจ้านายของตน ไม่ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนัก
ของพระราชาอื่น.
[๙๖๘] ราชเสวกพึงเข้าหาสมาคมกะสมณะและ
พราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต โดยเคารพ ราชเสวก
นั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกเมื่อได้เข้าหา
สมาคมกะสมณะและพราหมณ์ ผู้มีศีลเป็นพหูสูตแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 323
พึงสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงบำรุงเลี้ยงสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ด้วยข้าวและน้ำ
ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้หวัง
ความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปสมาคมคบหาละสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีปัญญา.
[๙๖๙] ราชเสวกไม่พึงทำทาน ที่เคยพระราช-
ทานในสมณพราหมณ์ให้เสื่อมไป อนึ่ง เห็นพวก
วณิพกซึ่งมาในเวลาพระราชทานไม่ควรห้ามอะไรเลย
ราชเสวกพึงมีปัญญา สมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาดใน
วิธีจักราชกิจ รู้จักกาล รู้จักสมัย ราชเสวยนั้นควร
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นคนขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องพิจารณาในการงานที่
ตนพึงทำ จัดการงานให้สำเร็จด้วยดี ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้.
[๙๗๐] อนึ่ง ราชเสวกพึงไปตรวจตราดูลาน
ข้าวสาลีปศุสัตว์และนาเสมอๆ พึงตวงข้าวเปลือกให้รู้
ประมาณแล้ว ให้เก็บไว้ในฉาง พึงนักบริวารชนใน
เรือนแล้ว ให้หุงต้มพอประมาณ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา
พี่น้อง หรือวงศ์ญาติ ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่
เพราะคนเหล่านั้นเป็นคนพาล ไม่จัดว่าเป็นพี่น้อง คน
เหล่านั้น เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 324
เหล่านั้นมาหาถึงสำนัก ก็ควรให้ผ้านุ่งห่มและอาหาร
ควรตั้งพวกทาสหรือกรรมกร ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เป็น
คนขยันหมั่นเพียร ให้เป็นใหญ่.
[๙๗๑] ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมาก พึง
ประพฤติตามเจ้านาย ประพฤติประโยชน์แก่เจ้านาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราช
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย และ
พึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์ ไม่ควรประพฤติขัดต่อ
พระราชประสงค์ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท ในเวลาผลัด
พระภูษาทรง และในเวลาสรงสนาน แม้จะถูกกริ้วก็
ไม่ควรโกรธตอบ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนัก
ได้.
[๙๗๒] บุรุษผู้หวังความเจริญแก่ตน พึงกระทำ
อัญชลีในหม้อน้ำและพึงกระทำประทักษิณนกแอ่นลม
อย่างไร เขาจักไม่พึงนอบน้อมพระราชา ผู้เป็นนัก
ปราชญ์สูงสุด พระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่าง
เล่า เพราะพระราชาทรงพระราชทานที่นอน ผ้านุ่ง
ผ้าห่ม ยวดยาน ที่อยู่อาลัย บ้านเรือน ยังโภคสมบัติ
ให้ตกทั่วถึง เหมือนมหาเมฆยังน้ำฝนให้ตกเป็นประ-
โยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไปฉะนั้น ดูก่อนเจ้าทั้งหลายนี้ชื่อ
ว่าราชวัสดี เป็นอนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 325
ประพฤติตาม ย่อมยังพระราชาให้โปรดปราน และ
ย่อมได้การบูชาในเจ้านายทั้งหลาย.
(นี้) ชื่อราชวัสดี.
[๙๗๓] วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา
ครั้นพร่ำสอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว หมู่ญาติมิตรห้อม
ล้อมเข้าไปเฝ้าพระราชาถวายบังคมยุคลบาทด้วยเศียร
เกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลี
กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู
มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความประสงค์ จึงจะนำเข้า
พระองค์ไป ข้าพระองค์จะกราบทูลประโยชน์แห่ง
ญาติทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น
ขอพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตร
ภรรยาของข้าพระองค์ ทั้งทรัพย์อย่างอื่นๆ ที่มีอยู่ใน
เรือน โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์จะไม่เสื่อมในภาย
หลัง ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความ
พลั้งพลาดของข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดลุ้ม
บนแผ่นดิน ย่อมกลับตั้งอยู่บนแผ่นดินนั้นเอง ฉะนั้น
ข้าพระองค์ย่อมเห็นโทษนี้.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๙๗๔] ท่านไม่อาจจะไปนั่นแลเป็นความพอใจ
ของเรา เราจะสั่งให้ฆ่าตัดออกเป็นท่อน ๆ แล้วหมก
ไว้ให้มิดชิดในเมืองนี้ ท่านอยู่ในที่นี้แหละ การทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 326
ดังนี้ เราชอบใจ ดูก่อนบัณฑิตผู้มีปัญญาอันสูงสุด
กว้างขวางดุจแผ่นดิน ท่านอย่าไปเลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๙๗๕] ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอย่าทรงตั้ง
พระราชหฤทัย ไว้ในอธรรมเลย ขอจงทรงประกอบ
พระองค์ไว้ในอรรถและในธรรมเถิด กรรมอันเป็น
อกุศลไม่ประเสริฐ บัณฑิตติเตียนว่า ผู้ทำกรรมอัน
เป็นอกุศลพุงเข้าถึงนรกในภายหลัง นี่ไม่ใช่ธรรมเลย
ไม่เข้าถึงกิจที่ควรทำ ข้าแต่พระจอมประชาชน ธรรม-
ดานายผู้เป็นใหญ่ของทาส จะทุบตีก็ได้ จะเผาก็ได้
จะฆ่าเสียก็ได้ ข้าพระองค์ไม่มีความโกรธเลย และ
ข้าพระองค์ขอกราบทูลลาไป.
[๙๗๖] พระมหาสัตว์นั้นมีเนตรทั้งสองนองด้วย
น้ำตา กำจัดความกระวนกระวายในหทัยแล้ว สวม
กอดบุตรผู้ใหญ่ แล้วเข้าไปยังเรือนใหญ่.
[๙๗๗] บุตรพันหนึ่ง ธิดาพันหนึ่ง ภรรยาพัน
หนึ่ง และทาสเจ็ดร้อย ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิตต่าง
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกกลับ
ทับกันไป เหมือนป่าไม่รังถูกลมพัดลิมระเนระนาดทับ
กันไป ฉะนั้น พระสนมกำนัล พระราชกุมาร พวก
พ่อค้า ชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างก็มาประ
คองแขนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 327
พวกกองช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า.... ชาว
ชนบทและชาวนิคม ต่างมาประชุมประคองแขนร้องไห้
คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิตภรรยาพันหนึ่ง
และทาสีเจ็ดร้อย ต่างพากันประคองแขนร้องไห้คร่ำ-
ครวญว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจักละดิฉันทั้งหลายไป
พระสนมกำนัล พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและ
พราหมณ์ทั้งหลาย พวกกองช้าง กองม้า กองรถ
กองเดินเท้า.... ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมา
ประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงจักละข้าพเจ้าทั้งหลายไป.
[๙๗๘] พระมหาสัตว์ กระทำกิจทั้งหลายใน
เรือนสั่งสอนคนของตน คือ มิตร สหาย คนใช้
บุตรธิดา ภรรยา และพวกพ้อง จัดการงาน บอก
มอบทรัพย์ในเรือน ขุนทรัพย์และการส่งหนี้เสร็จแล้ว
ได้กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า ท่านได้พักอยู่ในเรือนของ
ข้าพเจ้า ๓ วันแล้ว กิจที่จะพึงทำในเรือนของข้าพเจ้า
ทำเสร็จแล้ว อนึ่ง บุตรและภรรยาข้าพเจ้าได้สั่งสอน
แล้ว ข้าพเจ้ายอมทำกิจตามอัธยาศัยของท่าน.
[๙๗๙] ดูก่อนมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวง
ถ้าแลท่านสั่งสอนบุตร ภรรยาและคนอาศัยแล้ว เชิญ
ท่านมารีบไปในบัดนี้ เพราะหนทางข้างหน้ายังไกลนัก
ท่านอย่ากลัวเลย จงจับหางม้าอาชาไนย การเห็นชีว-
โลกของท่านนี้ เป็นการเห็นครั้งที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 328
[๙๘๐] ข้าพเจ้าจักสะดุ้งกลัวไปทำไม เพราะ
ข้าพเจ้าไม่มีกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
อันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ.
[๙๘๑] พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปใน
อากาศกลางหาวไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไป
สู่กาฬคีรีบรรพตโดยฉับพลัน.
[๙๘๒] ภรรยาพันหนึ่ง และทาสีเจ็ดร้อยประ-
คองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาพาเอาวิธุรบัณฑิตไป พระสนมกำนัลใน
พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กอง
ช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า... ชาวชนบท
และชาวนิคมต่างมาประชุมพร้อมกัน ประคองแขน
ทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาพาเอาวิธุรบัณฑิตไป ภรรยาพันหนึ่งและ
ทาสีเจ็ดร้อย ต่างประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
วิธุรบัณฑิตนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน พระสนมกำนัลใน
พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กองช้าง
กองม้า กองรถ กองเดินเท้า.... ชาวชนบทและชาว
นิคม ต่างมาประชุมพร้อมกันประคองแขนร้องไห้
คร่ำครวญว่า วิธุรบัณฑิตไปแล้ว ณ ที่ไหน
[๙๘๓] ถ้าท่านวิธุรบัณฑิต จักไม่มาโดย ๗ วัน
ข้าพระพุทธเจ้าจักพากันเข้าไปสู่กองไฟ ข้าพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ไม่มีความต้องการด้วยชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 329
[๙๘๔] ก็วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม
สามารถแสดงปะโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แจ้งชัด
มีปัญญาเครื่องพิจารณา คงจะเปลื้องตนได้โดยพลัน
ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้อง
ตนแล้ว ก็จักรีบกลับมา.
(นี้) ชื่ออันตรเปยยาล.
[๙๘๕] ปุณณกยักษ์นั้น ไปยืนคิดอยู่บนยอด
กาฬาคีรีบรรพต ความคิดย่อมเป็นความคิดสูง ๆ ต่ำ ๆ
ประโยชน์อะไร ๆ ด้วยความเป็นอยู่ของวิธุรบัณฑิตนี้
หามีแก่เราไม่ เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้เสีย แล้วนำเอา
แต่ดวงใจไปเถิด.
[๙๘๖] ปุณณกยักษ์นั้นมีจิตประทุษร้ายลงจาก
ยอดเขาไปสู่เชิงเขา วางพระมหาสัตว์ไว้ในระหว่าง
ภูเขา ชำแรกเข้าไปภายในภูเขานั้นจับพระมหาสัตว์
เอาศีรษะลงเบื้องต่ำ ขว้างลงไปที่พื้นดินที่ไม่มีอะไร
กีดกั้น.
[๙๘๗] วิธุรบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ประเสริฐสุด
ของชาวกุรุรัฐ เมื่อถูกห้อยศีรษะลงในเหวอันชัน เป็น
ที่น่ากลัว น่าสยดสยอง น่าหวาดเสียวมา ไม่สะดุ้งกลัว
ได้กล่าวกะปุณณกยักษีว่า ท่านเป็นผู้มีรูปดังผู้ประ-
เสริฐ แต่หาเป็นคนประเสริฐไม่ คล้ายจะเป็นคน
สำรวม แต่ไม่สำรวม กระทำกรรมอันหยาบช้าไร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 330
ประโยชน์ ส่วนกุศลแม้แต่น้อยหนึ่งย่อมไม่มีในจิต
ของท่าน ท่านจะโยนข้าพเจ้าลงในเหว ประโยชน์
อะไรด้วยการตายของข้าพเจ้า จะพึงมีแต่ท่านหนอ
วันนี้ผิวพรรณของท่านเหมือนของอมนุษย์ ท่านจง
บอกข้าพเจ้า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร.
ปุณณกยักษ์ตอบว่า
[๙๘๘] ข้าพเจ้าเป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ และเป็น
อำมาตย์ของท้าวกุเวร ถ้าท่านคงได้ฟังมาแล้ว พระ-
ยานาคใหญ่นามว่าวรุณ ผู้ครอบครองนาคพิภพมีรูป
งามสะอาด สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณและกำลัง ข้าพเจ้า
รักใคร่อยากได้นางนาคกัญญานามว่าอิรันทตีธิดาของ
พระยานาคนั้น ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ เพราะเหตุ
แห่งนางอิรันทตีผู้มีเอวอันงามน่ารักนั้น ข้าพเจ้าจึง
ตกลงใจจะฆ่าท่าน.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๘๙] ดูก่อนยักษ์ ท่านอย่าได้มีความลุ่มหลง
นักเลย สัตว์โลกเป็นอันมากฉิบหายแล้วเพราะความ
ถือผิด เพราะเหตุไรท่านจึงทำความรักใคร่ในนาง
อิรันทตีผู้มีเอวอันงามน่ารัก ท่านจะมีประโยชน์อะไร
ด้วยความตายของข้าพเจ้า เชิญท่านจงบอกเหตุทั้งปวง
แก่ข้าพเจ้าด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 331
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๐] ข้าพเจ้าปรารถนาธิดาของพระยาวรุณ-
นาคราช ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้รับ
อาสาญาติของนางอิรันทตีมา ญาติเหล่านั้นได้สำคัญ
ข้าพเจ้าว่า ถูกความรักใคร่ครอบงำโดยส่วนเดียว
เหตุนั้น พระยาวรุณนาคราชได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูล
ขอนางอิรันทตีนาคกัญญาว่า เราทั้งหลายพึงให้ธิดา
ของเรา ผู้มีร่างกายอันสลวย มีเนตรงามอย่างน่าพิศวง
ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์ ถ้าท่านพึงได้ดวงหทัยของ
วิธุรบัญฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยธรรม เพราะความ
ดีความชอบนี้ ท่านก็จะได้ธิดาของเรา เราทั้งหลาย
มิได้ปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่านั้น ดูก่อนท่าน
อำมาตย์ ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนหลง ท่านจงฟังให้
ทราบเรื่องอย่างนี้ อนึ่งข้าพเจ้ามิได้มีความถือผิด
อะไรๆ เลย เพราะดวงหทัยของท่าน ที่ข้าพเจ้าได้ไป
โดยชอบธรรม ท้าววรุณนาคราชและพระนางวิมลาจะ
ประทานนางอิรันทตีนาคกัญญาแก่ข้าพเจ้า เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพยายามเพื่อจะฆ่าท่าน ข้าพเจ้ามี
ประโยชน์ด้วยการตายของท่าน จึงจะผลักท่านให้ตก
ลงในเหวนี้ ฆ่าเสียแล้วนำเอาดวงหทัยไป.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๑] จงวางข้าพเจ้าลงเร็วเถิด ถ้าท่านมีกิจที่
จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุ-
นรธรรมทั้งปวงนี้แก่ท่านในวันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 332
[๙๙๒] ปุณณกยักษ์นั้น รีบวางวิธุรบัณฑิตอำ-
มาตย์ผู้ประเสริฐที่สุดของชาวกุรุรัฐลงบนยอดเขา เห็น
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามนั่งอยู่ จึงถามว่า ท่าน
อันข้าพเจ้ายกขึ้นจากเหวแล้ว วันนี้ข้าพเจ้ามีกิจที่จะ
ต้องทำด้วยหทัยของท่าน ท่านจงแสดงสาธุนรธรรม
ทั้งหมดนั้นแก่ข้าพเจ้าในวันนี้.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๓] ข้าพเจ้าอันท่านยกขึ้นจากเหวแล้ว ถ้า
ท่านมีกิจที่จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ
แสดงสาธุนรธรรมทั้งหมดนี้แก่ท่านในวันนี้.
[๙๙๔] ดูก่อนมาณพ ท่านจงเดินไปตามทางที่
ท่านเดินไปแล้ว ๑ จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม ๑ อย่าได้
ประทุษร้ายในหมู่มิตร ในกาลไหนๆ ๑ อย่าตกอยู่ใน
อำนาจของหญิงอสติ ๑.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๕] บุคคลชื่อว่า เป็นผู้เดินไปตามทางที่
ท่านเดินไปแล้วอย่างไร บุคคลชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม
อย่างไร บุคคลเช่นไรชื่อว่าประทุษร้ายมิตร หญิง
เช่นไรชื่อว่าอสติ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอก
เนื้อความนั้น.
[๙๙๖] ผู้ใดพึงเชื้อเชิญคนที่ไม่คุ้นเคยกัน ไม่
เคยพบเห็นกันแม้ด้วยอาสนะ บุรุษพึงกระทำประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 333
แก่บุคคลนั้นโดยแท้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุรุษนั้นว่า
ผู้เดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้ว บุคคลพึงอยู่ในเรือน
ของผู้ใดแม้คืนเดียว ได้ข้าวน้ำด้วย ไม่ควรคิดร้ายแก่
ผู้นั้นแม้ด้วยใจ ผู้คิดร้ายต่อบุคคลเช่นนั้น ชื่อว่าเผา
ฝ่ามืออันชุ่ม และชื่อว่าประทุษร้ายมิตร บุคคลนั่ง
หรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของ
ต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า หญิง
ที่สามียกย่องอย่างดี ถึงแก่ให้แผ่นดินนี้อันบริบูรณ์
ด้วยทรัพย์ ได้โอกาสแล้วพึงดูหมิ่นสามีนั้นได้ บุคคล
ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของหญิงเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าอสติ
บุคคลชื่อว่าเดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า
ตกอยู่ในอำนาจของหญิงผู้ชื่อว่าอสติอย่างนี้ ชื่อว่า
ประทุษร้ายมิตรอย่างนี้ ท่านจงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
จงละอธรรมเสีย.
(นี้) ชื่อสาธุนรธรรมกัณฑ์.
[๙๙๗] ข้าพเจ้าได้อยู่ในเรือนท่านตลอด ๓ วัน
ทั้งเป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ท่านเป็นผู้พ้น
จากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอปล่อยท่าน ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญาอันสูงสุด เชิญท่านกลับไปเรือนของท่าน
ตามปรารถนาเถิด ความต้องการของตระกูลพระยา
นาคจะเสื่อมไปก็ตามที เหตุที่จะให้ได้นางนาคกัญญา
ข้าพเจ้าเลิกละ ดูก่อนท่านผู้มีปัญญา เพราะคำสุภาษิต
ของตนนั่นแล ท่านจึงพ้นจากข้าพเจ้าผู้จะฆ่าท่าน
ในวันนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 334
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๘] ดูก่อนปุณณกยักษ์ เชิญท่านนำข้าพเจ้า
ไปในสำนักของพ่อตาของท่าน จงประพฤติประโยชน์
ในข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็อยากเห็นท้าววรุณผู้เป็นอธิบดี
ของนาคและวิมานของท้าวเธอซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็น.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๙] คนมีปัญญา ไม่ควรจะดูสิ่งที่ไม่เป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้นเลย ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญาอันสูงสุด เออก็เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านจง
ปรารถนาจะไปยังที่อยู่ของศัตรูเล่า.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๑๐๐๐] แม่ข้าพเจ้าก็รู้ชัด ซึ่งข้อที่ผู้มีปัญญาไม่
ควรเห็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชน
นั้นแน่แท้ แต่ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วที่กระทำไว้ในที่ ๆ
ไหนเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รังเกียจต่อความ
ตายอันจะมาถึงตน.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๑๐๐๑] ดูก่อนบัณฑิต เชิญเถิด ท่านกับข้าพเจ้า
มาไปดูพิภพของพระยานาคราช ซึ่งมีอานุภาพหาที่
เปรียบมิได้ เป็นที่อยู่อันมีการฟ้อนรำขับร้องตาม
ปรารถนา เหมือนนิฬิญญราชธานีเป็นที่ประทับอยู่ของ
ท้าวเวสวัณ ฉะนั้น นาคพิภพนั้น เป็นที่ไปเที่ยว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 335
เล่นเป็นหมู่ ๆ ของนางนาคกัญญา ตลอดวันและคืน
เป็นนิตย์ มีดอกไม้ดารดาษอยู่มากมายหลายชนิดสว่าง
ไสวดังสายฟ้าในอากาศ บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำเพียบ
พร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องและการประโคม พร้อม
มูลไปด้วยนางนาคกัญญาที่ประดับประดาสวยงาม งาม
สง่าไปด้วยผ้านุ่งผ้าห่มและเครื่องประดับ.
[๑๐๐๒] ปุณณกยักษีนั้น เชิญให้วิธุรบัณฑิตผู้
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ นั่งเหนืออาสนะข้างหลัง
ได้พาวิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามเข้าไปสู่ภพของ
พระยานาคราช วิธุรบัณฑิตได้สถิตอยู่ข้างหลังแห่ง
ปุณณกยักษ์ จนถึงพิภพของพระยานาคซึ่งมีอานุภาพที่
เปรียบมิได้ ก็พระยานาคทอดพระเนตรเห็นลูกเขยผู้มี
ความจงรักภักดี ได้ตรัสทักทายปราศรัยก่อนทีเดียว.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๓] ท่านได้ไปยังมนุษยโลก เที่ยวแสวงหา
ดวงหทัยของบัณฑิตกลับมาถึงในนาคพิภพนี้ด้วยความ
สำเร็จหรือ หรือว่าท่านได้พาเอาบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่
ต่ำทรามมาด้วย.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๑๐๐๔] ท่านผู้นี้แหละ คือวิธุรบัณฑิต ที่พระ-
องค์ทรงปรารถนานั้นมาแล้วโดยธรรม เชิญใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาททอดพระเนตรวิธุรบัณฑิต ผู้จะแสดงธรรม
ถวายด้วยเสียงอันไพเราะ เฉพาะพระพักตร์ ณ บัดนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 336
การสมาคมด้วยสัปบุรุษทั้งหลาย ย่อมเป็นเหตุนำความ
สุขมาให้โดยแท้.
(นี้) ชื่อว่ากาลาคิรีกัณฑ์.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๕] ท่านเป็นมนุษย์ มาเห็นพิภพของนาคที่
ตนไม่เคยเห็นแล้วเป็นผู้ถูกภัยคือความตายคุกคามแล้ว
เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดูเหมือนจะ
ไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๐๖] ข้าแต่พระยานาคราช ข้าพระองค์เป็น
ผู้ไม่กลัวและไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม นัก-
โทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาต
ก็ไม่พึงให้หนักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ
นรชนจะพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน และ
ผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่า
กราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์เลยพระเจ้าข้า.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๗] ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด
ท่านพูดจริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌ-
ฆาต หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบ
ไหว้ตน อย่างไรหนอนรชนพึงกราบไหว้บุคคลผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 337
ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึง
ให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรม
นั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๐๘] ข้าแต่พระยานาคราช วิมานของฝ่า
พระบาทนี้เป็นของไม่เที่ยงแต่เป็นเช่นกับของเที่ยง
ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพและ
การเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท
ข้าพระองค์ขอทูลถามเนื้อความนั้น กะฝ่าพระบาท
วิมานนี้ทรงได้มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ฝ่าพระบาท
ทรงได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตาม
ฤดูกาล ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลาย
ถวายแก่พระองค์ ข้าแต่พระยานาคราช ขอฝ่าพระ-
บาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ ตามที่ฝ่า-
พระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้าข้า.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๙] วิมานนี้ เราจะได้มาเพราะอาศัยอะไร
ก็หามิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาลก็หามิได้ เรามิได้กระทำ
เอง แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้เราได้มา
ด้วยบุญกรรมอันไม่ลามกของตนเอง.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๐] ข้าแต่พระยานาคราช อะไรเป็นวัตร
ของฝ่าพระบาท และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของฝ่าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 338
บาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ
และการอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานใหญ่ของฝ่า
พระบาทนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อันฝ่าพระบาท
ทรงประพฤติดีแล้ว.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๑] เราและภรรยาเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี ในครั้งนั้น เรือนของ
เราเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และเราได้
บำรุงสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ เราทั้งสองได้
ถวายทาน คือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
ประทีป ที่นอนที่พักอาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน
ข้าวและน้ำโดยเคารพ ทานที่ได้ถวายโดยเคารพนั้น
เป็นวัตรของเรา และการสมาทานวัตรนั้น เป็น
พรหมจรรย์ของเรา ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์
ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความเพียร การเกิดในนาค
พิภพและวิมานใหญ่ของเรานี้เป็นวิบากแห่งวัตรและ
พรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติดีแล้ว.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๒] ถ้าวิมานนี้ ฝ่าพระบาทได้ด้วยอานุภาพ
แห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่าทรงทราบผลแห่ง
บุญ และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพเพราะ
ผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาททรงเป็น
ผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรม ตามที่จะได้ทรงครอบ
ครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 339
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๓] ดูก่อนบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ ไม่มี
สมณพราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย เราถาม
แล้วขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา ตามที่เราจะ
พึงได้ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๔] ข้าแต่พระยานาคราช ก็นาคทั้งหลาย
ที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระชายา ทั้งพระญาติ
พระมิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาค
พิภพนี้ มีอยู่ ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย
ในนาคมีพระโอรสเป็นต้นเท่านั้น ด้วยพระกายและ
พระวาจาเป็นนิตย์ ฝ่าพระบาททรงรักษาความไม่ประ-
ทุษร้ายด้วยพระกาย และพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาท
ทรงสถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุ แล้วจักเสด็จ
ไปสู่เทวโลกอันสูงกว่านาคพิภพ.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๕] ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้
ประเสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุด
พระองค์นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะเศร้าโศก
แน่แท้ทีเดียว คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนป่วย
หนักก็ดี ได้สมาคมกับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๖] ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทตรัส
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดงประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 340
โยชน์อย่างล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติแล้วโดยแท้
ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ย่อม
ปรากฏในเมื่อมีภยันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
ท้าวรุณตรัสว่า
[๑๐๑๗] ขอท่านจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์นี้
ได้ท่านมาเปล่า ๆ หรือ ขอจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์
นี้ชนะในการเล่นสกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้
กล่าวว่าได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๘] ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสกาชนะพระราชา
ของข้าพระองค์ ผู้เป็นอิสราธิบดีในอินทปัตตะนครนั้น
พระราชาพระองค์นั้นอันปุณณกยักษีชนะแล้ว ได้ทรง
พระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์
เป็นผู้อันปุณณกยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มา
โดยธรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
[๑๐๑๙] ในกาลนั้น พระยานาคผู้ประเสริฐ ทรง
สดับคำสุภาษิตของวิธุรบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์แล้วทรง
ชื่นชมโสมนัส มีพระทัยเต็มตื้นด้วยปีติ ทรงจูงมือ
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทราม เสด็จเข้าไปในที่อยู่ของ
พระชายา ตรัสว่า ดูก่อนพระน้องวิมลา เพราะเหตุ
ใด พระน้องจึงดูผอมเหลืองไป เพราะเหตุใด พระ
น้องจึงไม่เสวยกระยาหาร ก็คุณงามความดีของวิธุร-
บัณฑิตผู้ที่พระน้องต้องประสงค์ดวงหทัย เป็นผู้บรร-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 341
เทาความมืดของโลกทั้งปวง เช่นนี้นั้นของเราไม่มี ผู้
นี้คือวิธุรบัณฑิตมาถึงแล้ว จะทำความสว่างไสวให้
แก่พระน้อง เชิญพระน้องตั้งหทัยฟังคำของท่าน การ
ที่จะได้เห็นท่านอีกเป็นการหาได้ยาก.
[๑๐๒๐] พระนางวิมาลา ทอดพระเนตรเห็น
วิธุรบัณฑิต ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้นแล้ว
มีพระทัยยินดีโสมนัส ทรงยกพระองคุลีทั้ง ๑๐ ขึ้น
อัญชลี และตรัสกะวิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า ท่านเป้นมนุษย์มาเห็น
พิภพของนาคที่ตนไม่เคยเห็น เป็นผู้ถูกภัยคือความตาย
คุกคาม เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดู
เหมือนจะไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๑] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ข้าพระองค์
เป็นผู้ไม่กลัว และไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม
นักโทษประหารไม่พึงไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาต
ก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ
นรชนจะพึงกราบไหว้ บุคคลผู้ที่ปรารถนาจะฆ่าตน
และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่า
กราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 342
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๒] ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด
ท่านพูดจริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต
หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้
ตน อย่างไรหนอนรชน จะพึงกราบไหว้บุคคลผู้
ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้
บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้อย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อม
ไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๓] ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา วิมาน
ของพระองค์นี้เป็นของไม่เที่ยง แต่เป็นเช่นกับของ
เที่ยง ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ
และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพไม่มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท
ข้าพระองค์ขอทูลถามเนื้อความนั้น กะฝ่าพระบาท
วิมานนี้ฝ่าพระบาทได้มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ฝ่าพระ-
บาทได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตาม
ฤดูกาล ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลาย
ถวายฝ่าพระบาท ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา ขอ
ฝ่าพระบาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ ตามที่
ฝ่าพระบาทได้วิมานเถิด พระเจ้าข้า.
พระนางวิมาลาตรัสว่า
[๑๐๒๔] วิมานนี้ ฉันจะได้มาเพราะอะไรก็หา
มิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาล ก็หามิได้ ฉันมิได้กระทำเอง
แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้ฉันได้มาด้วยบุญ
กรรมอันไม่ลามกของตนเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 343
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๕] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี อะไรเป็นวัตร
ของฝ่าพระบาท และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของฝ่า
พระบาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริย-
ภาพ และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานอัน
ใหญ่ของฝ่าพระบาทนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อัน
ฝ่าพระบาททรงประพฤติดีแล้ว พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๖] ฉันและพระสวามีของฉัน เป็นผู้มี
ศรัทธา เป็นทานบดีในครั้งนั้น เรือนของฉันเป็นดัง
บ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และฉันได้บำรุง
สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ ฉันและพระสวามี
เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้ถวายทานคือ ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องประทีป ที่นอน ที่พัก
อาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน ข้าวและน้ำ โดยเคารพ
ทานที่ฉันได้ถวายโดยเคารพนั้น เป็นวัตรของฉัน และ
การสมาทานวัตรนั้นเป็นพรหมจรรย์ของฉัน ดูก่อน
ท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความ
เพียร การเกิดในนาคพิภพ และวิมานใหญ่ของเรานี้
เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติ
ดีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 344
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๗] ถ้าวิมานนี้ฝ่าพระบาท ทรงได้ด้วย
อานุภาพแห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่าทรงทราบ
ผลแห่งบุญ และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ
เพราะผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาท
ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมตามที่จะได้ทรง
ครอบครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๘] ดูก่อนบัณฑิต ในพิภพนี้ ไม่มีสมณ-
พราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย ฉันถามแล้ว
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ตามที่ฉันจะพึงได้
ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๙] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ก็นาคทั้งหลาย
ที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระสวามี ทั้งพระญาติ พระ-
มิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาคพิภพ
นี้ มีอยู่ ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายใน
นาคมีพระโอรสเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระกาย และ
พระวาจาเป็นนิตย์ ฝ่าพระบาทจงทรงรักษาความไม่
ประทุษร้ายด้วยพระกายและพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระ-
บาททรงสถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุแล้ว จัก
เสด็จไปสู่เทวโลกอันสูงส่งกว่านาคพิภพนี้ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 345
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๓๐] ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประ-
เสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุดพระองค์
นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะทรงเศร้าโศกแน่แท้ที่
เดียว คนผู้ถูกความทุกข์ ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็
ดี ได้สมาคมกับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๓๑] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ฝ่าพระบาท
ตรัสธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดง
ประโยชน์ล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้
ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อม
ปรากฏในเมื่อมีภัยอันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๓๒] ขอท่านจงบอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์นี้ได้
ท่านมาเปล่า ๆ หรือขอท่านจงบอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์
นี้ชนะในการเล่นสกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้
กล่าวว่าได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
วิรุธบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๓๓] ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสกาชนะพระราชา
ของข้าพระองค์ผู้เป็นอิสราธิบดีในอินทปัตตะนครนั้น
พระราชาพระองค์นั้น อันปุณณกยักษีชนะแล้ว ได้
ทรงพระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 346
องค์เป็นผู้อันปุณณกยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่
ได้มาด้วยกรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
[ ๑๐๓๕] ท้าววรุณนาครา ตรัสถามปัญหากะ
วิธุรบัณฑิต ฉันใด แม้พระนางวิมลานาคกัญญา ก็
ตรัสถามปัญหากะวิธุรบัณฑิต ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้
เป็นปราชญ์ อันท้าววรุณนาคราชตรัสถามแล้ว ได้
พยากรณ์ปัญหาให้ท้าววรุณนาคราชทรงยินดี ฉันใด
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ แม้พระนางวิมลานาค-
กัญญาตรัสถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้นางวิมลานาค-
กัญญาทรงยินดี ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทราบว่าพระยานาคราชผู้ประเสริฐ และพระนางนาค-
กัญญาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงมีพระทัยชื่นชมโสมนัส
ไม่ครั่นคร้ามไม่กลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า ได้กราบ
ทูลท้าววรุธนาคราชว่า ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระ-
บาทอย่าทรงพระวิตกว่า ทรงกระทำกรรมของคนผู้
ประทุษร้ายมิตร และอย่าทรงพระดำรู้ว่าจักฆ่าบัณฑิต
นี้ ขอฝ่าพระบาททรงกระทำกิจด้วยเนื้อหทัยของข้า
พระองค์ ตามที่ฝ่าพระบาททรงพระประสงค์เถิด ถ้า
ฝ่าพระบาทไม่ทรงสามารถจะฆ่าข้าพระองค์ ข้า-
พระองค์ จะทำถวายตามพระอัธยาศัยของฝ่าพระบาท
เอง พระเจ้าข้า.
[๑๐๓๕] ปัญญานั่นเอง เป็นหทัยของบัณฑิตทั้ง
หลาย เราทั้งสองนั้นยินดีด้วยปัญญาของท่านยิ่งนัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 347
ปุณณกยักษ์จงไปส่งท่าน ให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ที
เดียว.
[๑๐๓๖] ปุณณกยักษีนั้น ได้นางอิรันทตีนาค-
กัญญาแล้ว มีใจชื่นชมโสมนัสปีติปราโมทย์ ได้กล่าว
กะวิธุรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า ข้าแต่
ท่านวิธุรบัณฑิต ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อม
เพรียงกันกับภรรยา ข้าพเจ้าจะทำกิจตอบแทนท่าน
ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณีนี้แก่ท่าน และจะน้ำท่านไปส่ง
ให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๑๐๓๗] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจงมีความไมตรี
สนิทสนมกับภรรยาที่น่ารัก อันไม่มีใครทำให้แตก
แยกตลอดไป ท่านจงเป็นผู้มีจิตเบิกบาน มีปีติโสมนัส
ท่านได้ให้แก้วมณีแต่ข้าพเจ้าแล้ว ขอจงนำข้าพเจ้าไป
ยังอินทปัตตนครด้วยเถิด.
[๑๐๓๘] ปุณณกยักษ์นั้น เชิญวิธุรบัณฑิตผู้
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐผู้มีปัญญาไม่ทราม ให้ขึ้น
นั่งบนอาสนะข้างหน้าของตนขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไป
ในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น ได้นำวิธุรบัญฑิต
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐไปถึงอินทปัตตนครเร็วยิ่ง
กว่าใจของมนุษย์พึงไป.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๑๐๓๙] อินทปัตตนครปรากฏอยู่โน่น และป่า
มะม่วงอันน่ารื่นรมย์ ก็เห็นอยู่เป็นหย่อม ๆ ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 348
เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงกับภรรยา และท่านก็ได้ถึงที่
อยู่ของตนแล้ว.
[๑๐๔๐] ปุณณกยักษ์ผู้มีวรรณะ วางวิธุรบัณฑิต
ผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ ลงในท่ามกลางธรรมสภา
แล้วขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลางหาว พระ-
ราชาทอดพระเนตรเห็นวิธุรบัณฑิตนั้น ทรงพระปรีดา
ปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง เสด็จลุกขึ้น สวมกอดวิธุร-
บัณฑิตด้วยพระพาหาทั้งสอง ไม่ทรงหวั่นไหว ทรง
เชื้อเชิญให้นั่งเหนืออาสนะท่ามกลางสภาตรงพระ-
พักตร์ของพระองค์.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๑๐๔๑] ท่านเป็นผู้แนะนำเราทั้งหลาย เหมือน
นายสารถีนำเอารถที่หายแล้วกลับมาได้ ฉะนั้น ชาว
กุรุรัฐทั้งหลายย่อมยินดี เพราะได้เห็นท่าน ฉันถาม
แล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อควานนั้นแก่ฉัน ท่านหลุดพ้น
จากมาณพมาได้อย่างไร.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน ผู้ทรง
แกล้วกล้า ประเสริฐกว่านรชน บุรุษที่ฝ่าพระบาทตรัส
เรียกมาณพนั้นไม่ใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ชื่อปุณณกะพระ-
เจ้าข้า ฝ่าพระบาททรงเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ก็ปุณณก-
ยักษ์นั้น เป็นอำมาตย์ของท้าวกุเวรพระยานาคทรง
นามว่าวรุณผู้ครองนาคพิภพ มีพระกายใหญ่โตสะอาด
ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณะและกำลัง ปุณณกยักษ์รักใคร่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 349
นางนาคกัญญานามว่าอิรันทตี พระธิดาของพระยา-
นาคราชนั้นจึงตกลงใจจะฆ่าข้าพระองค์ เพราะเหตุ
แห่งนางอิรันทตีผู้มีเอวบางร่างน้อยน่ารักใคร่ แต่
ปุณณกยักษ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกับภรรยา ส่วนข้า-
พระองค์เป็นผู้อันพระยานาคทรงอนุญาตให้มา และ
ปุณณกยักษ์ให้แก้วมณีมาด้วย.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๑๐๔๓] มีต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดริมประตูวังของ
เรา ลำต้นประกอบด้วยปัญญา กิ่งแล้วด้วยศีล ต้นไม้
นั้นตั้งอยู่ในอรรถและธรรมมีผลเต็มไปด้วยเบญจโครส
ดารดาษไปด้วยช้าง ม้าและโค เมื่อมหาชนทำการบูชา
ต้นไม้นั้น เล่นเพลินอยู่ด้วยการฟ้อนรำขับร้องและ
ดนตรี มีบุรุษมาไล่เสนาที่ยืนแวดล้อมต้นไม้นั้นให้หนี
ไปแล้วถอนต้นไม้ไป ต้นไม้นั้นกลับมาตั้งอยู่ที่ประตู
วังของเราตามเดิม วิธุรบัณฑิตเช่นกับต้นไม้ใหญ่นี้
กลับมาสู่ที่อยู่ของตนแล้ว ท่านทั้งหลายจงกระทำการ
เคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิตนี้เถิด ขอ
เชิญอำมาตย์ผู้มีความปลื้มใจด้วยยศที่ได้ เพราะอาศัย
เราทุก ๆ ท่านเทียว จงแสดงจิตของตนให้ปรากฏใน
วันนี้ ท่านทั้งหลายจงกระทำบรรณาการให้มา จงทำ
การเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิตนี้ สัตว์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ถูกผูกไว้และถูกขังไว้ ซึ่งมีอยู่ใน
แว่นแคว้นของเรา จงปล่อยไปให้หมด วิธุรบัณฑิตนี้
หลุดพ้นจากเครื่องผูก ฉันใด สัตว์เหล่านั้นก็หลุดพ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 350
จากเครื่องผูก ฉันนั้น พวกชาวไร่ชาวนา จงหยุดพัก
เล่นมหรสพตลอดเดือนหนึ่งนี้ ขอเชิญพราหมณ์ทั้ง
หลายมาบริโภคข้าวอันเจือด้วยเนื้อ พวกนักเลงสุราจง
เว้นการเที่ยวดื่มสุรา เอาหม้อใส่ให้เต็มปรี่ ไปนั่งดื่ม
ที่ร้านของตน ๆ พวกหญิงแพศยาที่อาศัยอยู่ตามถนน
ใหญ่ จงเล้าโลมชายที่มีความต้องการเป็นนิตย์ อนึ่ง
ราชบุตรทั้งหลายจงจัดการรักษาในแว่นแคว้นให้เข้ม
แข็ง โดยมิได้เบียดเบียนกันและกันได้ ท่านทั้งหลาย
จงกระทำการเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิต
นี้.
[๑๐๔๔] พระสนมกำนัลใน พวกราชกุมาร พวก
พ่อค้าชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ได้นำข้าวและ
น้ำเป็นอันมากมาให้แก่วิธุรบัณฑิต พวกกองช้าง กอง
ม้า กองรถ และกองเดินเท้าได้นำข้าวและน้ำเป็นอัน
มากมาให้แก่วิธุรบัณฑิต ชาวชนบท และชาวนิคม
พร้อมเพรียงกัน ได้นำเอาข้าวและน้ำเป็นอันมากมาให้
แก่วิธุรบัณฑิต คนเป็นอันมาก เมื่อวิธุรบัณฑิตมาถึง
แล้ว ได้เห็นวิธุรบัณฑิตมาแล้ว ต่างก็มีจิตโสมนัสพา
กันโบกผ้าขาว โห่ร้องขึ้นเสียงอึงมี ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวิธุรชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 351
อรรถกถามหานิบาต
วิธุรชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงพระปรารภปัญญาบารมี
จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺฑ กีสิยาสิ ทุพฺพลา ดังนี้.
ความพิศดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน ที่โรงธรรมสภาว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ พระศาสดา ทรงมีพระปัญญา
มาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาเร็วไว มีพระปัญญาร่าเริง มี
พระปัญญาเฉียบแหลม มีพระปัญญาปรุโปร่ง ทรงย่ำยีถ้อยคำกล่าวด้วยของคน
อื่น ทรงทำลายปัญหาอันละเอียด ที่กษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้นแต่งขึ้นได้
ด้วยอานุภาพแห่งพระปัญญาของพระองค์ ทรงทรมานให้หมดพยศ แล้วให้ตั้ง
อยู่ในสรณะ และศีล และให้ดำเนินไปตามหนทางอันจะนำสัตว์ไป สู่อมตมหา-
นิพพาน พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เราตถาคตได้บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณ อันสามารถทำลายเสียซึ่งคำที่
คนอื่นกล่าวให้ร้าย แนะนำชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ได้เช่นนี้ ไม่น่า
อัศจรรย์ เพราะว่าตถาคตแม้เมื่อกำลังแสวงหา พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในภพก่อน ก็เป็นผู้มีปัญญา ย่ำยีถ้อยคำที่คนอื่นกล่าวให้ร้ายเช่นนี้ เหมือนกัน
จริงอย่างนั้น ในกาลที่เราเป็น วิธุรบัณฑิต เราทรมานยักษ์เสนาบดีนามว่า
ปุณณกะ ได้ด้วยกำลังญาณ บนยอดกาฬคิริบรรพต สูงถึง ๖๐ โยชน์
ปราบให้หมดพยศ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ จนยอมมอบชีวิตให้แก่เรา ดังนี้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 352
ทรงดุษณีภาพ อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเรื่องในอดีตมา
ตรัสดังตอไปนี้.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชัยโกรพยราช ทรง
ครองราชย์ในกรุงอินทปัตตะ แคว้นกุรุ อำมาตย์ชื่อว่า วิธุรบัณฑิต ได้เป็น
ราชเสวกของพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชนั้น ในตำแหน่งผู้ถวายอรรถธรรม
ท่านเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ เป็นมหาธรรมกถึก ประเล้าประโลมพระราชาชาว
ชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยธรรมเทศนาอันไพเราะจับใจของตน ประหนึ่งกระแส
เสียงแห่งพิณอันยังช้างให้รักใคร่ ฉะนั้น ไม่ยอมให้พระราชาเหล่านั้นเสด็จ
กลับไปยังแว่นแคว้นของพระองค์ แสดงธรรมแก่มหาชน ด้วยพุทธลีลา
อาศัยอยู่ในนครนั้นด้วยยศใหญ่. แม้ในกรุงพาราณสีแล ยังมีพราหมณมหาศาล
๔ คน เคยเป็นเพื่อนคฤหัสถ์ด้วยกัน ในเวลาที่ตนแก่ลง เห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย ละทิ้งเหย้าเรือน เข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญ
อภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ใน
หิมวันตประเทศนั้นนั่นแลสิ้นกาลนาน จึงเที่ยวจาริกไป เพื่อต้องการเสพ
รสเค็มและรสเปรี้ยว ไปถึงกรุงกาลจัมปากนคร ในแคว้นอังคะ พากันพักอยู่
ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าไปภิกษาจารยังนคร.
ในกรุงกาลจัมปากะนั้น ยังมีกุฎุมพีอยู่ ๔ สหาย เลื่อมใสในอิริยาบถ
ของฤาษีเหล่านั้น ต่างก็ไหว้แล้วรับเอาภิกษาภาชนะ นำมาสู่เรือนของตน คนละ
องค์ ๆ อังคาสด้วยอาหารอันประณีต จึงขอรับปฏิญญาแล้วให้อยู่ในสวน. ดาบส
ทั้ง ๔ ครั้นฉันอาหารในเรือนกุฏุมพี ๔ สหายเสร็จแล้ว มีความประสงค์
จะพักผ่อนกลางวัน จึงองค์หนึ่งไปสู่ภพชั้นดาวดึงส์ องค์หนึ่งไปสู่ภพพระยา-
นาค องค์หนึ่งไปสู่ภพพระยาครุฑ องค์หนึ่งไปสู่พระราชอุทยานชื่อว่า มิคา-
ชินะ ของพระเจ้าโกรพยราช บรรดาดาบสทั้ง ๔ องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 353
ยังเทวโลก ได้เห็นพระอิสริยยศแห่งท้าวสักกเทวราช จึงได้พรรณนาพระ
อิสริยยศนั้นนั่นแล แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน
ยังพิภพนาค ได้เห็นสมบัติของพระยานาค เมื่อกลับมาถึงแล้ว จึงพรรณนา
สมบัติของพระยานาคนั้นนั่นแล แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพัก
ผ่อนกลางวัน ยังพิภพพระยาครุฑ ได้เห็นเครื่องประดับของพระยาครุฑ เมื่อ
กลับมาแล้ว จึงพรรณนาเครื่องประดับของพระยาครุฑนั้นแก่กุฏุมพีผู้เป็น
อุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน ยังพระราชอุทยานของพระเจ้า
โกรพยราชได้เห็นสมบัติอันเลิศด้วยความงามคือ สิริของพระเจ้าธนัญชัย ครั้น
กลับมาจึงพรรณนาโภคสมบัติของพระเจ้าธนัญชัยนั้น แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของตน. กุฏุมพี ๔ สหายนั้น เมื่อปรารถนาฐานะนั้น ๆ จึงบำเพ็ญบุญมีทาน
เป็นต้นในที่สุดแห่งการสิ้นอายุ คนหนึ่งบังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช คนหนึ่ง
พร้อมด้วยบุตรและภรรยา เกิดเป็นพระยานาคในนาคพิภพ คนหนึ่งเกิดเป็น
พระยาครุฑในฉิมพลีรุกขพิมาน คนหนึ่งเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี ของ
พระเจ้าธนัญชัย ดาบสทั้ง ๔ นั้น ก็ไม่เสื่อมจากฌาน ทำกาละแล้วบังเกิดในพรหม
โลก บรรดากุฏุมพี สหายนั้น กุฏุมพีผู้เป็นพระโกรัพยกุมาร ทรงเจริญวัยขึ้น
แล้ว ครั้นพระราชบิดาสวรรคต ทรงครองราชสมบัติสืบสันติวงศ์ ครองราชย์
โดยธรรม โดยถูกต้อง อันพระเจ้าโกรพยราชนั้นทรงพอพระราชหฤทัยใน
การทรงสกา ท้าวเธอทรงตั้งอยู่ในโอวาทของวิธุรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญทาน
รักษาเบญจศีล และอุโบสถศีล วันหนึ่งท้าวเธอทรงสมาทานอุโบสถแล้ว ทรง
ดำริว่า เราจะพอกพูนวิเวกดังนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระราชอุทยาน
ประทับนั่ง ณ มนุญสถาน ทรงเจริญสมณธรรม ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรง
สมาทานอุโบสถแล้ว ทรงพระดำริว่า ในเทวโลก ยังมีความกังวลอยู่ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 354
แล้วจึงเสด็จไปยังพระอุทยานนั้นนั่นแลในมนุษยโลก ได้ประทับนั่ง เจริญ
สมณธรรมอยู่ ณ มนุญสถาน แม้วรุณนาคราช สมาทานอุโบสถแล้ว
คิดว่า ในนาคพิภพมีความกังวลอยู่ จึงไปในพระราชอุทยานนั้น นั่งเจริญ
สมณธรรม ณ มนุญสถานส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระยาครุฑ สมาทานอุโบสถแล้วก็
ดำริว่า ในพิภพครุฑมีความกังวล จึงไปในพระราชอุทยานนั้น แล้วนั่ง
เจริญสมณธรรม ณ มนุญสถานส่วนหนึ่ง พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น
ในเวลาเย็นออกจากที่อยู่ของตน ๆ ไปพบกันที่ฝั่งสระโบกขรณีอันเป็นมงคล
พอเห็นกันและกัน ต่างก็มีความพร้อมเพรียงชื่นชมยินดี เข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตมี
เมตตาแก่กันและกัน ต้อนรับด้วยถ้อยคำอันไพเราะ ด้วยอำนาจแห่งความรัก
ใคร่ ซึ่งเคยมีแก่กันและกันในปางก่อน ฝ่ายท้าวสักกเทวราช ประทับนั่ง
เหนือพื้นศิลาอันเป็นมงคล ส่วนพระราชาทั้ง ๓ นั้น ทรงทราบโอกาสที่
ควรแก่พระองค์ ๆ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกับพระราชาทั้ง ๓
นั้นว่า พวกเราทั้ง ๔ ล้วนเป็นพระราชาสมาทานอุโบสถ แต่ในบรรดาเรา
ทั้ง ๔ ใครจะมีศีลมากกว่ากัน ลำดับนั้น วรุณนาคราชได้พูดขึ้นว่า ศีลของ
ข้าพเจ้าเท่านั้น มากกว่าศีลของพวกท่านทั้ง ๓ ท้าวสักกเทวราชตรัสถาม
เธอว่า เหตุไฉนในเรื่องนี้ท่านจึงพูดอย่างนั้น วรุณนาคราชกล่าวว่า เหตุว่า
พระยาครุฑนี้เป็นข้าศึกแก่พวกข้าพเจ้า ทั้งที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด แม้ข้าพเจ้า
เห็นพระยาครุฑ ผู้เป็นข้าศึกที่อาจทำร้ายพวกข้าพเจ้าให้สิ้นชีวิตได้เช่นนี้ ก็มิได้
ทำความโกรธต่อพระยาครุฑนั้นเลย เพราะเหตุนี้ ศีลของข้าพเจ้าจึงมากกว่า ๆ
ศีลของท่านทั้ง ๓ ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๑ ในจตุโปสถชาดกใน
ทสกนิบาตดังนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 355
คนใดย่อมไม่ทำความโกรธ ในบุคคลควรโกรธ
อนึ่งคนใดเป็นสัปบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหน ๆ
ถึงเขาโกรธแล้ว ก็หาทำความโกรธให้ปรากฏไม่ บัณ-
ฑิตทั้งหลายเรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ ในบรรดาชนทั้งหลายมี
กษัตริย์เป็นต้น คนใดคนหนึ่ง. บทว่า โกปเนยฺเย ความว่า ไม่กระทำ
ความโกรธ ในบุคคลที่ควรโกรธ เหมือนขันติวาทีดาบสฉะนั้น. บทว่า กทาจิ
ความว่า ก็บุคคลใดไม่กระทำความโกรธ ในกาลไหน ๆ. บทว่า กุทฺโธปิ
ความว่า ก็ถ้าบุคคลนั้นเป็นสัปบุรุษ ย่อมโกรธไซร้ หรือแม้โกรธแล้ว ก็ไม่
ทำความโกรธนั้นให้ปรากฏเหมือนจูฬโพธิดาบสฉะนั้น. บทว่า ต เว นร
ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลผู้นั้น ผู้เป็น
สัปบุรุษ ว่าเป็นผู้สงบในโลก เพราะสงบความชั่วเสียได้ ก็คุณธรรมเหล่านี้
มีอยู่ในข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ศีลของข้าพเจ้า เท่านั้นจึงมากกว่าศีลของท่าน
ทั้งสาม
พระยาครุฑได้สดับดังนั้น จึงกล่าวว่า นาคนี้เป็นอาหารอย่างดีของ
ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าแม้เห็นนาค ผู้เป็นอาหารอย่างดีเช่นนี้แล้ว ก็อดกลั้น
ความอยากไว้เสีย ไม่ทำความชั่ว เพราะเหตุแห่งอาหาร เพราะฉะนั้นศีลของ
ข้าพเจ้าจึงมากกว่า ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
คนใดมีท้องพร่อง แต่ทนความอยากไว้ได้ เป็น
ฝน มีความเพียรเผาผลาญกิเลส บริโภคข้าวและ
น้ำพอประมาณ ไม่ทำความชั่ว เพราะเหตุแห่งอาหาร
ปราชญ์เรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 356
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการฝึก
อินทรีย์. บทว่า ตปสฺสี แปลว่า ผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส.
บทว่า อาหารเหตุ น กโรติ ปาป ความว่า บุคคลแม้ถูกความหิวเบียด
เบียน ก็ไม่ทำกรรมอันลามก เหมือนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แต่
ข้าพเจ้าในวันนี้ไม่กระทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร เพราะฉะนั้นศีลของ
ข้าพเจ้าจึงมากกว่า.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า ข้าพเจ้าละสมบัติในเทวโลก
อันมีความสุขเป็นเหตุใกล้มีประการต่างๆ มาสู่มนุษยโลกเพื่อต้องการจะรักษา
ศีล เพราะฉะนั้นศีลของข้าพเจ้าจึงมากกว่าศีลของท่าน ดังนี้แล้วจึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
บุคคลใดละขาดการเล่น การยินดีในกามได้ทั้ง
หมด ไม่พูดเหลาะแหละแม้น้อยหนึ่งในโลก เว้นจาก
เมถุน เว้นจากตกแต่งร่างกาย นักปราชญ์ทั้งหลาย
เรียกคนนั้นนั่นแลว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขิฑฺฑ ได้แก่ การเล่นทางกายและการ
พูดเล่นทางวาจา. บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณอันเป็นทิพย์.
บทว่า กิญฺจิ แปลว่า แม้มีประมาณน้อย. บทว่า วิภูสนฏฺานา ความว่า
การตกแต่งมี ๒ อย่างคือ การตกแต่งเนื้อ ๑ การตกแต่งผิวหนัง ๑ ในการ
ตกแต่ง ๒ อย่างนั้น อาหารที่กลืนกินเข้าไปชื่อว่า การตกแต่งเนื้อ การตกแต่ง
ด้วยมาลาและเครื่องหอมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งผิวหนัง อันเป็นเหตุเป็นที่
ตั้งแห่งอกุศลจิตที่เกิดความยินดี เว้นขาดจากความยินดีนั้น. บทว่า เมถุนสฺมา
ความว่า เว้นขาดจากการซ่องเสพเมถุน. บทว่า ต เว นร สมณมาหุ โลเก
ความว่า ก็วันนี้ เราละนางเทพอัปสรทั้งหลายมาในมนุษยโลกนี้ทำสมณธรรม
เพราะฉะนั้นศีลของเราจึงมากกว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 357
แม้ท้าวสักกเทวราชก็ย่อมทรงสรรเสริญศีลของพระองค์เท่านั้น.
พระเจ้าธนัญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า วันนี้ ข้าพเจ้าละราช-
สมบัติที่หวงแหนเป็นอันมาก และพระราชวังที่พรั่งพร้อมด้วยเหล่าหญิงนักฟ้อน
หกหมื่น มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในพระราชอุทยานนี้ ฉะนั้นศีลของข้าพเจ้าจึง
มากกว่า ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
นรชนใดแล กำหนดรู้วัตถุกามและกิเลสกามด้วย
ปริญญาแล้ว สละ วัตถุกามและกิเลสกามทั้งปวง
ได้เด็ดขาด นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกนรชนนั้นแล ผู้
ฝึกตนแล้วมีตนอันมั่นคง ปราศจากตัณหาเป็นเหตุยึด
ถือว่าของเรา หมดความหวังว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริคฺคห ได้แก่ วัตถุกามมีประการต่างๆ.
บทว่า โลภธมฺม ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นในเพราะวัตถุกามนั้น. บทว่า
ปริญฺาย ความว่า กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้คือ ญาตปริญญา ตีรณ-
ปริญญา ปหานปริญญา ความรู้สภาวะแห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อญาตปริญญา ใน
บรรดาปริญญา ๓ อย่างนั้น กิริยาที่ใคร่ครวญพิจารณาเห็นโทษในขันธ์ทั้ง
หลาย ชื่อว่า ตีรณปริญญา กิริยาที่เห็นโทษในขันธ์เหล่านั้นแล้วพราก
ความติดอยู่ด้วยอำนาจความพอใจ ชื่อว่า ปหานปริญญา ชนเหล่าใดกำหนด
รู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้แล้วสละละทิ้งวัตถุกามและกิเลสกามไปอยู่. บทว่า
ทนฺต ได้แก่ ผู้หมดพยศแล้ว. บทว่า ิตตฺต ได้แก่ มีสภาวะตั้งอยู่ โดย
ความไม่มีแห่งมิจฉาวิตก. บทว่า อมม ได้แก่ ไม่มีตัณหาเป็นเหตุยึดถือ
ว่าของเรา. บทว่า นิราส ได้แก่ มีจิตหมดห่วงใยด้วยบุตรและภรรยา
เป็นต้น. บทว่า ต เว นร ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเห็น
ปานนั้นว่า ผู้สงบดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 358
ดังนั้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น ต่างสรรเสริญศีลของตน ๆ
เท่านั้นว่า มีมากกว่าดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพระเจ้าธนัญชัยว่า ดูก่อนมหาราช-
เจ้า ก็ใครๆ เป็นบัณฑิตในสำนักของพระองค์ที่จะพึงบรรเทาความสงสัยของ
พวกเรามีอยู่หรือ. พระเจ้าธนัญชัยตรัสตอบว่า มีอยู่มหาราชเจ้า คือวิธุร-
บัณฑิตผู้ดำรงตำแหน่งอรรถธรรมานุสาสน์ เป็นผู้ทรงปัญญาหาผู้เสมอเหมือน
มิได้ จักบรรเทาความสงสัยของพวกเราได้ พวกเราจงพากันไปยังสำนักของ
วิธุรบัณฑิตนั้นเถิด พระราชาทั้ง ๓ พระองค์นั้น ทรงรับคำพร้อมกันแล้ว.
ลำดับนั้น พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดพากันเสด็จออกจากพระราชอุทยานไปสู่
โรงธรรมสภา รับสั่งให้ประดับธรรมาสน์ เชิญพระโพธิสัตว์ให้นั่ง ณ ท่าม
กลางบัลลังก์อันประเสริฐ ทำปฏิสันถารแล้วประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้ตรัสกะบัณฑิตว่า ความสงสัยเกิดขึ้นแก่พวกเรา ขอท่านจงทรงบรรเทา
ความสงสัยนั้นเถิด ดังนี้แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถามบัณฑิต ผู้มีปัญญาไม่ต่ำ
ทราม สามารถรู้เหตุและมิใช่เหตุ ควรทำและไม่ควร
ทำ ด้วยการโต้เถียงกันในเรื่องศีลได้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอท่านได้โปรดตัดความสงสัยคือวิจิกิจฉา
ทั้งหลายให้ในวันนี้ จงช่วยพวกข้าพเจ้าทั้งปวงให้ข้าม
พ้นความสงสัยในวันนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺตาร ได้แก่ ท่านผู้สามารถทราบเหตุ
และมิใช่เหตุ อันได้แก่เหตุที่ควรทำและไม่ควรทำ. บทว่า วิคฺคโห อตฺถิ
ชาโต ความว่า การกล่าวขัดแย้งกันในเรื่องศีล คือการโต้เถียงกันในเรื่อง
ศีลเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นอยู่. บทว่า ฉินฺทชฺช ความว่า วันนี้ท่านจงตัดความ
สงสัยคือความลังเลใจนั้นของข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนท้าวสักกเทวราชตัดยอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 359
เขาสิเนรุด้วยเพชรฉะนั้น. บทว่า วิตเรมุ แปลว่า ให้พวกข้าพเจ้าข้ามไป.
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิต ได้สดับพระกระแสรับสั่งของพระราชาทั้ง ๔
พระองค์นั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เรื่องโต้เถียงกันที่อาศัยศีลของ
พระองค์ทั้งหลายเกิดแล้วนั้น ข้าพระองค์จะทราบได้อย่างไรว่า พระกระแส
รับสั่งนั้น เช่นไรผิด เช่นไรถูก ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้ที่เห็นข้อความแต่จะตัดสิน
ความด้วยอุบายอันแยบคายได้ ในเมื่อโจทก์และจำเลย
บอกข้อที่พิพาทกันให้ตลอด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
แห่งทวยราษฎร์ ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส บัณฑิตผู้
ฉลาดทั้งหลาย เมื่อโจทก์และจำเลย ไม่บอกข้อความ
ให้แจ้งจะพึงตัดสินพิจารณาข้อความนั้นได้อย่างไร
เหตุนั้น ขอพระองค์ตรัสเล่าข้อความให้ข้าพระองค์
ทราบก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถทสฺส ความว่า ผู้สามารถเพื่อเห็น
ข้อความ. บทว่า ตตฺถ กาเล ความว่า ในกาลที่โจทก์และจำเลยบอกข้อ
ความที่ทะเลาะกันนั้นกาลที่ควรและไม่ควร บัณฑิตทั้งหลายเมื่อบอกข้อความ
นั้น ย่อมกล่าวโดยแยบคาย. บทว่า อตฺถ เนยฺยุ กุสลา ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งทวยราษฎร์ บัณฑิตทั้งหลาย แม้เป็นผู้ฉลาดเฉียบ
แหลม เมื่อโจทก์และจำเลยไม่บอกข้อความให้แจ้งชัด จะพึงพิจารณาข้อความ
นั้นได้อย่างไร. วิธุรบัณฑิต เรียกพระราชาทั้งหลายว่าผู้เป็นจอมแห่งทวย-
ราษฎร์. เพราะฉะนั้นขอพระองค์จงตรัสข้อความนี้ให้ข้าพเจ้าทราบก่อน
พระมหาสัตว์ ทูลต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 360
พระยานาคราชตรัสว่าอย่างไร พระยาครุฑตรัส
ว่าอย่างไร ท้าวสักกเทวราชตรัสว่าอย่างไร ส่วน
มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งชาวกุรุรัฐตรัสว่าอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธพฺพราชา วิธุรบัณฑิตกล่าวหมาย
เอาท้าวสักกเทวราช.
ลำดับนั้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้นตรัสพระคาถาตอบพระมหา-
สัตว์นั้นว่า
พระยานาค ย่อมทรงสรรเสริญอธิวาสนขันติ
กล่าวคือ ความไม่โกรธในบุคคลแม้ผู้ควรโกรธ.
พระยาครุฑ ย่อมทรงสรรเสริญการไม่ทำความชั่ว
เพราะเหตุแห่งอาหารกล่าวคือ บริโภคอาหารแต่น้อย.
ท้าวสักกเทวราช ทรงสรรเสริญการละความยิน
ดีในกามคุณ ๕.
พระเจ้ากุรุรัฐ ทรงสรรเสริญความไม่มีความกังวล.
พึงทราบคำอันเป็นคาถานั้นดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต พระยานาค-
ราชสรรเสริญอธิวาสนขันติ กล่าวการไม่โกรธในบุคคลแม้ผู้ควรโกรธ พระยา-
ครุฑย่อมสรรเสริญการไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร กล่าวคือการบริโภค
อาหารน้อย ท้าวสักกเทวราช ทรงสรรเสริญการละความยินดีในกามคุณ ๕
พระเจ้ากุรุรัฐ ทรงสรรเสริญความไม่มีความกังกล.
พระมหาสัตว์ได้สดับพระกระแสรับสั่งของพระราชาทั้ง ๔ พระองค์
แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า
พระกระแสรับสั่งทั้งปวงนี้ เป็นสุภาษิตทั้งหมด
แท้จริงพระกระแสรับสั่งเหล่านี้ จะเป็นทุพภาษิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 361
เพียงเล็กน้อยหามิได้ คุณธรรม ๔ ประการนี้ตั้งมั่นอยู่
ในนรชนใด เป็นดังกำเกวียนที่รวมกันอยู่ ที่ดุมเกวียน
บัณฑิตเรียกนรชนผู้ประกอบพร้อมด้วยธรรม ๔ ประ-
การนั้นแลว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตานิ ความว่า คุณชาติทั้ง ๔ ประการ
นี้ ตั้งมั่นด้วยดีในบุคคลใด เป็นดังกำเกวียนตั้งรวมกันอยู่ด้วยดีที่คุมเกวียน
ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้
ว่าผู้สงบในโลกฉะนั้น.
พระมหาสัตว์ได้ทำศีลของพระราชาทั้ง ๔ พระองค์ให้มีคุณสม่ำเสมอ
กันทีเดียวอย่างนี้.
ท้าวเธอทั้ง ๔ ครั้นได้ทรงสดับดังนั้น ต่างมีพระหฤทัยร่าเริงยินดี
เมื่อจะทรงชมเชยพระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้ยอดเยี่ยม ไม่มี
ใครเทียมถึง มีปัญญาดี รักษาธรรม และรู้แจ้งธรรม
วิเคราะห์ปัญหาของพวกข้าพเจ้าได้ด้วยดี ด้วยปัญญา
ของตน พวกข้าพเจ้าอ่อนวอนท่านว่า ขอท่านผู้เป็น
ปราชญ์ จงตัดความสงสัยลังเลใจของพวกข้าพเจ้าให้
ขาดไปในวันนี้เหมือนช่างทำงาช้าง ตัดงาช้างให้ขาด
ไปด้วยเลื่อยอันคม ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวมนุตฺตโรสิ ความว่า ท่านเป็นผู้
ยอดเยี่ยมไม่มีผู้เทียมถึง ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีผู้ยอดเยี่ยมเท่าท่าน. บทว่า ธมฺมคู
ความว่า ทั้งเป็นผู้รักษาธรรมและรู้ธรรม. บทว่า ธมฺมวิทู ความว่า ผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 362
ธรรมเป็นที่ปรากฏ. บทว่า สุเมโธ ความว่า ผู้มีปัญญาดี. บทว่า ปญฺาย
ความว่า ศึกษาปัญหาของพวกเราเป็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว ก็ทราบความจริง
ว่า ในเรื่องนี้มีเหตุอย่างนี้. บทว่า อจฺเฉจฺฉ ความว่า ขอท่านผู้ทรงเป็น
ปราชญ์โปรดตัดสินข้อสงสัยของพวกข้าพเจ้า และเมื่อตัดสินอย่างนี้ โปรดให้
คำขอร้องของพวกข้าพเจ้านี้จบสิ้นว่า ท่านได้ตัดสินข้อสงสัย คือวิจิกิจฉาแล้ว
ดังนี้. บาทคาถาว่า จุนฺโท ยถา นาคทนฺต ขเรน ความว่า ขอท่านช่วย
ตัดข้อสงสัย เหมือนนายช่างทำงาช้าง ตัดงาช้างด้วยเลื่อยเล่มคม ฉะนั้น.
พระราชาแม้ทั้ง ๔ พระองค์นั้น ครั้นตรัสชมเชยพระมหาสัตว์อย่างนั้น
แล้ว ต่างทรงพอพระหฤทัยด้วยพยากรณ์ปัญหาของพระมหาสัตว์ ลำดับนั้น
ท้าวสักกเทวราชจึงทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยผ้าทุกุลพัสตร์อันเป็นทิพย์ พระยา
ครุฑบูชาด้วยมาลัยทอง วรุณนาคราชบูชาด้วยแก้วมณี พระเจ้าธนัญชัยบูชา
ด้วยวัตถุต่างๆ มีโคนมนับจำนวนพันเป็นต้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น
ได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้ายินดีด้วย
การพยากรณ์ปัญหา นี้ผ้าทิพย์สีดอกบัวเขียว ปราศ
จากมลทิน เนื้อละเอียดดังควันเพลิง หาค่ามิได้ข้าพ-
เจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระยาครุฑบูชาด้วยดอก
ไม้ทองตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้า
ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหานี้ ดอกไม้ทอง มีกลีบร้อย
กลีบแย้มออกแล้ว มีเกสรแล้วด้วยแก้วนับด้วยพัน
ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระยาวรุณนาคราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 363
บูชาด้วยแก้วมณีตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์
ข้าพเจ้ายินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหานี้ แก้วมณีอันเป็น
เครื่องประดับของข้าพเจ้า มีสีงดงามผุดผ่อง หาค่ามิ
ได้ ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระเจ้าธนัญชัย
ทรงบูชาด้วยวัตถุต่างๆ มีโคนมพันหนึ่งเป็นต้น แล้ว
มีพระราชดำรัสว่า ข้าพเจ้ายินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหา โคนมพันหนึ่งและโคอุสุภราชนายฝูง รถ ๑๐
คัน เทียมด้วยอาชาไนย บ้านส่วย ๖ บ้าน เหล่านี้
ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม.
พระราชาทั้ง ๔ พระองค์ มีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น ครั้นทรงบูชา
พระมหาสัตว์แล้ว ได้เสด็จไปยังที่ประทับของพระองค์ตามเดิมด้วยประการ
ฉะนี้.
จบจตุโปสถกัณฑ์
บรรดาพระราชา ๔ พระองค์นั้น พระยานาคมีพระชายานามว่า พระ-
นางวิมลาเทวี พระนางนั้น เมื่อไม่เห็นเครื่องประดับแก้วมณีที่พระศอของ
พระยานาคี จึงทูลถามว่า แก้วมณีของพระองค์หายไปไหนเล่าพระเจ้าข้า. ท้าว-
เธอจึงตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราได้สดับธรรมกถาของวิธุรบัณฑิต บุตรแห่ง
จันทพราหมณ์ มีจิตเลื่อมใสจึงเอาแก้วมณีนั้นบูชาเธอ จะบูชาแต่เราคนเดียว
ก็หามิได้ แม้ท้าวสักกเทวราชก็ยังทรงบูชาเธอด้วยผ้าทุกุลพัสตร์อันเป็นทิพย์
พระยาครุฑบูชาเธอด้วยดอกไม้ทอง พระเจ้าธนัญชัยทรงบูชาเธอด้วยวัตถุต่าง ๆ
มีโคนมพันหนึ่งเป็นต้น. พระนางทูลถามว่า พระวิธุรบัณฑิตนั้นเป็นพระธรรม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 364
กถึกหรือพระเจ้าข้า. ดูก่อนนางผู้เจริญแล้วจะพูดไปไยเล่า พระราชา ๑๐๑
พระองค์ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ล้วนพอพระหฤทัยในธรรมกถาอันไพเราะของเธอ
เหมือนกับกาลอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้ายังเป็นไปอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จนจะ
เสด็จกลับไปยังแว่นแคว้นของตน ๆ ไม่ได้ เป็นดังกระแสเสียงพิณ ชื่อหัตถี
กันต์ ประโลมฝูงช้างตกมันให้ใคร่ เธอเป็นธรรมกถึกเอก แสดงธรรมไพเราะ
จับใจยิ่งนัก พระยาวรุณนาคราชทรงสรรเสริญคุณของพระมหาสัตว์ ด้วยประ
การฉะนี้. พระนางได้สดับคุณกถาของพระวิธุรบัณฑิตใคร่จะสดับธรรมกถาของ
ท่าน จึงทรงดำริว่า หากเราจะทูลว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมกถาของพระ-
วิธุรบัณฑิต ขอพระองค์โปรดให้เชิญมาในนาคพิภพนี้เถิด พระเจ้าข้า ดังนี้
ท้าวเธอจักไม่โปรดให้เชิญมาให้แก่เรา อย่ากระนั้นเลย เราควรจะแสดงอาการ
ดังเป็นไข้ด้วยปรารถนาดวงหฤทัยวิธุรบัณฑิตนั้น. พระนางครั้นกระทำอย่าง
นั้นแล้ว ให้สัญญาแก่เหล่านักสนม จึงเสด็จเข้าผทมอยู่ ณ พระแท่นอัน
ประกอบด้วยสิริ. พระยานาคราชเมื่อไม่ทรงเห็นพระนางวิมลาเทวีในเวลาเข้า
เฝ้า จึงตรัสถามว่า พระนางวิมลาไปไหน ? เมื่อเหล่านางนักสนมทูลว่า
พระนางทรงประชวร พระเจ้าข้า ท้าวเธอจึงเสด็จลุกจากพระราชอาสน์ เสด็จ
ไปยังสำนักแห่งพระนางวิมลานั้น ประทับนั่งข้างพระแท่น ทรงลูบคลำ
พระสรีระกายของพระนางอยู่ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
เธอเป็นไรไป มีผิวพรรณเหลืองซูบผอม ถด
ถอยกำลัง ในปางก่อนรูปโฉมของเธอไม่ได้เป็นเช่นนี้
เลย ดูก่อนพระน้องวิมลา พี่ถามแล้วจงบอก เวทนา
ในร่างกายของเธอเป็นเช่นไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑุ แปลว่า มีผิวพรรณดังใบไม้
เหลือง. บทว่า กีสิยา แปลว่า ซูบผอม. บทว่า ทุพฺพลา แปลว่า มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 365
กำลังน้อย. บทว่า วณฺณรูเป น ตเวทิส ปุเร ความว่า รูปกล่าวคือ
วรรณะของเจ้า มิได้เป็นเหมือนในก่อนเลย คือในก่อนไม่มีโทษไม่เศร้าหมอง
แต่บัดนี้รูปนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป มีภาวะไม่เป็นที่ชื่นใจเลย. พระยานาคตรัส
เรียกพระนางวิมลาเทวีว่า วิมลา ดูก่อนพระน้องวิมลาดังนี้.
ลำดับนั้น พระนางวิมลาเทวี เมื่อจะทูลบอกความนั้นแก่ท้าวเธอจึง
ตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมหมู่นาคชื่อว่าความอยาก
ได้โน่นอยากได้นี่ เขาเรียกกันว่า เป็นธรรมดาของ
หญิงทั้งหลายในหมู่มนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
สุดในหมู่นาค หม่อมฉันอยากได้ดวงหทัยของวิธุร-
บัณฑิต ที่บุคคลนำมาได้โดยชอบเพคะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า มาตีน
ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า ชนินฺท แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
แห่งหมู่นาค. สองบาทคาถาว่า ธมฺมาหฏ นาคกุญฺชร วิธุรสฺส หทยาภิ-
ปตฺถเย ความว่า ข้าแต่นาคผู้ประเสริฐสุด เมื่อดิฉันอยากได้ดวงหทัยของ
วิธุรบัณฑิตที่พระองค์นำมาได้โดยชอบธรรม ไม่ใช่โดยกรรมที่สาหัส ชีวิตของ
หม่อมฉันจะยังทรงอยู่ได้ ถ้าเมื่อดิฉันไม่ได้ไซร้ หม่อมฉันเห็นจะมรณะอยู่ในที่
นี้แล พระนางตรัสอย่างนั้นหมายถึงปัญญาของวิธุรบัณฑิตนั้น.
ดูก่อนพระน้องวิมลา เธอปรารถนาดวงหทัย
ของวิธุรบัณฑิตนั้น ดังจะปรารถนา พระจันทร์
พระอาทิตย์หรือลม เพราะว่าวิธุรบัณฑิต ยากที่บุคคล
จะเห็นได้ ใครจะนำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 366
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลเก หิ วิธุรสฺส ทสฺสเน ความ
ว่า การเห็นวิธุรบัณฑิตผู้มีเสียงอันไพเราะ หาผู้เสมือนมิได้นั้น หาได้ยาก.
ด้วยว่า พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ทรงจัดการพิทักษ์รักษาป้องกันวิธุร-
บัณฑิตอย่างกวดขันประกอบโดยธรรม. แม้ใคร ๆ จะเห็นก็เห็นไม่ได้ ใครเล่า
จะนำวิธุรบัณฑิตนั้นมาในนาคพิภพนี้ได้.
พระนางวิมลาเทวีได้สดับพระสวามีตรัสดังนั้นจึงทูลว่า เมื่อหม่อมฉัน
ไม่ได้ จักตายในที่นี้แล แล้วเบือนพระพักตร์ผันพระปฤษฎางค์ให้แก่พระสวามี
เอาชายพระภูษาปิดพระพักตร์บรรทมนิ่งอยู่. พระยานาคเสด็จไปสู่ห้องที่
ประกอบด้วยสิริของพระองค์ ประทับนั่งลงเหนือพระแท่นบรรทม ทรงเข้า
พระทัยว่า พระนางวิมลาเทวีจะให้เอาเนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้ จึงทรง
พระดำริว่า เมื่อพระนางวิมลาไม่ได้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ชีวิตของเธอ
จักหาไม่ ทำอย่างไรหนอ เรจึงจักได้เนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตนั้น. ลำดับนั้น
นางนาคกัญญานามว่า อิรันทตี ซึ่งเป็นธิดาของพระยานาคนั้น ประดับด้วย
เครื่องประดับพร้อมสรรพ มาสู่ที่เฝ้าพระบิดาด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ ถวายบังคม
พระบิดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระอินทรีย์ของพระบิดาผิด
ปกติ จึงทูลว่า ข้าแต่สมเด็จพ่อ ดูเหมือนสมเด็จพ่อได้รับความน้อยพระทัย
เป็นอย่างยิ่ง นี่เป็นเพราะเหตุไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงได้ตรัส
พระคาถาว่า
ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสมเด็จพระ-
บิดาจึงทรงซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จพระธิดา
เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้าแต่สมเด็จ
พระบิดาผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เกรงขามของศัตรู เหตุไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 367
หนอสมเด็จพระบิดา จึงทรงเป็นทุกข์พระทัย อย่าทรง
เศร้าโศกไปเลยเพคะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปชฺฌายสิ ได้แก่ คิดบ่อยๆ. บทว่า
ทตฺถคต ความว่า พระพักตร์ของพระองค์ เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำ
ด้วยมือ. บทว่า อิสฺสร ความว่า ข้าแต่พระบิดาผู้เป็นเจ้าของมณฑลนาค
พิภพ ซึ่งมีประมาณห้าร้อยโยชน์.
พระยานาคราชทรงสดับคำของธิดา เมื่อจะทรงบอกเรื่องนั้น จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
อิรันทตีลูกรัก ก็พระมารดาของเจ้าปรารถนา
ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เพราะวิธุรบัณฑิต ยากที่
บุคคลจะเห็นได้ ใครจะนำวิธุรบัณฑิต มาในนาคพิภพ
นี้ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนิยฺยติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. ลำดับ
นั้นพระยานาคราชจึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนลูกหญิง บุคคลผู้สามารถเพื่อจะนำ
วิธุรบัณฑิตมาในสำนักของเราได้ก็ไม่มี เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาเถิด จงไป
แสวงหาภัสดาผู้สามารถนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้ได้ เมื่อจะส่งธิดาไป
จึงตรัสกึ่งคาถาว่า
เจ้าจงไปเที่ยวแสวงหาภัสดา ซึ่งสามารถนำ
วิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า จงเที่ยวไป.
พระยานาคนั้นได้ตรัสถ้อยคำ แม้ที่ไม่สมควรแก่ธิดา เพราะถูกกิเลส
ครอบงำด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 368
ก็นางนาคมาณวิกานั้นได้สดับพระดำรัสของพระ
บิดาแล้ว เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยกิเลส ออกเที่ยวแสวงหา
สามีในเวลากลางคืน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวสฺสตี จริ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นางนาคมาณวิกานั้น ได้สดับคำพระบิดาแล้ว จึงปลอบโยนพระ-
บิดาให้เบาพระทัยแล้วไปสู่สำนักพระมารดาแล้ว ไปยังห้องอันประกอบด้วยสิริ
ของตน ประดับพร้อมสรรพนุ่งผ้าสีดอกดำผืนหนึ่ง ทำเฉวียงบ่าผืนหนึ่ง แหวก
น้ำเป็นสองส่วน ออกจากนาคพิภพไปในคืนนั้นเอง เหาะไปสู่กาฬคิรีบรรพต
มีแท่งทึบเป็นอันเดียว มีสีดังดอกอัญชันสูงได้ ๖๐ โยชน์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ฝั่ง
สมุทร ณ หิมวันตประเทศ เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยอำนาจกิเลส ได้เทียวแสวงหา
ภัสดาแล้ว.
นางอิรันทตีนาคกัญญานั้น เก็บดอกไม้ในหิมวันตประเทศนั้น ที่
สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น มาประดับยอดบรรพตทั้งสิ้น ให้เป็นดุจพนมแก้วมณี
ลาดดอกไม้ที่พื้นเบื้องบนแห่งบรรพตนั้น ฟ้อนรำด้วยท่าทางอันงามเพริศพริ้ง
ขับร้องเพลงขับไพเราะจับใจ ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือมนุษย์
คนไหนเป็นผู้ฉลาดสามารถจะให้สิ่งทั้งปวงได้ คนนั้น
จักได้เป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เก คนฺธพฺเพ จ รกฺขเส นาเค ความว่า
คนธรรพ์ รากษส หรือนาคก็ตาม. บทว่า เก ปณฺฑิเต สพฺพกามทเท
ในบรรดาคนธรรพ์เป็นต้นนั้น คนไหนเป็นผู้ฉลากสามารถเพื่อจะให้สมบัติ
อันน่าใคร่ทุกอย่าง เมื่อนำมโนรถของมารดาของเราผู้ปรารถนาดวงหทัยของ
วิธุรบัณฑิตมา ผู้นั้นจักได้เป็นภัสดาของเราตลอดกาลนาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 369
ขณะนั้น ปุณณกยักษ์เสนาบดี หลานของท้าวเวสวัณมหาราช เผ่น
ขึ้นม้ามโนมัยสินธพสูงประมาณ ๓ คาวุต เหาะไปสู่ยักษ์สมาคมที่พื้นมโนศิลา
เหนือยอดกาฬาคิรีบรรพต ได้ยินเสียงแห่งนางอิรันทตีนาคกัญญานั้น เสียง
ขับร้องของนางอิรันทตี ได้ตัดผิวหนังเป็นต้นของปุณณกยักษ์ เข้าไปกระทั่ง
ถึงเยื่อในกระดูก เพราะเคยอยู่ร่วมกันในอัตภาพถัดมา ปุณณกยักษ์นั้นมี
จิตปฏิพัทธ์ ชักม้ากลับคืน นั่งอยู่บนหลังม้าสินธพนั้นแล เล้าโลมนางให้
ยินดีว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ พี่เป็นผู้สามารถนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้
ได้โดยชอบธรรมด้วยปัญญาของพี่ อย่าคิดวิตกไปเลย แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า
ดูก่อนนางผู้มีนัยน์ตาหาที่ติไม่ได้ เธอจงเบาใจ
เถิด เราจักเป็นสามีของเธอ จักเป็นผู้เลี้ยงดูเธอเพราะ
ปัญญาของเรา อันสามารถจะนำเนื้อหทัยของวิธุรบัณ-
ฑิตมาให้ จงเบาใจเถิด เธอจักเป็นภรรยาของเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนินฺทโลจเน แปลว่า ผู้มีขนตางาม
ที่จะพึงตำหนิมิได้. บทว่า ตถาวิธาหิ ความว่า อันสามารถนำนาซึ่งเนื้อ
หทัยของวิธุรบัณฑิตมาได้. บทว่า อสฺสาส ความว่า เจ้าจงได้ความดีใจไว้
วางใจเถิด. บทว่า เหสฺสสิ ความว่า เจ้าจักเป็นภรรยาของพี่.
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
นางอิรันทตีผู้มีใจกำหนัดรักใคร่ เพราะเคยร่วม
อภิรมย์กันมาในภพก่อน ได้กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า
มาเถิดท่าน เราจักไปในสำนักพระบิดาของดิฉัน พระ
บิดาของดิฉันจักตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ท่าน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 370
บรรดาบทเหล่านั้น พระคาถาว่า ปุพฺพปถานุคเตน เจตสา
ความว่า นางมีใจกำหนัดรักใคร่ในปุณณกยักษ์นั้น ผู้เคยเป็นสามีมาในอัต-
ภาพถัดมา เพราะเคยร่วมอภิรมย์กันมาในกาลก่อนนั่นแล. บทว่า เอหิ คจฺฉาม
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์เสนาบดีนั้นครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว
จึงคิดว่า เราจักขึ้นหลังม้านี้ นำไปลงเหนือยอดบรรพต จึงเหยียดมือออกจับ
มือนางอิรันทตีนั้น ฝ่ายนางอิรันทตีนั้นไม่ให้จับมือตน จับมือปุณณกยักษ์ที่
เหยียดออกไปเสียเองแล้วกล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันมิใช่คนไร้ที่พึ่ง พระยานาค
นามว่าวรุณเป็นบิดาของดิฉัน พระนางวิมลาเทวีเป็นมารดาของดิฉัน มาเถิด
ท่าน ดิฉันจะพาไปสู่สำนักแห่งบิดาของดิฉัน เราทั้งสองจะควรทำมงคลด้วย
ประการใด ท้าวเธอคงตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยประการนั้น.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
นางอิรันทตีประดับประดานุ่งผ้าเรียบร้อย ทัด
ทรงดอกไม้ ประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์ จูงมือ
ปุณณกยักษ์เข้าไปสู่สำนักแห่งพระบิดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตุ สนฺติกมุปาคมิ ความว่า เข้าไปสู่
สำนักพระบิดา.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ ติดตามไปยังสำนักแห่งพระยานาค เมื่อจะทูลขอ
นางอิรันทตีจึงทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นาค ขอพระองค์
ได้ทรงโปรดสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงรับสินสอดตามสมควร ข้าพระองค์ปรารถนา
พระนางอิรันทตี ขอพระองค์ได้ทรงโปรดกรุณาให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 371
ข้าพระองค์ได้ทรงอยู่ร่วมกับพระนางอิรันทตีเถิด ข้า
แต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอได้ทรงพระกรุณารับสิน
สอดนั้นคือ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ รถเทียมม้า ๑๐๐ เกวียน
บรรทุกของเต็ม ล้วนแก้วต่าง ๆ ๑๐๐ ขอได้โปรด
พระราชทานพระราชธิดาอิรันทตี แก่ข้าพระองค์เถิด
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุงฺกย ความว่า ขอพระองค์จงทรงรับ
เอาทรัพย์คือสินสอดเพื่อพระราชา ตามสมควรแก่ตระกูลและประเทศของพระ-
องค์เถิด. บาทพระคาถาว่า ตาย สมงฺคึ กโรหิ ม ตุว ความว่า ขอพระองค์
จงทรงพระกรุณากระทำข้าพระองค์ให้เป็นผู้อยู่ร่วมกับพระนางอิรันทตีราชธิดา
นั้นเถิด. บทว่า พลภิยฺโย แปลว่า เกวียนอันเต็มไปด้วยสิ่งของ. บทว่า
นานารตนสฺส เกวลา ความว่า ล้วนเต็มไปด้วยแก้วนานาชนิด.
ลำดับนั้น พระยานาคราชจึงตรัสกะปุณณกยักษ์นั้น ด้วยพระคาถาว่า
ขอท่านจงรออยู่จนกว่าเราจะได้ปรึกษาหารือกับ
บรรดาญาติมิตรและเพื่อนสนิทเสียก่อนกรรมที่กระทำ
ด้วยการไม่ปรึกษาหารือ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว อามนฺตเย ความว่า ดูก่อนยักษ์-
เสนาบดีผู้เจริญ เราจะให้ธิดาแก่ท่าน หรือจะไม่ให้ก็หามิได้ แต่ว่าท่านจง
รอก่อน เราจะปรึกษาหารือกะพวกญาติมิตรและเพื่อนที่สนิทดูก่อน. บาท
พระคาถาว่า ต ปจฺฉา อนุตปฺปติ ความว่า พระยาวรุณนาคราชกล่าวว่า
เพราะว่าหญิงทั้งหลายบางทีก็ยินดีรักใคร่กัน บางทีก็ไม่ยินดีรักใคร่กัน กรรม
ที่เราทำลงไปโดยมิได้ปรึกษาหารือใคร เมื่อเวลาเขาไม่ยินดีรักใคร่ต่อกัน เพราะ
ฉะนั้นพวกญาติมิตรและเพื่อนสนิทย่อมจะไม่ช่วยกระทำความขวนขวาย ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 372
เหตุที่กรรมที่เราทำโดยมิได้ปรึกษาหารือกับเขา จึงเป็นเช่นนี้ กรรมนั้นย่อม
จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนในภายหลัง
ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์
ปรึกษากะพระชายาเป็นพระคาถาความว่าปุณณยักษ์
มาขอลูกอิรันทตีกะเรา เราจะให้ลูกอิรันทตี ซึ่งเป็น
ที่รักของเราแก่ปุณณกยักษ์นั้น เพราะได้ทรัพย์เป็น
จำนวนมากหรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิสิตฺวา ความว่า ปล่อยปุณณกยักษ์
ไว้ในที่นั้นนั่นเอง พระองค์ก็เสด็จลุกขึ้นเข้าไปยังพระนิเวศน์ที่ชายาของพระองค์
บรรทมอยู่ทันที. บทว่า ปิย มม ความว่า พระองค์ตรัสถามว่า เราจะให้
ธิดาซึ่งเป็นที่รักของเรา โดยได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจเป็นอันมากหรือ ?
พระนางวิมลาเทวี ตรัสว่า
ปุณณกยักษ์ไม่พึงได้ลูกอิรันทตีของเราเพราะ
ทรัพย์ เพราะสิ่งที่ปลื้มใจ ถ้าปุณณกยักษ์ได้หทัยของ
วิธุรบัณฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยชอบธรรม เพราะ
ความชอบธรรมนั่นแล เขาจะพึงได้ลูกสาวของเรา
หม่อมฉันปรารถนาทรัพย์อื่น ยิ่งกว่าหทัยของวิธุร-
บัณฑิตหามิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺห อิรนฺทตี ความว่า อิรันทตีธิดา
ของเรา. บทว่า เอเตน จิตฺเตน ความว่า ด้วยอาการที่ยินดีนั้นนั่นแล.
ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จออกจากนิเวศน์
ตรัสเรียกปุณณยักษ์มาตรัสว่า ท่านไม่พึงได้ลูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 373
อิรันทตีของเรา เพราะทรัพย์ เพราะสิ่งเครื่องปลื้มใจ
ถ้าท่านได้หทัยของวิธุรบัณฑิตนำมา ในนาคพิภพนี้โดย
ชอบธรรม ท่านจะพึงได้ลูกสาวของเรา เราปรารถนา
ทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่าหทัยของวิธุรบัณฑิตหามิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปุณฺณกามนฺตยิตฺวาน ความ
ว่า เรียกปุณณกยักษ์มา.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ในโลกนี้คนบางพวก
ย่อมเรียกคนใดว่าเป็นบัณฑิต คนบางพวกกลับเรียก
คนนั้นนั่นแลว่าเป็นพาล ในเรื่องนี้ คนทั้งหลายยัง
กล่าวแย้งกันอยู่ ขอได้ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ พระ-
องค์ทรงเรียกใครว่าเป็นบัณฑิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปณฺฑิโต ความว่า ได้ยินว่า ปุณณก-
ยักษ์ได้สดับว่าให้นำหทัยวิธุรบัณฑิตมาดังนี้ คิดว่า คนบางพวก เรียกคนใด
ว่า เป็นบัณฑิต แต่คนพวกอื่นก็เรียกคนนั้นแหละว่าเป็นพาล. ทั้งที่แม่นาง
อิรันทตีบอกเราว่า วิธุรบัณฑิตแม้โดยแท้ ถึงกระนั้นเราจักทูลถามท้าวเธอให้
รู้แน่นอนกว่านั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นจึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระยานาคราชตรัสว่า
บัณฑิตชื่อว่าวิธุระ ผู้ทำการสั่งสอนอรรถธรรม
แก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช ถ้าท่านได้ยินได้ฟังมา
แล้ว ท่านจงไปนำบัณฑิตนั้นมา ครั้นท่านได้มาโดย
ธรรมแล้ว อิรันทตีธิดาของเรา จงเป็นภรรยาของ
ท่านเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 374
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมลทฺธา แปลว่า ได้มาแล้วโดย
ธรรม. บทว่า ปาทจราว แปลว่า เป็นหญิงบำเรอ.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ ได้สดับพระดำรัส ของท้าว
วรุณนาคราชดังนี้แล้ว ยินดียิ่งนัก ลุกขึ้นแล้ว ไปสั่ง
บุรุษ คนใช้ของตน ผู้อยู่ในที่นั้นว่า เจ้าจงนำม้า
อาชาไนยที่ประกอบไว้แล้ว มา ณ ที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสสิ ได้แก่ สั่งบังคับคนใช้ของตน.
บทว่า อาชญฺ ได้แก่ ม้าสินธพผู้รู้เหตุ และมิใช่เหตุ. บทว่า ยุตฺต
แปลว่า ประกอบเสร็จแล้ว.
พระโบราณาจารย์ กล่าวพรรณนาม้าสินธพนั้นไว้ว่า
ม้าสินธพอาชาไนยนั้น มีหูทั้งสองประดับด้วย
ทองคำ กีบหุ้มด้วยแก้วแดง มีเครื่องประดับอก ล้วน
แล้วด้วยทองชมพูนุทอันสุกใส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูปมยา ความว่า เมื่อจะกล่าว
พรรณนาม้าสินธพนั้นนั่นแล จึงได้กล่าวอย่างนั้น จริงอยู่ม้าสินธพมโนมัยนั้น
มีหูทั้งสองล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า กาจมหิจมยา ขุรา ความว่า ม้า
สินธพนั้น มีกีบล้วนแล้วด้วยแก้วมณี. บทว่า ชมฺโพนทสฺส ปากสฺส
ความว่า มีเครื่องประดับอก ล้วนแล้วด้วยทองชมพูนุท มีสีแดงสุกปลั่ง.
บุรุษคนใช้นั้น นำม้าสินธพมาในขณะนั้นนั่นเอง ปุณณกยักษ์ ขึ้นขี่
ม้าสินธพอาชาไนยนั้น เหาะไปสู่สำนักของท้าวเวสวัณโดยทางอากาศ แล้ว
พรรณนาภพแห่งนาค แล้วบอกเรื่องนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงได้ตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 375
ปุณณยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว แต่งผมและ
หนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็นพาหนะของเทวดา เหาะ
ไปในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น กำหนัดแล้ว
ด้วยกามราคะ ปรารถนานางอิรันทตีนาคกัญญา ไป
ทูลท้าวกุเวรเวสวัณผู้เรืองยศ ซึ่งเป็นใหญ่แห่งหมู่ยักษ์
ว่า ภพนาคนั้นเขาเรียกชื่อว่าโภควดีนครบ้าง วาส-
นครบ้าง หิรัญญวดีนครบ้าง เป็นเมืองที่บุญกรรม
นิรมิต ล้วนแต่ทองคำ สำเร็จแก่พระยานาคผู้บริบูรณ์
ด้วยโภคทรัพย์ทุกอย่าง ป้อมและเชิงเทิน สร่างโดย
สัณฐานคออูฐ ล้วนแล้วด้วยแก้วแดงและแล้วลาย ใน
นาคพิภพนั้น มีปราสาทล้วนแล้วด้วยหิน มุงด้วย
กระเบื้องทองในนาคพิภพนั้น มีไม้มะม่วง ไม้หมาก
เม่า ไม้หว้า ไม้ตีนเป็ด ไม้จิก ไม้การะเกด ไม้
ประยงค์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะม่วงหอม ไม้ชะเบา
ไม้ยางทราย ไม่จำปา ไม้กากะทิง มะลิซ้อน มะลิ
ลา และไม้ละเบา ต้นไม้ในนาคพิภพเหล่านี้มีกิ่งต่อ
กันและกัน งามยิ่งนัก ในนาคพิภพนั้น มีต้นอินท-
ผาลัม อันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล มีดอกและผลล้วน
ไปด้วยทองเนืองนิตย์ ท้าววรุณนาคราชผู้มีฤทธิ์มาก
เป็นผู้ผุดขึ้นเกิดอยู่ในนาคพิภพนั้น มเหสีของพระ
ยานาคราชนั้น กำลังรุ่นสาว ทรงพระนามว่าวิมลา
มีพระรูป พระโฉมอันประกอบด้วยสิริ งดงามดังก้อน
ทองคำ สะโอดสะองดังหน่อเถาจิงจ้อดำ พระถันทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 376
คู่มีสัณฐานดังผลมะพลับ น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณ
แดงดังน้ำครั่ง เปรียบเหมือนดอกกรรณิการ์อันแย้ม
บาน เปรียบดังนางอัปสร ผู้อยู่ในสวรรค์ชั้นไตรทศ
หรือเปรียบเหมือนสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ
ข้าพระองค์ผู้เป็นใหญ่ พระนางวิมลานั้น ทรงแพ้พระ-
ครรภ์ ทรงปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ข้า-
พระองค์ จะถวายดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต แก่ท้าว
วรุณนาคราชและพระนางวิมลา เพราะการนำดวงหทัย
ของวิธุรบัณฑิตไปถวายแล้ว ท้าววรุณนาคราช และ
พระนางวิมลา จะพระราชทานพระนางอิรันทตีราช
ธิดาแก่ข้าพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทววาหวห ความว่า พาหนะที่จะพึง
นำไป ย่อมนำพาหนะ กล่าวคือเทวดาไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เทววาหวหะ
นำไปด้วยพาหนะเทวดา. บทว่า ยาน ความว่า ชื่อว่ายาน เพราะเป็นเครื่อง
นำไป คือเป็นเครื่องไป. บทว่า กปฺปิตเกสมสฺสุ ความว่า แต่งผมและ
หนวดดีแล้ว ด้วยอำนาจประดับ ถามว่า ก็ธรรมดาการแต่งผมและหนวด
ของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี แต่ก็กล่าวถ้อยคำให้วิจิตรไป. บทว่า ชิคึส
แปลว่า ผู้ปรารถนา. บทว่า เวสฺสวณ ได้แก่ พระราชาผู้เป็นอิสระแห่ง
ราชธานีประจำทิศอีสาน. บทว่า กุเวร ได้แก่ ผู้มีชื่อว่า กุเวร อย่างนั้น.
บทว่า โภควตี นาม ได้แก่ ผู้ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะเป็นมีโภคสมบัติ
สมบูรณ์ บทว่า มนฺทิเร ความว่า พระราชมนเทียรคือพระราชวัง บทว่า
วาสา หิรญฺวตี ความว่า ท่านเรียกว่า ที่ประทับ เพราะเป็นที่ประทับ
ของพระยานาค และกล่าวว่า หิรญฺวตี เพราะพระที่นั่งหิรัญญวดี แวด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 377
ล้อมไปด้วยกำแพงทอง. บทว่า นคร นิมิตฺต แปลว่า มีนครเป็นเครื่อง
หมาย. บทว่า กาญฺจนมเย แปลว่า สำเร็จแล้วด้วยทอง. บทว่า มณฺฑลสฺส
ได้แก่ ประกอบด้วยโภคมณฑล. บทว่า นิฏฺิต แปลว่า สำเร็จในเพราะ
การทำ. บทว่า โอฏฺคีวิโย ได้แก่ กระทำโดยสัณฐานดังคออูฐ. บาทคาถาว่า
โลหิตงฺคสฺส มสารคลฺลิโน ได้แก่ ป้อมและคอหอย อันสำเร็จด้วยแก้ว
แดง สำเร็จด้วยแก้วตาแมว. บทว่า ปาสาเทตฺถ นี้ ได้แก่ ปราสาทใน
นาคพิภพนี้. บทว่า สิลามยา แปลว่า สำเร็จด้วยแก้วมณี. บทว่า โสวณฺณ-
รตเนน ความว่า มุงด้วยรัตนะ กล่าวคือทอง คือด้วยอิฐอันสำเร็จด้วย
ทองคำ. บทว่า สห แปลว่า ทำพร้อมกัน. บทว่า อุปริ ภณฺฑกา
ได้แก่ ต้นปาริฉัตตกะ. บทว่า อุทฺทาลกา ได้แก่ ต้นจำปา ต้นกากะทิง
และต้นมะลิวัลย์. บาทพระคาถาว่า ภคินิมาลา อตฺเถตฺถ โกลิยา ความว่า
ไม้มะลิลา และต้นกระเบา ย่อมมีในนาคพิภพนี้. บทว่า เอเต ทุมา ปรินามิตา
ความว่า ต้นไม้ที่เผล็ดดอก ออกผลเหล่านั้น มีกิ่งเกี่ยวพันน้อมหากันและกัน
นุงนัง. บทว่า ขชฺชุเรตฺถ ได้แก่ ต้นอินทผาลัม มีในนาคพิภพนี้. บทว่า
สิลามยา แปลว่า สำเร็จด้วยแก้วอินทนิล. บทว่า โสวณฺณธุวปุปฺผิตา
ความว่า ก็ต้นไม้เหล่านั้น มีดอกอันสำเร็จด้วยทองบานอยู่เป็นนิตย์. บทว่า
ยตฺถ วสโตปปาติโก ความว่า พระยานาคผู้เกิดอยู่ในภพนาคใด. บทว่า
กาญฺจนเวลฺลิวิคฺคหา ได้แก่ มีพระสรีระเช่นกับหน่อทองคำ. บาทพระคาถา
ว่า กาฬา ตรุณาว อุคฺคตา ความว่า ผุดขึ้นแล้ว ดังแก้วกาฬวัลลีและแก้ว
ประพาฬ เพราะประกอบด้วยความงาม. บทว่า ปิจุมณฺฑตฺถนี มีพระถัน
ทั้งสองมีสัณฐานดังผลมะพลับ. บทว่า ลาขารสรตฺตสุจฺฉวี นี้ ท่านกล่าว
หมายถึงพระฉวีวรรณ แห่งพื้นพระหัตถ์และพระบาท. บทว่า ติทิโวกฺ-
กจรา แปลว่า เปรียบเหมือนนางอัปสรในสวรรค์ชั้นไตรทศ. บทว่า วิชฺชุ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 378
วพฺภฆนา ความว่า เปรียบเหมือนสายฟ้า ที่แลบออกจากกลีบเมฆ คือจาก
ภายในแห่งกลีบเมฆอันหนาทึบ. บทว่า ต เนส ททามิ ความว่า เราจะ
ให้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตแก่พวกเขา ท่านจงรู้อย่างนี้. ปุณณกยักษ์เรียก
พระเจ้าลุงว่า อิสฺสร ผู้เป็นใหญ่.
ปุณณกยักษ์นั้น ท้าวเวสวัณยังไม่ทรงอนุญาต ก็ไม่อาจจะไปได้
จึงได้กล่าวคาถามีประมาณเท่านี้ เมื่อเขาทูลท้าวเวสวัณให้ทรงอนุญาต ด้วย
ประการฉะนี้ ส่วนท้าวเวสวัณ ไม่ทรงได้ยินถ้อยคำของปุณณกยักษ์นั้น มี
คำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ท้าวเวสวัณ จึงไม่ทรงได้ยินถ้อยคำของ
ปุณณกยักษ์ ? แก้ว่า เพราะว่า ท้าวเวสวัณ กำลังตัดสินคดีของเทวบุตร
๒ องค์ เรื่องที่พิพาทกันด้วยวิมาน ปุณณกยักษ์ทราบว่า ท้าวเธอมิได้ยิน
ถ้อยคำของตน จึงไปยืนใกล้เทวบุตรผู้ชนะ ท้าวเวสวัณ ทรงตัดสินคดีแล้ว
บังคับเทวบุตร ผู้แพ้มิให้ลุกขึ้น ตรัสกะเทวบุตรผู้ชนะว่า ท่านจงไปอยู่ใน
วิมานของท่าน ในขณะที่ท้าวเวสวัณตรัสว่า ท่านจงไปดังนี้นั่นแล ปุณณก-
ยักษ์บอกเทวบุตร ๒-๓ องค์ ให้เป็นพยานว่า ท่านทั้งหลายจงทราบว่า
พระเจ้าลุงของเราส่งเราไป แล้วสั่งให้นำม้าสินธพมา เผ่นขึ้นม้าสินธพนั้น
เหาะไป โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณยักษ์นั้น ทูลลาท้าวกุเวรเวสวัณผู้เรืองยศ
เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์ แล้วไปสั่งบุรุษคนใช้ของตนผู้อยู่
ในที่นั้นว่า เจ้าจงเอาน้ำอาชาไนยที่ประกอบแล้วมา ณ
ที่นี้ ม้าสินธพนั้นมีหูทั้งสองประดับด้วยทองคำ กีบ
หุ้มด้วยแก้วแดง เครื่องประดับอกล้วนด้วยทองคำ
ชมพูนุทอันสุกใส ปุณณกยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 379
แต่งผม และหนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็นยานพาหนะ
ของเทวดา เหาะไปในอากาศกลางหาว
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตย แปลว่า เรียกมาแล้ว.
ปุณณกยักษ์นั้น เหาะไปทางอากาศนั้นเองคิดว่า วิธุรบัณฑิตมีบริวาร
มาก เราไม่อาจจับเอาเธอได้ แต่ว่าพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช พอพระทัย
ในการทรงสกา เราชนะท้าวเธอด้วยสกาแล้ว จักจับเอาวิธุรบัณฑิต เออก็แก้ว
ในพระคลังข้างที่ ของท้าวเธอมีเป็นจำนวนมาก ท้าวเธอคงไม่ทรงสกาด้วย
แก้วที่เป็นของพนันมีค่าเล็กน้อย บุคคลผู้ชนะพระราชาได้ควรจะนำเอาแก้ว
มณีมีค่ามากมา พระราชาจักไม่ทรงรับแก้วชนิดอื่น แก้วมณีเป็นเครื่องใช้สอย
ของพระเจ้าจักรพรรดิราช มีอยู่ในระหว่างแห่งวิบุลบรรพตใกล้กรุงราชคฤห์
เราต้องเอาแก้วมณี ซึ่งมีอานุภาพมากนั้นมาโลมล่อพระราชาจึงจะชนะพระราชา
ได้ ปุณณกยักษ์ได้ทำอย่างนั้นแล้ว.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ปุณณยักษ์นั้น ได้เหาะไปสู่กรุงราชคฤห์อันน่า
รื่นรมย์ยิ่งนัก เป็นนครของพระเจ้าอังคราช อันพวก
ข้าศึกไม่กล้าเข้าใกล้ มีภักษาหาร และข้าวน้ำมากมาย
ดังมสักกสารพิภพของท้าววาสวะ เป็นนครกึกก้องด้วย
หมู่นกยูงและนกกะเรียน อื้ออึงด้วยฝูงนกต่าง ๆ ชนิด
เป็นที่เสพอาศัยของฝูงทิชาชาติ มีนกต่าง ๆ ส่งเสียง
ร้องอยู่ อึงมี่ ภูมิภาคราบเรียบ ดารดาษไปด้วยบุปผ-
ชาติ ดังขุนเขาหิมวันต์ ปุณณกยักษ์นั้น ขึ้นสู่วิบุล-
บรรพตอันเป็นภูเขาศิลาล้วน เป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่
กินนร เที่ยวแสวงหาแก้วมณีดวงประเสริฐอยู่ ได้เห็น
ดวงแก้วมณีนั้น ณ ท่ามกลางยอดภูเขา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 380
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคสส รญฺโ ความว่า ในกาลนั้น
พระเจ้าอังคราช ได้ครองมคธรัฐ ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสไว้. บทว่า ทุราสท
ความว่า อันข้าศึกจะเข้าไปหาได้ยาก. บทว่า มสกฺกสาร วิย วาสวสฺส
ความว่า ดุจพิภพแห่งท้าววาสวะ อันได้นามว่า มสักกสาระ เพราะสร้างไว้
ใกล้ภูเขาสิเนรุ กล่าวคือ มสักกสาระ. บทว่า ทิชาภิสฆุฏฺ ความว่า
เป็นที่อยู่กึกก้องลือลั่นไปด้วยฝูงนกอื่น ๆ. บทว่า นานาสกุณาภิรุท ความว่า
ฝูงนกนานาชนิด ส่งเสียงร้องด้วยเสียงอันไพเราะ เซ็งแซ่ อื้ออึงอยู่. บทว่า
สุวงฺคณ ความว่า มีเนินอันสวยงาม มีภาคพื้นราบเรียบเป็นที่น่าฟูใจ. บทว่า
หิมวว ปพฺพต แปลว่า เหมือนภูเขาหิมันต์. บทว่า วิปุลมาภิรุยฺห ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์นั้นขึ้นสู่วิบุลบรรพตเห็นปานนั้น. บทว่า
ปพฺพตกูฏมชฺเฌ ความว่า ได้เห็นแก้วมณีนั้นในระหว่างยอดแห่งภูเขา.
ปุณณกยักษ์ครั้นเห็นแก้วมณีมีรัศมีอันผุดผ่อง
เป็นแก้วมณีดีเลิศด้วยยศ รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วยแก้วมณี
เป็นอันมาก สว่างไสวดังสายฟ้าแลบในอากาศ สามารถ
นำทรัพย์มาให้ดังใจหวัง แล้วถือเอาแก้วมโนหรจินดา
มีค่ามาก มีอานุภาพมากนั้น เผ่นขึ้นม้าสินพอาชาไนย
เหาะไปในอากาศกลางหาว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนาหร ความว่า สามารถนำทรัพย์มา
ได้ตามใจหวัง. บทว่า ททฺทลฺลมาน แปลว่า รุ่งโรจน์ชัชวาล. บทว่า
ยสสา แปลว่า ด้วยหมู่แก้วมณีมีบริวารมาก. บทว่า โอภาสตี ความว่า
แก้วมณีนั้นสว่างไสว เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น. บทว่า ตมคฺคหี
ความว่า ได้ถือเอาแก้วมณีนั้น. บทว่า มโนหรนฺนาม ความว่า ได้นาม
อย่างนี้ว่า สามารถนำมาซึ่งทรัพย์ดังใจนึก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 381
ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า กุมภิระ มีพวกยักษ์กุมภัณฑ์แสนหนึ่งเป็นบริวาร
รักษาแก้วมณีนั้นอยู่ แต่กุมภิรยักษ์นั้น เมื่อปุณณกยักษ์ทำท่าโกรธถลึงตาดู
เท่านั้น ก็สะดุ้งกลัวตัวสั่นหนีไปแอบเขาจักวาลแลดูอยู่. ปุณณกยักษ์นั้นขับไล่
กุมภิรยักษ์ให้หนีไปแล้ว จึงถือเอาแก้วมณีเหาะไปโดยทางอากาศถึงนครนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้น ได้เหาะไปยังอินทปัตตนคร
ลงจากหลังม้าแล้วเข้าไปสู่ที่ประชุมของชาวกุรุรัฐ ไม่
กลัวเกรงพระราชา ๑๐๑ พระองค์ ที่ประชุมพร้อม
เพรียงกันอยู่ ณ ที่นั้น กล่าวท้าทายด้วยสกาว่า บรรดา
พระราชาในราชสมาคมนี้ พระองค์ไหนหนอจะทรง
ชิงเอาแก้วอันประเสริฐ ของข้าพระองค์ได้ หรือว่า
ข้าพระองค์จะพึงชนะพระราชาพระองค์ไหน ด้วย
ทรัพย์อันประเสริฐ อนึ่ง ข้าพระองค์จะชิงแก้วอัน
ประเสริฐยิ่ง กะพระราชาพระองค์ไหน หรือพระราชา
พระองค์ไหนจะทรงชนะข้าพระองค์ด้วยทรัพย์อัน
ประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอรุยฺหุปาคญฺฉิ สภ กุรูน ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์นั้นลงจากหลังม้าแล้ว พักม้าที่มีรูปอันใครไม่
เห็นแล้วเข้าไปสู่สภาแห่งชาวกุรุรัฐ ด้วยเพศแห่งมาณพน้อย. บทว่า เอกสต
ความว่า เป็นผู้ไม่เกรงกลัวพระราชา ๑๐๑ พระองค์ ได้กล่าวท้าทายด้วยสกา
โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาพระองค์ไหนหนอ. บทว่า โกนีธ ความว่า พระราชา
พระองค์ไหนหนอในราชสมาคมนี้. บทว่า รญฺ ความว่า ในระหว่างพระราชา
ทั้งหลาย. บทว่า วรมาภิเชติ ความว่า พระราชาพระองค์ไหนที่จะชิงเอาแก้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 382
อันประเสริฐของข้าพเจ้าได้ คืออาจกล่าวได้ว่าเราชนะดังนี้. บทว่า กมาภิเชยฺ-
ยาม ความว่า หรือว่า พวกเราจะพึงชนะใคร ?. บทว่า วรทฺธเนน แปลว่า
ด้วยทรัพย์อันสูงสุด. บทว่า กมนุตฺตร ความว่า ก็พวกเรา เมื่อจะชนะ
จงชนะทรัพย์อันประเสริฐกะพระราชาพระองค์ไหน ?. บทว่า โก วาปิ โน
เชติ ความว่า ก็หรือว่า พระราชาพระองค์ไหนจะชนะพวกเราด้วยทรัพย์อัน
ประเสริฐ ปุณณกยักษ์นั้น พูดเคาะพระเจ้าโกรพยราชนั่นแลด้วยบท ๔ บท
ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระเจ้าโกรพยราชทรงพระดำริว่า ก่อนแต่นี้ เรายังไม่
เคยเห็นใครที่พูดกล้าหาญเช่นนี้ นี่จะเป็นใครหนอแล เมื่อจะรับสั่งถามจึง
ตรัสพระคาถาว่า
ชาติภูมิของท่านอยู่ในแว่นแคว้นไหน ? ถ้อยคำ
ของท่านนี้ ไม่ใช่ถ้อยคำของชาวกุรุรัฐเลย ท่านมิได้
กลัวเกรงเราทั้งปวง ด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ ท่านจง
บอกชื่อและพวกพ้องของท่านแก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรพฺยสฺเสว ความว่า ถ้อยคำของ
ท่าน ไม่ใช่ถ้อยคำของคนผู้อยู่ในแว่นแคว้นกุรุรัฐเลย.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า พระราชานี้ ย่อมถามชื่อของ
เราด้วย ทาสชื่อปุณณกะมีอยู่คนหนึ่ง ถ้าเราจะทูลบอกว่าชื่อปุณณกะไซร้
ท้าวเธอจักดูหมิ่นได้ว่า เพราะเหตุไรทาสจึงพูดกะข้าด้วยความคะนองอย่างนี้
อย่าเลย เราจักทูลบอกชื่อของเราในชาติอดีตเป็นลำดับแก่ท้าวเธอ แล้วกล่าว
คาถาว่า
ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์เป็นมาณพกัจจายน-
โคตร ชื่อปุณณกะ ญาติและพวกพ้องของข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 383
อยู่ในนครกาลจัมปากะ แคว้นอังคะย่อมเรียกข้าพระ-
องค์อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์
มาถึงในนี้ด้วยต้องการจะเล่นพนันสกา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนูนนาโม ความว่า ได้กล่าวปกปิด
เฉพาะชื่อเต็มเท่านั้นโดยชื่อที่บกพร่องนั้น. บทว่า อิติ มาหุยนฺติ ความว่า
พวกญาติย่อมกล่าวย่อมเรียกข้าพเจ้าดังนี้. บทว่า องฺเคสุ ความว่า อยู่ใน
นครกาลจัมปากะ ในอังครัฐ. บทว่า อตฺเถน เทวสฺมิ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มาถึงในที่นี้ด้วยประสงค์จะเล่นสกา.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามปุณณกยักษ์นั้นว่า ดูก่อนมาณพ
ท่านผู้ที่พระราชาชำนะด้วยสกา จักถวายอะไรแก่พระราชาท่านมีอะไรหรือ
จึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชาผู้ทรงชำนาญการเล่นสกา เมื่อชนะ
ท่านจึงพึงนำเอาแก้วเหล่าใดไป แก้วเหล่านั้นของ
มาณพมีอยู่หรือ แก้วของพระราชามีอยู่จำนวนมาก
ท่านเป็นคนเข็ญใจ จะมาพนันกะพระราชาเหล่านั้นได้
อย่างไร.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ แก้วเหล่านั้นของมาณพผู้เจริญมีอยู่
หรือ. บทว่า เย ต ชินนฺโต ความว่า พระราชตรัสว่า ท่านผู้ชำนาญ
เล่นสกา เมื่อท่านชำนะเขาแล้ว ท่านกล่าวว่า จงนำมา ดังนี้แล้ว พึงนำไป
แต่แก้วเป็นอันมากมีอยู่ในพระนิเวศน์ของพระราชาทั้งหลาย ท่านเป็นคนจน
ท่านจะเอาทรัพย์เป็นค่าเดิมพันพนันกะพระราชาเหล่านั้น ผู้มีทรัพย์มากอย่างนี้
ได้อย่างไร ?
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 384
แก้วมณีของข้าพระองค์ดวงนี้ ชื่อว่า สามารถนำ
ทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา นักเลงเล่นสกาชนะ
ข้าพระองค์แล้ว พึงนำแก้วมณีดวงประเสริฐสามารถ
นำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา และม้าอาชาไนย
เป็นที่เกรงขามของศัตรูนี้ไป.
ก็ในบาลีโปตถกะ ท่านลิขิตไว้ว่า แก้วมณีของข้าพระองค์นี้ มีสีแดง
ก็แก้วมณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ เพราะฉะนั้นคำนี้แหละจึงสมกัน. บรรดาบท
เหล่านั้น. บทว่า อาชญฺ ความว่า นักเลงผู้ชำนาญเล่นสกาชนะแล้วพึงนำสิ่ง
ทั้งสองของเรานี้คือ ม้าอาชาไนยและแก้วมณีนี้ไป เพราะฉะนั้น ปุณณกยักษ์
เมื่อจะแสดงม้าจึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ แก้วมณีดวงเดียวจักทำอะไรได้
อนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเดียวจักอะไรได้ แก้วของ
พระราชามีเป็นอันมาก ม้าอาชาไนยมีกำลังรวดเร็วดัง
ลมของพระราชามีมิใช่น้อย.
จบโทหฬินีกัณฑ์
ปุณณกยักษ์นั้นได้สดับพระดำรัสของพระราชาดังนั้นแล้ว จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เพราะเหตุไรพระองค์จึงตรัสดังนั้น ม้าของข้าพระองค์ตัว
เดียวเท่ากับม้าพันตัว แก้วมณีของข้าพระองค์ดวงเดียวเท่ากับแก้วพันดวง ม้า
ทั้งปวงจะเทียมเท่าม้าของข้าพระองค์ตัวเดียวหามิได้ ขอพระองค์ทอดพระเนตร
ดูความว่องไวของม้าตัวนี้ก่อน แล้วเผ่นขึ้นม้าขับไปโดยเบื้องบนแห่งกำแพง
พระนครที่กว้าง ๗ โยชน์ ได้ปรากฏประหนึ่งว่าม้าเอาคอจดกันเรียงล้อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 385
พระนคร ถ้าม้าวิ่งเร็วกว่าลำดับนั้นไปก็ไม่ปรากฏ. แม้ยักษ์ก็ไม่ปรากฏ มีแต่
ผ้าแดงคาดพุงเท่านั้น ได้ปรากฏดังผ้าแดงผืนเดียววงรอบพระนคร ปุณณกยักษ์
ลงจากหลังม้ากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทอดพระเนตรเห็นกำลัง
เร็วแห่งม้าแล้วหรือ เมื่อท้าวเธอตรัสบอกว่า เออมาณพเราเห็นแล้ว จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงทอดพระเนตรดูอีกในกาลบัดนี้ แล้วขับม้าไป
บนหลังน้ำในสระโบกขรณีที่อุทยานภายในพระนคร ม้าได้วิ่งไปมิได้ให้ปลาย
กีบเปียกเลย. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ให้ม้าวิ่งควบไปบนใบบัว ตบมือแล้ว
เหยียดมือออก ม้าวิ่งเผ่นมาหยุดอยู่ที่ฝ่ามือ. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งนรชน ม้าเห็นปานนี้ ควรจะจัดเป็นม้าแก้ว
หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระองค์ตรัสว่า ควรมาณพ จึงกราบทูลอีกว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ม้าแก้วยกไว้ก่อนเถิด พระองค์จงทอดพระเนตรดู
อานุภาพแห่งแก้วมณี ดังนี้แล้วเมื่อจะประกาศอานุภาพแห่งแก้วมณีนั้น จึง
กล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดในทวีป ขอพระองค์จง
ทอดพระเนตรดูแล้วมณีของข้าพระองค์นี้ รูปหญิง
และรูปชาย รูปเนื้อและรูปนกมิใช่น้อย ย่อมปรากฏ
อยู่ในแก้วมณีนี้ หมู่เนื้อและหมู่นกต่างชนิด ย่อม
ปรากฏอยู่ในแก้วมณีนี้ พระยานาคและพระยาครุฑก็
ปรากฏอยู่ในแล้วมณีนี้ เชิญพระองค์ทอดพระเนตร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีน ความว่า รูปหญิงมิใช่น้อย ที่
ประดับตกแต่งในแก้วมณีนั้น รูปชายก็เหมือนกัน หมู่เนื้อและนกมีประการ
ต่างๆ หมู่เสนาเป็นต้นย่อมปรากฏ เมื่อจะประกาศสิ่งเหล่านั้น จึงได้ทูลอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 386
ด้วยบทว่า นิมฺมิต นี้ ปุณณกยักษ์กล่าวว่า ขอพระองค์จงทอดพระเนตร
ดูสิ่งอันน่าอัศจรรย์เห็นปานนี้อันธรรมดาสร้างไว้ในแก้วมณีนี้ เมื่อจะแสดงแม้
สิ่งอื่น ๆ อีกจึงกล่าวคาถาว่า
ขอพระองค์จงทอดพระเนตรจตุรงคินีเสนาคือ
กองช้าง กองม้า กองรถ และ กองเดินเท้าอันสวม
เกราะ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญ
ทอดพระเนตรพลทหารที่จัดไว้เป็นกรม ๆ คือกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลคฺคานิ แปลว่า กองพลนั้นเอง.
บทว่า วิยูหานิ ได้แก่ ตั้งด้วยอำนาจกระบวน.
ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันสมบูรณ์ด้วย
ป้อม มีกำแพงและค่ายเป็นอันมาก มีถนนสามแพร่ง
สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเสาระเนียด เสา
เขื่อน กลอนประตู ซุ้มประตูกับประตู อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุร แปลว่า พระนคร. บทว่า
อฏฺฏาลสมฺปนฺน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยป้อมและเชิงเทิน. บทว่า พหุปาการ-
โตรณ แปลว่า มีกำแพงรั้วค่ายอันสูง. บทว่า สีฆาฏเก แปลว่า ถนน
สี่แพร่ง. บทว่า สุภูมิโย ความว่า มีพื้นอันน่ารื่นรมย์วิจิตรด้วยอุปจารแห่ง
นคร. บทว่า เอสิกา ได้แก่เสาระเนียดที่ตั้งขึ้นที่ประตูพระนคร, บทว่า
ปลีฆ ได้แก่ กลอนเหล็ก อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อย่างนี้แล. บทว่า อคฺคฬานิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 387
ได้แก่ ประตูพระนครและหน้าต่าง. บทว่า อฏฺฏาลเก จ แปลว่า ซุ้ม
ประตู.
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงนก นานาชนิดมากมาย
ที่เขาค่ายและหนทาง คือ ฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูง
นกจากพราก และนกเขา อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอัน
เกลื่อนกล่น ไปด้วยฝูงนกต่างๆ คือ นกดุเหว่าดำ
ดุเหว่าลาย ไก่ฟ้า นกโพระดก เป็นจำนวนมาก อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โตรณมคฺเคสุ ได้แก่ ที่เสาค่ายและหน
ทางในพระนครนี้. บทว่า กุณาลกา แปลว่า นกดุเหว่าดำ. บทว่า จิตฺรา
ได้แก่ นกดุเหว่าลาย.
ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันแวดล้อมไป
ด้วยกำแพง เป็นนครน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
เขาชักธงขึ้นประจำ ลาดด้วยทรายทองอันน่ารื่นรมย์
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญทอด
พระเนตรร้านตลาดอันบริบูรณ์ด้วยสินค้าต่าง ๆ เรือน
สิ่งของในเรือน ถนนซอย ถนนใหญ่ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปาการ ได้แก่ แวดล้อมไปด้วยกำแพง
แก้ว. บทว่า ปณฺณสาลาโย ได้แก่ ร้านตลาดอันพรั่งพร้อมไปด้วยสินค้า
นานาชนิด. บทว่า นิเวสเน นิเวเส จ ได้แก่ เรือน และสิ่งของในเรือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 388
บทว่า สนฺธิพฺยูฬเห๑ ได้แก่ ที่ต่อแห่งเรือน และตรอกน้อย. บพว่า
นิพฺพิทฺธวีถิโย ได้แก่ ถนนใหญ่.
ขอเชิญทอดพระเนตรโรงขายสุรา นักเลงสุรา
พ่อครัว โรงครัว พ่อค้า และหญิงแพศยา อันธรรม-
ดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร
ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างปรุงของหอม ช่างทอผ้า
ช่างทอง และช่างแก้วอันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้ว
มณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร ช่างของหวาน ช่าง
ของคาว นักมหรสพ บางพวกฟ้อนรำขับร้อง บาง
พวกปรบมือ บางพวกตีฉิ่ง อันธรรมดาสร้างสรรไว้
ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสณฺเฑ จ ความว่า โรงสุราอันประ-
กอบด้วยเครื่องประดับคอและเครื่องประดับหูอันสมควรแก่ตน และนักเลงสุรา
ผู้นั่งจัดแจงที่ดื่มสุรา. บทว่า อาฬาริเก แปลว่า พ่อครัว. บทว่า สูเท
แปลว่า ผู้ปรุงอาหาร. บทว่า ปาณิสฺสเร ความว่า ขับร้องด้วยการตบมือ.
บทว่า กุมฺภถูนิเก แปลว่า พวกตีฉิ่ง.
ขอเชิญทอดพระเนตรกลอง ตะโพน สังข์
บัณเฑาะว์ มโหรทึก และเครื่องดนตรีทุกอย่าง อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรเปิงมาง กังสดาล พิณ การฟ้อนรำขับร้อง
เครื่องดนตรีดีดสีตีเป่า อันเขาประโคมครึกครื้น อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรนักกระโดด นักมวยปล้ำ นักเล่นกล หญิง
๑. บาลีว่า สนฺธิพฺยูเห.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 389
งาม ชายงาม คนเฝ้ายาม และช่างตัดผม อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมตาล ได้แก่ ตะโพน ที่ทำด้วยไม้
ตะเคียนเป็นต้นและกังสดาล. บทว่า ตุริยตาฬิตสฆุฏฺ ได้แก่ เครื่องดนตรี
ต่างๆ ที่เขาประโคมไว้อย่างครึกครื้นเป็นอันมาก. บทว่า มุฏฺิกา ได้แก่นก
มวยปล้ำ. บทว่า โสภิยา ได้แก่ หญิงงามเมือง และชายรูปงาม. บทว่า
เวตาลิเก ได้แก่ ผู้ทำกาลเวลาให้ปรากฏขึ้น. บทว่า ชลฺเล ได้แก่ ช่างตัด
ผมกำลังปลงผมและหนวดอยู่.
ในแก้วมณีดวงนี้ มีงามมหรสพอันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยชายหญิง ขอเชิญทอดพระเนตรพื้นที่เป็นที่เล่น
มหรสพ บนเตียงที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺจาติมญฺเจ ได้แก่ เตียงที่ผูกไว้ข้างบน
แห่งเตียงใหญ่. บทว่า ภูมิโย ได้แก่ ภูมิที่แสดงมหรสพ อันน่ารื่นรมย์.
ขอพระองค์จงทอดพระเนตรดูพวกนักมวย ซึ่ง
ต่อยกันด้วยแขนทั้งสองอยู่ในสนามเล่นมหรสพ ทั้งผู้
ชนะและผู้แพ้ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมชฺชสฺมึ แปลว่า ในสนามมวย.
บทว่า นีหเต แปลว่า ผู้กำจัด คือชนะตั้งอยู่. บทว่า นีหตมาเน แปลว่า
ผู้แพ้.
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ เป็นอันมาก
ที่เชิงภูเขา คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง หมี หมาใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 390
เสือดาว แรด โคลาน กระบือ ละมั่ง กว้าง เนื้อ
ทราย ระนาด วัว สุกรบ้าน ชะมด แมวป่า
กระต่าย และกระแต ซึ่งมีอยู่มากมายหลายหลาก
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เกลื่อน-
กลาด อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลสตา แปลว่า เนื้อแรด. บาลีว่า
พลสตา ดังนี้ก็มี. บทว่า ควชา แปลว่า โคลาน. บทว่า สรภา ได้แก่ เนื้อ
ชนิดหนึ่ง ระมาดและสุกรบ้าน. บทว่า พหู จิตฺรา ได้แก่ เนื้ออันวิจิตรโดย
ประการต่างๆ. บทว่า วิฬารา แปลว่า แมวป่า. บทว่า สสกณฺณกา
ได้แก่ กระต่ายและกระแต.
ในแก้วมณีดวงนี้ มีแม่น้ำอันมีท่า อันราบเรียบ
ลาดด้วยทรายทอง มีน้ำใสสะอาดไหลไปไม่ขาดสาย
เป็นที่อาศัยแห่งฝูงปลา อนึ่ง ในแม่น้ำนี้มีฝูงจระเข้
มังกร ปลาฉลาม เต่า ปลาสลาด ปลากระบอก
ปลากด ปลาเค้า ปลาตะเพียน ท่องเที่ยวไปมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺชาโย แปลว่า แม่น้ำ. บทว่า
โสวณฺณพากุลสณฺิตา ความว่า มีพื้นตั้งอยู่ราบเรียบลาดด้วยทรายทอง.
บทว่า กุมฺภิลา ความว่า สัตว์เหล่านี้ มีรูปเห็นปานนี้เที่ยวสัญจรไปมาใน
แม่น้ำ เชิญทอดพระเนตรสัตว์แม้เหล่านั้นที่ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้.
เชิญทอดพระเนตร ขอบสระโบกขรณี อันก่อ
สร้างด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนก
นานาชนิดดารดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 391
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยผลกโรทาโย ความว่า ฝูงนก
ป่าพากันเคาะแผ่นหินอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ส่งเสียงร้องเพราะเสียง
แก้วมณีนั้น.
ขอเชิญทอดพระเนตรดูสระโบกขรณีในแก้วมณี
ดวงนี้ อันธรรมดาสร้างสรรไว้เรียบร้อยทั้ง ๔ ทิศ
เกลื่อนกล่นด้วยฝูงนกต่างชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของ
ปลาใหญ่ ๆ ขอเชิญทอดพระเนตรแผ่นดิน อันมีน้ำ
ล้อมโดยรอบ เป็นกุณฑลแห่งสาครประกอบด้วยทิว
ป่า (เขียวขจี) อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุโลมจฺฉเสวิตา แปลว่า เป็นที่อยู่
อาศัยของฝูงปลา. บทว่า วนราเชภิ แปลว่า ด้วยทิวป่าเป็นดังเทริดประดับ.
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
เชิญทอดพระเนตรบุพวิเทหทวีป อมรโคยาน
ทวีป อุตรกุรุทวีป และชมพูทวีป ขอเชิญทอดพระ-
เนตรสิ่งอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้ พระเจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรพระจันทร์
และพระอาทิตย์ อันเวียนรอบสิเนรุบรรพต ส่องสว่าง
ไปทั่ว ๔ ทิศ ขอเชิญทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์ อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสิเนรุบรรพต หิมวันตบรรพต สมุทรสาคร
แผ่นดินใหญ่ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร
พุ่มไม้ในสวน แผ่นหินและเนินหินอันน่ารื่นรมย์เกลื่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 392
กล่นไปด้วยพวกกินนร อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสวนสวรรค์ คือ
ปารุสกวัน จิตตลดาวัน มิสสกวันและนันทวัน ทั้ง
เวชยันตปราสาท อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสุธรรมเทวสภา ต้นปาริ-
ฉัตตกพกฤษ์อันมีดอกแย้มบาน และพระยาช้าง
เอราวัณซึ่งมีอยู่ในดาวดึงส์พิภพ อันธรรมดาสร้างสรร
ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิด พระ-
เจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรดูเหล่านางเทพกัญญาอัน
ทรงโฉมล้ำเลิศ ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆเที่ยว
เล่นอยู่ในนันทวันนั้น อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้ว
มณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า ขอ
เชิญทอดพระเนตรเหล่าเทพกัญญาผู้ประเล้าประโลม
เทพบุตร อภิรมย์เหล่าเทพกัญญาอยู่ในนันทนวันนั้น
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเทเห ได้แก่ บุพวิเทหทวีป. บทว่า
โคยานิเย จ ได้แก่ อมรโคยานทวีป. บทว่า กุรุโย ชมฺพูทีปญฺจ ได้แก่
อุตรกุรุทวีปและชมพูทวีป. บทว่า อนุปริยายนฺเต ความว่า ซึ่งพระจันทร์
และพระอาทิตย์เหล่านั้น เวียนรอบภูเขาสิเนรุ. บทว่า ปาฏิเย ความว่า
หลังแผ่นหินดุจตั้งลาดไว้.
ขอเชิญทอดพระเนตรปราสาทมากกว่าพัน ใน
ดาวดึงส์พิภพ พื้นลาดด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ มีรัศมี
รุ่งเรือง อันธรรมสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 393
เชิญทอดพระเนตรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้น
ดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัสดี อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสระโบกขรณีในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ อันมีน่าใส
สะอาดดารดาษไปด้วยมณฑาลกะ ดอกปทุมและอุบล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสทสฺส ความว่า ในปราสาทมาก
กว่าพัน ในภพชั้นดาวดึงส์.
ลายขาว ๑๐ แห่งอันน่ารื่นรมย์ใจ ลายเหลือง
อ่อน ๒๑ แห่ง ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง ลายสีทอง
๒๑ แห่ง ลายสีน้ำเงิน ๒๐ ลายสีแมลงค่อมทอง ๓๐
แห่ง มีปรากฏในแก้วมณีนี้ แก้วมณีดวงนี้มีลายดำ
๑๖ แห่ง และลายแดง ๒๕ แห่ง อันเจือด้วยดอกชะบา
วิจิตรด้วยนิลุบล ข้าแต่มหาราชผู้สูงสุดกว่าปวงชน
ขอเชิญทอดพระเนตรแก้วมณีดวงนี้ อันสมบูรณ์ด้วย
องค์ทั้งปวงมีรัศมีรุ่งเรืองผุดผ่องอย่างนี้ ผู้ใดจักชนะ
ข้าพระองค์ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีดวงนี้ จักเป็น
ส่วนค่าพนันของผู้นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเสตฺถ ราชิโย ความว่า ลายขาว ๑๐
แห่ง มีอยู่ในแท่งแก้วมณีนั้น. บทว่า ฉ ปิงฺคลา ปณฺณรส แปลว่า ลายเหลือง
อ่อน ๒๑ แห่ง. บทว่า หลิทฺทา แปลว่า ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง. บทว่า
ตึสติ ความว่า ลายสีแมลงค่อมทอง ๓๐ แห่ง. บทว่า ฉ จ ความว่า ลาย
สีดำ ๑๖ แห่ง. บทว่า มญฺเชฏฺา ปญฺจวีสติ ความว่า โปรดทอดพระ-
เนตรลายสีแดง ๒๕ แห่ง. บทว่า มิสฺสา พนฺธุกปุปฺเผหิ ความว่า ขอจง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 394
ทอดพระเนตรลายสีดำอันวิจิตร ลายสีแดงเจือด้วยดอกเหล่านั้นอันวิจิตร จริง
อยู่ในแก้วมณีนี้มีลายดำลายสีแดงเจือด้วยดอกชะบาวิจิตรด้วยดอกอุบลเขียว.
บทว่า โอธิสุงฺก แปลว่า เป็นส่วนค่าพนัน. ปุณณกยักษ์กล่าวว่า ผู้ชำนะเรา
ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีนี้จะเป็นส่วนค่าพนันของผู้นั้น. ก็บาลีในอรรถกถาว่า
โหตุ สุงฺก มหาราช จงเป็นส่วยของพระมหาราช ดังนี้ก็มี คำนั้นมีอธิบาย
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า พระองค์จงทอดพระเนตร แก้วมณี
นี้คือเห็นปานนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า แก้วมณีนี้เป็นส่วยของข้าพระองค์ ผู้ใดชนะ
ข้าพระองค์ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีนี้เป็นส่วยของผู้นั้น.
จบมณิกัณฑ์
ปุณณกยักษ์ ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
แม้ถ้าพระองค์ทรงชนะข้าพระองค์ด้วยสกาก่อน ข้าพระองค์จักถวายแก้วมณีนี้
แต่หากข้าพระองค์ชนะ พระองค์จะประทานอะไรแก่ข้าพระองค์. พระเจ้า
ธนัญชัยตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ยกเว้นตัวของเราและเศวตฉัตรกับพระมเหสีเสีย ของ
ที่เหลือซึ่งเป็นของ ๆ เรา เรายกให้เป็นส่วยสำหรับท่าน. ปุณณกยักษ์ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ถ้าอย่างนั้น พระองค์อย่าชักช้าเลย เพราะข้าพระองค์
มาแต่ไกล โปรดให้จัดแจงโรงสกาเสียเถิด พระราชารับสั่งให้พวกอำมาตย์จัด
แจงแล้ว. อำมาตย์เหล่านั้นจัดแจงโรงเล่นสกาโดยเร็ว ปูพระที่นั่งด้วยเครื่อง
ลาดอันวิจิตรงดงามสำหรับพระราชา ตกแต่งอาสนะถวายพระราชาที่เหลือ และ
ตกแต่งอาสนะอันสมควรแก่ปุณณกยักษ์ เสร็จแล้วกราบบังคมทูลกำหนดกาล
แด่พระราชา.
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ได้กราบทูลพระราชาด้วยคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 395
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กรรมในโรงเล่นสกา
สำเร็จแล้ว เชิญพระองค์ไปทรงเล่นสกา แก้วมณีเช่น
นี้ ของพระองค์ไม่มี เราพึงชนะกันโดยธรรม อย่า
ชนะกันโดยไม่ชอบธรรม ถ้าข้าพระองค์ชนะพระองค์
ไซร้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำให้เนิ่นช้า.
คำเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กรรมในโรงสกาถึงเข้าแล้ว
คือสำเร็จแล้ว แก้วมณีเช่นนี้นี่ ไม่มีแก่พระองค์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำ
ให้เนิ่นช้า. บทว่า อุเปหิ ลกฺข ความว่า ขอพระองค์จงทรงเข้าไปสู่โรง-
สกา อันเป็นสถานที่เล่นด้วยสกาทั้งหลาย และเมื่อเล่น เราทั้งหลายพึงชนะ
กันโดยชอบธรรมเท่านั้น ความชนะจงมีแก่เราทั้งหลายโดยสงบเถิด ก็ถ้า
ข้าพระองค์พึงชนะไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์จงอย่าชักช้าจงรีบกระทำทีเดียว
เพราฉะนั้นพระองค์ไม่พึงกระทำให้เนิ่นช้า พึงให้ทรัพย์ที่ข้าพระองค์ชนะแล.
ลำดับนั้นพระราชาจึงตรัสกะปุณณกยักษ์นั้นว่า ดูก่อนมาณพ ท่าน
อย่ากลัวเราว่าเป็นพระราชา ชัยชนะหรือปราชัยจักมีโดยธรรมเท่านั้น ความ
ชนะและแพ้ของเราจักมีโดยสงบ.
ปุณณกยักษ์ได้สดับดังนั้น จึงทูลว่า ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงทราบ
ความชนะและแพ้ของเราทั้งสองก็โดยธรรมเท่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะกระทำ
พระราชาเหล่านั้นให้เป็นพยานจึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระสุรเสนผู้ปรากฏในกรุงปัญจาละ พระ-
เจ้ามัจฉราชและพระเจ้ามัททราช ทั้งพระเจ้าเกกกะราช
พร้อมด้วยชาวชนบท ขอจงทอดพระเนตรดู ข้าพเจ้า
ทั้งสองจะสู้กันด้วยสกา กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 396
ไม่ได้ทำสักขีพยานไว้แล้ว ย่อมไม่ทำกิจอะไร ๆ ใน
ที่ประชุม.
บรรดาบทเหล่านั้น ปุณณกยักษ์เรียกพระเจ้าปัญจาลราชนั่นแลว่า
ปัจจุคคตา เพราะเป็นผู้เลื่องชื่อคือผู้ปรากฏ ลือเด่น. บทว่า มจฺฉา จ
ความว่า ข้าแด่พระสหาย ก็พระองค์เป็นพระราชาในมัจฉรัฐ. บทว่า มทฺทา
ความว่า ข้าแต่พระเจ้ามัททราช. บทว่า สห เกกเกภิ ความว่า ข้าแต่พระเจ้า
วัตตมานเกกกะราชพระองค์พร้อมด้วยชาวชนบทชื่อเกกกะ อีกอย่างหนึ่ง
บัณฑิตวาง สห ศัพท์ ไว้หลังบทว่า เกกเกภิ และกระทำศัพท์ว่า ปจฺจุคฺคต
ให้เป็นบทวิเสสนะ ของบทว่า สูรเสน แล้วพึงทราบความในคาถานี้อย่างนี้ว่า
พระเจ้าสูรเสนมัจฉะผู้ปรากฏในแคว้นปัญจาละและพระเจ้ามัททะ พระเจ้าเกกกะ
และพระราชาที่เหลือพร้อมด้วยขาวชนบทชื่อว่า เกกกะ. บทว่า ปสฺสตุ โน เต
ความว่า ขอพระราชเหล่านั้นจงดูการต่อสู้กันเป็นคะแนนด้วยสกาของเราทั้ง
สอง. บทว่า โน ในบทว่า น โน สภาย กโรนฺติ กญฺจิ นี้ เป็นเพียงนิบาต.
ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี ย่อมไม่กระทำใคร ๆ ให้
เป็นพยานในที่ประชุม แต่ย่อมกระทำตามธรรมเนียม เพราะฉะนั้น ปุณณกยักษ์
จึงได้กระทำยักษ์เสนาบดีให้เป็นพยานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจักไม่ได้กล่าวว่า
เหตุอันไม่สมควรอะไรจะเกิดว่า ที่เราไม่ยอมรับฟัง เราไม่ยอมรับเห็น พวก
ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด
ลำดับนั้น พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช มีพระราชา ๑๐๑ พระองค์
แวดล้อมเป็นบริวาร ทรงพาปุณณกยักษ์เสด็จเข้าสู่โรงเล่นสกา พระราชาแม้
ทั้งหมดและปุณณกยักษ์ต่างก็ประทับนั่งและนั่งบนอาสนะอันสมควรแล้ว. เจ้า
พนักงานก็ยกกระดานสกาที่ทำด้วยเงิน และลูกบาศก์ที่ทำด้วยทองมาตั้งลงใน
ท่ามกลาง. ฝ่ายปุณณกยักษ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 397
ทอดสกาเร็ว ๆ ลูกบาศก์สกาทั้งหลายจัดเป็น ๒๔ ลูก มีชื่อว่า มาลี สาวดี พหุลี
และสันติภัทรเป็นต้น ในลูกบาศก์สกาเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงถือลูกบาศก์
ลูกที่ชอบพระทัยของพระองค์เถิด. พระราชาตรัสว่า ดีละ แล้วทรงถือเอาลูก
บาศก์ที่ชื่อว่า พหุลี ปุณณกยักษ์ถือเอาลูกบาศก์ที่ชื่อว่า สาวดี ขณะนั้นพระ
ราชาตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า ดูก่อนมาณพ ถ้ากระนั้นท่านจงทอดลูกสกาก่อน.
ปุณณกยักษ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า วาระที่ข้าพระองค์จะทอดยังไม่
ถึง ขอพระองค์ทรงทอดก่อนเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่า ดีละ. ก็
อารักขเทวดาที่เคยเป็นพระชนนีของท้าวเธอในอัตภาพที่ ๓ มีอยู่ พระราชา
ทรงชนะด้วยสกา เพราะอานุภาพแห่งอารักขเทวดานั้น. อารักขเทวดานั้น
ได้สถิตอยู่ในที่ใกล้แห่งพระราชานั้น. พระราชาทรงระลึกถึงนางเทพธิดานั้น
เมื่อจะทรงทอดสกาจึงตรัสพระคาถาว่า
ข้าแต่มารดา ขอมารดาจงดูแลข้าพเจ้าด้วย
โปรดช่วยให้ความชนะปรากฏแก่ข้าพเจ้า ข้าแต่มารดา
ขอมารดาจงช่วยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า เพราะเดชแห่ง
มารดา ความชนะมากจะมีแก่ข้าพเจ้า ลูกบาศก์ที่ทำ
ด้วยทองชมพูนุท ๔ เหลี่ยมจตุรัส กว้างและยาว ๘ นิ้ว
รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางบริษัทดุจแก้วมณีมีรัศมีสว่าง
ไสว ที่ข้าพเจ้าจะทอดลง ณ บัดนี้ ขอให้พลิกขึ้นตาม
ใจหวัง ข้าแต่เทวดา จงให้ความชนะแก่ข้าพเจ้า จง
เห็นแก่ข้าพเจ้าผู้มีโภคสมบัติน้อย อันคนที่มารดาคอย
ช่วยอนุเคราะห์อยู่แล้ว ย่อมจะเห็นแต่ความเจริญทุก
เมื่อ ลูกบาศก์สกาชื่อมาลี ท่านกล่าวว่ามี ๘ แต้ม ลูก
บาศก์สกาชื่อสาวดี ท่านกล่าวว่ามี ๖ แต้ม ลูกบาศก์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 398
สกาชื่อพหุลรทราบว่ามี ๔ แต้ม ลูกบาศก์สกาชื่อสันติ-
ภัทรทราบว่า มี ๒ แต้ม และกระดานสกานั้น ท่าน
ผู้รู้ประกาศว่ามี ๒๔ ตา.
พระราชาครั้นทรงขับเพลงสกาแล้ว ทรงพลิกลูกบาศก์ด้วยพระหัตถ์
โยนขึ้นไปในอากาศ ด้วยอานุภาพแห่งปุณณกยักษ์ ลูกบาศก์จะยังพระราชา
ปราชัย ย่อมตกลงไม่ดี. พระราชทรงฉลาดในศิลปศาสตร์สกา เมื่อทราบว่า
ลูกบาศก์หมุนตกลงจะทำพระองค์ให้ปราชัย ทรงรับไว้เสียก่อนในอากาศ ทรง
จับโยนขึ้นไปใหม่ในอากาศ. แม้ครั้งที่ ๒ ก็ทรงทราบลูกบาศก์ตกลงจะทำให้
พระองค์ปราชัย จึงทรงรับไว้อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ดำริ
ว่า พระราชาองค์นี้เล่นสกากับยักษ์ผู้เช่นเรา ยังมายื่นมือรับลูกบาศก์อัน
กำลังตกลงไว้ได้ นี่เพราะเหตุอะไรหนอ เมื่อทราบว่าเพราะอานุภาพของ
อารักขเทวดาแล้ว จึงถลึงตาดูอารักขเทวดานั้น แสดงดุจดังว่าโกรธ. อารักข-
เทวดาพอปุณณกยักษ์เพ่งดูเท่านั้น ก็สะดุ้งกลัว วิ่งหนีไปถึงที่สุดเขาจักรวาล
ได้ยืนแอบตัวสั่นอยู่รัว ๆ. พระราชา ทรงโยนลูกบาศก์ขึ้นไปครั้งที่ ๓ แม้จะ
ทรงทราบว่า ลูกบาศก์ตกลงแล้วจะทำพระองค์ให้ปราชัยก็หาสามารถจะทรง
เหยียดพระหัตถ์ออกรับไว้ได้ไม่ เพราะอานุภาพแห่งปุณณกยักษ์. ลูกบาศก์นั้น
ตกลงไม่ดี ยังพระราชาให้ปราชัย. ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ทราบว่า ท้าวเธอ
ทรงปราชัย มีใจยินดีตบมือหัวเราะด้วยเสียงอันดัง ๓ ครั้งว่า ข้าพเจ้าชนะแล้ว
ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้วดังนี้. เสียงนั้นได้แผ่ไปทั่วชมพูทวีป.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชาของกุรุรัฐและปุณณกยักษ์ ผู้มัวเมาใน
การเล่นสกาเข้าไปสู่โรงเล่นสกาแล้ว พระราชทรง
เลือกได้ลูกบาศก์ ที่มีโทษ ทรงปราชัย ส่วนปุณณก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 399
ยักษ์ชนะ พระราชาและปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อ
เจ้าพนักงานเอาสกามารวมพร้อมแล้ว ได้เล่นสกากัน
อยู่ในโรงสกานั้น ปุณณกยักษ์ได้ชัยชนะ พระราชา
ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน ท่านกลางพระราชา
๑๐๑ พระองค์ และพยานที่เหลือ เสียงบันลือลั่นได้มี
ขึ้น ในสนามสกานั้น ๓ ครั้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาวิสุ ความว่า เข้าไปในโรงสกา.
บทว่า วิจิน ความว่า พระราชา ทรงเลือกใน ๒๔ ตา ได้ยึดในทางที่มี
โทษ คือยึดเอาทางปราชัย. บทว่า กฏมคฺคหิ ความว่า ส่วนปุณณกยักษ์
ยึดเอาชัยชนะ พระราชากับปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อเจ้าพนักงานเอาสกามา
พร้อมกันในโรงเล่นสกานั้น ท่านทั้งสองได้เล่นสกาแล้ว. บทว่า รญฺ ความ
ว่า ครั้นปุณณกยักษ์นั้น ชนะพระราชา ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชนใน
ท่ามกลางแห่งพระราชา ๑๐๑ และท่านผู้เป็นสักขีพยานที่เหลือ. บทว่า ตตฺถปฺ-
ปนาโท ตุมุโล พภูว ความว่า เสียงบันลือลั่นได้มีขึ้นในมณฑลสกานั้น
๓ ครั้งว่า ขอพระองค์จงทราบความที่พระราชาทรงปราชัยแล้ว ข้าพเจ้าชนะ
แล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว.
พระราชา ครั้นทรงปราชัยแล้ว ทรงเสียพระทัยเป็นกำลัง. ลำดับ
นั้นปุณณกยักษ์เมื่อจะปลอบโยนท้าวเธอให้เบาพระทัย จึงทูลเป็นคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาราชา เราทั้งสองผู้พยายามเล่น
สกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ข้าพระองค์ชนะพระองค์
ด้วยทรัพย์อันประเสริฐแล้ว ข้าพระองค์ชนะแล้ว ขอ
พระองค์ทรงพระราชทานเสียเร็ว ๆ เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 400
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายูหต ความว่า บรรดาเราทั้งสองผู้
พยายามเล่นสกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่งเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าคิดว่า เราเป็นผู้แพ้แล้ว. บทว่า ฆินฺโนสิ๑ ความว่า
ท่านเป็นผู้เสื่อมแล้ว. บทว่า วรนฺธเนน แปลว่า ด้วยทรัพย์อันประเสริฐ.
บทว่า ขิปฺปมาวากโรหิ ความว่า ขอพระองค์โปรดพระราชทานทรัพย์สำหรับ
เป็นค่าชัยชนะโดยฉับพลันเถิดพระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า จงรับเอาซิ พ่อ
จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนท่านกัจจานะ ช่าง ม้า โค แก้วมณี
กุณฑล และแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลายมีอยู่
ในแผ่นดินของเรา ท่านจงรับเอาเถิด เชิญขนเอาไป
ตามปรารถนาเถิด.
ปุณณกยักษ์กราบทูลว่า
ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และแก้วอื่นใด
ที่มีอยู่ในแผ่นดินของพระองค์ บัณฑิตมีนามว่าวิธุระ
เป็นแก้วมณีอันประเสริฐกว่าทรัพย์เหล่านั้น ข้าพระ-
องค์ชนะพระองค์แล้ว โปรดพระราชทานวิธุรบัณฑิต
แก่ข้าพระองค์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส เม ชิโต ความว่า ข้าพระองค์ก็
ชนะพระองค์แล้ว ผู้เป็นรัตนะอันสูงสุด และพระองค์ก็เป็นผู้ประเสริฐกว่ารัตนะ
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป็นอันชื่อว่า ข้าพระองค์ชนะพระองค์แล้ว พระองค์
โปรดจงทรงพระราชทานวิธุรบัณฑิตแก่ข้าพระองค์เถิด.
๑. บาลีเป็น ชินฺโนสิ- ท่านเป็นผู้ชนะแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 401
พระราชาตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตนั้นเป็นตัวของเรา เป็นที่พึ่งเป็นคติ
เป็นเกาะ เป็นที่เร้น และเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา
ท่านไม่ควรจะเปรียบวิธุรบัณฑิตนั้นกับทรัพย์ของเรา
วิธุรบัณฑิตนั้นเช่นกับชีวิตของเรา คือ เป็นตัวเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตา จ เ ม โส ความว่า ก็วิธุร-
บัณฑิตนั้น ชื่อว่าเป็นตัวของเรา และเราได้พูดแล้วว่า เว้น ตัวเรา เศวตฉัตร
และอัครมเหสีเสีย นอกนั้นเราให้แก่ท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านอย่ายึดวิธุร-
บัณฑิตนั้นไว้ และวิธุรบัณฑิตนั้นไม่ใช่เพียงแต่เป็นตัวของเราอย่างเดียว โดย
ที่แท้วิธุรบัณฑิตนั้น ทั้งเป็นที่พึ่ง เป็นคติ เป็นเกาะ เป็นที่เร้น และเป็นที่
ไปในเบื้องหน้าของเราอีกด้วย. บทว่า อสนฺตุเลยฺโย มม โส ธเนน
ความว่า ท่านไม่ควรเปรียบวิธุรบัณฑิตกับด้วยทรัพย์ ๗ ประการของเรา.
ปุณณกยักษ์กล่าวคาถาว่า
การโต้เถียงกันของข้าพระองค์และของพระองค์
จะพึงเป็นการช้านาน ขอเชิญเสด็จไปถามวิธุรบัณฑิต
กันดีกว่า ให้วิธุรบัณฑิตนั้นแลชี้แจงเนื้อความนั้น
วิธุรบัณฑิตจักกล่าวเท่าใด คำนั้นจงเป็นอย่างนั้นแก่
เราทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวรตุ เอตมตฺถ ความว่า ขอวิธุร-
บัณฑิตนั้นนั่นแล จงประกาศว่า ท่านเป็นตัวของท่านหรือไม่. บทว่า โหตุ
กถา อุภินฺน ถ้อยคำที่วิธุรบัณฑิตนั่นแล จงเป็นประมาณแก่เราทั้งสอง.
พระราชาตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ ท่านพูดจริงแต่ทีเดียวและไม่ผลุน
ผลัน เราถามวิธุรบัณฑิตกันเถิดนะ เราทั้งสองจงยินดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 402
ตามคำที่วิธุรบัณฑิตพูดนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น จ มาณว สาหส ความว่า ท่าน
อย่าใช้คำอำนาจกล่าวคำผลุนผลันออกไป.
ก็แลพระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงร่าเริงพระทัยพาพระราชา
๑๐๑ พระองค์ และปุณณกยักษ์เข้าไปโรงธรรมสภาโดยเร็ว. วิธุรบัณฑิตลง
จากอาสนะถวายบังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น
ปุณณกยักษ์เจรจาปราศรัยกะพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่บัณฑิต เกียรติศัพท์ของ
ท่านได้ปรากฏไปในสากลโลกว่า ท่านตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พูดเท็จแม้เพราะ
เหตุแห่งชีวิตเช่นนี้ ก็ข้าพเจ้าจักทราบความที่ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ใน
วันนี้แล แล้วกล่าวคาถาว่า
เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักอำมาตย์ในแคว้นกุรุรัฐ
ชื่อวิธุรบัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในธรรม จริงหรือ การบัญญัติ
ชื่อว่าวิธุระในโลกนั้น ท่านเป็นอะไร คือเป็นทาส
หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา.
ในคาถานั้น ข้าพเจ้าขอถามว่าเทวดาทั้งหลายเรียก คือกล่าวประกาศถึง
ท่านวิธุระ. ผู้เป็นอำมาตย์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแห่งแคว้นกุรุอย่างนี้ว่า อำมาตย์ชื่อว่า
วิธุระผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่พูดมุสาวาทแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. เทพเหล่านั้น
เมื่อทราบชัดอย่างนี้ จึงได้กล่าวแต่คำสัตย์ หรือว่าเทพเหล่านั้นพูดแต่ความ
ไม่เป็นจริงเท่านั้นแล. บทว่า วิธุโรติ สขฺย กตโมสิ โลเก ความว่า
ชื่อของท่านปรากฏอยู่ในโลกว่าวิธุระ ท่านประกาศเป็นไฉน คือเป็นทาสเป็น
คนชนต่ำ หรือเป็นเสมอ หรือยิ่งกว่า หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา
คำที่เราถามมาแล้วนี้ท่านจงบอกแก่เราก่อนว่า ท่านเป็นทาส หรือเป็นพระ
ประยูรญาติของพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 403
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มาณพนี้ถามเราอย่างนี้ เราจะบอก
เขาว่าเราเป็นญาติของพระราชา เราเป็นคนสูงกว่าพระราชา หรือไม่ได้เป็น
อะไรเลยของพระราชาเช่นนี้ก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าชื่อว่าที่พึ่งในโลกนี้ จะเสมอ
ด้วยคำจริงย่อมไม่มี เราควรจะพูดคำจริงเท่านั้น เพื่อจะแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่
ได้เป็นพระประยูรญาติของพระราชา และมิได้เป็นคนสูงกว่าพระราชา แต่ว่า
ข้าพเจ้าเป็นทาสคนใดคนหนึ่งแห่งทาส ๔ จำพวก จึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ในหมู่นรชน ทาสมี ๔ จำพวกคือ ทาสครอก
จำพวก ๑ ทาสไถ่จำพวก ๑ ทาสที่ยอมตัวเป็นข้าเฝ้า
จำพวก ๑ ทาสเชลยจำพวก ๑ แม้ข้าพเจ้าก็เป็นทาส
โดยกำเนิดแท้ทีเดียว ความเจริญก็ตาม ความเสื่อมก็
ตาม จะมีแก่พระราชา แม้ข้าพเจ้าจะไปยังที่อื่น ก็
คงเป็นทาสของสมมติเทพนั่นเอง ดูก่อนมาณพ พระ
ราชาเมื่อจะพระราชทานข้าพเจ้าให้เป็นค่าพนันแก่ท่าน
ก็พึงพระราชทานโดยชอบธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามายทาสา ได้แก่ ทาสที่เกิดในท้อง
ของนางทาสีผู้มีสามีเป็นทาส. บทว่า สยปิ เหเก อุปยนฺติ ทาสา ความ
ว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เกิดมาเป็นคนใช้เขาทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ทาสผู้เข้า
ถึงความเป็นทาสเอง. บทว่า ภยา ปนุนฺนา ความว่า คนผู้เป็นเชลยถูก
ไล่ออกจากที่อยู่ของตน โดยราชภัยหรือโจรภัยแม้ไปสู่แดนแห่งข้าศึก ก็ชื่อ
ว่าเป็นทาสเหมือนกัน . บทว่า อทฺธา หิ โยนิโต อหปิ ทาโส ความว่า
ดูก่อนมาณพ แม้เราก็เป็นทาสเกิดจากกำเนิดทาสเอง รวมอยู่ในกำเนิดทาส
๔ จำพวกโดยส่วนเดียวแท้ๆ. บทว่า ภโว จ รญฺโ อภโว จ ความว่า
ความเจริญหรือความเสื่อม จงมีแก่พระราชาก็ตาม ข้าพเจ้าไม่สามารถจะพูด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 404
เท็จได้เลย. บทว่า ปรปิ ความว่า ข้าพเจ้าแม้ไปสู่ที่ไกล ก็ต้องเป็นทาส
ของสมมติเทพอยู่ตามเดิม. บทว่า ทชฺชา ความว่า พระราชาทอดทิ้งข้าพเจ้า
เพราะทรัพย์ในการชนะแล้ว ประทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนันแก่ท่าน จึงพึง
พระราชทานโดยธรรม คือ โดยความเป็นจริงนั่นเอง.
ปุณณกยักษ์ได้ยินดังนั้น ก็ยินดีร่าเริงปรบมืออีก แล้วกล่าวคาถาว่า
วันนี้ ความชนะได้มีแก่ข้าพระองค์เป็นครั้งที่ ๒
เพราะว่าวิธุรบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ อันข้าพระองค์ถาม
แล้ว ได้ชี้แจงปัญหาอย่างแจ่มแจ้ง พระราชาผู้ประ-
เสริฐไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ ไม่ทรงยอมให้วิธุร-
บัณฑิตแก่ข้าพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชเสฏฺโ ความว่า พระราชาผู้
ประเสริฐนี้ ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ. บทว่า สุภาสิต ความว่า อัน
วิธุรบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คือวินิจฉัยดีแล้ว. บทว่า นานุชานาสิ มยฺห ความ
ว่า ปุณณกยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ยอมให้ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ
วิธุรบัณฑิต ท่านไม่ให้เพื่ออะไร.
พระราชา ได้ทรงสดับดังนั้น ทรงโทมนัสว่า วิธุรบัณฑิตนี้ ไม่
เห็นแก่ผู้มีอุปการะคุณ ผู้ให้ลาภให้ยศเช่นเรา เห็นแก่มาณพที่พึงเห็นกันเดี๋ยวนี้
แล้วทรงพระพิโรธแก่พระมหาสัตว์ ตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า แน่ะมาณพ ถ้า
วิธุรบัณฑิตเป็นทาส ท่านจงเอาเขาไปเสีย ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนกัจจานะ ถ้าวิธุรบัณฑิตชี้แจงปัญหาแก่เรา
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า เราเป็นทาส เราหาได้เป็นญาติไม่
ท่านจงรับเอาวิธุรบัณฑิต ผู้เป็นทรัพย์อันประเสริฐกว่า
ทรัพย์ทั้งหลาย พาไปตามที่ท่านปรารถนาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 405
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺจ โน โส วิวเรตฺถ ปญฺห
ความว่า ถ้าวิธุรบัณฑิตเปิดเผยปัญหาอย่างนี้ว่า เราเป็นทาสหาได้เป็นญาติไม่
เลย ขอท่านจงรับเอาวิธุรบัณฑิตผู้เป็นแก้วอันประเสริฐ กว่าทรัพย์ทั้งหลาย
พาไปตามปรารถนาในบริษัทมณฑลของท่านเถิด.
จบอักขขัณฑกัณฑ์
ก็แลพระราชา ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่า มาณพลักพา
วิธุรบัณฑิตไปตามชอบใจ นับตั้งแต่วันที่เธอจากไป ยากที่เราจะได้ฟัง
ธรรมกถาอันไพเราะ ถึงอย่างไรเราควรขอให้เธอพักอยู่ในถิ่นของตน ถาม
ปัญหาในฆราวาสธรรมเสียก่อน ลำดับนั้นท้าวเธอทรงอาราธนาพระมหาสัตว์
นั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่บัณฑิต เมื่อท่านจากไปแล้ว ยากที่ข้าพเจ้าจักได้ฟัง
ธรรมกถาอันไพเราะ ขอท่านพักอยู่ในถิ่นของตนเองก่อน เชิญนั่งบนธรรมาสน์
อันประดับแล้วแสดงปัญหาในฆราวาสธรรมแก่ข้าพเจ้า ณ บัดนี้ พระมหาสัตว์
รับพระบรมราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับ
แล้ว วิสัชนาปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ปัญหาคาถาในฆราวาสธรรมนั้น
มีดังต่อไปนี้.
ท่านวิธุรบัณฑิต คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนจะพึงมี
ความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างไร จะพึงมีความ
สงเคราะห์ได้อย่างไร จะพึงมีความไม่เบียดเบียนได้
อย่างไร และอย่างไรมาณพจึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำ
สัตย์ จากโลกนี้ไปยังโลกหน้าแล้วจะไม่เศร้าโศกได้
อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมา วุตฺติ กถ อสฺส ความว่า
คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน จะพึงประพฤติตนให้ปลอดภัยได้อย่างไร. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 406
กถนฺน อสฺส สงฺคโห ความว่า อย่างไรหนอ เขาจะพึงมีการสงเคราะห์
กล่าวคือ สังคหวัตถุ ๔ ประการใด. บทว่า อพฺยาปชฺฌ แปลว่า ความ
เป็นผู้ปราศจากทุกข์. บทว่า สจฺจวาที จ ความว่า ก็อย่างไร มาณพจะพึง
ชื่อว่ากล่าวแต่คำสัตย์. บทว่า เปจฺจ แปลว่าไปสู่ ปรโลก.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้มีคติ มีความเพียร มีปัญญาเห็น
อรรถธรรมอันสุขุม กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ได้กราบทูล
พระราชาในโรงธรรมสภานั้นว่า ผู้ครองเรือนไม่ควร
คบหญิงสาธารณะเป็นภริยา ไม่ควรบริโภคอาหารมีรส
อร่อยแต่ผู้เดียว ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำอันให้ติดอยู่ใน
โลก ไม่ให้สวรรค์และนิพพาน เพราะถ้อยคำเช่นนั้น
ไม่ทำให้ปัญญาเจริญได้เลย ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มีศีล
สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องสอดส่อง
เหตุผล มีความประพฤติถ่อมตน ไม่พึงเป็นคนตระหนี่
เหนียวแน่น เป็นผู้สงบเสงี่ยม มีวาจาน่าคบเป็นสหาย
อ่อนโยน ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้สงเคราะห์มิตร จำแนก
แจกทาน รู้จักจัดทำ พึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วย
ข้าวน้ำทุกเมื่อ ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่ต่อธรรม จำ
ทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว หมั่นไต่ถาม พึงเข้า
ไปหาท่านผู้มีศีล เป็นพหูสูตโดยเคารพ คฤหัสถ์ผู้
ครองเรือนจะพึงมีความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างนี้
จะพึงมีความสงเคราะห์ได้อย่างนี้ จะพึงมีความไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 407
เบียดเบียนกันได้อย่างนี้ และมาณพพึงปฏิบัติอย่างนี้
จึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำสัตย์ จากโลกนี้แล้วไปยัง
โลกหน้า จะไม่เศร้าโศกด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ตตฺถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิธุรบัณฑิตได้แสดงฆราวาสธรรมถวายพระราชาในโรงธรรมสภานั้น. บทว่า
คติมา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีคติด้วยญาณคติอันประเสริฐ. บทว่า ธิติมา ได้แก่
ผู้มั่นคงเพราะมีความเพียรไม่ขาดสาย. บทว่า มติมา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญา
เพราะมีปัญญาอันไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดิน. บทว่า อตฺถทสฺสินา ความว่า
ชื่อว่า ผู้เห็นอรรถด้วยญาณอันเห็นอรรถอันละเอียดสุขุม. บทว่า สงฺขาตา
ความว่า วิธุรบัณฑิต กำหนดรู้ธรรมได้ทั้งหมดด้วยปัญญา คือญาณเครื่องรู้
แล้ว กราบทูลคำมีอาทิว่า อย่าคบหาภริยาอันสาธารณะ ในฆราวาสธรรมนั้น
ผู้ใดผิดภรรยาของชนเหล่าอื่น ผู้นั้นชื่อว่ามีภริยาเป็นสาธารณะ ผู้เช่นนั้น
อย่าพึงมีภริยาอันเป็นสาธารณะเลย. บทว่า สาธุเมกโก ความว่า ผู้อยู่
ครองเรือน ไม่ให้โภชนะอันประณีตมีรสอร่อยแก่ชนเหล่าอื่น ไม่พึงบริโภค
แต่ผู้เดียว. บทว่า โลกายติก ความว่า ไม่ควรซ่องเสพวาทะอันเกี่ยวใน
ทางหายนะ อันเป็นคำพูดให้เขาหลงเชื่อ ไม่อาศัยประโยชน์ ไม่เป็นทางให้
ไปสวรรค์. บทว่า เนต ปญฺาย วฑฺฒน ความว่า ก็ข้อนั้น เป็นทาง
ทำโลกให้ปั่นป่วน ไม่ทำให้ปัญญาเจริญ. บทว่า สีลวา ได้แก่ ประกอบ
ด้วยศีล ๕ ข้อ ไม่ขาด. บทว่า วตฺตสมฺปนฺโน ความว่า ผู้อยู่ครอบครอง
เรือน ต้องเข้าถึงความประพฤติอนุวัตรตามพระราชา. บทว่า อปฺปมตฺโต
ความว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลธรรม. บทว่า นิวาตวุตฺติ ความว่า ไม่
กระทำความเย่อหยิ่งประพฤติตนตกต่ำ รับโอวาทานุศาสนี. บทว่า อตฺถทฺโธ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 408
ความว่า เว้นจากความตระหนี่เหนียวแน่น. บทว่า สุรโต ความว่า ประกอบ
ด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาเป็นที่ตั้งแห่งความ
รัก. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้ไม่หยาบคายด้วยกายวาจาและจิต. บทว่า
สงฺคเหตา จ มิตฺตาน ความว่า ผู้อยู่ครองเรือนพึงเป็นผู้ทำการสงเคราะห์
มิตรอันดีงาม คือ พึงสงเคราะห์ในบรรดาทานเป็นต้น อันเป็นเครื่องสงเคราะห์
กันนั้น. บทว่า สวิภาคี ได้แก่ ทำการจำแนกทาน แก่สมณพราหมณ์ผู้
ตั้งอยู่ในธรรมเป็นต้น และแก่คนกำพร้าเป็นต้น. บทว่า วิธานวา ความว่า
พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการจัดแจง ในกิจทั้งหมดอย่างนี้ว่า ในเวลานี้ควรจะไถ
เวลานี้ควรจะหว่าน. บทว่า ตปฺเปยฺย ความว่า พึงบรรจุภาชนะที่ตนรับ
แล้ว ๆ ให้เต็มแล้ว เมื่อให้พึงพอใจ. บทว่า ธมฺมกาโม ความว่า ผู้ครอง
เรือน พึงเป็นผู้ใคร่ปรารถนาประเพณีธรรมบ้างสุจริตธรรมบ้าง. บทว่า
สุตาธาโร ความว่า เป็นผู้ทรงสุตะ. บทว่า ปริปุจฺฉโก ความว่า ผู้อยู่ครอง
เรือนพึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม แล้วมีปกติ ไต่ถามด้วยคำมีอาทิว่า
อะไรเป็นกุศลนะขอรับ. บทว่า สกฺกจฺจ แปลว่า โดยความเคารพ. บทว่า
เอว นุ อสฺส สงฺคโห ความว่า ผู้อยู่ครองเรือน แม้การสงเคราะห์ก็สมควร
ทำเช่นนั้น. บทว่า สจฺจวาที ความว่า ผู้อยู่ครองเรือนปฏิบัติได้อย่างนี้
ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวคำสัตย์.
พระมหาสัตว์ แสดงปัญหาในฆราวาสธรรมถวายแด่พระราชาอย่างนี้
แล้ว ลงจากบัลลังก์ถวายบังคมพระราชา ฝ่ายพระราชาทรงกระทำมหาสักการะ
แก่พระมหาสัตว์นั้น มีพระราชา ๑๐๑ พระองค์แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จ
กลับไปสู่พระนิเวศน์ของพระองค์
จบฆราวาสธรรมปัญหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 409
ส่วนพระมหาสัตว์ กลับเรือนของตนแล้ว. ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ จึง
กล่าวคาถาว่า
ท่านมาไปด้วยกัน ณ บัดนี้ พระเจ้าแผ่นดิน
ธนัญชัย ผู้เป็นอิสราธิบดี พระราชทานท่านให้แก่
ข้าพเจ้าแล้ว ขอท่านจงปฏิบัติประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธรรมนี้เป็นของเก่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน ในบทว่า ทินฺโน โน นี้เป็น
เพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านอันพระเจ้าธนัญชัยผู้เป็นอิสราธิบดี ได้พระรา-0
ทานแล้ว. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า เพราะเมื่อท่านปฏิบัติ ให้
เป็นประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าเป็นอันปฏิบัติให้เป็นประโยชน์แก่นายของตน การ
ทำให้เป็นประโยชน์แก่นายของตนนั้น ชื่อว่าเป็นธรรมของเก่าคือ เป็นแบบ
ของบัณฑิตในปางก่อนอย่างแท้จริง.
วิธุรบัณฑิตกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้อัน
ท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระราชาผู้เป็นอิสราธิบดี
พระราชทานแก่ท่านแล้ว แต่ข้าพเจ้าขอให้ท่านพักอยู่
ในเรือนสัก ๓ วัน ขอให้ท่านยับยั้งอยู่ตลอดเวลาที่
ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรภรรยาก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยาหมสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า
ท่านได้ข้าพเจ้าแล้ว คือ เมื่อได้ข้าพเจ้า ไม่ใช่ได้โดยประการอื่น. บทว่า
ทินฺโนหมสฺมิ ตว อิสฺสเรน ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระราชาผู้เป็น
อิสราธิบดีของข้าพเจ้า ได้พระราชทานแก่ท่านแล้ว. บทว่า ตีหญฺจ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 410
ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้มีอุปการะมากแก่ท่าน เพราะไม่เห็นคล้อยตามพระราชา
พูดไปตามความจริงเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้อันท่านได้แล้ว
ท่านจงรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นใหญ่แก่ตน พวกเราจะพักอยู่ในเรือนของตน ๓ วัน
เพราะฉะนั้นท่านจงยับยั้งอยู่ ให้ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรและภรรยาก่อน.
ปุณณกยักษ์ ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า บัณฑิตนี้พูดจริง เธอมีอุปการะ
แก่เราเป็นอย่างมาก แม้หากว่าเมื่อเธอจะขอให้เราพักอยู่ ๗ วันก็ดี ครึ่งเดือน
ก็ดี เราก็จะยับยั้งอยู่โดยแท้ ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
คำที่ท่านกล่าวนั้น จงมีแก่ข้าพเจ้าเหมือนอย่าง
นั้น ข้าพเจ้าจักพักอยู่ ๓ วัน ตั้งแต่วันนี้ ท่านจงทำ
กิจในเรือนทั้งหลาย ท่านจงสั่งสอนบุตรภริยาเสียแต่
วันนี้ ตามที่บุตรภริยาของท่านจะพึงมีความสุขในภาย
หลัง ในเมื่อท่านไปแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมฺเม ความว่า คำที่ท่านขอนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าตามใจท่าน. บทว่า ภวชฺช ความว่า ท่านผู้เจริญ จงสั่งสอนบุตร
และภริยา ๓ วันตั้งแต่วันนี้ไป. บทว่า ตยี เปจฺจ ความว่า ท่านจงสั่งสอน
โดยประการที่เมื่อท่านไปแล้ว ภายหลังบุตรและภริยาของท่านจะพึงมีความสุข.
ปุณณกยักษ์ ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เข้าไปสู่นิเวศน์ของพระมหา-
สัตว์นั้นแล.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์ ผู้มีสมบัติน่าใคร่มากมายกล่าวว่า
ดีละ แล้วหลีกไปกับวิธุรบัณฑิต เป็นผู้มีมารยาทอัน
ประเสริฐสุด เข้าไปในบ้านของวิธุรบัณฑิต อัน
บริบูรณ์ด้วยช้างและม้าอาชาไนย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 411
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตกาโม แปลว่า ผู้มีโภคทรัพย์
มากมาย. บทว่า ต กุญฺชราชญิหยานุจิณฺณ ความว่า สั่งสมคือบริบูรณ์
ด้วยช้างและม้าอาชาไนย. บทว่า อริยเสฏฺโ ความว่า เป็นผู้สูงสุดในมารยาท
อันประเสริฐสุด.
ปุณณกยักษ์ เข้าไปในบ้านแห่งวิธุรบัณฑิตแล้ว ก็พระมหาสัตว์ได้มี
ปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักแรม ๓ ฤดู. ในปราสาท ๓ หลังนั้น หลัง
หนึ่งชื่อว่าโกญจะ หลังหนึ่งชื่อว่ามยูระ. หลังหนึ่งชื่อว่าปิยเกต. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงหมายเอาปราสาท ๓ หลังนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ปราสาทของพระมหาสัตว์มีอยู่ ๓ หลังคือ โกญจ-
ปราสาท ๑ มยูรปราสาท ๑ ปิยเกตปราสาท ๑ ใน
ปราสาททั้ง ๓ นั้น พระมหาสัตว์ได้พาปุณณกยักษ์เข้า
ไปยังปราสาทอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนักมีภักษาหาร
บริบูรณ์ มีข้าวน้ำเป็นอันมาก ดังหนึ่งมสักกสารวิมาน
ของท้าววาสวะ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ความว่า บรรดาปราสาททั้ง ๓
นั้น พระมหาสัตว์พาปุณณกยักษ์เข้าไปยังปราสาท อันเป็นที่ที่ตนอยู่ในสมัย
นั้น ซึ่งเป็นที่ที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ให้จัดแจงห้องอันเป็น
ที่นอน และห้องโถงใหญ่ ในชั้นที่ ๗ แห่งปราสาทที่ได้ตบแต่งไว้ แล้ว
ให้ปูที่นอนอันทรงสิริบำรุงวิธีมีข้าวและน้ำเป็นต้นทั้งหมด แล้วมอบให้แก่
ปุณณกยักษ์นั้นด้วยสั่งว่า หญิง ๕๐๐ ดุจนางเทพกัญญาเหล่านี้ จงเป็นหญิง
บำรุงบำเรอท่าน ท่านอย่าเบื่อหน่ายจงอยู่ในที่นี้เถิด ครั้นมอบให้แล้ว จึงได้
ไปสู่ที่อยู่ของตน. เมื่อพระมหาสัตว์ไปแล้ว หญิงบำเรอเหล่านั้น จับเครื่อง
ดนตรีต่าง ๆ เริ่มการประโคมมีฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น เพื่อบำเรอปุณณกยักษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 412
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
นารีทั้งหลายผู้ประดับประดางดงามดังเทพอัปสร
ในเทวโลก ฟ้อนรำขับเพลงอันไพเราะจับใจ กล่อม
ปุณณกยักษ์อยู่ในปราสาทหลังนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวฺหยนฺติ แปลว่า ย่อมร้องเรียก.
บทว่า วราวร ความว่า นางบำเรอเหล่านั้นประดับองค์ทรงเครื่องอันงดงาม
พากันฟ้อนรำและขับกล่อมประสานเสียงกันอยู่.
พระมหาสัตว์ ผู้รักษาธรรม รับรองปุณณก-
ยักษ์ ด้วยนางบำเรอที่น่ายินดี ทั้งข้าวและน้ำแล้ว
คิดถึงประโยชน์ส่วนตน ได้เข้าไปในสำนักของภริยา
ในกาลนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุทาหิ ความว่า พระมหาสัตว์ รับ
รองปุณณกยักษ์ ด้วยเหล่านางบำเรอที่น่ายินดีชื่นใจ และด้วยข้าวและน้ำ.
บทว่า ธมฺมปาโล แปลว่า ผู้รักษาธรรม คือ ผู้คุ้มครองธรรม. บทว่า
อคฺคตฺถเมว ได้แก่ ซึ่งประโยชน์อันเลิศนั่นเอง. บทว่า ปาเวกฺขิ ภริยาย
ความว่า ได้เข้าไปใกล้ภริยาผู้ประเสริฐกว่าสตรีทั้งปวง.
ได้กล่าวกะภริยาผู้มีผิวพรรณอันผุดผ่อง ดุจแท่ง
ทองชมพูนุท มีองค์อันลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์และของ
หอมว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ผู้มีเนตรอันแดงงาม เจ้า
จงมา จงเรียกบุตรธิดาของเรามาฟังคำสั่งสอน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภริย อวจ แปลว่า ได้กล่าวกะภริยา.
บทว่า อามนฺตย แปลว่า ได้เรียก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 413
นางอโนชาได้สดับถ้อยคำของสามี ได้กล่าวกะ
ลูกสะใภ้ ผู้มีเล็บอันแดง มีตาอันงดงามว่า ดูก่อน
ยอดดวงใจ ผู้มีดวงตาอันงดงามหาที่ติมิได้ เจ้าจงเรียก
บุตรทั้งหลายของเราผู้ทรงเครื่องปกปิดหนังผู้แกล้ว
กล้าสามารถมา ณ บัดนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนชา ได้แก่ ภรรยาผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า สุณิส อวจ ตมฺพนขึ สุเนตฺต ความว่า นางอโนชาได้สดับถ้อย
คำของสามี เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ คิดว่า เราไม่ควรจะไปเรียก
บุตรด้วยตนเอง เราจักสั่งลูกสะใภ้ไป ดังนี้แล้วไปสู่ที่อยู่ของลูกสะใภ้นั้น ได้
กล่าวกะลูกสะใภ้ผู้มีเล็บอันแดง มีดวงตางดงาม. บทว่า อามนฺตย แปลว่า
จงเรียก. บทว่า จมฺมธรานิ ความว่า ผู้ทรงซึ่งเครื่องปกปิดหนัง ผู้แกล้วกล้า
สามารถ. ก็เครื่องอาภรณ์นั่นเอง ท่านประสงค์เอาว่า จมฺม เครื่องปกปิดหนึ่ง
ในที่นั้น เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งเครื่องอาภรณ์ดังนี้ก็มี. บทว่า
เจเต ความว่า ลูกสะใภ้เรียกเขาโดยชื่อ. บทว่า ปุตฺตานิ ได้แก่ บุตรและ
ธิดาของเรา. บทว่า อินฺทีวรปุปฺผสาเม ความว่า ย่อมร้องเรียกเขา.
ลูกสะใภ้รับคำว่า ดีละ แล้วเที่ยวไปตามปราสาท ร้องเรียกเพื่อนสนิท
ของพระมหาสัตว์บุตรและธิดาหมดทุกคนให้ไปประชุมกันว่า ดูก่อนท่านทั้ง
หลาย บิดาต้องการจะให้โอวาท จึงเรียกท่านทั้งหลายมา ได้ยินว่า ท่านทั้ง
หลาย เห็นบิดาครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย. ส่วนว่า ธรรมปาลกุมารได้
ยินคำนั้นแล้ว จึงพาพี่น้องร้องไห้ไปสู่สำนักของท่านบิดา. ฝ่ายวิธุรบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 414
เห็นบุตรธิดาเหล่านั้น ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ มีเนตรเต็มไปด้วยน้ำตา
สวมกอดและจูบศีรษะบุตรธิดาเหล่านั้น ให้บุตรคนโตนอนบนตัก สักครู่หนึ่ง
แล้วก็ยกลงจากตัก ออกจากห้องอันประกอบด้วยสิริ ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ ที่พื้น
ปราสาทหลังใหญ่ ได้ให้โอวาทแก่บุตรพันหนึ่ง
พระศาสดาเมื่อประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์ผู้รักษาธรรม ได้จุมพิตบุตรธิดา
ผู้มาแล้วนั้นที่กระหม่อมไม่หวั่นไหว ครั้นเรียกบุตร
ธิดามาพร้อมแล้ว ได้กล่าวสั่งสอนว่า พระราชาใน
พระนครอินทปัตตะนี้ พระราชทานพ่อให้แก่มาณพ
แล้วพ่อพึงมีความสุขของตนเองได้เพียง ๓ วัน ตั้งแต่
วันนี้ไป พ้นจากนั้นไป พ่อก็ต้องเป็นไปในอำนาจของ
มาณพนั้น เขาจะพาพ่อไปตามที่เขาปรารถนา ก็พ่อ
มาเพื่อจะสั่งสอนลูกทั้งหลาย พ่อยังไม่ได้ทำเครื่อง
ป้องกันให้แก่ลูกทั้งหลายแล้ว จะพึงไปได้อย่างไร ถ้า
พระราชาผู้ปกครองกุรุรัฐ ผู้มีพระราชสมบัติอันน่า
ใคร่เป็นอันมาก ทรงต้องการกัลยาณมิตร จะพึงตรัส
ถามลูกทั้งหลายว่า เมื่อก่อนเจ้าทั้งหลายย่อมรู้เหตุเก่า ๆ
อะไรบ้าง พ่อของเจ้าทั้งหลายได้พร่ำสอนอะไรไว้ใน
กาลก่อนบ้าง ถ้าแหละพระราชาจะพึงมีพระราชโอง
การตรัสว่า เจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีอาสนะเสมอกัน กับเรา
ในราชตระกูลนี้ มนุษย์คนไรซึ่งจะมีชาติตระกูลคู่ควร
กับพระราชาไม่มี ลูกทั้งหลายพึงถวายบังคมกราบทูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 415
อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์อย่าได้
รับสั่งอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า เพราะข้อนี้มิใช่ธรรม
เนียม ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีชาติต่ำต้อย ไม่
สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้สูงศักดิ์ เหมือน
สุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมีอาสนะเสมอด้วย
พระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปาโล ได้แก่ พระมหาสัตว์.
บทว่า ทินฺนาห ความว่า เราเป็นผู้อันพระราชาทอดทิ้งทรัพย์ในชัยชนะ
พระราชทานแก่มาณพ. บทว่า ตสฺสชฺชห อตฺตสุขี วิเธยฺโย ความว่า
บิดามีความสุขในอำนาจแห่งตนได้ชั่ว ๓ วัน แต่วันนี้ไป พ้นจาก ๓ วันนี้ไป
บิดาก็เป็นไปในอำนาจแห่งมาณพ ก็ในวันที่ ๔ มาณพนั้นจะพาบิดาไปในที่
ไหน ๆ ที่เขาปรารถนาโดยส่วนเดียว. บทว่า อปริตฺตาย ความว่า ก็บิดา
มาเพื่อจะสอนเจ้าทั้งหลายว่า บิดาหากยังมิได้ทำเครื่องป้องกันแก่พวกเจ้าจะพึง
ไปได้อย่างไร เหตุนั้น บิดาจะต้องมาเพื่อสั่งสอนพวกเจ้า. บทว่า ชนสณฺโ
ความว่า พระราชาผู้ทำความมั่นคงแก่ชนผู้เป็นมิตรด้วยการผูกมิตร. บทว่า
ปุเร ปุราณ ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้พวกเจ้าย่อมรู้เหตุการณ์เก่า ๆ อะไรบ้าง
บิดาของพวกเจ้าสั่งสอนพร่ำสอนไว้อย่างไรบ้าง เจ้าทั้งหลายที่พระราชาตรัสถาม
อย่างนี้พึงทูลว่า บิดาของข้าพระองค์ทั้งหลายได้ให้โอวาทอย่างนี้ ๆ. บทว่า
สมานาสนา โหถ ความว่า ก็ถ้าว่า เมื่อพวกเจ้าทูลบอกโอวาทที่บิดาให้นี้
พระราชาจะพึงมีพระราชโองการตรัสว่า พวกเจ้าทั้งปวงมานั่งบนอาสนะเสมอ
กันกับเราในวันนี้. บทว่า โกนีธ รญฺโ อพฺภุติโก มนุสฺโส ความว่า
ในตระกูลนี้ มนุษย์คนไรนอกจากพวกเจ้า ซึ่งจะมีชาติสกุลสูงศักดิ์เสมอด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 416
พระราชาหามิได้ เพราะฉะนั้น จงให้นั่งบนอาสนะของตน. บทว่า ตมญฺชลึ
ความว่า ถ้าพวกเจ้าพึงกระทำอัญชลีถวายบังคมทูลอย่างนี้ไซร้ ขอเดชะ ขอ
พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น เพราะข้อนั้นหาได้ถูกธรรมเนียมไม่. บทว่า
วิยคฺฆราชสฺส ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า นิหีนชจฺโจ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มีชาติต่ำต้อยเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระองค์ได้อย่างไร สุนัขจิ้งจอกย่อมเป็นผู้มีอาสนะเสมอด้วย
ราชสีห์แม้ฉันใด พวกข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรมีอาสนะเสมอด้วย
พระองค์
ส่วนพวกบุตรธิดาญาติผู้มีใจดีและทาสกรรมกรทั้งหมดนั้น ได้สดับ
ถ้อยคำของพระมหาสัตว์ดังนี้ ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ ต่างพากันร้องไห้
พิไรร่ำไปตามกัน. พระมหาสัตว์ได้ตักเตือนชนเหล่านั้น ให้คลายโศกาดูรมีสติ
รู้สึกตัวได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบลักขกัณฑ์
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิตเห็นบุตรธิดาและพวกญาติเข้าไปหาตนนั่ง
นิ่งเงียบอยู่ จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย
อย่าเศร้าโศก อย่าพิไรร่ำร่ำพันไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา สมมติธรรมอันได้นามว่ายศ ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่ง เราจักแสดงจริยาวัตรของพระราชเสวกนามว่า ราชวสดีธรรม อันเป็น
เหตุให้เกิดยศแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงตั้งใจสดับราชวสดีธรรมนั้น ครั้นกล่าวดัง
นี้แล้วจึงเริ่มแสดงราชวสดีธรรมด้วยพุทธลีลา.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอันหดหู่
กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติมิตรและเพื่อนสนิทว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 417
ลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงมานั่งฟังราชวสดีธรรม
อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้เข้าไปสู่ราชสกุลได้ยศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุหทชฺชเน แปลว่า คนมีหทัยดี. บทว่า
เอถยฺยา ความว่า วิธุรบัณฑิตนั้น เรียกบุตรและธิดา ด้วยคำร้องเรียกอัน
น่ารักว่า แม่และพ่อจงมาดังนี้. บทว่า ราชวสตึ ความว่า พวกเจ้าจงพึง
การบำรุงพระราชาที่เราจะกล่าว. บทว่า ยถา แปลว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า
ราชกุลมฺปตฺโต ความว่า บุคคลผู้เข้าไปสู่ราชสกุล คืออยู่ในสำนักพระราชา
ย่อมประสพยศ พวกเจ้าจงพึงเหตุนั้น ดังที่เราจะกล่าวต่อไปนี้
ผู้เข้าสู่ราชสกุล พระราชายังไม่ทรงทราบ ย่อม
ไม่ได้ยศ ราชเสวกไม่ควรกล้าเกินไป ไม่ควรขลาด
เกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ เมื่อใด
พระราชาทรงทราบความประพฤติปรกติ ปัญญา และ
ความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวาง
พระทัยและไม่ทรงรักษาความลับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺาโต ได้แก่ ผู้มีคุณยังไม่ปรากฏ
ผู้ยังไม่รับพระราชทานยศศักดิ์อันแจ่มชัด. บทว่า นาติสูโร แปลว่า ผู้ไม่
แกล้วกล้า. บทว่า นาติทุมฺเมโธ แปลว่า ไม่ใช่ผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้ขลาด.
บทว่า ยทาสฺส สีล ความว่า เมื่อใดพระราชาทรงประสบศีล ปัญญา ความ
สะอาดและทรงทราบอาจารสมบัติ กำลังแห่งญาณ และความเป็นผู้สะอาดของ
เสวกนั้น. บทว่า อถ วิสฺสาสเต ตมฺหิ ความว่า เมื่อนั้น พระราชาทรงไว้วาง
ใจในเสวกนั้น คือทรงกระทำความคุ้นเคย ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องปกปิดความ
ลับของพระองค์ ย่อมทรงเปิดเผย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 418
ราชเสวกอันพระราชามิได้ตรัสใช้ ไม่พึงหวั่น
ไหวด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ดังตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอ เที่ยงตรงฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจ
ทุกอย่างให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรงฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลา ยถา ความว่า ราชเสวกอันพระ
ราชาตรัสใช้ว่า เจ้าจงทำกรรมนี้ในราชกิจบางอย่าง เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วย
อำนาจการถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น คือ พึงเป็นผู้เสมอในกิจทั้งปวง เหมือน
ตราชูที่มีประการดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมไม่ยุบลง ไม่ฟูขึ้นฉะนั้น. บทว่า
ส ราชวสตึ ความว่า ราชเสวกเห็นปานนี้นั้น พึงอยู่ในราชตระกูล พึงปรน-
นิบัติพระราชา ก็แลเมื่อปรนนิบัติอย่างนี้ พึงได้ยศ. บทว่า สพฺพานิ อภิสมฺ-
โภนฺโต ความว่า เมื่อทำราชกิจทุกอย่าง.
ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ อันพระ-
ราชาตรัสใช้ กลางวันหรือกลางคืนก็ตามไม่พึงหวาด
หวั่นไหวในการกระทำราชกิจนั้น ๆ ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ ทางใดที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยดี
สำหรับเสด็จพระราชดำเนิน ถึงพระราชาทรงอนุญาต
ราชเสวกก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 419
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วิกมฺเปยฺย ความว่า ราชเสวกไม่
พึงหวั่นไหวปฏิบัติราชกิจเหล่านั้น. บทว่า โย จสฺส ความว่า หนทางที่
เขาตบแต่งไว้เป็นอันดี เพื่อเป็นมรรควิถีเสด็จพระราชดำเนิน. บทว่า สุปฏิยา-
ทิโต ความว่า เป็นราชเสวกแม้จะได้พระราชานุญาติ ก็ไม่ควรเดินไปทาง
นั้น.
ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติที่น่าใคร่ ทัดเทียม
กับพระราชาในกาลไหน ๆ ควรเดินหลังในทุกสิ่ง
ทุกอย่าง ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราช-
เสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา เครื่อง
ลูบไล้ทัดเทียมกับพระราชาไม่พึงประพฤติอากัปกิริยา
หรือพูดจาทัดเทียมกับพระราชา ควรทำอากัปกิริยา
เป็นอย่างหนึ่ง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น รญฺโ ความว่า เป็นราชเสวก
ไม่พึงบริโภคโภคสมบัติที่น่าใคร่ ทัดเทียมกับพระราชา เพราะพระราชาย่อม
ทรงกริ้วต่อบุคคลเช่นนั้น. บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า พึงเดินตามหลัง ปฏิบัติ
ให้ต่ำกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในกามคุณมีรูปเป็นต้น. บทว่า อญฺ กเรยฺย
ความว่า พึงกระทำอากัปกิริยาอย่างอื่น จากราชอากัปกิริยา. บทว่า ส ราชวสตึ
วเส ความว่า บุคคลนั้น พึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วพึงอยู่.
เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่อำมาตย์
อันพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ เสวกามาตย์เป็นผู้
ฉลาด ไม่พึงทำการทอดสนิท ในพระสนมกำนัลใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 420
ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คะนองกายวาจา มี
ปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ สมบูรณ์ด้วย
การตั้งใจไว้ดี ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาว ได้แก่ ความประสงค์ด้วยอำนาจ
ความคุ้นเคย. บทว่า อจปโล ได้แก่ ไม่เป็นผู้ตบแต่งประดับเป็นปกติ. บทว่า
นิปโก ได้แก่ ผู้มีญาณแก่กล้า. บทว่า สวุตินฺทฺริโย ได้แก่ ผู้สำรวม
ปิดกั้นอินทรีย์ ๖ ได้แล้ว คืออย่าพึงมองดูอวัยวะน้อยใหญ่ของพระราชา และ
ไม่พึงมองดูตำหนักนางสนมกำนัลของพระราชานั้น. บทว่า มโนปณิธิ
สมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยจิตอันไม่หวั่นไหว คือตั้งไว้ด้วยดี.
ราชเสวกไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศรัยในที่ลับ
กับพระสนมกำนัลใน ไม่ควรถือเอาทรัพย์จากพระคลัง
หลวง ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวก
ไม่พึงเห็นแก่การหลับนอนมากนัก ไม่พึงดื่มสุราจน
เมามาย ไม่พึงฆ่าเนื้อในสถานที่พระราชทานอภัย ราช
เสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกไม่พึงขึ้น
ร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือและรถ
พระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน
ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกต้อง
เป็นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ไม่ควรเข้าเฝ้าให้ไกลนัก
ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอให้ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น
ถนัด ในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสเบื้องพระ-
พักตร์ของพระราชา ราชเสวกไม่ควรทำความวางใจว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 421
พระราชาเป็นเพื่อนของเรา พระราชาเป็นคู่กันกับเรา
พระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพระพิโรธได้โดยเร็วไว
เหมือนนัยน์ตาอันผงกระทบ ราชเสวกไม่ควรถือตนว่า
เป็นนักปราชญ์ ราชบัณฑิต พระราชาทรงบูชา ไม่
ควรเพ็ดทูลถ้อยคำหยาบคายกับพระราชา ซึ่งประทับ
อยู่ในราชบริษัท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มนฺเตยฺย ความว่า เป็นราชเสวก
ไม่ควรเล่นหัวกับพระสนมกำนัลใน ไม่พึงเจรจาปราศรัยในที่ลับ. บทว่า
โกสา ธน ความว่า อย่าลักลอบเอาพระราชทรัพย์จากพระคลังหลวง. บทว่า
น มทาย ความว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย ราชเสวกไม่พึงดื่มสุราจนเมา
มาย. บทว่า ทาเย ความว่า ไม่พึงฆ่า ไม่พึงเบียดเบียนมฤคที่พระราชทาน
อภัย. บทว่า โกจฺฉ ได้แก่ พระแท่นภัทรบิฐ. บทว่า สมฺมโตมฺหิ ความว่า
ราชเสวกอย่าทนงตนว่า เราเป็นคนโปรดปรานแล้วจะขึ้นร่วม. บทว่า สเมกฺ-
ขญฺจสฺส ติฏฺเยฺย ความว่า เป็นราชเสวก พึงยืนข้างหน้าของพระราชาในที่ไม่
ไกลนัก ไม่ใกล้นัก พอที่จะได้ยินพระดำรัสที่ตรัสใช้. บทว่า สนฺทิสฺสนฺโต
สภตฺตุโน ความว่า ราชเสวกนั้น พึงยืนอยู่ในที่ที่ท้าวเธอจะทอดพระเนตรเห็น
ได้. บทว่า สุเกน ความว่า เป็นราชเสวกอย่าชะล่าใจว่า พระราชาเป็นเพื่อน
ของเรา และเป็นคู่กันกับเรา อันพระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธเร็วไว
ดุจนัยน์ตาถูกผงกระทบฉะนั้น. บทว่า น ปูชิโต มญฺมาโน ความว่า เป็น
ราชเสวกไม่พึงถือตนว่า เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พระราชาทรงนับถือบูชา
ชะล่าใจจ้วงจาบเพ็ดทูลถ้อยคำที่หยาบคาย. บทว่า ผรุส ความว่า ไม่พึงเจรจา
ปราศรัยถ้อยคำ อันเป็นเหตุให้พระราชาทรงพระพิโรธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 422
ราชเสวก ผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็น
พิเศษ ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึงเป็นผู้
สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้น พึงอยู่ใน
ราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์ด้วยบ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือ
ชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณ
หรือโทษ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธทฺวาโร ลเภ ทฺวาร ความว่า
เราเป็นราชเสวก เราไม่ใช่คนเฝ้าประตู แต่ได้ประตูเป็นพิเศษ ไม่ทรง
อนุญาตอย่าพึงเข้าไป แม้ได้ประตูอีกต่อเมื่อได้รับอนุญาตจึงเข้าไป. บทว่า
สโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท. บทว่า ภาตร ส วา ได้แก่ พระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์. บทว่า สมฺปคฺคณฺหาติ ความว่า ในกาลใดพระราชาตรัส
กับเสวกทั้งหลายว่า เราจะให้บ้านโน้น หรือนิคมโน้นแก่ผู้โน้น. บทว่า น
ภเณ เฉกปาปก ความว่า เป็นเสวกไม่พึงกล่าวสรรเสริญคุณหรือโทษใน
กาลนั้น.
พระราชาทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่กรมช้าง
กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความชอบใน
ราชการของเขา ราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา ราชเสวก
นั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวยผู้เป็นนักปราชญ์
พึงโอนไปเหมือนคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือน
ไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 423
พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ มีปัญญาเครื่องรักษาตน แกล้วกล้า ราชเสวก
นั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เตส อนฺตร คจฺเฉ ความว่า เป็น
ราชเสวก ไม่ควรทูลขัดตัดลาภผลของคนเหล่านั้น. บทว่า วโส วา ความว่า
พึงเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนโอนไปในกาลที่พระราชาตรัส เหมือนยอดไม้ไผ่ลำที่สูง
กว่าทุกลำในกอไผ่ ย่อมไหวในคราวที่ต้องลมพัดฉะนั้น. บทว่า จาโปวูโนทโร
ความว่า เป็นราชเสวก ไม่พึงเป็นผู้มีท้องใหญ่เหมือนคันธนู ฉะนั้น. บทว่า
อชิวฺหตา ความว่า พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นด้วยการพูดแต่น้อย เหมือนปลาย่อมไม่
พูดเพราะไม่มีลิ้น. บทว่า อปฺปาสิ ความว่า พึงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ.
ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สิ้น
เดช ผู้สิ้นเดชย่อมได้ประสบโรคไอม่องคร่อ ความ
กระวนกระวาย ความอ่อนกำลัง ราชเสวกไม่ควรพูด
มากเกินไปไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาพึงเปล่งวาจา
พอประมาณ ไม่ควรพร่ำเพรื่อ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่
กระทบกระเทียบ เป็นคนพูดจริง อ่อนหวาน ไม่ส่อ-
เสียด ไม่ควรพูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ราชเสวกนั้นพึงอยู่
ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น พาฬฺห ความว่า เสวกไม่พึงมัวเมา
ด้วยสตรีบ่อยๆ. บทว่า เตชสขฺย ความว่า เพราะว่าบุรุษเมื่อถึงอย่างนี้
ย่อมจะถึงความสิ้นไปแห่งเดช เมื่อสัมผัสซึ่งเหตุให้สิ้นเดชนั้น อย่าพึง
มัวเมามากนัก. บทว่า ทร แปลว่า ความกระวนกระวายแห่งกาย. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 424
พาลฺย แปลว่า ซึ่งความเป็นผู้อ่อนกำลัง. บทว่า ขีณเมโธ ความว่า บุรุษ
ผู้สิ้นปัญญา ด้วยอำนาจความยินดีด้วยกิเลสบ่อย ๆ ย่อมถึงความเป็นโรคไอ
เป็นต้น. บทว่า นาติเวล ความว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย เสวก ไม่พึง
พูดมากเกินประมาณ ในสำนักของพระราชาทั้งหลาย. บทว่า ปตฺเต กาเล
ความว่า เมื่อถึงเวลาที่ตนจะต้องพูด. บทว่า อสฆฏฺโฏ แปลว่า ไม่พูด
กระทบกระทั่งบุคคลอื่น. บทว่า สมฺผ แปลว่า คำไร้ประโยชน์. บทว่า
คิร แปลว่า ถ้อยคำ.
ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประพฤติอ่อน
น้อมต่อยู่เจริญที่สุดในตระกูล สมบูรณ์ด้วยหิริโอต-
ตัปปะ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวก
พึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มีศิลปฝึกตนแล้ว เป็นผู้
ทำประโยชน์ เป็นผู้คงที่ อ่อนโยน ไม่ประมาท
สะอาดหมดจด เป็นคนขยัน ราชเสวกนั้น ควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อน
น้อม มีความเคารพยำเกรงในท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบ
เสงี่ยม มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างไกล ซึ่งทูตที่
ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแลแต่เจ้านายของตนไม่
ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนักของพระราชาอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินีโต ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท.
บทว่า สิปฺปวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศิลปะที่จะพึงศึกษาในตระกูลของ
ตน. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ผู้หมดพยศในทวารทั้ง ๖. บทว่า กตตฺโต
ได้แก่ ผู้มีตนถึงพร้อมแล้ว (ทั้งวิทยาและจริยาสมบัติ). บทว่า นิยโต ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 425
ผู้มีสภาวะไม่หวั่นไหวเหตุอาศัยยศเป็นต้น. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้อ่อนโยน
ไม่เย่อหยิ่ง. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากความเลินเล่อใน
ราชกิจที่ควรทำ. บทว่า ทกฺโข ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในตำแหน่งการบำรุง.
บทว่า นิวาตวุตฺติ ได้แก่ มีความประพฤติอ่อนน้อม. บทว่า สปฺปติสฺโส
ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ. บทว่า สณฺหิตุ ปหิต ความ
ว่า ทูตที่พระราชาอื่นส่งไปยังราชสำนักด้วยอำนาจรักษาความลับ และกระทำ
ความลับให้ปรากฏ. ราชเสวกเมื่อจะกล่าวทูลเช่นนั้น พึงกล่าวต่อพระพักตร์
กับพระราชา. บทว่า ภตฺตารญฺเ วุทิกฺเขยฺย ความว่า พึงดูแลเอาใจใส่
แต่เฉพาะเจ้านายของตนเท่านั้น. บทว่า น อญฺสฺส จ ราชิโน ความว่า
ราชเสวกไม่พึงพูดในสำนักของพระราชาอื่น.
ราชเสวก พึงเข้าหาสมาคมสมณะและพราหมณ์
ผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกเมื่อได้เข้าหาสมาคมกับสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูตแล้ว พึงสมาทาน
รักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ ราชเสวยพึงบำรุงเลี้ยง
สมณะและพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต ด้วยข้าวและน้ำ
ราชเสวกนั้น ควรอยู่ในสำนักได้ ราชเสวก ผู้หวัง
ความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปสมาคมคบหากับสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจ ปยิรูปาเสยฺย ความว่า
ราชเสวก พึงเข้าไปทาบ่อย ๆ ด้วยความเคารพ. บทว่า อนุวาเสยฺย ความว่า
พึงเข้าจำอุโบสถประพฤติ. บทว่า ตปฺเปยฺย ความว่า พึงเลี้ยงดูด้วยการให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 426
จนพอแก่ความต้องการ. บทว่า อาสชฺช แปลว่า เข้าไปใกล้. บทว่า
ปญฺเ ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อาลชฺช ปญฺห ดังนี้
ก็มี. บทว่า ปญฺห ความว่า พึงถามถึงเหตุที่เป็นกุศลและอกุศล ที่บัณฑิต
ทั้งหลาย พึงกระทำด้วยปัญญา.
ราชเสวก ไม่พึงทำทาน ที่เคยพระราชทานใน
สมณะและพราหมณ์ให้เสื่อมไป อนึ่ง เห็นพวกวณิพก
ซึ่งมาในเวลาพระราชทานไม่ควรท่านอะไรเลย ราช-
เสวกพึงเป็นผู้มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาด
ในวิธีจัดราชกิจ รู้จักกาล รู้จักสมัย ราชเสวกนั้นควร
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นคนขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องพิจารณาในการงานที่
ตนพึงทำ จัดการงานให้สำเร็จด้วยดี ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนปุพพ ได้แก่ ทานวัตรที่ตกแต่ง
ไว้โดยปกติ. บทว่า สมณพฺราหฺมเณ ได้แก่ สมณะหรือพราหมณ์. บทว่า
วนิพฺพเก ราชเสวกเห็นพวกวณิพกมาในเวลาที่พระราชทาน ไม่พึงห้าม
อะไรๆ เลย. บทว่า ปญฺวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
สอดส่อง. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ไม่บกพร่อง.
บทว่า วิธานวิธิโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในส่วนเครื่องจัดแจงทาส กรรมกร
และบุรุษ เป็นต้น มีประการต่างๆ. บทว่า กาลญฺญู ความว่า ราชเสวก
พึงรู้ว่า กาลนี้เป็นกาลควรเพื่อจะให้ทาน กาลนั้นเป็นกาลเพื่อจะรักษาศีล
กาลนี้เป็นกาลเพื่อจะกระทำอุโบสถกรรม. บทว่า สมยญฺญู ความว่า ราชเสวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 427
พึงรู้ว่า สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรไถ สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรหว่าน สมัยนี้เป็นสมัย
ที่ควรค้าขาย สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรบำรุง. บทว่า กมฺมเธยฺเยสุ ได้แก่ ใน
การงานที่ตนควรกระทำ.
อนึ่ง ราชเสวก พึงไปตรวจตราดูลานข้าวสาลี
ปศุสัตว์และนาเสมอๆ พึงตวงข้าวเปลือกให้รู้ประมาณ
แล้วให้เก็บไว้ในฉาง พึงนับบริวารชนในเรือนแล้ว
ให้หุงต้มพอประมาณ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา พี่น้อง หรือ
วงศ์ญาติ ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่ เพราะคน
เหล่านั้นเป็นคนพาล ไม่จัดว่าเป็นพี่น้องคนเหล่านั้น
เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขาเหล่านั้น มา
หาถึงสำนัก ก็ควรให้ผ้านุ่งผ้าห่ม และอาหารควรตั้ง
พวกทาสหรือกรรมกร ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เป็นคนขยัน
หมั่นเพียรให้เป็นใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุ เขตฺต ได้แก่ ตระกูลปศุสัตว์ และ
สถานที่หว่านข้าวกล้า. บทว่า คนฺตฺวา แปลว่า มีการไปเป็นปกติ. บทว่า
มิต ความว่า ควรตวงให้รู้ว่าข้าวเปลือกมีประมาณเท่านี้ แล้วเก็บไว้ในยุ้งฉาง.
บทว่า ฆเร ความว่า พึงนับบริวารชนในเรือนให้หุงต้มพอประมาณเหมือน
กัน. บทว่า สีเลสุ อสมาหิต ความว่า บุตรหรือพี่น้องวงศ์ญาติผู้ไม่ตั้ง
อยู่ในศีลาจารวัตรควรตั้งไว้โดยฐานะที่ควรยกย่องให้ปกครองอะไรๆ. บทว่า
อนงฺควา หิ เต พาลา ความว่า คำว่า องค์ นี้ ชาวโลกกล่าวหมายถึง
ความเป็นญาติพี่น้องของมนุษย์ ญาติพี่น้อง แม้บางคน เหล่านั้น ที่กล่าวว่า
องคาพยพ เพราะมีส่วนเสมอญาติ แต่ผู้ทุศีล ฉะนั้น จึงย่อมไม่เป็นเสมอญาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 428
เพราะแต่งตั้งคนเช่นนั้น เหล่านั้นไว้ให้เป็นใหญ่ ก็เหมือนแต่งตั้งคนตายที่เขา
ทิ้งไว้ในป่าช้า ฉะนั้น. เพราะพวกเหล่านั้นย่อมผลาญทรัพย์ให้พินาศ และผู้
ผลาญทรัพย์หรือคนจนย่อมไม่ยังราชกิจให้สำเร็จบริบูรณ์ได้. บทว่า อาสีนาน
ความว่า แต่ว่า ครั้น เขามาถึงแล้ว ควรให้วัตถุสักว่า อาหารและเครื่องนุ่งห่ม
เหมือนให้มตกภัตเพื่อคนตายฉะนั้น. บทว่า อุฏฺานสมฺปนฺเน ได้แก่ ผู้
ประกอบด้วยความขยันหมั่นเพียร.
ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมากพึงประพฤติ
ตามเจ้านาย ประพฤติประโยชน์แก่เจ้านาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัยและพึงปฏิบัติ
ตามพระราชประสงค์ ไม่ควรประพฤติขัดต่อพระราช-
ประสงค์ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราช
เสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท ในเวลาผลัดพระ
ภูษาทรง และในเวลาสรงสนาน แม้ถูกกริ้วก็ไม่ควร
โกรธตอบ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโลโภ แปลว่า ผู้ไม่โลภ. บทว่า
อนุวตฺโต จสฺส ราชิโน ความว่า พึงเป็นผู้ประพฤติตามใจเจ้านาย. บทว่า
จิตฺตตฺโถ ได้แก่ ตั้งอยู่ในจิต อธิบายว่า อยู่ในอำนาจแห่งจิตของเจ้านาย.
บทว่า อสกุสกวุตฺติสฺส แปลว่า พึงประพฤติตามเจ้านายไม่เข้ากับคนผิด.
บทว่า อโธสิร ความว่า ราชเสวก แม้เมื่อล้างพระบาท พึงก้มศีรษะลง พึง
ก้มหน้าลงล้าง ไม่พึงแลดูหน้าพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 429
บุรุษผู้หวังหาความเจริญ พึงกระทำอัญชลีใน
หม้อน้ำและพึงกระทำประทักษิณนกแอ่นลม อย่างไร
เขาจักไม่พึงนอบน้อม พระราชาผู้เป็นนักปราชญ์สูงสุด
พระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่างเล่า เพราะพระ
ราชาพระราชทานที่นอน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยวดยานที่
อยู่อาศัย บ้านเรือน ยังโภคสมบัติให้ตกทั่วถึง เหมือน
มหาเมฆยังน้ำฝนให้ตก เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่ว
ไปฉะนั้น ดูก่อนเจ้าทั้งหลาย นี้ชื่อว่าราชวัสดี เป็น
อนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชนประพฤติตาม ย่อม
ยังพระราชาให้โปรดปราน และย่อมได้การบูชาใน
เจ้านายทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมฺภิมฺหิ อญฺชลึ กยิรา วายส วาปิ
ปทกฺขิณ ความว่า ก็บุรุษผู้หวังความเจริญ (แก่ตน) เห็นหม้อที่เต็มด้วยน้ำ
พึงทำอัญชลีแก่หม้อน้ำนั้น แม้เพียงแก่นกแอ่นลมเขายังทำประทักษิณได้ เมื่อ
เขาทำอัญชลีแล้วทำประทักษิณแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถจะให้
อะไรได้. บทว่า กิเมว ความว่า พระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ พระราชทาน
สมบัติที่น่าใคร่ทุกอย่าง เหตุไฉนจึงไม่นมัสการพระราชานั้นเล่า. พระราชาเท่า
นั้น ที่พึงนมัสการ และพึงให้โปรดปราน. บทว่า ปชฺชุนฺโนริว แปลว่า
ดุจเมฆ. บทว่า เอเสยฺยา ราชวสดี ความว่า นี่แน่ะเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า
ราชวสดีที่เรากล่าวแล้วนี้ เป็นอนุสาสนีสำหรับราชเสวกทั้งหลาย. บทว่า ยถา
ความว่า ราชวสดีนี้อันนรชนประพฤติตามอยู่ ย่อมเป็นเหตุให้พระราชาทรง
โปรดปราน และย่อมได้รับการบูชาจากสำนักพระราชาทั้งหลายแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 430
พระวิธุรบัณฑิตผู้มีธุรกิจหาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ ได้แสดงราชวสดี-
ธรรมสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรด้วยพุทธลีลา จบลงด้วยประการฉะนี้แล.
จบราชสวดีกัณฑ์
เมื่อพระมหาสัตว์พร่ำสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรเป็นต้น อย่างนี้นั่น
แลจบลง ก็เป็นวันที่ ๓. พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทราบว่าครบกำหนดวันแล้ว
อาบน้ำแต่เช้าตรู่ บริโภคโภชนาหารที่รสเลิศต่าง ๆ คิดว่า เราพร้อมด้วย
มาณพจักทูลลาพระราชาไป ดังนี้แล้วแวดล้อมด้วยหมู่ญาติไปสู่พระราชนิเวศน์
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กรามทูลถ้อยคำอันสมควรที่
ตนจะพึงกราบทูล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ครั้นพร่ำ
สอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว หมู่ญาติมิตรพากันห้อมล้อม
เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียร
เกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลี
กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู
มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความประสงค์จึงจะนำข้า-
พระองค์ไป ข้าพระองค์จะกราบทูลประโยชน์แห่งญาติ
ทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น ขอ
พระองค์ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตร
ภรรยาของข้าพระองค์ทั้งทรัพย์อื่น ๆ ที่อยู่ในเรือน
โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์ จะไม่เสื่อมในภายหลัง
ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความพลั้ง
พลาดของข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดล้มบน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 431
แผ่นดิน ย่อมกลับตั้งอยู่บนแผ่นดินนั้นเอง ฉะนั้น
ข้าพระองค์ย่อมเห็นโทษนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุหเทหิ ได้แก่ อันญาติและมิตรเป็น
ต้นผู้มีใจดี. บทว่า ยญฺจมญฺ ความว่า ขอพระองค์เท่านั้น จงดูแลทรัพย์
สมบัติอย่างอื่นทั้งหมดนั้น อันจะนับจะประมาณมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
และพระราชาเหล่าอื่น พระราชทานไว้สำหรับเรือนของข้าพระองค์. บทว่า
เปจฺจ แปลว่า ในภายหลัง. บทว่า ขลติ แปลว่า ย่อมพลาดล้ม. บทว่า
เอเวต ตัดบทเป็น เอว เตต เพราะความพลั้งพลาดในใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาทแล้ว ข้าพระองค์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในพระองค์ตามเดิม
เหมือนบุคคลพลาดล้มบนแผ่นดิน ย่อมตั้งขึ้นบนแผ่นดินนั้นนั่นแหละ. บท
ว่า เอต ปสฺสามิ ความว่า เมื่อข้าพระองค์ ถูกมาณพถามว่า พระราชาเป็น
อะไรแก่ท่านหรือ จึงไม่มองพระองค์ ปรารถนาแต่ความสัตย์จริงกล่าวว่า
ข้าพระองค์เป็นทาส นี้เป็นโทษของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เห็นแต่โทษนี้
แต่โทษของข้าพระองค์อย่างอื่นไม่มี ขอพระองค์จงอดโทษนั้น แก่ข้าพระองค์
เถิด ขออย่าได้การทำโทษนั้นไว้ในพระหฤทัย จับผิดในบุตรและภริยาของ
ข้าพระองค์ในภายหลัง.
พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนบัณฑิต
การไปของท่านไม่ถูกใจเราเลย เราจักทำอุบายเรียกมาณพสั่งบังคับให้เอาไปฆ่า
แล้วปิดเนื้อความเสียมิให้ใครได้รู้ ข้อนั้นแหละจะชอบใจเรา ดังนี้ จึงได้ตรัส
คาถาว่า.
ท่านไม่อาจจะไปนั่นแล เป็นความพอใจของเรา
เราจะสั่งให้ฆ่าตัดออกเป็นท่อน ๆ แล้วหมกไว้ให้มิด
ชิดในเมืองนี้ ท่านอยู่ในที่นี้แหละ การทำดังนี้เราชอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 432
ใจ ดูก่อนบัณฑิตผู้มีปัญญาอันสูงสุด กว้างขวางดุจ
แผ่นดิน ท่านอย่าไปเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆตฺวา ความว่า เราจะโบยท่านให้ตาย
แล้วปกปิดไว้ในกรุงราชคฤห์นี้เอง.
พระมหาสัตว์ ได้สดับดังนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติ-
เทพ พระราชอัธยาศัยเห็นปานนี้ มิบังควรแก่พระองค์เลย ดังนี้แล้ว กล่าว
คาถาว่า.
ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อย่าทรงตั้งพระ-
ราชหฤทัยไว้ในอธรรมเลย ขอจงทรงประกอบพระองค์
ไว้ในอรรถและในธรรมเถิด กรรมอันเป็นอกุศลไม่
ประเสริฐ บัณฑิตติเตียนว่า ผู้ทำกรรมอันเป็นอกุศล
พึงเข้าถึงนรกในภายหลัง นี้มิใช่ธรรมเลย ไม่เข้าถึง
กิจที่ควรทำ ข้าแต่พระจอมประชาชน ธรรมดาว่านาย
ผู้เป็นใหญ่ของทาส จะทุบตีก็ได้ จะเผาก็ได้ จะฆ่า
เสียก็ได้ ข้าพระองค์ไม่มีความโกรธเลย และข้าพระ-
องค์ขอกราบทูลลาไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหว ธมฺเมสุ ความว่า ขอใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาท อย่าทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ในอธรรมคือในอนัตถะได้แก่
ในความชั่วของพระองค์เลย. บทว่า ปจฺฉา ความว่า ความไม่แก่และไม่ตาย
ย่อมไม่มีเพราะการทำกรรมใด โดยที่แท้ บุคคลผู้การทำกรรมนั้น ย่อมเข้า
ถึงนรกในภายหลังทีเดียว. บทว่า ธิรตฺถุ กมฺม ความว่า กรรมนั้น น่า
ติเตียน คือเป็นกรรมที่บัณฑิตในปางก่อนติเตียนแล้ว. บทว่า เนเวส ความ
ว่า นี้มิใช่เป็นสภาวะธรรมของโปราณกบัณฑิต. บทว่า อยิโร แปลว่า นาย.
บทว่า ฆาเตตุ ความว่า ธรรมดาว่า นายผู้เป็นใหญ่แห่งทาส เพื่อจะทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 433
การฆ่าเป็นต้นนั้นย่อมไม่ได้ เพื่อจะทำกรรมทั้งหมดนั้นได้ ดูก่อนมาณพ
ความโกรธของเราแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่มี นับตั้งแต่เวลาพระราชทาน
ข้าพระองค์ให้แก่มาณพนี้ ควรที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จะทรงตั้งพระราช
หฤทัยไว้ให้เที่ยงตรง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งนรชน ข้าพระองค์ขอลาไป.
พระมหาสัตว์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้วจึงถวายบังคมลาพระราชาไป
สั่งสอนพระสนมกำนัลใน และราชบริษัท เมื่อชนเหล่านั้น แม้อดกลั้นความ
โศกไว้ตามปกติไม่ได้ ร้องไห้คร่ำครวญอย่างใหญ่หลวง ได้ออกจากพระราช-
นิเวศน์ไป. ชนชาวพระนครทั้งสิ้นพูดกันเซ็งแซ่ว่า ข่าวว่า วิธุรบัณฑิต
จะไปกับมาณพ พวกเราจงมาไปเยี่ยมท่านเถิด ดังนี้แล้ว จึงไปประชุมกัน
เยี่ยมพระมหาสัตว์ที่หน้าพระลานหลวง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ได้สั่งสอน
ชาวพระนครเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าคิดวิตกไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สรีระไม่ยั่งยืน สมมติธรรมอันได้นามว่า ยศ ย่อมมีความวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่งท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทในบุญกุศลมีทานเป็นต้น ดังนี้แล้ว
ได้บ่ายหน้ากลับสู่เรือนของตน. ขณะนั้น ธรรมปาลกุมารพาหมู้น้องชายน้อง
หญิงออกไป ด้วยหวังว่า จะทำการต้อนรับบิดา ได้พร้อมกันคอยบิดาอยู่ที่
ประตูบ้าน. พระมหาสัตว์เห็นธรรมปาลกุมารนั้นแล้วไม่อาจกลั้นความโศกไว้
ได้ สวมกอดธรรมปาสกุมารเข้าไว้กันทรวงแล้วอุ้มไปสู่เรือน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์นั้น มีเนตรทั้งสองนองด้วยน้ำตา
กำจัดความกระวนกระวายในหทัยแล้ว สวมกอดบุตร
คนโตแล้วเข้าไปยังเรือนหลังใหญ่.
ก็พระมหาสัตว์นั้น มีบุตรพันหนึ่ง มีธิดาพันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง
นางวรรณทาสีเจ็ดร้อย และทั้งทาสกรรมกรญาติและมิตรที่เหลือ บรรดามีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 434
ในเรือนของท่าน ต่างก็พากันร้องไห้ ล้มฟุบลงทับกันไปประดุจป่าไม้รัง ถูก
ลมยุคันต์พัดให้หักทับล้มลงไปฉะนั้น
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
บุตรพันหนึ่ง ธิดาพันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง และ
ทาสเจ็ดร้อย ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต ต่างประคอง
แขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกกลับทับกันไป
เหมือนป่าไม้รังถูกลมพัดล้มระเนระนาดทับกันไป
ฉะนั้น พระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร พวกพ่อค้า
ชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างก็มาประคองแขน
ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต พวกกอง
ช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ชาวชนบทและ
ชาวนิคม ต่างมาประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ
อยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต ภริยาพันหนึ่ง และทาสี
เจ็ดร้อยต่างพากันประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละดิฉันทั้งหลายไปเสีย พระ-
สนมกำนัล พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนา และ
พราหมณ์ทั้งหลาย พวกกองช้าง กองม้า กองรถ
กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมาประชุม
ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร ท่าน
จึงจักละข้าพเจ้าทั้งหลายไปเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสนฺติ ความว่า บุตรพันหนึ่ง ธิดา
พันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง และนางวรรณทาสีเจ็ดร้อย บรรดามีอยู่ในเรือนของ
วิธุรบัณฑิต ต่างกอดแขนทั้งสองข้างร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกล้มระเน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 435
ระนาดทับกันไป ดังป่าไม้รังใหญ่ที่ถูกลมพัดหักทับทอดพื้นแผ่นดินใหญ่ฉะนั้น.
บทว่า ภริยาน ได้แก่ หญิงคือภริยาพันหนึ่ง. บทว่า กสฺมา โน ความ
ว่า พากันคร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจักละพวกเราไป.
พระมหาสัตว์ ปลอบโยนมหาชนทั้งหมดนั้นให้สร่างโศก ทำกิจที่ยัง
เหลือให้เสร็จ สั่งสอนอันโตชนและพาหิรชน บอกเรื่องที่ควรจะบอกทุกอย่าง
แก่บุตรและภริยาเสร็จแล้ว ไปสู่สำนักของปุณณกยักษ์ บอกกิจของตนที่ทำ
เสร็จแล้วแก่ปุณณกยักษ์นั้น
พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์ กระทำกิจทั้งหลายในเรือนสั่งสอน
คนของตน คือมิตร สหาย คนใช้ บุตร ธิดา ภริยา
และพวกพ้อง จัดการงาน บอกมอบทรัพย์ในเรือน
ขุมทรัพย์และการส่งหนี้เสร็จแล้ว ได้กล่าวกะปุณณก-
ยักษ์ว่า ท่านได้พักอยู่ในเรือนของข้าพเจ้า ๓ วันแล้ว
กิจที่จะพึงทำในเรือนของข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว อนึ่ง
บุตรและภริยาข้าพเจ้าได้สั่งสอนแล้ว ข้าพเจ้าย่อมทำ
กิจตามอัธยาศัยของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมนฺต สวิเธตฺวาน ความว่า จัด
กิจที่ควรทำในเรือนว่า ควรทำอย่างนี้และอย่างนี้. บทว่า นิธึ ได้แก่ ทรัพย์
ที่ฝังไว้ในที่นั้น ๆ. บทว่า อิณทาน ได้แก่ ทรัพย์ที่ประกอบไว้ด้วยอำนาจหนี้.
บทว่า ยถามตึ เต ความว่า บัดนี้ท่านจงกระทำตามอัธยาศัยของท่าน.
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า
ดูก่อนมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวง ถ้าว่า
ท่านสั่งสอนบุตรภริยาและคนอาศัยแล้ว เชิญท่านมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 436
รีบไปในบัดนี้ เพราะในทางข้างหน้ายังไกลนัก ท่าน
อย่ากลัวเลย จงจับหางม้าอาชาไนย การเห็นชีวโลก
ของท่านนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺเต ความว่า ปุณณกยักษ์ถึงโสมนัส
เรียกมหาสัตว์ว่า กตฺเต. บทว่า อทฺธาปิ ความว่า แม้เพียงหนทางที่จะพึง
ไปก็ยังไกลนัก. บทว่า อสมฺภีโตว แปลว่า เป็นทางปลอดภัย. ปุณณกยักษ์
นั้น ไม่หยั่งลงสู่ภายใต้ปราสาท ประสงค์จะหลีกไปจากนั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะปุณณกยักษ์นั้นว่า
ข้าพเจ้าจักสะดุ้งกลัวทำไปทำไม ข้าพเจ้าไม่มีกรรม
ชั่วทางกาย ทางวาจาและทางใจ อันเป็นเหตุให้ไปสู่
ทุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสห กิสฺสานุภายิสฺส ความว่า พระ
มหาสัตว์ ถูกปุณณกยักษ์กล่าวว่า อย่ากลัวเลย ท่านจงถือเอาเถิดดังนี้ จึงได้
กล่าวอย่างนั้น.
พระมหาสัตว์บันลือสีหนาทด้วยประการอย่างนี้ จะได้สะดุ้งกลัวหามิได้
เป็นผู้หมดภัยองอาจดังพระยาไกรสรราชสีห์ ทำอธิษฐานบารมีให้เป็นปุเรจาริก
ว่าผ้าสาฎกของอาตมาผืนนี้ จงอย่าหลุดลุ่ยออกจากร่างกายของอาตมา แล้วนุ่ง
ผ้าให้แน่นจับหางม้าด้วยมือทั้งสองกระหวัดหางม้าไว้ให้มั่น เอาเท้าทั้งสองเกี่ยว
ขาม้าไว้ให้แน่นกล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าจับทางม้าแล้ว ท่านจงไปตาม
ความชอบใจเถิด ขณะนั้นปุณณกยักษ์ได้ให้สัญญาแก่ม้ามโนมัยสินธพ ส่วน
ม้ามโนมัยสินธพนั้น ได้พาวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 437
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ
กลางหาว ไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไปสู่
กาฬาคิรีบรรพตโดยฉับพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาขาสุ เสเลสุ อสชฺชมาโน ความ
ว่า ได้ยินว่า ปุณณกยักษ์คิดว่า เรามาไกลแล้ว เราควรจะทุบวิธุรบัณฑิตนี้
ให้ตายที่ต้นไม้และภูเขาในหิมวันตประเทศ ถือเอาแต่เนื้อหทัย ทิ้งทรากศพ
เสียในซอกแห่งภูเขา แล้วไปสู่นาคพิภพ ถวายเนื้อหทัยนั้นแก่พระนางวิมลา
เทวีในนาคพิภพ แล้วจักรับเอานางอิรันทตีกลับมา.
ปุณณกยักษ์นั้น ทุบพระมหาสัตว์ที่ต้นไม้และภูเขา ขับม้าไปในระหว่าง
ทางแห่งต้นไม้และภูเขานั้นแล ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ต้นไม้ก็ดี
ภูเขาก็ดี ได้แหวกช่องหลีกออกห่างจากสรีระของพระมหาสัตว์ข้างละศอก
ปุณณกยักษ์เหลียวกลับหลังมองดูหน้าพระมหาสัตว์ เพื่ออยากทราบว่าตายแล้ว
หรือยัง เห็นหน้าพระมหาสัตว์ผ่องใสดุจแว่นทอง รู้ว่าแม้ทำเพียงนี้เธอก็ยัง
ไม่ตาย จึงทุบตีพระมหาสัตว์ที่ต้นไม้และภูเขา ๓ ครั้ง ขับม้าไปในระหว่าง
แห่งต้นไม้และภูเขาในหิมวันตประเทศนั้นอีก ต้นไม้ก็ดี ภูเขาก็ดี ย่อมแหวก
ช่องหลีกออกให้ห่างไกลเช่นกับหนก่อนนั่น และพระมหาสัตว์ได้รับความลำบาก
กายเป็นอย่างยิ่ง ปุณณกยักษ์ดำริว่า เราจักทำเธอให้เป็นจุณวิจุณไปที่กองลม
ในบัดนี้ แล้วขับม้าไปในกองลม เหลียวกลับดูด้วยคิดว่า เธอตายแล้วหรือยัง
ไม่ตาย เห็นหน้าพระมหาสัตว์เบิกบานดังดอกปทุมที่แย้มบานก็โกรธเหลือกำลัง
ควบม้าไปสู่กองลมแล่นกลับไปกลับมาสิ้น ๗ ครั้ง. ด้วยอานุภาพแห่งพระโพธิ-
สัตว์ กองลมได้แยกออกเป็น ๒ ภาคให้ช่องแก่พระมหาสัตว์. ลำดับนั้น
ปุณณกยักษ์ขับม้าไปให้กระทบสมแม้ที่ลมเวรัมภะ. แม้อันว่าลมเวรัมภะก็มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 438
เสียงดังครืน ดุจเสียงฟ้าฟาดตั้งแสนครั้ง ได้แยกช่องให้แก่พระโพธิสัตว์ ฝ่าย
ปุณณกยักษ์เมื่อเห็นว่าพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอันตรายด้วยลมเวรัมภะนั้น ได้ขับ
ม้าไปสู่กาฬาคิรีบรรพต. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาว่า
พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ
กลางหาว ไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไปสู่
กาฬาคิรีบรรพตโดยฉับพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺชมาโน ความว่า ไม่ติดขัด ไม่
กระทบกระทั่ง นำวิธุรบัณฑิตเข้าไปสู่ยอดแห่งกาฬาคิรีบรรพต.
ในเวลาที่ปุณณกยักษ์พาพระมหาสัตว์ไปอย่างนั้น ปิยชนทั้งหลายมี
บุตรและภรรยาเป็นต้นของวิธุรบัณฑิต ไปสู่ที่พักแห่งปุณณกยักษ์ ไม่เห็น
พระมหาสัตว์จึงล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าขาดไป ต่างคนต่างพากันร้องไห้
ร่ำไรด้วยเสียงอันดัง
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ภรรยาพันหนึ่ง และทาสีเจ็ดร้อย ประคองแขน
ร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มา
พาเอาวิธุรบัณฑิตไป พระสนมกำนัลใน พระราช-
กุมาร พ่อค้า ชาวนา และพราหมณ์ กองช้าง กอง
ม้า กองรถ กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม
ต่างมาประชุมพร้อมกัน ประคองแขนทั้งสองร้องไห้
คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาพาเอา
วิธุรบัณฑิตไป ภรรยาพันหนึ่งและทาสีเจ็ดร้อย ต่าง
ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า วิธุรบัณฑิตนั้น ไป
แล้ว ณ ที่ไหน พระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 439
พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กองช้าง กองม้า กอง
รถ กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมา
ประชุมพร้อมกัน ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
วิธุรบัณฑิตไปแล้ว ณ ที่ไหน.
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เห็นและได้ทราบว่าปุณณกยักษ์พาพระมหาสัตว์
ไปทางอากาศพากันคร่ำครวญแล้วแม้อย่างนี้ พากันคร่ำครวญพร้อมด้วยชน
พระนครทั้งสิ้น ได้พากันไปยังพระราชวัง. พระราชาทรงสดับเสียงคร่ำครวญ
อันดัง ทรงเปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรดู จึงตรัสถามว่า พวกเจ้าร้องไห้พิไร
ร่ำรำพัน เพราะเหตุไร. ลำดับนั้น ชนชาวพระนครเหล่านั้นทูลบอกเนื้อความ
นั้นแด่ท้าวเธอว่า ข้าแต่สมมติเทพ นัยว่ามาณพนั้นไม่ใช่พราหมณ์ เป็นยักษ์
จำแลงเพศเป็นพราหมณ์มาเอาวิธุรบัณฑิตไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายพลัดพราก
จากวิธุรบัณฑิตนั้นเสียแล้วชีวิตเห็นจะหาไม่ ถ้าวิธุรบัณฑิตจักไม่กลับมาใน
วันที่ ๗ แต่วันนี้ไปไซร้ พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จักขนเอาฟืนมาด้วย
เกวียน ๑๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ก่อไฟให้เป็นเปลวลุกรุ่งโรจน์ แล้วเข้าไปสู่
กองไฟ ดังนี้แล้ว ทูลด้วยคาถานี้ว่า
ถ้าวิธุรบัณฑิตนั้น จักไม่มาโดย ๗ วัน ข้าพระ
พุทธเจ้าจักพากันเข้าไปสู่กองไฟ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย ไม่มีความต้องการด้วยชีวิต.
แม้ในกาลเป็นที่ปรินิพพานแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทวยเทพและ
มนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีใครพูดว่าพวกเราจะเข้ากองไฟตายเช่นนี้ หาได้มีเหมือน
ครั้งเสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิตไม่ เหตุนั้น ผู้มีปัญญาจึงเข้าใจว่า ในพระนคร
พระมหาสัตว์ครอบครองด้วยแล้วแล. พระราชาทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 440
นั้นแล้ว จึงมีพระราชดำริว่า พวกเจ้าอย่าพากันวิตก อย่าเศร้าโศกร่ำไรไป
นักเลย วิธุรบัณฑิตเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดจะ
เล้าโลมมาณพด้วยธรรมกถา ให้หมอบลงแทบบาทของตนไม่กี่วันก็จักมาเช็ด
หน้าของพวกเราที่เต็มไปด้วยน้ำตาให้เบิกบาน พวกเจ้าอย่าละห้อยสร้อยเศร้า
ไปเลย ดังนี้แล้วตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมสามารถแสดง
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์แจ้งชัด มีปัญญาเครื่อง
พิจารณา คงจะเปลื้องตนได้โดยพลัน ท่านทั้งหลาย
อย่ากลัวไปเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้องตนแล้วก็จักรีบ
กลับมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยตฺโต ความว่า ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมคือด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า วิภาวี
ความว่า เป็นผู้สามารถแสดงถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ
ให้แจ่มชัด. บทว่า วิจกฺขโณ ความว่า ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้ง
ถึงเหตุที่เกิดขึ้นตามฐานะในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า มา ภายิตฺถ ความว่า
ท่านสั่งสอนว่า พวกท่านอย่ากลัวเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้องตนให้พ้นแล้วจัก
กลับมาโดยเร็วพลัน.
ฝ่ายชาวพระนครกลับได้ความอุ่นใจว่า วิธุรบัณฑิตจักทูลบอกกับ
พระราชาแล้วจึงไปด้วยประการฉะนี้แล
จบกัณฑ์ว่าด้วยการปลดเปลื้องโทษ
ฝ่ายปุณณกยักษ์พักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดกาฬาคิรีบรรพตแล้ว จึง
คิดว่า เมื่อวิธุรบัณฑิตนี้ยังมีชีวิตอยู่ ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่มีแก่เรา จำเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 441
ต้องฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ให้ตายเสีย ถือเอาเนื้อหทัยไปถวายพระนางวิมลาที่นาค-
พิภพจักรับนางอิรันทตีไปสู่เทวโลก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษีนั้น ไปยืนคิดอยู่บนยอดกาฬาคีรี
บรรพต ความคิดย่อมเป็นความคิดสูง ๆ ต่ำ ๆ ประ-
โยชน์อะไร ๆ ด้วยความเป็นอยู่ของวิธุรบัณฑิตนี้ หามี
แก่เราไม่ เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้เสียแล้วนำเอาแต่ดวง
ใจไปเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ ปุณณกยักษ์นั้น. บทว่า
ตตฺถ คนฺตฺวาน ความว่า ไปยืนอยู่ที่บนยอดกาฬาคีรีบรรพตนั้น. บทว่า
เจตนกา ความว่า ความคิดที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต ย่อมเป็นความคิดสูงบ้างต่ำบ้าง
แต่ว่า ความคิดเป็นเหตุให้ชีวิตแก่พระมหาสัตว์เป็นฐานะอันจะพึงเกิดขึ้นบ้างมิ
ได้มีเลย ได้ทำตามความตกลงใจว่า เรามิต้องการด้วยความเป็นอยู่ของวิธุร-
บัณฑิตนี้แม้แต่น้อยหนึ่งเลย เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ นำเอาไปแต่ดวงหทัยของ
เธอนี้เท่านั้น.
ลำดับนั้นปุณณกยักษ์คิดว่า ถ้าอย่างไรเราไม่พึงฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ให้
ตายด้วยมือของตน จะให้ถึงซึ่งความสิ้นชีวิต ด้วยการแสดงรูปอันน่าสะพึงกลัว
แล้วจึงแปลงกายเป็นยักษ์น่าสะพึงกลัวมาขู่พระมหาสัตว์ ผลักพระมหาสัตว์นั้น
ให้ล้มลง จับเท้าทั้งสองใส่เข้าในระหว่างแห่งฟัน ทำอาการเหมือนประสงค์จะ
เคี้ยวกิน ถึงทำอาการอย่างนั้น ความสะดุ้งกลัวแม้เพียงเป็นเครื่องทำให้ขนลุกก็
มิได้มีแก่พระมหาสัตว์ ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์จำแลงเพศเป็นพระยาไกรสร-
ราชสีห์เป็นช้างตกมันตัวใหญ่บ้าง วิ่งมาทำดังจะทิ่มแทงด้วยเขี้ยวและงา เมื่อ
พระมหาสัตว์ไม่สะดุ้งกลัวแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จึงนฤมิตเพศเป็นงูใหญ่ประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 442
มาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง เลื้อยมาพันสรีระร่างกายของพระมหาสัตว์กระหวัดรัด
ให้รอบแล้วแผ่พังพานไว้บนศีรษะ แม้เหตุทำให้กลัวเพียงความแสยงขนก็มิได้
มีแก่พระมหาสัตว์ ลำดับนั้นปุณณกยักษ์จึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพต
บันดาลให้พายุใหญ่พัดมา ด้วยหมายว่าจักทำให้มหาสัตว์ตกลงเป็นจุณวิจุณไป
พายุใหญ่นั้นมิอาจพัดแม้สักว่าปลายเส้นผมให้ไหวได้ ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์
จึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพตนั่นแหละ. เขย่าบรรพตให้ไหวไปมา ดุจ
ช้างเขย่าต้นเป้งฉะนั้น ถึงอย่างนั้น ก็ไม่อาจทำพระมหาสัตว์ให้เคลื่อนจากที่ยืน
แม้ประมาณเท่าเส้นผมได้ ขณะนั้นจึงชำแรกเข้าไปภายในแห่งบรรพตร้องขึ้น
ด้วยเสียงอันดังทำแผ่นดินและนภากาศให้มีเสียงกึกก้องสนั่นหวั่นไหวเป็นอัน
เดียวกัน ด้วยหมายใจว่าจักชำแหละหทัยของพระมหาสัตว์ให้ตายด้วยความ
สะดุ้งหวาดเสียวแต่เสียง ถึงทำอาการอย่างนั้น เหตุทำให้กลัวแม้เพียงแต่ความ
แสยงขนก็มิได้มีแก่พระมหาสัตว์ แท้จริงพระมหาสัตว์ย่อมทราบว่าที่แปลงเพศ
เป็นยักษ์เป็นราชสีห์เป็นช้าง และเป็นพระยานาคมาก็ดี ทำให้ลมพัดและเขย่า
บรรพตก็ดี ชำแรกเข้าไปยังภายในบรรพตแล้วเปล่งสีหนาทก็ดี คือมาณพนั้น
เองหาเป็นคนอื่นไม่ ลำดับนั้นปุณณกยักษ์คิดว่า เราไม่สามารถให้วิธุรบัณฑิต
นี้ตายด้วยความพยายามภายนอกได้ อย่าเลยเราจะให้เธอตายด้วยมือของเรา
นี่แหละ คิดดังนี้แล้วจึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพตลงไปสู่เชิงบรรพต
ชำแรกขึ้นไปโดยภายในแห่งบรรพต ดังบุคคลร้อยด้ายแดงเข้าไปในดวงแก้ว-
มณี ร้องตวาดด้วยเสียงอันดัง จับพระมหาสัตว์เข้าให้มั่นกวัดแกว่งให้ศีรษะ
ลงเบื้องต่ำ แล้วขว้างไปในอากาศซึ่งไม่มีที่ยึดเหนี่ยว.
เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้นมีจิตคิดประทุษร้ายลงจากยอดเขา
วางพระมหาสัตว์ไว้ในระหว่างภูเขา ชำแรกเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 443
ภายในภูเขานั้น จับพระมหาสัตว์เอาศีรษะลงเบื้องต่ำ
ขว้างลงไปที่พื้นดิน ไม่มีอะไรกีดกั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺตฺวา ความว่า ปุณณกยักษ์ลงจากยอด
บรรพตไปสู่เชิงบรรพต แล้วพักวิธุรบัณฑิตไว้ที่ระหว่างแห่งบรรพต ชำแรก
ไปในภายใต้แห่งที่ ๆ พระมหาสัตว์ผู้ยืนอยู่บนยอดแห่งบรรพต จับพระมหาสัตว์
ขว้างลงไปที่พื้นแผ่นดินที่ไม่มีอะไรกีดขวาง. บทว่า ธารยิ ความว่า ครั้งแรก
ให้พระมหาสัตว์นั้นยืนอยู่บนยอดบรรพตนั่นเอง.
ก็ปุณณกยักษ์ ยืนอยู่บนยอดบรรพตนั่นเองขว้างพระมหาสัตว์ลงไปที่
พื้นแผ่นดิน ครั้งแรกพระมหาสัตว์ตกลงไกลประมาณ ๑๕ โยชน์ แล้วยื่นมือ
ออกไปจับเท้าทั้ง ๒ ของพระมหาสัตว์ ยกขึ้นให้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มองดู
หน้าทราบว่ายังไม่ตายจึงขว้างพระมหาสัตว์ไปอีก แม้ครั้งที่ ๒ พระมหาสัตว์
ตกไปไกลประมาณ ๓๐ โยชน์ แล้วยื่นมือออกไปจับพระมหาสัตว์ยกขึ้นโดย
ทำนองนั้นเหมือนกัน แลดูหน้าเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่. จึงคิดว่าคราวนี้เธอตกไป
แม้ไกลได้ประมาณ ๖๐ โยชน์จักไม่ตายไซร้ เราจักจับเท้าของเธอฟาดลงบน
ยอดบรรพตนี้ให้ตาย ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ได้ขว้างพระมหาสัตว์เป็นครั้งที่ ๓
ในเวลาที่พระมหาสัตว์ตกลงไปไกลได้ ๖๐ โยชน์ แล้วจึงยื่นมือออกไปจับเท้า
พระมหาสัตว์ยกขึ้นมองดูหน้า ฝ่ายพระมหาสัตว์คิดว่า มาณพนี้ขว้างอาตมาไป
ครั้งแรกไกล ๑๕ โยชน์ แม้ครั้งที่ ๒ ก็ไกลได้ ๓๐ โยชน์ ครั้งที่ ๓ ไกลได้
๖๐ โยชน์ บัดนี้มาณพนี้จักไม่ขว้างอาตมาไปอีก แต่ว่าเขาจักยกอาตมาขึ้นฟาด
บนยอดบรรพตนี้ให้ตายโดยแท้ อาตมาซึ่งมีศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำอยู่อย่างนี้จัก
ถามถึงเหตุแห่งการจะฆ่าอาตมา ในเวลาที่ปุณณกยักษ์จะยกพระมหาสัตว์ขึ้น
ฟาดลงกับยอดบรรพต พระมหาสัตว์มิได้สะดุ้งกลัวและครั่นคร้ามเลย ได้กระ-
ทำอย่างนั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 444
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ประเสริฐสุดของชาว
กุรุรัฐ เมื่อถูกห้อยศีรษะลงในเหวอันชัน อันเป็นที่น่า
กลัว น่าสยดสยอง น่าหวาดเสียวมาก ก็ไม่สะดุ้ง ได้
กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า ท่านเป็นผู้มีรูปดังผู้ประเสริฐ
แต่หาเป็นคนประเสริฐไม่ คล้ายจะเป็นคนสำรวม แต่
ไม่สำรวม กระทำกรรมอันหยาบช้า ไร้ประโยชน์
ส่วนกุศลแม้แต่น้อยย่อมไม่มีในจิตของท่าน ท่านจะ
โยนข้าพเจ้าลงไปในเทวประโยชน์อะไร ด้วยการตาย
ของข้าพเจ้า จะพึงมีแก่ท่านหนอ วันนี้ ผิวพรรณของ
ท่านเหมือนอมนุษย์ ท่านจงบอกข้าพเจ้า ท่านเป็น
เทวดาชื่ออะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ลมฺพมาโน ความว่า วิธุรบัณฑิต
ผู้เป็นปราชญ์ประเสริฐสุดของชนชาวกุรุ เมื่อมีศีรษะห้อยลงไปในเหวอันชัน
เป็นวาระที่ ๓. บทว่า อริยาวกาโส ความว่า ท่านมีผู้มีรูปเช่นกับผู้ประเสริฐ
มีวรรณะดังเทพบุตรเที่ยวไปอยู่. บทว่า อสญฺโต ความว่า ท่านเป็นผู้ไม่
สำรวมกายเป็นต้น เป็นผู้ทุศีล. บทว่า อจฺจาหิต แปลว่า ซึ่งกรรมอันล่วง
เสียซึ่งประโยชน์ หรือกรรมอันไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. บทว่า ภาเว จ เต
ความว่า กรรมอันกุศลแม้น้อยหนึ่งก็ย่อมไม่มีในจิตของท่าน. บทว่า อมา-
นุสสฺเสว เต อชฺช วณฺโณ ความว่า วันนี้เหตุของท่านที่จะบวงสรวง
อมนุษย์มีอยู่. บทว่า กตมาสิ เทวตา ความว่า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไรใน
ระหว่างแห่งเทวดาทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 445
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กล่าวกับพระมหาสัตว์ด้วยคาถาว่า
ข้าพเจ้าเป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ และเป็นอำมาตย์
ของท้าวกุเวร ถ้าท่านได้ฟังมาแล้ว พระยานาคใหญ่
นามว่าวรุณ ผู้ครอบครองนาคพิภพมีรูปงามสะอาด
สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณและกำลัง ข้าพเจ้ารักใคร่อยาก
ได้นางนาคกัญญานามอิรันทตีธิดาของพระยานาคนั้น
ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ เพราะเหตุแห่งนางอิรันทตีผู้
มีเอวอันงามน่ารักนั้น ข้าพเจ้าจึงตกลงใจจะฆ่าท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สชีโว ได้แก่ เป็นอำมาตย์ชื่อว่า สชีวะ.
บทว่า พฺรหา ความว่า สมบูรณ์ด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง. บทว่า สุจิ
ได้แก่ เช่นรูปทองอันยกขึ้นแล้ว. บทว่า วณฺณพลูปปนฺโน ความว่า ผู้เข้า
ถึงด้วยความงามแห่งเรือนร่าง และด้วยกำลังกาย. บทว่า ตสฺสานุช ได้แก่
ธิดาผู้เกิดแต่พระยานาคนั้น. บทว่า ปตารยึ ความว่า ข้าพเจ้ายังจิตให้เป็นไป
แล้วคือได้กระทำการตกลงใจแล้ว .
พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงคิดว่า โลกนี้ย่อมฉิบหายเพราะความ
ถือผิด ปุณณกยักษ์เมื่อปรารถนานางนาคมาณวิกา จะฆ่าอาตมาประโยชน์อะไร
อาตมาถามให้รู้เหตุนั้นโดยถ่องแท้เสียก่อน แล้วกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนปุณณกยักษ์ ท่านอย่าได้มีความลุ่มหลง
นักเลย สัตว์โลกเป็นอันมากฉิบหายแล้วเพราะความ
ถือผิด เพราะเหตุไรท่านจึงทำความรักใคร่ในนางอิ-
รันทตี ผู้มีเอวอันงามน่ารัก ท่านจะมีประโยชน์อะไร
ด้วยความตายของข้าพเจ้า เชิญท่านจงบอกเหตุทั้งปวง
แก่ข้าพเจ้าด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 446
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์เมื่อจะบอกแก่พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าปรารถนาธิดาของพระยาวรุณนาคราช
ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้รับอาสาญาติของ
นางอิรันทตีมา ญาติเหล่านั้นได้สำคัญข้าพเจ้าว่า ถูก
ความรักใคร่ครอบงำโดยส่วนเดียว เหตุนั้น พระยา
วรุณนาคราชได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูลขอนางอิรันทตี
นาคกัญญาว่า เราทั้งหลายพึงให้ธิดาของเรา ผู้มีร่าง
กายอันสลวย มีเนตรงามอย่างน่าพิศวงลูบไล้ด้วยจุรณ
แก่นจันทน์ ถ้าท่านพึงได้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต
นำมาในนาคพิภพนี้โดยธรรม เพราะความดีความชอบ
นี้ ท่านก็จะได้ธิดาของเรา เราทั้งหลายมิได้ปรารถนา
ทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่านั้น ดูก่อนท่านอำมาตย์ ข้าพเจ้า
ไม่ได้เป็นคนหลง ท่านจงพึงให้ทราบเรื่องอย่างนี้ อนึ่ง
ข้าพเจ้ามิได้มีความถือผิดอะไรๆ เลย เพราะดวงหทัย
ท่าน ที่ข้าพเจ้าได้ไปโดยชอบธรรม ท้าววรุณนาคราช
และพระนางวิมาลาจะประทานนางอิรันทตีนาคกัญญา
แก่ข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าพึงพยายามเพื่อจะ
ฆ่าท่าน ข้าพเจ้ามีประโยชน์ด้วยการตายของท่าน จึง
จะผลักท่านให้ตกลงไปในเหวนี้ ฆ่าเสียแล้วนำดวง
หทัยไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีตุกาโม ความว่า ข้าพเจ้าอยากได้คือ
ปรารถนาธิดา จึงเที่ยวไปเพื่อต้องการธิดา. บทว่า าติภโตหมสฺมิ ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นผู้รับอาสาพวกญาติของนางอิรันทตีนั้นมา. บทว่า ต แปลว่า ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 447
นางนาคมาณวิกานั้น. บทว่า ยาจมาน แปลว่า ซึ่งข้าพเจ้าผู้ขออยู่. บทว่า
ยถา ม ความว่า เพราะเหตุนั้น พระยาวรุณนาคราชจึงได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูล
ขออยู่. บทว่า สุกามนีต ความว่า ญาติเหล่านั้นได้สำคัญ คือรู้ว่าเราถูกความ
รักใคร่นำไปด้วยดีคือโดยส่วนเดียว เพราะเหตุนั้นพระยาวรุณนาคราชผู้เป็นพ่อ
ตา จึงได้รับสั่งกะข้าพเจ้าผู้ไปสู่ขอนางอิรันทตีนาคกัญญานั้นว่า เราทั้งหลายจะ
พึงให้ลูกสาวแก่ท่านแลเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชมุ แปลว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลายพึงให้. บทว่า สุตนุ แปลว่า ผู้มีรูปร่างอันสวยงาม. บทว่า
อิธ มาหเรสิ ความว่า ท่านพึงนำมาในที่นี้
พระมหาสัตว์ได้สดับถ้อยคำของปุณณกยักษ์นั้นจึงคิดว่า พระนางวิมลา
จะต้องการดวงหทัยของเราหามิได้ แต่ว่าพระยาวรุณนาคราชฟังธรรมกถา
ของเราเกิดความเลื่อมใส เอาแก้วมณีบูชาเรา กลับไปถึงนาคพิภพ
นั้นแล้ว จักพรรณนาความที่เราเป็นธรรมกถึกแก่พระนางเป็นแน่ เมื่อเป็น
อย่างนั้น ความปรารถนาด้วยธรรมกถาของเรา จักเกิดขึ้นแก่พระนางวิมลา
พระยาวรุณนาคราชจักถือผิดไป จึงทรงบังคับปุณณกยักษ์นี้ที่ถือผิดไปตาม
พระองค์มาเพื่อฆ่าเราให้ตาย ภาวะที่เราเป็นบัณฑิต เป็นผู้สามารถใน
อันค้นคว้าหาเหตุที่ตั้งและเกิดขึ้นได้นั้น ได้ทำเราให้ได้รับทุกข์ถึงเพียงนี้
เมื่อปุณณกยักษ์ฆ่าเราให้ตายเสียจักทำประโยชน์อะไรได้ เอาเถอะเรา
จักเตือนมาณพนั้นให้รู้สึกตัว ดังนี้แล้วกล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าย่อม
ทราบสาธุนรธรรม ในขณะที่ข้าพเจ้ายังไม่ตาย ท่านจงยังข้าพเจ้าให้นั่งลงบน
ยอดบรรพต แล้วตั้งใจฟังสาธุนรธรรมก่อน พึงทำกิจที่ท่านปรารถนาจะทำ
ในภายหลัง แล้วคิดว่าเราพึงพรรณนาสาธุนรธรรม ยังปุณณกยักษ์ให้มอบ
ชีวิตคืนแก่เรา พระมหาสัตว์ มีศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ
กล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 448
จงยกข้าพเจ้าขึ้นโดยเร็ว ถ้าท่านมีกิจที่ต้องทำ
ด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุนรธรรมทั้ง
ปวงนี้แก่ท่านในวันนี้.
ปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้น จึงดำริว่า ได้ยินว่า ธรรมนี้จักเป็นธรรมที่
บัณฑิตยังมิเคยแสดงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เอาเถอะเราจักยกบัณฑิตขึ้น
ฟังสาธุนรธรรมเสียก่อน ดังนี้แล้วจึงยกพระมหาสัตว์ขึ้นเชิญให้นั่งบนยอดเขา
บรรพต
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้น รีบยกวิธุรบัณฑิตอำมาตย์ผู้
ประเสริฐที่สุดของชาวกุรุรัฐวางลงบนยอดเขา เห็น
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามนั่งอยู่ จึงถามว่าท่านอัน
ข้าพเจ้ายกขึ้นจากเหวแล้ว วันนี้ข้าพเจ้ามีกิจที่จะต้อง
ทำด้วยหทัยของท่าน ท่านจงแสดงสาธุนรธรรมทั้งหมด
นั้นให้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสฎฺ แปลว่า เป็นผู้ได้ความโล่งใจ.
บทว่า สเมกฺขิยาน แปลว่า เห็นแล้ว. บทว่า สาธุ นรสฺส ธมฺมา
ได้แก่ ธรรมดีของนรชน คือ ธรรมงาม.
พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
ข้าพเจ้าอันท่านยกขึ้นจากเหวแล้ว ถ้าท่านมีกิจที่
จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุ-
นรธรรมทั้งหมดนี้แก่ท่านในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุฏฺิโต๑ ตฺยสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้อันท่านยกขึ้นแล้ว.
๑. บาลีว่า สมุทฺธโต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 449
ลำดับนั้นพระมหาสัตว์พูดกับปุณณกยักษ์นั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีสรีระ
อันเศร้าหมอง จะขออาบน้ำชำระกายเสียก่อน ปุณณกยักษ์รับคำว่า ดีละ แล้วไป
นำน้ำสำหรับอาบมา ในเวลาพระมหาสัตว์อาบน้ำเสร็จ ได้ให้ผ้าทิพย์ของหอม
และดอกไม้ทิพย์ แก่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์บริโภคโภชนาหารแล้วให้
ประดับยอดกาฬาคีรีบรรพตและตกแต่งอาสนะแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่ปุณณก-
ยักษ์ประดับแล้ว เมื่อจะแสดงสาธุนรธรรมจึงได้กล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ ท่านจงเดินไปตามทางที่ท่านเดิน
ไปแล้ว ๑ จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม ๑ อย่าประทุษร้ายใน
หมู่มิตร ในกาลไหน ๆ ๑ อย่าตกอยู่ในอำนาจของ
หญิงอสติ ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลฺลญฺจ ปาณึ ปริวชฺชยสฺสุ ความ
ว่า ท่านจงอย่าเผาฝ่ามือที่ชุ่มเสีย.
ปุณณกยักษ์ไม่อาจหยั่งรู้สาธุนรธรรม ๔ ข้อที่พระมหาสัตว์แสดงโดย
ย่อได้จึงถามโดยพิศดารว่า
บุคคลผู้ชื่อว่า เป็นผู้เดินไปตามทางที่ท่านเดินไป
แล้วอย่างไร บุคคลผู้ชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่มอย่างไร
บุคคลเช่นไร ชื่อว่าประทุษร้ายมิตร หญิงเช่นไรชื่อ
ว่าอสติ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้น.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ได้แสดงสาธุนรธรรมแก่ปุณณกยักษ์ว่า
ผู้ใดพึงเชื้อเชิญคนที่ไม่คุ้นเคยกัน ไม่เคยพบเห็น
กันด้วยอาสนะ บุรุษพึงกระทำประโยชน์แก่บุคคลนั้น
โดยแท้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุรุษนั้นว่า ผู้เดินไป
ตามทางที่ท่านเดินแล้ว บุคคลพึงอยู่ในเรือนของผู้ใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 450
แม้คืนเดียว ได้ข้าวน้ำด้วย ไม่ควรคิดร้ายแก่ผู้นั้นแม้
ด้วยใจ ผู้คิดร้ายต่อบุคคลเช่นนั้น ชื่อว่าเผาฝ่ามืออัน
ชุ่มและชื่อว่าประทุษร้ายมิตร บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่ม
เงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะ
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า หญิงที่สามียกย่องอย่าง
ดี ถึงแก่ให้แผ่นดินนี้อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ ได้โอกาส
แล้วพึงดูหมิ่นสามีนั้นได้ บุคคลไม่ควรตกอยู่ในอำนาจ
ของหญิงเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าอสติ บุคคลชื่อว่าเดินไป
ตามทางที่ท่านเดินแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม
อย่างนี้ ชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของหญิงผู้ชื่อว่าอสติ
อย่างนี้ ชื่อว่าประทุษร้ายมิตรอย่างนี้ ท่านจงเป็นผู้ตั้ง
อยู่ในธรรม จงละอธรรมเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสณฺต ความว่า ไม่เคยอยู่ร่วมกัน
แม้เพียงหนึ่งหรือสองวัน . บทว่า โย อาสเนนาปิ ความว่า ผู้ใดไม่พึงเชื้อเชิญ
ผู้ไม่คุ้นเคยกันเห็นปานนี้ แม้ด้วยอาสนะ จะป่วยกล่าวไปใยถึงการเชื้อเชิญด้วย
ข้าวและน้ำเล่า. บทว่า ตสฺเสว ความว่า เป็นบุรุษย่อมทำประโยชน์ตอบแทน
แก่ปุพพการีบุคคลนั้นโดยแท้. บทว่า ยาตานุยายี ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า เป็นผู้เดินตามทางที่ปุพพการีบุคคลเดินไปแล้ว ก็ผู้กระทำ
ก่อนชื่อว่าผู้เดินทาง ส่วนผู้กระทำภายหลังชื่อว่าผู้เดินตาม ดูก่อนเทวราชเจ้า
นี้ชื่อว่า สาธุนธรรมที่ ๑. บทว่า อลฺลญฺจ ปาณึ ความว่า จริงอยู่ บุคคล
เผาเฉพาะมือเครื่องใช้สอยของตนที่นำภัตตาหารมาแต่ไกล ชื่อว่าเป็นผู้ประทุษ-
ร้ายมิตร. ชื่อว่าการไม่เผามืออันชุ่ม นี้ชื่อว่าสาธุนรธรรมที่ ๒ ด้วยประการ
ฉะนี้. บทว่า น ตสฺส ความว่า ไม่พึงทำลายกิ่ง ใบ หน่อของต้นไม้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 451
เพราะเหตุไร เพราะผู้ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นผู้ลามก ดังนั้นผู้ทำชั่วแม้ต่อ
ต้นไม้ที่ไม่มีเจตนา ที่ได้บริโภคและอาศัยร่มเงา ชื่อว่า เป็นผู้ประทุษร้ายต่อ
มิตร จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้เป็นมนุษย์. การไม่ประทุษร้ายต่อมิตรอย่างนี้
ชื่อว่า สาธุนรธรรมที่ ๓. บทว่า ทชฺชิตฺถิยา ความว่า พึงให้แก่หญิง.
บทว่า สมฺมตาย ความว่า หญิงที่สามียกย่องด้วยดีอย่างนี้ว่า เราเท่านั้นจะให้
ความสุขแม้แก่หญิงนี้ ชายอื่นไม่เป็นเหมือนเราเลย หญิงนั้นย่อมปรารถนา
แต่เราเท่านั้น. บทว่า ลทฺธา ขณ ความว่า ได้โอกาสแห่งการล่วงเกิน. บทว่า
อสตีน ได้แก่ หญิงผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม ดังนั้นการอาศัยมาตุคามแล้ว
ไม่กระทำความชั่ว นี้ชื่อว่า สาธุนรธรรมที่ ๔. บทว่า โส ธมฺมิโก โหหิ
ความว่า ดูก่อนเทวราชเจ้า ท่านนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสาธุนรธรรม ๔ เหล่านี้
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล.
พระมหาสัตว์แสดงสาธุนรธรรมแก่ปุณณกยักษ์ ด้วยพุทธลีลาด้วย
ประการฉะนี้. ปุณณกยักษ์เมื่อฟังสาธุนรธรรม ๔ ประการนั้นแหละ กำหนด
ใจว่า บัณฑิตขอชีวิตของตนในที่ ๔ สถานและรู้สึกความผิดของตนได้ว่า ก็
บัณฑิตนี้ได้กระทำสักการะเราที่ตนไม่คุ้นเคยในกาลก่อน เราได้เสวยใหญ่
อยู่ในเรือนของบัณฑิตนั้นตลอด ๓ วัน แต่เมื่อเราจะทำกรรมชั่วเช่นนี้ลงไป
ก็เพราะอาศัยมาตุคามจึงกระทำ หากว่าเราประทุษร้ายต่อบัณฑิต ชื่อว่าประทุษ-
ร้ายมิตรแม้ในที่ทุกสถานทีเดียว จัดว่าไม่ประพฤติตามสาธุนรธรรมเราจะ
ประโยชน์อะไรด้วยนาคมาณวิกา เราจักเช็ดหน้าอันเต็มด้วยน้ำตาของชนชาว
อินทปัตตนครให้เบิกบาน นำบัณฑิตนี้ไปส่งโดยเร็ว ให้ลงที่โรงธรรมสภา
ดำริดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าได้อยู่ในเรือนท่าน ๓ วัน ทั้งเป็นผู้ที่
ท่านบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ท่านเป็นผู้พ้นจากข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 452
ข้าพเจ้าขอปล่อยท่าน ดูก่อนผู้มีปัญญาอันสูงสูด เชิญ
ท่านกลับไปเรือนของท่านตามปรารถนาเถิด ความต้อง
การของตระกูลพระยานาคจะเสื่อมไปก็ตามที่ เหตุที่
จะให้ได้นางนาคกัญญาข้าพเจ้าเลิกละ ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญา เพราะคำสุภาษิตของตนนั่นแล ท่านจึงพ้นจาก
ข้าพเจ้าผู้จะฆ่าท่านในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏิโตสฺมิ ความว่า เราเป็นผู้อัน
ท่านบำรุงแล้ว. บทว่า วิสชฺชามห ต ความว่า ข้าพเจ้าย่อมปล่อยท่าน.
บทว่า กาม แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า วธาย แปลว่า เพื่อจะฆ่า. บทว่า
ปญฺ แปลว่า ดูก่อนท่านผู้มีปัญญา.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะปุณณกยักษ์นั้นว่า ดูก่อนมาณพ ท่าน
อย่าเพ่อส่งข้าพเจ้าไปเรือนก่อนเลย จงนำข้าพเจ้าไปยังนาคพิภพโน่นเถิด จึง
กล่าวคาถาว่า
ดูก่อนปุณณกยักษ์ เชิญท่านนำข้าพเจ้าไปใน
สำนักของพ่อตาของท่าน จงประพฤติประโยชน์ใน
ข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็อยากเห็นท้าววรุณผู้เป็นอธิบดี
ของนาคและวิมานของท้าวเธอซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็น.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค.
บทว่า สสุรนฺติเก อตฺถ มยิ จรสฺสุ ความว่า จงนำข้าพเจ้าไปยังสำนัก
ของพ่อตาของท่าน จงประพฤติประโยชน์ในข้าพเจ้า คืออย่ายังประโยชน์นั้นให้
เสียหาย. บทว่า นาคาธิปตีวิมาน ความว่า ข้าพเจ้าควรจะเห็นท้าววรุณผู้
เป็นอธิบดีแห่งนาคและวิมานของท้าวเธอ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 453
ปุณณกยักษ์กล่าวคาถาว่า
คนมีปัญญา ไม่ควรจะดูสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้นเลย ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญาอันสูงสุด เออก็เพราะเหตุไรหนอท่านจึง
ปรารถนาจะไปยังที่อยู่ของศัตรูเล่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตคาม ความว่า เป็นที่อยู่ของศัตรู
คือสมาคมของอมิตร.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะปุณณกยักษ์นั้นว่า
แม่ข้าพเจ้าก็รู้ชัด ซึ่งข้อที่ผู้มีปัญญาไม่ควรเห็น
สิ่งที่ไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้นแน่
แท้ แต่ข้าพเจ้า ไม่มีความชั่วที่จะกระทำไว้ในที่ ๆ
ไหนเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รังเกียจต่อความ
ตายอันจะมาถึงตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรณาคมาย ความว่า ต่อมรณะที่จะมา
ถึงตน. ดูก่อนเทวราชเจ้า อีกอย่างหนึ่งท่านเป็นคนหยาบช้ากล้าแข็งถึงเพียงนี้
ข้าพเจ้าเล้าโลมด้วยธรรมกถาทำให้อ่อนโยนได้ ดังท่านพูดกับข้าพเจ้าเมื่อกี้นี้เอง
ว่า เราจะหยุดด้วยการพยายามให้ได้นางนาคมาณวิกา จะได้หรือไม่ได้ก็ตามที่
ไม่ต้องการละ เชิญท่านกลับไปเรือนของตนเถิดดังนี้ การทำพระยานาคให้
อ่อนโยน เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ท่านจงพาข้าพเจ้าไปในนาคพิภพนั้นให้ได้.
ปุณณกยักษ์ ได้สดับดังนั้น รับคำของพระมหาสัตว์ว่า ดีละ แล้ว
กล่าวคาถาว่า
ดูก่อนบัณฑิต เชิญเถิด ท่านกับข้าพเจ้ามาไป
ดูพิภพของพระยานาคราช ซึ่งมีอานุภาพหาที่เปรียบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 454
มิได้ เป็นที่อยู่อันมีการฟ้อนรำขับร้องตามปรารถนา
เหมือนนิฬิญญราชธานี เป็นที่ประทับอยู่ของท้าวเวส-
วัณ ฉะนั้น นาคพิภพนั้น เป็นที่ไปเที่ยวเล่นเป็น
หมู่ ๆ ลงนางนาคกัญญา ตลอดวันและคืนเป็นนิตย์
มีดอกไม้ดารดาษอยู่มากมายหลายชนิด สว่างไสวดัง
สายฟ้าในอากาศ บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ เพียบ
พร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องและประโคม พร้อมมูล
ไปด้วยนางนาคกัญญาที่ประดับประดาสวยงาม งาม
สง่าไปด้วยผ้านุ่งห่มและเครื่องประดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท จ นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.
บทว่า าน ได้แก่ สถานที่เป็นที่ประทับของพระนาค. บทว่า นิฬิญฺ
ได้แก่ ราชธานีชื่อว่า นิฬิญญา. บทว่า จริต คเณน ความว่า ที่ประทับ
ของพระยานาคนั้น เป็นที่ ๆ หมู่นางนาคกัญญาเที่ยวไป. บทว่า นิกีฬิต
ความว่า อันเหล่านางนาคกัญญาเที่ยวเล่นเป็นหมู่ตลอดวันและคืนเป็นนิตย์.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้น เชิญให้วิธุรบัณฑิตผู้ประเสริฐ
สุดของชาวกุรุ นั่งเหนืออาสนะข้างหลัง ได้พาวิธุร-
บัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามเข้าไปสู่ภพของพระยานาค-
ราช วิธุรบัณฑิตได้สถิตอยู่ข้างหลังแห่งปุณณกยักษ์
จนถึงพิภพของพระยานาคซึ่งมีอานุภาพหาเปรียบมิได้
ก็พระยานาคทอดพระเนตรเห็นลูกเขยผู้มีความจงรัก
ภักดี ได้ตรัสทักทายปราศรัยก่อนทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 455
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ปุณฺณโก ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ปุณณกยักษ์นั้น พรรณนานาคพิภพอย่างนี้แล้ว จึงยกบัณฑิตผู้ประเสริฐ
ขึ้นสู่ม้าอาชาไนยของตน นำไปสู่นาคพิภพ. บทว่า าน ได้แก่ สถานที่
เป็นที่ประทับของพระยานาค. บทว่า ปจฺฉโต ความว่า ได้ยินว่า ปุณณกยักษ์
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าว่าพระยานาคทอดพระเนตรเห็นบัณฑิตแล้ว จักมี
พระทัยอ่อนน้อม นั่นเป็นการดี หากว่าท้าวเธอไม่มีพระทัยอ่อนน้อมเล่า เมื่อ
ท้าวเธอไม่ทันทอดพระเนตรบัณฑิตนั้น เราจักยกบัณฑิตขึ้นสู่ม้าอาชาไนยไปเสีย
ลำดับนั้น จึงพักเธอไว้ข้างหลัง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เบื้องหลังแห่ง
ปุณณกยักษ์ดังนี้. บทว่า สามคฺคิเปกฺขิ ความว่า เพ่งถึงความสามัคคี.
บาลีว่า สาม อเปกฺขิ ดังนี้ก็มี. ส่วนพระยานาคทอดพระเนตรเห็นปุณณก-
ยักษ์ลูกเขยของตน จึงได้ตรัสทักทายปราศรัยก่อนทีเดียว.
พระยานาคตรัสเป็นคาถาว่า
ท่านได้ไปยังมนุษยโลก เที่ยวแสวงหาดวงหทัย
ของบัณฑิต กลับมาถึงในนาคพิภพนี้ด้วยความสำเร็จ
หรือ หรือว่าท่านได้พาเอาบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ต่ำทราม
มาด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ สมิทฺเธน ความว่า ท่านได้ไป
ยังมนุษยโลกแล้ว กลับมาในนาคพิภพนี้ด้วยความสำเร็จตามมโนรถของท่าน
หรือ.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
ท่านผู้นี้แหละ คือวิธุรบัณฑิต ที่พระองค์ทรง
ปรารถนานั้น มาแล้วพระเจ้าข้า ท่านวิธุรบัณฑิตผู้
รักษาธรรม ข้าพระพุทธเจ้าได้มาแล้วโดยธรรม เชิญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 456
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททอดพระเนตรวิธุรบัณฑิต ผู้
แสดงธรรมถวายด้วยเสียงอันไพเราะ เฉพาะพระพักตร์
ณ บัดนี้ การสมาคมด้วยสัปบุรุษทั้งหลาย ย่อมเป็น
เหตุนำความสุขมาให้โดยแท้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ตวมิจฺฉสิ แปลว่า ท่านปรารถนา
สิ่งใด. บาลีว่า ย ตุวมิจฺฉสิ ดังนี้ก็มี. บทว่า ภาสมาน ความว่า ขอ
พระองค์จงทอดพระเนตรวิธุรบัณฑิตนั้น ผู้รักษาธรรมปรากฏในโลก ผู้
แสดงธรรมด้วยเสียงอันไพเราะเฉพาะพระพักตร์ในกาลบัดนี้ ก็ธรรมดาว่าการ
สมาคมด้วยสัตบุรุษคนดีทั้งหลายในฐานะเป็นอันเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุนำความ
สุขมาให้แล.
จบกาฬาคิรีบรรพตกัณฑ์
พระยานาคทอดพระเนตรเห็นพระมหาสัตว์แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
ท่านผู้เป็นมนุษย์มาเห็นนาคพิภพที่ตนได้เคยเห็น
แล้ว เป็นผู้ถูกภัยคือความตายคุกคามแล้ว เป็นผู้ไม่
กลัวและไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดูเหมือนจะไม่มีแก่ผู้
มีปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยมฺหิโต แปลว่า ถูกความกลัวคุกคาม.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ท่านเห็นนาคพิภพที่ตนไม่เคยเห็น
เป็นผู้ถูกภัยคือความตายคุกคามแล้ว จึงไม่ถวายโอวาทข้าพเจ้า เหตุเช่นนี้ไม่
ใช่อาการของบุคคลผู้มีปัญญาเลย.
เมื่อพระยานาคทรงประสงค์จะให้ถวายบังคมอย่างนั้น พระมหาสัตว์หา
ได้ทูลตรง ๆ ว่า ข้าพระองค์ไม่ควรถวายบังคมพระองค์ดังนี้ไม่ เป็นผู้ฉลาด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 457
ในอุบายทูลด้วยปรีชาญาณของตนว่า ข้าพเจ้าไม่ถวายบังคมพระองค์ เพราะ
ข้าพเจ้าต้องโทษก็บุคคลจะพึงแทงด้วยลูกศรเสียแล้ว ดังนี้ แล้วจึงทูลด้วย ๒
คาถาว่า
ข้าแต่พระยานาคราช ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่กลัว
และไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม นักโทษประ-
หารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาต ก็ไม่
พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ
นรชนจะกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้
ปรารถนาจะฆ่า เขาจะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่า กราบ
ไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ ประโยชน์
เลย พระเจ้าข้า.
คำเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่พระยานาค ข้าพเจ้ามาเห็นนาคพิภพ
ที่ตนยังไม่เคยเห็น ย่อมไม่กลัว และภัยคือความตายคุกคามไม่ได้ด้วย เพราะ
ขึ้นชื่อว่าภัยคือความตาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เช่นข้าพเจ้า อนึ่ง นักโทษที่ต้อง
ถูกฆ่าไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาตผู้จะฆ่าตน หรือเพชฌฆาตไม่พึงยังนักโทษที่
จะต้องถูกฆ่าให้กราบไหว้ตน นรชนจะพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน
อย่างไรหนอ หรือว่าผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงยังบุคคลผู้ที่ตนจะฆ่าให้กราบ-
ไหว้ตนอย่างไรเล่า เพราะกรรมคือกราบไหว้ของผู้ต้องถูกฆ่า และการไห้กราบ-
ไหว้ของผู้จะฆ่านั้น ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขาเลย ก็ข้าพระองค์ได้ทราบ
แล้วว่า พระองค์รับสั่งจะให้ฆ่าข้าพเจ้าในที่นี้ เหตุนั้นข้าพเจ้าจะถวายบังคม
พระองค์อย่างไรได้.
พระยานาคราชทรงสดับดังนั้น ทรงพอพระทัย เมื่อจะทรงทำความ
ชมเชยพระมหาสัตว์ ได้ทรงภาษิต ๒ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 458
ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด ท่าน
พูดจริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต
หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน
อย่างไรหนอ นรชนพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะ
ฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่
ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไรเล่า ธรรมนั้นย่อมไม่
สำเร็จประโยชน์เลย.
บัดนี้ พระมหาสัตว์เมื่อทำปฏิสันถารกับพระยานาคราชจึงทูลว่า
ข้าแต่พระยานาคราช วิมานของฝ่าพระบาทนี้
เป็นของไม่เที่ยง แต่เป็นเช่นกับของเที่ยง ฤทธิ์ ความ
รุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพและการเสด็จ
อุบัติในนาคพิภพ ได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์
ขอทูลถามเนื้อความนั้นกะฝ่าพระบาท วิมานนี้ทรงได้
มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ฝ่าพระบาทได้มาเพราะอะไร
หรือเป็นของเกิดขึ้นตามฤดูกาล ฝ่าพระบาททรงกระ-
ทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายถวายแก่พระองค์ ข้าแต่
พระยานาคราช ขอฝ่าพระบาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่
ข้าพระองค์ ตามที่ฝ่าพระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้า
ข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว อิท ความว่า วิมานอันเกิดแต่ยศ
สำหรับเป็นพระเกียรติยศของพระองค์นี้ ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง แต่ปรากฏเสมือน
ของเที่ยง ท่านอย่ากระทำความชั่วเพราะอาศัยยศเลย เพราะฉะนั้นด้วยบทนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 459
พระมหาสัตว์จึงขอชีวิตของตนไว้. บทว่า อิทฺธิ ความว่า ฤทธิ์ของนาคก็ดี
ความรุ่งเรืองแห่งนาคก็ดี กำลังกายก็ดี ความเพียรอันเป็นไปทางจิตก็ดี การ
เสด็จอุบัติในนาคพิภพก็ดี ได้มีแก่พระองค์ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพระองค์ขอทูลถาม
เนื้อความนั้น ข้าแต่พระยานาค ข้าพระองค์ขอทูลถามเนื้อความนั้นกะพระองค์
วิมานนี้พระองค์ทรงได้ด้วยอาการอย่างไรหนอ พระองค์อาศัยใครจึงได้ หรือ
เป็นของเกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือพระองค์ทรงทำด้วยมือของพระองค์เอง หรือ
ว่าเทวดาทั้งหลายถวายพระองค์ ข้าแต่พระยานาคผู้ทรงเป็นเจ้าพิภพบาดาล
วิมานนี้พระองค์ทรงได้ด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่
ข้าพระองค์ด้วยประการนั้น พระเจ้าข้า.
พระยานาคตรัสพระคาถาว่า
วิมานนี้ เราได้มาเพราะอาศัยอะไรก็หามิได้
เกิดขึ้นตามฤดูกาลก็หามิได้ เรามิได้ทำเอง แม้เทวดา
ทั้งหลายก็มิได้ ให้แต่วิมานนี้ เราได้มาด้วยบุญกรรม
อันไม่ลามกของตนเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปาปเกหิ แปลว่า ไม่ลามก.
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
ข้าแต่พระยานาค อะไรเป็นวัตรของพระองค์
และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของพระองค์ ฤทธิ์ ความ
รุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ และการเสด็จ
อุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานใหญ่ของพระองค์นี้ เป็น
ผลแห่งกรรมอะไร อันพระองค์ทรงประพฤติดีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 460
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเต วตฺต ความว่า ข้าแต่พระยานาค
ในภพก่อน อะไรเป็นวัตรของพระองค์ อนึ่ง อะไรเป็นการอยู่พรหมจรรย์
ของพระองค์ อิฏฐวิบุลผลมีความเป็นผู้มีฤทธิ์เป็นต้นนี้ เป็นวิบากสุจริตเช่นไร
พระยานาคตรัสพระคาถาว่า
เราและภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกเป็นผู้มี
ศรัทธาเป็นทานบดี ในครั้งนั้นเรือนของเราเป็นดังบ่อ
น้ำของสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย และเราได้บำรุง
สมณะและพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ เราทั้งสองได้
ถวายทานคือ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
ประทีป ที่นอนที่พักอาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน
ข้าวและน้ำโดยเคารพ ทานที่ได้ถวายแล้วโดยเคารพ
นั้น เป็นวัตรของเรา และการสมาทานวัตรนั้นเป็น
พรหมจรรย์ของเรา ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์
ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความเพียร การเกิดในนาค-
พิภพ และวิมานใหญ่ของเรานี้ เป็นวิบากแห่งวัตรและ
พรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติดีแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสโลเก ได้แก่ ในกาลจัมปาก-
นคร แคว้นอังคะ. บทว่า ต เม วตฺต ความว่า ทานที่เราให้โดยเคารพ
นั้นนั่นแล การสมาทานวัตร และพรหมจรรย์ของเรา อิฏฐวิบุลผลมีฤทธิ์
เป็นต้นนี้ เป็นวิบากแห่งสุจริตที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้วนั้น.
พระมหาสัตว์ทูลเป็นคาถาว่า
ถ้าวิมานนี้ ฝ่าพระบาททรงได้ด้วยอานุภาพแห่ง
ทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่าทรงทราบผลแห่งบุญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 461
และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ เพราะผล
แห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้
ไม่ประมาทประพฤติธรรม ตามที่จะได้ทรงครอบครอง
วิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานาสิ ความว่า ถ้าว่าวิมานนั้นพระ-
องค์ทรงได้ด้วยอานุภาพแห่งทานอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์ชื่อว่าทรงทราบ
ผลแห่งบุญทั้งหลาย และทรงทราบการเสด็จอุบัติในวิมานอันเกิดขึ้นด้วยผล
แห่งบุญ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่วิมานนี้พระองค์ได้มาเพราะเหตุ
แห่งบุญ. บทว่า ปุน มาวเสสิ ความว่า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมให้
ได้เสด็จอยู่ครองนาคพิภพนี้แม้ต่อไปอีก.
พระยานาคตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ ไม่มีสมณ-
พราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย เราตามแล้ว
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา ตามที่เราจะพึงได้
ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
พระมหาสัตว์ทูลเป็นคาถาว่า
ข้าแต่พระยานาค ก็นาคทั้งหลายที่เป็นพระโอรส
พระธิดา พระชายา ทั้งพระญาติ พระมิตร และข้า
เฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาคพิภพนี้มีอยู่ ขอฝ่า
พระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายในนาค มีพระโอรส
เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระกายและพระวาจาเป็นนิตย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 462
ฝ่าพระบาททรงรักษาความไม่ประทุษร้าย ด้วยพระกาย
และพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาททรงสถิตอยู่ในวิมาน
นี้ตลอดพระชนมายุ แล้วจักเสด็จไปสู่เทวโลกอันสูง
กว่านาคพิภพ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภคี ความว่า นาคผู้มีโภคสมบัติ.
บทว่า เตสุ ความว่า ขอพระองค์จงอย่าประทุษร้ายเป็นนิตย์ด้วยกายกรรม
และวจีกรรมในนาคผู้มีโภคสมบัติมีพระโอรสและพระธิดาเป็นต้นนั้น. บทว่า
อนุปาลย ความว่า จงตามรักษาความไม่ประทุษร้าย กล่าวคือความมี
เมตตาจิต ในพระโอรสและพระธิดาเป็นต้น และในสัตว์ที่เหลืออย่างนี้.
บทว่า อุทฺธ อิโต ความว่า พระองค์จักเสด็จไปสู่เทวโลกที่สูงกว่านาคพิภพนี้
เพราะเมตตาจิตจัดว่าเป็นบุญยิ่งกว่าทาน.
พระยานาคได้ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว ทรง
พอพระทัยแล้ว จึงทรงดำริว่า บัณฑิตไม่อาจจะทำการเนิ่นช้าอยู่ภายนอก เรา
ควรจะแสดงเธอแก่พระนางวิมลา ให้พระนางเธอได้ฟังสุภาษิตสงบรำงับความ
ปรารถนา แล้วส่งบัณฑิตกลับไปเพื่อให้พระเจ้าธนัญชัยทรงชื่นชมโสมนัสดังนี้
จึงตรัสพระคาถาว่า
ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประเสริฐสุด
พระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้น พราก
จากท่านแล้ว ย่อมจะทรงเศร้าโศกแน่แท้ทีเดียว คนที่
ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็ดี ได้สมาคม
กับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 463
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สชีโว แปลว่า อำมาตย์. บทว่า
สเมจฺจ ความว่า มาพร้อมกับท่าน. บทว่า อาตุโรปิ ความว่า แม้เป็น
ไข้หนัก.
พระมหาสัตว์สดับพระกระแสรับสั่งดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงทำความ
ชมเชยพระยานาคจึงทูลเป็นคาถาอีกว่า
ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทตรัสธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดงประโยชน์อย่าง
ล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้ ก็คุณวิเศษ
ของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ย่อมปรากฏในเมื่อ
มีภยันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต ความว่า ท่านแสดงธรรมแก่สัตบุรุษ
คือบัณฑิตทั้งหลายแน่แท้. บทว่า อตฺถปท ได้แก่ ส่วนที่เป็นประโยชน์.
บทว่า เอตาทิสิยาสุ ความว่า คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพเจ้า
ย่อมปรากฏในเมื่อได้ประสพภัยอันตรายเป็นเช่นนี้ ๆ แหละ พระเจ้าข้า.
พระยานาคทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีร่าเริงเป็นนักหนา แล้วตรัส
พระคาถาว่า
ขอท่านจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์มิได้ท่านมา
เปล่า ๆ หรือ ขอท่านจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์นี้ชนะ
ในการเล่นสกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้กล่าวว่า
ได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณกยักษ์นี้
ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขาหิ โน ความว่า ท่านจงบอก
แก่ข้าพเจ้า. บทว่า ตาย ตัดเป็น ต อย. บทว่า มุธานุลทฺโธ ความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 464
ว่า ปุณณกยักษ์นี้ได้ท่านมาเปล่า ๆ หรือชนะด้วยเล่นสกาจึงได้ท่านมา. บทว่า
อติมายมาห ความว่า ปุณณกยักษ์นี้ พูดว่าเราได้บัณฑิตมาโดยชอบธรรม.
บทว่า กถ ตุว หตฺถมิมสฺสมาคโต ความว่า ท่านมาถึงเงื้อมมือปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลพระนาคนั้นด้วยคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นี้เล่นสกาชนะพระราชาของข้าพระ-
องค์ผู้เป็นอิสราธิบดีในอินทปัตตนครนั้น พระราชา
พระองค์นั้น อันปุณณกยักษ์ชนะแล้ว ได้พระราช-
ทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์เป็นผู้อัน
ปุณณกยักษ์นี้ ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มาโดย
กรรมอันสาหัส พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย มิสฺสโร ความว่า พระราชาพระ-
องค์ใดเป็นอิสราธิบดี ของข้าพระองค์. บทว่า อิมสฺสทาสิ ความว่า ได้ให้
แก่ปุณณกยักษ์นี้.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ในกาลนั้น พระยานาคผู้ประเสริฐทรงสดับคำ
สุภาษิตของวิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ทรงชื่น
ชมโสมนัส มีพระทัยเต็มตื้นด้วยปีติ ทรงจึงมือวิธุร-
บัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทราม เสด็จเข้าไปในที่อยู่ของ
พระชายาตรัสว่า ดูก่อนพระน้องวิมลา เพราะเหตุใด
พระน้องจึงดูผอมเหลืองไป เพราะเหตุใด พระน้อง
จึงไม่เสวยกระยาหาร ก็คุณงามความดีของวิธุรบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 465
ผู้ที่พระน้องต้องประสงค์ดวงหทัย เป็นผู้บรรเทาความ
มืดของโลกทั้งปวง เช่นนี้นั้นของเราไม่ ผู้นี้คือวิธุร-
บัณฑิต มาถึงแล้วจะทำความสว่างไสวให้แก่พระน้อง
เชิญพระน้องตั้งหทัยฟังถ้อยคำของท่าน การที่จะ
ได้เห็นท่านอีกเป็นการหาได้ยาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเวกฺขิ แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า
เยน ความว่า ดูก่อนพระน้องวิมลา ผู้เจริญ เจ้าซูบผอมเหลืองไปเพราะเหตุไร
และเพราะเหตุไรเจ้าจึงไม่เสวยกระยาหาร. บทว่า น จ เม ตาทิโส วณฺโณ
ความว่า ก็เกียรติคุณของวิธุรบัณฑิตเช่นนี้ อย่างที่เราและใคร ๆ อื่นมิได้มี
ได้แผ่กระฉ่อนไปตลอดพื้นปฐพีและเทวโลก วิธุรบัณฑิตผู้ที่เจ้าต้องการดวง
หทัยนั้น เป็นผู้บรรเทาความมืดของชาวโลกทั้งสิ้นมาถึงแล้ว จะทำความสว่าง
ไสวในอรรถธรรมแก่เจ้า ณ บัดนี้. ด้วยบทว่า ปุน นี้ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า
การเห็นวิธุรบัณฑิตนี้อีก หาได้ยาก.
พระนางวิมลา ทอดพระเนตรเห็นวิธุรบัณฑิต
ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้นแล้ว มีพระทัยยินดี
โสมนัส ทรงยกพระองค์คุลีทั้ง ๑๐ ขึ้นอัญชลี และตรัส
กะวิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ประเสริฐสุดของชาว
กุรุรัฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หฏเน ภาเวน แปลว่า ผู้มีจิตยินดี.
บทว่า ปตีตรูปา ได้แก่ เกิดความโสมนัส.
เบื้องหน้าแต่นี้ พระนางวิมลาเทวี จึงตรัสว่า
ดูก่อนบัณฑิต ท่านเป็นมนุษย์มาเห็นนาคพิภพที่
ตนยังไม่เคยเห็น เป็นผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 466
เหตุไรจึงไม่กลัวและไม่ถวายบังคมดิฉันเล่า อาการที่
ทำเช่นนี้ ดูเหมือนไม่ใช่อาการของผู้มีปัญญา.
วิธุรบัณฑิตกราบทูลเป็นคาถาว่า
ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่กลัว
และไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม นักโทษประ-
หารไม่พึงไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นัก
โทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ นรชนจะ
กราบไหว้บุคคลผู้ที่ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนา
จะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตน
อย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ พระ-
เจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด ท่านพูด
จริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต หรือ
เพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน
อย่างไรหนอนรชน จึงจะกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนา
จะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้
ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้เล่า กรรมนั้น ย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์เลย.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทำปฏิสันถารกับพระนางวิมลาเทวี
จึงทูลเป็นคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 467
ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา วิมานของพระองค์
นี้ เป็นของไม่เที่ยงแต่เป็นเช่นกับของเที่ยง ฤทธิ์ ความ
รุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ และการเสด็จ
อุบัติในนาคพิภพ ได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์
ขอทูลถามเนื้อความนั้นกะฝ่าพระบาท วิมานนี้ ฝ่า
พระบาทได้มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ ฝ่าพระบาทได้
มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตามฤดูกาล
ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายถวาย
ฝ่าพระบาท ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา ขอฝ่าพระ-
บาท ตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพระองค์ ตามที่
ฝ่าพระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระนางวิมลาเทวี ตรัสบอกแก่พระมหาสัตว์ว่า
วิมานนี้ ดิฉันได้มาเพราะอะไรก็หามิได้ เกิดขึ้น
ตามฤดูกาลก็หามิได้ ดิฉันมิได้กระทำเอง แม้เทวดาทั้ง
หลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้ ดิฉันได้มาด้วยบุญกรรม
อันไม่ลามกของตนเอง.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า
ข้าแต่พระนางเจ้านาคี อะไรเป็นวัตรของฝ่า
พระบาท และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของฝ่าพระบาท
ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ และ
การเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานอันใหญ่ของฝ่า
พระบาทนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อันฝ่าพระบาท
ทรงประพฤติดีแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 468
ลำดับนั้น พระนางวิมลาเทวีตรัสบอกพระมหาสัตว์ว่า
ดูก่อนเจ้านักปราชญ์ ดิฉันและพระสวามีของ
ดิฉันเป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี ในครั้งนั้น เรือนของ
ดิฉันเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และ
ดิฉันได้บำรุงสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ ดิฉัน
และพระสวามี เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้ถวายทาน
คือ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้เครื่องประทีป ที่
นอน ที่พักอาศัยผ้านุ่งห่ม ผ้าปูนอน ข้าวและน้ำโดย
เคารพ ทานที่ดิฉันได้ถวายโดยเคารพนั้น เป็นวัตร
ของดิฉันและการสมาทานนั้น เป็นพราหมจรรย์ของ
ดิฉัน ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง
กำลังกาย ความเพียร การเกิดในนาคพิภพ และวิมาน
ใหญ่ของเรานี้ เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์นั้น
อันเราประพฤติดีแล้ว.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กราบทูลพระนางวิมลาเทวีนั้นว่า
ถ้าวิมานนี้ ฝ่าพระบาททรงได้ด้วยอานุภาพแห่ง
ทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่า ทรงทราบผลแห่งบุญ
และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพเพราะผลแห่ง
บุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาท จงเป็นผู้ไม่
ประมาท ประพฤติธรรม ตามที่จะได้ ทรงครอบครอง
วิมานนี้ต่อไป ฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 469
พระนางวิมลาเทวีตรัสว่า
ดูก่อนบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ไม่มีสมณพราหมณ์
ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย ดิฉันถามแล้ว ขอ
ท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ตามที่ดิฉันจะพึงได้
ครอบครองวิมานนี้ ต่อไปเถิด.
พระมหาสัตว์ทูลว่า
ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ก็นาคทั้งหลายที่เป็น
พระโอรส พระธิดา พระสวามี ทั้งพระญาติ พระมิตร
และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาคพิภพนี้ มี
อยู่ ขอฝ่าพระบาทจงเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย ในนาคมี
พระโอรสเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระกาย และพระวาจา
เป็นนิตย์ ฝ่าพระบาทจงทรงรักษาความไม่ประทุษร้าย
ด้วยพระกายและพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาททรง
สถิตอยู่ในวิมานนี้ ตลอดพระชนมายุแล้ว จักเสด็จไป
สู่เทวโลก อันสูงส่งกว่านาคพิภพนี้ พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาเทวีตรัสว่า
ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประเสริฐสุด
พระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุด พระองค์นั้น
พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะทรงเศร้าโศกแน่แท้ทีเดียว
คนผู้ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็ดี ได้
สมาคมกับท่านแล้ว พึงได้รับความสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 470
พระมหาสัตว์ทูลว่า
ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ฝ่าพระบาทตรัสถึงธรรม
ของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดงประโยชน์
ล้ำเลิศที่นักปราชญ์ ประพฤติดีแล้วโดยแท้ ก็คุณวิเศษ
ของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อมปรากฏใน
เมื่อมีภยันตรายเช่นนี้แหละพระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาเทวีตรัสว่า
ขอท่านจงบอกแก่ดิฉัน ปุณณกยักษ์นี้ ได้ท่าน
มาเปล่า ๆ หรือ ขอท่านจงบอกแก่ดิฉัน ปุณณกยักษ์
นี้ชนะในการเล่นสกา จึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้
กล่าวว่าได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทูลกะพระนางวิมลาเทวีนั้นว่า
ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสกาชนะพระราชาขอข้า-
พระองค์ผู้เป็นอิสราธิบดี ในอินทปัตตนครนั้น พระ-
ราชาพระองค์นั้น อันปุณณกยักษ์ชนะแล้ว ได้พระ-
ราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์เป็น
ผู้อันปุณณกยักษ์มิได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มาด้วย
กรรมอันสาหัส พระเจ้าข้า.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาเหล่านี้ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวมา
แล้วในหนหลังนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 471
พระนางวิมลาเทวี ทรงสดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์ทรงยินดีเป็นที่
ยิ่ง ทรงพาพระมหาสัตว์ไปให้สรงด้วยน้ำหอมเป็นจำนวนพันหม้อ ในเวลา
สรงเสร็จ ทรงประทานเครื่องประดับมีผ้าทิพย์และของหอมระเบียบทิพย์เป็นต้น
ในเวลาประดับตกแต่งเสร็จแล้ว ได้ประทานทิพยโภชน์ พระมหาสัตว์บริโภค
โภชนาหารแล้ว สั่งให้ปูอาสนะที่เขาประดับไว้แล้ว นั่งเหนือธรรมาสน์ที่เขา
ประดับแล้วแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ท้าววรุณนาคราช ตรัสถามปัญหากะวิธุรบัณฑิต
ฉันใด แม้พระนางวิมลานาคกัญญา ก็ตรัสถามปัญหา
กะวิธุรบัณฑิต ฉันนั้น วิธุบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ อัน
ท้าววรุณนาคราชตรัสถามแล้ว ได้พยากรณ์ปัญหาให้
ท้าววรุณนาคราชทรงยินดี ฉันใด วิธุรบัณฑิตผู้เป็น
นักปราชญ์ แม้พระนางวิมลานาคกัญญาตรัสถามแล้ว
ก็พยากรณ์ให้พระนางวิมาลานาคกัญญาทรงยินดีฉันนั้น
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ ทราบว่า พระยานาคราช
ผู้ประเสริฐ และพระนางนาคกัญญาทั้งสองพระองค์
นั้น ทรงมีพระทัยชื่นชมโสมนัส ไม่ครั่นคร้าม ไม่
กลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า ได้กราบทูลท้าววรุณนาค
ราชว่า ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทอย่าทรง
พระวิตกว่า ทรงกระทำกรรมของคนผู้ประทุษร้ายมิตร
และอย่าทรงพระดำริว่า จักฆ่าบัณฑิตนี้ ขอฝ่าพระ-
บาทจงกระทำกิจด้วยเนื้อหทัยของฝ่าพระองค์ ตามที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 472
ฝ่าพระบาททรงพระประสงค์เถิด ถ้าฝ่าพระบาทไม่
ทรงสามารถจะฆ่าข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะทรงทำ
ถวายตามพระอัธยาศัยของฝ่าพระบาทเอง พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฉมฺภี แปลว่า ไม่ครั่นคร้าม. บทว่า
อโลมหฏฺโ ได้แก่ ไม่หวาดเสียวเพราะความกลัวเลย. บทว่า อิจฺจพฺรวิ
ความว่า ได้กล่าวดังนั้น ด้วยอำนาจการพิจารณา. บทว่า มา เภถยิ ความว่า
พระองค์อย่ากลัวไปเลยว่า เราจะทำกรรมคือการประทุษร้ายต่อมิตร และอย่าคิด
สงสัยไปเลยว่า บัดนี้ เราจักฆ่าบัณฑิตนี้ หรืออย่างไรหนอ. วิธุรบัณฑิต
เรียกวรุณนาคราชว่า นาค. บทว่า อยาหมสฺมิ ตัดเป็น อย อหมสฺมิ
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ย กริสสามิ ความว่า ถ้าท่านไม่อาจจะ
ฆ่าเรา ด้วยคิดว่า เราได้ฟังธรรมในสำนักของบัณฑิตนี้ไซร้ ข้าพเจ้าจัก
กระทำถวายเองให้สมกับพระอัธยาศัยของพระองค์.
พระยานาคราชตรัสว่า
ปัญญานั่นเอง เป็นดังใจของบัณฑิตทั้งหลาย เรา
ทั้งสองนั้นยินดีด้วยปัญญาของท่านยิ่งนัก ปุณณกยักษ์
จงไปส่งท่านให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ตฺยมฺห ความว่า ข้าพเจ้าทั้งสอง
คนนั้น ยินดีนักหนาด้วยปัญญาของท่าน ยักษ์เสนาบดีผู้มีชื่อไม่บกพร่อง
ซึ่งได้แก่ปุณณกยักษ์นี้. บทว่า ลภตชชทาร ความว่า วันนี้ขอปุณณกยักษ์
เสนาบดี จงได้ภริยา เราจะให้อิรันทตีธิดาแก่ท่าน. บทว่า ปาปยาตุ ความว่า
ในวันนี้ปุณณกยักษ์ จงไปส่งท่านให้ถึงอินทปัตตนครแคว้นกุรุนั้นแล.
ก็แล พระยาวรุณนาคราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วจึงได้พระราชทานนาง
อิรันทตีให้แก่ปุณณกยักษ์ ปุณณกยักษ์นั้นได้นางอิรันทตีสมปรารถนา ดังนั้น
จึงมีจิตยินดี ได้เจรจาปราศรัยกับพระมหาสัตว์เจ้าแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 473
พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ปุณณกยักษ์นั้น ได้นางอิรันทตีนาคกัญญาแล้ว
มีใจชื่นชมโสมนัสปีติปราโมทย์ ได้กล่าวกะวิธุรบัณฑิต
ผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า ข้าแต่ท่านวิธุรบัณฑิต
ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อมเพรียงกันกับภริยา
ข้าพเจ้าจะทำกิจตอบแทนท่าน ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณี
ดวงนี้แก่ท่าน และจะนำท่านไปส่งให้ถึงแคว้นกุรุรัฐ
ในวันนี้ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณิรตน ความว่า ดูก่อนบัณฑิต
เราเลื่อมใสในอุปการะคุณของท่าน เราควรจะทำกิจอันสมควรแก่ท่าน เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณี อันเป็นของบริโภคแห่งพระเจ้าจักรพรรดินี้แก่
ท่าน และข้าพเจ้าจะไปส่งท่านให้ถึงอินทปัตตนครแคว้นกุรุในวันนี้ด้วย.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะกระทำความชมเชยแก่ปุณณกยักษ์นั้น
ได้กล่าวคาถานอกนี้ว่า
ดูก่อนกัจจานะ ท่านจงมีความไมตรีสนิทสนม
กับภรรยาที่น่ารัก อันไม่มีใครทำให้แตกแยกตลอดไป
ท่านจงเป็นผู้มีจิตเบิกบาน มีปีติโสมนัส ท่านได้ให้
แก้วมณีแก่ข้าพเจ้าแล้ว ขอจงนำข้าพเจ้าไปยังอินท-
ปัตตนครด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺเชยฺยเมสา ความว่า ดูก่อนท่านผู้
กัจจายนโคตร ท่านพร้อมกับภริยาเป็นที่รักของท่าน จงเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงปรองดองมีความรักใคร่กันตลอดไป จงเป็นผู้มีความสุขสวัสดี มีชัยชนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 474
แก่ข้าศึกศัตรู. พระมหาสัตว์กล่าวความที่ปุณณกยักษ์นั้นมีความพรั่งพร้อมด้วย
ปีติ ด้วยคำมีอาทิว่า อานนฺทจิตฺโต เป็นผู้มีจิตบันเทิง ดังนี้. บทว่า
นยินฺทปตฺต ตัดเป็น นย อินฺทปตฺต แปลว่า จงนำไปสู่อินทปัตตนคร.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ปุณณยักษ์นั้น เชิญวิธุรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุด
ของชาวกุรุรัฐ ผู้มีปัญญาไม่ทราม ให้นั่งบนอาสนะ
กลางหน้าของตน ขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไปในอากาศ
กลางหาว ปุณณกยักษ์นั้นได้นำวิธรบัณฑิตผู้ประเสริฐ
สุดของชาวกุรุรัฐ ไปถึงอินทปัตตนคร เร็วยิ่งกว่าใจ
ของมนุษย์พึงไปถึง.
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า
อินทปัตตนครปรากฏอยู่โน้น และป่ามะม่วงอัน
น่ารื่นรมย์ ก็เห็นอยู่เป็นหย่อม ๆ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความ
พร้อมเพรียงกับภริยา และท่านก็ได้ถึงที่อยู่ของตน
แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ คจฺเฉ ความว่า ขึ้นชื่อว่าใจ
ย่อมไม่ไป แต่เมื่อใจถือเอาอารมณ์ในที่ไกล เขาจึงเรียกว่าใจไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทนี้อย่างนี้ว่า การไปของม้าสินธพมโนมัยนั้นได้
เป็นการไปที่เร็วกว่าใจที่ถือเอาอารมณ์. บทว่า เอตินฺทปตฺต ความว่า เมื่อ
แสดงแก่เธอผู้นั่งอยู่บนหลังม้านั่นแล จึงได้กล่าวอย่างนั้น. ด้วยบทว่า สก
นิเกต ปุณณกยักษ์กล่าวว่า ท่านถึงที่อยู่ของท่านแล้ว.
ก็ในวันนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชได้ทรงพระสุบินว่า
มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้พระทวารพระราชนิเวศน์ ลำต้นประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 475
ปัญญา กิ่งแล้วไปด้วยศีล ผลเต็มไปด้วยปัญจโครส ห้อมล้อมไปด้วยช้างและ
ม้าที่ประดับประดาแล้ว มหาชนพากันมาทำสักการะอย่างใหญ่ ประคองอัญชลี
แก่ต้นไม้นั้นเป็นอันมาก. ลำดับนั้น ยังมีบุรุษดำคนหนึ่งนุ่งผ้าแดง ทัดดอก-
ไม้แดง ถืออาวุธมาตัดรากต้นไม้นั้นให้ขาดแล้ว เมื่อมหาชนร้องไห้ปริเทวนา-
การอยู่ ได้ลากเอาต้นไม้นั้นไป ไม่กี่วันก็นำเอามาส่งคืนไว้ในที่เดิมอีก แล้ว
หลีกไปดังนี้ พระราชาทรงพิจารณาพระสุบินนั้นอยู่ ทรงสันนิษฐานว่า ใคร ๆ
คนอื่นที่เป็นดุจต้นไม้ใหญ่มิได้มี ต้องเป็นวิธุรบัณฑิต ใคร ๆ คนอื่นที่
เปรียบกับบุรุษผู้มาตัดรากต้นไม้นั้น เมื่อมหาชนร้องไห้ปริเทวนาการอยู่ ลาก
เอาไปแล้วมิได้มี ต้องเป็นมาณพผู้เอาวิธุรบัณฑิตไป วันพรุ่งนี้มาณพจัก
นำวิธุรบัณฑิตมาประดิษฐานไว้ที่ทวารแห่งโรงธรรมสภาแล้ว จักหลีกไป
เปรียบกับบุรุษผู้นำเอาต้นไม้นั้นมาคืนไว้ ณ ที่เดิมอีกแล้วไปเสีย วันนี้เรา
จักได้เห็นวิธุรบัณฑิตแน่นอน ครั้นทรงสันนิษฐานดังนี้แล้ว ทรงมี
พระหทัยโสมนัส จึงมีพระดำรัสสั่งให้ประดับพระนครทั้งสิ้น และให้จัดแจง
โรงธรรมสภา ตั้งธรรมาสน์ในอลงกตรัตนมณฑป ครั้นเสร็จแล้ว ท้าวเธอ
เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่โรงธรรมสภา มีพระราชา ๑๐๑ พระองค์และ
หมู่อำมาตย์ราษฎรชาวพระนครทั้งสิ้นแวดล้อม ทรงรอคอยการมาของวิธุร-
บัณฑิตอยู่ ทรงปลอบโยนมหาชนให้สบายใจไปพลางว่า พวกท่านจักเห็น
บัณฑิตในวันนี้ อย่าพากันวิตกไปนักเลย. ฝ่ายปุณณกยักษ์พาบัณฑิตลงประ-
ดิษฐาน ณ ท่ามกลางบริษัทที่ประตูแห่งโรงธรรมสภา ลาพระมหาสัตว์แล้ว
พานางอิรันทตีไปสู่เทวนครของตนแล้วแล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ปุณณยักษ์ผู้มีวรรณะดี วางวิธุรบัณฑิตผู้ประ-
เสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ ลงในท่ามกลางสภา แล้วขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 476
ม้าอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลางหาว พระราชา
ทอดพระเนตรเห็นวิธุรบัณฑิตนั้น ทรงพระปรีดา-
ปราโมทย์เป็นอย่างยิ่งเสด็จลุกขึ้นสวมกอดวิธุรบัณฑิต
ด้วยพระพาหาทั้งสอง ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเชื้อเชิญ
ให้นั่งบนอาสนะท่ามกลางสภา ตรงพระพักตร์ของ
พระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมวณฺโณ แปลว่า ผู้มีวรรณะ
ไม่ต่ำ คือผู้มีวรรณะอันสูงสุด. บทว่า อวิกมฺปย ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชานั้น ทรงประคองวิธุรบัณฑิต ไม่หวั่นไหว ไม่ย่อท้อ ในท่าม
กลางมหาชน จับมือทั้งสองให้นั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ให้บ่ายหน้าตรง
พระพักตร์ของพระองค์.
ลำดับนั้น พระราชาทรงบันเทิงกับพระมหาสัตว์นั้น เมื่อจะทำปฎิ-
สันถารด้วยพระวาจาอันไพเราะ จึงตรัสพระคาถาว่า
ท่านเป็นผู้แนะนำเราทั้งหลาย เหมือนนายสารถี
นำรถที่หายไปแล้วกลับมาได้ฉะนั้น ชาวกุรุรัฐทั้งหลาย
ย่อมยินดี เพราะได้เห็นท่าน ฉันถามแล้ว ขอท่าน
จงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ท่านหลุดพ้นจากมาณพมา
ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นฏ ความว่า ท่านช่วยแนะนำเรา
ในอันทำประโยชน์เกื้อกูล โดยเหตุคือ โดยนัย เหมือนนายสารถีนำรถที่หาย
ไปแล้วให้กลับเข้ามาได้ฉะนั้น. บทว่า นนฺทนฺติ ต ความว่า ชนชาวกุรุรัฐ
เหล่านี้ พอเห็นท่าน ย่อมยินดีเพราะการได้เห็นท่าน. บทว่า มาณวสฺส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 477
ความว่า ท่านได้พ้นจากสำนักของมาณพได้อย่างไร หรือว่าการที่มาณพปล่อย
ให้ท่านพ้นไปเป็นเพราะเหตุอะไร
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กราบทูลพระราชานั้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน ผู้ทรงแกล้ว
กล้าประเสริฐกว่านรชน บุรุษที่ฝ่าพระบาทตรัสเรียก
มาณพนั้นไม่ใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ พระเจ้าข้า
ฝ่าพระบาททรงเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ก็ปุณณกยักษ์นั้น
เป็นอำมาตย์ของท้าวกุเวร พระยานาคทรงพระนาม
ว่าวรุณผู้ครองนาคพิภพ มีพระกายใหญ่โตสะอาด
ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณะและกำลัง ปุณณกยักษ์รักใคร่
นางนาคกัญญานามว่าอิรันทตี พระธิดาของพระยา
นาคราชนั้น จึงตกลงใจจะฆ่าข้าพระองค์ เพราะเหตุ
แห่งนางอิรันทตีผู้มีเอวบางร่างน้อยน่ารักใคร่ แต่
ปุณณกยักษ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกับภรรยา ส่วนข้า-
พระองค์เป็นผู้อันพระยานาคทรงอนุญาตให้มา และ
ปุณณกยักษ์ให้แก้วมณีมาด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย มาณโว ตฺยภิวทิ ความว่า พระมหา
สัตว์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งหมู่ชน พระองค์ทรง
เรียกคนใดว่ามาณพ คนนั้นไม่ใช่มนุษย์เลย เป็นยักษ์ชื่อว่าปุณณกะ. บทว่า
ภูมินฺธโร แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาเพียงดังว่าแผ่นดิน อยู่ในนาคพิภพ. บทว่า
สา นาคกญฺา ความว่า ปุณณกยักษ์นั้น รักใคร่นางอิรันทตีนาคกัญญา
ผู้เป็นธิดาของพระยานาคนั้น พยายามเพื่อฆ่าข้าพระองค์ให้ตาย. บทว่า ปิยาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 478
เหตุ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้าก็พระยานาคนั้น เลื่อมใสในการแก้ปัญหา
ในเรื่องอุโบสถ ๔ บูชาข้าพระองค์ด้วยแก้วมณี แล้วเสด็จกลับไปยังนาคพิภพ
เมื่อพระนางวิมลาเทวีทูลถามว่า แก้วมณีของพระองค์หายไปไหน พระเจ้าข้า
จึงทรงพรรณนาความที่ข้าพระองค์เป็นธรรมกถึก. พระนางวิมลาเทวีนั้น มีพระ
ประสงค์จะสดับธรรมกถาของข้าพระองค์ ได้ยังความปรารถนาด้วยดวงหทัย
ของข้าพเจ้าให้เกิดขึ้น. พระยานาคทรงเข้าใจผิด ตรัสกะนางอิรันทตีผู้เป็น
ธิดาของตนว่า มารดาของเจ้าปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เจ้าจงไป
แสวงหาสามีผู้สามารถจะนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตนั้นมาให้ได้ นางอิรันทตี
เที่ยวแสวงหาสามีอยู่ ได้พบปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของท้าวกุเวรเวสวัณ
ทราบว่าปุณณกยักษ์นั้นมีความปฏิพัทธ์ในตน จึงนำไปสู่สำนักพระบิดา. ลำดับ
นั้น พระยานาคตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า เมื่อเจ้าสามารถนำดวงหทัยของวิธุร-
บัณฑิตมาให้ จักได้นางอิรันทตีลูกสาวของเรา. ปุณณกยักษ์จึงนำเอาแก้วมณี
อันเป็นของบริโภคแห่งพระเจ้าจักรพรรดิจากเวปุลบรรพตมาพนันเล่นสกากับ
พระองค์ ได้ข้าพระองค์แล้วพักอยู่ที่เรือนของข้าพระองค์ ๓ วัน บอกให้ข้า-
พระองค์จับทางม้าแล้วพาไป ทุบตีข้าพระองค์ที่ต้นไม้บ้างที่ภูเขาบ้าง ในหิมวันต์
ประเทศ เมื่อไม่อาจให้ข้าพระองค์ตายได้ จึงบ่ายหน้าต่อลมเวรัมภะ ควบม้า
ไปในกองลม ๗ ครั้ง แล้ววางข้าพระองค์ไว้บนยอดเขากาฬาคิรีบรรพตที่สูงได้
๖๐ โยชน์ ทำกรรมอย่างนี้บ้างอย่างโน้นบ้าง ด้วยอำนาจแห่งเพศแห่งราชสีห์
เป็นต้น ก็ไม่อาจทำให้ข้าพระองค์ตายได้ ข้าพระองค์ถามถึงเหตุที่เขาจะฆ่า เขา
บอกเหตุนั้นให้ทราบโดยตลอด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์จึงได้แสดงสาธุนร-
ธรรมแก่เขา เขาได้สดับสาธุนรธรรมนั้น มีจิตเลื่อมใส ใคร่จะนำข้าพระองค์
มาส่ง ณ ที่นี้ ครั้น เขามีความประสงค์จะมาส่งเช่นนั้น ข้าพระองค์จึงพาเขาไปสู่
นาคพิภพ แสดงธรรมถวายพระยานาคและพระนางวิมลาเทวี นาคบริษัททั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 479
พากันเลื่อมใสในธรรมเทศนาทั้งนั้น พระยานาคในเวลาท้าวเธอทรงยินดีใน
ธรรมเทศนาของข้าพระองค์ ได้ประทานนางอิรันทตีแก่ปุณณกยักษ์ ๆ ได้นาง
อิรันทตีแล้วมีจิตเลื่อมใสจึงบูชาข้าพระองค์ด้วยแก้วมณี อันพระยานาคทรงบังคับ
ให้มาส่งข้าพระองค์ จึงยกข้าพระองค์ขึ้นขี่ม้ามโนมัยสินธพ ส่วนตนเองนั่งบน
อาสนะท่ามกลางให้ข้าพระองค์นั่งอาสนะข้างหน้า ให้นางอิรันทตีนั่งอาสนะข้าง
หลัง นำมาส่งในที่นี้ ยังข้าพระองค์ให้ลงที่ท่ามกลางบริษัทแล้ว พานางอิรันทตี
ไปสู่นครของตนแล้วแล ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุแห่งนางอิรันทตีผู้
มีเอวอันงดงามน่ารักนั้น ปุณณกยักษ์จึงได้พยายามจะฆ่าข้าพระองค์ด้วย
ประการอย่างนี้ ก็แต่ว่าปุณณกยักษ์ได้อาศัยข้าพระองค์ ในครั้งนั้นแล จึงได้
เป็นผู้พร้อมเพรียงสมัครสังวาสกันกับภรรยา พระยานาคทรงสดับธรรมเทศนา
ของข้าพระองค์ทรงเลื่อมใสแล้ว ทรงอนุญาตให้ส่งข้าพระองค์กลับคืน และ
ข้าพระองค์ได้แก้วมณีอันเป็นของบริโภคแห่งพระเจ้าจักรพรรดิอันสามารถให้
สิ่งน่าใคร่ได้ทุกอย่าง ข้าพระองค์ได้มาจากสำนักแห่งปุณณกยักษ์ ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงรับแก้วมณีดวงนี้ ครั้นกราบทูลดังนี้
แล้ว ได้ถวายแก้วมณีแก่พระราชา. แต่นั้นพระราชาเมื่อจะตรัสเล่าพระสุบิน
ที่พระองค์ทรงเห็นในเวลาจวนรุ่งแก่ชาวพระนคร จึงตรัสว่า ดูก่อนทวยราษฎร์
ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเจ้าจงฟังสุบินนิมิตที่เราเห็นในเวลานี้ แล้วตรัสเป็น
คาถาว่า
มีต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดริมประตูวังของเรา ลำต้น
ประกอบด้วยปัญญา กิ่งแล้วด้วยศีล ต้นไม้นั้น ตั้งอยู่
ในอรรถและธรรม มีผลเต็มไปด้วยปัญจโครส ดารดาษ
ไปด้วยช้างม้าและโคที่ประดับประดาแล้ว เมื่อมหาชน
ทำสักการะบูชาต้นไม้นั้น เล่นเพลิดเพลินด้วยฟ้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 480
รำขับร้องและดนตรีอยู่ ครั้นบุรุษดำคนหนึ่ง มาไล่
เสนาที่ยืนล้อมอยู่ให้หนีไป จึงถอนต้นไม้นั้นลากไป
ไม่กี่วัน ต้นไม้นั้นกลับมาประดิษฐานอยู่ที่ประตูวังของ
เราอีกตามเดิม ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็ได้แก่วิธุรบัณฑิตนี้
ซึ่งกลับมาสู่ที่อยู่ของเรา บัดนี้พวกท่านทั้งปวง จงพา
กันทำสักการะเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือวิธุรบัณฑิต
นี้ขอเชิญบรรดาอำมาตย์ผู้มีจิตยินดี ด้วยยศที่ตนอาศัย
เราได้แล้วทั้งหมดทีเดียว จงทำจิตของตนให้ปรากฏ
ในวันนี้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านจง
กระทำบรรณาการให้มาก พากันนำนาทำสักการะ
เคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือวิธุรบัณฑิตนี้ สัตว์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ที่ผูกไว้ชั้นที่สุดมฤคและปักษีที่ขังไว้เพื่อดู
เล่น อันมีอยู่ในแคว้นของเรา สัตว์เหล่านั้นทุกจำพวก
จงให้ปล่อยจากเครื่องผูก และที่ขังเสียทั้งหมด บัณฑิต
นี้พ้นจากเครื่องผูกฉันใดแล สัตว์เหล่านั้น จงพ้นจาก
เครื่องผูกและที่ขังฉันนั้นเหมือนกัน พวกชาวไร่ชาวนา
ทั้งปวง จงเลิกทำไร่ทำนาทั้งปวง พักเสียตลอดเดือนนี้
ให้พวกกลองดีกลองเที่ยวประกาศชาวพระนครพร้อม
กันมาทำการสมโภชเป็นการใหญ่ จงอัญชลีพราหมณ์
ทั้งหลายมาบริโภคข้าวสุกเจือด้วยเนื้อ พวกนักเลงสุรา
จงเว้นการเที่ยวดื่มสุรา จงเอาหม้อใส่ให้เต็มปรี่ไปนั่ง
ดื่มอยู่ที่ร้านของตน ๆ พวกหญิงแพศยาที่อยู่ประจำทาง
จงเล้าโลมลวงล่อชายผู้มีความต้องการ ด้วยกิเลสเป็น
นิตย์ อนึ่งจงจัดการรักษาในแว่นแคว้นให้แข็งแรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 481
อย่างที่พวกชนจะพึงเบียดเบียนกันไม่ได้ พวกท่านจง
ทำสักการเคารพนบนอบ ต้นไม้คือบัณฑิตนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลมยสฺส ความว่า กิ่งของต้นไม้นี้ ล้วน
แล้วด้วยศีล. บทว่า อตฺเถ จ ธมฺเม จ ความว่า ต้นไม้นั้น ตั้งอยู่ในความ
เจริญและในสภาวธรรม. บทว่า นิปาโก ความว่า ต้นไม้นั้นแล้วด้วย
ปัญญาประดิษฐานอยู่แล้ว. บทว่า ควปฺผโล ความว่า ต้นไม้นั้น มีผล
ล้วนแล้วด้วยปัญจโครส. บทว่า หตฺถิควาสฺสฉนฺโน ความว่า ต้นไม้นั้น
ดารดาษไปด้วยฝูงช้างฝูงโค และฝูงม้าที่ประดับประดาแล้ว. บทว่า นจฺจคีต-
ตุริยาภินาทิเต ความว่า ครั้นเมื่อมหาชนกระทำการบูชาต้นไม้นั้น เล่น
เพลิดเพลินไปด้วยการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นที่ต้นไม้นั้นอยู่. ครั้งนั้นบุรุษดำคน
หนึ่งมาไล่ขับเสนาที่ยืนล้อมถอนต้นไม้นั้นหนีไป ต้นไม้นั้นกลับมาประดิษ-
ฐานอยู่ ที่ประตูของเราตามเดิม ต้นไม้ใหญ่นั้นก็ได้แก่บัณฑิตนี้ ซึ่งกลับมา
สู่ที่อยู่ของเรา บัดนี้พวกท่านทั้งปวง จงพากันทำสักการะ ยำเกรง เคารพ แก่
ต้นไม้คือบัณฑิตนี้ให้มาก. บทว่า มม ปจฺจเยน ความว่า บรรดาอำมาตย์
ผู้มีจิตยินดีด้วยยศที่ตนอาศัยเราได้มาแล้วทั้งหมดนั้นจงทำกิจของตนให้ปรากฏ
ในวันนี้. บทว่า ติพฺพานิ ได้แก่ มากคือใหญ่. บทว่า อุปายนานิ ได้
แก่ เครื่องบรรณาการทั้งหลาย. บทว่า เยเกจิ ความว่า โดยชั้นที่สุดหมาย
เอามฤคและปักษีที่ขังไว้เพื่อดูเล่น. บทว่า มุญฺจเร แปลว่า จงให้ปล่อย.
บทว่า อุนฺนงฺคลา มาสมิม กโรนฺตุ ความว่า ขอพวกชาวนา ชาวไร่
ทั้งปวง จงเลิกทำไร่ทำนาเสียตลอดเดือนนี้ ให้คนตีกลองเที่ยวประกาศไป.
ชาวพระนคร พร้อมกันมาทำการสมโภชเป็นการใหญ่. บทว่า ภกฺขยนฺตุ
ความว่า จงเชิญบริโภค. อ อักษรในบทว่า อมชฺชปา นี้เป็นเพียงนิบาต
อธิบายว่า พวกนักเลงสุรา เมื่อควรจะดื่มสุรา ย่อมมาประชุมกันดื่มอยู่ที่ร้าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 482
ดื่มของตน ๆ. บทว่า ปุณฺณาหิ ถาลาหิ แปลว่า ด้วยหม้ออันเต็ม. บทว่า
ปลิสฺสุตาหิ ความว่า ไหลล้นออกจากหม้อเพราะมีสุราเต็มปรี่. บทว่า มหาปถ
นิจฺจ สมวฺหยนฺตุ ความว่า พวกหญิงแพศยา ที่อยู่ประจำทางใหญ่ที่ตบ
แต่งไว้ คือที่ทางหลวง จงประเล้าประโลมลวงล่อชายผู้มีความต้องการด้วย
กิเลสเป็นนิตย์. บทว่า ติพฺพ แปลว่า แข็งแรง. บทว่า ยถา ความว่า
ขอท่านทั้งหลายจัดการรักษาต้นไม้ อย่างที่พวกชาวนาจัดแจงรักษาต้นไม้ด้วย
ดี กระทำความยำเกรงต่อต้นไม้ ไม่เบียดเบียนกันและกัน. พวกท่านจักทำ
สักการะเคารพนบนอบต้นไม้คือบัณฑิตนี้.
เมื่อพระราชาตรัสดังนั้นแล้ว
พวกพระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร พวกพ่อ
ค้าชาวนา พราหมณาจารย์ พวกกรมช้าง กรมราช
องครักษ์ กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า และชาวชน
บท ชาวนิคมทุกหมู่เหล่า ที่พระราชาทรงบังคับแล้ว
พร้อมกันสั่งมหาชนให้ปล่อยสัตว์จากเครื่องผูกและที่ขัง
จัดแจงบรรณาการมีประการต่าง ๆ ส่งข้าวและน้ำกบ
เครื่องบรรณาการเป็นอันมากไปถวายบัณฑิต ชนเป็น
อันมากเมื่อบัณฑิตมาแล้ว ได้เห็นบัณฑิตก็มีใจเลื่อม
ใส เมื่อบัณฑิตมาถึงแล้ว ก็พากันยกผ้าขาวโห่ร้องขึ้น
ด้วยความยินดีปราโมทย์เป็นที่ยิ่ง ด้วยประการฉะนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิหารยุ ความว่า พระสนมกำนัลใน
เป็นต้นเหล่านั้นที่พระราชาบังคับแล้วอย่างนี้ พร้อมกันสั่งมหาชนให้ปล่อยสัตว์
ทั้งปวง จากที่คุมขังและที่ผูก จัดแจงบรรณาการมีประการต่างๆ ส่งข้าวและน้ำ
พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการนั้นไปถวายบัณฑิต. บทว่า ปณฺฑิตมาคเต
ความว่า ชนเป็นอันมาก เมื่อบัณฑิตมาถึงแล้ว ได้เห็นบัณฑิตก็มีจิตเลื่อมใส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 483
ได้มีงานมหรสพสมโภชตลอดกาลล่วงไปเดือนหนึ่ง จึงสำเร็จเสร็จสิ้น.
พระมหาสัตว์ แสดงธรรมแก่มหาชน สั่งสอนพระราชา เหมือนกับว่าบำเพ็ญ
พุทธกิจให้สำเร็จ บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น และรักษาอุโบสถกรรม ตั้งอยู่
ตลอดอายุ เมื่อสิ้นอายุ ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ชนชาวกุรุรัฐทั้ง
หมด ตั้งต้นแต่พระราชา ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ พากันรักษาศีล
บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญทางสวรรค์ให้บริบูรณ์ ครั้นสิ้นอายุแล้วได้
ไปตามกรรมของตนนั้นแล.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลายไม่ใช่แต่ในบัดนี้ อย่างเดียวเท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราตถาคตก็ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา ฉลาดในอุบายเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงประกาศสัจจะ ประชุมชาดก.
มารดาบิดาของบัณฑิตในกาลนั้น ครั้นกลับชาติมาได้เป็นมหาราชสกุล
ในบัดนี้ ภริยาใหญ่ของบัณฑิตในกาลนั้นได้เป็นมารดาของพระราหุลในบัดนี้
บุตรคนโตของบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น พระราหุล ในบัดนี้ พระนางวิมลา
ในกาลนั้นได้เป็น พระนางอุบลวรรณา ในบัดนี้ พระยาวรุณนาคราชในกาล
นั้นได้เป็น พระสารีบุตรในบัดนี้ พระยาครุฑในกาลนั้นได้เป็น พระโมค-
คัลลานะ ในบัดนี้ ท้าวสักกะเทวราชในกาลนั้นได้เป็น พระอนุรุทธะ ใน
บัดนี้ พระเจ้าโกรพยราชในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ในบัดนี้ ปุณณก-
ยักษ์ในกาลนั้นได้เป็น พระฉันนะ ในบัดนี้ ม้ามโนมัยสินธพในกาลนั้น
ได้เป็น พระยาม้ากัณฐกะ ในบัดนี้ บริษัทนอกจากนั้น ในกาลนั้นได้เป็น
พุทธบริษัทในกาลนี้ ส่วนวิธุรบัณฑิตในกาลนั้น ครั้นกลับชาติมาได้เป็นเรา
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้แล.
จบอรรถกถาวิธุรชาดกที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 484
๑๐. เวสสันตรชาดก
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า
[๑๐๔๕] ดูก่อนผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอัน
ประเสริฐ ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือก
เอาพร ๑๐ ประการในปฐพีซึ่งเป็นที่รักแห่งหฤทัยของ
เธอ.
พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า
[๑๐๔๖] ข้าแก่ท้าวเทวราช ข้าพระบาทนอบน้อม
แด่พระองค์ ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ
ฝ่าพระบาทจึงให้ข้าพระบาท จุติจากทิพยสถานที่น่า
รื่นรมย์ ดุจลมพัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไป ฉะนั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๐๔๗] บาปกรรมเธอมิได้ทำไว้เลย และเธอ
ไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว
เหตุนั้น เราจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ ความตายใกล้เธอ
เธอจักต้องพลัดพรากจากไป จงเลือกรับเอาพร ๑๐
ประการนี้จากเราผู้จะให้.
พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า
[๑๐๔๘] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ทั้ง
ปวง ถ้าฝ่าพระบาทจะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 485
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระบาทพึงเกิดใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวิราช ข้าแต่ท้าวปุรินททะ
ขอให้ข้าพระบาท (๑) พึงเป็นผู้มีจักษุดำเหมือนตา
ลูกมฤคี (มีอายุ ๑ ขวบปี) ซึ่งมีดวงตาดำ (๒) พึงมี
ขนคิ้วดำ (๓) พึงเกิดในราชนิเวศน์นั้นมีนามว่า
ผุสดี (๔) พึงได้พระราชโอรสผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ผู้
ประกอบเกื้อกูลในยาจก มิได้ตระหนี่ ผู้อันพระราชา
ทุกประเทศบูชามีเกียรติยศ (๕) เมื่อข้าพระบาททรง
ครรภ์ขออย่าให้อุทรนูนขึ้น พึงมีอุทรไม่นูน เสมอดัง
คันศรที่นายช่างเหลาเกลี้ยงเกลา (๖) ถันทั้งคู่ของข้า
พระบาทอย่าย้อยยาน ข้าแต่ท้าววาสวะ (๓) ผม
หงอกก็อย่าได้มี (๘) ธุลีก็อย่าได้ติดในกาย (๙) ข้า
พระบาทพึงปล่อยนักโทษที่ถึงประหารได้ (๑๐) ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระบาทพึงได้เป็นอัครมเหสีที่
โปรดปรานของพระราชาในแว่นแคว้นสีพี ในพระ-
ราชนิเวศน์อันกึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนก
กระเรียน พรั่งพร้อมด้วยหมู่วรนารี เกลื่อนกล่นไป
ด้วยคนเตี้ยและคนค่อม อันพ่อครัวชาวมคธเลี้ยงดู กึก
ก้องไปด้วยเสียงกลอน และเสียงบานประตูอันวิจิตร
มีคนเชิญให้ดื่มสุราและกินกับแกล้ม.
ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า
[๑๐๔๙] ดูก่อนนางผู้งามทั่วสรรพางค์กาย พร
๑๐ ประการเหล่าใด ที่เราให้แต่เธอ เธอจักได้พร ๑๐
ประการเหล่านั้น ในแว่นแคว้นของพระเจ้าสีวิราช.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 486
[๑๐๕๐] ครั้นท้าววาสวะมฆวาสุชัมบดีเทวราช
ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็โปรดประทานพรแก่พระนางผุสดี
เทพอัปสร.
(นี้) ชื่อว่าทศพรคาถา.
[๑๐๕๑] พระนางผุสดีเทพอัปสรจุติจากดาวดึงส์
เทวโลกนั้น มาบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ได้ทรงอยู่ร่วม
กับพระเจ้าสญชัยในพระนครเชตุดร พระนางผุสดี
ทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรงทำประทักษิณพระนคร
ประสูติเราที่ท่ามกลางถนนของพวกพ่อค้า ชื่อของเรา
มิได้เนื่องแต่พระมารดา และมิได้เกิดแต่พระบิดา
เราเกิดที่ถนนแห่งพ่อค้า เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า
เวสสันดร เมื่อใดเรายังเป็นทารก มีอายุ ๔ ขวบแต่
เกิดมา เมื่อนั้นเรานั่งอยู่ในปราสาทคิดจะบริจาคทาน
ว่า เราจะพึงให้หทัย ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย
เมื่อใครมาขอเรา เราก็ยินดีให้ เมื่อเราคิดถึงการบริ-
จาคทานอันเป็นความจริง หทัยก็ไม่หวั่นไหวมุ่งมั่น
อยู่ในกาลนั้น ปฐพีมีสิเนรุบรรพตและหมู่ไม้เป็น
เครื่องประดับ ได้หวั่นไหว.
[๑๐๕๒] พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีขนรักแร้ดก
และมีเล็บยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขน
ข้างขวาจะขออะไรฉันหรือ.
พราหมณ์กราบทูลว่า
[๑๐๕๓] ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ทูลขอรัตนะเครื่องให้แว่นแคว้นของชาวสีพีเจริญ ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 487
ได้โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐ ซึ่งมีงาดุจงอน
ไถอันมีกำลังสามารถเถิด พระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๕๔] เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ
ซึ่งเป็นช่างราชพาหนะอันสูงสุดที่พราหมณ์ทั้งหลาย
ขอเรา เรามิได้หวั่นไหว.
[๑๐๕๕] พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง
มีพระหฤทัยน้อมไปในการบริจาค เสด็จลงจากคอช้าง
พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๕๖] เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐ (แก่พราหมณ์ทั้ง ๘) แล้วในกาลนั้น ความ
น่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็
หวั่นไหว เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ
ในกาลนั้น ได้เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยอง
เกล้า ชาวพระนครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ยัง
แว่นแคว้นของชาวสีพีให้เจริญพระราชทานช้างตัว
ประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น เสียงอันกึกก้องก็แผ่
ไปมากมาย.
[๑๐๕๗] ครั้งนั้น เมื่อพระเวสสันดรพระราช-
ทานช้างตัวประเสริฐแล้วเสียอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมาก
ก็เป็นไปในนครนั้น ในกาลนั้นชาวนครก็กำเริบ ครั้ง
นั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 488
พระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัว
เป็นอันมากก็เป็นไปในนครนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
[๑๐๕๘] พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พวก
พ่อค้าชาวนา พวกพราหมณ์ กองช้าง กองม้า กอง
รถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้นมาประชุม
พร้อมกัน พวกเหล่านั้นเห็นพวกพราหมณ์นำพระยา
ช้างไป ก็กราบทูลแด่พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ แว่นแคว้นของพระองค์ถูกกำจัด
แล้ว เหตุไรพระเวสสันดรโอรสของพระองค์ จึง
พระราชทานช้างตัวประเสริฐของชาวเราทั้งหลาย อัน
ชาวแว่นแคว้นสักการะบูชา ไฉนพระเวสสันดรราช-
โอรสจึงพระราชทานพระยากุญชรของชาวเราทั้งหลาย
อันมีงางอนงามแกล้วกล้า สามารถรู้จักเขตแห่งยุทธวิธี
ทุกอย่าง เป็นช้างเผือกขาวผ่อง ประเสริฐสุด ปก
คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลือง กำลังซับมัน สามารถย่ำยี
ศัตรูได้ ฝึกดีแล้ว พร้อมทั้งวาลวิชนีมีสีขาว เช่น
ดังเขาไกรลาศ ไฉนพระเวสสันดรราชโอรสจึงพระ-
ราชทานพระยาช้างราชพาหนะซึ่งเป็นยานชั้นเลิศ เป็น
ทรัพย์อย่างประเสริฐพร้อมทั้งฉัตรขาว เครื่องลาด
หมอช้าง และคนเลี้ยงช้างแก่พวกพราหมณ์.
[๑๐๕๙] พระเวสสันดรโอรสนั้นควรจะพระ-
ราชทาน ข้าว น้ำ ผ้านุ่งผ้าห่มและที่นั่งที่นอน สิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 489
ของเช่นนี้แลสมควรจะพระราชทาน สมควรแก่พวก
พราหมณ์ ข้าแต่พระเจ้าสัญชัย ไฉนพระเวสสันดร
ราชโอรส ผู้เป็นพระราชาโดยสืบพระวงศ์ของพระองค์
ผู้ผดุงสีพีรัฐ จึงทรงพระราชทานพระยาคชสารไป ถ้า
พระองค์จักไม่ทรงทำตามถ้อยคำของชนชาวสีพี ชน
ชาวสีพีก็เห็นจักทำพระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรสไว้
ในเงื้อมมือ.
พระเจ้าสัญชัยทรงมีพระดำรัสว่า
[๑๐๖๐] ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจะ
พินาศไปก็ตามเถิด เราไม่พึงขับไล่พระราชบุตรผู้ไม่
มีโทษจากแว่นแคว้นของตนตามคำของชาวสีพี เพราะ
พระราชบุตรเกิดจากอกของเรา ถึงชนบทจะไม่มี และ
แม้แว่นแคว้นจะพินาศไปก็ตามเถิด เราก็ไม่พึงขับไล่
พระราชบุตรผู้ไม่มีโทษจากแว่นแคว้นของตน ตาม
คำของชาวสีพี เพราะพระราชบุตรเกิดแต่ตัวเรา อนึ่ง
เราไม่พึงประทุษร้ายในพระราชบุตรนั้น เพราะเธอมี
ศีลและวัตรอันประเสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา
และเราจะพึงประสบบาปเป็นอันมาก เราจะให้ฆ่า
พระเวสสันดรบุตรของเราด้วยศาสตราอย่างไรได้.
ชาวสีพีกราบทูลว่า
[๑๐๖๑] พระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพระเวส-
สันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือศาสตราเลย ทั้งพระเวส-
สันดรนั้นก็ไม่ควรแก่เครื่องพันธนาการ แต่จงทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 490
ขับไล่พระเวสสันดรนั้นเสียจากแว่นแคว้น จงไปอยู่
ที่เขาวงกตเถิด.
พระเจ้าสัญชัยตรัสว่า
[๑๐๖๒] ถ้าความพอใจของชาวสีพีเช่นนี้ เราก็
ไม่ขัด ขอเธอจงได้อยู่และบริโภคกามทั้งหลาย ตลอด
คืนนี้ ต่อเมื่อสิ้นราตรีแล้วพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาว
สีพีจงพร้อมเพรียงกันขับไล่เธอเสียจากแว่นแคว้นเถิด.
[๑๐๖๓] ดูก่อนนายนักการ ท่านจงลุกขึ้น จง
รีบไปทูลพระเวสสันดรว่า ขอเดชะ ชาวสีพี ชาวนิคม
พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พ่อค้า ชาวนา
พราหมณาจารย์ พากันโกรธเคืองมาประชุมกันอยู่
แล้ว กองช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ทั้ง
ชาวนิคมและชาวสีพีทั้งสิ้นมาประชุมกันแล้ว เมื่อสิ้น
ราตรีนี้ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจะพรักพร้อมกัน
ขับไล่พระองค์จากแว่นแคว้น.
[๑๐๖๔] นายนักการนั้น เมื่อได้รับพระราช
ดำรัสสั่ง จึงสวมสอดเครื่องประดับมือ นุ่งห่มเรียบ
ร้อย ประพรมด้วยจุรณจันทน์ ล้างศีรษะในน้ำ สวม
กุณฑลแก้วมณีแล้ว รีบเข้าไปยังบุรีอันน่ารื่นรมย์ เป็น
ที่ประทับอยู่ของพระเวสสันดร ได้เห็นพระเวสสันดร
ทรงพระสำราญอยู่ในพระราชวังของพระองค์ อัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 491
เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่อำมาตย์ ปานประหนึ่งท้าววาสวะ
แห่งไตรทศ.
[๑๐๖๕] นายนักการนั้น ครั้นรีบไปในพระราช
นิเวศน์นั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระบาทจะกราบทูลความ
ทุกข์แด่พระองค์ ขออย่าได้ทรงกริ้วข้าพระบาทเลย
นายนักการนั้น ถวายบังคมแล้วพลางคร่ำครวญกราบ
ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ทรงชุบ
เลี้ยงข้าพระบาท ทรงนำมาซึ่งรสที่น่าใคร่ทุกอย่าง
ข้าพระบาทจะกราบทูลความทุกข์แด่พระองค์ เมื่อ
ข้าพระบาทกราบทูล ข่าวสารเรื่องทุกข์ร้อนนั้นแล้ว
ขอพระยุคลบาทจงยังข้าพระบาทให้เบาใจ ขอเดชะ
ชาวสีพี ชาวนิคม คนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร
พ่อค้า ชาวนา พราหมณาจารย์พากันโกรธเคืองมา
ประชุมกันอยู่แล้ว กองช้าง กองม้า กองรถ กอง
เดินเท้า ทั้งชาวนิคมและชาวสีพีทั้งสิน มาประชุมกัน
อยู่แล้วเมื่อสิ้นราตรีนี้ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพี
จะพรักพร้อมกันขับไล่พระองค์จากแว่นแคว้นพระ-
เจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๖๖] ดูก่อนนายนักการ เพราะเหตุไรชาว
สีพีจึงโกรธเรา ขอท่านจงบอกความชั่วแก่เรา ผู้ไม่เห็น
ความเดือดร้อนให้แจ้งชัด ด้วยเหตุไรเขาจึงขับไล่เรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 492
ราชบุรุษกราบทูลว่า
[๑๐๖๗] พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร
พ่อค้า ชาวนา พราหมณาจารย์ พวกกองช้าง กอง
ม้า กองรถ กองเดินเท้า พากันติเตียนเพราะพระ-
ราชทานพระยาช้างพระที่นั่งต้น เหตุนั้นเขาจึงขับไล่
พระองค์ พระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๖๘] เราจะให้หทัย ให้จักษุ เงิน ทอง แก้ว
มุกดา แก้วไพฑูรย์ หรือแก้วมณี เป็นทรัพย์ภายนอก
ของเรา จะเป็นอะไรไปเมื่อยาจกมาถึง เราเห็นแล้ว
ก็จงให้แขนขวาแขนซ้าย ไม่หวั่นไหวเลย ใจของเรา
ยินดีในทาน ชาวสีพีทั้งปวงจงขับไล่ จงฆ่าเราเสีย
หรือจะตัดเราให้เป็นเจ็ดท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งด
การให้ทานเลย.
ราชบุรุษกราบทูลว่า
[๑๐๖๙] ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าว
อย่างนี้ว่า พระเวสสันดรผู้มีวัตรงาม จงเสด็จไปสู่
อารัญชรคีรีทางฝั่งแม่น้ำโกนติมารา ตามทางที่พระ-
ราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๗๐] เราจักไปตามทางที่พระราชาผู้มีโทษ
เสด็จไป ขอให้ท่านทั้งหลายจงงดแก่เราคืนและวัน
หนึ่งพอให้เราได้ให้ทานก่อนเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 493
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๗๑] พระราชาตรัสตักเตือนพระมัทรีผู้มี
ความงาม ทั่วสรรพางค์ว่า ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่พี่ให้แก่พระน้องนาง และสิ่งของที่ควรสงวนอัน
เป็นของพระน้องนาง คือ เงิน ทอง แก้วมุกดาหรือ
แก้วไพฑูรย์ มีอยู่เป็นอันมาก และทรัพย์ฝ่ายพระบิดา
ของพระน้องนาง ควรเก็บไว้ทั้งหมด.
[๑๐๗๒] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้มีความงามทั่ว
สรรพางค์ได้ทูลถามพระเวสสันดรนั้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันจะเก็บไว้ที่ไหน หม่อม
ฉันทูลถามแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกเนื้อ
ความนั้นเถิด.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๐๗๓] ดูก่อนพระน้องมัทรี พึงให้ทานใน
ท่านผู้ศีลตามสมควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงยิ่ง
ไปกว่าทานไม่มี.
[๑๐๗๔] ก่อนพระน้องมัทรี เธอพึงเอาใจใส่ใน
ลูกทั้งสอง ในพระชนนีและพระชนกของพี่ อนึ่ง ผู้ใด
พึงตกลงปลงใจว่าจะเป็นพระสวามีพระน้องนาง เธอ
พึงบำรุงผู้นั้นโดยเคารพ ถ้าไม่มีใครมาตกลงปลงใจ
เป็นพระสวามีพระน้องนาง เพราะพระน้องนางกับพี่
จะต้องพลัดพรากจากกัน พระน้องนางจงแสวงหา
พระสวามีอื่นเถิด อย่าลำบากเพราะจากพี่เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 494
[๑๐๗๕] เพราะพี่จักต้องไปสู่ป่าที่น่ากลัว อัน
เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย เมื่อพี่คนเดียวอยู่ในป่า
ใหญ่ ชีวิตก็น่าสงสัย.
[๑๐๗๖] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้มีความงามทั่ว
สรรพางค์ ได้กราบทูลพระเวสสันดรว่า ไฉนหนอ
พระองค์จึงตรัสเรื่องที่ไม่เคยมีไฉนจึงตรัสเรื่องลามก
ข้าแต่พระมหาราช ข้อที่พระองค์จะพึงเสด็จพระองค์
เดียวนั้น ไม่ใช่ธรรมเนียม ข้าแต่พระมหากษัตริย์แม้
หม่อมฉันก็จะตามเสด็จไป ตามทางที่พระองค์เสด็จ
ความตายกับพระองค์นั่นแลประเสริฐกว่า เป็นอยู่เว้น
จากพระองค์จะประเสริฐอะไร ก่อไฟให้ลุกโพลง มี
เปลวเป็นอันเดียวกันตั้งอยู่แล้ว ความตายในไฟที่ลูก
โพลง มีเปลวเป็นอันเดียวกันนั้นประเสริฐกว่า เป็น
อยู่เว้นจากพระองค์จะประเสริฐอะไร นางช้างติดตาม
พระยาช้างผู้อยู่ในป่า เที่ยวไป ณ ภูเขาและที่หล่ม ที่
เสมอและไม่เสมอ ฉันใด หม่อมฉันจะพาลูกทั้งสอง
ติดตามพระองค์ไปเบื้องหลัง ฉันนั้น หม่อมฉันจัก
เป็นผู้อันพระองค์เลี้ยงง่าย จักไม่เป็นผู้อันพระองค์
เลี้ยงยาก.
พระนางมัทรีกราบทูลว่า
[๑๐๗๗] เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระ-
กุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 495
อยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อ
พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มี
เสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า
จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระ-
เนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูด
จาน่ารัก ณ อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึง
ราชสมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมาร
ทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่
ณ อาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ จักไม่ทรงระลึกถึงราช-
สมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง
๒ นี้ เล่นอยู่ ณ อาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ก็จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นพระกุมารทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมาลา ฟ้อนรำอยู่
ณ อาศรมรัมณียสถาน เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราช-
สมบัติ เมื่อใด พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมาร
ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมาลา ฟ้อนรำอยู่ ณ อาศรมอัน
เป็นที่รื่นรมย์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ
เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นกุญชรชาติมา-
ตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี เที่ยวอยู่ในป่าตัวเดียว เมื่อนั้น
จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอด
พระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี
เที่ยวไปในป่าเวลาเย็น ในเวลาเช้า เมื่อนั้น จักไม่
ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด กุญชรชาติมาตังคะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 496
มีวัยล่วง ๖๐ ปี เดินนำหน้าโขลงหมู่ช่างพังไป ส่ง
เสียงร้องก้องโกญจนาท พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้อง
ของช้างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้อง
ของช้างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
ลำเนาป่าสองข้างทาง และสิ่งที่ให้ความนำใคร่ในป่า
อันเกลื่อนกล่นไปด้วยเนื้อร้าย เมื่อนั้น จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นเนื้ออันเดินมาเป็นหมู่ๆ หมู่ละ ๕ ตัว และได้ทอด
พระเนตรเห็นพวกกินนรที่กำลังฟ้อนอยู่ เมื่อนั้น จัก
ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรง
สดับเสียงกึกก้องแห่งแม่น้ำอันมีน้ำไหลหลั่ง และเสียง
เพลงขับของพวกกินนร เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึง
ราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้องของ
นกเค้าที่เที่ยวอยู่ตามซอกเขา เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์จักได้ทรงสดับเสียง
แห่งสัตว์ร้ายในป่า คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง แรด และ
วัวลาน เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด
พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูง อันแวดล้อมไป
ด้วยนางนกยูง รำแพนหางจับอยู่เป็นกลุ่มบนยอดภูเขา
เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระ-
องค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูง มีขนปีกงามวิจิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 497
ห้อมล้อมด้วยนางนกยูงทั้งหลายรำแพนหางอยู่ เมื่อ
นั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์
ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูงมีคอเขียวมีหงอน แวดล้อม
ด้วยนางนกยูงฟ้อนอยู่ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึง
ราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
ต้นไม้อันมีดอกบาน มีกลิ่นหอมฟุ้งไปในฤดูเหมันต์
เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระ
องค์ได้ทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินอันเขียวชะอุ่ม ดาร-
ดาษไปด้วยแมลงค่อมทองในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น
จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้
ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้อันมีดอกบานสะพรั่ง คือ
อัญชันเขียวที่กำลังผลิยอดอ่อน ต้นโลท และ บัวบก
มีดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งไปในฤดูเหมันต์
เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระ
องค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นหมู่ไม้มีดอกบานสะพรั่ง
และปทุมชาติอันมีดอกร่วงหล่นในเดือนฤดูเหมันต์
เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ.
จบกัณฑ์หิมพานต์
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๗๘] สมเด็จพระนางผุสดีราชบุตรีผู้เรืองยศ
ได้ทรงสดับคำที่พระราชโอรส และพระสุณิสาพร่ำ
สนทนากัน ทรงคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษ
เสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 498
เสียดีกว่า เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้า
เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด เหตุไฉน ชาวนครสีพี
จึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เป็น
ปราชญ์เปรื่อง เป็นทานบดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่
เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก
ผู้ไม่มีโทษผิด อันท้าวพระยาบูชา ผู้มีเกียรติมียศ
เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูก
รักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เลี้ยงดูมารดาบิดา ประพฤติถ่อม
ตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะ
ให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เกื้อกูล
แก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูรญาติ
และมิตรสหาย ผู้เกื้อกูลทั่วรัฐสีมามณฑล.
พระนางผุสดีกราบทูลว่า
[๑๐๗๙] ชาวนครสีพีจะให้ขับพระราชโอรสผู้
ไม่มีโทษผิดเสีย รัฐสีมามณฑลของพระองค์ก็จะเป็น
เหมือนรังผึ้งร้าง เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน
ฉะนั้น พระองค์อันพวกอำมาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้อง
ลำบากอยู่พระองค์เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุด
ลำบากอยู่ในหนองอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ข้าแต่มหาราช
เพราะฉะนั้น เกล้ากระหม่อมฉันขอกราบทูลพระองค์
ว่า ประโยชน์อย่าได้ล่วงพระองค์ไปเสียเลย ขอ
พระองค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด
เพราะถ้อยคำของชาวนครสีพีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 499
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๐๘๐] เราทำความยำเกรงต่อพระราชประเพณี
จึงขับไล่พระราชโอรสผู้เป็นธงของชาวสีพี เราจำต้อง
ขับไล่ลูกของตน ถึงแม้จะเป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา.
พระนางผุสดีตรัสว่า
[๑๐๘๑] แต่ปางก่อนยอดธงเคยแห่ตามเสด็จ
พระเวสสันดร ดังดอกกรรณิการ์บาน วันนี้พระเวส-
สันดรจะเสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนยอดธง
เคยแห่ตามเสด็จพระเวสสันดรดังป่ากรรณิการ์ วันนี้
พระเวสสันดรจะเสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อน
กองทหารรักษาพระองค์เคยตามเสด็จพระเวสสันดร
เหมือนดอกกรรณิการ์บาน วันนี้พระเวสสันดรจะ
เสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนกองทหารรักษา
พระองค์เคยตามเสด็จพระเวสสันดร เหมือนป่ากรรณิ-
การ์ วันนี้พระเวสสันดรจะต้องเสด็จแต่พระองค์เดียว
แต่ปางก่อนทหารรักษาพระองค์ใช้ผ้ากัมพลเหลือง
เมืองคันธาระ มีสีเหลืองเรืองรองเหมือนหิ่งห้อย เคย
ตามเสด็จพระเวสสันดร วันนี้พระเวสสันดรจะเสด็จ
แต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนพระเวสสันดรเคยเสด็จ
ด้วยช้างพระที่นั่ง วอและรถทรง วันนี้จะเสด็จดำเนิน
ด้วยพระบาทอย่างไร แต่ปางก่อนพระเวสสันดรเคย
ลูบไล้องค์ด้วยจุรณแก่นจันทน์ ปลุกปลื้มด้วยการ
ฟ้อนรำขับร้อง วันนี้จักทรงแบกหนังเสืออันหยาบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 500
ขวานและหาบเครื่องบริขารไปได้อย่างไร พระเวส
สันดรเมื่อเข้าไปอยู่ในป่าใหญ่ไฉนจะไม่ต้องขนเอาผ้า
ย่อมน้ำฝาดและหนังเสือไปด้วย พระเวสสันดรเมื่อเข้า
ไปอยู่ป่าใหญ่ ไฉนจะไม่ต้องใช้ผ้าคากรอง พวกคน
ที่เป็นเจ้านายบวช จะทรงผ้าคากรองได้อย่างไรหนอ
เจ้ามัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรองได้อย่างไร แต่ปางก่อน
เจ้ามัทรีเคยทรงแต่ผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าโขมพัสตร์และ
ผ้าโกทุมพรพัสตร์ เมื่อต้องทรงผ้าคากรองจักกระทำ
อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม แต่ปางก่อนเคย
เสด็จด้วยคานหาม วอและรถทรง วันนี้จะเสด็จเดิน
ทางด้วยพระบาทได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม
มีฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ไม่เคยทำงานหนักเคยตั้งอยู่
ในความสุข วันนี้จะเสด็จเดินทางด้วยพระบาทได้
อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม มีฝ่าพระบาทอัน
อ่อนนุ่ม ไม่เคยเสด็จดำเนิน ด้วยพระบาทเปล่าตั้งอยู่
ในความสุข ทรงสวมรองเท้าทองเสด็จดำเนิน วันนี้
จะเสด็จเดินทางด้วยพระบาทได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูป
ร่างอันสวยงามทรงสิริ แต่ก่อนเคยเสด็จดำเนินข้าง
หน้านางข้าหลวงจำนวนพัน วันนี้จะเสด็จเดินป่าพระ-
องค์เดียวได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างอันสวยงาม
ขวัญอ่อน พอได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนก็สะดุ้ง วันนี้
จักเสด็จเดินป่าได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างอันสวยงาม
ขวัญอ่อน ได้สดับเสียงนกฮูกคำรามร้อง ก็กลัวตัวสั่น
เหมือนนางวารุณี วันนี้จะเสด็จเดินป่าได้อย่างไร เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 501
เกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวศน์อันว่างเปล่านี้ จักเศร้า
กำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน ดังแม่นกถูกพรากลูก
เห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันไม่
เห็นลูกรักทั้งสองก็จักซูบผอมเหมือนแม่นกถูกพรากลูก
เห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉัน
ไม่เห็นลูกรักทั้งสอง ก็จักวิ่งพล่านไปตามที่นั้น ๆ ดัง
แม่นกถูกพรากลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อ
เกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวสน์อันว่างเปล่านี้ จักเศร้า
กำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกออกถูกพราก
ลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อม
ฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสองก็จักซูบผอม ดังนางนกออก
ถูกพรากลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้า
กระหม่อมฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสอง ก็จักวิ่งพล่านไป
ตามที่นั้นๆ ดังนางนกออกถูกพรากลูกเห็นแต่รังอัน
ว่างเปล่านี้ ฉะนั้นเมื่อเกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวศน์
อันว่างเปล่านี้ ก็จักเศร้ากำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน
เป็นแน่แท้เหมือนนางนกจากพรากซบเซาอยู่ในหนอง
อันไม่มีน้ำ ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันไม่เห็นลูก
รักทั้งสอง ก็จักซูบผอมเป็นแน่แท้ เหมือนนางนก
จากพรากในหนองอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระ-
หม่อมฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสอง จักวิ่งพล่านไปตามที่
นั้น ๆ เป็นแน่แท้ เหมือนนางนกจากพรากในหนอง
อันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ก็เมื่อเกล้ากระหม่อนฉันพร่ำเพ้อ
ทูลอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะทรงให้ขับไล่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 502
พระเวสสันดรเสียจากแว่นแคว้น เกล้ากระหม่อมฉัน
เห็นจักต้องสละชีวิตเป็นแน่.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๘๒] นางสนมกำนัลในของพระเจ้าสีวิราช
ทุกถ้วนหน้า ได้ยินคำรำพันของพระนางผุสดีแล้ว
พากันมาประชุมประคองแขนทั้งสองขึ้นร่ำไห้ พระ-
โอรส พระธิดา และพระชายา ในนิเวศน์ของพระ-
เวสสันดร นอนกอดกันสะอื้นไห้ ดังหมู่ไม้รังอันถูก
พายุพัดล้มระเนระนาดแหลกรานฉะนั้น พวกชาววัง
พวกเด็ก ๆ พ่อค้าและพวกพราหมณ์ ในนิเวศน์ของ
พระเวสสันดรต่างก็ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญ
พวกกองช้าง กองม้า กองรถ และกองเดินเท้า ใน
นิเวศน์ของพระวเสสันดร ต่างก็ประคองแขนทั้งสอง
คร่ำครวญ ครั้นเมื่อสิ้นราตรีนั้น พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว
พระเวสสันดรเสด็จมาสู่โรงทาน เพื่อทรงทานโดยรับ
สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ผ้าแก่ผู้ต้องการ จงให้เหล้า
แก่พวกนักเลงเหล้า จงให้โภชนะแก่ผู้ต้องการโภชนะ
โดยทั่วถึง และอย่าเบียดเบียนพวกวณิพกผู้มาในที่นี้
อย่างไร จงเลี้ยงดูพวกวณิพกให้อิ่มหนำด้วยข้าวและ
น้ำ พวกเขาได้รับบูชาแล้วก็จงไป ครั้งนั้น เสียงดัง
กึกก้องโกลาทลน้ำหวาดเสียวเป็นไปในพระนครนั้นว่า
ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระเวสสันดร เพราะทรง
บริจาคทาน ขอให้พระองค์ได้ทรงบริจาคทานอีกเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 503
[๑๐๘๓] เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ
จะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ด
เหนื่อย ลงนั่งปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ชาวนครสีพีพากันขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีผิดเสียจาก
แว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้ที่ให้ผล
ต่าง ๆ เสีย ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพี
พากันขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่น-
แคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันทรงผล
ต่างๆ ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพีพากัน
ขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่นแคว้น
ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันให้สิ่งที่ต้องการทุก
อย่าง ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพีพากัน
ขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่นแคว้น
ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันนำรสที่ต้องการทุก
อย่างมาให้ ฉะนั้น เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะ
เสด็จออก ทั้งคนแก่ เด็ก และคนปานกลางต่างพากัน
ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อพระมหา-
ราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะเสด็จออก พวกโหรหลวง พวก
ขันที มหาดเล็กและเด็กชาต่างก็ประคองแขนทั้งสอง
ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะ
เสด็จออก แม้หญิงทั้งหลายที่มีอยู่ในพระนครนั้นต่าง
ร้องไห้คร่ำครวญ สมณพราหมณ์และวณิพก ต่างก็
ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 504
ได้ยินว่าเป็นการไม่ยุติธรรมเลย เพราะเหตุพระเวส-
สันดรทรงบำเพ็ญทานอยู่ในพระราชวังของพระองค์
จำต้องเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ เพราะ
ถ้อยคำของชาวสีพี พระเวสสันดรทรงประทานช้าง
เจ็ดร้อยเชือก ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อัน
มีสายรัด มีทั้งกูบและสัปคับทอง นายควาญถือหอก
ซัดและขอขึ้นคอประจำ แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้น
ของพระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานม้าเจ็ดร้อยตัว
อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นม้าสินธพ
ชาติอาชาไนย เป็นม้าฝีเท้าเร็ว มีนายสารถีถือทวน
และธนูขึ้นขี่ประจำ แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของ
พระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานรถเจ็ดร้อยคันอัน
ผูกสอดเครื่องรบปักธงไชยครบครัน หุ้มด้วยหนึ่งเสือ
เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการทุก
อย่าง มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ แล้วเสด็จ
ออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวสสันดรพระ-
ราชทานสตรีเจ็ดร้อยคน นั่งประจำอยู่ในรถคันละคน
สอดสวมสร้อยสังวาล ตบแต่งด้วยเครื่องทอง มีเครื่อง
ประดับ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่สี
เหลือง มีดวงตากว้าง ใบหน้ายิ้มแย้ม ตะโบกงาม
เอวบางร่างน้อย แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของ
พระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานแม่โคนมเจ็ดร้อย
ตัว พร้อมด้วยภาชนะเงินสำหรับรองน้ำนมทุก ๆ ตัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 505
แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวส-
สันดรพระราชทานทาสีเจ็ดร้อยและทาสเจ็ดร้อย แล้ว
เสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวสสันดร
พระราชทานช้าง ม้า และนารี อันประดับประดาอย่าง
สวยงาม แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์
ในกาลนั้น ได้มีสิ่งที่น่ากลัวขนพองสยองเกล้า เมื่อ
พระเวสสันดรพระราชทานมหาทานแล้ว แผ่นดินก็
หวั่นไหว ครั้งนั้นได้มีสิ่งที่น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า
พระเวสสันดรทรงประคองอัญชลีเสด็จออกจากแว่น-
แคว้นของพระองค์.
[๑๐๘๔] ครั้งนั้น เสียงดังกึกก้องโกลาหลน่า
หวาดเสียวเป็นไปในพระนครนั้นว่า ชาวนครสีพีขับไล่
พระเวสสันดรเพราะบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรง
บริจาคทานอีกเถิด.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๘๕] เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ
จะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ด
เหนื่อย นั่งลงปรับทุกข์กัน.
[๑๐๘๖] พระเวสสันดร กราบทูลพระเจ้าสัญชัย
ผู้ประเสริฐธรรมิกราชว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรง
พระกรุณาโปรดเนรเทศข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะ
ไปยังภูเขาวงกต ข้าแต่พระมหาราช สัตว์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งที่มีมาแล้ว ที่จะมีมา และที่มีอยู่ ยังไม่อิ่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 506
ด้วยกามเลย ก็ต้องไปสู่สำนักของพระยายม ข้าพระองค์
บำเพ็ญทานอยู่ในปราสาทของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียน
ชาวนครของตน จะต้องออกจากแว่นแคว้นของ
ตน เพราะถ้อยคำของชาวสีพี ข้าพระองค์จักต้องได้
เสวยความลำบากนั้น ๆ ในป่าอันเกลื่อนกล่นด้วยพาล
มฤค เป็นที่อยู่อาศัยของแรดและเสือเหลือง ข้าพระ-
องค์จะทำบุญทั้งหลาย เชิญพระองค์ประทับจมอยู่ใน
เปือกตมเถิดพระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๘๗] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอได้ทรงโปรดอนุ-
ญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอบวช ข้าพระองค์
บำเพ็ญทานอยู่ในปราสาทของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียน
ชาวนครของตน จะต้องออกจากแว่นแคว้นของตน
เพราะถ้อยคำของชาวสีพี จักต้องได้เสวยความลำบาก
นั้น ๆ ในป่าอันเกลื่อนกล่นด้วยพาลมฤค เป็นที่
อาศัยของแรดและเสือเหลือง ข้าพระองค์จะกระทำ
บุญทั้งหลาย จะไปสู่เขาวงกต.
พระนางผุสดีตรัสว่า
[๑๐๘๘] ลูกเอ๋ย แม่อนุญาตให้ลุก การบวช
ของลูกจงสำเร็จ ส่วนแม่มัทรีผู้มีความงาม ตะโพก
ผึ่งผาย เอวบางร่างน้อย จงอยู่กับลูก ๆ เถิด จักทำ
อะไรในป่าได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 507
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๐๘๙] ข้าพระองค์ไม่พยายามจะนำแม้ซึ่งนาง-
ทาสีไปสู่ป่า โดยเขาไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะ
ตามไป (ก็ตามใจ) ถ้าเขาไม่ปรารถนาก็จงอยู่.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๙๐] ลำดับนั้น พระมหาราชาเสด็จดำเนินไป
ทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีร่างกายอัน
ชะโลมจันทน์ เจ้าอย่าได้ทรงธุลีละอองเลย แม่มัทรี
เคยทรงผ้ากาสี อย่าได้ทรงผ้าคากรองเลย การอยู่ใน
ป่าเป็นความลำบาก ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีลักขณาอันงาม
เจ้าอย่าไปเลยนะ.
[๑๐๙๑] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วพระวรกาย
ได้กราบทูลพระสัสสุระนั้นว่า ความสุขอันใดจะพึงมี
แก่เกล้ากระหม่อมฉัน โดยว่างเว้นพระเวสสันดร
เกล้ากระหม่อมฉัน ไม่พึงปรารถนาความสุขอันนั้น.
[๑๐๙๒] พระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐ ได้ตรัสกะ
พระนางมัทรีนั้นว่า เชิญฟังก่อนแม่มัทรี สัตว์อันจะ
รบกวน ยากที่จะอดทนได้ มีอยู่ในป่าเป็นอันมาก คือ
เหลือบ ตั๊กแตน ยุง และผึ้งมันจะพึงเบียดเบียนเธอ
ในป่านั้น ความทุกข์อย่างยิ่งนั้นจะพึงมีแต่เธอ เธอจะ
ต้องได้พบสัตว์ที่น่ากลัวอื่น ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ
เช่นงูเหลือมเป็นสัตว์ไม่มีพิษ แต่มันมีกำลังมาก มัน
รัดมนุษย์ หรือแม้เนื้อที่มาใกล้ ๆ ด้วยลำตัว เอามาไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 508
ในขนดหางของมัน เนื้อร้ายอย่างอื่น ๆ เช่นหมีมีขนดำ
คนที่มันพบเห็นแล้ว หนีขึ้นต้นไม้ก็ไม่พ้น ควายเปลี่ยว
ขวิดเฝืออยู่ เขาทั้งคู่ปลายคมกริบ เที่ยวอยู่ในถิ่นนี้
ใกล้ฝั่งแม่น้ำโสตุมพะ ดูก่อนแม่มัทรี เธอเปรียบ
เหมือนแม่โครักลูก เห็นฝูงเนื้อและโคถึกอันท่องเที่ยว
อยู่ในป่า จักทำอย่างไร ดูก่อนแม่มัทรี เธอได้เห็น
ทะโมนไพรอันน่ากลัวที่ประจวบเข้าในหนทางที่เดินได้
ยาก ความพรั่นพรึงจักต้องมีแก่เธอ เพราะไม่รู้จักเขต
เมื่อเธออยู่ในพระนคร ได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอน ย่อม
สะดุ้งตกใจ เธอไปถึงเขาวงกตจักทำอย่างไร เมื่อฝูง
นกพากันจับเจ้าในเวลาเที่ยง ป่าใหญ่เหมือนส่งเสียง
กระหึ่ม เธอปรารถนาจะไปในป่าใหญ่นั้นทำไม.
[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความสวยงาม
ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสัญชัยนั้นว่า พระ-
องค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกสิ่งที่น่ากลัวอันมีอยู่ในป่า
แก่เกล้ากระหม่อมฉัน เกล้ากระหม่อมฉันจักยอมทน
ต่อสู้สิ่งน่ากลัวทั้งปวงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน เกล้ากระหม่อมฉัน
จักแหวกต้นเป้ง คา หญ้าคมบาง แฝก หญ้าปล้อง
หญ้ามุงกระต่าย ไปด้วยอก เกล้ากระหม่อมฉันจักไม่
เป็นผู้อันพระเวสสันดรนำไปได้ยาก อันว่ากุมารีย่อม
ได้สามีด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก คือ ด้วยการอด
อาหาร ตรากตรำท้อง ด้วยการผูกคาดไม้คางโค ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 509
การบำเรอไฟ และด้วยการดำน้ำ ความเป็นหม้าย
เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชายใดจับมือหญิง
หม้ายผู้ไม่ปรารถนาฉุดคร่าไป ชายนั้นเป็นผู้ไม่ควร
บริโภคของที่เป็นเดนของหญิงหม้ายนั้นโดยแท้ ความ
เป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้
เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชาย
อื่นให้ทุกข์มากมายมิใช่น้อย ด้วยการจับผมและเตะ
ถีบจนล้มลงที่พื้นดิน แล้วไม่ให้หลีกหนี ความเป็น
หม้ายเป็นควานเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน พวกเจ้าชู้
ผู้ต้องการหญิงหม้ายที่มีผิวพรรณผุดผ่อง ให้ของเล็ก
น้อยแล้ว สำคัญตัวว่าเป็นผู้มีโชคดีย่อมฉุดคร่าหญิง
หม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดังฝูงกาผู้กลุ้มรุมนกเค้าแมว
ฉะนั้น ความเป็นหม้าย เป็นความเผ็ดร้อนในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป
แน่นอน อันว่าหญิงหม้ายแม้จะอยู่ในตระกูลญาติอัน
เจริญรุ่งเรืองไปด้วยเครื่องทอง จะไม่ได้รับคำติเตียน
ล่วงเกินจากพี่น้องและเพื่อนฝูงก็หาไม่ ความเป็นหม้าย
เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่า
ดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาก็เปล่าดาย แม่หญิงเป็น
หม้ายก็เปล่าดาย ถึงแม้หญิงนั้นจะมีพี่น้องตั้งสิบคน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 510
ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน
อันว่าธงเป็นเครื่องหมายแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏ
แห่งไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น ภัสดาเป็น
สง่าของหญิง ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป
แน่นอน หญิงจนผู้ทรงเกียรติย่อมร่วมสุขทุกข์ของสามี
ที่จน หญิงมั่งคั่งผู้ทรงเกียรติ ย่อมร่วมสุขทุกข์ของ
สามีที่มั่งคั่ง เทพเจ้าย่อมสรรเสริญหญิงนั้นแล เพราะ
เจ้าหล่อนทำกิจที่ทำได้ยาก เกล้ากระหม่อมฉันจักบวช
ติดตามพระสวามีไปทุกเมื่อ แม่เมื่อแผ่นดินยังไม่ทำ-
ลาย ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนของหญิง เกล้า-
กระหม่อมฉันว่างเว้นพระเวสสันดรเสียแล้ว ไม่พึง
ปรารถนาแม้แผ่นดินอันมีสาครเป็นขอบเขต ทรงไว้
ซึ่งเครื่องปลื้มใจเป็นอันมาก บริบูรณ์ด้วยรัตนะต่างๆ
เมื่อสามีตกทุกข์แล้ว หญิงเหล่าใดย่อมหวังสุขเพื่อตน
หญิงเหล่านั้นเลวทรามหนอ หัวใจของหญิงเหล่านั้น
เป็นอย่างไรหนอ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐ เสด็จ
ออกแล้วเกล้ากระหม่อมฉันจักขอติดตามพระองค์ไป
เพราะพระองค์ทรงประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง
แก่เกล้ากระหม่อมฉัน.
[๑๐๙๔] พระมหาราชาได้ตรัสกะพระนางมัทรีผู้
มีความงามทั่วพระวรกายว่า ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีศุภ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 511
ลักษณ์ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาลูกรักทั้งสองของ
เธอนี้ ยังเป็นเด็ก เจ้าจงละไว้ ไปเถิด พ่อจะรับเลี้ยงดู
เด็กทั้งสองนั้นไว้เอง.
[๑๐๙๕] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความงามทั่ว
พระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ พ่อ
ชาลีและแม่กัณหาชินาทั้งสอง เป็นลูกสุดที่รักของ
เกล้ากระหม่อมฉัน ลูกทั้งสองนั้น จักยังหัวใจของ
เกล้ากระหม่อมฉันผู้มีชีวิตอันเศร้าโศกให้รื่นรมย์ใน
ป่านั้น.
[๑๐๙๖] พระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้
ตรัสกะพระนางมัทรีนั้นว่า เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าว
สาลีอันปรุงด้วยเนื้อสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จัก
ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อย
ปละ อันเป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบ
ไม้ จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยทรงภูษาแคว้นกาสี
ภูษาโขมรัฐและภูษาโกทุมพรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้า
คากรอง จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยไปด้วยคาน
หาม วอและรถ เมื่อต้องเดินด้วยเท้าเปล่า จักทำ
อย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมในเรือนยอดมีบาน
หน้าต่างปิดสนิท ไม่มีลม เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้
จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรม อันปู
ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมเครื่อง
ลาดหญ้า จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยลูกไล้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 512
กฤษณา และจันทน์หอม เมื่อต้องทรงละอองธุลี จัก
ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยตั้งอยู่ในความสุข มีผู้พัดวี
ให้ด้วยแส้จามรีและหางนกยูง ต้องถูกเหลือบและยุง
กัด จักทำอย่างไร.
[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตร ผู้มีความงาม
ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ
พระองค์อย่าได้ทรงปริเทวนาและอย่าได้ทรงเสียพระ-
ทัยเลย เกล้ากระหม่อมฉันทั้งสอง จักเป็นอย่างไร
เด็กทั้งสองก็จักเป็นอย่างนั้น พระนางมัทรีผู้มีความ
งามทั่วพระวรกาย ครั้นกราบทูลคำนี้แล้วเสด็จหลีก
ไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ ทรงพาพระโอรสและ
พระธิดาเสด็จไปตามทางที่พระเจ้าสีพีเคยเสด็จ.
[๑๐๙๘] ลำดับนั้น พระเวสสันดรขัตติยราช
ครั้นพระราชทานทานแล้ว ทรงถวายบังคมพระราชบิดา
พระราชมารดา และทรงกระทำประทักษิณแล้ว เสด็จ
ขึ้นทรงรถพระที่นั่งอันเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัวทรงพา
พระโอรสพระธิดาและพระชายาเสด็จไปสู่ภูเขาวงกต.
[๑๐๙๙] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราช เสด็จ
เข้าไปที่หมู่ชนเป็นอันมากตรัสบอกลาว่า เราขอลาไป
ละนะ ขอญาติทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีโรคเถิด.
[๑๑๐๐] เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระ-
นคร ทรงเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ครั้งนั้น แผ่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 513
ดินอันมีขุนเขาสิเนรุและราวป่าเป็นเครื่องประดับ
หวั่นไหว.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๑] เชิญดูเถิดมัทรี ที่ประทับของพระเจ้า
สีพีราชปรากฏเป็นรูปอันน่ารื่นรมย์ ส่วนมณเฑียร
ของเราเป็นดังเรือนเปรต.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๒] พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดร
นั้นไป เขาได้ขอม้ากะพระองค์ พระองค์อันพราหมณ์
ทั้งหลายทูลขอแล้ว ทรงมอบม้า ๔ ตัวให้แก่พราหมณ์
๔ คน.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๓] เชิญดูเถิดมัทรี ละมั่งทองร่างงดงาม
ใคร ๆ ไม่เห็น เป็นดังม้าที่ชำนาญนำเราไป.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๔] ต่อมา พราหมณ์คนที่ห้าในที่นั้นได้มา
ขอราชรถกะพระองค์ พระองค์ทรงมอบรถให้แก่เขา
และพระทัยของพระองค์มิได้ย่อท้อเลย.
[๑๑๐๕] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราชให้คน
ของพระองค์ลงแล้ว ทรงปลอบให้ปลงพระทัยมอบ
รถม้าให้แก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 514
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๖] ดูก่อนมัทรี เธอจงอุ้มกัณหานี้ผู้เป็น
น้องคงจะเบากว่า พี่จักอุ้มชาลี เพราะชาลีเป็นพี่คง
จะหนัก.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๗] พระราชาทรงอุ้มพระโอรส ส่วนพระ-
ราชบุตรีทรงอุ้มพระธิดา ทรงยินดีร่วมกันดำเนิน ตรัส
ปราศรัยด้วยคำอันน่ารักกะกันและกัน.
จบทานกัณฑ์
[๑๑๐๘] ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทางหรือ
เดินสวนทางมา เราจะถามมรรคากะพวกเขาว่า ภูเขา
วงกตอยู่ที่ไหน พวกเขาเห็นเราในระหว่างบรรดานั้น
จะพากันคร่ำครวญด้วยความกรุณาระทมทุกข์ ตอบ
เราว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล.
[๑๑๐๙] ครั้งนั้น พระกุมารทั้งสองทอดพระ-
เนตรเห็นต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ ทรงพระกรรแสง
เหตุประสงค์ผลไม่เหล่านั้น หมู่ไม้สูงใหญ่ดังจะเห็น
พระกุมารทั้งสองทรงพระกรรแสง จึงน้อมกิ่งลงมา
เองจนใกล้จะถึงพระกุมารทั้งสอง พระนางมัทรีผู้งด
งามทั่วพระวรกาย ทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์ไม่
เคยมี น่าขนพองสยองเกล้านี้ จึงซ้องสาธุการว่า น่า
อัศจรรย์ขนลุกขนพองไม่เคยมีในโลกหนอ ด้วยเดช
แห่งพระเวสสันดร ต้นไม้น้อมกิ่งลงมาเองได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 515
[๑๑๑๐] เทพเจ้าทั้งหลายมาช่วยย่นมรรคาให้
กษัตริย์ทั้ง ๔ เสด็จถึงเจตรัฐ โดยวันที่เสด็จออกนั่น
เอง เพื่ออนุเคราะห์พระกุมารทั้งสอง.
[๑๑๑๑] กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์นั้น ทรงดำเนิน
สิ้นมรรคายืดยาว เสด็จถึงเจตรัฐอันเป็นชนบทเจริญ
มั่งคั่ง มีมังสะและข้าวดี ๆ เป็นอันมาก.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๑๒] สตรีชาวนครเจตรัฐ เห็นพระนางมัทรี
ผู้มีศุภลักษณ์เสด็จมาก็พากันห้อมล้อมกล่าวกันว่า
พระแม่เจ้านี้เป็นสุขุมาลชาติหนอ มาเสด็จดำเนิน
พระบาทเปล่า เคยทรงคานหามสีวิกามาศและราชรถ
แห่ห้อม วันนี้ พระนางเจ้ามัทรีต้องเสด็จดำเนินใน
ป่าด้วยพระบาท.
[๑๑๑๓] พระยาเจตราชทั้งหลายได้ทัศนาเห็น
พระเวสสันดร ต่างก็ทรงกรรแสงเข้าไปเฝ้า กราบทูล
ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรง
พระสำราญไม่มีโรคาพาธแลหรือ พระองค์ไม่มีความ
ทุกข์แลหรือ พระราชธิดาของพระองค์หาพระโรคา-
พาธมิได้แลหรือ ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ ข้าแต่
พระมหาราชา พลนิลายของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน
กระบวนรถของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน พระองค์ไม่มี
ม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาสิ้นทางไกล พวก
อมิตรมาย่ำยีหรือ จึงเสด็จมาถึงทิศนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 516
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๑๔] สหายทั้งหลายเอ๋ย ข้าพเจ้ามีความสุข
ไม่มีโรคาพาธ ข้าพเจ้าไม่มีความทุกข์ อนึ่ง พระราช
บิดาของเราก็ทรงปราศจากพระโรคาพาธ และชาวสีพี
ก็สุขสำราญดี เพราะข้าพเจ้าได้ให้พระยาเศวตกุญชร-
คชาธารอันประเสริฐสุด มีงางอนงามดังงอนไถ มี
กำลังแกล้วกล้าสามารถ รู้เขตชัยภูมิแห่งสงครามทั้ง
ปวง อันลาดด้วยผ้ากัมพลเหลือง เป็นช้างซับมันอาจ
ย่ำยีศัตรูได้ มีงางาม พร้อมทั้งพัดวาลวิชนี เป็นช้าง
เผือกขาวผ่องดังเขาไกรลาส พร้อมทั้งเศวตฉัตรและ
เครื่องปูลาด ทั้งหมอช้างและควาญช้าง เป็นยานอัน
เลิศ เป็นราชพาหนะ เราได้ให้แก่พราหมณ์ เพราะ
เหตุนั้น ชาวนครสีพีพากันโกรธเคืองข้าพเจ้า ทั้ง
พระราชธิดาก็ทรงกริ้วขับไล่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไป
เขาวงกต สหายทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้
ข้าพเจ้าทราบโอกาสอันเป็นที่อยู่ในป่าเถิด.
พระเจ้าเจตราชทูลว่า
[๑๑๑๕] ข้าแต่พระมหาราช พระองค์เสด็จมา
ดีแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมาร้ายเลย พระองค์ผู้เป็น
อิสราธิบดีเสด็จมาถึงแล้วขอจงตรัสบอกพระประสงค์
สิ่งซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ข้าแต่พระมหาราช ขอเชิญ
เสวยสุธาโภชนาหารข้าวสาลี ผักดอง เหง้านั้น น้ำผึ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 517
และเนื้อ พระองค์เสด็จมาถึง เป็นแขกที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายสมควรจะต้อนรับ.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๑๖] สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้น
ทั้งหมดเป็นอันข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอัน
ท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชาทรงพิโรธ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปยังเขาวงกต ดูก่อนสหายทั้ง
หลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าทราบโอกาสอัน
เป็นที่อยู่ในป่านั้นเถิด.
พระเจ้าเจตราชทูลว่า
[๑๑๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เชิญเสด็จ
ประทับ ณ เจตรัฐนี้ก่อนเถิด จนกว่าชาวเจตรัฐจักไป
เฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูละขอให้พระองค์ทรงทราบ
ว่า พระมหาราชผู้ผดุงสีพีรัฐไม่มีโทษ ชาวเจตรัฐ
ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว มีความปรีดาจะพากันเห่ล้อม
แวดล้อมพระองค์ไป ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์
ทรงทราบอย่างนี้เถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๑๘] การไปเฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูลขอ
ให้พระองค์ทรงทราบว่าเราไม่มีโทษ ท่านทั้งหลายอย่า
ชอบใจเลย ในเรื่องนั้นแม่พระราชาก็ไม่ทรงเป็นอิสระ
เพราะถ้าชาวนครสีพีทั้งพลนิกาย และชาวนิคมโกรธ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 518
เคืองแล้ว ก็ปรารถนาจะกำจัดพระราชาเสีย เพราะ
เหตุแห่งข้าพเจ้า.
พระเจ้าเจตราชทูลว่า
[๑๑๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ผดุงรัฐ ถ้าพฤติการณ์
นั้นเป็นไปในรัฐนี้ ชาวเจตรัฐขอถวายตัวเป็นบริวาร
เชิญเสด็จครองราชสมบัติในเจตรัฐนี้ทีเดียว รัฐนี้ก็มั่ง
คั่งสมบูรณ์ ชนบทก็เพียบพูนกว้างใหญ่ ข้าแต่สมมติ-
เทพ ขอพระองค์ทรงปลงพระทัยปกครองราชสมบัติ
เถิด พระเจ้าข้า.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๒๐] ข้าพเจ้าไม่มีความพอใจ ไม่ตกลงใจ
เพื่อจะปกครองราชสมบัติ ท่านเจตบุตรทั้งหลาย ขอ
ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้าผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้น
ชาวพระนครสีพี ทั้งพลนิกายและชาวนิคม คงไม่
ยินดีว่า ชาวเจตรัฐราชาภิเษกข้าพเจ้าผู้ถูกขับไล่ไปจาก
แว่นแคว้น แม้ความไม่เบิกบานใจ พึงมีแก่ท่านทั้ง
หลาย เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ความ
บาดหมางและความทะเลาะกับชาวสีพี ข้าพเจ้าไม่ชอบ
ใจ ใช่แต่เท่านั้น ความบาดหมางพึงรุนแรงขึ้นสงคราม
อันร้ายกาจก็อาจมีได้ คนเป็นอันมากพึงฆ่าฟันกันเอง
เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าผู้เดียว สิ่งใดอันท่านทั้งหลาย
ให้แล้ว สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นอันข้าพเจ้ารับไว้แล้ว
บรรณาการ เป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 519
พระราชาทรงพิโรธข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปยังเขาวงกต
ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าทราบโอกาสเป็นที่อยู่ใน
ป่านั้นเถิด.
พวกกษัตริย์ทูลว่า
[๑๐๒๑] เชิญเถิด ราชฤาษีทั้งหลายผู้ทรงบูชาไฟ
มีพระทัยตั้งมั่น ประทับอยู่ ณ ประเทศใด ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายจักกราบทูลประเทศนั้นให้ทรงทราบ
เหมือนอย่างผู้ฉลาดในหนทาง ฉะนั้น ข้าแต่พระมหา-
ราชา โน่นภูเขาศิลาชื่อว่าคันทมาทน์ อันเป็นสถานที่
ที่พระองค์พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดาและพระชายา
สมควรจักประทับอยู่ พระเจ้าข้า.
[๑๑๒๒] พระยาเจตราชทั้งหลายก็ทรงกันแสง
พระเนตรนองด้วยอัสสุชล กราบทูลพระเวสสันดรให้
ทรงสดับว่า ข้าแต่พระมหาราชา จากนี้ไป ขอเชิญ
พระองค์ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เสด็จสัญจร
ตรงไปยังสถานที่ ที่มีภูเขานั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง
พระเจริญ ลำดับนั้นพระองค์จักทรงเห็นภูเขาเวปุล-
บรรพต อันดารดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ มีเงา
ร่มเย็น เป็นที่รื่นรมย์ใจ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระ-
เจริญ พระองค์เสด็จล่วงเลยเวปุลบรรพตนั้นแล้ว ถัด
นั้นไป จักได้ทรงเห็นแม่น้ำอันมีนามว่าเกตุมดีเป็น
แม่น้ำลึก ไหลมาจากซอกเขา เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูง
ปลาหลากหลาย มีท่าน้ำราบเรียบดี มีน้ำมาก พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 520
จะได้สรงสนานและเสวยในแม่น้ำนั้น ปลุกปลอบพระ
ราชโอรสและพระราชธิดาให้สำราญพระทัย ข้าแต่
พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ถัดนั้นไป พระองค์จะได้
ทรงเห็นต้นไทรอันมีผลหวานฉ่ำ อยู่บนยอดเขาอัน
เป็นที่รื่นรมย์ มีเงาร่มเย็น เป็นที่เบิกบานใจ ข้าแต่
พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ถัดนั้นไป พระองค์จะได้
ทรงเห็นภูเขาศิลาชื่อว่านาลิกบรรพต อันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยฝูงนกนานาชนิด เป็นที่ชุมนุมแห่งหมู่กินนร
ทางทิศอิสานแห่งนาลิกบรรพตนั้น มีสระน้ำชื่อว่า
มุจลินท์ ดาดาษไปด้วยบุณฑริกบัวขาว และดอกไม้มี
กลิ่นหอมหวาน เชิญพระองค์ผู้เป็นดังพระยาราชสีห์มี
ความจำนงเหยื่อ เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์วนสถาน
อันเป็นภูมิภาคเขียวชอุ่มดังเมฆอยู่เป็นนิตย์ สะพรั่งไป
ด้วยไม้มีดอกและไม้มีผลทั้งสองอย่างในไพรสณฑ์นั้น
มีฝูงวิหคมากมายต่าง ๆ สี มีเสียงเสนาะกลมกล่อม ต่าง
ส่งเสียงประสานกันอยู่บนต้นไม้อันเผล็ดดอกตามฤดู
กาล พระองค์เสด็จถึงซอกเขาอันเป็นทางเดินลำบาก
เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย จะได้ทอดพระเนตร
เห็นสระโบกขรณี อันดาดาษไปด้วยสลอดและกุ่มน้ำ
มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น มีท่าราบเรียบ มีน้ำ
มากเปี่ยมอยู่เสมอเป็นสระสี่เหลี่ยม มีน้ำจืดดีปราศจาก
กลิ่นเหม็น พระองค์ควรทรงสร้างบรรณศาลาทางทิศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 521
อีสาน แห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้างบรรณ-
ศาลาสำเร็จแล้ว ควรทรงบำเพ็ญเพียรเลี้ยงพระชนม์-
ชีพด้วยการเที่ยวแสวงหามูลผลาหาร.
จบวนปเวสนกัณฑ์
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๒๓] พราหมณ์ชื่อว่าชูชกอยู่ในเมืองกลิงครัฐ
ภรรยาของพราหมณ์นั้นเป็นสาว มีชื่อว่าอมิตตตาปนา
ถูกพวกหญิงในบ้านนั้น ซึ่งพากันไปตักน้ำที่ท่าน้ำมา
รุมกันด่าว่าอยู่อึงมิว่า มารดาของเจ้าคงเป็นศัตรูเป็น
แน่ และบิดาของเจ้าก็คงเป็นศัตรูแน่นอน จึงได้ยก
เจ้าซึ่งยังเป็นสาวรุ่นดรุณี ให้แก่พราหมณ์ชราเห็นปาน
นี้ไม่เกื้อกูลเลยหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึกษา
กันยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่น ๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปาน
นี้เป็นความชั่วหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึกษากัน
ยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่นๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้
เป็นความลามกมากหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึก-
ษากัน ยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่น ๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่า
เห็นปานนี้หนอ ไม่น่าพอใจเลยหนอ ที่พวกญาติของ
เจ้าแอบปรึกษากัน ยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวรุ่น ๆ ให้แก่
พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้ เจ้าคงไม่พอใจอยู่กับผัวแก่
การที่เจ้าอยู่ในเรือนของพราหมณ์เฒ่า เจ้าตายเสียดีกว่า
อยู่ ดูก่อนแม่คนงามคนสวย มารดาและบิดาของเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 522
คงหาชายอื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่ จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็น
สาวรุ่น ๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้ เจ้าคงจัก
บูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ ๙ คงจักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้
เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์ผู้มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า
ผู้มีศีล เป็นพหูสูตในโลกเป็นแน่ เจ้าจึงได้มาอยู่ใน
เรือนของพราหมณ์แก่แต่ยังสาวรุ่น ๆ อย่างนี้ การที่
ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ การที่ถูกแทงด้วยหอกก็ไม่เป็น
ทุกข์ การที่ได้เห็นผัวแก่นั้นแลพึงเป็นทุกข์ด้วย เป็น
ความร้ายกาจด้วย การเล่นหัวย่อมไม่มีกับผัวแก่ การ
รื่นรมย์ย่อมไม่มีกับผัวแก่ การเจรจาปราศรัยย่อมไม่มี
กับผัวแก่ แม้การกระซิกกระซี้ก็ไม่งาม แต่เมื่อใด
ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอกกันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้น ความ
เศร้าทุกอย่างที่เสียดแทงหทัยอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้า
ยังเป็นสาวรูปสวย พวกชายหนุ่มปรารถนายิ่งนัก เจ้า
จงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติเถิด พราหมณ์แก่จักให้เจ่า
รื่นรมย์ได้อย่างไร.
นางอมิตตตาปนากล่าวว่า
[๑๑๒๔] ดูก่อนท่านพราหมณ์ ฉันจักไม่ไปตัก
น้ำที่แม่น้ำเพื่อท่านอีกต่อไป เพราะพวกหญิงชาวบ้าน
มันรุมด่าฉัน เหตุที่ท่านเป็นคนแก่.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๒๕] เธออย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย ฉัน
จักตักน้ำเอง เธออย่าโกรธเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 523
นางกล่าวว่า
[๑๑๒๖] ฉันไม่ได้เกิดในสกุลที่ใช้สามีให้ตักน้ำ
ท่านพราหมณ์ขอจงรู้อย่างนี้ว่า ฉันจักไม่อยู่ในเรือน
ของท่าน ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่าน
พราหมณ์จงทราบอย่างนี้ว่า ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของ
ท่าน.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๒๗] ดูก่อนพราหมณี ศิลปกรรมหรือทรัพย์
และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจักนำทาสหรือทาสี
มาให้เธอแต่ที่ไหน ฉันจักบำรุงเธอ เธออย่าโกรธ
เลย.
นางกล่าวว่า
[๑๑๒๘] มานี่เถิด ฉันจักบอกแก่ท่านตามคำ
ที่ฉันได้ฟังมา พระเวสสันดรราชฤาษีประทับอยู่ ณ
เขาวงกต ท่านพราหมณ์จงไปทูลขอทาสและทาสีกะ
พระองค์เถิด เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์จัก
พระราชทานทาสและทาสแก่ท่าน.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๒๙] ฉันเป็นคนชราทุพพลภาพ ทั้งหนทาง
ก็ไกลเดินไปได้ยาก เธออย่ารำพันไปเลย อย่าเสียใจ
เลย ฉันจักบำรุงเธอ เธออย่าโกรธเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 524
นางกล่าวว่า
[๑๑๓๐] คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทัน
ได้รบก็ยอมแพ้ ฉันใด ท่านพราหมณ์ยังไม่ทันได้ไป
ก็ยอมแพ้ ฉันนั้น ถ้าท่านพราหมณ์จักไม่นำทาสหรือ
ทาสีมาให้ฉัน ขอท่านจงทราบไว้อย่างนี้ว่า ฉันจักไม่
อยู่ในเรือนของท่าน ฉันจักกระทำอาการไม่พอใจให้
แก่ท่าน ข้อนั้นจักเป็นความทุกข์ของท่าน ในคราว
มหรสพซึ่งมีในต้นฤดูนักขัตฤกษ์ ท่านจักได้เห็นฉันผู้
แต่งตัวสวยงาม รื่นรมย์อยู่กับชายอื่น ๆ ข้อนั้นจักเป็น
ทุกข์ของท่าน ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อท่านซึ่งเป็น
คนแก่รำพันอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จักงอ
ยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๓๑] ลำดับนั้น พราหมณ์ตกใจกลัว ตกอยู่
ในอำนาจของนางพราหมณี ถูกกามราคะบีบคั้น ได้
กล่าวกะนางพราหมณีว่า ดูก่อนนางพราหมณี เธอจง
ทำเสบียงเดินทางให้ฉัน ทั้งขนมงา ขนมเทียน สตู
ก้อน สตูผง และข้าวผอก เธอจงจัดให้ดี ๆ ฉันจัก
นำพระพี่น้องสองกุมารมาให้เป็นทาส พระกุมารทั้ง
สองนั้นเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน จักบำเรอเธอทั้งกลางคืน
กลางวัน.
[๑๑๓๒] พราหมณ์ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พรหม สวมรองเท้าแล้วพร่ำสั่งเสียต่อไป กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 525
ประทักษิณภรรยา สมาทานวัตรมีหน้านองด้วยน้ำตา
หลีกไปสู่นครอันเจริญรุ่งเรืองของชาวสีพี เที่ยวแสวง
หาทาสทาสี.
[๑๑๓๓] พราหมณ์ชูชกไปในนครนั้นแล้ว ได้
ถามประชาชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้น ๆ ว่า พระ-
เวสสันดรราชประทับอยู่ ณ ที่ไหน เราทั้งหลายจะไป
เฝ้าพระองค์ผู้บรมกษัตริย์ ณ ที่ไหน ชนทั้งหลายผู้มา
ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นได้ตอบพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อน
ท่านพราหมณ์พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ ถูกพวกท่าน
เบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป ต้องทรงพา
พระราชโอรส พระราชธิดา และพระอัครมเหสีไป
ประทับอยู่ ณ เขาวงกต.
[๑๑๓๔] พราหมณีนั้นผู้มีความติดใจในกาม
ถูกนางพราหมณ์ตักเตือนได้เสวยทุกข์เป็นอันมากใน
ป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้ายเป็นที่เสพอาศัยแห่ง
แรดและเสือเหลือง แกถือไม้เท้าสีเหมือนผลมะตูม
อีกทั้งเครื่องบูชาไฟและเต้าน้ำ เข้าไปสู่ป่าใหญ่ โดย
ทางที่ได้ทราบข่าวซึ่งพระหน่อกษัตริย์ผู้ประทานตาม
ประสงค์ เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปสู่ป่าใหญ่ถูกสุนัข
ล้อมไล่ ตาแกร้องเสียงขรม เดินหลงทางห่างออกไป
ไกล ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้โลภในโภคะ ไม่มีความ
สำรวม (ถูกสุนัขล้อมไล่) หลงทางที่จะไปสู่เขาวงกต
(และนั่งอยู่บนต้นไม้) ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 526
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๓๕] ใครเล่าหนอจะพึงบอกราชบุตรพระ-
นามว่า เวสสันดรผู้ประเสริฐ ทรงชำนะความตระหนี่
อันใครให้แพ้ไม่ได้ ทรงให้ความปลอดภัยในเวลามี
ภัยแก่เราได้ พระองค์เป็นที่พึ่งของพวกยาจก ดังธรณี
เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายฉะนั้น ใครจะพึงบอกซึ่ง
พระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนแม่ธรณีแก่เรา
ได้ พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของพวกยาจก ดังสาครเป็น
ที่ไหลไปรวมแห่งแม่น้ำทั้งหลายฉะนั้น ใครจะพึงบอก
ซึ่งพระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนสาครแก่เรา
ได้ พระองค์เป็นดังสระน้ำ มีท่าอันงามราบเรียบ ลง
ดื่มได้ง่าย มีน้ำเย็นเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดาดาษไปด้วย
บุณฑริกบัวขาบ สะพรั่งด้วยเกสรบัว ใครจะพึงบอก
ซึ่งพระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนสระน้ำแก่
เราได้ ใครจะพึงบอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้
เปรียบเหมือนต้นโพธิ์ใบที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็น
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อย
ล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน แก่เราได้ ใครจะพึง
บอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นไทร
ที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พัก
อาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยในเวลา
ร้อนแก่เราได้ ใครจะพึงบอกพระเวสสันดรมหาราช
ผู้เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 527
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อย
ล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อนแก่เราได้ ใครจะพึง
บอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นรัง
ที่เถิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจเป็นที่พัก
อาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาใน
เวลาร้อนแก่เราได้ ใครจะพึงบอกซึ่งพระเวสสันดร
มหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่เกิดอยู่ใกล้ทาง
มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดิน
ทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน แก่เราได้
ก็เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่ เพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ ผู้ใด
จะพึงบอกว่า เรารู้ ผู้นั้นยังความยินดีให้เกิดแก่เรา
เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่ เพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ ผู้ใด
พึงบอกที่ประทับของพระเวสสันดรว่า เรารู้จัก ผู้นั้น
ประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยวาจาคำเดียวนั้น.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๓๖] นายเจตบุตร เป็นพรานเที่ยวอยู่ในป่า
ได้ตอบแก่ชูชกนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระหน่อ
กษัตริย์ ถูกพวกท่านรบกวน เพราะทรงบำเพ็ญทาน
อย่างยิ่ง จึงถูกเนรเทศจากแคว้นของพระองค์มาประ-
ทับอยู่ ณ เขาวงกต ดูก่อนพราหมณ์ พระหน่อกษัตริย์
ถูกพวกท่านรบกวน เพราะทรงบำเพ็ญทานอย่างยิ่ง
ต้องทรงพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีมาประทับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 528
อยู่ ณ เขาวงกต ท่านผู้มีปัญญาทราม ทำแต่กิจที่ไม่
ควรทำ ยังออกจากแว่นแคว้นตามมาถึงป่าใหญ่ เที่ยว
แสวงหาพระราชบุตรดุจนกยางเที่ยวหาปลาอยู่ในน้ำ
ฉะนั้น แน่ะพราหมณ์ เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าในที่นี้
ลูกศรที่เราจะยิงนี้แหละ จักดื่มเลือดเจ้า ดูก่อน
พราหมณ์ เราจักตัดหัวของเจ้า เชือดเอาหัวใจพร้อม
ทั้งไส้พุง แล้วจักบูชาปันถสกุณยัญพร้อมด้วยเนื้อของ
เจ้า ดูก่อนพราหมณ์ เราจักเชือดหัวใจของเจ้า ยกขึ้น
เป็นเครื่องเซ่นสรวง พร้อมด้วยเนื้อ มันขึ้น และมัน
ในสมองของเจ้า ดูก่อนพราหมณ์ มันข้น จักเป็นยัญ
ที่เราบูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว ด้วยเนื้อของเจ้า
เจ้าจักนำพระมเหสี และพระโอรส พระธิดาของ
พระราชบุตรไปไม่ได้.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๓๗] ดูก่อนเจตบุตร จงฟังเราก่อน พราหมณ์
ผู้เป็นทูต เป็นคนหาโทษมิได้ เพราะเหตุนั้นแล คน
ทั้งหลายย่อมไม่ฆ่าทูต นี้เป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมา
แต่โบราณ ชาวสีพีทุกคนยินยอมแล้ว พระบิดาก็ทรง
ปรารถนาจะพบพระราชบุตร และพระมารดาของ
พระราชบุตรนั้นทรงทุพพลภาพ พระเนตรทั้งสองของ
พระมารดานั้นจักขุ่นมัวในไม่ช้า เราเป็นทูตที่ชาวสีพี
เหล่านั้นส่งมา ดูก่อนเจตบุตร จงฟังเราก่อน เราจัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 529
นำพระราชบุตรเสด็จกลับ ถ้าเจ้ารู้ จงบอกหนทาง
แก่เรา.
เจตบุตรกล่าวว่า
[๑๑๓๘] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นทูตที่รักของ
พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้
เต้าน้ำผึ้ง และขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ท่าน และ
จักบอกประเทศที่พระเวสสันดรหน่อกษัตริย์ผู้ให้สำเร็จ
ความประสงค์ประทับอยู่แก่ท่าน.
จบชูชกบรรพ
เจตบุตรกล่าวว่า
[๑๑๓๙] ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันท-
มาทน์อันล้วนแล้วด้วยหิน พระเวสสันดรเจ้า พร้อม
ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีทรงเพศนักบวช
อันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชา
ไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่น-
ดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่าน
บ่ายหน้าเดินทางไปทางทิศอุดร จะได้เห็นอาศรมนั้น
นั่นหมู่ไม้เขียวชะอุ่ม มียอดสูงตระหว่าน คือ ไม้
ตะแบก หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้ตะคร้อ ไม้
ยางทราย ย่อมหวั่นไหวไปตามลม ดังมาณพดื่มสุรา
คราวเดียวก็ซวนเซไปมาอยู่ฉะนั้น ท่านได้ฟังเสียงฝูง
นกอันจับอยู่บนกิ่งไม้ปานดังเสียงเพลงขับทิพย์ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 530
นกโพระดก นกดุเหว่า นกกระจง พลางส่งเสียงร้อง
บินจากต้นไม้โน้นมาสู่ต้นไม้นี้ ทั้งหมู่ไม้ที่ต้องลมพัด
สะบัดกิ่งและใบเสียดสีกันคล้ายกับจะเรียกคนผู้กำลัง
เดินไปให้หยุด และเหมือนดังชักชวนคนผู้จะผ่านไป
ให้ยินดีชื่นชมพักผ่อน พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วย
พระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ทรงเพศเป็น
พราหมณ์ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟ
และชฎา ทรงนุ่งห่มหนึ่งเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่าย
หน้าเดินไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.
[๑๑๔๐] ในบริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้มะม่วง
มะขวิด ขนุน ไม้รัง ไม้หว้า สมอพิเภก สมอไทย
มะขามป้อม ไม้โพธิ์ ไม้พุทรา มะพลับทอง ต้นไทร
และมะสัง มะซางหวานและมะเดื่อ มีผลสุกแดง
เรื่อ ๆ อยู่ในที่ต่ำ คล้ายงาช้าง กล้วยหอม ผลจันทน์
มีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง รวงผึ้งไม่มีตัวมีในที่นั้น คน
เอื้อมือปลิดมาบริโภคได้เอง ในบริเวณอาศรมนั้น
มีต้นมะม่วง บางต้นออกช่อแย้มบาน บางต้นมีดอก
และใบร่วงหล่น ผลิผลดาษดื่น บางอย่างยังดิบ บาง
อย่างสุกแล้ว ผลมะม่วงดิบและสุกทั้งสองอย่างนั้น มี
สีดังหลังกบ อนึ่ง ในบริเวณอาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่
ในภายใต้ก็เก็บมะม่วงสุกกินได้ ผลมะม่วงดิบและสุก
ทั้งหลาย มีสีสวย กลิ่นหอมและรสอร่อยที่สุด เหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 531
การณ์เหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน ถึง
กับข้าพเจ้าออกอุทานว่า อือ ๆ ที่ประทับอยู่ของพระ-
เวสสันดรนั้น เป็นดังที่ประทับอยู่ของทวยเทพ ย่อม
งดงามปานด้วยนันทนวัน ต้นตาล ต้นมะพร้าว และ
อินทผาลัม ที่มีอยู่ในป่าใหญ่มีดอกเรียงรายกันอยู่
เหมือนพวงมาลัยที่เขาร้อยไว้ หมู่ไม้เหล่านั้น ย่อม
ปรากฏดังยอดธงชัย ในบริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้
ต่างๆ พันธุ์ คือ ไม้มูกมัน โกฐ สะค้าน แคฝอย
ไม้บุนนาค บุนนาคเขา และไม้ทรึก มีดอกบานสะพรั่ง
สีต่าง ๆ กันเหมือนหมู่ดาว เรืองอยู่บนนภากาศฉะนั้น
อนึ่ง ในบริเวณอาศรมนั้น มีไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะ-
เกลือ กฤษณา รักดำ ต้นไทรใหญ่ ไม้รังไก่ ไม้
ประดู่ มีดอกบานสะพรั่ง ในบริเวณอาศรมนั้นมีไม้
มูกหลวง ไม้สน ไม้กะทุ่ม ไม้ช่อ ไม้ตะแบก
นางรัง ล้วนมีดอกเป็นพุ่มพวงดังลอมฟาง บานในที่
ไม่ไกลจากอาศรมนั้น มีสระโบกขรณี ณ ภูมิภาคอัน
น่ารื่นรมย์ใจ ดาดาษไปด้วยดอกปทุมชาติและอุบล
สระโบกขรณีในสวนนันทนวันของทวยเทพฉะนั้น
อนึ่ง ณ ที่ใกล้สระโบกขรณีนั้น มีฝูงนกดุเหว่าเมารส
ดอกไม้ ส่งเสียงไพเราะจับใจ ทำป่านั้นให้ดังอึกทึก
กึกก้อง ในเมื่อคราวหมู่ไม้ผลิดอกแย้มบานตามฤดูกาล
รสหวานดังน้ำผึ้งร่วงหล่นจากเกสรดอกไม้ลงมาค้างอยู่
บนใบบัวย่อมชื่อว่าน้ำผึ้งใบบัว ( ขัณฑสกร) อนึ่ง ลม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 532
ทางทิศทักษิณและทางทิศประจิมย่อมพัดมาที่อาศรม
นั้น อาศรมเป็นสถานที่เกลื่อนกล่นไปด้วยละออง
เกสรปทุมชาติในสระโบกขรณีนั้น มีกระจับขนาด
ใหญ่ ๆ ทั้งข้าวสาลีอ่อน บ้างแก่บ้างล้มดาษอยู่บนภาค
พื้น และในสระโบกขรณีนั้น น้ำใสสะอาดมองเห็น
ฝูงปลา เต่าและปูเป็นอันมาก สัญจรไปมาเป็นหมู่ ๆ
รสหวานปานน้ำผึ้งย่อมไหลออกจากเหง้าบัว รสมัน
ปานนมสดและเนยใสย่อมไหลออกจากสายบัว ป่านั้น
มีกลิ่นหอมต่างๆ ที่ลมรำเพยพัดมา ย่อมหอมฟุ้ง
ตระหลบไป ป่านั้นเหมือนดังจะชวนเชิญคนที่มาถึง
แล้วให้เบิกบาน ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้ที่มีกลิ่นหอม
แมลงภู่ทั้งหลายต่างก็บินว่อนวู่บันลือเสียงอยู่โดยรอบ
ด้วยกลิ่นดอกไม้ อนึ่ง ที่ใกล้อาศรมนั้น ฝูงวิหคเป็น
อันมากมีสีต่าง ๆ กัน บันเทิงอยู่กับคู่ของตนๆ ร่ำร้อง
ขานขันแก่กันและกัน มีฝูงนกอีกสี่หมู่ทำรังอยู่ใกล้
สระโบกขรณี คือ หมู่ที่ ๑ ชื่อว่านันทิกา ย่อมร้องทูล
เชิญพระเวสสันดรเจ้า ให้ชื่นชมยินดีอยู่ในป่านี้ หมู่
ที่ ๒ ชื่อว่า ชีวปุตตา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระ-
เวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดาและ
พระอัครมเหสี จงมีพระชนม์ยืนนาน ด้วยความสุข
สำราญ หมู่ที่ ๓ ชื่อว่า ชีวปุตตาปิยาจโน ย่อมร่ำร้อง
ถวายพระพรให้พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระราชโอรส
พระราชธิดา และพระอัครมเหสีผู้เป็นที่รักของพระ-
องค์จงพระสำราญ มีพระชนมายุยืนนานไม่มีข้าศึก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 533
ศัตรู หมู่ที่ ๓ ชื่อว่า ปิยาปุตตา ปิยานันทา ย่อมร่ำ
ร้องถวายพระพรให้พระราชโอรส พระราชธิดาและ
พระอัครมเหสีจงเป็นที่รักของพระองค์ ขอพระองค์
จงเป็นที่รักของพระราชโอรสพระราชธิดาและพระ-
อัครมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัสต่อกันและกัน ดอกไม้
ทั้งหลายย่อมตั้งเรียงรายกันอยู่ เหมือนพวงมาลัยที่เขา
ร้อยไว้ หมู่ไม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏดังยอดธงชัยมีดอก
สีต่าง ๆ กัน ดังนายช่างผู้ฉลาดเก็บมาร้อยกรองไว้
พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา
และพระมเหสีทรงเพศเป็นพราหมณ์ ทรงขอสำหรับ
สอยผลไม้เครื่องบูชาไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนัง
เสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟประทับอยู่ ณ
อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดร จะได้เห็น
อาศรมนั้น.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๔๑ ] เออก็ข้าวสตูผงอันระคนด้วยน้ำผึ้งและ
ข้าวสตูก้อนมีรสหวานอร่อยของลุงนี้ อันนางอมิตต-
ดาจัดแจงให้แล้ว ลุงจะแบ่งให้แก่เจ้า.
เจตบุตรกล่าวว่า
[๑๑๔๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ จงเอาไว้เป็น
เสบียงทาง ขอเชิญท่านจงรับน้ำผึ้งกับขาเนื้อย่าง
จากสำนักของข้าพเจ้านี้ เอาไปเป็นเสบียงทางอีกด้วย
และขอท่านจงไปตามสบายเถิด หนทางนี้เป็นทาง
เดินได้คนเดียว ตรงลิ่วไปถึงอาศรมของอจุตฤาษี แม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 534
อจุตฤาษีอยู่ในอาศรมนั้นฟันเขลอะ มีผมเกลือกกลั้ว
ธุลี ทรงเพศเป็นพราหมณ์ มีขอสำหรับสอยผลไม้
เครื่องบูชาไฟและชฎา นุ่งห่มหนังเสือ นอนเหนือ
แผ่นดิน บูชาไฟ ลุงไปถึงแล้วเชิญถามท่านเถิดท่าน
จักบอกหนทางให้แก่ลุง.
[๑๑๔๓] ชูชกเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ ได้
ฟังคำของเจตบุตรดังนี้แล้ว มีจิตยินดีเป็นอย่างยิ่ง
กระทำประทักษิณเจตบุตรแล้วได้เดินทางตรงไป ณ
สถานที่อันอจุตฤาษีสถิตอยู่.
จบจุลวนวรรณนา
[๑๑๔๔] ชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้น เมื่อ
เดินไปตามทางที่เจตบุตรพรานป่าแนะให้ ก็ได้พบ
อจุตฤาษี ครั้นแล้วได้เจรจาปราศรัยกับอจุตฤาษี ไต่
ถามถึงทุกข์สุขว่า พระคุณเจ้าไม่มีโรคาพาธเบียดเบียน
หรือ เป็นสุขสบายดีหรือ เยียวยาอัตภาพด้วยการ
แสวงหาผลไม้สะดวกหรือ มูลมันผลไม้มีมากหรือ
เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานจะมีน้อยกระมัง ใน
ป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยเนื้อร้ายไม่มีกล้ำกลายเข้ามา
รบกวนแหละหรือ.
อจุตฤาษีกล่าวว่า
[๑๑๔๕] ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่มีโรคาพาธ
เบียดเบียน เราเป็นสุขสบายดี เยียวยาอัตภาพด้วยการ
แสวงหาผลไม้สะดวกดี มูลมันผลไม้ก็มีมาก อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 535
เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานก็น้อยในป่าอันเกลื่อน
กลาดไปด้วยเนื้อร้าย ไม่มีกล้ำกรายมารบกวนเราเลย
เมื่อเรามาอยู่ในอาศรมสิ้นจำนวนปีเป็นอันมาก เราไม่
รู้สึกถึงความอาพาธอันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจเกิดขึ้นเลย
ดูก่อนมหาพราหมณี ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ท่านมิได้
มาร้าย ดูก่อน ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปภายใน
เชิญล้างเท้าทั้งสองของท่าน ผลมะพลับ ผลมะหาด
ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานคล้ายน้ำผึ้ง เชิญ
ท่านเลือกบริโภคแต่ผลที่ดี ๆ แม้น้ำฉันก็เย็นสนิทเรา
นำมาจากซอกเขา ดูก่อนมหาพราหมณ์ ถ้าท่านจำนง
หวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๔๖] สิ่งใดอันพระคุณเจ้าให้แล้ว สิ่งนั้น
ทั้งหมดข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้า
กระทำแล้วทุกอย่าง ข้าพเจ้ามาแล้วเพื่อจะเยี่ยมเยียน
พระเวสสันดรราชฤาษี ราชโอรสของพระเจ้ากรุง-
สัญชัย ซึ่งพลัดพรากจากชาวสีพีมาช้านาน ถ้าพระ-
คุณเจ้าทราบสถานที่ประทับ โปรดแจ้งแก่ข้าพเจ้าด้วย
เถิด.
ดาบสกล่าวว่า
[๑๑๔๗] ท่านมานี่เพื่อเป็นศรีสวัสดิ์ เพื่อมา
เยี่ยมเยียนพระเวสสันดรเจ้าก็หาไม่ เราเข้าใจว่าท่าน
ปรารถนา (จะมาขอ) พระอัครมเหสีผู้เคารพนบนอบ
พระราชสวามีไปเป็นภรรยา หรือมิฉะนั้นท่านก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 536
ปรารถนา (จะมาขอ) พระกัณหาชินาราชกุมารีและ
พระชาลีราชกุมารไปเป็นทาสทาสี หรือไม่ก็มาเพื่อจะ
นำเอาพระมารดาและพระราชกุมารทั้งสามพระองค์ไป
จากป่า ดูก่อนพราหมณ์ โภคสมบัติทรัพย์และข้าว
เปลือกของพระองค์มิได้มี.
ชูชกกล่าวว่า
[๑๑๔๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านยังไม่สมควรจะ
โกรธเคืองเพราะข้าพเจ้ามิได้มาเพื่อขอทาน การพบ
เห็นอริยชนเป็นความดี การอยู่ร่วมกับอริยชนเป็นสุข
ทุกเมื่อ พระเวสสันดรสีพีราชเสด็จพลัดพรากจาก
ชาวสีพีมา ข้าพเจ้ายังมิได้เห็นเลย ข้าพเจ้ามาเพื่อจะ
เยี่ยมเยียนพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้าทราบสถานที่ประทับ
โปรดแจ้งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
ดาบสกล่าวว่า
[๑๑๔๙] ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธ-
มาทน์อันล้วนแล้วด้วยหิน พระเวสสันดรเจ้า พร้อม
ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ทรงเพศนักบวช
อันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟ
และชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้า
เดินไปทางทิศอุดร จะได้เห็นอาศรมนั้น นั้นหมู่ไม้
เขียวชะอุ่ม ทรงผลต่างๆ ปรากฏดังภูเขาอัญชนบรรพต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 537
เขียวชะอุ่ม มียอดสูงตระหง่าน คือ ไม้ตะแบก หูกวาง
ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้ตะคร้อ ไม่ยางทรายย่อมหวั่น
ไหวไปตามลม ดังมาณพดื่มสุราคราวเดียวก็ซวนเซ
ไปมาอยู่ ฉะนั้น ท่านจะได้ฟังเสียงฝูงนกอันจักอยู่บน
กิ่งไม้ ปานดังเสียงเพลงทิพย์ คือ นกโพระดก นก
ดุเหว่า นกกระจงส่งเสียงร้องบินจากต้นไม้โน่นมาสู่
ต้นไม้นี้ ทั้งหมู่ไม้ที่ต้องลมพัดสะบัดกิ่งและใบเสียดสี
กัน คล้ายกับจะเรียกคนผู้กำลังเดินทางไปให้หยุด
และเหมือนดังชักชวนผู้จะผ่านให้ยินดีชื่นชมพักผ่อน
พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วยพระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสี ทรงเพศเป็นนักบวชอันประเสริฐ ทรงขอ
สำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟและใส่ชฎา ทรง
นุ่งห่มหนังสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ
ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้าเดินทางไป
ทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น ที่ภูมิภาคอันน่ารื่น-
รมย์ใจ มีดอกกุ่มตกอยู่เรี่ยราด พื้นแผ่นดินเขียวชะอุ่ม
ไปด้วยหญ้าแพรก ณ ที่นั้นไม่มีธุลีฟุ้งขึ้นเลย หญ้านั้น
มีสีเขียวคล้ายขนคอนกยูงเปรียบด้วยสัมผัสแห่งสำลี
หญ้าทั้งหลายโดยรอบ ยาวไม่เกิน ๔ องคุลี ต้นมะม่วง
ต้นชมพู่ ต้นมะขวิดและมะเดื่อ มีผลสุก ๆ อยู่ในที่
ต่ำ ๆ ป่าไม้นั้นเป็นที่ให้เจริญความยินดี เพราะมีหมู่ไม้
ผลบริโภคได้เป็นอันมาก น้ำใสสะอาดกลิ่นหอมดี สี
ดังแก้วไพฑูรย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลา ไหลหลั่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 538
มาในป่านั้น ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจในที่ไม่ไกล
อาศรมนั้น มีสระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมชาติ
และอุบล เหมือนดังที่มีอยู่ในนันทวันของทวยเทพ
ดูก่อนพราหมณ์ ในสระนั้นมีอุบลชาติ ๓ ชนิด คือ
เขียว ขาว และแดง งามวิจิตรมากมาย.
พระดาบสกล่าวว่า
[๑๑๕๐] ในสระนั้นมีปทุมชาติดาษดื่น สีขาว
ดังผ้าโขมพัสตร์ สระนั้นชื่อว่า มุจลินท์ ดารดาษไป
ด้วยอุบลขาว จงกลณี และผักทอดยอด อนึ่งเล่า
ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบานสะพรั่ง ปรากฏหา
กำหนดประมาณมิได้ บ้างก็บานในคิมหันตฤดู บ้าง
ก็บานในเหมันตฤดู ปรากฏเหมือนตั้งอยู่ในน้ำลึก
ประมาณเพียงเข้า ปทุมชาติอันงามวิจิตรชูดอกสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตระหลบไป หมู่ภมรโผผินบินว่อน
เสียงวู่ ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ.
[๑๑๕๑] ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่งเล่า ที่ใกล้ขอบ
สระนั้นมีต้นไม้หลากหลายขึ้นออกสะพรั่ง คือ ต้น
กระทุ่ม ต้นแคฝอย และต้นทองหลาง ผลิดอกออก
สะพรั่ง ไม้ปรู ไม่ทราก ต้นปาริชาตดอกบานสะพรั่ง
ต้นกากะทิง ต้นไม้เหล่านี้มีอยู่ที่สองฟากปากสระมุจ-
ลินท์ ต้นซึก ต้นแคขาว บัวบก ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไป
ต้นคนทิสอ ต้นคนทิเขมา และต้นประดู่มีอยู่ ณ ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 539
ใกล้สระนั้น ดอกสะพรั่ง ต้นมะคำไก่ ไม้มะทราง
ต้นเก้า ต้นมะรุม การะเกด กรรณิการ์ และชะบา
ไม้รกฟ้า ไม้อินทนิล ไม้สะท้อน และทองกวาวมีดอก
แย้มบาน ผลิดอกออกยอดพร้อม ๆ กัน รุ่งเรืองงาม
ไม่มะรื่น ไม้ตีนเป็ด กล้วย ต้นคำฝอย นมแมว คนทา
ประดู่ลาย ต้นสลอด มีดอกบานสะพรั่ง ต้นมะไฟ
ต้นงิ้ว ไม้ช้างน้าว พุดขาว กฤษณา โกฐเขมา
โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง ต้นไม้ในบริเวณสระนั้น
มีทั้งอ่อนและแก่ ต้นตรงไม่คองอ ดอกบานตั้งอยู่
สองข้างอาศรมโดยรอบเรือนไฟ.
[๑๑๕๒] อนึ่ง พันธุ์ไม้เป็นอันมาก เกิดขึ้น
ใกล้ขอบสระนั้น คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส
สาหร่าย สันตะวา น้ำในสระนั้นถูกลมรำเพยพัด
เกิดเป็นระลอกกระทบฝั่ง มีหมู่แมลงบินวู่ว่อนเคล้า
เอาเกสรดอกไม่ที่แย้มบาน สีเสียดเทศ เต่าร้าง ผักบุ้ง
ร้วม มีมากในที่ต่างๆ ดูก่อนพราหมณ์ ต้นไม้ทั้งหลาย
ดารดาษไปด้วยกล้วยไม้ กลิ่นแห่งบุปผชาติดังกล่าว
แล้วนั้น หอมตระหลบอยู่ ๗ วัน ไม่พลันหาย บุปผ-
ชาติเกิดอยู่เรียงรายสองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นดารดาษ
ไปด้วยต้นราชพฤกษ์ย่อมงดงาม กลีบดอกราชพฤกษ์
นั้นหอมตระหลบอยู่กึ่งเดือนไม่เลือนหาย อัญชันเขียว
อัญชันขาว กุ่มแดงดอกบานสะพรั่ง ป่านั้นดารดาษไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 540
ด้วยอบเชยและแมงลัก เหมือนดังจะให้คนเบิกบานใจ
ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้อันมีกลิ่นหอม เหล่าภมรโผผิน
บินว่อนเสียงวู่ ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่ง
บุปผชาติ ดูก่อนพราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้น มีฟักแฟง
แตงน้ำเต้า ๓ ชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสอง
ชนิดผลโตเท่าตะโพน.
[๑๑๕๓] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีผักกาด กระเทียม
หอม เป็นอันมาก ต้นเต่ารั้งตั้งอยู่สล้างดังต้นตาล
อุบลเขียวมีเป็นอันมาก ขึ้นอยู่ริมน้ำพอเอื้อมเด็ดได้
มะลิวัน นมตำเลีย หญ้านาง อบเชย อโศก เทียนป่า
ดอกเข็ม หางช้าง อังกาบ กากะทิง กระลำพัก
ทองเครือ ดอกแย้มบานสะพรั่งขึ้นขนาน ต้นชุมแสง
ขึ้นแซงแซกคัดเค้าและชะเอม มะลิซ้อน หงอนไก่
เทพทาโร แคฝอย ฝ้ายทะเล กรรณิการ์ดอกเบ่งบาน
งาม ปรากฏดังตาข่ายทองเปรียบด้วยเปลวไฟ บุปผ-
ชาติเกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ปรากฏมีในสระนั้น
ทุกอย่าง สระมุจลินท์มีน้ำมาก เป็นที่รื่นรมย์ ด้วย
ประการฉะนี้.
[๑๑๕๔] อนึ่ง ในสระนั้นมีปลาซึ่งว่ายอยู่ในน้ำ
มากมาย คือ ปลาตะเพียน ปลาซ่อน ปลาดุก จระเข้
ปลาฉลาม ณ ที่ใกล้สระนั้น มีชะเอมต้น ชะเอมเครือ
กำยาน ประยงค์ เนรภูสี แห้วหมู สัตตบุษย์ สมุล-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 541
แว้ง พิมเสน สามสิบ และกฤษณา เถากะไดลิง มี
มากมาย บัวบก โกฐขาว กระทุ่มเลือด ต้นหนาด
ขมิ้น แก้วหอม หรดาล คำ คูน สมอพิเภก ไคร้-
เครือ พิมเสน และรางแดง.
[๑๑๕๕] อนึ่ง ในป่านั้นมีสัตว์หลายจำพวก คือ
ราชสีห์ เสือโคร่ง ยักษิณีหน้าฬา ช้างพัง ช้างพราย
เนื้อทราย เนื้อฟาน ละมั่ง นางเห็น หมาจิ้งจอก
หมาไน บ่าง กระรอก จามรี ชะนี ลิงลม ค่าง
ลิง ลิงจุ่น กวาง กระทิง หมี วัวเถื่อน มีมากมาย
แรด หมู พังพอน งูเห่า มีอยู่ที่ใกล้สระนั้นเป็นอัน
มาก กระบือ หมาไน หมาจิ้งจอก กิ้งก่า จะกวด
เหี้ย เสือดาว เสือเหลือง มีอยู่โดยรอบ กระต่าย
แร้ง ราชสีห์ และเสือปลา มีอยู่มากหลาย มีสกุณ-
ชาติมากมาย คือ นกกวัก นกยูง หงส์ขาว ไก่ฟ้า
ไก่ป่า ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากันและกัน
นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด
นกกะเรียน เหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง นกช้อนหอย นก
พริก นกคับแค นกแขวก นกกด นกกระเต็นใหญ่
นกนางแอ่น นกคุ่ม นกกะทา นกกระทุง นกกระจอก
นกกระจาบ นกกระเต็นน้อย นกกางเขน นกการ-
เวก นกแอ่นลม นกเงือก นกออก สระมุจลินท์
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนกนานาชนิด กึกก้องไปด้วย
เสียงสัตว์ต่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 542
[๑๑๕๖] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกมากมาย มี
ขนปีกงามวิจิตร มีเสียงไพเราะเสนาะโสต ย่อมปรา-
โมทย์อยู่กับคู่เคียงส่งเสียงกู่ก้องร้องหากันและกันอนึ่ง
ที่ใกล้สระนั้น มีฝูงสกุณาทิชาชาติส่งเสียงร้องไพเราะ
ไม่ขาดสาย มีตางามประกอบด้วยเบ้าตาขาว มีขนปีก
ขนหางงามวิจิตร อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีฝูงนกยูง ส่ง
เสียงร้องไพเราะไม่ขาดสาย มีสร้อยคอเขียว ส่งเสียง
ร้องหากันและกัน ไก่เถื่อน ไก่ฟ้า นกเปล้า นก
นางนวล เหยี่ยวดำ เหยี่ยวนกเขา นกกาน้ำ นก
แขกเต้า นกสาลิกา อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกเป็น
อันมาก เป็นพวก ๆ คือ เหลือง แดง ขาว นกหัสดี-
ลิงค์ พระยาหงส์ทอง นกกาน้ำ นกแขกเต้า นก
ดุเหว่า นกออก หงส์ขาว นกช้อนหอย นกเค้าแมว
ห่าน นกยาง นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกพิราบ
หงส์แดง นกจากพราก นกเป็ดน้ำ นกหัสดีลิงค์ ส่ง
เสียงร้องน่ารื่นรมย์ใจ เหล่าสกุณาทิชาชาติดังกล่าว
แล้ว ต่างก็ส่งเสียงกู่ร้องหากัน ทั้งเช้าและเย็นเป็น
นิรันดร์ อนึ่งที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติมากมายสี
ต่าง ๆ กัน ย่อมบันเทิงอยู่กับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้อง
ร้องเข้าหากันและกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีสกุณา
ทิชาชาติมากมายสีต่าง ๆ กัน ทุก ๆ ตัวต่างส่งเสียงอัน
ไพเราะระงมไพร ที่ใกล้สองฝั่งสระมุจลินท์ อนึ่ง ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 543
ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่าการเวกมากมาย
ย่อมปราโมทย์อยู่ลับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้องร้องหากัน
และกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่า
การเวก ทุก ๆ ตัวต่างส่งเสียงอันไพเราะระงมไพร
อยู่ที่สองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นเกลื่อนกลาดไปด้วย
เนื้อทรายและเนื้อฟาน เป็นสถานที่เสพอาศัยของช้าง
พลายและช้างพัง ดาษดื่นไปด้วยเถาวัลย์นานาชนิด
และเป็นที่อาศัยของฝูงชะมด อนึ่ง ที่ป่านั้น มีธัญญ-
ชาติมากมาย คือ หญ้ากับแก้ ลูกเดือย ข้าวสาลี
อ้อย มิใช่น้อยเกิดเองในที่ไม่ได้ไถ ทางนี้เป็นทาง
เดินได้คนเดียว เป็นทางตรงไปจนถึงอาศรม คนผู้
ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรนั้นแล้ว ย่อมไม่มี
ความหิวกระหายหรือความไม่ยินดี พระเวสสันดรเจ้า
พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดา และมเหสี ทรงเพศ
นักบวชอันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่อง
บูชาไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือ
แผ่นดิน ทรงบูชาไฟประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อ
ท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.
[๑๑๕๗] ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพราหมณ์ครั้น
สดับถ้อยคำของอจุตฤาษี กระทำประทักษิณ มีจิตชื่น
ชมโสมนัส อำลามุ่งหน้าไปยังสถานที่ประทับของ
พระเวสสันดร.
จบมหาวนวรรณนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 544
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๕๘] ดูก่อนพ่อชาลี เจ้าจงลุกขึ้นยืนเถิด
การมาของพวกยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของ
พวกยาจกครั้งก่อน ๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความ
ชื่นชมยินดีทำให้พ่อมีความเกษมศานติ์.
พระชาลีกุมารกราบทูลว่า
[๑๑๕๙] ข้าแต่พระชนกนาถ แม้เกล้ากระหม่อม
ฉันก็เห็นผู้นั้นปรากฏเหมือนพราหมณ์ ดูเหมือนเป็น
คนเดินทาง จักเป็นแขกของเราทั้งหลาย.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๐] พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือหนอ พระ-
องค์ทรงพระสำราญดีหรือ ทรงเยียวยาอัตภาพด้วย
การแสวงหาผลาหารสะดวกหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี
มากหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแล
หรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ไม่มีมา
เบียดเบียนแลหรือ.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๖๑] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีโรคา-
พาธเบียดเบียน อนึ่ง เราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี
เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดี ทั้งมูล
มันผลไม้ก็มีมาก ทั้งเหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานก็มี
น้อย อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็
ไม่มีมาเบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่ามี
ชีวิตอันตรมเกรียมมาตลอด ๗ เดือน เราเพิ่งเห็นท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 545
ผู้เป็นพราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้
เท้าสีดังผลมะตูมและลักจั่นน้ำนี้เป็นคนแรก ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ท่านมิได้มาร้าย
ดูก่อนท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้ามาภายในเถิด เชิญ
ท่านล้างเท้าของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด
ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญ
เลือกฉันแต่ผลที่ดี ๆ เถิดท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็
เย็นสนิท เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้า
ท่านจำนงหวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม
ท่านมาถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถาม
แล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๒] ห่วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม
ตลอดเวลาไม่เหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัย
เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉัน
กราบทูลขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราช-
ทานสองปิโยรสแก่ข้าพระองค์เถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๖๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรายอมให้ มิได้หวั่น
ไหว ท่านจงเป็นใหญ่พาเอาลูกทั้งสองของเราไปเถิด
พระราชบุตรีมารดาของลูกทั้งสองนี้ เสด็จไปป่าแต่
เช้าเพื่อแสวงหาผลไม้ จักกลับจากการแสวงหาผลไม้
ในเวลาเย็น ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านพักอยู่ราตรีหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 546
แล้วจึงไปในเวลาเช้า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงพาเอา
ลูกรักทั้งสอง อันประดับด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ตกแต่ง
ด้วยของหอมนานา พร้อมด้วยมูลมันและผลไม้หลาย
ชนิดไปเถิด.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์
ไม่ชอบใจการพักอยู่ ข้าพระองค์ยินดีจะไป แม้อันตราย
จะพึงมีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอทูลลาไปทีเดียว
เพราะว่าธรรมดาสตรีเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ
ย่อมทำอันตรายต่อบุญของทายกและลาภของยาจก
ย่อมรู้มารยา ย่อมรับสิ่งทั้งปวงโดยข้างซ้าย เมื่อฝ่า
พระบาทบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา ฝ่าพระบาท
อย่าได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ พระมารดาของพระปิโย-
รสนั้นพึงกระทำแม้อันตรายได้ ข้าพระองค์ขอทูลลา
ไปทีเดียว ขอพระองค์จงตรัสเรียกพระลูกแก้วทั้งสอง
นั้นมาอย่าให้พระลูกแก้วทั้งสองได้ทันเห็นพระชนนีเลย
เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา บุญ
ย่อมเจริญด้วยอาการอย่างนี้ ขอพระองค์ตรัสเรียก
พระลูกแก้วทั้งสองนั้นมา อย่าให้พระลูกแก้วทั้งสอง
ได้ทันเห็นพระชนนีเลย ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรง
ประทานทรัพย์ คือพระโอรสพระธิดาแก่ยาจกเช่น
ข้าพระองค์แล้ว จักเสด็จไปสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 547
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๖๕] ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะเห็นภริยาของ
เราผู้มีวัตรอันงามไซร้ ท่านก็จงทูลถวายชาลีกัณหาชินา
ทั้งสองนี้ แก่พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้พระอัยยกา ท้าว
เธอทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียง
ไพเราะ กล่าววาจาน่ารัก จะทรงปลื้มพระหฤทัยปรีดา
ปราโมทย์ จักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๖] ข้าแต่พระราชบุตร ขอพระองค์ทรง
ฟังข้าพระองค์ ข้าพระองค์กลัวต่อการที่จะถูกหาว่า
ฉกชิงเอาไป สมเด็จพระเจ้าสญชัยมหาราชจะลงพระ-
ราชอาชญาข้าพระองค์ คือ จะพึงทรงขายหรือให้
ประหารชีวิต ข้าพระองค์จะขาดทั้งทรัพย์ทั้งทาสและ
จะพึงถูกนางพราหมณี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ติเตียน
ได้.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๖๗] พระมหาราชาทรงสถิตในธรรม ทรง
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญได้ทอดพระเนตรเห็นสองพระกุมาร
นี้ผู้มีเสียงไพเราะกล่าววาจาน่ารัก ได้พระปีติโสมนัส
แล้วจักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๘] พระองค์ทรงพร่ำสอนข้าพระองค์สิ่ง
ใด ๆ ข้าพระองค์จักทำสิ่งนั้น ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 548
นำสองพระกุมารไปเป็นทาสรับใช้ของนางพราหมณี.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๖๙] ลำดับนั้น พระกุมารทั้งสอง คือ พระ
ชาลี และพระกัณหาชินาได้สดับคำของชูชก ผู้หยาบ
ช้า ตกพระทัยกลัว จึงพากันเสด็จวิ่งหนีไปในที่นั้น ๆ
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๗๐] ดูก่อนพ่อชาลีลูกรัก มานี่เถิด ลูกทั้ง
สองจงยังบารมีของพ่อให้เต็ม จงช่วยโสรจสรงหทัย
ของพ่อให้เย็นฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสอง
จงเป็นดังยานนาวาของพ่อ อันไม่หวั่นไหวในสาคร
คือภพ พ่อจักข้ามซึ่งฝั่งคือชาติ จักยังสัตว์โลกพร้อม
ทั้งทวยเทพให้ข้ามด้วย ดูก่อนลูกกัณหามานี่เถิด เจ้า
เป็นธิดาที่รัก ทานบารมีก็เป็นที่รักของพ่อ จงช่วย
โสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็นฉ่ำ ขอจงทำตามคำของ
พ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นยานนาวาของพ่อ อันไม่
หวั่นไหวในสาครคือภพ พ่อจักข้ามซึ่งฝั่ง คือชาติ
จักช่วยสัตวโลกพร้อมทั้งทวยเทพให้ข้ามด้วย.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๗๑] ลำดับนั้น พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐ
ให้เจริญ ทรงพาพระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ
พระกัณหาชินา มาพระราชทานให้เป็นปุตตกทานแก่
พราหมณ์ ลำดับนั้น พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 549
เจริญ ทรงพาพระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ
พระกัณหาชินา มาพระราชทานให้แก่พราหมณ์ มี
พระหฤทัยชื่นบานในปุตตกทานอันอุดม ในครั้งนั้น
เมื่อพระเวสสันดรราชฤาษี พระราชทานพระกุมารทั้ง
สอง ก็บังเกิดมีความบันลือลั่นน่าสะพึงกลัว ขนพอง
สยองเกล้า เมทนีดลก็หวั่นไหว พระเวสสันดรเจ้าผู้
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ทรงประคองอัญชลี พระราชทาน
สองพระกุมารผู้เจริญด้วยความสุขให้เป็นทานแก่
พราหมณ์ ก็บังเกิดมีความบันลือลั่น น่าสะพึงกลัวขน
พองสยองเกล้า.
[ ๑๑๗๒] ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้หยาบช้านั้น เอา
ฟันกัดเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว เอามาผูกพระหัตถ์ พระ-
กุมารทั้งสอง ฉุดกระชากลากมา แต่นั้นพราหมณ์นั้น
จับเถาวัลย์ถือไม้เท้าทุบตีพระกุมารทั้งสองนำไป เมื่อ
พระเวสสันดรสีพีราช กำลังทอดพระเนตรอยู่.
[๑๑๗๓] ลำดับนั้น สองพระกุมารพอหลุดพ้น
จากพราหมณ์ก็รีบวิ่งหนีไป พระเนตรทั้งสองนองไป
ด้วยน้ำอัสสุชล พระชาลีชะเง้อมองดูพระบิดา ทรง
ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระบิดา พระวรกายสั่น
ระริกดังใบโพธิ์ ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทพระบิดา
แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ก็พระมารดา
เสด็จออกไปป่า และพระบิดาทอดพระเนตรเห็นแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 550
กระหม่อมฉัน ข้าแต่พระชนกนาถ ขอพระองค์ทรง
ทอดพระเนตรเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองอยู่ก่อน จน
กว่าเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองได้เห็นพระมารดา ข้าแต่
พระชนกนาถ พระมารดาเสด็จออกไปป่า ขอพระ-
บิดาทอดพระเนตรกระหม่อมฉันทั้งสองอยู่ก่อน ข้าแต่
พระชนกนาถ ขอพระองค์อย่าเพิ่งพระราชทานเกล้า
กระหม่อมฉันทั้งสอง จนกว่าพระชนนีของเกล้ากระ-
หม่อมฉันจะเสด็จกลับมา เมื่อนั้น พราหมณ์นี้จักขาย
หรือจักฆ่าก็ตามปรารถนา พราหมณ์ผู้หยาบช้านี้
ประกอบด้วยบุรุษโทษ ประการ คือ มีเท้าคดทู่
ตะแคง ๑ เล็บเน่า ๑ ปลีน่องย่อยยาน ๑ ริมฝีปาก
บนยาว ๑ น้ำลายไหลยืด ๑ เขี้ยวงอกออกเหมือน
เขี้ยวหมู ๑ จมูกหักฟุบ ๑ ท้องพลุ้ยดังหม้อ ๑ หลัง
ค่อม ๑ ตาข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่งใหญ่ ๑ หนวดแดง ๑
ผมบางเหลือง ๑ หนังย่นเป็นเกลียวตัวตกกระ ๑ ตา
เหลือง ๑ คดสามแห่ง คือ ที่สะเอวหลังและคอ ๑
ขากาง ๑ เดินดังกฏะกฏะ ๑ ขนตามตัวยาวและหยาบ
๑ นุ่งห่มหนังเสือเป็นอมนุษย์น่ากลัวเหลือเกินเป็น
มนุษย์หรือยักษ์มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องบริโภค ออก
จากบ้านมาสู่ป่า มาขอทรัพย์คือบุตรกะพระองค์ ลูก
ทั้งสองกำลังถูกพราหมณ์ปีศาจนำไป ข้าแต่พระชนก-
นาถ กระไรหนอฝ่าพระบาททรงนิ่งเฉยอยู่ได้ พระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 551
หฤทัยของพระชนกนาถปานดังหนึ่งหิน หรือดังว่า
ยึดมั่นด้วยพืดเหล็ก พระองค์ช่างไม่ทรงรู้สึกถึงลูกทั้ง
สอง ซึ่งถูกพราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์หยาบคาย ผูก
มัด แกเฆี่ยนตีลูกทั้งสอง เหมือนนายโคบาลตีโค
ฉะนั้น ขอให้น้องกัณหาจงอยู่ ณ ที่นี้แหละ เธอไม่รู้
จักความทุกข์อะไรๆ เมื่อเธอไม่เห็นพระมารดาก็จะ
คร่ำครวญหาเหมือนลูกเนื้อที่ยังดื่มนมพลัดจากฝูง ไม่
เห็นแม่ก็จะร่ำไห้คร่ำครวญ ฉะนั้น.
[๑๑๗๔] ทุกข์นี้ไม่ใช่ทุกข์ที่แท้จริงของลูก
เพราะทุกข์เช่นนี้อันลูกชายพึงได้รับ ส่วนทุกข์อันใด
ที่ลูกจักไม่ได้เห็นพระมารดา ทุกข์นั้นของลูกเป็นทุกข์
ยิ่งกว่าทุกข์ ที่ถูกตาพราหมณีเฆี่ยนตี ทุกข์นี้ไม่ใช่
ทุกข์ที่แท้จริงของลูก เพราะทุกข์เช่นนี้อันลูกชายพึง
ได้รับ ส่วนทุกข์อันใดที่ลูกจักไม่ได้เห็นพระบิดา
ทุกข์นั้นของลูกเป็นทุกข์ยิ่งกว่า ทุกข์ที่ถูกตาพราหมณ์
เฆี่ยนตี พระมารดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้ เมื่อไม่
ได้ทรงเห็นกัณหาชินากุมารีผู้มีดวงตางาม ก็จักทรง
กรรแสงไห้หาตลอดราตรีนาน พระบิดาจักเป็นกำพร้า
เสียเป็นแน่แท้เมื่อไม่ได้ทรงเห็นกัณหาชินากุนารีผู้มี
ดวงตางาม ก็จักทรงกรรแสงไห้หาตลอดราตรีนาน
พระมารดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้ เมื่อไม่ได้ทรงเห็น
กัณหาชินากุมารี ผู้มีดวงตางาม ก็จักทรงกรรแสงไห้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 552
อยู่ในอาศรมช้านาน พระบิดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้
เมื่อไม่ได้เห็นกัณหาชินากุมาร ผู้มีดวงตางาม ก็จักทรง
กรรแสงไห้อยู่ในอาศรมช้านาน พระมารดาจักเป็น
กำพร้าเสียแน่แท้ จักทรงกรรแสงไห้อยู่ตลอดราตรี
นาน ทรงระลึกถึงเราทั้งสองตลอดครึ่งคืนหรือตลอด
คืน จักทรงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป เหมือนแม่น้ำน้อยใน
ฤดูแล้งเหือดแห้งไป ฉะนั้น พระบิดาจักเป็นกำพร้า
เสียแน่แท้ ทรงกรรแสงไห้อยู่ตลอดราตรีนาน ทรง
ระลึกถึงเราทั้งสองตลอดครั้งคืนหรือตลอดคืนก็จัก
ทรงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป เหมือนแม่น้ำน้อยในฤดูแล้ง
เหือดแห้งไป ฉะนั้น รุกขชาติเหล่านี้มีต่าง ๆ พันธุ์
คือ ต้นหว้า ต้นยางทราย กิ่งห้อยย้อย เราเคยเล่น
มาแต่กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกขชาติ
เหล่านั้น ซึ่งเราเคยเก็บดอกและผลเล่นมาช้านาน
รุกขชาติที่มีผลต่าง ๆ ชนิด คือ โพธิ์ใบ ขนุน ไทร
และมะขวิด ที่เราเคยเล่นมาในกาลก่อน วันนี้เราทั้ง
สองจะต้องละรุกขชาติที่เราเคยเก็บผลกินมาช้านาน นี้
สวน นี่สระน้ำเย็นใส เราเคยเที่ยวเป็นเคยลงสรง
สนานมาแต่กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละสวน
และสระนั่นไป บุปผชาติต่าง ๆ ชนิดบนภูเขาโน้น เรา
เคยเก็บมาทัดทรงในกาลก่อน วันนี้เราจะต้องละบุปผ-
ชาติเหล่านั้นไป นี่ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 553
พระบิดาทรงปั้นเพื่อให้เราทั้งสองเล่น เราเคยเล่นมา
ในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละตุ๊กตาเหล่านั้น.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๗๕] สองพระกุมารอันชูชกกำลังพาไป ได้
กราบทูลสั่งพระบิดาดังนี้ว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ขอ
พระองค์ได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกพระมารดาว่าลูกทั้ง
สองไม่มีโรค และขอพระองค์จงทรงพระสำราญ ตุ๊กตา
ช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว เหล่านี้ของกระหม่อมฉันขอ
พระองค์โปรดประทานแก่พระเจ้าแม่ ความโศกเศร้า
จะพินาศเพราะตุ๊กตาเหล่านั้น และพระมารดาได้ทอด
พระเนตรเห็นตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า และตุ๊กตาวัวของ
ลูกเหล่านั้น จักห้ำหั่นความโศกให้เสื่อมหาย.
[๑๑๗๖] ลำดับนั้น พระเวสสันดรขัตติยราช
ครั้นทรงบำเพ็ญทานแล้ว เสด็จเข้าบรรณศาลาทรง
กรรแสงพิลาปว่า วันนี้ลูกน้อยทั้งสองจะหิวข้าวอยาก
น้ำอย่างไรหนอ จะต้องเดินทางไกล ร้องไห้สะอึก
สะอื้น เวลาเย็นบริโภคอาหาร ใครจะให้อาหารแก่
ลูกทั้งสองนั้น วันนี้ลูกน้อยทั้งสองจะหิวข้าวอยากน้ำ
อย่างไรหนอ จะต้องเดินทางไกลร้องไห้สะอึกสะอื้น
เวลาเย็นเป็นเวลาบริโภคอาหาร ลูกทั้งสองเคยอ้อน
กะมัทรีผู้มารดาว่า ข้าแต่พระเจ้าแม่ ลูกทั้งสองหิว
แล้ว ขอพระเจ้าแม่จงประทานแก่ลูกทั้งสอง ลูกทั้ง
สองไม่มีรองเท้า จะเดินทางเท้าเปล่าอย่างไรได้ ลูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 554
ทั้งสองจะเมื่อยล้า มีบาทาฟกบวมใครจะจูงมือลูกทั้ง
สองเดินทาง อย่างไรหนอพราหมณ์นั้นช่างร้ายกาจไม่
ละอาย เฆี่ยนตีลูกทั้งสองผู้ไม่ประทุษร้ายต่อหน้าเรา
แม้ตกเป็นทาสีเป็นทาสของเรา หรือคนรับใช้ใครที่มี
ความละอายจักเฆี่ยนตีคนที่ต่ำทรามแม้เช่นนั้นได้
พราหมณ์ช่างด่าช่างตีลูกรักทั้งสองของเราผู้มองเห็น
อยู่ซึ่งเป็นเหมือนดังปลาติดอยู่ที่ปากลอบปากไซ
ฉะนั้น.
พระเวสสันดรทรงพระปริวิตกว่า
[๑๑๗๗] เราจักถือธนูด้วยมือขวา หรือจักเหน็บ
พระขรรค์ไว้ข้างซ้ายไปนำเอาลูกทั้งสองของเรามา
เพราะลูกทั้งสองถูกเฆี่ยนตีเป็นทุกข์หนัก การที่ลูกน้อย
ทั้งสองต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์แสนสาหัสไม่ใช่ฐานะ
ก็ใคร่เล่ารู้ธรรมของสัตบุรุษแล้วให้ทานย่อมเดือดร้อน
ในภายหลัง.
พระชาลีกุมารทรงรำพันว่า
[๑๑๗๘] ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ พูด
ความจริงไว้อย่างนี้ว่า ลูกคนใดไม่มีมารดาของตน
ลูกคนนั้นเป็นเหมือนไม่มีบิดา น้องกัณหามานี่เถิด เรา
ทั้งสองจัดตายด้วยกัน เราทั้งสองจะเป็นอยู่ทำไมไม่มี
ประโยชน์ พระบิดาผู้เป็นจอมประชานิกรประทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 555
เราทั้งสองแก่พราหมณ์ ผู้แสวงหาทรัพย์ เป็นคนร้าย
กาจเหลือเกิน แกเฆี่ยนตีเราทั้งสอง เสมือนนายโคบาล
ประหารโค ฉะนั้น รุกขชาติเหล่านี้มีต่าง ๆ พันธุ์คือ
ต้นหว้า ต้นยางทราย กิ่งห้อยย้อย เราเคยเล่นมาแต่
กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกขชาติเหล่านั้น
ซึ่งเคยเก็บดอกและผลเล่นมาช้านาน รุกขชาติที่มีผล
ต่าง ๆ ชนิด คือ โพธิ์ใบ ขนุน ไทร และมะขวิด ที่เรา
เคยเล่นในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกข-
ชาติที่เราเคยเก็บผลกันมาช้านาน นี่สวน นี่สระน้ำ
เย็นใส เราเคยเที่ยวเล่นเคยลงสรงสนานมาแต่กาลก่อน
วันนี้เราทั้งสองจะต้องละสวนและสระเหล่านั้นไป
บุปผชาติต่าง ๆ ชนิด บนภูเขาโน่น เราเคยเก็บมาทัด
ทรงในกาลก่อน วันนี้เราต้องละบุปผชาติเหล่านั้นไป
นี้ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว พระบิดาทรงปั้น
เพื่อให้เราทั้งสองเล่น เราเคยเล่นในกาลก่อน วันนี้
เราทั้งสองจะต้องละตุ๊กตาเหล่านั้นไป.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๗๙] พระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ
กัณหาชินา อันชูชกพราหมณ์นำไป พอหลุดพ้นจาก
มือพราหมณ์ ต่างก็วิ่งหนีไปในสถานที่นั้น ๆ.
[๑๑๘๐] ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นจับเถาวัลย์ถือ
ไม้เท้า ทุบตีพระกุมารทั้งสองนำไป เมื่อพระเวสสันดร
สีพีราชกำลังทอดพระเนตรเห็นอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 556
[๑๑๘๑] พระกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า
ข้าแต่พระบิดาพราหมณ์นี้ทุบตีลูกด้วยไม้เท้า ดังว่าทุบ
ตีทาสผู้เกิดในเรือนเบี้ย ข้าแต่พระบิดา ก็พราหมณ์
นี้คงไม่ใช่พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในธรรม คงเป็น
ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ นำเอาลูกทั้งสองไปเพื่อ
จะกินเป็นอาหาร ลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ปีศาจกำลัง
นำไป ข้าแต่พระบิดา ช่างกระไรเลย
นิ่งเฉยอยู่ได้.
พระกัณหากุมารีทรงรำพันว่า
[๑๑๘๒] เท้าของเราทั้งสองนี้เล็กเป็นทุกข์ ทั้ง
หนทางก็ไกลยากที่จะเดินไปได้ เมื่อพระอาทิตย์คล้อย
ต่ำลง พราหมณ์เล่าก็เร่งเราทั้งสองให้รีบเดิน ข้าพเจ้า
ทั้งสอง ขอคร่ำครวญกราบไหว้เทพเจ้าทั้งหลายผู้สิง
สถิตอยู่ ณ ภูเขาลำเนาไพร ในสระน้ำและบ่อน้ำอันมี
ท่าราบเรียบด้วยเศียรเกล้า ขอเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ ณ ป่า
หญ้าลดาวัลย์ และต้นไม้ที่เป็นโอสถ บนภูเขาที่ป่าไม้
จงช่วยกันกราบทูลพระชนนีว่า ข้าน้อยทั้งสองนี้ไม่มี
โรค พราหมณ์นี้นำเอาข้าทั้งสองไป อนึ่ง ขอท่านทั้ง
หลายจงกราบทูลพระเจ้าแม่มัทรีราชชนนีของข้าน้อย
ทั้งสองว่า ถ้าพระแม่เจ้าปรารถนาจะเสด็จติดตามมา
ก็พึงรีบเสด็จติดตามข้าน้อยทั้งสองมาเร็วพลัน ทางนี้
เป็นทางเดินคนเดียวตัดตรงไปยังอาศรม พระมารดา
พึงเสด็จไปตามทางนั้นก็จะทันได้เห็นลูกทั้งสอง โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 557
เร็วพลัน โอ้หนอ พระเจ้าแม่ผู้ทรงเพศดาบสินี ทรง
นำมูลผลาหารมาจากป่า ได้ทรงเห็นอาศรมอันว่าง
เปล่า ก็จักทรงมีทุกข์ พระมารดาเที่ยวแสวงหามูล-
ผลาหารจนล่วงเวลา คงได้มาไม่น้อย คงไม่ทรงทราบ
ว่าลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ ผู้แสวงหาทรัพย์หยาบช้า
ร้ายกาจผูกมัดเฆี่ยนตีดังหนึ่งนายโคบาลทุกตีโคฉะนั้น
เออก็วันนี้ ลูกทั้งสองพึงได้เห็นพระมารดาเสด็จกลับมา
จากการแสวงหามูลผลาหารในเวลาเย็น พระมารดาพึง
ประทานผลไม้อันเจือด้วยน้ำผึ้งแก่พราหมณ์ ในกาล-
นั้น พราหมณ์นี้หิวกระหายไม่พึงเร่งให้เราทั้งสองเดิน
นัก เท้าทั้งสองของเราฟกบวมหนอ พราหมณ์ก็เร่งให้
เรารีบเดิน พระกุมารทั้งสองทรงรักใคร่ ในพระ
มารดา ทรงกรรแสงพิลาปอยู่ ณ ที่นั้นด้วยประการ
ดังนี้.
จบกุมารบรรพ
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๘๓] เทวดาเหล่านั้นได้ฟังสองพระกุมารทรง
พิลาปร่ำรำพันแล้ว จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า
ท่านทั้ง ๓ จงแปลงเพศเป็นสัตว์ดุร้ายในป่า คือ เป็น
ราชสีห์ ๑ เสือโคร่ง เสือเหลือง ๑ อย่าให้พระราช
บุตรีเสด็จกลับจากการแสวงหามูลผลาหารในเวลาเย็น
ได้ ท่านทั้งหลายอย่าให้สัตว์ร้ายในป่าอันเป็นแว่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 558
แคว้นของพวกเรา เบียดเบียนพระราชบุตรีได้ ถ้า
ราชสีห์ เสือโคร่งและเสือเหลือง พึงเบียดเบียนพระ
นาง ผู้ทรงศุภลักษณ์ พระชาลีกุมารก็ไม่พึงมี พระ
กัณหาชินากุมารีจะพึงมีแต่ที่ไหน พระนางผู้สมบูรณ์
ด้วยลักขณาจะพึงเสื่อมเสียโดยส่วนทั้งสอง คือ พระ-
ภัศดาและพระลูกรัก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง
กระทำอารักขาให้ดี.
พระนางมัทรีตรัสว่า
[๑๑๘๔] เสียมของเราหล่นลงแล้ว และตาเบื้อง
ขวาของเราก็เขม่นอยู่ริก ๆ ต้นไม้ทั้งหลายที่เคยมีผล
ก็กลายเป็นไม่มีผล ทิศทั้งปวงก็ทำให้เราฟั่นเฟือนลุ่ม
หลง เมื่อเรากลับบ่ายหน้ามาสู่อาศรมในเวลาเย็น เมื่อ
พระอาทิตย์จะอัศดงคต ๓ สัตว์ร้ายก็ปรากฏยืนขวาง
ทาง พระอาทิตย์ก็คล้อยลงต่ำ และอาศรมก็ยังอยู่ไกล
หนอ ก็มูลผลาผลอันใดที่เราจักนำไปแต่ป่านี้ พระ-
เวสสันดรและลูกน้อยทั้งสองพึงเสวยมูลผลาผลนั้น
โภชนะอื่นไม่มี พระจอมกษัตริย์นั้นจักประทับอยู่ใน
บรรณศาลาพระองค์เดียว คงทรงปลอบประโลมให้
ลูกน้อยทั้งสองผู้กระหายหิวให้ยินดี คอยทอดพระเนตร
ดูเราผู้ยังไม่มาถึง เป็นแน่แท้ ลูกน้อยทั้งสองของเรา
ผู้กำพร้ายากไร้ในเวลาเย็นอันเป็นเวลาดื่มน้ำมัน จัก
คอยดื่มน้ำนม ดังลูกเนื้อที่กำลังดื่มนม ฉะนั้น เป็น
แน่แท้ ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้กำพร้ายากไร้ ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 559
เวลาเย็นอันเป็นเวลาดื่มน้ำ ก็จักคอยดื่มน้ำ ดังลูกเนื้อ
ที่กำลังกระหายน้ำ ฉะนั้น เป็นแน่แท้ ลูกน้อยทั้ง
สองของเราผู้กำพร้ายากไร้ จะยืนคอยต้อนรับเรา
เหมือนหนึ่งลูกโคอ่อนคอยชะแง้หาแม่ ฉะนั้น เป็น
แน่แท้ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้ยากไร้ คงจะยืนต้อนรับ
เราเสมือนหนึ่งหงส์ซึ่งตกอยู่ในเปือกตม ฉะนั้น เป็น
แน่ ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้ยากไร้ คงจะยืนคอยต้อน
รับเราอยู่ในที่ใกล้ๆ อาศรม หนทางที่จะไปก็มีอยู่
ทางเดียว ทั้งเป็นทางเดินไปได้คนเดียว โดยข้างหนึ่ง
มีสระ อีกข้างหนึ่งมีบึง เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งเป็นทาง
ไปยังอาศรมได้ ข้าแต่พระยามฤดูราชผู้มีกำลังมากใน
ป่าใหญ่ ดิฉันขอนอบน้อมต่อท่านทั้งหลาย ท่านทั้ง
หลายเป็นพี่น้องของดิฉันโดยธรรม ดิฉันขออ้อนวอน
ขอท่านทั้งหลายจงให้หนทางแก่ดิฉันเถิด ดิฉันเป็น
ภรรยาของพระราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกขับไล่จากสีพีรัฐ
ดิฉันมิได้ดูหมิ่นพระราชสวามีพระองค์นั้นเลย เหมือน
ดังนางสีดาคอยอนุวัตรตามพระรามราชสวามี ฉะนั้น
ขอท่านทั้งหลายจงหลีกทางให้ดิฉันแล้วกลับไปพบลูก
น้อยของท่านในเวลาออกหาอาหารในเวลาเย็น ส่วน
ดิฉันก็จะพึงได้กลับไปพบลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลี
และแม่กัณหาชินา อนึ่ง มูลมันผลไม้นี้ก็มีอยู่มากและที่
เป็นภักษาก็มีไม่น้อย ดิฉันขอแบ่งให้ท่านทั้งหลายกึ่งหนึ่ง
ดิฉันอ้อนวอนแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงให้ทางแก่ดิฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 560
เถิด พระมารดาของเราทั้งหลายเป็นพระราชบุตรี และ
พระบิดาของเราทั้งหลายก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้ง
หลายจึงชื่อว่าเป็นพี่น้องของดิฉันโดยธรรม ดิฉันอ้อน
วอนแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงหลีกทางให้ดิฉันเถิด.
[๑๑๘๕] เทพเจ้าทั้งหลายผู้แปลงกายเป็นพาล-
มฤค ได้ฟังพระวาจาอันไพเราะ น่ากรุณาเป็นอันมาก
ของพระนางผู้รำพันวิงวอนอยู่ ได้พากันหลีกจากทาง
ไป.
พระนางมัทรีตรัสว่า
[๑๑๘๖] พระลูกน้อยทั้งสองพระองค์จะขมุก-
ขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอยต้อนรับแม่อยู่ที่ตรงนี้
ดังหนึ่งลูกโคอ่อนยืนคอยชะแง้หาแม่ ฉะนั้น พระลูก
น้อยทั้งสองขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนต้อนรับแม่
อยู่ตรงนี้ เหมือนดังหงส์ติดอยู่ในเปือกตม ฉะนั้น
พระลูกน้อยทั้งสองขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอย
ต้อนรับแม่อยู่ใกล้ๆ อาศรมที่ตรงนี้ พระลูกน้อยทั้ง
สองเคยร่าเริงหรรษาวิ่งมาต้อนรับแม่ ราวกับจะทำให้
หทัยของแม่หวั่นไหว เหมือนลูกเนื้อเห็นแม่แล้วยกหู
ชูคอวิ่งเข้าไปหาแม่ร่าเริงหรรษาวิ่งไปมารอบๆ ฉะนั้น
วันนี้แม่มิได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่
กัณหาชินานั้นเหมือนอย่างเคย แม่ละลูกน้อยทั้งสอง
ไว้ออกไปหาผลไม้ ดังแม่แพะและแม่เนื้อละลูกน้อย ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 561
ไปหากิน ดังปักษีละทิ้งลูกน้อยไปจากรัง หรือดังนาง
ราชสีห์ผู้ต้องการอาหาร ละลูกน้อยไว้ออกไปหากิน
ฉะนั้น วันนี้แม่ไม่เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลี
และแม่กัณหาชินาเหมือนอย่างเคย นี้เป็นรอยเท้าวิ่ง
ไปมาของพระลูกน้อยทั้งสองดุจรอยเท้าของช้างทั้ง
หลายที่เชิงเขา นี่กองทรายที่ลูกน้อยทั้งสองมากองเล่น
เรี่ยรายอยู่ ณ ที่ใกล้ ๆ อาศรม วันนี้แม่ไม่เห็นลูกน้อย
ทั้งสอง คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาเหมือนอย่าง
เคย พระลูกน้อยทั้งสองเคยขมุกขมอมด้วยทรายและ
ฝุ่นวิ่งเข้ามาล้อมแม่อยู่รอบข้าง วันนี้แม่มิได้เห็นพระ-
ลูกน้อยทั้งสองนั้น เมื่อก่อนพระลูกน้อยทั้งสองเคย
ต้อนรับแม่ผู้กลับมาจากป่าแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็นลูก
น้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาเหมือนอย่าง
เคย วันก่อนๆ พระลูกน้อยทั้งสองคอยแลดูแม่อยู่แต่
ไกลเหมือนลูกแพะหรือลูกเนื้อทรายคอยชะแง้หาแม่
ฉะนั้น วันนี้แม่ไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสองนั้นเลย
เออก็นี่ผลมะตูมสุกสีดังทอง เป็นเครื่องเล่นของลูก
น้อยทั้งสอง (ไฉน) จึงมาตกกลิ้งอยู่ที่นี้ วันนี้แม่มิได้
เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินา
เหมือนอย่างเคย ก็ถันทั้งสองของแม่นี้เต็มไปด้วยน้ำ
นม และอุรูประเทศของแม่ดังหนึ่งว่าจะแตกทำลาย
วันนี้แม่ไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลีแม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 562
กัณหาชินาเหมือนอย่างเคย ใครเล่าจะค้นชายพกแม่
ใครเล่าจะเหนี่ยวถันทั้งสองของแม่ วันนี้ไม่ได้เห็น
พระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาเหมือน
อย่างเคย เวลาเย็นพระลูกน้อยทั้งสองขมุกขมอมไป
ด้วยฝุ่น เคยวิ่งมาเกาะที่ชายพกแม่ วันนี้แม่ไม่ได้
เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง เมื่อก่อนอาศรมนี้ปรากฏแก่
เราดังว่านี้มหรสพ วันนี้เมื่อแม่มิได้เห็นพระลูกน้อยทั้ง
สองนั้น อาศรมเหมือนดังจะหมุนเวียน นี่อย่างไร
อาศรมจึงปรากฏแก่เราดูเงียบสงัดจริงหนอ แม้ฝูงกา
ป่าก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระลูกทั้งสองของแม่จักตาย
เสียแล้วเป็นแน่แท้ นี่อย่างไรอาศรมจึงปรากฏแก่เรา
ดูเงียบสงัดจริงหนอ แม้ฝูงนกก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระ-
ลูกน้อยทั้งสองของแม่ จักตายเสียแล้วเป็นแน่แท้.
[๑๑๘๗] นี่อย่างไรฝ่าพระบาทจึงทรงนิ่งอยู่ เออ
ก็ใจของหม่อมฉันเหมือนดังฝันเหมือนสุบินในเวลาราตรี
แม่ฝูงกาป่าก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระลูกน้อยทั้งสองของ
หม่อมฉันคงจักตายเสียแล้วเป็นแน่แท้ นี่อย่างไรฝ่า
พระบาทจึงทรงนิ่งอยู่แม้ฝูงนกก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระ
ลูกน้อยของหม่อมฉันคงจักตายเป็นแน่แท้ ข้าแต่
พระลูกเจ้า เหล่าเนื้อร้ายในป่าหรือในทุ่งกว้าง มา
เคี้ยวกินพระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วหรือ
ไฉน หรือว่าใครมานำเอาพระลูกน้อยทั้งสองของ
หม่อมฉันไป หรือฝ่าพระบาททรงส่งพระลูกน้อยทั้ง
สองซึ่งกำลังช่างพูดจาน่ารักใคร่ไปเป็นทูต หรือว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 563
เข้าไปหลับอยู่ในบรรณศาลา หรือพระลูกน้อยทั้งสอง
ของเรานั้นเที่ยวเล่นคะนองออกไปในภายนอก เส้น
พระเกศา พระหัตถ์และพระบาทซึ่งมีลายตาข่าย ของ
พระลูกน้อยทั้งสองนั้น มิได้ปรากฏเลย หรือว่านกทั้ง
หลายมาโฉบเฉี่ยวเอาไป หรือว่าใครนำเอาพระลูกน้อย
ทั้งสองของหม่อมฉันไป.
[๑๑๘๘] ความทุกข์ที่หม่อมฉัน มิได้เห็นลูกน้อย
ทั้งสอง คือชาลีและกัณหาชินาในวันนั้น เป็นทุกข์ยิ่ง
กว่าการถูกขับไล่จากแว่นแคว้น เปรียบเหมือนผลที่
ถูกแทงด้วยลูกศร ฉะนั้น ก็การที่หม่อมฉันมิได้เห็น
พระลูกน้อยทั้งสอง ทั้งฝ่าพระบาทก็มิได้ตรัสกับหม่อม
ฉันนี้ เป็นลูกศรเสียบแทงหฤทัยของหม่อมฉันซ้ำสอง
หฤทัยของหม่อมฉันหวั่นไหว ข้าแต่พระราชบุตร ถ้า
คืนวันนี้ฝ่าพระบาทมิได้ตรัสกับหม่อมฉัน พรุ่งนี้เช้า
ฝ่าพระบาทก็น่าจะได้ทอดพระเนตรหม่อมฉัน ผู้ปราศ-
จากชีวิต ตายเสียเป็นแน่.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๘๙] เจ้ามัทรีมีรูปงามอุดม เป็นราชบุตรีผู้มี
ยศ ไปแสวงหามูลผลาหารตั้งแต่เช้า ไฉนหนอ จึง
กลับมาจนเวลาเย็น.
พระนางมัทรีทูลว่า
[๑๑๙๐] ฝ่าพระบาทได้ทรงสดับมิใช่หรือ ซึ่ง
เสียงบันลือแห่งราชสีห์ และเสือโคร่ง ทั้งเสียงสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 564
จตุบาทและฝูงนก ส่งเสียงคำรามร้องสนั่นเป็นอัน
เดียวกัน ต่างก็มุ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำยังสระนี้ บุพนิมิต
ได้เกิดมีแก่หม่อมฉันผู้กำลังเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เสียม
พลัดตกจากมือของหม่อมฉัน และกระเช้าที่หาบอยู่ก็
พลัดตกจากบ่า ทีนั้นหม่อมฉันก็หวาดกลัวเป็นกำลัง
จึงกระทำอัญชลีนอบน้อมทิศทั่วทุกแห่ง ขอความ
สวัสดี พึงมีแต่ที่นี้ ขอพระลูกเจ้าของเราทั้งหลาย
อย่าได้ถูกราชสีห์หรือเสือเหลืองเบียดเบียนเลย หมี
สุนัขป่า หรือเสือดาว อย่ามากล้ำกรายพระลูกน้อยทั้ง
สองของข้าเลย ๓ สัตว์ร้ายในป่า คือ ราชสีห์ เสือ
โคร่ง และเสือเหลืองยืนขวางทางหม่อมฉันเสีย เหตุ
นั้น หม่อมฉันจึงกลับมาพลบค่ำ.
[๑๑๙๑] ตัวเราเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นปฏิบัติ
พระสวามีบำรุงพระลูกน้อยทั้งสองทุกวันคืน ดังอัน
เตวาสิกปฏิบัติอาจารย์ ฉะนั้น ตัวเรามุ่นชฎาเป็น
พรหมจาริณี นุ่งห่มหนังอชินะ เที่ยวแสวงหามูลผลา-
หารในป่าทุกวันคืน เพราะความรักพระลูกทั้งสองเทียว
นะพระลูก นี่ขมิ้น สีดังทอง ที่แม่หามาบดไว้สำหรับ
ใช้เพื่อเจ้าทั้งสองอาบน้ำ นี่ผลมะตูมสุกสีเหลือง แม่
หามาให้เพื่อลูกทั้งสองเล่น อนึ่ง แม่ได้สรรหาผลไม้
สุกอื่น ๆ ที่น่าพอใจมาเพื่อให้ลูกทั้งสองเล่น นี้เป็น
ของเล่นของลูกรักทั้งสอง ข้าแต่พระจอมกษัตริย์ นี้
เหง้าบัวพร้อมทั้งฝักและหน่อแห่งอุบลและกระจับอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 565
คลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้ง เชิญพระองค์เสวยพร้อมพระโอรส
พระธิดาเถิด ขอพระองค์ทรงโปรดประทานดอกปทุม
แก่พ่อชาลี ส่วนดอกโกมุทขอได้โปรดประทานแก่
กัณหากุมารี พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพระกุมาร
ประดับประดาด้วยดอกไม้ฟ้อนรำอยู่ ขอได้โปรด
ตรัสเรียกสองพระราชบุตรมาเถิด แม่กัณหาชินาจะได้
มานี่ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์จงสดับ
พระสุรเสียงอันไพเราะอ่อนหวานของแม่กัณหาชินา
ขณะเข้าสู่อาศรม เราทั้งสองถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น
เป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกัน เออก็พระองค์ได้ทรงเห็น
พระราชบุตรทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาบ้าง
หรือ ชะรอยว่าหม่อมฉัน ได้สาปแช่ง สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล เป็นพหูสูต ในโลก
วันนี้หม่อมฉันจึงไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ
พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.
[๑๑๙๒] หมู่นี้นี่ก็ต้นหว้า นี่ต้นยางทรายที่ทอด
กิ่งค้อมลงมา เป็นรุกขชาติต่าง ๆ พันธุ์ ที่สองพระ
กุมารเคยวิ่งเล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น หมู่นี้
นี่ก็โพธิ์ใบ ต้นขนุน ต้นไทร ต้นมะขวิด เป็นไม้มี
ผลนานาชนิด ที่พระกุมารทั้งสองเคยมาวิ่งเล่น แม่
มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น หมู่ไม้เหล่านี้ตั้งอยู่ดุจ
อุทยาน นี่ก็เป็นแม่น้ำมีน้ำเย็นซึ่งสองพระกุมารเคยมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 566
เล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น รุกขชาติที่ทรง
ดอกต่างๆ มีอยู่บนภูเขานี้ ที่สองพระกุมารเคยทัดทรง
เล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น รุกขชาติที่ทรงผล
ต่างๆ มีอยู่บนภูเขานี้ ที่สองพระกุมารเคยมาเสวย แม่
มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น เหล่านี้เป็นตุ๊กตาช้าง
ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่พระกุมารทั้งสองเคยมาเล่น
แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น.
[๑๑๙๓] เหล่านี้เป็นตุ๊กตาเนื้อทรายทองตัว
เล็ก ๆ ตุ๊กตากระต่าย ตุ๊กตานกเค้า ตุ๊กตาชะมด
เป็นอันมาก ที่พระกุมารทั้งสองเคยเล่น แม่มิได้เห็น
พระกุมารทั้งสองนั้น เหล่านี้ตุ๊กตาหงส์ เหล่านี้ตุ๊กตา
นกกะเรียน ตุ๊กตานกยูงมีแววหางงามวิจิตร ที่สอง
พระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็นพระกุมารทั้งสอง
เลย.
[๑๑๙๔] พุ่มไม้เหล่านี้มีดอกบานทุกฤดูกาล ที่
สองพระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็นพระกุมารทั้ง
ของนั้น สระโบกขรณีนี้น่ารื่นรมย์ เพรียกไปด้วย
เสียงนกจากพรากมาคูขัน ดาดาษไปด้วยมณฑาปทุม
และอุบล ที่สองพระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็น
พระกุมารทั้งสองนั้น.
[๑๑๙๕] พ้นฝ่าพระบาทก็มิได้หัก น้ำก็มิได้ตัก
แม้ไฟก็มิได้ติด เพราะเหตุไรหนอพระองค์จึงทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 567
หงอยเหงาซบเซาอยู่ ที่รักกับที่รักประชุมพร้อมกันอยู่
ย่อมหายความทุกข์ร้อน แต่วันนี้หม่อมฉันมิได้เห็น
พระกุมารทั้งสอง คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.
[๑๑๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉัน
มิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระ
ลูกรักทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตาย
เสียแล้ว แม้ฝูงกาป่าก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้ง
สองของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันมิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของ
เรา ผู้ใดมานำเอาพระลูกรักทั้งสองนั้นไป หรือว่า
พระลูกรักทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว แม่ฝูงนกก็มิได้ขาน
ขัน พระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็น
แน่.
[๑๑๙๗] พระนางมัทรี ทรงปริเทวนาพลางเที่ยว
วิ่งค้นหาตลอดซอกบรรพตและป่าชัฏ ในบริเวณเขา
วงกตนั้น แล้วเสด็จกลับมายังพระอาศรมทรงกันแสง
อยู่ในสำนักของพระราชสวามี ทูลคร่ำครวญว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันมิได้เห็นพระลูกรัก
ทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระลูกรักทั้งสองนั้นไป
หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว แม้ฝูงกาป่า
ก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันตาย
เสียแล้วเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 568
มิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระ
ลูกทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตาย
เสียแล้ว แม้ฝูงนกก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้งสอง
ของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็นแน่ พระนางมัทรีผู้ทรง
พระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรีผู้มียศเที่ยว
ไปที่โคนต้นไม้ ที่บริเวณภูเขา และในถ้ำมิได้ทรงพบ
เห็นสองพระกุมาร จึงทรงประคองพระพาหากันแสง
ไห้คร่ำครวญ ล้มสลบลงที่พื้นพสุธา ณ ที่ใกล้บาทมูล
ของพระเวสสันดรนั้นแล.
[๑๑๙๘] พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงวักน้ำประ-
พรมพระนางมัทรีราชบุตรีผู้ล้มสลบขึ้น ณ ที่ใกล้บาท
มูลของพระองค์นั้น ครั้นทรงทราบว่า พระนางฟื้น
พระองค์ดีแล้ว จึงได้ตรัสบอกเนื้อความนี้กะพระนาง
ในภายหลังว่า ดูก่อนมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะแจ้ง
ความทุกข์แก่เธอแต่แรกก่อน พราหมณ์แก่เป็นยาจก
ผู้ยากจนมาสู่ที่อยู่ของฉัน ฉันได้ให้ลูกทั้งสองแก่
พราหมณีนั้นไป ดูก่อนมัทรี เธออย่ากลัวเลย จงดีใจ
เถิด ดูก่อนมัทรี เธอจงดูฉันเถิด จงอย่าดูลูกทั้งสองเลย
อย่ากันแสงไห้ไปนักเลย เราเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิต
อยู่ คงจักได้พบเห็นลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็น
แน่แท้ สัปบุรุษเห็นยาจกมาถึงแล้วพึงให้บุตร ปศุสัตว์
ธัญชาติ และทรัพย์อย่างอื่นในเรือนเป็นทานได้ ดูก่อน
มัทรี ขอเธอจงอนุโมทนาปุตตทานอันสูงสุดของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 569
พระนางมัทรีทูลว่า
[๑๑๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉัน
นุโมทนาปุตตทานอันอุดมของฝ่าพระบาท ฝ่า-
พระบาททรงพระราชทานปุตตทานอันอุดมแล้ว จงยัง
พระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญทานยิ่ง ๆ ขึ้น
ไปเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชุมชนในหมู่
มนุษย์ซึ่งมักเป็นคนตระหนี่เหนียว ฝ่าพระบาทพระ-
องค์เดียวผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้ทรงบำเพ็ญปิยปุตต-
ทานแก่พราหมณ์แล้ว.
[๑๒๐๐] ปฐพีก็บันลือลั่นเสียงสนั่นบันลือไปถึง
ไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบโดยรอบ เสียง
สะท้านปรากฏ ดังหนึ่งว่าเสียงภูเขาถล่มทลาย.
[๑๒๐๑] เทพเจ้าสองหมู่ ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารท-
บรรพต ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดร
นั้นว่า พระอินทร์ พระพรหม ทั้งท้าวเวสวัณมหา-
ราช และเทพเจ้าขาวดาวดึงส์สวรรค์พร้อมด้วยพระ
อินทร์ทุกถ้วนหน้า ย่อมถวายอนุโมทนาพระนางเจ้า
มัทรีผู้ทรงพระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรี
ผู้มียศ ทรงถวายอนุโมทนาปุตตทานอันอุดมของ
พระเวสสันดรราชฤาษี ด้วยประการฉะนี้แล.
จบมัทรีบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 570
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๐๒] ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นมา เวลาเช้าท้าวสักกเทวราชทรงแปลงเพศ
เป็นอย่างพราหมณี ได้ปรากฏแก่สองกษัตริย์นั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๒๐๓] พระคุณเจ้าไม่มีโรคาพาธหรือหนอ
พระคุณเจ้าทรงพระสำราญดีหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี
มากหรือ เหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานมีน้อยแลหรือ
ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤคไม่มีมาเบียดเบียน
แลหรือ.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๐๔] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มี
โรคาพาธเบียดเบียน อนึ่งเราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี
เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดีทั้งมูล
มันผลไม้ก็มีมาก เหลือบ ยุง สัตว์เสือกคลานก็มีน้อย
อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็ไม่มีมา
เบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตอัน
ตรมเตรียมมาตลอด ๗ เดือน เราพึงเห็นท่านผู้เป็น
พราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้เท้าสี
ดังผลมะตูม และลักจั่นน้ำนี้เป็นคนที่สอง ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่งท่านมิใช่มาร้าย ดูก่อน
ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปภายในเถิด เชิญล้างเท้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 571
ของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง
ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญเลือกฉันแต่
ผลที่ดี ๆ เถิด ท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็เย็นสนิท
เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านจำนง
หวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม ท่านมา
ถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถามแล้วขอ
ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
[๑๒๐๕] ห้วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม
ไม่มีเวลาเหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็ม
ไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉันกราบทูล
ขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานพระ-
มเหสี แก่เกล้ากระหม่อมฉันเถิด.
[๑๒๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เราย่อมให้มิได้หวั่น
ไหว ท่านขอสิ่งใดเราก็จะให้สิ่งนั้น เราไม่ซ่อนเร้น
สิ่งที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน.
[๑๒๐๗] พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐ ทรงกุม
หัตถ์พระนางมัทรี จับเต้าน้ำหลั่งอุทกวารีพระราชทาน
พระนาง ให้เป็นทานแก่พราหมณ์ ขณะนั้น เมื่อ
พระมหาสัตว์ทรงบริจาคพระนางมัทรีให้เป็นทาน เกิด
ความอัศจรรย์น่าสยดสยองโลมชาติก็ชูชัน เมทนีดล
ก็กัมปนาทหวั่นไหว พระนางเจ้ามัทรีมิได้มีพระพักตร์
เง้างอด มิได้ทรงขวยเขิน และมิได้ทรงกันแสง ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 572
เพ่งดูพระราชสวามีโดยดุษณีภาพ โดยทรงเคารพเชื่อ
ถือว่า ท้าวเธอทรงทราบซึ่งสิ่งอันประเสริฐ.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๐๘] เมื่อตถาคตเป็นพระเวสสันดร บริจาค
ชาลีกัณหาชินาซึ่งเป็นบุตรธิดาและพระมัทรีเทวี ผู้
เคารพยำเกรงในพระราชสวามี มิได้คิดเสียดายเลย
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น บุตรทั้งสองเป็น
ที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ พระมัทรีเทวีไม่เป็นที่รัก
ของเราก็หามิได้ แต่สัพพัญุตญาณเป็นที่รักของเรา
ฉะนั้นเราจึงได้ให้ของอันเป็นที่รัก.
พระนางมัทรีทรงพระดำริว่า
[๑๒๐๙] ข้าพระบาทเป็นพระมเหสีของพระองค์
ตั้งแต่ยังแรกรุ่นสาว พระองค์ก็เป็นเจ้าเป็นใหญ่ใน
ข้าพระบาท พระองค์ปรารถนาจะพระราชทานข้าพระ-
บาทแต่ผู้ใด ก็พึงพระราชทานได้ ทรงปรารถนาจะ
ขายหรือจะฆ่า พึงทรงขายทรงฆ่าได้.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๑๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบชัดซึ่ง
ความทรงดำริของสองกษัตริย์แล้ว จึงตรัสชมดังนี้ว่า
อันว่าข้าศึกทั้งมวลล้วนเป็นของทิพย์ (อันห้ามเสียซึ่ง
ทิพยสมบัติ) และเป็นของมนุษย์ (อันห้ามเสียซึ่งมนุษย์
สมบัติ) พระองค์ทรงชนะได้แล้ว ปฐพีก็บันลือลั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 573
เสียงสนั่นบันลือไปถึงไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบ
ปลายโดยรอบ เสียงสะท้านปรากฏดังหนึ่งว่าเสียงภูเขา
ถล่มทลาย เทพเจ้าสองหมู่ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารทบรรพต
ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดรนั้นว่า
พระอินทร์ พระพรหม ท้าวประชาบดี จันทเทพบุตร
พระยม ทั้งท้าวเวสวัณมหาราช และเทพเจ้าทั้งปวง
ย่อมถวายอนุโมทนาว่า พระเวสสันดรบรมกษัตริย์
ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก เมื่อคนดีทั้งหลายให้สิ่งที่
ให้ได้ยาก กระทำกรรมที่ทำได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำ
ได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำตามไม่ได้ เพราะว่าธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลาย อันอสัตบุรุษตามได้โดยยาก เพราะ
ฉะนั้น ต่อจากนี้ คติของสัตบุรุษและของอสัตบุรุษ
ย่อมต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษมีสวรรค์
เป็นที่ไป การที่พระองค์เสด็จมาอยู่ในป่า ได้พระ-
ราชทานสองพระราชกุมารและพระมเหสีให้เป็นทานนี้
ชื่อว่าเป็นยานอันประเสริฐ ไม่เป็นยานก้าวลงสู่อบาย-
ภูมิ ขอปุตตทานมหาทานของพระองค์นั้น จงเผล็ด
ผลในสรวงสวรรค์.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๒๑๑] ข้าพเจ้าขอถวายพระนางเจ้ามัทรีพระ-
มเหสี ผู้งามทั่วสรรพางค์คืนให้พระคุณเจ้า พระองค์
เท่านั้นเป็นผู้สมควรแก่พระมัทรี และพระมัทรีก็คู่ควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 574
กับพระราชสวามี น้ำนมและสังข์ ทั้งสองนี้มีสีเหมือน
กัน ฉันใด พระองค์และพระมัทรีก็มีพระหฤทัยเสมอ
กัน ฉันนั้น ทั้งสององค์เป็นกษัตริย์สมบูรณ์ด้วยพระ-
โคตร เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระชนนีและพระชนก
ทรงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นมาอยู่ในอาศรมราวป่า บุญ
ทั้งหลายที่พระองค์กระทำมาแล้วฉันใด ขอพระองค์
ทรงให้ทานกระทำบุญอยู่ร่ำไปฉันนั้น.
[๑๒๑๒] ข้าแต่พระราชฤาษี หม่อมฉันเป็นท้าว
สักกะจอมเทพ มาในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงเลือกพร หม่อมฉันขออวยพร ๘ ประการแก่
พระองค์.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๑๓] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งสรรพ-
สัตว์ ถ้าพระองค์จะประสาทพระพรแก่หม่อมฉันไซร้
ขอให้พระบิดาจงมารับหม่อมฉัน ขอพระบิดาพึงทรง
ต้อนรับหม่อมฉันผู้ออกจากป่านี้ไปถึงเรือนของตนด้วย
ราชอาสน์ พรนี้เป็นที่ ๑ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา
อนึ่ง ขอให้หม่อมฉันไม่พึงพอใจซึ่งการฆ่าคน แม้ผู้
นั้นจะเป็นนักโทษถึงประหารชีวิตกระทำผิดอย่างร้าย
กาจ ขอให้หม่อมฉันพึงปลดปล่อยให้พ้นจากการถูก
ประหารชีวิต พรนี้เป็นที่ ๒ เป็นพรที่หม่อมฉัน
ปรารถนา อนึ่ง ขอให้ประชาชนทั้งปวง ทั้งแก่เฒ่าเด็ก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 575
และปานกลาง พึงเข้ามาอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีวิต พรนี้
เป็นที่ ๓ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง หม่อมฉัน
ไม่พึงคบหาภรรยาผู้อื่น พึงพอใจแต่ในภรรยาของตน
ไม่พึงลุอำนาจแห่งหญิงทั้งหลาย พรนี้เป็นที่ ๔ เป็น
พรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้
บุตรของหม่อมฉัน ผู้พลัดพรากไปนั้น พึงมีอายุยืน
นาน พึงครองซึ่งแผ่นดินโดยธรรมเถิด พรนี้เป็นที่ ๕
เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ตั้งแต่วันที่หม่อม
ฉันกลับคืนถึงพระนคร เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นมาแล้ว ขอให้อาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏ
พรนี้เป็นที่ ๖ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง เมื่อ
หม่อมฉันให้ทานอยู่ ขอไทยธรรมอย่าได้หมดสิ้นไป
เมื่อกำลังให้ ขอให้หม่อมฉันทำจิตให้ผ่องใส ครั้น
ให้แล้วขอให้หม่อมฉันไม่พึงเดือดร้อนใจในภายหลัง
พรนี้เป็นที่ ๗ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง
เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไปขอให้หม่อมฉันครรไลยัง
โลกสวรรค์ ให้ได้ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษ ครั้น
จุติจากชั้นดุสิตนั้นแล้ว พึงมาสู่ความเป็นมนุษย์ แล้ว
ไม่พึงเกิดต่อไป พรนี้เป็นที่ ๘ เป็นพรที่หม่อมฉัน
ปรารถนา.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๑๔] ครั้นท้าวสักกะจอมเทพทรงสดับพระ-
ดำรัส ของพระมหาสัตว์เวสสันดรนั้นแล้ว ได้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 576
ดังนี้ว่า ไม่นานนักดอก สมเด็จพระบิดาบังเกิดเกล้า
ของพระองค์ จักเสด็จมาทรงเยี่ยมพระองค์ ครั้นตรัส
พระดำรัสเท่านี้แล้ว ท้าวสุชัมบดีมฆวาฬเทวราช ทรง
พระราชทานพรแก่พระเวสสันดรแล้ว ได้เสด็จกลับ
ไปยังหมู่สวรรค์.
จบสักกบรรพ
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๑๕] นั่นหน้าของใครหนองามยิ่งนัก ดัง
ทองคำอันนายช่างหลอมด้วยไฟสุกใส หรือดังแท่ง
ทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า ฉะนั้น เด็กทั้งสอง
คนนี้มีอวัยวะคล้ายคลึงกัน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คน
หนึ่งคล้ายคลึงพ่อชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา
ทั้งสองคนมีรูปเสมอกัน ดังราชสีห์ออกจากถ้ำทอง
ฉะนั้น เด็กสองคนนี้ปรากฏเหมือนดังหล่อด้วยทองคำ
เทียว.
[๑๒๑๖] ดูก่อนภารทวาชพราหมณ์ ท่านนำเด็ก
ทั้งสองคนนี้มาจากไหนหนอ ท่านมาจากไหน ลุถึง
แว่นแคว้นของเราในวันนี้.
ชูชกทูลว่า
[๑๒๑๗] ข้าแต่พระเจ้าสญชัยสมมติเทพ กุมาร
ทั้งสองนี้มีผู้ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยความพอใจ ตั้งแต่
วันที่ข้าพระองค์ได้สองกุมารนี้มา คืนวันนี้เป็นคืนที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 577
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๑๘] ท่านมีถ้อยคำดูดดื่มเพียงไร จึงได้เด็ก
สองคนนี้มา ท่านควรทำให้เราเชื่อโดยเหตุที่ชอบ ใคร
ให้ลูกน้อยทั้งหลาย อันเป็นอุดมทาน ให้ทานนั้นแก่
ท่าน.
ชูชกทูลว่า
[๑๒๑๙] พระองค์ใดเป็นที่พึ่งของเหล่ายาจกผู้
มาขอ ดังธรณีเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์นั้น
คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จไปอยู่ป่า ได้พระราช-
ทานพระราชโอรส และพระราชธิดาแก่ข้าพระองค์
พระองค์ได้เป็นที่รับรองของเหล่ายาจกผู้มาขอ เหมือน
สาครเป็นที่รับรองแห่งแม่น้ำทั้งหลายซึ่งไหลลงไป
ฉะนั้น พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จ
ไปอยู่ป่า ได้พระราชทานพระราชโอรสและพระราช-
ธิดาแก่ข้าพระองค์.
พวกอำมาตย์ทูลว่า
[๑๒๒๐] ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระราชา
ยังทรงครองเรือนอยู่เป็นผู้มีศรัทธา ทรงกระทำ
ธรรมไม่สมควรหนอ พระเวสสันดรถูกขับไล่ออกไป
อยู่ป่า พึงพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดา
อย่างไรหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลายมีประมาณเท่าใด
ซึ่งมาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ จงพิจารณาเรื่องนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 578
พระเวสสันดรราชประทับอยู่ในป่า อย่างไรจะพระ-
ราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดาเล่า พระองค์
ควรจะพระราชทานทาส ทาสี ม้า แม่ม้าอัศดร รถ
ช้างกุญชร ทำไมจึงพระราชทานพระราชกุมารทั้งสอง
เล่า.
พระชาลีกุมารทูลว่า
[๑๒๒๑] ข้าแต่สมเด็จพระอัยกา ทาส ม้า แม่
น่าอัสดร รถ และช้างกุญชรตัวประเสริฐ ในเรือน
ของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นจะพึงให้อะไรพระเจ้าข้า.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า.
[๑๒๒๒] ดูก่อนพระหลานน้อย ปู่สรรเสริญ
ทานแห่งบิดาของเจ้านั้น ปู่ไม่ได้ติเตียนเลย หฤทัย
แห่งบิดาของเจ้าเป็นอย่างไรหนอ เพราะให้เจ้าทั้ง
สองแก่พราหมณ์แล้ว.
พระชาลีกุมารทูลว่า
[๑๒๒๓] ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดา
ของเกล้ากระหม่อม. พระราชทานเกล้ากระหม่อมทั้ง
สองแก่พราหมณ์แล้ว ได้สดับถ้อยคำร่ำพิลาป ที่พระ
น้องกัณหาได้กล่าวแล้ว.
[๑๒๒๔] ทรงมีพระหฤทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน
มีดวงพระเนตรแดงดังหนึ่งดาวโรหิณี และมีพระอัส-
สุชลหลั่งไหล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 579
[๑๒๒๕] พระน้องกัณหาชินาได้กราบทูลสมเด็จ
พระบิดาดังนี้ว่า ข้าแต่พระบิดาเจ้าขา พราหมณ์นี้
เฆี่ยนตีเกล้ากระหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดังเฆี่ยนตีหญิง
ทาสีอันเกิดในเรือนเบี้ย พระบิดาเจ้าขา ผู้นี้ไม่ใช่
พราหมณ์เป็นแน่ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรม
ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มานำเอาเกล้ากระหม่อม
ฉันทั้งสองไปเพื่อจะกิน พระบิดาเจ้าขา เกล้ากระ-
หม่อมฉันทั้งสองถูกปีศาจนำไป ไฉนพระบิดาจึงทรง
นิ่งดูดายเสียเล่าหนอ เพคะ.
พระราชาตรัสว่า
[๑๒๒๖] มารดาของเจ้าทั้งสองเป็นพระราชบุตร
และบิดาของเจ้าทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่ก่อนเจ้า
ทั้งสองเคยขึ้นตักของปู่ บัดนี้เหตุไรจึงยืนอยู่ห่างไกล
เล่าหนอ.
พระกุมารทูลว่า
[๑๒๒๗] พระมารดาของเกล้ากระหม่อมทั้งสอง
เป็นพระราชบุตร และพระบิดาของเกล้ากระหม่อม
ทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่บัดนี้เกล้ากระหม่อมทั้ง
สองเป็นทาสของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เกล้ากระ-
หม่อมทั้งสองจึงยืนอยู่ห่างไกล พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า
[๑๒๒๘] หลานทั้งสองอย่าได้ชอบกล่าวอย่าง
นั้นเลย หทัยของปู่กำลังเร่าร้อน ปู่กายของเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 580
ดังถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร หลานรักทั้งสองยังความ
เศร้าโศกให้แก่ปู่ยิ่งนัก ปู่จักไถ่หลานทั้งสองด้วย
ทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็นทาส ดูก่อนพ่อ
ชาลี บิดาของเจ้าทั้งสองได้ตีราคาเจ้าทั้งสองไว้เท่าไร
ให้แก่พราหมณ์หลานทั้งสองจงบอกแก่ปู่ตามจริงเถิด
พนักงานทั้งหลายจงให้พราหมณ์รับเอาทรัพย์ไปเถิด.
พระกุมารตรัสว่า
[๑๒๒๙] ข้าแต่สมเด็จพระอัยกา พระบิดาทรง
ตีราคาเกล้ากระหม่อมฉันมีค่าทองคำพันแท่ง ทรงตี
ราคาพระน้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์อันผ่องใส ด้วย
สัตว์พาหนะมีช้างเป็นต้นอย่างละร้อย ๆ แล้วได้พระ-
ราชทานแก่พราหมณ์.
พระราชาตรัสว่า
[๑๒๓๐] เหวยพนักงาน เองจงลุกขึ้นไปนำทาส
ทาส ช้าง โค และ โคอุสภราช อย่างละร้อย ๆ กับ
ทองคำพันแท่ง เอามาให้แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระ-
หลานรักทั้งสอง.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๓๑] ลำดับนั้น พนักงานรีบไปนำทาส ทาสี
ช้าง โค และ โคอุสภราช อย่างละร้อย ๆ กับทองคำ
พนักแท่งเอามาให้แก่พราหมณ์ เป็นค่าไถ่สองพระ-
กุมาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 581
[๑๒๓๒] พนักงานได้ให้ทาส ทาสี ช้าง โค
และโคอุสภราช แม่ม้าอัศดร รถ และเครื่องใช้สอย
ทุกอย่าง ๆ ละร้อย ๆ กับทองคำพันแท่ง แก่พราหมณ์
แสวงหาทรัพย์ ผู้ขอเกินประมาณ หยาบช้า เป็น
ค่าไถ่พระกุมารทั้งสอง.
[๑๒๓๓] กษัตริย์ทั้งสอง คือ พระเจ้าสญชัย
และพระราชเทวี ทรงไถ่พระกุมารทั้งสองแล้ว รับสั่ง
ให้พนักงานสรงสนานและให้พระกุมารทั้งสองเสวย
เสร็จแล้ว ทรงประดับประดาด้วยอาภรณ์ทั้งหลาย
แล้วทรงอุ้มขึ้นให้ประทับบนพระเพลา พระกุมารทั้ง
สองทรงสรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาอัน
สะอาด ประดับด้วยสรรพาภรณ์ พระราชาภูษาพระอัน
ทรงอุ้มพระชาลีขึ้นประทับบนพระเพลา แล้วตรัสถาม
พระกุมารทั้งสอง ทรงประดับกุณฑลอันมีเสียงดังก้อง
น่าเพลินใจ ทรงประดับพวงมาลัยและสรรพาลังการ
แล้ว พระราชาครั้นทรงอุ้มพระชาลีขึ้นประทับบน
พระเพลา แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อชาลี พระ
ชนกชนนีทั้งสองของหลานรัก ไม่มีโรคดอกหรือ
แสวงหาผลาหารเลี้ยงพระชนมชีพสะดวกหรือ มูล
ผลาหารมีมากหรือ เหลือบ ยุงและสัตว์เสือกคลานมี
น้อยหรือ ในป่าอันเกลือนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย ไม่
มีมาเบียดเบียนหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 582
พระชาลีกุมาร ทูลว่า
[๑๒๓๔] ขอเดชะ พระชนกชนนีของเกล้า
กระหม่อมทั้งสองพระองค์นั้นไม่มีโรค อนึ่ง ทรง
แสวงหามูลผลาหารเลี้ยงพระชนมชีพได้สะดวก มูล
ผลาหารมีมาก เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานก็มี
น้อย ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย ไม่มีมา
เบียดเบียนพระชนกชนนีทั้งสอง พระชนนีของเกล้า
กระหม่อมฉัน ทรงขุดรากบัว เหง้าบัว มันอ่อน ทรง
สอยผลพุทรา ผลรกฟ้า มะตูม นำมาเลี้ยงพระชนก
และเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสอง พระชนนีทรงนำเอา
เหง้าไม้และผลไม้ใด ๆ มาจากป่า พระชนกและเกล้า
กระหม่อมฉันทั้งสองมารวมพร้อมกันเสวยเหง้าไม้และ
ผลไม้นั้น ๆ ในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลาง
วันเลย พระชนนีของเกล้ากระหม่อมทั้งสองผู้เป็น
สุขุมาลชาติ ต้องเที่ยวแสวงหาผลไม้ มีพระฉวีวรรณ
ผอมเหลือง เพราะลมและแดด เหมือนดอกปทุมอัน
ถูกขยำด้วยมือ ฉะนั้น เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวไปใน
ป่าใหญ่ ซึ่งเป็นป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย เป็น
ที่อาศัยแห่งแรดและเสือเหลือง พระเกสาของพระองค์
อันมีสีดังปีกแมลงภู่ ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวให้กระจุย
กระจาย พระชนนีทรงขมวดมุ่นพระเมาลี ทรงไว้ซึ่ง
เหงื่อไคลที่พระกัจฉะประเทศ (ทรงเพศเป็นดาบสินี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 583
อันประเสริฐ ทรงถือไม้ขอทรงเครื่องบูชาไฟ และ
มุ่นพระเมาลี) ทรงพระภูษาหนึ่งสัตว์ บรรทมเหนือ
ปฐพี ทรงบูชาไฟ.
[๑๒๓๕] บุตรทั้งหลายเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเป็น
ที่รักของมนุษย์ในโลก พระอัยกาของเราไม่ทรงเกิด
พระสิเนหาในพระโอรสเสียเลยเป็นแน่.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๓๖] ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว
การที่ปู่ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษ เพราะถ้อยคำ
ของชาวสีพีทั้งหลายนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอัน
ชั่วช้า และชื่อว่าทำกรรมเครื่องทำลายความเจริญ สิ่ง
ใด ๆ ของปู่มีอยู่ในนครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มี
อยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่พระธิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้
เวสสันดรจงมาเป็นพระราชาปกครองในสีพีรัฐเถิด.
พระชาลีกุมารทูลว่า
[๑๒๓๗] ขอเดชะ สมเด็จพระชนกของเกล้า
กระหม่อมฉัน คงจักไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาว
สีพี เพราะถ้อยคำของเกล้ากระหม่อมฉัน ขอให้
สมเด็จพระอัยกาเสด็จไป ทรงอภิเษกพระบิดาของ
เกล้ากระหม่อมฉันด้วยราชูปโภคเองเถิดพระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๓๘] ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยได้ดำรัสสั่ง
เสนาบดีว่า กองทัพ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 584
พลเดินเท้า จงผูกสอดอาวุธ (จงเตรียมให้พร้อมสรรพ)
ชาวนิคม พราหมณ์และปุโรหิตทั้งหลาย จงตามเราไป
ถัดจากนั้น พวกโยธีหกหมื่นผู้สง่างาม พร้อมสรรพ
ด้วยเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ ประดับด้วยผ้าสีต่าง ๆ กัน
จงตามมาเร็วพลัน พวกโยธีผู้พร้อมสรรพด้วยเครื่อง
อาวุธยุทธภัณฑ์ ประดับด้วยผ้าสีต่าง ๆ กัน คือ พวก
หนึ่งแต่งผ้าสีเขียว พวกหนึ่งแต่งผ้าสีเหลือง พวก
หนึ่งแต่งผ้าสีแดง พวกหนึ่งแต่งผ้าสีขาว จงตามมา
เร็วพลัน ภูเขาคันธมาทน์อันมีในป่าหิมพานต์ สะพรั่ง
ไปด้วยคันธชาติดารดาษด้วยพฤกษานานาชนิด เป็น
ที่อาศัยอยู่แห่งหมู่สัตว์ใหญ่ ๆ และมีต้นไม้เป็นทิพย์
โอสถ ย่อมสว่างไสวและหอมไปทั่วทิศ ฉันใด เหล่า
โยธีทั้งหลาย ผู้พร้อมสรรพด้วยเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์
จงตามมาเร็วพลัน ก็จงรุ่งเรืองและมีเกียรติฟุ้งขจร
ไป ฉันนั้น ถัดจากนั้น จงจัดช้างที่สูงใหญ่หมื่นสี่
พัน มีสายรัดประคนทอง มีเครื่องประดับและเครื่อง
ปกคลุมศีรษะอันขจิตด้วยทอง มีนายควาญช้างถือ
โตมรและขอขึ้นขี่คอประจำเตรียมพร้อมสรรพประดับ
ประดาอย่างสวยงาม จงตามมาเร็วพลัน ถัดจากนั้น
จงจัดม้าสินธพชาติอาชาไนยอันมีเท้าจัดหมื่นสี่พัน
พร้อมด้วยนายควาญม้าประดับประดาด้วยอลังการ ถือ
แส้แลกเกาทัณฑ์ ผูกสอดเครื่องรบขึ้นประจำหลัง จง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 585
ตามมาเร็วพลัน ถัดจากนั้น จงจัดกระบวนรถรบ
หมื่นสี่พัน มีกำกงอันหุ้มด้วยเหล็ก เรือนรถวิจิตรด้วย
ทอง และจงยกธงขึ้นปักบนรถนั้น ๆ พวกนายขมัง
ธนูผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นคนคล่องแคล่วในรถทั้งหลาย
จงเตรียมโล่ห์ เกราะและเกาทัณฑ์ไว้ให้เสร็จ พลโยธี
เหล่านี้ จงตระเตรียมให้พร้อมรีบตามมา.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๓๙] เวสสันดรโอรสของเรา จักเสด็จมา
โดยบรรดาใด ๆ ตามมรรคานั้น ๆ จงให้โปรยข้าวตอก
ดอกไม้ มาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้ และจงให้
ตั้งเครื่องบูชาอันมีค่ารับเสด็จมา ในบ้านหนึ่ง ๆ จงให้ตั้ง
หม้อสุราเมรัยรับไว้ บ้านละร้อย ๆ รายไปตามมรรคา
ที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา จงให้ตั้งมังสาหาร
และขนม เช่นขนมแดกงา ขนมกุมมาสอันปรุงด้วย
เนื้อปลา รายไปตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเรา
จักเสด็จมา จงให้ตั้งเนยใส น้ำมัน นมส้ม นมสด
ขนมที่ทำด้วยข้าวฟ่าง และสุราเป็นอันมาก รายไป
ตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา ให้มี
พนักงานวิเศษทั้งครัวหวานและครัวคาว จัดตั้งไว้เลี้ยง
ประชาชนทั่วไป ให้มีมหรสพฟ้อนรำขับร้องทุก ๆ อย่าง
เพลงปรบมือ กลองยาว ช่างขับเสภาอันบรรเทาความ
เศร้าโศก พวกโหรีจงเล่นดนตรีดีดพิณพร้อมทั้งกลอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 586
น้อยกลองใหญ่ เป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว ตะโพน
บัณเฑาะว์ สังข์ จะเข้ กลองใหญ่ กลองเล็ก ราย
ไปตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๔๐] กองทัพของสีพีรัฐเป็นกองทัพใหญ่
อันจัดเป็นกระบวนตั้งไว้เสร็จแล้วนั้น มีพระชาลี
ราชกุมารเป็นผู้นำทาง ได้ยาตราไปยังเขาวงกต ช้าง
กุญชรตัวประเสริฐมีอายุ ๖๐ ปี มีสายรัดประคนทอง
ผูกตกแต่งไว้ บันลือก้องโกญจนาทกระหึ่มอยู่ เหล่า
ม้าอาชาไนยย่อมแผดเสียงดังสนั่น เสียงกงรถดังกึก
ก้องธุลีละอองฟุ้งตระหลบนภากาศ กองทัพของสีพีรัฐ
อันจัดเป็นกระบวนยาตราไปเป็นกองทัพใหญ่ สามารถ
จะทำลายล้างราชดัสกรได้ มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้
นำทาง ได้ยาตราไปยังเขาวงกต พระเจ้าสญชัยพร้อม
ด้วยราชบริพารเหล่านั้นเสด็จเข้าป่าใหญ่ ซึ่งมีต้นไม้
มีกิ่งก้านมาก มีน้ำมาก ดารดาษไปด้วยไม้ดอก และ
ไม้ผลทั้งสองอย่างในป่าใหญ่นั้น ฝูงวิหคเป็นอันมาก
หลาก ๆ สี มีเสียงกลมกล่อมหวานไพเราะเกาะอยู่บน
ต้นไม้อันเผล็ดดอกตามฤดูกาล ร้องประสานเสียง
เสียงระเบงเป็นคู่ ๆ พระเจ้าสญชัยพร้อมทั้งราชบริพาร
เหล่านั้น เสด็จไปสิ้นระยะทางไกลล่วงหลายวันหลาย
คืน จึงบรรลุถึงประเทศที่พระเวสสันดรประทับอยู่.
จบมหาราชบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 587
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๔๑] พระเวสสันดรได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง
แห่งกองพลเหล่านั้นก็ตกพระทัยกลัวเสด็จขึ้นภูเขา
ทรงหวาดกลัวทอดพระเนตรดูกองพลเสนา ตรัสว่า
ดูก่อนมัทรี เชิญมาดูซิ เสียงอันกึกก้องเช่นใดในป่า
ม้าอาชาไนยส่งเสียงร้องกึกก้อง เห็นปลายธงปลิวไสว
นายพรานไพรทั้งหลายขึงข่ายล้อมฝูงเนื้อในป่า ไล่
ต้อนให้ตกลงในหลุม แล้วไล่ทิ่มแทงด้วยหอก เลือก
เอาแต่ตัวพี ๆ ฉันใด เราทั้งสองก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่มี
โทษผิด ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นมาอยู่ในป่า ย่อมเป็น
ผู้ต้องตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรเป็นแน่ ดูเอา
เถิดซึ่งบุคคลผู้ประหารคนไม่มีกำลัง.
พระนางมัทรีทูลว่า
[๑๒๔๒] พวกอมิตรไม่พึงย่ำยีพระองค์ เปรียบ
เหมือนไฟในห้วงน้ำ ฉะนั้น ขอพระองค์จงระลึกถึง
ข้อนั้นแหละ แต่นี้ไปจะพึงมีแต่ความสวัสดีโดยแท้.
[๑๒๔๓] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราชเสด็จลง
จากภูเขาแล้วประทับนั่งในบรรณศาลา ทรงทำพระ-
มนัสให้มั่นคง.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๔๔] พระบิดาดำรัสสั่งให้กลับรถ ให้ประ-
เทียบกระบวนทัพไว้ แล้วเสด็จเข้าไปทาพระราชโอรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 588
ผู้ประทับอยู่ในป่าเดียวดายเสด็จลงจากคอช้างพระที่
นั่งต้น ทรงเฉวียงพระอังสาประนมพระหัตถ์ แวด
ล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จเข้าไป เพื่อทรงอภิเษก
พระราชโอรสทรงเพศบรรพชิต นั่งเข้าฌานอยู่ใน
บรรณศาลาไม่หวั่นไหวแน่วแน่ ไม่มีภัยแต่ไหน.
[๑๒๔๕] พระเวสสันดรและพระนางเจ้ามัทรี
ทอดพระเนตรเห็นพระบิดา ผู้มีความรักในบุตรกำลัง
เสด็จมา ทรงต้อนรับถวายอภิวาท ฝ่ายพระนางเจ้า
มัทรี ทรงซบพระเศียรอภิวาทแทบพระบาทพระสัส-
สุระกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพเกล้ากระหม่อม
ฉันมัทรีผู้สะใภ้ของพระองค์ พระเจ้าสญชัยทรงสวม
กอดสองกษัตริย์ประทับทรวง ฝ่าพระหัตถ์ลูบพระ-
ปฤษฏางค์อยู่ไปมา อาศรมนั้น.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๔๖] ดูก่อนพระลูกรัก ลูกทั้งสองไม่มี
โรคาพาธหรือหนอ ลูกทั้งสองสำราญดีหรือ ทั้งมูลมัน
ผลไม้มีมากหรือ เหลือบ ยุงและสัตว์เสือกคลานมีน้อย
แลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ไม่มี
มาเบียดเบียนแลหรือ.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๔๗] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชีวิตของ
ข้าพระบาททั้งสองย่อมเป็นไปตามมีตามได้ ข้าพระบาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 589
ทั้งสองเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง ชีวิตเป็นอยู่ได้ด้วยการ
เที่ยวแสวงหามูลผลาผล ข้าแต่มหาราช นายสารถี
ทรมานม้าให้หมดฤทธิ์ ฉันใด ข้าพระบาททั้งสองย่อม
เป็นผู้ถูกทรมานให้หมดฤทธิ์ ฉันนั้น ความสิ้นฤทธิ์
ย่อมทรมานข้าพระบาททั้งสอง ข้าแต่พระมหาราช
เมื่อข้าพระบาททั้งสองผู้ถูกเนรเทศโศกเศร้าอยู่ในป่า
เนืองนิตย์ เนื้อหนังก็ซูบซีด เพราะมิได้เห็นพระชนก
ชนนี.
[๑๒๔๘] ทายาทผู้มีมโนรถยังไม่สำเร็จของฝ่า
พระบาทผู้จอมสีพีรัฐ คือชาลีและกัณหาชินา ทั้งสอง
ตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์ผู้มุทะลุหยาบช้า มัน
ต้อนตีเอาชาลีกัณหาชินาทั้งสองนั้นเหมือนดังโค ถ้า
พระองค์ทรงทราบหรือทรงได้สดับข่าวลูกทั้งสองของ
พระราชบุตรีนั้น ขอได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกแก่
ข้าพระบาทโดยเร็วพลัน ดังหมอรีบพยาบาลคนที่ถูก
งูกัดฉะนั้นเถิด.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๔๙] กุมารทั้งสองนั้น คือ ชาลีและกัณหา
ชินา พ่อได้ให้ทรัพย์แก่พราหมณ์ไถ่มาแล้ว ดูก่อน
ลูกรัก อย่ากลัวไปเลย จงเบาใจเถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๕๐] ข้าแต่สมเด็จพระบิดา ฝ่าพระบาทไม่
มีโรคาพาธหรือหนอ ทรงพระสำราญดีหรือ พระจักษุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 590
แห่งพระชนนีของข้าพระบาทยังไม่เสื่อมเสียแหละ
หรือ.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๕๑] ดูก่อนลูกรัก พ่อไม่มีโรคาพาธ และ
สบายดี อนึ่ง จักษุแห่งมารดาของเจ้าก็ไม่เสื่อมเสีย.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๕๒] ยวดยานของฝ่าพระบาทไม่ทรุดโทรม
หรือ พลพาหนะยังใช้ได้คล่องแคล่วหรือ ชนบท
เจริญดีอยู่หรือ ฝนไม่แล้งหรือพระเจ้าข้า.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๕๓] ยวดยานของเราไม่ทรุดโทรม พล-
พาหนะยังใช้ได้คล่องแคล่ว ชนบทเจริญดี และฝนก็
ไม่แล้ง.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๕๔] เมื่อสามกษัตริย์ทรงสนทนากันอยู่
อย่างนี้ พระมารดาผู้เป็นราชบุตรี ไม่ทรงฉลอง
พระบาท เสด็จดำเนินไปปรากฏที่ปากทวารเขา ก็
พระเวสสันดรและพระมัทรี ทอดพระเนตรเห็น
พระมารดาผู้มีความรักในบุตรกำลังเสด็จมา ทรงต้อน
รับถวายอภิวาท ฝ่ายพระนางเจ้ามัทรี ทรงซบเศียร
เกล้าอภิวาทแทบพระบาทพระสัสสุ กราบทูลว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้า เกล้ากระหม่อมฉันมัทรีผู้สะใภ้ ขอถวาย
บังคมพระยุคลบาทของพระแม่เจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
[๑๒๕๕] ก็พระโอรสทั้งสองผู้เสด็จมาโดยสวัสดี
แต่ที่ไกล ทอดพระเนตรเห็นพระนางเจ้ามัทรี ก็คร่ำ
ครวญวิ่งเข้าไปหา ดังหนึ่งลูกโคน้อยวิ่งเข้าไปหาแม่
ฉะนั้น ส่วนพระนางเจ้ามัทรีพอทอดพระเนตรเห็น
พระโอรสทั้งสองผู้เสด็จมาโดยสวัสดี แต่ที่ไกล ทรง
สั่นระรัวไปทั่วพระกาย เหมือนแม่มดผีสิง ฉะนั้น
น้ำมันก็ไหลออกจากพระถันทั้งคู่.
[๑๒๕๖] เมื่อพระญาติทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว
ขณะนั้นได้เกิดเสียงสนั่นกึกก้อง ภูเขาทั้งหลายสั่น
สะท้าน แผ่นดินไหวสะเทือน ฝนตกลงเป็นท่อธาร
ครั้งนั้น พระเวสสันดรราชได้สมาคมร่วมด้วยพระญาติ
คือ พระราชา พระเทวี พระโอรส พระสุณิสาและ
พระราชนัดดาทั้งสองพระองค์ พระญาติทั้งหลายมา
ประชุมพรักพร้อมกันแล้ว ณ กาลใด. ในกาลนั้นได้
เกิดความอัศจรรย์น่าขนพองสยองเกล้า ประชาราษฎร์
ทั้งปวงพร้อมใจกันประนมมืออัญชลี ถวายบังคมพระ-
มหาสัตว์คร่ำครวญวิงวอนพระเวสสันดรและพระนาง
เจ้ามัทรี ในป่าอันน่าหวาดกลัวว่า พระองค์เป็นพระ-
ราชาผู้เป็นใหญ่แห่งข้าพระบาททั้งหลาย ขอทั้งสอง
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดรับเสวยราชสมบัติเป็น
พระราชาแห่งข้าพระบาททั้งหลายเทอญ.
จบฉขัตติยบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 592
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๕๗] ฝ่าพระบาท ชาวชนบทและชาวนิคม
พร้อมใจกันเนรเทศข้าพระบาทผู้ครองราชสมบัติโดย
ทศพิธราชธรรม จากแว่นแคว้น.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๕๘] ดูก่อนพระลูกรัก จริงที่เดียว การที่
พ่อให้ขับไล่ลูกผู้ไม่มีโทษผิดออกไปจากแว่นแคว้น
เพราะถ้อยคำของชาวสีพีนั้น ชื่อว่าพ่อได้ทำกรรมอัน
ชั่วช้า และชื่อว่าพ่อได้ทำกรรมเครื่องทำลายความ
เจริญ.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๕๙] ขึ้นชื่อว่าบุตร ควรช่วยปลดเปลื้อง
ความทุกข์ของมารดาบิดา และ พี่น้องที่เกิดขึ้นเพราะ
เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ด้วยชีวิตของตน (ข้าแต่
พระมหาราช เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่จะสรงสนาน
ขอเชิญทรงชำระพระสรีระมลทินเถิด พระเจ้าข้า).
[๑๒๖๐] ลำดับนั้น พระเวสสันดรบรมกษัตริย์
ทรงชำระพระสรีระมลทิน ครั้นแล้วไม่ทรงเพศดาบส.
[๑๒๖๑] พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ สระพระ-
เกศาแล้ว ทรงเสวตพัสตร์อันสะอาด ทรงประดับด้วย
เครื่องราชปิลันธนาภรณ์ทุกอย่าง ทรงสอดพระแสง
ขรรค์อันทำให้ราชปัจจามิตรเกรงขามเสด็จขึ้นทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 593
พระยาปัจจยนาคเป็นพระคชาธาร ครั้งนั้นเหล่าสหชาติ
โยธาหาญทั้งหกหมื่นสวมสอดสรรพาวุธและประดับ
สรรพาภรณ์ล้วนด้วยทอง เป็นสง่างามน่าดู ต่างชื่นชม
ยินดี แวดล้อมพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจอมทัพ ลำดับ
นั้น เหล่าพระสนมกำนัลของพระเจ้าสีพีมาประชุม
พร้อมกัน เชิญพระมัทรีให้โสรจสรงด้วยสุคนธวารี
แล้วทูลถวายพระพรว่า ขอพระเวสสันดรจงทรงอภิ-
บาลรักษาพระแม่เจ้า ขอพระชาลีและพระกัณหาชินา
ทั้งสองพระองค์จงทรงบำรุงรักษาพระแม่เจ้าต่อไป
อนึ่ง ขอพระเจ้าสญชัยมหาราช จงทรงคุ้มครองรักษา
พระแม่เจ้ายิ่งขึ้นไป เทอญ.
[๑๒๖๒] ก็พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระ-
มัทรี กลับมาได้ดำรงในสิริราชสมบัตินี้ตามเดิมแล้ว
ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่เสด็จไปประทับอยู่ใน
ป่าในกาลก่อน จึงรับสั่งให้นำกลองนันทภรีไปตีประ-
กาศที่เวิ้งว้างหว่างเขาวงกต อันเป็นรัมณียสถาน ก็
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระมัทรี กลับมาได้
ดำรงในสิริราชสมบัตินี้ตามเดิมแล้ว พระมัทรีผู้สม-
บูรณ์ด้วยลักขณา ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่
เสด็จไปประทับอยู่ในป่าในกาลล่อน ครั้นได้ทรง
ประสบพระโอรสพระธิดาก็มีพระทัยปราโมทย์ เกิด
โสมนัส ก็พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระมัทรีผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 594
ลักขณา กลับได้ดำรงในสิริราชสมบัติตามเดิมแล้ว
ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่เสด็จไปประทับอยู่ใน
ป่าในกาลก่อน และได้มาอยู่ร่วมกับพระโอรสและ
พระธิดา จึงมีพระหฤทัยชื่นชมยินดีปีติโสมนัส.
พระนางมัทรีตรัสว่า
[๑๒๖๓] ดูก่อนลูกรักทั้งสอง ในกาลก่อน คือ
เมื่อพราหมณ์นำลูกทั้งสองไป แม่มีความปรารถนาลูก
ทั้งสอง แม่จึงได้บำเพ็ญวัตรนี้ คือ แม่บริโภคอาหาร
วันละครั้ง นอนเหนือพื้นแผ่นดินเป็นนิตย์ วัตรของ
แม่นั้นสำเร็จแล้วในวันนี้ เพราะได้พบพระลูกทั้งสอง
แล้ว ดูก่อนลูกรักทั้งสอง ขอความโสมนัสอันเกิดจาก
แม่และแม้ที่เกิดจากพระบิดา จงคุ้มครองลูก อนึ่งเล่า
ขอพระเจ้าสญชัยมหาราช จงทรงอภิบาลรักษาลูก
บุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่แม่ก็ดี พระบิดาของลูก
ก็ดี กระทำแล้วมีอยู่ ด้วยบุญกุศลทั้งหมดนั้น ขอให้
ลูกจงเป็นผู้ไม่แก่ไม่ตาย.
[๑๒๖๔] พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยพระ-
ภูษาอย่างใด สมเด็จพระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัด
พระภูษาอย่างนั้น คือ พระภูษากัปปาสิกพัสตร์ โกสัย
พัสตร์ โขมพัสตร์ และโกทุมพรพัสตร์ ส่งไปประทาน
แก่พระมัทรีราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วย
เครื่องประดับอย่างใด พระสัสสุผุสดีราชเทว ก็ทรง
จัดเครื่องประดับอย่างนั้น คือ พระธำมรงค์สุวรรณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 595
รัตน์สร้อยพระศอนพรัตน์ ส่งไปประทานแก่พระมัทรี
ราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประ
ดับอย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัดเครื่อง
ประดับอย่างนั้น คือ พระวลัยสำหรับประดับต้นพระ
พาหา พระกุณฑลสำหรับประดับพระกรรณ สายรัด
พระองค์ฝังแก้วมณีตาบเพชร ไปประทานแก่พระมัทรี
ราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประ
ดับอย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัดเครื่อง
ประดับอย่างนั้น คือ ดอกไม้กรองเครื่องประดับ
พระเมาฬี เครื่องประดับพระนลาตและเครื่องประดับ
ฝังแก้วมณีสีต่างๆ กัน ไปประทานแก่พระมัทรีราช-
สุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประดับ
อย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวี ก็ทรงจัดเครื่องประดับ
อย่างนั้น คือ เครื่องประดับพระกัน เครื่องประดับ
พระอังสา สะอิ้งเพชร ฉลองพระบาทส่งไปประทาน
แก่พระมัทรีราชสุณิสา เครื่องประดับที่สมเด็จพระนาง
ผุสดีส่งไปประทานนั้นมีทั้งที่ต้องร้อยด้วยเชือก ทั้งที
ไม่ต้องร้อยด้วยเชือก สมเด็จพระผุสดีทรงตรวจดู
เครื่องประดับพระนางมัทรี ทรงเห็นที่ใดยังบกพร่อง
ก็รับสั่งให้นำมาประดับเพิ่มเติมจนเต็ม พระนางมัทรี
ราชบุตรีทรงงดงามยิ่งนัก ดังนางเทพกัญญาในนันทน-
วัน พระนางมัทรีราชบุตรีสระพระเกศาแล้วทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 596
เศวตพัสตร์ ประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง ทรงงดงาม
ยิ่งนัก ดังนางเทพอัปสรในดาวดึงส์ วันนั้น พระ-
นางมัทรีราชบุตรีทรงงดงามน่าพิศวง ดังต้นกล้วยอัน
เกิดในสวนจิตตลดา ถูกลมรำเพยพัดไหวไปมา ฉะนั้น
พระนางมัทรีราชบุตรี ทรงมีไรพระทนต์แดงดังผล
ตำลึงสุกงามยิ่งนัก มีพระโอษฐ์แดงดังผลไทรสุก งด
งามยิ่งนัก ปานดังกินรีมีขนปีกงามวิจิตร บินร่อนอยู่
ในอากาศ ฉะนั้น.
[๑๒๖๕] เหล่าพนักงานตกแต่งดรุณหัตถี มีวัย
ปานกลาง อันเป็นช้างพระที่นั่งต้นตัวประเสริฐอดทน
ต่อหอกซัดและลูกศร มีงางอนงามดังอนรถ มีกำลัง
กล้าหาญ เสร็จแล้วให้นำมาประเทียบเกยคอยรับเสด็จ
สมเด็จพระนางมัทรีเสด็จขึ้นประทับบนหลังดรุณหัตถี
อันมีวัยปานกลาง เป็นช่างพระที่นั่งต้นตัวประเสริฐ
อดทนต่อหอกซัดและลูกศร มีงางอนงามดังงอนรถมี
กำลังกล้าหาญ.
[๑๒๖๖] เนื้อประมาณเท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง
ณ เขาวงกตนั้น เนื้อประมาณเท่านั้น ไม่เบียดเบียน
กันและกันด้วยเดชของพระเวสสันดร นกประมาณ
เท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น นกประมาณ
เท่านั้นไม่เบียดเบียนกันและกันด้วยเดชของพระเวส-
สันดร เนื้อประมาณเท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขา
วงกตนั้น มาประชุมในที่เดียวกัน ในเมื่อพระเวส-
สันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จกกลับ เนื้อประมาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 597
เท่าใด ที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น เนื้อประ
มาณเท่านั้นต่างพากันมีทุกข์ เพราะจะต้องพลัดพราก
จากพระเวสสันดรมิได้ส่งเสียงร้องอันไพเราะ เหมือน
กาลก่อนในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะ
เสด็จกลับ นกประมาณเท่าใด ที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ
เขาวงกตนั้น นกประมาณเท่านั้น ต่างพากันมีทุกข์
เพราะจะต้อพลัดพรากจากพระเวสสันดรมิได้ส่งเสียง
ร้อง อันไพเราะเหมือนในกาลก่อน ในเมื่อพระเวส-
สันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จกลับ.
[๑๒๖๗] ราชวิถีที่จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น
ประชาราษฎร์ช่วยกันตกแต่งราบรื่น งานวิจิตร ลาด
ด้วยดอกไม้ ตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรราชประทับ
อยู่ ตราบเท่าถึงพระนครเชตุดร ลำดับนั้น เหล่า
อำมาตย์สหชาติโยธาหาญทั้งหกหมื่น แต่งเครื่องพร้อม
สรรพงามสง่าน่าดู พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ
ในเมื่อพระเวสสันดรผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับ
พระนคร พระสนมกำนัลใน พระกุมารที่เป็นพระ-
ประยูรญาติและบุตรอำมาตย์ พวกพ่อค้าและพราหมณ์
ทั้งหลาย พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ ในเมื่อ
พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับพระนคร
กองพลช้าง ลงพลม้า กองพลรถ กองพลเดินเท้า
พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ ในเมื่อพระเวสสัน-
ดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ เสด็จกลับพระนครชาวชนบท
และชาวนิคม พร้อมใจกันมาประชุมแวดล้อมอยู่โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 598
รอบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จ
กลับพระนคร เหล่าโยธาสวมหมวกแดง สวมเกราะ
หนัง ถือธนู ถือโล่ห์ดั้ง เดินนำหน้า ในเมื่อพระ-
เวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับพระนคร.
[๑๒๖๘] กษัตริย์ทั้งหกพระองค์นั้น เสด็จเข้าสู่
พระนครอันน่ารื่นรมย์ มีป้อมปราการและทวารเป็น
อันมาก บริบูรณ์ด้วยข้าวน้ำบริบูรณ์ด้วยการฟ้อนรำ
ขับร้องทั้งสองอย่าง ชาวชนบทและชาวนิคมต่างชื่น
ชมยินดี มาประชุมพร้อมกัน ในเมื่อพระเวสสันดรผู้
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จมาถึง เมื่อพระมหาสัตว์ผู้
พระราชทานทรัพย์สมบัติมาถึงแล้ว ชาวชนบทและ
ชาวนิคมต่างเปลื้องผ้าโพกออกโบกสะบัดอยู่ไปมา
พระองค์รับสั่งให้นำกลองนันทเภรีไปตีประกาศใน
พระนคร รับสั่งให้ประกาศการปลดปล่อยสัตว์ทั้ง
หลายจากเครื่องจองจำ.
[๑๒๖๙] ขณะเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้
เจริญ เสด็จเข้าพระนครแล้ว ท้าวสักกเทวราชทรง
บันดาลฝนเงินให้ตกลงในขณะนั้น ลำดับนั้นพระ-
เวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้มีพระปัญญา ทรงบำเพ็ญทาน
แล้ว ครั้นสวรรคต พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าถึงสวรรค์
ฉะนี้แล.
จบนครกัณฑ์
จบมหาเวสสันตรชาดกที่ ๑๐
จบมหานิบาตชาดก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 599
อรรถกถามหานิบาตชาดก
เวสสันตรชาดก
ทศพรคาถา
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ นิโครธาราม อาศัยกรุงกบิลพัสดุ์
ราชธานี ทรงปรารภฝนโบกขรพรรษตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ผุสฺสตี
วรวณฺณาเภ ดังนี้เป็นต้น.
ความพิสดารว่า พระศาสดาทรงยังธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว
เสด็จสู่กรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั้นตลอดเหมันตฤดู
มีพระอุทายีเถระเป็นมัคคุเทศก์ พระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ แวดล้อม เสด็จจนถึง
กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นการเสด็จครั้งแรก ศักยราชทั้งหลายประชุมกันด้วยคิดว่า
พวกเราจักได้เห็นสิทธัตถกุมารนี้ผู้เป็นพระญาติอันประเสริฐของพวกเรา เลือก
หาสถานที่เป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กำหนดกันว่า ราชอุทยาน
ของนิโครธศักยราชน่ารื่นรมย์ จึงทำวิธีปฏิบัติจัดแจงทุกอย่างในนิโครธาราม
นั้น ถือของหอมดอกไม้และจุรณเป็นต้นรับเสด็จ ส่งทารกทาริกาชาวเมืองที่
ยังหนุ่ม ๆ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงไปก่อน แต่นั้นจึงส่งราชกุมารีไป
เสด็จไปเองในระหว่างราชกุมารราชกุมารีเหล่านั้น บูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้
ของหอมและจุรณเป็นต้น พาเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่นิโครธารามนั่นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ แวดล้อม ประทับนั่ง ณ บวรพุทธ-
อาสน์ที่ปูลาดไว้ในนิโครธารามนั้น กาลนั้นเจ้าศากยะทั้งหลายเป็นชาติถือตัว
กระด้างเพราะถือตัวคิดกันว่า สิทธัตถกุมารนี้เด็กกว่าพวกเรา เป็นน้องเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 600
ภาคิไนย เป็นบุตร เป็นนัดดา ของพวกเรา คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวกะราชกุมารที่
ยังหนุ่ม ๆ เหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกเราจักนั่ง
เบื้องหลังพวกเธอ เมื่อเจ้าศากยะเหล่านั้นไม่อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งกันอยู่
อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น จึงทรง
ดำริว่าพระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอาเถิด เราจักยังพระญาติเหล่านั้นให้ไหว้
ทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา จำเดิมแต่
นั้นก็เสด็จขึ้นสู่อากาศ เป็นดุจโปรยละอองธุลีพระบาทลงบนเศียรแห่งพระญาติ
เหล่านั้น ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นกับยมกปาฏิหาริย์ ณ ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์.
กาลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้น
จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในวันเมื่อพระองค์ประสูติ เมื่อพระพี่เลี้ยงเชิญ
พระองค์เข้าไปใกล้เพื่อให้นมัสการชฎิลชื่อกาฬเทวละ ข้าพระองค์ก็ได้เห็น
พระบาททั้งสองของพระองค์กลับไปตั้งอยู่ ณ ศีรษะแห่งพราหมณ์ ข้าพระองค์
ก็ได้กราบพระองค์ นี้เป็นการกราบของข้าพระองค์ครั้งแรก ในวันวัปปมงคลแรก
นาขวัญ เมื่อพระองค์บรรทม ณ พระยี่ภูอันมีสิริใต้ร่มเงาไม้หว้า ข้าพระองค์
ได้เห็นเงาไม้หว้าไม่บ่ายไป ข้าพระองค์ก็ได้กราบพระบาทของพระองค์ นี้เป็น
การกราบของข้าพระองค์ครั้งที่ ๒ บัดนี้ข้าพระองค์เห็นปาฏิหาริย์ อันยังไม่เห็น
นี้ จึงได้กราบพระบาทของพระองค์ นี้เป็นการกราบของข้าพระองค์ครั้งที่ ๓.
ก็เมื่อพระเจ้าสุทโทนะถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งที่จะไม่อาจ
ถวายบังคมดำรงนิ่งอยู่มิได้มี ชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดได้ถวายบังคมแล้ว พระผู้
มีพระภาคเจ้ายังพระประยูรญาติทั้งหลายให้ถวายบังคมแล้ว เสด็จลงจากอากาศ
ประทับนั่ง ณ บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
นั่งแล้ว พระประยูรญาติที่ประชุมกันได้แวดล้อมแล้ว ทั้งหมดมีจิตแน่วแน่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 601
นั่งอยู่. ลำดับนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนโบกขรพรรษให้ตกแล้ว น้ำฝนนั้นสีแดง
เสียงซู่ซ่าไหลไปลงที่ลุ่ม ผู้ต้องการให้เปียก ก็เปียก ฝนนั้นไม่ตกต้องกายของผู้
ที่ไม่ต้องการให้เปียกแม้สักหยาดเดียว ชนทั้งปวงเหล่านั้นเห็นอัศจรรย์นั้นก็
เกิดพิศวง ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ ไม่เคยมี โอ อานุภาพ
แห่งพระพุทธเจ้า มหาเมฆจึงยังฝนโบกขรพรรษเห็นปานนี้ ให้ตกในสมาคม
แห่งพระประยูรญาติทั้งหลาย พระศาสดาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่า
นั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิ
ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มหาเมฆยังฝนโบกขรพรรษให้ตก แม้ในกาลก่อน
เวลาที่เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มหาเมฆเห็นปานนี้ ก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตก
ในญาติสมาคมเหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้นทูล
อาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า สีวิมหา-
ราช ครองราชสมบัติในกรุงเชตุดรแคว้นสีพี มีพระโอรสพระนามว่า สญชัย
กุมาร เพื่อสญชัยกุมารนั้นทรงเจริญวัย พระเจ้าสีวีมหาราชนำราชกัญญา
พระนามว่า ผุสดี ผู้เป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราชมาทรงมอบราชสมบัติ
แก่สญชัยราชกุมารนั้นแล้ว ตั้งพระนางผุสดีเป็นอัครมเหสี.
ต่อไปนี้เป็นบุรพประโยคคือความเพียรที่ทำในศาสนาของพระพุทธเจ้า
ในปางก่อนแห่งพระนางนั้น คือ ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา
พระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้น พระราชาพระนามว่า
พันธุมราช เสวยราชสมบัติในพันธุมดีนคร เมื่อพระวิปัสสีศาสดาประทับ
อยู่ในเขมมฤคทายวัน อาศัยพันธุมดีนคร กาลนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งส่ง
สุวรรณมาลาราคา ๑ แสน กับแก่นจันทน์อันมีค่ามาก ถวายแด่พระเจ้าพันธุมราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 602
พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชธิดา ๒ องค์ พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชประสงค์
จะประทานบรรณาการนั้นแก่พระราชธิดาทั้งสอง จึงได้ประทานแก่นจันทน์แก่
พระธิดาองค์ใหญ่ ประทานสุวรรณมาลาแก่พระธิดาองค์เล็ก. ราชธิดาทั้งสอง
นั้นคิดว่า เราทั้งสองจักไม่นำบรรณาการนี้มาที่สรีระของเรา เราจักบูชาพระ-
ศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข้าพระบาท
ทั้งสองจักเอาแก่นจันทน์และสุวรรณนาลาบูชาพระทศพล พระเจ้าพันธุมราช
ทรงสดับดังนั้น ก็ประทานอนุญาตว่า ดีแล้ว ราชธิดาองค์ใหญ่บดแก่นจันทน์
ละเอียดเป็นจุรณ บรรจุในผอบทองคำแล้วให้ถือไว้ ราชธิดาองค์น้อยให้ทำ
สุวรรณมาลาเป็นมาลาปิดทรวง บรรจุผอบทองคำแล้วให้ถือไว้ ราชธิดาทั้งสอง
เสด็จไปสู่มฤคทายวันวิหาร. บรรดาราชธิดาสององค์นั้น องค์ใหญ่บูชาพระพุทธ
สรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพลด้วยจรุณแก่นจันทน์ โปรยปราย
จุรณแก่นจันทน์ที่ยังเหลือในพระคันธกุฏี ได้ทำความปรารถนาว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงเป็นมารดาแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์
ในอนาคตกาล แล้วกล่าวคาถาว่า
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำการบูชาพระองค์ด้วยจุรณ
แห่งแก่นจันทน์นี้ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เป็นมารดา
แห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์ในอนาคตกาล.
ฝ่ายราชธิดาองค์เล็กบูชาพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพล
ด้วยสุวรรณมาลาทำเป็นอาภรณ์เครื่องปิดทรวง ได้ทำความปรารถนาว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ เครื่องประดับนี้จงอย่าหายไปจากสรีระของข้าพระพุทธเจ้า
จนตราบเท่าบรรลุพระอรหัต แล้วกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าบูชาพระ-
องค์ด้วยสุวรรณมาลา ด้วยอำนาจพุทธบูชานี้ ขอบุญ
จงบันดาลให้สุวรรณมาลามีที่ทรวงของข้าพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 603
ส่วนพระบรมศาสดาก็ทรงทำบูชานุโมทนาแก่ราชธิดาทั้งสองนั้นว่า
ก็เธอทั้งสองได้ประดิษฐานการบูชาอันใดแก่เรา
ในภพนี้ วิบากแห่งการบูชานั้น จงสำเร็จแก่เธอทั้งสอง
ความปรารถนาเธอทั้งสองเป็นอย่างใด จงเป็นอย่างนั้น.
ราชธิดาทั้งสองนั้น ดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุในที่สุดแห่งพระชนมายุ
เคลื่อนจากมนุษยโลกไปบังเกิดในเทวโลก ใน ๒ องค์นั้น องค์ใหญ่เคลื่อน
จากเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ยังมนุษยโลก เคลื่อนจากมนุษยโลกท่องเที่ยวอยู่ยัง
เทวโลก ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ ได้เป็นพุทธมารดามีพระนามว่ามหามายาเทวี
ฝ่ายราชกุมารีองค์เล็กก็ท่องเที่ยวอยู่อย่างนั้น ในกาลเมื่อพระทศพลพระนามว่า
กัสสปะบังเกิด ได้เกิดเป็นราชธิดาแห่งพระราชา พระนามว่ากิกิราช พระนาง
เป็นราชกุมาริกาพระนามว่า อุรัจฉทา เพราะความที่ระเบียบแห่งเครื่องปิด
ทรวงราวกะว่าทำแล้วด้วยจิตรกรรม เกิดแล้วแต่พระทรวง อันตกแต่งแล้วใน
กาลเมื่อราชกุมาริกามีชนมพรรษา ๑๖ ปี ได้สดับภัตตานุโมทนาแห่งพระ
ตถาคตเจ้า ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล กาลต่อมาในวันที่พระชนกทรงสดับภัตตา-
นุโมทนาแล้วทรงได้บรรลุโสดาปัตติผล พระนางได้บรรลุพระอรหัต ผนวช
แล้วปรินิพพาน พระเจ้ากิกิราชมีพระธิดาอื่นอีก ๗ องค์ พระนามของราชธิดา
เหล่านั้นคือ
นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกษุณี นาง
ภิกขุทาสิกา นางธรรมา นางสุธรรมา และนางสังฆ-
ทาสีเป็นที่ ๗.
ราชธิดาทั้ง ๗ เหล่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามปรากฏคือ
นางเขมา นางอุบลวรรณา นางปฏาจารา
พระนางโคดม นางธรรมทินนา พระนางมหามายา
และนางวิสาขาเป็นที่ ๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 604
บรรดาราชธิดาเหล่านั้น นางผุสดี ชื่อสุธรรมาได้บำเพ็ญบุญมีทาน
เป็นต้น เป็นนางกุมาริกาชื่อผุสดี เพราะความเป็นผู้มีสรีระดุจอันบุคคลประ-
พรมแล้วด้วยแก่นจันทน์แดงเกิดแล้ว ด้วยผลแห่งการบูชาด้วยจุรณแก่นจันทน์
อันนางได้ทำแล้วแด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและ
มนุษย์ ต่อมาได้เกิดเป็นอัครมเหสีแห่งท้าวสักกเทวราช ครั้งนั้น เมื่อบุรพ-
นิมิตร ๕ ประการเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วอายุแห่งนางผุสดี ท้าวสักกเทวราชทราบ
ความที่นางจะสิ้นอายุ จึงพานางไปสู่นันทวันอุทยานด้วยยศใหญ่ ประทับบนตั่ง
ที่นอนอันมีสิริ ตรัสอย่างนี้กะนางผู้บรรทมอยู่ ณ ที่นอนอันมีสิริประดับแล้ว
นั้นว่า แน่ะนางผุสดีผู้เจริญ เราให้พร ๑๐ ประการแก่เธอ เธอจงรับพร ๑๐
ประการเหล่านั้น ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะประทานพรนั้น ได้ทรงภาษิตประถม
คาถาในมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ ว่า
ดูก่อนนางผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอันประเสริฐ
ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือกเอาพร ๑๐
ประการ ในแผ่นดินอันเป็นที่รักแห่งหฤทัยของเธอ.
ธรรมเทศนามหาเวสสันดรนี้ ชื่อว่าท้าวสักกเทวราชให้ตั้งขึ้นแล้วใน
เทวโลก ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุสฺสตี เป็นบทที่ท้าวสักกเทวราชใช้
เรียกชื่อเธอ. บทว่า วรวณฺณาเภ ความว่า ประกอบด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ
อันประเสริฐ. บทว่า ทสธา ได้แก่ ๑๐ ประการ. บทว่า ปพฺยา ได้แก่
ทำให้เป็นสิ่งที่พึงถือเอาในแผ่นดิน. บทว่า วรสฺสุ ความว่า ท้าวสักกเทว-
ราชตรัสบอกว่า เธอจงถือเอา. บทว่า จารุปุพฺพงฺคี ความว่า ประกอบ
ด้วยส่วนเบื้องหน้าอันงาม คือด้วยลักษณะอันประเสริฐ. บทว่า ย ตุยฺห
มนโส ปิย ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า เธอจงถือเอาพรซึ่งเป็นที่รัก
แห่งใจของเธอนั้น ๆ ทั้ง ๑๐ ส่วน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 605
ผุสดีเทพกัญญาไม่ทราบว่าตนจะต้องจุติเป็นธรรมดา เป็นผู้ประมาท
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่เทวราช ข้าพระบาทขอนอบน้อมแด่พระองค์
ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ ฝ่ายพระบาท
จึงให้ข้าพระบาทจุติจากทิพยสถานที่น่ารื่นรมย์ ดุจลม
พัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไปฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตยตฺถุ ความว่า ขอนอบน้อม
แด่พระองค์. บทว่า กึ ปาป ความว่า นางผุสดีทูลถามว่า ข้าพระบาทได้
ทำบาปอะไรไว้ในสำนักของพระองค์. บทว่า ธรณีรุห ได้แก่ ต้นไม้.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทราบว่านางเป็นผู้ประมาทจึงได้ภาษิต ๒
คาถาว่า
บาปกรรม เธอมิได้ทำไว้เลย และเธอไม่เป็นที่
รักของเราก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว เหตุนั้น เรา
จึงกล่าวกับเธออย่างนี้ ความตายใกล้เธอ เธอจักต้อง
พลัดพรากจากไป จงเลือกรับพร ๑๐ ประการนี้จากเรา
ผู้จะให้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน เตว ความว่า ซึ่งเป็นเหตุให้
เรากล่าวกะเธออย่างนี้ บทว่า ตุยฺห วินาภาโว ความว่า เธอกับพวกเรา
จักพลัดพรากจากกัน. บทว่า ปเวจฺฉโต แปลว่า ผู้ให้อยู่.
ผุสดีเทพกัญญาได้สดับคำท้าวสักกเทวราช ก็รู้ว่าตนจุติแน่แท้ เมื่อ
จะทูลขอรับพรจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของเหล่าสัตว์ทั้งปวง
ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้ ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 606
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทพึงอยู่ในพระราชนิเวศน์
แห่งพระเจ้ากรุงสีพีนั้น.
ข้าแต่ท้าวปุรินททะ ข้าพระบาทพึงเป็นผู้มีจักษุ
ดำเหมือนตาลูกมฤคีซึ่งมีดวงตาดำ พึงมีขนคิ้วดำ พึง
เกิดในพระราชนิเวศน์นั้นโดยนามว่าผุสดี พึงได้พระ-
ราชโอรสผู้ให้สิ่งอันเลิศ ประกอบความเกื้อกูลแก่ยาจก
ไม่ตระหนี่ อันพระราชาทุกประเทศบูชา มีเกียรติ มียศ
เมื่อข้าพระบาททรงครรภ์ อุทรอย่านูนขึ้นพึงมีอุทรไม่
นูน เสมอดังคันศรที่นายช่างเหลาเกลาเกลี้ยงฉะนั้น
ถันทั้งคู่ของข้าพระบาทอย่าพึงหย่อนยาน ข้าแต่ท้าว-
วาสวะ ผมหงอกก็อย่าได้มี ธุลีก็อย่าพึงติดในกาย
ข้าพระบาทพึงปลดปล่อยนักโทษประหารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทพึงได้เป็น
อัครมเหสีที่โปรดปรานของพระเจ้ากรุงสีวีในพระราช
นิเวศน์อันกึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระ-
เรียน พรั่งพร้อมด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ เกลื่อนกล่น
ไปด้วยคนเตี้ยและคนค่อม อันพ่อครัวชาวมาคธบอก
เวลาบริโภคอาหาร กึกก้องไปด้วยเสียงกลอนและเสียง
บานประตูอันวิจิตร มีคนเชิญให้ดื่มสุราและกินกับ
แกล้ม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิราชสฺส ความว่า นางผุสดีนั้น
ตรวจดูพื้นชมพูทวีป เห็นพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวีราชสมควรแก่ตน เมื่อ
ปรารถนาความเป็นอัครมเหสีในพระราชนิเวศน์นั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 607
ยถา มิคี ความว่า เหมือนลูกมฤคอายุ ๑ ปี. บทว่า นีลกฺขี ความว่า
ขอจงมีตาคำใสสะอาด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเกิดใน
พระราชนิเวศน์นั้นโดยนามว่าผุสดี. บทว่า ลเภถ แปลว่า พึงได้. บทว่า
วรท ความว่า ผู้ให้สิ่งประเสริฐมีเศียรที่ประดับ แล้วนัยน์ตาทั้งคู่ หทัยเนื้อเลือด
เศวตฉัตรบุตรและภรรยาเป็นต้น แก่ยากจนผู้ขอแล้ว. บทว่า กุจฺฉิ ได้แก่
อวัยวะที่อยู่กลางตัว ดังนั้นท่านแสดงคำที่กล่าวแล้วโดยย่อ. บทว่า ลิขิต
ได้แก่ คันศรที่ช่างศรผู้ฉลาดขัดเกลาอย่างดี. บทว่า อนุนฺนต ความว่า
มีกลางคันไม่นูนขึ้นเสมอดังคันชั่ง ครรภ์ของข้าพเจ้าพึงเป็นอย่างนี้. บทว่า
นปฺปวตฺเตยฺยุ ความว่า ไม่พึงคล้อยห้อยลง. บทว่า ปลิตา นสฺสนฺตุ วาสว
ความว่า ข้าแต่ท้าววาสวะผู้ประเสริฐที่สุดในทวยเทพ แม้ผมหงอกทั้งหลายบน
ศีรษะของข้าพเจ้า ก็จงหายไปคืออย่าได้ปรากฏบนศีรษะของข้าพเจ้า ปาฐะว่า
ปลิตานิ สิโรรุหา ดังนี้ก็มี. บทว่า วชฺฌญฺจาปิ ความว่า ข้าพเจ้าพึง
เป็นผู้สามารถปล่อยโจรผู้ทำความผิด คือ ผิดต่อพระราชา ถึงโทษประหาร ด้วย
กำลังของตน นางผุสดีแสดงความเป็นใหญ่ของตนด้วยบทนี้. บทว่า สูทมา-
คธวณฺณิเต ความว่า อันพวกพ่อครัวชาวมาคธทั้งหลายผู้บอกเวลาบริโภค
อาหารเป็นต้นกล่าวชมเชยสรรเสริญแล้ว. บทว่า จิตฺรคฺคเฬรุฆุสิเต ความว่า
กึกก้องไปด้วยเสียงกลอนและบานประตูอันวิจิตรด้วยรัตนะ ๗ ที่ส่งเสียงไพเราะ
น่ารื่นรมย์ใจเช่นเสียงของตนตรีเครื่อง ๕. บทว่า สุรามสปฺปโพธเน ความว่า
เธอจงถือเอาพร ๑๐ ประการเหล่านั้นว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าสีวี
ราชในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวีราชเห็นปานนี้ ซึ่งมีคนเชิญบริโภคสุรา
และเนื้อว่าพวกท่านจงมาดื่มพวกท่านจงมากินดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาพร ๑๐ ประการนั้น ความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าสีวีราช
เป็นพรที่ ๑ ความมีตาดำเป็นพรที่ ๒ ความเป็นผู้มีขนคิ้วดำเป็นพรที่ ๓ ชื่อ
ว่าผุสดีเป็นพรที่ ๔ การได้พระโอรสเป็นพรที่ ๕ มีครรภ์ไม่นูนเป็นพรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 608
มีถันไม่คล้อยเป็นพรที่ ๗ ไม่มีผมหงอกเป็นพรที่ ๘ มีผิวละเอียดเป็นพรที่ ๙
สามารถปล่อยนักโทษประหารได้เป็นพร ๑๐.
ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า
แน่ะนางผู้งามทั่วองค์ พร ๑๐ ประการเหล่าใด
ที่เราให้แก่เธอ เธอจงได้พรเหล่านั้นทั้งหมด ในแว่น
แคว้นของพระเจ้าสีวีราช.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ครั้นท้าววาสวะมฆสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว
ก็ทรงอนุโมทนาประทานพรแก่นางผุสดีเทพอัปสร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทิตฺถ ความว่า มีจิตบันเทิง
คือทรงโสมนัส. บทว่า สพฺเพ เต ลจฺฉสิ วเร ความว่า ย่อมได้พร
เหล่านั้นทั้งหมด.
ท้าวสักกเทวราชทรงประทานพร ๑๐ ประการแล้ว เป็นผู้มีจิตบันเทิง
มีพระมนัสยินดีแล้วด้วยประการฉะนี้.
จบทศพรคาถา
หิมวันตวรรณนา
ผุสดีเทพกัญญารับพรทั้งหลายดังนี้แล้วจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้น บังเกิด
ในพระครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ามัททราช ในวันขนานพระนามของพระนาง
นั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามว่า ผุสดี ตามนามเดิมนั้น เพราะ
เมื่อพระนางประสูติ มีพระสรีระราวกะว่าประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์
ประสูติแล้ว พระนางผุสดีราชธิดานั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่ ในกาลมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 609
พระชนม์ได้ ๑๖ ปี ได้เป็นผู้ทรงพระรูปอันอุดม ครั้งนั้นพระเจ้าสีวีมหาราช
ทรงนำพระนางผุสดีมาเพื่อประโยชน์แก่พระเจ้าสญชัยกุมารราชโอรส ให้ยก
ฉัตรแก่ราชโอรสนั้น ให้พระนางผุสดีเป็นใหญ่กว่าเหล่านารีหมื่นหกพัน ทรง
ตั้งไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีของสญชัยราชโอรส.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
นางผุสดีนั้นจุติจากดาวดึงส์เทวโลกนั้นบังเกิดใน
ขัตติยสกุล ได้ทรงอยู่ร่วมด้วยพระเจ้าสญชัยในนคร
เชตุดร.
พระนางผุสดีได้เป็นที่รักที่เจริญใจแห่งพระเจ้าสญชัย ครั้งนั้น ท้าว
สักกเทวราชเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทราบว่า บรรดาพรทั้ง ๑๐ ประการที่
เราให้แก่นางผุสดี พร ๙ ประการสำเร็จแล้ว จึงทรงดำริว่าโอรสอันประเสริฐ
เป็นพรข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง ในกาลนั้น
พระมหาสัตว์อยู่ในดาวดึงส์เทวโลก อายุของมหาสัตว์นั้นสิ้นแล้วท้าวสักกะทรง
ทราบความนั้นจึงไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ควร
ที่ท่านจะไปสู่มนุษยโลก ควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งนางผุสดีอัครมเหสี
ของพระเจ้าสีวีราช ณ กรุงเชตุดร ตรัสฉะนี้แล้ว ถือเอาปฏิญญาแห่งพระ-
โพธิสัตว์ และเหล่าเทพบุตรหกหมื่นเหล่าอื่นผู้จะจุติ แล้วกลับทิพยวิมานที่
ประทับของตน ฝ่ายพระมหาสัตว์จุติจากเทวโลกนั้นเกิดในพระครรภ์แห่ง
พระนางผุสดี เทพบุตรหกหมื่นก็บังเกิดในเคหสถานแห่งอำมาตย์หกหมื่น ก็ใน
เมื่อพระมหาสัตว์เสด็จอยู่ในพระครรภ์พระมารดา พระนางผุสดีผู้มีพระครรภ์
เป็นผู้ทรงใคร่จะโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่
ท่ามกลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระราชวัง ๑ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 610
กหาปณะทุกวัน ๆ บริจาคทาน ครั้นพระเจ้าสญชัยสีวีราชทรงทราบความ
ปรารถนาของพระนาง จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้นิมิตมาทำสักการะใหญ่
แล้วตรัสถามเนื้อความนั้น พราหมณ์ผู้รู้นิมิตทั้งหลายจึงทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่
พระมหาราชเจ้า ท่านผู้ยินดียิ่งในทานมาอุบัติในพระครรภ์แห่งพระราชเทวี
จักไม่อิ่มในทานบริจาค พระราชาได้ทรงสดับพยากรณ์นั้นก็มีพระหฤทัยยินดี
จึงโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่งมีประการดังกล่าวมาแล้ว ให้เริ่มตั้งทานดัง
ประการที่กล่าวแล้ว จำเดิมแต่กาลที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ส่วนอากรของ
พระราชาได้เจริญขึ้นเหลือประมาณ เหล่าพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นส่ง
เครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าสญชัย ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์
พระนางผุสดีราชเทวีมีบริวารใหญ่ เมื่อทรงพระครรภ์ครั้น ๑๐ เดือนบริบูรณ์
มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี พระเจ้า-
กรุงสีวีจึงให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร ให้พระราชเทวีทรงรถที่นั่งอัน
ประเสริฐทำประทักษิณพระนคร ในกาลเมื่อพระนางเสด็จถึงท่ามกลางถนน
แห่งพ่อค้า ลมกรรมชวาตก็ป่วนปั่น ราชบุรุษนำความกราบทูลพระราชา พระ -
ราชาทรงทราบความจึงให้ทำพลับพลาสำหรับประสูติแก่พระราชเทวีในท่าม
กลางวิถีแห่งพ่อค้า แล้วให้ตั้งการล้อมวงรักษาพระนางเจ้าผุสดีประสูติพระโอรส
ณ ที่นั้น.
พระนางเจ้าผุสดีทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรง
ทำประทักษิณพระนคร ประสูติเราท่านกลางวิถีของ
พ่อค้าทั้งหลาย.
พระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดา เป็นผู้บริสุทธิ์ ลืม
พระเนตรทั้งสองออกมา เมื่อออกมาก็เหยียดพระหัตถ์ต่อพระมารดาตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 611
ข้าแต่พระแม่เจ้า หย่อมฉันจักบริจาคทาน มีทรัพย์อะไร ๆ บ้าง ครั้งนั้น
พระชนนีตรัสตอบว่า พ่อจงบริจาคทานตามอัธยาศัยของพ่อเถิด แล้ววางถุง
กหาปณะพันหนึ่งในพระหัตถ์ที่แบอยู่.
พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วได้ตรัสกับพระมารดา ๓ คราว คือใน
อุมมังคชาดก (เสวยพระชาติเป็นมโหสถ) คราว ๑ ในชาดกนี้คราว ๑ ใน
อัตภาพมีในภายหลัง (คือเมื่อเป็นพระพุทธเจ้า) คราว ๑.
ครั้งนั้น ในวันถวายพระนามพระโพธิสัตว์ พระประยูรญาติทั้งหลาย
ได้ขยายพระนามว่า เวสสันดร เพราะประสูติในถนนแห่งพ่อค้า เหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ชื่อของเราไม่ได้เกิดแต่พระมารดา ไม่ได้เกิด
แต่พระบิดา เราเกิดที่ถนนพ่อค้า เพราะเหตุนั้น เรา
จึงชื่อว่าเวสสันดร.
ก็ในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ช้างพังเชือกหนึ่งซึ่งเที่ยวไปได้ใน
อากาศ นำลูกช้างขาวทั้งตัวรู้กันว่าเป็นมงคลยิ่งมา ให้สถิตในสถานที่มงคล
หัตถีแล้วหลีกไป ชนทั้งหลายตั้งชื่อช้างนั้นว่า ปัจจัยนาค เพราะช้างนั้นเกิดขึ้น
มีพระมหาสัตว์เป็นปัจจัย พระราชาได้ประทานนางนม ๖๔ นาง ผู้เว้นจาก
โทษมีสูงเกินไปเป็นต้น มีถันไม่ยาน มีน้ำนมหวาน แก่พระมหาสัตว์ ได้
พระราชทานนางนมคนหนึ่งๆ แก่เหล่าทารกหกหมื่นคนผู้เป็นสหชาติกับพระ-
มหาสัตว์ พระมหาสัตว์นั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่กับด้วยทารกหกหมื่น
ครั้งนั้นพระราชาให้ทำเครื่องประดับสำหรับพระราชกุมารราคาแสนหนึ่ง พระ-
ราชทานแด่พระเวสสันดรราชกุมาร พระราชกุมารนั้นเปลื้องเครื่องประดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 612
ประทานแก่นางนมทั้งหลายในกาลเมื่อมีชนมพรรษา ๔-๕ ปี ไม่ทรงรับ
เครื่องประดับที่นางนมทั้งหลายเหล่านั้นถวายคืนอีก นางนมเหล่านั้นกราบทูล
ประพฤติเหตุแด่พระราชา พระราชาทรงทราบประพฤติเหตุนั้นก็ให้ทำเครื่อง
ประดับอื่นอีกพระราชทาน ด้วยทรงเห็นว่า อาภรณ์ที่ลูกเราให้แล้ว ก็เป็น
อันให้แล้วด้วยดีจงเป็นพรหมไทย พระราชกุมารก็ประทานเครื่องประดับ แก่
เหล่านางนม ในกาลเมื่อยังทรงพระเยาว์ถึง ๙ ครั้ง ก็ในกาลเมื่อพระราชกุมาร
มีพระชนมพรรษา ๘ ปี พระราชกุมารเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ ประทับ
นั่งบนพระยี่ภู่ทรงคิดว่า เราให้ทานภายนอกอย่างเดียว ทานนั้นหายังเราให้
ยินดีไม่ เราใคร่จะให้ทานภายใน แม้ถ้าใคร ๆ พึงขอหทัยของเรา เราจะพึง
ให้ผ่าอุระประเทศนำหทัยออกให้แก่ผู้นั้น ถ้าเขาขอจักษุทั้งหลายของเรา เราก็
จะควักจักษุให้ ถ้าเขาขอเนื้อในสรีระเราจะเชือดเนื้อแต่สรีระทั้งสิ้นให้ ถ้าแม้
ใคร ๆ พึงขอโลหิตของเรา เราก็จะพึงถือเอาโลหิตให้ หรือว่าใคร ๆ พึงกล่าว
กะเราว่า ท่านจงเป็นทาสของข้า เราก็ยินดียอมตัวเป็นทาสแห่งผู้นั้น.
เมื่อพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ทรงคำนึงถึงทานเป็นไปในภายใน ซึ่ง
เป็นพระดำริแล่นไปเองเป็นเองอย่างนี้ มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์
ก็ดังสนั่นหวั่นไหว ดุจช้างตัวประเสริฐตกมันอาละวาดคำรามร้องฉะนั้น เขา
สิเนรุราชก็โอนไปมามีหน้าเฉพาะเชตุดรนครตั้งอยู่ ดุจหน่อหวายโอนเอนไป
มาฉะนั้น ฟ้าก็คะนองลั่นตามเสียงแห่งปฐพี ยังฝนลูกเห็บให้ตก สายอสนีอัน
มีในสมัยมิใช่กาลก็เปล่งแสงแวบวาบ สาครก็เกิดเป็นคลื่นป่วนปั่น ท้าวสักก
เทวราชก็ปรบพระหัตถ์ ท้าวมหาพรหมก็ให้สาธุการ เสียงโกลาหลเป็นอัน
เดียวกันได้มีตลอดถึงพรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 613
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ในกาลเมื่อเราเป็นทารก เกิดมาได้ ๘ ปี เรานั่ง
อยู่บนปราสาทคิดเพื่อจะบริจาคทาน ว่าเราพึงให้หัวใจ
ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย ถ้าใครขอเราให้เราได้
ยิน เราก็พึงให้ เมื่อเราคิดถึงการบริจาคทานอันเป็น
ความจริง หฤทัยก็ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยู่ในกาลนั้น
แผ่นดินซึ่งมีเขาสิเนรุและหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับ ก็
หวั่นไหว.
ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี พระโพธิสัตว์
ได้ทรงศึกษาศิลปทั้งปวงสำเร็จ ครั้งนั้นพระราชบิดาทรงใคร่จะประทานราช-
สมบัติแก่พระมหาสัตว์ ก็ทรงปรึกษาด้วยพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมารดา จึงนำ
ราชกัญญานานว่า มัทรี ผู้เป็นราชธิดาของพระมาตุละแต่มัททราชสกุล ให้
ดำรงอยู่ในที่อัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรีหมื่นหกพัน อภิเษกพระมหาสัตว์
ในราชสมบัติ พระมหาสัตว์ทรงสละทรัพย์หกแสนยังมหาทานให้เป็นไป
ทุกวัน ๆ จำเดิมแต่กาลที่ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.
สมัยต่อมาพระนางมัทรีประสูติพระโอรส พระญาติทั้งหลายรับพระ-
ราชกุมารนั้นด้วยข่ายทองคำ เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า ชาลีราชกุมาร
พอพระราชกุมารนั้นทรงเดินได้ พระนางมัทรีก็ประสูติพระราชธิดา พระญาติ
ทั้งหลายรับพระราชธิดานั้นด้วยหนังหมี เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า
กัณหาชินาราชกุมารี พระเวสสันดรโพธิสัตว์ประทับคอช้างตัวประเสริฐอัน
ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรโรงทานทั้งหก เดือนละ ๖ ครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 614
กาลนั้นในกาลิงครัฐเกิดฝนแล้ง ข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ ภัยคือความ
หิวเกิดขึ้นมาก มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจเป็นอยู่ก็ทำโจรกรรม ชาวชนบทถูก
ทุพภิกขภัยเบียดเบียน ก็ประชุมกันติเตียนที่พระลานหลวง เมื่อพระราชาตรัส
ถามถึงเหตุ จึงกราบทูลเนื้อความนั้น ครั้งนั้นพระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าจะยัง
ฝนให้ตก แล้วส่งชาวเมืองกลับไป ทรงสมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน
ก็ไม่ทรงสามารถให้ฝนตก พระราชาจึงให้ประชุมชาวเมืองแล้วตรับสั่งถามว่า
เราได้สมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน ก็ไม่อาจยังฝนให้ตก จะพึงทำ
อย่างไร ชาวเมืองกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าพระองค์ไม่สามารถให้ฝนตก
พระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยในกรุงเชตุดร ทรงนามว่าเวสสันดรนั้นทรง
ยินดีสิ่งในทาน มงคลหัตถีขาวล้วน ซึ่งไปถึงที่ใดฝนก็ตกของพระองค์มีอยู่
ขอพระองค์ส่งพราหมณ์ทั้งหลายไปทูลขอช้างเชือกนั้นนำมา พระราชาตรัส
ว่า สาธุ แล้วให้ประชุมเหล่าพราหมณ์ เลือกได้ ๘ คน ชื่อรามะ ๑ ธชะ ๑
ลักขณะ ๑ สุชาติมันตะ ๑ ยัญญะ ๑ สุชาตะ ๑ สุยามะ ๑ โกณฑัญญะ ๑
พราหมณ์ชื่อรามะเป็นประมุขของพราหมณ์ทั้ง ๗ ประทานเสบียงส่งไปด้วย
พระราชบัญชาว่า ท่านทั้งหลายจงไปทูลขอช้างพระเวสสันดรนำมา พราหมณ์
ทั้ง ๘ ไปโดยลำดับลุถึงเชตุดรนคร บริโภคภัตในโรงทาน ใคร่จะทำสรีระของ
คนให้เปื้อนด้วยธุลี ไล้ด้วยฝุ่นแล้วทูลขอช้างพระเวสสันดร ในวันรุ่งขึ้นไปสู่
ประตูเมืองด้านปาจีนทิศ ในเวลาพระเวสสันดรเสด็จไปโรงทาน ฝ่ายพระราชา
เวสสันดรทรงรำพึงว่าเราจักไปดูโรงทาน จึงสรงเสวยโภชนะรสเลิศต่าง ๆ แต่
เช้า ประทับบนคอคชาธารตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว เสด็จไปทางปาจีนทวาร
พราหมณ์ทั้ง ๘ ไม่ได้โอกาสในที่นั้น จึงไปสู่ประตูเมืองด้านทักษิณทิศ ยืนอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 615
ณ สถานที่สูง ในเวลาเมื่อพระราชาทอดพระเนตรโรงทานทางปาจีนทวารแล้ว
เสด็จมาสู่ทักษิณทวาร ก็เหยียดมือข้างขวาออกกล่าวว่า พระเจ้าเวสสันดรราช
ผู้ทรงพระเจริญจงชนะ ๆ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์
ทั้งหลาย ก็บ่ายช้างที่นั่งไปสู่ที่พราหมณ์เหล่านั้นยืนอยู่ ประทับบนคอช้างตรัส
คาถาที่หนึ่งว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ดก มีเล็บยาว มี
ขนยาวและฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขนขวา
จะขออะไรเราหรือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ความว่า มีขน
รักแร้งดก มีเล็บงอก มีขนดก คือมีเล็บยาว มีขนยาว มีขนเกิดที่รักแร้,
รักแร้ด้วย เล็บด้วย ขนด้วย เรียกว่า กจฺฉนขโลมา รักแร้ เล็บ ขน
ของพราหมณ์เหล่าใดงอกแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีรักแร้ เล็บและ
ขนงอกแล้ว.
พราหมณ์ทั้ง ๘ กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะทูลขอ
รัตนะซึ่งยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ขอพระองค์
โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐซึ่งมีงาดุจงอนไถ
สามารถเป็นราชพาหนะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุรุฬฺหว ได้แก่ สามารถเป็นราชพาหนะ
ได้.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราใคร่จะบริจาค
ทานเป็นไปภายใน ตั้งแต่ศีรษะเป็นต้น พราหมณ์เหล่านั้นมาขอทานเป็นไปภาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 616
นอกกะเรา แม้อย่างนั้นเราจะยังความปรารถนาของพราหมณ์เหล่านั้นให้
บริบูรณ์ ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสคาถานี้ว่า
เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ เป็นช้าง
ราชพาหนะสูงสุด ที่พราหมณ์ทั้งหลายขอเรา เรามิได้
หวั่นไหว.
ครั้นตรัสปฏิญญาฉะนี้แล้ว
พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญ มีพระหฤทัยน้อม
ไปในการบริจาคทาน เสด็จลงจากคอช้าง พระราช-
ทานทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปคุยฺห ได้แก่ ราชพาหนะ. บทว่า
จาคาธิมานโส ได้แก่ มีพระหฤทัยยิ่งด้วยการบริจาค. บทว่า อทา ความ
ว่า ได้พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
พระมหาสัตว์ทรงทำประทักษิณช้าง ๓ รอบ เพื่อทรงตรวจที่กายช้าง
ซึ่งประดับแล้ว ก็ไม่เห็นในที่ซึ่งยังมิได้ประดับ จึงทรงจับพระเต้าทองคำอัน
เต็มด้วยน้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ดูก่อนมหาพราหมณ์
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาข้างนี้ ทรงวางงวงช้างซึ่งเช่นกับพวงเงินอันประดับ
แล้วในมือแห่งพราหมณ์เหล่านั้น หลั่งน้ำลง พระราชทานช้างอันประดับแล้ว
อลังการที่ ๔ เท้าช้างราคา ๔ แสน อลังการ ๒ ข้างช้างราคา ๒ แสน ข่าย
คลุมหลัง ๓ คือข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ ราคา ๓ แสน
กระดึงเครื่องประดับที่ห้อย ๒ ข้างราคา ๒ แสน ผ้ากัมพลลาดบนหลังราคา
๑ แสน อลังการคลุมกะพองราคา ๑ แสน สายรัด ๓ สายราคา ๓ แสน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 617
พู่เครื่องประดับที่หูทั้ง ๒ ข้าง ราคา ๒ แสน ปลอกเครื่องประดับงาทั้ง ๒
ราคา ๒ แสน วลัยเครื่องประดับทาบที่งวงราคา ๑ แสน อลังการที่หาง ราคา
๑ แสน เครื่องประดับอันตกแต่งงดงามที่กายช้าง ยกภัณฑะไม่มีราคารวมราคา
๒๒ แสน เกยสำหรับขึ้น ราคา ๑ แสน อ่างบรรจุของบริโภคเช่นหญ้าและ
น้ำ ราคา ๑ แสน รวมเข้าด้วยอีก เป็นราคา ๒๔ แสน ยังแก้วมณีที่กำพู
ฉัตร ที่ยอดฉัตร ที่สร้อยมุกดา ที่ขอ ที่สร้อยมุกดาผูกคอช้าง ที่กะพองช้าง
และที่ตัวพระยาช้าง รวม ๗ เป็นของหาค่ามิได้ ได้พระราชทานทั้งหมดแก่
พราหมณ์ทั้งหลาย และพระราชทานคนบำรุงช้าง ๕๐๐ สกุล กับทั้งควาญช้าง
คนเลี้ยงช้างด้วย ก็มหัศจรรย์มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ได้มีแล้วพร้อมกับพระ-
เวสสันดรมหาราชทรงบริจาคมหาทาน โดยนัยอันกล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระบรมกษัตริย์ พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐแล้วในกาลนั้น ความน่าสะพึงกลัวขนพอง
สยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็หวั่นไหว เมื่อบรม
กษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ในกาลนั้น ได้
เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า ชาวพระ-
นครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้ยังชาว
สีพีให้เจริญ พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็
เกลื่อนกล่น เสียงอันอื้ออึงก็แผ่ไปมากมาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตทาสิ ได้แก่ ได้มีในเวลานั้น . บทว่า
หตฺถินาเค ได้แก่ สัตว์ประเสริฐคือช้าง. บทว่า ขุภิตฺถ นคร ตทา
ความว่า ได้กำเริบแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 618
ได้ยินว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ช้างแถบประตูด้านทักษิณทิศ นั่งบนหลัง
มีมหาชนแวดล้อม ขับไปท่ามกลางพระนคร มหาชนเห็นแล้วกล่าวกะพราหมณ์
เหล่านั้นว่า แน่ะเหล่าพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขึ้นช้างของเราทั้งหลาย ท่านได้
มาแต่ไหน พราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า ช้างนี้พระเวสสันดรมหาราชเจ้าพระ-
ราชทานแก่พวกเรา เมื่อโต้ตอบกะมหาชนด้วยวิการแห่งมือเป็นต้น พลาง
ขับไปท่ามกลางพระนคร ออกทางประตูทิศอุดร ชาวพระนครโกรธพระบรม-
โพธิสัตว์ ด้วยสามารถเทวดาดลใจให้คิดผิด จึงชุมนุมกันกล่าวติเตียนใหญ่แทบ
ประตูวัง.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นของชาวสีพีให้เจริญ
พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น
เสียงอันกึกก้องก็แผ่ไปมากมาย ครั้งนั้น เมื่อพระ-
เวสสันดรพระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึง
น่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นในนครนั้น ในกาลนั้นชาว
พระนครก็กำเริบ ครั้งนั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญรุ่งเรือง พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นไป
ในนครนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ เสียงติเตียน. บทว่า
วิปุโล ได้แก่ ไพบูลย์เพราะแผ่ออกไป. บทว่า มหา ได้แก่ มากมาย
เพราะไปในเบื้องบน. บทว่า สิวีน รฏฺวฑฺฒเน ได้แก่ การทำความ
เจริญเเก่แว่นแคว้นของประชาชนผู้อยู่ในแว่นแคว้นสีพี.
ครั้งนั้นชาวเมืองมีจิตตื่นเต้นเพราะพระเวสสันดรพระราชทานช้าง
สำคัญของบ้านเมือง จึงกราบทูลพระเจ้าสญชัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 619
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรทั้งหลาย พ่อ
ค้า ชาวนาทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น
ประชุมกันแล้ว เห็นช้างลูกพราหมณ์ทั้ง ๘ นำไป พวก
เหล่านั้นจึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้ทรงทราบว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระ-
เวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของ
พระองค์พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย
ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร พระเวสสันดร
พระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ
เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่ว
สรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับ
มัน อาจย่ำยีศัตรูได้ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี
มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร
ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอ ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยาน
อันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ เสียด้วยเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคา ได้แก่ เด่น คือ รู้กันทั่ว คือ
ปรากฏ. บทว่า นิคโม ได้แก่ คนมีทรัพย์ชาวนิคม. บทว่า วิธม เทว
เต รฏฺ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์ถูกกำจัด
เสียแล้ว. บทว่า กถ โน หตฺถิน ทชฺชา ความว่า พระราชทานช้างที่รู้สึก
กันว่าเป็นมงคลยิ่งของเราทั้งหลาย แก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ด้วยเหตุไร.
บทว่า เขตฺตญฺญุ สพฺพยุทฺธาน ความว่า ผู้สามารถรู้ความสำคัญของชัยภูมิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 620
แห่งการยุทธ์แม้ทุกอย่าง. บทว่า ทนฺตึ ได้แก่ ประกอบด้วยการฝึกจนใช้ได้
ตามชอบใจ. บทว่า สวาลวีชนึ ได้แก่ ประกอบด้วยพัดวาลวีชนี. บทว่า
สุปตฺเถยฺย ได้แก่ พร้อมด้วยเครื่องลาด. บทว่า สาถพฺพน ได้แก่
พร้อมด้วยหมอช้าง. บทว่า สหตฺถิป ความว่า พร้อมด้วยคนเลี้ยงคือคน
บำรุงช้างและคนดูแลรักษาช้าง ๕๐๐. สกุล. ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวอย่างนี้อีกว่า
พระเวสสันดรนั้นควรพระราชทานข้าวน้ำและ
ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสนาสนะ เพราะว่าของนั้นสมควรแก่
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเวสสันดรนี้เป็นพระราชาสืบ
วงศ์มาแต่พระองค์ เป็นผู้ทำความเจริญแก่สีพีรัฐ ข้าแต่
พระเจ้าสญชัย พระเวสสันดรผู้พระราชโอรสพระราช
ทานช้างเสียทำไม ถ้าพระองค์จักไม่ทรงทำตามคำอัน
นี้ของชาวสีพี ชะรอยชาวสีพีจักพึงทำพระองค์กับ
พระราชโอรสไว้ในเงื้อมมือของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสราชาโน ได้แก่ เป็นมหาราชมา
ตามเชื้อสาย. บทว่า ภาเชติ ได้แก่ พระราชทาน. บทว่า สิวิหตฺเถ กริสฺ-
สเร ความว่า ชนชาวสีพีรัฐทั้งหลายจักทำพระองค์กับพระราชโอรสในมือ
ของตน.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น ทรงสำคัญว่าชาวเมืองเหล่านี้จักปลง
พระชนม์พระเวสสันดร จึงตรัสว่า
ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจักพินาศไปก็
ตามเถิด เราก็ไม่พึงเนรเทศพระโอรสผู้หาความผิดมิได้
จากแคว้นของตนตามคำของชาวเมืองสีพี เพราะลูก
เกิดแต่อุระของเรา และเราไม่พึงประทุษร้ายในโอรส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 621
นั้น เพราะเธอเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรอันประ-
เสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึง
ได้บาปเป็นอันมาก ฉะนั้นเราจะฆ่าลูกเวสสันดรด้วย
ศัสตราได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ตัดบทเป็น มา อโหสิ
ความว่า จงอย่าเป็น. บทว่า อริยสีเลวโต ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลและ
วัตรอันประเสริฐ คือสมาจารสมบัติอันประเสริฐ. บทว่า ฆาตยามเส ได้แก่
จักฆ่า. บทว่า ทุพฺเภยฺย ความว่า ลูกของเราไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด.
ชาวสีพีได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า
พระองค์อย่าประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อน
ไม้และศัสตรา เพราะพระปิโยรสนั้นหาควรแก่เครื่อง
พันธนาการไม่ พระองค์จงขับพระเวสสันดรนั้นเสีย
จากแคว้น พระเวสสันดรจงประทับอยู่ ณ เขาวงกต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา น ทณฺเฑน สตฺเถน ความว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือ
ด้วยศัสตรา. บทว่า น หิ โส พนฺธนารโห ความว่า พระเวสสันดรนั้น
เป็นผู้ไม่ควรแก่พันธนาการเลยทีเดียว.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสว่า
ถ้าชาวสีพีพอใจอย่างนี้ เราก็ไม่ขัดความพอใจ
ขอโอรสของเราจงอยู่ตลอดราตรีนี้ และจงบริโภค
กามารมณ์ทั้งหลาย แต่นั้นเมื่อราตรีสว่างแล้ว ดวง
อาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจงพร้อมกันขับโอรสของเรา
จากแว่นแคว้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 622
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสตุ ความว่า พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
ลูกเวสสันดรจงอยู่ให้โอวาทแก่บุตรและทาระ พวกเจ้าจงให้โอกาสเธอราตรี
หนึ่ง.
ชาวเมืองสีพีรับพระราชดำรัสว่า พระโอรสนั้นจงยับยั้งอยู่สักราตรีหนึ่ง.
ลำดับนั้นพระเจ้าสญชัยส่งชาวเมืองเหล่านั้น ให้กลับไปแล้ว เมื่อจะส่งข่าวแก่
พระโอรสจึงตรัสเรียกนายนักการมาส่งไปสำนักพระโอรส นายนักการรับพระ-
ราชกระแสรับสั่งแล้วไปสู่พระนิเวศน์แห่งพระเวสสันดรกราบทูลประพฤติเหตุ.
เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แน่ะนายนักการ เจ้าจงลุก รีบไปบอกลูกเวสสันดร
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคือง
พระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียงและพระ-
ราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย
ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม
ชาวสีพีทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว
ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลายพร้อมกันขับ
พระองค์จากแว่นแคว้น นายนักการนั้นอันพระเจ้ากรุง
สีพีส่งไป ก็สวมสรรพาภรณ์ นุ่งห่มดีแล้ว ประพรม
ด้วยแก่นจันทน์ เขาสนานศีรษะในน้ำแล้วสวมกุณฑล
มณี ไปสู่วังอันน่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นพระนิเวศนี้แห่งพระ
เวสสันดร เขาได้เห็นพระเวสสันดรรื่นรมย์อยู่ในวัง
ของพระองค์นั้น ซึ่งเกลื่อนไปด้วยเสวกามาตย์ ดุจท้าว
วาสวะของเทพเจ้าชาวไตรทศ นายนักการนั้นไป ณ ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 623
นั้นได้กราบทูลพระเวสสันดรผู้รื่นรมย์อยู่ว่า ข้าแต่
พระจอมพล ข้าพระบาทจักทูลความทุกข์ของพระองค์
ขอพระองค์อย่ากริ้วข้าพระบาท นักการนั้นถวาย
บังคมแล้วร้องไห้ กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงข้าพระบาท เป็น
ผู้นำมาซึ่งรสคือความใคร่ทั้งปวง ข้าพระบาทจักกราบ
ทูลความทุกข์ของพระองค์ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์
อันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาททรงยัง
ข้าพระบาทให้ยินดี ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชาว
สีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวก
คนที่มีชื่อเสียง และพระราชบุตรทั้งหลาย และพวก
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุม
กันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
ชาวสีพีทั้งลาย พร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมาร ได้แก่ พระราชาที่นับว่าเป็น กุมาร
เพราะยังมีพระมารดาและพระบิดา. บทว่า รมฺนาน ได้แก่ ผู้ประทับนั่งตรัส
สรรเสริญทานที่พระองค์ให้แล้ว มีความโสมนัส. บทว่า อมจฺเจหิ ได้แก่
แวดล้อมไปด้วยเหล่าอำมาตย์ผู้สหชาติประมาณหกหมื่นคน ประทับนั่งเหนือ
พระราชอาสน์ภายใต้เศวตฉัตรยกขึ้นแล้ว. บทว่า เวทยิสฺสามิ ได้แก่
จักกราบทูล. บทว่า ตตฺถ อสฺสายนฺตุ ม ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เมื่อข่าวแสดงความทุกข์นั้นอันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาทโปรดยัง
ข้าพระองค์ให้ยินดี คือขอพระองค์โปรดตรัสกะข้าพระบาทว่า เจ้าจงกล่าว
ตามสบายเถิด นักการกล่าวอย่างนั้น ด้วยความประสงค์ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 624
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ชาวสีพีขัดเคืองเราผู้ไม่เห็นความผิดในเพราะ
อะไร แน่ะนักการ ท่านจงแจ้งความผิดนั้นแก่เรา
ชาวเมืองทั้งหลายจะขับไล่เราเพราะเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺมึ ได้แก่ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า
วิยาจิกฺข ความว่า จงกล่าวโดยพิสดาร.
นักการกราบทูลว่า
พวกคนมีที่ชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ขัดเคืองพระองค์เพราะพระราชทาน
คชสารตัวประเสริฐ ฉะนั้นพวกเขาจึงขับพระองค์เสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขียนฺติ แปลว่า ขัดเคือง.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงโสมนัสตรัสว่า
ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะอะไรกะทรัพย์
นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์หรือ
แก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นเขาแล้ว พึง
ให้พาหาเบื้องขวาเบื้องซ้ายก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว
เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ปวงชาวสีพีจึงขับ
ไล่หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเสียเป็น ๗
ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาคเป็น
อันขาด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจกมาคเต ความว่า เมื่อยาจกมาแล้ว
ได้เห็นยาจกนั้น บทว่า เนว ทานา วิรมิสฺส ความว่า จักไม่งดเว้นจาก
การบริจาคเป็นอันขาด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 625
นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่ง
พระเจ้าสญชัยหรือชาวเมืองมิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า
ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า
พระเวสสันดรผู้มีวัตรอันงาม จงเสด็จไปสู่ภูผาอันชื่อ
ว่า อารัญชรคีรี ตามฝั่งแห่งแม่น้ำโกนติมารา ตาม
ทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนฺติมาราย ได้แก่ ตามฝั่งแห่งแม่น้ำ
ชื่อว่าโกนติมารา. บทว่า คิริมารญฺชร ปติ ความว่า เป็นผู้มุ่งตรงภูผาชื่อว่า
อารัญชร. บทว่า เยน ความว่า นักการกราบทูลว่า ชาวสีพีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้วย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้
พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงามก็จงเสด็จไปทางนั้น ได้ยินว่า นักการนั้นถูก
เทวดาดลใจจึงกล่าวคำนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า สาธุ เราจักไป
โดยมรรคาที่เสด็จไปแห่งพระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้
ขับไบ่เราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทานสักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาสเพื่อเราได้ให้
ทานสักหนึ่งวัน รุ่งขึ้นเราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้วตรัสว่า
เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้อง
โทษเสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับ
วันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด.
นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระบาท
จักแจ้งความนั้นแก่ชาวพระนครและแด่พระราชา ทูลฉะนี้แล้วหลีกไป
พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า
ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 626
จงจัดช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว รถ ๗๐๐ คัน สตรี ๗๐๐ คน โคนม
๗๐๐ ตัว ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน จงตั้งไว้ซึ่งข้าวน้ำเป็นต้นมีประการ
ต่างๆ สิ่งทั้งปวงโดยที่สุดแม้สุราซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรให้ แล้วส่งอำมาตย์ทั้งหลาย
ให้กลับ แล้วเสด็จไปที่ประทับพระนางมัทรีแต่พระองค์เดียว ประทับนั่งข้าง
พระยีภู่อันเป็นสิริ ตรัสกับพระนางนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ตรัสเรียกพระนางมัทรี
ผู้งามทั่วสรรพางค์นั้นมาว่า พัสดุอันใดอันหนึ่งที่ฉัน
ให้เธอ ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา
ไพฑูรย์มีอยู่มาก และสิ่งใดที่เธอนำมาแต่พระชนก
ของเธอ เธอจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทเหยฺยาสิ ความว่า เธอจงเก็บขุม
ทรัพย์ไว้. บทว่า เปติก ได้แก่ ที่เธอนำมาแต่ฝ่ายพระชนก.
พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วพระกายจึง
ทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ จะโปรดให้เก็บทรัพย์
ทั้งนั้นไว้ในที่ไหน ขอพระองค์รับสั่งแก่หม่อมฉันผู้
ทูลถามให้ทราบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ทูลกระหม่อม
เวสสันดรพระสวามีของเราไม่เคยตรัสว่า เธอจงเก็บทรัพย์ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ เฉพาะคราวนี้พระองค์ตรัส เราจักทูลถามทรัพย์นั้นจะโปรดให้เก็บ
ไว้ในที่ไหนหนอ พระนางมัทรีมีพระดำริดังนี้จึงได้ทูลถามดังนั้น.
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงบริจาคทานในท่าน
ผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
อย่างอื่นยิ่งกว่าทานการบริจาคย่อมไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 627
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชสิ ความว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ
เธออย่าได้เก็บทรัพย์ไว้ในที่มีพระคลังเป็นต้น เมื่อจะเก็บเป็นชุมทรัพย์ที่จะติด
ตามตัวไป พึงถวายในท่านผู้มีศีลทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา. บทว่า น หิ
ทานา ปร ความว่า ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งอาศัยที่ยิ่งในรูปกว่าทาน ย่อมไม่มี.
พระนางมัทรีรับพระดำรัสว่า สาธุ. ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์เมื่อจะ
ประทานพระราโชวาทแก่พระนางให้ยิ่งขึ้นจึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงเอ็นดูในโอรสและ
ธิดากับทั้งพระสัสสุและพระสสุระ กษัตริย์ใดมาสำคัญ
ว่าจะเป็นภัสดาเธอ เธอจงบำรุงกษัตริย์นั้นโดยเคารพ
ถ้าว่าไม่มีใครสำคัญว่าจะเป็นภัสดาเธอ เพราะเธอไม่
ได้อยู่กับฉัน เธอจงแสวงหาภัสดาอื่น เธออย่าลำบาก
เพราะพรากจากฉันเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเยสิ ความว่า พึงเอ็นดูกระทำความ
เมตตา. บทว่า โย จ ต ภตฺตา มญฺเยฺย ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เมื่อฉันไปแล้วกษัตริย์ใดมาสำคัญว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เธอพึงบำรุง
กษัตริย์แม้นั้นโดยเคารพ. บทว่า มยา วิปฺปวเสน เต ความว่า ถ้าใคร ๆ ไม่
สำคัญเธอว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เพราะเธอไม่ได้อยู่กับฉัน เมื่อเป็น
เช่นนั้นเธอจงแสวงหาภัสดาอื่นด้วยตนเองนั่นแล. บทว่า มา กิลิตฺถ มยา
วินา ความว่า เธอพรากจากฉันแล้วอย่าลำบาก คือจงอย่าลำบาก.
ครั้งนั้นพระนางมัทรีมีพระดำริว่า พระเวสสันดรผู้ภัสดาตรัสพระวาจา
เห็นปานนี้ เหตุเป็นอย่างไรหนอ จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์
ตรัสพระวาจาอันไม่สมควรตรัสนี้เพราะเหตุไร ลำดับนั้นพระเวสสันดรจึงตรัส
ตอบพระนางว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ ชาวสีพีขัดเคืองเพราะฉันให้ช้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 628
จึงขับไล่ฉันจากแว่นแคว้น พรุ่งนี้ฉันจักให้สัตตสดกมหาทาน จักออกจาก
พระนครในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้ว ตรัสว่า
ฉันจักไปป่าที่น่ากลัว ประกอบด้วยพาลมฤค
ฉันผู้เดียวอยู่ในป่าใหญ่ มีชีวิตน่าสงสัย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสโย ความว่า เมื่อฉันผู้สุขุมาลชาติ
โดยส่วนเดียว อยู่ในป่าที่มีศัตรูไม่น้อยจะมีชีวิตอยู่แต่ไหน ฉันจักตายเสียเป็น
แน่ พระเวสสันดรตรัสอย่างนั้นด้วยความประสงค์ดังนี้
พระราชบุตรพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วสรรพางค์
ได้กราบทูลลามพระราชสวามีว่า พระองค์ตรัสพระวาจา
ซึ่งไม่เคยมีหนอ ตรัสวาจาชั่วแท้ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียวไม่สมควร แม้หม่อม
ฉันก็จักโดยเสด็จด้วย ความตายกับด้วยพระองค์ หรือ
พรากจากพระองค์เป็นอยู่ สองอย่างนี้ตายนั่นแลประ-
เสริฐกว่า พรากจากพระองค์เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร
ก่อไฟให้ลุกโพลงมีเปลวเป็นอันเดียวกัน แล้วตายเสีย
ในไฟนั้นประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์จะประเสริฐ
อะไร นางช้างพังไปตามช้างพลายตัวประเสริฐอยู่ในป่า
เที่ยวอยู่ตามภูผาทางกันดารสถานที่เสมอแลไม่เสมอ ฉัน
ใด หม่อนฉันจะพาบุตรและบุตรีตามเสด็จไปเบื้องหลัง
ฉันนั้น หม่อมฉันจักเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายของพระองค์ จัก
ไม่เป็นผู้ที่เลี้ยงยากของพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุมฺเม ความว่า พระองค์ตรัสแก่หม่อม
ฉันถึงพระวาจาซึ่งไม่เคยมีหนอ. บทว่า คจฺเฉยฺย แปลว่า เสด็จไป. บทว่า
เนส ธมฺโม ความว่า นั่นไม่ใช่สภาวะ คือนั่นมิใช่เหตุ. บทว่า ตเทว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 629
ความว่า หม่อนฉันตายกับด้วยพระองค์นั่นแล ประเสริฐกว่า. บทว่า ตตฺถ
ได้แก่ ในเชิงตะกอนไม้ที่มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน. บทว่า เชสฺสนฺต แปล
ว่า เที่ยวไปอยู่.
พระนางมัทรีราชกัญญากราบทูลพระภัสดาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพรรณนา
ถึงหิมวันตประเทศ ซึ่งเป็นประหนึ่งว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงตรัสว่า
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุมารทั้งสองนี้ ผู้
มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่งอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า
เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มี
เสียงไพเรา พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จัก
ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระ-
เนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจา
น่ารัก ที่อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง
สองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ ณ
อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้
ทรงมาลาประดับพระองค์ ณ อาศรมรัมณียสถาน จัก
ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตร
เห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ทรงมาลาประดับพระองค์
เล่นอยู่ ณ อาศรมเป็นที่รื่นรมย์ จักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ เมื่อใดพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุญชรชาติ
มาตังคะ อายุล่วง ๖๐ ปี เที่ยวอยู่ในป่าตัวเดียว เมื่อ
นั้นจักทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด พระองค์ทอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 630
พระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี
เที่ยวไปในเวลาเย็น ในเวลาเช้า เมื่อนั้นจักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด กุญชรชาติมาตังคะ มีวัย
ล่วง ๖๐ ปี เดินนำหน้าโขลงช้างพังไป ส่งเสียงร้อง
กึกก้องโกญจนาท พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้องของ
ช่างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราช
สมบัติ, เมื่อใดพระองค์ผู้พระราชทานความใคร่แก่
หม่อมฉัน ทอดพระเนตรชัฏไพรเป็นหมู่ไม้ทั้ง ๒ ข้าง
มรรคา อันเกลื่อนไปด้วยพาลมฤค เมื่อนั้นจักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, พระองค์จักทอดพระเนตรเห็น
มฤคผู้มาเป็นแถว ๆ แถวละ ๕ ตัว และเหล่ากินนร
ผู้ฟ้อนอยู่ในเวลาเย็น ก็จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อใดพระองค์ได้ทรงฟังเสียงกึกก้องแห่งกระแสใน
แม่น้ำไหล และเสียงขับร้องแห่งฝูงกินนร เมื่อนั้น
พระองค์จักระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ทรง
สดับเสียงร้องของนกเค้าที่เที่ยวอยู่ตามซอกเขา เมื่อ
นั้นพระองค์จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด
พระองค์จักได้ทรงสดับเสียงแห่งสัตว์ร้ายในป่า คือ
ราชสีห์ เสือโคร่ง แรด โคลาน เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นนกยูงผู้ปกคลุมด้วยแพนทางจับอยู่ที่ยอดเขาเกลื่อน
ไปด้วยนางนกยูงทั้งหลายรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่
ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระ-
เนตรนกยูงผู้เกลื่อนด้วยฝูงนางนกยูง มีแพนหางอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 631
วิจิตรรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ,
เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรนกยูงมีขนคอเขียวมี
หงอนเลื่อนไปด้วยฝูงนางนกยูงรำแพนอยู่ เมื่อนั้น
ก็จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ทอด
พระเนตรเห็นเหล่าพฤกษชาติอันบานแล้ว ส่งกลิ่นหอม
ฟุ้งในเหมันตฤดู และพื้นดินเขียวชอุ่มปกคลุมไปด้วย
แมลงค่อมทองในเดือนเหมันต์ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น
รุกขชาติอันมีดอกบานสะพรั่ง คืออัญชันเขียวที่กำลัง
ผลิยอดอ่อน ต้นโลท และบัวบกมีดอกบ้านสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งในเหมันตฤดู เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง
ระลึกถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร
เห็นหมู่ไม่มีดอกบานสะพรั่ง และปทุมชาติมีดอกร่วง
หล่นในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้นก็จักไม่ทรงระลึก
ถึงราชสมบัติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชุเก ได้แก่ มีเสียงไพเราะ มีถ้อย
คำไพเราะ. บทว่า กเรณุสฆสฺส ได้แก่ หมู่ช้างพัง บทว่า ยูถสฺส ได้
แก่ ไปข้างหน้าโขลงช้าง. บทว่า อุภโต ได้แก่ ทั้งสองข้างมรรคา. บทว่า
วนวิกาเส ได้แก่ ชัฏไพร. บทว่า กามท ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุก
อย่างแก่หม่อมฉัน. บทว่า สินฺธุยา ได้แก่ แม่น้ำ. บทว่า วสมานสฺสุ-
ลูกสฺส ได้แก่ นกเค้าผู้อยู่. บทว่า พาฬาน ได้แก่ พาลมฤคทั้งหลาย
ด้วยว่าเสียงของกินนรเหล่านั้นเป็นราวกะเสียงดนตรีเครื่อง ๕ จักมีในเวลาเย็น
เพราะเหตุนั้นพระนางมัทรีจึงทูลว่า พระองค์ทรงสดับเสียงของกินนรเหล่านั้น
แล้วจักทรงลืมราชสมบัติ. บทว่า วรห ได้แก่ ปกคลุมด้วยแพนหาง บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 632
มตฺถกาสิน ได้แก่ จับอยู่ที่ยอดบรรพตเป็นนิจ. ปาฐะว่า มตฺตกาสิน ก็
มี ความว่า เป็นผู้เมาด้วยความเมาในกามจับอยู่. บทว่า พิมฺพชาล ได้แก่
ใบอ่อนแดง. บทว่า โอปุปฺผานิ ได้แก่ มีดอกห้อยลง คือมีดอกร่วงหล่น.
พระนางมัทรีทรงพรรณนาถึงหิมวันตประเทศ. ด้วยคาถามีประมาณ
เท่านี้ ประหนึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับอยู่ ณ หิมวันตประเทศแล้วฉะนั้น
ด้วยประการฉะนี้.
จบหิมวันตวรรณนา
ทานกัณฑ์
แม้พระนางผุสดีราชเทวีมีพระดำริว่า ข่าวเดือดร้อนมาถึงลูกของเรา
ลูกของเราจะทำอย่างไรหนอ เราจักไปให้รู้ความ จึงเสด็จไปด้วยสิวิกากาญจน์
ม่านปกปิดประทับที่ทวารห้องบรรทมอันมีสิริ ได้ทรงสดับเสียงสนทนาแห่ง
กษัตริย์ทั้งสองคือพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ก็พลอยทรงกันแสงคร่ำครวญ
อย่างน่าสงสาร
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระผุสดีราชบุตรีพระเจ้ามัททราช ผู้ทรงยศได้
ทรงสดับพระราชโอรสและพระสุณิสาทั้งสองปริเทวนา
การ ก็ทรงพลอยคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษ
เสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตาย
เสียดีกว่า เหตุไฉนชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้
ไม่มีความผิด เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้า
เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษไม่ผิด ผู้รู้ไตรเพทเป็นทาน
บดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่ เหตุไฉนชาวนครสีพี
จึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด อัน
พระราชาต่างด้าวทั้งหลายบูชา มีเกียรติยศ เหตุไฉน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 633
ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด ผู้เลี้ยง
ดูบิดามารดา ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล
เหตุไฉนชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด
ผู้เกื้อกูลแก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูร
ญาติ แก่พระสหาย เกื้อกูลทั่วแว่นแคว้น เหตุไฉนจึง
ให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปุตฺตี ได้แก่ พระนางผุสดีราชธิดา
ของพระเจ้ามัททราช. บทว่า ปปเตยฺยห ความว่า เราพึงโดด. บทว่า
รชฺชุยา พชฺฌมิยาห ความว่า เราพึงเอาเชือกผูกคอตายเสีย. บทว่า กสฺมา
ความว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ เหตุไฉนชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกของเราผู้ไม่
มีความผิดเสีย. บทว่า อชฺฌายิก ความว่า ผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท คือถึง
ความสำเร็จในศิลปะต่าง ๆ.
พระนางผุสดีทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสารฉะนั้นแล้ว ทรงปลอบพระ-
โอรสและพระศรีสะใภ้ให้อุ่นพระหฤทัย แล้วเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าสญชัย กราบ
ทูลว่า
ชาวสีวีให้ขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด
รัฐมณฑลของพระองค์ ก็จักเป็นเหมือนรังผึ้งร้าง
เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน ฉะนั้น พระองค์อัน
หมู่เสวกามาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้องลำบากอยู่พระองค์
เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว ก็ลำบากอยู่
ในเปียกตมอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขอกราบทูลพระองค์ว่า
ประโยชน์อย่าได้ล่วงเลยพระองค์ไปเสียเลย ขอพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 634
องค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้น
ตามคำของชาวสีพีเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลิตานิ ได้แก่ เหมือนรวงผึ้งที่ตัวผึ้ง
หนีไปแล้ว. บทว่า ปติตา ฉมา ได้แก่ ผมมะม่วงสุกที่หล่นลงพื้นดิน.
พระนางผุสดีทรงแสดงว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อขับไล่ลูกของเราไปอย่างนี้แล้ว
แว่นแคว้นของพระองค์ก็จักสาธารณ์แก่คนทั่วไป. บทว่า นิกฺขีณปตฺโต ได้
แก่ มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว. บทว่า อปวิฏฺโ อมจฺเจหิ ความว่า เหล่า
อำมาตย์ประมาณหกหมื่นผู้เป็นสหชาติกับลูกของเราละทิ้งแล้ว. บทว่า วิหญฺสิ
แปลว่า จักลำบาก. บทว่า สีวีน วจนา ความว่า ขอพระองค์อย่าทรงขับ
ไล่ลูกของเราผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีวีเลย.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อเราขับไล่ลูกที่รักผู้เป็นดุจธงชัยของชาวสีพี
ก็ทำโดยเคารพต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ
เพราะฉะนั้น ถึงลูกจะเป็นที่รักกว่าชีวิตของเรา เราก็
ต้องขับไล่.
เนื้อความของคาถานั้นว่า แน่ะพระน้องผุสดีผู้เจริญ เมื่อฉันขับไล่ คือ
เนรเทศลูกเวสสันดร ซึ่งเป็นธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพยำเกรงต่อ
ขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณในสีพีรัฐ เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ลูกเวสสันดร
นั้นเป็นที่รักกว่าชีวิตของฉัน ถึงอย่างนั้นฉันก็ต้องขับไล่.
พระนางผุสดีราชเทวีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงครวญคร่ำรำพันว่า
แต่กาลก่อน ๆ เหล่าทหารถือธง และเหล่าทหาร
ม้าเป็นอาทิ ราวกะดอกกรรณิการ์อันบานแล้ว และ
ราวกะราวป่าดอกกรรณิการ์ ไปตามเสด็จพ่อเวสสันดร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 635
ผู้เสด็จไปไหน ๆ วันนี้พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว.
เหล่าราชบุรุษผู้ห่มผ้ากัมพลเหลืองมาแต่คันธาร-
รัฐ มีแสงสีดุจแมลงค่อมทองตามเสด็จไปไหน ๆ วัน
นี้พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว แต่ก่อนพ่อเคยเสด็จด้วย
ช้างที่นั่ง พระวอหรือรถที่นั่ง วันนี้พ่อจะต้องเสด็จไป
ด้วยพระบาทอย่างไรได้.
พ่อมีพระกายลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อันเจ้าพนัก-
งานปลุกให้ตื่นบรรทมด้วยฟ้อนรำขับร้อง จะต้องทรง
หนังเสืออันหยาบขุรขระ และถือเสียมหาบคานอัน
คอนเครื่องบริขารแห่งดาบสทุกอย่างไปเองอย่างไรได้
ไม่มีใครนำผ้ากาสาวะและหนังเสือไป เมื่อพ่อเสด็จ
เข้าสู่ป่าใหญ่ ใครจะช่วยแต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ ก็
ไม่มี เพราะเหตุไรขัตติยบรรพชิตทั้งหลาย จะทรงผ้า
เปลือกไม้ได้อย่างไรหนอ แม่มัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรอง
กะไรได้ แม่มัทรีเคยทรงภูษามาแต่แคว้นกาสี และ
โขมพัสตร์และโกทุมพรพัสตร์ บัดนี้จะทรงผ้าคากรอง
จักทำอย่างไร.
แม้มัทรีเคยเสด็จไปไหน ๆ ด้วยสิวิกากาญจน์
คานหามและรถที่นั่ง วันนี้แม่ผู้มีวรกายหาที่มิได้ จะ
ต้องดำเนินไปตามวิถีด้วยพระบาท แม่มัทรีผู้มีฝ่าพระ-
หัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อน มักมีพระหฤทัยหวั่นขวัญ
อ่อนสถิตอยู่ในความสุข เสด็จไปข้างไหนก็ต้องสวม
ฉลองพระบาททอง วันนี้แม้ผู้มีอวัยวะงาม จะต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 636
ดำเนินสู่วิถีด้วยพระบาทเปล่า แม่จะเสด็จไปไหนเคย
มีสตรีนับด้วยพันนางนำเป็นแถวไปข้างหน้า วันนี้แม่
ผู้โฉมงามจะต้องเสด็จไปสู่ราวไพรแต่องค์เดียว.
แม่มัทรีได้ยินเสียงสุนัขป่า ก็จะสะดุ้งตกพระ-
หฤทัยก่อนทันทีหรือได้ยินเสียงนกเค้าอินทสโคตรผู้
ร้องอยู่ก็จะสะดุ้งกลัวองค์สั่น ดุจแม่มดสั่นอยู่ฉะนั้น
วันนี้แม่ผู้มีรูปงามเป็นผู้ขลาดไปสู่แนวป่า ตัวแม่เอง
จักหมกไหม้ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้เปล่า
จากลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก จักผอมผิวเหลือง
จักแล่นไปในที่นั้น ๆ เหมือนนางนกมีลูกถูกเบียดเบียน
เห็นแต่รังเปล่าฉะนั้น ตัวแม่จักหมกไหม้ด้วยความ
ทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้ว่างจากพระลูกรัก ตัวแม่
แลไม่เห็นลูกรัก ก็จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่
นั้น ๆ เปรียบดังนางนกเขามีลูกถูกเบียดเบียนแล้ว
เห็นแต่รังเปล่า หรือเปรียบเหมือนนางนกจากพราก
ตกในเปือกตมไม่มีน้ำฉะนั้น เมื่อหม่อมฉันพิลาปอยู่
อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มี
ความผิดนั้นเสียจากแว่นแคว้น หม่อมฉัน เห็นจะต้อง
สละชีวิตเสียเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณิการาว ความว่า เป็นราวกะดอก
กรรณิการ์ที่บานดีแล้ว เพราะประดับด้วยเครื่องอลังการอันเป็นสุวรรณ
วัตถาภรณ์. บทว่า ยายนฺตมนุยายนฺติ ความว่า ตามเสด็จพระเวสสันดร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 637
ผู้เสด็จเพื่อต้องการประพาสสวนอุทยานเป็นต้น. บทว่า สฺวาชฺเชโกว ความ
ว่า วันนี้พระเวสสันดรจักเสด็จไปพระองค์เดียวเท่านั้น. บทว่า อนีกานิ ได้
แก่ มีกองช้างเป็นต้น. บทว่า คนฺธารา ปณฺฑุกมฺพลา ความว่า ผ้า
กัมพลแดงที่เสนานุ่งห่มมีค่าแสนหนึ่ง เกิดที่คันธารรัฐ. บทว่า หาริติ ความ
ว่า แบกไป. บทว่า ปวิสนฺต ได้แก่ เมื่อพระเวสสันดรเสด็จเข้าไปอยู่.
บทว่า กสฺมา จีร น พชฺฌเร ความว่า ใคร ๆ ที่แต่งตัวได้ จะช่วย
แต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ก็ไม่มี เพราะอะไร. บทว่า ราชปพฺพชิตา ได้แก่
พวกกษัตริย์บวช. บทว่า โขมโกทุมฺพรานิ ได้แก่ ผ้าสาฎกที่เกิดในโขม-
รัฐและในโกทุมพรรัฐ. บทว่า สา กถชฺช ตัดบทเป็น สา กล อชฺช.
บทว่า อนุจฺจงฺคี ได้แก่ ผู้มีพระวรกายไม่มีที่ตำหนิคือหาที่ติมิได้. บทว่า
ปีฬมานาว ความว่า หวั่นไหวเสด็จไปเหมือนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า อสฺสุ
ในบทเป็นต้นว่า ยสฺสุ อิตฺถรสหสฺส เป็นนิบาต ความว่า ใด ปาฐะว่า ยาสา
ก็มี. บทว่า สิวาย ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. บทว่า ปุเร ความว่า อยู่ใน
พระนครในกาลก่อน. บทว่า อินฺทสโคตฺตสฺส ได้แก่ โกสิยโคตร. บทว่า
วาริณีว ได้แก่ เหมือนยักษทาสีที่เทวดาสิง. บทว่า ทุกฺเขน ได้แก่ ทุกข์
คือความโศกเพราะความพลัดพรากจากบุตร. บทว่า อาคมฺมิม ปุร ความ
ว่า เมื่อลูกไปแล้ว แม่มาวังนี้ คือวังของลูก. บทว่า ปิเย ปุตฺเต ท่าน
กล่าวหมายพระเวสสันดรและพระนางมัทรี. บทว่า หตจฺฉวปา ได้แก่ มีลูก
คือลูกน้อยถูกเบียดเบียนแล้ว. บทว่า ปพฺพาเชสิ จ น รฏฺา ความว่า
ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่ลูกเวสสันดรนั้นจากแว่นแคว้น .
เหล่าสีพีกัญญาของพระเจ้ากรุงสญชัยทั้งปวงได้ยินเสียงคร่ำครวญของ
พระนางผุสดีเทวี ก็ประชุมกันร้องไห้ ส่วนราชบริจาริกานารีทั้งหลายในพระราช-
นิเวศน์ของพระเวสสันดร ได้ยินเสียงเหล่าราชบริจาริกาของพระเจ้ากรุงสญชัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 638
ร้องไห้ ต่างก็ร้องไห้ไปตามกัน คนหนึ่งในราชสกุลทั้งสองที่สามารถระทรงตน
ไว้ได้ไม่มีเลย ต่างทอดกายาพิไรรำพัน ดุจหมู่ไม้รังต้องลมย่ำยีก็ล้มลงตามกัน
ฉะนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เหล่าสีพีกัญญาทั้งปวงในพระราชวัง ได้ฟังสุร-
เสียงของพระนางผุสดีทรงกันแสง ประชุมกันประ-
คองแขนทั้งสองร้องไห้ เหล่าราชบุตรราชบุตรี ชายา
พระสนม พระกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง กอง
ม้า กองรถ กองราบ ฝ่ายข้างวังพระเวสสันดร ก็
พากันลงนอนยกแขนทั้งสองร้องไห้ ประหนึ่งหมู่ไม้
รังต้องลมประหารย่ำยีก็ล้มลงตามกันฉะนั้น แต่นั้น
เมื่อราตรีสว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเวสสันดรก็
เสด็จมาสู่โรงทาน ทรงบำเพ็ญทาน โดยพระโองการ
ว่า เจ้าทั้งหลายจงให้ผ้าห่มแก่เหล่าผู้ต้องการผ้านุ่งห่ม
น้ำเมาแก่พวกนักเลงสุรา โภชนาหารแก่เหล่าผู้ต้อง
การโภชนาหารโดยชอบทีเดียว อย่าเบียดเบียนเหล่า
วนิพก ผู้มาในที่นี้แม้แต่คนหนึ่ง จงให้อิ่มหนำด้วย
ข้าวและน้ำ พวกนี้เราบูชาแล้ว จงให้ยินดีกลับไป
ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้
เจริญเสด็จออกแล้ว ดุจคนเมาสุราหรือคนเหน็ดเหนื่อย
ชาวสีพีเหมือนตัดเสีย ซึ่งต้นไม้ที่ให้ผลต่าง ๆ ที่ทรง
ผลต่าง ๆ ที่ให้ความใคร่ทั้งปวง ที่นำมาซึ่งรสคือ
ความใคร่ทั้งปวง เพราะพวกเขาขับไล่พระเวสสันดร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 639
ผู้หาความผิดมิได้จากรัฐมณฑล ในเมื่อพระเวสสันดร
มหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว
เหล่าคนแก่ คนหนุ่ม และคนกลางคนทั้งหมด ภูต
แม่มด ขันที สตรีของพระราชา สตรีในพระนคร
พราหมณ์ สมณะ และเหล่าวนิพกอื่น ๆ ประคอง
แขนทั้งสองร้องไห้ว่า ดูเถอะ พระราชาเป็นอธรรม.
พระเวสสันดรเป็นผู้อันมหาชนในเมืองของตน
บูชาแล้ว ต้องเสด็จออกจากเมืองของพระองค์ โดย
ต้องการตามคำของชาวสีวี พระเวสสันดรมหาสัตว์นั้น
พระราชทานช้าง ๗๐๐ เชือก ล้วนประดับด้วยคชาลัง-
การ มีเครื่องรัดกลางตัวแล้วไปด้วยทอง คลุมด้วย
เครื่องประดับทอง มีนายหัตถาจารย์ขี่ประจำ ถือโตมร
และขอม้า ๗๐๐ ตัว สรรพไปด้วยอัศวาภรณ์เป็นชาติ
ม้าอาชาไนยสินธพ เป็นพาหนะว่องไว มีนายอัศวา-
จารย์ขี่ประจำ ห่มเกราะถือธนู รถ ๗๐๐ คัน อันมั่น
คงมีธงปักแล้ว หุ้มหนังเสือเหลืองเสือโคร่งประดับ
สรรพาลังการ มีคนขับประจำถือธนูห่มเกราะ สตรี
๗๐๐ คน คนหนึ่ง ๆ อยู่ในรถ สวมสร้อยทองคำประดับ
กายแล้วไปด้วยทองคำ มีอลังการสีเหลือง นุ่งห่มผ้า
สีเหลือง ประดับอาภรณ์สีเหลือง มีดวงตาใหญ่ ยิ้ม
แย้มก่อนจึงพูด มีตะโพกงามบั้นเอวบาง โคนม ๗๐๐
ตัว ล้วนแต่งเครื่องเงินทาสี ๗๐๐ คน ทาส ๗๐๐ คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 640
(พระองค์ทรงบำเพ็ญทานเห็นปานนี้) ต้องเสด็จออก
จากแคว้นของพระองค์.
พระราชาเวสสันดรพระราชทานช้างม้ารถ และ
สตรีอันตกแต่งแล้ว ต้องนิราศจากแคว้นของพระองค์
ในเมื่อมหาทาน อันพระเวสสันดรพระราชทานแล้ว
พสุธาดลก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว และพระราชา-
เวสสันดรทรงกระทำอัญชลี นิราศจากแคว้นของ
พระองค์ นั่นเป็นมหัศจรรย์อันน่าสยดสยอง. ให้ขน
พองสยองเกล้า ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิกญฺา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สตรีทั้งหลายของพระเจ้าสญชัยราชาแห่งชาวสีวีแม้ทั้งปวง ได้ฟังเสียงคร่ำ-
ครวญของพระนางผุสดีแล้ว ประชุมกันคร่ำครวญร้องไห้. บทว่า เวสฺสนฺตร-
นิเวสเน ความว่า เหล่าชนฝ่ายช้างวังแม้ของพระเวสสันดร ได้ฟังเสียงคร่ำ
ครวญของสตรีทั้งหลายในวังของพระเจ้าสญชัยนั้น ก็คร่ำครวญไปตามกัน ใน
ราชสกุลทั้งสอง ไม่มีใคร ๆ ที่สามารถจะดำรงอยู่ได้ตามภาวะของตน ต่างล้ม
ลงเกลือกกลิ้งไปมาคร่ำครวญดุจหมู่ไม้รังโค่นลงด้วยกำลังลมฉะนั้น. บทว่า
ตโต รตฺยา วิวสเน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป
ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พวกขวนขวายในทานได้กราบทูลแด่พระเวสสันดรว่า ทาน
ได้จัดเสร็จแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรทรงสรงสนานแต่เช้าทีเดียว
ประดับด้วยสรรพาลังการ เสวยโภชนาหารรสอร่อย แวดล้อมไปด้วยมหาชน
เสด็จเข้าสู่โรงทานเพื่อพระราชทานสัตตสดกมหาทาน. บทว่า เทถ ความว่า
พระเวสสันดรเสด็จไปในที่นั้นแล้ว เมื่อตรัสสั่งเหล่าอำมาตย์หกหมื่น ได้ตรัส
อย่างนี้. บทว่า วารุณึ ความว่า พระเวสสันดรทรงทราบว่า การให้น้ำเมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 641
เป็นทานไร้ผล แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงดำริว่า พวกนักเลงสุรามาถึงโรง
ทานแล้ว อย่าได้กล่าวว่า ไม่ได้ดื่มสุราในโรงทานของพระเวสสันดร ดังนี้จึง
ให้พระราชทาน. บทว่า วนิพฺพเก ความว่า บรรดาเหล่าชนวนิพกผู้ขอ
พวกท่านอย่าได้เบียดเบียนใคร ๆ แม้คนหนึ่ง. บทว่า ปฏิปูชิตา ความว่า
พระเวสสันดรตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่เราบูชาแล้ว จงกระทำอย่างที่เขา
ไปสรรเสริญเรา พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตสดกมหาทาน คือ ช้าง
๗๐๐ เชือก มีเครื่องประดับทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ม้า ๗๐๐ ตัว ก็
เหมือนอย่างนั้นแล รถ ๗๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์เป็นต้น วิจิตรด้วยรัตนะ
ต่าง ๆ มีธงทอง สตรีมีขัตติยกัญญาเป็นต้น ๗๐๐ คน ประดับด้วยสรรพาลังการ
ทรงรูปอันอุดม แม่โคนม ๗๐๐ ตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าโคผู้ประเสริฐ รีดน้ำนม
ได้วันละหม้อ ทาสี ๗๐๐ คนผู้ได้รับการฝึกหัดศึกษาดีแล้ว ทาส ๗๐๐ คนก็
เหมือนอย่างนั้น พร้อมเครื่องดื่มและโภชนาหารหาประมาณมิได้ ด้วยประการ
ฉะนี้.
เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบริจาคทานอยู่อย่างนี้ ชาวนครมีกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น ต่างร่ำพิไรรำพันว่า ข้าแต่พระเวสสันดรผู้
เป็นเจ้า ชาวสีพีรัฐขับพระองค์ผู้ทรงบริจาคทานเสียจากรรัฐมณฑล พระองค์ก็
ยังทรงบริจาคทานอีก.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ครั้งนั้นเสียงกึกก้องโกลาหลน่าหวาดเสียว เป็น
ไปในพระนครนั้นว่า ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระ-
เวสสันดรเพราะทรงบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรงได้
บริจาคทานอีกเถิด.
ฝ่ายเหล่าผู้รับทานได้รับทานแล้วก็พากันรำพึงว่า ได้ยินว่า บัดนี้
พระราชาเวสสันดรจักเสด็จเข้าสู่ป่า ทำพวกเราให้หมดที่พึ่ง จำเดิมแต่นี้พวกเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 642
จักไปหาใคร รำพึงฉะนี้ก็นอนกลิ้งเกลือกไปมา ประหนึ่งว่ามีเท้าขาดคร่ำครวญ
ด้วยเสียงอันดัง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จ
ออก วนิพกเหล่านั้นก็ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจคน
เมาหรือคนเหน็ดเหนื่อยฉะนั้น ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สุ อักษรในบทว่า เต สุ มตฺตา นี้เป็นเพียง
นิบาต ความว่า วนิพกเหล่านั้น . บทว่า มตฺตา กิลนฺตาว ความว่า เป็น
ผู้ราวกะคนเมาและราวกะคนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า สมฺปตนฺติ ความว่า ล้ม
ลงบนพื้นดินกลิ้งเกลือกไปมา. บทว่า อจฺเฉจฺฉุ วต แปลว่า ตัดแล้วหนอ.
บทว่า ยถา แปลว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า อติยกฺขา ได้แก่ หมอผีบ้าง
แม่มดบ้าง. บทว่า เวสฺสวรา ได้แก่ พวกขันทีผู้ดูแลฝ่ายใน. บทว่า วจนตฺ-
เถน ได้แก่ เพราะเหตุแห่งถ้อยคำ. บทว่า สมฺหา รฏฺา นิรชฺชติ
ความว่า ออกไปจากแคว้นของพระองค์. บทว่า คามณีเยภิ ได้แก่ อาจารย์
ฝึกช้าง. บทว่า ชาติเย ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า คามณีเยภิ
ได้แก่ อาจารย์ฝึกม้า. บทว่า อินฺทิยาจาปธาริภิ ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งเกราะ
และธนู. บทว่า ทีเป อโถปิ เวยฺยคฺเฆ ได้แก่ หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง
และหนังเสือโคร่ง. บทว่า เอกเมกา รเถ ิตา ความว่า ได้ยินว่า พระ-
เวสสันดรได้พระราชทานนางแก้วคนหนึ่ง ๆ ยืนอยู่บนรถ มีทาสี ๘ คน แวด
ล้อม. บทว่า นิกฺขรชฺชูหิ ได้แก่ สร้อยที่สำเร็จด้วยเส้นทองคำ. บทว่า
อาฬารปฺปมุขา ได้แก่ มีดวงตาใหญ่ บทว่า หสุลา ได้แก่ ยิ้มแย้ม
ก่อนจึงพูด. บทว่า สุสญฺา ได้แก่ มีตะโพกผึ่งผาย. บทว่า ตนุมชฺฌิมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 643
ได้แก่ มีเอวบาง. บทว่า กส ในบทว่า กสุปาธาริโน นี้เป็นชื่อของเงิน
ความว่า ได้พระราชทานพร้อมด้วยภาชนะใส่น้ำนมที่สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า
ปทินฺนมฺหิ ได้แก่ ให้อยู่. บทว่า สมกมฺปถ ความว่า หวั่นไหวด้วย
อานุภาพแห่งทาน. บทว่า ย ปญฺชลีกโต ความว่า พระราชาเวสสันดร
พระราชทานมหาทานแล้วประคองอัญชลีนมัสการทานของพระองค์ ได้ทรงกระ
ทำอัญชลีอธิษฐานว่า ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณของเราที
เดียว แม้ข้อนั้นก็ได้เป็นมหัศจรรย์น่าสยดสยองนั่นแล อธิบายว่า แผ่นดินได้
หวั่นไหวในขณะนั้น. บทว่า นิรชฺชติ ความว่า แม้พระเวสสันดรได้พระ-
ราชทานถึงอย่างนี้แล้ว ก็ยังต้องเสด็จนิราศไป ไม่มีใคร ๆ จะห้ามพระองค์ได้.
ก็ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายแจ้งแก่พระราชาในพื้นชมพูทวีปว่า
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน มีพระราชทานนางขัตติยกัญญาเป็นต้น
เพราะเหตุนั้นกษัตริย์ทั้งหลายจึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญา
เหล่านั้นแล้วหลีกไป.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น รับพระราชทานบริจาค
ของพระเวสสันดรแล้วหลีกไป ด้วยประการฉะนี้ พระเวสสันดรทรงบริจาค
ทานอยู่จนถึงเวลาเย็น พระองค์จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรง
ดำริว่า เราจักถวายบังคมลาพระชนกพระชนนีไปในวันพรุ่งนี้ จึงเสด็จไปสู่ที่
ประทับของพระชนกพระชนนีด้วยรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว ฝ่ายพระนางมัทรีก็
ทรงคิดว่า แม้เราก็จักโดยเสด็จพระสวามี จักยังพระสัสสุและพระสสุระให้ทรง
อนุญาตเสียด้วย จึงเสด็จไปพร้อมพระเวสสันดร พระมหาสัตว์ถวายบังคม
พระราชบิดาแล้วกราบทูลความที่พระองค์จะเสด็จไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 644
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรกราบทูลพระเจ้าสญชัย ผู้วรธรร-
มิกราชว่า พระองค์โปรดให้หม่อมฉันออกจากเชตุดร
ราชธานี หม่อมฉันขอทูลลาไปเขาวงกต ชนทั้งหลาย
เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีแล้วในอดีต หรือจักมีในอนาคต
และเกิดในปัจจุบัน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อม
ไปสู่ยมโลก หม่อมฉันได้บริจาคทานในวังของตนยัง
ชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น จึงนิราศจากแคว้นของ
ตนโดยความประสงค์ตามคำของชาวสีพี หม่อมฉันจัก
เสวยความทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรด
และเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญ
ทั้งหลาย เชิญพระองค์จมอยู่ในเปือกตม คือกามเถิด
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมิก วร ได้แก่ ผู้สูงสุดในระหว่าง
พระราชาผู้ทรงธรรมทั้งหลาย. บทว่า อวรุทฺธสิ ความว่า นำออกจากแว่น
แคว้น. บทว่า ภูตา ได้แก่ อดีตกาล. บทว่า ภวิสฺสเร ความว่า ชน
เหล่าใดจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน. บทว่า โสห สเก อภิสสึ
ความว่า หม่อมฉันนั้นชื่อว่าเบียดเบียนชาวเมืองของตน ทำอะไร. บทว่า
ยชมาโน ได้แก่ บริจาคทาน. บทว่า สเก ปุเร ได้แก่ ในปราสาทของ
ตน แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั้นบริจาคทาน. บทว่า นิรชฺชห
ได้แก่ เมื่อหม่อมฉันออก. บทว่า อฆนฺต ความว่า หม่อมฉันจักเสวยทุกข์
ที่ผู้อยู่ในป่าพึงเสวยนั้น. บทว่า ปงฺกมฺหิ ความว่า พระเวสสันดรทูลว่า
แต่พระองค์จะจมอยู่ในเปือกตม คือกาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 645
พระมหาสัตว์ทูลกับพระชนกด้วย ๔ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว เสด็จไป
เฝ้าพระชนนี ถวายบังคมแล้ว เมื่อจะทรงขออนุญาตบรรพชา จึงตรัสว่า
ข้าแต่เสด็จแม่ ขอพระองค์ทรงอนุญาตแก่หม่อม
ฉัน หม่อมฉันขอบวช หม่อนฉันบริจาคทานในวัง
ของตนยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น หม่อมฉัน
จะออกไปจากแคว้นของตนโดยประสงค์ตามคำของ
ชาวสีพี หม่อมฉันจะเสวยทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วย
พาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉัน
บำเพ็ญบุญทั้งหลาย จะไปเขาวงกต
พระนางผุสดีได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ลูกรัก แม่อนุญาตลูก บรรพชาจงสำเร็จแก่ลูก
ก็แต่แม่มัทรีกัลยาณีผู้มีตะโพกงามเอวบาง จงอยู่กับ
บุตรธิดา แม่จะทำอะไรในป่าได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิชฺฌตุ ความว่า จงมีความสำเร็จด้วย
ฌาน. บทว่า อจฺฉต ความว่า พระนางผุสดีตรัสว่า จงอยู่ คือจงมีในที่นี้
แหละ.
พระเวสสันดรตรัสว่า
หม่อมฉันไม่อาจจะพาแม่ทาสีไปสู่ป่าโดยที่เขา
ไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะตามหม่อมฉันไป ก็
จงไป ถ้าไม่ปรารถนาก็จงอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกามา ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เสด็จ
แม่ตรัสอะไรอย่างนั้น แม้ทาสีหม่อมฉันก็ไม่อาจจะพาไป โดยที่เขาไม่ปรารถนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 646
ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับพระดำรัสแห่งพระราชโอรส
ก็ทรงคล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ต่อแต่นั้น พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงคล้อย
ตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า แน่ะแม่ผู้มีสรีระอัน
ประพรมด้วยแก่นจันทน์ แม่อย่าได้ทรงธุลีละอองและ
ของเปรอะเปื้อนเลย แม่เคยทรงภูษาของชาวกาสีแล้ว
จะมาทรงผ้าคากรอง การอยู่ในป่าเป็นทุกข์ แน่ะแม่
มีลักษณะงาม แม่อย่าไปเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปชฺชถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับถ้อยดำรัสของพระราชโอรสแล้ว ได้ทรง
คล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา. บทว่า มา จนฺทนสมาจเร ความว่า
แน่ะแม่ผู้มีสรีระที่ประพรมด้วยจันทน์แดง. บทว่า มา หิ ตฺว ลกฺขเณ
คมิ ความว่า แน่ะแม่ผู้ประกอบด้วยลักษณะอันงาม แม่อย่าไปป่าเลย.
พระนางมัทรีราชบุตรผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล
พระสุสระว่า หม่อมฉันไม่ปรารถนาความสุข ที่ต้อง
พรากจากพระเวสสันดรของหม่อมฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ได้กราบทูล คือได้
กราบเรียนพระสสุระนั้น.
พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้
เจริญ ได้ตรัสกะพระมัทรีว่า แน่ะแม่มัทรี แม่จง
พิจารณา สัตว์เหล่าใดมีอยู่ในป่าที่บุคคลทนได้ยากคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 647
ตั๊กแตน บุ้ง เหลือบ ยุง แมลง ผึ้ง มีมาก สัตว์
แม้เหล่านั้นพึงเบียดเบียนแม่ในป่านั้น ความเบียด
เบียนนั้นเป็นความทุกข์ยิ่งจะพึงมีแก่แม่ แม่จงดูสัตว์
เหล่าอื่นอีกที่น่ากลัว อาศัยอยู่ที่แม่น้ำ คืองู ชื่อว่างู
เหลือมไม่มีพิษแต่มันมีกำลังมาก มันรัดคนหรือมฤค
ที่มาใกล้มันด้วยขนดให้อยู่ในอำนาจของมัน ยังสัตว์
เหล่าอื่น ดำดังผมที่เกล้าชื่อว่าหมี เป็นมฤคนำความ
ทุกข์มา คนที่มันเห็นแล้วขึ้นต้นไม่ก็ไม่พ้นมัน ฝูง
กระบือมักขวิดชนเอาด้วยเขามีปลายแหลม เที่ยวอยู่
ราวป่าริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุมพระ แม่มัทรีเป็นเหมือนแม่
โคนมอยากได้ลูก เห็นโคไปตามฝูงมฤคในไพรสณฑ์
จักทำอย่างไร เมื่อแม่มัทรีไม่รู้จักเขตไพรสณฑ์ ภัย
ให้จักมีแก่แม่ เพราะเห็นฝูงลิง น่ากลัวพิลึก มันลง
มาในทางที่เดินยาก แม่มัทรีครั้งยังอยู่ในวัง แม่ไปถึง
เขาวงกตจักทำอย่างไร ฝูงสกุณชาติจับอยู่ในเวลากลาง
วัน ป่าใหญ่ก็จักเหมือนบันลือขึ้น แม่จะอยากไปใน
ราวไพรนั้นทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ได้ตรัสกะพระสุณิสา
นั้น. บทว่า อปเร ปสฺส สนฺตาเส ความว่า จงดู คือจงเห็นเหตุที่ให้
เกิดภัยที่น่าหวาดสะดุ้ง. บทว่า นทีนูปนิเสวิตา ความว่า อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
โดยสถานที่ใกล้. บทว่า อวิสา ได้แก่ ปราศจากพิษ. บทว่า อปิจาสนฺน
ความว่า ใกล้ คือมาสัมผัสสรีระของตน. บทว่า อฆมฺมิคา ได้แก่ มฤคที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 648
ทำความลำบาก อธิบายว่า มฤคที่นำความทุกข์มาให้. บทว่า นทึ โสตุมฺพร
ปติ ได้แก่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุมพระ. บทว่า ยูถาน ได้แก่ ซึ่งฝูงปาฐะ
อย่างนี้แหละ. บทว่า เธนุว วจฺฉคิทฺธาว ความว่า เธอเป็นเหมือนแม่
โคนมอยากได้ลูก เมื่อไม่เห็นลูกๆ ของเธอ จักทำอย่างไร ก็ ว อักษรใน
บทว่า วจฺฉคิทฺธาว นี้เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า สมฺปติเต ได้แก่
ลงมา บทว่า โฆเร ได้แก่ มีรูปแปลกน่าสะพึงกลัว บทว่า ปลฺวงฺคเม
ได้แก่ ฝูงลิง บทว่า อเขตฺตญฺาย ได้แก่ ไม่ฉลาดในภูมิประเทศในป่า.
บทว่า ภวิตนฺเต ความว่า จักมีแก่เธอ. บทว่า ยา ตฺว สิวาย สุตฺวาน
ความว่า ได้ยินเสียงของสุนัขจิ้งจอก. บทว่า มหุ ความว่า แม้เมื่ออยู่ใน
เมืองก็ตกใจบ่อยๆ. บทว่า สุณเตว ได้แก่ เหมือนบันลือ คือส่งเสียง.
พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล
พระเจ้ากรุงสญชัยว่า หม่อมฉันทราบภยันตรายเหล่า
นั้น ว่าเป็นภัยเฉพาะหม่อมฉันในพรสณฑ์ แต่หม่อม
ฉันจะสู้ทนต่อภัยทั้งปวงนั้นไป คือจักบรรเทาแหวกต้น
เป้ง หญ้าคา หญ้าคมบาง แฝก หญ้ามุงกระต่าย และ
หญ้าปล้องไปด้วยอุระ จักนำเสด็จพระภัสดาไปมิให้
ยาก กุมารีได้สามีด้วยการประพฤติวัตรเป็นอันมาก
เช่นด้วยตรากตรำท้อง มิให้ใหญ่ด้วยวิธีกินอาหารแต่
น้อย รู้ว่าสตรีมีบั้นเอวกว้างสีข้างผายได้สามี จึงเอาไม้
สัณฐานเหมือนคางโคค่อย ๆ บุบทุบบั้นเอว เอาผ้ารีด
สีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก หรือด้วยทนผิงไฟแม้ใน
ฤดูร้อน ขัดสีกายด้วยน้ำในฤดูหนาว ความเป็นหม้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 649
อาการเตรียมตรมในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่าง
แน่นอน.
อนึ่งบุรุษไม่สมควรอยู่ร่วมกับสตรีหม้ายที่เขาทิ้ง
แล้ว บุรุษไรเล่าจะจับมือถือแขนสตรีหม้ายที่เขาไม่
ต้องการคร่ามา เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมของสตรีหม้าย
มาแล้วเอาเท้าเขี่ยให้ล้มลง ณ พื้น ให้ทุกข์เป็นอันมาก
ไม่ใช่น้อยแล้วไม่หลีกไป เหล่าบุรุษต้องการสตรีหม้าย
ผู้มีผิวขาว ถือตัวว่ารูปงามเลิศ ให้ทรัพย์เล็กน้อยฉุด
คร่าสตรีหม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดุจฝูงกาตอมจิกคร่า
นกเค้าไปฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง สตรีหม้ายเมื่ออยู่ในสกุลญาติอัน
มั่งคั่ง รุ่งเรืองด้วยภาชนะทองคำ ไม่พึงได้ซึ่งคำกล่าว
ล่วงเกิน แต่หมู่พี่น้องและเหล่าสหายว่า หญิงผู้หาผัว
มิได้นี้ ต้องตกหนักแก่พวกเราตลอดชีวิต ฉะนี้ไม่มี
เลย. I
แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่าดาย แว่นแคว้นไม่มีพระ-
ราชาปกครองก็สูญเปล่า สตรีแม้มีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน
ถ้าเป็นหม้ายก็สูญหาย ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งราชรถ
ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่อง
ปรากฏแห่งแว่นแคว้น ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่ง
สตรี ความเป็นหม้ายเป็นอาการเตรียมตรมในโลก
หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 650
สตรีใดเข็ญใจก็ร่วมทุกข์กับสามีผู้เข็ญใจในคราว
ถึงทุกข์ สตรีใดมั่งมี มีเกียรติ ก็ร่วมสุขด้วยสามีผู้
มั่งมีในคราวถึงสุข เทวดาและมนุษย์ย่อมสรรเสริญ
สตรีนั้น เพราะสตรีนั้นทำกรรมที่ทำได้โดยยาก.
หม่อมฉันจะนุ่งห่มผ้ากาสายะตามเสด็จพระภัส-
ดาทุกเมื่อ ความเป็นหม้ายแห่งสตรีผู้มีแผ่นดินไม่แยก
ไม่เป็นที่ยินดี อีกประการหนึ่งหม่อมฉันไม่ปรารถนา
แผ่นดินที่ทรงไว้ซึ่งทรัพย์เป็นอันมาก มีสาครเป็นที่สุด
เต็มไปด้วยรัตนะต่าง ๆ แต่พรากจากพระเวสสันดรผู้
ภัสดา สตรีใดในเมื่อสามีทุกข์ร้อน ย่อมอยากได้
ความสุขเพื่อตน สตรีนั้นเด็ดจริง ใจของเขาจะเป็น
อย่างไรหนอ เมื่อพระเวสสันดรมหาราชเจ้าผู้ยังสีพีรัฐ
ให้เจริญเสด็จออกพระนคร หม่อมฉันจักโดยเสด็จ
พระองค์ เพราะพระองค์เป็นผู้พระราชทานความใคร่
ทั้งปวงของหม่อมฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระนางมัทรีได้สดับพระดำรัสของพระเจ้ากรุงสญชัยแล้วได้ทูลตอบพระเจ้ากรุง
สญชัยนั้น. บทว่า อภิสมฺโภสฺส ได้แก่ จักสู้ทน คือจักอดกลั้น. บทว่า
โปตกิล ได้แก่ หญ้าคมบาง. บทว่า ปนูเหสฺสามิ ความว่า หม่อมฉัน
จักแหวกไปทางข้างหน้าพระเวสสันดร. บทว่า อุทรสฺสุปโรเธน ได้แก่
การงด คือกินอาหารแต่น้อย. บทว่า โคหนุเวฏฺเนน ความว่า เหล่า
กุมาริการู้ว่าสตรีที่มีบั้นเอวกว้างและสีข้างผายย่อมได้สามี จึงเอาไม้มีสัณฐาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 651
เหมือนคางโคค่อยๆ ทุบบั้นเอว เอาผ้ารัดสีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก ย่อมได้
สามี. บทว่า กฏุก ได้แก่ ไม่น่ายินดี. บทว่า คจฺฉญฺเว ได้แก่ จัก
ไปแน่นอน. บทว่า อปฺปตฺโต ความว่า ไม่สมควรจะบริโภคของที่เป็นเดน
ของหญิงหม้ายนั้นทีเดียว. บทว่า โย น ความว่า บุรุษใดมีชาติต่ำจับมือ
ทั้งสองฉุดคร่าหญิงหม้ายนั้นผู้ไม่ปรารถนาเลย. บทว่า เกสคฺคหณมุกฺเขปา
ภูมฺยา จ ปริสุมฺภนา ความว่า เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมหญิงไม่มีสามี เขี่ย
ให้ล้มลง ณ พื้น ดูหมิ่นล่วงเกินหญิงเหล่านั้น. บทว่า ทตฺวา จ ความว่า
บุรุษอื่นยังให้ความทุกข์เป็นอันมาก คือมิใช่น้อยเห็นปานนี้แก่หญิงไม่มีสามี
บทว่า โน ปกฺกมติ ความว่า เป็นผู้ปราศจากความรังเกียจยืนแลดูหญิงนั้น.
บทว่า สุกฺกจฺฉวี ได้แก่ มีผิวพรรณที่ถูด้วยจุรณสำหรับอาบ. บทว่า
เวธเวรา แปลว่า ผู้มีความต้องการหญิงหม้าย บทว่า ทตฺวา ได้แก่ ให้
ทรัพย์มีประมาณน้อยอะไร ๆ ก็ตาม. บทว่า สุภคฺคมานิโน ได้แก่ เข้าใจ
ตัวว่าพวกเรางามเลิศ. บทว่า อกาม ได้แก่ หญิงหม้าย คือหญิงไม่มีสามี
ผู้ไม่ปรารถนานั้น. บทว่า อุลูกญฺเว วายสา ความว่า เหมือนฝูงกาจิก
คร่านกเค้า. บทว่า กสปฺปชฺโชตเน ได้แก่ รุ่งเรืองด้วยภาชนะทอง.
บทว่า วส ได้แก่ อยู่ในสกุลญาติแม้เห็นปานนั้น. บทว่า เนวาติวากฺย
น ลเภ ความว่า ไม่พึงได้ คือย่อมไม่ได้เลยทีเดียวซึ่งคำอันเป็นคำล่วงเกิน
คือเป็นคำติเตียนนี้จากพี่น้องก็ตาม จากสหายก็ตาม ผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า หญิง
คนนี้ไม่มีสามี ตกหนักแก่พวกเราไปตลอดชีวิตทีเดียว. บทว่า ปญฺาณ
ได้แก่ กระทำภาวะให้ปรากฏ. บทว่า ยา ทลิทฺที ทลิทฺทสฺส ความว่า
ข้าแต่พระองค์ หญิงที่มีเกียรติ คือหญิงที่ในเวลาสามีผู้ยากจนของตนมีความ
ทุกข์ แม้ตนเองยากจนก็ร่วมทุกข์ด้วย ในเวลาที่สามีนั้นมั่งคั่งมีความสุข ตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 652
เองก็มั่งคั่งมีความสุขกับสามีนั้นเหมือนกัน. บทว่า ต เว เทวา ปสสนฺติ
ความว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญหญิงนั้นคือเห็นปานนั้น. บทว่า อภิชฺ-
ชนฺตฺยา ได้แก่ ไม่แตก อธิบายว่า ก็แม้ถ้าแผ่นดินทั้งสิ้นของหญิงไม่
แตก หญิงนั้นก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินทั้งสิ้น ความเป็นหญิงหม้ายเป็นอาการ
เตรียมตรมแม้ถึงอย่างนั้นทีเดียว. บทว่า สุขรา วต อิตฺถิโย ได้แก่ เป็น
หญิงเด็ดแท้หนอ.
พระเจ้าสญชัยมหาราชได้ตรัสกะพระนางมัทรี
ผู้งามทั่วองค์นั้นว่า แน่ะแม่มัทรีผู้มีลักษณะงาม บุตร
ทั้งสองของแม่เหล่านี้คือพ่อชาลีและแม่กัญหาชินา ยัง
เด็กอยู่ แม่จงละไว้ไปแต่ตัว เราทั้งหลายจะเลี้ยง
ดูหลานทั้งสองนั้นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาลี กณฺหาชินา จุโภ ได้แก่ บุตร
ทั้งสองคือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา. บทว่า นิกฺขิป ความว่า แม่จงละ
หลานทั้งสองนี้ไว้ไปแต่ตัวเถิด.
พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล
พระเจ้ากรุงสญชัยว่า ข้าแต่พระองค์ พ่อชาลีและแม่
กัณหาชินาทั้งสองเป็นลูกรักของหม่อมฉัน ลูกทั้งสอง
นั้นจักยังหฤทัยของหม่อมฉันทั้งสองผู้มีชีวิตเศร้าโศก
ให้รื่นรมย์ในป่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺยมฺห ความว่า พวกเหล่านั้นจักยัง
หฤทัยของเราทั้งหลายให้รื่นรมย์ในป่านั้น. บทว่า ชีวิโสกิน ความว่า จัก
ยังหฤทัยของพวกเราผู้ยังไม่หายเศร้าโศก ให้รื่นรมย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 653
พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญได้ตรัส
พระนางมัทรีนั้นว่า เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าวสาลีที่
ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จักทำ
อย่างไร.
เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อยปละซึ่ง
เป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบไม้ จัก
ทำอย่างไร.
เด็กทั้งสองเคยทรงภูษากาสีรัฐโขมรัฐและโกทุม
พรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้าคากรอง จักทำอย่าไร.
เด็กทั้งสองเคยเสด็จไปด้วยคานหาม วอและรถ
เมื่อต้องเสด็จไปด้วยพระบาทจักทำอย่างไร.
เด็กทั้งสองเคยบรรทมในตำหนักยอดไม่มีลม ลง
ลิ่มชิดแล้ว เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้ จักทำอย่างไร.
เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรมทำด้วยขนแกะ ที่
ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมบนเครื่อง
ลาดหญ้า จักทำอย่างไร.
เด็กทั้งสองเคยไล้ทาด้วยของหอม ทั้งกฤษณา
และแก่นจันทน์ เมื่อต้องทรงธุลีละอองและโสโครก
จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยมีผู้อยู่งานพัดด้วยจามรี
และแพนหางนกยูง ดำรงอยู่ในความสุขต้องสัมผัส
เหลือบและยุง จักทำอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 654
บรรดาเหล่านั้น บทว่า สตปเล กเส ได้แก่ ในถาดทองที่ทำ
ด้วยทองหนักหนึ่งร้อยปละ. บทว่า โคนเกน จิตฺรสนฺถเต ได้แก่ ที่ปูลาด
ด้วยผ้าโกเชาว์ดำและเครื่องลาดอันวิจิตรบนตั่งใหญ่. บทว่า จามรโมรหตฺ-
เถหิ ความว่า มีตนอยู่งานพัดด้วยจามรทั้งหลายและด้วยแพนหางนกยูง.
เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นเจรจากันอยู่อย่างนี้แลราตรีก็สว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้น
เจ้าพนักงานทั้งหลายนำรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว เทียมม้าสินธพ ๔ ตัวมาเทียบ
ไว้แทบประตูวัง เพื่อพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีถวายบังคมพระสัสสุและ
พระสสุระแล้ว อำลาสตรีที่เหลือทั้งหลาย พาพระชาลีพระกัณหาชินาเสด็จไป
ก่อนพระเวสสันดรประทับอยู่บนรถที่นั่ง.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ ได้กราบทูล
พระเจ้ากรุงสญชัยว่า ข้าแต่เทพเจ้าขอพระองค์อย่าทรง
คร่ำครวญเลย และอย่าเสียพระหฤทัยเลย หม่อมฉัน
ทั้งสองยังมีชีวิตเพียงใด ทารกทั้งสองก็จักเป็นสุข
เพียงนั้น พระนางมัทรีผู้งามทั่วองค์ ครั้นกราบทูลคำ
นี้แล้วเสด็จหลีกไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ ทรงพา
พระโอรสพระธิดาเสด็จไปตามบรรดาที่พระเจ้าสีวีราช
เสด็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิมคฺเคน ได้แก่ ตามมรรคาที่
พระเจ้าสีพีราชเสด็จนั่นแล. บทว่า อเนฺวสิ ได้แก่ เสด็จไปสู่ทางนั้น คือ
เสด็จลงจากปราสาทขึ้นประทับรถที่นั่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 655
ลำดับนั้นพระราชาเวสสันดรบรมกษัตริย์ทรง
บำเพ็ญทานแล้ว ถวายบังคมพระชนกและพระชนนี
และทรงทำประทักษิณเสด็จขึ้นสู่รถที่นั่งเทียมม้าสินธพ
๔ ตัว วิ่งเร็ว ทรงพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี
เสด็จไปสู่เขาวงกต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
กาลที่พระนางมัทรีนั้นเสด็จขึ้นรถทันทีนั่นประทับอยู่ บทว่า ทตฺวาน ได้แก่
ทรงบำเพ็ญทานวันวาน. บทว่า กตฺวา จ น ปทกฺขิณ ได้แก่ และทรง
ทำประทักษิณ. บทว่า น เป็นเพียงนิบาต.
แต่นั้นพระราชาเวสสันดรเสด็จไปโดยตรงที่
มหาชนคอยเฝ้า ตรัสว่า เราทั้ง ๔ ขอลาไปละนะ ขอ
ท่านทั้งหลายผู้เป็นญาติจงปราศจากโรคเถิด.
เนื้อความของคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นพระราชา
เวสสันดรทรงขับรถที่นั่งไปในที่ที่มหาชนยืนอยู่ด้วยหวังว่าจักเห็นพระราชาเวส-
สันดร เมื่อทรงลามหาชน ตรัสว่า พวกเราขอลาไปละนะ ขอญาติทั้งหลาย
จงไม่มีโรคเถิด. บทว่า ต ในคาถานั้นเป็นเพียงนิบาต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชาเวสสันดรตรัสกะญาติทั้งหลาย ตรัสเรียกญาติทั้งหลายว่า ท่านทั้ง
หลาย คือว่า เราทั้งหลายไปละ ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุขปราศจากความ
ทุกข์เถิด.
เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสเรียกมหาชนมาประทานโอวาทแก่เขาเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทจงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ดังนี้อย่างนี้แล้ว
เสด็จไป พระนางผุสดีราชมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ลูกของเรามีจิต
น้อมไปในทาน จงบำเพ็ญทาน จึงให้ส่งเกวียนทั้งหลายเต็มด้วยรัตนะ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 656
ประการ พร้อมด้วยอาภรณ์ทั้งหลายไปสองข้างทางเสด็จ ฝ่ายพระเวสสันดรก็
ทรงเปลื้องเครื่องประดับที่มีอยู่ในพระวรกาย พระราชทานแก่เหล่ายาจกผู้มาถึง
แล้ว ๑๘ ครั้ง ได้พระราชทานสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมด พระองค์เสด็จออกจาก
พระนครมีพระประสงค์จะกลับทอดพระเนตรราชธานี ครั้งนั้นอาศัยพระมนัส
ของพระองค์ ปฐพีในที่มีประมาณเท่ารถที่นั่งก็แยกออกหมุนเหมือนจักรของ
ช่างหม้อ ทำรถที่นั่งให้มีหน้าเฉพาะเชตุดรราชธานี พระองค์ได้ทอดพระเนตร
สถานที่ประทับของพระชนกพระชนนี เหตุอัศจรรย์ทั้งหลายมีแผ่นดินไหว
เป็นต้นได้มีแล้วด้วยการุญภาพนั้น.
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า
เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระนคร ทรง
กลับเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน
อันมีขุนเขาสิเนรุและหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับก็กัมป-
นาทหวาดหวั่นไหว.
ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเองแล้ว ตรัสพระคาถาเพื่อให้พระ-
นางมัทรีทอดพระเนตรด้วยว่า
แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตร นั่น
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีพีราชผู้ประเสริฐ นั่นวัง
ของฉันซึ่งพระราชธิดาประทาน ย่อมปรากฏเป็นภาพ
ที่น่ารื่นรมย์ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสาเมหิ ได้แก่ จงทอดพระเนตร.
ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ยังอำมาตย์ ๖ หมื่น ผู้สหชาติและ
เหล่าชนอื่น ๆ ให้กลับแล้ว ขับรถที่นั่งไปตรัสกะพระนางมัทรีว่า แน่ะพระน้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 657
ผู้เจริญ ถ้ายาจกมาข้างหลัง แม่พึงคอยดูไว้ พระนางก็นั่งทอดพระเนตรดูอยู่.
ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๔ คนมาไม่ทันรับสัตตสดกมหาทานของพระเวสสันดร จึง
ไปสู่พระนคร ถามว่า พระเวสสันดรราชเสด็จไปไหน ครั้นได้ทราบว่า ทรง
บริจาคทานเสด็จไปแล้ว จึงถามว่า พระองค์เสด็จไปเอาอะไรไปบ้าง ได้ทราบว่า
เสด็จทรงรถไป จึงติดตามไปด้วยคิดว่า พวกเราจักทูลขอม้า ๔ ตัวกะพระองค์
ครั้งนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ทั้ง ๔ ตามมา จึงกราบทูล
พระภัสดาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ยาจกทั้งหลายกำลังมา พระมหาสัตว์ก็ทรง
หยุดรถพระที่นั่ง พราหมณ์ทั้ง ๔ คนเหล่านั้นมาทูลขอม้าทั้งหลายที่เทียนรถ
พระมหาสัตว์ได้พระราชทานม้าทั้ง ๔ ตัวแก่พราหมณ์ ๔ คนเหล่านั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดรมา ได้
ทูลขอม้าทั้ง ๔ นั้นต่อพระองค์ พระองค์อันเหล่า
พราหมณ์ขอแล้ว ก็พระราชทานม้า ๔ ตัว แก่พราหมณ์
๔ คน.
ก็เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานม้า ๔ ตัวไปแล้ว งอนรถพระที่นั่งได้ตั้ง
อยู่ในอากาศนั่นเอง ครั้งนั้น พอพวกพราหมณ์ไปแล้วเท่านั้น เทวบุตร ๔
องค์ จำแลงกายเป็นละมั่งทองมารองรับงอนรถที่นั่งลากไป พระมหาสัตว์ทรง
ทราบว่าละมั่งทั้ง ๔ นั้น เป็นเทพบุตร จึงตรัสคาถานี้ว่า
แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตรมฤค
ทั้ง ๔ มีเพศเป็นละมั่ง เป็นเหมือนม้าที่ฝึกมาดีแล้วนำ
เราไป ย่อมปรากฏเป็นภาพที่งดงามทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณสฺสา วหนฺติ ม ความว่า
เป็นราวกะม้าที่ศึกษาดีแล้วนำเราไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 658
ครั้งนั้น ยังมีพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอรถที่นั่งต่อพระเวสสันดร
ผู้กำลังเสด็จไปอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์จึงยังพระโอรสลพระธิดาและพระราชเทวี
ให้เสด็จลงแล้ว พระราชทานรถแก่พราหมณ์ ก็ครั้นเมื่อพระมหาสัตว์พระราช
ทานรถที่นั่งแล้ว เทวบุตรทั้งหลายได้อันตรธานหายไป.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความที่พระโพธิสัตว์ทรงบริจาครถไป
แล้ว จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นนับเป็นที่ ๕ ที่มาทูลขอ
รถที่นั่งต่อพระโพธิสัตว์ในป่านี้ พระองค์ก็ประทาน
มอบรถนั้นแก่พราหมณ์นั้น และพระหฤทัยของพระ-
องค์มิได้ย่อหย่อนเลย ต่อนั้น พระราชาเวสสันดรก็
ยังคนของพระองค์ให้เสด็จลงจากรถ ทรงยินดีมอบรถ
ม้าให้แก้พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเถตฺถ ได้แก่ ครั้งนั้น ในป่านี้.
บทว่า น จสฺส ปหโค มโน ความว่า และพระหฤทัยของพระเวสสันดร
นั้นก็มิได้ย่อหย่อนเลย. บทว่า อสฺสาสยิ ความว่า ทรงยินดีมอบให้.
จำเดิมแต่นั้น กษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาท.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีพระดำรัสแก่พระนางมัทรีว่า
แน่ะแม่มัทรี แม่จงอุ้มกัณหาชินา เพราะเธอเป็น
น้อง เบา พี่จักอุ้มพ่อชาลี เพราะเธอเป็นพี่ หนัก.
ก็แลครั้นตรัสฉะนี้แล้ว กษัตริย์ทั้งสองก็อุ้มพระโอรสพระธิดาเสด็จไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 659
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชาเวสสันดรทรงอุ้มพระกุมารชาลี พระ-
มัทรีราชบุตรีทรงอุ้มพระกุมารกัณหาชินา ต่างทรง
บรรเทิงตรัสปิยวาจากะกันและกันเสด็จไป.
จบทานกัณฑ์
วนปเวสนกัณฑ์
กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ มีพระเวสสันดรเป็นต้นทอดพระเนตรเห็นคน
ทั้งหลายที่เดินสวนทางมา จึงตรัสถามว่า เขาวงกตอยู่ที่ไหน คนทั้งหลายทูล
ตอบว่ายังไกล
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทาง หรือเดินสวน
ทางมา เราจะถามมรรคากะพวกนั้นว่า เขาวงกตอยู่ที่
ไหน คนพวกนั้น เห็นเราทั้งหลายในป่านั้น จะพากัน
คร่ำครวญน่าสงสาร พวกเขาแจ้งให้ทราบอย่างเป็น
ทุกข์ว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล.
พระชาลีและพระกัณหาชินาได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ทรงผลต่าง ๆ
สองข้างทางก็ทรงกันแสง ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ต้นไม้ที่ทรงผลก็
น้อมลงมาสัมผัสพระหัตถ์ แต่นั้นพระเวสสันดรก็ทรงเลือกเก็บผลาผลที่สุกดี
ประทานแก่สองกุมารกุมารีนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรง
ทราบว่าเป็นเหตุอัศจรรย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 660
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
พระราชกุมารกุมารีทอดพระเนตรเห็นพฤกษชาติ
เผล็ดผลในป่าใหญ่ ก็ทรงกันแสงเพราะเหตุอยากเสวย
ผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้ทั้งหลายเต็มไปในป่า ประหนึ่ง
เห็นพระราชกุมารกุมารีทรงกันแสง ก็ร้อนใจน้อม
กิ่งลงมาถึงพระราชกุมารกุมารีเอง พระนางมัทรีราช-
เทวีผู้งามทั่วองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นี้อันไม่
เคยมีมา ทำให้ขนพองสยองเกล้า ก็ยังสาธุการให้เป็น
ไป ความอัศจรรย์ไม่เคยมีทำให้ขนพองสยองเกล้ามี
ในโลก พฤกษชาติทั้งหลายน้อมลงมาเอง ด้วยเดชา
นุภาพแห่งพระเวสสันดร.
ตั้งแต่เชตุดรราชธานีถึงภูเขาชื่อสุวรรณคิรีตาละ ๕ โยชน์ ตั้งแต่สุวรรณ
คิรีตาละถึงแม่น้ำชื่อโกนติมารา ๕ โยชน์ ตั้งแต่แม่น้ำโกนติมาราถึงภูเขาชื่อ
อัญชนคิรี ๕ โยชน์ ตั้งแต่ภูเขาอัญชนคิรีถึงบ้านพราหมณ์ชื่อตุณณวิถนาลิทัณฑ์
๕ โยชน์ ตั้งแต่บ้านพราหมณ์ตุณณวิถนาลิทัณฑ์ถึงมาตุลนคร ๑๐ โยชน์ รวม
ตั้งแต่เชตุดรนครถึงแคว้นนั้นเป็น ๓๐ โยชน์ เทวดาย่นมรรคานั้น กษัตริย์
ทั้ง ๔ พระองค์จึงเสด็จถึงมาตุลนครในวันเดียวเท่านั้น.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เทวดาทั้งหลายย่นมรรคาด้วยอนุเคราะห์แก่พระ-
ราชกุมารกุมารี กษัตริย์ทั้ง ๔ ถึงเจตรัฐโดยวันที่เสด็จ
ออกนั้นเอง.
ก็แลกษัตริย์ทั้ง ๔ เมื่อเสด็จไป ได้เสด็จดำเนินตั้งแต่เวลาเสวยเช้า
แล้ว ลุถึงมาตุลนครในเจตรัฐเวลาเย็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 661
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
กษัตริย์ ๔ พระองค์เสด็จไปสิ้นทางไกลถึงเจตรัฐ
ซึ่งเป็นชนบทมั่งคั่ง มีความสุข มีมังสะ สุรา และ
ข้าวมาก.
กาลนั้น มีเจ้าครองอยู่ในมาตุลนคร ๖ หมื่นองค์. พระมหาสัตว์ไม่
เสด็จเข้าภายในนคร ประทับพักอยู่ที่ศาลาใกล้ประตูเมือง ครั้งนั้นพระนางมัทรี
ชำระเช็ดธุลีที่พระบาทของพระมหาสัตว์ แล้วถวายอยู่งานนวดพระบาท ทรง
คิดว่า เราจักยังประชาชนให้รู้ความที่พระเวสสันดรเสด็จมา จึงเสด็จออกจาก
ศาลา ประทับยืนอยู่ที่ประตูศาลาตรงทางประตูเมือง เพราะเหตุนั้น หญิงทั้ง
หลายผู้เข้าสู่เมืองและออกจากเมือง ก็ได้เห็นพระนางมัทรี ต่างเข้าห้อมล้อม
พระองค์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
สตรีชาวเจตรัฐเห็นพระนางมัทรีผู้มีลักษณะเสด็จ
มา ก็ปริวิตกว่า พระแม่เจ้าผู้สุขุมาลชาตินี้เสด็จมาด้วย
พระบาท พระนางเคยเสด็จไปไหน ๆ ด้วยยานที่หาม
หรือพระวอและรถที่นั่ง วันนี้พระนางมัทรีเสด็จดำเนิน
ไปในป่าด้วยพระบาท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขณมาคต ความว่า พระนางมัทรี
ผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวงเสด็จมา. บทว่า ปริธาวติ ความว่า พระนาง
เป็นเจ้าหญิงสุขุมาลชาติอย่างนี้หนอ ต้องเสด็จด้วยพระบาทเที่ยวไป. บทว่า
ปริยายิตฺวา ความว่า เสด็จเที่ยวไปในนครเชตุดรในกาลก่อน. บทว่า สิวิกาย
ได้แก่ ด้วยวอทอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 662
มหาชนเห็นพระนางมัทรี พระเวสสันดร และพระโอรสทั้งสอง
พระองค์ เสด็จมาด้วยความเป็นผู้น่าอนาถ จึงไปแจ้งแก่พระยาเจตราชทั้งหลาย
พระยาเจตราชทั้ง ๖ หมื่นก็กันแสงร่ำพิไรมาเฝ้าพระเวสสันดร
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระยาเจตราทั้งหลายเห็นพระเวสสันดร ก็ร้อง
ให้เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์ทรงพระสำราญ ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ
พระราชบิดาของพระองค์หาพระโรคาพาธมิได้แลหรือ
ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พลนิกายของพระองค์อยู่
ที่ไหน รถพระที่นั่งของพระองค์อยู่ที่ไหน พระองค์
ไม่มีม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาทางไกลถูก
ข้าศึกย่ำยีกระมัง จึงเสด็จมาถึงประเทศนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นแต่ไกลทีเดียว.
บทว่า เจตปาโมกฺขา ได้แก่ กษัตริย์เจ ราชทั้งหลาย. บทว่า อุปาคมุ
ได้แก่ เข้าไปเฝ้า. บทว่า กุสล ความไม่มีโรค. บทว่า อนามย
ได้แก่ ความไม่มีทุกข์. บทว่า โก เต พล ความว่า กองทหารของพระ-
องค์อยู่ที่ไหน. บทว่า รถมณฺฑล ความว่า เหล่ากษัตริย์เจตราชทูลถามว่า
รถซึ่งประดับแล้วที่พระองค์เสด็จมานั้น อยู่ที่ไหน. บทว่า อนสฺสโก ได้
แก่ ไม่มีม้าทรงเลย. บทว่า อรถโก ได้แก่ ไม่มีรถทรง. บทว่า ทีฆมทฺ-
ธานมาคโต ความว่า พระองค์เสด็จมาทางไกล. บทว่า ปกโต ได้แก่
ถูกข้าศึกครอบงำย่ำยี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 663
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตรัสถึงเหตุการณ์ที่พระองค์เสด็จมา แก่
พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้น จึงตรัสว่า
แน่ะสหายทั้งหลาย เราไม่มีโรคาพาธ เรามี
ความสำราญ อนึ่ง พระราชบิดาของเราก็ทรงปราศ-
จากพระโรคาพาธ และชาวสีพีก็สุขสำราญดี แต่เพราะ
เราให้ช่างซึ่งมีงาดุจงอนไถ เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิ
แห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่วสรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด
คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลือง ซับมัน อาจย่ำยีศัตรูได้ มี
งางาม พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี มีกายสีขาวเช่นกับเขา
ไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร ทั้งเครื่องลาดอันงาม
ทั้งหมด ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยานอันประเสริฐ เป็น
ช้างพระที่นั่ง ให้เป็นทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ คน
เพราะเหตุนั้น ชาวสีพีพากันขัดเคืองเรา และพระราช
บิดาก็กริ้วขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต แน่ะสหาย
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเราที่
จะอยู่ในป่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมึ เม ความว่า ชาวสีพีทั้งหลาย
โกรธเราในเพราะเหตุนั้น . บทว่า อุปหรโตมโน ความว่า พระราชบิดาก็
กริ้ว คือทรงขัดเคืองด้วย จึงทรงขับไล่เราจากแว่นแคว้น . บทว่า ยตฺถ
ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า พวกเราควรอยู่ในป่าใด ท่านทั้งหลายรู้โอกาส
เป็นที่อยู่ของพวกเราในป่านั้น.
ลำดับนั้น พระยาเจตราชทั้งหลายทูลพระเวสสันดรว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เสด็จ
มาแต่ไกลก็เหมือนใกล้พระองค์ผู้เป็นอิสระเสด็จมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 664
ถึงแล้ว สิ่งใดมีอยู่ในประเทศนี้ โปรดรับสั่งให้ทราบ
เถิด ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์เสวยข้าวสุกแห่ง
ข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ ทั้งผัก เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อ
พระองค์เสด็จมาเป็นแขกของข้าพระบาททั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวทย ความว่า ข้าพระบาททั้งหลาย
ขอมอบถวายทุกสิ่งที่พระองค์ตรัส. บทว่า ภึส ได้แก่ เหง้าบัว คือเหง้า
อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า
สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้นเป็นอันเรา
รับแล้ว บรรณาการเป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้ว
ทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต
พวกท่านรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเราที่จะอยู่ในป่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิคฺคหิต ความว่า ทุกสิ่งนั้นทีท่าน
ทั้งหลายให้แล้ว ก็เป็นอันเรารับไว้แล้วเทียว. บทว่า สพฺพสฺส อคฺฆิย
กต ความว่า บรรณาการคือของมอบให้เป็นอันท่านทั้งหลายการทำแล้วแก่เรา.
บทว่า อวรุทฺธสิ ม ราชา ความว่า ก็พระราชบิดาทรงลับไล่คือเนรเทศ
เราจากแว่นแคว้น เพราะฉะนั้น เราจักไปเขาวงกตเท่านั้น ท่านทั้งหลายจงรู้
สถานที่อยู่ในป่าของเรานั้น.
พระยาเจตราชทั้งหลายเหล่านั้นทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอเชิญเสด็จประทับ
อยู่ ณ เจตรัฐนี้ จนกว่าพระยาเจตราชทั้งหลายไปเฝ้า
พระราชบิดาทูลขอโทษ. ให้พระราชบิดาทรงเป็นผู้ยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 665
แคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ทรงทราบว่า พระองค์หา
ความผิดมิได้ เพราะเหตุนั้น พระยาเจตราชทั้งหลาย
จะเป็นผู้อิ่มใจได้ที่พึ่งแล้ว รักษาพระองค์แวดล้อมไป
ข้าแต่บรมกษัตริย์ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโ สนฺติก ยาจิตุ ความว่า จัก
ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อทูลขอโทษ. บทว่า นิชฺฌาเปตุ ได้แก่ เพื่อให้ทรง
ทราบว่าพระองค์หาความผิดมิได้. บทว่า ลทฺธปจฺจยา ได้แก่ ได้ที่พึ่งแล้ว.
บทว่า คจฺฉนฺติ ได้แก่ จักไป.
พระหาสัตว์ตรัสว่า
ท่านทั้งหลายอย่าชอบใจไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ
ทูลขอโทษ และเพื่อให้พระองค์ทรงทราบว่าเราไม่มี
ความผิดเลย เพราะว่าพระองค์มิได้เป็นอิสระในเรื่อง
นั้น แต่จริงชาวสีพี กองพล และชาวนิคมเหล่าใด
ขัดเคืองแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็ปรารถนาจะกำจัด
พระราชบิดาเพราะเหตุแห่งเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ความว่า แม้พระราชบิดาก็มิได้
เป็นใหญ่ในการที่จะให้ว่าเรามิได้มีความผิด. บทว่า อจฺจุคฺคตา ได้แก่ ขัด
เคืองยิ่ง. บทว่า พลคฺคา ได้แก่ พลนิกาย คือแม่ทัพ. บทว่า ปธเสตุ
ได้แก่ เพื่อนำออกจากราชสมบัติ. บทว่า ราชาน ได้แก่ แม้พระราชบิดา.
พระยาเจตราชเหล่านั้นทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ยังแคว้นให้เจริญ ถ้าพฤติการณ์
นั้นเป็นไปในรัฐนี้ ชาวเจตรัฐขอถวายตัวเป็นบริวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 666
เชิญเสด็จครองราชสมบัติในเจตรัฐนี้ทีเดียว รัฐนี้ก็มั่ง
คั่งสมบูรณ์ ชนบทก็เพียบพูนกว้างใหญ่ ขอพระองค์
ทรงปลงพระหฤทัยปกครองราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ เอสา ปวตฺเตตฺถ ความว่า
ถ้าในรัฐนี้มีพฤติการณ์อย่างนี้. บทว่า รชฺชสฺสมนุสาสิตุ ได้แก่ เพื่อครอบ
ครองราชสมบัติ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ.
ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า
ดูก่อนพระยาเจตบุตรทั้งหลาย ความพอใจหรือ
ความคิดเพื่อครองราชสมบัติ ไม่มีแก่เราผู้อันพระ-
ชนกนาถ เนรเทศจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจงฟัง
เรา ชาวสีพี กองพล และชาวนิคมทั้งหลายคงจะไม่
ยินดีว่า พระยาเจตราชทั้งหลาย อภิเษกเราผู้ถูก
เนรเทศจากแว่นแคว้น.
ความไม่ปรองดอง จะพึงมีแก่พวกท่าน เพราะ
เราเป็นตัวการสำคัญ อนึ่งความบาดหมางและการ
ทะเลาะกับชาวสีพี เราไม่ชอบใจ ใช่แต่เท่านั้น ความ
บาดหมางพึงรุนแรงขึ้น สงครามอันร้ายกาจก็อาจมีได้.
คนเป็นอันมากพึงฆ่าฟันกันเอง เพราะเหตุแห่ง
เราผู้เดียว สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้น
ทั้งหมดเป็นอันเรารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอันท่าน
ทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่
เรา เราจักไปเขาวงกต ท่านทั้งหลายรู้โอกาสแห่งที่อยู่
ของพวกเราที่จะอยู่ในป่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 667
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจตา รชฺเชภิเสจยุ ความว่า พวก
ชาวสีพีเหล่านั้นรู้ว่า ชาวเจตรัฐอภิเษกพระเวสสันดรในราชสมบัติ คงจะไม่
ชอบพวกท่าน. บทว่า อสมฺโมทิย ได้แก่ ความไม่ปรองดอง. บทว่า
อสฺส ได้แก่ ภเวยฺย ความว่า จักเป็น. บทว่า อถสฺส ความว่า คราว
นั้นพวกท่านจักทะเลาะกันเพราะเราคนเดียวเป็นเหตุ.
ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์แม้พวกพระยาเจตราชทูลวิง
วอนโดยอเนกปริยาย ก็ไม่ทรงปรารถนาราชสมบัติ ครั้งนั้นพระยาเจตราชทั้ง
หลายได้ทำสักการะใหญ่แด่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ไม่ปรารถนาจะเสด็จเข้า
ภายในพระนคร ครั้งนั้นพวกพระยาเจตราชจึงตกแต่งศาลานั้น กั้นพระวิสูตร
ตั้งพระแท่นบรรทม ทั้งหมดช่วยกันแวดล้อมรักษา พระเวสสันดรพักแรมอยู่
๑ ราตรี เหล่าพระยาเจตราชเหล่านั้นสงเคราะห์รักษา บรรทมที่ศาลา รุ่งขึ้น
สรงน้ำแต่เช้า เสวยโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ พระยาเจตราชเหล่านั้นแวดล้อม
เสด็จออกจากศาลา พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้นโดยเสด็จด้วยพระเวสสันดร
สิ้นระยะทาง ๑๕ โยชน์ หยุดอยู่ที่ประตูป่า เมื่อจะทูลระยะทางข้างหน้าอีก ๑๕
โยชน์ จึงกล่าวว่า
เชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกราบทูล
พระองค์ให้ทรงทราบ อย่างที่คนฉลาดจะกราบทูล
เสลบรรพตซึ่งเป็นที่สงบของปวงราชฤาษีผู้มีการบูชา
เพลิงเป็นวัตร มีจิตตั้งมั่น โน่น ชื่อว่า คันธมาทน์
พระองค์จะประทับกับพระโอรสทั้งสองและพระมเหสี.
พระยาเจตราชทั้งหลายร้องไห้น้ำตาไหลอาบหน้า
พร่ำทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์บ่ายพระพักตร์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 668
ตรงต่อทิศอุดรเสด็จไปจากที่นี้โดยบรรดาใด ถัดนั้น
พระองค์จักทอดพระเนตรเห็นวิปุลบรรพตอันเกลื่อน
ไปด้วยหมู่ไม้ต่าง ๆ มีเงาเย็นน่ารื่นรมย์โดยบรรดานั้น.
ถัดนั้น พระองค์เสด็จพ้นวิปุลบรรพตนั้นแล้ว
จักทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำเกตุมดี ลึกเป็นน้ำไหลมา
แต่ซอกเขา ดาดาษไปด้วยมัจฉาชาติ แลมีท่าอันดี น้ำ
มากจงสรงเสวยที่แม่น้ำนั้น ให้พระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสีทรงยินดี.
ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ไทร
มีผลพิเศษรสหวาน ซึ่งเกิดอยู่ที่ภูเขาน่ารื่นรมย์ มีเงา
เย็นน่ายินดี.
ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพต
ชื่อนาลิกะ เกลื่อนไปด้วยหมู่นกต่างๆ แล้วไปด้วยศิลา
เกลื่อนไปด้วยหมู่กินนร มีสระชื่อมุจลินท์อยู่ด้านทิศ
อีสานแห่งนาลิกบรรพต ปกคลุมด้วยบุณฑริกและ
อุบลขาวมีประการต่างๆ และดอกไม่มีกลิ่นหอมหวล.
ถัดนั้น พระองค์จะเสด็จถึงวนประเทศคล้าย
หมอ มีหญ้าแพรกเขียวอยู่เป็นนิตย์ แล้วเสด็จหยั่ง
ลงสู่ไพรสณฑ์ ซึ่งปกคลุมด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้ง
สอง ดังราชสีห์เพ่งเหยื่อหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์ฉะนั้น ฝูง
นกในหมู่ไม้ซึ่งมีดอกบานแล้วตามฤดูกาลนั้นมีมากมีสี
ต่าง ๆ ร้องกลมกล่อมอื้ออึง ต่างร้องประสานเสียงกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 669
ถัดนั้น พระองค์จักเสด็จลงซอกเขาอันเป็นทาง
กันดารเดินลำบาก เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย
จะได้ทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีอันดาดาษด้วย
สลอดน้ำและกุ่มบก มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น
มีท่าเรียบราบ มีน้ำมากเปี่ยมอยู่เสมอ เป็นสระสี่เหลี่ยม
มีน้ำจืดดีไม่มีกลิ่นเหม็น พระองค์จงสร้างบรรณศาลา
ด้านทิศอีสานแห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้าง
บรรณศาลาสำเร็จแล้ว ประทับสำราญพระอิริยาบถ
ประพฤติแสวงหามูลผลาหาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชิสิ ได้แก่ ผู้ที่เป็นพระราชาแล้ว
บวช. บทว่า สมาหิตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พระยาเจตราชทั้งหลาย
เมื่อยกหัตถ์ขวาขึ้นทูลบอกว่า เชิญพระองค์เสด็จทางเชิงบรรพตนี้ กราบทูล
ด้วยบทว่า เอส นี้. บทว่า อจฺฉสิ ได้แก่ จักประทับอยู่. บทว่า อาปก
ได้แก่ แม่น้ำเป็นทางน้ำไหล คือนำน้ำมา. บทว่า คิริคพฺภร ได้แก่ ไหล
มาแต่ช่องเขาทั้งหลาย. บทว่า มธุวิปฺผล ได้แก่ มีผลอร่อย. บทว่า
รมฺมเก ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปุริสายุต ได้แก่ ประกอบ คือ
เกลื่อนไปด้วยกินนรทั้งหลาย. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า ประกอบ
ด้วยอุบลชาวและดอกไม้มีกลิ่นหอมมีประการต่างๆ. บทว่า สีโหวามิสเปกฺขีว
ความว่า ดุจราชสีห์ต้องการเหยื่อ. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงกลม
กล่อม. บทว่า วคฺคู ได้แก่ มีเสียงไพเราะ. บทว่า กูชนฺตมุปกูชนฺติ
ความว่า เข้าไปร้องภายหลังร่วมกะนกที่ร้องอยู่ก่อน. บทว่า อุตุสมฺปุปฺผิเต
ทุเม ความว่า แอบที่ต้นไม้มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งเสียงร้องพร้อมกะนกที
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 670
ส่งเสียงร้องอยู่. บทว่า โส อทฺทส ความว่า พระองค์นั้นจักได้ทอดพระเนตร.
บทว่า กรญฺชกกุธายุต ความว่า เกลื่อนไปด้วยต้นสลอดน้ำและต้นกุ่ม
ทั้งหลาย. บทว่า อปฺปฏิคนฺธิย ได้แก่ ปราศจากกลิ่นเหม็น เต็มเปี่ยม
ด้วยน้ำหวานดาดาษด้วยปทุมและอุบลเป็นต้นมีประการต่าง ๆ บทว่า ปณฺณ
สาล อมาปย ความว่า พึงสร้างบรรณศาลา. บทว่า อมาเปตฺวา ได้แก่ ครั้น
สร้างแล้ว. บทว่า อุญฺฉาจริยาย อีหถ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลำดับ
นั้นพระองค์พึงดำรงพระชนมชีพ ด้วยการเที่ยวแสวงหา เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
เถิด คือพึงเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่เถิด.
พระยาเจตราชทั้งหลายกราบทูลบรรดา ๑๕ โยชน์ แด่พระเวสสันดร
อย่างนี้แล้วส่งเสด็จ คิดว่าปัจจามิตรคนใดคนหนึ่งอย่าพึงได้โอกาสประทุษร้าย
เลย เพื่อจะบรรเทาภยันตรายแห่งพระเวสสันดรเสีย จึงให้เรียกพรานป่าคน
หนึ่งชื่อเจตบุตร เป็นคนฉลาดศึกษาดีแล้วมาสั่งว่า เจ้าจงกำหนดตรวจตราคน
ทั้งหลายที่ไป ๆ มา ๆ สั่งฉะนี้แล้วให้อยู่รักษาประตูป่า แล้วกลับไปสู่นคร
ของตน.
ฝ่ายพระเวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและพระราช
เทวี เสด็จถึงเขาคันธมาทน์ประทับยับยั้งอยู่ ณ ที่นั่นตลอดวัน แต่นั่นบ่ายพระ
พักตร์ทิศอุดร เสด็จลุถึงเชิงเขาวิปุลบรรพต ประทับนั่งที่ฝั่งเกตุมดีนที เสวย
เนื้อมีรสอร่อยซึ่งนายพรานป่าผู้หนึ่งถวาย พระราชทานเข็มทองคำแก่นาย
พรานนั้น ทรงสรงสนานที่แม่น้ำนั้น มีความกระวนกระวายสงบ เสด็จขึ้นจาก
แม่น้ำ ประทับนั่งณร่มไม้นิโครธที่ตั้งอยู่ยอดสานุบรรพตหน่อยหนึ่ง เสวยผล
นิโครธ ทรงลุกขึ้นเสด็จไปถึงนาลิกบรรพต เมื่อเสด็จต่อไปก็ถึงสระมุจลินท์
เสด็จไปตามฝั่งสระถึงมุมด้านทิศอีสาน เสด็จเข้าสู่ชัฎไพรโดยทางเดินได้คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 671
เดียว ล่วงที่นั้นก็บรรลุถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ข้างหน้าของภูเขาทางกันดาร
เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย.
ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะ
ทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงดำริว่า พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่
หิมวันตประเทศ พระองค์ควรได้ที่เป็นที่ประทับ จึงตรัสเรียก พระวิสสุกรรม
เทพบุตรมาสั่งว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปสร้างอาศรมบทในสถานที่อันเป็นรมณีย์
ณ เวิ้งเขาวงกตแล้วกลับมา สั่งฉะนี้แล้วทรงส่งพระวิสสุกรรมไป พระวิสสุ-
กรรมรับเทวบัญชาว่า สาธุ แล้วลงจากเทวโลกไป ณ ที่นั้น เนรมิตบรรณศาลา
๒ หลัง ที่จงกรม ๒ แห่ง และที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน แล้วให้มีกอไม้อัน
วิจิตรด้วยดอกต่างๆ และดงกล้วย ในสถานที่นั้น ๆ แล้วตกแต่งบรรพชิต
บริขารทั้งปวง จารึกอักษรไว้ว่าท่านผู้หนึ่งผู้ใดใคร่จะบวช ก็จงใช้บริขาร
เหล่านั้น. แล้วห้ามกันเสียซึ่งเหล่าอมนุษย์และหมู่เนื้อหมู่นกที่มีเสียงน่ากลัว แล้ว
กลับที่อยู่ของตน.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นทางเดินคนเดียว ทรงกำหนดว่า
จักมีสถานที่อยู่ของพวกบรรพชิต จึงให้พระนางมัทรีและพระราชโอรสธิดาพัก
อยู่ที่ทวารอาศรมบท พระองค์เองเสด็จเข้าสู่อาศรมบททอดพระเนตรเห็นอักษร
ทั้งหลาย ก็ทรงทราบความที่ท้าวสักกะประทาน ด้วยเข้าพระทัยว่า ท้าวสักกะ
ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว จึงเปิดทวารบรรณศาลาเสด็จเข้าไป ทรงเปลื้อง
พระแสงขรรค์และพระแสงศรที่พระภูษา ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาด
หนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎาทรงถือเพศฤาษี ทรงจับธารพระกร
เสด็จออกจากบรรณศาลา ยังสิริแห่งบรรพชิตให้ตั้งขึ้นพร้อม ทรงเปล่งอุทาน
ว่า โอเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เราได้ถึงบรรพชาแล้ว เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม
เสด็จจงกรมไปมา แล้วเสด็จไปสำนักพระราชโอรสธิดาและพระราชเทวีด้วย
ความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ฝ่ายพระนางมัทรีเทวีเมื่อทอดพระเนตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 672
เห็นก็ทรงจำได้ ทรงหมอบลงที่พระบาทแห่งพระมหาสัตว์ ทรงกราบแล้วทรง
กันแสงเข้าสู่อาศรมบทกับด้วยพระมหาสัตว์ แล้วไปสู่บรรณศาลาของพระนาง
ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาดหนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎา ทรงถือ
เพศเป็นดาบสินี ภายหลังให้พระโอรสพระธิดาเป็นดาบสกุมารดาบสินีกุมารี
กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ที่เวิ้งแห่งคีรีวงกต ครั้งนั้นพระนางมัทรีทูล
ขอพรแต่พระเวสสันดรว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่ต้องเสด็จไปสู่ป่า
เพื่อแสวงหาผลไม้ จงเสด็จอยู่ ณ บรรณศาลากับพระราชโอรสและพระราชธิดา
หม่อมฉันจะนำผลาผลมาถวาย.
จำเดิมแต่นั้นมา พระนางนำผลาผลมาแต่ป่าบำรุงปฏิบัติพระราชสวามี
และพระราชโอรสพระราชธิดา ฝ่ายพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ก็ทรงขอพรกะ
พระนางมัทรีว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้เราทั้งสองชื่อว่าเป็น
บรรพชิตแล้ว ขึ้นชื่อว่าหญิงเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์ ตั้งแต่นี้ไป เธออย่ามาสู่
สำนักฉันในเวลาไม่สมควร พระนางทรงรับว่าสาธุ แม้เหล่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งปวง
ในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ ได้เฉพาะซึ่งเมตตาจิตต่อกันและกัน ด้วยอานุภาพแห่ง
เมตตาของพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีเสด็จอุฏฐาการแต่เช้าตั้งน้ำดื่มน้ำใช้
แล้วนำน้ำบ้วนพระโอฐ น้ำสรงพระพักตร์มา ถวายไม้ชำระพระทนต์ กวาด
อาศรมบท ให้พระโอรสพระธิดาทั้งสองอยู่ในสำนักพระชนก แล้วทรงถือ
กระเช้า เสียมขอเสด็จเข้าไปสู่ป่า หามูลผลาผลในป่าให้เต็มกระเช้า เสด็จกลับ
จากป่าในเวลาเย็น เก็บงำผลาผลไว้ในบรรณศาลาแล้วสรงน้ำ และให้พระ-
โอรสพระธิดาสรง ครั้งนั้นกษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ประทับนั่งเสวยผลาผลแทบ
ทวารบรรณศาลา แต่นั้นพระนางมัทรีพระชาลีและพระกัณหาชินาไปสู่
บรรณศาลา กษัตริย์ทั้ง ๔ ประทับอยู่ ณ เวิ้งเขาวงกตสิ้น ๗ เดือน โดย
ทำนองนี้แล ด้วยประการฉะนี้.
จบวนปเวสนกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 673
ชูชกบรรพ
กาลนั้นมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ชูชก เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อ
ทุนนวิฏฐะ ใน กาลิงครัฐ เที่ยวภิกขาจารได้ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ฝากไว้
ที่สกุลพราหมณ์แห่งหนึ่งแล้วไปเพื่อประโยชน์แสวงหาทรัพย์อีก เมื่อชูชกไป
ช้านาน สกุลพราหมณ์นั้นก็ใช้กหาปณะเสียหมด ภายหลังชูชกกลับมาทวง ก็
ไม่สามารถจะให้ทรัพย์นั้นจึงยกธิดาชื่อนางอมิตตตาปนาให้ชูชก ชูชกจึงพานาง
อมิตตตาปนาไปอยู่บ้านทุนนวิฏฐพราหมณ์คามในกาลิงครัฐ นางอมิตตตาปนา
ได้ปฏิบัติพราหมณ์โดยชอบ.
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์หนุ่ม ๆ เหล่าอื่นเห็นอาจารสมบัติของนาง
จึงคุกคามภรรยาของตน ๆ ว่า นางอมิตตตาปนานี้ปฏิบัติพราหมณ์ชราโดยชอบ
พวกเจ้าทำไมประมาทต่อเราทั้งหลาย ภรรยาพราหมณ์เหล่านั้นจึงคิดว่า พวก
เราจักยังนางอมิตตตาปนานี้ให้หนีไปเสียจากบ้านนี้ คิดฉะนี้แล้วจึงไปประชุม
กันด่านางอมิตตตาปนาที่ท่าน้ำเป็นต้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชูชกมีปกติอยู่ในกาลิงครัฐ
ภรรยาสาวของพราหมณ์นั้นชื่ออมิตตตาปนา.
นางพราหมณ์เหล่านั้นในหมู่บ้านนั้น ไปตักน้ำที่
ท่าน้ำ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกันมาประชุมกันกล่าว
บริภาษนางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางอมิตตตาปนา
บิดามารดาของเจ้า เมื่อเจ้ายังเป็นสาวอยู่อย่างนี้ ยัง
มอบตัวเจ้าให้แก่ชูชกพราหมณ์แก่ได้ พวกญาติของ
เจ้าผู้มอบตัวเจ้าแก่พราหมณ์แก่ ทั้งที่เจ้ายังเป็นสาวอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 674
อย่างนี้ เขาอยู่ในที่ลับปรึกษากันถึงเรื่องไม่เป็นประ-
โยชน์เรื่องทำชั่ว เรื่องลามก เรื่องไม่ยังใจให้เอิบอาบ
เจ้าอยู่กับผัวแก่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ เจ้าอยู่กับผัวแก่
เจ้าตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ บิดามารดาของเจ้าคงหาชาย
อื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวอยู่อย่างนี้
ให้พราหมณ์แก่ เจ้าคงจัดบูชายัญไว้ไม่ดี ในดิถีที่ ๙ คง
จักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้ เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ใน
โลกเป็นแน่ จึงได้มาอยู่ในเรือนพราหมณ์แก่แต่ยังเป็น
สาวอยู่อย่างนี้ ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ ถูกแทงด้วยหอก
ไม่เป็นทุกข์ การที่เห็นผัวแก่นั้นแล เป็นความทุกข์
ด้วย เป็นความร้ายกาจด้วย การเล่นหัว การรื่นรมย์
ย่อมไม่มีกับผัวแก่การเจรจาปราศรัยก็ไม่มี แม้การ
กระซิกกระซี้ก็ไม่งาม เมื่อใด ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอก
กันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้นความเศร้าโศกทุกอย่างที่เสียด
แทงหัวใจอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้ายังเป็นสาวรูปสวย
พวกชายปรารถนายิ่งนัก เจ้าจงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติ
เถิด คนแก่จักให้เจ้ารื่นรมย์ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า วาสี
กลิงฺเคสุ ความว่า เป็นชาวบ้านพราหมณ์ทุนนวิฏฐะแคว้นกาลิงครัฐ. บทว่า
ตา น ตตฺถ คตาโวจุ ความว่า หญิงในบ้านนั้นเหล่านั้นไปตักน้ำที่ท่าน้ำ
ได้กล่าวกะนางอมิตตตาปนานั้น. บทว่า ถิโย น ปริภาสึสุ ความว่า หญิง
เหล่านั้นมิได้กล่าวกะใคร ๆ อื่น ด่านางอมิตตตาปนานั้นโดยแท้แล. บทว่า
กุตุหลา ได้แก่ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกัน. บทว่า สมาคนฺตฺวา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 675
ห้อมล้อมโดยรอบ. บทว่า ทหริย ได้แก่ ยังเป็นสาวรุ่นมีความงามเลิศ.
บทว่า ชิณฺณสฺสุ ได้แก่ ในเรือนของพราหมณ์แก่เพราะชรา. บทว่า
ทฺยิฏฺนฺเต นวมิย ความว่า เจ้าจักบูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ ๙ คือเครื่อง
บูชายัญของเจ้านั้นจักเป็นของที่กาแก่ถือเอาแล้วก่อน. ปาฐะว่า ทุยิฏฺา เต
นวมิยา ดังนี้ก็มี ความว่า เจ้าจักบูชายัญในดิถีที่ ๙ ไว้ไม่ดี. บทว่า อกต
อคฺคิหุตตฺตก ความว่า แม้การบูชาไฟท่านก็จักไม่กระทำ. บทว่า อภิสฺสสิ
ความว่า ด่าสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว หญิง
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์วา นี้เป็นผลแห่งบาปของเจ้านั้น.
บทว่า ชคฺฆิตปิ น โสภติ ความว่า แม้การหัวเราะของคนแก่ที่หัวเราะ
เผยฟันหัก ย่อมไม่งาม. บทว่า สพฺเพ โสกา วินสฺสนฺติ ความว่า
ความเศร้าโศกของเขาเหล่านั้นทุกอย่างย่อมพินาศไป. บทว่า กึ ชิณฺโณ
ความว่า พราหมณ์แก่คนนี้จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ด้วยกามคุณ ๕ ได้อย่างไร.
นางอมิตตตาปนาได้รับบริภาษแต่สำนักนางพราหมณีเหล่านั้น ก็ถือ
หม้อน้ำร้องไห้กลับไปเรือน ครั้นชูชกถามว่า ร้องไห้ทำไม เมื่อจะแจ้งความ
แก่ชูชกจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ฉันจะไม่ไปสู่แม่น้ำเพื่อน้ำตัก
มาให้ท่าน ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษ
ฉันเพราะเหตุที่ท่านเป็นคนแก่.
ความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษฉัน
เพราะท่านแก่ เพราะฉะนั้นจำเดิมแต่นี้ไป ฉันจักไม่ไปสู่แม่น้ำตักน้ำมาให้ท่าน.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย
อย่าตักน้ำมาเพื่อฉันเลย ฉันจักตักน้ำเอง เจ้าอย่าขัด
เคืองเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 676
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกมาหิสฺส ความว่า ฉันจักนำน้ำ
มาเอง
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
แน่ะพราหมณ์ ฉันไม่ได้เกิดในตระกูลที่ใช้ผัวให้
ตักน้ำ ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ในเรือนของท่าน
ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้
ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาห ตมฺหิ ความว่า ฉันไม่ได้เกิด
ในตระกูลที่ใช้สามีให้ทำการงาน. บทว่า ย ตฺว ความว่า ฉันไม่ต้องการน้ำ
ที่ท่านจักนำหมา.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะพราหมณี พื้นฐานศิลปะหรือสมบัติคือ
ทรัพย์และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจะหาทาสหรือ
ทาสีมาเพื่อนางผู้เจริญแต่ไหน ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญ
เอง แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าขัดเคืองเลย.
นางอมิตตตาปนาอันเทวดาดลใจ กล่าวกะพราหมณ์ชูชกว่า
มาเถิดท่าน ฉันจักบอกท่านตามที่ฉันได้ยินมา
พระราชาเวสสันดรนั้นประทับอยู่ที่เขาวงกต ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงไปทูลขอทาสและทาสีกะพระองค์
เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์ผู้เป็นขัตติยชาติจักพระ-
ราชทานทาสและทาสีแก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอหิ เต อหมกฺขิสฺส ความว่า ฉัน
จักบอกแก่ท่าน. นางอมิตตตาปนานั้นถูกเทวดาดลใจ จึงกล่าวคำนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 677
ชูชกกล่าวว่า
ฉันเป็นคนแก่ ไม่มีกำลัง และหนทางก็ไกล ไป
แสนยาก แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าคร่ำครวญไปเลย
อย่าน้อยใจเลย ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญของ เจ้าอย่าขัด
เคืองฉันเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ความว่า แน่ะ นางผู้
เจริญ ฉันเป็นคนแก่ ก็ไปอย่างไรได้.
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทันได้รบก็ยอม
แพ้ ฉันได้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ทันได้ไปเลย
ยอมแพ้ ฉันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านไม่หาทาส
และทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ใน
เรือนของท่าน เมื่อใดท่านเห็นฉันแต่งกายในงาน
มหรสพประกอบด้วยนักขัตฤกษ์ หรือพิธีตามที่เคยมี
เมื่อนั้นความทุกข์ก็จักมีแก่ท่าน เมื่อฉันรื่นรมย์กับด้วย
ชายอื่น ๆ ความทุกข์ก็จักมีแก่ท่านเมื่อท่านชราแล้ว
พิไรคร่ำครวญอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จัก
งอยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนาปนฺเต ความว่า เมื่อท่านไม่ยอม
ไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอทาสและทาสีมา ฉันจักกระทำกรรมที่ท่านไม่ชอบใจ.
บทว่า นกฺขตฺเต อุตุปุพฺเพส ความว่า ในงานมหรสพที่เป็นไปด้วยสามารถ
ที่จัดขึ้นในคราวนักฤกษ์ หรือด้วยสามารถที่จัดขึ้นประจำฤดูกาล ในบรรดา
ฤดูกาลทั้งหก.
ชูชกพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็ตกใจกลัว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 678
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พราหมณ์ชูชกนั้นก็ตกใจกลัว ตกอยู่ใน
อำนาจของนางอมิตตตาปนาพราหมณี ถูกถามราคะ
บีบคั้น ได้กล่าวกะนางว่า แน่ะนางพราหมณี เจ้าจง
จัดเสบียงเดินทางเพื่อฉัน คือจัดขนมที่ทำด้วยงา ขนม
ที่ปรุงด้วยน้ำตาล ขนมที่ทำเป็นก้อนด้วยน้ำผึ้ง ทั้ง
สัตตุก้อนสัตตุผงและข้าวผอก จัดให้ดี ฉันจักนำ
พี่น้องสองกุมารมาให้เป็นทาส กุมารกุมารีทั้งสองนั้น
จักไม่เกียจคร้านบำเรอปฏิบัติเจ้าตลอดคืนตลอดวัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทิโต ได้แก่ เบียดเบียน คือบีบคั้น.
บทว่า สกุโล ได้แก่ ขนมที่ทำด้วยงา. บทว่า สงฺคุฬานิ จ ได้แก่ ขนม
ที่ปรุงด้วยน้ำตาล. บทว่า สตฺตุภตฺต ได้แก่ ข้าวสัตตุอัน ข้าวสัตตุผง
และข้าวผอก. บทว่า เมถุนเก ได้เเก่ ผู้เช่นเดียวกันด้วยชาติโคตรสกุลและ
ประเทศ. บทว่า ทาสกฺมารเก ได้แก่ สองกุมาร เพื่อประโยชน์เป็นทาส
ของเจ้า.
นางอมิตตตาปนารีบตระเตรียมเสบียงแล้วบอกแก่พราหมณ์ชูชก. ชูชก
ซ่อมประตูเรือน ทำที่ชำรุดให้มั่นคง หาฟืนแต่ป่ามาไว้ เอาหม้อตักน้ำใส่ไว้ใน
ภาชนะทั้งปวงในเรือนจนเต็ม แล้วถือเพศเป็นดาบสในเรือนนั้นนั่นเอง สอน
นางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้ไป ในเวลาค่ำมืดเจ้าอย่าออก
ไปนอกบ้าน จงเป็นผู้ไม่ประมาท จนกว่าฉันจะกลับมา สอนฉะนั้นแล้วสวม
รองเท้า ยกถุงย่ามบรรจุเสบียงขึ้นสะพายบ่า ทำประทักษิณนางอมิตตตาปนา
มีนัยน์ตาเต็มด้วยน้ำตาร้องไห้หลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 679
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พรหมทำกิจนี้เสร็จแล้ว สวม
รองเท้า แต่นั้นแกเรียกนางอมิตตตาปนาผู้ภรรยามา
พร่ำสั่งเสีย ทำประทักษิณภรรยา สมาทานวัตร มีหน้า
นองด้วยน้ำตา หลีกไปสู่นครอันเจริญรุ่งเรืองของชาว
สีพี เที่ยวแสวงหาทาสและทาสี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณมุโข ได้แก่ ร้องไห้น้ำตาอาบ
หน้า. บทว่า สหิตพฺพโต ได้แก่ มีวัตรอันสมาทานแล้ว อธิบายว่า ถือ
เพศเป็นดาบส. บทว่า จร ความว่า ชูชกเที่ยวแสวงหาทาสและทาสี มุ่ง
พระนครของชาวสีพีหลีกไปแล้ว
ชูชกไปสู่นครนั้น เห็นชนประชุมกันจึงถามว่า พระราชาเวสสันดร
เสด็จไปไหน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พราหมณ์ชูชกไปในนครนั้นแล้ว ได้ถามประ-
ชาชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้น ๆ ว่า พระเวสสันดร
ราชาประทับอยู่ที่ไหน เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระบรม-
กษัตริย์ได้ที่ไหน ชนทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่
นั้น ได้ตอบพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระเวส-
สันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน เพราะทรง
ให้ทานมากไป ถึงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของพระองค์
เสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต ดูก่อนพราหมณ์
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน
เพราะทรงให้ทานมากไป จึงทรงพาพระโอรสพระธิดา
และพระมเหสีเสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 680
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกโต ความว่า พระเวสสันดรถูก
เบียดเบียนบีบคั้น จึงไม่ได้ประทับอยู่ในพระนครของพระองค์ บัดนี้ประทับ
อยู่ เขาวงกต.
ชนเหล่านั้นกล่าวกะชูชกว่า พวกแกทำพระราชาของพวกเราให้พินาศ
แล้ว ยังมายืนอยู่ในที่นี้อีก กล่าวฉะนี้แล้วก็ถือก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นไล่
ตามชูชกไป. ชูชกถูกเทวดาดลใจ ก็ถือเอาบรรดาที่ไปเขาวงกตทีเดียว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พราหมณ์ชูชกถูกนางอมิตตตาปนาเตือนแล้ว
เป็นผู้ติดใจในกาม จึงประสบทุกข์นั้น ในป่าที่
เกลื่อนไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองเสพอาศัย
แกถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม อีกทั้งเครื่องบูชาไฟและ
เต้าน้ำ เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ซึ่งแกได้ฟังว่า พระเวสสันดร
ราชฤาษีผู้ประทานผลที่บุคคลปรารถนาประทับอยู่ ฝูง
สุนัขป่าก็ล้อมพราหมณ์นั้นผู้เข้าไปสู่ป่าใหญ่ แกหลง
ทางร้องไห้ ได้หลีกไปไกลจากทางไปเขาวงกต แต่นั้น
แกผู้โลภในโภคะ ไม่มีความสำรวมเดินไปแล้ว หลง
ทางที่จะไปสู่เขาวงกต ถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ นั่งบนต้น
ไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฆนฺต ได้แก่ ทุกข์นั้นคือทุกข์ที่ติดตาม
โดยมหาชน และทุกข์ที่จะต้องไปเดินป่า. บทว่า อคฺคิหุตฺต ได้แก่ ทัพพี
เครื่องบูชาไฟ. บทว่า โกกา น ปริวารยุ ความว่า ก็ชูชกนั้นเข้าสู่ป่าทั้งที่ไม่
รู้ทางที่จะไปเขาวงกต จึงหลงทางเที่ยวไป. ลำดับนั้น สุนัขทั้งหลายของพราน
เจตบุตรผู้นั่งเพื่ออารักขาพระเวสสันดร ได้ล้อมชูชกนั้น. บทว่า วิกนฺทิ โส
ความว่า ชูชกนั้นขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่งร้องไห้เสียงดัง. บทว่า วิปฺปนฏฺโ ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 681
ผิดทาง. บทว่า ทูเร ปนฺถา ความว่า หลีกไปไกลจากทางที่ไปเขาวงกต.
บทว่า โภคลุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้โลภในลาภคือโภคสมบัติ. บทว่า อสญฺโต
ได้แก่ ผู้ทุศีล. บทว่า วงฺกสฺโสหรเณนตฺโถ ได้แก่ หลงในทางที่จะไป
เขาวงกต.
ชูชกนั้นถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ ขึ้นนั่งบนต้นไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดร พระราชบุตรผู้
ประเสริฐ ผู้ทรงชำนะมัจฉริยะไม่ปราชัยอีก ผู้ประทาน
ความปลอดภัยในเวลามีภัยแก่เรา พระองค์เป็นที่อาศัย
ของเหล่ายาจก เช่นธรณีดลเป็นที่อาศัยแห่งเหล่าสัตว์.
ใครจะบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบ
เหมือนแม่ธรณีแก่เราได้ พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของ
เหล่ายาจก ดังสาครเป็นที่ไหลไปแห่งแม่น้ำน้อยใหญ่
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเหมือน
สาครแก่เราได้ พระองค์เป็นดังสระน้ำมีท่าอันงาม ลง
ดื่มได้ง่ายมีน้ำเย็น น่ารื่นรมย์ ดารดาษไปด้วยดอก
บุณฑริกบัวขาบ ประกอบด้วยละอองเกสร.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเสมือน
สระน้ำแก่เราได้ พระองค์เปรียบประหนึ่งต้นนิโครธ
ใกล้ทาง มีร่มเงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคน
เดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไทรที่ใกล้ทาง มีร่มเงา
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า
เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 682
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่ใกล้ทาง มีร่ม
เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้
เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นรังที่ใกล้ทาง มีร่มเงา
น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของตนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า
เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา
ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ทาง มีร่ม
เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้
เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.
ใครจะแจ้งข่าวของพระองค์ ผู้ทรงคุณเห็นปาน
นั้นแก่เรา เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่พร่ำเพ้อออยู่อย่างนี้
บุคคลใดบอกว่า ข้าพเจ้ารู้ข่าว บุคคลนั้นชื่อว่ายัง
ความร่าเริงให้เกิดแก่เรา อนึ่ง เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่
พร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ บุคคลใดบอกข่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จัก
ราชนิวาสสถานของพระเวสสันดร บุคคลนั้นพึงประ-
สพบุญมิใช่น้อย ด้วยคำบอกเล่าคำเดียวนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชยนฺต ได้แก่ ผู้ชนะความตระหนี่. บทว่า
โก เม เวสฺสนฺตร วิทู ความว่า ชูชกกล่าวว่า ใครจะพึงบอกข่าวพระ-
เวสสันดรแก่เรา. บทว่า ปติฏฺาสิ ความว่า ได้เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า
สนฺตาน ได้แก่ เป็นไปโดยรอบ. บทว่า กิลนฺตาน ได้แก่ ผู้ลำบากใน
หนทาง. บทว่า ปฏิคฺคห ได้แก่ เป็นผู้รับ คือเป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 683
อห ชานนฺติ โย วชฺชา ความว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้สถาน
ที่ประทับของพระเวสสันดร.
พรานเจตบุตรเป็นพรานล่าเนื้อที่เหล่าพระยาเจตราชตั้งไว้เพื่ออารักขา
พระเวสสันดร เที่ยวอยู่ในป่าได้ยินเสียงคร่ำครวญของชูชกนั้น จึงคิดว่า
พราหมณ์นี้ย่อมคร่ำครวญอยากจะพบพระเวสสันดร แต่แกคงไม่ได้มาตาม
ธรรมดา คงจักขอพระมัทรีหรือพระโอรสพระธิดา เราจักฆ่าแกเสียในที่นี้
แหละ คิดฉะนี้แล้วจึงไปใกล้ชูชก กล่าวว่า ตาพราหมณ์ ข้าจักไม่ให้ชีวิตแก
กล่าวฉะนั้นแล้วยกหน้าไม้ขึ้นสายขู่จะยิง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พรานผู้เที่ยวอยู่ในป่าชื่อเจตบุตรกล่าวแก่ชูชกว่า
แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกแก
เบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จึงถูกขับไล่
ออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ เสด็จไปประทับอยู่
ณ เขาวงกต แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์
ถูกพวกแกเบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จน
ต้องพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีเสด็จไปประ-
ที่มิใช่อยู่ ณ เขาวงกต แกเป็นคนมีปัญญาทราม ทำสิ่ง
ที่มิใช่กิจ มาจากรัฐสูป่าใหญ่ แสวงหาพระราชบุตร
ดุจนกยางหาปลา แน่ะพราหมณ์ ข้าจักไม่ไว้ชีวิตแก
ในที่นี้ เพราะลูกศรนี้อันข้ายิงไปแล้ว จักดื่มโลหิต
แก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักตัดหัวของแก เชือดเอา
หัวใจพร้อมทั้งไส้พุง แล้วจักบูชาปันถสกุณยัญพร้อม
ด้วยเนื้อของแก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักเฉือนหัวใจของ
แกพร้อมด้วยเนื้อ มันข้น และเยื่อในสมองของแกบูชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 684
ยัญ แน่ะพราหมณ์ ข้าจักบูชาบวงสรวงด้วยเนื้อของ
แก จักไม่ให้แกนำพระราชเทวีพระโอรสพระธิดาของ
พระราชบุตรเวสสันดรไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกิจฺจการี ความว่า แกเป็นผู้กระทำ
สิ่งที่มิใช่กิจ. บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา. บทว่า รฏฺา วิวนมาคโต
ความว่า จากแว่นแคว้นมาป่าใหญ่. บทว่า สโร ปาสฺสติ ความว่า ลูกศร
นี้จักดื่มโลหิตของแก. บทว่า วชฺฌยิตฺวาน ความว่า เราจักฆ่าแกแล้วตัด
ศีรษะของแกผู้ตกจากต้นไม้ให้เหมือนผลตาล แล้วเฉือนเนื้อหัวใจพร้อมทั้ง
ตับไตไส้พุง บูชายัญชื่อปันถสกุณแก่เทวดาผู้รักษาหนทาง. บทว่า น จ ตฺว
ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แกจักนำพระมเหสีหรือพระโอรสพระธิดาของพระ-
ราชบุตรเวสสันดรไปไม่ได้.
ชูชกได้ฟังคำของพรานเจตบุตรแล้ว ก็ตกใจกลัวแต่มรณภัย เมื่อจะ
กล่าวมุสาวาท จึงกล่าวว่า
ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นพราหมณทูตไม่ควรฆ่า
เจ้าจงฟังข้าก่อน เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงไม่ฆ่า
ทูต นี่เป็นธรรมเนียมเก่า ชาวสีพีทั้งปวงหายขัดเคือง
พระชนกก็ทรงปรารถนาจะพบพระเวสสันดร ทั้งพระ-
ชนนีของท้าวเธอก็ถอยพระกำลัง พระเนตรทั้งสองพึง
เสื่อมโทรมโดยกาลไม่นาน ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นผู้
อันพระราชาพระราชินีทรงส่งมาเป็นทูต เจ้าจงฟังข้า
ก่อน ข้าจักเชิญพระเวสสันดรราชโอรสกลับ ถ้าเจ้ารู้
จงบอกหนทางแก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺฌตฺตา ได้แก่ เข้าใจกันแล้ว.
บทว่า อจิรา จกฺขูนิ ขียเร ความว่า พระเนตรทั้งสองจักเสื่อมโทรมต่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 685
กาลไม่นานเลย เพราะทรงกันแสงเป็นนิตย์.
กาลนั้นพรานเจตบุตรก็มีความโสมนัส ด้วยคิดว่า ได้ยินว่า บัดนี้
พราหมณ์นี้จะมาเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับ จึงผูกสุนัขทั้งหลายไว้ให้อยู่ที่
ส่วนข้างหนึ่ง แล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ ให้นั่งบนที่ลาดกิ่งไม้ ให้โภชนาหาร
เมื่อจะทำปฏิสันถาร จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่ตาพราหมณ์ ตาเป็นทูตที่รักของพระเวส-
สันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้กระบอกน้ำผึ้งและ
ขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ตา และจักบอกประเทศที่
พระเวสสันดรผู้ประทานความประสงค์ประทับอยู่แก่ตา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยสฺส เม ความว่า ตาเป็นทูตที่รักของ
พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้บรรณาการแก่ตา เพื่อความเต็มแห่ง
อัธยาศัย
จบชูชกบรรพ
จุลวนวรรณนา
พรานเจตบุตรให้พราหมณ์ชูชกบริโภคแล้ว ให้กระบอกน้ำผึ้งและขา
เนื้อย่างแก่ชูชก เพื่อเป็นเสบียงเดินทางอย่างนี้แล้ว ยืนที่หนทางยกมือเบื้อง
ขวาขึ้นเมื่อจะแจ้งโอกาสเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า
ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชา
เวสสันดรพร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรชิตอันประเสริฐ และ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 686
ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา
เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังสือเหลืองเป็นภูษาทรง
บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม่เขียว
นั้นทรงผลต่าง ๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆเขียวชะอุ่ม
นั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่นเหล่าไม้
ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม่สะคร้อและ
เถายางทราย อ่อนไหวไปตามลมดังมาณพดื่มสุราครั้ง
แรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก นกดุเหว่า ส่ง
เสียงร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีตโผผินบินจาก
ต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย อันลมให้
หวั่นไหวแล้วเสียดสีกัน ดังจะชวนบุคคลผู้ผ่านไป
ให้มายินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน
ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดรพร้อมด้วย
พระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและพระกัมหาชินาทรง
เพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง
หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงนมัสการเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาทโน ความว่า นั่นภูเขาคันธ-
มาทน์ ท่านบ่ายหน้าทางทิศอุดรเดินไปตามเชิงภูเขาคันธมาทน์ จักเห็นอาศรม
ที่ท้าวสักกะประทาน ซึ่งเป็นที่พระราชาเวสสันดรพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดา
และพระมเหสีประทับอยู่. บทว่า พฺราหฺมณวณฺณ ได้แก่ เพศบรรพชิต
ผู้ประเสริฐ. บทว่า อาสทญฺจ มสญฺชฏ ความว่า ทรงขอสำหรับสอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 687
เก็บผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง และชฎา. บทว่า จมฺมวาสี
ได้แก่ ทรงหนังเสือเหลือง. บทว่า ฉมา เสติ ความว่า บรรทมเหนือ
เครื่องปูลาดใบไม้บนแผ่นดิน. บทว่า ธวสฺสกณฺณา ขทิรา ได้แก่ ไม้
ตะแบก ไม้หูกวาง และไม้ตะเคียน. บทว่า สกึ ปีตาว มาณวา ความ
ว่า เป็นราวกะนักเลงดื่มน้ำเมา ดื่มครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า อุปริ ทุม-
ปริยาเยสุ ได้แก่ ที่กิ่งแห่งต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า สงฺคีติโยว สุยฺยเร
ความว่า จะได้ฟังเสียงของเหล่านกต่าง ๆ ที่อยู่กัน ดุจทิพยสังคีต. บทว่า
นชฺชุหา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า สมฺปตนฺติ ได้แก่ เที่ยวส่งเสียง
ร้องเจี๊ยวจ๊าว. บทว่า สาขาปตฺตสมีริตา ความว่า เหล่านกถูกใบแห่งกิ่งไม้
เสียดสีก็พากันส่งเสียงร้องเจี๊ยวจ๊าว หรือกิ่งไม้มีใบอันลมพัดแล้วนั่นแล. บทว่า
อาคนฺตุ ได้แก่ คนที่จะจากไป. บทว่า ยตฺถ ความว่า ท่านไปในอาศรม
บทซึ่งเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรแล้ว จักเห็นสมบัติแห่งอาศรมบทนี้.
พรานเจตบุตร เมื่อจะพรรณนาถึงอาศรมบทให้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวมา
แล้วนั้น จึงกล่าวว่า
ที่บริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้มะม่วง มะขวิด
ขนุน ไม้รัง ไม้หว้า สมอพิเภก สมอไทย มะขาม-
ป้อม ไม้โพธิ์ พุทรา มะพลับทอง ไม้ไทร ไม่มะสัง
ไม่มะซางมีรสหวาน งามรุ่งเรือง และมะเดื่อผลสุก
อยู่ในที่ต่ำทั้งกล้วยงาช้าง กล้วยหอม ผลจันทน์มีรส
หวานเหมือนน้ำผึ้ง ในป่านั้นมีรวงผึ้งไม่มีตัว คนถือเอา
บริโภคได้เอง อนึ่งในบริเวณอาศรมนั้น มีดงมะม่วง
ตั้งอยู่ บางต้นกำลังออกช่อ บางต้นมีผลเป็นหัวแมลง-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 688
วัน บางต้นมีผลห่ามเป็นปากตะกร้อ บางต้นมีผลสุก
ทั้งสองอย่างนั้นมีพรรณดังสีหลังกบ อนึ่งในบริเวณ
อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นก็เก็บมะม่วงสุกกินได้
ผลมะม่วงดิบและสุกทั้งหลาย มีสีสวยกลิ่นหอมรส
อร่อยที่สุด เหตุการณ์เหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่
ข้าพเจ้าเหลือเกิน ถึงกับออกอุทานว่า อือ ๆ ที่ประทับ
ของพระเวสสันดรนั้น เป็นดังที่อยู่แห่งเทวดาทั้งหลาย
งดงามปานนันทนวัน มีหมู่ตาล มะพร้าว และ
อินทผลัมในป่าใหญ่ ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย
ครองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี
พรรณต่าง ๆ เหมือนดาวเรื่อเรืองอยู่ในนภากาศ แลมี
ไม่มูกมัน โกฐ สะค้าน และแคฝอย บุนนาค บุนนาค-
เขาและทองหลาง มีดอกบานสะพรั่ง อนึ่งในบริเวณ
อาศรมนั้น มีไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะเกลือ กฤษณา
รักดำ ก็มีมาก ต้นไทรใหญ่ ไม้รกฟ้า ไม่ประดู่ มี
ดอกบานสะพรั่งในบริเวณอาศรมนั้น มีไม้อัญชันเขียว
ไม้สน ไม้กะทุ่ม ขนุนสำมะกอ ไม้ตะแบก ไม้รัง
ล้วนมีดอกเป็นพุ่มคล้ายลอมฟาง ในที่ไม่ไกลอาศรม
นั้น มีสระโบกขรณี ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ดาดาษ
ไปด้วยปทุมและอุบล ดุจในนันทนอุทยานของเหล่า
ทวยเทพฉะนั้น อนึ่งในที่ใกล้สระโบกขรณีนั้น มีฝูง
นกดุเหว่าเมารสบุปผชาติ ส่งเสียงไพเราะจับใจ ทำป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 689
นั้นอื้ออึงกึกก้อง ในเมื่อหมู่ไม้ผลิดอกแย้มบานตาม
ฤดูกาล รสหวานดังน้ำผึ้งร่วงหล่นจากเกสรดอกไม้ลง
มาค้างอยู่บนใบบัว เรียกว่า โบกขรมธุ น้ำผึ้งใบบัว
(ขันฑสกร) อนึ่งลมทางทิศทักษิณและทิศประจิมย่อม
พัดมาที่อาศรมนั้น อาศรมเป็นสถานที่เกลื่อนกล่นด้วย
ละอองเกสรปทุมชาติ ในสระโบกขรณีนั้นมีกระจับ
ใหญ่ ๆ ทั้งข้าวสาลีร่วงลง ณ ภูมิภาค เหล่าปูในสระ
นั้นก็มีมาก ทั้งมัจฉาชาติและเต่าว่ายไปตามกันเห็น
ปรากฏ ในเมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานก็ไหลออก ดุจ
นมสด เนยใส ไหลออกจากเหง้าบัวฉะนั้น วนประเทศ
นั้นฟุ้งไปด้วยกลิ่นต่างๆ หอนตลบไป วนประเทศนั้น
เหมือนดังจะชวนเชิญชนผู้มาถึงแล้วให้ยินดีด้วยดอก
ไม้และกิ่งไม้ที่มีกลิ่นหอม แมลงผึ้งทั้งหลายก็ร้องตอม
อยู่โดยรอบ ด้วยกลิ่นดอกไม้ อนึ่งในที่ใกล้อาศรมนั้น
มีฝูงวิหคเป็นอันมากมีสีสันต่าง ๆ กัน บันเทิงอยู่กับคู่
ของตน ๆ ร่ำร้องขานกะกันและกัน มีฝูงนกอีก ๔
หมู่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกรณี คือหมู่ที่ ๑ ชื่อนันทิกา
ย่อมร้องทูลเชิญพระเวสสันดรให้ชื่นชมยินดีอยู่ในป่านี้
หมู่ที่ ๒ ชื่อชีวปุตตา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระ-
เวสสันดรพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี
จงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญ หมู่ที่ ๓ ชื่อ
ชีวปุตตาปิยาจโน ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระเวส-
สันดรพร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 690
เป็นที่รักของพระองค์จงทรงสำราญ มีพระชนมายุยืน
นานไม่มีข้าศึกศัตรู หมู่ที่ ๔ ชื่อปิยาปุตตาปิยานันทา
ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระโอรสพระธิดาและพระ-
มเหสี จงเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์จงเป็นที่
รักของพระโอรสพระธิดาและมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัส
ต่อกันและกัน ทิวไม้ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย
กรองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี
พรรณต่าง ๆ เหมือนคนฉลาดเก็บมาร้อยกรองไว้ ซึ่ง
เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วยพระ-
มัทรีราชเทวีทัพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรงเพศ
บรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิงกับทั้งชฎา ทรงหนัง
เสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรง
นมัสการเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จารุติมฺพรุกฺขา ได้แก่ ต้นมะพลับ
ทอง. บทว่า มธุมธุกา ได้แก่ มะซางมีรสหวาน. บทว่า เถวนฺติ
แปลว่า ย่อมรุ่งเรือง. บทว่า มธุตฺถิกา ได้แก่ เหมือนน้ำผึ้ง หรือเช่นกับ
รวงผึ้งเพราะแม่น้ำหวานไหลเยิ้ม. บทว่า ปาเรวตา ได้แก่ ต้นกล้วยงาช้าง.
บทว่า ภเวยฺย ได้แก่ กล้วยมีผลยาว. สกมาทาย ความว่า ถือเอารวงผึ้ง
นั้นบริโภคได้เองทีเดียว. บทว่า โทวิลา ได้แก่ มีดอกและใบร่วงหล่น มี
ผลดาษดื่น. บทว่า เภงฺควณฺณา ตทูภย ความว่า มะม่วงทั้งสองอย่างนั้น
คือ ดิบบ้าง สุกบ้าง มีสีเหมือนสีของหลังกบทีเดียว. บทว่า อเถตฺถ
เหฏฺา ปุริโส ความว่า อนึ่ง อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 691
เหล่านั้น ย่อมเก็บผลมะม่วงได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้น. บทว่า วณฺณคนฺธ-
รสุตฺตมา ได้แก่ อุดมด้วยสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อเตว เม อจฺฉริย
ความว่า เป็นที่อัศจรรย์แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน. บทว่า หิงฺกาโร ได้แก่ ทำ
เสียงว่า หึ ๆ. บทว่า วิเภทิกา ได้แก่ ต้นตาล บทว่า มาลาว คนฺถิตา
ความว่า ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่บนต้นไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพวงมาลัย
ที่นายมาลาการร้อยกรองไว้. บทว่า ธชคฺคาเนว ทิสฺสเร ความว่า ต้นไม้
เหล่านั้น ปรากฏราวกะยอดธงที่ประดับแล้ว. บทว่า กุฏชี กุฏฺตครา
ได้แก่ รุกขชาติอย่างหนึ่งชื่อว่าไม้มูกมัน กอโกฐ และกอกฤษณา. บทว่า
คิริปุนฺนาคา ได้แก่ บุญนาคใหญ่. บทว่า โกวิฬารา ได้แก่ ต้นทอง
หลาง. บทว่า อุทฺธาลกา ได้แก่ ต้นราชพฤกษ์ดอกสีเหลือง. บทว่า
ภลฺลิยา ได้แก่ ต้นรักดำ. บทว่า ลพุชา ได้แก่ ต้นขนุนสำมะลอ.
บทว่า ปุตฺตชีวา ได้แก่ ต้นไทรใหญ่. บทว่า ปลาลขลสนฺนิภา ความ
ว่า พรานเจตบุตรกล่าวว่า ดอกไม้ที่ร่วงหล่นใต้ต้นไม้เหล่านั้นคล้ายลอมฟาง.
บทว่า โปกฺขรณี ได้แก่ สระโบกขรณีสี่เหลี่ยม. บทว่า นนฺทเน ได้แก่
เป็นราวกะสระนันทนโบกขรณี ในนันทนวนอุทยาน. บทว่า ปุปฺผรส-
มตฺตา ได้แก่ เมาด้วยรสของบุปผชาติคือถูกรสของบุปผชาติรบกวน. บทว่า
มกรนฺเทหิ ได้แก่ เกสรดอกไม้. บทว่า โปกฺขเร โปกฺขเร ความว่า
เรณูร่วงจากเกสรดอกบัวเหล่านั้นลงบนใบบัว ชื่อโปกขรมธุน้ำผึ้งใบบัว (ซึ่ง
แพทย์ใช้เข้ายาเรียกว่า ขัณฑสกร). บทว่า ทกฺขิรณา อถ ปจฺฉิมา ความว่า
ลมจากทิศน้อยทิศใหญ่ทุกทิศ ท่านแสดงด้วยคำเพียงเท่านี้. บทว่า ถูลา
สึฆาฏกา ได้แก่ กระจับขนาดใหญ่. บทว่า สสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลี
เล็กๆ ซึ่งเป็นข้าวสาลีที่เกิดเองตั้งอยู่ เรียกว่าข้าวสาลีบริสุทธิ์ ก็มี. บทว่า
ปสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลีเหล่านั้น แหละร่วงลงบนพื้นดิน. บทว่า พฺยาวิธา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 692
ความว่า เหล่าสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เที่ยวไปเป็นกลุ่ม ๆ ในน้ำใส ว่ายไปตาม
ลำดับปรากฏอยู่. บทว่า มูปยานกา ได้แก่ ปู. บทว่า มธุ ภึเสหิ
ความว่า เมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานไหลออกเช่นกับน้ำผึ้ง. บทว่า ขีร สปฺปิ
มูฬาลิภิ ความว่า น้ำหวานที่ไหลออกจากเหง้าบัวเป็นราวกะเนยข้นเนยใส
ผสมน้ำนม. บทว่า สมฺโมทิเตว ความว่า เป็นเหมือนจะยังชนที่ถึงแล้วให้
ยินดี. บทว่า สมนฺตามภินาทิตา ความว่า เที่ยวบินร่ำร้องอยู่โดยรอบ.
บทว่า นนฺทิกา เป็นต้นเป็นชื่อของนกเหล่านั้น ก็บรรดานกเหล่านั้น นก
หมู่ที่ ๑ ร้องถวายพระพรว่า ข้าแต่พระเวสสันดรเจ้า ขอพระองค์จงชื่นชม
ยินดีประทับอยู่ในป่านี้เถิด นกหมู่ที่ ๒ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อม
ทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีจงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญเถิด
นกหมู่ที่ ๓ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสีผู้เป็นที่รักของพระองค์ จงทรงสำราญมีพระชนม์ยืนนานไม่มีข้าศึก
ศัตรูเถิด นกหมู่ที่ ๔ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี
จงเป็นที่รักของพระองค์ ขอพระองค์จงเป็นที่รักของพระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัสกันและกันเถิด เพราะเหตุนั้นนกเหล่านั้นจึงได้
มีชื่ออย่างนี้แล. บทว่า โปกฺขรณีฆรา ได้แก่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกขรณี.
พรานเจตบุตรแจ้งสถานที่ประทับของพระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ชูชก
ยินดี เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ก็สัตตูผงอันระคนด้วยน้ำผึ้งและสัตตูก้อนมีรส
หวานอร่อยของลุงนี้ อมิตตตาปนาจัดแจงให้แล้ว ลุง
จะแบ่งให้แก่เจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุภตฺต ได้แก่ ภัตตาหารคือสัตตู
ที่คล้ายน้ำผึ้งเคี่ยว มีคำอธิบายว่าสัตตูของลุงที่มีอยู่นี้นั้น ลุงจะให้แก่เจ้า เจ้า
จงรับเอาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 693
พรานเจตบุตรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ จงเอาไว้เป็นเสบียงทาง
ของลุงเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการเสบียงทาง ขอเชิญลุง
รับน้ำผึ้งกับขาเนื้อย่างจากสำนักของข้านี้เอาไปเป็น
เสบียงทาง ขอให้ลุงไปตามสบายเถิด ทางนี้เป็นทาง
เดินได้คนเดียว มาตามทางนี้ ตรงไปสู่อาศรมอัจจุต-
ฤาษี พระอัจจุตฤาษีอยู่ในอาศรมนั้น มีฟันเขลอะ มี
ธุลีบนศีรษะ ทรงเพศเป็นพราหมณ์ มีขอสำหรับสอย
ผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา
ครองหนังเสือเหลือง นอนเหนือแผ่นดิน นมัสการ
เพลิง ลุงไปถึงแล้วถามท่านเถิด ท่านจักบอกหนทาง
ให้แก่ลุง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพล ได้แก่ เสบียงทาง. บทว่า
เอติ ความว่า หนทางเดินได้เฉพาะคนเดียวมาตรงหน้าเราทั้งสองนี้ ตรงไป
อาศรมบท. บทว่า อจฺจุโต ความว่า ฤาษีองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ อยู่ใน
อาศรมนั้น.
ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ได้ฟังคำนี้แล้ว ทำ
ประทักษิณเจตบุตร มีจิตยินดีเดินทางไปยังสถานที่
อัจจุตฤาษีอยู่ ดังนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า อัจจุตฤาษีอยู่ในที่ใด
ชูชกไปแล้วในที่นั้น.
จบจุลวนวรรณนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 694
มหาวนวรรณนา
เมื่อชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรไป ก็ได้พบ
พระอัจจุตฤาษี ครั้นได้พบท่านแล้วก็สนทนาปราศรัย
กับพระอัจจุตฤาษีว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคาพาธกระ-
มัง พระผู้เป็นเจ้ามีความผาสุกสำราญกระมัง พระผู้
เป็นเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเสาะแสวงหา
ผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง
เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานที่จะมีน้อยกระมัง
ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไป
ด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภารทฺวาโช ได้แก่ ชูชก. บทว่า
อปฺปเมว ได้แก่ น้อยทีเดียว. บทว่า หึสา ได้แก่ ความเบียดเบียนให้
ท่านลำบากด้วยสามารถแห่งสัตว์เหล่านั้น.
ดาบสกล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ รูปไม่ค่อยมีอาพาธสุขสำราญดี
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะหาผลไม้สะดวกดี และ
มูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย
คลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากใน
วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายก็ไม่ค่อยมีแก่รูป
เมื่อรูปอยู่อาศรมหลายพรรษา รูปนี้ได้รู้จักอาพาธที่
ทำใจไม่ให้ยินดีเกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 695
มาดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอ
ให้ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย.
ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผล
มะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มีรสหวาน
เล็ก ๆ น้อย ๆ เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด ดู
ก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ
ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.
ชูชกกล่าวว่า
สิ่งที่พระคุณเจ้าให้แล้ว เป็นอันข้าพเจ้ารับไว้
แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้ากระทำแล้วทุกอย่าง
ข้าพเจ้ามาเพื่อพบพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยที่
ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ถ้าพระคุณเจ้าทราบก็จงแจ้งแก่
ข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมห ทสฺสมาคโต ความว่า ข้าพเจ้า
มาเพื่อพบพระเวสสันดรนั้น
ดาบสกล่าวว่า
มิใช่แกมาเพื่อพบพระเจ้าสีวีราชผู้มีบุญ ชะรอย
แกปรารถนาพระมเหสีของท้าวเธอ ซึ่งเป็นผู้ยำเกรง
พระราชสามี หรือชะรอยแกอยากได้พระกัณหาชินาไป
เป็นทาสี และพระชาลีไปเป็นทาส แน่ะตาพราหมณ์
อีกอย่างหนึ่ง แกมาเพื่อนำพระราชเทวีพระราชกุมาร
กุมารีทั้งสามพระองค์ไปจากป่า โภคสมบัติและพระ-
ราชทรัพย์อันประเสริฐของพระเวสสันดร ย่อมไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 696
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส โภคา วิชฺชนฺติ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระเวสสันดรนั้นอยู่ในป่า ย่อมไม่มีโภคสมบัติและ
พระราชทรัพย์อันประเสริฐ พระองค์ท่านอยู่อย่างเข็ญใจ แกจักไปเฝ้าพระองค์
ทำไม.
ชูชกได้ฟังดังนี้นั้นแล้วจึงกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญยังไม่ควรจะโกรธเคืองข้าพเจ้าเพราะ
ข้าพเจ้ามิได้มาขอทาน การเห็นพระผู้ประเสริฐย่อมให้
สำเร็จประโยชน์ การอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเป็น
ความสุขทุกเมื่อ.
ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระเจ้าสีวีราชที่ถูกชาวสีพี
ขับไล่ ข้าพเจ้ามาเพื่อจะพบพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้า
ทราบก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานาสิ สส เม มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่ควรที่ท่านผู้เจริญจะโกรธเคืองด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยว่าข้าพเจ้ามา
เพื่อจะขออะไร ๆ กะพระเวสสันดรก็หามิได้ อนึ่งการได้เห็นพระผู้ประเสริฐ
ทั้งหลายยังประโยชน์ให้สำเร็จ และการอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเหล่านั้นก็เป็น
ความสุข ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของพระเวสสันดรนั้น จำเดิมแต่
พระองค์ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นพระองค์เลย เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมาเพื่อพบเห็นพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้ารู้สถานที่ประทับของพระเวส-
สันดร ก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
พระอัจจุตฤาษีได้ฟังคำของชูชกก็เธอจึงกล่าวว่า เอาเถอะ พรุ่งนี้เรา
จักแสดงประเทศที่ประทับของพระเวสสันดรแก่ท่าน วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้ก่อน
กล่าวฉะนี้แล้วให้ชูชกกินผลาผลจนอิ่ม รุ่งขึ้นเมื่อจะชี้หนทางจึงเหยียดมือขวา
ออกกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 697
ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวส-
สันดร พร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอันประเสริฐ ทรง
ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา
เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง
บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม้เขียว
นั้นทรงผลต่าง ๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆ เขียว
ชะอุ่มนั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่น
เหล่าไม้ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้
สะคร้อ และเถายางทราย อ่อนไหวไปตามลม ดัง
มาณพดื่มสุราครั้งแรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก
นกดุเหว่า ย่อมร่ำร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีต
โผผินบินจากต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย
อันลมให้หวั่นไหวแล้ว ดังจะชวนบุคคลผู้ไปให้มา
ยินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน ซึ่ง
เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วย
พระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรง
เพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง
หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงนมัสการเพลิง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 698
ดอกกุ่มหล่นเกลื่อนในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
ภาคพื้นเขียวไปด้วยหญ้าแพรก ละอองธุลีไม่มีฟุ้งขึ้น
ในสถานที่นั้น ภูมิภาคนั้นเช่นกับสัมผัสนุ่น คล้าย
คอนกยูง หญ้าทั้งหลายขึ้นเสมอกันเพียง ๔ องคุลี
ไม่มะม่วง ไม้หว้า ไม่มะขวิด และมะเดื่อมีผลสุกอยู่
ในที่ต่ำ ราวไพรยังความยินดีให้เจริญ เพราะมีเหล่า
ต้นไม่ที่ใช้บริโภคได้ น้ำใสสะอาดกลิ่นหอมดี สีดัง
แก้วไพฑูรย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาไหลหลั่งมาใน
ป่านั้น.
ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจไม่ไกลอาศรมนั้น มี
สระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมและอุบล ดุจใน
นันทนอุทยานของเหล่าทวยเทพฉะนั้นดูก่อนพราหมณ์
ในสระนั้นมีอุบลชาติ ๓ ชนิดคือ เขียว ขาว และแดง
งามวิจิตรมิใช่น้อย.
เนื้อความของคาถานั้น เหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า
กเรริมาลา วิคตา ความว่า เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกกุ่มทั้งหลาย. บทว่า
สทฺทลา หริตา ความว่า ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกประจำ. บทว่า น
ตตฺถุทฺธสเต รโช ความว่า ธุลีแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ฟุ้งขึ้นในที่นั้น บทว่า
ตูลผสฺสสมูปมา ได้แก่ เช่นกับสัมผัสแห่งนุ่น เพราะมีสัมผัสอ่อนนุ่ม.
บทว่า ติณานิ นาติวตฺตนฺติ ความว่า หญ้ามีสีเหมือนสีคอนกยูงในภูมิภาค
นั้นเหล่านั้น ขึ้นสูงแต่ ๔ องคุลีเท่านั้นโดยรอบ ไม่งอกยาวเลยกว่านั้น. บทว่า
อมฺพา ชมฺพู กปิฏฺา จ ได้แก่ ไม้มะม่วงด้วย ไม้หว้าด้วย ไม้มะขวิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 699
ด้วย. บทว่า ปริโภเคหิ ได้แก่ ต้นไม้ทำบริโภคได้ มีดอกมีผล หลาย
อย่าง. บทว่า สนฺทติ ความว่า น้ำหลั่งจากภูเขาไหลเป็นไปในไพรสณฑ์
นั้น. บทว่า วิจิตฺรนีลาเนกานิ เสตานิ โลหิตกานิ จ ความว่า อัจจุตฤาษี
แสดงว่าสระนั้นงามด้วยอุบลชาติสามอย่างเหล่านี้ คือ อุบลเขียวอย่างหนึ่ง อุบล
ขาวอย่างหนึ่ง อุบลแดงอย่างหนึ่ง ซึ่งคล้ายผอบดอกไม้ที่จัดแต่งไว้อย่างวิจิตร
งดงาม.
พระอัจจุตฤาษีพรรณนาสระโบกขรณีสี่เหลี่ยมอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
พรรณนาสระมุจลินท์อีก จึงกล่าวว่า
ปทุมชาติในสระนั้นสีขาวดังผ้าโขมพัสตร์ สระ
นั้นชื่อว่ามุจลินท์ ดารดาษไปด้วยอุบลขาว จงกลนี
และผักทอดยอด อนึ่ง ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบาน
สะพรั่ง ปรากฏเหมือนไม่มีกำหนดประมาณ บานใน
คิมหันตฤดูและเหมันตฤดู แผ่ไปในน้ำแค่เข่า เหล่า
ปทุมชาติงามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง หมู่
ภมรบินว่อนร่อนร้องอยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่ง
บุปผชาติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โขมาว ได้แก่ สีขาวราวกะว่าสำเร็จ
แด่ผ้าใยไหม. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า สระนั้นดารดาษไป
ด้วยอุบลขาว จงกลนีและผักทอดยอดทั้งหลาย. บทว่า อปริยนฺตาว ทิสฺสเร
ความว่า ปรากฏเหมือนหาประมาณมิได้. บทว่า คิมฺหา เหมนฺติกา ได้แก่
ปทุมชาติที่บานสะพรั่งในคิมหันตฤดูและเหมันตฤดู. บทว่า ชณฺณุตคฺฆา
อุปตฺถรา ความว่า แผ่ไป ได้แก่ บาน คือปรากฏราวกะดำรงอยู่ในน้ำ
ประมาณแค่เข่า. บทว่า วิจิตฺรา ปุปฺผสณฺิตา ความว่า ปทุมชาติทั้งหลาย
งามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 700
ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีรุกขชาติ
หลายหลากขึ้นอยู่ คือ ไม้กระทุ่ม ไม่แคฝอย ไม้
ทองหลาง ผลิดอกบานสะพรั่ง ไม่ปรู ไม้สัก ไม่
ราชพฤกษ์ ดอกบานสะพรั่ง ไม้กากะทิง มีอยู่สองฟาก
สระมุจลินท์ ไม้ซึก ไม่แคขาว บัวบก ไม้คนทิสอ
ไม้ยางทรายขาว ไม้ประดู่ ดอกบานหอมฟุ้งที่ใกล้สระ
นั้น ต้นมะคำไก่ ต้นพิกุล ต้นแก้ว ต้นมะรุม
ต้นการเกด ต้นกรรณิการ์ ต้นชะบา ต้นรกฟ้าขาว
ต้นรกฟ้าดำ ต้นสะท้อน และต้นทองกวาว ดอกบาน
ผลิดอกออกยอดพร้อม ๆ กัน ตั้งอยู่รุ่งเรืองแท้ ต้น
มะรื่น ต้นตีนเป็ด ต้นกล้วย ต้นคำฝอย ต้นนมแมว
ต้นคนทา ต้นประดู่ลายกับต้นกากะทิง มีดอกบาน
สะพรั่ง ต้นมะไฟ ต้นงิ้ว ต้นช้างน้าว ต้นพุดขาว
ต้นพุดซ้อน โกฐเขมา โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง
พฤกษชาติทั้งหลายในสถานที่นั้น มีทั้งอ่อนทั้งแก่ ต้น
ไม่คด ดอกบาน ตั้งอยู่สองข้างอาศรม รอบเรือนไฟ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติฏฺนฺติ ความว่า ตั้งล้อมรอบสระ.
บทว่า กทมฺพา ได้แก่ ต้นกระทุ่ม. บทว่า กจฺจิการา จ ได้แก่ ต้นไม้ที่มี
ชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปาริชญฺา ได้แก่ มีดอกแดง. บทว่า วารณา วุยฺหนา
ได้แก่ ต้นนาคพฤกษ์. บทว่า มุจลินฺทมุภโต ได้แก่ ณ ข้างทั้งสองของ
สระมุจลินท์. บทว่า เสตปาริสา ได้แก่ รุกขชาติที่เป็นพุ่มขาว. ได้ยิน
ว่า ต้นแคขาวเหล่านั้นมีลำต้นขาว ใบใหญ่ มีดอกคล้ายดอกกรรณิการ์. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 701
นิคฺคณฺฑี สรนิคฺคณฺฑี ได้แก่ ต้นคนทิสอธรรมดา และต้นคนทิสอดำ.
บทว่า ปงฺกุรา ได้แก่ ต้นไม้สีขาว. บทว่า กุสุมฺภรา ได้แก่ ไม้กอ
ชนิดหนึ่ง. บทว่า ธนุตกฺการีปุปฺเผหิ ความว่า งดงามด้วยดอกนมแมว
และดอกคนทาทั้งหลาย. บทว่า สีสปาวารณาหิ จ ได้แก่ งดงามด้วยต้น
ประดู่ลายและต้นกากะทิงทั้งหลาย. แม้บทว่า อจฺฉิปา เป็นต้นก็เป็นชื่อ
ต้นไม้ทั้งนั้น . บทว่า เสตเครุตคริกา ได้แก่ ต้นพุดขาวและต้นกฤษณา.
บทว่า มสิโกฏฺกุลาวรา ได้แก่ กอต้นชาเกลือ กอต้นโกฐ และต้นเปราะ-
หอม. บทว่า อกุฏิลา ได้แก่ ต้นตรง. บทว่า อคฺยาคาร สมนฺตโต
ความว่า ตั้งแวดล้อมเรือนไฟ.
อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีพรรณไม้เกิดเอง เกิดขึ้น
เป็นอันมาก คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส
ถั่วครั่ง น้ำในสระมุจลินท์นั้นกระเพื่อมเนื่องถึงฝั่ง
น้ำ แมลงผึ้งทั้งหลายเรียกว่าหิงคุชาล รุกขชาติทั้ง
สองคือไม้สีเสียดและไม้เต่าร้าง ก็มี ณ สระมุจลินท์
นั้น ผักทอดยอดเป็นอันมากก็มี ณ เบื้องต่ำ ดูก่อน
พราหมณ์ รุกขชาติทั้งหลายอันเถาสลิดปกคลุมตั้งอยู่
กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้ ๗ วัน
ไม่จางหาย ฝั่งสระมุจลินท์ทั้งสองฟากมีต้นไม้ตั้งอยู่
เป็นส่วน ๆ ราวกะบุคคลปลูกไว้ ป่านั้นดารดาษไป
ด้วยหมู่ต้นราชพฤกษ์งามดี กลิ่นแห่งดอกราชพฤกษ์
เป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้กึ่งเดือน ไม่จางหาย อัญชัญ
เขียวอัญชัญขาวและกรรณิการ์เขาดอกบานสะพรั่ง ป่า
นั้นปกคลุมไปด้วยอบเชยและแมงลัก อันบุคคลยินดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 702
ด้วยกลิ่นจากดอกและกิ่งก้าน หมู่ภมรบินว่อนร่อนร้อง
อยู่รอบ ๆ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ ดูก่อน
พราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้นมี ฟักแฟง แตง น้ำเต้า
สามชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสองชนิดผล
โตเท่าตะโพน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผณิชฺชกา ได้แก่ ติณชาติที่เกิดเอง
บทว่า มุคฺคติโย ได้แก่ ถั่วเขียวชนิดหนึ่ง. บทว่า กรติโย ได้แก่ ถั่ว
ราชมาส. บทว่า เสวาล สีสก ได้แก่ แม้ต้นไม้เหล่านั้นก็เป็นไม้กอนั่นแล
อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สีสก ท่านกล่าวว่า จันทน์แดง. บทว่า อุทฺธาปวตฺต
อลฺลุลิต ความว่า น้ำนั้นถูกลมพัดกระเพื่อมเนื่องถึงริมฝั่งตั้งอยู่. บทว่า
มกฺขิกา หิงคุชาลิกา ความว่า แมลงผึ้ง ๕ สีที่กลุ่มดอกไม้แย้มบานที่
เรียกหิงคุชาล ต่างบินวนว่อนร่อนร้องด้วยเสียงอันไพเราะอยู่ในสระนั้น. บทว่า
ทาสิมกญฺจโก เจตฺถ ความว่า ในสระนั้นมีรุกขชาติอยู่สองชนิด. บทว่า
นีเจ กลมฺพกา ได้แก่ ผักทอดยอดมี ณ เบื้องต่ำ. บทว่า เอลมฺพกรุกฺข-
สญฺฉนฺนา ความว่า อันไม้เถาซึ่งมีชื่ออย่างนี้ปกคลุม. บทว่า เตส ได้
แก่ ดอกเหล่านั้นของไม้เถานั้น กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
หอมอยู่ตลอด ๗ วัน ดอกไม้ทั้งหลายสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอม ภูมิภาคเต็มไป
ด้วยทรายคล้ายแผ่นเงิน. บทว่า คนฺโธ เตส ความว่า กลิ่นของดอกราช-
พฤกษ์เป็นต้นเหล่านั้นหอมอยู่กึ่งเดือน. บทว่า นีลปุปฺผิ เป็นต้น ได้แก่
ไม้เถามีดอก. บทว่า ตุลสีหิ จ ความว่า ผลของไม้เถา ๓ ชนิด คือ
ฟักแฟง แตง น้ำเต้า ไม้เถาเหล่านั้น ไม้เถาชนิดหนึ่งมีผลเท่าหม้อใหญ่ อีก
๒ ชนิดผลเท่าตะโพน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ อีกอย่างหนึ่ง ๒ ชนิด
มีผลเท่าตะโพนและกอกระเพรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 703
อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีพรรณผักกาดเป็นอันมาก
ทั้งกระเทียมประกอบด้วยใบเขียว ต้นเหลาชะโอนตั้ง
อยู่ดุจต้นตาล ผักสามหาวมีเป็นอันมาก ควรเด็ดดอก
ด้วยกำมือ เถาโคกกระออม นมตำเลีย เถาหญ้านาง
เถาชะเอม ไม้อโศก ต้นเทียน บรเพ็ดไฟ ชิงช้าชาลี
ว่านหางช้าง อังกาบ ไม้หนาด ไม้กากะทิงและมะลิ-
ซ้อนบานแล้ว ต้นทองเครือก็บานขึ้นต้นไม้อื่นตั้งอยู่
ต้นก้างปลา กำยาน คัดเค้า ชะเอม มะลิเลื้อย มะลิ
ธรรมดา ชบา บัวบก ย่อมงดงาม แคฝอย ฝ้ายทะเล
กรรณิการ์ บานแล้ว ปรากฏดังข่ายทอง งามรุ่งเรือง
ดุจเปลวเพลิง ดอกไม้เหล่านั้นเหล่าใดเกิดแต่ที่ดอน
และในน้ำ ดอกไม้เหล่านั้นทั้งหมดปรากฏในสระนั้น
เพราะขังน้ำอยู่มากน่ารื่นรมย์ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาเหล่านั้น บทว่า สาสโป ได้แก่ พรรณผักกาด. บทว่า
พหุโก แปลว่า มาก. บทว่า นาทิโย หริตายุโต ความว่า กระเทียม
ประกอบด้วยใบเขียว ธรรมชาติกระเทียมเหล่านี้มีสองชนิด กระเทียมแม้นั้นมี
มากที่สระนั้น. บทว่า อสีตาลาว ติฏฺนฺติ ความว่า ต้นไม้มีชื่อว่าเหลา
ชะโอนอย่างนี้ปรากฏ ณ ภูมิภาคที่เรียบราบ ตั้งอยู่คล้ายต้นตาล. บทว่า
เฉชฺชา อินฺทวรา พหู ความว่า ที่ริมน้ำมีผักสามหาวเป็นอันมาก พอ
ที่จะเด็ดได้ด้วยกำมือตั้งอยู่. บทว่า อปฺโผฏา ได้แก่ เถาโคกกระออม.
บทว่า วลฺลิโภ ขุทฺทปุปฺผิโย ได้แก่ บรเพ็ด และชิงช้าชาลี. บทว่า
นาคมลฺลิกา ได้แก่ ไม้กากะทิงและมะลิซ้อน. บทว่า กึสุกวลฺลิโย ได้
แก่ ธรรมชาติไม้เถาที่มีกลิ่นหอมเป็นประมาณ. บทว่า กเตรุหา ปวาเสนฺติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 704
ได้แก่ ทั้งสองอย่างเหล่านี้เป็นไม้กอมีดอก. บทว่า มธุคนฺธิยา ได้แก่ มี
กลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า นิลิยา สุมนา ภณฺฑี ได้แก่ มะลิเลื้อย มะลิ
ปกติ และชบา. บทว่า ปทุมตฺตโร ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. บทว่า กณิการา
จ ได้แก่ กรรณิการ์เถาบ้าง กรรณิการ์ต้นบ้าง. บทว่า เหมชาลาว ความ
ว่า ปรากฏเหมือนข่ายทองที่ขึงไว้. บทว่า มโหทธิ ได้แก่ สระมุจลินท์ขัง
น้ำไว้มาก.
อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น มีเหล่าสัตว์ที่เที่ยวหา
กินในน้ำเป็นอันมาก คือปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลา
ดุก จระเข้ ปลามังกร ปลาฉลาม ผึ้งที่ไม่มีตัว ชะ-
เอมเครือ กำยาน ประยงค์ กระวาน แห้วหมู สัตต-
บุษย์ สมุลแว้ง ไม่กฤษณาต้นมีกลิ่นหอม แฝกดำ
แฝกขาว บัวบก เทพทาโร โกฐทั้ง ๙ กระทุ่มเลือด
และดองดึง ขมิ้น แก้วหอม หรดาลทอง คำคูน
สมอพิเภก ไคร้เครือ การบูรและรางแดง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถสฺสา โปกฺขรณิยา ความว่า
อัจจุตฤาษีกล่าวเรียกสระนั่นแหละว่าโบกขรณีในที่นี้ เพราะเป็นเช่นกับสระโบก-
ขรณี. บทว่า โรหิตา เป็นต้น เป็นชื่อของสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำเหล่านั้น.
บทว่า มธุ จ ได้แก่ ผึ้งที่ไม่มีตัว. บทว่า มธุลฏฺิ จ ได้แก่ ชะเอม
เครือ. บทว่า ตาลิยา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ.
อนึ่ง ที่ป่านั้นมีเหล่าราชสีห์ เสือโคร่ง ยักขินี
ปากเหมือมลา และเหล่าช้าง เนื้อฟาน ทราย กวางดง
ละมั่ง ชะมด สุนัขจิ้งจอก กระต่าย บ่าง สุนัขใน
จามรี เนื้อสมัน ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 705
โทน กวาง ละมั่ง หมี โคถึก ระมาด สุนัขป่า
พังพอน กระแต มีมากที่ใกล้สระนั้น กระบือป่า
สุนัขใน สุนัขจิ้งจอก ลิงลมมีโดยรอบ เหี้ย คชสีห์
มีตระพองดังคชสาร เสือดาว เสือเหลือง กระต่าย
แร้ง ราชสีห์ เสือแผ้ว ละมั่ง นกยูง หงส์ขาว และ
ไก่ฟ้า นกกวัก ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากัน
และกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นก
ต้อยตีวิด นกกระเรียน นกหัสดิน เหล่าเหยี่ยว นก-
โนรี นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน นก
กระทา อีรุ้ม อีร้า เหล่านกค้อนหอย นกพระหิต
นกคับแล นกกระทา นกกระจอก นกแซงแซว นก
กระเต็น และนกกางเขน นกกรวิก นกกระไน
นกเค้าโมง นกเค้าแมว สระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยฝูง
นกนานาชนิด กึกก้องไปด้วยเสียงต่าง ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุริสาลู ได้แก่ ยักขินีมีปากเหมือนลา.
บทว่า โรหิตา สรภา มิคา ได้แก่ กวางดง ละมั่ง ชะมด. บทว่า
โกฏฺสุณา ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. ปาฐะว่า โกฏฺโสณา ก็มี. บทว่า
สุโณปิ จ ได้แก่ มฤคชาติเล็ก ๆ ที่ว่องไวชนิดหนึ่ง. บทว่า ตุลิยา ได้
แก่ บ่าง. บทว่า นฬสนฺนิภา ได้แก่ สุนัขในมีสีคล้ายดอกอ้อ. บทว่า
จามรี จลนี ลงฺฆี ได้แก่ จามรี เนื้อสมันและลิงลม. บทว่า ฌาปิตา
มกฺกฏา ได้แก่ ลิงใหญ่สองชนิดนั่นแล. บทว่า ปิจุ ได้แก่ ลิงตัวเมียชนิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 706
หนึ่งหาอาหารกินที่ริมสระ. บทว่า กกฺกฏา กตมายา จ ได้แก่ มฤคใหญ่
สองชนิด. บทว่า อิกฺกา ได้แก่ หมี. บทว่า โคณสิรา ได้แก่ โคป่า.
บทว่า กาฬเกตฺถ พหุตโส ความว่า ชื่อว่าเหล่ากาฬมฤคมีมากใกล้สระนี้.
บทว่า โสณา สิงฺคาลา ได้แก่ สุนัขป่า สุนัขใน และสุนัขจิ้งจอก.
บทว่า จปฺปกา ความว่า เหล่าลิงลมที่อาศัยบนกอไผ่ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่รอบ
อาศรม. บทว่า อากุจฺจา ได้แก่ เหี้ย. บทว่า ปจฺลากา ได้แก่ คชสีห์มี
ตะพองดังคชสาร. บทว่า จิตฺรกา จาปิ ทีปิโย ได้แก่ เสือดาว และ
เสือเหลือง. บทว่า เปลกา จ ได้แก่ กระต่าย. บทว่า วิฆาสาทา ได้
แก่ นกแร้งเหล่านั้น. บทว่า สีหา ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า โกก-
นิสาตกา ได้แก่ มฤคร้ายที่มีปกติจับสุนัขป่ากิน. บทว่า อฏฺปาทา ได้
แก่ ละมั่ง. บทว่า ภสฺสรา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า กุกุฏกา ได้แก่
ไก่ฟ้า. บทว่า จงฺโกรา ได้แก่ นกกด. บทว่า กุกฺกุฏา ได้แก่
ไก่ป่า. บทว่า ทินฺทิภา โกญฺจวาทิกา ได้แก่ เหล่านกทั้งสามชนิดนี้นั่น
แล. บทว่า พฺยคฺฆินสา ได้แก่ เหยี่ยว. บทว่า โลหปิฏฺา ได้แก่ นก
สีแดง. บทว่า จปฺปกา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า กปิญฺชรา ติตฺติ-
ราโย ได้แก่ นกกระเรียนและนกกระทา. บทว่า กุลาวา ปฏิกุฏฺกา
ได้แก่ นกทั้งหลายสองชนิดแม้เหล่านี้. บทว่า มณฺฑาลกา เจลเกฬุ
ได้แก่ นกค้อนหอย และนกพระหิต. บทว่า ภณฺฑุติตฺติรนามกา ได้
แก่ นกคับแค นกกระทา และนกแขวก. บทว่า เจลาวกา ปิงฺคุลาโย
ได้แก่ สกุณชาติสองชนิด นกกระเต็น นกกางเขน ก็เหมือนกัน. บทว่า
สคฺคา ได้แก่ นกกระไน. บทว่า อุหุงฺการา ได้แก่ นกเค้าแมว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 707
ยังมีนกทั้งหลายที่ใกล้สระนั้น คือเหล่านกขน
เขียว เรียกนกพระยาลอ พูดเพราะ พร้อมกับตัวเมีย
ร่ำร้องต่อกันและกันบันเทิงอยู่ และเหล่านกที่มีเสียง
ไพเราะ มีนัยน์ตางาม มีหางตาสีขาวทั้งสองข้าง มีขน
ปีกวิจิตร มีอยู่ใกล้สระนั้น อนึ่งเหล่าสกุณชาติที่มีอยู่
ใกล้สระนั้น เป็นพวกนกมีเสียงไพเราะ มีหงอนและ
ขนคอเขียว ร่ำร้องต่อกันและกัน เหล่านกกระไน
นกกด นกเปล้า นกดอกบัว เหยี่ยวแดง เหยี่ยวกัน
ไกร นกกระลิง นกแขกเต้า นกสาลิกาสีเหลือง สี-
แดง สีขาว นกกระจิบ นกหัสดิน นกเค้าโมง
นกเคล้า นกแก้ว นกดุเหว่า นกออกดำ นกออกขาว
หงส์ขาว นกค้อนหอย นกระวังไพร หงส์แดง นก
กระไน นกโพระดก นกพระหิด นกพิลาป หงส์ทอง
นกจากพราก ผู้เที่ยวไปทั้งในน้ำและบนบก และนก
หัสดินทรี ร้องน่ายินดี ร้องในกาลเช้ากาลเย็น ยัง
เหล่าสกุณชาติมีสีต่างกันเป็นอันมาก มีอยู่ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องต่อกันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นเสียงไพเราะ ร้องอยู่สองฟากสระมุจลินท์
อนึ่งยังมีเหล่าสกุณชาติชื่อกรวี (การเวก) ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องหากันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นร้องเสียงไพเราะ อยู่สองฟากสระมุจลินท์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 708
สองฟากสระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยเนื้อทรายและกวาง
มีหมู่ช้างอยู่อาศัย ปกคลุมไปด้วยลดาวัลย์ต่าง ๆ อัน
ชะมดอยู่อาศัยแล้ว และแถบสระมุจลินท์นั้นมีหญ้า
กับแก้ ข้าวฟ่าง ลูกเดือยมากมาย และข้าวสาลีที่
เกิดเองตามธรรมชาติ และอ้อยก็มีมิใช่น้อยที่ใกล้
สระมุจลินท์นั้น นี้เป็นหนทางเดินได้คนเดียวจึงไป
ได้ตรงไปจะถึงอาศรมสถาน บุคคลถึง ณ อาศรมนั้น
แล้วจะไม่ได้ความลำบาก ความระหายและความไม่ยิน
ดีแต่อย่างไรเลย เป็นที่พระเวสสันดรราชฤาษีพร้อม
ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีประทับอยู่ ทรง
เพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะในการบูชาเพลิง และชฎา ทรงหนังเสือเหลือง
เป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน นมัสการเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลกา ได้แก่ มีขนปีกลายวิจิตรสวย
งาม. บทว่า มญฺชุสฺสราสิตา ได้แก่ มีเสียงไพเราะเป็นนิตย์. บทว่า
เสตกฺขิกูฏา ภทฺรกฺขา ความว่า มีนัยน์ตางาม ประกอบด้วยหางตาขาวทั้ง
สองข้าง. บทว่า จิตฺรเปกฺขณา ได้แก่ มีขนปีกอันวิจิตร. บทว่า กุฬีรกา
ได้แก่ นกกด. บทว่า โกฏฺา เป็นต้น เป็นเหล่าสกุณชาติ. บทว่า วารณา
ได้แก่ นกหัสดีลิงค์. บทว่า กทมฺพา ท่านกำหนดเอานกแก้วใหญ่. บทว่า
สุวโกกิลา ได้แก่ นกแก้วที่เที่ยวไปกับนกดุเหว่า และนกดุเหว่าทั้งหลาย.
บทว่า กุกฺกุสา ได้แก่ นกออกดำ. บทว่า กุรุรา ได้แก่ นกออกขาว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 709
บทว่า หสา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า อาฏา ได้แก่ นกที่มีปากมีสัณฐาน
คล้ายทัพพี. บทว่า ปริวเทนฺติกา ได้แก่ สกุณชาติชนิดหนึ่ง. บทว่า
วารณภิรุทา รมฺมา ได้แก่ นกหัสดินทรีร้องน่ายินดี. บทว่า อุโภ
กาลุปกูชิโน ความว่า ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ตลอดเชิงบรรพต
ทั้งเย็นทั้งเช้า. บทว่า เอเณยฺยา ปสตากิณฺณ ความว่า เกลื่อนไปด้วย
เนื้อทราย กวาง และกวางดาวทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ปตฺโต น วินฺทติ
ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนที่ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรแล้ว จะไม่ได้
ความหิวหรือความระหายน้ำดื่มหรือความไม่พอใจ ในอาศรมนั้นเลย.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชูชกพรหมพันธุ์ได้ฟังคำของพระอัจจุตฤาษีนี้
แล้ว ทำประทักษิณพระฤาษีมีจิตยินดีหลีกไปยังสถาน
ที่พระเวสสันดรประทับอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตโร อหุ ความว่า พระเวส-
สันดรมีอยู่ในที่ใด ชูชกก็ไปสู่ที่นั้น.
จบมหาวนวรรณนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 710
กุมารบรรพ
ฝ่าย ชูชก ไปจนถึงฝั่งโบกขรณีสี่เหลี่ยมตามทางที่ พระอัจจุตดาบส
บอก คิดว่า วันนี้เย็นเกินไปเสียแล้ว บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จกลับจากไป
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงย่อมกระทำอันตรายแก่ทาน พรุ่งนี้เวลาพระนางเสด็จไปป่า เรา
จึงไปสู่อาศรมบทเฝ้าพระเวสสันดรราชฤาษี ทูลขอกุมารกุมารีทั้งสอง เมื่อพระ
นางยังไม่เสด็จกลับ ก็จักพาสองกุมารกุมารีนั้นหลีกไป จึงขึ้นสู่เนินภูผาแห่ง
หนึ่งในที่ไม่ไกลสระนั้นนอน ณ ที่มีความสำราญ.
ก็ราตรีนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบิน ความในพระ-
สุบินนั้นว่า มีชายคนหนึ่งผิวดำนุ่งห่มผ้ากาสายะสองผืน ทัดดอกไม้สีแดงทั้ง
สองหู ถืออาวุธตะดอกขู่มาเข้าสู่บรรณศาลาจับพระชฎาของพระนางคร่ามา ให้
พระนางล้มหงาย ณ พื้น ควักดวงพระเนตรทั้งสองและตัดพระพาหาทั้งสองของ
พระนางผู้ร้องไห้อยู่ ทำลายพระอุระถือเอาเนื้อพระหทัย ซึ่งมีหยาดพระโลหิต
ไหลอยู่แล้วหลีกไป พระนางมัทรีตื่นบรรทมทั้งตกพระหทัยทั้งสะดุ้ง ทรง
รำพึงว่า เราฝันร้าย บุคคลผู้จะทำนายฝันเช่นกับพระเวสันดรไม่มี เราจัก
ทูลถามพระองค์ ทรงคิดฉะนี้แล้วเสด็จไปเคาะพระทวารบรรณศาลาแห่งพระ
มหาสัตว์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงเคาะพระทวารนั้น จึงตรัสทัก
ถามว่า นั่นใคร พระนางทูลสนองว่า หม่อมฉันมัทรี พระเจ้าค่ะ พระเวส-
สันดรตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอทำลายกติกาวัตรของเราทั้งสองเสียแล้ว
เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาอันไม่สมควร พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ หม่อมฉันมิได้มาเฝ้าด้วยอำนาจกิเลส ก็แต่ว่าหม่อมฉันฝันร้าย พระเวส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 711
สันดรตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงเล่าไป พระนางมัทรีก็เล่าถวายโดยทำนองที่
ทรงสุบินทีเดียว พระมหาสัตว์ทรงกำหนดพระสุบินนั้นแล้วทรงดำริว่า ทาน
บารมีของเราจักเต็มรอบ พรุ่งนี้จักมียาจกมาขอบุตรี เราจักยังนางมัทรีให้อุ่น
ใจแล้วจึงกลับไป ทรงดำริฉะนั้นแล้วตรัสว่า แน่ะมัทรี จิตของเธอขุ่นมัว
เพราะบรรทมไม่ดี เสวยอาหารไม่ดี เธออย่ากลัวเลย แล้วตรัสโลมเล้าเอา
พระทัย ให้อุ่นพระหทัยแล้วตรัสส่งให้เสด็จกลับไป.
ในเมื่อราตรีสว่าง พระนางมัทรีทรงทำกิจที่ควรทำทั้งปวงแล้วสวม
กอดพระโอรสพระธิดา จุมพิต ณ พระเศียรแล้วประทานโอวาทว่า แน่. แม่
และพ่อ วันนี้มารดาฝันร้าย แม่และพ่ออย่าประมาทแล้วเสด็จไปเฝ้าพระมหา-
สัตว์ ทูลขอให้พระมหาสัตว์ทรงรับพระโอรสและพระธิดาด้วยคำว่า ขอพระองค์
อย่าทรงประมาทในทารกทั้งสอง แล้วทรงถือกระเช้าและเสียมเป็นต้น เช็ดน้ำ
พระเนตรเข้าสู่ป่าเพื่อต้องการมูลผลาผล
ฝ่ายชูชกคิดว่า บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จไปป่าแล้ว จึงลงจากเนิน
ผามุ่งหน้ายังอาศรม เดินไปตามทางที่เดินได้เฉพาะคนเดียว ลำดับนั้นพระมหา
สัตว์เสด็จออกหน้าพระบรรณศาลาประทับนั่ง ดุจสุวรรณปฏิมาตั้งอยู่ ณ แผ่น
ศิลา ทรงคิดว่า บัดนี้ยาจกจักมา ก็ประทับทอดพระเนตรทางมาแห่งยาจกนั้น
ดุจนักเลงสุราอยากดื่มฉะนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงเล่นอยู่ใกล้
พระบาทมูลแห่งพระราชบิดา พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรทางมา ก็ทอดพระ-
เนตรเห็นชูชกพราหมณ์มาอยู่ ทรงเป็นเหมือนยกทานธุระซึ่งทอดทิ้งมา ๗
เดือน จึงตรัสว่า แน่ะพราหมณ์ผู้เจริญ แกจงมาเถิด ทรงโสมนัสเมื่อตรัส
เรียกพระชาลีราชกุมาร จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 712
แน่ะพ่อชาลี พ่อจงลุกขึ้นยืน การมาของพวก
ยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของพวกยาจกครั้ง
ก่อน ๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความชื่นชมยินดี
ทำให้พ่อเกษมศานติ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณ วิย ทิสฺสติ ความว่า การมา
ของยาจกในวันนี้ ปรากฏเหมือนการมาของยาจกทั้งหลายแต่ทิศต่าง ๆ ในนคร
เชตุดรในกาลก่อน. บทว่า นนฺทิโย มาภิกีรเร ความว่า จำเดิมแต่กาลที่
เราเห็นพราหมณ์นั้นความโสมนัสก็แผ่คลุมเรา เป็นเหมือนเวลารดน้ำเย็น
๑,๐๐๐ หม้อ ลงบนศีรษะของผู้ที่ถูกแดดเผาในฤดูร้อน
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชบิดาตรัสดังนั้น จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ แม้เกล้ากระหม่อมก็เห็น ผู้นั้น
ปรากฏเหมือนพราหมณ์ที่เราจะต้องการอะไรมาอยู่
เขาเป็นแขกของเราทั้งหลาย.
ก็และครั้นกราบทูลฉะนี้แล้ว ได้ทรงทำความเคารพพระมหาสัตว์
เสด็จลุกไปต้อนรับพราหมณ์ชูชก ตรัสถามถึงการจะช่วยรับเครื่องบริขาร
พราหมณ์ชูชกเห็นพระชาลีราชกุมาร คิดว่า เด็กคนนี้จักเป็นพระชาลีราชกุมาร
พระราชโอรสของพระเวสสันดร เราจักกล่าวผรุสวาจาแก่เธอเสียตั้งแต่ต้นที
เดียว คิดฉะนี้แล้วจึงชี้นิ้วมือหมายให้รู้ว่า ถอยไป ถอยไป ดังนี้ พระชาลี
กุมารเสด็จหลีกไป ทรงคิดว่า ตาพราหมณ์นี้หยาบเหลือเกิน เป็นอย่างไร
หนอ ทอดพระเนตรสรีระของชูชกก็เห็นบุรุษโทษ ๑๘ ประการ ฝ่ายพราหมณ์
ชูชกเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 713
พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี
ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล
ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน
ทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวน-
ประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับชูชกนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่ค่อยมีอาพาธ
สุขสำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหา
ผลไม้สะดวกดี และมูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ
ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียด
เบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย
ก็ไม่ค่อยมีแก่เรา.
เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตเตรียมตรมตลอด ๗
เดือน เราเพิ่งเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศอันประเสริฐ ถือ
ไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ภาชนะสำหรับบูชาเพลิงและ
หม้อน้ำ แม่นี้เป็นครั้งแรก ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมา
ดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอให้
ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อน
พราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหวด ผลมะซาง และ
ผลหมากเม่า เป็นผลไม่มีรสหวาน เล็ก ๆ น้อย ๆ เชิญ
ท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่ม
นี้เย็น นำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญดื่มเถิด ถ้าปรารถนา
จะดื่ม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 714
ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า พราหมณ์นี้จัก
ไม่มาสู่ป่าใหญ่นี้โดยไม่มีเหตุการณ์ เราจักถามแกถึงเหตุที่มาไม่ให้เนิ่นช้า จึง
ตรัสคาถานี้ว่า
ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา
ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า
เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย.
ชูชกทูลตอบว่า
ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลาย่อมไม่เหือดแห้ง
ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา
ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระโอรสพระธิดา
กะพระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระโอรส
พระธิดาแก่ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาริวโห ได้แก่ ห้องน้ำในปัญจมหานที.
บทว่า น ขียติ ความว่า คนผู้ระหายมาสู่แม่น้ำ ใช้มือทั้งสองบ้าง ภาชนะ
ทั้งหลายบ้างตักขึ้นดื่ม ก็ไม่หมดสิ้นไป. บทว่า เอวนฺต ยาจิตาคญฺฉึ
ความว่า ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นผู้มีอย่างนี้เป็นรูปทีเดียว เพราะ
เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา จึงได้มาทูลขอกะพระองค์. บทว่า ปุตฺเต เม เทหิ
ยาจิโต ความว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลขอแล้ว โปรดพระราชทานพระ
โอรสพระธิดาทั้งสองของพระองค์ เพื่อประโยชน์เป็นทาสของข้าพระองค์.
พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำของชูชกดังนั้นก็ทรงโสมนัส
ทรงยังเชิงบรรพตให้บันลือลั่น ดุจบุคคลวางถุงเต็มด้วยกหาปณะหนึ่งพันในมือ
ของบุคคลที่เหยียดออกรับฉะนั้น ตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 715
ดูก่อนพราหมณ์ เรายกให้ ไม่หวั่นไหว ท่านจง
เป็นใหญ่นำไปเถิด พระนางมัทรีราชบุตรีเสด็จไปป่า
เพื่อแสวงหาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาเวลาเย็น ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงอยู่ค้างเสียคืนหนึ่งก่อน รุ่งขึ้นเช้า
จึงไป พากุมารกุมารีซึ่งพระมารดาของเธอให้สรงแล้ว
สูดดมที่เศียรแล้ว ประดับระเบียบดอกไม้ ไปใน
มรรคาที่ปกคลุมด้วยนานาบุปผชาติประดับด้วยนานา
คันธชาติ เกลื่อนไปด้วยมูลผลาหาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสฺสโร ความว่า ท่านจงเป็นใหญ่
คือเป็นเจ้าของพระโอรสพระธิดาทั้งสองของเรา นำเขาไป แต่ยังมีเหตุการณ์
นี้อีกอย่างหนึ่งคือ พระราชบุตรีมัทรีผู้เป็นพระมารดาของกุมารกุมารีเหล่านั้นไป
หาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาจากป่าเวลาเย็น ท่านบริโภคผลาผลอร่อยๆ ที่
พระนางมัทรีนั้นนำมา วันนี้พักอยู่คืนหนึ่งในป่านี้แหละ แล้วค่อยพาเด็กทั้ง
สองไปแต่เช้าทีเดียว. บทว่า ตสฺสา นหาเต ได้แก่ พระนางมัทรีสรงให้
แล้ว. บทว่า อุปสึฆาเต ได้แก่ สูดดมเศียรแล้ว. บทว่า อถ เน มาล-
ธาริเน ได้แก่ ตกแต่งด้วยระเบียบดอกไม้อันวิจิตร นำระเบียบดอกไม้นั้น
ไปด้วย. ก็บทว่า อถ เน ท่านเขียนไว้ในคัมภีร์บาลี เนื้อความของบทนั้น
ท่านมิได้วิจารณ์ไว้. บทว่า มูลผลากิณฺเณ ความว่า เกลื่อนไปด้วยมูล
ผลาผลต่าง ๆ ที่ให้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เสบียงในมรรคา.
ชูชกกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ไม่ชอบใจ
อยู่แรม ข้าพระองค์ชอบใจกลับไป แม้อันตรายจะพึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 716
มีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ต้องไปทีเดียว เพราะว่า
สตรีทั้งหลายเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ เป็นผู้
ทำอันตราย รู้มนต์ ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย เมื่อ
พระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระศรัทธา พระองค์อย่า
ได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย พระ
มารดาจะทำอันตราย ข้าพระองค์จะต้องไปทีเดียว ขอ
พระองค์ตรัสเรียกพระโอรสพระธิดาทั้งสองมา พระ
โอรสพระธิดาทั้งสองอย่าต้องพบพระมารดาเลย เมื่อ
พระองค์ทรงบริจาคทานด้วยพระศรัทธา บุญก็ย่อม
เจริญทั่ว ด้วยประการฉะนี้.
ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระองค์ตรัสเรียกพระ-
ราชบุตรพระราชบุตรีมา พระราชบุตรพระราชบุตรีทั้ง
สองอย่าต้องพบพระมารดาเลย พระองค์พระราชทาน
ทรัพย์แก่ยาจกเช่นข้าพระองค์แล้วจักเสด็จไปสู่สวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ในบาทคาถาว่า น เหตา ยาจ-
โยคี น นี้ เป็นเพียงนิบาต มีคำอธิบายว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดา
สตรีเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรจะขอเลย คือย่อมเป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอโดยแท้.
บทว่า อนฺตรายสฺส การิยา ความว่า ย่อมกระทำอันตรายแก่บุญของ
ทายก กระทำอันตรายแก่ลาภของยาจก. บทว่า มนฺต ความว่า สตรีทั้งหลาย
ย่อมรู้มายา. บทว่า วามโต ความว่า ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย ไม่
ถือเอาโดยเบื้องขวา. สทฺธาย ทาน ททโต ความว่า เมื่อพระองค์ทรง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 717
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมบริจาคทาน. บทว่า มาส ความว่า อย่าต้องพบ
พระมารดาของพระกุมารกุมารีเหล่านั้นเลย. บทว่า กยิรา แปลว่า พึงกระทำ.
บทว่า อามนฺตยสฺสุ ความว่า ชูชกทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้ทราบว่าจะ
ส่งไปกับข้าพระองค์. บทว่า ททโต ได้แก่ เมื่อทรงบริจาค.
พระเวสสันดรตรัสว่า
ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะพบพระมเหสีผู้ผู้มีวัตรอัน
งามของข้าไซร้ ท่านจงถวายชาลีกุมารและกัณหาชินา
กุมารีทั้งสองนี้ แด่พระเจ้าสญชัยผู้เป็นพระอัยกา
พระอัยกาทอดพระเนตรเห็นพระกุมารกุมารีทั้งสองนี้ผู้
มีเสียงไพเราะ เจรจาน่ารัก จักทรงปีติดีพระทัย
พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยฺยกสฺส ได้แก่ แด่พระเจ้าสญชัย
มหาราชผู้เป็นพระชนกนาถของเรา. บทว่า ทสฺสติ เต ความว่า พระเจ้า
สญชัยมหาราชพระองค์นั้นจักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน.
ชูชกทูลว่า
ข้าแต่พระราชบุตร ข้าพระองค์กลัวต่อข้อหาชิง
พระกุมารกุมารีแล้วจับข้าพระองค์ไว้ ขอพระองค์
โปรดฟังข้าพระองค์ พระเจ้าสญชัยมหาราชพึงพระ-
ราชทานตัวข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราช-
ทัณฑ์ หรือพึงให้ข้าพระองค์ขายพระโอรสพระธิดา
หรือพึงประหารชีวิตเสีย ข้าพระองค์ขาดจากทรัพย์
และทาสทาสี นางอมิตตตาปนาพราหมณีจะพึงติเตียน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 718
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉทนสฺส ได้แก่ ต่อข้อหาชิงกุมาร
กุมารีแล้วจับ. บทว่า ราชทณฺฑาย ม ทชฺชา ความว่า พระเจ้ากรุงสญ-
ชัยพึงพระราชทานข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราชทัณฑ์ ด้วยข้อหา
อย่างนี้ว่า พราหมณ์คนนี้เป็นโจรลักเด็ก จงลงราชทัณฑ์แก่มัน. บทว่า
คาเรยฺหสฺส พฺรหฺมพนฺธุยา ความว่า และข้าพระองค์จักพึงถูกนางอมิตต-
ตาปนาพราหมณีติเตียน
พระเวสสันดรตรัสว่า
พระมหาราชเจ้าผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ สถิตอยู่ใน
ธรรม ทอดพระเนตรเห็น พระกุมารกุมารีผู้มีเสียง
ไพเราะ เจรจาน่ารักนี้ ทรงได้ปีติโสมนัส จัก
พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า
ข้าพระองค์จักทำตามรับสั่งไม่ได้ ข้าพระองค์จัก
นำทารกทั้งสองไปให้บำเรอนางอมิตตตาปนาพราหมณี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารเกว ความว่า ข้าพระองค์ไม่ต้อง
การทรัพย์อย่างอื่น ข้าพระองค์จักนำสองทารกเหล่านี้ไปให้บำเรอพราหมณีของ
ข้าพระองค์.
พระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีได้สดับผรุสวาจานั้น
ของชูชกก็เกรงกลัว พากันเสด็จไปหลังบรรณศาลา แล้วหนีไปจากที่แม้นั้น
ซ่อนองค์ที่ชัฏพุ่มไม้ องค์สั่นทอดพระเนตรเห็นพระองค์เหมือนถูกชูชกมาจับ
ไปแม้ในที่นั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ ณ ที่ไร ๆ ก็วิ่งไปแต่ที่นี้บ้าง ๆ เลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 719
เสด็จไปถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้มั่น ตกพระทัยกลัว
ลงสู่น้ำ เอาใบบัววางไว้บนพระเศียร เอาน้ำบังองค์ประทับยืนอยู่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระกุมารกุมารีได้ฟังคำที่ชูชกผู้ร้ายกาจ
กล่าวก็สะทกสะท้านทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา
สององค์พากันวิ่งไปแต่ที่นั้น ๆ.
ฝ่ายชูชกไม่เห็นสองกุมาร จึงพูดรุกรานพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระ-
เวสสันดรผู้เจริญ พระองค์ประทานกุมารกุมารีแก่ข้าพระองค์บัดนี้ ครั้น
ข้าพระองค์ทูลว่า ข้าพระองค์จักไม่ไปเชตุดรราชธานี จักนำกุมารกุมารีไปให้
บำเรออมิตตตาปนาพราหมณีของข้าพระองค์ พระองค์ก็ให้สัญญาโบกไม้โบกมือ
ให้พระโอรสพระธิดาหนีไปเสีย แล้วนั่งทำเป็นไม่รู้ คนพูดมุสาเช่นพระองค์
เห็นจะไม่มีในโลก.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ตกพระทัย ทรงดำริว่า เด็กทั้ง
สองจักหนีไป จึงรับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าคิดเลย เราจักนำตัวมา
ทั้งสองคน ตรัสฉะนั้นแล้วเสด็จลุกขึ้นไปหลังบรรณศาลา ก็ทรงทราบว่าพระ
โอรสพระธิดาเข้าไปสู่ป่าชัฏ จึงเสด็จไปสู่ฝั่งสระโบกขรณี ตามรอยพระบาท
ของสองกุมารกุมารีนั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยพระบาทลงสู่น้ำ ก็ทรงทราบ
ว่า พระโอรสและพระธิดาจักลงไปยืนอยู่ในน้ำ จึงตรัสเรียกว่า พ่อชาลี แล้ว
ตรัสคาถาว่า
ดูก่อนพ่อชาลีพระลูกรัก พ่อจงมา จงเพิ่มพูน
บารมีของพ่อให้เต็ม จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้
เย็นฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 720
ดังยานนาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อ
จักข้ามฝั่งคือชาติ จักยังมนุษย์ทั้งเทวดาให้ข้ามด้วย
พระชาลีราชกุมารได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา จึงทรงคิดว่า
ตาพราหมณ์จงทำเราตามใจชอบเถิด เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา
จึงโผล่พระเศียรแหวกใบบัวออกเสด็จขึ้นจากน้ำ หมอบแทบพระบาทเบื้องขวา
แห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาทไว้มั่นทรงกันแสง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง
ตรัสถามพระชาลีว่า แน่ะพ่อ น้องหญิงของพ่อไปไหน พระชาลีทูลสนองว่า
ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้น ก็ย่อมรักษาตัว
ทีเดียว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองของเราจักนัดหมาย
กัน จึงตรัสเรียกว่า แม่กัณหา แม่จงมา แล้วตรัสคาถาว่า
ดูก่อนแม่กัณหาธิดารัก แม่จง มาจงเพิ่มพูนทาน
บารมีที่รักของพ่อ จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็น
ฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นดังยาน
นาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อจักข้าม
ฝั่งคือชาติ จักยกขึ้นซึ่งมนุษย์ทั้งเทวดาด้วย.
พระนางกัณหาชินาราชกุมารีได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา
จึงทรงคิดว่า เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา จึงเสด็จขึ้นจากน้ำ
เหมือนกัน หมอบแทบพระบาทเบื้องซ้ายแห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาท
ไว้มั่นทรงกันแสง พระอัสสุชลของสองพระกุมารกุมารีตกลงหลังหลังพระบาท
แห่งพระมหาสัตว์ ซึ่งมีพรรณดุจดอกปทุมบาน พระอัสสุชลของพระมหาสัตว์ก็
ตกลงบนพระปฤษฏางค์แห่งสองพระกุมารกุมารีซึ่งเช่นกับแผ่นทองคำ.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ถึงความกวัดแกว่ง ราวกะว่ามีพระทัยหดหู่
ทรงลูบพระปฤษฏางค์แห่งราชกุมารกุมารีด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ยังพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 721
ราชกุมารกุมารีให้ลุกขึ้นปลอบโยนแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี เจ้าไม่รู้ว่าพ่อวิตกถึง
ทานบารมีของพ่อดอกหรือ เจ้าจงยังอัธยาศัยของพ่อให้ถึงที่สุด ตรัสฉะนี้แล้ว
ประทับยืนกำหนดราคาราชบุตรราชบุตรีในที่นั้นดุจนายโคบาลตีราคาโคฉะนั้น.
ได้ยินว่า พระมหาสัตว์ตรัสเรียกพระโอรสมาตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี
ถ้าพ่อใคร่เพื่อจะเป็นไท พ่อควรให้ทองคำพันลิ่มแก่พราหมณ์ชูชก จึงควร
เป็นไท ก็กนิษฐภคินีของพ่อเป็นผู้ทรงอุดมรูป ใคร ๆ ชาติต่ำพึงให้ทรัพย์เล็ก
น้อยแก่พราหมณ์ ทำกนิษฐภคินีของพ่อให้เป็นไท ทำให้แตกชาติ ยกเสียแต่
พระราชาใครจะให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น กนิษฐภคินี
ของพ่ออยากจะเป็นไท พึงให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ อย่างนี้ คือ ทาสี ทาส
ช้าง ม้า โค อย่างละ ๑๐๐ และทองคำ ๑๐๐ ลิ่ม แก่ชูชก แล้วจงเป็นไทเถิด.
พระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงกำหนดราคาพระราชกุมารกุมารีอย่างนี้แล้ว ทรง
ปลอบโยนแล้วเสด็จไปสู่อาศรม จับพระเต้าน้ำ เรียกชูชกมาตรัสว่า ดูก่อน
พราหมณ์ผู้เจริญ จงมานี่ แล้วทรงหลั่งน้ำลงในมือชูชก ทำให้เนื่องด้วยพระ-
สัพพัญญุตญาณ ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อม
เป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรและบุตรีผู้เป็นที่รักกว่าร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่าเมื่อจะทรง
ยังปฐพีให้บันลือลั่นได้พระราชทานปิยบุตรทานแก่พราหมณ์ชูชก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นของชาว
สีพีให้เจริญ ทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัณหา-
ชินาราชธิดา ทั้งสององค์มาพระราชทานให้เป็น
ปุตตกทานแก่พราหมณ์ชูชก แต่นั้น พระเวสสันดร
ราชฤาษีทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัญหาชินา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 722
ราชธิดาทั้งสององค์มา ทรงปลื้มพระมนัสพระราชทาน
พระราชโอรสและพระราชธิดาให้เป็นทานอันอุดม
แก่พราหมณ์ชูชก อัศจรรย์อันให้สยดสยองและยัง
โลมชาติให้ชูชัน ในเมื่อพระกุมารกุมารีทั้งสอง อัน
พระเวสสันดรพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชก เมทนีดล
ก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น
อัศจรรย์อันให้สยดสยอง และยังโลมชาติให้ชูชัน
พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ
อันผู้ประชุมชนกระทำอัญชลี ได้พระราชทานพระราช
กุมารกุมารีผู้กำลังเจริญในความสุข ให้เป็นทานแก่
พราหมณ์ชูชก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺโต ได้แก่ ทรงเกิดพระปีติโสมนัส.
บทว่า ตทาสิ ย ภึสนก ความว่า ในกาลนั้น แผ่นดินใหญ่หนาแน่น
สองแสนสี่หมื่นโยชน์ อึกทึกกึกก้องคำรามลั่นสั่นสะเทือนเสมือนช้างพลายตกมัน
ด้วยเดชแห่งทานบารมี ในกาลนั้นสาครก็กระเพื่อม สิเนรุราชบรรพตก็น้อม
ยอดลงไปทางเขาวงกตตั้งอยู่ คล้ายหน่อหวายที่ต้มให้สุกดีแล้ว ท้าวสักกเทวราช
ทรงปรบพระหัตถ์ มหาพรหมได้ประทานสาธุการ เทวดาทั้งหมดก็ได้ให้
สาธุการ ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก ฟ้าคำรามพร้อมกับ
เสียงปฐพีให้ฝนตกลงชั่วขณะ สายฟ้าแลบในสมัยมิใช่กาล สัตว์จตุบาทมีราชสีห์
เป็นต้น ที่อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้บันลือเสียงเป็นอันเดียวกัน ทั่ว
หิมวันต์อัศจรรย์อันน่าสยดสยองได้มีเห็นปานฉะนี้ แต่ในบาลีท่านกล่าวเพียงว่า
เมทนีสะเทือน เท่านั้นเอง. บทว่า ย แปลว่า ในกาลใด. บทว่า กุมาเร
สุขวจฺฉิเต ความว่า ได้พระราชทานพระกุมารกุมารีที่เจริญอยู่ในความสุข
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 723
คืออยู่ในความสุขบริจาคอย่างเป็นสุข. บทว่า อทา ทาน ความว่า ดูก่อน
พราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อมเป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรบุตรีของเรา โดย
ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ดังนั้นจึงได้พระราชทานเพื่อประโยชน์พระสัพพัญญุต-
ญาณนั้น.
พระมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุตรทานแล้ว ยังพระปีติให้เกิดขึ้นว่า โอ
ทานของเรา เราได้ให้ดีแล้วหนอ แล้วทอดพระเนตรดูพระกุมารกุมารีประทับ
ยืนอยู่.
ฝ่ายชูชกเข้าไปสู่ชัฏป่า เอาฟันกัดเถาวัลย์ถือมา ผูกพระหัตถ์เบื้องขวา
แห่งพระชาลีกุมารรวมกันกับพระหัตถ์เบื้องซ้ายแห่งพระกัณหาชินากุมารี ถือ
ปลายเถาวัลย์นั้นไว้ โบยตีพาไป.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พราหมณ์ผู้ร้ายกาจนั้น ก็เอาฟันกัด
เถาวัลย์ ผูกพระกรแห่งพระกุมารกุมารีด้วยเถาวัลย์อีก
ข้างหนึ่งไว้ แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ถือไม่เฆี่ยนตี
นำพระกุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่ง แห่งพระเวสสันดร
สีวีราช.
พระฉวีของพระชาลีพระกัณหาชินาแตกตรงที่ที่ถูกตีแล้ว ๆ นั้น ๆ
พระโลหิตไหล พระชาลีและพระกัณหาชินาต่างเอาพระปฤษฎางค์เข้ารับไม้
แทนกันและกันในเมื่อถูกตี. ลำดับนั้น ชูชกพลาดล้มลงในสถานที่ไม่เสมอแห่ง
หนึ่ง เถาวัลย์อันแข็งเคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์อันอ่อนแห่งพระกุมารกุมารี
พระกุมารกุมารีทรงกันแสงหนีไปหาพระมหาสัตว์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระชาลีและพระหัตตาหลีกไปจากที่นั้น พ้น
พราหมณ์ชูชก มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 724
สุชล พระชาลีชะเง้อดูพระบิดา องค์สั่นดุจใบอัสสัตถ-
พฤกษ์ อภิวาทพระบาทพระบิดา ครั้นถวายบังคม
พระบาทพระบิดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระ
บิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว พระบิดา
ประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาจงประทาน
หม่อมฉันทั้งสอง ต่อเมื่อหม่อมฉันทั้งสองได้พบพระ-
มารดาก่อนเถิด.
ข้าแต่พระบิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว
พระบิดาประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาอย่า
เพิ่งประทานหม่อมฉันทั้งสอง จนกว่าพระมารดาของ
หม่อมฉันทั้งสองจะเสด็จ กลับมา พราหมณ์ชูชกนี้จง
ขายหรือจงฆ่าในกาลนั้นแน่แท้ ชูชกนี้ประกอบด้วย
บุรุษโทษ ๑๘ ประการ คือ ตีนแบ ๑ เล็บเน่า ๑
มีปลีน่องย้อยยาน ๑ มีริมฝีปากบนยาว ๑ น้ำลาย
ไหล ๑ มีเขี้ยวยาวออกจากริมฝีปากดังเขี้ยวหมู ๑ จมูก
หัก ๑ ท้องโตดังหม้อ ๑ หลังค่อม ๑ ตาเหล่ ๑
หนวดสีเหมือนทองแดง ๑ ผมสีเหลือง ๑ เส้นเอ็น
ขึ้นสะพรั่ง เกลื่อนไปด้วยกระดำ ๑ ตาเหลือกเหลือง
๑ เอวคด หลังโกง คอเอียง ๑ ขากาง ๑ เดินตีน
ลั่นดังเผาะ ๆ ๑ ขนตามตัวดกและหยาบ ๑ นุ่งห่ม
หนังเสือเหลือง เป็นดังอมนุษย์น่ากลัว แกเป็นอมนุษย์
หรือยักษ์กินเนื้อและเลือด มาแต่บ้านสู่ป่าทูลขอทรัพย์
พระบิดา ข้าแต่พระบิดาพระองค์ทอดพระเนตรเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 725
หม่อมฉันทั้งสองอันผู้แกผู้ดุจปีศาจนำไปหรือหนอพระ
หฤทัยของพระองค์ราวกะผู้มั่นด้วยเหล็กแน่ทีเดียว
พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจเกินเปรียบ
ผูกหม่อมฉันทั้งสอง และตีหม่อมฉันทั้งสองเหมือนตี
ฝูงโค พระองค์ไม่ทรงทราบหรือ น้องกัณหาจงอยู่ ณ
ที่นี้ เพราะเธอยังไม่รู้จักทุกข์สักนิดเดียว ลูกมฤคีที่
ยังกินนม พรากไปจากฝูงก็ร้องไห้หาแม่เพื่อจะกินนม
ฉันใด น้องกัณหาชินาเมื่อไม่เห็นพระมารดาก็จะ
กันแสงเหี่ยวแห้งสินชนมชีพ ฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกฺขสิ ความว่า ไปสำนักพระมหา-
สัตว์ หวาดหวั่นไหวแลดูอยู่. บทว่า เวธ ได้แก่ ตัวสั่น. บทว่า ตฺวญฺจ
โน ตาต ทสฺสสิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ได้ประทานหม่อมฉัน
ทั้งสองให้แก่พราหมณ์ ในเมื่อเสด็จแม่ยังมิได้กลับมาเลย ขอเสด็จพ่ออย่าได้
ทรงการทำอย่างนี้เลย โปรดยับยั้งไว้ก่อน พระเจ้าค่ะ จนกว่าหม่อมฉันทั้ง
สองจะได้เห็นเสด็จแม่ ต่อนั้นพระองค์จึงค่อยประทานในกาลที่หม่อมฉันทั้งสอง
ได้เห็นเสด็จแม่แล้ว พระเจ้าค่ะ. บทว่า วิกฺกีณาตุ หนาตุ วา ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ในเวลาที่เสด็จแม่เสด็จมา พราหมณ์ชูชกนี้จงขายหรือจงฆ่า
หม่อมฉันทั้งสองก็ตาม หรือจงทำตามที่ปรารถนาเถิด อนึ่งพระชาลีราชกุมาร
ได้กราบทูลบุรุษโทษ ๑๘ ประการว่า พราหมณ์กักขละหยาบช้านี้ประกอบด้วย
บุรุษโทษ ๑๘ ประการ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลงฺกปาโท ได้แก่
ตีนแป. บทว่า อทฺธนโข ได้แก่ เล็บเน่า. บทว่า โอพทฺธปิณฺฑิโก
ได้แก่ มีเนื้อปลีแข้งหย่อนลงข้างล่าง. บทว่า ทีโฆตฺตโรฏฺโ ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 726
ประกอบด้วยริมฝีปากบนยาวยื่นปิดปาก. บทว่า จปโล ได้แก่ มีน้ำลายไหล.
บทว่า กฬาโร ได้แก่ ประกอบด้วยเขี้ยวยื่นออกเหมือนเขี้ยวหมู. บทว่า
ภคฺคนาสโก ได้แก่ ประกอบด้วยจมูกหักคือไม่เสมอกัน. บทว่า โลหมสฺสุ
ได้แก่ มีหนวดมีสีเหมือนทองแดง. บทว่า หริตเกโส ได้แก่ มีผมสีเหมือน
ทองงอกหยิก บทว่า วลีน ได้แก่ หนังย่นเป็นเกลียวทั่วตัว. บทว่า
ติลาหโก ได้แก่ เกลื่อนไปด้วยกระดำ. บทว่า ปิงฺคโล ได้แก่ มีตา
เหลือกเหลือง คือประกอบด้วยตาทั้งสองคล้ายตาแมว. บทว่า วินโต ได้แก่
มีคดในที่ ๓ แห่ง คือ เอว หลัง คอ. บทว่า วิกโฏ ได้แก่ มีเท้าลั่น
ท่านกล่าวว่า มีที่ต่อกระดูกมีเสียง ก็มี คือประกอบด้วยที่ต่อกระดูกมีเสียงดัง
เผาะๆ. บทว่า พฺรหา ได้แก่ยาว.
บทว่า อมนุสฺโส ความว่า พราหมณ์นี้มิใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ที่
เที่ยวไปในป่าด้วยเพศของมนุษย์เป็นแน่นะเสด็จพ่อ. บทว่า ภยานโก ได้แก่
น่ากลัวเหลือเกิน. บทว่า มนุสฺโส อุทาหุ ยกฺโข ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
ถ้าใคร ๆ เห็นพราหมณ์นี้แล้วถาม ก็ควรจะตอบว่า กินเนื้อและเลือดเป็นอาหาร.
บทว่า ธน ต ตาต ยาจติ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ประสงค์
จะกินเนื้อของหม่อมฉันทั้งสอง จึงทูลขอทรัพย์คือบุตรต่อพระองค์. บทว่า
อุทิกฺขสิ ได้แก่ เพ่งดู. บทว่า อสฺมา นูน เต หทย ความว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ ธรรมดาบิดามารดาทั้งหลายย่อมมีหทัยอ่อนในบุตรทั้งหลายไม่ทนดู
ความทุกข์ของบุตรทั้งหลายอยู่ได้ แต่พระหฤทัยของพระองค์เห็นจะเหมือน
แผ่นหิน อีกอย่างหนึ่ง หฤทัยของพระองค์คงจะใช้เหล็กผูกไว้มั่น ฉะนั้นเมื่อ
หม่อมฉันทั้งสองมีความทุกข์เกิดขึ้นเห็นปานฉะนี้ เสด็จพ่อจึงไม่เดือดร้อน.
บทว่า น ชานาสิ ความว่า พระองค์ประทับนั่งอยู่เหมือนไม่รู้สึก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 727
บทว่า อจฺจายิเกน ลุทฺเทน ได้แก่ ร้ายกาจเหลือเกิน คือเกิน
ประมาณ. บทว่า โน โย ความว่า พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่าหม่อมฉัน
สองพี่น้องถูกพราหมณ์ผูกมัดไว้. บทว่า สุมฺภติ ได้แก่ เฆี่ยนตี. บทว่า
อิเธว อจฺฉต ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ น้องกัณหาชินานี้ยังไม่รู้จักความทุกข์
ยากอะไร ๆ เลย เมื่อไม่เห็นเสด็จแม่ก็จะกันแสง จักเหี่ยวแห้งสิ้นชนมชีพไป
เหมือนลูกมฤคีน้อยที่ยังกินนม พรากจากฝูง เมื่อไม่เห็นแม่ ย่อมร้องคร่ำครวญ
อยากกินนมฉะนั้น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงประทานหม่อมฉันเท่านั้น
แก่พราหมณ์ หม่อมฉันจักไป ขอให้น้องกัณหาชินานี้อยู่ในที่นี้แหละ.
เมื่อพระชาลีราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส
อะไร ๆ แต่นั้นพระชาลีราชกุมารเมื่อทรงคร่ำครวญปรารภถึงพระชนกชนนี
จึงตรัสว่า
ทุกข์เห็นปานดังนี้ของลูกนี้ ไม่สู้กระไร เพราะ
ทุกข์นี้ลูกผู้ชายพึงได้รับ แต่การที่ลูกไม่ได้พบพระ-
มารดา เป็นทุกข์ยิ่งหว่าทุกข์เห็นปานดังนี้, พระมารดา
พระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหาชินากุมารี
ผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงสิ้นราตรีนาน
พระมารดาพระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหา-
ชินากุมารีผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงอยู่
นานในพระอาศรม.
พระมารดาพระบิดาจะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสง
ตลอดราตรีนาน จักเหี่ยวแห้งในกึ่งราตรีหรือตลอด
ราตรี ดุจแม่น้ำเหือดแห้งไปฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 728
วันนี้เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่าง ๆ เช่นไม้หว้า
ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกขชาติที่มีผลต่าง ๆ
เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด วันนี้เราทั้งสอง
จะละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็น ที่เราเคยเล่นในกาล
ก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา
ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน และผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา
ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละตุ๊กตา
ช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ซึ่งพระบิดาทรงปั้นประทาน
ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุมุนา ความว่า ทุกข์นี้อันบุรุษผู้ท่อง
เที่ยวอยู่ในภพพึงได้. บทว่า ต เม ทุกฺขตร อิโต ความว่า ทุกข์ของเรา
เมื่อไม่ได้เห็นพระมารดานั้น เป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ที่เกิดแต่ถูกเฆี่ยนตีนี้ร้อยเท่า
พันเท่า แสนเท่า. บทว่า รุจฺฉติ ได้แก่ จักทรงกันแสง. บทว่า อฑฺฒ-
รตฺเต ว รตฺเต วา ความว่า ทรงนึกถึงเราทั้งสอง จักทรงกันแสงนาน
ตลอดกึ่งราตรี หรือตลอดราตรี. บทว่า อวสุสฺสติ ความว่า จักเหี่ยวแห้ง
เหมือนแม่น้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีน้ำน้อย คือ จักเหี่ยวแห้งสิ้นพระชนม์ เหมือนแม่น้ำ
นั้นจักเหือดแห้งทันทีในเมื่ออรุณขึ้น ฉะนั้น พระชาลีราชกุมารกล่าวอย่างนี้
ด้วยความประสงค์ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เวทิสา ได้แก่ มีกิ่งห้อย.
บทว่า ตานิ ความว่า รากไม้ดอกไม้ผลของต้นไม้เหล่าใด ที่เราจับเล่นเป็น
เวลานาน เราทั้งสองจะต้องละต้นไม้เหล่านั้นไปในวันนี้. บทว่า หตฺถิกา
ได้แก่ ตุ๊กตาช้างที่พระบิดาปั้นให้เราทั้งสองเล่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 729
เมื่อพระชาลีราชกุมารทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนี้กับพระภคินีกัณหาชินา
ชูชกก็มาโบยตีกุมารกุมารีพาตัวหลีกไป.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชกุมารกุมารี ทั้งสองเมื่อถูกชูชกนำไปได้
กราบทูลคำนี้แด่พระราชบิดาว่า ขอเสด็จพ่อโปรดรับ
สั่งแก่เสด็จแม่ว่าหม่อมฉันทั้งสองสบายดี และขอให้
เสด็จพ่อจงทรงมีความสุขสำราญเถิด.
ขอเสด็จพ่อจงทรงประทานตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า
ตุ๊กตาวัวเหล่านี้ของหม่อมฉันทั้งสองแด่เสด็จแม่ เสด็จ
แม่จักนำความโศกออกได้ด้วยตุ๊กตาเหล่านี้ เสด็จแม่
ทอดพระเนตรเห็นเครื่องเล่น คือ ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า
ตุ๊กตาวัว ของหม่อมฉันทั้งสองเหล่านี้นั้น จักทรง
บรรเทาความเศร้าโศกเสียได้.
กาลนั้น ความเศร้าโศกมีกำลังเพราะปรารภพระโอรสพระธิดา ได้เกิด
ขึ้นแก่พระมหาสัตว์ พระหทัยมังสะของพระมหาสัตว์ได้เป็นของร้อน พระองค์
ทรงหวั่นไหวด้วยความเศร้าโศก ดุจช้างพลายตกมันถูกไกรสรราชสีห์จับและ
ดุจดวงจันทร์เข้าไปในปากแห่งราหู ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยภาวะของ
พระองค์ มีพระเนตรนองไปด้วยพระอัสสุชล เสด็จเข้าบรรณศาลาทรงปริ-
เทวนาการอย่างน่าสงสาร.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเวสสันดรราชขัตติยดาบสทรงบริจาค
ปิยบุตรทานแล้วเสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงคร่ำครวญ
อย่างน่าสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 730
คาถาแสดงการพร่ำรำพันของพระมหาสัตว์มีดังต่อไปนี้
วันนี้เด็กทั้งสองจะเป็นอย่างไรหนอ หิว กลัว
เดินทางร้องไห้ เวลาเย็นบริโภคอาหาร ใครจะให้
โภชนาหารแก่เด็กทั้งสองนั้น เด็กทั้งสองจะร้องขอ
อาหารว่า แม่จ๋า หม่อมฉันทั้งสองหิว ขอเสด็จแม่จง
ประทานอาหารแก่หม่อมฉันทั้งสอง เด็กทั้งสองดำเนิน
ด้วยพระบาทเปล่าไม่มีรองพระบาท จะดำเนินไปตาม
หนทางอย่างไรหนอ เมื่อเด็กทั้งสองมีพระบาทพอง
บวมทั้งสองข้าง ใครจักจูงหัตถ์เธอทั้งสองไป ชูชกตี
ลูก ๆ ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อหน้าเรา แกช่างไม่อดสูแก่
ใจบ้างเลยหนอ แกเป็นอลัชชีแท้ ใครที่มีความอดสู
แก่ใจ จักกล้าตีทาสีทาสหรือคนใช้อื่นของเราที่สละ
ให้แล้วได้ ชูชกแกด่าตีลูก ๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อ
ตาดุจคนหาปลาตีปลาที่ติดอยู่ในปากแห.
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า กนฺวชฺช ตัดบทเป็น ก นุ อชฺช. บทว่า
อุปรุจฺเฉนฺติ ความว่า จักเดินร้องไห้ไปตลอดทาง ๖๐ โยชน์. บทว่า
สเวสนากาเล ได้แก่ เวลามหาชนเข้าเมือง. บทว่า โส เน ทสฺสติ ความว่า
ใครจักให้โภชนาหารแก่ลูก ๆ เหล่านั้น. บทว่า กถนฺนุ ปถ คจฺฉนฺติ
ความว่า จักเดินทาง ๖๐ โยชน์ได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปตฺติกา ได้แก่
เว้นจากยานคือช้างเป็นต้น. บทว่า อุปาหนา ได้แก่ มีเท้าละเอียดอ่อนเว้น
แม้เพียงรองเท้าก็ไม่มี. บทว่า คเหสฺสติ ความว่า ใครจักช่วยประคอง
เพื่อบรรเทาความลำบาก. บทว่า ทาสีทาสสฺส ความว่า เป็นทาสีเป็นทาส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 731
บทว่า อญฺโ วา ปน เปสิโย ความว่า ซึ่งเป็นคนใช้ คือผู้ทำการรับ
ใช้คนที่ ๔ ของเราโดยสืบต่อ ๆ กันมาของทาสและนายทาสอย่างนี้ว่า เป็นทาส
ของผู้นั้นบ้าง เป็นทาสของผู้นั้นบ้าง รู้ว่า คนนี้เป็นทาสและนายทาสของพระ
เวสสันดรพระองค์นั้น ซึ่งทรงสละให้แล้วอย่างนี้. บทว่า โก ลชฺชี ความว่า
ใครที่มีความอดสูแก่ใจจะกล้าดีด้วยคิดว่า การตีลูก ๆ ของเราผู้ไม่มีความอดสู
แก่ใจนั้น ไม่สมควรเลยหนอ. บทว่า วาริชสฺเสว ความว่า ของเรา เหมือน
ตีปลาที่คิดอยู่ในปากแห. อ อักษร ในบทว่า อปสฺสโต เป็นเพียงนิบาต
ชูชกทั้งด่าทั้งตีลูก ๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อตาทีเดียว โอ ตานี่ทารุณเหลือเกิน.
ครั้งนั้นความปริวิตกได้เกิดขึ้นแก่พระเวสสันดรมหาสัตว์ ด้วยทรง
สิเนหาในพระโอรสและพระธิดาอย่างนี้ว่า พราหมณ์นี้เบียดเบียนลูกทั้งสองของ
เราเหลือเกิน เมื่อไม่อาจกลั้นความโศกไว้ได้ดังนี้ เราจักติดตามไปฆ่าพราหมณ์
เสียแล้วนำลูกทั้งสองกลับมา แต่นั้นกลับทรงหวนคิดได้ว่า การที่ลูกเราทั้งสอง
ถูกเบียดเบียนเป็นความลำบากยิ่ง นั่นไม่ใช่ฐานะ การบริจาคปิยบุตรทานแล้ว
จะเดือดร้อนภายหลัง หาใช่ธรรมของสัตบุรุษไม่ คาถาแสดงความปริวิตก ๒
คาถาที่ส่องเนื้อความนั้น มีดังนี้ว่า
เราจะถือคันพระแสงศร เหน็บพระแสงขรรค์ไว้
เบื้องซ้าย นำลูกทั้งสองของเรากลับมา เพราะการที่
ลูกทั้งสองลูกเฆี่ยนตีนำมาซึ่งความทุกข์ แต่ลูกทั้งสอง
พึงลำบากยากเข็ญนั้น ไม่ใช่ฐานะ ก็ใครเล่ารู้ธรรม
ของสัตบุรุษ บำเพ็ญทานแล้วจะเดือดร้อนภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต ได้แก่ ธรรมคือประเพณีของพระ-
โพธิสัตว์ในกาลก่อน. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นทรงอนุสรณ์ถึงประเพณีแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 732
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในขณะนั้น แต่นั้นพระองค์ทรงดำริว่า พระโพธิ์สัตว์
ทั้งปวงไม่ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะ
บริจาคชีวิตบริจาคบุตร บริจาคภรรยา หาเคยเป็นพระพุทธเจ้าได้ไม่ ก็ตัวเราก็
เข้าอยู่ในจำพวกพระโพธิสัตว์เหล่านั้น แม้เราไม่บริจาคบุตรและชายา ก็ไม่
อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ทรงดำริฉะนี้แล้ว ยังสัญญาให้เกิดขึ้นว่า แน่ะ
เวสสันดรเป็นอย่างไร ท่านไม่รู้ความที่บุตรและบุตรีที่ให้เพื่อเป็นทาสทาสีแก่ชน
เหล่าอื่น จะนำมาซึ่งความทุกข์ดอกหรือ เราจักตามไปฆ่าชูชกด้วยเหตุไรเล่า
แล้วทรงดำริต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าบริจาคทานแล้วตามเดือดร้อนภายหลัง หา
สมควรแก่เราไม่ ทรงตัดพ้อพระองค์เองอย่างนี้แล้ว ทรงอธิษฐานสมาทาน
ศีลมั่นโดยมนสิการว่า ถ้าชูชกฆ่าลูกทั้งสองของเรา จำเดิมแต่เวลาที่เราบริจาค
แล้วเราจะไม่กังวลอะไร ๆ ทรงอธิษฐานมั่นฉะนี้แล้ว เสด็จออกจากบรรณศาลา
ประทับนั่ง ณ แผ่นศิลา แทบทวารบรรณศาลา ดุจปฏิมาทองคำฉะนั้น.
ฝ่ายชูชกตีพระชาลีและพระกัณหาชินาต่อหน้าพระที่นั่งแห่งพระมหา-
สัตว์ นำไป.
ลำดับนั้น พระชาลีราชกุมารตรัสรำพันว่า
ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความ
จริงได้อย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่มีมารดาของตน ผู้นั้นเหมือน
ไม่มีทั้งบิดามารดา แน่ะน้องกัณหา มาเถิด เราจัก
ตายด้วยกัน อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ พระบิดาผู้จอมชน
ได้ประทานเราทั้งสองแก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์แก
ร้ายกาจเหลือเกิน แกตีเราทั้งสองเห็นนายโคบาลตี
ฝูงใด แน่ะน้องตัณหา เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่าง ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 733
เช่นไม้หว้า ไม้ยางทราย ซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกข-
ชาติที่มีผลต่าง ๆ เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด
ละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็นที่เราเคยเล่นในกาลก่อน
ละบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน
และผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน
และละตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาวัว ที่พระบิดาวัว ที่พระบิดาทรง
ปั้นประทาน ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า มารดาของตนไม่มีใน
สำนักของผู้ใด.
ชูชกพราหมณ์พลาดล้มในสถานที่ไม่เสมอแห่งหนึ่งอีก เถาวัลย์ที่ผูกก็
เคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์พระราชกุมารกุมารี ทั้งสององค์มีพระกายสั่นดุจไก่ถูก
ตี หนีมาหาพระราชบิดาโดยเร็วพร้อมกัน.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชาลีราชกุมารและกัณหาชินาราชกุมาร ทั้งสอง
องค์ที่ถูกชูชกพราหมณ์นำไป พอหลุดพ้นจากแกมาได้
ก็วิ่งไปสู่สำนักพระเวสสันดรราชบิดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เตน ความว่า ได้วิ่งไปหาพระ-
ราชบิดาของเธอทั้งสอง ของที่หลุดพ้นจากพราหมณ์ชูชกนั้น อธิบายว่า วิ่ง
มาสู่สำนักของพระราชบิดาทีเดียว.
ฝ่ายชูชกลุกขึ้นโดยเร็วถือเถาวัลย์และไม้ ท่วมไปด้วยความโกรธ
เหมือนไฟตั้งขึ้นแต่กัลป์ฉะนั้น มาแล้วกล่าวว่า หนูทั้งสองฉลาดหนีเหลือเกิน
ผูกพระหัตถ์ทั้งสองแล้วนำพระกุมารกุมารีไปอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 734
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ ถือไม้เฆี่ยนตีนำ.
กุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่งแห่งพระเวสสันดรสีวีราช.
เมื่อพระชาลีและพระกัณหาชินาอันชูชกนำไปอยู่อย่างนี้ พระกัณหา-
ชินาเหลียวกลับมาทอดพระเนตรทูลพระราชบิดา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระกัณหาชินาราชกุมารีได้ทูลพระราชบิดาว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้ เหมือน
นายตีทาสีที่เกิดในเรือน ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาว่า
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม แต่ตา
พราหมณ์นี้หาเป็นดังนั้นไม่ ยักษ์มาด้วยเพศพราหมณ์
เพื่อจะนำหม่อมฉันสองพี่น้องไปเคี้ยวกิน หม่อมฉัน
สองพี่น้องอันปีศาจนำไปอยู่ พระองค์ทอดพระเนตร
เห็นหรือหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ได้แก่ พระเจ้าสีวีราชผู้พระชนก
ซึ่งประทับนั่งทอดพระเนตรดูอยู่นั้น. บทว่า ทาสิย ได้แก่ ทาสี. บทว่า
ขาทิตุ ได้แก่ เพื่อต้องการจะเคี้ยวกิน พระกัณหาชินาราชกุมารีทรงคร่ำ
ครวญว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็ตาพราหมณ์นี้นำหม่อมฉันสองพี่น้องไปยังไม่ทัน
ถึงประตูป่าเลย แกมีตาทั้งคู่แดงเป็นเหมือนมีโลหิตไหล เพื่อจะเคี้ยวกิน คือ
นำไปด้วยหวังว่าจักเคี้ยวกินเสียทั้งหมด พระองค์ก็ทรงเห็นหม่อมฉันสองพี่น้อง
ถูกนำไปเพื่อเคี้ยวกินหรือเพื่อต้มเสีย ขอพระองค์จงมีความสุขทุกเมื่อเถิด.
เมื่อพระกัณหาชินากุมารีน้อยทรงพิลาปรำพันองค์สั่นเสด็จไปอยู่ พระ-
เวสสันดรมหาสัตว์ทรงเศร้าโศกเป็นกำลัง พระหทัยวัตถุร้อน เมื่อพระนาสิก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 735
ไม่พอจะระบายพระอัสสาสะปัสสาสะ ก็ต้องทรงปล่อยให้พระอัสสาสะปัสสาสะ
อันร้อนออกทางพระโอษฐ์ พระอัสสุเป็นดังหยาดพระโลหิตไหลออกจากพระ
เนตรทั้งสอง พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงดำริว่า ทุกข์เห็นปานนี้เกิดเพราะโทษ
แห่งความเสน่หา หาใช่เพราะเหตุการณ์อื่นไม่ เพราะฉะนั้น ควรเราเป็นผู้มี
จิตมัธยัสถ์วางอารมณ์เป็นกลาง อย่าทำความเสน่หา ทรงดำริฉะนี้แล้ว ทรง
บรรเทาความโศกเห็นปานนั้นเสียด้วยกำลังพระญาณของพระองค์ ประทับนั่ง
ด้วยพระอาการเป็นปกติ.
พระกัณหากุมารียังเสด็จไม่ถึงประตูป่า ก็ทรงพิลาปรำพันพลางเสด็จไป
ว่า
เท้าน้อย ๆ ของเราสองพี่น้องนี้นำมาซึ่งความ
ทุกข์ ทั้งหนทางก็ยาวไกลไปได้ยาก เมื่อดวงอาทิตย์
อัสดงลงต่ำ พราหมณ์ก็ให้เราสองพี่น้องเดินไป
ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอน้อมนบไหว้ด้วยเศียรเกล้า ต่อ
เทพเจ้าเหล่าที่สิงสถิตอยู่ ณ ภูผาพนาลัยและที่สระปทุม
ชาติ และแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี ทั้งที่ติณชาติลดาวัลย์
สรรพพฤกษาที่เป็นโอสถ อันเกิด ณ บรรพตและแนว
ไพร ขอเทพเจ้าเหล่านั้นจงทูลแด่พระมารดาว่า หม่อม
ฉันสองพี่น้องมีความสำราญ พราหมณ์นี้กำลังนำ
หม่อมฉันสองพี่น้องไป ข้าแต่เทพเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย
ขอเหล่าท่านจงทูลแด่พระมารดาของข้าพเจ้าสองพี่-
น้อง ผู้มีพระนามว่า พระแม่มัทรีว่า ถ้าพระมารดา
ทรงใคร่จะติดตามลูกทั้งสอง จงเสด็จติดตามมาโดย
พลัน ทางนี้เป็นทางเดินได้เฉพาะคนเดียว มาตรงไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 736
สู่อาศรม พระแม่เจ้าจงเสด็จตามมาทางนั้น จะได้
ทอดพระเนตรเห็นลูกทั้งสองทันท่วงที โอ ข้าแต่
พระแม่ชฏินีผู้ทรงนำมูลผลาผลมาแต่ไพร ความระทม
ทุกข์ จักมีแด่พระแม่เจ้า เพราะทอดพระเนตรเห็น
อาศรมนั้นว่างเปล่า มูลผลาผลที่พระแม่เจ้าได้มาด้วย
ทรงเสาะหาจนล่วงเวลา คงไม่น้อย พระแม่เจ้าคงไม่
ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ผู้แสวงทรัพย์ ผู้
ร้ายกาจเหลือเกิน ผูกไว้ แกตีลูกทั้งสอง เหมือนเขา
ตีฝูงโค เออก็ลูกทั้งสองได้ประสบพระแม่เจ้าผู้เสด็จมา
แต่ที่ทรงเสาะหามูลผลาผล ณ เย็นวันนี้ พระแม่เจ้าคง
ประทานผลไม้กับทั้งรวงผึ้งแก่พราหมณ์ พราหมณ์นี้
ได้กินอิ่มแล้ว คงไม่ยังลูกทั้งสองให้รีบเดินไป เท้า
ของลูกทั้งสองบวมพองแล้ว พราหมณ์ก็ยังรีบเดินไป
พระบาลีและพระกัณหาปรารถนาจะพบพระมัทรีผู้พระ
มารดา ก็ทรงพิลาปรำพันในสถานที่นั้น ด้วยประการ
ฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาทุกา ได้แก่ เท้าน้อย ๆ. บทว่า
โอกนฺทามฺหเส ได้แก่ คร่ำครวญ. ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอแสดงความนับถือ
คือความประพฤตินอบน้อมให้ทราบ. บทว่า สรสฺส ความว่า ขอกราบ
ไหว้เหล่าเทวดาผู้รักษาสระปทุมนี้ด้วยเศียรเกล้า. บทว่า สุปติตฺเถ จ อาปเก
ความว่า ขอกราบไหว้แม้เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี. บทว่า
ติณา ลตา ได้แก่ ติณชาติและลดาชาติที่ห้อยย้อยลง. บทว่า โอสโธฺย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 737
ได้แก่ พฤกษชาติที่เป็นโอสถ พระกัณหาชินากุมารีตรัสอย่างนี้ทรงหมายถึง
เหล่าเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในที่ทั้งปวง. บทว่า อนุปติตุกามา ความว่า แม้ถ้า
พระแม่เจ้านั้นมีพระประสงค์จะเสด็จมาตามรอยเท้าของลูกทั้งสอง. บทว่า อปิ
ปสฺเสสิ โน ลหุ ความว่า ถ้าพระแม่เจ้าเสด็จตามมาทางที่เดินได้เฉพาะคน
เดียวนั้น ก็จะได้พบลูกน้อยทั้งสองของพระองค์ทันท่วงที ฉะนั้นพระกัณหา-
กุมารีจึงตรัสอย่างนี้ พระกัณหากุมารีตรัสเรียกพระแม่เจ้า ด้วยการเรียกลับ
หลังว่า ชฏินี. บทว่า อติเวล ได้แก่ ทำให้เกินประมาณ. บทว่า อุญฺฉา
ได้แก่ มูลผลในป่า ที่ได้มาด้วยการเที่ยวเสาะหา. บทว่า ขุทฺเทน มิสฺสก
ได้แก่ ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย. บทว่า อาสิโต ได้แก่ ได้กินคือบริโภคผลไม้
แล้ว. บทว่า ฉาโต ได้แก่ มีความพอใจแล้ว. บทว่า น พาฬฺห ตรเยยฺย
ความว่า ไม่พึงนำไปด้วยความเร็วจัด. บทว่า มาตุคิทฺธิโน ความว่า
พระชาลีและพระกัณหาชินาประกอบด้วยความรักในพระมารดา มีความเสน่หา
เป็นกำลัง จึงได้พร่ำรำพันอย่างนี้
จบกุมารบรรพ
มัทรีบรรพ
ก็ในเมื่อ พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงบริจาคปิยบุตรมหาทาน เกิด
มหัศจรรย์มหาปฐพีบันลือลั่นโกลาหลเป็นอันเดียวกันตลอดถึงพรหมโลก หมู่
เทวดาที่อยู่ ณ หิมวันตประเทศ เป็นประหนึ่งมีหทัยจะภินทนาการด้วยเหตุอัน
ได้ยินเสียงพิลาปรำพันนั้นแห่งพระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีที่
ชูชกพราหมณ์นำไป ต่างปรึกษากันว่า ถ้าพระนางมัทรีเสด็จมาสู่อาศรมสถาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 738
แต่วัน พระนางไม่เห็นพระโอรสธิดาในอาศรมนั้น ทูลถามพระเวสสันดร
ทรงทราบว่าพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชกไปแล้ว พึงเสด็จแล่นตามไปด้วย
ความเสน่หาเป็นกำลัง ก็จะพึงเสวยทุกข์ใหญ่.
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นจึงบังคับสั่งเทพบุตร ๓ องค์ว่า ท่านทั้ง ๓
จงจำแลงกายเป็นราชสีห์ เป็นเสือโคร่ง เป็นเสือเหลือง กั้นทางเสด็จพระ-
นางมัทรีไว้ แม้พระนางวิงวอนขอทางก็อย่าให้ จนกว่าดวงอาทิตย์อัสดงคต
พึงจัดอารักขาให้ดี เพื่อไม่ให้ราชสีห์เป็นต้นเบียดเบียนพระนางได้ จนกว่าได้
เสด็จเข้าอาศรมด้วยแสงจันทร์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เทพเจ้าทั้งหลาย ได้ฟังความคร่ำครวญของราช
กุมารกุมารี จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง
สามจงจำแลงกายเป็นสัตว์ร้ายในป่า คือ เป็นราชสีห์
เสือโคร่ง เสือเหลือง คอยกันพระนางมัทรีราชบุตรี
อย่าพึงเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย เหล่า
พาลมฤคในป่าอันเป็นเขตแดนของพวกเรา อย่าได้
เบียดเบียนพระนางเจ้าเลย ถ้าราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ
เหลืองพึงเบียดเบียนพระนางเจ้าผู้มีลักษณะพระชาลี
ราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาจะพึง
มีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้มีลักษณะจะพึง
เสื่อมจากพระราชสวามีและพระปิยบุตรทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท วจนมพฺรวุ ความว่า เทวดา
เหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะเทพบุตรทั้งสามว่า ท่านทั้งหลาย คือทั้งสามองค์ จง
แปลงเป็นพาลมฤคในป่าสามชนิดอย่างนี้คือ ราชสีห์หนึ่ง เสือโคร่งหนึ่ง เสือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 739
เหลืองหนึ่ง. บทว่า มา เหว โน ความว่า เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า พระ-
นางมัทรีราชบุตรีอย่าเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย จงเสด็จมาจน
ค่ำอาศัยแสงเดือน. บทว่า มา เหวมฺทาก นิพฺโภเค ความว่า พาลมฤค
ไร ๆ ในป่าอันเป็นเขตแดน คือเป็นแว่นแคว้นของพวกเรา อย่าได้เบียดเบียน
พระนางเจ้าในป่าชัฏของพวกเราเลย เทวดาทั้งหลายสั่งเทพบุตรทั้งสามว่า พวก
ท่านจงอารักขาพระนางมัทรีโดยประการที่สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนไม่ได้.
บทว่า สีโห เจ น ความว่า ก็ถ้าสัตว์ร้ายไร ๆ ในบรรดาราชสีห์เป็นต้นพึง
เบียดเบียนพระนางมัทรีซึ่งไม่มีการระวังรักษา ครั้นเมื่อพระนางมัทรีถึงชีพิ-
ตักษัย พระชาลีราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาราชกุมารีจะ
พึงมีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะนั้นจะพึงเสื่อมจาก
พระปิยบุตรทั้งสองทีเดียว. บทว่า ปติปุตฺเต จ ความว่า พระนางเจ้ามัทรี
จะพึงเสื่อมจากส่วนทั้งสอง เพราะฉะนั้นท่านทั้งสามจงจัดอารักขาให้ดี.
ครั้งนั้น เทพบุตรทั้งสามรับคำของเทวดาเหล่านั้นว่า สาธุ ต่างจำแลง
กายกลายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มานอนหมอบเรียงกันอยู่ในมรรคา
ที่พระนางเจ้ามัทรีเสด็จมา.
ฝ่ายพระนางมัทรีหวั่นพระหฤทัยว่า วันนี้เราฝันร้าย จักหามูลผลาผล
ในป่ากลับอาศรมแต่วัน ก็ทรงพิจารณาหามูลผลาผลทั้งหลาย ลำดับนั้น (เกิด
ลางร้าย) เสียมหลุดจากพระหัตถ์ของพระนางเจ้า กระเช้าก็หลุดจากพระอังสา
พระเนตรเบื้องขวาก็เขม่น พฤกษาชาติที่มีผลก็เป็นเหมือนไม่มีผล พฤกษา-
ชาติทีไม่เคยมีผลก็ปรากฏเป็นราวกะว่ามีผล ทิศทั้งปวงก็ไม่ปรากฏ พระนาง
เจ้ามัทรีทรงพิจารณาว่า นี่เป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนก็มามีในวันนี้
เหตุการณ์อะไรจักมีแก่เรา แก่ลูกทั้งสองของเรา หรือแด่พระเวสสันดรราช-
สวามี กระมัง ทรงคิดฉะนี้แล้ว ตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 740
เสียมก็ตกจากมือของเรา และนัยน์ตาขวาของ
เราก็เขม่น รุกขชาติที่เคยมีผลก็หาผลมิได้ ทิศทั้งปวง
เราก็ฟั่นเฟือนลุ่มหลง พระนางเจ้าเสด็จมาสู่อาศรมใน
เวลาเย็น ในเมื่อดวงอาทิตย์อัศดงคต พาลมฤคก็ปรากฏ
ในหนทาง ครั้นเมื่อพระอาทิตย์โคจรลงต่ำ อาศรมก็
ยังอยู่ไกล เราจักนำมูลผลาผลใดไปแต่ที่นี้ เพื่อพระ-
ราชสวามีและลูกทั้งสอง พระราชสวามีและลูกทั้งสอง
พึงเสวยมูลผลาผลอันเป็นของเสวยนั้น พระบรม
กษัตริย์ผู้ภัสดาเสด็จอยู่ที่บรรณศาลาแต่พระองค์เดียว
แท้ ๆ ทรงเห็นว่าเรายังไม่กลับ ก็จะทรงปลอบโยน
พระโอรสพระธิดาผู้หิว ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ เคยเสวยนมเคยเสวยน้ำในเวลาที่คน
สามัญเรียกให้อาหารเวลาเย็น ลูกทั้งสองของเราเป็น
กำพร้าด้วยความเข็ญใจ เคยลุกยืนรับเรา เหมือนลูก
โคอ่อนยืนคอยแม่โคนม ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ หรือประหนึ่งลูกหงส์ยืนอยู่บนเปือก
ตมคอยแม่ ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้าด้วยความ
เข็ญใจ เคยยืนรับเราแต่ที่ใกล้อาศรม ทางเดินไปมี
เฉพาะทางเดียว เป็นทางเดินได้คนเดียว เพราะมีสระ
และที่ลุ่มลึกอยู่ข้าง ๆ เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งจะพึงแยก
ไปสู่อาศรม ข้าขอนอบน้อมพระยาพาลมฤคผู้มีกำลัง
มากในป่า ท่านทั้งหลายจงเป็นพี่ของข้าโดยธรรม จง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 741
ให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอเถิด ข้าเป็นมเหสีของพระเวส-
สันดรราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกเนรเทศจากแคว้น ข้าผู้
อนุวัตรไม่ล่วงเกินพระราชสวามี ดุจนางสิดาผู้อนุวัตร
ไม่ล่วงเกินพระรามราชสวามี ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย
จงให้ทางแก่ข้า แล้วไปพบลูกทั้งสอง เพราะถึงเวลา
เรียกกินอาหารเย็นแล้ว ส่วนข้าก็จะได้ไปพบชาลีและ
กัณหาชินาบุตรบุตรีทั้งสองของข้า รากไม้ผลไม้นี้มี
มากและภักษานี้ก็มีไม่น้อย ข้าให้กึ่งหนึ่งแต่มูลผลาผล
นั้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่ข้า
ผู้ขอเถิด พระมารดาของพวกข้าเป็นพระราชบุตร และ
พระบิดาของพวกข้าก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้งหลาย
จงเป็นภาดาของข้าโดยธรรม จงให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอ
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา ได้แก่ เรานั้น. บทว่า
อสฺสมาคมน ปติ ความว่า มาหมายเฉพาะอาศรม. บทว่า อุปฏฺหุ
ได้แก่ ปรากฏขึ้น เล่ากันมาว่า สามสัตว์เหล่านั้นนอนเรียงกันอยู่ก่อน เวลา
พระนางมัทรีเสด็จมา จึงลุกขึ้นบิดตัวแล้ว แล้วกั้นบรรดายืนขวางเรียงกันอยู่.
บทว่า ยญฺจ เนส ความว่า ชนทั้งสามนั้น คือ พระเวสสันดรและลูกน้อย
ทั้งสองของพระองค์ พึงบริโภคมูลผลาผลที่ข้านำไปแต่ป่านี้เพื่อเขา โภชนา
หารอย่างอื่นไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า อนายตึ ความว่า พระเวสสันดร
ทราบว่าข้ายังไม่กลับมา พระองค์เดียวนั่นแหละประทับนั่งปลอบโยนเด็ก
ทั้งสองแน่ ๆ. บทว่า สเวสนากาเล ได้แก่ ในเวลาที่ตนให้กินอาหาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 742
ให้ดื่มน้ำในวันอื่น ๆ. บทว่า ขีร ปีตาว ความว่า พระนางมัทรีตรัสว่า
ลูกน้อยมฤคีที่ยังไม่อดนมร้องหิวนม เมื่อไม่ได้นมก็ร้องไห้จนหลับไป ฉันใด
ลูกน้อยทั้งสองของข้า ร้องไห้อยากผลาผล เมื่อไม่ได้ผลาผลก็จักร้องไห้จน
หลับไป ฉันนั้น. บทว่า วารึ ปีตาว ความว่า ในอาศรมบท พึงเห็นเนื้อ
ความโดยนัยนี้ว่า เหมือนลูกน้อยมฤคมีความระหาย ร้องหิวน้ำ เมื่อไม่ได้น้ำ
ก็ร้องคร่ำครวญจนหลับไป. บทว่า อจฺฉเร ได้แก่ อยู่. บทว่า ปจฺจุคฺคตา
ม ติฏฺนฺติ ความว่า ยืนคอยรับเรา. ปาฐะว่า ปจฺจุคิคตุ ก็มีความว่า
ต้อนรับ. บทว่า เอกายโน ได้แก่ เป็นที่ไปแห่งคนผู้เดียวเท่านั้น คือเป็น
ทางเดินได้เฉพาะคนเดียว. บทว่า เอกปโถ ความว่า ทางนั้นเฉพาะคนเดียว
เท่านั้น ไม่มีคนที่สอง คือไม่อาจแม้จะก้าวลงไปได้ เพราะเหตุไร เพราะมี
สระและที่ลุ่มลึกอยู่ข้างทาง. บทว่า นมตฺถุ ความว่า พระนางมัทรีนั้นทอด
พระเนตรไม่เห็นทางอื่นคิดว่า เราจักอ้อนวอนสามสัตว์เหล่านี้ให้ช่วยเรากลับ
ไปได้ จึงลดกระเช้าผลไม้ลงจากพระอังสา ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวอย่าง
นี้. บทว่า ภาตโร ความว่า ก็พวกเราเป็นลูกของเจ้ามนุษย์ แม้พวกท่านก็
เป็นลูกของเจ้ามฤค ดังนั้นขอพวกท่านจงเป็นพี่โดยธรรมของข้าเถิด. บทว่า
อวรุทฺธสฺส ได้แก่ ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น. บทว่า ราม สีตาวนุพฺพ-
ตา ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า พระเทวีสีตาผู้พระกนิษฐาของพระราม
เป็นพระอัครมเหสีของพระรามนั้นเอง เป็นผู้อนุวัตรตามพระราม คือ เคารพ
ยำเกรงพระรามผู้สวามีเหมือนเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุงบำเรอพระราม
ราชโอรสของพระเจ้าทศรถมหาราช ฉันใด แม้ข้าก็เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุง
บำเรอพระเวสสันดร ฉันนั้น. บทว่า ตุมฺเห จ ความว่า พระนางมัทรี
อ้อนวอนว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่เราแล้วไปพบลูก ๆ ของท่านใน
เวลากินอาหารเย็นส่วนข้าก็จะพบลูก ๆ ของข้า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 743
ครั้งนั้น เทพบุตร (ที่จำแลงเป็นสามสัตว์) เหล่านั้น แลดูเวลาก็รู้ว่า
บัดนี้เป็นเวลาที่จะให้บรรดาแก่พระนางแล้ว จึงลุกขึ้นหลีกไป
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระนางเจ้ามัทรีทรงพิไรรำพันอยู่ เหล่า
มฤคจำแลงได้ฟังพระวาจาอันอ่อนหวานกอรปด้วยน่า
เอ็นดูมาก ก็หลีกไปจากทางเสด็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนลปตึ ความว่า วาจาอ่อนหวาน
บริสุทธิ์ ไม่มากไปด้วยน้ำลาย คือปราศจากน้ำลายแตก.
เมื่อพาลมฤคทั้งสามหายไปแล้ว พระนางเจ้ามัทรีก็เสด็จไปถึงอาศรม
ก็ในกาลนั้นเป็นวันบูรณมีอุโบสถ พระนางเจ้าเสด็จถึงท้ายที่จงกรม ไม่เห็น
พระลูกรักทั้งสองซึ่งเคยเห็นในที่นั้น ๆ จึงตรัสว่า
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ลุกยืนรับเราในประเทศนี้ ดุจลูกวัวอ่อนยืนคอยแม่
โคนมฉะนั้น.
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนต้อนรับแม่อยู่ตรงนี้ดุจหงส์ยืนอยู่บนเปือกตมฉะนั้น
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนรับเราอยู่ที่ใกล้อาศรมนี้ ลูกทั้งสองเคยร่าเริงหรรษา
วิ่งมาต้อนรับแม่ ดุจมฤคชาติชูหูวิ่งแล่นไปโดยรอบ
ฉะนั้น ร่าเริงบันเทิงเป็นไป ประหนึ่งยังหัวใจแม่ให้
ยินดี วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง
นั้น วันนี้แม่ละลูกทั้งสองออกไปหาผลไม้ เหมือน
แม่แพะแม่เนื้อและแม่นกพ้นไปจากรัง และแม่ราชสีห์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 744
อยากได้เหยื่อ ละลูกไว้ออกไปฉะนั้น แม่กลับมาก็ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น วันนี้แม่ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ซึ่งมีรอยบาท
ก้าวไปมาปรากฏอยู่ดุจรอยเท้าแห่งช้าง ข้างภูเขาและ
กองทรายที่ลูกทั้งสองกองไว้ ยังเกลื่อนอยู่ในที่ไม่ไกล
อาศรม แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองซึ่งเคยเอาทรายโปรยเล่น
จนกายขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นวิ่งไปรอบๆ วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง ซึ่งแต่ก่อน
เคยต้อนรับแม่ผู้กลับจากป่ามาแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็น
ลูกทั้งสองซึ่งคอยรับแม่ แลดูแม่แต่ไกลดุจลูกแพะลูก
เนื้อวิ่งมาหาแม่ของตนแต่ไกล ก็ผลมะตูมเหลืองนี้เป็น
ของเล่นของลูกทั้งสองตกอยู่แล้ว วันนี้แม่ไม่เห็นชาลี
และกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ถันทั้งสองของแม่นี้
เต็มด้วยน้ำนม แต่อุระราวกะจะแตกทำลาย วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ลูกชาย
หรือลูกหญิงเลือกดื่มนมอยู่บนตักของแม่ราวกะถันข้าง
หนึ่งของแม่จะยาน วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินา
ลูกรักทั้งสองนั้น.
ลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นในสายัณห์
สมัย มาเกลือกกลิ้งไปมาบนตักแม่ แม่ไม่เห็นลูก
ทั้งสองนั้น เมื่อก่อนอาศรมนี้นั้นปรากฏแก่เราราวกะ
มีมหรสพ วันนี้แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น อาศรม
เหมือนจะหมุนไป นี่อย่างไร อาศรมสถานเงียบเสียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 745
เสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้แต่ฝูงกาก็ไม่มีอยู่ ลูก
ทั้งสองของแม่จักสิ้นชนมชีพเสียแน่แล้ว นี่อย่างไร
อาศรมสถานเงียบเสียงเสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้
แต่ฝูงสกุณชาติก็ไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของแม่จักสิ้น
ชนมชีพเสียแน่แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปสุกุณฺิตา
ได้แก่ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น. บทว่า ปจฺจุคฺคตา ม ความว่า คอยรับเรา.
ปาฐะว่า ปจฺจุคนฺตุ ดังนี้ก็มี ความว่า ต้อนรับ. บทว่า อุกฺกณฺณา
ความว่า เหมือนพวกลูกเนื้อตัวน้อย ๆ เห็นแม่ ก็ยกหูชูคอเข้าไปหาแม่ ร่าเริง
ยินดี วิ่งเล่นอยู่รอบ ๆ. บทว่า วตฺตมานาว กมฺปเร ความว่า เป็นไป
ราวกะยังหัวใจขอแม่ให้ยินดี เมื่อก่อนลูกทั้งสองของเราเป็นอย่างนี้. บทว่า
ตยชฺช ความว่า วันนี้แต่ไม่เห็นลูกรักทั้งสองนั้น. บทว่า ฉคิลีว มิคี ฉาป
ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า แม่แพะ แม่เนื้อ และแม่นกที่พ้นไปจากรัง
คือกรง และแม่ราชสีห์พีอยากได้เหยื่อ ละลูกน้อยของตนหลีกไปหาเหยื่อ
ฉันใด แม่ก็ละลูกทั้งสองออกไป ฉันนั้น. บทว่า อิท เนส ปรกฺกนฺต
ความว่า รอยเท้าที่วิ่งไปวิ่งมาในสถานที่เล่นของลูกทั้งสองยังปรากฏอยู่ ดุจรอย
เท้าช้างที่เนินเขาในฤดูฝน. บทว่า จิตกา ได้แก่ กองทรายที่ลูกทั้งสองกอง
เข้าไว้. บทว่า ปริกิณฺณาโย ได้แก่ กระจัดกระจาย. บทว่า สมนฺตาม-
ภิธาวนฺติ ความว่า วิ่งแล่นไปรอบๆ ในวันอื่น ๆ. บทว่า ปจฺจุเทนฺติ
ได้แก่ ต้อนรับ. บทว่า ทูรมายตึ ได้แก่ ผู้มาแต่ไกล. บทว่า ฉคิลึว
มิคึ ฉาปา ความว่า เห็นแม่ของตนแล้ววิ่งมาหา เหมือนลูกแพะเห็นแม่แพะ
ลูกเนื้อเห็นแม่เนื้อ. บทว่า อิทญฺจ เนส กีฬน ความว่า ผลมะตูมมีสีดัง
ทองนี้ เป็นของเล่นของลูกทั้งสองซึ่งเล่นตุ๊กตาช้างเป็นต้น กลิ้งตกอยู่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 746
บทว่า มยฺหิเม ความว่า ก็ถันทั้งสองของเรานี้เต็มด้วยน้ำนม. บทว่า อุโร
จ สมฺปทาลิภิ ความว่า แต่หทัยเหมือนจะแตก. บทว่า อุจฺจงฺเก เม
วิวตฺตนฺติ ความว่า กลิ้งเกลือกอยู่บนตักของเรา. บทว่า สมฺมชฺโช
ปฏิภาติ ม ความว่า ปรากฏแก่เราเหมือนโรงมหรสพ. บทว่า ตฺยชฺช
ตัดบทเป็น เต อชฺช ความว่า วันนี้เราไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น. น ปสฺสนฺตฺยา
ได้แก่ เราไม่เห็นอยู่. บทว่า ภมเต วิย ความว่า ย่อมหมุนเหมือนจักร
ของช่างหม้อ. บทว่า กาโกลา ได้แก่ ฝูงกาป่า. บทว่า มตา นูน
ความว่า จักตายคือจักถูกใคร ๆ นำไปแน่. บทว่า สกุณาปิ ได้แก่ ฝูงนก
ที่เหลือ. บทว่า มตา นูน ความว่า จักตายเสียเป็นแน่แล้ว
พระนางมัทรีพิลาปรำพันอยู่ด้วยประการฉะนี้ เสด็จไปเฝ้าพระเวส-
สันดรมหาสัตว์ ปลงกะเช้าผลไม้ลงเห็นพระมหาสัตว์ประทับนั่งนิ่งอยู่ เมื่อ
ไม่เห็นพระโอรสธิดาในสำนักพระภัสดา จึงทูลถามว่า
นี้อย่างไร พระองค์ทรงนิ่งอยู่ เออก็เมื่อหม่อม
ฉันฝันในราตรี ใจก็นึกถึงอยู่ แม้ฝูงกาฝูงนกก็ไม่มี
อยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันจักสิ้นชีพเสียแน่แล้ว
ข้าแต่พระลูกเจ้า พาลมฤคในป่าที่ไร้ผลและเงียบสงัด
ได้กัดกินลูกทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วกระมัง หรือ
ใครนำลูกทั้งสองของหม่อมฉันไปเสียแล้ว ลูกทั้งสอง
ของหม่อมฉันพระองค์ให้เป็นทูตส่งไปเฝ้าพระสีวีราช
กรุงเชตุดรหรือเธอผู้ช่างตรัสเป็นที่รักบรรทมหลับใน
บรรณศาลา หรือเธอขวนขวายในการเล่นเสด็จออกไป
ข้างนอกหนอ เส้นพระเกสาของลูกทั้งสองไม่ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 747
พระหัตและพระบาทซึ่งมีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏเลย
เห็นจะถูกนกทั้งหลายโฉบคาบไป ลูกทั้งสองของ
หม่อมฉันอันใครนำไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ รตฺเตว เม มโน ความว่า เออ
ก็ใจของหม่อมฉันเป็นเหมือนเห็นสุบินในเวลาใกล้รุ่ง. บทว่า มิคา ได้แก่
พาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้น. บทว่า อีริเน ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า วิวเน
ได้แก่ เงียบสงัด. บทว่า อาทู เต ความว่า หรือว่าพระองค์ให้เป็นทูตส่ง
ไปเฝ้าพระเจ้าสีวีราชกรุงเชตุดร. บทว่า อาทู สุตฺตา ความว่า เสด็จเข้า
บรรทมภายในบรรณศาลา. บทว่า อาทู พหิ โน ความว่า พระนางมัทรี
ทูลถามว่า หรือว่าลูกทั้งสองของหม่อมฉันเหล่านั้นขวนขวายในการเล่นออกไป
ข้างนอก. บทว่า เนวาส เกสา ทิสฺสนฺติ ความว่า ข้าแต่พระสวามี
เวสสันดร เกสาสีดอกอัญชันดำของลูกทั้งสองนั้นไม่ปรากฏเลย หัตถ์และบาทซึ่ง
มีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏ. บทว่า สกุณานญฺจ โอปาโต ความว่า ใน
หิมวันตประเทศมีนกหัสดีลิงค์ นกเหล่านั้นบินมาพาไปทางอากาศนั่นแล เหตุ
นั้นหม่อมฉันอันนกเหล่านั้นนำไปหรือ แม้นกอะไร ๆ อื่นจากนี้ซึ่งเป็นราวกะ
ว่านกเหล่านั้นโฉบเอาไป ขอพระองค์โปรดบอก ลูกทั้งสองของหม่อมฉันอัน
ใครนำไป.
แม้เมื่อพระนางมัทรีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส
อะไร ลำดับนั้น พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เหตุไรพระองค์
จึงไม่ตรัสกะหม่อมฉัน หม่อมฉันมีความผิดอย่างไร ทูลฉะนี้แล้วตรัสว่า
การที่พระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉันนี้เป็นทุกข์ยิ่ง
ว่าการที่วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 748
รักทั้งสองนั้น เหมือนแผลที่ถูกแทงด้วยลูกศร การ
ไม่เห็นลูกทั้งสองและพระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉัน แม้
นี้เป็นทุกข์ซ้ำสอง เหมือนลูกศรแทงหทัยของหม่อม
ฉัน.
ข้าแต่พระราชบุตร วันนี้ถ้าพระองค์ไม่ตรัสกะ
หม่อมฉันตลอดราตรีนี้ พรุ่งนี้เช้าชะรอยพระองค์จะ
ได้ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันปราศจากชีวิตตายเสีย
แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ตโต ทุกฺขตร ความว่า ข้าแต่
พระสวามีเวสสันดร การที่พระองค์ไม่ตรัสกับหม่อมฉัน เป็นทุกข์แก่หม่อมฉัน
ยิ่งกว่าทุกข์ที่หม่อมฉันถูกเนรเทศจากแว่นแคว้นมาอยู่ป่า และทุกข์ที่หม่อมฉัน
ไม่เห็นลูกทั้งสอง เพราะพระองค์ทำให้หม่อมฉันลำบากด้วยความนิ่ง เหมือน
รื้อเรือนไฟไหม้ เหมือนเอาไม่ตีคนตกต้นตาล เหมือนเอาลูกศรแทงที่แผล
ด้วยว่าหทัยของหม่อมฉันนี้ย่อมหวั่นไหวและเจ็บปวด เหมือนแผลที่ถูกแทง
ด้วยลูกศร. ปาฐะว่า สวิทฺโธ ดังนี้ก็มี ความว่า แทงทะลุตลอด. บทว่า
โอกฺกนฺตสนฺตม ได้แก่ ซึ่งหม่อมฉันผู้ปราศจากชีวิต. โน อักษร ในบทว่า
ทกฺขสิ โน นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่า พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็น
หม่อมฉันตายเสียแล้วตรงเวลาทีเดียว.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราจักให้พระนางมัทรีละความ
โศกเพราะบุตรเสียด้วยถ้อยคำหยาบ จึงตรัสคาถานี้ว่า
แน่ะมัทรี เธอเป็นราชบุตร มีรูปงาม มียศ ไป
เสาะหาผลไม้แต่เช้า ไฉนหนอจึงกลับมาจนเย็น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 749
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมิท สายนาคตา ความว่า พระเวส
สันดรบรมโพธิสัตว์ตรัสคุกคามและลวงว่า แน่ะมัทรี เธอมีรูปงามน่าเลื่อมใส
และในหิมวันตประเทศก็มีพรานป่า ดาบสและวิทยาธรเป็นต้นท่องเที่ยวอยู่เป็น
อันมาก ใครจะรู้เรื่องอะไรๆ ทีเธอทำแล้ว เธอไปป่าแต่เช้า กลับมาจนเย็น
นี่อย่างไร ธรรมดาหญิงที่ละเด็กเล็กๆ ไปป่า จะเป็นหญิงมีสามีหรือไม่มีก็
ตามย่อมไม่เป็นอย่างนี้ ความคิดแม้เพียงนี้ว่า ลูกน้อยของเราจะเป็นอย่างไร
หรือสามีของเราจักคิดอย่างไร ดังนี้มิได้มีแก่เธอ เธอไปแต่เช้า กลับมาด้วย
แสงจันทร์นี้เป็นโทษแห่งความยากเข็ญของฉัน.
พระนางมัทรีได้สดับพระราชดำรัสดังนั้นจึงทูลสนองว่า
พระองค์ได้ทรงสดับเสียงกึกก้องของพาลมฤคที่
มาสู่สระเพื่อดื่มน้ำ คือราชสีห์ เสือโคร่งผู้บันลือเสียง
แล้วมิใช่หรือ ? บุรพนิมิตได้เกิดมีแก่หม่อมฉันผู้เที่ยว
อยู่ในป่าใหญ่ เสียมหลุดจากมือของหม่อนฉัน กระ-
เช้าที่คล้องอยู่บนบ่าก็พลัดตก กาลนั้นหม่อมฉันตกใจ
กลัว ได้กระทำอัญชลีไหว้ทิศต่าง ๆ ทุกทิศด้วยปรารถนา
ว่า ขอความปลอดโปร่งแต่ภัยนี้พึงมีแก่เรา และพระ-
ราชบุตรของเราทั้งหลาย อันราชสีห์และเสือเหลือง
อย่าได้เบียดเบียนเลย ทั้งกุมารกุมารีทั้งสอง อันหมี
หมาป่า และเสือดาว อย่าได้มาจับต้องเลย พาลมฤค
ในป่าทั้งสามสัตว์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง
เหล่านั้น พบหม่อมฉันแล้วขวางทางไว้ ด้วยเหตุนั้น
หม่อมฉันจึงได้กลับเย็นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 750
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย สร ปาตุ ความว่า สัตว์เหล่าใด
มาสู่สระนี้เพื่อดื่มน้ำ. บทว่า พฺยคฺฆสฺส จ ความว่า พระนางมัทรีทูลถาม
ว่า พระองค์ได้ทรงสดับเสียงของเสือโคร่งและสัตว์สี่เท้าอื่น ๆ มีช้างเป็นต้น
และฝูงนกที่ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกันแล้วมิใช่หรือ ก็เสียงนั้นได้มีใน
เวลาที่พระมหาสัตว์พระราชทานพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อหุ ปุพฺพ-
นิมิตฺต ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรพนิมิตเพื่อเสวยทุกข์อันนี้ได้มีแก่
หม่อมฉันแล้ว. บทว่า อุคฺคีว ได้แก่ กระเช้าที่คล้องอยู่บนบ่าพลัดตก.
บทว่า ปุถุ ความว่า หม่อมฉันนมัสการแต่ละทิศทั่วสิบทิศ. บทว่า มา
เหว โน ความว่า หม่อนฉันนมัสการปรารถนาว่า ขอพระราชบุตรเวสสันดร
ของพวกเราจงอย่าถูกพาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้นฆ่า ขอลูกทั้งสองจงอย่าถูกหมี
เป็นต้นแตะต้อง. บทว่า เต ม ปริยาวรุ มคฺค ความว่า พระนางมัทรี
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสวามี หม่อมฉันคิดว่า เราได้เห็นเหตุที่น่ากลัวเหล่านี้
เป็นอันมาก และเห็นสุบินร้ายวันนี้เราจักกลับมาให้ทันเวลาทีเดียว เห็นต้นไม้
ที่ผลิตผลเหมือนไม่มีผล ต้นไม้ที่ไม่มีผล ก็เหมือนผลิตผล เก็บผลาผลได้
โดยยาก ไม่อาจมาถึงประตูป่า ทั้งราชสีห์เป็นต้นเหล่านั้นเห็นหม่อมฉันแล้ว
ได้ยืนเรียงกันกั้นทางเสีย เพราะเหตุนั้นหม่อมฉันจึงมาจนเย็น ขอพระองค์ได้
โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ.
พระมหาสัตว์ตรัสพระวาจาเท่านี้กับพระนางมัทรีแล้ว มิได้ตรัสอะไร ๆ
อีกจนอรุณขึ้น จำเดิมแต่นี้ พระนางมัทรีพิลาปรำพันมีประการต่าง ๆ ตรัสว่า
หม่อมฉันผู้เป็นชฏินีพรหมจารินี บำรุงพระสวามี
และลูกทั้งสองตลอดวันคืนดุจมาณพบำรุงอาจารย์
หม่อมฉันนุ่งห่มหนึ่งเสือเหลืองนำมูลผลในป่ามา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 751
ประพฤติอยู่ตลอดวันคืน เพราะใคร่ต่อพระองค์และ
บุตรธิดา หม่อมฉันฝนขมิ้นสีเหมือนทองนี้เพื่อทาลูก
ทั้งสอง และนำผลมะตูมสุกเหลืองนี้เพื่อถวายให้ทรง
เล่น และนำผลไม้ทั้งหลายมาด้วยหวังว่า ผลไม้เหล่า
นี้จะเป็นเครื่องเล่นของพระโอรสธิดาแห่งพระองค์
ข้าแต่บรมกษัตริย์ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและ
พระธิดา จงเสวยสายบัว เหง้าบัว กระจับประกอบ
ด้วยรสหวานน้อย ๆ นี้ พระองค์จงประทานดอกกุมุท
แก่แม่กัณหา พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพระกุมาร
ผู้ประดับระเบียบดอกไม้ฟ้อนรำอยู่ โปรดตรัสเรียก
สองพระราชบุตรมาเถิด แม่กัณหาชินาจะได้มานี่
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ขอพระองค์จงพิจารณาดูแม่
กัณหาชินาผู้มีเสียงดังไพเราะขณะเข้าไปสู่อาศรม เรา
ทั้งสองถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น เป็นผู้ร่วมสุขร่วม
ทุกข์กัน ก็พระองค์ได้ทรงเห็นพระราชบุตรทั้งสอง
คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินาบ้างหรือไม่ ชรอยว่า
หม่อมฉันได้บริภาษสมณพราหมณ์ผู้มีพรหมจรรย์เป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า ผู้มีศีล ผู้พหูสูต ในโลกไว้กระมัง
วันนี้จึงไม่พบลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่กัณหา
ชินา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยมิว มาณโว ความว่า เหมือน
อันเตวาสิกผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติอาจารย์. บทว่า อนุฏฺิตา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 752
หม่อมฉันบำรุง คือเป็นผู้ไม่ประมาทปฏิบัติด้วยการลุกขึ้นบำเรอ. บทว่า
ตุมฺห กามา ความว่า ปรารถนาพระองค์ด้วยใคร่ต่อพระองค์ พระนางมัทรี
คร่ำครวญรำพันถึงสองกุมารด้วยบทว่า ปุตฺตกา. บทว่า สุวณฺณหาลิทฺท
ความว่า หม่อมฉันฝนคือบดขมิ้นซึ่งมีสีเหมือนทองถือมาเพื่อสรงสนานพระ
โอรสธิดาของพระองค์. บทว่า ปณฺฑุเวลุว ความว่า แม้ผลมะตูมสุกซึ่งมี
สีเหมือนทองนี้ หม่อมฉันก็นำมาเพื่อพระองค์ทรงเล่น. บทว่า รุกฺขปกฺกานิ
ความว่า แม้ผลไม้อื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ชอบใจ หม่อมฉันก็ได้นำมาเพื่อพระองค์
ทรงเล่น. บทว่า อิเมโว ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า ลูกน้อยทั้งสองนี้
เป็นเครื่องเล่นของพระองค์. บทว่า มูฬาลิวตฺตก ได้แก่ สายบัว. บทว่า
สาลุก ความว่า แม้เหง้าบัวมีอุบลเป็นต้นนี้ หม่อมฉันก็นำมาเป็นอันมาก.
บทว่า ชิญฺชโรทก ได้แก่ กระจับ. บทว่า ภุญฺช ความว่า พระนางมัทรี
คร่ำครวญว่า ขอพระองค์โปรดเสวยของนี้ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อย
พร้อมด้วยพระโอรสธิดา. บทว่า สิวิ ปุตฺตานิ อวยฺห ความว่า ข้าแต่
พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี ขอพระองค์โปรดรีบตรัสเรียกพระโอรสธิดาจากที่บรร-
ทมในบรรณศาลา. บทว่า อปิ สิวิ ปุตฺเต ปสฺเสสิ ความว่า ข้าแต่
พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี พระองค์ทอดพระเนตรดูพระโอรสธิดาทั้งสองเถิด
ถ้าทรงเห็นก็โปรดแสดงแก่หม่อมฉัน ขอได้โปรดอย่าให้หม่อมฉันลำบากนัก
เลย. บทว่า อภิสสึ ความว่า หม่อมฉันได้ด่าเป็นแน่อย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
หลายจงอย่าพบบุตรธิดาของพวกท่านเลย.
แม้พระนางมัทรีทรงพิลาปรำพันอยู่อย่างนี้ พระเวสสันดรมหาสัตว์ก็
มิได้ตรัสอะไร ๆ ด้วยเลย ครั้นพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางมัทรีก็หวั่น
พระหฤทัยเสด็จเที่ยวค้นหาพระโอรสพระธิดาของพระองค์ด้วยอาศัยแสงจันทร์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 753
เสด็จถึงสถานที่ทั้งปวงนั้น ๆ มีต้นหว้าเป็นต้น ซึ่งเป็นที่พระโอรสพระธิดาเคย
เล่น ทรงคร่ำครวญตรัสว่า
รุกขชาติต่าง ๆ เช่นไม้หว้า ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่ง
ห้อยย้อย อนึ่งรุกขชาติที่มีผลต่าง ๆ เช่นไม้โพใบ
ขนุน ไทร มะขวิด ปรากฏอยู่ทั้งนั้น แต่ลูกทั้งสอง
หาปรากฏไม่ ลูกทั้งสองเคยเล่นที่สวนและแม่น้ำซึ่งมี
น้ำเย็น เคยทัดทรงบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา และเคย
เสวยผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่
ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นยัง
ปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิเม โน หตฺถิกา อสฺสา ความว่า
พระนางมัทรีทรงค้นหาพระโอรสพระธิดาบนภูเขา ไม่เห็นก็ทรงคร่ำครวญ
เสด็จลงจากภูเขามาสู่อาศรมบทอีก ทรงคร่ำครวญถึงพระโอรสพระธิดาใน
อาศรมบทนั้น ทอดพระเนตรเห็นของเล่นทั้งหลายของพระโอรสพระธิดา จึง
ตรัสอย่างนี้ ครั้งนั้น ฝูงมฤคและปักษีต่างออกจากที่อยู่เพราะสำเนียงทรง
คร่ำครวญและเสียงฝีพระบาทของพระนางมัทรี.
พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่า
ตุ๊กตาเนื้อทรายทอง ตุ๊กตากระต่าย ตุ๊กตานกเค้า
และตุ๊กตาชะมดเหล่านี้เป็นอันมากที่ลูกทั้งสองเคยเล่น
ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่ เหล่าตุ๊กตา
หงส์ ตุ๊กตานกกระเรียน และตุ๊กตานกยูงขนหางวิจิตร
เหล่านี้ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหา
ปรากฏไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 754
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ เนื้อทรายทองตัวเล็กๆ.
บทว่า สโสลูกา ได้แก่ กระต่ายและนกเค้าป่า.
พระนางมัทรีไม่เห็นพระปิยบุตรทั้งสอง ณ อาศรมบท จึงเสด็จออก
จากอาศรมบทเข้าสู่ชัฏป่าดอกไม้ ทอดพระเนตรดูสถานที่นั้น ๆ ตรัสว่า
พุ่มไม้มีดอกตลอดกาล และสระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ มีนกจากพรากส่งเสียงร้อง ดาดาษไปด้วย
มณฑาดอกและปทุมอุบล ซึ่งเป็นที่ลูกทั้งสองเคยเล่น
ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนคุมฺพาโย ได้แก่ พุ่มดอกไม้ป่า
นั่นเอง.
พระนางมัทรีไม่ประสบพระปิยบุตรทั้งสอง ณ ที่ไร ๆ ก็เสด็จมาเฝ้า
พระมหาสัตว์อีก เห็นพระองค์ประทับนั่งมีพระพักตร์เศร้าหมอง จึงทูลว่า
พระองค์ไม่หักไม้แห้ง ไม่นำน้ำมา ไม่ติดไฟ
เป็นไฉนหนอ พระองค์ดูเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่
พระองค์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ความทุกข์หายไป
เพราะสมาคมกับพระองค์ ผู้เป็นที่รักของหม่อมฉัน
วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่
กัณหาชินา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หาสิโต ได้แก่ ไม่ให้ลุกโพลง
ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระสวามี เมื่อก่อนพระองค์หักฟืน นำน้ำมาตั้งไว้
ก่อไฟในกระเบื้องถ่านเพลิง วันนี้พระองค์ไม่ทำแม้อย่างเดียวในเรื่องเหล่านั้น
เป็นเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่เพราะเหตุไรหนอ หม่อมฉันไม่ชอบใจกิริยาของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 755
พระองค์เลย. บทว่า ปิโย ปิเยน ความว่า พระเวสสันดรเป็นที่รักของ
หม่อมฉัน ที่รักของหม่อมฉันยิ่งกว่าพระเวสสันดรนี้ ไม่มี เมื่อก่อนความทุกข์
ย่อมหายไปคือย่อมปราศจากไป เพราะมาสมาคมคือมาประชุมกับพระองค์ผู้เป็น
ที่รักของหม่อมฉันนี้ แต่วันนี้ แม้หม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ ความเศร้าโศกก็
ไม่ปราศจากไปเหตุอะไรหนอ. บทว่า ตฺยชฺช ความว่า เหตุการณ์ที่หม่อมฉัน
เห็นแล้ว จงยกไว้เถิด วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น เพราะเหตุนั้น แม้
เมื่อหม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ความเศร้าโศกก็ไม่หายไป.
แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็ประทับนั่งนิ่งอยู่
นั่นเอง. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางเจ้าก็เต็มแน่นไปด้วยลูกศรคือ
ความโศก พระกายสั่นดุจแม่ไก่ถูกตี เสด็จเที่ยวค้นหาตามที่เคยค้นหาครั้งแรก
แล้ว เสด็จกลับมาเฝ้าพระมหาสัตว์ กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้ง
สองไป ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนก
ทั้งหลายไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันคงสิ้นชนม-
ชีพเสียแล้วเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โข โน ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองของเราเลย. บทว่า เยน เต นีหฏา มตา
ความว่า พระนางมัทรีทูลด้วยความประสงค์ว่า หม่อมฉันไม่ทราบว่าใครนำ
ลูกทั้งสองไป.
แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัสอะไรๆ
พระนางมัทรีอันความโศกในเพราะพระโอรสถูกต้องแล้ว ทรงพิจารณาพระ
โอรสทั้งสอง เสด็จเที่ยวไปยังสถานที่นั้น ๆ ด้วยความเร็วดุจลมถึง ๓ วาระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 756
ได้ยินว่าสถานที่พระนางเจ้าเสด็จเที่ยวไปตลอดราตรีหนึ่ง ประมาณระยะทาง
ราว ๑๕ โยชน์ ลำดับนั้น ราตรีสว่าง อรุณขึ้น พระนางเจ้าเสด็จมาประทับ
ยืนคร่ำครวญอยู่ ณ ที่ใกล้พระมหาสัตว์อีก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระนางมัทรีเสด็จเที่ยวร่ำไรรำพันไปตามภูผา
และป่าไม้ในเวิ้งเขาวงกตแล้วเสด็จกลับมาสู่อาศรมอีก
ทรงกันแสง ณ สำนักพระภัสดาว่า ข้าแต่สมมติเทพ
หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้งสองไป ลูกทั้งสองคง
สิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนกย่อมไม่มีอยู่ ลูกทั้งสอง
ของหม่อมฉันคงสิ้นชีพเสียแล้วเป็นแน่.
เมื่อพระนางมัทรีผู้ทรงโฉม ผู้เป็นพระราชบุตร
พระเจ้ามัททราชผู้มียศเสด็จเที่ยวไป ณ ภูเขาและถ้ำทั้ง
หลายทรงประคองพระพาหากันแสงว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ หม่อมฉันไม่เห็นคนที่นำลูกทั้งสองของเราไป
ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล้วก็
ล้มลง ณ ภูมิภาคแทบพระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดร
นั้นนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั่น บทว่า สามิกสฺสนฺติ โรทติ ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีนั้นเสด็จเที่ยวคร่ำครวญไปตามเนินผาและป่าไม้ใน
เวิ้งเขาวงกตนั้น แล้วเสด็จมาอาศัยพระภัสดาอีก ประทับยืน ณ ที่ใกล้พระ-
ภัสดา ทรงกันแสง คือทรงครวญคร่ำรำพันว่า น โข โน เป็นต้น เพื่อ
ต้องการพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อิติ มทฺที วราโรหาร ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 757
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีผู้ทรงพระรูปอันอุดม ชื่อว่าผู้ทรงโฉมนั้น
เสด็จเที่ยวไป ณ โคนไม้เป็นต้น ไม่เห็นพระโอรสพระธิดา ประคองพระพาหา
คร่ำครวญว่า ลูกทั้งสองจักตายเสียแน่แล้ว ดังนี้ แล้วล้มลง ณ ภูมิภาคแทบ
พระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดรนั้นเอง เสมือนต้นกล้วยสีทองถูกตัดฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าพระองค์สั่นด้วยทรงสำคัญว่า พระนาง
มัทรีสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ทรงรำพึงว่า มัทรีมาสิ้นพระชนม์ในที่ต่างด้าวอัน
ไม่ใช่ฐานะ หากว่าเธอทำกาลกิริยาในเชตุดรราชธานี การบริหารก็จักเป็นการ
ใหญ่ รัฐทั้งสองก็สะเทือนถึงกัน ก็ตัวเราอยู่ในอรัญญประเทศแต่ผู้เดียวเท่านั้น
จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงคำนึงดังนี้แล้ว แม้เป็นผู้มีความโศกมีกำลัง ก็ทรง
ตั้งพระสติให้มั่น เสด็จลุกขึ้นด้วยทรงสำคัญว่า เราจักต้องรู้ให้แน่ก่อน จึงวาง
พระหัตถ์เบื้องขวาตรงพระหทัยวัตถุแห่งพระนางเจ้า ก็ทรงทราบว่ายังมีความ
อบอุ่นเป็นไปอยู่ จึงทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้า แม้มิได้ทรงถูกต้องพระกาย
ตลอด ๗ เดือน แต่ไม่อาพรจะทรงกำหนดความที่พระองค์เป็นบรรพชิต เพราะ
ความโศกมีกำลัง มีพระนัยนาเต็มไปด้วยพระอัสสุชล ช้อนพระเศียรของพระ-
นางเจ้าขึ้นวางไว้บนพระเพลา พรมด้วยน้ำ ลูบพระพักตร์และที่ตรงพระหทัย
ประทับนั่งอยู่ ฝ่ายพระนางมัทรี พอสักครู่หนึ่งก็กลับได้พระสติ เต้าตั้งไว้
เฉพาะซึ่งหิริและโอตตัปปะ ลุกขึ้นกราบพระมหาสัตว์ ทูลถามว่า ข้าแต่พระ
สวามีเวสสันดร ลูกทั้งสองของพระองค์ไปไหน พระมหาสัตว์ตรัสตอบว่า
แน่ะพระเทวี ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์คนหนึ่งไปแล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
วันนี้พระเวสสันดรทรงประพรมพระนางมัทรี
ราชบุตรผู้ล้มลงด้วยน้ำ ทรงทราบว่าพระนางเจ้าค่อย
สำราญ ทีนั้นจึงตรัสคำนี้กะพระนาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 758
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมชฺช ปตฺต ความว่า ผู้ล้มลงใกล้
พระองค์ อธิบายว่า ผู้ล้มลงถึงวิสัญญีภาพแทบพระยุคลบาท. บทว่า เอตม-
พฺรวิ ความว่า ได้ตรัสคำนี้ คือคำว่า ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์
คนหนึ่งไปแล้ว.
แต่นั้น เมื่อพระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพพระองค์ประทานลูก
ทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ไม่รับสั่งให้หม่อมฉันผู้คร่ำครวญเที่ยวอยู่ตลอดราตรี
ทราบความ เพราะเหตุไร พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า
แน่ะมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะบอกเธอแต่แรก
ให้เป็นทุกข์ว่า พราหมณ์แก่เป็นยาจกเข็ญใจมาสู่
อาศรม บุตรบุตรีฉันให้แก่พราหมณ์นั้นแล้ว แน่ะ
มัทรีเธออย่ากลัวเลย จงยินดีเถิด เธอจงเห็นแก่ฉัน
อย่าเห็นแก่บุตรบุตรี อย่าคร่ำครวญนักเลย เราทั้งสอง
ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคก็จักได้บุตรบุตรี และสัตว์ของ
เลี้ยง ธัญญาหารทั้งทรัพย์อย่างอื่นในเรือน สัตบุรุษ
เห็นยาจกมาบริจาคทาน ดูก่อนมัทรี เธอจงอนุโมทนา
ปิยบุตรทาน อันเป็นอุดมทานของฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิเยเนว ได้แก่ แต่แรก มีคำอธิบาย
ว่า ถ้าฉันบอกความเรื่องนี้แก่เธอแต่แรก เมื่อเธอได้ฟังดังนั้นก็จะไม่อาจกลั้น
ความโศกไว้ได้ หทัยพึงแตก เพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่ปรารถนาจะบอกแก่เธอ
แต่แรกให้เป็นทุกข์ นะมัทรี. บทว่า ฆรมาคโต ความว่า มายังสถานที่อยู่
ของพวกเรานี้. บทว่า อโรคา จ ภวามฺหเส ความว่า พระเวสสันดร
มหาสัตว์ตรัสว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น เราทั้งสองเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิตอยู่ จักพบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 759
ลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็นแน่. บทว่า ยญฺจ อญฺฆเร ธน ได้แก่
สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์อย่างอื่นในเรือน. บทว่า ทชฺชา
สปฺปุริโส ทาน ความว่า สัตบุรุษเมื่อปรารถนาประโยชน์สูงสุด พึงผ่าอุระ
ควักเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.
พระนางมัทรีทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันขออนุโมทนาปิย-
บุตรทานอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงบริจาค
ทานแล้วจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญ
ทานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ข้าแต่พระชนาธิปราช ใน
เมื่อชนทั้งหลายมีความตระหนี่ พระองค์ผู้ยังแคว้น
ของชาวสีพีให้เจริญ ได้ทรงบริจาคบุตรทานแก่
พราหมณ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทามิ เต ความว่า พระนางมัทรี
ทรงอุ้มพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูตรแล้วให้สรงสนาน ให้ทรงดื่ม ให้เสวย
วันละสองสามครั้ง ประคับประคองพระลูกน้อยทั้งสองนั้นให้บรรทมบนพระ
อุรประเทศ ครั้นพระโพธิสัตว์พระราชทานพระลูกน้อยทั้งสองไป จึงทรง
อนุโมทนาส่วนบุญเอง พระนางมัทรีตรัสอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนี้
พึงทราบว่า บิดาเท่านั้นเป็นเจ้าของเด็กๆ ทั้งหลาย. บทว่า ภิยฺโย ทาน
ทโท ภว ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเป็นผู้บริจาคทาน
บ่อยๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด ทานอันพระองค์ทรงบริจาคดีแล้วด้วยประการฉะนี้
ขอพระองค์ผู้ได้พระราชทานพระปิยบุตรทั้งสองในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ตระหนี่นั้นจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใสเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 760
ครั้นพระนางมัทรีทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสถึงเหตุอัศจรรย์
ทั้งปวงมีแผ่นดินไหวเป็นต้นว่า แน่ะมัทรี นั่นเธอพูดอะไร ถ้าฉันให้ลูกทั้ง
สองแล้วไม่ทำจิตให้เลื่อมใส ความอัศจรรย์ทั้งหลายของฉันเหล่านี้ก็ไม่พึงเป็น
ไป แต่นั้นพระนางมัทรีได้ประกาศความอัศจรรย์เหล่านั้นนั่นแล เมื่อจะทรง
อนุโมทนาปิยบุตรทาน จึงตรัสว่า
ปฐพีบันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์
ชั้นไตรทิพย์ เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญปิยบุตรทาน
สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ
ดังหนึ่งเสียงภูเขาล่มทลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชุลตา อาคู ความว่า สายฟ้าผิด
ฤดูกาลแลบโดยรอบในหิมวันตประเทศ. บทว่า คิรีนว ปฏิสฺสุตา ความว่า
เสียงโกลาหลปรากฏราวกะเสียงภูเขาถล่มทลาย.
เทพนิกายทั้งสองคือนารทะและทะและเหล่านั้น
ย่อมอนุโมทนาแก่พระเวสสันดรนั้น พระอินทร์ พระ
พรหม พระปชาบดี พระโสม พระยม และพระเวส-
วัณมหาราช ทั้งเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดพร้อมด้วย
พระอินทร์ต่างอนุโมทนาทานของพระองค์ พระนาง
มัทรีราชบุตรีผู้ทรงโฉม ผู้มียศ ทรงอนุโมทนาปิย-
บุตรทานอันอุดมแห่งพระเวสสันดร ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นารทปพฺพตา ความว่า เทพนิกาย
ทั้งสองแม้เหล่านี้ สถิตอยู่ที่ประตูวิมานของตนๆ นั่นเอง อนุโมทนาแด่พระ-
องค์ว่า ทานอันพระองค์ประทานดีแล้วหนอ. บทว่า ตาวตึสา สอินฺทกา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 761
ความว่า แม้เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า ก็พากันอนุ-
โมทนาทานของพระองค์.
พระมหาสัตว์ทรงสรรเสริญทานของพระองค์อย่างนี้แล้ว พระนางมัทรี
ก็ทรงกลับเอาข้อความนั้นเองมาทรงสรรเสริญว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทาน
อันพระองค์ประทานดีแล้ว ดังนี้แล้วทรงอนุโมทนาประทับนั่งอยู่ ด้วยเหตุนั้น
พระศาสดาจึงตรัสคาถาว่า อิติ มทฺที วราโรหา ดังนี้เป็นต้น.
จบมัทรีบรรพ
สักกบรรพ
เมื่อกษัตริย์ทั้งสององค์ คือพระเวสสันดรและพระนางมัทรีตรัสสัม-
โมทนียกถาต่อกันและกันอยู่อย่างนี้ ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า เมื่อวันวานนี้
พระเวสสันดรมหาราชนี้ได้ประทานปิยบุตรแก่ชูชกพราหมณ์ แผ่นดินไหว
บัดนี้ถ้าจะมีคนต่ำช้าผู้หนึ่งไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอพระนางมัทรีผู้สมบูรณ์
ด้วยลักษณะทั้งปวงมีศีลาจารวัตรบริบูรณ์ พาพระนางมัทรีไป ทำให้ท้าวเธอ
อยู่คนเดียว แต่นั้นท้าวเธอก็จะเปล่าเปลี่ยวขาดผู้ปฏิบัติ อย่ากระนั้นเลยเราจะ
จำแลงเพศเป็นพราหมณ์ไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลขอพระนางมัทรี ให้ถือเอาทานนั้น
เป็นยอดแห่งทานบารมี ทำให้ไม่ควรสละแก่ใครๆ แล้วถวายพระนางเจ้านั้น
คืนท้าวเธอไว้อีก แล้วกลับเทวสถานของเรา ท้าวสักกเทวราชนั้นได้เสด็จไป
สู่สำนักแห่งพระบรมโพธิสัตว์ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 762
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้น
มา ท้าวสหัสสนัยจำแลงเพศเป็นพราหมณ์ ได้ปรากฏ
แก่สองกษัตริย์นั้นแต่เช้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโต เนส อทิสฺสถ ความว่า ได้
มีรูปปรากฏยืนอยู่เบื้องหน้าของกษัตริย์ทั้งสองแต่เช้าทีเดียว.
ก็และครั้นประทับยืนอยู่แล้ว เมื่อจะทรงทำปฏิสันถาร จึงตรัสว่า
พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี
ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล-
ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย
คลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากใน
วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.
เมื่อท้าวสักกเทวราชทูลถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์เมื่อทรงทำ
ปฏิสันถารกับท้าวสักกเทวราชนั้น ตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีอาพาธ สุข
สำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลไม้
สะดวกดี และผลาผลก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุงและ
สัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้
ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่
ค่อยมีแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ป่ามีชีวิตเตรียมตรม
ตลอด ๗ เดือน เราพึงเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศดังเพศแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 763
เทพถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ทรงหนังเสือเหลืองเป็น
เครื่องปกปิดกาย แม้นี้เป็นคนที่สอง.
ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว และมาไกล
ก็เหมือนใกล้เชิญเข้าข้างใน ขอให้ท่านเจริญเถิด ชำระ
ล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผล
มะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มี
รสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด
ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ
ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.
พระมหาสัตว์ทรงทำปฏิสันถารกับพราหมณ์นั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสถามว่า
ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา
ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสถามถึงเหตุที่ท้าวสักกะมาด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้น
ท้าวสักกเทวราชทูลสนองว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นคนแก่มา
ในที่นี้ มาเพื่อทูลขอประทานพระนางมัทรีอัครมเหสีของพระองค์ ขอพระองค์
โปรดประทานพระนางเจ้านั้นแก่ข้าพระองค์ ครั้นทูลฉะนี้แล้วกล่าวคาถาว่า
ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลา ไม่มีเวลาเหือด
แห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา
ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระนางมัทรีกะ
พระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระมเหสีแก่
ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.
เมื่อท้าวสักกเทวราชแปลงทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์มิได้ตรัสว่า
เมื่อวานนี้อาตมาได้ให้บุตรบุตรีแก่พราหมณ์ไปแล้ว อาตมาจะต้องอยู่ในป่ารูป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 764
เดียวเท่านั้น จักให้มัทรีแก่ท่านได้อย่างไร ดังนี้ เป็นเพียงดังผู้มีกำลังวางถุง
กหาปณะพันหนึ่งลงบนหัตถ์ที่เหยียดออกรับ มีพระมนัสไม่ขัดไม่ข้องไม่หดหู่
เป็นราวกะยังภูผาให้บันลือลั่น ตรัสว่า
ก่อนพราหมณ์ อาตมาให้สิ่งที่ท่านขอต่อ
อาตมา อาตมาไม่หวั่นหวาด ไม่ซ่อนสิ่งที่มีอยู่ ใจ
ของอาตมายินดีในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต นปฺปฏิคุยฺหามิ ความว่า ไม่
ซ่อนสิ่งที่มีอยู่.
ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้าทันที
ทีเดียว หลั่งน้ำลงในมือของพราหมณ์ พระราชทานปิยทารทานแก่พราหมณ์
มหัศจรรย์ทั้งปวงมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง ได้ปรากฏในขณะนั้นนั่น
เทียว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ทรงจับ
พระกรพระนางมัทรีด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง จับพระเต้า
น้ำด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งหลั่งอุทกลงในมือพราหมณ์
ได้พระราชทานพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ มหัศจรรย์
อันให้สยดสยองและยังโลมชาติให้ชูชัน คือเมื่อพระ-
เวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ แผ่น
ดินได้กัมปนาทหวั่นไหวในกาลนั้น พระนางมัทรี
มิได้ทำพระพักตร์สยิ้วกริ้วพระภัสดา ไม่ทรงแสดง
พระอาการขวยเขิน ไม่ทรงกันแสง เมื่อพระภัสดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 765
ทอดพระเนตร พระนางเจ้าก็ทรงดุษณีภาพ พระภัสดา
ก็ทรงทราบพระอัธยาศัยอันประเสริฐของพระนางเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทา ทาน ความว่า พระเวสสันดร
มหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นเป็นที่รัก
ของอาตมายิ่งกว่าแม้พระนางมัทรี ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ขอทานของ
อาตมานี้จงเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้แล้วได้ทรงบริจาค
ปิยทารทาน.
สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
เราตถาคตเมื่อสละชาลีโอรส กัณหาชินาธิดา
และมัทรีเทวีผู้เคารพต่อภัสดามิได้คิดเสียดายเลยเพราะ
เหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น ลูกทั้งสองเป็นที่เกลียด
ชังของเราก็หามิได้ มัทรีเทวีไม่เป็นที่รักของเราก็หา
มิได้ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรธิดาและเทวีผู้เป็นที่รัก
เสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมกมฺปถ๑ ความว่า แผ่นดินไหวจด
ถึงน้ำ. บทว่า เนวสฺส มทฺที ภกุฏี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ
นั้นพระนางมัทรีมิได้มีพระพักตร์สยิ้ว เพราะกริ้วว่า พระราชาเวสสันดรประ-
ทานเราแก่พราหมณ์แก่. บทว่า น สนฺธียติ น โรทติ ความว่า มิได้
ทรงเก้อเขิน มิได้ทรงกันแสงจนน้ำตาเต็มพระเนตรทั้งสอง ด้วยทรงคิดว่า
พระสวามีดูเราทำไมทั้งทรงดุษณีภาพเข้าพระทัยว่า เมื่อให้นางแก้วเช่นเรา จัก
ไม่ให้เพราะไร้เหตุ อธิบายว่า พระนางมัทรีประทับยืนทอดพระเนตรดูพระ-
๑. ม. สมฺปกมฺปถ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 766
พักตร์ของพระเวสสันดรซึ่งมีวรรณะดังดอกปทุมบาน ด้วยเข้าพระทัยว่า พระ-
สวามีของเรานี้แหละทรงทราบสิ่งที่ประเสริฐ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระพักตร์ของพระนางมัทรี
ด้วยทรงคิดว่า มัทรีจะเป็นอย่างไร พระนางเจ้าจึงทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ
พระองค์ทอดพระเนตรดูหน้าหม่อมฉันทำไม เมื่อทรงบันลือสีหนาทจึงตรัส
คาถานี้ว่า
หม่อมฉันผู้ยังเป็นสาว เป็นเทวีของพระองค์
ท่านใด พระองค์ท่านนั้นเป็นพระภัสดาเป็นใหญ่ของ
หม่อมฉัน พระองค์ท่านทรงปรารถนาจะพระราชทาน
แก่บุคคลใด ก็จงพระราชทานแก่บุคคลนั้น หรือจะ
พึงตายพึงฆ่าเสียย่อมได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า หม่อมฉันเป็นเทวีสาวของ
พระองค์ท่านใด พระองค์ท่านนั้นแหละเป็นพระภัสดาด้วย เป็นใหญ่ด้วยของ
หม่อมฉัน พระองค์ท่านปรารถนาจะพระราชทานแก่ผู้ใด ก็พึงพระราชทาน
แก่ผู้นั้น หรือเมื่อต้องการทรัพย์ ก็พึงขายหม่อมฉัน หรือเมื่อต้องการเนื้อ
ก็พึงฆ่าหม่อมฉัน เพราะฉะนั้น พระองค์จงกระทำสิ่งที่ทรงชอบพระทัยเถิด
หม่อมฉันไม่โกรธ.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยอันประณีตของกษัตริย์
ทั้งสอง จึงทรงชมเชยสองกษัตริย์นั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริของสอง
กษัตริย์ จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าศึกทั้งปวงทั้งที่เป็นของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 767
ทิพย์และของมนุษย์พระองค์ทั้งสองทรงชนะแล้วปฐพี
บันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์ชั้นไตรทิพ
สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ
ดังหนึ่งเสียงภูเขาถล่มทลาย เทพนิกายทั้งสองคือ
นารทะและปัพพตะเหล่านั้นย่อมอนุโมทนาแก่สอง
กษัตริย์นั้น พระอินทร์ พระพรหม พระปชาบดี
พระโสม พระยม และพระเวสวัณมหาราช เทพเจ้าทั้ง
หมดย่อมอนุโมทนาว่า พระองค์ทรงทำกิจที่ทำได้ยาก
แท้ เพราะความที่เหล่าผู้ให้ทานให้ด้วยยาก เพราะ
ความที่เหล่าผู้ทำบุญกรรมทำด้วยยาก อสัตบุรุษทั้ง
หลาย ทำตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย อัน
อสัตบุรุษทั้งหลายนำไปยาก เหตุดังนั้น คติภูมิที่ไป
จากโลกนี้ ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษทั้งหลายต่างกัน
อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษทั้งหลายมี
สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ข้อที่พระองค์เมื่อเสด็จ
ประทับ แรมอยู่ในป่า ได้พระราชทานกุมารกุมารีและ
พระมเหสีนี้ นับว่าเป็นพรหมยานอันสัมฤทธิ์แล้วแด่
พระองค์ เพราะจะมิต้องเสด็จไปในอบายภูมิ ขอ
พระกุศลทานอันนั้นจงอำนวยวิบากสมบัติแด่พระองค์
ในสวรรค์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา ได้แก่ ข้าศึก. บทว่า ทิพฺพา
ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า มานุสา ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งมนุษย-
สมบัติ. แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคือความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 768
ตระหนี่, ความตระหนี่ทุกอย่างนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ประทานโอรสธิดาและ
มเหสี ทรงชำนะแล้ว เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า สพฺเพ
ชิตา เต ปจฺจูหา ดังนี้. บทว่า ทุกฺกร หิ กโรติ โส ความว่า ท้าว-
สักกเทวราชตรัสว่า เทวดาทั้งปวงเหล่านั้นอนุโมทนาอย่างนี้ว่า พระราชา
เวสสันดรนั้นประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อประทานพระมเหสีแก่
พราหมณ์ ย่อมกระทำกรรมที่ทำได้โดยยาก ท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงทำอนุ-
โมทนาจึงตรัสคาถาว่า ยเมต เป็นต้น. บทว่า วเน วส แปลว่า ประทับ
อยู่ในป่า. บทว่า พฺรหฺมยาน ได้แก่ ยานอันประเสริฐก็ธรรมคือความ
สุจริตสามอย่างและธรรมคือการบริจาคเห็นปานนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอริยมรรค
ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าพรหมยาน เพราะฉะนั้นพรหมยานนี้จึงสำเร็จแก่พระองค์
ผู้ให้ทานในวันนี้เพราะไม่ต้องเสด็จไปสู่อบายภูมิ. บทว่า สคฺเค เต ต
วิปจฺจตุ ความว่า จงให้พระสัพพัญญุตญาณในที่สุดแห่งวิบากนั่นเทียว
ท้าวสักกเทวราชทรงอนุโมทนาแด่พระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ทรงดำริ
ว่า บัดนี้ควรที่เราจะไม่ชักช้าในที่นี้ ควรถวายคืนพระนางมัทรีแด่พระเวสสันดร
แล้วกลับไป ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า
ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีพระมเหสีผู้งาม
ทั่วสรรพางค์ คืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์
มีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระนางมัทรี และพระ-
นางมัทรีก็ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระองค์
พระสวามี.
น้ำมันและสังข์มีสีเสมอเหมือนกัน ฉันใด พระ-
องค์และพระนางมัทรี ก็มีพระมนัสเจตนาเสมอเหมือน
กัน ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 769
พระองค์ทั้งสองเป็นขัตติยชาติ สมบูรณ์ด้วย
พระวงศ์ เกิดดีแล้วแต่พระมารดาพระบิดา ถูกเนรเทศ
เสด็จมาแรมอยู่ ณ อาศรมในราวไพรนี้ ขอพระองค์
เมื่อทรงบำเพ็ญทานต่อ ๆ ไป พึงบำเพ็ญบุญกุศลตาม
สมควรเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ สมควร. บทว่า อุโภ
สมานวณฺณิโน ความว่า ทั้งสองมีวรรณะเสมอกันบริสุทธิ์แท้. บทว่า สมาน-
มนเจตสา ความว่า ประกอบด้วยใจกล่าวคือมนะที่เสมอกันโดยคุณมีอาจาระ
เป็นต้น. บทว่า อวรุทฺเธตฺถ ความว่า ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น ประทับ
อยู่ในอรัญประเทศนี้. บทว่า ยถา ปุญฺานิ ความว่า พระองค์อย่าทรง
ยินดีด้วยบุญเพียงเท่านี้คือ บุญที่ทรงทำไว้เป็นอันมากในกรุงเชตุดร บุญที่
ทรงทำเช่นเมื่อวันวานพระราชทานพระโอรสธิดา วันนี้พระราชทานพระมเหสี
ทรงบริจาคทานต่อ ๆ ไปแม้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวแล้วนั้นพึงบำเพ็ญบุญทั้งหลายตาม
สมควรเถิด.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงมอบพระนางมัทรีแด่พระมหาสัตว์แล้ว
เมื่อจะแจ้งพระองค์ว่าเป็นพระอินทร์ เพื่อถวายพระพร จึงตรัสว่า
หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพ มาสู่สำนักของ
พระองค์ ข้าแต่พระราชฤาษีขอพระองค์จงทรงเลือก
เอาพระพร หม่อมฉันขอถวายพระพร ๘ ประการแด่
พระองค์ท่าน.
เมื่อท้าวสักกะจอมเทพตรัสอยู่อยู่นั่นเอง ก็รุ่งเรืองเปล่งปลั่งด้วยอัตภาพ
ทิพย์ สถิตอยู่ในอากาศปานประหนึ่งภาณุมาศเปล่งรัศมีอ่อน ๆ ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 770
แต่นั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงรับพระพร จึงตรัสว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของสรรพสัตว์ ถ้า
พระองค์จะประทานพระพรแก่หม่อมฉัน ขอพระชนก
ของหม่อมฉันพึงทรงยินดีให้หม่อมฉันกลับจากป่านี้สู่
นิเวศน์ของหม่อมฉัน พึงเชื้อเชิญด้วยราชบัลลังก์
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๑.
หม่อมฉันไม่ชอบการฆ่าคน แม้ทำผิดร้ายแรง
พึงยังคนมีโทษให้พ้นจากการประหารชีวิต หม่อมฉัน
ขอเลือกข้อนี้เป็นพระพนข้อที่ ๒.
ชนเหล่าใดเป็นคนแก่ เป็นคนหนุ่ม และเป็น
คนกลางคน ชนเหล่านั้นพึงอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีพ
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๓.
หม่อมฉันไม่พึงถึงภรรยาของคนอื่น พึงขวน
ขวายแต่ในภรรยาของตน และไม่พึงตกอยู่ในอำนาจ
แห่งสตรีทั้งหลาย หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ ๔.
ข้าแต่ท้าวสักกะ บุตรของหม่อมฉันที่พลัดพราก
ไปนั้น พึงมีอายุยืน พึงครองแผ่นดินโดยธรรม หม่อม
ฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๕.
เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา ขอให้
ภิกษาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏมี หม่อมฉันขอเลือก
ข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 771
เมื่อหม่อมฉันบริจาคทาน ทรัพย์สมบัติพึงไม่
หมดสิ้นไป บริจาคแล้วไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง เมื่อ
กำลังบริจาคพึงทำจิตให้ผ่องใส หม่อมฉันขอเลือกข้อ
นี้เป็นพระพรข้อที่ ๗.
เมื่อหม่อมฉันพ้นจากอัตภาพนี้ พึงไปสู่สวรรค์
ถึงชั้นดุสิตอันวิเศษ จุติจากชั้นดุสิตนั้นมาเป็นมนุษย์
พึงเป็นผู้ไม่เกิดอีก หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ ๘.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมเทยฺย ได้แก่ พึงทรงรับ คือ
ไม่กริ้ว. บทว่า อิโต ปตฺต ได้แก่ จากป่านี้ถึงนิเวศน์ของตน. บทว่า
อาสเนน ได้แก่ ด้วยราชบัลลังก์ คือพระเวสสันดรตรัสว่า ขอพระชนกจง
ประทานราชสมบัติแก่หม่อมฉัน. บทว่า อปิ กิพฺพิสการก ความว่า
หม่อมฉันเป็นพระราชา พึงปล่อยนักโทษประหารแม้เป็นผู้ทำความผิดต่อ
พระราชา ให้พ้นจากถูกประหาร หม่อมฉันแม้เป็นถึงอย่างนี้ก็ไม่ชอบการ
ประหาร. บทว่า มเมว อุปชีเวยฺยุ ความว่า ขอเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึง
อาศัยหม่อมฉันนี่แหละเลี้ยงชีพ. บทว่า ธมฺเมน ชิเน ความว่า จงชนะ
โดยธรรม คือจงครองราชสมบัติโดยเรียบร้อย. บทว่า วิเสสคู ความว่า
พระเวสสันดรตรัสว่า ขอหม่อมฉันจงเป็นผู้ไปสู่สวรรค์ชั้นพิเศษ คือเป็นผู้
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. บทว่า อนิพฺพตฺตี ตโต อสฺส ความว่า พระ-
เวสสันดรตรัสว่า หม่อมฉันจุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ พึง
เป็นผู้ไม่บังเกิดในภพใหม่ทีเดียว คือพึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 772
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงสดับพระดำรัสของ
พระมหาสัตว์นั้นแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า พระราชธิดาผู้
บังเกิดเกล้าของพระองค์ จักเสด็จมาพบพระองค์โดย
ไม่นานนัก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฏฺฐุเมสฺสติ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า พระบิดาของพระองค์ประสงค์จะเยี่ยมพระองค์ จักเสด็จมาที่นี้
โดยไม่นานนัก ก็และครั้นเสด็จมาแล้ว จักพระราชทานเศวตฉัตรแด่พระองค์
แล้วเชิญเสด็จไปกรุงเชตุดรทีเดียว ความปรารถนาของพระองค์ทุกอย่างจักถึง
ที่สุดอย่าร้อนพระหฤทัยไปเลย จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาราช.
ครั้นประทานโอวาทแด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วท้าวสักกเทวราชก็เสด็จ
ไปสู่ทิพยสถานของพระองค์นั่นแล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราชตรัสดังนี้แล้ว ประ-
ทานพระพรแด่พระเวสสันดรแล้วเสด็จไปสู่หมู่เทพใน
สรวงสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตเร ได้แก่ แด่พระเวสสันดร.
บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ เสด็จไปแล้ว คือเสด็จถึงแล้วโดยลำดับนั่นแล.
จบสักกบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 773
มหาราชบรรพ
กาลนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์และพระนางมัทรี ทรงบันเทิงเสด็จ
แรมอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทาน ครั้งนั้น พราหมณ์ชูชกพาพระชาลีพระ-
กัณหาทั้งสององค์เดินทาง ๖๐ โยชน์ เหล่าเทพเจ้าได้อารักขาพระกุมารกุมารี
ฝ่ายชูชกครั้นดวงอาทิตย์อัสดงคต ก็ผูกพระกุมารกุมารีทั้งสองไว้ที่กอไม้ ให้
บรรทมเหนือพื้นดิน ตนเองขึ้นต้นไม้นอนที่หว่างค่าคบกิ่งไม้ ด้วยเกรงพาล-
มฤคที่ดุร้าย.
ในขณะนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระเวสสันดรมา ภาย
หลังมีเทพธิดาองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระนางมัทรี มาแก้สองกุมาร นวดพระ
หัตถ์และพระบาทของสองกุมาร สรงน้ำ ประดับ ให้เสวยทิพยโภชนาหาร
ตกแต่งด้วยสรรพาลังการ ให้บรรทมบนพระยี่ภู่ทิพย์ พออรุณขึ้นก็ให้บรรทม
ด้วยเครื่องพันธนาการตามเดิมอีก แล้วอันตรธานหายไป ราชกุมารกุมารีทั้ง
สองนั้นหาพระโรคมิได้ เสด็จไปด้วยเทวสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อราตรีนั้นสว่าง
แล้ว ชูชกลงจากต้นไม้ล้างหน้าบ้วนปากสีฟันแล้ว บริโภคผลาผล กาลนั้น
แกพาสองกุมารไปถึงมรรคาหนึ่งคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ แล้วเดินไป
เห็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปกาลิงครัฐ ทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร เทวดาดล
ใจ แกจึงละทางไปกาลิงครัฐ เห็นทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร จึงนำสองกุมารไป
ด้วยสำคัญว่า ทางนี้เป็นทางไปกาลิงครัฐ แกคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ ล่วง
เชิงภูผาของภูผาที่ไปยากทั้งหลาย ถึงกรุงเชตุดรโดยกาลนับได้กึ่งเดือน.
วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระ
สุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า เมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชประทับนั่งในสถานที่มหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 774
วินิจฉัยมีชายคนหนึ่งผิวดำ นำดอกปทุมสองดอกมาวางไว้ในพระหัตถ์แห่งพระ-
ราชา พระราชาทรงรับดอกปทุมทั้งสองดอกนั้นไว้ ทรงประดับที่พระกรรณ
สองข้าง ละอองเกสรแห่งดอกปทุมสองดอกนั้น ล่วงลงบนพระอุระแห่งพระ-
ราชา พระเจ้าสญชัยตื่นบรรทม ตรัสเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้ทำนายสุบินมาตรัส
ถาม พราหมณ์เหล่านั้นทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระประยูรญาติของ
พระองค์ที่จากไปนานจักมา พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับคำพยากรณ์นั้น ทรง
ยินดี โปรดให้พราหมณ์เหล่านั้นกลับไป สนานพระเศียรแต่เช้าแล้วเสวย
โภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการคืออาภรณ์ทั้งปวง
ประทับนั่ง ณ สถานมหาวินิจฉัย เทวดานำพราหมณ์กับกุมารมายืนอยู่ที่พระ
ลานหลวง ขณะนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรดูมรรคาทรงเห็นสองกุมาร
จึงตรัสว่า
นั้นเป็นดวงหน้าของใครงามนัก ราวกะว่าทอง
คำที่หลอมร้อนแล้วด้วยไฟ หรือประหนึ่งว่าลิ่มแห่ง
ทองคำที่ละลายกว่างในปากเบ้า ทั้งสองกุมารกุมารีมี
อวัยวะคล้ายกัน ทั้งสองกุมารกุมารีมีลักษณะคล้ายกัน
คนหนึ่งเหมือนพระชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา
ทั้งสองกุมารกุมารีมีรูปสมบัติ ดังราชสีห์ออกจากป่า
กุมารกุมารีเหล่านี้ปรากฏประดุจหล่อด้วยทองคำที่
เดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตตฺตมคฺคินา ได้แก่ หลอมร้อน
แล้วด้วยไฟ. บทว่า สีหา วิลาว นิกฺขนฺตา ความว่า เป็นราวกะราชสีห์
ออกจากถ้ำทองทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 775
พระเจ้าสญชัยตรัสสรรเสริญสองกุมารด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว มี
พระราชดำรัสสั่งอมาตย์คนหนึ่งผู้ฉลาดศึกษาดีแล้วว่า เจ้าจงไปนำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมา อมาตย์นั้นได้ฟังดังนั้น ก็ลุกขึ้นไปโดยเร็ว นำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมาแสดงแด่พระเจ้าสญชัย. ลำดับ นั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อตรัสถาม
พราหมณ์ชูชก ตรัสว่า
ดูก่อนตาพราหมณ์ภารทวาชโคตร แกนำทารก
ทั้งสองนี้มาแต่ไหน แกมาจากไหนถึงแว่นแคว้นใน
วันนี้.
ชูชกกราบทูลสนองว่า
ข้าแต่พระเจ้าสญชัย พระราชกุมารราชกุมารีทั้ง
สองนี้ พระเวสสันดรทรงยินดี พระราชทานแก่
ข้าพระบาท ๑ ราตรีทั้งวันนี้ นับแต่ข้าพระบาทได้
พระราชกุมารกุมารีมา.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับคำชูชกกราบทูล จึงตรัสว่า
แกได้มาด้วยวาจาพึงให้รักอย่างไร ต้องให้พวก
ข้าเชื่อด้วยเหตุโดยชอบ ใครบ้างจะให้บุตรบุตรีอัน
เป็นทานสูงสุดเป็นทานแก่แก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนา จิตฺเตน ได้แก่ ยินดีคือเลื่อมใส.
บทว่า อชฺช ปณฺณรสา รตฺตี ความว่า ชูชกกราบทูลว่า จำเดิมแต่วันที่
ข้าพระบาทได้สองกุมารกุมารีนี้มา ๑๕ ราตรีเข้าวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน วาจาย เปยฺเยน ความว่า
ตาพราหมณ์ แกได้สองกุมารกุมารีเหล่านั้นด้วยคำอันเป็นที่รักอย่างไร. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 776
สมฺมา ฌาเยน สทฺทเห ความว่า แกอย่าทำมุสาวาท ต้องให้พวกข้าเชื่อ
ด้วยเหตุการณ์โดยชอบทีเดียว. บทว่า ปุตฺตเก ความว่า ใครจะทำลูกน้อย ๆ
ที่น่ารักของตนให้เป็นทานอันสูงสุดแล้วให้ทานนั้นแก่แก.
ชูชกกราบทูลว่า
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัย
ของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้ง
หลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาคร
เป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชา-
เวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราว
ไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปติฏฺาสิ ได้แก่ เป็นที่พึ่ง.
อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังชูชกกล่าวดังนั้น เมื่อจะติเตียนพระเวสสันดร
จึงกล่าวว่า
เรื่องนี้พระราชาเวสสันดร ถึงมีพระราชศรัทธา
แต่ยังครองฆราวาสวิสัย ทำไม่ถูก พระองค์ถูกขับจาก
ราชอาณาจักรไปประทับอยู่ในป่า พึงพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาเสียอย่างไรหนอ.
ท่านผู้เจริญทั้งหลายผู้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ จง
พิจารณาเรื่องนี้ดู พระราชาเวสสันดรเมื่อประทับอยู่
ในป่า พระราชทานพระโอรสพระธิดาเสียอย่างไร.
พระราชาเวสสันดรควรพระราชทานทาส ทาสี
ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ ช้างตัวประเสริฐพระองค์ต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 777
พระราชทานพระโอรสพระธิดาทำไมหนอ พระองค์
ควรพระราชทานทอง เงิน ศิลา แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
แก้วมณี แก้วประพาฬ พระองค์ต้องพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า แม้มีศรัทธา. บทว่า
ฆรเมสินา ความว่า เรื่องนี้ พระราชาเวสสันดรเมื่อทรงอยู่ครองฆราวาส
วิสัย ทรงทำไม่ถูก คือทรงทำไม่ควรหนอ. บทว่า อวรุทฺธโก ความว่า
พระเวสสันดรถูกขับไล่จากแว่นแคว้นประทับแรมในป่า. บทว่า อิม โภนฺโต
ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ด้วยความประสงค์ว่า ขอชาวพระนครผู้
เจริญทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ทั้งหมด จงพิจารณา คือใคร่
ครวญเรื่องนี้ดูเถิด พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระโอรสน้อย ๆ ของพระ-
องค์ให้เป็นทาสได้อย่างไร เรื่องอย่างนี้เคยมีใครทำไว้. บทว่า ทชฺชา ความ
ว่า จงพระราชทานทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทรัพย์ทั้งหลายมีทาสเป็น
ต้น. บทว่า กถ โส ทชฺชา ทารเก ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า
พระเวสสันดรได้พระราชทานพระโอรสธิดาเหล่านั้นด้วยเหตุไร.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังคำอมาตย์เหล่านั้น เมื่อทรงอดทนคำครหา
พระชนกไม่ได้ เป็นผู้ราวกะจะค้ำจุนเขาสิเนรุที่ถูกลมประหารด้วยพระพาหา
ของพระองค์ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ทาส ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ และช่างกุญชร
ตัวประเสริฐ ไม่มีในนิเวศน์แห่งพระราชธิดา ข้าแต่
พระอัยกาเจ้า พระราชบิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า
ในอาศรมแห่งพระราชบิดาไม่มีศิลา ทอง เงิน แก้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 778
มณีและแก้วประพาฬ ข้าแต่พระอัยกาเจ้า พระราช-
บิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า.
พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทาน
ของบิดาเจ้าดอก มิได้ติเตียนเลย บิดาของหลานให้
หลานทั้งสองแก่คนขอทาน หฤทัยของเขาเป็นอย่างไร
หนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานมสฺส ปสสาม ความว่า ดูก่อน
พระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทานของบิดาเจ้า มิได้ติเตียน.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดาของหม่อม
ฉันพระราชทานหม่อมฉันทั้งสองแก่คนขอทานแล้ว
ได้ทรงฟังวาจาอันน่าสงสารที่น้องหญิงกัณหากล่าว
พระองค์ทรงมีพระทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน มีพระ-
เนตรแดงก่ำดังดาวโรหิณี มีพระอัสสุชลหลั่งไหล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ข้าแต่พระอัยกาเจ้า
พระบิดานั้นทรงสดับคำนี้ที่น้องกัณหาชินาของหม่อมฉันกล่าว พระองค์ได้มี
พระหฤทัยเป็นทุกข์. บทว่า โรหิณีเหว ตามฺพกฺขี ความว่า พระบิดาของ
หม่อมฉันมีพระเนตรแดงก่ำราวกะดาวโรหิณีที่มีสีแดงฉะนั้น ทรงมีพระอัสสุชล
หลั่งไหลเป็นดังสายเลือดในขณะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 779
บัดนี้ พระชาสีราชกุมารเมื่อจะทรงแสดงพระวาจาของพระกัณหาชินา
นั้น จึงตรัสว่า
น้องกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่
พระบิดา พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดุจตีทาสี
เกิดในเรือน ข้าแต่พระบิดา พราหมณ์ทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรม แต่พราหมณ์นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่
แกเป็นยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ มานำหม่อมฉัน
ทั้งสองไปเคี้ยวกิน ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันทั้งสอง
ถูกปีศาจนำไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นหรือหนอ.
ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นพระราชนัดดาทั้งสอง
ยังไม่พ้นจากมือพราหมณ์ชูชก จึงตรัสคาถาว่า
พระมารดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชบุตรี พระ
บิดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชโอรส แต่ก่อนหลาน
ทั้งสองขึ้นนั่งบนตักปู่ เดี๋ยวนี้มายืนอยู่ไกล เพราะ
อะไรหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ความว่า แต่ก่อนนี้ หลาน
ทั้งสองเห็นปู่เข้ามาโดยเร็ว ขึ้นตักปู่ บัดนี้เหตุอะไรหนอ หลานทั้งสองจึงยืน
อยู่ไกล.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตรี
พระชนกของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่
หม่อมฉันทั้งสองเป็นทาสีของพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น
หม่อมฉันทั้งสองจึงต้องยืนอยู่ไกล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 780
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา มย ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
สมมติเทพ เมื่อก่อนหม่อมฉันทั้งสองรู้ตัวว่าเป็นราชบุตร แต่เดี๋ยวนี้หม่อมฉัน
ทั้งสองเป็นทาสของพราหมณ์ ไม่ได้เป็นนัดดาของพระองค์.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
หลานรักทั้งสองอย่าได้พูดอย่างนี้เลย หทัยของปู่
เร่าร้อน กายของปู่เหมือนถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร ปู่
ไม่ได้ความสุขในราชบัลลังก์ หลานรักทั้งสองอย่าได้
พูดอย่างนี้เลย เพราะยิ่งเพิ่มความโศกแก่ปู่ ปู่จักไถ่
หลานทั้งสองด้วยทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็น
ทาส แน่ะพ่อชาลี บิดาของหลานให้หลานทั้งสองแก่
พราหมณ์ ตีราคาไว้เท่าไร หลานจงบอกปู่ตามจริง
พนักงานจะได้ให้พราหมณ์รับทรัพย์ไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม เป็นคำแสดงความรัก. บทว่า
จิตกายว เม กาโย ความว่า บัดนี้กายของปู่เป็นเหมือนถูกยกขึ้นสู่เชิง
ตะกอนถ่านเพลิง. บทว่า ชเนถ ม ความว่า ให้เกิดแก่ปู่ บาลีก็อย่างนี้
แหละ. บทว่า นิกฺกีณิสฺสามิ ทพฺเพน ความว่า จักให้ทรัพย์แล้วเปลื้อง
จากความเป็นทาส. บทว่า กิมฺคฺฆิย ความว่า ตีราคาไว้เท่าไร. บทว่า
ปฏิปาเทนฺติ ความว่า ให้รับทรัพย์.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกา พระบิดาพระราชทานหม่อมฉัน
แก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันตำลึงทองคำ ทรงตีราคา
น้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์ผ่องใส ด้วยทรัพย์มีช้าง
เป็นต้นอย่างละร้อย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 781
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสคฺฆ หิ ม ความว่า ข้าแต่
สมมติเทพ พระบิดาพระราชทานหม่อมฉันแก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันลิ่ม
ทองคำ. บทว่า อจฺฉ ความว่า แต่น้องหญิงกัณหาชินาของหม่อมฉัน บทว่า
หตฺถิอาทิสเตน ความว่า พระชาลีทูลว่า พระบิดาทรงตีราคาด้วยช้าง ม้า
รถ เหล่านั้นทั้งหมดอย่างละร้อยแม้โดยที่สุดจนเตียงและตั่งก็อย่างละร้อยทั้งนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังพระชาลีกราบทูล เมื่อจะทรงโปรดให้ไถ่พระ-
กุมารกุมารีทั้งสององค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนเสวกามาตย์ เจ้าจงลุกขึ้น รีบให้ทาสี
ทาส โคเมีย โคผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์
เป็นค่าไถ่แม่กัณหา และจงให้ทองคำพันตำลึงเป็นด่า
ไถ่พ่อชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากรา ได้แก่ จงให้. บทว่า นิกฺกย
ความว่า จงให้ค่าไถ่.
เสวกามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสสั่งดังนั้นแล้วจึงกระทำตามนั้น
ได้จัดค่าไถ่สองกุมารให้แก่พราหมณ์ทันที.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น เสวกามาตย์รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โค
ผู้ ช้าง อย่างละร้อย ๆ แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระ-
กัณหา และได้ให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าพระชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากริ ได้แก่ ได้ให้แล้ว บทว่า
นิกฺกย ความว่า ให้ค่าไถ่.
พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงอย่างละร้อยและทองคำพันตำลึง
แก่พราหมณ์ชูชกเป็นค่าไถ่พระราชกุมารกุมารี และพระราชทานปราสาท ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 782
ชั้นแก่ชูชกด้วยประการฉะนี้ จำเดิมแต่นั้น ชูชกก็มีบริวารมาก แกรวบรวม
ทรัพย์ขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์ใหญ่ บริโภคโภชนะมีรสอันดี แล้วนอน
บนที่นอนใหญ่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าสญชัยสีวีราชได้พระราชทานทาสี ทาส
โคเมีย ช้าง โคผู้ แม่ม้าอัสดรและรถ ทั้งเครื่อง
บริโภคอุปโภคทั้งปวงอย่างละร้อยๆ และทองคำพัน
ตำลึง แก่พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจ
เหลือเกิน เป็นค่าไถ่สองกุมารกุมารี.
ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยมหาราชให้พระชาลีและพระกัณหาสนานพระ-
เศียร แล้วให้เสวยโภชนาหารทรงประดับราชกุมารกุมารีทั้งสอง ทรงจุมพิต
พระเศียรพระเจ้าสญชัยให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา พระนางเจ้าผุสดีให้
พระกัณหาชินาประทับนั่งบนพระเพลา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระอัยกาพระอัยกีทรงไถ่พระชาลีพระกัณหาแล้ว
ให้สนานพระกาย ให้เสวยโภชนาหาร แต่งองค์ด้วย
ราชาภรณ์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลา.
เมื่อพระราชกุมารกุมารีสนานพระเศียร ทรงภูษา
อันหมดจด ประดับด้วยสรรพาภรณ์และสรรพาลังการ
คือกุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ ทั้งระเบียบดอกไม้แล้ว
พระอัยกาให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา แล้ว
ตรัสถามด้วยคำนี้ว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 783
แน่ะพ่อชาลี พระชนกชนนีทั้งสองของพ่อไม่มี
พระโรคาพาธกระมัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะ
แสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมาก
กระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อย
กระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่ค่อยมีกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑเล ได้แก่ ให้ประดับกุณฑลทั้ง
หลาย. บทว่า ฆุสิเต ได้แก่ กุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ คือส่งเสียงเป็นที่
ยินดีแห่งใจ. บทว่า มาเล ได้แก่ ให้ประดับดอกไม้นั้น ๆ ทั้งสอง. บทว่า
องฺเก กริตฺวาน ได้แก่ ให้พระชาลีราชกุมารประทับนั่งบนพระเพลา.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชดำรัสถามดังนั้น จึงกราบทูล
สนองว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกชนนีทั้งสองของ
หม่อมฉันไม่ค่อยมีพระโรคาพาธ ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกดี และมูลผลาหารก็
มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน มีบ้าง
ก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ค่อยมีแด่พระชนกพระ-
ชนนีทั้งสองนั้น.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเสด็จไปขุดมัน
กระชากมันอ่อน มันมือเสือ มันนก และนำผลกะเบา
ผลจาก มะนาว มาเลี้ยงกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 784
พระชนนีเป็นผู้หามูลผลในป่า ทรงนำมาซึ่งมูล
ผลใด หม่อมฉันทั้งหลายประชุมพร้อมกันเสวยมูลผล
นั้นในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลางวัน.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ
ต้องทรงหาผลไม้ในป่ามาเลี้ยงกัน จนทรงซูบมีพระ
ฉวีเหลืองเพราะลมและแดด ดุจดอกปทุมอยู่ในกำมือ.
เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเกลื่อน
ไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัย พระ-
เกสาก็ยุ่งเหยิง พระองค์เกล้าพระชฎาบนพระเกสา
ทรงเปรอะเปื้อนที่พระกัจฉประเทศ.
พระชนกทรงเพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ ทรงถือ
ไม้ขอ ภาชนะเครื่องบูชาเพลิงและชฎา ทรงหนังเสือ
เหลืองเป็นพระภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดินนมัส-
การเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนนฺตาลุกลมฺพานิ ความว่า พระชาลี
ราชกุมารทรงพรรณนาถึงชีวิตลำเค็ญของพระชนกชนนี ด้วยคำว่า ขุดมันมือ
เสือ มันนกเป็นต้น. บทว่า โน ในบทว่า ตนฺโน นี้ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า ปทุม หตฺถคตมิว ความว่า เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ.
บทว่า ปตนูเกสา ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระชนนีของหม่อมฉัน
เสด็จเที่ยวไปหามูลผลาหารในป่าใหญ่ พระเกศาซึ่งดำมีสีเหมือนขนปีกแมลงภู่
ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวเสียยุ่งเหยิง. บทว่า ชลฺลมธารยิ ความว่า มีพระกัจฉ-
ประเทศทั้งสองข้างเปรอะเปื้อน เสด็จเที่ยวไปด้วยเครื่องแต่งองค์ปอน ๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 785
พระชาลีราชกุมารกราบทูลถึงความที่พระชนนีมีความทุกข์ยากอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะทูลท้วงพระอัยกา จึงตรัสว่า
ลูกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นที่รักของ
มนุษย์ผู้เป็นพ่อแม่ทั้งหลาย พระอัยกาของหม่อมฉัน
ทั้งสอง คงไม่เกิดเสน่หาในพระโอรสเป็นแน่ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทปชฺชึสุ ความว่า ย่อมเกิดขึ้น
ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อชี้โทษของพระองค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว การที่ปู่ให้
ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษเพราะถ้อยคำของชาว
สีพีนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอัน
ทำลายความเจริญแก่พวกเรา สิ่งใด ๆ ของปู่ที่อยู่ใน
นครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มีอยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่
พระบิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้เวสสันดรจงมาเป็นราชา
ปกครองในสีพีรัฐเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปต ความว่า ดูก่อนชาลีกุมารหลาน
น้อย นั่นเป็นกรรมที่พวกเราทำไว้ชั่ว. บทว่า ภูนหจฺจ ได้แก่ เป็นกรรม
ที่ทำลายความเจริญ. บทว่า ย เน กิญฺจิ ความว่า สิ่งอะไร ๆ ของปู่มีอยู่
ในพระนครนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดปู่ยกให้แก่พระบิดาของหลาน. บทว่า สิวิรฏฺเ
ปสาสตุ ความว่า ขอพระเวสสันดรนั้นจงเป็นราชาปกครองในพระนครนี้.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกของหม่อมฉันคงจัก
ไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาวสีพี เพราะถ้อยคำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 786
ของหม่อมฉัน ขอพระองค์เสด็จไปอภิเษกพระราช
โอรสด้วยราชสมบัติ ด้วยพระองค์เองเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิสุตฺตโม ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่
สุดของชาวสีพี. บทว่า สิญฺจ ความว่า อภิเษกด้วยราชสมบัติ เหมือนมหาเมฆ
โปรยหยาดน้ำฝนฉะนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับฟังพระชาลีตรัส จึงมีพระราชดำรัสเรียกหา
เสนาคุตอมาตย์มาสั่งให้ตีกลองใหญ่ป่าวประกาศทั่วเมือง
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเจ้าสญชัยบรมกษัตริย์ตรัสกะเสนาบดี
ว่า กองทัพ คือกองช้าง กองม้า กองม้า กองราบ
จงผูกสอดศัสตราวุธ ชาวนิคม พราหมณ์ปุโรหิตจง
ตามข้าไป แต่นั้นอมาตย์หกหมื่นผู้สหชาตของบุตรเรา
งามน่าดู ประดับแล้วด้วยผ้าสีต่าง ๆ พวกหนึ่งทรงผ้า
สีเขียว พวกหนึ่งทรงผ้าสีเหลือง พวกหนึ่งทรงผ้าสี
แดงเป็นดุจอุณหิส พวกหนึ่งทรงผ้าสีขาว ผูกสอด
ศัสตราวุธจงมาโดยพลัน เขาหิมวันต์ เขาคันธรและ
เขาคันธมาทน์ ปกคลุมด้วยนานาพฤกษชาติ เป็นที่อยู่
แห่งหมู่ยักษ์ยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปด้วย
ทิพยโอสถ ฉันใด โยธาทั้งหลายผูกศัสตราวุธแล้ว จง
มาพลันจงยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปฉันนั้น
จงผูกช้างหมื่นสี่พันเชือกให้มีสายรัดแล้วด้วยทองแท่ง
เครื่องประดับแล้วด้วยทอง อันเหล่าควาญช้างถือโตมร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 787
และขอขึ้นขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว มีอลังการปรากฏ
บนคอช้าง จงรีบมา แต่นั้นจงผูกม้าหมื่นสี่พันตัว
ที่เป็นชาติอาชาไนยสินธพมีกำลัง อันควาญม้าถือดาบ
และแล่งธนูขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว ประดับกายแล้ว
อยู่บนหลังม้า จงรีบมาแต่นั้น จงเทียมรถหมื่นสี่พัน
คัน ซึ่งมีกงรถแล้วด้วยเหล็ก มีเรือนรถขจิตด้วยทอง
จงยกขึ้นซึ่งธง โล่ เขน แล่งธนู ในรถนั้น เป็นผู้
มีธรรมมั่นคง มุ่งประหารข้าศึก ผูกสอดศัสตราวุธ
แล้ว เป็นช่างรถอยู่ในรถ จงรีบมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนาหยนฺตุ ได้แก่ จงผูกสอดอาวุธ
ทั้งหลาย. บทว่า สฏีสหสฺสานิ ได้แก่ อมาตย์หกหมื่นผู้เป็น
สหชาติกับบุตรของเรา. บทว่า นีลวตฺถาธราเนเก ความว่า พวกหนึ่งทรง
ผ้าสีเขียว คือเป็นผู้นุ่งห่มผ้าสีเขียวจงมา. บทว่า มหาภูตคณาลโย ได้แก่
เป็นที่อยู่ของหมู่ยักษ์ทั้งหลาย. บทว่า ทิสา ภนฺตุ ปวนฺตุ จ ความว่า
จงให้รุ่งเรืองและฟุ้งตลบไปด้วยอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า
หตฺถิกฺขนฺเธหิ ความว่า ควาญช้างเหล่านั้นจงขี่คอช้างรีบมา. บทว่า ทสฺสิตา
ได้แก่ มีเครื่องประดับปรากฏ. บทว่า อโยสุกตเนมิโย ได้แก่ มีกงรถที่
ใช้เหล็กหุ้มอย่างดี. บทว่า สุวณฺณจิตฺรโปกฺขเร ความว่า พระเจ้าสญชัย
ตรัสว่า จงเทียมรถหมื่นสี่พันคันปานนี้ ซึ่งมีเรือนรถขจิตด้วยทอง. บทว่า
วิปฺผาเลนฺตุ ได้แก่ จงยกขึ้น.
พระเจ้าสญชัยจัดกองทัพอย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตกแต่ง
มรรคาเป็นที่มา ให้มีพื้นเรียบ กว้างแปดอุสภะ ตั้งแต่เชตุดรราชธานีจนถึงเขา
วงกต แล้วทำสิ่งนี้ด้วย ๆ เพื่อต้องการตกแต่งบรรดาให้งดงาม แล้วตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 788
พวกเจ้าจงจัดบุปผชาติทั้งระเบียบดอกไม้ของ
หอมเครื่องทา กับทั้งข้าวตอกเรี่ยรายลง ทั้งบุปผชาติ
และรัตนะอันมีค่า จัดหม้อสุราเมรัย ๑๐๐ หม้อทุก
ประตูบ้าน จัดมังสะ ขนม ขนมทำด้วยงา ขนมกุมมาส
ประกอบด้วยปลา และจัดเนยใส น้ำมัน น้ำส้ม นม
สด สุราทำด้วยแป้งข้าวฟ่างให้มาก แล้วจงยืนอยู่ ณ
ทางที่พ่อเวสสันดรลูกข้าจะมา. ให้มีคนหุงต้ม พ่อครัว
คนฟ้อนรำ คนโลดเต้น และคนขับร้องเพลง ปรบ
มือ กลองยาว คนขับเสียงแจ่มใส คนเล่นกลสามารถ
กำจัดความโศกได้ จงนำพิณทั้งปวง และกลอง ทั้ง
มโหระทึกมา จงเป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว จงประโคม
ตะโพน บัณเฑาะว์ สังข์ และดุริยางค์ ๔ คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา กุฏุมพะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาชา โอโลกิยา ปุปฺผา ความว่า
พระเจ้าสญชัยมีรับสั่งว่า จงจัดโปรยดอกไม้ดอกกับข้าวตอกทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า
ดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ห้า โปรยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ใน
มรรคาห้อยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ที่เพดาน. บทว่า อคฺฆิยานิ จ
ความว่า จงตั้งบุปผชาติและรัตนะอันมีค่าในทางที่ลูกของเราจะมา. บทว่า
คาเม คาเม ได้แก่ ตั้งไว้ทุก ๆ ประตูบ้าน. บทว่า ปติตา นฺตุ ความ
ว่า จงจัดแจงตั้งหม้อสุราเมรัยเป็นต้น เพื่อผู้ระหายจะได้ดื่ม. บทว่า มจฺฉ-
สยุตา ได้แก่ ประกอบด้วยปลาทั้งหลาย. บทว่า กงฺคุปิฏฺา ได้แก่ สำเร็จด้วย
แป้งข้าวฟ่าง. บทว่า มุทฺทิกา ได้แก่ คนขับร้องเสียงใส. บทว่า โสกชฺ-
ฌายิกา ความว่า พวกเล่นกล หรือแม้คนอื่น ๆ ใครก็ตามที่สามารถระงับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 789
ความโศกที่เกิดขึ้นเสียได้ ท่านเรียกว่า โสกชฺฌายิกา. บทว่า ขรมุขานิ
ได้แก่ สังข์ใหญ่เกิดแต่สมุทรเป็นทักษิณาวัฏ. บทว่า สขา ได้แก่ สังข์สอง
ชนิดคือ สังข์รูปกำมือ และสังข์รูปขวด ดนตรี ๔ อย่างเหล่านี้คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา และกุฏุมพะ.
พระเจ้าสญชัยทรงสั่งจัดการประดับบรรดาด้วยประการฉะนี้ กาลนั้น
ฝ่ายชูชกบริโภคอาหารเกินประมาณ ไม่อาจให้อาหารที่บริโภคนั้นย่อยได้ ก็
ทำกาลกิริยาในที่นั้นเอง. ครั้งนั้นพระเจ้าสญชัยให้ทำฌาปนกิจชูชก ให้ตีกลอง
ใหญ่ป่าวประกาศในพระนครว่า คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติของชูชก จงเอา
สมบัติที่พระราชทานเหล่านั้นไป ครั้นไม่พบคนที่เป็นญาติของชูชก จึงโปรดให้
ขนทรัพย์ทั้งปวงคืนเข้าพระคลังหลวงอีกตามเดิม.
ครั้งนั้น พระเจ้าสญชัยจัดประชุมกองทัพทั้งปวงประมาณ ๑๒ อักโขภิณี
สิ้น ๗ วัน พระบรมกษัตริย์พร้อมด้วยราชบริพารใหญ่ ยกกองทัพออกจาก
พระนคร ให้พระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางเสด็จ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
กองทัพใหญ่นั้น เป็นพาหนะของชนชาวสีพี
ควบคุมกัน มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขา
วงกต ช้างพลายกุญชรมีอายุ ๖๐ ปี พอควาญช้างผูก
สายรัดก็บันลือโกญจนาท ม้าอาชาไนยทั้งหลายก็ร่าเริง
เสียงกงรถก็เกิดดังกึกก้อง ธุลีละอองก็ฟุ้งปิดนภากาศ
เมื่อกองทัพพาหนะของชาวสีพีควบคุมกันยกไป กอง
ทัพใหญ่นั้นควบคุมกัน นำสิ่งที่ควรนำไป มีพระชาลี
ราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขาวงกต โยธาทั้งหลายเข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 790
ไปสู่ป่าใหญ่อันมีกิ่งไม้มาก มีน้ำมาก ดาดาษไปด้วย
ไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง เสียงหยาดน้ำไหลใน
ไพรสณฑ์นั้นดังลั่น นกทั้งหลายเป็นอันมากมีพรรณ
ต่าง ๆ กัน เข้าไปร่ำร้องกะนกที่ร่ำร้องอยู่ที่แถวไม้อัน
มีดอกบานตามฤดูกาล กษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ เสด็จทาง
ไกลล่วงวันและคืน ก็ลุถึงประเทศที่พระเวสสันดร
ประทับอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตี ได้แก่กองทัพนับประมาณ ๑๒
อักโขภิณี. บทว่า อุยฺยุตฺตา ได้แก่ ควบคุมกัน. บทว่า โกญฺจ นทติ
ความว่า ในกาลนั้น พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ เมื่อฝนตกในแคว้นของตนแล้ว
ก็นำช้างปัจจัยนาคตัวประเสริฐนั้นมาถวายคืนแด่พระเจ้าสญชัย ช้างนั้นดีใจว่า
จักได้พบนายละหนอ จึงได้บันลือโกญจนาท ท่านกล่าวคำนี้หมายเอาช้างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺฉาย ความว่า พอควาญช้างผูกสายรัดทองคำ
ก็ดีใจบันลือโกญจนาท. บทว่า หสิสฺสนฺติ ได้แก่ ได้ส่งเสียงดัง. บทว่า
หาริหารินี ได้แก่ สามารถนำสิ่งที่พึงนำไป. บทว่า ปาวึสุ ได้แก่ เข้า
ไปแล้ว. บทว่า พหุสาข ได้แก่ มีกิ่งไม้มาก. บทว่า ทีฆมทฺธาน ได้
แก่ ทางประมาณ ๖๐ โยชน์. บทว่า อุปาคญฺฉุ ความว่า ลุถึงประเทศที่
พระเวสสันดรประดับอยู่.
จบมหาราชบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 791
ฉขัตติยบรรพ
ฝ่ายพระชาลีราชกุมารให้ตั้งค่ายแทบฝั่งสระมุจลินท์ ให้กลับรถหมื่น
สี่พันคัน ตั้งให้มีหน้าเฉพาะทางที่มา แล้วให้จัดการรักษาสัตว์ร้ายมีราชสีห์
เสือโคร่งเสือเหลืองและแรดเป็นต้นในประเทศนั้น ๆ เสียงพาหนะทั้งหลาย
มีช้างเป็นต้นอื้ออึงสนั่น ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น
ก็ทรงกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าพระทัยว่า เหล่าปัจจามิตรของเราปลงพระชนม์
พระชนกของเราแล้วมาเพื่อต้องการตัวเรากระมังหนอ จึงพาพระนางมัทรีเสด็จ
ขึ้นภูผาทอดพระเนตรดูกองทัพ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรราชฤาษีได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง
แห่งกองทัพเหล่านั้น ก็ตกพระหฤทัย เสด็จขึ้นสู่
บรรพต ทอดพระเนตร ดูกองทัพด้วยความกลัว ตรัส
ว่า แน่ะพระน้องมัทรี เธอจงพิจารณาสำเนียงกึกก้องใน
ป่าฝูงม้าอาชาไนยร่าเริง ปลายธงปรากฏไสว พวกที่มา
เหล่านี้ ดุจพวกพรานล้อมฝูงมฤคชาติในป่าไว้ด้วยข่าย
ต้อนให้ตกในหลุมก่อน แล้วทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคชาติอันคม เลือกฆ่าเอาแต่ที่มีเนื้อล่ำ ๆ เราทั้ง
หลายผู้หาความผิดมิได้ ต้องเนรเทศมาอยู่ป่า ถึงความ
ฉิบหายด้วยมือมิตร เธอจงดูคนฆ่าคนไม่มีกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน.
บทว่า นิสาเมหิ ความว่า เธอจงดู คือใคร่ครวญดูว่า กองทัพของเราหรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 792
กองทัพปรปักษ์ การเชื่อมความของสองคาถากึ่งว่า อิเม นูน อรญฺมฺหิ เป็นต้น
พึงทราบอย่างนี้ แน่ะพระน้องมัทรี พวกพรานล้อมฝูงมฤคในป่าไว้ด้วยข่าย
หรือต้อนลงหลุม พูดในขณะนั้นว่า จงฆ่าสัตว์ร้ายเสีย ทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคอันคม เลือกฆ่ามฤคเหล่านั้นเอาแต่ตัวล่ำ ๆ ฉันใด สองเรานี้ถูกทิ่มแทง
ด้วยวาจาอสัตบุรุษว่า จักฆ่าเสียด้วยหอกอันคม และเราผู้ไม่มีผิด ถูกขับไล่คือ
เนรเทศออกจากแว่นแคว้นมาอยู่ในป่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อเป็นเช่น
นั้น . บทว่า อมิตฺตหตฺถฏฺคตา ได้แก่ ก็ยังถึงความฉิบหายด้วยมือของ
เหล่าอมิตร. บทว่า ปสฺส ทุพฺพลฆาตก ความว่า พระเวสสันดรทรง
คร่ำครวญเพราะมรณภัย ด้วยประการฉะนี้.
พระนางมัทรีได้ทรงสดับพระราชดำรัส จึงทอดพระเนตรกองทัพ ก็
ทรงทราบว่า เป็นกองทัพของตนเมื่อจะให้พระมหาสัตว์ทรงอุ่นพระหฤทัย จึง
ตรัสคาถานี้
เหล่าอมิตรไม่พึงข่มเหงพระองค์ได้ เหมือนเพลิง
ไม่พึงข่มเหงทะเลได้ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงพิจารณา
ถึงพระพรที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้นนั่นแล ความ
สวัสดีจะพึงมีแก่เราทั้งหลายจากพลนิกายนี้เป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิว อุทกณฺณเว ความว่า ไฟที่
ติดด้วยคบหญ้าเป็นต้น ย่อมไม่ข่มเหงน้ำทั้งกว้างทั้งลึกกล่าวคือทะเล คือไม่
อาจทำให้ร้อนได้ ฉันใด ปัจจามิตรทั้งหลายย่อมข่มเหงพระองค์ไม่ได้ คือ
ข่มขี่ไม่ได้ ฉันนั้น. บทว่า ตเทว ความว่า พระนางมัทรีให้พระมหาสัตว์
อุ่นพระหฤทัยว่า ก็พรอันใดที่ท้าวสักกเทวราชประทานแด่พระองค์ตรัสว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ไม่นานนักพระชนกของพระองค์จะเสด็จมา ขอพระองค์
จงพิจารณาพร้อมนั้นเถิด ความสวัสดีพึงมีแก่พวกเราจากพลนิกายนี้เป็นแน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 793
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงบรรเทาความโศกให้เบาลงแล้ว พร้อม
ด้วยพระนางมัทรีเสด็จลงจากภูเขาประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลา ฝ่ายพระนาง
มัทรีก็ประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลาของพระองค์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเวสสันดรราชฤาษีเสด็จลงจากบรรพต
ประทับนั่ง ณ บรรณศาลา ทำพระหฤทัยให้มั่นคง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺห กตฺวาน มานส ความว่า
ประทับนั่งทำพระหฤทัยให้มั่นคงว่า เราเป็นบรรพชิต ใครจักทำอะไรแก่เรา.
ขณะนั้น พระเจ้าสญชัยตรัสเรียกพระนางผุสดีราชเทวีมารับสั่งว่า แน่ะ
ผุสดีผู้เจริญ เมื่อพวกเราทั้งหมดไปพร้อมกัน จักมีความเศร้าโศกใหญ่ ฉันจะ
ไปก่อน ต่อนั้น เธอจงกำหนดดูว่า เดี๋ยวนี้พวกเข้าไปก่อนจักบรรเทาความเศร้า
โศกนั่งอยู่แล้ว พึงไปด้วยบริวารใหญ่ ลำดับนั้น พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา
รออยู่สักครู่หนึ่งแล้วจงไปภายหลัง ตรัสสั่งฉะนี้แล้วให้กลับรถให้มีหน้าเฉพาะ
ทางที่มา จัดการรักษาในที่นั้น ๆ เสด็จลงจากคอช้างตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว
เสด็จไปสู่สำนักของพระราชโอรส.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าสญชัยผู้ชนกนาถให้กลับรถ ให้กองทัพ
ตั้งยับยั้งอยู่แล้ว เสด็จไปยังพระเวสสันดรผู้โอรสซึ่ง
เสด็จประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียว เสด็จลงจากคอช้าง
พระที่นั่ง ทรงสะพักเฉวียงพระอังสาประนมพระหัตถ์
อันเหล่าอำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จนาเพื่ออภิเษกพระ
โอรส พระเจ้าสญชัยได้ทอดพระเนตรเห็นพระเวส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 794
สันดรราชโอรส มีพระกายมิได้ลูบได้ตกแต่ง มีพระ-
มนัสแน่วแน่ นั่งเข้าฌานอยู่ในบรรณศาลานั้น ไม่มี
ภัยแต่ที่ไหน ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺาเปตฺวาน เสนิโย ความว่า
ให้พลนิกายตั้งยับยั้งอยู่เพื่อประโยชน์แก่การอารักขา. บทว่า เอกโส ได้แก่
ทำผ้าห่มเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง. บทว่า สิญฺจิตุมาคมิ ความว่า เสด็จเข้า
ไปเพื่ออภิเษกในราชสมบัติ. บทว่า รมฺมรูป ได้แก่ มิได้ลูบไล้และตกแต่ง.
พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทอดพระเนตร
เห็นพระราชบิดาผู้มีความรักในพระโอรสนั้น เสด็จมา
เสด็จลุกต้อนรับถวายบังคม ฝ่ายพระนางมัทรีทรงซบ
พระเศียรอภิวาทแทบพระบาทพระสัสสุระ กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันมัทรีผู้สะใภ้ของพระองค์
ขอถวายบังคม พระยุคลบาทของพระองค์ พระเจ้า
สญชัยทรงสวมกอดสองกษัตริย์ประทับทรวง ฝ่าพระ-
หัตถ์ลูบพระปฤษฎางค์อยู่ไปมา ณ อาศรมนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเท วนฺทามิ เต ทุสา ความว่า
พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันผู้สะใภ้ของพระองค์ ขอ
ถวายบังคมแทบพระยุคลบาท กราบทูลฉะนั้นแล้วถวายบังคม. บทว่า เตสุ
ตตฺถ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งสองนั้น ณ อาศรมที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้น.
บทว่า ปลิสชฺช ความว่า ให้อิงแอบแนบพระทรวง ทรงจุมพิตพระเศียร
ทรงลูบพระปฤษฎางค์ของสองกษัตริย์ด้วยพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม.
ต่อนั้น พระเจ้าสญชัยทรงกันแสงคร่ำครวญ ครั้นสร่างโศกแล้ว เมื่อ
จะทรงทำปฏิสันถารกับสองกษัตริย์นั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 795
ลูกรัก พ่อไม่มีโรคาพาธกระมัง สุขสำราญดี
กระมัง ยังอัตภาพให้เป็นรูปด้วยเสาะแสวงหาผลาหาร
สะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง
และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียน
ให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่
ค่อยมีกระมัง.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับพระดำรัสของพระบิดา จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันทั้งสองมี
ความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง เที่ยวเสาะแสวงหามูลผลา-
หารเลี้ยงชีพ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้เข็ญใจ ฝึกแล้วคือหมดพยศ ความเข็ญใจฝึกหม่อม
ฉันทั้งหลาย ดุจนายสารถีฝึกม้าให้หมดพยศฉะนั้น ข้า
แต่มหาราช หม่อมฉันทั้งหลายลูกเนรเทศมีร่างกาย
เหี่ยวแห้ง ด้วยการหาเลี้ยงชีพในป่า จึงมีเนื้อหนังซูบ
ลงเพราะไม่ได้เห็นพระชนกและพระชนนี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสิ กีทิสา ความว่า เป็นความ
เป็นอยู่ต่ำอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า กสิรา ชีวิกา โหม ความว่า ข้าแต่
พระบิดา ความเป็นอยู่ของหม่อมฉันทั้งหลายเป็นทุกข์ เพราะหม่อมฉันทั้งหลาย
มีชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวเสาะแสวงหามูลผลาหาร. บทว่า อนิทฺธิน ความ
ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความเข็ญใจย่อมฝึกคนจนที่เข็ญใจและความเข็ญใจนั้น
ย่อมฝึก คือทำให้หมดพยศ เหมือนนายสารถีผู้ฉลาดฝึกม้าฉะนั้น หม่อมฉัน
ทั้งหลายอยู่ในที่นี้เป็นผู้เข็ญใจอันความเข็ญใจฝึกแล้ว คือทำให้หมดพยศแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 796
ความเข็ญใจนั่นแหละฝึกหม่อมฉันทั้งหลาย. ปาฐะว่า ทเมถ โน ดังนี้ก็มี ความ
ว่า ฝึกหม่อมฉันทั้งหลายแล้ว. บทว่า ชีวิโสกิน ความว่า พระเวสสันดรทูล
ว่าหม่อมฉันทั้งหลายมีความเศร้าโศกอยู่ในป่า จะมีความสุขอย่างไรได้.
ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเวสสันดรเมื่อจะทูลถามถึงข่าว
คราวของพระโอรสและพระธิดาอีกจึงทูลว่า
ทายาทผู้มีมโนรถยังไม่สำเร็จ ของพระองค์ผู้
ประเสริฐของชาวสีพี คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา
ทั้งสองตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์ร้ายกาจเหลือเกิน
แกตีพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ดุจคนตีฝูงโค ถ้า
พระองค์ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของ
พระราชบุตรีมัทรีนั้น ขอได้โปรดตรัสบอกแก่หม่อม
ฉันทั้งสองทันที ดุจหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด
ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทายาทปฺปตฺตมานสา ความว่า พระ-
เวสสันดรกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทายาทของพระองค์ผู้ประเสริฐ
ของชาวสีพี มีมนัสยังไม่ถึงแล้ว คือมีมโนรถยังไม่สมบูรณ์ ตกอยู่ในอำนาจ
ของพราหมณ์ พราหมณ์นั้นแกตีสองกุมารนั้นราวกะว่าคนตีฝูงโค ถ้าพระองค์
ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของพระราชบุตรีมัทรีนั้น ด้วยได้ทอด
พระเนตรเห็นหรือด้วยได้ทรงสดับข่าวก็ตาม. บทว่า สปฺปทฏฺว มาณว
ความว่า ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบคือตรัสบอกแก่หม่อมฉันทั้งสองทันที
เหมือนหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด เพื่อสำรอกพิษเสียฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 797
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
หลานทั้งสองคือชาลีและกัณหาชินา พ่อได้ให้
ทรัพย์แก่พราหมณ์ชูชกไถ่ไว้แล้ว เจ้าอย่าวิตกเลย จง
โปร่งใจเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกีตา ได้แก่ ให้ทรัพย์ไถ่ไว้แล้ว.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงได้ความโปร่งพระหฤทัย เมื่อ
จะทรงทำปฏิสันถารกับพระบิดาจึงตรัสว่า
ข้าแต่พระบิดา พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธ
กระมัง สุขสำราญดีกระมัง พระเนตรแห่งพระมารดา
ของหม่อมฉันยังไม่เสื่อมกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ ความว่า พระเวสสันดรทูลถามว่า
พระเนตรของพระมารดาผู้ทรงกันแสงเพราะความเศร้าโศกถึงพระโอรส ไม่
เสื่อมเสียหรือ.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
ลูกรัก พ่อไม่ค่อยมีโรค และมีความสุขสำราญ
ดี อนึ่ง จักษุของมารดาเจ้าก็ไม่เสื่อม.
พระมหาสัตว์กราบทูลว่า
ยวดยานของพระองค์หาโรคภัยนี้ได้กระมัง พา-
หนะยังใช้ได้คล่องแคล่วดีกระมัง ชนบทมั่งคั่งกระมัง
ฝนตกต้องตามฤดูกาลกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺิ ได้แก่ ฝน.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 798
ยวดยานของพ่อไม่มีโรคภัย พาหนะยังใช้ได้
คล่องแคล่วดี ชนบทก็มั่งคั่ง ฝนก็ตกต้องตามฤดู
กาล.
เมื่อสามกษัตริย์ตรัสปราศรัยกันอยู่อย่างนี้ พระนางผุสดีเทวีทรง
กำหนดว่า บัดนี้กษัตริย์ทั้งสามจักทำความโศกให้เบาบาง ประทับนั่งอยู่ จึง
เสด็จไปสู่สำนักพระโอรสพร้อมด้วยบริวารใหญ่
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อสามกษัตริย์กำลังตรัสกันอยู่อย่างนี้ พระนาง
ผุสดีราชมารดา ผู้เป็นพระราชบุตรีพระเจ้ามัททราช
เสด็จด้วยพระบาทไม่ได้สวมฉลองพระบาท ได้ปรากฏ
และช่องภูผา พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทอด
พระเนตรเห็นพระราชชนนีผู้มีความรักในพระโอรส
กำลังเสด็จมา ก็เสด็จลุกต้อนรับเสด็จ ถวายบังคม
พระนางมัทรีทรงอภิวาทแทบพระบาทแห่งพระสัสสุ
ด้วยพระเศียร ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉัน
มัทรีผู้สะใภ้ขอถวายบังคมพระยุคคลบาทของพระแม่เจ้า.
ก็ในเวลาที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีถวายบังคมพระนางผุสดีเทวี
แล้วประทับยืนอยู่ พระชาลีและพระกัณหาชินาทั้งสอง อันกุมารกุมารีห้อมล้อม
เสด็จมาถึง พระนางมัทรีประทับยืนทอดพระเนตรทางมาแห่งพระโอรสพระธิดา
อยู่ พระนางเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโอรสพระธิดาเสด็จมาโดยสวัสดี ก็ไม่
สามารถจะทรงพระวรกายอยู่ด้วยภาวะของพระองค์ ทรงคร่ำครวญเสด็จไปแต่
ที่นั้น ดุจแม่โคมีลูกอ่อนฉะนั้น ฝ่ายพระชาลีและพระกัณหาทอดพระเนตรเห็น
พระมารดา ก็ทรงคร่ำครวญวิ่งตรงเข้าไปหาพระมารดาทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 799
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระชาลีและพระกัณหาชินาผู้มาโดยสวัสดีแต่ที่
ไกลทอดพระเนตรเห็นพระนางมัทรี ก็ทรงกันแสงวิ่ง
เข้าไปหาดุจลูกโคอ่อนเห็นแม่ ก็ร้องวิ่งเข้าไปหาฉะนั้น
พระนางมัทรีเล่า พอทอดพระเนตรเห็นพระโอรสพระ
ธิดาผู้มาโดยสวัสดีแต่ที่ไกลก็สั่นระรัวไปทั่วพระวรกาย
คล้ายแม่มดที่ผีสิงตัวสั่นฉะนั้น น้ำมันก็ไหลออกจาก
พระถันทั้งคู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กนฺทนฺตา อภิธาวึสุ ความว่า ร้องไห้
วิ่งเข้าไปหา. บทว่า วารุณีวุ ปเวเธนฺติ ความว่า ตัวสั่นเหมือนแม่มดที่ถูก
ผีสิง. บทว่า ถนธาราภิสิญฺจถ ความว่า สายน้ำนมไหลออกจากพระถัน
ทั้งสอง.
ได้ยินว่า พระนางมัทรีทรงคร่ำครวญด้วยพระสุรเสียงอันดัง พระ-
กายสั่นถึงวิสัญญีภาพล้มลงเหยียดยาวเหนือปฐพี ฝ่ายพระชาลีและพระกัณหาก็
เสด็จมาโดยเร็ว ถึงพระชนนีก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลงทับพระมารดา ในขณะนั้น
น้ำนมก็ไหลออกจากพระยุคลถันของพระนางมัทรี เข้าพระโอฐแห่งกุมารกุมารี
ทั้งสองนั้น ได้ยินว่า ถ้าจักไม่มีลมหายใจประมาณเท่านี้ พระกุมารกุมารีทั้งสอง
จักมีหทัยแห้งพินาศไป.
ฝ่ายพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นพระปิยบุตรบุตรีก็ไม่อาจทรงกลั้น
โศกาดูรไว้ ถึงวิสัญญีภาพล้มลง ณ ที่นั้นเอง แม้พระชนกและพระชนนีแห่ง
พระเวสสันดรก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลงในที่นั้นเหมือนกัน.
เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติของพระมหาสัตว์เห็นกิริยาของ ๖
กษัตริย์ ดังนั้นก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลง ณ ที่นั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 800
บรรดาราชบริพารทั้งหลายที่เห็นเหตุการณ์อันน่าสงสารนั้น แม้คน
หนึ่งก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน อาศรมบททั้งสิ้นได้เป็นเหมือนป่ารัง
อันลมยุคันตวาตย่ำยี่แล้ว ขณะนั้นภูผาทั้งหลายก็บันลือลั่น มหาปฐพีก็หวั่นไหว
มหาสมุทรก็กำเริบ เขาสิเนรุราชก็โอนเอนไปมา เทวโลกทั่วกามาพจรก็เกิด
โกลาหลเป็นอันเดียวกัน.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ พร้อมด้วย
ราชบริษัทถึงวิสัญญีภาพ ไม่มีใครแม้คนหนึ่งที่สามารถจะลุกขึ้นรดน้ำลงบน
สรีระของใครได้ เอาเถอะ เราจักยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงเพื่อชนเหล่านั้น
ในบัดนี้ ดำริฉะนี้แล้วจึงยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลง ณ สมาคมแห่งกษัตริย์
ทั้ง ๖ พระองค์ ชนเหล่าใดใคร่ให้เปียกชนเหล่านั้นก็เปียก เหล่าชนที่ไม่ต้องการ
ให้เปียก แม้สักหยาดเดียวก็ไม่ตั้งอยู่ในเบื้องบนแห่งชนเหล่านั้น เพียงดังน้ำ
กลิ้งไปจากใบบัวฉะนั้น ฝนโบกขรพรรษนั้นเป็นเหมือนน้ำฝนที่ตกลงบนใบบัว
ด้วยประการฉะนี้ ในกาลนั้นกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ก็กลับฟื้นพระองค์ มหา-
ชนทราบความมหัศจรรย์ว่า ฝนโบกขรพรรษตก ณ สมาคมพระญาติแห่ง
พระมหาสัตว์ และแผ่นดินไหว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ความกึกก้องใหญ่ได้เกิดแก่สมาคมพระญาติ ภูเขา
ทั้งหลายก็บันลือลั่น แผ่นดินก็หวั่นไหว ฝนตกลงเป็น
ท่อธารในกาลนั้น ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรก็
ประชุมด้วยพระประยูรญาติทั้งหลาย พระชาลีและพระ
กัณหาชินาผู้พระราชนัดดา พระนางมัทรีผู้สะใภ้ พระ
เวสสันดรผู้พระราชโอรส พระเจ้าสญชัยผู้มหาราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 801
และพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมเหสี ได้ประชุมโดยความ
เป็นอันเดียวกันในกาลใด ความมหัศจรรย์อันให้ขนพอง
สยองเกล้าได้มีในกาลนั้น ชาวแคว้นสีพีที่มาประชุม
กันทั้งหมด ร้องไห้อยู่ในป่าอันน่ากลัว ประนมมือแด่
พระเวสสันดร ทูลวิงวอนพระเวสสันดรและพระนาง
มัทรีว่า ขอพระองค์เป็นอิสรราชแห่งข้าพระองค์ทั้ง
หลาย ขอทั้งสองพระองค์จงครองราชสมบัติเป็นพระ-
ราชาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ ความกึกก้องอันประกอบ
ด้วยความกรุณา. บทว่า ปญฺชลิกา ความว่า ชาวพระนคร ชาวนิคมและ
ชาวชนบท ทั้งหมดต่างประคองอัญชลี. บทว่า ตสฺส ยาจนฺติ ความว่า
หมอบลงแทบพระบาทแห่งพระเวสสันดร ร้องไห้คร่ำครวญวิงวอนว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นนาย เป็นใหญ่ เป็นบิดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มหาชนประสงค์จะอภิเษกทั้งสองพระองค์ในที่นี้นี่แหละแล้วนำเสด็จสู่พระนคร
ขอพระองค์จงรับเศวตฉัตรอันเป็นของมีอยู่แห่งราชสกุล.
จบฉขัตติยบรรพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 802
นครกัณฑ์
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสกับพระชนก จึงตรัส
คาถานี้ว่า
พระองค์และ ชาวชนบท ชาวนิคมประชุมกันให้
เนรเทศหม่อมฉันผู้ครองราชสมบัติโดยธรรมจากแว่น
แคว้น.
ต่อนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อจะยังพระโอรสให้อดโทษแก่พระองค์ จึง
ตรัสว่า
ลูกรัก จริงทีเดียว การที่พ่อให้ขับไล่ลูกผู้ไม่มี
โทษ เพราะถ้อยคำของชาวสีพีนั้น ชื่อว่าพ่อได้กระทำ
กรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอันทำลายความเจริญแก่พวก
เรา.
ครั้นตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อจะทรงวิงวอนพระโอรสเพื่อนำความทุกข์
ของพระองค์ไปเสีย จึงตรัสคาถานี้ว่า
ธรรมดาบุตรควรนำความทุกข์ของบิดามารดา
หรือพี่น้องหญิงออกเสีย ด้วยคุณที่ควรสรรเสริญอันใด
อันหนึ่ง แม้ด้วยชีวิตของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทพฺพเห ได้แก่ พึงนำไป. บทว่า
อปิ ปาเณหิ อตฺตโน ความว่า ได้ยินว่า พระเจ้าสญชัยตรัสอย่างนี้กะ
พระเวสสันดร ด้วยพระประสงค์อันนี้ว่า แน่ะพ่อ ธรรมดาบุตรพึงนำความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 803
ทุกข์ เพราะความเศร้าโศกของบิดามารดาไปเสีย แม้ต้องสละชีวิต เพราะเหตุ
นั้น ลูกอย่าเก็บโทษของพ่อไว้ในใจ จงทำตามคำของพ่อ จงเปลื้องเพศฤาษี
ออกแล้วถือเพศกษัตริย์เถิดนะลูก.
พระโพธิสัตว์แม้ทรงใคร่จะครองราชสมบัติ แต่เมื่อไม่ตรัสคำมีประ-
มาณเท่านี้ ก็หาชื่อว่าเป็นผู้หนักไม่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสกับพระราชบิดา.
พระเจ้าสญชัยทรงอาราธนาพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงรับว่า สาธุ.
ครั้งนั้น เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติ รู้ว่าพระมหาสัตว์ทรงรับ
อาราธนาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เวลานี้เป็นเวลาสนานพระวรกาย
จงชำระล้างธุลีและสิ่งเปรอะเปื้อนเถิด.
ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายรอสักครู่หนึ่ง เสด็จเข้า
บรรณศาลา ทรงเปลื้องเครื่องฤาษีเก็บไว้ ทรงพระภูษาสีดุจสังข์ เสด็จออก
จากบรรณศาลา ทรงรำพึงว่า สถานที่นี้เป็นที่อันเราเจริญสมณธรรมสิ้น ๙
เดือนครึ่ง และสถานที่นี้เป็นที่แผ่นดินไหว เหตุเราผู้ถือเอายอดแห่งพระบารมี
บริจาคปิยบุตรทารทาน ทรงรำพึงฉะนี้แล้ว ทำประทักษิณบรรณศาลา ๓
รอบ ทรงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วทรงสถิตอยู่.
ครั้งนั้นเจ้าพนักงานมีภูษามาลาเป็นต้น ก็ทำกิจมีเจริญพระเกสาและ
พระมัสสุเป็นต้นแห่งพระมหาสัตว์ ชนทั้งหลายได้อภิเษกพระมหาสัตว์ผู้
ประดับด้วยราชาภรณ์ทั้งปวงผู้รุ่งเรืองดุจเทวราช ในราชสมบัติ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
แต่นั้น พระเวสสันดรราชทรงชำระล้างธุลีและ
ของไม่สะอาดแล้ว สละวัตรปฏิบัติทั้งปวง ทรงเพศ
เป็นพระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 804
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวาหยิ ความว่า ให้นำไป ก็และครั้น
ให้นำไปแล้ว ให้ถือเพศเป็นพระราชา.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เป็นผู้มีพระยศใหญ่ สถานที่พระองค์ทอด
พระเนตรแล้วทอดพระเนตรแล้วก็หวั่นไหว. เหล่าผู้รู้มงคลทรงจำมงคลไว้ด้วย
ปาก ก็ยังมงคลทั้งหลายให้กึกก้อง. พวกประโคมก็ประโคมดนตรีทั้งปวงขึ้น
พร้อมกัน ความกึกก้องโกลาหลแห่งดนตรีเป็นการครึกครื้นใหญ่ ราวกะ
เสียงกึกก้องแห่งเมฆคำรามกระหึ่มในท้องมหาสมุทรฉะนั้น เหล่าอำมาตย์
ประดับหัตถีรัตนะแล้วเตรียมเทียบไว้รับเสด็จ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงผูก
พระแสงขรรค์รัตนะแล้วเสด็จขึ้นหัตถีรัตนะ เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติ
ทั้งปวง ประดับเครื่องสรรพาลังการ แวดล้อมพระมหาสัตว์ ฝ่ายนางกัญญา
ทั้งปวงให้พระนางมัทรีสนานพระกายแล้วตกแต่งพระองค์ถวายอภิเษก เมื่อถวาย
การรดน้ำสำหรับอภิเษก ณ พระเศียรแห่งพระนางมัทรีได้กล่าวมงคลทั้งหลาย
เป็นต้นว่า ขอพระเวสสันดรจงทรงอภิบาล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรมหาสัตว์สนานพระเศียร ทรง
พระภูษาอันสะอาด ประดับด้วยราชปิลันธนาภรณ์ทุก
อย่าง ทรงผูกสอดพระแสงขรรค์อันทำให้ราชปัจจา-
มิตรเกรงขาม เสด็จขึ้นทรงพระยาปัจจัยนาคเป็นพระ-
คชาธาร ลำดับนั้น เหล่าสหชาติโยธาหาญทั้งหกหมื่น
ผู้งามสง่าน่าทัศนา ต่างร่าเริงแวดล้อมพระมหาสัตว์ผู้
จอมทัพ แต่นั้นเหล่าสนมกำนัลของพระเจ้ากรุงสีพี
ประชุมกันสรงสนานพระนางมัทรีราชกัญญา ทูลถวาย
พระพรว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 805
ขอพระเวสสันดรจงอภิบาลพระแม่เจ้า ขอพระ
ชาลีและพระกัณหาชินาทั้งสองพระองค์ จงอภิบาล
พระแม่เจ้า อนึ่ง ขอพระเจ้าสญชัยมหาราชจงคุ้มครอง
รักษาพระแม่เจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจย นาคมารุยฺห ได้แก่ ช้างตัว
ประเสริฐซึ่งเกิดในวันที่พระเวสสันดรประสูตินั้น. บทว่า ปรนฺตป ได้แก่
ยังอมิตรให้เกรงขาม. บทว่า ปริกรึสุ ได้แก่ แวดล้อม. บทว่า นนฺทยนฺตา
ได้แก่ ให้ยินดี. บทว่า สิวิกญฺา ความว่า เหล่าปชาบดีของพระเจ้าสีพี
ราช ประชุมกันให้พระนางมัทรีสรงสนานด้วยน้ำหอม. บทว่า ชาลี กณฺหา-
ชินา จุโภ ความว่า แม้พระโอรสพระธิดาของพระแม่เจ้าเหล่านี้ ก็จงรักษา
พระมารดา.
พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทรงได้ปัจจัยนี้
ทรงอนุสรถึงการประทับแรมในป่าอันเป็นความลำบาก
ของพระองค์มาแต่ก่อน จึงให้ตีอานันทเภรีเที่ยวป่าว
ร้องตามเวิ้งเขาวงกตอันเป็นที่ควรยินดี พระนางมัทรี
ทรงได้ปัจจัยนี้ ทรงอนุสรถึงการประทับแรมในป่าอัน
เป็นความลำบากแห่งพระองค์มาแต่ก่อน พระนางถึง
พร้อมด้วยพระลักษณะ มีพระหฤทัยร่าเริงยินดี ที่พบ
พระโอรสและพระธิดา พระนางมัทรีทรงได้ปัจจัยนี้
ทรงอนุสรถึงหารประทับแรมในป่า อันเป็นความ
ลำบากของพระองค์มาแต่ก่อน ทรงมีพระลักษณะ ดี
พระหฤทัย อิ่มพระหฤทัยแล้วพร้อมด้วยพระราชโอรส
และพระราชธิดา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 806
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทญฺจ ปจฺจย ลทฺธา ความว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเวสสันดรและพระนางมัทรี ทรงได้ปัจจัยนี้ คือที่พึ่ง
นี้แล้วดำรงอยู่ในราชสมบัติ. บทว่า ปุพฺเพ ความว่า ทรงอนุสรถึงการ
ประทับแรมอยู่ในป่า อันเป็นความลำบากของพระองค์ในกาลก่อนแต่นี้ จึงให้
ตีกลองอานันทเภรีเที่ยวป่าวร้อง. บทว่า รมฺมณีเย คิริพฺพเช ความว่า
ให้ตีกลองอานันทเภรีที่ผูกด้วยลดาทองท่องเที่ยวป่าวร้องในเวิ้งเขาวงกตอันเป็นที่
ควรยินดีว่าเป็นอาณาเขตแห่งพระราชาเวสสันดร จัดเล่นมหรสพให้เพลิดเพลิน.
บทว่า อานนฺทจิตฺตา สุมนา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยพระลักษณะ ความว่า
พระนางมัทรีได้พบพระโอรสพระธิดา ทรงดีพระหฤทัย คือยินดีเหลือเกิน.
บทว่า ปีติตา ได้แก่ มีปิติโสมนัสเป็นไปแล้ว. ก็และครั้นทรงอิ่มพระหฤทัย
อย่างนี้แล้ว พระนางมัทรีได้ตรัสแก่พระโอรสพระธิดาว่า
แน่ะลูกรักทั้งสอง เมื่อก่อนแม่กินอาหารมื้อ
เดียว นอนเหนือแผ่นดินเป็นนิตย์ แม่ได้ประพฤติ
อย่างนี้ เพราะใคร่ต่อลูก วัตรนั้นสำเร็จแล้วแก่แม่ใน
วันนี้ เพราะอาศัยลูกทั้งสอง วัตรนั้นเกิดแต่แม่ก็ตาม
เกิดแต่พ่อก็ตาม จงอภิบาลลูก อนึ่ง ขอพระมหาราช
สญชัยจงคุ้มครองลูก บุญอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแม่และ
พ่อได้บำเพ็ญไว้ จงสำเร็จแก่ลูก ด้วยอำนาจบุญกุศล
นั้นทั้งหมด ขอลูกจงอย่าแก่ (เร็ว) อย่าตาย (เร็ว).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุมฺห กามา หิ ปุตฺตกา ความว่า
พระนางมัทรีตรัสว่า แน่ะลูกน้อยทั้งสอง แม่ปรารถนาลูก ๆ เมื่อลูก ๆ ถูก
พราหมณ์นำไปในกาลก่อน แม่กินอาหารมื้อเดียว นอนเหนือแผ่นดิน แม่มี
ความปรารถนาลุก ๆ จึงได้ประพฤติวัตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สมิทฺธชฺช
ความว่า วัตรนั่นแลสำเร็จแล้วในวันนี้. บทว่า มตุชปิ ต ปาเลตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 807
ปิตุชปิ จ ปุตฺตกา ความว่า โสมนัสที่เกิดแต่แม่ก็ตาม เกิดแต่พ่อก็ตาม
จงคุ้มครองลูก ๆ คือบุญที่เป็นของแม่และพ่อ จงคุ้มครองลูก เพราะเหตุนั้นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยกิญฺจิตฺถิ กต ปญฺ ดังนี้.
ฝ่ายพระนางผุสดีเทวีมีพระดำริว่า ตั้งแต่นี้ไป สุณิสาของเราจงนุ่งห่ม
ภูษาเหล่านี้และทรงอาภรณ์เหล่านั้น ดำริฉะนี้แล้วสั่งให้บรรจุวัตถาภรณ์เต็มใน
หีบทองส่งไปประทาน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้นจึงตรัสว่า
พระผุสดีราชเทวีผู้พระสัสสุได้ประทานกัปปาสิก
พัสตร์ โขมพัสตร์ และโกทุมพรพัสตร์ อันเป็น
เครื่องงดงามแห่งพระนางมัทรีผู้พระสุณิสา แต่นั้น
พระนางเจ้าประทานเครื่องประดับพระศอแล้วไปด้วย
ทองคำ เครื่องประดับต้นพระกร เครื่องประดับบั้น
พระองค์แล้วไปด้วยแก้วมณี เครื่องประดับพระศออีก
ชนิดหนึ่ง สัณฐานดุจผลอินทผลัมแล้วไปด้วยทองคำ
เครื่องประดับพระศอแล้วไปด้วยรัตนะ เครื่องประดับ
พระนลาตซึ่งขจิตด้วยสุวรรณเป็นต้น เครื่องประดับ
วิการด้วยสุวรรณส่วนพระกายมีพระทนต์เป็นอาทิ
เครื่องประดับมีพรรณต่าง ๆ แล้วไปด้วยแก้วมณี เครื่อง
ประดับทรวง เครื่องประดับบนพระอังสา เครื่องประดับ
บั้นพระองค์ชนิดแล้วไปด้วยสุวรรณและหิรัญ เครื่อง
ประดับที่พระบาทและเครื่องประดับที่ปักด้วยด้ายและมิ
ได้ปักด้วยด้ายอันเป็นเครื่องงดงามแห่งพระนางมัทรีผู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 808
พระสุณิสาพระนางมัทรีผู้ราชบุตรีทรงเพ่งพินิจพระ-
วรกายอันยังบกพร้องด้วยเครื่องประดับนั้น ๆ ก็ทรง
ประดับให้บริบูรณ์ งดงามดุจเทพกัญญาในนันทนวัน.
พระนางมัทรีสนานพระเศียร ทรงพระภูษาอัน
สะอาด ประดับด้วยราชปิลันธนาภรณ์ทุกอย่าง งาม
ดุจเทพอัปสรในดาวดึงส์พิภพ วันนั้นเสด็จลีลาศงาม
ดังกัทลีชาติต้องลมที่เกิดอยู่ ณ จิตรลดาวัน สมบูรณ์
ด้วยริมพระโอฐมีสีแดงดังผลตำลึงและพระนางมีพระ
โอฐแดงดังผลนิโครธสุกงาม ประหนึ่งกินรีอันเรียกว่า
มานุสินี เพราะเกิดมามีสรีระดุจมนุษย์ มีปีกอันวิจิตร
กางปีกร่อนไปในอัมพรวิถีฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โขมญฺจ กายูร ได้แก่ เครื่องประดับ
พระศอมีสัณฐานดังผลอินทผลัมแล้วไปด้วยทองคำ. บทว่า รตนามย ได้แก่
เครื่องประดับพระศออีกชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยรัตนะ. บทว่า องฺคท มณิเมขล
ได้แก่ เครื่องประดับต้นพระกร และเครื่องประดับบั้นพระองค์แล้วไป
ด้วยแก้วมณี. บทว่า อณฺณต ได้แก่ เครื่องประดับชนิดหนึ่ง. บทว่า
มุขผุลฺล ได้แก่ เครื่องประดับดิลกบนพระนลาต. บทว่า นานารตฺเต
ได้แก่ มีสีต่าง ๆ. บทว่า นาณิเย ได้แก่ แล้วไปด้วยแก้วมณี.
เครื่องประดับสองชนิดแม้เหล่านั้นคือเครื่องประดับทรวงและพระอังสา. บทว่า
เมขล ได้แก่ เครื่องประดับบั่นพระองค์แล้วไปด้วยสุวรรณและหิรัญ. บทว่า
ปฏิปาทุก ได้แก่ เครื่องประดับพระบาท. บทว่า สุตฺตญฺจ สุตฺตวชฺชญฺจ
ได้แก่ เครื่องประดับที่มีสายร้อย และมิได้มีสายร้อย. แต่ในบาลี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 809
เขียนไว้ว่า สุปฺปญฺจ สุปฺปวชฺชญฺจ ดังนี้ก็มี. บทว่า อุปนิชฺฌาย
เสยฺยสิ ความว่า พระนางมัทรีราชเทวีทรงตรวจดูพระวรกายที่ยังบกพร่อง
ด้วยเครื่องประดับที่มีสายร้อยและมิได้มีสายร้อย ก็ทรงประดับให้บริบูรณ์
ทำให้ทรงพระโฉมประเสริฐขึ้นอีก งดงามเพียงเทพกัญญาในนันทนวัน.
บทว่า วาตจฺฉุปิตา ความว่า วันนั้นพระนางเจ้าเสด็จลีลาศงามดุจกัทลีทอง
ต้องลมซึ่งเกิดที่จิตรลดาวันฉะนั้น. บทว่า ทนฺตาวรณสนฺปนฺนา ได้แก่
ประกอบด้วยริมพระโอฐสีแดงเช่นผลตำลึงสุก. บทว่า สกุณี มานุสินีว ชาตา
จิตฺตปฺปตฺตา ปติ ความว่า แม้สกุณีมีนามว่ามานุสินี ซึ่งเกิดมาโดยสรีระ
ดุจมนุษย์ มีขนปีกอันวิจิตร กางปีกบินร่อนไปในอากาศ ย่อมงดงาม ฉันใด
พระนางมัทรีมีพระโอฐดังผลนิโครธสุก เพราะมีพระโอฐแดงก็งดงาม ฉันนั้น.
อมาตย์ทั้งหลายนำช่างตัวประเสริฐไม่แก่นักเป็น
ช้างทนต่อหอกและศรมีงาดุจงอนรถ สามารถนำ
มาเพื่อพระนางมัทรีทรง พระนางมัทรีนั้นเสด็จขึ้นสู่
ช้างตัวประเสริฐไม่แก่นัก เป็นช้างทนต่อหอกและศร
มีงาดุจงอนรถมีกำลังกล้าหาญ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา จ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อมาตย์ทั้งหลายได้นำช้างหนุ่มเชือกหนึ่งซึ่งไม่แก่นัก ยังหนุ่มมัชฌิมวัย
เป็นช้างทนต่อการประหารด้วยหอกและศร ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
เพื่อพระนางมัทรี. บทว่า นาคมารุหิ ความว่า เสด็จขึ้นทรงหลังช้าง.
พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปสู่กองทัพ
ด้วยพระอิสริยยศใหญ่ ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเจ้าสญชัยมหาราชประพาส
เล่นตามภูผาและป่าประมาณหนึ่งเดือนกับด้วยทวยหาญ ๑๒ อักโขภิณี พาล-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 810
มฤคและนกในป่าใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ ด้วยเดชา
นุภาพแห่งพระมหาสัตว์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติมีอยู่ในป่านั้นทั้งหมด
เพียงไร ย่อมไม่เบียดเบียนกันและกัน ด้วยเดชานุภาพ
แห่งพระเวสสันดร เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้
เจริญเสด็จไปแล้ว เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติมีอยู่ใน
ป่านั้นทั้งหมดเพียงไร ต่างมาชุมนุมกันอยู่ทีเดียวกัน
เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ เสด็จไปแล้ว
เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติ ในป่านั้นทั้งหมดเพียงไร
ต่างไม่ร้องเสียงหวาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวนฺเตตฺถ ตัดบทเป็น ยาวนฺโต
เอตฺถ ความว่า ตลอดทั้งในป่านั้น. บทว่า เอกชฺฌ สนฺนิปตึสุ ความว่า
ประชุมในที่เดียวกัน ก็และครั้นประชุมกันแล้ว ได้มีความโทมนัสว่าตั้ง
แต่นี้ไป เราทั้งหลายจักไม่มีความละอายหรือความสังวรต่อกันและกันในบัดนี้.
บทว่า นาสฺส มญฺชูนิ กูชึสุ ความว่า มีความทุกข์เพราะพลัดพรากจาก
พระมหาสัตว์จึงไม่ส่งเสียงร้องไพเราะอ่อนหวาน.
พระเจ้าสญชัยนรินทรราช ครั้นเสด็จประพาสเล่นตามภูผาและราวไพร
ประมาณหนึ่งเดือนกับทวยหาญ ๑๒ อักโขภิณีแล้ว ตรัสเรียกเสนาคุตอมาตย์
มา ตรัสถามว่า เราทั้งหลายอยู่ในป่ากันนานแล้ว บรรดาเสด็จของบุตรเรา
พวกเจ้าตกแต่งแล้วหรือ ครั้นเหล่าอมาตย์กราบทูลว่า ตกแต่งแล้ว และทูล
เชิญเสด็จว่า ถึงเวลาเสด็จแล้วพระเจ้าค่ะ จึงโปรดให้ทุลพระเวสสันดร ให้ตี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 811
กลองป่าวร้องให้ทราบกาลเสด็จกลับพระนคร แล้วทรงพากองทัพเสด็จกลับ
พระเวสสันดรมหาสัตว์เสด็จยาตราด้วยราชบริพารใหญ่ สู่มรรคาที่ตกแต่งแล้ว
กำหนดได้ ๖๐ โยชน์ตั้งแต่เวิ้งเขาวงกต จนถึงกรุงเชตุดร.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ทางหลวงตกแต่งแล้ว วิจิตรงดงามโปรยปราย
ด้วยดอกไม้ ตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรประทับจน
ถึงกรุงเชตุดร แต่นั้นโยธาหกหมื่นงดงามน่าทัศนา
นางข้างใน ราชกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง
กองน้ำ กองรถ กองราบ ห้อมล้อมพระเวสสันดรผู้
ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ผู้เสด็จไปอยู่โดยรอบ ทหารสวม
หมวก ทรงหนังเครื่องบังที่คอ ถือธนู สวมเกราะ
ไปข้างหน้าพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญผู้เสด็จ
ไปอยู่ และชาวชนบท ชาวนิคม พร้อมกันห้อมล้อม
พระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ผู้เสด็จไปอยู่
โดยรอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปยตฺโต ได้แก่ ตกแต่งเหมือนในกาล
จัดบูชาพิเศษในวันวิสาขบูรณมี. บทว่า วิจิตฺโต ได้แก่ วิจิตรไปด้วยต้น
กล้วย หม้อน้ำเต็ม ธงและแผ่นผ้าเป็นต้น. บทว่า ปุปฺผสณฺโต ได้แก่
โปรยปรายด้วยดอกไม้ทั้งหลายมีข้าวตอกเป็นที่ห้า. บทว่า ยตฺถ ความว่า
ประดับตกแต่งมรรคาตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรประทับอยู่ ติดต่อกันจนถึง
กรุงเชตุดร. บทว่า กโรฏิยา ได้แก่ หมู่ทหารสวมหมวกบนศีรษะที่ได้นาม
ว่า สีสกโรฏิกะ ทหารสวมหมวกเกราะ. บทว่า จมฺมธรา ได้แก่ ทรงหนัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 812
เครื่องบังที่คอ. บทว่า สุวมฺมิกา ได้แก่ สวมเกราะด้วยดีด้วยข่ายอันวิจิตร.
บทว่า ปุรโต ปฏิปชฺชึสุ ความว่า โยธาผู้กล้าหาญเห็นปานนี้ แม้มีโขลงช้าง
ซับมันพากันมาก็ไม่ถอยกลับ คงดำเนินไปข้างหน้าพระราชาเวสสันดร.
พระราชาเวสสันดรล่วงบรรดา ๖๐ โยชน์มาสิ้น ๒ เดือนถึงกรุงเชตุดร
เสด็จเข้าสู่พระนครอันประดับตกแต่งแล้ว เสด็จขึ้นปราสาท.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
กษัตริย์ทั้งหกพระองค์นั้นเข้าบุรีที่น่ารื่นรมย์ มี
ปราการสูงและหอรบ ประกอบด้วยข้าวน้ำ และการ
ฟ้อนรำและขับร้องทั้งสองในเมื่อพระเวสสันดรมหาสัตว์
ผู้ยังชาวสีพีรัฐให้เจริญเสด็จถึงแล้ว ชาวชนบทและ
ชาวนิคมพร้อมกันมีจิตยินดี.
เมื่อพระเวสสันดรมหาสัตว์ผู้พระราชทานทรัพย์
เสด็จมาถึง การยกแผ่นผ้าก็เป็นรูปรับสั่งให้ตีนันทเภรี
ป่าวร้องในพระนคร โฆษณาให้ปล่อยสรรพสัตว์ที่ผูก
ขังไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุปาการโตรณ ความว่า ประกอบ
ด้วยปราการสูงใหญ่ และเสาค่ายที่มีหอรบเป็นอันมาก. บทว่า นจฺจคี-
เตหิ จูภย ความว่า ประกอบด้วยการฟ้อนรำ และด้วยการขับร้อง
ทั้งสอง. บทว่า จิตฺตา ได้แก่ ยินดีคือถึงความโสมนัส. บทว่า อาคเต
ธนทายเก ความว่า เมื่อพระมหาสัตว์ผู้พระราชทานทรัพย์แก่มหาชนเสด็จมา
ถึง. บทว่า นนฺทิปฺปเวสิ ความว่า ให้ตีกลองอานันทเภรีป่าวร้องในพระนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 813
ว่า เป็นราชอาณาจักรของพระเวสสันดรมหาราช. บทว่า พนฺธโมกฺโข
อโฆสถ ความว่า ได้ป่าวร้องให้ปล่อยสรรพสัตว์จากที่ผูกขังไว้ คือพระ-
เวสสันดรมหาราชโปรดให้ปล่อยสรรพสัตว์จากที่ผูกขังไว้ โดยที่สุดแมวก็ให้
ปล่อย.
ในวันเสด็จเข้าพระนครนั่นเอง พระเวสสันดรทรงพระดำริในเวลาใกล้
รุ่งว่า พรุ่งนี้ ครั้นราตรีสว่างแล้ว พวกยาจกรู้ว่าเรากลับมาแล้ว ก็จักพากันมา
เราจักให้อะไรแก่ยาจกเหล่านั้น ในขณะนั้นพิภพแห่งท้าวสักกเทวราชได้สำแดง
อาการเร่าร้อน พระองค์ทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงยังพื้นที่
ข้างหน้าและข้างหลังแห่งพระราชนิเวศน์ ให้เต็มด้วยรัตนะสูงประมาณเอวบัน-
ดาลให้ฝนรัตนะเจ็ดตกเป็นราวกะฝนลูกเห็บ ให้ตกในพระนครทั้งสิ้นสูงประ-
มาณเข่า วันรุ่งขึ้นพระมหาสัตว์โปรดให้พระราชทานทรัพย์ที่ตกอยู่ในพื้นที่ข้าง
หน้าและข้างหลังแห่งตระกูลนั้น ๆ ว่า จงเป็นของตระกูลเหล่านั้นแหละแล้วให้
นำทรัพย์ที่เหลือขนเข้าท้องพระคลัง กับด้วยทรัพย์ในพื้นที่แห่งพระราชนิเวศน์
ของพระองค์ แล้วให้เริ่มตั้งทานมุข.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์ผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญ
เข้าพระนครแล้ว วัสสวลาหกเทพบุตรได้ยังฝนอันล้วน
แล้วไปด้วยทองคำให้ตกลงมาในกาลนั้น แต่นั้นพระ-
เวสสันดรขัตติยราช ทรงบำเพ็ญทานบารมี เบื้องหน้า
แต่สิ้นพระชนมชีพ พระองค์ผู้มีพระปรีชาก็เสด็จเข้า
ถึงสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 814
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺค โส อุปฺปชฺชถ ความว่า จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว เสด็จเข้าถึงดุสิตบุรีด้วยอัตภาพที่สอง.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประ-
ดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ คาถานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
ในกาลก่อน มหาเมฆก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกในที่ประชุมแห่งพระประยูร-
ญาติของเราอย่างนี้เหมือนกัน ตรัสดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า
พราหมณ์ชูชกในกาลนั้น คือภิกษุเทวทัต นาง
อมิตตตาปนาคือนางจิญจมาณวิกา พรานเจตบุตรคือ
ภิกษุฉันนะ อัจจุตดาบสคือภิกษุสารีบุตร ท้าวสักก-
เทวราชคือภิกษุอนุรุทธะ พระเจ้าสญชัยนรินทรราช
คือพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระนางผุสดีเทวีคือ
พระนางสิริมหามายา พระนางมัทรีเทวีคือ ยโสธรา-
พิมพามารดาราหุล ชาลีกุมารคือราหุล กัณหาชินาคือ
ภิกษุณีอุบลวรรณา ราชบริษัทนอกนี้คือพุทธบริษัท ก็
พระเวสสันดรราช คือเราเองผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล.
จบ นครกัณฑ์
จบ อรรถกถาเวสสันดรชาดก๑
จบอรรถกถาชาดก ภาคที่ ๑๐